๕. งานประจำ� ปที พ่ี ระเณรตอ้ งชว่ ยกนั ทำ� คอื ทกุ เดอื นกมุ ภาพนั ธข์ องทกุ ปี จะชว่ ยกนั ซอ่ มแซม
กฏุ ิ ศาลา หาหญา้ มาท�ำฟาก หาฟืนมาไว้ในโรงต้ม เป็นต้น
๖. การท�ำงานรว่ มกนั ของหมูพ่ ระสงฆ์ หา้ มท�ำดว้ ยเสยี งอกึ ทกึ รบี ทำ� รบี เสร็จ สว่ นวสั ดุสง่ิ ของ
ทใี่ ชแ้ ลว้ หรอื งานทท่ี ำ� ยงั ไมเ่ สรจ็ หรอื ทำ� เสรจ็ แลว้ ใหร้ บี เกบ็ เขา้ ทใ่ี หเ้ ปน็ ทเี่ ปน็ ทาง ไมเ่ ชน่ นนั้ องคท์ า่ น
จะเก็บเอามาเทศนใ์ นวันถัดไป
๗. การรกั ษาความสะอาดของเสนาสนะ กฏุ ิ ศาลา โรงฉนั โรงตม้ และทกุ ๆ ทภี่ ายในวดั หอ้ งนำ�้
หอ้ งส้วม องคท์ ่านเน้นมาก ทัง้ ความสะอาด และความเปน็ ระเบียบเรียบรอ้ ย
๘. การรักษาความสงบสงัดในวัด องค์ท่านเน้นมาก ไม่ให้ท�ำงานหรือท�ำเสียงอึกทึกครึกโครม
ไม่ใหเ้ กลอื่ นกล่นระคนกนั หรอื น่ังพดู คุยกันในเร่ืองทางโลก หากองค์ทา่ นไดย้ นิ พระองค์ไหนพดู เรือ่ ง
สิกขาลาเพศ องค์ทา่ นจะไล่หนีจากส�ำนกั เลยทันที
๙. การอยู่ด้วยกันของหมู่พระเณร ให้อยู่กันด้วยความสามัคคีปรองดอง พร้อมเพรียงกัน
หากมเี รอื่ งทะเลาะเบาะแวง้ ไมล่ งรอยกนั กต็ อ้ งรบี พดู จากนั ใหล้ งตวั ไมใ่ หก้ ระทบกระเทอื นถงึ องคท์ า่ น
๑๐. การช่วยกันท�ำงานร่วมกันของหมู่พระเณร (เรียกขันธวัตร ๑๔) เช่น อาคันตุกวัตร
อาวาสกิ วตั ร เสนาสนะวตั ร วจั จกฎุ วี ตั ร อาจารยิ วตั ร เปน็ ตน้ เหลา่ นอ้ี งคท์ า่ นไดก้ ำ� ชบั ใหห้ มพู่ ระเณร
ท�ำชว่ ยกนั ด้วยความพร้อมเพรยี งและสงบสงัด รบี ทำ� รบี เสร็จ แล้วรีบไปเดินจงกรมภาวนา
การถอื ธดุ งควตั รขององคห์ ลวงปู่ม่นั ภรู ทิ ตตฺ มหาเถระ
ธุดงควัตรถือเป็นข้อปฏิบัติที่เคร่งครัดส�ำหรับพระสงฆ์ ท่ีพระบรมศาสดาทรงบัญญัติเพิ่มเติม
ข้ึนมาอีกลำ� ดบั หน่ึงจากพระวนิ ยั ๒๒๗ ขอ้ เพอื่ วา่ จะไดใ้ ชข้ ดั เกลากเิ ลสของพระสงฆ์ ท�ำให้พระสงฆ์
เกดิ ความมกั นอ้ ยสนั โดษ พอใจในสง่ิ ทตี่ นเองมตี นเองได้ ไมแ่ สวงหาลาภยศ ไมเ่ ปน็ กงั วลกบั ทรพั ยส์ นิ
เคร่อื งอยู่อาศัยภายนอก ไปง่ายมางา่ ย แต่การถือธุดงค์นัน้ องคท์ า่ นมิไดบ้ งั คับว่าองคไ์ หนจะถอื หรอื
ไม่ถือธุดงค์ และจะถือกี่ข้อก็ข้ึนอยู่กับความสมัครใจของพระแต่ละองค์ เพราะธุดงควัตรแต่ละข้อ
จะมีผลเพ่ือลดกเิ ลสได้แตกตา่ งกัน
องคห์ ลวงปมู่ นั่ ภรู ทิ ตโฺ ต ถอื ไดว้ า่ เปน็ พระปรมาจารยใ์ หญส่ ายกรรมฐาน ทเี่ ครง่ ครดั ในพระวนิ ยั
และในธดุ งควัตรเป็นอยา่ งมาก อนั เปน็ ทร่ี ้จู ักกันดีในวงพระสายวปิ สั สนากรรมฐาน ส�ำหรับองคท์ ่าน
แล้ว เป็นผู้พาด�ำเนินถือธุดงควัตร ๑๓ ข้อ ได้อย่างน่าเล่ือมใสเป็นที่สุด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า
องค์ท่านสมาทานถือธุดงควัตรที่ส�ำคัญเฉพาะองค์ท่านประมาณ ๕-๖ ข้อ และก็ถือปฏิบัติได้
ตลอดชีวติ ขององค์ทา่ นเลย อนั ไดแ้ ก่
๑. การอาศัยอยู่ในปา่ อาศัยใตโ้ คนต้นไม้ ตามถ�้ำภเู ขา เงือ้ มผา เปน็ วตั ร
การถือธุดงควัตรข้อน้ีขององค์ท่าน จะเห็นได้ชัดเจนมาก ซึ่งเห็นได้จากการท่ีองค์ท่านไม่อยู่
เป็นหลักแหล่ง แต่จะจาริกไปตามภูเขาล�ำเนาไพร ตั้งแต่เร่ิมออกบวช จวบจนวาระสุดท้ายของ
ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั ภรู ิทตั ตเถระ 249
องคท์ ่าน องค์ท่านจะจาริกไปทงั้ ทางภาคอสี าน ภาคกลาง ภาคเหนอื ของไทย นอกจากน้ันองคท์ า่ น
ยังจาริกธุดงค์ไปยังแถวประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น แถบริมฝั่งแม่น�้ำโขงประเทศลาว พม่า
และองค์ท่านไปที่ไหน จะไม่มีการสร้างวัดหรือถาวรวัตถุเลย แต่บางสถานที่องค์ท่านกลับพา
คณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันปฏิสังขรณ์ส่ิงโบราณสถานอันช�ำรุดทรุดโทรม ให้กลับมาเป็นที่เคารพ
กราบไหว้แด่อนุชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี ดังเช่นการปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม
จ.นครพนม เป็นต้น ซึ่งในขณะนั้นองค์ท่านได้ร่วมกับองค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เพื่อพาคณะ
ศษิ ยานุศษิ ยไ์ ด้ชว่ ยกนั ซ่อมแซม
๒. การถือบิณฑบาตเปน็ วตั ร
ธดุ งควตั รขอ้ นี้ องคท์ า่ นถอื อยา่ งเขม้ งวดมาก แมใ้ นวยั ชราภาพหรอื เจบ็ ปว่ ยไมม่ าก กจ็ ะพยายาม
ออกบิณฑบาตเล้ียงชีพ ดังจะเห็นได้ว่า แมส้ ังขารองค์ทา่ นจะชราภาพมาก องคท์ ่านยงั พยายามออก
บณิ ฑบาต โดยยน่ ยอ่ เขา้ มาเรอ่ื ย ๆ ตง้ั แตเ่ ขา้ ไปบณิ ฑบาตในหมบู่ า้ น แถวเขตบา้ น หนา้ วดั และยน่ ยอ่
เขา้ มาหนา้ ศาลาโรงฉนั จนกระทงั่ ตง้ั บาตรบนศาลา แลว้ ใหญ้ าตโิ ยมมาใสใ่ นบาตรองคท์ า่ น สงิ่ เหลา่ นี้
เปน็ การแสดงออกถงึ จรยิ วัตรอันงดงามขององคท์ ่าน ให้พระลูกพระหลานไดถ้ อื เป็นตวั อย่าง
๓. การฉนั ในบาตรเป็นวัตร
การฉันอาหาร องค์ท่านจะเทอาหารหวานคาวรวมกันลงในบาตร ซ่งึ ถือว่าเปน็ การฉนั ในบาตร
แบบอกุ ฤษฏ์ท่ีสดุ โดยพิจารณาอาหารใหเ้ ป็นส่งิ ปฏกิ ลู ไมต่ ิดในรสชาติของอาหาร และการฉันก็จะ
ฉันพอประมาณ ไมฉ่ นั จนอ่ิมจนเกินไป สว่ นนมหรือโอวัลตนิ องคท์ ่านจะฉันตามหลงั ตอนฉนั อาหาร
แล้ว และจะฉนั โอวลั ตินตาม แค่ ๒-๓ กลืนเทา่ นั้น
๔. ฉันอาหารมอื้ เดยี วเป็นวตั ร
ขอ้ นถี้ อื วา่ พระธดุ งคกรรมฐานทกุ องค์ ตอ้ งกระทำ� ใหไ้ ด้ แมเ้ วลาออกจารกิ ธดุ งคเ์ ดนิ ปา่ เดนิ เขา
ไม่มีอาหารให้ฉัน ก็ต้องอดม้ือกินมื้อ และอดทนต่อความอดอยาก เม่ือมีอาหารฉัน องค์ท่านก็จะ
ฉนั แต่พออิ่ม ไม่ได้ฉนั จนเกนิ เลย นอกจากนถ้ี ้าจะถอื เคร่งเขา้ ไปมากกว่านน้ั คอื การฉันอาสนะเดยี ว
น่นั คือเมอื่ เรม่ิ ลงมอื ฉันแล้ว หากมีเหตใุ ห้ต้องลุกออกจากอาสนะ องค์ท่านก็จะลกุ ออกไปเลย แมจ้ ะ
ฉนั อ่มิ หรอื ไม่ก็ตาม ก็จะไม่กลบั มานงั่ ฉนั อกี
๕. ถือผา้ บังสุกุลจวี รเป็นวัตร
การถือธุดงควัตรข้อน้ี องค์ท่านจะใช้ผ้าท่ีเขาใช้ห่อศพแล้วเขาทิ้งแล้ว แล้วน�ำมาซักและย้อม
ด้วยน�้ำแก่นขนุน องค์ท่านมักจะไม่รับผ้าจีวรท่ีคนอื่นตัดมาถวาย และมักจะใช้ผ้าจีวรอย่างคุ้มค่า
ใชจ้ นเก่า หากมรี อยขาด องค์ทา่ นกจ็ ะทำ� การปะ ชนุ เยบ็ ซ่อมแซม ดว้ ยองคท์ ่านเอง
๖. เมือ่ เขา้ ในเขตวัดแลว้ ไมร่ ับอาหารท่ีตามมาใสบ่ าตรเปน็ วัตร
การถอื ธดุ งควตั รขอ้ น้ี เพอ่ื วา่ พระสงฆจ์ ะไดพ้ อใจในลาภภตั ตาหารเฉพาะทบ่ี ณิ ฑบาตมาไดด้ ว้ ย
ตนเองเท่านั้น จะได้มากได้น้อยก็พอใจเท่าที่ตนเองบิณฑบาตมาได้ ซ่ึงจะช่วยขจัดกิเลสตัวโลภมาก
ออกไปไดง้ ่ายข้นึ
250 ชีวประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
ในสว่ นข้อธุดงค์อน่ื ๆ นนั้ องคท์ ่านใหเ้ ลือกปฏบิ ัติเอาเองตามแต่ความสมคั รใจของพระแต่ละ
องค์ ทีจ่ ะเลอื กปฏิบัติเอาตามจรติ นสิ ัยของตนเอง เพ่ือดดั นิสัยของตนให้เปน็ ผูม้ กี ิเลสทีเ่ บาบางลง
ขอ้ ถอื ปฏบิ ตั ิอื่น ๆ ทีอ่ งคห์ ลวงปู่มั่น ภูรทิ ตโฺ ต พาดำ� เนนิ
๑. การรบั พระสงฆท์ ี่จะเขา้ มาศกึ ษาเร่อื งวปิ ัสสนากรรมฐานกับองคท์ า่ นนนั้ ตอ้ งเปน็ ผ้เู อาจรงิ
เอาจงั ไมท่ ำ� เล่น ต้องเก่งทั้งข้อวตั รภายนอก (ทำ� กจิ การงานเกง่ ขยนั ) และทง้ั ขอ้ วตั รภายใน (การ
ปฏิบัติภาวนา) หากองค์ท่านสอบถามเร่ืองการปฏิบัติภาวนาแล้วไม่ได้เร่ือง องค์ท่านต้องเข่นเป็น
อยา่ งมาก หากเหลือวิสยั องค์ทา่ นกไ็ ลห่ นีจากสำ� นกั
๒. ในวัดยุคหนองผือนาใน องค์ท่านไม่รับแม่ชี แม่ขาว (ผู้หญิงที่นุ่งห่มชุดขาว หรือเส้ือขาว
ผ้าถงุ ด�ำ แต่ไมโ่ กนผม) ไวศ้ กึ ษา หรอื พ�ำนักปะปนอยูภ่ ายในวัดเปน็ อันขาด หากบคุ คลเหล่าน้ี มีขอ้
สงสัยในการปฏิบัติภาวนา องค์ท่านก็จะอนุญาตให้มากราบเรียนถามองค์ท่านได้ตามเวลาที่ก�ำหนด
เทา่ นัน้
๓. องค์หลวงปู่ม่ัน ไม่รับบวชพระให้ใคร และไม่รับพระสงฆ์ท่ีบวชเพื่อแก้บนหรือลาราชการ
มาบวชไวใ้ นสำ� นัก เพราะองคท์ า่ นต้องการอบรมสงั่ สอนเฉพาะผปู้ รารถนาท่จี ะบวช เพ่ือปฏิบัติ เพอ่ื
ความพ้นทกุ ข์อย่างเดียวเทา่ น้นั การบวชดว้ ยเหตผุ ลอืน่ ๆ องค์ทา่ นไม่รับไว้ในสำ� นกั
๔. หากเปน็ นาคหรอื ผเู้ ปน็ ผา้ ขาวทถี่ อื ศลี ๘ กอ่ นจะบวช และตอ้ งการมาศกึ ษาอยกู่ บั องคท์ า่ น
ตอนก่อนจะบวชเป็นพระนั้น องค์ท่านจะให้อยู่ถือศีล ๘ และดูอุปนิสัยใจคอก่อน อย่างน้อยเป็น
ระยะเวลาประมาณ ๓-๖ เดือน เป็นอย่างน้อย ถ้าดูหรือพิจารณาแล้วองค์ท่านจะเอ่ยปากอนุญาต
รับเอง (แตอ่ งค์ทา่ นก็ไม่ได้เปน็ ผบู้ วชให้ ใหไ้ ปบวชทีอ่ ื่นแล้วค่อยมาอยู่ศกึ ษากับองคท์ า่ น)
๕. ในส�ำนัก องค์ท่านจะไม่อนุญาตให้ผ้าขาวชาย-หญิง (อุบาสก อุบาสิกา ที่รักษาถือศีล ๘)
หรอื แขกทตี่ ดิ ตามมากบั พระตา่ งถน่ิ นอนพกั คา้ งคนื ในวดั เวน้ ไวแ้ ตบ่ างกรณี เชน่ พระองคน์ นั้ รอนแรม
มาไกลและใกล้คำ่� องคท์ า่ นก็จะอนญุ าตให้ค้างสกั คืนอยา่ งฝดื ๆ พอเช้ามา เมอื่ ฉนั เชา้ และเสร็จธุระ
แล้ว ก็ตอ้ งรีบออกจากสำ� นักไป
๖. เรื่องการรับกฐินหลังออกพรรษา ช่วงท่ีองค์ท่านพ�ำนักที่ส�ำนักบ้านหนองผือนาใน จะไม่มี
การรบั กฐนิ หากศรทั ธาญาตโิ ยมมนี ำ�้ ใจศรทั ธานำ� มาถวาย กจ็ ะรบั ใหพ้ อเปน็ พธิ ี มใิ หเ้ สยี นำ้� ใจ แตก่ าร
ท�ำพิธีรับกฐิน กรานกฐิน หรือฉลองกฐินจะไม่มี ส่วนการแจกซองขาวเร่ียไร หรือตู้รับบริจาค การ
บอกหวย สะเดาะเคราะห์ ถอื ฤกษ์งามยามดี ไม่มใี นปฏปิ ทาขององค์ท่านเลย
๗. การบอกบุญเร่ียไร หารายได้เข้าวัด ไม่มีท้ังทางตรงและทางอ้อม ในปฏิปทาขององค์ท่าน
พธิ บี วชพระแกะหแู กะตาเบกิ เนตรพระ องคท์ า่ นวา่ มนั เปน็ บาปหนกั “จะไปบวชใหท้ า่ นทำ� ไม ในเมอ่ื
พระพทุ ธองคท์ ่านทรงบวชกอ่ นเราอีก” องคท์ ่านว่า
ทา่ นพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ 251
๘. พชื ผกั ผลไม้ เช่น กลว้ ย มะละกอ ในส�ำนักขององค์ทา่ นไม่มีปฏิปทาน�ำมาขาย ทัง้ ทางตรง
และทางออ้ ม หากญาตโิ ยมอยากได้ กใ็ ห้มาขอไปกินได้ แต่ขอไปขายองคท์ ่านไมอ่ นุญาต
๙. เรอื่ งการเจบ็ ปว่ ยอาพาธและมรณภาพของพระสงฆใ์ นสำ� นกั องคท์ า่ นจะใหพ้ ระสงฆร์ ปู นน้ั ๆ
พิจารณาอาการอาพาธน้ัน ด้วยความอดทน หากจะเรียกว่าฝืนก็ไม่ผิด เรียกรักษาด้วยธรรมโอสถ
ก็ไม่ผิด เพราะเป็นการทดสอบความอดทนทั้งทางกายและทางใจ ของพระธุดงคกรรมฐานได้เป็น
อย่างดี สว่ นถา้ มีการมรณภาพของพระสงฆ์ภายในสำ� นกั การเผาศพของพระสงฆใ์ นวดั น้ัน องคท์ ่าน
จะไม่ให้เก็บไว้นานเกิน ๑ วัน ดังมีตัวอย่างที่มีพระรูปหนึ่งมรณภาพช่วงในพรรษาตอนกลางคืน
พอเช้ามาฉันเช้าเสร็จ องค์ท่านก็ให้จัดการเผาในวัดในวันนั้นเลย ด้วยว่าองค์ท่านปรารภว่า ไม่มี
ความจ�ำเปน็ อันใดท่ีจะเก็บไวน้ าน ขนาดพระพุทธองคก์ ็ยังทรงเก็บไวแ้ คเ่ พยี ง ๗ วนั
๑๐. รปู หรอื กระดาษทม่ี รี ปู ของพระพทุ ธเจา้ องคท์ า่ นจะใหค้ วามเคารพมาก จะเกบ็ ไวบ้ นทส่ี งู
ไม่เหยยี บย่�ำทำ� ลาย ถ้าเหน็ ตกหล่นอยู่ตามพนื้ องคท์ ่านก็จะเก็บทนั ที
๑๑. กระดาษหรือหนังสือพิมพ์ ถ้าองค์ท่านเห็นตกหล่นอยู่ตามพ้ืน องค์ท่านจะเก็บเสมอ
พรอ้ มกบั ปรารภวา่ กระดาษทกุ ชนดิ สามารถจารกึ ภาษาของคำ� สอนของทกุ ศาสนาได้ ไมค่ วรจะทงิ้ ขวา้ ง
ไม่เป็นท่ีเปน็ ทาง
๑๒. รูปภาพท่ีมีผู้หญิง องค์ท่านจะไม่ให้แขวนไว้ในท่ีสูง และไม่อนุญาตให้แขวนหรือวางไว้
เสมอระดับเดยี วกันหรือสงู กว่ารปู พระสงฆเ์ ป็นอนั ขาด
๑๓. หากจ�ำเป็นท่ีจะมีการพิมพ์หนังสือธรรมะ องค์ท่านจะย้�ำเสมอว่า ไม่ควรที่จะใส่รูปโยม
ผหู้ ญงิ เขา้ ไปในหนงั สอื ธรรมะนนั้ เพราะเวลาเกบ็ เวลาวาง กจ็ ะเกบ็ จะวางยาก เพราะการเกบ็ หนงั สอื
ธรรมะต้องเกบ็ ไวบ้ นท่ีสงู
๑๔. หนังสอื ธรรมะทกุ เล่ม องคท์ ่านใหค้ วามเคารพมาก หา้ มวางเรี่ยราด ใหเ้ กบ็ บนท่สี งู
๑๕. ปฏิปทาในองค์ท่านท่ีเน้นหนักอีกข้อ คือ การไม่ถือไสยศาสตร์ ไม่ถือฤกษ์งามยามดี
องคท์ า่ นสอนเสมอว่า ทำ� ดีตอนไหนก็ได้ผลดตี อนนั้น ทำ� ช่ัวตอนไหนก็ไดร้ ับผลชัว่ ตอนน้นั ๆ ไมม่ ีการ
สะเดาะเคราะห์ ไมม่ ีเครอื่ งรางของขลงั ไม่มีตะกรุดพิสมร ไมม่ ีการซือ้ ขายวัตถุมงคล ทัง้ นัยตรงและ
นยั ออ้ ม สง่ิ ทอี่ งคท์ า่ นพออนโุ ลมใหก้ บั ชาวบา้ นอยา่ งฝดื ๆ กค็ อื นำ้� มนต์ โดยกอ่ นใหน้ ำ�้ มนต์ องคท์ า่ น
จะมอี บุ ายเทศนเ์ สยี กอ่ น องคท์ า่ นจงึ จะเอานำ�้ มนตใ์ หเ้ ขา “ลกู ๆ หลาน ๆ ...หากจติ ใจลกู ๆ หลาน ๆ
ไม่ถงึ พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว จะมารดน้�ำภายนอก มนั ก็เป็นไปไมไ่ ด้ลกู ๆ หลาน ๆ เอย๋
นำ้� อันนเี้ ปน็ น้�ำขอเชอ้ื เชิญใหล้ กู ๆ หลาน ๆ เขา้ ถงึ พุทธ ธรรม สงฆ์ อย่าถือวา่ น�ำ้ อันน้เี ปน็ ของขลงั
จะขลังหรือไม่ขลังก็ขึ้นอยู่กับความประพฤติของพวกลูก ๆ หลาน ๆ น่ันเอง” องค์ท่านจะสอนไป
อยา่ งนัน้
๑๖. โยมขององคท์ า่ นเขามาวดั เขามาแบบเงยี บสงดั เขาไมไ่ ดค้ ยุ กนั เหมอื นพวกเราน่ี และเขาก็
ไมไ่ ดต้ ั้งใจวา่ จะมารับอาหารในวัด ถา้ พวกโยมมา อาหารของพระท่จี ดั ไวใ้ ห้ เขาจะเอาไปรับประทาน
ท่ีกระท่อมเล็ก ๆ ของเขาต่างหาก เขาไมม่ ารบั ประทานในศาลาทพ่ี ระฉันอยู่ และท�ำอย่างเงียบทส่ี ดุ
252 ชวี ประวัติ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
ข้อวัตรอันนี้เป็นข้อวัตรส�ำคัญท่ีสุด เพราะรักสงบ คนมาต่างทิศพอมาถึง เช่น เขามานอนค้างคืน
ท�ำบุญอย่างน้ี เขากจ็ ะไปนอนทไ่ี หนไม่ทราบ เขาไม่มายงุ่ ในวัด พอตื่นเช้ามาเขาคอ่ ยมาใส่บาตรพระ
หรอื มอี าหารอะไรเขาก็เอามาถวาย มสี ิ่งทจ่ี ะบงั สุกุลเขากเ็ อามา
๑๗. หลวงปมู่ นั่ ใหค้ วามสำ� คญั กบั การปฏบิ ตั ภิ าวนา (วปิ สั สนาธรุ ะ) มากกวา่ ดา้ นการปกครอง
(คนั ถธรุ ะ) ถงึ กระนน้ั ในชวี ติ สมณเพศขององคท์ า่ น ครงั้ หนง่ึ กเ็ คยไดร้ บั การแตง่ ตง้ั เปน็ พระครวู นิ ยั ธร
(ปี พ.ศ. ๒๔๗๕) โดยรับต�ำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ และท่ีนั่นก็เป็น
ท่ีเดียวท่ีองค์ท่านรับต�ำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และรับเป็นเพียงปีเดียว หลังจากน้ันองค์ท่านก็ลาออก
จากต�ำแหนง่ เจา้ อาวาส และจารกิ ธดุ งค์เข้าป่าเพื่อแสวงหาการปฏบิ ตั ิภาวนา
๑๘. ตลอดชีวิตสมณเพศของ องคห์ ลวงป่มู นั่ ภูรทิ ตฺโต องคท์ ่านจะเน้นความสงดั วเิ วก เนน้
การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อละกิเลสออกจากใจ เพ่ือเป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะท้ังหลาย
องค์ท่านถือไดว้ ่าเป็นผ้นู �ำดา้ นปฏบิ ัติไดอ้ ย่างยิ่งยวด องคท์ า่ นออกบวชมาเพ่ือปฏิบตั ชิ �ำระกเิ ลสในใจ
ตนเองจนหมดสน้ิ ไมส่ นใจในลาภ ยศ สรรเสรญิ องคท์ า่ นเปน็ ทง้ั ครทู ง้ั อาจารย์ เปน็ ทง้ั พอ่ เปน็ ทงั้ แม่
ในคราวเดียวกัน ในวงศ์ของพระสายธุดงคกรรมฐานจึงเรียกขนานนามในองค์ท่านว่า “พ่อแม่ครู
อาจารย์ใหญ่ ม่ัน ภูริทตฺตมหาเถระ” และเมื่อองค์ท่านเสร็จสิ้นภารกิจในใจของตนเองแล้ว ก็ได้
ท�ำหนา้ ที่เป็นครู เป็นผนู้ ำ� สง่ั สอนคณะศษิ ยานุศิษย์ โดยเฉพาะพระสงฆส์ ามเณร ใหป้ ฏบิ ตั ไิ ดถ้ กู ตอ้ ง
ตามท�ำนองคลองธรรม ทำ� ให้องคท์ า่ นมคี ณะศิษยานศุ ษิ ยม์ ากมาย ซ่งึ ล้วนแล้วแต่เป็นพระมหาเถระ
ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ผู้เป็นด่ังเน้ือนาบุญโดยแท้ ให้กับดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ แม้กาลเวลาจะ
ลว่ งเลยผ่านมาเกอื บ ๗ ทศวรรษแลว้ ชือ่ เสียงและเกยี รตคิ ณุ และคุณงามความดีขององค์ท่าน ยังคง
ตราตรงึ อยใู่ นหวั ใจของคนไทยชาวพทุ ธทกุ หมเู่ หลา่ อยา่ งไมม่ วี นั จดื จาง และจะยงั คงเปน็ เชน่ นส้ี บื ไป...
เอกสาร
๑. จากหนงั สอื ชีวประวตั ิหลวงป่หู ลา้ เขมปตโฺ ต วดั ภูจ้อกอ้ อ.หนองสงู จ.มกุ ดาหาร
๒. ถอดจากกณั ฑเ์ ทศนห์ ลวงปหู่ ลา้ เขมปตโฺ ต (พระอปุ ฎั ฐากในองคห์ ลวงปมู่ นั่ ภรู ทิ ตโฺ ต) ชอ่ื กณั ฑ์
- “ปฏิปทาทไ่ี ม่จืดจาง” วันท่ี ๘ ม.ิ ย. ๒๕๒๔
- “อบรมข้อวตั รปฏบิ ัติ” วนั ท่ี ๑๓ พ.ค. ๒๕๒๕
- “ขอ้ วัตรหลวงปูม่ น่ั ” วันท่ี ๑ ธ.ค. ๒๕๒๔ และวนั ที่ ๙ พ.ย. ๒๕๒๖
- “ข้อวตั รหลวงป่มู ัน่ ” วันท่ี ๒๑ ก.ค. ๒๕๒๘
- “อริยวัตรยุคบ้านหนองผอื ” วันที่ ๑๘ ม.ค. ๒๕๓๐
- “เล่าถึงสมยั อยกู่ บั หลวงปูม่ ่นั ” วนั ท่ี ๒๒ ธ.ค. ๒๕๓๒
- “เลา่ ถึงสมยั อยูก่ บั หลวงปูม่ นั่ ” วันท่ี ๒๕ พ.ย. ๒๕๓๖
๓. http://www.luangpumun.dra.go.th/best_practices
ท่านพระอาจารย์มัน่ ภรู ทิ ัตตเถระ 253
ภูรทิ ตฺตธมฺโมวาท
บรรดาสานุศิษย์ท่ีอยู่ร่วมส�ำนักและได้รับคติธรรมค�ำสอนขององค์ท่านพระอาจารย์มั่น
ภรู ทิ ตตฺ เถร ตา่ งยกยอ่ งเชดิ ชอู งคท์ า่ นเหนอื เกลา้ วา่ เปน็ “พระบรู พาจารย”์ ผขู้ จดั ความมดื มน เปน็ ดจุ
ผู้ยังประทีปให้สว่างไสวในที่มืด ได้ยึดหลักปฏิปทาและหลักธรรมองค์ท่านให้ไว้เป็นเนติแบบ
อย่างด�ำเนินรอยตาม และยอมรับโดยดุษฎีด้วยหลักเหตุผลอันงดงามท่ีต่างเคยสัมผัสองค์ท่าน
พระบรู พาจารยว์ า่
สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ ศลี พงึ ร้ไู ดด้ ว้ ยการอยรู่ ่วมกนั
สโํ วหาเรน โสเจยยฺ ํ เวทิตพฺพํ ความสะอาดพงึ รูไ้ ดด้ ว้ ยการงาน
สากจฉฺ าย ปญฺา เวทติ พฺพา ปญั ญาพงึ รูไ้ ดด้ ้วยการสนทนา
ปัญญาธรรมขององคท์ ่านพระอาจารย์มนั่ เธอเปน็ อมตานสุ สรณยี ธรรม มลู มรดกชน้ิ เอกทีห่ า
ผ้แู สดงไดย้ ากในปรัตยุบัน
กลุ บตุ รกลุ ธดิ าผมู้ าสดุ ทา้ ยภายหลงั พงึ นอ้ มรบั สารธรรมนมี้ าประพฤตปิ ฏบิ ตั ใิ หส้ มกบั ไดอ้ ตั ภาพ
ฐานะความเป็นมนุษย์ ท่านพระอาจารย์ม่ันเป็นพระบูรพาจารย์ผู้ให้เมตตาธรรมโดยแท้ สมกับ
นามมคธฉายาขององคท์ า่ นว่า
“ภรู ิทตตฺ : ผูใ้ หป้ ัญญาประดุจดง่ั แผ่นดิน”
ภรู ทิ ตตฺ ธมโฺ มวาท
ดีใดไมม่ โี ทษ ดีนั้นช่ือว่าดเี ลศิ
ได้สมบตั ทิ ง้ั ปวง ไมป่ ระเสรฐิ เทา่ ไดต้ น
เพราะตวั ตน เป็นบ่อเกิดแหง่ สมบตั ทิ ้ังปวง
จงมีพระรตั นตรยั เป็นท่ีพึ่ง
ผใู้ ดมาถอื พระพทุ ธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะท่พี ึง่ แลว้ ผู้นนั้ ย่อมชนะได้ซึง่ ความร้อน
สรณะทงั้ ๓ คอื พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ มไิ ดเ้ สอ่ื มสญู อนั ตรธานไปไหน ยงั ปรากฏอยแู่ กผ่ ปู้ ฏบิ ตั ิ
เขา้ ถงึ อยเู่ สมอ ผูใ้ ดมายดึ ถอื เปน็ ทพี่ งึ่ ของตนแลว้ ผู้น้นั จะอยใู่ นกลางปา่ หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะ
ทัง้ ๓ จริง ๆ แล้วจะแคลว้ คลาดจากภัยท้ังหลาย อนั ก่อใหเ้ กิดความร้อนใจได้แนน่ อนทเี ดยี ว
254 ชวี ประวัติ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
ทาน ศีล ภาวนา
ทานเป็นเครื่องแสดงนำ�้ ใจของมนุษยผ์ ู้มีจติ ใจสงู และชว่ ยหนนุ โลกใหช้ ่มุ เย็น
ทาน คือ เครื่องแสดงน้�ำใจของมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง มีเมตตาจิตต่อเพ่ือนมนุษย์และสัตว์
ดว้ ยการให้ การเสยี สละแบง่ ปนั มากนอ้ ยตามกำ� ลงั ของวตั ถเุ ครอ่ื งสงเคราะหท์ ม่ี อี ยจู่ ะเปน็ วตั ถทุ าน
ธรรมทาน หรือวทิ ยาทาน เพอื่ สงเคราะหผ์ อู้ ่นื โดยไมห่ วงั สง่ิ ตอบแทนใดๆ นอกจากกุศล คอื ความดี
ที่ได้จากทานน้นั เปน็ สิง่ ตอบแทนทเี่ จา้ ของทานไดร้ บั อยู่โดยดเี ทา่ น้นั
อภัยทาน ควรใหแ้ ก่กนั เมื่ออกี ฝา่ ยหนง่ึ ผดิ พลาดหรอื ล่วงเกนิ
คนมีทานเป็นผู้สง่าผ่าเผยและเด่นในปวงชน เป็นที่เคารพรักในหมู่ชน จะตกอยู่ทิศใดย่อม
ไมอ่ ดอยากขาดแคลนจะมสี ง่ิ หรอื ผอู้ ปุ ถมั ภจ์ นได้ ไมอ่ บั จนทนทกุ ข์ ผมู้ ที านประดบั ตนยอ่ มไมเ่ ปน็ คน
ลา้ สมยั ทกุ คนทุกชนชั้นไม่รงั เกียจ ผมู้ ีทานย่อมเป็นผอู้ บอนุ่ หมุนโลกใหช้ มุ่ เยน็ การเสยี สละจึงเปน็
เครื่องค�ำ้ จุนหนุนโลก
การสงเคราะหก์ นั ทำ� ใหโ้ ลกมคี วามหมายตลอดไป ไมเ่ ปน็ โลกทไ่ี รช้ าตขิ าดกระเจงิ เหลอื แตซ่ าก
แผน่ ดิน ไมแ่ ห้งแลง้ แขง่ กับทุกขต์ ลอดไป
ศลี เปน็ พืชแหง่ ความดีอันยอดเยีย่ มที่ควรมีประจ�ำชาติมนษุ ย์
ศีล คือ ร้ัวก้ันความเบียดเบียนและท�ำลายสมบัติร่างกายและจิตใจของกันและกัน คือพืช
แหง่ ความดีอนั ยอดเยยี่ ม ที่ควรมีประจ�ำชาติมนษุ ย์ ไม่ปล่อยใหส้ ูญหายไป เพราะมนษุ ย์ไม่มีศีล
เป็นร้วั กั้น เป็นเคร่ืองประดบั ตวั จะไมม่ ที ใ่ี ห้ซกุ หัวนอนหลบั สนทิ ได้โดยปลอดภัย แมโ้ ลกเจรญิ ด้วย
วตั ถจุ นกองสงู กวา่ พระอาทติ ย์ แตค่ วามรมุ่ รอ้ นแผดเผาจะทวคี ณู ยง่ิ กวา่ พระอาทติ ย์ ถา้ มวั คดิ วา่ วตั ถุ
มีคา่ มากกวา่ ศีลธรรม
ศีลธรรมเป็นเพียงสมบัติของมนุษย์ พระพุทธเจ้าผู้เป็นผู้ค้นพบและน�ำมาประดับโลกที่ก�ำลัง
มดื มิดใหส้ ว่างไสวร่มเยน็ ด้วยอำ� นาจศีลธรรม เป็นเครื่องปัดเป่าความคิดของมนษุ ย์ผมู้ ีกเิ ลส ทีผ่ ลิต
อะไรออกมาท�ำใหโ้ ลกร้อนจะบรรลยั อยแู่ ล้ว ย่ิงกวา่ ใหค้ วามคดิ ตามอำ� นาจโดยไมม่ ศี ีลธรรมชว่ ยเปน็
ยาชโลมไว้บา้ ง จะผลิตยกั ษ์ใหญ่ทรงพิษขนึ้ มากวา้ นกนิ มนษุ ย์จนไมม่ อี ะไรเหลืออยู่บา้ งเลย
ความคิดของคนส้ินกิเลสท่ีทรงคุณอย่างสูงคือ พระพุทธเจ้า มีผลให้โลกได้รับความร่มเย็น
ซาบซ้งึ กบั ความคดิ ทีเ่ ปน็ กเิ ลส มีผลให้ตนเองและผู้อืน่ ไดร้ ับความเดือดร้อนจนคาดไม่ถึง ผิดกันอยู่
มาก ควรหาทางแก้ไข ผ่อนหนักใหเ้ บาลงบ้าง กอ่ นจะหมดทางแกไ้ ข ศลี จงึ เปน็ เหมือนยาปราบโรค
ทั้งโรคระบาดและเรือ้ ร้ัง
ภาวนาอบรมใจให้ฉลาดเทย่ี งตรง หักล้างความไม่มเี หตผุ ลของตนไดด้ ี
ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและ
สงิ่ ทง้ั หลาย ยดึ การภาวนาเปน็ รวั้ กนั้ ความคดิ ฟงุ้ ของใจใหอ้ ยใู่ นเหตผุ ล อนั จะเปน็ ทางแหง่ ความสงบสขุ
ใจที่ยังมไิ ด้รับการอบรมจากภาวนา จงึ เปรยี บเหมือนสตั วท์ ี่ยังมไิ ดร้ ับการฝึกหัด ยงั มไิ ด้รับประโยชน์
ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั ภูริทตั ตเถระ 255
จากมนั เทา่ ทค่ี วร จำ� ตอ้ งฝกึ หดั ใหท้ ำ� ประโยชนถ์ งึ จะไดร้ บั ประโยชนต์ ามควร ใจจงึ ควรไดร้ บั การอบรม
ใหร้ เู้ ร่ืองของตวั จะเป็นผคู้ วรแกก่ ารงานทั้งหลาย ท้งั สว่ นเลก็ สว่ นใหญ่ ภายนอกภายใน
ผู้มีภาวนาเป็นหลักใจ จะท�ำอะไรชอบใช้ความคิดอ่านเสมอ ไม่เส่ียงและไม่เกิดความเสียหาย
แก่ตนและผ้เู กีย่ วขอ้ ง การภาวนาจงึ เป็นงานเพ่ือผลในปัจจุบนั และอนาคต การงานทุกชนิดท่ีท�ำ
ดว้ ยใจของผมู้ ีภาวนา จะส�ำเรจ็ ลงดว้ ยความเรียบรอ้ ย ท�ำด้วยความใครค่ รวญ เล็งถงึ ประโยชน์
ที่จะได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุผล ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ
ไมเ่ ปดิ ชอ่ งใหค้ วามอยากอนั ไมม่ ขี อบเขตเขา้ มาเกยี่ วขอ้ ง เพราะความอยากดง้ั เดมิ เปน็ ไปตามอำ� นาจ
ของกิเลสตัณหา ซ่ึงไม่เคยสนใจต่อความผิด ถูก ดี ชั่ว พาเราเสียไปจนนับไม่ถ้วน ประมาณไม่ถูก
จะเอาโทษมันก็ไม่ได้ ยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดายถ้าไม่มีสติระลึกบ้างเลย แล้วของเก่าก็เสียไป
ของใหม่ก็พลอยจมไปด้วยไม่มีวันฟื้นคืนตัวได้ ฉะนั้น การภาวนาจึงเป็นเคร่ืองหักล้างความไม่มี
เหตุผลของตนไดด้ ี
วิธีการภาวนาคือการสังเกตจิตท่ีอยู่ไม่เป็นสุข ด้วยสติตามรู้การเคลื่อนไหวของจิต โดย
บรกิ รรมธรรมบททใ่ี ห้ผลดี
วธิ ภี าวนานนั้ ลำ� บากอยบู่ า้ ง เพราะเปน็ วธิ บี งั คบั ใจ วธิ กี ารภาวนากค็ อื วธิ สี งั เกตตวั เอง สงั เกต
จติ ทม่ี นี สิ ยั หลกุ หลกิ ไมอ่ ยเู่ ปน็ ปกตสิ ขุ ดว้ ยมสี ตติ ามระลกึ รคู้ วามเคลอ่ื นไหวของจติ โดยมธี รรมบทใด
บทหนง่ึ เปน็ คำ� บรกิ รรม เพอื่ เปน็ ยารกั ษาจติ ใหท้ รงตวั อยไู่ ดด้ ว้ ยความสงบสขุ ในขณะภาวนา ทใ่ี หผ้ ลดี
กม็ ี อานาปานสติ คือ ก�ำหนดจิตตามลมหายใจเขา้ ออกด้วยค�ำภาวนา พทุ โธ พยายามบังคับใจให้
อย่กู ับอารมณ์แห่งธรรมบททีน่ ำ� มาบริกรรมขณะภาวนา พยายามทำ� อย่างนเี้ สมอด้วยความไมล่ ดละ
ความเพยี ร จติ ทเี่ คยทำ� บาปหาบทกุ ขอ์ ยเู่ สมอจะคอ่ ยรสู้ กึ ตวั และปลอ่ ยวางไปเปน็ ลำ� ดบั มคี วามสนใจ
หนักแนน่ ในหนา้ ทข่ี องตนเป็นประจำ� จิตทสี่ งบตัวลงเป็นสมาธเิ ปน็ จติ ท่มี คี วามสุขเยน็ ใจมากและจำ�
ไม่ลืม ปลกุ ใจใหต้ ่นื ตัวและตื่นใจได้อย่างน่าประหลาด
การภาวนาแก้ไขปัญหาใจทุกประเภท ผู้เป็นหัวหน้างานหรือมีภารกิจมากควรหันมาฝึกใจ
อย่างย่ิง
เมอื่ พดู ถงึ การภาวนา บางทา่ นรสู้ กึ เหงาหงอยนอ้ ยใจวา่ ตน้ มวี าสนานอ้ ยทำ� ไมไ่ หว เพราะกจิ การ
ยุ่งยากทั้งภายในบา้ นและนอกบ้าน ตลอดงานสังคมต่างๆ ทตี่ อ้ งเป็นธรุ ะจะมานั่งหลับตาภาวนาอยู่
เห็นจะไม่ทันอยู่ทันกินกับโลกเขา ท�ำให้ไม่อยากท�ำ ประโยชน์ที่ควรได้จึงเลยผ่านไป ควรพยายาม
แกไ้ ขเสียบดั นี้
แท้จริง การภาวนาคือวิธีแก้ความยุ่งยากลำ� บากใจทุกประเภทท่ีเป็นภาระหนักให้เบาและ
หมดส้ินไป ได้อุบายมาแก้ไขไล่ทุกข์ออกจากตัว การอบรมใจด้วยการภาวนาก็เป็นวิธีหน่ึงแห่ง
การรกั ษาตัว เป็นวิธที ีเ่ กีย่ วกบั จติ ใจผ้เู ป็นหวั หนา้ งานทกุ ดา้ น
ใจ คอื นกั ตอ่ สจู้ นไมร่ จู้ กั ตาย หากปลอ่ ยไปโดยไมม่ ธี รรมเปน็ เครอื่ งยบั ยงั้ คงไมไ่ ดร้ บั ความสขุ
แม้จะมสี มบัติกา่ ยกอง
256 ชวี ประวัติ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
จิต จ�ำเป็นต้องเป็นตัวการรับภาระแบกหาม โดยไม่ค�ำนึงถึงความหนักเบา ว่าชนิดใดพอ
ยกไหวไหม จิตตอ้ งรบั ภาระทนั ที ดี ชวั่ ผิด ถกู หนกั เบา เศรา้ โศกเพียงใด บางเร่อื งแทบเอาชวี ิต
ไปด้วย ขณะน้ันจิตใจยังกล้าเอาตัวเข้าเส่ียงแบกหามจนได้ มิหน�ำซ้�ำยังหอบเอามาคิดเป็นการบ้าน
อีกจนนอนไม่หลับ รับประทานไม่ได้ก็มี ค�ำวา่ หนักเกนิ ไป ยกไมไ่ หว เกนิ ก�ำลงั ใจจะคิดและต้านทาน
นั้นไม่มี
งานทางกาย ยังมเี วลาพักผอ่ นนอนหลับ และยังรปู้ ระมาณวา่ ควรหรือไม่ควรแกก่ �ำลังของตน
เพยี งใด ส่วนงานทางใจไม่มเี วลาไดพ้ ักผ่อนเอาเลย พักได้เล็กนอ้ ยขณะนอนหลับเทา่ น้ัน แมเ้ ช่นนั้น
จิตยังอุตส่าห์ท�ำงานด้วยการละเมอเพ้อฝันต่อไปอีก ไม่รู้จักประมาณว่าเรื่องต่างๆ น้ันควรแก่ก�ำลัง
ของใจเพยี งใด เมอื่ เกดิ อะไรข้นึ ทราบแตว่ า่ ทุกข์เหลือทน ไมท่ ราบวา่ ทุกข์เพราะงานหนกั และเรอ่ื ง
เผ็ดร้อนเกินกำ� ลังใจจะสูไ้ หว ใจคือนักตอ่ สู้ ดกี ส็ ู้ ชว่ั กส็ ู้ สจู้ นไม่รูจ้ กั หยุดยงั้ ไตร่ตรอง สู้จนไมร่ จู้ ักตาย
หากปลอ่ ยไปโดยไมม่ ธี รรมเปน็ เครอ่ื งยับย้ัง คงไมไ่ ดร้ ับความสุข แม้จะมสี มบัติกา่ ยกอง
ธรรม เป็นเคร่ืองปกครองสมบัติและปกครองใจ ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว ความอยาก
ของใจ จะพยายามหาทรัพย์ได้กองเท่าภูเขา ก็ยังหาความสุขไม่เจอ ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว
จะอยใู่ นโลกใด กองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลกเศษเดนและกองสมบัติเดนเทา่ นัน้ ไม่มีประโยชนอ์ ะไร
แก่จิตใจแม้แต่นิด ความทุกข์ทรมาน ความอดทน ทนทานต่อส่ิงกระทบกระทั่งต่างๆ ไม่มีอะไรจะ
แข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐให้เจ้าของได้ชม
อย่างภมู ิใจตอ่ เรอื่ งท้ังหลายทันที
จติ เปน็ สมบตั สิ ำ� คญั มากในตวั เราทค่ี วรไดร้ บั การเหลยี วแล ดว้ ยวธิ เี กบ็ รกั ษาใหด้ ี ควรสนใจ
รบั ผดิ ชอบตอ่ จติ อนั เปน็ สมบตั ทิ ม่ี คี า่ ยง่ิ ของตน วธิ ที คี่ วรกบั จติ โดยเฉพาะกค็ อื ภาวนา ฝกึ หดั ภาวนา
ในโอกาสอนั ควร ตรวจดจู ติ วา่ มอี ะไรบกพรอ่ งและเสยี ไป จะไดซ้ อ่ มสขุ ภาพจติ คอื นงั่ พนิ จิ พจิ ารณา
ดูสังขารภายใน คอื ความคิดปรุงแต่งของจิตว่าคิดอะไรบา้ ง ในวันและเวลาทน่ี ั่ง นง่ั มีสารประโยชน์
ไหม คดิ แสห่ าเรื่อง หาโทษขนทกุ ขม์ าเผาตนอย่นู ้นั พอรผู้ ิดถูกของตัวบา้ งไหม
พิจารณาสังขารภายนอกว่ามีความเจริญข้ึนหรือเจริญลง สังขารร่างกายมีอะไรใหม่หรือมี
ความเก่าแก่ชราหลุดลงไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะท�ำได้ตายแล้วจะเสียการ
ใหท้ อ่ งอยใู่ นใจเสมอวา่ เรามคี วามแก่ เจบ็ ตาย อยปู่ ระจำ� ตวั ทว่ั หนา้ กนั ปา่ ชา้ อนั เปน็ ทเี่ ผาศพภายนอก
และปา่ ชา้ ทฝี่ งั ศพภายในคอื ตวั เราเอง เปน็ ปา่ ชา้ รอ้ ยแปดพนั เกา้ แหง่ ศพทน่ี ำ� มาฝงั หรอื บรรจุ จะอยใู่ น
ตวั เราตลอดเวลา ทั้งศพเกา่ ศพใหมท่ กุ วัน
พจิ ารณาธรรมสงั เวช พจิ ารณาความตายเปน็ อารมณ์ ยอ่ มมที างถอดถอนความเผลอเยอ่ หยงิ่
ในวนั ในชวี ิต และวทิ ยฐานะตา่ งๆ ออกได้ จะเหน็ โทษแหง่ ความบกพรอ่ งของตวั และพยายาม
แก้ไขได้เปน็ ลำ� ดับ มากกว่าจะไปเหน็ โทษของคนอืน่ แล้วมานนิ ทาเขา ซงึ่ เปน็ ความไมด่ ใี ส่ตน
น่ีคอื การภาวนา คือ วิธีเตอื นตน ส่งั สอนตน ตรวจตราดคู วามบกพร่องของตน วา่ ควรแก้ไข
จุดใด ตรงไหนบา้ ง ใช้ความพิจารณาอยูท่ ำ� นองนีเ้ รอื่ ยๆ ดว้ ยวธิ สี มาธภิ าวนาบ้าง ดว้ ยการร�ำพงึ
ท่านพระอาจารย์มน่ั ภูรทิ ัตตเถระ 257
ในอิริยาบถต่างๆ บา้ ง ใจจะสงบเย็น ไมล่ �ำพองผยองตวั และความทุกข์มาเผาลนตัวเอง เปน็ ผู้ร้จู ัก
ประมาณในหน้าที่การงานท่ีพอเหมาะพอดีแก่ตัว ท้ังทางกายและทางใจ ไม่ลืมตัวม่ัวสุมในส่ิงที่เป็น
หายนะต่างๆ
คณุ สมบตั ขิ องผู้ภาวนานม้ี ีมากมาย ไม่อาจพรรณนาให้จบสิ้นได้
ทาน ศลี ภาวนา ธรรมทัง้ ๓ น้ี เปน็ รากแกว้ ของความเปน็ มนษุ ย์ และเป็นรากเหง้าของ
พระศาสนา ผเู้ กดิ มาเปน็ มนษุ ยต์ อ้ งเปน็ ผเู้ คยสง่ั สมธรรมเหลา่ นมี้ าอยใู่ นนสิ ยั ของผจู้ ะมาสวมรา่ งเปน็
มนษุ ย์ ทส่ี มบรู ณด์ ้วยมนษุ ยส์ มบตั ิอยา่ งแท้จริง
คนดีมศี ีลธรรม
คนดมี ศี ีลธรรม หายากยง่ิ กวา่ เพชรนิลจินดา ท�ำให้โลกร่มเยน็ และยั่งยืน
หาคนดมี ศี ลี ธรรมในใจ หายากยง่ิ กวา่ เพชรนลิ จนิ ดา ไดค้ นเปน็ คนดเี พยี งคนเดยี วยอ่ มมคี ณุ คา่
มากกว่าเงินเป็นล้านๆ เพราะเงินล้านไม่สามารถท�ำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ เหมือนได้
คนดมี าทำ� ประโยชน์ คนดแี มเ้ พยี งคนเดยี วยงั สามารถทำ� ความเยน็ ใหแ้ กโ่ ลกไดม้ ากมายและยง่ั ยนื
เชน่ พระพทุ ธเจา้ และพระสาวกทง้ั หลายเปน็ ตวั อยา่ ง คนดแี ตล่ ะคนมคี ณุ คา่ มากกวา่ เงนิ เปน็ กา่ ยกอง
เป็นคุณค่าแห่งความดีของตนท่ีจะท�ำต่อไปมากกว่าเงิน แม้จะจนก็ยอมจน ขอแต่ให้ตัวดีและโลก
มคี วามสขุ แต่คนโง่ชอบเงนิ มากกวา่ คนดีและความดี ขอแตไ่ ด้เงิน แม้ตวั จะเป็นอยา่ งไรไม่สนใจคดิ
ไม่สนใจดู ถึงจะช่ัวช้าลามกหรือแสนโสมมเพียงไรไม่หลีกห่าง ขนาดยมบาลเกลียดกลัวไม่ยอมนับ
เขา้ บญั ชผี ู้ต้องหา กลวั จะไปทำ� ลายสตั ว์นรกด้วยกนั ใหเ้ ดอื ดร้อน ขอแตไ่ ด้เงนิ ก็เป็นที่พอใจ สว่ นจะ
ผดิ ถกู ประการใดเขาไมย่ งุ่ เกย่ี ว คนดกี บั คนชว่ั สมบตั เิ งนิ ทองกบั ธรรมะคอื คณุ ความดผี ดิ กนั อยา่ งนแ้ี ล
ใครมีหูมีตาก็คิดแก้ไขเสียแต่บัดน้ี อย่าให้สายเกินแก้ ฉะน้ัน สัตว์โลกจึงต่างกัน ทั้งภพ ก�ำเนิด
รูปร่างลักษณะ จริตนิสัย ดีชั่ว สุขทุกข์ เพราะกฎของกรรมหรือกฎของตัวเองที่ท�ำขึ้น มิใช่กฎ
ของใครไปท�ำให้ ตัวท�ำเอาเอง
ของดมี อี ยู่กบั ตวั เราทกุ คน ใหพ้ ากนั ปฏบิ ัติก่อนตาย อย่าประมาท
ของดมี อี ยกู่ บั ตวั เราทกุ คน กพ็ ากนั ปฏบิ ตั เิ อา ทำ� เอา เมอ่ื เวลาตายแลว้ จงึ วนุ่ วาย หานมิ นตพ์ ระ
มากสุ ลามาตกิ า ไมใ่ ชเ่ กาถกู ทค่ี นั ตอ้ งรบี แกเ้ สยี บดั น้ี คอื เรง่ ทำ� ความดแี ตบ่ ดั น้ี จะไดห้ ายหว่ ง อะไร ๆ
ท่เี ปน็ สมบตั ิของโลก มใิ ชส่ มบตั อิ ันแท้จริงของเรา ตัวจริงไม่มใี ครเหลยี วแล สมบตั ิในโลกเราแสวงหา
มา หากทุจริตกเ็ ป็นไฟเผา เผาตวั ทำ� ให้ฉิบหายไดจ้ ริง ๆ ขอ้ น้ีข้ึนอยูก่ ับความฉลาดและความโงเ่ ขลา
ของผู้แสวงหาแต่ละราย ท่านผู้พ้นทุกข์ไปด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตนจนกลายเป็นสรณะ
ของพวกเรา ท่านไม่เคยมีสมบัตเิ งนิ ทองเคร่ืองหวงแหน เปน็ คนร�่ำรวยสวยงามเฉพาะสมยั จงึ พากนั
รกั พากันห่วงจนไมร่ จู้ ักเปน็ รจู้ กั ตาย ส�ำคญั ตนวา่ จะไมต่ ายและพากันประมาทจนลืมตวั เพลดิ เพลิน
258 ชวี ประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
ตกั ตวงเอาแต่สิ่งไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว อยา่ ส�ำคัญว่าตนเก่งกาจสามารถฉลาดรกู้ วา่ เขาเลย
ถึงกับสรา้ งความมดื มดิ ปิดตาทับถมตัวเองจนไมม่ ีวันสร่างซา เมอ่ื ถึงเวลาจนตรอกอาจจนยง่ิ กว่าสตั ว์
ถ้าไม่เตรียม ทราบไว้เสียแต่บัดน้ีซ่ึงอยู่ในฐานะอันควร อาตมาขออภัยด้วยถ้าพูดหยาบคายไป แต่
ค�ำพูดที่สั่งสอนคนให้ละชัว่ ท�ำความดี จัดเปน็ หยาบคายอยู่แลว้ โลกเรากจ็ ะถึงคราวหมดสนิ้ ศาสนา
เพราะไม่มีผู้ยอมรับความจริง การท�ำบาป หยาบคายมีมาประจ�ำแทบทุกคน ท้ังใช้ผลเป็นทุกข์
ตนยังไม่อาจรู้ได้และต�ำหนิมันบ้าง พอมีทางคิดแก้ไข แต่กลับต�ำหนิค�ำสั่งสอนหยาบคาย ก็นับ
เปน็ โรคทห่ี มดหวงั
เม่ือมีผู้เตือนสติ ควรยึดมาเป็นธรรมค�ำสอน จะเป็นคนมีขอบเขตมีเหตุผล ไม่ท�ำตาม
ความอยาก เม่ือพยายามฝ่าฝืนให้เป็นไปตามทางของนักปราชญ์ได้ จะประสบผลคือความสุขใน
ปัจจบุ ันทนั ตา แม้จะมิไดเ้ ป็นเจ้าของเงินล้าน แตม่ ที างไดร้ บั ความสขุ จากสมบัตแิ ละความประพฤติดี
ของตน
คนฉลาดปกครองตนใหม้ คี วามสขุ และปลอดภยั ไมจ่ ำ� ตอ้ งเทย่ี วแสวงหาทรพั ยม์ ากมาย หรอื
เที่ยวกอบโกยเงินเปน็ ลา้ นๆ มาเปน็ เครือ่ งบำ� รงุ จึงมคี วามสขุ ผู้มสี มบตั พิ อประมาณในทางทีช่ อบ
มคี วามสุขมากกว่าผ้ไู ดม้ าในทางมชิ อบเสียอกี เพราะนั่นไม่ใช่สมบตั ขิ องตนอยา่ งแทจ้ รงิ ท้งั ๆ ทีอ่ ยู่
ในกรรมสิทธ์ิ แตก่ ฎความจรงิ คอื กรรมสาปแช่งไม่เหน็ ดว้ ยและให้ผลเป็นทุกข์ไม่ส้นิ สุด นักปราชญ์
ท่านจงึ กลวั กนั นักหนา แตค่ นโง่อย่างพวกเรา ผู้ชอบสุกเอาเผากิน และชอบเห็นแก่ตัว ไมม่ ีวนั อิม่ พอ
ไมป่ ระสบผลคอื ความสุขดังใจหมาย
คนหวิ อยเู่ ปน็ ปกตสิ ขุ ไมไ่ ด้ จงึ วง่ิ หาโนน่ หานี่ เจออะไรกค็ วา้ ตดิ มอื มาโดยไมส่ ำ� นกึ วา่ ผดิ หรอื ถกู
ครนั้ แลว้ สงิ่ ทค่ี วา้ มากม็ าเผาตวั เองใหร้ อ้ นยง่ิ กวา่ ไฟ คนทหี่ ลงจงึ ตอ้ งแสวงหา ถา้ ไมห่ ลงกไ็ มต่ อ้ งหา
จะหาไปใหล้ ำ� บากทำ� ไม อะไรๆ ก็มอี ยู่กบั ตวั เองอยา่ งสมบรู ณอ์ ย่แู ล้ว จะตนื่ เงาตะครุบเงาไปทำ� ไม
เพราะรู้แลว้ ว่าเงาไมใ่ ช่ตวั จรงิ ตวั จรงิ คอื สัจจะท้งั ส่ที ีม่ อี ยู่ในกายในใจอยา่ งสมบรู ณ์แล้ว
ความม่ังมีศรีสุขจะไม่บังเกิดแก่ผู้ทุจริต สร้างกรรมช่ัว มีมากเท่าไรย่อมหมดไป พ่อแม่ ปู่ย่า
ตายาย ที่สร้างบาปกรรมไว้ ผลกรรมน้ันย่อมตกอยู่กับลูกหลานรุ่นหลัง ให้มีอันเป็นไป ผู้ทุจริต
เบียดเบยี นรังแกผู้อ่ืน จะหาความสุขความเจริญไม่ไดเ้ ลย
วิธปี ฏบิ ัติของผู้เลา่ เรยี นมาก
ผูท้ ่ีไดศ้ ึกษาเล่าเรียนคัมภรี ์วนิ ัยมาก มีอบุ ายมากเป็นปริยายกว้างขวาง ครน้ั มาปฏิบัติทางจติ
จติ ไมค่ อ่ ยจะรวมงา่ ย ฉะนนั้ ตอ้ งใหเ้ ขา้ ใจวา่ ความรทู้ ไี่ ดศ้ กึ ษามาแลว้ ตอ้ งเกบ็ ใสต่ ู้ ใสห่ บี ไวเ้ สยี กอ่ น
ต้องมาหดั ผรู้ ูค้ อื จิตนี้ หดั สติให้เป็นมหาสติ หดั ปญั ญาใหเ้ ปน็ มหาปัญญา ก�ำหนดรูเ้ ท่ามหาสมมติ
มหานิยมอันเอาออกไปตั้งไว้ว่า อันนั้นเป็นอันน้ัน เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้าอากาศกลางหาว
ดาวนกั ขตั ฤกษ์ สารพดั สงิ่ ทง้ั ปวง ฉนั เจา้ สงั ขาร คอื อาการจติ หากออกไปตงั้ ไว้ บญั ญตั ไิ วว้ า่ เขาเปน็ นนั้
ท่านพระอาจารยม์ ่ัน ภูรทิ ตั ตเถระ 259
เป็นน้ี จนรูเ้ ทา่ แลว้ เรียกวา่ กำ� หนดร้ทู กุ ข์ สมุทยั เมือ่ ท�ำให้มาก เจริญใหม้ าก รเู้ ทา่ เอาทนั แลว้
จิตก็จะรวมลงได้ เม่ือก�ำหนดอยู่ ก็ช่ือว่าเจริญมรรค หากมรรคพอแล้ว นิโรธก็ไม่ต้องกล่าวถึง
หากจะปรากฏชัดแก่ผูป้ ฏบิ ตั ิเอง
เพราะศีลกม็ ีอยู่ สมาธิกม็ ีอยู่ ปัญญาก็มอี ยู่ ในกาย วาจา จิตนี้ ท่ีเรียกว่า อกาลโิ ก ของมอี ยู่
ทุกเมื่อ โอปนยิโก เมื่อผู้ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่ ปจฺจตฺตํ จึงจะรู้เฉพาะตัวคือมาพิจารณา
กายอนั นี้ใหเ้ ป็นของอสภุ ะ เปื่อยเนา่ แตกพังลงไป ตามสภาพความจรงิ ของ ภูตธาตุ ปพุ ฺเพสุ ภเู ตสุ
ธมเฺ มสุ ในธรรมอนั มมี าแตเ่ กา่ กอ่ น สวา่ งโรอ่ ยทู่ งั้ กลางวนั และกลางคนื ผมู้ าปฏบิ ตั พิ จิ ารณาพงึ รอู้ ปุ มา
รปู เปรยี บดังนี้
อันบุคคลผู้ท�ำนาก็ต้องท�ำลงไปในแผ่นดิน ลุยตมลุยโคลนตากแดดกร�ำฝน จึงจะเห็น
ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสุกมาได้ และได้บรโิ ภคด่ืมสบาย กล็ ว้ นทำ� มาจากของมอี ยทู่ ้ังสิน้ ฉันใด
ผ้ปู ฏบิ ัตกิ ็ฉันน้ัน เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีอยใู่ นกาย วาจา จติ ของทกุ คน
สติปญั ญา...เปน็ อาวุธ
ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือผู้สนใจหาความรู้ความฉลาด เพ่ือคุณงามความดีทั้งหลายท่ีโลก
เขาปรารถนากัน เพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเคร่ืองป้องกันตัว ย่อมไม่ปลอดภัยต่ออันตราย
ทงั้ ภายนอก ภายใน
เครอื่ งปอ้ งกนั ตวั คอื หลกั ธรรม มสี ตปิ ญั ญาเปน็ อาวธุ สำ� คญั จะเปน็ เครอื่ งมน่ั คง ไมส่ ะทกสะทา้ น
มีสตปิ ญั ญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบถ จะคดิ พดู ท�ำ อะไร ๆ ไมม่ กี ารยกเวน้ มีสตปิ ัญญาสอดแทรกอยู่
ดว้ ยทั้งภายในและภายนอก มีความเขม้ แข็งอดทน มีความเพยี รท่ีจะประกอบคณุ งามความดี
คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่น วุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้าน
ในกิจการทจี่ ะยกตัวใหพ้ ้นภัย
ใจ : ธรรม
การบ�ำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยี่ยม เยี่ยมยอดของโลกคือใจ ควรบ�ำรุงรักษาด้วยดีได้ใจดีคือ
ไดธ้ รรม เหน็ ใจตนแล้วคือเหน็ ธรรม รใู้ จตนแล้วคอื รู้ธรรมท้งั มวล
ใจคือสมบัติอันล้�ำค่า คนพลาดใจคือไม่สนใจปฏิบัติต่อใจดวงวิเศษในร่างน้ีจะผิดจะพลาด
อยนู่ ่ันเอง
เมื่อรู้ว่าใจเป็นสิ่งประเสริฐในตัวเรา ซึ่งไม่ควรให้พลาด อย่าให้เป็นมนุษย์ท้ังคนโง่เต็มตัวและ
เลวเต็มทน จะหาความสขุ ไมเ่ จอ
ใครผิดถูกชั่วดีก็ตัวเขา ใจของเราเพียรระวังต้ังถนอม อย่าใช้อกุศลวนมาตอม ควรถึงพร้อม
บญุ กศุ ล ผลสบาย
260 ชีวประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
สตั วโ์ ลกยอ่ มเป็นไปตามกรรม
เราทั้งหลายต่างเกิดมาด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มภูมิ ดังที่ทราบอยู่แก่ใจ
อย่าลืมตัวลืมวาสนา โดยลืมสร้างคุณงามความดีเสริมต่อ ภพชาติของเราที่เคยเป็นมนุษย์จะ
เปลี่ยนแปลงและกลับกลายหายไป เป็นชาติที่ต่�ำทราม ไม่ปรารถนาจะกลายมาเป็นตัวเราเข้าแล้ว
แก้ไม่ตก ความสูงศักดิ์ ความต�่ำทราม ความสุขทุกขั้นจนถึง บรมสุข และความทุกข์จนเข้าขั้น
มหนั ตทกุ ข์ เหลา่ นมี้ ไี ดก้ บั ทกุ คนตลอดสตั ว์ ถา้ ตนเองทำ� ใหม้ ี อยา่ เขา้ ใจวา่ มไี ดเ้ ฉพาะผกู้ ำ� ลงั เสวยอยู่
เทา่ นนั้ โดยผอู้ น่ื ไมม่ ี เพราะสงิ่ เหลา่ นเ้ี ปน็ สมบตั กิ ลาง แตก่ ลบั กลายมาเปน็ สมบตั จิ ำ� เพาะของผผู้ ลติ
ผู้ทำ� เองได้ ท่านจึงสอนไมใ่ หด้ ูถกู เหยยี ดหยามกัน
เม่ือเห็นเขาตกทุกข์หรือก�ำลังจนจนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้นหรือย่ิงกว่านั้นก็ได้
เม่ือถงึ วาระเขา้ จริงๆ ไมม่ ีใครมอี ำ� นาจหลีกเลย่ี งได้ เพราะกรรมดีกรรมชวั่ เรามีทางสรา้ งไดเ้ ชน่ เดยี ว
กับผู้อ่ืน จึงมีทางเป็นได้เช่นเดียวกับผู้อื่น และผู้อ่ืนก็มีทางเป็นได้เช่นเดียวกับท่ีเราเคยเป็น ศาสนา
เป็นหลักวิชาตรวจตาดูตัวเองและผู้อ่ืนได้อย่างแม่นย�ำไม่มีวิชาใดในโลกเสมอเหมือน ส่ิงดีช่ัวท่ีมี
และเกดิ อยกู่ บั ตนทกุ ระยะ มใี จเปน็ ตวั การพาใหส้ รา้ งกรรมประเภทตา่ ง ๆ จนเหน็ ไดช้ ดั วา่ กรรมมอี ยู่
กบั ผ้ทู ำ� มใี จเปน็ เหตขุ องกรรมท้ังมวล
กรรม เป็นของลึกลับและมีอ�ำนาจมาก ไม่มีผู้ใดมีกฎแห่งกรรมได้เลย ถ้าเราสามารถรู้เห็น
กรรมดีกรรมช่ัวที่ตนและผู้อ่ืนท�ำขึ้นเหมือนเห็นวัตถุต่างๆ จะไม่กล้าท�ำบาป แต่จะกระตือรือร้น
ท�ำแต่ความดีซึ่งเป็นของเย็นเหมือนน�้ำ ความเดือดร้อนในโลกก็จะลดน้อยลง เพราะต่างก็รักษาตัว
กลวั บาปอนั ตราย
ทา่ นวา่ ดี ช่วั มไิ ดเ้ กดิ ข้นึ มาเอง แต่อาศัยการท�ำบ่อยกช็ ินไปเอง เมื่อชินแลว้ กก็ ลายเปน็
นิสัย ถ้าเป็น ฝ่ายช่ัว ก็แก้ไขยาก คอยแต่จะไหลลงไปตามนิสัยท่ีเคยท�ำอยู่เสมอ ถ้าเป็น ฝ่ายดี
ก็นบั วา่ คลอ่ งแคลว่ กล้าขนึ้ เปน็ ล�ำดบั
เราเกิดเปน็ มนุษย์ มีความสงู ศกั ดม์ิ าก อยา่ นำ� เร่ืองของสตั ว์มาประพฤติ มนษุ ยเ์ ราจะต�ำ่ ลง
กว่าสัตว์และจะเลวกว่าสัตว์อีกมากมาย อย่าพากันท�ำ ให้พากันละบาปบ�ำเพ็ญบุญ ท�ำแต่
ความดี อย่าให้เสียชวี ติ เปล่าที่มีวาสนาเกิดมาเป็นมนษุ ย์
การทำ� ความเขา้ ใจเรอ่ื งของกรรม เปน็ การศึกษาธรรมะเพอ่ื เตรียมพร้อมท่จี ะรบั ภาวะของ
ตวั เราเอง ซงึ่ จะตอ้ งเปน็ ไปตามกรรมทไี่ ดท้ ำ� ไว้ ตามพทุ ธภาษติ ทมี่ วี า่ “กรรมจำ� แนกสตั วใ์ หท้ ราม
และประณีตต่างกัน”
ผู้สงสัยกรรม หรอื ไม่เชอ่ื กรรมวา่ มีผล คือลืมตนจนกลายเปน็ ผมู้ ืดบอดอยา่ งชว่ ยไม่ได้ แม้เขา
จะเกิดและได้รับการเล้ียงดูจากพ่อแม่มาเป็นอย่างดีเหมือนโลกท้ังหลายก็ตาม เขาก็มองไม่เห็นคุณ
ของพ่อแม่ว่าได้ให้ก�ำเนิดและเล้ียงดูตนมาอย่างไรบ้าง แต่เขาจะมองเห็นเฉพาะร่างกายเขา ท่ีเป็น
คนหนึ่งก�ำลังรกโลกอยู่โดยเจ้าตัวไม่รู้เท่านั้น ไม่สนใจคิดว่าเขาเติบโตมาจากท่านทั้งสอง ซ่ึงเป็น
แรงหนุนรา่ งกายชีวิตจติ ใจเขาใหเ้ จรญิ เติบโตมาจนถึงปัจจุบนั
ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภรู ิทตั ตเถระ 261
การดื่มกินเป็นการสร้างสุขภาพความเจริญเติบโตแก่ร่างกาย ไม่จัดว่าเป็นกรรม กรรม คือ
การกระท�ำ ดี ชว่ั ทางกาย วาจา ใจ ตา่ งหาก พูดจรงิ คอื ความสขุ ทุกข์ ทีไ่ ดร้ บั กันอยู่ทั่วโลก
กระทง่ั สตั วผ์ ไู้ มร่ จู้ กั กรรม รแู้ ตก่ ระทำ� คอื หากนิ อยู่ ทางศาสนาเรยี กวา่ กรรมของสตั ว์ ของบคุ คล และ
ผลกรรมของสตั ว์ ของบคุ คล
ควรมีเมตตาสงสารในสัตว์ท้ังหลาย ซึ่งมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นเดียวกับเรา ไม่มีอะไร
ยิง่ หย่อนกว่ากัน
ความยง่ิ หยอ่ นแหง่ วาสนาบารมนี นั้ มไี ดท้ งั้ คนและสตั ว์ สตั วบ์ างตวั มวี าสนาบารมแี ละอธั ยาศยั
ดกี ว่ามนษุ ยบ์ างคน แต่เขาตกอยู่ในภาวะความเป็นสัตว์ กจ็ �ำตอ้ งทนรับเสวยไป สตั วเ์ ดรจั ฉานก็ยังมี
และเสวยกรรมไปตามวิบากของมันมิให้ประมาทเขาว่าเป็นสัตว์ที่เกิดในก�ำเนิดต่�ำทราม ความจริง
เขาเพียงเสวยกรรมตามวาระท่ีเวียนมาถึงเท่าน้ัน เช่นเดียวกับมนุษย์ ขณะท่ีตกอยู่ในความทุกข์จน
ข้นแค้น ก็จ�ำต้องทนเอาจนกว่าจะสิ้นกรรม เม่ือมนุษย์เราเกิดเสวยชาติเป็นคน มีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง
ตามวาระของกรรมที่อำ� นวย
มนุษย์ก็มีกรรมชนิดหน่ึงท่ีพาให้มาเป็นอย่างน้ี ซ่ึงล้วนอ่านก�ำเนิดต่าง ๆ จนนับไม่ถ้วน ให้
ตระหนักในกรรมของสัตว์ว่ามีต่าง ๆ กัน เพราะฉะนั้น ไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามในชาติก�ำเนิดความ
เปน็ อยู่ของกันและกัน และสอนใหร้ ู้วา่ สัตว์ทง้ั หลายมีกรรมดกี รรมชว่ั เป็นของ ๆ ตน
อานิสงสข์ องการรักษาศลี ๕
ค�ำว่า ศีล ได้แกส่ ภาพเชน่ ไร ศลี อยา่ งแท้จรงิ เป็นไปด้วยความมสี ติ รู้สิ่งทคี่ วรคิดหรอื ไมค่ วร
ระวังการระบายออกทางทวารทงั้ สาม คอยบังคบั กาย วาจา ใจ ใหเ้ ปน็ ไปตามขอบเขตของศีลที่เป็น
สภาพปกติ ศลี ทเี่ กดิ จากการรกั ษามสี ภาพปกตไิ มค่ ะนองทางกาย วาจา ใจ ใหเ้ ปน็ ทเ่ี กลยี ด นอกจาก
ความปกตงิ ดงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มศี ีลว่า เปน็ ศลี เป็นธรรม
เราควรรกั ษาศลี ๕
๑. สง่ิ ทมี่ ชี วี ติ เปน็ สง่ิ ทม่ี คี ณุ คา่ จงึ ไมค่ วรเบยี ดเบยี น ขม่ เหงและทำ� ลายคณุ คา่ แหง่ ความเปน็ อยู่
ของเขาใหต้ กไป
๒. สิ่งของของใคร ใครก็รักและสงวน ไม่ควรท�ำลาย ฉก ลัก ปล้น จ้ี เป็นต้น อันเป็นการ
ทำ� ลายสมบัตแิ ละท�ำลายจิตใจกนั
๓. ลกู หลาน สามี ภรรยา ใคร ๆ กร็ กั สงวนอยา่ งยง่ิ ไม่ปรารถนาให้ใครมาอาจเออ้ื มล่วงเกนิ
เป็นการท�ำลายจิตใจของผู้อ่นื อยา่ งหนัก และเป็นบาปไมม่ ีประมาณ
๔. มุสา การโกหกพกลม เป็นส่ิงที่ท�ำลายความเช่ือถือของผู้อื่นให้ขาดสะบ้ันลงอย่างไม่มีดี
แม้เดรัจฉานก็ไม่พอใจค�ำหลอกลวง ซงึ่ ไมค่ วรโกหกหลอกลวงให้ผู้อนื่ เสียหาย
262 ชวี ประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
๕. สรุ า ยาเสพติด เปน็ ของมนึ เมาและใหโ้ ทษ ดมื่ เขา้ ไปยอ่ มทำ� ใหค้ นดี ๆ กลายเป็นคนบา้ ได้
ลดคณุ คา่ ลงโดยลำ� ดบั ผตู้ อ้ งการเปน็ คนดมี สี ตปิ กครองตวั อยา่ งมนษุ ย์ จงึ ไมค่ วรดม่ื สรุ า เครอื่ งทำ� ลาย
สุขภาพทางรา่ งกายและใจอยา่ งย่งิ เป็นการท�ำลายตวั เองและผอู้ ืน่ ไปดว้ ยในขณะเดยี วกัน
อานสิ งสข์ องการรักษาศีล ๕
๑. ท�ำใหอ้ ายุยนื ปราศจากโรคภยั เบยี ดเบียน
๒. ทรพั ยส์ มบตั ทิ อ่ี ยใู่ นความปกครอง มคี วามปลอดภยั จากโจรผรู้ า้ ย มาราวเี บยี ดเบยี นทำ� ลาย
๓. ระหว่างลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุข ไม่มีผู้คอยล่วงล้�ำกล�้ำกราย ต่าง
ครองกนั อยูด่ ว้ ยความเป็นสขุ
๔. พูดอะไรมีผู้เคารพเชื่อถือ ค�ำพูดมเี สน่หเ์ ป็นท่ีจับใจไพเราะ ดว้ ยสัตย์ ด้วยศีล
๕. เปน็ ผมู้ สี ติปญั ญาดแี ละเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลงั จับโน่นชนนีเ่ หมอื นคนบ้าคนบอ
หาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ท่ัวโลก ให้มีแต่ความอบอุ่นใจ
ไมเ่ ปน็ ทรี่ ะแวงสงสยั ผไู้ มม่ ศี ลี เปน็ ผทู้ ำ� ลายหวั ใจคนและสตั วใ์ หไ้ ดร้ บั ความทกุ ขเ์ ดอื ดรอ้ นทกุ หยอ่ มหญา้
ศลี น้นั อยูท่ ไ่ี หน มีตัวตนเปน็ อย่างไร ใครเปน็ ผรู้ ักษา แล้วก็รูว้ า่ ผูน้ น้ั เป็นตวั ศลี ศีลก็อยทู่ ่ีตนนี้
เจตนาเปน็ ตวั ศลี เจตนาคอื จติ ใจ คนเราถา้ จติ ใจไมม่ ี กไ็ มเ่ รยี กวา่ ตน มแี ตก่ ายจะทำ� อะไรได้ รา่ งกาย
กบั จติ ตอ้ งอาศัยซึง่ กนั และกัน เมอ่ื จติ ไม่เป็นศลี กายก็ประพฤตไิ ปตา่ งๆ ผู้มีศีลแลว้ ไมม่ ีโทษ จะเป็น
ปกติแนบเนียนไม่หวนั่ ไหว ไมม่ ีเรอ่ื งหลงหาหลงขอ คนท่หี า คนท่ีขอ ต้องเป็นทกุ ข์ ขอเท่าไรย่งิ ไมม่ ี
ยง่ิ อดอยากยากเขญ็ ยิง่ ไมม่ ี
กายกบั จติ เราไดม้ าแลว้ มอี ยแู่ ลว้ ไดจ้ ากบดิ ามารดาพรอ้ มบรบิ รู ณแ์ ลว้ จะทำ� ใหเ้ ปน็ ศลี กร็ บี ทำ�
ศีลมีอยทู่ ี่เรานแ้ี ล้ว รกั ษาได้ไมม่ กี าล ได้ผลไม่มกี าล
ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์สมบูรณ์ ไม่อด
ไม่อยาก ไมจ่ น ก็เพราะรกั ษาศลี ไดส้ มบรู ณ์ จติ ดวงเดยี ว เปน็ ศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
ผมู้ ศี ลี แท้ เปน็ ผ้หู มดเวร หมดภัย
ต้นหาย กำ� ไรสูญ*
ตน้ หาย กำ� ไรสญู เปรยี บเสมอื นคนเราบางคนทตี่ ง้ั อกตง้ั ใจทำ� การทำ� งาน จะประกอบการคา้ ขาย
หรอื ท�ำกจิ การงานอะไรก็ดี ตงั้ แตเ่ ยาว์วัยจนกระทั่งเป็นหนุ่มเป็นสาวและแก่เฒ่าแกช่ ราในทีส่ ดุ และ
ถึงพรอ้ มดว้ ยความร�ำ่ รวยสมบรู ณพ์ นู สขุ สรา้ งบา้ นสร้างเรอื น สรา้ งหลักฐานไดอ้ ยา่ งมั่นคง ตลอดจน
สรา้ งเกยี รตยิ ศ สร้างช่ือเสยี ง จนไดล้ าภไดย้ ศ ไดส้ รรเสรญิ ประสบความส�ำเร็จในชวี ติ ทางโลกทกุ สิ่ง
ทุกอย่าง
* จากการเรยี บเรยี งในหนงั สอื รวมพระธรรมเทศนา ๑๐๘ กณั ฑ์ จดั พมิ พโ์ ดย ชมรมพทุ ธศาสตร์ เอสโซ่ พ.ศ. ๒๕๒๕
ท่านพระอาจารยม์ ่นั ภรู ิทตั ตเถระ 263
แต่คนบางคนที่กล่าวถึงเหล่านี้ เมื่อถึงกาลเวลาอันสมควร ซ่ึงที่จริงก็เป็นการเพียงพอแล้ว
ส�ำหรับทรัพย์สมบัติในทางโลกที่ได้สร้างสมมามากแล้ว ก็ควรจะหยุด เพื่อรีบสร้างสมสิ่งท่ีเป็น
“อรยิ ทรพั ย์” ในบัน้ ปลายของชวี ิตให้มากทีส่ ดุ เท่าท่จี ะกระท�ำไดบ้ ้าง
แตเ่ ขาเหล่านัน้ ก็หาได้มีความหยุด ความยั้ง ความละ ความปลอ่ ย ความวาง ในทรพั ย์สมบตั ิ
ท่ีหามาได้เหล่านั้นไม่ มุ่งหน้าที่จะคิดอ่านประกอบกิจการงานให้มีความเจริญก้าวหน้าย่ิง ๆ ข้ึนไป
เรอื่ ย ๆ โดยไมค่ ำ� นึงถงึ วา่ สกั วันหน่ึงไมช่ า้ ก็เรว็ “ความตาย” กจ็ ะต้องมาถงึ เขา้ อย่างแน่นอน
ในทีส่ ุดร่างกายของเขากถ็ ึงซึ่งความแตกดบั จรงิ ๆ และย่อยยับสญู หายไป ละท้งิ ทกุ ส่ิงทกุ อยา่ ง
ที่ตนหามาได้ไว้ในโลกนี้ให้กับคนอื่นทั้งหมด ไม่สามารถที่จะน�ำเอาทรัพย์สมบัติเหล่านั้นติดตาม
ตนไปด้วยได้แม้แต่นิดเดียว โดยท่ีตนเองมิได้ประกอบคุณงามความดีในทางสร้างสมในส่ิงท่ีเป็น
อรยิ ทรัพยใ์ ห้มากเท่าที่ควรเลย ซ่งึ ตนเองกม็ โี อกาสและโชคดีอย่างดที ส่ี ุดแล้ว แต่กม็ ิไดก้ ระท�ำลงไป
จงึ เป็นสิง่ ท่นี า่ เสียดายท่สี ุดในชีวิตของเขา จงึ เปรยี บเสมือน “ต้นหาย ก�ำไรสูญ”
“ตน้ ” ก็คือรา่ งกายและทรพั ยส์ มบัติทหี่ ามาได้ท้ังหมด
“กำ� ไร” ก็คอื บุญกุศลหรือสิ่งทเ่ี ป็นอริยทรัพย์
แทนท่ีจะได้ก็ไม่ได้ และถ้าใช้ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นไปในทางท่ีไม่ดี ผิดศีลผิดธรรมอีกด้วย
แล้ว หรือยดึ ในทรพั ยส์ มบตั ิทห่ี ามาได้นนั้ มากเกนิ ไป กย็ ง่ิ จะขาดทนุ เพม่ิ ข้นึ เป็นทวคี ณู ต้นก็หาย
กำ� ไรกส็ ญู ชีวิตน้ีก็ขาดทุน
- “คนเราใหญ่แต่กาย ใหญ่แต่ชาติ ใหญ่แต่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ ใหญ่แต่ส�ำคัญตน แต่ความรู้
ความฉลาดเทา่ นนั้ ทจี่ ะทำ� ตนใหร้ ม่ เยน็ เปน็ สขุ ทง้ั ทางกายและทางใจโดยถกู ทาง ตลอดจนผอู้ น่ื กไ็ ดร้ บั
ความร่มเย็นเป็นสุขด้วยน้ัน ไม่ค่อยเจริญเติบโตด้วย และไม่สนใจบ�ำรุงให้เติบโตอีกด้วย จึงเกิด
ความเดอื ดรอ้ นกนั อยู่ทกุ หนทกุ แห่ง โดยไมเ่ ลือกเพศวยั และชาตชิ น้ั วรรณะ อะไรเลย”
- การต�ำหนิติเตียนผู้อ่ืน ถึงเขาจับผิดจริง ก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองใช้ขุ่นมัว ด้วยความ
เดอื ดรอ้ น วนุ่ วาย ใจทคี่ ดิ แตต่ ำ� หนผิ อู้ นื่ จนอยไู่ มเ่ ปน็ สขุ นน้ั นกั ปราชญถ์ อื เปน็ ความผดิ และบาปกรรม
ไมด่ ีเลย จะเป็นโทษให้ท่านไดส้ งิ่ ไม่พึงปรารถนามาทรมานอยา่ งไมค่ าดฝัน
- การกลา่ วโทษผอู้ น่ื โดยขาดการไตรต่ รอง เปน็ การสงั่ สมโทษและบาปใสต่ นใหไ้ ดร้ บั ความทกุ ข์
จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยต่อตนเสีย ความทุกข์เป็นของ
น่าเกลยี ดนา่ กลัว แต่สาเหตทุ ่ที ำ� ใหเ้ กิดทกุ ข์ ท�ำไมพอใจสร้างขนึ้ เอง
- เม่ือเกิดมาอาภัพชาติแล้ว อย่าให้ใจอาภัพอีก ผู้เกิดมาชาติน้ีอาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ
คิดแต่ผลติ โทษท�ำบาปอกุศลเผาผลาญตนให้ได้ทกุ ขเ์ ป็นบาปกรรมอีกเลย
- คนชว่ั ทำ� ชว่ั ได้งา่ ยและติดใจ ไม่ยอมลดละแกไ้ ขให้ดี
- คนดี ท�ำดีไดง้ า่ ยและติดใจ กลายเปน็ คนรกั ธรรมตลอดไปฝกึ จนดี
- เราตอ้ งการคนดี กจ็ ำ� ตอ้ งฝกึ ฝกึ จนดี จะพน้ การฝกึ ไปไมไ่ ด้ งานอะไรกต็ อ้ งฝกึ ทง้ั นน้ั ฝกึ งาน
ฝกึ คน ฝกึ สัตว์ ฝกึ ตน ฝกึ ใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝกึ ค�ำว่า ดี จะเปน็ สมบัติของผฝู้ กึ ดีแล้ว
แนน่ อน
264 ชีวประวัติ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
- ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงควรเห็นคุณค่าของผู้อ่ืน ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียน
ท�ำลายกัน
ผมู้ ศี ลี สตั ยเ์ มอื่ ทำ� ลายขนั ธ์ ไปในสคุ ตใิ นโลกสวรรคไ์ มต่ กตำ่� เพราะอำ� นาจศลี คมุ้ ครองรกั ษาและ
สนับสนุน จึงสมควรอย่างย่ิงท่ีจะพากันรักษาใช้บริบูรณ์ธรรมก็ส่ังสอนแล้ว ควรจดจ�ำให้ดี ปฏิบัติ
ให้มัน่ คง จะเปน็ ผู้ทรงคุณสมบัตทิ ุกอย่างแนน่ อน
- ทำ� ตามคำ� สงั่ สอนของพระพทุ ธเจ้า ตรสั สอนเร่ืองกาย วาจา จิตมไิ ดส้ อนอย่างอน่ื ทรงสอน
ใหป้ ฏบิ ตั ิฝกึ หัดจติ ใจ ให้เอาจติ พจิ ารณากาย เรียกวา่ กายานปุ ัสสนาสติปัฏฐาน หดั สตใิ หม้ ากในการ
ค้นคว้า เรียกว่า ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึง
จะเป็นสมาธิรวมลงเอง การประกอบความพากเพียรท�ำจิตให้น่ิง เป็นการปฏิบัติตามค�ำสั่งสอนของ
พระบรมศาสดาสมั มาสมั พทุ ธเจ้า
- คุณธรรม ยังมีผู้เข้าถึงให้เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องระบือ มีความฉลาดกว้างขวางใน
อุบายวธิ ี ไม่มีความคับแค้นจนมุม
- ความไม่ยง่ั ยนื เปน็ สิ่งที่ยิ่งใหญ่และแนน่ อน
- ความยง่ิ ใหญค่ อื ความไมย่ ง่ั ยนื ชวี ติ ทยี่ ง่ิ ใหญ่ คอื ชวี ติ ทอ่ี ยดู่ ว้ ยทาน ศลี เมตตาและกตญั ญู
ชีวิตท่มี ีความดงี ามไมใ่ ชค่ วามย่งิ ใหญ่ ชวี ติ ทีย่ ิง่ ใหญ่ต้องอาศัยคุณธรรมความดเี ท่านน้ั
- วาสนานั้นเปน็ ไปตามอธั ยาศัย
- คนที่มีวาสนาในทางท่ีดีมาแล้ว แต่คบ “คนพาล” วาสนาก็อาจเป็นเหมือนคนพาลได้
บางคนวาสนายงั ออ่ น เมอ่ื คบ “บณั ฑติ ” วาสนากเ็ ลอ่ื นขนึ้ เปน็ บณั ฑติ ฉะนนั้ บคุ คลควรพยายาม
คบแตบ่ ัณฑติ เพ่อื เล่ือนภมู วิ าสนาของตนใหส้ ูงขน้ึ
- ผูม้ ีปัญญา ไมค่ วรใหส้ ่ิงท่ีล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวงั ในสงิ่ ท่ยี ังไมม่ าถงึ
- ผมู้ ีปญั ญาได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจรญิ ความเห็นน้นั ไว้เนอื งๆ ควรรบี ท�ำเสีย
- ผู้มีปัญญา ซ่ึงมีธรรมเป็นเคร่ืองอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน
ขยันหมนั่ เพยี รทัง้ กลางวนั และกลางคืน
- สมณะไปท่ใี ด อย่ทู ใ่ี ด ไมพ่ ึงก่อความเป็นภัยแกต่ วั เองและผู้อน่ื คอื ไม่สัง่ สมกิเลสทีน่ ่ากลวั
แกต่ วั เอง และระบาดสาดกระจายไป คำ� วา่ กเิ ลส ถอื วา่ เปน็ สง่ิ ทนี่ า่ กลวั อยา่ งยง่ิ พงึ ใชค้ วามระมดั ระวงั
ดว้ ยความจงใจ ไมป่ ระมาทตอ่ กระแสของกเิ ลสทกุ ๆ กระแส เพราะเปน็ เสมอื นไฟทส่ี งั หารหรอื ทำ� ลาย
ไดท้ กุ กระแสไป การยนื เดนิ นงั่ นอน การขบฉัน การขบั ถา่ ย การพูดจาปราศรัยกบั ผมู้ าเก่ยี วขอ้ ง
ทุก ๆ ราย และทุก ๆ คร้ัง ด้วยความส�ำรวม นี้แลคือ อริยธรรม พระอริยบุคคลทุกประเภท
ทา่ นดำ� เนนิ อย่างน้ีกันท้ังนั้น
- การบ�ำรงุ รักษาสิ่งใด ๆ ในโลก การบ�ำรงุ รกั ษาตนคอื ใจเป็นเยย่ี ม จดุ ท่ียอดเย่ียมของโลก
คือ ใจ การบ�ำรงุ รักษาด้วยดี ได้ใจแล้วคือไดธ้ รรม เห็นใจตนแลว้ คอื เหน็ ธรรม รใู้ จแลว้ คอื รธู้ รรม
ท้ังมวล ถึงใจตนแล้วคือถึงนิพพาน ใจน่ีแลคือสมบัติอันล้นค่า จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป
ทา่ นพระอาจารย์มน่ั ภรู ทิ ัตตเถระ 265
คนพลาดใจ คือไม่สนใจปฏิบัติต่อใจดวงวิเศษในร่างนี้ แม้จะเกิดร้อยชาติหรือพันชาติ ก็คือผู้พลาด
น่ันเอง
- ใจน่ีแลเปน็ ผู้ทรงบุญ ทรงกศุ ล ทรงมรรค ทรงผล ทรงสวรรคน์ ิพพาน และใจน่ีแลเป็นผู้ไปสู่
สวรรค์ นิพพาน นอกจากใจไม่มีอะไรจะไป
- กาลใดที่ ขาดสติ กาลน้ันเรียกว่า ขาดความเพียร แม้ก�ำลังเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอยู่
สกั แตว่ า่ เทา่ นน้ั แตม่ ไิ ดเ้ รยี กวา่ เปน็ ความเพยี รชอบ ดงั นนั้ ทา่ นจงึ สอนเนน้ ลงในความมี สติ มากกวา่
ธรรมอนื่ ๆ เพราะสตเิ ปน็ รากฐานสำ� คญั ของความเพยี รทกุ ประเภทและทกุ ประโยคทท่ี ำ� จนกลายเปน็
มหาสติขึ้นมาและผลิตปัญญาให้เป็นไปตามๆ กัน ภูมิต้นเพื่อความสงบต้องใช้สติให้มาก ภูมิต่อไป
สติกับปญั ญาควรเปน็ ธรรมควบคูก่ ันไปตลอดสาย
- สงิ่ ท่ลี ่วงไปแล้วไม่ควรไปท�ำความผูกพนั เพราะเป็นส่งิ ทลี่ ว่ งไปแล้วอย่างแท้จรงิ แม้กระท�ำ
ความผูกพันและหมายม่ันให้ส่ิงนั้นกลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้ ผู้ท�ำความส�ำคัญมั่นหมายนั้น
เป็นทุกข์แต่ผู้เดียว โดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคตที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นส่ิงไม่ควรไปยึดเหน่ียว
เกย่ี วขอ้ งเชน่ กนั อดตี ควรปลอ่ ยไวต้ ามอดตี อนาคต กค็ วรปลอ่ ยไวต้ ามกาลของมนั ปจั จบุ นั เทา่ นน้ั
จะสำ� เรจ็ ประโยชนไ์ ด้ เพราะอยใู่ นฐานะทค่ี นท�ำไดไ้ ม่สดุ วิสยั
- อยา่ งไรอยา่ หนจี ากรากฐานคอื ผรู้ ภู้ ายในใจ เมอ่ื จติ มคี วามรแู้ ปลก ๆ ซง่ึ จะเกดิ ความเสยี หาย
ถ้าเราไม่สามารถพจิ ารณาความรู้ประเภทนั้นได้ ให้ย้อนเข้าส่ภู ายในเสียอย่างไรกไ็ มเ่ สยี หาย...
- การปฏิบัติเป็นเคร่ืองยังพระสัทธรรมใช้บริสุทธ์ิ เมื่อรู้ปริยัติ ต้องปฏิบัติจิตใจจึงส�ำเร็จ
ประโยชนเ์ ตม็ ที่
เอกสาร
จากหนังสือ - ขนั ธะวิมุติสะมังคีธรรม ของ ท่านพระอาจารย์มนั่ ภูริทตฺตเถร
- มตุ โตทยั ของ ท่านพระอาจารยม์ ่นั ภรู ทิ ตฺตเถร
- จติ ตภาวนา มรดกลำ�้ คา่ ทางพระพุทธศาสนา โดย มลู นธิ หิ ลวงป่มู ่นั
- ธมมฺ รโส “ธรรมรส” รวบรวมโดย พระธมมฺ สตตฺ โิ ก (พลเอก ดร.สมศกั ด์ิ ศลั ยกำ� ธร)
- รวมพระธรรมเทศนา ๑๐๘ กณั ฑ์ โดย ชมรมพุทธศาสตร์ เอสโซ่ พ.ศ. ๒๕๒๕.
266 ชวี ประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
โอวาทธรรม
ของ ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ภรู ทิ ตตฺ เถร
ท่ใี ห้ไว้แกศ่ ิษยานศุ ิษย์
• ธัมมะ ธัมโม เรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดความแปรปรวนของสังขารประกอบด้วย
ไตรลักษณ์
• อยา่ เช่ือหมอมากนกั ใหเ้ ช่ือธรรมมากจึงดี เชอ่ื กรรมเชือ่ ผลของกรรม
• อรหันต์ก็เป็นคุณอนันต์ นับหาประมาณมิได้ พระอรหันต์ตรัสรู้ในตัว เห็นในตัว มีญาณ
แจ่มแจ้งดี ล้วนแตเ่ ล่าเรียนธรรมชาตทิ ง้ั น้ันฯ
• ธรรมะชเี้ ข้ากายกบั จติ เปน็ คัมภีรเ์ ดิม
• ภูเขาสงู ทก่ี ล้ิงมาบดสตั ว์ใชเ้ ป็นจุณไปนน้ั อายุ ๗๐ ปีแลว้ ไมเ่ คยเห็นภเู ขา เหน็ แต่ชาตทิ กุ ข์
ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทกุ ข์ เทา่ น้ันแล ทิฐมิ านะเปน็ ภเู ขาสงู หาทีป่ ระมาณมไิ ด้
• ธรรมะเปน็ ต้น เอโก มีอันเดียว แตแ่ สดงอาการโดยนัย ๕๔,๐๐๐ ธาตุ ๔ ธาตุ ๖ ธาตุ ๑๘
ใหเ้ ห็นดว้ ยจักษดุ ้วย ให้เหน็ ดว้ ยญาณคอื ปญั ญาดว้ ย นโม ดนิ น�้ำ บิดา มารดา ป้นั ข้นึ มา
• ๘๔,๐๐๐ เปน็ อบุ ายทใ่ี หพ้ ระองคท์ รมานสตั ว์ สตั วย์ อ่ มรแู้ ต่ ๘๔,๐๐๐ เทา่ นน้ั จะรยู้ งิ่ ไปกวา่ นน้ั
เปน็ ไมม่ ี เวน้ แต่นสิ ัยพุทธภูมิฯ รู้อนันตนัยหาประมาณมิได้พน้ จากนิสัยของสาวก สาวกรู้แต่
๘๔,๐๐๐ เท่านัน้ จะรู้ย่งิ ไปกวา่ น้ันมไิ ด้
• ให้รู้ นโม นะ น�้ำ โม ดิน (อิ อะ) อิติปิโสฯ อรหํ เมื่อรูแ้ ลว้ ความร้หู าประมาณมไิ ด้ อะ อิ
ส�ำคญั นัก เปน็ คุณสมบัติของพระอรหันต์ฯ
• ธาตดุ ิน ธาตุน้�ำ ธาตลุ ม ธาตไุ ฟ น่ีเองท�ำใหบ้ คุ คลเป็นพระอรหันต์
• ญาณ ของพระพทุ ธเจา้ ท่านหมายเอาสกนธก์ าย เช่น นมิ ติ ธาตไุ ฟ ธาตุลม ธาตนุ �้ำ ธาตดุ นิ
และอาการ ๓๒ เปน็ นมิ ติ ทา่ นบอกวา่ รเู้ หน็ เชน่ นี้ บรรดาทา่ นเจา้ คณุ ทงั้ หลายไมค่ ดั คา้ นเลยฯ
• สัตว์เกดิ ในท้องมารดาทกุ ขแ์ สน กามเปน็ ของตำ�่ ช้า เปน็ ของที่น�ำทุกขเ์ ดือดรอ้ นฯ
• โลกสันนิวาส มีความแปรปรวนต้ังเท่ียงอยู่เช่นน้ัน แต่จิตของเรารักษาไว้ให้ดี อย่าให้ติด
ถ้าไมต่ ิดกไ็ ด้ชือ่ วา่ เปน็ สขุ ในตอนนี้ท่านแสดงทบไปทบมาเพือ่ ใหศ้ ิษยร์ ู้
• พิจารณาค้นกาย ตรวจกายถูกดีแลว้ ไมเ่ ป็นปญั หาขน้ึ มาได้ ถ้าไมถ่ กู ยอ่ มเป็นปญั หาขึ้นมา
• คน้ ดกู ายถึงหลกั และเห็นอริยสัจจข์ องจรงิ แล้ว เดนิ ตามมรรค เหน็ ตวั สมุทัย เห็นทุกขสัจจ์
• ต้องท�ำจิตให้เปน็ เอก ต้องสงเคราะหธ์ รรมใหเ้ ปน็ เอกเสมอ ๆ
บนั ทึกธรรมโดย หลวงปหู่ ลยุ จนทฺ สาโร จากสถานที่ปฏบิ ัติธรรมหลายแหง่
ทา่ นพระอาจารย์ม่ัน ภรู ทิ ัตตเถระ 267
• อริยสจั จ์ ทกุ ข์ สมทุ ัย นิโรธ มรรค คือ กาย วาจา ใจ เป็นมรรค เข้าไป ดบั ทุกข์ ดับสมทุ ยั
ดับนิโรธ นิโรธดับไม่เอา เอาท่ีไม่ดับ คือดับน้ันยังเป็นตัวมรรค เอาส่ิงที่ไม่ดับ สิ่งที่ตั้งอยู่
น้ันแหละเป็นตวั ใหส้ ้นิ ทกุ ข์
• ปฏภิ าค นน้ั อาศยั ผ้ทู ่มี วี าสนา ซ่ึงจะบังเกดิ ขน้ึ ได้ อคุ หนิมิต น้นั เปน็ ของทไ่ี มถ่ าวร พิจารณา
ใหช้ �ำนาญแลว้ เปน็ ปฏิภาคนมิ ิต ชำ� นาญทาง ปฏภิ าค แลว้ ทวนเขา้ มา เปน็ ตน ปฏภิ าคน้นั
เป็นสว่ นวิปัสสนาฯ
• ทา่ นพจิ ารณารา่ งกระดกู ได้ ๕๐๐ ชาตมิ าแลว้ ตง้ั แตเ่ กดิ เปน็ เสนาบดเี มอื งกรุ รุ าช เปน็ อบุ าสก
ถงึ พระรตั นตรัย
• เจริญทางจิตอย่างเดียว ตั้งแต่ อุปจารสมาธิ รู้วาระจิตของผู้อ่ืนได้ แก้นิวรณ์ได้ แต่โมหะ
คมุ จติ ถ้าเจริญวิปัสสนาถึง อปั ปนาสมาธิ ท่านอาจารย์บอกเช่นนน้ั และบอกว่า ท�ำความรู้
ให้พอเสยี กอ่ นจึงไม่หวัน่ ไหว
• ให้รู้ท่ีจะแก้จิตของตน ให้รู้จักภพของตนท่ีจะไปเกิดฯ ท่านอาจารย์ได้พิจารณาวัฏฏะ
๕๐๐ ชาติ
• ต้องผ่านความผิดมาเสียก่อนจึงปฏิบัติถูก ความผิดเป็นเหตุความถูกเป็นผลของความดี
ทง้ั หลาย ตอ้ งเดินมรรค ๘ ให้ถกู จึงจะแก้ได้ เดนิ ตามสายหนทางของพระอรยิ เจ้า ใชต้ บะ
อยา่ งย่ิงคอื ความเพียร จงึ จะสอนตนได้ โลกยี ์ โลกุตตระ ๒ อย่างประจำ� อยใู่ นโลก ๓ ภพ
• ปญั ญามสี มั ปยตุ ทุก ๆ ภมู ิ กามาวจร รปู าวจร อรูปาวจร โลกตุ ตระเหลา่ นลี้ ้วนแตม่ ีปญั ญา
ประกอบ ควรท่เี ป็นเสียมก็เป็น ควรที่เป็นขวานกเ็ ป็น ส่วนท่เี ฉย ๆ เรอื่ ย ๆ น้ัน เชน่ เหลก็
เปน็ แท่งกลม จะเอามาใชอ้ ะไรก็ไม่ได้ นี้ฉนั ใด
• จะบอกการด�ำเนิน วิปัสสนา และ สมถะ โดยเฉพาะนั้นมิได้ เพราะมันไปหน้าเดียว จริต
ของคนต่าง ๆ กัน แล้วแต่ความฉลาดไหวพริบของใคร เพราะด�ำเนินจิตหลายแง่แล้วแต่
ความสะดวก
• อยา่ ให้จติ เพง่ ออก ให้รใู้ นตัว เห็นในตัว เมื่อรใู้ นตัวแล้วร้ทู ัว่ ไป เพราะตัวเป็นต้นเหตุ
• เทศนเ์ รอื่ งมงคลวเิ สส ทม่ี นษุ ย์ เทวดามคี วามสงสยั มไิ ดแ้ กอ้ ตั ถะแปลไดเ้ หมอื นพระพทุ ธองค์
มนษุ ยเ์ ปน็ สถานกลาง อะไรดหี รอื ชวั่ กต็ อ้ งกลน่ั ออกไปจากมนษุ ยน์ ที้ ง้ั นนั้ ทำ� ใหเ้ ปน็ ดกี ม็ นษุ ย์
ทำ� ใหช้ ่วั กม็ นษุ ย์ จะเป็นปถุ ุชนก็มนษุ ย์ จะเป็นพระพทุ ธเจ้าก็มนุษย์
• ทา่ นเทศน์ให้สงเคราะห์เข้าตนท้ังนนั้ สภุ ะ เป็นธาตบุ ดู เน่า เป็นธรรมชาติของเขา ร้ายแต่
มนษุ ย์ จิตติดสุภะ ดม่ื สรุ า ท่านยกพระโพธิสัตว์ยกเป็นกษัตรยิ ์ มีเมีย ๖ หม่ืน บตุ รราหุล
ท่านก็ไม่เมา ไหนเรามีเมียตาเปียกคนเดียวติดกันจนตาย ธาตุเมาอันนี้เป็นธรรมชาติไม่ให้
คนสน้ิ ทุกข์ไปได้
• บุคคลรักษาจิต ได้แล้วท้ังศีล แม้รักษาทางปัญญา ได้แล้วท้ัง ศีล สมาธิ ปัญญา ดุจข้าว
สุกทีส่ �ำเรจ็ แล้ว เราจะตวงกนิ ไมต่ ้องไปกังวลท�ำนาเกบ็ เก่ียว และขา้ วเปลือก ข้าวสารเลย
กินขา้ วสกุ แล้วกเ็ ปน็ พอ นก้ี ฉ็ ันนน้ั เป็นสถานท่ีส�ำรวม
268 ชวี ประวัติ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
• ภายนอกให้ละเอยี ดเสียก่อน แล้วภายในจงึ ละเอียด
• ครั้งพทุ ธกาล บางองคต์ ิดทางสมาธิ ๕๐ ปีจึงได้ส�ำเร็จกม็ ี
• พระอานนท์เป็นคลังแห่งพระธรรม อะไรท่านรู้หมด ท�ำเน่ินช้า เพราะท่านติดพระสูตร
พระอภธิ รรม ไม่น้อมลงมาปฏบิ ัติ จงึ สำ� เร็จชา้ อายุ ๘๐ ปี หลังพทุ ธปรนิ ิพพาน ๓ เดอื น
• พระอานนท์ท�ำความเพียรในกายวิปัสสนา ก�ำหนดจิตโดยมิได้ละ จนขาตรงทีเดียวจึงได้
ทอดกายด้วยสติ หัวยังไม่ถึงหมอนจิตก็เข้าสู่ภวังค์ ภวังค์หายไป เกิดความรู้ เญยธรรม
ทั้งหลายฯ
• พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร ล้วนแต่เกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ โมคคัลลาน์สั่งสอนแม่ไม่ได้เลย
ทีเดียวฯ
• เหตปุ จจฺ โย โหติ ธรรมท้ังหลายเกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตฯุ
• อย่าเช่อื อภญิ ญาฯ ปฏบิ ตั เิ พื่อลาภ ยศ สรรเสรญิ เปน็ อาบัติทกุ กฎ
• ธรรมเปน็ ของเยน็ พระกมั มัฏฐานอยูท่ ไี่ หน สตั วป์ า่ ต้องอาศยั อยู่ หมปู า่ เหน็ คฤหัสถ์เปน็ ยักษ์
เปน็ มาร เบยี ดเบยี นสัตว์ ยงิ จนไมม่ เี หลือ เสอื ภูววั ท่านพระอาจารยท์ �ำอุโบสถ มนั มาร้อง
เม่ือฟังปาฏิโมกข์จบแล้วมันก็หายไป ท่านอาจารย์ม่ันคุ้นเคยสัตว์เหล่านี้ ท่านรู้วาระจิต
สตั วเ์ หลา่ น้ี เปน็ มิตรสหายกนั ด้วยธรรมเครอื่ งเย็นใจ
• สตั วเ์ ดรัจฉานเขาก็มสี ญั ญา ปัญญา นามธรรม รู้เหมอื นกบั มนุษย์ แตเ่ ขาพดู ไม่ได้
• ธรรมท้ังหลายเกิดขึ้นน้ันอย่าย้าย มันเต็มแล้วมันย้ายเอง ท่านเตือนท่านมหาบัวฉะนั้น
พระโยคาวจรเจา้ ละกเิ ลสสว่ นใดไดแ้ ลว้ ทา่ นไมก่ ลบั มาละอกี เพราะมรรคประหารสนิ้ ไปแลว้
เดินหน้าแกก้ เิ ลสใหม่เรื่อยไป จนละกเิ ลสรอบ ไมเ่ กดิ อกี นกี้ ็เป็นอศั จรรย์
• ให้ม้างกายเปน็ นจิ นน้ั ดี อยา่ ใชม้ ันหุ้ม
• สถานท่ีเข็ดขวาง ท่านบอกว่าเป็นพวกเปรต ต้องท�ำบุญให้ทานอุทิศถึง เขาได้รับอนุโมทนา
หายไปเกิด ณ ท่ีอน่ื ๆ
• ท่านไม่ชอบฤทธิ์ ชอบภาวนาให้สิ้นกิเลส ฤทธิ์ทั้งหลายเกิดด้วยก�ำลังสมถะ ฌานสมาบัติ
ท้งั น้ัน ใช้วปิ ัสสนาอยา่ งเดียวไมม่ ีฤทธ์ิ ส�ำเรจ็ อรหันต์
• ฝึกหัดจิตดีแล้ว จิตเข้มแข็งมีอ�ำนาจมาก ย่อมกระท�ำจิตสารพัดได้ทุกอย่าง เม่ือเห็นอ�ำนาจ
ของจิตแล้ว แลเห็นกายเป็นของอ่อน จติ บังคับกายไดฯ้
• เขาโกรธเรา แต่เราอย่าตอบ ให้พิจารณาความบริสุทธิ์ละลาย แล้วยกธงชัยข้ึน และมีอะไร
กส็ งเคราะหเ์ ขาผูป้ ระมาท ไมน่ านเขากลับคนื ดี ไมก่ ลบั คืนดีกว็ บิ ัติถึงตายทเี ดยี ว
• ใครจะไปบังคับจิตน้ันไม่ได้เลย ต้องสอนจิตให้อยู่ด้วยอุบาย แม้ค�ำสั่งสอนของพระองค์
ลว้ นแตเ่ ปน็ นโยบายทงั้ นน้ั เหตนุ น้ั ทา่ นจงึ ไมช่ อี้ บุ ายตรง ๆ ลงไปทเ่ี ดยี ว จงึ ชกั อนื่ มาเปรยี บเทยี บฯ
• นิมิตทั้งหลายเกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว ที่แสดงเป็นนิมิตออกมา อย่าหลงตามนิมิต ใช้
ทวนกระแสเขา้ จิตเดมิ เพราะนิมิตเปน็ ของไมเ่ ท่ียง หลงเช่อื นมิ ติ ประเดี๋ยวเป็นบา้
ท่านพระอาจารยม์ ่นั ภรู ทิ ัตตเถระ 269
• ปฏิภาคนิมิตเกิดเฉพาะผู้ท่ีมีวาสนาอย่างเดียว การภาวนาอย่าให้ท้ิงกายกับจิต น้ีเป็น
กมั มัฏฐานเดิม แต่ใหจ้ ติ เด็ดเดีย่ วอย่างท่ีสุดจึงเป็นผทู้ ร่ี ธู้ รรมในธรรมฯ
• ใหเ้ ปน็ มหาสติ มหาปญั ญา รอบกาย รอบจติ มรณะรา้ ยมาถงึ แลว้ ตอ้ งเขา้ แยง่ กนั ในชอ่ งแคบ
แม้โพธิสัตว์ชนะมาร ชนะในชอ่ งแคบ
• สนิมมันเกิดในเนอ้ื เหลก็ กเิ ลสมนั เกิดในดวงจิต ตอ้ งประหารจติ ให้เป็นธรรม
• ในโลกนี้เป็นอนัตตาหมด ไม่มีต้นไม้และภูเขา วิปัสสนาลบล้างหมด ไม่มีเช้ือโรคอยู่ในโลก
ช่ือวา่ โลกุตระ
• เรื่อง กัมมัฏฐาน ๕ ภาวนาให้มาก ในร่างกาย เห็นอสุภะเป็นยาปรมัตถ์แก้จิต พระเณร
ที่บรรพชาอุปสมบท ล้วนแต่พระอุปัชฌายะให้กัมมัฏฐาน ๕ มาทั้งน้ัน เป็นหลักส�ำคัญท่ี
กลุ บตุ รจะภาวนา รู้แจง้ ในรปู ธรรม เป็น สนทฺ ฏิ ฐฺ โิ ก เห็นเอง เบือ่ หน่ายรปู ธรรม อรูปธรรม
แลเหน็ เปน็ นามธรรมไปพรอ้ มกัน
• การนอน การสงบเข้าฌาน เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง สมถะ ต้องพักจิต
สอบอารมณ์ ส่วน วิปัสสนา จิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจจ์ เหน่ือยแล้วเข้าพักจิต พักจิต
หายเหนอ่ื ยแลว้ จติ ตรวจอรยิ สจั จอ์ กี ดงั นี้ ฉะนนั้ ใหฉ้ ลาดการพกั จติ การเดนิ จติ ทงั้ วปิ สั สนา
และสมถะ พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ ช�ำนิช�ำนาญท้ังสองวิธี จึงเอาตัวพ้นจากกิเลส
ทง้ั หลายไปได้ เป็นมหาศีล เปน็ มหาสมาธิ เปน็ มหาปญั ญา มศี ลี ทงั้ อย่างหยาบ อย่างกลาง
อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิตเจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ ๑๐ ไม่กระท�ำผิดในที่ลับและท่ีแจ้ง
สว่างทงั้ ภายในและภายนอก มีมหาสตริ อบคอบหมด วิโมกข์ วมิ ุตติ อกปุ ธรรม จติ บริสทุ ธ์ิ
จิตปกติ เป็นจิตพระอรหันต์ สว่างแจ้งทั้งภายนอกภายในสว่างโร่ ปุถุชนติเตียนเกิดบาป
เพราะพระอรหนั ตบ์ รสิ ทุ ธิ์ กายเปน็ ชาตนิ พิ พาน วาจา ใจ เปน็ ชาตนิ พิ พาน นพิ พานมี ๒ อยา่ ง
นิพพานยังมชี วี ิตอยู่ ๑ นิพพานตายแลว้ ๑ พระอรหันต์ รอข้ึนเรือไปนพิ พานฉะน้นั
• สุทโธทนะห้ามพระองค์ไม่ให้ไปบณิ ฑบาต กรุงกบลิ พัสดุ์ เราไมอ่ ด พระองค์ตอบวา่ ไปตาม
ประเพณพี ระพทุ ธเจ้า สุทโธทนะฟังโอวาทแลว้ ไดโ้ สดาบัน
• ปญั ญากบั สตใิ หร้ เู้ ทา่ ทนั กนั พจิ ารณากาย จติ ความไมเ่ ทยี่ งของสงั ขารเปน็ ธรรมะสอ่ื ใหเ้ หน็
เร่ือย ๆ ทาํ ความรใู้ นนั้น เห็นในนัน้ ฯ
• มหาสติเรียนกายจิตให้มาก ๆ ให้เห็นจริง ธรรมะจริง สมมุติ อย่าหลงรูป เสียง กลิ่น รส
ของอนั นเ้ี ต็มโลกอย่เู ช่นนนั้ ฯ
• พระอานนทท์ รงไวซ้ งึ่ พระสทั ธรรมวา่ เปน็ ของภายนอก ตอ่ หนั เขา้ มาปฏบิ ตั ภิ ายในจงึ สำ� เรจ็ ฯ
• หนงั คนในโลกยินดใี นหนังและเครอ่ื งอปุ โภคบริโภค หนังอันนท้ี �ำใหม้ นุษย์หลงยินดี พากัน
ตกทกุ ขก์ ันมากฯ
• ธรรมธาตุ สตั วห์ ลงธาตุ ชมธาตุ ยนิ ดีธาตุ ยินร้ายธาตุ จึงได้ท�ำกรรมไปต่าง ๆฯ
• เรียนแบบต�ำราเป็นของที่ไม่แน่นอน สู้เรียนทางกายและจิตให้เป็นธรรมชาติไม่ได้ ฉะนั้น
ผเู้ รยี นกายวาจาจิตไมใ่ ครส่ ึก ปฏบิ ตั ิแตธ่ รรมท่รี ยู้ ง่ิ เหน็ จริงฯ
270 ชีวประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
• ปัจจุบนั ให้รู้ทางจิตฯ
• ปฏภิ าคเปน็ เร่อื งของปญั ญาฯ
• ให้เรียนทางจติ ทวนกระแส ตดั รากเหง้าเคร่ืองผูกดจุ รอ้ื เคร่ืองฟกั
• ปฏิภาคนิมิต เป็นปาฏิหาริย์ของจิต มีอ�ำนาจท�ำให้เป็นอากาศว่างเปล่าได้ อันเป็นอัศจรรย์
ใหญ่หลวงฯ
• ผู้มีราคะ ย่อมเศรา้ โศกเสียใจเพราะราคะฯ
• ธรรมท่ลี ึกลับ ไม่ควรพดู ใหค้ นอ่นื รู้ เพราะคนอื่นไมเ่ หน็ ตามธรรมจะเสีย ตอ้ งพูดตอ่ ผปู้ ฏบิ ตั ิ
เหมอื นกัน
• ใหถ้ อื ตามมีตามได้ หันหาธรรมชาติ อย่าก่อความกงั วลนั้นดีมาก เม่อื ปฏบิ ัตไิ ด้แลว้ กไ็ ม่ดใี จ
เสียใจ
• มรรค โลกีย์ เทวทูต ชาติ ชรา มรณะ พยาธิ ให้โพธิสัตว์ออกบวช พระองค์บวชแล้วท�ำ
ทุกรกิริยา ในวันที่ตรัสรู้ ปฐมยามทางราคะเกิดในดวงจิตของพระองค์ป่วนปั่น พระองค์
ทวนกระแสวา่ เราเหน็ แลว้ ไมใ่ ชห่ รอื ทเ่ี ราออกบวชเราจะไมก่ ลบั แน่ ตอ่ นน้ั ทำ� จติ เขา้ สภู่ วงั ค์
สงบอยใู่ นอปั ปนาสมาธิ ตอ่ นนั้ ถงึ เกดิ ปญั ญาความรขู้ น้ึ มา ระลกึ ถงึ ชาตกิ อ่ น ๆ ได้ ในมชั ฌมิ สมยั
ต่อน้ันพระองค์ตรวจปฏิจจสมุปบาท ทวนไปทวนมาด้วยปัญญาอันยิ่ง จิตลงสู่ภวังค์ เกิด
ความรู้ขึ้นมา ตรสั รู้ ดับอวิชชาตณั หา เปน็ สยมภูพุทธปัจฉมิ สมัยกาลครั้งน้นั
• เพง่ นอกนนั้ ไมส่ น้ิ สงสยั เพราะยังหมายนอกหมายในอยู่ ตกอยูใ่ นกระแสของสมทุ ยั
• ให้ระงบั สงั โยชน์ทล่ี ะเอยี ดสงิ อยูใ่ นดวงจิตนัน้ ฯ
• บรจิ าคทาน โลภนนั้ คอื ปรารถนา เมอ่ื ไดแ้ ลว้ ปรารถนาอยากไดม้ าก พระเวสสนั ดรทา่ นไมเ่ ปน็
เชน่ นนั้ พระองคท์ า่ นปรารถนาโพธญิ าณ เป็นปรมัตถบารมี
• มรรค ๘ ใครภาวนาเจรญิ ดแี ล้ว แกโ้ ลกธรรม ๘ ประการ ฉะน้ัน จติ ทา่ นอรหันตไ์ มห่ วั่นไหว
ดว้ ยโลกธรรม ๘ ประการ มีไตรลักษณ์บงั คับ แม้โลกีย์ทัง้ หลาย มไี ตรลักษณ์บังคับอยเู่ สมอ
ไตรลักษณบ์ ังคบั ไมไ่ ดน้ น้ั มโี ลกตุ ระเท่าน้นั โลกุตระอันนอี้ ย่เู หนือไตรลกั ษณ์ สถานท่ีเกษม
บุคคลท่ีจะพ้นโลกโลกีย์ไปถึงโลกุตระ ต้องสร้างพระบารมีเป็นการใหญ่ บุคคล ๓ จ�ำพวก
คอื พระพทุ ธเจ้า ๑ พระปัจเจก ๑ พระอรหันต์ ๑ พระพทุ ธเจา้ สรา้ งบารมี ๓ ชนิด ปัญญา
บารมี ๔ อสงไขย แสนก�ำไรมหากัป ศรทั ธาบารมี ๘ อสงไขย แสนก�ำไรมหากัป วิรยิ บารมี
๑๖ อสงไขย แสนกำ� ไรมหากปั พระปจั เจกสรา้ งบารมี ๒ อสงไขย แสนก�ำไรมหากัป พระ
อรหนั ตส์ รา้ งบารมี ๑ อสงไขย แสนกำ� ไรมหากปั ดงั นี้ สรา้ งพระบารมมี ใิ ชน่ อ้ ย กวา่ จะสำ� เรจ็
พระนพิ พานได้ดงั นี้ ช�ำนาญมากทีส่ ุด ๑ อสงไขย เหลอื ที่จะนับนนั้ ประการหนึ่ง เอาสวรรค์
เอานรกเปน็ เรอื นอยสู่ รา้ งพระบารมพี ระนพิ พานเปน็ ของแพงทสี่ ดุ ตอ้ งสรา้ งบารมแี ลกเปลยี่ น
เอาจึงจะได้พระนพิ พาน
ท่านพระอาจารย์มนั่ ภูริทัตตเถระ 271
• ชวี ิตและนพิ พาน ธาตุขันธ์มจี ติ สิงอย่เู รียกวา่ ชวี ติ เมือ่ พจิ ารณาวางตามสภาพได้แลว้ จติ หด
หาจิตเดิมเข้ารู้เห็นในปัจจุบัน เจริญมหาสติรอบในสติ มหาปัญญารอบในปัญญา แล้วเห็น
ปกติฯ
• อคคฺ ํ มนุสเฺ สสุ (มาจากประโยคเตม็ ซ่งึ ปรากฏในหนังสือ มุตโตทัย ว่า อคคฺ ํ านํ มนุสเฺ สสุ
มคฺคํ สตฺตวสิ ทุ ธยิ า) มนุษยเ์ ลิศ มนษุ ย์นำ�้ ใจสงู มีทุกข์ มีสมทุ ัย มีมรรค มีนโิ รธ ครบทกุ อย่าง
จงึ สำ� เรจ็ นพิ พานได้ พระอนิ ทร์ พระพรหม เปน็ ตน้ บวชเปน็ พระเปน็ เณรไมไ่ ดเ้ หมอื นมนษุ ย์
มนษุ ยเ์ ปน็ ธาตพุ อ ดจุ แมค่ รวั แกงชา่ งเอรด็ อรอ่ ย มนั พอพรกิ พอเกลอื จงึ ใหส้ ำ� เรจ็ มรรคผลได้
ไม่ขัดข้องด้วยประการใด ๆ ฉะน้นั มนุษย์ไมค่ วรน้อยเนือ้ ต่�ำใจ ปฏิบตั ใิ ห้ไดส้ วรรค์ นิพพาน
ไดธ้ าตุพอเป็นชนดิ ทีส่ ูงสุด
• นพิ พาน นน้ั คือจิตหดโดยเหน็ ธาตุ รแู้ จ้งธาตุ จิตฺตตี ภิ ูตํ รูอ้ ยู่นน้ั เป็นตัวนพิ พานฯ
• วิชชา ๓ ของพระพุทธเจ้าลึกลับสุขุมมาก ในยามที่ ๑ พระองค์ท�ำความรู้เท่าอย่างนั้น
ยามที่ ๒ พระองค์ท�ำความรู้เท่าน้ัน ยามท่ี ๓ พระองค์ท�ำความรู้เท่าคือแก้อวิชชาและ
ปฏจิ จสมปุ บาทในของจติ ในชอ่ งแคบมารแยง่ ไม่ได้ มีความรอู้ ันพิเศษขนึ้ มาวา่ พระองคเ์ ป็น
สยมภู ความที่ท่านแก้อวิชชาเป็นของขั้นละเอียดย่ิงนัก บุคคลจะรู้เห็นตามน้ันน้อยท่ีสุด
สุดอ�ำนาจของจิต เม่ือก�ำหนดรู้ลงไปเป็นของว่างหมด ไม่ใช่ตัวตนสัตว์บุคคลเราเขา ไม่ใช่
ผหู้ ญงิ ผชู้ าย ธาตุสญุ ฺโ เป็นธาตุสูญ แลว้ ก�ำหนดจิต รู้จิต ต้ังอยู่ใน ฐีตธิ รรม
• ธาตกุ บั จติ ตดิ กนั จงึ วนเวยี นแก่ เจบ็ ตาย อยทู่ กุ ชาตหิ าทสี่ น้ิ สดุ มไิ ด้ ธาตเุ ปน็ ของทมี่ อี ยเู่ ชน่ นนั้
ตั้งแตด่ ง้ั เดมิ มา และแปรปรวนอยู่เช่นนนั้ จิตของคนไมไ่ ปยดึ ไปถอื ก็เป็นจิตสิน้ ทกุ ขไ์ ด้ฯ
• อายตนะภายในนอกแปรปรวนอย่าเป็นนิจ สว่างโร่ทั้งภายนอกและภายในไม่ขาดระยะ
ของ ทกุ ฺขํ อนจิ ฺจํ อนตตฺ า ฟังเทศน์ธรรมชาตแิ สดงเรอ่ื ย ๆ พระโยคาวจรฟงั เทศน์ในตอนน้ี
ฉลาดในตอนนี้ ส้ินกิเลสในตอนนี้ เป็น ปจฺจตฺตํ ความเพียร มรรคผล ถือสมถะพอ
วิปัสสนาพอ มนั ผลักกเิ ลสมันเอง
• บรรพชิตจะต้องปฏิบัติตรงตอ่ พระนพิ พาน
• พทุ ธองคเ์ กดิ ในปา่ ลุมพินวี ัน ปลงสังขารในป่า ให้โอวาทปาฏิโมกข์ในปา่ ตรัสรู้ในป่าเปล่ยี ว
นิพพานในป่าเปลี่ยว วิจัยธรรมในป่า ชนะมารในป่า ธรรมท้ังหลายล้วนแต่เกิดในป่า เป็น
ธรรมราคาสูง ธรรมโลกตุ ระเหนือโลกีย์
• จิตตั้งจิตมิได้ ตัง้ จติ ตั้งธาตุ จึงแสดงรเู้ ห็นดว้ ยกนั ได้ เพราะจติ มันเป็นนามธรรม
• อย่าถอนท�ำความเพียร มันจะเคยตัว ให้ท�ำจนชิน ให้ได้เน้ือหรือคุ้นเคยจึงจะเห็นมรรค
เห็นผล
• ปญั จวคั คีย์นน้ั ทางปรมัตถ์วา่ หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒ เปน็ ห้า ภกิ ษุ แปลว่า คนตอ่ ยกิเลส
ปัญจวคั คียก์ เ็ ปน็ ภิกษุเหมอื นกะเราฯ
272 ชีวประวัติ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
• วาจาของท่านเป็นธรรมชาติท่ีบริสุทธิ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีลาภ ยศ อามิสเจือวาจา
ของทา่ น เทศน์จงึ ขลังดี พดู ถูกธรรม ตรงไปตรงมา ไมเ่ ห็นแกห่ น้าบุคคลและอามิส
• ท่านไม่ให้ศีลแก่โยมท่ีรู้ศีล อ้างว่าแม้พระภิกษุท่ีบวชน้ันก็ไม่ให้ศีล ๒๒๗ เลย ให้แต่เพียง
ศีล ๑๐ ช้ันสามเณรเท่าน้ัน ต่อนั้นประกาศสงฆ์ตั้งสมมติให้กันเอง แล้วก็พากันรักษา
พระปาฏโิ มกขน์ ฉ้ี นั ใด เพียงศลี ๕ ใหเ้ จตนารักษาแต่เฉพาะตนเองเทา่ น้นั กเ็ ปน็ พอ
• จิตน้นั เมา สุราไม่ไดเ้ มา สุราไมต่ ิดคน คนติดสุราต่างหาก เม่ือคนด่ืมไปแลว้ ท�ำใหเ้ ปน็ บ้าไป
ตา่ ง ๆฯ
• เรื่องของโลกย่อมมกี ารยงุ่ อยู่เรื่อย ๆ มาตงั้ แตไ่ หน ๆ
• วิธีละกิเลสฝังแน่นอยู่ในสันดานน้ัน ตีลิ่มใหม่ใส่ลงไปล่ิมเก่ากระดอนออกน้ีฉันใด มรรค
เข้าไปฟอกกิเลสเกา่ ออกมาแลว้ จึงเหน็ ความบริสุทธิ์
• จิตเสวยเวทนาอย่างละเอียดน้ัน ให้ละลายเวทนาเข้าไปอีก เอามรรคเข้าไปฟอกแล้วท�ำ
ความรตู้ ั้งอยแู่ ทนเวทนา จึงจะเห็นตน เห็นธรรม เหน็ ความบริสุทธ์ฯิ
• สมณพราหมณ์มีการเพ่งอยู่เป็นนิจ มันไม่รู้ไม่ฉลาดแล้ว จะไปอยู่ ณ ท่ีไหนอาพาธก็หาย
บุญก็ได้ด้วย พระองคต์ รัสใหพ้ ระสารีบตุ รทำ� เช่นนน้ั แทท้ ่จี ริงพระสารีบตุ รก็ทำ� ชำ� นาญแล้ว
แลว้ ทำ� อีกอาพาธก็หายฯ
• ใหพ้ ิจารณาธาตุ เม่อื เหน็ ธาตแุ ปรปรวนอยู่เปน็ นิจ เรยี กวา่ สัมมาทฐิ ิ เห็นชอบ
• ภุมเทวดา อยากด้ือ ทดลองเสมอทีเดียว ไม่อยทู่ ี่เข็ดขวางต้องระวงั ต้องตรวจจติ เสมอฯ
• มนุษย์เป็นสัตว์เลิศ เป็นท่ีตั้งพระพุทธศาสนา ทวีปท้ัง ๓ ก็เป็นมนุษย์ เช่น อุดร กุรุทวีป
แต่ไม่สมบูรณ์ พระองค์ไม่โปรดตั้งศาสนา เทวดาก็เหมือนกัน มนุษย์ที่มาเกิดในชมพูทวีป
เปน็ มนุษย์วิเศษ รับรชั ทายาทฯ
• อารมณ์ภายนอกและภายในเป็นของท่ีตั้งอยู่เป็นธรรมดา แต่จิตเป็นของท่ีรับรู้ ฉะน้ัน ต้อง
ทรมานทางจิตให้มาก ๆ แก้อวิชชา แก้อาสวะ แก้ทุกข์ แก้สมุทัย นิโรธ เกิดญาณต้ังอยู่
เปน็ อมตธรรมทไ่ี ม่ตายฯ
• แกโ้ ทษคอื แกอ้ าบตั ิ ใหแ้ กป้ จั จบุ นั จติ อยา่ สง่ จติ อดตี อนาคต แลว้ บอกจติ วา่ ไมม่ โี ทษ เมอ่ื ทา่ น
ไปจ�ำพรรษาอยเู่ ทอื กเขาใหญ่ ท่านเกิดอาบัตจิ นฉนั อาหารเข้าไปก็เปน็ อันน้นั ออกมา เพราะ
จติ วบิ ตั แิ ลว้ ธาตกุ ว็ บิ ตั ดิ ว้ ย ตอ่ นน้ั แกจ้ ติ ไดแ้ ลว้ อาพาธ ๓ วนั หายเปน็ ปกตดิ ี การอาบตั ิ เชน่
อาบตั ิอกุ ฤษฏ์ อย่าพงึ ล่วงงา่ ย ๆ เพราะมันเคยตวั ฯ
• อจนิ ไตย เกิดความรู้ ความฉลาด น้ันหาประมาณมไิ ดฯ้
• ปฏบิ ตั ผิ ดิ นนั้ ลบสงั ขารดว้ ยไตรลกั ษณไ์ มไ่ ด้ ประพฤตไิ ปตามสงั ขาร ปฏบิ ตั ถิ กู นน้ั คอื ลบสงั ขาร
ด้วยไตรลักษณไ์ ด้
• พวกสทุ ธาวาสทงั้ หลาย คอื เจรญิ ฌานและวิปสั สนาต่อไป จึงส�ำเรจ็ ไดใ้ นทีน่ ้นั
• ผทู้ ี่รธู้ รรมแล้วเป็นผวู้ เิ ศษ อานิสงส์หาประมาณมิได้
ทา่ นพระอาจารยม์ ั่น ภรู ทิ ัตตเถระ 273
• สกนธ์กายอนั เดยี วนแ้ี หละเป็นตวั ธรรม
• ละกิเลสด้วยสติ สตฟิ อกอาสวะกเิ ลสเอง
• ธรรมเป็นฐีติธรรม ต้ังเท่ียงอยเู่ ชน่ นั้น แปรปรวนอยู่เช่นน้นั ใหร้ ู้ใหเ้ หน็ เฉพาะที่เกิดกับจติ
• คณาจารยบ์ างองค์แสดงอรยิ สัจจ์ มลี าภ ยศ เจอื อรยิ สัจจ์ เป็นสว่ นมาก
• จติ เปน็ ธรรมทบี่ ริสทุ ธ์ิ หมดจดทกุ อย่าง มนุษย์ เทวดา ไม่มีทคี่ รหาเลย
• บรรดานกั ปฏบิ ตั ใิ หเ้ ฉลยี วฉลาดรเู้ ทา่ ทนั โจร เมอื่ รเู้ ทา่ ทนั โจรแลว้ โจรยอ่ มไมม่ โี อกาสลกั สงิ่ ของ
ไปได้ แมฉ้ ันใด ปฏบิ ตั ใิ หม้ สี ติและปญั ญารกั ษาตน กิเลสมอิ าจเขา้ ถงึ ได้ฯ
• ที่แผ่นดินย่อมเป็นฝุ่นผีทั้งสิ้น ให้จิตพิจารณาตกลงถึงฐานฯ จิตจึงไม่กังวลฟุ้งซ่าน
กระสบั กระสา่ ยฯ
• มนุษยต์ ายจะเอาไปกินและเอาไปใชไ้ ม่ได้ ไมเ่ หมือนววั ควาย ววั ควายเอาเนอ้ื กินได้
• ในขณะทมี่ ชี วี ติ นนั้ ทำ� บญุ ดมี าก การทำ� ศพถงึ ผตู้ ายนนั้ ไมไ่ ดเ้ ปน็ สว่ นมาก แตท่ ำ� ตามประเพณี
เทา่ น้นั พระอรหันตน์ พิ พาน ภูเขาถำ้� ต่าง ๆ ใครท�ำศพให้ท่านเล่า ทา่ นทำ� ไมถึงนพิ พาน
• ใชไ้ หวพรบิ เปน็ อาชาไนยอยเู่ นอื งนิตย์ฯ
• ธรรมทั้งหลาย จิตประกอบกายยกข้ึนแสดง ปราศจากกายแล้ว จะยกนามธรรมข้ึนแสดง
ไม่ได้เลย
• เหตเุ กิดก่อน ปจั จัยเกดิ ทหี ลังฯ
• จติ เปน็ คนเรยี กสมมตุ เิ อง จติ เปน็ เหตทุ ก่ี ระสบั กระสา่ ย จติ ปกตดิ แี ลว้ กเ็ ปน็ อนั ไดร้ บั ความสขุ ฯ
• ท�ำจิตใหส้ วา่ งโพลง ก�ำหนดรู้ฐีตธิ รรม น้ันเรียกว่าปญั ญาโดยแท้
• ใหแ้ ก้อวิชชา แก้อนุสัยความไม่รู้ไมฉ่ ลาดนั้นใหก้ ลับกลายเปน็ คนฉลาดฯ
• พระโมคคลั ลาน์ สารีบตุ ร พระองค์เกดิ ในตระกลู มิจฉาทฐิ ิ ดุจดอกบัวย่อมเกดิ ในตมฉนั ใด
• ตอ้ งเจรญิ ทกุ ขใ์ หพ้ อเสยี กอ่ น ดบั ตอ้ งอยใู่ นทน่ี น้ั ดจุ ตลี มิ่ ลงไป ลมิ่ เกา่ ถอนลมิ่ ใหมเ่ ขา้ แทน คอื
กิเลสออก ความบริสุทธเ์ ข้าแทน ดจุ ของดอี ยูใ่ นของช่วั คอื อวิชชาออกวชิ ชาเข้าแทนฯ
• เดินมรรคใหเ้ ห็นทุกข์ ใหเ้ ดินมรรคเห็นสมุทัย ให้ยิง่ ในมรรค ให้ยง่ิ ในนโิ รธจึงจะพ้นทกุ ข์ฯ
• โลกยี สจั จะคอื โพธสิ ตั ว์เห็นเทวทูต โลกตุ รสจั จะคือโพธสิ ตั ว์ตรสั รฯู้
• ขอ้ เปรยี บเทยี บชนั้ นพิ พาน คอื นบั ๑ ไปถงึ ๐ ๐ (สญู ) โลกเขาแปลวา่ ไมม่ ี แตส่ ญู มอี ยนู่ ฉ้ี นั ใด
นิพพานเปน็ ของท่มี อี ย่ฯู
• ความรู้ความฉลาดมอี ยูใ่ นสถานที่ไม่รฯู้
• ธรรมทั้งหลายมาจากเหตุ คือจิตออกจากจิตเรยี กเจตสกิ นอกน้ันเปน็ อาการทั้งหมด ดุจสนั
หรอื คมของดาบมาจากเหลก็ ฉะนนั้ ฯ
• มีแต่จิต รูปไมม่ ี แสดงไมไ่ ด้ ต้องอาศยั กันไปจึงแสดงได้ฯ
• พระอรหันต์ท้ังหลาย จิตไม่มี มีแต่สติ เพราะจิตสังขารมันเป็นตัวสังขาร สังขารไม่มีในจิต
ของพระอรหนั ต์
274 ชีวประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
• เอกมลู า เหตุผลมาจากความทเ่ี ป็นหน่ึงของจิต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (เหตุปจจฺ โย) ประกอบกัน
จึงตัง้ เปน็ บทบาทคาถาฯ
• มนี ัยหลายนัย ถงึ แปดหม่ืนสี่พันประการฯ
• มนษุ ยว์ นเวียนเกดิ แล้วตาย ตายแลว้ เกดิ ตดิ ของเก่า กามาวจรสวรรค์ ๑ สัตว์เดรจั ฉาน ๑
มนษุ ย์ ๑ ท่านพวกนต้ี ดิ ของเก่า พระไตรปิฎก มีกนิ ๑ มนี อน ๑ สืบพนั ธุ์ ๑ แมป้ ู่ยา่ ตายาย
ของเราล้วนแต่ติดของเก่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกก็ดี พระอรหันต์ก็ดี เมื่อท่าน
ยงั ไมต่ รัสร้กู ็ตดิ ของเก่า เพลิดเพลินของเกา่ ในรปู เสียง กลิน่ รสของเกา่ ท้ังน้ี ไม่มฝี ่งั ใน
มีแดน ไม่มีต้นไมม่ ีปลาย ยอ่ มปรากฏอย่เู ชน่ นั้น ต่นื เตน้ กับของเก่า ตดิ รสชาตขิ องเก่า ใช้
มรรค ๘ ให้ถอนของเก่า ให้อิทธิบาท ๔ ตีลิ่มสะเทือนใหญ่ปัง ๆ ลิ่มเก่าถอนคืออวิชชา
ลิ่มใหม่คือวิชชาเข้าแทน ดังนี้ ท่านพระอาจารย์ม่ันท่านพูด ใช้ตบะความเพียรอย่างย่ิง
ที่จะถอนได้ต้องสร้างพระบารมีนมนานจึงจะถอนได้ เพราะของเก่ามันบัดกรีกัน ได้เนื้อ
เชอื้ สายของกิเลสมาพอแลว้ ย่อมเปน็ อศั จรรยข์ องโลกนั้นทเี ดียว
• แก้บ้านั้น ให้ทวนกระแสเข้าจิตเดิม แก้ได้ เสือมาเฝ้าเราที่เป็นพระโยคาวจรเจ้า เป็นเทพ
โดยมาก ถา้ เป็นเสือ มันเอาไปกนิ แลว้
• ธรรมแสดงอยเู่ ร่ือย ๆ เวน้ แตน่ อนหลบั โดยมไิ ด้กำ� หนด จะไม่รูไ้ มเ่ ห็นขณะนัน้
• สง่ จติ ออกนอกกาย ท�ำให้เผลอสตฯิ
• มคั โคหนทางด�ำเนนิ มีทีส่ ดุ สว่ นหนทางเดินเทา้ ไมม่ ที ส่ี นิ้ สุดฯ
• นำ�้ ใจของสัตวย์ ่งุ ดว้ ยธาตุ ระคนอย่ดู ว้ ยธาตุ ธาตุไม่มีที่ส้นิ สุด แม้จิตกไ็ ม่มสี น้ิ สุดฯ
• จิตรบั ธุระหมดทกุ อย่าง จิตเปน็ แดนเกิด ร้เู ท่าอาการของจิตไดแ้ ล้ว รูป้ กตขิ องธาตุฯ
• เอโก มคโฺ ค หนทางอันเอก วิสทุ ธฺ ยิ า เปน็ หนทางอนั บรสิ ทุ ธ์ิ มีทางเดยี วเท่านี้ มโน ปพุ พฺ ํ
จิตเป็นบุพภาคที่จะได้เป็นใหญ่ จิตถึงก่อนส�ำเร็จด้วยจิตฯ (มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฏฺา มโนมยา)
• จติ เป็นเคร่อื งบังคบั กายกับวาจาใหพ้ ูดและใหท้ �ำการงานฯ
• จิตทีไ่ มต่ ดิ พวั พันในอารมณท์ งั้ ปวง เรยี กวา่ บริสุทธิ์
• มแี ป้น (ไม้กระดาน) แลว้ ก็มบี า้ น มบี า้ นแล้วก็มีแป้น พูดอยา่ งน้จี งึ แจ่มแจ้งดี
• พระองค์แสดงอนุปุพพิกถาไปโดยล�ำดับ ยกทานข้ึนก่อนดุจบันไดขั้นต้น แม้ฉันใดโลกุตระ
โลกีย์ก็ดี ก็ต้องเจริญต้นขึ้นไปก่อน ไม่เจริญขั้นต้นไปก่อนเป็นผิด จะกระโดดขึ้นสูงทีเดียว
ไมไ่ ด้ตายกัน
• ธรรมเปน็ ของธรรมดาตง้ั อยูอ่ ย่างนัน้ คอื ต้ังอยู่ดว้ ยความแก่ ความเจ็บ ความตาย จึงได้ชื่อวา่
ธรรมของจริง ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมา ไม่มีขึ้น ไม่มีลง เป็นสภาพที่ตั้งไว้ ดุจกล่าวไว้
ขา้ งตน้ ฯ
ท่านพระอาจารยม์ ่นั ภรู ทิ ตั ตเถระ 275
• ไม่อ้างสวรรค์ นิพพาน ไม่อ้างทุคติ อ้างความเป็นไปทางปัจจุบันอย่างเดียว เพราะช่ัวดี
ก็ปจั จุบันท่ยี ังเปน็ ชาตมิ นุษย์
• เอาธรรมช้นิ เดยี วนเ้ี อง คือกายนเี้ องไปแก่ กายช้นิ เดียวน้ีเองไปตาย เมอ่ื ตายแล้วกไ็ ปเกดิ อีก
ล้วนแตต่ ่ืนเต้นอยู่ดว้ ยธาตอุ นั นี้เอง หาทจ่ี ะจบไมไ่ ด้ และส้ินสดุ มิไดฯ้
• เรื่องของโลกธาตุนั้น กระทบกระเทอื นถงึ กนั หมด กำ� หนดรู้เฉพาะจิต กร็ สู้ น้ิ ทางอน่ื หมด
• พระธรรมแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน อกาลิโก ก�ำหนดกาลเวลามิได้ แสดงท้ังภายนอก
และภายใน
• ให้ก�ำหนดจิตให้กลา้ แขง็ เรียนมรรคให้แข็งแรง จึงจะเหน็ ทางสน้ิ ทุกข์ไปได้
• ใหป้ ลอ่ ยจติ อยา่ กดจติ เหตผุ ลเคลอ่ื นคลน่ื อยใู่ น ใหพ้ จิ ารณาความรกั ความชงั พจิ ารณานสิ ยั
ของตน จิตดอ้ื บริษทั มาก พึ่งนสิ ัยเดิมมิได้ ตะครบุ จติ จึงมกี �ำลงั ฯ
• คนในโลก หลงของเก่า คือหลงธาตุนน้ั เองแหละ ชังแลว้ มารัก รกั แล้วมาชัง หาที่สน้ิ สุดมไิ ด้
พระองค์ไมห่ ลง
• ธาตมุ นุษย์เปน็ ธาตตุ ายตวั ไมเ่ ปน็ อน่ื เหมอื นนาค เทวดาท้ังหลาย ทีเ่ ปลย่ี นเปน็ อืน่ ได้ มนษุ ย์
มนี ิสยั ภาวนาใหส้ ำ� เรจ็ ง่ายกว่าภพอนื่ อคฺคํ านํ มนุสฺเสสุ มคคฺ ํ สตฺตวสิ ทุ ฺธยิ า มนษุ ยม์ ี
ปญั ญาเฉยี บแหลมคม คอยประดษิ ฐ์ กศุ ล อกศุ ล สำ� เรจ็ อกศุ ล...มหาอเวจเี ปน็ ทสี่ ดุ ฝา่ ยกศุ ล
มพี ระนิพพานใหส้ ำ� เรจ็ ได้ ภพอ่ืนไมเ่ ลศิ เหมอื นมนุษย์ เพราะมีธาตุทบ่ี กพร่อง ไมเ่ ฉยี บขาด
เหมือนชาติมนุษย์ ไม่มีปัญญากว้างขวางพิสดารเหมือนมนุษย์ มนุษย์ธาตุพอหยุดทุกอย่าง
สวรรคไ์ มพ่ อ อบายภมู ธิ าตไุ มพ่ อ มนษุ ยม์ ที กุ ข์ สมทุ ยั ...ฝา่ ยชว่ั ฝา่ ยด.ี ..กศุ ลมรรคแปด นโิ รธ
รวมเป็น ๔ อยา่ ง มนุษย์จงึ ท�ำอะไรสำ� เรจ็ ดงั น้ี ไมอ่ าภพั เหมือนภพอื่น
• สติปัฏฐานเป็นความรู้อนันตนัย หาประมาณมิได้ ไม่เหมือนความรู้ชนิดอ่ืน สนฺทิฏฺโิ ก
เห็นดว้ ยเฉพาะนกั ปฏิบตั ิ ปจจฺ ตฺตํ รเู้ ฉพาะในดวงจติ ร้ธู รรมลึกลบั สุขมุ คัมภีรภาพ
276 ชวี ประวัติ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
พระอาจารย์มัน่ ภรู ทิ ตตฺ เถร
ไม้ซกงก หกพันงา่
กะปอมกา่ แล่นข้ึน มือ้ ละฮอ้ ย
กะปอมน้อยแลน่ ข้นึ มอ้ื ละพนั
ตวั ใด๋มาบท่ นั แล่นขนึ้ น�ำคมู่ ้อื ๆ
เหลือแตเ่ ว้า บ่เห็นบ่อนเบาหนัก
เดนิ บ่ไปตามทาง สถิ ืกดงเสือฮ้าย
หวายซาววาหย่งั ลง บเ่ หน็ ส้น
ลกึ บต่ ้ืนค�ำข้าว หย่อนลงกะเถงิ
ต้นด ี ปลายกด็ ี
ครน้ั ผดิ มาแตต่ ้น ปลายกไ็ มด่ ี
กลว้ ย ๔ หวี
จัวนอ้ ย น่ังเฝา้
พระเจา้ นง่ั ฉนั
แกใ้ ห้ตกเน้อ แกบ้ ต่ กคาพกเจา้ ไว ้ แกบ้ ไ่ ด้แขวนคอต่องแต่ง
แก้บพ่ ันคากน้ ยา่ งยาย คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด
เวยี นเอากำ� เนดิ ในภพทง้ั สาม ภพทงั้ สามเปน็ เฮือนเจ้าอยู่
หินลา้ นน้ันหนกั หนว่ งเสมอจติ เอาสโนมาตดิ คือ สซิ งั ซากนั ได้
บดั เอาตาซา้ ยเน็ง (เบง่ิ ) คือสิหนักไปทางสโน
ฝนตกบ่ชอบ เมอ่ื นกั ปราชญเ์ บอ่ื ครองธรรม
เพราะนักบวชละสกิ ขาวนิ ยั
คนบย่ ำ� นักบวช ดนี ั้นชือ่ วา่ เลิศ
เมื่อหนา้ หากชมิ ีแลฯ ไมป่ ระเสรฐิ เทา่ ได้ตน
ดใี ดไมม่ โี ทษ เปน็ บ่อเกดิ แห่งสมบัติทัง้ ปวง
ได้สมบัติทงั้ ปวง
เพราะตัวตน
ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภรู ิทัตตเถระ 277
ประวตั ิ
อัฐิทา่ นพระอาจารย์มน่ั กลายเปน็ พระธาตุ
อัฐิท่านพระอาจารย์ม่ัน ซึ่งท่านได้มรณภาพและท�ำฌาปนกิจศพ ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัด
สกลนคร พระอาจารยส์ งิ ห์ เจา้ อาวาสวดั ปา่ สาลวนั ซงึ่ เปน็ ศษิ ยท์ า่ นพระอาจารยม์ น่ั และพระอาจารย์
สิงห์ ผู้นี้ได้เป็นหัวหน้าคณะบรรดาพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาในภาคอีสาน มีจังหวัด
นครราชสีมา เปน็ ต้น ได้ไปรว่ มในงานฌาปนกจิ ศพ พ.ศ. ๒๔๙๓ และไดร้ ับส่วนแบ่งอฐั ิและเถ้าถ่าน
เพลงิ มาแจกใหต้ ามหวั หนา้ วดั ตา่ งๆ เหลอื นน้ั กไ็ ดแ้ จกใหแ้ กอ่ บุ าสกอบุ าสกิ า นายวนั และนางทองสกุ
คมนามูล เจ้าของร้านสิริผล ประตูชุมพล นครราชสีมา และเจ้าของโรงแรมสุทธิผล หลังสถานี
นครราชสีมา ก็ได้รับส่วนแจกจากพระอาจารย์สิงห์ด้วย เม่ือได้รับแจกแล้ว ก็ได้หาโกศมาสองโกศ
และได้นําอัฐิท่านพระอาจารย์ม่ันใส่ลงน้ัน แล้วนําไปเก็บไว้บูชาสองแห่ง คือ ท่ีร้านสิริผลแห่งหน่ึง
โรงแรมสุทธิผลแห่งหนึ่ง และได้รับส่วนแบ่งจากพระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์กงมา มาเพ่ิมอีก
ต่อจากนนั้ กไ็ ม่ไดเ้ ปิดดู
นายวัน คมนามูล ชาวจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นศิษย์ฝ่ายฆราวาสของท่านพระอาจารย์ม่ัน
ภูริทตฺตเถร ได้นําผงอัฐิท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร บรรจุไว้บูชาที่บ้าน ต่อมาได้แปรสภาพ
กลายเปน็ พระธาตทุ ่านอาจารยพ์ ระมหาบวั ไดพ้ ิจารณาและนมัสการ
จนถึงเมือ่ นายวัน และนางทองสุก คมนามูล ได้เดินทางไปจงั หวดั สกลนคร ได้รบั อฐั สิ ่วนศรี ษะ
๑ ชิน้ ของท่านพระอาจารย์มั่น จากท่านมหาทองสุก วดั ป่าสทุ ธาวาส จังหวัดสกลนครมา จึงไดเ้ ปดิ
โกศเพื่อบรรจุในทอ่ี นั เดยี วกัน เมื่อวันท่ี ๑๐ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๙๖ ตรงกบั ข้นึ ๔ ค�ำ่ เดือน ๑๒
ขณะนนั้ อัฐขิ องท่านพระอาจารยม์ ั่นซงึ่ มอี ยูเ่ ดมิ ไดห้ ายไป เหลอื อยเู่ พยี งเถ้าและถ่านไฟ และกระจก
เทา่ นน้ั สว่ นอฐั ไิ ดห้ ายไป (กลายไปเปน็ ธาตุ เหมอื นธาตสุ าวก) และมวี ตั ถเุ หมอื นกบั ธาตสุ าวกทง้ั หลาย
มาแทนที่ในโกศน้ัน เป็นจ�ำนวน ๒๒ องค์ เจา้ ของนกึ สงสัย จึงได้สอบถามลูกหลานท่ีรว่ มกนั ใครได้
เอาธาตมุ าใสเ่ พมิ่ เตมิ หรอื ไม่ กไ็ ดร้ บั คำ� ปฏเิ สธวา่ ไมม่ ใี ครไปแตะตอ้ งเลย จงึ เกดิ ความสงสยั ไปเปดิ โกศ
ที่อยู่โรงแรมสุทธิผลดูจะเป็นเช่นเดียวกันหรือไม่ เม่ือเปิดดูก็เห็นเป็นธาตุเช่นเดียวกับที่มีอยู่ในร้าน
ศริ ผิ ล สว่ นกระดกู นนั้ หายไปคงเหลอื แตเ่ ถา้ ถา่ นไฟเชน่ เดยี วกนั อกี จงึ ไดเ้ ทออกนบั ดู ปรากฏวา่ มธี าตุ
จ�ำนวน ๓๑๕ องค์ รวมท้ังสองแห่งเป็น ๓๓๗ องค์ เรื่องนี้เป็นเร่ืองจริงในสมัยปัจจุบันซึ่งใคร ๆ
ไม่นึกเลยวา่ จะเปน็ ไปได ้
ดังน้ัน จงึ ได้พิมพป์ ระกาศไว้ เพ่ือทา่ นผสู้ นใจจะได้พสิ จู น์ดู ตามหลักฐานทีไ่ ด้อ้างไว้ข้างบนนน้ั .
เขียนโดย พระมหาบวั ญาณสมปฺ นฺโน ได้เขยี นเล่าไวใ้ นหนังสอื ประวัตทิ ่านพระอาจารย์มนั่ ภรู ทิ ตตฺ เถร เกี่ยวกับ
อฐั ทิ า่ นพระอาจารย์ม่นั กลายเป็นพระธาตุ (ศรีดา พมิ พ-์ ทาน)
278 ชวี ประวัติ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
ท่านอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมปฺ นฺโน ไดเ้ ขยี นเลา่ ไว้ในหนังสอื ประวัติทา่ นพระอาจารย์มน่ั
ภรู ทิ ตตฺ เถร เกี่ยวกบั อัฐิท่านพระอาจารย์ม่นั กลายเป็นพระธาตุ ดังน้ี
...ท่านพระอาจารย์ม่ันจึงเป็นพระอาจารย์สําคัญองค์หน่ึง ทั้งท่ียังมีชีวิตอยู่และล่วงลับผ่าน
ไปแล้ว เวลายังมีชีวิตอยู่ก็เป็นจุดยับยั้งผ่อนคลายความตึงเครียดแห่งจิตใจบรรดาศิษย์ทั้งพระและ
ฆราวาสเป็นอย่างดีตลอดมา เราพอทราบได้ตามที่มีผู้มาเล่าให้ฟัง ขณะจิตคิดจะทําความช่ัวบ้าง
ขณะจติ กาํ ลังลุกเป็นไฟเนอื่ งจากเหตกุ ารณ์บางอย่างบงั คับบา้ ง ขณะเกิดความเคียดแคน้ อยา่ งสุดขีด
จะตัดสินใจฆ่าคนอยู่ในนาทีนั้นบ้าง พอระลึกถึงท่านพระอาจารย์ม่ันขึ้นมาได้เท่านั้น เหตุการณ์ท่ี
เป็นอยู่ภายในเหล่าน้ัน ราวกับน�้ำดับไฟ สงบลงทันทีทันใด และเห็นโทษแห่งความผิดของตัวขึ้น
ในขณะนน้ั อยากกม้ ลงกราบองคท์ า่ นทนั ทที ร่ี ะลกึ ได้ สง่ิ ทค่ี ดิ วา่ จะทาํ นนั้ เลยหายราวกะปลดิ ทงิ้ นเ่ี ปน็
ฝา่ ยฆราวาสเลา่ ใหฟ้ งั แมท้ ม่ี ไิ ดเ้ ลา่ กเ็ ขา้ ใจวา่ ยงั มอี ยมู่ าก และสามารถแกค้ วามผดิ ของตวั ไดใ้ นลกั ษณะ
เดียวกัน ด้วยอํานาจความระลึกถึงท่านด้วยความเคารพเลื่อมใส ส่วนพระท่ีได้รับความยับย้ังใจ
ไปตามเพศของตน เพราะอาํ นาจความเชอ่ื ความเลอ่ื มใสในทา่ น กเ็ ขา้ ใจวา่ มจี าํ นวนไมน่ อ้ ยเชน่ เดยี วกนั
เท่าที่ท่านอบรมคนให้เป็นคนดีน้ันนับจํานวนไม่ถ้วน เร่ิมแต่วันท่านอุปสมบทและส่ังสอนมาจนถึง
วนั มรณภาพ ถา้ นบั เวลาสงั่ สอนผคู้ นพระเณรกไ็ ม่ต�่ำกว่า ๔๐ ปี ในระหว่าง ๑ ปี ถึง ๔๐ ปนี ัน้ มี
พระเณร และฆราวาสมารบั การอบรมกบั ทา่ นมากเพยี งไร เฉพาะพระทม่ี หี ลกั ฐานมน่ั คงทางดา้ นจติ ใจ
และข้อปฏิบัติมีจํานวนมากมาย ท่านอาจารย์เหล่าน้ีจะเป็นครู อาจารย์ส่ังสอนผู้คนพระเณรให้มี
หลกั ยึดต่อไปในอนาคต ซึ่งสืบเน่อื งมาจากทา่ นพระอาจารย์ม่ันเปน็ ผู้ให้กาํ เนดิ ความร้ทู ั้งภายในและ
ภายนอกมาก่อน มิฉะน้ันก็หาทางเดินไม่ได้แม้ตัวเอง โดยไม่ต้องพูดถึงการสั่งสอนคนอื่นให้เป็นคน
ดไี ดเ้ ลย ดว้ ยเหตุน้ี การวางรากฐานจติ ใจให้ม่ันคงต่อเหตผุ ลอรรถธรรมความถูกตอ้ งดงี ามเป็นขนั้ ๆ
จึงเป็นงานช้ินใหญ่และหนักมากกว่างานชิ้นใด ๆ ในโลกที่พวกเราเคยทําและเคยบ่นกันว่ายาก ๆ
เพราะงานนั้นเป็นเพียงสิ่งคล้อยตามจิตใจของผู้พาดําเนินเท่าน้ัน หลักใหญ่ของงานทุกแขนงและ
ทุกช้ินอย่างแท้จริงขึ้นอยู่กับใจทั้งส้ิน นอกจากนั้นยังเก่ียวกับงานผิดถูกชั่วดีอีกว่าใครเป็นผู้บงการ
และพาดําเนินถ้าไม่ใช่ใจ ถ้าใจเป็นผู้ช้ีขาดและพาดําเนิน ใจได้รับการศึกษาอบรมพอทราบเรื่อง
ของตัวเก่ียวกับความผิดถูกชั่วดีอย่างไรบ้าง เพียงไร จึงจะประคองตัวและงานนั้น ๆ ไปด้วยความ
ราบรนื่ ชื่นใจตลอดความปลอดภัยอันเกิดจากผลงานท่ตี นทําทกุ อย่าง เมือ่ กลา่ วถงึ จิตใจ บรรดาท่าน
ที่เคยทราบความลึกซ้ึงหนาบางของท่านพระอาจารย์มั่นมาบ้างแล้ว จะต้องกราบท่านอย่างสนิทใจ
ระลึกไว้มิได้ลืม ท้ังเวลาท่านยังมีชีวิตอยู่และเวลาท่านจากไปแล้ว อดระลึกถึงความกตัญญูกตเวที
ในทา่ นมไิ ดอ้ ยา่ งแน่นอน แมช้ ีวติ จะขาดไปกย็ อมถวายไปเลย
ท่านพระอาจารยม์ ัน่ เปน็ อาจารย์เอกทางดา้ นพัฒนาจิตใจคน อาจพูดได้วา่ เกือบทวั่ ประเทศ
ซ่ึงเป็นการพัฒนาท่ีถูกจุดสําคัญของโลกด้วย เพราะใจที่ได้รับการพัฒนาด้วยอรรถด้วยธรรมด้วย
ดีความเสียหายไม่ค่อยมี หรืออาจพูดได้อย่างเต็มปากว่า จิตท่ีได้รับการพัฒนาเต็มที่แล้วแน่ใจว่า
ความเสยี หายไมม่ ี ท้งั งานและผลของงานกเ็ ปน็ ท่แี น่ใจ โลกทไี่ ด้รบั การพฒั นาจติ ใจไปพรอ้ ม ๆ กัน
ท่านพระอาจารยม์ ัน่ ภรู ิทัตตเถระ 279
ด้วยดยี อ่ มเปน็ โลกท่เี จริญจริง ประชาชนมีความสงบสขุ มใิ ช่เจรญิ แตด่ ้านวตั ถอุ ยา่ งเดียว แต่ใจรอ้ น
เหมือนไฟ มีแต่การเบียดเบียนทําลายกัน เอารัดเอาเปรียบกัน ฉ้อโกงกัน เร็วย่ิงกว่าเจ้าบอนนี่ขึ้น
โลกพระจนั ทร์ ซงึ่ ไมผ่ ดิ อะไรกบั ความเจรญิ แหง่ ไฟในแดนนรก ถา้ ยงั ไมท่ ราบวา่ แดนนรกมคี วามเจรญิ
ด้วยความรุ่มร้อนขนาดไหน ก็ควรดูโลกท่ีปราศจากการพัฒนาจิตใจซึ่งมีแต่ความรุงรังไปด้วย
สิ่งสกปรกท่ีระบายออกจากท่อไอเสียคือใจ ความประพฤติ การกระท�ำทุกด้านเป็นส่ิงขวางโลก
ขวางธรรม ขวางหู ขวางตา ขวางใจไปหมด ไม่มอี ะไรน่าดนู า่ ชมเลย เตม็ ไปด้วยสิง่ ไมพ่ งึ ปรารถนา
ฉะนนั้ ท่านผู้มีความฉลาดแหลมคมจึงนิยมการพฒั นาจิตใจกอ่ นพฒั นาสงิ่ อ่ืนใด ซ่ึงเป็นเพยี งบริวาร
ของใจเท่าน้ัน เม่ือพัฒนาใจดีแล้ว การระบายออกทางกายวาจา ความประพฤติ การกระทําตลอด
ทุกด้าน ย่อมกลายเป็นของสะอาดไปตามส่วนใหญ่คือใจ โลกย่อมมีความสงบสุขสมกับคนฉลาด
ดว้ ยจติ พัฒนาปกครองโลก ปกครองตน โดยทางเหตุผลอรรถธรรม
ความฉลาดของมนุษย์ท่ีปราศจากธรรม จะฉลาดเพียงไรยังไม่ควรเป็นที่ไว้ใจและชมเชยโดย
ถ่ายเดียวได้ แม้จะฉลาดแสดงความสามารถขึ้นชมดวงดาว พระอาทิตย์ พระจันทร์บนฟ้าได้ ก็ยัง
ไม่ถือเป็นจุดสําคัญ ความฉลาด ถ้ายังขึ้นระบายสิ่งท่ีเป็นพิษเป็นภัยออกเพื่อความเดือดร้อนแก่ตน
และผอู้ น่ื อยอู่ ยา่ งไมส่ าํ นกึ ตวั วา่ เปน็ ความผดิ ความรคู้ วามฉลาดนนั้ ยงั ไมอ่ าจเลยภมู ขิ องสตั วเ์ ดยี รจั ฉาน
ทเี่ คยเปน็ อยดู่ ว้ ยการเบยี ดเบยี นและกดั ฉกี กนั กนิ โดยถอื วา่ เปน็ ความฉลาด และเปน็ ความสขุ ของเขา
ซึง่ อยู่ในภูมนิ น้ั ๆ ความฉลาดทร่ี ับรองกนั ตามหลกั เหตุผลทยี่ ังตนและโลกใหเ้ จรญิ น้นั ไมจ่ ําเป็นตอ้ ง
ออกใบประกาศนยี บตั รใหโ้ ชว์กไ็ ด้ แต่การระบายออกทางใจและความประพฤติสิ่งกระทําอันเป็นไป
เพอื่ ตนและโลกไดร้ บั ความสขุ ความเยน็ ใจดว้ ยนนั้ ถอื วา่ เปน็ ผลงานทอ่ี อกจากความฉลาดอยา่ งแทจ้ รงิ
และเป็นประกาศนียบัตรอยู่ในตัวพร้อมแล้ว ไม่จําต้องหาใบประกาศมาบังหน้าและอวดโลกเพ่ือ
อํานาจในทางผดิ อย่างลกึ ลบั ซ่งึ ผลคือความเดือดร้อนของผไู้ ด้รบั มิไดเ้ ปน็ ของลบั ๆ ไปด้วย แตเ่ ป็น
ความทุกข์รอ้ นอยู่อยา่ งเปดิ เผย ดงั ทเ่ี หน็ ๆ กันอยอู่ ยา่ งเต็มตา รู้อยอู่ ย่างเต็มใจ นอกจากไมพ่ ดู กัน
เท่าน้ัน ท้ังน้ีหากมิใช่โทษของการมองข้ามการพัฒนาภายในคือใจแล้ว ใครจะเช่ือกันได้ลงคอว่า
การพัฒนาแต่ด้านวัตถุด้วยท้ังใจที่รกรุงรังด้วยสนิมคือกิเลส ความเห็นแก่ตัวและพวกพ้องของตัว
ทาํ ใหโ้ ลกเจรญิ ประชาชนอยเู่ ยน็ เปน็ สขุ โดยทวั่ กนั ดงั น้ี นอกจากคน ตายหมดความรสู้ กึ ดชี ว่ั ทกุ อยา่ ง
แล้วเท่านั้นจะไม่มีความขัดใจและคิดแย้งการกระทําดังท่ีว่า เมื่อนํามาเทียบระหว่างผู้มีการพัฒนา
ทางใจกบั ผูไ้ ม่ไดพ้ ัฒนาทางใจเลย การงานและผลของงานตา่ งกันราวฟ้ากับดิน ฉะน้นั พระพทุ ธเจา้
จึงไม่ทรงชมเชยสมาธิสมาบัติเพ่ือความเหาะเหินเดินอากาศ ดําดินดําน�้ำ เหาะข้ามทะเลต่าง ๆ ว่า
เป็นผู้ฉลาดเลือ่ งลือ แตท่ รงชมเชยผูพ้ ยายามฝึกอบรมตนโดยวิธตี ่าง ๆ เพือ่ ความดีงาม จะเปน็ ทาง
สมาธิสมาบัติหรือทางใดก็ตามด้วยความรอบคอบต่อการระบายออกทางความประพฤติการกระทํา
มิใหเ้ กดิ โทษแก่ตนและผู้อื่นวา่ เป็นผฉู้ ลาด เพราะความนา่ อยู่ของโลกทัว่ ไปย่อมขึน้ อยกู่ ับความสขุ ใจ
เปน็ หลกั ใหญ่ แมร้ ่างกายและความเป็นอยู่ในด้านต่าง ๆ จะมอี ดบ้างอ่มิ บ้างตามคตธิ รรมดาของโลก
อนิจจํ แต่ก็ยงั น่าอยู่ เพราะผูพ้ าอยพู่ าไปคอื ใจ มคี วามสุขเทา่ ที่ควร ไม่แผดเผาเร่าร้อนจนทาํ ใหค้ ดิ
อยากย้ายภพยา้ ยชาติ ยา้ ยบ้านเรอื นและสถานทีอ่ ยตู่ า่ ง ๆ
280 ชวี ประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
ปัญหาเร่ืองอัฐิท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์เสาร์ กลายเป็นพระธาตุ ปรากฏว่า
จะกระจายไปในท่ีต่าง ๆ จนทําให้เกิดความสงสัยกันก็มี ในระยะอัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุใหม่ ๆ
บางทา่ นมาถามวา่ อัฐขิ องพระอรหันตก์ ็ดี ของสามัญชนก็ดี ตา่ งกเ็ ป็นธาตุดินชนดิ เดยี วกัน ส่วนอัฐิ
ของสามัญชนทําไมจึงกลายเป็นพระธาตุไม่ได้ เฉพาะอัฐิของพระอรหันต์ทําไมจึงกลายเป็นพระธาตุ
ได้ ทง้ั สองนมี้ คี วามแปลกตา่ งกนั อยา่ งไรบา้ ง กไ็ ดอ้ ธบิ ายใหฟ้ งั เทา่ ทส่ี ามารถแตเ่ พยี งโดยยอ่ วา่ เรอ่ื งอฐั ิ
นนั้ ปญั หาสว่ นใหญข่ น้ึ อยกู่ บั ใจเปน็ สาํ คญั คาํ วา่ จติ แมเ้ ปน็ จติ เชน่ เดยี วกนั แตม่ อี าํ นาจและคณุ สมบตั ิ
ต่างกันอยู่มาก คือจิตของพระอรหันต์ท่านเป็นอริยจิต เป็นจิตท่ีบริสุทธ์ิ ส่วนจิตของสามัญชน
เป็นเพยี งสามัญจติ เป็นจติ ทีม่ กี ิเลสโสมมตา่ ง ๆ เมอื่ จติ ผู้เปน็ เจา้ ของเข้าครองอย่ใู นรา่ งใด และ
จิตเป็นจิตประเภทใด ร่างน้ันอาจกลายไปตามสภาพของจิตผู้เป็นใหญ่พาให้เป็นไป เช่นจิต
พระอรหนั ตเ์ ปน็ จติ ทบี่ รสิ ทุ ธิ์ อาจมอี าํ นาจซกั ฟอกธาตขุ นั ธใ์ หเ้ ปน็ ธาตทุ บ่ี รสิ ทุ ธไิ์ ปตามสว่ นของตน
อฐั ทิ า่ นจงึ กลายเปน็ พระธาตไุ ด้ แตอ่ ฐั ขิ องสามญั ชนทวั่ ๆ ไป แมจ้ ะเปน็ ธาตดุ นิ เชน่ เดยี วกนั แตจ่ ติ
ผ้เู ปน็ เจ้าของเตม็ ไปดว้ ยกเิ ลส และไมม่ อี ํานาจซกั ฟอกธาตขุ นั ธ์ให้เป็นของบริสทุ ธไิ์ ด้ อฐั จิ ึงกลาย
เปน็ ธาตขุ นั ธท์ บี่ รสิ ทุ ธไ์ิ ปไมไ่ ด้ จาํ ตอ้ งเปน็ สามญั ธาตไุ ปตามจติ ของคนมกี เิ ลสอยโู่ ดยดี หรอื จะเรยี ก
ไปตามภูมิของจิตภมู ิของธาตวุ า่ อรยิ จิต อริยธาตุ และสามญั จิต สามญั ธาตุ ก็คงไมผ่ ิด เพราะ
คณุ สมบตั ขิ องจติ ของธาตุ ระหวา่ งพระอรหนั ตก์ ับสามญั ชนต่างกัน อฐั ิจาํ ตอ้ งตา่ งกันอยูโ่ ดยดี
ผู้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาน้ัน ทุกองค์เวลานิพพานแล้วอัฐิต้องกลายเป็นพระธาตุด้วยกัน
ทงั้ สน้ิ ดงั น้ี ขอ้ นผี้ เู้ ขยี นยงั ไมแ่ นใ่ จวา่ จะเปน็ ไปไดอ้ ยา่ งนนั้ ทกุ ๆ องค์ เฉพาะจติ ทา่ นทส่ี าํ เรจ็ พระอรหตั ตภมู ิ
เป็นจิตท่ีบริสทุ ธเ์ิ ต็มภมู ินับแตข่ ณะท่ีสาํ เร็จ สว่ นรา่ งกายท่ีเก่ยี วโยงไปถึงอฐั เิ วลาถูกเผาแลว้ จะกลาย
เป็นพระธาตุได้เช่นเดียวกันทุกองค์หรือไม่ ยังเป็นปัญหาอยู่บ้างระหว่างกาลเวลาท่ีบรรลุถึงวัน
ทา่ นนพิ พานมเี วลาสนั้ ยาวตา่ งกนั องคท์ บ่ี รรลแุ ลว้ มเี วลาทรงขนั ธอ์ ยนู่ าน เวลานพิ พานแลว้ อฐั ยิ อ่ ม
มที างกลายเปน็ พระธาตไุ ดโ้ ดยไมม่ ปี ญั หา เพราะระยะเวลาทที่ รงขนั ธอ์ ยู่ จติ ทบ่ี รสิ ทุ ธกิ์ ย็ อ่ มทรงขนั ธ์
เชน่ เดยี วกบั ความสบื ตอ่ แหง่ ชวี ติ ดว้ ยการทาํ งานของระบบตา่ ง ๆ ภายในรา่ งกาย มลี มหายใจเปน็ ตน้
และมีการเข้าสมาบัติประจําอิริยาบถ ซึ่งเป็นการซักฟอกธาตุขันธ์ให้บริสุทธ์ิไปตามส่วนของตน
โดยลาํ ดับดว้ ยในขณะเดียวกนั เวลานิพพานแลว้ อฐั ิจึงกลายเปน็ พระธาตดุ ังทเี่ หน็ ๆ กนั อยู่ สว่ น
องคท์ บี่ รรลแุ ลว้ มไิ ดท้ รงขนั ธอ์ ยนู่ านเทา่ ทคี่ วรแลว้ นพิ พานไปเสยี นน้ั อฐั ทิ า่ นจะกลายเปน็ พระธาตุ
ได้เหมือนพระอรหันต์ท้ังหลายท่มี ีโอกาสอยนู่ านหรือไม่ เปน็ ความไม่สนทิ ใจ เพราะจติ ไมม่ ีเวลา
อยกู่ บั ธาตขุ นั ธน์ านและมไิ ดซ้ กั ฟอกดว้ ยสมาธสิ มาบตั ดิ งั กลา่ วมา ทา่ นทเ่ี ปน็ ทนั ทาภญิ ญา คอื รไู้ ดช้ า้
คอ่ ยเปน็ คอ่ ยไป เชน่ บำ� เพญ็ ไปถงึ ขน้ั อนาคามผี ลแลว้ ตดิ อยนู่ านจนกวา่ จะกา้ วขนึ้ ขนั้ อรหตั ตภมู ไิ ด้
คือตอ้ งพิจารณาทอ่ งเทยี่ วไปมาอยใู่ นระหวา่ งอรหัตมรรคกบั อรหัตผล จนกว่าจิตจะชาํ นิชํานาญ
และมีกําลังเต็มท่ีจึงผ่านไปได้ ในขณะที่กําลังพิจารณาอยู่ในขั้นอรหัตมรรคเพื่ออรหัตผล ก็เป็น
อุบายวิธีซักฟอกธาตุขันธ์ในตัวด้วย เวลานิพพานแล้วอัฐิอาจกลายเป็นพระธาตุได้ ส่วนท่านท่ี
เปน็ ขิปปาภญิ ญา คอื รไู้ ดเ้ รว็ และนพิ พานไปเรว็ หลังจากบรรลุแลว้ ทา่ นเหล่านไ้ี มแ่ น่ใจวา่ อฐั ิจะ
ท่านพระอาจารยม์ ่ัน ภูริทตั ตเถระ 281
กลายเปน็ พระธาตไุ ดห้ รอื ประการใด เพราะจติ ทบ่ี รสิ ทุ ธไิ์ มม่ เี วลาทรงและซกั ฟอกธาตขุ นั ธอ์ ยนู่ าน
เท่าท่ีควร สว่ นสามญั จิตของสามญั ชนทั่ว ๆ ไปน้นั ไม่อยูใ่ นขา่ ยที่อัฐจิ ะควรแปรเปน็ พระธาตุได้
ดว้ ยกรณี ใด ๆ จึงขอกลา่ วเทา่ ท่กี ลา่ วผ่านมาแล้ว
น่ีแล ธาตุท่านพระอาจารย์มั่นเป็นความแปลกและอัศจรรย์ดังที่นํามาลง เพ่ือท่านผู้อ่านได้
พจิ ารณาหามลู เหตแุ หง่ ความอศั จรรยข์ องพระธาตดุ งั กลา่ วนต้ี อ่ ไป สว่ นการคน้ หาหลกั ฐานและเหตผุ ล
มาพสิ ูจนด์ งั ทโี่ ลกใชก้ นั นน้ั รสู้ กึ จะพสิ จู นไ์ ดย้ าก อาจมองไมเ่ หน็ รอ่ งรอยเลยกไ็ ดส้ ําหรบั เรอื่ งทํานองนี้
เพราะสดุ วสิ ยั สาํ หรบั พวกเราทม่ี กี เิ ลสจะตามรไู้ ด้ เพยี งแตธ่ าตดุ นิ ทอ่ี ยใู่ นสว่ นรา่ งกาย ทา่ นผบู้ รสิ ทุ ธิ์
กับอยใู่ นตัวเราก็แสดงใหเ้ หน็ เป็นของแปลกต่างกันอยา่ งชดั เจนอยู่แล้ว วา่ อัฐิท่านกลายเปน็ พระธาตุ
ได้อยา่ งประจกั ษ์ตา สว่ นรา่ งกายของพวกเราทีม่ ีกเิ ลส แม้มจี าํ นวนล้าน ๆ คน ไมม่ รี ายใดสามารถ
เป็นไปได้อย่างท่าน จึงควรเรียกได้ว่าท่านเป็นบุคคลที่แปลกต่างจากมนุษย์ทั้งหลายอยู่มากจน
เทยี บกนั ไมไ่ ด้ ยงิ่ ใจทบ่ี รสิ ทุ ธด์ิ ว้ ยแลว้ ยง่ิ เพมิ่ ความประเสรฐิ และอศั จรรยจ์ นไมม่ นี มิ ติ เครอื่ งหมาย
ใด ๆ มาเทียบไดเ้ ลย เป็นจิตทโี่ ลกทัง้ หลายควรเคารพบชู าจริง ๆ จงึ ต้องยอมบชู ากนั ตามปกติ
โลกผู้มีความหย่ิงในชาติของตนประจํานิสัยไม่ค่อยยอมลงกับใครหรืออะไรได้อย่างง่าย ๆ แต่เม่ือ
หาทางคดั คา้ นไมไ่ ดก้ จ็ าํ ตอ้ งยอม เพราะอยากเปน็ คนดี เมอื่ เหน็ ของดแี ลว้ ไมย่ อมรบั กร็ สู้ กึ จะโงเ่ กนิ ไป
ไม่สมภมู เิ ปน็ มนษุ ย์ ดงั ท่านพระอาจารยม์ น่ั เป็นต้น ในสมัยปจั จบุ ัน บรรดาพระเณรเถรชีทีเ่ ขา้ ไปถึง
องคท์ า่ นจรงิ ๆ และไดร้ บั คาํ แนะนาํ สง่ั สอนจากทา่ นจนเปน็ ทเ่ี ขา้ ใจแลว้ เทา่ ทสี่ งั เกตมายงั ไมเ่ คยเหน็
รายใดจะดื้อด้านหาญสู้ท่านด้วยทิฏฐิมานะไม่ยอมลงกับความจริงที่สั่งสอนเลย เห็นแต่ยอมรับแบบ
เอาชวี ติ เขา้ แลกไดโ้ ดยไมอ่ าลยั เสยี ดายเลย ถา้ เทยี บความจรงิ ทที่ า่ นแสดงออกมาจากความบรสิ ทุ ธทิ์ ่ี
รู้จรงิ เห็นจริงในธรรมทุกข้นั แตล่ ะบทละบาทน้นั มีความถูกตอ้ งตายตวั อย่างหาทีค่ ้านไมไ่ ด้ เชน่ เดียว
กับผบู้ วก ลบ คณู หาร ดว้ ยความรสู้ กึ ทถ่ี ูกตอ้ ง เช่ยี วชาญนนั่ เอง เช่น หนึ่งบวกกบั หนึง่ ตอ้ งเปน็ สอง
สองบวกสองต้องเป็นสี่ เป็นต้น จะบวกลบคูณหารทวีข้ึนไปสูงเท่าไร ก็มีแต่ความถูกต้องแม่นยํา
ตามหลกั วชิ า ไมม่ ีผดิ พลาดคลาดเคลื่อน จะเป็นเด็กหรอื ผ้ใู หญบ่ วกลบคณู หาร เม่อื ถกู ต้องตามหลกั
แลว้ กไ็ มม่ ใี ครคดั คา้ นไดว้ า่ ผดิ วสิ ยั ผทู้ ม่ี าคดั คา้ นหลกั ทถ่ี กู ตอ้ งแลว้ แมม้ จี าํ นวนมากคนเพยี งไร กเ็ ทา่ กบั
มาประกาศขายความโงไ่ มเ่ ปน็ ทา่ ของตนใหค้ วามจรงิ หวั เราะเปลา่ ๆ ฉะนนั้ กฎความถกู ตอ้ งจงึ ไมน่ ยิ ม
ว่าควรมอี ยใู่ นเดก็ หรอื ผู้ใหญ่ หญงิ ชาย หรอื ชาติชนั้ วรรณะใด ๆ ท้ังส้ิน ย่อมเป็นท่ยี อมรับกนั อยา่ ง
หาทคี่ า้ นไมไ่ ด้ หลกั ธรรมทพี่ ระพทุ ธเจา้ และสาวกผรู้ ถู้ งึ มลู ความจรงิ โดยตลอดทวั่ ถงึ แลว้ ยอ่ มสามารถ
แสดงออกได้อย่างเต็มภูมโิ ดยไม่มคี วามสะทกสะท้านหว่ันไหวใด ๆ ทงั้ ส้ิน
ท่านพระอาจารย์มน่ั เป็นผ้ทู รงความรู้จรงิ เหน็ จริงเตม็ ภูมนิ สิ ยั วาสนาทา่ นผหู้ นงึ่ ดังนั้น บรรดา
ความรู้ที่เกี่ยวกับภายในภายนอกที่ท่านรู้เห็นอย่างประจักษ์ใจจึงสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มภูมิ
โดยไม่สนใจวา่ ใครจะเชอื่ หรือไม่เชอ่ื จะตําหนิหรือชมเชยใด ๆ เลย ภูมธิ รรมภายใน นับแตศ่ ีล สมาธิ
ปญั ญา ทกุ ขน้ั ตลอดถงึ วมิ ตุ ตพิ ระนพิ พาน ทา่ นแสดงออกมาอยา่ งอาจหาญและเปดิ เผย ตามแตผ่ ฟู้ งั
จะยึดได้น้อยมากเท่าท่ีกําลังความสามารถจะอํานวย ธรรมภายนอกเก่ียวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่มี
282 ชีวประวัติ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
ประมาณ เชน่ เทวบุตร เทวธดิ า อนิ ทร์ พรหม ภูตผีชนิดต่าง ๆ ทา่ นก็แสดงอย่างองอาจกลา้ หาญ
สุดแต่ผู้ฟังจะพิจารณาตามได้หรือไม่เพียงไร ผู้มีนิสัยไปในแนวเดียวกับท่านย่อมได้รับความเพ่ิมพูน
สง่ เสรมิ หรอื ต่อเติมความรทู้ ี่มีอยแู่ ล้วให้กวา้ งขวางและแม่นยํามากขึ้น ทาํ ให้รวู้ ธิ ปี ฏิบัติต่อวิชาแขนง
นั้น ๆ ดียง่ิ ขนึ้ และปฏิบตั ติ ่อเหตกุ ารณ์ต่าง ๆ ได้สะดวกและทันท่วงที
...บรรดาการพัฒนาหมู่ชนและการเข้าถึงประชาชน ควรพูดได้ว่าท่านเป็นอาจารย์เอกในการ
พฒั นาจติ ใจคนใหเ้ ขา้ ถงึ อรรถถงึ ธรรมถงึ เหตถุ งึ ผล ใหร้ ดู้ รี ชู้ ว่ั อนั เปน็ หลกั สากลของการปกครองโลก
เพราะการพฒั นาจติ ใจเปน็ การพฒั นาทถี่ กู กบั จดุ ศนู ยก์ ลางของโลกของธรรมอยา่ งแทจ้ รงิ โลกจะเสอื่ ม
พินาศ ธรรมจะฉบิ หาย ตอ้ งขน้ึ อยกู่ ับจติ เป็นผู้เสือ่ มฉบิ หายมาก่อน การเคล่อื นไหวคือการทาํ จงึ เป็น
ประโยคสงั หารโลกทาํ ลายธรรมตามกันมา ถา้ ใจไดร้ ับการอบรมดว้ ยดี การเคล่อื นไหวทางกายวาจา
กเ็ ปน็ ประโยคสง่ เสรมิ โลกใหเ้ จรญิ ธรรมกร็ งุ่ เรอื งเปน็ เงาตามตวั กค็ นทไี่ ดร้ บั การอบรมธรรมจนเขา้ ถงึ
จติ ใจแล้ว จะทาํ ความฉบิ หายได้ลงคอหรอื ไม่เคยเหน็ มีในคตธิ รรมดาทีเ่ ป็นมาแล้ว นอกจากความรู้
ประเภทนกขุนทองท่องได้คลอ่ งปาก จําได้คลอ่ งใจ แต่ธรรมนิสยั ไม่เขา้ ถึงใจเทา่ น้นั
ทา่ นเปน็ ผเู้ ขา้ ถงึ จติ ใจประชาชนพระเณรแท้ ผเู้ คารพเลอ่ื มใสทา่ นอยา่ งถงึ ใจแลว้ แมช้ วี ติ กย็ อม
ถวายไดไ้ มอ่ าลยั เสยี ดาย ทกุ สงิ่ ถา้ ลงไดเ้ ขา้ ถงึ ใจแลว้ ไมว่ า่ ดหี รอื ชว่ั ยอ่ มเปน็ แรงผลกั ดนั อยา่ งไมม่ แี รง
ใด ๆ เทียบเทา่ ได้ในโลก ไมเ่ ชน่ นนั้ คนเราไม่กล้าทาํ ความดหี รือความชัว่ อย่างสมใจได้ ที่ทําไดอ้ ยา่ ง
ไม่สะทกสะท้านและกลัวตาย ก็เพราะใจได้เข้าถึงส่ิงน้ัน ๆ โดยไม่มีทางหลบหลีกแล้ว นี่พูดเฉพาะ
ทางดีเก่ียวกับความเคารพเล่ือมใสในท่านพระอาจารย์ม่ันว่าเป็นอย่างน้ันจริง ๆ เท่าที่ทราบในวง
ปฏิบัติด้วยกัน เฉพาะอย่างย่ิงคือพระท่ีธรรมเข้าถึงใจแล้ว ท่านแสดงความอาจหาญมาก ความเชื่อ
เลื่อมใสท่านไม่มีอะไรเทียบได้เลย แม้ชีวิตที่แสนรักสงวนมาด้ังเดิมยังกล้าสละเพื่อท่านได้ด้วย
ความเชื่อความเล่ือมใสที่มีก�ำลังแรง ส่ิงนี้สละไม่ได้ ส่วนชีวิตสละได้ไม่ยากเลย ดังน้ีเพียงเท่าน้ีก็พอ
ทราบได้ว่าท่านเป็นเหมอื นแมเ่ หลก็ ทด่ี ึงดูดจิตใจคนไดอ้ ย่างอัศจรรย์ ทั้งยังมชี ีวติ อยแู่ ละผ่านไปแลว้
เฉพาะความเคารพรกั และเลอื่ มใสในทา่ น...
เอกสาร
ประกจิ มหาแถลง. อัฐิธาตุพระอาจารย์ม่นั ภูรทิ ตตฺ เถร. บูรพาจารย.์ พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๕. กรุงเทพฯ :
ชวนพิมพ์, ๒๕๕๗ : ๑๙๑-๒๐๐.
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูรทิ ัตตเถระ 283
คติธรรมคาํ สอน
ของ พ่อ แม่ ครู อาจารยม์ น่ั
• วาสนา นน้ั เป็นไปตามอธั ยาศยั คนทม่ี ีวาสนาในทางทีด่ ีมาแลว้ แต่คบหาคนพาล วาสนา กอ็ าจ
เปน็ คนพาลได้ บางคนวาสนายงั ออ่ น เมือ่ คบบัณฑิต วาสนาก็เลือ่ นขน้ึ เป็นบัณฑติ ฉะนนั้ บุคคล
ควรพยายามคบแตบ่ ัณฑิต เพ่ือเลือ่ นภมู ิวาสนาของตนใหส้ งู ข้ึน
• ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น ว่ามีความรู้สึกเช่นกัน ไม่เบียดเบียนทําลายกัน
ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทําลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่�ำเพราะอํานาจศีลคุ้มครองรักษาและ
สนบั สนนุ จงึ ควรอยา่ งยง่ิ ท่ีจะพากันรักษาใหส้ มบูรณ์ ธรรมสง่ั สอนแลว้ จดจาํ ใหด้ ี ปฏบิ ัตใิ ห้มัน่ คง
จะเปน็ ผทู้ รงคณุ สมบัติทุกอย่างแนน่ อน
• คนช่ัว ทําช่ัวได้ง่าย และติดใจไม่ยอมลดละแก้ไขให้ดี คนดี ทําดีได้ง่าย และติดใจกลายเป็นคน
รักธรรมตลอดไป
• การตําหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเอง ให้ขุ่นมัวไปด้วย ความ
เดือดรอ้ นวุ่นวายใจทคี่ ดิ ตําหนผิ ้อู นื่ จนอยูไ่ มเ่ ปน็ สุขนัน้ นกั ปราชญ์ถอื เป็นความผิดและบาปกรรม
ไมม่ ีดเี ลย จะเป็นโทษให้ทา่ นได้ สงิ่ ไม่พึงปรารถนามาทรมานอยา่ งไมค่ าดฝนั การกลา่ วโทษผู้อ่ืน
โดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวช
ต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว
แตส่ าเหตทุ ท่ี ําให้ทกุ ข์ ทําไมพอใจสร้างขนึ้ เอง
• เม่ือเกิดมาอาภัพชาติ แล้วอย่าให้ใจอาภัพอีก ผู้เกิดมาชาติน้ีอาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ คิดแต่
ผลิตโทษทําบาปกรรมอกี เลย
• ความยงิ่ ใหญ่ คอื ความไม่ยงั่ ยนื ความไม่ย่งั ยืนเปน็ สง่ิ ท่ยี ง่ิ ใหญ่และแน่นอน ชีวติ ทีย่ ่ิงใหญ่ คือชวี ติ
ที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญ ชีวิตท่ีมีความดี อาจมิใช่ความย่ิงใหญ่ แต่ชีวิตท่ียิ่งใหญ่
ตอ้ งอาศยั คณุ ธรรมความดเี ทา่ นนั้
• ส่ิงท่ีล่วงไปแล้ว ไม่ควรทําความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งท่ีล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง การกระทํา
การผูกพันและหมายมั่นในสิ่งนน้ั กลับมาเปน็ ปจั จุบนั ก็เป็นไปไมไ่ ด้ ผทู้ าํ ความสําคญั มนั่ หมายนั้น
เป็นส่ิงท่ีไม่ควรไปยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตควรปล่อยไว้
ตามกาลของมนั ปัจจบุ ันเทา่ น้นั จะสําเรจ็ ประโยชน์ไดเ้ พราะอยู่ในฐานะทีค่ วรทําไดไ้ ม่สดุ วิสัย
• คนหิว อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้ จึงว่ิงหาโน่นหานี่ เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สํานึกว่าผิดหรือถูก
คร้ันแล้วสิ่งที่คว้ามาก็เผาตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ คนที่หลงจึงต้องแสวงหา ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา
จะหาไปใหล้ าํ บากทาํ ไม อะไรๆ กม็ อี ยกู่ บั ตวั เองอยา่ งสมบรู ณอ์ ยแู่ ลว้ จะตนื่ เงา ตะครบุ เงา ไปทาํ ไม
เพราะรู้แลว้ ว่า เงาไมใ่ ช่ตวั จรงิ ตัวจริงคือสจั จะทง้ั สีท่ ม่ี อี ยูภ่ ายในใจอย่างสมบูรณแ์ ลว้
284 ชีวประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
เอกสาร
บนั ทกึ จาก ขอ้ ความทจ่ี ารกึ บนแผน่ หนิ แกรนติ ทอ่ี ยบู่ นกฏุ พิ ระอาจารยม์ นั่ ภรู ทิ ตั โต วดั ปา่ นาคนมิ ติ ต์
สกลนคร
ทา่ นพระอาจารยม์ ั่น ภูรทิ ัตตเถระ 285
ผลงานของหลวงปมู่ ัน่
เทศนอ์ บรมฆราวาส ณ วัดปา่ หนองผอื จังหวดั สกลนคร
หลวงปู่ท่านทําเป็นแบบฉบับเป็นเนื้อเป็นหนังของศาสนาของพระของเณรจริง ๆ คือพอฉัน
จังหันเสร็จแล้วนี้ พระเณรจะรีบล้างบาตรอะไร ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขนบริขารไปท่ีพักของตน
แล้วหายเงียบหมด วัดนี้เหมือนไม่มีพระ คือไปอยู่ในป่ากันท้ังน้ัน สําหรับท่านเองท่านก็ชอบสงัด
ท่านไม่ชอบให้ใครยุ่งท่าน จะไปหาท่านได้ตามเวลาเท่าน้ัน นอกน้ันไปไม่ได้ เช่น ตอนบ่ายสองโมง
ท่านออกมา ก็มีพระเณรทยอยไปหาท่านบ้างเล็กน้อยสององค์สามองค์ แล้วก็ตอนหลังปัดกวาด
สรงน้�ำเรียบร้อยแล้วก็ขึ้นหาท่านได้อีกระยะหน่ึง พอค่�ำจากนั้นแล้วท่านก็ลงเดินจงกรมของท่าน
พระเณรก็ทําหน้าที่ของตัวด้วยการเดินจงกรมน่ังสมาธิภาวนาเป็นประจํา น่ีพื้นฐานของวัดน้ีท่ีท่าน
ครองวัดอยู่ เปน็ อยา่ งนน้ั ตลอดมา
การเดินจงกรมน่ังปลงสมาธิภาวนานี้ถือเป็นกิจเป็นการเป็นงานของพระ เป็นเน้ือเป็นหนัง
ชวี ิตจิตใจของพระอยา่ งแทจ้ รงิ ไมม่ ีงานอนื่ ใดเข้ามายงุ่ ได้เลย แตก่ อ่ นแขกคน ญาตโิ ยมไม่มี เพราะ
ทางจากนไ้ี ปพรรณาฯ ไมม่ รี ถมรี าตอ้ งบกุ ปา่ ฝา่ ดงไป ถา้ ไปทางตดั ทางลดั นก้ี ข็ น้ึ ภเู ขาลงทางนน้ั ถา้ ไป
ทางอ้อมก็ไปทางล้อทางเกวียน ๖๐๐ เส้น ถ้าไปทางลัดก็ข้ึนเขาแล้วลงทางโน้น อันนี้ประมาณ
๕๐๐ เส้น การไปมาหาสู่สําหรับวัดน้ีจึงไม่ค่อยมี ไม่มีใครกล้ามาแหละ นอกจากพระท่านมา
โดยเฉพาะ ๆ การภาวนาของพระจึงสะดวกตลอดท้ังวันทั้งคนื เลย
ทา่ นเองกร็ ับพระเป็นระยะเท่าน้ันเอง ไม่มากกวา่ นน้ั มเี ทา่ นนั้ ถ้าวันไหนประชุม กร็ วมกันไป
ประชุมท่ีกุฏิท่าน แน่นไปหมดละ เวลาประชุมท่านไม่ได้ลงมาประชุมที่ศาลา นอกจากวันอุโบสถ
ทพ่ี ระทงั้ หลายมาจากทตี่ า่ ง ๆ มารวมกนั ทาํ อโุ บสถ ประมาณ ๕๐-๖๐ องค์ ลงอโุ บสถ ทา่ นกใ็ หโ้ อวาท
ตอนนั้นมีจาํ นวนมากพอสมควร แตป่ กติวัดน้จี ะมปี ระมาณ ๓๕-๓๖ องค์ ไมใ่ ห้มากกวา่ น้ัน หากจะ
มีจรมาก็มีชั่วระยะสองสามวันเท่านั้น ปกติท่ีพระเณรอยู่เป็นพื้นในวัดน้ีก็ประมาณ ๓๕-๓๖ องค์
น่ีก็ถือว่ามากที่สุดแล้วสําหรับวัดน้ี และสําหรับหลวงปู่มั่น ซึ่งท่านไม่ชอบพระเณรมาก นั่นนับว่า
ท่านรับมากทีส่ ดุ
การทําความเพียรนี้ตลอดเวลา ไม่มีงานอ่นื ใดเข้ามาแทรกเลย ทําเลป่าน้เี ปน็ ทท่ี ํางานของพระ
ท่ีเดินจงกรมน่ังสมาธิภาวนา หมดในป่าน้ีมีแต่ทางจงกรมเพราะป่ากว้าง ใครจะไปทําท่ีไหนทําได้
ท้งั นน้ั ลึก ๆ เป็นดงไปหมด ส่วนทนี่ ่เี ป็นท่ีรวม บริเวณวดั กไ็ มก่ ว้างนกั ที่กวาดโลง่ เอาไวไ้ ม่กว้างนัก
พระธรรมเทศนาของ พระธรรมวสิ ทุ ธมิ งคล (บวั ญาณสมปฺ นโฺ น) เรอ่ื ง ผลงานของหลวงปมู่ นั่ เทศนอ์ บรมฆราวาส
ณ วดั ป่าหนองผอื จังหวัดสกลนคร เมอ่ื วนั ท่ี ๑๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๒ (บา่ ย)
286 ชีวประวัติ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
แต่ที่ทําเลของพระภาวนานั้นมีทั่วไปในป่าในดง สะดวกสบายทุกอย่างเลย นี่พ้ืนเพที่ท่านพาทํามา
ท่านทาํ อย่างนัน้
เวลามาพบมาคุยกันน้ีไม่มีเร่ืองการบ้านการเมือง การซ้ือการขาย เรื่องหญิง เร่ืองชาย คําว่า
เรือ่ งโลกนั้นไมม่ ีเลย ฟังแต่วา่ ไม่มเี ลย จะมีแตเ่ รือ่ งอรรถเร่ืองธรรมล้วน ๆ รอ้ ยเปอร์เซนต์ ๆ ตลอด
เวลาคยุ กันมีแตเ่ รอ่ื งอรรถเรื่องธรรมลว้ น ๆ แม้พระท่านคยุ กนั สนทนากนั ตามทต่ี า่ ง ๆ ในวนั นีก้ เ็ ปน็
แบบเดยี วกันหมด ไม่มเี รื่องโลกเรอื่ งสงสารเขา้ มาเจอื ปนเลย สงัดทั้งกลางวันกลางคืนวัดนตี้ ลอด
เวลามาเล่าภาวนาให้ท่านฟัง องค์น้ีรู้อย่างน้ี องค์น้ันเห็นอย่างน้ัน จากจิตตภาวนาของท่าน
มนั เปน็ เครอื่ งปลกุ ใจกนั เปน็ ลาํ ดบั ลาํ ดา เพราะผลงานจากการภาวนา มคี วามรคู้ วามเหน็ แปลกตา่ งกนั
ใครมาเล่าถวายท่านแล้วท่านก็ช้ีแจงให้ทราบ และผู้มาคอยฟังก็ได้รับประโยชน์ทั่วถึงกันอย่างน้ี
ตลอดมา นี่เรียกว่าศาสนาแท้ ผู้บําเพ็ญธรรมเพื่อมรรคเพ่ือผลโดยแท้ ท่านบําเพ็ญท่านสนทนากัน
อย่างน้ัน พูดกันคําไหนมีแต่เร่ืองอรรถเร่ืองธรรมเรื่องมรรคเรื่องผล เร่ืองสมาธิเรื่องปัญญา ไม่มี
เรอ่ื งอน่ื เขา้ มาแฝงเลยเพราะเหตไุ ร กเ็ พราะศาสนานเี้ ปน็ แหลง่ แหง่ มหาสมบตั อิ นั ใหญโ่ ตและเลศิ เลอ
ย่งิ กวา่ สมบัติใดในโลก
ในโลกเขามสี มบัตติ ่าง ๆ ท่ตี า่ งคนต่างว่งิ เต้นขวนขวายคุ้ยเขีย่ ขดุ ค้นหามาในสมบัติประเภทใด
ก็ได้มาตามสมบัติท่ีมีอยู่น้ัน ๆ ทีน้ีธรรมสมบัติก็เหมือนกัน ใครคุ้ยเข่ียขุดค้นหาธรรมสมบัติได้
ประเภทใดมา กส็ ามารถทจี่ ะนาํ มาพดู มาสนทนาซงึ่ กนั และกนั ไดเ้ ชน่ เดยี วกบั ทางโลกเขา เพราะฉะนนั้
เวลาท่านคยุ กันจึงมแี ต่เร่ืองธรรมล้วน ๆ เป็นเครือ่ งปลกุ ใจกนั ไดด้ ี นีล่ ะคร้งั พุทธกาลทา่ นดาํ เนนิ มา
อยา่ งนน้ั พระพทุ ธเจา้ ทรงพาดาํ เนนิ บรรดาพระสงฆส์ าวกทง้ั หลายกด็ าํ เนนิ มาอยา่ งนน้ั ทมี่ าเปน็ สรณะ
ของพวกเราน้ีล้วนแล้วตั้งแต่ท่านดําเนินมาอย่างน้ัน ได้มรรคได้ผลเป็นท่ีพอพระทัยและพอใจแล้ว
นาํ ธรรมอนั ลำ�้ เลศิ นนั้ มาสง่ั สอนสตั วโ์ ลกเรอ่ื ยมาจนกระทงั่ ปจั จบุ นั นี้ นน่ั พน้ื เพทา่ นดาํ เนนิ มาอยา่ งนนั้
คร้ันต่อมากิเลสมันหนามันแน่นเข้าทุกวัน ผู้ที่จะพาบุกเบิกคือครูอาจารย์ก็ร่อยหรอลงไป ๆ
กิเลสก็นบั วันหนาแน่นข้นึ ทุกวนั ๆ มนั ก็เปลย่ี นแปลงความรคู้ วามเหน็ ความประพฤติหนา้ ทก่ี ารงาน
ของพระของเณรไปทางกิเลสเสียมากกว่าท่ีจะเป็นทางธรรม สุดท้ายก็เลยเป็นเร่ืองของกิเลสทํางาน
ทั้งในวัดในบ้านไม่แปลกต่างกันเลย พระพูดก็พูดแบบโยม โยมพูดก็พูดแบบโลก มันก็ไปด้วยกัน
โลกต่อโลกด้วยกัน พระก็ไม่สนใจกับอรรถกับธรรม ไม่สนใจในหน้าท่ีการงานอันใดให้สมกับเพศ
ของตน เลยไปแย่งเอางานของฆราวาส งานของกิเลสเข้ามาสวมใส่ตัวเอง มันก็มามัดคอตัวเอง
เอามาเผาหัวใจตัวเองไปเสยี
เรอ่ื งมรรคเรอื่ งผลกไ็ ม่มเี พราะไม่ไดห้ ามรรคหาผล ไม่ไดเ้ สาะแสวงหามรรคหาผล มันเป็นเร่ือง
กิเลสโดยหลักธรรมชาติพาเสาะแสวงหากิเลสอย่างเดียว ผลได้มาจึงเป็นความรุ่มร้อน พระกับโยม
หาความร่มเย็นต่างกันไม่มี โยมก็ร้อนด้วยกิเลส พระก็ร้อนด้วยกิเลส เพราะต่างคนต่างขวนขวาย
หากิเลสอย่างเดียวกัน ผลท่ีได้มาจึงเป็นความรุ่มร้อน เกิดจากกิเลสอันเดียวกันหมด ศาสนาเลย
กลายเป็นศาสนากเิ ลสไปหมดเวลาน้ี
ท่านพระอาจารย์มั่น ภรู ทิ ัตตเถระ 287
เปลย่ี นมาตั้งแตศ่ าสนธรรม คอื การบําเพญ็ ตนเพ่อื ศีล สมาธิ ปญั ญา วชิ ชา วมิ ุตติ หลดุ พน้ แลว้
จากนน้ั กม็ าเปลยี่ นเปน็ ศาสนวตั ถุ มกี ารกอ่ การสรา้ งยงุ่ เหยงิ วนุ่ วาย ขวนขวายไปทางดา้ นวตั ถเุ สยี หมด
ด้านอรรถดา้ นธรรม เรอ่ื งศลี สมาธิ ปญั ญา นี้ หา่ งไป ๆ ใกลช้ ดิ ตดิ พันกบั งานของกิเลสคือดา้ นวตั ถุ
การขวนขวายการวิ่งเต้นความยุ่งเหยงิ วนุ่ วาย รบกวนกนั ทว่ั บา้ นท่ัวเมือง วดั กบั บ้านเลยเปน็ สถานท่ี
รบกวนกันไป เจอหน้ากัน มีแต่จะก่อน้ันสร้างน้ี แล้วเรี่ยไรกันมาสร้างนั้นสร้างนี้ไปอย่างน้ันนะ
เปลย่ี นมา ๆ เลย เป็นเรอื่ งของศาสนวตั ถุไปเสยี
วตั ถกุ ค็ อื อยา่ งนแี้ หละ เครอ่ื งกอ่ สรา้ งตา่ ง ๆ ทอี่ ยกู่ ห็ รหู รา ทกี่ นิ กห็ รหู รา ทไี่ ปทม่ี าอะไรเครอื่ งใช้
ไมส้ อยหรหู ราไปหมด เปน็ เรอ่ื งของกเิ ลสลว้ น ๆ ในเพศของพระ ใจกห็ รหู ราไปดว้ ยกเิ ลส ดว้ ยความโลภ
ความโกรธ ราคะตณั หา มันหรูหราไปตามกเิ ลสเสยี ทั้งหมด ผลที่เกดิ ข้ึนมาจงึ เปน็ ฟนื เปน็ ไฟเผาไหม้
ได้ทั้งพระทั้งฆราวาสไม่เลือกหน้า เราจะบ่นหามรรคผลนิพพานท่ีไหนไม่มีเพราะไม่หากัน ผู้หา
ทา่ นหาอยู่ ทา่ นรอู้ ยู่ ทา่ นเหน็ อยู่ ทา่ นกไ็ ด้ หาศลี รกั ศลี ปฏบิ ตั ติ อ่ ศลี ศลี กม็ ใี นเราผรู้ กั ษา ความอบอนุ่
ในศลี นีก้ พ็ อตัว เย็นสบาย
หาสมาธไิ มว่ า่ สมาธขิ นั้ ใด ปญั ญาขนั้ ใดจนกระทงั่ ถงึ วมิ ตุ ตหิ ลดุ พน้ หาดว้ ยวธิ กี ารทพี่ ระพทุ ธเจา้
ทรงส่ังสอนให้หาด้วยความถูกต้อง เช่น การเดินจงกรม น่ังสมาธิ ภาวนา รักษาใจด้วยสติไม่ให้คิด
ส่ายแสไ่ ปทางกิเลสตัณหา คดิ เพอ่ื ชะเพือ่ ล้างกิเลสโดยถ่ายเดียว สมาธิ ปัญญา ก็เกดิ ขึ้น ๆ มรรคผล
นพิ พานกเ็ กดิ ขน้ึ ตาม ๆ กนั กต็ กั ตวงเอามรรคผลนพิ พานได้ เชน่ เดยี วกบั เขาหาสมบตั ทิ างโลกเขากไ็ ด้
สมบัติทางโลก เราหาสมบตั ิทางธรรมเราก็ไดท้ างธรรม เพราะมีอย่ดู ว้ ยกัน น่เี รื่องศาสนาคอ่ ยเปลี่ยน
มาอยา่ งน้ี
ทีน้ีพ้ืนเพเดิมของศาสนาจะไม่มีนะเวลานี้ ศาสนาแท้คือศาสนธรรม สอนให้คนปฏิบัติตัวดี
มีศีลมีธรรม ฆราวาสก็ให้มีขอบมีเขตมีหลักมีเกณฑ์ในการรักษาเนื้อรักษาตัวด้วยศีลด้วยธรรม
อย่าให้กิเลสเข้าไปย่�ำยีตีแหลกเสียท้ังหมด พระก็รักษาศีลรักษาธรรมของตนตามหน้าที่ของพระ
ต่างคนมขี อบเขต ตา่ งคนมีหลักเกณฑ์ ต่างคนก็มีสมบัติอันภูมใิ จขนึ้ ภายในใจของตวั เอง มนั ก็ไดผ้ ล...
อย่างน้นั
เวลาน้ีศาสนาเปล่ียนแปลงไปมากทีเดียว เช่นอย่างพระก่อสร้าง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ส่ังสอน
เสยี เอง คอื สง่ั สอนพระทีจ่ ะออกไปปฏิบตั จิ ิตตภาวนา ใหไ้ ปหาทีส่ งดั ให้เสาะแสวงหาครูหาอาจารย์
ทเี่ ปน็ ทแ่ี นน่ อนตอ่ ทางมรรคทางผล หาทสี่ งบสงดั เปน็ ทก่ี าํ จดั กเิ ลส บอกสถานทใี่ ดมกี ารกอ่ การสรา้ ง
อย่าไป นั่นฟังซิ สถานที่ใดมีการก่อการสร้างท่านห้ามไม่ให้ไป จะสร้างความยุ่งเหยิงวุ่นวายข้ึนมา
แล้วกลายเปน็ การส่งั สมกเิ ลสกับงานประเภทนัน้ ๆ ไมใ่ ชก่ ารสะสางกเิ ลส แนะ่ ทา่ นสอนว่าอยา่ งน้ัน
พระพทุ ธเจา้ สอนวธิ กี ารตลอด ผทู้ ช่ี าํ ระกเิ ลสความยงุ่ เหยงิ วนุ่ วาย อยา่ หาความยงุ่ เหยงิ จากภายนอก
จากงานนนั้ งานนเี้ ขา้ มากอ่ กวนตวั เอง แน่ะท่านก็สอนไว้ นล่ี ะพระพทุ ธเจา้ ทา่ นสอน
หลวงปู่มั่น พ่อแม่ครูอาจารย์ม่ันเรานี้ ท่านปฏิบัติแบบคงเส้นคงวาหนาแน่นตามตํารับตํารา
จริง ๆ หาท่ีต้องติไม่ได้เลย เรียกว่าปฏิบัติแบบสมบูรณ์แบบตามตํารับตํารา ไม่มีท่ีตําหนิเรื่อยมา
288 ชีวประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
จนกระท่ังวันท่านมรณภาพ น่ีเป็นคติตัวอย่างแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายได้เป็นอย่างดี
เพราะฉะน้ันท่านถึงประสิทธิ์ประสาทอรรถธรรมให้แก่ลูกศิษย์ จนกลายเป็นลูกศิษย์มีครู บรรดา
ลกู ศษิ ย์ของหลวงป่มู ่ันทีเ่ ปน็ ครเู ปน็ อาจารย์แนะนาํ ส่งั สอนประชาชน เราอยากจะว่าทัว่ ประเทศไทย
ออกจากหลวงปู่มัน่ ทงั้ น้ัน เปน็ ลกู ศษิ ย์หลวงปู่ม่ันมาโดยลําดบั
อาจารย์องค์นั้น ๆ ที่ปรากฏช่ือลือนาม มักจะมีแต่ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นเราทั้งน้ัน คือสอน
เปน็ หลกั เปน็ เกณฑเ์ ปน็ อรรถเปน็ ธรรมจรงิ ๆ เปน็ ทตี่ ายใจได้ ไมไ่ ดส้ อนแบบลบู ๆ คลาํ ๆ ขลงั ในสง่ิ นนั้
ขลงั ในสง่ิ นี้ อยา่ งนไ้ี มม่ ใี นหลวงปมู่ นั่ และลกู ศษิ ยข์ องทา่ นผมู้ ธี รรมเปน็ หลกั ใจ สอนตรงอรรถตรงธรรม
ไปโดยลาํ ดบั และมจี ํานวนมาก ท่วั ประเทศไทยของเรา
คืออย่างพระกรรมฐานน่ี มีอยู่ทุกภาค.. กรรมฐานในประเทศไทยมีอยู่ทุกภาคที่เป็นลูกศิษย์
หลวงปู่ม่ันประสิทธ์ิประสาทให้ แม้จะไม่เป็นลูกของท่านจริง ๆ ท่ีอยู่กับท่าน แต่ก็เป็นหลานคือ
ได้รับจากครูจากอาจารย์ซ่ึงเป็นลูกศิษย์ของท่านมาก่อนแล้วก็ประสิทธิ์ประสาทธรรมะให้ แล้วก็
เปน็ ครเู ปน็ อาจารยต์ อ่ ไป สงั่ สอนญาตโิ ยมในทต่ี า่ ง ๆ มจี าํ นวนมาก นล่ี ะเปน็ ผลงานของหลวงปมู่ น่ั เรา
เปน็ ผลงานทก่ี วา้ งขวางมาก ลกู ศษิ ยล์ กู หาองคไ์ หนอยทู่ ใ่ี ด ถามแลว้ มแี ตล่ กู ศษิ ยห์ ลวงปมู่ น่ั ๆ ไมค่ อ่ ย
ล่อแหลม มักจะมหี ลกั มเี กณฑ์อยูเ่ สมอ ไมไ่ ด้สอนแบบออกนอกลนู่ อกทางขลังไปในทต่ี ่าง ๆ อย่างน้ี
ไมค่ อ่ ยมีลูกศิษยข์ องทา่ นอาจารยม์ นั่ จรงิ ๆ ไมค่ ่อยมี สอนไปตามอรรถตามธรรมล้วน ๆ ท่านสอน
อยา่ งนี้
ท่านมาอยู่ที่นี่ พระเณรก็หล่ังไหลเข้ามาศึกษาอบรมกับท่านไม่ได้ขาดเลย เต็มอยู่ในวัดน้ี
เต็มตลอด อย่างครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ปรากฏชื่อลือนามมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เราอยากจะพูดว่า
ร้อยทัง้ ร้อยมแี ต่ลูกศษิ ยห์ ลวงปมู่ น่ั ท้ังนนั้ ทีร่ ำ่� ลืออยูท่ กุ วันน้ีนะ แม้ทา่ นจะลว่ งไปแลว้ คณุ งามความดี
ทา่ นไมล่ ว่ งไป กเ็ หมอื นอยา่ งหลวงปมู่ นั่ เรานที่ า่ นลว่ งไปแลว้ คณุ งามความดขี องทา่ นทคี่ รอบเมอื งไทย
เราอยู่เวลาน้ี ไม่ได้จืดจางไปไหน ครูบาอาจารย์ท้ังหลายซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านก็เหมือนกันอย่างนั้น
ส่วนมากมแี ตล่ ูกศิษยห์ ลวงปูม่ นั่ ทัง้ นัน้ นี่ละผลงานของทา่ นเหน็ อย่างนี้
แล้วได้ลกู ศิษยเ์ พยี งองคห์ นง่ึ ๆ เปน็ ครเู ปน็ อาจารยส์ อนคนน้จี าํ นวนมากขนาดไหน น่ผี ลงาน
ของท่าน เราจะเอาเงินหมื่นเงนิ แสนเงนิ ลา้ นมาซ้ือไมไ่ ดน้ ะ ครบู าอาจารย์แต่ละองค์ ๆ ทปี่ ระพฤตติ วั
มีหลักมีเกณฑ์จนกลายเป็นเพชรน้�ำหนึ่งข้ึนมาอย่างนี้ เอาคุณค่าของโลกชนิดไหนมาเทียบไม่ได้เลย
น่นั ละจงึ เรียกวา่ ผลงานของทา่ นกวา้ งขวางมาก
ทา่ นมาอยนู่ ีเ้ ป็นเวลา ๕ ปี ทีม่ าอยู่หนองผอื เราน้ี ๕ ปี พระเณรไม่ขาด หลัง่ ไหลเข้ามาเรอ่ื ย
จนจะรับไม่หวาดไม่ไหว ออกไปอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ แถวใกล้เคียงน้ีมีเยอะ หมู่บ้านใด ๆ แถวนี้
มหี มด.. พระกรรมฐาน เพราะฉะนน้ั วนั อโุ บสถจงึ มาจาํ นวนมาก ทา่ นลงอโุ บสถปาฏโิ มกขต์ อนบา่ ยโมง
พอฉนั เสร็จแลว้ ต่างองค์กต็ า่ งมาจากสถานที่ต่าง ๆ ไดเ้ วลาแล้วก็ขน้ึ ประชมุ ลงอโุ บสถแลว้ ทา่ นก็ให้
โอวาทสอนตลอดมา
ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภรู ิทัตตเถระ 289
เราท้ังหลายมาทําความระลึกถึงบุญถึงคุณท่าน ก็ขอให้นําเอาโอวาทของท่านไปปฏิบัติตัว
ให้มีขอบเขตมีหลกั มีเกณฑ์ อย่าพากันฟุ้งเฟอ้ เหอ่ เหมิ เกนิ เนือ้ เกินตวั เวลาน้ีเมืองไทยเรารูส้ กึ จะ
เปน็ เมอื งเหอ่ เหมิ เมอื งฟงุ้ เฟอ้ เมอื งไมม่ หี ลกั เกณฑ์ รสู้ กึ จะมารวมอยทู่ เี่ มอื งไทยเรา เราไมต่ าํ หนใิ คร
มันเป็นด้วยกันทุกภาค ก่อเหตุเบ้ืองต้นขึ้นมาก็คือ เกิดจากบ้านเมืองเรานี้สมบูรณ์พูนผล ไม่มีอะไร
ขาดตกบกพร่องพอที่จะต้องวิ่งเต้นขวนขวาย และเห็นภัยในความบกพร่องทั้งหลาย เพราะไม่มี
มีแต่ความสมบูรณ์ การอยู่การกินการใช้การสอยก็ใช้อย่างสะดวกสบาย สบายไปเร่ือย จนเป็นการ
สง่ เสริมความฟงุ้ เฟอ้ เห่อเหมิ
แลว้ ยง่ิ มสี ิ่งภายนอกเข้ามาเกีย่ วขอ้ งกับชาตไิ ทยของเรา เขาเอานน้ั มา เอานี้มา เราก็ควา้ มบั ๆ
ส่วนมากที่เอามากัดตับกัดปอดเราอยู่เวลาน้ี มักจะมีตั้งแต่ส่ิงเป็นภัยมากกว่าเป็นคุณ ไอ้เราก็
ความลืมตัวมากกว่าความรู้ตัว มันจึงเสียเปรียบเมืองนอกเขา ความฟุ่มเฟือยของเรามีอยู่ในใจแล้ว
พออะไรผ่านเข้ามาก็คว้ามับ ๆ ยกตัวอย่างเช่น โทรทัศน์ วีดีโอ โทรศัพท์มือถือ ทุกวันนี้เมืองไทย
ของเราควา้ เอามาจากเมอื งนอกทง้ั นนั้ นะ แลว้ กม็ ากนิ ตบั กนิ ปอดชาตไิ ทยของเรา เพราะความไมค่ าํ นงึ
ถึงความผิดถูกดีชั่วประการใด ความระลึกรู้ตัวไม่ค่อยมี มีแต่ความทะเยอทะยาน อะไรมาก็คว้า ๆ
ควา้ อะไรมาน้เี ขาก็เอาเงนิ เราไป ๆ เทา่ กบั ควา้ ตับควา้ ปอดเราไป น่กี ก็ ระทบกระเทือนถึงชาตไิ ทยเรา
ทั้งชาตไิ ด้ เพราะความลมื ตัวของคนไทยเรา
ทีว่ ่านผ้ี ิดหรือถกู พิจารณาซิ ไปดูซิ นี่เราพูดเฉพาะทีม่ ันเด่น ๆ นะ ทไ่ี มเ่ ด่นมนั กนิ อยภู่ ายในก็มี
ที่มันมาออกหน้าร้านตบหูตบตาเราอยู่ตลอดเวลาก็อย่างน้ีแหละ มีอยู่ท่ัวไป วิทยุเวลานี้รู้สึกจะเป็น
ของล้าสมัยไปแล้วสําหรับความฟุ้งเฟ้อแห่งเมืองไทยเราเพราะเมืองไทยเรามันมีระดับสูงขึ้นไป
เรยี กวา่ เมืองไทยนห้ี สู ูงแล้ว เหลา่ นี้ไม่ใชค่ วามฟุง้ เฟ้อนะ วิทยุนไ้ี มใ่ ชค่ วามฟงุ้ เฟอ้ สําหรับเมืองไทยเรา
เพราะเมอื งไทยเรามันหูสูงไปแล้ว
เรยี นวิชาคนบ้า ปนี คอกปนี หลักไปแล้ว อยากไดด้ กี วา่ นอี้ ีก ไมม่ เี หรอ ของผลติ ข้ึนมาใหม่ ๆ
มไี หม มไี หมเร่อื ย นนั่ มันสงู ขน้ึ เรื่อยอยา่ งน้นี ะ ทจี่ ะพาใหบ้ ้านเมืองเราลม่ จมและพาให้ลมื เนอื้ ลืมตัว
ไปโดยลาํ ดบั มันหลอกขึน้ มา มวี ิทยุแล้วจากนั้นก็โทรทศั น์ ไปอยทู่ ่ีบา้ นไหน ๆ เรือนไหนไม่มไี ดเ้ หรอ
เมอื งไหนไมม่ เี ทวทตั มโี ทรทศั น์ กเิ ลสมนั ชห้ี นา้ เอาวา่ บา้ นนเี้ รอื นนต้ี ำ่� ตอ้ ยนอ้ ยหนา้ ไมม่ ศี กั ดศิ์ รดี งี าม
เหมือนเขา เป็นคนครึ คนล้าสมัย นั่นเห็นไหมล่ะ มันก็ลากให้ทันสมัยน่ะซิกิเลส พอเห็นเขาว่า
อยา่ งน้ันแล้วเราก็อยากทันสมยั เรากเ็ ปน็ คนเหมือนกนั ไปลากเอามา ไปหาซ้อื มา ซ้อื ไมไ่ ด้ เงินไมม่ ี
เอาซื้อผ่อนฟาดมันลงไป จากน้ันติดหนี้เขาพะรุงพะรัง ติดเท่าไหร่เป็นติด นั่นเห็นไหมล่ะ น่ีละ
ความฟุง้ เฟอ้ เห่อเหมิ พาใหล้ ืมเน้ือลืมตวั หมดไมร่ วู้ ่าหมด ยงั ไม่รู้ว่ายงั ไมร่ ้ตู วั
จากน้ันกว็ ดี ีโอ เอา้ เอามา โทรศพั ทม์ ือถือมอี ยู่ทุกกระเปา๋ ใครกลบั ไปบา้ นใหไ้ ปถามแมท่ ่มี ีลกู
อยู่ในทอ้ ง ให้ไปถามว่า นี่ไดเ้ ตรียมโทรศพั ทม์ อื ถอื ให้ลูกแลว้ ยัง จะคลอดเร็ว ๆ น้ี ใหเ้ ตรียมโทรศัพท์
มือถอื เอาไว้ แลว้ เทวทัตโทรทศั น์ วีดีโอ ใหเ้ ตรียมพรอ้ มนะ นล่ี ูกจะตกมาเรว็ ๆ นะเดย๋ี วเตรยี มไม่ทัน
แล้วขายหนา้ นะ เหน็ ไหมละ่ อย่างนน้ั ละ เมืองไทยของเราลมื ตัวอย่างน้ี
290 ชีวประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
เพราะฉะน้นั จงึ เตือนพ่นี อ้ งท้ังหลายอย่าเกินเนื้อเกนิ ตวั สงิ่ เหลา่ นีไ้ ม่ใช่เป็นของจําเป็นนักหนา
แตเ่ วลามนั ทาํ ลายเรามนั ทาํ ลายใหล้ ม่ จมไดจ้ รงิ ๆ ลม่ จมไดท้ ง้ั ประเทศทเี ดยี วไมใ่ ชเ่ รอื่ งเลก็ นอ้ ย เพราะ
ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ความลืมเนื้อลืมตัว นี้คือเพชฌฆาตสังหารชาติไทยของเรา ให้พากันจําเอาไว้
ใหม้ ีความประหยัดมธั ยัสถ์ อยา่ ลืมเนอื้ ลมื ตัวจนเกินไป อดบ้างดี อดไมจ่ มไมเ่ ปน็ ไร อมิ่ เพ่อื ความจม
ใชไ้ มไ่ ดน้ ะ ใหอ้ ดบา้ ง ไมล่ ม่ ไมจ่ ม อว้ นทว้ นสวยงามดว้ ยความตดิ หนย้ี มื สนิ เขามานจี้ ม อนั นจี้ ม ไมด่ เี ลย
วันน้ีก็พูดกับพ่ีน้องท้ังหลายเพียงเท่าน้ี แล้วตอนหนึ่งทุ่มก็ถึงจะลงมาเทศน์อีกทีหน่ึง น้ีมา
เย่ียมพี่น้องท้ังหลาย มาท่ีน่ีก็มาพูดเพียงเล็กน้อยเท่าน้ัน เวลาพบกันก็เตือนให้รู้เน้ือรู้ตัว ใครให้
เตรียมทองคํา ดอลลาร์ไว้มาก ๆ งานนี้เป็นงานเพ่ือชาติของเรา โดยถือหลวงปู่มั่นเราเป็นพ้ืนฐาน
สําคัญ ที่จะเทิดทูนยกชาติไทยของเราขึ้นจากหล่มลึกให้ต่างคนต่างเตรียมเนื้อเตรียมตัวบริจาค
เขา้ ไปหนนุ คลงั หลวงของเรา เวลานก้ี าํ ลงั ขาดแคลนมาก กจ็ ากความลมื เนอ้ื ลมื ตวั จากคนไทยทง้ั ชาติ
นแ้ี หละ จึงขอใหค้ นไทยทง้ั ชาตริ ูเ้ นือ้ รตู้ วั แต่บัดนี้ แล้วพลกิ แพลงเปลีย่ นแปลงเพื่อความดตี ่อไป
พดู เท่าน้ีแหละ วนั นไ้ี มพ่ ูดมาก
เอกสาร
ทา่ นอาจารยพ์ ระมหาบวั ญาณสมั ปนั โน. ผลงานของหลวงปมู่ นั่ . ในหนงั สอื บรู พาจารย.์ พมิ พค์ รง้ั ที่ ๑.
บริษทั ศลิ ปส์ ยามบรรจุภณั ฑแ์ ละการพิมพ์ จำ� กดั กรงุ เทพฯ. ๒๕๔๓ : ๓๗-๔๔.
ทา่ นพระอาจารย์ม่ัน ภูริทตั ตเถระ 291
เมตตาธรรม
ของทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภูริทัตตเถระ
ชว่ ง ๕ พรรษาสดุ ทา้ ย ณ วัดปา่ หนองผือ จงั หวัดสกลนคร
พ.ศ. ๒๔๘๘ - พ.ศ. ๒๔๙๒
เมตตาธรรมของทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภรู ทิ ตั ตเถระ ชว่ ง ๕ พรรษาสดุ ทา้ ย ณ วดั ปา่ บา้ นหนองผอื
ฉบบั น้ี ตอนแรกผเู้ ขยี นไดบ้ นั ทกึ และเรยี บเรยี งขน้ึ มาจากผเู้ ฒา่ ผแู้ กส่ มยั นนั้ เลา่ ใหฟ้ งั แลว้ นาํ มาบนั ทกึ
รวบรวมกนั ไวด้ ว้ ยคดิ วา่ จะเกบ็ ไวอ้ า่ นเอง แตบ่ างครงั้ กพ็ มิ พโ์ รเนยี วออกมาอา่ นกนั เองเฉพาะในแวดวง
ของคนวัด ในบ้านหนองผือเทา่ นนั้ ยังไม่ขยายกว้างขวางออกไปมาก สิ่งทจ่ี งู ใจใหบ้ ันทึกเกรด็ ประวตั ิ
พร้อมทั้งปกณิ กธรรมของท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูรทิ ตั ตเถระนข้ี นึ้ มา โดยอาศัยทผ่ี เู้ ขียนเกิดมาอย่ใู น
ท่ามกลางเรื่องราวประวัติเหล่าน้ี ตลอดจนได้ยินได้ฟังคนเฒ่าคนแก่ที่เป็นชาวบ้านหนองผือโดยแท้
เล่าให้ฟังอยู่เสมอ ๆ ซ่ึงบางคนอยู่ในเหตุการณ์ใกล้ชิดด้วยตนเองบ้าง และบางคนเพียงแต่เกิดทัน
เห็นองค์ท่านพระอาจารย์ม่ันเท่านั้น ตลอดถึงผู้ท่ีเกิดไม่ทันสุดท้ายภายหลังเม่ือได้ยินได้ฟังเร่ืองราว
ปฏปิ ทา ซง่ึ บางตอนเปน็ คตธิ รรมทนี่ า่ ประทบั ใจขององคท์ า่ นแลว้ ไดพ้ ดู คยุ เลา่ เปน็ เรอ่ื งราวปากตอ่ ปาก
สืบต่อกันมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ สําหรับผู้เขียนนั้นจัดอยู่ในจําพวกที่เกิดสุดท้ายภายหลัง ได้ฟัง
เร่ืองราวปฏิปทาของท่านพระอาจารย์ม่ัน ที่คนเขาพูดเล่าเรื่องขึ้นมาคร้ังคราวใด ทําให้เกิดแง่คิด
สะดุดใจถงึ ความลึกซ้ึง เป็นคตธิ รรมนา่ อัศจรรยย์ ิง่ ทุกเร่ืองทุกตอน
ผู้เขียนจึงเห็นความสําคัญและมีความศรัทธาท่ีจะให้เร่ืองราวน้ีดํารงอยู่มิให้สูญหายไปกับ
คนเล่า จึงได้พยายามบันทึกและเรียบเรียงไว้ เพ่ือให้เป็นคติประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลัง ผู้ที่สนใจ
ในการศกึ ษาธรรมและนาํ ไปประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ ามไมม่ ากกน็ อ้ ย แตผ่ เู้ ขยี นกส็ าํ นกึ อยเู่ สมอวา่ การบนั ทกึ
เรยี บเรยี งเร่ืองราวทเี่ กี่ยวข้องกบั ประวัติของพอ่ แมค่ รอู าจารยห์ ลวงปมู่ ่นั ครง้ั น้ี จะตอ้ งมขี อ้ ผดิ พลาด
และบกพรอ่ งอยูไ่ ม่มากก็น้อยเชน่ กนั เพราะได้ยนิ ได้ฟังมาจากคนอืน่ เลา่ แล้วเอามาบันทึกเรยี บเรยี ง
ขอ้ บกพรอ่ งผดิ พลาดกย็ อ่ มมอี ยใู่ นตวั ผเู้ ขยี นจงึ ขอใหผ้ รู้ ผู้ มู้ ปี ญั ญาทงั้ หลายจงอภยั ใหแ้ กผ่ มู้ สี ตปิ ญั ญา
อันเล็กน้อยนด้ี ้วย หากมีข้อตําหนิทักทว้ งประการใดแลว้ ผเู้ ขยี นขอรับไว้พจิ ารณาและแกไ้ ขต่อไป
พระอธิการพยงุ ชวนปญั โญ
เจา้ อาวาสวดั ปา่ ภูริทตั ตถริ าวาส
292 ชีวประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
ความเป็นมา
วัดภูริทัตตถริ าวาสหรือวดั ปา่ บ้านหนองผือ ตําบลนาใน อําเภอพรรณานิคม จงั หวดั สกลนคร
เปน็ วดั ทสี่ าํ คญั มากวดั หนง่ึ ในสายวดั ปา่ กรรมฐาน ซง่ึ ถา้ ดตู ามแผนทว่ี ดั นจ้ี ะตงั้ อยทู่ างทศิ ตะวนั ตกของ
จงั หวดั สกลนคร และตง้ั อยทู่ างทศิ ใตข้ องอาํ เภอพรรณานคิ ม แตต่ ง้ั อยทู่ างทศิ ตะวนั ออกของหมบู่ ้าน
หนองผอื เรม่ิ แรกสถานทแ่ี หง่ นเี้ ปน็ ปา่ พงดงดบิ อนั เตม็ ไปดว้ ยสงิ สาราสตั วน์ านาชนดิ เปน็ ตน้ วา่ เสอื
หมี อเี กง้ กวาง หมปู า่ สตั วเ์ ลอื้ ยคลาน มแี ลนและงชู นดิ ตา่ ง ๆ สตั วป์ กี มนี กเกอื บทกุ ชนดิ นอกจากนนั้
ยงั ชกุ ชุมไปดว้ ยเช้ือไข้ปา่ มาลาเรยี เป็นอันมาก
ต่อมาสถานที่แห่งน้ีมีผู้เข้าไปหักร้างถางพงทําเป็นไร่ปลูกพริกปลูกฝ้าย แล้วจับจองหมายเอา
เป็นท่ีของตนเอง บางคนจับจองแล้วทําไม่ไหวก็ปล่อยท้ิงให้รกร้างอยู่เป็นเวลานานหลาย ๆ ปีบ้าง
จนป่าเกิดขึ้นมาใหม่ เพราะท่ีป่าสมัยน้ันมีเป็นจํานวนมาก จะเลือกจับจองหมายเอาที่ป่าตรงไหน
ท่ีตนชอบใจก็ย่อมได้หากใครมีกําลังพอ มีมากจนทําเป็นไร่ปลูกพริกปลูกฝ้ายไม่หวาดไหว ภายหลัง
พระอาจารย์หลุย จันทสาโร ท่านธุดงค์หาที่วิเวกอยู่แถวบริเวณน้ี ต้องการท่ีจะสร้างที่พักสงฆ์
สกั แห่งหน่งึ ทีไ่ ม่ห่างไกลจากหมูบ่ ้านมากนกั
เม่อื ทา่ นหาทพี่ กั สงฆช์ ั่วคราวได้แล้ว ก็มีพระภิกษสุ ามเณรเดินธดุ งค์สญั จรผ่านไปมาเขา้ พักพงิ
พ่ึงพาอาศัยอยู่ไม่ขาดสาย มาภายหลังสถานที่แห่งน้ีจึงได้กลายเป็นท่ีพักสงฆ์และสํานักสงฆ์ถาวร
ตามลาํ ดับ จนกระท่งั ไดพ้ ฒั นามาเปน็ วัดโดยสมบรู ณ์ ตอนแรกใหช้ ื่อวา่ “วดั สันตวิ นาราม” ต่อมา
หลงั จากทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตั ตเถระ มรณภาพแลว้ (พ.ศ. ๒๔๙๒) พระเดชพระคณุ ทา่ นเจา้ คณุ
พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ซ่ึงขณะน้ันท่านดํารงตําแหน่งเป็น
เจ้าคณะมณฑลในเขตนี้และเป็นศิษย์ผู้ใหญ่รูปหน่ึงของท่านพระอาจารย์มั่นด้วย ได้เล็งเห็น
ความสําคัญในสถานท่ีแห่งนี้อันเป็นสถานท่ีที่พระอาจารย์มั่นเคยพํานักพักจําพรรษาอยู่เป็นเวลา
ถงึ ๕ ปี ติดตอ่ กัน ท่านจงึ ดํารใิ หเ้ ปล่ียนชือ่ วดั เสียใหม่ เพ่ือเชิดชูบูชาคุณให้สอดคล้องกับนามฉายา
ของท่านพระอาจารยม์ ่ัน อันเป็นมงคลนามว่า “วัดภูรทิ ัตตถริ าวาส” ตั้งแต่บดั นัน้ เปน็ ต้นมา
วัดนี้ได้ตั้งข้ึนเป็นวัดโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตเอกสารสิทธิ์ (น.ส. ๓)
เลขท่ี ๙๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ พร้อมกับได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปีเดียวกัน มีเจ้าอาวาส
ปกครองมาแล้ว ๖ รูป
กิจกรรมทางศาสนาที่สําคัญที่ปฏิบัติมาภายในวัดคือ ถือเอาวันท่ี ๑๐ พฤศจิกายนของทุกปี
เปน็ วนั จดั งานนอ้ มบชู า แสดงกตญั ญกู ตเวทติ าคณุ กบั ทา่ นพระอาจารย์ ซงึ่ เปน็ วนั คลา้ ยวนั มรณภาพ
ของพ่อแมค่ รบู าอาจารย์ใหญ่ หลวงปมู่ ั่น ภูริทัตตเถระ ผู้เปน็ บรู พาจารยห์ รอื บดิ าแห่งพระกรรมฐาน
ในยคุ ปจั จบุ นั ของศษิ ยานศุ ษิ ยแ์ ละพทุ ธศาสนกิ ชนทว่ั ไปไดน้ อ้ มราํ ลกึ ถงึ ปฏปิ ทา ขอ้ วตั ร และจรยิ วตั ร
ทท่ี า่ นไดด้ าํ เนนิ มาเปน็ แบบอยา่ งอนั ดงี ามในการประพฤตปิ ฏบิ ตั ธิ รรมตามแนวทางของทา่ น เพอ่ื ความ
สงบสุขรม่ เยน็ และเป็นการสร้างกุศลเพ่ิมพูนบารมธี รรมของตนสืบไป
ทา่ นพระอาจารยม์ ั่น ภูริทตั ตเถระ 293
กอ่ นมาเป็นวดั ป่าบ้านหนองผือ
เมอื่ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๖ พระอาจารยห์ ลยุ จนั ทสาโร ทา่ นเปน็ คน จงั หวดั เลย ไดเ้ ดนิ ธดุ งค์
หาความสงบวเิ วกอยู่แถบบรเิ วณหบุ เขาภูพานแห่งน้ี ตอ่ มาชาวบา้ นไดท้ ราบขา่ ววา่ ทา่ นพํานักพกั ทํา
ความเพยี รปฏบิ ตั ธิ รรมอยทู่ ถี่ ำ้� พระ บา้ นหนองสะไน ซงึ่ ไกลจากบา้ นหนองผอื ประมาณ ๑๕ กโิ ลเมตร
ขณะทท่ี า่ นพกั อยู่ ณ ถำ�้ แหง่ น้ี ทา่ นไดแ้ ตง่ ยาหมอ้ ใหญไ่ วส้ าํ หรบั ฉนั แกโ้ รคเหนบ็ ชา หมายความวา่
ท่านปรุงยาแกโ้ รคเหนบ็ ชา ซ่ึงหาตวั ยารากไม้หลายชนดิ เอาลงไปหมกั ดองไวใ้ นไห
โดยเอาน้�ำเย่ียววัวดําตัวผู้ที่ต้มสุกแล้วทําเป็นน้�ำกระสายหมักดองไว้เป็นเวลาสักสองอาทิตย์
จึงตักน้�ำดองนั้นมาฉันแก้โรคเหน็บชาได้ ตอนน้ันชาวบ้านหนองผือเป็นโรคเหน็บชากันหลายคน
และได้ทราบข่าวมาว่า มีพระกรรมฐานปรุงยาแก้โรคเหน็บชาแจกให้แก่ญาติโยมเอาไปกินหายกัน
หลายคนแลว้ ดังนนั้ ชาวบ้านหนองผอื จึงพากันไปขอยาจากทา่ น
แต่กอ่ นทท่ี า่ นจะใหย้ าไปกนิ น้ัน ท่านจะใหธ้ รรมะและสอนธรรมะไปด้วย เปน็ ตน้ วา่ ใหภ้ าวนา
“พทุ โธ” เพอื่ จะใหล้ ะทง้ิ จากแนวทางทผี่ ดิ คอื มจิ ฉาทฏิ ฐิ มกี ารถอื ผดิ ถอื ผี เลย้ี งผี บวงสรวงออ้ นวอน
ผีฟ้าผภี ตู าตา่ ง ๆ เหลา่ นี้ ให้กลบั มาถือไตรสรณคมณ์ มพี ระพทุ ธ พระธรรม และพระสงฆอ์ ย่างมัน่ คง
แล้วสมาทานรักษาศีลห้า ศีลอุโบสถในวันขึ้น-แรม ๘ ค่�ำ ๑๕ ค�่ำ และตอนตื่นนอนหรือก่อนนอน
ทกุ เชา้ คำ่� ทา่ นใหท้ าํ วตั รสวดมนตไ์ หวพ้ ระ กราบพระเสยี กอ่ นจงึ นอนหรอื ออกจากหอ้ งนอน ตลอดจน
ท่านห้ามไม่ให้กินเน้ือดิบ ของท่ีจะกินท่ีเป็นเน้ือทุกชนิดต้องทําให้สุกเสียก่อนจึงจะกิน นอกจากน้ัน
กใ็ หง้ ดเว้นมังสังเนื้อสิบอย่าง๑ ตามทีพ่ ระพุทธองค์ทรงหา้ มไวน้ ั้นด้วย
เมอื่ ทา่ นสอนสงิ่ เหลา่ นแี้ ลว้ จงึ ใหย้ าไปกนิ เมอื่ ญาตโิ ยมชาวหนองผอื นาํ ยานน้ั ไปกนิ โรคเหนบ็ ชา
ก็หายกันทุกคน จึงทําให้ญาติโยมชาวหนองผือเกิดความเชื่อถือ ความเล่ือมใสศรัทธาในท่านมาก
บางคนก็กลับไปขอยาจากท่านอีกเม่ือยาหมดแล้ว พร้อมทั้งได้มีโอกาสฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่าน
ดว้ ย ไปมากันอยู่อย่างนี้หลายคร้งั หลายหน และหลายคณะ จนทําใหญ้ าติโยมชาวบา้ นหนองผือกบั
ท่านพระอาจารยห์ ลุย จนั ทสาโร มีความคุน้ เคยสนทิ สนมกัน และไดต้ ดิ ตอ่ กันตง้ั แต่บดั นัน้ เปน็ ต้นมา
ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์หลุย จันทสาโร ยังได้เดินธุดงค์
แสวงหาความสงบวเิ วกอยใู่ นแถบบรเิ วณเชงิ เขาภพู านแหง่ นเี้ ปน็ เวลานาน เมอ่ื ทา่ นออกจากทพี่ กั สงฆ์
ถ้�ำพระ บ้านหนองสะไนแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ต่อมายังบ้านหนองผือ พักอยู่ที่ป่าซึ่งเป็นที่ดอน
ใกลเ้ ถยี งนาของโยมคนหนงึ่ อยทู่ างทศิ เหนอื ของหมบู่ า้ นหนองผอื ไมไ่ กลจากหมบู่ า้ นมากนกั ญาตโิ ยม
เม่ือทราบว่าท่านพระอาจารย์หลุยเดินทางมาพักปักกลดอยู่ท่ีนี่ ต่างก็มากราบนมัสการท่าน พร้อม
ถวายจังหันในตอนเช้าด้วยความเคารพศรัทธาย่ิง เน่ืองจากมีความคุ้นเคยกันมาก่อน ท่านจึงพูดคุย
๑ พระพทุ ธเจ้าหา้ มบริโภคเน้อื ๑๐ อยา่ ง คือ เนือ้ มนษุ ย์ เสือโคร่ง เสือดาว เสอื เหลือง ช้าง งู ราชสหี ์ สุนัข ม้า ลิง
294 ชีวประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
สนทนาสอบถามเรื่องสุขทุกข์ต่าง ๆ ด้วยความเมตตาและพูดเร่ืองพอให้เป็นที่รื่นเริงใจแก่ญาติโยม
ทม่ี านมัสการท่านดว้ ยพอสมควร
ท่านพักอยู่ที่แห่งน้ีเป็นเวลาหลายเดือน ในขณะท่ีท่านพักอยู่ท่ีน่ี ท่านพยายามอบรมส่ังสอน
ญาติโยมให้ได้รับรู้เร่ืองราวข้อวัตรปฏิบัติต่อพระกรรมฐานหลายอย่างหลายประการ ท่านเร่ิมสอน
ตง้ั แตเ่ รอื่ งเลก็ ๆ นอ้ ย ๆ เสยี กอ่ น เปน็ ตน้ วา่ การประเคนของพระใหไ้ ดร้ ะยะหตั ถบาส๒ และดว้ ยความ
เคารพ การทาํ กปั ปิยะ๓ ของฉนั ท่เี ปน็ ภตู คาม๔ พชี คาม๕ ต่าง ๆ ถวายพระ และสอนให้รูจ้ กั ประเพณี
ปฏิบัติอุปัฏฐากต่อพระกรรมฐานที่สัญจรไปมา ตลอดทั้งการสอนให้ท่องคําไหว้พระสวดมนต์ทั้งเช้า
และเยน็ พร้อมท้งั ให้ฝกึ น่ังสมาธิภาวนาเดนิ จงกรมดว้ ย ทกุ ขน้ั ตอนของการสอน ท่านจะแนะนําให้
ดกู อ่ นทกุ ครงั้ จนทาํ ใหญ้ าตโิ ยมมคี วามสนใจในการฝกึ อบรมของทา่ นมากทส่ี ดุ ญาตโิ ยมมคี วามเขา้ ใจ
และทําไดค้ ล่องแคลว่ มากข้ึน
แมใ้ นการสอนเรื่องอน่ื ๆ เช่น การเย็บเส้ือขาวด้วยมืออยา่ งน้ที า่ นก็สอน อันน้ีทา่ นเย็บเปน็ เสอ้ื
สําเร็จรูปแล้วจึงให้นําเอาไปเป็นตัวอย่างแก่ผู้ท่ีจะฝึกเย็บตาม โดยมากท่านจะให้โยมผู้หญิงท่ีชรา
นาํ ไปเยบ็ ผา้ ท่ที า่ นไดม้ านั้นไดม้ าจากผ้าบงั สุกุลบ้าง ได้จากบา้ นทเ่ี ขาทําบุญบา้ ง สําหรบั เสอ้ื ท่ีท่าน
เย็บเองเสร็จแล้ว ท่านจะบริจาคให้คนเฒ่าคนแก่ท่ีอัตคัต ยากจนท่ีสุดในหมู่บ้านหนองผือสมัยนั้น
(อยู่ในชว่ งสงคราม เมืองไทยขาดแคลนเสอ้ื ผ้ามาก)
ท่านพักอยู่ท่ีน่ีเป็นเวลานานพอสมควร จนมีความสนิทสนมกับชาวบ้านเป็นอย่างมาก ต่อมา
ท่านใคร่อยากจะตั้งท่ีพักสงฆ์ขึ้นสักแห่งหน่ึง จึงตกลงให้ญาติโยมพาตระเวนค้นหาสถานท่ีที่จะตั้ง
ทพ่ี กั สงฆใ์ หม่ คน้ หาดทู วั่ ทง้ั ทศิ เหนอื ทศิ ใต้ และทางทศิ ตะวนั ตกของหมบู่ า้ น แตย่ งั ไมเ่ ปน็ ทเ่ี หมาะสม
และถูกใจของท่าน จึงให้ญาติโยมค้นหาดูอีกทีทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นท่ีไม่ไกลจาก
หมู่บ้านมากนัก ในท่ีสุดก็ได้ที่ที่เหมาะสม ถูกลักษณะและถูกใจท่านด้วย โดยเฉพาะที่ดินตรงนี้
๒ บว่ งมอื คอื ทใ่ี กลต้ วั ประมาณศอกหนงึ่ ในระหวา่ ง หมายถงึ ทส่ี ดุ ดา้ นหนา้ ของภกิ ษกุ บั สงิ่ ของ หรอื ของภกิ ษผุ รู้ บั
กับบุคคลผปู้ ระเคนเปน็ ต้น
๓ ก. สมควร ควรแกส่ มณะบรโิ ภค ของท่คี วรแกภ่ ิกษุบริโภคใช้สอย คอื พระพทุ ธเจา้ อนุญาตใหภ้ กิ ษุใช้หรอื ฉันได้
เช่น ข้าวสุก จวี ร ร่ม ยาแดง เป็นกปั ปยิ ะ แต่สรุ า เสอ้ื กางเกง หมวก นำ้� อบ ไมเ่ ป็นกปั ปยิ ะ สง่ิ ทไี่ มเ่ ป็นกปั ปยิ ะ
เรียกวา่ อกปั ปิยะ
ข. ของทสี่ มควรเหมาะสมแกภ่ กิ ษใุ นการฉนั หมายถงึ การถวายอาหารทเ่ี ปน็ พชื ผกั ผลไม้ กอ่ นประเคนตอ้ งทาํ
ใหข้ าดออกจากกัน โดยผู้ถวายตอ้ งเดด็ หรอื ใช้มดี กรีดส่ิงน้ัน เพ่ือไมใ่ หง้ อกหรือนําไปปลูกได้
๔ ในท่ีน้ีหมายเอาพืชพันธุ์อันเป็นอยู่กับที่แจกไว้ ๕ ชนิด คือ ๓.๑ พืชเกิดจากเง่า คือ ใช้เง่าเพาะ เช่น ขม้ิน
๓.๒ พชื เกดิ จากตน้ คือ ตอนออกไดจ้ ากไมต้ น้ ทั้งหลายมี ตน้ โพธ์ิ เป็นอาทิ ๓.๓ พืชเกิดจากข้อ คอื ใชข้ อ้ ปลูก
ไดแ้ ก่ ไม้ลาํ เชน่ ออ้ ย ไมไ้ ผ่ ๓.๔ พืชเกดิ จากยอด คอื ใช้ยอดปักก็เปน็ ได้แก่ ผักตา่ ง ๆ มีผักชลี อ้ ม เป็นตน้
๓.๕ พืชทเี่ กดิ จากเมล็ด คอื ใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ ขา้ ว ถวั่ งา
๕ คอื พืชพันธ์อุ นั ถูกพรากจากทีแ่ ล้ว แตย่ งั จะเป็นหรอื งอกได้อีก เรยี ก พชี คาม
ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภูรทิ ัตตเถระ 295
(ที่เป็นวดั ป่าหนองผอื ในปัจจุบันน้ี) เดิมเป็นท่ีดินโยมช่ือพอ่ ออกต้น โพธ์ศิ รี และครอบครัว มศี รัทธา
มอบถวายท่ีดินให้เป็นท่ีพักสงฆ์แด่พระอาจารย์หลุย ท่านจึงพาคณะญาติโยมย้ายจากท่ีเดิมไปที่
จะตั้งสํานักใหม่ เมื่อย้ายไปถึงแล้วจึงพากันสร้างกระต๊อบพร้อมท้ังหอฉันช่ัวคราวข้ึน ซึ่งหลังคา
มุงดว้ ยหญา้ คา ฝาแนบด้วยใบตอง พน้ื ปูด้วยฟากไม้ไผ่ ทาํ เป็นที่พกั สงฆ์ช่วั คราวก่อน เสรจ็ แล้วทา่ น
กไ็ ดอ้ ยพู่ กั ทาํ ความเพยี รตามอธั ยาศยั ของทา่ น และอบรมธรรมะสง่ั สอนญาตโิ ยมมาเรอื่ ย ๆ ดงั ทท่ี า่ น
เคยประพฤติปฏิบัติมาจนได้ระยะหนง่ึ พรรษา
เมื่อออกพรรษาแลว้ ท่านก็เดินธดุ งค์ไปในท่ีต่าง ๆ ออกไปจาํ พรรษาในทแ่ี หง่ อืน่ บา้ ง บางครั้ง
ทา่ นกเ็ ขา้ มาจาํ พรรษาทส่ี าํ นกั สงฆว์ ดั ปา่ บา้ นหนองผอื อกี ไป ๆ มา ๆ อยอู่ ยา่ งน้ี สว่ นมากจะอยหู่ มบู่ า้ น
แถบบริเวณใกล้ ๆ หมู่บา้ นหนองผอื เชน่ ที่พักสงฆ์ ถ้�ำพระนาใน ท่ีพกั สงฆ์ถ�ำ้ พระ บา้ นหนองสะไน
ที่ป่าช้าบ้านกลาง ที่ป่าบ้านกุดไห ที่ป่าดอนใกล้บ้านอูนดง ป่าใกล้บ้านห้วยบุ่น และย้อนกลับมาที่
สาํ นกั วดั ปา่ บา้ นหนองผอื คราวนท้ี า่ นพกั อยเู่ ปน็ เวลานาน ณ สถานทแี่ หง่ นนี้ เ่ี อง ตอ่ มาจงึ ไดก้ ลายเปน็
วดั ปา่ บา้ นหนองผอื (วดั ภรู ทิ ตั ตถริ าวาส ชอื่ ทเี่ รยี กเปน็ ทางการในปจั จบุ นั ) ซง่ึ มพี ระภกิ ษสุ งฆส์ ามเณร
เดนิ ธดุ งคเ์ ข้าไปหาความสงบวิเวกไม่ขาดสาย
เม่ือชาวบ้านญาติโยมสมัยนั้น เห็นว่ามีพระภิกษุสงฆ์สามเณรไปมาเข้าพักอาศัยไม่ขาดระยะ
และมากยิ่งขึ้น จึงเกิดมีศรัทธาแรงกล้า พร้อมใจพากันสร้างศาลาถาวรขึ้นหลังหน่ึง ซึ่งทําด้วยไม้
ท้ังหลังท่ีพวกเราท่านทั้งหลายเห็นต้ังอยู่ทางทิศตะวันตกของศาลาโรงธรรมหลังใหญ่ ณ วัดป่า
บา้ นหนองผือในขณะนี้
ท่านพระอาจารย์หลุย จันทสาโร เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกับชาวบ้านหนองผือเป็นอย่างมาก
จนถือได้ว่าท่านเป็นทั้งพ่อแม่และครูบาอาจารย์องค์แรก ท่ีได้เข้าไปสั่งสอนชาวบ้านหนองผือให้ได้
รบั รเู้ รอื่ งราวตา่ ง ๆ อนั เกยี่ วกบั หลกั ธรรม และขอ้ ประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ ในทางพระพทุ ธศาสนาอยา่ งถกู ตอ้ ง
ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมกับชาวบ้านมาก แม้แต่เด็กสมัยนั้นพอรู้จักจําช่ือได้ก็รู้จักชื่อท่านทุกคน
เพราะสมยั น้นั บา้ นหนองผือยังเป็นหมู่บา้ นทห่ี า่ งไกลความเจริญมาก ซึง่ มเี ทือกเขาภพู านกน้ั ระหว่าง
หมบู่ า้ นกบั ตวั อาํ เภอ อาจกลา่ วไดว้ า่ ตดั ขาดจากโลกภายนอกเลยทเี ดยี ว และเปน็ หมบู่ า้ นทไี่ มใ่ หญโ่ ต
นักมีประมาณ ๘๐ หลังคาเรือน เม่ือมีพระภิกษุสามเณรหรือผู้คนต่างถิ่น ผ่านเข้าไปพึ่งพาอาศัย
ทาํ ความคุน้ เคยใกลช้ ิดสนทิ สนมกบั ชาวบา้ นแล้ว พวกเขาจะใหเ้ กียรติจาํ ชอ่ื บคุ คลนนั้ ได้ดแี ละนับถอื
บคุ คลนนั้ ดว้ ย ดงั นน้ั ทา่ นพระอาจารยห์ ลยุ จงึ เปน็ ชอ่ื ทช่ี าวบา้ นหนองผอื ใหค้ วามเคารพบชู ามากทสี่ ดุ
รูปหนงึ่
ท่านพระอาจารยม์ ัน่ มาบา้ นหนองผอื ปี พ.ศ. ๒๔๘๘
ต่อมาข่าวท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ซ่ึงธุดงค์จําพรรษาอยู่ทางภาคเหนือเป็นเวลา
หลายปี ทา่ นไดร้ บั นมิ นตจ์ ากพระเถระทงั้ หลายทางภาคอสี านซงึ่ เปน็ ศษิ ยานศุ ษิ ยข์ องทา่ นในขณะนน้ั
296 ชวี ประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
ใหม้ าโปรดชาวภาคอสี าน เมอ่ื ทา่ นตกลงรบั นมิ นตแ์ ลว้ ทา่ นกไ็ ดเ้ ดนิ ธดุ งคห์ าความสงบวเิ วกมาเรอ่ื ย ๆ
ตามจังหวัดรายทางต่าง ๆ เช่น โคราช ขอนแก่น อุดรธานี เลย และหนองคาย มาจนกระท่ังถึง
จงั หวดั สกลนคร อนั เปน็ จงั หวดั ทตี่ ง้ั อยใู่ กลช้ ดิ ตดิ กบั เทอื กเขาภพู าน เหมาะสาํ หรบั ผตู้ อ้ งการแสวงหา
ความสงบวเิ วกเปน็ อยา่ งมาก
ส่วนท่านพระอาจารย์หลุย จันทสาโร ซ่ึงเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์ม่ันรูปหนึ่ง ขณะน้ัน
ทา่ นยงั พกั ทาํ ความเพยี รอยทู่ ว่ี ดั ปา่ บา้ นหนองผอื ไดท้ ราบขา่ ววา่ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั มาถงึ เขตจงั หวดั
สกลนครแลว้ และพกั วิเวกอยทู่ สี่ าํ นักสงฆ์ วัดป่าบา้ นม่วงไขผ่ ้าขาว (ขณะน้ีอย่ใู นเขตอําเภอพงั โคน)
เม่ือท่านทราบแน่นอนแล้ว จึงได้ชักชวนพาญาติโยมทายกวัดป่าบ้านหนองผือ ๔-๕ คน ไปกราบ
นมัสการท่านพระอาจารย์มั่นท่ีนั่น (เดินทางหนึ่งวันและพักค้างคืนกับท่านสามคืน) ถึงแล้วเข้าไป
กราบนมัสการท่านเรียบร้อย จึงได้พูดคุยสนทนากันตามประสาลูกศิษย์กับอาจารย์ เสร็จแล้ว
กราบลาแยกย้ายกนั ไปหาท่พี ักตามอธั ยาศัย
เมอื่ ตอนขากลบั ทเี่ ขา้ ไปกราบลาทา่ น ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั กลา่ วกบั คณะของทา่ นพระอาจารย์
หลยุ มีตอนหนงึ่ วา่ “แถวอ่ืน ๆ เคยไปหมดแล้ว แตไ่ ม่รู้เป็นอย่างไรตรงหุบเขาบรเิ วณบา้ นหนองผือ
น้ันยังไม่เคยได้เข้าไป เอาล่ะ ถ้ามีโอกาสก็จะเข้าไป” ท่าน พูดคุยสนทนากันพอสมควรแก่เวลา
เสร็จแล้วคณะของท่านพระอาจารย์หลุยจึงถือโอกาสกราบลาท่านกลับหนองผือ เม่ือคณะของท่าน
พระอาจารยห์ ลุยกลบั บ้านหนองผือแลว้ ภายหลังตอ่ มาไมน่ านก็ไดท้ ราบข่าววา่ ทา่ นพระอาจารยม์ ัน่
เดินธุดงค์มาพักวิเวกอยู่ท่ีพักสงฆ์บ้านห้วยแคน ซ่ึงอยู่ในเขตอําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ในปัจจุบันน้ี ท่านพระอาจารย์หลุย เม่ือได้โอกาสเช่นน้ี จึงสั่งให้โยมพ่อออกพุฒซึ่งเป็นทายกวัด
มาที่วัดโดยเร็วไว เพ่ือมอบหน้าที่ให้ไปกราบอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่น ท่ีบ้านห้วยแคนมา
บ้านหนองผือโดยรบี ดว่ น ให้ทันกอ่ นทจี่ ะเขา้ พรรษา
โยมพ่อออกพุฒมาท่ีวัดรับคําสั่งจากท่านพระอาจารย์หลุย เม่ือเข้าใจแล้วจึงกลับบ้านไปชวน
นายดอนลกู ชายไปเป็นเพอ่ื นเดินทาง เมื่อตระเตรียมส่งิ ของที่จําเป็นในการเดินทางเสร็จแล้ว รงุ่ เช้า
วันใหม่สองคนจึงออกเดินทางด้วยกําลังฝีเท้า เพราะสมัยนั้นยังไม่มีรถราใช้ในการเดินทาง ไปถึง
บ้านห้วยแคนเปน็ เวลาคำ่� มืดพอดี จงึ พกั นอนค้างคนื ทบี่ า้ นห้วยแคนหน่ึงคนื ตอนเช้าจงึ เขา้ ไปกราบ
นมัสการท่านพระอาจารย์ม่ันในวัดท่ีท่านพักอยู่ และเล่าเรื่องราวความเป็นมาต่าง ๆ ให้ท่านทราบ
แลว้ ถือโอกาสกราบอาราธนานมิ นตท์ า่ น ทา่ นกร็ ับนิมนต์ว่าจะมา แตว่ ันนนั้ ยงั มาไมไ่ ด้ เพราะมขี อง
สัมภาระหลายอย่าง แต่คนที่จะช่วยขนของมีน้อย โยมพ่อออกพุฒพร้อมลูกชายจึงกราบลาท่านรีบ
กลบั บ้านหนองผือมากอ่ น เพื่อมาบอกชาวบา้ นให้ไปช่วยขนของและสง่ คนไปรบั ทา่ นดว้ ย
เมื่อกลับถึงบ้านแล้วจึงรีบไปรายงานให้ท่านพระอาจารย์หลุยทราบ ท่านพระอาจารย์หลุย
ทา่ นเปน็ ผคู้ อยแนะนาํ วางแนวปฏบิ ตั ใิ หก้ บั ญาตโิ ยมชาวบา้ นหนองผอื อยเู่ บอื้ งหลงั ทา่ นไดส้ ง่ั ใหเ้ กณฑ์
โยมคนหนมุ่ ๆ แขง็ แรงเพอ่ื ไปขนของเครอื่ งใชส้ มั ภาระตา่ ง ๆ ทจี่ าํ เปน็ สาํ หรบั องคท์ า่ นพระอาจารยม์ นั่
ตลอดท้ังของใช้อยา่ งอ่ืน ๆ ดว้ ย ในที่สดุ กเ็ กณฑ์บุคคลไดด้ งั รายนามที่รวบรวมได้ดังตอ่ ไปนี้
ทา่ นพระอาจารยม์ ั่น ภรู ทิ ัตตเถระ 297
โยมฝ่ายคนแกม่ ี
๑. พ่อออกทศิ สร้าง พมิ พ์บตุ ร
๒. พอ่ ออกพนั เทพนิ
๓. พอ่ ออกสีลา เทพิน
๔. พ่อออกเชียงแสน ชาตะรักษ์
๕. พ่อออกอุ่น จันทะวงษา๖
ฯลฯ
โยมฝ่ายคนหนมุ่ มี
๑. นายกอง เณธิชยั
๒. นายแก้ว เทพนิ
๓. นายสงค์ สเี หลอื ง
๔. นายนอ เณธชิ ัย
๕. นายพรหมา โพธศิ์ รี
๖. นายบญุ เลงิ เทพิน๗
๗. นายโส เทพนิ
เมอ่ื ทกุ คนทราบแลว้ จงึ จดั เตรยี มสง่ิ ของทจ่ี าํ เปน็ ในการเดนิ ทางอยา่ งเรยี บรอ้ ย พอเชา้ วนั รงุ่ ขนึ้
ก็พากนั ออกเดินทาง
ฝ่ายพระอาจารย์หลุย ท่านคงทราบอุปนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นเหมือนกัน คือปกติท่าน
พระอาจารย์ม่ัน ท่านจะไมพ่ ักสาํ นักวดั ป่าทมี่ พี ระสงฆ์กาํ ลังพกั อยกู่ อ่ นแลว้ ดงั นั้น ท่านพระอาจารย์
หลุย จึงให้พระเณรที่พักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือทุกรูปออกไปอยู่ข้างนอกหมด หมายความว่าให้ไป
อยู่วัดรอบนอกซึ่งไม่ห่างจากวัดป่าบ้านหนองผือเท่าไรนัก ทําทีให้เป็นสํานักวัดร้างไม่มีพระสงฆ์อยู่
เสียกอ่ น ภายหลงั จงึ ค่อยทยอยกันเขา้ มาใหม่
สําหรับพวกโยมที่ส่งให้เดินทางไปรับท่านพระอาจารย์ม่ัน เดินทางด้วยฝีเท้าออกจาก
บ้านหนองผือไป ผ่านบ้านผกั คําภแู ละบ้านลาดกะเฌอ ไปนอนพักคา้ งคืนทบ่ี า้ นนากบั แก้ ออกจาก
บ้านนากับแก้ไปถึงบ้านห้วยแคนเป็นเวลาประมาณ ๔-๕ โมงเย็น คณะญาติโยมจึงพากันไปขอพัก
๖ ชาวหนองผือ ผู้ถ่ายทอด และเล่าเรื่องในเหตุการณ์สมัยหลวงปู่มั่นมาพักที่วัดป่าหนองผือเป็นโยมอุปัฏฐาก
รบั ใชส้ มัยหลวงปมู่ ่ัน ปัจจบุ นั เสียชวี ิตแล้ว
๗ ชาวหนองผือ ผู้ถ่ายทอดและเล่าเร่ืองในเหตุการณ์สมัยหลวงปู่มั่นมาจําพรรษา ปัจจุบันบวชเป็นพระภิกษุ
อยวู่ ดั ปา่ หนองผอื
298 ชวี ประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย