The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

143 หลากหลายรูปแบบ มนุษย์เรียนรู้การสื่อสารผ่านการรับรู้ด้วยตา หู และการสัมผัส การแสดงออกของร่างกาย เป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกให้ผู้รับได้เข้าใจผ่านการมองเห็นได้ดี การเคลื่อนไหวของนาฏศิลป์ไทย ภาษาท่านาฏศิลป์ในบทบาทตัวละครนาง การนำเสนอของผู้ สร้างสรรค์หยิบยกมาสร้างสรรค์ภาษาท่าคือ “ท่าอาย” จากการแสดงท่าทางเป็นจุดสร้างอารมณ์ และ ความรู้สึกให้เห็นถึงความสำคัญผ่านสีหน้า การเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อแสดงออกแทนคำพูดในการสื่อสาร ให้ถึงผู้รับชม วัฒนธรรมไทยสืบสานเรื่องของการแสดงออกในเพศหญิง และให้ความสำคัญกับกิริยา ท่าทางที่ดู สง่างาม อ่อนหวานส่งผลให้การแสดงออกทางภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยเป็นจุดเด่นมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ทฤษฎีศิลปะที่มีความสอดคล้องกับการแสดงออกทางอารมณ์ ศิลปะคือการแสดงออกซึ่งอารมณ์ (Art as expression) ทฤษฎีที่ว่าด้วย ศิลปะคือการแสดงออกทางอารมณ์นั้น ถือว่าศิลปะเป็นการแสดงออกของ อารมณ์ภายในของมนุษย์ออกมา ศิลปินแสดงอารมณ์บางอย่างที่เกินความเป็นจริงหรือนอกเหนือไปจาก ประสบการณ์ตามธรรมดาของเราออกมา ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เราเห็นว่า เขามีความความรู้สึกต่อสิ่งนั้นอย่างไร ผ่านการแสดงออกด้วยร่างกายการสร้างสรรค์ให้ได้รับรู้ผ่านการมองเห็น 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้เกิดจากผู้สร้างสรรค์ศึกษาแนวคิดของผลงานศิลปิน เขียน ยิ้มศิริ ศิลปินชาวไทยที่นำเสนอเอกลักษณ์ความเป็นไทย รูปแบบไทยประเพณีลงในผลงานประติมากรรมที่นำเสนอ ความงดงามและสนุกสนาน สร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ดีต่อใจแก่ผู้พบเห็น โดยสื่อสารผ่านท่วงท่ารำของ หญิงและชาย สัญลักษณ์บางอย่างถูกแอบแฝงผ่านการแสดงออกบนใบหน้าผ่านรอยยิ้มสื่อถึงความสุขที่งดงามลงตัว ภาพที่ 1 ภาพผลงาน ดินแดนแห่งความยิ้มแย้ม ที่มา : https://anowl.co/anowlrod/หลงรูป/long_roob06/ สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565 ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากต้นแบบ ภาพถ่ายการจัดวางตำแหน่งองค์ประกอบของภาพด้วยมุมมองที่ ประทับใจ จากภาพเป็นภาพของตัวละครนาง แสดงท่า อาย เป็นมุมถ่าย 45 องศาของลำตัว และเอียงศรีษะมี การบิดหันมองตรงมาด้านหน้าเพื่อแสดงอารมณ์ผ่านสีหน้าแววตา และรอยยิ้ม การจัดวางภาพต้นแบบนำเสนอ ร่วมกับเครื่องแต่งกายการแสดงโขนเพื่อนำเสนอลักษณะการแต่งกายที่สื่อถึงเอกลักษณ์ความงามของนาฏศิลป์


144 ไทยประกอบ การเลือกต้นแบบรูปภาพเป็นการเลือกจากภาพถ่ายที่มีความลงตัวในองค์ประกอบภาพที่เน้น ความสมดุลและมีลักษณะการเคลื่อนไหวโค้งไปมาของร่างกายให้ความรู้สึกอ่อนไหว สบายตา ภาพที่ 2 ภาพถ่ายต้นแบบ ที่มา : บัณฑิตา ศุภเลิศ ขั้นตอนที่ 2 การร่างภาพ ร่างภาพผ่านแอพพลิเคชั่น Procreate โดยใช้การนำเสนอเครื่องมือเส้น ขนาด 6b เพื่อพื้นผิวที่ให้อารมณ์ความหนักเบาได้ มีจุดเน้นเข้มให้เกิดเงา และจุดปล่อยของเส้นให้เกิดความ อ่อนโยนในภาพ บนขนาดกระดาษที่ตั้งไว้ 59 x 79 ซม. เพื่อให้เกิดความลงตัวของภาพตามต้นแบบรูปถ่าย เป็นการขยายด้วยสัดส่วน 1:20 จากภาพถ่ายต้นแบบ ขั้นตอนที่ 3 ลงมือทำพื้นหลัง (backgroud) ประกอบแบ่งออกเป็นชั้นในโปรแกรม (Layer) เพื่อการ ปรับเปลี่ยนเครื่องมือการใช้เป็นแปรง (Brush) เพื่อนำเสนอการสร้างจังหวะในส่วนพื้นหลังเพื่อส่งเสริมจุดเด่น ให้กับระยะหน้าด้วยการลักษณะของทีแปรงการสะบัดตามรูปทรงการเคลื่อนไหวของตัวละครนาง ในท่าอาย และเน้นส่วนน้ำหนักเข้มจากด้านมุมขวาล่างให้ภาพดูลึกและทำหน้าที่คัดจุดเด่นให้กับระยะหน้า พร้อมกับจัด แสงเงาให้กับภาพเพื่อถ่ายทอดน้ำหนักให้ผลงานดูสมจริง และได้อารมณ์ความรู้สึกที่มีความอ่อนหวานแต่หนักแน่น ภาพที่ 3 ภาพร่างแบบด้วยดินสอ 6b และการลงสีพื้นหลัง บนแอพพลิเคชั่น Procreate ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565


145 ขั้นตอนที่ 4 ลงน้ำหนักแสงและเงาด้วยแปรงในลักษณะเปียก เพื่อให้เกิดพื้นผิวของความชุมฉ่ำดูมี ชีวิตชีวากับผลงาน โดยกำหนดให้จังหวะของเส้นมีความโค้งอ่อนช้อยตามสรีระของผู้แสดงแบบโดยเน้น ความสำคัญในการนำเสนอให้ดูสวยงามอ่อนหวานผ่านเส้นและจังหวะเป็นหลัก ภาพที่ 4 ภาพการลงน้ำหนักแสงและเงา และการลบน้ำหนักบนภาพผู้แสดงแบบออกในบางส่วน ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ขั้นตอนที่ 5 การเก็บรายละเอียดตามขอบรูปทรงต่าง ๆ เพื่อคัดรายละเอียดเล็กน้อยให้กับผลงานเกิด ความคมชัดมากขึ้น เพิ่มความสมจริงเรื่องมิติให้งานดูมีความลึก พร้อมคัดน้ำหนักของเครื่องแต่งกายผู้แสดง แบบให้ชัดเจนมีพื้นผิวตรงกับการให้ความรู้สึกของเครื่องแต่งกายจริง พร้อมปรับแต่งน้ำหนักของหน้าเพื่อการ แสดงออกที่ชัดเจนให้เกิดความรู้สึกของการแสดงภาษาท่าอาย ให้สมจริงมากที่สุด ภาพที่ 5 ภาพการเก็บรายละเอียด และการคัดน้ำหนักเครื่องแต่งกายผู้แสดงแบบ ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ขั้นตอนที่ 6 ปรับความคมชัดให้กับภาพและเก็บรายละเอียดภาพจนสมบูรณ์และปรับโทนสีของภาพ เพื่อให้ภาพได้โทนสีที่อบอุ่นโดยการปรับค่าสีไปทางโทนร้อนเล็กน้อย และปรับจังหวะของภาพพื้นหลังให้คมชัด ในส่วนน้ำหนักเข้มเพื่อตัดกับด้านซ้ายที่เป็นลักษณะของแสง


146 ภาพที่ 6 ภาพการเก็บรายละเอียด และการคัดน้ำหนักเครื่องแต่งกายผู้แสดงแบบ ที่มา : จากผู้สร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565 4. การวิเคราะห์ผลงาน การวิเคราะห์การใช้ทัศนธาตุในงานสร้างสรรค์ ทัศนธาตุในผลงานที่เด่นชัดประกอบด้วย เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว และการเลือกจัดวางองค์ประกอบให้เกิด จังหวะ พื้นที่ว่าง การเลือกใช้ให้เหมาะสมส่งเสริม ให้ผลงานถึงจุดมุ่งหมายของการสร้างสรรค์ผลงาน สำหรับการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ให้ความสำคัญต่อทัศน ธาตุและการจัดองค์ประกอบเหล่านั้นทั้งหมดเพื่อเป็นการศึกษา การค้นคว้าและทดลอง การถ่ายทอดภาพของ ตัวละครนาง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย เครื่องแต่งกาย และการนำเสนออารมณ์ลักษณะสีหน้าเพื่อสื่อสาร ให้กับผู้พบเห็น ผ่านเทคนิคการนำเสนอผ่านแอพพลิเคชั่นวาดภาพ Procreate ด้านทัศนธาตุ เส้น สร้างโครงสร้างโดยรวมของภาพด้วยเส้นโค้ง มีจุดประสงค์ในการนำเสนอให้เกิด ความงดงาม อ่อนไหว มีการเลียนแบบเส้นของธรรมชาติจากการสะบัดของการแหวกผ่านอากาศมีทิศทางของ การเคลื่อนไหวทำให้ลักษณะของภาพดูไม่นิ่ง และมีชีวิต รูปร่างและรูปทรงใช้ลักษณะการเลียนแบบธรรมชาติ ด้วยร่างกายของมนุษย์ ประกอบกับเครื่องแต่งกายของตัวละครนางจากการแสดงโขน ที่เป็นเอกลักษณ์และมี เนื้อหาความเป็นไทยตรงตามเป้าหมายในการนำเสนอประเด็นของสิ่งมีชีวิตกับการสร้างสิ่งที่งดงาม พื้นผิว เลือกใช้ลักษณะให้ดูแข็งแรง ขรุขระบนเครื่องแต่งกายเพื่อให้เห็นความหนักแน่นของชุดและเครื่องที่สวมใส่ ใน พื้นหลังทำพื้นผิวให้มีการขาดหายของจังหวะในบางช่วงเพื่อให้เกิดช่องว่างของอากาศทำให้ดูสบายตาในด้าน ซ้ายของภาพ การจัดวางองค์ประกอบเน้นสร้างจังหวะด้วยภาษาท่าอาย ของตัวละครนาง ที่มีการจัดระเบียบ


147 ของร่างกายให้เกิดความต่อเนื่องอ่อนช้อย และดูกิริยางดงาม แสดงอารมณ์เขินอายผสมผสานด้วยจังหวะของ เส้นในการสะบัดตามจังหวะการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อเน้นให้ท่าทางเด่นชัดขึ้น พื้นที่ว่างในภาพใช้ลักษณะ ของน้ำหนักแสงมาช่วยสร้างบรรยากาศให้ภาพเพื่อลดทอนความแข็งในบางจุดเป็นการรักษาสมดุลภายในภาพ ให้ดูลงตัว ด้านเนื้อหามุ่งเน้นการนำเสนออารมณ์ความรู้สึกของการแสดงออกทางภาษากายที่ผสมผสานกับ ศิลปะไทยด้านนาฏศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ความงามที่เด่นชัด และงดงาม จากการศึกษาพบว่าจากศิลปินต้นแบบ เขียน ยิ้มศิริ ผู้สร้างสรรค์ผลงานโดยอาศัยแนวคิดไทย ประเพณีในการผสมผสานกับประติมากรรมที่ดูงดงาม อ่อนช้อย มีการแอบแฝงสัญลักษณ์รอยยิ้มที่เป็นจุดเด่น ของคนไทยเพื่อนำเสนออัตลักษณ์ไทย สร้างนัยยะ ข้อคิดแก่ผู้พบเห็น ผู้สร้างสรรค์ได้นำมาสร้างผลงาน เส้น จังหวะผ่านภาษากาย เพื่อสะท้อนความหมายของการสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกผ่านภาษากายด้วยความงดงาม ของท่าละครตัวนาง ท่าอาย ที่บ่งบอกถึงความงามเมื่อมนุษย์เรียนรู้และแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมการแต่งกายชุดการแสดงของนาฏศิลป์ไทย สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน สืบสานและอนุรักษ์ได้อย่างลงตัว ผ่านการนำเสนอด้วยการเขียนผลงานวาดเส้นสร้างสรรค์ด้วยทัศนธาตุและ การใช้องค์ประกอบ รวมไปถึงการแสดงออกของอารมณ์ภาพเพื่อสะท้อนให้ผลงานมีความงามและน่าสนใจ 5. สรุป ผลการศึกษาข้อมูลจนถึงขั้นตอนวิธีการสร้างสรรค์ พบว่าการสร้างสรรค์เพื่อถ่ายทอดผลงานวาดเส้น สร้างสรรค์ชุดนี้ที่แสดงถึงเส้น จังหวะที่มีชีวิตชีวาผสมผสานกับภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย ของตัวละครนางใน ท่าอาย จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการนำเสนอให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้พบเห็นโดยมุ่งเน้นให้ บรรยากาศของภาพมีความอบอุ่น ดูงดงามและแข็งแรง พร้อมกับการนำเสนอร่วมกับพื้นหลังที่มีการสะบัดของ แปรงด้วยจังหวะที่อิสระสร้างให้ภาพเกิดความรู้สึกนุ่มนวล ประกอบกับการนำเสนอท่วงท่าของตัวละครนาง ด้วยท่าอายผสมผสานกับความนุ่มนวลผ่านการเขียนใบหน้าที่มีรอยยิ้ม เนื้อหาภายในภาพนำเสนอความเป็น นาฏศิลป์ไทย ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ของตัวละครนาง นำเสนอร่วมกันส่งเสริมความเป็นไทยประเพณีที่มีการ สืบสาน อนุรักษ์ จากรุ่นสู่รุ่น และบ่งบอกความเป็นไทยด้วยทัศนศิลป์และนาฏศิลป์ร่วมกันได้อย่างลงตัว เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบศิลป์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. ตัวแน่น. นักระบำที่สาบสูญ ของ เขียน ยิ้มศิริ. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https:// nanowl.co/anowlrod/หลงรูป/long_roob06/ นวลน้อย บุญวงษ์. (2539). หลักการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สุรพงษ์ บัวเจริญ. (2554). องค์ประกอบศิลป์สำหรับนักถ่ายภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็มไอเอส.


148 บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 People physically and mentally affected by the COVID-19 epidemic. ปรานต์ ชาญโลหะ, Pran Chanloha คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ประเทศไทย Faculty of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute, Nakhon Pathom, Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ชุดกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็น กลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ข้าพเจ้าจึงตั้งคำถามถึงการมีตัวตนอยู่ของพวกเขา ผ่าน กระบวนการพิมพ์เชิงทดลอง ทับซ้ำทีละชั้นจนพร่ามัวไม่ชัดเจน คำสำคัญ: โควิด 19, กระบวนการพิมพ์เชิงทดลอง Abstract Creation related to a group of people physically and mentally affected by the COVID-19 epidemic. I therefore questioned their existence through an experimental printing process repeated layer by layer until it's blurred and unclear. Keywords: COVID-19, experimental printing process 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (โรคโควิด19) ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ.2563-2565 เป็น โรคใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีน หลังจากนั้นมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไปทั่วโลก และมีผู้ติดโรคโควิด 19 เป็นจำนวนมาก รวมถึงประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทางสังคม และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทางสังคมตามมา ไม่ว่า จะเป็นปัญหาทางด้านการสาธารณสุข ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหาด้านสุขภาพจิต นอกจากนี้ปัญหาทาง สังคมซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญเป็นอย่างมาก ที่เริ่มพบมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่ม เปราะบางทางสังคมหรือแม้กระทั่งผู้ ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ล้วนได้รับผลกระทบในสถานการณ์นี้ (ณรงค์ ใจเที่ยง, 2565) แต่ท่ามกลางภาวะที่เกือบ ล่มสลายทางระบบสาธารณสุข ผู้สร้างสรรค์ได้พบเห็นกลุ่มมูลนิธิ หรือองค์กรต่าง ๆ ของทางภาครัฐบาลและ เอกชน ภายในประเทศไทย ได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกลุ่มบุคคลที่เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยาก มีการ รวมกลุ่มของชุมชนเพื่อเป็นด่านหน้าในการรับมือกับโรคระบาด แสดงถึงบทบาทของชุมชนในการช่วยป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเป็นเกราะป้องกันการแพร่ระบาด


149 ของไวรัส (กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) ดังเช่นกลุ่มบุคคลในชุมชนริมทาง รถไฟบางกอกน้อย ได้เกิดการรวมกลุ่มตั้งโรงพยาบาลสนามหรือที่กักตัวของผู้ป่วยที่อาการไม่หนักมาก ภายใน ศูนย์คนไร้บ้านสุวิทย์ วัดหนู เพื่อดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มต้น ที่ยังไม่ต้องใช้ระบบเครื่องช่วยหายใจ มีการ เปิดรับบริจาคยาและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการป้องกันเชื้อไวรัส เปิดรับบริจาคอาหารสด เพื่อที่จะทำอาหาร เลี้ยงดูผู้ป่วยและคนในชุมชน แสดงให้เห็นถึงพลังการรวมกลุ่มต่อสู้กันของชุมชน ที่พยายามต่อสู้กับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคร้ายให้ผ่านพ้นไปได้ ด้วยเหตุนี้ผู้สร้างสรรค์ต้องการที่จะสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ร่วมสมัย เพื่อระลึกถึง กลุ่มคนในชุมชนที่ได้ผ่านภาวะโรคระบาดนี้มาด้วยกัน หน้ากากอนามัยได้สร้างริ้วรอยบนใบหน้า เช่นบางสิ่ง บางอย่างที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของพวกเขา ในรูปแบบเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์ 2. แนวคิดสุนทรียศาสตร์กับการเมือง ฌาคส์ ร็องซิแยร์ ฌาคส์ ร็องซิแยร์ได้กล่าวว่า สุนทรียศาสตร์ในแบบของเขานั้นคือการเมืองแบบหนึ่ง เป็นสุนทรียศาสตร์ เพราะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบการจัดแบ่ง จัดสรรเวลาให้กับคนในแต่ละสังคม แต่ละวงการที่แตกต่างกัน ออกไป การจัดสรรเวลาที่แตกต่างกันนำไปสู่การรับรู้และการมีชีวิตที่แตกต่างกัน เป็นการเมืองเพราะต้องการ ตั้งคำถามกับกระบวนการแบ่งแยกการรับรู้นี้ ดังนั้น การเมืองของสุนทรียศาสตร์ (The partition of asethetics) ในแบบของร็องซิแยร์ จึงหมายถึงการตั้งคำถามกับระบบการแบ่งแยกการรับรู้ที่ดำรงอยู่ในสังคม เพื่อเปิดพื้นที่ เวทีให้กับสิ่งที่ไม่มีพื้นที่ เวทีเปิดเสียงให้กับที่ไม่มีเสียงในระบบการแบ่งแยกการรับรู้ที่ดำรงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สำหรับร็องซิแยร์ จึงมีการปฏิวัติเชิงสุนทรียศาสตร์จึงเป็นเรื่องของการตั้งคำถาม และล้มล้างระบบการจัด ชั้นสูงต่ำของประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของคนในสังคม การเมืองสำหรับร็องซิแยร์คือการท้าทายระเบียบสังคม การเมื่องคือกิจกรรมสุดขั้วที่อยู่ตรงกันข้ามกับ ระเบียบการควบคุมของสังคม การเมืองคือกิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้กับส่วนที่ถูกนับเพื่อที่จะไม่นับรวมให้เป็นส่วน สามารถเข้ามามีส่วนร่วม และในที่สุด สามารถทำให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในฐานะผู้พูด คนหนึ่ง การมีฐานะเป็นผู้พูดมีความสำคัญมากในวิธีคิดและการเมืองแบบของร็องซิแยร์ เพราะแสดงถึง ความสามารถเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในฐานะสมาชิกที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการสร้างสรรค์ ชีวิตที่มีความหมาย จากข้างต้นผู้สร้างสรรค์ ได้เห็นความไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันของคนในสังคม ยิ่งในสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กลุ่มคนระดับรากหญ้าเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ยากกว่า กลุ่มคนชั้นกลาง รวม ไปถึงกลุ่มคนระดับสูงในสังคม จากข่าวสารต่าง ๆ ที่เผยแพร่ตามสื่อออนไลน์ เมื่อมีดาราหรือคนที่มีชื่อเสียง ตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัส ก็สามารถไปรักษาพยาบาลได้ทันที มีรถพยาบาลมารับ มีการเข้าถึงระบบสาธารณสุข แบบรวดเร็ว ต่างจากกลุ่มคนในระดับล่าง ที่นอนรอคอยรถพยาบาลหรือหน่วยงานมารับ บางคนรอคอยอย่าง สิ้นหวัง มองเห็นผู้คนใกล้ชิดหรือบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต หรือคนไร้บ้านบางคนก็เสียชีวิตอยู่ตามข้างถนน ทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ และตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ความทุกข์การสูญเสียของพวกเขา ไม่มีใครเห็น และเสียงเรียกร้องต่าง ๆ ของพวกเขาไม่มีใครได้ยิน ไม่มีใครรับฟัง


150 ผู้สร้างสรรค์จึงนำจึงได้ทำการบันทึกภาพถ่ายของกลุ่มคนไร้บ้าน ในลักษณะมีหน้ากากอนามัยปิดอยู่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ซึ่งอีกนัยหนึ่งการที่มีหน้ากากปิดจมูก ปิดปาก เปรียบเหมือนการ ปิดปากไม่ให้พูดในสิ่งที่เขาต้องการจะเรียกร้องถึงความทุกข์การสูญเสียของพวกเขา 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การดำเนินงานสร้างสรรค์ชุดนี้ มีกระบวนการและขั้นตอนในการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ ดังนี้ 3.1 การรวบรวมข้อมูล โดยนำรูปถ่ายของบุคคลที่ดีรับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ไวรัสโคโรนา (โรคโควิด19) ชุมชนรถไฟบางกอกน้อย มาเข้าเครื่องสแกนเพื่อที่จะเก็บบันทึกไฟล์ข้อมูลไว้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้มาเป็นแบบร่างในการทำผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ 3.2 การสร้างภาพร่างผลงาน นำรูปถ่ายมาทำเป็นภาพร่างต้นแบบ ปรับเพิ่มความเข้มของรูปถ่าย ด้วยโปรแกรม Photoshop แล้วตัดขอบ (Diecut) ภาพถ่ายบริเวณหน้ากากอนามัย แล้วปรับฟิวเตอร์ (Filter) เป็นรูปแบบเบลอ (Blur) แล้วนำรูปภาพที่ปรับเรียบร้อยแล้ว มาทับซ้อนกันหลายครั้ง ในหน้ากระดาษแผ่นใหม่ จึงเสร็จขั้นตอนการทำแบบร่าง 3.3 การขยายภาพร่างเพื่อทำเทคนิค ใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทขนาด A4 ในการใช้ขยายแบบร่างของ ผลงานเพื่อที่จะทำการ photocopy Transfer และใช้กระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้แล้ว (Reuse paper) แทน การใช้กระดาษใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน เมื่อปริ๊นออกมาแล้วนำรูปที่ถูกตัดออกมาเป็นชิ้นส่วน นำมา collage เป็นการขยายภาพร่างซึ่งกระบวนการนี้สัมพันธ์กับแนวความคิดในการสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า 3.4 การปฏิบัติงานทางภาพพิมพ์ข้าพเจ้าได้เตรียมกระดาษฟราเบรียโน่สำหรับงานภาพพิมพ์ขึง กระดาษให้ตึงโดยใช้กาวน้ำปิดที่ขอบทั้งสี่ด้าน รอจนแห้งสนิท วัดตำแหน่งของภาพ ปิดขอบด้วยกระดาษกาว ย่น นำฟองน้ำชุบน้ำมาลูบให้ทั่วบนกระดาษ พ่นน้ำด้วยที่ฉีดอีกครั้ง ให้ชุ่มไปทั่วทั้งกระดาษ จากนั้นนำภาพ ต้นแบบที่ใช้ในการทำเทคนิค Photocopy Transfer ที่ทำการ Collage จากกระดาษ A4 จนเป็นภาพ ต้นแบบ (ซึ่งต่อจากนี้จะเรียกว่าแม่พิมพ์) ที่จะใช้ในการพิมพ์ จากนั้นจึงนำแม่พิมพ์มาทาบกับกระดาษที่มี ความชื้น แล้วใช้มือลูบด้านหลังแม่พิมพ์ เพื่อที่จะให้หมึกอิงค์เจ็ทที่อยู่บนแม่พิมพ์ติดลงไปบนกระดาษที่มี ความชื้น พิมพ์ในลักษณะเดียวกันซ้ำ ๆ กัน บางครั้งก็ปรับให้ภาพเป็นสี บางครั้งก็ปรับให้ภาพเป็นขาวดำ พิมพ์ ในลักษณะเดียวกันซ้ำ ๆ ให้ได้64 ครั้ง ตามอายุของบุคคลในภาพ เหมือนผู้สร้างสรรค์ใช้ขั้นตอนกระบวนการ พิมพ์เป็นการตั้งคำถาม ถึงความมีตัวตนอยู่ของบุคลเหล่านี้


151 1.) ภาพถ่ายต้นแบบ ใช้โปรแกรม Photoshop ทำภาพร่างต้นแบบ ตัดขอบ (Diycut) บริเวณหน้ากากอนามัย ภาพที่ 1 การทำภาพร่าง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2.) ปรับฟิวเตอร์ (Filter) เป็นรูปแบบเบลอ (Blur) ทำทั้งเป็นภาพสี และภาพขาวดำ เมื่อทำการปรับภาพเรียบร้อย แล้วจึงนำมาทับซ้อนกันหลายครั้ง ในหน้ากระดาษแผ่นใหม่ 3.) ภาพร่าง ภาพที่ 2 การทำภาพร่าง (ต่อ) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


152 1.) ฉีดน้ำบนกระดาษให้ชุ่ม แล้วนำภาพภาพต้นแบบที่ใช้ในการทำเทคนิค Photocopy Transfer ที่มาวางบนกระดาษ แล้วใช้มือลูบให้ทั่วทั้งภาพ เพื่อให้หมึกพิมพ์ (Inkjet) ติดลงบนกระดาษ 2.) ทำการพิมพ์ในลักษณะเดิมซ้ำกัน 64 ครั้ง ตามอายุของบุคคลในภาพ จึงสิ้นสุดขั้นตอนการพิมพ์ ภาพที่ 3 ขั้นตอนปฏิบัติงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


153 ภาพที่ 4 ผลงานสร้างสรรค์ ชื่อผลงาน COVID 19 - 07 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


154 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการสร้างสรรค์ผลงงานชุดนี้ ข้าพเจ้าได้แยกการวิเคราะห์ผลงานเป็นลำดับ ดังนี้ 4.1 ทางด้านเนื้อหาเรื่องราว ข้าพเจ้านำเสนอเรื่องราวของกลุ่มคนไร้บ้าน ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 4.2 ทางด้านรูปแบบ ข้าพเจ้าได้นำภาพถ่ายบุคคลมาทำผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ เพื่อเป็นการตั้งคำถาม ถึงการมีตัวตนอยู่ของพวกเขา เป็นศิลปะเพื่อชีวิต ที่สะท้อนให้เห็นที่ปัญหาของสังคม 4.3 ทางด้านเทคนิค กระบวนการทางด้านเทคนิค ข้าพเจ้าเลือกใช้เทคนิค Photocopy Transfer และใช้หมึก อิงค์เจ็ท (Inkjet) ที่น้ำสามารถทำละลายได้ใช้การพิมพ์ทับซ้อนกันทั้งหมด 64 ครั้ง ตามอายุของ บุคคลที่อยู่ในรูปภาพ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ของต้นแบบ การไม่ชัดเจนถึงการมีตัวตนอยู่ของพวกเขา ในสังคม เป็นการสร้างเทคนิคให้สัมพันธ์กับเรื่องราวที่นำเสนอ 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้จุดเริ่มต้นเริ่มจากข้าพเจ้าตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากโรค โควิด เป็นการตั้งคำถามของสิทธิ์ในการเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ ของพวกเขา จนนำมาสู่การทดลองกระบวนการพิมพ์ แบบเฉพาะ ประกอบกับกระบวนการทางเทคนิคกับแนวความคิดที่สอดคล้องและเกื้อหนุนกัน ได้เกิดการ ค้นคว้าทดลองในการทำงานศิลปะภาพพิมพ์ ที่แตกต่างจากกระบวนการพิมพ์แบบดั้งเดิมของข้าพเจ้า เพื่อที่จะ ได้เกิดแนวความคิดและพัฒนาผลงานในลำดับต่อไป เอกสารอ้างอิง ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2563). ว่าด้วยความคิดทางการเมืองของ ฌาคส์ ร็องซีแยร์[The Political Thinking of Jacques Rcierean]. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมมติ


155 “สมถะ ธรรมชาติ” "Concentration From Nature" ป่านทิพย์ พัฒรชนม์, PARNTHIP PHATTARACHON 110/232 ม.ชัยพฤกษ์2 ซ.คุ้มเกล้า 12 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรีกรุงเทพฯ 10510, Address No: 110/232, Chaiyaphruek 2 Village, Soi Khumklao 12, Saen SaepSubdistrict, Min Buri District, Bangkok 10510 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ “สมถะ” ความสงบของจิต เกิดความตั้งมั่น จดจ่อในสมาธิกับสิ่งที่ทำ สำหรับตัวข้าพเจ้าแล้ว ผลของ สมถะนี้นำมาซึ่งความแข็งแรงทางร่างกายที่ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องการก้าวเดินบนพื้นดิน ด้วยมุ่งหมายถึงการ หายจากความเจ็บป่วย ในระหว่างทางเดินเพื่อฟื้นฟูร่างกายนั้น เกิดสมาธิ ความสงบทางใจ ได้คิดพิจารณา ธรรมชาติรอบตัวเรา ได้มองเห็นความร่วงโรยของดอกไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ผลและหมากสีสันของธรรมชาติ โดยมี สายลมเป็นผู้จัดวางให้เกิดจังหวะที่สวยงามตามเส้นทางเดินนั้น รับรู้ได้ถึงความผ่อนคลาย สบายไม่เคร่งเครียด เกิดผลดีต่อใจ นำมาซึ่งการยอมรับความร่วงโรยของธรรมชาติ ด้วยความเป็นไปโดยธรรมชาติที่งดงาม “ธรรมชาติ” ความเข้าใจในธรรมชาติแห่งความไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป คือ ธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนหลีกหนีไม่ได้ การมองเห็น เข้าใจและยอมรับ จะช่วยให้เราก้าวพ้นจากหลุมพรางทาง ความคิดที่ทำให้ชีวิตเครียดเคร่ง ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดจากการคาดหวังของผู้คนรอบตัวหรือตัวเราเอง ก็ตาม หากเราใช้ชีวิตด้วยความยืดหยุ่นดั่งเช่นธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไม่สิ้นสุดในวัฏจักรนั้น มองทุกสิ่งที่เกิดขึ้น บนพื้นฐานของความธรรมดา เรามีชีวิตเพียงชั่วคราว แต่หากเราเรียนรู้ที่จะชื่นชมแต่ละช่วงเวลา ช่วงเวลานั้นก็ รองรับทั้งหมดแห่งความเป็นนิรันดร์ได้ ผลงานชุด “สมถะ ธรรมชาติ” นี้ มีที่มาจากการเห็นเหตุของทุกข์ ความเข้าใจในความทุกข์ที่เกิดขึ้น ทางกายและใจ เรียนรู้ที่จะจัดการสิ่งที่อยู่ภายในและภายนอกของตนเอง เฉกเช่นการร่วงโรยของใบไม้ที่แสดง ถึงความไม่จีรังยั่งยืน การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดมากจนเกินไป ทุกอย่างแปรผันไปด้วยกาลเวลาไม่มีที่สิ้นสุด สิ่ง ที่เราทำได้คือการน้อมรับอย่างเข้าใจและใช้ชีวิตให้งดงามอย่างเป็นธรรมชาติ คำสำคัญ: สมถะ, ธรรมชาติ Abstract " Concentration From Nature" was built from peace of mind to be determined to concentrate on meditating on what you do. From my point of view, the effect of this concentration brought me the physical strength that continued to carry walking on the ground. To the aim of recovering from illness during the path to recovery, it made me


156 realize the concentration, peaceful and contemplating nature around us. Seeing the wilting of flowers, branches, leaves, fruits and colorful beings of nature, by the wind arranged to create an attractive rhythm along the path, perceived relaxation and comfort. That's pleasant for the heart, also brings acceptance of the aging of nature with natural beauty “ Nature” Understanding the impermanent nature of things that arise, exist and depart, it is the nature that all human beings cannot avoid. Seeing, understanding and accepting. These all will support us more comfortably from the thought that makes life seriously stressful. Whether it's stress caused by the expectations of people around you or yourself. If we live with the flexibility of nature that always changes in that cycle. Look at everything that happens on the ground of mediocrity. Our lives are temporary. But if we learn to appreciate each moment. Those moments could be all of eternity. This series of artworks "Concentration From Nature" arises from perceiving the cause of suffering. Understanding the suffering that arises physically and mentally, including learning to manage what's inside and out of your mind. Like the wilting of the leaves, it is a sign of impermanence, not holding on to anything overmuch because everything changes with eternal time. All we can do is understand and enjoy naturally pleasant lives Keywords: Concentration, Nature 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความเจ็บป่วยทางร่างกายนำมาซึ่งความวิตกกังวลในการใช้ชีวิตประจำวันที่เคยปกติ ต้องกลับมาดูแล ตัวเองอย่างจริงจังทั้งการกินและการออกกำลังกาย เมื่อความสมดุลในการใช้ชีวิตไม่ดี แน่นอนว่าเราจะได้รับคำ เตือนจากร่างกายให้ปรับสมดุลเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหายเพื่อยืดระยะเวลาในการใช้งานต่อไป การออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นการฟื้นฟูร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไป ไปเรื่อย ๆ ทุกวัน และดีขึ้น เร็วขึ้นตามลำดับ การทำเป็นประจำทุกวัน สิ่งที่ได้คือสภาพร่างกายที่แข็งแรง ใจคลายกังวล ผ่อนคลายและได้ สมาธิที่เกิดจากการตั้งมั่น มุ่งมั่นเพื่อรักษาตนเอง ณ ขณะนั้นระหว่างที่เท้าเดินไป ตาได้เห็น ใจได้คิดพิจารณา ถึงสิ่งรอบข้าง เห็นความไม่จีรังของทุกสรรพสิ่ง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเป็นสิ่งธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอ จึง เป็นที่มาของแรงบันดาลใจในผลงานชุดนี้ บนลู่ทางเดินออกกำลังกายที่เต็มไปด้วยใบไม้ที่ร่วงหล่น หลากลายสีสัน มีทั้งใบอ่อน ใบเขียวและใบแก่ จังหวะที่ถูกแรงลมนั้น ทิศทางที่ร่วงโรยของใบไม้ช่างสวยงามราวกับว่ามีคนมาจัดวางองค์ประกอบอย่างมี ศิลปะ ทำให้ได้พิจารณาถึงการไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดมากจนเกินไป ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงผันแปรไปทุก ขณะ ข้าพเจ้ามองเห็นความงดงามของธรรมชาติที่แสนธรรมดานี้ และน้อมรับความธรรมดาของธรรมชาติอย่าง เข้าใจ .


157 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดหรือทฤษฎีปรัชญาญี่ปุ่นที่โอบรับความไม่สมบูรณ์แบบ มีตำหนิ และร่องรอยอันเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ของทุกสิ่ง โดยมีรากฐานมาจากความเข้าใจในธรรมชาติของพุทธศาสนาแบบเซ็น วะบิ-ซะบิมีรากฐานมาจากความเข้าใจในธรรมชาติของพุทธศาสนาแบบเซ็นจึงเห็นความงามและคุณค่าของ ความไม่จีรัง ความไม่สมบูรณ์แบบ และความไม่เสร็จสมบูรณ์อันเป็นความจริงแท้ของทุกสิ่งในโลกใบนี้ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การกำหนดรูปแบบและวิธีการในการสร้างสรรค์ รูปแบบในการนำเสนอเป็นผลงาน เป็นงานจิตรกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากใบไม้ที่ร่วงโรยบนพื้น โดยผลงานมีการใช้เทคนิคการทารองพื้นที่หนาและมีพื้นผิวที่ขรุขระ คลายกับพื้นถนนหรือลู่ทางเดิน วิ่งออก กำลังกาย แล้วจึงเพ้นท์รูปใบไม้ การจัดองค์ประกอบให้มีการจัดวางที่สวยงาม กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. ถ่ายภาพเพื่อเก็บข้อมูล 2. นำภาพถ่ายหลายภาพมาจัดองค์ประกอบร่วมกันให้ลงตัว ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ 1. เตรียมไม้กระดานเพื่อทารอง 2. ทารองพื้นด้วย ACRYLIC GLOSS 3. ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วร่างภาพตามข้อมูลที่เราถ่ายไว้ 4. ลงสีใบไม้ ภาพที่ 1 ภาพถ่ายต้นแบบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


158 ภาพที่ 2 ทารองพื้นด้วย ACRYLIC GLOSS ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ร่างภาพและลงสี ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 สมถะ-ธรรมชาติ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


159 4. การวิเคราะห์ผลงาน ในผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ผู้สร้างสรรค์ได้รูปแบบมาจากการจัดวางโดยธรรมชาติ รูปทรงของใบไม้ หลากหลายชนิด สีที่แตกต่างกัน แสงเงาที่ตกกระทบ ผู้สร้างสรรค์มองเห็นความงดงามในความธรรมดา เพียง แค่ไม่ละเลยที่จะมองสิ่งใกล้ตัว ซึ่งมันมีความหมายเป็นสัจธรรมที่ซ่อนอยู่ในธรรมชาติจึงนำมาเสนอในรูปแบบ ที่มีเพียงพื้นที่ว่างและใบไม้ร่วงหล่นกระจัดกระจายได้องค์ประกอบและแสงเงาที่สมบูรณ์ แต่การสร้างสรรค์ ผลงานก็พบปัญหาเพียงเล็กน้อยในการจัดว่างที่ยังขาดและเกินในบ้างครั้ง ผู้สร้างสรรค์จึงแก้ปัญหาด้วยการ เพิ่ม ตัด ลดทอน ให้เหมาะสมที่สุด จะให้ได้ตามหลักทัศนธาตุ และสีพื้นที่เลือกใช้สีนี้ เนื่องจาก ลู่เดินวิ่งส่วน ใหญ่มักจะทาสีอิฐ สีแดง หรือสีฟ้า ผู้สร้างสรรค์มองเห็นว่าใบไม้มีสีเหลืองเสียเป็นส่วนใหญ่ ตัดกับพื้นสีอิฐจึง เลือกใช้สีนี้และคิดต่อยอดสีใหม่ ๆ ในผลงานชิ้นต่อไป 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ในชุด สมถะ-ธรรมชาติ นี้ผลงานชุด “สมถะ ธรรมชาติ” นี้ เกิดขึ้นจากการเห็นเหตุ ของทุกข์ ความเข้าใจในความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางกายและใจ เรียนรู้ที่จะจัดการสิ่งที่อยู่ภายในและภายนอกของ ตนเอง เฉกเช่นการร่วงโรยของใบไม้ที่แสดงถึงความไม่จีรังยั่งยืน การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดมากจนเกินไป ทุก อย่างแปรผันไปด้วยกาลเวลาไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งที่เราทำได้คือการน้อมรับอย่างเข้าใจและใช้ชีวิตให้งดงามอย่าง เป็นธรรมชาติ ข้าพเจ้าถ่ายทอดผลงานชุดนี้ด้วยหวังว่าศิลปะที่เราใกล้ชิดมาโดยตลอดจะช่วยรักษาเยียวยา บำบัดจิตใจและร่างกายด้วยสมาธิที่สร้างขึ้น ให้เรายิ้มรับความสุขด้วยความเข้าใจในธรรมชาติที่เป็นไป ทุก อย่างคือสิ่งไม่เที่ยง แต่ผลงานสร้างสรรค์ทำให้เราได้รับความสุขสงบและอิ่มเอมใจในชุด “สมถะ ธรรมชาติ” นี้ เอกสารอ้างอิง หนังสือ วะบิ ซะบิ ความงดงามในความไม่สมบูรณ์แบบ


160 การสร้างสรรค์ช่อลายกระหนกจากศิลปะอยุธยา Creation of Kranok bouquets from Ayutthaya art แผน เอกจิตร, Phaen Ekchit วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้เพื่อศึกษารูปแบบ การผูกลาย องค์ประกอบศิลป์ภายในช่อลายกระหนก จากงานลายรดน้ำศิลปะอยุธยา มาสร้างสรรค์เป็นช่อลายกระหนกจากการค้นคว้า พัฒนา ต่อยอดตามแนวคิด ในลักษณะเฉพาะของตนเอง ในรูปแบบของงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีที่หลอมรวมร่วมกับการใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้เป็นแนวทางในการออกแบบการสร้างสรรค์ศิลปะไทยแบบร่วมสมัยต่อไป คำสำคัญ: ช่อลายกระหนก, ศิลปะอยุธยา Abstract The creation of this work was to study the patterns, pattern binding, artistic elements in the bouquet of lai Kranok from Ayutthaya art paintings. Come to create a bouquet of Kranok designs from research, development, and further development according to their own unique concepts. in the form of traditional Thai painting that combines with the use of modern technology This will serve as a guideline for the design of contemporary Thai art creations. Keywords: Kranok bouquets, Ayutthaya art 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การสร้างสรรค์ศิลปะได้ถือกำเนิดมาพร้อมกับสัญชาติญาณ พรสวรรค์ และมีการเรียนรู้ถ่ายทอดแสดง ออกมาเป็นศาสตร์ทางการสร้างสรรค์ศิลปะ เพื่อใช้ศิลปะสื่อสารการสร้างความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต ของมนุษย์ในอดีต แม้แต่ในสภาวะปัจจุบันมนุษย์เราก็ยังใช้ศาสตร์ทางการสร้างสรรค์ศิลปะเป็นตัวแปร เป็น ตัวเชื่อมในการพัฒนาการเรียนรู้ การสร้างองค์ความรู้ การวิจัย เพื่อพัฒนาของมนุษย์ในศาสตร์ทุกแขนงมนุษย์ ในปัจจุบัน แต่ด้วยความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดสื่อ สมัยใหม่ที่อำนวยความสะดวกสบายตามยุคสมัย และตามสภาพการเมืองการปกครอง ย่อมเกิดผลกระทบต่อ ชาติ ศาสนา ภาษา สังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นยุคสมัยแห่งความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมในหลายพื้นที่ เป็นการหลอมรวมร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการเรียนรู้ ศึกษา เปรียบเทียบ และแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นใน


161 ทุกด้าน มนุษย์จึงมุ่งสู่โลกของความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดการผสมกลมกลืนกับสิ่ง ใหม่ ที่สอดคล้องกัน จนนำไปสู่ความกระจัดกระจายและความคงอยู่ของมรดกทางภูมิปัญญาที่น้อยลงไปตาม กาลเวลา ทำให้มรดกทางภูมิปัญญาเชิงช่าง (เดิม) ของท้องถิ่น ยังคงเป็นสิ่งสำคัญต่อการศึกษาในปัจจุบัน และ สืบทอดไปสู่ลูกหลานในอนาคต ข้าพเจ้าจึงนำเอารูปแบบมรดกทางภูมิปัญญาของช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ปรากฏอยู่ในงานลายรด น้ำประดับตู้พระธรรม มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเป็นแนวทางการสืบสานภูมิปัญญางาน ช่างสู่การเรียนรู้ เพื่อการอนุรักษ์และแสดงลักษณะของคุณค่าเพื่อการจดจำ การเรียนรู้ และการสร้างความ เข้าใจ ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงของโลกในบริบทปัจจุบัน ผสานกับภูมิปัญญาของช่างเขียนไทยเป็น ต้นทุนเดิม เป็นมรดกของชาติควรดำรงให้คงอยู่ สืบสาน รักษามรดกเชิงศิลปวัฒนธรรมนี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป ตามกาลเวลา โดยเป็นแรงบันดาลใจควบคู่กับวิชาการทางองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ และสุนทรียศาสตร์ สมัยใหม่ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ พัฒนา และต่อยอดคุณค่าทางความงามที่เป็นปัจจุบัน เพื่อการเข้าถึงและ เข้าใจ โดยไม่ลดทอนคุณค่าทางความดีและความงามของช่างสมัยอยุธยาแต่อย่างใด 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์ช่อลายกระหนกของข้าพเจ้า ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะลายรดน้ำสมัยอยุธยา นำมา ค้นคว้าพัฒนาตามแนวคิดที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง กล่าวไว้ว่า การสร้างสรรค์มีความสำคัญกว่า ความรู้ การสร้างสรรค์จะทำให้มนุษย์เรียนรู้และพัฒนา มนุษย์จะค้นคว้าพัฒนาสร้างสรรค์กฎเกณฑ์วิทยาและ กระบวนการจนเกิดเป็น ทฤษฎีวิทยา วิธีการ รูปแบบ เรื่องราวและกระบวนการในการสร้างสรรค์ในงานศิลปะ (ปรีชา เถาทอง, 22) การสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่สื่อสารข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางการสืบสานภูมิปัญญางาน ช่างสู่การเรียนรู้ เพื่อการอนุรักษ์และแสดงลักษณะของคุณค่าเพื่อการจดจำ การเรียนรู้ และการสร้างความ เข้าใจ ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงของโลกในบริบทปัจจุบันผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้นทุนเดิม เป็นมรดกของชาติควรดำรงให้คงอยู่ สืบสาน รักษามรดกเชิงศิลปวัฒนธรรมนี้ไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา โดยเป็นแรงบันดาลใจควบคู่กับวิชาการทางองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ และสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ที่นำไปสู่ การสร้างสรรค์ พัฒนา และต่อยอดคุณค่าทางความงามที่เป็นปัจจุบัน (เขมา แฉ่งฉายา, 135) ช่อลายกระหนก เป็นภูมิปัญญาของงานช่างเขียนไทยซึ่งได้ประดิษฐ์พลิกแพลงลวดลายจากสิ่งที่พบ เห็นตามธรรมชาติ นำมาประยุกต์ ตัดทอน เพิ่มเติมให้เกิดความงามตามขนบนิยมในงานศิลปกรรมแบบไทย ประเพณี พจนานุกรมศัพท์ลายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา ได้ให้ความหมายว่า ช่อกระหนก, ลาย ลายช่อที่ผูก ด้วยลายกระหนกต่าง ๆ มีลักษณะคล้ายช่อดอกไม้ มักมีปลายช่อเรียวแหลม มีชื่อเรียกตามลักษณะของลายที่ นำมาใช้ เช่น ลายช่อกระหนกเปลว ลายช่อกระหนกสามตัว ลายช่อกระหนกผักกูด(สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 124) ศิลปะสมัยอยุธยายาวนานกว่าสี่ร้อยปี โดยเฉพาะศิลปะอยุธยาช่วงปลาย ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมีแบบอย่าง เฉพาะตัวจึงมีเอกภาพครอบงำส่วนผสมจากศิลปะภายนอก เช่น จากตะวันตก จีน และจากการย้อนไปนำแบบ ศิลปะเขมรโบราณเข้ามาดัดแปลงผสมผสานบ้างเป็นครั้งคราว ความรุ่มรวยด้านลวดลายสามารถดูได้จากงาน


162 ลายรดน้ำประดับตู้พระธรรม วิธีการเขียนอย่างมีชีวิตชีวาจากปลายพู่กันสร้างความตระการตา พื้นสีดำกับ ช่องไฟเล็กละเอียดของสีทอง คืออารมณ์ศิลปะของช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย (สันติ เล็กสุขุม, 178, 184) ข้าพเจ้านำแนวคิดและทฤษฎีข้างต้นมาสร้างสรรค์ช่อลายกระหนกจากศิลปะอยุธยา นำมาค้นคว้า พัฒนาตามแนวคิดในลักษณะเฉพาะของตนเอง ในชื่อผลงานว่า “ช่อพญานาค” 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ช่อลายกระหนกจากศิลปะอยุธยา มีกระบวนการในการสร้างสรรค์ ดังนี้ 3.1 สืบค้นข้อมูลด้านเนื้อหา รูปภาพจากหนังสือ เอกสารวิชาการ สื่อการสอน และอินเตอร์เน็ต 3.2 คัดเลือกรูปแบบของช่อลายกระหนก ที่กระทบใจนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ภาพที่ 1 รูปแบบของช่อลายกระหนกจากศิลปะอยุธยา ที่มา : ส่วนหนึ่งของแผ่นภาพสื่อการสอนภายในห้องเรียน 113 อาคารศิลปะไทย วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี ภาพที่ 2 ภาพร่างลายเส้น 3.3 ร่างภาพลายเส้นตามขั้นตอน โดยเริ่มจากเขียนโครงสร้างโดยรวม ทำรายละเอียด และเก็บ รายละเอียด


163 ภาพที่ 3 ภาพร่างลงสี 3.4 ร่างภาพลงสีตามความรู้สึกที่ต้องการแสดงออก โดยคำนึงถึงความเป็นเอกภาพภายในงานรูปแบบ จิตรกรรมไทยประเพณี ภาพที่ 4 ขยายภาพจากแบบร่างลงบนชิ้นงาน 3.5 ขยายภาพลงชิ้นงานจริงขนาด 60 X 80 ซม. โดยโปรเจ็คเตอร์ในการขยายภาพ เพื่อให้มีความ รวดเร็วในการปฏิบัติงานในขั้นตอนนี้ และเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการสร้างงานอีกด้วย


164 ภาพที่ 5 การวางโครงสีโดยรวม 3.6 ขึ้นโครงสีโดยรวมภายในภาพโดยใช้สีอะคริลิคแบบด้าน ภาพที่ 6 การทำรายละเอียด 3.7 ทำรายละเอียดโดยการเพิ่มน้ำหนักของส่วนต่าง ๆ ภายในภาพ


165 ภาพที่ 7 การเก็บรายละเอียด 3.8 เก็บรายละเอียดโดยการตัดเส้น 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ช่อลายกระหนกจากศิลปะอยุธยาในผลงานชิ้นนี้ ข้าพเจ้าค้นคว้ารูปแบบของช่อลายที่ ใช้เป็นสื่อการสอนให้กับนักเรียน นักศึกษามาพัฒนาขึ้นตามแนวคิดในลักษณะเฉพาะของตนเอง ในชื่อผลงาน ว่า “ช่อพญานาค” โดยมีการวางแผนการนำทัศนธาตุและหลักการทางทัศนศิลป์ หรือทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ มาใช้เพื่อให้ได้รับผลทางการรับรู้ในเนื้อหาและอารมณ์ของผลงานให้ได้มากที่สุด เริ่มจากการทำพื้นผิวฉากหลัง โดยใช้พู่กันแต้มสีแดงชาดให้เกิดเป็นร่องรอยฝีแปรงล้อไปตามรูปทรงของตัวลาย เพื่อให้เกิดความรู้สึกถึงพลัง ของการเคลื่อนไหว สีที่ใช้ภายในงานประกอบด้วย สีขาวผ่อง สีดำเขม่า สีเขียวตังแช และสีทองจากการปิด ทองคำเปลว การระบายสีแบบเรียบโดยทำค่าน้ำหนักอ่อน-แก่ เพื่อให้เกิดความรู้สึกถึงความมันวาว สื่อถึงโลหะธาตุ ในความเป็นวัสดุสมัยใหม่ นำมาประกอบสร้างกับรูปลักษณ์ของความงามอันทรงคุณค่าของภูมิปัญญาช่างเขียน ไทยในอดีต ใช้วิธีการตัดเส้นตามแบบจิตรกรรมไทยแบบประเพณีที่มีเส้นโค้งเป็นหลัก เขียนเลื่อนไหลไปตาม ลักษณะของรูปร่างรูปทรงในตัวลายอย่างประณีต


166 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ได้นำเสนอรูปแบบของช่อลายกระหนกจากศิลปะอยุธยา นำมา ประมวลผลความรู้ทั้งในด้านทฤษฎีทางด้านศิลปะ คติความงามในแบบอุดมคติไทยหลอมรวมกับความคิด จินตนาการและทักษะความชำนาญด้านจิตรกรรมไทยของผู้สร้างสรรค์ ก่อรูปความคิดและถ่ายทอดเป็นงาน จิตรกรรมไทยร่วมสมัยที่มีเนื้อหาสอดคล้อง กลมกลืนกับแนวความคิดและแสดงออกให้ตรงเป้าหมายทางศิลปะ ที่วางไว้ เอกสารอ้างอิง เขมา แฉ่งฉายา. (2565). ผลการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย จากการศึกษาภูมิปัญญาการใช้รูปทรงในภาพ จิตรกรรมฝาผนัง (วัดเกาะ) สกุลช่างเมืองเพชร. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.) ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565 ปรีชา เถาทอง. (2561). ศิลปะสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางวิชาการ. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561 (บทความวิชาการ) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์ลายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด สันติ เล็กสุขุม. (2564). มองไทยผ่านศิลปะ: ทบทวนประวัติศาสตร์ศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์


167 การสร้างสรรค์งานออกแบบตกแต่งภายในห้องพักอาศัย แนวคิด “การสะท้อนตัวตนแห่งผู้เป็นเจ้าของที่พักอาศัย” ณ เวอร์ทิค คอนโดมีเนียม Interior Design Creative Process Residential Conceptual: “A reflection on the identity of the owner of the residence” @ Vertiq Condominium Bangkok. พงศพัศ บัวแก้ว, Pongsapat Buakaew สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป, จังหวัดนครปฐม Interior Design Department, Faculty of Fine Arts, Bunditpattanasilpa Institute, Nakhon Pathom E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ในการใช้ชีวิตมนุษย์ในสังคมทุกยุคสมัยต่าง ๆ ที่พักอาศัยล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบอันสำคัญยิ่ง และเป็น1ในปัจจัย4ของการดำรงชีวิตมาตลอด ทำให้มนุษย์ไม่หยุดที่จะพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตในที่พักอาศัย ทั้งพยายามสร้างสรรค์ให้เกิดความสวยงามและความสะดวกสบายต่างๆ ตลอดจนเป็นสิ่งหนึ่งที่เจ้าของจะ สะท้อนความเป็นตนเองผ่านงานสถาปัตยกรรมภายในที่ตนเองอาศัย มาโดยตลอดๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันใน ทุกยุคสมัยอันสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในการออกแบบของช่วงเวลาต่าง ๆของผลงานศิลปะและการออกแบบ ตลอดจนงานสถาปัตยกรรม การแสดงออกทางกายภาพของสภาพแวดล้อม เช่น อาคารที่อยู่อาศัยของบุคคล นั้น ๆ ย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์และการยอมรับและน่าเชื่อถือทางสังคม ในงานออกแบบตกแต่งภายในเช่น ห้องนอนหลักของบ้านที่นอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงามแล้วยังจะต้องมีความพร้อมด้านประโยชน์ใช้ สอยต่างๆ หรือห้องรับแขกที่ต้องทำหน้าที่เป็นเหมือนด่านหน้าแห่งการต้อนรับทุกๆคนที่เข้ามาเยือน ซึ่งเป็น หน้าที่ของนักออกแบบภายใน Interior Designer เป็นผู้ช่วยดำเนินการให้การสะท้อนตัวตนของผู้อยู่อาศัย ออกมาเป็นรูปธรรมในลักษณะของตัวอาคารพักอาศัยพร้อมร่วมแก้ปัญหาให้ผลงานออกมาได้จริงตามที่เจ้าของ ต้องการบนพื้นฐานของการตระหนักรู้ ตาม ท. การสะท้อนตนเอง (self-reflection) คือ การกลับมาสังเกต ตนเอง วิเคราะห์ตนเอง โดยอาจประยุกต์เข้ากับหลายสิ่งเช่น พฤติกรรมที่ตนเองได้ทำ ความรู้สึกที่ตนเองมี ความคิดที่เกิดขึ้น แรงบันดาลใจ การตัดสินใจที่เกิดขึ้น เป็นต้น การสะท้อนตนเอง (self-reflection) จะช่วย ทำให้เราไม่ได้จมอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นอย่างเป็นชุด ๆ ลำดับอย่างต่อเนื่อง จนเราไม่เข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่ แต่ก็ทำตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเราได้ทำการสะท้อนตนเองเกี่ยวกับ เรื่องราวที่ผ่านมา หากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ หรือมีคุณลักษณะที่น่าพอใจ การ สะท้อนตนเองจะช่วยทำให้เราสามารถค้นหาสาเหตุ เพื่อที่พัฒนามันต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง (Urbinner. 2563) คำสำคัญ: ออกแบบตกแต่งภายใน, การสะท้อนตนเอง


168 Abstracts In human life in society of all different eras. Housing is an important element and one of the four factors of living. As a result, human beings do not stop developing their residential lifestyles, both trying to create beauty and comfort, as well as being one that the owners will reflect on themselves through the interior architecture in which they live. From adj to the present, in every era, it conveys the design value of different periods. Lots of works of art and design as well as architectural works Physical expression of the environment, such as a person's residential building, inevitably affects the image and acceptance and social credibility. In interior design, for example, the main bedroom of a house that, in addition to aesthetics, must be functionally ready, or a living room that must act as an outpost of welcoming everyone who visits. It is the job of the Interior Designer to provide a concrete reflection of the residents in the nature of the residential building and to solve the problem to actually work as the owner wants on the basis of self-reflection, i.e. self-observation, self-analysis, which may be applied to many things such as self-behavior. The feelings that oneself has, the thoughts that arise. inspiration Decisions made, etc. Self-reflection helps us not to get caught up in a series of specific situations. The sequence continues until we don't understand what exactly is going on, but we follow the situation constantly. When we've done self-reflection on past stories. If what's happening is good, it's going in the desired direction, or it's a satisfying feature. Self-reflection will help us find the cause. so that it can continue to evolve (Urbinner.) Keyword: Interior Design, Self-reflection 1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา การออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่พักอาศัยนั้นจะมีคุณค่าและสร้างความทรงจำต่อผู้อยู่อาศัยได้ต้องมี การสะท้อนเอกลักษณ์ของพื้นที่โดยส่งผ่านจากผู้เป็นเจ้าของ เพราะเหมือนเป็นผลงาน และเป็นที่สำหรับ พักผ่อนอยู่อาศัย และช่วงระยะเวลาการใช้งานนานที่สุดจะสะสมเรื่องราวของการพำนักอยู่อาศัย นอกจากนี้ยัง อาจใช้เป็นพื้นที่ส่วนตัวที่สุด ฉะนั้นการจัดวางควรอยู่ในมุมที่ดีที่สุดของพื้นที่ ตามที่ วิมลสิทธ์ หรยางกูรและ คณะ (2556, หน้า 15-17) ได้กล่าวว่า การออกแบบมีส่วนช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สนองต่อการรู้สึกทาง ประสาทสัมผัส และการรู้สึกทางทัศนาการ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการรู้สึกจะมีคุณสมบัติที่ดึงดูดความสนใจ ให้เกิดการรับรู้จึงเห็นได้ว่าการออกแบบไม่ได้เป็นเพียงแค่การแต่งแต้มสีสัน เพื่อความสวยงามเพียงด้านเดียว แต่ยังแฝงไว้ด้วยแนวคิด ทฤษฎี และหลักจิตวิทยาในการออกแบบ เช่น แนวคิดทางด้านพฤติกรรมมนุษย์ทั้งใน ด้านบุคคล และพฤติกรรมองค์กร แนวคิดทางด้านจิตวิทยาในการออกแบบ แนวคิดทางด้านการบริหารจัดการ พื้นที่ แนวคิดทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์ และทฤษฎีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ตลอดจนการบริหารจัดการ


169 งบประมาณของโครงการ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ออกแบบต้องนำมาศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณาใน หลายมิติ รวมถึงการใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมเพื่อให้ผลงานการออกแบบสามารถตอบสนองต่อความต้องการ และสอดคล้องกับลักษณะพฤติกรรมของผู้ใช้งานทั้งในรูปแบบของรายบุคคล อีกทั้งการออกแบบพื้นที่พักอาศัยที่มีรูปแบบขนาดเล็กแต่บรรจุด้วยการใช้สอยทั้งหมดเป็นเรื่องที่ต้อง พิถีพิถันในการออกแบบจัดแบ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอย่างมากด้วยข้อจำกัดอย่างที่ Wazzadu Encyclopedia (2563) เนื่องจากปัจจุบันนี้รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนหลายกลุ่ม มีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่ง สามารถเดินทางได้สะดวก ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ดังนั้น แนวโน้มการมองหาที่พักอาศัยที่ สามารถเดินทางได้สะดวกที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆก็คือที่พักอาศัยรูปแบบคอนโดมิเนียมหรืออพาร์ตเมนต์ และด้วย ความที่รูปแบบที่พักอาศัยแบบอาคารชุดซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดการลดลงของพื้นที่ลงไปด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ภายในห้องซึ่งมีขนาดเล็กลงไปทุกที คอนโดมิเนียมหรืออพาร์ตเมนต์ซึ่งมีพื้นที่จำกัดนั้นจะมี ขนาดพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 21-25 ตรม. ซึ่งการอาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัดหรือคับแคบนานๆ อาจส่งผลให้ผู้อยู่อาศัย เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว การตกแต่งนั้นส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก เพราะมนุษย์รับรู้ความรู้สึกผ่าน ประสาทสัมผัสต่างๆ การนำองค์ประกอบ เช่น เส้น แสง สี สไตล์ มาใช้ในการตกแต่ง ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อผู้อยู่ อาศัยทั้งสิ้น 2. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านการออกแบบในครั้งนี้ มีกระบวนการศึกษาที่ประกอบด้วยขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดโครงการ คือ คือการรับโจทย์การทำงานมาและเริ่มทำการเก็บและรวบรวมข้อมูลทางใน ด้านต่าง ๆ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้งาน(User) เพื่อทราบถึงความต้องการทางด้านการใช้งาน ลักษณะ การใช้งานหรือพฤติกรรมความชอบต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาศึกษา วิเคราะห์และสรุปใช้ในการ วางแผนกำหนดแนวทางในการออกแบบ ซึ่งขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้ งานนี้ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ ก่อนนำไปสู่การวิเคราะห์พฤติกรรม ภาพที่1 กระบวนการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 2. การออกแบบเบื้องต้น คือ ขั้นตอนในการแปลงข้อมูลตลอดจนจัดเรียบเรียงข้อมูลที่ได้รับเพื่อ กำหนดเป็นพื้นที่และประโยชน์ใช้สอยเบื้องต้น ในขั้นตอนนี้นักออกแบบจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลความ ต้องการของผู้ใช้งานในด้านพฤติกรรม หรือลักษณะความเชื่อมโยงของแต่ละส่วน เพื่อให้ได้การจัดวางผังที่ เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้งาน นักออกแบบสามารถกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ รวมถึงการ กำหนดพื้นที่ใช้สอยเพื่อนำเสนอผู้ใช้งาน ศึกษาประวัติเจ้าของ ศึกษาวิถีชีวิต ศึกษาสิ่งที่ชอบและผกูพนัธ์ ศึกษาแรงบันดาลใจ


170 ภาพที่2 กระบวนการวิเคราะห์ทางการออกแบบ ที่มา : พงศพัศ บัวแก้ว (2565) ฃ Function Diagram ภาพที่3 กระบวนการวิเคราะห์การจัดวางพื้นที่ใช้สอยในห้องพัก ที่มา : พงศพัศ บัวแก้ว (2565) ภาพที่ 4 ตารางแสดงความสัมพันธ์ของส่วนพื้นที่ใช้สอย ที่มา : พงศพัศ บัวแก้ว (2565) ทางเข้า ส่วนท างาน รับแขก/นั่งเล่น ส่วนการนอน ส่วนห้องน ้า ส่วนแต่งตัว


171 ภาพที่5 กระบวนการวิเคราะห์สไตล์การออกแบบ ที่มา : พงศพัศ บัวแก้ว (2565) 3. การพัฒนาแบบ คือ ขั้นตอนที่ผู้ออกแบบสรุปรายละเอียดในการออกแบบการจัดวางผัง รวมถึง แนวความคิดในการออกแบบเพื่อนำเสนอต่อผู้ใช้งาน โดยมีวิธีในการนำเสนอในหลายรูปแบบ เช่น การ นำเสนอโดยใช้แบบจำลอง (Model) การนำเสนอโดยรูปภาพทัศนียภาพ (Perspective) การนำเสนอโดยใช้ ภาพเคลื่อนไหวจากคอมพิวเตอร์ (Animation) รวมถึงงานแบบต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าใจในภาพรวม ภาพที่6 - 7 ทัศนียภาพและผังภายในพื้นที่ ที่มา : พงศพัศ บัวแก้ว (2565) 4. การเขียนแบบรายละเอียดขั้นสุดท้าย คือ ขั้นตอนที่ผู้ออกแบบนำแบบร่างขั้นสุดท้ายมาสู่การพัฒนา แบบเชิงสรุป ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยน เพิ่ม-ลด หรือแก้ไขแบบมาในขั้นตอนก่อนหน้านี้ เพื่อเขียนเป็นแบบที่ สมบูรณ์ก่อนนำส่งมอบต่อผู้ใช้งานและผู้เกี่ยวข้องที่ต้องดำเนินการต่อไปเช่นการก่อสร้าง ภาพที่8 แบบรายละเอียดการออกแบบตกแต่งภายในส่วนรับแขก ที่มา : พงศพัศ บัวแก้ว (2565) เจ้าของผู้เป็นวัยรุ่นที่ชอบเสียงเพลง และเรียนการออกแบบ ความสดใส ร่าเริง •สีสันการออกแบบ •รูปทรงที่ที่ดูง่าย ชอบการ ออกแบบ •รักในสิ่งใหม่ๆ •ชื่นชอบและให้ คุณค่ากับความงาม ชอบความ ทันสมัย •สนใจนวัตกรรม •รรูปแบบที่แปลกตา


172 ภาพที่9 แบบรายละเอียดการออกแบบตกแต่งภายในส่วนPantry และทานอาหาร ที่มา : พงศพัศ บัวแก้ว (2565) ภาพที่10 แบบรายละเอียดการออกแบบตกแต่งภายในห้องนอน1. ที่มา : พงศพัศ บัวแก้ว (2565) ภาพที่11 แบบรายละเอียดการออกแบบตกแต่งภายในห้องนอน2 ที่มา : พงศพัศ บัวแก้ว (2565)


173 3. การวิเคราะห์ผลงาน จากการสร้างผลงานตกแต่งภายในทั้งหมดที่เสร็จสิ้นลงนั้นผู้ออกแบบได้ทำการเข้าเก็บรวบรวมข้อมูล สำคัญเบื้องต้น(ข้อมูลปฐมภูมิ)ในด้านความต้องการของผู้ใช้งานเช่นนิสัยใจคอของผู้ใช้ตลอดจนความชอบในสิ่ง ต่าง ๆ ของแต่ละคน เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบและสไตล์รูปแบบการดีไซน์ให้เหมาะสมกับผู้ใช้มากที่สุด ตลอดจนข้อมูลเชิงกายภาพต่าง ๆ เช่นสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของอาคาร และข้อมูลระดับรอง (ทุติยภูมิ) เช่นด้านกฎระเบียบการใช้ภายในอาคารและข้อควรระวังต่าง ๆ ทางนิติบุคคล วัสดุตลอดจน งบประมาณที่เพียงพอต่อการสร้างงาน 4. สรุป จากกระบวนการคิดและการสร้างสรรค์ด้านการออกแบบตกแต่งภายในห้องพักอาศัยในพื้นที่ขนาด เล็ก แต่มีต้องความต้องการด้าน Function การใช้งานต่าง ๆ อย่างเพียงพอนั้น ผู้ออกแบบต้องใช้จินตนาการ และสร้างความเข้าใจกับความชอบสิ่งต่าง ๆ ส่วนตัวของเจ้าของโครงการเป็นแรงบันดาลใจ (Inspiration) ใน การที่จะทำให้ผู้ออกแบบสร้างผลงานให้ตอบสนองที่ดีต่อเจ้าของอีกทั้ง ข้อมูลด้านการออกแบบต่าง ๆ ผลงาน ออกแบบจะถูกพัฒนาต่อไปเพราะกลุ่มผู้ใช้ที่เปลี่ยนไป ฉะนั้นนักออกแบบที่ดีต้องมีความเข้าใจลูกค้า ต้อง วิเคราะห์ถึงพฤติกรรมตลอดจนอุปนิสัยต่างของผู้ใช้ให้ดีที่สุดพร้อมทั้งต้องมีข้อมูลของวัสดุการใช้งานก่อสร้าง ตกแต่งและเทคโนโลยีตลอดจนแนวโน้มของความนิยม (Trend) ในช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่านเพื่อการพัฒนาของ ผลงาน เอกสารอ้างอิง วิมลสิทธ์ หรยางกูร, บุษกร เสรฐวรกิจและศิวพร กลิ่นมาลัย. (2556). จิตวิทยาสภาพแวดล้อมมูลฐานการ สร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: เจ.บี.พี.เซ็นเตอร์. เอกชาติจันอุไรรัตน์. (2548). In trend Interior /Architecture Furniture Decorative items: บ. กราฟิก 49 จำกัด urbinner. (2563). การสะท้อนตนเอง (Self-Reflection) คืออะไร?. เข้าถึงได้จาก https://www. urbinner.com/post/self-reflection wazzadu. (2020). หลักการออกแบบภายใน คอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์พื้นที่จำกัด. เข้าถึงได้จาก https://www.wazzadu.com/article/4878


174 สุนทรียภาพจากเรื่องราวในอดีต Aesthetics from The Past พณิช ผู้ปรารถนา, Panich Phupratana เลขที่111/28 หมู่บ้านซิลเวอร์เลค ปาร์ค ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530, 111/28 Silverlake Park Suvintawong. R. Lam Phak Chi Sub-District, Nong Chok DistrictBangkok 10530 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ความงามของสถาปัตยกรรมไทยที่สะท้อนเรื่องราวในอดีต เป็นข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม ซึ่งเป็นเครื่องแสดงประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ของชุมชนของชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาและ เรียนรู้ให้กับชนรุ่นหลังได้สัมผัสถึงความงามและความสามารถของบรรพบุรุษไทย ข้าพเจ้ามีความรู้สึกต่อเรื่องของประวัติศาสตร์ โบราณสถาน จากการศึกษาโครงสร้างสถาปัตยกรรม และความสามารถ ภูมิปัญญา ฝีมือคนไทย ที่สร้างสรรค์โบราณสถานจนเกิดความงดงาม และมหัศจรรย์ขึ้น เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา สืบทอด ต่อไป ในผลงานชิ้นนี้ ข้าพเจ้าต้องการแสดงความรู้สึกที่เกี่ยวกับโครงสร้างของโบราณสถาน ที่ถ่ายทอด มุมมองของความเปลี่ยนแปลง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ความงามที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาของโครงสร้าง สถาปัตยกรรมไทย สีสัน ความผุกร่อน ที่บ่งบอกถึงความงามในความไม่สมบูรณ์ คำสำคัญ: จิตรกรรม, สถาปัตยกรรม, เวลา Abstract The beauty of Thai architecture that reflects the past It is information on history, archaeology, art, which represents the ancient history of the nation's community. as well as being a source of education and learning for future generations to experience the beauty and abilities of Thai ancestors. I have a feeling for the history of ancient sites from the study of architectural structures. And the ability, wisdom, skill of Thai people who create ancient monuments until they become beautiful and miracles for future generations to study, inherit. in this work I want to express my feelings about the structure of the ancient site. that conveys a view of change from past to present the beauty that changes over time of Thai architectural structures, colors and decay that indicate the beauty in imperfection. Keyword: PAINTING, ARCHITECTURE, TIME


175 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา โบราณสถาน หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐาน เกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี รวมถึง สถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดีแหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย ทั้งนี้ โบราณสถานโดยทั่วไป หมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น มีความเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมาที่เป็นประโยชนทางด้าน ศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือ โบราณคดี และยังรวมถึงสถานที่หรือเนินดินที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือ มีร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ปรากฏอยู่ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง “สุนทรียภาพจากเรื่องราวในอดีต” เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวความงามของโบราณสถาน รูปทรงของ สถาปัตยกรรมไทย ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา ร่องรอยของความเก่าแก่ ที่สะท้อนเรื่องราวการแปรเปลี่ยน ผ่านเวลา ข้าพเจ้าต้องการแสดงออกจากเรื่องราวดังกล่าวผ่านภาพทิวทัศน์ ของโบราณสถาน ที่บ่งบอกถึงการ เปรียบเทียบ ความแตกต่าง ระหว่างโบราณสถานที่สมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ ไปพร้อม ๆ กัน ผ่านการอธิบาย ด้วยภาพจิตรกรรมทิวทัศน์ ที่มีเนื้อหาและสีสัน ตามช่วงเวลา ที่บันทึกไว้ให้สมจริง ตามที่ข้าพเจ้ารู้สึกได้รับ ผลกระทบจากช่วงเวลานั้น ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลงาน ข้าพเจ้าเขียนภาพทิวทัศน์ที่ได้รับแรงบัลดาลใจจากผลงานศิลปะรูปแบบ อิมเพรสชันนิสม์(Impressionism) ที่มีการใช้สีบรรยากาศของสภาพแวดล้อม ผสานเข้ากับวัตถุ และรูปทรง ต่างให้เกิดความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เห็นแสงเงา และบรรยากาศของช่วงเวลานั้นได้อย่าง ชัดเจน ประกอบกับการใช้ลักษณะฝีแปรงที่ฉับพลันที่ทำให้เห็นความสดของการใช้สีจากวัตถุและบรรยากาศ ตามแนวทางของศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ ประกอบกับเรื่องราวของโบราณสถาน และรูปทรงของ สถาปัตยกรรมไทย 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ รูปแบบในการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า เป็นผลงาน 2 มิติในลักษณะจิตรกรรมแบบ อิมเพรสชันนิสม์ เป็นการแสดงออกถึงการแปรเปลี่ยนและสีสันของเวลาในต่าง ๆ ของสภาพสังคมและ สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดเป้าหมายของการปฏิบัติหลังจากที่ได้ภาพต้นแบบที่มีการกำหนด สัดส่วน และพร้อมที่จะนำมาใช้เป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ ขั้นตอนต่อไปคือลงมือปฏิบัติผลงานจริง โดยมี ราย ละเอียดซึ่งสรุปได้เป็นขั้นตอนดังนี้ 1. การหาข้อมูลภาพทิวทัศน์ที่จะนำมาเป็นต้นแบบให้สัมพันธ์กับเรื่องราวที่สนใจทั้งในด้านรูปแบบ และเนื้อหาทั้งสองส่วนต้อง สัมพันธ์กันในเชิงความคิดและไม่ขัดแย้งกันในด้านรูปแบบโดยใช้ประสบการณ์ใน


176 การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน และเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของแต่ล่ะช่วงเวลานำเอาสองสิ่งมาเชื่อมโยงกันแล้ว จึงนำมากลั่นกรองเรื่องที่สนใจและมุมมองที่ประเด็นต่อเนื่องไปกับความคิดและความรู้สึก 2. การจัดองค์ประกอบของภาพใช้วิธีการจัดแบบมาตรฐานโดยให้จุดนำสายตาหนึ่งจุดและให้วัตถุ สิ่งของที่อยู่ด้านหน้าเป็นจุดเด่นของภาพ เพื่อสร้างระยะความลึกให้ชัดเจนที่สุด 3. การเขียนภาพทิวทัศน์ที่ได้รับแรงบัลดาลใจจากผลงานศิลปะรูปแบบอิมเพรสชันนิสม์ ที่มีการใช้สี บรรยากาศของสภาพแวดล้อม ผสานเข้ากับวัตถุ และรูปทรงต่างให้เกิดความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เห็นแสงเงา และบรรยากาศของช่วงเวลานั้นได้อย่างชัดเจน ประกอบกับการใช้ลักษณะฝีแปรงที่ฉับพลัน ที่ทำให้เห็นความสดของการใช้สีจากวัตถุและบรรยากาศตามแนวทางของศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ จนภาพ เกิดความสมบูรณ์โดยมีการกำหนดเวลาไว้เพียง 3 ชั่วโมง ภาพที่ 1 สุนทรียภาพจากเรื่องราวในอดีต ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน หากกล่าวถึงผลงานสร้างสรรค์“สุนทรียภาพจากเรื่องราวในอดีต” ข้าพเจ้าได้กลั่นกรองกระบวยการ ทางความคิด หาเหตุผลที่สัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกันมาประกอบสนับสนุน ผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาพอสมควร เพราะพัฒนาการทางศิลปะของข้าพเจ้าเดินทางควบคู่มากับประสบการณ์ การสร้างสรรค์ผลงานก็เป็นการ ผสมผสานค้นคว้าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งนอกเหนือรูปแบบทางศิลปะที่เป็นวิถีแนวทาง เฉพาะตัวแล้ว เทคนิควิธีการนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง


177 ในผลงาน “สุนทรียภาพจากเรื่องราวในอดีต” เป็นการรวบรวมองค์ความรู้จากศิลปินกลุ่มอิมเพรสชัน นิสม์ ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของการใช้สีสันของบรรยากาศ และลักษณะการใช้ฝีแปรงที่ฉับพลัน ซึ้งนำมาประกอบ กันจนเกิดภาพผลงานที่มีมิติระยะ และมุมมอง จนเกิดบรรยากาศของภาพตามช่วงเวลาต่างๆ นำมาสู่สภาวะ ทางความรู้สึกที่แสดงออกถึงความงามและสีสัน โครงสร้าง ของโบราณสถาน ผ่านร่องรอยจากอดีต และ เรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบัน ลักษณะและวิธีการเขียนของข้าพเจ้า เป็นลักษณะเฉพาะที่มีความฉับพลันของฝีแปรง และสีสันที่ นำมาจากบรรยากาศของทิวทัศน์โบราณสถาน ผสมกับความหมายของมุมมองที่เลือกให้มีความสอดคล้อง กับ เนื้อหาที่ต้องการให้ได้มากที่สุด จนเกิดการผสานกลมกลืนของเนื้อหาและสีสันของภาพจนสมบูรณ์ 5. สรุป ผลการสร้างสรรค์ “สุนทรียภาพจากเรื่องราวในอดีต” เป็นการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมทิวทัศน์อิม เพรสชันนิสม์ ด้วยเทคนิค สีอะคริลิค ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวที่มีการใช้สีบรรยากาศของ สภาพแวดล้อม ผสานเข้ากับสถาปัตยกรรมโบราณ และรูปทรงต่าง ๆ ให้เกิดความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ทำให้เห็นแสงเงา และบรรยากาศของช่วงเวลานั้นได้อย่างชัดเจน ประกอบกับการใช้ลักษณะฝีแปรงที่ ฉับพลันที่ทำให้เห็นความสดของการใช้สีจากวัตถุและบรรยากาศตามแนวทางของศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ เพื่อเน้นย้ำให้ผู้ดูตระหนักถึงความจริงที่เกิดขึ้นของสภาวะในสังคมเมืองที่มีเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงและ วุ่นวายอยู่เสมอ ข้าพเจ้าพยายามเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้า ผลลัพธ์ในเบื้องต้นคือความเข้าใจและรู้จักตนเองมากขึ้นในเรื่องของความมุ่งหมายในผลงานและถ่ายทอด ออกมาสู่บุคคลภายนอกโดยอาศัยการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะเป็นสื่อถ่ายทอดความรู้สึกและความสำคัญ ของพื้นที่และเวลาและได้สอดแทรกสัจธรรมความจริงในเรื่องของ “ความไม่แน่นอนและแปรเปลี่ยนของ สรรพ สิ่งบนโลก” เพื่อกระตุ้นการรับรู้และเกิดความคิดมีความเข้าใจที่เกี่ยวกับปัจจัยในการแปรเปลี่ยนของ ทุกสิ่งบน โลกตลอดจนสามารถเข้าถึง “สัจจะ” ความเป็นจริงของพื้นที่และเวลาในปัจจุบัน ทำให้ชีวิตพัฒนา ไปอย่างมี คุณภาพอย่างที่ควรจะเป็น ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ประโยชน์ 1. ผลสรุปที่ได้จากการสร้างสรรค์ สามารถนำไปพัฒนาการสร้างสรรค์ศิลปะจิตรกรรมแบบอิมเพรส ชันนิสม์ ด้วยเทคนิค สีอะคริลิค ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวจากโบราณสถาน และรูปแบบ สถาปัตยกรรม มาใช้สร้างสรรค์ผลงานร่วมสมัยและนำไปใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ให้กับผู้สนใจต่อไป 2. ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ ทำให้ตระหนักถึงเรื่องราวของพื้นที่และเวลาและได้สอดแทรกสัจธรรม ความจริงในเรื่องของ “ความไม่แน่นอนและแปรเปลี่ยนของ สรรพสิ่งบนโลก” เพื่อกระตุ้นการรับรู้และเกิด ความคิดมีความเข้าใจที่เกี่ยวกับปัจจัยในการแปรเปลี่ยนของ ทุกสิ่งบนโลกตลอดจนสามารถเข้าถึง “สัจจะ” ความเป็นจริงของพื้นที่และเวลาในปัจจุบัน ทำให้ชีวิตพัฒนา ไปอย่างมีคุณภาพอย่างที่ควรจะเป็น


178 3. ผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้ในด้านเทคนิควิธีการการเขียนภาพ ยังสามารถให้ผู้สนใจศึกษาเอาไปเป็น แบบอย่างในการศึกษาผลงานจิตรกรรมแนวเหมือนจริงได้ เอกสารอ้างอิง พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแหงชาติ. สืบค้นจาก https://web.archive.org/web/20201030211310/https://www.bedo.or.th/bedo/backend /upload/content/2017_11/1511281705_6536.pdf ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ Impressionism, สืบค้นจาก https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/historyofart/silpa-smay-him-modern-art/ silpa-bae-bxim-phers-chan-ni-sm-impressionism


179 มีมฮิตที่ระบาดในช่วงโควิด-19 กับงานศิลปะมาสเตอร์พีซมาสู่ฉัน Meme Reflection on masterpieces in the era of COVID-19 pandemic พัชรินทร์ อนวัชประยูร, PATCHARIN ANAWATPRAYOON วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, Collage of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute, Bangkok, Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ งานสร้างสรรค์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะหัวข้อ “มีมฮิตที่ระบาดในช่วง โควิด-19 กับ งานศิลปมาสเตอร์พีชมาสู่ฉัน” ผู้สร้างสรรค์ใช้มีมเป็นสัญลักษณ์การแพร่กระจาย เปรียบเหมือนการแพร่ ระบาดของไวรัสโควิด 19 เป็นการล้อเลียน พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของสังคม การรักษาความปลอดภัย เว้น ระยะห่าง Social Distancing มีมตลก การล้อเลียนพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไป หยิบยืมภาพวาดจากผลงาน ชิ้นเอกในตำนานมาอยู่ในบริบทใหม่ ศิลปะ Meme และศิลปะการหยิบยืม ใช้สัญลักษณ์ในการแสดงออกและ สื่อความหมาย การเพิ่มความคิดใหม่เชิงล้อเลียน นำเสนอผลงานเชิงเปรียบเทียบประชดประชันเพื่อสะท้อนให้ เห็นถึงสภาวะจิตใจของผู้สร้างสรรค์ เนื้อหาในภาพจะเป็นเรื่องราวของผู้สร้างสรรค์ทับซ้อนในภาพผลงาน ศิลปะของศิลปินระดับมาสเตอร์พีซ และสร้างสัญลักษณ์ใหม่เป็นสัญลักษณ์ส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์ คำสำคัญ: มีมฮิต, ระบาด, โควิด 19, งานศิลปะมาสเตอร์พีช Abstract Creative work aims to create works of art on the topic. “Meme, Reflection on masterpieces in the era of COVID-19 pandemic” The creator uses the memes as a symbol of spreading. It’s like the spread of the COVID-19 virus. It's a mockery. The changing behavior of society Security, Social Distancing, Funny Memes, Mimicry of Human Behavior Borrowing paintings from legendary masterpieces into new contexts, meme art, and appropriation art. Use symbols to express and convey meaning. the addition of new, mocking ideas Presenting sarcastic metaphorical works to reflect the state of mind of the creators. The content in the picture will be the story of the creator overlaid in the picture of the masterpiece artist's artwork. and create a new symbol as the creator's symbol Keywords: meme, pandemic, COVID-19, masterpieces


180 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา มีม (meme) เป็นรูปแบบของความคิดทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์หรือการปฏิบัติที่สามารถส่งผ่านจาก จิตใจคนหนึ่งผ่านการเขียน การพูด ท่าทาง พิธีกรรม ภาพล้อเลียน และมีคำศัพท์ต่าง ๆ ในภาพที่มีความหมาย เชิงตลก หรือปรากฏการณ์ลอกเลียนแบบอื่น ๆ คำว่ามีม (meme) ในภาษาอังกฤษมาจากการผสมของคำว่า ยีน (gene) หรือสิ่งสืบต่อพันธุกรรม และคำภาษากรีกว่า mimetismos หรือการเลียนแบบบางอย่าง ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ได้ถือว่า เป็นสิ่งที่คล้ายกันทางวัฒนธรรมสู่ยีน มีการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองแรง กระตุ้นที่เลือกเฟ้น อินเตอร์เน็ตมีน คือแนวความคิดหรือกระแสที่เผยแพร่ไปทั่วอินเตอร์เน็ต เป็นคำที่หมายถึงการ แพร่กระจายของเนื้อหาจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง แพร่กระจายผ่านไฟล์ดิจิตอล หรือไฮเปอร์ลิงก์จากคนหนึ่ง ไปอีกคนหนึ่ง โดยวิธีต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นอีเมลบล็อกบริการเครือข่ายสังคม เมสเซ็นเจอร์ เนื้อหามักจะเป็นคำพูดหรือเรื่องตลก ข่าวลือ ภาพตัดต่อ หรือภาพต้นฉบับ เว็บไซต์คลิปวิดีโอ หรืออนิเมชั่น หรือข่าวที่ไม่ปกติรวมถึงอื่นๆอีกมากมาย อินเตอร์เน็ตมีม อาจจะมีการแปรเปลี่ยน ไม่ว่าจะผ่านคำวิจารณ์มี การลอกเลียนแบบ หรือการทำภาพล้อเลียน หรือแม้กระทั่งการสะสมข่าวเกี่ยวกับตัวมันเองไปเรื่อย อินเตอร์เน็ตมีมมีแนวโน้มว่าจะเกิดและแพร่กระจายอย่างหนัก ในบางครั้งอาจได้รับความนิยมได้ภายในไม่กี่วัน ผู้สร้างสรรค์ใช้มีม เป็นสัญลักษณ์ ความหมายของการแพร่กระจาย เปรียบเหมือนการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัส โควิด-19 เป็นการล้อเลียน แสดงออกทางความคิด สัญลักษณ์ความหมายแฝง พฤติกรรมการ แพร่กระจายอย่างรวดเร็วของสื่ออินเตอร์เน็ต ข่าวต่าง ๆ ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมที่ เปลี่ยนไป การล้างมือโดยใช้แอลกอฮอล์การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา การเว้นระยะห่าง (social distancing) ในสังคมอินเตอร์เน็ตมีการแพร่กระจายไม่แพ้ไวรัส คือมีมตลกโปกฮาและล้อเลียนพฤติกรรมที่ เปลี่ยนไปของมนุษย์มีมที่นิยมมากที่สุดคือการใช้ภาพวาดศิลปะแบบคลาสสิกระดับตำนาน และศิลปะแบบ มาสเตอร์พีชมาทำเป็นมีม หยิบยืมจากภาพวาดศิลปินดังๆ ผู้สร้างสรรค์ได้รับอิทธิพลจากมีมและศิลปะแห่งการ หยิบยืม (Appropriation Art) นำมาถ่ายทอดใหม่โดยยังคงลักษณะที่เป็นต้นแบบนั้นไว้มาเพิ่มเติมแนวคิดลง ไปใหม่ที่เป็นส่วนตัว ใส่ความเป็นสมัยนี้เหตุการณ์ช่วงเวลานี้กระแสสังคมขณะนี้หยิบยืมงานศิลปินระดับโลก จากตำนานมาอยู่กับบริบทสมัยใหม่ ประเด็นต่าง ๆ ในสังคม เก่าในใหม่ และใหม่ในเก่า มาผสมผสาน แนวความคิดที่สัมพันธ์กัน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. ผู้สร้างสรรค์ได้รับอิทธิพลจากมีม ระบบค่านิยมที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ทางวัฒนธรรม การ เปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดมนุษย์รุ่นใหม่ วัฒนธรรมใหม่ แนวคิดเกี่ยวกับกระแสที่เผยแพร่ไปทั่วอินเตอร์เน็ต การ กระจายเนื้อหาจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ภาพตัดแปะ ที่มีลักษณะขบขัน การลอกเลียนที่กลายพันธุ์ อินเตอร์เน็ตมีมที่เป็นเหมือนไวรัส ที่พยายามลอกเลียนที่กลายพันธุ์เยอะมาก กระจายไปทั่วและขยายตัวเองใน เทมเพลต สื่อสังคม บทบาทของมีมเป็นเครื่องมือแสดงออกทางอารมณ์และความคิด ต่อสังคม มีการใช้


181 ตัวอักษร ภาษา สัญลักษณ์ การปฏิวัติวัฒนธรรม การล้อเลียน เสียดสี เครื่องมือสำคัญในการต่อสู้ทางสังคม การส่งต่อทางความคิด ของสังคมหรือสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมในสื่อนั้นๆ ให้แพร่หลายในโลกออนไลน์ 2. ได้รับอิทธิพลแนวความคิดจากงานศิลปะในแนวแอ๊บโปรพริเอชั่น (Appropriate Art) คำว่า “to appropriate” คือการยืม Appropriate Art คือการสร้างงานขึ้นใหม่โดยการนำเอาภาพหรือภาพลักษณ์ ที่มีมาก่อนอยู่แล้วจากบริษัทอื่น ๆ เช่น จากประวัติศาสตร์ศิลป์ โฆษณา และสื่อต่าง ๆ และการผสมหยิบยืม (appropriateimage) กับของใหม่ หรืองานศิลปะที่มีชื่อเสียงของใครสักคน อาจถูกนำมาเสนอเป็นของนักยืม การหยิบยืมแบบนี้สามารถเทียบได้กับการนำเอาฟาวนด์อ๊อบเจ๊ก (Found Object) ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วมาใช้ ในงานศิลปะ แต่แทนที่จะจัดการกับของที่มีอยู่แล้วเหล่านั้นให้กลายเป็นงานติดปะ (Collage) กลายเป็นงาน ชิ้นใหม่ พวกนักหยิบยืม (appropriator, postmodern appropriator) จัดการนำมาวาดใหม่ เขียนใหม่ หรือ ถ่ายภาพซ้ำ และให้ความเคารพต่อต้นฉบับ ความเป็นต้นแบบ (originality) ให้ความเคารพต่อผู้นำประวัติศาสตร์ ศิลปะ เป็นการหยิบยืมภาพลักษณ์จากประวัติศาสตร์ ศิลปะร่วมสมัย งานสร้างสรรค์ชุดนี้ ใช้สัญลักษณ์ในการแสดงออกและสื่อความหมายเป็นการเพิ่มความคิดใน ภาพเขียนของศิลปินนำเสนอเป็นผลงานจิตรกรรมเชิงเปรียบเทียบ ประชดประชัน เพื่อสะท้อนให้เห็นสภาวะ ทางจิตใจ การแสดงออกทางอารมณ์ เนื้อหาในภาพจะเป็นเรื่องราวของผู้สร้างสรรค์ทับซ้อนในเรื่องราวของ ศิลปิน และสร้างสัญลักษณ์ใหม่เป็นสัญลักษณ์ส่วนตัวตามความรู้สึก ใช้เทคนิคดิจิตอลเพ้นท์ติ้งบนไอแพดและ พิมพ์ลงบนผ้าใบ จากนั้นใช้สีน้ำมัน เป็นการใช้เทคนิคผสม 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. เก็บรวบรวมข้อมูล และศึกษาเรื่องราวแนวความคิดกระแสมีม ในรื่อง”มีมฮิตที่ระบาดในช่วง โควิด-19 กับงานศิลปะคลาสสิคมาสู่ฉัน” 2. รวบรวมความคิดการตีความหมายภาวะอารมณ์ความรู้สึก สัญลักษณ์ในการแสดงออก ในช่วงโควิด-19 3. การจัดลำดับข้อมูล เป็นการนำเอาข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดมาศึกษา และเลือกที่จะนำมาวิเคราะห์ 4. การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำผลจากลำดับข้างต้นมาวิเคราะห์เปรียบเทียบอย่างเป็นเหตุผล เพื่อให้เห็นถึงลักษณะร่วมและข้อแตกต่างในรูปแบบ แนวความคิด ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงงานเป็นรูปแบบใหม่ 5. การสร้างสรรค์ผลงาน เริ่มจากการรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาสร้างภาพร่าง เมื่อได้ภาพร่างที่สมบูรณ์ ที่สุดแล้ว จึงนำมาขยายเป็นผลงานจริงที่มีขนาดใหญ่ - การสร้างภาพร่าง คือการหาโครงสร้างรวม เกิดจากการนำข้อมูลที่ได้มาผสมผสานกับ แนวความคิดส่วนตัว สร้างเป็นภาพขึ้นมาโดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว มีการเพิ่มเติมสัญลักษณ์ส่วนตัว เพื่อให้เกิด ความสมบูรณ์ลงตัว ทั้งในแง่องค์ประกอบและเนื้อหา - การสร้างสรรค์ผลงานจริง เริ่มจากคัดเลือกภาพร่างที่สมบูรณ์เป็นต้นแบบ นำมาขยายเป็น ผลงานจริงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยที่โครงสร้างและองค์ประกอบส่วนรวมยังคงรักษาไว้ให้เป็นไปตามรูปร่าง แต่ ในส่วนของรายละเอียด อาจมีการปรับปรุง แก้ไข ตัดทอน หรือเพิ่มเติมได้ตามจินตนาการ


182 การสรุปผล แสดงขั้นตอนวิธีการและปัญหาที่เกิดขึ้น การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อวิเคราะห์ ผลงานทั้งหมด หาจุดบกพร่อง แก้ไขปรับปรุง แล้วนำเสนอเป็นรายงานประกอบภาพดิจิตอลผสมเทคนิคทาง จิตรกรรม ภาพที่1 “กักตัว”จากต้นแบบศิลปิน เฟร์นันโด โบเตโร ( Fernando Botero), Girl with cat, 2564, ดิจิตอลเพ้นท์ติ้ง สีน้ำมันบนผ้าใบ, 50 x 70 cm ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ พัชรินทร์ อนวัชประยูร Patcharin Anawatprayoon


183 ภาพที่2 ภาพผลงานของ เฟร์นันโด โบเตโร ( Fernando Botero ), “Girl with Cat”, (1989), oil on canvas, 169.5 x 123.8 cm ที่มา : https://www.mutualart.com/Artwork/Girl-with-Cat/A7F927EF3E6A9B2F 4. การวิเคราะห์ผลงาน ในระหว่างที่ทำการขยายผลงาน จะมีการพิจารณาว่าวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา เป็นผลให้ต้องมีการ ปรับเปลี่ยนบางส่วนในระหว่างการขยายผลงาน และเมื่อจบสิ้นกระบวนการขยายผลงานแล้ว ก็จะวิเคราะห์ ผลงานทั้งหมดหาจุดบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไข และเพื่อผลในการสร้างสรรค์งานครั้งต่อไปในงานสร้างสรรค์ ชุดนี้ ผู้สร้างสรรค์ต้องการสร้างสรรค์เเรื่องราวในช่วง โควิด-19 เป็นเรื่องที่เป็นกระแสใหม่ ตนเองประสบเป็น ความรู้สึกทางอารมณ์ต้องการแสดงความคิดต่อสังคม การใช้มีม แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ใช้สัญลักษณ์ในการ แสดงออกและสื่อความหมายเป็นการเพิ่มความคิดในภาพเขียนของศิลปินระดับโลก นำเสนอเป็นผลงาน จิตรกรรมเชิงเปรียบเทียบ ประชดประชัน เพื่อสะท้อนให้เห็นสภาวะทางจิตใจ อารมณ์ ความคิด ของตนเอง เนื้อหาในภาพจะเป็นเรื่องราวของตัวเองทับซ้อนในเรื่องราวของศิลปิน และสร้างสัญลักษณ์ใหม่เป็นสัญลักษณ์ ส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์เองตามความรู้สึกของตัวเอง ผู้สร้างสรรค์ใช้เทคนิคดิจิตอลเพ้นท์ผสมสีน้ำมันในการ สร้างสรรค์ผลงาน


184 5. สรุป เอกสารประกอบผลงานสร้างสรรค์นี้ ได้รวบรวมเนื้อหา และกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานรวมถึงข้อมูล ต่าง ๆ เรื่อง “มีมฮิตที่ระบาดในช่วงโควิด-19 กับงานศิลปะมาสเตอร์พีซมาสู่ฉัน” ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้ถ่ายทอดให้ เห็นถึงเรื่องราวที่สะท้อนความเป็นจริงในสังคมที่เป็นกระแส ในช่วงขณะหนึ่ง โดยใช้สัญลักษณ์ในเรื่องราวของ ตนเองในช่วง โควิด-19 หยิบยืมผลงานศิลปินระดับโลกมาประยุกต์ใช้ในผลงานตนเอง เป็นเรื่องราวที่สัมพันธ์ กัน ในอารมณ์ที่คล้ายกัน อารมณ์ที่ต้องการบอกกล่าวแก่สังคม และเพิ่มสัญลักษณ์ส่วนตัวจากเรื่องราวในชีวิต ส่วนตัวเข้าไป สัญลักษณ์เกี่ยวข้องกับ โควิด-19 เป็นการเพิ่มขยายความคิดใหม่ทับซ้อนในความหมายของงาน ศิลปินในบริบทใหม่ ผลงานชุดนี้ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการศึกษาและสร้างสรรค์ มาเป็นลำดับ ซึ่งบรรลุผลตามเป้าหมายและความคาดหวังที่กำหนดไว้ ผู้สร้างสรรค์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานสร้างสรรค์ใน โครงการนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไปอีกทั้งยังมุ่งหวังที่จะพัฒนากระบวนการความคิดเพื่อไปสู่ จดหมายที่สมบูรณ์ต่อไปในอนาคตภายภาคหน้า เอกสารอ้างอิง รสลิน กาสต์. (2559). แอ็พโพรพริเอชั่นอาร์ต: ศิลปะแห่งการหยิบยืม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย Aren, William F., & Bovee, Courtland. (1994). Contemporary Advertising. (5th ed). pp.32-49. Fernando Botero. The Art story. 9 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.theartstory.org/artist/boterofernando/


185 เรือนร่างแห่งอิตถีเพศ The body of woman พิทวัล สุวภาพ, Pittawan Suwapab คณะศิลปวิจิตร119/19 หมู่ 3 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170, Faculty Of Fine Arts, 119/10 Salaya, Phutthamonthon District, 73170 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ “อิตถี” ในภาษาสันกฤตหมายถึง ผู้หญิง ซึ่งในสังคมหรือบริบททางจารีตประเพณีในอดีตการนำเสนอ เรือนร่างกายอันเปลือยเปล่าของเพศหญิงนั้น ถูกนำเสนอโดยศิลปินชายโดยชุดความคิดแบบปิตาธิปไตยที่ เพศ ชายนั้นกำหนดทิศทางทางความคิดทั้งในบริบทของสังคม และทางวัฒนธรรม การเปิดเผยเรื่อนร่างจึงเป็น เหมือนเรื่องที่ถูกผูกโยงเข้ากับเรื่องเพศสภาพ แต่ในปัจจุบันการใช้เรือนร่างของความเป็นอิตถีเพศที่นำเสนอ โดยศิลปินหญิงได้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น เพื่อแสดงออกถึงสภาวะภายใน อารมณ์และความรู้สึกของตัวศิลปินที่ ต้องการแสดงออกผ่านการนำเสนอโดยใช้เรือนร่างของตัวเองในการสร้างสรรค์ผลงาน แต่ในกรอบของความ เป็นวัฒนธรรมการเปิดเผยเรือนร่างของอิตถีเพศเป็นมักครอบงำด้วยชุดความคิดความเป็นการแสดงออกทางเพศ โดยสร้างสรรค์ผลงาน โดยผสมผสานระหว่างภาพถ่าย และการสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รูปแบบงานศิลปะดิจิตอลปริ้น (Digital print) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์งานทำ ให้ผลงานนั้นมีความน่าสนใจ และสามารถสร้างความหลากหลายในผลงาน จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ คำสำคัญ: เรือนร่าง, ผู้หญิง, อิตถีเพศ, ดิจิตอลปริ้น Abstract "It-thi" in Sanskrit means woman, in which societies or traditional contexts of the past depicted the naked body of the female being represented by male artists in a patriarchal notion that Males determine the direction of thought both in the context of society. and cultural The disclosure of the body is therefore tied to sexuality. But nowadays, the use of feminine bodies presented by female artists has become increasingly popular. to express the internal state Emotions and feelings of the artist who want to express through presentations by using their own bodies to create works. But in the framework of the culture of gender revealing the body is often dominated by the concept of gender expression. By creating works by combining photos and creativity with computer programs Digital print art form (Digital print), which is the use of computer technology to create works that


186 make the work interesting. Can create variety in the works from the application of computer technology Keywords: body, woman, female, Digital print 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา “อิตถี” ในภาษาสันกฤตหมายถึง “ผู้หญิง” หรือ อิตถีเพศ คือ เพศหญิง ซึ่งในสังคมตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ในบริบททางจารีตประเพณีตั้งแต่อดีตการนำเสนอเรือนร่างอันเปลือยเปล่าของเพศหญิงนั้น ถูกนำเสนอโดยศิลปินชาย ชุดความคิดแบบปิตาธิปไตยที่เพศชายนั้นเป็นผู้กำหนดทิศทางทางความคิด ทั้งใน บริบทของสังคม และทางวัฒนธรรม การเปิดเผยเรือนร่างจึงเป็นเหมือนเรื่องที่ถูกผูกโยงเข้ากับเรื่องเพศสภาพ ในศตวรรษที่ 20 การเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิดทางด้านเพศสภาพ ที่ไม่ได้ผูกโยงกับจารีตประเพณีจึงมีการ ใช้เรือนร่างของความเป็นอิตถีเพศที่นำเสนอโดยศิลปินหญิงได้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น เพื่อแสดงออกถึงสภาวะ ภายใน อารมณ์และความรู้สึกของตัวศิลปินที่ต้องการแสดงออกผ่านการนำเสนอ โดยใช้เรือนร่างของตัวศิลปิน ที่มีความเป็นอิตถีเพศในการสร้างสรรค์ผลงาน แต่ในกรอบของความเป็นวัฒนธรรมนั้นการเปิดเผยเรือนร่างของอิตถีเพศเป็นมักถูกมองครอบงำด้วย ชุดความคิดความของการแสดงออกทางเพศ การเห็นเรือนร่างของอิตถีเพศนั้นก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศ ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังเป็นข้อที่น่าสงสันในการแสดงออกด้วยอิตถีเพศนั้น ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง ละมีอิสระในการแสดงออกมากน้อยเพียงใด 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กรอบความคิดในเรื่องการกระทำที่แสดงออกบางอย่างที่แปลกไปจากวัฒนธรรม ประเพณีที่ไม่ สามารถแสดงให้คนอื่นเห็นได้การแสดงออกให้เห็นถึงการที่ต้องปิดบัง เพียงแต่การปิดบังในฐานะการกระทำ ไม่สมควรจะแสดงออกมานั้นเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง การเซ็นเซอร์(Sensor) เป็นการปิดบัง ปกปิดว่าด้วยสิ่งที่ซึ่งทำด้วยหลักการ ที่ว่าสิ่งนั้นน่ารังเกียจ อันตราย อ่อนไหว หรือ "ไม่เหมาะสม" เป็นกลไกสำคัญของรัฐสมัยใหม่ที่ดำเนินภายใต้พลังทางความคิดที่ ฝั่งรากลึกด้วยคริสต์ศาสนาที่แพร่กระจากออกไปทั่วโลกพร้อมกับระบบอำนาจนิยมและพลังของจักรวรรดินิยม จนในท้ายที่สุด ทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนแปลงจริตทางเพศไปจากเดิม วัฒนธรรมทัศนา (visual culture) ได้มองเรื่องของความเป็นอิตถีเพศนั้นเป็นเรื่องของ สุนทรียะ หรือ ความงาม แต่ในขณะเดียวกันความเป็นอิตถีเพศก็เป็นกลไกที่สำคัญอีเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการ สร้างสรรค์โดยการสร้างความเป็นตัวตน การแสดงออกทาง สภาวะอารมณ์ ประสบการณ์ลงไปด้วยในตัว โดย ที่ในพื้นที่ของสุนทรียะนั้นได้ก้าวพ้นความเป็นส่วนตัว


187 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1 อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน - อุปกรณ์ประกอบการถ่ายภาพ - อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ - กล้องถ่ายถาพคุณภาพสูง - ขาตั้งกล้อง - อุปกรณ์กดชัตเตอร์ - ชุดไฟสตูดิโอ - เม้าส์ปากกา 3.2 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน 3.2.1 ภาพถ่ายในรูปแบบที่ต้องการนำมาสร้างสรรค์ผลงาน ของผู้สร้างสรรค์โดยถ่ายจาก กล้องดิจิติลที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้ได้ภาพที่มีความคมชัด ที่เหมาะสำหรับในการปรับแต่งได้อย่างมี ประสิทธิภาพและความคมชัด 3.2.2 นำภาพที่ต้องการสร้างสรรค์ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมแต่งรูป Adobe Photoshop ในการปรับแต่ง ผลงานสร้างสรรค์ ซึ่งโปรแกรม Adobe Photoshop สามารถทั้งรีทัช (Retouch) ปรับแต่งภาพ ปรับโทนสี และสามารถสร้างรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ ภาพที่1 โปรแกรมแต่งรูป (Adobe Photoshop) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.2.3 เมื่อนำภาพเข้าสู่โปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อเข้ากระบวนการทำการตกแต่ง ภาพจากเดิมให้มีลักษณะที่ต้องการ ด้วยการไดคัทภาพในส่วนที่ต้องการ ภาพที่2 ไดคัทภาพโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


188 3.2.4 เมื่อทำการไดคัทภาพในส่วนที่ต้องการแล้ว ทำการตกแต่งภาพ ปรับสีในส่วนต่าง ๆ และปรับ รูปแบบของลักษณะของภาพ ภาพที่3 การปรับภาพในส่วนของพื้นผ้าสีแดง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่4 การปรับภาพในส่วนของแบบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่5 ภาพที่ได้จากโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 3.2.4 เมื่อได้ภาพเป็นที่น่าพอใจแล้วทำการบันทึกด้วยไฟล์ภาพคุณภาพสูงเพื่อนำไปจัดแสดงใน รูปแบบที่เหมาะสม


189 ภาพที่6 ขั้นตอนการบันทึกภาพผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่7 I can tried hide it more, Digital print, size50 x 35 cm. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ในผลงานชุดนี้ข้าพเจ้าได้ใช้ภาพเรือนร่างของความเป็นอิตถีเพศในการนำเสนอ ที่ถูกปกปิดด้วยผ้าที่มี ลักษณะที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างของตัวเองไปตามรูปทรงที่ปกคลุม โดยเลือกผ้าที่มีสีแดง ส่วนของตัวเรือนร่างที่ ถูกปกคลุมด้วยผ้าสีแดงบางส่วน และบางส่วนที่เผยให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นอิตถีเพศ อยู่ในลักษณะที่ นอนราบไปกับพื้น ถูกจัดการแทนที่ค่าด้วยลักษณะของการใน จุด และการลดค่าสีแทนที่ เพื่อให้เกิดความไม่ ชัดเจนของลักษณะของอิตถีเพศ


190 5. สรุป ในปัจจุบันผลงานที่นำเสนอโดยใช้เรือนร่างในการนำเสนอนั้นมีความหลากหลายและยังเป็นสิ่งที่ ศิลปินต้องการนำเสนอโดยศิลปินหญิงเพิ่มมากขึ้น โดยเป็นการนำเสนอสภาวะ อารมณ์ภายใน โดยการใช้ภาพ ของอิตถีเพศในการแสดงออกในเชิงของสัญญะ โดยที่ไม่ได้มีความเกี่ยวโยงของความเป็นเพศสภาพ แต่ในบาง มุมมองอาจจะเป้นเรื่องที่ดูแปลกตาจากมุมมองของสังคมภายนอก รวมกับการนำเสนอในรูปแบบดิจิตัล (Digital) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีรวมกับการสร้างสรรค์งาน ศิลปะซึ่งสามารถสร้างความหลากหลายได้ทำให้ผลงานมีความน่าสนใจ และทำให้เกิดลักษณะงานที่มีความ แตกต่างกันในรูปแบบของการนำเสนอ รวมถึงการบูรณาการณ์กับศาสตร์ทางด้านอื่น และสามารถนำไปพัฒนา ต่อยอดในการสร้างสรรค์ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสาร ของบริบทสังคมในปัจจุบัน เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องค์ประกอบของศิลปะ = Composition of art. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2552). ศิลปะกับสภาวะสมัยใหม่ : ความย้อนแย้งและความลักลั่น. กรุงเทพฯ: . (2556). เพศ : จากธรรมชาติสู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ. กรุงเทพฯ: สมมติ. . (2557). เมื่อฉันไม่มีขนฉันจึงเป็นศิลปะ. กรุงเทพฯ: สมมติ. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย.


191 ยามเช้า MORNING พิเศษ โพพิศ, Piset Popis วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ Suphanburi College of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีที่มาจากการสังเกตสภาพชีวิตประจำวัน สภาพสังคม ความเป็นอยู่รอบ ๆ ตัว และประสบการณ์การทำงานศิลปะที่สั่งสมมา เลือกใช้ทฤษฎีนิยมการเลียนแบบ (Naturalism Theory) เป็น ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่เหมือนจริงตามที่ตาเห็น จากสิ่งที่มี ในธรรมชาติ หรือตามความรู้สึก หรือ ทั้งสอง แบบรวมกัน โดยผู้ชมงานศิลปะนั้น สามารถมองเห็น และเข้าใจได้ว่าเป็นภาพอะไรจากประสบการณ์ทางการ เห็นโดยใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel ในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้ได้ผลงานที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีวัตถุประสงค์ในการสะท้อนภาพวิถีชีวิตในธรรมชาติผ่านรูปวาดสุนัขที่เชื่อมโยงและเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ ผลที่ได้คือผู้รับชมได้เสพผลงานที่มีอรรถรส มีรูปแบบที่น่าสนใจ มีคุณค่าทั้งในทางศิลปะ และสังคมในมิติอื่น ๆ เพิ่มขึ้น คำสำคัญ: สุนัข, สีชอล์ก Abstract This creative work comes from observing the conditions of daily life, social conditions, living conditions around them, and accumulated experiences in art work. Naturalism Theory is the theory of creating works of art that are realistic as seen by the eyes, from what exists in nature, or by feeling, or a combination of both. by the viewers of the art can see And can understand what the picture is from the experience of seeing. Use soft pastel chalk to create works that are consistent with the content. Its purpose is to reflect on the way of life in nature through drawings of dogs that are connected and compared to human life. As a result, viewers can enjoy the work with great pleasure. has an interesting pattern Valuable both in art and society in other dimensions increased. Keywords: dog, Soft Pastel


192 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานมาจากประสบการณ์ส่วนตัว การสังเกตสภาพ ชีวิตประจำวัน สภาพสังคม ความเป็นอยู่รอบ ๆ ตัว โดยใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel ในการสร้างสรรค์ ผลงานเพื่อให้ได้ผลงานที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีวัตถุประสงค์ในการสะท้อนภาพวิถีชีวิตในธรรมชาติผ่านรูปวาด สุนัขที่เชื่อมโยงและเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ผลที่ได้คือผู้รับชมได้เสพผลงานที่มีอรรถรส มีรูปแบบที่น่าสนใจ มีคุณค่าทั้งในทางศิลปะ และสังคมในมิติอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เลือกใช้ทฤษฎีนิยมการเลียนแบบ (Naturalism Theory) เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่เหมือนจริง ตามที่ตาเห็น จากสิ่งที่มีในธรรมชาติ หรือตามความรู้สึก หรือทั้งสองแบบรวมกัน โดยผู้ชมงานศิลปะนั้น สามารถมองเห็น และเข้าใจได้ว่าเป็นภาพอะไรจากประสบการณ์ทางการเห็น ผลงานที่ปรากฏสามารถกระตุ้น ให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกร่วมได้โดยซ่อนนัยยะเรื่องการเปรียบเทียบชีวิตของสิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสิ่งมีชีวิต ประเภทใด แสงอาทิตย์ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของเช้าวันใหม่ในแต่ละวันของทุกชีวิต แม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นจาก ดวงอาทิตย์ดวงเดียวกัน แต่เส้นทางของแต่ละชีวิตย่อมต่างกันไป 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ภาพที่ 1 On The Road ที่มา : นายพิเศษ โพพิศ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเริ่มจากการตั้งแนวความคิดรวบยอดว่าจะสร้างสรรค์ผลงานในเนื้อหา อะไร จากนั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์เพื่อสร้างสรรค์ ทดสอบและทดลองวัสดุที่นำมาใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหา โดย ได้ใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel เพราะต้องการสร้างพื้นผิวให้มีความรู้สึกนุ่มนวลเป็นธรรมชาติ มีโทนสีที่นุ่ม สบายตา สามารถเกลี่ยทับและ blend สีด้วยนิ้วมือหรือวัสดุอ่อนนุ่มอื่น ๆ เพื่อให้ได้เฉดสีที่ต้องการได้


Click to View FlipBook Version