The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by schtgr1125, 2020-04-14 22:03:00

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  219 

“ขา้ วต้มยำ� ปลาไหล” ของ นางพิมพิลาไลย

ภาพ นางพิมพลิ าไลย ระเบียงคดวัดปา่ เลไลยก์

“ขา้ วตม้ ย�ำปลาไหล” อาหารของลกู ผชู้ าย ฆา่ ไดห้ ยามมไิ ด้
สตู รของนางศรปี ระจนั ไมอ่ นั ตรายเหมอื นยาแผนปจั จบุ นั ผหู้ ญงิ
เรยี กผชู้ ายเจา้ ชวู้ า่ “พอ่ ปลาไหล” เจา้ ชจู้ บั ไมไ่ ดไ้ ลไ่ มท่ นั พอจบั ได้ 
ก็สารภาพตาปริบๆ วา่ ไม่ท�ำอีกแลว้ แตเ่ ผลอไม่ได้

ปลาไหลท่ีล�ำตัวมีเมือกลื่นจับไม่อยู่จึงมีค�ำเปรียบเทียบ
ตามนน้ั แตค่ วามเปน็ จรงิ ผชู้ ายเจา้ ชกู้ เ็ หมอื นปลาไหล สงบเสงยี่ ม 
เอาใจเกง่ แตพ่ อตายเผาศพไมร่ ลู้ กู มาจากไหน เปน็ หนมุ่ เปน็ สาว
อีกหลายคน ชายไทยสมัยก่อนแต่โบราณมีภรรยาได้หลายคน

220  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวหิ าร

เนื่องจากชนช้ันผู้ปกครองนั้นหากมีภรรยามากก็คือพวกมาก
เป็นส่ิงส�ำคัญส�ำหรับผู้น�ำอย่างย่ิงเพราะคนคือทรัพยากรส�ำคัญ
ทสี่ ุด

ขุนนางใด มพี วกมาก ย่อมมีท้งั ก�ำลังคนและก�ำลงั ทรพั ย์
เปน็ ทเ่ี กรงใจของพระมหากษตั รยิ ์

แลพระมหากษตั ริย์ ยังตอ้ งรบั ลกู ขนุ นางมาเปน็ สนมเพอ่ื
ชว่ ยอปุ ถมั ภซ์ ง่ึ กนั และกนั ดา้ นความมนั่ คงตอ่ ความกา้ วหนา้ ของ
อาชีพราชการ และกจิ การอ่นื ๆ ทเ่ี กี่ยวกบั สถาบัน

ชายไทยตงั้ แตส่ มยั อยธุ ยาถงึ รตั นโกสนิ ทร์ จงึ มี “ยาบ�ำรงุ
ความเปน็ ชาย” อยา่ งเปดิ เผย ทง้ั สมนุ ไพร วา่ นยา ชา้ งกระทบื โรง 
พระกระโจนก�ำแพงฯลฯ แต่ท่ี “เปน็ อาหารประจ�ำวัน” นั้น ท่ี
กล่าวอยู่ใน “เสภา ขุนช้างขุนแผน” “ฉบับหอสมุดแห่งชาติ
ของครูแจ้ง” ครูเสภาที่มีช่ือสมัยรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลท่ี ๓
มีอยูห่ ้าต�ำหรบั แบบไทย จนี ผสม ญ่ปี นุ่ บ้างกม็ ี

ที่เป็น “ต�ำรับไทยแท้” ที่นางศรีประจันสอน “นางพิม- 
พิลาไลย” ท�ำให้ขุนแผนกิน คอื ขา้ วตม้ ย�ำปลาไหล มีวธิ ีการท�ำ
ดังน้ี

ขั้นตอนที่ หนึ่ง

“หนง่ึ ปลาไหลยา่ งไฟพอน�้ำหยด ขดใสห่ มอ้ ลงทงั้ ตัวกับถ่วั ลสิ ง
ขา้ วสารขาวซาวใสใ่ ห้บรรจง ทบุ ตะไครใ้ สล่ งแล้วเคี่ยวไป
ไฟให้แรงนำ้� แกงขาวจนข้าวขน้ จนเมด็ ถว่ั เปอ่ื ยปนเนอื้ ปลาไหล”

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวหิ าร  •  221 

ข้นั ตอนท่ี สอง

“แลว้ เด็ดเอาใบมะกรดู รดู ลงไป ตกั ใส่ไว้ในชามฝร่ังบาง
เอาไมค้ นปลาให้เข้ากบั ข้าวทว่ั หักหวั เกบ็ เสียใหส้ ิ้นก้าง”

ขัน้ ตอนที่ สาม

“พริกกะปเิ ผาให้เกรียมกระเทยี มราง ตำ� ให้อยา่ งยาบดรสจงึ ดี

นำ้� ปลาใสใส่ทว่ั พอกลัว้ พริก กระเทียมสกุ ใสอ่ กี จนได้ท่ี

ตน้ หอมหนั่ สนั ใส่ใบผกั ชี มะนาวสีเขียวสดรสดจี ริง”

ดกู รรมวธิ แี ลว้ กพ็ อท�ำกนิ เองได้ สว่ นสรรพคณุ นน้ั มดี งั น้ี

“ทำ� ใหก้ นิ ทกุ วนั หมน่ั สำ� เหนยี ก แมอ้ อ่ นเปยี ก กจ็ ะแขง็ เปน็ ไมท้ อ่ น
พอตกคำ่� ขึ้นทา้ ย ไม่หลบั นอน พายเรอื คลอนเหยาะเหยาะจนเคาะระฆงั ”

(ฉบบั หอสมดุ แหง่ ชาติ ของครแู จ้ง)

ไมต่ อ้ งสงสัยท�ำไม? ชายไทยแตโ่ บราณ ชอบกินปลาไหล
กัน ปัจจุบัน “ปลาไหล” คนไทยมี “ค่านิยม” ไม่กินปลาไหล
กลายเปน็ ว่า “ปลอ่ ยปลาไหล” ไหลไปท�ำให้หายทกุ ข์หายโศก
ชายไทยต้องไปกิน “ข้าวต้มปลาไหล” ท่ีเวียดนาม “ข้าวหน้า
ปลาไหล” ทญี่ ่ีปุ่น เป็นเช่นน้นั ไป ลืมอาหารบ�ำรุงรา่ งกายแบบ
ไทยโบราณเสยี ส้ิน

222  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

วดั ปา่ เลไลยก์ กับ วดั ลานมะขวดิ

ภาพ พระวิหารหลวงพ่อโต วดั ป่าเลไลยกใ์ นอดตี

แตโ่ บราณนานมา การสรา้ งพระใหญโ่ ต ไวใ้ นแควน้ แดนดนิ  
ต่างๆ จุดมุ่งหมายก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองนี้ม่ันคงเป็น 
ปกึ แผน่ ทางการทหารมนั่ คง ในราชอาณาจกั ร สว่ นทางศาสนา 
น่ันเล่า คือ “การบอกเล่าความย่ิงใหญ่” ผ่านพระพุทธปฏิมา
ขนาดใหญ่ ให้เห็นเด่นประจักษ์แก่แคว้นอื่นและเป็นศูนย์รวม
หลกั ใจทางจิตวิญญาณของประชาชนพลเมอื ง

หลวงพอ่ โต วัดป่าเลไลยก์ มคี วามหมายเปน็ พระประจ�ำ
แคว้นสุพรรณภูมิ เหมือนกับหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง พระ
ปฏิมาประจ�ำแคว้นอโยธยา บ้านพี่เมืองน้องเพียงแต่ “ความรู้
ทางดา้ นวศิ วกรรมโยธา” นั้นแตกต่างกนั

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  223 

สมัยโบราณเทคโนโลยี การสร้างพระใหญ่แบบน่ังยืน
โดดๆ ไมส่ ามารถสรา้ งได้ จงึ ไดแ้ ตส่ รา้ งพระนอน ขนาดใหญไ่ ว้
มากมายเพราะไมม่ ปี ัญหาการรบั แรงน้�ำหนกั การสร้างพระนัง่  
ขนาดใหญ่ แบบลอยองค์ คงยงั ไมป่ ลอดภยั นกั จงึ สรา้ งหลวงพอ่ โต 
วัดป่าฯ โดยให้ด้านหลังของหลวงพ่อติดกับผนังรับหลังองค ์
ไวใ้ หม้ นั่ คง แตส่ �ำหรบั หลวงพอ่ โต วดั พนญั เชงิ อยธุ ยา มคี วาม 
ก้าวหนา้ ทางเทคโนโลยีก่อสร้างจงึ ไม่มีผนงั

วดั ปา่ เลไลยก์ สพุ รรณบรุ ใี นต�ำนานระบวุ า่ “วดั ปา่ เลไลยก ์
ในวัดลานมะขวิด” ก็แสดงว่าวดั ปา่ เลไลยก์ แต่เดิมเป็นวดั หน่งึ
ในวัดลานมะขวิด ในบริเวณนี้ มีวัดอีกหลายวัด พระสงฆ์มา
ชุมนุมศึกษาเล่าเรียน ผู้คนมาท�ำบุญมากกว่าวัดพระศรีรัตน- 
มหาธาตุ ที่อยู่ในร้ัวในวัง เขตพระราชฐาน เมื่อวัดป่าเจริญ
รุ่งเรืองข้ึนจึงรวมเอาวัดลานมะขวิดไว้เป็นวัดเดียว จากชื่อ
วัดลานมะขวิด ท�ำให้มองเห็นภาพว่า วัดนี้แต่โบราณคงมีต้น
มะขวิดมากมาย จึงต้องเรียกเช่นนั้น หลวงพ่อถิร ได้เขียนไว้
ในบันทึกของทา่ นพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกของวัดป่าเลไลยก์ ว่า
คนเฒา่ คนแกไ่ ดเ้ ลา่ ใหฟ้ งั วา่ แตก่ อ่ นนน้ั ในหมบู่ า้ นนม้ี ตี น้ มะขวดิ
ขน้ึ อยจู่ ริง

224  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวหิ าร

“หัวโต” เมืองสพุ รรณ

ภาพ ขาวด�ำหัวโต พ.ศ. ๒๕๐๐

หวั โต เมอื งสพุ รรณเกย่ี วพนั ถงึ วรรณคดี “ขนุ ชา้ ง ขนุ แผน”
หนึ่งในภาพอมตะเมืองสุพรรณ พุทธศักราช ๒๕๐๐ หัวโต 
มคี กู่ บั กลองยาวมาแตก่ อ่ นเกา่ ไมม่ บี นั ทกึ เอกสารใดๆ ใหค้ วาม
ชัดเจนได้ว่ากลองยาว เร่ิมข้ึนมาต้ังแต่สมัยใด แต่เกิดขึ้นหลัง 
สมัยกรุงศรอี ยุธยาแนน่ อน

“อ.ธนติ อยโู่ พธ”์ิ อดตี อธบิ ดกี รมศลิ ปากร สนั นษิ ฐานวา่  
“กลองยาวนน้ั ” มมี าตงั้ แตส่ มยั กรงุ ธนบรุ ี หรอื ตอ่ เนอื่ งกรงุ รตั น- 
โกสนิ ทร์ กลองยาวเกดิ จากสมยั พมา่ “มาท�ำสงคราม สรู้ บกบั ไทย 
ในยามพักศึกก็เอากลองศึกที่ตบี อกสญั ญาณมาตีรวมกนั สร้าง 

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  225 

ความสนุกสนาน เสียงเท่ิงบ่องๆๆๆ คนไทยเห็นแล้วชอบใจ 
น�ำมาประยกุ ตเ์ ปน็ กลองยาวไทย แตย่ งั มกี ลนิ่ ไอของพม่าคือใน 
ยุคแรกการแต่งกาย ของคณะเถิดเทิงกลองยาวยังนุ่งผ้าโสร่ง
และมีผ้าโพกหัว มีการแสดงพม่าร�ำกลองยาว พมา่ ร�ำขวาน”

ส�ำหรบั ประวตั หิ วั โตทรี่ �ำคกู่ บั กลองยาวนน้ั สนั นษิ ฐานวา่
มาจากเสียงกลองยาวมันเร้าใจ คนฟังอยากร่วมด้วยเลยคว้า
ส่ิงใกล้ตัว คือ “สุ่มไก่” (ในสมัยโบราณคนไทยเลี้ยงไก่ไว้แทบ 
ทกุ บา้ น) หรอื อ่ืนๆ ท่ีสามหัวได้มาสวมหัวคลมุ ผา้ เจาะลูกตาไว้
ให้มองเห็น นานๆ ไปก็ใช้ไม้สานเป็นรูปหน้าตาต่างๆ ขึ้นมา
เอากระดาษแข็งเศษผ้าปะเข้าไป จนนานเข้าเปลี่ยนแปลงเป็น 
รูปร่าง “เปน็ หวั โต” อย่างท่ีเห็นในปจั จบุ ัน

หวั โตในยคุ กอ่ น พ.ศ.๒๕๐๐ มเี พยี ง ๒ หรอื ๓ หวั เทา่ นนั้
ถ้ามีสองหัวจะเป็น หัวโตผู้หญิงกับหัวโตผู้ชาย วัยหนุ่มสาว
หนา้ ตายมิ้ แย้มแจ่มใส คงเป็นหัวโตขุนแผน กบั หัวโตนางวนั ทอง 
ผู้หญิงก็ยังเป็นหญิงผมยาวติดต้นคอ (มีคอแค่นั้น) ถ้ามีหัวโต 
สามหัว ก็จะเพ่ิมหัวโตผู้ชาย ข้ีเหร่ หัวล้านคล้าย “ขุนช้าง” 
ดไู ปใหข้ �ำๆ สนกุ สนาน หวั โตหวั ทสี่ เี่ พม่ิ มาคอื “หวั เดก็ ” หรอื หวั
จกุ หวั แกะ ยม้ิ แฉง่ หรอื กมุ ารทอง จงึ สรปุ ไดว้ า่ หวั โตทพ่ี บเหน็  
ในยุคสมัยก่อนน้ันมีท้ังหัวโตสองหัวขุนแผนกับนางวันทองเป็น
หลัก เพม่ิ ด้วยหวั โตขุนชา้ งและหวั โตกุมารทองตามล�ำดับ

226  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

“ตะปไู มต้ าล” แบบโบราณ

“ตะปไู ม้ตาล” แบบโบราณ

วิหารหลวงพอ่ โต วัดปา่ เลไลยก์ สพุ รรณบุรี หลวงพอ่ โต 
พระพุทธรูปศูนย์รวมจิตใจของชาวสุพรรณบุรี ทุกชาติพันธุ ์
ไทยสยาม จีน มอญ ลาว ละวา้ ฯลฯ นับถือรว่ มกนั

หลงั ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เสยี กรงุ ศรอี ยธุ ยา ผคู้ นหนภี ยั สงคราม
สพุ รรณเปน็ ทรี่ กรา้ งดงั ทส่ี นุ ทรภแู่ ละเสมยี นมี (๒๓๘๗) บรรยาย
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ทรุดโทรมด้วยพิษสงคราม ความ
ทราบถึงสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นว่า

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  227 

ควรปฏิสังขรณ์ จึงโปรดให้ “เจ้าพระยานิกรบดนิ ทร”์ เสนาบดี
มหาดไทยมาจดั การบูรณะซอ่ มแซม แตย่ งั ไม่เสร็จสมบรู ณ์ จน
สิ้นรัชกาลที่ ๓ ตามจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ (๒๓๘๓) เรื่อง
ขอเลกท�ำวดั ปา่ เลไลยก์ ตอ่ มาสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้  
เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๔ เรม่ิ บรู ณะวดั ปา่ ฯ และองคห์ ลวงพอ่ โตตอ่  
ต้ังแต่ปี พ.ศ.๒๔๐๓ มีการร้ือผนังและเคร่ืองบน ที่เป็นไม้ท ี่
ช�ำรดุ ออกเพอ่ื สรา้ งใหม่ เขา้ ไปทดแทน จนเสรจ็ สนิ้ เม่ือปี พ.ศ.
๒๔๐๘ ใชเ้ วลา ๒๕ ปี ในรชั สมยั รชั กาลที่ ๔ (เมอ่ื ยงั ทรงผนวช
ได้เดนิ ทางมาวดั ปา่ เลไลยก)์

ภาพ ตราประจ�ำรชั กาลที่ ๔
ทหี่ นา้ บันทศิ ตะวนั ออกพระวิหาร หลวงพ่อโต

228  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

พิจารณาจาก “จดหมายเหตรุ ัชกาลที่ ๔” (พ.ศ.๒๔๐๗)
เรอื่ ง ใบบอกเมอื งสพุ รรณ เรอ่ื งวดั ปา่ เลไลยก์ ระบวุ า่ ปฏสิ งั ขรณ์
วัดป่าเลไลยก์เสร็จใน พ.ศ.๒๔๐๘ จึงสามารถระบุได้ว่า การ
บูรณปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์ เริ่มต้นสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.
๒๓๘๓ มาเสร็จสน้ิ สมัยรัชกาลท่ี ๔ พ.ศ.๒๔๐๘ รวมเวลาของ
๒ รชั กาล ใชเ้ วลา ๒๕ ปี (๒๔๐๘-๒๓๘๓) ต่อมามีการร้อื ผนงั  
และเครอื่ งบน ทเ่ี ปน็ ไมท้ ช่ี �ำรดุ ออกเพอื่ สรา้ งใหมเ่ ขา้ ไปทดแทน
จนเสร็จสน้ิ เมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ใช้เวลา ๑๕ ปี

ผลจากการร้ือส่ิงก่อสร้างเพ่ือปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลย ์
ไดม้ ีการเปลี่ยนโครงสร้าง ส่วนทเ่ี ป็นไม้ได้รอื้ ตะปู ทที่ �ำมาจาก 
“ไม้ตาล” ออกมาเพ่ือปรับโครงสร้างใหม่ รวมทั้งพบ “ตะปู 
สังขวานร” ท่ีเป็นโลหะผสมมีลักษณะเดียวกันกับภาพ โดย
“ตะปไู มต้ าลน”้ี ไดถ้ กู น�ำใสก่ ระจาดสาน จนเตม็ หลายกระจาด
วางไว้ใกล้วิหาร อนุญาตให้ประชาชนสามารถน�ำไปกราบไหว้
บูชาเปน็ เคร่อื งรางพกพาได้

ประชาชนในยุคน้ันบางส่วนไม่นิยมเอาของวัดเข้าบ้าน
บางส่วนเห็นว่าควรน�ำไปกราบไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลกับ 
วงศต์ ระกูลครอบครัวและตนเองเปน็ มรดกตกทอดกนั ต่อมา

ภาพตะปูไม้ตาลไม่สามารถค�ำนวณอายุได้ คือหลักฐาน
ในการร้ือสร้างวิหารหลวงพ่อโต ที่ท�ำให้บทความนี้สมบูรณ์ด้วย 
หลกั ฐาน ขอขอบพระคณุ ครอบครวั ตระกลู “ข�ำออ่ น” ทไ่ี ดก้ รณุ า
มอบ “ตะปไู มต้ าล” มรดกตกทอดของตระกลู ไวเ้ ปน็ วทิ ยาทาน

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  229 

“ลิงกับชา้ ง” ในวหิ ารหลวงพ่อโต

“ลงิ กบั ชา้ ง” ใน “วหิ ารหลวงพอ่ โต” วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร
สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ บันทึก 
ไวว้ า่ ไมใ่ ช่ “ของเดิม” ของเดมิ น้ันสูญหายไปแลว้

น่ีคือของท�ำทดแทนของเดิม ของเดิมเป็นโลหะทองแดง
ผสมหลอ่ (บรอนซ)์ สญู หายไป ไดม้ ผี บู้ รจิ าคสรา้ งใหใ้ หม่ “เปน็
ปนู ปั้น” ตดิ ไวท้ ่เี สาในวิหาร

ภาพ ลงิ ถวายรวงผึ้ง ในพระวิหารหลวงพ่อโต

พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ท่ีเรียกว่า หลวงพ่อโตน้ี มี
เรอื่ ง “ลงิ กบั ชา้ ง” ปรากฏอยใู่ นโคลงนริ าศสพุ รรณ ของสนุ ทรภ ู่
(พ.ศ.๒๔๗๙) “สนุ ทรภ”ู่ มาสพุ รรณตามลายแทง เลน่ แร่แปรธาตุ

230  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวหิ าร

ระบวุ า่ ทปี่ า่ เมอื งสพุ รรณมแี รท่ ต่ี อ้ งการ ไดก้ ลา่ วถงึ หลวงพอ่ วดั
ปา่ เลไลยกเ์ ปน็ พระพทุ ธรปู ปางเลไลยก์ พระพกั ตรย์ มิ้ ประกอบ
ดว้ ย “ลงิ และช้าง” แสดงทา่ พุทธบูชาว่า

“ขึ้นโขดโบสถ์เกา่ กม้ กราบยุคล
พระปา่ เลไลยก์ ็ยล อยา่ งย้มิ
ยอกรหยอ่ นบาทบน บงกช แกว้ เอย
ปล่งั เปล่งเพง่ พศิ พริ้ม พระหน้งั ดงั องค”์
“เทยี นธูปบปุ ผชาติ บูชา
นกึ พระเสดจ็ มา ยบั ยง้ั ”

……………………………. …………………………….
ลิงเผือกเลือกสมอพวา ถวายไว้ ใกลแ้ ฮ

ชา้ งเผือกเลอื กผึง้ ท้งั กิง่ ไม้ไหว้ถวาย”
(นิราศสพุ รรณ สนุ ทรภ)ู่

ในขณะท่ีหม่ืนพรหมสมพัตสร (มี) เดินทางมาสุพรรณบุร ี
ปีพ.ศ.๒๓๘๗ หลังสุนทรภู่ ๘ ปีเพ่ือเก็บภาษีอากร เสมียนมี
กล่าวว่าหลวงพ่อโตหนา้ หมอง

“เปน็ พระน่ังปิดทองของบรู าณ เห็นนานหนักหนากว่าร้อยปี
พระพาหาขวาซา้ ยทลายหัก วงพระพกั ตรท์ องหมองไมผ่ อ่ งศรี
ห้อยพระชงฆล์ งเรยี บระเบยี บดี แลว้ ก็มลี งิ ช้างขา้ งละตวั
ช้างหมอบมว้ นงวงจว้ งจบอยู่ ลิงกช็ รู วงผ้ึงขึน้ ท่วมหัว
พ้ืนผนงั หลงั คาก็น่ากลวั ฝนก็ร่วั รดอาบเปน็ คราบไคล”

หมื่นพรหมสมพัตสร (ม)ี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  231 

ภาพ ชา้ งถวายกระบอกนำ้� ในพระวิหารหลวงพอ่ โต

เรอ่ื งทนี่ �ำเขยี นถงึ คอื “ลงิ กบั ชา้ ง” นน้ั มอี ยจู่ รงิ แต่ “กวี
เอก” ทั้งสอง คือ “สุนทรภู่” กับ “เสมียนมี” เห็นไม่ตรงกัน
“เสมียนม”ี มาสพุ รรณ ในปี พ.ศ. ๒๓๘๗

“แลว้ ก็มลี ิงช้างข้างละตวั
ช้างหมอบม้วนงวงจว้ งจบอยู่
ลิงก็ชรู วงผึ้ง ขึน้ ท่วมหัว
……………………………………”

แต่ สนุ ทรภู่ เขียนในโคลงนิราศสุพรรณ วา่

“ลงิ เผือกเลอื กสมอพวา ถวายไว้ ใกลแ้ ฮ
ชา้ งนน้ั เลอื กท้ังผง้ึ กงิ่ ไม้ ไหว้ถวาย”

จากโคลงนิราศตรงน้ีของ “สุนทรภู่” ในปี พ.ศ. ๒๓๗๙
บ่งบอกได้ชัดเจนวา่ “ลิงกับชา้ ง” ทเี่ ห็นอยปู่ ัจจบุ ันนี้ไมใ่ ชเ่ ป็น

232  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

ของเดิม แต่เป็นของที่ท�ำข้ึนมาใหม่ เพราะของเดิมที่สุนทรภู่ 
เห็น คือ ลิงเผือกถือสมอ ส่วนช้างเผือกนั้นถือ “กิ่งไม้รวงผึ้ง” 
ซึ่งผิดแผกไปกับปูนปั้นที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่ “ลิง” ถือรวงผ้ึง 
สว่ น “ชา้ ง” ถวายกระบอกนำ้� แตห่ มน่ื พรหมสมพตั สร (เสมยี นม)ี  
เห็น “ลิงชูรวงผงื้ ” สนุ ทรภ่นู นั้ เหน็ ลงิ เผือก เลือกสมอพวา

สถานทที่ ชี่ า้ งและลงิ ตง้ั อยนู่ น้ั ในโคลงนริ าศสพุ รรณ ของ
สุนทรภ่วู ่าดงั น้ี

“ลงิ เผือกเลอื กสมอพวา ถวายไว้ ใกล้แฮ”

เสมยี นมีวา่

“ช้างหมอบมว้ นงวงจ้วงจบอยู่”

เมอื่ พจิ ารณาถงึ เนอ้ื หาของสนุ ทรภแู่ ละเสมยี นมี ดงั กลา่ ว
พอจะสนั นษิ ฐาน ไดว้ า่

๑. สุนทรภเู่ ดนิ ทางมาถึงก่อน ปี พ.ศ.๒๓๗๙
๒. เสมยี นมี มาทีหลงั ปี พ.ศ. ๒๓๘๗ หลงั สุนทรภู่ ๘ ปี
๓. ลักษณะ สถานที่ ของท้ังช้างและลิง มีลักษณะใกล้ชิด
หลวงพ่อโต เป็นตวั ตน ไม่ใชแ่ บบติดเสา ดังท่สี ุนทรภู่ ใช้ค�ำวา่  
“ถวายไวใ้ กลแ้ ฮ” สว่ นหมน่ื พรหมสมพตั สร (ม)ี วา่ “ชา้ งหมอบ
ม้วนงวง” ซง่ึ เปน็ ลกั ษณะของกรยิ าท่ีใชก้ ับพืน้ ราบ ไม่ใชใ่ ชก้ บั
เสาวิหาร

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  233 

จงึ ขอสรปุ วา่
๑. ลงิ กับ ช้าง ของเดมิ มีลกั ษณะเปน็ รปู รา่ งชา้ ง ลงิ เป็น
ตวั ตน
๒. ไมไ่ ดเ้ ปน็ ปนู ปน้ั ตดิ เสาวหิ าร แตอ่ ยใู่ กลช้ ดิ หลวงพอ่ โต
๓. ลงิ นั้น ถอื ของถวายไมเ่ หมือนกนั คือ
ลิงของ “สุนทรภู่” ถือสมอพวา แต่ลิงของ “เสมียนมี” 
ถือรวงผ้ึง จึงถือตามเสมียนมี ท่ีมาสุพรรณหลังสุนทรภู่ ๘ ปี
สอดคลอ้ งกบั “เรอ่ื งประวตั วิ ดั ปา่ เลไลยก”์ ฉบบั กรมการศาสนา
เขียนโดย พระวิสุทธิสารเถร (หลวงพ่อถิร) อดีตเจ้าอาวาส 
วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร ขอ้ ความ ดงั น้ี “วา่ รปู “ชา้ ง” ทง้ั “วานร” 
ท่ีเห็นอยู่ในวิหารของเดิมมาหล่อด้วยทองแดงและได้หาย
สาบสูญไปนานแล้ว ภายหลังมีผู้ศรัทธาสร้างข้ึนใหม่ด้วยปูน 
โดยท�ำรปู ปัน้ ตดิ กับเสา”

งานฉลองและสมโภชสมณศกั ด์ิ
พระครูรกั ขติ วนั มุนี (ถิร ปญ ฺ าปโชโต)

“สุรพล สมบัตเิ จริญ ประชนั กบั ไวพจน์ เพชรสุพรรณ”

ความกตญั ญู
เปน็ สมบตั ิของคนดี

วันท่ี ๕ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๑๐ พระครูรักขิตวันมุนี 
(ถริ ปญฺ าปโชโต) เจา้ อาวาส
วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร พระเกจ ิ
อาจารย์รูปส�ำคัญแห่งเมือง
สพุ รรณบรุ ี ไดร้ บั พระราชทาน
แต่งต้ังเป็นพระราชาคณะท ่ี
“พระรกั ขติ วนั มนุ ”ี มงี านฉลอง 
และสมโภชเกดิ ขนึ้ ในปี ๒๕๑๑ 
มีสุดยอดของวงดนตรีลูกทุ่ง ภาพ พระครูรกั ขติ วันมนุ ี  
(ถิร ปญฺ าปโชโต)

เมืองไทยที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อถิร มาแสดงให้ชมกัน คือ
“สุรพล สมบตั ิเจริญ” กับ “ไวพจน์ เพชรสุพรรณ”

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  235 

เหมอื นมาแสดงประชันกัน แต่ไมไ่ ดป้ ระชนั เพราะไม่มี
การเก็บค่าเข้าชม ให้ชมกันฟรีๆ แฟนเพลงทั้งสองคณะไม่รู้ว่า 
ใครเปน็ ใครเต็มลานวดั รถตดิ ยาวเหยียดตง้ั แต่วดั ป่าฯ ไปจนถึง 
อ�ำเภอเมอื งคอื ตวั จงั หวดั ชาวอ�ำเภอบางปลามา้ บา้ นเกดิ “ไวพจน”์  
บา้ นวงั นำ้� เยน็ ฝง่ั ตลาดเกา้ หอ้ ง รางบวั ทา่ ตลาด ตะลมุ่ ฯ ลานคา 
กกม่วง บ้านดา่ น บา้ นหมี่ ฯลฯ ส่วนหนึง่ มาต้งั หลกั ท่ี “ทา่ เรอื  
แทก็ ซ”ี่ (เรอื ) ตลาดเกา้ หอ้ งตง้ั แตเ่ ทย่ี ง ออกเดนิ ทางจากทา่ เรอื  
ตลาดเกา้ หอ้ ง เทย่ี วแลว้ เทยี่ วเลา่ ไปขน้ึ เรอื ทที่ า่ เรอื แดง ขนสง่ ใน
เมอื งสพุ รรณ จากนนั้ นง่ั รถสองแถวตอ่ ไปวดั ปา่ ฯ หากไปถงึ บา่ ย
สามหรือบ่ายส่ีโมง ไม่มีที่นั่งซะแล้ว มีการปูเสื่อของแฟนเพลง
นั่งจองหมด การประชันของดนตรีท้ังสองวงจบลงด้วยความ 
ประทับใจ คือเสมอกัน

ภาพ ราชาเพลงลุกทงุ่  
สุรพล สมบตั เิ จริญ

236  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

เมื่อดนตรีเลิกแสดงแล้วตอนขากลับนี้แหละส�ำคัญ วง
ดนตรี เลกิ ประมาณเท่ียงคนื รถติดหนบึ แทบไมข่ ยบั รบั สง่ กัน
ไม่ได้ เส้นทางถนนมาลัยแมนติดหนักขยับไปได้ทีละนิด แฟน
เพลงจากบางปลาม้า ทั้งแฟนของ “สุรพล” และแฟนเพลง
“ไวพจน”์ กช็ ดุ ๆ เดยี วกนั ตอ้ งเดนิ จากวดั ปา่ ฯ เขา้ มาตวั เมอื งมา
รอขนึ้ เรอื กลบั ตลาดเกา้ หอ้ ง กวา่ จะหมดชดุ สดุ ทา้ ยทเ่ี รอื ขนสง่
จะบรรจุมาไดเ้ ทย่ี วสดุ ทา้ ย ถึงท่าเรือตลาดเกา้ ห้องกส็ ว่างพอดี
ไปท�ำไรไ่ ถนาตอ่ เลย

ภาพ ราชาเพลงแหล่
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

นับเป็นความทรงจ�ำ “ท่ีย่ิงใหญ่” เหลือเกินในสมัยน้ัน 
ยังประทับใจและซาบซึ้งใจถึง “ความกตัญญู”ของนักร้องดังที่ 
ไม่ลืมพระคุณหลวงพอ่ ถริ ผอู้ าจารย์

ขอขอบพระคุณข้อมูลจากพระสมุห์บุญช่วย อโสโก 
เจ้าอาวาสวัดบ้านหมี่ ชุมชนมิตรเพลง “ลานคาพาฝัน” คณะ
มติ รเพลง “ศิษย์สรุ พล”

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  237 

เหรียญหลวงพอ่ โต รุน่ แรก

ภาพ หลวงพ่อสอน ท�ำบุญ 
๖๐ พรรษา ผสู้ ร้างเหรียญ
หลวงพ่อโต รุ่นแรกๆ

พระครโู พธาภริ ตั หรอื หลวงพอ่ สอน เปน็ ชาวบา้ นคา่ ยเกา่  
จ.สุพรรณบุรี อยู่เหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เกิดในราวปี
พ.ศ. ๒๔๐๘ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสนิ -นางนมิ่ * ตอนเดก็ ๆ
ศึกษาร่�ำเรียนหนังสือไทยและอักขระขอมที่วัดประตูสาร เมื่อ
อายุครบบวชในปี พ.ศ.๒๔๒๙ จึงอุปสมบทท่ีวัดประตูสาร 
เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อกล�่ำ อดีตเจ้าอาวาส 
วดั ปา่ เลไลยก์ เรยี นพระปรยิ ตั ธิ รรมทว่ี ดั สวุ รรณภมู มิ าจ�ำพรรษา
วัดไชนาวาส (วัดชายนา) เพ่ือศึกษาเพิ่มเติม ฝากตัวเป็นศิษย์

* บางมตวิ ่า หลวงพอ่ สอน บุตรพอ่ ครุฑ แม่ปาน

238  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร

หลวงพอ่ เนยี ม วดั นอ้ ย ขณะนนั้ วดั ปา่ เลไลยก์ เรมิ่ ช�ำรดุ ทรดุ โทรม 
มากอกี ทงั้ ไมม่ พี ระจ�ำพรรษา คณะสงฆจ์ งึ มมี ตแิ ตง่ ตง้ั ให้ “พระครู 
สอน” ไปด�ำรงต�ำแหนง่ เจา้ อาวาสวดั ปา่ เลไลยก์ ในปพี .ศ.๒๔๕๖ 
หลวงพ่อสอนก็เริ่มพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองทั้งด้านสิ่งก่อสร้าง 
พัฒนาด้านการศึกษา เป็นท่ีเคารพศรัทธาของชาวสุพรรณบุรี
หลวงพ่อสอน มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ สิรอิ ายุ ๖๗ ปี

ภาพ เหรียญหลวงพ่อโต รนุ่ แรก

เหรยี ญหลวงพอ่ โต เปน็ เหรยี ญรปู ไข่ ดา้ นหนา้ จ�ำลองรปู
หลวงพอ่ โต ปางปา่ เลไลยก์ มรี ปู ชา้ งถวายกระบอกนำ้� ลงิ ถวาย
รวงผงึ้ ดา้ นหลงั เปน็ ยนั ตพ์ ระเจา้ หา้ พระองคอ์ า่ นวา่ “นะ โม พทุ
ธา ยะ” ดา้ นลา่ งลงมาเป็นปที ่สี ร้าง “๒๔๖๒” และอกั ษรไทย 
ชื่อพระประธานว่า “หลวงพ่อวัดปา่ เรไร”

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  239 

ความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นเหรียญหลวงพ่อโต
วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร รนุ่ แรก ปี พ.ศ.๒๔๖๒ สรา้ งโดย หลวงพอ่  
สอน เจา้ อาวาสผเู้ รอื งนาม ออกแบบไดส้ วยสดงดงาม เปน็ ธรรมชาต ิ
มเี อกลกั ษณ์ ความส�ำคญั ล�ำดบั แรกคอื สรา้ งในโอกาสทพ่ี ระบาท 
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๖ โปรดเกล้าฯ ยก 
ฐานะวดั ปา่ ขนึ้ เปน็ พระอารามหลวงชนั้ ตรี เมอ่ื วนั ที่ ๒๑ เมษายน
พ.ศ.๒๔๖๒ ซงึ่ ครบ ๑๐๐ ปี ในวนั ท่ี ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒

ภาพในเหรยี ญหลวงพอ่ โต ชา้ งกบั ลงิ สลบั ทกี่ นั ไมเ่ หมอื น
กบั เสาปูนปนั้ ในวิหาร

“ขอทาน”

ภาพ “ขอทาน”
หนา้ วิหาร

240  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวิหาร

“ขอทาน” หน้าวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ไปถึง 
“วณพิ ก” ค�ำสอนของคนโบราณให้มีนำ�้ ใจต่อกัน

ค�ำโบราณคุ้นหวู ่า “ท�ำบญุ ท�ำทาน” เปน็ ของคกู่ นั โดยมี
ความหมายวา่ ท�ำบญุ คอื การท�ำใหก้ บั “สง่ิ ไมม่ ชี วี ติ ” (ศาสนา
สาธารณประโยชน์) ท�ำทาน คือ การท�ำให้กับ “สิ่งมีชีวิต”
(ปล่อยนกปลอ่ ยปลา)

ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๑๐ วัดป่าฯ ตอนนั้นยังมีขอทานหน้า
วิหาร มี “เด็กหัวโต” (เหมือนลูกแตงโม) นอนอยู่หน้าวิหาร
ให้ผู้คนทีม่ าท�ำบญุ กราบไหวห้ ลวงพอ่ โตเหน็ แล้วสงสารท�ำทาน

“ขอทาน” กับ “วณิพก” น้ันต่างกัน ขอทานขอความ
เมตตาสงสาร ให้คนใหท้ านด้วยพิการเจ็บปว่ ยท�ำงานไม่ได้ ไมม่ ี
การแลกเปลย่ี น เปน็ ผรู้ บั ฝา่ ยเดยี ว “วณพิ ก” นนั้ ตา่ งกบั ขอทาน
คอื มกี ารแลกเปลยี่ น

เมื่อสมัยห้าสิบปีก่อนสุพรรณบุรีหน้าน้�ำหลาก ผู้คนบาง
แหง่ ทท่ี �ำอาชพี ไมไ่ ดอ้ ดอยากตอ้ งพายเรอื มาพรอ้ มกบั รอ้ งเพลง
เป็นการแลกเปลี่ยนเป็นเงินหรือข้าวสารสิ่งจ�ำเป็นต่อการด�ำรง
ชีพ คนโบราณบอกว่า เม่ือได้ยินเสียงเพลงของเขาเราต้องให้
ขา้ วสาร เราจะฟงั เพลงของเขาอยา่ งเดยี วไมไ่ ดม้ นั เปน็ บาป ตอ้ ง
ใหข้ องคืนเขา

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  241 

เม่ือมีพระราชบัญญัติขอทาน เหตุการณ์เปลี่ยนไปไม่มี
ขอทานอยู่หน้าวิหาร ไม่มี “วณิพก”ตามความหมายเดิมร้อง
เพลงเพอ่ื อยูร่ อด

ภาพกอ่ นปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จากหนงั สอื “สพุ รรณเมอื่ วนั วาน”

“แก้บน” ดว้ ยการปิดทอง

ภาพ หา้ มปดิ ทองหลวงพอ่ โตดว้ ยทองวทิ ยาศาสตร์

“แกบ้ น” หลวงพอ่ โต ดว้ ยการปดิ ทองไมใ่ ช่ “แกบ้ นดว้ ย
ขนมจีนนำ้� ยา”

แกบ้ นหลวงพอ่ โต วดั ปา่ เลไลยกพ์ ระคบู่ า้ นคเู่ มอื ง จงั หวดั
สพุ รรณบรุ ี สอ่ื สารมวลชนตา่ งๆ ออกขา่ ววา่ หากจะอยากท�ำให้ 

242  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

อะไรใหส้ �ำเรจ็ สมปรารถนา ใหบ้ นบานหลวงพอ่ โต “ดว้ ยขนมจนี  
นำ�้ ยา” อาจจะตคี วามวา่ วดั ปา่ เลไลยก์ เปน็ ถน่ิ “ชาวมอญ”“ขนม 
จีน” คือ อาหารหลักของมอญได้รับความนิยมทุกชาติพันธุ์ 
ในวรรณคดีไมม่ อี าหารใดพิเศษกล่าวถึง “ท�ำถวายเพือ่ แกบ้ น” 
คนทเี่ กดิ กอ่ นปี ๒๕๑๐ คงไมม่ ปี ญั หา เพราะไมเ่ คยเหน็ “แกบ้ น
ด้วยขนมจีน”

เพ่ือให้เกิดความเข้าใจท่ีถูกต้องส�ำหรับคนรุ่นใหม่ที่เกิด
ไม่ทัน ว่าสมัยโบราณน้ัน ไม่ได้ก�ำหนดการแก้บนหลวงพ่อโต
วัดป่าเลไลยก์ “ด้วยขนมจีนน�้ำยา” การบนหลวงพ่อโตสมัย
ก่อนนั้นหากเม่ือส�ำเร็จตามประสงค์ เจ้าตัวต้องกลับมาแก้บน
ดว้ ยการปดิ แผน่ ทองทอ่ี งคห์ ลวงพอ่ โต ภาพนม้ี อี ายุ ๕๐ ปี ถา่ ย
หนา้ วิหารหลวงพ่อโต พ.ศ.๒๕๐๙ มีขอ้ ความระบุชัด ข้อความ
ต่อเนอื่ งวา่

“โปรดอย่าน�ำทองวิทยาศาสตร์ ปิดทองหลวงพ่อโต
วดั ปา่ เลไลย์ หากจะแก้บนใหว้ างไวบ้ นโต๊ะบชู าดว้ ย”

จึงสรปุ ไดว้ ่าสมัยโบราณประชาชนคนสพุ รรณนัน้ แกบ้ น
หลวงพอ่ วดั ปา่ ดว้ ย “การปดิ ทอง” ไมใ่ ช่ “ขนมจีนน�้ำยา” คง
มปี ระชาชนมาแกบ้ นจ�ำนวนมาก บางคนประหยัดเงนิ ดว้ ยการ
“ซ้ือทองวิทยาศาสตร์” มาปิดทองแก้บน จนทางวัดต้องเขียน
ประกาศไว้

ภาพ นายแพทยส์ มาน สวุ รรณฤทธิ์ ถา่ ยหนา้ วหิ ารหลวงพอ่ โต 
พ.ศ.๒๕๐๙

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  243 

“ดาวราห”ู
คือดาวประจ�ำเมืองสพุ รรณบุรี

หลวงพอ่ โต วัดป่าเลไลยก์ พระปางวันพธุ กลางคนื หรือ
เรียกว่า ปางราหู จึงเป็นพระประจ�ำเมืองสุพรรณบุรี เมืองที่มี
สญั ลกั ษณเ์ ปน็ สีด�ำ

“ต�ำราพชิ ยั สงครามโบราณ ไดก้ �ำหนดดวงดาวประจ�ำเมอื ง
ประเทศใกลเ้ คยี งนนั้ ไว้ เพอ่ื ดคู วามเคลอื่ นไหวภายในเมอื ง ภาย
ใตว้ ถิ ีแหง่ ดวงดาวสถติ ิจบั สงั เกตอันยาวนาน

โดยการก�ำหนดดวงเมอื งนน้ั สงั เกตจากภมู ปิ ระเทศ เชอ้ื ชาติ 
จุดเด่นของชนชาตินั้นๆ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศ
นนั้ ๆ จนสามารถจบั สถติ ดิ วงขน้ึ ดวงตกของประเทศนนั้ ไดเ้ พอื่
ประโยชน์ในการร่วมพิจารณาค้าขายและการท�ำสงครามเพื่อ
แยง่ ชงิ คนและทรัพยากร

ตวั อยา่ งการท�ำนายดวงดาวจากดาวประจ�ำประเทศ เชน่
พธุ ประเทศลาว เสารป์ ระเทศพมา่ (เมยี นมาร)์ ราหปู ระเทศ จนี  
ดังนเ้ี ปน็ ต้น

244  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร
ภาพ หลวงพอ่ โต พ.ศ.๒๔๙๓

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  245 

เมืองโบราณสุพรรณบุรี อู่ทองต้นทางประวัติศาสตร์ไทย
อ.สจุ ติ ต์ วงษเ์ ทศ วา่ ไว้ ประวตั ศิ าสตรแ์ ละโบราณคดขี องเมอื ง 
สพุ รรณบรุ นี น้ั นกั วชิ าการทงั้ ชาวไทยและตา่ งชาตติ า่ งกใ็ หค้ วาม 
สนใจศึกษาค้นคว้ากันมานาน และเป็นที่ยอมรับกันว่าเมือง 
สุพรรณบุรี ได้เริ่มต้นการต้ังถิ่นฐานมาต้ังแต่สมัยก่อนประวัติ- 
ศาสตรใ์ นยคุ หนิ ใหม่ แลว้ พฒั นามาเปน็ รฐั แรกเรม่ิ ในสมยั ทวารวดี
โดยมศี นู ยก์ ลางอยทู่ เ่ี มอื งอทู่ อง จนเมอ่ื เมอื งอทู่ องเสอ่ื มสลายลง
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ดินแดนจังหวัดสุพรรณบุรีก็ไม่
ร้างราผู้คนไปแต่อย่างใด หากได้ปรากฏร่องรอยชุมชนโบราณ
และศาสนสถานทไี่ ดร้ บั อทิ ธพิ ลศลิ ปกรรมของเขมรหลายแหง่ ท่ี
ส�ำคญั คอื เนนิ ทางพระ ในเขตอ�ำเภอสามชกุ ซงึ่ ไดพ้ บศาสนสถาน 
ในพทุ ธศาสนาแบบมหายาน ในราวปลายพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๘-ตน้  
พทุ ธศตวรรษที่ ๑๙ จงึ ไดป้ รากฏชอ่ื รฐั อสิ ระในนาม “สพุ รรณภมู ”ิ  
ขึ้น โดยมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณที่เป็นตัวจังหวัดสุพรรณบุรี 
ในปัจจุบัน (ข้อมูลกรมศลิ ปากร)

จากเนอ้ื ความนก้ี ลา่ วไดว้ า่ สพุ รรณบรุ แี บง่ ออกเปน็ สองยคุ  
คือ

๑. ทวารวดี
๒. สพุ รรณภมู ิ
และตอ่ เน่ืองดว้ ยยคุ ท่ี ๓ คือยุคมังกรสวรรค์
พระราหู ถอื เปน็ ดาวประจำ� เมอื งสพุ รรณดว้ ย ๓ เหตผุ ล
ดงั น้ี

246  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวหิ าร

๑. ยุคทวารวดี มีเมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลาง (พระศิวะ
พระสอสีด�ำ)

๒. ยุคสุพรรณภูมิ มีศูนย์กลางคือตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
ในปัจจบุ นั (หลวงพ่อโต ปางราหูสดี �ำ)

๓. ยุคมังกรสวรรค์ ศาลหลักเมือง (มังกรสัตว์ชั้นสูงของ
จนี ) ราหู หมายถึง เช้อื ชาติคนจนี คือ สดี �ำ

การพิจารณา ดาวประจ�ำเมอื งสุพรรณในยุคที่
๑. คือยคุ ทวารดี น้นั จุดเดน่ ของเมอื งอทู่ อง คือ
๑.๑ ภูเขา คตเิ ทวะคือเขาไกรลาส
๑.๒ โครงสรา้ งเมอื ง เปน็ เมลด็ ขา้ วสาร คอื ดวงตาทสี่ าม
ของพระศิวะ
๑.๓ โบราณวัตถุ แบบมหาเทพศิวะ “ศิวลงึ ค”์ ตา่ งๆ
การสร้างบ้านแปงเมืองของเมืองอู่ทอง จึงเป็นเมืองของ
พระศิวะ สีด�ำเป็นสีพระศอของพระศิวะ จึงเป็นสีของเมือง
สุพรรณบรุ ี
๒. ยคุ สุพรรณภมู ิ
มศี นู ยก์ ลางคอื ตวั จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี ในปจั จบุ นั จนกระทง่ั  
ในราวปลายพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๘ ต้นพุทธศตวรรษท่ี ๑๙ จึงได้
ปรากฏชอื่ รัฐอสิ ระในนาม “สุพรรณภมู ”ิ ขึ้น โดยมีศนู ย์กลาง
อย่ใู นบริเวณทีเ่ ปน็ ตวั จังหวดั สุพรรณบุรีในปัจจุบนั

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  247 

การพจิ ารณาดาวประจ�ำเมอื งสพุ รรณยคุ น้ี พระพทุ ธศาสนา
เข้ามามีบทบาทแทนที่คติพราหมณ์ หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ 
ปางป่าเลไลยก์ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมตลอดมาเมื่อเทียบ
กับพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์คือปางประจ�ำวันพุธกลางคืนที่ 
เรียกว่าปางราหูน้ันเอง สีประจ�ำปางราหูคือสีด�ำตามก�ำเนิด
ของพระราหู ที่พระศิวะท�ำมาจากหวั กะโหลกผี ๑๒ ตน เมอื ง
สพุ รรณบรุ ใี นยคุ สุพรรณบรุ นี ี้จึงเปน็ สดี �ำ เชน่ เดยี วกนั

๓. ยุคมังกรสวรรค์
มงั กร สตั วช์ นั้ สงู ของจนี มงั กรจงึ เปรยี ญเหมอื นสญั ลกั ษณ์
ของคนจีน (เปรียบเหมือนพญานาคของไทย) ยุคท่ีมีชาวจีน 
เขา้ มาอยใู่ นเมอื งสพุ รรณชดั เจนตงั้ แตส่ มยั รชั กาลที่ ๓-๔-๕ จน
ในที่สุดชาวจีนได้ควบคุมกิจการของเมืองสุพรรณไว้อย่างครบ
วงจร มีบทบาทในการบูรณะศาลหลักเมืองแบบจีน จนถึงยุค 
ของ ฯพณฯ บรรหาร ศลิ ปอาชา ไดพ้ ฒั นาปรบั ปรงุ จากศาลเจา้ จนี  
เปน็ มงั กรสวรรค์ เชอ้ื ชาตจิ นี คอื ดาวราหู จงึ มอี ทิ ธพิ ลและเปน็
สดี �ำ
เพราะฉะนั้นจากการสรุป “ภูมิสถาปัตย์ โบราณสถาน
และส่ิงก่อสร้างของสุพรรณ สรุปได้ว่าจังหวัดสุพรรณบุรีมี 
ดาวราหเู ปน็ ดาวประจ�ำเมอื ง สปี ระจ�ำจงั หวดั จงึ ตอ้ งเปน็ “สดี �ำ” 
ราหนู น้ั ไมใ่ ชด่ าว แตเ่ ปน็ เงาของโลกสว่ นหนง่ึ และการเกดิ ปรากฏ- 
การณธ์ รรมชาติ

248  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร

สุพรรณบุรีจึงเป็นเมืองท่ีมีดาวราหูเป็นตัวแทนตามหลัก
ศาสนา คตเิ ทวะ ความเชอ่ื สามารถพิจารณาได้ ๓ ข้อเช่นกัน

๑. เมืองอทู่ อง พระศวิ ะ “พระศอสดี �ำ” สขี องพระราหู
๒. เมอื งสพุ รรณภมู ิ “หลวงพอ่ โต วดั ปา่ เลไลยก”์ ปางราหู 
สดี �ำ
๓. มงั กรสวรรค์ “มงั กรสตั วเ์ ทพนยิ ายจนี ” จนี คอื “ราห”ู  
สดี �ำ
จงึ สรปุ ไดว้ า่ หลวงพอ่ โต ปางราหหู รอื ปางปา่ เลไลยก์ หรอื
วนั พธุ กลางคนื คอื พระประจ�ำเมอื งสพุ รรณบรุ ี สดี �ำคอื สปี ระจ�ำ
จังหวดั ควรใช้สนี เ้ี ป็นสญั ลกั ษณ์แทนเมืองสพุ รรณบุรี
“ราห”ู ไมใ่ ชด่ วงดาว เปน็ เงาของโลกสว่ นหนงึ่ โหราจารย์
จับสถิติ คิดอ่าน เข้ามาสู่การท�ำนายดวงชะตามนุษย์ ต่อมามี
การค้นพบดาวยูเรนัส ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม 
เฮอร์เชล (Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. ๒๓๒๔
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๔ ได้น�ำมาใช้ใน
โหราศาสตรไ์ ทยใหช้ อ่ื วา่ ดาวมฤตยู “พลหู ลวง”ประยรู อลุ ชุ าฎะ 
ปรมาจารย์โหรยุคใหม่ ใช้เกษตรเรือนเดียวยกดาวมฤตยูเป็น 
เจา้ เกษตรราศีกมุ ภร์ ว่ มกบั ดาวราหูเดิม

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  249 

ไหว้พระราหู อยา่ งมปี ญั ญา
ที่วัดปา่ เลไลยก์ อ.เมือง จ.สพุ รรณบรุ ี

ภาพ พระราหูหนา้ พระวิหารหลวงพอ่ โต

เมอ่ื พระราหยู า้ ยราศี หนง่ึ ปหี กเดอื นตอ่ หนง่ึ ราศี กม็ ผี คู้ น
ทมี่ คี วามเชอ่ื รบั สง่ ราหไู ปไหวบ้ ชู าราหทู วี่ ดั ปา่ เลไลยกเ์ ปน็ จ�ำนวน
มาก ทง้ั ทรี่ าหหู มายถงึ พระพุทธรปู ปางป่าเลไลยก์ คือ หลวงพอ่
โต และราหทู ่ีหมายถงึ เทพท่ไี ม่มีวนั ตาย ในต�ำนานเทวก�ำเนดิ

วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบรุ ี มีสัญลักษณ์ ของพระราหู (๘)
คือ พระหลวงโต ปางป่าเลไลยก์ (พุธกลางคืน) ราศีกุมภ์ อัน
เป็นราศีของจงั หวดั สพุ รรณบุรี

250  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร

“สุริยคราสและจันทคราส” เป็น “เร่ืองของธรรมชาติ”
อันเกิดจากทางเดินของดวงดาวสามดวง ดวงอาทิตย์ ดวง
จันทร์ และดาวโลก บดบังกันจนเกิดเงาเป็นเรื่องของวิถีโคจร
ของดวงดาว

โหราศาสตรไ์ ทย “ไมส่ ามารถท�ำใหค้ นเชอื่ ถอื ได”้ เพราะ
ถกู ทนุ นยิ ม หมอดหู าเงนิ เอาไปเชอ่ื มโยง ไปหากนิ ทางพธิ กี รรม
จนกลายเป็นเร่ืองของความเช่ือไม่ใช่เร่ืองสถิติความน่าจะเป็น
โหราศาสตรไ์ ทยแตก่ อ่ นใชด้ วงดาวในสรุ ยิ ะจกั รวาลรวม ๗ ดวง
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ เพ่ิมเงาแสง
ของโลกอกี หนง่ึ ดวงมาท�ำนายคอื “ดาวราห”ู ดาวเกตุ สว่ นดาว
มฤตยู มาเพมิ่ ทีหลงั สมัยพระจอมเกลา้ ฯ รชั กาลที่ ๔

โหราศาสตร์ ถอื ดาวราหู “เปน็ ตวั มอด”อยตู่ รงไหน กดั เจาะ 
ท�ำลายที่นั้น มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในราศีน้ันว่าเกี่ยวกับ
อะไรในดวงชะตาแต่ใน “ทางดี” ราหู หมายถงึ นกั เลง ใจกล้า
กล้าลงทุน กล้าเส่ียง รักใคร ชอบใคร ก็ให้คุณเต็มท่ี เกลียด
ใคร กไ็ ม่ไว้หนา้ “ราห”ู จงึ เป็นบาปเคราะห์โบราณ ทคี่ นกลัว
เกรง ดว้ ยหลกั สถติ ิ มใิ ชเ่ รอื่ งวา่ พระราหมู ตี วั ตนคอยท�ำลายใคร

แต่เดิมดึกด�ำบรรพ์มนุษย์เราเกรงกลัวธรรมชาติ เพราะ
ไม่รู้ที่มาจึงต้องมีการบูชาร้องขอและได้พัฒนาความเช่ือ เป็น
ล�ำดับต่อมาจากความเช่ือ ลัทธิ “ผี” ศาสนา “พราหมณ์”
จนถึงศาสนา “พุทธ” สู่ความจริงตามล�ำดับ แต่เนื่องจาก

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  251 

ก�ำลังใจของบุคคลนั้นไม่เท่ากันบ้าง เช่ือม่ันในตัวเองสูงบ้าง 
ไม่เช่ือม่ัน ก�ำลังใจอ่อน มีความกลัวไม่สมหวัง กังวลในหัวใจ
ศาสนาพทุ ธไมอ่ าจชว่ ยไดเ้ พราะหลกั การคอื “ตนเปน็ ทพ่ี งึ่ แหง่
ตน” คนท่อี ยากสมหวังต้องหาท่พี ักใจ สดุ ทา้ ยจงึ ขอความหวงั
จากผีและเทพเจ้าให้ช่วยจนเป็น“ช่องว่าง” ให้เกิดการท�ำมา
หากินบนความความเชือ่

ภาพ หลวงพอ่ โต

พระพุทธศาสนาเกิดมาในช่วงศาสนาพราหมณ์ความเช่ือ 
เทพทม่ี อี ยเู่ ดมิ ไมล่ ม้ ลา้ งความเชอ่ื เดมิ แตเ่ ตมิ หลกั การใหไ้ ด้ “สติ
และวิธีคิด” ให้ประสานกันด้วยการดึงความเชื่อเหล่าน้ันมาสู่
“ปรชั ญากบั ธรรมมะ” ไมท่ ะเลาะกนั พระราหจู ากเทวดา เทพ- 

252  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร

นพเคราะหผ์ ไู้ มม่ วี นั ตายเพราะไดด้ ม่ื นำ�้ อมฤต จงึ เปลยี่ นรปู ธรรม
เปน็ สญั ลกั ษณป์ างปา่ เลไลยกค์ อื ปางราหเู ปน็ การบง่ บอกวา่ เมอ่ื
ดวงชะตาตกพระราหเู สวยอายุ จรอายุ ทบั ลคั นา เลง็ ลคั นา จง
ตั้งสติจิตสงบ เหมือนพระพุทธองค์หลบหนีความวุ่นวายไปอยู่
ในป่าลไิ ลย์

การไหว้บูชาดาวนพเคราะห์ต่างๆ น้ันเป็นสิ่งดี เพราะ
ผู้ที่จะเกิดเป็นเทวดา พรหม ยม ยักษ์ นั้นล้วนแล้วแต่เป็น 
ผู้ประกอบกรรมท�ำความดี ขณะเกิดเป็นมนุษย์ เม่ือตายไป
จึงจะเป็นเทวดาได้ การไหว้เทวดาประจ�ำวันเกิด คือการไหว้ 
คนดี ไมม่ คี วามเสยี หายอะไร การท�ำบญุ ทว่ี ดั บทสวดมนตเ์ ปน็
บทสวดทางศาสนาลว้ นแตม่ ปี ระโยชนท์ างสมาธิ พฤตกิ รรมดาว
วันเกดิ โบราณก�ำหนดไวว้ า่ “ยศศักดิ์อาทิตย์ จรติ จันทร์ กลา้
ขยันอังคาร อ่อนหวานพุธ ปัญญาบริสุทธิ์พฤหัส กิเลศสมบัติ
ศกุ ร์ โทษทุกข์เสาร์ มวั เมาราหู (พธุ กลางคืน) อายยุ ืน ดาวเกตุ
อาเพศ มฤตย”ู

ค�ำวา่ “มวั เมา ราห”ู คอื “ความหลงใหลในความคดิ ตวั เอง” 
“ทางดี” คอื เปน็ นักวิเคราะห์ วจิ ยั อดทนตอ่ สง่ิ ที่ตนเองสนใจ 
หลงใหลศึกษา ไม่จบสิ้น “ทางเสีย” คือเชื่อมั่นในตัวเองสูง 
ที่เอามาท�ำนายคือมัวเมาขาดสติ เม่ือ “ราหู” คือ ความหลง 
มัวเมาขาดสติ “วิธีที่จะท�ำให้มีสติ” ปราชญ์แต่โบราณจึงต้อง 
ดงึ เขา้ หาสติ คอื “ดาวพฤหสั ” พระธรรมค�ำสอนคอื วัด วัดจะ 
เป็นสถานท่ใี ห้ปญั ญา เกดิ สติไดค้ ิดไมม่ วั เมาหลงตน

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  253 

การไหวพ้ ระราหู จดุ ประสงคแ์ ตโ่ บราณเปน็ การโยงเหตกุ ารณ์
ตามธรรมชาตเิ ขา้ กบั ธรรมะของพระพทุ ธองค์ จดุ ประสงคจ์ ะให้
ปญั ญา ผสมผสาน ความเชอ่ื ผี เทพ พทุ ธ เชอ่ื มโยงเขา้ ดว้ ยกนั
ไม่มีปญั หา ไมข่ ัดแย้งตอ่ ความเชื่อของแต่ละบคุ คล

“ยทุ ธศาสตรข์ องวดั ” ในประเทศไทย ดงึ คนเขา้ วดั มาถกู
ทางแล้ว เช่น สวดมนต์ข้ามปี สวดมนต์ในวันวาเลนไทน์ และ
วนั สรุ ยิ คราสรบั พระราหู ไหวพ้ ระปางปา่ เลไลย์ พระประจ�ำวนั
พุธกลางคืนพระราหูและราศีกุมภ์ไม่ใช่เร่ืองมงาย โบราณวาง
ไว้ “ศรทั ธาน�ำหนา้ ปญั ญาตามหลงั มา” ไหวพ้ ระราหู เตอื นใจ
อย่าหลงไหลเชอื่ ม่ันเกินตวั นั่นคอื ความประมาท ท�ำสิ่งใดอาจ
เกดิ ความผดิ พลาดได้ เมอ่ื โหราศาสตรใ์ ห้ “สถติ ”ิ วทิ ยาศาสตร/์
ดาราศาสตร์ให้ “ความจริง” ของจักรวาล อย่าปล่อยให้เป็น
ช่องว่างของมนุษย์หากินกับความเชื่อความหวังความกลัวของ
คนด้วยพิธีกรรมโหราศาสตร์ แต่โบราณหมอดูท่านใช้ร่วมกับ
“อรยิ สจั ๔” ทกุ ข์เกิดจากอะไรใหแ้ ก้ท่ี “สาเหตนุ ้นั ” นั้นแล

254  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร

หลวงพอ่ โต ปางป่าเลไลยก์

ภาพ ปี พ.ศ.๒๕๒๑

หลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์ พระหตั ถ์ขวาวางหงายใหม้ องเหน็

พระหัตถ์ซา้ ยคว่�ำลงทรงบ�ำเพ็ญ ใหล้ ะ เวน้ ปลอ่ ย วาง ทางอบาย

ไม่ยึดมั่นถือมัน่ สรรเสริญ มหิ ลงเพลินพอดมี คี วามหมาย

และมิใชห่ ลบเรน้ มิเห็นกาย จงผอ่ นคลายดงั สายพณิ องคอ์ นิ ทรา

ส่วนลงิ ช้าง ขา้ งพระพทุ ธองค์ ความหมายตรงไม่คิดรษิ ยา

ท�ำความดไี มม่ ีชนั้ และวรรณนา ถงึ สัตว์ป่ากท็ �ำได้ใช่แตค่ น

หลวงพอ่ โต วัดปา่ เลไลยก์ คือหลกั ใจใชธ้ รรมะอยา่ สับสน
ตอ้ งมา “บน” หลวงพอ่ ขอท�ำดี
ตนนน้ั คือท่พี งึ่ แหง่ ตน

ดร. ถนดั ยันต์ทอง

๘ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  255 

บรรณานุกรม

ขุนช้างขุนแผน. พิมพ์ครั้งที่สิบสาม. พระนคร : บรรณาคาร,
๒๕๑๓ คริส เบเคอร์ และ ผาสกุ พงษไ์ พจิตร.

ขนุ ช้างขนุ แผน ฉบบั วัดเกาะ. กรงุ เทพ : ส�ำนักพมิ พ์ซลิ คเ์ วิร์ม,
๒๕๕๖

คกึ ฤทธ์ิ ปราโมช. ม.ร.ว. ขนุ ชา้ งขนุ แผน ฉบบั อา่ นใหม.่ กรงุ เทพ
: สยามรฐั , ๒๕๒๓

รนื่ ฤดี สจั จาพนั ธ.ุ์ เล่าเร่อื งขนุ ชา้ งขนุ แผนฉบับสมบูรณ.์ พิมพ์
ครง้ั ทีส่ าม, กรุงเทพ : ส�ำนักพิมพธ์ ารปญั ญา, ๒๕๕๐

วรรณกรรมภาพขนุ ชา้ งขนุ แผน. กรงุ เทพ : ส�ำนกั พมิ พด์ อกหญา้ ,
๒๕๕๘

วัฒนธรรมไทยในเสภาขุนช้าง-ขนุ แผน
คุณคา่ ของเรอ่ื งขนุ ช้างขนุ แผน

รองศาสตราจารยท์ ิพยส์ ุดา นยั ทรพั ย์
ดร.ถนัด ยนั ต์ทอง

วรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงอยุธยา ส่วนใหญ่ 
เนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์เป็น เรื่องจักรๆ วงศ์ๆ
อยู่ในวงแคบ แต่วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเร่ืองราว
ของบุคคลธรรมดาสามัญ “ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากเค้าเร่ือง
จริง ตัวละครมีชีวิตอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้คนจดจําเล่า
ด้วยปากสืบมา อีกท้ังเป็นวรรณคดีที่สะท้อนสภาพการดําเนิน
ชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมทุกด้านของ
ชาวไทยในประวัติศาสตร์ ท้ังในสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัย
รัตนโกสินทร์ตอนต้น ไว้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน”๑ ดังนั้นเรา 
จึงสามารถศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในเสภาเร่ือง
ขุนช้างขนุ แผนไดอ้ ยา่ งครบครัน

๑ ศักดา ปั้นแหน่งเพชร, คุณค่าเชิงวรรณคดีเร่ืองขุนช้างขุนแผน, (วิทยานิพนธ์
ค.ม. จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , ๒๕๑๗) หนา้ ๒.

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  257 

เรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นเร่ืองท่ีเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จ
พระรามาธิบดีที่ ๒ ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒ ตัวขุนแผน
เกิดในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และเข้ารับราชการ
ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๒ และพระพันวษา ในเสภา 
ขุนช้างขุนแผนก็คือสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๒ น่ันเอง๒ เร่ืองน้ี 
ไดเ้ ลา่ ตอ่ ๆ กนั มาจน กลายเปน็ นทิ าน ขนุ ชา้ งขนุ แผนฉบบั ทม่ี ใี น 
ปัจจุบันนี้เป็นฉบับท่ีกวีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ช่วยกัน
เรียบเรียงประพันธ์ข้ึนใหม่เป็นกลอนเสภา ได้แก่ รัชกาลท่ี ๒
รัชกาลที่ ๓ (เม่อื คร้งั ดํารงพระอสิ ริยยศเป็น กรมหมน่ื เจษฎา-
บดนิ ทร์) สนุ ทรภู่ และครูแจ้ง เปน็ ตน้

คณุ คา่ ของเรอื่ งขนุ ชา้ งขนุ แผนทส่ี ําคญั ทสี่ ดุ คอื คณุ คา่ ทาง 
สังคมซ่ึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมท่ีบรรพบุรุษได้ถ่ายทอดไว้ 
ในขุนช้างขุนแผน เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ
ทางไสยศาสตร์ วิธีการดําเนินชีวิต ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม 
รวมท้ังกฎหมาย ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่สะท้อนสภาพ
สงั คมในยคุ น้ันไว้ทกุ แง่ทกุ มมุ

๒ ประจักษ์ ประภาพิทยากร, ประเพณีและไสยเวทในขุนชา้ งขนุ แผน, (กรุงเทพ :
โรงพมิ พ์เจรญิ ธรรม, ๒๕๑๙), หนา้ ๑๗.

258  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร
ภาพ ก�ำเนดิ ขนุ ชา้ งขุนแผน
ภาพ ก�ำเนดิ ขนุ ช้างขนุ แผน

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  259 

ในแผน่ ดนิ พระพนั วษาทรงครองกรงุ ศรอี ยธุ ยา มที หารกลา้  
ช่ือขุนไกรพลพ่ายภรรยาช่ือทองประศรี ทั้งสองบ้านเดิมอยู่
เมอื งกาญจน์ ยา้ ยมาสพุ รรณบรุ มี บี ตุ รชอ่ื พลายแกว้ ขนุ ศรวี ชิ ยั
นายกองช้างนอกแห่งเมืองสุพรรณมีภรรยาชื่อนางเทพทอง มี
บตุ รชอ่ื ขนุ ชา้ ง พนั ศรโยธามภี รรยาชอื่ นางศรปี ระจนั มบี ตุ รชี อ่ื
นางพมิ พลิ าไลย ทงั้ พลายแกว้ ขนุ ชา้ งและนางพมิ พลิ าไลย เกดิ
มาอายใุ กลเ้ คยี งกนั เป็นเพอื่ นเลน่ กนั มาตง้ั แต่ยงั เด็กเลก็

ภาพ ถวายตวั ขุนชา้ ง

260  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร

ภาพ ถวายตวั ขนุ ช้าง

ขนุ ศรวี ชิ ยั และนางเทพทอง เหน็ วา่ ขนุ ชา้ งโตแลว้ ควรจะ 
เอาลกู ไปถวายตวั เปน็ มหาดเลก็ ของพระพนั วษา ตามประเพณี
เดิม แสดงถึงสถานะของขุนศรีวิชัย เป็นข้าราชการระดับสูง
เพราะการถวายตัวเป็นมหาดเล็กจะรับเฉพาะลูกของเจ้านาย
และขุนนางเท่านนั้

สาระสงั เขป

กล่าวถึงนางเทพทองและนางทองประศรีตั้งครรภ์ มกี าร 
ทํานายฝัน นางเทพทองอยู่ไฟ การตั้งช่ือขุนช้าง นางทอง 
ประศรอี ยไู่ ฟ ตงั้ ชอ่ื พลายแกว้ จดั บายศรที ําขวญั นางศรปี ระจนั

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  261 

คลอดบุตร ต้ังชื่อพิมพิลาไลย นางศรีประจันและนางเทพทอง
ทําศพขุนศรีวิชัยกับพันศรโยธา พลายแก้วบวชเณร ขณะน้ัน
มีงานสงกรานต์ มีการก่อเจดีย์ทรายท่ีวัดป่าเลไลยก์ มีเทศน์
มหาชาตทิ ว่ี ัดน้ี ๑๓ กัณฑ์ นางทองประศรีขอนางพมิ ให้พลาย
แก้ว มียายถึงยายเม้าเป็นเถ้าแก่ เม่ือตกลงกันแล้วจึงกําหนด 
วันแต่งงาน มีการกําหนดสินสอดทองหม้ัน ผ้าไหว้ ขันหมาก
และเรอื นหอ กลา่ วถึงการสรา้ งเรือนหอเสร็จในวนั เดยี ว มกี าร
ทําขวญั เสา รุง่ เชา้ มีการแหข่ ันหมาก ไปบ้านเจ้าสาว ตอนบา่ ย
มีพิธีสวดมนต์สวมสายมงคลแฝดแล้วซัดน้�ำ เจ้าบ่าวต้องนอน
เฝา้ หออยู่ ๓ วนั จึงสง่ ตวั เจ้าสาวเขา้ เรอื นหอ เปน็ เสรจ็ การ

พลายแกว้ นางพมิ และนางทองประศรี ปลกู โพธเิ์ สยี่ งทาย
คนละตน้ นางลาวทองปกั มา่ นและใหช้ า่ งปน้ั รปู เปน็ เครอ่ื งบชู า
ถวายวัดเจดีย์หลวง พลายแก้วได้นางลาวทอง นางพิมเปลี่ยน
ชอื่ เปน็ วนั ทอง ขนุ ชา้ งขอนางวนั ทองแลว้ จดั พิธีแต่งงาน มีการ
ปลูกเรือนหอใหม่ ส่วนเรือนหอเก่าถวายวัด มีพิธีแห่ขันหมาก
ในตอนเช้า ตอนบ่ายสวดมนต์ซัดน้�ำคู่บ่าวสาว รุ่งเช้าบ่าวสาว
ตักบาตรทเ่ี รอื นหอ แลว้ เลย้ี งพระแล้วจึงสง่ ตวั เจ้าสาว ขนุ แผน
เข้ารับราชการ ก่อนไปนางทองประศรีสอนถึงวุฒิ ๔ ประการ
ตามคตโิ บราณ คือ เป็นผ้ดู ี มีวิชา อายุ และปัญญาฉลาด และ
ราชสวสั ดิ์ ๑๐ ประการ ทงั้ ขนุ ชา้ งขนุ แผนไปฝกึ หดั ราชการกบั
หมื่นศรีเสาวรักษ์ กล่าวถงึ หม่นื หาญและนางสีจนั ทร์ ยกบวั คล่ี
ใหข้ นุ แผนตามแบบโบราณ คอื มกี ารเซน่ สรวงผสี างแลว้ ทําขวญั

262  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวหิ าร

จึงส่งตัว ขุนแผนได้กุมารทองและตีดาบฟ้าฟื้น ขุนแผนชนะ
ความ ขุนช้างได้นางวันทองคืน ขุนแผนติดคุก ขุนช้างลักนาง 
วันทองไป นางวันทองคลอดบุตรให้ช่ือพลายงาม นางทอง 
ประศรที ําขวญั ใหพ้ ลายงาม จดั ทําบายศรนี มแมวและของอน่ื ๆ
แล้วสวดขวัญเป็นภาษากลาง ภาษาลาว และภาษามอญ นาง
ทองประศรี สอนหนังสือไทย ขอม ตลอดจนมนตร์ขลังให้ 
พลายงาม พออายไุ ด้ ๑๓ ขวบ จดั ทําพธิ โี กนจกุ นมิ นตพ์ ระมา
สวดมนตท์ ําพธิ รี ดนำ้� แลว้ เปลยี่ นเครอ่ื งแตง่ ตวั กลางคนื มเี สภา
รุง่ เชา้ จึงโกนจุก แล้วตดั ผมทรงมหาดไทย

ขุนแผนกับพลายงามเตรียมยกทัพไปตีเชียงใหม่ จึงจัด
ทําพิธีปลุกเสกของขลงั ขุนแผนพลายงาม ลาพระพนั วษาและ
มารดาไปทัพ ของที่ใช้ลามีดอกไม้ธูปเทียนใส่พานแล้วยกพล 
ออกจากวัดใหญ่ชัยชุมพล พลายงามชมห้องนางศรีมาลาและ
ได้นางศรีมาลา ขุนแผนหมั้นนางศรีมาลาให้พลายงามแล้ว 
กําหนดวันแต่งงาน กลับจากทัพเข้าเฝ้าพระพันวษา ขุนแผน
ได้เป็นพระสุรินทฤาชัย เจ้าเมืองกาญจนบุรี พลายงามได้เป็น 
จมื่นไวยวรนาถนายเวร เจ้าเชียงใหม่กลับไปครองเมืองตาม
เดิมและทําพิธีสะเดาะเคราะห์ ทําบายศรีสู่ขวัญ ผูกหัตถ์ตาม
ประเพณี กล่าวถึงพิธีแต่งงาน จม่ืนไวยวรนาถกับนางศรีมาลา
มีพิธีสวดมนต์แล้วซัดน้�ำคู่บ่าวสาว เลี้ยงเพ่ือนบ่าว กลางคืนมี
มโหรีกล่อมหอ ตอนเช้าทําบุญตักบาตร ในขณะเดียวกันก็ได ้
นางสร้อยฟา้ พระราชทานมา

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  263 

สมเด็จพระพันวษาทรงชําระความระหว่างขุนช้างกับ 
พระไวยไม่กระจ่าง จึงโปรดให้พิสูจน์ดําน้�ำ มีการจัดต้ังโรงพิธี
บายศรแี ละบตั รพลที ต่ี ําหนกั แพ ใหโ้ จทกอ์ ยฝู่ า่ ยเหนอื จําเลยอยู่
ฝา่ ยใต้ ขนุ ชา้ งแพถ้ กู จําคกุ ขนุ ชา้ งถวายฎกี าในขณะเสดจ็ ลอ้ มวง
นางวันทองถูกไต่สวนแล้วลงพระราชอาญาให้ประหารชีวิต 
แล้วนําศพไปฝังไว้ที่ป่าช้า แต่ทรงเห็นแก่พระไวย โปรดให้
จดั การศพนางวนั ทอง พระราชทานหบี ศพและผา้ ไตรของหลวง
มมี หรสพครบ ๓ วันจงึ เผา พระไวยถวายบังคมลาบวชหนา้ ไฟ 
๗ วัน สว่ นขุนชา้ งบวชหนา้ ไฟ ๓ วนั นางสร้อยฟ้าทําเสน่ห์จน
พระไวยหลงเสน่ห์นาง พระยาสุโขทัยทําขวัญให้พลายชุมพล
ผเู้ ปน็ หลาน แลว้ ใหบ้ วชเรยี นหนงั สอื และคาถาอาคม นางสรอ้ ยฟา้  
กับศรีมาลาพิสูจน์ลุยไฟหน้าพระที่น่ัง เมื่อจัดรางลุยไฟเสร็จ
พราหมณต์ รวจแผลทเ่ี ทา้ แลว้ ใหน้ งั่ ขา้ งรางไฟ จดั บายศรสี งั เวย
เทวดา อา่ นโองการลยุ ไฟใหค้ นทง้ั สองอยคู่ นละขา้ งใหล้ ยุ ไปมา
๓ คร้งั นางศรมี าลามิได้เป็นอะไร ส่วนนางสรอ้ ยฟ้าคลอดบุตร
ต้ังชอื่ วา่ พลายยงพงศ์ นพรตั น๓์

เรอ่ื งราวในขนุ ชา้ งขนุ แผนเปน็ ชวี ติ ของชาวบา้ นซงึ่ มคี วาม 
เชอื่ ทางพระพุทธศาสนาและไสยศาสตร์ ควบคกู่ นั ไป แตจ่ ะเนน้  
ทางไสยศาสตรม์ าก ดงั ทส่ี ะทอ้ อยใู่ นพฤตกิ รรมของตวั ละครตา่ งๆ 
ในขณะเดยี วกนั กย็ งั ปฏบิ ตั ติ ามหลกั คําสอนทางพระพทุ ธศาสนา

๓ สมบูรณ์ แก่นตะเคยี น การประเมนิ คุณคา่ สิ่งพิมพ์เพอ่ื การวจิ ยั ขนบธรรมเนียม
ประเพณไี ทย, (พระนคร : โรงพมิ พค์ รุ สุ ภาลาดพรา้ ว, ๒๕๑๙), หนา้ ๑๔๐-๑๔๑.

264  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

ซึ่งไม่เคร่งครัดนักดังเช่น พลายแก้วตอนบวชเป็นเณรยังทําผิด 
วนิ ยั ได้ อยา่ งไรกต็ ามชาวบา้ นยงั ปฏบิ ตั กิ จิ กรรมทางศาสนาสบื
ตอ่ ๆ กนั มาไมข่ าดสาย ทง้ั ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั ชวี ติ สว่ นตวั ตง้ั แตเ่ กดิ  
จนตายและท้ังที่เป็นพิธีกรรมทางศาสนาของส่วนรวม ในที่น้ี 
จะกลา่ วเฉพาะการทําพธิ ที เี่ กย่ี วกบั ชวี ติ และความเชอ่ื ตลอดจน 
วัฒนธรรมต่างๆ ของชาวบ้านในสมยั น้นั ดังตอ่ ไปนี้

ประเพณเี ก่ยี วกับชวี ติ

การเกิด
พ่อแม่ที่รู้ว่าจะมีลูก ตอนแม่ต้ังครรภ์ มักจะเชื่อว่าผู้เป็น
แมจ่ ะตอ้ งมเี หตใุ หน้ มิ ติ ฝนั ไปตา่ งๆ นานา และทํานายความฝนั
ว่าจะได้ลูกชายหรือหญิง แม่มีอาการแพ้ท้องอยากกินอาหาร
ต่างๆ เมื่อยามครรภ์แก่ก็ฝากท้องกับหมอตําแย (ปัจจุบันน้ี
อาชีพหมอตําแยเกือบหมดไปแล้ว) มีการตระเตรียมข้าวของ
เคร่ืองใช้ในการอยู่ไฟ (ปัจจุบันไม่นิยมการอยู่ไฟ) เวลาคลอด 
กม็ คี วามเชอ่ื ตา่ งๆ แทรกอยเู่ ชน่ “บา้ งกเ็ สกมงคลปรายขา้ วสาร 
เอกเบย้ี บนลนลานเหนบ็ ฝาเกลอื่ น” หรอื “บา้ งเอาเบยี้ ขนึ้ บวง
บน” เปน็ ตน้
การเสกข้าวสารปรายไปก็เพ่ือป้องกันผีและการเอาเบี้ย
บน (คือบนด้วยเงิน) เหน็บข้างฝาหลายๆ อัน หรือเอาเบ้ียขึ้น
ควงเป็นการบนบานขอให้คลอดลูกง่ายนั่นเอง ปัจจุบันความ
เชื่อเช่นนี้ไม่เหลืออยู่เลย การทําคลอดของหมอตําแยในสมัย

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  265 

โบราณ กวีได้บันทึกไว้อย่างละเอียด เช่น ตอนคลอดขุนช้าง
ดงั คําประพันธว์ ่า

“หมอตาํ แยแยงแย่เข้าคร่อมท้อง แม่นางเทพทองเข้าขม่ ส่ง

ตัวส่นั หวนั่ ไหวมใิ คร่ลง หมอตําแยว่าตรงแล้วข่มมา

ยายคงโกง้ โค้งโขย่งขม่ เสยี งผลุดนอนลม้ ไปจมฝา

ลกู รอ้ งแงแงแม่ลืมตา พอช้างเผอื กเขา้ มาถงึ วนั นนั้ ”

(ขุนชา้ งขนุ แผน หน้า ๖)

เมอื่ ทารกคลอดแลว้ กอ็ าบนำ้� ทําความสะอาดทาขมน้ิ เอา
เด็กใสก่ ระดง้ ร่อน ดังคําประพนั ธ์ว่า

“ถึงฤกษง์ ามยามปลอดคลอดงา่ ยดาย ลกู นัน้ เปน็ ชายร้องแว้แว้

พ่ีป้าน้าอามาดูแล ลา้ งแชแ่ ลว้ ก็สง่ ให้แม่นม

ทาขม้นิ แลว้ ใส่กระด้งรอ่ น ใส่เบาะใหน้ อนเอาผา้ ห่ม

ปยู่ า่ ตายายสบายชม เรือนผมน่ารักดังฝักบวั ”

(ขุนชา้ งขุนแผน หน้า ๑๘)

การเอาเด็กใส่กระด้งร่อนด้วยความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคน
ที่เกิดมาน้ี ผีเป็นผู้ปั้นรูปร่างลักษณะแล้ว คอยดักจับวิญญาณ
ใส่รูปนั้นให้มีชีวิตก่อนส่งเข้าครรภ์มารดา เหตุนี้จึงเชื่อกันว่า 
ผเี ปน็ เจา้ ของลกู มากอ่ น ฉะนนั้ เมอื่ ถงึ วนั เกดิ จงึ เอาเดก็ ใสก่ ระดง้  
ร่อนแล้วถามว่า “๓ วันลูกผี ๔ วันลูกคน ลูกของใครก็มารับ
เอาไปเน้อ” แล้วก็จัดให้มีหญิงแก่คนหนึ่งเอาเบ้ียหรือสตางค์
เขา้ มาเปน็ ผรู้ บั ซอื้ วา่ “ฉนั รบั ซอ้ื เปน็ ลกู ของฉนั เอง” ผรู้ บั ซอื้ จงึ

266  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร

มีชื่อว่า “แม่ซ้ือ” คือคนท่ีรับซื้อเด็กนั้นมาจากผีแล้ว ปัจจุบัน
ไมน่ ิยมทํากัน

หลงั จากเอาเดก็ ใสก่ ระดง้ รอ่ นแลว้ กใ็ หน้ อนเปล สว่ นแมก่ ็
อยไู่ ฟพอครบ ๑ เดอื น แมอ่ อกใหข้ อเดก็ แลว้ กม็ บี ายศรผี กู ขวญั
ใหเ้ งินทองสงิ่ ของทําขวัญ กลว้ ย แตงกวา ธูปเทยี นดอกไม้ นํา
เครอ่ื งประดบั มารบั ขวญั เดก็ แลว้ เวยี นเทยี นสามรอบ พรอ้ มกบั
โห่สามครง้ั ดงั คําประพันธ์ว่า

“แล้วเรง่ รัดจดั แจงแตง่ บายศรี เงินทองของดีมาผกู ให้
กลว้ ยน้�ำแตงกวาเอามาใส่ ธูปเทยี นดอกไมม้ หี ลายพรรณ
ให้หลานใส่เสมาปะวะหลำ่� กาํ ไลทองคํางามเฉดิ ฉัน
บ้าหว่าทองผูกสองข้างแขนน้นั สายกุดนั่ ทั้งแท่งดงั แกล้งทาํ

-------------- --------------

จดั แจงแขกน่ังเป็นวงกัน พงศพ์ ันธุพ์ รอ้ มอยทู่ ้งั ปยู่ ่า
ยกบายศรีแลว้ โหข่ น้ึ สามลา เวียนแว่นไปมาโห่เอาชัย”

(ขนุ ช้างขนุ แผน หนา้ ๘)

พอเด็กอายุได้ ๑ เดือน กับ ๑ วัน ก็จะมีพิธีโกนผมไฟ
ทําบัตรพลีสังเวยพระภูมิเจ้าที่ ผมท่ีโกนต้องให้เหลือที่ขม่อม
ไว้หย่อมหนึ่ง เอาไว้ผมจกุ ผมเปยี หรือผมแกละ เพ่อื ไม่ใหเ้ ด็ก
ขี้โรคเจ็บออดๆ แอดๆ ผมท่ีโกนแล้วเอาใส่กระทงมีใบบัวรอง
กันแล้วนําไปลอยน้�ำ ปัจจุบันไม่นิยมโกนผมไฟและไว้จุก ใน
ชนบทยังคงมีบ้าง

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  267 
ภาพ ก�ำเนดิ พลายงาม

268  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

ภาพก�ำเนดิ พลายงาม นางวนั ทองไดร้ บั ความเจบ็ ปวดทกุ ข์
ทรมานจากการปวดท้องก่อนคลอด ต้องอาศัยหมดต�ำแย และ
ยาแผนโบราณขย�ำส้มต้มน้�ำร้อน เม่ือคลอดออกมาเป็นผู้ชาย
ตง้ั ช่ือวา่ พลายงาม ยง่ิ โตหนา้ ตายิ่งเหมือนขนุ แผน

การโกนจุก

สมัยกอ่ นเมอ่ื เดก็ ชายอายุ ๑๓ ปี หญิง ๑๑ ปี กจ็ ะมีพิธี
โกนจุก พิธีมี ๒ วัน มีการตระเตรียมอาหาร หมากพลูไว้เล้ียง
ญาติพ่ีน้องที่มาช่วยงาน ตอนเย็นจะนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น
เวลากลางคืนมีการเล่นเสภา รุ่งข้ึนจึงทําพิธีโกนผมจุก ดังคํา 
ประพนั ธ์ว่า

“ทองประศรีดใี จไลฤ่ กษ์ยาม ได้สิบสามปีแลว้ หลานแกว้ กู

จะโกนจุกสกุ ดบิ ข้ึนสิบค่�ำ แกทําน�ำ้ ยาจีนต้มตนี หมู

พวกเพื่อนบา้ นวานมาผา่ หมากพลู บา้ งปดั ปเู สอื่ สาดลาดพรมเจยี ม

---------------------- ----------------------

ถึงวันดีนมิ นต์ขรัวเกดิ เฒา่ อยวู่ ัดเขาชนไก่ใกล้กบั บ้าน

พอพณิ พาทย์คาดตระสาธุการ ทา่ นสมภารพาพระสงฆส์ บิ องคม์ า

น่ังสวดมนต์จนจบพอพลบคำ่� ก็ซดั น้ำ� มนต์สาดเสยี งฉาดฉ่า

---------------------- ----------------------

สมภารลบั กลบั มายงั อาวาส เสยี งพณิ พาทยพ์ วกพอ้ งทองประศรี

หาเสภามาท่วั ที่ตัวดี ทา่ นตามีช่างประทัดถนดั รบ

---------------------- ----------------------


Click to View FlipBook Version