The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by schtgr1125, 2020-04-14 22:03:00

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

๑๐๐ ปี พระอารามหลวงวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  119 

ไม่ออกจากคุกไม่สนใจบ้านเมืองก็ได้ แต่ขุนแผนไม่นิ่งดูดาย
อาสาทพั รับใช้แผน่ ดิน

๙.๓ ขุนแผนยอมรับค�ำตัดสินของพระพันวษาท่ีลง 
อาญาประหารชีวิตนางวันทองท่ีเลือกไม่ได้ระหว่างขุนแผนกับ
ขนุ ชา้ งจนท�ำใหน้ างวนั ทองไดช้ อื่ วา่ “นางวนั ทองสองใจ” มาจน 
ทกุ วนั น้ี

ในสว่ นที่ “ขนุ แผน” ไมส่ ามารถควบคมุ จติ ใจและเจา้ ชนู้ น้ั  
ไม่ยอมละโอกาสของตนในการเป็นผู้น�ำท่ีจะยอมเสียโอกาส 
ไม่ยุ่งกับสตรีอ่ืนได้ผู้คนจึงมองข้ามคุณสมบัติที่เก่งกาจแท้จริง
ของท่านเหลอื เพียงต�ำนานของความเจา้ ชู้

ขนุ แผนสะทา้ น

ต�ำแหนง่ ปลดั ซา้ ยกรมต�ำรวจภบู าล แหง่ กรงุ ศรอี ยธุ ยา
หากขุนแผน มีตัวตนจริง สามัญชนผู้เก่งกาจท่ีสุดใน
สพุ รรณบรุ ี ควรมรี ปู ปน้ั ใหห้ ลอ่ สมเกยี รตยิ ศ มากกวา่ รปู ปนู ปน้ั
ทีว่ างไวห้ น้าวหิ ารวัดป่าเลไลยก์ ใหส้ มกบั ต�ำแหน่งขา้ ราชการ
ที่ท�ำงานเพ่ือบา้ นเมือง
มักมีค�ำถามว่า เรื่องขุนช้าง ขุนแผน น้ันเป็นเร่ืองจริง
หรือไม่ สมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพพระบิดาแห่ง
ประวัติศาสตร์ไทย ท่านสนใจเรื่อง ขุนช้างขุนแผนเป็นพิเศษ

120  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร

ภาพ ขุนแผนสะท้าน
ท่ีบคุ ลิกหนา้ ตาตรงกบั  
ในวรรณคดีมากท่สี ดุ

เมอื่ ครง้ั เสดจ็ มาสพุ รรณ ยงั บนั ทกึ ถงึ เรอื่ งถนนหนทางตา่ งๆ ของ 
สพุ รรณว่ามอี ย่จู ริง ช่ือถนนเปน็ ชอ่ื ตัวละครน�ำในเร่อื ง ขุนช้าง 
ขนุ แผนทงั้ สิ้น

สอดคล้องกับเร่ืองราว พระนิพนธ์กรมพระยาด�ำรงฯ ว่า
ดว้ ยเรอื่ งขนุ ช้างขุนแผนทีเ่ กยี่ วกับขนุ แผนมดี ังน้ี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  121 

“เร่ืองขุนช้างขุนแผนเป็นเร่ืองจริงเกิดขึ้นในกรุงเก่า
เน้อื ความปรากฏจดไวใ้ นหนังสอื ค�ำให้การชาวกรุงเกา่ นบั เป็น
เร่ืองในพระราชพงศาวดาร มีอยู่ดังนี้ว่า “เรื่องขุนช้างขุนแผน
ท่ีปรากฏในค�ำให้การชาวกรุงเก่าดังกล่าวมานี้ มีหลักฐานที่จะ
เทียบให้รู้ศักราชได้ว่า เรื่องขุนช้างขุนแผนเกิดมีขึ้นเม่ือใด คือ
ในหนงั สอื นนั้ แหง่ หนง่ึ กลา่ ววา่ สมเดจ็ พระพนั วษา เปน็ พระราช
บิดาของพระบรมกุมาร ต่อมากล่าวว่าพระบรมกุมารได้เสวย
ราชสมบตั ิ มีมเหสีช่ือศรสี ดุ าจนั ทร์ และนางนเ้ี มอื่ พระราชสามี
สวรรคตแล้วชิงราชสมบัติให้แก่ชู้เทียบกับพระราชพงศาวดาร
พระบรมกุมารก็คือสมเด็จพระชัยราชาธิราช “สมเด็จพระ
พันวษาน้ันก็คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒” โดยหลักฐาน
อนั นป้ี ระมาณวา่ ขนุ แผนมตี วั อยใู่ นรชั กาลสมเดจ็ พระรามาธบิ ดี 
ที่ ๒ ระหว่างจุลศักราช ๘๕๓ จน ๘๙๑ ปี และมีเน้ือความ
ประกอบในพงศาวดารเชยี งใหมว่ า่ ในยคุ นนั้ พระเมอื งแกว้ เปน็
พระเจ้าเชียงใหม่ ท�ำศึกกับกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายคราวและ 
ยังมีเนื้อความประกอบชอบกลอีกอย่างหนึ่ง ที่ในต้นหนังสือ
เสภาเอง ลงศักราชไว้ว่า “ร้อยสี่สิบเจ็ดปี” ถ้าสันนิษฐานว่า 
เดมิ เขยี นเปน็ ตวั หนงั สือวา่ “แปดรอ้ ยส่สี บิ เจด็ ป”ี ภายหลังตก 
ค�ำแปด ไปเสยี ถา้ วางจลุ ศกั ราช ๘๔๗ เปน็ ปขี นุ แผนเกดิ ขนุ แผน 
เกิดในแผ่นดนิ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ อายไุ ด้ ๖ ขวบ

122  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

จากเน้ือความดังกล่าวบ่งว่า “ขุนแผนมีตัวตน” อยู่ใน
รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๒ ระหว่างจุลศักราช ๘๕๓ 
จน ๘๙๑ ปี ท�ำจลุ ศกั ราชเป็น พ.ศ. คือบวกด้วย ๑๑๘๑ เป็น 
พ.ศ.๒๐๓๘-๒๐๗๒ พจิ ารณาความตอ่ ไปพบวา่ ขนุ แผน เกดิ ใน
แผน่ ดนิ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ อายไุ ด้ ๖ ขวบ พระรามาธบิ ดี
ท่ี ๒ ครองราชย์ (พระรามาธบิ ดี ที่ ๒ คอื สมเดจ็ พระเชษฐาธริ าช 
พระราชบดิ า ของสมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ์ ในสงครามชา้ งเผอื ก) 
เมื่อสอบ พ.ศ.ที่พระรามาธิบดีที ๒ ครองราชย์ตรงกับ พ.ศ.
๒๐๓๔ จึงน�ำอายุ ๖ ขวบไปลบ ได้ พ.ศ. ๒๒๒๘

ภาพ พลายแกว้ ไดเ้ ป็น ขนุ แผน

จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า“พลายแก้ว”เกิด ในปี พ.ศ.
๒๒๒๘ เร่ืองราวในประวัติศาสตร์ถูกต่อเติมจากความจริงตาม 

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  123 

พระนิพนธ์ของกรมพระยาด�ำรงฯ ว่า “ตัวเรื่องขุนช้างขุนแผน” 
ที่เล่าในค�ำให้การชาวกรุงเก่าแม้สังเขปเพียงนั้นยังเห็นได้ว่า 
ไม่ตรงกับเรื่องขุนช้างขุนแผนท่ีเราขับเสภากันว่า “ความข้อน้ี
ไม่อัศจรรย์อันใด ด้วยเรื่องขุนช้างขุนแผนเอามาเล่าเป็นนิทาน
กันเสียช้านานหลายร้อยปี และซ�้ำมาแต่งเป็นกลอนเสภาใน
ชั้นหลังอีก คงตกแต่งเรื่องให้พิลึกกึกก้องสนุกสนานข้ึนและต่อ
เติมยืดยาวออกทุกที เช่ือได้ว่าเรื่องในเสภาคงคลาดเคลื่อนจาก
เรอ่ื งเดมิ เสยี มาก”

ข้อสรุปหากว่า “ขุนช้าง ขุนแผน” น้ันเป็นเร่ืองจริง แต่
เนื้อเร่ืองเดิมส้ินสุดลงท่ีขุนแผนไปรบชนะศึกเชียงใหม่เท่าน้ัน
กรมพระยาด�ำรงฯ ท่านวงเล็บว่าขุนแผน “ไม่จ�ำเป็นต้องเป็น
แม่ทัพ” ค�ำว่า “ขุนแผนสะท้านต�ำแหน่งปลัดซ้ายกรมต�ำรวจ
ภูบาล” คือต�ำแหน่งที่พระองค์ท่านเขียนไว้ในพระราชนิพนธ์
วา่ เรอื่ งขนุ ชา้ งขนุ แผน ซง่ึ เปน็ ต�ำแหนง่ ทม่ี อี ยจู่ รงิ ตามกฎหมาย
สมัยนั้น หากเชื่อว่าขุนแผนน้ันมีตัวตนจริงเป็นผู้ชายท่ีเก่งกล้า
สามารถ รับใช้ชาติ ทั้งที่แหกคุกได้ก็ไม่หนี เป็นบรรพชนของ
คนสุพรรณ ก็สมควรทจ่ี ะต้องยกยอ่ ง ภาคภูมิใจเสนอประวตั ทิ ่ี
ชดั เจนแยกจากสว่ นจากทต่ี อ่ เตมิ เปน็ เสภาเพอื่ ความสนกุ สนาน

นายแพทยว์ บิ ลู ย์ วจิ ติ รวาทการ เขยี นไวใ้ นหนงั สอื “แผน่ ดนิ
พระมหาจักรพรรดิ” ว่า “ขุนแผนอายุยืนถึงแก่เฒ่า” สมเด็จ
พระรามาธบิ ดที ี่ ๒ สน้ิ พระชนม์ ปี พ.ศ.๒๐๗๒ ขนุ แผน มอี ายุ
๔๔ ปี

124  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

“ประวัติศาสตร์ไทยในพงศาวดารพม่า” บันทึกเรื่อง
“ขนุ แผน” ใชค้ �ำวา่ “พระบรรพชา” คอื พระบรมราชา พระรามา- 
ธิบดีท่ี ๒ พระบรมราชา หรือ พระพันวษา (แปลว่าในหลวง) 
เขยี นวา่ “ขนุ แผน” รบั ราชการอยจู่ นแกเ่ ฒา่ ต�ำแหนง่ ของขนุ แผน 
ทไ่ี ดร้ บั หลงั จากชนะศกึ เชยี งใหมค่ อื “พระสรุ นิ ทรฤาชยั “เจา้ เมอื ง
กาญจนบรุ ี”

ต�ำนานเมอื งกาญจนบรุ นี นั้ กลา่ ววา่ “เมอื่ ขนุ แผนเปน็ แมท่ พั  
ไปท�ำสงครามมีชัยชนะกลับมาโปรดเกล้าฯ ให้เล่ือนยศถา- 
บรรดาศกั ดเิ์ ปน็ เจา้ เมอื งกาญจนบรุ เี มอื งหนา้ ดา่ น มบี รรดาศกั ดิ์
วา่ “พระสุรนิ ทรฤาชยั ”

นายจนั ทร์ ตงุ คสวสั ดิ์ ไดเ้ ปน็ ผวู้ า่ ราชการจงั หวดั กาญจนบรุ ี
ที่ “พระสุรนิ ทรฤาชัย” เมอื่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๘-๒๔๖๕ นบั ว่าเปน็
ราชทินนามสืบเนื่องมาจากวรรณคดีเร่ืองขุนช้าง-ขุนแผน ใน
คร้งั โบราณสมัยกรุงศรอี ยุธยา

เรอื ยาวเกา้ วา ของขุนแผนสะทา้ น

“ขุนแผนสะท้าน” ต�ำแหน่งปลัดซ้ายกรมต�ำรวจภูบาล
คอื ชนั้ ยศในกฏหมาย สมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยาในวรรณคดี “ขนุ ชา้ ง
ขุนแผน” เมื่อพลายแก้วไปรบชนะศึกเชียงใหม่กลับมา พระ 
พันวษาได้แต่งต้ังให้ พลายแก้วเป็นขุนแผน ประทานเรือยาว
เกา้ วาให้ ดงั ค�ำกลอน

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  125 
“แล้วตง้ั อา้ ยพลายเปน็ ขนุ แผน อยู่รักษาเขตแดน ที่ปลายด่าน
คุมไพร่ ห้าร้อย คอยเหตุการณ์ แล้วประทาน เรอื ยาวเกา้ วา”

ภาพ เรอื ยาวเหลืองประดบั วัดทงุ่ อทุ ุมพร

เรอื ยาวเกา้ วาของขนุ แผนสะทา้ น นนั้ คอื เรอื รบยาวเกา้ วา
ประวัติศาสตร์เรือรบไทย เรือกราบเรือรบทางแม่น้�ำล�ำคลอง
ของไทย เรือกราบ “เรือยาวเก้าวา” เรือประจ�ำต�ำแหน่งของ
“ขนุ แผน”

126  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

เรือรบโบราณมสี องแบบ คอื
๑. เรอื รบในทะเล
๒. เรือรบในแม่นำ้� ล�ำคลอง
เรอื ยาว คอื เรอื รบในแมน่ ำ�้ ล�ำคลอง ใชไ้ ดผ้ ล ในยทุ ธศาสตร์
การศกึ เพราะสยามมแี มน่ ำ้� ล�ำคลองมาก เรอื รบในแมน่ ำ้� ล�ำคลอง 
โบราณ เรยี กวา่ “เรอื กราบ” ๑ ใน ๔ ประเภท ของเรอื ในประวตั -ิ  
ศาสตรไ์ ทย เรอื รบโบราณทเ่ี คยไดป้ อ้ งกนั เอกราชชาตสิ ยาม คกู่ นั  
มาตงั้ แตค่ รง้ั สมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ มาเปน็ เรอื รบเตม็ รปู แบบ 
สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในชอ่ื เรอื กราบ
“เรอื รบสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยาถกู ท�ำลายเสยี หายเผาจนวอดวาย
หมดสิ้นเม่ือคร้ังก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาคร้ังท่ี ๒ (๒๓๑๐) ด้วย
ทัพเรือของอยธุ ยาผูกเรอื รวมไวแ้ ถววดั ศาลาปูน ทัพพม่ายกมา 
ทางเหนอื ถงึ ชานพระนคร กถ็ อยเรอื มาไวใ้ นแมน่ ำ�้ แถวปากคลอง 
ตะเคยี น อเู่ รือรบของพระยาราชวงั สัน พมา่ ยกออ้ มมาได้กเ็ ผา 
เรือรบในคร้ังน้ันเสียสิ้น เรือรบท่ีมีต้องมาสร้างใหม่สมัยกรุง 
ธนบุรีและรัตนโกสินทร์”
ในวรรณคดี “ขนุ ชา้ ง ขนุ แผน” เมอื่ พลายแกว้ ไปรบชนะ
ศึกเชียงใหม่กลับมา พระพันวษาได้แต่งต้ังให้พลายแก้ว เป็น
ขุนแผนและประทานเรือยาวเก้าวาให้ประจ�ำต�ำแหน่ง เรือรบ
โบราณสมยั อยธุ ยาถกู ท�ำลายจนหมดสนิ้ พระเจา้ กรงุ ธนบรุ สี รา้ งขน้ึ  
ใหมก่ วา่ ๒๐๐ ล�ำ โดยชา่ งจนี ไหหล�ำผชู้ �ำนาญการตอ่ เรอื จนพระองค์ 
กลับมากู้กรงุ ศรีอยุธยาส�ำเร็จ ครั้งถึงยุครัตนโกสนิ ทร์ สงคราม

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  127 

เปลยี่ นไป เรอื ยาวโบราณถกู ทงิ้ ไวต้ ามวดั รมิ ฝง่ั กรงุ เทพฯ และ
ธนบรุ ี ผคู้ นลมื เลอื นไปจนหมดสนิ้ เรอื รบเหลา่ นน้ั จงึ ถกู ถา่ ยโอน
ไปจงั หวัดสุพรรณบุรี

ปจั จบุ นั เรอื รบโบราณ หรอื “เรอื กราบของชาตไิ ทย” สมยั  
พระเจ้ากรุงธนบุรี ยังมีสภาพรูปร่างลักษณะคงเดิม ถึงแม้จะ
เปลยี่ นแปลง แตย่ งั คงสงา่ งาม ตามแบบฉบบั เรอื รบโบราณ มอี ยทู่ ่ี 
สพุ รรณ ๔ ล�ำ เรอื ยาวทร่ี กั ษาสภาพเดมิ สมยั พระเจา้ ตากสมบรู ณ ์
ทสี่ ดุ ในประเทศไทยชอื่ “เรอื เหลอื งประดบั ” วดั ทงุ่ อทุ มุ พร อ�ำเภอ
บางปลามา้ สพุ รรณบุรี

นน่ั หมายถงึ วา่ เรอื ยาวเกา้ วา คอื เรอื ประจ�ำต�ำแหนง่ ของ
ขนุ แผน กค็ อื เรือรบโบราณ นน่ั เอง

เรอื เหลอื งประดบั ยาว ๙ วา หลวงปขู่ าบวดั บา้ นดา่ น ต�ำบล
บางปลาม้า อ�ำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ขอมาจาก 
วดั รั้วเหล็ก (ประยรุ ฯ) ฝั่งธนบุรปี ระมาณ ปี พ.ศ.๒๔๕๖ เปน็
เรือขุดจากจันทบุรี สมัยพระเจ้าตากสินฯ เป็นเรือล�ำเดียวที่ 
ยงั รักษารูปทรงเรอื โบราณ อันหมายถงึ เรอื รบโบราณ

สืบเนื่องถึงเรือรบในแม่น้�ำล�ำคลอง สมัยอยุธยา ย่อมมี
รูปทรงแบบเดียวกันกับเรือสมัยพระเจ้าตาก ท่ีขุดโดยช่างจีน
ไหหล�ำท่ีอู่ต่อเรือจันทบุรี เม่ือเดือน ๗-๑๑ พ.ศ.๒๓๑๐ “เรือ
เหลอื งประดบั ” คอื ภาพจ�ำลอง “เรอื ยาวเกา้ วา” ของขนุ แผน” และ 
เปน็ “เรอื ยาวรางวลั ขนั เงนิ พระราชทานใบแรก” ของเรอื ยาวไทย 
รับจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

128  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร

แขง่ ทบ่ี า้ นหงษ์ อ�ำเภอบางปลามา้ จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี เมอื่ วนั ท ่ี
๒๑ กนั ยายน พ.ศ. ๒๔๖๖

“ขนุ ชา้ ง”

ภาพ ขนุ ชา้ ง ที่ระเบยี งคดวัดป่าเลไลยก์

ผชู้ ายที่ “ขีเ้ หร่ อัปลักษณ”์ อปั ลกั ษณท์ ีส่ ุดในสพุ รรณบุรี
ผชู้ ายทใ่ี ช้ “อบุ าย เลห่ ก์ ล” สกู้ บั “เวทมนตร”์ ของขนุ แผนผชู้ าย
ท่ี “รกั เดยี วใจเดยี ว” ถอื เปน็ เรอื่ งทด่ี รี กั ใครรกั จรงิ แต่ “วธิ กี าร”

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  129 

เพอ่ื ใหไ้ ดม้ าซง่ึ ความรกั มาครอบครองนน้ั ถอื เปน็ ความประพฤติ
ที่เลวร้ายเล่ห์เหล่ียม หยาบคาย คิดฆ่าได้แม้กระท่ังลูกของคน
ท่ีตนรัก หักหลังเพื่อนและโกหกแม่เพ่ือ “สนองความต้องการ
ของตนเอง” เพียงอย่างเดียว

ภาพ ขุนช้าง ทีร่ ะเบยี งคดวดั ป่าเลไลยก์

ทงั้ นที้ กุ สง่ิ ทกุ อยา่ งกเ็ พราะ “ความเลอื กเกดิ ไมไ่ ด”้ “ผชู้ าย
ที่น่าสงสาร”..ผู้นี้ “ถ้าเขาเลือกได้” เขาก็คง “ไม่อยากเกิดมา
บนโลกใบน้ีเพราะรูปร่างหน้าตาของเขาน้ัน มันทั้งอัปลักษณ ์
นา่ เกลยี ดนา่ กลวั มาตงั้ แตเ่ ดก็ จนกระทง่ั แมข่ องตนเองกอ็ ยากให ้
ตายๆ ไป ในวัยสามขวบเขาเดินไปไหนเด็กกลัวกันท้ังหมู่บ้าน
เมอื่ “โตเปน็ หนมุ่ ” ขน้ึ มา เขา “ยง่ิ อปั ลกั ษณ”์ กวา่ เดมิ ตาม
ค�ำบรรยายนี้

“จะกลา่ วถงึ ขนุ ชา้ ง เมอ่ื รนุ่ หนมุ่ หวั เหมอื น นกตะกรมุ ลา้ นหนกั หนา
เคราคาง ขนอก รกกายา หนา้ ตาดงั ลงิ คา่ ง ทีก่ ลางไพร”

130  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

ภาพ ปนู ปัน้ ขุนช้าง ทีห่ นา้ คมุ้ ขุนชา้ ง พอน�ำเนื้อหาวัยเด็ก
และพฤติกรรมขุนช้างมา 
รวมกนั สรปุ รปู รา่ งไดว้ า่ ตอน 
หนุ่มขุนช้าง หัวล้านเหมือน
นกตะกรุม คือล้านหมดหัว
มีท้ายทอยอยู่นิดหน่อย มี
หนวดเคราที่คาง และมีขน
หน้าอกรกรุงรังด้วย ซ้�ำร้าย
หน้าตาท่าทางก็ยังดังลิงค่าง 
ชอบกลอกตาไปมาดว้ ย ขนุ ชา้ ง
จงึ มรี ปู รา่ งหนา้ ตา บคุ ลกิ คลา้ ย 
ลงิ มขี นหนา้ อกรกรงุ รงั มเี ครา 
และคางด้วย แตกต่างไปจาก 
ลงิ ตรงทห่ี วั ลา้ นและพูดภาษา
มนุษยน์ ้นั เอง

ขนุ ชา้ ง..อปั ลกั ษณไ์ ปทกุ สงิ่ มดี อี ยา่ งเดยี วคอื เมอ่ื เขาเกดิ
มาท�ำให ้ “ครอบครัวร�ำ่ รวย” ดงั ในบทประพนั ธ์

“บริบูรณ์ พูนเกิดบุญ ของลูกอ่อน ไดว้ ่าแตก่ อ่ น เพราะสร้างสรรค์
แต่เกิดมา เงนิ ตรา อดุ มครัน ขา้ หญงิ ชายนน้ั มากไป”

“ขุนแผน” มีดีที่ความรู้ความสามารถ รับใช้ชาติและ
กตญั ญู แต่ขาดศรัทธาเร่ืองความรกั “ท�ำรา้ ยจติ ใจหญิง” ส่วน

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  131 

“ขนุ ชา้ ง” รกั เดยี วใจเดยี วแตข่ าดสติ ไมส่ นใจผดิ ชอบชวั่ ดี ใคร
จะเปน็ อยา่ งไรขอใหข้ า้ สมรกั คนทตี่ กหนกั กค็ อื “นางวนั ทอง”
จนท�ำให้นางได้รับความตาย เป็นความตายทน่ี างไม่ไดเ้ ลอื ก

“ขนุ ชา้ งขนุ แผน” นบั วา่ เปน็ วรรณคดเี สภา โศกนาฏกรรม
แหง่ ความรกั สะทอ้ นผา่ นสงั คม อ�ำนาจการเมอื งและวถิ ปี ระเพณี
เรื่องเยย่ี มของไทย

“หมามนั จะเกิด ชิงหมาเกดิ ”

ทมี่ าของค�ำวา่ “หมามนั จะเกดิ ชงิ หมาเกดิ ” มมี านานแลว้
ในปัจจุบันงานเลี้ยง “วันเกิด” บรรดาเพื่อนสนิทมักหยอกล้อ 
กนั ดว้ ยส�ำนวนวา่ “หมามนั จะเกดิ ชงิ มาเกดิ ” กนั อยา่ งสนกุ สนาน 
โดยเฉพาะ หากมกี ารเมามาย จะใชส้ �ำนวนนอี้ �ำกนั โดยไมท่ ราบ
ท่มี าว่ามาจากไหน? อย่างไร?

ส�ำนวน “หมามนั จะเกดิ ชงิ หมาเกดิ ” นมี้ าจาก “เสภาเรอื่ ง
ขนุ ชา้ ง ขนุ แผน “ตอนท่ี ๖” กลา่ วถงึ ขนุ ชา้ ง เมอื่ เมยี ตาย เกดิ
ความคิดถึงนางพมิ ฯ เป็นทส่ี ดุ จงึ เดนิ ทางไปหานางศรีประจนั
แม่ของนางพิมพิลาไลย ซ่ึงอยากได้ลูกเขยเศรษฐี นางจึงเรียก
นางพิมพิลาไลยออกมาพบขุนช้าง หากแต่นางพิมพิลาไลยซึ่ง
รังเกยี จขนุ ชา้ งมาแตเ่ ดิม จงึ เรยี ก “ตาผล” คนหวั ลา้ นเหมือน
ขุนช้าง มาด่ากระทบประจาน โดยไม่สนใจความมั่งมี โอ้อวด
ของขุนชา้ ง และความไมร่ จู้ ักเจียมตัวของขุนชา้ งว่า

132  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร

ภาพ ขุนช้าง ทม่ี ณฑปหลวงพอ่ ถริ วดั ป่าเลไลยก์

“อ้ายเจา้ ชู้ ลอมปอม กระหม่อมบาง ลอยชาย ลากหาง เทย่ี วเก้ยี วหมา
ชชิ ะ แป้งจนั ทน์ นำ้� มันทา หย่งหนา้ สองแถบ เหมอื นหางเหี้ย
“หมามนั จะเกิด ชิงหมาเกดิ ” มงึ ไปตาย เสยี เถิด อา้ ยห้าเบ้ยี
หน้าตา เช่นน้ี จะมีเมีย อา้ ยมะม่วง หมาเลยี ไม่เจียมใจ”

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  133 

เรยี กไดว้ า่ นางพมิ พลิ าไลย ดา่ เพราะเกลยี ดขนุ ชา้ ง สมยั นี้ 
ก็ว่าปากจัด จึงถูกนางศรีประจัน ผู้เป็นแม่ดัดนิสัยจับเฆ่ียนจน
ตัวลายเลอื ดไหลขงั ไวใ้ นหอ้ ง

สรปุ แลว้ คอื “หมามนั จะเกดิ ชงิ หมาเกดิ ” หมายถงึ ขนุ ชา้ ง 
ถูกนางพมิ ดา่ วา่ ขีเ้ กียจ ขี้เหร่ อวดมงั่ มไี ม่ดูตวั เอง ไมเ่ จียมตน
มคี วามหมายในทางดถู กู ในรปู รา่ งหนา้ ตาหนา้ ตาเชน่ นี้ จะมเี มยี

“พระป  รอท” ของขนุ ช้าง

ภาพ ขุนช้างออกตามขนุ แผน ท่รี ะเบียงคดวัดปา่ เลไลยก์

ในวรรณคดี ขนุ ชา้ งขนุ แผน กลา่ วถงึ ตอน ขนุ ชา้ งแตง่ กาย 
ออกไปตามขนุ แผน ทพ่ี านางวนั ทองหนี คาดตะกรดุ อาจารยค์ ง 
แลว้ ยงั มพี ระปรอท ด้วยวา่

134  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

“จดั แจงแตง่ ตวั นงุ่ ยก เขม็ ขัดรัดอกแลว้ โยงหาง

ผูกตัวเขา้ เปน็ พรวนล้วนเครื่องราง พระปรอทขอดหว่างมงคลวง”

“มงคลวง” หมายถึงดา้ ยถักมลี กั ษณะคล้าย “มงคลสวม
หัวนกั มวย” เป็นเครื่องรางชั้นสงู ใชส้ วมศีรษะ กอ่ นสวมหมวก
ขุนศกึ ทบั ไว้ การมี “พระปรอท” ขอดอยู่ในมงคลสวมหวั (ใส่
ก่อนรองในหมวก) ย่อมช้ีให้เห็นความส�ำคัญ ของพระปรอท
เป็นอย่างดี

“ปรอท” สมัยโบราณถอื เปน็ สิ่งมีชวี ติ ถอื เปน็ “วิชาเลน่
แร่แปรธาต”ุ (ทางวิทยาศาสตร์ ใชว้ ัดอณุ หภมู ิ เพราะรับความ
เปล่ียนแปลงภมู ิอากาศได้ง่าย) ปรอทโบราณ ใช้วิธีหาโดยการ
ดกั การหงุ หลวงพ่อเนียมวดั นอ้ ย บอกส่วนผสมไว้ชัด แตไ่ มม่ ี
วธิ กี าร

“สนุ ทรภ”ู่ นกั วชิ าการในราชส�ำนกั “นกั เลน่ แรแ่ ปรธาต”ุ  
คนส�ำคญั “สนุ ทรภ”ู่ ดใู นลายแทงวา่ มแี รแ่ ปรธาตุ อยทู่ จ่ี งั หวดั
สพุ รรณบรุ ี ปี ๒๓๗๔ “สนุ ทรภ”ู่ บวชพระเพอื่ การเดนิ ทางสะดวก 
เพราะคนย�ำเกรงกย็ งั ไมส่ ามารถ “หาปรอทได”้ อยา่ งทห่ี ลวงพอ่  
เนยี มท�ำ “จนถอดใจวา่ ปรอทไมม่ ี สนุ ทรภฝู่ นั วา่ เจา้ ของเจดยี ม์ า 
บอกใหเ้ ลกิ หายาและปรอท กลา่ วไวใ้ นโคลงนริ าศสพุ รรณ ดังน้ี

“เจดีท่ีอยหู่ อ้ ง ทองพทม

ปรอดเสร็จเพชปนู ปสม ใส่ไว้

สำ� หรบั กบั ถ่ัวนม เนอ้ื แผด แปดแฮ

ของลูกจุกจได้ เกดิ สร้างปรางทอง ฯ”

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  135 

แลว้ หา้ มวา่ เรอื่ ง “ยาอายวุ ฒั นะ” ไมม่ ใี นโลก เรอ่ื งแรป่ รอท
ก็ไม่ใช่เร่ืองของพระสงฆ์ ให้กลับไปมุ่งสู่ผลบุญทางสมณเพศ 
ดกี วา่ และท�ำบุญอทุ ิศสว่ นกศุ ลมาให้ทา่ นดว้ ยดัง โคลง “นริ าศ
สุพรรณ”วา่

“ใชย่ าอายรุ ้อย แสนปี
ท่วั ลา่ หาห่อนมี แม่นแล้ว
ปรอดฟอดรัศมี เสมอเมจ็ เพชเอย
ใช่พระปรอดแพรว้ พระไหว้ใช่การ”

แสดงว่า “สุนทรภู่” มาสุพรรณปี ๒๓๗๔ ก่อนหลวงพ่อ
เนยี มเกดิ ๔ ปี ทา่ นเกดิ ปี พ.ศ.๒๓๗๐ สามารถส�ำเรจ็ วชิ าหงุ ปรอท
ได้ ท้ังยังระบุส่วนผสมในต�ำราหุงปรอทของท่านอย่างชัดเจน 
แต่ข้ันตอนไม่มีผู้ท�ำได้เลย พระปรอท ท่ี “ขุนช้างขุนแผน”
กลา่ วถงึ จงึ ถอื วา่ เปน็ ยอดพระ พระใสอ่ ยบู่ นศรี ษะบคุ คลส�ำคญั
พระเนื้อตะก่วั ผสมปรอทของหลวงพ่อเนยี ม วดั น้อย จึงถือไดว้ า่  
คอื ยอดพระ สบื สานต�ำนานพระปรอททมี่ อี ายมุ ากวา่ หนง่ึ รอ้ ยปี

การหงุ ปรอท หลวงพอ่ เนยี ม

เคร่ืองมือหุง “ปรอท” สุดยอดภูมิปัญญาไทยโบราณ
เครอ่ื งมอื หงุ ปรอทของหลวงพอ่ เนยี ม วดั นอ้ ย อมตะเถราจารย์
อนั ดบั หนง่ึ ของสพุ รรณบรุ ี คอื “กลอ่ งเพม่ิ ลม” หรอื หบี ลมเพอ่ื
เพิ่มความร้อนในการหุงปรอทและ “หลอมตะก่ัว” เพื่อสร้าง
วตั ถมุ งคลของหลวงพอ่ เนยี ม “หบี ลม” หรอื กลอ่ งเพมิ่ แรงดนั ลม 

136  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวหิ าร

ใหไ้ ปเพมิ่ ความรอ้ น ในการหงุ ปรอทและหลอมตะกว่ั ท�ำใหเ้ หน็ วา่  
การสรา้ งวัตถมุ งคลของหลวงพ่อเนียม นน้ั ยงุ่ ยากย่งิ นักซงึ่ ต้อง
ถอื วา่ คอื วชิ าชน้ั สงู ในสมยั โบราณทไี่ มม่ ใี ครเทยี บหลวงพอ่ เนยี มได้

ขอคดั วธิ หี งุ ปรอท ของหลวงพอ่ เนยี ม โดย อ.มนสั โอภากลุ
ดงั นี้ “การท�ำปรอทใหแ้ ขง็ ในสมยั โนน้ ไมใ่ ชข่ องงา่ ยนกั วา่ กนั วา่
ตอ้ งใชค้ าถาอาคม ทง้ั ตอ้ งท�ำในฤดฝู นฤดเู ดยี วเทา่ นนั้ เพราะพชื
บางอย่าง เช่น ใบแตงหนูซ่งึ ขึ้นในทอ้ งนา จะขึ้นในฤดฝู น สว่ น
ผสมต่างๆ มีใบสลอด ข้าวสุกหลวงพ่อท่านเอาของสามอย่าง
มาโขลกปนกนั เพือ่ ไล่ข้ปี รอทออกให้หมด ท้ังน้เี พ่อื ให้ได้ปรอท
ขาวทส่ี ดุ

ภาพ ด้านขา้ งกล่องลม
อปุ กรณเ์ พ่ิมความร้อนในการหลอ่ พระปรอท

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  137 

การโขลกจะต้องโขลกและกวนอยูถ่ งึ ๗ วนั จงึ จะเข้ากนั
พอครบ ๗ วันเอาไปตากแดดเสรจ็ แล้วน�ำเอาไปกวนต่อจนเขา้
กันดี จึงท�ำการแยกชง่ั เป็นส่วนๆ สว่ นละหนึง่ ต่อจากน้ันเอาไป
ใสค่ รกหนิ เตมิ ก�ำมะถนั และจนุ สโี ขลกต�ำใหเ้ ขา้ กนั โดยใชเ้ วลา
ท�ำตอนกลางคืนเท่านน้ั ท�ำเชน่ นน้ั อยู่ ๓ คนื จงึ เอาปรอทใส่ลง
ไปในกระปกุ เหลา้ เกาเหลยี ง ผสมกบั ตะกวั่ เอาเขา้ ไฟสมุ อยถู่ งึ ๗
วัน บางคร้ังอุณหภูมิสูงจัด กระปุกเหล้าเกาเหลียงแตกเสียหาย
ก็มี การสุมไฟสุมเฉพาะเวลากลางวัน สว่ นเวลากลางคืนท�ำพิธี
ปลุกเสกดว้ ยคาถาอาคม พอครบ ๗ ไฟ น�ำไปเทลงในแมพ่ ิมพ์
จึงจะไดพ้ ระตามทตี่ ้องการ

ภาพ กล่องลมด้านใน อุปกรณ์เพิม่ ความร้อนในการหล่อพระปรอท

138  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

อปุ กรณส์ �ำคญั หลกั ฐานการหงุ ปรอท ของหลวงพอ่ เนยี ม ที่
ตกทอดตอ่ มายงั เกบ็ รกั ษาไวท้ วี่ ดั นอ้ ย อ�ำเภอบางปลามา้ จงั หวดั  
สุพรรณบุรี คือกล่องหรือหีบลม ช่วยเพิ่มลมให้แรง เป็นแหล่ง
ก�ำเนิดพลงั งาน เป็น “ภมู ิปัญญาโบราณ” ท่ไี มเ่ คยเหน็ มากอ่ น 
เคยเหน็ ในสมยั หลงั เปน็ หบี ผา้ ใชม้ อื บบี ประกบใหล้ มพงุ่ ออกมา 
ทป่ี ลายเพอื่ ไลท่ รายแบบ หรอื แบบหลอ่ ทรายแบบโบราณกลอ่ ง
หีบลมท่ีเห็นเป็นภูมิปัญญาโบราณขนานแท้ กล่องสี่เหลี่ยม 
ผนื ผา้ สามารถเปดิ ฝาได้ ไมส้ ว่ นทีเ่ ป็นพ้ืนกลอ่ ง ถูกเซาะให้ลึก
ลงไปกวา่ ชนั้ แรก ดา้ นขา้ งกลอ่ งสองขา้ งมรี ลู ม ซงึ่ ตรงน้ี คอื มที อ่
อาจใช้ผา้ เปน็ ท่อคลา้ ยกับทอ่ ยางท่อผ้าสองทอ่ นี้ มาบรรจบกนั  
ทเี่ ทา้ เหยยี บลงและเดง้ ขน้ึ ตรงเทา้ เหยยี บน้ี เมอื่ เหยยี บลงไป จะ
มลี มพงุ่ ออกไปตามทอ่ ผา้ ทง้ั สองขา้ งกลอ่ ง ไปถงึ รอ่ งทเี่ ซาะไวล้ กึ
ท�ำให้เพมิ่ แรงลมข้นึ ไปในกล่อง หนา้ กลอ่ งจะมีรอู อก

ช่องลมอีกหน่ึงรู รูด้านหน้าน้ีจะต่อสายท่อลมไปยังถ่าน
เชื้อเพลิง ที่หลวงพ่อเนียมท่านก�ำลังหุงปรอทหรือหลอมโลหะ
หุงตะกั่วท�ำพระ โดยหลวงพ่อต้องใช้เท้าเหยียบหีบลมขึ้นลง 
ให้มีลมผ่านช่องเข้าไปในกล่อง (เร่งไฟ) ลมพุ่งแรงออกช่องลม
ดา้ นหนา้ ไปทหี่ ุงตะก่ัวตลอดเวลา

สันนิษฐานว่าหลวงพ่อเนียมสร้างพระ เมื่อมาอยู่วัดน้อย
อายุประมาณ ๔๘-๕๐พรรษา จุดประสงค์เพื่อเป็นการมอบ
ตอบแทนให้กับญาติโยมท่ีมีนำ้� ใจมาชว่ ยงานวดั เพราะวัดมีคน 

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  139 

ภาพ พระเครอื่ งหลวงพอ่ เนยี ม ผสมปรอท  
ของขุนภริ มย์เกา้ ห้อง (ก�ำนนั สงิ ห์ จันทร์ตรี)

มามากมาย ในระยะแรกหลวงพอ่ เนยี มจะท�ำการหงุ ตะกว่ั พอได้ 
ทแ่ี ลว้ ทา่ นกจ็ ะเตมิ ปรอทดว้ ยตนเอง ขณะท�ำการหลอมตะกวั่ ก็
ภาวนาไปดว้ ย โดยการท�ำแตล่ ะครงั้ จะท�ำไดเ้ พยี งครง้ั ละไม่เกนิ  
๒๐ องค์ หลวงพ่อเนียมท�ำแล้วก็น�ำมาปลุกเสกในอุโบสถต่อ
อีกหนึ่งไตรมาส คือสามเดือน ถือเป็นหลักส�ำคัญในการสร้าง
พระของหลวงพ่อเนียม เมื่อหลวงพ่อเนียมสร้างพระได้คร้ังละ 
ประมาณยสี่ บิ องคแ์ ลว้ เมอ่ื ปลกุ เสกครบสามเดอื น หลวงพอ่ เนยี ม 
จะน�ำมาแจกญาติโยม หลังวันออกพรรษา โดยหลวงพ่อเนียม 
จะแจกพระปีละหน่ึงคร้ังเท่าน้ัน ในวันที่วัดมีงานใหญ่ต้องให ้
ญาตโิ ยม หาบ “ส�ำรบั กบั ขา้ ว” ส�ำหรบั มาชว่ ยงานวดั วธิ กี ารแจก 

140  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

หลังเพล เมื่อพระสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจเรียบร้อย ญาติโยมกิน
ขา้ วกนั จนอมิ่ หน�ำส�ำราญแลว้ ถงึ เวลาตอ้ งเดนิ ทางกลบั บา้ นทง้ั  
ใกล้และไกล ต้องเข้าไปลาหลวงพ่อเนียม หลวงพ่อเนียมก็จะ
หยบิ พระของหลวงพอ่ “ใสไ่ ปทห่ี าบส�ำรบั ” ของญาตโิ ยม หาบละ 
๑ องคช์ าวบา้ นเหลา่ นนั้ จงึ ไดพ้ ระหลวงพอ่ เนยี ม มาครอบครอง 
และหวงแหนเปน็ มรดกตกทอดตอ่ มา

หลวงพ่อเนียม สร้างพระอายุประมาณ ๕๐ ปี ช่วงวัย 
ท่แี ข็งแรง ทา่ นยังสามารถเหยียบหบี ลม เพม่ิ ความรอ้ นในการ
หงุ ตะกว่ั ได้ ไมท่ ราบวา่ ทา่ นไดเ้ หยยี บหบี ลมนไ้ี มร่ กู้ แ่ี สนครงั้ เพอ่ื  
ทจี่ ะสร้างวตั ถมุ งคลมาแจกญาติโยม ทีไ่ ด้มาช่วยเหลอื วัด

เมื่อท่านแก่ชราลงไมส่ ามารถจะเหยียบหีบลม เพมิ่ ความ
ร้อนหลอมพระได้ ในการท�ำพระรุน่ หลังลูกศษิ ย์ไดท้ �ำการหล่อ
พระเอง

ในยุคของอาจารย์สน ศุภพินิจ โยมบิดาของหลวงพ่อ
ปล้ืม วัดสวนหงส์ เกจิอาจารย์รูปส�ำคัญอีกรูปหน่ึงของจังหวัด
สุพรรณบุรี มรณภาพแลว้ สงั ขารไม่เนา่ เป่อื ย อาจารย์สน เป็น
ผู้ควบคุมต่อเมอื่ หุงหลอมตะกวั่ ได้ท่ีแลว้ หลวงพ่อเนยี มจะเป็น
ผู้มาเตมิ ปรอทเอง ซง่ึ ปรอทน้ันทา่ นได้หงุ ใสเ่ ก็บไว้ใน “กระปกุ
เกาเหลยี ง” ท่ียังตกทอดเปน็ สมบัติของวัดน้อยจนถงึ ทกุ วนั นี้

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  141 

“กระปกุ เกาเหลยี ง”

ภาพ “กระปุกเกาเหลียง” ใสป่ รอท สมัยหลวงพ่อเนียม

ทใ่ี ส่ “ปรอท” ในต�ำนาน ของหลวงพอ่ เนยี ม วดั นอ้ ย เมอ่ื  
หนง่ึ รอ้ ยหา้ สบิ ปกี อ่ นวา่ มอี ยจู่ รงิ กระปกุ เหลา้ “เกาเหลยี ง” อายุ 
กว่าร้อยปี ของหลวงพ่อเนียมอมตะเถราจารย์อันดับหน่ึงแห่ง
เมอื งสุพรรณเล่าตอ่ กนั มาว่า

ในวันท่ีหลวงพ่อเนียมแก่ชรา ไม่สามารถที่จะยืนสูบลม
จากหบี ลม (ผมลงไวแ้ ลว้ ) ทา่ นชราหลอมพระเองไมไ่ ด้ แตท่ า่ น 
คงยังใส่ปรอทด้วยตัวเอง เม่ือลูกศิษย์ไปหลอมตะกั่วหลอม
สุกจนได้ท่ีแล้ว จะไปตามหลวงพ่อเนียม ท่านจะลงมาพร้อม
“กระปุกเกาเหลียง” และใส่ปรอทด้วยตนเอง เป็นหลักฐาน

142  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

ส�ำคญั “ยนื ยนั วา่ ” หลวงพอ่ เนยี ม วดั นอ้ ยหงุ “ปรอท” สดุ ยอด 
ของ “วิเศษ” ในต�ำราโบราณได้จรงิ

“ขนุ ช้าง” กบั สแี ดง

ภาพ ขุนชา้ ง ใส่เสอื้ สีแดง ตามหาขนุ แผน

ในเร่ืองขุนช้าง-ขุนแผน มหาเศรษฐีเมืองสุพรรณ ชอบ 
สแี ดง ขนุ ชา้ งหม่ สา่ น “สแี ดง” ยงั ไมพ่ อ ขนาดเชอื กผกู ชา้ ง ยงั มดั
ดามดว้ ยผา้ สแี ดง สแี ดงจงึ เปน็ สแี หง่ ความรงุ่ โรจน์ ตามนยั แหง่

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  143 

ดวงพระอาทติ ย์ ไทยในสมยั อยธุ ยา ใชส้ แี ดงในกองทหารและธง
เรอื สีแดง สีแดงเป็นธาตุไฟ สแี ห่งความรงุ่ โรจน์ สแี ดงจงึ เปน็ สี
แห่งความเช่ือวา่ “ใส่แล้วรวย”..เหมอื น “ขุนชา้ ง”

ในวรรณคดี ขนุ ชา้ ง ขนุ แผน กลา่ วถงึ ขนุ ชา้ งแตง่ กายดงั นี้

“จะกลับกลา่ ว ถึงเจา้ หมอ่ ม จอมขุนช้าง พอเรอื่ ราง แสงทอง ส่องอรา่ ม
สงั่ ให้ผูก ช้างงา สงา่ งาม เชอื กพวน ลว้ นดาม ผา้ สแี ดง”

…………………………

“นุ่งยกอย่าง โบราณ ก้านแยง่ หม่ ส่าน “สีแดง” ดเู ฉดิ ฉาย
ดตู ะวนั พอสวา่ ง ขนึ้ ชา้ งพลาย บา่ วไพร่ มากมาย ตามพรมู า”

ขนุ ชา้ ง ไหนๆ กห็ วั ลา้ นแลว้ กเ็ ลยเลยตามเลย แมก้ ระทงั่
ควาญชา้ งของตวั ยงั ใชค้ นหวั ลา้ น “อา้ ยเฒา่ บวั หวั ลา้ นเปน็ ควาญ 
มา”

สีแดงน้ีมีที่มา “วิธีใช้ของคนโบราณมีประโยชน์ สีแดง
เป็นสีท่ีมีอิทธิพล ต่อความรู้สึกมากกว่าสีใด ในทุกอารมณ ์
ไม่ว่ารัก โกรธ จริงจังรักชาติ ก็หน้าแดง เขตอันตรายก็สีแดง 
ไฟแดง มนษุ ยโ์ บราณ คนุ้ เคยกบั สแี ดง เพราะเปน็ แสงดวงอาทติ ย ์
มนุษย์ยคุ แรก ผกู พนั กบั ดวงอาทติ ย์ แบบผูม้ ีพระคณุ เพราะให ้
แสงสว่าง ภาพวาดมนุษย์โบราณ ตามถ�้ำและส่ิงของเคร่ืองใช ้
มีภาพดวงอาทิตย์ ต่อมาเม่ือมนุษย์เห็นคุณค่าของไฟ จึงเกิด 
“ลทั ธบิ ชู าไฟ” สดุ ทา้ ยเมอ่ื น�ำเขา้ สศู่ าสนาพราหมณ์ ดวงอาทติ ย์ 
กก็ ลายมาเป็นตวั ตน นาม “พระสุริยาทติ ย์” มหาเทพผู้ใหแ้ สง
สวา่ งมีร่างกายสแี ดง

144  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

โหราศาสตร์ยุคแรก เกิดจากการสังเกต มาหลายพันปี
มองเห็นพระอาทิตย์ช่วงเช้ารุ่งอรุณเป็น “สีแดง” จึงก�ำหนด
วันอาทิตย์ เป็นธาตุไฟเคร่ืองหมายสีแดง ท�ำนองเดียวกันดวง
จันทร์เต็มดวง ในเวลากลางคืน มองเห็นเป็นสีเหลืองนวล จึง
ก�ำหนดวันจนั ทร์ เป็นสเี หลือง

สปี ระจ�ำวนั ทงั้ เจด็ วนั ในหนงึ่ สปั ดาห์ เกดิ มาจากการสงั เกต 
ดวงดาวบนทอ้ งฟา้ ตอ่ มากลายมาเปน็ สปี ระจ�ำวนั เจด็ วนั เจด็ สี 
วันอาทิตย์สีแดง วันจันทร์สีเหลือง วันอังคารสีชมพู วันพุธ 
สเี ขยี ว วนั พฤหสั บดสี แี สด วนั ศกุ รส์ นี ำ�้ สเี งนิ หรอื สฟี า้ วนั เสารส์ ดี �ำ 
(มว่ ง-มงคล) การน�ำมาใชใ้ หใ้ นวถิ ชี วี ติ คอื “จดั ระเบยี บการงาน”
เชน่ เครอ่ื งแตง่ กายตามสี ถกู ตอ้ งตามโฉลกของวนั ไมว่ า่ จะเปน็
งานพธิ ี หรอื วนั ปกติ ในพระราชวงั ฯ สมยั กอ่ น นางสนมก�ำนลั
แต่งกายเสอ้ื ผ้า ใส่สีตามวัน เหน็ แตง่ กายดว้ ยเส้ือผ้าสฟี า้ กจ็ ะ
ทราบได้ทันทีวา่ เป็นวันศกุ ร์

ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เช่นในหลวงรัชกาลที่ ๙ วันจันทร์ 
เปน็ วนั พระราชสมภพ จงึ ใช้ “สเี หลอื ง” เปน็ ผา้ ประดบั พวงมาลา 
ลว้ นใชส้ เี หลอื ง มองเหน็ ทราบทนั ทวี า่ เปน็ สญั ลกั ษณข์ องพระองค์

สมเดจ็ ฯ พระราชนิ นี าถในรชั กาลท่ี ๙ วนั ศกุ รเ์ ปน็ วนั พระ 
ราชสมภพจงึ ใชส้ ฟี า้ สมี ว่ งวนั เสาร์ เปน็ ของสมเดจ็ พระเทพรตั นฯ์

ส�ำหรับประชาชนคนทั่วไป สามารถน�ำมาใช้จัดระเบียบ
ตัวเองได้ ไม่ให้สับสน คือใช้สิ่งของเครื่องใช้ให้ตรงสีประจ�ำวัน 
เกดิ ของตน เชน่ เส้ือผ้ามสี ปี ระจ�ำวันรว่ มแทรกดว้ ยตลอด หรือ

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร  •  145 

ในหอ้ งนำ�้ ใช้รวมกันสมยั กอ่ นมลี ูกเยอะ ซือ้ เสอื้ ผา้ แปรงสฟี นั  
ตามสวี ันเกดิ จะจ�ำงา่ ย

ส�ำหรบั สแี ดง จงึ เปน็ สแี หง่ ความรงุ่ โรจน์ ตามนยั แหง่ ดวง 
พระอาทิตย์ ไทยในสมัยอยุธยา ใช้สีแดงในกองทหารและธง
เรือสแี ดง

“นางวนั ทอง”

ภาพ นางพมิ พลิ าไลยหรือนางวันทอง

“พมิ พิลาไลย” หรือ “นางวนั ทอง” กลา่ วว่า ถึงหมน่ื นาง
ก็ไม่เหมือนกับนางเดียวไม่เทียมทนั ท้งั สพุ รรณบุรีผู้หญงิ ทีส่ วย

146  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

ทส่ี ดุ ในประวตั ศิ าสตร์ วรรณคดแี หง่ เมอื งสพุ รรณ กลา่ วถงึ เรอ่ื ง
รปู รา่ ง หนา้ ตา งามกริ ยิ าทวั่ รา่ ง ดังน้ี

“ทรวดทรงสง่ ศรี ไม่มีแม้น อรชรออ้ นแอ้น ประหน่ึงเหลา
ผมสลวย สวยข�ำ งามเงา ใหช้ อื่ เจา้ วา่ พิมพิลาไลย”

ภาพ นางพิมพิลาไลยหรอื นางวันทอง

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  147 

ขนุ แผน บอกใหแ้ มท่ องประศรี ไปขอนางพิม เพราะงาม
ทุกอยา่ ง

“นางใน งามแต่ กริ ิยา จะเปรียบพิม แก้วตา เหน็ เต็มที
งามประเสริฐ เลิศลา้ํ ทงั้ ข�ำคม งามหนา้ งามนม เน้ือสองสี
ไม่เทียมทนั ท้งั สพุ รรณบรุ ี เหน็ ไม่มใี ครสู้ดงู ดงาม”

.........................

“ฟงั เสียง เกลีย้ งกลม เมอ่ื เจ้าวา่ วาจา แจว้ เจื้อย แจ่มกระจา่ ง
อรชรออ้ นแอ้น บ้ันเอวบาง หมน่ื นาง กไ็ มม่ ี เหมอื นนางเดยี ว
เจ้าห่ม สที บั ทมิ ริมขลบิ ทอง สอดสอง ซบั ใน สไบเขยี ว
แขนออ่ นท่อนท้าย แม่พร้ิงเพรยี ว งามตา เมอื่ เจา้ เหลยี ว ชำ� เลอื งมา”

ภาพ ปนู ปั้น นางวนั ทอง หน้าพระวหิ ารหลวงพอ่ โต

148  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

นางวนั ทองมนี มโต ขนุ ชา้ งไดแ้ อบดนู มวนั ทอง ตอนอาบนำ�้

“ขนุ ช้าง ขัดใจ เอาไม้ตี อา้ ยโหง้ จงึ ช้ี ใหน้ ายดู
นั่นแน่ แม่พิม อยรู่ ิมตล่งิ นมโต จริงจรงิ สตี วั อยู่
ขุนชา้ งด่า มงึ อยา่ วา่ แมข่ องก”ู

สรปุ คอื นางพมิ พลิ าไลยหรอื นางวนั ทองนนั้ มคี วามสวยงาม
แบบสตรีในยุคนนั้

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  149 

สมภารมี
ส�ำนกั วดั ป่าเลไลยก์ สพุ รรณบุร ี

ภาพ “สมภารม”ี ระเบยี งคด วดั ปา่ เลไลยก์

วรรณคดเี รอ่ื งขนุ ชา้ ง ขนุ แผน มพี ระอาจารยผ์ ทู้ รงคณุ อย่ ู
สร่ี ปู คอื สมภารบญุ วดั สม้ ใหญ่ กาญจนบรุ ี สมภารมี เจา้ ส�ำนกั
วดั ปา่ เลไลยก์ ขรวั ตาจู วดั ปา่ เลไลยก์ ขรวั ตาคง เจา้ ส�ำนกั วดั แค
เป็นผปู้ ระสทิ ธิป์ ระสาทวชิ าให้แก่พลายแกว้

150  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวหิ าร

เม่ือวัยเด็ก “พลายแก้ว” ได้เรียนวิชาจากแม่ คือ นาง
ทองประศรี จากต�ำราของขนุ ไกร จากนนั้ ไดไ้ ปฝากตวั เปน็ ศษิ ย์
สมภารบุญ วัดส้มใหญ่จนรู้หมดไส้หมดพุง ต่อมาฝากตัว กับ
สมภารมี เจา้ ส�ำนกั วดั ปา่ เลไลยก์ แตเ่ รยี นไมท่ นั จบหมด ตบะแตก
เสยี ก่อน มชี กู้ บั นางพิมพิลาไลย จึงตอ้ งหนอี อกจากวดั ป่าฯ ไป
ศกึ ษาตอ่ ส�ำนกั ขรัวตาคง วัดแค

เณรแกว้ บวชเรยี น กับ สมภารบุญ วัดสม้ ใหญ่ กาญจนบุรี

นางทองประศรีผู้มารดา พาพลายแก้วหนีไปอาศัยอยู่ 
ในกาญจนบรุ ี จนอายนุ น้ั ไดถ้ งึ สบิ หา้ อยากจะเปน็ ทหารชาญชยั
ให้เหมือนพ่อขุนไกร ผู้เป็นพ่อ นางทองประศรีผู้มารดา พาไป
ฝากขรวั บญุ วดั สม้ ใหญ่ เจา้ เณรแกว้ บวชแลว้ ราํ่ เรยี นดว้ ยเพยี ร
หมน่ั ปญั ญาไว บวชยงั ไมถ่ งึ ปกี เ็ จนใจจบสนิ้ วชิ า สมภารมจี งึ ให้
สมดุ ต�ำรบั ใหญใ่ หศ้ กึ ษา จากนน้ั เณรแกว้ จงึ ขอลาสมภารบญุ ไป
เรียนต่อทส่ี ุพรรณบุรกี บั สมภารมีและขรวั คง ตอ่ ไป

“ทองประศรีดใี จหัวเราะรา่ จริงแลว้ เณรหนาแมน่ กึ ได้
อันทเี่ มอื งสุพรรณนั้นไซร้ ทางในทา่ นดมี ีสององค์
วดั ปา่ เลไลยทา่ นสมภารมี ท้งั ขรวั ทีว่ ดั แคแม่เคยสง่
กบั ขนุ ไกรรกั ใคร่กันม่นั คง จะพาลงไปฝากยากอะไร”

สมัยโบราณการท�ำวัตถุมงคลน้ัน อันดับแรกก็เพื่อเอาไว้
ใชเ้ ปน็ ก�ำลงั ใจ ในยามศกึ สงคราม เพราะเปน็ การรบประชดิ ตวั

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  151 

อาวธุ ดาบมีด ฟันแทง ยามปกติ พระกม็ หี น้าท่ีสงเคราะหใ์ ห้
ก�ำลงั ใจ ดูหมอ ดฤู กษผ์ านาที เปน็ การสงเคราะหช์ าวบา้ นทม่ี ี
ปัญหาไม่รู้จะไปปรึกษาใคร วัตถุมงคลจึงไม่ใช่ของซื้อขาย แต่
เป็นของเติมก�ำลังใจให้เต็ม ที่ท�ำให้บรรพชน ขุนศึก ไพร่ราบ
ทหารเลว รบปอ้ งกนั แผน่ ดนิ มาได้ถงึ วันนี้

วัดป่าเลไลยก์โด่งดังมาพร้อมกับวรรณคดีขุนช้าง- 
ขุนแผน มพี ระผ้มู ีวชิ าอาคมแก่กลา้ อยู่สองรูป คอื “สมภารม”ี
เจา้ ส�ำนกั วดั ปา่ เลไลยก์ ผรู้ อบรตู้ �ำรบั พชิ ยั สงครามครบถ้วน กับ
“ขรัวตาจู” พระผรู้ อบรู้เลขผานาที การพยากรณแ์ ม่นย�ำอยา่ ง 
ตาเห็น

เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน บ่งบอกถึงว่า สมภารวัด คือ
ขุนทัพนายกองของขุนศึกยอดฝีมือ เหตุเพราะเป็นเพ่ือนกัน
เช่น ขุนไกรและสมภารมี ที่อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ส�ำคัญ หาก
เปน็ คนธรรมดา จะมวี ชิ าศกึ ษาต�ำราพชิ ยั สงคราม มาจากทไี่ หน
ตวั อยา่ งดงั เชน่ พลายแกว้ เรยี นจบจากสมภารบญุ วดั สม้ ใหญ่
แล้วจงึ ขอไปเรยี นตอ่ กับสมภารมี พอสมภารบุญรกู้ ช็ อบใจ

“วนั หนึ่งจึงเข้าไปวันทา จะขอลาไปสุพรรณบรุ ี
ท่านสมภารชอบใจหวั เราะรี่ ท่านวัดปาเลไลยนน้ั ขยนั ดี
กับสกี าทองประศรรี ู้จักกัน”

152  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร

ยอดพระเมอื งสพุ รรณ มดี อี ยสู่ ามรปู คอื ขรวั มี กบั ขรวั คง
เพอ่ื นรักกบั ขุนไกร สว่ นหลวงตาจูนั้นถนดั ทางพยากรณ์

“ทองประศรดี ีใจหัวเราะร่า จรงิ แล้วเณรหนาแม่นึกได้
อันท่เี มอื งสุพรรณนนั้ ไซร้ ทางในทา่ นดมี ีสององค์
วัดปา่ เลไลยท่านสมภารมี ทง้ั ขรวั ทว่ี ดั แคแมเ่ คยส่ง
กบั ขุนไกรรักใคร่กันมั่นคง จะพาลงไปฝากยากอะไร”

สมภารมเี จนจบต�ำราพชิ ยั สงคราม มอี ยใู่ นเสภา เมอ่ื นาง
ทองประศรีฝากตวั พลายแกว้ สมภารมีสอนพลายแก้ว ดังน ้ี

“ต�ำรับใหญพ่ ชิ ัยสงคราม สรู ย์จันทร์ฤกษ์ยามก็รอบรู้
อย่ยู งคงกระพันล่องหน ภาพยนตรผ์ ูกใช้ใหต้ ่อสู้
รกั ท้ังเรียนเสกเป่าเป็นเจา้ ชู้ ผกู จิตรหญงิ อยู่ไมเ่ คลื่อนคลาย”

สมภารมี “ต�ำนานชานหมากศกั ดส์ิ ทิ ธ”ิ์ “ชานหมาก” สมภารมี
ให้เณรแก้วกินยังศักด์ิสิทธ์ิยิ่งกว่าคงกะพันชาตรียังสามารถท�ำ 
ใหร้ า่ งกาย หัวแขง็ ยังกับหนิ

“กจู ะให้วิชาสารพดั ให้ชะงดั เวทมนตร์พระคาถา

ท่วงทเี อง็ จะดีดังจนิ ดา แลว้ คาย “ชานหมาก” มาใหเ้ ณรกนิ

เณรแกว้ รับแล้วกนิ ชานหมาก ขรัวต่อยด้วยสากแทบหัวบนิ่

ไม่แตกไม่บุบดงั ทุบหิน ท่านขรัวหวั เราะด้นิ คากๆ ไป”

คงกะพนั คอื ฟนั แทงไมเ่ ขา้ แตเ่ จบ็ ชาตรี คอื โดนฟนั แทง
แตอ่ าวธุ ถกู ตวั แลว้ เบากระดกู ไมแ่ ตก ชานหมากของสมภารมนี น้ั

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวหิ าร  •  153 

“ท�ำร่างกายแข็งเป็นเหล็ก” หัวของเณรแก้ว จึงไม่แตกไม่บุบ 
ดังทุบหิน คอื สุดยอดวชิ าคงกระพันชาตรี

ภาพ พระอาจารยส์ ามารถ ขนตฺ วิ โร น�ำชานหมาก ออกจากกระโถนปากแตร

มาถึงสมัยหลวงพ่อเนียม วัดน้อย พระยังฉันหมากเพื่อ
รักษาเหงือกฟันขณะเค้ียวหมากก็มักจะบริกรรมคาถาไปด้วย
ชานหมากจงึ ศกั ดส์ิ ทิ ธิ์ หลวงพอ่ เนยี ม คายชานหมาก ใสก่ ระโถน
ปากแตรไว้

154  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวิหาร

สว่ นหลวงพอ่ โบย้ วดั มะนาวนนั้ มเี จตนาจะใชช้ านหมาก
เพอ่ื ท�ำพระเครอื่ ง เพอื่ ตอบแทนประชาชนทม่ี ารว่ มบญุ ทา่ นจงึ
เกบ็ รวบรวมชานหมากของทา่ นทคี่ ายไว้ ไดป้ รมิ าณ พอสมควร
แล้วจึงสร้างพระเน้ือชานหมากเพือ่ แจกให้กบั ผทู้ ีช่ ว่ ยงานวดั

ภาพ พระชานหมาก หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร  •  155 

อาจารยค์ ง “ขรวั คง” วดั แค

“อาจารยค์ ง” หรอื “ขรวั คง”  ภาพ อาจารย์คง วัดแค  
วัดแค เป็นเพื่อนกับขุนไกร เมื่อ  ระเบียงคดวัดป่าเลไลยก์
เณรแกว้ หนจี ากวดั ปา่ เลไลยกไ์ ป 
แลว้ จงึ ไมอ่ าจกลบั ได้ คดิ เวยี นวน 
ใหจ้ นใจอยวู่ ดั ปา่ เลไลยกก์ ช็ า้ นาน 
วชิ าไมช่ �ำนาญเชย่ี วชาญแน่ เพราะ
ยังคิดถึงนางพิมพิลาไลย ยังมี
ขรัวคง วัดแคนั้นว่าเยี่ยมเห้ียม
หาญเพ่ือนพ่อ ที่แม่ทองประศรี
เคยเล่าให้ฟัง ไปเรียนต่อพอจะ
ได้ความรู้ดี แม้ว่าเป็นห่วงพิม
จะสึกไปก็ไร้วิชา จึงเดินทางมา
ฝากตวั กบั ขรวั คง วา่ ตนเปน็ บตุ ร
ของขนุ ไกร มาขอเรยี นวชิ า สว่ น
ขรัวคงน้ันคิดถึงขุนไกรเพื่อนรัก
อยแู่ ลว้ เหน็ เณรแกว้ จงึ ยงิ่ เอน็ ดู

“รำ� พึงถึงมนั ทกุ วนั ไป กูหมายใจฝากผีมันทีเดียว

แลว้ เหลยี วหนา้ มาพศิ ดพู ลายนอ้ ย กะจอ้ ยรอ่ ยดไู มน่ า่ จะอดเหนยี ว

กาญจนบ์ รุ ีกบั สุพรรณไกลกันเจยี ว อตุ สา่ ห์เท่ยี วด้นป่ามาหากู

ทองประศรีอยดู่ ีฤๅไฉน ตา่ งคนตา่ งไกลถิ่นฐานอยู่

156  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร

เจ็บไข้ส่งิ ใดกไ็ มร่ ู้ อยกู่ ับกเู ถิดจะบอกซึง่ วิชา

กเู หน็ แก่ขนุ ไกรทีต่ ายแล้ว อา้ ยเณรแกว้ นก่ี เ็ หมอื นมนั หนกั หนา

อยา่ อาวรณก์ จู ะสอนสน้ิ ตำ� รา มิให้ฆ่าเหมือนพ่อของมงึ นี้ ฯ”

อาจารย์คงเป็นเพื่อนกับขุนไกร อาจารย์คง แห่งวัดแค 
สอนพลายแกว้ ดงั น้ี

“สมภารแนะนำ� ให้ไม่ชา้ การ สะกดทัพจับพลทง้ั ปลกุ ผี

ผกู พยนต์ฤทธกี ำ� แหงหาญ ปัถมังกำ� บงั ตนทนทาน

สะเดาะดาลโซ่กุญแจประจักษใ์ จ ทง้ั พิชัยสงครามลว้ นความรู้

อาจจะปราบศัตรูไม่ส้ไู ด้ ฤกษพ์ านาทที ุกสง่ิ ไป

ทง้ั เสกใบมะขามเปน็ ต่อแตน ช�ำนาญท้ังกลศึกลึกลบั

คมุ พลแมท่ ัพนบั ตัง้ แสน สศู้ กึ ไดส้ ้ินทัง้ ดนิ แดน

มหาละลวยสุดแสนเสน่หด์ ี จังงังขลังคะนองล่องหน

ฤทธริ ณแรงราวกับราชสหี ์ ถอนอาถรรพก์ นั ประกอบประกบั มี

เลีย้ งผีพรายกระซิบทุกสงิ่ ไป วชิ าสารพดั จะเรยี นพร้อม

กซ็ ้อมท่องเล่าท้งั เกา่ ใหม่ แตค่ ะนึงถงึ พิมมิไดไ้ ป

เพราะอาลัยหลงรักเรยี นวิชา ฯ”

ขรัวคง สอนพลายแก้วจนจบวิชาสูงสุดผูกพยนต์ฤทธี
ก�ำแหงหาญ นอกจากนี้ ทา่ นยงั ท�ำนายดวงชะตาพลายแกว้ ตอน 
อายุย่ีสิบห้าปี คือ เบญจเพศ ท�ำให้ชาวบ้านท่ีได้อ่าน ขุนช้าง
ขุนแผนสมัยน้ันจดจ�ำกันต่อมา ชาวบ้านเช่ือกันในหมู่ผู้ท่ีชอบ
หอ้ ยพระขนุ แผนวา่ อายยุ ส่ี บิ หา้ ปอี ยา่ หอ้ ย จะเกดิ เหตรุ า้ ย เพราะ 
เป็นปีทีข่ ุนแผนตดิ คุก

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  157 
“เมื่ออายุยส่ี ิบหา้ เบญจเพส มีมีเหตดุ ้วยเคราะหเ์ ข้ามาถึง
ตอ้ งจองจ�ำโซ่ตรวนเขาตราตรึง อายุส่ีสบิ มงึ จะไดด้ ี”

“อาจารย์ คง”..วดั แค ท�ำนายไว้ “อายยุ ส่ี บิ หา้ ป”ี กเ็ ชอื่ วา่  
จะมีเคราะห์มีเหตุร้าย ซ่ึงตามท้องเร่ือง “ขุนแผน” ก็เป็นจริง
คนกเ็ ช่อื ตามนนั้ มา

เบญจเพศวัยอาถรรพ์

ภาพ ขุนแผนตดิ คกุ

“เบญจเพส” คือ “จดุ เปลี่ยนของชีวติ ”

เบญจ แปลวา่ ๕ ความเชอื่ เลข ๕ แตโ่ บราณของศาสนา
พราหมณ์ (ฮนิ ด)ู เปน็ สากลทว่ั โลก คอื เลข ๕ นน้ั หมายถงึ “วนั
พฤหสั บด”ี เปน็ วนั วนั หนงึ่ ในรอบสปั ดาห์ เลข ๕ พระพฤหสั บดี

158  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยก์วรวหิ าร

เป็นมหาคุรุเทพ ครูของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย เลข ๕ ดาว
พฤหสั บดใี นสรุ ยิ จกั รวาล เปน็ ดาวใหญม่ บี รวิ าร เชน่ ครมู ลี กู ศษิ ย์ 
ความหมายของพระพฤหัสใน “ทางดี” คือเป็นผู้มีความรู้ 
ความสามารถ ความเมตตา เสยี สละ สอนคนใหเ้ ปน็ คนดี ความ 
หมายใน “ทางรา้ ย” คอื ใชค้ วามรคู้ วามสามารถ ไปในทางชวั่ รา้ ย 
กลโกง ชวั่ มากกวา่ ใคร เพราะรชู้ อ่ งทางมากกวา่ ดงั เชน่ ครสู อนโจร

โบราณจึงยกย่องดาวพฤหัสบดี คือ “หลักการ” เป็นสติ
ปัญญาของมนุษย์ ให้ความส�ำคญั กบั เลข ๕ เพ่ือเปน็ การเตือน
สติของตนของคนให้รอบคอบ ได้ฟังมาเกี่ยวกับความร้ายแรง
ของคนอายุ ๒๕ ปี ทเี่ รยี กวา่ “เบญจเพส” ว่าเกดิ เหตเุ ภทภยั
ต่างๆ ลว้ นแตเ่ ลวร้าย เป็นส่วนมาก

“พธิ เี บญจเพส” ปรากฏในประวตั ศิ าสตรค์ รงั้ แรก ในสมยั
พระนารายณม์ หาราชเมอื่ พระองคท์ า่ นมพี ระชนม์ ๒๕ พรรษา

“ครั้นวันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่�ำ เดือน ๑๒ ปีวอก หรือ
ราว พ.ศ.๒๑๙๙ สมเด็จพระนารายณ์มีพระชนม์ ๒๕ พรรษา
นับว่า “เข้าเกณฑ์เบญจเพส” จึงได้โปรดให้ท�ำพระราชพิธี 
บรมราชาภเิ ษกเสวยราชสมบัติ เปน็ พระมหากษตั รยิ ค์ รองกรงุ  
ศรีอยุธยา นอกจากน้ีในช่วงพระชนมพรรษา ๒๕ พรรษา
พระองคท์ รงระมดั ระวงั พระองค์เป็นพเิ ศษ”

เม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ ๕ ทรง
เจริญพระชนมพรรษา เข้าเขต “เบญจเพสมงคล” คือมี

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  159 

พระชนมพรรษาครบ ๒๕ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๒๑ นับเป็น
โอกาสพิเศษซึ่งควรจะประกอบกิจอันเป็นกุศลหรือพิธีอันเป็น
มงคลตามคติความเชอ่ื ของคนไทยตั้งแต่สมยั โบราณ

เบญจเพส อายุ ๒๕ ปี จึงมี “ทั้งดีและร้าย” ไม่ได้ร้าย
อยา่ งเดียว แต่เพียงคนจดจ�ำเร่อื งรา้ ยได้งา่ ยกวา่

ค�ำว่า “เบญจเพส” มีสะกดแตกต่างกนั สองค�ำ คือ
๑. เบญจเพศ (ตัว“ศ”)
๒. เบญจเพส (ตัว“ส”)
การทพ่ี ระสมเดจ็ นารายณฯ์ และสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ ฯ
ท�ำพิธี “มงคลอายุ เบญจเพส” นั้น ยอ่ มมที ี่มาวา่ มีเหตผุ ลมา
จากอะไร เบญจเพส แปลวา่ ๒๕ (ยสี่ บิ หา้ ) เปน็ ค�ำตอ่ เนอ่ื ง ทม่ี า 
จากค�ำวา่ “เบญจเพศ” แปลวา่ เพศทง้ั ๕ ในศาสนาพราหมณ์
กรงุ ศรอี ยธุ ยามคี วามเชอ่ื เกย่ี วกบั ศาสนาพราหมณว์ า่ เปน็ เมอื ง
ของพระราม กษตั รยิ ท์ ค่ี รองอยธุ ยาเปรยี บเหมอื นพระนารายณ์
แบง่ ภาคมาอวตาร ประเพณตี า่ งๆ จงึ เปน็ พธิ คี วามเชอ่ื ทางศาสนา
พราหมณ ์ ประเพณี “เบญจเพส” และความเช่ือมาจากคัมภรี ์
ของพราหมณท์ มี่ าจากค�ำวา่ “เบญจเพศ” ซงึ่ แปลวา่ เพศทง้ั ๕
ศาสนาพราหมณน์ นั้ แบง่ ชว่ งชวี ติ ของคน เปน็ วยั ตา่ งๆ
คือ
๑-๘ ปี นบั เป็นกุมาร
๙–๑๖ นบั เป็นทารกวัย (วัยรุน่ )
๑๗–๒๕ นับเปน็ มาณพ (วัยหนมุ่ )

160  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวหิ าร

ความเชอื่ จากคมั ภรี ข์ องพราหมณ์ ทมี่ าจากค�ำวา่ “เบญจเพศ” 
ซ่ึงแปลวา่ เพศ (สภาพ) ท้ัง ๕ คอื อนั ได้แก่

๑. เทวะ
๒. มนุษย์
๓. เดรจั ฉาน
๔. เปรต
๕. อสรุ กาย
วิธีนบั กค็ ือ ๑-๘ ปี นับ เป็นวยั กมุ าร
๑. เทวะ
๒. มนษุ ย์
๓. เดรจั ฉาน
๔. เปรต
๕. อสรุ กาย*
๖. เทวะ
๗. มนุษย์
๘. เดรัจฉาน
๙–๑๖ ปี (วัยรนุ่ )
๙. เปรต
๑๐. อสุรกาย
๑๑. เทวะ
๑๒. มนษุ ย์
๑๓. เดรัจฉาน

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร  •  161 

๑๔. เปรต
๑๕. อสุรกาย*
๑๖. เทวะ
๑๗–๒๕ นบั เป็นมาณพ (วยั หนุ่ม)
๑๗. มนษุ ย์
๑๘. เดรัจฉาน
๑๙. เปรต
๒๐. อสุรกาย
๒๑. เทวะ
๒๒. มนษุ ย์
๒๓. เดรจั ฉาน
๒๔. เปรต
๒๕. อสรุ กาย*****
เลข ๕ อายุ ๕ ๑๕ ๒๕, ตก “อสรุ กาย” เปน็ ความหมาย
สองนยั ตวั อื่นเชน่ ได้แก่ ๑ เทวะ ๒ มนุษย์ ๓ เดรจั ฉาน ๔
เปรต มคี วามหมายชดั เจนในสภาพเพศบง่ บอกวา่ เปน็ อะไร?
“อสุรกาย”ความหมายสองนัย
๑. “อสรุ กายชั้นตำ�่ ”แทบไมม่ ีโอกาสเกดิ ใหม่
๒. “อสุรกายชนั้ สูง” ท่มี ีฤทธม์ิ ีความสามารถ
หากท�ำดไี มห่ ลอกลวงใคร จะไดไ้ ปเกดิ ในภพภมู ทิ ด่ี ตี อ่ ไป 
เม่ือเลข ๕ ตรง “อสุรกาย” ความหมายของดาวพฤหัสบดี 

162  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยก์วรวิหาร

จึงต้อง “มีสติ” ตัดสินใจว่า จะเลือกทางใด “ดีหรือเลว” นัก
โหราศาสตร์ จึงให้ความส�ำคัญกับเลข ๕ ในช่วงอายุดังกล่าว
เพราะเป็นเร่ืองของ “สติ” โดยเฉพาะอายุ ๒๕ ปี ถือว่าเป็น
ผู้ใหญ่เต็มตัว มีความรู้และประสบการณ์ในชีวิต จะตัดสินใจ
ได้เรื่องการงานและคู่ครอง โบราณเช่ือว่าอายุ ๒๕ ปี มวล
กระดกู โครงสรา้ งรา่ งกายจะหยดุ เจรญิ เตบิ โต การเปลย่ี นแปลง
โครงสร้างน้ี จะมีผลต่ออารมณ์และร่างกายท�ำให้หงุดหงิด
ใจร้อน ตัดสินใจ บุ่มบ่าม ไม่รอบคอบ เกิดการตัดสินใจผิด
พลาด และอาจเกดิ อบุ ตั เิ หตุได้ง่ายๆ

ประเพณี วฒั นธรรมของไทย “เกยี่ วกบั อาย”ุ นนั้ “เปน็
ปรัชญาและค�ำสอน”

แรกเกิดถึง ๑๒ปี มีโกนผมไฟ ท�ำขวัญ ไว้จุก โก๊ะ เปีย
อนั เปน็ สญั ลกั ษณข์ องเดก็ เมอ่ื ผใู้ หญเ่ หน็ ไปวง่ิ เลน่ ทไี่ หนชว่ ยกนั  
ดแู ล อบรมสงั่ สอน ผดิ ใหอ้ ภยั

อายุ ๑๓ ปี เข้าสู่วัยรุ่น มีพิธีโกนจุก ตัดโก๊ะ ตัดเปีย
ตัดผมที่แสดงถึงสัญลักษณ์ความเป็นเด็กออก เพื่อให้เด็กรู้ว่า
ตนเองนนั้ รา่ งกายเปลย่ี นแปลง เขา้ สวู่ ยั รนุ่ หนมุ่ สาว พฤตกิ รรม
จะท�ำเล่นเป็นเด็กไม่ได้ และผู้ใหญ่มองไม่เห็นผมจุก ต้องรู้ว่า
เขาเตบิ โตแลว้ ควรเลย้ี งดอู ยา่ งไร

อายุ ๒๐ ปี บวชเพื่อศึกษาพระธรรม เป็นหลกั คดิ ในการ
ด�ำเนนิ ชวี ติ ตอ่ ไป ถา้ ไมบ่ วชเรยี กวา่ “คนดบิ ” บวชแลว้ คอื “คน 
สกุ ” คอื บณั ฑติ หรือ “ทิด” นน่ั เอง

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ป่าเลไลยก์วรวิหาร  •  163 

อายุ ๒๕ ปีถือว่าเข้าเกณฑ์ผู้ใหญ่มีประสบการณ์ สมัย 
ก่อนน้ัน ก็มีการประกอบพิธีมงคลท�ำบุญ “เพ่ือเตือนสติ”
ตนเองว่า เราโตมากแล้ว ต้องมีความรับผิดชอบ แต่สมัยใหม่
เห็นว่าเย้ินเย้อ ประเพณีนี้ก็หมดไปอายุ ๒๕ ปี สมัยน้ีเรียน
จบ ท�ำงานมาพอสมควร ควรคดิ ให้ชัดเจนกบั ชีวติ ไปทางใดตาม
กลา่ วแล้ว

“เบญจเพส” อายุ ๒๕ ปี มีอิทธิพลมากว่าอายุ ที่มีเลข 
๕ ในกลมุ่ อายทุ ตี่ กอายนุ บั “อสรุ กาย” ๕ ๑๕ ๓๕ ๔๕ ๕๕ ๖๕
๗๕ ๕๕ ๙๕ กเ็ พราะวา่ อายุ ๒๕ นน้ั อยตู่ รงกลางพอดี ๕ - ๑๕
ยงั เดก็ ไป ๓๕ ปี ขนึ้ ไปกผ็ า่ นอะไรมาเยอะปลงได้ ไมไ่ ดเ้ ปน็ ชว่ ง
ตดั สินใจ เหมือน ๒๕ ปี เบญจเพส

วงจรของเลข ๕ น�ำมาใช้อีกเช่น เลข ๕ ดาวพฤหสั หมุน
รอบโลก ๕ รอบ คือ ๑๒ ปี พอครบ ๕ รอบ ๖๐ ปี จึงถือ
เป็นมงคลมีพิธีท�ำบุญใหญ่ฉลอง จะเห็นว่าอายุเบญจเพส ๒๕
ปีนั้น “มีท้ังดีและร้าย” ความหมายคือการเปล่ียนแปลงทาง
โครงสรา้ ง อายุ อารมณ์สง่ ผลถึงการตัดสนิ ใจ

การ “ทำ� บญุ เบญจเพส” ใหท้ �ำ “ในวนั พฤหสั บด”ี เลข ๕
คอื วนั ครู สถานทกี่ ว็ ดั โรงเรยี น หนงั สอื อปุ กรณ์ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั  
การใหค้ วามรู้ เพอ่ื เตอื นสตปิ ญั ญา คอื การใหค้ วามรู้ ใหก้ ารศกึ ษา 
ตามแบบอยา่ ง “ท่ีสมเดจ็ พระนารายณ์และพระจลุ จอมเกล้าฯ 
ท�ำไว้ สมเดจ็ พระนารายณ์ “ท�ำบญุ เบญเพส” ด้วยการใหส้ ต ิ
ใหป้ ญั ญา ใหแ้ ตง่ หนงั สอื “สมทุ รโฆษค�ำฉนั ท”์ ไวเ้ ปน็ แบบเรยี น 

164  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วดั ปา่ เลไลยกว์ รวหิ าร

ความรใู้ หค้ นไทย พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั “ท�ำบญุ เบญจเพส”
ด้วยการสร้างวัดเทพศิรินทร์ วัดคือโรงเรียนสมัยก่อนให้สติ
ปญั ญาเช่นกนั

สว่ น “ขนุ แผน” นน้ั ตดิ คกุ อายุ ๒๕ ปี “ตง้ั สตใิ หม”่ ทง้ั ที่ 
ความรู้คาถาอาคมสามารถแหกคุกได้ แต่ไม่ท�ำ ยอมรับอาญา
แผ่นดิน รอเวลารับใช้แผ่นดินสุดท้ายก็ได้ไปอาสาศึกเชียงใหม่
จนชนะศึกกลบั มา

เบญจเพส ๒๕ ปี “จงึ ไมม่ อี าถรรพร์ า้ ยใดๆ” หากเรารวู้ า่  
เกดิ จากโครงสรา้ งทางรา่ งกายอารมณ์ ตามธรรมชาตสิ ง่ ผลใหเ้ รา 
เปลย่ี นแปลง ออ่ นไหวงา่ ยประกอบกบั ชวี ติ มาถงึ ทางเลอื ก เรยี น
จบ ท�ำงาน คคู่ รอง มมุ มองอนาคต เสน้ ทางชีวิตทต่ี ้องวางแผน
“การตัดสินใจ” ล้วนแล้วแต่ต้องคิดรอบคอบ ควบคุมอารมณ์
และสติได้ ไมป่ ระมาท

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร  •  165 

ขรัวตาจู
ต�ำราหมอดโู บราณ

ในวรรณคดี “ขุนช้าง
ขนุ แผน” ท่ี “ขรวั ตาจ”ู ยอด
พระหมอดสู �ำนกั วดั ปา่ เลไลยก์ 
ใชท้ �ำนายและเปลย่ี นชอ่ื “นาง
พมิ ” เป็น “วนั ทอง”

“ชื่อ” คือ “ฟางเส้น
สดุ ทา้ ย” ทท่ี �ำใหม้ กี �ำลงั ใจยดึ
เหนี่ยว ทางโหราศาสตร์เช่ือ
ว่า ชื่อบอกนิสัยคนได้ แต่
เปลีย่ นนสิ ัยคนไม่ได้ ชอ่ื บอก
พฤติกรรมคนได้ แต่เปลี่ยน
สนั ดานคนไม่ได้ ชือ่ จึงมีส่วน
เล็กน้อยในชีวิต แต่คิดเกิน
วาสนาการกระท�ำคนไมไ่ ด้ ภาพ ขรัวตาจู ระเบียงคด วดั ปา่ เลไลยก์

นางศรปี ระจนั เมอื่ เหน็ นางพมิ ลม้ ปว่ ยลง จงึ หาหมอหลาย
คนมารกั ษา อาการกไ็ มด่ ขี น้ึ กไ็ ดไ้ ปหา “ขรวั ตาจ”ู วดั ปา่ เลไลยก ์
เล่าเร่ืองนางพิมให้ฟัง ขรัวตาจูจับยามดูแล้วบอกว่า ขณะน้ี
“นางพมิ ” มเี คราะหร์ า้ ย หากไมจ่ ากผวั กจ็ ะตาย ควรจะเปลยี่ น
ช่ือเสยี ใหมว่ ่า “วนั ทอง” โรคภยั และเคราะห์ร้ายกจ็ ะหมดไป

166  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดป่าเลไลยกว์ รวหิ าร

“ครานั้นจึงท่านขรวั ตาจู พิเคราะห์จบั ยามดูหาช้าไม่

ครั้นดูรปู้ ระจกั ษก์ ็ทกั ไป ออพิมพิลาไลยนีเ่ คราะหร์ ้าย

มันตกลงที่นงั่ นางสีดา เมอื่ ทศพักตรล์ กั พาไปสญู หาย

ถา้ แมน้ ไมจ่ ากผวั ตวั จะตาย ถ้ายกั ยา้ ยแกไ้ ขไม่เปน็ ไร

ผลัดชื่อเสียพลนั ว่าวันทอง จะครอบครองทรพั ยส์ ินท้ังปวงได้

โรคนั้นพลนั จะคลายหายไป หาบรรลยั ไม่ดอกสกี ายาย..”

นางศรปี ระจนั จงึ ใหจ้ ดั พธิ รี บั ขวญั “นางพมิ ” แลว้ เปลย่ี น
ชอื่ ใหมว่ า่ “วนั ทอง” อาการไขก้ ค็ อ่ ยหายกนิ ขา้ วกนิ ปลาไดด้ งั เดมิ  
ท่ีหายไข้เป็นเวลาท่ีต้องหายเหมาะกับเวลาตามค�ำท�ำนายพอดี 
“ขรวั ตาจ”ู รสู้ ถติ จิ งึ ให้ “เปลย่ี นชอ่ื ” เสรมิ สรา้ งก�ำลงั ใจประกอบ 
ความหมายของชอื่ เดมิ “พมิ พลิ าไลย” คอ่ นขา้ งไปทางเจบ็ ปว่ ย
เสยี หาย เมอื่ ใช้ “วนั ทอง” ความหมายผอ่ งอ�ำไพเหมาะสม ทงั้
ค�ำพยากรณ์ และความจริง

จากบทกลอนดังกล่าวจะเห็นได้ว่าวิชาหมอดูที่ขรัวตาจู
ใช้ ค�ำวา่ มนั ตกลงท่นี ั่งนางสดี า “ท่นี ง่ั นางสดี า” มอี ยใู่ นต�ำรา
โบราณทเ่ี รยี กวา่ “ฉตั รสามชน้ั ” ใชท้ ายโชคเคราะหแ์ บบกวา้ งๆ
คอื ทายอายุ ในรอบหนง่ึ ปี แบง่ เปน็ สามชว่ งๆ ละสเ่ี ดอื น หมอดู
โบราณใชร้ ว่ มกับเลขเจ็ดตัว

“ฉตั รสามชั้น”

“ฉตั รสามชนั้ ” เปน็ ศาสตรโ์ บราณ จะพยากรณช์ ว่ งเดอื น 
เปน็ หลกั ค�ำท�ำนายใชเ้ ชน่ เดยี วกบั ต�ำราพรหมชาติ เปน็ บทกลอน 

สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยก์วรวิหาร  •  167 

จากตัวละครเรื่องรามเกียรติ์ในการอธิบายเรื่องราวเหตุการณ์
ท่ีจะเกิดข้ึน วิธีใช้ คือ ถ้าอยากจะดูเคราะห์ของตนว่าดีร้าย
อย่างไรในปีน้ี ท่านให้ดูต�ำราฉัตรสามช้ัน ฉัตรสามชั้น ต�ำรา
พรหมชาตฉิ บบั สมบรู ณ์ โดยส�ำนกั พมิ พ์อ�ำนาจสาสน์ มดี งั น้ี

ภาพ วงรอบ ฉตั รสามช้นั

วธิ กี ารคอื ให้ “นบั อาย”ุ ของเจา้ ชะตาไดเ้ ทา่ ไหรใ่ หล้ ดลง
เสยี ปหี นง่ึ คอื “นบั อายเุ ตม็ ” ไมน่ บั อายยุ า่ งเชน่ ๒๔ ปี ๔ เดอื น
คืออายุยา่ ง ๒๕ ปี แตล่ ดลง ๑ ปี คอื ใชน้ บั ๒๔ ปี

ถ้า “เจ้าชะตาเป็นชาย” ให้นับพระรามขึ้นต้นเวียนไป
ทางพมิ พสิ าร

ถา้ “เจา้ ชะตาเปน็ หญงิ ” นบั สดี าขน้ึ ตน้ เวยี นไปทางสดายุ
นบั ชอ่ งละหน่งึ ปี เวียนเรอ่ื ยไป จนเทา่ อายขุ องเจา้ ชะตา

168  •  สมโภชพระอารามหลวง ครบ ๑๐๐ ปี วัดปา่ เลไลยกว์ รวิหาร

สทิ ธกิ ารยิ ะ ถา้ อยากจะดเู คราะหข์ องตนวา่ ดรี า้ ยอยา่ งไร
ในปนี ้ี ทา่ นใหด้ ตู �ำราฉตั รสามชนั้ นอี้ ายไุ ดเ้ ทา่ ไร ใหล้ ดเสยี ปหี นง่ึ
ผชู้ ายนบั พระรามขึน้ ตน้ เวียนไปทางพมิ พิสาร

ผหู้ ญงิ นบั สดี าขนึ้ ตน้ เวยี นไปทางสดายุ ทา่ นใหน้ บั ชอ่ งละ
ปี เวยี นเรอ่ื ยไปจนเทา่ อายขุ องตน เมอื่ ตกชอ่ งใด เปน็ เลขตวั ใด
ใหด้ ตู ามฝอยนน้ั

อนึ่ง ปหี น่งึ ท่านแบ่งเป็นเลข ๓ ตัวๆ ละ ๔ เดือน คอื
เดอื น ๕-๖-๗-๘ ส่ีเดือนน ี้ เอาเป็นเลขตัวใน
เดอื น ๙-๑๐-๑๑-๑๒ ส่ีเดอื นน ้ี เอาเปน็ เลขตัวกลาง
เดือน ๑-๒-๓-๔ ส่เี ดือนน้ ี เอาเป็นตวั เลขตวั นอก

เวลาดูเป็นเดอื นใด จงทายตามฝอยของเลขตัวนัน้ เถิด

พระรามตวั ใน -๒

“ศศธิ รทีอ่ ย่บู รู พาทศิ ตัวเปน็ แนบชิดพิสมยั

พระรามยกศลิ ป์ชัยไดด้ ังใจ เป็นลาภใหญจ่ รงิ ๆ ทกุ ส่ิงดี

ทายว่าจะไดช้ มสมสมร ประคองนอบแนบหนา้ มารศรี

ท้ังเงินทองเส้อื ผ้าบรรดามี พวกพราหมณช์ ีผใู้ หญ่จะใหม้ า

แม้นจะมีท่ไี ปไกลประเทศ ของวเิ ศษจะได้ดงั ใจหา

แมน้ อยทู่ ่ีทำ� ไร่และไถนา จะดกี วา่ เขาอ่นื สักหมน่ื พนั

ขอ้ ว่า “จะไดช้ มสมสมร.... ถ้าหญิงจะได้คูค่ รอง”


Click to View FlipBook Version