International E x h i b i t i o n การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ ระดับนานาชาติ งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย ของคณะศิลปวิจิตร Academic Documentation of a Creative Work
บทความวิชาการประกอบผลงานสร้างสรรค์ การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ระดับนานาชาติ งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย ของคณะศิลปวิจิตร โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 : กิจกรรมที่ 2 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ระดับนานาชาติ งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย “สืบศิลป์ สร้างสรรค์ บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่แดนดินถิ่นบูรพา” ของคณะศิลปวิจิตร
สารจากคณบดีคณะศิลปวิจิตร การสืบทอด พัฒนาและสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมไทย ในงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย “สืบสาน สร้างสรรค์บัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่แดนดินถิ่นบูรพา” ภายใต้โครงการนิทรรศการทางวิชาการและการ แสดงทางศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ณ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี ระหว่างวันที่ 14 - 15 มกราคม 2566 นั้น เป็นเวทีที่หน่วยงานในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีโอกาส แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และปลูกฝังให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่า ของศิลปวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับท้องถิ่นและ ประเทศชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ภูมิสังคม ภูมิปัญญาและภูมิวัฒนธรรมของท้องถิ่น อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าความประณีตและงดงาม นิทรรศการทางวิชาการและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมด้านทัศนศิลป์นั้น ดำเนินการโดย คณะศิลปวิจิตรร่วมกับวิทยาลัยช่างศิลป วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราชและ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีจัดนิทรรศการผลงานทางทัศนศิลป์ระดับนานาชาติ (International Visual Arts Exhibition 2023) ซึ่งได้รับความสนใจจากศิลปินทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจำนวนมากให้เกียรติส่ง ผลงานสร้างสรรค์มาร่วมแสดงในนิทรรศการและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางทัศนศิลป์ระหว่างกัน ซึ่งจะ เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสืบสานและสร้างสรรค์งานศิลป์อันงดงามและมีคุณค่าสืบต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญพาด ฆังคะมะโน คณบดีคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ (Peer Reviewers) Mr.Somsak Chowtadapong National Artist for Visual Arts (Painting) อาจารย์สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) Associate Professor Dr. Chaiyasit Dankittikul Expert Evaluator for Architecture รองศาสตราจารย์ดร. ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ Associate Professor Prasert Pichayasoonthorn Expert Evaluator for Visual Arts รองศาสตราจารย์ประเสริฐ พิชยะสุนทร ผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนศิลป์
สารบัญ 1. สายใย ผูกพัน กลมเกลียว 2…………………………………………………….……………………….……………….……..1 กันฐิมา แสงอรุณ 2. แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับแบรนด์เมืองจังหวัดนครปฐม………………………….…….…....5 กิตติ คล้ายเอม 3. ดอกไม้ผลิบานแห่งการอิงอาศัย…………………….………………….………………….………………….………………14 เกษกานต์ รัตนเชาว์ 4. “ปลาของฉัน”..………………………………………………………………………………………………………...…..……..21 โกเมศ คันธิก 5. ศิลปะการถักโครเชต์ : ความเบิกบานในโลกแห่งธรรมชาติ..………………………………………………………..25 ขวัญใจ พิมพิมล 6. บันทึก . ผนึก . ผสาน.........…..………………………………………..………………………………………………........31 จตุรพร เทวกุล 7. ประติมากรรมแกะสลักหินโดยใช้เครื่องมือจับจุด…………………….………..………….……………………….…..36 จีระชน บุญมาก 8. การสร้างสรรค์โครงการออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่การเรียนรู้สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อ สร้างสรรค์………………………………..………………………………………………………………………………..………..43 ชนัส คงหิรัญ 9. การสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง สะท้อนสภาวะจิตใจที่ได้รับผลกระทบจากอดีต “ความ ปรารถนา”…………………………………………………………………………………………………………………………..51 ชุติมา พรหมเดชะ, ญาณี พรหมเดชะ 10. เศษซากขยะจากเทคโนโลยีที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล.……………………………………………….59 ชูเกียรติ สุทิน 11. การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลาย……………………………………………………………………….………….………..67 ฐิตา ครุฑชื่น 12. ความทรงจำสีขาว จากโครงการ ภาพสะท้อนสังคม ฟาสต์แฟชั่น……………………………..…….….……..73 ดวงหทัย พงศ์ประสิทธิ์ 13. แสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์………………………………………………………………………………………..………..79 เด่น หวานจริง 14. กินรีของฉัน หมายเลข ๕…………………………………………………………………………………………….………..85 โดม คล้ายสังข์ 15. การออกแบบร่างภาพประกอบหลักสื่อประชาสัมพันธ์สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์….………………….…………………………………………………..…..93 ทนงจิต อิ่มสำอาง
สารบัญ (ต่อ) 16. ประชาธิปไตยเป็นเหตุ…………………………..…….……………………………………….……….…………………..102 ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล 17. ความงามในธรรมชาติ………………..……………………………………………..………………….……………………111 ทัศนีย์ รุ่งทวีชัย 18. สังคมเดรัจฉาน……………………………………………………………….……………………..………………………….115 ธีระวุฒิ เนียมสินธุ์ 19. “ตรัสรู้” (แรงบันดาลใจจากตักศิลา)………………………….……………..………………..……………………….121 นที ทับทิมทอง 20. สนทนากับตัวเอง……………………………………………….………………………………………….………..………..127 นภพงศ์ กู้แร่ 21. เมื่อสิ้นเดือนกันยายน………………………………………………………………………………………………………...133 นิตยา สีคง 22. สีสันของรูปทรงใต้สำนึก…………….…………………………………………………………………….………………..136 บุญฤทธิ์ พูนพนิช 23. เส้น จังหวะผ่านภาษากาย……………………………………………………………….……….………………………..141 ปภณ กมลวุฒิพงศ์ 24. บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19…………………………………148 ปรานต์ ชาญโลหะ 25. “สมถะ ธรรมชาติ”……………………..…………………………………………………………………………………….155 ป่านทิพย์ พัฒรชนม์ 26. การสร้างสรรค์ช่อลายกระหนกจากศิลปะอยุธยา…………………………………………….…..……..…..……..160 แผน เอกจิตร 27. การสร้างสรรค์งานออกแบบตกแต่งภายในห้องพักอาศัย แนวคิด “การสะท้อนตัวตนแห่งผู้เป็นเจ้าของ ที่พักอาศัย” ณ เวอร์ทิค คอนโดมีเนียม….………….………………….……………..……………………………..167 พงศพัศ บัวแก้ว 28. สุนทรียภาพจากเรื่องราวในอดีต…………………………………………………………………………………….......174 พณิช ผู้ปรารถนา 29. มีมฮิตที่ระบาดในช่วงโควิด-19 กับงานศิลปะมาสเตอร์พีซมาสู่ฉัน……………..…………………………….179 พัชรินทร์ อนวัชประยูร 30. เรือนร่างแห่งอิตถีเพศ......………………………………….…………………………….……..……………….…………185 พิทวัล สุวภาพ 31. ยามเช้า..……………………………………….…………………………………………………….…………………………..191 พิเศษ โพพิศ
สารบัญ (ต่อ) 32. เวลาของการจากไป…….……………………………………………………………….…..……………………….………194 พิษณุ ศรีไหม 33. สีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช…………………………………………………..………………………….……….…199 พีรวัฒน์ อินนุพัฒน์ 34. บทกวีในเดือนกรกฎาคม…………..…………….…………………………………………………………….……………206 ภัทรพร เลี่ยนพานิช 35. จิตรกรรมปักอิสระร่วมกับงานปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ดอกไม้…….……………………………………………………………………………………………………………….……..211 เมตตา สุวรรณศร 36. “save”.........................…….…………………………………………….………………………………………………..220 วณิชยา นวลอนงค์ 37. จิตรกรรมบนผ้าปาเต๊ะจากอัตลักษณ์วิถีชีวิตภาคใต้………………………………………………….….………..226 วรรณวิสา พัฒนศิลป์ 38. ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น................…..……………………………………………….………..233 วิทยา ชลสุวัฒน์ 39. วาดเส้นสร้างสรรค์ : ทิพยนาฏศิลป์ไทย….………………………………………………………….…….….………239 วิศิษฐ พิมพิมล 40. รูปเหมือนตัวเองในเดือนตุลาคม ๒๕๖๕……………………………….…………….……………….………….……244 วิสุทธิ์ ยิ้มประเสริฐ 41. ประติมากรรมเคลื่อนไหวจากขยะเทคโนโลยี…………..…………………………….……………………………...251 วิสูตร แสงศิริ 42. วาดเส้นสื่อผสม : การเชื่อมโยง ทัศนคติ ความเชื่อ และห้วงคำนึง ด้วยสัญลักษณ์ของภาพร่างและ กายวิภาคของศิลปะในโลกยุคดิจิทัล………………………………………………………………………..…..……..257 ศักดิ์ชาย บุญอินทร์ 43. ลดาอยากได้ชุดโกโกวา….………………….……………………………………………………………………..………..269 ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร 44. รูปร่างผสม…..…….…….……………………………………………………………………….……………………………..276 ศิพพร สุนทระศานติก 45. เปราะบาง………………….……………………………………..……………………………………………………...........280 ศิริกานต์ ยืนยง 46. ข้าวห่อกะเหรี่ยง…………………………………..…………………..…………………………………….…………………286 ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ
สารบัญ (ต่อ) 47. Waiting At Sichon………………………………………………………………..………………..……………………..297 ศุภชัย ระเห็ดหาญ 48. “ภาพนี้ดีมีแต่ความสุข”………….………………………..………………………………………………………………..301 สิริทัต เตชะพะโลกุล 49. ท่ามกลาง……………………………………………….……….………………………………………….…………………...309 สิริรัตน์ พฤกษากร 50. ความสว่าง…………………………………………………………………………………………………………..…………..312 สุกิจ ชูศรี 51. จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ทางเข้าตลาดสำเพ็งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน………..…………………..318 สุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ 52. นกคู่ในหมู่บุฟผา......……………………..……………………….…………………..……………………………………..325 สุธินี ทิพรัตน์ 53. โรคติดต่ออุบัติใหม่..................………………………………………………………………………….………….……..330 สุพรรณิการ์ ติรณปริญญ์ 54. จังหวะของสี…………………………………………………………………………………………………….………….…..339 สุวดล เกษศิริ 55. สีสันและลวดลายจากเครื่องแต่งกายโนรา…………………………………………………………………………….344 โสภิต เดชนะ 56. ลูกสาวและผองเพื่อน.....................................................................................................................348 เอกชัย ปราบปัญจะ 57. เสียงกระซิบจากใต้ทะเล…………………..……………………………………………………………….………….…...351 โอภาส นุชนิยม
1 สายใย ผูกพัน กลมเกลียว 2 Filament- bound- united กันฐิมา แสงอรุณ, Kantima Sangaroon วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat College of fine art, Nakhon Si Thammarat Province. E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ความผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเล ทำการประมงแบบพื้นบ้านเพื่อ เลี้ยงชีพ ความเป็นอยู่ที่อบอุ่นเรียบง่าย การพึ่งพาของกลุ่มคนและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ได้ซึมซับมาตั้งแต่เยาว์วัย ก่อเกิดจินตนาการกับบริบทเหล่านั้น ซึ่งเป็นที่มาของแรงบันดาล ใจในการสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างสรรค์ ผลงาน สายใย ผูกพัน กลมเกลียว มีแนวคิดจากความรักความผูกพันของ กลุ่มคน ชายฝั่งทะเล ที่มีความเป็นอยู่ผูกพันกับการทำประมงเพื่อเลี้ยงชีพ บรรยากาศการเคลื่อนไหวของคลื่นน้ำทะเล และจินตนาการจากรูปทรงเครื่องมือทำการประมงพื้นบ้าน ด้วยเทคนิค การถัก เย็บ ผูกมัด โดยนำหลักการ ทัศนธาตุ ในสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบสื่อผสมเชิงสัญลักษณ์แสดงออกถึงความรู้สึกผูกพัน มิตรภาพ ความ อบอุ่นตามจินตนาการของข้าพเจ้า ในการสร้างสรรค์ผลงานมุ่งเน้นให้ผู้พบเห็นเกิดความสุนทรียและจิตนาการร่วม การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ ข้าพเจ้าได้ศึกษาองค์ความรู้ทดลองเทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์และ นำไปพัฒนาสุนทรียภาพด้านศิลปะ หรือต่อยอดพัฒนาแล้วความคิด เพื่อพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์ในครั้ง ต่อไป คำสำคัญ: สายใย, กลมเกลียว Abstract Ties with the way of life of the family live by the sea Doing traditional fishing for a living simple warmth The dependence of people and the coastal environment environmental atmosphere It is something that has been absorbed since childhood. create imagination in those contexts which is the source of inspiration for creating works Creativity, works, bonds, ties, harmonious concepts of love and attachment. coastal group whose livelihoods are tied to fishing for a living The movement of sea waves and imagination from the shapes of local fishing tools using techniques of knitting, sewing, and binding by applying the principles of visual elements in the creation of symbolic mixed media
2 It expresses a feeling of attachment, friendship, warmth as I imagined. In the creation of works, focusing on giving the audience a sense of aesthetics and collective imagination. the creation of this piece I have studied the body of knowledge Experiment with creative process techniques and use them to develop artistic aesthetics. or further developed ideas to develop creative works in the next Keywords: fiber, spiral 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเล ทำการประมงแบบพื้นบ้านเพื่อเลี้ยงชีพ เป็นสิ่ง ที่พบเห็นมาตั้งแต่เยาว์วัย ความเป็นอยู่ที่อบอุ่นเรียบง่าย การพึ่งพาของกลุ่มคนและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล เป็นสิ่งสร้างความรักความผูกพันให้ข้าพเจ้าได้ซึมซับสายใยความผูกพันนั้น มีความประทับใจในการเคลื่อนไหวของคลื่นของทะเล และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในเกลียวคลื่นนั้น ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในจินตนาการ การสร้างสรรค์ผลงาน โดยต้องการเสนอเชิงสัญลักษณ์ความ รักความ ผูกพันของคนชายฝั่งทะเล สร้างสมดุลระหว่างความเป็นอิสระและความผูกพันกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล การสร้างสรรค์ผลงานสื่อผสม โดยใช้เทคนิคการถัก เย็บ มัด ผูกเส้นเชือกธรรมชาติ จัดวาง โครงสร้าง รูปทรงอิสระ คล้ายเกลียวคลื่นเป็นจังหวะและทิศทางของเส้นอิสระ มีน้ำหนักอ่อนแก่ของสีสื่อสัญลักษณ์กลุ่ม คนชายฝั่งทะเลด้วยผ้าปาเต๊ะ สร้างจินตนาการ เรื่องราวจังหวะการเคลื่อนไหว ในการจัดองค์ประกอบของ ผลงานสร้างสรรค์นี้ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ความผูกพันของกลุ่มคนหรือชาวบ้านที่อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลในภาคใต้ อันแสนอุดมสมบูรณ์ ทำประมง พื้นบ้าน กล่าวถึงห้วงหนึ่งที่มีความผูกพันของข้าพเจ้ากับพื้นที่และญาติพี่น้องที่เติบโตมาด้วยกันในวัยเยาว์ เป็น ช่วงเวลาที่ผูกพันและอบอุ่นมาจวบปัจจุบัน จากการได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อการสร้างรูปแบบและ แนวทางในการสร้างสรรค์ได้ตรงตามความมุ่งหมายในการแสดงออก โดยทัศนคติที่สำคัญและมีความคิดเห็น สอดคล้องด้วย คือ ศิลปะต้องแสดงออกทางความคิดความรู้สึก ส่วนที่อยู่ภายในของชีวิตออกมา สะท้อน แนวคิดแง่มุมทางด้านชีวิตและธรรมชาติโดยข้าพเจ้าต้องการสื่อให้เห็นถึงทั้งส่วนของความผูกพันของกลุ่มคน และความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล อัตลักษณ์ความเป็นพื้นฐานภาคใต้ โดยสร้างสรรค์ผลงานใน รูปแบบสื่อผสมเชิงสัญลักษณ์ นำทัศนธาตุเป็นสื่อ ความผูกพันของกลุ่มคนการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ โดย กำหนดให้รูปแบบผลงานศิลปะเกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ก่อเกิดสุนทรียภาพ ความสวยงามผู้พบ เห็น
3 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ในการสร้างสรรค์ ผลงาน สายใย ผูกพัน กลมเกลียว ได้ศึกษาข้อมูลเรื่องราวจากแรงบันดาลใจ จากสิ่ง ที่พบเห็นมาตั้งแต่วัยเยาว์ วิถีชีวิตผู้คนริมชายฝั่งทะเลที่พึ่งพาการทำประมงพื้นบ้านเพื่อเลี้ยงชีพ ความผูกพัน ของกลุ่มคนกับทะเล ก่อเกิดเป็นสายใย ความรัก ความผูกพันเชื่อมโยงจากรุ่นสู่รุ่น ใช้วัสดุแทนสื่อเรื่องราว ผลงานในรูปแบบสื่อผสม เทคนิคการผูกมัด ถักทอ เย็บ มาเป็นผลงานสร้างสรรค์ 3.1 ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแรงบันดาลใจ 3.2 สร้างภาพร่างแนวความคิด 3.3 ทดลอง รวบรวมวัสดุที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ 3.4 ปฏิบัติงานผลงานสร้างสรรค์ ในรูปแบบสื่อผสม 3.5 เก็บรายละเอียด ตกแต่งให้สมบูรณ์ 3.6 เผยแพร่ในนิทรรศการแสดงผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ผลงาน สายใย ผูกพัน กลมเกลียว 2 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์กันฐิมา แสงอรุณ (Kantima Sangaroon) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ภาพที่ 1 ไซ เครื่องมือประมงพื้นบ้าน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 ภาพที่ 2 ไซ เครื่องมือประมงพื้นบ้าน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564
4 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงาน สายใย ผูกพัน กลมเกลียว ต้องการแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และความผูกพันในการดำเนินชีวิตตามแนวทางของวิถีชีวิตชายฝั่งทะเล แสดงความหมายในเชิง สัญลักษณ์สะท้อนถึงความผูกพัน ระหว่างกลุ่มและพื้นที่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ นำพาชีวิตไปสู่ความสุข การ ดำรงอยู่ของคนรุ่นหลัง ซึ่งแสดงออกด้วยรูปทรงสัญลักษณ์ที่มีความสอดคล้องกับแนวความคิดและความมุ่ง หมายในการสร้างสรรค์ถึงความผูกพันของกลุ่มคนกับธรรมชาติการสร้างสรรค์ผลงานสื่อผสม 5. สรุป การสร้างสรรค์ ผลงาน สายใย ผูกพัน กลมเกลียว มีแนวคิดจากความรักความผูกพันของ กลุ่มคน ชายฝั่งทะเล ที่มีความเป็นอยู่ผูกพันกับการทำประมงเพื่อเลี้ยงชีพ บรรยากาศการเคลื่อนไหวของคลื่นน้ำทะเล และจินตนาการจากรูปทรงเครื่องมือทำการประมงพื้นบ้าน โดยนำหลักการทัศนธาตุ ในสร้างสรรค์ผลงาน รูปแบบสื่อผสมเชิงสัญลักษณ์ แสดงออกถึงความรู้สึกผูกพัน มิตรภาพ ความอบอุ่นตามจินตนาการของข้าพเจ้า ในการสร้างสรรค์ผลงานมุ่งเน้นให้ผู้พบเห็นเกิดความสุนทรียและจิตนาการร่วม เอกสารอ้างอิง กันฐิมา แสงอรุณ. (2556). สายใยแห่งรากเหง้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร
5 แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับแบรนด์เมืองจังหวัดนครปฐม Guidelines for designing a logo for Nakhon Pathom province's city branding กิตติ คล้ายเอม, Kitti Klai-em สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ ภาควิชาการออกแบบ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เลขที่119/10 หมู่3 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล นครปฐม 73170 Computer Graphic and Creative Media Design Program, Department of Design Faculty of Fine Arts 119/10 moo 3 Salaya, Phutthamonthon District, Nakhon Pathom Province 73170 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ จังหวัดนครปฐมมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี ส่งผลให้จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัด ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมโบราณและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ ท่องเที่ยวโบราณสถาน นอกจากนี้จังหวัดนครปฐมก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจนอกจากวัดมากมายไม่ว่าจะ เป็นตลาดน้ำโบราณ, พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงผลงานศิลปะแขนงต่าง ๆ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์และร้านอาหารประจำ ท้องถิ่น จึงมีศักยภาพที่เพียงพอในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้วยในปัจจุบันแนวคิดการสร้าง แบรนด์เมือง (City Branding) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางในการสื่อสารของเมือง ทำให้ เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานออกแบบสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการ ขับเคลื่อนและพัฒนาในด้านการสื่อสารภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐมด้วยแนวคิดการสร้าง แบรนด์เมือง ผ่านตราสัญลักษณ์ใหม่ของเมืองที่มีลักษณะการนำอัตลักษณ์ของเมืองคือพระปฐมเจดีย์ที่เป็น แลนด์มาร์กมานำเสนอใหม่เพื่อสร้างภาพลักษณ์และภาพจำ โดยการสื่อสารผ่านสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่าง ชัดเจนและการทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ เพื่อรวมทั้งเกิดการรับรู้ในวงกว้าง คำสำคัญ: การออกแบบ, ตราสัญลักษณ์, แบรนด์เมือง Abstract Nakhon Pathom Province has a long history since the Dvaravati period. As a result, Nakhon Pathom is a province full of ancient culture and interesting historical stories. Suitable for those who like to travel to ancient sites. In addition, Nakhon Pathom Province also has interesting tourist attractions besides many temples, such as ancient floating markets, a museum that showcases a wide range of art pieces as well as local products and restaurants. Therefore, it has sufficient potential to be a cultural tourist attraction. The current concept of
6 city branding is very important in determining the direction of the city's communication, resulting in inspiration for creating creative designs. The purpose is to be a guideline to drive and develop the communication of tourism image in Nakhon Pathom Province with the concept of building a city brand. Through the new city, the identity of the city, the landmark Phra Pathom Chedi, is presented to create a new and memorable image. Communicating through the media clearly to the target group and activities to create interaction. to include wide awareness Keywords: Design, Logo, City Branding 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา นครปฐมเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นเมืองเก่าแก่มีความ เจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิและเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดีในยุคนั้นนครปฐมเป็นแหล่ง เผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชน ชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย ในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ทรงปฏิสังขรณ์ สิ่งต่างๆในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้อยู่ในสภาพดีภายหลังครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า ตลอดจนสร้าง พระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่ เห็นอยู่ในปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม” ปัจจุบันนครปฐมได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ หลากหลาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่เป็นโบราณสถาน และวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารในท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะตัว ได้ยังเป็นจังหวัดที่อยู่ชานเมืองกรุงเทพฯทำให้สามารถสะดวกสบายต่อ การเดินทางแล้วใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และด้วยจังหวัดนครปฐมมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาให้เป็น เมืองหลวงแห่งอาหารและการท่องเที่ยว (Tourism & Food Metropolis) และส่งเสริมระบบเศรษฐกิจให้ ประชาชนมีรายได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาจังหวัดนครปฐมเป็น Smart City และเพื่อพัฒนาสู่เมืองการค้า การลงทุน การศึกษาและนวัตกรรม ที่รองรับการขยายตัวจากเมืองหลวง และเตรียมการรองรับการพัฒนา พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคกลางและภาคตะวันตก เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดนครปฐมการนำแนวคิด City Branding ที่เริ่มมีบทบาท ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้มองว่าเมืองสามารถทำให้เป็นแบรนด์ขึ้นมาได้City Branding และมักนำเสนอเอกลักษณ์เฉพาะของเมือง มีเป้าหมายเพื่อดึงดูดคนภายนอก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว รวมถึง กลุ่มคนและกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ หรืองานเทศกาล นำไปสู่การ
7 เจริญเติบโตของเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการท่องเที่ยวเป็นหลัก อย่างการใช้โลโก้I LOVE NY ในสินค้าของที่ระลึกต่าง ๆ ทั่วมหานครนิวยอร์กก็ถือว่าเป็นหนึ่งตัวอย่างของการ ผลักดันความเป็นแบรนด์ของเมือง เพื่อโปรโมตการท่องเที่ยวตั้งแต่ปี1977 หรือแคมเปญ I Amsterdam ที่ขายความเป็นเมืองสมัยใหม่ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้อาศัยใหม่ด้วยประวัติศาสตร์ที่หลบซ่อนอยู่ทุก ซอกมุม หรือแม้แต่การขายภาพความเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนระดับโลกอย่าง Amazing Thailand ดังนั้น การสร้างแบรนด์เมืองนครปฐมด้วยการออกแบบตราสัญลักษณ์ใหม่เพื่อใช้ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของจังหวัด นครปฐมเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อยอดสำหรับการพัฒนาระบบอัตลักษณ์สำหรับตราสัญลักษณ์ ที่สามารถ นำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย ได้หลายระบบทั้งในสื่อออนไลน์และออฟไลน์ในการประสัมพันธ์ สำหรับสินค้าของที่ ระลึกประจำจังหวัดเป็นต้น 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบตราสัญลักษณ์จังหวัดนครปฐมสำหรับการสร้างแบรนด์เมือง มีความจำเป็นที่จะต้องมี การศึกษากระบวนการออกแบบและประเภทของตราสัญลักษณ์เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่าง โดยเป็นการ วิเคราะห์ถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทางด้านกลยุทธ์ในการออกแบบทั้งหมดเพื่อให้ได้รูปแบบที่ เหมาะสมกับการสื่อด้านความหมาย 2.1 การออกแบบตราสัญลักษณ์ 2.1.1 ความหมายของตราสัญลักษณ์ 2.1.2 ประเภทของตราสัญลักษณ์ 2.1.3 องค์ประกอบของตราสัญลักษณ์ที่ดี 2.1.4 กระบวนการออกแบบตราสัญลักษณ์ 2.2 แนวคิดการสร้างแบรนด์เมือง 2.2.1 ความหมายของการสร้างแบรนด์เมือง 2.2.2 องค์ประกอบการสร้างแบรนด์เมือง 2.1 การออกแบบตราสัญลักษณ์ 2.1.1 ความหมายของตราสัญลักษณ์ โลโก้(Logo) หรือตราสัญลักษณ์ คือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงภาพสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ ได้แก่ สินค้าและบริษัทผู้ผลิต การออกแบบโลโก้สินค้า และบริษัทให้มีเอกลักษณ์แบบเฉพาะตนเอง จะช่วยให้มี ความน่าเชื่อถือ และตราตรึงต่อผู้บริโภคตลอดไป ดังนั้นโลโก้จึงสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ความเชื่อ ความนิยม และการจดจำเกี่ยวกับองค์กรหรือสินค้าและมันคืองานของ Designer ในการสร้างสรรค์โลโก้เพื่อวัตถุประสงค์ ดังกล่าว เพราะโลโก้นั้นไม่ได้เป็นแค่เครื่องหมายเฉย ๆ แต่โลโก้นั้นสะท้อนถึงภาพลักษณ์ในทางการตลาดของ ธุรกิจอีกด้วย
8 2.1.2 ประเภทของตราสัญลักษณ์ 1. Lettermark หรือ Monogram ใช้กับแบรนด์ที่มีชื่อยาว และต้องการย่อให้สั้น โดยใช้ตัว ย่อมาประกอบเป็นชื่อใหม่ ที่มีจำนวนตัวอักษรไม่มาก อ่านและจำได้ง่าย โดยเน้นออกแบบให้ตัวอักษรมี ลักษณะพิเศษที่ต่างจากตัวอักษรทั่วไป เพื่อเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์และเพิ่มการจดจำ 2. Wordmark หรือ Logotype ใช้ชื่อแบรนด์มาตั้งเป็นโลโก้โดยชื่อแบรนด์จะมีความสั้น และแปลกใหม่ในตัวเองอยู่แล้ว โดยไม่เน้นว่าจะต้องมีความหมายหรือใหม่ และจะเน้นออกแบบตัวอักษรให้มี ความโดดเด่นเพื่อความมีเอกลักษณ์และจดจำได้ง่ายเช่นกัน 3. Pictorial Mark หรือ Logo Symbol เป็นโลโก้ที่เอารูปสิ่งของที่มีอยู่แล้วเอามาเป็น ตัวแทนของแบรนด์ไม่มีตัวอักษรประกอบ อาจออกแบบเพิ่มเติมเพื่อทำให้มีจุดสังเกตที่แตกต่างไปจากเดิม เล็กน้อยแต่สามารถจดจำได้ง่าย โดยรูปที่นำมาใช้อาจเกี่ยวข้องหรือมีนัยยะสำคัญเชิงลึกเกี่ยวกับแบรนด์และ มักใช้โลโก้ลักษณะนี้กับแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว 4. Abstract หรือ Logo Mark โลโก้ที่นำสัญลักษณ์หรือรูปของสิ่งที่มีอยู่แล้ว มาออกแบบ ประกอบกันให้เป็นรูปใหม่ที่สื่อถึงแบรนด์ผ่านการออกแบบรูปร่าง สีและลายเส้นได้อย่างเต็มที่ จนเกิดเป็น รูปร่างใหม่ที่มีเอกลักษณ์และไม่ซ้ำใคร 5. Mascot โลโก้ที่ใช้ตัวการ์ตูนมาเป็นตัวแทน โดยมากมักออกแบบเป็นรูปร่างคน เพื่อสื่อถึง ความเข้าถึงง่าย เป็นมิตร และเข้าได้กับทุกเพศทุกวัย มักใช้กับแบรนด์ที่มีความขี้เล่นและมีความครอบครัวสูง มากกว่าแบรนด์ที่เน้นความหรูหรา ซับซ้อน หรือเชิงสังคมมาก ๆ และสิ่งที่สำคัญเมื่อออกแบบโลโก้เป็นตัว การ์ตูนจะมีรายละเอียดบางอย่างที่อาจหายไปเมื่อถูกพิมพ์ลงในบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก จะไม่สามารถเก็บ รายละเอียดได้ครบเท่ากับโลโก้แบบอื่น ๆ 6. Combination Mark โลโก้ที่นำรูปภาพและตัวอักษรของชื่อแบรนด์มารวมกัน อาจวางข้าง กัน ด้านบน ด้านล่าง หรือนำมาออกแบบรวมกันเป็นหนึ่งเดียว จุดเด่นคือสามารถมองเห็นรูปและชื่อไปได้ พร้อมกันทำให้จำได้ทั้งชื่อและรูปได้ง่ายขึ้น 2.1.3 องค์ประกอบของตราสัญลักษณ์ที่ดี 1. เรียบง่าย ไม่หวือหวา สามารถนำไปใช้ในบรรจุภัณฑ์แบบต่างๆได้ง่ายและไม่รู้สึกขัดตา 2. เหมาะสม คำนึงถึงภาพลักษณ์และวิสัยทัศน์ของตัวแบรนด์และออกแบบโดยอิงตามนั้น หากแบรนด์มีความมั่นคงและหรูหรา การออกแบบโลโก้ให้ดูน่ารักและเข้าถึงง่ายอาจไม่เหมาะสมนัก 3. ยั่งยืน มีเอกลักษณ์ของตัวเอง รวมถึงมีแก่นของการออกแบบ ไม่ออกแบบตามกระแส เพราะจะทำให้โลโก้เก่าไปตามกาลเวลา ไม่คงทนและคลาสสิก 4. มีความพิเศษ นอกจากสวยงามแล้วต้องโดดเด่น ทุกการลากเส้นต้องมีเหตุและผล แม้จะ เป็นสัญลักษณ์ง่ายๆแต่ถ้าโดดเด่นก็จะทำให้แบรนด์มีเอกลักษณ์มากขึ้น 5. จดจำได้ง่าย สามารถจดจำได้แม้จะเปลี่ยนสีย่อหรือขยาย รวมถึงเห็นแล้วต้องจำได้ใน ระยะเวลา อันสั้น
9 6. ยืดหยุ่น เข้ากันกับทุกการมีอยู่ ซึ่งถ้าออกแบบให้เรียบง่ายก็จะสัมพันธ์กันอยู่แล้ว 7. มีจุดโฟกัส มีจุดนำสายตาเพียงอย่างเดียว อาจจะนำรูปที่มีอยู่มาตัดหรือเพิ่มบางส่วนเข้าไป ให้ไม่ปกติเมื่อรู้สึกแปลกตาก็จะทำให้จดจำได้ง่ายเช่นกัน 2.1.5 กระบวนการออกแบบตราสัญลักษณ์ 1. เข้าใจแบรนด์อย่างถ่องแท้ รวบรวมความรู้จากการหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ นำมา ประมวลผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจแบรนด์ว่าแบรนด์ควรมีบุคลิกลักษณะ หรือมีจุดเด่นอะไรก่อนการออกแบบ 2. หาข้อมูลจากกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน ว่าลักษณะโลโก้แบบไหนที่เหมาะกับกลุ่มธุรกิจ ประเภทนี้เพื่อนำมาหาทิศทางในการออกแบบโลโก้เช่น ผลการสำรวจโลโก้ในกลุ่มประเภทธุรกิจหนึ่งออกมา ว่า ส่วนใหญ่ของโลโก้ในธุรกิจประเภทนี้ใช้สีฟ้าในการออกแบบ นักออกแบบสามารถคิดได้สองทางคือใช้สีฟ้า เหมือนกัน เพราะข้อมูลที่ได้มาแสดงว่าสีฟ้าเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีในธุรกิจประเภทนี้ หรืออาจจะใช้สีอื่นที่ แตกต่างเพื่อสร้างความแต่ต่าง 3. โลโก้ที่กำลังจะออกแบบ จะถูกนำไปใช้ที่ไหนเป็นที่หลักบ้าง เช่นนามบัตร เว็บไซต์ป้าย โฆษณา โซเชียลมีเดียเป็นต้น เพื่อคำนึงถึงขอบเขตการนำไปใช้งานก่อนทำการออกแบบ 4. ลงมือร่างแบบ หรือ Sketching การร่างแบบด้วยมือคือการถ่ายทอดไอเดียความคิด ออกมาเป็นรูปภาพ ก่อนที่จะออกแบบโดยการใช้software การออกแบบ การร่างนั้นสามรถถ่ายทอดไอเดียได้ อย่างรวดเร็วและมองเห็นความเป็นไปได้ในการออกแบบ 5. การออกแบบด้วยเครื่องมือการออกแบบ นำสิ่งที่ sketch มาปรับแต่งโดยการลองใช้สี หรือลักษณะตัวอักษรเข้ามาช่วยเสริม ให้การออกแบบโลโก้มีความลงตัว สมบูรณ์และสวยงามมากขึ้น 6. ถามความเห็นคนอื่น ถึงแม้นักออกแบบจะคิดว่าโลโก้ที่ออกแบบลงตัวแล้ว สมบูรณ์แบบ แล้ว แต่ความคิดเห็นคนอื่นก็สามารถเปิดมุมมองให้เกิดการพัฒนา อุดรูรั่ว ให้เกิดความมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น 7. เช็คความเรียบร้อยก่อนจบงาน Final File ควรจะสมบูรณ์แบบในทุกรายละเอียด โดย คำนึงถึงการนำไปใช้งานของผู้ที่ใช้ต่อ เช่นการเตรียมโลโก้ในแนวตั้ง แนวนอน สีดำ สีขาว เป็นต้น 2.2 แนวคิดการสร้างแบรนด์เมือง 2.2.1 ความหมายของการสร้างแบรนด์เมือง การสร้างแบรนด์เมือง (หรือที่เรียกว่าการสร้างตราสินค้าเมือง) หมายถึงกิจกรรมทั้งหมดที่ ดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนเมืองจากที่ตั้งเป็นจุดหมายปลายทาง "การสร้างแบรนด์ที่ประสบ ความสำเร็จ โรเบิร์ต โจนส์ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาของ Wolff Olins บริษัทที่ปรึกษาด้านแบรนด์ระดับ นานาชาติกล่าว "สามารถเปลี่ยนเมืองให้กลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนต้องการอยู่อาศัย ทำงาน และเยี่ยมชม" การ สร้างแบรนด์ในเมืองมักจะสับสนกับการตลาดในเมือง ทั้งสองต่างกันในข้อเท็จจริงที่ว่าการตลาดใช้ความ ต้องการของผู้บริโภคเป็นหลักชี้นำการดำเนินงานขององค์กร ในขณะที่ในกรณีของการสร้างตราสินค้าตาม วิสัยทัศน์พันธกิจ และ อัตลักษณ์ที่เลือกมีบทบาทเช่นนั้น
10 2.2.2 องค์ประกอบการสร้างแบรนด์เมือง การสร้างแบรนด์เมืองได้กลายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญของเมืองซึ่งมุ่งเน้นไปที่ปัจจัย การขายของเมือง การสร้างตราสินค้าของสถานที่สามารถส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองตลอดจน ปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือน Sebastian Zenker รองศาสตราจารย์จาก Copenhagen Business School กล่าวว่า "เป็นการจัดการตามแผนเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง เปลี่ยนแปลง หรือสร้างแบรนด์ สถานที่ในใจผู้บริโภคสถานที่นั้น" ดังนั้นการสร้างแบรนด์จึงขึ้นอยู่กับคุณค่าที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างขึ้นจาก คุณภาพของสถานที่ แนวทางของรัฐบาลในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของเมือง และความหลากหลายของ พลเมืองพร้อมกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของพวกเขา เมืองมีหลายมิติและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อสร้างความรู้สึกของสถานที่ในเมือง ปัจจัย 3 ประการมีความสำคัญเท่าเทียมกัน นั่นคือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของเมือง การสร้างเอกลักษณ์ของ สถานที่และการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน ปัจจัยเหล่านี้พึ่งพาซึ่งกันและกันในการเสริมสร้างความ แข็งแกร่งให้กับความพยายามในการสร้างแบรนด์และการสร้างสถานที่เชิงกลยุทธ์ตลอดจนการรักษาความทรง จำในตัวเครื่องไว้สามารถเป็นองค์ประกอบหลักในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ภาพที่1 แนวความคิดเรื่อง Sense of Place ที่มา : https://www.re-thinkingthefuture.com/city-and-architecture 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ แรงบันดาลในการสร้างสรรค์ (Inspiration) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการสร้างแบรนด์เมืองและรวบรวมผลงานออกแบบตราสัญลักษณ์เมืองที่ ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์จากหลากหลายประเทศ ศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์, ด้านการ ท่องเที่ยว, ด้านศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมและยุทธศาสตร์ของจังหวัดในอนาคต ค้นหา อัตลักษณ์ประจำจังหวัด ภาพที่2 แรงบันดาลใจจากการออกแบบตราสัญลักษณ์เมือง ที่มา : https://www.cea.or.th/th/single-research/city-branding
11 ภาพที่3 แรงบันดาลใจและแนวคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์จากอัตลักษณ์จังหวัดนครปฐม 1. แบบร่างผลงานภาพประกอบ ภาพที่4 การทำแบบร่างตราสัญลักษณ์ด้วยมือ 2. แบบร่างผลงานภาพประกอบ ภาพที่5 กระบวนการสร้างแบบร่างบนคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator 3. ผลงานออกแบบตราสัญลักษณ์จังหวัดนครปฐม ภาพที่6 ตราสัญลักษณ์จังหวัดนครปฐมที่เสร็จสมบูรณ์ และแนวทางการใช้สี
12 ภาพที่7 การประยุกต์ใช้ตราสัญลักษณ์กับสินค้าของที่ระลึก 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานการออกแบบตราสัญลักษณ์จังหวัดนครปฐม ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากแนวคิด การพัฒนาแบรนด์เมือง (City Branding) จากหลากหลายประเทศ ที่ผ่านแนวคิดด้านนโยบายและอัตลักษณ์ สำคัญของเมืองเหล่านั้น และจากวัตถุประสงค์ในการออกแบบตราสัญลักษณ์ให้สื่อสารความเป็นตัวตนของ เมืองนครปฐมพบว่าอัตลักษณ์ความเป็นจังหวัดนครปฐมที่มีความชัดเจนที่สุดคือ องค์พระปฐมเจดีย์อยู่ภายใน วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร มีประวัติความเป็นมายาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าและ องค์พระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 ของ ประเทศไทย ถูกเลือกมาเป็นแนวทางในการพัฒนาแบบร่างตราสัญลักษณ์ภาพพระปฐมเจดีย์ได้รับการตัดทอน รายละเอียดต่างๆให้เป็นรูปทรงที่เรียบง่าย แต่ยังคงสาระสำคัญคือจุดเด่นที่เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำในรูปแบบ ของสัญลักษณ์ ภายใต้แนวคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์ และเลือกใช้รูปแบบตราสัญลักษณ์แบบผสม (Combination Mark) ประกอบด้วยสัญลักษณ์ (symbol) และตัวอักษร โดยเลือกใช้ชื่อนครปฐมเป็นตัว อักษรไทยลักษณะเส้นหนาและบางที่มีความอ่อนช้อย ให้มีขนาดใหญ่สามารถอ่านได้อย่างชัดเจนถูกจัดวางไว้ เป็นฐานร่วมชื่อภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นสากลในการสื่อสาร ร่วมกับสัญลักษณ์พระปฐมเจดีย์ที่ถูกวางไว้ ด้านบนเหนือคำว่านครปฐม ภายใต้กรอบรูปทรงโค้ง โดยใช้สีสำหรับตราสัญลักษณ์เพียง 2 สี คือ เหลืองและ ดำเป็นหลัก สีดำถูกวางบนพื้นที่สีเหลืองเหมือนกับงานลงรักปิดทองที่เป็นงานศิลปะไทยและเพื่อให้เห็นได้อย่าง ชัดเจน เมื่อมีการย่อขนาดเล็กลง และมีความยืดหยุ่นเพียงพอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสื่อต่าง ๆได้อย่างง่าย
13 5. สรุป การสร้างแบรนด์เมืองภายใต้แนวคิดการนำอัตลักษณ์ของจังหวัดนครปฐมที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่ จดจำและรับรู้ของประชาชน ได้แก่พระปฐมเจดีย์ใช้ในการออกแบบตราสัญลักษณ์จังหวัดนครปฐม นอกจาก การใช้สัญลักษณ์ที่มีการตัดทอนให้เรียบง่าย แต่มีการใช้ร่วมกับตัวอักษรชื่อจังหวัดนครปฐมทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษในรูปแบบของ Combination Mark ทำให้สามารถสื่อสารภาพลักษณ์เมืองได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ มีความร่วมสมัยและเป็นสากล เมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับสื่อประชาสัมพันธ์ทั้งในลักษณะที่เป็น ออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างแพร่หลาย ในการสร้างแบรนด์เมืองยังมีองค์ประกอบอื่นนอกเหนือจากการ ออกแบบตราสัญลักษณ์เมือง แต่ยังประกอบไปด้วยการวางกลยุทธ์และการวางแผนทางการตลาด เพื่อให้การ สร้างแบรนด์เมืองเป็นไปอย่างยั่งยืน น่าจดจำและมีประสิทธิภาพ เอกสารอ้างอิง กุณฑรี รื่นรมย์. (2558). แบรนด์องค์กรและการประเมินแบรนด์องค์กร (Corporate Brand, Success Valuation). กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป ประชา สุวีรานนท์. (2558). อัตลักษณ์ไทย: จากไทยสู่ไทยๆ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ศูนย์บันดาลไทย กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). ฝากไทย: ถอดรหัสเสน่ห์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม Bill Garner. (2013). Logo Creed. Massachusetts: Rockport Publishers Catharine Slade-Brooking. (2016). Creating a brand identity, a guide for designers. London: Laurence King Publishing Ziam Life. (2562). ๑๐๐ แรงบันดาลไทย: อัตลักษณ์เพิ่มมูลค่า. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์
14 ดอกไม้ผลิบานแห่งการอิงอาศัย The blooming flower of dependence เกษกานต์รัตนเชาว์, Katekarn Rattanachoul ที่อยู่: วิทยาลัยช่างศิลป ถนนหลวงพรต เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520, Address: College of Fine Arts, 60 Luangprot Rd., Ladkrabung, Bangkok, 10520, Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ธรรมชาติสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นและให้มีการพึ่งพาอาศัยกัน ทุกสิ่งต่างทำหน้าที่อย่างสมดุล ก่อให้เกิดความ เจริญงอกงาม สร้างความสมบูรณ์ในระบบนิเวศ ดั่งสายฝนที่ชโลมความชุ่มชื้นให้ดอกไม้เบ่งบานสะพรั่งสวยงาม และสร้างสีสันแต่งเติมบรรยากาศให้กับทิวทัศน์ท้องฟ้า ผู้สร้างสรรค์ประทับใจในความงดงามของการพึ่งพา อาศัยกันในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ อยู่อาศัยร่วมกันอย่างเกื้อหนุน จึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา โดยอาศัยลักษณะรูปทรงของดอกไม้ในอุดมคติของผู้สร้างสรรค์ ผสานกับรูปทรงอิสระของก้อนเมฆและสีสันของรุ้งกินน้ำมาเป็นรูปทรงหลักในการสร้างสรรค์ เพื่อแสดงออกถึง ความประทับใจการพึ่งพาอาศัยในธรรมชาติและเป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ตามเอกลักษณ์เฉพาะตน ด้าน เทคนิคและวิธีการ ผู้สร้างสรรค์เลือกใช้เทคนิคการเอนโกบดินสีและเคลือบหดสีขาว เผาในอุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส เพื่อสร้างความสมบูรณ์ตามแนวความคิดให้กับชิ้นงาน คำสำคัญ: ดอกไม้บาน, สายฝน, การพึ่งพาอาศัย Abstract Nature created living things to be interdependent. Everything works in balance caused prosperity build integrity in the ecosystem. Like the rain that adds moisture to the flowers to bloom beautifully and add color to the atmosphere of the sky landscape. The creator was impressed by the beauty of interdependence in nature, where things coexist in mutual support, therefore bringing it as an inspiration for creativity ceramic sculpture based on the shape of the ideal flower of the creator, combined with the free shape of the clouds and the colors of the rainbow to be the main shape in the creation. To express the impression of dependence on nature and to create a new shape according to the own identity. In technical aspects and methods, the creators chosen Engobe decorating slip technique and white crawling glaze. Then, burn at a temperature of 1,200 degrees Celsius to complete the concept of the artwork. Keywords: blooming flower, rain, Interdependence
15 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ธรรมชาติสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาให้มีการพึ่งพาอาศัยกัน ทุกสรรพสิ่งล้วนแต่อยู่เพื่อเอื้อประโยชน์ซึ่งกัน ได้แก่ เมฆ สายฝน พืชพรรณไม้ ดอกไม้เป็นต้น ทุกสิ่งต่างทำหน้าที่อย่างสมดุล ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม สร้างความสมบูรณ์ในระบบนิเวศทางธรรมชาติ เป็นดังที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จากข้างต้นที่กล่าวมา การพึ่งพาอาศัยกันในธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบของความสมบูรณ์ ดั่งสายฝน ที่ชโลมความชุ่มชื้นให้ดอกไม้เบ่งบานสะพรั่งงดงาม และสร้างสีสันแต่งเติมบรรยากาศให้กับท้องฟ้า ข้าพเจ้า ประทับใจความงดงามของการพึ่งพาอาศัยกันในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ อยู่อย่างเกื้อหนุนกัน จึงนำมาเป็นแรง บันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมในรูปแบบเครื่องเคลือบดินเผา โดยอาศัยลักษณะของ รูปทรง ของดอกไม้ในอุดมคติของข้าพเจ้าผสานกับรูปทรงอิสระของก้อนเมฆ สีสันรุ้งกินน้ำ มาเป็นรูปทรงหลักในการ สร้างสรรค์ เพื่อแสดงออกถึงความประทับใจในธรรมชาติและการพึ่งพาอาศัย เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ตามเอกลักษณ์เฉพาะตน 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม ชุดดอกไม้ผลิบานแห่งการอิงอาศัย ด้วยกระบวนการทาง เครื่องเคลือบดินเผา ผ่านรูปร่าง รูปทรง จาก ธรรมชาติ 2. เพื่อถ่ายทอดความงดงามและความประทับใจในธรรมชาติที่มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 3. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 4. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูล วิเคราะห์รูปร่างรูปทรง ของ ดอกไม้ รูปทรงอิสระของก้อนเมฆ สีสันสายรุ้ง 2. ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาแนวคิดจากธรรมชาติที่พึ่งพาอาศัย 2.1 แบบร่างสองมิติ (sketch) 2.2 ทดลองดินสี เพื่อใช้ในการเอนโกบดินสี (Engobe decorating slip) 2.3 สร้างสรรค์แบบร่างสามมิติ ธรรมชาติที่พึงพาอาศัยกัน ประทับใจในรูปทรง รูปทรง อิสระของดอกไม้ รูปทรงอิสระ เมฆ สายฝน บรรยากาศสีสัน รุ้งกินน้ำ สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม ในรูปแบบเครื่องเคลือบดินเผา ชุดดอกไม้ผลิบานแห่งการอิง อาศัย เพื่อแสดงออกถึง ธรรมชาติที่พึ่งพา อิงอาศัย เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ตามเอกลักษณ์เฉพาะตน
16 ข้อมูลภาพในการสร้างสรรค์ ภาพที่ 1 ธรรมชาติประกอบไปด้วยประกอบด้วย เมฆ ดอกไม้ หยดน้ำฝน สีสันสายรุ้ง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
17 ภาพที่ 2 ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
18 ตารางที่ 1วิเคราะห์ข้อมูลการนำไปใช้สร้างสรรค์ผลงาน ชื่อลวดลาย ภาพ การพัฒนาภาพร่าง ผลงานสร้างสรรค์ ดอกไม้เมฆ สายรุ้ง สีสัน บรรยากาศ ท้องฟ้า ที่มา: ผู้สร้างสรรค์ 5. วิเคราะห์ผลงานในการสร้างสรรค์ ด้านรูปแบบนำเสนอสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาชุดดอกไม้ผลิบานแห่งการอิง อาศัย ในการสร้างสรรค์เป็นการแสดงออกด้วยทัศนธาตุจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยผู้เขียนอาศัย รูปร่างรูปทรงจากธรรมชาติได้แก่ รูปทรงของดอกไม้ในอุดมคติที่คุ้นชิน คือ กลีบดอกมีห้ายัก ผสานกับรูปทรง อิสระของเมฆ เพื่อแสดงออกถึงงดงามและความเคลื่อนไหว เส้นใช้เส้นโค้งคลึงเป็นเส้นให้มีหลายหลากขนาดคลึงเส้นให้โค้งแสดงเห็นถึงสายฝนเส้นที่พุ่งขึ้นให้ ความหมายของการเจริญงอกงามพึ่งพิงอาศัยกัน พื้นผิวของเคลือบใส และเคลือบหดสีขาว แสดงให้เห็นถึง ความชุ่มชื่น สีใช้น้ำดินสีหลากหลายสีสัน โดยใช้เนื้อดินสีขาวผสมกับสารให้สี ได้แก่ สีน้ำเงิน ชมพู ส้ม ฟ้า ขาว เหลือง เทผสม ลงบนชิ้นงาน แสดงถึงบรรยากาศสีสันบนท้องฟ้า และใช้เทคนิคการเอนโกบทาบริเวณเส้นโค้ง แสดงถึง สีแสงของ สายรุ้ง พื้นที่ว่าง เกิดจากขนาดชิ้นงานที่มีความแตกต่างกันถูกวางซ้อนกันในทิศทางแนวตรง แสดงให้เห็นถึง ความเบา ด้านข้างของชิ้นงานเจาะรูทรงกลมให้มีขนาดที่แตกต่างกันให้อากาศถ่ายเท ให้ชิ้นงานดูไม่ทึบตัน
19 ภาพที่ 4 วิเคราะห์ผลงานในการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
20 ภาพที่5 ชื่อผลงานดอกไม้ผลิบานแห่งการอิงอาศัย เทคนิค ขึ้นรูปด้วยมือ, ดินโตนแวร์,เคลือบหดสีขาว เอนโกบดินสี1,200 องศาเซลเซียส ขนาดสูง 30 x 25 เซนติมตร ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 6. สรุป สรุปผลการสร้างสรรค์ ได้ดังนี้ได้ผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาชุด “ดอกไม้ผลิบานแห่งการอิง อาศัย” โดยได้รับความประทับใจความงดงามของการพึ่งพาอาศัยกันในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ อยู่อย่างเกื้อหนุนกัน จึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ โดยอาศัยลักษณะของ รูปทรงของดอกไม้ในอุดมคติของผู้สร้างสรรค์ ผสานกับรูปทรงอิสระของก้อนเมฆ สีสันรุ้งกินน้ำ ประกอบด้วย เส้น สี รูปร่าง-รูปทรง พื้นผิว มาเป็นรูปทรงในการ สร้างสรรค์ มีขนาดที่แตกต่างกัน จัดวางและผสานกันได้อย่างกลมกลืน จนเกิดเอกภาพ เป็นการสร้างสรรค์รูปทรง ใหม่ตามเอกลักษณ์เฉพาะตน และได้องค์ความรู้ใหม่ในกระบวนการสร้างสรรค์งานเครื่องเคลือบดินเผา สามารถนำ เทคนิคการเอนโกบไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาเครื่องเคลือบดินเผาต่อไป เอกสารอ้างอิง ชะลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน)
21 “ปลาของฉัน” “my fish” โกเมศ คันธิก, Komes Kuntig Suphanburi College of Fine Arts, 16 Ruoyai, Maung, Suphanburi, 72000, Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ งานสร้างสรรค์ชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่นำเสนอถึงความรู้สึก ความสุขที ได้รับแรงบันดาลใจจากปลาที่ฉันรัก พัฒนามาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา โดยได้รวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องจากเอกสาร ตำรา บทความ อินเตอร์เน็ต และได้นำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาตามแนวคิด การ สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมชุดนี้ พบว่า สามารถสื่อถึงวัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน ที่ตรงกับ แนวความคิด โดยชิ้นงานแต่ละชุดสามารถบ่งบอกถึง แนวความคิดของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ได้อย่างเหมาะสม และ ให้ความรู้สึกถึงอารมณ์ในความอบอุ่นที่ชัดเจน คำสำคัญ: แรงบันดาลใจจากปลาที่ฉันรัก, สู่งานประติมากรรม, เครื่องปั้นดินเผา Abstract These creations are aimed to create visual works that express feelings. It gives a feeling of warmth that is clear. In to the concept of creating pottery sculptures by collecting relevant information from documents, texts, articles, the Internet and analyzes the data. For the benefit of creative pottery design work and sculpture. The creation of this set of art works are able to convey the purpose of the creation of the work, that meets the concept. Which each set of work can indicate the concept of the creator properly and gives a feeling of the emotion in the Pleasure inspired by the fish I love. shows clearly. Key words: inspiration from fish I love, sculpture, pottery 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความรู้สึกของผู้วิจัยที่มีความรู้สึกต่อธรรมชาติ และปลาที่เป็นสัตว์เลี้ยงของฉัน เกิดจากความรักและ ผูกผันที่รักมัน ได้ดูแลเค้าทุก ๆ วัน เติบโตทุกวัน จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความ ประทับใจธรรมชาติที่สรรสร้างมาให้กับมนุษย์บนโลกใบนี้
22 จากสิ่งที่ผู้วิจัยได้กล่าวมานั้น จึงนำรูปร่างรูปทรง จากสิ่งที่ผู้วิจัยได้ใกล้ชิด นำมาเป็นแนวคิดในการ สร้างสรรค์ มาถ่ายทอดผ่านงานศิลปกรรมเครื่องเคลือบดินเผาในครั้งนี้ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. นำลักษณะของปลา มาเป็นแนวคิดของการสร้างสรรค์รูปร่าง รูปทรง กระบวนการสร้างสรรค์งาน ศิลปกรรม ให้เกิดผลงานที่มีมิติ และให้สื่อถึงจุดประสงค์ของการสร้างสรรค์งาน 2. นำกระบวนการทางศิลปะมาสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคนิคเครื่องเคลือบดินเผาในการ ขึ้นรูป สร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ 3. ผลงานที่สร้างสรรค์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในพื้นที่สาธารณะจริง 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ภาพที่ 1 บ่อปลาที่ผู้วิจัยเลี้ยง ที่มา : ถ่ายโดย ผศ.โกเมศ คันธิก ภาพที่ 2 ขั้นตอนการเผาเทคนิครากุ ที่มา : ถ่ายโดย ผศ.โกเมศ คันธิก
23 ภาพที่3 ขั้นตอนการเติมขี้เลื่อยเทคนิครากุ ที่มา : ถ่ายโดย ผศ.โกเมศ คันธิก ภาพที่4 บรรยากาศการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ (เทคนิครากุ) ที่มา : ถ่ายโดย ผศ.โกเมศ คันธิก ภาพที่5 “my fish” ที่มา : ถ่ายโดย ผศ.โกเมศ คันธิก
24 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้จากการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ให้ความรู้สึกทางด้านความงาม ด้านสีที่ผู้วิจัยได้ กำหนดนั้นให้ความรู้สึกที่นุ่มนวล อบอุ่น และเส้นรูปร่างรูปทรงของตัวปลาบ่งบอกที่ชัดเจน และคลี่คลายได้ ลงตัว ตามแนวคิดของผู้วิจัย 5. สรุป ดินเครื่องเคลือบดินเผาให้ความรู้สึกที่เกิดจากธรรมชาติอยู่ในตัวตนอยู่แล้ว ผู้วิจัยเห็นคุณค่าตรงนี้จึง นำมาสร้างสรรค์ตามแนวคิด เกี่ยวกับปลาของฉัน จนผลงานนี้ให้ความรู้สึกทางด้านจิตใจแก่ผู้ที่ชื่นชอบปลา และให้ความรู้ที่อบอุ่น ด้วยสีที่ใช้ในการตกแต่งในครั้งนี้ ซึ่งผลงานถูกตัดแบ่งเป็นชิ้น ๆ ตามแนวคิด และนำมา ติดบนกรอปไม้ เพื่อนำมาประดับติดผนังเพื่อความสวยงาม เอกสารอ้างอิง โกมล รักษ์วงศ์. (2531). วัตถุดิบที่ใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผาและเนื้อดินปั้น. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูพระนคร. จินตนา มัธยมบุรุษ. (2539). เครื่องปั้นดินเผา สรรพช่าง: ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่. เชียงใหม่: ศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. ณรงค์เส็งประชา. (2541). มานุษยวิทยาประยุกต์ในการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. เด่น รักซ้อน และ วัชรินทร์แซ่เตีย. “การพัฒนาเนื้อดินและการเคลือบเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัด นครราชสีมา” สาขาวิชาออกแบบเซรามิก คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา ประกรณ์วิไล และ อภิญญา วิไล “แนวทางการพัฒนาชุมชนเครื่องปั้นดินเผาสู่การผลิตเครื่องเคลือบดินเผา หมู่บ้านทุ่งหลวงและหมู่บ้านม่อนเขาแก้ว” สาขาวิชาเซรามิก คณะศิลปกรรม วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2545). ศิลปะพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: สิปประภา. วิบูลย์ลี้สุวรรณ. (2527). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: ปาณยา. สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผา :พื้นฐานการออกแบบและปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. อายุวัฒน์สว่างผล. (2543). วัตถุดิบที่ใช้แพร่หลายในงานเซรามิกส์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
25 ศิลปะการถักโครเชต์ : ความเบิกบานในโลกแห่งธรรมชาติ The art of crochet : The jolliness in natural world ขวัญใจ พิมพิมล, Kwanjai Pimpimon วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ความงามในธรรมชาติได้สร้างให้มนุษย์เกิดความสุข ความพอใจ และความเบิกบานใจ เมื่อพบเห็น สัมผัส การนำความงามในธรรมชาติมาถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะต้องใช้กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ออกมาเพื่อให้ผลงานเกิดความลึกซึ้งที่น่าสนใจ การสร้างสรรค์ผลงานในชุดนี้จึงได้นำรูปทรงดอกไม้เป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความเบิกบานใจ และ นำเทคนิคซึ่งเป็นความถนัดเฉพาะตัวคือการถักโครเชต์เรียงร้อยถักทอเส้นไหมพรมต่อเนื่องด้วยสีสันที่แตกต่าง ในรูปทรงลักษณะอิสระของน้ำ ผลของการสร้างสรรค์แสดงผลในเชิงจิตรกรรมผสมผสานงานเชิงช่างฝีมือ การเลือกใช้รูปทรงภายนอก ที่อิสระ คล้ายการกระเพื่อมของน้ำช่วยให้ความรู้สึกอิสระ สบาย และรูปดอกไม้ทรงกลมเล็กที่มีที่มาจาก ดอกบัว สีสันต่างกันจัดวางตามสัดส่วนที่เหมาะสมช่วยแสดงผลความงาม ในธรรมชาติและช่วยให้เกิดความเบิก บานใจตามเป้าหมาย คำสำคัญ: ศิลปะการถักโครเชต, ความเบิกบานในโลกธรรมชาติ Abstract The beauty of nature has created human happiness, contentment and exhilaration. When seen and touched Bringing the beauty of nature into a work of art requires of analysis and synthesis in order to create an interesting depth of work. The creation of works in this series has therefore used flower shapes as a medium that encourages exhilaration. And adopting a technique which is a particular specialty is knitting and crocheting arranged, knitted, weaved yarn let’s line up continuously with diferrent colours in the free form of water. The results of the creation are displayed in the form of painting combined with the craftsmanship. Free selection of external shapes like the ripple of water, it gives a feeling of freedom and comfort, and the small spherical shape of flower originates frome the lotus.
26 Different colours arranged in proper proportions show the beauty effect. In nature and helps achieve goal-based exhibition. Keywords: The art of crochet, The jolliness in natural world. 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การศึกษาสร้างสรรค์ผลงานในชุดนี้เกิดจากความสนใจนำงานฝีมือเชิงช่างเทคนิคถักโครเชต์ซึ่งเป็น ความสามารถความถนัดเฉพาะตัว และเป็นประสบการณ์ที่สะสมมาตั้งแต่เยาว์วัย ทดลอง ค้นหาแนวทางให้ เกิดความทันสมัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้เกิดสุนทรียภาพเชิงผลงานจิตรกรรมมากกว่าการแสดงผลเชิงงานฝีมือซึ่ง มักเน้นด้านประโยชน์ใช้สอย 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 การถักโครเชต์ เป็นภาษาฝรั่งเศส หมายถึง “ตะขอ” กระบวนการสร้างโครเชต์ มาจากคำว่า Croc หรือ Croche แปลว่า ตะขอ หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการทำของให้หรูหราในชีวิตประจำวัน ส่วนการถัก ไหมพรมมีมาตั้งแต่โบราณในเมืองจีน อาระเบีย ด้วยการนำด้าย ไหม ขนสัตว์ มาถักทอเป็นห่วงโซ่ร้อยต่อกัน จนเป็นผืนผ้าลวดลายงดงาม โครเชต์ได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรปราว ค.ศ.1800 โดยรวมความหมายของ การถักโคเชต์ คือ การนำเข็มถักโครเชต์มาเกี่ยวด้ายชนิดต่างๆเพื่อถักเป็นลวดลายออกมาในแบบต่าง ๆ ศิลปิน ในปัจจุบันมีการนำเทคนิคการถักโครเชต์มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมากมาย เพื่อสร้างความแปลก ใหม่ จากเทคนิคพื้นฐานของงานฝีมือแม่บ้าน มาสู่การสร้างความตื่นตาตื่นใจหลากหลายแนวทางของศิลปะ ร่วมสมัย เช่นการสร้างศิลปะจัดวางในพื้นที่ และกับสภาพแวดล้อม เทคนิคโครเชต์จึงเป็นเทคนิคหนึ่งในการ สร้างงานศิลปะที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน ภาพที่ 1 ผลงาน Miyoshi Barosh ที่มา : http://theradder.blogspot.com/2014/01/crocheted-art_21.html
27 ภาพที่ 2 ผลงาน Sarah Applebaum ที่มา : http://theradder.blogspot.com/2014/01/crocheted-art_21.html 2.2 ความเบิกบาน เมื่อหลายคนได้สัมผัสธรรมชาติในช่วงเวลาๆหนึ่ง โดยเฉพาะช่วงเวลาที่จิตใจของ เรามีความผ่อนคลายได้ชมธรรมชาติสวยงาม ดอกไม้ ต้นไม้ สัตว์ที่สวยงาม ก็จะรู้สึกได้ถึงความสุข เบิกบาน สิ่ง ที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยได้นึกถึงและวิเคราะห์ว่าความสุข ความเบิกบานนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะต่าง ล้วนเป็นธรรมชาติจนกลายเป็นเรื่องปกติที่เคยชินในชีวิตประจำวันและไม่ตั้งคำถามกับสิ่งนั้น ทุกข์ สุข เบิกบาน ได้เกิดสลับกันไปเมื่อค้นหาว่า เบิกบานคืออะไรต่างกับสุขหรือไม่ พศิน อินทวงค์ได้กล่าวถึง ความเบิกบานไว้ ว่า ความเบิกบานนั้นหมายถึง ต้นไม้ที่ให้กำเนิดจากความตระหนักรู้ ความสุข ความพอใจนั้นต้องการหลายสิ่ง ขณะที่ความตระหนักรู้นั้นไม่ต้องการอะไรเลย ความเบิกบานจะไม่ปรากฏต่อหน้าผู้กระหายความสำเร็จ เพราะ ความเบิกบานไม่สามารถเกิดขึ้นผ่านตัวตนของตัณหาได้ ตัณหา นำมาซึ่งความอยากมี อยากได้และอยากเป็น ความเบิกบานทำให้ท่านเป็นราชาที่มีชีวิตคล้ายยาจก ท่านจะกลับคืนสู่ความไม่มีอะไรเมื่อสัมผัสแตะต้องความ เบิกบาน ความเบิกบานเป็นสิ่งที่ไม่ได้ต้องการครอบครองในสิ่งใด นั้นหมายถึงความว่างเปล่า และความว่าง เปล่านี้เป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับผู้มีปัญหา หมายถึงการสลัดทิ้งสิ่งต่างๆที่ต้องการครอบครอง หรืออยากสัมผัส จากข้อความนี้สรุปได้ถึงว่า ความเบิกบานเกิดขึ้นได้เพราะปัญญาความตระหนักรู้ ที่ไม่ได้หลงไหลไปกับกิเลส ตัณหาอย่างกับความสุขหรือความพอใจ ความเบิกบานจึงเกิดขึ้นด้วยความว่าง ความโปร่งเบาสบาย ดอกไม้นั้นเป็นความงามที่กระตุ้นให้เกิดความเบิกบาน เหมือนดังคำกล่าวที่มักได้ยินกันอยู่บ่อยว่า “เบิกบานดั่งดอกไม้หรือ ดอกไม้แห่งความเบิกบาน” ภาพที่ 3 ดอกบัว ที่มา : https://lovelyceelek.wordpress.com/15-2/
28 ดอกไม้ยังใช้เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเบิกบาน ตัวอย่างเช่น การสร้างประติมากรรม “The Melody Of Flower” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ ประติมากรรมดอกไม้เคลื่อนไหวหุบและบานได้ราวกับดอกไม้มี ชีวิต สอดรับประสานกับแสง สี เสียง โดยมี highlight สำคัญคือการหุบและบานของดอกไม้เสมือนจริง ให้ดอกไม้นั้นคงคุณค่าความงามไว้ ซึ่งดอกไม้เป็นตัวแทนแห่งความบริสุทธิ์ และนำมาซึ่งความเบิกบานนั้นเอง ภาพที่ 4 ประติมากรรมดอกไม้ ที่มา : https://www.ichiangmaipr.com/2022/04/เซ็นทรัล-เชียงใหม่-ชวนสั/ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน การแปรเปลี่ยนของสีสันดอกไม้ในช่วงเวลา ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 3.1 การศึกษาค้นคว้าศิลปะโครเชต์และความเบิกบาน 3.2 ทำภาพร่าง กำหนดขนาดของผลงานที่เหมาะสม โทนสีและรูปทรงของชิ้นงานทั้งส่วน โครงสร้างใหญ่และรายละเอียดภายในรูปทรง 3.3 ถักโครเชต์เป็นดอกรูปทรงกลม ขนาดต่างๆ ด้วยไหมสีตามที่มีการวางแผนไว้ 3.4 นำดอกขนาดต่างๆ มาจัดเรียง ค้นหาตำแหน่ง สัดส่วนที่มีความเหมาะสมจนพึงพอใจ 3.5 ผนึกเข้ากับโครงสร้างโครเชต์รูปทรงอิสระ 3.6 ประเมินผลงาน ภาพที่ 5 ตัวอย่างขั้นตอนการถักโครเชต์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
29 ภาพที่ 6 ตัวอย่างขั้นตอนการถักโครเชต์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 7 ผลงานสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ชุดความเบิกบานในธรรมชาติเป็นการอาศัยเทคนิคการถักโครเชต์ด้วยเส้นไหมพรม ซึ่งถือเป็นงานช่างฝีมือประเภทหนึ่งมาเป็นเทคนิคหลักในการสร้างสรรค์ ด้วยการถักเป็นลายดอกขนาดต่าง ๆ แล้วนำมาประกอบกันบนพื้นไหมพรมอีกชั้นหนึ่ง การเลือกใช้รูปทรงภายนอกเป็นรูปทรงอิสระเหมือนการ กระเพื่อมของน้ำดึงดูดสายตาให้เพ่งมองที่รูปทรงด้านนอกชัดเจนกว่ารูปทรงภายใน และสร้างความรู้สึกที่ผ่อน
30 คลายอิสระ ภาพรวมของงานที่มองโดยรวมแล้วคล้ายภาพนามธรรม และแสดงผลของทัศนธาตุจุด เส้น สีได้ เด่นชัดออกมา 5. สรุป ผลงานชุดนี้เป็นการนำเทคนิคการถักโครเชต์ สร้างสรรค์ให้เกิดผลในเชิงงานจิตรกรรม มุ่งเน้นเรื่องสี ของดอกไม้และรูปทรงอิสระภายนอกนับเป็นความแตกต่างจากผลงานที่เคยสร้างสรรค์ที่ผ่านมา สาระสำคัญ อีกประการคือการประยุกต์เทคนิคงานถักแทนการวาดระบายด้วยสี ซึ่งนอกจากส่งผลในเรื่องของสีสันดอกไม้ แล้ว ยังให้ความรู้สึกเชิงนามธรรม ยังเป็นการค้นหาแนวทางเพื่อประยุกต์ศิลปะการถักโครเชต์ไปสู่การ สร้างสรรค์แนวคิดอื่น ๆ ให้พัฒนาขึ้นต่อไป เอกสารอ้างอิง พศิน อินทวงค์. (2563). 10 ความแตกต่างระหว่างความสุขและความเบิกบาน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://today.line.me/th/v2/article/5e606v i chiangmai PR. (2022). เซ็นทรัล เชียงใหม่ ชวนสัมผัสความเบิกบานของเชียงใหม่สร้างประสบการณ์ใหม่ ให้คุณกับดอกไม้ขนาดใหญ่ยักษ์เบ่งบานกลางศูนย์การค้าฯ เมื่อดอกไม้และดนตรีมาเรียงร้อยเรื่องราว ผสมผสานกันอย่างลงตัว The Melody Of Flower เมื่อบุปผา ขับขาลเบิกบานสุข. เข้าถึงเมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จากhttps://www.ichiangmaipr.com/2022/04/เซ็นทรัล-เชียงใหม่-ชวนสั/ LOVELYCEELEK. ดอกบัว. เข้าถึงเมื่อวันที่10ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จากhttps://lovelyceelek.wordpress. com/15-2/ ponpakdee. (2014).การถักโครเชต์คือ. เข้าถึงเมื่อวันที่9ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จากhttps://mindhandmade. wordpress.com/การถักโครเชต์คือ/ The RADDER. (2014). Crochet Art : Miyoshi Barosh. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จาก http://theradder.blogspot.com/2014/01/crocheted-art_21.html . (2014). Crochet Art : Sarah Applebaum. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จาก http://theradder.blogspot.com/2014/01/crocheted-art_21.html
31 บันทึก . ผนึก . ผสาน Merging Layers 2022 จตุรพร เทวกุล, Chaturaporn Devakula สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ประเทศไทย, Bunditpatanasilpa Institute Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานมีเนื้อหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ หรือบุคลิกลักษณะเฉพาะบุคคลซึ่งทำให้เราแตกต่าง จากคนอื่น ไม่เพียงแต่ลักษณะภายนอก แต่รวมถึงทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจด้วย อัตลักษณ์เกิดจาก ปัจจัยที่ได้รับการถ่ายทอดโดยกำเนิดทางพันธุกรรม และปัจจัยจากสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ที่ได้รับจะผ่าน การกลั่นกรอง และหลอมรวมเป็นอัตลักษณ์ การสร้างสรรค์โดยการใช้ระนาบ พื้นผิว รูปทรง และที่ว่าง แทนค่าความคิด ความรู้สึก ที่มีลักษณะ เฉพาะตัว การสร้างงานโดยใช้ดินเป็นสื่อ ใช้วิธีการทับซ้อนเหลื่อมกันเป็นชั้นๆ และผสานกลมกลืนเป็นเนื้อ เดียวกันในที่สุด ผลการวิเคราะห์การสร้างสรรค์พบว่าผู้สร้างสรรค์ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์ เริ่มตั้งแต่ การสังเกต บันทึก สิ่งต่างๆ รอบตัว ในชีวิตประจำวัน การวิเคราะห์ความคิด ไปจนถึงการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่ง เป็นช่วงเวลาที่ทำให้ได้พิจารณาความคิด ความรู้สึก ของตนเอง ซึ่งมีคุณค่าต่อการยกระดับจิตใจ คำสำคัญ: อัตลักษณ์, พื้นผิว, บันทึก Abstract This creative art is about personal identity which is the individual differences, not only physical appearances but also in characteristic patterns of thinking, feeling and behaving. It keeps us unique and distinguishes us from everyone else. It evolves from biological and environmental factors. The creation represents my feeling by applying visual elements especially plane, form, textureand space.This experimental art wasusing clay as a media by merging layersof texture. The analysis shows that I focus on the creative process; observing, collecting, recording, analyzing, and creating. During the process of creation, I realized my emotions, and the value to elevate my mind. Keywords: identity, texture, journal
32 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผลงานชุดนี้เป็นการทำงานต่อเนื่อง โดยเริ่มแรกได้แรงบันดาลใจจากการสังเกตบุคลิกลักษณะของลูก ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ รวมถึงสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดูในระยะแรกนี้ผลงานแสดงถึงการ ถ่ายทอดจากพ่อและแม่ โดยการใช้เทคนิคแม่พิมพ์กดประทับลงบนเนื้อดิน พิมพ์ที่ใช้ มีทั้งวัสดุจริง และ แม่พิมพ์ดินเผา โดยให้ความสำคัญกับรูปทรงของแม่พิมพ์ดินเผา ให้มีความงาม มีคุณค่าเทียบเท่ากับงานสำเร็จด้วย การสร้างผลงานในระยะต่อมาได้มีพัฒนาการในเนื้อหาที่กว้างขึ้น โดยมีการสะท้อนมุมมองที่มีต่อ สมาชิกในครอบครัว ซึ่งส่งอิทธิพลต่อกัน ในการสร้างบุคลิกลักษณะของแต่ละคน โดยพัฒนาการทางเทคนิคได้ เพิ่มรูปทรงต่างๆ และสร้างพื้นผิวเพิ่มเติมลงไป เมื่อนำผลงานมาวิเคราะห์ทำให้พบว่า การสร้างผลงานโดยมีจุดเริ่มต้นจากเนื้อหาที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ ของลูก ที่ได้รับถ่ายทอดจากพ่อแม่ และสภาพแวดล้อม เมื่อเติบโตขึ้น สภาพแวดล้อมมีบทบาทต่อการเรียนรู้ มากขึ้น นอกจากลูกจะได้เรียนรู้จากพ่อแม่แล้ว ในทางกลับกัน พ่อแม่ยังได้เรียนรู้ จากพฤติกรรมของลูกที่ สะท้อนตัวตนของเรากลับมาด้วย การสร้างผลงานมีพัฒนาการทั้งด้านแนวคิด เทคนิค และการแสดงออก ผลงานในระยะหลังจึงมีลักษณะเป็นการบันทึกเรื่องราว มุมมอง ทัศนคติของตนเองที่ชัดเจนมากขึ้น 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง อัตลักษณ์คือลักษณะบ่งบอกตัวตน ประกอบด้วยรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ รวมถึงลักษณะนิสัย ทัศนคติส่วนหนึ่งติดตัวมาแต่กำเนิด อีกส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดูการเรียนรู้จาก สิ่งแวดล้อมรอบตัว นับว่ามีความสำคัญต่อการสร้างตัวตน 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. เก็บรวบรวมข้อมูล เอกสาร บทความที่เกี่ยวกับเนื้อหาอัตลักษณ์นำมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความ เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น 2. เก็บข้อมูลด้านรูปทรง และพื้นผิว ด้วยการถ่ายภาพวัตถุ สิ่งของ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การเก็บ รวบรวมพื้นผิว รูปแบบต่างๆ โดยการใช้แม่พิมพ์ ภาพที่ 1 ข้อมูลภาพถ่าย รูปทรง พื้นผิว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
33 ภาพที่2 ข้อมูลภาพถ่าย รูปทรง พื้นผิว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ข้อมูลภาพถ่าย รูปทรง พื้นผิว ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 เทคนิคการทับซ้อนกัน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3. ร่างแบบ และทดลองใช้วัสดุ เครื่องมือ สร้างพื้นผิวในหลายลักษณะ ซึ่งการทำงานในชุดนี้ จำเป็นต้องทดลองเทคนิคโดยใช้วัสดุจริง เพื่อให้เห็นผลที่เกิดขึ้น 4. นำการทดลองทางเทคนิคมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแบบร่าง 5. ขึ้นรูปผลงานโดยใช้ดิน รีดให้เป็นแผ่นระนาบ มีความหนาพอประมาณ นำไปทาบลงบนวัตถุที่มี พื้นผิวที่ต้องการ ใช้นิ้วกดให้พื้นผิวมาปรากฏที่ผิวดิน แล้วนำไปประกอบรูปทรงให้เสร็จสมบูรณ์ 6. ปล่อยให้ดินแห้งสนิทแล้วนำไปเผาครั้งที่ 1 (เผาดิบ) เพื่อให้ดินคงรูป เตรียมสำหรับขั้นตอนต่อไป
34 7. เคลือบผลงานโดยการใช้น้ำเคลือบหยดลงบนพื้นผิวของผลงานในบริเวณที่ต้องการ 8. นำไปเครั้งที่ 2 (เผาเคลือบ) ให้ดิน แล้ะเคลือบสุกตัว ตัวเนื้อดินจะมีความแข็งแกร่ง ตัวเคลือบจะ หลอมตัวคล้ายแก้วและเกาะติดอยู่บนพื้นผิวดิน 9. จัดแสดงผลงาน นำมาวิเคราะห์ผลการสร้างสรรค์ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผลงานต่อไป 4. การวิเคราะห์ผลงาน เนื้อหาในการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับอัตลักษณ์หรือบุคลิกลักษณะเฉพาะบุคคล ซึ่งมีทั้ง รูปลักษณ์ทางกายภาพ และความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ภายใน แนวความคิดในการสร้างสรรค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาตัวตนที่เกิดการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม ในการใช้ชีวิตแต่ละวัน ผู้คน สิ่งของ เหตุการณ์รอบตัวนั้น สามารถทำให้เกิดการตระหนักรู้ หากสังเกต ตั้ง คำถาม พิจารณาหาคำตอบ ส่งผลให้เกิดพัฒนาการทางความคิด และทัศนคติได้กระบวนการสร้างสรรค์เป็น การบันทึกรายละเอียดพื้นผิวสะสมทับซ้อนกันทีละน้อยจนผนึกรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน รูปแบบเป็นผลงานสามมิติโดยแทนค่าเนื้อหาด้วย รูปทรง ระนาบ พื้นผิว และที่ว่าง ใช้ดินเป็นวัตถุดิบ ในการเก็บรายละเอียดพื้นผิวร่องรอยต่างๆ เนื่องจากดินมีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่น สามารถเก็บรายละเอียดพื้นผิว ได้เป็นอย่างดีขั้นตอนของการสร้างรูปทรง เริ่มจาก ระนาบ พื้นผิว รูปทรง และเพิ่มพื้นผิวทับซ้อนกันทีละชั้น มีบางส่วนที่ทับซ้อนกันในลักษณะที่เหลื่อมกัน เช่นส่วนที่เป็นเนื้อดินกับน้ำเคลือบ แม้ว่าเทคนิคการสร้างพื้นผิว จะเป็นการทำเพื่มไปทีละชั้น แต่มีลักษณะที่สัมพันธ์กัน จึงทำให้ผสานเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อเสร็จสมบูรณ์ สี ใช้สีโทนกลาง สีขาวในน้ำหนักต่างๆ สีขาวทึบแสง ขาวโปร่งแสง ขาวมัน ขาวด้าน เน้นการใช้สีที่ เป็นเนื้อแท้ของวัสดุ แสดงออกถึงความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย และให้แสงเงาได้ทำหน้าที่สร้างค่า น้ำหนักในผลงาน พื้นผิวที่ปรากฏในผลงานนอกจาก เรียบ-ขรุขระ ยังมีพื้นผิว ด้าน-มัน ซึ่งมาจากพื้นผิวของ ดิน-เคลือบ ซึ่งโดยรวมแล้วมีความผสานกลมกลืนกัน ผลงานมีลักษณะของสิ่งที่คู่กัน positive–negative เรียบ-ขรุขระ มัน-ด้าน อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ภาพที่ 5 รายละเอียดของผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
35 ภาพที่ 6 ผลงานสำเร็จ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. สรุป การสร้างผลงานโดยผ่านการะบวนการสร้างสรรค์ทำให้ได้พิจารณาความคิด ความรู้สึกของตัวเอง ซึ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้ได้รู้จักตัวตน และพัฒนา ยกระดับจิตใจ คุณค่าของการสร้างสรรค์ชุดนี้คือความเชื่อมโยงทาง ความรู้สึกระหว่างผู้สร้างกับผลงาน ตั้งแต่เริ่มกระบวนการสร้างงานจนเสร็จสมบูรณ์ เอกสารอ้างอิง ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2561).อัตลักษณ์ :การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
36 ประติมากรรมแกะสลักหินโดยใช้เครื่องมือจับจุด Stone carving sculptures with Pointing Machine จีระชน บุญมาก, Jerachon Boonmak 4/371 หมู่ 7 ต.คลองกุ่ม อ.บึงกุ่ม จ.กรุงเทพ 10230, 4/371 moo. 7, Klongkoom, Beungkoom, Bangkok. 10230 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ประติมากรรมแกะสลักหินโดยใช้เครื่องมือจับจุด เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ด้านการแกะสลักแบบอิตาลี การใช้เครื่องมือจับจุด (Pointing Machine) ในงานสร้างสรรค์นี้ได้ประยุกต์ดัดแปลงเครื่องมือที่ใช้ โดยศึกษา อุปกรณ์แบบดั้งเดิมและสร้างใหม่โดยใช้ของที่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการ เรียนการสอนในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องสั่งซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ การแกะสลักใช้วิธี บันทึกภาพผลงาน สอบถามที่ปรึกษาหลังเลิกปฏิบัติงานและการประชุมกลุ่ม ระหว่างผู้สร้างสรรค์และผู้เรียนในรายวิชาประติมากรรมแกะสลัก เพื่อประเมินลักษณะความรู้และการมอง รูปทรงที่เกิดขึ้นในระหว่างการแกะสลัก และได้ผลสรุปวิธีการมองรูปทรงที่เด่นชัดในการแกะสลัก เป็นทัศนธาตุ ทางศิลป์4 ชนิดและการใช้เครื่องมือช่วยหาระยะ 1 ชนิด รวมได้วิธีในการแกะสลัก 5 ชนิด วิธีการในการสลัก หินที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของผู้สร้างสรรค์มีดังนี้1.การใช้ Drawing 2.การใช้ ระนาบ 3.การใช้ ปริมาตร 4.การใช้เส้นรอบวง 5.การใช้เจาะหาระยะ ในการใช้วิธีทั้ง 5 นี้ขึ้นอยู่กับรากฐานทางศิลปะและระบบวิธีคิดส่วนบุคคล เครื่องมือ Pointing machine เป็นเพียงตัวช่วยในการตรวจสอบการทำงานให้สะดวกขึ้นเท่านั้น แต่สุดท้ายความรู้ทางศิลปะ และ การมองรูปทรงก็ยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามยุคสมัยเป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวก ในการสร้างผลงาน และการเข้าไปถึงเนื้อหาทางศิลปะได้มากขึ้น การสร้างผลงานศิลปะยังควรจะหนักแน่น ในทักษะพื้นฐานที่ต้องหมั่นฝึกฝนเสมอ อีกทั้งวินัยในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับ การพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ศิลปะต่อไป คำสำคัญ: เครื่องมือจับจุด, Nicolas-Marie Gatteaux, แกะสลัก, หินทราย Abstract Stone carving sculptures with Pointing Machine are part of the knowledge of Italian sculpting. Using the pointer in this creative work has modified the tools used. by studying traditional and reconstructed devices using products that can be produced in Thailand In order to be able to be used in teaching and learning in Thailand without having to order equipment from abroad.
37 Sculpting uses a method of photographing the workpiece. Consult with a mentor after work and group meetings between creators and sculpture students. To assess the nature of knowledge and visualization of the shapes formed during sculpting. And summarizes how to see distinctive shapes in carvings. It is visual elements of art 4 types. And the use of one type of distance-finding tool. A total of 5 types of carving methods are available. Methods for carving stone from the creator's work are as follows: 1. Use a drawing 2. Use a plane 3. Use a volume 4. Use a circumference 5. Use a drill to find the distance. The use of these five methods depends on the artistic foundation and personal system of thinking. The pointer is just an aid to check operation more conveniently. But in the end, artistic knowledge and looking at shapes are still indispensable. The tools that have emerged in the past are only tools to facilitate the creation of works and access to more artistic content. Creating works of art should concentrate on basic skills that must be practiced continuously. In addition, continuous work discipline will be the cornerstone. to further develop artistic creations. Keywords: Pointing Machine, Nicolas-Marie Gatteaux, carving, Sandstone 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา งานประติมากรรมแกะสลัก เป็นรายวิชาหนึ่งในคณะศิลปวิจิตร เอกวิชาประติมากรรม ซึ่งในปีศึกษา 2563 ได้รับการสนับสนุนในแนวคิดด้านการแกะสลักหินโดยใช้เครื่องมือ Pointing Machine จากบุคลากร 2 ท่าน คือ อาจารย์ไพยันต์ บรรจงเกลี้ยง ซึ่งเคยศึกษาวิชาสลักหินอ่อน ณ.ประทศอิตาลี และอาจารย์นที ทับทิมทอง ซึ่งเคยศึกษา ณ Accademia di belle arti di Firenze, Italia เครื่องมือ Pointing Machine นี้ จะทำให้ผู้แกะสลักสามารถตรวจสอบและควบคุมรูปทรงของผลงาน สร้างสรรค์ได้ซึ่งจะมีผลต่อการรูปแบบของงานโดยตรง การนำความรู้ในการใช้เครื่องมือนี้มาสอนใน สถาบันการศึกษาจึงควรได้รับการเผยแพร่พัฒนาและสามารถผลิตได้ในประเทศ ในการเสนอโครงงานสร้างสรรค์นี้ จึงนำเสนอเทคนิคการใช้เครื่องมือ Pointing Machine ที่ออกแบบ สร้าง และผลิตในประเทศไทย มาสร้างสรรค์ประติมากรรมในรูปแบบการสลักหินรูปทรงของมนุษย์ที่แฝงร่างไว้ ภายใต้รูปทรงของหินธรรมชาติ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างสรรค์ผลงานแกะสลักในครั้งนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ 2 ส่วนคือ ส่วนของ เครื่องมือจับจุด และส่วนของผลงานแกะสลักที่ให้แรงบันดาลใจ ผู้เขียนต้องกล่าวถึงส่วนแรกของเครื่องมือเพื่อ เป็นเกียรติแก่ผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ Nicolas-Marie Gatteaux (2 สิงหาคม 1751 ปารีส -24 มิถุนายน 1832 ปารีส)
38 และส่วนที่สองเป็นผลงานแกะสลักของ Michelangelo และ Antonio Canova ซึ่งเป็นประติมากรต่างยุคกัน แต่มีชื่อเสียงทางด้านแกะสลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Canova ยังคงมีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือจับจุด “Nicolas-Marie Gatteaux (2 สิงหาคม ค.ศ. 1751 ปารีส - 24 มิถุนายน ค.ศ. 1832 ปารีส) รวม อายุ 81 ปี เป็นช่างแกะสลักเหรียญ Gatteaux ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องชี้ตำแหน่งซึ่งเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการคัดลอกงานประติมากรรม” (อ้างอิงจาก “Nicolas-Marie Gatteaux” (n.d.) ภาพที่ 1 อาจารย์ Francesco cremoni กำลังสาธิตการใช้เครื่องมือจับจุด (Pointing Machine) ที่มา : จีระชน บุญมาก (15 - 31 ตุลาคม 2562) ในภาพด้านบน ผู้เขียนได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่เมืองคาราร่า เครื่องมือนี้ยังคงถูกใช้อยู่ในการศึกษา การแกะสลัก ทั้งที่ปัจจุบันก็มีเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆในการคัดลอกงาน แต่ทำไมที่เมืองคาราร่าจึงยังใช้ เครื่องมือแบบดั้งเดิมอยู่ นี่เป็นคำถามที่กระตุ้นให้คิดได้ว่าทักษะและสาระหลักของการแกะสลักยังคงเป็น ทักษะทางศิลปะและการตัดสินใจของมนุษย์อยู่ดี ภาพที่ 2 รูปแกะสลักของ MICHELANGELO และ Antonio Canova ที่มา : museocanova (2022) [online] : เข้าถึง 10 มี.ค. 2565.จาก https://www.museocanova.it/antoniocanova/?lang=en รูปซ้ายผลงานแกะสลักของ Michelangelo แสดงให้เห็นถึงลักษณะของการแกะสลักแบบไล่เข้าหา เนื้อจริงของงานเชื่อว่าในการทำงานต้องมีเครื่องมือที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบในการแกะสลัก ยุคของ Nicolas-Marie Gatteaux และ Canova (ค.ศ. 1757) ในยุคนี้เป็นยุคที่เครื่องมือจับจุด เจริญถึงรูปแบบสูงสุดและใช้มาถึงใน ยุคปัจจุบัน งานของ canova คงเหลือต้นแบบปูนปลาสเตอร์ที่แสดงให้เห็นวิธีการใช้เครื่องมือ canova มีพื้นฐานทางเทคนิคที่ชาวกรีกโบราณใช้ เริ่มจากการวาดรูป ไปสู่ดินเหนียว ต้นแบบปูนปลาสเตอร์จนกระทั้ง
39 การสลักหินอ่อน ซึ่งยังคงสืบทอดวิธีการนี้ปรากฏใน Accademia Di Carrara (Padula) ที่ผู้เขียนได้เดินทางไป ดูงานเมื่อตุลาคม พ.ศ. 2562 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผู้เขียนได้แบ่งขั้นตอนในกระบวนการสร้างสรรค์ไว้7 ขั้นตอนโดยเริ่มจาก 3.1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือ Pointing Machine และวิธีการใช้เครื่องมือ 3.2 ออกแบบและสร้างเครื่องมือ Pointing Machine ภาพที่ 3 Pointing machine แบบประยุกต์จากขาจับ ไดอัลเกจ (dial gauge) ที่มา : จีระชน บุญมาก (2564) ภาพซ้ายเป็นต้นแบบ Pointing machine ที่แยกส่วนประกอบเพื่อศึกษา ภาพขวาคือเครื่องมือแบบ ประยุกต์ที่ใช้ในงานชิ้นนี้ โดยดัดแปลงจากขาจับไดอัลเกจ (dial gauge) 3.3 ทำแม่พิมพ์อัลจิเนต จากใบหน้า เมื่อได้เครื่องมือ Pointing machine แล้วจึงเริ่มทำ ต้นแบบใบหน้าของผู้เขียนเอง โดยวิธีการหล่อจากวัสดุ อัลจิเนต (Alginate) ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในวงการทันตกรรม 3.4 หล่อต้นแบบเป็นปูนปลาสเตอร์ 1 ชิ้น 3.5 หาวัสดุหินธรรมชาติที่มีขนาดและลักษณะเนื้อวัสดุเหมาะสมกับต้นแบบ 3.6 แกะสลัก ผู้เขียนเริ่มจากการหาตำแหน่งจุดสำคัญ บนใบหน้า โดยใช้สกรูเกลียวปล่อยยึด ลงบนชิ้นงานต้นแบบ และเผื่อระยะออกมาประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อหาแนวระนาบหลักบนชิ้นงาน และสกัด หาโครงเนื้อของชิ้นงานก่อน ภาพที่ 4 ตำแหน่งสามจุดที่ใช้วางโครงไม้กากบาท ก่อนจะยึดกับ Pointing machine ที่มา : จีระชน บุญมาก (2565)
40 ภาพที่ 5 การใช้ใบเจียรเหล็กสำหรับตัดหิน เฉือนเพื่อสกัดหาโครงสร้างโดยรวม ที่มา : จีระชน บุญมาก (2565) ช่วงต้นในการขึ้นรูปทรงจะใช้เครื่องเจียรเป็นหลัก โดยเจียรลงไปเป็นแนวลึกแล้วสกัดออกด้วยสิ่ว เหล็กหัวแหลม เพื่อให้เข้าใกล้ผิวงานก่อน จึงจะสามารถกำหนดจุดได้แม่นยำมากขึ้น ภาพที่ 6 ผลงานระยะก่อนเก็บรายละเอียดรูปทรง “แรงกระทบของกรรม 2565” ที่มา : จีระชน บุญมาก (2565) ผลงานก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรจะสกัดเนื้อหินด้านซ้ายออกเพิ่ม เพื่อให้เห็นรูปทรงชัดขึ้น ในระยะนี้ ผู้เขียนคิดว่ารูปทรงที่ไม่ชัดเจนในด้านซ้ายมีความคิดที่ตรงกับสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมากกว่า แต่งานสกัดหิน ใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากคือหากตัดสินใจสกัดออกแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับการกระทำได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้ตัดสินใจที่จะสกัดออกเพิ่มเพื่อให้เห็นรูปทรงชัดเจนและ ค่าน้ำหนักดำที่เพิ่มขึ้น ภาพที่ 7 ผลงาน “แรงกระทบของกรรม 2565” ที่มา : จีระชน บุญมาก (2565)
41 ผลงานสำเร็จจากการแกะสลัก โดยมีแนวคิดเรื่องของการ มีสติอยู่กับบริเวณรูจมูกข้างซ้ายของ ร่างกาย การรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในเฉพาะบริเวณนั้นและมีความชัดเจน ในขณะที่บริเวณอื่น ๆ มีความทึบ แน่น ตันและไม่ชัดเจน กระบวนการแกะสลักหินที่ต้องค่อยๆใช้เวลาในการสกัดออกทุก ๆ การกระทำ ทุก ๆ แรงตอกค้อน ที่กระแทกลงไปล้วนก่อให้เกิดผล และรูปทรงเกิดขึ้นทีละน้อย ความผิดพลาดจากการสลักออกไม่สามารถแก้ไข ได้ เหมือนชีวิตจริงที่ต้องเดินหน้าไปตลอดเวลา รูปทรงและรอยผิวเหล่านี้ ล้วนต้องการสะท้อนภาวะความรู้สึก ภายในของผู้เขียน ที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับรู้จากการเฝ้ามองลมหายใจของตนเอง 4. การวิเคราะห์ผลงาน กระบวนการวิเคราะห์ในผลงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ วิเคราะห์รูปทรงและวิเคราะห์วิธีการแกะสลัก ภาพที่ 8 วิเคราะห์รูปทรง ที่มา : จีระชน บุญมาก (2565) จากภาพร่างแรกรูปทรงเป็นแบบสมมาตรได้ปรับเป็นแบบไม่สมมาตรเปิดอากาศในรูปทรงทางซ้าย ของรูป เน้นค่าน้ำหนักดำเข้มลงบริเวณใบหน้าด้านขวา ใบหน้าซีกขวาปล่อยร่องรอยของการสกัดทิ้งไว้ทิศทาง ของพื้นผิวของรูปทรงจะมีทิศทางไหลวนตามรูปใบหน้า มีเจตนาให้รู้สึกถึงการไหลวนของมวลของความคิด ที่ไหลวนอยู่รอบบริเวณศีรษะ พื้นผิวด้านบนและล่างมีเจตนาจำลองแบบการไหลวนของน้ำ ตารางวิธีมองรูปทรงในการแกะสลัก โดยแบ่งสัดส่วนของวิธีมองชนิดแต่ละ เป็น % ลักษณะการ มอง ใช้Drawing เส้นรอบนอก ใช้ระนาบ ใช้ปริมาตร ใช้เส้นรอบวง ใช้การเจาะ หาระยะผิวงาน สัดส่วนที่ใช้ 30 30 10 5 25 ภาพที่ 9 ตารางวิธีมองรูปทรงในการแกะสลัก ที่มา : จีระชน บุญมาก (2565) ในการแกะสลักในครั้งนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์วิธีการมองและสกัดออกของตนเอง โดยได้ผลสรุปลักษณะ ที่เด่นชัดในการแกะสลัก เป็นทัศนธาตุทางศิลป์4 ชนิดและการใช้เครื่องมือช่วยหาระยะ 1 ชนิด รวมวิธีการได้ 5 ชนิด ดังตารางวิธีมองรูปทรงในการแกะสลัก ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้ Drawing เส้นรอบนอก ระนาบ และการเจาะ หาระยะผิวงานเป็นส่วนใหญ่ ใช้ปริมาตรในสัดส่วนที่น้อยกว่า และใช้เส้นรอบวงน้อยที่สุด
42 5. สรุป จากการสร้างสรรค์ผลงานพบว่าเครื่องมือ Pointing machine เป็นเครื่องมือช่วยในการวัด เปรียบ เสมือนวงเวียนไม้บรรทัด จุดสำคัญอยู่ที่ผู้ใช้ วิธีคิด การมองรูปทรง ระบบการวางแผน สำหรับผู้เริ่มต้นในการ แกะสลักแนะนำให้จับโครงสร้างโดยรวมภายนอกทั้งหมดก่อน สำหรับผู้เขียนทดลองใช้อีกวิธีหนึ่งคือเจาะเข้า ไปถึงรูปทรงด้านซีกซ้ายโดยตรง พบว่ามีการลวงตามาก เช่นเวลาเผื่อระยะของพื้นผิวบริเวณจมูก จะลวงตาให้ เรามองรูปทรงของปาก และคางใหญ่กว่าปรกติ คือมักจะมองรูปทรงใหญ่กว่าจริงและลามออกไป ทำให้ผลงาน มีโอกาสผิดสัดส่วนได้มาก ความพิเศษของงานแกะสลักคือ สามารถเอาเนื้อวัสดุออกได้อย่างเดียวไม่สามารถเติมเนื้อวัสดุเข้าไป ได้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นของผู้ปฏิบัติงานต้องใช้การตัดสินใจที่ชัดเจนในการสกัดออกเพราะพลาดไม่ได้จึงเป็นสิ่งที่ ท้าทายผู้สร้างผลงานเป็นอย่างมาก ก่อนจะลงมือสกัดหินออกต้องชัดเจนในรูปทรงที่มอง ซึ่งจะสัมพันธ์กับ รากฐานทางศิลปะของแต่ละคน การมองรูปทรงที่ดีก็จะกล้าตัดสินใจในการสกัดออก เครื่องมือ Pointing machine เป็นตัวช่วยในการตรวจสอบการทำงานแต่สุดท้ายความรู้ทางศิลปะและการมองรูปทรงก็ยังเป็นสิ่งที่ ขาดไม่ได้ จากที่กล่าวมา พื้นฐานของการศึกษาศิลปะก็ยังคงมีความจำเป็นอย่างมากในการสร้างสรรค์ผลงาน เครื่องมือต่างๆที่เกิดขึ้นตามยุคสมัยเป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวกในการสร้างผลงานและการเข้าไปถึง เนื้อหาทางศิลปะได้มากขึ้น ข้อเสนอแนะในการอภิปรายในครั้งนี้ส่งทอดความหมายของการสร้างงานศิลปะที่ ควรจะหนักแน่นในพื้นฐานของวิชาศิลปะต่าง ๆ และต้องอนุรักษ์ไว้ เพื่อที่จะเป็นรากฐานสำหรับการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะต่อไป เอกสารอ้างอิง ไพยันต์ บรรจงเกลี้ยง (2559), หินและงานประติมากรรมในศตวรรษที่ 21, กรุงเทพ dial gauge. เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://thai.biggo.com/s/%E0%B9% 84%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0% EdouardLanteri (1985), modelling and sculpture the human figure. London: Dover Publications. museocanova (2022), Antonio Canova. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 10/3/2565เข้าถึงได้จาก https://www. museocanova.it/antonio-canova/?lang=en Nicolas-Marie Gatteaux. เข้าถึงเมื่อวันที่8 มิถุนายน 2564. เข้าถึงได้จากhttps://www.google.com/search ?q=carving+point+tool Pointing machine. เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564. เข้าถึงได้จาก www.google.com/search?q=carving+ point+toolB8%A5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0 %B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A/