เรอื่ งนต้ี อ้ งมหี ลกั ฐานพรอ้ มอกี เมอ่ื ครงั้ พทุ ธกาลนนั้ พวกปญั จวคั คยี ก์ ด็ ี พระยสและบดิ ามารดา
ภรรยาเกา่ ของทา่ นก็ดี ภัททวคั คีย์กด็ ี ชฏลิ ทัง้ บริวารก็ดี พระเจา้ พมิ พิสาร และราชบรพิ าร ๑๒ นหตุ
ก็ดี ฯลฯ ก่อนจะฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ปรากฏว่าได้สมาทานศีลเสียก่อน
จึงฟังเทศนา พระองค์เทศนาไปทีเดียว ทําไมท่านเหล่าน้ันจึงได้สําเร็จมรรคผล ศีล สมาธิ ปัญญา
ของทา่ นเหลา่ นัน้ มาแต่ไหน ไมเ่ ห็นพระองค์ตรสั บอกให้ท่านเหล่านน้ั ขอเอาศีล สมาธิ ปัญญา จาก
พระองค์ เมอื่ ไดล้ มิ้ รสธรรมเทศนาของพระองค์แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ยอ่ มมขี ึ้นในทา่ นเหล่านั้นเอง
โดยไมม่ กี ารขอและไม่มกี ารเอาให้ มคั คสามคั คี ไมม่ ีใครหยิบยกใหเ้ ขา้ กนั จิตดวงเดยี วเป็นศลี เป็น
สมาธิ เป็นปญั ญา ฉะนนั้ เราไม่หลงศลี จงึ จะเป็นวิญญชนอนั แทจ้ ริง
๓. เรื่อง ปาฏิโมกขสงั วรศลี
พระวนิ ัย ๕ พระคมั ภีร์ สงเคราะหล์ งมาในปาฏิโมกขุทเทส เมอ่ื ปฏิบตั ไิ ม่ถกู ตอ้ งตามพระวินยั
ย่อมข้ามไม่ได้ ผปู้ ฏิบตั ิถูกตามพระวนิ ัยแล้ว โมกฺขํ ชื่อว่าเปน็ ทางขา้ มพน้ วฏั ฏะได้ ปาฏโิ มกขน์ ี้กย็ ัง
สงเคราะห์เข้าไปหาวิสทุ ธมิ รรคอีก เรยี กว่า ปาฏิโมกขสังวรศีล ในสลี นิเทศ
สีลนิเทศนน้ั กลา่ วถงึ เรือ่ งศีลทง้ั หลาย คือ ปาฏิโมกขสังวรศลี ๑ อนิ ทรยี สังวรศีล ๑ ปจั จย-
สนั นสิ สติ ศลี ๑ อาชวี ปารสิ ทุ ธศิ ลี ๑ สว่ นอกี ๒ คมั ภรี น์ นั้ คอื สมาธนิ เิ ทศ และปญั ญานเิ ทศ วสิ ทุ ธมิ รรค
ทั้ง ๓ พระคัมภีร์น้ีสงเคราะห์เข้าในมรรคทั้ง ๘ มรรค ๘ สงเคราะห์ลงมาในสิกขาทั้ง ๓ คือ ศีล
สมาธิ ปญั ญา เมื่อจะกล่าวถงึ เรอ่ื งมรรคแล้ว ความประโยคพยายามปฏิบัติดดั ตนอยู่ ชอ่ื ว่าเดินมรรค
สติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็เรียกว่า มรรค อริยสัจจ์ ๔ ก็ชื่อว่ามรรค เพราะเป็นกิริยาท่ียังทําอยู่ ยังมีการ
ดําเนินอยู่ ดังภาษิตว่า “สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุตมิ นโฺ ต เต โลเก ปรนิ พิ พฺ ตุ า” สําหรบั เท้า
ต้องมีการเดนิ คนเราตอ้ งไปด้วยเท้าทงั้ นั้น ฉะนน้ั สัจจะทั้ง ๔ กย็ งั เป็นกริ ยิ าอยู่ เปน็ จรณะเครื่อง
พาไปถึงวิสุทธิธรรม วิสุทธิธรรมนั้นจะอยู่ท่ีไหน? มรรคสัจจะอยู่ที่ไหน? วิสุทธิธรรมก็ต้องอยู่ที่นั่น!
มรรคสัจจะไมม่ ีอยู่ทอี่ ่ืน มโน เปน็ มหาฐาน มหาเหตุ วิสุทธธิ รรมจึงต้องอยู่ทใ่ี จของเรานเี่ อง ผูเ้ จริญ
มรรคต้องทําอยู่ท่ีน้ี ไม่ต้องไปหาท่ีอ่ืน การหาท่ีอ่ืนอยู่ชื่อว่ายังหลง ทําไมจึงหลงไปหาที่อื่นเล่า?
ผู้ไม่หลงกไ็ ม่ต้องหาทางอืน่ ไม่ต้องหากับบุคคลอ่ืน ศลี กม็ ใี นตน สมาธกิ ม็ ใี นตน ปัญญาก็มอี ยู่กบั ตน
ดงั บาลวี า่ เจตนาหํ ภิกฺขเว สลี ํ วทามิ เปน็ ตน้ กายกบั จติ เทา่ นป้ี ระพฤตปิ ฏิบัติเปน็ ศีลได้ ถา้ ไมม่ ีกาย
กับจิต จะเอาอะไรมาพูดออกว่าศีลได้ คําที่ว่าเจตนานั้นเราต้องเปล่ียนเอาสระเอ ข้ึนบนเป็นสระอิ
เอาตวั ต สะกดเข้าไป กพ็ ูดไดว้ า่ จิตตฺ ํ เปน็ จติ จติ เปน็ ผูค้ ิดงดเวน้ เปน็ ผู้ระวังรักษา เปน็ ผปู้ ระพฤติ
ปฏิบัติ ซึง่ มรรคและผลใหเ้ ปน็ ไปได้ พระพทุ ธเจา้ ก็ดี พระสาวกขีณาสวเจ้ากด็ ี จะชําระตนให้หมดจด
จากกิเลสทั้งหลายได้ ท่านก็มีกายกับจิตท้ังนั้น เมื่อท่านจะทํามรรคและผลให้เกิดมีได้ก็ทําอยู่ท่ีนี่
(คือที่กายกับจิต) ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า มรรคมีอยู่ที่ตนของตนนี้เอง เมื่อเราจะเจริญซ่ึงสมถะหรือ
วิปัสสนา ก็ไมต่ ้องหนีจากกายกบั จติ ไมต่ อ้ งส่งนอก ใหพ้ จิ ารณาอยู่ในตนของตนเปน็ “โอปนยโิ ก”
ท่านพระอาจารยม์ ่ัน ภูริทัตตเถระ 149
แม้จะเป็นของมอี ยู่ภายนอก เช่น รปู เสียง กลิน่ รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น ก็ไม่ต้องส่งออกเป็นนอกไป
ต้องกําหนดเข้ามาเทียบเคียงตนของตน พิจารณาอยู่ท่ีน้ี ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ เม่ือรู้ก็ต้อง
รู้เฉพาะตน รู้อยู่ในตน ไม่ได้รู้มาแต่นอก เกิดขึ้นกับตน มีขึ้นกับตน ไม่ได้หามาจากที่อ่ืน ไม่มีใคร
เอาให้ ไมไ่ ดข้ อมาจากผอู้ นื่ จงึ ไดช้ อื่ วา่ าณทสสฺ นํ สวุ สิ ทุ ธฺ ํ อโหสิ เปน็ ความรเู้ หน็ ทบี่ รสิ ทุ ธแิ์ ท้ ฯลฯ
๔. เรอ่ื ง ธรรมคตวิ มิ ุตติ
สมเดจ็ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ นนั้ มใิ ชว่ า่ พระองคจ์ ะมปี ญั ญาพจิ ารณาเอาวมิ ตุ ตธิ รรมใหไ้ ดว้ นั หนงึ่
วันเดียว พระองคท์ รงพจิ ารณามาแตย่ งั เปน็ ฆราวาสอย่หู ลายปี นับแต่ครั้งทีพ่ ระองคไ์ ด้ ราชาภิเษก
เปน็ กษตั ริย์๒ พวกพระญาติพระวงศไ์ ดแ้ ต่งตง้ั พระองคเ์ ปน็ ผู้ใหญ่ เปน็ หัวหนา้ ปกครองดูแลบา่ วไพร่
ประชาราษฎร เมอ่ื พระองคไ์ ดเ้ ปน็ เชน่ นแี้ ลว้ ยอ่ มเปน็ ผไู้ มน่ อนใจ จาํ เปน็ ทพ่ี ระองคจ์ ะตอ้ งคดิ ใชป้ ญั ญา
พิจารณาทุกส่ิงทุกอย่างในการปกครองป้องกันราษฎรทง้ั ขอบเขต และการรกั ษาครอบครัวตลอดถงึ
พระองค์ ก็จะต้องทรงคิดรอบคอบเสมอ ถ้าไม่ทรงคิดไม่มีพระปัญญา ไฉนจะปกครองบ้านเมือง
ไพร่ฟ้าให้ผาสุกสบายได้ แม้พระองค์เองก็จะดํารงตําแหน่งหน้าที่ของพระองค์ไว้ไม่ได้ เมื่อพระองค์
ทรงคิดในเร่ืองของผู้อ่ืนและเร่ืองของพระองค์เองเสมอแล้ว ปัญญาวิวัฏฏ์ของพระองค์จึงเกิดขึ้นว่า
เราปกครองบังคบั บัญชาได้กแ็ ตก่ ารบ้านเมืองเท่าน้ี สว่ นการเกิด แก่ เจบ็ ตายเลา่ เราบังคบั บญั ชา
ไมไ่ ดเ้ สยี แล้ว จะบงั คับบญั ชาไมใ่ ห้สตั วท์ ง้ั หลายเกดิ กไ็ ม่ได้ เมื่อเกดิ แลว้ จะบังคบั ไม่ให้แก่ชราก็ไมไ่ ด้
จะบงั คบั ไมใ่ หเ้ จบ็ ปว่ ยไขเ้ ปน็ โรคาพาธกไ็ มไ่ ด้ จะบงั คบั ไมใ่ หต้ ายกไ็ มไ่ ด้ เราจะบงั คบั ความเกดิ ความแก่
ความเจ็บ ความตาย ของผู้อน่ื ก็ไมไ่ ด้ แม้แตต่ วั ของเราเองเลา่ ก็บังคบั ไม่ได้ ทรงพจิ ารณาเปน็ อนโุ ลม
และปฏโิ ลม กลบั ไปกลบั มา พิจารณาเท่าไรกย็ ิง่ เกดิ ความสลดสงั เวชและทอ้ พระทัยในการจะอยู่เปน็
ผู้ปกครองราชสมบัติต่อไป การท่ีอยู่ในฆราวาสรักษาสมบัติเช่นน้ีเพ่ือต้องการอะไร? เป็นผู้มีอํานาจ
เท่าน้ี มีสมบัติข้าวของเช่นน้ี จะบังคับหรือจะซ้ือ หรือประกันซึ่งความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ไม่ได้
จึงทรงใครค่ รวญไปอีกว่า เราจะทําอยา่ งไรจึงจะหาทางพน้ จากความเกดิ แก่ เจ็บ ตาย นไ้ี ด้ จงึ ได้
ความอุปมาข้ึนว่า ถ้ามีร้อนแล้วก็ยังมีเย็นเป็นเคร่ืองแก้กันได้ มีมืดแล้วก็ยังมีสว่างแก้กัน ถ้ามีเกิด
แก่ เจบ็ ตายแล้ว อยา่ งไรก็คงมที าง ไม่เกิด ไม่แก่ ไมเ่ จ็บ ไม่ตาย เป็นแน่ จึงได้ทรงพยายามใคร่ครวญ
หาทางจะแก้ เกดิ แก่ เจบ็ ตาย ใหจ้ นได้ แต่ว่าการจะแก้ เกิด แก่ เจบ็ ตายนี้ เราอยู่ในฆราวาสเช่นนี้
คงจะทาํ ไมไ่ ด้ เพราะฆราวาสน้เี ปน็ ท่คี ับแคบใจยงิ่ นัก มีแตก่ ารที่ออกหนีเสียจากการครองราชสมบัติ
นีอ้ อกไปผนวชจงึ จะสามารถทาํ ได้
๒ พระพทุ ธเจา้ เมอ่ื ตอนออกผนวช เปน็ เพยี งเจา้ ชายรชั ทายาท พระเจา้ สทุ โธทนะพระบดิ าของพระองคเ์ ปน็ กษตั รยิ ์
กรุงกบลิ พัสดุ์
150 ชีวประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
ครั้นทรงคิดเช่นน้ีแล้ว ต่อมาวันหนึ่ง พอถึงเวลากลางคืน พวกนางสนมท้ังหลายได้พากันมา
บํารุงบําเรอพระองค์อยู่ด้วยการบําเรอท้ังหลายในเวลาท่ีนางสนมทั้งหลายยังบําเรออยู่น้ัน พระองค์
ทรงบรรทมหลบั ไปก่อน คร้นั ใกล้เวลาพระองค์จะทรงตน่ื จากพระบรรทมนั้น พวกนางสนมทง้ั หลาย
ก็พากันหลับเสียหมด แต่ไฟยังสว่างอยู่ เมื่อนางสนมท่ีบําเรอหลับหมดแล้ว เผอิญพระองค์ทรง
ตน่ื ขนึ้ มา ดว้ ยอาํ นาจแหง่ การพจิ ารณาทพ่ี ระองคท์ รงคดิ ไมเ่ ลกิ ไมแ่ ลว้ นน้ั ทาํ ใหพ้ ระทยั ของพระองค์
พลิกขณะ เลยเกิดอุคคหนิมิตข้ึน ลืมพระเนตรแล้วทอดพระเนตรแลดูพวกนางสนมท้ังหลายท่ี
นอนหลบั อยนู่ นั้ เปน็ ซากอสภุ ะไปหมด เหมอื นกบั เปน็ ซากศพในปา่ ชา้ ผดี บิ จงึ ใหเ้ กดิ ความสลดสงั เวช
เหลือที่จะทนอยู่ได้ จงึ ตรสั กับพระองคเ์ องว่า เราอยทู่ ่นี จี้ ะว่าเป็นทส่ี นกุ สนานอย่างไรได้ คนท้ังหลาย
เหล่านีล้ ้วนแต่เป็นซากศพในปา่ ช้าทงั้ หมด เราจะอย่ทู าํ ไม จําเราจะต้องออกผนวชในเดยี๋ วนี้ จงึ ทรง
เครื่องฉลองพระองค์ถือพระขรรค์แล้วออกไปเรียกนายฉันนะ อํามาตย์ผู้เป็นนายม้า ให้ไปเอาม้า
มาพาพระองค์ออกจากเมืองไป เม่ือนายฉันนะนําม้ามาแล้ว พระองค์ก็ทรงม้ามีนายฉันนะอํามาตย์
นําทางเสด็จหนีออกจากเมืองไปโดยไม่ต้องให้ใครรู้จัก คร้ันรุ่งแจ้งก็บรรลุถึงอโนมานที ทรงข้ามฝั่ง
แม่นทีแล้วก็ถ่าย(ถอด)เคร่ืองประดับและเครื่องทรงท่ีฉลองพระองค์ออกเสีย จึงส่งเครื่องประดับให้
นายฉันนะ ตรสั สงั่ ใหก้ ลบั ไปเมอื งพรอ้ มดว้ ยอัศวราชของพระองค์ สว่ นพระองคไ์ ดเ้ อาพระขรรค์ตัด
พระเมาฬแี ละพระมสั สุเสีย ทรงผนวชแต่พระองค์เดยี ว
เมอื่ ผนวชแลว้ จงึ เสาะแสวงหาศกึ ษาไปกอ่ น คอื ไปศกึ ษาอยใู่ นสาํ นกั อาฬารดาบส และอทุ กดาบส
ครั้นไม่สมประสงค์จึงทรงหลีกไปแต่พระองค์เดียว ไปอาศัยอยู่ราวป่าใกล้แม่น�้ำเนรัญชรา แขวง
อุรุเวลาเสนานิคม ได้มีปัญจวัคคีย์ไปอาศัยด้วย พระองค์ได้ทรงทําประโยคพยายามทําทุกกรกิริยา
อย่างเข้มแข็ง จนถึงสลบตายก็ไม่สําเร็จ เมื่อพระองค์ได้สติแล้ว จึงทรงพิจารณาอีกว่า การท่ีเรา
กระทําความเพียรนี้จะมาทรมานแต่กายอย่างเดียวเท่านี้ไม่ควร เพราะจิตกับกายเป็นของอาศัยกัน
ถ้ากายไม่มีจะเอาอะไรทําประโยคพยายาม และถ้าจิตไม่มี กายนี้ก็ทําอะไรไม่ได้ ต่อนั้น พระองค์
จึงไปพยุงพเยาร่างกายพอให้มีกําลังแข็งแรงขึ้นพอสมควร จึงเผอิญปัญจวัคคีย์พร้อมกันหนีไป คร้ัน
ปัญจวัคคีย์หนีแล้ว พระองค์ก็ได้ความวิเวกโดดเดี่ยวแต่ผู้เดียว ไม่ต้องพ่ึงพาอาศัยใคร จึงได้เร่ง
พิจารณาอยา่ งเต็มท่ี
เมอื่ ถึงวนั ขึน้ ๑๕ ค�ำ่ เดอื น ๖ ปรี ะกา ในตอนเช้ารบั มธปุ ายาสของนางสชุ าดาเสวยเสร็จแลว้
กพ็ กั ผอ่ นอยตู่ ามราวปา่ นน้ั ใกลจ้ ะพลบคำ่� แลว้ จงึ เสดจ็ ดาํ เนนิ มาพบโสตถยิ พราหมณ์ โสตถยิ พราหมณ์
ได้ถวายหญ้าคา ๘ กําแก่พระองค์ พระองค์รับแล้วก็มาทําเป็นที่นั่ง ณ ภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์
ผินพระพักตร์ไปทางบูรพาทิศ ผินพระปฤษฎางค์เข้าหาต้นไม้น้ัน เมื่อพระองค์ประทับน่ังเรียบร้อย
แล้ว จึงได้พยุงพระหฤทัยให้เข้มแข็ง ได้ทรงต้ังสัจจาธิษฐานม่ันในพระหฤทัยว่า “ถ้าเราไม่บรรลุ
พระสัมมาสัมโพธิญาณตามความต้องการแล้ว เราจะไม่ลุกจากบัลลังก์นี้ แม้เลือดและเน้ือจะแตก
ทําลายไป ยังเหลืออยู่แต่พระตจะและพระอัฏฐิ(อัฐิ)ก็ตามที” ต่อนั้นไปจึงเจริญสมถะและวิปัสสนา
ปัญญา ทรงกําหนดพระอานาปานสตเิ ปน็ ขัน้ ตน้ ในตอนต้นนี้แหละพระองค์ได้ทรงชาํ ระนิวรณธรรม
ท่านพระอาจารยม์ นั่ ภรู ิทตั ตเถระ 151
เต็มท่ี เจา้ เวทนาพรอ้ มทั้งความฟุง้ ซ่านไดม้ าประสพแก่พระองค์อย่างสาหัส ถา้ จะพูดว่ามาร กไ็ ด้แก่
พวก ขันธมาร มจจุมาร กิเลสมาร เข้ารังควาญพระองค์ แต่ว่าสัจจาธิษฐานของพระองค์ยังเท่ียง
ตรงม่ันคงอยู่ สตแิ ละปญั ญายงั พรอ้ มอยู่ จงึ ทาํ ให้จาํ พวกนวิ รณ์เหล่าน้ันระงบั ไป ปตี ิ ปสั สัทธิ สมาธิ
ได้เกิดแล้วแก่พระองค์จึงได้กล่าวว่า พระองค์ทรงชนะพระยามาราธิราชในตอนนี้เป็นปฐมยาม
เมื่อออกสมาธิตอนนี้ได้เกิดบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เม่ือพิจารณาไปก็ไม่เห็นท่ีสิ้นสุด จึงกลับจิต
ทวนกระแสเข้ามาพิจารณาผู้มันไปเกิด ใคร่ครวญไปๆ มาๆ จิตก็เข้าภวังค์อีก เม่ือออกจากภวังค์
แลว้ จงึ เกดิ จตุ ปู ปาตญาณขน้ึ มาในยามท่ี ๒ คอื มชั ฌมิ ยาม ทรงพจิ ารณาไปตามความรชู้ นดิ นี้ กย็ งั ไมม่ ี
ความสน้ิ สดุ จงึ ทรงทวนกระแสจติ เขา้ มาใครค่ รวญอยใู่ นเรอื่ งของผพู้ าเปน็ ไป พจิ ารณากลบั ไปกลบั มา
ในปฏจิ จสมปุ ปาทปจั จยาการ จนจติ ของพระองคเ์ กดิ ความเบอ่ื หนา่ ยสลดสงั เวชเตม็ ทแี่ ลว้ กล็ งสภู่ วงั ค์
ถึงฐีติธรรม ภตู ธรรม จิตตอนนถี้ อยออกมาแล้ว จงึ ตดั สินขาดทเี ดียว จึงบญั ญัติว่า อาสวกั ขยญาณ
ทรงทราบว่าจิตของพระองค์ส้ินแล้วจากอาสวะ พ้นแล้วจากบ่วงแห่งมาร ไม่มี เกิด แก่ เจ็บ ตาย
พ้นแลว้ จากทกุ ข์ ถึงเอกันตบรมสุข สนั ตวิ ิหารธรรม วิเวกธรรม นิโรธธรรม วมิ ตุ ตธิ รรม นิพพานธรรม
แลฯ.
๕. เรือ่ ง อัจฉริยะ - อพั ภูตธรรม
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระบรมศาสดาของพวกเรา เมื่อพระองค์ยังเป็นท้าวศรีธารถ
(สทิ ธัตถราชกมุ าร) เสวยราชสมบัติอยู่ ทรงพิจารณา จตุนิมิต ๔ ประการ จงึ บนั ดาลให้พระองคเ์ สดจ็
ออกสมู่ หาภเิ นษกรมณ์ ทรงบรรพชา ทรงอธษิ ฐานบรรพชา ทรี่ มิ ฝง่ั แมน่ ำ�้ อโนมานที เครอื่ งสมณบรขิ าร
มมี าเอง เลอื่ นลอยมาสวมพระกายเอง ทรงเพศเปน็ บรรพชติ สมณสารปู สาํ เรจ็ ดว้ ยบญุ ญาภนิ หิ ารของ
พระองค์เอง จึงเป็นการอศั จรรย์ ไม่เคยมีไมเ่ คยเหน็ มาในปางกอ่ น จึงเป็นเหตใุ หพ้ ระองคอ์ ัศจรรยใ์ จ
ไมถ่ อยหลงั ในการประกอบความเพยี ร เพอื่ ตรสั รพู้ ระอนตุ ตรสมั มาสมั โพธญิ าณ ครนั้ ทรงบาํ เพญ็ เพยี ร
ทางจติ ตภาวนา ไมท่ ้อถอยตลอดเวลา ๖ ปี ได้ตรัสรูส้ ัจจธรรมของจรงิ โดยถูกตอ้ งแล้ว กย็ ง่ิ เปน็ เหตุ
ใหพ้ ระองค์ทรงอัศจรรย์ในธรรมทไ่ี ด้ตรสั ร้แู ล้วนน้ั อกี เปน็ อนั มาก
ในหมู่ปฐมสาวกน้ันเล่า ก็ปรากฏเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์เหมือนกัน เช่น ปัญจวัคคีย์ก็ดี
พระยสและสหายของท่านก็ดี พระสาวกอ่ืน ๆ ท่ีเป็นเอหิภิกฺขุก็ดี เม่ือได้ฟังพระธรรมเทศนาของ
พระบรมศาสดาแล้วได้สําเร็จมรรคผล และทูลขอบรรพชาอุปสมบทกับพระองค์ พระองค์ทรง
เหยยี ดพระหตั ตอ์ อกเปลง่ พระวาจาวา่ “เอหภิ กิ ขฺ ุ ทา่ นจงเปน็ ภกิ ษมุ าเถดิ ธรรมวนิ ยั เรากลา่ วดแี ลว้ ”
เพียงเท่านี้ก็สําเร็จเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาอัฐบริขารเลื่อนลอยมาสวมสอดกาย ทรงเพศเป็น
บรรพชิตสมณสารูป มีรูปอันน่าอัศจรรย์น่าเล่ือมใสจริง สาวกเหล่าน้ันก็อัศจรรย์ตนเองในธรรม
อันไม่เคยรู้เคยเห็น อันสําเร็จแล้วด้วยบุญฤทธ์ิและอํานาจพระวาจาอิทธิปาฏิหาริย์ของพระบรม
ศาสดาจารย์ ท่านเหล่านั้นจะกลับคืนไปบ้านเก่าได้อย่างไร เพราะจิตของท่านเหล่านั้นพ้นแล้วจาก
152 ชีวประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
บ้านเก่า และอัศจรรย์ในธรรมอันตนรู้ตนเห็นแล้ว ทั้งบริขารที่สวมสอดกายอยู่ก็เป็นผ้าบังสุกุล
อยา่ งอุกฤษฎ์
ครั้นต่อมาท่านเหล่าน้ัน ไปประกาศพระพุทธศาสนา มีผู้ศรัทธาเล่ือมใสใคร่จะบวช พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็ทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชด้วยติสรณคมนูปสัมปทา สําเร็จด้วยการเข้าถึงสรณะ
ทั้ง ๓ คอื อุทศิ เฉพาะพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็เป็นภิกษเุ ต็มท่ี
คร้นั ต่อมา พระผ้มู ีพระภาคเจ้า ทรงมีพระญาณเลง็ เห็นการณไ์ กล จึงทรงมอบความเป็นใหญ่
ให้แก่สงฆ์ ทรงประทานญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทาไว้เป็นแบบฉบับอันหมู่เราผู้ปฏิบัติได้ ดําเนิน
ตามอยู่ทุกวันนี้ได้พากันมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา อุทิศเฉพาะพระบรมศาสดา พร้อมทั้ง
พระธรรมและพระสงฆ์แล้วทําความพากเพียรประโยคพยายามไปโดยไม่ต้องถอยแล้ว ก็คงจะได้รับ
ความอศั จรรยใ์ จในพระธรรมวนิ ยั บา้ งเปน็ แน่ ไมน่ อ้ ยกม็ าก ตามวาสนาบารมขี องตนโดยไมส่ งสยั เลยฯ.
๖. เรอื่ ง วาสนา
กศุ ลวาสนา อกศุ ลวาสนา อพั ยากตวาสนา
อัธยาศัยของสัตว์ เป็นมาแล้วต่าง ๆ คือ ดี เลว และกลาง ๆ วาสนาก็เป็นไปตามอัธยาศัย
คือ วาสนาทีย่ ่งิ กวา่ ตัว วาสนาเสมอตวั วาสนาท่ีเลวทราม บางคนเป็นผู้มวี าสนาย่ิงในทางดมี าแลว้
แต่คบกับพาล วาสนาก็อาจเป็นเหมือนคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน แต่คบกับบัณฑิต วาสนา
ก็เลอ่ื นขนึ้ ไปเป็นบณั ฑติ บางคนคบมติ รเปน็ กลาง ๆ ไมด่ ี ไมร่ ้าย ไม่หายนะ ไมเ่ สือ่ มทราม วาสนา
ก็พอประมาณสถานกลาง ฉะน้ัน บุคคลพึงพยายามคบบัณฑิต เพ่ือเล่ือนภูมิวาสนาของตนให้สูง
ข้ึนไปโดยลําดับ
๗. เรื่อง สนทนาธรรมตามกาลเปน็ มงคลอุดม
กาเลน ธมฺมสฺสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตตฺ มํ
การปฤกษา(ปรึกษา)ไต่ถาม หรือการสดับธรรมตามกาล ตามสมัย พระบรมศาสดาตรัสว่า
เปน็ มงคลความเจริญอันอุดมเลศิ
หมเู่ ราตา่ งคนกม็ งุ่ หนา้ เพอื่ ศกึ ษามาเองทงั้ นน้ั ไมไ่ ดไ้ ปเชอ้ื เชญิ นมิ นตม์ า ครนั้ มาศกึ ษา มาปฏบิ ตั ิ
กต็ อ้ งทาํ จรงิ ปฏบิ ตั จิ รงิ ตามเยย่ี งอยา่ งพระบรมศาสดาจารยเ์ จา้ และสาวกขณี าสวะเจา้ ผปู้ ฏบิ ตั มิ ากอ่ น
เบอื้ งตน้ พงึ พจิ ารณา สจั จธรรมคอื ของจรงิ ทง้ั ๔ ไดแ้ ก่ เกดิ แก่ เจบ็ ตาย อนั ทา่ นผเู้ ปน็ อรยิ บคุ คล
ได้ปฏิบัติกําหนดพิจารณามาแล้ว เกิด เราก็เกิดมาแล้ว คือร่างกายอันเป็นอยู่นี้มิใช่ก้อนเกิดหรือ?
แก่ เจ็บ ตาย ก็ก้อนอันนี้แล เม่ือเราพิจารณาอยู่ในอิริยาบถท้ัง ๔ เดินจงกรมบ้าง ยืนกําหนด
พิจารณาบ้าง นอนกําหนดพิจารณาบ้าง จิตจะรวมเป็นสมาธิ รวมน้อยก็เป็น “ขณิกสมาธิ” คือ
จิตรวมลงสู่ภวังค์หน่อยหน่ึงแล้วก็ถอนออกมา ครั้นพิจารณาอยู่ไม่ถอยจนปรากฏเป็น อุคคหนิมิต
ท่านพระอาจารยม์ ั่น ภูรทิ ัตตเถระ 153
จะเปน็ นอกกต็ าม ในกต็ าม ใหพ้ จิ ารณานมิ ติ นน้ั จนจติ วางนมิ ติ รวมลงสภู่ วงั ค์ ดาํ รงอยนู่ านพอประมาณ
แลว้ ถอยออกมา สมาธใิ นชนั้ นเี้ รยี กวา่ อปุ จารสมาธิ พงึ พจิ ารณานมิ ติ นน้ั เรอื่ ยไปจนจติ รวมลงสภู่ วงั ค์
เขา้ ถึงฐตี ิจติ เป็น อปั ปนาสมาธิปฐมฌาน ถงึ ซงึ่ เอกคั คตา ความมอี ารมณ์เดียว ครนั้ จิตถอยออกมา
ก็พึงพิจารณาอีกแล้ว ๆ เล่า ๆ จนขยายส่วน แยกส่วนเป็นปฏิภาคนิมิตได้ต่อไป คือพิจารณาว่า
ตายแล้วมนั จะเป็นอะไรไปอกี มนั จะต้องเปอ่ื ยเน่า ผพุ งั ยังเหลอื แต่ร่าง กระดกู กาํ หนดทัง้ ภายในคือ
กายของตน ทง้ั ภายนอกคอื กายของผอู้ ่นื โดยใหเ้ หน็ สว่ นตา่ ง ๆ ของรา่ งกายวา่ สว่ นนีเ้ ปน็ ผม ขน
เล็บ ฟนั หนงั ฯลฯ เส้นเอ็นน้อยใหญม่ เี ท่าไร กระดกู ท่อนนอ้ ยทอ่ นใหญ่มีเท่าไรโดยชัดเจนแจม่ แจ้ง
กาํ หนดใหม้ ันเกิดขึน้ มาอกี แลว้ กําหนดใหม้ นั ยนื เดิน น่ัง นอน แล้วแตกสลายไปสสู่ ภาพเดิมของมัน
คอื ไปเป็น ดิน น้�ำ ไฟ ลม ถงึ ฐานะเดิมของมนั นัน้ แล
เมื่อกําหนดพิจารณาอยู่อย่างน้ี ทั้งภายนอก ท้ังภายใน ทําให้มากให้หลาย ให้มีท้ังตายเก่า
ตายใหม่ มแี รง้ กาสนุ ขั ยอ้ื แยง่ กดั กนิ อยู่ กจ็ ะเกดิ ปรชี าญาณขน้ึ ตามแตว่ าสนาอปุ นสิ ยั ของตน ดงั นแี้ ลฯ.
๘. เรื่อง การทําจิตให้ผอ่ งใส
สจติ ฺตปรโิ ยทปนํ เอตํ พทุ ฺธาน สาสนํ
การทาํ จิตของตนใหผ้ ่องใส เปน็ การทําตามคาํ ส่งั สอนของพระพุทธเจา้ ทงั้ หลาย
พระพทุ ธเจา้ ผ้พู ระบรมศาสดา ได้ตรสั สอน กาย วาจา จติ มิได้สอนอยา่ งอ่นื สอนใหป้ ฏบิ ตั ิ
ฝึกหดั จิตใจ ใหเ้ อาจติ พิจารณากาย เรียกว่า กายานปุ ัสสนาสตปิ ฏั ฐาน หดั สติใหม้ ากในการคน้ ควา้
ท่ีเรียกว่า ธัมมวิจยะพิจารณาให้พอทีเดียว เม่ือพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็น
สมาธิรวมลงเอง
สมาธิมี ๓ ขัน้ คอื ขณกิ สมาธิ จติ รวมลงไปสู่ฐตี ิขณะแล้วพกั อยู่หน่อยหนึ่ง ถอยออกมาเสีย
อุปจารสมาธิ จิตรวมลงสู่ภวังค์แล้วพักอยู่นานหน่อยจึงถอยออกมารู้นิมิตอย่างใดอย่างหน่ึง และ
อัปปนาสมาธิ สมาธิอันแน่วแน่ ได้แก่จิตรวมลงสู่ภวังค์ถึงฐีติธรรม ถึง “เอกัคคตา” ความมี
อารมณ์เดยี ว หยดุ นิ่งอยู่กบั ที่ มคี วามรตู้ วั อยู่ว่า จติ ดาํ รงอยู่ และประกอบด้วยองค์ฌาน ๕ ประการ
คอ่ ยสงบประณตี เขา้ ไปโดยลําดับ
เม่ือหัดจิตอยู่อย่างน้ี ช่ือว่าทําจิตให้น่ิง ได้ในพระบาลีว่า อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน
สาสนํ การประกอบความพากเพียรทําจิตให้น่ิง เป็นการปฏิบัติตามคําสอนของพระบรมศาสดา
สัมมาสัมพุทธเจ้า
การพจิ ารณากายน้แี ล ชอ่ื ว่า “ปฏิบตั ”ิ อนั นกั ปราชญ์ทั้งหลายมพี ระสมั มาสัมพุทธเจา้ เป็นตน้
แสดงไว้ มีหลายนัยหลายประการ ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร เรียกว่า กายานุปัสสนา
สติปฏั ฐาน ในมูลกรรมฐาน เรียกวา่ เกสา โลมา นขา ทนตฺ า ตโจ ท่ีพระอปุ ชั ฌายะสอนเบือ้ งต้น
แหง่ การบรรพชาเปน็ สามเณร และในธรรมจกั รกปั ปวตั นสตู ร(ธมั มจกั กปั ปวตั นสตู ร)วา่ ชาตปิ ิ ทกุ ขฺ า
154 ชีวประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
ชราปิ ทกุ ฺขา มรณมปฺ ิ ทกุ ฺขํ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่กเ็ ปน็ ทกุ ข์ แม้ความตายกเ็ ป็นทกุ ข์
ดังนี้ บัดน้เี ราก็เกดิ มาแลว้ มใิ ชห่ รือ? ครน้ั เมื่อบุคคลมาปฏบิ ตั ใิ ห้เป็น โอปนยิโก น้อมเขา้ มาพจิ ารณา
ในตนนี้แล้วเป็นไม่ผิด เพราะพระธรรมเป็น อกาลิโก มีอยู่ทุกเม่ือ อาโลโก สว่างโร่อยู่ท้ังกลางวัน
และกลางคนื ไมม่ ีอะไรปดิ บงั เลยฯ.
๙. เร่อื ง วธิ ปี ฏิบัติของผู้เล่าเรยี นมาก
ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมาก มีอุบายมากเป็นปริยายกว้างขวาง ครั้นมาปฏิบัติทางจิต
จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย ฉะนั้นต้องให้เข้าใจว่าความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้วต้องเก็บใส่ตู้ใส่หีบไว้เสียก่อน
ต้องมาหัด ผู้รู้คือจิตนี้ หัดสติให้เป็นมหาสติ หัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา กําหนดรู้เท่ามหาสมมติ
มหานิยม อันเอาออกไปต้ังไว้ว่าอันน้ันเป็นอันน้ัน เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้าอากาศกลางหาว
ดาวนกั ขตั ตฤกษส์ ารพดั สง่ิ ทง้ั ปวง อนั เจา้ สงั ขารคอื อาการจติ หากออกไปตง้ั ไวบ้ ญั ญตั ไิ วว้ า่ เขาเปน็ นน้ั
เป็นนี้ จนรู้เท่าแล้ว เรียกว่ากําหนดรู้ทุกข์ สมุทัย เม่ือทําให้มาก เจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้ว
จิตก็จะรวมลงได้ เมื่อกําหนดอยู่ก็ชื่อว่าเจริญมรรค หากมรรคพอแล้ว นิโรธก็ไม่ต้องกล่าวถึง
หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเอง เพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่ ในกาย วาจา จิตน้ี
ทเ่ี รียกวา่ อกาลโิ ก ของมอี ยูท่ กุ เมือ่ โอปนยิโก เมอื่ ผู้ปฏบิ ตั มิ าพจิ ารณาของทมี่ อี ยู่ ปจจฺ ตฺตํ จึงจะ
รู้เฉพาะตัว คือมาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะ เปื่อยเน่า แตกพังลงไป ตามสภาพความจริง
ของภูตธาตุ ปุพฺเพสุ ภูเตสุ ธมฺเมสุ ในธรรมอันมมี าแต่เกา่ ก่อน สว่างโรอ่ ย่ทู ัง้ กลางวนั และกลางคนื
ผู้มาปฏิบัติพิจารณา พึงรู้อุปมารูปเปรียบดังน้ี อันบุคคลผู้ทํานาก็ต้องทําลงไปในแผ่นดิน ลุยตม
ลุยโคลน ตากแดดกรําฝน จึงจะเห็นขา้ วเปลือก ขา้ วสาร ขา้ วสุกมาได้ และไดบ้ รโิ ภคอิ่มสบาย
กล็ ว้ นทํามาจากของมอี ยู่ทัง้ สน้ิ ฉันใด ผู้ปฏิบัตกิ ฉ็ ันนัน้ เพราะ ศลี สมาธิ ปัญญา ก็มีอยู่ในกาย
วาจา จติ ของทกุ คนฯ.
๑๐. เร่ือง ขอ้ ปฏบิ ัตเิ ป็นของมีอยู่ทกุ เมื่อ
ข้อปฏิบัตสิ ําหรับผู้ปฏบิ ตั ทิ งั้ หลาย ไม่มีปัญหา โอปนยิโก น้อมจิตเขา้ มาพจิ ารณา กาย วาจา
จติ อกาลโิ ก อนั เปน็ ของมอี ยู่ อาโลโก สว่างโร่อยูท่ ้งั กลางวันและกลางคืน ปจจฺ ตตฺ ํ เวทติ พฺโพ วิญญหู ิ
อันนักปราชญ์ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวกเจ้าทั้งหลายผู้น้อมเข้ามาพิจารณา
ของมีอยู่นี้ ได้รู้แจ้งจําเพาะตัวมาแล้ว เป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ว่ากาลน้ันจึงจะมี กาลน้ีจึงจะมี ย่อมมีอยู่
ทุกกาล ทุกสมัย ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ได้เฉพาะตัว คือผิดก็รู้จัก ถูกก็รู้จักในตนของตนเอง ดีชั่วอย่างไร
ตวั ของตวั ย่อมรู้จักดีกวา่ ผู้อน่ื ถ้าเปน็ ผู้หมัน่ พนิ ิจพจิ ารณาไม่มวั ประมาท เพลิดเพลินเสยี
ตัวอย่างที่มีมาแล้วคือ มาณพ ๑๖ คน ซึ่งเป็นศิษย์ของพาวรีพราหมณ์ ท่านเหล่าน้ันเจริญ
ฌานกสณิ ตดิ อยใู่ นรปู ฌานและอรปู ฌาน พระบรมศาสดาจารยจ์ งึ ตรสั สอนใหพ้ จิ ารณาของมอี ยใู่ นตน
ท่านพระอาจารย์มนั่ ภรู ทิ ตั ตเถระ 155
ให้เหน็ แจ้งด้วยปัญญาใหร้ ู้วา่ กามภพเปน็ เบ้ืองตำ่� รปู ภพเปน็ เบ้ืองกลาง อรูปภพเป็นเบื้องบน แล้ว
ถอยลงมาใหร้ วู้ า่ อดตี เปน็ เบอื้ งตำ่� อนาคตเปน็ เบอื้ งบน ปจั จบุ นั เปน็ ทา่ มกลาง แลว้ ชกั เขา้ มาหาตวั อกี
ให้รวู้ ่า อทุ ฺธํ อโธ ตริ ยิ ญฺจาปิ มชฺเฌ เบ้ืองต่�ำแตป่ ลายผมลงไป เบอื้ งบนแต่พ้ืนเท้าขนึ้ มา เบอื้ งขวาง
ฐานกลาง เม่ือท่านเหล่าน้ันมาพิจารณาอยู่อย่างน้ี ปจฺจตฺตํ จึงรู้เฉพาะขึ้นท่ีตัวของตัวโดยแจ่มแจ้ง
สน้ิ ความสงสัยข้อปฏิบตั ิ ไมต่ อ้ งไปเทยี่ วแสวงหาทอ่ี ื่นใหล้ าํ บากฯ.
๑๑. เรือ่ ง ไดฟ้ ังธรรมทกุ เม่อื
ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อถึงจะอยู่คนเดียวก็ตาม คืออาศัยการ
สําเหนียก กาํ หนดพจิ ารณาธรรมอย่ทู งั้ กลางวันและกลางคืน ตา หู จมกู ล้นิ กาย ก็เปน็ รปู ธรรม
ทม่ี อี ยู่ ปรากฏอยู่ รปู เสียง กลิ่น รส โผฏฐพั พะ กม็ ีอยู่ปรากฏอยู่ ไดเ้ ห็นอยู่ ไดย้ ินอยู่ ไดส้ ดู ดม ล้ิม
เลยี และสมั ผสั อยู่ จติ ใจเลา่ ? กม็ อี ยู่ ความคดิ นกึ รสู้ กึ ในอารมณต์ า่ ง ๆ ทงั้ ดแี ละรา้ ยกม็ อี ยู่ ความเสอ่ื ม
ความเจริญ ทั้งภายนอกภายในก็มีอยู่ ธรรมชาติอันมีอยู่โดยธรรมดา เขาแสดงความจริง คือความ
ไม่เที่ยง เป็นทกุ ข์ เป็นอนัตตา ให้ปรากฏอยูท่ กุ เมอื่ เช่น ใบไมม้ ันเหลืองหลน่ รว่ งลงจากตน้ กแ็ สดง
ความไม่เที่ยงให้เห็น ดังนี้เป็นต้น เมื่อผู้ปฏิบัติมาพินิจพิจารณาด้วยสติปัญญา โดยอุบายนี้อยู่เสมอ
แล้ว ชื่อวา่ ไดฟ้ งั ธรรมอย่ทู กุ เม่อื ทง้ั กลางวันและกลางคืนแลฯ.
๑๒. เรอื่ ง ปรญิ เญยยธรรม
การกําหนดพิจารณาธรรมเรียก “บริกรรม” จิตที่กําลังทําการกําหนดพิจารณาธรรม
อย่างเอาใจใส่ เมื่อได้ความแน่ใจในเหตุผลของธรรมที่พิจารณานั้นแล้วจิตจะสงบรวมลงสู่ภวังค์
ดาํ รงอยู่หนอ่ ยหนงึ่ แล้วก็ถอยออก ความสงบในข้นั นเ้ี รียกว่า “บรกิ รรมสมาธิ หรอื ขณิกสมาธิ”
การกําหนดพิจารณาธรรมแล้วจิตสงบรวมลงสู่ภวังค์ เข้าถึงฐีติธรรมดํารงอยู่นานหน่อยแล้ว
ถอยออกมาร้เู ห็นอสุภะปรากฏข้นึ ความสงบในขน้ั น้ีเรยี กว่า “อปุ จารสมาธ”ิ
การกาํ หนดพจิ ารณาธรรม คอื “อสภุ นมิ ติ ” ทปี่ รากฏแกจ่ ติ ทเ่ี รยี กวา่ อคุ คหนมิ ติ นนั้ จนเพยี งพอ
แล้ว จิตปลอ่ ยวางนิมติ เสยี สงบรวมลงสู่ภวงั คถ์ งึ ฐีติธรรมดาํ รงอยูน่ าน เปน็ เอกัคคตามอี ารมณเ์ ดยี ว
สงบนงิ่ แนว่ แน่ มสี ตริ อู้ ยวู่ า่ จติ ดาํ รงอยกู่ บั ท่ี ไมห่ วน่ั ไหวไปมา ความสงบชนั้ นเ้ี รยี กวา่ “อปั ปนาสมาธ”ิ
สว่ น นมิ ติ อนั ปรากฏแกผ่ บู้ าํ เพญ็ สมาธภิ าวนาตามลาํ ดบั ชน้ั ดงั กลา่ วน้ี กเ็ รยี กวา่ บรกิ รรมนมิ ติ
อคุ คหนมิ ติ ปฏภิ าคนิมติ ตามลําดับกนั
อนึ่ง ภวังค์ คือภพหรือฐานของจิตน้ัน ท่านก็เรียกชื่อเป็น ๓ ตามอาการเคล่ือนไปของจิต
คือ ภวังคบาท ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ ขณะแรกท่ีจิตวางอารมณ์เข้าสู่ฐานเดิมของตน ท่ีเรียก
อย่างสามัญว่าปกติจิตน้ันแลเรียกว่า ภวังคบาท ขณะที่จิตเริ่มไหวตัวเพื่อขึ้นสู่อารมณ์อีก เรียกว่า
ภวังคจลนะ ขณะทจี่ ติ เคลอ่ื นจากฐานข้นึ สูอ่ ารมณ์ เรียกวา่ ภวังคปุ ัจเฉทะ
156 ชวี ประวัติ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
จิตของผู้บําเพ็ญภาวนาเข้าสู่ความสงบถึงฐานเดิมของจิต แล้วพักเสวยความสงบอยู่ในสมาธิ
น้ันนาน มีอาการครบองค์ของฌานจึงเรียกว่า ฌาน เมื่อทําการพินิจพิจารณาธรรมด้วยปัญญาจน
เพยี งพอแลว้ จติ รวมลงสภู่ วงั ค์ คอื ฐานเดิมของจติ จนถึงฐีติ ขณะตัดกระแสภวังคข์ าดหายไปไมพ่ ัก
เสวยอยู่ เกิดญาณความรตู้ ดั สินขนึ้ วา่ ภพเบอื้ งหน้าของเราไม่มีอีกดังนี้ เรียกว่า ฐตี ิญาณ
๑๓. เร่อื ง บน้ั ต้นโพธสิ ัตว์
ปฐมโพธสิ ตั ว์ มัชฌมิ โพธิสัตว์ ปจั ฉิมโพธสิ ัตว์
ปฐมโพธิกาล มัชฌิมโพธกิ าล ปัจฉิมโพธิกาล
ปฐมเทศนา มัชฌิมเทศนา ปัจฉิมเทศนา
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เสด็จออกจากคัพโภทรของพระนางเจ้าสิริมหามายา
ณ สวนลุมพินีวัน ระหว่างนครกบิลพัศดุ์(นครกบิลพัสดุ์)กับนครเทวทหะต่อกัน คร้ันประสูติแล้ว
กท็ รงพระเจรญิ วยั มาโดยลาํ ดบั ครน้ั สมควรแกก่ ารศกึ ษาศลิ ปวทิ ยา เพอ่ื ปกครองรกั ษาบา้ นเมอื งตาม
ขตั ตยิ ประเพณไี ดแ้ ล้วกท็ รงศกึ ษาศิลปวิทยา เมอ่ื พระชนมายไุ ด้ ๑๖ พรรษา ก็ได้ปกครองบ้านเมือง
เสวยราชสมบตั แิ ทนพระเจา้ ศริ สิ ทุ โธทนะมหาราช ผเู้ ปน็ พระราชบดิ า นบั วา่ ไดเ้ ปน็ ใหญเ่ ปน็ ราชาแลว้
พระองคท์ รงพระนามวา่ เจา้ ชายสิทธัตถะ กต็ อ้ งทรงคดิ อา่ นการปกครองรกั ษาบา้ นเมอื งและไพร่ฟา้
ประชาราษฎรให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงบังคับบัญชาอย่างไร เขาก็ทําตามทุกอย่าง คร้ันทรงพิจารณา
หาทางบังคับบญั ชาความ เกดิ แก่ เจบ็ ตาย ให้เป็นไปตามใจหวังกเ็ ปน็ ไปไมไ่ ด้ ถงึ อย่างนนั้ ก็มิทาํ ให้
พระทัยในการคิดอ่านหาทางแก้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ย่ิงเร้าพระทัยให้คิดอ่านพิจารณายิ่งขึ้น
ความคดิ อา่ นของพระองคใ์ นตอนนเ้ี รยี กวา่ บรกิ รรม ทรงกาํ หนดพจิ ารณาในพระทยั อยเู่ สมอ จนกระทง่ั
พระสนมทั้งหมดปรากฏให้เห็นเป็นซากอสุภะดุจป่าช้าผีดิบ จตุนิมิต ๔ ประการคือ เกิด แก่ เจ็บ
ตาย จึงบันดาลให้พระองค์เกิดเบือ่ หนา่ ยในราชสมบัติ แลว้ เสด็จสู่มหาภิเนษกรมณบ์ รรพชา ตอนนี้
เรียกวา่ “ปฐมโพธิสตั ว์” เปน็ สตั ว์พิเศษ ผู้จะไดต้ รัสรธู้ รรมวิเศษเปน็ พระอรหันตสมั มาสมั พุทธเจา้
เทยี่ งแท้ก่อนแตก่ าลนไี้ ม่นับ นับเอาแตก่ าลปจั จบุ ันทนั ตาเห็นเทา่ นั้น
คร้ันเม่ือพระองค์เสด็จสู่มหาภิเนษกรมณ์บรรพชา ณ ฝั่งแม่น�้ำอโนมานที ทรงตัดพระเมาฬี
ดว้ ยพระขรรคอ์ ธิษฐานบรรพชา อัฏฐบริขาร(อฐั บริขาร)มมี าเองด้วยอาํ นาจบุญ ฤทธอิ์ ิทธิปาฏิหารยิ ์
เป็นผ้าบังสุกุลจีวร เหตุอัศจรรย์อย่างนี้มีเพียงครั้งเดียวเท่าน้ัน ต่อน้ันมาต้องทรงแสวงหา เหล่า
ปฐมสาวกก็เหมือนกัน อัฏฐบริขาร(อัฐบริขาร)เกิดขึ้นด้วยบุญฤทธิ์เพียงครั้งแรกเท่านั้น ครั้นทรง
บรรพชาแลว้ ทรงทําทกุ กรกริ ิยาประโยคพยายาม พจิ ารณาอคุ คหนมิ ิตทท่ี รงร้คู ร้งั แรก แยกออกเป็น
สว่ น ๆ เปน็ ปฏภิ าคนมิ ติ จนถงึ เสดจ็ ประทบั นงั่ ณ ควงแหง่ มหาโพธพิ ฤกษ์ ทรงชนะมารและเสนามาร
เมือ่ เวลาพระอาทติ ย์อัสดงคต ยงั บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ใหเ้ กดิ ในปฐมยาม ยงั จุตปู ปาตญาณ
ให้เกิดในมัชฌิมยาม ทรงตามพิจารณาจิตที่ยังปัจจัยให้สืบต่อท่ีเรียกว่า “ปัจจยาการ” ตอนเวลา
ก่อนพระอาทติ ย์ขึน้ ตอนนี้เรียกวา่ “มชั ฌมิ โพธิสตั ว์”
ท่านพระอาจารย์ม่นั ภูริทตั ตเถระ 157
คร้ันเมื่อทรงพิจารณาตามเหตุผลเพียงพอแล้ว จิตของพระองค์หย่ังลงสู่ความสงบถึงฐีติธรรม
ดาํ รงอย่ใู นความสงบพอสมควรแล้ว ตัดกระแสภวงั ค์ขาดไป เกดิ ญาณความรตู้ ดั สินข้ึนในขณะนัน้ วา่
ภพเบื้องหน้าของเราไมม่ อี กี แล้ว ดังน้ีเรยี กว่า “อาสวักขยญาณ” ประหารเสยี ซ่งึ กิเลสาสวะทงั้ หลาย
ให้ขาดหายไปจากพระขันธสนั ดาน สรรพปรีชาญานต่าง ๆ อนั สาํ เรจ็ มาแตบ่ พุ พวาสนาบารมี กม็ า
ชุมนุมในขณะจิตอันเดียวนั้น จึงเรียกว่าตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ระยะกาลตอนน้ี
เรียกวา่ “ปัจฉิมโพธิสัตว์”
ครั้นตรัสรู้แล้ว ทรงเสวยวิมุตติสุข อยู่ในท่ี ๗ สถาน ตลอดกาล ๔๙ วันแล้วแลทรงเทศนา
สงั่ สอนเวไนยนกิ ร มพี ระปญั จวคั คยี เ์ ปน็ ตน้ จนถงึ ทรงตง้ั พระอคั รสาวกทง้ั ๒ และแสดงมชั ฌมิ เทศนา
ณ เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤหม์ หานคร จดั เปน็ “ปฐมโพธกิ าล”
ต่อแต่นั้นมา ก็ทรงทรมานส่ังสอนเวไนยนิกรตลอดเวลา ๔๕ พระพรรษา จัดเป็น “มัชฌิม
โพธิกาล” ต้ังแต่เวลาทรงประทับไสยาสน์ ณ พระแท่นมรณมัญจาอาสน์ ณ ระหว่างนางรังท้ังคู่
ในสาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ กรุงกุสินาราราชธานี และทรงแสดงพระปัจฉิมเทศนาแล้วปิด
พระโอษฐ์ เสด็จดบั ขนั ธปรนิ ิพพานระยะกาลตอนน้ีจัดเป็น “ปัจฉมิ โพธกิ าล” ดว้ ยประการฉะน้ี
(ส่วน ปฐมเทศนา มชั ฌมิ เทศนา และ ปัจฉมิ เทศนา นัน้ มเี นือ้ ความเปน็ ประการใด ไดแ้ สดง
และพิมพ์เผยแพร่แล้วในหนงั สือ มตุ โตทยั )
๑๔. เร่อื ง โสฬสกจิ
กิจในพระธรรมวินัยนี้ ท่ีนับว่าสําคัญที่สุดเรียกว่า “โสฬสกิจ” เป็นกิจท่ีโยคาวจรกุลบุตร
พึงพากเพยี รพยายามทาํ ให้สาํ เรจ็ บรบิ รู ณ์ดว้ ยความไมป่ ระมาท
โสฬสกิจ ไดแ้ ก่ กจิ ในอรยิ สจั จ์ ๔ ประการ คือ ทกุ ข์ สมุทยั นิโรธ มรรค ชั้นโสดาบันก็ประชมุ
๔ ชนั้ สกิทาคามีก็ประชุม ๔ สองส่กี ็เปน็ ๘ ชั้นอนาคามกี ็ประชุม ๔ ชนั้ อรหตั ต์กป็ ระชมุ ๔ สองส่ี
กเ็ ป็น ๘ สองแปดเปน็ ๑๖ กําหนดสจั จะทงั้ ๔ รวมเป็นองคอ์ ริยมรรคเป็นขนั้ ๆ ไป
เมอ่ื เรามาเจรญิ อริยมรรคทง้ั ๘ อันมีอยูใ่ นกายในจิต คอื ทกุ ข์ เป็นสัจจะของจริงทม่ี ีอย่กู ร็ วู้ า่
มีอยู่ เป็นปริญเญยฺยะ ควรกําหนดรู้ก็ได้กําหนดรู้ สมุทัย เป็นสัจจะของจริงท่ีมีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่ เป็น
ปหาตพั พะ ควรละก็ละได้แลว้ นโิ รธ เปน็ สจั จะของจริงทีม่ อี ยกู่ ร็ ู้ว่ามีอยู่ เปน็ สัจฉิกาตัพพะ ควรทํา
ใหแ้ จง้ ก็ได้ทาํ ให้แจง้ แล้ว มรรค เปน็ สจั จะของจรงิ ท่ีมีอยูก่ ร็ ู้วา่ มีอยู่ เปน็ ภาเวตัพพะ ควรเจริญใหม้ าก
กไ็ ดเ้ จรญิ ใหม้ ากแล้ว เมือ่ มากาํ หนดพจิ ารณาอย่อู ย่างน้ี ก็แกโ้ ลกธรรม ๘ ไดส้ ําเรจ็
มรรค อยู่ที่ กาย กบั จติ คือ ตา ๒ หู ๒ จมกู ๒ รวมเป็น ๖ ลิ้น ๑ เป็น ๗ กาย ๑ เปน็ ๘
มาพจิ ารณารูเ้ ทา่ ส่งิ ทัง้ ๘ นี้ ไม่หลงไปตาม ลาภ ยศ สรรเสรญิ สุข เสื่อมลาภ เสอ่ื มยศ นนิ ทา ทกุ ข์
อันมาถูกต้องตนของตนจิตไม่หวั่นไหว โลกธรรม ๘ เป็นคู่ปรับกับมรรค ๘ เมื่อรู้เท่าส่วนท้ังสอง
นี้แล้ว เจริญมรรคให้บริบูรณ์เต็มท่ี ก็แก้โลกธรรม ๘ ได้ ก็เป็น ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น
158 ชีวประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
กมฺปติ อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ โลกธรรมถูกต้องจิตผู้ใดแล้ว จิตของผู้นั้นไม่หว่ันไหว
เมอื่ ไมห่ วน่ั ไหวกไ็ มเ่ ศรา้ โศก เปน็ จติ ปราศจากเครอ่ื งยอ้ ม เปน็ จติ เกษมจากโยคะ จดั วา่ เปน็ มงคล
อนั อดุ มเลิศ ฉะน้แี ลฯ.
๑๕. เร่อื ง สาํ คัญตนว่าได้บรรลุอรหัตตผล
กิร ดังได้สดับมา ยังมีภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนาของพระบรมศาสดาของเราน้ี องค์หน่ึงมี
พรรษาแกก่ วา่ อกี องคห์ นงึ่ มพี รรษาออ่ นกวา่ เปน็ สหธรรมกิ ทม่ี คี วามรกั ใครใ่ นกนั และกนั แตจ่ ากกนั ไป
เพื่อประกอบความเพียร องค์อ่อนพรรษากว่าได้สําเร็จพระอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์ก่อน องค์แก่
พรรษาได้แต่เพียรกําลังสมาธิสมาบัติ และเป็นผู้ชํานาญในวสี จะพิจารณาอธิษฐานให้เป็นอย่างไร
กไ็ ดด้ ังประสงค์ และเกดิ ทิฏฐิสาํ คญั ว่ารทู้ วั่ แล้ว สว่ นองคห์ ย่อนพรรษาครั้นพิจารณาดูกท็ ราบไดด้ ว้ ย
ปญั ญาญาณ จงึ สง่ั ให้องคแ์ กพ่ รรษากว่าไปหาท่าน องค์น้นั ไมไ่ ป ส่ังสองสามคร้งั กไ็ มไ่ ป องคห์ ยอ่ น
พรรษาจึงไปหาเสียเอง แล้วยังกันและกันให้ยินดี พอสมควรแล้ว จึงพูดกับองค์แก่กว่าว่า ถ้าท่าน
สําคัญว่ารู้จริง ก็จงอธิษฐานให้เป็นสระ ในสระให้มีดอกบัวหลวง ๑ ดอก ในดอกบัวหลวงให้มี
นางฟ้อนสวยงาม ๗ นาง องค์แก่พรรษาก็เนรมิตได้ตามน้ัน ครั้นเนรมิตแล้วองค์อ่อนพรรษากว่า
จึงสั่งให้เพ่งดู คร้ันเพ่งดูนางฟ้อนอยู่ กามราคะกิเลสอันส่ังสมมาแล้วหลายร้อยอัตภาพก็กําเริบ
จงึ ทราบได้วา่ ตนยังไม่ไดส้ ําเร็จเป็นพระอรหันต์ คร้นั แล้วองคอ์ ่อนพรรษาจงึ เตอื นใหร้ ูต้ ัว และให้เร่ง
ทางปญั ญาวปิ ัสสนาญาณ องค์แก่พรรษากวา่ คร้นั ปฏบิ ัตติ ามทําความพากเพียรประโยคพยายามอยู่
มชิ า้ มนิ านก็ไดส้ ําเร็จเปน็ พระอรหนั ตข์ ีณาสวะบุคคลในพระพทุ ธศาสนา ดว้ ยประการฉะน้ี
อปรา ยังเรื่องอื่นอีก มีเนื้อความอย่างเดียวกันแต่นิมิตต่างกัน คือให้เนรมิตช้างสารซับ(ตก)
มันตัวร้ายกาจว่ิงเข้ามาหา หลงรูปเนรมิตของตนเอง เกิดความสะดุ้งตกใจกลัวเตรียมตัวว่ิงหนี
เพอื่ นสหธรรมมกิ ผไู้ ปชว่ ยเหลอื ไดฉ้ ดุ เอาไว้ และกลา่ วตกั เตอื นสง่ั สอนโดยนยั หนหลงั จงึ หยดุ ยง้ั ใจได้
และปฏิบัติตามคําส่ังสอนของสหธรรมิกผู้ช่วยเหลือนั้น ไม่นานก็ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสวะ
บคุ คลในพระบวรพทุ ธศาสนาเชน่ เดยี วกนั แมเ้ รอ่ื งนก้ี พ็ งึ ถอื เอาเปน็ ทฏิ ฐานคุ ติ เชน่ เดยี วกบั เรอ่ื งกอ่ น
นั้นแล
นเี้ ปน็ นทิ านทเี่ ปน็ คตสิ าํ หรบั ผปู้ ฏบิ ตั จิ ะพงึ อนวุ ตั (ิ อนวุ ตั ร)ตามคอื ผเู้ ปน็ สหธรรมกิ ประพฤตธิ รรม
ร่วมกันทุกคน จงมาเป็นสหายกันในกจิ ทช่ี อบ ท้ังท่เี ปน็ กิจภายใน ทง้ั ท่ีเปน็ กจิ ภายนอก ยงั ประโยชน์
ของกนั และกันให้สาํ เรจ็ ดว้ ยดีเถิด.
ท่านพระอาจารยม์ นั่ ภูริทัตตเถระ 159
๑๖. เรอื่ ง อุณหัสสวิชยั สูตร
ผู้ใดมาถึงพระพุทธเจา้ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะทพ่ี ึ่งแล้ว ผู้น้นั ย่อมชนะได้ซงึ่ ความร้อน
อุณหัสสคือความร้อนอันเกิดแก่ตน มีทั้งภายในและภายนอก ภายนอกมีเสือสางคางแดง
ภูตผีปีศาจ เป็นต้น ภายในคือกิเลส วิชัยคือความชนะ ผู้ท่ีมาน้อมเอาสรณะทั้งสามน้ีเป็นที่พ่ึงแล้ว
ย่อมจะชนะความร้อนเหลา่ นนั้ ไปได้หมดทุกอย่างท่ีเรียกวา่ อณุ หัสสวชิ ัย
อุณฺหสฺสวิชโย ธมฺโม โลเก อนุตฺตโร พระธรรมเป็นของย่ิงในโลกท้ังสาม สามารถชนะซึ่ง
ความร้อนอกรอ้ นใจอันเกิดแต่ภัยต่าง ๆ ปริวชฺเช ราชทนเฺ ฑ พยคเฺ ฆ นาเค วเิ ส ภเู ต อกาลมรเณน จ
สพฺพสฺมา มรณา มุตฺโต จะเว้นห่างจากอันตรายท้ังหลาย คือ อาชญาของพระราชา เสือสาง นาค
ยาพษิ ภตู ผีปีศาจ หากวา่ ยังไมถ่ งึ คราวถึงกาลทจ่ี ักตายแลว้ กจ็ กั พน้ ไปไดจ้ ากความตายด้วยอาํ นาจ
พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ ทต่ี นนอ้ มเอาเปน็ สรณะทพ่ี ึ่งทีน่ ับถือน้นั
ความข้อนี้มีพระบาลีสาธกดังจะยกมาอ้างอิงในสมัยเม่ือสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วย
พระอรหันต์หนุ่ม ๕๐๐ รูป ประทับอยู่ในราวป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัศดุ์(กรุงกบิลพัสดุ์) เทวดา
ทงั้ หลายพากนั มาดู แลว้ กล่าวคาถาข้ึนว่า เยเกจิ พุทธฺ ํ สรณํ คตา เส น เต คมิสสฺ นฺติ อปายภูมิ ปหาย
มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปเู รสสฺ นฺติ แปลความว่า บุคคลบางพวก หรอื บคุ คลใด ๆ มาถงึ พระพุทธเจ้า
เปน็ สรณะทพี่ งึ่ แลว้ บุคคลเหลา่ นนั้ ย่อมไม่ไปสอู่ บายภมู ทิ ง้ั ๔ มนี รกเป็นต้น เมอ่ื ละรา่ งกายอนั เป็น
ของมนษุ ยน์ แี้ ล้ว จกั ไปเป็นหมู่แหง่ เทพยดาทั้งหลายดงั นี้
สรณะทงั้ ๓ คอื พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ มไิ ดเ้ สอ่ื มสญู อนั ตรธานไปไหน ยงั ปรากฏอยแู่ ก่
ผปู้ ฏบิ ตั เิ ขา้ ถงึ อยเู่ สมอ ผใู้ ดมายดึ ถอื เปน็ ทพ่ี ง่ึ ของตนแลว้ ผนู้ น้ั จะอยใู่ นกลางปา่ หรอื เรอื นวา่ งกต็ าม
สรณะทง้ั สามกป็ รากฏแกเ่ ราอยทู่ กุ เม่ือ จึงวา่ เปน็ ท่ีพง่ึ แกบ่ คุ คลจรงิ เมอ่ื ปฏบิ ัติตามสรณะทงั้ สาม
จรงิ ๆ แล้ว จะคลาดแคลว้ จากภัยทงั้ หลาย อนั กอ่ ให้เกิดความร้อนอกร้อนใจไดแ้ น่นอนทีเดยี ว.
ธรรมเทศนาของ ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ท่ี ภกิ ษทุ องคาํ ญาโณภาโส และ พระภกิ ษวุ นั อตุ ตฺ โม
ได้จดบันทึกไว้ในปัจฉิมสมัย ยังมิได้รวบรวมข้ึนพิมพ์เผยแผ่ สมควรรวบรวมพิมพ์ขึ้นไว้ในครั้งนี้
เพอ่ื เป็นสมบตั ิมรดกชน้ิ สุดทา้ ยแกศ่ ษิ ยานศุ ษิ ยท์ ้งั หลายทว่ั กนั ดังต่อไปน้ี.
เอกสาร
นำ� มาจากหนงั สอื ทแ่ี จกในงานฌาปนกจิ ศพของทา่ นพระอาจารยม์ น่ั เมอื่ วนั ที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓
แต่เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ (เมื่อวันท่ี ๓๑ มกราคม ๒๕๒๗) จัดพิมพ์โดยชมรมพุทธศาสน์
การไฟฟ้าฝ่ายผลติ แหง่ ประเทศไทย (กฟผ.)
160 ชีวประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
บทประพันธ์
ของพระอาจารย์ม่นั ภูรทิ ตั ตเถระ
พระภรู ทิ ัตโต (หม่นั ) วัดสระประทมุ วนั เป็นผู้แตง่
นมตฺถุ สคุ ตสฺส ปญฺจ ธมฺมขนธฺ านิ
ขา้ พเจา้ ขอนอบน้อมซง่ึ พระสุคต
บรมศาสดาศากยมนุ ี สัมมาสมั พุทธเจา้ และ
พระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และ
พระอรยิ สงฆส์ าวกของพระพุทธเจ้านั้น
บัดน้ี ข้าพเจา้ จักกลา่ วซึง่ ธรรมขนั ธ์
โดยสงั เขปตามสติปญั ญา ฯ
ยังมีทา่ นคนหนง่ึ รักตัวคิดกลัวทุกข์
อยากได้สขุ พ้นภยั เทีย่ วผายผนั
เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไป
แตเ่ ทย่ี วหม่ันไปมาอยู่ชา้ นาน
นิสัยท่านนน้ั รักตัวกลวั ตายมาก
อยากจะพน้ แท ้ ๆ เร่ืองแกต่ าย
วันหน่งึ ทา่ นรู้จรงิ ซ่งึ สมุทยั พวกสังขาร
ทา่ นก็ปะถำ�้ สนกุ สุขไมห่ าย
เปรียบเหมือนดังกายนเ้ี อง
ชะโงกดูถ้�ำสนุกทุกขค์ ลาย
แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวน้ันเบา
ดาํ เนินไปเมินมาอยู่หน้าเขา
จะกลบั ไปปา่ วรอ้ งพวกพอ้ งเล่า
ก็กลัวเขาเหมาวา่ เป็นบา้
สอู้ ยู่ผเู้ ดยี วหาเร่ืองเครื่องสงบ
เปน็ อนั จบเรอ่ื งคดิ ไมต่ ิดตอ่
ดีกว่าเท่ียวรมุ่ รา่ มทาํ สอพลอ
เด๋ียวถูกยอถกู ตเิ ปน็ เรือ่ งเคร่อื งราํ คาญ
ทา่ นพระอาจารย์มนั่ ภรู ทิ ัตตเถระ 161
ยังมบี รุ ุษคนหนง่ึ
คดิ กลัวตายน�้ำใจฝ่อ
มาหาแล้วพดู ตรง ๆ น่าสงสาร
ถามว่าทา่ นพากเพยี รมากช็ า้ นาน
เหน็ ธรรมทจ่ี รงิ แลว้ หรอื ยังทใี่ จหวงั
เอ๊ะ! ทําไมจึงรูใ้ จฉัน
บุรุษผู้นั้นก็อยากอยูอ่ าศยั
ท่านวา่ ดดี ฉี ันอนุโมทนา
จะพาดูเขาใหญ่ถำ้� สนกุ ทกุ ขไ์ ม่มี
คือ กายคตาสตภิ าวนา
ชมเล่นให้เย็นใจหายเดือดร้อน
หนทางจรอรยิ วงศ์
จะไปหรอื ไมไ่ ปฉนั ไมเ่ กณฑ์
ไม่หลอกเลน่ บอกความให้ตามจริง
แลว้ กล่าวปรศิ นาทา้ ให้ตอบ
ปรศิ นาน้นั ว่าระวิง่ คอื อะไร?
ตอบว่าวิ่งเรว็ คอื วญิ ญาณอาการใจ
เดนิ เปน็ แถวตามแนวกัน
สญั ญาตรงไมส่ งสยั
ใจอยู่ในวิง่ ไปมา
สญั ญาเหนยี่ วภายนอกหลอกลวงจติ
ทาํ ให้จิตวุ่นวายเที่ยวสา่ ยหา
หลอกเป็นธรรมต่าง ๆ อยา่ งมายา
ถามว่าห้าขันธใ์ ครพน้ จนทั้งปวง
แก้วา่ ใจซพิ ้นอยูค่ นเดยี ว
ไม่เกาะเกย่ี วพวั พันตดิ สน้ิ พศิ วง
หมดท่หี ลงอย่เู ดยี วดวง
สญั ญาทะลวงไมไ่ ดห้ มายหลงตามไป
ถามว่าทว่ี ่าตายใครเขาตายทไี่ หนกนั
แกว้ า่ สังขารเขาตายทาํ ลายผล
ถามว่าส่งิ ใดกอ่ ใหต้ ่อวน
แก้วา่ กลสัญญาพาใหเ้ วียน
162 ชวี ประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
เชือ่ สัญญาจงึ ผิดคิดยินดี
ออกจากภพนีไ้ ปภพนน้ั เที่ยวหนั เหยี น
เลยลืมจิตจาํ ปิดสนิทเนียน
ถึงจะเพยี รหาธรรมกไ็ มเ่ หน็
ถามว่าใครกําหนดใครหมายเป็นธรรม
แกว้ ่าใจกาํ หนดใจหมาย
เรอ่ื งหาเจ้าสัญญาน้นั เอง
คือวา่ ดวี า่ ชวั่ ผลกั จติ ตดิ รกั ชัง
ถามวา่ กินหนเดียวเท่ียวไม่กนิ
แก้วา่ สิ้นอยากดไู มร่ ้หู วัง
ในเรื่องเห็นตอ่ ไปหายรงุ รงั
ใจกน็ ่ังแท่นนงิ่ ทงิ้ อาลยั
ถามวา่ สระสเ่ี หลย่ี มเปย่ี มด้วยน้ำ�
แก้ว่าธรรมสิน้ อยากจากสงสัย
ใสสะอาดหมดราคีไม่มภี ัย
สัญญาในนน้ั พรากสงั ขารขนั ธน์ ้ันไมถ่ อน
ใจจึงเป่ียมเตม็ ที่ไม่มีพรอ่ ง
เงียบสงดั ดวงจติ ไมค่ ิดตรอง
เปน็ ของควรชมชนื่ ทุกคนื วัน
แม้ได้สมบัติทิพยส์ กั สิบแสน
หาแมน้ เหมอื นรจู้ ริงท้งิ สงั ขาร
หมดความอยากเปน็ ยิง่ สิง่ สาํ คัญ
จาํ สว่ นจํากั้นอยไู่ มก่ �้ำเกิน
ใจไม่เพลินทัง้ ส้ินหายด้ินรน
เหมอื นอยา่ งว่ากระจกสอ่ งหนา้
ส่องแล้วอยา่ คิดติดสญั ญา
เพราะว่าสัญญานน้ั ดังเงา
อย่าได้เมาไปตามเรอ่ื งเครือ่ งสงั ขาร
ใจขยันจับใจทไี่ ม่ปน
ไหวสว่ นตนร้แู น่เพราะแปรไป
ใจไม่เท่ียวของใจใช่ตอ้ งวา่
รู้ขันธห์ า้ ต่างชนดิ เมือ่ จติ ไหว
แตก่ ่อนนัน้ หลงสญั ญาวา่ เป็นใจ
ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภรู ทิ ัตตเถระ 163
สําคญั วา่ ในวา่ นอกจงึ หลอกลวง
คราวนใ้ี จเป็นใหญ่ไมห่ มายพึ่ง
สัญญาหน่งึ สัญญาใดมไิ ดห้ ่วง
เกดิ ก็ตามดบั ก็ตามสิ่งทั้งปวง
ไม่ต้องหวงไมต่ อ้ งกันหมูส่ ัญญา
เหมอื นยืนบนยอดเขาสงู แทแ้ ลเหน็ ดิน
แลเห็นส้นิ ทุกตัวสตั ว์แต่ว่าสงู ยิง่ นกั
แลเหน็ เร่อื งของตนแตต่ ้นมา
เปน็ มรรคาทั้งน้ันเชน่ บนั ได
ถามวา่ น้�ำขน้ึ ลงตรงสัจจงั นนั้ หรอื ?
ตอบว่าสงั ขารแปรก็ไมไ่ ด้
ธรรมดากรรมแต่งไมแ่ กลง้ ใคร
ขืนผลกั ไสจับตอ้ งก็หมองมัว
ช่ัวในจิตไม่ต้องคดิ ผิดธรรมดา
สภาพส่งิ เปน็ จริงดชี ั่ว
ตามแตเ่ ร่ืองของเรื่องเปล้อื งแต่ตัว
ไมพ่ ัวพนั สงั ขารเป็นการเยน็
รจู้ ักจรงิ ต้องทิ้งสังขารเมอ่ื ผนั แปรเม่ือแลเห็น
เบอื่ แล้วปล่อยได้คลอ่ งไมต่ อ้ งเกณฑ์
ธรรมก็ใจเย็นใจระงับดับสังขาร
รับอาการถามวา่ ห้าหน้าที่มคี รบครัน
แกว้ า่ ขนั ธ์แบ่งแยกแจกห้าฐาน
เร่อื งสงั ขารตา่ งกองรบั หนา้ ที่มีกจิ การ
จะรบั งานอ่นื ไมไ่ ดเ้ ต็มในตัว
แม้ลาภยศสรรเสรญิ เจริญสขุ
นินทาทกุ ข์เสอ่ื มยศหมดลาภทัว่
รวมลงตามสภาพตามเปน็ จริง
ทั้ง ๘ สง่ิ ใจไมห่ ันไปพวั พนั
เพราะวา่ รูปขนั ธ์ก็ทาํ แกไ้ ข้มิไดถ้ ้วน
นามกม็ ไิ ดพ้ กั เหมือนจกั รยนต์
เพราะรับผลของกรรมที่ทาํ มา
เร่อื งดีถา้ เพลิดเพลินเจรญิ ใจ
เรอ่ื งชว่ั ขุน่ วุน่ จติ คิดไม่หยดุ
164 ชวี ประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
เหมอื นไฟจุดจิตหมองไมผ่ อ่ งใส
นกึ ขึ้นเองท้งั รักทัง้ โกรธไม่โทษใคร
อยากไมแ่ กไ่ ม่ตายได้หรือคน
เปน็ ของพ้นวิสยั จะได้เชย
เชน่ ไม่อยากให้จติ เท่ียวคดิ รู้
อยากใหอ้ ยู่เป็นหนึง่ หวงั พง่ึ เฉย
จติ เปน็ ของผนั แปรไม่แน่เลย
สญั ญาเคยอยู่ได้บ้างเปน็ คร้ังคราว
ถา้ รเู้ ท่าธรรมดาทั้งหา้ ขันธ์
ใจนน้ั กข็ าวสะอาดหมดมลทินสนิ้ เร่อื งราว
ถ้ารไู้ ดอ้ ยา่ งนี้จึงดีย่ิง
เพราะเห็นจรงิ ถอนหลุดสดุ วถิ ี
ไม่ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง
จะจนจะมตี ามเรอื่ งเครื่องนอกใน
ดีหรือช่วั ตอ้ งดับเลือ่ นลับไป
ยึดส่ิงใดไม่ได้ตามใจหมาย
ใจไมเ่ ท่ียวของใจไวหวะวบั
สังเกตจบั รู้ได้สบายย่งิ เลก็ บงั ใหญร่ ู้ไม่ทัน
ขันธ์บังธรรมมิดผดิ ที่นี้
มวั ดูธรรมขนั ธ์ไมเ่ หน็ เป็นธุลีไป
สว่ นธรรมมีใหญก่ ว่าขันธ์น้ันไมแ่ ล
ถามว่า-มี-ไมม่ ี
ไมม่ ีมีนคี้ ืออะไร?
ทีน้ตี ิดหมดคดิ แก้ไม่ไหว
เชญิ ชีใ้ ห้ชัดทงั้ อรรถแปลโปรดแก้เถิด
ท่วี ่าเกดิ มีตา่ ง ๆ ทงั้ เหตุผล
แลว้ ดบั ไมม่ ชี ดั ใชส่ ัตวค์ น
นขี่ อ้ ตน้ มไี ม่มอี ยา่ งน้ีตรง
ข้อปลายไมม่ มี นี เ้ี ปน็ ธรรม
ทล่ี �้ำลึกใครพบจบประสงค์
ไม่มีสังสารมีธรรมทม่ี ัน่ คง
นนั่ แลองค์ธรรมเอกวิเวกจริง
ธรรมเปน็ หน่งึ ไม่แปรผันเลศิ พบสงบนิ่ง
ท่านพระอาจารยม์ นั่ ภรู ิทัตตเถระ 165
เปน็ อารมณ์ของใจไมไ่ หวติง
ระงบั ย่งิ เงียบสงัดชัดกับใจ
ใจกส็ ร่างจากเมาหายเรา่ ร้อน
ความอยากถอนไดห้ มดปลดสงสยั
เร่ืองพวั พันขันธ์หา้ ซาส้นิ ไป
เครื่องหมุนในไตรจกั รกห็ ักลง
ความอยากใหญย่ ง่ิ กท็ ิง้ หลดุ
ความรักหยดุ หายสนทิ สน้ิ พศิ วง
ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดงั ใจจง
เชญิ เถดิ ชอ้ี ีกสกั อย่างหนทางใจ
สมุทยั ของจิตทีป่ ดิ ธรรม
แก้วา่ สมุทยั กวา้ งใหญน่ กั
ยอ่ ลงคอื ความรกั บบี ใจทาํ ลายขนั ธ์
ถ้าธรรมมีกบั จิตเป็นนิจนิรันดร์
เปน็ เลิศกนั สมทุ ยั มไิ ด้มี
จงจาํ ไวอ้ ยา่ งนวี้ ถิ จี ติ
ไมต่ ้องคิดเวียนวนจนปน่ ปี้
ธรรมไมม่ อี ย่เู ป็นนจิ ติดยนิ ดี
ใจจากท่สี มุทยั อาลัยตัว
วา่ อยา่ งย่อทุกขก์ บั ธรรมประจําจติ
จิตคดิ รูเ้ ห็นจรงิ จงึ เยน็ ทวั่
จะสุขทกุ ขเ์ ท่าไรมิได้กลวั
สรา่ งจากเคร่อื งมัวคอื สมทุ ัยไปท่ดี ี
รู้เทา่ นก้ี ็จะคลายหายความร้อน
พอพกั ผอ่ นสืบแสวงหาทางดี
จติ รู้ธรรมลืมจติ ทต่ี ดิ ธลุ ี
ใจรู้ธรรมที่เป็นสุข
ขันธ์ทุกขันธแ์ นป่ ระจํา
ธรรมคงเปน็ ธรรม
ขันธค์ งเป็นขนั ธ์เทา่ นั้นแล
166 ชวี ประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
คาํ วา่ เย็นสบายหายเดือดร้อน
หมายจติ ถอนจากผิดที่ติดแก้
สว่ นสงั ขารขนั ธป์ ราศจากสุขเปน็ ทุกข์แท้
เพราะตอ้ งแก่ไขต้ ายไมว่ ายวนั
จติ ร้ธู รรมที่ล้�ำเลิศจิตกถ็ อน
จากผิดเครอ่ื งเศร้าหมองของแสลง
ผดิ เป็นโทษของใจอย่างร้ายแรง
เห็นธรรมแจง้ ธรรมผดิ หมดพษิ ใจ
จติ เห็นธรรมดเี ลิศทพ่ี น้
พบปะธรรมปลดเปลอื้ งเครอื่ งกระสัน
มีสติอยกู่ บั ตัวบพ่ ัวพัน
เรอื่ งรกั ขนั ธห์ ายสนิ้ ขาดยินดี
สน้ิ ธุลีทัง้ ปวงหมดหว่ งใย
ถึงจะคิดกไ็ มห่ า้ มตามนสิ ัย
เมอ่ื ไม่หา้ มกลบั ไมฟ่ ้งุ ยงุ่ ไป
พึงรู้ไดว้ า่ บาปมีขน้ึ เพราะขืนจรงิ
ตอบวา่ บาปเกดิ ได้เพราะไม่รู้
ถ้าปดิ ประตเู ขลาไดส้ บายยิง่
ชั่วทงั้ ปวงเงียบหายไมไ่ หวติง
ขนั ธ์ทุกสงิ่ ย่อมทกุ ข์ไม่สขุ เลย
แตก่ อ่ นข้าพเจ้ามืดเขลาเหมือนเขา้ ถำ้�
อยากเห็นธรรมยึดใจจะใหเ้ ฉย
ยดึ ความจาํ ว่าเปน็ ใจหมายจนเคย
เลยเพลินเชยชมจาํ ธรรมมานาน
ความจําผดิ ปิดไว้ไม่ใหเ้ หน็
จึงหลงเล่นขันธ์ ๕ น่าสงสาร
ใหย้ กตัวออกตนพน้ ประมาณ
เท่ียวระรานตคิ นอื่นเป็นพนื้ ไป
ไมไ่ ด้ผลเทีย่ วดูโทษคนอนื่ ข่ืนใจ
เหมอื นกอ่ ไฟเผาตวั ต้องมัวมอม
ใครผิดถูกดีชวั่ ก็ตัวเขา
ใจของเราเพียรระวังตั้งถนอม
ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ัตตเถระ 167
อยา่ ให้อกศุ ลวนมาตอม
ควรถึงพรอ้ มบุญกศุ ลผลสบาย
เห็นคนอืน่ เขาชว่ั ตัวกด็ ี
เป็นราคยี ืดขันธท์ ีม่ ั่นหมาย
ยดึ ขนั ธต์ ้องรอ้ นแท้เพราะแกต่ าย
เลยซำ�้ รา้ ยกิเลสเข้ากลุม้ รมุ กวน
เตม็ ทัง้ รกั ทัง้ โกรธโทษประจักษ์
ทงั้ หลงนกั หนักจิตคดิ โทษหวล
ท้งั อารมณก์ ามห้ากม็ าชวน
ยกกระบวนทุกอยา่ งต่าง ๆ กนั
เพราะยดึ ขันธท์ ้ัง ๕ ว่าของตน
จึงไม่พ้นทกุ ขร์ ้ายไปไดเ้ ลย
ถ้าร้โู ทษของตัวแลว้ อยา่ ช้าเฉย
ดูอาการสังขารทไ่ี มเ่ ทีย่ งร่ำ� ไปใหใ้ จเคย
คงไดเ้ ชยชมธรรมอันเอกวิเวกจติ
ไมเ่ พยี งนั้นหมายใจไหวจากจํา
เหน็ แลว้ ขาํ ดดู อู ยทู่ ่ีไหว
อารมณน์ อกดบั ระงับไปหมดปรากฏธรรม
เห็นธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิต
จติ นนั้ ไมต่ ดิ คู่
จริงเทา่ นห้ี มดประตู
รไู้ มร่ อู้ ย่างนี้วิธีจติ
ร้เู ทา่ ทีไ่ มเ่ ท่ยี งจติ ต้นพ้นริเร่มิ
คงจติ เดมิ อย่างเที่ยงแท้
รู้ต้นจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไมห่ ่วง
ถ้าออกไปปลายจิตผิดทันที
คําทว่ี า่ มืดน้ันเพราะจิตคิดหวงดี
จติ หวงนป้ี ลายจิตคิดออกไป
จติ ตน้ ทีเ่ ม่อื ธรรมะปรากฎหมดสงสยั
เหน็ ธรรมอันเกิดเลิศโลกา
เรอ่ื งจิตค้นวุ่นหามาแตก่ อ่ น
กเ็ ลิกถอนเปล้อื งปลดหมดได้ไปสิ้น
ยงั มที ุกขต์ อ้ งหลับนอนกบั กินไปตามเรอ่ื ง
168 ชวี ประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
ใจเชื่องชดิ ตน้ จิตคิดไมค่ รวญ
ธรรมดาของจติ ต้องคดิ นกึ
พอรู้สกึ จิตคุ้นพน้ ราํ คาญ
เงียบสงดั จากมารเครื่องรบกวน
ธรรมดาสังขารปรากฎหมดด้วยกนั
เสอ่ื มทงั้ นัน้ คงไมม่ เี ลย
ระวังใจเมอื่ จาํ ทําละเอียด
มนั จะเบยี ดใหจ้ ิตไปติดเฉย
ใจไมเ่ ทย่ี งของใจซ�้ำใหเ้ คย
เม่ือถงึ เฮยหากรู้เองเพลงของจติ
เหมอื นดงั มายาที่หลอกลวง
ท่านว่าวิปัสสนกู ิเลสจําแลงเพศ
เหมอื นดงั จรงิ ที่แท้ไม่ใช่จริง
รู้ข้นึ เองนามวา่ ความเหน็
ไมใ่ ช่เขน่ ฟังเข้าใจชน้ั ไต่ถาม
ท้ังไตรต่ รองแยกแยะและรูปนาม
กใ็ ชค่ วามเห็นตอ้ งจงเล็งดู
รูข้ ้ึนเองใช่เพลงจิตรตู้ ้นจติ
จติ ตนพ้นรําคาญ ต้นจติ รู้ตัวว่าสังขาร
เรอื่ งแปรปรวนใชก่ ระบวนไป
ดูหรอื รู้จรงิ อะไรรู้อยู่เพราะหมายคกู่ ไ็ มใ่ ช่
จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหว
จิตรไู้ หวไหวก็จติ คดิ กันไป
แยกไม่ไดต้ ามจรงิ สิง่ เดยี วกนั
จติ เป็นของอาการเรียกวา่ สัญญาพาพัวพัน
ไม่เท่ยี งนั้นก็ตวั เองไปเลงใคร
ใจร้เู สอื่ มของตัวพน้ มวั มดื
ใจก็จืดส้นิ รสหมดสงสยั
ขาดตน้ คว้าหาเรื่องเคร่อื งนอกใน
ความอาลยั ท้ังปวงก็ร่วงโรย
ทั้งโกรธรักเคร่อื งหนกั ใจกไ็ ปจาก
เรื่องจติ อยากก็หยุดให้หายหวิ โหย
พ้นหนักใจทง้ั หลายหายอิดโรย
ท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ 169
เหมือนฝนโปรยใจกเ็ ย็นด้วยเหน็ ใจ
ใจเยน็ เพราะไมต่ ้องเท่ยี วมองคน
รู้จติ ค้นปัจจบุ นั พน้ หวัน่ ไหว
ดหี รอื ชั่วท้ังปวงไมห่ ว่ งใย
เพราะดบั ไปท้ังเร่ืองเคร่ืองรงุ รัง
อย่เู งยี บ ๆ ตน้ จิตไมค่ ิดอา่ น
ตามแตก่ ารของจิตส้ินคดิ หวงั
ไม่ตอ้ งวุ่นไมต่ ้องวายหายระวงั
นอนหรือนัง่ นกึ พันอยู่ตน้ จติ
ทา่ นชมี้ รรคทง้ั หลักแหลม
ชา่ งตอ่ แตม้ กวา้ งขวางสว่างไสว
ยงั อกี อยา่ งทางใจไม่หลดุ สมทุ ัย
ขอจงโปรดชี้ใหพ้ สิ ดารเป็นการดี
ตอบว่าสมทุ ัยคอื อาลยั รักเพลนิ ยงิ่ นัก
ทําภพใหมไ่ ม่หนา่ ยหนี
วา่ อย่างต่ำ� กามคณุ ห้าเปน็ ราคี
อยา่ งสงู ชสี้ มทุ ัยอาลยั ฌาน
ถ้าจะจับตามวธิ ีมใี นจติ
ก็เรือ่ งคิดเพลินไปในสงั ขาร
เคยทงั้ ปวงเพลินมาเสียช้านาน
กลับเป็นการดีไปให้เจริญจติ
ไปในส่วนทผ่ี ดิ ก็เลยแตกกง่ิ ก้านฟุ้งซา่ นใหญ่
เทย่ี วเพลนิ ไปในผดิ ไมค่ ดิ เขนิ
ส่งิ ใดชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน
เพลนิ จนเกนิ ลมื ตวั ไมก่ ลวั ภัย
เพลนิ ดโู ทษคนอ่ืนดน่ื ด้วยชัว่
โทษของตัวไม่เห็นเปน็ ไฉน
โทษคนอ่ืนเขามากสักเทา่ ไร
ไม่ทําให้เราตกนรกเสยี เลย
โทษของเราเศรา้ หมองไมต่ อ้ งมาก
ลงวบิ ากไปตกนรกแสนสาหสั
หม่นั ดูโทษตนไว้ให้ใจเคย
170 ชวี ประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
เวน้ เสยี ซ่ึงโทษนั้นคงไดเ้ ชยชมสุขพน้ ทุกขภ์ ัย
เมื่อเหน็ โทษตนชดั พึงตัดทงิ้
ทาํ อ้อยอง่ิ คดิ มากจากไม่ได้
เร่ืองอยากดไี ม่หยุดคอื ตัวสมทุ ยั
เปน็ โทษใหญก่ ลัวจะไมด่ ีน้กี ็แรง
ดไี มด่ ีนีเ้ ปน็ ผิดของจิตนกั
เหมือนไขห้ นกั ถกู ต้องของแสลง
กําเรบิ โรคด้วยพิษผดิ สําแดง
ธรรมไมแ่ จ้งเพราะอยากดีนเ้ี ปน็ เดิม
ความอยากดีมมี ากมักลากจิต
ให้เท่ยี วคดิ วุ่นไปจนใจเหมิ
สรรพชั่วมัวหมองกต็ อ้ งเติม
ผิดยิง่ เพ่ิมร่�ำไปไกลจากธรรม
ทจี่ ริงชี้สมุทัยนีใ่ จฉันครา้ ม
ฟังเน้ือความไปข้างฟุง้ ทางย่งุ ยงิ่
เมื่อชี้มรรคฟงั ใจไม่ไหวตงิ
ระงบั น่ิงใจสงบจบกนั ที
อันนช้ี ่ือว่าขันธะวมิ ตุ สิ มงั คธี รรม
ประจําอยกู่ บั ท่ไี มม่ อี าการไปไมม่ อี าการมา
สภาวธรรมท่ีเป็นจริงสงิ่ เดียวเทา่ นน้ั
และไม่มีเรอื่ งจะแวะเวยี น
สิ้นเน้อื ความแตเ่ พยี งเทา่ นี้
ผดิ หรอื ถกู จงใชป้ ญั ญาตรองดใู ห้รู้เถิด
เอกสาร
นำ� มาจากหนงั สอื ทแ่ี จกในงานฌาปนกจิ ศพของทา่ นพระอาจารยม์ นั่ เมอ่ื วนั ท่ี ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓
แต่เป็นฉบับพิมพ์คร้ังท่ี ๒ (เม่ือวันท่ี ๓๑ มกราคม ๒๕๒๗) จัดพิมพ์โดยชมรมพุทธศาสน์
การไฟฟา้ ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ท่านพระอาจารยม์ ั่น ภรู ทิ ัตตเถระ 171
บทธรรมบรรยาย
ของ พระจารยม์ ่นั ภรู ทิ ตั ตเถระ
มี ๒๔ หัวขอ้ คือ
๑. วเิ วกธรรม ๑๓. พหุเวทนยิ สตู ร
๒. สันตธิ รรม ๑๔. พงึ เปน็ คนมสี ติ
๓. อนปุ าทาปรินิพพาน ๑๕. อนุตตริยะ ๖
๔. ปรญิ ญา ๓ ประการ ๑๖. อปณั ณกธรรม
๕. อาสวะ ๔ ประการ ๑๗. อริยทรัพย ์
๖. อัตตานุทฏิ ฐิ ๑๘. ธรรมเปน็ เหตุเจริญเจโตวมิ ุตติ
๗. สังสารทกุ ข ์ ๑๙. สลั เลขกถา
๘. เนกขัมมธรรม ๒๐. วิธีถา่ ยถอนกิเลส
๙. อปุ สนั ตบคุ คล ๒๑. พหุธาตกุ สูตร
๑๐. กุมารกัสสป เทวตาปุจฉติ ปัญหาพยากรณ ์ ๒๒. พระอภธิ รรมปรมตั ถสงั คหะ
๑๑. เหตุเกิดความเพียร ๒๓. วธิ เี จริญกมั มัฏฐานภาวนา
๑๒. ภัทเทกรตั ตสูตร ๒๔. วนิ ัยกรรม
๑. วเิ วกธรรม
สมเด็จพระผู้มพี ระภาคเจา้ ทรงแสดงวเิ วกธรรมแก่เมตตคมู าณพ ดงั ต่อไปนี้
อุปธิกเิ ลสมีประเภท ๑๐ ประการ คือ ๑ ตัณหา ๒ ทฏิ ฐิ ๓ กิเลส ๔ กรรม ๕ ทุจริตความ
ประพฤติชวั่ ดว้ ย กาย วาจา และใจ ๖ อาหาร ๗ ปฏฆิ ะ ๘ อปุ าทินนกะ ธาตสุ ี่ ๙ อายตนะหก ๑๐
วิญญาณกายหก ๑ ทุกข์ท้ังหลายมีชาติทุกข์เป็นต้น ย่อมมีอุปธิกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นนิพพาน
เป็นปัจจัย เม่ือบุคคลมารู้ทั่วถึง รู้แจ้งประจักษ์ชัดด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา หรือมารู้ท่ัวถึงว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
“สง่ิ ใดสง่ิ หนงึ่ มคี วามเกดิ ขน้ึ เปน็ ธรรมดา สง่ิ นนั้ ทงั้ หมดมคี วามดบั เปน็ ธรรมดา” ดงั นแ้ี ลว้ เปน็ ผตู้ าม
เห็นซึ่งชาติว่าเป็นแดนเกิดแห่งวัฏฏทุกข์ และมาเห็นว่าอุปธิเป็นแดนเกิดแห่งชาติทุกข์เป็นต้นแล้ว
ก็ไมพ่ ึงท�ำอุปธมิ ตี ณั หาเป็นต้น ให้เจรญิ ขนึ้ ในสันดานเลย
เม่อื จะทรงแสดงธรรมเครื่องข้ามตณั หา จึงตรสั พระคาถาว่าวา่ ยงกฺ ิญฺจิ สญฺชานาสิ อทุ ฺธํ อโธ
ติโยญฺจาปิ มชฺเฌ เอเตสุ นนฺทิญฺจ อนุชฺชวิญฺาณํ ภเว น ติฏฺฐ “ดูก่อนท่านทั้งหลาย ท่านจงรู้
ส่ิงใดส่ิงหน่ึงในเบื้องบน เบื้องต่�ำ และเบ้ืองขวางสถานกลางแล้วจงบรรเทาเสีย จงละเสียซ่ึง
ความเพลิดเพลนิ และความถือม่นั ในส่ิงเหล่าน้นั วิญญาณของท่านก็จะไมต่ ้งั อยู่ในภพ” ดงั น้ี
172 ชวี ประวตั ิ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
ค�ำว่า เบ้ืองบน เบ้ืองต่�ำ เบ้ืองขวางสถานกลางน้ันทรงแสดงไว้ ๖ นัย คือ นัยท่ี ๑ อนาคต
เปน็ เบ้อื งบน อดีตเปน็ เบือ้ งต�่ำ ปจั จุบันเปน็ เบือ้ งขวางสถานกลาง นยั ท่ี ๒ เหลา่ ธรรมท่เี ป็นกศุ ลเปน็
เบ้ืองบน เหล่าธรรมที่เป็นอกุศลเป็นเบื้องต่�ำ เหล่าธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นเบื้องขวางสถานกลาง
นัยท่ี ๓ เทวโลกเปน็ เบ้ืองบน อบายโลกเป็นเบื้องต่ำ� มนุสสโลกเป็นเบ้ืองขวางสถานกลาง นยั ที่ ๔
สุขเวทนาเป็นเบ้ืองบน ทุกขเวทนาเป็นเบื้องต�่ำ อุเบกขาเวทนาเป็นเบ้ืองขวางสถานกลาง นัยท่ี ๕
อรูปธาตุเป็นเบ้ืองบน กามธาตุเป็นเบื้องต่�ำ รูปธาตุเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยท่ี ๖ ก�ำหนด
แต่พื้นเท้าข้ึนมาเป็นเบื้องบน ก�ำหนดแต่ปลายผมลงไปเป็นเบื้องต�่ำ ส่วนท่ามกลางเป็นเบื้องขวาง
สถานกลาง เมื่อท่านมาส�ำคัญหมายรู้เบ้ืองบน เบื้องต่�ำ เบื้องขวางสถานกลาง ทั้ง ๖ นัยน้ีแล้ว
แม้อย่างใดอย่างหนึ่งพึงบรรเทาเสียซ่ึงนันทิ ความยินดี เพลิดเพลิน และอภินิเวส ความถือมั่นด้วย
ตัณหาและทิฏฐิในเบื้องบน เบื้องต�่ำ เบื้องขวางสถานกลาง เสียให้ส้ินทุกประการ แล้ววิญญาณ
ของทา่ นจะไมต่ งั้ อยใู่ นภพและปณุ ภพอกี เลย เมอื่ บคุ คลมารชู้ ดั ดว้ ยญาณจกั ษใุ นสว่ นเบอ้ื งบน เบอ้ื งตำ�่
เบื้องขวางสถานกลาง ไม่ให้ตัณหาซ่านไปในภพน้อย ภพใหญ่ มีญาณหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ ๔ เป็นผู้
ไมม่ กี งั วล คอื ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทฏิ ฐิ และทจุ รติ ตา่ ง ๆ ละกงั วลทงั้ ปวงเสยี แลว้ กามภเว อสตตฺ ํ
ก็เป็นผูไ้ มข่ ้องเกี่ยวพัวพนั ในวัตถุกามและกเิ ลสกาม ในกามภพและปุณภพอีกเลย ท่านนั้นเป็นผู้ข้าม
โอฆะ หว้ งลกึ ทีก่ ดสตั ว์ใหจ้ มอย่ใู นวฏั ฏสงสารฯ โอฆะนัน้ ๔ ประการ คอื ๑ กามโอฆะ ๒ ภวโอฆะ ๓
ทิฏฐิโอฆะ ๔ อวิชชาโอฆะ ติณฺโณ จ ปรํ ท่านน้ันย่อมข้ามห้วงทั้ง ๔ ไปยังฝั่งฟากโน้น คือ
พระนิพพานธรรม อขีเณ เป็นผู้ไม่มีตะปูคือกิเลสเป็นเคร่ืองตรึงแล้ว กิเลสท้ังหลายท่ีเป็นประธาน
คอื ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และกเิ ลสทเ่ี ป็นบริวาร มีโกโธ อุปนาโห เป็นตน้ จนถงึ อกุศล
อภิสังขารซึ่งเป็นประหนึ่งตะปูเคร่ืองตรึงจิตให้แนบแน่นอยู่ ยากท่ีสัตว์จะฉุดจะถอนให้เคล่ือน
ให้หลุดได้ เม่ือบุคคลมาละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว เผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เป็นนรชนผู้รู้
ผู้ด�ำเนินด้วยปัญญาอันเป็นเคร่ืองรู้แจ้งชัดเป็นเวทคูผู้ถึงฝั่งแห่งวิทยาในพระศาสนาน้ี ไม่มีความ
สงสยั ในทกุ ข์ สมุทัย นโิ รธ มรรค และปฏจิ จสมุปบาทธรรมปัจจยาการ ยอ่ มบรรลุถึงวเิ วกธรรม คอื
พระอมฤตนฤพานดว้ ยประการฉะน้ี.
๒. สันติธรรม
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงซึ่งสันติธรรมแก่โธตกมาณพ จึงตรัสพระคาถา
วา่ ยํกญิ จฺ ิ สญชฺ านาสิ โธตก อุทฺธํ อโธ ติรยิ ญฺจาปิ มชฺเฌ เอตํ วทิ ิตวฺ า สงโฺ คติ โลเก ภวาภวาย มากา
สิ ตณฺหํ แปลความวา่ “ดกู รโธตกะ ท่านมากำ� หนดรู้หมายร้ซู ึ่งอารมณอ์ นั ใดอนั หนงึ่ ซึง่ เปน็ เบ้ืองบน
เบ้อื งต่�ำ เบื้องขวางสถานกลางว่า เป็นเคร่ืองข้องอยูใ่ นโลก เครื่องเกี่ยวสัตว์ไวใ้ นโลกดงั นี้แลว้ อยา่ ได้
ทำ� ซง่ึ ตณั หา ความปรารถนาเพื่อภพนอ้ ยภพใหญ่เลย” ดังนี้
ท่านพระอาจารยม์ นั่ ภรู ิทตั ตเถระ 173
อธิบายว่า ท่านมารู้แจ้งสัญญานั้นด้วยปัญญาว่า เป็นเครื่องข้องเคร่ืองติดอยู่ในโลกดังนี้แล้ว
อย่าได้ท�ำตัณหาความปรารถนาเพ่ือภพน้อยภพใหญ่เลย ส่วนค�ำว่าเบ้ืองบน เบ้ืองต่�ำ เบื้องขวาง
สถานกลางในพระคาถาน้ัน ก็มีนยั อธบิ ายเป็น ๖ นยั เชน่ เดียวกับเรื่องวเิ วกธรรมที่กล่าวมาแลว้
ทรงแสดงท่ีอาศัยแห่งกิเลสปปัญจธรรมมีสัญญาเป็นนิทานว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อันท�ำให้
สตั ว์เนนิ่ ช้า ๓ ประการน้ี มสี ัญญาความสำ� คัญหมายเป็นเหตุให้เกดิ เม่อื บคุ คลมาสำ� คัญหมายในสว่ น
อดีต อนาคต ปจั จุบัน สขุ ทุกข์ อุเบกขา กุศลากุศล อพั ยากฤต สามธาตุ สามภพ ด้วยประการใด ๆ
ปปญั จสงั ขาร ท่ีทำ� ใหเ้ น่นิ ชา้ คอื ตัณหา มานะ ทิฏฐิ บงั เกิดกล้าเจริญทวขี นึ้ ดว้ ยประการใด ๆ ท�ำให้
บคุ คลเกดิ ความเหน็ ถือม่ันดว้ ยตัณหาว่า เอตํ มม นั่นเป็นของเรา ถอื ม่ันด้วยมานะวา่ เอโส หมสมฺ ิ
เราเป็นนั่น ถือมั่นด้วยทิฏฐิว่า เอโส เม อตฺตา น่ันเป็นตัวตนแก่นสารของเรา ดังนี้แล้วก็ข้องอยู่ใน
อารมณ์นัน้ ๆ ดว้ ยฉันทะราคะ เสน่หาอาลัย ผกู พันจติ ใจไวไ้ มใ่ หเ้ ปลอ้ื งปลดออกได้ สัญญาอันเป็น
นิทาน เป็นเหตุเกิดแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิก็ดี ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อันเกิดแต่สัญญานั้นก็ดี สงฺโค
เปน็ เคร่อื งขอ้ งเคร่อื งตดิ เคร่ืองเกย่ี วสัตว์ไวใ้ นโลกไม่ใหพ้ น้ ไปได้ เอตํ วทิ ิตวฺ า สงฺโคติ โลเก ทา่ นรู้แจ้ง
ประจกั ษว์ ่าสญั ญาเป็นเหตแุ หง่ ตัณหา มานะ ทฏิ ฐิ
ตณั หา มานะ ทฏิ ฐิ มสี ญั ญาเปน็ เหตุดงั นแี้ ล้ว ทา่ นอยา่ ได้ท�ำตัณหา คอื ความปรารถนาดนิ้ รน
ด้วยจ�ำนงหวังต่าง ๆ เพื่อภพนอ้ ยภพใหญ่เลย ท่านจงหยั่งญาณรชู้ ่งั ดว้ ยตราชู คอื ปัญญา แลว้ เห็น
ประจกั ษแ์ จง้ ชดั วา่ เปน็ เครอื่ งผกู จำ� เปน็ เครอื่ งเกยี่ วสตั วไ์ วใ้ นโลก ทา่ นอยา่ ไดท้ ำ� ซง่ึ ตณั หา เพอ่ื ภพนอ้ ย
ภพใหญเ่ ลย ตณั หาอันเปน็ ไปในอาหารวสิ ยั คอื รปู เสยี ง กล่ิน รส โผฏฐพั พะ ธรรมารมณ์ แตกตา่ ง
โดยอาการปวัฏฏเิ ป็น ๓ ประการ คอื กาม ตณั หา ภวตณั หา วิภวตณั หา ตัณหา ๖ หมู่ ตามอารมณ์
๓ อยา่ งตามอาการทเี่ ปน็ ไปในภพ เปน็ ธรรมอนั เกดิ อกี เกดิ ขนึ้ เปน็ ไปพรอ้ มกบั ทกุ ข์ คอื อปุ าทานขนั ธ์
ท่านอย่าได้ท�ำตัณหาน้ัน เพ่ือภพน้อยภพใหญ่เลย ท่านจงละตัณหาน้ันเสีย จงบรรเทาเสีย ท�ำ
ตัณหานั้นให้มีที่สุด ท่านจงยังตัณหานั้นให้ถึงซ่ึงอันจะยังเกิดตามไม่ได้ ท่านจงละตัณหานั้นด้วย
สมจุ เฉทปหานเถดิ ฯ
๓. อนปุ าทาปรนิ พิ พาน
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอนุปาทาปรินิพพานของพระอริยสาวก ผู้บรรลุ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ แก่อุปสีวมาณพ โดยหลีกเล่ียงสัสสตวาทะและอุจเฉทวาทะท้ังสองเสีย
จงึ ตรัสพระคาถาวา่
อจจฺ ิ ยถา วาตเวเคน จติ ตฺ า อตถฺ ํ ปเลติ น อุเปติ สงขฺ ํ เอวํ มนุ ิ นาม กายา วิมุตฺโต อตฺถํ ปเลติ
น อเุ ปติ สงขฺ ํ
แปลวา่ “เปลวเพลงิ อนั กำ� ลงั ลมพดั ดบั ไป ยอ่ มนบั ไมไ่ ดว้ า่ ไปไหนฉนั ใด ทา่ นผเู้ ปน็ มนุ ี พน้ พเิ ศษ
แลว้ จากนามกาย ย่อมถงึ ซ่ึงอันตั้งอยูไ่ ม่ได้ นับไมไ่ ด้วา่ ไปไหนฉนั น้นั ”
174 ชีวประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
วาตา อนั ว่าลมท้ังหลาย โดยปริยายในนิเทศวา่ ลมมาแต่ทศิ บรู พา ปัจฉิม อุดร ทกั ษิณ ลมมธี ลุ ี
ลมไมม่ ธี ลุ ี ลมเยน็ ลมรอ้ น ลมออ่ น ลมกลา้ ลมเวรมั ภาพดั มา แตพ่ น้ื ดนิ ขน้ึ ไปไดโ้ ยชนห์ นงึ่ ลมปกี สตั ว์
ปีกครุฑ ลมใบตาล ลมเปลวเพลิง อันก�ำลังลมเหล่านั้นพัดแล้วเปลวเพลิงย่อมถึงซึ่งอันต้ังอยู่ไม่ได้
ยอ่ มดับสงบระงับไป ย่อมไม่ถึงซ่งึ อนั นนั้ ยอ่ มไมถ่ งึ ซง่ึ โวหาร วา่ เปลวเพลิงไปแล้วยงั ทศิ โนน้ ๆ ดงั น้ี
ฉันใด บุคคลผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นเสขมุนีนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากรูปกายในกาล
ก่อนเป็นปกติ ให้มรรคที่ ๔ เกิดข้ึนในสมาบัตินั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากนามกายอีก เพราะความ
ที่พ้นแห่งนามกาย อันท่านได้ก�ำหนดรู้แล้วเป็นอุภโตภาควิมุตติ พ้นวิเศษแล้วจากส่วนสองด้วย
ส่วนสองเปน็ ขณี าสวะอรหันต์ ถึงซึง่ อันไม่ตั้งอยคู่ ืออนปุ าทาปรินิพพานแลว้ ตรสั พระคาถาต่อไปวา่
อตถฺ ํ ตสฺส น ปมาณมตถฺ ิ เยน นํ วชชฺ ํ ตํ ตสฺส นตถฺ ิ สพเฺ พสุ ธมฺเมสุ สมหู เตสุ สมูหตา วาทป
ถาปิ สพฺเพ.
แปลว่า “สิ่งสภาวะเป็นประมาณของพระขีณาสพอัสดงคตดับแล้วย่อมไม่มี บุคคลท้ังหลาย
จะพงึ กลา่ ววา่ ทา่ นนนั้ ดว้ ยกเิ ลสใด กเิ ลสนนั้ ของทา่ นกไ็ มม่ ธี รรมทง้ั หลายมขี นั ธเ์ ปน็ ตน้ อนั พระขณี าสพ
ถอนขนึ้ พรอ้ มแลว้ แมท้ างแหง่ วาทะทงั้ ปวงทบ่ี คุ คลจะพงึ กลา่ ว พระขณี าสพทา่ นกต็ ดั ขน้ึ พรอ้ มแลว้ ”
ส่ิงสภาวะอันเป็นประมาณนั้น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่มีแก่ท่าน
ท่านละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว ท่านเผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เม่ือขันธ์ อายตนะ ธาตุ คติ
อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงั ขาร และวัฏฏะ ท่านถอนข้นึ เสียสนิ้ แล้ว ตดั เสียขาดแลว้ มอี ันไมบ่ ังเกดิ ตอ่ ไป
เป็นธรรมดา วาทะ อันเป็นคลองเป็นทางที่จะพึงกล่าวด้วยกิเลสและขันธ์ และอภิสังขาร ท่าน
เพิกถอน สละละวางเสยี สิ้นทุกประการแล้ว ด้วยประการฉะน้ีฯ.
๔. ปริญญา ๓ ประการ
การก�ำหนดรู้ตณั หานัน้ กำ� หนดรูด้ ว้ ยปริญญา ๓ ประการ คอื
(๑) ญาตปริญญา คือความก�ำหนดรู้ชัดเจนว่า นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา น้ีคันธตัณหา
น้ีรสตัณหา นโี้ ผฏฐัพพะตัณหา นีธ้ มั มตณั หา อยา่ งนแี้ ลชอ่ื วา่ ญาตปรญิ ญา
(๒) ตีรณปริญญา คือภิกษุกระท�ำตัณหาท้ัง ๖ ให้เป็นของอันตนรู้แล้ว พิจารณาใคร่ครวญ
ซงึ่ ตณั หาโดยความเปน็ ของไมเ่ ทย่ี ง เปน็ ทกุ ข์ เปน็ โรคเสยี ดแทง เปน็ ตน้ อยา่ งนแ้ี ลชอ่ื วา่ ตรี ณปรญิ ญา.
(๓) ปหานปริญญา คือภิกษุมาพิจารณาใคร่ครวญ ฉะน้ีแล้ว ละเสียซ่ึงตัณหา บรรเทาเสีย
ถอนเสีย และกระท�ำใหส้ ้นิ ไป ให้ถงึ ซง่ึ ความไม่เปน็ ต่อไป อย่างนแี้ ลชอ่ื วา่ ปหานปรญิ ญา
๕. อาสวะ ๔ ประการ
อนาสวา ผู้ชื่อว่าไม่มีอาสวะคือไม่มีอาสวะ ๔ ประการ ได้แก่ ๑ กามาสวะ ๒ ภวาสวะ ๓
ทฏิ ฐาสวะ ๔ อวิชชาสวะ บคุ คลผใู้ ดมาละเสีย ตัดเสียขาดแลว้ ซึง่ อาสวะทั้งหลายเหลา่ นัน้ มิใหม้ นั
บงั เกดิ ข้ึนได้ตอ่ ไป ผู้นัน้ เป็นอนาสวะ คอื ผ้ไู มม่ ีอาสวะแล
ท่านพระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ัตตเถระ 175
๖. อตั ตานุทฏิ ฐิ
อตฺตานุทิฏฐิติ วุจฺจติ วีสติวตฺถุกา สกฺกายทิฏฺฐิ สักกายทิฏฺฐิ อันมีวัตถุ พุทธบัณฑิต เรียกว่า
อัตตานทุ ิฏฺฐิ ความตามเหน็ ซ่ึงอาตมะตวั ตน ไดใ้ นขนั ธ์ ๕ ขันธล์ ะ ๔ วัตถุ บรรจบเป็นวตั ถุ ๒๐ ทศิ
คือปถุ ชุ นผู้ไมไ่ ด้สดับฟงั ณ โลกนี้
(๑) รปู ํ อตฺตโต สมนปุ สฺสติ เหน็ รปู โดยความเป็นตนบา้ ง
(๒) รูปํวนฺตํ วา อตตฺ านํ สมนปุ สฺสติ เหน็ ตนเปน็ รปู บา้ ง
(๓) อตฺตนิ วา รปู ํ สมนปุ สสฺ ติ เห็นรูปมใี นตนบา้ ง
(๔) รปู สฺมึ วา อตตฺ านํ สมนุปสฺสติ เหน็ ตนมใี นรูปบ้าง ดังนี้
แม้ในเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีวัตถุอย่างละ ๔ เช่นเดียวกัน จึงบรรจบเป็น
สักกายทิฏฐิ ๒๐ วัตถุ ดว้ ยประการฉะนี้
เม่ือบุคคลตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ประชุมลงในขณะจิตอันเดียวได้แล้วชื่อว่า เป็นผู้ละสักกายทิฏฐิ
เมอ่ื บุคคลใดมาเข่นฆา่ ซึ่งอัตตานทุ ฏิ ฐิ คือความเหน็ ผดิ ว่าเป็นอัตตาตัวตนลงเสียไดแ้ ลว้ ก็จะพงึ เปน็
บคุ คลผขู้ ้ามมฤตยคู วามตายเสยี ได้ เอวํ โลกํ อเวกฺขนตฺ ํ มจจฺ รุ าชา น ปสสฺ ติ เมอ่ื บุคคลมาเห็นซ่ึงโลก
ท้งั หลาย คอื ขันธโลก อายตนโลก และธาตุโลก โดยความเป็นของสูญ สังหารอตั ตานุทฏิ ฐลิ งเสียได้
อย่างน้ี มฤตยูราช คือความตายย่อมไม่เห็น เพราะบุคคลผู้น้ันพ้นสัตว์วิสัยเสียแล้ว มัจจุราชย่อม
ไมเ่ หน็ ซึง่ ผ้นู ัน้ ผู้นัน้ ยอ่ มถึงพระนพิ พานธรรมอันไม่เปน็ วิสยั แห่งมฤตยรู าช ล่วงวิสัยมฤตยูราชเสียได้
ดว้ ยประการฉะน้ฯี
๗. สงั สารทกุ ข์
สมเด็จพระผมู้ พี ระภาคเจา้ ตรัสเทศนา ซง่ึ สงั สารทกุ ข์ไว้วา่ สงั สาระ การทอ่ งเที่ยวเกดิ ตายของ
สัตวเ์ ปรียบเสมือนสระ คือเป็นโอกาสทเ่ี ทยี่ วท่ลี งของสัตว์ทั้งหลาย
สโรติ วุจฺจติ สํสาโร ก็ที่ท่านเรียกว่าสังสาระน้ีหมายถึงความท่องเท่ียวไปด้วยการบังเกิดและ
จุติ อาคมนํ การมาสู่โลกนี้ คมนํ การไปส่โู ลกหน้า คมนาคมนํ ทัง้ ไปและมา กาลํ กาลกิริยา คอื มรณะ
ขาดชีวิตอินทรยี ์ คติ ความไป ภวาภโว ภพน้อยภพใหญ่ จตุ ิ ความเคลือ่ นจากภพ อุปฺปตตฺ ิ ความ
เข้าถงึ อัตตภาพ นิพพฺ ตฺติ ความปรากฏชดั แหง่ ขันธ์ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณํ ความตาย
ความท่องเท่ียว บังเกิด ก�ำเนิด เกิด แก่ ตาย อันเป็นประหนึ่งโคถูกสวมคอเข้าไว้ในแอก
ฉะนน้ั ไดช้ อื่ วา่ สงั สาระ คือเสอื กไสดนั ไป ซึ่งทา่ นแสดงไวว้ า่ ขนฺธานํ ปฏปิ าฏยิ า ธาตอุ ายตนา นญจฺ
อนโฺ นจฉฺ นิ นฺ ํ วฏฏฺ มานา สสํ าโรติ วจุ จฺ ติ ลาํ ดบั แหง่ ขนั ธธ์ าตุ และอายตนะทง้ั หลายเปน็ ไปอยไู่ มข่ าดสาย
ผรู้ ูท้ ่านกลา่ วว่า สงสฺ าโร คอื ความเสอื กซ่านท่องเท่ยี วไป
สงั สาระนี้ เมื่อจะกำ� หนดนามในสาคร ๔ เป็นดงั นี้ คือ สังสารสาคร ๑ ชลสาคร ๑ นยสาคร ๑
ญาณสาคร ๑ สังสารสาครชือ่ วา่ สโร คอื สงั สาระเปรียบเหมอื นสระ
176 ชีวประวตั ิ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
บทวา่ มชฺเฌ สรสฺมิ ติฏฐฺ ตํ น้นั แสดงวา่ สระสังสาระสาครนี้ เปน็ มัธยมสถานกลาง เพราะวา่
ที่สุดเบื้องต้น และท่ีสุดเบื้องปลายแห่งสังสาระน้ัน อันบุคคลหารู้ท่ัวรู้ชัดไม่ ในเงื่อนเบื้องต้นและ
เบอ้ื งปลายแหง่ สงั สาระน้นั ไมป่ รากฏ จงึ เป็นมธั ยมสถานกลางด้วยประการฉะนี้
มชเฺ ฌ สสํ าเร สตตฺ า ฐติ า ก็แลสัตวท์ ัง้ หลายไดต้ ั้งอยูแ่ ลว้ ในสังสาระอนั เปน็ สถานกลาง ซ่งึ เกิด
โอฆะห้วงน�้ำใหญท่ ว่ มท้น คอื ๑ กามโอฆะ ๒ ภวโอฆะ ๓ ทิฏฐิโอฆะ ๔ อวิชชาโอฆะ โอฆะท้ัง ๔
แต่ละอยา่ ง ๆ อาศยั ปัจจัยนน้ั ๆ แลว้ เกดิ ขนึ้ เจริญทวมี ากขึ้นเปน็ หว้ งพัดพาสตั ว์ใหเ้ พยี บดว้ ยทกุ ข์
คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในสระสังสาระนนั้ ถูกภยั ใหญเ่ บียดเบียนรำ�่ ไป ภยั ใหญ่ คอื ชาติ ความเกิด
ชรา ความแก่ พยาธิ ความเจบ็ ปว่ ยไข้ มรณํ ความตาย แตกขาดแหง่ ชวี ติ ตนิ ทรยี ์ ทกุ ขฺ ํ ความทกุ ขก์ าย
ล�ำบากใจ เหล่าน้ีแหละเป็นภัยใหญ่หลวงนัก มีเกลื่อนกล่นอยู่ในสระสังสาระ ชรามจฺจุปเรตานํ
เหล่าสัตว์ผู้ตั้งอยู่ ณ สังสาระอันเป็นสถานกลาง เกิดห้วงและมีภัยใหญ่หลวง เป็นสัตว์อันความแก่
และความตายแวดล้อมรมุ เบียดเบยี นเปน็ นิตย์ ความแก่และความตายทา่ นก�ำหนดเปน็ ประธานแหง่
ความทกุ ข์ทง้ั หลาย เอวมา ทิตฺตเก โลเก ชราย มรเณน จ โลกคอื ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ร่งุ เรอื งรอ้ น
แต่ต้น เพราะความแกแ่ ละความตายเข้าจดุ เผา เหล่าสัตว์ทตี่ งั้ อยู่ ณ สระสงั สาระ อนั เปน็ สถานกลาง
เกดิ ห้วงและภัยใหญห่ ลวง รมุ ล้อมเบียดเบียนดว้ ยประการฉะน้ี
๘. เนกขัมมธรรม
เนกขฺ มมฺ ํ ปสฺส เขมโต ทา่ นจงเหน็ เนกขมั มะโดยความเป็นธรรมเกษม จากโยคะทง้ั ปวงเถิดฯ
พระนพิ พาน ก็ชอ่ื ว่า เนกขัมมะ ปฏิปทาท่จี ะใหส้ ตั วถ์ งึ พระนพิ พานกช็ ือ่ วา่ เนกขมั มะ นพิ พาน
คามนิ ปี ฏปิ ทา ชอื่ วา่ เนกขมั มะนน้ั คอื สมั มาปฏปิ ทา ปฏบิ ตั ดิ าํ เนนิ กาย วาจา จติ ชอบ อนโุ ลมปฏปิ ทา
ปฏิบัติอนุโลมแก่ธรรมน้ัน อปจฺจนิกปฏิปทา ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึกแก่พระนิพพาน อนุวตฺตปฏิปทา
ปฏบิ ตั ไิ ปตามเนอื้ ความแหง่ พระนพิ พาน ธมมฺ านธุ มมฺ ปฏปิ ทา ปฏบิ ตั ซิ ง่ึ ธรรมอนั สมควรแกโ่ ลกตุ ตธรรม
คือ บ�ำเพญ็ ศีลใหบ้ ริบรู ณ์ รักษาทวารในอินทรยี ์ทงั้ หลาย รู้ประมาณในโภชนะประกอบตามซง่ึ ธรรม
ของผู้ต่ืนอยู่ คือ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อัฏฐังคิกมรรค ๘ นิพพานคามินีปฏิปทา มีศีลสังวรเป็นต้น นี้ชื่อว่าเนกขัมมธรรม
เป็นเบื้องต้นท่ีจะให้บรรลุถึงเนกขัมมะคือพระนิพพาน ปสฺสิตฺวา เมื่อบุคคลมาเห็นแล้วเลือกแล้ว
ใหม้ ีการแจง้ แล้ว กระท�ำให้ปรากฏแล้ว ซง่ึ เนกขัมมะคอื พระนิพพานอนั เป็นธรรมเกษมย่อมพ้นทุกข์
ทัง้ ปวง เปน็ ผปู้ ลอดภยั ในทีท่ ุกสถาน ในกาลทกุ เมอ่ื แล
๙. อุปสันตบคุ คล
ส่ิงอันใดหรืออารมณ์อันใดท่ีได้ยึดไว้แล้ว จับต้องแล้ว ถือม่ันแล้ว ด้วยอ�ำนาจ ตัณหา มานะ
และทิฏฐิ อันมีอยู่ในสันดาน สิ่งอันนี้ หรืออารมณ์อันน้ี ท่านพึงสละละวางเสีย พึงปลดเปลื้องเสีย
ท่านพระอาจารย์มัน่ ภรู ทิ ตั ตเถระ 177
ให้สน้ิ พึงละเสยี พงึ บรรเทาเสีย พึงกระทำ� ให้มีท่สี ุด พงึ ใหถ้ งึ ซึง่ อนั บังเกดิ ตามไมไ่ ด้ มา เต วชิ ชฺ ตุ
กญิ จฺ นํ เครื่องกังวลคอื ราคะ โทสะ โมหะ และทฏิ ฐิ กังวล คือ กิเลสและทุจริตอย่าใหม้ ใี นสันดาน
ยํ ปุพเฺ พ ตํ วิโสเสหิ ส่งิ ใดมีในภายก่อน ท่านจงยังสิ่งนน้ั ใหเ้ หือดแห้ง ปจฉฺ า เต มาหุ กญิ ฺจนํ กังวล
ในภายหลงั อย่าให้มีในสนั ดาน มชฺเฌ เจ โน คเหสสฺ สิ ทา่ นอย่าได้ถอื เอา ณ ท่ามกลาง อุปสนฺโต
จรสิ สฺ สิ ท่านกจ็ ักเป็นคนสงบระงบั แลว้ เทีย่ วอยู่
๑๐. กุมารกสสปั เทวตาปุจฉิตปญั หาพยากรณ์
ปัญหาว่า มจี อมปลวกแห่งหนึง่ กลางคืนเปน็ ควนั กลางวันเปน็ เปลว ฯลฯ พราหมณส์ ั่งใหศ้ ษิ ย์
ช่ือสุเมธขุดดว้ ยศัสตรา สงิ่ เหล่าน้ีได้แก่อะไร?
พระตรัสพยากรณ์ว่า จอมปลวกได้แก่ร่างกายอันเจือด้วยสัมภวธาตุของมารดาบิดา และ
มหาภูตธาตุท้ัง ๔ จึงเกิดมีขึ้นได้ กลางคืนเป็นควัน หมายถึงการตริตรึกนึกคิดของบุคคล กลางวัน
เปน็ เปลว หมายถงึ การประกอบกจิ การงานตามทีค่ ดิ ไวข้ องบุคคล พราหมณไ์ ดแ้ ก่พระตถาคต สเุ มธ
ได้แก่ภิกษุผู้มีปัญญาดีในพระธรรมวินัยนี้ การขุดหมายถึงความเพียร ศัสตราหมายถึงอริยปัญญาณ
อันสามารถประหารกเิ ลส ฉะนี้แลฯ
๑๑. เหตุเกิดความเพียร
เมอ่ื ความเพียรจะเกดิ ขึ้น ก็เพราะสังเวควตั ถเุ บ้ืองตน้ ๘ ประการ คอื ชาตทิ กุ ข์ ๑ ชราทุกข์ ๑
พยาธิทกุ ข์ ๑ มรณทกุ ข์ ๑ อบายทุกข์ ๑ อดตี ทุกข์ ๑ อนาคตทกุ ข์ ๑ อาหารคเวสทิ ุกข์ ๑
๑๒. ภทั เทกรตั ตสตู ร
สมัยสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับท่ีพระเชตวนาราม กรุงสาวัตถี ได้ตรัสภัทเทก
รตั ตสูตรแก่ภิกษทุ ัง้ หลายวา่
ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังส่ิงซ่ึงยังไม่มาถึง เพราะว่าสิ่งใดล่วงพ้น
ไปแลว้ สง่ิ นั้นอนั เราละเสยี แล้ว อนึง่ สง่ิ ใดซึง่ ไมม่ าถงึ เลา่ ส่ิงนั้นก็ยงั ไม่มาถงึ เพราะฉะนั้นผูม้ ปี ัญญา
จึงไม่ควรให้ส่ิงซึ่งล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังสิ่งซ่ึงไม่มาถึง ก็ผู้มีปัญญาได้มาเห็นธรรมซึ่งเป็น
ปัจจุบันเกิดขึ้นจ�ำเพาะหน้าแจ้งชัดอยู่ในที่น้ัน ๆ ความเห็นแจ้งธรรม ซึ่งเป็นปัจจุบันของท่านน้ัน
ไมง่ อ่ นแงน่ ไมก่ ำ� เรบิ ดว้ ยดี ผมู้ ปี ญั ญาอนั มาไดค้ วามเหน็ แจง้ ในธรรมซง่ึ เปน็ ปจั จบุ นั อนั ไมง่ อ่ นแงน่ และ
ไมก่ ำ� เรบิ ดว้ ยดีแลว้ ควรเจริญความเห็นนนั้ ไวเ้ นือง ๆ ความเพยี รเผากเิ ลสให้เรา่ ร้อน อันผูม้ ปี ัญญา
ควรรีบท�ำเสียในวันนี้ทีเดียว ใครจะพึงรู้ว่าความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าสู้ความหน่วงเหนี่ยว
ความผูกพันธ์กับด้วยมฤตยูความตายซ่ึงมีเสนาใหญ่น้ันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นความเพียรเผากิเลส
178 ชวี ประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
ให้เร่าร้อน อันผู้มีปัญญาควรท�ำเสียในวันน้ีทีเดียว นักปราชญ์ผู้สงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญ ผู้มี
ปัญญาซ่ึงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ไม่เกียจคร้าน ขยันหม่ันเพียร
ทง้ั กลางวนั และกลางคนื อยา่ งน้ี ผนู้ นั้ แลวา่ ผมู้ รี าตรเี ดยี วเจรญิ ดงั นี้ เมอ่ื ตรสั อเุ ทศนจ้ี บแลว้ จงึ ตรสั วภิ งั ค์
ต่อไปวา่
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้วมาตามอยู่เป็นไฉน? บุคคลมาคิดว่า ณ กาลล่วง
ไปแล้วเมื่อกอ่ น เราได้เป็นผมู้ ีรปู เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณ อย่างน้ี ๆ แลว้ นำ� ความเพลิดเพลนิ
ในขันธ์มีรูปขันธ์เป็นต้น ซึ่งล่วงไปแล้วนั้น มาตามอยู่ ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ช่ือว่าบุคคลให้สิ่ง
ซึง่ ล่วงไปแล้ว มาตามอยภู่ กิ ษุท้งั หลาย ก็บคุ คลไมใ่ หส้ ่งิ ซง่ึ ล่วงไปแลว้ มาตามอยู่เปน็ ไฉนเล่า? บุคคล
มาคดิ วา่ ณ กาลไกลล่วงไปแลว้ เราไดเ้ ป็นผู้มรี ปู เวทนา สญั ญา สงั ขาร วิญญาณ อยา่ งน้ี ๆ แลว้ ไมน่ ำ�
ความเพลิดเพลนิ ในขนั ธ์ มรี ปู ขนั ธ์เป็นตน้ ซง่ึ ลว่ งไปแลว้ นั้นมาตามอยู่ ภิกษุทง้ั หลายอย่างนี้แลชือ่ วา่
บุคคลไม่ให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้วมาตามอยู่ เบ้ืองหน้าก็ไม่ปรารถนาไม่ให้มาตามอยู่ และปัจจุบันก็ไม่ให้
มาตามอยู่ ไม่ถือว่าเราว่าเขา ช่ือว่าไม่ง่อนแง่นอยู่ในธรรมท้ังหลาย พระอริยสาวกและสัตบุรุษ
ท่านไมต่ ามเหน็ วา่ รูป เวทนา สญั ญา สงั ขาร วิญญาณ โดยความเป็นตัวตนบ้าง ไมต่ ามเหน็ ตัวตนวา่
มีรปู เวทนา สญั ญา สังขาร วญิ ญาณบา้ ง ไม่ตามเหน็ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณในตวั ตนบ้าง
ไมต่ ามเห็นตวั ตนในรูป เวทนา สญั ญา สังขาร วญิ ญาณบา้ ง ภิกษุทง้ั หลายอย่างน้ีแล ชอ่ื ว่า บคุ คล
ไม่ง่อนแง่นอยูใ่ นธรรมท้ังหลาย ซ่ึงเกดิ ขน้ึ จำ� เพาะหนา้ ฉะนแี้ ล
๑๓. พหเุ วทนิยสตู ร
สูตรนี้วา่ ด้วยเวทนา เวทนา ๒ นน้ั คือ เวทนาทางกายอย่าง ๑ เวทนาทางจติ อย่าง ๑ เวทนา ๓
นัน้ คอื สขุ ๑ ทกุ ข์ ๑ อุเบกขา ๑ เวทนา ๕ นัน้ คอื สขุ เวทนา ๑ ทกุ ข์เวทนา ๑ โสมนสั สเวทนา ๑
โทมนัสสเวทนา ๑ อุเบกขาเวทนา ๑ เวทนา ๖ อย่างนับตามทวาร ๖ เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖
เวทนา ๑๐๘
๑๔. พงึ เป็นคนมีสติ
อย่าถือม่ันกังวลในโลกทั้งปวง ความเสื่อมปัญญา นักปราชญ์ท่านติเตียน ความเจริญปัญญา
เลศิ กว่าความเจริญทงั้ ปวง
๑๕. อนตุ ตริยะ ๖
พระผู้มีพระภาค ตรัสเทศนาแก่ภิกษุท้ังหลายว่ากิจทั้งหลายไม่มีกิจอ่ืนย่ิงข้ึนไปกว่าส่ิงเหล่านี้
คอื ความเหน็ ๑ ความฟัง ๑ ความได้ศรทั ธา ๑ ความศกึ ษา ๑ ความบ�ำเรอปฏบิ ตั ิ ๑ ความระลกึ ๑
ทา่ นพระอาจารย์มน่ั ภรู ทิ ัตตเถระ 179
๑๖. อปัณณกธรรม
ความสำ� รวมอนิ ทรยี ์ ๖ ไมด่ ดู ว้ ยนมิ ติ ไมด่ ดู ว้ ยอนพุ ยญั ชนะ ใหด้ ดู ว้ ยอสภุ นมิ ติ ความรปู้ ระมาณ
ในโภชนะและชาครยิ านุโยค ความพากเพียรอย่างผตู้ น่ื อยู่ โดยกำ� หนดเวลาไวด้ งั นี้ ตั้งแตอ่ รุณขน้ึ ไป
ตลอดถึงพลบค�่ำเวลา ๑ ต้ังแต่ย�่ำค�่ำไปจนถึงหนึ่งยามเวลา ๑ ยามกลางต้ังแต่ ๔ ทุ่ม นอนจนถึง
๘ ท่มุ ลกุ ขึน้ ตัง้ แตย่ ามกลางลว่ งไปแลว้ จนตลอดอรณุ ข้ึนมาใหม่เวลา ๑ แบง่ เวลาเปน็ ทช่ี ำ� ระจติ ให้
บริสุทธิ์ เปน็ ๓ เวลาฉะน้ี ใหผ้ ปู้ ระกอบความเพยี รทำ� อย่างน้จี งึ ชอ่ื ว่าชาครยิ านุโยค
ธรรม ๓ ประการจะให้ก�ำจัดเสียซึ่งอาสวะ เรียกว่าอปัณณกธรรม ผู้ปฏิบัติตามชื่อว่าท�ำ
ความเพยี รไม่ผดิ ดงั น้ี
๑๗. อริยทรพั ย์
สัทธา ๑ หริ ิ ๑ โอตตปั ปะ ๑ พาหุสจั จะ ๑ วิรยิ ะ ๑ สติ ๑ ปัญญา ๑.
๑๘. ธรรมเปน็ เหตเุ จริญเจโตวมิ ตุ ติ
ก. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีมิตรดี มีสหายดี มีเพ่ือนดี อันนี้เป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่ง
เจโตวมิ ุตตทิ ่ียงั ไม่แกก่ ลา้ ฯ
ข. ภิกษุเป็นผู้มีศีล ส�ำรวมด้วยธรรม เครื่องส�ำรวมคือปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาท และ
ทเ่ี ทีย่ วไปอนั สมควรอยูเ่ ปน็ นติ ย์ เหน็ ภยั ในโทษมปี ระมาณน้อยโดยปกติ สมาทานศึกษาอยู่ในสกิ ขา
ทัง้ หลาย ธรรมอันนี้เป็นไปด้วยดี เพ่ือความแกก่ ล้าแหง่ เจโตวิมตุ ตทิ ่ียังไมแ่ ก่กล้าฯ
ค. ภิกษุเป็นผู้พากเพียรหมั่น ไม่ทอดธุระในการกุศล ธรรมอันนี้เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่ง
เจโตวมิ ุตติ
ฆ. ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นยังความเสื่อม และความดับของสังขาร
ทั้งหลายเป็นปัญญาอย่างประเสริฐ อาจแทงกิเลสได้โดยไม่เหลือ เป็นไปเพื่อความส้ินทุกข์โดยชอบ
เป็นไปเพื่อความแกก่ ล้าแหง่ เจโตวิมตุ ติ
๑๙. สัลเลขกถา
ถ้อยคำ� เคร่ืองขัดเกลากิเลส ๑๐ ประการ คือ เจรจาถงึ ความมักนอ้ ย ๑ เจรจาถงึ ความสนั โดษ
ยนิ ดดี ว้ ยของทม่ี อี ยู่ ๑ เจรจาถงึ ความสงดั ๑ เจรจาถงึ ความไมร่ ะคนดว้ ยหมู่ ๑ เจรจาถงึ ความปรารภ
ซ่ึงความเพยี ร ๑ เจรจาถึงศีลความสำ� รวมกายวาจา ๑ เจรจาถึงสมาธิ ความทจ่ี ิตตง้ั มั่นอยใู่ นอารมณ์
อันเดียว ๑ เจรจาถึงปัญญาความรู้ทั่วถึง ๑ เจรจาถึงวิมุตติความพ้นวิเศษ ๑ เจรจาถึงวิมุตติญาณ
ทัสสนะปัญญาทร่ี ู้เหน็ ในวมิ ตุ ติ ๑ รวมเป็น ๑๐ ประการฉะน้ี
180 ชีวประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
๒๐. วธิ ถี ่ายถอนกิเลส
พงึ เจรญิ อสภุ ภาวนา เพอื่ ละราคะเสยี พงึ เจรญิ เมตตา เพอื่ ละพยาบาทเสยี พงึ เจรญิ อานาปานสติ
เพื่อเขา้ ไปตดั วิตกเสยี พงึ เจริญอนจิ จสัญญา เพือ่ ถอนอัสมิมานะเสีย อนตั ตาสัญญา ก็พึงเหน็ พงึ ต้งั ใจ
ไว้ด้วยดี ความถอนอสั มมิ านะขน้ึ เสียได้ เป็นปรินิพพานในทฏิ ฐธรรมภพปัจจุบันน้ีทีเดียว
๒๑. พหุธาตกุ สตู ร
ณ กาลใด ภกิ ษุเปน็ ผฉู้ ลาดในธาตุ เป็นผฉู้ ลาดในอายตนะ เป็นผู้ฉลาดในปฏจิ จสมุปาทธรรม
เป็นแดนอาศัยเกิดขึ้นพร้อม เป็นผู้ฉลาดในฐานะ อฐานะ คือส่ิงที่เป็นได้ เป็นไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาด
อยา่ งน้ี นักปราชญเ์ รียกวา่ เปน็ บัณฑิตผมู้ ปี ัญญาไต่สวน
ธาตุ ๑๘ คอื จักขุธาตุ ๑ รปู ธาตุ ๑ จกั ขุวญิ ญาณธาตุ ๑ โสตธาตุ ๑ สทั ทธาตุ ๑ โสตวญิ ญาณ
ธาตุ ๑ ฆานธาตุ ๑ คันธธาตุ ๑ ฆานวิญญาณธาตุ ๑ ชิวหาธาตุ ๑ รสธาตุ ๑ ชิวหาวญิ ญาณธาตุ ๑
กายธาตุ ๑ โผฏฐัพพธาตุ ๑ กายวญิ ญาณธาตุ ๑ มโนธาตุ ๑ ธมั มธาตุ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑
ธาตุ ๖ คือ ปฐวธี าตุ ๑ อาโปธาตุ ๑ เตโชธาตุ ๑ วาโยธาตุ ๑ อากาศธาตุ ๑ วญิ ญาณธาตุ ๑
ธาตุ ๖ อนื่ อกี คอื สขุ ธาตุ ธาตคุ อื สขุ ๑ ทกุ ขธ์ าตุ ธาตคุ อื ทกุ ข์ ๑ โสมนสั สธาตุ ธาตคุ อื ผมู้ ใี จดี ๑
โทมนสั สธาตุ ธาตคุ อื ผู้มใี จชว่ั ๑ อุเบกขาธาตุ ๑ อวิชชาธาตุ ๑
ธาตเุ หล่าน้คี อื กามธาตุ ธาตคุ ือกาม ๑ เนกขมั มธาตุ ธาตุคอื ความออกไปจากกาม ๑ พยาบาท
ธาตุ ธาตคุ อื พยาบาท ๑ อพยาบาทธาตุ ธาตคุ อื ความไมพ่ ยาบาท ๑ วหิ สิ ธํ าตุ ธาตคุ อื ความเบยี ดเบยี น
๑ อวิหสิ ํธาตุ ธาตุคอื ความไมเ่ บียดเบียน ๑ รวมเป็น ๖ ประการ
ธาตุ ๓ เหล่าน้คี ือ กามธาตุ ธาตุคือกาม ๑ รปู ธาตุ ธาตคุ ือรูป ๑ อรปู ธาตุ ธาตคุ อื อรปู ๑ฯ
ธาตุ ๒ เหล่านค้ี ือ สังขตธาตุ ธาตอุ นั ปจั จัยตกแตง่ ๑ อสังขตธาตุ ธาตอุ นั ปจั จยั ไมต่ กแตง่ ๑ฯ
กอ็ ายตนะทง้ั หลายทเี่ ปน็ ภายใน ๖ ทเี่ ปน็ ภายนอก ๖ เหลา่ นี้ ภกิ ษเุ ปน็ ผฉู้ ลาดในปฏจิ จสมปุ าท
ธรรมอันมีอวชิ ชาเปน็ ตน้ ไปจนถงึ สงขฺ ิตเฺ ตน ปญจฺ ปุ าทานกฺขนธฺ าปิ ทกุ ขฺ า น้ัน ยอ่ มรู้ชัดว่า บุคคล
ไดบ้ รรลุพระโสดาบันแล้วเปน็ คนไมถ่ อื มน่ั ปถุ ชุ นย่อมถือมั่นในสงั ขาร ถือวา่ ตวั ตนเราเขาวา่ เท่ยี งแท้
ธรรมปริยายน้ีช่ือ พหุธาตุกสูตร ว่าด้วยธาตุมาก เรียกว่า จตุปริวัฏฏ์ เวียนรอบ ๔ บ้าง
ว่า ธัมมาทาสา แว่นส่องธรรมบ้าง ว่า มตกุนฺกุภิ กลองอมฤตเภรีบ้าง ว่า อนุตฺตรสงฺคามวิชย
เครื่องชนะสงครามอันเยย่ี มบา้ ง
๒๒. พระอภิธรรมปรมตั ถสงั คหะ
นมตฺถุ สุคตสฺสฯ สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ สสทฺธมฺมํ คณุตฺตมํ อภิวาทิย ภาสิสฺสํ อภิธมฺมตฺถ
สงคฺ หํ ตตถฺ วตุ ตฺ าภิธมฺมตฺถา จตธุ า ปรมตฺถโต จติ ตฺ ํ เจตสกิ ํ รูปํ นพิ พฺ านมตี ิ สพพฺ ถาติ
ท่านพระอาจารยม์ ัน่ ภูริทัตตเถระ 181
บัดนี้จะแสดงพระอภิธรรมปรมัตถสังคหะท่ีสมเด็จพระผู้มีพระภาคบรมศาสดาจารย์ญาณ
สัพพัญญูผู้เป็นบรมครูเจ้าได้ตรัสไว้ อันท่านพระอนุรุทธาจารย์นํามาประพันธ์เป็นคาถา ๙ ปริเฉท
ดังตอ่ ไปนี้
พระอภิธรรมท่ีพระบรมศาสดาตรสั ไวโ้ ดยปรมตั ถนัย ๔ ประเภท คอื จติ เจตสิก รูป นิพพาน
เป็นการสรปุ รวมยอด รวมสังขตธรรม และอสังขตธรรมไว้ในท่เี ดยี วกัน
สังขตธรรม ธรรมทีป่ จั จัยปรุงแตง่ จดั โดยหมวดเปน็ ๕ คือ รูป เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณ
สงเคราะหล์ งเป็น ๓ ประการ คอื จิต เจตสกิ รปู ฯ วญิ ญาณขนั ธเ์ ป็นจติ เวทนา สญั ญา สังขาร เปน็
เจตสกิ รปู ขนั ธแ์ ยกเป็นภูตรปู และอปุ าทายรูป สว่ นอสงั ขตธรรมนน้ั ได้แก่พระนิพพาน ซ่งึ มีอารมณ์
เหย่ี วแหง้ ดว้ ยอริยมรรคจติ อรยิ ผลจติ แลว้
จติ แยกเปน็ ๔ ประเภท โดยภมู ิ คอื กามาวจรจติ ๑ รปู าวจรจติ ๑ อรปู าวจรจติ ๑ โลกตุ ตรจติ ๑
จิตซ่ึงเป็นไปในสันดานของสัตว์ ซ่ึงเกิดในกามภพ ๑๑ คือ อบายภูมิ ๔ กามสุคติภูมิ ๗ ช่ือว่า
กามาวจรจิต ๕๔ ดวง จติ ซ่ึงเป็นไปโดยมากในสนั ดานของสัตว์ ซึง่ เกดิ ในอรูปภพ ชอ่ื ว่า อรปู าวจรจิต
๑๕ ดวง จิตซ่ึงเป็นไปโดยมากในสันดานของสัตว์ ซ่ึงเกิดในอรูปภพช่ือว่า อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
จิตซ่ึงข้ามขึ้นจากโลก คือปัญจุปาทานขันธ์ไม่มีอาสวะ ช่ือว่า โลกุตตรจิต คือ อริยมรรคจิต ๔
อริยผลจติ ๔ เป็น ๘ ดวง สิรริ วมเปน็ จิต ๘๙ ดวง ด้วยประการฉะน้ี
เจตสกิ ๒๕ ดวง เปน็ ธรรมเปน็ ไปในจติ เกดิ กบั ดบั พรอ้ มกบั จติ ซง่ึ แยกโดยประเภท และอาการ
แตกต่างแห่งหมวดธรรม นบั ได้ ๒๕ ดวง ด้วยประการฉะน้ี
ธรรมสงั คหะ ๖ อาการ คอื เวทนา ๖ เหตุ ๖ กจิ ๖ ทวาร ๖ อารมณ์ ๖ วตั ถุ ๖ ดว้ ยประการฉะน้ี
ฉักกะ ๖ คือ วตั ถุ ๖ ทวาร ๖ อารมณ์ ๖ วญิ ญาณ ๖ วิถจี ติ ๖ วสิ ยปวัตติ ๖
จตุกกะ ๔ คือ ภูมิจตุกะ ได้แก่ภูมิทั้ง ๔ คือ อบายภูมิ ๑ กามสุคติภูมิ ๑ รูปาวจรภูมิ ๑
อรปู าวจรภูมิ ๑ ปฏิสนธิจตกุ กะ ทา่ นจาํ แนกปฏสิ นธิออกเป็น ๔ คอื อบายภูมปิ ฏิสนธิ ๑ กามสคุ ติ
ปฏิสนธิ ๑ รูปาวจรปฏิสนธิ ๑ อรูปาวจรปฏิสนธิ ๑ กัมมจตุกกะ ทา่ นแสดงกรรมโดยประเภทแหง่ กิจ
๔ คือ ชนกกรรม ๑ อุปถมั ภกรรม ๑ อุปปฬี กะกรรม ๑ อุปฆาตกะกรรม ๑ ยังกรรมอกี ๔ ประการ
คอื ครุกรรม ๑ อาสนั นกรรม ๑ อาจิณณกรรม ๑ กตตั ตากรรม ๑ อธิบายครกุ รรมนัน้ คอื กรรมหนกั
ฝ่ายบุญได้แก่ฌานสมาบัติ ฝ่ายบาปได้แก่อนันตริยกรรมทั้ง ๕ อาสันนกรรมน้ันได้แก่กุศลกิจและ
อกศุ ลกจิ ทท่ี าํ ใกลเ้ วลามรณะ อาจณิ ณกรรมนน้ั ไดแ้ กก่ ศุ ลและอกศุ ลทบ่ี คุ คลทาํ อยเู่ นอื ง ๆ กตตั ตากรรม
นั้นได้แก่กุศลและอกุศลมีก�ำลังอ่อน ยังกรรมอีก ๕ ประการ คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑
อปุ ปชั ชเวทนียกรรม ๑ อปราปรเวทนยี กรรม ๑ มโหสิกรรม ๑
มรณจตกุ กะ ทา่ นแสดงลกั ษณะมรณะ ๔ ประการ คอื อายุกขยมรณะ ๑ กัมมักขยมรณะ ๑
อุภยักขยมรณะ ๑ อุปัจเฉทกัมมุนามรณะ ๑ ชาติทุกข์เป็นเบ้ืองต้น ชราพยาธิเป็นท่ามกลาง
มรณทุกข์เปน็ เบอ้ื งปลาย
182 ชวี ประวัติ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
รูปสังคหะสังเขป ๕ ประการ คอื สมุทเทศนัย ๑ วิภาคนัย ๑ สมฏุ ฐานนัย ๑ กลาปนยั ๑
ปวัตติกนัย ๑ อธิบายว่าลักษณะที่แสดงรูปโดยย่อชื่อว่าสมุทเทศนัย วิธีจําแนกรูปท้ังปวงโดย
ส่วนหนึง่ ๆ ชอ่ื วา่ วภิ าคนัย วธิ ีแสดงปจั จัยทีเ่ ป็นเหตใุ หเ้ กดิ รูปมีกุศลากุศลเป็นตน้ ชือ่ ว่า สมฏุ ฐานนัย
วธิ ีแสดงรปู บรรดาที่เกดิ ดับพร้อมกนั เป็นหมู่เปน็ แผนก มีจักขุทสกะเป็นตน้ ชื่อว่า กลาปนยั วธิ แี สดง
ความเกดิ เป็นลาํ ดับแห่งภพและกาลของสตั ว์ทั้งหลายชอื่ ว่า ปวตั ติกนยั
นพิ พฺ านํ ปน โลกตุ ตฺ รอสงขฺ ตํ กน็ พิ พาน บณั ฑติ กลา่ ววา่ โลกตุ ตรธรรมสงั ขตธาตุ ไมม่ เี ครอ่ื งปรงุ
เป็นของบรสิ ทุ ธิ์ ไม่มเี รอ่ื งเกดิ และดบั พระนพิ พานน้ันเป็นธรรมชาตอิ นั บุคคลจะพึงทาํ ใหแ้ จง้ ไดด้ ว้ ย
อรยิ มรรคญาณทง้ั ๔ เมอ่ื อรยิ มรรคธรรมเกิดขึน้ แล้วจงึ เหน็ พระนพิ พาน เอกวิธมปฺ ิ พระนฤพานนัน้
เมอื่ กลา่ วโดยสภาพกม็ อี ยา่ งเดยี วเทา่ นนั้ เพราะเหตนุ นั้ แหละ พระนพิ พานนจี้ งึ เปน็ เอกปฏเิ วธาภสิ มยั
ตรสั รู้ไดใ้ นขณะจติ เดียวด้วยประการฉะนี้
สมุจจัยสังคหะ ๔ คอื อกุศลสงั คหะ ๑ มสิ สกสงั คหะ ๑ โพธิปกั ขยิ สังคหะ ๑ สพั พัตถสงั คหะ ๑
อกุศลสังคหะนั้นท่านสงเคราะห์เหล่าธรรมท่ีเป็นอกุศลเป็นอาการ ๓๕ มิสสกสังคหะน้ัน ท่าน
สงเคราะห์เหล่าธรรมท้ังกุศลและอกุศลเจือปนกัน โพธิปักขิยสังคหะน้ันท่านสงเคราะห์เหล่าธรรม
ท่ีเป็นฝักฝ่ายแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ ๓๗ ประการ สัพพัตถสังคหะนั้นท่านสงเคราะห์ธรรมส่วนท่ี
เรยี กว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อรยิ สจั จ์
จะแสดงสมุจจยั สงั คหะตามทไ่ี ด้ยกนิเขปบทข้ึนตงั้ ไวน้ ้ันสืบไป
ในอกุศลสังคหะนั้น ท่านสงเคราะห์เหล่าธรรมที่เป็นอกุศลสังกิเลส ๗ หมวด คือ อาสวะ ๔
โอฆะ ๔ โยคะ ๔ คันถะ ๔ อุปาทาน ๔ นวิ รณ์ ๕ สังโยชน์ ๑๐
ในมสิ สกสงั คหะนน้ั ทา่ นสงเคราะหเ์ หลา่ ธรรมทเี่ จอื กนั ทงั้ กศุ ล อกศุ ล เปน็ ๗ หมวด คอื ธาตุ ๖
หมวด ๑ องคฌ์ าน ๕ หมวด ๑ อายตนะ ๑๒ หมวด ๑ อินทรยี ์ ๒๒ หมวด ๑ พละ ๕ หมวด ๑
อธิปติ ๔ หมวด ๑ อาหาร ๔ หมวด ๑
ในโพธิปักขิยสังคหะนั้น ท่านสงเคราะห์ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิญาณ ๗ หมวด คือ
สติปัฏฐาน ๔ สมั มปั ปธาน ๔ อทิ ธิบาท ๔ อินทรยี ์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อรยิ มรรคมีองค์ ๘
ในสัพพัตถสังคหะน้ัน ท่านสงเคราะห์ธรรมท่ีไม่ได้เรียกว่าสัตว์บุคคล จัดไว้ ๕ หมวด คือ
ขนั ธ์ ๕ อปุ าทานขนั ธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อรยิ สจั จ์ ๔
จะแสดงปัจจยั สงั คหะปริจเฉทที่ ๘ สืบไป
ปจั จยั สงั คหะน้ี ทา่ นสงเคราะหซ์ ง่ึ ธรรมปจั จยั ตามนยั ๒ ประการ คอื ปฏจิ จสมปุ บาทปจั จยั นยั ๑
สมนตมหาปฏั ฐานปจั จยั นยั ๑ นยั อนั ใดทพ่ี ระบรมครสู พั พญั ญเู จา้ ตรสั เทศนาไวใ้ นปฏจิ จสมปุ บาทธรรม
นยั อนั นน้ั ชอ่ื วา่ ปฏจิ จสมปุ บาทนยั นยั อนั ใดซง่ึ พระองคต์ รสั เทศนาไวใ้ นพระคมั ภรี ส์ มนั ตมหาปฏั ฐาน
นยั อนั นัน้ ชื่อวา่ ปฏั ฐานนัย
ในปัจจัยสังคหะนี้ พระอรรถกถาจารย์ยกเอานัยทั้งสองประการนั้นประชุมกันแสดงออกให้
พิสดารเพ่ือใหส้ าธุชนได้ทราบวา่ ธรรมเหล่านี้เปน็ ปจั จัย ธรรมเหล่านเี้ กิดแตป่ ัจจัย โดยนัยพระบาลี
ท่านพระอาจารยม์ ั่น ภูรทิ ัตตเถระ 183
ในปฏิจจสมุปบาทธรรมวา่ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา สงขฺ ารปจฺจยา วิญฺาณํ ดงั นเ้ี ปน็ ตน้ มีเนอ้ื ความ
วา่ อวชิ ชาเปน็ ปจั จยั ใหเ้ กดิ สงั ขาร สงั ขารเปน็ ปจั จยั ใหเ้ กดิ วญิ ญาณ วญิ ญาณเปน็ ปจั จยั ใหเ้ กดิ นามรปู
นามรูปเปน็ ปัจจยั ใหเ้ กดิ สฬายตนะ สฬายตนะเปน็ ปจั จยั ใหเ้ กิดผัสสะ ผสั สะเป็นปจั จยั ให้เกิดเวทนา
เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพ
เป็นปจั จยั ใหเ้ กิดชาติ ชาติเปน็ ปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนสั อปุ ายาส ความเกิด
ขึ้นแหง่ กองทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมอาศยั เหตุปจั จัยต่อ ๆ กนั ด้วยประการฉะน้ี
ในปฏั ฐานนยั นนั้ สมเดจ็ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ตรสั เทศนาจำ� แนกปจั จยั ๒๔ ประการ มเี หตปุ จั จยั
เป็นต้น มอี วิคตปจั จัยเปน็ ทส่ี ดุ
ก็เหตปุ จั จัยนนั้ ไดแ้ กธ่ รรมเป็นเหตุ เป็นเค้า เปน็ มลู ในฝ่ายกศุ ลมี ๓ คอื อโลภะ ความไมโ่ ลภ
อโทสะ ความไม่โกรธ อโมหะ ความไม่หลง ในฝ่ายอกุศลก็มี ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ น้ีแหละ
ทา่ นว่าเหตุปัจจยั ฯ
อารมั มณปจั จัยนนั้ ไดแ้ กอ่ ารมณ์ทั้ง ๖ คือ รปู เสยี ง กลิน่ รส โผฏฐพั พะ ธรรมารมณ์ อารมณ์
ทัง้ ๖ น้ี ย่อมเปน็ ทย่ี ึดหนว่ งแห่งจติ และเจตสิกทัง้ ปวงอนั เกดิ ขน้ึ ในทวารท้ัง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น
จึงชอ่ื ว่าอารัมมณปจั จัย
อธิปติปัจจัยนั้นได้แก่ธรรมอันเป็นอุปการะด้วยความเป็นใหญ่ในธรรมท้ังหลายอันเนื่องกัน
อนันตรปัจจัย แลสมนันตรปัจจัยน้ันได้แก่ธรรมอันบังเกิดก่อนแล้วจึงเป็นอุปการปัจจัยให้โอกาสแก่
ธรรมอันบงั เกิดภายหลงั หาธรรมอืน่ คน่ั ในระหว่างมิได้ สหชาตปัจจยั นัน้ ไดแ้ กธ่ รรมอนั เปน็ อปุ การะ
ด้วยความเป็นของเกิดข้ึนพร้อมกัน ประหนึ่งเปลวประทีปกับแสงสว่างอันเกิดพร้อมกัน ฉะนั้น
อัญญมัญญปัจจัยน้ันได้แก่ธรรมท่ีเกิดอาศัยกันและกันจึงต้ังอยู่ได้ ดังไม้สามท่อนอันอิงอาศัยกัน
และกนั ฉะน้นั
นิสสัยปัจจัยน้ันได้แก่ธรรมอันเป็นอุปการะคือท่ีอาศัย ประหน่ึงแผ่นดินเป็นที่อาศัยแห่งต้นไม้
และภูเขาฉะน้ันฯ อุปนิสสัยปัจจัยนั้นได้แก่ธรรมอันเป็นอุปการะ คือเป็นอุปนิสสัยติดตามตนฯ
ปเุ รชาตปจั จยั นนั้ ไดแ้ กร่ ปู ธรรมอนั เกดิ ขน้ึ กอ่ น แลว้ เปน็ ปจั จยั แกจ่ ติ และเจตสกิ อนั บงั เกดิ ณ ภายหลงั
ปัจฉาชาตปัจจัยน้ันได้แก่จิตและเจตสิกอันเกิดภายหลัง แล้วเป็นอุปการะแก่รูปอันเกิดก่อนฯ
อาเสวนปจั จยั นนั้ ไดแ้ ก่ชวนจติ อนั มีชาตเิ สมอกัน ย่อมให้กำ� ลงั ในกิจที่เป็นบุญและบาปทกุ ประการฯ
กัมมปัจจัยน้ันได้แก่กุศลและอกุศลอันเป็นปัจจัยให้ส�ำเร็จผลคือสุขและทุกข์แก่สัตว์ วิบากปัจจัยน้ัน
ได้แกว่ ิบากจติ อนั บังเกิดเปน็ อปุ การแก่สตั ว์อนั เสวยสขุ และทุกข์ฯ อาหารปัจจยั น้ันได้แก่ อาหาร ๔
ประการ คอื ผสั สาหาร ๑ มโนสญั เจตนาหาร ๑ วญิ ญาณาหาร ๑ กวฬกี าราหาร ๑ฯ อนิ ทรยี ป์ จั จยั นนั้
ได้แก่ ปสาทรูปทง้ั ๕ มีจักขปุ สาทเป็นต้น เปน็ ใหญ่ในท่ีจะกระทำ� ใหว้ ิญญาณทั้ง ๕ เปน็ ไปในอ�ำนาจ
หรือรูปชีวิตินทรีย์เป็นใหญ่ในท่ีจะกระท�ำให้ก�ำลังรูปประพฤติเป็นไปในอ�ำนาจ ฌานปัจจัยน้ันได้แก่
องค์ฌาน มีวิตกวิจารณ์เป็นต้น เป็นปัจจัยให้ก�ำลังแก่นามและรูปฯ มัคคปัจจัยนั้นได้แก่มรรคมี
องค์ ๘ ประการ ทงั้ ฝ่ายโลกยี แ์ ละโลกุตตระ เป็นปัจจัยใหก้ ำ� ลังแกน่ ามธรรม และรูปธรรม อนั เกดิ
184 ชีวประวัติ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
พรอ้ มกนั ฯ สมั ปยตุ ฺตปจั จยั นั้นคอื จติ และเจตสกิ อนั เป็นปจั จยั แก่กัน เกดิ กบั ดบั พรอ้ มกัน มอี ารมณ์
เป็นอันเดียวกันฯ วิปฺปยุตฺตปัจจัยน้ัน คือรูปธรรมกับนามธรรมอันไม่ประกอบกัน มิได้ระคนกัน
อตถปิ จั จัยน้ัน คือรปู ธรรมนามธรรมท่ียังไมด่ บั ย่อมเป็นปัจจยั ให้กำ� ลังแกก่ ัน นัตฺถปิ จั จยั น้นั คอื นาม
และรูปดับแล้ว มีปัจจัยให้บังเกิดต่อไปในเบ้ืองหน้าฯ วิคตปัจจัยน้ันมีเน้ือความเหมือนนัตถิปัจจัย
อวิคตปัจจัยนั้นก็มีเนื้อความเหมือนอัตถิปัจจัย การท่ีตรัสพยัญชนะให้ต่างกันแต่เน้ือความเป็น
อย่างเดียวกันนั้น ก็ด้วยทรงอนุโลมตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ท่ีควรรู้ได้ด้วยอรรถพยัญชนะ
ประการใดกท็ รงภาษติ ไว้ดว้ ยประการนน้ั ฉะนี้แล
จะแสดงกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ภาวนาต่อไป กรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ภาวนามี ๒ ประการ
คือ สมถกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ภาวนา ๑ วิปัสสนากรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ภาวนา ๑ ก็ในกรรมฐาน
(กัมมัฏฐาน)สังคหะ ๒ ประการนั้น จะแสดงสมถสังคหะก่อน ก็สมถกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)น้ัน
มอี ารมณเ์ ปน็ เครอื่ งยดึ หนว่ งแหง่ จติ ทาํ จติ ใหส้ งบถงึ ๔๐ ทศั จดั เปน็ หมวดได้ ๗ หมวด คอื กสณิ ๑๐
อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔ อาหารปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑
อรูปกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน) ๔
ก็สมถกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)น้ีมีอารมณ์มากถึง ๔๐ ทัศน้ัน ท่านแสดงไว้โดยสมควรแก่จริต
ของโยคาวจรบคุ คล เพราะบคุ คลย่อมมีจรติ ตา่ ง ๆ กันถงึ ๖ ประการ คือ
(๑) โยคาวจรทเี่ ปน็ ราคจรติ มากไปดว้ ยความกำ� หนดั ยนิ ดใี นเบญจกามคณุ ควรเจรญิ อสภุ ะ ๑๐
และกายคตาสตเิ ปน็ อารมณจ์ งึ เปน็ ที่สบาย
(๒) โยคาวจรทเี่ ปน็ โทสจรติ มกั โกรธมกั ประทษุ รา้ ย ควรเจรญิ พรหมวหิ าร ๔ และวรรณกสณิ ๔
คือ นีลกสณิ ๑ ปตี กสณิ ๑ โลหติ กสณิ ๑ โอทาตกสณิ ๑ จงึ เปน็ ท่ีสบาย
(๓) - (๔) โยคาวจรท่ีเป็น โมหจริต มักลุ่มหลงมาก กับที่เป็น วิตกจริต มักตรึกตรองมาก
ควรเจรญิ อานาปานสติกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน) จงึ เปน็ ที่สบาย
(๕) โยคาวจรที่เป็น สัทธาจริต มักเชื่อคนพูดง่าย ๆ ควรเจริญ พุทฺธานุสฺสติ ธมฺมานุสฺสติ
สงฺฆานสุ ฺสติ สลี านุสฺสติ จาคานสุ สฺ ติ และ เทวตานสุ ฺสติ จึงเป็นท่สี บาย
(๖) โยคาวจรทเี่ ป็น พทุ ธจิ ริต มากไปด้วยปญั ญา ควรเจรญิ มรณัสสติ อปุ สมานุสฺสติ อาหาเร
ปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน จงึ เป็นทสี่ บาย
ส่วนกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ท่ีเหลือ ๑๐ ประการ คือ รูปกสิณ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช
วาโยกสิณ อรปู กสิณ ๒ คือ อาโลกกสณิ และอากาสกสิณ และอรูปกรรมฐาน(กัมมฏั ฐาน) ๔ ย่อม
เปน็ ทสี่ บายแกจ่ ริตทัง้ ปวง
จะแสดงวปิ ัสสนากรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน)สืบไป ในวปิ ัสสนากรรมฐาน(กมั มัฏฐาน) ท่านแบง่ เปน็
๔ ประเภท คอื วสิ ทุ ธิ ๑ วิโมกข์ ๑ อริยบุคคล ๑ สมาบตั ิ ๑
วสิ ทุ ธิ น้นั แจกออกเปน็ ๗ ประการ คอื สีลวิสทุ ธิ ๑ จติ ตวิสทุ ธิ ๑ ทิฏฐิวสิ ทุ ธิ ๑ กังขาวติ รณ
วสิ ทุ ธิ ๑ ปฏปิ ทาญาณทสั สนวสิ ุทธิ ๑ ญาณทัสสนวสิ ทุ ธิ ๑
ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภรู ทิ ตั ตเถระ 185
วโิ มกข์ นน้ั แจกออกเปน็ ๓ ประการ คอื สญุ ญตวโิ มกข์ ๑ อนมิ ติ ตวโิ มกข์ ๑ อปั ปณหิ ติ วโิ มกข์ ๑ฯ
บุคคลนั้นท่านจ�ำแนกออกเป็นอริยบุคคล ๘ จ�ำพวก มีพระโสดามรรคบุคคลเป็นต้น
พระอรหัตตผลบคุ คลเปน็ ทส่ี ดุ ฯ
สมาบัติ นั้น ท่านจ�ำแนกเป็นรูปสมาบัติ ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘ ประการ ด้วย
ประการฉะนีแ้ ล
๒๓. วธิ เี จริญกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ภาวนา
จะแสดงวธิ เี จริญกรรมฐาน(กัมมฏั ฐาน)ภาวนา เพอ่ื โยคาวจรกุลบุตรได้อาศัยศึกษาและปฏิบัติ
สบื ไป โยคาวจรผใู้ ดจะเจรญิ กรรมฐาน(กัมมฏั ฐาน)ภาวนา พึงตรวจดจู รติ ของตนให้รชู้ ดั วา่ ตนเปน็
คนมีจริตอย่างใดแนน่ อนกอ่ นแลว้ พึงเลือกเจริญกรรมฐาน(กัมมฏั ฐาน)อันเป็นที่สบายแกจ่ รติ น้ัน ๆ
ดงั ไดแ้ สดงไว้แล้วนนั้ เถิด
อน่ึง พึงทราบค�ำก�ำหนดความดังต่อไปน้ีไว้เป็นเบ้ืองต้นก่อน คือ บริกรรมนิมิต หมายเอา
อารมณข์ องกรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน)ทนี่ ำ� มากำ� หนดพจิ ารณา อคุ คหนมิ ติ หมายเอาอารมณข์ องกรรมฐาน
(กัมมัฏฐาน)อันปรากฏขึ้นในมโนทวารขณะที่ก�ำลังท�ำการเจริญภาวนาอยู่อย่างชัดแจ้ง คล้ายเห็น
ด้วยตาเน้ือ ปฏิภาคนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)อันปรากฏแจ่มแจ้งแก่ใจของ
ผูเ้ จริญภาวนายิง่ ข้นึ กวา่ อุคคหนิมติ และพึงทราบล�ำดบั แหง่ ภาวนาดงั น้ี บริกรรมภาวนา หมายการ
เจริญกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ในระยะแรก เร่ิมใช้สติประคองใจก�ำหนดพิจารณาในอารมณ์กรรมฐาน
(กัมมัฏฐาน)อันใดอันหน่ึง อุปจารภาวนา หมายการเจริญกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ในขณะเม่ือ
อุคคหนิมิตเกดิ ปรากฏในมโนทวาร อปั ปนาภาวนา หมายการเจริญภาวนาในขณะเม่ือปฏิภาคนิมติ
ปรากฏ จิตเปน็ สมาธิแนบเนยี น มีองค์ฌานปรากฏขนึ้ ครบบริบรู ณ์
บริกรรมภาวนาได้ท่ัวไปในกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ท้ังปวง อุปจารภาวนาได้ในกรรมฐาน
(กัมมัฏฐาน) ๑๐ ประการ คอื อนสุ สติ ๘ ต้งั แตพ่ ทุ ธานุสสติ ถงึ มรณสั สติ กบั อาหาเรปฏกิ ลู สญั ญา
และจตธุ าตวุ วตั ถาน เพราะเปน็ กรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน)สขุ มุ ละเอยี ดยง่ิ นกั สว่ นอปั ปนาภาวนานนั้ ไดใ้ น
กรรมฐาน(กัมมฏั ฐาน) ๓๐ คอื กสิณ ๑๐ อสภุ ะ ๑๐ อานาปานสติ ๑ กายคตาสติ ๑ พรหมวิหาร ๔
และอรปู กรรมฐาน(กมั มัฏฐาน) ๔
กรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน) ๑๑ คอื อสภุ ะ ๑๐ กบั กายคตาสติ ๑ ใหส้ าํ เรจ็ แตเ่ พยี ง รปู าวจรปฐมฌาน
พรหมวหิ าร ๓ คอื เมตตา กรุณา มทุ ิตา ใหส้ ําเรจ็ รปู าวจรณานทงั้ ๔ ประการ อเุ บกขาพรหมวหิ าร
ให้สาํ เร็จแต่ปญั จมรูปาวจรฌานอย่างเดยี ว อรูปกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน) ๔ ให้สาํ เร็จแต่อรปู าวจรฌาน
อย่างเดยี วฯ
(๑) วธิ ีเจรญิ ปฐวกี สิณ
กุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ภาวนา อันชื่อว่าปฐวีกสิณ พึงตัด
ปลิโพธกังวลห่วงใยน้อยใหญ่เสียให้ส้ินแล้ว ไปยังท่ีเงียบสงัด เพ่งพิจารณาดินที่ตนตกแต่งเป็น
186 ชีวประวัติ มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
ดวงกสิณเป็นอารมณ์ หรือจะเพ่งพิจารณาดินที่แผ่นดินหรือท่ีลานข้าวเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็ได้
เม่ือจะพิจารณาดินที่มิได้ตกแต่งไว้เป็นดวงกสิณนั้น จึงก�ำหนดให้มีที่สุดโดยกลมเท่าตะแกรง กว้าง
คืบ ๔ นิ้วเป็นอย่างใหญ่ เท่าขอบปากขันเป็นอย่างเล็ก อย่าก�ำหนดให้ใหญ่หรือเล็กกว่าก�ำหนดน้ี
แลว้ พงึ บรกิ รรมภาวนาวา่ ปฐวี ๆ ดนิ ๆ ดงั นร้ี ำ�่ ไป ถา้ มวี าสนาบารมเี คยไดส้ งั่ สมอบรมมาแตช่ าตกิ อ่ น ๆ
แลว้ กอ็ าจได้ส�ำเร็จฌาน ถ้าหาวาสนาบารมีมิได้ ก็ยากท่จี ะสำ� เรจ็ ฌานดว้ ยการเพ่งแผน่ ดนิ อยา่ งวา่ น้ี
จ�ำจะต้องท�ำเปน็ ดวงกสณิ เม่ือจะทำ� พงึ หาดนิ สแี ดงดงั แสงพระอาทติ ย์แรกอทุ ยั มาท�ำ อย่าท�ำในท่ี
คนสญั จรไปมาพลกุ พล่าน พงึ ท�ำในท่ีสงัดเป็นทล่ี ับที่กำ� บงั ดวงกสณิ นน้ั จะท�ำตงั้ ไว้กบั ทท่ี เี ดยี ว หรอื
จะท�ำชนิดยกไปได้กต็ าม ดนิ ท่ีจะทำ� ดวงกสิณน้ัน พงึ ช�ำระใหห้ มดจด ทำ� เปน็ วงกลม กว้างคบื ๔ นิว้
ขัดให้ราบเสมอดังหน้ากลอง พึงปัดกวาดที่น้ันให้เตียนสะอาด ปราศจากหยากเยื้อเฟื้อฝอยแล้วพึง
ช�ำระกายใหห้ มดเหง่ือไคล เมอ่ื จะน่งั ภาวนา พึงน่ังบนตัง่ ที่มีเทา้ สูงคืบ ๔ น้ิว นัง่ ห่างดวงกสณิ ออกไป
ประมาณ ๒ ศอกคบื พงึ นง่ั ขัดสมาธิ เทา้ ขวาทบั เทา้ ซ้าย มือขวาทบั มือซา้ ย ต้งั กายให้ตรง ผินหนา้
ไปทางดวงกสณิ แลว้ พงึ พจิ ารณาโทษกามคณุ ตา่ ง ๆ และตง้ั จติ ไวใ้ หด้ ใี นฌานธรรมอนั เปน็ อบุ ายทจี่ ะ
ยกตนออกจากกามคุณ และจะล่วงพน้ กองทกุ ขท์ ั้งปวง แลว้ พงึ ระลกึ ถงึ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคณุ
ยังปรีดาปราโมทย์ให้เกิดขึ้น แล้วพึงท�ำจิตให้เคารพรักใคร่ในพิธีทางปฏิบัติให้ม่ันใจว่าปฏิบัติดังนี้
ไดช้ อื่ วา่ เนกขมั มปฏบิ ตั ิ พระอรยิ เจา้ ทง้ั หลายมพี ระพทุ ธเจา้ เปน็ ตน้ จะไดล้ ะเวน้ หามไิ ด้ ลว้ นแตป่ ฏบิ ตั ิ
ดังนี้ทุก ๆ พระองค์ คร้ันแล้วพึงต้ังจิตว่า เราจะได้เสวยสุขอันเกิดแต่วิเวกด้วยปฏิบัติอันน้ีโดยแท้
ยังความอุตสาหะให้เกิดข้ึนแล้วจึงลืมจักษุข้ึนดูดวงกสิณ เมื่อลืมจักษุข้ึนนั้น อย่าลืมขึ้นให้กว้างนัก
จะล�ำบากจักษุ อนึ่งมณฑลกสิณจะปรากฏแจ้งเกินไป ครั้นลืมจักษุข้ึนน้อยนักมณฑลกสิณก็จะ
ไม่ปรากฏแจง้ จติ ทจ่ี ะถือเอากสณิ นิมิตเป็นอารมณ์นนั้ ก็จะยอ่ หยอ่ นท้อถอยเกียจคร้านไป เหตุฉะน้ี
พึงลืมจักษุขนาดสอ่ งเงาหน้าในกระจก อน่ึง เมื่อแลดดู วงกสณิ นั้นอยา่ พจิ ารณาสี จงึ กำ� หนดว่าส่ิงน้ี
เปน็ ดนิ เทา่ นน้ั แตส่ ดี นิ นนั้ จะละเสยี กม็ ไิ ด้ เพราะวา่ สกี บั ดวงกสณิ เนอ่ื งกนั อยู่ ดดู วงกสณิ กเ็ ปน็ อนั ดสู ี
อย่ดู ว้ ย เหตุฉะน้ี พงึ รวมดวงกสณิ กับสีเข้าดว้ ยกัน แลดูดวงกสิณกบั สนี น้ั ให้พร้อมกนั ก�ำหนดว่า สง่ิ นี้
เปน็ ดนิ แลว้ จงึ บรกิ รรมภาวนาวา่ ปฐวี ๆ ดนิ ๆ ดงั นร้ี ำ่� ไป รอ้ ยครง้ั พนั ครงั้ เมอ่ื กระทำ� บรกิ รรมภาวนา
วา่ ปฐวี ๆ อยูน่ น้ั อย่าลมื จักษเุ ป็นนิตย์ พึงลมื จักษุดอู ยูห่ นอ่ ยหน่งึ แล้วหลับลงเสีย หลบั ลงสักหน่อย
แลว้ พงึ ลืมขึน้ ดอู ีก พึงปฏิบตั ิโดยทำ� นองนไี้ ปจนกวา่ จะได้อุคคหนิมิต ก็กสิณนิมติ อนั เป็นอารมณท์ ีต่ ัง้
แหง่ จิต ในขณะเมอื่ ทำ� บรกิ รรมภาวนา ช่อื ว่าบรกิ รรมนมิ ติ กิริยาทท่ี ำ� การบริกรรมวา่ ปฐวนี ั้น ชอ่ื ว่า
บริกรรมภาวนา เม่ือต้ังจิตในกสิณนิมิต กระท�ำบริกรรมว่าปฐวี ๆ นั้น ถ้ากสิณนิมิตมาปรากฏใน
มโนทวาร หลบั จกั ษลุ งกสิณนมิ ติ ก็ปรากฏอยใู่ นมโนทวารดงั ลืมจกั ษแุ ล้วกาลใด ช่ือว่าไดอ้ คุ คหนิมติ
ณ กาลนั้น เม่อื ไดอ้ ุคคหนมิ ิตแลว้ พึงตง้ั จติ ไว้ในอุคคหนิมติ นั้น ก�ำหนดให้ยงิ่ วเิ ศษขึ้นไป เมือ่ ปฏบิ ตั ิ
อยู่ดังน้ี ก็จะข่มนิวรณธรรมโดยล�ำดับ ๆ กิเลสก็จะสงบระงับจากสันดาน สมาธิก็จะแก่กล้าเป็น
อปุ จารสมาธิ ปฏภิ าคนมิ ติ กจ็ ะปรากฏขนึ้ อคุ คหนมิ ติ กบั ปฏภิ าคนมิ ติ มลี กั ษณะตา่ งกนั คอื อคุ คหนมิ ติ
ยงั ประกอบดว้ ยกสณิ โทษ คือยังปรากฏเป็นสีดินอยอู่ ย่างนน้ั สว่ นปฏภิ าคนิมิตปรากฏบรสิ ุทธ์ิงดงาม
ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภูริทัตตเถระ 187
ดังแว่นกระจก ที่บุคคลถอดออกจากฝักจากถุงฉะนั้น จ�ำเดิมแต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์
ท้ังส้ินก็ระงบั ไป จติ กต็ ้ังมน่ั เป็นอปุ จารสมาธิ ส�ำเรจ็ เปน็ กามาพจรสมาธิภาวนา เม่ือได้อปุ จารสมาธิ
แลว้ ถา้ พากเพยี รพยายามตอ่ ขน้ึ ไปไมห่ ยดุ หยอ่ น กจ็ ะไดส้ ำ� เรจ็ อปั ปนาสมาธซิ งึ่ เปน็ รปู าวจรฌาน และ
เม่ือกระท�ำเพียรจนบรรลุถึงอัปปนาฌาน เกิดขึ้นในสันดานแล้ว ก็พึงก�ำหนดไว้ว่า ๑. เราประพฤติ
อริ ยิ าบถอยา่ งนี้ ๆ ๒. อยใู่ นเสนาสนะอยา่ งน้ี ๆ ๓. โภชนาหารอันเป็นทส่ี บายอย่างน้ี ๆ จึงได้ส�ำเร็จ
ฌาน การท่ีให้ก�ำหนดไว้น้ี เผ่ือว่าฌานเสื่อมไปก็จะได้เจริญสืบต่อไปใหม่โดยวิธีเก่า ฌานที่เส่ือมไป
น้ัน ก็จะเกิดข้ึนได้โดยง่ายในสันดานอีก ครั้นเม่ือได้ส�ำเร็จปฐมฌานแล้ว พึงปฏิบัติในปฐมฌานนั้น
ใหช้ �ำนาญคลอ่ งแคลว่ ดว้ ยดีก่อนแล้วจงึ เจรญิ ทุตยิ ฌานสืบตอ่ ขึน้ ไป
ก็ปฐมฌานที่จะช�ำนาญคล่องแคล่วด้วยดีต้องประกอบด้วยวสีท้ัง ๕ คือ (๑) อาวัชชนวสี
ช�ำนาญคล่องแคล่วในการนึก ถ้าปรารถนาจะนึกถึงองค์ฌานท่ีตนได้ ก็นึกได้เร็วพลัน มิได้เนิ่นช้า
มิต้องนานถงึ ชวนจติ ท่ี ๔-๕ ตกลง ยังภวังค์จติ ๒-๓ ขณะถงึ องคฌ์ านท่ีตนได้ (๒) สมาปชั ชนวสี คอื
ช�ำนาญคล่องแคล่วในการท่ีจะเข้าฌาน อาจเข้าฌานได้ในล�ำดับอาวัชชนจิตอันพิจารณาซ่ึงอารมณ์
คือปฏิภาคนิมิตมิได้เนิ่นช้า (๓) อธิฏฐานวสี คือช�ำนาญในอันด�ำรงรักษาณานจิตไว้มิให้ตกภวังค์
ตั้งฌานจิตไว้ได้ตามก�ำหนด ปรารถนาจะต้ังไว้นานเท่าใดก็ต้ังไว้ได้นานเท่าน้ัน (๔) วุฏฐานวสี คือ
ชาํ นาญคลอ่ งแคลว่ ในการออกจากฌาน กาํ หนดไวว้ า่ เวลานน้ั ๆ จะออกกอ็ อกไดต้ ามกาํ หนดไมค่ ลาด
เวลาทก่ี าํ หนดไว้ (๕) ปัจจเวกขณวสี คือช�ำนาญคลอ่ งแคล่วในการพิจารณาองคฌ์ านท่ตี นได้อย่าง
รวดเร็ว มิได้เน่ินช้า ถ้าไม่ช�ำนาญในปฐมฌานแล้วอย่าพึงเจริญทุติยฌานก่อน ต่อเมื่อช�ำนิช�ำนาญ
คล่องแคลว่ ในปฐมฌานด้วยวสีทง้ั ๕ ดงั กล่าวแลว้ จงึ ควรเจรญิ ทตุ ยิ ฌานสบื ต่อขนึ้ ไป เมื่อชำ� นาญใน
ทุตยิ ณาน จงึ เจริญตตยิ ฌาน จตตุ ถฌาน และปญั จมฌานขน้ึ ไปตามลำ� ดบั
องค์ของฌานเปน็ ดังนี้ ปฐมฌานมอี งค์ ๕ คือ วิตก ความตรกึ คิดมีลกั ษณะยกจิตขึ้นส่อู ารมณ์
เป็นองค์ที่ ๑ วิจารณ์ ความพิจารณามีลักษณะไตร่ตรองอารมณ์เป็นองค์ที่ ๒ ปิติ เจตสิกธรรม
ท่ียังกายและจติ ใจใหอ้ ่มิ เตม็ มปี ระเภท ๕ คือ (๑) ขุททกาปติ ิ กายและจติ อ่มิ จนขนพองชชู นั ทำ� ให้
น�้ำตาไหล (๒) ขณิกาปิติ กายและจิตอ่ิมมแี สงสว่างดังฟา้ แลบปรากฏในจกั ษทุ วาร (๓) โอกกนฺตกิ า
ปิติ กายและจติ อมิ่ ปรากฏดั่งคล่นื และระลอกทำ� ใหไ้ หวใหส้ ัน่ (๔) อพุ เพงคาปติ ิ กายและจิตอ่มิ และ
กายเบาเลอื่ นลอยไปได้ (๕) ผรณาปติ ิ กายและจติ อมิ่ เยน็ สบายซาบซา่ นทวั่ สรรพางคก์ าย ปติ ทิ งั้ ๕ นี้
อันใดอันหน่ึงเป็นองค์ที่ ๓ สุขอันเป็นไปในกายและจิต เป็นองค์ที่ ๔ และเอกัคคตา ความท่ีจิตมี
อารมณเ์ ดยี วไมฟ่ งุ้ ซา่ นไปมา จดั เปน็ องคค์ รบ ๕ ฌานทพ่ี รอ้ มดว้ ยองค์ ๕ น้ี ชอ่ื วา่ ปฐมฌานฯ ทตุ ยิ ฌาน
มอี งค์ ๓ คอื ปติ ิ สุข เอกคั คตา ตติยฌาน มอี งค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา จตตุ ถฌาน มีองค์ ๒ คอื
เอกคั คตา อุเบกขา นจ้ี ดั โดยฌานจตกุ กนยั ถา้ จัดโดยฌานปญั จกนยั เปน็ ดังนี้ ปฐมฌาน มอี งค์ ๕ คอื
วติ ก วิจาร ปิติ สขุ เอกคั คตา ทตุ ิยฌาน มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปติ ิ สุข เอกัคคตา ตตยิ ฌาน มอี งค์ ๓ คือ
ปติ ิ สขุ เอกคั คตา จตตุ ถฌาน มอี งค์ ๒ คอื สขุ เอกคั คตา ปญั จมฌาน มอี งค์ ๒ คอื เอกคั คตา อเุ บกขา
188 ชวี ประวัติ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
กลุ บตุ รผเู้ จริญ กสิณนีอ้ าจได้สำ� เรจ็ ฌานสมาบัตโิ ดยจตกุ กนยั หรือปญั จกนัยดังกลา่ วมาน้ี
(๒) วธิ เี จรญิ อาโปกสณิ
โยคาวจรกุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญอาโปกสิณ ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมีเคยได้ส่ังสม
อาโปกสณิ มาแตช่ าตกิ อ่ น ๆ แลว้ ถงึ จะมไิ ดต้ กแตง่ กสณิ เลย เพยี งแตเ่ พง่ ดนู ำ�้ ในทใี่ ดทห่ี นง่ึ เชน่ ในสระ
ในบ่อ ก็อาจส�ำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตโดยง่าย ถ้ากุลบุตรอันหาวาสนาบารมีในอาโปกสิณ
มิได้ พึงเจริญอาโปกสณิ ในปจั จุบันชาตินี้ กพ็ ึงทำ� อาโปกสณิ ดว้ ยนำ�้ ทใี่ สบริสุทธ์ิ เอานำ�้ ใสภ่ าชนะ เช่น
บาตรหรือขันให้เตม็ เพยี งขอบปากยกไปตงั้ ไว้ในทกี่ ำ� บัง ตง้ั ม้าสีเ่ หลีย่ มสูงคืบ ๔ นว้ิ กระท�ำพิธที ั้งปวง
โดยท�ำนองทก่ี ลา่ วไวใ้ นวธิ เี จรญิ ปฐวกี สณิ นั้นเถิด คำ� บริกรรมภาวนาในอาโปกสณิ วา่ อาโป ๆ น�้ำ ๆ
พึงบรกิ รรมดงั น้ีรำ�่ ไปรอ้ ยครัง้ พันครง้ั จนกว่าจะได้ส�ำเรจ็ อคุ คหนิมติ ปฏิภาคนมิ ติ และอปั ปนาฌาน
โดยล�ำดับ ก็อุคคหนิมิตในอาโปกสิณน้ีปรากฏดุจไหว ๆ กระเพื่อม ๆ อยู่ ถ้าน�้ำน้ันประกอบด้วย
กสิณโทษคือเจือปนด้วยเปลือกตมหรือฟอง ก็จะปรากฏในอุคคหนิมิตด้วย ส่วนปฏิภาคนิมิต
ปรากฏปราศจากกสิณโทษ เป็นดุจกาบขว้ั ตาลแกว้ มณีทจ่ี ะประดษิ ฐานในอากาศ มฉิ ะน้ันดุจมณฑล
แว่นแก้วมณี เมอื่ ปฏภิ าคนมิ ติ เกิดแล้วโยคาวจรกลุ บตุ รท�ำปฏภิ าคนิมิตใหเ้ ปน็ อารมณ์ บรกิ รรมไปว่า
อาโป ๆ น้ำ� ๆ ดังนี้ จะได้ถงึ จตุตถฌานหรอื ปัญจมฌานตามล�ำดบั ๆ.
(๓) วธิ ีเจรญิ เตโชกสิณ
โยคาวจรกุลบุตรผู้มีวาสนาบารมี เคยเจริญเตโชกสิณมาแล้วในชาติก่อน เพียงแต่เพ่งเปลวไฟ
ในท่ีใดที่หน่ึง บริกรรมภาวนาว่า เตโช ๆ ไฟ ๆ ดังนี้ ก็อาจได้ส�ำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต
โดยงา่ ย ถา้ ผไู้ มเ่ คยบำ� เพญ็ มาแตช่ าตกิ อ่ น ปรารถนาจะเจรญิ เตโชกสณิ พงึ หาไมแ้ กน่ ทสี่ นดมี าตากไว้
ให้แห้ง บ่ันออกไว้เป็นท่อน ๆ แล้วน�ำไปใต้ต้นไม้ หรือที่ใดที่หน่ึงซ่ึงเป็นท่ีท่ีสมควร แล้วกองฟืน
เปน็ กอง ๆ ดงั จะอบบาตร จดุ ไฟเขา้ ใหร้ งุ่ เรอื ง แลว้ เอาเสอื่ ลำ� แพน หรอื แผน่ หนงั หรอื แผน่ ผา้ มาเจาะ
เป็นช่องกลมกว้างประมาณคืบ ๔ น้ิว แล้วเอาขึงไว้ตรงหน้า นั่งตามพิธีท่ีกล่าวไว้ในปฐวีกสิณ
แลว้ ตัง้ จติ ก�ำหนดวา่ อนั น้ีเปน็ เตโชธาตุ แล้วจงึ บรกิ รรมว่า เตโช ๆ ไฟ ๆ ดงั น้รี ำ่� ไป จนกวา่ จะได้
สำ� เร็จอุคคหนิมิต และปฏิภาคนมิ ิต โดยล�ำดบั ไป.
อุคคหนิมิตในเตโชกสิณนี้ ปรากฏดุจเปลวเพลิงลุกไหม้ไหว ๆ อยู่เสมอ ถ้ามิได้ท�ำดวงกสิณ
พิจารณาไฟในเตาเปน็ ตน้ เมอ่ื อคุ คหนิมิตเกดิ ข้ึน กสิณโทษกจ็ ะปรากฏดว้ ย เช่น ท่อนฟืนทไ่ี ฟตดิ อยู่
หรอื กองถา่ น เถา้ ควัน ก็จะปรากฏดว้ ย สว่ นปฏภิ าคนมิ ติ ปรากฏมไิ ดห้ วน่ั ไหว จะปรากฏดุจทอ่ นผา้
กำ� พลแดงอนั ประดษิ ฐานอยบู่ นอากาศ หรอื เหมอื นกาบขวั้ ตาลทองคำ� ฉะนนั้ เมอ่ื ปฏภิ าคนมิ ติ ปรากฏ
แลว้ โยคาวจรกจ็ ะได้สำ� เรจ็ ฌานตามลาํ ดับจนถงึ จตุตถฌาน ปัญจมฌาน.
(๔) วธิ ีเจริญวาโยกสณิ
ให้เพ่งลมที่พัดอันปรากฏอยู่ท่ียอดอ้อย ยอดไผ่ ยอดไม้ หรือปลายผมที่ถูกลมพัดไหวอยู่
อย่างใดอยา่ งหน่งึ แล้วพงึ ตง้ั สตไิ วว้ า่ ลมพัดตอ้ งในที่นี้ หรอื ลมพัดเข้ามาในช่องหนา้ ตา่ ง หรอื ชอ่ งฝา
ถกู ตอ้ งกายในทใ่ี ด กพ็ งึ ตง้ั สตไิ วใ้ นทน่ี น้ั แลว้ พงึ บรกิ รรมวา่ วาโย ๆ ลม ๆ ดงั นร้ี ำ่� ไป จนกวา่ จะสำ� เรจ็
ทา่ นพระอาจารย์ม่ัน ภรู ิทตั ตเถระ 189
อคุ คหนิมติ และปฏิภาคนมิ ิต อคุ คหนิมติ ในวาโยกสณิ น้ี จะปรากฏไหว ๆ เหมือนไอแห่งข้าวปายาส
อันบุคคลปลงลงจากเตาใหม่ ๆ ปฏิภาคนิมิตจะปรากฏอยู่เป็นอันดีมิได้หวั่นไหว เม่ืออุคคหนิมิต
เกิดแลว้ โยคาวจรกุลบุตรก็จะไดส้ �ำเร็จฌานโดยล�ำดบั .
(๕) วธิ เี จรญิ นีลกสิณ
โยคาวจรกุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญนีลกสิณ พึงพิจารณานิมิตสีเขียวเป็นอารมณ์
ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมีเคยได้เจริญนีลกสิณมาแต่ชาติก่อน ๆ แล้ว เพียงแต่เพ่งดูดอกไม้สีเขียวหรือ
ผ้าเขียว เป็นต้น ก็อาจได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ส่วนผู้พ่ึงจะเจริญนีลกสิณในชาติปัจจุบันนี้
พึงท�ำดวงกสิณก่อน พึงเอาดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่งท่ีมีสีเขียวล้วนอย่างเดียว มาล�ำดับลงในผอบ
หรอื ฝากลอ่ งให้เสมอขอบปาก อย่าใหเ้ กสรแลกา้ นปรากฏ ให้แลเหน็ แตก่ ลีบสเี ขยี วอยา่ งเดียว หรือ
จะเอาผ้าเขียวขึงลงที่ขอบปากผอบหรือฝากล่องท�ำให้เสมอดังหน้ากลองก็ได้ หรือจะเอาของที่เขียว
เชน่ คราม เป็นต้น มาทำ� เปน็ ดวงกสณิ เหมอื นอย่างปฐวีกสิณกไ็ ด้
เม่ือท�ำดวงกสิณเสร็จแล้วพึงปฏิบัติพิธีโดยท�ำนองที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณนั้นเถิด พึงบริกรรม
ภาวนาวา่ นลี ํ ๆ เขยี ว ๆ ดงั น้รี �ำ่ ไป จนกวา่ อุคคหนิมติ และปฏิภาคนิมติ จะเกิดข้นึ อุคคหนมิ ิตใน
นีลกสิณนี้มีกสิณโทษอันปรากฏ ถ้ากสิณนั้นกระท�ำด้วยดอกไม้ก็เห็นเกสร ก้าน และระหว่างกลีบ
ปรากฏ สว่ นปฏิภาคนมิ ติ จะปรากฏดุจกาบข้ัวตาลแก้วมณีตง้ั อย่ใู นอากาศ เม่ือปฏภิ าคนิมิตเกดิ แลว้
อปุ จารณานและอัปปนาฌานกจ็ ะเกิดดังกลา่ วแล้วในปฐวีกสิณ
(๖-๗-๘ ) วิธเี จริญปีตกสณิ โลหติ กสณิ โอทาตกสณิ
วิธเี จริญกสณิ ๓ น้ี เหมือนกันกับนลี กสิณทกุ อย่าง ปตี กสณิ เพ่งสเี หลือง บริกรรมวา่ ปตี กํ ๆ
เหลอื ง ๆ โลหติ กสิณ เพง่ สีแดง บริกรรมว่า โลหติ ํ ๆ แดง ๆ โอทาตกสณิ เพ่งสขี าว บริกรรมว่า
โอทาตํ ๆ ขาว ๆ ดังน้ีร�่ำไป จนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ลักษณะอุคคหนิมิตและ
ปฏภิ าคนมิ ิตกเ็ หมอื นในนีลกสิณ ตา่ งกันแตส่ อี ยา่ งเดียวเท่านัน้ .
(๙) วิธเี จริญอาโลกกสณิ
โยคาวจรกลุ บตุ รผู้จะเจรญิ อาโลกกสิณน้ี ถ้าเป็นผ้มู วี าสนาบารมี เคยไดเ้ จรญิ มาแตช่ าติก่อน ๆ
แล้ว เพียงแต่เพ่งดูแสงพระจันทร์หรือแสงพระอาทิตย์ หรือแสงไฟอันส่องเข้ามาตามช่องฝาหรือ
ชอ่ งหนา้ ตา่ งเปน็ ตน้ ทป่ี รากฏเปน็ วงกลมอยทู่ ฝ่ี าหรอื ทพี่ นื้ นนั้ ๆ กอ็ าจสำ� เรจ็ อคุ คหนมิ ติ และปฏภิ าค
นิมิตโดยง่าย ส่วนโยคาวจรที่พึงจะเจริญกสิณในชาติปัจจุบันนี้ เม่ือจะเจริญต้องท�ำดวงกสิณก่อน
พงึ หาหม้อมาเจาะใหเ้ ป็นชอ่ งกลมประมาณคืบ ๔ นิ้ว เอาประทปี ตามไปไวข้ า้ งใน ปิดปากหม้อเสยี
ใหด้ ี ผนิ ชอ่ งหมอ้ ไปทางฝา แสงสวา่ งทอ่ี อกทางชอ่ งหมอ้ กจ็ ะปรากฏเปน็ วงกลมอยทู่ ฝ่ี า พงึ นงั่ พจิ ารณา
ตามวิธีที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณ บริกรรมว่า อาโลโก ๆ แสงสว่าง ๆ ดังน้ีร�่ำไป จนกว่าจะได้ส�ำเร็จ
อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอาโลกกสิณนี้ ปรากฏดุจวงกลมอันปรากฏที่ฝานั้นแล
ส่วนปฏภิ าคนิมติ ปรากฏผอ่ งใสเป็นแท่งทบึ ดังดวงแหง่ แสงสว่างฉะนนั้ .
190 ชวี ประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
(๑๐) วธิ เี จริญอากาสกสิณ
โยคาวจรกุลบุตรผู้ปรารถนาจะเจริญอากาสกสิณน้ี ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมี เคยสั่งสมมาแล้ว
แต่ชาติก่อน เพียงแต่เพ่งดูช่องฝา ช่องดาน หรือช่องหน้าต่าง เป็นต้น ก็อาจส�ำเร็จอุคคหนิมิต
และปฏิภาคนิมิตโดยง่าย ถ้าไม่มีวาสนาบารมีในกสิณข้อนี้มาก่อนต้องท�ำดวงกสิณก่อน เมื่อจะท�ำ
ดวงกสิณ พงึ เจาะฝาเจาะแผ่นหนงั หรอื เส่ือลำ� แพนให้เป็นวงกลมกวา้ งคืบ ๔ นวิ้ ปฏิบตั กิ ารทั้งปวง
โดยท�ำนองที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณ บริกรรมว่า อากาโส ๆ อากาศ ๆ ดังนี้ร่�ำไป จนกว่าจะเกิด
อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตน้ันเถิด อุคคหนิมิตในอากาสกสิณน้ี ปรากฏรูปวงกลมอากาศ แต่มี
ท่ีสุดฝา เป็นต้น เจือปนอยู่บ้าง ส่วนปฏิภาคนิมิต ปรากฏเป็นวงกลมอากาศเท่ากับวงกสิณเด่นอยู่
และสามารถแผอ่ อกให้ใหญ่ได้ตามตอ้ งการ.
(๑๑) วิธเี จรญิ อุทธุมาตกะอสภุ กรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)
โยคาวจรกุลบุตร ผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)น้ี พึงไปสู่ท่ีพิจารณา
อทุ ธมุ าตกะอสุภนิมติ อย่าไปใต้ลม พงึ ไปเหนอื ลม ถ้าทางข้างเหนือลมมรี วั้ และหนามกน้ั อยู่ หรือมี
โคลนตมเปน็ ต้น กพ็ ึงเอาผ้าหรอื มอื ปดิ จมกู ไป เมื่อไปถงึ แล้วอย่าเพง่ แลดูอสุภนมิ ิตกอ่ น พึงก�ำหนด
ทศิ กอ่ น ยนื อยใู่ นทศิ ใดเหน็ ซากอสภุ ะไมถ่ นดั นำ�้ จติ ไมค่ วรแกภ่ าวนากรรม พงึ เวน้ ทศิ นนั้ เสยี อยา่ ยนื
ในทิศนนั้ พงึ ไปยืนในทศิ ทเี่ ห็นซากอสภุ ะถนัด น�ำ้ จิตกค็ วรแก่กรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน) อนงึ่ อย่ายืนใน
ท่ใี ตล้ ม กล่นิ อสภุ ะจะเบยี ดเบยี น อย่ายนื ข้างเหนอื ลม หมูอ่ มนุษยท์ ส่ี ิงอย่ใู นซากอสภุ ะจะโกรธเคอื ง
พงึ หลกี เลย่ี งเสยี สกั หน่อย อนึง่ อย่ายนื ใกล้นกั ไกลนกั ยนื ไกลนกั ซากอสภุ ะไมป่ รากฏแจง้ ยนื ใกล้นกั
จะไม่สบายเพราะกลิ่นอสุภะและปฏิกูลด้วยซากศพ ยืนชิดเท้านัก ชิดศีรษะนักจะไม่ได้เห็นซาก
อสภุ ะหมดทง้ั กาย พึงยืนในทีท่ ่ามกลางตัวอสุภะในทที่ ีส่ บาย เมื่อยนื อยดู่ ังนี้ ถ้าก้อนศลิ าจอมปลวก
ตน้ ไม้ หรือกอหญ้าเปน็ ตน้ ปรากฏแกจ่ กั ษุ จะเล็กใหญ่ ดำ� ขาว ยาวสนั้ สงู ต�่ำอยา่ งใด กพ็ ึงก�ำหนดรู้
อย่างนัน้ ๆ แลว้ ต่อไปพึงก�ำหนดอทุ ธมุ าตกอสุภะ โดยอาการ ๖ อย่าง คือ สี เภท สัณฐาน ทศิ ทต่ี งั้
อยใู่ นปฐมวัย มัชฌิมวยั ปจั ฉมิ วยั กำ� หนดสณั ฐานอสภุ ะนี้ เปน็ รา่ งกายของ คนดำ� คนขาว เปน็ ตน้
กำ� หนดเภทนั้น คือกำ� หนดว่า ซากอสุภะน้ี เป็นรา่ งกายของคนทีต่ ง้ั อย่ใู นปฐมวัย มัชฌิมวัย ปจั ฉิมวัย
ก�ำหนดสัณฐานนั้น คือก�ำหนดว่า นี่เป็นสัณฐานศีรษะ ท้อง สะเอว เป็นต้น ก�ำหนดทิศน้ัน คือ
กำ� หนดวา่ ในซากอสุภะนีม้ ที ศิ ๒ คอื ทศิ เบอื้ งต�ำ่ -เบอื้ งบน ท่อนกายต้งั แตน่ าภลี งมาเปน็ ทศิ เบื้องต�่ำ
ตั้งแต่นาภีขึ้นไปเป็นทิศเบื้องบน ก�ำหนดท่ีต้ังนั้น คือก�ำหนดว่า มืออยู่ข้างนี้ เท้าอยู่ข้างน้ี ศีรษะ
อยู่ข้างน้ี ท่ามกลาง กายอยู่ท่ีน้ี ก�ำหนดปริเฉทน้ัน คือก�ำหนดว่า ซากอสุภะนี้มีก�ำหนดในเบ้ืองต่�ำ
ด้วยพื้นเท้า มีก�ำหนดในเบ้ืองบนคือปลายผม มีก�ำหนดในเบื้องขวางด้วยหนังเต็มไปด้วยเครื่องเน่า
๓๑ สว่ น โยคาวจรพงึ กำ� หนดพจิ ารณาอทุ ธมุ าตกะ อสภุ นมิ ติ น้ี ไดเ้ ฉพาะแตซ่ ากอสภุ ะ อนั เปน็ เพศเดยี ว
กับตน คอื ถา้ เป็นชาย กพ็ ึงพจิ ารณาเฉพาะแตเ่ พศชายอย่างเดียว
เมื่อพิจารณาอุทธุมาตกอสุภะนั้น จะนั่งหรือยืนก็ได้ แล้วพึงพิจารณาให้เห็นอานิสงส์ใน
อสุภกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)พึงส�ำคัญประหนึ่งดวงแก้ว ต้ังไว้ซ่ึงความเคารพรักใคร่ยิ่งนัก ผูกจิตไว้ใน
ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภูรทิ ตั ตเถระ 191
อารมณ์คืออสุภะน้ันไว้ให้ม่ัน ด้วยคิดว่าอาตมาจะได้พ้นจากชาติ ชรา มรณทุกข์ด้วยวิธีปฎิบัติดังนี้
แล้ว พึงลืมจักษุข้ึนแลดูอสุภะ ถือเอาเป็นนิมิต แล้วเจริญบริกรรมภาวนาไปว่า อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูลํ
ซากศพพองขึ้น เป็นของน่าเกลียดดังน้ีร่�ำไป ร้อยคร้ังพันคร้ัง ลืมจักษุดูแล้วพึงหลับ จักษุพิจารณา
ท�ำอยู่ดังนี้เร่ือยไป จนเมื่อหลับจักษุดู ก็เห็นอสุภะเหมือนเมื่อลืมจักษุดูเมื่อใด ช่ือว่าได้อุคคหนิมิต
ในกาลเมอ่ื นัน้ ครัน้ ได้อุคคหนิมติ แล้ว ถ้าไม่ละความเพยี รพยายาม กจ็ ะไดป้ ฏภิ าคนมิ ิต อคุ คหนมิ ิต
ปรากฎเหน็ เป็นของพึงเกลยี ดพึงกลวั และแปลกประหลาดยิ่งนกั ปฏิภาคนมิ ิตปรากฏดจุ บุรษุ มกี าย
อนั อ้วนพี กนิ อาหารอ่มิ แลว้ นอนอยฉู่ ะนั้น เมอ่ื ไดป้ ฏภิ าคนิมิตแล้ว นวิ รณธรรมท้งั ๕ มกี ามฉันทะ
เปน็ ตน้ กป็ ราศจากสนั ดานสำ� เรจ็ อปุ จารฌาน และอปั ปนาฌาน และความชำ� นาญแคลว่ คลอ่ งในฌาน
โดยล�ำดบั ไปฯ
(๑๒) วิธีเจริญวนิ ลี กอสุภกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)
วินีลกอสุภะน้ันคือซากศพกําลังพองเขียว วิธีปฏิบัติทั้งปวงเหมือนในอุทธุมาตกอสุภะ แปลก
แตค่ ําบริกรรมวา่ วินลี กํ ปฏกิ ูลํ อสภุ ะข้ึนพองเขียวนา่ เกลียด ดังน้ี อคุ คหนิมติ ในอสภุ ะนป้ี รากฏมสี ี
ตา่ ง ๆ แปลก ๆ กัน ปฏิภาคนมิ ติ ปรากฏเปน็ สแี ดง ขาว เขยี ว เจือกัน
(๑๓) วธิ ีเจรญิ วปิ พุ พกกรรมฐาน(กมั มัฏฐาน)
วิปุพพกอสุภะน้ีคือซากศพมีน้�ำหนองไหล วิธีปฏิบัติเหมือนในอุทธุมาตกอสุภะทุกประการ
แปลกแต่คําบริกรรมว่า วิปุพฺพกํ ปฏิกูลํ ซากศพมีน้�ำหนองไหลน่าเกลียดดังน้ีเท่าน้ัน อุคคหนิมิต
ในอสุภะน้ีปรากฏเหมือนมีน้�ำหนอง น้�ำเหลืองไหลอยู่มิขาด ส่วนปฏิภาคนิมิตน้ันปรากฏเหมือนดั่ง
ร่างอสุภะสงบนิ่งอย่มู ไิ ด้หวัน่ ไหว
(๑๔) วธิ เี จริญวฉิ ทิ ทกอสภุ กรรมฐาน(กมั มัฏฐาน)
วิฉิททกอสุภะนี้ ได้แก่ซากศพท่ีถูกตัดออกเป็นท่อน ๆ ทง้ั อยใู่ นท่ีมีสนามรบหรอื ปา่ ชา้ เป็นตน้
วิธปี ฏิบตั ทิ ้งั ปวงเหมือนในอุทธุมาตกอสภุ ะ แปลกแตค่ ําบรกิ รรมว่า วฉิ ทิ ฺทกํ ปฏิกลู ํ ซากศพขาดเปน็
ท่อน ๆ น่าเกลียดดังนี้เท่าน้ัน อุคคหนิมิตปรากฏเป็นซากอสุภะขาดเป็นท่อน ๆ ส่วนปฏิภาคนิมิต
ปรากฏเหมือนมีอวยั วะครบบรบิ รู ณ์ มเี ปน็ ชอ่ งขาดเหมือนอยา่ งอคุ คหนิมิต
(๑๕) วธิ ีเจรญิ วกิ ขายติ กอสภุ กรรมฐาน(กมั มัฏฐาน)
ใหโ้ ยคาวจรพจิ ารณาซากศพอนั สตั ว์ มแี รง้ กา และสนุ ขั เปน็ ตน้ กดั กนิ แลว้ อวยั วะขาดไปตา่ ง ๆ
บรกิ รรมวา่ วกิ ขฺ ายติ กํ ปฏกิ ลู ํ ซากศพทสี่ ตั วก์ ดั กนิ อวยั วะตา่ ง ๆ เปน็ ของนา่ เกลยี ดดงั นร้ี ำ�่ ไป จนกวา่
จะได้สําเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ก็อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏเหมือนซากอสุภะอันสัตว์
กดั กนิ กลง้ิ อยใู่ นทน่ี นั้ ๆ ปฏภิ าคนมิ ติ ปรากฏบรบิ รู ณส์ น้ิ ทง้ั กาย จะปรากฏเหมอื นทสี่ ตั วก์ ดั กนิ นนั้ มไิ ด้
(๑๖) วิธเี จริญวิกขิตตกอสุภกรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน)
ให้โยคาวจรพึงน�ำมาเองหรือให้ผู้อ่ืนน�ำมาซึ่งซากอสุภะท่ีตกทิ้งเร่ียรายอยู่ในท่ีต่าง ๆ แล้วมา
กองไว้ในท่เี ดียวกนั แลว้ ก�ำหนดพจิ ารณาบรกิ รรมวา่ วิกฺขติ ฺตกํ ปฏิกูลํ ซากศพอนั ซัดไปในทตี่ า่ ง ๆ
เปน็ ของน่าเกลียดดังน้รี ำ่� ไป จนกว่าจะไดอ้ ุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนมิ ิตในอสุภะนปี้ รากฏ
192 ชีวประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
เป็นช่อง ๆ เปน็ ระยะ ๆ เหมือนรา่ งอสุภะน้นั เอง ปฏภิ าคนิมติ ปรากฏเหมอื นกายบรบิ รู ณจ์ ะมชี ่อง
มีระยะหามิไดฯ้
(๑๗) วธิ ีเจริญหตวกิ ขิตตกอสภุ กรรมฐาน(กมั มัฏฐาน)
ให้โยคาวจรพึงน�ำเอามาหรือให้ผู้อ่ืนน�ำเอามา ซึ่งซากอสุภะที่คนเป็นข้าศึกสับฟันกันเป็น
ท่อนน้อยท่อนใหญ่ท้ิงไว้ในที่ต่าง ๆ ล�ำดับเข้าให้ห่างกันประมาณนิ้วมือหนึ่ง แล้วก�ำหนดพิจารณา
บริกรรมว่า หตวิกฺขิตฺตกํ ปฏิกูลํ ซากศพขาดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ เป็นของน่าเกลียดดังนี้ร่�ำไป
จนกว่าจะได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอสุภะน้ีปรากฏดุจรอยปากแผลอันบุคคล
ประหาร ปฏิภาคนิมติ ปรากฏดงั เตม็ บริบรู ณท์ ง้ั กาย มไิ ด้เป็นชอ่ งเป็นระยะฯ
(๑๘) วธิ ีเจริญโลหติ กอสุภกรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน)
ใหโ้ ยคาวจรพจิ ารณาซากศพทคี่ นประหารสบั ฟนั ในอวยั วะ มมี อื แลเทา้ เปน็ ตน้ มโี ลหติ ไหลออก
อยูแ่ ละท้ิงไวใ้ นทท่ี ัง้ หลาย มีสนามรบเปน็ ต้น หรือพจิ ารณาอสภุ ะทม่ี ีโลหติ ไหลออกจากแผล มแี ผลฝี
เป็นต้น ก็ไดบ้ รกิ รรมว่า โลหติ กํ ปฏิกูลํ อสภุ ะนโี้ ลหติ ไหลเปรอะเป้ือนเปน็ ของน่าเกลยี ดดังนรี้ ำ่� ไป
จนกว่าจะได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ปรากฏดุจผ้าแดงอันต้องลมแล้วแล
ไหว ๆ อยู่ ปฏภิ าคนิมติ ปรากฏเป็นอนั ดจี ะไดไ้ หวหามไิ ด้
(๑๙) วิธีเจริญปุฬุวกอสุภกรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน)
ใหโ้ ยคาวจรพจิ ารณาซากศพของมนษุ ยห์ รอื สตั ว์ มสี นุ ขั เปน็ ตน้ ทม่ี หี นอนคลานควำ่� อยู่ บรกิ รรม
วา่ ปุฬุวกํ ปฏิกลู ํ อสุภะทหี่ นอนคลานควำ�่ อยู่ เป็นของน่าเกลยี ดดังนี้ร่�ำไป จนกว่าจะได้อคุ คหนมิ ิต
และปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ปรากฏมีอาการหวั่นไหวด่ังหมู่หนอนอันสัญจรคลานอยู่
ปฏิภาคนมิ ติ ปรากฏมอี าการอนั สงบเป็นอนั ดดี ุจกองข้าวสาลอี ันขาวฉะนนั้ ฯ
(๒๐) วธิ ีเจรญิ อฏั ฐกิ อสภุ กรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน)
ให้โยคาวจรพิจารณาซึ่งซากศพที่เหลือแต่กระดูกอย่างเดียว จะพิจารณาร่างกระดูกท่ีติดกัน
อยู่ทั้งหมดยังไม่เคลื่อนหลุดไปจากกันเลยก็ได้ จะพิจารณาร่างกระดูกที่เคล่ือนหลุดไปจากกันแล้ว
โดยมากยังติดกันอยู่บ้างก็ได้ จะพิจารณาท่อนกระดูกอันเดียวก็ได้ ตามแต่จะเลือกพิจารณา แล้ว
พึงบริกรรมว่า อฏฺฐิกํ ปฏิกูลํ กระดูกเป็นของน่าเกลียดดังน้ีร�่ำไป จนกว่าจะส�ำเร็จอุคคหนิมิตและ
ปฏภิ าคนมิ ติ ถา้ โยคาวจรพิจารณาแต่ท่อนกระดกู อันเดยี ว อุคคหนมิ ิตและปฏภิ าคนิมติ ปรากฏเปน็
อยา่ งเดยี วกนั ถา้ โยคาวจรพจิ ารณารา่ งกระดกู ทยี่ งั ตดิ กนั อยทู่ ง้ั สนิ้ อคุ คหนมิ ติ ปรากฏเปน็ ชอ่ ง ๆ เปน็
ระยะ ๆ ปฏภิ าคนมิ ติ ปรากฏเปน็ รา่ งกายอสภุ ะบริบรู ณส์ ิ้นท้ังนนั้ ฯ
(๒๑-๓๐) วิธเี จรญิ อนสุ สติ ๑๐ ประการ
คอื พุทธฺ านุสฺสติ ระลึกถึงคณุ พระพุทธเจ้า ธมมฺ านุสฺสติ ระลึกถึงคุณพระธรรม สงฆฺ านุสฺสติ
ระลึกถึงคณุ พระสงฆ์ สีลานสุ สฺ ติ ระลึกถงึ คณุ ศลี จาคานุสสฺ ติ ระลึกถงึ คุณทาน เทวตานสุ สฺ ติ ระลกึ
ถึงคุณเทวดา อุปสมานุสฺสติ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน มรณสฺสติ ระลึกถึงความตาย กายคตาสติ
ระลึกไปในกายของตน อานาปานสติ ระลกึ ถึงลมหายใจเข้าออก.
ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ภูริทตั ตเถระ 193
ในอนสุ สติ ๑๐ ประการน้ี จะอธิบายพสิ ดารเฉพาะอานาปานสติดงั ตอ่ ไปนี้
โยคาวจรกุลบุตรผู้จะเจริญอานาปานสติกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)พึงเข้าไปอาศัยอยู่ในป่า หรือ
โคนไม้ หรืออยู่ในเรือนโรงศาลากุฏิวิหารอันว่างเปล่า เป็นที่เงียบสงัดแห่งใดแห่งหนึ่งอันสมควร
แก่ภาวนานุโยคแล้ว พึงนั่งคู่บัลลังก์ขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง
ด�ำรงสติไว้ให้มั่น คอยก�ำหนดรู้ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก อย่าให้ลืมหลง เม่ือหายใจเข้าก็พึง
กำ� หนดรวู้ า่ หายใจเขา้ เมอ่ื หายใจออกกพ็ งึ กำ� หนดรวู้ า่ หายใจออก เมอื่ หายใจเขา้ ออกยาวหรอื สนั้ กพ็ งึ
กำ� หนดรปู้ ระจกั ษช์ ดั ทกุ ๆ ครงั้ ไปอยา่ ลมื หลง อนง่ึ ทา่ นสอนใหก้ ำ� หนดนบั ดว้ ย เมอื่ ลมหายใจเขา้ และ
ออกอนั ใดปรากฏแจ้ง ก็ให้นึกนับว่าหนึง่ ๆ เป็นตน้ ไปจนถงึ ๑๐ คือ เมอื่ ลมหายใจเขา้ ออกรอบท่ี ๑
นบั วา่ หนึง่ ๆ รอบที่ ๒ นบั ว่าสอง ๆ ไปจนถงึ หา้ ๆ เป็นปญั จกะ แล้วตงั้ ต้นหนึ่ง ๆ ไปใหมจ่ นถงึ หก ๆ
เปน็ ฉกั กะ แลว้ นบั ตง้ั ตน้ ใหมไ่ ปจนถงึ เจด็ ๆ เปน็ สตั ตกะ แลว้ นบั ตง้ั ตน้ ใหมไ่ ปจนถงึ แปด ๆ เปน็ อฏั ฐกะ
แล้วนบั ต้ังแต่ตน้ ใหม่ไปจนถงึ เก้า ๆ เปน็ นวกะ แลว้ นบั ตัง้ ต้นใหมไ่ ปจนถงึ สบิ ๆ เปน็ ทสกะ แล้วกลบั
นบั ตง้ั ตน้ ใหมต่ งั้ แตป่ ญั จกะหมวด ๕ ไปถงึ ทสกะหมวด ๑๐ โดยนยั นเ้ี รอ่ื ยไป เมอ่ื กำ� หนดนบั ลมทเ่ี ดนิ
โดยคลองนาสกิ ดว้ ยประการฉะนี้ ลมหายใจเขา้ ออกกจ็ ะปรากฏแกโ่ ยคาวจรกลุ บตุ รชดั และเรว็ เขา้ ทกุ ที
อยา่ พงึ เอาสตติ ามลมเข้าออกนั้นเลย จงึ คอยก�ำหนดนับใหเ้ รว็ เข้าตามลมเข้าออกน้นั วา่ ๑. ๒. ๓. ๔.
๕. / ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. / ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. / ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. / ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖.
๗. ๘. ๙. / ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. / พึงนบั ตามลมหายใจเข้าออกดังนี้รำ�่ ไป จติ กจ็ ะเป็น
เอกคั คตาถงึ ซง่ึ ความเปน็ หนงึ่ มอี ารมณเ์ ดยี วดว้ ยกำ� ลงั อนั นบั ลมนนั้ เทยี ว บางองคก์ เ็ จรญิ แตม่ นสกิ าร
กรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)นี้ด้วยสามารถถอนอันนับลมนั้น ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ ก็ดับไปโดยล�ำดับ ๆ
กระวนกระวายก็ระงับลง จิตก็เบาข้ึน แล้วกายก็เบาข้ึนด้วย ดุจถึงซึ่งอาการอันลอยไปในอากาศ
เมอื่ ลมอสั สาสะ ปสั สาสะหยาบดบั ลงแลว้ จติ ของโยคาวจรนั้นก็มีแต่นิมิตคอื ลมอสั สาสะ ปัสสาสะ
อันสุขุมละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อพยายามต่อไปลมสุขุมก็ดับลง เกิดลมสุขุมละเอียดย่ิงข้ึนประหนึ่ง
หายไปหมดโดยล�ำดับ ๆ คร้นั ปรากฏเปน็ เช่นนน้ั อย่าพึงตกใจและลุกหนไี ป เพราะจะทำ� ใหก้ รรมฐาน
(กัมมัฏฐาน)นั้นเสื่อมไป พึงท�ำความเข้าใจไว้ว่า ลมหายใจไม่มีแก่คนตาย คนด�ำน�้ำ คนเข้าฌาน
คนอยู่ในครรภ์มารดาดังนี้แล้ว พึงเตือนตนเองว่าบัดน้ีเราก็มิได้ตาย ลมสุขุมละเอียดเข้าต่างหาก
แลว้ พงึ คอยกำ� หนดลมในที่ ๆ มนั เคยกระทบเชน่ ปลายจมกู ไว้ ลมกม็ าปรากฏดงั เดมิ เมอื่ ทำ� ความกำ� หนด
ไปโดยนัยนี้ มิช้าอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตก็จะปรากฏโดยล�ำดับไป อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต
ในอานาปานสติกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)นี้ย่อมปรากฏแก่โยคาวจรต่าง ๆ กัน บางองค์ปรากฏดัง
ปุยนุ่นบ้าง ปุยส�ำลีบ้าง บางองค์ปรากฏเป็นวงช่องรัศมีบ้าง ดวงแก้วมณี แก้วมุกดาบ้าง บางองค์
ปรากฏมีสมั ผัสหยาบ คอื เปน็ ดังเมลด็ ในฝ้ายบ้าง ดงั เส้ยี นสะเกด็ ไม้แกน่ บา้ ง บางองคป์ รากฏดงั ดา้ ย
สายสงั วาลยบ์ า้ ง เปลวควนั บา้ ง บางองคป์ รากฏดงั ใยแมงมมุ อนั ขงึ อยบู่ า้ ง แผน่ เมฆและดอกบวั หลวง
และจักรรถบา้ ง บางทปี รากฏดังดวงพระจนั ทรพ์ ระอาทิตยก์ ็มี การที่ปรากฏนมิ ิตตา่ ง ๆ กันนัน้ เปน็
ดว้ ยปญั ญาของโยคาวจรต่างกนั .
194 ชวี ประวัติ มุตโตทยั ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย
อนึ่งธรรม ๓ ประการ คอื ลมเข้า ๑ ลมออก ๑ นมิ ิต ๑ จะไดเ้ ป็นอารมณ์ของจติ อนั เดียวกนั
หามไิ ด้ ลมเข้ากเ็ ปน็ อารมณ์ของจติ อันหนงึ่ ลมออกก็เป็นอารมณ์ของจติ อันหนง่ึ นมิ ิตก็เป็นอารมณ์
ของจิตอันหนึ่ง เมื่อรู้ธรรม ๓ ประการน้ีแจ้งชัดแล้วจึงจะส�ำเร็จซึ่งอุปจารฌานและอัปปนาฌาน
เม่ือไม่รู้ธรรม ๓ ประการก็ย่อมไม่ส�ำเร็จ อานาปานสติกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)นี้เป็นไปเพื่อตัดเสีย
ซึง่ วิตกต่าง ๆ เปน็ อยา่ งดีดว้ ยประการฉะนฯี้
(๓๑-๔๐) สว่ นกรรมฐาน(กมั มฏั ฐาน)อกี ๖ ประการ คอื อปั ปมญั ญาพรหมวหิ าร ๔ อาหาเร
ปฏกิ ูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ จะไมอ่ ธบิ าย จะได้อธิบายแต่อรูปกรรมฐาน(กมั มัฏฐาน) ๔
ดงั ต่อไปนี้
โยคาวจรกุลบุตรผู้จะเจริญอรูปกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ที่หนึ่ง พึงเพ่งกสิณท้ัง ๙ มีปฐวีกสิณ
เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นอากาสกสิณเสีย เมื่อส�ำเร็จรูปาวจรฌานอันเป็นท่ีสุดแล้วจะเจริญ
อรูปาวจรฌานในอรูปกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ต่อไป พึงเพิกกสิณนั้นเสีย คืออย่าก�ำหนดนึกหมายเอา
กสณิ นมิ ติ เปน็ อารมณ์ พงึ ตงั้ จติ เพง่ นกึ พจิ ารณาอากาศทด่ี วงกสณิ เกาะหรอื เพกิ แลว้ เหลอื อยแู่ ตอ่ ากาศ
เปล่าเปน็ อารมณ์ พจิ ารณาไป ๆ จนอากาศเปล่าเท่าวงกสิณปรากฏในมโนทวารในกาลใด ในกาลน้ัน
ใหโ้ ยคาวจรพจิ ารณาอากาศอนั เปน็ อารมณ์ บริกรรมว่า อนนฺโต อากาโส อากาศไม่มที ส่ี ้ินสุด ดังนี้
ร�่ำไป เม่ือบริกรรมนึกอยู่ดังน้ีเนือง ๆ จิตก็สงบระงับตั้งม่ันเป็นอุปจารสมาธิไปจนถึงอัปปนาสมาธิ
โดยล�ำดับ ส�ำเรจ็ เปน็ อรปู ฌานท่ี ๑ ชือ่ ว่า อากาสานัญจายตนฌาน
เม่ือจะเจริญอรูปกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ที่ ๒ ต่อไป พึงละอากาศนิมิตท่ีเป็นอารมณ์ของ
อรูปฌานทีแรกนั้นเสีย พึงก�ำหนดจิตท่ียึดหน่วงเอาอากาศเป็นอารมณ์นั้นมาเป็นอารมณ์ต่อไป
บรกิ รรมวา่ อนนตฺ ํ วญิ ฺ าณํ วิญญาณไม่มที สี่ ุดดังน้ีรำ่� ไป จนกว่าจะไดส้ �ำเร็จอรูปฌานท่ี ๒ ชอื่ วา่
วิญญาณัญจายตนฌาน
เมื่อจะเจริญอรูปฌานท่ี ๓ ต่อไป พึงละอรูปวิญญาณท่ีแรกที่เป็นอารมณ์ของอรูปฌานท่ี ๒
นนั้ เสยี มายดึ หนว่ งเอาความทไี่ มม่ ขี องอรปู ฌานทแี รก คอื กำ� หนดวา่ อรปู วญิ ญาณทแี รกนไ้ี มม่ ใี นทใ่ี ด
ดงั นเี้ ปน็ อารมณ์ แลว้ บรกิ รรมวา่ นตถฺ ิ กญิ จฺ ิ ๆ อรปู วญิ ญาณทแี รกนมี้ ไิ ดม้ ี มไิ ดเ้ หลอื ตดิ อยใู่ นอากาศ
ดังนี้เนอื ง ๆ ไป ก็จะได้ส�ำเรจ็ อรปู ฌานที่ ๓ ชื่อวา่ อากญิ จัญญายตนฌาน
เม่ือจะเจริญอรูปกรรมฐาน(กัมมัฏฐาน)ท่ี ๔ ต่อไป พึงปล่อยวางอารมณ์ของอรูปฌานท่ี ๓
คือที่ส�ำคัญม่ันว่าอรูปฌานทีแรกไม่มีดังนี้เสีย พึงก�ำหนดเอาแต่ความละเอียดประณีตของอรูปฌาน
ที่ ๓ เปน็ อารมณ์ ทำ� บรกิ รรมว่า สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ อรูปฌานที่ ๓ นี้ละเอียดนกั ประณีตนกั จะว่า
มีสัญญากไ็ ม่ใช่ ไมม่ สี ญั ญาก็ไมใ่ ช่ ดงั นี้เนือง ๆ ไป ก็จะได้สำ� เรจ็ อรูปฌานท่ี ๔ ชอื่ วา่ เนวสญั ญานา
สญั ญายตนฌาน
จะอธิบายฌานและสมาบัติต่อไป ฌานนั้นว่าโดยประเภทเป็น ๒ อย่าง คือ รูปฌานและ
อรปู ฌาน อย่างละ ๔ ฌาน เป็นฌาน ๘ ประการ ฌานทัง้ ๘ น้ี เป็นเหตุให้เกิดสมาบตั ิ ๘ ประการ
บางแหง่ ทา่ นกก็ ลา่ ววา่ ผลสมาบตั ิ ตอ่ ไดฌ้ านมวี สี ชำ� นาญดแี ลว้ จงึ ทำ� ใหส้ มาบตั บิ รบิ รู ณข์ นึ้ ดว้ ยดไี ด้
ทา่ นพระอาจารย์ม่ัน ภรู ทิ ัตตเถระ 195
เพราะเหตุนี้สมาบัติจึงเป็นผลของฌาน ก็สมาบัติ ๘ ประการน้ี ในภายนอกพระพุทธศาสนาก็มี
แต่ไม่เปน็ ไปเพอ่ื ดบั กิเลส ทำ� ให้แจง้ ซง่ึ พระนิพพาน ได้แต่เป็นไปเพ่อื ทฏิ ฐธรรมสุขวหิ าร และเปน็ ไป
เพื่อเกิดในพรหมโลกเท่าน้ัน เหมือนสมาบัติของอาฬารดาบสและอุทกดาบสฉะนั้น ส่วนสมาบัติใน
พระพทุ ธศาสนาน้ี ยอ่ มเปน็ ไปเพอ่ื ระงบั ดบั กเิ ลส ทาํ ใหแ้ จง้ ซง่ึ พระนพิ พานได้ วา่ โดยประเภทเปน็ ๒ อยา่ ง
คือ ผลสมาบตั ิและนิโรธสมาบัติ ผลสมาบัตนิ ้นั ย่อมสาธารณะท่ัวไปแกพ่ ระอรยิ เจ้าทไ่ี ดส้ มาบตั ทิ ั้งสนิ้
ส่วนนิโรธสมาบัตินั้น จ�ำเพาะมีแต่พระอริยเจ้าสองจ�ำพวก คือ พระอนาคามีกับพระอรหันต์ท่ีได้
สมาบัติ ๘ เทา่ น้นั
อนึ่งฌานและสมาบัติน้ี ถ้าว่าโดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่าน้ัน เพราะ
ฌานน้ันเป็นที่ถึงด้วยดีของฌานลาภีบุคคล จริงอยู่ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ฌานลาภีบุคคลถึง
ดว้ ยดซี งึ่ สมาบตั ิ คอื ฌานเปน็ ทถ่ี งึ ดว้ ยดี มปี ฐมฌานเปน็ ตน้ ดงั นี้ อนงึ่ ในพระบาลแี สดงอนปุ พุ พวหิ าร
สมาบตั ิ ๙ ไว้ คอื ปฐม ทตุ ยิ ตตยิ จตตุ ถฌาน อากาสานญั จายตนะวญิ ญาณญั จายตนะอากญิ จญั ญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสมาบัติท่ีอยู่ตามล�ำดับของฌานลาภี
บุคคลดงั น้ี อน่งึ ทา่ นแสดงอนุปุพพนิโรธสมาบัติ ๙ ไว้วา่ ฌานลาภีบุคคลเมอ่ื ถงึ ดว้ ยดซี ึง่ ปฐมฌาน
กามสัญญาดบั ไป เม่อื ถงึ ด้วยดซี ่ึงทุติยฌาน วิตก วิจารณด์ บั ไป เม่ือถึงดว้ ยดซี ่งึ ตตยิ ฌาน ปิติดับไป
เม่ือถึงด้วยดีซึ่งจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะดับไป เมื่อถึงด้วยดีซ่ึงอากาสานัญจายตนฌาน
รูปสัญญาดับไป เม่ือถึงด้วยดีซ่ึงวิญญาณัญจายตนฌาน สัญญาในอากาสานัญจายตนฌานดับไป
เม่ือถึงด้วยดีซ่ึงอากิญจัญญายตนฌาน สัญญาในวิญญาณัญจายตนฌานดับไป เมื่อถึงด้วยดีซึ่ง
เนวสญั ญานาสญั ญายตนฌาน สญั ญาในอากญิ จญั ญายตนฌานดับไป เมื่อถึงดว้ ยดซี งึ่ สญั ญาเวทยิต
นโิ รธ สญั ญาและเวทนาดับไป ธรรม ๙ อยา่ งนีช้ อ่ื อนุปุพพนิโรธสมาบัติ สมาบัติเป็นที่ดบั หมดแห่ง
ธรรมอนั เปน็ ปัจจนกึ แก่ตนตามล�ำดับฉะน้ี ค�ำในอรรถกถาและบาลที ้งั ๒ นี้ สอ่ งความใหช้ ัดว่า ฌาน
และสมาบัติเป็นอันเดียวกันโดยอรรถ แต่ฌานเปน็ เหตุของสมาบตั ิ สมาบตั ิเป็นผลวเิ ศษแปลกกนั แต่
เท่าน้ี
บุคคลใดปฏิบัติชอบแล้ว บุคคลน้ันย่อมพิจารณาความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมเห็น
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายในสังขารท้ังหลายเหล่าน้ัน ย่อมไม่เห็นความสุข
ความยินดีน้อยหน่ึงในสังขารทั้งหลายเหล่าน้ัน ย่อมไม่เห็นซึ่งอะไร ๆ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือ
ทส่ี ดุ ในสงั ขารทงั้ หลายเหลา่ นนั้ ซงึ่ จะเขา้ ถงึ ความเปน็ ของไมค่ วรถอื เอา อปุ มาเหมอื นบรุ ษุ ไมเ่ หน็ ซง่ึ ท่ี
แห่งใดแห่งหน่ึง ในเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือท่ีสุด ในก้อนเหล็กแดงอันร้อนอยู่ตลอดวัน ท่ีเข้าถึง
ความเป็นของควรจับถือสักแห่งเดียวฉันใด บุคคลพิจารณาเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้
และความตายในสังขารท้ังหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เห็นความสุข ความยินดีในสังขารเหล่านั้นแม้
นอ้ ยหนงึ่ ฉันนัน้ เมอ่ื บุคคลพจิ ารณาเห็นวา่ เป็นของร้อนพร้อม รอ้ นมาแตต่ ้นตลอดโดยรวม มีทุกข์
มาก มคี วามคับแค้นมาก ถา้ ใครมาเห็นได้ซง่ึ ความไม่เป็นไปแห่งสังขารทงั้ หลายไซร้ ธรรมชาตนิ ้คี อื
ธรรมชาตเิ ป็นท่ีระงับแห่งสังขารท้ังปวง ธรรมชาตเิ ป็นท่ีสลัดคนื แห่งอปุ ธทิ งั้ ปวง ธรรมชาติเปน็ ท่สี น้ิ
196 ชวี ประวตั ิ มตุ โตทยั ธรรมเทศนา บทประพนั ธ์ และธรรมบรรยาย
แห่งตัณหา ธรรมชาติเป็นท่ีปราศจากเครื่องย้อม ธรรมชาติท่ีระงับความกระหาย ธรรมชาติเป็นท่ี
ดับทุกข์ ธรรมชาตินั้นเป็นที่สงบ เป็นของปราณีตดังน้ี ฐานที่ตั้งแห่งธรรมอันอุดมนี้คือ ศีล บุคคล
ตัง้ มัน่ ในศลี แลว้ เม่อื กระทาํ ในใจโดยชอบแลว้ จะอย่ใู นทใ่ี ด ๆ ก็ตาม ปฏบิ ตั ิชอบแลว้ ย่อมทำ� ใหแ้ จ้ง
ซึง่ พระนพิ พานดว้ ยประการฉะนี.้
เมอ่ื โยคาวจรตง้ั ธรรม ๖ กอง มขี นั ธ์ ๕ เปน็ ตน้ มปี ฏจิ จสมปุ บาทเปน็ ทส่ี ดุ ไดเ้ ปน็ พน้ื คอื พจิ ารณา
ให้รู้จักลักษณะแห่งธรรม ๖ กอง ยึดหน่วงเอาธรรม ๖ กองไว้เป็นอารมณ์ได้แล้ว ล�ำดับน้ันจึงเอา
ศีลวิสุทธิและจิตตวิสุทธิมาเป็นรากฐาน ศีลวิสุทธินั้นได้แก่ปาฏิโมกขสังวรศีล จิตตวิสุทธินั้นได้แก่
อัฏฐสมาบัติ ๘ ประการ เม่ือต้ังศลี วสิ ุทธแิ ละจิตตวสิ ทุ ธเิ ปน็ รากฐานแลว้ ลาํ ดบั น้ันโยคาวจรพงึ เจรญิ
วิสุทธทิ ง้ั ๕ สบื ตอ่ ขึน้ ไปโดยลําดบั ๆ เอาทฏิ ฐวิ สิ ุทธแิ ละกงั ขาวิตรณวิสุทธเิ ปน็ เทา้ ซา้ ยเท้าขวา เอา
มคั คามคั คญาณทัสสนวสิ ทุ ธิ และปฏิปทาญาณทัสสนวสิ ุทธเิ ปน็ มือซา้ ยมอื ขวา เอาญาณทสั สนวสิ ุทธิ
เปน็ ศีรษะเถิด จงึ จะอาจสามารถยกตนออกจากวัฏฏสงสารได้
ทฏิ ฐวิ สิ ทุ ธนิ น่ั คอื ปญั ญาอนั พจิ ารณาซงึ่ นามและรปู โดยสามญั ลกั ษณะ มสี ภาวะเปน็ ปรณิ ามธรรม
มิได้เที่ยงแท้ มีปกติแปรผันเป็นต้น เป็นปัญญาเครื่องช�ำระตนให้บริสุทธิ์จากความเห็นผิดต่าง ๆ
โยคาวจรเจา้ ผปู้ รารถนาจะยังทฏิ ฐิวิสุทธใิ หบ้ รบิ รู ณ์ พงึ เขา้ สูฌ่ านสมาบตั ิตามจติ ประสงค์ ยกเวน้ เสยี
แต่เนวสัญญา นาสัญญายตนสมาบัติ เพราะลึกละเอียดเกินไป ปัญญาของโยคาวจรจะพิจารณาได้
โดยยาก พึงเข้าแต่เพียงรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ ประการน้ันเถิด เม่ือออกจากฌานสมาบัติอันใด
อนั หน่งึ แลว้ พงึ พิจารณาองคฌ์ าน มีวติ กวิจารณเ์ ป็นตน้ และเจตสกิ ธรรมอันสัมปยุตต์ด้วยองคฌ์ าน
นั้นใหแ้ จง้ ชัดโดยลักษณะกิจ ปัจจปุ ฏั ฐาน และอาสันนการณ์ แล้วพงึ กำ� หนดหมายว่า องค์ฌานและ
เจตสิกธรรมอันสัมปยุตต์ด้วยองค์ฌานนี้ล้วนแต่เป็นนามธรรม เพราะเป็นส่ิงที่น้อมไปสู่อารมณ์สิ้น
ด้วยกนั แล้วพงึ ก�ำหนดพิจารณาทอ่ี ยขู่ องนามธรรม จนเหน็ แจง้ วา่ หทยั วัตถุ เป็นที่อยแู่ ห่งนามธรรม
อปุ มาเหมือนบรุ ุษเห็นอสรพษิ ภายในเรือน เมอื่ ติดตามสกัดดกู ร็ ้วู ่าอสรพิษอยู่ที่น้ี ๆ ฉันใด โยคาวจร
ผแู้ สวงหาทอ่ี ยแู่ หง่ นามธรรม กเ็ หน็ แจง้ วา่ หทยั วตั ถเุ ปน็ ทอ่ี ยแู่ หง่ นามธรรมฉนั นนั้ ครนั้ แลว้ พงึ พจิ ารณา
รูปธรรมสืบตอ่ ไป จนเหน็ แจง้ ว่า หทยั วตั ถนุ นั้ อาศัยซึ่งภูตรปู ทัง้ ๔ คอื ดิน น้�ำ ไฟ ลม แมอ้ ุปาทาย
รูปอื่น ๆ ก็อาศัยภูตรูปส้ินด้วยกัน รูปธรรมน้ีย่อมเป็นส่ิงฉิบหายด้วยอันตรายต่าง ๆ มีหนาวร้อน
เป็นต้น เมื่อโยคาวจรมาพิจารณารู้แจ้งซึ่งนามและรูปฉะน้ีแล้ว พึงพิจารณาธาตุท้ัง ๔ คือ ดิน น�้ำ
ไฟ ลม ให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาโดยสังเขปหรือพิสดารก็ได้ ตามแต่ปัญญาของโยคาวจรจะพึงหยั่งรู้
หยงั่ เหน็ ครนั้ พจิ ารณาธาตแุ จม่ แจง้ แลว้ พงึ พจิ ารณาอาการ ๓๒ ในรา่ งกาย มเี กสา โลมา เปน็ ตน้ จนถงึ
มัตถลุงคังเป็นท่ีสุด ให้เห็นชัดด้วยปัญญา โดย วณฺโณ สี คนฺโธ กล่ิน รโส รส โอช ความซึมซาบ
สณฺ าโน สัณฐาน สั้น ยาว ใหญ่ นอ้ ย แล้วพึงประมวลรปู ธรรมทงั้ ปวงมาพจิ ารณาในทเี ดียวกนั วา่
รูปธรรมท้ังปวงล้วนมีลักษณะฉิบหายเหมือนกัน จะม่ัน จะคง จะเที่ยง จะแท้ สักส่ิงหน่ึงก็มิได้มี
เมือ่ โยคาวจรเจา้ พิจารณาเหน็ กองรูปดังนแ้ี ล้ว อรูปธรรมทง้ั ๒ คือ จติ เจตสกิ กจ็ ะปรากฏแจง้ แก่
พระโยคาวจรด้วยอำ� นาจทวาร คือ จกั ษุ โสตะ ฆานะ ชวิ หา กาย ใจ เพราะวา่ จติ และเจตสิกนี้มีทวาร
ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ิทัตตเถระ 197
ท้ัง ๖ เป็นที่อาศัย เมื่อพิจารณาทวารท้ัง ๖ แจ้งประจักษ์แล้ว ก็รู้จักจิตและเจตสิกอันอาศัยทวาร
ทั้ง ๖ น้ันแนแ่ ท้ จติ ทีอ่ าศัยทวารทง้ั ๖ น้ันจัดเป็นโลกยี ์ ๘๑ คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓
มโนวิญญาณธาตุ ๖๘ และเจตสิกท่ีเกิดพร้อมกับโลกียจิต ๘๑ คือ ผัสโส เวทนา สัญญา เจตนา
เอกัคคตา ชีวติ อินทรยี ์ มนสิการ ทง้ั ๗ นี้ เป็นเจตสิกท่สี าธารณะทวั่ ไปในจิตท้งั ปวง การกลา่ วดังน้ี
มไิ ดแ้ ปลกกนั เพราะจติ ทง้ั ปวงนนั้ ถา้ มเี จตสกิ อนั ทวั่ ไปแกจ่ ติ ทงั้ ปวงเกดิ พรอ้ ม ยอ่ มมเี พยี ง ๗ ประการ
เทา่ น.ี้
เมื่อโยคาวจรบุคคลมาพิจารณา นามและรูปอันกล่าวโดยสรุปคือ ขันธ์ ๕ แจ้งชัดด้วย
ปัญญาญาณตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมถอนความเห็นผิด และตัดความสงสัยในธรรมเสียได้ ย่อม
รู้จกั ทางผิดหรอื ถกู ควรด�ำเนินและไมค่ วรดำ� เนิน แจ่มแจ้งแก่ใจย่อมสามารถถอนอาลยั ในโลกทงั้ สาม
เสยี ได้ ไมไ่ ยดตี ดิ อยใู่ นโลกไหน ๆ จติ ใจของโยคาวจรยอ่ มหลดุ พน้ จากอาสวกเิ ลส เปน็ สมจุ เฉทปหาน
ได้โดยแนน่ อนดว้ ยประการฉะน้แี ล.
๒๔. วนิ ัยกรรม
๑. อุโบสถกรรม
เป็นวินัยกรรมอย่างหนึ่งที่ทรงบัญญัติให้ภิกษุท�ำทุกก่ึงเดือน จะละเว้นมิได้ โดยประสงค์ให้
ช�ำระตนให้บริสุทธ์ิไม่ให้มีอาบัติโทษติดตัวประการหน่ึง เพื่อให้รู้จักพระวินัยส่วนส�ำคัญที่ทรง
บัญญัติไว้ จะได้ประพฤติตนถูกต้องดีประการหนึ่ง และอีกประการหน่ึง เพื่อความสามัคคีแห่งสงฆ์
ทรงก�ำหนดองค์แห่งความพร้อมพร่ังของอุโบสถไว้ ๔ ประการ คือ ดิถีที่ ๑๔-๑๕ หรือวันสามัคคี
วันใดวันหน่ึงเป็นองค์ที่ ๑ ภิกษุครบจ�ำนวนควรท�ำสังฆอุโบสถ หรือคณะอุโบสถได้ นั่งชุมนุมไม่ละ
หัตถบาสกันในสีมาเดียวกันเป็นองค์ท่ี ๒ อาบัติท่ีเป็นสภาค คือ มีวัตถุเสมอกัน ไม่มีแก่สงฆ์เป็น
องคท์ ่ี ๓ และวชั ชนยี บคุ คล ๒๑ ไมม่ ใี นหตั ถบาสเปน็ องคท์ ี่ ๔ อโุ บสถพรอ้ มพรง่ั ดว้ ยองคท์ ่ี ๔ ประการน้ี
จึงควรท�ำอุโบสถกรรม ควรกล่าวว่า ปตฺตกลฺลบํ ได้ฯ ในบรรดาวัชชนียบุคคล ๒๑ น้ัน เมื่อคน
อนั สงฆย์ กวตั ร์ ๓ จำ� พวกอยใู่ นหตั ถบาส สงฆท์ ำ� อโุ บสถตอ้ งอาบตั ปิ าจติ ตยี ์ คนนอกนนั้ อยใู่ นหตั ถบาส
สงฆท์ �ำอุโบสถต้องทุกกฎฯ
ก่อนจะท�ำอโุ บสถ พึงท�ำบุพพกจิ บพุ พกรณก์ อ่ น ถา้ ภกิ ษหุ นุ่มไม่เป็นไข้ใหภ้ ิกษหุ นุม่ ท�ำ หรือมี
สามเณรหรือคนวดั ก็ให้สามเณรหรอื คนวัดท�ำกไ็ ด้
ภกิ ษุใดรอู้ โุ บสถ ๙ อุโบสถกรรม ๔ ปาฏโิ มกข์ ๒ ปาฏิโมกขทุ เทศ ๙ หรือ ๕ ภกิ ษุนนั้ ชอ่ื วา่
ผู้ฉลาด ควรสวดปาฏิโมกขไ์ ด.้
ภกิ ษอุ ยอู่ งคเ์ ดยี ว พงึ ทาํ บพุ พกจิ บพุ พกรณไ์ วร้ อภกิ ษอุ น่ื จนหมดเวลา เหน็ ไมม่ าแลว้ พงึ อธษิ ฐาน
วา่ อชชฺ เม อโุ ปสโถ ปณฺณรโส ถ้าเป็นวนั ๑๔ ค�่ำ ก็เปลย่ี น ปณณฺ รโส เป็น จาตทุ ทฺ โส.
198 ชวี ประวตั ิ มตุ โตทัย ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย