The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by schtgr1125, 2020-04-14 22:03:00

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  19 

เมื่อวันท่ี ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๘ เจ้าคณะจังหวัด
สพุ รรณบุรี ไดแ้ ตง่ ต้ังพระสมุห์พรให้เป็นพระอุปชั ฌายพ์ ร ต่อมา
ท่านได้รับพระราชทานต้ังสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรท่ี
พระครูรักขิตวันมุนี ได้ปกครองเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก ์
วรวิหารอยเู่ ปน็ เวลา ๓ ปี รวมเวลาทง้ั หมดทมี่ าอยวู่ ดั ปา่ ฯ เปน็
เวลา ๕ ปี (๒๔๗๕-๒๔๘๐) ไดถ้ งึ แกม่ รณภาพเมอ่ื พ.ศ.๒๔๘๐
สริ อิ ายไุ ด้ ๔๕ ปี พรรษา ๒๔

พระครรู กั ขิตวันมุนี (พระสมหุ พ์ ร กนั มาก) (๒๔๓๕ – ๒๔๘๐)
ผู้รกั ษาการแทนเจ้าอาวาสและเจ้าอาวาสช่วง ๒๔๗๕-๒๔๘๐

20  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

๕.
พระครโู พธาภิรตั
(โตะ๊ บุญศิริ) (๒๔๒๗-๒๕๑๒)
เจ้าอาวาสชว่ ง ๒๔๘๐ - ๒๔๘๓

หลวงพ่อโต๊ะ อดีตเจ้าอาวาสวัดสองเขตสามัคคี (วัด 
ลาดตาล) เคยอยู่วัดส�ำปะซิว และวัดสุวรรณภูมิมาก่อน ได้รับ
พระบญั ชาใหไ้ ปเปน็ เจา้ อาวาสวดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร ทา่ นยงั เคย 
ด�ำรงต�ำแหนง่ เปน็ เจา้ คณะอ�ำเภอเมอื งสพุ รรณบรุ ี แตล่ าออกทงั้
๒ ต�ำแหน่งไปเป็นเจา้ อาวาสวดั สองเขตสามคั คี (วัดลาดตาล)

พระครูโพธาภิรัต (โต๊ะ ฉายา ชนิ ปุตโฺ ต) (๒๔๒๗-๒๕๑๒)
ชาติภูมิบา้ นชปี ะขาว ต�ำบลปา่ พฤกษ์ อ�ำเภอบางปลามา้ จงั หวดั
สพุ รรณบรุ ี บดิ าชอ่ื นายหบั บญุ ศริ ิ มารดาไมป่ รากฏนาม เขา้ พธิ ี
อุปสมบททว่ี ัดส�ำปะซิว ต�ำบลพิหารแดง เมอ่ื ราว พ.ศ.๒๔๔๔

หลวงพอ่ โตะ๊ เคยด�ำรงต�ำแหนง่ เป็นเจ้าอาวาสวดั ส�ำปะซิว
มีความเช่ียวชาญในด้านวิปัสสนาธุระ มีหลวงพ่อแต้ม ปุญฺ- 
สวุ ณโฺ ณ (พระครปู ระภศั รธ์ รรมาภรณ)์ วดั พระลอยเปน็ ลกู ศษิ ย ์
ตอ่ มาไปอยู่วดั สุวรรณภูมิ ได้รบั พระบัญชาให้ไปเปน็ เจ้าอาวาส 
วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ ารตอ่ จากพระครรู กั ขติ วนั มนุ ี (หลวงพอ่ พร) 
ขณะทที่ า่ นมสี มณศกั ดเ์ิ ปน็ พระครสู ญั ญาบตั รท่ี “พระครโู พธาภริ ตั ” 
เปน็ เจา้ คณะอ�ำเภอเมอื งและพระอปุ ชั ฌายโ์ ตะ๊ ไดร้ บั พระบญั ชา 
ใหย้ า้ ยจากวดั สวุ รรณภมู ไิ ปเปน็ เจา้ อาวาสวดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร 
ทา่ นไดท้ �ำการปรบั ปรงุ สถานท่ี ปฏสิ งั ขรณส์ ง่ิ ตา่ งๆทช่ี �ำรดุ ทรดุ โทรม

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  21 

พระครโู พธาภริ ตั (โต๊ะ บญุ ศิริ) (๒๔๒๗-๒๕๑๒)
เจ้าอาวาสชว่ ง ๒๔๘๐ - ๒๔๘๓

22  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร

ให้ดีข้ึน สร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งด�ำริสร้างโรงเรียน
ประชาบาลเพ่ือให้ลูกหลานชาวบ้านวัดป่าเลไลยก์วรวิหารได้
เล่าเรียนศึกษา เกิดไปขัดกับมติของชาวบ้าน ชาวบ้านไม่ชอบ
เพราะไม่อยากจะให้มีโรงเรียนประชาบาล สืบทราบว่าอาณา
บรเิ วณหลงั วดั ปา่ เปน็ ทรี่ กรา้ ง ชาวบา้ นประพฤตไิ มด่ ี ลกั และฆา่
ววั ฆา่ ควาย ทา่ นเขา้ ไปหา้ มปราม จงึ ไมเ่ ปน็ ทพี่ อใจแกช่ าวบา้ น
คนที่ประพฤติไม่ชอบ เป็นเหตุให้ท่านขอพระราชทานพระบรม
ราชานญุ าตลาออกจากต�ำแหนง่ เจา้ อาวาสวดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร
พร้อมกับลาออกจากต�ำแหน่งเจ้าคณะอ�ำเภอเมืองไปจ�ำพรรษา
ท่ีวัดอ่ืน ในระหว่างน้ีสภาพของวัดป่าเสื่อมโทรมลงมาก เหลือ
พระภิกษุ ๒ รูป สามเณร ๑ รปู ของสงฆ์และสมบัติตา่ งๆ ถูก
โจรผรู้ า้ ยลกั ลอบเอาไปเปน็ อนั มาก เปน็ อยอู่ ยา่ งนร้ี าว ๓ เดอื น
กย็ ังหาเจา้ อาวาสไมไ่ ด้

พระครโู พธาภริ ตั (หลวงพอ่ โตะ๊ ) เปน็ ผทู้ ม่ี ปี ฏปิ ทานา่ สรรเสรญิ  
ประการหนง่ึ ทคี่ วรจารกึ ไวใ้ หป้ รากฏ คอื ชอบสรา้ งโรงเรยี นประชา-
บาล และไดร้ เิ รม่ิ น�ำสรา้ งไวใ้ นหลายแหง่ ของจงั หวดั สพุ รรณบรุ ี

ในบ้ันปลายแห่งชีวิต พระครูโพธาภิรัต (หลวงพ่อโต๊ะ) 
ไดร้ บั นมิ นตใ์ หไ้ ปเปน็ เจา้ อาวาสวดั สองเขตสามคั คี (วดั ลาดตาล)
และได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันท่ี ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๒
สริ ิอายไุ ด้ ๙๑ ปี

พระครโู พธาภริ ตั (หลวงพอ่ โตะ๊ ) ด�ำรงต�ำแหนง่ เปน็ เจา้ อาวาส 
พระอารามหลวงวดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร เปน็ เวลา ๓ ปี ระหวา่ ง พ.ศ. 
๒๔๘๐-๒๔๘๓

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  23 

๖.
พระวสิ ทุ ธสิ ารเถร
(ถิร พึง่ เจริญ) (๒๔๔๕ – ๒๕๒๗)
เจา้ อาวาสช่วง ๒๔๘๓ - ๒๕๒๗

เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๔๘๓ พระเทพเวที ประธาน
คณะกรรมการมณฑลราชบุรี (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จ
พระสงั ฆราช จวน อฏุ ฺ าย)ี วดั มกฏุ กษตั รยิ าราม ไดท้ รงรบั พระ
อนมุ ตั จิ ากสมเดจ็ พระสงั ฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม ให้
ยา้ ยพระถริ น.ธ.เอก ครสู อนพระปรยิ ตั ธิ รรม วดั สวุ รรณภมู ิ ไป
เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

พระวสิ ทุ ธสิ ารเถร เดมิ มสี มณศกั ดเ์ิ ปน็ พระครรู กั ขติ วนั มนุ  ี
(๒๔๙๕) แต่ทั่วไปมักเรียกท่านว่า “หลวงพ่อถิร” เป็นพระ
เกจิอาจารย์รูปส�ำคัญของเมืองสุพรรณ และของประเทศไทย
เกดิ ปีฉลู เมื่อวนั ท่ี ๑๗ มนี าคม พ.ศ.๒๔๔๕ ณ บา้ นพลูหลวง
ต�ำบลพิหารแดง อ�ำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นบุตรของพ่อวาส แม่เพิ่ม “พึ่งเจริญ” ตระกูลผู้ใหญ่ฝ่าย
มารดาสืบเช้ือสายมาจากหม่ืนกล้าฯ และยายทวดจัน ซ่ึงมี
บุตรสาวชื่อว่ายายมี แม่เพ่ิมเป็นบุตรของยายมีกับตาสิงห์ ต้น
ตระกูล “สิงห์สุวรรณ” ส่วนตระกูลข้างเต่ีย (พ่อ) มาจาก 
กง๋ ผงึ้ และยา่ อมิ่ เดมิ จาก “แซต่ ง้ั ” มาใชน้ ามสกลุ วา่ “พง่ึ เจรญิ ” 
พ่อวาสเป็นบุตรชายของก๋งผ้ึงกับย่าอ่ิม หลวงพ่อถิรบรรพชา

24  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร

พระวสิ ทุ ธสิ ารเถร (ถริ พ่งึ เจริญ) (๒๔๔๕ – ๒๕๒๗)
ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและเจา้ อาวาสช่วง ๒๔๘๓ - ๒๕๒๗

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  25 

เป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๗ ปี ต่อมาเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 
๒๔๖๕ ณ วดั หน่อพทุ ธางกูร โดยมพี ระครโู พธาภิรตั (หลวงพ่อ 
สอน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณวรคุณ (หลวงพ่อค�ำ) 
วัดหน่อพุทธางกูร เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “ปญฺาปโชโต”
แล้วย้ายไปอยู่จ�ำพรรษาท่ีวัดสุวรรณภูมิ เพื่อศึกษาพระธรรม
วนิ ยั จนสอบไดน้ กั ธรรมชน้ั เอก เปน็ นกั เรยี นทส่ี อบนกั ธรรมชนั้ เอก 
ได้เป็นรูปแรกในนามของจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาย้ายไปอยู ่
วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร เมอื่ อายุ ๓๘ ปี พรรษา ๑๘ หลวงพอ่ ถริ
ได้เขียนบันทึกประวัติของท่านไว้ว่า “ข้าพเจ้าได้ทรงรับอนุมัติ
จากท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ให้
ย้ายจากวัดสุวรรณภูมิ ไปเป็นผู้รักษาการต�ำแหน่งเจ้าอาวาส
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เม่ือวันท่ี ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๓
พอถึงวันท่ี ๑๙ ได้ไปอยู่ ในคืนนั้นได้นิมิตไปว่า ท่านพระครู
โพธาภริ ัต (สอน) เจา้ อาวาสและพระอปุ ชั ฌายะของขา้ พเจ้าที่
ล่วงไป ไดม้ าบอกแก่ข้าพเจา้ ว่า อยไู่ ปเถอะไมเ่ ปน็ ไร ใครจะทำ�
อะไรไมด่ กี ็ช่างเขา แลว้ เขาจะพินาศไปเอง”

วนั ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๔๘๓ เปน็ ผรู้ กั ษาการแทนเจา้ อาวาส 
วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร, ผรู้ กั ษาการเจา้ คณะอ�ำเภอเมอื งสพุ รรณบรุ ,ี * 
และพระอปุ ชั ฌาย์

วันท่ี ๑๘ ตุลาคม ๒๔๙๔ เป็นเจ้าคณะอ�ำเภอเมือง
สุพรรณบุรี

* สมัยก่อน อ�ำเภอท่าพีเ่ ลี้ยง

26  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

วนั ที่ ๑๖ พฤศจกิ ายน ๒๔๙๔ ไดร้ บั พระบญั ชาแตง่ ตง้ั ให้
เปน็ เจา้ อาวาสวดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๕ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่
พระครูรักขิตวันมนุ ี

วนั ที่ ๕ ธนั วาคม ๒๕๑๐ เปน็ พระราชาคณะท่ี พระรกั ขติ วนั - 
มุนี

วนั ที่ ๕ ธนั วาคม ๒๕๒๑ เปน็ พระราชาคณะฝา่ ยวปิ สั สนาท ี่
พระวสิ ทุ ธิสารเถร

มเี กรด็ ประวตั ศิ าสตรท์ อ้ งถนิ่ เลา่ วา่ เมอื่ หลวงพอ่ ถริ ยา้ ยมา 
ด�ำรงต�ำแหนง่ เจา้ อาวาสและไมเ่ กดิ ปญั หาเชน่ พระครโู พธาภริ ตั  
(หลวงพอ่ โตะ๊ ) เนอื่ งจากทา่ นเปน็ ทร่ี กั ศรทั ธาเลอื่ มใสของชมุ เสอื
กก๊ ตา่ งๆ เชน่ เสอื ฝา้ ย เสอื มเหศวร เสอื ใบ ทมี่ กั มาหาเครอ่ื งราง
ของขลังจากหลวงพ่อถริ เสมอ ตง้ั แตค่ ร้งั อยูท่ ว่ี ัดสุวรรณภมู ิน้ัน
แล้ว เสือเหล่านี้ต่างพากันประกาศก้องว่า ใครหน้าไหน อย่าได้ 
มารบกวนการสร้างพัฒนาวัดของหลวงพ่อถิร ให้เดือดเน้ือ
ร้อนใจเป็นเด็ดขาด หาไม่เป็นได้เจอกัน... ฟังดูเสือเหล่านี้ก็มี
คณุ ธรรม รกั พระศาสนาดที เี ดยี ว และนนั่ กเ็ ปน็ เหตมุ ผี กู้ ลา่ วหา
วา่ หลวงพอ่ ถริ เลยี้ งเสอื เลยี้ งโจร ซงึ่ ทา่ นกต็ อบดว้ ยอารมณข์ นั
วา่ “ข้าไม่ไดเ้ ลี้ยงพวกมนั หรอก มนั เล้ยี งข้าตะหาก...”

เมอ่ื เสอื กก๊ ตา่ งๆ ยอมลงใหห้ ลวงพอ่ ถริ เพราะนบั ถอื เปน็
อาจารยช์ อ่ื เสยี งความขลงั ของทา่ นจงึ เปน็ ทร่ี จู้ กั ไปทว่ั กอปรกบั

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  27 

ทา่ นมสี ลี าจารวตั รงดงาม เครง่ ครดั ในพระธรรมวนิ ยั มเี มตตาจติ
จึงเป็นพระเกจิอาจารย์ท่ีได้รับนิมนต์ในงานพุทธาภิเษกส�ำคัญ 
แทบทุกงานในประเทศไทยและในต่างประเทศ มาต้ังแต่อายุ
พรรษาไมม่ ากนัก

พระวสิ ทุ ธสิ ารเถร (หลวงพอ่ ถริ ) นอกจากเปน็ พระเกจเิ รอื ง 
วิทยาคมแล้วท่านยังเป็นนักการศึกษา นักอ่าน นักเขียนตัวยง
หนงั สอื ประวตั วิ ดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร ทตี่ พี มิ พค์ รง้ั แรก เปน็ ผลงาน 
การค้นคว้าของท่านเอง ทางวัดยังรักษาลายมือต้นฉบับเอาไว้
อยา่ งดี

ศาลาสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช

28  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร

พระวสิ ทุ ธสิ ารเถร (หลวงพอ่ ถริ ) ไดจ้ ดั ใหม้ กี ารศกึ ษาพระ
ปริยัติธรรมท้ังแผนกธรรมและบาลี มีภิกษุสามเณรจ�ำพรรษา 
ปลี ะเกอื บรอ้ ยรปู ไดป้ รบั ปรงุ สถานที่ ยา้ ยกฏุ ิ ซอ่ มพระวหิ ารใหญ่
มุงหลังคากระเบือ้ งสี สรา้ งถนน สรา้ งศาลาสมเด็จพระนเรศวร
ท�ำการซ่อมและสร้างเสมอมาจนวัดป่าได้รับเกียรติบัตรเป็น 
วดั พัฒนาตวั อย่าง วดั แรกของจงั หวดั สพุ รรณบุรี

ตงั้ แต่ พ.ศ.๒๕๐๗ เปน็ ตน้ มา พระวสิ ทุ ธสิ ารเถร (หลวงพอ่  
ถิร) ไดร้ เิ รมิ่ จดั งานประจ�ำปวี ดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร ก�ำหนดงาน
เทศกาลปิดทองหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ในวันทาง
จนั ทรคติ วนั ข้นึ ๕ - ๙ ค่�ำ ของเดอื น ๕ และเดือน ๑๒ ของ
ทุกปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ ารเรมิ่ เปดิ กวา้ งส่สู าธารณชนย่ิงขึน้

พระวิสุทธิสารเถร (หลวงพ่อถิร) ครองวดั เปน็ เจา้ อาวาส 
วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร รวม ๔๔ ปี นบั แตป่ ี พ.ศ. ๒๔๘๓- ๒๕๒๗
(รักษาการเจ้าอาวาสจากปี พ.ศ.๒๔๘๓ จนถึง พ.ศ.๒๔๙๔
จึงได้รับพระบัญชาแต่งต้ังเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง)
มรณภาพเม่ือวนั ที่ ๓ มกราคม ๒๕๒๗ สิริอายุ ๘๓ ปี พรรษา
๖๑

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  29 

๗.
พระธรรมมหาวีรานวุ ัตร
(ฉลอง จนิ ดาอินทร์) (๒๔๖๙ – ๒๕๕๓)
เจา้ อาวาสช่วง ๒๕๒๗ - ๒๕๕๓

สภาพวัดป่าเลไลยก์วรวหิ ารที่เห็นอยู่ในขณะนี้ เกือบจะ
สมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง ยกเว้นพระอุโบสถหลังใหม่ที่ก่อสร้าง
เสรจ็ ไปแลว้ ๗๐ เปอรเ์ ซน็ ต์ อยใู่ นยคุ ทส่ี ภาพของวดั ปา่ เลไลยก ์
วรวิหารมีความพร้อมทางกายภาพ เหมาะสมกับที่เป็นพระ
อารามหลวงประจ�ำจังหวัด และเป็นวัดของเจ้าคณะจังหวัด
สุพรรณบุรี ด้วยฝีมือการพัฒนาของหลวงพ่อพระธรรมมหา- 
วีรานุวัตร (ฉลอง จนิ ตฺ าอินฺโท ป.ธ.๕, พธ.ด.กิต.)

พระธรรมมหาวีรานุวัตร (หลวงพ่อฉลอง) มีชาติภูมิบ้าน 
ทา้ ยบา้ น ต�ำบลตน้ ตาล อ�ำเภอสองพนี่ อ้ ง จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี เกดิ
ปขี าล เมอ่ื วนั ที่ ๒๗ สงิ หาคม ๒๔๖๙ เปน็ บตุ รของพอ่ ผล แมก่ วา 
จินดาอินทร์ เป็นหลานของหลวงพ่อโหน่ง โตงาม วัดอัมพวัน
หรือวัดคลองมะดัน เพราะย่าของท่านคือย่าคง เป็นน้องสาว
ของย่าจ้อย โตงาม ผู้เป็นมารดาของหลวงพ่อโหน่ง พระเกจ ิ
อาจารย์สายวิปัสสนาผู้เป็นท่ีเคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วไป
ท่านบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๓ 
สอบได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยครูปแรกในขณะเป็นสามเณรใน
ส�ำนกั เรียนบาลวี ัดสองพี่นอ้ งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ตอ่ มาไดเ้ ขา้ ไป

30  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร

พระธรรมมหาวรี านุวตั ร (ฉลอง จนิ ดาอนิ ทร์) (๒๔๖๙ – ๒๕๕๓)
เจ้าอาวาสช่วง ๒๕๒๗ - ๒๕๕๓

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  31 

ศึกษาต่อในส�ำนักเรียนวัดพระเชตุพน กรุงเทพฯ จนสอบได้
เปรยี ญธรรม ๕ ประโยค นบั วา่ เปน็ ศษิ ยเ์ อกรปู หนงึ่ ของสมเดจ็
พระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ (สมเด็จฯ ปา๋ )

เขา้ พธิ อี ปุ สมบท ณ วดั สองพน่ี อ้ ง เมอ่ื วนั ที่ ๑๒ มถิ นุ ายน
พ.ศ.๒๔๘๙ โดยมพี ระครอู ภุ ยั ภาดารกั ษ์ (หลวงพอ่ จา่ ง เกดิ ส�ำราญ)
เจ้าอาวาสวัดสองพี่น้องเป็นพระอุปัชฌาย์ พระโกวิท ปริสุทฺโธ/ 
แซ่แต้ (ต่อมา พระครูวุฒิธรรมรักษ์) วัดสองพ่ีน้อง เป็นพระ 
กรรมวาจาจารย์ และพระมหาเกบ็ ภททฺ โิ ย ป.ธ.๖ (ตอ่ มา พระ
วบิ ลู เมธาจารย์ เกบ็ พฒุ เจรญิ ป.ธ.๗) อาจารยใ์ หญส่ �ำนกั เรยี น
บาลีวัดสองพนี่ ้อง เปน็ พระอนสุ าวนาจารย์

พระธรรมมหาวีรานวุ ัตร (หลวงพ่อฉลอง) ด�ำรงต�ำแหน่ง
งานปกครอง เปน็ เลขานกุ ารคณะกรรมการสงฆจ์ งั หวดั สพุ รรณบรุ ,ี  
เจา้ คณะอ�ำเภอสองพนี่ อ้ ง, รองเจา้ คณะจงั หวดั สพุ รรณบรุ ,ี ปฏบิ ตั ิ 
หนา้ ทแี่ ทนเจา้ คณะจงั หวดั สพุ รรณบรุ ี นบั แตป่ ี ๒๕๑๔ - ๒๕๒๗,
เจ้าอาวาสวัดศรีบัวบาน และเจ้าคณะจังหวดั สพุ รรณบรุ ี ได้รับ 
พระบัญชาให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหารเมื่อปี พ.ศ.
๒๕๒๗ และไดเ้ รมิ่ พฒั นาวดั ปา่ ฯ ตง้ั แตส่ รา้ งกฏุ ทิ รงไทย เชน่ บา้ น
ขนุ ชา้ ง ดว้ ยราคา ๓ ลา้ น ๖ แสนบาท และกฏุ เิ สนาสนะ พรอ้ มกบั  
บรู ณปฏสิ ังขรณอ์ งคห์ ลวงพ่อโต พระวิหาร สร้างพระวิหารคด
ปรบั ปรงุ ศาลาสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช สรา้ งโรงเรยี นพระปรยิ ตั -ิ  
ธรรมมหาวรี านวุ ตั ร หอ้ งสมดุ พระธรรมมหาวรี านวุ ตั ร ซง่ึ สว่ นหนง่ึ  
ใชเ้ ปน็ หอ้ งพพิ ธิ ภณั ฑเ์ กบ็ สง่ิ ของทร่ี ะลกึ เกย่ี วกบั ชวี ติ และผลงาน

32  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

บา้ นขนุ ช้าง วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

อนึ่ง ในยุคครองวัดป่าเลไลยก์วรวิหารของพระธรรม- 
มหาวรี านวุ ตั ร (หลวงพอ่ ฉลอง) นี้ การเดนิ ทางระหวา่ งกรงุ เทพฯ 
- สุพรรณบุรี สะดวกมากยิ่งข้ึน เพราะรัฐบาลสร้างถนนสาย
บางบัวทอง - ชัยนาท เป็นเส้นทางคมนาคมทอ่ งเทย่ี วสญั จรไป
มาขึ้นไปถึงสายเหนือได้สะดวก เรียกว่าเส้นทางจากมณฑลพิธี 
ทอ้ งสนามหลวง ถงึ วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร ใชเ้ วลาราว ๑ ชวั่ โมง
เล็กน้อย ก็ถงึ จดุ หมายปลายทาง

พระธรรมมหาวีรานุวัตร (หลวงพ่อฉลอง) ปกครองเปน็
เจา้ อาวาสวดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร รวม ๒๖ ปี ตง้ั แตป่ ี พ.ศ.๒๕๒๗ -
๒๕๕๓ ไดพ้ ฒั นาถาวรวตั ถภุ ายในพระอารามหลวง สง่ เสรมิ การ

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  33 

ศกึ ษาของพระภกิ ษสุ ามเณร สง่ ครพู ระเขา้ สอนในโรงเรยี นตา่ งๆ
จนจงั หวดั สพุ รรณบรุ มี ยี อดผสู้ อบธรรมศกึ ษาไดอ้ นั ดบั ตน้ ๆ ของ
ประเทศ ส่ิงกอ่ สรา้ งนับเป็นเงนิ มูลคา่ มากกว่า ๒๓๕ ล้านบาท

พระธรรมมหาวีรานุวัตร (หลวงพ่อฉลอง) มรณภาพเม่ือ
วนั ท่ี ๑๓ กนั ยายน พ.ศ.๒๕๕๓ สริ อิ ายุ ๘๔ ปี ๑๗ วนั พรรษา
๖๓

เป็นอกี ต�ำนานหน่งึ แหง่ “ช้างป่าตน้ คนสุพรรณ”
พระธรรมมหาวรี านวุ ตั ร (หลวงพอ่ ฉลอง) มสี งิ่ ทภี่ าคภมู ใิ จ 
มากในชีวติ อยา่ งน้อย ๒ ประการ คือ
๑. มีศิษย์บรรพชิตท่ีได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์
ทางพระพุทธศาสนารว่ มสมยั คอื พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.
ปยุตฺโต) ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุทธโฆษา-
จารย์ (ป.อ.ปยตุ โฺ ต) เรยี กทา่ นวา่ “อาจารยเ์ จ้าคณุ ”
๒. มศี ษิ ย์ฆราวาส คอื นายบรรหาร ศลิ ปะอาชา นายก
รฐั มนตรี คนที่ ๒๑ ของประเทศไทย เปน็ ลกู ศษิ ย์ เรยี กทา่ นวา่  
“หลวงพ่ี”

34  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

๘.
พระธรรมพุทธมิ งคล
(สอง้ิ สิรนิ นโฺ ท ป.ธ. ๘)
เจ้าอาวาส ๒๕๕๓-ปจั จบุ ัน

ช่ือและนามสกลุ เดมิ : สอิ้ง อาสนส์ ถติ ย์
ชื่อและฉายาพระ : พระมหาสอ้ิง สิรนิ นโฺ ท ป.ธ. ๘
ชาติภมู ิ : บ้านท่าไชย ต�ำบลหัวโพธ์ิ อ�ำเภอ
สองพ่ีนอ้ ง จงั หวดั สุพรรณบรุ ี

สตู กิ าล : วนั ศกุ ร์ แรม ๑๔ คำ�่ เดอื นอา้ ย ปจี อ
ตรงกบั วนั ท่ี ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗

บดิ า : นายทองหล่อ อาสน์สถิตย์
มารดา : นางทองคำ� อาสนส์ ถติ ย์ (แสงหริ ญั )
บรรพชา : เมื่ออายุ ๑๗ ปี ตรงกับ พ.ศ.๒๔๙๔
ณ วดั ชอ่ งลม (ปจั จบุ นั วดั ทา่ พระยา-

จักร) โดยมีพระครูวินยานุโยค (หลวง-

พ่อบญุ ) วดั ยางยแ่ี ส เจ้าคณะอ�ำเภอ

อู่ทอง เป็นพระอปุ ชั ฌาย์

การศึกษาขณะเปน็ สามเณร
พ.ศ. ๒๔๙๔ สอบ น.ธ.ตรี ได้ (สำ� นกั เรยี นวดั เขาพระ)

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  35 

พระธรรมพทุ ธิมงคล (สอ้ิง สริ นิ นฺโท ป.ธ. ๘)
เจ้าอาวาส ๒๕๕๓-ปัจจบุ ัน

36  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

พ.ศ.๒๔๙๕ สอบ น.ธ.โท ได้ (สำ� นกั เรยี นวดั สองพน่ี อ้ ง)
พ.ศ.๒๔๙๗ สอบ น.ธ.เอก ได้ และสอบได้ ป.ธ. ๓
(ส�ำนกั เรียนวัดสองพีน่ ้อง)
พ.ศ. ๒๔๙๘ สอบได้ ป.ธ. ๔ (สำ� นักเรียนวัดสองพน่ี ้อง)

อปุ สมบท :
เมอื่ อายุ ๒๒ ปี ตรงกบั วนั ที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘
ณ พัทธสีมาวัดท่าไชย ต�ำบลหัวโพธ์ิ อ�ำเภอสองพ่ีน้อง จังหวัด
สุพรรณบุรี โดยมีพระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ ภทฺทิโย
ป.ธ.๗) เปน็ พระอปุ ัชฌาย์

การศึกษาตอ่ (ด้วยตนเอง)
พ.ศ. ๒๔๙๙ สอบได้ ป.ธ.๕ (สำ� นกั เรยี นวดั สองพน่ี ้อง)
พ.ศ. ๒๕๐๑ สอบได้ ป.ธ.๖ (สำ� นกั เรยี นวดั สองพน่ี ้อง)
พ.ศ. ๒๕๐๒ สอบได้ ป.ธ.๗ (สำ� นกั เรยี นวดั สองพี่น้อง)
พ.ศ. ๒๕๑๒ สอบได้ ป.ธ.๘ (สำ� นกั เรยี นวดั สองพนี่ อ้ ง)

หนา้ ท่แี ละการงาน
พ.ศ. ๒๕๑๑ เจา้ อาวาสวัดสองพน่ี อ้ ง
พ.ศ. ๒๕๑๕ เจา้ คณะอำ� เภอสองพน่ี ้อง
พ.ศ. ๒๕๒๒ รองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบรุ ี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  37 

พ.ศ. ๒๕๓๙ เจา้ อาวาสวดั ดอนเจดีย์
พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๗ เจ้าคณะจังหวัดสพุ รรณบุรี
พ.ศ. ๒๕๕๓ เจ้าอาวาสวัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร
พ.ศ. ๒๕๕๗ ทีป่ รึกษาเจ้าคณะจังหวัดสพุ รรณบุรี
พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๑ ประธานดำ� เนนิ การสรา้ งพระแกะสลกั
ใหญ่ ทพ่ี ุทธปุษยคีรี อำ� เภออ่ทู อง

สมณศกั ดิ์

พ.ศ. ๒๔๙๗ พระเปรียญธรรม ๓ ประโยค
สอบไดต้ ามลำ� ดบั ครองสมณศกั ดิ์
เป็น “พระมหาสอ้ิง สิรินนฺโท”
จนถงึ ปี ๒๕๑๖
๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๖ พระสิรินันทเมธี (เข้ารับในวัน
รัฐธรรมนญู วนั ท่ี ๑๐ ธ.ค.)
๙ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชปริยัติสุธี
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พระเทพสวุ รรณโมลี
๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พระธรรมพทุ ธมิ งคล

38  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

Phra ThamBmioa-pdhauttathoifmongkhon

Name and family name: Sa-ing Atsathit

Name and monk name: Phra Maha Sa-ing Sirinando

Pali grade VIII

Birthplace: Ban Tha Chai, Hua Pho sub-

district, Song Phi Nong dis-

trict, Suphan Buri province

Birthday: Friday 14th wanning moon,

1st lunar month, Dog year

of 4th of January, 1934

Father name: Mr. Thonglo Atsathit

Mother name: Mrs. Thongkham Atsathit

(Saenghiran)

Novice ordination: at age of 17 in 1951 at

Wat Chonglom (Wat Tha

Phraya Chak at present)

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  39 

Novice preceptor: Phrakhru Winayanuyok
(Luang Pho Bun) of Wat
Yang Yi Sae, the Ecclesias-
tical governor of U Thong
district

Novice Education
1951 passed Naktham I (Wat Khao Phra, U Thong

district)
1952 passed Naktham II (Wat Song Phi Nong, Song

Phi Nong district)
1954 passed Naktham III and Pali grade III (Wat Song

Phi Nong, Song Phi Nong district)
1955 passed Pali grade IV (Wat Song Phi Nong,

Song Phi Nong district)

Fully monk ordination: at age of 22 dated 4th of
April, 1955 at the Uposatha (ordination hall) of
Wat Thai Chai, Hua Pho sub-district, Song Phi
Nong district, Suphan Buri province

40  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

Monk preceptor: Phra Wibunmethachan (Luang
Pho Keb Bhaddiyo Pali grade VII) Principal of
Wat Song Phi Nong

Self-Education
1956 passed Pali grade V (Wat Song Phi Nong, Song

Phi Nong district)
1958 passed Pali grade VI (Wat Song Phi Nong, Song

Phi Nong district)
1959 passed Pali grade VII (Wat Song Phi Nong, Song

Phi Nong district)
1969 passed Pali grade VIII (Wat Song Phi Nong, Song

Phi Nong district)

Duty and position
1968 Chief abbot of Wat Song Phi Nong
1972 The Ecclesiastical governor of Song Phi Nong

district
1979 The Ecclesiastical vice governor of Suphan Buri

province

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  41 

1996 Chief abbot of Wat Don Chedi
2007-2014 The Ecclesiastical governor of Suphan Buri

province
2010 Chief abbot of Wat Palelai Worawihan
2014 The advisor to the Ecclesiastical governor of

Suphan Buri province
Phase I completion: 2014-2018 The founding

chairman of the Big Buddha Engraving at
Phutthaputsayakhiri, U Thong district

Honorific royal title
Since 1952 he passed Pali grade III and was fully
ordained in 1955. Traditionally, he was bestowed as
Phra Maha Sa-ing Sirinando until 1973
5th of December, 1973 Phra Sirinanthamethi (Re-
ceived the royal fan and title on Constitution Day of
10th of December 1973)
9th of July, 1996 Phra Rajapariyatthisuthi
5th of December, 2008 Phra Theppasuwanmoli
12th of August, 2016 Phra Thammaphutthimongkhon

42  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร

เอกสารอา้ งองิ

๑. พระศรธี วชั เมธ.ี ประวตั วิ ดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร, โรงพมิ พ์
มหาจฬุ าฯ : กรงุ เทพฯ, ๒๕๔๕

๒. พระศรธี วชั เมธ.ี่ ชวี ติ และผลงานพระธรรมมหาวรี านวุ ตั ร,
หจก.สามลดา : กรงุ เทพฯ, ๒๕๕๓

๓. พระศรีธวัชเมธี. สาราสารกถา พระธรรมพุทธิมงคล,
หจก.สามลดา : กรงุ เทพฯ, ๒๕๖๒

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  43 

ประวตั พิ ระป่าเลไลยก์
กบั สมมติฐานทางเลือกใหม่

ปญั ชลิต โชตกิ เสถียร
ชมรมนกั โบราณคดี (สมคั รเล่น) เมอื งสุพรรณ

เท่าท่ีผู้เขียนจ�ำความได้ เหมือนว่าการศึกษาประวัติของ
หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์นั้นจะไม่มีอะไรใหม่ในช่วงที่ผ่านมา 
ในรอบหลายทศวรรษ บทความสว่ นใหญม่ กั จะอา้ งองิ อยสู่ องเรอ่ื ง
คอื เรอื่ งของมอญนอ้ ยทป่ี รากฏในพระราชพงศาวดารเหนอื และ 
เรอื่ งปางเดมิ ขององคห์ ลวงพอ่ โตวดั ปา่ เลไลยกซ์ งึ่ เปน็ สมมตฐิ าน
โดยสมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานภุ าพเพียงสองเรอื่ งนเี้ ทา่ น้นั
ซง่ึ ผเู้ ขยี นเองพบวา่ ยงั มปี ญั หาในการน�ำมาใชอ้ า้ งองิ หลายประการ
และในขณะเดียวกันนี้ ผู้เขียนได้พบว่ายังมีเรื่องราวของพระ 
ป่าเลไลยก์ท่ีมีกล่าวถึงในเอกสารโบราณอ่ืนๆ อีกจ�ำนวนหน่ึง
ซงึ่ ยงั ไมเ่ คยมกี ารน�ำมาวเิ คราะหห์ รอื พจิ ารณารว่ มเพอื่ สรา้ งขอ้
สมมตฐิ านทางเลอื กในเรอื่ งประวตั ขิ องหลวงพอ่ โตวดั ปา่ เลไลยก ์
ขน้ึ มาใหม่

กอ่ นอนื่ เราคงตอ้ งท�ำความเขา้ ใจประเดน็ ปญั หาตา่ งๆ ใน
เร่ืองประวัติของหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ท่ีมีอยู่ในปัจจุบัน ซ่ึง 
ผ้เู ขยี นจะแยกออกเปน็ สองประเดน็ หลกั ดงั นี้

44  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

ประเด็นปัญหาการอ้างอิงเร่ืองของมอญน้อยจาก
พระราชพงศาวดารเหนือในปัจจุบัน ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการ
ยกความมาแค่ส่วนเดียว โดยไม่ได้น�ำเร่ืองพระเจ้ากาแตและ
เหตุการณอ์ น่ื ๆ ท่ปี รากฏอยู่ในเนอ้ื หาเดยี วกนั มารว่ มวิเคราะห์
หรอื พจิ ารณา ทั้งๆ ทปี่ รากฏช่ือวดั อกี หลายแหง่ ในเนื้อความนี้
ในขณะเดยี วกนั กไ็ มม่ กี ารศกึ ษาเรอ่ื งของมหาไหลล่ ายทป่ี รากฏ
ในพระราชพงศาวดารเหนือฉบับเดียวกัน ซึ่งมีข้อความระบุว่า 
ทา่ นไดม้ าท�ำการบรรจพุ ระบรมธาตใุ นองคพ์ ระปา่ เลไลยก์ มารว่ ม 
พิจารณาเทยี บเคียงกบั เอกสารและจารึกอนื่ ๆ

ประเดน็ ปญั หาสมมตฐิ านเรอ่ื งปางเดมิ ขององคห์ ลวงพอ่ โต
วัดป่าเลไลยก์โดยสมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพนั้น 
ผเู้ ขยี นไดศ้ กึ ษาเพมิ่ เตมิ จากรายงานการเสดจ็ ตรวจราชการเมอื ง
สุพรรณบุรี ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ.๒๔๔๑) และตรวจสอบเทียบกับ 
โคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ และนิราศสุพรรณของหมื่น
พรหมสมพัตสร (เสมียนมี) รวมถึงบทศึกษาจากวิเคราะห์ของ
ประทุม ชมุ่ เพ็งพันธ์ ในหนงั สอื ศรีสพุ รรณภูมิ ซึ่งแยกออกเปน็
ขอ้ ไดด้ งั นี้

๑. ในรายงานการเสดจ็ ตรวจราชการดงั กลา่ ว มขี อ้ ความวา่  
“เรอ่ื งวหิ ารพระปา่ เลไลยสบื ถามในคราวนไี้ ดค้ วามรแู้ ปลกออกไป 
กวา่ คราวกอ่ น คอื วา่ แตเ่ ดมิ พระปา่ เลไลยนช้ี ํารดุ พระเมาลแี ล
พระกรทัง้ ๒ ขา้ งหัก พระวิหารกซ็ ดุ โซมมาก พระบาทสมเดจ็

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  45 

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์เป็น
แม่กองออกมาปฏิสังขรณ์ ทั้งองค์พระป่าเลไลยแลพระวิหาร”
มีนัยยะว่าต่อมาสมเด็จกรมพระยาด�ำรงฯ ใช้ความรู้เร่ืองนี้ไป
ผนวกเข้ากับเร่ืองพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทศิลาขาว
(พระประธานในอโุ บสถวัดพระปฐมเจดีย)์ ทมี่ ีลักษณะคล้ายคลึง
กนั แคท่ า่ “นงั่ ”เพยี งอยา่ งเดยี วและตง้ั ขอ้ สมมตฐิ านวา่ หลวงพอ่ โต 
วดั ปา่ เลไลยกน์ น้ั เคยเปน็ ปางแสดงธรรมจกั ร หรอื ปางปฐมเทศนา
มากอ่ น

๒. ในโคลงนริ าศสพุ รรณของสนุ ทรภู่ ซงึ่ เขยี นขน้ึ ระหวา่ ง
ปี พ.ศ. ๒๓๗๙-๒๓๘๔ (ยงั ไมม่ งี านวจิ ยั ทสี่ รปุ เรอ่ื งปไี ดแ้ นน่ อน)
และนริ าศสพุ รรณของหมนื่ พรหมสมพตั สร (เสมยี นม)ี ซงึ่ เขยี น
ขนึ้ ระหวา่ งปี พ.ศ. ๒๓๘๖-๒๓๘๗ (ปมี ะโรงฉศก) เปน็ ชว่ งเวลา
ก่อนท่ีสมเด็จกรมพระยาด�ำรงฯ จะมาทราบความตามข้อ ๑
อยา่ งนอ้ ย ๕๐-๖๐ ปี ใหข้ ้อมูลเรอื่ งของพระพุทธลักษณะของ
องคห์ ลวงพอ่ โตวดั ปา่ เลไลยกต์ รงกนั วา่ เปน็ ปางปา่ เลไลยก์ มี ลงิ  
ช้าง ครบองค์ประกอบตามคติการสร้างพระป่าเลไลยก์ และ
สามารถอนมุ านจากเอกสารชน้ั ตน้ ทงั้ สองชน้ิ นไ้ี ดว้ า่ เหตกุ ารณ์
เพลิงไหม้เคร่ืองบนวิหารนา่ จะเกิดข้ึนหลังจากสุนทรภู่มาเมือง
สพุ รรณแลว้ แตเ่ กดิ กอ่ นหนา้ การมาสพุ รรณของเสมยี นมี หรอื
ระหวา่ ง พ.ศ. ๒๓๘๐-พ.ศ.๒๓๘๕

๓. ประทมุ ชมุ่ เพง็ พนั ธ์ ไดต้ ง้ั ขอ้ สงั เกตเรอื่ งองคห์ ลวงพอ่ โต 
วัดป่าเลไลยก์ในหนังสือศรีสุพรรณภูมิ (หน้า ๑๐๙-๑๑๑) ไว้

46  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

อย่างน่าสนใจว่า ความนิยมสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ใน
อิริยาบถ นั่ง ยืน เดิน นอน น้ันพบมากในช่วงพุทธศตวรรษที่
๑๘-๑๙ ซ่ึงเป็นช่วงท่ีพุทธศาสนาลังกาวงศ์ก�ำลังเจริญรุ่งเรือง
ในสมัยนั้น ผู้คนและพระสงฆ์ในสมัยน้ันน่าจะมีความรู้เรื่อง 
อริ ยิ าบถและมุทราตา่ งๆ ของพระพุทธรูปเป็นอย่างดี และการ
หกั ทลายของพระพาหา(แขน) จากเหตกุ ารณเ์ พลงิ ไหมเ้ ครอ่ื งบน
วิหารนั้นจะต้องยังมีส่วนพระกรหลงเหลือติดอยู่บนพระเพลา 
ไม่มากก็น้อย รวมถึงท่าน่ังของพระพุทธรูปในปางแสดงธรรม-
จักรนั้น พระชานุมณฑลพบว่าแบะถ่างออกจากกันมากผิดกัน
กับปางปา่ เลไลยก์ที่พระชานจุ ะตงั้ ตรง

๔. จากการตรวจสอบของผู้เขียนและสมาชิกชมรมนัก
โบราณคดี (สมคั รเลน่ ) เมอื งสพุ รรณพบวา่ พระพทุ ธรปู ประทบั
ห้อยพระบาทศิลาขาวกับหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์นั้นมีความ
แตกต่างกันมาก โดยพบว่าหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์มีขนาด
ใหญ่เกือบสามเท่าของพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทศิลา
ขาว และเทคนิคการก่อสร้างน้ันต่างกันมาก คือ หลวงพ่อโต 
วัดป่าเลไลยก์สร้างแบบก่ออิฐ ในขณะท่ีพระพุทธรูปประทับ
หอ้ ยพระบาทศลิ าขาวนน้ั สรา้ งขน้ึ จากการแกะหนิ สขี าวโดยท�ำ
เปน็ ชนิ้ สว่ นมสี ลกั และเดอื ยมาประกอบกนั เขา้ ในทางวศิ วกรรม
ถา้ หลวงพอ่ โตวดั ปา่ เลไลยกเ์ คยเปน็ ปางแสดงธรรมจกั รมากอ่ น
พระพาหาและพระกรจะมีลักษณะลอยตัวย่ืนออกมาจากพระ
องั สา และมขี นาดใหญเ่ กอื บสามเทา่ ของพระพาหาและพระกร

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  47 

ของพระพุทธรปู ประทบั ห้อยพระบาทศลิ าขาว นั่นหมายความ
วา่ นำ�้ หนกั ของพระพาหาและพระกรจะตอ้ งหนกั มากซง่ึ เทคนคิ
การสร้างแบบก่ออิฐนั้นไมส่ ามารถเป็นไปไดเ้ ลย

๕. ขอ้ สงั เกตอกี ประการหนง่ึ คอื ชอ่ งผนงั ทางดา้ นขวาของ
องค์หลวงพ่อโตน้ันสร้างติดกับพระพาหาลงมาจนถึงพระกร
ไม่ได้เว้นเป็นบันไดทางข้ึนแบบทางด้านซ้าย ทั้งน้ีอาจเป็นไป
ได้ว่าการสร้างผนังวิหารด้านขวาให้ติดกันกับพระพาหานี้คือ
เทคนคิ การถา่ ยนำ�้ หนกั พระพาหาดา้ นขวาในแบบปางปา่ เลไลยก ์
ทม่ี มี าแต่เดิม

จากขอ้ สงั เกตทงั้ ๕ ขอ้ ขา้ งตน้ ท�ำใหเ้ ราคงตอ้ งกลบั มา
ทบทวนสมมติฐานของสมเด็จกรมพระยาด�ำรงฯ กันใหม่ว่า
ยังใช้อ้างอิงต่อไปได้หรือไม่ ทั้งนี้ผู้เขียนขอเสนอเป็นสมมติ-
ฐานทางเลอื กว่า “หลวงพ่อโตวดั ป่าเลไลยกถ์ ูกสรา้ งข้นึ เป็น
ปางปา่ เลไลยกม์ าตง้ั แตแ่ รก” ซงึ่ อาจจะสง่ ผลใหต้ อ้ งหาแนวทาง
ในการพิจารณาช่วงเวลาหรืออายุของหลวงพ่อโตวัดป่า-
เลไลยกก์ นั ใหม่ดว้ ย

48  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร

หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยกใ์ นเอกสารเก่า

ผู้เขียนได้ศึกษาเอกสารเก่าท่ีปรากฏข้อความเก่ียวกับ
พระป่าเลไลยก์ พบว่ามีเอกสารอย่างน้อยสามกลุ่มท่ีเข้าข่ายน ้ี
คอื  เอกสารประเภทต�ำนานและนทิ าน เอกสารชน้ั ตน้ จ�ำพวก
จดหมายเหตุ และเอกสารจ�ำพวกแผนท่ี แตเ่ พอื่ ไมใ่ หบ้ ทความน ี้
ยาวจนเกินไป ผู้เขียนขอน�ำเสนอเฉพาะเอกสารที่มีการระบุปี
ศกั ราชทสี่ ามารถน�ำมาค�ำนวณเพอื่ หาค�ำตอบส�ำหรบั สมมตฐิ าน

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  49 

ทวี่ า่ “หลวงพอ่ โตวดั ปา่ เลไลยกถ์ กู สรา้ งขน้ึ เปน็ ปางปา่ เลไลยก์
มาต้งั แตแ่ รก”

เอกสารที่มีการระบุศักราชและสามารถน�ำมาค�ำนวณ
หรือ ใช้ในการเปรียบเทียบเพ่ือหาช่วงเวลาท่ีใกล้เคียง หรือ
ใช้ในการยืนยันของการมีอยู่จริงของบุคคลและสถานท่ี มีท้ัง
ประเภทท่ีเป็นต�ำนานและนิทานและจารึก ซ่ึงหลายท่านอาจ 
มองว่าต�ำนานหรือนิทานขาดความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม 
ในความไมน่ า่ เชอ่ื ถอื นนั้ หากศกึ ษาใหล้ ะเอยี ด วเิ คราะห์ แยกแยะ
เปรยี บเทยี บ กจ็ ะเหน็ รอ่ งรอยทางประวตั ศิ าสตรแ์ ละขอ้ เทจ็ จรงิ
บางประการทน่ี า่ สนใจ ต�ำนานหรอื นทิ านสว่ นใหญก่ ค็ อื เรอื่ งเลา่
ต่อๆ กนั มา เปน็ ความทรงจ�ำจากรนุ่ ส่รู ุ่นนนั่ เอง เร่อื งราวหรือ
เอกสารทจ่ี ะน�ำมาเสนอให้พิจารณาในบทความนี้ ไดแ้ ก่

๑. เรื่องของพระเจ้ากาแตและมอญน้อย จากพระราช
พงศาวดารเหนอื

๒. เรอ่ื งพระมหาเถรไลยลาย จากพระราชพงศาวดารเหนอื
๓. เรื่องมหาไหล่ลาย จากต�ำนานพระปฐมเจดีย์ ฉบับ
พระยามหาอรรคนกิ ร และฉบับนายทอง
๔. เรอ่ื งตน้ เหตสุ รา้ งพระปา่ เรไลยเมอื งสพุ รรณบรุ ี (พญา
พานพญากง) จากหนงั สือสยามประเภท
๑. เร่ืองของพระเจ้ากาแตและมอญน้อยในพงศาวดาร
เหนอื มขี อ้ ความวา่ “ขณะนน้ั พระเจา้ กาแต เปนเชอ้ื มาแตน่ เรศร-์

50  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

หงษาวดี ไดม้ าเสวยราชสมบตั ิ แลว้ มาบรุ ณวดั โปรดสตั ววดั หนงึ่
วดั ภเู ขาทองวดั หนง่ึ วดั ใหญว่ ดั หนงึ่ สามวดั นแ้ี ลว้ จงึ ใหม้ อญนอ้ ย
เปนเชอ้ื มาแตพ่ ระองค์ ออกไปสรา้ งวดั สนามไชย แลว้ มาบรุ ณ
วัดพระปาเลไลยในวัดลานมะขวิด แขวงเมืองพันธุมบุรีน้ัน
ข้าราชการบุรณวัดแล้ว ก็ชวนกันบวชเสียส้ินสองพันคน จึง
ขนานนามเมืองใหม่ชื่อว่าเมืองสองพันบุรี แล้วพระองค์
จึงยกนาเปนส่วนสัดวัดไว้ พระองค์อยู่ในศิริราชสมบัติ ๔๐ ปี
จึงสวรรคต จุลศักราช ๕๖๕ ขาลเบญจศก”

วดั ทีป่ รากฏช่ือในเรอ่ื งน้ีมอี ยดู่ ว้ ยกัน ๖ วดั คอื วัดโปรด
สตั ว์ วดั ภเู ขาทอง วดั ใหญ่ วดั สนามไชย วดั พระปาเลไลย และ
วัดลานมะขวิด จาการตรวจสอบรายชื่อวัดเหล่าน้ีพบว่า วัด
โปรดสัตว์ วัดภูเขาทอง วัดใหญ่ เป็นวัดท่ีมีอยู่จริงและอยู่ใน
พระนครศรีอยุธยาท้ังส้ิน ดังนั้นเมืองท่ีพระเจ้ากาแตมาเสวย
ราชยค์ ือกรุงศรีอยุธยา ไม่ใชเ่ มืองสุพรรณฯ แบบทเ่ี ผยแพร่กนั
อยใู่ นปจั จบุ นั วดั สนามชยั ปจั จบุ นั มอี ยทู่ ง้ั ในพระนครศรอี ยธุ ยา
และสุพรรณบุรี ซึ่งควรมีการศึกษาต่อไปว่าอยู่ท่ีใดแน่ ส่วนวัด
พระป่าเลไลยก์กับวัดลานมะขวิด ระบุว่าอยู่ในเมืองพันธุมบุรี 
ท่ีต่อมาเปล่ียนช่ือเป็นเมืองสองพันบุรี เหตุการณ์ท้ังหมดน ้ี
เกดิ ขน้ึ ตงั้ แตก่ ารขน้ึ ครองราชยข์ องพระเจา้ กาแตจนถงึ สวรรคต 
กินระยะเวลา ๔๐ ปี จุลศักราชที่ระบุไว้คิดเป็นปีพุทธศักราช
อยู่ระหว่าง พ.ศ.๑๗๐๖-๑๗๔๖ นอกจากนี้จะพบว่าในเร่ืองน้ี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  51 

ไม่ได้บอกว่า เมืองพันธุมบุรี หรือ สองพันบุรี คือ เมือง
สพุ รรณบรุ ี แตอ่ ยา่ งใด (ขอ้ สมมตฐิ านวา่ พนั ธมุ บรุ ี คอื สพุ รรณบรุ ี
มีท่ีมาจากเร่ืองต้นเหตุสร้างพระป่าเลไลยก(์ พญากงพญาพาน)
ซงึ่ ตอ่ มาพระบรหิ ารเทพธานี น�ำไปเขยี นไวใ้ นหนงั สอื พงศาวดาร
ชาตไิ ทย) ในกรณวี ดั ลานมะขวดิ นนั้ ปรากฏต�ำแหนง่ “บา้ นขวดิ ” 
ในแผนทรี่ าชส�ำนกั สยามตน้ กรงุ รตั นโกสนิ ทรส์ องระวาง ทตี่ งั้ อย ู่
ไม่ไกลจากวัดป่าเลไลยก์ และจากการศึกษารูปแบบศิลปกรรม
ของสิ่งก่อสร้างของวัดโปรดสัตว์ วัดภูเขาทอง วัดใหญ่ พบว่า
มีอายุอยู่ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนกลางจนไปจนถึงยุคปลาย
กรงุ ศรอี ยธุ ยา ดงั นน้ั ถา้ เราศกึ ษาเปรยี บเทยี บเรอื่ งของพระเจา้
กาแตและมอญนอ้ ยใหมโ่ ดยรน่ เวลาขนึ้ มาใหอ้ ยใู่ นชว่ งดงั กลา่ ว
กอ็ าจจะพบขอ้ เทจ็ จรงิ ทซี่ อ่ นอยใู่ นเนอ้ื หาของเรอ่ื งนไี้ ดม้ ากขนึ้

52  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวหิ าร

วดั ปา่ เลไลยก์ และ บ้านขวิด ในแผนทร่ี าชส�ำนกั สยามตน้ กรงุ รตั นโกสินทร์
(ภาพจากหนังสือ Royal Siamese Maps: War and Trade  

in Nineteenth Century Thailand ส�ำนกั พมิ พ์ ริเวอร์บคุ๊ ส์, พ.ศ. ๒๕๔๘)

๒. เรื่องของพระมหาเถรไลยลายในพงศาวดารเหนือมี
ข้อความว่า”พระมหาพุทธสาครเปนเชื้อมา ได้เสวยราชสมบัติ
อยู่ริมเกาะหนองโสนจึงเรียกวัดเดิมกัน จึงมีพระมหาเถรไลย
ลายองคห์ นงึ่ เปนเชอ้ื มาแตพ่ ระรามเทพมาแตก่ อ่ น ไดพ้ ระบรม

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  53 

ธาตุของพระพุทธเจ้า ๖๕๐ พระองค์ กับท้ังพระศรีมหาโพธิ์
สองตน้ มาแตเ่ มืองลังกาสีหฬ เธอจึงพาพระมหาสาครไปเมือง
สาวัตถี จึงถ่ายเอาอย่างวัดเชตุวนารามมาสร้างไว้ต่อเมือง
รอ แขวงบางทานนอกเมืองก�ำแพงเพ็ชร ช่ือวัดสังฆคณาวาศ
หนึ่ง แล้วจึงเอาพระศรีมหาโพธ์ิใส่อ่างทองค�ำมาปลูกไว้ที่ริม
หนองนากะเล นอกวดั เสมาปากน�ำ้ จงึ เชิญพระบรมธาตุบรรจุ
ไว้ด้วย ๓๖ พระองค์ จึงให้ช่ือวัดพระศรีมหาโพธิ์ลังกา แล้ว
จึงบรรจุไว้ในพระเจดีย์บ้าง ในพระพุทธรูปใหญ่บ้าง ในพระ
ปรางบ้างเปนพระบรมธาตุ ๓๖ พระองค์ด้วยกัน แล้วบรรจุ
ไว้ในพระพุทธไสยาศน์วัดป่าโมกน้ัน ๓๖ พระองค์ ในพระ
ปาเลไลยนอกเมอื งพันธมุ บุรนี ัน้ ๓๖ พระองค์ ในพระปรางค์
วดั เดมิ กนั เมอื งหนองโสนนนั้ ๓๖ พระองค์ ทพ่ี ระพทุ ธบาท ๓๖
พระองค์ ในถ�้ำเขานครสวรรค์ ๓๖ พระองค์ ในถ�ำ้ ขุดคะสรรค์
๓๖ พระองค์ ในเขาหินต้ังเมืองศุโขไทย ๓๖ พระองค์ ในเขา
ตุ้มแก้ว ๓๖ พระองค์ ในเมืองชองแก้ว ๓๖ พระองค์ ในพระ
เจดยี ว์ ดั เสนาศน์ ๓๖ พระองค์ ในพระเจดยี ว์ ดั คณะทาราม ๓๐
ในพระมหาธาตุ ๓๐ พระองค์ สามวดั นอ้ี ยใู่ นเมอื งพศิ ณโุ ลก สนิ้
๙๗ ปีสวรรคต ศักราชได้ ๓๓๖ ปี พระยาโคดมได้ครองราช
สมบัติอยู่ ณวัดเดิม ๓๐ ปี สวรรคตมีพระราชโอรสองค์หน่ึง
ทรงพระนามช่ือพระยาโคตรตะบอง ได้ครองราชสมบัติแทน
พระราชบดิ า ทรงอานุภาพยิ่งนกั ”

54  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

เร่ืองราวของพระมหาเถรไลยลายในพงศาวดารเหนือน้ี
มีความคล้ายคลึงกันมากกับเร่ืองของมหาไหล่ลายในต�ำนาน
พระปฐมเจดยี ์ ผเู้ ขยี นจะน�ำมาวเิ คราะหร์ ว่ มกนั หลงั จากเรอื่ งท ่ี
๓ ต่อไป

๓. เรื่องของมหาไหล่ลายในต�ำนานพระปฐมเจดีย์ฉบับ
พระยามหาอรรคนกิ ร และฉบบั นายทอง มขี อ้ ความดงั น้ี “แลว้
มหาไหลล่ ายจงึ เอาพระธาตมุ าบรรจไุ วใ้ นพระมหาเจดยี น์ นั้ บา้ ง
ในพระสมาธิบ้าง ในพระเสดาทั้ง ๔ บ้าง เป็นพระธาตุ ๑๖
พระองค์ แลว้ เอามาบรรจใุ นพระไสยาสนน์ อกพระประธานใหญ่
นั้น ๓๖ พระองค์ บรรจุไว้ในพระมหาโพธิเทพารักษ์น้ัน ๓๖
พระองค์ บรรจุไว้ในพระป่าเลไลย ๓๖ พระองค์ เอาข้ึนไป
บรรจุไว้ในทรองเมืองชัยนาท ๓๖ พระองค์และผลมหาโพธิ
มหาไหล่ลายเอามาแต่ลังกา ปลูกไว้ริมหนองทะเลนอกวัด
เขมาปากน�้ำ จึงได้ปรากฎช่ือ มหาโพธิ มาแต่เมืองลังกา
น้ันแล มหาไหล่ลายบรรจุไว้วัดหน้าพระธาตุเมืองโยธยา ๑๖
พระองค์ ในพระพุทธบาท ๓๖ พระองค์ ในเขานครสวรรค์
๓๖ พระองค์ บรรจไุ วท้ ม่ี หาโพธิ ซงึ่ มหาไหลล่ ายเอามาปลกู ไว้
ในอ่างทอง ๓๖ พระองค์ อยู่ในเมืองนครสวรรค์ เอาไปบรรจุ
ไว้ในป่าดาผีคุด ๓๖ พระองค์ มหาเถรไหล่ลายข้ึนไปถึง เมือง
สโุ ขทยั เอาบรรจุไว้ใน พระธาตุหนิ ต้งั ๓๖ พระองค์ เอาบรรจุ
ไว้ในต่อม ๓๖ พระองค์ เอาขึ้นไปบรรจุไว้เมืองหลวงสวงแก้ว
๓๖ พระองค์ เอามาบรรจุไว้ในวัดเสนาสน์ ๓๖ พระองค์

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  55 

ในบูรพาราม ๓๐ พระองค์ บรรจุไว้ในวัดมหาสถาน ๓๐
พระองค์ และสามอารามนี้ อยแู่ ดนพษิ ณุโลกนั้น มหาเถรไหล่
ลายเที่ยวไปบรรจุพระบรมธาตุ สิ้นแล้วกลับมาอยู่เมืองละโว้
เม่ือมหาไหล่ลายบรรจุพระบรมธาตุนั้น พระพุทธศักราชล่วง
ได้ ๑๔๓๒ พรรษา”

ตำ� นานพระปฐมเจดยี ์ ภาพจากหนงั สอื พญากง พญาพาน จากนทิ านพราหมณ์ สชู่ อื่
บา้ นนามเมอื งและเรอื่ งพระปฐมเจดยี ,์ ศนู ยส์ ยามทรรศนศ์ กึ ษา คณะศลิ ปศาสตร์
มหาวิทยาลยั มหดิ ล, พ.ศ. ๒๕๕๘

56  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร

เรื่องราวของพระมหาเถรไลยลายในพงศาวดารเหนือ
หรอื มหาไหลล่ ายในต�ำนานพระปฐมเจดยี ์ นน้ั มคี วามคลา้ ยคลงึ
กันมาก จนน่าจะเป็นบุคคลคนเดียวกันอย่างมิต้องสงสัย และ
ทั้งสองต�ำนานน้ีได้ระบุตรงกันว่า ท่านได้บรรจุพระบรมธาตุไว้ 
ในพระปา่ เลไลย ๓๖ พระองค์ ซงึ่ ในพงศาวดารเหนอื ระบเุ พมิ่ เตมิ  
วา่ “ในพระปาเลไลยนอกเมอื งพนั ธมุ บรุ ”ี เรอื่ งของมหาไหลล่ าย 
เคยถกู เชอ่ื วา่ เปน็ เพยี งนทิ านทแ่ี ตง่ ขน้ึ จนกระทง่ั ไมเคลิ ไรท ผู้
ทเ่ี คยพ�ำนักอยใู่ นศรลี งั กาและประเทศไทย และเปน็ ผทู้ ที่ �ำการ
ศกึ ษาศลิ าจารกึ หลกั ตา่ งๆ จากสมยั สโุ ขทยั มากทสี่ ดุ คนหนง่ึ ได้
ท�ำการศกึ ษาเปรยี บเทยี บเรอื่ งของมหาไหลล่ ายกบั เรอื่ งราวของ
พระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสวาม ี
ทีป่ รากฏในศลิ าจารึกหลักที่ ๒ (จารกึ วัดศรชี มุ ) และศิลาจารึก
หลักที่ ๑๑ (จารึกวัดเขากบ) พบว่ามีเนื้อความสอดคล้องกัน
และได้ข้อสรุปอันเป็นท่ียอมรับของแวดวงวิชาการว่ามหาไหล่
ลายกบั พระมหาเถรศรศี รัทธาฯ คอื บุคคลเดยี วกัน

นอกจากนี้ ไมเคิล ไรท ยังได้ตรวจสอบช่ือสถานที่ต่างๆ
ทงั้ ในศรลี งั กาและประเทศไทยพบวา่ สามารถเชอ่ื มโยงเขา้ กบั ชอื่
ในสถานที่ในจารึกทั้งสองจ�ำนวนมาก เช่น ช่ือนครพระกฤษณ์
ในจารกึ เม่อื เปรียบกบั เส้นทางเดนิ ทางกลับจากลงั กาของพระ
มหาเถรศรีศรัทธาฯ พบว่าตรงกับนครชัยศรี (เมืองนครปฐม
โบราณ)

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  57 

จารึกหลักท่ี ๒ (จารึกวดั ศรชี ุม) 
ภาพจากโครงการฐานข้อมูล
จารกึ ในประเทศไทย ศนู ยม์ านษุ ย- 
วิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัย
ศิลปากร

เม่ือมหาเถรไลยลายในพงศาวดารเหนือ หรือ มหาไหล่
ลายในต�ำนานพระปฐมเจดยี ์ มตี วั ตนจรงิ ในประวตั ศิ าสตร์ เรอื่ ง
ของทา่ นกส็ ามารถน�ำมาอา้ งองิ เปรยี บเทยี บเหตกุ ารณต์ า่ งๆ ใน
ประวตั ศิ าสตรเ์ พอื่ หาชว่ งเวลา หรอื ปศี กั ราช ไดเ้ ชน่ กนั ในกรณนี ี้ 
กจ็ ะท�ำใหเ้ ราทราบครา่ วๆ ไดว้ า่ การบรรจพุ ระบรมธาตไุ วใ้ นพระ 
ป่าเลไลยก์ เกิดข้ึนในช่วงไหน ถึงแม้ในศิลาจารึกท้ังสองหลัก 
จะไม่พบเร่ืองการบรรจุพระบรมธาตไุ ว้ในพระปา่ เลไลยก์ แตก่ ็ 
ไม่ได้หมายความว่าเรื่องนี้จะไม่ใช่เร่ืองท่ีเกิดข้ึนจริง เพราะใน
ศิลาจารึกนั้นมีส่วนที่แตกหักช�ำรุดมีส่วนท่ีอ่านไม่ได้ รวมถึง
การมีพื้นท่ีจ�ำกัดซึ่งท�ำให้การจารเลือกเอาแต่เรื่องท่ีส�ำคัญมา
ใสไ่ ว้เทา่ นนั้

58  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร

ถึงแม้ว่าในพงศาวดารเหนือจะสามารถค�ำนวณจาก
จุลศักราชที่ระบุไว้ได้ว่าการบรรจุพระบรมธาตุไว้ในพระ
ปา่ เลไลยก์ เกดิ ขน้ึ ระหวา่ งปี พ.ศ.๑๔๒๐ - พ.ศ.๑๕๑๗ (ปเี สวย
ราชย์และสวรรคตของพระเจ้ากาแต) และในต�ำนานพระ
ปฐมเจดยี ร์ ะบวุ า่ เปน็ ปี พ.ศ. ๑๔๓๒ ซง่ึ ถอื วา่ มคี วามสอดคลอ้ ง
กนั กต็ าม การพจิ ารณาเรอ่ื งนค้ี วรตอ้ งน�ำปศี กั ราชดงั กลา่ วมา
เปรียบเทียบกับประวัติพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ซ่ึงมีชีวิต
อยูใ่ นสมัยสุโขทยั -อยธุ ยาตอนต้นอกี คร้ัง

จารึกหลักท่ี ๑๑ (จารึกเขากบ) ภาพจากโครงการฐานข้อมลู จารึก
ในประเทศไทย ศนู ย์มานษุ ยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  59 

๔. เรื่องต้นเหตุสร้างพระป่าเรไลย (พญากงพญาพาน)
ปรากฏอยใู่ นหนงั สอื สยามประเภทเลม่ ๒ ตอนท่ี ๑๕ วนั เสารท์ ี่
๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) ของ ก.ศ.ร.กุหลาบ มี
ขอ้ ความดงั น้ี “...ภายหลงั พญาภาณรุ าชยา้ ยไปตงั้ พระมหานคร
อยู่ณะฝั่งฟากประทาคูจาม สร้างเมืองหลวงข้ึนท่ีต�ำบลน้ัน
เสรจ็ แลว้ พระราชทานนามเมอื งหลวงวา่ “กรงุ พนั ธมุ ะบรุ ”ี
(คอื เมอื งสพุ รรณบรุ เี ดย๋ี วน)ี้ เสดจ็ ครองราชสมบตั ทิ กี่ รงุ พนั ธมุ ะ
บุรีๆ เปนเอกราชฝ่ายทิศตวันตกแห่งหนึ่ง พญาภาณุราชทรง
สรา้ งพระพทุ ธรปู พระปา่ เรไลยกเ์ มอื่ จฬุ ศกั ราช ๖๖๐ ปี สรา้ ง
พระปา่ เรไลยกแ์ ลว้ ได้ ๙ ปี พญาภาณรุ าชกเ็ สดจ็ สวรรคค์ ตเมอื่
จฬุ ศกั ราช ๖๖๙ ปี พญาภาณรุ าชเปนพระจา้ วแผน่ ดนิ ได้ ๔๙ ปี
ก็เสด็จสวรรค์คต”

เอกสารชิ้นนี้เป็นเพียงชิ้นเดียวท่ีมีการระบุศักราชการ
สรา้ งเมอื งพนั ธมุ บรุ ี และการสรา้ งพระปา่ เลไลยก์ รวมถงึ ระบชุ อื่  
ผสู้ รา้ งไวด้ ว้ ย และระบวุ า่ พนั ธมุ บรุ ี คอื เมอื งสพุ รรณบรุ ี ผเู้ ขยี น
ได้ตรวจสอบและเปรียบเทียบพบว่าพระบรหิ ารเทพธานี ได้น�ำ
ช่ือ “พันธมุ บรุ ”ี จากเร่อื งนม้ี าเขยี นลงในหนังสือ “พงศาวดาร
ชาติไทย” ซึ่งต่อมาถูกน�ำมาผูกเข้ากับเรื่องของมอญน้อยใน
พงศาวดารเหนอื และในทส่ี ดุ กก็ ลายเปน็ ฐานในการเขยี นประวตั -ิ
ศาสตรว์ ดั ปา่ เลไลยกแ์ ละเมอื งสพุ รรณในเวลาตอ่ มาจนถงึ ปจั จบุ นั
จุดออ่ นของเอกสารชนิ้ น้ี คือ ก.ศ.ร. กหุ ลาบไม่ได้บอกว่าไดม้ า
จากทใ่ี ด และอาจเปน็ ไปไดว้ า่ ก.ศ.ร. กหุ ลาบไดแ้ ทรกความเชอื่

60  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวิหาร
ภาพหน้า ๘๑๗ หนังสือ
สยามประเภทเล่ม ๒
ตอนที่ ๑๕ วันเสาร์ท่ี ๑
กรฎาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ.
๒๔๔๒)

ของตนเองเข้าไปในเน้ือเรื่องด้วย เช่น ช่ือพญาพานกลายเป็น
พญาภานรุ าช อยา่ งไรกต็ ามผเู้ ขยี นเหน็ วา่ เรอ่ื งนค้ี งไมไ่ ดแ้ ตง่ ขน้ึ
ใหม่ท้งั หมดน่าจะยงั มเี คา้ ต�ำนานเดมิ ค่อนข้างมาก จึงควรทจ่ี ะ
น�ำศักราชในเรื่องน้ีมาเทียบเคียงกับเอกสารอื่นๆ ท่ีได้กล่าวไป
แล้ว เม่ือแปลงปีจุลศักราชเป็นพุทธศักราชแล้วจะได้ว่า เมือง
พนั ธุมบุรีสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๐๑ (ปีเดยี วกบั ทพี่ ญาพานข้นึ
ครองราชย)์ พระป่าเลไลยก์สร้างขน้ึ ในปี พ.ศ. ๑๘๔๑

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  61 

ลำ� ดับเหตุการณท์ ่ีได้จากตำ� นานข้างต้น

ผู้เขียนใช้หลักในการพิจารณาล�ำดับ โดยให้การเกิดมา
ก่อนตาย และสร้างมาก่อนการบูรณะ ได้ล�ำดับเหตุการณ์ดัง
ตารางตอ่ ไปน้ี

เหตกุ ารณ์ ศกั ราชเดมิ พทุ ธศกั ราช หมายเหตุ

พญาภาณรุ าช จ.ศ. ๖๒๐ พ.ศ.๑๘๐๑
สร้างเมอื งพันธุมบุรี
พ.ศ.๑๘๔๑ สยามประเภท
พญาภาณรุ าช   จ.ศ. ๖๖๐ พ.ศ.๑๘๕๐ เล่ม ๒ ตอนที่ ๑๕
สรา้ งพระป่าเลไลยก์ พ.ศ.๑๔๒๐
พญาภาณรุ าชสวรรคต จ.ศ. ๖๖๙ มหาไหลล่ าย 
จ.ศ. ๒๓๙ พ.ศ.๑๔๓๒ บรรจพุ ระบรมธาตุ
ปเี กิดพระมหาพทุ ธสาคร ในพระปา่ เลไลย  
พ.ศ.๑๕๑๗ (ไม่ระบุชอื่ เมือง)
มหาเถรไลยลายบรรจพุ ระบรมธาต ุ พ.ศ. พ.ศ.๑๗๐๖ - ต�ำ นานพระปฐม
ในพระปาเลไลยนอกเมืองพัน ๑๔๓๒ เจดีย์
ธมุ บรุ ี - พงศาวดารเหนือ พ.ศ.๑๗๔๖ มอญนอ้ ยมาบรู ณะ
พระปา่ เลไลยก์ มี
ปีสวรรคตพระมหาพุทธสาคร จ.ศ. ๓๘๖ การเปลย่ี นชอ่ื เมอื ง
พระเจา้ กาแตขึน้ ครองราชย์ จ.ศ. ๕๒๕ จากพนั ธมุ บุรมี า
เป็นสองพนั บุรี -
พระเจา้ กาแตสวรรคต จ.ศ. ๕๖๕ พงศาวดารเหนือ
(ขาล

เบญจศก)

62  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวิหาร

จากตารางข้างต้นจะเห็นว่ายังมีปัญหาจากล�ำดับปี
พุทธศักราชท่ีค�ำนวณได้น้ันไม่สอดคล้องกันท้ังหมด ท�ำให้
เรื่องในพงศาวดารเหนือและต�ำนานพระปฐมเจดีย์เกิดขึ้น
ก่อนเรื่องของพญากงพญาพาน ซ่ึงไม่สอดคล้องกับแนวคิด
“การสร้างมาก่อนการบูรณะ” ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าพุทธ-
ศักราชท่ีค�ำนวณได้จากพงศาวดารเหนือกับต�ำนานพระ
ปฐมเจดีย์นั้นจ�ำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับประวัติของ
พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ซ่ึงเป็นบุคคลท่ีมีตัวตนจริงใน
ประวตั ศิ าสตร์

การใชป้ ระวตั ขิ องพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ในการปรบั ศักราช

ในขน้ั ตอนนถ้ี อื วา่ คอ่ นขา้ งยาก เพราะวา่ ศลิ าจารกึ หลกั ที่
๒ (จารึกวัดศรชี มุ ) และศิลาจารึกหลกั ที่ ๑๑ (จารกึ วัดเขากบ)
มีส่วนทีช่ �ำรุดเสยี หายจึงไมป่ รากฏปีศกั ราชใดๆ เลย จงึ ตอ้ งใช้
วธิ อี นมุ านจากเหตกุ ารณต์ า่ งๆ ทม่ี ใี นจารกึ มาเทยี บเคยี งเพอ่ื หา
ศักราชท่มี ีความเปน็ ไปไดใ้ ห้ใกล้เคยี งทสี่ ดุ

ในจารึกหลักท่ี ๒ บอกเราว่าพระมหาเถรศรีศรัทธาเป็น
หลานปขู่ องพระยาศรนี าวน�ำถมุ และเปน็ ลกู ของพระยาก�ำแหง
พระราม ท�ำให้อนุมานได้ว่าพระยาก�ำแหงพระรามน่าจะเป็น
น้องของพอ่ ขนุ ผาเมอื ง และสามารถเรยี บเรยี งเหตุการณต์ ่างๆ
ไดต้ ามล�ำดบั เชน่ เมอ่ื อายุ ๑๗ ปชี นชา้ งกบั ทา้ วอจี านครง้ั หนงึ่
เมอ่ื อายุ ๒๖ ปอี อกชนชา้ งกบั ขนุ จงั ครงั้ หนงึ่ ออกบวชตอนอายุ

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  63 

๓๑ ปี ออกจารกิ แสวงบญุ ไปในทต่ี า่ งๆ และเดนิ ทางไปลงั กา อยู่
ใน (ศรี) ลงั กาประมาณ ๑๐ ปี การเดินทางกลบั มายังดนิ แดน
ในเขตประเทศไทย และการบรู ณปฏสิ งั ขรณว์ ดั ตา่ งๆ ซง่ึ ผเู้ ขยี น
จะขอขา้ มรายละเอยี ดตา่ งๆ ไป และจะพจิ ารณาเฉพาะขอ้ มลู ท่ี 
สามารถเอามาเทยี บเคยี งเพอื่ หาศกั ราชไดเ้ ทา่ นน้ั กรณนี พ้ี บวา่
ในคราวท่ีออกชนช้างกับขุนจังน้ันพบว่าเมื่อได้ชัยชนะแล้ว
ทา่ นไดเ้ ขา้ เฝา้ สมเดจ็ ธรรมราชา(พระยาเลอไท) ซงึ่ ท�ำใหเ้ รา
พอล�ำดับรุน่ ชวั่ คนคร่าวๆ ของท่านได้ดังน้ี

รนุ่ ปู่ รนุ่ พ่อ รุ่นลกู รุน่ หลาน

พระยาศรนี าว  พอ่ ขนุ ผาเมือง พระมหาเถรศรศี รทั ธา
น�ำ ถมุ พระยากำ�แหง

พระราม

พ่อขุนบางกลางหาว พระยาบานเมอื ง พระยา
พ่อขุนรามค�ำ แหง เลอไทย

สมเดจ็ ธรรมราชา (พระยาเลอไท) ครองราชย์ (ประมาณ)
ระหวา่ งปี พ.ศ. ๑๘๔๑- พ.ศ. ๑๘๖๖ แสดงวา่ เหตกุ าณช์ นชา้ ง
กับขุนจังต้องเกิดข้ึนระหว่างน้ีด้วย จากประวัติของพระมหา
เถรศรีศรัทธามีจุดเปล่ียนแปลงส�ำคัญอีกจุดหน่ึงท่ีน่าจะน�ำมา
พจิ ารณารว่ มดว้ ยคอื การออกบวชของทา่ น ซงึ่ เปน็ การออกบวช
โดยสละทรัพย์จนหมดสิ้น ทั้งทรัพย์สมบัติและลูกเมีย ถึงแม้ 

64  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวหิ าร

ในจารกึ จะบอกวา่ เกดิ จากศรทั ธาแรงกลา้ กต็ าม แตก่ น็ า่ วเิ คราะห์
ว่าในรัชกาลของพระยาเลอไทน้ัน พระมหาเถรศรีศรัทธามี 
ผลงานในการชนชา้ งชนะขนุ จงั ดงั นนั้ ทา่ นนา่ จะไดร้ บั ต�ำแหนง่
ส�ำคัญมากในรัชกาลพระยาเลอไทยด้วย และเป็นไปได้ว่าเม่ือ
สน้ิ พระยาเลอไทยแลว้ ทา่ นอาจไมไ่ ดร้ บั การสนบั สนนุ จากรชั กาล 
ถดั มา จนน�ำไปสคู่ วามเบอ่ื หนา่ ยทางโลก และตดั สนิ ใจออกบวช
โดยสละทุกอย่างในท่ีสุด ดังนั้นถ้ายึดปีสวรรคตของพระยา 
เลอไทย ในปี พ.ศ. ๑๘๖๖ เป็นเกณฑ์ พระมหาเถรศรีศรัทธา 
ในวยั ๓๑ ปี นา่ จะออกบวชหลงั จากปี พ.ศ. ๑๘๖๖ หรอื ระหวา่ ง 
ปี พ.ศ. ๑๘๖๗ - พ.ศ. ๑๘๖๘ และเมื่อน�ำช่วงเวลาที่ท่าน
พ�ำนักอยู่ (ศรี) ลังกา ๑๐ ปี มาคิดรวมด้วย เหตุการณ์บรรจุ
พระบรมธาตใุ นพระปา่ เลไลยกเ์ กดิ ขนึ้ หลงั จากทา่ นกลบั จากมา
จากเกาะ (ศรี) ลังกาแล้ว หรอื เกิดขึน้ หลังจาก ปี พ.ศ. ๑๘๗๖
ไปแลว้ และเมื่อน�ำจารกึ หลกั ท่ี ๔ (จารกึ วดั ป่ามะมว่ ง) มารว่ ม 
พิจารณา ในจารึกหลักน้ีปรากฏข้อความว่าพระยาลิไทยให้ไป 
อัญเชิญพระมหาสามีสังฆราชจากนครพันมาประทับที่วัดป่า 
มะม่วง ในปี พ.ศ. ๑๙๐๔ เป็นไปได้หรือไม่ว่าพระมหาเถร- 
ศรศี รทั ธานา่ จะสน้ิ พระชนมแ์ ลว้ ในปนี ห้ี รอื กอ่ นหนา้ นี้ ซง่ึ ท�ำให้
อนุมานได้ว่าเหตุการณ์บรรจุพระบรมธาตุในพระป่าเลไลยก ์
เกิดข้ึนระหว่าง ปี พ.ศ. ๑๘๗๖ - พ.ศ. ๑๙๐๔

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  65 

ลำ� ดับเหตกุ ารณห์ ลังจากปรบั ปีศักราช
เทียบกบั ประวตั พิ ระมหาเถรศรศี รทั ธา

เหตุการณ์ ศักราชเดมิ พุทธศกั ราช ศกั ราชทปี่ รบั แลว้
พญาภาณุราช  จ.ศ. ๖๒๐ พ.ศ.๑๘๐๑ ใช้ศักราช 
สร้างเมอื งพนั ธุมบรุ ี จ.ศ. ๖๖๐ พ.ศ.๑๘๔๑ ตามตำ�นาน
พญาภาณุราช  จ.ศ. ๖๖๙ พ.ศ.๑๘๕๐ ใช้ศักราช 
สรา้ งพระปา่ เลไลยก์ จ.ศ. ๒๓๙ พ.ศ.๑๔๒๐ ตามตำ�นาน
พ.ศ. ๑๔๓๒ พ.ศ.๑๔๓๒ ใช้ศักราช 
พญาภาณุราชสวรรคต จ.ศ. ๓๘๖ พ.ศ.๑๕๑๗ ตามตำ�นาน
จ.ศ. ๕๒๕ พ.ศ.๑๗๐๖ พ.ศ. ๑๘๖๔ -
ปีเกิดพระมหาพทุ ธสาคร จ.ศ. ๕๖๕ พ.ศ.๑๗๔๖ พ.ศ. ๑๘๙๒
พ.ศ. ๑๘๗๖ -
บรรจพุ ระบรมธาต ุ พ.ศ. ๑๙๐๔
ในพระปาเลไลยก์ พ.ศ. ๑๙๖๑ -
ปสี วรรคต  พ.ศ. ๑๙๘๙
พระมหาพทุ ธสาคร พ.ศ. ๒๑๕๐ -
พระเจา้ กาแต  พ.ศ. ๒๑๗๘
ข้ึนครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๐ -
พ.ศ. ๒๒๑๘
พระเจา้ กาแตสวรรคต พ.ศ. ๒๑๕๐ -
พ.ศ. ๒๒๑๘
มอญน้อย 
บรู ณะพระป่าเลไลยก์

66  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

จากตารางข้างต้นเม่ือปรับปีศักราชแล้ว จะพบว่าล�ำดับ
เหตุการณ์มีความสอดคล้องกันมากข้ึน และพบว่าศักราชใน
เร่ืองของพระเจ้ากาแตและมอญน้อยเม่ือปรับเวลาร่นข้ึนมา  
รายชอ่ื วดั ตา่ งๆ ทพี่ ระเจา้ การแตท�ำการบรู ณะกม็ คี วามใกลเ้ คยี ง
และสอดคลอ้ งกบั รปู แบบศลิ ปกรรมอยธุ ยาตอนกลางและตอน 
ปลาย

พระเจ้ากาแต และ มอญนอ้ ย คอื ใคร?

การปรบั ปศี กั ราชเรอื่ งราวของพระเจา้ กาแตและมอญนอ้ ย
ลงมาในชว่ งอยธุ ยาตอนกลางและตอนปลาย ท�ำใหเ้ ราสามารถ
ท่ีจะน�ำไปเปรียบเทียบกับประวัติของพระมหากษัตริย์ในช่วงน ี้
จนท�ำให้สามารถต้ังข้อสันนิษฐานได้ว่าพระเจ้ากาแตคือใคร 
ในประวตั ศิ าสตรไ์ ทย ทง้ั นผี้ เู้ ขยี นขอเสนอแนวทางการพจิ ารณา
ดงั น้ี

๑. ข้อความ “..พระเจ้ากาแต เปนเชื้อมาแต่นเรศร์
หงษาวด.ี .” นน้ั เปน็ ไปไดห้ รอื ไมว่ า่ “นเรศรห์ งษาวด”ี หมายถงึ
สมเด็จพระนเรศวร และ “เช้ือ” อาจหมายถึงน้องหรือหลาน
กไ็ ด้ ถา้ พจิ ารณาตามแนวทางน้ีก็จะมพี ระมหากษัตรยิ ์อย่างน้อย 
สองพระองคท์ เ่ี ขา้ ขา่ ยน้ี คอื สมเดจ็ พระเอกาทศรถ และสมเดจ็
พระเจา้ ทรงธรรม ทง้ั นคี้ �ำวา่ “กาแต” ไมพ่ บในภาษามอญและ
ภาษาพม่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า “กาแต” มีความหมายเดียว

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  67 

กับ “กระแต” สัตว์ที่มีขนสีอ่อนกว่า “กระรอก” ซ่ึงมีขนสี
นำ�้ ตาลเขม้ จนเกอื บด�ำ ในขณะเดยี วกนั เมอื่ ตรวจสอบปศี กั ราช
ของพระมหากษัตรย์ท้ังสองพบว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ 
ข้ึนครองราชย์ ปี พ.ศ. ๒๑๔๘ และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม 
ขึ้นครองราชย์ ปี พ.ศ. ๒๑๕๔ ซึ่งมีความใกล้เคียงกันกับปี
ศักราชที่ปรบั เทยี บกับประวัตพิ ระมหาเถรศรีศรัทธา

๒. ขอ้ ความ “...บรุ ณวดั โปรดสตั ววดั หนงึ่ วดั ภเู ขาทอง
วดั หนึ่ง วดั ใหญ่วัดหนง่ึ สามวัดนีแ้ ล้ว...” บอกไดว้ า่ พระเจา้  
กาแตขน้ึ ครองราชยภ์ ายหลงั เมอ่ื มกี ารสถาปนาวดั เหลา่ นแ้ี ล้ว ใน
ประเดน็ นเ้ี มอ่ื ตรวจสอบประวตั พิ ระมหากษตั รยิ ์ จากพระราช- 
พงศาวดารกรงุ ศรอี ยธุ ยา และจดหมายเหตเุ รอื่ งระวางทตู ลงั กา 
กบั สยามครง้ั กรงุ ศรอี ยธุ ยา พบวา่ สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ 
เป็นผู้ท่ีเคยใช้วัดโปรดสัตว์จัดพิธีอุปสัมปทาจาริตรปิงกมะให้ 
คณะพระสงฆร์ าชทตู จากลงั กาไดช้ น่ื ชม และยงั ทรงเปน็ ประธาน
บูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ประธานและอารามในวัดภูเขาทองท่ี
ส�ำคญั อีกดว้ ย

๓. เมอ่ื ท�ำการเปรยี บเทยี บระยะเวลาในการครองราชยข์ อง 
พระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์ คือ สมเด็จพระเอกาทศรถ
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 
พบวา่ ไมส่ อดคลอ้ งกบั เรอ่ื งของพระเจา้ กาแตทร่ี ะบวุ า่ ครองราชย ์
เป็นระยะเวลา ๔๐ ปี เป็นไปได้หรือไม่ว่า พระเจ้ากาแต คือ

68  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

เรื่องท่ีแต่งข้ึนจากประวัติพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ปนกัน 
แตก่ ม็ ขี อ้ นา่ สงั เกตวา่ ในรชั กาลของสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ
นั้น บุคคลท่ีเข้ารับราชการในสมัยน้ันแล้วต่อมาได้เป็นบุคคล
ส�ำคญั อาทิ สมเดจ็ พระเจา้ กรงุ ธนบรุ ี พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธ- 
ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ไม่น่าท่ีจะสับสนในเรื่องประวัติของ 
สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ ซง่ึ การช�ำระพงศาวดารเหนอื เกดิ ขน้ึ
ในสมยั พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ นเี่ อง

๔. มอญน้อย เป็นพระโอรสของพระเจ้ากาแต ซึ่งมาท�ำ 
การบรู ณะพระปา่ เลไลยกน์ ผี้ เู้ ขยี นสนั นษิ ฐานวา่ พระองคน์ า่ จะมี 
มารดาทมี่ คี วามเกย่ี วขอ้ งเมอื งสพุ รรณบรุ ี เชอื้ สายวงศส์ พุ รรณภมู ิ
หรอื เชอื้ สายวงศบ์ า้ นพลหู ลวง และนา่ จะเคยมพี ระนามทางการ
วา่ “พระอนิ ทราชา”

ถึงแม้ผู้เขียนจะยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าพระเจ้า
กาแตและมอญน้อยเป็นใครในประวัติศาสตร์ไทย แต่ก็หวัง
ว่าคงมีผู้สนใจศึกษาต่อยอดจากแนวทางที่ผู้เขียนน�ำเสนอ
ไว้นใ้ี นอนาคตต่อไป


Click to View FlipBook Version