The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

293 สร้างชุดสี (Color Palette) ที่สมบูรณ์สำหรับการใช้งาน เช่น ลักษณะของการใช้สีสีของผ้ากะเหรี่ยงมีการใช้สี ที่ตัดกัน หรือบนผ้าทอกะเหรี่ยงนั้นจะนิยมใช้สีต่าง ๆ เช่น สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว เป็นต้น 3) ขั้นตอนที่ 3 การวาดลวดลายและส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อใช้จัดองค์ประกอบภาพ และ กำหนดชุดสีเพื่อใช้ระบายสีรายละเอียดส่วนนี้ ซึ่งสีส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นสีที่นิยมใช้ในการปักลายผ้าทอกะเหรี่ยง ประกอบด้วย สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีขาว รวมทั้งสีพื้นของผ้าทอ เช่น สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว เป็นต้น ภาพที่ 3 การวาดลวดลายส่วนประกอบ 4) ขั้นตอนที่ 4 นำองค์ประกอบแต่ละส่วนมาจัดวางและปรับแต่งสีเพื่อเน้นจุดเด่นให้ชัดเจน ขึ้นด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop โดยใช้คำสั่งหลาย ๆ คำสั่ง เช่น คำสั่ง Image> Adjustment>Hue/Saturation, คำสั่ง Image> Adjustment>Desaturate, คำสั่ง Image> Adjustment>Level เป็นต้น 5) ขั้นตอนที่ 5 การนำภาพรูปร่าง ลวดลายที่วาดจากโปรแกรม Adobe Illustrator จัดวาง ร่วมกันกับพื้นหลังที่ตกแต่งเสร็จเรียบร้อย ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop คำสั่งที่ใช้ในขั้นตอนนี้ได้แก่ คำสั่ง คำสั่ง Image> Adjustment>Level, คำสั่ง Transform>Reflect เป็นต้น และเครื่องมือสำคัญที่ต้องใช้ สำหรับขั้นตอนการจัดวางคือเส้นกริด หรือเส้นไกด์ เพื่อจัดวางตำแหน่งของวัตถุได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก ลักษณะการจัดวางเป็นการจักวางแบบมีดุลยภาพ ซ้าย – ขวาเท่ากัน และเหมือนกัน โดยในขั้นตอนนี้จะมีการ ใช้คำสั่ง View> Rulers จากนั้นลากเส้นไกด์จากเส้นไม่บรรทัดแต่ละด้านเพื่อควบคุมตำแหน่งการจัดวาง ภาพที่ 4 ผลงานสร้างสรรค์ ชื่อ “ข้าวห่อกะเหรี่ยง” ขนาด 90 x 90 เซนติเมตร เทคนิคศิลปะดิจิทัลและสีอะคริลิคบนผ้าใบ ที่มา : ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ ผู้สร้างสรรค์งาน


294 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับวิถึชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สามารถ นำมาใช้กำหนดวิธีคิดในการสร้างสรรค์ผลงานโดยการนำเสนอเอกลักษณ์วิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง อำเภอ หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ที่ยังคงมีการสืบสานประเพณี วัฒนธรรม ให้มีความต่อเนื่องมาสู่ลูกหลาน กะเหรี่ยงจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีรูปแบบรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างตามลักษณะทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง ไป รวมถึงการรับอิทธิพลจากวัฒนธรรมคนเมืองเข้าสู่ชุมชนกะเหรี่ยงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ ประเพณีเวียนศาลา ประเพณีผูกแขนเรียกขวัญวันกินข้าวห่อ ประเพณีแต่งงานของชาวกะเหรี่ยง เป็นต้น รวมทั้งเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายและทรงผมของชาวกะเหรี่ยง เช่น การใส่ชุดผ้าทอกะเหรี่ยง การโพกผ้า กะเหรี่ยง เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ลายลายผ้าทอกะเหรี่ยงสามารถสรุปได้ดังนี้ ผ้าทอกะเหรี่ยงจะมี ลวดลายผ้าและสีที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะ รูปแบบลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยง สามารถแบงออกได 4 กลุม คือ 1) ลายอองกึ๊ย หรือลายจก 2) ลายอองทา หรือลายยกดอก 3) ลายหนึ่ยไคย หรือลายมัดยอม 4) ลายเฉะหรือ ลายปก และลวดลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายลวดลาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ และความผูกพันกับธรรมชาติ โดยผู้วิจัยนำลายตัวอย่างมาวิเคราะห์จำนวน 15 ลาย ประกอบด้วย 1) ลายเสือ ดาวนาง 2) ลายเลือดาว 3) ลายรอยเท้าไก่ 4) ลายยกดอก 5) ลายยอดเจดีย์ 6) ลายตาบาน บาน 7) ลายคดเคี้ยว 8) ลายหางปลา 9) ลายปลาตาใบ 10) ลายตาสว่าง 11) ลายไข่นก 12) ลายเขียนกำไล 13) ลายรอยเท้าลูกไก่ 14) ลายดึงเสน่ห์นาง 15) ลายพระอาทิตย์ เป็นต้น ผลงานสร้างสรรค์ ชุด “ข้าวห่อกะเหรี่ยง” แสดงสัญลักษณ์ของลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงโดยการ ออกแบบและจัดวางในรูปแบบใหม่ เช่น ลายตาบาน บาน ลายรอยเท้าไก่ ลายพระอาทิตย์ เป็นต้น โดยใช้ สัญลักษณ์การโพกศีรษะของหญิงชายชาวกะเหรี่ยงในรูปแบบตัดทอน ร่วมกับสัญลักษณ์ข้าวห่อกะเหรี่ยงเป็น จุดเด่นในพื้นที่วงกลมกลางภาพ เพื่อแทนสัญลักษณ์ข้าวครูในประเพณีผูกแขนเรียกขวัญวันกินข้าวห่อ (อั้งหมี่ถ่อง) คล้ายขันครู โดยข้าวครูจะทำเป็นพิเศษมีลักษณะเด่น คือ ใช้ไม้ไผ่ท่อนเดียวมาซี่เป็นเส้นตอก แล้วมัดห่อข้าว แบบธรรมดารวมกันเป็นพวง บ้านหนึ่งจะมี 1 พวง พื้นที่ด้านนอกใช้สัญลักษณ์ลายเส้นของข้าวห่อตัวผู้ ข้าวห่อ ตัวเมีย และข้าวห่อตัวธรรมดา ที่สื่อถึงพ่อ แม่ ลูก ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของครอบครัว ภาพที่ 5 ตัวอย่างลายผ้าที่นำมาใช้ในการจัดวางองค์ประกอบลวดลายใหม่ ประกอบด้วยลายลายตาบาน บาน ลายรอยเท้าไก่ ลายพระอาทิตย์ (จากซ้ายไปขวา)


295 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงาน ชุด “ข้าวห่อกะเหรี่ยง” เป็นการกำหนดเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์รูปแบบ ลวดลายขึ้นมาใหม่โดยมีข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับประยุกต์เป็นลวดลายบนผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่ขนาดพื้นที่ 90 x 90 เซนติเมตร รูปแบบการจัดวางจึงมุ่งเน้นเป็นการออกแบบลวดลายผ้าที่ใช้การจัดวางลวดลายซ้ำ ๆ ที่ สัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในทิศทางต่าง ๆ เช่น ทิศทางแนวตั้ง ทิศทางแนวนอน ทิศทางแนวแทยง เป็นต้น และ จัดวางลวดลายภายในขอบเขตพื้นที่ที่กำหนด เช่น พื้นที่วง พื้นที่เหลี่ยม เป็นต้น โดยใช้ส่วนประกอบทั้ง เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นซิกแซก เส้นประ เส้นคดโค้ง ร่วมกับการใช้รูปร่างต่าง ๆ เช่น รูปร่างสามเหลี่ยม รูปร่าง สี่เหลี่ยม รูปร่างวงรี รูปร่างวงกลม รวมทั้งการใช้กลุ่มสีตามหลักทฤษฎีสี เช่น การใช้สีคู่ตรงกันข้าม การใช้สี ข้างเคียง เป็นต้น ทั้งนี้คำนึงถึงลวดลายและสีที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอกะเหรี่ยงเป็นหลัก โดยจัดวางจุดเด่น ของภาพในรัศมีวงกลมกึ่งกลางภาพ แต่อย่างไรก็ตามลวดลายเหล่านี้เป็นรูปแบบการออกแบบกราฟิกของงาน ศิลปะร่วมสมัย ที่ใช้ลักษณะการลดทอนลายละเอียดของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนั้น นอกจากเป็นการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะร่วมสมัยเพื่อให้ผู้ชมตระหนักถึงคุณค่าของผลงานแล้ว ลวดลายเหล่านี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ การจัดวางได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าต้องการนำไปประยุกต์เป็นลวดลายของผลิตภัณฑ์ชนิดใด เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า หมอน พวงกุญแจ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต่าง ๆ เป็นต้น ภาพที่ 6 ตัวอย่างการประยุกต์พิมพ์ลายผลงานสร้างสรรค์ชุด “ข้าวห่อกะเหรี่ยง” บนผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่ ที่มา : ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ ผู้สร้างสรรค์งาน


296 เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ Composition of Art. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. พีนาลิน สาริยา. (2549). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. สรไกร เรืองรุ่ง, สุธิดา บุตรแขก, พูลสวัสดิ์ มุมบ้านเซ่า และศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ. (2561). จิตรกรรมและ ประติมากรรมร่วมสมัยเชิงสร้างสรรค์สู่ชุมชนอาเซียน: ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ไทยกับมาเลเซีย. มนุษยสังคมปริทัศน์, 20(2): 227-249. อภินันท์ โปษยานนท์. (2546). พัฒนาการของศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย: ประเพณีนิยมในด้านที่ กลับกัน. นิทรรศการ The Asia-Pacific of Contemporary Art Triennial, หน้า 99-104. อารีย์ กงจก. (2559). ครูช่างศิลปหัตถกรรม. ดำเนินรายการโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). [การบันทึกภาพและเสียง]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v =e-mJR8KXeCg&t=13s ___________. (30 มกราคม 2560). หัวใจในลายผ้า. ดำเนินรายการโดยอรอุมา ศิลป์วัฒนานุกูล. [การ บันทึกภาพและเสียง]. ช่างทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านบึงเหนือ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี. กรุงเทพฯ : สถานีโทรทัศน์ ช่อไทยพีบีเอส. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=I0uwQCPAb 74&t=99s Adobe Systems. (2019). Illustrator User Guide.Retrived from https://helpx.adobe.com/illustrator/userguide.html 8+


297 Waiting At Sichon ศุภชัย ระเห็ดหาญ, Supachai Rahethan วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat College of fine art, Nakhon Si Thammarat Province. E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์งานด้วยภาพลายเส้น เป็นการบันทึกเรื่องราว วิถีชีวิต ภาพเรือประมงที่จอดเทียบท่ารอ คอยการออกเรือหาปลาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกความทรงจำของการออกไปเขียนภาพทิวทัศน์ทาง บก-ทางทะเลประจำปีการศึกษาของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้ เดินทางไปเขียนภาพทิวทัศน์ทางบก-ทางทะเลด้วยและได้บันทึกเรื่องราว วิถีชีวิตของชาวประมงเป็นภาพ ลายเส้น ของเรือประมงที่ลอยลำเทียบท่ารอคอยการออกเรือหาปลาในท้องทะเล ที่ปากแม่น้ำสิชล ลงบน กระดาษด้วยการวาดภาพเรือประมงด้วยเทคนิคลายเส้นและจุดด้วยปากกา ผลงานการสร้างสรรค์งานด้วยภาพลายเส้น เป็นการบันทึกเรื่องราว วิถีชีวิต ภาพเรือประมงที่จอด เทียบท่ารอคอยการออกเรือหาปลาในครั้งนี้เป็นผลงานการสร้างสรรค์งานออกมาตามความรู้สึกนึกคิดและ ความถนัดของผู้สร้างสรรค์และเป็นไปตามความต้องการโดยเน้นถึงความทรงจำที่ต้องการบันทึกเรื่องราวที่ได้ พบเจอ ซึ่งถือว่าเป็นการบันทึกเรื่องราว วิถีชีวิต ความทรงจำ ที่ผู้สร้างสรรค์งานด้วยวิธีการเขียนภาพลายเส้น จากสถานที่จริงแทนการบันทึกเรื่องราวผ่านทางการบันทึกด้วยภาพถ่าย คำสำคัญ: รอคอย, เรือประมง Abstract Creativity with line drawings It is a recording of the story, way of life, and pictures of fishing boats moored at the pier, waiting for the fishing boats to depart this time. The purpose is to record the memories of the students' annual land-marine landscape paintings. Student at Nakhon Si Thammarat Technical College which the creator has traveled to paint landscapes by land - by the sea and recorded the story The way of life of fishermen is a line drawing. of fishing boats floating in the harbor waiting to set sail for fishing in the sea at the mouth of the Sichon River On paper, draw a fishing boat in line and dot technique with a pen. Creative works with line drawings It is a recording of the story, way of life, and pictures of fishing boats moored at the pier, waiting for the fishing boats to depart this time. It is the creation of works according to the ideas and aptitudes of the creators and in accordance with the needs by emphasizing the memories that want to record the stories that have been met.


298 Which is considered to record stories, lifestyles, memories that the creators of the work by writing drawings from real places instead of recording stories through photographic recordings Keywords: waiting, fishing boat 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา การบันทึกเรื่องราวหรือการบันทึกเหตุการณ์มีการบันทึกที่หลากหลาย ในปัจจุบันมีการบันทึกเรื่องราว ด้วยวิธีการที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการบันทึกด้วยเอกสาร การบันทึกด้วยภาพถ่ายและเอกสาร แต่ผู้ สร้างสรรค์ได้ทำการบันทึกเรื่องราวของเหตุการณ์ วิถีชีวิต ด้วยการบันทึกด้วยการเขียนภาพด้วยลายเส้นและ การจุดด้วยปากกา ตามที่ทางผู้สร้างสรรค์ผลงานมีความถนัด ดังนั้น จึงเป็นที่มาของทางผู้สร้างสรรค์ผลงานการบันทึกเรื่องราวด้วยการวาดภาพด้วยลายเส้นและจุด ด้วยปากกาจากสภาพความเป็นจริง ที่จะทำการบันทึกด้วยการสร้างสรรค์เป็นผลงานภาพวาดลายเส้น เป็น ภาพทิวทัศน์ที่ทางผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ไปพบเจอ แล้วเกิดแรงบันดาลใจในการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เป็น ภาพวาดในมุมมองต่าง ๆ ที่ได้พบเจอ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การค้นคว้าเบื้องต้น เนื่องจากงานบันทึกเหตุการณ์มีขอบเขตกว้างขวาง อาจมีหัวข้อความรู้ที่นัก จดหมายเหตุไม่มีความเชี่ยวชาญ นักจดหมายเหตุต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องราวก่อนลงพื้นที่บันทึกเหตุการณ์จริง (Expert 1, personal communication, December 18, 2019) เพื่อให้สามารถเข้าใจสิ่งที่จะบันทึกเพราะ เมื่อลงพื้นที่อาจไม่สามารถถามผู้ที่อยู่ใน เหตุการณ์ได้ทัน ในกระบวนการค้นคว้านี้ยังทำให้นักจดหมายเหตุได้ เอกสารที่ใช้ในการค้นคว้าประกอบการบันทึกมาอ้างอิงใน การบันทึกเหตุการณ์ด้วย สิ่งนี้กลายเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมที่เสริมการบันทึกเหตุการณ์อีกชุดหนึ่ง การเก็บเอกสารตั้งแต่ เหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้นกลับกลายเป็น ตรงตามหลักการการจัดเก็บจดหมายเหตุในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริบทของ ประเทศไทยซึ่งการ จัดเก็บเอกสารซึ่งรวบรวมมาจากหน่วยงานราชการสู่หอจดหมายเหตุยังมีอุปสรรค เอกสารที่กลุ่มบันทึก เหตุการณ์รวบรวมไว้เพื่อทำหนังสือแม้จะเป็นสำเนาก็เป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลได้ครบถ้วน อีกประการหนึ่ง เนื่องจากการจัดการ สำเนาเอกสารเหล่านี้ของกลุ่มบันทึกเหตุการณ์เป็นการจัดเรียงโดยหมวดหมู่เนื้อหา (theme) ของเหตุการณ์ จึงช่วยให้การ สืบค้นข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์ทำได้ง่ายขึ้น หากจัดตามหลักการการ จัดการจดหมายเหตุสากล ซึ่งจัดเรียงตามหลักแหล่งที่มา (Principle of provenance) อาจค้นหาได้ยาก เนื่องจากเอกสารกระจัดกระจายไปตามแหล่งที่มา ซึ่งการส่งมอบเอกสารสู่หอจดหมายเหตุของแต่ละแห่งมี ความพร้อมไม่เท่ากัน การบันทึกภาพยังเป็นส่วนสำคัญของงานบันทึกเหตุการณ์ด้วย หากมีผู้บันทึกและผู้ถ่ายภาพและ สามารถเข้าถึงข้อมูล ได้คนเดียว ผู้บันทึกภาพจะเป็นผู้เข้าไปเก็บข้อมูล (Expert 1, personal communication, December 18, 2019) การจด บันทึกจะทำโดยละเอียดในวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น


299 แต่ก็มีการติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมภายหลังด้วยเพื่อความสมบูรณ์ในการบันทึก เช่น การสัมภาษณ์พร้อม บันทึกเสียง การติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม เป็นต้น (Archivist 1, personal communication, October 10, 2019 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ระบุรายละเอียดในกระบวนการหรือแต่ละขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงาน เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ รูปแบบ/ประเภทของผลงาน) กระบวนการที่เกิดขึ้นในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้มีการจัดทำรายละเอียดไว้ เป็น 5 กระบวนการคือ 3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.2 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.3 การจัดระเบียบข้อมูล 3.4 การสื่อประสานข้อมูล 3.5 การประเมินข้อมูล ภาพที่1 ผลงานสร้างสรรค์ชื่อ Waiting At Sichon ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานการสร้างสรรค์ด้วยการเขียนภาพทิวทัศน์ทางทะเลเป็นรูปเรือประมงชิ้นนี้ได้นำเอารูปแบบของ การสร้างสรรค์ผลงานแบบผสมผสานของเทคนิคการเขียนลายเส้นและจุดด้วยปากกาลงบนกระดาษ ในส่วน ของการนำเสนอผลงานรายละเอียดของผลงาน ด้วยการเขียนภาพลายเส้นและจุดด้วยปากกาเป็นภาพมุมมอง ของเรือประมงที่ลอยเทียบท่าอยู่ที่ปากแม่น้ำรอคอยการออกสู่ท้องทะเลเพื่อไปทำการประมง ซึ่งเป็นวิถีชีวิต ของชาวประมง 5. สรุป


300 การสร้างสรรค์ผลงานการบันทึกเรื่องราวด้วยการวาดภาพด้วยลายเส้นและจุดด้วยปากกาจากสภาพ ความเป็นจริง เป็นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีการเขียนภาพมุมมองของเรือประมง ด้วยลายเส้นปากกาและ แต่งเติมด้วยวิธีการจุดของปากกาเพิ่มมิติมุมมอง โดยการถ่ายทอดจากมุมมองของวิวทิวทัศน์จากสถานที่จริงที่ ได้พบเจอ โดยนำเอาแนวคิดและกระบวนการจากความต้องการและความถนัดของผู้สร้างสรรค์เอง เอกสารอ้างอิง นยา สุจฉายา (2564). การบันทึกเหตุการณ์ : รากฐานจดหมายเหตุของไทยและพัฒนาการสู่สังคมร่วมสมัย


301 “ภาพนี้ดีมีแต่ความสุข” “This picture is good and happy” สิริทัต เตชะพะโลกุล, Siritat Techaphalokul สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์ ภาควิชาการออกแบบ คณะศิลปะวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เลขที่ 119/10 หมู่ 3 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล นครปฐม 73170 Computer Graphic and Creative Media Design Program, Department of Design Faculty of Fine Arts 119/10 moo 3 Salaya, Phutthamonthon District, Nakhon Pathom Province 73170 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์นี้นำแรงบันดาลใจจากการตั้งคำถามว่า “ความสุขคืออะไร” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ผลงานสร้างสรรค์นี้เป็นสื่อที่ให้ผู้เช้าชมนิทรรศการ “วาดความสุข” มีส่วนร่วม โดยการเขียนข้อความที่เป็น ความสุขของตนเองด้วยลายมือเขียนดินสอลงในภาพ เป็นผลงานที่ผสมผสานทักษะทางศิลปะและการนำเสนอ แนวคิดเป็นหลัก (Conceptual art) สะท้อนมุมมองอันหลากหลายและสื่อให้เห็นถึงบรรยากาศการมีส่วนร่วม เมื่อมีการตั้งคำถาม จึงนำไปสู่การกำหนดรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์และผู้เข้าชมมีส่วนร่วมในการ สร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน เป็นการออกแบบทางความคิดลงไปในผลงาน ที่มีกระบวนการที่เป็นศิลปะโดยไม่สน ว่าภาพจบจะมีลักษณะตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์หรือไม่ จากการศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะของการนำแนวคิดเป็นตัวกำหนดรูปแบบ วิธีการ ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่จะนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้หรือพัฒนาต่อยอดกับผลงานต่อไป หรือแม้กระทั่ง กับสื่อสร้างสรรค์ต่างๆได้โดยสลับเปลี่ยนจากผู้สร้างสรรค์เป็นเพียงผู้ชมผู้อื่นสร้างสรรค์บ้าง . คำสำคัญ: ความสุข, ศิลปะทางความคิด, ลายมือเขียน, การมีส่วนร่วม Abstract The inspiration of this work comes from "What is happiness?" Its purpose is to make this creative work a medium for the audience to participate in the "Painting Happiness" exhibition. Write your own happiness message by hand and pencil in the picture. It is a work that combines artistic skills and conceptual art, reflecting diverse perspectives and conveying an atmosphere of participation. When a question is asked, it leads to a form of participation by creators and audiences. This is an ideological design in the work. There is an artistic process, regardless of whether the final image meets the needs of the creator.


302 From the study and research and creation of works in the manner of applying concepts as a form of method. It is possible to apply this concept or develop further with the work. or even with various creative media. By switching from the creators to just the audience, others create some. Keywords: Happiness, Conceptual Art, Handwriting, Participation 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากการตั้งคำถามว่า “ความสุขคืออะไร” เป็นแรงบันดาลใจที่มีความสงสัย เป็นแรงกระตุ้นทางความคิดว่าคนอื่น ๆ มีความคิดเหมือนผู้สร้างสรรค์หรือไม่ อย่างไรก็ดีเมื่อเกิดคำถามและ ความต้องการในการค้นหาความหมายเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณค่าทั้งในการมองและความหมาย นำไปสู่ ความคิดและกำหนดรูปแบบให้เหมาะสม ลายมือเขียนดินสอ เป็นเครื่องมือและเทคนิคในการวาดเส้นในลักษณะหนึ่ง มีการลากเส้นและขีด เขียนเป็นภาษาไทยเป็นหลัก อ่านได้ สวยงาม มีเอกลักษณ์และคุณค่าในตัวเอง รวมถึงการแสดงออกถึง ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้สร้างสรรค์และผู้ชม จึงเป็การตอบคำถาม และมุมมองความคิดที่เกิดขึ้นให้เห็นเป็นภาพได้ชัดเจน กระจ่างในข้อสงสัย เป็นรูปธรรม เมื่อนำแนวคิดในการ สร้างสรรค์นี้ไปประยุกต์ใช้หรือพัฒนาต่อยอดในผลงานอื่น ๆ หรือกับสื่อสร้างสรรค์ต่าง ๆ เป็นการสลับเปลี่ยน บทบาทจากผู้สร้างสรรค์เป็นผู้ชม และให้ผู้ชมเป็นผู้สร้างสรรค์บ้าง น่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลงานสร้างสรรค์นี้มีจุดเริ่มต้นจากคำถามและการหาคำตอบที่ต้องศึกษานื้อหา รูปแบบและแนว ทางการทำงานศิลปะแบบมีส่วนร่วมจากผู้คน โดยมีกระบวนการและช่วงเวลาหรือสถานการณ์ที่เอื้อกับการ ทำงานนี้ เพื่อให้ได้ผลงานที่เหมาะสมที่สุด ดังแนวทางการศึกษาค้นคว้า ดังนี้ 2.1 ความสุขคืออะไร 2.2ศิลปะทางความคิด(Conceptual Art) 2.3 ภาษาเครื่องมือในการสร้างสรรค์และสื่อสารทางศิลปะ 2.4 ความสำคัญของการเขียนและประโยชน์ที่ได้รับ 2.5 การมีส่วนร่วม 2.1 ความสุขคืออะไร นักจิตวิทยาชื่อ วีนโฮเฟ่น (1997) ให้นิยาม“ความสุข” ว่าหมายถึงการประเมินของแต่ละคนว่าชื่น ชอบชีวิตโดยรวมของตนเองมากแค่ไหน การที่เราบอกว่าเรามีความสุข จึงหมายถึงเรารู้สึกชอบหรือพึงพอใจ


303 กับชีวิตเรานั่นเอง คนที่มีความสุขนั้น เป็นคนที่แทบจะไม่รู้สึกวิตกกังวลกับชีวิตตนเอง ชอบสนุกสนานอยู่กับ เพื่อนฝูง และชอบประสบการณ์ใหม่ ๆ มีอารมณ์มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงง่าย และมักจะหวังว่าตนจะพบ เจอสิ่งดีๆ ในอนาคต ส่วนคนที่ไม่มีความสุขนั้น มักจะรู้สึกว่าชีวิตตัวเองย่ำแย่ ไม่สนใจความรู้สึกของคนอื่น หรือถึงขนาดคิดฆ่าตัวตาย เพราะฉะนั้นความสุขจึงเหมือนสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตเรา ลักษณะของคนที่มีความสุขมีดังนี้ 1. นับถือตนเองสูง ชอบตัวเอง 2. ควบคุมชีวิตของตัวเองได้ 3. มองโลกในแง่ดี 4. เปิดเผย เมื่อความสุข มีหลากหลายมุมมอง ความคิด ความสนใจ ประสบการณ์การใช้ชีวิต จึงเป็นข้อมูลที่ท้า ทาย และส่งผลให้คิดรูปแบบเพื่อสร้างสรรค์ผลงานในหลากหลายมิติในขั้นตอนต่อไป (รศ.ดร.คัคนางค์มณีศรี และ ผศ.ดร.วัชราภรณ์บุญญศิริวัฒน์, 2545) 2.2 ศิลปะทางความคิด (Conceptual Art) ศิลปะทางความคิดหรือคอนเซ็ปชวลอาร์ต (Conceptual Art) หรือภาษาไทยว่า “ศิลปะเน้นแนวคิด” เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะที่ให้ความสำคัญกับความคิด มากกว่าสุนทรียะและความงาม เป็นกระแส เคลื่อนไหวทางศิลปะที่ให้ความสำคัญกับความคิด มากกว่าสุนทรียะและความงาม หรือแม้แต่รูปแบบหรือ องค์ประกอบทางสายตาของงานศิลปะ เริ่มต้นในช่วงกลางทศวรรษ ’60s จนถึงช่วงกลางทศวรรษ ’70s โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาและยุโรป และกระจายมาถึงเอเซีย ศิลปินประเภทนี้มักทำงานในหลากหลาย รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะจัดวาง การแสดงสด แฮ็พเพ็นนิง บอดี้อาร์ต แลนด์อาร์ต วิดีโอ ภาพถ่าย ภาพ เคลื่อนไหว และสื่อที่มีอายุสั้นอย่างจดหมาย โปสการ์ด ใบปลิว โปสเตอร์ ฯลฯ ศิลปะแนวนี้ปฏิเสธแนวทางและขนบธรรมเนียมเดิมๆ โดยมองว่าความคิดนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดและ พอเพียงแล้วสำหรับศิลปะ ส่วนสิ่งอื่นอย่างความงาม สุนทรียะ ทักษะ ฝีมือของศิลปิน หรือแม้แต่การ แสดงออกทางอารมณ์และมูลค่าทางการตลาด เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ศิลปะทางความคิดนี้ตอบสนองวัตถุประสงค์ของงานสร้างสรรค์ โดยเน้นความคิดจากการตั้งคำถาม เป็นหลัก เพื่อได้แนวทางการหาคำตอบ ทางความคิดที่เป็นนามธรรมไปสู่การมีส่วนร่วมและรูปแบบที่ ตรงไปตรงมาได้(ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์, 2561) 2.3 ภาษาเครื่องมือในการสร้างสรรค์และสื่อสารทางศิลปะ สิ่งที่ใช้ในการสื่อสารความคิดอย่าง “ภาษา” เป็นเครื่องมือที่ผู้สร้างสรรค์หยิบมาเป็นเครื่องมือในการ ทำงานศิลปะ ภาษาและตัวหนังสือเป็นองค์ประกอบหลัก ที่ไม่ใช่ในรูปแบบของงานวรรณกรรม แต่ในฐานะของ รูปแบบทางความคิด ข้อความที่สื่อความหมายจะชัดเจน คลุมเครือ หรือเป็นถ้อยคำที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม รวมถึงเป็นองค์ประกอบทางทัศนธาตุของงานศิลปะ แบบเดียวกับสีสัน เส้น น้ำหนัก และรูปทรง


304 ภาพที่ 1 ศิลปินกลุ่ม General Idea: โลโก้ AIDS ที่มา : https://www.thestar.com/entertainment/2011/08/03/an_ago_retrospective_shows_how_a_local_ trio_built_their_art_world_cred.html ศิลปินกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า คอนเซ็ปชวลอาร์ต (Conceptual Art) นั้น นอกจากจะเป็นหนทางในการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แล้ว มันยังเป็นเครื่องมือทางการเมืองอันทรงประสิทธิภาพ ในประเด็นถ้อยคำที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ข้อความ“ความสุขคืออะไร”เป็นถ้อยคำคำถามที่ถาม ผู้ชมอย่างตรงไปตรงมา เป็นคำถามปลายเปิด อิสระ เพราะทุกคำตอบที่ได้เป็นความจริงที่สวยงาม (ภาณุ บุญ พิพัฒนาพงศ์, 2561) 2.4 ความสำคัญของการเขียนและประโยชน์ที่ได้รับ นอกจากมีความจำเป็นดังกล่าวแล้ว อาจกล่าวถึงความสำคัญของการเขียนโดยสรุปได้ดังนี้ 1. เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และประสบการณ์ 2. เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล และประสบการณ์ที่ได้รับ 3. เป็นการระบายอารมณ์ ความรู้สึกประทับใจ 4. เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม 5. เป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญา การเรียนรู้บันทึกสิ่งที่ได้ฟังและได้อ่านและนำไปสู่การพัฒนา 6. เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ตามจุดประสงค์ที่แต่ละคนปรารถนา เช่น เพื่อต้องการทำให้ รู้เรื่องราว ทำให้รัก ทำให้โกรธและสร้างหรือทำลายความสามัคคีของคนในชาติ 7. เป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของผู้เขียน 8. เป็นการพัฒนาความสามารถและบุคลิกภาพ ความเชื่อมั่นในตัวเองและแนวคิด 9. เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม นอกจากนี้การเขียนด้วยภาษา (ไทย) เป็นการดำรงรักษาเอกลักษณ์ สืบสานมรดกของชาติด้วยตัว อักษรไทย และที่สำคัญเป็นการทบทวนความคิด ก่อเกิดสมาธิและบำบัดจิตใจได้ดี จึงนำเทคนิคลายมือเขียนมา ประยุกต์ใช้สร้างสรรค์เกิดรูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก จังหวะ ทิศทางฯลฯ ประกอบเป็นงานศิลปะได้(Je L, 2551)


305 2.5 การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของ การดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง พร้อมให้การสนับสนุนที่เป็นไปในรูปของผู้เข้าร่วมมีส่วนกระทำให้เกิดผลของ กิจกรรมที่เข้าร่วมมิใช่เป็นผู้ร่วมคิดตัดสินใจหรือผู้ได้รับประโยชน์เท่านั้น การเขียนข้อความจากคำถามที่กำหนดจึงเป็นทางเลือกที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานนี้ เพราะ เห็นได้ว่าทุกคนใช้ความคิดของตนเอง มีอิสระในขอบเขตที่กำหนดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้ผลงานที่ทุกคนมี ส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ต่อไป (ดร.สรฤทธ จันสุข, 2555) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ หลังจากได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบวิธีการเป็น งานสร้างสรรค์แนวภาพจิตรกรรมที่เน้นแนวความคิดเป็นหลัก โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์ดังนี้ 3.1 แรงบันดาลในการสร้างสรรค์(Inspiration) แรงบันดาลใจจากความสงสัยและคำถามที่ว่า “ความสุขคืออะไร” เป็นคำถามที่วนไปวนมาใน ความคิดที่หมุนเวียนไม่รู้จบในลักษณะทิศทางของวงกลม ซ้ำวนไปมาเหมือนเวลาที่เคลื่อนไหวไปเรื่อยไม่รู้จบ จึงเกิดเป็นองค์ประกอบที่เริ่มจากจุดและขยายวงกว้างออกไปในแนวคลื่น กระจายออกแต่สม่ำเสมอ ภาพที่ 2 ความสุขคืออะไร? เป็นลายมือเขียนของผู้สร้างสรรค์ 3.2 แบบร่างผลงาน ภาพที่ 3 แบบร่าง (Sketch) ด้วยดินสอบนกระดาษ


306 3.3 สร้างสรรค์ผลงานด้วนลายมือเขียน ภาพที่ 4 การทดลองสร้างสรรค์ด้วยลายมือเขียนดินสอบนกระดาษ “ภาพนี้ดีมีแต่ความสุข” ภาพที่ 5 กระบวนการสร้างสรรค์ด้วยลายมือเขียนดินสอบนผ้าใบ 3.4 สร้างสรรค์ผลงานจากผู้เข้าชมที่มีส่วนร่วมในการเขียนข้อความ ภาพที่ 6 กระบวนการสร้างสรรค์ด้วยลายมือเขียนดินสอบนผ้าใบของผู้เข้าชมนิทรรศการ“วาดความสุข” วันที่ 24 ตุลาคม ถึง 16 พฤศจิกายน 2561 ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยให้เขียนบริเวณด้านบนของภาพ


307 3.5 ผลงานสร้างสรรค์ ภาพที่ 7 ผลงาน “ภาพนี้ดีมีแต่ความสุข” 80 x 100 ซม. ดินสอและสีอะคริลิคบนผ้าใบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์“ภาพนี้ดีมีแต่ความสุข” ขนาด 80 x 100 ซม. เทคนิคดินสอและสีอะคริลิคบนผ้าใบ เป็นผลงานแนวคิดแบบนามธรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นระหว่างที่แสดงผลงานนิทรรศการ “วาดความสุข” (Draw the Happiness) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ถึง 16 พฤศจิกายน 2561 ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดระยะเวลาที่แสดงผลงานดังกล่าว ผู้สร้างสรรค์ได้นำผลงานสร้างสรรค์นี้ไปติดตั้งเพิ่มเติมนอกเหนือจาก นิทรรศงานที่แสดงอยู่แล้ว จึงเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่โดยอาศัยผู้ร่วมชมงานในขณะนั้นเข้ามามีส่วน ร่วมกับผลงานชิ้นนี้ โดยแบ่งสัดส่วนของภาพเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ 1. ส่วนบนของภาพที่เป็นพื้นเหลือง (สีด้าน) พร้อมกับตีเส้นบรรทัดไว้เพื่อให้ผู้ชมเขียนข้อความที่ เกี่ยวข้องกับความสุข 2. ส่วนล่างของภาพที่เป็นพื้นขาว ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ผู้สร้างสรรค์ได้เขียนข้อความ “ภาพนี้ดีมีแต่ ความสุข” ด้วยองค์ประกอบที่หมุนวนและทับซ้อนให้เกิดมิติที่สอดคล้องกับความสงสัยและการตั้ง คำถาม การทำงานเป็นไปอย่างมีขั้นดอนโดยเตรียมพื้นที่ส่วนล่างให้เรียบร้อยก่อนและปิดทับด้วยกระดาษขาว เพื่อกันริ้วรอยในขณะที่ผู้ที่มีส่วนร่วมเขียนในส่วนด้านบน โดยที่ยังไม่รู้ว่าพื้นที่ภาพบริเวณด้านล่างเป็นภาพ อะไรจนกว่าจะมีการเปิดนิทรรศการอย่างเป็นทางการ เมื่อถึงเวลาเปิดนิทรรศการ ระหว่างมีนิทรรศการ ถึงวันสุดท้ายของนิทรรศการก็ยังสามารถเขียน เพิ่มเติมได้จนกระทั่งจบนิทรรศการในช่วงเวลาค่ำ จึงจะนับเป็นการจบสิ้นกระบวนการสร้างสรรค์


308 ดังนั้นความงามที่แท้ของผลงานสร้างสรรค์นี้เกิดขึ้นระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน การตอบสนอง การให้ความสำคัญกับการมีส่วมร่วม เมื่อมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดการเป็นส่วนหนึ่ง เป็นหุ้นส่วนฯลฯ จึงนับเป็น การบันทึกช่วงเวลาของความสุขอย่างแท้จริง โดยที่ผู้สร้างสรรค์เป็นเพียงแค่ผู้ตั้ง“คำถาม” และผู้ชมเป็นผู้ให้ “คำตอบ” ซึ่งมีคำตอบหลากหลายแต่สรุปได้ว่ามีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ“ความสุข”นั่นเอง 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์นี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในแง่ของการมีส่วนร่วม ด้วยมีเนื้อหาและรูปแบบที่ พอเข้าใจได้ เหมาะสมกับช่วงเวลาของการแสดงนิทรรศการ “วาดความสุข” แม้เป็นเพียงผลงานเล็ก ๆ แต่เป็น แนวทางที่ผู้สร้างสรรค์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การมีส่วนร่วมในทางสร้างสรรค์เป็นสิ่งสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นใน รูปแบบใด แต่สิ่งสำคัญคือ การตั้งคำถามที่เป็นประเด็นที่สังคมสนใจและชี้นำไปสู่สิ่งสวยงามในชีวิตนั้นย่อมเป็น แนวทางที่ได้รับการตอบรับได้ดี จึงเป็นแนวทางที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดกับผลงานแนวอื่น ๆ ได้ เอกสารอ้างอิง คัคนางค์ มณีศรี, วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์. (2545). จิตวิทยาเพื่อคุณ. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565, จาก https://smarterlifebypsychology.com/2017/09/27/ความสุขคืออะไร/ ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (2018). 11 MIN. READ. ART AND POLITICS. Conceptual Art ศิลปะแห่ง ความคิดที่ละทิ้งความงามและต่อต้านความสูงส่ง. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2565, https://themo mentum.co/conceptual-art/ สรฤทธ จันสุข. (2012). ความหมายการมีส่วนร่วม. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.gotoknow. org/posts/328530 Je L. (2008). ความสำคัญของการเขียนและประโยชน์ที่ได้รับ. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565, จาก https:// jennykr.wordpress.com/2008/08/30/ความสำคัญของการเขียนแล/


309 ท่ามกลาง live among สิริรัตน์ พฤกษากร, Sirirat Prueksakon วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช, 200 ม.2 ต.ทอนหงส์ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat Collage Of Fine Arts, 200 M.2 T.ThonHong Phromkhiri District NakhonSi-Thammarat. E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผู้คนมักมีความสัมพันธ์เป็นโยงใยผูกยึดติดไว้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ และในความสัมพันธ์นี้เราต้อง อยู่ท่ามกลางคนอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเราตลอดเวลา คำสำคัญ: ความสัมพันธ์ Abstract People are always in a bonding relationship, one way or another. And in this relationship, we have to be surrounded by other people who are always involved in our relationship. Keywords: relationship 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผู้คนมักมีความสัมพันธ์เป็นโยงใยผูกยึดติดไว้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ และในความสัมพันธ์นี้เราต้อง อยู่ท่ามกลางคนอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเราตลอดเวลา ณ ท่ามกลาง ท่ามกลางผู้คนรายล้อม มากด้วยคำสรรเสริญ คำนินทา ท่ามกลางแสงไฟสาดส่อง มาก ด้วยตัวตน และหัวโขน แต่ ณ ท่ามกลางมิตรสหาย มากด้วยคำปลอบประโลม ท่ามกลางครอบครัว มากด้วย ความรักและห่วงใย ท่ามกลางป่าเขา ท้องฟ้า หมู่ดาว มากด้วยความจริงใจ ท่ามกลางตัวตนที่เข้าใจตน มาก ด้วยความหยั่งรู้ซึ้งในตน ดังนั้น การเล่าผ่านภาพในครั้งนี้เพื่อสื่อสาร ความสัมพันธ์ของผู้คนรอบตัว สิ่งแวดล้อม การดำรงอยู่ซึ่ง การมีชีวิต เช่นนั้นแล้ว เมื่อเราเข้าใจตน เข้าใจความหมายของการมีอยู่ แม้ท่ามกลางสิ่งเลวร้าย หรือเจ็บปวด เราก็จะผ่านไปด้วยความเข้าใจที่มี


310 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าใช้การถ่ายภาพในครั้งนี้ คือเรื่องความคิด การจัดองค์ประกอบภาพ แสงและเงา รูปร่างรูปทรง พื้นผิว และอื่น ๆ มาช่วยสร้างเรื่องราวและอารมณ์ของภาพ 1. การเลือกช่วงเวลาในการถ่ายภาพในป่า ในการถ่ายภาพธรรมชาติโดยทั่วไป เราอาจจะต้องรอจังหวะเวลา เพื่อให้ได้แสงที่สวยงาม แต่การ ถ่ายภาพในป่านั้นคุณไม่จำเป็นจะต้องรีบไปแต่เช้าตรู่หรือรอช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม เพราะการถ่ายภาพในป่านั้นคุณสามารถไปได้ทุกเวลาที่คุณต้องการ เว้นแต่คุณอยากจะเพิ่มความ Dramatic โดยใช้หมอกในยามเช้าตรู่ ทำให้องค์ประกอบของฉากหลังในภาพเป็นสีจาง ๆ ซึ่งจะทำให้ภาพของคุณดูมีอะไร มากขึ้นและช่วยในการถ่ายทอดเรื่องราวแก่ภาพได้ดียิ่งขึ้น 2. ใช้ประโยชน์จากท้องฟ้าที่มืดครึ้ม ในขณะที่เข้าป่าแล้วต้องเจอกับสภาพอากาศท้องฟ้าที่มืดครึ้ม ซึ่งอาจจะคิดว่ามันคงจะทำให้ ภาพถ่ายที่ได้ไม่สวยงาม ให้ความรู้สึกหดหู่ แต่แท้จริงแล้วเราสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยท้องฟ้าที่มืด ครึ้มนี่แหละ เป็นเอฟเฟกต์ที่ดีในการช่วยให้ภาพป่าของคุณสวยงามได้ แม้ภาพป่าของคุณจะมีเพียงแค่แสง อ่อน ๆ สามารถที่จะเปลี่ยนให้เป็นภาพคุมโทน ซึ่งก็เป็นสไตล์ที่ให้ความลึกลับที่น่าค้นหาไปอีกแบบ และเป็น การเบี่ยงเบนความสนใจให้กับองค์ประกอบของภาพที่ไม่สมบูรณ์ได้ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การถ่ายภาพคุมโทนสามารถถ่ายภาพได้ทั้งในสภาพแสงปรกติ แสงขมุกขมัวในวันที่ฟ้าไม่เป็นใจ หรือ แม้แต่แสงในเวลากลางวันที่เป็นแสงแข็ง ให้คอนทราสต์สูง และเกิดเงาที่ดูแข็งมากไป ลักษณะดังกล่าวนี้ไม่เป็น ที่ต้องการสำหรับการถ่ายภาพสี แต่ค่าคอนทราสต์สูง เงาที่แข็งเกินไป หรือแสงที่ขมุกขมัว เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ ทำให้ภาพมีความโดดเด่น น่าสนใจขึ้นมาได้ ไม่เพียงเท่านั้น ในสภาพแสงที่ดี เช่น golden hour สามารถสร้างภาพที่ให้ความโดดเด่น สวยงาม มี มิติและความน่าสนใจ ภาพที่ 1 ท่ามกลาง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


311 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานภาพนี้ ได้แรงบันดาลใจจากสภาพแวดล้อม ธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของผู้คนที่ก่อเกิด และดับ สลายหายไป เล่าผ่านเรื่องราวของผู้คน ป่าเขา มิตรสหาย ทุกคนต่างมาเจอกันอยู่ในวงโคจรเดียวกัน และนค วามเป็นมนุษย์นี้เราต่างมีความสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวตลอดเวลา แต่ในท่ามกลางสิ่งใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่ เสมอ คือ ตัวตนของเรา จึงเน้นภาพถ่ายที่เล่าเรื่องของความสัมพันธ์ของผู้คนท่ามกลางป่าไม้ที่โอบกอดเรา 5. สรุป ในการสร้างสรรค์ผลงานนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าการถ่ายภาพคือความสนุก จังหวะ ช่วงเวลา และโอกาส ซึ่ง การถ่ายภาพต้องรอจังหวะที่เหมาะสม และในขณะรอนั้นเราก็อาจจะพลาดโอกาสทองไปเพียงเพราะเราไม่จด จ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้มากพอ การถ่ายภาพจึงเปรียบเสมือนการหยุดเวลาตลอดการ เอกสารอ้างอิง MICHAEL GABRIEL, (2565). 5 เคล็ดลับการถ่ายภาพในป่าให้ประสบความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2565. จากเว็บไซต์ https://www.bigcamera.co.th/article/jungle-capture-2019.html


312 ความสว่าง Brightness สุกิจ ชูศรี, Sukit Choosri วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat College of fine art, Nakhon Si Thammarat Province. E-mail : [email protected] บทคัดย่อ “ความสว่าง” เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ต้องการแสดงออกทางความคิดและความรู้สึก ได้รับแรงบันดาล ใจจากหลักปรัชญาคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันช่วยนำพาชีวิตให้พ้นจากความมืดไปสู่ความสว่างด้วยปัญญา โดยใช้รูปทรงใบหน้าของหญิงสาว รูปทรงของยักษ์ รูปร่างของเงาใบโพธิ์สร้างบรรยากาศความสลัวเป็นพื้นที่ ของเงาและความสว่างเป็นพื้นที่ของแสง ด้วยค่าน้ำหนักของสีที่แตกต่างกัน เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความหวัง และความสุขสงบของชีวิต แสดงออกเป็นผลงานลักษณะรูปแบบจิตรกรรมไทยร่วมสมัย คำสำคัญ: ความสว่าง, ความมืด, ยักษ์, ใบโพธิ์, ปัญญา Abstract “Brightness” is a creative work that requires expressing thoughts and feelings. Inspired by the principles of Buddhist teachings which brings life from darkness to light with wisdomusing the shape of a woman's face the shape of a giant The shape of the Bodhi leaf shadow Create a dim atmosphere as an area of shadows and brightness as an area of light. with different weights of colors It is a symbol that conveys hope and peace in life. Expressed as works of contemporary Thai painting styles. Keywords: Light, Darkness, Giant, Bodhi Leaf, Wisdom 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านวัตถุบริโภคนิยม ส่วนหนึ่งเราใช้เพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิต แต่อีกส่วนหนึ่งเราได้ก้าวข้ามพ้นจากความจำเป็นพื้นฐานของชีวิตปกติ ไปสู่การลุ่มหลงมัวเมา เพลิดเพลิน ด้วย อำนาจของวัตถุนิยมทำให้เสพติดอย่างไม่รู้สึกตัว ความสุขที่ได้รับจากสิ่งที่เกินเลยจากความจำเป็นเหล่านั้น ล้วนเป็นเพียงภาพมายาที่ลวงหลอกตาลวงหลอกใจ จนทำให้หลงลืมความสุขที่แท้จริงของชีวิตอีกด้านหนึ่ง


313 ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงได้มุ่งเน้นการเรียนรู้การแสวงหาปัญญาที่เกิดจากใจ ซึ่งปัญญาในลักษณะนี้เป็น ดั่งแสงสว่างช่วยนำทางให้เราก้าวพ้นกิเลสและตัณหา เห็นประจักษ์แจ้งคลายความยึดมั่นความถือมั่นความ กำหนัดยินดี ถอนอุปาทานความยึดมั่นทั้งกายและใจ ทำให้เห็นความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งปวง (แสงสว่าง แห่งปัญญา, Trader Hunter พบธรรม: http//www.facebook.com) จากแนวคิดดังกล่าวเบื้องต้น จึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชื่อ “ความสว่าง” แสดง เนื้อหาเรื่องราวทางความคิดและความรู้สึกส่วนตน อันเกี่ยวเนื่องจากสภาพชีวิตในสังคมปัจจุบัน ด้วยอำนาจ ของกิเลสและตัณหาเป็นบ่อเกิดแห่งความเขลา ความไม่รู้แจ้ง เปรียบเสมือนการตกอยู่ในความมืดมิดและการ หลับใหล และหลักปรัชญาคำสอนทางพระพุทธศาสนา เปรียบเสมือนความสว่าง ช่วยกำจัดความมืดมิด ปลุก ชีวิตให้ตื่นจากการหลับใหล หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลส นำเสนอผ่านผลงานทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการทาง จิตรกรรม 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดทางปรัชญาศิลปะ ตอลสตอย กล่าวว่า ศิลปินจักต้องใช้ผลงานของเขาเป็นสะพาน เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของเขาที่ได้รับ จากประสบการณ์ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของสังคมมนุษย์ ศิลปะต้องเกี่ยวข้องกับชีวิตอย่างแยกไม่ออก ด้วยศิลปะถือกำเนิดมาจากพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ ศิลปะควรสะท้อนความจัดเจนของชีวิต และควรรับใช้ชีวิต หมายถึง การรับใช้โดยการพัฒนาความดี งามของชีวิตให้รุดไปข้างหน้า สู่ความบริสุทธิ์ดีงาม ซึ่งต้องสะท้อนออกมาได้อย่างตราตรึงและมีพลัง โดยต้องมี แนวคิดอันเป็นประโยชน์และทรงพลังเป็นธาตุ ศิลปะเป็นเรื่องของความเป็นจริงและความเป็นจริงนั้น คือ ความงาม ซึ่งย่อมมีทั้งความอัปลักษณ์และ ความดีงาม ศิลปะจะมีความงามมากหรือน้อยอยู่ที่สามารถสะท้อนความอัปลักษณ์และความดีงามของชีวิตได้ ชัดเจนมากน้อยเพียงใด: (ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน, จิตร ภูมิศักดิ์, ศรีปัญญา, 2541) แนวคิดทางด้านพระพุทธศาสนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนไว้ในธรรมบท ขุททกนิกายว่า “พวกเธอจะมัวบันเทิงร่าเริง อยู่ไยในเมื่อโลกมนุษย์กำลังเร่าร้อนอยู่เนืองนิตย์เช่นนี้ พวกเธอถูกความมืดครอบงำแล้ว เหตุใดจึงไม่แสวงหา แสงสว่างคือปัญญา เพื่อกำจัดความมืดมนแห่งจิตนั้น” สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนมวลมนุษย์ให้ แสวงหาแสงสว่างคือปัญญา ด้วยการหมั่นศึกษาและสดับตรับฟังคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา แล้วนำพระ ธรรมมาปฏิบัติเพื่อเป็นแสงสว่างนำทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ธรรมะนั้นย่อมคุ้มครองรักษาผู้ปฏิบัติธรรมให้ ประสบความสุขความเจริญก้าวหน้า: (แสงสว่างแห่งปัญญา, คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด, พลังจิต, ข่าวสด 2551) จากแนวคิดดังกล่าว ได้นำมาพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อการสร้างรูปแบบและแนวทางในการ สร้างสรรค์ผลงานได้ตรงตามความมุ่งหมายในการแสดงออก โดยเห็นว่าศิลปะต้องแสดงออกทางความคิดและ ความรู้สึก สะท้อนส่วนที่อยู่ภายในของชีวิตออกมา ให้ตระหนักถึงคุณค่าความดีงามที่แท้จริงของชีวิต


314 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1 การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล 3.2 การประมวลความคิดและการกำหนดรูปแบบ 3.3 การสร้างแบบร่าง 3.4 การสร้างสรรค์ผลงานจริง 3.5 ทัศนธาตุในการสร้างสรรค์ 3.6 เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ 3.7 การเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ในนิทรรศการศิลปกรรม ภาพที่1 ภาพรูปร่างของเงาใบไม้ตกกระทบฝาผนัง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 ภาพรูปร่างของเงาใบไม้ตกกระทบฝาผนังแสดงค่าน้ำหนักอ่อนแก่ของสี ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


315 ภาพที่3 ภาพรูปร่างของเงาใบไม้ตกกระทบบนรูปทรงของคน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 ภาพร่างต้นแบบผลงาน ก่อนการขยายลงบนพื้นเฟรมผ้าใบ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่5 ภาพขั้นตอนการลงสี เป็นการสร้างค่าน้ำหนักแบบขาว เทา ดำ ให้เสร็จสมบูรณ์ ด้วยเทคนิคการใช้สีฝุ่น ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


316 ภาพที่6 ภาพการลงสีบรรยากาศ พื้นที่ว่าง พื้นหลังของภาพ ด้วยเทคนิคสีอะคริลิก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่7 ภาพขั้นตอนสุดท้ายที่ผลงานเสร็จสมบูรณ์ การลงสีในส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ของภาพ รูปทรงคนเป็นเทคนิคสีฝุ่นและพื้นที่ว่างเป็นเทคนิคสีอะคริลิก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานชื่อ “ความสว่าง” เป็นผลงานที่มีลักษณะรูปแบบเป็นสัญลักษณ์ทางความคิดและความรู้สึก นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวให้รู้สึกถึงความหวังและความสุขสงบของชีวิต ตามหลักปรัชญาคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยการใช้รูปทรงสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมาย ตามทัศนคติส่วนตน อาทิเช่น


317 รูปทรงของหญิงสาวเป็นตัวแทนของชีวิตที่กำลังเติบโต เป็นความหวังของชีวิตและสังคม รูปทรงยักษ์หรือพญามารเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงกิเลส ตัณหา ความเขลา ความชั่วร้ายต่าง ๆ เป็นต้น เป็นด้านมืดที่เข้าครอบงำจิตใจและครอบงำชีวิต พื้นที่ของแสงและรูปเงาของใบโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสว่างแห่งปัญญา เป็นธรรมะคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กำจัดความมืดมิดเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตไปสู่ความสุขสงบ เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ที่มีการผสมผสานกันระหว่างลักษณะ รูปแบบจิตรกรรมไทยประเพณีและรูปแบบจิตรกรรมตะวันตก อาทิเช่น การใช้รูปทรงของยักษ์และรูปร่างของเงาใบโพธิ์ ตามคติความเชื่อแบบศิลปะไทย นำมาจัดวาง องค์ประกอบร่วมกับรูปทรงของคน ซึ่งรูปทรงของคนมีการผสมผสานกันระหว่างลักษณะภาพเหมือนจริงและ ลักษณะภาพการ์ตูน ทำให้ผลงานเกิดมิติทางความคิด ชวนให้เกิดการตีความ เพื่อค้นหาความหมายของผลงาน การใช้แสงและเงา ผลงานมีการใช้แสงและเงาเพื่อเป็นรูปทรงสัญลักษณ์สื่อความหมายในการ สร้างสรรค์ โดยปรับเปลี่ยน ลดทอน ให้เข้ากับรูปแบบเฉพาะตนของผลงาน ซึ่งผลงานโดยรวมจะมีลักษณะเป็น แบบสองมิติไม่แสดงปริมาตรของรูปทรงและไม่แสดงระยะมิติภายในภาพ 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานชื่อ “ความสว่าง” โดยได้รับแรงบันดาลใจจากหลักปรัชญาคำสอนทางพระพุทธศาสนา ผสมผสานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความคิด ความรู้สึก จิตนาการ ทัศนคติ และวิธีการแสดงออกทางศิลปะ เฉพาะตน ก่อเกิดจินตภาพของรูปทรงใหม่ในเชิงสัญลักษณ์ ทำให้เห็นกระบวนการทางการคิดและกระบวนการ ทางการปฏิบัติ อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ทั้งทางด้านความคิดริเริ่ม การค้นหารูปแบบ แนวความคิดและเทคนิค วิธีการในการแสดงออก ประสบการณ์จากการสร้างสรรค์ผลงานเป็นสาระสำคัญ เพื่อการเรียนรู้และเข้าใจถึง กระบวนการทางศิลปะ สามารถนำองค์ความรู้ไปเผยแพร่ถ่ายทอดให้แก่นักเรียน นักศึกษาและสาธารณชนผู้ที่ สนใจทางด้านศิลปะ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เผยแพร่หลักปรัชญาคำสอนสู่สังคมโดยผ่าน กระบวนการทางด้านศิลปะด้วยเช่นเดียวกัน เอกสารอ้างอิง จิตร ภูมิศักดิ์. (2541). ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน. กรุงเทพมหานคร: ศรีปัญญา จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2545). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ ชะลูด นิ่มเสมอ. (2538). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชย์ พุทธทาสภิกขุ. (2021). ปณิธาน3ประการ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม พระไพศาล วิสาโล. (2018). ธรรมะเรื่องใหญ่ ทำใจเรื่องเล็ก. กรุงเทพมหานคร: เพชรประกาย


318 จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ทางเข้าตลาดสำเพ็งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน LANDSCAPE PAINTING : ENTRANCE TO SAMPENG MARKET DURING DAY AND NIGHT สุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ, Sutthasinee Suwuttho 1 ซอยชักพระ 20 ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170, 1Soi Chakphra 20 Talingchan, Bangkok 10170 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ งานสร้างสรรค์“จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ทางเข้าตลาดสำเพ็งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน” ชิ้นนี้ สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมภาพทิวทัศน์ที่แสดงอาคารสถานที่ทางเข้า ตลาดสำเพ็งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน 2) เพื่อเรียนรู้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์การวาดภาพทิวทัศน์ ในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน เป็นแนวทางนําไปสู่การพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงาน 3) เพื่อให้ผู้สนใจงาน ศิลปะและบุคคลทั่วไปได้ตระหนักถึงคุณค่าและความงามของศิลปวัฒนธรรมไทยด้วยความสุนทรีย์ ผลงานชุดนี้ผู้สร้างสรรค์เล็งเห็นความสําคัญและความสวยงามของสถานที่ตลาดสำเพ็งในช่วงเวลา กลางวันและกลางคืน ซึ่งเป็นสถานที่ค้าขายสำคัญในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยผู้สร้างสรรค์เรียนรู้การ วาดภาพทิวทัศน์ในมุมมองของสถานที่เดียวทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน โดยการศึกษาจากศิลปิน และ วิเคราะห์ สังเคราะห์กลุ่มสีในบรรยากาศของสถานที่ดังกล่าว เป็นแนวทางนําไปสู่การพัฒนาการสร้างสรรค์ ผลงานวาดภาพทิวทัศน์ชิ้นนี้ และเสมือนเป็นการบันทึกภาพของอาคารสถานที่แสดงความงดงาม ความมีเสน่ห์ ที่ลักษณะอาคารที่แสดงความเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไว้ โดยสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคสีนํ้ามัน จากการศึกษางานสร้างสรรค์ได้ให้ผลในเรื่องการเลือกใช้คู่สีของบรรยากาศที่แสดงช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน และลักษณะอาคารสถานที่ของสถาปัตยกรรมในย่านการค้าสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ซึ่งแสดงผลผ่านกระบวนการสร้างสรรค์จิตรกรรมเทคนิคสีน้ำมันได้อย่างดี คำสำคัญ: จิตรกรรม, ภาพทิวทัศน์, ตลาดสำเพ็ง, กลางวัน, กลางคืน Abstract Creative work “Landscape painting : entrance to Sampeng Market during day and night” This piece was created with the objectives 1) to create a landscape painting that shows the building at the entrance to Sampeng Market during the day and night 2) to learn from analysis Synthesis of landscape painting during the day and night It is a guideline that leads to the development of creative work 3) To make art interested people and the general public realize the value and beauty of Thai art and culture with aesthetics.


319 In this series of works, the creator sees the importance and beauty of the Sampeng Market location during the day and night. Which is an important trading place in Bangkok, Thailand, The creators learn to paint landscapes from the point of view of a single place during the day and at night by analyzing Synthesize the color groups in the atmosphere of the place. It is a guideline that leads to the development of the creation of this landscape painting. and as if taking pictures of buildings showing their beauty Charm that the appearance of the building that shows the cultural heritage. by creating works of painting with oil painting techniques. The study of creative work has resulted in the choice of color pairs of the atmosphere representing the time of day and night. and the architectural features of the buildings in one of Bangkok's major commercial districts, which are well reflected through the process of creating oil painting techniques. Keywords: painting, landscape, Sampeng market, day, night 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยที่มีความเจริญ เป็นสถานที่อันทรงคุณค่าและ แสดงถึงความเป็นประวัติศาสตร์ชาติไทย ผู้สร้างสรรค์ได้เล็งเห็นความสําคัญและความสวยงามของภูมิทัศน์ ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร จึงเป็นแนวทางนําไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพทิวทัศน์ทางเข้าตลาด สำเพ็งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน เสมือนเป็นการบันทึกภาพบรรยากาศในแต่ละช่วงเวลา สะท้อนภาพ อาคารสถานที่แสดงความเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไว้ โดยผู้สร้างสรรค์แสดงออกผ่านกระบวนการทาง จิตรกรรมเทคนิคสีนํ้ามัน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 อิทธิพลของสถานที่ ประวัติความเป็นมาของสำเพ็ง จากข้อมูลอ้างอิง ดังนี้ สำเพ็งเริ่มต้นจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นราชธานี แห่งใหม่แทนที่กรุงธนบุรีในปี พ.ศ 2325 โดยมีพระบรมมหาราชวังตั้งขึ้นในพื้นที่ ๆ แต่เดิมเป็น ที่ตั้งของชุมชนชาวจีน และโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง


320 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการค้าของชาวจีนที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน ย่านสำเพ็งเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อการค้ากับสยามประเทศ เรียกขานย่าน สำเพ็งว่า "ตลาดจีน" หรือ "Chinese Bazaar" ในบันทึกของมิชชันนารีที่ได้เข้ามาเยี่ยมดูย่านสำเพ็ง ในปี พ.ศ. 2378 ระบุความไว้ตอนหนึ่งว่า "ตลาดทั้งหมดดูแล้วน่าจะเรียกว่า "เมืองการค้า" (trading town) มากกว่า ที่นี่มีร้านค้ามากมายหลากหลาย ตั้งอยู่บนสองฝั่งฟากถนนยาวราว 2 ไมล์ แต่ด้วย เหตุที่ร้านค้าต่าง ๆ ตั้งอยู่ปะปนกัน เดินเพียงไม่กี่หลาก็สามารถหาซื้อสินค้าประเภทต่าง ๆ ได้ครบ ตามที่ต้องการ" ปัจจุบันสำเพ็งเป็นย่านการค้าที่คึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร โดย เปิดขายตั้งแต่เวลา 08:00 ถึง 17:00 น. ในเวลากลางวัน และยังในเวลากลางคืนตั้งแต่เวลา 23:00 น. จนล่วงเข้าสู่วันใหม่ในเวลา 01:00 หรือจนถึง 06:00 น. ในยามเช้า โดยสินค้าที่นิยมขาย ได้แก่ กิฟต์ช้อป, เครื่องประดับตกแต่งเสื้อผ้า, เสื้อผ้าแฟชั่น, หมวก, นาฬิกา, ตุ๊กตาหรือของเล่นเด็ก รวมถึงอาหารด้วย เป็นต้น โดยมีทั้งขายปลีกและขายส่ง ในปัจจุบันสำเพ็งก็ยังคงเป็นย่านการค้าที่ สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงจักรวรรดิเขตสัมพันธวงศ์อยู่ใกล้กับย่านเยาวราช ถนน ราชวงศ์และต่อเนื่องไปถึงสะพานหัน, พาหุรัดและวังบูรพา (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 265: ย่อหน้าที่ 1) ผู้สร้างสรรค์ได้มีความสนใจในลักษณะภูมิทัศน์อาคารสถานที่ของสำเพ็ง รวมถึงแสง สี บรรยากาศของ ช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน จึงเลือกหามุมมองของสถานที่ดังกล่าวเพื่อแสดงเอกลักษณ์ และลักษณะของ สถานที่ นํามาปรับใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานภาพทิวทัศน์เทคนิคสีน้ำมัน ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้เลือก มุมมองที่เห็นทางเข้าสำเพ็งโดยมองจากบนสะพานลอยเป็นแบบในการสร้างผลงานทั้ง 2 ช่วงเวลา เนื่องจาก ช่วงเวลากลางวัน เวลา12.00 น.ในมุมดังกล่าวมีแสงเงาจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับอาคารสถานที่อย่าง ชัดเจน และเลือกเก็บภาพสถานที่ดังกล่าวในช่วงเวลากลางคืน เวลา 21.00 น.ที่ร้านค้าเก็บร้านหมดแล้ว 2.2 อิทธิพลจากศิลปินในลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ สีและแสงในอากาศตามเวลา การค้นพบทางวิทยาศาตร์เรื่องสีในแสง ที่แสดงให้เห็นแสงขาวที่ประกอบด้วยสี ต่าง ๆ หลายสี ส่งผลให้ศิลปินมีความเข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างสมจริง การเรียนรู้ในครั้งนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้เรียนรู้จากผลงานวาดภาพทิวทัศน์จากศิลปิน Claude Monet เป็นผู้นำแนวคิดในการวาดภาพ ของกลุ่มศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) และ Danill Volkov เป็นศิลปินชาวยูเครน ที่มีแนวทางการ สร้างสรรค์ผลงานแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ที่มีการใช้วัสดุเกรียงเข้าร่วมปาดป้ายเนื้อสีที่หนาลงบนแผ่น Medium Density Fiber Board จากการเรียนรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดทิวทัศน์ของทั้ง 2 ศิลปิน เป็นแนวทาง ในการสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดทิวทัศน์ในช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน โดยมีการใช้สีผสมผสานให้เกิด บรรยากาศสวยงามในแต่ละช่วงเวลา และมีลักษณะการปาดป้ายสีด้วยทีแปรงได้ดียิ่งขึ้น


321 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ทางเข้าตลาดสำเพ็งในช่วงเวลากลางวันและ กลางคืน ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 3.1 ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลความรู้การวาดภาพทิวทัศน์ 3.2 ดำเนินการวิเคราะห์ การสร้างสรรค์สีบรรยากาศในช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน ในผลงานภาพ ทิวทัศน์ของศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ที่เลือกนำมาศึกษา 3.3 ทำภาพร่างโดยการหาข้อมูลและบันทึกภาพในช่วงเวลากลางวันด้วยเทคนิคปากกาและสีน้ำ และ ช่วงเวลากลางคืนด้วยภาพถ่าย 3.4 ดำเนินการสร้างสรรค์ผลงานภาพทิวทัศน์ของสำเพ็งในช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน ด้วยเทคนิค สีน้ำมันบนแผ่น Medium Density Fiber Board 3.5 นำเสนอผลงานสร้างสรรค์ผ่านผลงานจิตรกรรมเทคนิคสีน้ำมันบนแผ่น Medium Density Fiber Board ในพื้นที่จัดแสดงที่ตรงกับวัตถุประสงค์การสร้างสรรค์ ภาพที่1 การวิเคราะห์สีบรรยากาศในช่วงเวลากลางวัน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่2 ภาพร่างโดยการหาข้อมูลและบันทึกภาพสำเพ็งในช่วงเวลากลางวันด้วยเทคนิคปากกาและสีน้ำ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


322 ภาพที่3 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานสำเพ็งในช่วงเวลากลางวัน ด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนแผ่น Medium Density Fiber Board ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่4 การวิเคราะห์สีบรรยากาศในช่วงเวลากลางคืน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่5 ภาพร่างโดยการหาข้อมูลและบันทึกภาพสำเพ็งในช่วงเวลากลางคืนด้วยภาพถ่าย ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


323 ภาพที่6 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานสำเพ็งในช่วงเวลากลางคืน ด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนแผ่น Medium Density Fiber Board ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่6 ภาพผลงาน “มองสำเพ็งบนสะพานลอย กลางวัน - กลางคืน” เทคนิคสีน้ำมันบนแผ่น Medium Density Fiber Board ขนาด 40 x 30 เซนติเมตร ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ชื่อภาพ “จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ทางเข้าตลาดสำเพ็งในช่วงเวลา กลางวันและกลางคืน” ชิ้นนี้ การวิเคราะห์ด้านเนื้อหา ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีที่มาจากแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการสร้างสรรรค์ผลงาน จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ของสำเพ็ง ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ในช่วงเวลากลางวันและ


324 กลางคืนที่มีช่วงเวลาที่ต่างกัน จากเนื้อหาดังกล่าวผู้สร้างสรรค์ได้ถ่ายทอดออกมาแบบตรงไปตรงมาสะท้อน ภาพลักษณะอาคารสิ่งก่อสร้าง แสงสีในบรรยากาศ ตามความเป็นจริงที่ปรากฏ การวิเคราะห์ด้านรูปแบบ ผลงานชิ้นนี้ได้นำเสนอผลงานจากเรื่องราวแรงบันดาลใจ สู่ผลงานในรูปแบบจิตรกรรมลักษณะ 2 มิติ เทคนิคสีน้ำมัน โดยพยายามถ่ายทอดสีสัน บรรยากาศ น้ำหนักแสงและเงา โครงสร้างอาคาร สถาปัตยกรรม ของสำเพ็งทั้งในช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน ผ่านการปาดป้ายสีด้วยทีแปรงเนื้อสีที่หนาลงบนแผ่น Medium Density Fiber Board การวิเคราะห์ด้านเทคนิค ผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนแผ่น Medium Density Fiber Board 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงาน “จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ทางเข้าตลาดสำเพ็งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน” ชิ้นนี้เริ่มต้นจากการที่ผู้สร้างสรรค์มีความสนใจในความงามของภูมิทัศน์ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร จึงหา มุมมองภาพทิวทัศน์ของสถานที่สำคัญและเกิดความประทับใจ ซึ่งสำเพ็งเป็นสถานที่ย่านการค้าสำคัญที่ ผู้สร้างสรรค์เดินทางไปบ่อย เมื่อขึ้นสะพานลอยจะมองเห็นมุมมองของทางเข้าสำเพ็ง ผู้สร้างสรรค์จึงเก็บข้อมูล ในรูปแบบภาพร่างผลงานด้วยเทคนิคปากกาและสีน้ำ รวมถึงการถ่ายภาพผลงาน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการ สร้างสรรค์เทคนิคสีน้ำมันบนแผ่น Medium Density Fiber Board เป็นแผ่นไม้อัดที่มีสีโทนน้ำตาลอ่อนเป็นสี พื้น ซึ่งการเก็บข้อมูลก่อนการสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษา ฝึกฝน และเตรียมตัว ให้ เข้าใจก่อนการปฏิบัติผลงานจริงด้วยเทคนิคสีน้ำมัน ผลงานชิ้นนี้จึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมทิวทัศน์ใน มุมมองของสถานที่เดียวแต่เห็นความแตกต่างของของแสง สี บรรยากาศ ของช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก เอกสารอ้างอิง วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2565). สำเพ็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/สำเพ็ง claremontcontemporary.com (ไม่ระบุปีพ.ศ). DANIIL VOLKOV. [ออนไลน์]. เข้าถึงจากhttp://www.claremontcontemporary.com /product-category/daniil-volkov/ samakkhi.ac.th. (ไม่ระบุปีพ.ศ.). ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ Impressionism. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/historyofart/silpa-smay-him-modernart/ silpa-bae-bxim-phers-chan-ni-sm-impressionism.


325 นกคู่ในหมู่บุฟผา aesthetics from the past สุธินี ทิพรัตน์, Sutinee Thippharat สังกัดวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วิทยาลัยช่างศิลป เลขที่ 60 ถนนหลวงพรต แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 Collage of Fine Arts address 60 road Luangphod Disrtict Ladkrabang Bangkok 10520 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ งานศิลปกรรมไทย “ลายรดน้ำ” งานประณีตศิลป์ที่เป็นงานภูมิปัญญามีคุณค่าด้านองค์ความรู้ทางเชิง ช่างที่มีทักษะระดับสูงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันถูกบรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนของวิทยาลัยช่างศิลป เป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์ผ่านกระบวนเรียนรู้สำหรับนักเรียนนักศึกษา ในฐานะความเป็นครูแม้ไม่ได้เป็นผู้รู้ หรือผู้มีความชำนาญโดยตรงแต่มีเจตนาสืบทอดกระบวนการอันทรงคุณค่านี้ไว้จึงเรียนรู้และสร้างสรรค์งานผ่าน ความรู้สึกถึงรักด้วยการใช้สัตว์ตัวแทนคือนกเขาคู่รักมีความหมายเป็นนัยคือการสืบทอดทายาทของศิลปกรรม ไทย สิ่งแวดล้อมของนกเขาซึ่งอยู่ในหมู่บุปผาหรือดอกไม้ใบแบบฉบับศิลปกรรมไทยให้ความหมายเป็นนัยบ่ง บอกถึงความงดงาม ประณีต และทรงคุณค่า ศิลปะลายรดน้ำเป็นการเขียนลวดลายด้วยน้ำยาหรดาลลงบนพื้น รักสีดำแล้วปิดด้วยทองคำเปลวใช้น้ำรดลงน้ำยาหรดาลจนละลายหลุดออกจนเหลือเพียงลวดลายตามที่เขียนไว้ คำสำคัญ: ลายรดน้ำ Abstract The fine arts, an intellectual work, valued in the highly skilled instrumental organisation of the academy, is now being distributed and protected through the course of teaching. Students are not directly knowledgeable or proficient, but with the intention to inherit this valuable process. It is considered to be a symbol of love. A waterfall pattern is written in black and covered with gold. He has watered the liquid into a waterfall and melts it down to the left of the pattern. Keywords: Lacquer Work


326 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ศิลปะไทยมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่ก่อกรุงสุโขทัยที่เริ่มประกาศความเป็นชาติไทย ศิลปะ อันทรงคุณค่าของไทยนั้นมีทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม หัตถกรรม ซึ่งศิลปะแต่ละแขนงนั้น ก็ได้ถูกรังสรรค์ ถ่ายทอด สืบทอดและพัฒนามาตามแต่ละยุคสมัยเนิ่นนานจนกลายมาเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ ของความเป็นไทยในปัจจุบัน (กรมศิลปากร, 2549 : 13) ศิลปะลายรดน้ำ เรียกว่า เป็นงานจิตรกรรมไทยแบบ ประเพณี แบบเอกรงค์ คือ จิตรกรรมที่เขียนขึ้นด้วยวน้ำยาหรดาลลงรักปิดทองคำเปลวแล้วรดน้ำ ลักษณะที่ เป็นรูปภาพและลวดลายสีทองบนพื้นสีดำ ซึ่งทาด้วยยางลักษณ์ (จึลทัศน์, 2549 : 42) จิตรกรรมลายรดน้ำในอดีตใช้วัสดุในการสร้างสรรค์ที่มีราคาสูงและหายาก เพื่อเป็นการถ่ายทอด ความรู้นี้ในวิทยาลัยช่างศิลปจึงบรรจุการเรียนการสอนศิลปไทยลงในหลักสูตร โดยครู อาจารย์คิดค้นวัสดุ อุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่ายขึ้นและมีราคาถูกลง กระบวนการเรียนการสอนนี้ยังเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอกด้วย การจัดโครงการ กระบวนการถ่ายทอดเช่นนี้มิใช้แค่เป็นการศึกษาเท่านั้นยังเป็นการสืบทอดองค์ความรู้ในเชิง สร้างสรรค์ให้มีความหลากหลาย แปลกใหม่ น่าสนใจยิ่งขึ้น และแสดงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้สร้างด้วย 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีความงาม เป็นหัวใจของสุนทรียวิทยาและสุนทรียศาสตร์เป็นคุณค่าที่สำคัญของผลงานศิลปะ และความงามในธรรมชาติ โดยเพลโต (Plato) กล่าวไว้ว่า ความงามที่แท้จริงไม่มีอยู่บนโลกนี้ หากแต่มีอยู่ใน โลกมโนคติ ซึ่งเป็นความงามนิรันดร์ และอริสโตเติล (Aristotle) กล่าวว่า ความงามอยู่ที่ความประสาน กลมกลืนของสัดส่วน ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายของประสาท และอวัยวะต่างๆ ซึ่งศิลปินสามารถ ค้นพบความกลมกลืน แล้วถ่ายทอดลงบนผลงานได้ (กำจร สุนพงษ์ศรี, 2559 : 99-100) ทฤษฎีการแสดงอารมณ์ภายในของมนุษย์ ประกอบด้วยอารมณ์ ความรู้สึก และจินตนาการของศิลปิน ซึ่งเบเนเดโต้ โคลเช (Binedeto Croce) กล่าวว่า ศิลปะคือการหยั่งรู้ แต่อธิบายเหตุผลไม่ได้เป็นการสร้าง ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ขึ้นมา และอาร์ จี คอลลิ่งวูด (R.G. Collingwood) ได้แบ่งงานสร้างสรรค์ไว้ 2 ประเภท คือ Craft เป็นงานฝีมือ ไม่สื่ออารมณ์ ความรู้สึก และ Art Proper ผลงานจะสื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ (สมพร ธุรี, 2553 : 84) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมลายรดน้ำแบบโบราณนั้นมีขั้นตอนการสร้างสรรค์ คือ เริ่มด้วย การเตรียมพื้นผิววัสดุด้วยยางรัก แล้วเขียนด้วยน้ำยาหรดาล ถมพื้นในส่วนที่ต้องการให้ทองติดจากนั้นเช็ดรัก แล้วปิดทองคำเปลว ขั้นตอนสุดท้ายคือการล้างน้ำยาหรดาลออกเป็นอันเสร็จขั้นตอนซึ่งการสร้างสรรค์งานลาย รดน้ำแบบโบราณนั้นมีวัสดุที่สำคัญอยู่ 3 อย่าง คือ ยางรัก หรดาล และแผ่นทองคำเปลวบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็น ซึ่งวัสดุทั้ง 3 อย่างนี้ในปัจจุบันหาซื้อได้ยากและมีราคาสูงมาก


327 ภาพที่ 1 พื้นไม้ขัดเรียบเคลือบรักที่นำไปบ่มแล้วเช็ดรักชักเงา ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(นางสาวสุธินี ทิพรัตน์) ภาพที่2 การร่างแบบบนกระดาษไขโดยใช้เข็มปรุลายตามร่างนำไปวางบนพื้นรักที่เตรียมไว้ตบแป้งลงบนกระดาษไขจะเกิด ลายร่างแล้วจึงใช้พู่กันจุ่มน้ำยาหรดาลที่ผสมน้ำส้มป่อยและกาวกระถินเขียนตามแบบร่างนั้น ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(นางสาวสุธินี ทิพรัตน์) ภาพที่3 หลังเขียนแบบตามร่างเสร็จจึงถมพื้นด้วยน้ำยาหรดาลจนเต็มพื้นแล้วรอให้แห้งสนิท ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(นางสาวสุธินี ทิพรัตน์)


328 ภาพที่4 แผ่นรักที่แห้งสนิทแล้วนำมากดแผ่นทองคำเปลวลงไปให้แนบสนิทกับผิวงานจนเต็มแบบร่าง ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(นางสาวสุธินีทิพรัตน์) ภาพที่ 5 เมื่อกดแผ่นทองคำเปลวจนทั่วงานหลังจกนั้นจึงใช้น้ำพรหมให้ทั่วเพื่อล้างน้ำยาหรดาลออก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(นางสาวสุธินี ทิพรัตน์) ภาพที่6 เช็ดน้ำล้างหรดาลออกด้วยสำลีก้อนจนสะอาดจะปรากฏเพียงลวดลายที่แปะทองคำเปลวไว้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(นางสาวสุธินี ทิพรัตน์) 4. การวิเคราะห์ผลงาน งานศิลปะลายรดน้ำที่สร้างสรรค์ขึ้นนี้ผ่านกระบวนการศึกษาในแบบโบราณทั้งรูปลักษณ์ กระบวนการ วัสดุ อุกรณ์ นำมาผสมผสานกันจากความรู้สึกทั้งอุดมคติ ความงาม ความหมายของภาพที่สื่อถึงความรู้สึกใน การเรียนรู้เพื่อสืบทอด และอนุรักษ์ เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้ความละเมียดละไม เนื้อหาในผลงานที่


329 กล่าวถึงความรู้สึกรักด้วยการใช้สัตว์ตัวแทนคือนกเขาคู่รักมีความหมายเป็นนัยคือการสืบทอดทายาทของ ศิลปกรรมไทย สิ่งแวดล้อมของนกเขาซึ่งอยู่ในหมู่บุปผาหรือดอกไม้ใบแบบฉบับศิลปกรรมไทยให้ความหมาย เป็นนัยบ่งบอกถึงความงดงาม ประณีต และทรงคุณค่า 5. สรุป ภาพที่7 ผลงานสร้างสรรค์นกคู่ในหมู่บุฟผา ที่มา : ผู้สร้างสรรค์(นางสาวสุธินี ทิพรัตน์) ผลงานการสร้างสรรค์ที่สร้างลวดลายจากต้นแบบผ่านกรรมวิธีแบบโบราณโดยใช้วัสดุ อุปกรณ์แบบ ดั้งเดิมแต่ปรับให้เข้ากับยุคสมัยไม่ได้ทำให้คุณค่าของศิลปะลายรดน้ำลดคุณค่าลงแม้แต่น้อย ลวดลายโบราณ นำมาจัดองค์ประกอบในภาพให้เกิดความงามด้านสุนทรียศาสตร์ เกิดคุณค่าทั้งในด้านของความสวยงามและ เนื้อหาที่สื่อความหมายด้านความรู้สึกของผู้สร้างที่มีเจตนาสืบทอดความรู้ศิลปกรรมไทย เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. (2549). ชาดกและพุทธประวัติจากตู้ลายรดน้ำ. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ กำจร สุนทนพงษ์ศรี. (2550). สุนทรียศาสตร์ : หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์. (2549). ศิลปกรรมล้ำค่า สมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน ช่วง สเลลานนท์. (2497). วิชาวาดเขียนภาพไทย เล่ม 2. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม สมพร ธุรี. (2553). การวิเคราะห์ทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอดูเคชั่น


330 โรคติดต่ออุบัติใหม่ Emerging infectious diseases สุพรรณิการ์ ติรณปริญญ์, Supannikar Tiranaparin 11/1 หมู่ 7 ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120, 11/1 Moo.7 Bangprom Bangkhontee Samutsongkram 75120 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ พฤติกรรมการปรับตัว ของมนุษย์และการดำเนินวิถีชีวิตใหม่เมื่อเกิดโรคระบาด 2) สร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผาที่สะท้อนให้ เห็นถึงมุมมองของข้าพเจ้าที่เปรียบโรคติดต่ออุบัติใหม่เหล่านี้เสมือนดั่งยาพิษ ที่เกิดการแพร่ระบาดโดยมีปัจจัย มาจากพฤติกรรมของมนุษย์ และส่งผลกระทบกลับมาที่ตัวมนุษย์เอง ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ใช้ชีวิตทางสังคม มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และใช้ชีวิตอยู่กับบ้านซึ่งเสมือนกล่องสี่เหลี่ยม เพื่อให้ ตนเองปลอดภัยจากโรคร้ายแม้จะรู้สึกอึดอัดที่ไม่ได้ออกไปไหนก็ตาม เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างสรรค์คือ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อ รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ พฤติกรรมการปรับตัวของมนุษย์และการดำเนินวิถีชีวิตใหม่เมื่อเกิด โรคระบาด เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผา ผลการสร้างสรรค์ พบว่า การสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผาชิ้นนี้โดยการใช้ลักษณะรูปทรงของ เชื้อไวรัสและรูปทรงของขวดที่มีลวดลายการไหลของน้ำสีแดง สามารถสื่อถึงโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เปรียบเสมือน ดั่งยาพิษได้เป็นอย่างดี ซึ่งขวดนี้ได้วางกดทับอยู่บนรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่มีรูปร่างของมนุษย์บรรจุอยู่ภายใน สามารถสื่อถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทางสังคมที่มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และใช้ชีวิตอยู่ กับบ้านที่เสมือนกล่องสี่เหลี่ยม เพื่อให้ตนเองปลอดภัยจากโรคร้ายแม้จะรู้สึกอึดอัดที่ไม่ได้ออกไปไหนได้เป็นอย่างดี คำสำคัญ: โรคติดต่ออุบัติใหม่, ยาพิษ, พฤติกรรม, มนุษย์, ปรับตัว, การเว้นระยะห่าง Abstract This creation aims to 1) study emerging infectious diseases, human adaptive behavior, and a new way of life when an epidemic occurs. 2) Create ceramic work that expresses my view that these emerging infectious diseases are like poison. The epidemic is influenced by human behavior and affects the human being, causing the need to modify social lifestyle behaviors. There is a social distance between people, and they live in a house that is like a square box to keep themselves safe from disease, even if they feel uncomfortable and cannot go anywhere.


331 The creation methods involved in this ceramic work are the study and analysis of primary and secondary data; this creation data comprises of emerging infectious diseases, human adaptive behavior, and a new normal behavior during an epidemic outbreak. This data was gathered as a guideline and is used in the creation process of ceramic work. The results of the creation have found that by using the shape of the virus and the shape of the bottle with the pattern of flowing red water. This can convey emerging infectious diseases that are like poison. The bottle is placed on top of a cube box with the shape of a human inside. This can convey the behavioral change in social living with social distance between people and living in a house that is like a square box to keep themselves safe from serious diseases, even if they feel uncomfortable and cannot go anywhere. Keywords: Emerging infectious diseases, Poison, Behavior, Human, Adaptive, Social distancing 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา โรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก หมายถึง โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ (New infectious disease) โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ (New geographical areas) โรคติดต่ออุบัติซํ้า (Re-emerging infectious disease) เชื้อก่อโรคที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistant organism) และเหตุการณ์จงใจกระทำของมนุษย์ด้วยสารชีวะ การเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่เป็นผลจากปัจจัยหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร การ เปลี่ยนแปลงของเชื้อโรค การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ การเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิต และพฤติกรรมของมนุษย์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การรบกวนธรรมชาติและระบบนิเวศวิทยา การ เดินทางที่สะดวกทำให้โรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้เกิดโรคติดต่ออุบัติ ใหม่ขึ้นมาอย่างมากมาย ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้เกิดการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ขึ้นทั่วโลก อย่างต่อเนื่องทั้งโรคติดเชื้อชนิดใหม่ที่เพิ่งเคยค้นพบการระบาดในคน หรือโรคติดเชื้อที่พบในพื้นที่ใหม่ รวมทั้ง โรคที่เพิ่งเคยค้นพบการติดเชื้อในสัตว์แล้วมีแนวโน้มที่ติดต่อมายังคน โดยในช่วงปี 2546 – 2559 ได้พบโรค ต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในหลาย ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีการค้นพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่มีโอกาสติดต่อมาถึงมนุษย์ได้ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ (H1N1) 2009 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก การ ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดจากเชื้อที่มีความรุนแรงก็พบบ่อยขึ้น การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก การระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ในภูมิภาค ตะวันออกกลาง รวมถึงมีผู้ป่วยเดินทางเข้ามาในประเทศไทย การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในทวีป อเมริกาและประเทศในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2559) ในปี 2562 ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ซึ่งเป็นตระกูลของ


332 ไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ ตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น โดยเป็น สายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคน และสามารถแพร่เชื้อ จากคนสู่คนได้ เชื้อไวรัสนี้พบครั้งแรกในการระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วง ปลายปี 2562 (กรมควบคุมโรค, 2563) การเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ในแต่ละครั้งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมนุษย์เป็น อย่างมาก โดยที่เห็นได้ชัดและใกล้ตัวมากที่สุดในขณะนี้คงไม่พ้นโรคโควิด-19 เพราะเป็นการระบาดใหญ่ทั่ว โลกเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2562 และยังแพร่ระบาดมาจนถึงขณะนี้ในปี 2565 ซึ่งส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของมนุษย์อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ด้วยระยะเวลาการแพร่ระบาดที่ยาวนาน ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างในหลายพฤติกรรมของผู้คนอีกด้วย เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การลดการพบปะผู้คน การกักตัวอยู่บ้านหรือภายในห้องคนเดียวของผู้ติดเชื้อ การใช้ชีวิตและทำงานที่บ้าน การสวมใส่หน้ากาก อนามัย ฯลฯ เพื่อให้ตนเองอยู่รอดปลอดภัยจากโรคร้าย ซึ่งส่วนมากมักส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจเพราะ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เมื่อต้องอาศัยใช้ชีวิตอยู่แต่ภายในห้องหรือบ้านไม่ได้ออกไปไหน ก็สามารถก่อให้เกิด ความเครียด ความเหงา หรือความอึดอัดได้ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ พบว่ามีโรคติดต่ออุบัติใหม่เกิดขึ้น มากมายโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือคาดการณ์ได้ ข้าพเจ้าจึงต้องการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผา ที่ สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของข้าพเจ้าที่เปรียบโรคติดต่ออุบัติใหม่เหล่านี้เสมือนดั่งยาพิษพร้อมที่จะทำลายชีวิต และจิตใจของผู้ที่ได้รับพิษเข้าไป โดยการแพร่ระบาดของโรคนั้นมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ และส่งผล กระทบกลับมาที่ตัวมนุษย์เอง ทำให้เกิดความสูญเสีย ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทางสังคม มี การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และใช้ชีวิตอยู่กับบ้านซึ่งเสมือนกล่องสี่เหลี่ยม เพื่อให้ตนเองปลอดภัยจากโรค ร้ายแม้จะรู้สึกอึดอัดที่ไม่ได้ออกไปไหนก็ตาม 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (The Roy Adaptation Model) รอย (2552, อ้างถึงใน สุพัตรา รุ่งรัตน์ และคณะ, 2563) ว่าทฤษฎีการปรับตัวของรอยนี้ได้มีการใช้ อย่างแพร่หลายในการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัว รอยเชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วย ร่างกาย จิตใจ และสังคม บุคคลเป็นเหมือนระบบการปรับตัว (adaptive system) ที่มีความเป็นองค์รวมและเป็นระบบเปิด ซึ่งจะปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตลอดเวลา ประกอบด้วย สิ่งน ำเข้า (input) กระบวนการเผชิญปัญหา (coping process) สิ่งนำออก (output) และกระบวนการป้อนกลับ (feedback) สิ่งนำเข้าตามทฤษฎีการปรับตัวของรอย คือ สิ่งเร้า โดยโรคระบาดไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้นจะเป็นสิ่งเร้าตรงที่ ผู้ป่วยต้องปรับตัว ส่วนปัจจัยอื่น ๆ จะเป็นสิ่งเร้าร่วมและสิ่งเร้าแฝงที่มีผลต่อการปรับตัว เมื่อสิ่งเร้าผ่านเข้าสู่ ระบบการปรับตัวของบุคคล ทำให้บุคคลเกิดการปรับตัวผ่านกระบวนการเผชิญปัญหา ทั้งกลไกควบคุม (regulator mechanism) ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งเร้าอย่างอัตโนมัติเป็นการทำงานกันร่วมกัน


333 ของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ และกลไกคิดรู้ (cognator mechanism) ซึ่งจะเป็นกลไกที่ทำให้ผู้ป่วยเกิด การปรับตัว การดำเนินวิถีชีวิตใหม่ (New Normal Behavior) กรมสุขภาพจิต (2563) ได้อธิบายถึงการดำเนิน วิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal ตั้งแต่ความเป็นมา การดำเนินวิถีชีวิตใหม่กับสถานการณ์โควิด ตลอดจน พฤติกรรมแบบ New Normal กับชีวิตวิถีใหม่ของคนไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ความเป็นมาของคำว่า New Normal New Normal ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยบิลล์ กรอส (Bill Gross) ผู้ก่อตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ชาว อเมริกัน โดยตอนนั้นเขาใช้อธิบายถึงสภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ใน สหรัฐฯ ช่วงระหว่างปี 2007-2009 สาเหตุที่ต้องใช้คำว่า “New Normal" เพราะเดิมทีวิกฤติเศรษฐกิจจะมี รูปแบบค่อนข้างตายตัวและเป็นวงจรเดิม คือเมื่อเศรษฐกิจเติบโตไปได้ช่วงระยะหนึ่ง จะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็น วิกฤติทางเศรษฐกิจ และหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจไม่นานเศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นตัว แล้วก็กลับมาเติบโตได้ดี อีกครั้ง สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติ จนเรียกได้ว่าเป็น ‘เรื่องปกติ’ (Normal) ก็ได้แต่หลังจากการเกิด วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หลายคนมองว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่สามารถกลับไปเติบโตได้ดีเหมือนเดิม ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป ทั้งที่หลายประเทศมีหนี้สาธารณะสูงมาก การยืมเงินจาก อนาคต เพื่อแลกกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในวันนี้จะส่งผลให้เติบโตได้ลดลงในอนาคต ดังนั้นคำว่า “New Normal" จึงถูกนำมาใช้เพื่อพูดถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลงและคาดว่าจะไม่กลับมาเติบโตในระดับ เดิมได้อีกต่อไป 2. การดำเนินวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal กับสถานการณ์โควิด -19 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในแง่การพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้เผชิญวิกฤติมาหลาย ครั้ง แต่โควิด-19 ถือปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาล เพราะเป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างรุนแรงในระยะสั้น และหลายพฤติกรรมจะอยู่ถาวรกลายเป็น New Normal ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายองค์กรกำลังศึกษาอยู่ เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เรายังไม่รู้จักมาก่อน ส่งผลต่อวิถีชีวิต การทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน การเกิดขึ้นและการดำเนินของโรคโควิด-19 ครั้งนี้ จึง เป็นสถานการณ์ที่หลายคนคาดว่าคงจะยาวนานพอสมควร จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในหลาย พฤติกรรมของผู้คน ความไม่แน่นอนและการคาดเดาสถานการณ์ไม่ได้ ประกอบกับการได้รับข้อมูลข่าวสารถึง ผลกระทบต่าง ๆ อาจก่อให้เกิดความเครียด ความกลัว ในจิตใจของคนไทยได้ทุกเพศทุกวัย 3. พฤติกรรมแบบ New Normal กับชีวิตวิถีใหม่ของคนไทย มีข้อมูลจากเว็บไซต์ธรรมนิติ ได้เผยแพร่ข้อมูลการสำรวจของซุปเปอร์โพลและนำเสนอแนวทางชีวิตวิถี ใหม่ของคนไทยไว้ มีดังนี้คือ 3.1 การใช้เทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีควบคู่กับอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาท กับการใช้ชีวิตมากขึ้น ที่จากเดิมมีมากอยู่แล้ว แต่ในสังคมยุค New Normal สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในแทบทุก จังหวะชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ การทำงานที่บ้าน การประชุมออนไลน์ การซื้อสินค้าออนไลน์ การ ทำธุรกรรม และการเอ็นเตอร์เทนชีวิตรูปแบบต่าง ๆ อย่างดูหนัง ฟังเพลง


334 3.2 การเว้นระยะห่างทางสังคม ผู้คนในสังคมจะเห็นความสำคัญของการเว้นระยะห่าง ที่เป็น แนวทางการใช้ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด-19 และจะดำเนินชีวิตแบบนั้นต่อไป โดยรักษาระยะห่างทางกายภาพ เพิ่มขึ้น และใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการสื่อสารและการใช้ชีวิต ลดการปฏิสัมพันธ์ การไปในสถานที่ สาธารณะ และเน้นการทำกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น 3.3 การดูแลใส่ใจสุขภาพทั้งตัวเองและคนรอบข้าง โดยเกิดความคุ้นชินจากช่วงวิกฤติโควิด19 ที่ต้องดูแลด้านสุขภาพและความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ดังนั้นพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และการล้างมืออย่างถูกวิธี และหมั่นสังเกตตัวเองเมื่อไม่สบาย จะยังคงมีต่อไป รวมถึงการหัน มาใส่ใจสุขภาพ การออกกำลังกาย และการทำประกันสุขภาพจะมีแนวโน้มมากขึ้น 3.4 การสร้างสมดุลชีวิต การมีโอกาสได้ทำงานที่บ้าน ลดจำนวนวันการเข้าออฟฟิศ หรือการ ลดการพะปะผู้คนในสังคม แล้วหันมาใช้ชีวิตและทำงานที่บ้านทำให้ผู้คนมองเห็นแนวทางที่จะสร้างสมดุลชีวิต ระหว่างอยู่บ้านมากขึ้น และจะเป็นแนวทางในการปรับสมดุลชีวิตระหว่างเวลาส่วนตัว การงาน และสังคมให้ สมดุลมากยิ่งขึ้น 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ เริ่มต้นจากศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ พฤติกรรมการปรับตัวของมนุษย์และการ ดำเนินวิถีชีวิตใหม่เมื่อเกิดโรคระบาด สรุปวิเคราะห์ข้อมูล เลือกวัสดุและเทคนิคที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการ สร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผา จากนั้นเขียนแบบร่าง 2 มิติ สร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ และเผยแพร่ใน นิทรรศการแสดงผลงานสร้างสรรค์ตามลำดับ 3.1 การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ พฤติกรรมการปรับตัวของมนุษย์และการดำเนิน วิถีชีวิตใหม่เมื่อเกิดโรคระบาด จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิสามารถสรุปได้ว่า การเกิดโรคติดต่ออุบัติ ใหม่ในแต่ละครั้งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก การแพร่ระบาดส่วน หนึ่งมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ และส่งผลกระทบกลับมาที่ตัวมนุษย์เอง ทำให้เกิดความสูญเสีย เมื่อ เกิดการระบาดมนุษย์จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทางสังคม เกิดเป็นการดำเนินวิถีชีวิตแบบ ใหม่ มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล การลดการพบปะผู้คน การกักตัวอยู่บ้านหรือภายในห้องคนเดียวของผู้ ติดเชื้อ การใช้ชีวิตและทำงานที่บ้าน การสวมใส่หน้ากากอนามัย ฯลฯ เพื่อให้ตนเองอยู่รอดปลอดภัยจากโรค ร้าย ซึ่งส่วนมากมักส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม เมื่อต้องอาศัยใช้ชีวิตอยู่แต่ภายใน ห้องหรือบ้านไม่ได้ออกไปไหน ก็สามารถก่อให้เกิดความเครียด ความเหงา หรือความอึดอัดได้ 3.2 การเลือกวัสดุที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผา ในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผาชิ้นนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้เลือกวัสดุและเทคนิคที่เหมาะสม คือ การใช้ดินสโตนแวร์สำหรับเทคนิคการขึ้นรูปด้วยมือและแป้นหมุน ดินโดโลไมต์สำหรับเทคนิคการขึ้นรูปด้วย การหล่อน้ำดินในแม่พิมพ์ เทคนิคการเผาแบบออกซิเดชั่นด้วยเตาไฟฟ้า และเทคนิคการเผารีดักชั่นด้วยเตาฟืน


335 3.3 การสร้างสรรค์ผลงาน หลังจากเขียนแบบร่าง 2 มิติ และเลือกวัสดุที่เหมาะสมแล้ว จึงสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติเป็นเครื่อง เคลือบดินเผา โดยเริ่มจากการขึ้นรูปตัวไวรัสด้วยดินสโตนแวร์ใช้เทคนิคการขึ้นรูปด้วยมือ เคลือบตัวด้วยสี เหลืองอ่อนและเคลือบหนามด้วยสีแดง เผาแบบออกซิเดชั่นที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส จากนั้นขึ้นรูปขวดด้วยดินสโตนแวร์ใช้เทคนิคการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เทเคลือบลงบนขวดโดยสร้าง เป็นลวดลายคล้ายน้ำไหลด้วยน้ำเคลือบที่มีส่วนผสมของคอปเปอร์ออกไซด์ แล้วนำไปเผาแบบรีดักชั่นด้วยเตา ฟืนที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส ส่วนตัวกล่องนั้นผู้สรางสรรค์ได้สร้างต้นแบบกล่องสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ด้วยปูนปลาสเตอร์ จากนั้นนำไป ถอดเป็นแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ แล้วหล่อน้ำดินโดโลไมต์ลงไป เมื่อชิ้นงานแห้งได้รูปทรงตามต้องการจึงนำมา ตัดให้เกิดช่องว่างและประกอบรูปร่างของมนุษย์เข้าไปภายใน ในลักษณะที่เหมือนโดนบีบให้อยู่ภายในกล่อง เคลือบชิ้นงานด้วยเคลือบใส แล้วนำไปเผาแบบออกซิเดชั่นที่อุณหภูมิ 1,050 องศาเซลเซียส เมื่อได้ส่วนประกอบทั้งหมดแล้วจึงนำมาจัดวางเข้าด้วยกัน โดยผลงานนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึง มุมมองของผู้สร้างสรรค์ที่เปรียบโรคติดต่ออุบัติใหม่เหล่านี้เสมือนดั่งยาพิษ เกิดการแพร่ระบาดโดยมีปัจจัยมา จากพฤติกรรมของมนุษย์ และส่งผลกระทบกลับมาที่ตัวมนุษย์เอง ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ ชีวิตทางสังคม มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และใช้ชีวิตอยู่กับบ้านซึ่งเสมือนกล่องสี่เหลี่ยม เพื่อให้ตนเอง ปลอดภัยจากโรคร้ายแม้จะรู้สึกอึดอัดที่ไม่ได้ออกไปไหนก็ตามได้เป็นอย่างดี ภาพที่ 1 ผลงานสร้างสรรค์ “โรคติดเชื้ออุบัติใหม่” ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ ได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติ ใหม่ พฤติกรรมการปรับตัวของมนุษย์และการดำเนินวิถีชีวิตใหม่เมื่อเกิดโรคระบาด จากนั้นทำการสรุปข้อมูล วิเคราะห์และถอดทัศนธาตุ เพื่อนำมาประกอบสร้างสรรค์เป็นผลงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้


336 รูปร่างและรูปทรง ผลงานชิ้นนี้เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงโดยใช้รูปทรงของเชื้อไวรัสมาเป็นส่วนของจุกหรือฝาขวด และใช้ รูปทรงของขวดซึ่งเป็นภาชนะที่มนุษย์สร้างขึ้นสำหรับบรรจุน้ำและยาต่าง ๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันกันอย่าง แพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อนำรูปทรงของไวรัสและขวดมาประกอบเข้าด้วยกัน ขวดนี้จึงเป็นขวด บรรจุไวรัสที่เสมือนยาพิษ ซึ่งสื่อถึงโรคติดต่ออุบัติใหม่สามารถแพร่ระบาดสู่มนุษย์ได้จากพฤติกรรมของมนุษย์ ในชีวิตประจำวัน และแพร่ระบาดจากมนุษย์สู่มนุษย์ด้วยกันเองจากการสัมผัส รับประทานน้ำหรืออาหารด้วย ภาชนะเดียวกัน ฐานด้านล่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปทรงของสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ เจาะให้เกิดช่องว่างแล้วใส่รูปร่างของ มนุษย์ที่เหมือนโดนบีบหมุนวนอยู่ภายใน สื่อถึงการปรับตัวของมนุษย์เมื่ออยู่ในสภาวะที่โรคร้ายกำลังแพร่ ระบาด มนุษย์ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทางสังคม มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และใช้ ชีวิตวนเวียนอยู่ภายในบ้านหรือห้องซึ่งเสมือนกล่องสี่เหลี่ยม เพื่อให้ตนเองปลอดภัยจากโรคร้ายแม้จะรู้สึกอึด อัดที่ไม่ได้ออกไปไหนก็ตาม เส้น ลวดลาย และพื้นผิว ผลงานชิ้นนี้ได้นำเอาลักษณะของเส้นสีแดงที่ไหลเหมือนน้ำ มาใช้ในการสร้างเป็นลวดลายบนพื้นผิว ของขวด เป็นการแทนค่าการไหลของยาพิษเปรียบดั่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนั่นเอง ในส่วนของพื้นผิวนั้น ตัวไวรัสและกล่องสี่เหลี่ยมจะใช้เคลือบที่มีลักษณะเป็นผิวมันตัดกันกับพื้นผิวของขวดที่มีลักษณะเป็นผิวด้าน จึงทำให้เกิดความน่าสนใจบนชิ้นงานจากพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกัน สีและการจัดวางองค์ประกอบ - สีของตัวไวรัสเป็นสีเหลืองอ่อนและหนามเป็น สีแดง ขวดเป็นสีเทาอมน้ำตาลมีลวดลายเส้นสีแดงที่ เหมือนยาพิษหรือเลือด กล่องสี่เหลี่ยมและมนุษย์เป็นสี ขาวให้ความรู้สึกที่ต้องการความปลอดภัย - การจัดวางองค์ประกอบ จัดวางโดยตัวไวรัสอยู่ ด้านบนสุด ตามด้วยขวดที่วางกดทับลงบนกล่องสี่เหลี่ยม ซึ่งลวดลายเส้นสีแดงบนขวดนั้นแทนโรคร้ายที่เปรียบ เสมือนยาพิษไหลลงสู่กล่องสี่เหลี่ยมด้านล่างที่มีมนุษย์อยู่ ภายใน สื่อถึงโรคติดเชื้ออุบัติใหม่สามารถแพร่ระบาดสู่ มนุษย์ได้


337 - กล่องสี่เหลี่ยมด้านล่างบรรจุรูปร่างของมนุษย์ที่ เหมือนโดนบีบหมุนวนอยู่ภายใน สื่อถึงการปรับตัวของ มนุษย์เมื่ออยู่ในสภาวะที่โรคร้ายกำลังแพร่ระบาด มนุษย์ ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทางสังคม มี การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และใช้ชีวิตวนเวียนอยู่ ภายในบ้านหรือห้องซึ่งเสมือนกล่องสี่เหลี่ยม เพื่อให้ตนเอง ปลอดภัยจากโรคร้าย แม้จะรู้สึกอึดอัดที่ไม่ได้ออกไปไหน ก็ ตาม วัสดุและเทคนิคที่ใช้ วัสดุที่ใช้ในงานชิ้นนี้คือ ดินสโตนแวร์สำหรับเทคนิคการขึ้นรูปด้วยมือและแป้นหมุน ดินโดโลไมต์ สำหรับเทคนิคการขึ้นรูปด้วยการหล่อน้ำดินในแม่พิมพ์ เผาแบบออกซิเดชั่นด้วยเตาไฟฟ้าอุณหภูมิ 1,050 และ 1,200 องศาเซลเซียส และเผาแบบรีดักชั่นด้วยเตาฟืนอุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ สร้างสรรค์ขึ้นอย่างเป็นระบบมีขั้นตอน เริ่มต้นจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ พฤติกรรมการปรับตัวของมนุษย์และการดำเนินวิถีชีวิตใหม่เมื่อเกิดโรคระบาด จากนั้น เลือกวัสดุและเทคนิคที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเคลือบดินเผา เขียนแบบ ร่าง 2 มิติ สร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ และเผยแพร่ในนิทรรศการแสดงผลงานสร้างสรรค์ตามลำดับ ซึ่งผลงาน สร้างสรรค์ชิ้นนี้เป็นการผสมผสานการขึ้นรูป เทคนิค และกระบวนการเผาต่าง ๆ ที่หลากหลายในงานเครื่อง เคลือบดินเผาเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิด ทำให้เห็นได้ว่าผลงานเครื่องเคลือบดินเผาหนึ่ง ผลงานนั้นสามารถใช้เทคนิคกระบวนการที่หลากหลายในการสร้างสรรค์เป็นผลงานเชิงศิลปะได้ ไม่จำกัดอยู่ เพียงกระบวนการทางอุตสาหกรรมตามที่พบเห็นโดยทั่วไป โดยผลงานชิ้นนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของผู้ สร้างสรรค์ที่เปรียบโรคติดต่ออุบัติใหม่เหล่านี้เสมือนดั่งยาพิษพร้อมที่จะทำลายชีวิตและจิตใจของผู้ที่ได้รับพิษ เข้าไป โดยการแพร่ระบาดของโรคนั้นมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ และส่งผลกระทบกลับมาที่ตัวมนุษย์ เอง ทำให้เกิดความสูญเสีย ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทางสังคม มีการเว้นระยะห่างระหว่าง บุคคล และใช้ชีวิตอยู่กับบ้านซึ่งเสมือนกล่องสี่เหลี่ยม เพื่อให้ตนเองปลอดภัยจากโรคร้ายแม้จะรู้สึกอึดอัดที่ ไม่ได้ออกไปไหนก็ตาม


338 เอกสารอ้างอิง กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรมควบคุมโรค. https://ddc. moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php. สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูฟีกอร์ มาโซ, และ ยุทธนา กาเด็ม. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจาก สถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2564). สำนักงานกิจการโรง พิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. Nitayaporn. (2563, 27 พฤษภาคม). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. กรมสุขภาพจิต. https://dmh.go. th/news/view.asp?id=2288


339 จังหวะของสี Rhythm of colors สุวดล เกษศิริ, Suvadon Katsiri วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช, Nakhon Si Thammarat College of fine art E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ข้าพเจ้าได้แรงบันดาลใจจากประสบการณ์การทำงานจิตรกรรม ซึ่งใช้การระบายสีสร้างแสงและเงา ของสีในรูปทรงดอกไม้แบบนามธรรม โดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์ผ่านซึมซับสีสันจากดอกไม้เพื่อฝึกฝน ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการ เส้น รูปทรง สี ซึ่งสื่อถึงความงามในสีสันดอกไม้ คำสำคัญ: แรงบันดาลใจ, โทนสี, นามธรรม, จินตนาการ, สี Abstract I am inspired by my experience in painting. The use of colours painting in light and dark tones suggesting refers to abstact landscape The creative process ia an attempt to control; my moods and my feeling my imagination lines form and colours from flowers which convey beauty in colours of flower Keyword: inspired, tones, abstact, imagination, colours 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ข้าพเจ้าได้ความคิดในการทำงานศิลปะมาจากสีในดอกไม้ดอกไม้แต่ละชนิดมีสีสันที่สวยงาม ข้าพเจ้า ใช้กระบวนการทางจิตรกรรม ชักจูงความคิด จินตนาการให้มีความรู้สึก ประกอบกับนิสัยส่วนตัวที่มีชีวิตเรียบ ง่าย ค่อนข้างสบายไม่ซับซ้อน บางครั้งมีความสนุกสนาน อบอุ่น บางครั้งรู้สึกเงียบเหงา เวิ้งว้าง ธรรมชาติเป็น ส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวัน ข้าพเจ้าจึงนำธรรมชาตินิสัยและผลการทดลองจิตรกรรมเป็นจุดเริ่มต้นการ สร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ ข้าพเจ้าสนใจจังหวะการเคลื่อนไหวในบรรยากาศของสี และพื้นที่ว่าง อันเกิดจากการกระทำของทัศนธาตุ ได้แก่ เส้น สี น้ำหนักอ่อนแก่ หาทดลองหาจังหวะอันเหมาะสม จังหวะที่เปลี่ยนแปลงตามความรู้สึกส่วนตัว เป็นสิ่งที่ท้าทาย จึงได้เลือกแนวความคิดดังกล่าวมาเป็นแนวทางศิลปะ


340 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ เป็นส่วนสำคัญของการแสดงออกของผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ เช่น เส้น สี พื้นที่ว่าง รูปทรง 1. เส้น ในผลงานข้าพเจ้า มีการเคลื่อนไหวคล้ายเส้นในธรรมชาติ เช่น ต้นหญ้า กิ่งไม้ มีน้ำหนักอ่อน แก่ในตัวเอง เส้นมีขนาดที่แตกต่างกันและมีสีที่ต่างกันด้วย เส้นของข้าพเจ้ามี 2 ประเภท คือ เส้นรอบนอกที่ กำหนดขอบเขตรูปทรง บางส่วนของเส้นจะละลายหายไปในพื้นที่ว่าง เส้นทำหน้าที่เคลื่อนไหวภายในผลงาน 2. พื้นที่ว่างในผลงานข้าพเจ้าเป็นพื้นที่ว่าง 3 มิติ (Three dimention space) ไม่สามารถบอก จุดเริ่มต้นได้ว่าเริ่มจากจุดไหนและจบลงที่จุดไหน เหมือนเวลาที่เรายืนในหมอกซึ่งเราไม่ทราบว่าเรายืนตรงจุด ไหน ข้าพเจ้าให้ความสำคัญกับมิติทางด้านกว้างและทางด้านลึก 3. รูปทรง ทำหน้าที่ควบคุมให้เส้นไม่แรงเกินไป หากเอารูปทรงออก เส้นจะตัดกัน (Contrast) กับ พื้นที่ว่างมากเกินไป บางส่วนของเส้นถูกรูปทรงลดไม่ให้แรงมากเกินไป บางส่วนของเส้นถูกรูปทรงลดไม่ให้ รุนแรง ทำให้เส้นนุ่มนวลขึ้น รูปทรงเป็นรูปทรงอิสระ ผลของรูปทรงอิสระทำให้เกิดน้ำหนักอ่อนแก่ในบางส่วน ทำให้พื้นที่ว่างมีพลังมากขึ้น และเป็นส่วนที่ควบคุมพื้นที่ว่างให้เกิดบรรยากาศ 4. สี ข้าพเจ้าใช้สีในวรรณะร้อน (warm tone) บางชิ้นมีสีวรรณะเย็น (cool tone) ประสมประสาน ในอัตราส่วน 80:20 หรือ 50:50 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้าในเบื้องต้น ข้าพเจ้าใช้การสร้างสรรค์ผลงานโดยปราศจาก ภาพร่าง ระบายสีโดยการทับซ้อน สีจนเกิดรูปทรงขึ้น ตามอารมณ์ความรู้สึก (Expression painting) ขณะนั้น จนเมื่อเสร็จกระบวนการ ข้าพเจ้าจึงควบคุมองค์ประกอบของภาพเพียงเล็กน้อยเพื่อหาความเป็นเอกภาพให้กับ ผลงานสร้างสรรค์ ต่อมาพบปัญหาการพัฒนาผลงานเนื่องจากเป็นการทำงานเพียงย้ายองค์ประกอบไปมา ขาด การพัฒนาต่อเนื่อง ข้าพเจ้าจึงใช้สีสันของดอกไม้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยลดทอน รายละเอียดของ รูปทรง บรรยากาศ สี มาพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ ภาพที่ 1 แสดงแหล่งข้อมูลสีสันจากดอกไม้


341 ภาพที่ 2 แสดงแหล่งข้อมูลสีสันจากดอกไม้ ภาพที่ 3 แสดงภาพผลงานที่ใช้แรงบันดาลใจจากแหล่งข้อมูลจากสีสันในดอกไม้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


342 ภาพที่ 4 แสดงภาพผลงานที่ใช้แรงบันดาลใจจากแหล่งข้อมูลจากสีสันของดอกไม้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ สร้างสรรค์ผลงานรูปแบบแนวนามธรรม โดยได้แรงบันดาลใจจากสภาพ แวดล้อม ธรรมชาติ โดยใช้ทัศนธาตุทางศิลปะเช่น เส้น สี รูปทรง มาสร้างสรรค์ผลงาน สร้างให้เกิดสุนทรียภาพ ทางศิลปะอย่างเป็นเอกภาพ 5. สรุป ในการสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้านั้น ข้าพเข้าพัฒนาทั้งเทคนิคและแนวคิดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ การหาข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้ามาก ทำให้ข้าพเจ้ามองเห็นความสำคัญของข้อมูลจริง แต่เดิมข้าพเจ้า ใช้การสร้างสรรค์ผลงานโดยการแสดงออก (action painting) ทำให้เกิดอุปสรรคในการสร้างสรรค์ผลงาน แต่ อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าคิดว่าการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนั้น ควรมีทั้งกระบวนการทางเทคนิคที่ดีและแนวคิดที่ดี หรือข้อมูลการสร้างสรรค์๕ที่ดีด้วย ด้วยเหตุนี้ผลงานสร้างสรรค์ข้าพเจ้าชุดนี้จึงสำเร็จลุล่วงส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกทางด้านความงามของทัศนธาตุตามที่ประสงค์ไว้ อารมณ์ความรู้สึกในผลงานได้แก่ จังหวะของสีใน พื้นที่ว่าง และบรยากาศอันเกิดจากเอกภาพของเส้น สี รูปทรง เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะที่ มุ่งหวังความงามอันบริสุทธิ์ของ สีต่อไปภายหน้า


Click to View FlipBook Version