The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

บทความ 4 ภาค จันทบุรี 2023

343 เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. 2554. ศิลปะสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . 2559. สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจาร์ณ. พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจาร์ยเกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ. 2557. องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 9. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนา พาณิชย์ สุวดล เกษศิริ. ปีการศึกษา 2539. วิทยานิพนธ์การศึกษาหลักสูตรศิลปะบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์ ภาควิชาภาพ พิมพ์ จิตรกรรมและประติมากรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -


344 สีสันและลวดลายจากเครื่องแต่งกายโนรา Colors and patterns of Nora costume โสภิต เดชนะ,Sopit Detchana วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat College of fine art, Nakhon Si Thammarat Province. E-mail : [email protected] บทคัดย่อ งานสร้างสรรค์นี้เป็นการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์โดยมีแรงบันดาลใจจากสีสัน ลวดลายของเครื่องแต่งกายโนรา ซึ่งทำด้วยลูกปัดหลากสีที่มีสีสันที่สดใส สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ร้อยเป็นลวดลาย เป็นรูปทรงต่าง ๆ ด้วยลูกปัดเม็ดเล็ก ๆ เรียงต่อกันเป็นเส้น รูปทรง มีความเป็นอิสระ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามจังหวะของการแสดง ดึงดูดความสนใจของผู้ชม จากสีสัน ลวดลาย ของเครื่องแต่งกายโนราดังกล่าว จึงได้นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานด้านจิตรกรรม จัดวางในรูปแบบใหม่ด้วยสีอะครีลิค โดยใช้เทคนิควิธีการจุดจากกรวยในการแสดงออก แทนลูกปัดที่ร้อยเป็น เส้น สีลวดลาย รูปทรงต่าง ๆซึ่งจะมีลักษณะพื้นผิวใหม่บนผ้าใบที่แสดงความโดดเด่นของสีที่สดใส สว่าง แวววาว และมีความเคลื่อนไหว เพื่อนำเสนอคุณค่าสุนทรียภาพทางทัศนศิลป์ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้ชื่น ชมถึงความงดงามในศิลปะเครื่องแต่งกายของโนรา ในรูปแบบผลงานจิตรกรรม คำสำคัญ: โนรา, สีสัน Abstract This creative research is a creative visual performancewhich is inspired by the colors and patterns of the Noracostume, which is made with colorful beads, bright colors, beautiful and unique. Beads decorated with patterns and various shapes with small beads arranged in a line. The shape is independent. It can move according to the rhythm of the show, to attract the attention of the audience. Colors and patterns of Nora costumes, Therefore, it has been created as a painting work, by using the technique of the point from the cone to express instead of beads that are strung into colors, patterns, and shapes, which will feature a new texture on the canvas showing the distinctness of bright, bright and vibrant colors, to present the value of visual aesthetics to children, youth and the general public, to admired the beauty in the art of costume of Nora In the form of a painting work.Key words: Keywords: Nora, Colors


345 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา โน-รา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านเป็นที่นิยมของคนในภาคใต้เครื่องแต่งกายที่ใช้สำหรับสวมลำตัว แทนเสื้อ ซึ่งทำด้วยลูกปัดหลากสีมีสีสันที่สดใส สวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ร้อยเป็นลวดลาย ด้วยลูกปัด เม็ดเล็ก ๆ เรียงต่อกันเป็นเส้น เป็นลวดลายรูปทรงต่าง ๆ ที่มีความเป็นอิสระสามารถเคลื่อนไหวได้ตามท่าทาง และจังหวะของการแสดง ดึงดูดความสนใจของผู้ชม และได้ตระหนักถึงคุณค่าของความงามในการแสดงโนรา จากสีสัน ลวดลาย รูปทรง ของเครื่องแต่งกายโนราดังกล่าว จึงเกิดแรงบันดาลใจนำมาสร้างสรรค์ ผลงานทางด้านจิตรกรรม นำมาจัดวางในรูปแบบใหม่ แสดงออกโดยใช้สีอะครีลิค และวิธีการจุดด้วยกรวยแทน ลูกปัดที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ ที่ร้อยเป็นเส้น และลวดลาย ซึ่งจะมีลักษณะพื้นผิวใหม่บนผ้าใบ เป็นการส่งเสริมและ เป็นการกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้ชื่นชมถึงความงดงามในศิลปะเครื่องแต่งกายของโนรา ในรูปแบบทางจิตรกรรม ก่อให้เกิดการหวงแหนและรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ให้คงอยู่สืบไป 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยด้วยวิธีการจุดชุดสีสันและลวดลายจากเครื่องแต่งกายโนราได้ นำสีสันและลวดลายจากเครื่องแต่งกายโนรามาสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยด้วยวิธีการจุดจาก กรวย ผู้วิจัยได้ศึกษาการใช้สีจากชุดแต่งกายโนรา สีที่นำมาใช้ล้วนมีความสดใส มีความสดของสีการประกอบ กันของสีบนลวดลายและรูปทรงได้ใช้สีในวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ประกอบอยู่ในลวดลายรูปทรงเดียวกัน เพื่อให้เกิดความงามที่เหมาะสมไม่เกิดความเบื่อหน่ายในลวดลายนั้น ๆ อีกทั้งยังทำให้สีที่นำมาใช้เกิดพลังใน ลวดลายและรูปทรงนั้น ๆ เมื่อนำสีทั้งสองวรรณะมาผสมผสานกันในสัดส่วนที่เหมาะสม และนำมาประกอบเป็น รูปทรงเครื่องแต่งกายบนกายวิภาคของนักแสดง ทำให้ขณะแสดงเส้นและรูปทรงที่ร้อยด้วยลูกปัดตามชิ้นส่วน ต่าง ๆ มีความเป็นอิสระสามารถเคลื่อนไหวและพริ้วไหวไปตามจังหวะของท่ารำในการแสดงของนักแสดง สีสัน และความพริ้วไหวเหล่านี้ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้ชม เมื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานด้านจิตรกรรมโดย ใช้สีอะครีลิค กำหนดจุดเม็ดเล็ก ๆ ด้วยกรวยแทนลูกปัดเรียงเป็นสีเส้น ลวดลาย และรูปทรงต่าง ๆ เพื่อแสดง เอกลักษณ์เฉพาะในผลงานจิตรกรรม 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. ศึกษาสีสันและลวดลายของเครื่องแต่งกายโนราเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน จิตรกรรมร่วมสมัยด้วยวิธีการจุดชุดสีสันและลวดลายจากเครื่องแต่งกายโนรา 2. ศึกษาทฤษฎีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องประกอบการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคการจุด 3. สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคการจุดด้วยกรวย 4. วิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ 5. สรุปการสร้างสรรค์


346 ภาพที่ 1 ข้อมูลสีสันลวดลายของเครื่องแต่งกายโนรา ที่มา : โสภิต เดชนะ ภาพที่ 2 ผลงานสร้างสรรค์สีสันลวดลายของเครื่องแต่งกายโนรา ที่มา : โสภิต เดชนะ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ได้ทำการวิเคราะห์ในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงานและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อประเมินผลของการทำงาน และหาแนวทางในการพัฒนาผลงานชิ้นถัดไป 1. ปัญหาซึ่งเกิดจากสีด้วยสีของเครื่องแต่งกายโนรามีความสดใส ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้เลือกสีอะครีลิค เป็นสื่อในการแสดงออกเพื่อความเหมาะสมและสะดวกในการจุดสีจากกรวย การสร้างสรรค์ผลงานต้อง วางแผน ในการวางโครงสีขั้นที่ 1 ไว้ให้ถูกต้อง ถึงจะทำให้สีที่จุดจากกรวยอีกครั้งดูสดใส 2. ปัญหาการจัดวางรูปทรงของลูกปัดจริง ด้วยรูปทรงของการร้อยลูกปัดจริงบางรูปทรงได้กำหนดไว้ ก่อนหน้าแล้วถ้าขนาดของผลงานสร้างสรรค์มีขนาดไม่ใหญ่พอจะทำให้รูปทรงลูกปัดจริงมีขนาดใหญ่เกินไป


347 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ชุดสีสันลวดลายจากเครื่องแต่งกายโนรา ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านเป็นของคน ในภาคใต้เครื่องแต่งกายโนราทำด้วยลูกปัดหลากสีมีสีสันที่สดใส สวยงามโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ประกอบด้วยลูกปัดเม็ดเล็ก ๆ เรียงต่อกันเป็นเส้น เป็นลวดลาย และรูปทรงต่าง ๆ ที่มีความเป็นอิสระ สามารถ เคลื่อนไหวได้ตามท่าทางและจังหวะของการแสดง ผู้วิจัยได้ตระหนักถึงคุณค่าของความงามในการแสดงและ เครื่องแต่งกายโนรา จากสีสัน ลวดลาย รูปทรง ของเครื่องแต่งกายโนราดังกล่าว นำมาสร้างสรรค์ผลงาน ทางด้านจิตรกรรม จัดวางในรูปแบบใหม่แสดงออกโดยใช้สีอะครีลิคโดยใช้เทคนิคการจุดจากกรวยแทนลูกปัด ที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ ที่ร้อยเป็นเส้น และลวดลาย เป็นผลงานสร้างสรรค์ทางจิตรกรรมมีลักษณะพื้นผิวใหม่บนผ้าใบ เป็นการส่งเสริมและเป็นการกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้ชื่นชมถึงความงดงามในศิลปะ เครื่องแต่งกายของโนราในรูปแบบทางจิตรกรรม ก่อให้เกิดการหวงแหนและรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ให้คงอยู่ เอกสารอ้างอิง กุลนิด เหลืองจำเริญ. (2555). องค์ประกอบศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สกายเบ็กส์จำกัด. ฉัตร์ชัย อรรถปักษ์. (2554). องค์ประกอบศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีด จำกัด. ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องค์ประกอบของศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อัมรินทร์. . (2557). Composition of Art องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ชาญณรงค์พรรุ่งโรจน์. (2543). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ธวัช ชานนท์. (2555). หลักการศิลปะ. กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จำกัด. สมเกียรติตั้งนโม. (2554). ทฤษฎีสี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. สมภพ จงจิตต์โพรา. (2555). ทฤษฎีสี. กรุงเทพฯ : บริษัท แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด. อนันต์ประภาโส. (2558). ทฤษฎีสี. ปทุมธานี: สิปประภา.


348 ลูกสาวและผองเพื่อน Daughter and friend เอกชัย ปราบปัญจะ, Ekkachai Prabpanja 45/1 หมู่ที่5 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรีจังหวัด นครศรีธรรมราช 80320 45/1 moo 5 Phromlok Phromkiri district, Nakhon si thammarat Provinces , 80320, Thailand Nakhon si Thammarat College Of Fine Art E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ความสุขของลูกสาวที่ได้อยู่กับสิ่งที่ชอบ เกิดความรัก การเรียนรู้ จินตนาการ นำไปสู่พัฒนาการที่ สมวัย และพร้อมสำหรับการก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนในชีวิตต่อไป คำสำคัญ: ลูกสาว Abstract The daughter’s happiness in being with what he likes. Create love, learning, imagination, leading to age-appropriate development. And ready for the next step in learning in life. Keywords: Daughter 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความสุขของลูกสาวที่ได้เล่น ได้อยู่กับสิ่งที่ชอบ เกิดเป็นภาพที่ประทับใจของผู้เขียนที่ต้องการนำเสนอ เรื่องราวของลูกสาว ในรูปแบบผลงานจิตรกรรมสีน้ำมัน โดยการเลือกตัวลูกสาวมาเป็นแบบเล่าเรื่อง พร้อม บรรยายถึงบรรยากาศของความสุข สนุกสนานไร้เดียงสาของเด็ก และสอดแทรกความน่ารักและพัฒนาการที่ สมวัย 2. แนวคิดที่ใช้ในการสร้างสรรค์ ผู้เขียนได้นำเนื้อหาเรื่องราวของลูกสาวและของเล่นของลูก เช่น การ์ตูน สัตว์ ตุ๊กตาที่ชอบ ผู้เขียนได้ ศึกษาสิ่งของที่ลูกสาวชอบ เช่น ของเล่น สัตว์ และตัวการ์ตูนต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในตัวผลงาน


349 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ส่วนเนื้อหา ในกระบวนการสร้างสรรค์ผู้เขียนใช้เรื่องราวของของที่ลูกสาวชอบ โดยใช้ตัวลูกสาวเป็น ประธานและจุดเด่นของภาพ แล้วมีตัวการ์ตูน ตุ๊กตา สัตว์ต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบของภาพ ส่วนด้านหลังเป็น ปุยเมฆที่ล่องลอยอยู่บนท้องฟ้าแสดงถึงความสุข สบาย ส่วนเทคนิคและอุปกรณ์ในงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ผู้เขียนใช้การเขียนสีน้ำมันบนผ้า เทคนิคการเขียน แบบเหมือนจริงผสมกับรูปแบบเหนือจริง (Surrealism) อุปกรณ์ที่ใช้ คือ เฟรมไม้ ผ้าใบ สีน้ำมัน และหา ข้อมูลเป็นภาพถ่ายแล้วนำมาจัด องค์ประกอบภาพที่ลงตัว นำมาเป็นภาพต้นแบบ ภาพที่1 ข้อมูลที่ใช้เป็นภาพต้นแบบ ที่มา : เอกชัย ปราบปัญจะ


350 ภาพที่2 ภาพต้นแบบและภาพผลงานสำเร็จ ที่มา : เอกชัย ปราบปัญจะ 4. การวิเคราะห์ผลงาน การวางองค์ประกอบของผลงานชิ้นนี้ ผู้เขียนได้นำรูปของลูกสาวมาเป็นประธานของภาพ เพื่อให้เป็น จุดสำคัญของเนื้อเรื่อง และเป็นจุดรวมสายตาของภาพ ส่วนข้างๆจะเป็นตัวการ์ตูน สัตว์ ตุ๊กตา และฉาก ด้านหลังนั้นจะเป็นปุยเมฆที่ล่องลอยอยู่บนท้องฟ้า เป็นการผสมผสานรูปแบบงานแนวเหมือนจริงผสมกับงาน แนวเหนือจริงเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ จากรูปทรงที่แปลกใหม่ 5. สรุป ผลจากการทำงานชิ้นนี้ได้ชิ้นงานที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ การการได้เห็นความสุขของลูกสาวที่ได้เล่น ได้อยู่กับสิ่งที่ชอบ เกิดเป็นภาพที่ประทับใจของผู้เขียน ความสุข สนุกสนานไร้เดียงสาของเด็ก และสอดแทรก ความน่ารักและพัฒนาการที่สมวัย เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. (2558). ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก2. (พิมพ์ครั้งที่2 ) . กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. . (2559). พจนานุกรมศัพท์ทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มัย ตะติยะ. (2552). สุนทรียภาพทางทัศนศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ : วาดศิลป์ อนันต์ ประภาโส อารีย์คงพล. (2550). การวาดภาพสีน้ำมันฉบับกระเป๋า .กรุงเทพฯ : หจก.เอมี่ เทรดดิ้ง (มหาชน).


351 เสียงกระซิบจากใต้ทะเล A whisper from under the sea โอภาส นุชนิยม, Opas Nuchniyom 1/28 หมู่บ้านไดมอนด์ วิวล์ หมู่ 2 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 1/28 Diamond Vill, moo 2 Salaya Phutthamonthon NakhonPathom 73170 Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ เสียงกระซิบจากใต้ทะเล เป็นเรื่องราวความทรงจำที่ครั้นยังเด็กข้าพเจ้าได้พบเห็นบ่อยจนคุ้นชินกับวิถี ชีวิตชาวประมงที่ออกทะเล หากุ้ง หอย ปู ปลา สิ่งที่เห็นเป็นประจำทุกวันจนเกิดความประทับใจ คือ บรรดา ปลาที่ชาวประมงจับมาได้จะเป็นปลาที่มีลักษณะแตกต่างกันหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่คละ กันไป จนทำให้ข้าพเจ้าลุ้นว่าพรุ่งนี้จะมีปลาอะไรแปลกๆมาให้ดูอีก ภาพเหล่านี้แม้ผ่านกาลเวลาแต่มันไม่เคย จางหายจากความทรงจำ วิธีการศึกษาข้าพเจ้าต้องการถ่ายทอดความรู้สึกเรื่องราวความทรงจำนี้มาเป็นผลงานศิลปะเครื่อง เคลือบดินเผา โดยเริ่มจากการนึกภาพในอดีต ร่างแบบ 2 มิติ สร้างสรรค์รูปทรงของปลาแต่ละชนิด นำเทคนิค สติ๊กเกอร์ (sticker) รูปลอกน้ำมาใช้ในการสร้างสรรค์ลวดลายของปลา ผ่านขั้นตอนการเผาตามลำดับก่อน นำมาประกอบกับโครงสร้างเหล็กจนเสร็จสมบูรณ์ ผลการศึกษาเมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจนนำไปสู่การสร้างสรรค์เป็นรูปทรงประติมากรรมเครื่อง เคลือบดินเผาที่มีลักษณะบอกเล่าถึงความทรงจำในอดีตกำลังเรียกหา โดยตัวโครงสร้างเหล็กที่มีลักษณะไหลวน สื่อถึงการวนเวียน วงกลมด้านในแสดงให้เห็นถึงเสียงที่การเรียกเป็นมวลอากาศที่แผ่วเบา ตัวปลาใช้สีขาวแทน ความบริสุทธิ์ของความทรงจำที่ดี คำสำคัญ : เสียงกระซิบจากใต้ทะเล, ศิลปะเครื่องเคลือบดินเผา, สติ๊กเกอร์รูปลอกน้ำ Abstract A whisper from under the sea It is a story of memories that I saw as a child so often that I was familiar with the lifestyle of fishermen going out to sea, searching for shrimp, shellfish, crabs and fish. It is a fish that has many different species. There are both small and large mixes. It made me excited that tomorrow there will be some strange fish to see again. These images, even through time, but never fade from memory. The method of study I wanted to convey this feeling of memory as a piece of porcelain art. Starting from visualizing the past, sketching 2D models, creating shapes of each type of


352 fish. Apply water decal technique to create fish patterns. It goes through a sequential firing process before being assembled with the steel structure until it is complete. The results of the study, when collecting all the data, led to the creation of a porcelain sculpture that resembles that of the past memories are calling for. By the steel structure that looks like a flow, conveys a circle. The inner circle represents the sound that the calling is a faint air mass. The white fish used to represent the purity of good memories. Keywords: A whisper from under the sea, ceramic, decal 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา วิถีชีวิตของชาวประมง คือ การทำประมงไม่ว่าจะแถบชายฝั่งทะเลหรือในทะเลน้ำลึก การทำประมง แถบชายฝั่งทะเลเป็นการทำประมงแบบวันเดียว เครื่องมือทำประมงก็จะทำแบบง่ายๆสามารถทำขึ้นเองได้ แต่ ถ้าทำประมงน้ำลึกต้องออกทะเลครั้งละหลาย ๆ วันจึงกลับเข้าฝั่ง เครื่องมือทำประมงก็จะมีหลากหลายและ เหมาะสมกับลักษณะชนิดของสัตว์น้ำที่ต้องการจับ ดังนั้น ‘ทะเล’ จึงเปรียบเสมือนลมหายใจของชาวบ้านที่ คอยหล่อเลี้ยงและผูกพันกับ ‘วิถีชีวิตชาวประมง’ ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตที่เรียบง่ายแต่เปี่ยมไปด้วยความสุข ภาพที่ 1 ท่าเทียบเรือคลองท่าแพ จ.นครศรีธรรมราช ที่มา : เรืองศักดิ์ ชูจันทร์ เดิมทีบ้านของข้าพเจ้าจะติดกับแพปลาจึงได้เห็นและซึมซับวิถีชีวิตของชาวประมงที่จะมีสัตว์ทะเล มากมายที่สามารถจับมาได้ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก ปลาฉลาม ปลามังกร เป็นต้นและเมื่อได้ ปลามาในแต่ละครั้งก็จะทำการคัดแยกเป็นประเภทๆชนิด ขนาดรวมกันใส่เป็นเข่ง นำไปขายในตลาดสดหรือ บางครั้งก็จะมีคนมารับซื้อถึงแพปลา ความทรงจำนี้ข้าพเจ้าเห็นจนเกิดความคุ้นชินและมักถามตัวเองเสมอว่า ท้องทะเลบ้านเรามีสัตว์ทะเลรูปร่างแปลกๆหลายชนิด โดยเฉพาะปลาทะเลที่มีความแตกต่างกันในแต่ละสาย พันธุ์ จึงทำให้ทุกครั้งที่มีการนำสัตว์ทะเลขึ้นมาจากเรือข้าพเจ้าจะไปยืนดูบ่อยครั้งลุ้นว่าจะมีปลาอะไรที่แปลก ๆ


353 อีกบ้าง เพราะสัตว์น้ำที่จับมาได้จะไม่ซ้ำกัน บรรยากาศเหล่านี้เสมือนเรื่องราวที่ยังคงอยู่ในใจข้าพเจ้าเสมอมา ภาพความทรงจำที่ยังอยู่ในความทรงจำของข้าพเจ้าได้พุดขึ้นมาเรื่องราวต่างๆจึงวนเวียนอยู่ในหัวเปรียบ เหมือนเสียงกระซิบที่เรียกหาและบอกเล่าเรื่องราวอดีตที่ผ่านมา เป็นภาพของปลาทะเลที่มีหลายชนิดหลาย สายพันธุ์แวะเวียนเข้ามาทักทายในความทรงจำ จากเนื้อหาข้อความข้างบนข้าพเจ้าจึงต้องการนำเสนอผลงานที่มาจากความทรงจำเรื่องราวในอดีต เป็นผลงานชื่อเสียงกระซิบจากใต้ทะเล โดยใช้รูปทรงของปลาทะเลด้วยเทคนิคเครื่องเคลือบดินเผาในการ ทำงานลักษณะเป็นงาน 3 มิติประกอบกับเหล็กที่ถูกดัดเป็นรูปวงกลมที่สื่อถึงคำพูดที่เรียกหาจากเหล่าปลา ทะเล 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าได้นำแนวคิดผลงาน อุดร จิรักษา ชื่อผลงาน พื้นที่แห่งความเจริญเติบโต แนวคิดที่มาจากการ เจริญเติบโตต้องอาศัยระยะเวลา โดยการอาศัยรูปแรกเป็นสำคัญ ระยะเวลาเป็นสิ่งที่บ่งบอกช่วงแห่งการเติบโต ยิ่งเจริญเติบโตมากเท่าไร ช่วงระยะเวลาของการเจริญเติบโตจะลดน้อยลงเท่านั้น สิ่งที่ตามมาคือ ระยะเวลา ของการเจริญเติบโตจะถึงจุดอิ่มตัวซึ่งเป็นหลักความจริงของธรรมชาติ(ข้อมูลสืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 https://krungthai.com/artgallery/gallery/details?id=1373) ภาพที่ 2 พื้นที่แห่งความเจริญเติบโต ที่มา : อุดร จิรักษา ผลงานชุดนี้ของอุดร จิรักษา เป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน โดยนำลักษณะการเชื่อมโยงกันของเส้น ใยภายในจนทำให้เกิดความรู้สึกถึง การเคลื่อนไหว มีจังหวะมีการเติบโต รูปทรงเรขาคณิตเรียบง่าย บางครั้ง ข้าพเจ้ารู้สึกถึงเสียงของการเคลื่อนไหว สิ่งเหล่านี้ข้าพเจ้าได้นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้


354 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การทำงานสร้างสรรค์ครั้งนี้ข้าพเจ้าได้จัดเรียงลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. เริ่มต้นจากการนึกภาพความทรงจำในอดีตแล้วร่างแบบ 2 มิติ ภาพที่3 ภาพร่าง 2 มิติ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 2. หาข้อมูลสัตว์ทะเลที่ประทับใจในอดีตเพื่อศึกษารูปร่างรูปทรง พร้อมสร้างสรรค์ผลงานเป็น 3 มิติ 3. นำไปผ่านขั้นตอนการเผาแบบเครื่องเคลือบดินเผา เผาที่ 800 องศาเซลเซียสและเผาเคลือบที่ 1200 องศาเซลเซียส ภาพที่ 4 งานปั้น 3 มิติ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. ออกแบบสติ๊กเกอร์รูปลอกน้ำเพื่อนำมาใช้กับชิ้นงานนำไปเผาที่ 850 องศาเซลเซียส ภาพที่ 5 สติ๊กเกอร์(sticker) รูปลอกน้ำ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


355 5. เชื่อมโครงสร้างด้วยเหล็กเป็นรูปวงกลมเพื่อสื่อถึงเสียง จากนั้นนำมาประกอบเป็นชิ้นงาน ภาพที่ 6 ประกอบชิ้นงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานชุด เสียงกระซิบจากใต้ทะเล เป็นผลงานที่ได้แรงบันดาลจากอดีตที่ผ่านมาเกี่ยวกับวิถีชีวิตของ ชาวประมง การวิเคราะห์รูปทรง ข้าพเจ้าใช้รูปทรงโครงสร้างเส้นรอบนอกที่มาจากช่องหู ส่วนรูปทรงวงกลม ด้านในแทนค่าเป็นเสียงจากอดีตที่เข้ามาภายในความรู้สึกมีการเข้าออกตลอดเวลา ภาพที่ 7 ผลงานสำเร็จและการวิเคราะห์ชิ้นงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


356 การวิเคราะห์ทางทัศนะธาตุ เส้นที่นำมาใช้ คือ เส้นโค้งทั้งตัวชิ้นงานและโครงสร้างของผลงาน ทำให้เกิดความรู้สึกการเคลื่อนไหวที่ ไม่สิ้นสุด ขณะที่เส้นวงกลมด้านในมีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากันทำให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของรูปทรง สีที่นำมาใช้ในชิ้นงานทั้งหมดจะเป็นสีขาว เพราะต้องการสื่อถึงเรื่องราวในอดีตที่อยู่ในความทรงจำอัน บริสุทธิ์ ตลอดจนลายสติ๊กเกอร์ที่นำมาใช้ในงานเป็นสีฟ้าตัวแทนของทะเล องค์ประกอบของงานชุดนี้กำหนดให้ผลงานทั้งชุดจะเน้นจังหวะ ทิศทางการเคลื่อนไหวของรูปทรง โครงสร้างทั้งหมด ตัวปลาขนาดเล็กใหญ่จะติดตั้งในตำแหน่งที่เป็นจังหวะ เพื่อสร้างความรู้สึกการเคลื่อนไหว อย่างอิสระให้เหมือนภาพความทรงจำในขณะนั้น 5. สรุป ผลงานชุด เสียงกระซิบขากใต้ทะเล เป็นการนำวัสดุ2 ชนิด ได้แก่ เหล็กและเครื่องเคลือบดินเผา มา สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีสุนทรียะด้านความงาม สิ่งที่ข้าพเจ้าเลือกใช้วัสดุทั้ง 2 ชนิดนี้เพื่อต้องการนำเสนอ รูปแบบเทคนิค วิธีการที่สามารถนำวัสดุอื่น ๆ มาใช้ร่วมกันและอยู่ด้วยกันได้กับเครื่องเคลือบดินเผา อีกทั้งเป็น แรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาสามารถนำไปเป็นแนวทางในการทำงานต่อไปได้ในอนาคต เอกสารอ้างอิง วันชัย เพี้ยมแตง. (2537).การตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาด้วยรูปลอกเซรามิค.กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง.เฮ้าส์. เวนิช สุวรรณโมลี. (2537). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ๓๖๕ ๒๐๑ เทคนิคการตกแต่ง. (อัดสำเนา). สุขุมาล สาระเกษตริน. (2564). เครื่องปั้นดินเผาการออกแบบและปฏิบัติงาน. พิมพ์ที่ 50 Press Printing. โอภาส นุชนิยม. (2561). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา107–22003 เทคนิคในการสร้างสรรค์งาน เครื่องปั้นดินเผา. (อัดสำเนา) Kathleen Standen. (2013). The New Ceramics Additions To Clay Bodies. India : printed and bound in india. Louisa Taylor. (2020). Ceramics Masterclass. China : white Lion Publishing. Marylin Scott. (2007). The potter’s Bible. China : Printed in china by Midas Printing International Ltd,China.


ขอขอบคุณ กระทรวงวัฒนธรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ นางนิภา โสภาสัมฤทธิ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนวย นวลอนงค์ รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญพาด ฆังคะมะโน คณบดีคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ นายจรัญ หนองบัว ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ นางขวัญใจ พิมพิมล ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ นายศุภชัย ระเห็จหาญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สมเกียรติ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปจันทรบุรีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คณาจารย์และบุคลากร คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คณาจารย์และบุคลากร วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คณาจารย์และบุคลากร วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คณาจารย์และบุคลากร วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงหทัย พงศ์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เด่น หวานจริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินทร์ อ้วนดำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอภาส นุสนิยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยากร เรืองจำรูญ ผู้รวบรวม นางสาวธนาภรณ์ โพธิ์เพชร ออกแบบปกโดย นางสาวลาภลัคน์ บุณยาคม


Click to View FlipBook Version