The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by schtgr1125, 2020-04-14 22:03:00

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  69 

บทสรุป

ถึงแม้เอกสารท่ีน�ำมาศึกษาส่วนใหญ่ในบทความนี้จะมี
ที่มาในลักษณะของต�ำนานหรือนิทานก็ตาม แต่เม่ือน�ำเนื้อหา
บางส่วนมาพิจารณาเปรียบกับเอกสารชั้นต้นอื่นๆ เช่น จารึก
แผนที่โบราณ และข้อมูลการศึกษาประวัติศาสตร์อ่ืนๆ ท่ีมี 
ผู้ท�ำไว้กอ่ นหน้านแี้ ลว้ จะพบว่าบางเร่ืองก็เปน็ เรอ่ื งทม่ี ีพื้นฐาน
อยู่บนความจริงของบุคคลในประวัติศาสตร์ เช่น เร่ืองของ
พระมหาเถรศรีศรัทธา และเมื่อปรับปีศักราชก็พบว่าล�ำดับ
เหตุการณ์ต่างๆ จากแต่ละต�ำนานมีความสอดคล้องกันค่อน
ข้างดี เพียงแต่ยังขาดหลักฐานมาสนับสนุนมากกว่านี้ซ่ึงอาจ
จะพบในวันข้างหน้าต่อไป และเมื่อน�ำผลจากการปรับศักราช
มาพิจารณาร่วมกับข้อสมมติฐานทางเลือกที่เสนอไว้ว่าพระ 
ปา่ เลไลยกเ์ ปน็ ปางปา่ เลไลยกม์ าตงั้ แตแ่ รก ท�ำใหไ้ ดข้ อ้ สมมตฐิ าน
ทางเลือกในเร่ืองประวัติของหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ใหม่ขึ้น
ดังน้ี “สันนิษฐานว่าหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ สร้างข้ึนเป็น
ปางป่าเลไลยก์ต้ังแต่แรกในช่วงต้นของพุทธศตวรรษท่ี ๑๙
ก่อนการสถาปนาหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงในปี พ.ศ ๑๘๖๗
และก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน ปี พ.ศ ๑๘๙๓ และ
สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ผู้เป็นหลานพ่อขุนนาวน�ำถม
เคยเสด็จมาบรรจุพระบรมธาตุในองค์พระป่าเลไลยก์
ระหวา่ งปี พ.ศ. ๑๘๗๖ - พ.ศ. ๑๙๐๔ และเคยมกี ารบูรณะ

70  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

องค์พระป่าเลไลยก์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาระหว่างปี พ.ศ.
๒๑๕๐ - พ.ศ. ๒๒๑๘”

สดุ ทา้ ยนขี้ อขอบคณุ ดร. ตรงใจ หตุ างกรู ส�ำหรบั ค�ำปรกึ ษา 
แนวทางการปรบั ปศี กั ราช, คณุ ไพศาลย์ เปย่ี มเมตตาวฒั น,์ อาจารย์
วารุณี โอสถารมย์ และคุณอัฐพงษ์ บุญสร้าง เอ้ือเฟื้อข้อมูล
แผนท,ี่ คณุ ปยิ ศกั ด์ิ ส�ำราญใจ ผจู้ ดุ ประเดน็ เรอื่ งปางปา่ เลไลยก ์
มมี าแตเ่ ดิม

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  71 

เอกสารอ้างอิง

- หนังสอื พงษาวดารเหนือ ฉบบั พระวเิ ชยี รปรีชา (นอ้ ย)
- จดหมายเหตุ ระวางทตู ลังกากบั สยามครัง้ กรงุ ศรีอยุธยา
- รายงานการเสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี ร.ศ. ๑๑๗

(พ.ศ.๒๔๔๑) ของสมเดจ็ กรมพระยาด�ำรงราชานภุ าพ
- โคลงนิราศสุพรรณ ของสนุ ทรภู่
- นิราศสพุ รรณ ของหมื่นพรหมสมพัตสร (เสมยี นมี)
- ศรสี พุ รรณภมู ิ เรอ่ื งต�ำนานจากอดตี กาล จนถงึ เรอื่ งเลา่ ขาน

เมอ่ื วนั วาน โดย ประทมุ ชมุ่ เพง็ พันธ์, ส�ำนกั พิมพด์ วงกมล,
พ.ศ. ๒๕๕๓
- ต�ำนานพระปฐมเจดยี ์ ฉบบั พระยามหาอรรคนกิ ร และฉบบั
นายทอง
- โครงการอนรุ กั ษโ์ บราณสถานวดั ภเู ขาทอง พระนครศรอี ยธุ ยา
โดย ส�ำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยธุ ยา
- รายงานการขดุ คน้ ขดุ แต่งทางโบราณคดี วัดโปรดสัตว์
- หนังสือสยามประเภทเล่ม ๒ ตอนที่ ๑๕ วันเสาร์ที่ ๑ 
กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒)
- พงศาวดารชาตไิ ทย โดย พระบริหารเทพธานี
- ค�ำปริวรรตศิลาจารึกหลักที่ ๒ (จารึกวัดศรีชุม) ศูนย์
มานษุ ยวทิ ยาสริ ินธร

72  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวหิ าร

- ค�ำปริวรรตศิลาจารึกหลักที่ ๑๑ (จารึกวัดเขากบ) ศูนย์
มานุษยวิทยาสริ ินธร

- ค�ำปริวรรตศิลาจารึกหลักท่ี ๔ (จารึกวัดป่ามะม่วง) ศูนย์
มานษุ ยวทิ ยาสิรินธร

- จารกึ หลกั ท่ี ๒ (จารกึ วดั ศรชี มุ ) ประวตั ศิ าสตรแ์ ละหลกั ฐาน
ประวัติศาสตร์สโุ ขทัย โดย ดร. วนิ ัย พงศศ์ รเี พยี ร

- พระมหาเถรศรีศรัทธา: วีรบุรุษอีกองค์หน่ึงในสมัยสุโขทัย
โดย สุรยิ า รตั นกุล

- Royal Siamese Maps: War and Trade in Nineteenth
Century Thailand โดย ดร.สันทนีย์ ผาสุก, ส�ำนักพิมพ ์
รเิ วอรบ์ ุค๊ ส,์ พ.ศ. ๒๕๔๘

- ไมเคลิ ไรท กบั การศกึ ษาประวตั ศิ าสตรแ์ ละศลิ ปวฒั นธรรม
ไทย โดย ร่งุ โรจน์ ธรรมรุ่งเรอื ง

- พญากง พญาพาน จากนิทานพราหมณ์ สชู่ ื่อบา้ นนามเมือง
และเร่ืองพระปฐมเจดีย์, ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะ
ศลิ ปศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหิดล, พ.ศ. ๒๕๕๘

พุทธศลิ ปก์ บั การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ของวัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

พระครโู สภณวีรานุวัตร (นิคม เกตุคง)
วิทยาลัยสงฆส์ ุพรรณบุรีศรีสวุ รรณภูมิ

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีความมุ่งหมายส�ำคัญเพื่อศึกษาประเด็น
เกย่ี วกบั พทุ ธศลิ ปป์ ระเภทพระพมิ พท์ ที่ �ำดว้ ย เนอ้ื ชนิ เนอ้ื โลหะ
เน้ือดินเผา ซึ่งพระเกจิอาจารย์ได้สร้างเอาไว้ที่วัดป่าเลไลยก์ 
วรวหิ าร อ�ำเภอเมอื งสพุ รรณบรุ ี น�ำเสนอเฉพาะในดา้ นพทุ ธจรยิ - 
ศาสตร์ที่ปรากฏในพุทธศิลป์พร้อมท้ังชี้ให้เห็นว่า พุทธศิลปะ
แบบพระพิมพ์มีความส�ำคัญในการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ
และสบื สานพระพทุ ธศาสนาใหเ้ จรญิ รงุ่ เรอื งอยา่ งตอ่ เนอ่ื งจนถงึ  
ปัจจุบัน พร้อมท้ังน�ำเสนอมุมมองให้คนรุ่นใหม่เลือกใช้สื่อ
เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านระบบมัลติมิเดียของโลก
อินเตอร์เน็ต (Internet) จูงใจให้ผู้คนเข้ามาเรียนรู้แก่นของ
พระธรรม ซ่ึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของพุทธศาสนิกชน
บทความนนี้ า่ จะมคี �ำตอบใหก้ บั คนรนุ่ ใหม่ (New Generation)
ได้เข้ามาร่วมกันสร้างสันตสิ ขุ ใหส้ งั คมทมี่ ีคุณภาพ ตอ่ ไป.

ค�ำส�ำคัญ: พุทธศิลป์; การเผยแผ่พระพุทธศาสนา; 
วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

74  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร

The Buddhist Art and Propagation of Buddhism in Wat
Palelai Worawihan, Suphan Buri province

Phrakhrusophonweeranuwat (Nikom Ketkhong)
Sangha college of Suphan Buri Sisuwannaphum

Abstract

This paper aims to study the key issues of 
Buddhist amulets made of metal, clay, etc. where the
monks have taken the measure of Wat Palelai, Muang
Suphan Buri, to present only in Buddhism especially in
the Buddhist art. The Writer pointed out that Buddhist art
tablet is particularly important in helping to build confi-
dence so that heritage of Buddhism flourished continu-
ously to the present. And he offers a new option to use
these benefits through the multimedia of the Internet 
to motivate people to learn the essence of Dham-
ma. This is a shared responsibility of the Buddhists.
This article is a response to a new generation, getting 
together to build a peaceful society and bring about 
a good quality of life.

Keywords: Buddhist Art; Propagation of Buddhism;
Wat Palelai Woraviharn

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  75 

บทน�ำ

ในการสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่ของพุทธ-
บรษิ ัท ๔ คือ พระภิกษุ พระภิกษุณี อบุ าสก อบุ าสิกา แต่กย็ ัง
ไมพ่ อซงึ่ กย็ ังมีองค์ประกอบอนื่ ๆ อกี มากมายเพื่อให้ทันกบั การ
เปลยี่ นแปลงทางสงั คม แตก่ ย็ งั มคี นกลมุ่ หนงึ่ อาจเปน็ สว่ นใหญ่
ของสงั คมไทยทเ่ี ปน็ สงั คมพระพทุ ธศาสนา เปน็ พทุ ธศาสนกิ ชน
แม้องค์พระมหากษัตริย์ก็ทรงด�ำรงเป็นพุทธมามกะยอมรับ
นบั ถอื พระรตั นตรยั เปน็ สรณะ ทพ่ี ง่ึ ทร่ี ะลกึ ตลอดพระชนมช์ พี
และด้วยเหตุท่ีสังคมไทยเป็นสังคมพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีต
จวบจนปจั จบุ นั ท�ำใหห้ ลกั ธรรมค�ำสง่ั สอนของพระพทุ ธศาสนา
หยั่งรากฝังลึกอยู่ในสังคมไทยอย่างม่ันคง และยังเป็นฐานราก
ทางความเชื่อจารีต ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะใน
ดา้ นศลิ ปกรรมตา่ งๆ ลว้ นไดร้ บั อทิ ธพิ ลมาจากพระพทุ ธศาสนา
ไดแ้ ก่ ศาสนสถาน เชน่ วดั อโุ บสถ เจดยี ์ วหิ าร และศาสนวตั ถ ุ
เชน่ พระพทุ ธรูป พระพมิ พ์หรือพระเครอ่ื ง ภาพวาด หรอื จติ ร- 
กรรมฝาผนัง ศิลปกรรมเหล่าน้ี เราเรยี กว่า “พทุ ธศิลป์”

พุทธศิลป์เหล่าน้ีล้วนถูกรังสรรค์มาจากความศรัทธา
ปสาทะในพระพุทธศาสนา ส�ำหรับพุทธศาสนิกชนถือว่าเป็น
ส่วนส�ำคัญอย่างหน่ึงของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นการ
เผยแผ่ค�ำส่ังสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านพุทธศิลป์

76  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

และสถาปตั ยกรรมตา่ งๆ ซง่ึ ถอื ก�ำเนดิ ขนึ้ หลงั จากพระพทุ ธเจา้
ปรินิพพานไปแล้วถึง ๓ ศตวรรษตรงกับสมัยพระเจ้าอโศก
มหาราช ทรงขยายพระราชอาณาเขตของราชวงศโ์ มรยิ ะ พระองค ์
ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โปรดให้มีการสังคายนาพระ
ไตรปฎิ กเปน็ ครง้ั ที่ ๓ ท�ำการรวบรวมค�ำสอนตา่ งๆ ไวอ้ ยา่ งเปน็  
สดั สว่ น และยงั โปรดใหม้ กี ารรวบรวมพระบรมสารรี กิ ธาตนุ �ำมา 
บรรจไุ วใ้ นพระสถปู สาญจี และทรงสถาปนาเปน็ วดั ทมี่ คี วามพรอ้ ม
ไปด้วยอาคารเพื่อการพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา นอกจากน้ี
ในระหว่าง พ.ศ.๒๗๐ - ๓๑๑ พระองค์โปรดให้มีการเผยแผ่
พระพทุ ธศาสนาไปยงั ดินแดนตา่ งๆ โดยมกี ารสง่ พระโสณเถระ
และพระอุตรเถระเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิ (เขมชาติ
เทพไทย, ๒๕๔๒) จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ มนัส
โอภากุล เชื่อว่า เมืองอู่ทองคงเป็นเมืองสุพรรณบุรีเมืองแรก
คอื ราชธานีของอาณาจักรสวุ รรณภมู ิ (มนัส โอภากลุ , ๒๕๔๐)

สวุ รรณภมู หิ รอื สพุ รรณบรุ เี ปน็ เมอื งทอี่ ยแู่ ถบลมุ่ นำ�้ เจา้ พระยา
ครอบคลมุ บรเิ วณลมุ่ นำ�้ แมก่ ลอง ลมุ่ นำ้� ทา่ จนี ลมุ่ นำ้� นอ้ ย และลมุ่ นำ�้  
ลพบรุ ี มเี มอื งทเี่ กา่ แกก่ วา่ เมอื งโบราณในประเทศเมยี นมาร์ เชน่  
เมอื งอทู่ อง เมอื งพงตกึ เมอื งนครปฐมโบราณ ฯลฯ เมอื งเหลา่ น้ี 
มีหลักฐานทางพุทธศิลป์เก่าแก่หลายอย่างท่ีมีอายุอยู่ในสมัย
พระเจา้ อโศกมหาราชของอนิ เดีย (สด แดงเอยี ด, ๒๕๕๖)

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  77 

สพุ รรณบรุ ปี ระชากรสว่ นใหญน่ บั ถอื ศาสนาพทุ ธ ประกอบ
ไปดว้ ยคนไทยหลายเชอื้ ชาตมิ ขี นบธรรมเนยี มประเพณแี ตกตา่ ง
กันตามท้องถิ่น เช่น ประเพณีทิ้งกระจาด ประเพณีนมัสการ
หลวงพอ่ โตวดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร ประเพณบี ญุ ขา้ วจ่ี ประเพณี
เสนเฮอื น ฯลฯ มวี ดั จ�ำนวน ๕๘๖วดั ศาสนสถานในสพุ รรณบรุ ี
เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนาแทบท้ังส้ิน และมีอยู่
จ�ำนวนมาก มีพุทธศิลป์หลายแบบหลายสมัยกระจัดกระจาย 
อยตู่ ามอ�ำเภอตา่ งๆ ในจงั หวดั สพุ รรณบรุ ี เชน่ สมยั ทวารวดี สมยั  
อทู่ อง สมยั ลพบรุ ี สมยั อยธุ ยา และสมยั รตั นโกสนิ ทร์ (พ.ศ.๒๓๒๕ 
- ปัจจุบนั ) (บุญครอง และรตั นมณี คันธฐากูร, ๒๕๔๒)

บทความนจ้ี ะน�ำเสนอ พทุ ธศลิ ปบ์ างประเภทของพระพมิ พ์
(พระเคร่ือง) ในช่วงพุทธศักราช ๒๔๐๘ - ๒๕๕๑ ที่สร้างขึ้น
ในวัดป่าเลไลยก์วรวิหารซ่ึงเป็นพุทธศิลป์พิมพ์พระต่างๆ ที่มี 
หลักฐานชดั เจนและเป็นท่นี ยิ มสนใจของประชาชนท่ัวไป

ความหมายของพทุ ธศิลป์

ค�ำว่า“พุทธศิลป์” เป็นค�ำผสมระหว่าง “พุทธะ”แปลว่า 
ผู้ตรัสรู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้วใช้เป็นพระนามเฉพาะของ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา ค�ำว่า
พทุ ธะในท่นี จ้ี งึ หมายถงึ พระพทุ ธเจ้า หรอื พระพทุ ธศาสนา กบั
ค�ำว่า “ศิลป์” (ศลิ ปะ) ตรงกบั ภาษาสนั สกฤตว่า “ศลิ ฺป” และ

78  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร

ตรงกับภาษาบาลีว่า “สิปฺป” แปลว่ามีฝีมืออย่างยอดเย่ียม
ฝีมือทางการช่าง การท�ำให้วิจิตรพิสดาร และยังมีความหมาย
ครอบคลุมถึงการแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์
ดว้ ยสอ่ื ตา่ งๆ เชน่ เสยี ง เสน้ สี ผวิ รปู ทรง (ราชบณั ฑติ ยสถาน,
๒๕๔๖)

พุทธศิลป์ (Buddhist Art) หมายถึงงานศิลปะประเภท
ต่างๆ ท้ังในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม
ซึ่งสร้างข้ึนเพ่ือส่งเสริมการเผยแผ่และการปฏิบัติทางพระ 
พุทธศาสนาโดยตรง และเป็นส่ิงที่ช่วยโน้มน้าวจิตใจของพุทธ-
ศาสนิกชนให้เกิดความศรัทธาปสาทะ ประพฤติปฏิบัติตนใน
แนวทางทดี่ งี าม ตามหลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนา ทง้ั ในลทั ธิ
หินยาน (เถรวาท) และลัทธิมหายาน (อาจาริยวาท) (สงวน 
รอดบญุ , ๒๕๓๕)

สรุปว่า “พุทธศิลป์” จึงหมายถึง ผลงานสร้างสรรค์ที่ 
ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่ยอดเย่ียมในด้านทัศนศิลป ์
(Visual Art) ที่เก่ียวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ พุทธศิลป์
ประเภทจิตรกรรม (Painting) เป็นศิลปะเกี่ยวกับการเขียน
ภาพหรอื วาดภาพ ประตมิ ากรรม (Sculpture) เปน็ ศลิ ปะเกย่ี ว
กับวิจิตรศิลป์ เช่น แกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ งานปูนปั้น ท่ี
เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา หรือพระพุทธเจ้าโดยตรง เช่น
รูปเปรียบหรือองค์แทนพระพุทธเจ้า มีท้ังพระพุทธรูป ที่เรียก

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  79 

กันว่าพระปฏิมากร และพระพิมพ์ ที่เรียกว่าพระเครื่อง และ
สถาปตั ยกรรม (Architecture) เปน็ ศลิ ปะเกยี่ วกบั งานกอ่ สรา้ ง

ส�ำหรบั พทุ ธศลิ ป์ ในทน่ี จ่ี ะหมายถงึ เฉพาะงานสรา้ งสรรค์
ประเภทประตมิ ากรรม (Sculpture) ลักษณะเป็นพระพิมพ์ ที่
เรยี กวา่ พระเครอื่ ง เทา่ นน้ั เปน็ ศลิ ปะทส่ี อ่ื ความดว้ ยการเหน็ มี
ปรมิ าตร สามารถสมั ผสั รสู้ กึ ถงึ ความกวา้ ง ความยาว รวมทง้ั ความ 
ลึกและความนูนได้ ดังน้ัน การสร้างงานประติมากรรมเน่ืองใน 
พระพทุ ธศาสนา จงึ เปน็ ไปเพอ่ื ใชเ้ ปน็ อปุ กรณอ์ ยา่ งหนงึ่ ทถี่ า่ ยทอด 
คติความเชื่อ และแนวคิดทางศาสนาให้เป็นรูปธรรม สมั ผสั ได้ 
ดว้ ยตา(การเหน็ )กอ่ ใหเ้ กดิ ความรสู้ กึ ความเขา้ ใจเรอื่ งราวในศาสนา 
ตลอดจนความประทบั ใจอนั น�ำไปสคู่ วามเลอ่ื มใสศรทั ธา (สรุ ศกั ด ิ์
เจรญิ วงศ,์ ๒๕๓๕) การสรา้ งประตมิ ากรรมทางพระพทุ ธศาสนา 
มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ น�ำเสนอความเชอ่ื ทางศาสนาเปน็ หลกั ใหญ่ เปน็  
การรับใช้ศาสนาด้วยผลงานประติมากรรม น้อมน�ำชักจูงให้
คนในสังคมเลอื่ มใสในพระพุทธศาสนาใหล้ กึ ซึง้ ย่งิ ขน้ึ สามารถ
รบั รแู้ ละเขา้ ใจในหลกั ธรรมค�ำสอนของศาสดามากขนึ้ เพอื่ เปน็  
สิ่งแทนหรือพรรณนาความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อออกมาเป็นรูป
ธรรม ดงั นนั้ อาจจ�ำแนกประเภทของประตมิ ากรรมตามลกั ษณะ
และวัตถุประสงค์ที่แสดงออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
ประติมากรรมแบบรูปเคารพ และประติมากรรมแบบตกแต่ง
สถาปตั ยกรรม (ในทนี่ จี่ ะน�ำเสนอเฉพาะประตมิ ากรรมแบบรปู  
เคารพ)

80  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

ประติมากรรมแบบรูปเคารพท่ีสร้างขึ้นในพระพุทธ-
ศาสนา เพื่อเป็นตัวแทนในส่ิงเคารพนับถอื ของพทุ ธศาสนกิ ชน
ประติมากรรมรูปเคารพจึงเป็นรูปทรงแห่งวัตถุท่ีถูกสร้างสรรค์
ข้ึนมาเพ่ือเป็นสิ่งแทน (สัญลักษณ์) เป็นส่ิงพรรณนาความรู้สึก 
อุดมคติ และความเช่ือท่ีเป็นนามธรรมให้ปรากฏเป็นรูปธรรม
มีจุดมุ่งหมายให้เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาในศาสนา ได้แก่
พระพทุ ธรูปพระพมิ พ์ หรอื พระเครื่อง และรปู สัญลกั ษณ์

วัตถุประสงค์ที่สร้างขึ้นเพ่ือปรารถนาให้ร�ำลึกถึงองค์
พระพุทธเจ้า และเพื่อน้อมน�ำใจให้พุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึง
เหตกุ ารณส์ �ำคญั ตา่ งๆ ในพทุ ธประวตั จิ งึ ก�ำหนดระบบแบบแผน
ท่าทางต่างๆ ของพระพุทธรูปเป็นปางต่างๆ แต่ละปางของ
พระพุทธรูป ส�ำหรับประเทศไทยพุทธศาสนาและคติการสร้าง
รูปเคารพพระพุทธรูปเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อราวสมัยทวารวด ี
อันเป็นช่วงเวลาหลังจากเกิดคติการสร้างพระพุทธรูปในอินเดีย
เกือบ ๑๐๐๐ ปี โดยรับผ่านศรีลังกาอันเป็นช่วงเวลาปรากฏ
รัฐตา่ งๆ (กรมศิลปากร, ๒๕๕๒)

การสร้างพระพุทธรูปหรือพระพิมพ์ (พระเคร่ือง) มิได้มี 
จุดมุ่งหมายเพ่ือแสดงลักษณะของพระพุทธเจ้าเพียงส่วนเดียว
แตต่ อ้ งท�ำใหง้ ามตอ้ งใจคนทงั้ หลายดว้ ย (สมบรู ณ์ ค�ำด,ี ๒๕๔๙) 
เพราะพระพทุ ธรปู เปน็ ศนู ยร์ วมของศาสนกิ ชนทก่ี ราบไหวบ้ ชู า
ดังนั้น พระพุทธรูปจึงต้องสร้างข้ึนด้วยวัตถุที่มีค่าและความ
คงทน เช่นทองค�ำ หยก หนิ แกรนติ หนิ ออ่ น หรอื โลหะทม่ี คี า่  

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  81 

ประติมากรรมเหล่าน้ีมักจะส�ำเร็จลงด้วยจิตศรัทธาเล่ือมใส 
อย่างแทจ้ ริง เตม็ ไปด้วยความวิรยิ ะอตุ สาหะ และกรรมวิธีการ
สรา้ งอย่างยอดเย่ียม

พทุ ธศิลป์ : วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบรุ ี

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นพระพุทธรูป
โบราณ กอ่ อฐิ ถอื ปนู ปดิ ทอง ปางปาลไิ ลยกป์ ระทบั นง่ั หอ้ ยพระบาท
พระหตั ถซ์ า้ ยวางควำ่� บนพระชานุ (เขา่ ) เบอ้ื งซา้ ย พระหตั ถข์ วา 
วางหงายบนพระชานุเบื้องขวา ความสูงวัดต้ังแต่พระรัศมีถึง
พระบาท ๒๓.๔๘ เมตร ประดษิ ฐานอยภู่ ายในพระวหิ าร วดั ปา่ - 
เลไลยกว์ รวหิ าร จงั หวดั สพุ รรณบรุ ไี มป่ รากฏหลกั ฐานแนช่ ดั วา่
สร้างขึน้ เมอ่ื ใด แต่น่าจะสร้างกอ่ น พ.ศ. ๑๗๐๖

ในพงศาวดารเหนอื กลา่ วถงึ พระพทุ ธรปู องคน์ วี้ า่ พระเจา้  
กาแต กษัตริย์เช้ือสายมอญซึ่งครองเมืองอยู่ ณ ดินแดน
สุพรรณบุรี เมื่อคร้ังยังเรียกว่า เมืองอู่ทอง โปรดให้มอญน้อย
ไปบูรณะวัดป่าเลไลยก์และองค์พระพุทธรูป พระพุทธรูปปาง
ปาลิไลยก์องค์ใหญ่น้ี ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง
หลายครา ท�ำให้พุทธลักษณะเดิมซึ่งเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง
กลายเป็นพุทธศิลปะผสมระหว่างอู่ทอง อยุธยา และสุโขทัย
วัดป่าเลไลยก์อันเป็นท่ีประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นวัดเก่าแก่ 
ที่สร้างข้ึนมาแต่โบราณ ประมาณว่ามีอายุนับพันปีข้ึนไป 

82  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยอู่ทองเช่นเดียวกับพระ 
พุทธรูปองค์ใหญ่ของวัด พระปางปาลิไลยก์นี้ชาวบ้านเรียก
เพ้ียนไปว่า พระป่าเลไลยก์ หรือเรียกกันท่ัวไปว่า หลวงพ่อโต
นามของวัดก็เรยี กไปตามนามของพระพุทธรปู ว่าวดั ปา่ เลไลยก์
แต่ชาวบ้านเรียกกันส้ันๆ ว่า วัดป่า เดิมเป็นวัดราษฎร์ ได้รับ
การสถาปนาเปน็ พระอารามหลวงชนั้ วรวหิ าร เมอื่ พ.ศ. ๒๔๖๒
ในรชั สมัยพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยูห่ วั รชั กาลที่ ๖
(พระวิสุทธิสารเถร (หลวงพ่อถริ ), ๒๕๒๒)

พระพทุ ธรูป ปางประทานปฐมเทศนา ประทบั นง่ั หอ้ ยพระบาท เป็นแบบ
ทีน่ ยิ มท�ำกันมากในสมัยทวารวดี สนั นษิ ฐานว่า หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ (ซา้ ย)

เม่ือแรกสร้าง น่าจะเป็นพระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนา เช่นเดยี วกบั
พระพุทธรปู ศลิ าขาว หรือหลวงพอ่ ประทานพร วัดพระปฐมเจดีย์ (ขวา)

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  83 

สมเดจ็ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยเกย่ี วกบั  
พระพุทธรูปองค์น้ีว่า ดวงพระพักตร์เป็นแบบทวารวดี และ
น่ังห้อยพระบาทเหมือนอย่างพระทวารวดีที่พระปฐมเจดีย์ จึง
สันนษิ ฐานวา่ ของเดิมคงเป็นพระปางประทานปฐมเทศนา คอื
จบี พระหตั ถข์ า้ งหนง่ึ หรอื ทงั้ สองขา้ งทต่ี รงพระอรุ ะเหมอื นอยา่ ง
พระประธานในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ เพราะสมัยนั้น
ยังไม่มีแบบพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์เช่นเรานับถือกัน แต่
พระพทุ ธรปู องคเ์ ดมิ นนั้ ทงิ้ ช�ำรดุ มานานจนพระกรและพระหตั ถ์
หักพังหายไป ผู้ไปปฏิสังขรณ์ภายหลังไม่รู้ว่าพระหัตถ์ของเดิม
เปน็ อยา่ งไร จงึ ท�ำใหม่ แปลงเปน็ อยา่ งปางพระปา่ เลไลยกส์ มยั
ชน้ั หลงั พระหตั ถท์ ยี่ กประทานพรจงึ มาวางไวท้ พ่ี ระชานุ กลาย
เป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (พระเทพสุวรรณโมลี, ๒๕๕๕)
เห็นได้จากส่วนพระหัตถ์ซึ่งซ่อมใหม่ มีขนาดแตกต่างจากส่วน
พระกรของเดิมข้อสันนิษฐานอีกประการหน่ึงคือ พระพุทธรูป 
โบราณพบที่อู่ทองและนครปฐม เป็นพุทธศิลป์ยุคทวารวดี
เหมือนกัน เพราะจากหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และ
โบราณคดี เมอื งอทู่ อง มบี ทบาทเปน็ เมอื งส�ำคญั และเปน็ ศนู ยก์ ลาง
พระพทุ ธศาสนาของอาณาจกั รทวารวดเี ชน่ เดยี วกบั เมอื งนครปฐม
โบราณ

ทหี่ นา้ วหิ ารหลวงพอ่ โตวดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร มเี จดยี ท์ รง
มอญอยอู่ งคห์ นง่ึ มผี พู้ บพระเครอ่ื งเนอื้ ชนิ สนมิ แดงเรยี กวา่ พระ

84  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร

“เขมรขนนก” ซงึ่ สมเดจ็ กรมพระยาด�ำรงราชานภุ าพไดก้ ลา่ ววา่  
เป็นพุทธศิลป์สมัยลพบุรี เป็นพระเครื่องท่ีพบเจอคล้ายกับท ี่
ค้นพบจากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี พระ
เกศาเป็นลักษณะเปลวเพลิงแต่เส้นพระเกศาจะเล็กกว่าของ 
วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร (พระธรรมมหาวีรานวุ ตั ร, ๒๕๔๐)

พระเทรดิ ขนนกหรอื เขมรขนนก พระเกศาลักษณะเป็นเปลวเพลิงศลิ ปะลพบุรี

วัดป่าเลไลยก์เกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทยเร่ือง ขุนช้าง-
ขนุ แผน เลา่ วา่ ขรวั มี สมภารวดั ป่าเลไลยก์ และขรัวคง วดั แค
สุพรรณบุรี เป็นสหายร่วมน้�ำสาบานกับขุนไกรพลพ่าย บิดา
ของพลายแก้วหรือขุนแผน เม่ือขุนไกรถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎ
มีโทษถึงตาย ลูกเมียข้าทาสชายหญิงทรัพย์สมบัติถูกริบเป็น

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  85 

ของหลวง นางทองประศรี ภรรยาของขุนไกรได้หลบหนีพระ
อาญาไปพรอ้ มกบั พลายแกว้ บตุ รชาย มงุ่ หนา้ ไปเมอื งกาญจนบรุ ี
เพราะมพี รรคพวกพน่ี อ้ งอาศยั อยทู่ น่ี น้ั นางทองประศรอี ยเู่ มอื ง 
กาญจนบรุ จี นพลายแกว้ เตบิ ใหญ่ จงึ ไดบ้ วชเปน็ สามเณรทว่ี ดั สม้ ใหญ ่
อนั เปน็ วดั ใกลบ้ า้ น ไดเ้ รยี นวชิ ากบั พระอาจารยบ์ ญุ ผเู้ ปน็ อปุ ชั ฌาย ์
จนส�ำเรจ็ แลว้ ตง้ั ใจจะหาความรใู้ หส้ งู ขน้ึ นางทองประศรผี เู้ ปน็
มารดา จึงน�ำเณรแกว้ มาฝากกบั ขรวั มี วดั ปา่ เลไลยก์

นางทองประศรีมารดาพาเณรแก้วมาฝากสมภารมี

86  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวิหาร

แมแ้ ตว่ รรณคดเี รอื่ งขนุ ชา้ งขนุ แผน กย็ งั ไดน้ �ำมาสรา้ งเปน็  
พระพมิ พต์ ่างๆ สง่ ผ่านตามชื่อบุคคลตามในวรรณคดี เพือ่ เปน็
กุศโลบายให้เข้าถึงหลักความดี อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงการ 
เมอื งการปกครองและวฒั นธรรมของชาตไิ ทยอกี ด้วย

ผ้สู รา้ งพทุ ธศลิ ปพ์ ระพิมพต์ า่ งๆ 
วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร

พระครูโพธาภิรตั (หลวงพอ่ สอน)

เหรยี ญหลวงพอ่ โต วดั ปา่ เลไลยก์ รนุ่ แรกน้ี ไดจ้ ดั สรา้ งโดย 
“หลวงพ่อสอน” พระเกจิผู้ทรงพุทธาคม ลักษณะเป็นเหรียญ 
รปู ไข่ ดา้ นหนา้ จ�ำลองรปู หลวงพอ่ โต พระประธาน ในปางปา่ เลไลยก์ 
(ปาลไิ ลยก์) มีรปู ช้างถวายกระบอกน้ำ� ลิงถวายรวงผง้ึ ตกแตง่
พื้นหลังอย่างสวยงามด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค ์
อา่ นวา่ “นะ โม พทุ ธา ยะ” ตอ่ มาลงมาเปน็ ปที ส่ี รา้ ง “๒๔๖๒”
และอกั ษรไทยชือ่ พระประธานวา่ “หลวงพอ่ วัดปา่ เรไร”

การสร้างวัตถุมงคล “หลวงพ่อโต ที่วัดป่าเลไลยก์” นั้น
มีมาทุกยุคทุกสมัย ซ่ึงล้วนคงความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระ 
หลวงพอ่ โตมาเสมอ แต่ “เหรยี ญหลวงพอ่ โต วดั ปา่ เลไลยก์ รนุ่ แรก” 
ทจี่ ะกลา่ วถงึ น้ี นบั เปน็ เหรยี ญเกา่ แกท่ ไี่ ดร้ บั ความนยิ มอยา่ งสงู

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  87 

หลวงพอ่ สอนอดตี เจ้าอาวาสวดั ป่าเลไลยกว์ รวิหาร

เปน็ เหรยี ญพระพทุ ธอนั ดบั หนง่ึ ของจงั หวดั ทป่ี จั จบุ นั หาดหู าเชา่
ไดย้ าก ซงึ่ นอกจากวตั ถปุ ระสงคก์ ารจดั สรา้ งแลว้ อาจเปน็ ดว้ ย
พระเกจิผู้ปลุกเสก คือ “หลวงพ่อสอน” อดีตเจ้าอาวาสวัด 
ป่าเลไลยก์ ผู้เปน็ ทเี่ คารพศรัทธาอยา่ งมากของชาวสุพรรณบรุ ี

ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้พอสมควรซ่ึงล้วนเป็นที่นิยมอย่าง
กวา้ งขวาง และหายากยง่ิ ในปจั จบุ นั เชน่ เหรยี ญรปู เหมอื นรนุ่ แรก 
ปี พ.ศ.๒๔๖๑, เหรยี ญพระพทุ ธหลวงพอ่ โตรนุ่ แรก ปี พ.ศ.๒๔๖๒, 
เหรยี ญรปู เหมอื นทรงอารม์ ปี พ.ศ.๒๔๗๐ฯลฯ ส�ำหรบั เหรยี ญ
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุน่ แรกนี้ มีความส�ำคญั คอื จัดสรา้ ง
ในวาระทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั (รชั กาลที่ ๖) 
โปรดเกลา้ ฯ ยกฐานะ “วดั ปา่ เลไลยก”์ ขนึ้ เปน็ พระอารามหลวง

88  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวหิ าร

ชน้ั ตรี ชนดิ วรวหิ าร เมอ่ื วนั ท่ี ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๒ ยงั ความ 
ปลาบปล้ืมมาสู่ชาวต�ำบลรั้วใหญ่และชาวจังหวัดสุพรรณบุร ี
ยง่ิ นกั ในการนจี้ งึ ไดจ้ ดั ใหม้ กี ารเฉลมิ ฉลอง “หลวงพอ่ โต” อยา่ ง 
ยงิ่ ใหญ่ โดยมกี ารจดั สรา้ ง “เหรยี ญหลวงพอ่ โต” ขน้ึ เปน็ ครง้ั แรก
เพอ่ื แจกจา่ ยเปน็ ทร่ี ะลกึ ความส�ำคญั ประการทสี่ อง กค็ อื สมยั นน้ั  
เปน็ สมยั ทห่ี ลวงพอ่ สอน เปน็ เจา้ อาวาส ดงั นน้ั เหรยี ญหลวงพอ่ โต
วัดป่าเลไลยก์รุ่นแรกนี้ จึงได้รับปลุกเสกโดย “หลวงพ่อสอน”
พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมและเป็นท่ีเคารพศรัทธายิ่งของสาธุชน
นนั่ เอง

เหรยี ญรปู เหมือนปี ๒๔๖๑ ร่นุ แรก หลวงพอ่ สอนวดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  89 
เหรยี ญรปู หลวงพ่อโตปี ๒๔๖๒ ร่นุ แรก หลวงพอ่ สอน วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร
เหรยี ญรปู เหมือนทรงอารม์ ปี ๒๔๗๐ รุ่น ๓ หลวงพ่อสอน วดั ป่าเลไลยกว์ รวิหาร

90  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก ลักษณะเป็น
เหรียญรูปไข่ ด้านหน้า จ�ำลองรูปหลวงพ่อโต พระประธาน 
ในปางป่าเลไลยก์ (ปาลิไลยก์) มีรูปช้างถวายกระบอกน้�ำ ลิง
ถวายรวงผ้ึง ตกแต่งพ้ืนหลังอย่างสวยงาม ด้านหลังเป็นยันต์
พระเจา้ หา้ พระองคอ์ า่ นวา่ “นะ โม พทุ ธา ยะ” ตอ่ มาลงมาเปน็  
ปที ส่ี รา้ ง “๒๔๖๒” และอกั ษรไทยชอื่ พระประธานวา่ “หลวงพอ่  
วัดปา่ เรไร”

พระวสิ ทุ ธสิ ารเถร (หลวงพ่อถิร)

หลวงพอ่ ถริ ไดเ้ รมิ่ สรา้ งพระเครอื่ งมาตง้ั แต่ พ.ศ. ๒๔๘๓
และได้ขอตามวัดอ่ืนๆ มาอีกจ�ำนวนมาก พระเคร่ืองวัดไทร
ท้ายเมือง ขอมาหลายกระสอบปูน เพราะพระคณาจารย์ได้
สรา้ งไวเ้ ปน็ จ�ำนวนหลายสบิ ปี การแจกคราวนน้ั เพอื่ บชู าพระคณุ
ของพระพุทธเจ้าและได้สร้างขึ้นที่วัดป่าอีกเป็นจ�ำนวนมาก 
มกี ารท�ำพธิ พี ทุ ธาภเิ ษกเสมอมา ถา้ จะก�ำหนดพระทแี่ จกไปแลว้
ต้ังแต่ พ.ศ.๒๔๘๓ – ๒๕๒๒ ก็มากกว่าจ�ำนวนพระธรรมขันธ์
ในพระไตรปฎิ กจนถงึ ปจั จบุ ันน้ีก็ยงั มีอีกมากมาย

พระวิสุทธิสารเถรท่านได้เริ่มสร้างพระเคร่ืองยุคแรกๆ
ส่วนมากเป็นเนื้อดินเผาเป็นส่วนมากซึ่งจะเห็นพระพิมพ์ต่างๆ
มากมาย แต่ที่เป็นเอกลักษณ์เป็นพุทธศิลป์พิมพ์พระขุนแผน
อนั ลอื เลอื่ งของเมอื งสพุ รรณบรุ โี ดยใชช้ อื่ ตวั ละครทางวรรณคดี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  91 

เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นพิมพ์ต่างๆ ตามคติความเช่ือของชาว
เมอื งสุพรรณบุรี

พมิ พ์พระขนุ แผน   พมิ พน์ งั่ หลวงพ่อโต  
ปี ๒๔๙๘ ยุคแรก ปี ๒๕๐๙

นอกจากน้ันท่านยังได้สร้างพุทธศิลป์เน้ือโลหะต่างๆ ใน
คราวสร้างศาลาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่วัดป่าเลไลยก์ 
วรวหิ าร เพอื่ ระลกึ ถงึ วนั มชี ยั ชนะของสมเดจ็ พระนเรศวรกระท�ำ 
ยทุ ธหตั ถที ดี่ อนเจดยี อ์ นั เปน็ ผลใหช้ าตไิ ทยเปน็ เอกราชมาจนถงึ  
ทุกวันน้ี พระเคร่ืองท่ีสร้างคราวน้ันสร้างเป็นพระชุดข้ึนในป ี
พ.ศ.๒๕๑๓ เรยี กวา่ พระกรงิ่ ยทุ ธหตั ถี พระชยั ยทุ ธหตั ถี พระรว่ ง 
ยุทธหตั ถี เหรยี ญยทุ ธหตั ถี พรอ้ มด้วยพระบชู าสามสมัย สร้าง
ด้วยเนือ้ ทองค�ำ-เงนิ -นวโลหะ ทองแดงรมด�ำ

92  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร
พระกร่งิ ยทุ ธหตั ถี ปี ๒๕๑๓

เหรียญสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช ปี ๒๕๑๓

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  93 

พระรว่ งยุทธหัตถี ปี ๒๕๑๓

พระกรง่ิ ยทุ ธหตั ถแี ละพระชยั ยทุ ธหตั ถนี น้ั ทา่ นสรา้ งพมิ พ์
เป็นพทุ ธลกั ษณะแบบพระพทุ ธรูปสมัยอ่ทู อง เพ่อื น้อมน�ำหลกั
พุทธจริยศาสตร์ซึ่งเป็นหลักธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า มา
สงั เคราะหเ์ ขา้ กบั พทุ ธลกั ษณะปางมารวชิ ยั ซง่ึ เปน็ ปางเดยี วกนั
กบั พระพทุ ธรปู สมยั อทู่ อง ยอ่ มสอ่ื ใหเ้ หน็ วา่ การมสี ติ (ระลกึ ได้ 
สรา้ งแรงบนั ดาลใจ) การมสี มั ปชญั ญะ (ความรตู้ วั สรา้ งแรงจงู ใจ) 
การมสี มาธิ (การตง้ั ใจมนั่ มคี วามมมุ านะ) และการมขี นั ติ (มคี วาม 
อดทนอดกลน้ั อทุ ศิ ทมุ่ เท) พระหตั ถซ์ า้ ยวางหงายบนพระเพลา
บง่ บอกถงึ การไมย่ ดึ มนั่ ถอื มนั่ การปลอ่ ยวาง ท�ำจติ ใหป้ ราศจาก
เคร่ืองรึงรัดสามารถท่ีจะก้าวข้ามข้อจ�ำกัด (Barriers) ท่ีเป็น

94  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร

ปญั หาอปุ สรรค และเงือ่ นไข ก้าวขา้ มขดี จ�ำกัด (Limitations)
คอื มรี ะดบั ความสามารถในการรบั สภาพปญั หา อุปสรรค และ
เงื่อนไข สวู่ ถิ ีชีวติ แหง่ คุณภาพ กอ่ ให้เป็นผู้ทมี่ คี วามคิดดี (Good
Thinking) เพอื่ รกั ษา มคี วามเปน็ ผคู้ ดิ เปน็ (Critical Thinking)
เพ่ือพัฒนา และคิดเป็นไปได้ (Positive Thinking) เพื่อสร้าง
คณุ ค่าของตนเองและสังคม

ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ พระวิสุทธิสารเถรได้ประกอบพิธีมหา 
พทุ ธาภเิ ษกขนึ้ ทวี่ ดั ปา่ อกี มพี ระคณาจารยน์ ง่ั บรกิ รรมปลกุ เศก 
๑๗๐ องค์ สร้างพระรูปหลวงพ่อโต ในพระวิหารใหญ่ เป็น
สญั ลกั ษณข์ องวดั พระเครอื่ งสรา้ งดว้ ยเนอ้ื ทองค�ำ-เงนิ -นวโลหะ
เหรยี ญเงนิ -นวโลหะ-ทองแดงรมด�ำ และเนอ้ื ผงทองทก่ี ระเทาะ 
เวลาซ่อมปิดทองใหม่ พร้อมกับพระรูปหลวงพ่อโต พระสาม
สมัย เปน็ พระบชู าอกี จ�ำนวนหน่งึ

พระพิมพ์
หลวงพ่อโต 
ปี ๒๕๑๕

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวหิ าร  •  95 

พระพิมพ์หลวงพ่อโต ปี ๒๕๑๕

พระพมิ พป์ ี พ.ศ.๒๕๑๕ ซง่ึ ทา่ นไดส้ รา้ งไวเ้ ปน็ จ�ำนวนมาก
เหมือนกัน เป็นพิมพ์ท่ีนิยมเก็บหาบูชากันเพราะเป็นพุทธศิลป์ 
ทสี่ วยงาม อกี ทงั้ เกจอิ าจารยท์ เ่ี ปน็ ทน่ี บั ถอื ของพทุ ธศาสนกิ ชน
มารว่ มท�ำพธิ พี ทุ ธาภเิ ษกเปน็ จ�ำนวนมาก ลกั ษณะพมิ พพ์ ระดา้ น
หน้าเป็นรูปหลวงพ่อโต ด้านหลังเป็นพระพิมพ์ผงสุพรรณและ 
มีตราสัญญลักษณ์ประจ�ำรัชกาลที่ ๔ พุทธลักษณะของพิมพ ์
เปน็ ปางปา่ เลไลยกเ์ หมอื นกบั องคพ์ ระประธานในวหิ ารเพอ่ื นอ้ มน�ำ 
หลักพุทธจริยศาสตร์ซ่ึงเป็นหลักค�ำสอนของพระพุทธเจ้า มา
สงั เคราะหเ์ ขา้ กบั ปางปา่ เลไลยก์ ยอ่ มสอ่ื ใหเ้ หน็ วา่ เราอยใู่ นสงั คม 
เดียวกันก็ควรท่ีจะมีความสามัคคีกันไม่คิดมีความแตกแยก
ทางด้านเผ่าพันธุ์เพราะเราเป็นมนุษย์สัตว์ประเสริฐมีปัญญา
ไตรต่ รองถงึ ความดคี วามชวั่ ได้

96  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร
พระพมิ พ์เสมา พมิ พ์ระฆงั และพิมพ์ใบสาเก ปี ๒๕๓๙  

สร้างโดยพระธรรมมหาวีรานุวตั ร
พระขนุ แผน ร่นุ สมภารมี พ.ศ.๒๕๕๑  

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  97 

พระทุกพิมพ์ของวัดป่าเลไลยก์สร้างข้ึนด้วยศรัทธา สร้าง
ดว้ ยการสบื ทอดพระศาสนาใหแ้ กอ่ นชุ นรนุ่ ตอ่ ไป ทกุ ขนั้ ตอนของ
การสร้างกจ็ ะน�ำวสั ดุตา่ งๆ น�ำมาประกอบผสมผสานท�ำใหเ้ กดิ  
เปน็ ผลงาน และไดน้ �ำทงั้ ศาสตรแ์ ละศลิ ปต์ า่ งๆ มาสรา้ งผลงานอนั  
ยงิ่ ใหญเ่ พอ่ื จะสบื ทอดพระศาสนาใหค้ งอยนู่ านเทา่ นานเหมอื นกบั
ทีโ่ บราณาจารยไ์ ดส้ ร้างสรรคไ์ ว้ ดังนี้ (อารีย์ สุทธิพันธ,์ ๒๕๒๘)

คุณลกั ษณะของงานพุทธศลิ ป์
กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๑. คณุ สมบตั ใิ นตวั ของงานทศั นศลิ ป์ ประกอบดว้ ยคณุ สมบตั  ิ
กายภาพภายใน คอื วสั ดทุ น่ี �ำมาใชป้ ระกอบกบั วธิ ผี สมผสานกนั
ท�ำใหเ้ กดิ เป็นผลงาน คุณสมบัตทิ างความร้สู กึ กายภาพทแี่ สดง
ทา่ ทางใหเ้ หน็ เชน่ พระผงสพุ รรณ เปน็ พระพมิ พป์ างมารวชิ ยั ก็
จะมคี วามรู้สกึ วา่ เปน็ ปางมารวิชยั เทา่ นนั้ และคุณสมบัตทิ าง 
ความหมายตอ่ ชมุ ชน เราจะเหน็ วา่ พธิ กี รรมในการสรา้ งพระพมิ พ์ 
ผงสุพรรณ ถ้าเราอ่านจากส�ำเนาจารึกลานทอง ก็จะบังเกิด
ความรู้สึกต่อเน่ืองในด้านจิตใจเสริมสร้างศีลธรรมและความ
สามคั คีทางอ้อม

๒. คณุ สมบัตใิ นการด�ำรงอยูข่ องงานพทุ ธศลิ ป์
๓. คุณสมบัติที่ให้ความรู้สึกเพิ่มขึ้น ย่ิงดูย่ิงประทับใจ
พระพิมพผ์ งสุพรรณ หากไดเ้ หน็ ครงั้ แรกมีความรู้สึกประทับใจ

98  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร

อย่างไร และภายหลังไดเ้ ห็นอกี กจ็ ะมีความร้สู ึกประทบั ใจมาก
ย่ิงข้ึน ย่ิงพิศย่ิงซึ้ง ยิ่งดูนานเข้ายิ่งมีความรู้สึกน่าเล่ือมใสใน
คุณค่าของวัสดุที่น�ำมาสร้าง ถ้าได้ศึกษาให้ลึกในกรรมวิธีการ
สรา้ งแลว้ จะพบวา่ มกี ารน�ำหวั วา่ นมงคลตา่ งๆ มาคนั้ เอานำ�้ วา่ น
เปน็ สว่ นผสมเขา้ กบั มวลสารอืน่ ๆ ท�ำใหพ้ ระผงสพุ รรณมคี วาม
หนกึ นมุ่ และซงึ้ จดั หากโดนเหงอื่ ไคลแลว้ ยง่ิ จะขน้ึ เปน็ เงางาม

๔. คุณสมบัติท่ีส่งเสริมให้คิดถึงส่ิงอื่นๆพระพิมพ์ผง
สพุ รรณ จะกอ่ ใหเ้ กดิ การเปรยี บเทยี บกบั ผลงานอน่ื ๆ เชน่ พระ 
นางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อดินท่ีมีความ
ละเอยี ดแตกตา่ งกนั และเมอ่ื เปรยี บเทยี บกบั พระรอด กรวุ ดั มหาวนั  
จังหวัดล�ำพูน เน้ือดินของพระพิมพ์ผงสุพรรณจะละเอียดน้อย
กวา่ (ศภุ ชัย เรอื งสรรงามสริ ิ, ๒๕๕๖)

๕. คณุ สมบตั ทิ ม่ี คี วามสมบรู ณใ์ นตวั มคี วามสมบรู ณล์ งตวั
ในรูปลักษณ์และเร่ืองราว ไม่สามารถแยกส่วนประกอบช้ินใด
ช้นิ หนง่ึ ออกจากกันได้

การสร้างพระพิมพ์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
สามารถประมวลคุณค่าหรือความส�ำคัญของศิลปะประเภท
พุทธศิลป์ ได้ดังนี้

๑. พระพิมพ์ต่างๆ ของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ล้วนเป็น
ตัวแทนของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นศาสดาในพระพุทธศาสนา

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  99 

ซง่ึ พทุ ธศาสนกิ ชนใหค้ วามเคารพนบั ถอื เลอื่ มใส และเปน็ สอื่ ให้
มนษุ ย์ม่งุ พฒั นาศกั ยภาพตนเอง ซึ่งเรียนร้จู ากพทุ ธจริยศาสตร์

๒. พระพิมพ์ต่างๆ ของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ล้วนเป็น
เครอ่ื งใหเ้ กดิ ความระลกึ นกึ ถงึ คณุ พระรตั นตรยั และยงั เปน็ การ
แสดงถึงความศรัทธาปสาทะต่อพระรัตนตรัย คือพระพุทธ
พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเป็นคุณค่าหลักทางเป็นพุทธศิลป์ 
ทกุ ประเภท

๓. พระพมิ พต์ า่ งๆ ของวดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร ลว้ นเปน็ การ 
บนั ทกึ หรอื เลา่ เรอื่ งราวประวตั คิ วามเปน็ มาขององคพ์ ระพทุ ธเจา้

๔. พระพิมพ์ต่างๆของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ล้วนเป็น
สัญลักษณ์ของความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ความเจริญ
กา้ วหน้า และความสงบสุขของบ้านเมอื งในยุคนนั้ ๆ

๕. พุทธจริยศาสตร์ที่น�ำเสนอผ่านพระพิมพ์ต่างๆ ของ 
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ล้วนเป็นธรรมขั้นพ้ืนฐาน ท่ีเริ่มจาก
การท�ำกาย วาจา ใจให้เป็นปกติ มีความอดทน อดกล้ัน มีจิต 
มุ่งมั่นไม่หว่ันไหว การมีสติ ก่อให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจ
มสี มั ปชญั ญะ ก่อใหเ้ กิดการสร้างแรงจูงใจ การไมย่ ึดม่ันถือมนั่
การปล่อยวาง ท�ำจิตให้ปราศจากเครื่องรึงรัด คนรุ่นใหม่ที่มี 
ขดี ความสามารถสงู ในการใชเ้ ทคโนโลยเี ปน็ เครอ่ื งสอื่ สาร นา่ จะ 
หันมามองรากเหง้าวิถีไทยท่ีมีพระพุทธศาสนาเป็นแกนหลัก
น�ำเสนอพุทธศิลป์ และพุทธจริยศาสตร์ผ่านส่ือมัลติมิเดีย 

100  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวหิ าร

ในระบบอนิ เตอรเ์ นต็ นา่ จะเปน็ ชอ่ งสอื่ สารทที่ รงคณุ คา่ ยง่ิ อาจ
จะช่วยเสริมสร้างความสามารถให้มวลมนุษยชาติก้าวข้ามข้อ
จ�ำกดั ทเ่ี ปน็ ปญั หาอปุ สรรค และเงอื่ นไข และกา้ วขา้ มขดี จ�ำกดั
คือมรี ะดบั ความสามารถในการรับสภาพปัญหา อปุ สรรค และ
เง่ือนไข สู่วิถีชีวิตแห่งคุณภาพ ก่อให้เป็นผู้ที่มีความคิดดี เพื่อ
รักษาลักษณะเป็นผู้มีความเป็นผู้คิดเป็น สามารถพัฒนา และ
คิดเป็นไปได้ เพื่อสร้างคุณภาพท่ีดีให้กับตนเองและสังคมที่มี
คณุ ภาพสืบไป

สรุป

พระพมิ พห์ ลวงพอ่ โต เปน็ พระพมิ พ์ หรอื พระเครอื่ ง โดย 
ผสู้ รา้ งมเี จตนาทจี่ ะแสดงอารมณ์ ความรสู้ กึ หรอื ปญั ญา ความคดิ  
ในการสื่อจริยศาสตร์ผ่านปางปฐมเทศนาหรือปางป่าเลไลยก ์
เพื่อให้ระลึกถึงพระพุทธองค์และตระหนักถึงความสามัคคีของ 
คนในชาตหิ รอื การมสี ติ เพอื่ สรา้ งแรงบนั ดาลใจ การมสี มั ปชญั ญะ
เพื่อสรา้ งแรงจงู ใจ การมสี มาธิ เพอ่ื ความมานะและการมีขนั ติ
เพื่อความอทุ ศิ ทุ่มเท พระหัตถซ์ า้ ยวางหงายบนพระเพลา บง่
บอกถึงการไม่ยึดมั่นถือม่ัน การปล่อยวาง ท�ำจิตให้ปราศจาก
เครื่องรึงรัดสามารถท่ีจะก้าวข้าม ท่ีเป็นปัญหาอุปสรรค และ
เง่ือนไข และก้าวข้ามขีดจ�ำกัดคือมีระดับความสามารถใน
การยอมรับสภาพปัญหาอุปสรรค และเง่ือนไข สู่วิถีชีวิตแห่ง
คุณภาพทั้งตนเองและสังคมแบบพระพิมพ์หลวงพ่อโต ยัง

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  101 

สามารถสงเคราะห์เข้ากับกฎไตรลักษณ์ ได้แก่ ความไม่เที่ยง
ความเปน็ ทกุ ข์ และความไมม่ อี ะไรเปน็ ตวั ตน ไมม่ อี ะไรเปน็ ของ
ตนเอง ดา้ นความงามผา่ นกรรมวิธีการสรา้ งอย่างวจิ ติ รพิสดาร
เขา้ ขา่ ยเปน็ พทุ ธศลิ ป์ เพราะเปน็ ตวั แทนของพระพทุ ธเจา้ ทใี่ ห้
ท้ังความงาม ให้อารมณ์ ให้ความประทับใจ และยังให้คุณค่า
แห่งความเคารพ นับถือ ยกย่อง หรือเทิดทูนบูชาแก่ผู้พบเห็น
ทงั้ ในด้านอามิสบูชา ท่มี ีการบูชาดว้ ยสิ่งของ และปฏิบตั ิบูชา

คณุ ค่าของศิลปะทกุ ๆ แขนงโดยทว่ั ไป คอื ความสวยงาม
งดงาม ให้ความสะเทือนใจและความประทับใจแก่ผู้ชม แต่
เมื่อเป็นพุทธศิลป์ หรือศิลปะในพระพุทธศาสนา นอกจากจะ
ให้ความงามในทางศิลปะแล้ว ยังให้คุณค่าในด้านความเคารพ
นบั ถอื ยกยอ่ ง หรอื เทดิ ทนู บชู าแกผ่ พู้ บเหน็ ทงั้ ในแงอ่ ามสิ บชู า 
คือการบูชาด้วยส่ิงของ และปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการ
ปฏิบัติตามค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพราะศิลป์แขนงนี้เกิด
มาจากศรทั ธา หรอื ความเคารพเลอื่ มใสในพระพทุ ธศาสนา เปน็
แรงบันดาลใจให้ศิลปนิ สร้างศลิ ปะเหลา่ นี้

102  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร

เอกสารอ้างองิ

กรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๒). พระพุทธรูปปาง 
ตา่ งๆ. (พมิ พค์ รงั้ ที่ ๓). นครปฐม: รงุ่ ศลิ ปก์ ารพมิ พ์ (๑๙๙๗).

กองหอสมุดแห่งชาติ. ต�ำราพระพุทธรูป ว่าด้วยภาพพระพุทธ
รปู ปางตา่ งๆ. เลขที่ ๕๐ มดั ท่ี ๗ ต๑ู้ ๑๗ ชนั้ ๔/ (เอกสาร
ตวั เขยี นคดั ลอก โดยนางสาวพมิ พพ์ รรณ ไพบลู ยห์ วงั เจรญิ )

เขมชาติ เทพไทย. (๒๕๔๒). โบราณคดี ประวัติศาสตร์เมือง
สุพรรณบุร.ี สุพรรณบุรี: สารรงั สรรค์.

บุญครอง และรัตนมณี คันธฐากูร. (๒๕๔๒). สุพรรณบุรี
ประวตั ศิ าสตร์ ศลิ ปกรรม และวฒั นธรรมทอ้ งถนิ่ . สพุ รรณบรุ :ี
ออฟเซทอารท์ ออโตเมช่ัน.

มนัส โอภากุล. (๒๕๔๐). ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมือง
สุพรรณบุร.ี สุพรรณบุรี: สพุ รรณการพมิ พ์

ราชบณั ฑติ ยสถาน. (๒๕๔๖). พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน
พ. ศ.๒๕๔๒. กรงุ เทพมหานคร: นานมบี คุ๊ สป์ พั พลเิ คชนั่ ส.์

สงวน รอดบุญ. (๒๕๓๕). พุทธศิลป์. สารานุกรมศึกษาศาสตร ์
ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕. กรุงเทพ-
มหานคร: วสิ ิทธ์ิวฒั นา.

สด แดงเอยี ด. (๒๕๕๖). พทุ ธศาสนากบั งานพทุ ธศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั  
ราชภฎั สวนสนุ นั ทา, วนั ท่ี ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖. ณ พพิ ธิ ภณั ฑ์ 
สถานแห่งชาติ หอศลิ ป์ (เจา้ ฟา้ ), กรงุ เทพมหานคร.

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวหิ าร  •  103 

สมบูรณ์ ค�ำดี. (๒๕๔๙). การศึกษาปรัชญาในงานพุทธศิลป์ 
เพ่ือเป็นแนวทางการออกแบบตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์
พทุ ธศลิ ป.์ รายงานการวจิ ยั บณั ฑติ วทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั
ศลิ ปากร.

สุรศักด์ิ เจริญวงศ์, (๒๕๓๕). แนวคิดและวัตถุประสงค์ของ
จิตรกรรมไทย เอกสารการสอน ชุดวิชาศิลปะกับสังคม
ไทย หน่วยท่ี ๖–๑๐. (พมิ พค์ ร้งั ที่ ๒) นนทบรุ ี: โรงพมิ พ์
มหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช.



ขนุ ช้างขุนแผน ฉบับชาวบ้าน

ดร.ถนดั ยันต์ทอง

ขุนไกร ภาพขุนไกร  
ท่รี ะเบียงคดวดั ป่าเลไลยก์
โครงเรื่องของ ขุนช้าง
ขุนแผน เร่ิมจากครอบครัวสาม
ครอบครัว คือ ครอบครัวของ
ขุนไกรพลพ่าย ขุนศรีวิชยั และ
พนั ศรโยธา

ขุนไกรพลพ่าย อยู่บ้าน
พลับเมืองกาญจน์ มีทรัพย์เงิน
ทองของน้อยใหญ่ รับราชการ
ทหาร มภี รรยาชอื่ นางทองประศรี
อยวู่ ดั ตะไกร มลี กู ชายดว้ ยกนั ชอ่ื  
พลายแกว้ ครอบครวั นเ้ี ดมิ อยเู่ มอื ง 
กาญจน์ แลว้ รอ้ื เรอื นออกไปปลกู  
ใหม่ อยใู่ นแวน่ แควน้ สพุ รรณบรุ ี

106  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

ขนุ ไกรพลพา่ ย ถอื เปน็ นายทหารส�ำคญั เปน็ ทหารชาญชยั  
ใจฉกรรจ์ คุมไพร่ในสังกัดเจ็ดร้อยคน บุคลิกอาจอง มีวิชา 
คงกระพนั คอื ตรี นั ฟนั แทงไมเ่ ขา้ หนงั เหนยี ว และนอกจากวชิ า
คงกระพันแล้วยังส�ำเรจ็ วชิ าชาตรี คอื นอกจากรา่ งกายเหนยี ว
แล้ว ยังไม่บอบช้�ำ เพราะวิชาชาตรี อาวุธจะเบาเมื่อกระทบ
ร่างกาย สูงกว่าวิชาคงกะพัน เหนียวก็จริงแต่หากถูกรุมแทง
ท�ำร้ายก็บอบช้�ำตายได้ ขุนไกรจึงเป็นยอดนักสู้ สู้ท่ีไหนไม่ม ี
ถอย รบศึกศัตรูถึงมากน้อยเท่าไรไม่มีหนี เป็นท่ีขึ้นชื่อลือชา 
ไมเ่ กรงกลวั ใคร ทางราชการโปรดใหเ้ ปน็ ทหารอยธุ ยา มอี �ำนาจ
และชือ่ เสียงเป็นสงา่ อยใู่ นเมอื งสุพรรณ

ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เป็นเศรษฐีเมืองสุพรรณบุรี 
รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาช่ือ นางเทพทอง
มีลกู ชายชอื่ ขุนช้าง ซ่งึ หัวล้านมาแต่ก�ำเนดิ

ครอบครวั ของพนั ศรโยธา เปน็ พอ่ คา้ ภรรยาชอ่ื ศรปี ระจนั
มลี กู สาวรูปรา่ งหน้าตาสวยสด งดงามชื่อ นางพิมพิลาไลย

วนั หน่งึ สมเด็จพระพันวษา มีพระประสงคจ์ ะลา่ ควายป่า
จึงส่ังให้ขุนไกรฯ ปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้ พอ
รุ่งเช้าขุนไกรพลพ่ายเรียกทนายแล้วพาพวกอาสาห้าร้อยคน
เท่ียวไล่ค้นกระบืออ้ืออึงไปทั่วป่าสกัดทางในกลางดง เวียนวน
ตามเถินเนินต่างๆ ท้ังโห่ร้องก้องป่าจุดไฟเผาป่าไล่ควาย ควัน
คลมุ้ กลุ้มกลบ จนเปลวไฟโพลงพลามลามป่าอย่างหนัก สัตว์ป่า

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  107 

กระโจนหนีไฟกระเจิดกระเจิง ควายท่ีเตรียมไว้ไล่ล่าก็บ้าคลั่ง
เพราะตกใจกลวั ไฟป่า

“กระบือเถือ่ นใหญน่ ้อยนับร้อยพัน หวาดหวัน่ ว่งิ กระเจิงละเลงิ หลง

ตกใจดว้ ยไฟนน้ั ไหม้พง เสียงคนโหส่ ่งก็ตรงมา”

ภาพ ขุนไกร ถือหอกแทงควายป่า ทีร่ ะเบียงคดวดั ปา่ เลไลยก์

ขนุ ไกร ไมส่ ามารถควบคมุ ควายปา่ เหลา่ นนั้ ใหเ้ ปน็ ไปตาม
ตอ้ งการได้ มนั แตกตนื่ หนไี ฟ ขนุ ไกรจงึ ใชห้ อกแทงควายตายไป
กว่าร้อยตัว ท่ีรอดชีวิตก็หนีไม่คิดชีวิต พระพันวษาเห็นดังน้ัน
จึงตรสั วา่ ขุนไกร มวั ท�ำอะไรอยู่ใชแ้ ต่ลกู นอ้ งไล่ควายไมไ่ ด้การ

“ครานัน้ สมเดจ็ พระพันวษา เสดจ็ บนพลับพลาแล้วผนิ ผัน
เหน็ กระบือใหญน่ อ้ ยสกั รอ้ ยพัน ยัดเยียดเบียดกนั อยู่วนุ่ วาย

108  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร
จงึ ตรสั ว่าฮ้าเฮย้ อา้ ยขุนไกร เป็นไรมิต้อนให้เขา้ ค่าย
มึงไวใ้ จแตไ่ พร่ใหไ้ ลค่ วาย มงึ ลอยชายอยเู่ ปลา่ ไมเ่ ขา้ ยา ฯ”

ขนุ ไกร ไดย้ นิ พระโองการจงึ เผน่ ทะยานจบั หอกออกยนื หนา้
พวกไพร่โห่เสียงดังสน่ัน ฝูงกระบือเป็นบา้ ลนลานตกใจกลัว มี
กระบือตัวหนึ่ง ชื่อไอ้งอนโกรธจัดไล่แทงพวกไพร่ ขุนไกรฯ 
จึงถอื หอกจดั การฆา่ กระบือ

“ตืน่ ครนื้ โลดโผนโดนโดด อา้ ยงอนโกรธออกหนา้ กลา้ หาญ
มันไล่ขวดิ ผ้คู นอลหม่าน ขุนไกรกท็ ะยานออกยนื รับ
ถบี โดดโลดแทงเป็นกังหัน เสียงหอกสนัน่ อยูฉ่ บั ฉับ
ถูกควายตายลม้ ลงยอ่ ยยบั จะนับก็ได้สกั รอ้ ยปลาย”



ภาพ ขนุ ไกร ถูกสง่ั ประหาร

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  109 

ขุนไกร ได้ใช้หอกแทงควายตายไปมากเกือบสองร้อยตัว
ท่ีรอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป พระพันวษา พิโรธหนักที่ขุนไกรฯ
ท�ำงานผดิ พลาด จงึ สง่ั ใหป้ ระหารชวี ติ และยดึ ทรพั ยข์ องขนุ ไกร
มาเป็นของหลวง นางทองประศรีรู้ข่าว รีบพาพลายแก้วหนี 
ไปเมอื งกาญจนบรุ บี า้ นเกดิ เรอ่ื ง ขนุ ชา้ งขนุ แผน เรมิ่ ขน้ึ ทตี่ อน
ขุนไกรถกู สัง่ ประหาร

ความสำ� คัญของควาย

เหตทุ สี่ มเดจ็ พระพนั วษา โกรธมากถงึ กบั สงั่ ใหป้ ระหารชวี ติ
ขนุ ไกร ก็เพราะฆา่ ควายไปสกั ร้อยปลาย คือ เกอื บสองรอ้ ยตัว
“ควายสพุ รรณ” มมี ากมายสมยั โบราณ ในกลอนเสภากลา่ ววา่  
เป็น “กระบือเถ่ือน” เป็นสัตว์ห้ามล่าอาศัยอยู่ใน “ป่าต้น” 
ปา่ ตน้ คอื ปา่ ทม่ี สี ตั วข์ องพระราชาอยอู่ าศยั ใหอ้ ยตู่ ามธรรมชาติ
หา้ มลา่ หรอื เสร็จศกึ มากม็ าปลอ่ ยไว้

ควายสพุ รรณ “จงึ เปน็ สตั วเ์ ศรษฐกจิ ท�ำนา” จบั ควายมา
ฝึกมาเล้ียงให้เชื่องและฝึกให้ไถนาเพ่ิมมูลค่าก�ำลังผลิตข้าวไว้
กนิ ขายและเสบียง บรรพชน “คนสพุ รรณ” ช�ำนาญในการฝกึ
ควายป่าสามารถน�ำมาใช้ลากเรือติดหล่มในแม่น�้ำท่าจีนได้ ใน
“นริ าศสุพรรณ” ของท่าน “สุนทรภู่” ได้แตง่ ไว้

สนุ ทรภู่ พดู ถงึ เรอื่ งควายสพุ รรณไวใ้ นโคลงนริ าศสพุ รรณ
หลายตอนท่ีส�ำคัญคือ คนสุพรรณใช้แรงควายรับจ้างลากเรือ

110  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร

(ฝึกควายเก่ง) ในพ้ืนท่ีโคลนที่แรงคนไม่สามารถจะพายหรือ
ถ่อเรือให้เดินหน้าไปได้ ควายจึงมีส�ำคัญท้ังทางน�้ำทางบก
เปรียบได้กับรถในสมัยปัจจุบัน ควายจึงไม่ต่างกับรถไถลากจูง 
หรือรถแทรกเตอร์ในสมัยปัจจุบัน สมัยรัชกาลท่ี ๓ ถึงรัชกาล
ท่ี ๕ จึงเน้นไม่ให้ใครมาลักควาย โจรท่ีขโมยควาย ช่ือดังของ
สุพรรณในหน้าประวัติศาสตร์ ชื่อ “เสือท้วม” ควายถือเป็น
สัตว์ท่ีมีพระคุณของชาวนามีการ “สู่ขวัญควาย” ล้างตัวทา
น้�ำมันหาน�้ำหาหญ้าให้กิน พูดจาไพเราะอ่อนหวานกับควาย
ขอโทษควาย เพื่อให้ “เปน็ สิริมงคล” ตอ่ การท�ำนาท�ำไร่ไถนา
ผลผลติ ดี จงึ มกี ารตงั้ “ชอ่ื ควาย” ใหไ้ พเราะ เกย่ี วขอ้ งกบั ท�ำไร่ 
ไถนาดี เชน่ ควายเพศเมยี มชี อ่ื ดงั นี้ อรี วงเงนิ อรี วงทอง อรี วงทพิ ย ์
อพี วงทอง อขี วญั รวง ควายเพศผู้ มชี อ่ื ทางหนกั แนน่ ดงั น้ี ไอเ้ สา 
ไอม้ น่ั ไอท้ ยุ ไอท้ กึ ไอโ้ ชค ไอไ้ ชย ชอ่ื เพราะและเปน็ มงคลทงั้ สนิ้

ขนุ ไกร ประมาทในการตอ้ นควายปา่ พาเขา้ คอกจดุ ทค่ี วบคมุ  
ไมไ่ ด้ ถงึ กบั จดุ ไฟปา่ ไลค่ วาย ควายตนื่ วงิ่ มาหนา้ พระทน่ี ง่ั “พระ
พนั วษา” ควายปา่ ชอื่ ไอง้ อน พยศหนกั ขนุ ไกรหมดปญั ญาแกไ้ ข
จึงใช้หอกแทงควายตายไปหลายร้อยตัว “พระพันวษา” พิโรธ
จงึ สง่ั “ตอ้ งราชบาทว์ ฟันคอรบิ เรือน”

ควายจังหวัดสุพรรณบุรีน้ันส�ำคัญนัก เพราะควายคือ
เครอ่ื งหมายแหง่ อ�ำนาจและรำ่� รวย เป็นสัตวเ์ ศรษฐกิจท่สี �ำคัญ
แตโ่ บราณ ในการท�ำนาท�ำไร่ “ควายในปา่ ตน้ ของกษตั รยิ ”์ หา้ มลา่  

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  111 

และฆ่าควายโดยใช่เหตุ ขุนไกรฯ โมโหควายที่ไม่เป็นตามที่ส่ัง
จงึ ใช้หอกแทงควายตายไปเกอื บสองร้อยตัว ท�ำใหพ้ ระพันวษา
พิโรธนกั จงึ สงั่ ประหารชีวติ “ขุนไกร” ให้ตายตกตามควายไป

การประหารชวี ติ

วรรณคดีไทย ท่ีมีฉากการประหารโดยวิธีการฟันคอ คือ
เรอ่ื งเสภาขนุ ชา้ ง ขนุ แผน ครงั้ แรกเปน็ ฉากประหารชวี ติ ขนุ ไกร
พลพา่ ย พอ่ ของขนุ แผน เนอื่ งจากขนุ ไกรพลพา่ ยท�ำหนา้ ทต่ี อ้ น
ฝงู กระบอื ถวายใหพ้ ระพนั วษาทอดพระเนตร แตฝ่ งู กระบอื กลบั
แตกต่ืนวิ่งไปยังหน้าที่ประทับ ขุนไกรพลพ่ายสังหารกระบือ 
ลม้ ตายไปเกอื บสองรอ้ ยตวั จงึ ท�ำใหถ้ กู ประหารดว้ ยการฟนั คอ

ครง้ั ทสี่ อง พระพนั วษาพโิ รธนางวนั ทอง ทไี่ มเ่ ลอื กตดั สนิ ใจ 
วา่ จะอยกู่ บั ขนุ ชา้ งหรอื ขนุ แผนใหช้ ดั เจน จงึ ถกู สง่ั ประหารและ
ให้ใช้ใบตองรองเลือดไม่ให้เลือดตกถึงแผ่นดินถือเป็นอัปรีย์
จญั ไร

“เรง่ เรว็ เหวยพระยายมราช ไปฟันฟาดเสยี ให้มนั เป็นผี
อกเอาขวานผา่ อย่าปรานี อยา่ ใหม้ โี ลหิตติดดนิ กู
เอาใบตองรองไว้ใหห้ มากิน ตกดนิ จะอปั รีย์กาลีอยู่
ฟันใหห้ ญงิ ชายท้ังหลายดู สั่งเสรจ็ เสด็จสูป่ ราสาทชัย ฯ”

การประหารขนุ ไกรฯ ด้วยความผดิ ร้ายแรง ถึงขนาดเอา
ขวานผา่ อกอยา่ ปรานี ไมม่ ใี หเ้ ลอื ดไหลตกพน้ื ดนิ เอาใบตองรอง

112  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร

เลือดให้หมากิน ส่วนนางทองประศรีตกเป็นหม้าย พาลูกชาย
คอื พลายแก้ว หนอี าญาแผน่ ดนิ กลบั เมืองกาญจนบุรีบา้ นเกิด

นี่คือจุดเร่ิมต้นของวรรณคดีไทย ท่ีทรงคุณค่าในทุกด้าน
ของประวัตศิ าสตรส์ งั คมของประเทศไทย

ขนุ แผน

รูปร่างลักษณะของพลายแก้วหรือขุนแผน ในวรรณคดี
เร่ือง ขุนช้างขุนแผน มีเอกลักษณ์ที่ดวงตาด�ำกลมโต ใบหน้า
นา่ เอ็นดูคือหน้าตาอ่อนวยั

ภาพ ปนู ปั้น ขนุ แผน ที่หน้าพระวิหารหลวงพอ่ โต

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  113 

ขุนแผน เป็นผู้ชายท่ีสมบูรณ์ทั้งรูปร่างหน้าตากิริยา
มารยาทค�ำพดู จา รปู รา่ งสมสว่ นหลอ่ เหลาใจกลา้ รา่ เรงิ นยั นต์ า
กลมโต หน้าตาสดใส ตลอดจนมีวิชาคาถาอาคม ครบเคร่ือง
เรอื่ งผชู้ าย ดงั ค�ำบรรยายวา่

“พดู จา คารม ดูคมขำ�    ตาด�ำ กลอกกลม สมทหาร”

กับตอนถวายตวั พระพันวษา

“พระองค์ ทรงพศิ อยเู่ ป็นครู่ ดูเอน็ ดู รปู ร่าง มันงามสม
ตาเป็น-มนั หยับ ขยับกลม วทิ ยา อาคม เชี่ยวชาญ”

พลายแก้วนั้นตกระก�ำล�ำบาก
ในวัยเด็กเพราะขาดพ่อ ดีที่แม่นั้น
เปน็ ผหู้ ญงิ ทเ่ี กง่ รอบดา้ น วางรากฐาน
การศึกษาให้แก่พลายแก้ว อย่าง 
ยอดเยย่ี ม

กอ่ นทข่ี นุ ไกรจะถกู ประหารนน้ั ภาพ นางทองประศรี  
ไดฝ้ ากให้ หลวงฤทธานนท์ น�ำความ ทรี่ ะเบยี งคดวดั ป่าเลไลยก์
ไปบอก นางทองประศรี ให้หอบลูก
หนีไป ก่อนที่จะถูกราชบาทว์ ริบ
ทรพั ยส์ มบตั ใิ หห้ ลวง นางทองประศรี
จึงพา พลายแก้ว หนีอาญาแผ่นดิน
จากสพุ รรณบุรี กลับเมืองกาญจนบรุ ี
แบบตกระก�ำล�ำบากสดุ ๆ

114  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร
“พลายแก้วเดินหลงั รงั้ เอวแม่ ห้อแห้หน้านิว่ หิวกระหาย
รอ้ นเทา้ เจา้ เดินเหยยี บกรวดทราย เจา้ พลายเหนอ่ื ยออ่ นวอนมารดา
แม่ขาสดุ ปญั ญาของลูกนี้ เหลอื ทจ่ี ะลา้ เลอื่ ยเหนอื่ ยหนกั หนา
คอแห้งคร่องแครง่ แข็งใจมา แม่เดนิ ช้าช้าอย่าใหเ้ ร็ว
ลกู กา้ วยาวนกั กจ็ ักล้ม เจบ็ ระบมตนี แตกจนแหลกเหลว
แผ่นดินร้อนเหลอื ใจดงั ไฟเปลว แมก่ อ็ ุ้มใสส่ ะเอวต่องแต่งมา
เหน่อื ยนักยักใหข้ ึ้นขห่ี ลงั เอากระบงุ ถอื บังไปข้างหนา้
ครนั้ เม่อื ยเข้ากเ็ อาข้ึนบนบา่ มอื หนงึ่ จบั ขาลูกยาไว้
เท้านางพุพองค่อยยอ่ งเดิน คร้ันเมนิ สะดุดเหเซไถล
ลกู พลัดจากบ่าผวาไป ล้มกลง้ิ อยใู่ นพนาลี
เจ้าพลายลกุ ขึน้ ยงั มนึ หน้า ร้องว่าลกู แทบจะเปน็ ผี
เจบ็ ขดั แขง้ ขาข้าส้ินที ทีนแ้ี ม่ขาอยา่ อุ้มเลย ฯ”

ภาพ นางทองประศรี สร้างหลกั ฐานท่ีบ้านเกดิ เมืองกาญจน์

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  115 

การท่ีนางทองประศรีมุ่งหน้ามาเมืองกาญจนบุรี เพราะ
ทราบว่ามีญาติของขุนไกรผู้สามีอยู่ท่ีดอนเขาชนไก่ เม่ือมีที่อยู่
อาศัยแล้วนางจึงเร่ิมสร้างหลักฐานอยู่ที่เมืองกาญจน์ โดยอยู่กับ
ลูกชายหลายปี จนพลายแก้ว อายุได้ ๑๕ ปี จึงเริ่มเรียนวิชา
เพ่ือทีจ่ ะได้เข้ารับราชการเป็นทหารแบบขุนไกร ผเู้ ป็นพอ่

“จะกล่าวถงึ พลายแกว้ แววไว เมอ่ื บิดาบรรลยั แมพ่ าหนี

ไปอาศยั อยู่ในกาญจนบ์ รุ ี กับนางทองประศรีผูม้ ารดา

อย่มู าจนเจา้ เจริญวยั อายนุ ั้นไดถ้ งึ สิบหา้

ไม่วายคิดถึงพ่อทม่ี รณา แต่นึกนึกตรกึ ตรามากวา่ ปี

อยากจะเปน็ ทหารชาญชยั ใหเ้ หมอื นพ่อขนุ ไกรท่เี ป็นผี

จึงออ้ นวอนมารดาไดป้ รานี ลูกนจี้ ะใคร่รู้วิชาการ

พระสงฆ์องคใ์ ดวิชาดี แมจ่ งพาลูกนไี้ ปฝากท่าน

ใหเ้ ป็นอุปชั ฌาย์อาจารย์ อธิษฐานบวชลูกเป็นเณรไว้ ฯ”

ภาพ นางทองประศรพี าพลายแกว้ มาฝากสมภารมี

116  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

เริ่มจากการเรียนคาถาอาคมกับสมภารบุญ วัดส้มใหญ ่
เขาชนไก่ เมอื งกาญจนบรุ ี สมภารมี วดั ปา่ เลไลยก์ และอาจารยค์ ง 
วดั แค แห่งเมอื งสุพรรณบุรี

ขนุ แผนบคุ คลทมี่ เี สนห่ ์

ภาพ ขุนแผน   ขนุ แผน ไม่ต้องใชเ้ วท-
ภาพวาดทร่ี ะเบียงคดวัดป่าเลไลยก์ มนตร์ คนไหนรู้จักก็ต้องรัก
ขนุ แผนผชู้ ายทนี่ า่ สงสาร “ที่
ขาดพ่อ” ตั้งแต่ “สองขวบ” 
คนนี้ ต้องศึกษา “เล่าเรียน
อยา่ งหนกั ” หลายส�ำนกั หลาย 
วิชาเป็น “ความหวังเดียว 
ของแม่” ที่มุ่งหวังจะให้เขา 
ได้ดี ถามว่า “ขุนแผน หาก 
ไม่ใช้เวทมนตร์ก็คงไม่มีใคร 
รักใช่ไหม? หากศึกษา“เชิง 
ประจักษ์” ทุกคนต้อง “รัก 
ขุนแผน” เพราะด้วยนิสัย
ส่วนตัว “คาถา” นั้นเพียง
เอามาเป็นตัวช่วยลัดข้ันตอน 
เพราะคุณลักษณะของคน 
ท่ีจะครองใจคนได้นั้นไม่ใช ่

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  117 

ของงา่ ยๆ และใชว่ า่ ทกุ ๆ คนจะท�ำได้ หาใชแ่ คห่ อ้ ยพระขนุ แผน
เพียงอยา่ งเดียว

เพราะอะไร ท�ำไม คนถงึ รกั ขนุ แผน มเี หตผุ ลมมุ มองจาก
วรรณคดีดงั น้ี

๑. ขนุ แผน “มรี ปู รา่ งด”ี ลกั ษณะมบี ญุ จงึ ไดช้ อ่ื วา่ พลายแกว้  
พลายหมายถงึ ชา้ งผมู้ บี ญุ ยงิ่ ใหญค่ ลอดงา่ ย รปู รา่ งหนา้ ตานา่ รกั
เฉลยี วฉลาดมาตง้ั แตเ่ กิด

๒. ขนุ แผน “มกี ริ ยิ ามารยาท รจู้ กั กาลเทศะ” เพราะเกดิ
ในตระกูลดี ด้วยขุนไกร รบั ราชการเป็น “ขนุ นาง”

๓. ขุนแผน “มีการศึกษาดี” เพราะได้ “ครูดี” และมี
นางทองประศรีผู้เป็น “แม่” คอยให้การดูแล อบรมบ่มนิสัย
ไมต่ ามใจแบบ “ลกู เทวดา” น�ำไปฝากเรียนส�ำนกั เรยี น “ชน้ั ดี 
ทสี่ ดุ ” ของเมอื งสพุ รรณขณะนน้ั คอื ส�ำนกั วดั สม้ ใหญ่ สมภารบญุ
แห่งกาญจนบุรี และส�ำนักวัดป่าเลไลยก์ สมภารมี และส�ำนัก
พระขรวั ตาคง วัดแค เมอื งสพุ รรณบรุ ี

๔. ขุนแผน “มีความตั้งใจ ความมานะ พยายามสูง”
ถึงแม้จะขาด “พ่อ” ก็ไม่มีปัญหาไม่มาเอาเป็นข้ออ้าง..ว่ามี
“ปมด้อย” วิรยิ ะพากเพียรเรียนวิชาจนส�ำเรจ็ การศึกษา

๕. ขนุ แผน เปน็ คนที่ “กลา้ ตดั สนิ ใจ” ไมว่ า่ “ผดิ หรอื ถกู ”
แสดงถงึ ความมนั่ ใจในตนเอง ถอื เปน็ คณุ ลกั ษณะส�ำคญั ประการ

118  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวิหาร

หนึ่งของ “ผู้น�ำ” ที่ท�ำให้เกิดความ “เช่ือมั่นและอบอุ่นใจ” 
แกค่ นใกล้ชดิ

๖. ขนุ แผน เปน็ คน “พดู เกง่ ” วาจาออ่ นหวานแตม่ ี “หลกั การ” 
รบั รใู้ จคนทกุ ระดบั โดยเฉพาะสาวๆ ไดม้ าจากความใกลช้ ดิ “แม”่  
ที่ต้องดูแลข้าทาสบริวารบริหารทรัพย์สินโดยล�ำพัง ต้องใช้ 
ท้ังพระเดชและพระคุณ แทน “ขุนไกร” สามผี ถู้ กู ประหาร

๗. ขุนแผน เป็นคนใจกว้าง “มีน�้ำใจ” และวิสัยทัศน์”
ให้โอกาสคนอยู่ที่ไหนก็มีคนยอมรับ เป็น “นักบริหาร” แม้
ในคุกซ่ึงถือว่าเดนคน คนคุกก็ยอมรับนับถือ ยอมเป็นลูกน้อง
ขนุ แผน ซงึ่ ขนุ แผนตอบแทนดว้ ยการเอามาเปน็ ทหารอาสาออก
รบเชยี งใหมน่ ้ันแสดงว่า ขนุ แผนมี “วิสยั ทัศน”์ อนั ยอดเยี่ยม

๘. ขนุ แผน “เปน็ ผมู้ คี วามกตญั ญรู คู้ ณุ แม”่ จงึ ตง้ั ใจศกึ ษา
จนส�ำเร็จวิชาสุดยอดจากทุกอาจารย์ บ่งบอกถึงปฏิภาณและ
ความพากเพียร

๙. ขนุ แผน เปน็ บุคคลทีม่ ีความ “รกั ชาต”ิ จงรักภกั ดีต่อ 
“พระมหากษตั ริย์” พจิ ารณาจากสามข้อดงั นี้

๙.๑ แม้ว่าขุนไกรผู้บิดาจะถูกอาญาแผ่นดินประหาร
ชวี ิตกไ็ มไ่ ดค้ ิดโกรธเคืองยังคงอาสาเป็นข้าของแผ่นดิน

๙.๒ คราวศึกเชียงใหม่หาขุนทัพมือดีไม่ได้ขุนแผน 


Click to View FlipBook Version