The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

93 การออกแบบร่างภาพประกอบหลักสื่อประชาสัมพันธ์สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก และสื่อสร้างสรรค์ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ The Alternative Key Visual Sketch Designs for Computer Graphic & Creative Media Design Program Promotion Posters ทนงจิต อิ่มสำอาง, Tanongjit IMSOMANG ภาควิชาการออกแบบ สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ Computer Graphic & Creative Media Design, Department of Design, Faculty of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute E-mail : [email protected], [email protected] บทคัดย่อ การสร้างแนวทางเลือกของการออกแบบร่างภาพประกอบหลักเพื่อสนับสนุนสื่อสร้างสรรค์สำหรับ ช่องทางการตลาดสำหรับการสื่อสารหลักสูตรออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์การสร้างโอกาสทางการสื่อสารตลาดให้กับกลุ่มเป้าหมาย เยาวชน นักเรียน นักศึกษา โดยการออกแบบใบปิดโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่สามารถผสมผสานศิลปวัฒนธรรมและศิลปร่วมสมัยเข้าด้วยกัน รวมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาด เพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) พัฒนารูปแบบและแนวทางการออกแบบภาพประกอบเพื่อสื่อประชาสัมพันธ์การ สร้างมาตรฐานแบรนด์ให้กับสาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์เพื่อเป็นต้นแบบให้กับสาขาอื่น ๆ และ คณะศิลปวิจิตร (2) ศึกษาแนวโน้มของการออกแบบที่มีผลต่อการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีส่วนร่วม (3) ออกแบบโปสเตอร์เพื่อสนับสนุนสื่อสร้างสรรค์สำหรับช่องทางการตลาดสำหรับการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ หลักสูตรออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์คณะศิลปวิจิตร โดยมีวิธีการดำเนินงานตั้งแต่ การศึกษา และรวบรวมรูปแบบแนวโน้มของสื่อสร้างสรรค์ใบปิดโฆษณาประชาสัมพันธ์ออกแบบร่าง ภาพประกอบต้นแบบ และออกแบบร่างทางเลือกของใบปิดโฆษณา ผลของการศึกษา การออกแบบร่าง ทางเลือกใบปิดโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์เพื่อการสื่อสารการตลาดสมัยใหม่ที่สามารถดึงดูดความสนใจของ เยาวชน นักเรียน นักศึกษาหรือผู้บริโภคยุคใหม่ต่อ ‘การสร้างทางเลือกใหม่ในการสื่อสร้าง’ สามารถเป็น ต้นแบบให้กับสาขาฯ หลักสูตรฯและคณะศิลปวิจิตร และยังสอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์ได้อย่างร่วมสมัยและยั่งยืน คำสำคัญ: การออกแบบร่าง, การออกแบบภาพประกอบ, การออกแบบใบปิดสื่อโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์, แพลตฟอร์ม การตลาดดิจิทัล


94 Abstract Creating alternative approaches to key illustration design to support creative media for communication marketing channels for computer graphic & creative media program. Faculty of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute Creating marketing communication opportunities for target groups, youths and students by designing a promotional poster that can blend Art, Cultureand Contemporary Art together, as well as developing a marketing platform to support public relations for the Faculty of Fine Arts Bunditpatanasilpa Institute. The objectives are as follows: (1) Develop a format and design guidelines for public relations media from creating key visual illustration for computer graphic & creative media poster to be a model for other programs at the Faculty of Fine Arts (2) to study the design trend that affects the perception of the target audience with participation; (3) to design posters to support creative media for marketing channels for communication to promote the computer graphic and media design program. There are methods of operation ranging from studying, surveying, and collecting trends in creative media, advertising leaflets, and public relations. by surveying the perception needs and interviews with the target group, youth, students in Bunditpatanasilpa Institute.The results of the study, design, modern marketing communication that can attract the attention of youth, students or modern consumers. 'Creating new alternatives in media creation' can indicate the identity of 'identity', as a guideline, as a Model for each Majors, Programs and other Faculties. It also corresponds to the vision and mission of Bunditpatanasilpa Institute in a contemporary and sustainable way. Keywords: Sketch Design, Illustration Design, Poster Design, Digital Marketing Platform 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ปีการศึกษา 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ได้เปิดหลักสูตรคอมพิเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์เป็น หลักสูตรใหม่ของภาควิชาออกแบบ คณะศิลปวิจิตร ดังนั้นการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯจึงมี ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สืบเนื่องจากปัจจัยปัญหาของนักศึกษาลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการรูปแบบและการ ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ การสร้างแบรนด์องค์กรยังไม่สามารถสื่อสารให้เป็นที่รู้จักด้วยทั่วไปถึงภารกิจหลัก ทางด้านการให้การศึกษาทางด้านศิลปวัฒนธรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์และออกแบบ โดยเฉพาะ คอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ในฐานะหลักสูตรใหม่ ชึ่งมีแนวความคิดเชิงการออกแบบสื่อเพื่อ ประชาสัมพันธ์สำหรับช่องทางการตลาดสำหรับการสื่อสารหลักสูตรฯ การสร้างโอกาสทางการสื่อสารตลาด ดิจิทัลให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยการผลิตสื่อและการพัฒนาแบรนด์ รวมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดเพื่อเพิ่ม โอกาสทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัลในต้นปีการศึกษา ดังนั้นในภาคการศึกษาต่อไปจึงได้มี


95 การกำหนดแนวทางเลือกของการออกแบบร่างภาพประกอบหลักเพื่อสนับสนุนสื่อสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องสำหรับ การสื่อสารหลักสูตรออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบภาพประกอบ Illustration Design แนวคิดและทฤษฎีการออกแบบภาพประกอบ ใช้หลักศิลปะในการสร้างสรรค์ภาพประกอบ เป็นงาน ศิลปะประเภทหนึ่งที่กระบวนการสร้างสรรค์ต้องอาศัยหลักการและทฤษฎีทางศิลปะ จึงจะทำให้งานสร้างสรรค์ ภาพประกอบมีคุณค่า ความงาม ความหมายแก่ผู้ดู แม้ว่าจะถ่ายทอดด้วยเทคนิควิธีใดๆก็ตาม หลักการและ ทฤษฎีที่จะช่วยส่งเสริมให้ผลงานโดดเด่น ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ภาพประกอบมีดังนี้ 1. องค์ประกอบทางศิลปะ Art Elements เส้น Line รูปร่างและรูปทรง Shape & Form พื้นผิว Texture สี Color แสงและเงา Light & Shade พื้นที่ว่าง Space 2. หลักการทางศิลปะ Principle of Art ความสมดุล Balance การเน้น Emphasis ความกลมกลืน Harmony ความหลากหลาย Variety ความลดหลั่น Gradation จังหวะ Rhythm สัดส่วน Proportion เอกภาพ Unity ขั้นตอนการสร้างภาพประกอบ Illustration Design Process การสร้างภาพประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์ ผู้สร้างสรรค์ภาพจะต้องทำความเข้าใจถึงประเภทของสิ่งพิมพ์ ว่าเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด เพื่อจะกำหนดลักษณะงานภาพประกอบได้อย่างเหมาะสม ทั้งรูปแบบและเทคนิคการนำเสนอ ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงกระบวนการผลิตภาพประกอบด้วย สำหรับขั้นตอนการสร้างภาพประกอบ มีขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาเรื่องราวหรือเนื้อหา เป็นขั้นตอนแรกในการสร้างภาพประกอบ ซึ่งนักออกแบบจะต้องทำ ความเข้าใจ ในเนื้อหา เรื่องราว แนวคิด ก่อนที่จะลงมือสร้างภาพประกอบ เพื่อขอทราบข้อมูลบางประการ เกี่ยวกับโจทย์ทางการออกแบบและหัวข้อในการกำหนดความคิดสร้างสรรค์การอ่านเรื่องอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะช่วยให้การทำงานของนักออกแบบได้ง่ายขึ้นเพราะจะเข้าใจเรื่องราวเนื้อหา ทำให้สามารถคัดเลือกเนื้อหาที่ นำมาสร้างภาพประกอบขณะเดียวกันการอ่านจะช่วยให้นักออกแบบเกิดจินตนาการภาพตามเรื่องราว ซึ่งจะ นำไปสู้การสร้างสรรค์ภาพได้อย่างสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง และยังจะช่วยให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept) ในการเลือกเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพไปด้วย นอกจากนักออกแบบจะสามารถจับประเด็นหรือเรื่องราวได้แล้ว ยังก่อให้เกิดแรงบันดาลใจเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งจะเป็นตัวชี้ทางเลือกว่าจะใช้เทคนิคการสร้างสรรค์แบบใด 2. การเลือกใช้วัสดุสำหรับสร้างสรรค์ภาพประกอบ วัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานภาพประกอบ มีมากมาย หลายชนิด เพื่อสำหรับศิลปินแลผู้สร้างสรรค์ได้เลือกใช้ตามความถนัด สอดคล้องกับเทคนิคการสร้างสรรค์ ที่จะสามารถ สร้างเรื่องราวและอารมณ์ของภาพประกอบให้เป็นตามเจตนาวัสดุและอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการสร้างภาพประกอบมี ดังนี้ดินสอดำดินสอคาร์บอน ถ่านชาร์โคล สีชอล์ก หมึก ปากกา สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคลีลิค กระดาษ สีพาสเทล เป็นต้น 3. วิธีการสร้างสรรค์ภาพประกอบ งานสร้างสรรค์ภาพประกอบเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการ ออกแบบงานผลิตสื่อประชาสัมพันธ์สื่อที่ขาดภาพประกอบ ย่อมมีผลกระทบที่จะทำให้สื่อนั้นขาดเสน่ห์ ขาด แรงจูงใจ หรืออาจทำให้การสื่อสารความหมายไม่บรรลุผลเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้นักออกแบบจึงให้ความสำคัญ กับภาพประกอบเป็นลำดับแรกที่จะกำหนดภาพลักษณ์ของสื่อนั้น ๆ ทั้งด้านเนื้อหาและเรื่องราวที่จะสะท้อนให้


96 ผู้รับสื่อทราบ โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ภาพประกอบที่ปรากฏในวารสาร นิตยสาร บทความ หนังสืออ่านสำหรับเด็ก นักออกแบบหรือผู้สร้างภาพประกอบต้องหาวิธีสร้างสรรค์ภาพออกมาให้มีพลังในการ สื่อความหมายตามเนื้อเรื่อง และเหมาะสม สอดคล้องกับประเภทของประชาสัมพันธ์นั้นๆ รวมถึงสื่อดิจิทัล ออนไลน์ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก เทคนิควิธีการสร้างสรรค์จึงเป็นขั้นตอนสำคัญ อย่างไรก็ตามไม่ว่า นักออกแบบจะเลือกใช้เทคนิคการสร้างสรรค์แบบใด จะต้องคำนึงถึงคุณภาพของภาพประกอบนั้น ๆ การออกแบบใบปิดสื่อโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์Poster Design การออกแบบใบปิดสื่อโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์หรือการออกแบบโปสเตอร์คือ แผ่นภาพสำหรับการ สื่อสาร การนำเสนอ ประชาสัมพันธ์ โปรโมท โฆษณา รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ การออกแบบโปสเตอร์ให้ มีความน่าสนใจ มีความแปลกใหม่และน่าดึงดูด เพื่อให้สารที่ต้องการส่งต่อถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งข้อดี ของการออกแบบโปสเตอร์ในอดีตจนถึงปัจจุบันได้มีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย พร้อมกับเทคนิคการออกแบบ วัสดุที่เลือกใช้ ไปจนถึงแนวการใช้ภาพสื่อสารตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นไม่ว่าปัจจุบันโลกจะ พัฒนาไปไกลจนการใช้งานโปสเตอร์คล้ายว่าจะลดลง ถึงอย่างนั้นทราบหรือไม่ว่า การออกแบบโปสเตอร์ด้วย ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ยังคงใช้ได้ผลกับการตลาดทุกยุคทุกสมัย การออกแบบโปสเตอร์ไม่ใช่แค่การสื่อสารที่ตรงประเด็นเท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ เกี่ยวข้องอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้มีคุณภาพพร้อมทั้งสื่อถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดีด้วย ซึ่งจะมีวิธีการ ออกแบบโปสเตอร์ที่น่าสนใจ คือ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการออกแบบ เพื่อให้ผลงานการออกแบบโปสเตอร์ออกมาตรงใจและ สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คุณควรกำหนดวัตถุประสงค์ก่อนเสมอ โดยทั่วไปแล้วโปสเตอร์ทั่วไป สามารถแบ่งวัตถุประสงค์ได้ดังต่อไปนี้1) การเชิญชวน เป็นการออกแบบโปสเตอร์เพื่อเชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมาย เข้า มามีส่วนร่วมกิจกรรมนั้น ๆ ที่ได้จัดขึ้น โดยจะต้องออกแบบให้มีความน่าสนใจ สื่อถึงกิจกรรมได้อย่างชัดเจน 2) การแนะนำหรือโปรโมท เป็นการออกแบบโปสเตอร์เพื่อแนะนำ โปรโมท หรือประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับเรื่องใด เรื่องหนึ่งให้เกิดความน่าสนใจต่อกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น โปสเตอร์โฆษณาสินค้ารุ่นใหม่ ที่ จะต้องใช้ความรู้ในการออกแบบให้เตะตา เกิดความอยากรู้ ดึงดูดมากขึ้น 3) การสร้างการจดจำ เป็นการ ออกแบบโปสเตอร์เพื่อสื่อถึงสินค้าหรือบริการ ให้เป็นที่จดจำ ตรึงใจ และนึกถึง แบรนด์ทุกครั้งที่เห็น 2. การคำนึงถึงการติดตั้งและสถานที่ควรจะต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายจะรับสารหรือได้รับการตอบรับดี ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการออกแบบโปสเตอร์เพื่อนำเสนอโปรโมชั่นใหม่ ควรเลือกสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน พร้อมกับออกแบบการนำเสนอให้เห็นได้ง่าย เข้าใจง่าย ควบคู่ไปกับช่องทางการติดต่อที่รวดเร็วจึงจะดีที่สุด 3. การเลือกใช้วัสดุและเทคนิคในการออกแบบโปสเตอร์ที่น่าจดจำ ควรเลือกใช้เทคนิคเพียงหนึ่งเดียว หรือไม่เกิน 2–3 เทคนิค เพื่อให้ผู้รับสารเข้าถึงและไม่เกิดความสับสนในเรื่องการนำเสนอ รวมถึงช่วยเพิ่ม จุดเด่นให้โปสเตอร์มีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การนำเสนอด้วยภาพเทคนิคการถ่ายภาพเชิงสัญลักษณ์ การใช้ กราฟิกด้วยเทคนิคที่ล้ำสมัย หรือการเลือกใช้นางแบบนายแบบนำเสนอ เป็นต้น 4. สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ Print based และสื่อออนไลน์ Digital Based การเลือกสื่อ เลือกวัสดุที่ได้ มาตรฐาน และมีคุณภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อได้การออกแบบโปสเตอร์ที่ต้องการแล้ว หลังจากนั้นคุณ


97 ต้องไม่พลาดที่จะเลือกสื่อ เลือกวัสดุที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ และมีผลงานมีความคมชัดทุกจุด ตอบโจทย์ที่ ต้องการ เสมือนเป็นการนำเสนอถึงรสนิยมรวมถึงความใส่ใจของแบรนด์ จากผลงานการออกแบบใบปิดสื่อโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ในต้นปีการศึกษา คือผลงานต้นแบบที่ผู้ ศึกษาได้ออกแบบเชิงวิจัยถึงแนวโน้มและทิศทาง เพื่อนำเสนอเพื่อสื่อสารถึงรูปแบบของการเรียนการสอนของ สาขาใหม่คอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์โดยการกำหนดรูปแบบสื่อผ่านแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล สำหรับการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ และกำหนดการเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ภาพที่ 1 ผลงานการออกแบบใบปิดสื่อโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ในต้นปีการศึกษา ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ แพลตฟอร์มการตลาด หรือการตลาดดิจิทัล Digital Marketing Platform การสร้างแพลตฟอร์มการตลาดเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์หลักสูตรคอมพิวเตอร์กราฟิก เพื่อเป็นสื่อ สนับสนุน และเพิ่มโอกาสทางการสื่อสารตลาดต่อกลุ่มเป้าหมายผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และยังเป็นแพลตฟอร์ม เทคโนโลยีการโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบผสานรวมที่ช่วยให้ผู้ลงโฆษณาสามารถสร้างกลยุทธ์ การจัดการ และ ส่งเสริมสื่อสาร ดังนั้นการตลาดดิจิทัลสามารถสร้างผลกระทบสูงให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่ง แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลจะช่วยให้ผู้ใช้สร้างสรรค์งานกลยุทธ์ที่ครอบคลุมได้ในหลาย ๆ ช่องทาง ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เลือกใช้แพลตฟอร์มการตลาดครั้งนี้เป็น Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกออกแบบ ขึ้นมาให้สามารถเปิดใช้ได้โดยตรง สามารถเปิดใช้งานได้รวดเร็วในทุกแพลตฟอร์ม ประกอบกับปัจจุบันคนส่วน ใหญ่มีสมาร์ทโฟนใช้กันเกือบทุกคน การออกแบบเป็นแอพพลิเคชั่นก็สามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย และไม่ซับซ้อนต่อการใช้งาน จากการใช้งานไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถสื่อสารได้ง่ายและ หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอเป็นต้น ในเชิงการใช้งานทั่วไปแล้ว Facebook สามารถสื่อสารกับบุคคล ที่มีความเห็นชอบในเรื่องเดียวกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือรวมตัวกันทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งพูดคุยกับเพื่อนที่ไม่เจอกันมานานหรือพื้นที่อยู่ไกลกัน โดยที่เครือข่ายสังคมออนไลน์เข้าถึง กลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วและเป็นช่องทางการสื่อสารได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำมาใช้ทางด้านการ ประชาสัมพันธ์ ด้านธุรกิจ แนะนำสินค้า ผลิตภัณฑ์หรือองค์กร รวมถึงใช้เป็นช่องทางสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า สร้างกิจกรรมหรือพูดคุยตอบข้อซักถามถึงสินค้าและบริการ ผลการสำรวจจากประเทศสหรัฐอเมริกายังยืนยัน การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีปริมาณสูงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีและมาแรงเป็นอันดับต้นของโลกออนไลน์ จากข้อมูลจากรายงาน Thailand Digital Stat 2022 ของ We Are Social ที่เจาะลึก Insight ที่เกิด ขึ้นกับคนไทยและการตลาดออนไลน์ของไทยในปีที่ผ่านมา เพื่อให้เราเอามาใช้อ้างอิงวางแผนธุรกิจและ การตลาดได้แม่นยำยิ่งขึ้น Facebook ยังคงเป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งที่เข้าถึงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทย


98 ในช่วงอายุ 16-64 ปีได้มากถึง 93.3% ตามด้วย LINE อันดับสอง 92.8% อันดับสาม Facebook Messenger 84.7% และอันดับสี่ คือ TikTok มีสัดส่วนถึง 79.6% นำหน้าอันดับห้า Instagram ไปค่อนข้างมากเพราะวันนี้ คนไทยที่ออนไลน์ใช้แค่ 68.7% เท่านั้น ตามด้วยอันดับ 6 Twitter 53.1% และอันดับเจ็ด Pinterest 34% 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์Design Process 3.1 การออกแบบร่างภาพประกอบ Illustration Sketch Design การออกแบบร่างโดยนำเสนอองค์ พระคเณศในการออกแบบร่างภาพประกอบสำหรับใบปิดโฆษณาซึ่งมีการศึกษาเรื่องราวขององค์พระคเณศ หรือพระพิฆเนศอันเป็นองค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ เป็นตัวแทนของศาสตร์การศึกษา การออกแบบ ศิลปะการแสดง การสร้างสรรค์ และเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดเฉลียวและปัญญา เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการ สื่อสารถึงคณะศิลปวิจิตร และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ผ่านแรงบันดาลใจ จากการศึกษา สังเกตุ และสร้าง แบบร่าง โดยการสร้างภาพประกอบผ่านการออกแบบเชิงแนวคิด หลักการ กระบวนการออกแบบและพัฒนา แบบร่างจากใช้ลายเส้นสร้างสรรค์แสดงรูปทรงหรือลายเส้นแบบสาทสัมผัส Contour จากการวาดโดยใช้ตา มองที่เส้นขอบขององค์พระคเณศ นำมาทดลองผสมแนวคิดของการออกแบบไอคอน Icon Design ที่เป็น กระบวนการในการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิกที่ใช้เป็นตัวแทนแสดงสัญญะของเทพแห่งศิลปวิทยาการ ผ่าน ลายเส้นและการใช้สีเรืองแสงหรือสะท้อนแสงฟูลออเรสเซนท์ Fluorescent และเพื่อการสื่อสารถึงศิลป วิทยาการทางด้านการออกแบบ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกให้เข้าใจได้กระชับและง่ายขึ้น อีกทั้งยังมี ความเป็นสากล โดยการออกแบบอาวุธขององค์พระคเณรให้สามารถสื่อสารถึงรายวิชาชีพที่นักออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ใช้เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ในการออกแบบ เช่น คอมพิวเตอร์พกพา กล้องถ่ายภาพดิจิทัล โดรนอากาศยานไร้คนขับ กล้องส่องภาพวีอาร์ไอเพด แท็บเล็ต และอื่นๆ ภาพที่ 2 แบบร่างภาพประกอบทางเลือกและใบปิดสื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ตัวอย่างอ้างอิงในการกำหนดทิศทางแบบร่างไอคอนทางเลือกเชิงทดลองทางเลือกแบบต่าง ๆ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


99 3.2 การออกแบบใบปิดสื่อโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ Poster Design ผู้ศึกษานำเสนอแบบร่างใบปิด ซึ่งมีการใช้ภาพประกอบโดยเลือกศึกษาเรื่องราวขององค์พระคเณศ หรือพระพิฆเนศอันเป็นองค์อุปถัมภ์แห่ง ศิลปวิทยาการ เป็นตัวแทนของศาสตร์การศึกษา การออกแบบ การแสดง และเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาด เฉลียวและปัญญา เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการสื่อสารถึงการศึกษาทางด้านทัศนศิลป์และการออกแบบของคณะ ศิลปวิจิตร ในการสื่อสารใบปิดสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยการกำหนด วัตถุประสงค์ทางการออกแบบ การคำนึงถึงสื่อที่สื่อสารต่อกลุ่มเป้าหมาย การเลือกใช้วัสดุและเทคนิคในการ ออกแบบโปสเตอร์ที่น่าจดจำ การเลือกใช้สื่อ การจัดองค์ประกอบของใบปิดสื่อโฆษณา ข้อความ ภาพประกอบ ตราสัญลักษณ์และการกำหนดระบบอัตลักษณ์องค์กร โดยการสร้างแบบร่างมือและโปรแกรมการออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกในการนำเสนอรูปแบบใบปิด แนวคิดสำคัญของการออกแบบสื่อสารใบปิดสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล คือ กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย สามารถใช้กับอุปกรณ์พกพาได้ เข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนสำคัญ ดังนี้1) การออกแบบเน้นแนวคิดและให้ความสำคัญกับความต้องการและความสะดวกสบายของ กลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ที่สามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลได้อย่างง่ายดาย 2) เนื้อหาที่จะใช้สื่อกับกลุ่มเป้าหมายของ แพลตฟอร์มออนไลน์การแจ้งข้อมูล ข่าวสาร รายละเอียดต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม โดยมีข้อมูลของการศึกษา ของหลักสูตรฯ ข้อมูลรายวิชาต่าง ๆ ข้อมูลห้องเรียน สตูดิโอสำหรับการฝึกปฏิบัติการ ข้อมูลกิจกรรมและ โครงการการเรียนรู้ต่าง ๆ และการเชื่อมโยงต่าง ๆ กับการสื่อสารกับนักศึกษาและคณาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้เห็นต้นแบบของการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์เพราะคือจุดสำคัญที่จะสามารถดึงความสนใจของนักเรียน นักศึกษา ให้สามารถคลิกเข้ามาดูการบริการในเว็บไซต์แพลตฟอร์มออนไลน์ได้3) การนำเสนอเหมาะสมต่อ ความต้องการของนักเรียน นักศึกษา และบุคคลที่สนใจ ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจที่จะเข้าศึกษาด้าน ทัศนศิลป์ ออกแบบ และคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง กับสาขาฯ 4) นักเรียน นักศึกษา บุคคลที่สนใจหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ภาพที่ 4 การออกแบบใบปิดสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


100 4. การวิเคราะห์ผลงาน การรับฟังความคิดเห็นเห็นจากคณาจารย์ประจำหลักสูตรคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ อาจารย์ นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาควิชาออกแบบ ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อการออกแบบและ พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์โดยให้เน้นการรักษาและคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒน ศิลป์ตลอดจนเชื่อมประสานกับศิลปวัฒนธรรม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และมี ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้ - ศาสตราวุธ อาวุธของพระคเณศที่ออกแบบจากแบบสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่สามารถบ่ง บอกได้ถึงการศึกษาและการเรียนการสอนเฉพาะทางวิชาชีพของสาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก เครื่องมือ เทคโนโลยี อุปกรณ์ทางการศึกษา ที่สามารถนำไปสื่อสารใช้งานในสื่อใบปิดประชาสัมพันธ์ได้หลากหลายทางเลือก ภาพที่ 5 ตัวอย่างสัญลักษณ์เครื่องหมายสำหรับสื่อสารการเรียนการสอนทางวิชาชีพเฉพาะ - การใช้ลายเส้นกราฟิกที่ใช้เป็นตัวแทนแสดงสัญลักษณ์ของเทพแห่งศิลปะวิทยาการของพระ คเณศ เพื่อการสื่อสารถึงศิลปวิทยาการทางด้านการออกแบบ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกให้เข้าใจได้ ง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีการพัฒนาต่อยอดจากการออกแบบใบปิดในชุดแรกต้นปีการศึกษา - ใบปิดต้นแบบร่างสามารถนำไปทดลองสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อ สนับสนุนการประชาสัมพันธ์สำหรับการรับสมัครนักศึกษาของหลักสูตรฯ โดยการนำเสนอรูปแบบการจัดวาง การใช้สี การใช้อาวุธที่หลากหลาย เพื่อสื่อสารถึงการเรียนการสอนในหลักสูตรฯ และยังสามารถสร้างระบบอัต ลักษณ์องค์กรได้ ภาพที่ 6 ภาพรวมผลงานการออกแบบร่างภาพประกอบกราฟิกใบปิดสื่อประชาสัมพันธ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


101 5. สรุปผลงานการออกแบบ การผลิตสื่อและการพัฒนาการออกแบบเพื่อเพิ่มโอกาสทางการสื่อสารตลาดและประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อดิจิทัล ได้มีการกำหนดแนวทางเลือกของการออกแบบร่างภาพประกอบเพื่อสนับสนุนสื่อสร้างสรรค์อย่าง ต่อเนื่องของหลักสูตรคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ ภาควิชาออกแบบ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ ที่สามารถบ่งบอกให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเชื่อมั่นในการเลือกเข้าศึกษาต่อ และสามารถสร้างการ รับรู้ ความน่าเชื่อถือได้ ดังนี้1) เป็นต้นแบบแนวทางการออกแบบภาพประกอบที่สามารถสื่อสาร ประชาสัมพันธ์2) สื่อสารความสามารถและศักยภาพของหลักสูตรทางด้านความรู้ผ่านการออกแบบที่คำนึงถึง แนวโน้มแนวทางการออกแบบกราฟิกในระดับสากล 3) หลักสูตรจะได้รับการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ผ่านใบปิด ประชาสัมพันธ์ ทั้งสื่อออฟไลน์และสื่อออนไลน์ก่อให้เกิดการรับรู้ สามารถพัฒนาออกแบบให้เป็นสื่อสร้างสรรค์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้4) โอกาสในการร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรทางการศึกษาทางด้านทัศนศิลป์และด้าน การศึกษาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ได้ในอนาคต เอกสารอ้างอิง ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์, 2549. การออกแบบนิเทศศิลป์ 1 หนังสือคณะศิลปกรรมศาสตร์:สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์. ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์, 2561. ประวัติศาสตร์การออกแบบกราฟิกและพลวัตของการออกแบบกราฟิก. Viscom Graphic, กรุงเทพฯ. สรุป Insight & Digital Stat Thai 2022 พฤติกรรมการออนไลน์ของคนไทย We Are Social https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/digital-stat-2022 - thai-insight-andonline-behaviour-from-we-are-social/ สืบค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2565. Ellen Lupton, 2011. Graphic Design Thinking: Beyond Brainstorming, Princeton Architectural Press, USA. Russell Bestley & Ian Noble, 2005. Visual Research, An Introduction to Research Methodologies in Graphic Design. AVA Publishing, UK. Vijay Kumar, 2004. 101 Design Methods, A Structured Approach for Driving Innovation in Your Organization, John Wiley & Sons, Inc.


102 ประชาธิปไตยเป็นเหตุ Democracy cause ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล, Taweewat Jittiwetkul วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม College of Fine Arts Ladkrabang Bangkok Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมาเป็นระยะเวลากว่า 90 ปี มีรัฐธรรมนูญเป็นกติกา หลักในการคุ้มครองพลเมืองให้มีเสรีภาพ เสมอภาคและเท่าเทียมกัน รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิด้วย นับเป็นการปกครองที่เหมาะสมกับบริบทและสภาพสังคมปัจจุบัน แต่ยังพบการละเมิดสิทธิพลเมืองตาม สาธารณะสถานต่างๆ อยู่เสมอ ในงานสร้างสรรค์นี้ นำเสนอภาพถ่ายแบบวิถีชีวิต (Street & Life Photography) ที่แสดงสภาพความไม่สะดวกในการเดินทาง อันเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพพลเมืองโดยภาครัฐ เพื่อป้องกันการ ชุมนุมเรียกร้องสิทธิของภาคพลเมือง ซึ่งถูกนับเนื่องว่า เป็นการกระทำที่ชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ผลการศึกษาพบว่า ภาพการปิดถนนซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิพลเมือง แต่อาจเป็นความชอบธรรมเพราะ กว่าจะได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ต้องผ่านการชุมนุมเพื่อแสดงออกความต้องการ ในชีวิต ประจำวันของพลเมือง มีโอกาสได้รับความเดือดร้อน อันมีเหตุมาจากความต้องการสิทธิได้เสมอ และเมื่อย้อน หาสาเหตุของการถูกละเมิดสิทธิแล้วจึงพบว่า เป็นการกระทำเพื่อปกป้องสิทธิของภาครัฐด้วยเช่นกัน ดังนั้น ระหว่างความต้องการสิทธิก็จะพบการละเมิดสิทธิแทรกอยู่เรื่อยไป สำหรับผลการวิเคราะห์งานสร้างสรรค์จาก ภาพที่บันทึกไว้ประกอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สามารถสรุปเหตุแห่งความอยากได้ประชาธิปไตยออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ต่อต้านเมื่อแรกพบ 2) ทำใจเมื่อไตร่ตรองและ 3) ชินชาจนเข้าใจ คำสำคัญ: สิทธิขั้นพื้นฐาน, การมีส่วนร่วม, การละเมิดสิทธิ, การคิดเชิงมโนทัศน์ Abstract Thailand has been democratic for over 90 years. There is a constitution as the main rule for protecting citizens with freedom. Equal and equal Including preventing rights violations It is a rule that is appropriate for the current context and social conditions. But always found violations of civil rights in public places in this creative work presenting lifestyle photos (Street & Life Photography) that shows the condition of travel inconvenience. Which restricts civil liberties by the government to prevent the assembly of civil rights which is counted as Is a legitimate act according to democracy


103 The results show that the closing of the road, which is a violation of civil rights But may be justified because of the acquisition of a complete democracy Must pass a rally to express the need In the daily lives of citizens Have a chance of suffering Which is always due to the need for rights, and when looking back at the cause of the violation of rights, it was found that It is also an act to protect the rights of the government. Therefore, between the need for rights, the rights will continue to be found for creative analysis results from recorded images, consisting of concepts can summarize the reason for wanting democracy into 3 levels, namely 1), when first found 2) come to mind when contemplating and 3) Shin Chins until understanding. Keywords: basic rights, Political sharing, Violation of rights, Conceptual thinking 1. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตาม แบบสหราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่องเกิน 90 ปีซึ่งระบอบประชาธิปไตยนั้น ยอมรับสิทธิและอำนาจพลเมืองทุก คนอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิพลเมืองไม่ให้ถูกละเมิดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ส่วนด้านการบริหาร มีนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับฉันทานุมัติจาก ประชาชนให้เป็นผู้นำในการบริหารตามพันธกิจภาครัฐและยุทธศาสตร์ของชาติรวมทั้งออกแนวนโยบาย สำหรับให้หน่วยงานภาครัฐนำไปปฏิบัติเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชน รวมทั้งขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมการ บริการให้ตอบสนองต่อสังคมไทยในยุคชีวิตวิถีใหม่ รองรับความท้าทายในอนาคต โดยยึดประชาชนเป็น ศูนย์กลางและคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นสำคัญ (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. 2565) จึง อาจกล่าวได้ว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นความชอบธรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ รวมทั้งพลเมืองไทย ด้วย แต่เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นสังคมแล้ว สิทธิดังกล่าวอาจถูกจำกัดด้วยกฎเกณฑ์อันเป็นกติกาสำคัญของการอยู่ ร่วมกัน การแสวงหาเสรีภาพ จึงเป็นหน้าที่ร่วมกันของประชาชนในสังคม แต่หลักการจัดสรรอำนาจการ ปกครองของแต่ละสังคมก็มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ทำให้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน อาจประสบ กับความลำบากและเกิดความไม่สะดวกได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในภาวะที่สังคมมีความแตกต่างทางความคิด มีการแสดงออกซึ่งความต้องการและแสดงพลังเรียกร้องด้านต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดข้อขัดข้องวุ่นวายขึ้นได้ ผู้สร้างสรรค์ได้ประสบกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เป็นทั้งปัญหาและความไม่สะดวกเกี่ยวกับการ เดินทาง สาเหตุจากการปิดการจราจรในบางพื้นที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์ใช้สิทธิเรียกร้องหรือแสดงออกซึ่งพลัง ความต้องการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบางอย่าง ทำให้เข้าใจได้ว่า การใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของ พลเมืองกลุ่มหนึ่งนั้น ล้วนแล้วแต่กระทบต่อการทำงาน การเดินทางหรือการใช้ชีวิตประจำวันของพลเมืองอีก กลุ่มด้วย ดังนั้น หากพิจารณาอย่างแยบคายถึงมูลเหตุแล้ว การใช้สิทธิเรียกร้องของพลเมืองก็ละเมิดสิทธิโดย ชอบธรรมของพลเมืองด้วยเช่นกัน


104 เมื่อได้รับความไม่สะดวกในการเดินทางและได้ใช้มโนทัศน์พิเคราะห์เหตุการณ์ด้วยประสบการณ์และ อุดมคติจึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่จะอธิบายปรากฎการณ์เป็นผลงานสร้างสรรค์ชุด ประชาธิปไตยเป็นเหตุ โดยนำภาพที่บันทึกวิถีชีวิต (Steet & Life) ในชีวิตประจำวัน มาบรรยายและขยายความแบบวรรณกรรม ร้อยกรอง กระทู้กลอนหก นำเสนอมุมมองส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบความคิด ที่ได้มา จากภาพที่บันทึกไว้ในสถานการณ์เดียวกัน สะท้อนความเป็นจริงของเหตุการณ์ตีความตามประสบการณ์และ ตีความเชิงสมมติตามกรอบอุดมคติแห่งระบอบการปกครองของประเทศ อธิบายให้เข้าใจและเข้าถึงมุมมองที่มี ต่อเหตุแห่งความอยากมีระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดในการสร้างสรรค์ครั้งนี้ เป็นมโนทัศน์ของผู้สร้างสรรค์ที่นำมาใช้สื่อนัยยะการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในสังคมไทย ดำเนินการผ่าน 3 กรอบแนวคิด คือ ต้นทางแรงบันดาลใจ กรอบการสร้างสรรค์ ผลงานและกรอบการวิเคราะห์ผลงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 กรอบต้นทางแรงบันดาลใจ คือ แนวคิดหลักการปกครองประชาธิปไตย เป็นต้นทางที่นำมาใช้ อธิบายสภาพเหตุการณ์ที่ประสบในชีวิตประจำวัน ในการปกครองแบบประชาธิปไตย เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้ปราศรัยต่อสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948 ว่า Democracy is the worst form of government except for all those others that have been tried หมายถึง ประชาธิปไตยไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดแต่เป็นรูปแบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุด ส่วน Adam. Przeworski (1991). อธิบายว่า ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่พลเมืองเป็นเจ้าของอำนาจโดยเลือก ผู้ทำหน้าที่แทนผ่านระบบการเลือกตั้ง รากฐานความคิดประกอบด้วยเสรีภาพ เสมอภาค สิทธิพลเมือง สิทธิใน ชีวิตและสิทธิฝ่ายเสียงข้างน้อย แบ่งอำนาจจากกลุ่มคนมาเป็นของสาธารณะซึ่งสอดคล้องกับคำอธิบายของ ประภัสสร ทองยินดี (2558) ที่ว่า ประชาธิปไตยเป็นการปกครองโดยประชาชน แพร่หลายทั่วโลก มี วิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ การเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยจะช่วยให้รู้จักสิทธิ เสรีภาพและการ ดำเนินชีวิตร่วมกันและสอดคล้องกับพระครูอุดมเจติยารักษ์ (2561) ที่นิยามว่า ระบอบประชาธิปไตยให้ ประชาชนกำหนดสิทธิ เสรีภาพ อิสระภาพทางความคิด การดำเนินชีวิต หรือการกระทำที่อยู่ภายใต้กฎหมาย และถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจ สำหรับในประเทศไทย เป็นแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สรุปจากแนวคิดประชาธิปไตยทำให้เห็นว่า ประเทศไทยมีระบอบการปกครองที่มุ่งเน้นการคุ้มครอง สิทธิพลเมืองอย่างเท่าเทียมเสมอภาคและให้เสรีภาพในการแสดงออกในที่สาธารณะอย่างเปิดเผย ผลจากการ แสดงออกความต้องการตามหลักประชาธิปไตยนี้ บางครั้งก็เป็นการกระทบสิทธิและละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น ด้วยเช่นกัน การอยู่บนเส้นทางความพอดีในการเรียกร้องความต้องการของตนเองกับการไม่ละเมิดผู้อื่น จึงเป็น จุดตัดที่ควรได้รับการพิจารณาและทำความเข้าใจร่วมกันให้กระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อความสงบสุขสันติใน สังคม 2.2 กรอบการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์ใช้แนวคิด Conceptual Art และแนวคิดการถ่ายภาพ แบบวิถีชีวิต (Street & Life photography) เพราะมีความสนใจศิลปะรูปแบบอื่นที่นอกเหนือจากงานศิลปะ


105 ประเพณีนิยมหรือศิลปะกระแสหลัก โดยให้ความสําคัญกับการทำงานเชิงแนวความคิดและการถ่ายภาพ รวมทั้งการคิดเชิงมโนทัศน์ตามทฤษฎีที่อยู่ในวิถีรายละเอียดแนวคิดสร้างสรรค์โดยสรุปมีดังนี้ แนวคิด Conceptual Art ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (2560). อธิบายว่า เป็นแนวคิดทางศิลปะแขนง หนึ่ง ที่ปฏิเสธขนบธรรมเนียมและแนวทางเดิมของศิลปะ โดยยกให้ความคิดเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญที่สุดและถือ ว่าเพียงพอแล้วสำหรับศิลปะ ส่วนด้านความงาม สุนทรียะ ทักษะ ฝีมือของศิลปินหรือการแสดงออกทาง อารมณ์และมูลค่าเพิ่มทางการตลาดเป็นสิ่งไม่จําเป็น ทำให้คนส่วนใหญ่มองว่า Conceptual Art ไม่ใช่ศิลปะ แต่ศิลปินคอนเซปชวล (Conceptual Artist) ก็ยังถือว่า แม้เพียงความคิดก็เป็นงานศิลปะ แนวคิดการถ่ายภาพ (Terry Barrett, 1996 อ้างถึงในอัษฎา โปราณานนท์, 2549) อธิบายว่า งาน สร้างสรรค์จากภาพถ่าย มีความสำคัญอยู่ที่กระบวนการสร้างและหน้าที่ของการใช้ภาพถ่ายเป็นหลัก ไม่ได้ยึด ติดที่ตัวแบบ แต่ยกให้วัตถุรูปธรรมสำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์โดยรูปแบบการถ่ายภาพเป็น 6 ประเภท คือ 1) ภาพถ่ายเชิงบรรยาย ให้รายละเอียดทางทัศนะและความชัดเจนของผู้คนและสถานที่ 2) ภาพถ่ายเชิง อธิบาย ให้รายละเอียดทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ มีความเป็นกลาง รายงานเหตุการณ์อย่างไร้อคติ3) ภาพถ่ายเชิงตีความ อธิบายสิ่งต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ไม่เที่ยงตรงเหมือนวิทยาศาสตร์ แต่ตีความเชิงอัตวิสัย เหมือนวรรณกรรม 4) ภาพถ่ายเชิงจริยศาสตร์เป็นการพิพากษาเพื่อเปลี่ยนสังคม อาจยกย่องหรือประณาม สังคมก็ได้ 5) ภาพถ่ายเชิงศิลปะ ถ่ายทอดด้วยวิธีที่สวยงาม หลากหลายและ 6) ภาพถ่ายเชิงทฤษฎีเปิด ประเด็นทางศิลปะและนำเสนอด้วยทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ สุทธิพจน์ เดชฉกรรจ์. (ออนไลน์). ได้นำเสนอแนวคิดและเทคนิคการถ่ายภาพวิถีชีวิต (Street & Life photography) ว่า เป็นแนวภาพที่ถ่ายง่าย แต่ทำให้ดียาก เพราะการจับจังหวะและสร้างสรรค์เรื่องราว ผ่านมุมมองของคนถ่ายภาพ อาจเกิดข้อจำกัดจากช่วงเลนส์ พื้นที่ มุมมองและประสบการณ์แต่เป็นแนวภาพที่ เหมาะกับการฝึกสร้างมิติมุมมอง ใช้สถานที่ ฉาก จุดหลัก จุดรองมาสร้างเรื่องราวเพื่อสื่อคุณค่า อาจไม่ต้องมี ภาพคนแต่ใช้ความเป็นนามธรรม (abstract) กับสิ่งของไม่มีชีวิตหรือสัตว์สำหรับถ่ายทอดเรื่องราวให้สัมผัส และรับรู้และไม่จำเป็นต้องเขียนอะไรก็สามารถสื่อความหมายได้ลึกซึ้ง หากผู้บันทึกภาพมีความสามารถนำสิ่งที่ พบมาเล่าเรื่อง และไม่ต้องสื่อแต่ความรันทด หดหู่ รุนแรงหรือสวยงามเพียงด้านเดียว เพราะการสื่ออารมณ์ที่ สร้างสรรค์ล้วนเป็นสิ่งที่ดีต่อสังคม แต่ผู้บันทึกต้องมีความคล่องตัวและกลมกลืนกับผู้คน สภาพแวดล้อม หลีกเลี่ยงความโดดเด่น เน้นสร้างมิตรภาพ นอบน้อม ถ่อมตน เพื่อความปลอดภัยและลดความหวาดระแวง ของผู้ที่ถูกถ่าย โดยสามารถขออนุญาตตัวแบบก่อนได้ในบางสถานการณ์ แสงและทิศทางแสงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้ภาพดูมีน้ำหนัก เน้นอารมณ์เรื่องราวได้มากขึ้น อารมณ์ภาพต้องสะท้อนวิถีชีวิตที่ต้องการสื่อ เพื่อสร้างความรู้สึกร่วม และสามารถผสมผสานกับแนวภาพอื่นได้เพื่อสร้างจุดเด่นในการสรรค์สร้าง จินตนาการออกมา 2.3 กรอบการวิเคราะห์ผลงานศิลปะ ในงานสร้างสรรค์นี้อธิบายด้วยทัศนะเกี่ยวกับการศึกษา สร้างสรรค์งานศิลปะของสวัสดิ์ ตันติสุข (2550) ที่กล่าวถึงการวิเคราะห์ผลงานว่า งานทัศนศิลป์นั้น ผู้ สร้างสรรค์เป็นผู้ที่ได้เห็นงานของตนเองของก่อนผู้อื่น ต่างจากงานนาฏดุริยางคศิลป์ ที่ผู้ชมจะได้เห็นพร้อมกัน ในสังคม การวิเคราะห์งานศิลปะจึงเป็นเหมือนการวิเคราะห์ตนเองพร้อมไปกับการประมวลความรู้ ความเข้าใจ


106 ในคุณค่าของงานศิลปะที่ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง จนมีฝีมือและประสบการณ์ตามที่ได้รับการศึกษามา งาน ศิลปศึกษา (Academic Work) ที่ทำขึ้นก็จะมีคุณค่า (Artistic Value) ในทางวิจิตรศิลป์ได้ ส่วนในด้านการ สร้างสรรค์ควรทำพร้อมกันไปทั้งสามอย่าง คือ สมอง (ความคิด) ใจ (บริสุทธิ์ จริงใจ) และมือ (ฝีมือในการ แสดงออก) และต้องใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมจากศิลปะและศาสตร์ต่างๆ เพื่อนำคุณค่ามาเปรียบเทียบและใช้ใน การสร้างสรรค์ตามประสบการณ์ตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มุ่งมั่น กล้าคิด กล้าทำ กล่าวโดยสรุป แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากความไม่สะดวกในการ เดินทาง เพราะการจราจรติดขัดจากเหตุเรียกร้องและแสดงออกซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมือง ผ่านภาพถ่ายที่ บันทึกไว้ในระหว่างทางและนำมาวิเคราะห์ ตีความสร้างบทสรุปผลงาน ชุด ประชาธิปไตยเป็นเหตุในครั้งนี้ 3. กระบวนการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงาน ชุด ประชาธิปไตยเป็นเหตุ ในครั้งนี้ มีรายละเอียดของกระบวนการสร้างสรรค์ เทคนิค วิธีการ ประเภทและรูปแบบของผลงาน ดังนี้ 3.1 การสร้างสรรค์ ชุดประชาธิปไตยเป็นเหตุ ดำเนินการโดยใช้ภาพถ่ายที่บันทึกในชีวิตประจำวันมา นำเสนอ เพื่ออธิบายความไม่สะดวกในการเดินทาง อันเกิดจากการใช้สิทธิโดยชอบตามหลักการปกครองแบบ ประชาธิปไตยของพลเมืองและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เพราะชีวิตการเดินทางประจำวัน ต้องประสบกับปัญหาที่ต้อง สัมผัสแบบหลีกเลี่ยง คือ ปัญหาการจราจรทั้งที่เป็นปกติและผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุจากความไม่สงบ มี การปิดถนน ปิดสถานที่ราชการ ห้ามผ่านสถานที่สำคัญ เป็นต้น ภาพการปิดถนน จึงเป็นเหตุต้นทางของงาน สร้างสรรค์นี้และระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นส่วนสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดเหตุนี้ 3.2 เทคนิคการสร้างสรรค์เป็นบันทึกภาพแบบวิถีชีวิต คือ บันทึกเหตุการณ์ของผู้คน สถานที่และวิถี ชีวิต ที่สื่อความหมายมาจากความขัดข้องใจ เมื่อต้องประสบเหตุการณ์ปิดถนนโดยภาคพลเมืองและปิด การจราจรโดยภาคราชการ ซึ่งไม่ได้มีการแจ้งล่วงหน้า ทำให้เกิดสภาพการจราจรที่ติดขัด ล่าช้ากว่าปกติมาก การบันทึกภาพ จึงไม่ได้ตั้งใจเหมือนในสถานการณ์ปกติแต่เป็นการบันทึกด้วยความคับข้องใจ งานสร้างสรรค์ นี้เป็นผลงานแบบ Street & Life Photography ขนาด 21x30 เซนติเมตร ใช้ประกอบการทำความใจ หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย 3.3 ประเภทของผลงานสร้างสรรค์ประกอบด้วย ภาพถ่ายวิถีชีวิต บทวิเคราะห์ภาพถ่ายด้วยกรอบ ความคิดตั้งต้น คือ แนวคิดประชาธิปไตยที่ให้สิทธิและละเมิดสิทธิพลเมือง นำเสนอเป็นกระทู้กลอนหก แบบไม่ บังคับสัมผัสตามหลักฉันทลักษณ์แต่ใช้อักษรนำตัวเดียวในแต่ละวรรค เพื่ออธิบายหลักการปกครองในอุดมคติ 4. การวิเคราะห์ผลงาน 4.1 การวิเคราะห์สถานการณ์จากภาพถ่ายที่ 1 พิจารณาจากเหตุการณ์และภาพถ่ายที่บันทึกระหว่าง เดินทางไปทำงาน ที่ประสบกับการปิดการจราจร เพื่อป้องกันกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ไม่ให้ผ่านไปสถานที่


107 สำคัญทางการเมืองการปกครอง อธิบายสภาพที่ประสบเชื่อมโยงไปสู่ต้นเหตุคือ ความต้องการเสรีภาพตาม ระบอบประชาธิปไตย รายละเอียดภาพและบทวิเคราะห์ มีดังนี้ ภาพที่ 1 ถูกละเมิดสิทธิเพื่อรักษาสิทธิ ที่มา : บันทึกภาพโดยผู้สร้างสรรค์ เดือนสิงหาคม 2564 บริเวณสี่แยก จปร. ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร กลอนกระทู้ ถอดความ ประ ชาชาติ ชอกช้ำ การดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นไปอย่างยากลำบาก ชา ชินกัน จนแย่ ต้องประสบเหตุการณ์อย่างนั้น ซ้ำซากจนจะเป็นความเคยชิน ธิป ไทยถ้วน ล้วนย่ำ ที่มาคือประชาชนแต่ละกลุ่ม มีความคิดแตกแยกย่ำยีกัน ไตย ตรึงตรา จิตตก ทำให้ผู้คนในสังคมไม่เป็นอันทำมาหากิน เกิดความวิตกกังวล เป็น ทุกข์เข็ญ ทั่วไป กลายเป็นความเดือนร้อนทุกข์เข็ญไปทั่ว เหตุ ไร้ซึ่ง สุขสันติ์ สาเหตุแห่งความไม่สงบ ล้วนเกิดจากการเรียกร้องที่มากเกินไป ตารางที่ 1 ความไม่สะดวกจากความแตกแยกทางความคิด สรุปบทวิเคราะห์ที่ 1 คือ ความอดทนเป็นต้นทางแห่งการพัฒนาประชาธิปไตย 4.2 การวิเคราะห์สถานการณ์ที่ 2 เป็นมโนทัศน์ใคร่ครวญสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจที่มาและสาเหตุที่แต่ละ กลุ่มล้วนต้องการความเจริญก้าวหน้า แต่อยากให้มีผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ ไม่ควรปล่อยให้ยืดเยื้อเรื้อรัง ภาพที่ 2 ห้ามผ่าน ปิดการจราจร มีการชุมนุม ที่มา : บันทึกภาพโดยผู้สร้างสรรค์ เดือนสิงหาคม 2564 บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร


108 กลอนกระทู้ ถอดความ ประ สบ จน ชอก ช้ำ เราประสบกับความเดือดร้อนอยู่ทุกวัน ชา ชิน ชัง ชน ชั้น เพราะประชาชนตั้งข้อรังเกียจซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่ม ธิป ธีร์ อยู่ อย่าง ไร ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายยังทนดูอยู่ได้อย่างไร ไตย ตรึง ตรา แตก ต่าง ทั้งที่เกิดความแตกแยกทางสังคมแบ่งเป็นสามกลุ่มอย่างชัดเจน เป็น ชุม ชัง เชียร์ เฉย มีทั้งกลุ่มที่ไม่ชอบ กลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มเป็นกลาง เหตุ อยาก อย่าง ไท้ ท่าน สาเหตุเพราะอยากเจริญอย่างประเทศชาติอื่น ตารางที่ 2 ต้องทำใจเพื่อเป้าหมายการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว สรุปบทวิเคราะห์ที่ 2 เมื่อผ่านความยากลำบากไปได้จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว การทำใจให้ชินเป็น จุดเชื่อมต่อของการสร้างระบบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ 4.3 การวิเคราะห์ผลจากภาพถ่ายที่ 3 เมื่อพิจารณ์ด้วยมโนทัศน์อย่างปัจเจกชน ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ขึ้นมาว่า เหตุที่พลเมืองมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากเป็นเพราะคนทั่วไปต้องการประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ ภาพที่ 3 ประชาธิปไตยเป็นเหตุ ที่มา : บันทึกภาพโดยผู้สร้างสรรค์ เดือนสิงหาคม 2564 สะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร กลอนกระทู้ ถอดความ ประ ปราม ปราบ แปลก ปลอม ปรากฎการณ์ที่เห็นคือ พฤติการณ์มุ่งขจัดกลุ่มผู้มีความเห็นต่าง ชา ชิน ชัง ชน ชั้น ทั้งที่ต่างฝ่ายก็ล้วนไม่ต้องการ การแบ่งแยกชนชั้น ธิป ท่าน ทำ ทั้ง ทวย แต่พอมีอำนาจก็มักจะเอื้อประโยชน์ให้แต่พวกพ้องตัวเอง ไตย ตรึง ตรา แตก ต่าง ทำให้คนทั้งสามกลุ่ม มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเสมอ เป็น ปม ปุ่ม ปุ้ม ปุย ด้วยเงื่อนไขทางสังคม ที่แบ่งแยกเป็นชนชั้นล่าง กลาง สูง เหตุ หัก หาม ห้าม หิต ทั้งนี้ มูลเหตุของความเห็นต่างเกิดจาก คือ ผลประโยชน์ ตารางที่ 3 จัดสรรประโยชน์เป็นประชาธิปไตย สรุปบทวิเคราะห์ที่ 3 คือ ความรู้ ความเข้าใจเท่านั้นที่จะเป็นปลายทางแห่งการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ


109 5. สรุป สรุปและอรรถประโยชน์ของผลงานสร้างสรรค์นี้ มีดังนี้ 5.1 สรุปผลงานสร้างสรรค์ ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีเหตุการณ์ที่สามารถพบได้ ทั่วไป คือ การคุ้มครองสิทธิและการละเมิดสิทธิภาพการปิดถนนที่เป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองนั้น อาจเป็น ความชอบธรรม เพราะกว่าจะได้สิทธิประโยชน์บางอย่างก็ต้องผ่านการชุมนุมเรียกร้องยาวนาน ดังนั้น ใน ชีวิตประจำวันของพลเมือง จึงมีโอกาสประสบเหตุการณ์ที่เป็นการถูกละเมิดสิทธิอยู่เสมอและเมื่อย้อนดูสาเหตุ ของการถูกละเมิดสิทธิแล้ว จึงพบว่า อาจเป็นการกระทำเพื่อปกป้องสิทธิด้วยเช่นกัน กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการชุมนุมแสดงพลัง ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลให้เกิดความ ไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องใช้ความพยายามอดทน ทำใจยอมรับและหาเหตุผลเพื่อเข้าใจให้ได้ ว่า ทุกการกระทำ ล้วนต้องการนำไปสู่เป้าหมายที่เป็นอุดมคติของแต่ละฝ่าย การสร้างสรรค์งานนี้เกิดจาก ความไม่ตั้งใจ แต่ใช้เหตุแห่งความไม่สะดวกที่ได้ประสบมาอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขั้น เพื่อชี้นำสังคม ให้เข้าใจ บริบทการเปลี่ยนแปลง มีหลายความคิดที่ซ้อนแฝงประกอบกันอยู่ ทั้งการเรียกร้องสิทธิ การรวมกลุ่มชุมนุม กดดัน การแสดงพลังความเห็นต่างและการปกต้องคุ้มครองสิทธิ 5.2 อรรถประโยชน์จากงานนี้คือ การอธิบายด้วยมโนทัศน์แห่งความเข้าใจบริบทต่างๆ ก่อนนำไปสู่ การเสนอฉากทัศน์ความคิดแบบปัจเจกชน ที่ได้เผชิญสถานการณ์ที่คับข้องใจ ในชั้นต้นต้องใช้ความอดทนผ่าน เหตุการณ์ในชั้นกลางได้ใช้ความคิดทบทวน พยายามทำความเข้าใจปรากฎการณ์สุดท้ายเสาะแสวงหาความรู้ ความเข้าใจเพื่อร่วมทางไปกับเป้าหมายของสังคม โดยสรุปในงานสร้างสรรค์นี้ แนวคิดมูลเหตุมาจากระบอบประชาธิปไตย ซึ่งพลเมืองต้องการสิทธิและ พบการละเมิดสิทธิแทรกอยู่เสมอ การวิเคราะห์ผลงานแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับแรก เกิดความรู้สึกต่อต้าน ทันทีเมื่อพบ เพราะกระทบต่อความรู้สึกที่ถูกละเมิดสิทธิระดับที่สอง เกิดการฉุกคิดได้ว่า ต้องอดทน ทำใจ ยอมรับให้ได้ แม้จะสูญเสียสิทธิอันชอบธรรมตามหลักการและระดับสุดท้าย เกิดความชินชาจนกลายเป็นความ เข้าใจได้ว่า การถูกละเมิดสิทธิในชีวิตประจำวัน คือ วิถีแห่งประชาธิปไตย ต้องอดทน ทำความเข้าใจและผ่าน ไปให้ได้ เพื่อปลายทางแห่งการเป็นสังคมอุดมคติร่วมกัน เอกสารอ้างอิง ประภัสสร ทองยินดี. (2558). ประชาธิปไตย: แนวคิดและหลักการเบื้องต้น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 5(3) กันยายน-ธันวาคม 2558 หน้า 11-22. พระครูอุดมเจติยารักษ์. (2561). แนวคิดประชาธิปไตยแบบองค์รวม. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2561). หน้า 36-52. ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (2560). ART IS ART, ART IS NOT ART อะไร (แม่ง) ก็เป็นศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แซลมอน. สวัสดิ์ ตันติสุข. (2550). การศึกษาสร้างสรรค์งานศิลปะ. ใน Visual Arts Festival 55th Anniversary of the College of Fine Arts. กรุงเทพฯ: Eastern Printing Public Company Limited


110 สุทธิพจน์ เดชฉกรรจ์. (ออนไลน์). แนวคิดและเทคนิคการถ่ายภาพวิถีชีวิต. สืบค้นวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เข้าถึงได้จาก http://www.vistaimage.net/street-photography/ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). 90 ปี สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สหมิตรการพิมพ์. Adam Przeworski (1991). Democracy and the Market. Cambridge University Press. Terry Barrett. (1996). Criticizing Photographs An Introduction to Understanding Images. The Ohio State University.


111 ความงามในธรรมชาติ Naturals Beauty ทัศนีย์ รุ่งทวีชัย, Tassanee Roongtaweechai 190 หมู่ 4 ต.สามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม 73150, 190 M.4 Samngam Dontoom Nakhon Pathom E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลงานศิลปะจากเครื่องเคลือบดินเผา ที่สื่อถึงความงามใน ธรรมชาติโดยได้ศึกษาค้นคว้า ทบทวนเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงานนี้ ข้าพเจ้าได้ถ่ายทอดเรื่องราวของความงามในธรรมชาติผ่านงานเครื่องเคลือบดินเผา โดยอาศัย แนวความคิดทฤษฎีจากทัศนธาตุ สี รูปทรง จังหวะ และหลักสุนทรีย์ศาสตร์ คือ ความงามที่เกิดขึ้นจาก ธรรมชาติ โดยใช้รูปทรงกลม แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ด้านบนเป็นรูปทรงที่เลียนแบบจากพืช และต้นไม้ ที่มี ความสวยงาม อ่อนช้อย ด้านล่างเป็นวงของคลื่นน้ำแสดงถึงสิ่งที่หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีความหมายในเชิง สัญลักษณ์สื่อถึงความงามในธรรมชาติมาใช้ในการสร้างสรรค์งานครั้งนี้ วัสดุหลักที่นำมาใช้ถ่ายทอดเพื่อเป็น ตัวแทนของความงาม คือ การนำดินมาใช้ในการสร้างสรรค์งาน และใช้เทคนิคการเคลือบ 1200 องศาเซลเซียส บรรยากาศ Oxidation ซึ่งเคลือบแต่ละตัวที่หลอมรวมกันเป็นเสน่ห์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทาบทาลงบนพื้นผิว ของชิ้นงาน เป็นความงามของความสมดุลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติผสมผสานกับการนำดินมาใช้ในการ สร้างสรรค์ โดยการปั้นดิน โดยสื่อออกมาในรูปแบบของศิลปะการสร้างสรรค์จากชิ้นงานเครื่องเคลือบดินเผา คำสำคัญ: ดินเผา, ความงามในธรรมชาติ, สัญลักษณ์, ความสมดุล Abstract This creation Its purpose is to create works of art from ceramics. That is the beauty of nature. I have conveyed the story of A Natural Beauty through ceramic sculptures. Based on concepts, and theories from visual elements, colors, shapes, rhythms, and esthetics principles, the beauty that arises from nature. I used a circular shape to mean abundance. The top is a shape imitating plants and trees that are beautiful and delicate. Below is a ring of water waves representing what nourishes various creatures. The symbolic meaning represents the beauty in nature. used in the creation of this work. The main material used to convey to represent beauty is the use of clay to create works. And using a 1200-degree Celsius glaze technique in the oxidation firing. in which each glaze fuses to form a naturally occurring charm applied to


112 the surface of the workpiece. It is the beauty of the balance created by nature. The main material used to represent beauty are clay to create works. Keywords: Ceramic, Natural Beauty, Emblem, Balance 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความประทับใจที่มีต่อความงามใน ธรรมชาติและได้ถ่ายทอดเรื่องราวของความงามในธรรมชาติผ่านชิ้นงานเครื่องเคลือบดินเผา ความงามที่ เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเลือกใช้รูปทรงกลม แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ด้านบนเป็นรูปทรงที่เลียนแบบจากพืช และต้นไม้ ที่มีความสวยงาม อ่อนช้อย ด้านล่างเป็นวงของคลื่นน้ำสี เขียวอมฟ้าแสดงถึงสิ่งที่หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์สื่อถึงความงามในธรรมชาติ มาใช้ในการสร้างสรรค์งานครั้งนี้ วัสดุหลักที่นำมาใช้ถ่ายทอดเพื่อเป็นตัวแทนของความงาม คือ การนำดินมาใช้ ในการสร้างสรรค์งาน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวความคิดและทฤษฎี ที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ ดังนี้ 1. หลักสุนทรียศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องความสุนทรียภาพที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และงานศิลปะที่มนุษย์ สร้างขึ้น อธิบายถึง ความสวยงาม ความงดงาม และความมีศิลป์ เป็นการรับรู้และความรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่ งาม รู้สึกไว เชิงสุนทรียศาสตร์ เชิงสุนทรียภาพ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความงามที่ศิลปินสื่อและแสดงออกในงาน ศิลปะ ความงามทางกาย (Physical Beauty) หรือความงามที่เกิดจากการประสานกันของทัศนธาตุ ความ งามของรูปทรงที่กำหนดด้วยเรื่องราว ความงามทางใจ (Moral Beauty) เป็นความงามที่เกิดขึ้นจากความรู้สึก และ อารมณ์ที่แสดงออกเพื่อ อารมณ์ของความงามเอง หรือสื่อนำไปสู่อารมณ์ความสะเทือนใจในรูปแบบอื่น 2. ทฤษฎีการขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผาด้วยมือ (Hand Forming Method) การขึ้นรูปด้วยมือ คือวิธีการ ขึ้นรูปแบบอิสระ เป็นวิธีการขึ้นรูปเบื้องต้นที่ใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เซรามิก ซึ่งสามารถขึ้นรูปได้โดยไม่ต้อง ให้อุปกรณ์ใด ๆ จะใช้เพียงมือเปล่าในการขึ้นรูปก็ได้โดยในงานสร้างสรรค์นี้ได้นำดินสโตนแวร์เนื้อละเอียดมา ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงาน เนื่องจากเป็นดินที่มีความเหนียว ไม่นิ่ม หรือ แข็งมากจนเกินไป เหมาะแก่การขึ้นรูป ชิ้นงานขนาดเล็ก


113 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ 2. ประเมินผลจากข้อมูลที่ได้รับ 3. ร่างแบบชิ้นงานสร้างสรรค์ ด้วยดินสอลงบนกระดาษ เพื่อกำหนดขนาดของชิ้นงาน จัดวาง องค์ประกอบ และรูปทรงของชิ้นงาน 4. ขึ้นรูปดิน ด้วยเทคนิคการขึ้นรูปด้วยมือ (Hand Forming) และสร้างลวดลายด้วยเทคนิคการกด ประทับลาย (Stamping) 5. ประกอบและต่อชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยใช้น้ำดิน (Slip) โดยประกอบเป็นชิ้น ๆ ขณะ ประกอบควรทำอย่างระมัดระวังและเบามือ เนื่องจากชิ้นงานที่ยังไม่ได้เผาจะมีความเปราะบาง 6. นำชิ้นงานที่ได้ไปเผาบิสกิต ที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เมื่อเผาเสร็จแล้วชิ้นงานที่ได้จะมีความ แกร่งสีครีม 7. นำชิ้นงานไปเคลือบ และนำไปเผาที่อุณหภูมิ1200 องศาเซลเซียส บรรยากาศ Oxidation 8. วิเคราะห์ความงาม 9. สรุปและประเมินผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่ 1 ภาพผลงานสำเร็จ ที่มา : (ภาพโดย นางสาวทัศนีย์ รุ่งทวีชัย เมื่อ 18 ตุลาคม 2565)


114 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการศึกษา วิเคราะห์ จากการรวบรวมข้อมูล ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยอาศัยแนวความคิด ทฤษฎีจากทัศนธาตุ สี รูปทรง จังหวะ และ หลักสุนทรีย์ศาสตร์ คือ ความงามที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ การ เลือกใช้รูปทรงกลมที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ วงและลายเส้นของคลื่นน้ำ ผสมผสานสัญลักษณ์จาก ธรรมชาติต่าง ๆ ที่นำมาจัดเรียงเข้าด้วยกันเสมือนความสมดุลย์ตามธรรมชาติ ที่มีความสวยงาม อ่อนช้อย แสดงถึงความงามในธรรมชาติ ที่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ มาใช้ในการสร้างสรรค์งานครั้งนี้ วัสดุหลักที่ นำมาใช้ เพื่อเป็นตัวแทนของความงาม คือ การนำดินมาใช้ในการสร้างสรรค์งาน เพราะดินเป็นจุดเริ่มต้นของ สิ่งมีชีวิตและความงามในธรรมชาติ 5. สรุป การสร้างสรรค์งานสร้างสรรค์นี้ พบว่าผลงานสามารถถ่ายทอดเรื่องราว แสดงอารมณ์ความรู้สึก การ รับรู้ถึงคุณค่า และสะท้อนความงามที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ อีกทั้งการเลือกใช้ดินสโตนแวร์ผสมผสานกับสีสันของ เคลือบ 1200 องศาเซลเซียส ที่หลอมรวมกัน ทำให้เกิดสีของบรรยากาศอันเป็นธรรมชาติของเทคนิคทาง เครื่องเคลือบดินเผาที่ไม่อาจควบคุมได้ มาใช้ในการสร้างสรรค์ ผ่านผลงานประติมากรรมจากเครื่องปั้นดินเผา ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2541). องค์ประกอบของศิลปะ Composition Of Art. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนัก พิมพ์อมรินทร์. ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. สยุมพร กาษรสุวรรณ. (2549).“เทคนิคการเผารมควันกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ”ในสูจิบัตรแสดงงานนิทรรศการ ผลงานคณาจารย์ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อัมมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับบลิชชิ่ง. สาธร ชลชาติภิญโญ. (2547). “ที่ว่างาม......งามนั้นประการใด” ในเอกสารการแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผา แห่งชาติ ครั้งที่ 12, 146-151. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.


115 สังคมเดรัจฉาน Brute Society ธีระวุฒิ เนียมสินธุ์, Teerawut Niemsin วิทยาลัยช่างศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, College of Fine Arts, Bunditpattanasilpa Institute. E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์ “สัตว์เดรัจฉาน”ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพสังคมไทยปัจจุบันกำลังเผชิญหน้ากับ สังคมเดรัจฉาน เนื่องด้วยอิทธิพลการครอบงำของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมประชาชนในชนบทถูกแย่งชิงทรัพยากร แย่งชิงที่ทำกินและคนรุ่นใหม่จำนวนมากถูกมอมเมาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ของบรรดานายทุนต่างชาติรัฐไม่อาจ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้กลไกอำนาจรัฐตกเป็นเครื่องมือของนายทุนชาติและนายทุนต่างชาติผู้มีอำนาจห่างเหิน ปราชญ์และใกล้ชิดสนิทสนมกับคนถ่อยส่งเสริมคนถ่อยสถุลให้มีอำนาจบนความอัปยศอดสูของคนที่ยังรู้ผิดชอบชั่ว ดีแต่ไม่มีโอกาสได้เสวยอำนาจจึงนำมาซึ่งผลงานชิ้นนี้ ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้โดยใช้อมุษย์เป็นสัญลักษณ์ แทนผู้คนในสภาพสังคมในปัจจุบัน เพื่อสะท้องให้เห็นและตนักถึงการทำความดี ละเว้นการกระทำความชั่ว คำสำคัญ: จิตรกรรม, สัตว์เดรัจฉาน Abstract The creative works of " brute society" Was inspired by the current state of Thai society facing the beast society Due to the dominant influence of the capitalist economy Rural people are plundered for resources. compete for food And many new generations have been corrupted into the human resources of foreign capitalists. The state cannot be dependent on the people. The mechanisms of state power are the tools of national capitalists and foreign capitalists. The authority is distant from the sage. and close acquaintance with the idiot promotes the humble to power on the humiliation of the conscience but did not have the opportunity to enjoy the power therefore brought about this work I have created this work by using humans as symbols for people in today's society. to reflect and reflect on doing good deeds refrain from doing evil Keywords: Painting, brute society


116 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา สัตว์สังคม คือ สัตว์ที่โดยธรรมชาติแล้วต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความสัมพันธ์ อาศัยพึ่งพากัน เช่น มด ปลวก ลิง ช้าง และมนุษย์เป็นต้น มนุษย์เป็นสัตว์สังคมประเภทเลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะพิเศษเหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ จนได้ชื่อว่ามนุษย์ แปลว่า "ผู้ฉลาด ผู้รู้คิด" ภาษาอังกฤษใช้คำว่า HUMAN หมายถึง ผู้มีวัฒนธรรม ในทางสังคม วิทยาถือว่ามนุษย์เกิดขึ้นพร้อมกับสังคม หรือสังคมมนุษย์ มนุษย์กับสังคมจึงเป็นสิ่งเดียวกันแยกจากกันไม่ออก สัตว์แต่ละชนิดย่อมมีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันสัตว์บางชนิดสามารถดำรงชีวิตอยูได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ ร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น สุนัข แมว กระรอก กระต่าย เป็นต้น แต่ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่จำเป็นต้องดำรงชีวิตอยู่ ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีระบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มโดยการจำแนกตำแหน่งหน้าที่ของสมาชิก และการที่ ได้อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มนั้นจะกระทำให้สมาชิกดำรงชีวิตอยู่รอด เราเรียกสัตว์ที่มีการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยมีการกระทำระหว่างกันทางสังคมว่า สัตว์สังคม (social animals) สัตว์สังคมมีหลายประเภท ทั้งที่เป็นสัตว์ชั้น ต่ำไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น สัตว์จำพวกแมลง ได้แก่ ผึ้ง มด แตน ต่อ และสัตว์ชั้นสูงที่มีกระดูกสันหลัง เช่น นกบาง ชนิด ช้าง ลิงบาบูน มนุษย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การที่สัตว์บางชนิดรวมตัวกันเป็นกลุ่มก็ไม่จำเป็นว่าสัตว์เหล่านั้นจะต้องเป็นสัตว์สังคมเสมอ ไป ฝูงวัวที่เดินทางมาดื่มน้ำในบ่อน้ำแห่งหนึ่ง ในขณะใดขณะหนึ่งไม่นับว่าเป็นสัตว์สังคมเนื่องจากวัวฝูงนั้นไม่มีการ กระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระบบ ปรากฏการณ์ที่สัตว์มารวมตัวกันเช่นนี้เราเรียกว่า มวลรวม (aggregate) ซึ่งไม่จำเป็นว่า สัตว์เหล่านี้จะต้องเป็นสัตว์สังคมเสมอไป สัตว์สังคมจึงมีลักษณะที่สำคัญ คือ มีการดำรงชีวิตอยู่ ร่วมกันเป็นกลุ่ม และมีการกระทำระหว่างกันทางสังคม มนุษย์รู้จักรวมตัวเป็นหมู่เหล่า โดยระยะแรก ๆ ได้รวมตัวกันอยู่อย่างง่าย ๆ แล้วจึงค่อย ๆ วิวัฒนาการมา ตามลำดับจนกลายเป็นสังคม เป็นบ้านเมืองอย่างทุกวันนี้ เหตุที่มนุษย์ต้องรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นสังคม นั้น ก็เพราะมนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีพ เช่น ช่วยกันหาหรือผลิตอาหาร ช่วยกันสร้างบ้านหรือที่อยู่ อาศัย ช่วยกันสร้างเครื่องมือหรืออาวุธ ช่วยป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือจากการรุกรานของมนุษย์ ด้วยกัน และมนุษย์ยังมีความต้องการอื่น ๆ จากกันและกันอีกมาก


117 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ เก็บข้อมูลจากหนังสือและข่าวสารทางสื่อออนไลน์ ภาพร่างลายเส้นรายละเอียดของผลงาน ภาพร่างรายละเอียดผลงาน ภาพที่ 1 ขั้นตอนการสร้างภาพร่างแนวคิด ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ศึกษารูปแบบรูปร่างของอมนุษย์และสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์ เทคนิคจิตกรรมบนผ้าใบ ผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรม"สังคมเดรัจฉาน" สังคมไทย


118 ภาพที่ 2 ภาพขั้นตอนร่างภาพลงเฟรมผ้าใบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่3 ขั้นตอนการเขียนสีบนเฟรมผ้าใบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


119 ภาพที่ 4 ผลงานจิตรกรรม"สัตว์เดรัจฉาน" ที่เสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. วิเคราะห์ศึกษาการสร้างสรรค์ ผลงาน “สัตว์เดรัจฉาน เป็นผลงานที่สะท้อนถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสภาพสังคมในปัจจุบันที่ต้องการ ความเป็นอยู่ที่ดีดิ้นรนเพื่อต้องการเอาชีวิตรอด ต้องการความเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ด้วยกันโดยที่ไม่คำนึงถึง ความสุขของตัวเองและผู้อื่นรอบ ๆ ตัว เป็นผลงานในเชิงสัญญาลักษณ์ที่ใช้อมุษย์เป็นสื่อที่แสดงอออกมา ให้ ตะหนักถึงการทำความดี การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ผลงานชิ้นนี้เป็นจิตรกรรมที่ใช้เทคนิคการเขียนสีที่มีความ หนักแน่นเพื่อให้ผลงานดูทรงพลัง และสะท้อนความคิดออกมาทางผลงานได้อย่างดี 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์"สังคมเดรัจฉาน"เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนสภาพสังคมที่มีแรงบันดาลใจมาจาก รูปทรงอมนุษย์และสัตว์ที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีอะคิลิค ซึ่งผลสรุปของการ สร้างสรรค์นอกจากจะได้งานที่เป็นรูปแบบจิตรกรรม2มิติ ผู้สร้างสรรค์ยังได้รับข้อมูลจากการค้นคว้ามากมาย ได้


120 ทดลองเชื่อมโยงประเด็นหลักในการสร้างสรรค์เข้ากันเรื่องราวอื่นๆระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการได้ฝึกจิตร ฝึกสมาธิ ด้วยกระบวนการทางศิลปะ ได้ทดลองคิดและจัดองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงาน ถึงแม้จะเกิดความ ผิดพลาดบางประการแต่สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งต่อไป ผู้สร้างสรรค์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าขั้นตอนและกระบวนการต่างๆในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ จะสามารถสร้างแรง บันดาลใจและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่สนใจได้ไปศึกษาต่อไป เอกสารอ้างอิง บ้านจอมยุธ. (2543). สังคมสัตว์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.baanjomyut. com/library_3/extension-1/social_animals /01.html ศรีศักร วัลลิโภดม. (2545). สังคมไทย กับความเป็นมนุษย์ที่เปลี่ยนไป. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565. เข้าถึง ได้จาก https: //lek-prapai.org/home/view.php?id=943 Jaruwan Suwapat. (2556). สัตว์สังคมและธรรมชาติของมนุษย์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้ จาก http://jarsuwa.blogspot.com/2013/07/blog-post_22.html


121 “ตรัสรู้” (แรงบันดาลใจจากตักศิลา) “Enlightenment” (Inspired by Taxila) นที ทับทิมทอง, Natee Tubtimthong 109 ถนนลาดกระบัง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 109 Ladkrabang rd. Ladkrabang, Bangkok, 10520 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ สุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับโบราณสถาณ และโบราณวัตถุสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน เกิดการ พิจารณาและสร้างสรรค์กับศิลปกรรมในยุคต่อ ๆ มา สุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับโบราณสถาณและโบราณวัตถุมีความซับซ้อนตามบริบทต่าง ๆ ผู้ชมและผู้ศึกษา ต่างได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ตามช่วงเวลา ค่านิยม และ ฐานความรู้ การเรียนรู้โบราณสถาณและ โบราณวัตถุได้เผยให้เห็นถึงความงาม ของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ เป็นส่วนสำคัญให้ เรา พิจารณาความเป็นไปและเป็นบทเรียนและข้อมูลในการ ดำเนินชีวิตและกิจกรรมของเราในอนาคต การได้สำรวจแหล่งโบราณสถาณในเมืองตักศิลาและเข้าชมโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ตักศิลา ประเทศ ปากีสถาน ในเดือนเมษายนปี 2022 ทำให้ได้ปะติดปะต่อความรู้ความเข้าใจ ซึมซับความงาม เรียนรู้ลักษณะ ทางกายภาพของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ผู้คน เกิดความเชื่อมโยงกับฐานความรู้เดิมทำให้เกิด จินตภาพของ ประวัติศาสตร์ แจ่มชัดยิ่งขึ้น คำสำคัญ: สุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับโบราณสถาน, ตักศิลา Abstract Archaeological aesthetics can inspire people to contemplate and create later works of art. The aesthetics of ancient sites and antiquities are complex in various contexts. Each audience and educator will have a different experience based on different time periods, values, and knowledge bases. Learning ancient sites and antiquities reveals the beauty of culture and human society history as important part to let us consider possibilities and be lessons and information in our lives and activities in the future. to explore ancient sites and visit the artifacts in Taxila Museum Pakistan in April 2022, making it possible to piece together knowledge and understanding absorb beauty Learn the physical features of the landscape, climate, people and connect with the previous knowledge base to create a clearer picture of history. Keywords: Archaeological aesthetics, Taxila


122 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา สืบเนื่องจากการทำงานในผลงานสองชิ้นก่อนหน้า คือผลงาน “มหาภิเนษกรมณ์” และผลงาน “ทุกรกิริยา” ผลงานทั้งสองเป็นผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบพระพุทธรูป แบบคันธาระซึ่งมีที่มาจากเมืองตักศิลา ประเทศปากีสถาน เป็นที่ทราบกันดีว่ามีอิทธิพลจากศิลปะกรีก ผสมผสานกับศิลปะอินเดียโบราณ ในการ พิจารณาภายหลังจากการสร้างผลงานทั้งสอง ข้าพเจ้าเห็นว่า การจะเข้าถึงความงามและความรู้ด้าน ประวัติศาสตร์ จำเป็นที่จะต้องศึกษาศิลปะและอารยธรรมเกี่ยวกับกรีกและอินเดียโบราณให้มากยิ่งขึ้น จึงหา โอกาส ออกสำรวจ แหล่งโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ศิลปะโบราณของประเทศปากีสถานที่เมืองตักศิลาในเดือน เมษายน 2022 ที่ผ่านมา ผู้เขียนเคยได้เข้าชมผลงานศิลปะแบบคันธาระที่ พิพิธภัณฑ์กีเมต์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มาแล้วครั้งหนึ่ง หากแต่ครั้งนั้นผู้เขียนรู้สึกว่าบริบทโดยรอบของผลงานที่ได้รับชมขาดความรู้สึกด้าน สุนทรียศาสตร์ ที่เกี่ยวกับโบราณสถาน หรือบทบริบทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะกรรม เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ผู้คน วัฒนธรรม ที่แม้บริบททางสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปมากจากเมื่อราว 2000 ปีก่อน แต่การได้มา ยืนอยู่ ณ สถานที่จริงทำให้ ผู้เขียนเกิดจินตภาพ และรับรู้ถึงสุนทรียศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พบเห็น เชื่อมโยง กับความรู้ความเข้าใจ เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ ภาพที่ 1 ภาพผลงาน“มหาภิเนษกรมณ์ ” ภาพที่ 2 ภาพผลงาน“ทุกรกิริยา” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2022) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2022)


123 ภาพที่ 3 ภาพเก็บข้อมูลศิลปกรรมคันธาระ ณ พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ประเทศ ปากีสถาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2022) 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลงานชุดนี้ของผู้เขียนเป็นผลงานที่รับอิทธิพลรูปแบบศิลปะคันธาระที่ผู้เขียนได้เดินทางไปชมและ เรียนรู้ นอกจากนั้นผู้เขียนยังได้นำวิธีการที่เป็นที่มาของคันธาระ ที่มีการสร้างผลงานแบบคลาสสิกของศิลปะ กรีก วัฒนธรรมกรีกมีอิทธิพลต่อบริเวณเมืองคันธาระเป็นอย่างมาก ด้วยที่ในยุคหนึ่งชาวกรีกได้มามีอิทธิพล เหนือบริเวณแห่งนี้ ซึ่งเดิมที บริเวณแห่งนี้ก็เป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลกเช่นกันคืออารยธรรมลุ่มแม่น้ำ สินธุ หลังจากที่ชาวกรีกซึ่งมีพื้นฐานด้านศิลปกรรมอยู่แล้วในการสร้างรูปเคารพต่าง ๆ หันมานับถือพุทธศาสนา การสร้างรูปเคารพในพระพุทธศาสนาจึงเจริญงอกงามขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 6-9 บวกกับการเริ่มสร้าง พระพุทธรูปที่มีรูปแบบสืบเนื่องจากศิลปะอินเดียโบราณ เช่นในศิลปะมธุรา ภาพที่ 4 ภาพการขึ้นรูปผลงาน “ตรัสรู้” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2022)


124 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ หลังจากการเก็บข้อมูลรูปแบบศิลปะคันธาระที่ผู้เขียนได้ออกสำรวจบวกกับข้อมูลเดิม จากการเข้าชม พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งศิลปะแบบกรีกโรมัน และศิลปะคันธาระ ที่จัดแสดงในยุโรป ผู้เขียนได้นำวิธีการของศิลปะ กรีกแบบคลาสสิก มากำหนดรูปแบบ ราวกับการทำซ้ำที่เกิดขึ้นเมื่อ 2000 ปีที่แล้วด้วยการผสมผสาน ความ งามแบบเอเชียและความงามแบบคลาสสิก ประติมากรรมจะมีความสงบนิ่ง ไม่แสดงออกด้านการเคลื่อนไหว และท่าทางมากนัก มีความเข้ากันได้ดีกับการแสดงออกทางพระพุทธศาสนา รูปเคารพหรือรูปแทนพระพุทธเจ้าที่ผสมผสานความงามแบบกรีกจึงมีความลงตัวและมีความงามแบบ ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์ ผู้เขียนได้เน้นท่าทาง และสัดส่วน ให้มีความสมจริงมากยิ่งขึ้นต่างจากศิลปะแบบ คันธาระแบบตั้งเดิม รวมถึงใช้วิธีการแบบศิลปะสมัยใหม่ในการกำหนดเส้นและปริมาตรที่ชัดเจนแน่นอนเพื่อ ผลทางการมองเห็น การสร้างแสงเงาที่ต่อเนื่องและมีความเป็นเอกภาพ ผู้เขียนให้ความสำคัญกับมวลรวมของ รูปทรงไม่ใช่เพียงแสดงออกในด้านรายละเอียดเท่านั้น แต่ให้ภาพรวมของผลงานที่สร้างขึ้นมีความเป็น ประติมากรรมสมัยใหม่อยู่ในตัว ภาพที่ 5 ภาพการปั้นผลงาน “ตรัสรู้” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2022) 4. การวิเคราะห์ผลงาน การวิเคราะห์ผลงานตรัสรู้แบ่งออกได้เป็นสองลักษณะคือ 4.1 ด้านพุทธลักษณะและอิทธิพลทางศิลปะ ในด้านพุทธลักษณะและอิทธิพลทางศิลปะ ผู้เขียนกำหนดท่าทางเป็นแบบพระพุทธรูปปางตรัสรู้มี ลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชรซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมของศิลปะคันธาระ ลักษณะพระหัตถ์จะไม่ประสานกันแบบแบน ราบอย่างพระพุทธรูปที่พบในประเทศไทยจะมีลักษณะประสานกันแบบหลวมๆ โดยค่อนข้างจะคว่ำมือเข้าหา องค์พระ ลักษณะจีวรเป็นแบบคันธาระที่ถูกปรับปรุงให้เส้นมีความต่อเนื่องและช่องไฟที่เป็นระเบียบมากขึ้น พระพักตร์ จะเน้นไปด้านศิลปะกรีกมีพระนาสิกโด่งเป็นสัน พระเนตรเหลือบต่ำ พระเกศามีลักษณะแบบคันธา ระที่มีความละเอียดมีแบบแผนเช่นตัวอย่างองค์พระในพิพิธภัณฑ์ตักศิลา สัดส่วนองค์พระมีความเป็นมนุษย์ การนั่งเป็นธรรมชาติอย่างศิลปะกรีก


125 ภาพที่6 ภาพผลงาน “ตรัสรู้” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2022) 4.2 ด้านความงามแบบศิลปะสมัยใหม่ ในด้านความงามแบบศิลปะสมัยใหม่ผู้เขียนกำหนดให้รูปทรงมีความสมมาตรลักษณะองค์ประกอบ เป็นแบบสามเหลี่ยมเพื่อส่งเสริมความรู้สึกแบบสงบนิ่ง ลักษณะรายละเอียดที่ปรากฏ ไม่ทำให้เท่ากันจนเกินไป มีการสร้างรายละเอียดที่แตกต่างกันทั้งซ้ายและขวาแต่อยู่ภายใต้โครงสร้างที่สมมาตร การวางเส้นต่าง ๆ ใน รูปทรงหลัก พยายามทำให้สอดคล้องลื่นไหลซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ศิลปะแบบดั้งเดิมอาจทำไม่ได้มากนัก ด้วยปัจจัย เช่นพื้นที่ที่จำกัด การติดตั้งหรือวัสดุและเทคนิค ในการสร้างสรรค์ ภาพที่ 7 ภาพผลงาน “ตรัสรู้” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2022)


126 5. สรุป ผลงานตรัสรู้เป็นผลงานลำดับที่สามในชุดศิลปะคันธาระที่ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ขึ้น ในลำดับต่อไป ผู้เขียนจะได้สร้างผลงานในชุดนี้เพิ่มเติมโดยนำเอาความรู้ความเข้าใจในด้านประวัติศาตร์ศิลป รูปแบบ ศิลปกรรมความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมและการเดินทางเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาเป็นพื้นฐาน ในการสร้างสรรค์ ซึ่งผู้เขียนได้ตระหนักว่าความรู้ความเข้าใจ ที่กว้างขวางและหลากหลาย การยอมรับข้อมูล ใหม่ๆ และความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะนำมาซึ่งการพัฒนาในการสร้างสรรค์ของผู้เขียนและสามารถถ่ายทอดสู่ ผู้เรียนรู้ เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ภาพที่ 8 ภาพผลงาน “ตรัสรู้” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2022) เอกสารอ้างอิง ดร. ม.ร.ว. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. (2532). พระพุทธรูปชุดแรกในโลกศิลปะคันธาระ เหมือน ‘กรีก-โรมัน’ ใน, ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกรกฎาคม 2532. (เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 9/11/2565. เข้าถึงได้จาก). https://www.silpa-mag.com/history/article_59471 สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสมุทรสงคราม. องค์ความรู้,พุทธประวัติ,บำเพ็ญทุกรกิริยา. (เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 9/11/2565. เข้าถึงได้จาก).https://skm.onab.go.th/th/content/category/detail/id/72/iid/5569 historyofart61. (2017). ประวัติศาสตร์ศิลป์/ศิลปะยุคคลาสสิก/ศิลปะยุคกรีก. (เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 9/11/2565. เข้าถึงได้จาก). https://historyofart61.wordpress.com/2017/01/12/first-blog-post/


127 สนทนากับตัวเอง Self conversation นภพงศ์ กู้แร่, Napapon KURAE ที่อยู่ วิทยาลัยช่างศิลป 60 ถนนหลวงพรตแขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ประเทศไทย Address College of Fine Arts 60 Luangprot Road Latkrabang Bangkok Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ บทนำ The sickness condition of body affected to the mind. The abnormality of this depression causes changes that might impacts to the behavior, physical symptoms. Learning past and present will be a consequence for the future. Conversations with oneself are the ways to self- learning. ผลงานภาพพิมพ์ สนทนากับตัวเอง ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์จริงของตนเอง เหตุการณ์ ต่างๆและความคิดฝันที่เกี่ยวข้อง อันเกิดจากภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายที่มีผลต่อทางด้านจิตใจ ความ ผิดปกติจากภาวะอารมณ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อพฤติกรรมและอาการทางร่างกาย การเรียนรู้อดีต และปัจจุบัน ส่งผลต่อเนื่องในอนาคต การรู้จักตนเอง การมองย้อนมอง สำรวจ และเรียนรู้ภายในของตนเอง คือการสนทนาภายในจิตใจ การนำเสนอในลักษณะกึ่งบันทึกเรื่องราวมองย้อนสำรวจตนเองตามความคิดและความปรารถนาใน ช่วงเวลาหนึ่ง โดยมีความจริงที่เป็นเหตุผลมาเป็นข้อจำกัดตามจินตนาการที่ได้รับการกระตุ้นจากความ ปรารถนาภายใน เพื่อเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายไปและส่วนที่บกพร่องให้เต็มสมบูรณ์ด้วยการแสดงออกในเชิง สัญลักษณ์ สร้างสรรค์ผลงานด้วยกรรมวิธีภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะ วิธีการศึกษา 1. ศึกษาหาข้อมูลจากหนังสือ เอกสารวิชาการที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับความหมายเชิงปรัชญา จิตวิทยา และอื่นๆเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและนำมาประมวลกับความคิดให้เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาที่ทำ 2. ศึกษาข้อมูลจากงานจากผลงานศิลปะและศิลปินที่ชื่นชอบ 3. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์สร้างภาพร่างผลงาน 4. ใช้กรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะด้วยวิธีการสร้างแม่พิมพ์เทคนิคฮาร์ด กราวด์ (hard ground), ดรายพอยท์ (Dry point), ซอฟท์กราวด์ (Soft ground), อะควาตินท์ (Aquatint), สปิตไบท์ (Spit bite), และชินคอลเล่ (Chine Colle’)


128 ผลการศึกษา 1. พัฒนาผลงานศิลปะภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะเผยแพร่สู่สาธารณะ 2. มีเอกสารการวิเคราะห์ผลงานศิลปะ สนทนากับตัวเอง อย่างเป็นระบบ 3. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมทางวิชาการด้านศิลปะอื่นๆ 4. ตัวเองได้ผ่อนคลายความคิดที่เกิดจากภาวะโรคมะเร็งและโรคซึมเศร้า คำสำคัญ: การสนทนา สนทนา หมายถึง คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนา สารทุกข์สุกดิบ. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนา ภาษาอังกฤษ. การสนทนาแตกต่างจากการพูด เพราะการพูดเป็นการเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ ตัวเอง ตัวเอง หมายถึง รูป, ตน, ตนเอง, ตน เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน คำที่คล้ายกันคือ อัต (อัตตะ) ตนเอง, ตัวเอง อัตชีวประวัติ ประวัติที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง. อัตภาพ คือ ตน ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล Self (เซลฟ) หมายถึง ตัวเอง, ตนเอง, ธาตุแท้, อาตมา, อัตตะ, เอกลักษณ์ของบุคคล, ลักษณะธรรมชาติของบุคคล, ประโยชน์ส่วนตัว, ผลประโยชน์ ส่วนตัว, สภาพปกติ, สันดาน Conversation (คอนเวอเซ’ชัน) หมายถึง การสนทนา, เกี่ยวกับการสนทนา, การคุยกัน, การคบค้าสมาคม, ความสามารถในการสังคม กับคนอื่น Abstract The sickness condition of body affected to the mind, which will cause the depressed condition. The abnormality of this depression causes changes that might impacts to the behavior, physical symptoms and self-undermine. Learning past and present will be a consequence for the future. To look back, survey and learn your internal mind, means to have a conversation within your mind by relaying into the graphic arts. Self conversation will be impressed into forms of symbols; able to express them frankly such as telling story following the imagination aroused by the internal desires. Our kingdom that will created following the internal desire and expressed it through arts, in order to fulfill something that we lack of complete the value of our lives. Keywords: Sickness, Internal Desire, Self, conversation, Intaglio process


129 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ข้าพเจ้าพบกับปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรงด้วยแพทย์ระบุว่ามีความผิดปกติของเซลล์ที่เจริญเติบโต ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อ ซาโคมา (Sarcoma) หรือที่เรียกว่า มะเร็งเนื้องอกร้าย (Malignant tumor) ที่มีจุด กำเนิดมาจากกระดูกและเส้นเลือด สิ่งที่เกิดขึ้นนอกจากตนเองจะพบกับปัญหาทางสุขภาพทางร่างกายแล้ว ภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายส่งผลต่อภาวะทางด้านจิตใจทำให้อยู่ในภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติทางจิตใจ อารมณ์เศร้านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากอารมณ์ ความรู้สึกแล้วยังส่งผลต่อพฤติกรรมและ อาการทางร่างกายมากขึ้น ทั้งบุคคลรอบข้างที่รับรู้และบั่นทอนจิตใจตัวตน เป็นผลมาจากการผสมผสาน และ พัฒนาการมาจากเหตุการณ์ และการเรียนรู้ของบุคคลในอดีต ปัจจุบัน และส่งผลต่อเนื่องในอนาคต การรู้จัก ตนเอง คือการวิเคราะห์ตนเอง คือการกระทำให้คุณค่าของชีวิตเด่นชัดในการแสดงออกตามวุฒิภาวะ การมองย้อนสำรวจภายในของตนเอง ทำให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เคยประสบอันประกอบไป ด้วยความสมหวัง ผิดหวัง ดีใจ เสียใจ ความรัก ความใคร่ ความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ฯลฯ ล้วน เกิดขึ้นและหายไปในระหว่างการดำเนินชีวิต ล้วนมีผลต่อการพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอก ตลอดจน ความรู้สึก ความคิด และทัศนคติส่วนตัวทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จากสิ่งเหล่านี้นำไปสู่การตีความตาม ทัศนคติส่วนตัวในการบันทึกเรื่องเล่าการดำเนินชีวิต ถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะภาพพิมพ์ สนทนากับตัวเอง Self conversation ตามจินตนาการที่ได้รับการกระตุ้นจากความปรารถนาภายใน และสร้างอาณาจักรของ ตนเองขึ้นตามแรงปรารถนาด้วยการแสดงออกทางศิลปะ เพื่อเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายและส่วนที่บกพร่องให้เต็ม สมบูรณ์ ด้วยการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ และการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาเช่นการเล่าเรื่อง 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเกี่ยวกับ ตัวตน (Self) หรือมโนภาพแห่งตน (Self – concepts) นักจิตวิทยาได้จำแนก ประเภทลักษณะของตัวตนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะตัวตนในอุดมคติ (Idea Self) ซึ่งบุคคลจะมีติดตัวอยู่เสมอ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud ค.ศ.1856 – 1939) เรียกสิ่งนี้ว่า Superego คาร์ล โรเจอร์ส (Carl Rogers ค.ศ.1902 – 1987) นักจิตบำบัดเชื่อว่าทั้งอินทรีย์และตัวตนเป็นสิ่ง สำคัญในลักษณะของแนวโน้มที่เข้มแข็งต่อการปฏิบัติของบุคคล และเป็นสิ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้ใช้วิธีโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Client – Centered) โดยการให้ ผู้ป่วยตรวจสอบด้วยตัวเองถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างอินทรีย์กับตัวตน และทำให้สอดคล้องกันให้ได้ อับราฮัม ฮาโรลด์ มาสโลว์ (Abraham Harold Maslow ค.ศ.1908 – 1970) ศาสตราจารย์ทางด้าน จิตวิทยา ศึกษาค้นคว้าถึงความต้องการของมนุษย์ โดยมองเห็นว่ามนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีความต้องการที่จะ สนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น ความต้องการตระหนักในตนเอง (self-actualization need) ได้แก่ ต้องการรู้จักตนเอง ยอมรับตนเอง เปิดใจรับฟัง รู้จักแก้ไขตนเองในส่วนที่ยังบกพร่อง การพัฒนาตนเอง ต้อง ค้นพบความจริง แนวคิดตามทฤษฎีของมาสโลว์ เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาบุคคลให้พัฒนาถึงขั้นตระหนัก


130 ในตนเอง (self-actualization) เป็นบุคคลที่มีจริยธรรม มีวินัยในตนเอง ต้องอาศัยความ “พอ” ของบุคคล ซึ่ง ความพอนี้ขึ้นกับสภาพทางกายและความรู้สึกที่พอดี รูปแบบศิลปะแอพโพรพริเอชั่น (Appropriation art) คือ การนำภาพสำคัญที่รู้จักในวงการศิลปะโลก มาใช้มักเป็นการนำมาต่อยอดทางความคิดใหม่ โดยมีทั้งผูกโยงกับความคิดเดิมและไม่โยงกับความคิดเดิม มี ความกล้าในการเทียบเคียงกับต้นแบบซึ่งศิลปินรุ่นหลังมักจะอ้างถึงการหยิบยืมมาจัดการสร้างใหม่เป็นผลงาน ของตัวเอง เป็นการแสดงความคารวะต่อศิลปินผู้สร้างงานต้นแบบ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. การสร้างภาพร่าง นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สร้างภาพร่างผลงานก่อนลงมือสร้าง ผลงานด้วยกรรมวิธีการสร้างแม่พิมพ์และการพิมพ์ 2. การทำแม่พิมพ์ ใช้กรรมวิธีภาพพิมพ์แม่พิมพ์ร่องลึกตามกระบวนวิธีการสร้างแม่พิมพ์เทคนิค ฮาร์ดกราวด์, ดรายพอยท์, ซอฟท์กราวด์, อะควาตินท์, สปิตไบท์ และชินคอลเล่ 3. วิธีการพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แม่พิมพ์ร่องลึกจะพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ โดยการนำแผ่นแม่พิมพ์วาง บน แท่นพิมพ์แล้ววางกระดาษที่ใช้พิมพ์วางด้านบนแม่พิมพ์ กระดาษรองพิมพ์ และผ้าสักหลาดเป็นลำดับสุดท้าย บริเวณด้านบนสุด แล้วจึงพิมพ์ด้วยแรงอัดจากแท่นพิมพ์ ภาพที่ 1 ภาพรายละเอียดการพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ รายละเอียดตามหมายเลข คือ หมายเลข 1 ผ้าสักหลาด (Cushion) มีหน้าที่ในการรองรับแรงอัดจากท่านพิมพ์ลงสู่ผลงาน หมายเลข 2 กระดาษรองระหว่างกระดาษที่ใช้พิมพ์ กับสักหลาด หมายเลข 3 กระดาษใช้สำหรับพิมพ์ผลงาน หมายเลข 4 แม่พิมพ์ หมายเลข 5 ส่วนสำหรับกำหนดตำแหน่งการวางของแม่พิมพ์และกระดาษที่ใช้พิมพ์ หมายเลข 6 แผ่นเหล็กรองผลงาน


131 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพที่ 2 Self-conversation, page 44 – 45 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ การวิเคราะห์ผลงานภาพพิมพ์ สนทนากับตัวเอง ได้วิเคราะห์ส่วนองค์ประกอบส่วนรูปทรงหรือ องค์ประกอบทางรูปธรรม และส่วนเนื้อหาหรือองค์ประกอบทางนามธรรม องค์ประกอบทางรูปธรรม คือส่วนที่มองเห็นในทางทัศนศิลป์ที่สร้างขึ้นให้มีเอกภาพจากการแสดงออก ด้วยทัศนธาตุได้แก่ จุด เส้น น้ำหนักอ่อน-เข้ม พื้นที่ว่าง สี และพื้นผิว นำมาประกอบกันในการสร้างสรรค์ ร่วมกันอย่างมีเอกภาพเพื่อเป็นผลงานที่สมบูรณ์สนับสนุนการแสดงออกกับส่วนของเนื้อหา องค์ประกอบทางนามธรรม คือส่วนที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวและแนวความคิด มีที่มาจากความสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อารมณ์ ประสบการณ์ที่ฝังใจ ลักษณะคล้ายเรื่องเล่าประสบการณ์ของ ตนเองด้วย วิธีการนำเสนอบันทึกเรื่องราวในอดีต ในวัยผู้ใหญ่ที่มองย้อน สำรวจตนเอง จากการนำประสบการณ์ เหตุการณ์และความคิดฝัน นำมาตีความเป็นเรื่องเล่าตามความคิดและความปรารถนาในช่วงเวลาหนึ่ง ตาม จินตนาการที่ได้รับการกระตุ้นจากความปรารถนาภายใน และสร้างอาณาจักรของตนเองขึ้นตามแรงปรารถนา แสดงออกในเชิงสัญลักษณ์และการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาเช่นการเล่าเรื่องซึ่งมีที่มาจากประสบการณ์ ภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายและป่วยทางจิตคือโรคซึมเศร้า


132 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ สนทนากับตัวเอง เป็นบันทึกความทรงจำของสงครามภายในของ ตัวเองที่เล่าให้ตัวเองเข้าใจถึงการก้าวข้ามห้วงแห่งอารมณ์ของความมืดมิด หดหู่ การแยกความรู้สึกทุกข์จาก โรคและความจริงของโลกที่สร้างจินตภาพลวงให้ตกหลุมพรางของการครอบงำในด้านมืดของอารมณ์ เมื่อเรา ป่วยเราจะหนีความจริงที่หนีไม่พ้นเพราะความเจ็บป่วยเป็นประสบการณ์อันโดดเดี่ยว ชีวิตของเราจึงเหมือน สงครามที่ไม่มีใครมองเห็นนอกจากตัวเราเอง การสนทนากับตัวเองคือการปลดปล่อยตัวเอง เปิดมุมมองของความรู้สึกและความเข้าใจ ระหว่าง ตัวตนในปัจจุบันกับตัวตนในอดีต การได้ย้อนกลับไปดูตัวเอง ชีวิตที่ถูกกำหนดด้วยความทรงจำ การตั้งคำถาม คือการพูดคุยกับตัวเองเพื่อรับมืออย่างเข้าใจกับเรื่องราวที่เต็มไปด้วยคำถามและค้นหาคำตอบที่ไม่มีวันสิ้นสุด การเฝ้ามองดูจิตใจให้ชัดเจนและเผชิญหน้ากับความคิด การยอมรับความคิดทั้งหมดรวมถึงความคิดเชิงลบ ยอมรับความคิดด้วยเหตุผล สำรวจใจตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นเหยื่อของความคิดเพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล และ ดำเนินชีวิตได้ปกติมากขึ้นเพื่อให้ตัวเองผ่อนคลายความคิดที่เกิดจากภาวะเจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ การสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะมีกรรมวิธีที่หลากหลาย การนำหลายกรรมวิธี มาสร้างสรรค์ผลงานเป็นการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอีกลักษณะหนึ่ง และนำสู่การเผยแพร่สู่ สาธารณะเพื่อเป็นแนวทางในรูปแบบวิธีคิดและการแสดงงออกทางด้านศิลปะภาพพิมพ์ เอกสารอ้างอิง รสลิน กาสต์. (2558). ศิลปะแห่งการหยิบยืม. กรุงเทพมหานคร; สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย วิไลวรรณ ศรีสงคราม. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร; ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2538). จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร; สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ Beth Grabowski & Bill Fick. (2009). PRINT-MAKING A COMPLETE GUIDE TO MATERIALS AND PROCESSES. Laurence King Publishing


133 เมื่อสิ้นเดือนกันยายน End of September นิตยา สีคง, Nittaya Srikong วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช, Nakhon Si Thammarat college of fine arts E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ธรรมชาติคงเป็นสิ่งเดียวที่จะสามารถเยียวยาจิตใจของผู้คนได้ดี ไม่ว่าจะกำลังรู้สึกทุกข์หรือสุข คนเรา ก็มักจะใฝ่หาและพาตัวเองไปหาธรรมชาติเสมอ เพราะธรรมชาติเป็นความธรรมดาที่มีความเรียบง่ายและจริงใจ งานศิลปะชิ้นนี้เป็นภาพทุ่งดอกบัวตองในช่วงเวลาปลายเดือนกันยายน ซึ่งกำลังจะเริ่มหน้าหนาวอีกไม่ช้า สร้าง ขึ้นเพื่อเยียวยาจิตใจ สถานการณ์เคร่งเครียดอะไรบางอย่างทำให้เราหมดพลังในการที่จะต่อสู้การได้สร้าง ผลงานศิลปะเป็นสิ่งหนึ่งที่เยียวยาจิตใจได้ ภาพธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราเลือกที่จะถ่ายทอดออกมา เป็นความ สบายตา สบายใจให้เราในวันที่หมดแรง งานศิลปะยังคงเป็นเครื่องเตือนใจว่าเราคงไม่สิ้นหวังไปเสียทุกอย่าง อย่างน้อยก็ยังมีแรงที่สามารถสร้างงานศิลปะขึ้นมาเพื่อจรรโลงจิตใจ คำสำคัญ: งานศิลปะ, ธรรมชาติ, เยียวยา Abstract Nature is the only thing that can heal people’s minds, Whether we are feeling sad or happy people always take themselves to nature. because nature is simple and sincere. This artwork is show a Mexican sunflower at the end of September. Which is about to start winter soon. Create to heal the mind. Sometimes stressful situations it made us lose the strength to fight. Create artwork is one thing that heals the mind. The nature image is what is expressed. Arts is still a tool for telling ourselves that we’re not always unlucky. Keywords: Artwork, Nature, Heal 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา สถานการณ์เคร่งเครียดอะไรบางอย่างทำให้เราหมดพลังในการที่จะต่อสู้การได้สร้างผลงานศิลปะเป็น สิ่งหนึ่งที่เยียวยาจิตใจได้ ภาพธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราเลือกที่จะถ่ายทอดออกมา เป็นความสบายตา สบายใจให้ เราในวันที่หมดแรง งานศิลปะยังคงเป็นเครื่องเตือนใจว่าเราคงไม่สิ้นหวังไปเสียทุกอย่าง อย่างน้อยก็ยังมีแรงที่ สามารถสร้างงานศิลปะขึ้นมาเพื่อจรรโลงจิตใจ


134 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เป็นภาพจิตรกรรมภาพวิวทิวทัศน์ตามธรรมชาติ2 มิติซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้เพื่อถ่ายทอด ความงดงามของธรรมชาติด้วยองค์ประกอบที่เรียบง่าย มีท้องฟ้า ภูเขา และทุ่งดอกบัวตอง ซึ่งต้องการจะสื่อ ถึงความสบายตาสบายใจ ความหวังอะไรบางอย่างในวันที่เหนื่อยล้าจากหลายปัญหาในชีวิต หากได้มองภาพนี้ จะรู้สึกถึงความหวังและกำลังใจ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ภาพวาดจิตรกรรม 2 มิติ เทคนิคสีอะคริลิกบนผ้าใบ ขนาด 120 x 100 เซนติเมตร ขั้นตอนการ ทำงาน คือ ร่างภาพ ลงสีพื้นท้องฟ้า ลงสีพื้นของทุ่งดอกไม้แล้วจึงมาเก็บรายละเอียดน้ำหนักอีกหลายชั้น ภาพที่ 1 ลงสีพื้น ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 ลงน้ำหนักสี ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


135 ภาพที่ 3 ลงรายละเอียด ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน สร้างผลงานตามวิธีการรูปแบบของตนเอง โดยมีต้นแบบมาจากภาพถ่ายสถานที่จริง ใช้เทคนิควิธีการที่ จะสามารถถ่ายทอดภาพนั้นออกมาให้ได้อารมณ์ความรู้สึกตามที่ต้องการมากที่สุด 5. สรุป หวังว่าผลงานชิ้นนี้จะสร้างความรู้สึกสบายใจ ความหวัง และส่งพลังไปยังผู้ชมภาพนี้ไม่ว่าชีวิตจะ กำลังเผชิญกับปัญหาอะไรก็ตามขอให้มันผ่านพ้นไปได้ด้วยดีและมีภาพที่สวยงามรออยู่เบื้องหน้าเสมอ เอกสารอ้างอิง ทวีศักดิ์สิริรัตน์เรขา. (2552). ศิลปะบำบัดศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต นพดล เนตรดี. (2561). Oil pastels painting เทคนิคจิตรกรรมสีชอล์คน้ำมันภาพทิวทัศน์.กรุงเทพฯ: ซากุระ อนันต์ ประภาโส. (2558). ทฤษฎีสี. ปทุมธานี: สิปประภา อารี สุทธิพันธ์. (2539). ศิลปะกับมนุษย์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช


136 สีสันของรูปทรงใต้สำนึก Colors of subconscious shapes บุญฤทธิ์ พูนพนิช, Boonyarit Poonpanit ที่อยู่ 594/98 ซ.มหาวงษ์เหนือ ถ.อโศก-ดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400, Address 594/98 Soi Mahawong Nua, Asoke-Din Daeng Rd., Din Daeng, Bangkok 10400 คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ ประเทศไทย E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์“สีสันของรูปทรงใต้สำนึก”ชิ้นนี้ สร้างสรรค์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความ ประทับใจจากรูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ด้วยการผสมผสานกับลายเส้นที่มีลักษณะตามรูปแบบภาพ จิตรกรรมไทย เกิดเป็นรูปทรงที่มาจากใต้สำนึกของข้าพเจ้า โดยข้าพเจ้าศึกษาเรื่องราวของสภาวะธรรมชาติ โดยใช้วิธีการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการสร้างพื้นผิวขึ้นด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำและหมึกจีน เพื่อสร้าง โครงสร้างของภาพ แล้ววาดรูปทรงจากสิ่งมีชีวิตหลากหลาย ลงบนโครงสร้างประกอบรวมกันเป็นรายละเอียด ของภาพ ซึ่งสะท้อนสภาวะของโลกในอุดมคติที่อยู่ทับซ้อนกับความจริง สัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆนั้น มี ความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะความรู้สึกของความเบิกบาน ความเชื่อที่อยู่ทับซ้อนกับสภาวะความจริง ปรากฏ อยู่ในพื้นที่ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะสามารถแสดงความปราถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ จินตนาการ โดยนำมาสร้างสรรค์ด้วยเทคนิควิธีการส่วนบุคคล อันเป็นวิธีการนำรูปทรงของความเชื่อแบบเก่า สร้างบนพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อเปลี่ยนสภาวะใหม่ท่ามกลางรูปเดิมของเนื้อหา คำสำคัญ: สีสัน, จินตนาการ, ความเชื่อ, จิตใต้สำนึก Abstract This creative work “Colors of subconscious shapes” Created inspired by the impression of plant shapes, living things in nature. Mixed with Thai painting style. I studied the story of the natural state. By using a creative method of creating textures with watercolor and Chinese ink painting techniques. To create the structure of the image and draw shapes from various living things on the structure assembled together into the details of the picture. Which reflects the state of the ideal world that overlaps with reality. Symbol of living things It is meant to reflect a sense of cheerfulness, Abundance. Existing beliefs overlap with reality. Thus appearing in the area under the human subconscious that will be able to express the desire to control everything. That is the imagination by creating a personal technique. Which is a way of bringing the shape of old beliefs to create on the newly created area. To change a new state among the original image of the content. Keywords: Colors, Imagination, Beliefs, Subconscious


137 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผลงานสร้างสรรค์“สีสันของรูปทรงใต้สำนึก” ชิ้นนี้ สร้างสรรค์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความ ประทับใจจากรูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ผสมผสานกับลายเส้นรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย ปรากฏ รูปทรงของสิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ และพืชพันธุ์ไม้ในธรรมชาติ โดยข้าพเจ้าศึกษาเรื่องราวของสภาวะธรรมชาติ ความเบิกบานของสิ่งชีวิต ซึ่งสะท้อนสภาวะของโลกในอุดมคติที่อยู่ทับซ้อนกับความจริง สัญลักษณ์ของ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ นั้น มีความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะความรู้สึกของความเบิกบาน ความอุดมสมบูรณ์ ความเชื่อที่ มีอยู่ทับซ้อนกับสภาวะความจริง จึงปรากฏมีอยู่ในพื้นที่ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะสามารถแสดงความ ปรารถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ จินตนาการ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ความประทับใจจากรูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ผสมผสานกับรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย ปรากฏรูปทรงของสิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ และพืชพันธุ์ไม้ในธรรมชาติ โดยข้าพเจ้าศึกษาเรื่องราวของสภาวะ ธรรมชาติ ความเบิกบานของสิ่งชีวิต โดยสะท้อนสภาวะของโลกในอุดมคติที่อยู่ทับซ้อนกับความจริง สัญลักษณ์ ของสิ่งมีชีวิตต่างๆนั้น มีความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะความรู้สึกของความเบิกบาน ความอุดมสมบูรณ์ ความ เชื่อที่มีอยู่ทับซ้อนกับสภาวะความจริง จึงปรากฏมีอยู่ในพื้นที่ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะสามารถแสดง ความปราถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ จินตนาการ โดยการใช้รูปทรงที่มาจากความคิดความฝันของ ข้าพเจ้า ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยนำมาสร้างสรรค์ด้วยเทคนิควิธีการส่วนบุคคล อันเป็นวิธีการนำรูปทรง ของความเชื่อแบบเก่าสร้างบนพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อเปลี่ยนสภาวะใหม่ท่ามกลางรูปเดิมของเนื้อหา 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการหรือแต่ละขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคทางจิตรกรรมสีน้ำ และหมึกจีน โดยปรากฏรูปแบบหรือประเภทของผลงานเป็นผลงานจิตรกรรมสองมิติ แนวกึ่งนามธรรม แสดง เนื้อหาและเรื่องราวของการสร้างสรรค์วิธีการสร้างสรรค์แบบงานจิตรกรรม รายละเอียดในกระบวนการหรือ แต่ละขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงาน ดังนี้ 1. การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สร้างผลงาน ภาพที่ 1 การเตรียมวัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


138 2. ร่างภาพ กำหนดโครงสร้าง รูปทรง และทิศทางของภาพ ภาพที่ 2 ร่างภาพ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3. สร้างความเปียกชุ่มบนระนาบรองรับด้วยน้ำ ภาพที่ 3 สร้างความเปียกชุ่มบนระนาบรองรับด้วยน้ำ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. สร้างน้ำหนักและพื้นผิวบนระนาบรองรับด้วยสีน้ำ และหมึกจีน ภาพที่ 4 สร้างน้ำหนักและพื้นผิวบนระนาบรองรับด้วยสีน้ำ และหมึกจีน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


139 5. วาดรายละเอียดลงบนโครงสร้างน้ำหนักและพื้นผิว ด้วยสีน้ำ ภาพที่ 5 วาดรายละเอียดลงบนโครงสร้างน้ำหนักและพื้นผิว ด้วยสีน้ำ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 6. ภาพผลงานเสร็จสมบูรณ์ ภาพที่ 6 ภาพผลงานเสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงาน “สีสันของรูปทรงใต้สำนึก” ชิ้นนี้ สร้างสรรค์โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจาก ภาพรูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ผสมผสานกับรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย ปรากฏรูปทรงของสิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ และพืชพันธุ์ไม้ในธรรมชาติเป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยข้าพเจ้าศึกษาเรื่องราวของสภาวะธรรมชาติ ความ เบิกบานของสิ่งชีวิต โดยใช้วิธีการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการสร้างพื้นผิวขึ้นด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำและหมึกจีน มาสร้างสรรค์ผลงาน การวิเคราะห์ด้านรูปแบบ ในผลงานชิ้นนี้ นำเสนอรูปแบบผลงานภาพทิวทัศน์ ด้วยจิตรกรรมเทคนิค ผสมในรูปแบบกึ่งนามธรรม นำมาประกอบสร้างกับพื้นผิวที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิคใหม่ โดยในการสร้างสรรค์ ผลงานใช้เทคนิคจิตรกรรมสีน้ำและหมึกจีน สร้างพื้นผิวและน้ำหนักเป็นทัศนธาตุหลักให้กับโครงสร้างโดยรวม ของภาพ กำหนดโครงสร้างโดยรวมให้มีมิติของความรู้สึกที่เคลื่อนไหว และเบิกบาน ให้เกิดเป็นรูปทรงตาม


140 จินตนาการได้ แล้วจึงใช้เทคนิควิธีการทางจิตรกรรมสีน้ำ สร้างทัศนธาตุรูปทรง น้ำหนัก พื้นผิว เส้น สี และจุด ตามลำดับ จินตนาการไปตามโครงสร้างของภาพ รายละเอียดของเนื้อหาทางทัศนธาตุอยู่ภายใต้แนวคิดการ สะท้อนสภาวะของโลกในอุดมคติที่ซ้อนทับกับความจริง เจตนาเพื่อถ่ายทอดโลกเสมือนที่มาจากอำนาจภายในใจ การวิเคราะห์ด้านเนื้อหา เรื่องราว ประเด็นจากภาพรูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ผสมผสาน กับรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย ซึ่งเป็นเหตุผลและแรงบันดาลใจในการนำมาเป็นรูปทรงหลัก สัญลักษณ์ของ รูปทรงต่างๆนั้น มีความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะของความเบิกบาน ความอุดมสมบูรณ์ ความเชื่อที่มีอยู่ทับซ้อน กับความจริง และมีอิทธิพลกับมนุษย์ สัญชาตญาณความต้องการที่จะเอาชนะของมนุษย์ จึงปรากฏมีอยู่ใน พื้นที่ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะสามารถแสดงความปราถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ จินตนาการ โดยนำมาสร้างสรรค์ด้วยเทคนิควิธีการส่วนบุคคล อันเป็นวิธีการนำรูปทรงของความเชื่อแบบเก่า สร้างบนพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อเปลี่ยนสภาวะใหม่ท่ามกลางรูปเดิมของเนื้อหา 5. สรุป ในผลงานสร้างสรรค์“สีสันของรูปทรงใต้สำนึก”ชิ้นนี้ ได้ถ่ายทอดออกมาจากความประทับใจจากภาพ รูปทรงพืชพันธุ์ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ผสมผสานกับรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย ปรากฏรูปทรงของสิ่งมีชีวิต คือ สัตว์ และพืชพันธุ์ไม้ในธรรมชาติ เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยข้าพเจ้าศึกษาเรื่องราวของสภาวะธรรมชาติ ความเบิก บานของสิ่งชีวิต โดยใช้วิธีการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการสร้างพื้นผิวขึ้นด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำและหมึกจีน เพื่อสร้างโครงสร้างของภาพ แล้ววาดรูปทรงจากสิ่งมีชีวิตหลากหลาย ภาพจิตรกรรมไทย ลงบนโครงสร้าง ประกอบรวมกันเป็นรายละเอียดของภาพ ซึ่งสะท้อนสภาวะของโลกในอุดมคติที่อยู่ทับซ้อนกับความจริง สัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆนั้น มีความหมายเพื่อสะท้อนนัยยะความรู้สึกของความเบิกบาน ความอุดม สมบูรณ์ ความเชื่อที่มีอยู่ทับซ้อนกับสภาวะความจริง จึงปรากฏมีอยู่ในพื้นที่ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะ สามารถแสดงความปราถนาในการควบคุมทำได้ทุกสิ่งนั่นคือ จินตนาการ ผ่านการนำเสนอโดยผลงานทาง ทัศนศิลป์ จิตรกรรมเทคนิคผสมในรูปแบบกึ่งนามธรรม ที่สามารถแสดงสุนทรียภาพทางด้านอารมณ์และ ความรู้สึกได้ ข้าพเจ้าหวังว่าผลงานชิ้นนี้จะให้ประโยชน์กับสังคมในการศึกษาเรียนรู้ และเผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ได้รับรู้สัมผัสถึงสุนทรียภาพ ทั้งจากเนื้อหา และเทคนิคภายในผลงานสร้างสรรค์ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ไม่ว่า ในทางใดทางหนึ่งในปัจุบัน และอนาคตต่อไป เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ = Composition of Art. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ สันติ เล็กสุขุม. (2548). ศิลปะรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ เสมอชัย พูลสุวรรณ (2539). สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


141 เส้น จังหวะผ่านภาษากาย Lines and rhythm through body language ปภณ กมลวุฒิพงศ์, PAPON KAMONWUTTIPONG วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี Suphanburi College Of Fine Arts, affiliated to Bunditpatanasilpa Institute, Ministry of Culture Suphanburi E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงาน 2 มิติสร้างสรรค์ผ่านน้ำหนักและแสงเงาของจังหวะและเส้นบนระบบดิจิทัล รูปแบบการนำเสนอของงานเรื่องการเคลื่อนไหวผ่านภาษากาย ได้รับแรงบันดาลใจจากการแสดงภาษาท่า นาฏศิลป์ในบทบาทตัวละครนาง ภาษาท่าคือ “อาย” จากการแสดงท่าทางเป็นจุดสร้างอารมณ์และความรู้สึก ให้เห็นถึงความสำคัญผ่านสีหน้า การเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อแสดงออกแทนคำพูดในการสื่อสารให้ถึงผู้ชม วัฒนธรรมไทยสืบสานเรื่องของการแสดงออกในเพศหญิง และให้ความสำคัญกับกิริยา ท่าทางที่ดูสง่างาม อ่อนหวานส่งผลให้การแสดงออกทางภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยเป็นจุดเด่นมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน การสร้างสรรค์ งานผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาแนวคิดผลงานจากศิลปิน เขียน ยิ้มศิริ ศิลปินชาวไทยที่สร้างสรรค์ผลงาน ประติมากรรมผ่านการแสดงออกด้วยท่าทางการรำไทย สร้างผลงานในลักษณะตรงตามอุดมคติ แนวไทย ประเพณี สิ่งที่นำมาแสดงออกคือ การใช้เส้นที่ดูอ่อนช้อย ประสานกับจังหวะท่าทาง ในเชิงองค์ประกอบศิลป์ การแสดงออกทางทัศนธาตุด้วย เส้น รูปทรง ประกอบกับจังหวะที่เปรียบราวกับงานมีชีวิตสามารถร่ายระบำได้ จริงส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจของผู้พบเห็น ผู้สร้างสรรค์ได้หยิบยกการนำเสนอภาษาท่า อาย ของตัวละครนาง มาผสมผสานผ่านงานทัศนศิลป์ด้วยเส้น น้ำหนัก และจังหวะ ร่วมกับแนวคิดไทยประเพณีเพื่อนำเสนอ เอกลักษณ์และความเป็นไทยที่ควรค่าแก่การรักษา สืบสานงานศิลป์ไทย คำสำคัญ: ภาษาท่า, ตัวละครนาง, เส้น, จังหวะ Abstract 2D creations are made up of the weight and shadows of strokes and lines on digital. Body Language Movement Presentation Format Inspired by Thai dance performances in the role of Mrs. character. The body language is “shy”, since gestures are the point of creating emotions and feelings to show importance through facial expressions. body movement to express instead of words to communicate to the audience Thai culture inherits the story of female expression. and focus on behavior elegant demeanor Delicate, resulting in the distinctive expressions of Thai classical dance language, distinctive character. To create works,


142 the creators have studied the concept of the artist's work, Khean Yimsiri, a Thai artist who creates sculptures through expressions with Thai dance gestures. Create works in a way that meets the ideal. Thai tradition What is expressed is The use of delicate lines synchronized with the rhythm of gestures in terms of artistic elements.Visual expressions with lines, shapes, and rhythms that are like a living work can actually dance to affect the mood and mind of the viewer. The creators have put forward the portrayal of her character's shy language and blend it through visual art with lines, weights and rhythms, along with traditional Thai concepts to present a uniqueness and Thainess that is worth preserving. Inherit Thai art. Keywords: Body, language Mrs., character line, rhythm 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การแสดงออกของสิ่งมีชีวิตมีหลากหลายรูปแบบ จากเสียง การเคลื่อนไหว การสัมผัส การแลกเปลี่ยน ความคิด การรับรู้ระหว่างมนุษย์ด้วยกันใช้การพูด การแสดงออกทางกายเพื่อสื่อสารให้ความเข้าใจตรงกัน อารมณ์มีรูปแบบที่แตกต่างกัน การแสดงอารมณ์จะแสดงออกทางหน้าตา และการเคลื่อนไหว เช่นมีความสุข สี หน้าจะแสดงออกผ่านรอยยิ้ม ดวงตาเป็นประกาย การเคลื่อนไหวร่างกายที่บ่งบอกว่ามีความสุข อารมณ์เศร้า การแสดงออกทางสีหน้าจะชัดเจนมองเห็นแล้วให้ความรู้สึกหม่นหมอง การเคลื่อนไหวดูช้า อ่อนแรง การ แสดงออกทางความรู้สึกมีหลากหลาย และมีความแตกต่างกันออกไป การศึกษาเรียนรู้ท่าทางการแสดงออกจึง เป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้เพื่อความเข้าใจในการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม บางครั้งการแสดงออกไม่มี คำพูด มีเพียงการแสดงออกผ่านท่าทางและการแสดงออกผ่านหน้าตา ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้รับแรงบันดาลใจจากท่าทางการแสดงออกของภาษาท่านาฏศิลป์ ตัวละครนาง ที่ใช้การสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้พบเห็นได้รับรู้และเข้าใจผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการ แสดงออกทางสีหน้าอารมณ์ในการแสดง เนื่องจากความชัดเจนของภาษาท่าเป็นมาตรฐานที่เข้าใจได้ง่าย และ ไม่ซับซ้อนทำให้การสื่อสารเข้าใจได้ง่าย การนำเสนอภาษาท่า อาย ของผู้สร้างสรรค์มุ่งเน้นให้เห็นถึงความ ชัดเจนของการสื่อสารที่เน้นการแสดงออกผ่านการรำ เอกลักษณ์ความเป็นไทยที่งดงาม ผสมผสานกับการ สร้างสรรค์ผ่านงานทัศนศิลป์ด้วยเส้น และจังหวะเพื่อตอบสนองอารมณ์ให้ผู้พบเห็นเกิดสุนทรียะทางความงาม ในจิตใจ เนื่องจากท่าอายมีเสน่ห์ความเป็นไทยที่บ่งบอกความเป็นกุลสตรีไทยได้ตรงตามวัฒนธรรมไทยที่สตรี จะรักษากิริยาที่งดงามไว้เสมอในทุกอิริยาบท 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง มนุษย์กับการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมโยงให้เกิดความเข้าใจกันผ่าน ภาษา ผ่านร่างกาย ผ่าน ความคิดและการแสดงออกทางความคิด การปรับเปลี่ยนให้การสื่อสารได้เข้าถึงผู้รับมีการแสดงออกได้


Click to View FlipBook Version