The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

43 การสร้างสรรค์โครงการออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่การเรียนรู้ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อสร้างสรรค์ Interior Design Project for Computer Graphic & Creative Media Design Learning Space ชนัส คงหิรัญ, Chanut Khonghiran สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป, จังหวัดนครปฐม Interior Design Department, Faculty of Fine Arts, Bunditpattanasilpa Institute, Nakhon Pathom E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่การเรียนรู้สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อ สร้างสรรค์เกิดขึ้นเนื่องจากสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อสร้างสรรค์ เป็นสาขาวิชาที่เปิดหลักสูตรใหม่ในปี การศึกษา พ.ศ. 2565 โดยใช้พื้นที่ร่วมกับสาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน ภาควิชาออกแบบ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และด้วยอาคารคณะศิลปวิจิตรมีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร คณะอาจารย์ ประจำภาควิชาออกแบบจึงได้มีความเห็นร่วมกันว่า ให้ใช้พื้นที่ห้องเรียนปฏิบัติการออกแบบ 1 เป็นห้องเรียนของ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อสร้างสรรค์ เนื่องจากมีพื้นที่ให้ใช้สอยมากกว่าห้องเรียนอื่น ๆ และมีพื้นที่ เพียงพอสำหรับการจัดการพื้นที่ภายในห้องให้เป็นส่วนรองรับกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ ของสาขาวิชาฯ ด้านการออกแบบ ผู้สร้างสรรค์ใช้แนวคิดในการออกแบบที่มุ่งเน้นไปที่การจัดการพื้นที่ให้สามารถใช้งานได้ หลากหลายรูปแบบรองรับกิจกรรมต่าง ๆ แนวคิดการออกแบบพื้นที่ในรูปแบบของ CO-WORKING SPACE จึงถูก นำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์งานออกแบบครั้งนี้การออกแบบพื้นที่โดยกำหนดให้ผนังในแต่ละด้านสามารถ พับและเลื่อนเพื่อการเชื่อมต่อพื้นที่การใช้งาน รองรับผู้ใช้งานได้จำนวนมาก และสามารถปิดกั้นพื้นที่เมื่อมีผู้ใช้งาน จำนวนน้อยหรือการสร้างความเป็นส่วนตัวในการทำงาน ตลอดจนการเลือกใช้สีสันและวัสดุที่ถูกกำหนดเป็นสีน้ำ เงินและสีขาวเพื่อให้ความรู้สึกสงบ เย็นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สีขาวให้ความรู้สึกสะอาด ทันสมัย ผสมผสานกับวัสดุลายไม้ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น นุ่มนวลและผ่อนคลาย เพื่อส่งเสริมผู้เข้าใช้งานเกิดสมาธิและ ความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งรูปทรงและรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ ในงานที่มีรูปทรงทันสมัยให้ความรู้สึกแปลก ตาซึ่งนำเสนอผลงานสร้างสรรค์การออกแบบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพจำลองจากสถานที่จริง และใช้เพื่อนำเสนอต่อผู้ใช้งานซึ่งผลงานสร้างสรรค์การออกแบบดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการนำเสนอแนว ทางการออกแบบทางเลือก SCHEMATIC DESIGN ซึ่งผลงานดังกล่าวได้ผ่านการคัดเลือกจากผู้ใช้งานจริงแล้วและ จะเข้าสู่ขั้นตอนดำเนินการขออนุมัติก่อสร้างต่อไป คำสำคัญ: ออกแบบตกแต่งภายใน, พื้นที่การเรียนรู้, คอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อสร้างสรรค์


44 Abstract The creative interior design of the learning space in computer graphics and creative media was created because the major in computer graphics and creative media are new courses opened in the academic year of 2022. The space was shared with Interior Design Subject, Department of Design, Faculty of Fine Arts, National Institute of Development Arts. As the building of the Faculty of Fine Arts had limitations in the using space inside the building, therefore, the faculty of the Department of Design agreed to use the area of the design practice classroom 1 as a classroom for computer graphics and creative media. This was because there was more space to use than other classrooms and there was enough space to manage inside the room to accommodate the various study activities of the subject. In terms of design, the creator used design concepts that focused on managing spaces so that they could be used in a variety of ways to support a variety of activities. The concept of coworking space design was therefore applied in the creation of this design. Designing the space by specifying that the walls on each side could be folded and shifted to connect the functional space. It could accommodate a large number of users and could block space when there were few users or created privacy at work, as well as choosing colors and materials that were defined in blue and white to provide a sense of calm, coolness and encourage creativity. White color gave a clean and modern feeling combining with wood grain materials that gave a warm, soft and relaxing feeling to encourage visitors to have concentration and creativity. The shapes and figures of the components in the modernly shaped work gave a quaint feeling that presented the creative design using computer programs in order to create simulated images from real locations and used them to present to users. These creative designs were in the process of presenting an alternative schematic design approach, in which the work had already been selected by the real users and would proceed to the process of obtaining construction approval. Keywords: Interior Design, Learning Space, Computer Graphics and Creative Media


45 1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่การเรียนรู้สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อ สร้างสรรค์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสรรพื้นที่สำหรับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ ของ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อสร้างสรรค์ซึ่งเป็นสาขาใหม่และยังไม่มีพื้นที่ห้องเรียนที่ชัดเจน ตลอด ระยะเวลาของภาคการศึกษาที่ 1 ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อ สร้างสรรค์ได้ใช้ห้องเรียนของสาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน โดยผู้สร้างสรรค์ได้สังเกตลักษณะกิจกรรมของการ เรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียน รวมถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามและบันทึกภาพ ทำให้ รับทราบถึงปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งาน ประกอบไปด้วย ครู อาจารย์และนักศึกษา เนื่องจากความ แตกต่างของลักษณะกิจกรรมในการเรียนการสอน รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องและไม่ สนับสนุนกิจกรรมของผู้ใช้งานส่งผลทำให้เกิดปัญหาในกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สร้างสรรค์จึงรวบรวมปัญหา ต่าง ๆ และหาทางแก้ไขปัญหาโดยการใช้กระบวนการออกแบบในลักษณะของการวิเคราะห์พื้นที่ เพื่อสร้างพื้นที่ที่ มีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้งาน และเพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกอยากเข้า ใช้พื้นที่ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์แก่ผู้เข้าใช้ต่อไป การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านการออกแบบตกแต่งภายในนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้าน สภาพแวดล้อมภายในทั้งทางด้านประโยชน์ใช้สอยและทางด้านสุนทรียภาพ เพื่อให้มีลักษณะตรงตามความ ต้องการของผู้ใช้งานอีกทั้งไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานตลอดจนส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน โดยแนวทาง ในการออกแบบนั้นเกิดขึ้นจากการแปลความหมายจากความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งปัญหาในการออกแบบตกแต่ง ภายในซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งจากสภาพแวดล้อม กิจกรรม พฤติกรรม รวมถึงปัญหาที่เกิดจาก ความต้องการของตัวผู้ใช้งานหรือกลุ่มผู้ใช้งานเอง งานออกแบบตกแต่งภายในจึงเป็นงานที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของผู้ใช้งานและเพื่อสร้างมาตราฐานของพื้นที่ประกอบไปด้วย ขนาดพื้นที่ ความปลอดภัย ความสะดวก และสุนทรียภาพความงาม ภาพที่1 ห้องเรียนปฏิบัติการออกแบบ 1 ปัจจุบัน ที่มา: ชนัส คงหิรัญ


46 2. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่การเรียนรู้สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อ สร้างสรรค์ในครั้งนี้ ผู้สร้างสรรค์ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานโดยการสัมภาษณ์ สอบถามและสังเกตการณ์ ตลอดจนการสำรวจพื้นที่ สภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่จะใช้ดำเนินโครงการ เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ มาสังเคราะห์และ กำหนดแนวทางในการสร้างสรรค์งานออกแบบตลอดจนการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล การแก้ไขปัญหาทางด้านการออกแบบตกแต่งภายในซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ จำเป็นต้องใช้กระบวนการในรับรู้ปัญหาและวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา เพื่อกำหนดแนวทางในการคลี่คลาย ปัญหาโดยการสร้างแนวทางและกระบวนการในการแก้ไขปัญหาเพื่อนำสู่การออกแบบเพื่อตอบสนองต่อความ ต้องการของผู้ใช้งาน ภาพที่2 รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ที่มา: ชนัส คงหิรัญ ขั้นตอนของการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่การเรียนรู้สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิก และสื่อสร้างสรรค์ เริ่มต้นจากการจัดทำรายละเอียดโครงการไปจนถึงขั้นตอนการออกแบบ ให้ปรากฏในรูปของ แบบภาพจำลอง 3 มิติโดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้


47 1. การจัดทำรายละเอียดโครงการ โดยการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จัดระบบในการวางแผนการแก้ปัญหาจาก ความต้องการของโครงการ เพื่อวิเคราะห์และค้นหาแนวทางในการออกแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของโครงการ โดยสาขาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อสร้างสรรค์นั้น มีความต้องการพื้นที่สำหรับใช้ใน กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนพื้นที่ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าและปฏิบัติงาน รวมถึงพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของสาขาวิชา เช่น การจัดอบรมหรือสัมมนา ดังนั้นผู้สร้างสรรค์จึงได้นำแนวคิดการออกแบบพื้นที่แบบยืดหยุ่น FLEXIBLE AREA มาปรับใช้ในการออกแบบเพื่อให้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ อย่างคุ้มค่าที่สุด โดยการออกแบบให้ผนังทุกด้านภายในพื้นที่สามารถเปิด - ปิด เพื่อแบ่งพื้นที่ให้มีความเป็นส่วนตัว หรือเปิดพื้นที่เชื่อมต่อกันเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ และนำแนวคิดการออกแบบพื้นที่แบบ CO-WORKING SPACE ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นที่ให้รองรับกับลักษณะการใช้งานได้หลายรูปแบบพร้อมกันโดยไม่รบกวนหรือขัดขวางกันใน แง่ของการใช้งาน 2. ขั้นตอนการออกแบบ เมื่อทราบข้อมูลรายละเอียดในด้านต่าง ๆ และแนวคิด CONCEPT ที่จะนำมา ประยุกต์ใช้กับการสร้างสรรค์งานออกแบบโครงการแล้ว จึงทำการจัดระเบียบของข้อมูลเพื่อให้ออกมาในรูปแบบ ของตารางที่ช่วยสรุปความชัดเจน โดยใช้หลักการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในการแปลข้อมูลเพื่อนำสู่การออกแบบ โดยทำ การคลี่คลายและจำแนกรายละเอียดของชุดข้อมูลทางด้านกลุ่มผู้ใช้งาน ความต้องการของผู้ใช้งานและกิจกรรมใน การใช้งาน ซึ่งเริ่มจากการจัดค่าความสัมพันธ์ INTERACTION MATRIX เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่ ต่าง ๆ และนำข้อมูลชุดนี้เข้าสู่ขั้นตอนการแปลค่าเป็นแผนภาพฟองสบู่ BUBBLE DIAGRAM ซึ่งเป็นการแปลค่า จากชุดข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพกราฟฟิก โดยในผังลูกโป่งจะเป็นการแสดงส่วนต่าง ๆ ในลักษณะการจัดวาง ตำแหน่งของแต่ละส่วน รวมถึงการแทนค่าความสัมพันธ์ของพื้นที่โดยการใช้เส้นและขนาดของเส้นเพื่อแสดงความ เชื่อมโยงตามความสัมพันธ์ที่ เมื่อแผนภาพฟองสบู่แสดงให้เห็นถึงลักษณะความสัมพันธ์ของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การหาขนาดความต้องการพื้นที่ในการรองรับกิจกรรม AREA REQUIREMENT ซึ่งการค้นหา ความต้องการของพื้นที่นั้น โดยการศึกษาลักษณะของพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ขนาดของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรม รวมถึงขนาดสัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์ที่รองรับพฤติกรรมเพื่อสรุปและแสดงให้เห็นถึง ขนาดของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ


48 ภาพที่3 สัดส่วนกับการออกแบบ ที่มา: Panero, Julius and Zelnik, Matin. การทำแบบร่างเบื้องต้น SCHEMATIC DESIGN เป็นการออกแบบโดยนำผังการจัดกลุ่มพื้นที่มาเขียนเป็น งานแบบและเพิ่มเติมรายละเอียดโดยการกำหนดมาตราส่วน ตลอดจนองค์ประกอบปลีกย่อยที่รองรับพฤติกรรมใน พื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงผลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโครงการ เพื่อแสดงรายละเอียดในการออกแบบและ แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดที่ใกล้เคียงความเป็นจริงก่อนการก่อสร้างโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงาน ภาพที่4 ผังฟองสบู่ ที่มา: ชนัส คงหิรัญ


49 3. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์งานออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่การเรียนรู้สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อ สร้างสรรค์โดยผลงานออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่การเรียนรู้สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อสร้างสรรค์ที่ นำเสนอนั้น เป็นการจัดการพื้นที่ขนาด 118 ตารางเมตร แบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1)พื้นที่ห้อง กิจกรรมรวมสำหรับการนำเสนอผลงาน ประชุมและสัมมนา หรือกิจกรรมประเภทกลุ่มต่าง ๆ 2)พื้นที่เลานจ์ สำหรับนักศึกษาใช้ในการปฏิบัติงาน ค้นคว้า หรือพักผ่อน 3)พื้นที่ห้องสตูดิโอ 1 สำหรับการเรียนการอสอนกลุ่ม ใหญ่ และ 4)ห้องสตูดิโอ 2 สำหรับการเรียนการสอนกลุ่มเล็ก โดยพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ถูกแบ่งโดยการกั้นผนังที่ ออกแบบให้สามารถเปิด - ปิด เพื่อกั้นแบ่งหรือเชื่อมต่อพื้นที่ในการรองรับกับกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก การ ออกแบบครั้งนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม สะดวก ปลอดภัย และตอบสนองต่อพฤติกรรมในการใช้งานและเป็นการออกแบบที่เกิดขึ้นจากการแปลข้อมูลความต้องการของ ผู้ใช้งานและปัญหาในด้านต่าง ๆ โดยสร้างสรรค์การออกแบบผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้ ผลงานการออกแบบตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ภาพที่5 ผลงานสร้างสรรค์การออกแบบตกแต่งภายในห้องเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อสร้างสรรค์ ที่มา: ชนัส คงหิรัญ


50 4. สรุปการสร้างสรรค์ผลงาน การออกแบบที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม สะดวก ปลอดภัยและตอบสนองต่อพฤติกรรมในการใช้งานและไม่สร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อม โดยใช้ กระบวนการออกแบบซึ่งเป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาทางด้านงานออกแบบที่มีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่ ไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือเป็นอุปสรรคในการใช้งาน ซึ่งส่งผลกระทบด้านลบต่อร่างกายและ จิตใจ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมจึงมีความจำเป็นที่ทำให้มัณฑนากรหรือผู้ออกแบบมี ความเข้าใจถึงปัญหาได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโครงการออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่การเรียนรู้สาขาวิชา คอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสื่อสร้างสรรค์ในครั้งนี้ อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอภาพจำลองก่อนการสร้างจริงหรืออยู่ใน ขั้นตอนการนำเสนอแบบทางเลือก ซึ่งหมายความว่าอาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือลักษณะการออกแบบที่ต่าง ไปจากภาพที่นำเสนอในครั้งนี้ได้อีก เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีในแวดวงการออกแบบก่อสร้างว่าปัญหาในขั้นตอน ของงานต่าง ๆ นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาซึ่งอาจเป็นปัจจัยภายนอก เช่น งบประมาณในการก่อสร้าง ตลอดจนนโยบายที่เปลี่ยนไปตามผู้บริหารในแต่ละชุด ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้นำองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบเพื่อ สร้างสรรค์ผลงานให้ผู้ใช้งานเกิดความพึงพอใจมากที่สุดตามที่ วิมลสิทธ์ หรยางกูร และคณะ (2556) ได้กล่าวว่า การออกแบบที่ดีเป็นส่วนช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีและสนองต่อการรู้สึกทางประสาทสัมผัสรวมถึงดึงดูดความ สนใจให้เกิดการรับรู้งานสร้างสรรค์การออกแบบจึงแฝงไว้ด้วยแนวคิด ทฤษฎี และหลักจิตวิทยา เช่น แนวคิด ทางด้านพฤติกรรมมนุษย์ แนวคิดทางด้านจิตวิทยา แนวคิดทางด้านการบริหาร ความรู้ทางด้านขนาดสัดส่วน มนุษย์และวิศวกรรมศาสตร์ตลอดจนการบริหารจัดการงบประมาณของโครงการ ฯลฯ เอกสารอ้างอิง พรทิพย์ เรืองธรรม. (2556). โปรแกรมการออกแบบสำหรับสถาปัตยกรรมภายใน. นนทบุรี: มาตาการพิมพ์. วิมลสิทธ์ หรยางกูร, บุษกร เสรฐวรกิจและศิวพร กลิ่นมาลัย. (2556). จิตวิทยาสภาพแวดล้อมมูลฐานการสร้างสรรค์ และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: เจ.บี.พี.เซ็นเตอร์. Panero, Julius and Zelnik, Matin. (1979). Human Dimension & Interior Space. New York : Waston – Guptill Publication.


51 การสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง สะท้อนสภาวะจิตใจที่ได้รับผลกระทบจากอดีต “ความปรารถนา” The Creation of Performance Art to Reflect the State of Past Affected Mind “WISH” ชุติมา พรหมเดชะ, Chutima Promdecha ญาณี พรหมเดชะ, Yanee Promdecha วิทยาลัยช่างศิลป เลขที่ 60 ถนนหลวงพรต แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520 College of Fine Arts, 60, Luangprot Rd., Ladkrabang, Bangkok, 10520 E-mail : [email protected], yanee@ cfa.bpi.ac.th บทคัดย่อ ชีวิตที่กำลังดำรงอยู่ในปัจจุบัน เป็นชีวิตที่เคยใฝ่ฝันเมื่อครั้งยังเยาว์วัย จึงอาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่มีโอกาสได้ ดำรงชีวิตในวิถีทางดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นชีวิตที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งปรารถนาที่จะมีได้ แต่การพิจารณาความสมบูรณ์พร้อมของบุคคล ควรนำสภาวะของจิตใจร่วมพิจารณาด้วย ผลลัพธ์ที่ได้อาจนำไปสู่ การล่มสลายของความสมบูรณ์แบบทั้งหมดที่เคลือบอยู่ภายนอก สภาวะจิตใจที่ได้รับผลกระทบจากอดีตอาจทำให้ บุคคลเกิดการปฏิเสธความสมบูรณ์ของตนเอง ปฏิเสธการมีตัวตนของตนเอง ปฏิเสธการมี “ชีวิต” ของตนเอง เกิดเป็น “ความปรารถนา” ที่ไม่คาดคิดและบรรลุสำเร็จได้ยาก เพียงเพื่อจบความทรมานของผู้อื่นและจบความ ทรมานของตนเอง ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้สร้างสรรค์จึงนำไปสู่แนวความคิดในการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดงโดยใช้ร่างกายของตนเองเป็นสื่อ ด้วยวิธีการบันทึกภาพเคลื่อนไหว โดยถ่ายทำ ในสถานที่จริงที่ผู้สร้างสรรค์อาศัยและเติบโตมาในวัยเยาว์ นำเสนอเสียงจากบรรยากาศธรรมชาติ ความเงียบ รวมถึงเสียงดนตรีประกอบภาพเคลื่อนไหวเพื่อสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกภายใน คือความปรารถนาที่ไม่มีวันเป็นจริง คำสำคัญ: ศิลปะการแสดง, สภาวะจิตใจ, ผลกระทบ, อดีต, ความปรารถนา Abstract The life that currently living is the one had dreamt of in the young time. It can be said that one who has the opportunity to live in such a way is considered to be quite the perfect life that a human being could wish to have. But the consideration of a person's completeness should also take into the state of mind. The end result may lead to the collapse of all perfection that is coated on the outside. A state of mind affected by the past can cause a person to deny their own perfection, deny their own existence, deny their own "life". It turns out to be an unexpected and hard to achieve "wish". Only to end the other’s suffering


52 and to end their own suffering. These stories are direct experiences of the creators. This led to the idea of creating an artwork by using their own bodies as a medium by recording motion pictures in real locations where the creators lived and grew up in their youth. To offer sounds from the natural atmosphere, silence, as well as motion picture music to reflect the inner emotion which is a wish that will never come true. Keywords: Performance Art, Mind state, Affected, Past, Wish 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ชีวิตที่กำลังดำรงอยู่ในปัจจุบัน เป็นชีวิตที่เคยใฝ่ฝันเมื่อครั้งยังเยาว์วัย การเติบโตเพียบพร้อมด้วย การศึกษาระดับสูง มีหน้าที่การงานที่ดีสำหรับหาเลี้ยงชีพและมีรายได้ที่มั่นคงอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นอาชีพที่ ตรงกับความต้องการ มีความสุขเมื่อได้ลงมือทำงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่มีโอกาสได้ดำรงชีวิตในวิถีทาง ดังกล่าวนี้ นับเป็นผู้มีบุญ แม้จะต้องเผชิญปัญหาตามครรลองและธรรมชาติของชีวิตในทุกวัน ก็ยังถือว่าเป็นชีวิต ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งปรารถนาที่จะมีได้และหลาย ๆ คนอาจสามารถกล่าวได้ว่ารู้สึก อิจฉาบุคคลที่มีชีวิตเช่นนี้ องค์ประกอบของชีวิตอันสมบูรณ์ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น สามารถสังเกตได้ว่า เป็นองค์ประกอบภายนอกทั้งสิ้น หากมีโอกาสได้พิจารณาบุคคลเพื่อประเมินว่ามีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมหรือไม่ ควรนำสภาพและสภาวะของจิตใจของบุคคลนั้นเข้าร่วมพิจารณาด้วย ผลลัพธ์ที่ได้อาจนำไปสู่การล่มสลายของ ความสมบูรณ์แบบทั้งหมดที่เคลือบอยู่ภายนอก ผู้ที่กำลังเผชิญสภาวะดังกล่าว ต้องทุกข์ทรมานกับการยากที่จะ เข้าใจจากบุคคลอื่นมาตั้งแต่ครั้งวัยเยาว์ผลลัพธ์จากการชี้แจงหรืออธิบาย ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ มีแต่ความคาดหวังพร้อมคำพูดที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง ทำให้รู้สึกว่าการดำรงอยู่ของตนนั้นทำให้ผู้อื่นไม่มี ความสุข ทำให้บุคคลดังกล่าวมีความรู้สึกเชิงลบต่อตนเอง คล้ายกับมีการผุเน่า หรือ บุบสลายภายในจิตใจ เกิดการปฏิเสธความสมบูรณ์ของตนเอง ปฏิเสธการมีตัวตนของตนเอง ปฏิเสธการมี “ชีวิต” ของตนเอง เกิดเป็น “ความปรารถนา” ที่ไม่คาดคิดและบรรลุสำเร็จได้ยาก เพียงเพื่อจบความทรมานของผู้อื่นและจบความ ทรมานของตนเอง จากที่กล่าวมา ประกอบกับประสบการณ์ชีวิตจริงของผู้สร้างสรรค์ นำไปสู่ความคิดริเริ่มในการ สร้างสรรค์งานศิลปะที่ผู้สร้างสรรค์ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน คือ ศิลปะการแสดงด้วยการใช้ร่างกายของ ตนเองเป็นสื่อและทัศนธาตุเพื่อแสดงออกในงานศิลปะ จึงนำไปสู่การศึกษาเพิ่มเติม พร้อมทั้งเสาะหาแนวทาง และวิธีการสร้างสรรค์ กลั่นกรองเป็นแนวคิดของผลงานในครั้งนี้ แสดงออกในรูปแบบของงานศิลปะการแสดง โดยใช้ร่างกายของตนเองเป็นสื่อและส่วนประกอบของผลงาน บันทึกในลักษณะภาพเคลื่อนไหว ถ่ายทำใน สถานที่จริงที่ผู้สร้างสรรค์อาศัยและเติบโตมาในวัยเยาว์เพื่อนำเสนอบรรยากาศจริง ด้วยกล้องถ่ายภาพของ โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่ผ่านการเติมแต่งใด ๆ ในช่วงครึ่งแรกเพื่อขับเน้นความเป็นจริงให้เด่นชัดและใช้การเติม แต่งผ่านตัวกรอง (Filter) ในช่วงครึ่งหลังพร้อมดนตรีประกอบ เพื่อสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกภายในและขับเน้น ความเข้มข้นของความรู้สึกดังกล่าวให้สามารถถ่ายทอดและสื่อสารแนวความคิดของผู้สร้างสรรค์ได้


53 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia) ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง เป็นภาวะซึมเศร้าชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้า สิ้นหวัง ไม่มั่นใจในตนเอง หรือ ขาดความสนใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยความรุนแรงของอาการอาจไม่เท่าผู้ป่วย โรคซึมเศร้า แต่จะเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังเป็นระยะเวลาหลายปีจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มักมีอาการหลัก คือ อารมณ์เศร้า หมอง หรือ รู้สึกหดหู่อยู่บ่อย ๆ โดยเป็นอย่างเรื้อรังนานเกิน 2 ปี ในผู้ใหญ่ หรือ 1 ปี ในเด็กและวัยรุ่น ซึ่ง อาการแต่ละครั้งจะมีความรุนแรงต่างกันและไม่ทิ้งช่วงนานเกิน 2 เดือน ในบางกรณีอาจพบอาการซึมเศร้าชนิด รุนแรงร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุของภาวะนี้มีความเป็นไปได้หลายอย่าง เช่น สารเคมีในสมอง พันธุกรรม โรคเรื้อรัง บางชนิด การกระทบกระเทือนทางสมอง สภาพแวดล้อมทางสังคม รวมถึงเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเครียด อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรังได้ เช่น ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ ปัญหาในการทำงาน หรือ การสูญเสียคนใกล้ชิด เป็นต้น 2.2 ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self Esteem) Self Esteem คือ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความคิดเห็นที่มีต่อตัวเอง ซึ่งส่งผลต่อความกระตือรือร้นใน การใช้ชีวิต รวมถึงการรับมือกับอารมณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงนั้น จะมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง ในทางกลับกัน การมีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำจะส่งผลให้รู้สึกแย่และมีมุมมอง ความคิดต่อตัวเองในแง่ลบ ซึ่งเป็นเหตุให้ขาดความกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ และรู้สึกว่าตนเองไม่มี ความสามารถในการเผชิญหน้ากับปัญหาหรือความท้าทายในชีวิต การมีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยมีอิทธิพลมาจากความคิดที่บุคคลใกล้ชิดหล่อหลอมเด็ก รวมถึงอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น การถูกกลั่นแกล้ง ทำร้ายร่างกาย ความเครียด ปัญหาสุขภาพร่างกายจิตใจ ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการทำงาน และปัญหาด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว ฯลฯ การมีความเชื่อมั่นในตนเองที่ต่ำหรือลดต่ำลงอาจส่งผลกระทบ ต่อทั้งร่างกายและจิตใจ โดยอาการที่มักพบ ได้แก่ เกลียดตัวเอง รู้สึกไร้ค่า มีปัญหาในการตัดสินใจ โทษตัวเอง ไม่มีความสุข ไม่มีความมั่นใจ รู้สึกผิดเมื่อใช้เวลา หรือ ใช้จ่ายเงินเพื่อความสุขของตัวเอง ไม่เห็นข้อดีของตัวเอง ไม่เชื่อในคำชื่นชมของผู้อื่นที่มีต่อตนเอง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป อาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า หรือ โรควิตกกังวลได้ 2.3 ศิลปะการแสดงสด (Performance Art) ศิลปะการแสดงสด หรือ ศิลปะสื่อแสดง คือ การที่ศิลปินแสดงสดต่อหน้าผู้ชม ช่วงยุคแรกอาจหมาย รวมถึงกิจกรรมทางศิลปะต่าง ๆ ที่นำเสนอต่อหน้าคนดูแบบสด ๆ ที่มีการรวมเอาดนตรี นาฏศิลป์ กวี ละคร วีดีโอและสื่อประเภทอื่น ๆ เข้ามาร่วมอยู่ด้วย แนวทางการสร้างสรรค์เกิดการที่ศิลปินต้องการสื่อสารกับผู้ชม โดยตรงให้มากกว่าที่งานจิตรกรรมหรือประติมากรรมจะทำได้ ยุคต่อมาเปลี่ยนแปลงไปเป็นลักษณะที่ไม่มีดนตรี หรือ นาฏศิลป์เกี่ยวข้อง แต่ศิลปินจะทำการแสดงในหอศิลป์และพื้นที่สาธารณะ ความยาวนานของ การแสดงมีตั้งแต่ไม่กี่นาทีไปจนถึงวัน หรือ เดือน โดยมากมักทำเพียงครั้งเดียว ไม่นิยมทำซ้ำ อาจมีเพียง การบันทึกเป็นภาพนิ่ง หรือ ภาพเคลื่อนไหวแล้วเผยแพร่ซ้ำผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งศิลปะการแสดงสดจะแตกต่าง


54 ไปจากละคร หรือ นาฏกรรมต่าง ๆ ตรงที่ศิลปินไม่ได้เป็นนักแสดงที่กำลังสวมบทบาท แต่เป็นการใช้ร่างกาย ตนเองเป็นสื่อศิลปะผ่านการแสดงบางอย่างเพื่อสื่อสารแนวความคิด อาจเป็นการแสดงเดี่ยว กลุ่ม หรือ การแสดงร่วมกับอุปกรณ์ ฉาก สถานที่ เครื่องแต่งกาย ฯลฯ ตามแต่แนวคิดที่ศิลปินต้องการ 2.4 ศิลปะวีดิทัศน์ (Video Art) ศิลปะวีดิทัศน์คือการสร้างศิลปะผ่านภาพเคลื่อนไหวและเสียง บันทึกได้หลายวิธี เผยแพร่ได้หลาย รูปแบบ เช่น DVD หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นต้น จึงทำให้งานศิลปะวีดิทัศน์จำกัดขอบเขตได้ยาก แต่ทุก ผลงานมีจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ ผลงานที่เป็นภาพเคลื่อนไหวและมีเสียง ผลงานศิลปะวีดิทัศน์แบ่งออกได้เป็น หลายประเภท ซึ่งเทคนิคการบันทึกวีดิทัศน์ มักถูกนำมาใช้ในการบันทึกภาพศิลปะการแสดงสด (Performance Art) ซึ่งอาจเป็นการบันทึกบางเหตุการณ์หรือ ทั้งเหตุการณ์ ผลผลิตจากการบันทึกควบคุม ด้วยอิเล็กทรอนิกจะถูกอัด ย่อ เก็บและทำซ้ำลงบนความยาวที่มีมาตรฐานสำหรับนำมาฉายในโอกาสต่อไป 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร ตำรา แหล่งสืบค้นออนไลน์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3.2 กลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน 3.3 สร้างแบบร่างเรื่องราว (Story Board) 3.4 จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการบันทึกภาพเคลื่อนไหว 3.5 บันทึกภาพเคลื่อนไหวการแสดงในสถานที่ตามแบบร่างเรื่องราว 3.6 นำภาพเคลื่อนไหวที่ได้จากการบันทึก มาตัดต่อและเชื่อมต่อโดยเรียงลำดับตามแบบร่างเรื่องราว 3.7 เติมแต่งตัวกรอง (Filter) และใส่ดนตรีประกอบในส่วนครึ่งหลังเพื่อให้เป็นไปตามแนวความคิด 3.8 สรุปและอภิปรายผลการสร้างสรรค์ 3.9 เผยแพร่ผลงาน ทั้งผลงานสร้างสรรค์และบทความทางวิชาการ ภาพที่ 1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2565)


55 ภาพที่ 2 ขั้นตอนในการตัดต่อวีดิทัศน์ผลงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2565) ภาพที่ 3 ชุติมา และ ญาณี พรหมเดชะ, “ความปรารถนา (WISH)”, ศิลปะการแสดงและศิลปะวีดีทัศน์, 7.52 นาที(2022) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(2565)


56 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงาน “ความปรารถนา” มีที่มาแนวความคิดจากประสบการณ์จริงที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ สร้างสรรค์จนเกิดเป็นความปรารถนาที่ไม่มีวันเป็นจริง เริ่มจากการขมวดเรื่องราว สรุปเป็นแนวความคิดของ ผลงาน จากนั้นค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ค้นหาเทคนิคและรูปแบบของผลงาน จัดทำแบบร่าง วางแผนขั้นตอน การทำงาน และสร้างสรรค์ผลงานตามที่ได้ตั้งเป้าหมาย โดยสามารถวิเคราะห์ผลงานในด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ 4.1 ด้านแนวความคิด จุดเริ่มต้นของผลงาน มาจากประสบการณ์จริงของผู้สร้างสรรค์ทั้ง 2 ที่จิตใจได้รับผลกระทบ จากเรื่องราวในอดีตและต้องการสื่อสารผลลัพท์ของประสบการณ์เหล่านั้น คือ ความปรารถนาของตนเอง ออกมาในรูปแบบของงานศิลปะ ซึ่งประเด็นนี้ ผู้สร้างสรรค์ยังไม่เคยนำมาสร้างเป็นผลงานศิลปะมาก่อน การสร้างสรรค์ผลงานด้วยแนวความคิดจากประสบการณ์จริงเหล่านี้ในช่วงแรก จึงเป็นการจับประเด็นโดยรวม ของประสบการณ์ทั้งหมด ไม่เจาะจงลงไปที่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เน้นไปที่ผลลัพท์ของเหตุการณ์ ความปรารถนาอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับ นำไปสู่การค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว ของสภาพจิตใจ คือ ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia) และ ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self Esteem) สามารถ สรุปเป็นแนวความคิดของผลงานได้ดังนี้ “เจตจำนง นำมาซึ่ง ความปรารถนา ชีวิต คือ การมีอยู่ ดำเนินไป และ ตาย ผู้คน สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการเติบโตของมนุษย์ทุกคนและส่งผลต่อมุมมองที่ทุกคนมีต่อชีวิตของตนเอง ทุกช่วงชีวิต ทุกความรู้สึก ทุกเหตุการณ์ หลอมรวมกัน เกิดเป็นเจตจำนง และ นำมาซึ่งความปรารถนาที่มนุษย์ทุกคนต้องการบรรลุ” 4.2 ด้านรูปแบบและการแสดงออก ลักษณะของผลงาน “ความปรารถนา” เป็นศิลปะการแสดงสด (Performance Art) ที่ถูก บันทึกมานำเสนอในรูปแบบศิลปะวีดิทัศน์ (Video Art) มีความยาวทั้งหมด 7.52 นาที ปรากฏภาพหญิง 2 คน แสดงอากัปกิริยาต่าง ๆ ด้วยใบหน้าเรียบเฉย ในสถานที่ที่แตกต่างกัน นำเสนอเสียงธรรมชาติและความเงียบใน ช่วงแรก ก่อนที่จะมีการปรุงแต่งด้วยเสียงดนตรีและตัวกรอง (Filter) เพื่อสร้างบรรยากาศและความรู้สึกที่ แตกต่างของภาพเคลื่อนไหวในช่วงท้าย ผลงานชิ้นนี้มีความเป็นเอกภาพเพราะมีจุดเด่นร่วมในแต่ละฉากที่ เหมือนกัน คือ ภาพของหญิง 2 คน แม้ช่วงหลังจะมีการเพิ่มเสียงดนตรีและตัวกรองเพื่อสร้างบรรยากาศภาพ ก็ไม่ทำให้ความเป็นเอกภาพขาดหายไป เพราะ เป็นการนำภาพเคลื่อนไหวในช่วงแรกมาใส่ตัวกรองแบบ ย้อนกลับ (Reverse) ทำให้เกิดความเชื่อมโยงตลอดชิ้นงานและยังคงความเป็นเอกภาพนั้นไว้ 4.3 ด้านขั้นตอนและกระบวนการ จากการสร้างสรรค์ผลงาน “ความปรารถนา” ตั้งแต่กระบวนการค้นคว้าข้อมูลจนกระทั่ง ผลงานสมบูรณ์ ผู้สร้างสรรค์ค้นพบว่า ขั้นตอนการบันทึกภาพเคลื่อนไหว ผู้สร้างสรรค์ได้มีการบันทึกภาพ เคลื่อนไหวอื่น ๆ นอกเหนือไปจากที่ได้วางแผนและสร้างแบบร่างเรื่องราวไว้ หากได้พบเจอมุมมอง หรือ สถานที่ที่น่าสนใจระหว่างการเดินทางถ่ายทำ ซึ่งการเก็บข้อมูลภาพเคลื่อนไหวนี้ทำให้เกิดมุมมองและแนวคิดที่ แปลกใหม่ ข้อมูลบางส่วนอาจสามารถนำมาใช้ในผลงานเพื่อช่วยเสริมความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและบางส่วนอาจ สามารถต่อยอดการสร้างสรรค์ไปสู่ผลงานชิ้นใหม่ในแนวความคิดเดิม หรือ แนวความอื่นได้


57 4.4 จุดเด่นและจุดที่ควรปรับปรุง จุดเด่นของผลงานชิ้นนี้คือภาพของหญิง 2 คนที่ปรากฏในวีดิทัศน์ ซึ่งก็คือตัวของผู้สร้างสรรค์ ทั้ง 2 เนื่องจากแนวความคิดของผลงานเป็นการกล่าวถึงประสบการณ์ส่วนตัว ผู้สร้างสรรค์จึงนำตนเองเข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของผลงานผ่านศิลปะการแสดงและศิลปะวีดิทัศน์ ส่วนจุดที่ควรปรับปรุง คือ คุณภาพเสียงของ วีดิทัศน์ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผ่านการตัดต่อด้วยโปรแกรมต่าง ๆ เกิดการนำเข้าและส่งออกไฟล์ มากเกินไปจนทำให้คุณภาพเสียงลดลง 4.5 ปัญหาที่พบและวิธีการแก้ไข ระหว่างการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์พบปัญหาอันเกิดจากความไม่พร้อมของอุปกรณ์ ในขั้นตอนการบันทึกวีดีทัศน์ ซึ่งต้องใช้ขาตั้งกล้องในการช่วยบันทึกภาพเคลื่อน เพื่อให้ได้ความนิ่งและมุมมองที่ สมบูรณ์ของผลงาน แต่ขาตั้งกล้องที่มีอยู่ได้ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนานและเริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้ตั้งไม่ตรง และเอียงล้มได้ง่าย อีกทั้งสภาพอากาศในบางสถานที่มีลมแรง ทำให้ต้องใช้วัตถุหนุนข้างใต้และประคอง โดยรอบเพื่อความมั่นคง วิธีแก้ไขปัญหาคือควรมีการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ก่อนใช้งานเพื่อความพร้อม ระหว่างการสร้างสรรค์ อีกปัญหาที่พบ คือ คุณภาพเสียงของภาพเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผ่านการตัดต่อ ด้วยโปรแกรมต่าง ๆ อย่างที่ได้กล่าวไปในข้อ 4.4 เนื่องจากระหว่างการตัดต่อวีดีทัศน์ ผู้สร้างสรรค์ใช้โปรแกรม ที่หลากหลาย ซึ่งการนำเข้าและส่งออกไฟล์ผ่านโปรแกรมต่าง ๆ หลายครั้งส่งผลให้คุณภาพเสียงของ ภาพเคลื่อนไหวลดลง วิธีแก้ไขปัญหา คือ ควรมีการวางแผนการตัดต่อให้รัดกุมยิ่งขึ้น ควบคุมการนำเข้าและ ส่งออกไฟล์ให้น้อยครั้งที่สุดเพื่อคงคุณภาพของภาพเคลื่อนไหวและเสียงให้ได้มากที่สุด 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ “ความปรารถนา (WISH)” เป็นการนำเสนอเรื่องราวสะท้อนสภาวะจิตใจที่ได้รับ ผลกระทบจากอดีตอันมีที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัว สร้างสรรค์ด้วยศิลปะการแสดงสด (Performance Art) นำเสนอด้วยศิลปะวีดิทัศน์ (Video Art) ที่ผ่านการตัดต่อเพิ่มเติมเสียงดนตรีและเสริมตัวกรองลงไปใน ภาพเคลื่อนไหวเพื่อเร้าอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม ในส่วนของการค้นคว้าข้อมูลและกระบวนการสร้างสรรค์ ผลงาน ผู้สร้างสรรค์ยังได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย ทั้งในส่วนของแนวความคิดที่ได้ทดลองนำเสนอ ผลลัพท์ที่เป็นภาพรวมของประสบการณ์และนำไปสู่ความปรารถนา ส่วนของการบันทึกภาพเคลื่อนไหว เพิ่มเติมนอกเหนือจากแบบร่างเรื่องราว ที่อาจช่วยเสริมความสมบูรณ์ผลงานหรือจุดประกายเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ ซึ่งแม้ระหว่างการสร้างสรรค์จะเกิดความบกพร่องบางประการ แต่สิ่งเหล่านั้นนับเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไป พัฒนาต่อยอดในผลงานครั้งต่อไป ผู้สร้างสรรค์หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์ ผลงานชิ้นนี้ ทั้งในส่วนการค้นคว้าข้อมูล รูปแบบของศิลปะการแสดงสดและศิลปะวีดิทัศน์จะสามารถสร้างแรง บันดาลใจ เป็นบทเรียน และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่สนใจได้ศึกษาต่อไป


58 เอกสารอ้างอิง คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2559, 4 มีนาคม). Self-esteem – การเห็นคุณค่าในตนเอง. https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/self-esteem-การเห็นคุณค่าในตนเอง สรีนา สัตถาผล. (2557). Trace of Performance. [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository :SURE. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/13160 อาลัน คาพโรพ. (2554, 23 มิถุนายน). วิดีโออาร์ต : เหล้าเก่าในขวดใหม่. http://www.arts.su.ac.th/ thaicritic/?p=158 Pobpad. (n.d.). ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง (DYSTHYMIA). https://www.pobpad.com/ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง-dysthymia . (n.d.). Self Esteem การเห็นคุณค่าในตัวเองที่สร้างได้. https://www.pobpad.com/self-esteemการเห็นคุณค่าในตัวเอ#: ~:text=Self%20Esteem%20หรือการเห็น,สิ่งที่ไม่ควรละเลย Tax-definition. (n.d.). คำนิยาม วิดีโออาร์ต. https://th.tax-definition.org/99822-video-art


59 เศษซากขยะจากเทคโนโลยีที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล GARBAGE FROM TECHNOLOGY THAT REFLECT MARINE ENVIRONMENTAL CRISISS ชูเกียรติ สุทิน, CHUKIAT SUTIN วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat College of fine art, Nakhon Si Thammarat Province E-mail : [email protected] บทคัดย่อ มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีต มีชีวิตพึ่งพา และมีความสมดุลกับความ เปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติ แต่จากการเร่งการพัฒนาเกิดการขยายตัวของเมือง การพัฒนาทางเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกสบาย การมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนาแน่นก่อให้เกิดปัญหาตามมาที่ปรากฏ ให้เห็นประจักษ์ชัดเจนผ่านเศษซากขยะ ที่ถูกทิ้งลอยผ่านคลื่นลม ก่ายกองจำนวนมหาศาลอยู่ตามชายฝั่งทะเล ไม่ว่าจะเป็นซากขยะพลาสติกสารพัดชนิด ขวดแก้ว ซากอวนเก่าขาดที่รัดพันซากสัตว์ทะเล อยู่บนชายฝั่ง ทะเลทรายสีขาว เป็นเศษซากขยะจากการพัฒนาด้านความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้วยปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชุด “เศษซากขยะจาก เทคโนโลยีที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล” (GARBAGE FROM TECHNOLOGY THAT REFLECT MARINE ENVIRONMENTAL CRISISS) โดยการนำเศษซากขยะจากการพัฒนาเทคโนโลยีบริเวณชายฝั่งทะเล นำมาสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสะท้อนให้เห็นวิกฤตแห่งท้องทะเล สภาพทรัพยากรธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อ ต้องการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติทะเล ด้วยการนำเศษซากขยะมารีไซเคิล สร้างเป็นวัสดุ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อกระตุ้นให้ชุมชน สังคมและมนุษย์หันมาดูแล อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเล ตลอดจนมีจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ และมีวิถีชีวิตที่มีความเคารพ ธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต คำสำคัญ: ขยะทะเล, เทคโนโลยี, สิ่งแวดล้อม Abstract Human has lived together with nature and environment since the past within nature change balancing. However the fast developing caused by expansion of the city, Technology development, and the rapid increase of the population have following problems. There are plenty of garbage. The garbage has been thrown through the wind, and wave in the sea. The plenty of garbage on the coast, such as many kinds of plastic, glass bottles, old net that


60 wrapping up some marine animals have been on the white coast. They are all rubbish from development of technological advancement. Garbage problems inspired me to create the work of art in the series of “Garbage from technology that reflect marine environmental crisis” I use garbage that come from technology development around the coast to create works of art. The works of art reflect crisis of the sea, and the changing of natural resource. I would like people to have conscious mind in natural marine conservation. I used garbage recycling to create my works of art to stimulate people to take care, conserve marine natural environment, and have conscious mind in living within sustainable appreciation in nature. Keywords: MARINE DEBRIS, TECHNOLOGY, ENVIRONMENT 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีต มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความ เปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติ สามารถปรับดุลภาพของตัวเองได้ ดังนั้นปัญหาเรื่องความสมดุลของธรรมชาติตามระบบนิเวศจึงยังไม่เกิดขึ้น มากนัก แต่จากการเร่งการพัฒนาเกิดการขยายตัวของเมือง การพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความ สะดวกสบาย การมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฏว่าได้ เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุก ประเทศ ทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ ปัญหาทรัพยากร ธรรมชาติที่เสื่อมสลาย และหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของการแออัด ใช้ทรัพยากรผิด ประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่ขยะมูลฝอย ซึ่งเป็น ปัญหาสำคัญเป็นอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน จากที่กล่าวมาเป็นปัญหาสำคัญ ที่ปรากฏให้เห็นประจักษ์ชัดเจนผ่านเศษซากขยะ ที่ถูกลอยผ่านคลื่น ลม ก่ายกองจำนวนมหาศาลอยู่ตามชายฝั่งทะเล ไม่ว่าจะเป็นซากขยะพลาสติกสารพัดชนิด ขวดแก้ว ซากอวน เก่าขาดที่รัดพันซากสัตว์ทะเล อยู่บนชายฝั่งทะเลทรายสีขาว เป็นเศษซากขยะจากการพัฒนาด้านความ เจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีจากความสะดวกสบายในชีวิต จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิด แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชุด “เศษซากขยะจากเทคโนโลยีที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล” (GARBAGE FROM TECHNOLOGY THAT REFLECT MARINE ENVIRONMENTAL CRISISS) ที่สร้างสรรค์ เป็น ศิลปะแลนด์อาร์ต (Land Art) ผสมผสานศิลปะเฉพาะพื้นที่ (Art specific area) โดยการนำเศษซากขยะ จากการพัฒนาเทคโนโลยี จากชายฝั่งทะเล นำมาสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อสะท้อนให้เห็นวิกฤตแห่งท้องทะเล


61 สภาพทรัพยากรธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป จากการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติทะเล ด้วย การนำเศษซากขยะมารีไซเคิล ด้วยการสร้างเป็นวัสดุสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และต้องการสะท้อนให้สังคม ประเทศชาติเริ่มตระหนัก กระตุ้นให้ชุมชน สังคมและมนุษย์หันมาดูแล อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเล ตลอดจนมีจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ และมีวิถีชีวิตที่มีความเคารพ ธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความหมายของการอนุรักษ์อำนาจ เจริญศิลป์ (2548) กล่าววา การอนุรักษ์ คือ การสงวนรักษา หมายถึง การใช้การระวังรักษาทรัพยากรด้วยวิธี ฉลาด และให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเกษม จันทร์แก้ว (2540) กล่าววา การอนุรักษ์ หมายถึง การเก็บรักษา สงวนซ่อมแซมปรับปรุงและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้เอื้ออำนวยให้คุณภาพสูงในการ สนองความเป็นอยู่ของมนุษย์ตลอดไป หรืออีกความหมายก็คือ การใช้ตามความต้องการและประหยัดไว้ใช้เพื่อ อนาคต 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระการสร้างสรรค์ผลงานเริ่มจากการร่างภาพซึ่งได้แรงบันดาลใจจากขยะจากเทคโนโลยีบริเวณ ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาพที่ 1, ภาพที่ 2 และภาพที่ 3) ภาพที่1 ภาพขยะจากเครื่องใช้ของชาวเล และขยะเทคโนโลยีจากชายฝั่งทะเลทะเลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


62 ภาพที่2 ภาพขยะจากเทคโนโลยีที่เก็บมาสำหรับสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่3 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่4 ภาพผลงาน “เศษซากขยะจากเทคโนโลยีที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


63 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพที่ 5 ชื่อผลงาน เศษซากขยะจากเทคโนโลยีที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล เทคนิค ศิลปะจัดวาง วัสดุขยะจากเทคโนโลยีบนชายฝั่ง ขนาด ปรับเปลี่ยนตามสถานที่ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


64 4.1 การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ตามในผลงานชิ้นนี้ เกิดจาก แนวความคิดจะใช้วัสดุที่เป็นขยะจากเทคโนโลยีที่เก็บได้จากชายฝั่งทะเล ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีทั้ง ขวดพลาสติก ขวดแก้วชนิดต่าง ๆ รวมถึงเครื่องใช้ของวิถีชีวิตชาวเลเอง ก็กลายเป็นขยะที่วางเกลื่อนกระจัด กระจายตามชายฝั่งทะเล ซึ่งสามารถวิเคราะห์ด้านเนื้อหาทางด้านทัศนธาตุ ดังนี้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานชุด “เศษซากขยะจากเทคโนโลยีที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล” ผู้สร้างสรรค์ร่างภาพขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากผลกระทบจากเศษซากขยะ ที่ถูกคลื่นลมซัดกระจายเกลื่อนใน แถบชายฝั่งทะเล บริเวณชายฝั่งนครศรีธรรมราช ที่เป็นภาพปรากฏการณ์ที่วิกฤต แต่ทว่าในความรู้สึกของคน ทั่วไป กลับมองเป็นเรื่องปกติเช่นใบไม้ร่วงหล่นแสนธรรมดา ละเลยถึงการป้องกัน ปกป้องธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ชายฝั่งทะเล จากที่กล่าวมา ผู้สร้างสรรค์ได้สัมผัสจึงได้สร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ขึ้นมาเพื่อสะท้อนเรื่องราวผ่าน ผลงานชิ้นที่ การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ การแสดงออก (Expression) แสดงเนื้อหาหลักที่ถูกอวนเชือกที่เต็มไปด้วยเศษ ซากขยะจากเทคโนโลยีฉุดดึง ครอบคลุม เพื่อสื่อถึงสภาวะวิถีชีวิต ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ที่ถูกเศษซากขยะจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วยการใช้ ชีวิตที่ขาดไร้จิตสำนึกของชาวเมืองทั้งหลาย และแสดงถึงวิกฤตแห่งซากขยะ เทคโนโลยีในท้องทะเล ย้อนแย้งกับการแสวงหาความอุดมสมบูรณ์จากท้องทะเล กลับกลายเป็นซากขยะแทน เส้น (Line) เป็นเส้นขนาดเล็ก ที่เกิดจากเชือกหลายขนาด คดโค้งนำสายตา สร้าง ความเคลื่อนไหว ภายในผลงาน รูปทรงและพื้นที่ว่าง(Form/Space) รูปทรงผลงานเป็นรูปทรงอิสระรูปทรงผสาน สัมพันธ์กันด้วยพื้นที่ว่าง สร้างความขัดแย้งและเน้นผลงานให้น่าสนใจขึ้น พื้นผิว (Texture) เป็นพื้นผิวเป็นพื้นผิวจากความเป็นจริงด้วยเช่น อวน ขยะ พลาสติก ที่สร้างความรู้สึกถึงความเป็นซากอวน ความไร้ชีวิตสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง ทะเล สี (Color) สีสันส่วนใหญ่ของผลงานเป็นสีจากวัสดุที่เป็นขยะจากชายฝั่งทะเล ที่มี ความเก่า เปื่อยขาด สกปรก หรือสีสด นำมาห้อยจัดวาง ผูกมัดให้เกิดความเป็น เอกภาพที่สื่อถึงการทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เทคนิควิธีการ(Techniques) การจัดวางด้วยวัสดุ ซากขยะที่เก็บจากชายฝั่งทะเล


65 แนวความคิด การแสดงออก การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกทางกระบวนการและทางด้านทัศนธาตุทางศิลปะ ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 5.1 ลักษณะการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นสร้างสรรค์ศิลปะจัดวาง ชื่อผลงาน...เศษซากขยะจากเทคโนโลยี ที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล.. 5.2 สาระสำคัญในการใช้ซากขยะเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์การทำงานสร้างสรรค์ ต้องการนำขยะจากสถานที่จริงแถบชายฝั่งทะเลที่มีมากมายและพบเห็นได้ทั่วไป สัมผัสด้วยตนเองมีผลอย่างยิ่ง ต่อการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อให้เห็นถึงพลังของขยะเหล่านั้นที่ปะปนอยู่กับขยะซากไม้ กอหญ้า ผักบุ้งทะเล ต้องการให้ขยะเหล่านั้นได้แสดงให้คนในพื้นถิ่น ในสังคมได้เห็นและเกิดการเปลี่ยนแปลง 5.3 ลักษณะทางทัศนธาตุ (Visual Elements) ของการสร้างสรรค์ผลงาน ชุด “เศษซากขยะจาก เทคโนโลยีที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล” ดังต่อไปนี้ 5.3.1 การแสดงออก (Expression) แสดงเนื้อหาหลักที่ถูกอวนเชือกที่เต็มไปด้วยเศษซากขยะ จากเทคโนโลยีฉุดดึง ครอบคลุม เพื่อสื่อถึงสภาวะวิถีชีวิต ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ที่ถูกเศษซากขยะจากความ เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วยการใช้ชีวิตที่ขาดไร้จิตสำนึกของชาวเมืองทั้งหลาย และแสดงถึงวิกฤตแห่งซาก ขยะเทคโนโลยีในท้องทะเล 5.3.2 เส้น (Line) เป็นเส้น ขณะที่มีเส้นขนาดเล็ก ที่เกิดจากเชือกหลายขนาด คดโค้งนำ สายตา สร้างความเคลื่อนไหว ภายในผลงาน 5.3.3 ด้านรูปร่าง รูปทรง (Shape/Form) รูปทรงผลงานเป็นรูปทรงอิสระรูปทรงใหญ่ ทอดสู่ ทะเล ผสานสัมพันธ์กันด้วยพื้นที่ว่าง 5.3.4 พื้นผิว (Texture) เป็นพื้นผิวเป็นพื้นผิวจากความเป็นจริงด้วยเช่น อวน ขยะ พลาสติก ที่สร้างความรู้สึกถึงความเป็นซากอวน ความไร้ชีวิต มหันตภัยสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล และเป็นพื้นผิวเป็นพื้นผิว จากความเป็นจริงด้วยเช่น ขยะ พลาสติก ที่สร้างความรู้สึกถึงความเป็นซากอวน ความไร้ชีวิต มหันตภัย สิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล 5.3.5 สี(Color) สีสันส่วนใหญ่ของผลงานเป็นสีจากวัสดุที่เป็นขยะจากชายฝั่งทะเล ที่มีความ เก่า เปื่อยขาด สกปรก หรือสีสด นำมาห้อยจัดวาง ผูกมัดให้เกิดความเป็นเอกภาพที่สื่อถึงการทำลายธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม 5.4 เพื่อต้องการสะท้อนสภาวะที่เศษซากขยะจากเทคโนโลยีที่สะท้อนวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ของสิ่งแวดล้อมสภาพธรรมชาติเสื่อมโทรม ซึ่งสภาพดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้สร้างสรรค์ บริเวณ ชายฝั่งทะเลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ทั้งทางทัศนียภาพธรรมชาติ ทรัพยากรสัตว์น้ำ และแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล แต่ในปัจจุบันมวลขยะมหาศาลที่เกิดจากซากขยะเทคโนโลยี จากทั่วโลก ได้ทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ปรากฏได้ทางสายตา และขณะเดียวกันก็ได้ย่อยสลายเป็น อณูเล็ก ๆ ปนเปื้อนไปกับเกลือ น้ำดื่ม สัตว์ทะเล ซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อมนุษยชาติ ซึ่งผลงานชุดนี้มุ่งสะท้อนปัญหา ดังกล่าวเพื่อสร้างจิตสำนึกของมนุษย์ในสังคมให้ตระหนักและเกิดการเปลี่ยนแปลง


66 5.5 ข้อเสนอแนะ ในการสร้างสรรค์ผลงานในแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล ท่ามกลาง สภาวะโรคระบาดหนักหลายครั้งในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัจจัยส่งผลต่อกระบวนการสร้างอย่างสำคัญ ซึ่งต้อง ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เอกสารอ้างอิง กรมประมง. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ.๑๕๕๑. ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐. http://www.mkh.in. th/index.php/ คณะกรรมการชำระพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ:บริษัทนาน มีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด, ๒๕๔๒. โครงการกรีนฟินส์ภายใต้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ. ๒๕๕๐. ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๒. https:// www.dmcr.go.th/miniprojects/133/29990 ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบทางศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๒. นิวัติ เรืองพาณิช. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. ๒๕๕๖ นิดดา หงส์วิวัฒน์. อาชีพจากทะเล. กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์แสงแดดเพื่อนเด็ก. ๒๕๔๔ ประสบสุข เลิศวิริยะปิติ, ศิลปะจาก ‘ขยะพลาสติก’ งานสร้างสรรค์ แต่สะท้อนปัญหาทะเลไทย. https:// www.matichon.co.th/entertainment/news_464343 วสิทธิ์ สถิตวรพงศ์. ปัญหาขยะพลาสติก” “กับดัก” ที่ประเทศไทยดิ้นไม่หลุด!. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับ วันที่ 29 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม 2561 Chiharu Shiota.Direction. ๑๐ มกราคม ๒๕๖๑. http://kodebergen.no/en/exhibitions/chiharu-shiota.


67 การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลาย Three marks of existence ฐิตา ครุฑชื่น, Thita Krutchuen วิทยาลัยช่างศิลป เลขที่60 ถนนหลวงพรต แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 Collage of Fine Arts address 60 road Luangphod Disrtict Ladkrabang Bangkok 10520 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นจากจุดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต่างทางพันธุกรรมเพียงใด แต่สิ่งที่เหมือนกันคือทุกชีวิตเริ่มต้นกำเนิดจากการผสมพันธุ์ มีชีวิตที่เติบโต ตั้งอยู่ และในที่สุดก็ต้องสลายลา จากโลกนี้ไป การสร้างสรรค์ผลงานเริ่มต้นจากการศึกษาลักษณะของโกโนพอด (Gonopod) ซึ่งคือชื่อเรียกของ อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ของสัตว์ขาปล้อง ในผลงานใช้การศึกษาโกโนพอดของกิ้งกือ นำมาวาดเป็นภาพขาวดำด้วย เทคนิคจุดปากกาดำ จากนั้นนำมาตัดต่อด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงลักษณะของโกโนพอดในรูปแบบ ซ้ำ ๆ เรียบเรียงจากขนาดเล็กไปใหญ่ จากชัดเจนแล้วค่อยๆ จางหายลง เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดกำเนิดและการ คงอยู่ของสิ่งหนึ่งก่อนจะดับสูญไป ผลการสร้างสรรค์ระหว่างขั้นตอนการทำงาน ทำให้เกิดการสมาธิ มีความจด จ่ออยู่กับปัจจุบันขณะด้วยวิธีการจุด และผลงานที่เสร็จสมบูรณ์มีการจัดวางองค์ประกอบก่อให้เกิดความรู้สึกถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลายไป หมุนวน เฉกเช่นทุกสรรพชีวิตที่ล้วนมีภาวะเช่นนี้ไม่ต่างกัน คำสำคัญ: โกโนพอด, ศิลปะนามธรรม, สื่อผสม Abstract The beginning of every life is no different. They are genetically different organisms but what they have in common is that all life originates from mating, having a growing life, and finally dying. The creation of works of art begins with the study of the characteristics of gonopods, which are the names of the male reproductive organs of arthropods. In this artwork, gonopods of millipedes are used, drawn as a black and white image with a black pen point technique. Then be edited with a computer program, to show the characteristics of gonopods repetitively, compiled from small to large, from being clear, gradually fading away to express the origin and existence of one thing before its extinction. The creative effect is that, while drawing, concentrate, focusing on the present moment by way of dotting. And the finished work of art has a composition that creates a feeling of arising, standing, passing away, and spinning, just like all living beings with this condition are no different. Keywords: Gonopod, Abstract Art, Mixed Media Art


68 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ในการศึกษาสิ่งมีชีวิตบางอย่างเพื่อจำแนกพันธุกรรมต้องใช้การดูความต่างลักษณะทางกายภาพของ อวัยวะเพศผู้ ซึ่งผู้วิจัยมีโอกาสได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพและวาดภาพอวัยวะเพศผู้ของสัตว์ขาปล้อง หรือ Gonopod ของกิ้งกือ เพื่อนำภาพไปประกอบการจำแนกพันธุกรรมของกิ้งกือในประเทศไทย ในระหว่าง กระบวนการสร้างผลงาน ผู้วิจัยได้เกิดความตระหนักคิดว่าอวัยวะเพศผู้นั้นนอกจากมีส่วนสำคัญทางชีววิทยาใน การจำแนกพันธุกรรม ในอีกแง่มุมคือสัญลักษณ์ของการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตเพื่อเป็นทายาททางกรรมพันธุ์ของสิ่ง นั้น ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้มีหลากหลายชนิด มีความแตกต่างกันในหลายสถานะ เช่น ลักษณะ ประเภท ถิ่นที่ อยู่ การดำรงชีวิตเพื่อให้อยู่รอด แต่ในความต่างนั้นทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ผู้สำคัญตนว่าประเสริฐและมี ความฉลาดล้ำ มีอำนาจเหนือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ หรือสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยที่ถูกมองเหมือนไร้ค่า เมื่อเปรียบเทียบและ พิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าแม้มีความต่างสถานะกันอย่างไร ย่อมไม่มีสิ่งไหนอยู่คงกระพันไปได้ตลอดกาล ทุกสรรพชีวิตบนโลกล้วนมีการเริ่มต้นจากการปฏิสนธิเพื่อเกิดชีวิตขึ้นใหม่ มีการตั้งอยู่ และดับสลายสิ้นอายุไข ไปเช่นเดียวกันทั้งสิ้น ด้วยแนวคิดและแรงบันดาลใจทำให้เกิดการตระหนักถึงความเป็นจริงดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้สร้างสรรค์ ผลงานที่ชื่อว่า โกโนพอด โดยใช้ภาพวาดของอวัยวะเพศผู้ของกิ้งกือซึ่งวาดด้วยเทคนิคการจุดด้วยปากกาดำ เพื่อให้เกิดรูปทรง และนำมาจัดเรียบเรียงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดลักษณะหมุนเวียนจากขนาดเล็ก ไปใหญ่ จากชัดเจนค่อย ๆ จางหายไปในที่สุด เพื่อสื่อถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดจากหลักธรรมของพุทธศาสนา ได้แก่ ไตรลักษณ์ซึ่งแปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือ ข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้3 อย่าง ได้แก่ - อนิจจตา (อนิจจัง) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและ สลายไป มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา - ทุกขตา (ทุกขัง) ความเป็นทุกข์ถูกบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถคงทน อยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป - อนัตตตา (อนัตตา) ความเป็นอนัตตา คือลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการ ได้เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา ความไม่มี ตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร ไตรลักษณ์คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนแล้วอยู่ใน กฎไตรลักษณ์ 2.2 รูปแบบศิลปะแนว Op Art หรือ ศิลปะลวงตา ย่อมาจากคำว่า Optical Art หรือ Retinal Art ซึ่ง หมายถึงศิลปะที่เกี่ยวกับสายตาและการมอง มีลักษณะการถ่ายทอดรูปทรงในงานศิลปะโดยวิธีการสร้างสรรค์ งานคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความลวงตากับพื้นผิวของภาพ และระหว่างความเข้าใจกับการมองเห็น


69 จุดเด่นในศิลปะแนวนี้คือการสร้างภาพนามธรรมที่เน้นรูปทรงเรขาคณิต มีขอบและเส้นรอบนอกคมชัด ทิศทางของรูปทรงและเส้นรอบนอกมักจะหักเห ทำให้มองดูคล้ายกับว่ามีการเคลื่อนไหวเคลื่อนไหว ลักษณะ เด่นอีกประการของศิลปะประเภทนี้คือ รูปทรงในผลงานมักถูกเรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย 2.3 รูปแบบผลงานศิลปะ ของศิลปิน เอ็ม. ซี. เอสเชอร์(M.C. Escher) เอกลักษณ์ที่โดดเด่นในผลงาน คือการสร้างภาพทิวทัศน์และสถาปัตยกรรมที่แปลกตา ทัศนียภาพที่ต้านแรงโน้มถ่วง โลกแห่งจินตนาการและ ความฝันที่ผกผัน รูปทรงที่เกิดขึ้นในผลงานผ่านการคิดคำนวณอย่างละเอียดและซับซ้อน จากความเชี่ยวชาญ ทางคณิตศาสตร์และสถาปัตยกรรมของศิลปิน ผ่านผลงานภาพพิมพ์แกะไม้(woodcut) ภาพพิมพ์หิน (lithographs) และภาพพิมพ์โลหะเมซโซทินท์(mezzotints) ในช่วงแรกของการทำงานศิลปะ ได้แรงบันดาล ใจจากธรรมชาติรอบตัว จากการศึกษาภูมิทัศน์แมลง สรรพสัตว์และพืชพรรณนานามาใช้เป็นรายละเอียดใน ผลงาน ศิลปินเดินทางท่องเที่ยวเพื่อร่างภาพอาคาร ภูมิทัศน์เมือง สถาปัตยกรรมอย่าง อาสนวิหาร ป้อม ปราการและพระราชวังต่าง ๆ และเริ่มมีความสนใจในโครงสร้างทางคณิตศาสตร์มากขึ้นเรื่อย ๆ เอสเชอร์เป็น ศิลปินคนแรก ๆ ที่สร้างผลงานเพื่อเชื่อมศาสตร์ระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ โดยหลอมรวมรูปทรงที่เกิด จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์อันสลับซับซ้อนเข้ากับภาพวาดลายเส้นอันประณีตและมุมมองเหนือธรรมดา เข้าไว้ด้วยกัน จึงเป็นศิลปินผู้สร้างชื่ออย่างมากจากภาพวาดสิ่งก่อสร้างอันเป็นไปไม่ได้ที่สร้างขึ้นจากรูปทรงเชิง คณิตศาสตร์สถาปัตยกรรม และมุมมองที่แปลกใหม่ จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ภาพที่1 ตัวอย่างภาพผลงาน Day and Night ที่มา : จาก https://www.artsy.net/article/artsy-editorial-mc-escher-transfixed-mind-bending-works ผู้สร้างสรรค์ผลงาน M.C. Escher


70 ภาพที่2 ตัวอย่างภาพผลงาน Relativity ที่มา : จาก https://www.artsy.net/article/artsy-editorial-mc-escher-transfixed-mind-bending-works ผู้สร้างสรรค์ผลงาน M.C. Escher 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ จากการศึกษาแนวคิดและรูปแบบผลงาน ทั้งงานศิลปะ Op Art และผลงานของศิลปิน M.C. Escher พบลักษณะการใช้รูปทรงรูปทรงเดิมซ้ำ ๆ เรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบ มีการเปลี่ยนแปรลักษณะของรูปทรง ทางด้านขนาด ทิศทาง เพื่อให้เกิดมิติและมุมมองที่แปลกใหม่ ผู้วิจัยจึงได้นำรูปแบบดังกล่าวมาปรับใช้ในการ สร้างสรรค์ผลงานของตนเอง โดยมีขั้นตอนดังนี้ 3.1 สร้างรูปทรงตัวแทนของเรื่องราวการกำเนิดขึ้น โดยใช้รูปของอวัยวะเพศผู้ของกิ้งกือ ด้วยเทคนิค การจุดด้วยปากกาดำ เพื่อสร้างลักษณะและปริมาตรของรูปทรง ทั้งนี้ต้นแบบของรูปทรงดังกล่าวได้ผ่านการ ถ่ายภาพผ่านกล้องขยายเนื่องจากวัตถุมีขนาดเล็กเพียงประมาณ 3 - 5 มิลลิเมตร ภาพที่3 ภาพวาดอวัยวะเพศผู้ของกิ้งกือ หรือ Gonopod เทคนิคจุดด้วยปากกาดำบนกระดาษ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


71 3.2 นำภาพวาดมาสแกนเข้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อตัดต่อภาพ โดยผู้วิจัยใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ในการตัดต่อเพื่อจัดวางรูปทรงของอวัยวะเพศผู้ของกิ้งกือ ให้มีลักษณะรูปแบบของการใช้รูปทรง เดิมซ้ำ ๆ และมีการลดหลั่นรูปทรงจากเล็กไปใหญ่ ปรับความชัดเจนของเส้นรูปทรงจากชัดเจนไปจนถึงจางลง จนเลือนหายไปกับพื้นบรรยากาศด้านหลัง เพื่อแสดงถึงการเริ่มต้น มีอยู่ และดับสลายไป ภาพที่4 ภาพผลงานสมบูรณ์ชื่อผลงาน Gonopods ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน องค์ประกอบด้านกายภาพ ใช้หลักการสร้างเอกภาพในผลงาน โดยมีขนาดและทิศทางของรูปทรงมีความขัดแย้ง (Opposition) และใช้การประสาน (Transition) รูปทรงทั้งหมดให้เกิดความกลมกลืนด้วยวิธีการซ้ำของรูปทรง (Repetition) โดยการเรียบเรียงรูปทรงอย่างเป็นระบบระเบียบ จากรูปทรงขนาดเล็กและชัดเจนที่ปรากฏอยู่ด้านบนสุด ค่อย ๆ ไล่ลำดับให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นทีละน้อย และลดความชัดเจนลงเรื่อย ๆ จนจางหายไปในที่สุด การจัดระยะห่าง ระหว่างรูปทรงหรือจังหวะ (Rhythm) มีความสัมพันธ์กับขนาดและทิศทางของรูปทรง การจัดวางรูปทรง โดยรวมของภาพมีลักษณะค่อย ๆ หมุนวน และล่องลอยจนเลือนหายไป เพื่อแสดงถึงการหมุนเวียนของทุก สรรพชีวิตที่ล้วนต้องมีการเกิดคือการเริ่มต้นของชีวิตจากการปฏิสนธิตามกฎธรรมชาติ มีการตั้งอยู่ของชีวิต และสุดท้ายคือการดับสูญหรือสิ้นอายุขัยจากโลกนี้ไป เช่นเดียวกับภาพที่เลือนหายไปในบรรยากาศ


72 องค์ประกอบด้านเนื้อหา เนื้อหาในผลงานใช้หลักธรรมไตรลักษณ์ 3 การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ซึ่งคือหลักคำสอนของพุทธ ศาสนา ว่าด้วยเรื่องธรรมดาของทุกชีวิต ผู้วิจัยใช้ลักษณะรูปทรงของอวัยวะเพศผู้เพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ของ การก่อให้เกิดการให้กำเนิดของชีวิต และใช้อวัยวะเพศผู้ของกิ้งกือเพราะเป็นสิ่งที่น้อยคนนักจะตระหนักและ มองเห็น เนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่กับพื้นดิน ผู้คนมักรังเกียจและมองข้ามไป แต่ในทางวิทยาศาสตร์นั้นกลับมี การศึกษาลักษณะทางกายภาพเพราะมีความสำคัญในการใช้จำแนกพันธุกรรม บ่งบอกได้เป็นนัยว่าทุกชีวิตล้วน มีคุณค่าในตนเองไม่มากก็น้อย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามท้ายที่สุดแล้วทุกชีวิตย่อมไม่สามารถคง สภาพเดิมให้จีรังยั่งยืนได้ ย่อมต้องดับสูญไปตามกฎของธรรมชาติทั้งสิ้น 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงาน “Gonopods” เป็นผลงานจิตรกรรมสื่อผสมโดยเทคนิคการวาดจุดด้วยปากกา ดำและการตัดต่อด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แสดงออกในรูปแบบกึ่งนามธรรม จัดวางรูปทรงตามหลัก องค์ประกอบศิลป์เพื่อให้เกิดเอกภาพ ผลลัพธ์ที่ได้ระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานในขั้นตอนการจุดด้วยปากกาดำ ทำให้ผู้สร้างสรรค์งานเกิด สมาธิจดจ่อกับการทำงาน และในกระบวนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการจัดองค์ประกอบของ รูปทรงให้เป็นไปตามเจตนาของผู้วิจัย ถือเป็นการพัฒนาวิธีการและแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของ ตนเอง ให้มีความทันสมัยและมีความหลากหลายในด้านเทคนิควิธีการ ผลลัพธ์และคุณค่าในด้านเนื้อหาของผลงาน ก่อให้เกิดการตระหนักถึงหลักธรรมของพุทธศาสนาอัน เป็นกฎของธรรมชาติที่ทุกชีวิตไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ น้อยใหญ่ย่อมอยู่ในกฎเกณฑ์ธรรมชาติดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น จึงควรตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตตนและสรรพชีวิตอื่น ๆ ณ ปัจจุบันขณะที่ยังคงมีการตั้งอยู่ของตัวตน ควรมีสติและระมัดระวังในการใช้ชีวิต รวมถึงการทำ คุณประโยชน์ใด ๆ โดยไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยจนไปถึงวันที่ชีวิตต้องดับสูญสลายไปจากโลกนี้ เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อัมรินทร์. พิจิตวรรณ นันต๊ะภาพ. (ออนไลน์) เข้าถึงจาก https://swis.montfort.ac.th/html_edu/cgi-bin/main_ php/print_informed.php?id_count_inform=1085 Bareo Interior Design and Decoration. (อ อ น ไล น์ ) เข้ าถึ งจ าก https://www.bareo-isyss.com/ service/decor-guide/art-illusion/ Natalie Lemle. (ออนไลน์) เข้าถึงจาก https://www.artsy.net/article/artsy-editorial-mc-eschertransfixed-mind-bending-works


73 ความทรงจำสีขาว จากโครงการ ภาพสะท้อนสังคม ฟาสต์แฟชั่น Memories in White From Project Social Reflection Fast Fashion ดวงหทัย พงศ์ประสิทธิ์, DOUNGHATAI PONGPRASIT 70 หมู่ 4 ตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120 70 M.4 Tha Na, Nakhon Chaisi, Nakhon Pathom, 73120 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ จากการที่สังคมไทยเปลี่ยนผ่านจากยุคอนาล็อก สู่ยุค ดิจิทัล ทำให้ค่านิยมในการใช้ชีวิตมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากการได้รับข้อมูล ข่าวสาร มีความรวดเร็วแบบติดจรวด รวมถึงกระแสความนิยมต่าง ๆ ทั้งด้านการ อุปโภค บริโภค โดยเฉพาะกระแสทางด้านแฟชั่น ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก เนื่องจากเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย รวมถึงเครื่องประดับต่าง ๆ เป็นอาภรณ์ประกอบทางกายที่ปรากฏให้เห็นเป็นอย่างแรกของคน สามารถสร้างภาพลักษณ์ จากภายนอกก่อนที่จะเข้าถึงลักษณะภายในจิตใจ ทำให้ผู้คนมีสภาวะของการชอบซื้อ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจำนวนมาก เช่น กระเป๋า รองเท้า จนมากเกินความจำเป็น ด้วยเหตุผล จนเป็นเหตุให้ เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการผลิตสินค้าในลักษณะ ฟาสต์แฟชั่น ฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) เป็นการผลิตเสื้อผ้าสมัยนิยมที่ใส่ไม่กี่ครั้ง มีกระบวนการผลิตที่เน้น ความเร็ว ด้วยต้นทุนต่ำทั้งในด้านวัตถุดิบ และแรงงาน จึงทำให้เสื้อผ้ามีราคาไม่แพง เข้าถึงง่าย เป็นแฟชั่นวงจร สั้น เน้นขายในปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้นจนเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา จากแรงบันดาลใจข้างต้น ผู้สร้างสรรค์จึงสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยเพื่อสะท้อนสภาพสังคม จากค่านิยม ฟาสต์แฟชั่น ด้วยกระบวนการที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางศิลปะระหว่างคนในสังคมและนำผลจาก กิจกรรมไปสร้างสรรค์ผลงานต่อ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นเตือนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน และอนาคต ผู้สร้างสรรค์จึงใช้รูปทรงของบ้านที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างให้มีความสะดวกสบาย พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆจากบ้านรูปทรงธรรมดา ปัจจุบันพัฒนากลายเป็นตึกระฟ้า การที่มนุษย์มีวิวัฒนาการต่าง ๆ จึงทำให้บางคนหลงคิดไปว่า ตนเองมีความเจริญเหนือธรรมชาติอื่น ๆ และใช้วัสดุในการสร้างสรรค์คือ เสื้อผ้า เหลือใช้ ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ผลิตขึ้นมามากมายเกินความจำเป็น คำสำคัญ: ฟาสต์แฟชั่น, ภาพสะท้อน, ศิลปกรรมร่วมสมัย


74 Abstract As Thai society transitions from the analog era to the digital era, the values of living have changed due to the speedy access to information and news, including various popular trends both in terms of consumption and fashion trends that are changing very quickly because clothes, including various accessories, are the first thing that appear to be able to create an image from the outside before reaching the inner mind, making people buy a lot of clothing, such as bags and shoes, until it is too much for a reason, causing environmental problems. From the production of products in the form of fast fashion. Fast fashion is the production of trendy clothes that are worn a few times. There is a production process that focuses on speed. With low costs in terms of both raw materials and labor, clothing is inexpensive, easy to access, and has a short life cycle, with an emphasis on selling large quantities in a short period of time until environmental problems follow. As a result of the above inspiration, I wish to create contemporary works of art that reflect social conditions derived from fast fashion values through a process that generates artistic activities among people in society and uses the outcomes of those activities to create works of art. As an impetus to the increasing environmental problems of today and the future, the creators used the shape of a house inhabited by humans. It is something that man created in order to be comfortable; it developed continuously from a simple house shape. Humans have evolved into a skyscraper, leading some to believe that they have a higher progression than other species. I use materials to create work from leftover clothes caused by the exchange of clothes, reflecting that humans have produced more than necessary. Keywords: Fast Fashion, Reflection, Contemporary art 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีความนิยมด้านวัตถุ ทำให้มีสินค้าแฟชั่นต่าง ๆ ที่ถูกผลิตออกมาอย่าง รวดเร็ว ในราคาต่ำที่สุด ขณะที่ผู้ซื้อมีความต้องการซื้อมาก ๆ ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมายเช่นปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เมื่อสินค้าแฟชั่นกลายเป็นผลผลิตของพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งอีกประเภทหนึ่ง ก็ทำ ให้ขยะมีการเติบโตเพิ่มขึ้น จนเกิดเป็นมลพิษทางน้ำและอากาศ สร้างความเสียหายต่อสุขภาพ จนถึงขั้นอาจ เสียชีวิตได้ เหล่านี้จึงควรตระหนัก และสร้างค่านิยม หรือสร้างทัศนคติในสังคมในการนิยม Slow Fashion เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อันตรายเพิ่มทวีขึ้นทุกขณะ การมาเร็ว ไปเร็ว แต่ทิ้งผลกระทบไว้มหาศาล แม้ว่าโลก เราจะมีระบบรีไซเคิลที่ดี แต่โรงงานรีไซเคิลก็ไม่สามารถเปลี่ยนเสื้อผ้าเก่าของเราให้เป็นเสื้อผ้าในกระแสได้ใน พริบตาเดียว ความจริงก็คือ มีเสื้อผ้าที่ถูกรีไซเคิลน้อยกว่าร้อยละ 1 ที่ถูกวางจำหน่ายเป็นเสื้อผ้าใหม่


75 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship Theory) Harry Sullivan (1892-1949) เริ่มศึกษาจิตวิเคราะห์และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนถึงทฤษฎี ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเน้นว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลจากความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคลกับ บุคคลอื่นในสังคม มนุษย์เป็นผลจากการ ปฏิสัมพันธ์กับสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเป็นตัว บ่งชี้ความต้องการและทิศทางการเติบโตของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็กมี อิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพจิตของคน ๆ หนึ่ง ในชีวิตใน ภายหลังและประสบการณ์ที่สำคัญ คือความ วิตกกังวลที่เกิดจากการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็กและปัญหาด้าน มนุษย์สัมพันธ์ ดังนั้น ความจำเป็นในการ สร้างภาพลักษณ์จึงเป็นที่ยอมรับของสังคมในปัจจุบัน อาจเป็นภาพ สะท้อนของปัญหาความ สัมพันธ์ ระหว่างบุคคล ที่ผ่านมามันเป็นไปได้ ลักษณะของทฤษฎีสัมพันธภาพ หลักการของทฤษฎีสัมพันธภาพเชื่อว่า บุคคลถูกกระตุ้นเพื่อไปสู่เป้าหมาย 2 ประการ คือ 1. เป้าหมายเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ (satisfactions) โดยเน้นที่ความต้องการทาง สรีรวิทยา เช่น ความหิว การนอนหลับพักผ่อน ความต้องการทางเพศ เป็นต้น 2. เป้าหมายของความมั่นคง (security) คือ ความต้องการ การดำรงอยู่อย่างมี ความสุข ต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคน ความต้องการทั้งสองนี้ มีความเกี่ยวข้อง กัน หากบุคคลได้รับการตอบสนองที่เพียงพอในทั้งสองด้าน บุคคลนั้นจะไม่วิตกกังวล Harry Sullivan อธิบาย ว่า บุคคลพยายามลดความวิตกกังวลและเพิ่มความมั่นคงให้กับ ตนเอง เขาเน้นถึงพฤติกรรมที่สังเกตได้ (wings swagger, 2557) แนวคิดทางสังคมวิทยา การกระทำทางสังคมเพื่อสร้างการยอมรับนั้นมี 3 แนวคิด 1. การกระทำทางสังคมที่มีโครงสร้างเป็นตัวกำหนดการกระทำทางสังคมตามบรรทัด ฐาน และบทบาทของสังคม 2. การกระทำทางสังคมที่เน้นผู้กระทำ เป็นการกระทำทางสังคมที่มนุษย์พยายาม แสดงออก ตามการสะท้อนของผู้อื่นในขณะที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งเปิดใจยอมรับความ คิดเห็นหรือความ คิดเห็นของผู้อื่นเพื่อพัฒนาตนเอง 3. การกระทำทางสังคมที่โครงสร้างและผู้กระทำการกำหนดร่วมกัน ซึ่งเป็นการ กระทำทาง สังคมที่มนุษย์แต่ละคนรับรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามบริบทว่าตัวเองเป็นใคร คนอื่นเป็น ใคร และคนอื่นรับรู้ เกี่ยวกับตัวเราอย่างไร (หอสมุดกลาง ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย)


76 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการที่ 1 การคัดเลือก และจัดเตรียมวัสดุในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานชุด ความทรงจำสี ขาว ในการเลือกวัสดุคือเสื้อผ้า จากการเหลือของการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยน เสื้อผ้า (Clothing swap) ผู้สร้างสรรค์จึงคัดแยกเฉพาะเสื้อสีขาว ที่มีลักษณะของการผ่านการใช้งานมาแล้วซึ่ง จะเป็นเสื้อขาวที่มีคราบเหลือง หรือมีร่องรอยฉีกขาด เพื่อแสดงให้เห็นถึงมิติ-เวลาของสิ่งของที่มีการผ่านการใช้ ประโยชน์มาจากผู้คนแล้ว ภาพที่1 เสื้อผ้าสีขาวที่ผ่านการใช้งาน และไม่มีผู้สนใจนำไปใช้อีก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ กระบวนการที่ 2 กระการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยการนำเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายและสิ่งของที่ ได้รับ มาสร้างสรรค์ผลงาน ตามจินตนาการที่มีเนื้อหาของการหวน นึกถึงธรรมชาติที่เริ่มสูญหายไป ภาพที่2 การประกอบสร้างของเสื้อผ้าที่ผ่านการใช้งานแล้ว ขนาด 100 x 150 x 60 ซม. เทคนิค ประกอบสร้างวัสดุ ที่มา: ผู้สร้างสรรค์


77 กระบวนการที่ 3 ติดตั้งร่วมกับการฉายภาพจากโปรเจคเตอร์ เป็นภาพถ่ายธรรมชาติที่ผ่านการ สร้างสรรค์ให้ต่างจากสีธรรมชาติ ภาพที่ 3 การประกอบสร้างของเสื้อผ้าที่ผ่านการใช้งานแล้ว ขนาด 100 x 150 x 60 ซม., เทคนิค ประกอบสร้างวัสดุ ที่มา: ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ด้านเนื้อหา การนำเรื่องราวทางสังคมมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์นั้น ต้อง อาศัยปัจจัยหลายๆส่วนเพื่อมาประกอบทางความคิด เนื่องจากเรื่องทางสังคมเป็นเรื่องที่คนสามารถรับรู้และมี ส่วนร่วมได้ โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการสร้างสรรค์ผลงานที่ให้ผู้คนในสังคมมีส่วนร่วมใน กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน จึงเป็นการชักจูงให้คนในสังคมเข้าใจและเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรอย่าง คุ้มค่า ด้านรูปแบบ ผู้สร้างสรรค์ได้กำหนดรูปแบบของผลงานไว้ 2 ลักษณะ คือ 1. รูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์ โดยใช้คนในสังคมมีส่วนร่วมในการผลิตผลงานศิลปะ โดยการจัด กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า(Clothing swap) เพื่อให้คนกลุ่มต่างๆ นำเสื้อผ้าของตนเองมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้เสื้อผ้าเหล่านั้นได้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด 2. รูปแบบของผลงานสร้างสรรค์ ใช้เสื้อผ้าที่เหลือจากการถูกเลือกแล้วไปสร้างสรรค์ผลงานเป็น ชิ้นงานสร้างสรรค์ต่อไป ด้านเทคนิค ผู้สร้างสรรค์ออกแบบการใช้เทคนิค และวิธีการสร้างสรรค์ของผลงาน ไว้ดังนี้ 1. สร้างสรรค์จากวัสดุ เสื้อผ้าที่เหลือจากการแลกเปลี่ยนของผู้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า (Clothing swap)


78 2. การเลือกใช้เสื้อผ้าขาว ที่มีร่องรอยของการถูกใช้งาน จนมีคราบ หรือมีความขาวหม่น เพื่อแสดงถึง กาลเวลา ที่แสดงถึงอดีตที่เสื้อเหล่านี้มีความขาว สะอาด เปรียบเหมือนธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เคยสดชื่น บริสุทธิ์ สะอาดในอดีต ปัจจุบันกลับมีมลภาวะ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฝุ่น ควัน และเชื้อโรค แปดเปื้อน 3. การประกอบโดยการติด การเย็บ เพื่อให้เห็นรูปทรงที่ออกแบบไว้ 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ชุดความทรงจำสีขาว จากโครงการ “ภาพสะท้อนสังคม ฟาสต์แฟชั่น” ผู้สร้างสรรค์ มุ่งหวังให้เกิดภาพสะท้อนของ การผลิตแบบ “ฟาสต์แฟชั่น” ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีมาจากกระแส นิยมด้านแฟชั่น โดยผู้สร้างสรรค์จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมในโครงการศิลปะ ถือเป็นกระบวนการทางศิลปะอย่างหนึ่ง ได้เห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่แม้ไม่ได้ใช้เงินทองซื้อหา แต่สามารถ แลกเปลี่ยนกัน สร้างความสุขใจทั้งผู้นำมาแลก และผู้เลือกไป สุดท้ายเสื้อผ้าที่เหลือจากการที่คนเลือกยัง สามารถเป็นวัสดุที่นำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นเตือนคนในสังคมเกี่ยวกับ ระบบทุน นิยมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีก เอกสารอ้างอิง สาคร สมเสริฐ. (2009). การกระทำทางสังคมในฐานะวิถีแห่งการสร้างการยอมรับ: บทสำรวจแนวคิดทาง สังคมวิทยา. เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ pimjournal/article/view/11968 หอสมุดกลาง ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฮาบิตุส (habitus). เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/User/Downloads/DigitalFile%233%20(1).pdf Jasmine Chinasamy. (2019). Fast Fashion อุตสาหกรรมตัวร้าย: แฟชั่นติดไซเรน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.greenpeace.org/thailand/story/9381/fast-facts -about-fast-fashion


79 แสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ Refection from the Sun เด่น หวานจริง, Den Warnjing 92/2 หมู่ 3 ต.ลาดงา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา, 92/2 M.3 Lardga, sena distric, Ayuthaya E-mail : [email protected] บทคัดย่อ แรงบันดาลใจจากความงดงามของธรรมชาติที่มีการผันเปลี่ยนไปแต่ช่วงเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น ถึงยามค่ำ ในแต่ละวัน ตามแสงสว่างที่เกิดจากดวงอาทิตย์ เช่น แสงสลัวของพระอาทิตย์ที่กำลังค่อยๆสว่างขึ้นท่ามกลางสาย หมอกที่ปกคลุมธรรมชาติของชนบทท้องทุ่ง ริมน้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง มีพืชพรรณนานาชนิดปกคลุมอยู่ พงหญ้าพริ้วปลิวไสว เป็นความงดงามที่อยู่แนบแน่นกับวิถีชีวิตของผู้คนในชนบท แสงแดดยามเช้าค่อย ๆ สว่างขึ้น ไปตามช่วงเวลาเจิดจรัส ส่งพลังให้กับชีวิตทุกสรรพสิ่ง ประกายระยิบระยับของแสงแดดที่ตกสะท้อนลงบนผิวน้ำ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนทางการเห็นด้วยสายตาเป็นความงามที่เกิดจากธรรมชาติ ความหลากหลายของแสงและสี จากดวงอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า บังเกิดแรงกระตุ้นภายในและทำให้เกิดจินตนาการกับข้าพเจ้า โดยนำมา แสดงออกผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคจิตรกรรม เทคนิคภู่กันจุ่มหมึกจีนและสีน้ำวาดลงบนกระดาษ และสีอะคลิลิค บนผ้าใบด้วยเทคนิควิธีการตวัด การสลัด การหยด การปาด การป้ายพู่กัน เกิดการประสานกันของ สีในลักษณะบางใสด้วยการใช้น้ำเป็นส่วนผสมกับสี มีการแตกตัวเป็นคราบไหลย้อยให้ความงามของพื้นผิวที่มี ลักษณะต่าง ๆ แสดงจังหวะระหว่างรูปทรงกับพื้นที่ว่าง โดยการลดทอนรายละเอียดของรูปทรง สกัดให้เหลือแต่ ส่วนที่จำเป็นแสดงแก่นแท้ สาระที่สำคัญและแสดงอารมณ์ความรู้สึก ที่เกิดจากการเห็นแจ้งจากภายใน ถึงแก่นแท้ สาระของความงามในชีวิต คำสำคัญ: ความงาม, แรงบันดาลใจ, สาระ Abstract Inspired by the beauty of nature have changes this time from morning, afternoon, evening to night each day. according to the light emitted by the sun Athi, such as dim light, the sun that is gradually brightens in the midst of the fog that covers the nature of the rural field, marsh, swamp, canals are covered with various kinds of vegetation. The fluttering grass is a beauty that is inseparable with the way of life in the countryside. The morning sunlight gradually grew brighter as the moment radiated, energizing every life. The glitter of sunlight reflected on the water surface


80 It causes visual vibrations as a result of natural beauty. The variety of light and colors of the setting sun It gave me an inner impulse and shaped my imagination. which is expressed through the creative process with painting techniques Chinese ink painting and watercolor techniques painted on paper and acrylic paints on canvas with techniques such as flicking, throwing, dripping, squeezing, brush strokes The harmonization of colors in a transparent manner by using water as a mixture with paint. There are disintegrating stains that give the beauty of the surface with various characteristics. Expresses the rhythm between the shape and the empty space by reducing the details of the shape. extract only the necessary parts to show the essence Substance and emotion expression Keywords: Beauty, Inspiration, Essence 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ขึ้นจากประสบการณ์ทางการเห็น และซึมซับความงามจากธรรมชาติใน ชนบทที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ และมีความสวยงาม ธรรมชาติเป็นบ่อเกิดของความงาม พลังจากแสงของดวง อาทิตย์ที่หมุนเวียนแปรเปลี่ยนในแต่ละวันตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ให้พลังงานแก่สรรพสิ่งของชีวิตในธรรมชาติ ได้เจริญเติบโตดำรงอยู่และประสานกันอย่างกลมกลืนกับชีวิตของมนุษย์ในทุกปีจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของฤดูกาล มนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ในธรรมชาติอยู่อาศัยและพึ่งพากันและกัน ในสภาพแวดล้อมที่มีความอุดม สมบูรณ์ของแหล่งอาหาร เป็นประสบการณ์ตรงที่ข้าพเจ้าได้รับจากการดำเนินชีวิตที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติเป็น สิ่งที่จุดประกายความคิดและเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นการโต้ตอบกับจิตใต้สำนึกและอารมณ์ ความรู้สึกภายใน ที่เกิดจากการเห็นแจ้ง สัมผัสถึงชีวิตและสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวอยู่ในที่ว่าง โดยลดทอน รายละเอียดของรูปทรง ด้วยวิถีการตวัด การสลัด การหยด การปาด การป้ายร่องรอยด้วยพู่กันจุ่มหมึกจีน สีน้ำบน กระดาษ และสีอะคลิลิคบนผ้าใบ ทำให้เกิดเป็นจุด เส้น สีน้ำหนัก พื้นผิวที่ประสานสัมพันธ์เคลื่อนไหวในลักษณะ สั่นสะเทือน เป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกันกับที่ว่าง สะท้อนพลังของแสง สีสัน ของดวงอาทิตย์ ที่ส่องสว่าง และตก กระทบในธรรมชาติ ทำให้เกิดประกายระยิบระยับประสานกลมกลืนเป็นส่วนเดียวกัน แสดงออกถึงความรู้สึกที่เกิด จากการเห็นแจ้งจากภายใน ถึงแก่นแท้ สาระของความงามในชีวิตของธรรมชาติ 2. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีความเคลื่อนไหวแบบสั่นสะเทือน (Vibration) เป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดจากการใช้จุด เส้น น้ำหนักที่มีทิศทางและขนาดต่างกันรวมกันเป็นกลุ่ม และการกระจายตัวออก เกิดจากการตวัด การสลัด การปาด การป้ายการกระทุ้งด้วยภู่กันจุ่มหมึก สีน้ำ สีอะคลิลิคบนที่ที่ว่าง


81 ทฤษฎีความงาม (Beauty) หมายถึง คุณสมบัติของศีลธรรมและพุทธิปัญญาและทางรูปภายนอก ซึ่งโน้ม น้าวจิตใจให้เกิดความรู้สึก ปิติ ยินดีในระดับสูงแก่ผู้รับรู้ ด้วยความสมบูรณ์ของรูป เส้น สี น้ำหนัก พื้นผิว ที่ว่าง และความงามที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ ต้นไม้ ดอกไม้ ร่างกายมนุษย์ สัตว์และสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ทฤษฎีความบันดาลใจ (Inspiration) เกิดขึ้นจากสิ่งที่มากระตุ้นจากภายนอกและภายในใจ จนเกิดแรง บันดาลใจ ก่อให้เกิดความคิดจินตนาการที่ผุดขึ้นเองโดยบังเกิดทำให้เกิดการสร้างสรรค์ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ 1. ศึกษา ซึมซับความงามจากแสงสะท้อน สีสัน ของดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบลงในธรรมชาติแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง แล้วนำมาถ่ายทอดด้วยการใช้เทคนิคภู่กันจุ่มหมึกจีนและสีน้ำวาดลงบนกระดาษ และสีอะคลิลิ คบนผ้าใบด้วยเทคนิควิธีการตวัด การสลัด การหยด การปาด การป้ายพู่กันโดยการลดทอนรายละเอียดของรูปทรง สกัดให้เหลือแต่ส่วนที่จำเป็นแสดงแก่นแท้ สาระที่สำคัญและแสดงอารมณ์ความรู้สึก 2. ประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยการสร้างสรรค์แบบร่างความคิดโดยการถ่ายทอดและสร้างสรรค์ที่มีการ พัฒนาคลี่คลายผลงานที่ต่อเนื่องกันระหว่างการวาดด้วยหมึก สีน้ำ และสีอะคลิลิค เพิ่มเติมแก้ไขจนเกิดความลงตัว ในผลงานแต่ละชิ้นงานที่สร้างขึ้นใหม่ แล้วนำมาประมวลจัดเรียงเป็นชุดหนึ่งในการแสดงออกของความคิด 3. การวิเคราะห์ผลงานเพื่อแสดงคุณค่าที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงาน 4. การวิเคราะห์ผลงาน ด้านเนื้อหา แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความประทับใจ จากความงามของแสงสะท้อนที่มีความ ระยิบระยับและสรรพสิ่งของธรรมชาติ สั่งสมประสบการณ์การดำเนินชีวิต ที่ได้ซึมซับความงาม เกิดการเห็นแจ้ง เข้าถึงแก่นแท้ ที่เป็นสาระของชีวิต ด้วยการใช้จุด เส้น น้ำหนัก พื้นผิว ที่ว่าง ประสานสัมพันธ์กันในลักษณะการ สั่นสะเทือนทั่วทั้งภาพ จากการใช้เทคนิควิธีการตวัด การสลัด การกระทุ้ง การปาด การป้ายพู่กันจุ่มหมึกจีนให้เกิด ร่องรอยบนผืนภาพ แสดงความเคลื่อนไหวของที่ว่างภายในและที่ว่างภายนอกจนเกิดการประสานกันของสี พื้นผิว รูปทรง


82 ภาพที่ 1 แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 แรงบันดาลใจและการสร้างสรรค์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


83 ภาพที่ 3 ภาพร่างต้นแบบความคิด ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 ภาพผลงานชิ้นที่ 1 Sunset in pink lotus pound, จิตรกรรมสีอะคลิลิค, 100 x 120 cm. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


84 ภาพที่ 5 ภาพผลงานชิ้นที่ 2 Sunset in red lotus pound, จิตรกรรมสีอะคลิลิค, 120 x 200 cm. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ชุดแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์เป็นการพัฒนาคลี่คลายจากแรงบันดาลใจที่เห็น และ สังเกต สัมผัสซึมซับความงามของแสง สี ที่สะท้อนจากดวงอาทิตย์ เป็นสิ่งที่ประทับใจแล้วเกิดสะเทือนอารมณ์เป็น แรงพลักดันให้นำมาแสดงออกเป็นผลงานจิตรกรรม หมึก สีน้ำ สีอะคลิลิค ด้วยวิธีการที่ใช้แสดงร่องรอย เป็นจุด เส้น สี น้ำหนัก แสดงอารมณ์ความรู้สึก ของแสงสะท้อนที่มีความระยิบระยับและสรรพสิ่งของธรรมชาติ สั่งสม ประสบการณ์การดำเนินชีวิต ที่ได้ซึมซับความงาม เกิดการเห็นแจ้งจากประสบการณ์เข้าถึงแก่นแท้ ที่เป็นสาระของ ชีวิต ประสานสัมพันธ์กันในลักษณะการสั่นสะเทือนทั่วทั้งภาพ จากการใช้เทคนิควิธีการตวัด การสลัด การกระทุ้ง การปาด การป้ายพู่กันให้เกิดร่องรอยบนผืนภาพ แสดงความเคลื่อนไหวของที่ว่างภายในและที่ว่างภายนอกจนเกิด การประสานกันของสี พื้นผิว ที่ว่าง และรูปทรง เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. พจนานุกรมศัพท์ทัศนศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2559 ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด, 2531 ศิลป์ พีระศรี. ศิลปสงเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัทวิสคอมเซ็นเตอร์ จำกัด, 2553


85 กินรีของฉัน หมายเลข ๕ My Kinnaree No.05 โดม คล้ายสังข์, Dome Klaysang วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบประติมากรรมร่วมสมัยเกิดจากการผสมผสานระหว่างรูปทรงและเส้น ที่เกิดจากจิตใจและประสบการณ์ที่สั่งสมมาจนรับรู้ได้ถึงสุนทรียภาพของผู้หญิง มุมมองผ่านภาพผู้หญิงที่ ปรากฏในโลกออนไลน์ในปัจจุบัน อวดความงามเผยเรือนร่างอันเร้าอารมณ์สู่สายตาภายนอก เปรียบเทียบกับ ตัวละครในวรรณคดีไทย เช่น มโนราห์กินรี ตอน หมู่กินรีเล่นน้ำ อวดความงามจนถูกพรานจับไปถวาย พระราชาด้วยความงามจนเสี่ยงภัย สิ่งเหล่านั้นอาจไม่ใช่การอวดและอวดในเรื่องเพศเสมอไป ผู้หญิงที่ปรากฏ ให้เห็นเพียงความงามและความเต็มใจที่จะแสดงออกการดูแลตัวเอง แต่คนอื่นตัดสินแต่เพียงภายนอก เปรียบเทียบมุมมองนางในในวรรณคดีกินรี การถ่ายทอด ความคิดสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการทางศิลปะ รูปทรงประกอบเครื่องทรงลักษณะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ เป็นงานศิลปะที่เป็นสัญลักษณ์แทนเรื่องนัยยะทาง ตัวละครในวรรณคดีและความคิดบริบทของสังคมปัจจุบัน ที่เราคุ้นเคยกันในสื่อออนไลน์ต่อภาพผู้หญิง การ สร้างสรรค์ในแบบที่แสดงออกถึงเสน่ห์เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมลอยตัวในแบบ ฉบับเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์เอง ผลการการสร้างสรรค์เชิงศิลปะพบว่าผลงานที่มีคุณค่าทางสุนทรียะจำเป็นต้องนำมาเปรียบเทียบกับ สัญลักษณ์ทางนัยยะทางบริบทสังคมเพื่อสร้างความคิดเห็น เมื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงตามระบบเทคโนโลยี การสร้างสรรค์ซึ่งเป็นแบบแผนตามบริบทของยุคสมัย โดยมุ่งมั่นค้นคว้า พัฒนา ต่อยอด ทดลอง และหา แนวทางสร้างสรรค์เพื่อสรรค์สร้างผลงานนั้นให้ตอบสนองต่อเอกลักษณ์ของไทยและร่วมสมัย จะพัฒนาความรู้ ให้มาก คำสำคัญ: เปรียบเทียบ, ความงาม, กินรี


86 Abstract The creation of works in the form of contemporary sculpture arises from the combination of shapes and lines created by the mind and accumulated experience until it recognizes the aesthetics of women. Perspectives through images of women appearing in today's online world. Show off your beauty, revealing your sensual body to the outside world. Compare with characters in Thai literature such as Manora Kinnaree in the episode Mu Kinnaree Play Nam. showing off her beauty until being captured by hunters to present to the king with her beauty Those may not always be bragging and bragging about sex. Women who appear only to show their beauty and willingness to show themselves care. But others judge only the outside. Comparison of Nang Nai's perspectives in Kinnaree paragraphs. The expression of creativity through the artistic process. Creative Thai dancing style It is a symbolic work of art representing the implications of the characters in literature and the context of today's society. that we are familiar with in online media towards female images Creation in a way that expresses charm is the inspiration for the creation of a floating sculpture in the unique style of the creator himself. As a result of artistic creation, it was found that works with aesthetic value needed to be compared with symbols in social context to generate opinions. When it brings changes according to the creative technology system, which is a pattern according to the context of the era By focusing on researching, developing, extending, experimenting, and finding creative ways to create works that respond to Thai and contemporary identity. will develop a lot of knowledge Keywords: compare, beauty, kinnaree 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ตามความหมายของสุนทรียศาสตร์นั้น แนวความชื่อทางความงามเป็นสิ่งที่อุบัติการณ์ สรรค์สร้างขึ้นโดย มนุษย์ ประติมากรรม หมายถึง ศาสตร์ทางภาษาที่สามารถแสดงบทบาทเชื่อมต่อในมิติการรับรู้ในกระบวนการทาง ความคิดของศิลปินผู้สร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบรูปทรงที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ทั้งในลักษณะผลงาน 2 มิติ หรือ 3 มิติ และมีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้มนุษย์มีความซาบซึ้งและชื่นชมในความงามที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น (สามารถ จับโจร, 2555) ผลงานประติมากรรมจึงสามารถสร้างสรรค์ได้ออกมาหลายมิติ เข้าทำปฏิกิริยาของรูปทรงกับ พื้นที่อากาศ ถ่ายทอดความคิดได้เต็มที่ ดั่งสามารถ จับโจร ได้กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนอีกว่า ด้วยการแสวงหา ความงามหรือการเพียรพยายามที่จะถ่ายทอดกระบวนการการสร้างสรรค์ของตนเองเพื่อการแสดงออกให้ผู้คน ได้รับรู้ในสิ่งที่ตนกระทำคือสิ่งที่มนุษย์เพียรพยายามนำเสนอเพื่อตอบสนองความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการ ของผู้สร้างสรรค์อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดในการถ่ายทอดทางมโนภาพที่ได้รับจากความจริงหรือจากจินตนาการ โดยใช้ภาษาทางความงามเป็นสื่อกลางเพื่อที่จะให้ผู้คนโดยทั่วไป เข้าใจในสิ่งที่ตนเองสร้างสรรค์หรือผู้ สร้างสรรค์ต้องการแสดงออกมาให้สาธารณชนได้รับรู้ ดังนั้นความงามที่มีคุณค่าจะต้องเกิดขึ้นจากการ


87 สร้างสรรค์ของมนุษย์ตลอดทั้งการแก้ปัญหาที่ยอดเยี่ยมของผู้สร้างสรรค์ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเชื่อกันว่า มนุษย์เท่านั้นที่มีสติปัญญาจนถึงขั้นสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ แล้วนำมาสร้างสรรค์งานและสามารถที่จะอธิบาย ถ่ายทอดได้ เนื่องจากมนุษย์สามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น การใช้วัสดุและเครื่องมือตลอดจน การสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณค่าทางความงาม เหมาะสมกับความ ต้องการของผู้เสพ ทั้งในด้านการใช้สอย ตอบสนองด้านจิตใจและอารมณ์ ความรู้สึกทาง กามารมณ์ นอกจากนี้ มนุษย์ยังสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้มีวิวัฒนาการในการพัฒนาเพื่อความเจริญต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นลำดับ ซึ่ง การสร้างสรรค์ทางความงามเป็นกระบวนการอิสระและเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นใหม่ การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบประติมากรรม ในมุมมองของผู้สร้างสรรค์จินตภาพจากรูปทรงและ ลวดลายเส้นเกิดจากจริตและประสบการณ์ที่สั่งสมรับรู้ถึงสุนทรียรสความงดงามของลวดลายเส้น โดยเฉพาะ ความงามของกายภาพของมนุษย์ ผู้หญิง ที่มีลักษณะคล้ายเส้นลวดลายโค้ง มีความงามพริ้วไหวด้วยเกิดจาก ท่าทางต่าง บ่งบอกถึงความรู้สึกภายในสู่ภายนอก ทั้งลายที่มีความต่อเนื่องจากการแสดงความรักระหว่าง ผู้หญิงกับผู้ชาย โดยการสัมผัสร่างกายเป็นภาษาที่สื่ออารมณ์ ความรู้ และสอดแทรกความปรารถนาของทั้งสอง ฝ่ายด้วยความรัก ความเย่อหยิ่ง ความเร่าร้อน และความเยือกเย็นผ่านร่างกาย ในรูปแบบของเส้นที่แสดงออก ผ่านร่างกายซึ่งเปรียบได้กับเส้นที่ซ่อนเสน่ห์ เป็นแรงบันดาลใจให้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมลอยตัวใน ลักษณะเฉพาะของตนเอง แสดงออกถึงสมดุลของธรรมชาติของมนุษย์ต่างความคิดมุมมองของแต่ละบุคคล 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้สร้างสรรค์ใช้กระบวนการประติมากรรมมาสร้างผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ ให้เกิดความชัดเจนในการสื่อ ความคิดมากที่สุด โดยเน้นทางท่าทางมุมมองผ่านภาพผู้หญิงที่ปรากฏในโลกออนไลน์ในปัจจุบัน อวดความงาม เผยเรือนร่างอันเร้าอารมณ์สู่สายตาภายนอก เปรียบเทียบกับตัวละครในวรรณคดีไทย เช่น มโนราห์กินรี ตอน หมู่กินรีเล่นน้ำ อวดความงามจนถูกพรานจับไปถวายพระราชาด้วยความงามจนเสี่ยงภัย สิ่งเหล่านั้นอาจไม่ใช่ การอวดและอวดในเรื่องเพศเสมอไป ผู้หญิงที่ปรากฏให้เห็นเพียงความงามและความเต็มใจที่จะแสดงออกการ ดูแลตัวเอง แต่คนอื่นตัดสินแต่เพียงภายนอก เปรียบเทียบมุมมองนางในในวรรณคดีกินรี การถ่ายทอด ความคิดสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการทางศิลปะ รูปทรงประกอบเครื่องทรงลักษณะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ เป็นงานศิลปะที่เป็นสัญลักษณ์แทนเรื่องนัยยะทางตัวละครในวรรณคดีและความคิดบริบทของสังคมปัจจุบัน ที่ เราคุ้นเคยกันในสื่อออนไลน์ต่อภาพผู้หญิง การสร้างสรรค์ในแบบที่แสดงออกถึงเสน่ห์เป็นแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมลอยตัวในแบบฉบับเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์เอง จึงใช้เทคนิคผสม นำ กระบวนการต่าง ๆ รูปแบบประติมากรรมมาผสมผสานผ่าน ข้อกำหนดของวัสดุสร้างเทคนิคเกิดรูปทรงและ เส้นพลาสติก แทนความคิดสื่อความหมายเฉพาะตัว ความคุ้นชินของเส้นโค้งทางกายภาพของมนุษย์เชิง สัญลักษณ์ นำมาสื่อสาร ของตัวบุคคลที่แสดงออกที่ผู้สร้างสรรค์นำมาสร้าง มิใช่ความคิดต่างมุมมองของ ผู้อื่นมอง ดั่งบทความที่กล่าวว่า โดยเหตุที่ การแทนความ (representation) นั้นมีองค์ประกอบสำคัญ คือ ความคล้ายคลึง(resemblance) และ กรอบจำกัด (lmitation) เราจึงมักคิดกันว่าภาพ สามารถสื่อสารได้ ตรงไปตรงมากกว่าภาษาพูดเขียนซึ่งมักแปรปรวนไปตามแต่ละวัฒนธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีแนวโน้ม


88 อย่างสูงที่คนเราจะไม่คิดถึงภาพในฐานะที่เป็นกาษาแบบหนึ่ง แต่มักคิดถึงภาพในฐานะสิ่งที่สื่อความได้ ตรงไปตรงมาและมีความหมายที่เป็นสากล การที่ศิลปะมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับแนวคิดเกี่ยวกับการ แสดงออก (expression) คนทั่วไปจึงมักคิดว่าทัศนศิลป์เป็น ผลของการใช้สัญชาตญาณ (intuitive) คิดว่า ทัศนศิลป์เป็นผลของจิตไร้สำนึก (the unconscious) และคิดว่าทัศนศิลป์มีลักษณะดิบ (basic) กว่าภาษา (พูด/เขียน) ด้วยเหตุนี้ คนทั่วไปจึงคิดว่าทัศนศิลป์ไม่อาจถูกจำกัดด้วยบริบททางวัฒนธรรมใด ๆ ที่ศิลปะขึ้นนี้ถือ กำเนิดขึ้นมา.และแน่นอนว่า สิ่งที่คนทั่วไปคิดตังกล่าวข้างต้น. (ถกิง พัฒโนภาษ, 2551) โดยใช้การสร้างรูปทรงด้วยกระบวนการปริ้น จึงแทนความเป็นยุคสร้างสรรค์ในการสร้าง ประกอบดัด เส้นพลาสติกเป็นรูปทรงเครื่อง นาฏศิลป์ไทยแทนความเป็นอัตลักษณ์ไทย ภายใต้แนวความคิด ทั้งการใช้ เทคนิคประกอบความหลากหลายของกระบวนการสร้างด้วยความเป็นสีของวัสดุที่แสดงถึงความรู้สึกอีกด้วย ผู้ สร้างสรรค์จึงตั้งใจแสดงแนวความคิดผ่าน ผลงานสร้างสรรค์ประติมากรรมลอยตัวให้ได้รู้สึกถึงการแสดงรูปทรง ผู้หญิงที่ปรากฏให้เห็นเพียงความงามและความเต็มใจที่จะแสดงออกการดูแลตัวเอง แต่คนอื่นตัดสินแต่เพียง ภายนอก มองในแง่ตัณหาราคะเสมอไป เปรียบเทียบมุมมองนางในในวรรณคดี กินรี ด้วยรูปทรง พื้นผิวและ เส้นผ่านที่ว่างของอากาศ ให้เกิดความสุนทรียะในการรับชมมากที่สุด และพยายามต่อยอดความงดงามไปตาม จินตนาการของตนเองในความร่วมสมัยของบริบทของศิลปะและสังคมต่อไป 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานของผู้สร้างสรรค์ใช้กระบวนการสร้างงานประติมากรรม ด้วยกระบวนการปริ้น เส้นพลาสติก ในกระบวนการสมัยใหม่ โดยมีรูปแบบและเรื่องราวจากแนวความคิด ประกอบลวดลายจาก เครื่องประดับจากนาฏศิลป์มาปรับเป็นเส้นรูปแบบ Contour Art มาเป็นแรงบันดาลใจในการนำเสนอถึง เนื้อหาที่จะแสดงออกให้ผู้ชมได้รับรู้ เป็นการสัมผัสรับรู้ระยะแรกของการแสดงออก ก่อนที่จะเข้าไปสัมผัส อารมณ์ความรู้สึกของผลงาน ลักษณะเป็นงานประติมากรรมที่มีเทคนิควิธีการแสดงออกตามลักษณะเฉพาะตน ในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและสอดคล้องกับเนื้อหาเรื่องราว ที่หยิบยกเอามาเป็นสื่อเบื้องต้นในการนำเสนอ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกภายในออกมาให้ปรากฏชัดเจน อยู่ในขอบเขตของรูปแบบงานประติมากรรมแนว ร่วมสมัย โดยวัสดุเส้นพลาสติก 3D PLA กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ได้จัดทำเป็นขั้นตอน กำหนดไว้เป็นลำดับของการปฏิบัติงาน ดังนี้ 3.1 รวบรวมแนวความคิดให้ชัดเจนและตรงกับความต้องการ ขั้นตอนนี้ คือ ขั้นตอนท่าทางของภาพ ผู้หญิงผ่านสื่อออนไลน์ ที่แสดงออกถึงความงามได้หลายแง่คิด โดยขออนุญาติเจ้าของภาพเพื่อเข้าร่วมในการ สร้างสรรค์เปรียบได้ เป็นต้นแบบ ผลงาน ประกอบการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ 1) ข้อมูลจาก ภาพการแสดงของผู้หญิงในสื่อออนไลน์และตัวละครไทยทางนาฏศิลป์2) ข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา วิชาการต่าง ๆ และ 3) ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต


89 ภาพที่ 1-2 ภาพการแสดงท่าท่างรูปผู้หญิงจากสื่อออนไลน์ (ขออนุญาตเจ้าของภาพส่วนบุคคลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) / รูปตัวละครกินรี อ.จักรพันธุ์. โปษยกฤต ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/18577417191774700/ 3.2 การสร้างภาพร่างรูปแบบ 2-3 มิติเกิดขึ้นหลังจากที่มีการค้นคว้าหาข้อมูลรวบรวมแนวคิด จัดลำดับรูปสัญลักษณ์ของความคิดตามข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาและได้จินตนาการเพิ่มเติม แล้วเห็นเป็นภาพ ราง ๆ ขึ้นในความคิด ก็ถึงขั้นตอนการสร้างภาพร่างเพื่อจะถ่ายทอดความคิดที่มีอยู่ ให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่าง ชัดเจน การสร้างภาพร่าง เป็นขั้นตอนการสรุปความคิดจินตนาการ ให้เกิดเป็นผลงานทางทัศนศิลป์ที่เป็นรูป เป็นร่างอย่างชัดเจนขึ้น เป็นโครงสร้างรวม ๆ หาความสมบูรณ์ในเรื่องของการจัดวางองค์ประกอบทาง ทัศนศิลป์ อันมีเส้น พื้นที่ว่าง รูปทรง ฯลฯ เมื่อได้ภาพร่างเป็นโครงสร้างรวม ๆ ขึ้นมาแล้ว ก็จะมีการแก้ไข เพิ่มเติม ลดทอน ปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการตามที่มีอยู่ในความคิดและจินตนาการ โดยพยายามให้ ผลงานแสดงออกมาให้ตรงกับความต้องการให้มากที่สุด ภาพที่ 3 - 4 การสร้างภาพร่างลายเส้น 2 มิติและโปรแกรม 3 มิติ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


90 3.3 การสร้างผลงานจริง โดยการนำภาพร่างรูปสัญลักษณ์ของความคิดจากรูปแบบ 2 มิติมาเป็น ต้นแบบในการขยายเป็นผลงานจริง ภาพร่างจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างรวม ๆ ของรูปแบบ 2 มิติให้เกิดเป็น รูปแบบ 3 มิติ ทำสี ประกอบเส้น พร้อมเพิ่มเติมไปตามเหตุผลและความรู้สึกส่วนตัว ในการแก้ปัญหาพื้นที่ว่าง ให้เหมาะสมกับรูปแบบประติมากรรม โดยการใช้ทัศนธาตุต่าง ๆ และจินตนาการสร้างสรรค์ที่เราจะเพิ่มเข้าไป หรือลดทอน ปรับปรุง ในผลงานจริงได้อย่างเป็นอิสระ เทคนิควิธีการในการสร้างผลงาน ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมของผู้สร้างสรรค์จะใช้เทคนิคการปริ้นเส้นพลาสติก 3D Printers PLA Filament 1.75 mm. ติดตั้งบนฐานสำเร็จรูปรูปทรงอ่างน้ำผุขนาด 5 X 5 X 10 ซม. และการสร้างเส้น พลาสติกแข็ง ผ่าเครื่องมือลักษณะเป็นปากกาความร้อนดัดแปลงให้เกิดความอ่อนตัว ดัดเป็นลายเส้นตาม แนวความคิด สร้างขึ้นโดยใช้เส้นรวม ๆ ไปทั้งผลงาน ใช้ตามรูปทรงยึดติดตามส่วนต่างๆของรายละเอียดที่มีใน ภาพร่าง จนประสานกลมกลืนกันซึ่งเป็นลักษณะของผลงาน โดยทำค่าน้ำหนักของสีและพื้นผิวแทนค่าของ แนวความคิดผสานความเป็นสุนทรียภาพของผลงาน ทับซ้อนกันไปจนได้น้ำหนักและสีในโครงสร้างส่วนรวม ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ติดตั้งประกอบพร้อมฐานกล่องไฟ เพิ่มลายให้เข้ากับผลงานหลังให้เกิดมิติทาง หลักการองค์ประกอบศิลป์และหลักการสุนทรียศาสตร์ ภาพที่ 5 ภาพแสดงการปริ้นเส้นพลาสติก Printers PLA Filament 1.75 mm. รูปแบบ 3 มิติ เป็นรูปทรงตามแนวความคิด ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 6 ภาพแสดงการขึ้นรูปด้วยปากกา 3D โดยใช้เส้นพลาสติก Printers PLA Filament 1.75 mm. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


91 ภาพที่ 7 การขยายภาพร่างเป็นผลงานจริง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการรวบรวมแนวความคิดและการสร้างสรรค์ผลงาน “สอดแทรกซ้อนเส้นทรงซ่อนเสน่ห์หา” ประมวลออกมาเป็นผลงานสร้างสรรค์ประติมากรรมแบบร่วมสมัย ที่เน้นการแสดงออกที่เป็นเส้นของท่าทาง ของหญิง ชาย รวมถึงบุคลิกลักษณะส่วนตัว โดยอาศัยองค์ประกอบของทัศนธาตุต่าง ๆ มาใช้ในการสร้างสรรค์ ดังต่อไปนี้ 4.1 รูปทรง (Form) รูปทรงจากการปริ้นเส้นพลาสติก Printers PLA Filament 1.75 mm. รูปแบบ 3 มิติ รูปทรงของกายภาพท่าทางผู้หญิง โดยเฉพาะท่าทางการอาการท่าถ่ายรูป แสดงออกทางพฤติกรรม เพิ่มเติมในส่วนของรายละเอียดให้เป็นรูปทรงตามจินตนาการ 4.2 เส้น (Line) เป็นทัศนธาตุที่สำคัญที่สุดของผู้สร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน เส้นจะเป็น ตัวกำหนดรูปทรงให้รู้ถึงเครื่องทรงตัวละครในวรรณคดี กินรีเส้นเป็นตัวกำหนดให้เกิดทิศทางเป็นตัวสร้างมิติ ให้เกิดขึ้น ให้ความรู้สึกด้านต่าง ๆ ในเอกลักษณ์ไทย เช่น การเคลื่อนไหว มีการใช้เส้นอ่อนโค้งมาประกอบกัน อยู่ในรูปทรง ใช้เส้นสร้างลวดลายต่าง ๆ ตามลักษณะความคิดฝันที่เกิดขึ้นจากจินตนาการ 4.3 สี (Color) ผู้สร้างสรรค์ใช้สีทั้งหมด 2 สี ได้แก่ ใช้สีเงินเป็นสีส่วนรวมของเส้นรูปทรง ผู้หญิง เพื่อ แสดงตัวตน ช่วยให้เกิดการประสานกลมกลืนสอดคล้องกันไปในผลงานในความทันสมัย เหมือนสีอะลูมิเนียม วัสดุสมัยใหม่ ใช้สีดำเพื่อสื่อถึงเครื่องทรง แสดงออกทางความหนักแน่น นุ่มลึก อ่อนไหวของนัยยะ ทาง วัฒนธรรม เปรียบเหมือนการเขียนภาพจากผงคาร์บอนดั้งเดิม 4.4 น้ำหนัก (Value) ผู้สร้างสรรค์ต้องการความกลมกลืนให้สอดคล้องกับเนื้อหาและเรื่องราว ผลงาน จะไม่คำนึงถึงความตื้นลึก แต่น้ำหนักที่เกิดขึ้นประกอบกับการตัดเส้นประกอบฐานไฟให้เกิดน้ำหนักทาง ธรรมชาติ ทั้งเงาตกกระทบวัตถุและเงาสะท้อนที่พื้นผิว สามารถสร้างภาพลวงได้ดีในเรื่องของการเกิดมิติ


92 4.5 ลักษณะผิว (Texture) เป็นการสร้างขึ้นมาให้เกิดความรู้สึกของวัสดุ มีความขรุขระ ซ้อนความ กระด้างของวัสดุในกระบวนการสร้าง โดยใช้เหตุผลทางเนื้อหา เรื่องราว และความรู้สึกเป็นตัวกำหนดแทน ความหลากหลายของมุมมองความคิดภายนอก 4.6 พื้นที่ว่าง (Space) ข้าพเจ้ากำหนดพื้นที่ว่างไปตามเหตุผลของเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยคำนึงถึง กฎเกณฑ์และวิธีการทางประติมากรรม โดยใช้อากาศกำหนดที่ว่างให้เกิดรูปทรง สามารถมองได้โดยการ เปลี่ยนแปลงรอบทุกด้าน 4.7 เอกภาพ (Unity) การจัดวางองค์ประกอบรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีส่วนประธานเป็นจุด สนใจ และมีส่วนประกอบต่าง ๆ ทำให้ผลงานมีความสมบูรณ์ขึ้น 5. สรุป จากการศึกษา ค้นคว้า ทดลองหาแนวทางสร้างสรรค์ผลงาน“กินรีของฉัน หมายเลข ๕” ผู้สร้างสรรค์ ค้นพบว่า ผลงานเกิดจากมุมมองของผู้สร้างสรรค์จินตภาพจากรูปทรงผสานลวดลายเส้นเกิดจากจริตและ ประสบการณ์ที่สั่งสมรับรู้ถึงสุนทรียรสความงดงามรูปทรง น้ำหนัก แสง เงาและลวดลายเส้น โดยเฉพาะความ งามของกายภาพของมนุษย์แสดงลักษณะของนัยยะทางความคิดไม่แน่นอนของภายนอก มีความพริ้วไหวด้วย เกิดจากท่าทางต่างบ่งบอกถึงความรู้สึกภายใน ทั้งรูปทรง ลายเส้นที่มีความต่อเนื่องจากการแสดงออกระหว่าง ผู้หญิงกับความคิดของบุคคลอื่น โดยการสัมผัสภาพร่างกายเป็นภาษาที่สื่ออารมณ์ และสอดแทรกความ ปรารถนาของบุคคลภายนอก แสดงออกความใส่ใจ วินัย ของตนเองผ่านร่างกาย สู่ประเพณีนิยมของบุคคลใน สังคม เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้สร้างสรรค์ สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมลอยตัวในลักษณะเฉพาะของตนเอง แม้ในภาพรวมเรื่องของความสร้างสรรค์ในเส้นสายรายละเอียดที่แสดงออกก็ตาม แต่การแสดงออกทางอารมณ์ บุคลิกภาพความคิดและความเป็นส่วนตัวของศิลปินแล้ว ลักษณะผลงานจะแตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง ผลการสร้างสรรค์เชิงศิลปะพบว่าผลงานที่มีคุณค่าทางสุนทรียะจำเป็นต้องนำมาเปรียบเทียบกับ สัญลักษณ์ทางนัยยะทางบริบทสังคมเพื่อสร้างความคิดเห็น เมื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงตามระบบเทคโนโลยี การสร้างสรรค์ซึ่งเป็นแบบแผนตามบริบทของยุคสมัย โดยมุ่งมั่นค้นคว้า พัฒนา ต่อยอด ทดลอง และหา แนวทางสร้างสรรค์เพื่อสรรค์สร้างผลงานนั้นให้ตอบสนองต่อเอกลักษณ์ของไทยและร่วมสมัย จะพัฒนาความรู้ ให้มากขึ้นอย่างแพร่หลาย เอกสารอ้างอิง ถกิง พัฒโนภาษ. (2551). สัญศาสตร์ กับ ภาพแทนความ. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แปล และขยายความ: บทความ Semiotics and Visual Representation อาจารย์ ดร. Brian Anthony Curtin กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถ จับโจร. (2555). ประติมากรรมกับการสร้างสรรค์. นครราชศรีมา: ตำรา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชศรีมา.


Click to View FlipBook Version