The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชีวประวัติ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และ ธรรมบรรยาย หลวงปู่มั่น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-02 15:43:39

ชีวประวัติ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และ ธรรมบรรยาย หลวงปู่มั่น

ชีวประวัติ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และ ธรรมบรรยาย หลวงปู่มั่น

Keywords: มุตโตทัย,หลวงปู่มั่น

นอนทโี่ รงเรยี นซง่ึ อยไู่ มไ่ กลจากสาํ นกั ทพ่ี กั ของทา่ นพระอาจารยม์ น่ั มากนกั เมอ่ื ไดท้ พี่ กั เรยี บรอ้ ยแลว้
คณะโยมผู้เฒ่า ๔-๕ คน จึงถือโอกาสไปที่วัดเพ่ือกราบนมัสการและอาราธนาท่านด้วย เม่ือท่าน
รับนิมนตแ์ ลว้ ได้พูดคยุ สนทนาพอสมควรแก่เวลา คณะโยมผู้เฒ่ากก็ ราบลากลบั ทีพ่ ักของตน

พอรุ่งเช้าเมื่อพระออกบิณฑบาต คณะโยมหนองผือก็ออกจากที่พักของตนไปที่วัดเพ่ือรอขน
ส่ิงของเคร่ืองใช้ต่าง ๆ ที่ท่านจัดเตรียมไว้แล้วไปด้วย เสร็จแล้วจึงพากันออกเดินทางกลับหนองผือ
โดยคณะพวกโยมคนหนมุ่ ๆ ได้ขนของทีห่ นกั หน่อยเดินทางลว่ งหน้ามาก่อน สําหรบั คณะของทา่ น
พระอาจารยม์ ั่นนน้ั คอ่ ย ๆ เดินทางมาทหี ลงั เพราะเป็นคณะของคนชรา มพี ระอปุ ัฏฐากติดตามทา่ น
อีก ๕ รูป คอื พระอาจารยม์ นญู พระอาจารย์สอ พระอาจารยห์ นู พระอรา่ ม พระเดือน พร้อมกับ
โยมผู้เฒ่าท่ีไปรับท่านอีก ๔-๕ คน เดินทางด้วยฝีเท้า มาเรื่อย ๆ มาพักนอนค้างคืนท่ีป่าใกล้บ้าน
ลาดกะเฌอและบา้ นกดุ นำ้� ใส

ส่วนท่านพระอาจารย์หลุย ได้ทราบข่าวว่าคณะของท่านพระอาจารย์มั่นมาถึงบ้านกุดน�้ำใส
และได้พักนอนที่น่ันหน่ึงคืน และขณะนี้ท่านกําลังเดินทางมาที่วัดป่าบ้านหนองผือแล้วด้วย ท่าน
พระอาจารย์หลุยจึงชวนญาติโยมรีบเดินทางไปรับท่าน และได้พบคณะของท่านพระอาจารย์ม่ัน
ในระหวา่ งทาง จึงเข้าไปกราบนมัสการและช่วยขนของบางส่งิ บางอยา่ งท่ีพอจะชว่ ยได้ แล้วเดินทาง
กลับมาพร้อมกับคณะของท่านพระอาจารย์ม่ัน จนถึงวัดป่าบ้านหนองผือ รวมเวลาในการเดินทาง
ประมาณ ๔ คนื ๕ วนั เมอ่ื มาถงึ วดั ปา่ บา้ นหนองผอื กน็ มิ นตใ์ หท้ า่ นขน้ึ พกั อยกู่ ฏุ หิ ลงั หนง่ึ ทเี่ หน็ วา่ ถาวร
ท่ีสุดในสมัยน้นั อย่ตู รงบริเวณใกล้ ๆ ใต้ต้นไมพ้ ยอม ซง่ึ อยทู่ างทศิ เหนอื ของศาลาหลงั ใหญ่ในขณะน้ี

หลงั จากนนั้ ทา่ นกไ็ ดอ้ ยพู่ กั ผอ่ นทาํ ความเพยี รตามอธั ยาศยั พรอ้ มทงั้ ไดอ้ บรมสงั่ สอนพระภกิ ษุ
สามเณรตลอดทั้งญาติโยมมาเรื่อย ๆ พระภิกษุสามเณรก็เริ่มทยอยมากันมากข้ึน จนกระท่ังใกล้จะ
เขา้ พรรษาทา่ นจงึ ไดย้ า้ ยจากกฏุ หิ ลงั ทอ่ี ยเู่ ดมิ ขนึ้ ไปอยทู่ ห่ี อ้ งบนศาลาสวดมนตห์ ลงั เกา่ ซงึ่ มองเหน็ อยู่
ทางทิศตะวนั ตกของศาลาหลังใหญใ่ นขณะน้ี เพื่อใหส้ ะดวกในการตอ้ นรบั พระภกิ ษุสามเณร ตลอด
ทงั้ ญาตโิ ยมที่มากราบนมสั การท่าน เพราะเปน็ สถานท่ีกวา้ งขวางพอสมควรจนออกพรรษา เมื่อออก
พรรษาแลว้ กม็ พี ระภกิ ษสุ ามเณรเขา้ ไปกราบฟงั เทศนก์ บั ทา่ นบา้ ง เขา้ ไปพกั ฝกึ ฝนอบรมขอ้ วตั รปฏบิ ตั ิ
กบั ทา่ น เข้าไปปรึกษาหารือแกไ้ ขปญั หาข้อสงสัยในธรรมะตา่ ง ๆ บ้าง มที งั้ พระภิกษุระดับชัน้ ผู้ใหญ่
เปน็ ทา่ นเจา้ คณุ ถงึ มหาเถระ จนระดบั เลก็ ถงึ สามเณรนอ้ ย ตลอดทง้ั อบุ าสกอบุ าสกิ า (แตย่ งั มไี มม่ าก)
ทยอยกันเข้ามาทกุ สารทิศ

แม้สมัยน้ันบ้านหนองผือยังเป็นบ้านท่ีทุรกันดารมาก ทางสัญจรไปมาก็ลําบาก เพราะเป็น
หมู่บ้านที่ตั้งอยู่แอ่งเขา จะเข้าจะออกต้องเดินด้วยกําลังฝีเท้าข้ามภูเขา มิฉะนั้น ก็ต้องนั่งเกวียน
ออ้ มเขาไปออกทางบ้านหว้ ยบุน่ บา้ นนาเลา ทะลุถึงบา้ นนาเชือก... โคกกะโหลง แลว้ โคง้ ออ้ มไปทาง
บา้ นกดุ ไผ.่ .. บา้ นกดุ กอ้ ม หรอื ไปทางบา้ นโคกเสาขวญั จนถงึ เมอื งพรรณานคิ มไปโนน้ ถงึ อยา่ งนนั้ ผคู้ น
กย็ ังอตุ สา่ หพ์ ยายามดน้ั ดน้ เดนิ ทางเขา้ ไปนมสั การทา่ น โดยไม่เกรงกลวั อนั ตรายใด ๆ ทงั้ สน้ิ ในการ
เดินทาง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ร้าย พวกเสือ พวกหมี พวกงู และไข้มาลาเรียก็ตาม ไม่คํานึงถึง เพราะ

ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั ภรู ทิ ัตตเถระ 299

อรรถธรรม กิตติศัพท์ กิตติคุณ ของท่านพระอาจารย์ม่ัน ผู้ท่ีเดินทางเข้าไปส่วนมากเป็นพระภิกษุ
สามเณร บางทา่ นก็ไปพกั ๓ วัน ๗ วนั ๑๕ วัน บางท่านก็อยจู่ ําพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็เที่ยว
เดนิ ธุดงคต์ อ่ ไป บางทา่ นกอ็ ยู่จําพรรษาประจาํ กบั องค์ทา่ นตลอดจนท่านนิพพานก็มี

สรา้ งกุฏถิ วายท่านพระอาจารย์มน่ั

พ.ศ. ๒๔๘๙ ญาติโยมชาวบ้านหนองผือคิดอยากจะสร้างกุฏิถาวรถวายท่านพระอาจารย์ม่ัน
สักหลังหนึ่ง จึงพากันไปขออนุญาตจากท่าน ตอนแรกท่านไม่อนุญาตให้สร้าง ท่านว่าแค่น้ีก็พอ
อยู่แล้ว ตอ่ มาอกี ไม่นาน ญาตโิ ยมกไ็ ปขอท่านสร้างอีกเปน็ คร้งั ท่ีสอง ทา่ นกไ็ ม่อนญุ าต พอคร้งั ทส่ี าม
ท่านจึงอนุญาตให้สร้าง เม่ือท่านอนุญาตแล้วชาวบ้านญาติโยมจึงพากันจัดเตรียมหาเคร่ืองสัมภาระ
ท่ีใชใ้ นการกอ่ สร้าง เช่นไม้เสาก็ได้จากชาวบา้ นทม่ี ศี รัทธาบรจิ าคให้บ้างจนครบ นอกจากน้ันก็จดั หา
เครื่องประกอบและอปุ กรณ์อย่างอ่นื ๆ เช่น ไม้ทําข่ือ แป ตง กระดานฝาและกระดานพนื้ ตลอดทัง้
ไมก้ ระดานมงุ หลงั คาจนครบทกุ อยา่ งเชน่ กนั ไมท้ ไี่ ดม้ าเหลา่ นี้ บางสว่ นไดม้ าจากการทญี่ าตโิ ยมพรอ้ ม
ครูบาอาจารย์ พระเณรในวัดช่วยกันจัดหามา ส่วนที่ยังไม่พอจึงเป็นหน้าท่ีของผู้ใหญ่บ้านท่ีจะต้อง
ป่าวร้องให้ลูกบ้านช่วยกันจัดหามาจนเพียงพอ จึงลงมือปลูกสร้างได้ เพราะการทํางานทุกอย่าง
ต่อหน้าท่านพระอาจารย์ม่ันนั้นจะต้องระมัดระวังคิดให้รอบคอบ อย่าให้งานนั้นยืดเย้ือยาวนาน
หรือสะดุดหยดุ ลงเสียกลางคัน ให้งานนน้ั ทําไปเปน็ ชว่ ง ๆ และเรยี บรอ้ ย จงึ จะสมทีต่ นเองมีศรทั ธา
อยากจะสรา้ งจริง ๆ

เม่ือวันลงมือปลูกสร้างนั้น ท่านพระอาจารย์ม่ันยังได้ไปเดินดูงานเองด้วย บางคร้ังท่านก็
ตอกตะปูเอง บางคร้ังท่านก็แนะให้โยมผู้เป็นช่างทําตามท่ีท่านต้องการ เช่น ไม้กระดานมุงหลังคา
ท่านบอกว่าอย่าทําเป็นรูปทรงปลายแหลมมันไม่งาม ให้ทําเป็นรูปทรงปลายคร่ึงวงกลมมันจึงงาม
(เดิมไม้กระดานมุงหลังคาจะเป็นแผ่น ๆ ท่ีผ่าจากท่อนซุง ซ่ึงตัดเป็นท่อนยาวขนาดช่วงแขนหน่ึง
แตล่ ะแผน่ ผา่ กวา้ งประมาณคบื กวา่ ๆ กอ่ นจะเอาขนึ้ มงุ หลงั คาเขาจะตอ้ งใชม้ ดี พรา้ โตท้ ค่ี มซอ่ มปลาย
ข้างหน่ึงเสยี ก่อน ทาํ เป็นรปู ทรงปลายแหลมก็มี ทําเปน็ รูปทรงปลายคร่งึ วงกลมกม็ ี แลว้ แต่จะชอบ
แบบไหน แต่ท่านพระอาจารย์ม่ันท่านชอบแบบทรงปลายคร่ึงวงกลม จึงส่ังให้โยมทําแบบทรง
คร่งึ วงกลม)

วนั หนง่ึ โยมคนงานทมี่ าทาํ งาน บางคนนงั่ คยุ กนั บางคนนอนคยุ กนั ไปดว้ ย พอทา่ นพระอาจารย์
มน่ั เห็น ทา่ นกเ็ ดินดง่ิ เขา้ ไปทีโ่ ยมซงึ่ กาํ ลังน่ังนอนคุยกนั อยนู่ ั้น พรอ้ มพดู ข้ึนว่า “โยมเปน็ อะไรหรือ?
ป่วยไข้ไม่สบายหรือ? ถ้าป่วยก็ข้ึนไปนอนซะท่ีบ้าน ไม่ต้องมานอนที่น่ี” พอโยมกลุ่มน้ันได้ฟังแล้วก็
แตกต่นื ออกจากกลมุ่ ไปจับงานน้นั บา้ งงานนีบ้ ้างพอแก้เก้อ ต่อมาไมม่ ีใครกลา้ มาน่ังนอนคยุ กันอ้งู าน
อย่างน้ีอีกเลย จนกระท่ังกุฏิเสร็จขึ้นเป็นหลังเรียบร้อยดังท่ีพวกเราท่านท้ังหลายเห็นเป็นท่ีระลึกอยู่
จนวนั นี้

300 ชีวประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

กฏุ ิหลงั นี้ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ภมู ิพลอดุลยเดช รชั กาลท่ี ๙ และสมเดจ็ พระนางเจา้
พระบรมราชินีนาถ ทรงเคยเสด็จทอดพระเนตรเม่ือปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ในคราวเสด็จทอดพระเนตร
โครงการสร้างฝาย อ่างเก็บน�้ำห้วยหินลาดบ้านนาในและห้วยผึ้งบ้านหนองผือ ตําบลนาใน อําเภอ
พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ต่อมากุฏิหลังน้ีได้จดทะเบียนขึ้นกับกรมศิลปากร เป็นโบราณสถาน
เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๒

ท่านพระอาจารยม์ ั่น ผ้เู ป็นศนู ย์กลางแห่งพระกรรมฐานของศษิ ยานุศษิ ย์

ในชว่ งที่ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ไดพ้ กั จาํ พรรษาอยวู่ ดั ป่าบ้านหนองผอื เป็นเวลาถงึ ๕ พรรษานนั้
มคี รบู าอาจารยห์ ลายทา่ นไดเ้ ขา้ มาอยปู่ ระพฤตปิ ฏบิ ตั ิ อปุ ฏั ฐาก ฝกึ ฝนอบรมธรรมะและขอ้ วตั รปฏบิ ตั ิ
ฟังเทศนก์ ับท่าน โดยจะขอกลา่ วรายนามของครูบาอาจารย์ท่ีรวบรวมได้มาลงในทีน่ ้ี ตามทญี่ าตโิ ยม
ชาวบา้ นหนองผือพอจะจดจําได้ดว้ ยความเคารพอย่างสงู เพื่อให้เป็นเคร่อื งระลกึ ในอนาคตตอ่ ไป

หากพระคุณเจ้ารูปใด เคยไปพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือในสมัยท่านพระอาจารย์ม่ันพักอยู่น้ัน
แตไ่ มม่ รี ายนามในทน่ี ้ี กข็ อได้โปรดให้อภัยด้วย

ก. สําหรับรายนามครูบาอาจารย์ท่ีเคยอยู่ประจําพรรษาวัดป่าหนองผือในช่วงพรรษา
แตล่ ะพรรษา ตลอดจนมาพํานักเปน็ ครง้ั คราวในยุคสมยั ทา่ นพระอาจารยม์ ่ัน ซึ่งมีชีวติ อยู่มดี งั นี้
คือ

๑. พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดปา่ บ้านตาด อาํ เภอเมอื ง จังหวดั อุดรธานี
๒. พระอาจารย์ออ่ นสา สุขกาโร วัดประชาชมุ พลพัฒนาราม บ้านหนองใหญ่ ตาํ บลบ้านจ่ัน
อาํ เภอเมือง จังหวัดอดุ รธานี
๓. พระอาจารย์จนั ทรโ์ สม กติ ตกิ าโร วดั ป่าบา้ นนาสดี า อําเภอบา้ นผอื จังหวดั อดุ รธานี
๔. พระอาจารย์ศรี มหาวโี ร วดั ประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อําเภอเมอื ง จังหวัดรอ้ ยเอ็ด
๕. พระอาจารยแ์ ตงออ่ น กลั ญาณธมั โม วดั โชคไพศาล บา้ นหนองนาหาร อาํ เภอวานรนวิ าส
จงั หวัดสกลนคร
๖. พระอาจารยค์ าํ พอง ตสิ โส วดั ถำ้� กกดู่ ตาํ บลโนนหวาย อาํ เภอหนองววั ซอ จงั หวดั อดุ รธานี
๗. พระอาจารย์ทองคํา ญาโณภาโส (เดมิ ) ปัจจุบัน ฉายา จารุวณั โณ พกั อยู่ในวดั จงั หวัด
กาฬสินธ์ุ
๘. พระอาจารย์อร่าม รักขิตตจิตโต (หลวงพ่อคําไพ สุสิกฺขิโต) วัดหินหมากเป้ง อําเภอ
ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
๙. พระอาจารย์พวง สุขินทริโย วดั ศรธี รรมาราม อาํ เภอเมอื ง จงั หวดั ยโสธร
๑๐. พระอาจารย์วิรยิ ังค์ สริ ินธโร วัดธรรมมงคล พระโขนง กรงุ เทพฯ
๑๑. พระอาจารย์สวุ จั น์ สวุ โจ วดั ป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์

ทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ ภรู ิทตั ตเถระ 301

๑๒. พระอาจารยผ์ า่ น ปญญาปทโี ป วดั ปา่ ปทปี ปญุ าราม อาํ เภออากาศอาํ นวย จงั หวดั สกลนคร
๑๓. พระอาจารยบ์ ญุ มี ปรปิ ุณโณ วดั ปา่ บ้านนาคณู อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
๑๔. พระอาจารย์เพียร วิริโย วัดปา่ หนองกอง อาํ เภอบา้ นผือ จงั หวัดอดุ รธานี
๑๕. พระอาจารย์พวง สุวีโร วดั ปา่ ปลู สู นั ติวฒั นา อาํ เภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
๑๖. พระอาจารยส์ ธุ รรม ธัมมปาโล วดั เทพกลั ยาราม อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
๑๗. สามเณรบญุ เพง็ ปจั จบุ นั คอื พระอาจารยบ์ ญุ เพง็ เขมาภริ โต วดั ถำ�้ กลองเพล อาํ เภอเมอื ง
จังหวดั หนองบัวลําภู
๑๘. สามเณรสมชาย ปจั จุบนั คอื พระอาจารยส์ มชาย ฐติ วิรโิ ย วัดเขาสุกิม อําเภอท่าใหม่
จงั หวดั จนั ทบุรี
ข. รายนามพระคณุ เจา้ ทไ่ี ดจ้ าํ พรรษาทวี่ ดั ปา่ หนองผอื แตม่ รณภาพแลว้ และสบื คน้ หาไมไ่ ด้
ตลอดจนบางทา่ นทไ่ี ม่ทราบฉายา มดี งั น้ี คอื
๑. พระอาจารย์ทองอยู่ (ไมท่ ราบฉายา)
๒. พระอาจารยเ์ นยี ม (ไมท่ ราบฉายา)
๓. พระอาจารย์เนตร กันตสีโล
๔. พระอาจารย์สอ สมุ งั คโล
๕. พระอาจารย์หลยุ จันทสาโร วดั ถ�ำ้ ผาบิง้ จังหวัดเลย
๖. พระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก วัดป่าหนองไคร้ อาํ เภอเมอื ง จงั หวัดยโสธร
๗. หลวงพอ่ ใบ (ไมท่ ราบฉายา)
๘. พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดอภัยดาํ รงธรรม อาํ เภอส่องดาว จังหวดั สกลนคร
๙. พระอาจารย์สที า (ไม่ทราบฉายา)
๑๐. พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ บ้านแวง ตําบลหนองสูงใต้ อําเภอหนองสูง
จงั หวัดมกุ ดาหาร
๑๑. พระอาจารยเ์ ฟ่ือง โชติโก วัดธรรมสถติ อําเภอเมือง จงั หวดั ระยอง
๑๒. พระอาจารย์ผาง จิตฺตคตุ ฺโต วัดอุดมคงคา เขตอาํ เภอมญั จาคีรี จังหวัดขอนแก่น
๑๓. พระอาจารยบ์ ัว สิรปิ ญุ โญ วัดป่าหนองแซง อําเภอหนองววั ซอ จงั หวัดขอนแกน่
๑๔. พระอาจารยจ์ วน กุลเชฎโฐ วัดภูทอก อําเภอศรวี ิไล จังหวัดหนองคาย
๑๕. พระมหาประทปี โชติโก
๑๖. พระอาจารย์สงิ ห์ทอง ธมั มวโร วัดป่าแกว้ บา้ นชุมพล ตําบลค้อใต้ อําเภอสว่างแดนดิน
จังหวัดสกลนคร
๑๗. พระอาจารยพ์ ล (ไม่ทราบฉายา)
๑๘. พระอาจารยม์ นู (ไมท่ ราบฉายา)
๑๙. พระอาจารยท์ องสา พุทฺธธมฺโม

302 ชีวประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

๒๐. พระอาจารย์บุญจนั ทร์ กมโล วดั ป่าสนั ติกาวาส อําเภอไชยวาน จังหวดั อดุ รธานี
๒๑. พระอาจารย์ถวิล (ไมท่ ราบฉายา)
๒๒. พระอาจารยเ์ ดิน (ไม่ทราบฉายา)
๒๓. พระอาจารยเ์ คน (ไมท่ ราบฉายา)
๒๔. พระอาจารย์อ่นุ (ไมท่ ราบฉายา)
๒๕. พระอาจารย์คําดี (ไมท่ ราบฉายา)
๒๖. พระอาจารยแ์ ดง (ไม่ทราบฉายา)
๒๗. พระอาจารยก์ ันทา (ไม่ทราบฉายา)
๒๘. พระอาจารย์บัว จติ ธัมโม
๒๙. พระอาจารย์ทองพนู (ไม่ทราบฉายา)
๓๐. พระอาจารย์สังวาล (ไม่ทราบฉายา)
๓๑. พระกาย กุสลธัมโม (ลาสิกขาแลว้ )
๓๒. สามเณรลี (ไม่ทราบฉายา)
๓๓. สามเณรมณี ยางเด่ียว
๓๔. สามเณรไสว ลูกคํา
๓๕. สามเณรเกษม ทาระแก้ว
๓๖. สามเณรประไทย์ เณธชิ ยั
๓๗. สามเณรดวง อัคพิน
๓๘. สามเณรอําพล (ไม่ทราบฉายา)
๓๙. สามเณรลี
๔๐. สามเณรเถิง
ฯลฯ
ค. รายนามพระเถระทป่ี ระจาํ อยสู่ าํ นกั วดั ปา่ รอบนอก พรอ้ มกบั ลกู ศษิ ยข์ องทา่ น ดงั มรี ายนาม
ตอ่ ไปน้ี คือ
๑. พระอาจารย์ขาว อนาลโย สาํ นกั สงฆ์บ้านโคกมะนาว ตาํ บลนาใน อําเภอพรรณานคิ ม
จังหวดั สกลนคร
๒. พระอาจารย์ฝัน้ อาจาโร วัดปา่ ภธู รพิทักษ์ บา้ นธาตนุ าเวง จงั หวัดสกลนคร
๓. พระอาจารยอ์ อ่ น ญาณสิริ วดั ปา่ โสตถผิ ล บ้านหนองโดก อําเภอพรรณนานคิ ม จงั หวัด
สกลนคร
๔. พระอาจารยก์ ู่ ธมั มทนิ โน วดั ป่ากลางโนนภู่ บ้านกดุ ก้อม อําเภอพรรณนานคิ ม จังหวดั
สกลนคร

ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ภรู ทิ ตั ตเถระ 303

๕. พระอาจารย์กงมา จริ ปุญโญ วดั ดอยธรรมเจดยี ์ อําเภอโคกศรสี พุ รรณ จังหวัดสกลนคร
๖. พระอาจารย์หลุย จันทสาโร สํานักสงฆ์บ้านห้วยบุ่น ตําบลนาใน อําเภอพรรณานิคม
จังหวัดสกลนคร
๗. พระอาจารย์มหาทองสุข สจุ ติ โต วดั ปา่ สทุ ธาวาส อาํ เภอเมือง จังหวัดสกลนคร
๘. พระอาจารยส์ มบรู ณ์ (ไมท่ ราบฉายา) วดั ปา่ นาใน ตาํ บลนาใน อาํ เภอพรรณานคิ ม จงั หวดั
สกลนคร
ง. นอกจากนี้ยังมีพระเถระท้ังหลายท่ีอยู่ห่างไกลต่างจังหวัด ซึ่งมีความเคารพในองค์ท่าน
พระอาจารย์ม่ันมาก ได้เดินทางไปกราบนมสั การท่านพระอาจารย์ม่ันท่ีวดั ป่าบา้ นหนองผือ เปน็
ครัง้ คราวไม่ไดอ้ ยจู่ าํ พรรษา มรี ายนามรวบรวมไดด้ งั น้ี
๑. พระอาจารย์สงิ ห์ ขนั ตยาคโม วัดปา่ สาลวนั จงั หวดั นครราชสมี า
๒. ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จมู พันธโุ ร) วดั โพธสิ มภรณ์ จังหวดั อดุ รธานี
๓. ทา่ นเจา้ คุณพระอริยคณุ าธาร (เส็ง ปุสโส) วดั เขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
๔. ท่านเจา้ คณุ พระอรยิ เวที (เขียน ป.ธ.๙) วัดสทุ ธจินดา จงั หวัดนครราชสมี า
๕. ทา่ นพอ่ ลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จงั หวดั สมุทรปราการ
๖. ท่านเจ้าคณุ ปราจนี จังหวดั ปราจนี
๗. พระอาจารย์พรหม จิรปุญโญ วดั ปา่ ดงเยน็ อําเภอบา้ นดงุ จงั หวัดอุดรธานี
๘. พระอาจารยเ์ ทสก์ เทสรงั สี วดั อรัญญวาสี อําเภอท่าบ่อ จงั หวดั หนองคาย
๙. พระอาจารยส์ าร (ไม่ทราบฉายา)
๑๐. พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม วดั ป่าสมั มานสุ รณ์ อาํ เภอวังสะพงุ จังหวดั เลย
๑๑. พระอาจารย์ชา สภุ ทั โท วดั หนองป่าพง อาํ เภอวารนิ ชําราบ จงั หวดั อุบลราชธานี
หมายเหตุ ยงั มอี ีกมากแตไ่ มส่ ามารถสืบคน้ ได้

เอกสาร

ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปนั โน. เมตตาธรรมของทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตั ตเถระ. ในหนงั สอื
บูรพาจารย์. พิมพ์คร้ังท่ี ๑. บริษัท ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จ�ำกัด กรุงเทพฯ.
๒๕๔๓ : ๙๖-๑๒๑.

304 ชวี ประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

ปกณิ กธรรม
ของ ท่านพระอาจารย์ม่นั ภูรทิ ตั ตเถระ

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พํานักอยู่วัดป่าหนองผือ ติดต่อกันมา ๕ พรรษาน้ัน
(ปี ๒๔๘๘-๒๔๙๒) ได้มีเหตุการณ์สําคัญเกิดขึ้นกับชาวหนองผือหลายเหตุการณ์ ด้วยเมตตาธรรม
ของท่านพระอาจารย์มั่น ได้อนุเคราะห์อบรมสั่งสอนและปลูกฝังในหลักปฏิบัติท่ีถูกต้องตามหลัก
พุทธศาสนาให้แก่ชาวหนองผือและศรทั ธาญาติโยมรวมทั้งฆราวาสจากทีอ่ ืน่ ๆ ซึง่ ลว้ นเป็นคตธิ รรม
สอนใจแก่บุคคลท่ีเกิดภายหลัง เร่ืองราวที่นํามาเล่าน้ีได้หยิบยกมาจากคนเฒ่าคนแก่ท่ีเคยใกล้ชิด
ปฏบิ ตั อิ ปุ ฏั ฐากทา่ นพระอาจารยม์ นั่ และนาํ มาจากทา่ นทเี่ คยประสบเหตกุ ารณแ์ ละเลา่ เรอ่ื งสบื ตอ่ กนั
มาบา้ ง เหตกุ ารณท์ นี่ าํ มาเลา่ นน้ั อาจไมเ่ รยี งตามลาํ ดบั แตจ่ ะเลา่ ตามเรอ่ื งทไี่ ดย้ นิ ไดฟ้ งั เปน็ เรอ่ื ง ๆ ไป

“สาละแวก ปลาแดกใสต่ ุ้ม
ปลาเกา่ กะบ่ได้ ปลาใหมก่ ะบม่ ี
เอาบุญหยงั ฮ้ึ... พ่อออกแม่ออกม้อื วานน้”ี
สาละแวก ปลาแดกใส่ต้มุ เร่อื งน้ันมีความหมายวา่ การท่ญี าตโิ ยมตั้งขบวนหามขบวนแหพ่ ระ
อย่างนั้นเป็นการอันไม่สมควร ไม่ถูกต้อง ไม่เคารพสถานที่และครูบาอาจารย์ เป็นความผิดแผก
แหวกแนวประเพณีของนักปฏิบัติ ผิดทั้งฝ่ายโยม ทั้งฝ่ายพระ พระผู้ถูกหามไม่ป่วยไม่ชราอาพาธ
ก็ผิดพระวินัย พระก็เป็นโทษเป็นอาบัติ เป็นบาปเป็นกรรม ฝ่ายญาติโยมเป็นผู้ส่งเสริมความผิด
ทาํ ใหพ้ ระผดิ พระวนิ ยั ญาตโิ ยมกพ็ ลอยไดร้ บั โทษไปดว้ ยเชน่ กนั ฉะนนั้ การทญี่ าตโิ ยม คดิ วา่ เปน็ การ
ทําเอาบุญเอากุศลในคร้ังน้ีนั้น ก็เลยไม่ได้อะไร บุญเก่าก็หดหาย บุญใหม่ก็ไม่ได้ เป็นการกระทํา
อนั เปล่าประโยชน์

๑. ต้อนรบั ทา่ นเจ้าคุณพระราชาคณะ

มีท่านเจ้าคุณพระราชาคณะช้ันผู้ใหญ่รูปหน่ึง ซึ่งมีตําแหน่งระดับรองเจ้าคณะมณฑลเคยเป็น
ลูกศิษย์ของท่าน พํานักอยู่วัดท่ีกรุงเทพมหานคร อยากจะเข้ากราบนมัสการท่านพระอาจารย์ม่ันท่ี
วดั ปา่ บา้ นหนองผอื ขา่ วคราวนร้ี สู้ กึ วา่ เปน็ งานทใ่ี หญโ่ ตมโหฬารยง่ิ ระดบั คณะสงฆข์ องจงั หวดั สกลนคร
เลยทีเดียว และเป็นงานท่ีมียศมีเกียรติมากของข้าราชการ ตลอดท้ังชาวบ้านหนองผือและหมู่บ้าน
ใกลเ้ คยี งในสมัยน้ัน ต่างกจ็ ะได้ตอ้ นรับพระราชาคณะระดับสูงสักครั้งหนง่ึ เพราะนาน ๆ ที จึงจะได้
มีงานต้อนรับพระราชาคณะชั้นสูง ท่ีเดินทางมาจากกรุงเทพมหานครเข้ามาเยี่ยมเยียนหมู่บ้านนอก
คอกนาอยา่ งพวกเขา ดงั นน้ั พวกเขาจึงมีความปลม้ื ปตี ิใจเป็นอยา่ งมาก

ในทสี่ ดุ ขา่ วทางอาํ เภอพรรณานคิ มสง่ั มาใหค้ ณะสงฆใ์ นเขตตาํ บลนาใน พรอ้ มทง้ั ขา้ ราชการครู
กาํ นัน ผูใ้ หญบ่ ้านและลกู บา้ น ให้ตระเตรยี มจดั การตอ้ นรบั ทา่ นอยา่ งเปน็ ทางการ จากน้นั ชาวบา้ น

ทา่ นพระอาจารย์มั่น ภูรทิ ัตตเถระ 305

หนองผือและหมู่บ้านใกล้เคียงจึงได้จัดเตรียมขบวนต้อนรับอย่างสมเกียรติ มีประชาชนคนเฒ่าคน
แก่และหน่มุ สาวตลอดทัง้ พวกเด็ก ๆ กไ็ ปด้วย โดยไปรอตอ้ นรับกนั ทีท่ างเข้า ณ บา้ นห้วยบุ่น เป็น
ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร เพราะท่านเจ้าคุณพระราชาคณะนั้นจะน่ังเกวียนเทียมวัวจาก
ตัวอําเภอพรรณานิคม มาตามทางเกวียนเลาะเลียบเขาและอ้อมเขามาลงที่บ้านห้วยบุ่น ซ่ึงเป็น
จดุ ต้อนรบั ของประชาชนชาวตาํ บลนาใน

ไม่นานคณะของท่านเจ้าคุณก็มาถึง และได้เปลี่ยนจากนั่งเกวียนมาข้ึนแคร่หาม ซ่ึงชาวบ้าน
หนองผือจัดเตรียมตกแต่งไว้รอท่าเรียบร้อยแล้ว เม่ือท่านขึ้นแคร่หามเรียบร้อยก็พากันหามออก
หน้าขบวน โดยมีประชาชนท่ีไปต้อนรับแห่ขบวนตามหลัง มีฆ้องตีแห่ไปด้วยอันเป็นประเพณี
สนุกสนานตามประสาชาวบา้ นมาเร่ือย ๆ ตามทางเกวยี นจนเขา้ มาถงึ หมู่บ้านหนองผอื ผา่ นบ้านเลย
ลงทงุ่ นาม่งุ สู่วัดปา่ ฯ อันเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทาง

สําหรับภายในวัดป่าฯ พระภิกษุสามเณรทุกรูปได้ลงมาเตรียมรอต้อนรับท่านที่ศาลาทั้งหมด
พระอาจารย์มั่นก็อยู่บนศาลาเช่นกัน ในขณะน้ันพวกขบวนแห่ก็เคลื่อนใกล้เข้ามาทุกที มาถึงประตู
ทางเข้าวดั เคล่ือนมาเรอ่ื ย ๆ ในที่สดุ ขบวนแหก่ เ็ คลื่อนมาถงึ บริเวณศาลาท่เี ตรียมตอ้ นรบั และยังคดิ
ที่จะหามแห่เวียนรอบศาลาสามรอบตามประเพณี ทันใดน้ัน เสียงของท่านพระอาจารย์ม่ันก็ดังขึ้น
เล็ดลอดออกมาจากภายในศาลา เสียงของท่านดังมาก ชัดเจนเป็นสําเนียงภาษาท้องถ่ินอีสาน
ขนานแทว้ า่

“เอาบุญหยังฮ้ึ..พ่อออก? พ่อออกเอาบุญหยัง..? บุญเดือนสามกะบ่แม่น เดือนหกกะบ่แม่น
เอาบุญหยงั ..ละ่ ...พ่อออก”

(หมายความว่า ทําบุญอะไรหรือโยม โยมทําบุญอะไร? ทําบุญเดือนสามก็ไม่ใช่ บุญเดือนหก
ก็ไม่ใช)่ ทา่ นพดู เนน้ และย้ำ� อยู่อยา่ งน้ัน จนทําให้พวกขบวนหามแห่พวกตฆี ้อง ตีกลอง แปลกใจและ
ตกใจกลัวเสียงของท่านมาก และพากันหลบหน้าหลบตาหายลับไปกับฝูงชน ส่วนพวกท่ีกําลังหาม
พระราชาคณะรูปนั้นก็กลัวท่านเหมือนกัน แต่งจะทําอย่างไรได้ จึงต้องจําใจหามท่านเข้าไปจนถึง
ระเบยี งศาลา โดยหามเอาขอบของแคร่ เขา้ ไปชดิ กบั ขอบระเบยี งศาลา แลว้ ทา่ นเจา้ คณุ ฯ กล็ กุ ขนึ้ ยนื
ก้าวเท้าเหยียบขอบระเบียงศาลาเดินเข้าไปภายใน ยืนลดผ้าห่มจีวรเฉวียงบ่าให้เรียบร้อยสักครู่หนึ่ง
จึงเดินเขา้ ไปยังอาสนส์ งฆ์ แล้วกราบนมสั การพระประธานเสรจ็ แล้วจงึ น่งั บนอาสนะทจี่ ัดไว้

ฝา่ ยญาตโิ ยมทแ่ี หห่ ามทา่ นมาเหน็ วา่ หมดธรุ ะแลว้ จงึ เกบ็ สมั ภาระแครห่ ามและเครอ่ื งของตา่ ง ๆ
ไปไวท้ เ่ี ดมิ ในขณะทผี่ คู้ นกาํ ลงั วนุ่ วายกนั อยนู่ นั้ ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ทา่ นกย็ งั พดู ซำ้� แลว้ ซำ้� เลา่ คลา้ ย
ๆ จะใหร้ วู้ า่ งานขบวนหามขบวนแหพ่ ระในครง้ั นม้ี คี วามผดิ ทา่ นจงึ พดู เสยี งดงั ผดิ ปกติ จากนน้ั ทา่ นก็
ไมไ่ ดพ้ ดู อะไรอกี ทา่ นไดเ้ ขา้ ไปตอ้ นรบั พดู จาปราศรยั กบั ทา่ นเจา้ คณุ ฯ ถงึ ตอนกลางคนื วนั นนั้ ทา่ นกไ็ ด้
ประชุมพระเณร เขา้ ใจว่าคงจะไดฟ้ งั เทศนก์ ณั ฑ์หนักเหมือนกนั ญาติโยมหนองผือบางคนสมัยนัน้ มกั
ไปแอบฟงั เทศนท์ า่ นทใ่ี ตถ้ นุ ศาลา ขณะทที่ า่ นพระอาจารยม์ นั่ กาํ ลงั เทศนอ์ บรมพระเณรในตอนกลาง
คนื อยู่เสมอ ๆ ประมาณ ๔-๕ คน

306 ชวี ประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

คนื นกี้ เ็ ปน็ นกั แอบฟงั เหมอื นเชน่ เคย แตค่ ราวนไ้ี ปกนั หลายคน เพราะมเี หตใุ หส้ นใจหลายอยา่ ง
มที า่ นเจ้าคณะรูปนั้นมาแบบมีเกยี รตินีห้ นึง่ และเพอ่ื มาฟังเรื่องราวต่าง ๆ ท่ีเกิดขนึ้ ในตอนกลางวัน
นนั้ หนง่ึ มาถงึ แลว้ กเ็ ขา้ ไปแอบอยทู่ ใ่ี ตถ้ นุ ศาลานนั่ เอง ขณะนน้ั ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั กาํ ลงั เทศนอ์ บรม
พระเณรอยู่ ตอนแรกทา่ นพระอาจารยม์ ั่นทา่ นคงจะยงั ไมร่ วู้ า่ มโี ยมมาแอบฟงั บงั เอิญมีโยมคนหนึ่ง
วางกระปอ๋ งยาสบู ไว้ในทมี่ ืด ฟงั เพลิน มือคว้าไปสะดุดกระป๋องยาสบู เข้า ทาํ ให้เกดิ เสยี งดงั ข้ึน ท่าน
ไดย้ นิ จึงพดู ขน้ึ วา่ “พ่อออกกม็ าเนอะ” (หมายความวา่ โยมก็มาฟังดว้ ย)

การแอบฟงั ของญาตโิ ยมในคนื นน้ั กท็ าํ ใหร้ เู้ รอื่ งราวหลายอยา่ ง สว่ นมากเปน็ เรอื่ งการประพฤติ
ปฏบิ ตั พิ ระวนิ ยั ของพระภกิ ษสุ ามเณร ตลอดทง้ั กริ ยิ ามารยาทอยา่ งอนื่ ทยี่ งั ไมเ่ หมาะสมกบั สมณสารปู
และอีกเร่ืองหนึ่งเกี่ยวกับการรวมคณะสงฆ์ทั้งสองให้เป็นคณะเดียว อาจเนื่องมาจากท่านเจ้าคณะ
รองภาคฯ รปู นัน้ มาปรึกษาขอความเห็นจากท่านพระอาจารยม์ ่นั กเ็ ป็นได้ และทา่ นกไ็ ดเ้ ทศนอ์ บรม
พระเณรในคนื นน้ั เปน็ พเิ ศษจนดกึ ลว้ นแตเ่ ปน็ เรอื่ งราวทเี่ ขม้ ขน้ ทงั้ นน้ั เทศนถ์ งึ ความผดิ ของพระเณร
แล้วก็โยงมาถึงความผิดของญาติโยม เพราะไม่มีใครสอนเขาให้เข้าใจ พวกเขาก็เลยไม่รู้ว่าอะไรผิด
อะไรถูก ที่ผิดก็เลยพากันผิดมาเร่ือย ๆ จนบางเรื่องก็แก้ไขไม่ได้ ติดเป็นประเพณีนิยมสืบต่อกันมา
ก็มี แตเ่ หตกุ ารณ์ครัง้ น้ีไมไ่ ดห้ ยดุ อยู่เพียงแคน่ นั้ ท่านไดเ้ รมิ่ จดุ ที่จะสอนญาตโิ ยมชาวหนองผอื ต่อไป

ตอนเช้าท่านพระอาจารย์ม่ันพร้อมท้ังพระเณรทุกรูปเข้าไปบิณฑบาตภายในหมู่บ้านหนองผือ
ตามปกตชิ าวบ้านจะรอใสบ่ าตรกันเปน็ กลุม่ ๆ ละ ๓๐-๔๐ คน มที ั้งหมด ๔ กลมุ่ พอพระเณรมาถึง
ละแวกบ้าน จะมีโยมประจําคนหน่ึงซึ่งมีบ้านอยู่ต้นทางก็จะตีเกราะเคาะไม้เป็นสัญญาณเตือนก่อน
จากนั้นพระเณรก็เดินเป็นแถวตามลําดับพรรษาเข้าไปยังหมู่บ้าน ฝ่ายญาติโยมที่จะใส่บาตรจะยืน
เรียงแถวยาวไปตามถนนเป็นกลุ่ม ๆ ไป

วนั นก้ี เ็ ชน่ กนั พระเจา้ พระสงฆก์ ไ็ ปรบั บณิ ฑบาตเหมอื นเชน่ เคย มที า่ นพระอาจารยม์ น่ั เปน็ องค์
นําหน้า พอไปถึงกลุ่มแรกท่านพระอาจารย์มั่นก็พูดขึ้นเสียงดังชัดเจนแต่เป็นประโยคใหม่แปลกกว่า
คาํ พูดเม่ือวานนี้ เปน็ สาํ เนียงภาษาอีสานวา่

“สาละแวก ปลาแดกใส่ตุ้ม ปลาเก่ากะบไ่ ด้ ปลาใหม่กะบ่ได้ เอาบุญหยังฮึ.้ . พอ่ ออกแม่ออก
ม้ือวานนี้ สาละแวก ปลาแดกใสต่ ุม้ ...”

ทา่ นพดู อย่างนัน้ ไปเร่อื ย ๆ ซ�้ำแลว้ ซ้ำ� เล่า พดู กบั ญาติโยมทกุ กลุ่มทร่ี อใสบ่ าตรจนตลอดสาย
ตอนแรกญาติโยมชาวบ้านก็แปลกใจและงง ไม่เข้าใจความหมายในคําพูดของท่าน แต่ท่าน
ก็พูดของท่านอย่างน้ันไปเร่ือย ๆ ภายหลังมาพวกชาวบ้านจึงเข้าใจความหมายและเรื่องราวต่าง ๆ
ท่ีท่านพูดน้ันจากพระเณรภายในวัดซ่ึงได้เล่าหรืออธิบาย ให้ญาติโยมท่ีไปจังหันท่ีวัดในตอนเช้าฟัง
เมื่อพวกโยมเหลา่ นัน้ กลบั มาบ้านก็ไดบ้ อกเลา่ เรือ่ งเหลา่ น้ันใหแ้ กช่ าวบา้ นคนอื่น ๆ ทราบอกี ที และ
เลา่ ต่อ ๆ มาจนถงึ ทุกวนั น้ี
เรื่องน้ันมีความหมายว่า การที่ญาติโยมต้ังขบวนหามขบวนแห่พระอย่างน้ันเป็นการอัน
ไมส่ มควร ไมถ่ กู ตอ้ ง ไม่เคารพสถานทแี่ ละครูบาอาจารย์ เป็นความผดิ แผกแหวกแนวประเพณขี อง

ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั ภูรทิ ตั ตเถระ 307

นกั ปฏบิ ตั ิ ผดิ ทง้ั ฝา่ ยโยม ทงั้ ฝา่ ยพระ พระผถู้ กู หามไมป่ ว่ ยไมช่ ราอาพาธกผ็ ดิ พระวนิ ยั พระกเ็ ปน็ โทษ
เป็นอาบัติเป็นบาปเป็นกรรม ฝ่ายญาติโยมเป็นผู้ส่งเสริมความผิดทําให้พระผิดพระวินัย ญาติโยม
ก็พลอยได้รับโทษไปด้วยเช่นกัน ฉะนั้น การที่ญาติโยมคิดว่าเป็นการทําเอาบุญเอากุศลในคร้ังน้ีน้ัน
กเ็ ลยไมไ่ ด้อะไร บุญเก่าก็หดหาย บญุ ใหม่กไ็ มไ่ ด้ เป็นการกระทําอันเปล่าประโยชน์

ภายหลังชาวบ้านจึงพากันจําใส่ใจตลอดมาและไม่กล้าทําประเพณีอย่างน้ีอีกเลย จึงได้พากัน
เล่าสืบต่อมาจนถึงทุกวันน้ี ถือว่าเป็นอุบายการสั่งสอนของท่านพระอาจารย์มั่นท่ีชาญฉลาดย่ิงจน
ชาวบา้ นหนองผือไดร้ ูว้ ่าอะไรผดิ อะไรถูกบา้ งมาจนทกุ วันน้ี

อันเก่ียวกับเรื่องของความตายและคนกลวั ตายวา่ เป็นเพราะไม่มีทีพ่ ึ่งทางจิตใจ หรือไมร่ ทู้ ีพ่ ึง่
อนั เกษมอันอุดม จงึ กลัวการตายแต่ไม่กลวั การเกิด เมอ่ื เปน็ เช่นนจ้ี งึ คว้าโนน้ คว้านี้เปน็ ท่พี งึ่ บางคน
กลัวตายแล้วไปไขว่คว้าเอาส่ิงอ่ืนมาเป็นที่พึ่ง ที่เคารพนับถือด้วยความงมงาย มีการอ้อนวอน
วงิ วอนขอ โดยวธิ บี นบานศาลกลา่ วจากเถอ่ื นถำ้� ...

ท่ีพึ่งอันอุดมม่ันคงนั้นคือให้ภาวนาน้อมรําลึกเอาพระคุณอันวิเศษของพระพุทธเจ้าพร้อม
พระธรรมและพระอริยสงฆ์มาเป็นท่ียึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ จึงจะเป็นการถูกต้องสมกับที่พวกเรา
เป็นผู้รับนับถือเอาพระรัตนตรัยมาเป็นท่ีพ่ึงประจํากายใจของตน และอีกอย่างให้ประพฤติปฏิบัติ
ตามหลักของอบุ าสก อบุ าสิกา มีการให้ทาน รกั ษาศีล และเจริญเมตตาภาวนา

๒. ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั รบั นมิ นตส์ วดมนต์ในบา้ น

ครั้งนั้นชาวบ้านหนองผือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นก็คือเกิดโรคระบาดชนิดหน่ึง
อย่างรุนแรง มีคนตายเกือบทุกวันครั้งละ ๑-๒ คน แต่ละวันต้องเอาคนตายไปฝังไปเผาอยู่เสมอ
จนทําให้ผู้คนประชาชนแตกต่ืนกลัวกันมาก ไม่รู้ว่าจะทําประการใด บางคนก็คิดอยากอพยพร้ือ
บ้านเรอื นหนีไปอยู่ถิ่นอ่นื แตก่ ย็ ังลังเลใจอยู่ ไมก่ ลา้ ตดั สนิ ใจ เพราะบ้านหนองผือนีย้ งั เป็นหม่บู า้ นท่ี
อุดมสมบรู ณ์อยมู่ าก และเปน็ หมบู่ ้านท่ีตั้งมานมนานพอสมควร ถ้าจะปลอ่ ยให้วา่ งเปล่าอยกู่ ร็ ้สู กึ ว่า
ว้าเหว่มาก หมดทพี่ ่ึงทอี่ าศยั ในตอนนี้ชาวหนองผือหดหูใ่ จกนั มาก ท้งั กลวั โรคระบาดชนิดน้ีจะมาถึง
ตวั ในวันใดคนื ใดกไ็ มอ่ าจรไู้ ด้ การรักษาหยกู ยาในสมยั นนั้ มีแต่รากไมส้ มุนไพรต่าง ๆ เท่านัน้ กินได้
ไมค่ อ่ ยจะหาย นอกจากนน้ั บางคนกว็ กไปหาหมอผที าํ พธิ ไี สยศาสตรเ์ สกเปา่ ตา่ ง ๆ กม็ ี คอื ทาํ ทกุ วถิ ที าง
เพ่ือจะใหห้ ายเพราะความกลัวตาย

เมื่อเป็นอย่อู ย่างนชี้ าวบ้านกม็ ีความทกุ ข์ความลําบากใจ บางคนก็หมดอาลยั ตายอยากในชีวติ
ตกตอนกลางคืนมาก็พากันเข้าห้องนอนกันเงียบ ไม่มีใครกล้าจะออกมาเพ่นพล่านตามถนนหนทาง
กันเลย ในท่ีสุดพวกคนวัดคนวาคนเฒ่าคนแก่ผู้รู้หลักนักปราชญ์ พิธีในทางพุทธศาสนาจึงพากัน
ตกลงวา่ ตอ้ งทาํ พธิ บี ญุ ชาํ ระกลางหมบู่ า้ นปดั รงั ควาน ตามประเพณโี บราณนยิ มของภาคอสี านสมยั นน้ั
แต่ก็มีปัญหาเล็กน้อย เนื่องด้วยชาวบ้านหนองผือมีความเคารพและเกรงกลัวท่านพระอาจารย์ม่ัน

308 ชีวประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

มาก งานการอะไรท่ีคดิ ว่าไมส่ มเหตุสมผลกไ็ มอ่ ยากจะให้ถงึ ทา่ น แต่ถา้ ไม่ถึงท่านก็ไม่ไดอ้ กี เพราะวา่
งานพธิ บี ญุ ในครงั้ นจ้ี าํ เปน็ ตอ้ งนมิ นตพ์ ระสงฆไ์ ปเจรญิ พระพทุ ธมนตท์ ป่ี ะราํ พธิ กี ลางบา้ นดว้ ย สาํ หรบั
พวกโยมเจา้ พธิ ที ง้ั หลายตา่ งกพ็ ะวกั พะวนใจอยวู่ า่ จะตดั สนิ ใจกนั อยา่ งไร สดุ ทา้ ยจงึ ตกลงใหโ้ ยมผชู้ าย
คนใดคนหน่ึงเข้าไปปรึกษาหารือกับท่านพระอาจารย์มั่นท่ีวัดป่าฯ ดูก่อน ในตอนนี้โยมบางท่าน
กลัวท่านพระอาจารย์มาก ไม่กลา้ ขอตวั ไมเ่ ป็นผูเ้ ขา้ ไปปรึกษาหารือกับทา่ น

ในท่ีสุดจึงได้มอบหมายหน้าท่ีให้โยมผู้ชายคนหนึ่งซึ่งมีความกล้าหน่อย ซึ่งเขาเคยบวชพระ
มานานพอสมควร แต่ลาสิกขามามีครอบครวั แลว้ เป็นผเู้ ข้าไปปรกึ ษาเร่ืองนีก้ บั ทา่ นพระอาจารย์มนั่
เขาชอ่ื อาจารยบ์ ู่ นามสกลุ ศนู ย์จันทร๑์ (ขณะนบ้ี วชเป็นพระ พกั อยู่สาํ นักสงฆ์ดานกอย) ท่านเล่าว่า
“ตอนแรกก็กลัวท่านเหมือนกันแต่ดแู ล้วคนอื่นเขาไม่กล้าเลยตดั สนิ ใจรับว่า ตายเป็นตายแตย่ ังอุน่ ใจ
อยู่อย่างหนึ่งว่า ท่านเป็นพระระดับน้ี ผิดถูกอย่างไรท่านคงจะบอกสอนเรา อาจเป็นว่าเราคิดมาก
ไปเองกไ็ ด”้ โยมอาจารยบ์ ู่ ท่านจงึ ตกลงไปท่วี ัดป่าฯ เพือ่ เข้าไปหาท่านพระอาจารยม์ น่ั

เมื่อไปถึงวัด ขณะน้ันท่านพระอาจารย์ม่ันกําลังน่ังอยู่ท่ีอาสนะหน้าห้องกุฏิท่าน หลวงพ่อบู่
เลา่ วา่ ก่อนทจ่ี ะกา้ วเดนิ ขึ้นบันไดกฏุ ิทา่ นนั้น รสู้ กึ วา่ ใจมันตบี ตนั ไปหมด จึงอดใจก้าวเท้าจนกระทัง่
เทา้ เหยยี บขน้ั บนั ไดขน้ั แรกและขนั้ ทสี่ อง พรอ้ มกบั ศรี ษะตวั เองโผลข่ น้ึ ไปพอมองเหน็ ทา่ นพระอาจารย์
มั่น ท่านจึงหันหน้าควับมาพร้อมกับกล่าวข้ึนก่อนว่า “ไปหย่ังพ่อออกจารย์บู่” ตอนนี้จึงทําให้โยม
อาจารยบ์ โู่ ลง่ อกโลง่ ใจ จติ ใจท่ีตีบตนั ก็หายไป มคี วามปลอดโปรง่ ขน้ึ มาแทนที่ จงึ เดินขึ้นบันไดแล้ว
คลานเข้าไปกราบทา่ น เสรจ็ แลว้ เลา่ เรอ่ื งราวความเปน็ มาต่าง ๆ ใหท้ ่านทราบ

ท่านพระอาจารย์ม่ันฟังเสร็จได้หลับตาลงนิดหน่ึง เม่ือลืมตาขึ้นมาท่านพูดว่า “มันสิเป็นหยัง
เมืองเวสาลี เกิดโรคระบาดฮ้อนฮนคนตายกองกันปานอึง่ พระพุทธเจ้าใหไ้ ปสวดพระพุทธมนต์คาถา
บทเดียว ความฮ้อนฮนหมู่นั้นจึงหายไปหมดสิ้น...เอาทอนี่ละน้อ” ท่านพูดเสร็จแล้วก็ไม่ได้พูดอะไร
ตอ่ ไปอกี เนอ้ื ความนน้ั หมายความวา่ “จะเปน็ อะไรไป เมืองเวสาลคี ราวน้นั เกดิ โรคระบาดรอ้ นรน
อนธกาล มผี คู้ นนอนตายกนั เหมอื นกบั องึ่ กบั เขยี ด พระพทุ ธเจา้ ใหไ้ ปเจรญิ พระพทุ ธมนต์ เรอื่ งราว
ความเดอื ดรอ้ นตา่ ง ๆ เหลา่ นนั้ กห็ ายไปจนหมดสนิ้ ” หลวงพอ่ บเู่ ลา่ วา่ เมอ่ื ไดฟ้ งั ทา่ นพระอาจารยม์ นั่
พูดอย่างนั้นแล้ว รู้สึกมีความดีใจมาก เกิดมีกําลังใจขึ้นมาเป็นอย่างย่ิง จึงขอโอกาสกราบลาท่าน
พระอาจารยม์ น่ั ลงจากกฏุ ทิ า่ นไป แลว้ รบี กลบั บา้ นไปปา่ วรอ้ งใหช้ าวบา้ นทราบวา่ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั
อนุญาตแล้ว ใหพ้ วกเราพากนั จดั การเตรียมสรา้ งปะราํ พธิ ใี หเ้ รียบรอ้ ย

ชาวบา้ นตา่ งคนกต็ า่ งดใี จมาก พากนั จดั แจงปลกู ปะราํ พธิ กี ลางบา้ นเสรจ็ ในวนั นน้ั นอกจากนน้ั
ยังจัดหาอาสนะ ผ้าขาวก้ันแดด กระโถน กานำ้� ตลอดท้งั เคร่อื งประกอบตา่ ง ๆ ในพิธใี หค้ รบถ้วน
หมดทุกอย่าง เม่ือพร้อมแล้วได้วันได้เวลาจึงไปอาราธนานิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์

๑ ชาวหนองผอื ผ้อู ยใู่ นเหตกุ ารณ์สมยั หลวงปู่มั่นมาจาํ พรรษาทว่ี ัดป่าหนองผือ

ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภรู ทิ ตั ตเถระ 309

งานน้ีเห็นว่าทํากันสองวัน วันแรกท่านพระอาจารย์ม่ันไม่ได้ข้ึนมาสวดด้วย ท่านจัดให้พระสงฆ์
ภายในวัดขึ้นมาสวดก่อน ต่อเม่ือวันสุดท้ายท่านจึงขึ้นมา ตอนน้ีหลวงพ่อบู่เล่าว่า ท่านเดินข้ึนมา
สวดมนต์ในงานด้วยเทา้ เปล่า ไมส่ วมรองเทา้ รวมทงั้ พระตดิ ตามอีก ๓-๔ รปู กเ็ หมือนกนั ฝ่ายทาง
ปะรําพิธีพวกญาติโยมก็เตรียมน�้ำสําหรับล้างเท้าไว้รอท่าอยู่ก่อนแล้ว ท่านเดินทางมาถึงหน้า
ปะรําพธิ ี มีโยมคนหน่ึงเตรยี มล้างเท้า อกี คนหนึ่งเป็นคนคอยเชด็ ทาํ ไปจนเสร็จหมดทกุ รปู เมื่อทา่ น
ข้ึนไปนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ทุกรูปแล้ว โยมก็เข้าไปประเคนน�้ำ หมากพลูบุหรี่ สักครู่ท่านเร่ิมทําพิธี
สวดพระพุทธมนต์ เพราะญาตโิ ยมเขามานงั่ รอท่าก่อนพระสงฆ์จะมาถงึ แล้ว

หลวงพอ่ บเู่ ลา่ วา่ พธิ ใี นวนั นนั้ ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ทา่ นนาํ พระสวดพระพทุ ธมนตเ์ พยี งสองหรอื
สามสตู รเทา่ นนั้ ทจ่ี าํ ไดม้ รี ตั นสตู รและกรณยี เมตตสตู ร ไมน่ านกจ็ บลง หลงั จากนน้ั ทา่ นพระอาจารย์
มั่นได้เทศน์อบรมฉลองพวกญาติโยมท่ีมาร่วมในงานน้ัน “อันเก่ียวกับเร่ืองของความตายและคน
กลวั ตายวา่ เปน็ เพราะไมม่ ที พี่ ง่ึ ทางจติ ใจ หรอื ไมร่ ทู้ พ่ี งึ่ อนั เกษมอนั อดุ ม จงึ กลวั การตายแตไ่ มก่ ลวั
การเกดิ เมอื่ เปน็ เชน่ นจ้ี งึ ควา้ โนน้ ควา้ นเ้ี ปน็ ทพ่ี ง่ึ บางคนกลวั ตายแลว้ ไปไขวค่ วา้ เอาสงิ่ อน่ื มาเปน็
ที่พ่ึงท่ีเคารพนับถือด้วยความงมงาย มีการอ้อนวอน วิงวอนขอ โดยวิธีบนบานศาลกล่าวจาก
เถอ่ื นถำ้� และภูผา ตน้ ไมใ้ หญ่ ศาลพระภมู ิ เจ้าทเี่ จา้ ทางตา่ ง ๆ ทต่ี นเองเขา้ ใจวา่ เปน็ ทสี่ ถติ อย่ขู อง
สง่ิ ศักดส์ิ ิทธิ์ท้ังหลาย อันอาจดลบันดาลใหช้ วี ติ ตนรอดพน้ จากอนั ตรายความตายและความทกุ ข์
ได้ จงึ หลงพากนั เซน่ สรวงดว้ ยเครอ่ื งสงั เวยตา่ ง ๆ ตามทต่ี นเองเขา้ ใจวา่ เจา้ ของสถานทเ่ี หลา่ นน้ั
จะพอใจหรอื ชอบใจ นอกจากนน้ั ยงั มกี ารทรงเจา้ เขา้ ผี สะเดาะเคราะห์ สะเดาะนาม สบื ชะตาราศี
ตัดกรรมตดั เวรโดยวธิ ีต่าง ๆ เหลา่ นี้”

ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั เทศนต์ อ่ ไปอกี วา่ “ทพี่ ง่ึ อนั อดุ มมนั่ คงนนั้ คอื ใหภ้ าวนานอ้ มราํ ลกึ นกึ เอา
พระคุณอันวิเศษของพระพุทธเจ้า พร้อมพระธรรมและพระอริยสงฆ์มาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้าน
จติ ใจ จงึ จะเปน็ การถกู ตอ้ งสมกบั ทพี่ วกเราเปน็ ผรู้ บั นบั ถอื เอาพระรตั นตรยั มาเปน็ ทพ่ี งึ่ ประจาํ กาย
ใจของตน และอกี อยา่ งใหป้ ระพฤตปิ ฏบิ ตั ติ ามหลกั ของอบุ าสก อบุ าสกิ า มกี ารใหท้ าน รกั ษาศลี และ
เจรญิ เมตตาภาวนา” สดุ ทา้ ยทา่ นไดย้ ้ำ� ลงไปว่า “ตอ่ ไปนี้ใหญ้ าติโยมทกุ คนทงั้ หญงิ ท้งั ชายเฒ่าแก่
เด็กเล็กเด็กน้อยก็ตาม พากันสวดมนต์ทําวัตรทั้งเช้าทั้งเย็นก่อนนอนต่ืนนอนทุกวัน ให้ผู้ใหญ่
ในครอบครวั พอ่ แม่เปน็ ผ้พู าทาํ ทําที่บ้านใครบา้ นมนั ทกุ ครัวเรอื น ถา้ ทําไดอ้ ย่างน้ีก็จะเป็นบญุ
เป็นกุศลแก่พวกเรา ความเดือดร้อนต่าง ๆ เหล่านั้นมันก็จะหายไปเอง” ท่านให้โอวาทอบรม
ชาวหนองผือในคร้ังนั้นเป็นเวลานานพอสมควร จึงได้จบการให้โอวาทลง จากน้ันท่านพูดคุยกับ
ญาตโิ ยมนดิ ๆ หนอ่ ย ๆ แล้วสักครูท่ า่ นจึงกลับวดั

งานบุญในคร้ังนี้ทํากัน ๒ วัน ท่ีน่าสังเกตคือพระสงฆ์ท่ีไปสวดพระพุทธมนต์ที่บ้านน้ันไม่ได้
ไปฉันข้าวที่บ้านในตอนเช้า การถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์นั้นให้เอาไปรวมถวายที่วัดทั้งหมด
จึงเป็นการสิ้นสุดลงของงานบุญในครั้งนี้ ขอแทรกเรื่องน้ีสักเล็กน้อย เหตุท่ีชาวหนองผือไม่นิยม
นิมนต์พระไปฉันข้าวในงานบุญบ้านน้ัน เพราะมีอยู่ครั้งหน่ึง มีงานบุญที่บ้านโยมคนหนึ่ง บ้านที่จัด

310 ชวี ประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

งานบุญนั้นเป็นบ้านที่ไม่ใหญ่โตมากนัก ปลูกสร้างแบบชนบทบ้านนอกโบราณ รู้สึกว่าจะคับแคบ
สกั หนอ่ ย ทส่ี าํ หรบั พระนงั่ กค็ บั แคบมาก แตเ่ จา้ ภาพเรอื นนค้ี งไมเ่ คยจดั งานอยา่ งน้ี หรอื เพอื่ จะมหี นา้
มีตาอย่างใดก็ไม่อาจทราบได้ นิมนต์พระขึ้นไปต้ังมากมาย เมื่อพระข้ึนไปบนบ้านแล้วจึงทําให้ท่าน
ยดั เยียดกนั อยู่ ทําความลาํ บากใจใหแ้ ก่พระมาก กว่างานจะเสรจ็ จงึ ทําเอาพระหนา้ ตาเสยี ความรู้สกึ
ไปหมด

เร่ืองนี้ท่านพระอาจารย์ม่ัน ท่านจึงสอนชาวหนองผือว่า “จะนิมนต์พระมาสวดมาฉันในบ้าน
ก็ต้องดูสถานที่ก่อน ถ้าที่คับแคบให้นิมนต์พระมาแต่น้อย ถ้ากว้างขวางก็ให้ดูความเหมาะสม หาก
นมิ นต์มาแลว้ ทําใหพ้ ระลาํ บาก ย่ิงพระแก่ ๆ แลว้ ยิง่ ลําบากมาก เมอ่ื เป็นเช่นน้ญี าตโิ ยมกจ็ ะไมไ่ ดบ้ ญุ
จะเป็นบาปเสียเปล่า ๆ และอีกอย่างหน่ึงการเอาพระข้ึนมาฉันข้าวในงานบุญบ้านก็เหมือนกันย่ิง
ลาํ บากมาก ไมร่ วู้ า่ อะไรวนุ่ ววี่ นุ่ วายกนั ไปหมด พอฉนั เสรจ็ แลว้ พระบางรปู กอ็ าจปวดทอ้ งปวดไสข้ นึ้ มา
แลว้ จะวงิ่ ไปทไ่ี หน ยงิ่ พระเฒา่ พระแก่ ๆ แลว้ ยงิ่ ทรมานมาก ปวดขนึ้ มารงั แตจ่ ะออก จะวงิ่ ไปอยา่ งไร
ถงึ แมม้ ที ่วี ิ่งไปก็คงดูไมง่ ามสําหรับสมณเพศ ฉะนน้ั จึงใหญ้ าติโยมพิจารณาดู” ตัง้ แต่นนั้ มาชาวบา้ น
หนองผือไม่เคยนิมนตพ์ ระไปฉนั ข้าวในงานบุญบา้ น แตส่ ําหรบั การนมิ นต์พระไปเจริญพระพทุ ธมนต์
พร้อมแสดงธรรมเทศนาหลังสวดมนต์เสร็จในงานบุญบ้านต่าง ๆ น้ันยังทํากันอยู่ตามปกติ จึงเป็น
ระเบียบประเพณีปฏิบัติสืบกันมาจนถึงทกุ วนั น้ี

คือคลา้ ยทา่ นจะเอาศพของพระอาจารย์เนียม เป็นเครื่องสอนคนรุ่นหลัง หรือทอดสะพานให้
คนร่นุ หลงั ๆ ท้ังพระเณร พรอ้ มท้ังญาติโยมชาวบ้านหนองผอื เอาเป็นคตติ วั อยา่ ง

โยมตอบท่านว่า “ดินขา้ น้อย” ทา่ นจงึ สรุปลงพรอ้ มกับชน้ี ้วิ ทำ� ทา่ ทางใหด้ วู ่า “นนั่ กด็ ิน นกี่ ็ดนิ
ขดุ ลงน่ีแลว้ จึงกวด...ลงน่ี มันสบิ ด่ กี ว่าหรอื ”

๓. เรื่องศพที่ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั พาท�ำ

ครงั้ หนึ่งมเี หตเุ ด็กผ้ชู ายปว่ ยไขต้ ายลง ช่อื เด็กชาย นงค์ นามสกุล จันทะวงษา อายุประมาณ
๖ ขวบ เป็นไข้ตายอยู่ท่ีกระท่อมเถียงนา เพราะเป็นหน้ากําลังดํานากัน ตามปกติพ่อแม่ในชนบท
บ้านนอกทางภาคอีสานสมัยน้ัน เมื่อถึงหน้าฤดูทํานาก็ต้องหอบลูกจูงหลานไปนาด้วย แม้ลูกหลาน
จะป่วยไข้ แต่พอเอาไปได้ก็ต้องเอาไป เผ่ือจะได้เยียวยารักษากันไป พร้อมกับทํานาไปด้วยเพื่อจะ
เรง่ งานนาให้เสรจ็ ทนั กับฤดกู าล แต่วันนน้ั บังเอญิ เดก็ มีไขข้ นึ้ สงู เยยี วยาไม่ทัน ในท่ีสดุ กต็ าย ทําให้
พ่อแม่พนี่ อ้ งมีความเศร้าโศกเสยี ใจมาก

เม่ือตายแล้วพ่อแม่ญาติพี่น้องต้องการจะให้นําศพเด็กเข้าไปทําบุญที่บ้าน แต่มาขัดข้องเร่ือง
ของความคิดเห็นตามประเพณีโบราณว่า คนท่ีตายในทุ่งในป่าห้ามไม่ให้เอาผ่านเข้าบ้าน โบราณ
ท่านถือ และอีกอย่างคนตายโหงหรือตายอย่างกระทันหัน เช่น ตายจากอุบัติเหตุ ผูกคอตาย
ฆ่ากนั ตาย ยงิ กนั ตาย เหล่านีเ้ ป็นต้น โบราณท่านหา้ มไมใ่ ห้หามผา่ นเข้าบา้ นและห้ามเผา ให้ฝงั ครบ

ทา่ นพระอาจารยม์ ่ัน ภูริทัตตเถระ 311

สามปีแล้วจึงขุดเอากระดูกขึ้นมาเผาได้ เลยทําให้ชาวบ้านหนองผือสมัยน้ันถกเถียงกันไปถกเถียง
กันมา ในทสี่ ุดญาตโิ ยมจึงนําปญั หานี้ไปปรึกษาสอบถามกบั ทา่ นพระอาจารย์มนั่

ท่านได้แก้ความสงสัยน้ีให้แก่ญาติโยมบ้านหนองผือด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า “พวกหมูป่า อีเก้ง
กวาง ท่ียงิ ตายในกลางปา่ ยงั เอามาเข้าบ้านเรอื นได้ นม่ี นั คนตายแท้ ๆ ทําไมจะเอาเข้าบ้านเข้าเรอื น
ไมไ่ ด”้ ดงั นนั้ ญาตโิ ยมชาวบา้ นจงึ นง่ิ เงยี บไป ทาํ ใหห้ ตู าสวา่ งขน้ึ มา สดุ ทา้ ยกน็ าํ เอาศพเดก็ ชายคนนน้ั
เข้าไปทําบุญท่ีบ้านและเผาเหมือนกันกับศพของคนตายตามปกติธรรมดาทุกอย่าง ภายหลังต่อมา
ชาวบ้านหนองผอื จึงไม่ค่อยถือในเรือ่ งน้เี ปน็ สําคญั คนตายทุกประเภทจงึ ทาํ เหมือนกนั หมด

สมัยที่ท่านพระอาจารย์ม่ันพํานักอยู่สํานักวัดป่าบ้านหนองผือ ช่วงระยะ ๕ พรรษานั้น มี
เหตกุ ารณห์ น่งึ เกิดขึ้น คือ มพี ระทจ่ี ําพรรษาอยดู่ ว้ ยท่านมรณภาพลง ๒ รปู คือ พระอาจารย์สอ กบั
พระอาจารยเ์ นยี ม แตม่ รณภาพลงคนละเดอื น โดยเฉพาะพระอาจารยเ์ นยี ม คนื วนั นน้ั ทา่ นมรณภาพ
ลงด้วยอาการสงบ ท่านพระอาจารย์มั่นก็ทราบเร่ืองทุกอย่าง พอตอนเช้าท่านพระอาจารย์ม่ันก็พา
พระเณรไปบิณฑบาตภายในหมู่บ้านตามปกติ ในขณะท่ีท่านกําลังบิณฑบาตอยู่น้ัน ท่านพูดข้ึนเป็น
สาํ เนยี งอสี านวา่ “ทา่ นเนยี มฮแู้ ลว้ นอ้ พอ่ ออกแมอ่ อก ทา่ นเนยี มฮแู้ ลว้ นอ้ ” ทา่ นพดู อยา่ งนน้ั ไปเรอื่ ย ๆ
กับกลุ่มญาติโยมท่ีรอใส่บาตรทุกกลุ่มจนสุดสายบิณฑบาต คําพูดของท่านนั้นหมายความว่า
พระอาจารย์เนียมอยูก่ บั ท่ีแล้ว ไมก่ ระดุกกระดกิ แลว้ หรอื ตายแลว้ ญาตโิ ยมตอนนน้ั บางคนก็เข้าใจ
บางคนก็ไม่เข้าใจความหมาย ภายหลังจึงเข้าใจชัดว่า พระอาจารย์เนียมมรณภาพแล้วเมื่อคืนวานนี้
เมอ่ื ญาตโิ ยมทง้ั หลายไดท้ ราบอยา่ งนน้ั แลว้ จงึ บอกตอ่ ๆ กนั ไป แลว้ พากนั เตรยี มตวั ไปทวี่ ดั ในเชา้ วนั นน้ั

สําหรับท่านพระอาจารย์ม่ันพร้อมทั้งพระเณรบิณฑบาตเสร็จแล้วกลับถึงวัด ล้างเท้าข้ึนบน
ศาลาหอฉัน วางบาตรบนเชิงบาตร ลดผ้าห่ม คล่ีผ้าสังฆาฏิท่ีซ้อนไปออก ห่มเฉพาะจีวรเฉวียงบ่า
เรียบร้อยแล้วพับเก็บผ้าสังฆาฏิ จึงเข้าประจําที่ฉัน เตรียมจัดแจกอาหารลงบาตร เพราะมีโยมตาม
สง่ อาหารทวี่ ัดด้วย เสรจ็ แลว้ อนุโมทนายะถาสัพพีตามปกติ จงึ พร้อมกันลงมือฉัน

ฝ่ายพวกชาวบ้านญาติโยมภายในหมู่บ้านที่จะมาวัดในเช้าวันนั้นก็กําลังบอกกล่าวป่าวร้อง
ให้ผู้คนประชาชนไปที่วัด เพ่ือจะได้จัดเตรียมเอาเครื่องใช้ไม้สอยและอุปกรณ์จําเป็นในการที่จะ
ทาํ งานฌาปนกิจศพตามประเพณี ทั้งคนเฒา่ คนแก่ หนุ่ม ๆ แขง็ แรง ก็ใหไ้ ปดว้ ย ผ้มู ีมดี พรา้ ขวาน
จอบ เสยี ม ก็ให้เอาไปด้วยเชน่ กัน เพื่อจะไดไ้ ปปราบพ้ืนท่ที ่จี ะทาํ เป็นทีเ่ ผาศพช่วั คราว สาํ หรับพวก
ทมี่ พี ร้ามีขวานให้ไปตดั ไม้ที่มขี นาดใหญ่หน่อย ยาวประมาณ ๒ วากวา่ ๆ มาทาํ เป็นไม้ข่มเหง่ หรือ
ไม้ขม่ หบี ศพท่ีอยูบ่ นกองฟอนไมใ่ ห้ตกลงมาจากกองฟอนขณะไฟกําลังลุกไหม้อยู่ สว่ นคนเฒ่าคนแก่
รู้หลักในการที่จะทําเกี่ยวกับศพ ก็เตรียมฝ้ายพื้นบ้านพร้อมด้ายสายสิญจน์ เพ่ือนําไปมัดตราสังข์
ภูไท๒ เรียกวา่ มัดสามยา่ น (คอื หอ่ ศพด้วยเสอ่ื แล้วมัดเปน็ สามเปลาะ โดยมดั ตรงคอ ตรงกลางและ

๒ คือชนกลุ่มหน่ึงของจังหวัดสกลนคร ที่อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น�้ำโขง มีนิสัยรักสงบ อยู่กันเป็นกลุ่มตาม
เชงิ เขาท่มี ีความอุดมสมบรู ณ์ ผิวขาวเหลือง มีภาษาพดู เฉพาะ เชน่ ชาวบา้ นหนองผอื เปน็ ต้น

312 ชวี ประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

ตรงขอ้ เทา้ ) นอกจากนนั้ กม็ ธี ปู เทยี นดอกไม้ ตะบองขไ้ี ต้ นำ�้ มนั กา๊ ด พรอ้ มทง้ั หมอ้ ดนิ สาํ หรบั ใสก่ ระดกู
หลังจากเผาเสร็จ เป็นตน้

ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นน้ัน เม่ือจังหันเสร็จและทําสรีรกิจส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว ได้ลุกจาก
อาสนะท่ีนั่งเดินลงจากศาลาหอฉันไปที่กุฏิศพท่านพระอาจารย์เนียม พระเณรท้ังหลายก็ติดตาม
ทา่ นไปดว้ ย ไปถึงท่านก็สั่งการตา่ ง ๆ ตามทีท่ า่ นคดิ ไว้แล้ว คือคล้าย ๆ กับว่าทา่ นจะเอาศพของ
พระอาจารยเ์ นยี มเปน็ เครอ่ื งสอนคนรนุ่ หลงั หรอื ทอดสะพานใหค้ นรนุ่ หลงั ๆ ทงั้ พระเณรพรอ้ มทง้ั
ญาติโยมชาวบ้านหนองผือเอาเป็นคติตัวอย่าง ท่านจึงไปยืนจังก้าทางด้านบนศีรษะของศพแล้ว
ก้มลงใช้มือทั้งสองจับมุมเสื่อท้ังสองข้างของศพ ทําท่าทางจะยกศพข้ึนอย่างขึงขังจริงจัง พระเณร
ท้ังหลายเห็นกิริยาอาการของท่านอย่างนั้นแล้ว จึงเข้าใจความหมายว่า ท่านต้องการจะให้ยกศพ
หามไปทก่ี องฟอนเดี๋ยวนั้นโดยไม่ตอ้ งตกแต่งศพหรอื ทาํ โลงใสเ่ ลย

ดังนนั้ พระเณรท้งั หลายจึงพากันกรูเขา้ ไปช่วยยกศพนน้ั จากมอื ทา่ น หามไปท่ีกองฟอนซงึ่ อยู่
ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัด เมื่อท่านพระอาจารย์ม่ันเห็นว่าพระเณรทั้งหลายเข้าช่วยหาม
มากแล้ว ท่านจึงปล่อยให้พระจดั การหามกันเอง ทา่ นเพยี งแตค่ อยสงั่ การตามหลังเทา่ น้นั แลว้ ทา่ น
ก็เดินตามหลังขบวนหามศพน้ันไป ในตอนนี้พวกญาติโยมชาวบ้านกําลังทยอยเข้ามาที่บริเวณวัด
ขณะทที่ า่ นพระอาจารยม์ น่ั กาํ ลงั เดนิ ไปอยนู่ นั้ ไดม้ โี ยมผชู้ ายคนหนง่ึ เดนิ ถอื ฝา้ ยพน้ื บา้ นเขา้ มาหาทา่ น
ทา่ นเหน็ จึงหยดุ เดินและถามขนึ้ วา่ “พอ่ ออก ฝ้ายน้นั สเิ อามาเฮ็ดอหี ยงั ..?” (หมายความว่า โยมจะ
เอาฝ้ายนัน้ มาทาํ อะไร) โยมน้นั ก็ตอบท่านว่า “เอามามัดสามย่านแหล่วข้าน้อย” (มดั ตราสังข)์ ทา่ น
พูดข้ึนทันทีวา่ “ผกู มัดมนั เฮ็ดอีหยงั มนั สิดนิ้ รนไปไส มันฮ้พู อแฮงแลว้ ให้เกบ็ ฝ้ายนนั้ ไวใ้ ชอ้ ย่างอน่ื สิ
ยังมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ่มซะซือ” (หมายความว่า ผูกมัดทําไม ศพมันจะดิ้นไปไหนเพราะ
ตายแล้ว ให้เก็บฝ้ายน้ันไว้ใช้อย่างอ่ืนยังจะมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟท้ิงเสียเปล่า ๆ) โยมคนนั้น
กเ็ ลยหมดทา่ พดู จาอะไรไมอ่ อก เกบ็ ฝา้ ยนน้ั แลว้ เดนิ ตามหลงั ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั เขา้ ไปยงั ทท่ี เี่ ผาศพ
ทา่ นพระอาจารย์เนียม

เมอื่ ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ เดนิ ไปถงึ ทเ่ี ผาศพแลว้ มโี ยมหนมุ่ ๆ แขง็ แรงกาํ ลงั แบกหามทอ่ นไมใ้ หญ่
พอประมาณยาว ๒ วากวา่ ๆ (ทางนเี้ รยี กวา่ ไมข้ ม่ เหง่ มาทกี่ องฟอน ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั เหลอื บไปเหน็
จึงพูดข้ึนทันทีว่า “แบกมาเฮ็ดหยังไม้น่ัน...?” (หมายความว่า แบกมาทําไมไม้ท่อนน้ัน) พวกโยม
ก็ตอบท่านว่า “มาข่มเห่งแหล่วข้าน้อย” หมายความว่า เอาไม้นั้นมาข่มศพบนกองฟอนเพ่ือไม่ให้
ศพตกออกจากกองไฟ) ท่านจึงพดู ขน้ึ อีกว่า “สิข่มเหง่ มนั เฮ็ดหยังอกี ตายพอแฮงแลว้ ยา้ นมนั ดน้ิ หนี
ไปไส” (หมายความวา่ จะไปข่มเหง่ ทาํ ไมอกี เพราะตายแลว้ กลัวศพจะด้ินหนไี ปไหน) พวกโยมได้ฟัง
เชน่ นั้นกเ็ ลยวางทอ่ นไม้เหล่าน้ันทิง้ ไวท้ ่ีพุ่มไม้ขา้ ง ๆ น้นั เอง แล้วมานัง่ ลงคอยสงั เกตการณต์ อ่ ไป

ก่อนเผานนั้ ท่านพระอาจารย์มนั่ สง่ั ให้พลกิ ศพตะแคงขวา แลว้ ตรวจตราดูบรขิ ารในศพ โดยที่
ไม่ได้ตบแต่งศพแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงมีจีวรของศพปกปิดอยู่เท่านั้น แล้วท่านก็เหลือบไปเห็น
สายรัดประคตเอวของศพจึงดึงออกมาโยนไปให้พระที่อยู่ใกล้ ๆ พร้อมกับพูดว่า “นี่ประคตไหม

ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภูรทิ ตั ตเถระ 313

ใครไมม่ กี เ็ อาไปใชเ้ สยี ” แลว้ ทา่ นกพ็ าพระเณรสวดมาตกิ าบงั สกุ ลุ จนจบลง แลว้ จงึ ใหต้ าปะขาวจดุ ไฟ
ใส่ตะบองแล้วยื่นให้ท่าน เม่ือท่านรับแล้วพิจารณาครู่หน่ึงจึงไปวางไฟลงใต้ฟืนในกองฟอน ไม่นาน
ไฟก็ติดลุกไหม้ขึ้นเร่ือย ๆ จนเป็นเปลวโพลงสูงขึ้น สูงข้ึนเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ในที่สุดไฟเร่ิมไหม้
ทั้งฟืนท้ังศพ ทําให้ศพท่ีถูกไฟไหม้อยู่นั้นมีน�้ำมันหยดหยาดย้อยถูกเปลวไฟเป็นประกายวูบวาบ
พร้อมกับเสียงดัง พล่บึ ๆ พล่บั ๆ ไปทัว่ จนทีส่ ดุ คงเหลอื แตเ่ ถา้ ถา่ นกบั กองกระดกู เท่านั้นเอง

ส่วนท่านพระอาจารย์ม่ัน เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จึงหันหน้าเดินออกมา
ข้างนอก ปล่อยให้ญาติโยมดูแลเอง ในขณะที่ท่านกําลังเดินออกมา ท่านเหลือบไปเห็นโยมผู้ชาย
คนหน่ึงถือหม้อดินใหม่ขนาดกลางกําลังเดินเข้ามาหาท่าน ท่านจึงถามโยมคนนั้นทันทีว่า “พ่อออก
เอาหม้อนั้นมาเฮ็ดยงั้ ” (หมายความวา่ โยมเอาหม้อดินน้ันทาํ อะไร) โยมคนน้นั ตอบทา่ นวา่ “เอามา
ใส่กระดูกแหลว่ ขา้ น้อย” (หมายความว่า เอามาใสก่ ระดกู ขอรบั ) ทา่ นจงึ ชน้ี ว้ิ ลงบนพ้ืนดนิ พร้อมกับ
ถามโยมคนน้ันว่า “อันน้ีแม่นหยัง” (หมายความว่า อันนี้คืออะไร) โยมตอบท่านว่า “ดินขอรับ”
ท่านจึงช้ีน้ิวไปท่ีหม้อดินท่ีโยมถืออยู่พร้อมกับถามอีกว่า “น่ันเด้...เขาเอาอียั้งเฮ็ด” (หมายความว่า
น้ันเขาทําด้วยอะไร) โยมตอบท่านว่า “ดินข้าน้อย” ท่านจึงสรุปลงพร้อมกับชี้น้ิวทําท่าทางให้ดูว่า
“น่ันกด็ ิน นก่ี ็ดิน ขุดลงน่แี ลว้ จึงกวด..ลงน่ี มนั สิบด่ กี วา่ หรือ” (หมายความว่า หมอ้ ใบนน้ั กท็ ําดว้ ยดิน
ตรงพื้นนี้กด็ ิน ขุดเป็นหลมุ แล้วให้กวาดกระดูกและเถา้ ถ่านตา่ ง ๆ ลงด้วยกนั จะไมด่ ีกวา่ หรอื ) ท่าน
จึงบอกให้โยมนั้นเอาหม้อไปเก็บไว้ใช้ โดยบอกว่า “ให้เอาหม้อใบน้ันไปใช้ต้มแกงอย่างอ่ืนยังจะมี
ประโยชนก์ วา่ ทจี่ ะเอามาใสก่ ระดกู ” เมอื่ โยมไดฟ้ งั เชน่ นน้ั จงึ นาํ หมอ้ ดนิ ไปเกบ็ ไวใ้ ชป้ ระโยชนอ์ ยา่ งอน่ื
ต่อไป

“ใครทาํ บญุ กไ็ ม่เหมือนเจ็กไฮท�ำบุญ เจก็ ไฮทำ� บุญไดบ้ ุญมากทส่ี ุด พรเขากไ็ ม่ตอ้ งรับ คำ� ถวาย
ก็ไม่ต้องว่า เขาได้บุญตั้งแต่เขาออกจากบ้านมา บุญเขาเต็มอยู่แล้ว ไม่ได้ตกหล่นสูญหายไปไหน
บญุ เป็นนามธรรมอยทู่ ่ใี จ อยา่ งน้ีจงึ เรยี กว่า ทำ� บุญไดบ้ ญุ แท.้ .”

๔. การทำ� บุญทท่ี า่ นพระอาจารย์ม่ันสรรเสริญ

การสั่งสอนญาติโยมชาวบ้านหนองผือของท่านพระอาจารย์มั่นในสมัยน้ัน ส่วนมากท่านจะ
เน้นใหญ้ าตโิ ยมสมาทานศลี ห้าเป็นหลกั สว่ นศีลแปดหรือศลี อุโบสถ ทา่ นไมค่ อ่ ยจะเนน้ หนักเท่าไหร่
ทา่ นกล่าววา่ ศีลห้าเหมาะสมท่ีสดุ สาํ หรับฆราวาสญาตโิ ยมผูค้ รองเรอื น ถ้างดเวน้ ตลอดไปไมไ่ ดก้ ข็ อ
ให้งดเว้นให้ได้ในวันพระวันศีล สําหรับการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตน้ันท่านบอกว่า “สัตว์ที่มีบุญคุณน้ันห้าม
เดด็ ขาด” นอกนนั้ ทา่ นกลา่ วว่า เปน็ ธรรมดาของฆราวาสผ้คู รองเรือน แตถ่ ้าวันพระวนั ศลี แลว้ ทา่ น
ให้งดเว้นสัตว์ทุกชนิด ท่านกล่าวว่า “จะงดเว้นไม่ได้ดอกหรือ เพียงวันสองวันเท่าน้ัน การกินในวัน
รักษาศลี จะกนิ อะไรก็คงได้ ไม่จําเป็นตอ้ งเป็นสตั ว์ท่ฆี า่ เอง แคน่ ้ีทําไม่ไดห้ รอื ไมต่ ายดอก...”

314 ชีวประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

สาํ หรบั การขอศลี นน้ั ทา่ นไมน่ ยิ มใหข้ อ และทา่ นกไ็ มเ่ คยใหศ้ ลี (ตอนอยหู่ นองผอื ) ทา่ นใหใ้ ชว้ ธิ ี
วิรัตงดเวน้ เอาเลย ไมต่ ้องไปขอจากพระซ�้ำ ๆ ซาก ๆ ผ้ใู ดมีเจตนาจะรักษาศลี จะเปน็ ศลี หา้ ศลี แปด
กต็ าม ใหต้ ง้ั อกตงั้ ใจเอาเลย แคน่ นั้ กเ็ ปน็ ศลี ไดแ้ ลว้ และการถวายทานในงานบญุ ตา่ ง ๆ ทา่ นกไ็ มน่ ยิ ม
ให้กล่าวคําถวายเช่นกัน ท่านอธิบายว่า “บุญน้ันผู้ถวายได้แล้ว สําเร็จแล้วต้ังแต่ต้ังใจหรือเจตนา
ในครั้งแรก ตลอดจนนํามาถวายสําเร็จ ไม่จําเป็นต้องกล่าวอะไรอีก เพียงแต่ตั้งเจตนาดีเป็นกุศล
หวงั ผลคอื ความสขุ การพน้ จากทกุ ขท์ ง้ั ปวงเทา่ นก้ี พ็ อแลว้ นนั่ มนั เปน็ พธิ กี ารหรอื กฎเกณฑอ์ ยา่ งหนงึ่
ของเขา ไม่ตอ้ งเอาอะไรทุกข้นั ทุกตอนดอก”

ครั้งน้ันมีศรัทธาญาติโยมจากสกลนคร เขาเป็นคนเชื้อสายจีน มีช่ือว่า เจ็กไฮ แซ่อะไรน้ัน
เขาไมไ่ ดบ้ อกไว้ เขามีความเล่ือมใสศรัทธาในองค์ท่านพระอาจารยม์ น่ั มาก ขอเปน็ เจา้ ภาพทอดกฐิน
ในปนี น้ั เมอ่ื ถงึ วนั เวลากาํ หนดกรานกฐนิ แลว้ จงึ ไดต้ ระเตรยี มเดนิ ทางมาพกั นอนคา้ งคนื ทบ่ี า้ นหนองผอื
หนึ่งคืน โดยพักนอนท่ีบ้านของทายกวัดคนหนึ่ง เพื่อจะได้จัดเตรียมอาหารคาวหวานสําหรับไป
จงั หันตอนเชา้ ด้วย พอเช้าข้นึ พวกเขาจึงพากันนาํ เครื่องกฐินพรอ้ มกบั เคร่อื งไทยทาน อาหารต่าง ๆ
เหล่านั้นไปที่วัด เมื่อถึงวัดล้างเท้าท่ีหัวบันไดแล้วพากันขึ้นบนศาลาวางเคร่ืองของ คุกเข่ากราบ
พระประธาน แลว้ จึงรวบรวมสิง่ ของ เครอ่ื งผา้ กฐิน พร้อมทั้งของอันเปน็ บรวิ ารต่าง ๆ วางไว้ท่หี น้า
พระประธาน ในศาลา

ส่วนเจ็กไฮ ผู้เป็นหัวหน้านําผ้ากฐินมาน้ัน เม่ือจัดวางผ้ากฐินพร้อมทั้งของอันเป็นบริวาร
ต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว น่ังสักครู่เห็นว่ายังไม่มีอะไร จึงพากันกราบพระประธาน (เจ็กไฮก็กราบ
เหมือนกัน ท่าทางเหมือนคนจีนทั่วไปเขากราบน่ันแหละ) แล้วเขาก็ลงศาลาจากไป เดินเลาะเลียบ
ชมวดั วาอารามเฉยอยา่ งสบายอารมณ์ จนกระทง่ั พระเณรกลบั จากบณิ ฑบาตแลว้ ขน้ึ บนศาลา เตรยี ม
จัดแจกอาหารลงบาตรจนเสร็จสรรพเรียบร้อยทุกองค์ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้เรียกเจ็กไฮมา
เพอื่ จะไดอ้ นโุ มทนารับพรตอ่ ไป แต่เจก็ ไฮกไ็ ม่ได้มารบั พรดว้ ย มคี นถามเขาว่า “ทาํ ไมไมร่ บั พรด้วย”
เขาบอกวา่ “อวั้ ได้บญุ แลว้ ไมต่ ้องรบั พรก็ได้ การกลา่ วคําถวายก็ไมต่ ้องว่า เพราะอว้ั ไดบ้ ญุ ตง้ั แต่อ้วั
ต้งั ใจจะทาํ บญุ ทแี รกแล้ว ฉะนั้น อวั้ จึงไมต่ ้องรบั พรและกลา่ วคาํ ถวายใด ๆ เลย”

ภายหลังฉันจังหันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นได้พลิกวิธีคําว่าผ้ากฐินมาเป็น
ผ้าบังสุกุลแทน ท่านจึงพิจารณากองผ้ากฐินเป็นผ้าบังสุกุล เสร็จแล้วท่านได้เทศน์ฉลองยกย่อง
ผ้าบังสุกุลของเจ็กไฮเป็นการใหญ่เลย ทราบมาว่า ท่านกล่าวถึงผ้ากฐินนั้นได้รับอานิสงส์น้อย
เพียงแค่ ๔ เดือนเท่านั้น ไม่เหมือนกับผ้าบังสุกุลซึ่งได้อานิสงส์ตลอดไป คือ ผู้ใช้สามารถใช้ได้
ตลอดไม่มีกําหนดเขต ใช้จนขาดหรือใช้ไม่ได้จึงจะทําอย่างอื่นต่อไป และสุดท้ายท่านกล่าวอีกว่า
“ใครทําบุญก็ไม่เหมือนเจ็กไฮทําบุญ เจ็กไฮทําบุญได้บุญมากท่ีสุด พรเขาก็ไม่ต้องรับ คําถวาย
ก็ไมต่ ้องวา่ เขาไดบ้ ุญต้งั แต่เขาออกจากบ้านมา บุญเขาเตม็ อยู่แลว้ ไม่ไดต้ กหลน่ สญู หายไปไหน
บญุ เป็นนามธรรมอยู่ที่ใจ อยา่ งนีจ้ ึงเรียกวา่ ทาํ บญุ ไดบ้ ญุ แท้..”

ท่านพระอาจารย์มัน่ ภูรทิ ตั ตเถระ 315

ทุกคนที่ไปงานทอดกฐินในครั้งนี้ต่างก็มีความปลาบปล้ืมปีติในธรรมะที่ท่านกล่าวออกมา
ซึ่งล้วนแต่มีเหตุผลท่ีแปลกใหม่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟังมาจากท่ีอ่ืนเลย โดยเฉพาะเจ็กไฮผู้เป็นเจ้าภาพ
ย่ิงมีความปลื้มปีติใจมากกว่าเพ่ือน เพราะสิ่งที่เขาได้ทําไปแล้วนั้นเป็นสิ่งถูกต้อง เป็นที่พออกพอใจ
ของครบู าอาจารย์ทเี่ ขาเคารพเลื่อมใส จงึ เปน็ ท่ตี รงึ ตาตรึงใจของเขาไปจนตลอดสิ้นชีวติ และได้เปน็
เร่ืองเล่าขานกันมาจนกระทงั่ ถงึ ทกุ วนั นี้

อีกครั้งหน่ึงมีญาติโยมทางโคราชจะเป็นเจ้าภาพนําองค์กฐินมาทอดที่วัดป่าบ้านหนองผือ
ในปีถัดมา เจ้าภาพชื่อ นายวนั คมนามลู เปน็ พ่อค้าชาวโคราช มที า่ นพระอาจารย์ม่ันเป็นประธาน
ฝ่ายสงฆ์ในการรับผ้ากฐินคร้ังนั้น เม่ือออกพรรษาแล้วทางเจ้าภาพกฐินก็กําหนดวันเวลาจะนํากฐิน
มาทอด ฝ่ายพระที่จําพรรษากับท่านพระอาจารย์ม่ันในปีน้ัน รูปท่ีมีหน้าที่สวดอุปโลกน์กฐินต่างก็
เตรียมท่องบทสวดอุปโลกน์๓กันอยา่ งดบิ ดี ตลอดทัง้ พระรูปท่ีมีหน้าท่ีสวดญตั ติทตุ ยิ กรรม๔ กเ็ ตรยี ม
ฝกึ หดั อยา่ งเตม็ ทเี่ หมอื นกนั เพอื่ กนั ความผดิ พลาด เพราะคดิ วา่ การสวดตอ่ หนา้ ทา่ นพระอาจารยม์ นั่
ซง่ึ เป็นพระอาจารยใ์ หญ่เชน่ นี้ ถ้าเกิดผิดพลาดสวดตะกุกตะกักหรือไมถ่ กู อกั ขระฐานกรณ๕์ กลัวท่าน
จะดุเอาต่อหน้าญาติโยมแลว้ จะเปน็ ท่ีอับอายขายหนา้ กัน อนั นีเ้ ปน็ ธรรมเนียมของพระในวดั ทีจ่ ะรับ
สวดกฐนิ จะตอ้ งตกั เตอื นกันกอ่ นกว่าพธิ จี รงิ จะมาถึง งานนีค้ ดิ วา่ คงจะเช่นกัน

เมื่อวันทอดกฐินมาถึง เจ้าภาพเขานําผ้ากฐินมาถวายในตอนเช้า คณะกฐินเม่ือมาถึงวัดแล้ว
ไดน้ าํ ผา้ กฐนิ พรอ้ มทงั้ เครอื่ งอนั เปน็ บรวิ ารขนึ้ ไปวางบนศาลา เพอ่ื รอเวลาพระบณิ ฑบาตและฉนั เสรจ็
กอ่ นจึงค่อยทอดถวาย ในขณะท่พี ระกลบั จากบณิ ฑบาต จัดแจกอาหารลงบาตรเสรจ็ และใหพ้ รแลว้
ลงมือฉันตามปกติ ญาติโยมคณะกฐินได้ถือโอกาสนั้น ลงไปเดินชมดูบริเวณวัดพลาง ๆ ไปก่อน

๓ สวดอุปโลกนก์ ฐนิ การบอกกล่าวแก่ทปี่ ระชมุ สงฆข์ องพระสงฆจ์ ํานวน ๔ รปู เพอ่ื ใหส้ งฆ์รบั ทราบถงึ พระภิกษผุ ู้
สมควรกรานกฐิน

๔ สวดญตั ตทิ ตุ ยิ กรรมวาจา คอื การตง้ั ญตั ติ คอื การเผดยี งใหส้ งฆท์ ราบวา่ มกี รณยี ะเรอื่ งนี้ เชน่ ผมู้ อี ายุ ชอื่ นสี้ มควร
กรานกฐนิ โดยประกอบด้วยคณุ สมบตั ิต่าง ๆ เปน็ ตน้ หากไม่มใี ครคดั ค้านขอใหน้ ่ิง เทยี่ วแรกเปน็ การตง้ั ญตั ติ
คอื กรรมวาจาท่ปี ระกาศให้สงฆท์ ราบเรื่องดงั กล่าว หลงั จากนั้น สวดอนุสาวนาเป็นคาํ ปรกึ ษาและตกลงกนั ของ
สงฆ์ในเรื่องกฐนิ สังฆกรรมอยา่ งอ่นื ท่ีใชญ้ ตั ติทุติยกรรมวาจามีสวดสมมติสีมา เปน็ ตน้

๕ อกั ขระฐานกรณ์ ว่าด้วยการออกเสยี งตวั อักษรใหถ้ ูกตอ้ งตามทีต่ งั้ ของเสยี งคอื
๑. วรรค ก ออกเสยี งจากลาํ คอ ไดแ้ ก่ ก ข ค ฆ ง
๒. วรรค จ ออกเสยี งจากเพดาน ได้แก่ จ ฉ ช ฌ ญ
๓. วรรค ฏ ออกเสียงจากนาสิก ไดแ้ ก่ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
๔. วรรค ต ออกเสียงจากฟัน ได้แก่ ต ถ ท ธ น
๕. วรรค ป ออกเสยี งจากริมฝปี าก ไดแ้ ก่ ป ผ พ ภ ม
๖. วรรค อ ได้แก่ ย ร ล ว ส ห ฬ อักขระฐานกรณ์สาํ คัญในสงั ฆกรรมของสงฆ์ทุกประเภท ต้องออกเสยี ง

ให้ถูกต้องเชน่ การอุปสมบท เปน็ ต้น

316 ชีวประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

เพื่อไม่ให้เสียเวลา สักครู่ใหญ่ เม่ือเห็นพระเณร ทยอยถือบาตรลงจากศาลาหอฉันไปล้างบาตรในที่
สําหรับล้าง น่ันแสดงว่าพระเณรท่านฉันจังหันเสร็จแล้ว พวกโยมคณะกฐินจึงพากันขึ้นมาท่ีศาลา
มาถึงก็เห็นท่านพระอาจารย์มั่นนั่งบนอาสนะ กําลังทําสรีรกิจส่วนตัวหลังฉันภัตตาหาร มีการล้าง
มือ บว้ นปาก ชาํ ระฟนั เปน็ ตน้ พอท่านพระอาจารย์มน่ั เห็นว่าญาตโิ ยมขึน้ ไปบนศาลาแลว้ ทา่ นจงึ
พดู ขึน้ ว่า “พอ่ ออก...สเิ ฮด็ จั้งใด ของหม่นู ี้” (หมายความว่า พวกโยมจะทาํ ยงั ไงตอ่ ไปกับของเหล่านี้)
โยมผู้เป็นเจ้าภาพนําผ้ากฐินมาจึงพูดตอบท่านว่า “แล้วแต่พ่อแม่ครูบาอาจารย์จะพิจารณาขอรับ”
ท่านพระอาจารย์ม่ันจึงพูดว่า “ถ้าจ้ังชั้นให้พากันไปหาฟดไม้หรือใบไม้มาปกปิดเสียก่อน” พวก
ญาติโยมเม่ือได้ฟังดังนั้นจึงพากันรีบลงไปหาฟดไม้หรือใบไม้นํามาปกปิดกองผ้ากฐิน เรียบร้อยแล้ว
จึงถอยห่างออกมาอยู่ข้างนอก สักครู่ท่านพระอาจารย์มั่นจึงลุกไปพิจารณากองผ้าเหล่าน้ันเป็น
ผา้ บงั สกุ ลุ เสรจ็ แลว้ ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ จงึ กลา่ วกบั ญาตโิ ยมวา่ “ของหมนู่ นั่ เสรจ็ เรยี บรอ้ ยแลว้ เนอ้
พวกญาติโยมท่ีมาท่ีน้ีก็ได้บุญได้กุศลแล้วทุกคนเน้อ” และท่านก็พูดคุยกับญาติโยมที่มาทําบุญ
ในวนั นน้ั อกี บา้ งพอสมควร หลงั จากนนั้ พวกญาตโิ ยมกไ็ ดก้ ราบแลว้ ลงจากศาลาไปรบั ประทานอาหาร
จากเศษข้าวก้นบาตรจนเสรจ็ เรยี บรอ้ ย แล้วจึงพร้อมกนั ไปกราบลาท่านพระอาจารยก์ ลับบา้ น งาน
จงึ เปน็ อนั เสรจ็ สน้ิ ลงเพยี งเทา่ นี้

ส่วนพระรูปท่ีฝึกซ้อมตระเตรียมท่องบทสวดอุปโลกน์กฐินและญัตติทุตกรรมวาจาอย่างดิบดี
มากดังท่ีกลา่ วมาแลว้ น้นั คดิ ว่าจะได้สวดแสดงในการกรานกฐนิ ๖ ครั้งนี้ เมอ่ื เหตุการณ์เปล่ยี นแปลง
ไปเช่นนั้น เรือ่ งตา่ ง ๆ เหลา่ นัน้ กเ็ ป็นอันว่าจบลงเพียงแคน่ ้นั แล ภายหลังหม่พู ระ ท้ังหลายจึงมาพูด
กับหมู่เพ่ือนว่า ท่านพระอาจารย์ใหญ่เราเด็ดขาดจริง ๆ ไม่สะทกสะท้าน สงสัยในเรื่องพิธีการ
เหลา่ น้ีเลย จึงทาํ ใหห้ มู่พระลูกศษิ ย์สมยั นนั้ คิดสงวนภูมใิ จอยคู่ นเดยี วมาจนถึงทกุ วันน้ี

“แกใ้ ห้ตกเน้อ
แก้บต่ กคาพกเจ้าไว้
แกบ้ ไ่ ดแ้ ขวนคอตอ่ งตแิ ต่ง
แกบ่ พ่ น้ คาก้นอย่างยาย
คายา่ งยายเวยี นตายเวียนเกิด
เวียนเอากาํ เนดิ ในภพทัง้ สาม
ภพทั้งสามเปน็ เฮือนเจ้าอยู่”

๖ กรานกฐิน สงฆ์พรอ้ มใจกันยกผ้ากฐินท่ีเกดิ แก่สงฆใ์ นเดือนทา้ ยฤดฝู นให้แก่ภิกษรุ ูปหนง่ึ ภกิ ษุผู้ได้รับเอาผ้าน้ัน
ไปทําจีวรครองผืนใดผืนหน่ึงให้เสร็จในวันน้ันแล้ว มาบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้านั้นให้เพื่ออนุโมทนาภิกษุสงฆ์
เหลา่ นน้ั อนโุ มทนา (ตามศัพท์คือ ลาด ปู ทาบไมส้ ะดงึ ) (จากวินัยมุข เลม่ ๑)

ท่านพระอาจารยม์ ่นั ภูริทตั ตเถระ 317

๕. เรอ่ื งคณุ ยายขาวก้ังตดิ ปญั หา

ในการเทศน์อบรมสั่งสอนฆราวาสญาติโยมนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมักจะกล่าวปรารภ
เปรียบเทียบให้ญาติโยมฟังอยู่เสมอว่า “การเทศน์การสั่งสอนฆราวาสญาติโยมนั้นเหมือนกับการ
จบั ปลานอกส่มุ ” (สมุ่ คอื เครอ่ื งจับปลาชนิดหน่ึง) การจบั ปลานอกสุ่มนั้นใคร ๆ ก็ยอ่ มร้วู า่ มนั ยาก
ขนาดไหน เพราะปลามันมีที่จะไปได้หลายทางโดยไม่มีขอบเขตจํากัด มันจึงไม่ยอมให้จับได้ง่าย ๆ
ไม่เหมือนกับปลาท่ีอยู่ในสุ่มซึ่งมีขอบเขตจํากัดบังคับมันอยู่จึงจับได้ง่าย แต่ทั้งน้ีท้ังน้ันไม่ได้
หมายความว่าปลานอกสุ่มจะจับไม่ได้เลย จับได้เหมือนกันสําหรับผู้มีปัญญา ท่านพระอาจารย์ม่ัน
ท่านมีอุบายวิธีอันชาญฉลาดมากในการสั่งสอนคน ถึงแม้ว่าท่านจะกล่าวปรารภในทํานองถ่อมตน
แต่องค์ท่านกส็ ามารถอบรมสั่งสอนโนม้ น้าวจติ ใจของญาตโิ ยมให้เกิดศรทั ธาปสาทะ ความเชอ่ื ความ
เลื่อมใสมาประพฤติปฏิบัติธรรมตามปฏิปทาของท่านเป็นจํานวนมากมหาศาล โดยเฉพาะอย่างย่ิง
ในยุคปัจจบุ ันนี้

ขอ้ ทน่ี า่ สงั เกตในอบุ ายวธิ กี ารสง่ั สอนญาตโิ ยมของทา่ นคอื ทา่ นจะสอนเนน้ เปน็ รายบคุ คลเฉพาะ
ผ้สู นใจประพฤตปิ ฏบิ ัติธรรมตามทีท่ า่ นไดพ้ จิ ารณาดูภายในแลว้ เทา่ น้ัน ถ้าหากญาตโิ ยมผู้ใดถกู ท่าน
พระอาจารยม์ นั่ พดู ทกั ซกั ถามแลว้ จะตอ้ งตงั้ ใจฟงั ใหด้ ี ๆ นน่ั แสดงวา่ ทา่ นจะบอกขมุ ทรพั ยใ์ ห้ จงึ เปน็
บุญลาภวาสนาของบุคคลนั้นโดยแท้ และบุคคลผู้นั้นจะถูกท่านซักถามแนะนําติดตามผลอยู่เสมอ
ตามอบุ ายวธิ ีของทา่ น จนสมควรแก่บุญวาสนาของบคุ คลน้ัน แล้วท่านจึงปล่อยให้ดาํ เนนิ ตามทท่ี า่ น
แนะสอน เพอ่ื เพิ่มบารมขี องเขาจนแก่กลา้ เป็นลาํ ดบั ตอ่ ไป

สมัยนั้นญาติโยมชาวบ้านหนองผือกําลังมีความสนใจในการปฏิบัติธรรมมากทั้งหญิงทั้งชาย
หลังจากได้พากันละเลิกนับถือผีแล้ว โดยท่านพระอาจารย์หลุย จันทสาโร ผู้แนะนําส่ังสอนเป็น
องค์แรกให้ละเลิกการนับถือผี ถือผิดเหล่าน้ัน ให้หันหน้ามานับถือพระไตรสรณคมณ์อย่างจริงจัง
มพี ระพทุ ธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พงึ่ แทน และท่านยงั ไดอ้ บรมส่ังสอนให้ปฏิบตั ฝิ ึกหดั
นัง่ สมาธิภาวนา พรอ้ มท้งั เดนิ จงกรมดว้ ย พากนั ปฏิบัตอิ ยา่ งนน้ั มาเรอ่ื ย ๆ จนทาํ ให้การปฏบิ ัติธรรม
ของญาติโยมชาวหนองผือสมัยน้ันบางคนมีความก้าวหน้ามาก และได้สละบ้านเรือนออกบวชกัน
หลายคน โดยเฉพาะฝ่ายหญิงออกถือบวชเนกขัมมะสละเรือนเป็นแม่ขาว แม่ชี สมาทานรักษา
ศลี แปดจํานวนหลายคนด้วยกนั ทีส่ ําคัญมีคุณยายขาวกง้ั เทพิน คณุ ยายขาววัน พิมพ์บตุ ร คุณยาย
ขาวสภุ รี ์ ทมุ เทศ คณุ ยายขาวตดั จนั ทะวงษา คณุ ยายขาวเงนิ โพธศ์ิ รี คณุ ยายขาวงา มะลทิ อง คณุ ยาย
ขาวกาสี โพธศ์ิ รี และคณุ แมช่ กี ดแกว้ จนั ทะวงษา๗ โดยมที า่ นพระอาจารยห์ ลยุ จนั ทสาโร เปน็ ผบู้ วชให้

๗ ชาวหนองผอื บวชเปน็ แมช่ ตี งั้ แตส่ มยั หลวงปหู่ ลยุ จนปจั จบุ นั ยงั เปน็ แมช่ พี กั อยวู่ ดั ปา่ หนองผอื และเลา่ เหตกุ ารณ์
สมยั หลวงปูม่ ัน่ มาจําพรรษาท่ีวัดป่าหนองผอื

318 ชีวประวัติ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

เมือ่ บวชแลว้ ไปอยู่ตามสาํ นักทตี่ ั้งขึ้นชวั่ คราวใกล้ ๆ กบั สํานกั สงฆ์ของครูบาอาจารย์ เพอ่ื จะได้
ฟังเทศน์ฟงั ธรรมจากทา่ นเมื่อมีโอกาส บางครัง้ พวกเขากพ็ ากันออกไปภาวนาหาความสงบวิเวกตาม
ป่าช้าบ้าง ตามปา่ เชงิ เขาและถ�ำ้ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ บรเิ วณน้ันบา้ ง เพื่อเปน็ การหาประสบการณใ์ หแ้ กจ่ ิตใจ
ไปกันเป็นกลุ่ม เม่ือเกิดปัญหาข้ึน ทางด้านปฏิบัติสมาธิแล้วจึงค่อยหาโอกาสเข้าไปกราบนมัสการ
เล่าถวายท่าน ท่านก็จะแก้ไขความขัดข้องน้ันให้ด้วยความเมตตากรุณา จนปัญหาเหล่านั้นลุล่วงไป
ดว้ ยดที กุ ประการ และไดป้ ฏบิ ตั กิ นั อยา่ งนนั้ มาเรอื่ ย ๆ จนกระทงั่ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ไดเ้ ดนิ ทางเขา้ ไป
ยังบ้านหนองผือและพํานักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ ยิ่งทําให้คุณยายขาวแม่ชีและญาติโยมซ่ึงกําลัง
มคี วามสนใจปฏบิ ตั ธิ รรมอยแู่ ลว้ มคี วามสนใจมากยงิ่ ขน้ึ จนบางคนปรากฏผลเปน็ ทน่ี า่ อศั จรรยใ์ นการ
ปฏบิ ตั สิ มาธภิ าวนา ในจาํ นวนนนั้ มีคณุ ยายขาวคนหน่งึ ผบู้ วชชเี มื่อตอนแก่ ทา่ นมีอายุมากกวา่ เพื่อน
และเปน็ หวั หนา้ คณะแมช่ ี ชอ่ื คณุ ยายขาวกง้ั เทพนิ อายปุ ระมาณ ๗๐ กวา่ ปี การปฏบิ ตั สิ มาธมิ คี วาม
กา้ วหนา้ มาก มคี วามรคู้ วามเหน็ ซงึ่ เกดิ จากการภาวนาหลายเรอ่ื งหลายประการ ทา่ นมนี สิ ยั ชอบเทย่ี ว
รสู้ ิง่ นนั้ ส่ิงน้ที างดา้ นจิตตภาวนาอยูเ่ สมอ เมื่อเกิดปัญหาขัดขอ้ งทางดา้ นจิตตภาวนา มีโอกาสก็เขา้ ไป
กราบนมัสการเลา่ ปัญหาใหท้ า่ นพระอาจารย์ม่นั ฟงั ทา่ นก็จะแนะอบุ ายวธิ ใี ห้ไปประพฤตปิ ฏบิ ัตติ าม
ในท่สี ุดปัญหาเหลา่ น้นั ก็ตกไป

ตอนหลังคุณยายขาวก้ังท่านแก่ชราภาพมาก ไปมาไม่สะดวก ลูกหลานจึงให้ไปพักท่ีบ้าน
ขณะที่อยู่บ้านท่านก็ไม่ได้ลดละความพากเพียร ตอนบ่ายเดินจงกรมบนบ้าน ค่�ำลงเข้าห้องทําวัตร
สวดมนต์ เสร็จแล้วน่ังสมาธิภาวนาต่อ ทําอย่างนี้ทุกวัน ตอนหนึ่งท่านน่ังภาวนาจิตไปเที่ยวเพลิน
ชมเมืองสวรรค์เกือบทุกคืน นั่งภาวนาคราวใดจิตจะไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์ทุกคร้ัง ท่านบอกว่า
มนั สนกุ สนานเพลดิ เพลนิ เหน็ แตส่ งิ่ สดสวยงดงามทงั้ นน้ั ไปแลว้ กอ็ ยากไปอกี เปน็ อยา่ งนอ้ี ยหู่ ลายวนั
วนั หนง่ึ ไปกราบนมสั การเลา่ เรอ่ื งนถ้ี วายทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ทา่ นจงึ พดู ปรามไมใ่ หไ้ ปเทย่ี วเมอื งสวรรค์
บ่อยนกั แตค่ ณุ ยายขาวก้ังก็ยงั ติดอกตดิ ใจจะไปชมเมอื งสวรรค์อีก

คืนหน่ึงคุณยายขาวนั่งสมาธิภาวนาจะน้อมจิตไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์ตามท่ีเคยไป แต่เหมือน
มีอะไรมาขวางก้นั จติ ทาํ ให้ไม่รู้ทศิ ทางที่จะไป คนื นน้ั เลยไปไมไ่ ด้ พอตอนเชา้ ฉันจงั หันเสรจ็ คุณยาย
กไ็ ปทวี่ ดั เขา้ ไปกราบนมสั การทา่ นพระอาจารยม์ นั่ เลา่ เรอื่ งถวายทา่ นวา่ “เมอ่ื คนื นห้ี ลวงพอ่ เอาหนาม
ไปปิดทางขา้ น้อย ขา้ น้อยเลยไปมิได”้ ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า “ไปเที่ยวเฮ็ดยั้ง ดุแท้ (บ่อยแท้)”
คณุ ยายขาวจงึ พดู ตอบวา่ “ไปแลว้ มนั มวนรน่ื เรงิ ใจ เหน็ แตส่ งิ่ สวย ๆ งาม ๆ ทงั้ นน้ั ” ทา่ นพระอาจารย์
จงึ บอกวา่ “เอาละ่ บต่ อ้ งไปอกี นะทนี ”้ี คณุ ยายขาวกเ็ ขา้ ใจความหมายและยอมรบั ทท่ี า่ นพระอาจารย์
ม่ันพูดเช่นนั้น แต่ในใจของคุณยายก็ยังคิดอยากจะไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์อยู่อีก ท่านพระอาจารย์
ไมใ่ หไ้ ปเพราะทา่ นกลวั คณุ ยายจะผดิ ทางและเสยี เวลา ทา่ นตอ้ งการอยากจะใหด้ หู วั ใจตวั เองมากกวา่
จงึ จะไมผ่ ิดทาง ในที่สดุ คุณยายขาวกร็ ับไปปฏบิ ัตติ าม

ตามปกติคุณยายขาวก้ังจะเข้าไปกราบถามปัญหาธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นอยู่เสมอ ๆ
แตล่ ะครงั้ ใช้เวลาไมน่ าน เพราะคณุ ยายขาวจะถามเฉพาะปัญหาที่แก้ไมต่ กจริง ๆ เท่าน้ัน เมื่อท่าน

ทา่ นพระอาจารย์มั่น ภูรทิ ตั ตเถระ 319

พระอาจารย์มั่นตอบมาอย่างไร คุณยายเข้าใจแล้วจะกราบลาท่านกลับที่พักของตน เป็นอยู่อย่างน้ี
เสมอ

ต่อมาคุณยายขาวกั้งก็เกิดปัญหาทางจิตท่ีสําคัญข้ึนอีกคือ วันหน่ึงไปท่ีวัดเพ่ือจะไปกราบถาม
ปัญหากับท่านพระอาจารย์มั่นตามปกติ วันนั้นพอถึงวัดเข้าไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์ม่ัน
ท่านจึงทักขึ้นว่า “ฮ้วย..บ่แม่นไปเกิดกับหลานสาวแหล่วบ่หน้อ” (หมายความว่า ไม่ใช่จิตของยาย
เข้าไปปฏิสนธิในครรภ์ของหลานสาวแล้วหรือ) เพราะช่วงน้ัน คุณยายขาวมีหลานสาวคนหน่ึง
แต่งงานใหม่กําลังต้ังครรภ์อ่อน ๆ อยู่ ด้วยเหตุน้ีคุณยายขาวก้ังจึงบอกต่อท่านพระอาจารย์มั่นว่า
“ขา้ นอ้ ย มเิ ยอะเกดิ เพราะวา่ มนั ทกุ ข์ แลว้ ละ่ เอด็ แนวเลอ ขา้ นอ้ ยจงั สมิ เิ กดิ อกี ” ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั
ตอบว่า “อ้าว..เอาให้ดีเด้อ...ภาวนาให้ดี ๆ เด้อ” เหมือนกับคติพจน์ท่ีท่านมักยกขึ้นมากล่าว
อยูเ่ สมอว่า “แก้ให้ตกเนอ้ แกบ้ ต่ กคาพกเจา้ ไว้ แก้บไ่ ด้แขวนคอต่องติแตง่ แกบ้ ่พน้ คากน้ อยา่ งยาย
คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากําเนิดในภพท้ังสาม ภพท้ังสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่” ดังน้ี
จากนนั้ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั คงจะแนะอบุ ายวธิ แี กใ้ หแ้ กค่ ณุ ยายนาํ ไปปฏบิ ตั ิ คณุ ยายพอไดอ้ บุ ายแลว้
ก็ถือโอกาสกราบลาทา่ นกลับบา้ นของตน

เมอื่ กลบั ถงึ บา้ นแลว้ จดั แจงเตรยี มตวั เตรยี มใจทาํ ความพากเพยี ร ตามอบุ ายทที่ า่ นพระอาจารย์
แนะนําให้ปฏิบัติ คุณยายขาวก้ังทําความพากเพียรน่ังสมาธิภาวนาอยู่ประมาณสองหรือสามวัน
จงึ รูส้ าเหตุ แต่ก็ยงั ไมส่ ามารถทาํ ลายอวิชชา ตัณหา อปุ ทาน เหลา่ น้นั ได้ จนคุณยายขาวกง้ั อทุ าน
ออกมาให้ลูกหลานฟังวา่ “พวกสู..กกู ําลงั ไปเกดิ กับออี นุ่ จงั วากมู เิ ยอะเกดิ อิ กูกําลงั มา้ งอยเู่ ดีย๋ วนี้”
(หมายความวา่ พวกลกู ๆ หลาน ๆ ทัง้ หลาย ยายเห็นว่ายายกาํ ลงั ไปเกิดเป็นลูกของหลานสาวคือ
นางอุ่น แต่ว่ายายไม่ต้องการจะเกิดอีก จึงกําลังพยายามทําลายภพชาติอยู่ในขณะน้ี) หลังจากน้ัน
ต่อมาไม่นานนางอุ่นหลานสาวของคุณยายขาวก้ัง ที่กําลังตั้งท้องอยู่ยังไม่ถึงเดือนนั้นก็แท้งออกเสีย
โดยไม่รู้สาเหตุเลย หรือจะเป็นด้วยจิตเดิมของคุณยายขาวเข้าไปปฏิสนธิในครรภ์ของนางอุ่น
หลานสาวจริง เม่ือคุณยายทําลายสาเหตุคืออวิชชา อุปาทานในจิตของคุณยายได้แล้ว จึงทําให้
ครรภ์น้ันแท้งเสยี ดังกล่าว

สาํ หรบั คุณยายขาวกง้ั หรือแมช่ ีกงั้ เรอ่ื งการภาวนานัน้ รสู้ ึกว่ามคี วามก้าวหนา้ มาก และเป็นไป
เรว็ กวา่ บรรดาแมช่ ที บี่ วชรนุ่ เดยี วกนั แมจ้ ะถอื บวชชตี อนแกข่ องบน้ั ปลายชวี ติ แลว้ กต็ าม การภาวนา
ของท่านก็เกิดความรู้ความเห็นวิจิตรพิสดารโลดโผนมาก แต่คงจะเป็นด้วยบุญวาสนาของคุณยาย
ที่มีท่านพระอาจารย์มั่น ซ่ึงเป็นครูบาอาจารย์ท่ีเชี่ยวชาญทางด้านจิตตภาวนา ได้เข้ามาพํานักอยู่
วัดป่าบ้านหนองผือในช่วงนั้นพอดี จึงเป็นโอกาสให้คุณยายขาวกั้งได้เข้าไปกราบถามปัญหาต่าง ๆ
ท่ีเกิดจากการภาวนากับองค์ท่านจนสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นให้ลุล่วงไปด้วยดีและก้าวหน้าในการ
ปฏบิ ัติธรรมไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ จนเปน็ ทีอ่ บอุ่นใจของคุณยายมาจนกระทั่งทา่ นหมดอายุขยั

ส่วนแม่ขาวแม่ชีนอกนั้นก็ไม่ได้น่ิงนอนใจ ประพฤติปฏิบัติทําความพากเพียรตามรอยปฏิปทา
ของทา่ นพระอาจารยม์ นั่ มาเรอื่ ย ๆ ตามลาํ ดบั และไดค้ รองเพศถอื บวชเปน็ แมข่ าวแมช่ สี มาทานรกั ษา

320 ชีวประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

ศีลแปด เจริญเมตตาภาวนาของท่านมาจนจิตใจหนักแน่นมั่นคงในธรรมปฏิบัติ ไม่อาจกลับย้อนไป
ถอื เพศเปน็ ผู้ครองเรอื นอกี จนตลอดสิน้ อายขุ ัยของทา่ นทกุ คน ส่วนฆราวาสญาตโิ ยมผมู้ ีอนิ ทรีย์ยงั ไม่
แก่กล้า ไม่อาจสละบา้ นเรอื นออกถอื บวชได้ กต็ ั้งตนอยใู่ นภูมิธรรมของอุบาสกอุบาสกิ าทด่ี ที ง้ั หลาย
และมีจิตใจศรัทธาม่ันคงอยู่ในแต่บวรพุทธศาสนา ถือพระไตรสรณคมน์เป็นหลักในการบําเพ็ญตน
ตลอดถึงคุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกาห้าประการคือ ประกอบด้วยศรัทธา ๑ มีศีลบริสุทธ์ิ ๑
เช่ือกรรมว่าทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ๑ ไม่แสวงบุญนอกเขตพุทธศาสนา ๑ และ
บาํ เพ็ญบุญแต่ในพทุ ธศาสนา ๑ ดงั นี้ ตลอดมาจนส้นิ ชวี ิตของเขานนั่ แล

ทา่ นบอกว่า สงครามเขาจะสงบแลว้ ไมต่ ้องเอากไ็ ด้ พวกตะกรุดยนั ต์ ผา้ ยันตเ์ หลา่ น้ัน น่นั มัน
เป็นของภายนอก สู้เอาคาถาบทน้ีไปบริกรรมแนบกับใจไม่ได้ ให้บริกรรมทุกเช้าค่�ำจนข้ึนใจแล้วจะ
ปลอดภัย อนั ตรายตา่ ง ๆ จะไมม่ ากลำ�้ กลายตัวเราไดเ้ ลย คาถาบทนน้ั ว่าดังนี้

“นะโม วมิ ุตตานงั นะโม วมิ ุตตยิ า” ตัง้ แต่น้ันมาชาวบ้านหนองผอื เลยไมก่ ล้าขอทา่ นอกี และ
เป็นความจริงตามท่ที ่านพระอาจารย์มั่นพดู ยังไมถ่ งึ ๗ วนั ก็ได้ทราบขา่ ววา่ เคร่ืองบนิ ทหารอเมริกัน
บนิ ไปทง้ิ ระเบดิ ปรมาณใู สเ่ มอื งฮโิ รซมิ าและนางาซากิ ประเทศญปี่ นุ่ ยอ่ ยยบั จนในทสี่ ดุ ประเทศญปี่ นุ่
ประกาศยอมแพส้ งคราม และสงครามในครงั้ นน้ั กส็ งบจบสนิ้ ลงดงั ทพี่ วกเราทา่ นทง้ั หลายไดร้ กู้ นั แลว้
ในหนา้ ประวัติศาสตรน์ ั้นแล

๖. เร่อื งกำ� ลงั ใจ

ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นปีที่คณะเสรีไทยกําลังโด่งดังมาก บ้านหนองผือก็เป็นอีกแห่งที่
คณะเสรไี ทยเขา้ ไปตงั้ คา่ ยเพอ่ื ฝกึ อบรมคณะครแู ละประชาชนชายหนมุ่ ใหไ้ ปเปน็ กองกาํ ลงั ทหารตอ่ สู้
ขับไลท่ หารญ่ีปนุ่ ในสมัยนนั้ คุณครูหนไู ทย สุพลวานชิ ๘ เป็นผู้หนงึ่ ที่ถูกเกณฑ์ให้ไปฝกึ อบรมในค่ายน้ี
ทา่ นเกดิ ทบ่ี า้ นหนองผอื นเี่ อง เปน็ ธรรมดาสญั ชาตญาณของคนเรา เมอ่ื ตกอยใู่ นภาวะเหตกุ ารณเ์ ชน่ นี้
จงึ ทาํ ใหแ้ สวงหาสงิ่ พง่ึ พงิ ทางใจในยามคบั ขนั ชว่ งเวลาวา่ งในการฝกึ กน็ งั่ พกั ผอ่ นตามอธั ยาศยั พดู คยุ
สรวลเสเฮฮากบั หมเู่ พอ่ื นรว่ มคา่ ยหลายเรอ่ื งหลายราว จนกระทง่ั มาถงึ เรอื่ งของดขี องขลงั ของศกั ดส์ิ ทิ ธิ์
ตา่ ง ๆ เพอื่ ปอ้ งกนั อนั ตรายทจ่ี ะมาถงึ ตวั มเี พอื่ นคนหนงึ่ ในจาํ นวนนน้ั ไดพ้ ดู ขนึ้ วา่ “พระอาจารยใ์ หญ่
ในวัดป่าบ้านหนองผือ ทราบข่าวว่าท่านเป็นพระดีองค์หน่ึง พวกเราจะไม่ลองไปขอของดีกับท่านดู
บา้ งหรือ ทา่ นคงจะใหพ้ วกเรา”

ด้วยคําพูดของเพ่ือนจึงทําให้ครูหนูไทยนําไปคิดเป็นการบ้าน วันต่อมาคุณครูหนูไทยหา
แผน่ ทองมาได้แผน่ หนึง่ มาตดั เป็นสี่แผ่นเลก็ ๆ วางใสจ่ านขนั ธ์ห้า แลว้ ใหโ้ ยมผ้เู ฒา่ ทายกวดั ทเี่ ป็น
ญาติซึ่งไปจังหันท่ีวัดในตอนเช้านําแผ่นทองถวายท่านพระอาจารย์ม่ัน เพ่ือให้ท่านทําหลอดยันต์ให้

๘ ชาวหนองผือ ผู้อยูใ่ นเหตุการณ์และเปน็ ผู้ถ่ายทอดเรือ่ งราว ปัจจุบนั มีชีวติ อยใู่ นอาํ เภอวาริชภมู ิ จ.สกลนคร

ท่านพระอาจารย์มนั่ ภูริทัตตเถระ 321

แต่โยมผู้ท่ีนําแผ่นทองไปนั้นไม่กล้าเข้าไปหาท่านพระอาจารย์มั่นโดยตรง จึงให้พระอุปัฏฐากเข้าไป
ลองถามทา่ นดกู อ่ น ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ไดพ้ ดู ตอบพระอปุ ฏั ฐากวา่ “เขาอยากได้ กะเฮด็ ใหเ้ ขาสน้ั ตว๊ั ”
(หมายความว่า เขาต้องการก็ทําให้เขาได้จะเป็นอะไร) เมื่อพระอุปัฏฐากเข้าใจแล้วจึงบอกให้โยม
เอาแผ่นทองมาให้ท่าน รออยู่ประมาณสามวันพระอุปัฏฐากท่านก็นําหลอดยันต์น้ันมาให้โยม แล้ว
โยมผูเ้ ฒ่าคนนั้นจึงนํามาให้คุณครูหนูไทยอีกทีหนง่ึ คณุ ครหู นไู ทยเมื่อได้ของดแี ลว้ ก็มีความดอี กดีใจ
เปน็ อนั มาก ทะนุถนอมเก็บรกั ษาไวใ้ นทีม่ ิดชดิ และนําตดิ ตวั ไปในทุกสถานทเ่ี ลยทเี ดียว

วันหนึ่งว่างจากการฝึกอบรมจึงเดินเที่ยวเล่นไปทางด้านหลังสนาม เผอิญเหลือบไปเห็น
พวกเพ่อื น ๓-๔ คน กาํ ลังทําอะไรกันอยูข่ ้างมุมสนาม คณุ ครหู นูไทยจงึ เดินไปดกู เ็ หน็ พวกเขากําลงั
ทดลองจะยิง “เขี้ยวหมูตัน” ด้วยอาวุธปืนคาร์ไบน์ (ชื่อเรียกในสมัยนั้น) เมื่อเขาทดลองยิงแล้ว
ปรากฏวา่ “เขย้ี วหมตู นั ” ที่ถือว่าเปน็ ของขลงั ศักดิส์ ิทธน์ิ ้นั แตกกระจายไปคนละทศิ ละทาง เพื่อนคน
ท่ีเป็นเจ้าของเข้ียวหมูตันน้ันหน้าถอดสีไปหมด ส่วนเพ่ือนท่ีเป็นคนยิงคงจะย่ามใจ หันหน้ามาถาม
คุณครูหนูไทยที่เดินเข้าไปสมทบทีหลังว่า “มีของดีอะไรมาลองบ้างเพ่ือน” ด้วยความซ่ือและความ
เป็นเพอื่ น คุณครูหนูไทยจึงตอบเขาไปวา่ “มีอยู่” แค่นน้ั แหละเพือ่ นคนนั้นกก็ ้าวเท้าเขา้ มา เอามือ
ล้วงปั๊บไปทกี่ ระเป๋าเสอ้ื ของคุณครหู นูไทยพร้อมกบั พูดขึน้ ว่า “ไหนเอาของดีมาลองดูซิ” โดยคณุ ครู
หนูไทยคิดไม่ถึงว่าเพ่ือนจะกล้าทําได้เช่นนั้น แต่ก็ช้าไปเสียแล้ว วัตถุส่ิงน้ันจึงติดมือเพื่อนคนน้ันไป
คณุ ครูหนไู ทยวอนขอเขาอยา่ งไรเขากไ็ มย่ อมคืนใหท้ า่ เดยี ว

ในทส่ี ดุ เขากน็ าํ ตะกรดุ ยนั ตน์ นั้ ไปวางในทร่ี ะยะหา่ งประมาณสกั ๓-๔ วา แลว้ เขากถ็ อยกลบั มา
ยกปืนขึ้นเล็งไปท่ีตะกรุดยันต์นั้น เพื่อนทุกคนที่อยู่ท่ีนั่นเงียบกริบ ต่างคนก็ต่างเอาใจไปจดจ่อท่ี
จุดเดียวกัน สักคร่คู นยิงจึงกดไกปืนเสียงดัง “แชะ แชะ” แตไ่ ม่ระเบิด ทงั้ หมดท่ีอย่ทู ่นี น่ั ตา่ งตกตะลึง
ครงั้ ทสี่ ามเขาลองหนั ปลายกระบอกปนื นน้ั ขน้ึ บนฟา้ แลว้ กดไกอกี ครง้ั ปรากฏวา่ เสยี งปนื กระบอกนนั้
ดังสน่ันหว่ันไหวไปทั่วบริเวณ ส่วนคุณครูหนูไทยนึกได้จึงใช้จังหวะน้ันกระโดดวิ่งเข้าไปหยิบตะกรุด
ยันต์นัน้ อยา่ งรวดเร็วแล้วกําไว้ในมอื อยา่ งหวงแหนทส่ี ุด ถงึ แม้พวกเพ่ือน ๆ จะขอดูขอชม ก็ไมอ่ ยาก
จะให้เขาดูเขาชม เดินบ่ายเบี่ยงไปทางอ่นื แตพ่ วกเพื่อนกข็ อดูขอชมจนได้ เสร็จแล้วทุกคนจึงพากัน
เลกิ ลากลบั ทพี่ กั ของตนดว้ ยความฉงนสนเทห่ ์ และตนื่ เตน้ ในอภนิ หิ ารตะกรดุ ยนั ตข์ องทา่ นพระอาจารย์
ม่ันเปน็ อยา่ งมาก อนั นคี้ ณุ ครหู นไู ทยเลา่ ให้ฟังอยา่ งนัน้

ภายหลังต่อมาบางคนทราบข่าวจึงพากันไปขอจากท่านพระอาจารย์ที่วัด ส่วนมากจะได้เป็น
แผ่นผ้าลงอักขระคาถาตัวยันต์ สําหรับตะกรุดแผ่นทองนั้นไม่ค่อยมี เพราะแผ่นทองสมัยน้ันหายาก
มาก ต่อมาไม่นานทา่ นพระอาจารยค์ งเหน็ วา่ มากไปจนเกินเลย จึงบอกให้เลกิ ทา่ นบอกว่า สงคราม
เขาจะสงบแล้ว ไมต่ อ้ งเอากไ็ ดพ้ วกตะกรดุ ยนั ต์ ผ้ายนั ตเ์ หล่านั้น นั่นมนั เปน็ ของภายนอก ส้เู อาคาถา
บทน้ีไปบริกรรมแนบกบั ใจไม่ได้ ให้บรกิ รรมทุกเชา้ ค�ำ่ จนข้นึ ใจแล้วจะปลอดภยั อนั ตรายตา่ ง ๆ จะ
ไมม่ ากล�ำ้ กลายตวั เราได้เลย คาถาบทนัน้ วา่ ดังนี้ “นะโม วมิ ตุ ตานัง นะโม วิมตุ ตยิ า๙” ฯลฯ ตัง้ แต่

๙ เปน็ บทสวด ส่วนหนง่ึ ของบทสวด โมระปะรติ ตงั (คาถานกยงู )

322 ชีวประวัติ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

น้ันมาชาวบ้านหนองผือเลยไม่กล้าขอท่านอีก และเป็นความจริงตามท่ีท่านพระอาจารย์มั่นพูด
ยงั ไมถ่ งึ ๗ วัน ก็ไดท้ ราบขา่ ววา่ เครื่องบินทหารอเมริกันบนิ ไปท้งิ ระเบดิ ปรมาณใู ส่เมืองฮโิ รซมิ าและ
นางาซากิ ประเทศญ่ีปุ่นย่อยยับ จนในท่ีสุดประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม และสงคราม
ในครั้งนั้นก็สงบจบสิน้ ลงดังทพ่ี วกเราทา่ นทงั้ หลายไดร้ ู้จักกันแล้วในหน้าประวตั ศิ าสตร์น้ันแล

โมระปะริตตงั (คาถานกยงู )
อเุ ทตะยญั จกั ขมุ า เอกะราชา
หะริสสะวณั โณ ปะฐะวปิ ปะภาโส
ตงั ตงั นะมสั สามิ หะริสสะวณั ณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยชั ชะ คุตตา วิหะเรมุ ทวิ ะสัง
เย พราหมะณา เวทะคุ สพั พะธมั เม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยนั ตุ
นะมตั ถุ พทุ ธานัง นะมตั ถุ โพธิยา
นะโม วมิ ตุ ตานงั นะโม วมิ ตุ ติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กตั ว๎ า โมโร จะระติ เอสะนาฯ
อะเปตะยญั จกั ขมุ า เอกะราชา
หะริสสะวณั โณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตงั ตงั นะมสั สามิ หะริสสะวณั ณงั ปะฐะวิปปะภาสงั
ตะยัชชะ คตุ ตา วหิ ะเรมุ รตั ตงิ
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธมั เม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยนั ตุ
นะมัตถุ พุทธานงั นะมตั ถุ โพธยิ า
นะโม วิมุตตานัง นะโม วมิ ุตตยิ า
อมิ ัง โส ปะรติ ตัง กัตว๎ า โมโร วาสะมะกปั ปะยีติ ฯ

เอกสาร

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ. ปกิณกธรรม. ในหนังสือ บูรพาจารย์. พิมพ์ครั้งที่ ๑. บริษัท
ศิลป์สยามบรรจภุ ัณฑแ์ ละการพมิ พ์ จำ� กดั กรงุ เทพฯ. ๒๕๔๓ : ๑๒๗-๑๖๐.

ท่านพระอาจารยม์ ่นั ภูริทัตตเถระ 323

เคลอ่ื นขบวนไปสคู่ วามจรงิ

พฤศจกิ ายนเปน็ เดือนท้ายของฤดฝู น อณุ หภูมิเริ่มมีการเปล่ยี นแปลงเขา้ สูห่ นา้ หนาว ตอนเชา้
มีหมอกลงบางเบา อากาศหนาว ท้องฟ้าโปร่งแจ่มใสในเวลากลางวัน กลางคืนหนาวเยือกเย็นต้อง
ห่มผ้าหนาหลายผืน ลมประจําฤดูเริ่มพัดโชยมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพัดผ่านลงสู่
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ อันเป็นการแสดงถึงอาการท่ีจะเข้าสู่หน้าหนาว พืชไร่และต้นข้าวในนาของ
ชาวไร่ชาวนากาํ ลงั แกใ่ บเหลืองเปน็ สีทอง เมด็ ขา้ วในรวงกําลังสุกสกาวเหลืองอร่ามแผก่ ระจายไปทว่ั
ทกุ ทอ้ งนาอนั กวา้ งใหญไ่ พศาลสดุ สายหู สายตา นำ�้ ตามตลง่ิ หว้ ย หนอง คลอง บงึ ตา่ ง ๆ เรมิ่ หยดุ ไหล
ประชาชนชาวไรช่ าวนาในชนบทกาํ ลงั มคี วามหวงั ทจ่ี ะไดเ้ กบ็ เกยี่ วขา้ วในนาของตน มองดใู บหนา้ และ
แววตาของแต่ละคนมีความสดชื่นเป็นประกาย น่ันหมายถึงการทําไร่ทํานาในปีน้ีกําลังให้ผลผลิต
อย่างเต็มที่ แต่ละคนมีความกระปร้ีกระเปร่ากุลีกุจอเตรียมเสาะแสวงหาเคร่ืองมือหรืออุปกรณ์
ในการเก็บเก่ียวข้าวกัน เช่น เคียวเก่ียวข้าว ต้องซ้ือต้องหา กระบุง ตะกร้า มีด พร้า จอบ เสียม
ตลอดท้ังเตรียมถากถางลานนาสําหรับเป็นท่ีนวดข้าวเป็นต้น เหล่านี้เป็นวิถีชีวิตของชาวไร่ชาวนา
ในภาคอสี านทัว่ ไป

ชาวบ้านหนองผือก็เช่นเดียวกัน มีความหวังต้ังตารอท่ีจะได้ลงนาเก็บเกี่ยวข้าวกันในเดือนน้ี
แต่ก็พะวักพะวงรอฟังข่าวคราวของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่ีอยู่ทางวัดป่าฯ เพราะทราบว่าองค์ท่าน
พระอาจารย์มั่นท่านชราภาพมากแล้ว อาการอาพาธของท่านมีแต่ทรงกับทรุด ครูบาอาจารย์ที่
อุปัฏฐากท่านก็พยายามช่วยเยียวยารักษาท่านอย่างเต็มท่ี มีพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน๑
พระอาจารย์ทองคํา ญาโณภาโส และพระอาจารย์วัน อุตตโม๒ พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ท่ีเป็น
ฆราวาสกช็ ว่ ยตดิ ตามหมอชาวบา้ นทเ่ี คยเปน็ หมอเสนารกั ษป์ ระจาํ ตาํ บล มาฉดี ยารกั ษาใหห้ ลายครงั้
หลายคราว แตอ่ าการอาพาธของท่านมีแตพ่ อทุเลาแล้วกท็ รดุ ลงไปอกี ดังที่กล่าวมาแลว้

เมื่อออกพรรษาแล้วครูบาอาจารย์พระเถระผู้ใหญ่จึงเริ่มทยอยเดินทางเข้าไปยังวัดป่า
บา้ นหนองผอื เชน่ พระอาจารยก์ งมา จริ ปญุ โญ พระอาจารยเ์ ทสก์ เทสรงั สี พระอาจารยก์ ู่ ธมั มทนิ โน
พระอาจารยฝ์ น้ั อาจาโร พระอาจารยอ์ อ่ น ญาณสริ ิ เปน็ ตน้ หลายครง้ั หลายหนจนกระทงั่ ปลายเดอื น
ตลุ าคมข้ึนต้นเดอื นพฤศจกิ ายน ประมาณวันท่ี ๑ หรอื ๒ พ.ศ. ๒๔๙๒ ขา่ วทางวัดกระจายเข้ามาถึง
หมู่บ้านและกระจายไปทั่วหมู่บ้านอย่างรวดเร็วว่า ทางคณะครูบาอาจารย์ท่านได้ตกลงกันว่าจะนํา
องค์ทา่ นพระอาจารยม์ ่ันซ่ึงกําลังอาพาธอยูอ่ อกไปจากบ้านหนองผอื ในวันพรงุ่ นี้

๑ จากหนงั สือ “หยดน�้ำบนใบบัว” หน้า ๑๒๒-๑๒๓
๒ จากหนงั สือ “อนสุ รณ์งานเสดจ็ พระราชดาํ เนิน พระราชทานเพลิงศพ พระอดุ มสังวรวิสทุ ธเิ ถร” หน้า ๗๐-๗๒

324 ชีวประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

เหตกุ ารณ์น้ที าํ ให้ญาตโิ ยมชาวบา้ นหนองผือมคี วามรู้สึกซมึ เซอ่ จนต้ังตวั ไม่ติด คดิ อะไรไมอ่ อก
ทาํ อะไรไมถ่ กู เลยทเี ดยี ว ภาษาสมยั ใหมเ่ รยี กวา่ “ชอ็ ค” เกอื บจะทง้ั หมบู่ า้ น จากนนั้ ความหมน่ หมอง
ก็เข้ามาแทนท่ีในดวงจิตของประชาชนชาวบ้านหนองผือและว้าวุ่นขุ่นมัวตลอดมา จะพากันคิด
พิจารณาทัดทานขอร้องไม่ให้นําองค์ท่านพระอาจารย์มั่นออกไปจากบ้านหนองผือก็ทําไม่ได้ เพราะ
ดว้ ยความเคารพศรทั ธาเลอื่ มใสในครบู าอาจารยท์ ง้ั หลาย ดว้ ยความนบนอ้ มถอ่ มตน และดว้ ยเหตผุ ล
ของคณะครูบาอาจารย์ท่านก็มีออกมาหลายประการเพื่อจะนําองค์ท่านพระอาจารย์มั่นออกจาก
หนองผอื ได้

บางท่านก็มีความเห็นว่าอยากจะให้นําองค์ท่านพระอาจารย์มั่นออกจากบ้านหนองผือ
เพอ่ื ไปพกั รกั ษาตวั ทว่ี ดั ปา่ สทุ ธาวาส เพราะอยใู่ นตวั จงั หวดั การหมอการแพทยท์ นั สมยั กวา่ ความเจรญิ
ทางการแพทยก์ าํ ลงั เขา้ สตู่ วั จงั หวดั สกลนคร การเยยี วยารกั ษาคงจะแนน่ อนขน้ึ บางทา่ นกม็ เี หตผุ ลวา่
องคท์ า่ นพระอาจารยเ์ คยปรารภถงึ โยมแมน่ มุ่ ในทาํ นองยกยอ่ งอยเู่ สมอ ๆ ในครง้ั ทอ่ี งคท์ า่ นเรม่ิ อาพาธ
ใหม่ ๆ ตอนในพรรษา ชะรอยองค์ท่านคงจะต้องการให้นําท่านไปวัดป่าสุทธาวาส เพื่อจะได้โปรด
โยมแม่นุ่มซ่ึงเคยอุปการะต่อครูบาอาจารย์สายวัดป่ากรรมฐานเป็นคร้ังสุดท้าย เลยถือเป็นเหตุอ้าง
ในการตกลงนาํ องค์ทา่ นไปยังวดั ปา่ สทุ ธาวาส

บ้างก็มีเหตุผลที่มองการณ์ไกลออกไปอีกว่า การอาพาธของท่านพระอาจารย์ใหญ่ของเรา
ในคราวคร้ังนี้คงเป็นคร้ังสุดท้ายจะเอายาอะไรมาเยียวยารักษาก็คงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
เพราะองคท์ า่ นพระอาจารยท์ า่ นพดู อยเู่ สมอ ๆ วา่ “เอานำ้� มารดไมแ้ กน่ ลอ่ นใหม้ นั ปงเปน็ ใบ สมิ ลี อื้ ”
(เป็นคําถ่นิ อีสาน หมายความวา่ จะเอาน้�ำมารดต้นไม้ที่ตายยนื ตน้ เหลือแต่แก่นใหผ้ ลดิ อกออกใบอกี
นั้นเป็นส่ิงที่เป็นไปไม่ได้) เมื่อเป็นเช่นน้ีก็หมายความว่าองค์ท่านพระอาจารย์จะต้องจากพวกเราไป
อย่างแน่นอน เพราะฉะน้ัน หากท่านมรณภาพท่ีบ้านหนองผือแล้ว จะมีเหตุขัดข้องหลายอย่าง
หลายประการ ผคู้ นประชาชนกจ็ ะมามาก หนทางไปมากไ็ มส่ ะดวก ตลาดกไ็ มม่ ี เกรงวา่ จะเปน็ เหตุ
ใหส้ ตั วต์ ายในงานนเี้ ปน็ จาํ นวนมาก เขาจะฆา่ ทาํ อาหารสาํ หรบั เลย้ี งแขกทมี่ าในงานถา้ มรณภาพ
ที่วัดปา่ สุทธาวาส กม็ ีตลาดเขาทาํ กนั อยแู่ ล้ว

จากน้ันทา่ นพระอาจารย์ม่ันจึงพูดว่า “รอใหผ้ ู้ใหญ่มาเกน่ิ ผู้ใหญเ่ ผ่ินสวิ ่าจง่ั ใด” ผใู้ หญ่ในท่นี ี้
คงจะหมายถึงท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เพราะเม่ือท่านพระอาจารย์ม่ันพูดได้ไม่นาน ก็พอดี
เปน็ จังหวะทท่ี า่ นพระอาจารยเ์ ทสก์เข้าไปยงั วดั ปา่ บ้านหนองผอื ในวันนน้ั

หลังจากนั้นข่าวการจะหามท่านพระอาจารย์มั่นออกจากบ้านหนองผือก็เป็นความจริง การ
ดําเนินการหามจึงเริ่มข้ึนคือการเตรียมหาอุปกรณ์ในการหาม โดยป่าวร้องให้ประชาชนชาวบ้าน
หนองผือชว่ ยจัดหาแครไ่ ม้ โดยใช้ไมไ้ ผท่ ั้งลาํ ตดั ยาวประมาณ ๒ วา ๔ ลํา เชือกอีกประมาณ ๘ เสน้
และผา้ ขาวสาํ หรบั มงุ หลงั คากนั แดด ประกอบกนั เขา้ ทาํ เหมอื นกระทนู เกวยี น เมอ่ื ทาํ แนน่ หนามน่ั คง
เรียบร้อยจึงเก็บเตรียมไว้ พอเช้าวันรุ่งข้ึนฉันจังหันเสร็จ พระเณรก็ไปที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่นเพ่ือ
จัดเก็บขา้ วของเครือ่ งใช้อัฐบรขิ ารท่ีจาํ เป็นจะตอ้ งนําไปด้วย

ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั ภรู ิทตั ตเถระ 325

เมื่อพระเณรจัดเก็บอัฐบริขารที่จําเป็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้มีหน้าท่ีหามก็หามแคร่ไม้ท่ีทํา
เสรจ็ แลว้ นนั้ ไปตง้ั ทหี่ นา้ กฏุ ทิ า่ น แลว้ พระเถระจงึ เขา้ ไปกราบอาราธนาทา่ นพระอาจารยม์ นั่ เพอ่ื จะได้
นําองคท์ า่ นข้นึ แครห่ ามท่ีเตรยี มไว้ เมื่อท่านทราบ ทา่ นพระอาจารยน์ ง่ิ ไม่วา่ อะไร พระเถระท้ังหลาย
ถอื เอาอาการนัน้ วา่ ทา่ นรับอาราธนาหรอื อนญุ าตแลว้ ดังนนั้ พระเถระและพระอปุ ัฏฐากจึงขอโอกาส
เข้าไปประคองท่านพระอาจารยใ์ ห้ลกุ ขนึ้ แลว้ ประคองพาเดนิ ลงจากกุฏิไปยังแคร่หาม

ในตอนน้ีผู้คนประชาชนกําลังทยอยกันมาเป็นจํานวนมาก ตลอดท้ังพระเณรและผู้ท่ีจะนํา
ส่งท่านก็เตรียมพร้อมแล้ว สําหรับโยมผู้ชายแข็งแรงที่เป็นผู้หามก็เข้าประจําที่ เม่ือได้เวลาจึงให้
สัญญาณว่าพร้อมแล้ว ทั้งหมดจึงพากันยกคานหามขึ้นบ่าแล้วออกเดินทาง โดยบ่ายหน้าไปทาง
ทิศตะวันตกของวัด และเดินตามถนนไปสู่ทางออกประตูวัด ผู้คนประชาชนพร้อมทั้งพระเณรก็
ขยับเขย้ือนเคลื่อนตามขบวนหามไป แต่ละท่านแต่ละคนเงียบกริบ ไม่มีเสียงพูดจากัน บ้างก็ช่วย
สะพายบาตรพระ บ้างก็ช่วยถอื อัฐบริขาร บา้ งกเ็ ดนิ สะพายถุงและยา่ ม ตามไปเอาใจช่วยเปน็ กําลัง
บ้างก็ช่วยแบกกลดและร่ม บ้างก็ถือกระติกน้�ำร้อนและน�้ำเย็นซึ่งเป็นสิ่งท่ีจําเป็นในการเดินทาง
ส่วนผทู้ ีท่ าํ หนา้ ท่หี ามก็ขะมักเขม้นเดนิ ไปอย่างขยันขันแขง็ จนกระทง่ั ผ่านประตวู ดั ออกไป แล้วลงสู่
ทุ่งนาอันกว้างไกลพอสมควร ซ่ึงในระหว่างทุ่งนามีสะพานทําด้วยไม้กว้างประมาณ ๑.๘๐ เมตร
ทอดยาวดงิ่ จากฝั่งทุ่งนาด้านนไ้ี ปจรดฝั่งท่งุ นาด้านโน้นเป็นระยะทางประมาณ ๓๐๐ เมตร กระดาน
พนื้ สะพานทาํ ดว้ ยไมต้ ะเคยี นเลอื่ ยผา่ เปน็ แผน่ แตล่ ะแผน่ กวา้ งประมาณ ๙๐ เซนตเิ มตร ยาวประมาณ
๔ เมตร ปเู รียงคู่สองแผ่นตอ่ กนั ไปจนสุดสายทางข้ามท่งุ นา

การหามท่านพระอาจารย์มั่นก็หามไปตามสะพานน้ี จนผ่านพ้นสะพานแล้วมุ่งข้ึนสู่ถนนกลาง
หมบู่ า้ นหนองผอื ในชว่ งทผี่ า่ นหมบู่ า้ นนมี้ ผี คู้ นประชาชนเดก็ เลก็ พากนั ชะเงอ้ ชะแงม้ องดู พอรวู้ า่ เปน็
ขบวนหามท่านพระอาจารย์ใหญ่ พวกเขาก็มุ่งเข้ามาดูใกล้ ๆ ตามขอบข้างทางเป็นแถว บางคนนั่ง
พนมมือ และบางคนก็น่ังคุกเข่าพนมมือกราบเป็นครั้งสุดท้ายด้วยความอาลัยอาวรณ์สุดเสียดาย
จนขบวนหามผ่านเลยไปและผ่านพ้นหมู่บ้านมุ่งเข้าสู่ทางเกวียนท่ีจะไปบ้านห้วยบุ่น ซ่ึงเป็นช่องทาง
เกวียนลุลอดเล้ียวไปมาตามใต้ดงหนาป่าทึบอันเขียวครึ้มขจีเต็มไปด้วยแมกไม้ต่าง ๆ นานาพรรณ
ท้ังเสียงนกตัวจับอยู่บนยอดกิ่งไม้สูงส่งเสียงร้อง โประดก โก-โต้ง โกโต้ง ก้องกังวาลไพรไปไกลท่ัว
ตลอดทั้งตามรายทางก็มีเสียงแมลงป่าเรไรซึ่งจับอยู่บนต้นไม้ท่ัวไปร้องกรีดกริ่งคล้ายเสียงกระด่ิงวัว
เมอ่ื ขบวนหามผา่ นเขา้ ไปใกลม้ นั กห็ ยดุ รอ้ ง คอยสงั เกตดจู นขบวนหามนน้ั ผา่ นเลยไป เหน็ วา่ ไมเ่ ปน็ ภยั
แล้วมันก็ร้องข้ึนมาใหม่ เป็นอย่างนี้จนทะลุเข้าสู่ละแวกบ้านห้วยบุ่นซ่ึงเป็น หมู่บ้านของคนเผ่าข่า
หรอื พวกโซ่๓

๓ ชนกลมุ่ หน่งึ ของจงั หวัดสกลนคร ท่พี ูดภาษาเฉพาะ ตงั้ บ้านเรือนประมาณ ๒๐ หลังคาเรือนในสมยั น้ัน นสิ ยั
ชอบแลกหรือขอ ส่ิงทช่ี อบมากคือ ยาเสน้ ฉนุ สําหรบั มาพันเป็นมวนแลว้ จุดไฟสูบ

326 ชวี ประวัติ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

เมอื่ ขบวนหามผา่ นบา้ นหว้ ยบนุ่ แลว้ เลยลลุ งมาสทู่ งุ่ นาอกี ครง้ั ซง่ึ เปน็ รอ่ งนำ�้ ซบั จนกระทง่ั ผา่ นไป
ไดจ้ ึงขึ้นสู่ทางเกวยี นอันเป็นเนินและล่มุ สงู ๆ ต่�ำ ๆ บางทกี ็คดโค้งทอดยาวไป เลยี้ วซา้ ยแลเลี้ยวขวา
ตามต้นไม้สูงใหญ่ เป็นเวลาประมาณ ๒ ช่ัวโมง จึงถึงอีกหมู่บ้านหนึ่ง คือ บ้านนาเลา ขบวนไม่ได้
หยดุ พกั ในหมบู่ า้ นนี้ ไดห้ ามผา่ นเลยออกไปจนถงึ คลองนำ้� ซบั ซง่ึ อยไู่ มห่ า่ งไกลจากหมบู่ า้ นนเ้ี ทา่ ใดนกั
ท่นี ่นั มบี อ่ น�้ำเล็ก ๆ อยรู่ ิมคลองน�ำ้ ซบั และมีน้ำ� บ่อไหลออกมาใสเยน็ สะอาด บริเวณใกล้ ๆ เป็นเนิน
ร่มร่ืน ซ่ึงใช้เป็นที่หยุดพักของคนเดินทางไปมา เมื่อขบวนหามท่านพระอาจารย์มั่นมาถึงตรงน้ัน
จงึ ตกลงพากนั หยดุ พกั เหนอื่ ยเสยี กอ่ นแลว้ คอ่ ยเดนิ ทางตอ่ ไป ผทู้ หี่ ามแคร่ ตลอดทง้ั ญาตโิ ยม พระเณร
เม่ือเห็นว่าวางแคร่หามท่านพระอาจารย์มั่นเรียบร้อยแล้ว ต่างก็นั่งพักเหนื่อยเอาแรงตามใต้ร่มไม้
ตา่ ง ๆ ใกลบ้ รเิ วณนนั้ บา้ งกไ็ ปตกั นำ�้ ในบอ่ ดว้ ยครหุ รอื กระปอ๋ ง มาแจกจา่ ยผทู้ ห่ี ามแครแ่ ละญาตโิ ยม
ทีต่ ามไปในขบวนให้ไดด้ ่ืมกินจนอ่ิมหนําสําราญโดยทัว่ กัน

คราวนี้ขบวนหามออกเดินทางเป็นระยะทางท่ีรู้สึกว่าไกลพอสมควร หามเดินไปตามทางล้อ
ทางเกวียนของชาวไร่ชาวนาท่ีสัญจรไปมาในหมู่บ้านรายทางละแวกน้ัน บางช่วงก็เดินตัดลัดเลาะ
เลียบไปตามเชิงเขาภูพาน แล้วจึงโค้งไปทางหมู่บ้านโคกกะโหรงหรือปัจจุบันเรียกบ้านคําแหว
ตําบลไร่ อําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร แต่ก็เลยผ่านออกจากหมู่บ้าน มุ่งสู่ทางเดินเท้าของ
ชาวบา้ นละแวกน้นั โดยไม่ได้หยุดพกั

ขบวนหามเดินไปเร่ือย ๆ ตามหนทางเหล่าน้ันจนผ่านริมสวนไร่นาของหมู่บ้านโคกสะอาด
เลาะเลียบไปทางใต้ของหมู่บ้าน มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกโดยไม่ได้แวะเข้าหมู่บ้านโคกสะอาด
และหมู่บ้านใดอีกเลย เพียงแต่เฉียดผ่านเขตนอกหมู่บ้านเท่าน้ัน จนกระทั่งเข้าสู่เขตป่าใหญ่ดงไม้ท่ี
เรยี กว่าเบญจพรรณมกี ะบาก ตะแบก เตง็ รงั ไม้แดง พยอม ยงู ยางอนั สงู ใหญ่ลิบล่วิ จนยอดเฉยี ดฟ้า
เทียมเมฆซง่ึ ยืนต้นเรยี งรายอยู่ตามขอบสองข้างทางเดิน

พวกขบวนหามกห็ ามทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ไปตามหนทางอนั คดเคยี้ ว บา้ งกเ็ ลยี้ วหลบหลมุ บอ่ ลกึ
ที่แห้งขอด บ้างก็เดินตามทางที่ราบเรียบเตียนโล่งลอดใต้ต้นไม้ใหญ่พอได้อาศัยร่มเงาเย็นเป็นกําลัง
ในการเดินทาง บางคราวลมหนาวของต้นฤดูหนาวเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนสิบสอง ซึ่งพัดเอื่อย
อยู่เบ้ืองบนท้องฟ้าแผ่กระจายไปท่ัวนภากาศ หอบต้อนเอาก้อนหมอกเมฆขาวสะอาดเป็นกลุ่ม ๆ
ค่อย ๆ เคลื่อนบ่ายลงสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลอยละล่องผ่านไป ลูกแล้วลูกเล่า บางคร้ังลมอ่อน ๆ
กพ็ ดั ซโู่ ชยมาเบอ้ื งลา่ งเปน็ ละลอกคลนื่ สมั ผสั กระทบปลายยอดกง่ิ ไมท้ เ่ี รยี งรายตามทางจรจนกงิ่ กา้ น
พมุ่ ใบปลวิ วอ่ นไสวโอนไปมา สว่ นใบทเี่ หลอื งแกแ่ หง้ ขวั้ กห็ ลดุ รว่ งกรพู รงั่ พรโู ปรยปรายลงมาเปน็ สาย
สพู่ นื้ ดนิ คลา้ ยกบั วา่ มใี ครยนิ ดโี ปรยดอกไมเ้ งนิ ดอกไมท้ องลงมาจากสรวงสวรรค์ จนเวลานานเทา่ ไหร่
ไมท่ ราบจงึ บรรลเุ ขา้ สเู่ ขตแดนหมบู่ า้ นอมุ่ ไผ่ และตอ้ งเลย้ี วตามทางไปทศิ ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื เลก็ นอ้ ย

การเดินในระยะทางช่วงน้ีใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ไม่ทราบจึงบรรลุถึงทุ่งนาของชาวบ้าน
หนองโดก และหามเดินเลาะเลียบริมฝั่งหัวหนองโดกลงมาทางใต้ แล้วมุ่งหน้าเดินตามทางขึ้นสู่
ป่าดงดิบอันเต็มไปด้วยไม้นานาชนิด ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับป่าดงไม้ดังท่ีกล่าวมาแล้วนั้น ป่าดง

ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ิทัตตเถระ 327

ในช่วงน้ีรู้สึกว่ากว้างไกลพอสมควร จนกระท่ังทะลุถึงทุ่งนาซึ่งเป็นของชาวบ้านกุดก้อม อยู่ด้าน
ทศิ เหนือของหมบู่ า้ นเลก็ นอ้ ย ขบวนหามกห็ ามผ่านทงุ่ นา เดนิ ตามคนั นาจนถงึ ห้วยซึง่ มสี ะพานท่ที ํา
ดว้ ยไมอ้ ยกู่ ลางทงุ่ นา โดยหามขา้ มสะพานไปไดด้ ว้ ยดี แลว้ จงึ มงุ่ ไปสวู่ ดั ปา่ กลางโนนภู่ อนั เปน็ วดั ของ
ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์ม่ันและเคยพํานัก
พกั จาํ พรรษากับทา่ น

แต่ก่อนจะไปถึงวัดป่ากลางโนนภู่นั้น จะต้องหามท่านพระอาจารย์มั่นเดินตามทางบนคันนา
ซึ่งย้อนไปย้อนมาหักหน้าหักหลัง เพราะพ้ืนนาน้ันเต็มไปด้วยต้นข้าวที่กําลังสุกเหลืองอร่ามพอจะ
เก็บเก่ียวได้แล้ว ขบวนหามได้ไปถึงนาของโยมคนหนึ่งช่ือ คุณโยมเป้ะ ชาวบ้านกุดก้อม ซ่ึงได้ร่วม
เดินมากับขบวนน้ีด้วย เขาเป็นอุบาสกที่มีความศรัทธาในองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมากอยู่ เห็น
ความลําบากในการหามทา่ นยอ้ นไปยอ้ นมาบนคันนา และเวลานั้นใกล้จะค�ำ่ อยู่แล้ว จงึ ยอมเสยี สละ
คร้ังย่ิงใหญ่ โดยยอมให้ขบวนหามเดินผ่านต้นข้าวที่กําลังสุกเหลืองอร่ามอยู่น้ัน เพ่ือมุ่งตรงเข้าสู่
วัดป่ากลางโนนภู่ได้เลย เพราะที่นาของเขาอยู่ระหว่างกลางของทางเข้าวัด ท่านท้ังหลายลองคิดดู
คนเกือบสองร้อยคนเดินผ่านนาข้าวท่ีกําลังสุกเหลืองอร่ามอยู่นั้น สภาพจะเป็นอย่างไร แต่เจ้าของ
นารายน้ีเขากลับดีใจและไม่คิดเสียดายเลย เป็นสิ่งท่ีแปลก น่ีแหละท่านเรียกว่าบุญเกิดข้ึนในใจ
ของเขาแล้ว

ในทส่ี ดุ กห็ ามทา่ นพระอาจารยม์ นั่ เขา้ สวู่ ดั กลางโนนภู่ บา้ นกดุ กอ้ ม ตาํ บลไร่ อาํ เภอพรรณานคิ ม
จังหวัดสกลนคร ได้โดยสวัสดิภาพ เม่ือถึงวัดแล้วหามองค์ท่านข้ึนพํานักพักบนกุฏิหลังหนึ่งท่ี
กวา้ งขวางและถาวรทส่ี ดุ ในสมัยน้นั คราวนี้ผู้คนประชาชน พระเณร พรอ้ มท้งั ผูท้ ี่ติดตามขบวนหาม
มาต่างก็หลั่งแห่เข้ามาภายในบริเวณวัด เพราะเป็นเวลาจะใกล้ค่�ำมืดอยู่แล้ว บางคนพึ่งทราบข่าว
กเ็ ขา้ มาในบรเิ วณวดั เดย๋ี วนน้ั กม็ ี พระเณรทตี่ ดิ ตามอปุ ฏั ฐากซง่ึ มากบั พระเถระตา่ งกต็ ระเตรยี มหาทพ่ี กั
ชวั่ คราวตามแต่จะหาไดต้ รงไหนสาํ หรบั อาจารยข์ องใคร ๆ อยา่ งฉกุ ละหุกวุ่นวายพอสมควร สาํ หรับ
พระเถระผู้ใหญ่พร้อมกับพระอุปัฏฐากที่ใกล้ชิดท่านพระอาจารย์มั่นก็เข้าไปชุมนุมท่ีกุฏิรับรองท่าน
พระอาจารย์มัน่ เพ่อื คอยดูแลความเรยี บรอ้ ย

สําหรับญาติโยมชาวบ้านหนองผือท่ีติดตาม เมื่อหามส่งท่านพระอาจารย์มั่นถึงจุดหมาย
ปลายทางเรียบร้อยแลว้ ก็พากนั เกบ็ แคร่คานหามและอปุ กรณ์ต่าง ๆ ท่ีใชห้ ามท่าน บางหมบู่ างคณะ
กก็ ลบั บา้ นในคนื นน้ั เพราะรบี เรง่ ในการทจ่ี ะลงเกบ็ เกยี่ วขา้ วทก่ี าํ ลงั สกุ แกเ่ ตม็ ทแ่ี ลว้ โดยเดนิ ดว้ ยฝเี ทา้
ลดั ไปตามทางคนเดนิ ผา่ นหมู่บ้านเสาขวญั ถงึ วัดถำ้� เจา้ ผ้ขู า้ แลว้ ขึ้นสสู่ ันเขาภพู านขา้ มตรงลงไปทาง
บ้านหนองผอื เปน็ ระยะทางไมไ่ กลนกั ประมาณ ๗-๘ กโิ ลเมตร

ส่วนอีกหมู่คณะหน่ึงซ่ึงยังไม่กลับในคืนน้ันก็พักค้างคืนอยู่ท่ีวัดป่ากลางโนนภู่ พอรุ่งเช้าเม่ือ
กินข้าวกินปลาเสร็จธุระเรียบร้อยแล้วจึงเดินทางข้ามเขาภูพานกลับบ้านเช่นเดียวกัน โดยหมู่คณะ
หลงั นสี้ ว่ นมากเปน็ คนแก่ เมอ่ื เหน็ วา่ หมดธรุ ะหนา้ ทแ่ี ลว้ จงึ เขา้ ไปขอโอกาสกราบลาทา่ นพระอาจารย์
ม่ันท่ีกุฏิรับรอง โดยเข้าไปกราบบอกความประสงค์ให้พระอุปัฏฐากทราบ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า

328 ชวี ประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

ผู้ใกล้ชิดอุปัฏฐากในช่วงน้ันเข้าใจว่าคงเป็นท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม เมื่อท่านพระอาจารย์วัน
เหน็ ญาตโิ ยมชาวบ้านหนองผอื เขา้ มากราบลาท่านพระอาจารยม์ น่ั กลับบ้าน ท่านจงึ พนมมือน้อมตวั
ไปทางท่านพระอาจารย์มั่น แล้วกล่าวคําขอโอกาสรายงานท่านพระอาจารย์มั่นว่า “พวกโยม
บ้านหนองผือมากราบลาทา่ น พ่อแมค่ รบู าอาจารยก์ ลับบา้ นกระผม”

เมอ่ื ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ไดย้ นิ เสยี งจงึ ลมื ตาขนึ้ ชา้ ๆ เหน็ เปน็ โยมชาวบา้ นหนองผอื ทา่ นไดพ้ ดู
ตกั เตอื นเปน็ สาํ เนยี งอสี านครง้ั สดุ ทา้ ยวา่ “เมอื เสยี เดอ้ ...หมดทอนล้ี ะ่ เนอ้ ...เอานำ�้ ไปรดไมแ้ กน่ ลอ่ น
ให้มันปงเป็นใบ บ่มีดอกเด้อ...ให้พากันเฮ็ดพากันทําตามที่อาตมาเคยพาเฮ็ดพาทํานั้นเด้อ
อย่าลืมเด้อ...ให้พากันรักษาศีลห้า ถ้าผู้ใดรักษาศีลห้าได้ตลอดชีวิตผู้น้ันเลิศท่ีสุด หมดทอนี้ล่ะ”
(หมายความวา่ ใหพ้ วกโยมชาวบา้ นหนองผอื พากนั กลบั บา้ นซะ ชวี ติ ของทา่ นกค็ งจะหมดเทา่ นแ้ี หละ
จะรักษาเยียวยาอย่างไรก็คงไม่หาย เปรียบเสมือนกับเอาน�้ำไปรดต้นไม้ที่ตายผุกร่อนเหลือแต่แก่น
ให้มันกลับงอกกง่ิ ใบไดอ้ ีกคงเป็นไปไมไ่ ด้

นอกจากนัน้ ท่านใหพ้ ากันประพฤติปฏบิ ัตติ ามแนวทางทีท่ า่ นเคยส่งั สอนและปฏบิ ัติมาแลว้ นั้น
ทา่ นวา่ ไมใ่ หล้ ืม โดยเฉพาะศลี หา้ ซง่ึ เหมาะสําหรับฆราวาสทีส่ ดุ ถา้ ผู้ใดรกั ษาศลี หา้ ไดต้ ลอดชวี ติ แล้ว
ท่านว่าคนน้ันเป็นคนที่เลิศท่ีสุดในชีวิตของเพศฆราวาส) จากนั้นท่านก็หลับตาลงแล้วไม่ได้พูดอะไร
ตอ่ อกี เลย คาํ พูดเหล่านนั้ เปน็ การพดู ครง้ั สุดทา้ ยของทา่ น

เมื่อญาติโยมชาวบ้านหนองผือกลับบ้านแล้วก็ยังคอยฟังข่าวคราวของท่านพระอาจารย์ม่ัน
อยู่ตลอดเวลา ได้ทราบว่าท่านพํานักพักอยู่ที่วัดป่ากลางโนนภู่ประมาณ ๙-๑๐ วัน จึงมีโยมแม่นุ่ม
สุวานนท์ ที่เป็นชาวเมืองสกลนคร ซ่ึงเป็นผู้หนึ่งท่ีรู้จักและศรัทธาในพระกรรมฐานสายท่าน
พระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์ม่ันมากในยุคแรก ได้ให้รถมารับท่านพระอาจารย์มั่นเข้าสู่
ตวั เมืองจงั หวดั สกลนคร เพอ่ื ไปพํานกั พักที่วัดป่าสทุ ธาวาส

ในการรับองค์ท่านพระอาจารย์มั่นไปในคราวน้ีนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมทางไปรับ
และมีหมอติดตามไปกับรถนี้ด้วย ชื่อคุณหมอประยูร ศรีดามา ซึ่งเป็นหมอประจําสุขศาลาในเมือง
สกลนคร โดยนํารถออกว่ิงจากตัวเมืองสกลนคร ไปตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี (สมัยนั้นยัง
เป็นทางหินลูกรัง) รถว่ิงไปตามทางหินลูกรังอย่างทุลักทุเล ใช้เวลาก่ีชั่วโมงไม่ทราบได้ รถว่ิงมาได้
โดยปลอดภยั จนกระทง่ั มาหยุดจอดท่ปี ากทางแยกเขา้ วดั ป่ากลางโนนภู่ ซงึ่ อยหู่ ่างจากวัดประมาณ
๑ กิโลเมตร รถเขา้ ถงึ วดั ไม่ได้เพราะติดทงุ่ นาซ่ึงมีแต่ทางเกวียนเลก็ ๆ ผ่านเขา้ ไปสู่หนา้ วัดเทา่ นนั้

ดงั นนั้ จงึ แกป้ ญั หาโดยใหญ้ าตโิ ยมชาวบา้ นพากนั หามทา่ นพระอาจารยม์ น่ั จากวดั ปา่ กลางโนนภู่
มาขนึ้ รถทจ่ี อดรออยู่ ผเู้ ฒา่ ผแู้ กเ่ ลา่ วา่ กอ่ นจะหามทา่ นออกจากวดั คณุ หมอไดฉ้ ดี ยานอนหลบั ใหท้ า่ น
เขม็ หนง่ึ จงึ หามทา่ นมาขน้ึ รถ เมอื่ ถงึ รถกน็ าํ องคท์ า่ นขนึ้ รถ และจดั ใหท้ า่ นอยใู่ นอาการทสี่ บาย จากนนั้
ขบวนรถจึงได้เคล่ือนตัวออกนําองค์ท่านพระอาจารย์ม่ันมุ่งสู่ตัวเมืองสกลนคร ท่านพระอาจารย์มั่น
นอนหลับตลอดทาง จะด้วยฤทธ์ิของยานอนหลับก็ไม่อาจทราบได้ จนในที่สุดรถได้นําองค์ท่าน
พระอาจารยม์ นั่ เขา้ สวู่ ดั ปา่ สทุ ธาวาสโดยปลอดภยั โดยมาถงึ วดั เวลาประมาณบา่ ย ๓ หรอื ๔ โมงเยน็
ของวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒

ท่านพระอาจารยม์ ัน่ ภูรทิ ัตตเถระ 329

เม่ือถึงวัดแล้วจึงหามองค์ท่านข้ึนไปพักบนกุฏิรับรองที่เตรียมไว้แล้ว และดูแลให้ท่านพักนอน
แต่อาการท่านอ่อนเพลียมาก ท่านไม่พูดจาอะไรเลย เป็นเพียงแต่นอนหลับตามีลมหายใจเช่ืองช้า
แผว่ เบาและเคล่ือนไหวกายเล็กน้อยเท่าน้ัน ฝา่ ยครูบาอาจารย์ พระเณร ในตอนนต้ี า่ งก็น่งั รายลอ้ ม
สงบอยู่ บางท่านก็คอยห้ามไม่ให้ส่งเสียงดังเพื่อรักษาความสงบ และคอยเตือนผู้คนประชาชนที่
ทราบขา่ วและหลงั่ ไหลเขา้ มาในบรเิ วณวดั ไมใ่ หส้ ง่ เสยี งหรอื เขา้ ไปใกลร้ บกวนทา่ นทพ่ี กั ผอ่ นสงบอยนู่ นั้

เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน มันเคลื่อนคล้อยค่�ำมืดลงทุกทีจาก ๖ โมงเย็น เป็น ๑ ทุ่ม
๒ ทุ่ม ๓ ทุ่ม และ ๔ ท่มุ ผา่ นไปจนถงึ ๖ ทมุ่ ตี ๑ ครงึ่ กว่า ๆ อาการขององค์ท่านพระอาจารย์ม่ัน
ทน่ี อนนง่ิ อยบู่ นทน่ี อนนน้ั กเ็ รม่ิ ผดิ ปกตเิ ปน็ ไปในทางทไี่ มน่ า่ ไวใ้ จ มคี วามออ่ นเพลยี มากขน้ึ ลมหายใจ
ก็แผว่ เบามากและเบาลง ๆ ตามลาํ ดับอยา่ งน่าใจหาย สว่ นองค์กายของท่านนอนอยใู่ นท่าครง่ึ หงาย
ตะแคงขวา ในที่สุดลมหายใจขององคท์ า่ นก็ส้นิ สดุ ถงึ แก่มรณภาพละสงั ขารไว้ให้แก่โลกได้พจิ ารณา
โดยสงบ ชีวติ ขององคท์ า่ นจบส้ินลงเพยี งเท่าน้ี ซงึ่ ตรงกบั เวลาตี ๒ กวา่ ๆ ทถ่ี ือว่าเป็นวนั ใหม่ คือ
วนั ที่ ๑๑ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ วดั ปา่ สทุ ธาวาส ตาํ บลธาตเุ ชงิ ชมุ อาํ เภอเมอื ง จงั หวดั สกลนคร

ค�ำผญาปริศนาธรรมส�ำเนยี งอีสาน
ของท่านพระอาจารยม์ ่นั

ไม้สกงก หกพันงา่
กะปอมกา่ ข้ึนม้ือละฮอ้ ย
กะปอมน้อย ขึน้ มอ้ื ละพนั
คน่ั ตัวเอาน�ำบท่ ัน ขนึ้ นำ� สู่ม้ือ..ส่มู อื้ ..?

เอกสาร

ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน. เคล่ือนขบวนไปสู่ความจริง. ในหนังสือ บูรพาจารย์.
พิมพ์ครงั้ ที่ ๑. บริษัท ศลิ ป์สยามบรรจุภณั ฑ์และการพมิ พ์ จำ� กัด กรุงเทพฯ. ๒๕๔๓ : ๑๖๕-
๑๗๖.

330 ชีวประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา

พระธรรมเจดีย์ : ผู้ปฏิบตั ิศาสนาโดยมากปฏิบตั อิ ยู่แคไ่ หน ?
พระอาจารย์มนั่ : ปฏิบตั ิอยภู่ ูมกิ ามาพจรกุศลโดยมาก.
พระธรรมเจดีย์ : ทาํ ไมจึงปฏบิ ัตอิ ย่เู พยี งน้ัน ?
พระอาจารย์ม่นั : อัธยาศัยของคนโดยมากยังกําหนัดอยู่ในกาม เห็นว่ากามารมณ์ที่ดีเป็นสุข

ส่วนที่ไม่ดีเห็นว่าเป็นทุกข์ จึงได้ปฏิบัติในบุญกริยาวัตถุ มีการฟังธรรม ให้ทาน
รกั ษาศลี เปน็ ตน้ หรอื ภาวนาบา้ งเลก็ นอ้ ย เพราะความมงุ่ เพอื่ จะไดส้ วรรคสมบตั ิ
มนษุ ยสมบตั ิ เปน็ ตน้ กค็ งเปน็ ภมู กิ ามาพจรกศุ ลอยนู่ นั่ เอง เบอ้ื งหนา้ แตก่ ายแตก
ตายไปแล้ว ย่อมถึงสุคติบ้าง ไม่ถึงบ้าง แล้วแต่วิบากจะซัดไป เพราะไม่ใช่
นยิ ตบุคคล คือยงั ไม่ปิดอบาย เพราะยังไมไ่ ด้บรรลโุ สดาปตั ตผิ ล.
พระธรรมเจดีย์ : กท็ า่ นผ้ปู ฏบิ ัตทิ ีด่ กี วา่ นไ้ี มม่ ีหรือ ?
พระอาจารยม์ ัน่ : มี แตว่ ่าน้อย.
พระธรรมเจดยี ์ : น้อยเพราะเหตุอะไร ?
พระอาจารยม์ ่ัน : นอ้ ยเพราะกามทงั้ หลายเทา่ กบั เลอื ดในอกของสตั ว์ ยากทจ่ี ะละความยนิ ดใี นกาม
ได้ เพราะการปฏบิ ตั ธิ รรมละเอยี ด ตอ้ งอาศยั กายวเิ วก จติ ตวเิ วก จงึ จะเปน็ ไปเพอื่
อุปธวิ ิเวก เพราะเหตุนแี้ ลจงึ ทําได้ดว้ ยยาก แตไ่ ม่เหลอื วิสัย ต้องเป็นผู้เห็นทุกข์
จรงิ ๆ จึงจะปฏิบตั ิได้.
พระธรรมเจดีย์ : ถ้าปฏิบัติเพียงภูมิกามาพจรกุศล ดูไม่แปลกอะไร เพราะเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็น
ภมู กิ ามาพจรกศุ ลอยแู่ ลว้ สว่ นการปฏบิ ตั จิ ะใหด้ กี วา่ เกา่ กจ็ ะตอ้ งใหเ้ ลอ่ื นชนั้ เปน็
ภูมิรูปาวจรหรอื อรปู าวจรแลโลกอุดร จะได้แปลกจากเก่า ?
พระอาจารย์มนั่ : ถกู แลว้ ถา้ คดิ ดคู นนอกพทุ ธกาล ทา่ นกไ็ ดบ้ รรลฌุ าณชนั้ สงู ๆ กม็ ี คนในพทุ ธกาล
ท่านก็ได้บรรลุมรรคแลผล มีพระโสดาบัน แลพระอรหันต์ โดยมากนี่เราก็ไม่ได้
บรรลุฌานเป็นอันสู้คนนอกพุทธกาลไม่ได้ แลไม่ได้บรรลุมรรคแลผลเป็นอัน
สู้คนในพทุ ธกาลไมไ่ ด.้
พระธรรมเจดีย์ : เมอื่ เปน็ เชน่ นี้จักทําอยา่ งไรดี ?
พระอาจารย์มัน่ : ต้องทําในใจให้เห็นตามพระพุทธภาษิตที่ว่า มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ
สุขํ ถ้าวา่ บคุ คลเหน็ ซึ่งสุขอนั ไพบูลย์ เพราะบรจิ าคซึ่งสขุ มีประมาณน้อยเสยี ไซร้
จเช มตฺ ตาสุขํ ธีโร สมปฺ สฺสํ วปิ ลุ ํ สขุ ํ บคุ คลผู้มปี ัญญาเครอื่ งทรงไว้ เม่อื เล็งเห็น
ซ่งึ สุขอันไพบูลย์ พึงละเสยี ซงึ่ สขุ มีประมาณนอ้ ย.

ท่านพระอาจารยม์ นั่ ภรู ทิ ัตตเถระ 331

พระธรรมเจดยี ์ : สุขมีประมาณนอ้ ยได้แก่สุขชนดิ ไหน ?
พระอาจารยม์ นั่ : ไดแ้ กส่ ขุ ซงึ่ เกดิ แตค่ วามยนิ ดใี นกามทเี่ รยี กวา่ อามสิ สขุ นแี่ หละสขุ มปี ระมาณนอ้ ย.
พระธรรมเจดยี ์ : กส็ ขุ อนั ไพบลู ย์ไดแ้ ก่สุขชนดิ ไหน ?
พระอาจารยม์ ัน่ : ได้แก่ฌาน วปิ สั สนา มรรค ผล นพิ พาน ทีเ่ รียกวา่ นิรามสิ สขุ ไม่เจือดว้ ยกาม

นี่แหละสขุ อนั ไพบูลย์
พระธรรมเจดยี ์ : จะปฏบิ ตั ิใหถ้ งึ สขุ อนั ไพบูลยจ์ ะดําเนินทางไหนดี ?
พระอาจารย์มน่ั : กต็ อ้ งดาํ เนินทางองคม์ รรค ๘.
พระธรรมเจดีย์ : องคม์ รรค ๘ ใคร ๆ ก็รู้ ทําไมถึงเดนิ กนั ไม่ใครจ่ ะถูก ?
พระอาจารยม์ ั่น : เพราะองคม์ รรคทง้ั ๘ ไมม่ ใี ครเคยเดนิ จงึ เดนิ ไมใ่ ครถ่ กู พอถกู กเ็ ปน็ พระอรยิ เจา้ .
พระธรรมเจดยี ์ : ท่ีเดนิ ไม่ถูกเพราะเหตอุ ะไร ?
พระอาจารย์มนั่ : เพราะชอบเดนิ ทางเกา่ ซง่ึ เปน็ ทางชํานาญ.
พระธรรมเจดยี ์ : ทางเก่านน้ั คอื อะไร ?
พระอาจารย์มั่น : ได้แก่กามสุขลั ลิกานุโยค แลอตั ตกิลมถานโุ ยค.
พระธรรมเจดีย์ : กามสุขลั ลิกานโุ ยคน้ันคอื อะไร ?
พระอาจารยม์ ่นั : ความทําตนใหเ้ ปน็ ผหู้ มกมนุ่ ติดอย่ใู นกามสขุ น้ี แลชอ่ื ว่ากามสขุ ลั ลิกานโุ ยค.
พระธรรมเจดยี ์ : อัตตกลิ มถานุโยคได้แกท่ างไหน ?
พระอาจารย์มน่ั : ได้แก่ผู้ปฏิบัติผิด แม้ประพฤติเคร่งครัดทําตนให้ลําบากสักเพียงไร ก็ไม่สําเร็จ

ประโยชน์ซง่ึ มรรค ผล นพิ พาน น่แี หละเรียกวา่ อตั ตกิลมถานุโยค.
พระธรรมเจดยี ์ : ถา้ เช่นนน้ั ทางทั้ง ๒ น้ี เหน็ จะมคี นเดินมากกว่ามชั ฌิมาปฏปิ ทาหลายรอ้ ยเทา่ ?
พระอาจารย์มน่ั : แน่ทีเดียว พระพุทธเจ้าแรกตรัสรู้ จึงได้แสดงก่อนธรรมอย่างอ่ืน ๆ ท่ีมาแล้ว

ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อให้สาวกเข้าใจ จะได้ไม่ดําเนินในทางท้ัง ๒ มา
ดําเนนิ ในทางมชั ฌมิ าปฏิปทา.
พระธรรมเจดีย์ : องค์มรรค ๘ ทําไมจึงยกสัมมาทิฏฐิ ซ่ึงเป็นกองปัญญาขึ้นแสดงก่อน ส่วนการ
ปฏิบัติของผู้ดําเนินทางมรรค ต้องทําศีลไปก่อน แล้วจึงทําสมาธิ แลปัญญา
ซง่ึ เรียกว่า สิกขาทงั้ ๓ ?
พระอาจารยม์ ่ัน : ตามความเห็นของขา้ พเจา้ วา่ จะเป็น ๒ ตอน ตอนแรกส่วนโลกยี กศุ ล ตอ้ งทาํ ศลี
สมาธิ ปัญญา เปน็ ลาํ ดบั ไป ปัญญาท่ีเกดิ ขนึ้ ยงั ไมเ่ ห็นอริยสัจทั้ง ๔ สงั โยชน์ ๓
ยังละไม่ได้ ขีดของใจเพียงนี้เป็นโลกีย์ ตอนท่ีเห็นอริยสัจแล้วละสังโยชน์ ๓ ได้
ตอนน้เี ปน็ โลกตุ ระ.
พระธรรมเจดีย์ : ศีลจะเอาศีลชนดิ ไหน ?
พระอาจารย์มนั่ : ศลี มหี ลายอย่าง ศลี ๕ ศลี ๘ ศลี ๑๐ ศลี ๒๒๗ แตใ่ นทน่ี ป้ี ระสงค์ศลี ทเ่ี รียกวา่
สมมฺ าวาจา สมมฺ ากมมฺ นโฺ ต สมฺมาอาชีโว แต่ต้องทาํ ใหบ้ รบิ ูรณ.์

332 ชวี ประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

พระธรรมเจดยี ์ : สมฺมาวาจา คอื อะไร ?
พระอาจารยม์ ่ัน : มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ปสิ ุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดสอ่ เสยี ด

ให้เขาแตกร้าวกัน ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคําหยาบ สมฺผปฺปลาปา
เวรมณี เว้นจากพดู โปรยประโยชน.์
พระธรรมเจดยี ์ : สมฺมากมฺมนฺโต การงานชอบนน้ั มีกีอ่ ยา่ ง ?
พระอาจารย์ม่นั : มี ๓ อย่าง คือ ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากฆ่าสัตว์ อทินฺนาทานา เวรมณี
เว้นจากการลกั ทรัพย์ อพรฺ หฺมจริยา เวรมณี เวน้ จากอสัทธรรม ไม่ใชพ่ รหมจรรย์.
พระธรรมเจดีย์ : สมฺมากมฺมนฺโต ในท่ีอื่น ๆ โดยมากเว้น อพฺรหฺม ส่วนในมหาสติปัฏฐานทําไม
จงึ เว้น กาเมสมุ ิจฉาจาร ?
พระอาจารย์ม่นั : ความเห็นของข้าพเจ้าว่าท่ีทรงแสดงศีล อพฺรหฺม เห็นจะเป็นด้วยรับสั่งแก่ภิกษุ
เพราะวา่ ภิกษุเป็นพรหมจารีบุคคลนน้ั ส่วนในมหาสตปิ ฏั ฐาน ๔ กร็ บั สงั่ แกภ่ กิ ษุ
เหมือนกัน แต่ว่าเวลานัน้ พระองค์เสดจ็ ประทบั อยู่ในหมูช่ นชาวกุรุ พวกชาวบ้าน
เห็นจะฟังอยู่มาก ท่านจึงสอนให้เว้น กามมิจฉาจาร เพราะชาวบ้านมักเป็นคน
มีคู.่
พระธรรมเจดยี ์ : สมมฺ าอาชีโว เลย้ี งชวี ิตชอบ เว้นจากมจิ ฉาชีพน้ันเปน็ อยา่ งไร ?
พระอาจารยม์ ่ัน : บางแห่งท่านก็อธิบายไว้ว่า ขายสุรายาพิษ ศัสตราวุธ หรือขายสัตว์มีชีวิต
ต้องเอาไปฆา่ เปน็ ต้น เหล่านี้แหละเปน็ มิจฉาชีพ.
พระธรรมเจดีย์ : ถ้าคนทไ่ี ม่ไดข้ ายของเหลา่ นี้กเ็ ปน็ สมมฺ าอาชโี ว อยา่ งน้ันหรือ ?
พระอาจารยม์ น่ั : ยงั เปน็ ไปไมไ่ ด้ เพราะวิธีโกงของคนมีหลายอยา่ งนกั เชน่ ค้าขายโดยไม่ซ่ือ มีการ
โกงตาชั่งตาเต็ง หรือเอารัดเอาเปรียบอย่างใดอย่างหน่ึงในเวลาท่ีผู้ซ้ือเผลอ
หรือเขาไว้ใจ รวมความพูดว่าอัธยาศัยของคนที่ไม่ซื่อ คิดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
เหน็ แตจ่ ะได้ สดุ แตจ่ ะมโี อกาส จะเปน็ เงนิ หรอื ของกด็ ี ถงึ แมไ้ มช่ อบธรรม สดุ แตจ่ ะ
ไดเ้ ปน็ เอาทงั้ นนั้ ขา้ พเจา้ เหน็ วา่ อาการเหลา่ นก้ี เ็ ปน็ มจิ ฉาชพี ทงั้ สน้ิ สมมฺ าอาชโี ว
จะตอ้ งเว้นทกุ อย่าง เพราะเปน็ สิง่ ที่คดค้อมไดม้ าโดยไมช่ อบธรรม.
พระธรรมเจดยี ์ : สมมฺ าวายาโม ความเพียรชอบนนั้ คอื เพียรอย่างไร ?
พระอาจารยม์ ่นั : สงั วรปธาน เพยี รระวงั อกศุ ลวติ ก ๓ ทยี่ งั ไมเ่ กดิ ไมใ่ หเ้ กดิ ขน้ึ ปหานปธาน เพยี รละ
อกุศลวิตก ๓ ท่ีเกิดข้ึนแล้วให้หายไป ภาวนาปธาน เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิด
ให้เกิดขน้ึ อนรุ กั ขนาปธาน เพยี รรักษากุศลทเี่ กดิ แล้วไวใ้ ห้สมบูรณ.์
พระธรรมเจดีย์ : สมฺมาสติ ระลึกชอบน้นั ระลึกอย่างไร ?
พระอาจารย์ม่ัน : ระลึกอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปสฺสนา ระลึกถึงกาย เวทนานุปสฺสนา
ระลกึ ถึงเวทนา จติ ตฺ านุปสสฺ นา ระลกึ ถึงจติ ธมมฺ านุปสฺสนา ระลึกถงึ ธรรม.

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูรทิ ัตตเถระ 333

พระธรรมเจดยี ์ : สมมฺ าสมาธิ ความต้ังใจไวช้ อบ คอื ตงั้ ใจไว้อย่างไร จงึ จะเป็นสมฺมาสมาธิ ?
พระอาจารยม์ นั่ : คอื ต้งั ไวใ้ นองค์ฌานทง้ั ๔ ทเ่ี รยี กว่า ปฐมฌาน ทุตยิ ฌาน ตตยิ ฌาน จตตุ ถฌาน

เหลา่ น้แี หละเป็น สมฺมาสมาธ.ิ
พระธรรมเจดีย์ : สมฺมาสงกฺ ปโฺ ป ความดาํ ริชอบน้ันดํารอิ ย่างไร ?
พระอาจารยม์ ัน่ : เนกขฺ มมฺ สงกฺ ปโฺ ป ดาํ รอิ อกจากกาม อพยฺ าปาทสงกฺ ปโฺ ป ดาํ รไิ มพ่ ยาบาท อวหิ งิ สา

สงฺกปโฺ ป ดํารใิ นความไม่เบยี ดเบียน.
พระธรรมเจดีย์ : สมฺมาวายาโม ก็ละอกศุ ลวิตก ๓ แลว้ สมฺมาสงกฺ ปโฺ ป ทาํ ไมจงึ ต้องดาํ รอิ กี เล่า ?
พระอาจารย์มั่น : ต่างกันเพราะ สมฺมาวายาโมน้ัน เป็นแต่เปล่ียนอารมณ์ เช่น จิตที่ฟุ้งซ่าน

หรือเป็นอกุศลก็เลิกนึกเร่ืองเก่าเสีย มามีสติระลึกอยู่ในอารมณ์ท่ีเป็นกุศล
จึงสงเคราะห์เข้าในกองสมาธิ ส่วนสมฺมาสงฺกปฺโป มีปัญญาพิจารณาเห็นโทษ
ของกาม เหน็ อานสิ งสข์ องเนกขมั มะ จงึ ไดค้ ดิ ออกจากกามดว้ ยอาการทเ่ี หน็ โทษ
หรือเห็นโทษของพยาบาทวิหิงสา เห็นอานิสงส์ของเมตตากรุณา จึงได้คิดละ
พยาบาทวหิ งิ สา การเหน็ โทษแลเหน็ อานสิ งสเ์ ชน่ นแี้ หละจงึ ผดิ กบั สมมฺ าวายาโม
ท่านจงึ สงเคราะหเ์ ขา้ ไวใ้ นกองปัญญา.
พระธรรมเจดีย์ : สมมฺ าทิฏฺฐิ ความเหน็ ชอบนน้ั คือเหน็ อย่างไร ?
พระอาจารย์มั่น : คอื เหน็ ทกุ ข์ สมทุ ยั นโิ รธ มรรค ทเ่ี รยี กวา่ อรยิ สจั ๔ ความเหน็ ชอบอยา่ งนแี้ หละ
ช่อื วา่ สมมฺ าทฏิ ฺฐ.ิ
พระธรรมเจดยี ์ : อริยสจั ๔ น้ัน มกี ิจจะตอ้ งทาํ อะไรบ้าง ?
พระอาจารย์ม่ัน : ตามแบบทม่ี มี าในธรรมจกั ร มกี จิ ๓ อยา่ งใน ๔ อรยิ สจั รวมเปน็ ๑๒ คอื สจั ญาณ
รู้ว่าทุกข์ กิจญาณ รู้ว่าจะต้องกําหนด กตญาณ รู้ว่ากําหนดเสร็จแล้ว แลรู้ว่า
ทกุ ขสมทุ ยั จะตอ้ งละ แลไดล้ ะเสรจ็ แลว้ แลรวู้ า่ ทกุ ขนโิ รธจะตอ้ งทาํ ใหแ้ จง้ แลได้
ทําให้แจ้งเสร็จแล้ว แลรู้ว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาจะต้องเจริญ แลได้เจริญ
เสรจ็ แล้ว น่ีแหละเรยี กวา่ กจิ ในอรยิ สัจทั้ง ๔.
พระธรรมเจดยี ์ : ทุกขน์ ้ันได้แกส่ ่งิ อะไร ?
พระอาจารยม์ น่ั : ขนั ธ์ ๕ อายตนะ ๖ ธาตุ ๖ นามรปู เหลา่ นีเ้ ปน็ ประเภททุกขสัจ.
พระธรรมเจดยี ์ : ทุกข์มีหลายอย่างนกั จะกําหนดอย่างไรถูก ?
พระอาจารย์มนั่ : กําหนดอย่างเดียวก็ได้ จะเป็นขันธ์ ๕ หรืออายตนะ ๖ หรือธาตุ ๖ นามรูป
อย่างใดอยา่ งหนึ่งก็ได้ ไมใ่ ชว่ า่ จะต้องกาํ หนดทีละหลายอย่าง แตว่ ่าผปู้ ฏิบัติควร
จะรูไ้ ว้ เพราะธรรมทง้ั หลายเหล่าน้ี เป็นอารมณข์ องวปิ ัสสนา.
พระธรรมเจดยี ์ : การทจ่ี ะเหน็ อรยิ สัจก็ตอ้ งทาํ วิปสั สนาดว้ ยหรอื ?
พระอาจารย์ม่ัน : ไมเ่ จรญิ วิปสั สนา ปญั ญาจะเกิดอย่างไรได้ เมือ่ ปัญญาไม่มี จะเห็นอริยสัจทัง้ ๔
อย่างไรได้ แต่ทีเ่ จริญวิปสั สนากันอยู่ ผูท้ ีอ่ ินทรีย์ออ่ นยงั ไมเ่ ห็นอริยสัจท้ัง ๔ เลย.

334 ชวี ประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

พระธรรมเจดีย์ : ขนั ธ์ ๕ ใคร ๆ กร็ ู้ ทําไมจึงกําหนดทกุ ขไ์ มถ่ ูก ?
พระอาจารย์มน่ั : ร้แู ต่ชอื่ ไมร่ ูอ้ าการขันธต์ ามความเปน็ จริง เพราะฉะนัน้ ขนั ธ์ ๕ เกิดข้ึนกไ็ ม่ร้วู า่

เกิด ขันธ์ ๕ ดับไปกไ็ มร่ ู้วา่ ดับ แลขันธ์มอี าการส้นิ ไปเส่อื มไปตามความเป็นจรงิ
อย่างไรก็ไม่ทราบท้ังนั้น จึงเป็นผู้หลงประกอบด้วยวิปลาส คือไม่เท่ียงก็เห็นว่า
เที่ยง เป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นสุข เป็นอนัตตาก็เห็นว่าเป็นอัตตาตัวตน เป็นอสุภ
ไม่งามก็เห็นว่าเป็นสุภะงาม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนสาวกที่
มาแล้ว ในมหาสตปิ ัฏฐานสตู ร ใหร้ ู้จักขันธ์ ๕ แลอายตนะ ๖ ตามความเปน็ จริง
จะไดก้ ําหนดถกู .
พระธรรมเจดยี ์ : ขนั ธ์ ๕ คอื รูป เวทนา สัญญา สงั ขาร วิญญาณนั้นมีลกั ษณะอยา่ งไร เม่ือเวลา
เกดิ ข้นึ แลดบั ไปจะไดร้ ู้ ?
พระอาจารย์ม่นั : รูปคือ ธาตุดิน ๑๙ น�้ำ ๑๒ ลม ๖ ไฟ ๔ ช่ือว่ามหาภูตรูป เป็นรูปใหญ่
แลอุปาทายรูป ๒๔ เป็นรูปท่ีละเอียด ซ่ึงอาศัยอยู่ในมหาภูตรูป ๔ เหล่านี้
ชอ่ื วา่ รปู แตจ่ ะแจงใหล้ ะเอยี ดกม็ ากมาย เมอ่ื อยากทราบใหล้ ะเอยี ด กจ็ งไปดเู อา
ในแบบเถดิ .
พระธรรมเจดีย์ : กเ็ วทนานั้นไดแ้ ก่สิง่ อะไร ?
พระอาจารย์ม่นั : ความเสวยอารมณ์ ซึง่ เกิดประจําอยู่ในรูปนแี้ หละ คอื บางคราวก็เสวยอารมณ์
เป็นสุข บางคราวก็เสวยอารมณ์เป็นทุกข์ บางคราวก็ไม่ทุกข์ไม่สุข นี่แหละ
เรยี กว่า เวทนา ๓ ถา้ เติมโสมนสั โทมนัส กเ็ ปน็ เวทนา ๕.
พระธรรมเจดีย์ : โสมนัส โทมนสั เวทนา ดเู ป็นช่อื ของกเิ ลส ทาํ ไมจึงเป็นขันธ์ ?
พระอาจารย์ม่นั : เวทนามี ๒ อยา่ ง คอื กายกิ เวทนา ซึ่งเกิดทางกาย ๑ เจตสกิ เวทนา ซงึ่ เกิด
ทางใจ ๑ สุขเวทนาเสวยอารมณ์เป็นสุข ทุกขเวทนาเสวยอารมณ์เป็นทุกข์
๒ อย่างนี้ เกิดทางกาย โสมนัส โทมนัส อทุกขมสุขเวทนา ๓ อย่างนี้ เกิด
ทางใจ ไม่ใชก่ เิ ลส คอื เชน่ บางคราวอย่ดู ี ๆ กม็ ีความสบายใจ โดยไมไ่ ด้อาศัย
ความรกั ความชอบกม็ ี หรอื บางคราวไมอ่ าศยั โทสะหรอื ปฏฆิ ะ ไมส่ บายใจขน้ึ เอง
เช่น คนเป็นโรคหัวใจหรอื โรคเสน้ ประสาทกม็ ี อยา่ งน้ีเป็นขนั ธ์แท้ ต้องกาํ หนดรู้
ว่าเป็นทุกข์ เม่ือเวทนาอย่างใดอย่างหน่ึงปรากฏข้ึน น่ันแหละเป็นความเกิดขึ้น
แห่งเวทนา เม่ือเวทนาเหล่านั้นดับหายไป เป็นความดับไปแห่งเวทนา น่ีแหละ
เปน็ ขนั ธ์แท้ เป็นประเภท ทุกขสัจ.
พระธรรมเจดยี ์ : เวทนานนั้ อาศัยอะไรจงึ เกิดขนึ้ ?
พระอาจารย์มัน่ : อาศยั อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ วญิ ญาณ ๖ กระทบกนั เข้า ชอ่ื วา่ ผสั สะ
เป็นทเี่ กิดแหง่ เวทนา.

ท่านพระอาจารย์มน่ั ภรู ทิ ตั ตเถระ 335

พระธรรมเจดีย์ : อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ วญิ ญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนาท่ีเกิดแตผ่ ัสสะ ๖
ก็ไมใ่ ช่กิเลส เปน็ ประเภททกุ ข์ท้ังน้นั ไมใ่ ช่หรอื ?

พระอาจารยม์ ่ัน : ถูกแลว้ .
พระธรรมเจดีย์ : แต่ทาํ ไมคนเราเมื่อเวลาตาเหน็ รปู หูได้ยนิ เสียง จมกู ได้ดมกลิ่น ลิน้ ไดล้ ้มิ รสหรอื

ถกู ตอ้ งโผฏฐพั พะดว้ ยกาย รรู้ บั อารมณด์ ว้ ยใจ กย็ อ่ มไดเ้ วทนาอยา่ งใด อยา่ งหนง่ึ
ไม่ใช่หรือ ก็อายตนะแลผัสสเวทนาก็ไม่ใช่กิเลส แต่ทําไมคนเราจึงเกิดกิเลสและ
ความอยากข้นึ ไดเ้ ลา่ ?
พระอาจารย์ม่นั : เพราะไมร่ ู้วา่ เป็นขนั ธ์แลอายตนะ แลผสั สเวทนา สาํ คัญว่าเป็นผเู้ ป็นคนเป็นจรงิ
เปน็ จงั จงึ ไดเ้ กดิ กเิ ลสและความอยาก เพราะฉะนน้ั พระพทุ ธเจา้ จงึ ทรงแสดงไว้
ในฉักกะสูตรว่า บุคคลเม่ือสุขเวทนาเกิดข้ึน ก็ปล่อยให้ราคานุสัยตามนอน
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ปล่อยให้ปฏิฆานุสัยตามนอน อทุกขมสุขเวทนาเกิดข้ึน
ก็ปล่อยให้อวิชชานุสัยตามนอน การทําท่ีสุดแห่งทุกข์ในชาตินี้ไม่ใช่ฐานะ
ท่ีจะมีได้เป็นได้ ถ้าบุคคลเมื่อเวทนาท้ัง ๓ เกิดขึ้นก็ไม่ปล่อยให้อนุสัยท้ัง ๓
ตามนอน การทาํ ทสี่ ดุ แหง่ ทุกขใ์ นชาตนิ ้ีมฐี านะทีม่ ไี ด้เป็นได้ น่ีกเ็ ท่ากับตรสั ไว้
เปน็ คําตายตวั อย่แู ลว้ .
พระธรรมเจดีย์ : จะปฏบิ ัติอยา่ งไรจึงจะไมใ่ ห้อนุสัยทง้ั ๓ ตามนอน ?
พระอาจารยม์ ั่น : ก็ต้องมีสติทําความรู้สึกตัวไว้ แลมีสัมปชัญญะ ความรู้รอบคอบในอายตนะ
แลผสั สเวทนาตามความเปน็ จรงิ อยา่ งไร อนสุ ยั ทงั้ ๓ จงึ จะไมต่ ามนอน สมดว้ ย
พระพทุ ธภาษิตในโสฬสปัญหาที่ ๑ ตรัสตอบอชติ มาณพวา่ สติ เตสํ นิวารณํ สติ
เป็นดจุ ทํานบเคร่อื งปดิ กระแสเหลา่ นัน้ ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร กระแสเหล่าน้ัน
อนั ผปู้ ฏบิ ตั จิ ะละเสยี ไดด้ ว้ ยปญั ญา แตใ่ นทนี่ น้ั ทา่ นประสงคล์ ะตณั หา แตอ่ นสุ ยั
กบั ตัณหาเป็นกิเลสประเภทเดยี วกนั .
พระธรรมเจดีย์ : เวทนาเป็นขันธ์แท้ เป็นทุกขสัจไม่ใช่กิเลส แต่ในปฏิจจสมุปบาท ทําไมจึงมี
เวทนาปจฺจย ตัณหา เพราะเหตอุ ะไร ?
พระอาจารยม์ ่นั : เพราะไมร่ จู้ กั เวทนาตามความเปน็ จรงิ เมอ่ื เวทนาอยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ เกดิ ขนึ้ เวทนา
ท่ีเป็นสุขก็ชอบเพลิดเพลินอยากได้ หรือให้คงอยู่ไม่ให้หายไปเสีย เวทนาที่เป็น
ทุกข์ไม่ดีมีมา ก็ไม่ชอบประกอบด้วยปฏิฆะ อยากผลักไสไล่ขับให้หายไปเสีย
ทุกขมสุขเวทนาที่มีมาก็ไม่รู้ อวิชชานุสัยจึงตามนอน สมด้วยพระพุทธภาษิตใน
โสฬสปัญหาท่ี ๑๓ ที่อทุ ยมาณพทูลถาม ว่า กถํ สตสฺส จรโต วญิ ฺ าณํ อปุ รุชฺฌติ
เมอื่ บคุ คลประพฤตมิ สี ตอิ ยา่ งไร ปฏสิ นธวิ ญิ ญานจงึ จะดบั ตรสั ตอบวา่ อชฌฺ ตตฺ ญจฺ
พหิทธฺ า จ เวทนํ นาพินนฺทโต เม่อื บุคคลไม่เพลิดเพลนิ ยิ่ง ซึ่งเวทนาทัง้ ภายในแล
ภายนอก อวํ สตสสฺ จรโต วญิ ฺ าณํ อุปรชุ ฺฌติ ประพฤติมสี ติอยูอ่ ยา่ งน้ี ปฏิสนธิ
วิญญาณจึงจะดับ.

336 ชีวประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

พระธรรมเจดีย์ : เวทนาอย่างไรชื่อว่าเวทนาภายนอก เวทนาอย่างไรช่ือวา่ เวทนาภายใน ?
พระอาจารย์มนั่ : เวทนาทเี่ กดิ แตจ่ กั ขสุ มั ผสั โสตสมั ผสั ฆานสมั ผสั ชวิ หาสมั ผสั กายสมั ผสั ๕ อยา่ ง

น้ีช่ือว่า เวทนาท่ีเป็นภายนอก เวทนาท่ีเกิดในฌาน เช่น ปีติหรือสุข เป็นต้น
ชือ่ ว่า เวทนาภายใน เกดิ แต่มโนสัมผัส.
พระธรรมเจดีย์ : ปีตแิ ลสขุ กเ็ ปน็ เวทนาดว้ ยหรอื ?
พระอาจารย์ม่นั : ปีติแลสุขน้ันเกิดขึ้นเพราะความสงบ อาศัยความเพียรของผู้ปฏิบัติ ใน
คริ ิมานนทสตู ร อานาปานสติ หมวดท่ี ๕ กบั ที่ ๖ ทา่ นสงเคราะห์เข้าในเวทนา
นุปสั สนาสตปิ ฏั ฐาน เพราะฉะน้นั ปตี ิแลสขุ จึงจัดเป็นเวทนาภายในได.้
พระธรรมเจดีย์ : ทีเ่ รยี กว่า นริ ามสิ สขุ เวทนา เสวยเวทนาไมม่ ีอามิส คอื ไม่เจือกามคณุ เห็นจะเป็น
เวทนาที่เกิดขึ้นจากจิตท่ีสงบน้ีเอง แต่ถ้าเช่นนั้นความยินดีใน รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ท่ีเรียกว่ากามคุณ ๕ เวทนาที่เกิดคราวน้ัน ก็เป็นอามิสเวทนา
ถกู ไหม ?
พระอาจารย์มั่น : ถูกแล้ว.
พระธรรมเจดยี ์ : สว่ นเวทนาข้าพเจา้ เขา้ ใจดแี ลว้ แต่สว่ นสญั ญาขนั ธ์ ความจาํ รปู จาํ เสยี ง จาํ กล่ิน
จาํ รส จําโผฏฐัพพะ จาํ ธมั มารมณ์ ๖ อย่างนี้ มลี ักษณะอย่างไร เมือ่ รูป สญั ญา
ความจาํ รูปเกิดขนึ้ น้ัน มอี าการเช่นไร แลเวลาท่ีความจํารปู ดบั ไป มีอาการเช่นไร
ข้าพเจ้าอยากทราบ เพอ่ื จะได้กาํ หนดถกู ?
พระอาจารยม์ นั่ : คอื เราได้เห็นรปู คน หรอื รปู ของอย่างใดอยา่ งหน่งึ แล้วมานึกขน้ึ รปู คน หรอื รูป
ของเหลา่ นน้ั กม็ าปรากฏขน้ึ ในใจ เหมอื นอยา่ งไดเ้ หน็ จรงิ ๆ นเี่ รยี กวา่ ความจาํ รปู .
พระธรรมเจดีย์ : ยังไมเ่ ขา้ ใจดี ขอใหช้ ต้ี ัวอย่างใหข้ าวอกี สกั หนอ่ ย ?
พระอาจารยม์ ั่น : เช่นกับเมื่อเช้านี้ เราได้พบคนท่ีรู้จักกันหรือได้พูดกัน ครั้นคนนั้นไปจากเราแล้ว
เมอื่ เรานกึ ถงึ คนนน้ั รปู รา่ งคนนนั้ กป็ รากฏชดั เจนเหมอื นเวลาทพี่ บกนั หรอื ไดเ้ หน็
ของสิ่งใดส่ิงหน่ึงไว้ เม่ือเวลานึกข้ึนก็เห็นส่ิงนั้นชัดเจน เหมือนอย่างเวลาที่เห็น
รวมเปน็ รปู ๒ อยา่ ง คอื อุปาทนิ นกรปู รปู ทีม่ วี ญิ ญาณ เชน่ รปู คน หรือรูปสัตว์
อนุปาทินนกรปู รูปที่ไมม่ ีวิญญาณครอง ไดแ้ ก่ส่ิงของต่าง ๆ หรอื ตน้ ไม้ ดิน หนิ
กรวด.
พระธรรมเจดยี ์ : ถา้ เช่นน้นั คนเป็นก็เปน็ รูปทีม่ วี ญิ ญาณ คนตายกเ็ ป็นรปู ท่ไี มม่ วี ญิ ญาณ อย่างน้นั
หรอื ?
พระอาจารย์ม่นั : ถูกแล้ว นา่ สลดใจ ชาติเดยี วเป็นได้ ๒ อย่าง.
พระธรรมเจดีย์ : ถา้ เชน่ น้ันสญั ญากเ็ ปน็ เรือ่ งของอดีตทั้งน้ัน ไม่ใชป่ ัจจบุ นั ?
พระอาจารย์มน่ั : อารมณน์ น้ั เปน็ อดตี แตเ่ มอื่ ความจาํ ปรากฏขนึ้ ในใจ เปน็ สญั ญาปจั จบุ นั นแ่ี หละ
เรยี กวา่ สัญญาขนั ธ.์

ทา่ นพระอาจารย์ม่ัน ภรู ิทตั ตเถระ 337

พระธรรมเจดยี ์ : ถ้าไม่รู้จักสัญญา เวลาที่ความจํารูปคนมาปรากฏขึ้นในใจ ก็ไม่รู้ว่าสัญญาของ
ตวั เอง สําคญั ว่าเปน็ คนจรงิ ๆ หรอื ความจาํ รูปที่ไมม่ ีวญิ ญาณมาปรากฏขน้ึ ในใจ
ก็ไม่รวู้ า่ สัญญาสาํ คญั ว่าเป็นสิ่งเปน็ ของจริง ๆ เมอ่ื เปน็ เช่นน้ีจะมโี ทษอย่างไรบา้ ง
ขอท่านจงอธบิ ายให้ขา้ พเจ้าเขา้ ใจ ?

พระอาจารยม์ ่ัน : มีโทษมาก เช่นนึกถึงคนที่รัก รูปร่างของคนที่รักก็มาปรากฏกับใจ กามวิตกที่
ยงั ไมเ่ กดิ กจ็ ะเกดิ ขึ้น ท่เี กิดข้นึ แล้วกจ็ ะงอกงาม หรือนกึ ถึงคนท่ีโกรธกัน รปู ร่าง
ของคนที่โกรธกันนั้นก็มาปรากฏชัดเจนเหมือนได้เห็นจริง ๆ พยาบาทวิตกที่ยัง
ไมเ่ กิดกจ็ ะเกดิ ขน้ึ ท่เี กิดข้ึนแลว้ กจ็ ะงอกงาม หรือนกึ ถึงสงิ่ ของท่สี วย ๆ งาม ๆ
รปู ร่างสิง่ ของเหล่าน้ันกม็ าปรากฏในใจ เกดิ ความชอบใจบา้ ง แหละอยากได้บ้าง
เพราะไม่รู้ว่าสัญญาขันธ์ของตัวเองส�ำคัญว่า สิ่งท้ังปวงเป็นจริงเป็นจังไปหมด
ท่ีแท้ก็เหลวทง้ั นน้ั .

พระธรรมเจดีย์ : กค็ วามเกดิ ข้นึ แห่งสญั ญา มลี ักษณะอยา่ งไร ?
พระอาจารย์มน่ั : เมอ่ื ความจาํ รปู อยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ มาปรากฏในใจ เปน็ ความเกดิ ขนึ้ แหง่ ความจาํ รปู

เมอื่ ความจาํ รูปเหลา่ น้นั ดบั หายไปจากใจ เป็นความดับไปแหง่ ความจํารูป.
พระธรรมเจดีย์ : ความจําเสียงน้นั มีลักษณะอยา่ งไร ?
พระอาจารยม์ น่ั : เชน่ เวลาเราฟงั เทศน์ เมอื่ พระเทศนจ์ บแลว้ เรานกึ ขน้ึ ไดว้ า่ ทา่ นแสดงวา่ อยา่ งนนั้ ๆ

หรือมีคนมาพูดเล่าเร่ืองอะไร ๆ ให้เราฟัง เม่ือเขาพูดเสร็จแล้ว เรานึกข้ึน
จําถ้อยคําน้ันได้ นี่เป็นลักษณะของความจําเสียง เมื่อความจําเสียงปรากฏข้ึน
ในใจ เป็นความเกิดข้ึนแห่งความจําเสียง เม่ือความจําเสียงเหล่านั้นดับหายไป
จากใจ เป็นความดบั ไปแหง่ สัททสัญญา.
พระธรรมเจดยี ์ : คนั ธสญั ญาความจํากล่ิน มีลักษณะอย่างไร ?
พระอาจารยม์ ัน่ : เชน่ กบั เราเคยไดก้ ลนิ่ หอมดอกไม้หรือนำ้� อบ หรอื กลิน่ เหม็นอยา่ งใดอย่างหน่งึ ไว้
เมื่อนึกขึ้นก็จํากล่ินหอมกลิ่นเหม็นเหล่าน้ันได้ น่ีเป็นความเกิดข้ึนของความจํา
กลิน่ เมอ่ื ความจํากล่ินเหลา่ นน้ั หายไปจากใจ เป็นความดบั ไปแหง่ คันธสัญญา.
พระธรรมเจดีย์ : รสสัญญา ความจํารสนนั้ มีลักษณะอย่างไร ?
พระอาจารย์มน่ั : ความจํารสน้ัน เมื่อเรารับประทานอาหารมีรสเปร้ียว หวาน จืด เค็ม หรือขม
เปน็ ตน้ เมอ่ื รบั ประทานอาหารเสรจ็ แลว้ นกึ ขน้ึ กจ็ าํ รสเหลา่ นน้ั ได้ อยา่ งนเี้ รยี กวา่
ความจํารส เม่ือความจํารสปรากฏขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งรสสัญญา
เมอ่ื ความจํารสเหล่าน้ันดบั หายไปจากใจ เป็นความดบั ไปแห่งรสสัญญา.
พระธรรมเจดีย์ : โผฏฐพั พสญั ญามีลักษณะอย่างไร ?
พระอาจารยม์ ่นั : ความจําเคร่ืองกระทบทางกาย เช่น เราเดินไปเหยยี บหนาม ถกู หนามยอก หรือ
ถกู ตอ้ งเยน็ รอ้ นออ่ นแขง็ อยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ เมอื่ นกึ ขน้ึ จาํ ความถกู ตอ้ งกระทบกาย
เหล่านน้ั ได้ชื่อว่าโผฏฐพั พสัญญา.

338 ชวี ประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

พระธรรมเจดีย์ : เช่นเม่ือกลางวันน้ีเราเดินไปถูกแดดร้อนจัด คร้ันกลับมาถึงบ้าน นึกถึงที่ไป
ถูกแดดมานั้น ก็จําได้ว่าวันนั้นเราไปถูกแดดมานั้น ก็จัดได้ว่าวันน้ันเราไปถูก
แดดร้อน อย่างนีเ้ ปน็ โผฏฐพั พสัญญาถกู ไหม ?

พระอาจารย์ม่นั : ถกู แล้ว สิ่งใดส่ิงหน่ึงมากระทบถกู ต้องทางกาย เมื่อเรานึกคิดถึงอารมณเ์ หลา่ นนั้
จําได้ เป็นโผฏฐัพพสัญญาทั้งน้ัน เมื่อความจําโผฏฐัพพสัญญาเกิดข้ึนในใจ
เป็นความเกิดขึ้นแห่งโผฏฐัพพสัญญา เม่ือความจําเหล่าน้ันดับหายไปจากใจ
เป็นความดับไปแหง่ โผฏฐัพพสัญญา.

พระธรรมเจดีย์ : ธัมมสัญญามลี ักษณะอย่างไร ?
พระอาจารยม์ ั่น : ธัมมสัญญา ความจาํ ธมั มารมณน์ ้ันละเอยี ดยงิ่ กว่าสัญญา ๕ ที่ได้อธบิ ายมาแล้ว.
พระธรรมเจดยี ์ : ธัมมารมณน์ ัน้ ได้แกส่ ่ิงอะไร ?
พระอาจารย์มั่น : เวทนาขันธ์ สัญญาขนั ธ์ สังขารขันธ์ ๓ อย่างนี้ ชอ่ื วา่ ธัมมารมณ์ เช่น เราไดเ้ สวย

เวทนาท่ีเป็นสุขหรือที่เป็นทุกข์ไว้ แลเวทนาเหล่าน้ันดับไปแล้ว นึกขึ้นจําได้
อย่างน้ี ชื่อว่าความจําเวทนา หรือเคยท่องบ่นอะไร ๆ จะจําได้มากก็ตามหรือ
จําได้น้อยก็ตาม เมื่อความจําเหล่านั้นดับไป พอนึกข้ึนถึงความจําเก่าก็มาเป็น
สัญญาปัจจุบันข้ึน อย่างนี้เรียกว่าความจําสัญญา หรือเราคิดนึกเร่ืองอะไร ๆ
ขนึ้ เองดว้ ยใจ เมอื่ ความคดิ เหลา่ นนั้ ดบั ไป พอเรานกึ ถงึ เรอื่ งอะไร ๆ ขน้ึ เองดว้ ยใจ
กจ็ าํ เรอื่ งนน้ั ได้ นเ่ี รยี กวา่ ความจาํ สงั ขารขนั ธ์ ความจาํ เรอ่ื งราวของเวทนา สญั ญา
สงั ขารเหลา่ นแี้ หละชอื่ วา่ ธมั มสญั ญา ความจาํ ธมั มารมณ์ เมอ่ื ความจาํ ธมั มารมณ์
มาปรากฏข้ึนในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งธัมมสัญญา เม่ือความจําธัมมารมณ์
เหลา่ นัน้ ดับหายไปจากใจ เป็นความดบั ไปแหง่ ธมั มสัญญา.
พระธรรมเจดยี ์ : แหมชา่ งซับซอ้ นกันจริง ๆ จะสังเกตอยา่ งไรถูก ?
พระอาจารย์ม่ัน : ถ้ายังไม่รู้จักอาการขันธ์ ก็สังเกตไม่ถูก ถ้ารู้จักแล้วก็สังเกตได้ง่าย เหมือนคนท่ี
รจู้ ักตวั แลรูจ้ ักช่อื กัน ถึงจะพบหรือเห็นกนั มาก ๆ คนกร็ ู้จักได้ทุก ๆ คน ถา้ คนที่
ไม่เคยรู้จักตัวหรือรู้จักชื่อกันมาแต่คนเดียวก็ไม่รู้จัก ว่าผู้นั้นคือใคร สมด้วย
พระพุทธภาษิตในคุหัฏฐกสูตรหน้า ๓๙๕ ที่ว่า สญฺํ ปริญฺา วิตเรยฺย โอฆํ
สาธุชนมากําหนดรอบรสู้ ญั ญาแลว้ จะพงึ ข้ามโอฆะได.้
พระธรรมเจดยี ์ : สงั ขารขนั ธ์คอื อะไร ?
พระอาจารย์มั่น : สงั ขารขันธ์คอื ความคิดความนกึ .
พระธรรมเจดีย์ : สงั ขารขันธ์เป็นทุกขสจั หรือเป็นสมุทัย ?
พระอาจารยม์ ั่น : เป็นทุกขสจั ไม่ใช่สมทุ ัย
พระธรรมเจดยี ์ : กส็ งั ขารขนั ธต์ ามแบบอภธิ มั มสงั คหะ ทา่ นแจกไวว้ า่ มบี าปธรรม ๑๔ โสภณเจตสกิ
๒๕ อญั ญสมนา ๑๓ รวมเปน็ เจตสิก ๕๒ ดวงนน้ั ดมู ที ั้งบญุ ทง้ั บาป และไม่ใชบ่ ุญ
ไม่ใช่บาปปนกัน ทาํ ไมจงึ เปน็ ทุกขสจั อยา่ งเดียว ขา้ พเจ้ายังฉงนนัก ?

ท่านพระอาจารยม์ นั่ ภรู ทิ ัตตเถระ 339

พระอาจารยม์ ่ัน : อัญญสมนา ๑๓ ยกเวทนาสัญญาออกเสีย ๒ ขันธ์ เหลืออยู่ ๑๑ นี่แหละเป็น
สงั ขารขนั ธแ์ ท้ จะต้องกาํ หนดร้วู ่าเป็นทกุ ข์ สว่ นบาปธรรม ๑๔ นั้น เปน็ สมุทยั
อาศัยสังขารขันธ์เกิดข้ึน เป็นส่วนปหาตัพพธรรมจะต้องละ ส่วนโสภณเจตสิก
๒๕ น้ัน เป็นภาเวตัพพธรรมจะต้องเจริญ เพราะฉะนั้นบาปธรรม ๑๔ กับ
โสภณเจตสิก ๒๕ ไมใ่ ช่สงั ขารแท้ เปน็ แตอ่ าศยั สังขารขนั ธ์เกิดขนึ้ จึงมหี น้าทีจ่ ะ
ต้องละแลต้องเจริญความคิดความนึกอะไร ๆ ที่มาปรากฏขึ้นในใจ เป็นความ
เกิดขน้ึ แหง่ สงั ขารขนั ธ์ ความคิดความนึกเหล่านน้ั ดับหายไปจากใจ ก็เปน็ ความ
ดบั ไปแห่งสงั ขารขนั ธ์.

พระธรรมเจดยี ์ : วิญญาณขันธ์ที่รู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ๖ อย่างน้ี
มลี กั ษณะอยา่ งไร และเวลาที่เกดิ ข้ึนแลดับไปมีอาการอย่างไร ?

พระอาจารยม์ ่ัน : คอื ตา ๑ รปู ๑ กระทบกนั เขา้ เกดิ ความรทู้ างตา เชน่ กบั เราไดเ้ หน็ คนหรอื สงิ่ ของ
อะไร ๆ กร็ ไู้ ด้คนน้นั คนนี้ หรอื สงิ่ นนั้ ส่งิ นี้ ช่ือวา่ จักขวุ ิญญาณ เมื่อรูปมาปรากฏ
กับตา เกิดความรู้ทางตาเป็นความเกิดข้ึนแห่งจักขุวิญญาณ เมื่อความรู้ทางตา
ดับหายไป เป็นความดับไปแห่งจักขุวิญญาณ หรือความรู้ทางหู รู้กลิ่นทางจมูก
รรู้ สทางลนิ้ รโู้ ผฏฐพั พะทางกายมาปรากฏขนึ้ กเ็ ปน็ ความเกดิ ขนึ้ แหง่ โสตวญิ ญาณ
ฆานวญิ ญาณ ชวิ หาวญิ ญาณ กายวญิ ญาณ เมอ่ื ความรทู้ างหู จมกู ลน้ิ กาย หายไป
ก็เป็นความดับไปแห่งโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
เมือ่ ใจกับธมั มารมณ์มากระทบกนั เขา้ เกดิ ความร้ทู างใจเรยี กว่า มโนวิญญาณ.

พระธรรมเจดยี ์ : ใจน้นั ไดแ้ กส่ งิ่ อะไร ?
พระอาจารย์มนั่ : ใจน้ันเป็นเครื่องรับธัมมารมณ์ให้เกิดความรู้ทางใจ เหมือนอย่างตาเป็นเครื่อง

รับรปู ใหเ้ กิดความรู้ทางตา.
พระธรรมเจดีย์ : รู้เวทนา รูส้ ญั ญา รสู้ งั ขารนนั้ รู้อยา่ งไร ?
พระอาจารยม์ ่นั : รู้เวทนาน้ัน เช่น สุขเวทนาเป็นปัจจุบันเกิดข้ึน ก็รู้ว่าเป็นสุข หรือทุกขเวทนา

เกดิ ขน้ึ กร็ ้วู า่ เปน็ ทกุ ข์ อย่างแลรเู้ วทนา หรอื สัญญาใดมาปรากฏขึ้นในใจ จะเปน็
ความจํารูปหรือความจําเสียงก็ดี ก็รู้สัญญานั้น อย่างนี้เรียกว่ารู้สัญญาหรือ
ความคดิ เรื่องอะไร ๆ ขึ้น กร็ ไู้ ปในเร่ืองน้ันอย่างนี้ ร้สู งั ขาร ความร้เู วทนา สัญญา
สังขาร ๓ อยา่ งนี้ ตอ้ งรู้ทางใจ เรียกวา่ มโนวญิ ญาณ.
พระธรรมเจดยี ์ : มโนวิญญาณ ความรู้ทางใจก็เหมือนกันกับธรรมสัญญา ความจําธัมมารมณ์
อยา่ งนน้ั หรอื เพราะนก่ี ร็ วู้ า่ เวทนา สญั ญา สงั ขาร นนั่ กจ็ าํ เวทนา สญั ญา สงั ขาร ?
พระอาจารยม์ ัน่ : ตา่ งกนั เพราะสญั ญานนั้ จาํ อารมณท์ ลี่ ว่ งแลว้ แตต่ วั สญั ญาเองเปน็ สญั ญาปจั จบุ นั
ส่วนมโนวญิ ญาณนั้นรเู้ วทนา สัญญา สงั ขาร ท่ีเป็นอารมณ์ปัจจบุ ัน เมอื่ ความรู้
เวทนา สัญญา สังขาร มาปรากฏขึ้นในใจ เป็นความเกิดข้ึนแห่งมโนวิญญาณ

340 ชีวประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

เมื่อความรู้เวทนา สัญญา สังขาร ดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งมโน
วิญญาณ.
พระธรรมเจดยี ์ : เชน่ ผงเขา้ ตา รวู้ า่ เคอื งตา เป็นรูท้ างตาใชไ่ หม ?
พระอาจารย์มน่ั : ไม่ใช่ เพราะรู้ทางตาน้ัน หมายถึงรูปที่มากระทบกับตาเกิดความรู้ขึ้น ส่วน
ผงเข้าตานัน้ เปน็ กายสมั ผสั ตอ้ งเรยี กว่ารโู้ ผฏฐพั พะ เพราะตาน้นั เปน็ กาย ผงน้นั
เปน็ โผฏฐัพพะ เกดิ ความรูข้ น้ึ ช่ือว่าร้ทู างกาย ถา้ ผงเข้าตาคนอ่นื เขาวานเราไปดู
เม่อื เราได้เห็นผงเกิดความรู้ขนึ้ ชื่อว่ารทู้ างตา.
พระธรรมเจดีย์ : สาธุ ขา้ พเจา้ เขา้ ใจได้ความในเร่ืองนี้ชดั เจนดแี ล้ว แต่ขันธ์ ๕ นัน้ ยงั ไมไ่ ด้ความวา่
จะเกิดข้ึนทลี ะอย่างสองอย่าง หรือว่าตอ้ งเกดิ พรอ้ มกนั ทั้ง ๕ ขันธ์ ?
พระอาจารย์มน่ั : ต้องเกิดพรอ้ มกันท้งั ๕ ขันธ.์
พระธรรมเจดยี ์ : ขนั ธ์ ๕ ทเี่ กดิ พรอ้ มกนั นน้ั มลี กั ษณะอยา่ งไร ? และความดบั ไปมอี าการอยา่ งไร ?
ขอใหช้ ีต้ ัวอยา่ งใหข้ าวสักหนอ่ ย
พระอาจารยม์ ั่น : เช่น เวลาเรานึกถึงรูปคนหรือรูปส่ิงของอย่างใดอย่างหนึ่ง อาการท่ีนึกขึ้นน้ัน
เปน็ ลกั ษณะของสงั ขารขนั ธ์ รปู รา่ งหรอื สง่ิ ของเหลา่ นนั้ มาปรากฏขนึ้ ในใจ นเี่ ปน็
ลกั ษณะของรปู สญั ญา ความรทู้ เี่ กดิ ขน้ึ ในเวลานน้ั นเ่ี ปน็ ลกั ษณะของมโนวญิ ญาณ
สุขหรือทุกข์หรืออุเบกขาที่เกิดขึ้นในคราวนั้น นี่เป็นลักษณะของเวทนา
มหาภูตรูป หรอื อุปาทายรูปท่ปี รากฏอยนู่ ัน้ เป็นลกั ษณะของรปู อย่างนเ้ี รียกว่า
ความเกิดข้ึนแห่งขันธ์พร้อมกันทั้ง ๕ เม่ืออาการ ๕ อย่างเหล่านั้นดับไป เป็น
ความดบั ไปแห่งขันธท์ ง้ั ๕.
พระธรรมเจดยี ์ : สว่ นนามทง้ั ๔ เกดิ ขนึ้ และดบั ไปพอจะเหน็ ดว้ ย แตท่ ว่ี า่ รปู ดบั ไปนนั้ ยงั ไมเ่ ขา้ ใจ ?
พระอาจารยม์ ั่น : ส่วนรูปน้ันมีความแปรปรวนอยู่เสมอ เช่นของเก่าเสื่อมไป ของใหม่เกิดแทน
แตท่ ว่าไม่เหน็ เองเพราะรูปสันตติ รูปท่ตี ดิ ตอ่ เนอ่ื งกันบังเสีย จงึ แลไมเ่ หน็ แต่ก็
ลองนึกดูถึงรูปตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันน้ีเปล่ียนไปแล้วสักเท่าไร ถ้ารูปไม่ดับก็คง
ไม่มเี วลาแก่ แลเวลาตาย.
พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเราสงั เกตขันธ์ ๕ วา่ เวลาเกดิ ข้นึ แลดับไปนน้ั จะสงั เกตอยา่ งไรจึงจะเหน็ ได้
แลที่ว่าขันธ์ส้ินไปเส่ือมไปน้ันมีลักษณะอย่างไร เพราะว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
แล้วกเ็ กิดขนึ้ ได้อีก ดูเป็นของคงที่ไม่เหน็ มคี วามเสือ่ ม
พระอาจารย์มัน่ : พดู กบั คนทไ่ี มเ่ คยเหน็ ความจรงิ นนั้ ชา่ งนา่ ขนั เสยี เหลอื เกนิ วธิ สี งั เกตขนั ธ์ ๕ นนั้
ก็ต้องศึกษาให้รู้จักอาการขันธ์ตามความเป็นจริง แล้วก็มีสติสงบความคิดอื่น
เสยี หมดแล้ว จนเปน็ อารมณ์อนั เดยี วทีเ่ รียกว่าสมาธิ ในเวลานัน้ ความคดิ อะไร ๆ
ไมม่ แี ลว้ สว่ นรปู นนั้ หมายลมหายใจ สว่ นเวทนากม็ แี ตป่ ตี หิ รอื สขุ สว่ นสญั ญากเ็ ปน็
ธรรมสญั ญาอย่างเดียว สว่ นสงั ขารเวลาน้นั เปน็ สติกับสมาธิ หรอื วิตกวิจารณอ์ ยู่

ทา่ นพระอาจารย์มนั่ ภรู ทิ ตั ตเถระ 341

ส่วนวิญญาณก็เป็นแต่ความรู้อยู่ในเรื่องที่สงบน้ัน ในเวลานั้นขันธ์ ๕ เข้าไป
รวมอยู่เป็นอารมณ์เดียว ในเวลานั้นต้องสังเกตอารมณ์ปัจจุบันที่ปรากฏอยู่เป็น
ความเกดิ ขน้ึ แหง่ ขนั ธ์ พออารมณป์ จั จบุ นั นน้ั ดบั ไป เปน็ ความดบั ไปแหง่ นามขนั ธ์
ส่วนรูปนั้นเช่นลมหายใจออกมาแล้ว พอหายใจกลับเข้าไป ลมหายใจออกนั้น
ก็ดับไปแล้ว คร้ันกลับมาหายใจออกอีก ลมหายใจเข้าก็ดับไปแล้ว นี่แหละเป็น
ความดบั ไปแหง่ ขนั ธท์ ง้ั ๕ แลว้ ปรากฏขนึ้ มาอกี กเ็ ปน็ ความเกดิ ขน้ึ ทกุ ๆ อารมณ์
แลขันธ์ ๕ ทีเ่ กิดขน้ึ ดบั ไป ไมใ่ ชด่ บั ไปเปล่า ๆ รูปชวี ติ อินทรีย์ ความเปน็ อยู่ของ
รูปขันธ์ อรูปชีวิตอินทรีย์ ความเป็นอยู่ของนามขันธ์ทั้ง ๕ เมื่ออารมณ์ดับไป
ครัง้ หนึ่ง ชีวติ แลอายขุ องขันธ์ทง้ั ๕ ส้ินไปหมดไปทกุ ๆ อารมณ์.
พระธรรมเจดีย์ : วธิ ีสงั เกตอาการขันธ์ทสี่ นิ้ ไปเสอ่ื มไปนัน้ หมายเอาหรือคิดเอา ?
พระอาจารย์มัน่ : หมายเอาก็เป็นสัญญา คิดเอาก็เป็นเจตนา เพราะฉะน้ันไม่ใช่หมายไม่ใช่คิด
ตอ้ งเข้าไปเหน็ ความจรงิ ท่ีปรากฏเฉพาะหน้า จงึ จะเป็นปญั ญาได.้
พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นน้ันจะดูความส้ินไปเสื่อมไปของขันธ์ทั้ง ๕ มิต้องตั้งพิธีทําใจให้เป็นสมาธิ
ทุกคราวไปหรอื ?
พระอาจารย์มน่ั : ถ้ายังไม่เคยเห็นความจริง ก็ต้องตั้งพิธีเช่นนี้ร่�ำไป ถ้าเคยเห็นความจริงเสีย
แล้ว ก็ไม่ต้องตั้งพิธีทําใจให้เป็นสมาธิทุกคราวก็ได้ แต่พอมีสติข้ึน ความจริง
ก็ปรากฏเพราะเคยเห็นแลรู้จักความจริงเสียแล้ว เม่ือมีสติรู้ตัวขึ้นมาเวลาใด
ก็เปน็ สมถวปิ ัสสนากํากับกันไปทุกคราว.
พระธรรมเจดีย์ : ทีว่ า่ ชีวติ แลอายขุ นั ธส์ ิน้ ไปเส่ือมไปนนั้ คอื สน้ิ ไปเส่ือมไปอย่างไร ?
พระอาจารย์ม่นั : เช่นเราจะมีลมหายใจอยู่ได้สัก ๑๐๐ หน ก็จะตาย ถ้าหายใจเสียหนหน่ึงแล้ว
ก็คงเหลอื อกี ๙๙ หน หรือเราจะคิดจะนึกอะไรได้สัก ๑๐๐ หน เม่ือคิดนึกเสีย
หนหน่ึงแล้ว ก็คงเหลืออีก ๙๙ หน ถ้าเป็นคนอายุยนื ก็หายใจอย่ไู ด้มากหน หรือ
คิดนึกอะไร ๆ อยไู่ ด้มากหน ถา้ เป็นคนอายุสัน้ ก็มีลมหายใจและคดิ นกึ อะไร ๆ
อยูไ่ ดน้ ้อยหน ทส่ี ุดก็หมดลงวนั หนึ่ง เพราะจะต้องตายเป็นธรรมดา.
พระธรรมเจดยี ์ : ถ้าเราจะหมายจะคิดอยู่ในเร่ืองความจริงของขันธ์ อย่างน้ีจะเป็นปัญญาไหม ?
พระอาจารย์ม่ัน : ถ้าคิดเอาหมายเอา ก็เป็นสมถะ ท่ีเรียกว่ามรณัสสติ เพราะ
ปัญญานั้นไม่ใช่เรื่องหมายหรือเร่ืองคิด เป็นเร่ืองของความเห็นอารมณ์ปัจจุบัน
ทป่ี รากฏเฉพาะหน้า ราวกบั ตาเห็นรูปจงึ จะเป็นปญั ญา.
พระธรรมเจดีย์ : เมื่อจิตสงบแล้ว ก็คอยสังเกตดูอาการขันธ์ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน เพ่ือจะให้เห็น
ความจรงิ นนั่ เป็นเจตนาใช่ไหม ?
พระอาจารย์ม่ัน : เวลานน้ั เปน็ เจตนาจรงิ อยู่ แตค่ วามจรงิ กย็ งั ไมป่ รากฏ เวลาทค่ี วามจรงิ ปรากฏขน้ึ
น้ันพน้ เจตนาทีเดยี ว ไมม่ ีเจตนาเลย เป็นความเห็นท่ีเกดิ ข้นึ เป็นพิเศษตอ่ จากจติ
ทส่ี งบแล้ว.

342 ชีวประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

พระธรรมเจดยี ์ : จิตคู่กับเจตสิก ใจคู่กับธัมมารมณ์ มโนธาตุคู่กับธรรมธาตุ ๓ คู่นี้เหมือนกัน
หรอื ต่างกัน ?

พระอาจารยม์ น่ั : เหมือนกัน เพราะว่าจิตกับมโนธาตุกับใจนั้นอย่างเดียวกัน ส่วนใจน้ันเป็น
ภาษาไทย ภาษาบาลีท่านเรยี กวา่ มโน เจตสิกนนั้ กไ็ ดแ้ ก่ เวทนา สญั ญา สงั ขาร
ธมั มารมณน์ นั้ กค็ อื เวทนา สญั ญา สงั ขาร ธรรมธาตนุ น้ั กค็ อื เวทนา สญั ญา สงั ขาร.

พระธรรมเจดยี ์ : ใจนั้นทาํ ไมจงึ ไม่ใคร่ปรากฏ เวลาท่ีสังเกตดูกเ็ ห็นแตเ่ หล่าธมั มารมณ์ คือ เวทนา
บา้ ง สัญญาบา้ ง สงั ขารบา้ ง มโนวิญญาณความร้ทู างใจบา้ ง เพราะเหตไุ ร ใจจึง
ไม่ปรากฏเหมือนเหลา่ ธัมมารมณ์ กับมโนวิญญาณ ?

พระอาจารยม์ ่ัน : ใจนั้นเป็นของละเอียด เห็นได้ยาก พอพวกเจตสิกธรรมที่เป็นเหล่าธัมมารมณ์
มากระทบเขา้ ก็เกิดมโนวิญญาณ ถกู ผสมเปน็ มโนสมั ผัสเสียทเี ดียว จงึ แลไม่เหน็
มโนธาตไุ ด้.

พระธรรมเจดยี ์ : อุเบกขาในจตตุ ถฌาน เปน็ อทุกขมสุขเวทนา ใช่หรอื ไม่ ?
พระอาจารย์มน่ั : ไมใ่ ช่ อทกุ ขมสขุ เวทนานน้ั เปน็ เจตสกิ ธรรม สว่ นอเุ บกขาในจตตุ ถฌานนน้ั เปน็ จติ .
พระธรรมเจดยี ์ : สงั โยชน์ ๑๐ นนั้ คอื สกั กายทฏิ ฐิ วจิ กิ จิ ฉา สลี พั พตปรามาส กามราคะ พยาบาท

รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ที่แบ่งเป็น สังโยชน์เบื้องต่�ำ ๕
เบื้องบน ๕ นน้ั ก็ส่วนสักกายทฏิ ฐิทท่ี ่านแจกไว้ ตามแบบขันธล์ ะ ๔ รวม ๕ ขนั ธ์
เป็น ๒๐ ท่ีว่าย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนว่ามีรูปบ้าง
ยอ่ มเหน็ รปู ในตวั ตนบา้ ง ยอ่ มเหน็ ตวั ตนในรปู บา้ ง ยอ่ มเหน็ เวทนา สญั ญา สงั ขาร
วิญญาณ โดยความเป็นตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนว่ามี เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณบ้าง ย่อมเหน็ เวทนา สญั ญา สังขาร วิญญาณในตวั ตนบา้ ง ย่อมเห็น
ตวั ตนในเวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณบา้ ง ถา้ ฟงั ดทู า่ นทลี่ ะสกั กายทฏิ ฐไิ ดแ้ ลว้
ดไู มเ่ ปน็ ตวั เป็นตน แตท่ ําไมพระโสดาบันกล็ ะสักกายทฏิ ฐิได้แล้ว สังโยชนย์ งั อยู่
อกี ถงึ ๗ ขา้ พเจา้ ฉงนนัก ?
พระอาจารยม์ ่นั : สกั กายทฏิ ฐิ ท่ที า่ นแปลไว้ตามแบบ ใคร ๆ ฟงั กไ็ มใ่ ครเ่ ข้าใจ เพราะท่านแตก่ อ่ น
ทา่ นพูดภาษามคธกนั ท่านเข้าใจไดค้ วามกันดี ส่วนเราเปน็ ไทย ถึงแปลแล้วกจ็ ะ
ไม่เข้าใจของท่าน จึงลงความเห็นว่าไม่เป็นตัวเป็นตนเสีย ดูออกจะแรงมากไป
ควรจะนกึ ถงึ พระโกณฑญั ญะในธมั มจกั ร ทา่ นไดเ้ ปน็ โสดาบนั กอ่ นคนอน่ื ทา่ นได้
ความเหน็ ว่า ยงฺกญิ จฺ ิ สมุทยธมมฺ ํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมมฺ ํ สง่ิ ใดสิ่งหน่งึ มีความเกิดขึน้
เป็นธรรมดา สง่ิ นนั้ ล้วนมีความดับเปน็ ธรรมดา และพระสารบี ตุ รพบพระอัสสชิ
ได้ฟงั อรยิ สจั ย่อวา่ เย ธฺมมา เหตปุ ปฺ ภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นโิ รโธ จ
เอวํ วาที มหาสมโณ “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุ
ของธรรมเหล่านัน้ และความดับของธรรมเหล่านัน้ พระมหาสมณะมีปกตกิ ลา่ ว
อย่างน้ี” ทา่ นก็ไดด้ วงตาเห็นธรรม ละสกั กายทิฏฐไิ ด้.

ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูรทิ ตั ตเถระ 343

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นท่านก็เห็นความจริงของปัญจขันธ์ ถ่ายความเห็นผิด คือทิฏฐิวิปลาส
เสยี ได้ สว่ นสีลพั พตกับวิจกิ ิจฉา ๒ อยา่ งน้ัน ทําไมจงึ หมดไปด้วย ?

พระอาจารย์ม่นั : สักกายทิฏฐิน้ัน เป็นเร่ืองของความเห็นผิดถึงสีลัพพตก็เกี่ยวกับความเห็นว่า
ส่ิงทศ่ี กั ด์ิสทิ ธ์ติ ่าง ๆ ท่ีมอี ยใู่ นโลกจะใหด้ ีให้ชวั่ ได้ วจิ กิ ิจฉานัน้ เมอ่ื ผ้ทู ่ียงั ไมเ่ คย
เหน็ ความจรงิ กต็ อ้ งสงสยั เปน็ ธรรมดา เพราะฉะนนั้ ทา่ นทไ่ี ดด้ วงตาเหน็ ธรรม คอื
เห็นความจริงของสังขารทั้งปวง ส่วนสีลัพพตน้ัน เพราะความเห็นของท่านตรง
แลว้ จงึ เปน็ อจลสทั ธา ไมเ่ หน็ ไปวา่ สง่ิ อน่ื นอกจากธรรมทเี่ ปน็ กศุ ลแลอกศุ ลจะใหด้ ี
ใหช้ วั่ ได้ จงึ เปน็ อนั ละสลี พั พตอยเู่ อง เพราะสงั โยชน์ ๓ เปน็ กเิ ลสประเภทเดยี วกนั .

พระธรรมเจดีย์ : ถา้ ตอบสงั โยชน์ ๓ อยา่ งนแ้ี ล้ว มขิ ัดกนั กับสกั กายทิฏฐติ ามแบบท่ีว่า ไม่เป็นตัว
เปน็ ตนหรอื ?

พระอาจารยม์ ่ัน : คาํ ทวี่ า่ ไมเ่ ปน็ ตวั เปน็ ตนนนั้ เปน็ เรอ่ื งทเ่ี ขา้ ใจเอาเองตา่ งหาก เชน่ กบั พระโกณฑญั ญะ
เมอ่ื ฟงั ธรรมจักร ท่านกล็ ะสกั กายทฏิ ฐไิ ด้แลว้ ทําไมจงึ ต้องฟงั อนัตตลกั ขณะสตู ร
อกี เล่า น่กี ็สอ่ ใหเ้ ห็นได้วา่ ทา่ นผู้ทล่ี ะสกั กายทิฏฐไิ ด้น้ัน คงไม่ใช่เหน็ วา่ ไมเ่ ป็นตัว
เปน็ ตน.

พระธรรมเจดยี ์ : ถ้าเช่นนน้ั ท่วี ่าเห็นอนตั ตา กค็ ือเหน็ ว่าไม่ใชต่ วั ไม่ใช่ตนอยา่ งน้ันหรือ ?
พระอาจารยม์ น่ั : อนตั ตาในอนตั ตลกั ขณสตู รทีพ่ ระพุทธเจา้ ทรงซกั พระปัญจวัคคยี ์ มีเนื้อความวา่

ขันธ์ ๕ ไม่เป็นไปในอํานาจ ส่ิงที่ไม่เป็นไปในอํานาจบังคับไม่ได้ จึงช่ือว่าเป็น
อนัตตา ถ้าขันธ์ ๕ เป็นอัตตาแล้วก็คงจะบังคับได้ เพราะฉะน้ันเราจึงควรเอา
ความว่า ขันธ์ ๕ ที่ไม่อยู่ในอํานาจ จึงเป็นอนัตตา เพราะเหตุที่บังคับไม่ได้
ถา้ ขันธ์ ๕ เปน็ อัตตาตัวตนก็คงจะบังคับได้.
พระธรรมเจดีย์ : ถา้ เชน่ นน้ั เห็นอย่างไรเลา่ จงึ เปน็ สกั กายทิฏฐิ ?
พระอาจารยม์ ่ัน : ตามความเห็นของข้าพเจ้าว่า ไม่รู้จักขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง เห็นปัญจขันธ์
วา่ เป็นตนและเทยี่ งสุข เป็นตวั ตนแกน่ สาร และเลยเหน็ ไปวา่ เป็นสภุ ะความงาม
ด้วย ทีเ่ รียกว่า ทิฏฐวิ ปิ ลาส น่แี หละเป็นสกั กายทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงเปน็ คู่ปรบั
กับ ยงกฺ ิญจฺ ิ สมุทยธมมฺ ํ สพพฺ นตฺ ํ นิโรธธมมฺ ํ ซง่ึ เป็นความเห็นถูก ความเห็นชอบ
จงึ ถ่ายความเห็นผิดเหลา่ นน้ั ได.้
พระธรรมเจดยี ์ : ถ้าเช่นนั้น ท่านท่ีละสักกายทิฏฐิได้แล้ว อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จะเป็นอัธยาศัย
ได้ไหม ?
พระอาจารยม์ ั่น : ถา้ ฟังดตู ามแบบท่านเห็น ยงฺกญิ จฺ ิ สมุทยธมมฺ ํ สพฺพนฺตํ นโิ รธธมมฺ ํ ชดั เจน อนิจฺจํ
คงเป็นอัธยาศัย ส่วน ทุกฺขํ กับอนตฺตา ถึงจะเห็นก็ไม่เป็นอัธยาศัย เข้าใจว่า
ถ้าเห็นปญั จขนั ธ์ เป็นทุกขม์ ากเข้า กามราคะพยาบาทก็คงน้อย ถ้าเห็นปญั จขนั ธ์
เป็นอนัตตามากเข้า กามราคะพยาบาทกค็ งหมด ถา้ เหน็ ว่า สพเฺ พ ธมมฺ า อนตตฺ า

344 ชวี ประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย

ชัดเจนเข้า สังโยชน์เบ้ืองบนก็คงหมด น่ีเป็นส่วนความเข้าใจ แต่ตามแบบท่าน
ก็ไมไ่ ด้อธิบายไว้.
พระธรรมเจดยี ์ : ทว่ี า่ พระสกทิ าคามที าํ กามราคะพยาบาทใหน้ อ้ ยนน้ั ดมู วั ไมช่ ดั เจน เพราะไมท่ ราบ
ว่าน้อยแคไ่ หน ไม่แตกหักเหมือนพระโสดาบัน พระอนาคามีแลพระอรหันต์ ?
พระอาจารย์มน่ั : แตกหกั หรอื ไม่แตกหกั ก็ใครจะไปรูข้ องท่าน เพราะว่าเป็นของเฉพาะตัว.
พระธรรมเจดีย์ : ถ้าจะสนั นษิ ฐานไปตามแนวพระปรยิ ตั ิกจ็ ะชต้ี วั อย่างให้เขา้ ใจบ้างหรือไม่ ?
พระอาจารยม์ ั่น : การสันนิษฐานนนั้ เปน็ ของไมแ่ น่ ไมเ่ หมือนอย่างไดร้ เู้ องเห็นเอง.
พระธรรมเจดยี ์ : แน่หรอื ไมแ่ นก่ เ็ อาเถดิ ข้าพเจา้ อยากฟัง ?
พระอาจารย์ม่นั : ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านท่ีได้เป็นโสดาบันเสร็จแล้ว มีอัธยาศัยใจคอ
ซงึ่ ต่างกับปถุ ชุ น ท่านได้ละกามราคะพยาบาทสว่ นหยาบถึงกับล่วงทุจรติ ซง่ึ เปน็
ฝ่ายอบายได้ คงเหลือแต่อย่างกลาง อย่างละเอียดอีก ๒ ส่วน ภายหลังท่าน
เจรญิ สมถวปิ สั สนามากขนึ้ กล็ ะกามราคะปฏฆิ ะสงั โยชนอ์ ยา่ งกลางไดอ้ กี สว่ นหนง่ึ
ขา้ พเจา้ เหน็ วา่ นแี่ หละเปน็ มรรคท่ี ๒ ตอ่ มาทา่ นประพฤตปิ ฏบิ ตั ลิ ะเอยี ดเขา้ กล็ ะ
กามราคะพยาบาททเี่ ป็นอย่างละเอยี ดไดข้ าด ช่ือว่า พระอนาคามี.
พระธรรมเจดีย์ : กามราคะพยาบาทอยา่ งหยาบถงึ กับลว่ งทุจรติ หมายทุจริตอยา่ งไหน ?
พระอาจารย์ม่นั : หมายเอาอกุศลกรรมบถ ๑๐ วา่ เปน็ ทจุ ริตอย่างหยาบ.
พระธรรมเจดยี ์ : ถ้าเชน่ น้ันพระโสดาบันทา่ นกล็ ะอกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้ เปน็ สมุจเฉทหรอื ?
พระอาจารย์มัน่ : ตามความเหน็ ของขา้ พเจา้ เหน็ วา่ กายทจุ รติ ๓ คอื ปาณา อทนิ นา กาเมสมุ จิ ฉาจาร
มโนทจุ รติ ๓ อภชิ ฌฺ า พยาบาท มจิ ฉาทฏิ ฐนิ ล้ี ะขาดได้ เปน็ สมจุ เฉท สว่ นวจกี รรม
ท่ี ๔ คือ มสุ าวาทกล็ ะได้ขาด สว่ นวจกี รรมอีก ๓ ตวั คอื ปสิ ณุ าวาจา ผรุสวาจา
สัมผัปปลาปะ ละได้แต่ส่วนหยาบท่ีปุถุชนกล่าวอยู่ แต่ส่วนละเอียดยังละไม่ได้
ต้องอาศัยสังวรความระวงั ไว.้
พระธรรมเจดีย์ : ที่ตอ้ งสํารวมวจีกรรม ๓ เพราะเหตอุ ะไร ทําไมจึงไมข่ าดอย่างมุสาวาท ?
พระอาจารยม์ นั่ : เปน็ ด้วยกามราคะกบั ปฏิฆะสงั โยชนท์ ้งั ๒ ยงั ละไมไ่ ด.้
พระธรรมเจดยี ์ : วจกี รรม ๓ มาเกยี่ วอะไรกับสังโยชนท์ ้งั ๒ ดว้ ยเล่า ?
พระอาจารยม์ ั่น : บางคาบบางสมัย เป็นต้นว่ามีเร่ืองท่ีจําเป็นเกิดขึ้นในคนรักของท่านกับคน
อีกคนหน่ึง ซึ่งเขาทําความไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่ง จําเป็นท่ีจะต้องพูด คร้ัน
พูดไปแลว้ เปน็ เหตุให้เขาห่างจากคนนั้นจงึ ต้องระวัง ส่วนปิสุณาวาจา บางคราว
ความโกรธเกิดข้ึนท่ีสุดจะพูดออกไป ด้วยกําลังใจที่โกรธว่าพ่อมหาจําเริญ
แมม่ หาจาํ เรญิ ทเี่ รยี กวา่ ประชดทา่ น กส็ งเคราะหเ์ ขา้ ใน ผรสุ วาจา เพราะเหตนุ นั้
จงึ ตอ้ งสาํ รวม สว่ นสมั ผปั ปลาปะนน้ั ดริ จั ฉานกถาตา่ ง ๆ มมี าก ถา้ สมยั ทเ่ี ผลอสติ
มีคนมาพูด กอ็ าจจะพลอยพดู ไปด้วยได้ เพราะเหตนุ ั้นจึงต้องสํารวม.

ทา่ นพระอาจารย์ม่ัน ภูริทตั ตเถระ 345

พระธรรมเจดยี ์ : ออ้ พระโสดาบนั ยังมีเวลาเผลอสตอิ ยู่หรอื ?
พระอาจารย์มน่ั : ทาํ ไมทา่ นจะไมเ่ ผลอ สงั โยชนย์ งั อยอู่ กี ถงึ ๗ ทา่ น ไมใ่ ชพ่ ระอรหนั ตจ์ ะไดบ้ รบิ รู ณ์

ด้วยสต.ิ
พระธรรมเจดีย์ : กามราคะพยาบาทอย่างกลางหมายความเอาแค่ไหน เมอื่ เกดิ ข้ึนจะได้รู้ ?
พระอาจารยม์ ั่น : ความรกั แลความโกรธทปี่ รากฏขนึ้ มเี วลาสนั้ หายเรว็ ไมถ่ งึ กบั ลว่ งทจุ รติ นแ่ี หละ

เป็นอยา่ งกลาง.
พระธรรมเจดยี ์ : ก็กามราคะพยาบาทอย่างละเอียดน้ันหมายเอาแค่ไหน แลเรียกว่า พยาบาท

ดหู ยาบมาก เพราะเปน็ ชือ่ ของอกุศล ?
พระอาจารยม์ ัน่ : บางแห่งท่านก็เรียกว่าปฏิฆะสังโยชน์ก็มี แต่ความเห็นของข้าพเจ้าว่า ไม่ควร

เรียกพยาบาท ควรจะเรยี กปฏิฆะสังโยชน์ดเู หมาะดี.
พระธรรมเจดยี ์ : ก็ปฏฆิ ะกบั กามราคะที่อยา่ งละเอยี ดนัน้ จะได้แกอ่ าการของจิตเช่นใด ?
พระอาจารย์ม่ัน : ความกําหนัดที่อย่างละเอียด พอปรากฏขึ้นไม่ทันคิดออกไปก็หายทันที ส่วน

ปฏิฆะน้ัน เช่น คนที่มีสาเหตุโกรธกันมาแต่ก่อน ครั้นนานมาความโกรธนั้น
ก็หายไปแลว้ และไมไ่ ดน้ ึกถึงเสียเลย ครน้ั ไปในท่ีประชุมแห่งใดแห่งหนงึ่ ไปพบ
คนนั้นเขา้ มอี าการสะดดุ ใจ ไมส่ นิทสนมหรือเกอ้ เขิน ผิดกับคนธรรมดาซงึ่ ไม่เคย
มีสาเหตุกัน ข้าพเจ้าเห็นว่าอาการเหล่านี้เป็นอย่างละเอียด ควรจะเรียกปฏิฆะ
สังโยชนไ์ ด้ แตต่ ามแบบท่านก็ไม่ได้อธบิ ายไว.้
พระธรรมเจดีย์ : สงั โยชนท์ งั้ ๒ นี้ เหน็ จะเกดิ จากคนโดยตรง ไมใ่ ชเ่ กดิ จากสงิ่ ของทรพั ยส์ มบตั อิ น่ื ๆ?
พระอาจารย์มน่ั : ถูกแล้ว เช่นวิสาขะอุบาสกเป็นพระอนาคามี ได้ยินว่าหลีกจากนางธัมมทินนา
ไม่ไดห้ ลกี จากสงิ่ ของทรพั ยส์ มบตั ิสว่ นอื่น ๆ ส่วนความโกรธหรอื ปฏฆิ ะท่ีเกดิ ขึ้น
ก็เป็นเร่ืองของคนท้ังน้ัน ถึงแม้จะเป็นเร่ืองสิ่งของก็เกี่ยวข้องกับคน ตกลงโกรธ
คนนน่ั เอง.
พระธรรมเจดีย์ : ส่วนสังโยชน์เบื้องต�่ำน้ัน ก็ได้รับความอธิบายมามากแล้ว แต่ส่วนสังโยชน์
เบอื้ งบน ๕ ตามแบบท่ีอธิบายไว้ว่า รูปราคะ คือ ยนิ ดีในรปู ฌาน อรูปราคะยนิ ดี
ในอรูปฌาน ถ้าเช่นนั้นคนท่ีไม่ได้บรรลุฌานสมาบัติ ๘ สังโยชน์ทั้งสองก็ไม่มี
โอกาสจะเกิดได้ เม่อื เป็นเชน่ นสี้ งั โยชนส์ องอยา่ งน้ี ไม่มหี รือ ?
พระอาจารยม์ ั่น : มี ไม่เกิดในฌาน กไ็ ปเกดิ ในเรื่องอนื่ .
พระธรรมเจดยี ์ : เกดิ ในเรื่องไหนบา้ ง ขอท่านจงอธบิ ายใหข้ ้าพเจ้าเข้าใจ ?
พระอาจารยม์ ั่น : ความยนิ ดใี นรปู ขนั ธ์ หรอื ความยนิ ดีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นั้นชอ่ื ว่า
รปู ราคะ ความยนิ ดีในเวทนา สัญญา สังขาร วญิ ญาณ หรอื ยินดีในสมถวิปสั สนา
หรอื ยนิ ดใี นส่วนมรรคผลทไี่ ดบ้ รรลเุ สขคณุ แลว้ เหล่าน้ีกเ็ ปน็ อรูปราคะได.้

346 ชีวประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย

พระธรรมเจดยี ์ : ก็ความยินดีในกาม ๕ พระอนาคามีละได้แล้วไม่ใช่หรือ ทําไมจึงมาเก่ียวกับ
สังโยชนเ์ บื้องบนอกี เล่า ?

พระอาจารยม์ ัน่ : กามมี ๒ ชั้น ไม่ใช่ชั้นเดียวท่ีพระอนาคามีละได้นั้น เป็นส่วนกําหนัดในเมถุน
ซึ่งเป็นคู่กับพยาบาท ส่วนความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ท่ีไม่ได้
เก่ียวกับเมถุน จึงเป็นสังโยชน์เบ้ืองบน คือรูปราคะ ส่วนความยินดีในนามขันธ์
ทงั้ ๔ หรอื สมถวปิ สั สนาหรอื มรรคผลชนั้ ตน้ ๆ เหลา่ นี้ ชอื่ วา่ อรปู ราคะ ซง่ึ ตรงกบั
ความยินดีในธัมมารมณ์ เพราะฉะน้ันพระอรหันต์ท้ังหลายเบื่อหน่ายในรูปขันธ์
หรอื รปู เสยี ง กลน่ิ รส โผฏฐพั พะ เปน็ ภายนอก จงึ ไดส้ นิ้ ไปแหง่ รปู ราคะสงั โยชน์
และท่านเบอ่ื ในเวทนา สญั ญา สังขาร วญิ ญาณ และสมถหรอื วิปสั สนาทีอ่ าศยั
ขนั ธ์เกิดขน้ึ เมือ่ ทา่ นส้นิ ความยินดใี นนามขนั ธแ์ ล้ว แม้ธรรมทั้งหลายอาศัยขันธ์
เกิดข้ึนท่านก็ไม่ยินดี ได้ช่ือว่าละความยินดีในธัมมารมณ์ซึ่งคู่กับความยินร้าย
เพราะความยินดยี ินร้ายในนามรปู หมดแลว้ ท่านจงึ เป็นผูพ้ น้ แลว้ จากความยินดี
ยนิ รา้ ยในอารมณ์ ๖ จงึ ถงึ พร้อมด้วยคณุ คอื ฉะลังคเุ บกขา.

พระธรรมเจดยี ์ : แปลกมากยังไม่เคยได้ยินใครอธิบายอย่างนี้ ส่วนมานะสังโยชน์นั้นมีอาการ
อยา่ งไร ?

พระอาจารย์มน่ั : มานะสังโยชน์น้ันมีอาการให้วัด เช่นกับนึกถึงตัวของตัว ก็รู้สึกว่าเป็นเรา ส่วน
คนอื่นก็เห็นว่าเป็นเขา แลเห็นว่าเราเสมอกับเขา หรือเราสูงกว่าเขา หรือเรา
ต�่ำกว่าเขา อาการท่ีวัดชนิดน้ีแหละเป็นมานะสังโยชน์ ซึ่งเป็นคู่ปรับกับอนัตตา
หรือ สพเฺ พ ธมมฺ า อนตตฺ า.

พระธรรมเจดีย์ : ก็อุทธัจจสังโยชน์น้ันมีลักษณะอย่างไร เช่น พระอนาคามีละสังโยชน์เบื้องต�่ำ
ได้หมดแลว้ ส่วนอุทธัจจสังโยชน์จะฟุ้งไปทางไหน ?

พระอาจารยม์ ่นั : ตามแบบท่านอธิบายไว้ว่า ฟุ้งไปในธรรม เพราะท่านยังไม่เสร็จกิจจึงได้ฝักใฝ่
อยู่ในธรรม.

พระธรรมเจดยี ์ : อวิชชาสงั โยชน์นั้นไม่ร้อู ะไร ?
พระอาจารยม์ นั่ : ตามแบบทา่ นอธบิ ายไวว้ า่ ไมร่ ขู้ นั ธท์ เ่ี ปน็ อดตี ๑ อนาคต ๑ ปจั จบุ นั ๑ อรยิ สจั ๔

ปฏจิ จสมปุ าท ๑ ความไม่รใู้ นท่ี ๘ อย่างนแี้ หละช่ือว่าอวิชชา.
พระธรรมเจดยี ์ : พระเสขบคุ คลท่านก็รอู้ ริยสจั ๔ ดว้ ยกนั ท้ังนน้ั ทําไมอวชิ ชาสงั โยชนจ์ ึงยังอยู่ ?
พระอาจารยม์ ่ัน : อวชิ ชามหี ลายชนั้ เพราะฉะนนั้ วชิ ชากห็ ลายชนั้ สว่ นพระเสขบคุ คล มรรค แลผล

ชั้นใดท่ีท่านได้บรรลุแล้ว ท่านก็รู้เป็นวิชชาข้ึน ชั้นใดยังไม่รู้ ก็ยังเป็นอวิชชาอยู่
เพราะฉะนัน้ จึงหมดในขนั้ ทีส่ ดุ คอื พระอรหันต์.
พระธรรมเจดยี ์ : พระเสขบุคคลท่านเห็นอริยสัจ แตล่ ะตัณหาไมไ่ ด้ มิไมไ่ ด้ทํากิจในอริยสจั หรอื ?
พระอาจารยม์ ่ัน : ท่านก็ทาํ ทุกชน้ั นน้ั แหละ แตก่ ท็ ําตามกําลงั .

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ 347

พระธรรมเจดยี ์ : ท่วี า่ ทําตามชัน้ น้ันทําอยา่ งไร ?
พระอาจารยม์ ั่น : เช่นพระโสดาบันได้เห็นปัญจขันธ์เกิดข้ึนดับไป ก็ช่ือว่าได้กําหนดรู้ทุกข์ และ

ได้ละสังโยชน์ ๓ หรือทจุ ริตส่วนหยาบ ๆ ก็เป็นอนั ละสมทุ ัย ความท่ีสงั โยชน์ ๓
สิ้นไป เป็นส่วนนิโรธตามช้ันของท่าน ส่วนมรรคท่านก็ได้เจริญมีกําลังพอละ
สงั โยชน์ ๓ ได้ แลทา่ นปดิ อบายได้ ชอื่ วา่ ทา่ นทาํ ภพคอื ทคุ ตใิ หห้ มดไป ทต่ี ามแบบ
เรียกว่า ขีณนิรโย มีนรกส้ินแล้ว ส่วนพระสกิทาคามี ก็ได้กําหนดทุกข์ คือ
ปัญจขนั ธแ์ ล้วละกามราคะพยาบาทอยา่ งกลาง ได้ชื่อว่าละสมุทยั ขอ้ ที่กามราคะ
พยาบาทอย่างกลางหมดไป จึงเป็นนิโรธของท่าน ส่วนมรรคนั้นก็เจริญมาได้
เพียงละกามราคะพยาบาทอย่างกลางนี่แหละ จึงได้ทําภพชาติให้น้อยลง ส่วน
พระอนาคามี ทุกข์ได้กําหนดแล้ว ละกามราคะพยาบาทส่วนละเอียดหมดได้
ช่ือว่าละสมุทัย กามราคะพยาบาทอย่างละเอียดน่ีหมดไปจึงเป็นนิโรธของท่าน
สว่ นมรรคน้นั กเ็ จรญิ มาเพียงละสงั โยชน์ ๕ ได้หมด แลไดส้ นิ้ ภพคอื กามธาตุ.
พระธรรมเจดยี ์ : ศีล สมาธิ ปัญญา ท่เี ป็นโลกยี ก์ บั โลกตุ รนัน้ ตา่ งกันอย่างไร ?
พระอาจารยม์ ่นั : ศลี สมาธิ ปญั ญา ของผ้ปู ฏิบัตอิ ยู่ในภูมิกามาพจร รูปาพจร อรปู าพจร น่ีแหละ
เปน็ โลกีย์ทเี่ รยี กวา่ วัฏฏคามีกุศล เป็นกุศลทีว่ นอยใู่ นโลก สว่ นศีล สมาธิ ปัญญา
ของทา่ นผปู้ ฏบิ ตั ติ งั้ แตโ่ สดาบนั แลว้ ไป เรยี กวา่ ววิ ฏั ฏคามกี ศุ ล เปน็ เครอ่ื งขา้ มขน้ึ
จากโลก น่แี หละเป็นโลกตุ ร.
พระธรรมเจดีย์ : ท่านท่ีบรรลุฌานถึงอรูปสมาบัติแล้ว ก็ยังเป็นโลกีย์อยู่ ถ้าเช่นน้ันเราจะปฏิบัติ
ให้เป็นโลกตุ ร กเ็ ห็นจะเหลือวสิ ัย ?
พระอาจารย์ม่นั : ไมเ่ หลอื วสิ ยั พระพทุ ธเจ้าทา่ นจึงทรงแสดงธรรมส่งั สอน ถ้าเหลอื วสิ ยั พระองค์
กค็ งไมท่ รงแสดง.
พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเราไม่ได้บรรลุฌานช้ันสูง ๆ จะเจริญปัญญาเพ่ือให้ถึงซ่ึงมรรคแลผล
จะไดไ้ หม ?
พระอาจารย์มัน่ : ได้เพราะวิธีที่เจริญปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิจริงอยู่ แต่ไม่ต้องถึงกับฌาน
อาศัยสงบจติ ที่พน้ นิวรณ์ กพ็ อเป็นบาทของวปิ สั สนาได้.
พระธรรมเจดยี ์ : ความสงัดจากกาม จากอกุศลของผู้ท่ีบรรลุฌานโลกีย์ กับความสงัดจากกาม
จากอกุศลของพระอนาคามตี า่ งกันอยา่ งไร ?
พระอาจารยม์ ั่น : ต่างกันมาก ตรงกันข้ามทีเดยี ว.
พระธรรมเจดีย์ : ทําไมจึงไดต้ า่ งกนั ถงึ กับตรงกันข้ามทีเดยี ว ?
พระอาจารยม์ ่นั : ฌานทเ่ี ปน็ โลกยี ์ ตอ้ งอาศัยความเพียร มีสติคอยระวังละอกุศล และความเจริญ
กศุ ลใหเ้ กดิ ขนึ้ มฌี านเปน็ ตน้ และยงั ตอ้ งทาํ กจิ ทคี่ อยรกั ษาฌานนน้ั ไว้ ไมใ่ หเ้ สอื่ ม
ถึงแมจ้ ะเปน็ อรปู ฌานทว่ี ่าไมเ่ สอ่ื มในชาตนิ ้ี ชาตหิ น้าต่อ ๆ ไปก็อาจจะเส่ือมได้
เพราะเป็นกปุ ปธรรม.

348 ชวี ประวัติ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย


Click to View FlipBook Version