The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

193 อุปกรณ์ 1. กระดาษสำหรับเขียนสีชอล์ก 2. สีชอล์กประเภท Soft Pastel ขั้นตอน 1. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล 2. เลือกกระดาษที่ต้องการสำหรับเขียนสีชอล์ก 3. กำหนดองค์ประกอบ 4. ร่างภาพลงบนกระดาษ 5. ระบายสีบนภาพร่างตามต้นแบบที่หาข้อมูลมา 6. เก็บรายละเอียดของภาพ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์ผลงาน “MORNING” ได้รวบรวมข้อมูลและค้นหาวัสดุที่จะนำมารองรับเนื้อหาให้ สอดคล้องกับแนวคิดมากที่สุด โดยเลือกใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel เพราะต้องการสร้างพื้นผิวให้มี ความรู้สึกนุ่มนวลเป็นธรรมชาติ มีโทนสีที่นุ่มสบายตา สามารถเกลี่ยทับและ blend สีได้ตามความต้องการ แต่ การใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel เมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำไปใส่กรอบกระจกเพื่อเก็บรักษาผลงาน หรือเก็บไว้ ในซองพลาสติก เพื่อไม่ให้ผงสีหลุดร่วง สามารถใช้สเปรย์พ่นทับเพื่อรักษาสภาพผลงานได้เช่นกัน แต่สีที่ได้ หลังจากการพ่นจะผิดเพี้ยนไปจากสีต้นแบบบ้าง 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ “MORNING” มีที่มาจากการสังเกตสภาพชีวิตประจำวัน สภาพสังคม ความเป็นอยู่ รอบ ๆ ตัว และประสบการณ์การทำงานศิลปะที่สั่งสมมา เลือกใช้ทฤษฎีนิยมการเลียนแบบ (Naturalism Theory โดยผู้ชมงานศิลปะนั้น สามารถมองเห็น และเข้าใจได้ว่าเป็นภาพอะไรจากประสบการณ์ทางการเห็น โดยใช้สีชอล์กประเภท Soft Pastel เพราะต้องการสร้างพื้นผิวให้มีความรู้สึกนุ่มนวลเป็นธรรมชาติ มีโทนสีที่ นุ่มสบายตา สามารถเกลี่ยทับและ blend สีด้วยนิ้วมือหรือวัสดุอ่อนนุ่มอื่น ๆ เพื่อให้ได้เฉดสีที่ต้องการ และ คาดหวังว่าเมื่อได้เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออกไป จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจศิลปะทั่วไป เป็นแรงบันดาลใจแก่ ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ ต่อยอด ในมิติอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เอกสารอ้างอิง น.ณ ปากน้ำ. (2534). หลักการวาด. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ นิพนธ์ ทวีกาญจน์. (2529). ประวัติศาสตร์ศิลป์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์ สุชาติ สุทธิ. (2535). เรียนรู้การเห็น : พื้นฐานการวิจารณ์ทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: โอ. เอส พริ้นติ้งเฮาส์


194 เวลาของการจากไป Time of Leaving พิษณุ ศรีไหม, Pitsanu Srimai วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี 16 ม.4 ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000 Suphanburi College of fine Arts 16 Moo.4 RueaYai Subdistrict Mueang District, Suphanburi province 72000 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมครั้งนี้ มีความประสงค์ที่จะสื่อความหมายถึงผลกระทบที่มาจาก การพลัดพราก ซึ่งเป็นความรู้สึกจากภายในจิตใจของผู้สร้างสรรค์ กล่าวคือ สภาวะของความคิดฝัน ความโหย หาในบางสิ่งที่ฝังอยู่ภายในจิตใต้สํานึก ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เป็นนามธรรม ดังนั้น จึงต้องอาศัยรูปสัญลักษณ์ เพื่อที่จะอุปมาถึงความรู้สึกดังกล่าว โดยใช้รูปทรงที่นำมาจากชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ นอกจากนี้ สี น้ำหนัก และพื้นผิวของงานประติมากรรม ยังต้องมีความสอดคล้อง กลมกลืนกัน สามารถทํางานร่วมกันภายใต้รูป สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความคิดฝันได้เป็นอย่างดีการนําเสนอผลงาน “เวลาของการจากไป” นี้นอกจากจะเป็น การแสดงความรู้สึกภายในส่วนตัวแล้วยังถือได้ว่าเป็นการช่วยผ่อนคลายและสร้างความสมดุลให้กับชีวิต ด้วย การถ่ายทอดความคิด ความต้องการ และความรู้สึก ให้ออกมาในรูปแบบผลงานศิลปะ ซึ่งผู้สร้างสรรค์ยัง คาดหวังว่าผลงานประติมากรรมชุดนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมงานได้คิดทบทวนและตระหนักถึงความปรารถนา ภายในจิตใจของตัวเอง และนําสิ่งเหล่านั้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ต่อในอนาคตซึ่งไม่จําเป็น จะต้องมีรูปแบบการสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะเสมอไป การสร้างสรรค์ในครั้งนี้ประกอบด้วยผลงาน ประติมากรรมลอยตัว จํานวนทั้งหมด 1 ชิ้น เทคนิคการประกอบจากวัสดุสำเร็จ คำสำคัญ: พลัดพราก การจากไป Abstract These works of sculpture are intended to present “Time of living. The effection that occasionally comes is the motivation that lies under my mind. It has been hidden silentlydeep in my subconscious mind that I don’t know when it has been started. This state is a veryabstract, untouchable and mentally issue. Symbolic system is used to configure it into solidest of sculptures. The form of human are used to represent my deep desire. Moreover, color, tone and texture also work together to be part of unique sculpture. Creating this work is not only to express my deep and private feeling but to release stress and keep balance for my life. I also hope that this work will stimulate the audiencesto


195 review their own desire and make them an inspiration for further design and creation. These works of sculpture consist of 2 molded and bronze casting sculptures. Keywords: leaving 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา เราเกิดมาแล้วย่อมมีการพลัดพราก จากกันเป็นธรรมดา ล่วงพ้นการพลัดพรากจากกันไปไม่ได้ นี่คือ ความจริงของชีวิตของทุก ๆ ชีวิต ไม่ว่าจะสูงจะต่ำจะรวยจะจน จะฉลาดหรือโง่จะต้องมีการพลัดพรากจากกัน เป็นธรรมดา ถ้าไม่ทำความเข้าใจอยู่เนื่องๆใจจะหลงจะลืมจะคิดว่าจะอยู่ร่วมกันไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันสิ้นสุด พอถึง เวลา ที่จะต้องพลัดพรากจากกันก็จะเกิดความทุกข์ใจเกิดความไม่สบายใจขึ้นมา แต่ถ้าหมั่นทำความเข้าใจ พิจารณาอยู่เรื่อย ๆ จะไม่หลงจะไม่ลืมจะเตรียมตัวเตรียมใจจะไม่ยึดไม่ติดกับสิ่งต่าง ๆ กับบุคคลต่าง ๆ เพราะ รู้ว่าไม่ช้าก็เร็ว จะต้องจากกันอย่างแน่นอน และสิ่งที่จะทำให้คนเราหายทุกข์ได้ เวลาที่จะต้องเผชิญกับการ พลัดพรากจากกัน ก็คือต้องยอมต้องเห็นความจริงและต้องยอมรับความจริงอันนี้ ไม่ฝืนไม่ต่อต้านความจริง เพราะพวกเราที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ มีความเสมอภาคในเรื่องของการสูญเสีย เสียกันหมดทุกคนการพลัดพราก” การพลัดพรากเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม สภาวะของความต้องการตอบสนองความปรารถนาที่ ไม่อาจอธิบายได้ก็เป็นนามธรรม ไม่สามารถจับต้องได้ ปราศจากรูปทรง รูปแบบ หรือคุณลักษณะทางกายภาพ อื่น ๆ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องอาศัยกระบวนการสร้างสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายตลอดจนอารมณ์และ ความรู้สึกที่ต้องการ สัญลักษณ์ที่นํามาใช้นั้นมีที่มาจากรูปทรงของมนุษย์ เฉพาะส่วนที่เป็นสาระสําคัญของ รูปทรงนั้นไว้ซึ่งรูปทรงของมนุษย์ถูกนํามาใช้เพื่อสื่อความหมายแทนสภาวะอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ความเป็นจริงอันแสนเจ็บปวดทางจิตใจ ต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ไว จนรู้สึกจะตั้งรับไม่ทัน ยังไม่ ถึงเวลากับสภาพสภาวะของการดิ้นรนเพื่อชีวิต จากโรคภัยระบาด ความไม่มั่นคงการเมือง และ สงคราม ที่ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ฉับพลัน เป็นลูกโซ่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยากต่อการปรับตัว ปรับสภาพจิตใจ การให้ พร้อมรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งการสูญเสียชีวิต การขาดรายได้ และการดำเนินชีวิตที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป ผู้สร้างสรรค์นั้นมีความรู้สึกในลักษณะดังกล่าวเช่นเดียวกัน บางครั้งไม่อาจอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรม หรือเป็นคําพูดที่ชัดเจนได้ว่าความรู้สึกนั้นคืออะไร ทําอย่างไรจึงจะได้มา และจะสิ้นสุดที่ใดแต่สิ่งที่รู้สึกมา ตลอดนั้นคือพลังที่อวลอยู่ภายในและดํารงอยู่อย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน เกิดความรู้สึกโหยหาในบางสิ่ง อาจเป็น อิสรภาพ เสรีภาพ ที่จะดําเนินชีวิตตามอุดมคติและความเชื่อของตน ฉะนั้น จึงจําเป็นต้องตอบสนองความโหย หานี้ให้ออกมาเป็นรูปธรรม มีความชัดเจนจับต้องสัมผัสได้ การสร้างสรรค์งานศิลปะจึงเป็นทางออกทางหนึ่งสําหรับผู้เขียน ผลงานประติมากรรมที่ได้สร้างขึ้นนั้น มิได้ทําหน้าที่เป็นภาพประกอบของความคิดฝันจากจิตใต้สํานึก แต่เป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายสภาวะที่เป็นอยู่ภายใน


196 ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า การอธิบายผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนี้ กลับมีความชัดเจนกว่าการอธิบาย ด้วยถ้อยคําใด ๆ (นันทวุฒิ, 2555) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. ตรวจสอบสภาวะความรู้สึกของตน โดยมุ่งเน้นไปที่อารมณ์ ความรู้สึกอันเป็นแรงบันดาลใจเบื้องต้น 2. ศึกษา ค้นคว้า เอกสารทางวิชาการ ตลอดจนบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของ ความรู้สึกและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างใช้สัญลักษณ์ 3. ศึกษา ค้นคว้า ผลงานสร้างสรรค์ที่ผ่านมา ที่มีแนวทางในการทํางานใกล้เคียงกันเพื่อวิเคราะห์และ เปรียบเทียบให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนา 4. จัดทําภาพร่าง 2 มิติ 5. ดําเนินการสร้างสรรค์โดยเทคนิคการปั้นโดยวัสดุสำเร็จมาประกอบ 6. สรุปปัญหาทั้งหมด พร้อมทั้งทําการวิเคราะห์เพื่อนํามาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ภาพที่ 1 ภาพร่าง ที่มา : ภาพผลจากสถานที่สร้างสรรค์ โดย นายพิษณุ ศรีไหม


197 ภาพที่2 ภาพผลงานจากการสร้างสรรค์ ที่มา : ภาพผลจากสถานที่สร้างสรรค์โดย นายพิษณุ ศรีไหม 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาข้อมูล สร้างสรรค์ผลงาน มีลักษณะเป็นผลงาน ประติมากรรมลอยตัว อาศัยรูปทรงที่มาจากส่วนกะโหลกศีรษะของมนุษย์ มองเห็นเป็นเค้าโครงร่างศรีษะจาก มนุษย์ มีพื้นผิวเรียบตึง บริเวณที่เป็นกะโหลกใบหน้ามนุษย์ที่แสดงถึงความเสื่อมสลาย ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ ได้รับแรงบันดาลใจและความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาซึ่งสะท้อนมาจากความรู้สึกที่ต้องการพลัดพรากจาก ช่วงเวลาถึงอีกช่วงเวลาหนึ่ง ผู้สร้างสรรค์รู้สึกถึงความสะเทือนใจเมื่อต้องพลัดจากจากกัน แม้จะจากเป็นหรือ จากตาย มนุษย์เราทุกคนยังคงแบกความรู้สึกเจ็บปวดจากการพลัดพรากและยังมีความปรารถนาที่จะได้พบกัน อีก ตลอดจนแรงขับเคลื่อนต่าง ๆ ที่ถูกซ่อนอยู่ และยังสะท้อนให้เห็นภาพความจริงของธรรมชาติที่อยู่รอบตัว เรา ถึงความว่างเปล่าของชีวิต การไม่มีใบหน้านั้นชวนให้คิดถึงการมองให้ลึกไปถึงความจริงที่ซ่อนอยู่ภายใน ผลงานทั้งชิ้นมีสีทอง ในส่วนของกะโหลกซึ่งแสดงถึงคุณค่าของการเป็นมนุษย์ และ หน้ากากอนามัยสะท้อน ภาพเหตุการณ์การระบาดของไวรัส ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนอันเป็นที่รัก เรียกได้ การพลัดพรากหรือการจากตาย โดย การใช้สัญลักษณ์ทางรูปทรง จากธรรมชาติจริงและวัสดุสำเร็จ การจัดจังหวะทิศทางของวัตถุ และองค์ประกอบ ของภาพ การใช้เทคนิคกระบวนการต่าง ๆ ให้มีเรื่องราวสอดคล้องตามแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ นำสู่ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม โดยการอิงสภาพตามความเป็นจริงของธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทั้งหมด


198 5. สรุป การที่ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสภาวะภายในจิตใจของตนเองนั้นนอกจาก จะเป็นการได้ค้นหาและเรียนรู้ที่จะปลดปล่อยความตึงเครียดภายในจิตใจได้ทางหนึ่งแล้วยังเป็นสิ่งที่ช่วย กระตุ้นให้ผู้ที่ได้ชมงานนึกย้อนกลับไปสู่สภาวะจิตใจของตนเอง เสมือนเป็นการหยุดพักเพื่อตรวจสอบความคิด ฝันที่มีอยู่ในใจ ได้ทบทวนว่าสิ่งนั้นยังมีความสําคัญต่อชีวิตของตนอยู่หรือไม่ ถ้ามี ก็ควรได้ฟังมันบ้าง และสิ่ง เหล่านี้อาจเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ซึ่งไม่จําเป็นต้องอาศัยรูปแบบ ประติมากรรมเสมอไป เอกสารอ้างอิง เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช.(2563). เหตุใดมนุษย์ถึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง?. https://www.gqthailand.com /views/article/fear-of-change ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ นันทวุฒิ สิทธิวัง. (2555). เสียงแห่งจิต. วารสารปาริชาติ ฉบับพิเศษ ผลงานวิจัยจากการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 22 ประเวศ วะสี. (2553).ธรรมชาติของสรรพสิ่ง : การเข้าถึงความจริงทั้งหมด. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ :กรีน ปัญญาญาณ สิรวิชญ์ รัตน์จินดา. ไตรลักษณ์ในควอนตัม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กอถึงฮอ อุรชา จักรคชาพล. (2561). ธรรมะ(ชาติ). https://readthecloud.co/photo-nature/


199 สีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช Colorful Culture in Nakhon Si Thammarat พีรวัฒน์ อินนุพัฒน์, Peerawat Innupat วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมาช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, Nakhon Si Thammarat College of Fine Arts, Bunditpattanasilpa Institute E-mail : [email protected] บทคัดย่อ วัฒนธรรมความเชื่อหลากหลายได้แผ่ขยายเข้ามาในจังหวัดนครศรีธรรมราชภาคใต้ของประเทศไทย ดังเช่นจากศาสนาพุทธ และพราหมณ์ จากลังกา หรือจากจีนคือการเชิดสิงโต เกิดขึ้นในพระราชสำนัก และ ส่งผลต่อความเชื่อของประชาชนในเวลาต่อมา มีการให้ความสำคัญกับพิธีกรรมซึ่งเชื่อว่ามีพลังอำนาจ สามารถ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ดึงดูดโชคลาภ เสริมความรุ่งเรือง เป็นการผสมผสานศิลปวัฒนธรรม ที่ประดับตกแต่งสีสัน สวยงามตามความเชื่อ เพื่อสร้างขวัญ เป็นกำลังใจแก่ผู้คนในการดำเนินชีวิต ปัจจุบันความเชื่อของชาว นครศรีธรรมราชมีการผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ผลงานการสร้างสรรค์จิตรกรรมชุด “สีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช” แสดงถึงความประทับใจความ งามของสีสันขณะเคลื่อนไหวของสิงโตกับสีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช สร้างสรรค์ผลงานซึ่งสะท้อนด้าน คุณค่าวัฒนธรรมหลากหลายของชาวนครศรีธรรมราช ที่มีต่อการดำเนินชีวิตเพื่อต้องการเห็นคนไทยมีความ ตระหนักในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันเป็น อัตลักษณ์เชื้อชาติไทย อย่างที่คนนครศรีธรรมราชไม่เคยลืม วัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของตน ต้องการสะท้อนมุมมองส่วนตน จากความประทับใจในสีสันวัฒนธรรม นครศรีธรรมราชผ่านการผสมสีในม่านตาที่มีอิทธิพลจากแสง การเคลื่อนไหวของสีเป็นแรงบันดาลใจ ต่อการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม คำสำคัญ: สีสัน, วัฒนธรรมนครศรีธรรมราช Abstract Many cultural beliefs have spread into Nakhon Si Thammarat province, southern Thailand, as from Buddhism and Brahmanism, from Lanka or from China, lion dances. occurred in the royal court and affecting the beliefs of the people later There is an emphasis on rituals which are believed to have powers. Able to ward off evil, attract good fortune, enhance prosperity It is a blend of arts and culture. decorated with beautiful colors according to belief to create a gift to encourage people to live At present, the beliefs of the people of Nakhon Si Thammarat are blended harmoniously.


200 The work of creating a series of paintings “Colorful Culture of Nakhon Si Thammarat” represents the impression of the beauty of the colors while moving the lions with the colors Nakhon Si Thammarat Culture Create works that reflect the cultural values of the people of Nakhon Si Thammarat. towards the way of life in order to see Thai people have an awareness of preserving arts and culture which is Thai ethnic identity As the people of Nakhon Si Thammarat never forget their traditional belief culture. want to reflect personal perspective From the impression of the colors of Nakhon Si Thammarat culture through the combination of colors in the iris that is influenced by light. The movement of colors is inspiring. to the creation of works of art Keywords: Colorful, Nakhon Si Thammarat culture 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา วิถีชีวิตของชุมชนของคนหลากหลายศาสนาในจังหวัดนครศรีธรรมราชภาคใต้ของประเทศไทยที่ ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ท่ามกลางชุมชนที่รายล้อมไปด้วยคนไทยเชื้อสายจีน ชาวพุทธ พราหมณ์ ที่เป็นมรดกทาง วัฒนธรรมมาถึงปัจจุบัน ผู้สร้างสรรค์ซึมซับอิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรมการเชิดสิงโตตั้งแต่ วัยเยาว์ รู้สึก ประทับใจในบรรยากาศของเทศกาลตรุษจีน รวมทั้งเทศกาลทางศาสนาเช่นวันสงกรานต์ ที่มีบ้านเรือนที่ ประดับประดาไปด้วยสีแดงและสีทอง สีสันของเสื้อผ้า โคมไฟที่ประดับเต็มถนน เสียงเพลง เสียงประทัด และ การแสดงการเชิดสิงโต ที่สร้างบรรยากาศสนุกสนาน ครื้นเครง ที่เป็นสีสันของเทศกาล ทำให้ผู้สร้างสรรค์เห็น ความงามอีกแง่มุมหนึ่งของสีสันมีความเคลื่อนไหว ที่มีความพิเศษงดงาม จากแรงบันดาลใจที่กล่าวมาผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานชุด “สีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช” เพื่อ ถ่ายทอดเรื่องราว บรรยากาศแห่งความสุข สนุกสนาน ความรู้สึกจากความประทับใจ ตั้งแต่วัยเยาว์จนถึง ปัจจุบันที่ผู้สร้างสรรค์ได้รับ จากการนำเสนอกรณีการใช้สัญลักษณ์ของความเชื่อต่าง ๆ ของจังหวัด นครศรีธรรมราชมาสร้างสรรค์ผลงาน จึงถือเป็นแนวทางของการดำรงอยู่และการปรับตัวของวัฒนธรรมที่สืบ ทอดมายาวนาน ซึ่งเป็นข้อคิดสำคัญให้แก่ชาวไทย ในการหาแนวทางในการปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในสังคม ปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อที่จะอนุรักษ์สืบทอดให้ศิลปะและวัฒนธรรมของไทยให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช ศึกษาลวดลายศิลปะจากวัฒนธรรมความ เชื่อ โดยถอดลวดลาย ออกมาเป็น ลายเส้นสี สร้างสัญญะในรูปแบบเฉพาะ ตน เทคนิคสีอะคริลิกบน ผ้าใบ สร้างสรรค์ความงามในมุมมองอันพิเศษเฉพาะตน กระตุ้นเตือนให้เห็นถึงคุณค่า อัตลักษณ์ ความงามเฉพาะถิ่น


201 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ เก็บข้อมูลภาคสนามจากสถานที่จริงเพื่อบันทึกภาพและบันทึกออกมาเป็นลายเส้น ภาพร่างลายเส้นรายละเอียดของผลงาน ตารางที่ 11 ตารางแสดง ภาพร่างรายละเอียดผลงานที่ได้รับอิทธิพลจากสีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพถ่ายอิทธิพลจากวิถีชีวิต ภาพร่างลายเส้น


202 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ภาพที่ 1 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


203 ภาพที่ 3 ผลงานสีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราชที่เสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานสร้างสรรค์“สีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช” ในการสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาลงตัวได้ สมบูรณ์ทั้งด้านเนื้อหา การแสดงออก และเทคนิควิธีการ จำเป็นต้องทดลองศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องตรงกับแนวความคิดของผู้สร้างสรรค์มากที่สุด ผลงานการสร้างสรรค์ “สีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช”แสดงถึงความประทับใจความงามของสีสัน ขณะเคลื่อนไหวของสิงโตกับสีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช สร้างสรรค์ผลงานซึ่งสะท้อนด้านคุณค่าวัฒนธรรม หลากหลายของชาวนครศรีธรรมราช ที่มีต่อการดำเนินชีวิตเพื่อต้องการเห็นคนไทยมีความตระหนักในการ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันเป็น อัตลักษณ์เชื้อชาติไทย เพื่อให้ได้ผลตรงตามความรู้สึกที่ต้องการถ่ายทอด มีการ พัฒนาผลงานดังนี้


204 4.1 การพัฒนาสร้างสรรค์ ผลงาน ที่ผู้สร้างสรรค์ได้เริ่มค้นคว้าข้อมูลและรูปแบบ เป็นผลงานจิตรกรรมรูปแบบ 2 มิติ ผลงานโดยรวมส่วนใหญ่ เป็นการแสดงออกถึงสีสันที่สดใสของหัวสิงโตขณะเคลื่อนไหวและสัญลักษณ์ของสิ่ง มงคลของจังหวัดนครศรีธรรมราช แสองออกภายใต้อารมณ์ความสุข ความสนุกสนาน ได้ปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่อง จึงทราบปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงานดังนี้ 4.1.1 แนวความคิดในการสร้างสรรค์ ผลงานจิตรกรรมชุดนี้ผู้สร้างสรรค์ ต้องการมุ่งเน้นในเรื่องราวของสีสันจากการเชิดสิงโตการ ใช้สัญลักษณ์ของความเชื่อต่าง ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ผู้สร้างสรรค์ได้มีส่วนร่วมเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว บรรยากาศแห่งความสุข สนุกสนาน ความรู้สึกจากความประทับใจ ตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงปัจจุบันที่ผู้สร้างสรรค์ได้รับ จากการนำเสนอกรณีการใช้สัญลักษณ์ของความเชื่อต่าง ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราชมาสร้างสรรค์ผลงาน 4.1.2 เทคนิคในการสร้างสรรค์ ในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้เทคนิคจิตรกรรมสีอคริลิกบนผ้าใบโดย ลักษณะกึ่งนามธรรม เพื่อแทนความหมายของความงามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการนำเสนอใช้การเลื่อนไหวของ สิงโตมาเป็นโครงร่างบนผ้าใบ การใช้สีจากสัญลักษณ์ของความเชื่อต่าง ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราชใน เปอร์เซ็นสีตามที่กำหนดไว้จะได้สีที่กำลังเคลื่อนไหว 4.1.3 ปัญหาที่เกิดขึ้นในการสร้างสรรค์ - ปัญหาที่พบในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ คืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมในการทำงานมีผล ต่อการสร้างสรรคผลงาน อากาศชื้นจะทำให้สีแห้งช้าและเกิดการรวมตัวกันของสีทำให้สีเดิมขาดความสดใส 4.1.4 การพัฒนา - ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากสถานประกอบการและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม -สร้างเครื่องเมือเฉพาะในการสร้างสรรค์ เช่น แปรงที่มีขาดใหญ่ - การควบคุมความชื้นโดยการไดร์เป่าผม 5. สรุป ผลงานของผู้สร้างสรรค์ชุด “สีสันวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช” ได้ให้ความสำคัญกับการแสดงออกถึง ความสดใส ความสุขของสีสัน ด้วยการสร้างสรรค์ผ่านเทคนิคจิตรกรรม เป็นผลงานชุดสีสันความประทับใจใน การเชิดสิงโตโดยการใช้การวิเคราะห์ทฤษฎีสี มีความคิดและเนื้อหาที่บอกได้ถึงวิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีน และคนไทยพื้นถิ่นดั้งเดิมที่มีความเชื่อความผูกพันธ์ผูกพันกับการเชิดสิงโตหรืองานพิธีมงคลต่าง ๆ ซึ่งเป็นความ เชื่อที่ทำให้เกิดความสุขและเป็นสิริมงคล และต้องการถ่ายทอดผลงานจากประสบการโดยตรง การสร้างสรรค์ ที่ใช้เทคนิคจิตรกรรมสีอะคริลิกบนผ้าใบโดยทิ้งรอยแปรงรูปทรงและสีสันที่กำหนดไว้นำเสนอในรูปแบบการ ติดตั้งบนผนัง ซึ่งสามาถมองเห็นได้ขัดเจน เรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมาจากความประทับใจ ความสุขและความ ทรงจำ จากสิ่งรอบ ๆ ตัวและสิ่งที่พบเห็น แสดงออกผ่านจินตนาการ ผู้สร้างสรรค์ต้องการถ่ายทอดประทับใจที่


205 เกิดจากวัฒนธรรมร่วมของจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางความงามของศิลปะ วัฒนธรรม เอกสารอ้างอิง กำจร สุนงษ์ศรี. (2525). ศิลปะสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. จาโกโม บัลลา (อิตาลี: Giacomo Balla). ประวัติจาโกโม บัลลา. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2560 จาก https://www.khanacademy.or/humanities/art-1010/wwi-dada/art-great-war/a/ba;; a-street-light. โจฮันเนส อิสเท่น (Johannes Itten). การแสดงออกของแสงสีเข้มและสีเข้มที่สุดของจิตรกรเป็นสีขาวและดำ. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2560 จาก https://www.slideshare.net/rachelchayes/colorreview-johannes-ittten. น ณ.ปากน้ำ. (2511). ศิลปะตะวันตกแนะนำศิลปะสากล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญธรรม. ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2548). เพลิงทักษิณ เอกภาพท่ามกลางความแปลกแยกในภาคใต้. เรณู คฤคราช. (2533). ประวัติศาสตร์ศิลป์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ. รสลิน กาสต์. (2558). ศิลปะแห่งการหยิบยืม. กรุงเทพฯ: แอ็พโพรพิเอชัน อาร์ต. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.สีในวัฒนธรรมจีน – วิกิพีเดีย Available . [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560 จาก https://th.wikipidia.org/wiki// สีในวัฒนธรรมจีน. วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2551). พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา : เอกสารจากหอหลวงฉบับสมบูรณ์: บรรณาธิการ. อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด.


206 บทกวีในเดือนกรกฎาคม The Poetry IN JULY ภัทรพร เลี่ยนพานิช, PHATTARAPORN LEANPANIT สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, BUNDITPATANASILPA INSTITUTE E-mail : [email protected] บทคัดย่อ จากการศึกษาและได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของเอเชียที่ผสมผสานตามแหล่งภูมิภาคชุมชน จากการค้า ขาย และการเผยแพร่ความเชื่อในลัทธิต่าง ๆ กันมานานจนถึง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยา ซึ่งเป็นการผสมผสานกันทางด้านวัฒนธรรม การใช้ชีวิต อาหาร เครื่องใช้ภาชนะ และงานศิลปะ จนเกิดเป็นการบันทึกวิถีชีวิตสู่คนในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจในการนำมาสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ จากลวดลายประดับบนโถลายคราม เกิดการสานต่อยอดออกมาในรูปแบบของานศิลปะกึ่งเหมือนจริง ซึ่งเป็นการเอาเทคนิคสีน้ำ แนวศิลปะกึ่ง เหมือนจริงเพื่อสร้างสรรค์มุมมองมิติระหว่าง 2 มิติ และ 3 มิติ ภายในภาพให้ออกมามีการเคลื่อนไหวที่ สอดคล้องกันเหมือนธรรมชาติที่มีการลื่นไหลตลอดเวลา คำสำคัญ: วัฒนธรรม, ลายคราม, ศิลปะกึ่งเหมือนจริง Abstract From studying and experiencing the culture of Asia that blends according to the regional community from trading and spreading beliefs in different religions for a long time to Southeast Asia Chao Phraya River Basin Which is a combination of culture, lifestyle, food, utensils and art until it is recorded as a way of life for people today. These are the inspirations for creating this series of works. from decorative patterns on porcelain bowls The continuation came out in the form of a semi-realistic art request. which is a watercolor technique Semi-realistic art style to create a dimensional view between 2D and 3D within the image to come out with a consistent movement like a natural flow all the time. Keywords: Cultures, Porcelain, surrealism


207 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา จากความเป็นจริงในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยใช้แม่น้ำ ในการทำมาค้าขายจนถึงทางออกทะเล นั้น ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ ในชุมชนลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยามาช้านาน ซึ่งในนั้น เราจะเห็นศิลปะของจีนที่เข้ามามีบทบาท อิทธิพลในเรื่องของภาชนะ การเขียนลวดลาย ซึ่งเป็นการบันทึกกาลเวลา ความเชื่อ ในช่วงเวลานั้น ผู้สร้างสรรค์มีความผูกพันกับเครื่องลายครามโบราณ เนื่องด้วยครอบครัวของผู้สร้างสรรค์ ได้มีการ เก็บรักษาเครื่องลายคราม ไว้เป็นอย่างดี ทำให้ได้ซึมซับ และมองเห็นมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยนั้น จนถึงการศึกษา ประวัติความเป็นมาในการเดินทางของเครื่องปั้นดินเผานั้น ได้นั่งมองและพิจารณา สิ่งที่อยู่รอบตัว กลับมา มองเห็นความงามที่อยู่ใกล้ตัวผ่านกาลเวลา ต่างของครอบครัวมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นทวดนั้น จึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานผลงานผ่านรูปแบบงานจิตรกรรมโดยใช้สัญลักษณ์ ของ ภาชนะ และลวดลายของไทยและจีน โดยสัญลักษณ์เป็นนกในการสร้างจินตนาการการแสดงออกในรูปแบบ ของ 2 มิติ และ 3 มิติ ในขณะเดียวกัน โดยการนำเทคนิคสีน้ำ และเทคนิคการแสดงออกในแบบเฉพาะตัว ที่ แฝงเรื่องราว ความสวยงามของอดีตผ่านลวดลายที่นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ภายในงาน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เครื่องเคลือบดินเผามีต้นกําเนิดในประเทศจีน เครื่องปั้นดินเผาเครื่องแรกมีอายุตั้งแต่ 20,000 ปีก่อน คริสตกาลในขณะที่ค้นพบว่ามีกระบวนการผลิตเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลเครื่องลายครามที่จำกัดความว่า ทันสมัยนั้นกล่าวย้อนไป 2,000 ปี หลักฐานแรกของชิ้นส่วนเครื่องลายครามบางส่วนถูกตรวจสอบย้อนกลับไป ยังราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในประเทศจีน ในเวลานี้ Celadon (ผลิตภัณฑ์ที่หุ้มด้วยหยก) ซึ่งหยกนั้นถือว่ามี ชื่อเสียงในประเทศจีน ซึ่งมักพบอยู่บนงานเครื่องเคลือบดินเผา ที่เป็นที่นิยมมาก เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้น ในศิลปะการดื่มชาเครื่องใช้เซรามิกรวมถึงถ้วยชาและอุปกรณ์เสริมถูกยกขึ้นตลอดเส้นทางสายไหมตอนเหนือ เครื่องใช้จึงถูกส่งออกไปยังโลกอิสลามและต่อไปในอีกแต่ละหลายพื้นที่ (History of Porcelain - kaolin, 15.11.2565) การตกแต่งและประดับอย่างมีศิลปะจำเป็นต้องใช้ฝีมือระดับสูง ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมามีการ พัฒนางานศิลปะเครื่องลายครามอย่างมากอย่างแรก ศิลปะจีนบนเครื่องลายครามจากราชวงศ์ยุคต่างๆ รูปแบบสีน้ำเงินและสีขาวที่มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะเครื่องลายครามของจีนในสายตาคน ยุโรปภาชนะสีขาว ได้รับการแต่งแต้มประดับประดาด้วยสีฟ้า แม้กระทั่งก่อนที่จะเคลือบผิว เครื่องลายคราม ได้รับการตกแต่งด้วยสีของโคบอลต์ออกไซด์และน้ำการออกแบบทางศิลปะขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย เหนือสิ่ง อื่นใดคือยุคที่แตกต่างกัน การจัดหมวดหมู่ตามราชวงศ์จีนเป็นวิธีการปรกติทั่วไปทุกวันนี้เครื่องเคลือบมีทั้งแบบ คลาสสิกและแบบดั้งเดิม รวมทั้งลวดลายที่ทันสมัย ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก


208 ภาพที่ 1 The David Vases A History of the World in 100 ObjectsStatus Symbols (1200 - 1400 AD) ที่มา A History of the world https://www.bbc.co.uk/programmes/b00st9zd 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์นั้นผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษา และเลือกรูปแบบของเครื่องเคลือบที่มีอยู่ใกล้ตัวมา เป็นแบบในการสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคสีน้ำในการสร้างหุ่นนิ่งของเครื่องเคลือบลายครามหลังจากนั้นจึง สังเกต ลวดลายและออกแบบจิตนาการต่อยอดออกมาจากวัตถุ โดยให้มีการเคลื่อนไหวของเส้นและสีที่มีความ ต่อเนื่องกัน โดยใช้เทคนิคสีน้ำผสมผสานสร้างสรรค์ลวดลาย โดยอิงจากลวดลายที่อยู่บนเครื่องเคลือบลาย คราม ซึ่งเป็นการแสดงถึงเรื่องราวที่แฝงในกาลเวลาของลวดลายภายในภาพ โดยแฝงกลิ่นอายของฤดูฝนใน เดือนกรกฎาคม เช่น กบ ปู ฯ เพื่อบอกถึงเรื่องราวในช่วงเวลานั้น ส่วนส้มนั้นนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์มงคลซึ่งส้มยังมีสีเหลืองอร่ามคล้ายทอง มีส้ม จึงคล้ายกับมีทอง ดังนั้น ส้มจึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของคำว่า สิริมงคล และกลายมาเป็นธรรมเนียมของการ อวยพร กราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย ภาพที่ 2 The Poetry in July 2022 เทคนิค สีน้ำ ขนาด 38 x 56 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


209 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพที่ 3 การแบ่งองค์ประกอบในภาพ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ จากภาพที่ 3 จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งองค์ประกอบภาพเป็นรูปทรง 3 ส่วนใหญ่โดย รูปทรงที่ 1 (ส้ม) จะเป็นจะเป็นพื้นที่ของสีโทนร้อนซึ่งมีการเคลื่อนไหวออกมาจากวัตถุพุ่งขึ้นไป ด้านบนเพื่อบอกทิศทางการเคลื่อนไหว รูปทรงที่ 2 (สีน้ำเงินเข้ม) จะเป็นรูปทรงลวดลายของเครื่องเคลือบที่นำมาต่อยอดสร้างสรรค์ออกไปใน พื้นที่ว่างด้านบนให้เกิดการตัดกันระหว่างโทนร้อนและโทนเย็นพร้อมกับสร้างความเคลื่อนไหวประสานกัน รูปทรงที่ 3 (ขาว) จะเป็นพื้นที่ว่างที่เกิดจากการสร้างรูปทรง โดยพื้นที่ว่างนั้นจะเป็นตัวช่วยในการ สร้างความเคลื่อนไหวให้กับองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในภาพ จากภาพจะเห็นการถ่ายเทการเคลื่อนไหวจากรูปทรงที่ 1 ไปสู่รูปทรงที่ 2 และ 3 อย่างผสานกลมกลืน โดยใช้รูปแบบของลาย และสัญลักษณ์ที่เราเห็นทั่วไปตามเครื่องลายคราม มาใช้เป็นการสร้างสรรค์จึงทำให้ เกิดการเคลื่อนไหวของรูปทรงและพื้นที่ว่างภายในภาพ 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงงานชิ้นนี้นั้น เหมือนเป็นการจดบันทึกเรื่องราว ที่ผ่านมาจากลวดลายและ ความรู้สึกในช่วงเวลา ณ ขณะหนึ่ง ได้ตอบโจทย์การตอบโต้ทางอารมณ์ ความนึกคิด จินตนาการ ความงาม โดยแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ผ่านความรู้สึกทางสีสัน เส้น และทัศนธาตุทางศิลปะต่างๆ ในรูปแบบเฉพาะตัว ผู้สร้างสรรค์ พอใจเป็นอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยเทคนิคสีน้ำ ซึ่งการผสมผสานโดย ใช้น้ำเป็นสื่อกลางสามารถควบคุมได้ให้เกิดน้ำหนัก และรูปลักษณ์ทางเทคนิคที่ต้องการได้ซึ่งผู้สร้างสรรค์ สามารถนำไปต่อยอด ขยายการพัฒนาในเชิงเทคนิคการสร้างสรรค์ต่อไปได้เป็นอย่างดี


210 เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด A HISTORY OF THE WORLD (16.10.2022). https://www.bbc.co.uk/programmes/b00st9zd KAOLIN (15 10.2022). CHINA AND PORCELAIN HISTORTY OF PORCELAIN. http://www.kaolin. com.au/history-porcelain


211 จิตรกรรมปักอิสระร่วมกับงานปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดอกไม้ Independent Embroidery Painting in Combination with Fabric Embroidery and Crochet work Inspired by Flowers เมตตา สุวรรณศร, Metta Suwannasorn ทุนสร้างสรรค์สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรุงเทพฯ E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน "จิตรกรรมปักอิสระร่วมกับงานปัก กระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดอกไม้" โดยศึกษาทฤษฏีทางศิลปะลัทธิประทับใจ ร่วมกับเทคนิคการปักผ้า 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเทคนิคการปักอิสระร่วมกับงานปักกระทุ้งผ้าและ งานถักโครเชต์ที่มีลักษณะเฉพาะตน 3) เพื่อพัฒนางานหัตถกรรมกลุ่มงานปักงานถักให้เป็นเทคนิคในการ สร้างสรรค์งานศิลปะได้อีกทางหนึ่ง การสร้างสรรค์พบว่า เทคนิคปักอิสระร่วมกับงานปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์ เป็นผลงาน จิตรกรรมร่วมสมัยกึ่งนามธรรม ที่แสดงออกถึงความประทับใจในความงามของดอกไม้ในธรรมชาติสอดคล้อง กับแนวคิดลัทธิประทับใจ ที่แสดงออกถึงความประทับใจในสีสันมากกว่ารายละเอียดที่สมจริง เป็นการ สร้างสรรค์ผลงานที่มีเทคนิคการปักหลายเทคนิคมาผสมผสานในรูปแบบอิสระ ไม่มีแบบแผน สามารถ สร้างสรรค์ผลงานได้อิสระมากขึ้น โดยใช้จินตนาการในการออกแบบลายปัก สีของเส้นใย รวมถึงลักษณะ รูปทรงที่แปลกใหม่ เพื่อสื่อถึงความรู้สึกที่ผู้สร้างสรรค์มีต่อดอกไม้ ด้วยเส้นใย ที่อ่อนนุ่ม แทรกสีสันกันอย่าง สนุกสนาน สดชื่น ซึ่งงานถักโครเชต์นั้น สามารถถักรูปทรงลอยตัวแบบต่าง ๆ เมื่อนำมาแปะติดและปักทับบน ชิ้นงานถักในบางส่วนเกิดความรู้สึกแปลกตา โดยผู้สร้างสรรค์พยายามค้นหาเทคนิค กระบวนการ ที่ไม่เคยมี ปรากฏมาก่อน จนเกิดผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ทำให้ผู้สนใจสามารถนำเทคนิคปักอิสระที่ร่วมกับเทคนิค ทางหัตถกรรมนี้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อยกระดับผลงานหัตถกรรมแบบเก่าเป็นผลงานศิลปะที่ทรงคุณค่าได้อีก ทางหนึ่ง คำสำคัญ: ครอสติช, ปักกระทุ้งผ้า, โครเชต์, จิตรกรรม, ดอกไม้


212 Abstract This creation has the objectives of 1) to create works. "Independent embroidery painting combined with embroidery and crochet work inspired by flowers" by studying the theory of impressionist art. together with embroidery techniques 2 ) to create paintings, free embroidery techniques in conjunction with embroidery and crochet work. 3 ) to develop handicrafts, embroidery, and knitting as other techniques for creating art. Creativity is found Independent embroidery techniques combined with pushrod embroidery and crochet work. It is a semi-abstract contemporary painting. that expresses the impression of the beauty of flowers in nature consistent with the concept of impressionism expresses the impression of color rather than realistic details. It is the creation of works that combine many embroidery techniques in a free form without a pattern, allowing more freedom to create works. By using imagination to design embroidery patterns, and colors of fibers, including shapes that are new and unrestricted. To convey the feeling that the creator has on the flower with soft fibers, interlaced with colorful fun, and refreshing, crochet work can knit various floating shapes when applied and embroidered on the knitted piece in some parts, creating a strange feeling. The creators are trying to find techniques and processes that never existed before. Until creating unique works which bring about the specialty of the work Thus, those who are interested can use the free embroidery technique that is combined with this handicraft technique to develop further to elevate the old handicrafts into valuable works of art in another way. Keywords: Cross stitch, embroider, crochet, painting, flowers 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา เมื่อครั้งโบราณกาล งานปักไม่ได้เป็นเพียงความงามที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความสุขทางใจ แต่ยังเป็น โอกาสที่ดีในการทำความเข้าใจขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและค่านิยม เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น กล่าวได้ ว่างานปักผ้าตั้งแต่สมัยโบราณเป็นวิธีการสื่อสารระหว่างชนชาติสู่สังคม และคนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นความพยายาม ของบรรพบุรุษในการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่สำคัญของชีวิตให้ลูกหลานรับรู้เพื่อสืบทอด หากจะกล่าวถึงค่านิยมของสังคมไทย ถือว่างานเย็บปักถักร้อยเป็นความรู้อันควรค่าแก่สตรี จึงเป็นสิ่ง ที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัยจนเป็นประเพณีปฏิบัติสืบเนื่องกันมาทั้งในหมู่ราษฎรและเจ้านายชั้นสูงในราช ตระกูล ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อทารกแรกเกิดก็จะมีประเพณีปฏิบัติ กล่าวคือ เมื่ออาบน้ำชำระร่างกายพร้อมตัดสาย สะดือเด็กเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะอุ้มเด็กลงนอนบนหลังกระด้งที่ปูผ้ารองไว้พร้อมกับจัดเตรียมสิ่งของวางไว้ ด้วยถ้าเป็นเด็กชายก็จะเตรียมสมุด ดินสอวางไว้ถ้าเป็นเด็กหญิง ก็จะเตรียม ด้าย และเข็มเย็บผ้าเตรียมไว้


213 ทั้งนี้เพื่อเป็นเคล็ดว่าเมื่อเด็กโตขึ้น จะได้รู้จักอ่านเขียนหนังสือ หรือรู้จักเย็บปักถักร้อย ธรรมเนียมปฏิบัติชาว ไทยตั้งแต่โบราณกาลนิยมใช้ผ้าปักกันอย่างแพร่หลาย ตามฐานะที่จะเอื้ออำนวยให้ ในการจัดหามาได้ โดยมี การปักเป็นเครื่องนุ่งห่ม ตกแต่งร่างกาย เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันและเครื่องตกแต่งบ้านเรือน วัสดุที่ใช้ทำผ้า ปักทำจากวัสดุที่หาได้สะดวกและมีราคาไม่แพงเหมาะสมแก่ฐานะทางสังคมของแต่ละคน เห็นได้จาก งานปัก ราชสำนักในครั้งโบราณมีมากมาย และสิ่งของที่ทรงถวายเป็นพระราชกุศล ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการสนับสนุนงานปักสะดึงของหลวง จนเมื่อสิ้นสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว ก็ยังมิได้เลิกล้ม พระราชดำริ เมื่อมีโอกาสที่จะประพาสประเทศแถบอินโดจีนในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ยังทรงพาช่างปักชาวญวนเข้า มาชุบเลี้ยงเป็นช่างปักสะดึงหลวง เพื่อให้ช่างปักสะดึงไทยจดจำเป็นแบบอย่าง ปัจจุบันสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีแผนกปักผ้า รวมอยู่ในโครงการของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ พิเศษ เป็นการสืบทอดงานปักผ้าของไทยให้สืบทอดต่อไป จากที่กล่าวมานั้นกลุ่มงานปักผ้าด้วยมือจึงนับว่าเป็น การสร้างสรรค์ผลงานที่ประณีตบรรจง ผลงานที่ออกมามีคุณค่าจากงานช่างที่ใช้ทักษะฝีมือสูง ด้วยความตั้งใจ และการออกแบบที่งดงาม ผู้สร้างสรรค์จึงเกิดความสนใจในการนำเทคนิคการปักผ้าที่เคยมีมา นำมา ประยุกต์ใช้เป็นเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยผสมผสานเทคนิคการปักผ้าในแบบต่าง ๆ ร่วมกับ งานถักโครเชต์ เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ ไม่เคยปรากฏการสร้างสรรค์ที่รวมเอาเทคนิคทางหัตถกรรมกลุ่ม งานปักผ้าร่วมกับงานถักมาก่อน ทำให้ผลงานมีความน่าสนใจเกิดเอกลักษณ์เฉพาะตน ภายใต้แนวคิดที่ได้รับ แรงบันดาลใจมาจากสีสันของดอกไม้ จึงนับได้ว่าผลงานที่สร้างสรรค์ออกมา สามารถยกระดับงานหัตถกรรม แบบเก่าให้กลายเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยและยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดทางความคิดในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะในเทคนิคทางหัตถกรรมได้หลายรูปแบบ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง งานปัก เป็นรูปแบบของศิลปะการแต่งเติม เพื่อเสริมความสวยงามให้แก่เครื่องแต่งกาย งานปักมีทั้ง แบบเป็น งานปักมือ ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน ที่ถือว่าเป็นงานฝีมือชนิดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความพิถีพิถัน ความละเอียด รอบคอบ และเมื่องานปักเป็นที่นิยมมากขึ้นก็ทำให้ มีการปักด้วยเครื่องจักรตามมา ซึ่งทำให้งานออกมา สวยงาม และรวดเร็ว งานปักเป็นงานที่ใช้เข็ม และเส้นด้าย เป็นตัวหลักในการแต่งเติม นอกจากงานปักจะเป็น ของที่ช่วยเสริมความสวยงามแล้ว ยังสามารถสื่อความหมายได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงถึงความตั้งใจ ความใส่ใจ ความรัก ความห่วงใยของผู้ให้ ที่สื่อออกไปในรูปแบบของการปักลาย งานปักไม่ได้มีแค่การปักแบบเดียวเท่านั้น งานปักมีทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ รวมไปถึงการปักแบบ ผสมผสาน นอกจากการปักด้วยด้ายแล้ว ยังมีวัสดุอื่น ๆ ที่นิยมนำมาปักอีกมากมาย ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งใน รูปแบบของงานปักที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. ผ้าปักไหม เป็นการปักผ้าตกแต่งเป็นลวดลายด้วยไหมสีต่าง ๆ 2. ผ้าปักดิ้น เป็นการปักผ้าที่ใช้วัสดุที่ทำมาจากโลหะมีค่ารูปทรงต่าง ๆ เป็นวัสดุหลักในการปัก โลหะมีค่านี้มีหลากหลายรูปแบบ นอกจากนั้นงานปักยังมีหลายเทคนิคที่ใช้ในการปักดังต่อไปนี้


214 งานปักอาร์ม เป็นการปักด้วยด้ายในรูปแบบการปักลงบนผ้าที่ตัดขอบ และตัดออกมาเป็นชิ้น ๆ ส่วนมากจะนำไป ติดเข้ากับเสื้อผ้าต่ออีกที ด้วยเส้นด้ายเรยอน (Rayon) ที่เป็นเส้นใยที่มีความเงาคล้ายกับเส้นไหม หรือโพลีเอ สเตอร์(Polyester) ที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์ ที่มีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง งานปักนี้ใช้สำหรับ : ปักเข้ากับเครื่อง แต่งกาย ข้อดีของงานปักแบบนี้ : ขึ้นรูปได้ง่าย มีความทนทาน รักษารูปทรงได้ดี ติดง่าย และ ดูแลได้ง่าย งานปักฟู เป็นการปักด้วยด้ายอะคริลิค (Acrylic) ที่เป็นรูปแบบเส้นใย ที่ให้ผิวสัมผัสนุ่มนิ่ม คล้ายกับเส้นใยจาก ขนสัตว์ อาจจะปักร่วมกับเส้นใยขนสัตว์ ขนเทียม เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่เสื้อผ้า และ ช่วยทำให้เสื้อผ้ามีมิติ มากยิ่งขึ้น ข้อดีของงานปักแบบนี้ : น้ำหนักเบา ดูแลรักษาได้ง่าย ผิวสัมผัสนุ่ม และ ทนความร้อนได้สูง งานปักเลื่อม การปักเลื่อมเป็นรูปแบบการปักเลื่อมเข้ากับผ้า เพื่อให้เกิดความแวววาวของลาย เป็นรูปแบบของงาน ปักที่ต้องอาศัยความพิถีพิถันอย่างสูง การปักเลื่อมอาจจะใช้ลูกปัดมาปักเพิ่มด้วย เพื่อเพิ่มความสวยงามได้ อีก ทั้งการปักเลื่อมยังเป็นการปักที่ช่วยทำให้ของดูมีราคาขึ้นอีกด้วย ข้อดีของงานปักแบบนี้ : น้ำหนักเบา เพิ่ม ความสวยงามให้กับเครื่องแต่งกาย งานปักลงบนชิ้นผ้า เป็นรูปแบบการปัก ที่ปักลงบนตัวผ้าโดยตรง การปักกับผ้าโดยตรงจะทำให้ลายออกมากลมกลืน ข้อดี ของงานปักแบบนี้ : ดูแลรักษาง่าย มีความทนทาน สวยงามเนียนไปกับเนื้อผ้า ข้อดีของงานปัก งานปักถือว่าเป็นงานที่มีความสวยงาม นับว่าเป็นหนึ่งในงานศิลปะรูปแบบหนึ่งที่มีความละเอียด มากกว่าการสกรีนลงบนผ้าโดยตรง งานปักให้งานที่ทนทานมากกว่าแบบสกรีน งานปักให้ผิวสัมผัส และ รูปแบบที่หลากหลาย งานปักช่วยทำให้เสื้อผ้า ของใช้ ดูมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น ยิ่งลายมีความละเอียดพิถีพิถันก็ยิ่ง ส่งผลให้ราคาสูงมากยิ่งขึ้น งานปักสามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบ อุปกรณ์ในการปักผ้า เข็ม เป็นเครื่องมือหลักในการเย็บปัก และมีหลายขนาดและหลายประเภท ผ้าและเส้นด้าย ที่ใช้ในการปักแบบดั้งเดิมแตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ สภาพแวดล้อม การนำไปใช้ ผ้าที่นิยมนำมาปัก มักจะเป็นผ้าผิวเรียบ ไม่ลื่นมือ เช่นผ้าฝ้าย ผ้าดิบ ลินิน ไหม ผ้าพื้นสีขาว สีเรียบเพื่อทำให้ ลายปักมีความโดดเด่นขึ้น อุปกรณ์ในการปักผ้ามีการพัฒนาทางเทคโนโลยี ด้านระบบการผลิต ผ้า และเส้นใย ทำให้มีผ้าและเส้นใยที่หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น คือเหนียว ทนทานต่อแรงดึงได้ดี ไม่ขาด ง่าย และสีสันสวยงาม มีทั้งเส้นขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ให้ผู้ปักได้เลือกใช้ เช่น ไหมสังเคราะห์และ เส้นด้ายที่ถูกผลิตขึ้นมาแปลกใหม่มากมาย การปักจักรเชิงพาณิชย์ ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นการเย็บปักถักร้อยแบบร่วมสมัย โดยการเย็บด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องปักโดยใช้รูปแบบดิจิทัลที่มี ซอฟแวร์เย็บปักถักร้อยในการปักด้วยเครื่องจักร จะเพิ่มพื้นผิวและการออกแบบให้กับงานปักที่มีความละเอียด


215 เกินกว่าที่คนจะทำได้ สามารถตั้งโปรแกรมดิจิทัลให้งานปักออกมาเหมือนต้นแบบมากที่สุด และเสร็จด้วยความ รวดเร็ว สามารถปักซ้ำแบบเดิมได้ไม่จำกัดจำนวนชิ้นงาน จึงทำให้งานปักเกิดความแพร่หลายมากขึ้น รวมทั้ง ราคางานปักก็ถูกลงมากกว่าแต่เดิมที่ใช้การปักด้วยมือมนุษย์ที่มีได้เพียงชิ้นเดียว เพราะงานปักมือมีข้อจำกัด หลายอย่าง ทั้งจากประสบการณ์ของผู้ปัก ฝีมือ และความชำนาญ ทำให้งานของช่างแต่ละคนแตกต่างกัน ค่าตอบแทนจึงต่างกันไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องจักรใหม่เป็นการปักจักรแบบอิสระ เครื่องจักรใหม่ได้รับการออกแบบ มาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างงานปักแบบฟรีโมชั่นซึ่งมีอยู่ในศิลปะสิ่งทอ การควิลท์ การตัดเย็บเสื้อผ้า ของ ตกแต่งบ้าน และอื่น ๆ ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์การปักเพื่อทำการออกแบบการปักเป็นดิจิทัลได้ จากนั้น เครื่องปักจะปักลายที่เลือกไว้บนผ้า สามารถออกแบบลายปักอิสระด้วยตัวผู้สร้างสรรค์เอง โดยไม่คำนึงถึง รูปแบบที่กำหนด สามารถปักได้ตามแนวคิดสร้างสรรค์ บนผ้าที่ไม่มีตาราง จากที่กล่าวมานั้นทำให้เห็นการ พัฒนางานปักตั้งแต่อดีตในรูปแบบต่าง ๆ จนถึงงานปักด้วยเครื่องจักรในปัจจุบัน ทำให้เห็นข้อจำกัด ลักษณะเฉพาะ ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลงานศิลปะที่ทรงคุณค่าด้วยการปักอิสระและทดลองนำงานถักโคร เชต์มาร่วมด้วย เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่และเป็นแนวทางด้านเทคนิคให้กับผู้สนใจศิลปะได้อีกทางหนึ่ง การ จะพัฒนาผลงานได้นั้นจำเป็นต้องทำการศึกษาแนวคิด ทฤษฏีทางศิลปะดังต่อไปนี้ ลัทธิประทับใจ Impressionism จิตรกรแนวลัทธิประทับใจได้ขยายขีดจำกัดของการวาดภาพจากในอดีต ศิลปินลัทธิประทับใจจะวาด ภาพจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในช่วงเวลาปัจจุบัน โดยใช้ความรู้สึกประทับใจที่มีต่อ สี แสง ในบรรยากาศภายนอก แสดงคุณสมบัติของแสงสี อันเป็นผลมาจากความรู้ เกี่ยวกับแสงจากสเปกตรัมและสี ซึ่งเป็นผลผลิตจาก ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามบันทึกการสะท้อนแสงบนพื้นผิวของวัตถุรวมทั้งสภาพบรรยากาศ ในแต่ละช่วงเวลา โดยปฏิเสธที่จะนำเสนอความงามในแบบอุดมคติ และมองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งสามัญ ทั่วไปที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ผลงานศิลปินมักจะวาดภาพกลางแจ้ง จากสถานที่จริงเพื่อที่จะลอก เลียนแสงที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่าง ๆ มากกว่าในห้องสตูดิโอ อย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน ลักษณะ ของภาพวาดแบบลัทธิประทับใจคือการใช้พู่กันตวัดสีอย่างเข้ม ๆ ใช้สีสว่าง ๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูก บีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา เนื้อหาของ ภาพเป็นเรื่องธรรมดา ๆ และมีมุมมองที่พิเศษ โดยลักษณะการวาดภาพแบบลัทธิประทับใจ ประกอบด้วยการ ตวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้น ๆ เป็นทีพู่กันแบบหยาบๆ ไม่เกลี่ยสีซึ่งไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง ทำให้ภาพที่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา ด้วยพื้นผิวมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนา ๆ ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่าง จากนักเขียนยุคเก่าที่จะเน้นการผสมผสานสีอย่างกลมกลืน องค์ประกอบของลัทธิประทับใจยังถูกทำให้ง่าย และแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้าง ๆ มากกว่ารายละเอียด


216 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานต้องทำการศึกษาเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลงานปักที่เป็นเทคนิคที่ผู้สร้างสรรค์ สนใจ และศึกษาศิลปะของศิลปินในกลุ่มงานการปักในรูปแบบศิลปะกึ่งนามธรรม (Semi Abstract ) เพื่อเป็น แนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างลงตัว โดยผ่านการศึกษาศิลปะกลุ่มประทับใจในแสงสี (Impressionism) ที่เน้นการแสดงออกถึงความงดงามของแสงสีในธรรมชาติ เทคนิคในการสร้างสรรค์ เก็บข้อมูลของการปักจากผู้เชี่ยวชาญ และฝึกฝนทดลองปักในแบบมาตราฐานและพัฒนาเป็นงานปัก ลายอิสระร่วมกับงานปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดอกไม้ในแบบต่าง ๆ ตาม จินตนาการที่ไม่จำกัดรูปทรง โดยศึกษาเทคนิคการผสมผสานสีจากกลุ่มลัทธิอิมเพรสชั่นนิสน์ และนำผลงานที่ ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ตามแบบภาพร่าง ในรูปแบบ จิตรกรรมกึ่งนามธรรม ด้วยการปักด้วยมือแต่เพียงอย่างเดียว บนผ้าแคนวาสที่พิมพ์ลายต้นแบบเตรียมไว้ และ นำมาขึงให้ตึงบนเฟรม จึงนำมาปักโดยใช้ด้ายและไหมสีต่าง ๆ การสร้างสรรค์งานปักอิสระมี3 ลักษณะ คือ 1. การปักอย่างหยาบด้วยเข็มขนาดใหญ่ ในรูปแบบอิสระ เป็นการปักด้วยไหมเส้นใหญ่ ในส่วนที่ไม่ ต้องการเน้นลายละเอียดของรูปทรงแต่เป็นการเน้นความเด่นชัด ของรูปทรงที่มีขนาดใหญ่ เพราะไหมขนาด ใหญ่นั้นเหมาะที่จะใช้ตัดเส้น เน้นรูปทรง ทำโครงสร้างภาพ โดยปักไขว้หรือการปักสอดไหม จะช่วยเพิ่มความ หนาของเนื้อผ้ามากขึ้นได้ 2. การปักอย่างละเอียดด้วยเข็มขนาดเล็ก เป็นการปักด้วยเส้นใยเส้นเล็กบนเนื้อเฟรมผ้าแคนวาส ใช้ ลายขนาดเล็กแบบอิสระที่มีความละเอียดมาก จึงจำเป็นต้องใช้เส้นใยที่มีขนาดเล็ก เพื่อสร้างความรู้สึกที่ แตกต่าง ขัดแย้งกับเส้นใยไหมเส้นใหญ่ ไหมเล็กสามารถใช้กับเนื้อผ้าหนาได้เหมือนกัน 3. การปักกระทุ้ง เป็นการปักโดยใช้อุปกรณ์ที่มีตัวสอดเส้นใยไหมพรมจากด้านท้ายเข็ม จะเป็นการปัก กระทุ้งขึ้นลงโดยไม่สอดเส้นใยไหมวนกับผ้า มีข้อระวังคือถ้าโดนเกี่ยวไหมจะหลุดออกได้โดยง่ายจึงต้องทำการ ทากาวยึดเส้นใยด้านหลังเพื่อกันไหมหลุด ข้อดีคือสามารถปักงานได้อย่างอิสระเพียงแค่จิ้มลงไปในทิศทางที่ ต้องการสามารถปักทับซ้ำ ขีดค่อมได้อย่างอิสระ การปักแบบมาตรฐาน คือการปักไหม 1 ใจประกอบด้วย 6 เส้นเล็ก ใช้ปักที่ละ 2 เส้นเล็ก ร้อยใส่เข็ม เริ่มปักโดยพลิกด้านหลังผ้า ปักทแยงไปทางเดียวกันทั้งภาพ สอดไหมไปตามแบบที่กำหนดไว้ตายตัว ผลงานจะ ตรงตามแบบที่กำหนด งานปักอิสระ งานปักอิสระเป็นการปักที่ไม่มีรูปแบบแพทเทิร์นใด ๆ ในการปัก การปักเข็มอิสระตาม แต่จินตนาการของผู้ปักนั้นเป็นความท้าทายในเรื่องการออกแบบลวดลาย รวมถึงการเลือกใช้สีเส้นใยที่จะเลือก ลงมาปัก ประเภทของเส้นใย ขนาดของเส้นใย ผู้ปักต้องใช้ใจที่เต็มไปด้วยจินตนาการว่าลายปักนั้นจะปัก ออกมาในลักษณะใดเกิดเป็นรูปทรงใด สีใดโดยที่ไม่มีลายต้นแบบ หรืออาจเป็นเพียงแค่บรรยากาศของสี ใน แนวทางแบบศิลปะลัทธิประทับใจด้วยสีของเส้นใยอย่างอิสระ


217 ภาพที่ 1 ภาพงานปักอิสระ เทคนิค ปักอิสระปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์, ขนาด 70 x 120 cm ที่มา : ผู้สร้างสรรค์เมตตา สุวรรณศร / 8 september 2022. ภาพผลงานสร้างสรรค์ จิตรกรรมปักอิสระร่วมกับงานปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดอกไม้ ภาพที่ 2 Flowers เทคนิค ปักอิสระปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์, ขนาด 70 x 120 cm ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ เมตตา สุวรรณศร / 8 september 2022


218 4. การวิเคราะห์ผลงานและอภิปรายผล การสร้างสรรค์"จิตรกรรมปักอิสระร่วมกับงานปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจ มาจากดอกไม้" นั้น เป็นการศึกษาเทคนิคงานปักที่เคยมีมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่างานปักที่มีมานั้นเป็น งานปักที่ต้องใช้ต้นแบบที่ออกแบบไว้อย่างชัดเจน การปักจะยึดตามแบบอย่างถูกต้องทั้งรูปทรง สี และการจัด วางภาพ ซึ่งแตกต่างจากผลงานปักอิสระที่เน้นการใช้อารมณ์ความรู้สึกที่ปะทะกับดอกไม้และนำความรู้สึกที่ ได้รับมาถ่ายทอดผ่านสีของเส้นใย จากการสร้างสรรค์พบว่างานปักมีความอิสระและสร้างความสุขทางใจใน ช่วงเวลาปัก เพราะไม่จำเป็นต้องดูต้นแบบ ปักไปตามจินตนาการ ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ในช่วงเวลานั้น สอดคล้องกับการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปะลัทธิประทับใจ ที่มุ้งเน้นนำเสนอความประทับใจที่ได้รับจากแสงสี ในช่วงเวลานั้น เป็นการตัดทิ้งซึ่งรายละเอียดของความเป็นจริง เหลือไว้เพียงความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ที่ ต้องการสื่ออารมณ์ด้านใด สอดคล้องกับแนวคิดของนักปรัชญา G.W.F.Hegel ที่กล่าวว่าความงามในธรรมชาติ คือทุกสิ่งทุกอย่างที่จิตวิญญาณของมนุษย์ได้ค้นพบความพึงพอใจ บางสิ่งบางอย่างในธรรมชาติสามารถถูกทำ ให้เป็นที่ถูกใจมากขึ้นและพึงพอใจมากขึ้น และมันเป็นวัตถุทางธรรมชาติเหล่านี้ที่ถูกยอมรับจากงานศิลปะที่มี ผลต่อความพึงพอใจทางสุนทรีย์ (Arthur C. Danto, 1994) ชี้ให้เห็นได้ว่าความงามจากธรรมชาติเป็นที่มาของ ความพอใจที่มีมากขึ้นจากการสร้างสรรค์ศิลปะ ภายใต้หลักการออกแบบโดยนำหลักศิลปะมาประยุกต์ใช้กับ งานหัตถกรรม ด้วยเทคนิคการปักในรูปแบบอิสระ ที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบงานปักแบบมาตราฐาน ที่สามารถ เลือกใช้ไหมปักขนาดใดก็ได้ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ สลับกับทำให้เกิดความงามในแบบงานปักใน รูปแบบใหม่ ที่ยังคงความนุ่มนวลและความเป็นสตรีการปักอิสระแนวทางนี้คล้ายการใช้เส้นใยแทนค่าสีแต่ง แต้มลงบนเฟรมด้วยเส้นใยสีสันต่าง ๆ กลมกลืน ขัดแย้ง ฉูดฉาด ให้ความพิเศษที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยนำ เทคนิคการปักอิสระ ร่วมกับการปักกระทุ้ง และงานถักโครเชต์มาผสมผสานกันเกิดเป็นผลงานที่มี ลักษณะเฉพาะตน และเป็นที่ยอมรับในฐานะงานศิลปะร่วมสมัยในกลุ่มเส้นใย พร้อมกันนั้นยังเป็นการชี้ แนวทางให้กับผู้สนใจงานศิลปะ ที่จะนำเทคนิคนี้ไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นแนวทางในการใช้เทคนิคทาง หัตถกรรมมาสร้างสรรค์ได้อีกทางหนึ่ง 5. สรุป จากการสร้างสรรค์ผลงาน"จิตรกรรมปักอิสระร่วมกับงานปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์ ที่ได้รับ แรงบันดาลใจมาจากดอกไม้" เกิดเป็นผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตนด้วยการผสมผสานเทคนิคทางหัตถกรรมซึ่ง เป็นเทคนิคแบบโบราณมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับงานหัตถกรรมให้กลายเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยที่ ทรงคุณค่า ด้วยการปักในรูปแบบอิสระที่แปลกใหม่ร่วมกับงานปักกระทุ้งผ้าและงานถักโครเชต์ ทั้งรูปแบบ เนื้อหา มุมมอง สีสัน การใช้วัสดุเส้นใย เกิดเป็นผลงานจิตรกรรมปักกึ่งนามธรรม ที่พัฒนามาจากการปักในรูป แบบเดิม ทำให้เกิดมุมมองใหม่ทั้งทางด้านการออกแบบลายลาดลาย เทคนิคการปักอิสระ การเลือกใช้วัสดุ การเลือกสี ขนาดเส้นใยที่มีความแตกต่างกันโดยตัดทิ้งหลักการของการปักแบบมาตราฐานที่เคยมีมา เกิดเป็น ผลงานที่มีลักษณะแปลกใหม่ทั้งลวดลายรูปทรงที่อิสระมากขึ้น ทำให้กับผู้สนใจศึกษาศิลปะ สามารถนำไปเป็น


219 เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานร่วมสมัย และสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้อีกหลายแนวทางในการนำไปปรับใช้ กับการปักผ้าแบบอุตสาหกรรมครัวเรือน ให้นำแนวทางนี้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หลาย ประเภท ให้มีความแปลกใหม่ทันสมัยตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ได้มากขึ้น รวมถึงสร้าง รายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนได้อีกแนวทางหนึ่ง เอกสารอ้างอิง การออกแบบงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2564. เข้าถึงได้จาก http://119.46.166.126/self_all/selfaccess8/m2/661/lesson3/d3/ กิลโลว์ จอห์น; ประโยค, ไบรอัน (1999). สิ่งทอโลก. Bulfinch Press/ลิตเติ้ล, บราวน์. ISBN 0-8212-2621-5. ชลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบทางศิลปะ. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. นิพาดา เทวกุล,หม่อมหลวง. (2558). ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking). สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://pirun.ku.ac.th/~agrpct/lesson1 /creative_thinking.html นวลแข ปาลิวนิช. (2536). ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับลิชชิ่ง. เนเธอร์ตัน, โรบิน; โอเวน-คร็อกเกอร์, เกล อาร์., สหพันธ์. (2005). เครื่องแต่งกายในยุคกลางและสิ่งทอเล่ม 1 บอยเดลล์ เพรส. ISBN 1-84383-123-6. เลวี เอสเอ็ม; คิง, ดี. (1993). คอลเลคชันสิ่งทอของพิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ต เล่ม 1 3: งานปักใน สหราชอาณาจักรตั้งแต่ 1200 ถึง 1750 . พิพิธภัณฑ์วิคตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต ISBN 1-85177-126-3. Arthur C. Danto. (1994). Aesthetics. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565. เข้าถึงได้จาก https://www. baanjomyut.com/library/aesthetics.html


220 “save” วณิชยา นวลอนงค์, Wanitchaya Nualanong วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat College of fine art, Nakhon Si Thammarat Province. E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลงานสื่อผสมตามแนวความคิด เรื่อง“save” ซึ่งผู้ สร้างสรรค์ต้องการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทะเลถึงการทิ้งขยะพลาสติก หน้ากากอนามัยจากวิกฤติการระบาดของโรคโควิด 19 ถุงมือทางการแพทย์ ขวดเจลแอลกอฮอล์และขยะอื่น ๆ ที่ถูกทิ้งลงในทะเลซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบที่ ความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเล เช่นปลาต่าง ๆ แนวปะการัง หรือสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในทะเล ผลงานการสร้างสรรค์ เรื่อง “save” เป็นผลงานสื่อผสมที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของผู้ สร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของหลักทัศนธาตุเรื่อง สีสัน และรูปทรงที่สะท้อนความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ ตามแนวคิดวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี คำสำคัญ: ขยะพลาสติก, ทะเล Abstract This creation aims to create mixed media works based on the concept of “save”. Creators want to convey emotions about the environmental impact of the sea to the dumping of plastic face masks due to the crisis of the COVID-19 outbreak. Medical gloves, bottles of alcohol gel and other rubbish that have been dumped into the ocean are rapidly increasing as well as illegal fishing, they all cause significant impacts on marine ecosystems, such as fish, coral reefs, or all marine life. This creative work titled “save” is a mixed media work that convey the emotions of the creator. Which is consistent with the theory of visual elements about colors and shapes that reflect the feelings of the creator according to the concept of the purpose of creating this time. Keywords: plastic waste, sea


221 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา วิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้เกิดให้เกิดมลภาวะขยะพลาสติกจากหน้ากากอนามัย ถุงมือ ทางการแพทย์ ขวดเจลแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขยะพลาสติกจำนวนมากลอยอยู่ในมหาสมุทร ขยะ จากหน้ากากอนามัยที่มีน้ำหนักเบาและตกอยู่ริมหาด ก็มักจะถูกลมทะเลพัดพาขึ้นฝั่งไปบนบก เพราะขาดการ จัดการที่ดี ที่ควรจะถูกนำไปฝังกลบในบ่อเก็บขยะมูลฝอย หรือทำลายด้วยวิธีที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกันหน้ากาก อนามัย ก็ไม่ได้แตกต่างจากขยะพลาสติกอื่นๆ เป็นของเสียที่เกิดจากมนุษย์ที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเลทั้งทางตรงและ ทางอ้อม โดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ที่สุดท้ายก็จึงถูกกระแสน้ำ คลื่น ลมพัดพาลงไปในทะเล และจมสู่ก้น มหาสมุทร อีกทั้งมีการพบว่าเมื่อสัตว์ทะเลต่างๆ มาเห็นและคิดว่าเป็นอาหารจึงกินเข้าไป ทำให้บาดเจ็บ และ เสียชีวิตในเวลาต่อมา จากการผ่าพิสูจน์ก็พบว่า มีเศษซากของหน้ากากอนามัยติดอยู่ในกระเพาะอาหารของ ปลาโลมา เต่า และปลาปักเป้าที่ถูกหูคล้องของขยะหน้ากากอนามัยรัดจนตาย นอกจากนี้ยังมีปัญหาขยะที่มา จากเศษอวนประมงซึ่งเป็นอันตรายต่อแนวปะการัง ปลาและสัตว์ทะเลอื่นๆถูกทำร้ายโดยการถูกเศษอวนรัดจน บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เศษอวน และขยะอื่นๆที่ลอยอยู่ในทะเลยังจะย่อยสลายกลายเป็นไมโครพลาสติกที่จะ สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมาอีกมากมายในอนาคต 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันใต้ท้องทะเลถูกทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์ ปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมทางทะเลถูกคุกคามจาก กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นขยะที่ถูกทิ้งลงทะเลจำนวนมหาศาล ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรค โควิด 19 ทำให้มนุษย์ต้องมีการใช้หน้ากากอนามัย ถุงมือทางการแพทย์ ขวดเจลแอลกอฮอล์ซึ่งขยะเหล่านี้เกิด จากการทิ้งขยะบนชายหาดและบริเวณชายฝั่ง ที่ไม่ได้รับการจัดเก็บบำบัดให้ถูกต้องขยะดังกล่าวจึงถูกพัดพาลง สู่ก้นทะเลเกิดเป็นขยะพลาสติก ลอยอยู่ในท้องทะเล นอกจากนี้ยังมีการทำประมงที่ผิดกฎหมาย เรืออวนลาก ทิ้งเศษซากอวนที่ขาดระหว่างการทำประมง โดนกระแสน้ำพัดพามาติดค้างบนแนวปะการัง เมื่อมันไปปกคลุม อยู่บนปะการัง ยิ่งส่งผลให้ปะการังได้รับความเสียหายและตายลงไป สัตว์ทะเลหลากชนิดที่เข้ามาพึ่งพาอาศัย ตามซอกแนวปะการังก็อาจเข้าไปติดอยู่ในเศษอวนนั้นด้วย ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผล กระทบกับระบบนิเวศทางทะเลและส่งผลถึงมนุษย์ต่อไปในอนาคต การสร้างสรรค์ผลงาน “save” ผู้สร้างสรรค์ต้องการสร้างความตระหนัก ทำให้เกิดความรักษ์ หวงแหน และช่วยกันปกป้องรักษาธรรมชาติของโลกใต้ทะเลให้คงความงดงาม คงความสมบูรณ์ตลอดไป


222 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ภาพที่1 ภาพข้อมูลประกอบการทำงาน ที่มา : Marine Knowledge Hub – Thailand เข้าถึงได้จาก : http://www.mkh.in.th ภาพตัวอย่างแรงบันดาลใจ ภาพที่2 ภาพข้อมูลประกอบการทำงาน ที่มา : ณภัทร เวชชศาสตร์ (National Geographic Thailand) เข้าถึงได้จาก : https://ngthai.com/environment/39217/singha-sea-you-strong/ ภาพที่3 ภาพข้อมูลประกอบการทำงาน ที่มา : plastic-pollution_covid-19 เข้าถึงได้จาก https://www.brandthink.me/content/plastic-pollution_covid-19


223 ภาพที่4 ภาพข้อมูลประกอบการทำงาน ที่มา : กัมพล หวันม๊ะ ภาพตัวอย่างการสร้างสรรค์ผลงาน ภาพที่4 เตรียมพื้นผิวโดยใช้อวนติดกับพื้นผิวของเฟรม ที่มา : วณิชยา นวลอนงค์ ภาพที่5 กำหนดพื้นที่ ที่มา : วณิชยา นวลอนงค์


224 ภาพที่6 ตกแต่งด้วยอวนสีลูกปัดเพื่อเพิ่มสีสันบรรยากาศใต้ทะเล ปั้นปลาเซรามิกส์ติดลงไปในผลงานเพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิด ที่มา : วณิชยา นวลอนงค์ ภาพที่7 ภาพผลงานสำเร็จ ที่มา : วณิชยา นวลอนงค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ “Save” ชิ้นนี้ได้นำเอาสีสันใต้ท้องทะเลมาสร้างสรรค์บนหน้ากากอนามัยที่แทนค่า เป็นขยะพลาสติกใต้ท้องทะเล การตกแต่งโดยใช้แห อวนเป็นวัสดุพื้นผิว แทนค่าเป็นขยะเศษอวนที่เกิดจากการ ประมง ปลาเซรามิกส์แทนค่าสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่ได้รับผลงกระทบจากขยะพลาสติกหน้ากากอนามัย และ เศษอวนรัดตัวจนบาดเจ็บและเสียชีวิต


225 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงาน “Save” เป็นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคสื่อผสม มาสร้างสรรค์ตาม ขั้นตอนกระบวนการ ก่อให้เกิด เป็นผลงานสร้างสรรค์ตามแนวความคิด เกิดความองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ อย่างเป็นระบบ ในการเรียบเรียง แนวความคิด สุนทรียภาพทางศิลปะ เพื่อเผยแพร่โดยการแสดงนิทรรศการ ศิลปะ สร้างความรู้สึกให้ผู้คนหันมาใส่ใจ ตระหนักรักและหวงแหนทะเล ช่วยกันรักษาธรรมชาติของโลกใต้ ทะเลให้คงความงดงาม ความสมบรูณ์ตลอดไป เอกสารอ้างอิง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2560). ปะการัง. https://km.dmcr.go.th/th/c_3 ไทยโพสต์. (2564). หน้ากากอนามัยสร้างขยะปัญหามลพิษใต้ท้องทะเล. https://www.thaipost.net/main/d etail/103320 สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน. (2558). หญ้าทะเลและปะการัง.https:// www.dmcr.go.th/ Green Peace. ส่องประเด็นขยะพลาสติกล้นเมืองช่วงโควิด ที่ Road map อาจไม่เพียงพอต่อการ แก้ปัญหา?. https://bit.ly/3onqo78 IPS. The rise in plastic pollution during Covid-19 crisis. https://bit.ly/2JMWk5C National Geographic Thailand. (2564). ความสมดุลทางท้องทะเลกำลังจะเปลี่ยนไปจากการบุกรุฏแหล่งกำเนิด สัตว์ทะเล. https://ngthai.com/environment/39217/singha-sea-you-strong/


226 จิตรกรรมบนผ้าปาเต๊ะจากอัตลักษณ์วิถีชีวิตภาคใต้ Painting on Batik from Southern life Identity วรรณวิสา พัฒนศิลป์, Wanwisa Phattanasin วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, College of Fine Arts, Bunditpattanasilpa Institute E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์“จิตรกรรมบนผ้าปาเต๊ะจากอัตลักษณ์วิถีชีวิตภาคใต้” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิถี ชีวิตทางภาคใต้ ศิลปวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพที่คอยหล่อเลี้ยงครอบครัว แสดงออกถึงอัตลักษณ์พื้นถิ่น ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา การประกอบอาชีพ และเครื่องมือเครื่องใช้ของ ครอบครัวในวัยเยาว์ที่ผู้สร้างสรรค์ประทับใจ ผลงานสร้างสรรค์เป็นกระบวนการทางศิลปะไทยเทคนิคลายรด น้ำ การเตรียมพื้นผ้าปาเต๊ะผสมวัสดุเฉพาะ ผสมผสานกับการปรับค่าของพื้นชิ้นงานบางส่วนด้วยวิธีการผสม ทางงานจิตรกรรมสีอะคริลิค โดยกระบวนการสร้างสรรค์การเตรียมพื้นรักใสเวียดนามบนผ้าปาเต๊ะ ถอดแบบ ร่างความคิดจากแรงบันดาลใจของวิถีชีวิตชาวใต้ ด้วยกระบวนการทางลายรดน้ำผสมกับการเขียนสีอะคริลิค ในรูปแบบเฉพาะของผู้สร้างสรรค์ คำสำคัญ: จิตรกรรม, ผ้าปาเต๊ะ, วิถีชีวิตภาคใต้ Abstract The creative works of " Painting on Batik from Southern life Identity " has been Inspired by southern lifestyle, art, culture and career that nourishes the family. Content showing the indigenous identity, nature, environment, lifestyle, art, culture, wisdom, occupation and household appliances from childhood life. The technique lacquer painting, surface preparing by southern Batik, mixed with specific southern material combined with the adjustment the values of some parts the workpiece by mixing acrylic paint. The process of creative surface preparation by" Rak Sail" (Lacquer) of Vietnam on Batik, reducing the sketch idea form the inspiration of southern lifestyle, by the process of lacquer painting mixed with acrylic paint in the creator 's specific style. Keywords: Painting, Batik, Southern life


227 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา วิถีชีวิตภาคใต้ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติความอุดมสมบูรณ์ของภูมิประเทศ ที่ส่งผลให้เกิดการเกษตร สวน ปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา การเลี้ยงสัตว์ รวมไปถึงการสร้างบ้านเรือน การประดิษฐ์ของใช้ที่จำเป็นในการ ประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิติที่มีความเรียบง่ายที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ทำให้มีการปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมในพื้นที่อาศัย เอกลักษณ์ของชาวใต้ประเพณีวัฒนธรรม เครื่องมือเครื่องใช้ สิ่งแวดล้อมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึง อาชีพการทำสวนยางพาราที่มีความโดดเด่น จากความผูกพันธ์ทางด้านครอบครัววิถีชีวิต การได้เกิดและซึมซับ อยู่กับครอบครัวแสดงในเห็นถึงการสืบสานทางภูมิปัญญาการประกอบอาชีพจากรุ่นสู่รุ่นจนปัจจุบัน ที่อยู่ใน ความทรงจำของข้าพเจ้าก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาค้นคว้าตัวตนและความผูกพันธ์จากครอบครัว เพื่อถ่ายทอดความสุขความประทับใจความทรงจำที่ซ่อนไว้ โดยแสดงผ่านรูปทรง วัสดุที่มีอยู่และเห็นได้จริงใน ท้องถิ่นเพื่อให้รู้สึกและสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายวิถีชีวิตกับอาชีพที่คอยหล่อเลี้ยงครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความรัก ความสุข และความผูกพันจากครอบครัว ข้าพเจ้าจึงนำเอาประสบการณ์ จากการประกอบอาชีพการทำสวน ยางพาราของครอบครัวและวิถีชีวิตของภาคใต้นั้น มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ถ่ายทอด เรื่องราว บอกเล่าอารมณ์ ความรู้สึก แสดงออกมาในรูปแบบศิลปะไทยโดนนำเอาต้นยางพาราที่เป็นต้นไม้ซึ่งมี ความสำคัญในด้านการประกอบอาชีพเสนอความรู้สึกความผูกพันของพื้นถิ่นทางภาคใต้ มาใช้ในการ สร้างสรรค์งานศิลปะ โดยมีเนื้อหาเรื่องราววิถีชีวิตของชาวใต้ ในแบบที่เรียบง่ายอาชีพที่โดดเด่นที่บอกได้ถึงวิถี ชีวิตความผูกพันธ์จากครอบครัว 2.แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิถีชีวิตชาวใต้ ศึกษาลวดลายศิลปะจากวิถีชีวิต โดยถอด ลวดลาย ออกมาเป็นลายเส้น สร้าง สัญญะในรูปแบบเฉพาะตน เท ค นิ คจิต รก รรม บ น ผ้ า ปาเต๊ะ ผลงานสร้างสรรค์ความงามในมุมมองอันพิเศษเฉพาะตน จิตรกรรมบนผ้าปาเต๊ะจากอัตลักษณ์วิถีชีวิตภาคใต้


228 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ เก็บข้อมูลภาคสนามจากสถานที่จริงเพื่อบันทึกภาพและบันทึกออกมาเป็นลายเส้น ภาพร่างลายเส้นรายละเอียดของผลงาน ตารางที่ 1 ตารางแสดงภาพร่างรายละเอียดผลงานที่ได้รับอิทธิพลจากวิถีชีวิตชลบทในภาคใต้ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพถ่ายอิทธิพลจากวิถีชีวิต ภาพร่างลายเส้น


229 ภาพที่ 1 ขั้นตอนการสร้างภาพร่างแนวคิด ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


230 ภาพที่ 2 ภาพขั้นตอนการเขียนลายรดน้ำ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 3 ขั้นตอนการเขียนสีบนผ้าปาเต๊ะ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


231 ภาพที่ 4 ผลงานจิตรกรรมบนผ้าปาเต๊ะจากอัตลักษณ์วิถีชีวิตภาคใต้ที่เสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


232 4. วิเคราะห์ศึกษาการสร้างสรรค์ ผลงาน “จิตรกรรมบนผ้าปาเต๊ะจากอัตลักษณ์วิถีชีวิตภาคใต้” ถ่ายทอดความสุข ความประทับใจ ความงาม ความเรียบง่าย จากวิถีชีวิตครอบครัวที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้ ปรับลดทอนรูปร่างรูปทรง สร้าง สัญญะทางความงามอันพิเศษเฉพาะตนของผู้สร้างสรรค์ มีที่มาของลวดลายประกอบด้วย วิถีชีวิตชุมชน ศิลปวัฒนธรรม พืชพันธุ์ธรรมชาติทางภาคใต้ ผ่านกระบวนการเตรียมพื้นลายรดน้ำด้วยพื้นรักใสบนผ้าปาเต๊ะ ผสมวัสดุเฉพาะ ได้แก่เยื่อใยของใบยางพารา กิ่งไม้ เคลือบด้วยรักใสเพื่อเป็นพื้นรองรับผลงานสร้างสรรค์ใน เทคนิคลายรดน้ำร่วมสมัย ผสมผสานกับการปรับค่าของพื้นชิ้นงานบางส่วนด้วยวิธีการผสมทางงานจิตรกรรมสี อะคริลิค ผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้ ใช้หลักทฤษฎีความงามทางสุนทรียะและความพึงพอใจจากแรงบันดาลใจใน วิถีชีวิตของครอบครัว ในการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ความงามเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ที่ครงคุณค่าทางด้าน ศิลปวัฒนธรรม เอกสารอ้างอิง คึกฤทธิ์ ปราโมท. (2525). ลักษณะไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ ไทยวัฒนา พานิชจำกัด. น. ณ ปากน้ำ. (2524). วิวัฒนาการลายไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ. เสน่ห์ หลวงสุนทร. (2542). ศิลปไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จำกัด.


233 ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น Aesthetic in Thai Vernacular Architecture Arts วิทยา ชลสุวัฒน์, Wittaya Cholsuwat วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail : [email protected] บทคัดย่อ “ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น” เป็นผลงานที่แสดงถึงแรงบันดาลใจจากหนังสือภาพไตร ภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยาเรื่องราวดินแดน “สุวรรณภูมิ” ซึ่งเต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม กลุ่มชาติ พันธุ์ และความอุดมสมบูรณ์ ผสานกับจินตนาการ แนวความคิด ร่องรอยทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยวิถี เกษตรกรรมแต่ครั้งอดีตถึงปัจจุบันซึ่งผูกพันกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และวิธีการผนวก รูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทย โดยนำแนวคิดมาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยรูปลักษณะสื่อผสมด้วย โครงสร้าง รูปสัญลักษณ์แบบอุดมคติอันเรียบง่ายเพื่อสื่อแสดงออกถึงเรื่องราวความสุข ความอุดมอิ่มเอิบแห่ง ผืนดินผ่านมิติทางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อที่สัมพันธ์กับความดีและความงามของวิถีชีวิตชนบทอย่างมี สุนทรียภาพด้วยทัศนธาตุทางศิลปะ จากแรงบันดาลใจในวิถีชีวิตชนบทและสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นนำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์โดยใช้ วัสดุหลักคือแผ่นไม้อัด แผ่นอะคริลิคใส และโครงไม้ขนาดรูปทรงแตกต่างกันตามสัดส่วนโครงสร้าง กำหนด องค์ประกอบให้เส้น รูปทรง และพื้นที่ว่างเป็นตัวประสานทัศนธาตุทั้งหมดให้เป็นเอกภาพด้วยวิธีการวาด การ เขียนสี รวมถึงการเรียงซ้อนทับโดยการติดตั้งประกอบให้เกิดมิติความงามทางรูปทรงด้วยการศึกษาข้อมูล เพิ่มเติมจากผลงานศิลปกรรม แนวความคิดของศิลปินไทยและต่างประเทศ นำมาวิเคราะห์ออกแบบภาพ ลายเส้นเพื่อพัฒนาความคิด รูปทรงให้สอดคล้องกับจินตภาพ ความรู้สึก รูปแบบ และวัตถุประสงค์ของการ แสดงออก โครงสร้างที่เกิดจากการนำรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยมาผสานเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับโครงสร้างทาง เนื้อหาเพื่อสื่อเรื่องราววัฒนธรรมในอดีตอันสะท้อนภาพความพอเพียง ความเรียบง่าย ความงดงามแห่งวิถีชีวิต ประกอบด้วยมิติทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และภูมิปัญญาพื้นถิ่นให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่าง อดีตกับปัจจุบันด้วยรูปสัญลักษณ์ทางธรรมชาตินี้จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางการสร้างสรรค์ การผสานไว้ซึ่งนัยทาง ความคิดและโครงสร้างทั้งหมดเข้ากับการแสดงออกอันนำไปสู่รูปแบบ กระบวนการ และคุณค่าของการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยในอนาคตต่อไป คำสำคัญ: ความงาม, ศิลปะ, สถาปัตยกรรมไทย, พื้นถิ่น


234 Abstract Aesthetic in Thai Vernacular Architecture Arts is motivated by a Buddhist literature Traibhumikatha, Ayutthaya version. The story of Suvarnabhumi, the land rich for cultural diversity and ethnics, combines with imagination, concepts and an accent of agricultural culture, which has been bound to the fruitful natural environment. The feature of Thai architecture or Thai house is then combined with that concept to create a series of Thai paintings. The mixed media, together with conceptual outlines, simply reveals aesthetically pleasing felicity and fruitfulness of the earth through dimensions of social, culture and belief, which is closely bond to beauty and fairness of rural life. Rural life and Thai vernacular architecture as the inspiration bring about the creation of plywood, acrylic sheets and wood frames in different forms and sizes. The composition of lines, shapes and spaces creates unity of all visual elements, balanced with the techniques of drawing and painting. Each work is also layered to highlight the artistic form. In this term, Thai and foreign artists’ works and concepts were studied and analysed to develop the concepts and forms, which serves imagination, feeling and purpose of the creativity. The structure derived from the connection between the feature of Thai architecture and the content of the story about the ancient culture reflects sufficiency, simplicity and beauty of life, including dimensions of society, culture, tradition, belief and local wisdom. Connection between the past and the present, which is then created by natural totem, is one of the creativities. The combination between thought, as well as the structures, and presentation will spawn new concept, process and value of contemporary art in the future. Keywords: Aesthetic, Arts, Thai Architecture, Vernacular 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมีความอุดมสมบูรณ์จากการตั้งอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน “การตั้งถิ่นฐานมี มาตั้งแต่สมัยก่อนทวารวดี อยุธยา ธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์” (จินดามณีโรจน์ 2554, 37) มีการติดต่อ แลกเปลี่ยน เกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่รวมไว้ซึ่งโครงสร้างทาง ความคิด เนื้อหาที่เข้าใจง่ายเกี่ยวเนื่องด้วยวิถีชีวิตของชุมชนบนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ เพื่อสื่อแสดงถึงพื้นที่แห่ง ความสมบูรณ์พูนสุข สอดคล้องสัมพันธ์กับความกลมกลืนของวิถีเกษตรกรรมที่แนบแน่นอยู่กับธรรมชาติอันมี ความหลากหลายทางพืชพรรณธัญญาหาร โดยได้ความบันดาลใจจากโครงสร้างรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม


235 ไทยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตหลอมรวมกันเป็นเอกภาพด้วยลายเส้นอุดมคติ รูปสัญลักษณ์ที่สื่อ ถึงความเป็นธรรมชาติ ความสำคัญส่วนที่กล่าวมานี้ ประกอบรวมขึ้นเป็นทัศนธาตุที่เชื่อมโยงกับตัววัสดุ ได้แก่ โครงไม้ รูปทรงระนาบของแผ่นไม้ และแผ่นอะคริลิคใสด้วยการวางองค์ประกอบตามจินตนาการ ลดและตัดทอนใน ส่วนของรายละเอียด สร้างจังหวะการทับซ้อนชองเส้น รูปทรง และพื้นที่ว่างให้เกิดการประสาน มีระยะและมิติ รวมถึงแสงเงาที่ตกกระทบช่วยส่งผลทางความงามให้แก่ทัศนธาตุต่างๆ มีความสมบูรณ์มากขึ้น ผลงานนี้อาจ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการวาด การเขียนสีที่ถูกนำมาปรับประยุกต์ใหม่ด้วยอาศัยคุณสมบัติใน ความใส ความบางของตัววัสดุนำมาวาดเรียงซ้อนให้เกิดจังหวะสัดส่วน และการประกอบตัววัสดุเข้ากับโครงไม้ ขึ้นเป็นรูปทรงของผลงาน รวมถึงการสร้างบรรยากาศของแสงและเงาซึ่งเป็นไปได้ว่าสามารถสื่อสะท้อนภาพ ช่วงเวลา มิติแห่งความสุข ความอุดมสมบูรณ์ และความงามไปพร้อมกัน ให้เห็นความหมายและคุณค่าในวิถี ชีวิตชนบทด้วยวิธีการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยรูปลักษณะสื่อผสม 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลงานศิลปะ เป็นการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน จึงได้ ศึกษาทั้งแนวคิดและรูปแบบประกอบกันโดยคำนึงถึงที่มาของแรงบันดาลใจและทัศนธาตุ ได้แก่ ผลงาน จิตรกรรมไทยที่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้เห็นถึงร่องรอยวัฒนธรรมดั้งเดิมและการสืบสานต่อของวัฒนธรรม ใหม่ด้วยตัวเนื้อหา ความเป็นอุดมคติ รวมถึงวิธีการสร้างสรรค์ ผลงานของศิลปินได้แยกแนวทางอิทธิพลที่ส่งผล ต่อการสร้างสรรค์ไว้สามประเภท คือ ความคิด ทฤษฎี และรูปแบบ ศิลปินภายในประเทศ ได้แก่ ประสงค์ ลือ เมือง ศาสตราจารย์เกียรติคุณอิทธิพล ตั้งโฉลก และศิลปินต่างประเทศ ได้แก่ โรเบิร์ต เราเชนเบิร์ก (Robert Rauschenberg, 1925-2008) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ จากแรงบันดาลใจ การศึกษาข้อมูลนำมาสู่แนวความคิด การวิเคราะห์รูปแบบ วิธีการสร้างสรรค์ การ ออกแบบและแก้ปัญหาจากภาพร่างจนพัฒนาเป็นผลงานซึ่งประกอบขึ้นจากวัสดุทั้งสองส่วนดังกล่าว สามารถ ดำเนินงานสร้างสรรค์ผลงานได้ 1 ชุด จำนวน 6 ชิ้นงาน เมื่อประกอบติดตั้งแล้วเสร็จขนาด (กว้าง x ยาว x สูง) ทั้งหมดโดยประมาณ 110 x 650 x 50 เซนติเมตร ดังนี้ ชุดผลงานถูกกำหนดด้วยโครงสร้างของเส้น หน่วยของรูปทรง และบริเวณพื้นที่ว่างประกอบกัน สามารถแยกออกเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ รูปธรรมกับนามธรรม โดยสื่อแสดงถึงความโปร่งของรูปลักษณ์ สถาปัตยกรรม หน่วยหรือพื้นที่ของชุมชน กลุ่มบ้านเรือน รวมถึงเส้นโครงสร้างที่มีลักษณะอิสระ คดเคี้ยว เส้นระดับความสูงต่ำของรูปทรงที่สื่อถึงที่ลุ่มดอนของพื้นดินหรือสายน้ำ “เส้นโครงสร้าง (Structural Line) คือลักษณะของเส้นที่มองไม่เห็นด้วยตาหรือเส้นในจินตนาการ” (ชลูด นิ่มเสมอ 2544, 35) รูปทรงแต่ละหน่วย ประกอบด้วยส่วนฐาน ส่วนกลาง และส่วนบนโดยใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมเชื่อมแต่ละหน่วยเข้าหากัน รูปทรง


236 ประกอบไปด้วยพื้นที่ว่างโดยแยกเป็นพื้นที่ว่างภายในและภายนอกรูปทรง พื้นที่ว่างภายในมีมวลปริมาตรที่เกิด จากเส้นของรูปทรงกำหนดขึ้นเป็นโครงสร้าง ส่วนพื้นที่ว่างภายนอกเกิดจากรูปทรงของผลงาน ซึ่งผลงานเมื่อ อยู่บนพื้นที่ว่างจะทำให้เกิดตำแหน่งของรูปทรง (จุด) ในที่ว่างขึ้น “จุด สามารถสร้างความหมายให้กับพื้นที่ว่าง อีกทั้งเป็นการสร้างพลังความเคลื่อนไหวให้กับบริเวณพื้นที่ว่าง” (ชลูด นิ่มเสมอ 2544, 28) ในแต่ละรูปทรงยัง มีทัศนธาตุของสีที่เป็นแสง สีจากตัววัสดุ และค่าน้ำหนักผสานรวมอยู่ภายใน “สีจึงทำหน้าที่เช่นเดียวกับ น้ำหนักแต่ให้อารมณ์ความรู้สึกด้วยตัวเอง” (ชลูด นิ่มเสมอ 2544, 57) โดยมีพื้นผิวเป็นส่วนเสริมให้ทัศนธาตุ เหล่านี้ประสานกันเข้าเป็นรูปทรงที่มีความหมาย ในส่วนของแสงและเงาอาศัยอุปกรณ์ช่วยให้เกิดแสงประเภท หลอด LED (Light Emitting Diode) ที่ถูกกำหนดความสว่างและควบคุมทิศทางให้สื่อถึงแสงจากดวงอาทิตย์ที่ ตกกระทบผิวน้ำในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ขณะเดียวกันแสงและเงาจากการสะท้อนภาพลายเส้นในแต่ละ ชิ้นงานยังส่งผลต่อบริเวณพื้นที่โดยรอบ เกิดการผสานจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งเชื่อมต่อเรื่องราวทั้งหมดขึ้นเป็น ชุดผลงาน จะเห็นได้ว่าทัศนธาตุหลักทั้งพื้นที่ว่าง รูปทรง และเส้นต่างมีความเป็นเด่นและเป็นรองในสัดส่วนที่ เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้การจัดองค์ประกอบมีความสอดคล้องกลมกลืนสร้างผลรวมอันเป็นหนึ่ง ภาพที่ 1 วิทยา ชลสุวัฒน์ ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น. 2565. สื่อผสม. 110 x 650 x 50 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 2 วิทยา ชลสุวัฒน์ ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น. 2565. สื่อผสม. 110 x 650 x 50 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


237 ภาพที่ 3 วิทยา ชลสุวัฒน์ ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น. 2565. สื่อผสม. 110 x 650 x 50 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 4 วิทยา ชลสุวัฒน์ ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น. 2565. สื่อผสม. 110 x 650 x 50 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 5 วิทยา ชลสุวัฒน์ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น. 2565. สื่อผสม. 110 x 650 x 50 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่ 6 วิทยา ชลสุวัฒน์ ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น. 2565. สื่อผสม. 110 x 650 x 50 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


238 4. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยรูปลักษณะสื่อผสมนี้เกิดจากความประทับใจที่มีต่อเนื้อหาวิถีชีวิต อันมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของชุมชนบริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัด สุพรรณบุรี ด้วยความงามอันเรียบง่ายของโครงสร้างรูปทรงนี้สามารถสร้างจินตภาพย้อนนำไปสู่การเชื่อมโยง ถึงช่วงเวลา เรื่องราววิถีชีวิตผู้คนซึ่งผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรม การทำนาปลูกข้าว การจับสัตว์น้ำ มีประเพณี วัฒนธรรมที่อาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักในการหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต ประกอบแรงบันดาลใจจากผลงานจิตรกรรม ไทยภาพลายเส้นเขียนสีและรูปทรงที่เรียบง่ายแบบอุดมคติ สามารถเชื่อมโยงได้ถึงเรื่องราววิถีชีวิต ความสงบ สุข ความอุดมสมบูรณ์ ความงาม และภูมิปัญญาไปพร้อมกัน เหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจเป็นความงามทาง สุนทรียภาพของการดำเนินชีวิต สาระแวดล้อมธรรมชาติมาเชื่อมต่อจินตนาการสร้างสรรค์ผลงานด้วยทัศนธาตุ เพื่อสื่อแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาของวิถีชีวิตกับมิติทางสังคม วัฒนธรรม พื้นดินที่อยู่อาศัย ธรรมชาติแวดล้อม อย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่คงไว้ซึ่งพื้นที่ความสุขและส่งต่อความยั่งยืนเหล่านี้ถึงชีวิตในกาลปัจจุบัน “ความงามในศิลปสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น” อาศัยแนวความคิดผสานกับจินตภาพสร้างสรรค์ชุด ผลงานจิตรกรรมไทยรูปลักษณะสื่อผสม โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงอิสระซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานที่มี ความเรียบง่าย แบ่งโครงสร้างออกเป็นสัดส่วน โดยแต่ละส่วนแสดงทัศนธาตุที่แตกต่าง สร้างความสัมพันธ์ของ องค์ประกอบทั้งหมดด้วยหลักเอกภาพ ดุลยภาพที่เกิดจากความประสานและความขัดแย้ง มีการกำหนด แผนงานวางโครงสร้างรูปทรงตามจินตนาการ ลดทอนในส่วนรายละเอียดของเส้นและรูปทรงเพื่อให้เกิดระนาบ ของแสงเงา เกิดการทับซ้อน มีระยะ มิติ และจังหวะที่ส่งผลให้ทัศนธาตุหลักคือพื้นที่ว่าง รูปทรง และเส้น แสดงความเป็นเด่นและความเป็นรอง เชื่อมโยงสัมพันธ์กับคุณลักษณะของตัววัสดุสองชนิด คือ ไม้ที่แสดงออก ถึงความงามที่เป็นธรรมชาติและแผ่นอะคริลิคใสสื่อถึงความงามของวัสดุสมัยใหม่ ทั้งนี้เพื่อสื่อเนื้อหาคุณค่าทาง กาลเวลาอันผนวกไว้ซึ่งมิติแนวความคิด ความเป็นอุดมคติด้วยลายเส้น รูปสัญลักษณ์ เชื่อมโยงสัมพันธ์กับวิถี ชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาเพื่อให้ผู้สนใจได้รับรู้เนื้อหาความงามอย่างมีสุนทรียภาพ เกิดความเข้าใจใน กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยในอีกรูปลักษณะ อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากแนวทางการ สร้างสรรค์ในเรื่องที่มาแห่งความบันดาลใจ กรอบแนวความคิด รูปแบบลักษณะ และวิธีการแสดงออกไปปรับ พัฒนาก่อประโยชน์ต่อการศึกษาด้านทัศนศิลป์หรือผลงานวิชาการลักษณะอื่นให้เกิดความก้าวหน้าสอดคล้อง กับสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2554). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. (2554). ประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนลุ่มน้ำท่าจีน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์ อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง


239 วาดเส้นสร้างสรรค์: ทิพยนาฏศิลป์ไทย Creative Drawing : Fineness of Thai Dramatic วิศิษฐ พิมพิมล, Wisit Pimpimon วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี, Suphanburi College of Fine Arts E-mail : [email protected] บทคัดย่อ นาฏศิลป์ไทยเป็นเป็นศาสตร์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ อดีต จนมีความงาม มีเอกลักษณ์ในแบบนาฏศิลป์ไทยที่ชัดเจน มีความลึกซึ้งทางด้านจิตวิญญาณของการแสดง ซึ่งแฝงอยู่ในท่วงท่าการร่ายรำ ชุดเครื่องแต่งกาย ดนตรี ตลอดจนแสงสีที่ตกกระทบบนเวทีการแสดง และเรือน ร่างได้สร้างความรู้สึกนำพาผู้ชมให้สัมผัสถึงอีกมิติหนึ่งที่มีความพิเศษทางด้านสุนทรียรสหรือนัยหนึ่งคือความ เป็นทิพย์ ซึ่งนำพาผู้ชมให้รู้สึกได้ถึงความสุข ความอิ่มเอมเหมือนดังความเชื่อเกี่ยวกับเทวดา นางฟ้าบนชั้น สวรรค์วิมาน ที่มีความสุขความวิจิตรตระการและความดีงาม การศึกษาเพื่อสร้างสรรค์นี้เป็นการนำความรู้สึกทางด้านสุนทรีย์ ที่ได้รับจากการแสดงนาฏศิลปไทย มาสู่การค้นหาเทคนิควาดเส้นด้วยถ่านชาร์โคล ในกระบวนการแบบเปียกและแบบแห้ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ สัมพันธ์ระหว่างการวาดเส้นและจิตรกรรม ทดลองการสร้างพื้นผิว ร่องรอย จังหวะของน้ำหนักแสงเงา เพื่อ พยายามถ่ายทอดความรู้สึกถึงความงดงาม ความพิเศษของนาฏศิลป์ไทย ผลของการสร้างสรรค์แสดงให้เห็นถึงการสร้างจังหวะน้ำหนักของขาวและดำ ให้มีค่าความต่างกันที่ ชัดเจน การทิ้งร่องรอยของแปรง และการปาดป้ายชาร์โคลที่เป็นธรรมชาติ การสร้างร่อยรอยที่เกิดจากการ สลัดน้ำ น้ำมัน ได้ช่วยสร้างให้เกิดความรู้สึกถึงความพิเศษ หรืออาจเรียกว่าความเป็นทิพย์ในนาฏศิลป์ไทย ผ่านบางแง่มุมของใบหน้า และเครื่องแต่งกายของนักแสดงบางส่วนได้ คำสำคัญ: วาดเส้นสร้างสรรค์, ทิพยนาฏยศิลป์ไทย Abstract Thai dancing arts is a science of art and culture. Which has been continuousty developed since the past until it has a beauty with a clear identity in the form of Thai dancing arts There is a deep spirituality of the performance hidden int the dance moves. Customes, music, as well as the colors that fall on the performance stage. And the body creates a feeling that leads the audience to experience stage. And the body creates a feeling that leads the audience to experience another dimension that is special in aesthetics. This creative education brings aesthetic sense. Received from Thai dance performances come to search for charcoal drawing technique in wet and dry processes this is a process


240 related to drawing and painting. Experiment with creating textures, traces, strokes of light and shadow. To try to convey a sense of beauty the specialty of thai dancing arts. The effect of the creation shows the weightless strokes of black and white. To have a clear difference leaving traces of the brush and natural charcoal brushing Creation of traces of water and oil has helped to create a feeling of exclusivity. Or it may be called transcendentalism in thai dancing arts. Through certain aspects of the face and costumes of some actors. Keywords: Creative Drawing, Fineness of Thai Dramatic 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา นาฏศิลป์ไทยเป็นเป็นศาสตร์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ อดีต จนมีความงาม มีเอกลักษณ์ในแบบนาฏศิลป์ไทยที่ชัดเจน มีความลึกซึ้งทางด้านจิตวิญญาณของการแสดง ซึ่งแฝงอยู่ในท่วงท่าการร่ายรำ ชุดเครื่องกาย ดนตรี ตลอดจนแสงสีที่ตกกระทบบนเวทีการแสดง และเรือนร่าง ได้สร้างความรู้สึกนำพาผู้ชมให้สัมผัสถึงอีกมิติหนึ่งที่มีความพิเศษทางด้านสุนทรียรส การถ่ายทอดความพิเศษ ซึ่งมีอยู่ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยมาสู่ผลงานด้านทัศนศิลป์ จะต้องทำด้วยการค้นหาวิธีการต่างๆทางด้าน เทคนิค การจัดองค์ประกอบ และเลือกนำทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์มาใช้ เพื่อถ่ายทอดผลความพิเศษที่แฝงอยู่ ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยนั้นออกมาให้มากที่สุด 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษา สร้างสรรค์ผลงานชุดนี้นำหลักการ ทฤษฏีและกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วม เป็นข้อมูลดังนี้ 2.1 แนวคิดเรื่องความเป็นทิพย์ในศิลปกรรมและนาฏศิลป์ ตามความหมายของราชบัณฑิต ที่มีการอธิบายถึง คำว่า “ทิพย์” มีที่มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า เป็นของเทวดา ส่วนภาษาไทยใช้คำว่า “ทิพย์” หมายถึงที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างกับลักษณะปรกติ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ อาหารทิพย์ อิ่มทิพย์ ในด้านศิลปะรูปเคารพและประติมากรรม ความเป็นทิพย์ ปรากฏในรูป ของแม่โพสพ พระแม่ธรณี นางกวักเป็นต้น ส่วนด้านนาฏศิลป์ มีการแต่งกายที่นำมาแบบอย่างมาจาก จิตรกรรม หรือประติมากรรมไทย วรรณคดี และความเชื่อเรื่องเทวดา นางฟ้า ซึ่งอุปมาว่าอยู่บนสรวงสวรรค์ การแต่งกายที่วิจิตรบรรจง ท่าทางร่ายรำที่พิเศษกว่าความเป็นปรกติธรรมดาของมนุษย์ สร้างให้เกิดความเป็น ทิพย์ ในส่วนของตัวอย่างผลงานวาดเส้น อังคาร กัลยาณพงษ์ และชินตะวัน บรรโลได้สร้างความพิเศษขึ้นใน ผลงาน ด้วยการสร้างความวิจิตรบรรจงเหนือกว่าความเป็นจริงในธรรมชาติ ที่ตนเองได้สัมผัสผสานจินตนาการ จนเกิดความเป็นทิพย์ขึ้นผลงาน


241 ภาพที่ 1 ผลงานวาดเส้นสร้างสรรค์ ของอังคาร กัลยาณพงษ์ ภาพที่ 2 ผลงานวาดเส้นสร้างสรรค์ของชินตะวัน บรรโล 2.2 เทคนิควาดเส้นชาร์โคลเปียกและแห้ง กระบวนการวาดเส้นเทคนิคชาร์โคลเปียกและแห้ง เป็นเทคนิคที่มีการพัฒนามาจากการเขียนใน แบบเดิมซึ่งมักใช้การวาดในแบบแห้งอย่างเดียว หมายถึงการวาดด้วยแท่งถ่านธรรมชาติ ซึ่งมักทำมาจากกิ่งไม้ เช่นกิ่งหลิว และนิยมเขียนกันมาตั้งแต่ยุคเรอเนสซองส์ ของยุโรป ปัจจุบันศิลปินทั้งในจีน และยุโรปเริ่มวาด ภาพเทคนิคนี้ด้วยการนำมาทำเป็นผง และผสมน้ำเป็นชาร์โคลเหลวนำมาวาดคล้ายจิตรกรรมสีน้ำ และเมื่อแห้ง จะวาดด้วยแท่งถ่าน ดินสอถ่าน มีการเกลี่ยให้กลมกลืนบ้างหรือทิ้งร่องรอยไว้บ้าง การวาดการเขียนของศิลปิน แต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้าง ตามความชอบความสนใจ ทั้งการเขียนในแบบลดทอนรายละเอียด และการเขียนเหมือนจริงขั้นสูง การวาดด้วยกระบวนการชาร์โคลเปียกและแห้ง ถือเป็นกระบวนการใหม่ที่ กำลังได้รับความนิยม มีการค้นคว้ากันมากยิ่งขึ้น ช่วยทำให้งานวาดเส้นเกิดมิติใหม่ขึ้นมาอย่างมาก 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์เริ่มต้นโดยการค้นหาการแสดงนาฏศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดย เลือกเฉพาะเจาะจงตามความสนใจของผู้สร้างสรรค์และสมมุติฐานความเป็นไปได้ของการนำมาสู่ผลงาน สร้างสรรค์ด้านทัศนศิลป์ นำมาออกแบบหาองค์ประกอบที่มีความเหมาะสมในเบื้องต้น หลังจากนั้นเข้าสู่ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น โดยใช้เทคนิคชาร์โคลเปียกเป็นลำดับแรก ด้วยการผสมผงถ่านชาร์โคล กับน้ำ ระบาย ปาดป้าย หยอดหยด ทิ้งคราบการไหลแผ่ซึมของชาร์โคลให้เป็นธรรมชาติ เสมือนการทำงานใน ลักษณะนามธรรม เมื่อแห้งเรียบร้อย สร้างสรรค์ด้วยกระบวนการแห้ง โดยวาดด้วยถ่านชาร์โคลในรูปแบบกิ่ง ไม้ ดินสอชาร์โคล การเกลี่ยในบางส่วนด้วยวัสดุเกลี่ยฝนเช่นม้วนกระดาษ มือ พู่กัน และการแตะเพื่อสร้างให้


242 เกิดแสงในบางส่วนด้วยยางลบนิ่ม ยางลบแข็งและดินสอยางลบ นอกจากนี้สามารถสร้างให้เกิดคราบ รอยด่าง คล้ายแสงจากเครื่องประดับ ดวงดาว เสมือนนาฏศิลป์นั้นปรากฏอยู่บนสวรรค์วิมานมีความเป็นทิพย์ และ ความพิเศษออกไปจากความเป็นจริงบนโลกมนุษย์ ตามจุดมุ่งหมายของการแสดงนาฏศิลป์ไทย ภาพที่ 3 กระบวนการชาร์โคลเปียก ภาพที่ 4 ตัวอย่างกระบวนการสร้างภาพพื้นในชั้นแรก ภาพที่ 5 ภาพใบหน้านาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย


Click to View FlipBook Version