The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

243 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลของการสร้างสรรค์แสดงให้เห็นถึงการสร้างจังหวะน้ำหนักของขาวและดำ ให้มีค่าความต่างกันที่ ชัดเจน การทิ้งร่องรอยของแปรง และการปาดป้ายชาร์โคลที่เป็นธรรมชาติ การสร้างร่อยรอยที่เกิดจากการสลัด ด้วยน้ำ และแอลกอฮอร์ได้ช่วยสร้างให้เกิดความรู้สึกถึงความพิเศษ หรืออาจเรียกว่าความเป็นทิพย์ในนาฏศิลป์ ไทย ผ่านบางแง่มุมของใบหน้า และเครื่องแต่งกายของนักแสดงบางส่วน 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ภาพนักแสดงนาฏศิลป์ เป็นการใช้แนวคิดเรื่อง ความเป็น “ทิพย์” ที่สร้างให้ภาพ ของนักแสดงนาฏศิลป์มีสิ่งที่พิเศษมากกว่า ความปรกติทั่วไป โดยอาศัยเทคนิคที่หลากหลายของชาร์โคลเปียก และชาร์โคลแห้ง สร้างให้เกิดความเป็นทิพย์ของนาฏศิลป์ไทยผ่านค่าน้ำหนัก อ่อนแก่ พื้นผิว รอยแปรง ใน แนวทางของงานทัศนศิลป์ เอกสารอ้างอิง วิศิษฐ พิมพิมล. เอกสารการจัดการองค์ความรู้เทคนิคการวาดภาพเกรยองและชาร์โคล. สุพรรณบุรี. สถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์, 2564. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยประติมา. นนทบุรี. มิวเซียมเพรส, 2560 ทิพย์สืบค้นจาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges


244 รูปเหมือนตัวเองในเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ Self-portrait in October 2022 วิสุทธิ์ ยิ้มประเสริฐ, Wisut Yimprasert หมู่บ้านพฤกษา8 ซอย 11 บ้านเลขที่ 61/686 ม.5 ต.ลานตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120 Baan Pruksa 8 Soi 11, 61/686, Moo 5 Lantakfa, Nakhonchaisri, Nakhonpathom 73120 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ที่มาของผลงานประติมากรรม “รูปเหมือนตัวเองในเดือนตุลาคม ๒๕๖๕” เกิดจากการที่ข้าพเจ้าสนุก กับการคิดและชอบทำงานประติมากรรมชิ้นเล็ก ๆ เก็บไว้ในช่วงเวลาพักผ่อนจากงานประจำ ด้วยวัสดุเหลือใช้ จากการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมชิ้นใหญ่ จากวัตถุเหลือใช้ต่าง ๆ ที่เกิดจากการเก็บสะสมไว้ด้วย ความชอบส่วนตัวหรือวัตถุที่เตรียมไว้รอสร้างสรรค์ผลงาน เมื่อช่วงเวลาผ่านไปวัตถุเหล่านั้นจึงทำหน้าที่เป็นวัสดุ ในการทำงานศิลปะเพื่อสร้างรูปทรงใหม่โดยนำมาประกอบเข้าด้วยกันด้วยกรรมวิธีการต่าง ๆ ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ได้แรงบันดาลใจจากการดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ละช่วงเวลาที่ถูกบันทึก เอาไว้ นำมาสร้างสรรค์ผลงาน ผ่านวัตถุ วัสดุที่พบเห็นในชีวิตประจำวันของข้าพเจ้า เป็นการสร้างรูปทรงขึ้นมา ใหม่โดยวัตถุและวัสดุเหลือใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ด้วยการประกอบรูปทรงแบบแทรกเข้าหากัน นำมาประกอบ เป็นรูปทรงประติมากรรมโดยอาศัยทัศนธาตุทางศิลปะ ด้วยเทคนิคเจาะ ตัด ผ่า ประกอบวัสดุ และเชื่อมไฟฟ้า เพื่อแสดงออกถึงอารมรณ์ ความรู้สึกที่มีต่อช่วงเวลาในขณะนั้น คำสำคัญ: ประติมากรรม, วัสดุเหลือใช้, รูปทรง Abstract The origin of the sculpture "Self-portrait in October 2022" is that I enjoyed thinking and liked to work on small pieces of sculpture, kept in the rest of my time from my full-time job, with the materials left over from the creation of large pieces of sculpture. From various found object created by collecting with personal preferences or prepared objects waiting to be created. As the passage of time passes, they act as materials for artwork to create new forms, compounding them with different methods. This sculpture is inspired by the daily life of each recorded moment. To create works through objects. The materials I see in my daily life are reconstructed by objects and leftover materials. By assembling an interpenetrating forms. It is assembled into a sculpture


245 form based on artistic elemental vision, with drilling, cutting, dissecting, assembling materials and welding electrically to express the arrondissement. How it feels about the moment. Keywords: Sculpture, Found object, Form 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคนต้องพบเจอกับความจริง ความดี ความงาม ความสุข ความทุกข์ ที่ ผ่านเข้ามากระทบจิตใจทั้งรู้ตัวบ้างและไม่รู้ตัวบ้าง ข้าพเจ้าได้แรงบันดาลใจจากการบันทึกความรู้สึกจากเรื่องราวต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวันในแต่ ละช่วงเวลานำมาสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ “Self-portrait in October 2022” ผ่านวัตถุ วัสดุที่พบเห็นใน ชีวิตประจำวันของข้าพเจ้าเช่นกัน นำมาประกอบเป็นรูปทรงประติมากรรมโดยอาศัยทัศนธาตุทางศิลปะ เช่น เส้น ระนาบ ปริมาตร รูปทรง ฯ เพื่อแสดงออกถึงอารมรณ์ ความรู้สึกที่มีต่อช่วงเวลาในขณะนั้น คำว่า วัตถุ เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีตรงกับคำในภาษาสันสกฤตว่า วัสดุ ไทยรับมาใช้ทั้ง 2 คำ แต่ใช้ ในความหมายต่างกัน วัตถุ หมายถึง สิ่งของทั่วไป แต่ วัสดุ ใช้หมายถึงสิ่งของที่นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วัสดุก่อสร้าง วัสดุการศึกษา หรือหมายถึงของที่ใช้แล้วหมดเปลืองไป เช่น กระดาษและเครื่องเขียนต่าง ๆ จัดเป็นวัสดุสำนักงาน วัตถุ กับ วัสดุ จึงต่างกันตรงที่การใช้สอย วัตถุ หมายถึง สิ่งของทั่ว ๆ ไป เช่น โบราณวัตถุ. ถาวรวัตถุ วัตถุนิยม ส่วน วัสดุ หมายถึง สิ่งของที่จะนำไปใช้ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ถ้ายังไม่ได้นำไปใช้ เรียกว่าเป็น วัตถุ แต่ถ้าจะนำไปใช้ประโยชน์ เช่นใช้ในการก่อสร้างหรือทำสิ่งอื่น กรวด หิน ดิน ทราย นั้น ก็จะเรียกว่าเป็น วัสดุ คือ วัสดุก่อสร้าง (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2550) ประติมากรรมเป็นศิลปะที่อาศัยวัสดุในการสร้างรูปทรง วัสดุและทางเทคนิคจึงมีความสำคัญต่อศิลปะ ประเภทนี้ ข้าพเจ้าเป็นคนชอบเก็บวัตถุ,วัสดุ,เครื่องมือและของใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ไม่ได้แล้วหรือของที่เหลือจากการ ทำงาน พิจารณาความงามของวัตถุ-วัสดุนั้น ๆ เพื่อรอเวลาที่จะได้นำมาสร้างเป็นผลงานศิลปะในยามว่างจาก ภาระงานสอน เวลาที่ได้ลงมือทำงานศิลปะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดในที่นี้อาจจะเรียกว่าศิลปะบำบัด สำหรับพักผ่อนก็พอได้ ข้าพเจ้าสนุกกับการคิดและชอบการแก้ปัญหาทางเทคนิคกับวัตถุหรือวัสดุที่มีอยู่ จะใช้ เวลาทบทวนกับจินตนาการภาพร่างพอสมควรแล้วจะใช้เวลาในการลงมือทำให้น้อยที่สุด ผลงานหลายๆชิ้น เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่อีกหลายๆชิ้นก็ไม่ประสบผลดังที่ต้องการ เมื่อผ่านกาลเวลาผลงานหลายๆชิ้นจึง เป็นกลายเป็นวัตถุที่นำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างโครงสร้างของรูปทรงใหม่ ทำให้ความสนุกคิดสนุกทำเกิด ขึ้นมาอีกครั้ง จึงเป็นที่มาของงาน "Self-portrait in October 2022" ชิ้นนี้


246 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วัตถุกลายเป็นวัสดุและนำวัสดุมาประกอบให้เกิดของรูปทรงใหม่ วัสดุสำเร็จรูป (Read-Made) ในทางศิลปะสายทัศนศิลป์ วัสดุสำเร็จรูป ฟาวนด์ อ็อบเจ็ค หมายถึง วัตถุหรือของที่มีอยู่แล้ว มักจะ เป็นของที่ผลิตโดยมนุษย์ ถ้าเป็นวัตถุจากธรรมชาติสามารถใช้คำว่า ฟาวนด์ อ็อบเจ็ค ถ้าเป็นวัสดุสำเร็จรูป มักจะหมายถึงของที่ทำจากอุตสาหกรรม (สุธี คุณาวิชยานนท์. 2561) การประกอบวัตถุเข้าด้วยกัน หรือการประกอบโครงสร้าง (Assemblage or Construction Techniques) เป็นกระบวนการที่ต่างออกไปจากวิธีการสร้างงานประติมากรรมที่ทำกันมาแต่เดิม ซึ่งมักใช้วิธีการ แกะสลัก การปั้นและการหล่อโลหะ ประติมากรในยุคศิลปะสมัยใหม่มีความคิดแหวกแนวในการสร้างสรรค์เพื่อ แสดงออกอย่างอิสระมากขึ้น ทำให้เกิดการทดลองสร้างงานโดยวิธีการต่างไปจากศิลปะคลาสสิก ทั้งศิลปิน สมัยใหม่ยังมีวัสดุให้เลือกใช้อย่างหลากหลายตามพัฒนาการของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต้นศตวรรษที่ 20 ศิลปินกลุ่มหนึ่งใช้วัตถุที่มีประโยชน์ใช้สอย เช่น โทรศัพท์ หุ่นโชว์เสื้อ เตารีด มาสร้างเป็นงานศิลปะโดยใช้การ ประกอบวัสดุเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เรียกว่า การปะติด หรือนิยมเรียกเทคนิควิธีการนี้ตามเสียงภาษาฝรั่งเศสว่า อัสซองบลาจ (Assemblage) ส่วนวัตถุสิ่งของที่ศิลปินนำมาสร้างเป็นผลงานซึ่งเป็นของใช้งานและหาได้รอบ ๆ ตัว เรียกว่า วัสดุที่หาได้ มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ออปเช ทรูเว่ (Objet trouve) ต่อมาจึงหันมานิยมคำ ภาษาอังกฤษที่บัญญัติขึ้นภายหลัง (Found Objects) ในปัจจุบันนิยมเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่า วัสดุสำเร็จรูป (Readymade) (จักรพันธ์ วิลาสินีกุล. 2560) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผลงานชิ้นนี้เป็นการประกอบวัสดุเหลือใช้ เพื่อหาจังหวะรูปทรงขององค์ประกอบที่สมบูรณ์โดยการ ประกอบรูปทรงแบบแทรกเข้าหากันด้วยเทคนิควิธีการ เจาะ ตัด ผ่า ประกอบวัสดุ และเชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้เกิด โครงสร้างของรูปทรงใหม่ที่รองรับแนวความคิดของการสร้างสรรค์ผลงาน ภาพที่ 1 ภาพวัตถุและวัสดุเหลือใช้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


247 ภาพที่ 2 ภาพวัตถุและวัสดุเหลือใช้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ภาพวัตถุและวัสดุเหลือใช้ ที่มา: นายวิสุทธิ์ ยิ้มประเสริฐ ภาพที่ 4 ภาพวัตถุและวัสดุเหลือใช้ ที่มา: นายวิสุทธิ์ ยิ้มประเสริฐ ภาพที่ 3 ภาพร่างสเก็ตช์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 ภาพวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


248 ภาพที่ 5 ภาพขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


249 ภาพที่ 6 ผลงาน "Self-portrait in October 2022" ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 7 ภาพแสดงด้านต่างๆของผลงาน "Self-portrait in October 2022" ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้เป็นการสร้างรูปทรงขึ้นมาใหม่โดยใช้วัสดุเหลือใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ภาพรวมขององค์ประกอบผลงานชิ้นนี้ เกิดจากจุด เส้น ระนาบ จังหวะ โดยการประกอบรูปทรงแบบแทรกเข้า หากันด้วยเทคนิควิธีการ เจาะ ตัด ผ่า ประกอบวัสดุ และเชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้เกิดโครงสร้างของรูปทรงใหม่ เน้น ความงามของวัสดุและจังหวะของรูปทรงและพื้นที่ว่าง เป็นผลงานประติมากรรมลักษณะการประกอบรูปทรง โดยการใช้วัสดุเหลือใช้


250 ภาพที่8 ภาพแสดงรายละเอียดผลงาน "Self-portrait in October 2022" ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. สรุป ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม "Self-portrait in October 2022" ชิ้นนี้ คือการศึกษาเพื่อ แสดงแนวคิดผ่านรูปแบบของกระบวนการสร้างสรรค์ที่ได้รวบรวมข้อมูลแล้วการวิเคราะห์และการทดสอบของ การประกอบรูปทรงเช่นเดียวกับการพัฒนาและการแก้ปัญหาให้กับประติมากรรมให้สมบูรณ์ ทำให้ผลงานเป็น ที่น่าพอใจเพื่อที่จะตอบสนองความคิดและขอบเขตของแนวความคิด เป็นสิ่งสำคัญที่ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอสู่ สาธารณชนว่า วัตถุและวัสดุต่าง ๆ รอบข้าง สามารถนำมาสร้างสรรค์ทำให้เกิดคุณค่าขึ้นได้ใหม่เพื่อรองรับ แนวความคิดของการสร้างสรรค์ผลงาน เอกสารอ้างอิง จักรพันธ์ วิลาสินีกุล. (2560). วัสดุและสื่อในประติมกรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด. สุธี คุณาวิชยานนท์. (2561). ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย:ตะวันตกและไทย. กรุงเทพฯ: คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). วัตถุ-วัสดุ. สืบค้นเมื่อ 16ตุลาคม 2565,จากเว็บไซต์: https://shorturl.asia/Qvx51


251 ประติมากรรมเคลื่อนไหวจากขยะเทคโนโลยี Motion Sculpture Form Techno วิสูตร แสงศิริ, Wisud Sangsiri คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ ประเทศไทย Address 6 Soi Swasdikarn 2/22, Petchkasem 77 Rd., Sub-area/Area Nong Khaem, Bangkok 10160 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์“ประติมากรรมเคลื่อนไหวจากขยะเทคโนโลยี” เพื่อแสดงให้เห็นถึงสุนทรียภาพ แห่งความงาม รวมถึงคุณค่าของวัตถุเหลือใช้ ที่สามารถนำไปสร้างสรรค์จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ในเทคนิค งานประติมากรรมสื่อผสม ด้วยเศษวัสดุเหลือใช้ในรูปแบบ 3 มิติที่สามารถเคลื่อนไหวได้ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้คนเห็นถึงคุณค่าของวัสดุเหลือใช้ ว่าสามารถนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า ทางด้านความงาม ที่เป็นประโยชน์ในอนาคตข้างหน้าได้ผลการศึกษาพบว่า สังคมในปัจจุบัน ได้มีการ เปลี่ยนแปลงรุดหน้าของเทคโนโลยี ที่ผลิตวัสดุทางด้านอุตสาหกรรมออกมาเป็นจำนวนมากในระยะเวลา อันรวดเร็ว ก่อเกิดปัญหาขยะล้นโลก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต จากปัญหาดังกล่าวทำให้ ผู้สร้างสรรค์เกิดแรงบันดาลใจ ในการนำเศษขยะทางเทคโนโลยีที่มีรูปทรงต่างๆได้เข้ากับแนวคิดมิตาเตะคอนเซ็ปท์ (Mitate Concept) ที่กระตุ้นความรู้สึกให้ผู้สร้างสรรค์นำเศษวัสดุไร้ค่า เหล่านี้มาประกอบกันด้วย เทคนิคอะซองบลาจ (Assemblage) ให้เกิดรูปทรงใหม่ โดยสร้างการเคลื่อนไหว ที่สอดคล้องกับแนวคิด จลนศิลป์ (Kinetic Art) จากที่กล่าวมานั้น ในมุมมองของที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการกระตุ้นเร้าให้ผู้คนเห็นถึง ความงามจากเศษวัสดุเหลือใช้ นับเป็นการเปลี่ยนมุมมองของขยะไร้ค่าให้ยกระดับกลายเป็นผลงานศิลปะที่มีคุณค่าและสร้างสรรค์ให้ เกิดประโยชน์ต่อไปได้ในอนาคต คำสำคัญ: ประติมากรรม, ขยะเทคโนโลยี, วัสดุเหลือใช้ Abstract “Moving sculpture from technological waste” to demonstrate the aesthetics of beauty. including the value of residual objects that can be used to create new innovations in mixed media sculpture techniques With waste material in 3D format that can move. To encourage people to appreciate the value of waste materials. that can be used to create value in terms of beauty That is useful in the future. The study found that society today There has been a change in the advancement of technology. that produces a large number of industrial materials in a short period of time causing a global waste problem affecting the


252 environment and living things From such problems, the creators are inspired. In bringing technological waste of various shapes into the concept of Mitate Concept (Mitate Concept) that encourages creators to use waste materials. These are assembled using the Assemblage technique to create a new shape. by creating a movement consistent with the concept of kinetic art (Kinetic Art) from the foregoing In view of the creators want to encourage people to see the beauty from waste materials. This is a change in the view of waste that is worthless to be elevated into valuable works of art that can be created to benefit in the future. Keywords: sculpture, technological waste, waste materials 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา สังคมปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตมนุษย์และสภาพความเป็นอยู่ รวมทั้งสิ่งแวดล้อม รอบ ๆ ตัว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมาย มนุษย์เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีและบริโภคทรัพยากร ทางธรรมชาติไปอย่างไร้ความปราณี ตัดไม้ ทำลายป่าต้นน้ำ เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกกันว่า สังคมวัตถุนิยม สร้างสิ่งที่ เกินความจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานจนเกินกว่าปัจจัยที่มนุษย์ควรได้รับ ส่งผลเสียต่อระบบ นิเวศจนยากเกินกว่าที่จะเยียวยาได้ อันจะเห็นได้จากสภาวะเรือนกระจก ความร้อนที่สูงขึ้น แต่มนุษย์ก็ไม่ได้ เล็งเห็นถึงภัยที่กำลัง คืบคลานเข้ามาจากการกระทำของตนเอง จากปัญหาดังกล่าว จะพบได้ว่าเมื่อเทคโนโลยี เจริญก้าวหน้าขึ้นถึงขีดสุด สิ่งที่จะตามมาและส่งผลเสียต่อมนุษย์คือเศษซากแห่งนวัตกรรมที่คนยุคปัจจุบันมัก นิยมเรียกกันว่า ขยะแห่งเทคโนโลยี ที่นับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนเกิดปัญหาขยะล้นโลก ทำให้ผู้สร้าง สรรค์ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมือง ต้องผจญกับภัยทางธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ อันเกิดจากการลงโทษจาก ธรรมชาติเสมือนเป็นเครื่องเตือนใจให้มนุษย์เล็งเห็นถึงโทษของการเสพติดเทคโนโลยีจนท้ายที่สุด ไม่ใช่เพียง ก่อผลร้ายกับสภาพแวดล้อม ยังส่งผลร้ายต่อสภาพจิตใจ ทุกครั้งที่ผู้สร้างสรรค์เดินผ่านกองขยะแห่งเทคโนโลยีผู้สร้างสรรค์เฝ้ามองด้วยความคิดในหลาย รูปแบบจนเกิดการตั้งคำถาม ว่าขยะเหล่านี้สามารถสร้างประโยชน์สิ่งใดได้บ้างกับมนุษย์ หากมนุษย์เลือกที่จะ มองถึงด้านลบของกองขยะอันไร้ค่าเหล่านี้ ก็จะยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความอ่อนแอทางความคิด ดังนั้นผู้ สร้างสรรค์จึงคิดในมุมกลับกัน ว่าขยะเหล่านี้หากมองด้วยมุมมองทางสุนทรีก็สามารถจะพบกับความงามอัน เกิดจากตัวรูปทรงของวัตถุแต่ละชิ้น ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง รูปทรง สีสัน ไปตามกาลเวลา และนี่คือสิ่งที่ เป็นเสน่ห์อันเกิดจากเนื้อแท้ของตัววัสดุที่สามารถแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้สร้างสรรค์ จึงได้รับแรงบันดาลใจอันเกิดจากมุมมองแห่งความงามที่ได้รับ จากตัววัสดุ อันเกิดจากวัตถุทางเทคโนโลยีที่เหลือใช้ นำมาสร้างสรรค์ผ่านมุมมองในเชิงบวกเพื่อสร้าง ความรู้สึกสนุกสนาน ขบขัน ประชดประชัน เยาะเย้ย ถากถาง ล้อเล่น ด้วยรูปทรงที่ผู้สร้างสรรค์เลือกหยิบจับ วัสดุหลากหลายประเภทนำมาประกอบกัน จนเกิดเป็นผลงานจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางเทคโนโลยีแต่มีรูปทรง


253 ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ทำให้ผู้ชมผลงานเกิดการกระตุ้นแนวคิดที่จะนำเศษวัสดุทางเทคโนโลยีเหล่านี้นำมา ใช้ประโยชน์ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลงานประติมากรรมเคลื่อนไหว (Kinetic sculpture) ได้นำ(Found objects) หรือวัสดุเหลือใช้ที่ ไม่มีประโยชน์ในการใช้สอยนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดชีวิตใหม่ เป็นผลงานศิลปะที่มีคุณค่า มาสร้างความหมาย ใหม่ เปลี่ยนใหม่เกิดมิติใหม่และประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ชมผลงานแนวคิดผลงานต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาขยะ ในยุคสมัยปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้นอย่างมหาศาลที่มาจากฝีมือของมนุษย์ได้มีการบริโภคอย่างขาดสติจึงเกิด คำถามว่าวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ถ้าทำให้เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าทางด้านความงามเป็นผลงานศิลปะ จะช่วย กระตุ้นให้ผู้พบเห็นผลงานเกิดแนวคิดต่อยอดว่าวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ยังคงมีประโยชน์สามารถนำมาสร้างสรรค์ ให้มีคุณค่าใหม่ได้และยังช่วยลดขยะ ที่เป็นปัญหาใหญ่ในตอนนี้ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกด้วย ผลงานแสดงถึงการเคลื่อนไหวอย่างไม่รู้จบเพื่อแสดงให้เห็นว่าการบริโภควัสดุเหล่านี้ยังคงบริโภคกัน อย่างไม่หยุดยั้งและความหลากหลายของวัสดุสีสัน แสดงให้เห็นว่าผู้คนทุกเพสทุกวัยได้มีการใช้วัสดุมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง ซึ่งตัวผลงานจะมีการใช้โครงสร้างของกลไกลที่นำจากอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกผลิตขึ้นในระบบอุตสาหกรรมที่มีส่วนสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดของขยะที่มีความหลากหลาย และมีจำนวนมากขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด ทฤษฎีและกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นการนำวัตถุทางเทคโนโลยี นำกลับมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นวัตถุทางศิลปะ ที่มี คุณค่าทางความรู้สึกแห่งความสุขของผู้สร้างสรรค์และผู้ชมผลงาน ที่สร้างมุมมองใหม่ที่เห็นคุณค่าของวัสดุ เหลือใช้ว่าสามารถกลับมามีชีวิตใหม่ในแง่มุมต่าง ๆ กรอบทฤษฎีที่ทำการศึกษา ทฤษฎีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์, ลัทธิคอนสตรัคติวิสม์, (Constructivism), มิตาเคะคอนเซปด์ (Mitate Concept), ทฤษฎีดาดาอิสซึม (Dadaism), จลนศิลป์ ผลงานประติมากรรมสื่อผสม (Mixed Media Sculpture) ประติมากรรมเคลื่อนไหวจากขยะ เทคโนโลยีกระตุ้นเร้าให้ผู้คนรู้ถึงความงามจากเศษวัสดุเหลือใช้ และคุณค่าของวัสดุเหล่านี้ยังคงมีประโยชน์


254 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. ภาพร่าง (Sketch) 2มิติด้วยการ (Drawing) และทำภาพร่าง (Sketch) 3 มิติ ด้วยการปะติด ภาพถ่ายวัสดุและประกอบเป็นโมเดล (Model) เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป ภาพที่ 1 ภาพร่าง 2 มิติ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 ภาพร่าง 3 มิติ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2.ขึ้นโครงสร้างของผลงานด้วยการสร้างลากฐานที่แข็งแรงและประกอบจุดสำคัญที่เป็นการกลไกการ เคลื่อนไหวด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าจากนั้นก็ทำการเชื่อมโครงสร้างที่เป็นรูปทรงกลมด้วยเหล็กเส้นที่มีขนาด แตกต่างกัน ภาพที่ 3 โครงสร้างของผลงาน 1 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


255 3. ได้โครงสร้างตามที่ต้องการและระบบการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์ขั้นตอนต่อไปได้นำวัสดุที่เป็น พลาสติกหลากหลายสีสันต่าง ๆ มาประกอบเข้ากับโครงสร้างให้เกิดโทนสีของวัสดุที่ต้องการโดยละเอียด ภาพที่ 4 โครงสร้างของผลงาน 2 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. ภาพผลงานประติมากรรมเคลื่อนไหวจากขยะเทคโนโลยีที่เสร็จสมบูรณ์ ภาพที่ 5 ผลงานเสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงาน“ประติมากรรมเคลื่อนไหว (Kinetic sculpture)”แสดงออกให้เห็นถึง จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ที่ได้รับประสบการณ์จากการได้พบเห็นรถผสมปูนที่มีตัวถังโม้ปูนด้านหลัง ที่มีลักษณะหมุนวนน้ำปูนอยู่ภายในตลอดเวลาทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดจินตนาการว่าหากนำวัสดุสำเร็จรูป ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันนำมาประกอบเป็นการเคลื่อนไหวคล้ายรถผสมปูนน่าจะเป็นความท้าทายแบบใหม่


256 ให้กับผลงาน ได้ทำการทดลองใช้มอเตอร์ในการบังคับให้วัตถุเคลื่อนตัว ในทิศทางเดียวกัน และเลือกใช้วัสดุ ที่มีสีสันฉุดฉาด สะดุดตา ดึงดูดความสนใจรวมถึงแสดงให้เห็นถึงขยะที่มีความหลากหลายจำนวนมากมาย พร้อมกันนั้นยังมีเสียงการกระทบกันของวัตถุ เพิ่มความน่าสนใจให้ผลงานมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเสนอผลงาน ในลักษณะติดตั้งบนพื้น เนื่องจากต้องการให้สามารถเคลื่อนไหวได้และเคลื่อนที่ได้โดยการเข็น ด้วยแรงกระทำ ของมนุษย์ ดังนั้นจึงไม่ต้องจัดแสดงบนแท่นที่หยุดนิ่ง 5. สรุป ในผลงานสร้างสรรค์“ประติมากรรมเคลื่อนไหว (Kinetic sculpture)” ชิ้นนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้ สร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคประติมากรรมสื่อผสมที่มีการเคลื่อนไหวและการจัดวางองค์ประกอบโดยนำเสนอ การใช้เทคนิค (Assemblage) ที่มีการนำวัสดุหลากหลายประเภทมาประกอบกันในรูปแบบประติมากรรม ที่มีการใช้ทฤษฎีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์นั้นสอดคล้องกับแนวคิดของกิลฟอร์ด (Guilford, 1950) กล่าว ไว้ว่า การคิดของสมองในการวิเคราะห์ที่หลากหลายและแปลกใหม่ โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎีหรือ หลักการได้อย่างถูกต้อง จากการศึกษาเรื่องของความคิดได้ใช้แนวคิดที่สำคัญของวัฒนธรรมญี่ปุ่น "MITATE" ที่ได้เห็นความงามของวัสดุเหลือใช้ และได้นำวัสดุเหลือใช้มาทำการสร้างสรรค์ให้เกิดมุมมองใหม่ทำให้เกิด ความหมายใหม่ โดยการเปลี่ยนหน้าที่ของวัสดุที่ถูกทิ้งแล้ว สามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีคุณค่า ในการสร้างผลงานจึงจำเป็นต้องศึกษาแนวทางศิลปะจลนศิลป์ (Kinetic Art) ที่มีการเคลื่อนไหวในวิชาฟิสิกส์ เป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นพร้อมกับความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีของยุคปัจจุบันที่ผสมผสานเข้ากับพื้นฐานทาง ทฤษฎีศิลปะ เป็นศิลปะที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ เพื่อให้ชิ้นงานนั้นแสดงท่าทีเคลื่อนตัว ทำให้ผลงาน ดูมีความน่าตื่นเต้น แปลกใหม่ เคลื่อนไหว ซับซ้อนของวัสดุที่กระทบกันทำให้เกิดเสียงต่อระบบประสาทมี การรับรู้ การเห็น เพื่อดึงดูดใจผู้ชม จากที่กล่าวมานั้น ผู้สร้างสรรค์ได้ทดลองค้นคว้ากระบวนการคิด กระบวนการสร้างสรรค์อย่างเป็น ระบบ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาจากประสบการณ์ ส่งผลให้เกิดผลงานที่มีความเฉพาะตัวตรงตามแนวคิด มากที่สุด รวมถึงการนำเสนอผลงานที่แสดงออกถึงคุณค่าความงามของวัสดุเหลือใช้ที่ยังคงสามารถนำมา ใช้ประโยชน์ได้และยังช่วยลดมลภาวะทางขยะอีกทางหนึ่ง เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. (2554). คิเนติกหรือคิเนทติค อาร์ต หรือจลนศิลป์ (Kinetic Art). ในศิลปะ สมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในศิลปะสมัยใหม่ความรู้ฉบับพกพา (Modern Art). พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Openworlds . ประติมากรรมแนวลัทธิศิลปะนามธรรม ลัทธิ.คอนสตรัคติวิสม์(Constructivism) ในศิลปะสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


257 วาดเส้นสื่อผสม : การเชื่อมโยง ทัศนคติ ความเชื่อ และห้วงคำนึง ด้วยสัญลักษณ์ของภาพร่างและกายวิภาคของศิลปะในโลกยุคดิจิทัล Mixed media Gesture Drawing : Connecting attitudes, beliefs and considerations with the symbolism of the sketches and anatomy of art in the digital world ศักดิ์ชาย บุญอินทร์, Sakchai Boon-Intr วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์กรุงเทพ ประเทศไทย College of Fine Arts, Bunditpatanasilpa Institute, Bangkok, Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ วาดเส้นสื่อผสม ด้วยทัศนธาตุ และกายภาพของวัสดุในลักษณะ 2 มิติ 3 มิติ และเทคโนโลยี ผสมผสานกับการแสดงออกของภาวะภายใน เช่น อารมณ์ จิต ความคิด ความทรงจำ เพื่อเชื่อมโยง ทัศนคติ และความเชื่อ ห้วงคำนึง โดยแสดงสัญลักษณ์ของภาพร่างที่เปรียบเสมือนโครงสร้างสำคัญของสาระ และเป็น กายวิภาคของศิลปะในโลกยุคดิจิทัล คำสำคัญ: วาดเส้นสื่อผสม, สัญลักษณ์ภาพร่าง, กายวิภาคของศิลปะ, โลกยุคดิจิทัล, การเชื่อมโยง, ทัศนคติ, ความเชื่อ Abstract Mixed media Gesture Drawing with the nature of the visual elements and physical materials in the form of 2D, 3D, and technology, combined with the expression of internal states such as emotions, minds, thoughts, and memories to connect attitudes, beliefs, and considerations by showing the symbols of the sketches which is likened to the essential structure of the substance, and it's the anatomy of art in the digital world. Keyword: Mixed media Gesture Drawing, Symbolism of sketch, Anatomy of art, Digital world, Connecting, attitudes and beliefs 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ปรากฏการณ์ทางสังคมปัจจุบันในยุคสมัยที่มีการใช้ภาษาสัญลักษณ์ ด้วยสมาร์ทเทคโนโลยีและสื่อ สังคมออนไลน์เพื่อการติดต่อสื่อสารของชีวิตต่างสถานที่ และวัฒนธรรมในรูปแบบที่หลากหลาย ปรากฏการณ์ แบบใหม่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตดั้งเดิม เรื่อง ทัศนคติ ความเชื่อ ห้วงคำนึง และประเพณี


258 การทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษของคนทางภาคใต้ในประเทศไทย การเชื่อมโยงสาระดังกล่าวด้วยกระบวนทัศน์ ทางศิลปะ เป็นแรงบันดาลใจเบื้องต้นในการสร้างสรรค์ และการค้นคว้าพัฒนาทั้งด้านเนื้อหา เทคนิควิธีการ รูปแบบของงานวาดเส้นสื่อผสม ในลักษณะการบันทึกด้วยด้วยทัศนธาตุ รูปทรงทางศิลปะ กายภาพของวัสดุใน ลักษณะ 2 และ 3 มิติ และเทคโนโลยี ผสมผสานกับการแสดงออกของภาวะภายใน เช่น อารมณ์ ความรู้สึกจิต ความคิด ความทรงจำ เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสัญลักษณ์ของภาพร่างที่เปรียบเสมือนโครงสร้างสำคัญ ของสาระ และเป็นกายวิภาคของศิลปะในโลกยุคดิจิทัล 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คติ ความเชื่อในอดีต และยังเป็นวิถีการดำรงชีวิตที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน “เรื่อง การทำบุญสารท เดือนสิบ แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางด้านจิตใจของผู้ปฏิบัติที่มี ต่อบุรพชน อันเป็นค่านิยมที่สำคัญยิ่ง ของชาวใต้” (ออนไลน์.ครูบ้านนอก.คอม) โดยมีรายละเอียดและประวัติความเป็นมาตามแนวคิดที่ว่า การอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจาก นรก ที่ตนต้องจองจำอยู่ เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรก ในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติ พี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยัง นรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 (ออนไลน์. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช) ความเชื่อดังกล่าวมีแนวคิดเรื่องสัญลักษณ์ รูปทรงอันเป็นตัวแทนบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ดังที่มี การกล่าวไว้ว่า“เปรตที่มีชื่อว่า "ปรทัตตูปชีวีเปรต” จะถูกปล่อยใหัขึ้นมาจากนรก เพื่อมาร้องขอส่วนบุญต่อ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง เหตุนี้ ณ โลกมนุษย์ จึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปไห้ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่น้อง ลูกหลาน ที่ล่วงลับไป” (ออนไลน์. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช) การนำสาระด้านเนื้อหา แนวเรื่อง และแนวคิดในอดีตที่สะท้อนคุณค่าทางจิตใจของวิถีชีวิต มีความ ผูกพัน และสะท้อนจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ มาใช้ในการสร้างสรรค์ โดยแสดงออกทางด้านความรู้สึกห้วง คำนึง เป็นการใช้แนวเรื่องที่สัมพันธ์กับสภาวะจิตใจและอารมณ์ ผ่านรูปทรง สัญลักษณ์ในงานทัศนศิลป์ สัมพันธ์กับคำกล่าวที่ว่า “องค์ประกอบขั้นต้นของศิลปะเมื่อมองจากด้านการสร้างสรรค์นั้นมีแนวเรื่องและ รูปทรงประกอบกันอยู่ แนวเรื่องเป็นโครงสร้างทางจิต เป็นความคิดเริ่มต้นของงาน รูปความคิดนี้จะต้องมี เอกภาพ มีความหมายในตัวเองเสียก่อน จึงจะผลักดันให้ศิลปินสร้างสรรค์รูปทรงให้มีเอกภาพขึ้นได้” (ชลูด นิ่ม เสมอ, 2553, น.133) แนวคิด คติการดำรงชีวิต สามารถเปลี่ยนแปลง ผสมผสานจากรูปแบบดั้งเดิม และทับซ้อน คาบเกี่ยวกับวิถีชีวิตในรูปแบบใหม่ยุคปัจจุบัน เป็นสาระและรูปแบบของวัฒนธรรมที่มีชีวิต “วัฒนธรรมจึงมีลักษณะของความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและกาลเวลา ทั้งใน ลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ก้าวกระโดดในลักษณะของปรากฏการณ์ สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากวิถีดั้งเดิมอันเรียบง่ายสงบ สมถะในลักษณะอุดมคติทางความคิด


259 และจิตนิยมมาสู่ยุคที่มีค่านิยมทางวัตถุเทคโนโลยีเป็นสังคมแห่งข้อมูลดิจิทัลกับโลกแห่งความจริงเสมือน (ศักดิ์ชาย บุญอินทร์, 2563) จึงกล่าวได้ว่าการมองมิติทางสังคมและวัฒนธรรมด้วยรายละเอียดของคติ ความเชื่อ ประเพณีของ กลุ่มชีวิต และวัฒนธรรมตามสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น เป็น “สาระของการอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมร่วมสมัยจึง เป็นการผสมผสานกันของโลกวัตถุกับคุณค่านามธรรมด้านจิตใจที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไป (ศักดิ์ชาย บุญอินทร์, 2563) การประกอบกันของสาระทางนามธรรมและรูปธรรมในลักษณะทางกายภาพและทัศนธาตุของผลงาน สร้างสรรค์ในบทความนี้สัมพันธ์และสอดคล้องกับเนื้อหาที่ว่า กายภาพดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดด้วยวิธีการทางทักษะ เช่น การบันทึก ภาพร่าง การวาดเส้น (Drawing Sketch) กระบวนการและขั้นตอนนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มของการขุดค้น ลักษณะทางจิต ความรู้สึก นำไปสู่ ความหมายของการอุปมาที่ว่า "กายภาพของจิต" หรืออาจจะตีความได้ว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้า รูปลักษณะทางศิลปะได้แสดงการบันทึกสภาวะจิต หรือ ลักษณะภาพและวิธีการ Drawing Sketch เป็นสัญลักษณ์ ของจิตอันเป็นลักษณะทางนามธรรมที่สัมพันธ์กับรูปธรรมของวัตถุและการแสดงออกอย่างลึกซึ้ง (ศักดิ์ชาย บุญ อินทร์, 2563, น.55) รวมทั้งการนำคำว่า "Sketch เป็นกายวิภาคของศิลปะ" จากการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เมื่อปี พ.ศ. 2550 และทัศนศิลป์สื่อผสม ชุด ภาพร่าง-โครงสร้าง ของจิตและวัตถุกับ ความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง มาถ่ายทอดเป็นเนื้อหาทางศิลปะ “ใช้กระบวนการทางศิลปะเป็นเนื้อหาร่วมกับแนวเรื่อง ผสมผสานเป็น แนวความคิด (Concept) ในการสร้างสรรค์ กายวิภาคของ Sketch จึงถูกขยายความทั้งเนื้อหา และรูปแบบ เช่น ลักษณะของเส้น การแสดงออกผ่านร่องรอยการระบายค่าน้ำหนัก รวมถึงลักษณะตัวอักษร ทิศทาง เครื่องหมาย ของการค้นหา การบันทึก สัญลักษณ์ในภาพร่างได้กลายเป็นสาระและมีความสำคัญในลักษณะ โครงสร้างและความจริงของศิลปะ” (ศักดิ์ชาย บุญอินทร์, 2563, น.55) ทฤษฎีและหลักการในงานทัศนศิลป์สื่อผสม และมัลติมีเดียได้ถูกนำมาทดลอง ขยายขอบเขตของการ สร้างสรรค์ การวาดเส้นสื่อผสม เป็นการกำหนดคำนิยามขึ้นใหม่โดยผู้เขียนบทความ เพื่อแสดงสาระด้าน ศิลปกรรมในการสร้างสรรค์ ตามความหมายของงานสื่อผสมที่ว่า “สื่อผสม (อังกฤษ: mixed media) เป็น วิจิตรศิลป์ ในการนำสื่อมากกว่าสองสื่อ หรือศิลปะมากกว่าสองแขนงมารวมกันขึ้นไปมาสร้างเป็นงานชิ้น เดียวกัน โดยนิยมใช้สื่อที่แตกต่างกัน มานำจุดเด่นของแต่ละสื่อมาใช้ร่วมกัน” (ออนไลน์. wikipedia) อีกทั้งยังมีส่วนผสมของศิลปะมัลติมีเดีย ที่หมายถึง “ศิลปะการผลิตภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ครอบคลุมเนื้อหาดิจิทัล เช่น โลโก้แบรนด์ โบรชัวร์ อินโฟกราฟิก” (ออนไลน์. Informatics Philippines) การผสมผสานกระบวนการสร้างสรรค์เชิงทดลองในบทความนี้ ได้นำเสนอมุมมองทัศนศิลป์ในบริบท ของการเชื่อมโยงทัศนคติความเชื่อ และห้วงคำนึง เรื่องและประเพณีการทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษของคนทาง ภาคใต้ในประเทศไทย กับปรากฏการณ์ทางสังคมในยุคปัจจุบันที่มีการใช้ภาษา สื่อสารกันด้วยข้อความและ ภาพ ผ่านสมาร์ทเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ในโลกยุคดิจิทัล เป็นโลกแห่งสัญลักษณ์ที่ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้ เป็นที่มาและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ทั้งด้านแนวความคิด รูปแบบ และวิธีการนำเสนอ ดังข้อมูล ต่อไปนี้


260 ภาพที่1 ภาพเครื่องหมาย Hashtag ที่มา : https://www.http://psvirtual.com/a-guide-to-the-hashtag/JANUARY 12, 2016 hashtag : ดัชนีถ้อยคำ, แฮชแท็ก กลุ่มคำที่มีเครื่องหมาย # นำหน้า เป็นรูปแบบหนึ่งของสัญลักษณ์ที่ ผู้ใช้สื่อสังคมสร้างและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะจัดกลุ่มข้อมูลสารสนเทศขนาดใหญ่เหล่านั้น โดยจำแนก ตามหัวข้อ ทำให้ผู้ใช้ทราบว่ามีคนสนใจหรือพูดถึงเรื่องราวอะไรบ้างในหัวข้อนั้น ๆ และค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น (ออนไลน์. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) Hashtag (แฮชแท็ก) นั้นเปรียบเสมือนเป็นคำค้นหาหลัก หรือ ที่เรียกกันว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) ใช้ เพื่อค้นหา กลุ่มคน กลุ่มเพื่อน ที่อาจจะไม่ได้รู้จักกันมาก่อน แต่ต่างมีความสนใจเหมือนกัน ในเรื่องเดียวกัน ด้านเดียวกัน มีความรู้สึกเหมือนกัน อารมณ์เดียวกัน ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน อยู่ในสถานที่เดียวกัน อยู่ในงานอีเวนต์เดียวกัน ใช้ของยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน เคยใช้บริการที่เดียวกันมาก่อน และอื่น ๆ อีก มากมาย (ออนไลน์. Thanop.com) ภาพที่2 ภาพเครื่องหมาย LINE ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki LINE เป็นแอปพลิเคชันให้บริการ Messaging รวมกับ Voice Over IP ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างกลุ่มแชต ส่ง ข้อความ ภาพ คลิปวิดีโอ หรือจะพูดคุยโทรศัพท์แบบเสียงก็ได้(ออนไลน์. Wynnsoft) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์จากลักษณะความอิสระของเส้น รูปทรง และ สัญลักษณ์จากการวาดเส้น บันทึก โดยเน้นสาระของภาพร่างกับแนวเรื่องความเชื่อเรื่องบุญกรรม การเวียน ว่าย ตายเกิด และประเพณีการทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับของคนทางภาคใต้ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน เป็นการผสมผสานทัศนคติทั้งแบบดั้งเดิม และแบบสังคมสมัยใหม่เพื่อสะท้อนปรากฏการณ์ของสัญลักษณ์ และ วัฒนธรรมของสื่อสังคมออนไลน์ในโลกยุคดิจิทัลในเชิงทัศนศิลป์สื่อผสม


261 ภาพที่3 ภาพภาพการจัดหมรับ ขนมลา ตามประเพณีการทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษของคนทางภาคใต้ ที่มา : https://www.naewna.com/likesara/43968111 กันยายน พ.ศ. 2562 ภาพที่4 ภาพเส้นใยขนมลา ที่มา : https://wanwanthailand.wordpress.com/2015/02/22 22 กุมภาพันธ์ 2015 ขนมภาคใต้ ภาพที่5 ภาพการใช้เครื่องหมาย Hashtag และโปรแกรม LINE ออกแบบสัญลักษณ์ การสร้างสรรค์ภาพร่าง สร้างภาพร่าง ด้วยการบันทึก วาดเส้น ด้วยด้วยปากกา S-Pen สมาร์ทโฟน และโปรแกรม คอมพิวเตอร์ Photoshop สร้างเส้น กลุ่มรูปทรง ตามลักษณะเฉพาะของประเพณี วัฒนธรรม ที่สะท้อน ทัศนคติ ความเชื่อในอดีตและสัญลักษณ์การเชื่อมโยงของสื่อสังคมออนไลน์ในโลกยุคดิจิทัล เทคนิควิธีการ นำภาพที่มีลักษณะของการสื่อสาร เชื่อมโยงด้วยรูปทรง สัญลักษณ์มาเป็นต้นแบบใน การสร้างภาพกราฟิก เพื่อพิมพ์บนวัสดุ ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer) ในระบบอุตสาหกรรม สิ่งพิมพ์ตามสัญลักษณ์ รูปทรง ลายเส้นที่ได้ออกแบบไว้บนแผ่นอะคริลิค และนำไปประกอบกับกล่อง 3 มิติ ที่ มีวงจรไฟ LED และพาวเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) 12 โวลต์ด้านใน เพื่อให้เกิดแสงส่องผ่าน ภาพผลงานสร้างสรรค์


262 ภาพที่6 ภาพการสร้างภาพร่าง ด้วยการบันทึก วาดเส้น ด้วยปากกา S-Pen สมาร์ทโฟน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Photoshop สร้างกลุ่มรูปทรง ตามลักษณะเฉพาะของประเพณี วัฒนธรรม ที่สะท้อนทัศนคติ ความเชื่อในอดีตและสัญลักษณ์ การเชื่อมโยงในยุคดิจิทัล ภาพที่ 7 ภาพวงจรไฟ LED และ พาวเวอร์ซับพลาย 12 โวลต์ การติดตั้งผลงาน นำผลงานสร้างสรรค์วาดเส้นสื่อผสม ที่ได้ประกอบขึ้นเป็นกล่องตู้ไฟติดตั้งบนผนังสี ขาว และมีระบบไฟฟ้า เพื่อให้เกิดแสงสว่างสำหรับเน้นรายละเอียดบริเวณด้านในกล่องผลงาน รูปแบบผลงาน วาดเส้น สื่อผสม ประเภทของผลงานทัศนศิลป์ ภาพผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่8 ภาพผลงานสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์ชื่อ #เชื่อมโยง#๑๐ #Hashtag#10


263 ภาพที่9 ภาพรายละเอียดผลงานสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์ ชื่อ #เชื่อมโยง#๑๐ #Hashtag#10 4. การวิเคราะห์ผลงาน การแสดงออกในงานทัศนศิลป์เป็นกระบวนการการตอบโต้กับอารมณ์ ความรู้สึก จิต ความคิด และความทรงจำของผู้สร้างสรรค์ด้วยวิธีการบันทึก วาดเส้นจากสิ่งที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ เช่น รูปทรง กลุ่มผู้คน สิ่งต่าง ๆ จากวิถีชีวิต ประเพณี ที่สะท้อนทัศนคติ ความเชื่อ รวมทั้งประสบการณ์ ความทรง จำในอดีต เป็นการค้นคว้าแนวเรื่อง เนื้อหา รูปแบบ และวิธีการทางศิลปะผ่านสภาวะของความรู้สึก ความคิด ภายในของตนเอง สัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อหาที่ชลูด นิ่มเสมอ กล่าวไว้ใน วาดเส้นสร้างสรรค์ ที่ว่า “เมื่อความคิดเกิดขึ้นแล้วด้วยการกระตุ้นจากด้านไหนก็ตาม ศิลปินจะบันทึกลงไว้ทันทีในงานวาด เส้น และในขณะที่ความคิดถูกบันทึกลงไปเป็นรูปร่างนั้น กลไกภายในก็จะบันทึกความคิดนั้นลงในใจในรูป ของประสบการณ์ด้วย หลังจากนั้นศิลปินอาจพัฒนาความคิดนั้นให้เป็นแนวความคิดที่แน่นแฟ้นขึ้น หรืออาจ ผสมกับประสบการณ์ส่วนตัวให้เป็นจินตนาการที่กว้างไกลต่อไปด้วยวิธีวาดเส้นเอง หรือด้วยสื่ออย่างอื่น” (ชลูด นิ่มเสมอ, 2553, น.30) ลักษณะเส้นของผลงานศิลปะในบทความนี้ มีการสร้างสรรค์ด้วยการสานกัน ในบางจังหวะ เป็นการ เพิ่มโครงสร้าง ค่าน้ำหนัก รูปทรง และสัญลักษณ์โดยใช้ เครื่องหมาย # (Hashtag) ที่มีลักษณะการไขว้ สร้าง จังหวะ การซ้ำ และความเปลี่ยนแปร ของ ใบหน้า และกลุ่มรูปทรงคน ตามหลัก “Hatching เป็นเทคนิคทาง ศิลปะที่ใช้ในการสร้างเอฟเฟกต์โทนสีหรือแรเงาโดยการวาดภาพ (หรือการวาดภาพหรือการเขียน) เส้นขนานที่ เว้นระยะห่างอย่างใกล้ชิด เมื่อวางเส้นที่มุมถึงกัน จะเรียกว่าการ Hatching แบบไขว้” (ออนไลน์. Wikipedia) ภาพที่10 ภาพศิลปะการวาดเส้น ด้วยวิธี hatching ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Hatching .Albrecht Dürer eronica, engraving, 1513. Example of hatching (e.g., background) and cross-hatching in many darker areas


264 จึงเป็นการผสมผสานเส้นที่แทนเนื้อหา เรื่องราว กับสร้างสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายของ แนวความคิด โดยให้ผู้ชมรับรู้การแสดงออกด้านความรู้สึก จากประสบการณ์ ความทรงจำ “เส้นในงานวาด เส้นบางประเภทจะไม่ทำหน้าที่สร้างรูปทรงหรือบรรยายรูปลักษณ์ของสิ่งที่เป็นต้นความคิด แต่จะทำหน้าที่ แปลและย่อแนวความคิดนั้นให้เป็นเพียงสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ผู้ดูจะใช้เป็นความคิดเริ่มต้นให้แก่จินตนาการ ของตนที่จะคลี่คลายต่อไป” (ชลูด นิ่มเสมอ, 2553, น.100) รูป ลักษณะ สีเหลืองทอง อมน้ำตาล และเส้นขนมลา มีความอิสระ ทับซ้อนกันตามธรรมชาติและตาม กระบวนการสร้างและออกแบบในลักษณะ จังหวะ ที่ผู้สร้างสรรค์ได้นำมาใช้วาดเส้นเพื่อตอบสนองสภาวะทาง อารมณ์ ห้วงคำนึง รวมถึงประสบการณ์ ความทรงจำ ในเรื่องคติ ความเชื่อบุญประเพณี และคุณค่านามธรรม ด้านจิตวิญญาณ สัมพันธ์และสอดคล้องกับคำพูดของชลูด นิ่มเสมอ ที่ว่า “ในการวาดเส้น ศิลปินจะผสมผสาน วัตถุหรือสิ่งที่เขาเลือกสรรจากธรรมชาติเข้ากับการตอบสนองทางกาย ซึ่งได้แก่ความรู้สึกสัมผัสที่เขามี่ต่อ รูปทรง ที่ว่าง เส้น ลักษณะผิว ฯลฯ และการตอบสนองทางจิต ได้แก่อารมณ์ความรู้สึก หรือจินตนาการที่เกิด จากการรับรู้ในสิ่งที่สัมผัส ซึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติและประสบการณ์ที่เขามีต่อสิ่งนั้น” (ชลูด นิ่มเสมอ,2553, น.15) การสร้างภาพร่าง (Sketch) ที่ผู้สร้างสรรค์มีความเชื่อว่าคือกายวิภาคของงานศิลปะ ประกอบด้วยเส้น ร่างที่ทดลอง ค้นหา มีการใช้ตัวอักษรเขียนบรรยาย แสดงนัยตามแนวความคิด หรือเป็นเพียงแค่ลักษณะของ ทัศนธาตุ เช่น เส้น พื้นผิว หรือ รูปทรง รวมถึงลักษณะเส้น ร่องรอย สัญลักษณ์ จาก เครื่องหมาย # (Hashtag) ที่แสดงความหมายการติดต่อ เชื่อมโยงในสื่อสังคมออนไลน์ หรือบางจังหวะของภาพผลงาน อาจเป็นเพียงแค่ลักษณะของทัศนธาตุ และสุนทรียภาพ ดังที่ อิทธิพล ตั้งโฉลก ได้กล่าวไว้ว่า ศิลปะคอนเซ็ปชวลในยุคโพสท์โมเดิร์นนิส การใช้ถ้อยคำตัวอักษรถูกนำมาช่วยภาษา ทัศนศิลป์ใน การสื่อความคิดหรือความหมายที่ซับซ้อน หรือถูกนำมาใช้แทนภาษาภาพ และการสร้างศิลปวัตถุเลยโดยตรง ภาษาแห่งถ้อยคำในยุคนี้ถูกศิลปินนำมาใช้ทั้งเป็นสื่อ เป็นทั้งเรื่องราว และความหมายในหลายลักษณะและ หลายระดับ รวมทั้งใช้ในการสื่อสารอย่างง่าย ๆ ตรงตามความหมาย ของตัวอักษร หรือการแฝงความหมาย เชิงสัญลักษณ์ที่สลับซับซ้อน (อิทธิพล ตั้งโฉลก, 2550, น.103) นอกจากการผสมผสานกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยสื่อที่แตกต่างกันแล้ว ผู้สร้างสรรค์ยังได้ นำทัศนธาตุทางศิลปะ เรื่อง เส้น จังหวะ มาใช้สร้างสรรค์ ออกแบบรูปทรง สัญลักษณ์ และรายละเอียดของ ผลงาน เช่น ใช้ลักษณะของเส้นเครื่องหมาย # (Hashtag) จากอุปกรณ์ เทคโนโลยีในสื่อสังคมออนไลน์แสดง นัยของการเชื่อมต่อ ค้นหาข้อมูล บุคคลและความคิดในโลกอินเตอร์เน็ต เป็นการสร้างลักษณะของความถี่ ##### และจังหวะ (Rhythm) เป็น“การซ้ำที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่า ๆ กัน มาเป็น ระเบียบที่สูงขึ้นซับซ้อนขึ้น จนถึงขั้นเป็นรูปทรงศิลปะ (ชลูด นิ่มเสมอ ,2553, น.192) เพื่อเปรียบเทียบ เชื่อมโยงความหมายกับจังหวะ และลักษณะของเส้นขนมลาทางภาคใต้ที่มีการทำขึ้นเลียนแบบเส้นใยของผ้า และอาหารที่มีลักษณะพิเศษเป็นเส้นเพื่ออุทิศให้ผู้ล่วงลับได้นำไปใช้และกิน เส้นใยลาและเครื่องหมาย Hashtag จึงเป็นการสร้างสรรค์ด้วยเส้น จังหวะ และรูปทรงศิลปะที่โยงใยกับสาระและการแสดงออกด้าน ความรู้สึกและภาวะของห้วงคำนึง ตามความเชื่อดั้งเดิมและจิตวิญญาณของคนทางภาคใต้ที่ว่า


265 การทำบุญและอุทิศบุญกุศลให้ดวงวิญญาณด้วยอาหาร เมื่อเปรตมีปากเท่ารูเข็มก็ยากยิ่งที่จะกิน อาหารทั่วไปที่ลูกหลานอุทิศให้ ด้วยความชาญฉลาดของผู้คนจึงคิดค้นอาหารหวานที่มีลักษณะเป็นเส้น เพื่อให้เปรตกินได้เกิดขึ้นภายใต้ชื่อ “ขนมลา” เป็นการรำลึกถึงชื่อที่ใช้เรียกบรรพบุรุษที่เป็นชั้น ที่สูงที่สุดนั่นคือ ทวด ลวด “ลา” จะเห็นได้ว่าลักษณะของขนมชนิดนี้จะเหมือนเสื้อผ้าที่ถักทออย่างวิจิตร เพื่อให้วิญญาณของบรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้วได้สวมใส่ เหมือนการถักทอแพรพรรณขึ้นมาด้วยการหลอมรวม ใจเป็นหนึ่งของลูกหลาน เป็นความผูกพันหลอมรวมเป็นหนึ่งของครอบครัว” (ออนไลน์. พงศกร พรหมเรืองโชติ) ภาพที่11 ภาพการวิเคราะห์รายละเอียดผลงานสร้างสรรค์ที่แสดงความสัมพันธ์ของลักษณะเส้น # (Hastag) กับเส้นขนมลา กระบวนการสร้างสรรค์ในบทความนี้เป็นการบันทึกภาพร่างจากสาระด้านทัศนคติ ความเชื่อที่มี คุณค่า ผสมผสานเทคนิค วิธีการของงานวาดเส้นสื่อผสม ในลักษณะศิลปะวัตถุ (Art Objects) และรูปแบบ วัตถุและสื่อดิจิทัลที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การโฆษณา และการบริโภคยุคปัจจุบัน เป็นการสร้างรูปสัญลักษณ์ของศิลปวัตถุ ในลักษณะกล่องตู้ไฟประกอบแสงไฟ LED ตามบริบทดังกล่าว เพื่อนำเสนอการทดลองในมุมมองใหม่ ด้วยความเชื่อเรื่องการเชื่อมโยงสังคมสมัยใหม่ในโลกดิจิทัลกับ วิถีชีวิต คติ ความเชื่อดั้งเดิม ในรูปแบบปรากฏการณ์ทางสัญลักษณ์ร่วมสมัยของงานวาดเส้นสื่อผสม สัมพันธ์กับวิธีการ สร้างสรรค์ในประวัติศาสตร์ศิลปะที่ว่า“ศิลปินเริ่มมองหาแรงบันดาลใจและวัสดุในสภาพแวดล้อมของพวกเขา พวกเขาสร้างงานศิลปะที่สะท้อน วิจารณ์ และในบางครั้งรวมเอาสิ่งของในชีวิตประจำวัน สินค้าอุปโภคบริโภค และการส่งข้อความและภาพทางสื่อมวลชนเข้าไว้ด้วยกัน ในการอ้างอิงถึงการอุทธรณ์ที่เป็นที่นิยมและการ มีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมสมัยนิยม” (ออนไลน์. MoMA Learning) 5. สรุป แนวเรื่อง เนื้อหาด้านคติ ความเชื่อ ที่มีการผสมผสานกับสัญลักษณ์ในโลกดิจิทัลและเทคโนโลยียุค ปัจจุบัน ได้เป็นจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสาระด้านปัญญา และการ ตั้งคำถามในคุณค่าของผลงานทัศนศิลป์ ทั้งด้านวิธีการ รูปแบบ และความร่วมสมัยของศิลปะสื่อผสม มัลติมีเดียอาร์ต การเน้นแนวความคิดในการสร้างสรรค์ได้ถูกหยิบยืมมาใช้ตามบริบทของสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมตามนัยของศิลปะที่ว่า “การแสดงออกของศิลปะแนวคอนเซ็ปชวลอาร์ตเป็นการ ประกาศ ปฏิญญา ว่าด้วยเรื่องสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่อันนำมาสู่คำวิพากษ์วิจารณ์ คอนเซ็ปชวลอาร์ตเป็นการ ปรับเปลี่ยนบรรทัดฐานของความงามตามขนบดั้งเดิม ด้วยวิธีนำเสนอที่แตกต่างออกไป ทำให้เทคนิคศิลปะ


266 เหล่านี้ถูกกำหนดขอบเขตและสามารถอธิบายคำจำกัดความได้ชัดเจนขึ้น” (ดาเนียล มาโชนา .อณิมา ทัศจันทร์ แปล 2552.น 8) การใช้แสงจากหลอดไฟ Led ป้ายไฟ โฆษณา ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ โดยใช้นัยของวัตถุ เป็นสัญลักษณ์ของสังคมเมืองและความร่วมสมัย ความเกี่ยวเนื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลกับการโฆษณาที่สะท้อน สภาวะสังคม เศรษฐกิจ และการบริโภคยุคปัจจุบัน เป็นการใช้สัญลักษณ์ของวัตถุสร้างสรรค์ตามข้อมูล ประวัติศาสตร์ศิลปะที่ว่า“ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา นีออนเป็นจุดเด่นในงานศิลปะหลายแขนง ความ แพร่หลายของมันได้บ่งบอกถึงความสนใจของศิลปินในการพิจารณาและเป็นตัวแทนของชีวิตประจำวันร่วม สมัย เนื่องจากนีออนได้เป็นส่วนสำคัญของการค้า ความร่วมสมัย และความเป็นเมือง (ออนไลน์.Tobias Berger) และนำนัยของวัตถุเรืองแสง ที่สัมพันธ์กับทัศนธาตุ เช่น แสง รูปทรง และเส้นที่อิสระ สัมพันธ์กับจิต ใต้สำนึก อารมณ์ ความรู้สึก ห้วงคำนึงที่ต้องการแสดงออก ดังที่ “ศิลปิน Joseph Kosuth และ Tracey Emin ได้รวมเอาสื่อนี้ไว้ในผลงานของพวกเขา ไม่เพียงแต่เล่นโดยใช้นีออนเป็นสื่อเท่านั้น แต่ยังสำรวจ ความสัมพันธ์ทางจิตวิทยาโดยตรงระหว่างคำ รูปแบบ และเนื้อหาด้วยการขนส่งนีออนเข้าสู่อาณาจักรของวัตถุ ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ที่จัดแสดง ห่างไกลจากจุดเริ่มต้นที่มีการจัดตั้งในสภาพแวดล้อมเมือง (ออนไลน์.Tobias Berger) การวาดเส้นด้วย ปากกา S-Pen สมาร์ทโฟน และใช้โปรแกรม LINE ที่มีการสื่อสารของสื่อสังคม ออนไลน์ ในการออกแบบสัญลักษณ์รูปทรง และการใช้เครื่องหมาย # (Hashtag) ตามลักษณะเส้นไขว้ทาง กายภาพ เพื่อแสดงความหมายเชื่อมโยง และสร้างสรรค์ลักษณะ เส้น รูปทรงศิลปะด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยี กระบวนการและกรรมวิธีดังกล่าวได้สะท้อนสิ่งที่ศิลปิน มองเห็นนัยสำคัญของสื่อที่สามารถนำมาใช้ในการแสดงออกงานทัศนศิลป์ด้วยเหตุผลที่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งด้านเนื้อหา แนวเรื่อง รูปแบบและการแสดงออกในลักษณะเฉพาะ อาทิเช่น การใช้ลักษณะเฉพาะของ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุค 1963 สร้างสรรค์ภาษาทางทัศนศิลป์ วุ๊ค โคสิค ใช้ซอฟท์แวร์เพื่อเปลี่ยนแต่ละเฟรมของหนังและโชว์ดั้งเดิมไปเป็นรูปภาพ และในรูปภาพ นี้อักขระแอสกี้เล่นบทบาทของจุลภาคภาพ หรือจุดเป็นเดย์ในการสร้างรูปร่างต่างๆ เงาต่างๆ และวัตถุต่างๆ บนจอภาพ ภาพแอสกี้ (อเมริกันสแตนดาร์ดโค๊ตฟอร์อินฟอร์เมชั่นอินเตอร์เชงจ์) ถูกใช้ในครั้งแรกในปี 1963 และมีลักษณะเป็นกลุ่มสมมูลทางตัวเลขสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์ที่ถูกพิมพ์ขึ้นมา และกลุ่มสมมูลนี้ทำ ให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน” (อาร์ท ,มาร์ค ไทรป์. รีนา จานา. สำราญ หม่อมพกุล วรพจน์ สัตตะพันธ์คีรี แปล. 2552.น.38) การวาดเส้นสื่อผสม ในโลกศิลปะยุคดิจิทัล ด้วยสื่อต่าง ๆ ที่ศิลปินมีอิสระในการเลือก และกำหนด ขอบเขต คำนิยาม ตามบริบทที่ศิลปินได้เลือกสรร จึงเป็นการสื่อสารระหว่างความจริงในโลกเสมือน แบบ ดิจิทัล และความจริงในโลกศิลปะร่วมสมัย ด้วยภาษาที่สามารถเปลี่ยนแปลง ทับซ้อนกันทั้งทางนัยความหมาย และลักษณะทางกายภาพหรือรูปแบบ “บัญชีรายชื่อจดหมายอิเลคทรอนิคส์ และเว็บไซด์ต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็น ช่องทางเลือกสำหรับการพูดคุยเกี่ยวกับงานศิลปะสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ และยังเป็นการส่งเสริมและการ แสดงออกของงานศิลปะสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย สิ่งนี้ทำให้ศิลปินสามารถสร้างฉากศิลปะออนไลน์คร่อม


267 ระหว่างโลกศิลปะร่วมสมัยและโลกวัฒนธรรมดิจิตอล” (อาร์ท ,มาร์ค ไทรป์. รีนา จานา. สำราญ หม่อมพกุล วรพจน์ สัตตะพันธ์คีรี แปล. 2552.น.50) จึงสามารถกล่าวได้ว่า การเชื่อมโยง ทัศนคติ ความเชื่อ และห้วงคำนึง ด้วยสัญลักษณ์ของภาพร่างและ กายวิภาคของศิลปะในโลกยุคดิจิทัล เป็นการผสมผสานกระบวนการสร้างสรรค์ วาดเส้นสื่อผสมทั้งลักษณะ 2 มิติ 3 มิติและเทคโนโลยี ในลักษณะการบันทึก การใช้ภาษา เครื่องหมาย และรูปแบบสัญลักษณ์ของการ สื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีและสื่อในการแสดงออกทางศิลปะตามบริบทการเปลี่ยนแปลง ของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมทั้งในอดีต ปัจจุบัน ผู้สร้างสรรค์ได้นิยามความร่วมสมัยของสังคมโลกวัตถุ และการบริโภค ด้วยภาษาทางทัศนศิลป์เพื่อสื่อสารการแสดงออกด้านความคิด เชื่อมโยงความรู้สึก และ ห้ วงคำนึ ง ใน ลักษ ณ ะสัญ ลักษ ณ์ ของภ าพ ร่าง และก ายวิภ าคของศิลป ะใน สังคม ยุค ดิจิทั ล โดยสามารถตั้งคำถาม ตีความงานทัศนศิลป์ในหลายมิติและนำไปสู่การพัฒนาปรัชญาศิลปะ ทั้งด้านเนื้อหา เทคนิค วิธีการ รูปแบบ และการนำเสนอในบริบทที่หลากหลาย ประโยชน์ต่อการศึกษาทัศนศิลป์ และวงการศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ในบทความนี้ เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า บูรณาการหลักการทางวิชาการ ทั้งด้านทฤษฎี ปรัชญา และประวัติศาสตร์ศิลปะ กับการทดลอง การนิยามความหมายการแสดงออกทาง ศิลปะ ในลักษณะการตรวจสอบ สืบค้นจากความคิด จินตนาการ และประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์ เพื่อค้นหากระบวนทัศน์ทางศิลปะที่สัมพันธ์กับสภาวะภายใน ทั้งด้าน อารมณ์ จิตใจ รวมทั้งการสร้างภาษา และสัญลักษณ์ทางทัศนศิลป์ด้วยสื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีความหลากหลาย และมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลง สัมพันธ์กับโลกของความเป็นจริงและโลกเสมือน มีความร่วมสมัยทางด้านศิลปะที่ใช้สื่อเทคโนโลยีสัมพันธ์กับ สภาพสังคม วิถีชีวิตและวัฒนธรรม และนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า วิจัย สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องทั้งต่อนักศึกษา ด้านทัศนศิลป์ผู้สนใจ และอาจส่งผลเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ การสร้างสรรค์ วงการศิลปะ และ ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในโลกยุคปัจจุบัน เอกสารอ้างอิง ครูบ้านนอก.คอม. ประเพณีทำบุญเดือนสิบ ตำนานอีกหนึ่ง ที่จะช่วยให้พระบรมธาตุเจดีย์ ขึ้นทะเบียน มรดกโลก สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565. จากhttps://www.kroobannok .com/18584https: //www.kroobannok.com/18584.21 ก.ย. 2552 ชลูด นิ่มเสมอ (2553). วาดเส้นสร้างสรรค์. กรุงเทพ: อมรินทร์ ดาเนียล มาโชนา. (2552). แปลโดย อณิมา ทัศจันทร์. คอนเซ็ปชวลอาร์ต. กรุงเทพ : เดอะเกรทไฟน์อาร์ท พงศกร พรหมเรืองโชติ. ประเพณีสารทเดือนสิบ ธารแห่งน้ำใจที่ยิ่งใหญ่. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-59(500)/page1-10-59(500).html 1 ตุลาคม 2559 มาร์ค ไทรป์รีนา จานา. (2552) แปลโดย สำราญ หม่อมพกุล วรพจน์ สัตตะพันธ์คีรี. ดีปแอ้สกี้. นิวมีเดีย. กรุงเทพ : อาร์ท เดอะเกรทไฟน์อาร์ท


268 . (2552). แปลโดย สำราญ หม่อมพกุล วรพจน์ สัตตะพันธ์คีรี. ศิลปะยุคการเผยแพร่ กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านระบบดิจิทอล. นิวมีเดีย. กรุงเทพ : อาร์ท เดอะเกรทไฟน์อาร์ท . (2552). แปลโดย สำราญ หม่อมพกุล วรพจน์ สัตตะพันธ์คีรี. เวิลด์ไวด์เว็บเวิลด์ไวด์เว็บ เวิลด์ไวด์เว็บดอทโจอี้ดอทโออาร์จี. นิวมีเดีย. กรุงเทพ : อาร์ท เดอะเกรทไฟน์อาร์ท ศักดิ์ชาย บุญอินทร์. (2563). นัย และ กายภาพกับการทดลองความคิดและรูปทรงศิลปะในผลงานทัศนศิลป์ สื่อผสม ชุด ไทยวัฏฏะ (Thai-Cycle) . (2563). ทัศนศิลป์สื่อผสม ชุด ภาพร่าง-โครงสร้าง ของจิตและวัตถุกับ ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง (Sketch เป็นกายวิภาคของศิลปะ). นัยของความคิด อารมณ์ กับกายภาพงานจิตรกรรมและทัศนศิลป์ สื่อผสม. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565. จาก https://www.facebook.com/Ratcha banditThai/photos/a.3083612691696805/3480081428716594/?type=318 กันยายน 2020 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. ประเพณีสารทเดือนสิบ. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565. จาก https://www. mculture.go. th/nakhon s ritham marat /ewt_news.php?nid=658&filename= index.9 ธ.ค. 2562 อิทธิพล ตั้งโฉลก (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง informatics. Is Multimedia Arts for you?. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565 จาก https://informatics.eduph/ismultimedia-arts-for-you/April 20, 2021 MoMA Learning Pop Art, สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565. จาก https://www.moma.org/learn/moma_ learning/themes/pop-art/ hk/neon-in-visual-culture/neon-in-art/?lang=en Thanop.com. Hashtag คืออะไร ?. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน2565 จาก https://www.thanop. com/hashtag/ Tobias Berger OFF-ON: Neon in Art. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565. จาก https://www.neonsigns. Wikipedia. Hatching. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565. จาก https://en.wikipedia.org/wiki/HatchingThis wynnsoft. LINE@ คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2565. จาก https://www.wynnsoft-solution.com/th/Line


269 ลดาอยากได้ชุดโกโกวา Lada wanted a Kokowa costume ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร, Sunsanee Rungrueangsakorn 100/432 หมู่ 1 ต.ศีรษะจรเข้น้อย อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ, 100/432 Moo 1, Chorakhe Noi Subdistrict, Bang Sao Thong District, Samut Prakan E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ลดาอยากได้ชุดโกโกวาเป็นผลงานสร้างสรรค์ศิลปะที่บันทึกเรื่องราวความทรงจำที่เกิดขึ้นในครอบครัว ของผู้สร้างสรรค์ไปพร้อมกับกระแสความนิยมของสังคมที่เกิดในช่วงเวลานั้น เริ่มต้นจากความคิดถึงหลานสาวที่ ยังเป็นเด็กทารกน้อย การได้รับภาพถ่ายพัฒนาการของเด็กน้อยอย่างสม่ำเสมอจากน้องสาวซึ่งเป็นแม่ของเด็ก ทำให้ได้ค้นพบภาพการวางท่าทางของเด็กที่มีความแปลกและน่าสนใจ เป็นภาพของเด็กทารกที่ยังไม่สามารถ ยืนได้แต่ถูกจับท่าทางให้ดูเหมือนกำลังอยู่ในท่ายืนตรงประกอบกับการแสดงสีหน้าที่ดูจริงจังขึงขังเหมือนเป็น ผู้ใหญ่ไม่สดใสอย่างเด็กเล็ก ๆ ทั่วไป ทำให้รู้สึกแปลกใจปนกับประทับใจจนอยากนำความบังเอิญของภาพที่ เกิดขึ้นนั้นมาสร้างสรรค์เป็นผลงานในแนวทางของศิลปะลัทธิป๊อปอาร์ตด้วยการวาดลายเส้นการ์ตูนในแบบ เฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์โดยใช้เพียงสีอะคริลิค สีดำกับสีขาวเท่านั้น ในภาพผลงานได้กล่าวถึงชุดโกโกวา ซึ่ง เป็นชุดของตัวแสดงที่อยู่ในซีรีส์เกาหลีเรื่อง “สควิดเกม เล่นลุ้นตาย” โดยมีจุดเริ่มต้นจากเพลงชุดโกโกวาที่โด่งดัง คำสำคัญ: ลดาอยากได้ชุดโกโกวา, ลัทธิป๊อปอาร์ต Abstract Lada wanted a Kokowa costume as a work of art that captures the memory of the creator's family along with the popular trend of society at that time. It started with the thought of the granddaughter who was still a baby. Receiving regular photos of the baby's development from the mother's sister. This made us discover the strange and interesting poses of the children. It was a picture of a baby who could not stand still but was held up to look like he was in an upright position coupled with a serious expression that looked like an adult and not as bright as a normal child. Makes me feel surprised and impressed until I want to bring the coincidence of the picture that happens to create a work in the way of pop art cult art by drawing cartoon lines in a unique way of the creator using only acrylic paint Black and white only. In the picture of the work, there is a mention of the Kokowa dress. which is a set of characters in the Korean drama "Squid Game, Play to Die" with the beginning of the famous Kokowa song. Keywords: Lada wanted a Kokowa costume. Pop arts


270 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ตอนเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ผู้สร้างสรรค์มีความคิดถึงหลานสาวทารกน้อยที่แสนน่ารัก เธอมีชื่อว่า “ลดา” เป็นลูกของน้องสาวผู้สร้างสรรค์เองต้องการมีลูกและรอคอยการเกิดของหนูน้อยมานาน รวมถึงคนในครอบครัวต่างตั้งตาตั้งใจรอคอยหลานอย่างใจจดจ่อ พอหลานเกิดมาแล้วคนใกล้ชิด และทุกคนใน ครอบครัวรวมทั้งผู้สร้างสรรค์ต่างก็มีความยินดีกับชีวิตน้อยที่เริ่มต้นขึ้นมาใหม่ ผู้สร้างสรรค์ใช้ภาพใบหน้าและร่างกายของลดามาเป็นแบบในการวาดภาพ ท่าทางของเธอในภาพนี้ดู ค่อนข้างแปลกแตกต่างสำหรับความเป็นเด็กทารก สายตาที่ดูมุ่งมั่นจริงจังทำให้ดูน่ารักน่าเอ็นดูไปอีกแบบ ผู้ สร้างสรรค์เลือกใช้การวาดลายเส้นแบบการ์ตูน โดยสอดแทรกเนื้อหาที่กล่าวถึงกระแสที่เกิดในสังคมอย่างชุด โกโกวา อันมีที่มาจากเพลงชุดโกโกวา ของทิพรยุทธ กองศรีมา จากช่อง ต้องแต้ง แฟมิลี่ ทีวี (Tongtang Family Tv) เป็นเพลงที่โด่งดังมากในช่วงเวลานั้น เนื้อหาที่ร้องสนุกสนานจดจำง่าย ทำให้ฟังแล้วสามารถร้อง ตามได้ และติดปากอย่างรวดเร็วส่งอิทธิพลกับผู้คนในช่วงเวลานั้นนิยมหาซื้อชุดโกโกวามาใส่เล่นกันตามบท เพลง ชุดโกโกวาเป็นชุดเสื้อผ้าแบบหนึ่งที่ใช้ในตัวละครที่อยู่ในซีรีส์เกาหลีเรื่องสควิดเกม เล่นลุ้นตาย (Squid Game 2021) และต่อไปนี้คือเนื้อหาที่อยู่ในเพลง ชุดโกโกวา เนื้อเพลง ชุดโกโกวา Tongtang Family TV โอ้..มาแล้วลูก ชุดโกโกวาที่หนูอยากได้ใช่มั้ย พร้อมหรือยังวัยรุ่นโกโกวา มาแล้วลูกจ๋า ชุดโกโกวาที่หนูอยากได้ โกโกวาที่หนูอยากใส่ โกโกวาคิมิซึนิดา มาแล้วลูกจ๋า ชุดโกโกวาที่หนูอยากได้ โกโกวาที่หนูอยากใส่ โกโกวา คิมิซึนิดา ลูกน้อยร้องว้าว ลูกสาวร้องเย่ ชุดโกโกวาทำไมโคตรเท่พ่อไปเอามาจากที่ไหน ลูกน้อยดันถามเพราะความสงสัยคือพ่อไม่ได้ไปเอามาจากวัดหรือว่าที่อื่นที่ไกล แต่พ่อไปซื้อมาจากโลตัสนั้นไงใส่เลยกำลังฮิตรับรองไม่เชย (นี่คุณพ่อไปเอามาจากวัดแน่ๆ เลย) มาแล้วลูกจ๋า ชุดโกโกวาที่หนูอยากได้ โกโกวาที่หนูอยากใส่ โกโกวาคิมิซึนิดา มาแล้วลูกจ๋า ชุดโกโกวาที่หนูอยากได้ โกโกวาที่หนูอยากใส่ โกโกวาคิมิซึนิดา ชุดโกโกวา โกโกวา โกโกวา ชุดโกโกวาชุดโกโกวา โกโกวา โกโกวา ชุดโกโกวา ชุดโกโกวา โกโกวา โกโกวา ชุดโกโกวาชุดโกโกวา โกโกวา โกโกวา ชุดโกโกวา โกโกว คิมิซึนิดา ยกโทษให้พ่อได้มั้ยลูก เดี๋ยวพ่อจะซื้อชุด โกโกวา โกโกวา คิมิซึนิดา ให้นะลูกนะ ได้ค่ะ แต่พ่อต้องซื้อ ชุดโกโกวา โกโกวาคิมิซึนิดา ให้หนูนะคะ (MusicHot, 2565) ชุดโกโกวา (ภาพที่ 1) คือ ชุดเอี๊ยมสีส้มที่ตุ๊กตาสังหาร ยองฮี หุ่นยนต์ในเกม “เออีไอโอยู หยุด” สวมใส่ ซึ่งต้นแบบของตุ๊กตายองฮีมาจากเด็กผู้หญิงในตำราเรียนเด็กของเกาหลี(ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565) ความนิยมของชุดโกโกวาเห็นได้ชัดจากการที่ผู้คนในสังคมโดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ๆ ต่างพา กันหาซื้อชุดมาให้ลูกหลานได้ใส่กัน ไม่เว้นแม้เหล่าคนดังที่เกาะกระแสความแรงนี้ด้วยการสวมชุดโกโกวาแล้ว เผยแพร่ภาพของตัวเองไปในโซเซียลมีเดียก็มีให้เห็นหลายท่าน อาทิเช่น ลิซ่า จากวงแบล็ค พิ้ง (Lisa Black) (ภาพที่ 2 ก) นักร้องดังจากประเทศเกาหลีที่มีเชื้อสายไทย โก๊ะตี๋ อารามบอย (ภาพที่ 2 ข) ซึ่งเป็นนักแสดงตลก ชื่อดัง และ แจ็ค แฟนฉัน (ภาพที่ 2 ค) ซึ่งเป็นนักแสดงและพิธีกร นอกจากนี้ความดังของชุดโกโกวายังลามไป


271 ถึงการบนบานศาลกล่าว ของคนไทยบางส่วนมีความเชื่อเรื่องเทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ตามต้นไม้ใหญ่ที่บันดาลให้ เกิดความสำเร็จหรือคุณประโยชน์อะไรบางอย่าง จึงตอบแทนกลับให้เทวดาด้วยสิ่งของบางอย่าง เช่น ชุด เสื้อผ้าผู้หญิงที่แขวนอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ด้วยความเชื่อที่ว่าเทวดานั้นน่าจะเป็นนางไม้ที่มีเพศเป็นผู้หญิง และ ในช่วงแห่งความนิยมของชุดโกโกวานี้ จึงทำให้มีชุดโกโกวา (ภาพที่ 2 ง) ถูกนำมาแขวนปะปนกับชุดไทยแบบ โบราณอันเป็นที่นิยมในการนำมาแขวนต้นไม้อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ภาพที่ 1 ตัวอย่างชุดโกโกวาที่อยู่ในซีรีส์สควิดเกม เล่นลุ้นตาย ที่มา : ฮวัง ดงฮยอก(Hwang Dong-Hyuk)สืบค้นจากhttps://www.oneesports.gg/culture/squid-game-the-challenge/ ภาพที่ 2 (ก) ลิซ่า แบล็คพิ้ง ในชุดโกโกวา (ข) โก๊ะตี๋อารามบอย ในชุดโกโกวา (ค) แจ๊ค แฟนฉัน ในชุดโกโกวา (ง) ภาพแสดงความนิยมที่ขยายไปถึงการบนบานศาลกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มา : (ก), (ข) bunkafashion สืบค้นจาก http://www.bunkafashion.com/squid-game-costume/ (ค) women.kapook สืบค้นจาก https://women.kapook.com/gallery/252153 (ง) tnnthailand/https://www.tnnthailand.com/news/socialtalk/108793/ (ก) (ข) (ค) (ง)


272 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลัทธิป๊อปอาร์ต (Pop Art) ที่มีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ของผู้คน กระแสความนิยมของสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง หลายครั้งที่ผลงานศิลปะแสดงออกเกี่ยวกับสินค้าและ บริการในท้องตลาด ขอยกตัวอย่างศิลปินชาวญี่ปุ่นที่สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างน่าสนใจ 2 ท่าน ได้แก่ 2.1 โยชิโตโมะ นาระ (Yoshitomo Nara) (ภาพที่ 3 ก) สร้างผลงานอันมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เขาใช้การวาดภาพแบบลายเส้นการ์ตูน โดยใช้สีสดใส ผลงานส่วนใหญ่เป็นรูปของเด็กผู้หญิงที่ดูหน้าตา น่ารักน่าเอ็นดู แต่การแสดงออกของอารมณ์นั้นกลับตรงข้าม บ่อยครั้งมักแฝงด้วยความดุดันก้าวร้าว 2.2 ทาเคชิ มุราคามิ (Takashi Murakami) (ภาพที่ 3 ข) เขารวมสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน อัตลักษณ์ ของญี่ปุ่นและตะวันตก เป็นการผสานงานภาพพิมพ์ดั้งเดิมเข้ากับการ์ตูนแบบสมัยใหม่ เขาทำให้งานวิจิตร ศิลป์ก้าวเข้าสู่ความเป็นพาณิชย์หลายครั้งมีความร่วมมือกับแบรนด์สินค้าในการนำผลงานศิลปะของเขา เข้าไปมีส่วนร่วมกับตัวสินค้าอย่างกระเป๋าถือ ภาพที่ 3 (ก) ศิลปิน โยชิโตโมะ นาระ, Sleepless Night Sitting, 1997 (ข) ศิลปิน ทาเคชิ มุราคะมิ, Homage Francis Bacon, 2003 ที่มา : (ก) โยชิโตโมะ นาระ (Yoshitomo Nara) /https://www.pacegallery.com/artists/yoshitomo-nara/ (ข) ทาเคชิ มุราคะมิ(Takashi Murakami) /https://www.guyhepner.com/homage-to-francis-bacon/ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์เริ่มตั้งแต่การค้นหาภาพต้นแบบที่เหมาะสม ผู้สร้างสรรค์ได้รับภาพถ่ายของ หลานลดามาเรื่อย ๆ จากน้องสาวซึ่งเป็นแม่ของเด็กซึ่งได้ส่งภาพพัฒนาการของหลานตัวน้อยให้ดูอยู่เสมอ (ก) (ข)


273 เนื่องจากอยู่ห่างไกลกันคนละจังหวัด ส่วนการที่เลือกภาพนี้มา (ภาพที่ 4) เนื่องจากผู้สร้างสรรค์รู้สึกว่าการ วางท่าของเด็กนั้นน่ารักและแปลกดี หลานทำหน้าตาจริงจังเกินความเป็นเด็กเล็ก ซึ่งความจริงแล้วเธอคงไม่ได้ คิดอะไรเป็นแค่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เด็กเปลี่ยนท่าทางไป แต่กลับทำให้ภาพที่ได้ดูน่าสนใจ และประทับใจต่อ ผู้สร้างสรรค์จนอยากนำภาพนี้มาใช้เป็นต้นแบบของงานศิลปะ ภาพที่ 4 ภาพถ่ายต้นแบบ ที่มา : ขวัญเรือน รุ่งเรืองสาคร (Kwanrean Rungrueangsokorn) เมื่อการเตรียมการพร้อมแล้ว กระบวนการสร้างสรรค์จึงเริ่มต้นขึ้น (ภาพที่ 5) ผู้สร้างสรรค์ต้องการให้ ภาพที่ได้ดูน่ารักและไม่จริงจังนัก จึงใช้ลักษณะการวาดเส้นแบบการ์ตูน มีกระบวนการสร้างสรรค์ตามลำดับ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 3.1 ร่างภาพด้วยดินสอดำบนเฟรมผ้าใบขนาด 30 x 40 เซนติเมตร พร้อมใส่คำพูดลงไปด้วย 3.2 ตัดเส้นที่ร่างไว้ด้วยสีอะคริลิคสีดำ 3.3 สร้างพื้นหลังด้วยการตัดเส้นที่พื้นหลังเป็นเส้นวงกลมซ้ำ ๆ มีขนาดลดหลั่นกันไป 3.4 เพิ่มน้ำหนักที่พื้นหลังให้มีสีเข้มขึ้นเพื่อความแตกต่างกับส่วนรูปทรงหลัก 3.5 เน้นรูปทรงด้วยสีขาวเพื่อเน้นให้รูปทรงหลักเด่นมากขึ้นและแยกกันกับพื้นหลังอย่างชัดเจน ภาพที่ 5 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ ที่มา : ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร (Sunsanee Rungrueangsokorn)


274 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นเกิดจากความประทับใจในจังหวะที่ได้จากภาพถ่ายของเด็กทารกซึ่งเป็นหลาน แท้ ๆ ของผู้สร้างสรรค์เอง มีการวางท่าทางที่มีความแปลกแตกต่างอย่างน่าสนใจ ร่างกายเสมือนยืนตรงอยู่ ซึ่ง อันที่จริงเด็กยังไม่สามารถยืนได้ แต่แม่เด็กจับให้ยืนอยู่ในท่านั้น สายตาที่มองตรงไปข้างหน้าดูมีความเด็ดเดียว จริงจังเกินความเป็นทารก แต่หากได้ดูภาพอื่นที่ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาที่ใกล้เคียง ภาพของเด็กจะมีความ หลากหลายในอารมณ์มากและเกือบทุกภาพแสดงถึงความเป็นทารก แต่ภาพที่ถูกเลือกมานี้กลับมีความ แตกต่างไปจากภาพอื่น ๆ ส่งผลให้ผู้สร้างสรรค์เห็นความน่าสนใจจนนำภาพนี้มาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรค์ ภาพลดาถูกวางอยู่ตรงใจกลางของภาพเพื่อให้เกิดความโดดเด่น แต่งกายด้วยเสื้อยืดลายการ์ตูนมิกกี้ เมาส์ (Mickey Mouse) และแม้มิกกี้เมาส์จะถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 แล้วแต่ความนิยมก็ยังมีอยู่ไม่ เสื่อมคลาย ยังคงถูกผลิตซ้ำอยู่ในสินค้าต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของคำพูดของลดาถูกเขียนให้เป็น ตัวหนังสือภาษาไทยกล่าวถึงชุดโกโกวาที่อยู่ในกระแสนิยมได้ถูกจัดวางให้อยู่ทางด้านบนทั้งซ้ายและขวาเพื่อ ความชัดเจนในการมองเห็น พื้นหลังเป็นเส้นวงกลมวางลดหลั่นกันไปเพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับรูปทรงหลัก ผู้สร้างสรรค์เลือกใช้สีอะคริลิกสีดำเพียงสีเดียวเพื่อวาดเส้นการ์ตูนในแบบเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์ลง บนพื้นสีขาว สาเหตุที่ใช้เพียง 2 สีเพื่อความเด่นชัดโดยไม่ให้สีสันต่าง ๆ เข้ามาดึงดูดความสนใจออกไปมากนัก คล้ายกับการ์ตูนช่องที่ใช้เพียงสีขาวและดำเท่านั้น และแม้ในผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ไร้ซึ่งการปรากฏตัวของชุด โกโกวาที่ถูกกล่าวถึงแต่กลับกลายมาเป็นเนื้อหาสำคัญของผลงาน ซึ่งตรงกับความนิยมของเด็ก ๆ และกระแส สังคมในช่วงเวลานั้น ภาพที่ 6 ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร (Sunsanee Rungrueangsokorn)


275 5. สรุป อรรถประโยชน์ที่ได้รับของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ดังต่อไปนี้ 5.1 การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นนั้นแม้เป็นการบันทึกเรื่องราวความเป็นไปของชีวิตใน ครอบครัวของผู้สร้างสรรค์เองแต่ก็แอบสอดแทรกเรื่องราวกระแสนิยมในสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แสดงออกถึงวัฒนธรรม รสนิยม ความชอบ กระทำของผู้คน เป็นการบันทึกเรื่องราวส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เมื่อเวลาผ่านไปสามารถย้อนกลับมาศึกษาเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่เคยเกิดขึ้นจากผลงานศิลปะ 5.2 แสดงศิลปะลัทธิป๊อปอาร์ตที่ผสมผสานความการสร้างสรรค์ในแบบเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์ 5.3 แสดงขั้นตอนของการสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่ต้องการศึกษาการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะในแนวทางใกล้เคียงกัน เอกสารอ้างอิง ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (20 มีนาคม 2565). ชุดโกโกวาคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมได้รับความนิยม. เข้าถึงได้จาก thansettakij: https://www.thansettakij.com/general-news/518060 สุชยา เกษจำรัส. (6 พฤศจิกายน 2564). ผู้สร้าง Squid Game เผย ถูกปฏิเสธบทมากว่า 10 ปีเคยลำบาก จนต้องขายแล็ปท็อปยังชีพ. เข้าถึงได้จาก beartai: https://www.beartai.com/lifestyle/tvseries/804959 Artnet. (ม.ป.ป.). Takashi Murakami. เข้าถึงได้จาก Artnet: http://www.artnet.com/artists/takashi-murakami/ Highsnobiety. (ม.ป.ป.). 7 OF OUR FAVORITE LOUIS VUITTON X MURAKAMI PIECES AS THE COLLABORATION COMES TO AN END. เข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก Highsnobiety: https://www. highsnobiety.com/p/louis-vuitton-murakami-pieces/ MusicHot. (7 กุมภาพันธ์2565). เนื้อเพลง ชุดโกโกวา Tongtang Family TV มาแล้วลูกจ๋า ชุดโกโกวาที่ หนูอยากได้เพลงดังTiktok. เข้าถึงได้จาก https://music.trueid.net/: https://music.trueid. net/th-th/detail/Gq0pDBkg227q Pacegallery. (ม .ป .ป .). Yoshitomo Nara. เข้ าถึ งได้ จ าก www.pacegallery.com: https://www. pacegallery.com/artists/yoshitomo-nara/ Sunsany Rungrueangsakorn. (14 มีนาคม 2565). วาดเส้นการ์ตูนศิลปะ Cartoon art. เข้าถึงได้จาก Get Arts by Salie: https://getartsbysalie.blogspot.com/2022/03/blog-post.html tate. (ม.ป.ป.). POP ART. เข้าถึงได้จาก www.tate.org.uk: https://www.tate.org.uk/art/art-terms/p/pop-art YELLOW SMILE. (8 ธันวาคม 2561). สุขสันต์วันเกิด 90 ปีมิกกี้เม้าส์กับ 20 เรื่องจริงของ “มิคกี้เม้าส์” ที่คุณอาจไม่เคยรู้. เข้าถึงได้จาก www.jeab.com: https://www.jeab.com/love/20-facts-ofdisney-mickey-mouse


276 รูปร่างผสม Mixed shape ศิพพร สุนทระศานติก, Sipporn Suntharasantic วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานที่นำมาแสดงเป็นภาพเขียนแนวนามธรรม ได้รับแรงบันดาลใจมาจากรากไม้ เศียรพระ โบราณสถาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาภาพผลงานเป็นการตัดทอนรูปทรงที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ และสิ่งก่อสร้าง รูปทรงเรขาคณิต ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานในทางสถาปัตยกรรม และสิ่งก่อสร้างโบราณสถานนำรูปทรงของต้นไม้ เปลือกไม้ ลักษณะรายละเอียดของผิวไม้ นำมาผสมรวมกันกับศิลปะที่มนุษย์สร้างสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสะท้อนให้ เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตและความเสื่อมโทรมตามกาลเวลา ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน สะท้อนให้ เห็นถึงสิ่งที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ความเสื่อมโทรมของวัตถุตามกาลเวลา คำสำคัญ: สีน้ำกับเทคนิคสร้างสรรค์ Abstract The works presented are abstract paintings. Inspired by tree roots, Buddha head, ancient monuments, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province Results The picture of the work is a cut out of shapes inspired by nature. and construction geometric shapes which is the basic shape in architecture, which is an ancient building Bring the shape of the tree, the bark, the details of the wood surface. mixed together with the art created by humans to reflect past prosperity and deterioration over time. from the past until the present reflecting what remains today deterioration of objects over time Keywords: watercolor and creative techniques 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความเสื่อมโทรมในโบราณสถานเป็นแรงบันดาลใจให้เขียนภาพที่สะท้อนถึงกาลเวลา ที่เปรียบเสมือน การเดินทางของอดีตมาจนถึงปัจจุบัน จากความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ผ่านกาลเวลา ความเสื่อมโทรมของวัตถุ แหล่งโบราณสถาน แต่ความงดงามก็ยังคงหลงเหลืออยู่ ถึงแม้ภายนอกจะถูกทำลาย แต่ภายในยังคงสะท้อนถึง


277 เอกลักษณ์ ความงดงาม อ่อนช้อย สวยงามในศิลปะ เช่น ลวดลายไทย ลายกระหนก โดยได้นำข้อมูล ความ ประทับใจในโบราณสถาน นำมาผสมผสานกับรูปทรงของเรขาคณิต เพื่อให้เกิดผลงานศิลปะในแนวทางเฉพาะตน การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากต้องการเขียนภาพที่เกิดจากความประทับใจในการเขียน ภาพโบราณสถาน และเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจใหม่ๆ รูปแบบการนำเสนอ และการถ่ายทอดผลงานที่แตกต่าง ไปจากการเขียนภาพทิวทัศน์ทั่ว ๆ ไป จึงได้นำรูปทรงที่เกิดการตัดทอน ผสมผสานทำให้เกิดรูปทรงใหม่ๆ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รูปแบบผลงานที่เขียนจะเป็นผลงานในแนวนามธรรม (abstract) ผสมผสานกับรูปทรงเรขาคณิต หรือ ลัทธิคิวบิสม์ (cubism) ที่สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง หรือความแตกต่าง รูปทรงนามธรรมอาจเปรียบเสมือน ธรรมชาติที่ยังคงหลงเหลืออยู่ เช่น ต้นไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ รวมถึงลวดลายในศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นที่มีลวดลายที่ อ่อนช้อย และรูปทรงเรขาคณิตอาจเปรียบเสมือนวัตถุ รูปทรงสถาปัตยกรรม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม สิ่งก่อสร้าง ทางเรขาคณิตที่มนุษย์สร้างขึ้น รูปแบบของผลงานจึงเป็นการรวมแนวความคิด 2 แนวความคิด นำมา ผสมผสาน เพื่อให้เกิดความขัดแย้งที่ลงตัว ระหว่างความแข็งและความอ่อน ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลงานในชิ้นนี้ จึงมี 2 รูปแบบ คือ ทฤษฎีการเขียนแบบนามธรรม (abstract) และทฤษฎีการเขียนแบบคิวบิสม์ (cubism) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ สร้างสรรค์ด้วยกรรมวิธีทางสีน้ำบนกระดาษ คุณสมบัติของสีน้ำจะให้ ความรู้สึกที่โปร่งใส สามารถเขียนภาพที่มีการทับซ้อนกันได้ ซึ่งจะตอบสนองความรู้สึกถึงเรื่องการทับซ้อนกัน ของกาลเวลา การเชื่อมโยงของอดีตและปัจจุบัน รูปทรงตรงกลางจะเป็นรูปทรงนามธรรม ที่สะท้อนถึง ธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ หรือรากไม้ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมากจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ โบราณสถาน หรือลวดลาย เอกลักษณ์ความเป็นไทย เช่นลายกนก ลายไทย บริเวณตรงกลางจึงจัดวางให้มีความเด่น บริเวณโดยรอบจะ เป็นรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งให้ความรู้สึกถึงสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้าง รูปทรงของเจดีย์


278 ภาพที่1 รูปทรงผสม (mixed shape) นายศิพพร สุนทระศานติก (Sipporn suntharasantic) / 10 November 2022 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานชิ้นนี้ยังสามารถเข้าถึงได้ยาก เป็นเพราะเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ในรูปแบบนามธรรมทั้งหมด ถึงแม้จะได้รับแรงบันดาลใจมากจากธรรมชาติ แต่โดยรูปแบบและโครงสร้างยังคงเป็นแบบนามธรรม (abstract) และคิวบิสม์ (cubism) ซึ่งรูปแบบดังกล่าง มักจะมีปัญหาในการสื่อสาร ความเข้าใจสำหรับคน โดยทั่วไป มากกว่าการทำงานสร้างสรรค์ในรูปแบบความเหมือนจริง (realism) ซึ่งจะถ่ายทอดและสื่อ ความหมายให้คนโดยทั่วไปมีความเข้าใจมากยิ่งกว่า 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้เกิดจากความประทับใจโดยไม่ได้นำข้อมูลจากภาพถ่ายเข้ามาประกอบใน การเขียน เป็นภาพที่อยากสะท้อนความรู้สึกที่ปราศจากภาพที่มีอยู่จริง จึงทำให้ภาพออกมาในรูปแบบของ นามธรรมผสมกับคิวบิสม์ทั้งหมด ทำให้คนดูผลงานอาจจะต้องใช้จินตนาการและความรู้สึกทางด้านศิลปะมาก หน่อย จึงจะได้เข้าใจความงามทางศิลปะที่ประกอบไปด้วยทัศนธาตุที่นำมาประกอบรวมกัน แต่ผลงานใน


279 แนวทางนามธรรมและคิวบิสม์สามารถแสดงออกได้ตามแนวทางเฉพาะตนได้ง่ายตามรูปแบบต่าง ๆ ซึ่ง ก่อให้เกิดความงามและการประสานกันของรูปทรงของวัตถุธาตุ เอกสารอ้างอิง จีรพันธ์ สมประสงค์. ประวัติศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2533 ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2553 เทียนชัย ตั้งประเสริฐ. องค์ประกอบศิลป์1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นติ้งจำกัด, 2540


280 เปราะบาง Fragile ศิริกานต์ ยืนยง, Sirikan Yuenyong 473 ม.2 ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง 93120, 473 M.2, Harnthao, Pakpayoon, Phatthalung 93120 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ทุกวันนี้สภาพในสังคมชนบทได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัจจัยหลายอย่างทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามา ประกอบอาชีพในเมืองหรือศึกษาต่อ เพื่อหวังว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นเฉกเช่นเดียวกับข้าพเจ้าที่เป็นคนต่างถิ่น ไปอาศัยในเมือง ด้วยเหตุนี้ทำให้ต้องพลัดพรากจากครอบครัว จากอดีต จากรากเหง้าของตัวเอง ทุกคนล้วนมี ความผูกพันกับสถานที่เดิมที่จากมาด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อวิถีชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไปบางคนอาจจะเจอกับปัญหา เจอกับความยากลำบากทางความรู้สึก จึงเกิดความระลึกถึงครอบครัว สถานที่เดิมที่จากมา ธรรมชาติ ความ ผูกพันหรือเรื่องราวในอดีตของแต่ละคน ข้าพเจ้าจึงต้องการถ่ายทอดมุมมอง ความรู้สึก พฤติกรรมของคนต่างถิ่นที่ไปอาศัยอยู่ในเมือง ขณะเดียวกันเพื่อเติมเต็มในความสัมพันธ์ที่ห่างหายจากครอบครัว จากภูมิลำเนาเดิม มาอาศัยในเมือง ข้าพเจ้า สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบจิตรกรรมเทคนิคสีน้ำมัน ที่นำไปสู่ตัวตนและเอกลักษณ์ ข้าพเจ้าเล็งเห็นความงาม ของสถานที่ในพื้นถิ่นนั้น จึงนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม คำสำคัญ: จิตรกรรม, ทิวทัศน์, ความรู้สึก, มุมมอง, คนต่างถิ่น Abstract Today, the conditions in rural society have changed with many factors, causing the rural people to flow into the city or continue their studies. In order to hope that the quality of life will be better, just as I am a stranger living in the city, having to break away from my family from the past from my own roots. Everyone is bound to the same place from the past. Whether people, animals, things together When the way of life has changed, some people may encounter problems. Encountering difficulties, feelings Therefore remembering the family or the story in the hometown. The same place from where they came from, nature, relationship or past story of each person. I want to convey the views, feelings, behavior of stranger who live in the city. At the same time, to fill in the relationship that is missing from the family. from the original


281 domicile live in the city I create works in the form of oil painting techniques. leading to identity I saw the beauty of that local place. Therefore, it is used as part of the creation of paintings. Keyword: Painting, landscape, emotion, point of view, stranger 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ทุกวันนี้มีแนวโน้มของผู้คนในชนบทหลั่งไหลเข้ามาในเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ กำลังพัฒนา อันเนื่องมาจากว่าประชากรในเมืองมีโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขและการศึกษาที่ ดีกว่า ความหนาแน่นของประชากรจึงกระจุกอยู่ในพื้นที่เมืองมากขึ้นส่งผลให้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เมืองทั่วโลก กำลังเผชิญหน้ากับสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเมืองทั้งการแย่งกันหางานทำ ความแออัดของที่ อยู่อาศัย ปัญหาการจราจรอัน เนื่องมาจากจำนวนประชากรหนาแน่นกว่าเดิมเพราะเมืองส่วนใหญ่มักมีหน้าที่ เป็นศูนย์กลางทางด้านต่าง ๆ การจัดบริการทางด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการไม่สามารถทำได้อย่าง เพียงพอและทันต่อความต้องการของผู้คน ข้าพเจ้าก็เป็นคนต่างถิ่นที่เข้ามาอาศัยในเมืองเช่นกัน จากปัญหา เหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าหวนรำลึกนึกถึงสถานที่เดิมที่จากมา ทุกคนอาจเป็นคนพลัดถิ่นเช่นเดียวกับช่วงชีวิตของข้าพเจ้าที่ผ่านมาได้เดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เด็ก เพื่อไปศึกษาต่อในเมือง ไกลบ้านออกไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน เลยไม่ได้กลับไปอยู่ถิ่นฐานเดิมของตนด้วยความ จำเป็น ทำให้ข้าพเจ้าคิดถึงความเป็นอัตลักษณ์ของถิ่นที่อยู่เดิม ความเป็นธรรมชาติที่หาได้ยากจากในเมือง ผู้คนในชนบทมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเกื้อหนุนกัน เป็นความทรงจำที่ดีมากเมื่อได้ นึกถึง ไม่ว่าจะอยู่ในวิถีชีวิตของสังคมใดก็ตามย่อมจะมีการดำเนินไปตามธรรมชาติของสังคมนั้น ๆ ทุกชีวิตที่ เกิดมาย่อมต้องแสดงบทบาทไปตามสังคมนั้นมีทั้งความสุข ความทุกข์ ปะปนกันไปซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องราว และความทรงจำของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าประทับใจในความเป็นธรรมชาติและสนใจกลุ่มคนที่มาจากที่อื่นหรือคนต่างถิ่น คนพลัดถิ่น ว่า เขามีความรู้สึกอย่างไรเมื่อมาอาศัยในเมืองที่ห่างจากภูมิลำเนาเดิมและข้าพเจ้าได้นำเสนอคุณค่าด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อารมณ์ พฤติกรรม ความรู้สึก อัตลักษณ์ การปฏิสังสรรค์ระหว่างตัวเรากับสภาพ แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ผู้คนได้รับรู้และเห็นคุณค่าของความเป็นตัวตนสะท้อนความผูกพันของชีวิตกับ ธรรมชาติ ขณะเดียวกันเพื่อเติมเต็มความรู้สึกที่ห่างหายไปของครอบครัว 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. ศิลปะแบบโรแมนติกหรือจินตนิยม (Romanticism) หนึ่งในลักษณะสำคัญของขบวนการโรแมนติก (Romanticism) คือการกลับไปแสวงหาคุณค่าในตัวเอง และให้อารมณ์ความรู้สึกเป็นเครื่องกำหนดการมอง โลก ความโดดเดี่ยวเอง เป็นหนึ่งในอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่คู่นักคิด-นักเขียนส่วนใหญ่ในขบวนการโรแมนติก คุณลักษณะสำคัญของขบวนการโรแมนติกในด้านที่เป็นปฏิกิริยาต่อยุคเรืองปัญญา ก็คือการหันกลับไปแสวงหา คุณค่าที่อยู่ภายในตัวเราเอง ผลจากการนี้ทำให้อารมณ์และความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดการมองโลกรวมถึง


282 สิ่งต่าง ๆ เช่นเดียวกับการเป็นตัวเองที่โดดเดี่ยวออกมาจากคนอื่น ๆ ทั้งหลาย ซึ่งแน่นอนว่า แนวคิด เกี่ยวกับอัจฉริยบุคคล ก็ถือได้ว่ากำเนิดขึ้นในเวลานี้ด้วยเช่นกัน ความโดดเดี่ยว (loneliness) จึงเป็นหนึ่งใน อารมณ์ความรู้สึกที่อยู่คู่กับนักเขียน-นักคิดยุคโรแมนติกส่วนใหญ่ เช่น Les Rêveries du promeneur solitaire (1782) หรือ ความครุ่นคิดของนักเดินทางผู้โดดเดี่ยว ผลงานที่เขียนไม่จบของฌ็อง-ฌาคส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) บิดาแห่งขบวนการโรแมนติกถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจน ดังประโยคเปิดอันลือ ลั่นที่ว่า “บัดนี้ ผมอยู่เพียงลำพังบนโลกใบนี้ ปราศจากพี่น้อง เพื่อนบ้าน และมิตรสหาย ไม่มีใครเคียงข้าง นอกจากตัวผมเอง…” 2. ศิลปะเรียลลิสม์ (Realism) หรือ ศิลปะสัจนิยม โดยทั่วไปหมายถึง การสร้างงานที่เหมือนจริงดังที่ ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ รวมถึง การสร้างสรรค์ภาพงานในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคม (socially critical images) ภาพเกี่ยวกับชีวิตของคนเมืองและชนบท พวกชาวไร่ชาวนาในช่วงยุคสมัย จากประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด โดยลักษณะ ผลงานการแสดงออกที่สำคัญของแบบอย่างศิลปะเรียลลิสต์ คือ 2.1 มีรูปแบบและการแสดงออกอย่างเหมือนจริง เน้น ความจริงที่ศิลปิน ในอดีตเคยรังเกียจ โดยกล่าวหาว่าเป็นสิ่งสามัญและเป็นของพื้น ๆ ปราศจากคุณค่า ทางความงาม เช่น สภาพชีวิตความเป็นอยู่ ของชนชั้นต่ำ ผู้ยากไร้ หรือสภาพอาคาร ที่อยู่อาศัยอันซอมซ่อ 2.2 นำเสนอความจริงในทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากกว่า เน้นการแสดง เรื่องราวเนื้อหา ความงามในธรรมชาติหรือความงามที่เกินจริงแบบอุดมคติ (angiegroup, 2559) ในผลงานจิตรกรรมของข้าพเจ้ามีความเกี่ยวข้องในด้านรูปแบบเหมือนจริงและแนวความคิดที่ เน้นสภาวะอารมณ์ความรู้สึกมาสร้างสรรค์ในผลงานเช่นเดียวกับศิลปะแบบโรแมนติก 3. จากการศึกษาและเก็บข้อมูลนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ผสานกับรูปทรง และถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของคนต่างถิ่น 4. สรุปและประเมินผลจากผู้ที่มาชมผลงานในนิทรรศการ สอบถามและพูดคุยถึงผลงาน 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ในกระบวนการทำผลงานชิ้นนี้ข้าพเจ้าแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นตอนการร่างภาพ ลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บภาพข้อมูล สถานที่ มาเป็นต้นแบบในการร่างภาพด้วยเทคนิคน้ำและใช้โปรแกรม Procreate ด้วย I pad ในการตัดต่อภาพนำมาจัดวาง ปรับแต่งสีตามความเหมาะสมในทางองค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้เกิดเอกภาพ ความสมบูรณ์ โดยใส่จินตนาการเข้าไปให้เกิดความรู้สึกที่ต้องการแสดงออก ศึกษาข้อมูล ที่มาของสัญลักษณ์ที่ตนเองนำมาใช้แสดงออกเพื่อเป็นประโยชน์ในเชิงการตีความหมาย


283 ภาพที่ 1 ภาพร่างต้นแบบที่ผ่านการตัดต่อใน Ipad ด้วยแอพ (Procreate) 2. การขึ้นรูป ข้าพเจ้าขึ้นรูปโดยการร่างด้วยดินสอสีก่อน เช็คสัดส่วนโครงสร้างจากนั้นแล้วลงน้ำหนักโดยรวมแยก ค่าแสงเงา ต่อมาเน้นรายละเอียดให้มากขึ้น อาจลดทอนรายละเอียดบางจุดที่ไม่ต้องการลงเพื่อไม่ให้แข่งกับ จุดเด่น 3. การแทรกสี ข้าพเจ้าเริ่มแทรกชั้นสีบรรยากาศโดยรวม และเริ่มเน้นจุดต่าง ๆ เช่น คนหรือจุดที่สำคัญของผ้า เริ่ม เก็บรายละเอียดไปเรื่อย ๆ จนกว่าภาพจะมีความสมบูรณ์ให้ได้มากที่สุด 4. การคัดแสงเงา ข้าพเจ้าได้ทำการคัดแสงในส่วนที่สว่าง หรือ เป็นจุดเด่นในภาพระยะที่เป็นแสงมากโดยมีการโปะเนื้อสี ของแสงให้หนาเล็กน้อย หรือใช้การสะกิดทีละนิด เพื่อให้ภาพมีความโดดเด่น แสงที่กระทบบนวัตถุ จะให้ ความรู้สึกถึงความงาม ความโดดเด่น และทำให้ภาพเกิดระยะค่อย ๆ ไล่น้ำหนักไปเรื่อย ๆ และเน้นสีที่เข้มขึ้น ในส่วนที่เป็นเงา เพื่อให้ภาพมีมิติมากขึ้น หลังจากนั้นควรรอให้สีแห้งสนิทก่อน 5. การเก็บรายละเอียด หลังจากสีแห้งทั้งภาพแล้ว ทำการเน้นน้ำ หนักเงา โดยการใช้สีของเงาเคลือบทับในส่วนที่ต้องการให้ มืด ที่สำคัญควรใช้สีโปร่งใส (Transparent color) เพื่อให้ภาพมีอากาศ การเคลือบเงาในลักษณะนี้เป็น เทคนิคโบราณที่ข้าพเจ้าเลือกใช้ข้อดีของเทคนิคนี้ก็คือ สามารถทำ ให้ภาพมีอารมณ์ความรู้สึกถึงความเหงา คิดถึงความทรงจำและอีกทั้งยังทำให้ภาพมีบรรยากาศเพิ่มขึ้นอีกด้วย 4. การวิเคราะห์ผลงาน ทัศนธาตุในผลงานจิตรกรรมของข้าพเจ้าเป็นส่วนสำคัญในการสื่อความหมายทางอารมณ์ความรู้สึก ข้าพเจ้าใช้ความประสานสัมพันธ์ของทัศนธาตุ ที่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาเรื่องราวและเทคนิควิธีการ เป็น กระบวนการในการสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า เพื่อสร้างเอกภาพในผลงานจิตรกรรมของข้าพเจ้า ในบางครั้งเกิด


284 เป็นเหตุบังเอิญของทัศนะธาตุที่รวมกัน อาจเป็นการส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกที่หลากหลายให้ปรากฏขึ้นใน ผลงาน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่ม นัยยะความหมาย ในเชิงคุณค่าต่อผลงานได้ดีขึ้นดังนี้ Elements of art ภายในภาพมีเส้นตรงและเส้นโค้ง ส่วนใหญ่จะเป็นเส้นโค้งของใบไม้ ดอกไม้ กิ่ง ก้าน มีการใช้แสง 2 จุดคือ 1.แสงที่มาจากด้านหน้า 2.แสงที่มาจากด้านซ้ายของภาพที่ตกกระทบมายังรูปทรง ผ้าทำให้เกิดเงาส่งผลให้ภาพเกิดมิติขึ้นมา การใช้สีสัน คู่สีน้ำตาล เขียว สีส้มแดงแสดงถึงความรู้สึกที่อิสระและ ได้รับการปลดปล่อย เป็นความรู้สึกที่เกิดจากก้นบึ้งของจิตใจที่ต้องการปรับปรุงชีวิตให้สดใส ส่วนสีเขียว เป็น ความหมายของการสงบเย็น สบายตา ส่วนสีน้ำตาลสื่อถึงความโศกเศร้าอย่างที่สุด หรืออารมณ์ที่เศร้าสุดขีด ด้วย สีของแสงข้างหน้าเป็นเหมือนความหวัง ความสุข ส่วนสีดำและน้ำเงินเข้มเป็นเหมือนความมืด ทำให้รู้สึก อ้างว้าง เงียบเหงา ในความมืดนั้นก็แฝงด้วยความหวัง จะมีรูปทรงดอกไม้อยู่ลาง ๆ สอดประสานกลมกลืนกัน ทางทัศนธาตุ ความสมดุล (Balance) การจัดวางองค์ประกอบที่แสดงรูปทรงหน้าต่างตรงกึ่งกลางของภาพและ สร้างความสมดุลที่ดูสมมาตร โดยวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล ช่องหน้าต่างมีการแบ่งแบบเท่า ๆ กัน เหมือนจะสงบนิ่ง เงียบขรึม แต่ความรู้สึกกลับเต็มไปด้วยความสั่นคลอน สัดส่วน (Proportion) สัดส่วนของรูปทรงน้ำตกจะขับเน้นให้มีดูลึกลงไปเพราะเป็นองค์ประกอบที่ สำคัญ ส่วนองค์ประกอบรองจะมีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง และลดทอนลงบ้างในส่วนที่ไกลออกไป มีการสร้างใช้ แสงลอดผ่านผ้าในเพื่อให้ให้มีความสัมพันธ์กลมกลืนกัน สัดส่วนของช่องหน้าต่างที่เปิดหนึ่งช่องเพื่อเปิด จินตนาการเชื่องโยงกับความงามตามธรรมชาติที่ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ การเน้น (Emphasis) มีการเน้นของรูปทรงผ้าเป็นหลักเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดที่แสดงออกถึง เรื่องราวที่จะสื่อสารถึงคนดู ดึงดูดสายตาด้วยจุดทัศนียภาพให้มองลึกเข้าไปในหน้าต่างว่าภาพคิดถึงอะไร การ เน้นอีกจุดหนึ่ง ได้แก่บรรยากาศของแสงที่สาดมายังผ้าม่านอยู่ในช่วงเวลายามเย็นที่แสงลอดผ่านมาทางช่อง หน้าต่าง ที่ผ่านกาลเวลา แสงในยามเย็นทำให้รู้สึกถึงความหวัง วันใหม่ทางใหม่ในชีวิต รูปทรงที่ประกอบ สร้างใหม่จากลวดลายเดิมมีสีสันสดใสและหม่นหมองผสมกันให้ความรู้สึกถึงความจริง ความงามและความเศร้า ที่ปะปนอยู่ในความรู้สึกของข้าพเจ้า การตีความ (Interpretation) โดยผลงานของข้าพเจ้าจะแสดงรูปทรงผ้าบางๆที่เห็นแสงกระทบและ วิวธรรมชาติบ่งบอกถึงความคิดถึงแทนความรู้สึกของคนต่างถิ่น หรือใครอีกหลายคนที่มีความทรงจำต่อ สถานที่ ธรรมชาติ ตามแต่จินตนาการของบุคคลนั้น ผ้าม่านสีหม่นที่หยิบยกมาใช้คือ ที่สื่อถึงความอ่อนหวาน ของผู้หญิงและเพื่อบอกถึงความในใจ เหมือนกับชีวิตที่มีทั้งสุขและทุกข์ปะปนกันไป ข้าพเจ้าเลือกใช้แสงในช่วง เย็น เพราะเป็นรอยต่อระหว่างกลางวันและกลางคืนอีกทั้งแสงช่วงเย็นจะมีสีสันที่สวยงาม อบอุ่น โรแมนติก เป็นเหมือนความหวัง ความสุข ในภาพผลงานของข้าพเจ้าเน้นใช้โทนสีสีดำและน้ำเงินเข้มเปรียบเหมือนเหมือน ความมืดภายในจิตใจ


285 5. สรุป จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าที่เป็นคนต่างถิ่นมาอาศัยอยู่ในเมืองทำให้ต้องไกลบ้าน จึงก่อเกิดเป็น รูปแบบการสร้างสรรค์จิตรกรรม ข้าพเจ้าได้ประมวลความคิด นำไปสู่การค้นคว้าศึกษาข้อมูล ในวิธีการ สร้างสรรค์ผลงานให้สอดคล้องกับแนวความคิด และสอดแทรกนัยยะเชิงสัญลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมให้เกิด คุณค่า เพื่อสะท้อนถึงเนื้อหาสาระ เรื่องราวในความทรงจำของสถานที่ต่าง ๆ ที่ระลึกถึงเมื่อครั้นจากมาอยู่อีก สถานที่หนึ่งเป็นเวลานาน “สำรวจอารมณ์ความเหงาของคนไกลบ้าน” เกิดจากประสบการณ์โดยตรงของ ข้าพเจ้าและคนรอบข้าง ความผูกพันต่อสถานที่ภูมิลำเนาเชื่อมโยงไปยังบุคคลที่อาศัยอยู่ถิ่นที่อยู่เดิมในที่นี้ หมายถึง บุคคลสำคัญในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย หรือ บุคคลที่เคารพนับถือ ซึ่งเนื้อหา เรื่องราวทางความคิด นำเสนอถึง ความรู้สึกภายในจากความคิดถึง เป็นเรื่องภายในจิตใจนำไปสู่การแสดงออก ของจิตใต้สำนึก ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ โดยการใช้สัญญะแฝงในผลงานในรูปแบบภาพจิตรกรรมกึ่งเหนือจริง ผ่านกระบวนการทางเทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ มีลักษณะเป็นภาพสองมิติแสดงให้ถึงรูปร่าง รูปทรง ลวดลาย สิ่งของ สถานที่ผ่านแสง เงา ข้าพเจ้าได้นำหลักการทางทัศนธาตุและองค์ประกอบมาใช้ในผลงานเพื่อให้ภาพมี ความกลมกลืนอย่างลงตัว อีกทั้งยังเชื่อมโยงเนื้อหาเรื่องราว เทคนิควิธีการ สร้างสรรค์ผลงานให้มีเอกภาพ มากที่สุด เอกสารอ้างอิง กิตติพล สรัคคานนท์, 2563, ความโดดเดี่ยวแบบไม่เดียวดายของ Novalis นักคิดคนสำคัญแห่งขบวนการ โรแมนติก, เข้าถึงได้จาก https://themomentum.co/soliloquy-novalis ศิลปะแบบเรียลิสม์ (REALISM), 2565, เข้าถึงได้จาก https://angiegroup.wordpress.com


286 ข้าวห่อกะเหรี่ยง Khaw – Hor- Karen ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ, Siripen Pumahapinyo คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีจ.เพชรบุรี ประเทศไทย Faculty of Humanities and Social Sciences, Phetchaburi Rajabhat University, Phetchaburi, Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์ชุด “ข้าวห่อกะเหรี่ยง” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการศึกษาวิเคราะห์ลายผ้าทอ กะเหรี่ยง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ซึ่งจะมีลวดลายผ้าและสีที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะ รูปแบบลวดลายผ้า ทอกะเหรี่ยง สามารถแบงออกได 4 กลุม คือ 1) ลายอองกึ๊ย หรือลายจก 2) ลายอองทา หรือลายยกดอก 3) ลายหนึ่ยไคย หรือลายมัดยอม 4) ลายเฉะหรือ ลายปก และลวดลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น มีอยู่ด้วยกัน หลายลวดลาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ และความผูกพันกับธรรมชาติ ลวดลายผ้าทอส่วนใหญ่ สร้างขึ้นจากรูปร่างเรขาคณิต โดยใช้เส้นประเภทต่าง ๆ สร้างจังหวะของลวดลาย นิยมใช้สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว และสีดำโดยผลงานสร้างสรรค์ครั้งนี้มีการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ลวดลายตัวอย่างจำนวน 15 ลาย ประกอบด้วย 1) ลายเสือดาวนาง 2) ลายเลือดาว 3) ลายรอยเท้าไก่ 4) ลายยกดอก 5) ลายยอดเจดีย์ 6) ลาย ตาบาน บาน 7) ลายคดเคี้ยว 8) ลายหางปลา 9) ลายปลาตาใบ 10) ลายตาสว่าง 11) ลายไข่นก 12) ลายเขียน กำไล 13) ลายรอยเท้าลูกไก่ 14) ลายดึงเสน่ห์นาง 15) ลายพระอาทิตย์ เป็นต้น มาสร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่ เพื่อแสดงอัตลักษณ์ของลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงโดยการออกแบบและจัดวางองค์ประกอบของลวดลายใน รูปแบบใหม่ เช่น ลายตาบาน บาน ลายรอยเท้าไก่ ลายพระอาทิตย์ เป็นต้น ร่วมกับการใช้สัญลักษณ์การโพก ศีรษะของหญิงชายชาวกะเหรี่ยง เผ่าโปว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและราชบุรีในรูปแบบลด ตัดทอน รายละเอียดและใช้สัญลักษณ์ข้าวห่อกะเหรี่ยงอันเป็นจุดเด่นในพื้นที่วงกลมกลางภาพ เพื่อแทนสัญลักษณ์ข้าว ครูในประเพณีผูกแขนเรียกขวัญวันกินข้าวห่อ (อั้งหมี่ถ่อง) โดยข้าวครูจะทำเป็นพิเศษมีลักษณะเด่น คือ ใช้ไม้ ไผ่ท่อนเดียวมาซี่เป็นเส้นตอก แล้วมัดห่อข้าวแบบธรรมดารวมกันเป็นพวง พื้นที่ด้านนอกใช้สัญลักษณ์ลายเส้น ของข้าวห่อตัวผู้ ข้าวห่อตัวเมีย และข้าวห่อตัวธรรมดา ที่สื่อถึงพ่อ แม่ ลูก ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของครอบครัว โดยผลงานสร้างสรรค์ ชุด “ข้าวห่อกะเหรี่ยง” ใช้เทคนิคศิลปะดิจิทัลร่วมกับเทคนิคสีอะคริลิคบนผ้าใบเพื่อ แสดงอัตลักษณ์ของลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงและวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยง คำสำคัญ: ข้าวห่อกะเหรี่ยง, ผ้าทอกะเหรี่ยง จ.เพชรบุรี, ศิลปะดิจิทัล, จิตรกรรมสีอะคริลิค


287 Abstract The inspiration for the “Khaw hor Karen” is based on the analysis of unique patterns of Phetchaburi Karen’s woven fabric. The traditional Karen woven fabric could be divided into 4 groups as follows: (1) Jok pattern (2) Yok dok pattern (3) Dye tie pattern and (4) Embroidery pattern. Most of the patterns were inherited from ancestors and adapted from the nature. Most woven fabric patterns were created from geometric shapes and use various lines to create a rhythm of patterns. The color of the Karen fabric’s pattern was red, green, yellow, white and black. The fifteen pattern samples were analyzed for further development of creative work consisted of 1) Seux Dow Nang pattern 2) Seux Dow pattern 3) Roi-Taw Kai pattern 4) Yok Dok pattern 5) Yod Chedi pattern 6) Ta Ban Ban pattern, 7 ) Kod-keaw pattern 8) Hang pla pattern 9) PlaTa Bai pattern 10) Ta Sawang pattern 11) Kai nok pattern 12) kean kam lai pattern 13) Roi taw look kai pattern 14) Dueng Sanae Nang pattern and 15) Pra-artit pattern. The art works show the identity of the Karen weaving pattern by designing and composing the elements of the pattern in a new way, such as the Ta Ban Ban pattern, the Roi taw Kai pattern, Pra-artit pattern, etc., in conjunction with the use of the headdress symbol of Karen women and men in Phetchaburi and Ratchaburi provinces. Moreover the art work use the symbol of Khaw Hor Karen, which is located in the circled area in the center of the picture to represent the symbol of Khaw-Kru in the tradition of Khaw - Hor - Karen day or Ang Mee Tong. Its distinctive feature is using a single piece of bamboo as a hammered line, then tie the normal rice wrapped together into a bunch. The outer area uses the line symbol of male wrapped rice, female rice and plain rice that represents father, mother, and child, which is an important foundation of the family. The creative art work, “Khaw-Hor-Karen” uses digital art combined with acrylic paint techniques on canvas to express the identity of Karen weaving patterns and Karen way of life, traditions, and ethnic culture. Keywords: Khaw hor Karen, Phetchaburi Karen’s Woven Fabric, Digital art, Acrylic Painting 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา เทคนิคการทอผ้าของชาวกะเหรี่ยงนั้นประกอบด้วยการทอธรรมดา หรือทอพื้น การทอลายสลับสี และการทอลายจกหรือลายแกะดอก นอกจากนี้ ชาวกะเหรี่ยงยังสร้างลวดลายบนผืนผ้าด้วยวิธีการปักลาย การ ถักและการร้อยพู่ประดับ โดยลวดลายส่วนใหญสืบทอดจากบรรพบุรุษ และคิดดัดแปลงจากธรรมชาติ ลวดลาย ผ้าและสีสันที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะ มีอยู่ด้วยกันหลายลวดลายที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ และความผูกพันกับธรรมชาติ เช่น ลายเสือดาวนาง ลายเสือดาว ลายรอยเท้าไก่ ลายยกดอก ลายยอดเจดีย์


288 ลายตาบาน บาน ลายคดเคี้ยว ลายหางปลา ลายปลาตาใบ ลายตาสว่าง ลายไข่นก ลายเขียนกำไล ลายรอยเท้า ลูกไก่ ลายดึงเสน่ห์นาง ลายพระอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งลายผ้าแต่ละลายจะมีการสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์แฝง อยู่ด้วย เช่น ลายไซ่โค้งสะ หรือลายพระอาทิตย์ มีลักษณะเป็นลายกลม ๆ เหมือนพระอาทิตย์ ชาวกะเหรี่ยงมี ความเชื่อว่าใส่แล้วจะทำให้ชีวิตโชติช่วงเหมือนพระอาทิตย์ เป็นต้น (อารีย์ กงจก, 2560) ผ้าทอกะเหรี่ยงมี ความสำคัญและมีคุณค่าต่อสังคม เป็นมรดกภูมิปัญญาทางศิลปะพื้นบ้านของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สะท้อนให้ เห็นถึงวัฒนธรรมและอารยธรรมของกลุ่มชนและท้องถิ่น ซึ่งผ้าทอกะเหรี่ยงกับการแต่งกายจะบ่งบอก สถานภาพทางสังคม แสดงให้เห็นคุณวุฒิทางจริยธรรมและการควบคุมความประพฤติของผู้สวมใส่ควบคู่กับ ความสวยงามของลวดลาย ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้นำผ้าทอกะเหรี่ยงมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การ นำมาใช้ในการสืบสานประเพณีกินข้าวห่อ การส่งเสริมให้พัฒนาเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และการส่งเสริมให้ เกิดการสืบทอดความรู้ให้อยู่กับชุมชน โดยการรวมกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงในจังหวัดภูมิภาคตะวันตก ได้แก่ กลุ่ม ทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านบึงเหนือ ตำบลบ้านคา อาเภอบ้านคา กลุ่มทอผ้าบ้านกะเหรี่ยงบ้านท่ายาง ตำบลยางหัก อาเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านยางน้ำกลัดใต้ กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านพุพลูล่าง ตำบล ยางน้ำกลัดใต้ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการ สอนในโรงเรียนโดยจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นทอผ้ากะเหรี่ยง เช่น โรงเรียนบ้านคาวิทยา โรงเรียนบ้านบึง (สันติประชาสรรค์) โรงเรียนบ้านยางน้ำกลัดใต้ โรงเรียนหนองหญ้าปล้อง เป็นต้น “ข้าวห่อกะเหรี่ยง” ผลงานชิ้นนี้มีแนวความคิดเกี่ยวกับประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยง หรืออั้งหมี่ถ่อง ซึ่งจัดขึ้นในเดือน 9 ของทุกปี ชาวกะเหรี่ยงจะจัดประเพณีผูกแขนเรียกขวัญวันกินข้าวห่อ ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ สำคัญของชาวไทยกะเหรี่ยง สำหรับให้ลูกหลานได้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบครัว ชาวกะเหรี่ยง จะใส่ชุดกะเหรี่ยงที่ทำจากผ้าทอมือ เนื่องจากเป็นวันสำคัญ โดยก่อนวันงานประมาณ 2 วัน ชาวกะเหรี่ยงจะให้ ลูกหลานช่วยกันห่อข้าวห่อ ซึ่งเป็นข้าวเหนียวดิบห่อด้วยใบตอง หรือใบผาก มัดให้แน่นด้วยเส้นตอก นำไปแช่ น้ำไว้ 1 คืน ข้าวห่อปกติห่อเป็น 3 แบบ คือ ข้าวห่อตัวผู้ หมายถึง พ่อ ข้าวห่อตัวเมีย หมายถึง แม่ และข้าวห่อ ธรรมดา หมายถึงลูก ๆ นอกจากนี้ ข้าวห่อสำหรับพิธีการเรียกขวัญที่เรียกว่าข้าวครู คล้ายขันครู จะทำเป็น พิเศษมีลักษณะเด่น คือ ใช้ไม้ไผ่ท่อนเดียวมาซี่เป็นเส้นตอก แล้วมัดห่อข้าวแบบธรรมดารวมกันเป็นพวง หนึ่ง พวงจะมี 27 ห่อ บ้านหนึ่งจะมี 1 พวง ถือ เป็นการรวมพี่รวมน้อง แต่ถ้าบ้านใดมีลูกหลานที่เกิดเดือน 9 รวมอยู่ ด้วยจะต้องทำข้าวครูเพิ่มอีก 1 พวง แต่พวงนี้จะมี 29 ห่อ จากความเป็นมาและความสำคัญข้างต้นเกิดเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วม สมัย ชุด “ข้าวห่อกะเหรี่ยง” ที่ต้องการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจากลวดลายอันเป็น เอกลักษณ์บนผ้าทอกะเหรี่ยง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ร่วมกับการถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราววิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมกะเหรี่ยง โดยการประยุกต์ศิลปะดิจิทัล (Digital art) ซึ่งเป็นรูปแบบงานสร้างสรรค์ร่วม สมัยที่มีการนำวิวัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สร้างสรรค์งานศิลปะ ร่วมกับการใช้เทคนิคสีอะคริลิคบน ผ้าใบ เพื่อผสมผสานเทคนิคให้เกิดเป็นรูปแบบของการสร้างสรรค์ที่หลุดพ้นจากค่านิยมแบบเก่าที่ว่าศิลปะ จะต้องเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ หรือเรื่องของการใช้ฝีมือเท่านั้นนอกจากนี้ยังพิสูจน์ให้เห็นว่าศิลปะและ


289 วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดียิ่ง (สรไกร เรืองรุ่ง, สุธิดา บุตรแขก, พูลสวัสดิ์ มุมบ้านเซ่า และศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ, 2561: 232) 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดการออกแบบลวดลาย 2.1.1) ความหมายของลวดลาย จากศัพท์คำว่า “ลาย” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็นสำคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือแกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลายเทพพนม ลายก้านขด เป็นต้น กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกำมะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก เป็นต้น (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2554: ออนไลน์) การออกแบบลวดลาย ใช้คำภาษาอังกฤษว่า Decorative Design หรือ Ornament Design ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกัน คือ Decorative หมายถึง ประดับ ตกแต่ง และ Ornament หมายถึง สิ่งประดับ ตกแต่ง และ Design หมายถึง การออกแบบ (Cambridge Dictionary, 2560: ออนไลน์) ดังนั้น เมื่อแปล ความหมายของคำโดยรวมแล้ว การออกแบบลวดลาย หมายถึง การออกแบบเพื่อการประดับ ตกแต่ง ด้วยการ ถ่ายทอดความคิด จินตนาการของมนุษย์ เพื่อการสร้างสรรค์ ปรุงแต่ง ให้เกิดเป็นลวดลายโดยใช้หลักการจัด องค์ประกอบทางศิลปะ ให้มีความงดงามเหมาะสมกับประโยชน์การใช้งาน และสอดคล้องกับลักษณะทาง วัฒนธรรมประเพณีของชนชาติ โดยลวดลายที่ออกแบบนั้นประกอบขึ้นด้วยจากทัศนธาตุ เช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว พื้นที่ว่าง สี เป็นต้น อาจจะมีลักษณะเป็นแบบซ้ำ ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือแบบต่อเนื่องกัน มีทั้ง ลวดลายที่มีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อตกแต่งให้สวยงาม หรือ แสดงออกซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น ลายก้านขด ลายรดน้ำ ลายแทงหยวก ลายผ้า เป็นต้น 2.1.2) ประเภทของการออกแบบลวดลาย การออกแบบลวดลายที่พบเห็นอยู่ทั่วไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ โดยมุ่งให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจประเภทของการออกแบบลวดลายในรูปแบบต่าง ๆ ได้โดยง่าย ดังนี้ (พีนาลิน สาริยา, 2549: 5) 2.1) ประเภทของลวดลายตามลักษณะรูปแบบการจัดวาง 2.2) ประเภทของลวดลายตามลักษณะรูปแบบพื้นที่ 2.3) ประเภทของลวดลายตามลักษณะรูปแบบแนวความคิดการสร้างงาน 2.4) ประเภทของลวดลายตามลักษณะรูปแบบงานที่นำไปใช้ 2.2 ทฤษฎีหลักการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ทฤษฎีองค์ประกอบศิลปะ หลักพื้นฐานขององค์ประกอบศิลปะ หรือที่เรียกว่า ทัศนธาตุ (Visual Element) ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง - รูปทรง น้ำหนักอ่อน - แก่ ลักษณะพื้นผิว พื้นที่ว่าง และสี ชลูด นิ่มเสมอ (2557: 29) กล่าวว่า งานศิลปะนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งได้แก่


290 โครงสร้างทางวัตถุที่มองเห็นได้ หรือรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสส่วนหนึ่งกับส่วนที่เป็นการแสดงออกอันเป็นผล ที่เกิดจากโครงสร้างทางวัตถุนั้นอีกส่วนหนึ่ง เราเรียกองค์ประกอบส่วนแรกว่ารูปทรง (Form) หรือ องค์ประกอบทางรูปธรรม และเรียกส่วนหลังว่า เนื้อหา (Content) หรือ องค์ประกอบทางนามธรรม ดังนั้น องค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างหลักของศิลปะ คือ รูปทรงกับเนื้อหา รูปทรง (Form) คือ สิ่งที่มองเห็นได้ใน ทัศนศิลป์ เป็นส่วนที่ศิลปินสร้างขึ้นด้วยการประสานกันอย่างมีเอกภาพของทัศนธาตุ (Visual Elements) การ จัดองค์ประกอบสำหรับงานศิลปะและการออกแบบนั้นเป็นการจัดวางส่วนประกอบของทัศนธาตุที่ได้คัดเลือก และจัดวางรวมกันอย่างมีเอกภาพ เพื่อสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดภายในออกมา ซึ่งเป็นองค์ประกอบ พื้นฐานทางการออกแบบกราฟิกให้เกิดความงาม น่าสนใจ และสามารถสื่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ องค์ประกอบเหล่านี้สามารถรับรู้ด้วยการเห็นด้วยตา และการรับรู้ทางความรู้สึกในการสื่อสารทาง ความหมาย ดังนั้น องค์ประกอบหลักในงานกราฟิกจะแบ่งเป็น 6 ชนิด คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง บริเวณว่าง พื้นผิว และสี การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ ถือเป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใดๆก็ตามล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และคุณค่าทางด้าน เรื่องราว คุณค่าทางด้านรูปทรง เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่าง ๆ ของ ศิลปะ อันได้แก่ เส้น สี แสงและ เงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่างๆ มาจัดรวมกันนั้นเรียกว่า การจัดองค์ประกอบศิลป์ (Art Composition) โดยมีหลักการจัดตามที่จะกล่าวต่อไป อีกคุณค่าหนึ่งของงานศิลปะ คือ คุณค่าทางด้านเนื้อหา เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร้างสรรค์ ต้องการที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้ โดยอาศัยรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์ หรือ อาจกล่าวได้ว่า ศิลปินนำเสนอเนื้อหาและเรื่องราวผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ การสร้างสรรค์งานศิลปะนั้น ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้นไม่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ งานศิลปะ นั้นก็จะขาดคุณค่าทางความงามไป ดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์ จึงมีความสำคัญในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้งานศิลปะทรงคุณค่าทางความงามอย่างสมบูรณ์ เมื่อกล่าวโดยสรุปมนุษย์เรา รับรู้ถึงความสวยความงาม ความพอใจ ของสิ่งต่าง ๆ ได้แตกต่างกับระดับความพอใจของแต่ละบุคคล ก็ แตกต่างกันออกไปทั้งนี้อาจขึ้นกับรสนิยม สภาพสังคม ศาสนา ความเชื่อและสิ่งแวดล้อมที่ผู้รับรู้นั้นดำรงชีวิต อยู่ หากแต่ว่าผู้รับรู้นั้นได้เข้าใจถึงกระบวนการ องค์ประกอบและพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งที่ได้สัมผัส ก็ย่อมทำให้ รับรู้ถึงความงาม ความพอใจนั้น ๆ จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ศิลปะนั้นดูเหมือนว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมากนัก เพราะอาศัยแต่ ความสุนทรียะทางอารมณ์เพียงประการเดียว แต่หากว่าได้ศึกษาถึงความสุนทรียะอย่างลึกซึ้ง แล้ว จะเห็นว่ามันมีกฎเกณฑ์ในตัวของมันเอง ซึ่งผู้เรียนจะต้องศึกษาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้น ที่ ประกอบกันขึ้นเป็นงานศิลปะ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือผู้เรียนจะต้องเข้าใจในหลักองค์ประกอบของศิลปะ เป็นพื้นฐานเสียก่อนจึงจะสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีคุณค่าและรับรู้ถึงความงามทางศิลปะ ได้อย่าง ถูกต้อง


291 2.3 แนวคิดจิตรกรรมและประติมากรรมร่วมสมัย (Contemporary painting) จิตรกรรมและประติมากรรมร่วมสมัยเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก ความ เจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์การปกครอง การรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิด และแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อ ๆ มาซึ่งได้พัฒนาไป ตามสภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อน ให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่า ดังนั้นผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยจึง สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงออก หรือสะท้อนเรื่องราวของสังคมหรือศิลปวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น และเป็นอยู่ใน ช่วงหนึ่งโดยยึดถือเวลา และยุคสมัยร่วมกันเป็นสำคัญ อภินันท์ โปษยานนท์ (2546) กล่าวไว้ว่า “เพื่อให้เกิด ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (Contemporary Art and Culture) ในทางเดียวกันจึงกำหนด ความหมายของคำว่าศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไว้ดังนี้ คือ ศิลปะที่พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในยุคสมัยเดียวกัน หรือในเวลาเดียวกัน และเกิดขึ้นในสมัยปัจจุบัน โดยมีวัฒนธรรมเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ที่มี แนวความคิดของสังคมและวัฒนธรรมปัจจุบันเป็นพื้นฐาน เพื่อรับใช้สังคมในยุคปัจจุบันที่เกิดจากความคิดและ ประยุกต์อย่างบูรณาการสอดคล้องสัมพันธ์และส่งผลต่อกันและกันระหว่าง ศิลปะ กับ วัฒนธรรม” 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1 การกำหนดกฏเกณฑ์ หรือข้อกำหนดในการออกแบบการออกแบบผลงานศิลปะร่วมสมัย แรง บันดาลใจจากเอกลักษณ์ผ้าทอกะเหรี่ยง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี มีข้อกำหนดว่าจะต้องเป็น การออกแบบโดยสามารถสื่อความหมายถึงเอกลักษณ์ของผ้าทอกะเหรี่ยงได้ โดยการใช้สัญลักษณ์ รูปร่าง รูปทรง และสีเพื่อการสื่อความหมาย โดยเอกลักษณ์ของลายผ้าทอกะเหรี่ยงจะมีลวดลายผ้าและสีที่ใช้เป็น ลักษณะเฉพาะ โดยการใช้รูปร่างเรขาคณิตและเส้นรูปแบบต่าง ๆ แบบเรียบง่าย จัดวางซ้ำกันเพื่อเลียนแบบ รูปร่างในธรรมชาติ ดังนั้นชื่อของลายผ้าส่วนใหญ่จึงเป็นชื่อที่มาจากธรรมชาติรอบตัว 3.2 กำหนดแนวคิดในการออกแบบ (Design Concept) การกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ ผู้ออกแบบได้ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องตามที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน 3.3 ร่างภาพ (Sketch Design) ผู้ออกแบบใช้วิธีการร่างภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Adobe Photoshop สำหรับขั้นตอนนี้เป็นการศึกษาต่อยอดจากแนวความคิดในขั้นตอนแรก จากนั้นสืบค้นข้อมูลที่ เกี่ยวข้องก่อนการร่างภาพด้วยการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวกะเหรี่ยงเพื่อสร้าง ความจดจำ โดยนำส่วนประกอบมาตัดต่อ และจัดวางอย่างคร่าว ๆ ก่อนสร้างงานจริง 3.4 การสร้างสรรค์ผลงาน 3.4.1 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ขั้นตอนนี้จะใช้ โปรแกรม Adobe Illustrator ร่วมกับโปรแกรม Adobe Photoshop โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Adobe Illustrator และอุปกรณ์เมาส์ปากกา เพื่อวาดภาพกราฟิกส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพตามที่ได้ร่างภาพไว้ ใน ขั้นตอนนี้เป็นการวาดภาพแบบเว็คเตอร์ (vector) โดยใช้ข้อมูลที่ศึกษามาและภาพที่ร่างไว้ ใช้เป็นต้นแบบใน การสร้างภาพกราฟิกลายเส้น รวมทั้งกำหนดชุดสีไว้ในสวอชพาเนล (Swatch Panel) ทั้งนี้ข้อดีของการวาด


292 ภาพแบบเว็คเตอร์ คือสามารถวาดลายเส้นกราฟิกรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างอิสระแทนการวาดภาพด้วยมือ โดยใช้ เครื่องมือในกล่องเครื่องมือ (Toolbox) ที่รองรับการวาดภาพกราฟิก เช่น เครื่องมือปากกาวาดเส้น (Pen tool) เครื่องมือดินสอ (Pencil Tool) เครื่องมือแปรงระบายสี (Brush Tool) เป็นต้น ในการวาดภาพแบบเว็คเตอร์ นั้นจะวาดส่วนประกอบต่าง ๆ แยกส่วนกันไป เช่น ลายผ้า รูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ จากนั้นใช้โปรแกรม Adobe Photoshop จัดองค์ประกอบภาพให้สมบูรณ์ ตั้งขนาดของภาพตามที่ต้องการ ตั้งค่าความละเอียดของภาพให้ มีความคมชัด บันทึกภาพก่อนนำไปพิมพ์บนผ้าต่อไป โดยมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนที่ 1 ภาพชายและหญิงกะเหรี่ยงที่ใส่โพกศีรษะ ใช้การวาดลายเส้นด้วย โปรแกรม Adobe Illustrator โดยใช้เครื่องมือปากกาวาดเส้น เครื่องมือสร้างรูปร่างเรขาคณิต ลักษณะการ วาดใช้วิธีการวาดแบบลดทอนรายละเอียด แต่คงไว้ซึ่งสัญลักษณ์ที่เด่นชัดของการโพกศีรษะกะเหรี่ยง ภาพที่ 1 การวาดรูปร่างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2) ขั้นตอนที่ 2 เมื่อวาดเส้น รูปร่าง รูปทรงเสร็จแล้ว ให้กำหนดชุดสีที่ใช้ โดยอ้างอิงจาก ชุดสีจริงของภาพต้นแบบ ร่วมกับชุดสีที่ออกแบบเพิ่มเติม โดยผสมชุดสีแล้วบันทึกเก็บไว้ใน Swatch Panel เพื่อนำมาใช้งานในขั้นตอนการระบายสีต่อไป ภาพที่ 2 การกำหนดชุดสีสำหรับการระบายสีใน Swatch Panel ในขั้นตอนการสร้างชุดสี (Color Palette) นั้น สามารถใช้เว็บไซต์ออกแบบชุดสี https://color.adobe.com ซึ่งสามารถสร้างชุดสีได้ตามทฤษฎีสี เช่น การใช้สีเอกรงค์ (Monochromatic) การใช้สีข้างเคียง (Analogous) การใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary) การใช้สีแบบไล่ระดับ (shades) เป็นต้น ซึ่งการใช้เว็บไซต์สร้างชุดสีนี้ จะช่วยให้นักออกแบบสามารถเลือกใช้สีได้ตามหลักทฤษฎีสีเพื่อสร้างความสวยงาม ให้กับผลงานสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการสร้างชุดสีแบบไล่ระดับเพื่อคุมโทนสีให้อยู่ในโทนใกล้เคียงกัน สามารถเลือกโหมดสี สีข้างเคียง (Analogous) และ สีแบบไล่ระดับ (shades) โดยเริ่มต้นขั้นตอนจาก 1) การเลือกสีหลัก (Primary Color) 2)การเลือกสีรอง (Secondary) เช่น 1) เลือกสีหลักเป็นสีแดง รหัสสี #FF1900 2) เลือกสีรอง จำนวน 2สี คือ สีส้มอ่อน (รหัสสี #FF6C0D) และแดงเข้ม (รหัสสี #E80C2E) ซึ่งจะทำให้ได้สีหลักและสีรองทำให้ชุดสีของงานออกแบบ มีความชัดเจนมากขึ้น แต่งานออกแบบจะมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างซึ่งเราจะต้องเลือกสีที่เหลือให้ครบเพื่อ เครื่องมือปากกาวาดเส้น


Click to View FlipBook Version