The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-24 21:38:21

ประวัติท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ประวัติท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร

Keywords: ประวัติท่านอาจารย์ฝั้น

32

เปดิ เปิงไป ไม่กลา้ กลบั เขา้ มาบำ� เพ็ญเพียรภาวนาอยใู่ นถำ้� นีอ้ ีก ฝ่ายหน่งึ กลวั ตัวสะด้งุ นอนเปน็ ทกุ ข์
ส่วนพวกเจา้ เยา้ หยอกกันสนุกสนาน

พระองคอ์ ื่นและคนอนื่ พวกเจา้ พากันหลอกเขาได้ แตส่ �ำหรับเรา พวกเจา้ สามสตั ว์เอ๋ย
เจ้าจะไม่มีปญั ญามาหลอกเราให้หลงกลวั ใหส้ ะดงุ้ หวาดหวั่นในการหลอกของพวกเจา้ อกี แล้ว
เราไม่หว่ันไหวสนใจกับพวกเจา้ อกี แล้ว จงพากนั อยู่เป็นสุขๆ เถดิ อย่าได้มคี วามทุกข์ล�ำบาก
กายและจติ ใจเลย”

ตั้งแต่น้ันมาความเชื่อถือหรือความสงสัยในเรื่องผีหลอกของเจ้าถ้�ำพระบดท่ีได้ร�่ำลือกันมา
เปน็ เวลานานกเ็ ป็นอนั สิ้นซากไป อยา่ งไมม่ ปี ัญหาทย่ี ังสงสยั อะไรเศษเหลืออยเู่ ลย”

อยไู่ ดด้ ว้ ยขา้ วเหนียววนั ละปน้ั

หลวงปู่ฝน้ั อาจาโร ท่านยดึ ถือปฏปิ ทาของทา่ นพระอาจารย์มน่ั ภูรทิ ตตฺ มหาเถร อยา่ ง
เข้มงวดเคร่งครัด เพราะธรรมมกั เกดิ ในที่อดอยากขาดแคลน ในสถานท่ีสปั ปายะวิเวกเงยี บสงัด
และผู้ปฏิบัติธรรมต้องไม่คลุกคลี ไม่คุ้นเคยกับญาติโยมและสถานท่ี ดังท่ีท่านพระอาจารย์มั่น
พาด�ำเนินและสงั่ สอนมา ดังนน้ั ในการออกธดุ งค์ หลวงปูฝ่ ้ันทา่ นจะไม่อยู่ ณ ทใี่ ดทห่ี นึง่ ตดิ ตอ่ กัน
เปน็ เวลานานๆ และท่านจะอยู่ในหมบู่ ้านเลก็ ๆ ในท่อี ดอยากขาดแคลน การออกธดุ งค์ปฏิบัติธรรม
ของหลวงปู่ฝ้ัน ท่ีถ้ำ� พระบด ในครัง้ นัน้ ท่านจงึ อยู่บำ� เพญ็ ภาวนาเพียง ๑๕ วัน โดยฉันข้าวเหนยี ว
เพยี งวันละปัน้ จากนัน้ ท่านจงึ ออกธุดงคไ์ ปยังทอี่ น่ื ต่อไป โดย หลวงปู่สวุ จั น์ สุวโจ ได้บนั ทึก
เหตกุ ารณ์ ไวด้ งั นี้

“ท่านพระอาจารย์ฝั้น ออกเท่ียวธุดงค์คราวน้ัน มีสามเณรน้อยติดตามไปด้วย ชื่อ
สามเณรพรหม สวุ รรณรงค์ เป็นหลานของทา่ น พอเชา้ รงุ่ สวา่ งได้เวลา จึงพาสามเณรน้อย
ออกบิณฑบาตท่กี ระทอ่ มหลงั เดียว (อยหู่ า่ งถ�้ำพระบดประมาณ ๑๐๐ เสน้ หรอื ๔ กิโลเมตร)
มสี องตายายมาท�ำไรอ่ ยกู่ ลางดง ได้ข้าวเหนียวองค์ละป้ันกลับมาฉัน อาหารและกบั ขา้ วอยา่ งอื่น
ไม่มี นอกจากเกลือกบั พริกเท่านน้ั (ตลอด ๑๕ วนั ) ท่านฉนั พอเพื่อปฏิบตั ิ ไมใ่ ชป่ ฏบิ ตั ิเพ่ือฉัน

ท่านพระอาจารยฝ์ นั้ กบั สามเณรนอ้ ยก็อยูไ่ ด้อยา่ งสบาย เพราะท่านมาฝึกหดั มงุ่ ปฏิบตั ิ
เพ่อื อรรถเพือ่ ธรรมอยา่ งเดียว จึงเป็นสภุ าโรบุคคล สลั ละหกุ วุตติบุคคล เปน็ คนเล้ยี งง่าย เบากาย
เบาจติ อันเป็นธรรมของบัณฑติ ผฉู้ ลาดในประโยชนไ์ ด้กระท�ำแล้ว

การออกเดนิ ธดุ งคแ์ ละความเปน็ อยขู่ องพระผอู้ ยใู่ นการปฏบิ ตั ขิ องพระธดุ งค์ ทค่ี รบู าอาจารย์
พระภิกษุ สามเณร ออกปฏิบัติสมัยโน้น เม่ือน�ำมาเทียบกับการออกธุดงค์และความเป็นอยู่ของ
ผู้ออกธุดงค์ปัจจุบันน้ี ผิดต่างห่างจากกันกับสมัยก่อนโน้นมาก หันไปคนละทาง มองไมเ่ หน็

33

กนั เลย จรงิ ไหมท่าน ? แตเ่ มื่อเขาตามมาไมท่ ัน เพราะเขาเกิดทีหลงั เขาไม่ไดป้ ระสบพบเหน็ ในตวั
ด้วยตาของเขาเอง เขาก็ไม่เช่ือว่าจะมใี ครทำ� ได้ เพราะเขาไมเ่ คยท�ำ และไม่เคยเหน็ ใครทำ� จึงท�ำให้
เขาเป็นคนจักษุข้างเดียว แล้วยังมืดมึนเมามัวหมองอยู่ด้วยอาสวะซ้�ำเติมอีก ทางมีอยู่จึงไปไม่ถูก
ขอพวกเราอยา่ ได้เปน็ คนประเภทนีเ้ ลย”

ม่งุ ไปภูเขาควาย ฝ่งั ลาว

ในสมัยก่อน พระธดุ งคกรรมฐานมคี วามรู้จกั คุ้นเคยกบั “ภเู ขาควาย” ทางฝั่งประเทศลาว
เป็นอยา่ งดี พระปรมาจารย์ใหญ่ ท่านพระอาจารยเ์ สาร์ กนตฺ สีโล ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ภรู ิทตฺโต
ตลอดพระศิษย์ เชน่ ทา่ นพระอาจารย์ต้ือ อจลธมฺโม ท่านพระอาจารย์จวน กลุ เชฏฺโ ฯลฯ
เม่อื ครั้งออกธุดงค์ใหมๆ่ กเ็ คยไปปฏบิ ตั ภิ าวนากนั มา เพราะสถานทแ่ี ห่งนน้ั ทุรกันดารมาก ห่างไกล
ผูค้ นสญั จรไปมา

ภูเขาควาย มีสภาพเป็นปา่ อันอุดมสมบูรณ์ สัตว์ปา่ สตั ว์ร้ายกช็ กุ ชมุ เปน็ สถานท่ีเงียบสงดั
สัปปายะมากอีกแหง่ หนึง่ เหมาะกบั การบ�ำเพ็ญเพียรภาวนา และเป็นทเี่ ล่ืองลอื กนั วา่ เปน็ ดินแดน
ล้ีลบั อาถรรพท์ ที่ า้ ทายใหพ้ ระธุดงค์ไปบ�ำเพ็ญเพียร เพ่ือทดสอบ ฝกึ ฝนอบรมและทรมานดา้ นจิตใจ
ให้กล้าแกรง่ ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี

หลวงปู่ฝ้ัน อาจาโร เม่ือออกบวชและออกธุดงคใ์ หมๆ่ ทา่ นกม็ ีเป้าหมายไปบำ� เพ็ญเพยี ร
ท่ีภเู ขาควายดงั กล่าวเชน่ เดยี วกัน โดยหลวงปูส่ ุวัจน์ สวุ โจ บนั ทึกไว้ดงั น้ี

“ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้พักอยู่ท�ำความเพียรที่ถ้�ำพระบดอย่างยิ่งยวดเต็มตามก�ำลังศรัทธา
ทีไ่ ด้ลาพระอาจารยม์ ่ันมาเพอ่ื ปฏิบตั ิ ไดร้ ับความสงบสงดั ขจดั สิง่ ก่อกวนชวนใหใ้ จไมส่ งบได้อย่าง
สมภมู ิ อยู่ที่นน่ั ประมาณกึ่งเดอื น จึงไดพ้ าสามเณรน้อยออกเดนิ ธุดงค์ข้ามแมน่ ำ้� โขงไปสูเ่ ขตแดน
ประเทศลาว ด้วยความมุ่งหวังตง้ั ใจเจาะจงไปท่ภี ูเขาควาย ซง่ึ เป็นภูเขาท่ีสูงใหญ่และกวา้ งยาวมาก
อย่ตู อนเหนอื ของประเทศลาว ตดิ ตอ่ กบั ประเทศญวน ครั้นไดข้ ้ามแมน่ �้ำโขงไปอยฝู่ ั่งฝา่ ยดินแดน
ประเทศลาวแลว้ เกดิ การขัดข้อง เพราะไมม่ ีหนงั สอื สุทธแิ ละหนังสือเดินทาง ฝร่ังเศสผ้เู ป็นนาย
ปกครองประเทศลาวกำ� ลังเขม้ งวดกวดขันคนเข้าเมืองมาก ทา่ นจึงคดิ เปลีย่ นทางกลบั ประเทศไทย”

สาเหตสุ �ำคญั อีกประการหนง่ึ ถา้ หากภาวนาออกนอกลูน่ อกทาง ก็ไม่มีผูใ้ ดจะปรกึ ษา
แกไ้ ข เพราะหา่ งไกลครบู าอาจารย์ ท่านจงึ ตัดสนิ ใจพาสามเณรกลับมาฝ่ังไทย

ใช้ภาษิตข่มความกลวั

เมอ่ื ตดั สนิ ใจไมไ่ ปภเู ขาควายแลว้ หลวงปฝู่ ้นั อาจาโร ก็พาสามเณรพรหม สวุ รรณรงค์
เดินทางกลับฝั่งไทย แต่ไม่ได้เดินกลับตามเส้นทางเดิม หากแต่คราวน้ีได้เดินเลียบฝั่งแม่น้�ำโขง

34

ทางฝั่งลาวขนึ้ ไปทางเหนอื นำ�้ โดยเดินไปตามทางเดินแคบๆ สองข้างทางเปน็ ป่าทึบ ตลอดทางเดนิ
ปรากฏรอยตะกุยของเสอื อยูบ่ อ่ ยๆ มีทงั้ รอยเกา่ และรอยใหม่ ชวนใหห้ วาดกลวั ยิ่งนกั ย่งิ ตอนที่
ตะวนั ลบั ไม้ (ตอนย�่ำคำ�่ ) จะได้ยนิ เสยี งเสือค�ำรามรอ้ งกึกก้องไปทัง้ ดา้ นหนา้ และด้านหลงั แม้ท่าน
จะภาวนา “พทุ โธ” อยู่ทกุ ฝเี ท้าก้าวย่าง แตจ่ ติ ใจกย็ งั อดหว่ันไหวไมไ่ ด้ จนบางครงั้ ถงึ กับภาวนา
ผดิ ๆ ถกู ๆ เพราะไม่แน่ใจเอาเสียเลย วา่ เสือมันจะโจนเข้าตะครุบเอาเม่ือไร

ด้วยหลวงปู่ฝน้ั ทา่ นเปน็ พระผ้เู ลิศด้วยสติปัญญา มีความเฉลยี วฉลาด มีไหวพรบิ ปฏิภาณ
เมื่อคราวกอ่ นท่านเพ่งิ ผา่ นพน้ เรอื่ งความกลวั ผเี จ้าถำ�้ พระบดมา และในคราวนที้ า่ นก�ำลังจะผา่ นพ้น
เรอ่ื งความกลัวเสอื ทา่ นสรา้ งกำ� ลงั ใจของทา่ นให้กล้าแขง็ ขนึ้ มาจากการใชป้ ัญญา โดยทา่ นไดอ้ ุทาน
ภาษิตอสี านขึน้ มาบทหน่ึงเป็นอบุ ายพจิ ารณา ซึ่งทา่ นเคยพดู ถึงบอ่ ยๆ เม่ือครัง้ ยังเป็นฆราวาสว่า
“เสอื กนิ โค กินควาย เพนิ่ ช้าใกล้ เสอื กินอ้าย เพ่นิ ช้าไกล”

ภาษติ บทน้ี หลวงปฝู่ น้ั ท่านไดอ้ ธบิ ายใหศ้ ษิ ย์ฟงั ในภายหลัง มคี วามหมายว่า ถา้ เสอื กินโค
หรอื กนิ ควาย เสียงร�่ำลือจะไมไ่ ปไกล เพราะเปน็ เร่ืองธรรมดาทัว่ ไป คงร�่ำลอื อยู่เฉพาะในหมบู่ า้ น
น้ันๆ แต่ถ้าหากเสือเกิดมากนิ คนหรือกินพระกรรมฐานแลว้ ผู้คนจะร�่ำลอื ไปไกลมากทีเดยี ว ท่านได้
เลา่ ว่า ภาษิตท่ีทา่ นอทุ านข้นึ มาบทน้นั ยงั ผลใหท้ ่านข่มความกลัวในจติ ใจไดด้ ขี นึ้ ขณะเดียวกนั
ก็บังเกิดความกล้า พร้อมท่ีจะเผชิญเหตุการณ์ทุกอย่าง เกิดความม่ันใจอย่างประหลาดขึ้นมาว่า
พระกรรมฐานกลัวสตั ว์ปา่ กไ็ มใ่ ช่พระกรรมฐาน

นอกจากภาษิตข้างต้นแล้ว หลวงปู่ฝั้นท่านยังพูดถึงภาษิตอีกบทหนึ่งว่า “ตกกระเทิน
ก�ำคอแข้ บ่ ยอมวางใหห้ างมนั ฟาด ตกกระเทินก�ำคอกระท้าง บ่ วางใหแ้ ก่ผ้ใู ด” ท่านไดเ้ มตตา
อธบิ ายภาษิตอีสานบทนี้วา่

“กิเลสพนั หา้ ตัณหารอ้ ยแปดนน้ั มนั ฝงั แนน่ อยู่ในสันดานของมนุษย์ เช่นเดยี วกบั จระเข้
ทกี่ บดานแน่น่ิงอยู่ใต้น�ำ้ นานๆ จึงจะโผลห่ วั ขึน้ มานอนอ้าปากตามชายฝงั่ พอแมลงวนั เข้าไปวางไข่
ในปากของมัน มันก็จะงบั ปาก แล้วคลานลงนำ�้ ทำ� ตัวใหน้ ่ิง แลว้ อา้ ปากตรงผิวนำ้� ปล่อยให้
ไข่แมลงวนั มนั ไหลออกไปเปน็ เหยือ่ ลอ่ ปลา เม่อื ปลาใหญ่ ปลาเล็ก หลงเข้าไปกินไข่แมลงวนั ในปาก
ของมันเขา้ มันกจ็ ะงับแลว้ กลืนกนิ เป็นอาหารทันที ส่วนกระทา้ งนั้นก็เช่นเดยี วกบั กระรอก คือ
ทงั้ สว่ นหัวกบั ส่วนหางเคล่ือนไหวกระดุกกระดกิ ตลอดเวลา เพราะฉะน้นั หากจะก�ำ (บีบ) คอ
จระเข้ หรือก�ำคอกระท้างไว้ให้มั่น ไม่ปล่อยให้จระเข้ฟาดหาง และไม่ยอมให้ตัวกระท้างมัน
กระดกุ กระดกิ ได้ เช่นเดียวกนั ถา้ สามารถท�ำจติ ใจของเราให้สงบเปน็ ปกติ ไม่หวนั่ ไหว ไม่เกรง
กลวั ต่อภัยอนั ตราย ถึงเสอื จะคาบไปกิน กไ็ มก่ ระวนกระวายเป็นทุกข์แตอ่ ยา่ งใด”

35

เม่อื หลวงปู่ฝ้นั ทา่ นนึกถงึ ภาษิตอสี าน ๒ บทดังกล่าวเปน็ อุบายพิจารณาแลว้ กท็ �ำให้ทา่ น
สามารถข่มความรสู้ กึ กลัวเสอื ลงได้ ท่านได้กลา่ วกับสามเณรพรหมในตอนนน้ั อีกดว้ ยว่า “เมื่อเรา
มีสติ ก�ำหนดร้เู ทา่ ทนั มนั ดแี ลว้ การตายนน้ั ถึงตายคว่�ำหนา้ กไ็ มห่ น่าย จะตายหงายหนา้ ก็
ไม่จม่ ” คือ ไม่วา่ จะต้องตายด้วยวธิ ใี ดๆ ก็ตาม มีสุคติเปน็ ทีห่ มายอย่างแน่นอน

เม่ือ หลวงปฝู่ ้ัน และ สามเณรพรหม สามารถข่มใจใหห้ ายจากการกลวั เสอื ได้ส�ำเร็จ และ
ในขณะนน้ั เกดิ ความกล้าหาญ ไม่กลัวตายข้นึ มา การออกเที่ยวธุดงคท์ างฝ่ังลาว กเ็ ป็นไปดว้ ยความ
ปลอดโปรง่ เย็นกาย เย็นใจ ทา่ นและสามเณรเทย่ี วธุดงคท์ างฝงั่ ลาวต่อไปอีกระยะหนงึ่ ทา่ นระลกึ
ถึงพระคุณของหลวงปู่ม่ันท่ีเมตตาอบรมส่ังสอนท่านมา จากนั้นไม่นานก็พากันเดินธุดงค์กลับมา
ทางฝั่งไทย โดยท่านและสามเณรเดินธุดงค์เลียบริมฝั่งแม่น้�ำโขงขึ้นไปเร่ือยๆ จนบรรลุถึงท่าน�้ำ
แหง่ หนึ่ง ซงึ่ มีเรอื รับส่งขา้ มฟากกันอยู่เป็นประจำ� จึงไดอ้ าศยั เรอื ข้ามฟาก ขา้ มกลับมายังฝ่ังไทย
อย่างปลอดภัย

หลวงปมู่ ่นั หย่ังรใู้ จศิษย์

เมื่อหลวงป่ฝู นั้ อาจาโร และสามเณรพรหม ข้ามมาถึงทางฝง่ั ไทย ในเขตจงั หวัดหนองคาย
แลว้ ได้ทราบขา่ ววา่ หลวงปมู่ ่นั ภรู ิทตฺโต พำ� นักอยทู่ เ่ี สนาสนะป่าบ้านนาสดี า ตำ� บลกลางใหญ่
อำ� เภอบ้านผือ จงั หวัดอุดรธานี

หลวงปู่ฝั้น และ สามเณรพรหม จึงได้มงุ่ ตรงไปบา้ นนาสดี า เพื่อกราบนมัสการหลวงปูม่ ่นั
โดยไม่รอชา้ ทันทีทีไ่ ปถึง ก็ท�ำการกราบครบู าอาจารย์และไดป้ ราศรยั ให้เป็นเหตรุ ะลึกถงึ กนั แลว้
หลวงปู่มนั่ ได้เอย่ ปากเปน็ การใหก้ ำ� ลังใจหลวงปู่ฝนั้ กับสามเณรพรหม วา่

“ทา่ นฝั้น กับ เณรพรหม ได้ผกี ับเสอื มาเปน็ อาจารยส์ อนนะดแี ล้ว เขาสอนให้รู้เทา่ จิตทม่ี ัน
หลงผลติ ความกลัวข้ึนมาหลอกตวั เอง เห็นความโงเ่ ขลาของจิตท่ีคิดปรุง ท�ำใหห้ ลงงมงายหมายมั่น
ส�ำคัญผิดคิดว่าเป็นความจริง หลอกตัวเองให้กลัว ไม่กล้าท่ีจะประกอบความพากความเพียร
เหมือนอย่างคนท่ีเขากลัวกัน ผีกับเสือ ถ้าเราเช่ือกรรมดีท่ีมีอยู่ในตัว ความกลัวก็ไม่มีปัญหา
แตค่ วามกลวั กม็ ปี ระโยชนอ์ ยบู่ า้ งเหมอื นกนั ถา้ เรากลา้ สกู้ บั มนั แลว้ กจ็ ะกลบั มาอบรมจติ ของเรา
ให้สงบแนว่ แน่ตงั้ ม่ันเป็นสมาธิ เกดิ ปตี ิขึน้ มาฆา่ ความกลวั ดบั ลงไดอ้ ยา่ งราบคาบ จากนน้ั เราก็
จะได้เร่งเจริญด�ำเนินความเพียรติดต่อโดยไม่หยุดย้ัง เพื่อบรรลุถึงธรรมที่เรายังไม่ได้บรรลุ เพ่ือ
ใหไ้ ดถ้ งึ ธรรมทเี่ รายงั ไม่ถงึ

พูดอีกอย่างหนง่ึ ก็วา่ ผีกับเสอื สอนให้รวู้ ธิ ตี ง้ั สมาธใิ ห้มนั่ คง สอนใหก้ �ำหนดจติ ใจให้สงบ
รเู้ ทา่ ทันความกลัว พจิ ารณาดูวา่ อะไรเป็นผกู้ ลัวผี กลัวเสอื ถ้าจติ ใจเปน็ ผ้กู ลวั แล้ว เสือมันกินจิตใจ
คนได้เมื่อไร มนั กนิ ร่างของคนตา่ งหาก นแี่ หละเขาจงึ พดู กันวา่ ผู้ไม่กลัวตาย ไมต่ าย ผกู้ ลวั ตาย

36

ต้องตายกลายเปน็ อาหารของสตั ว์ อีกอย่างหนึง่ ทีท่ า่ นฝ้นั ใช้ภาษิตตา่ งๆ มาพิจารณา เป็น
อบุ ายอนั แยบคายอย่างหนงึ่ ช่วยเตือนจิตเตือนใจให้เรารสู้ กึ ตวั อยเู่ สมอ ในขณะทีเ่ ราไดย้ นิ
เสยี งเสือและนกึ กลัวเสือนน้ั ก็เป็นอุบายทชี่ อบแล้ว...”

เมื่อหลวงปมู่ ่ันทา่ นได้กล่าวสมั โมทนยี กถาจบลงคราคร้งั นนั้ ท�ำใหห้ ลวงป่ฝู ้ันและสามเณร
พรหมเกิดความปีติ เพ่ิมกำ� ลงั ใจใหก้ ับตนเองเป็นอยา่ งยิ่ง ในขณะเดียวกันกเ็ กดิ ความอศั จรรย์
นกึ สงสยั ในใจว่า “ท่านพระอาจารยม์ ่ัน ท่านทราบไดอ้ ยา่ งไร ทัง้ ๆ ทเ่ี ราไมไ่ ดก้ ราบเรียนอะไรให้
ท่านทราบเลย ท่านทราบได้อย่างไรว่า พวกเราได้เผชญิ กับความกลวั ผีหลอกและกลัวเสอื แล้วยงั รู้
ด้วยวา่ เราไดอ้ ุบายทีจ่ ะแก้ความกลวั นน้ั ด้วย สามารถขม่ จติ ใหส้ งบลงจนเกดิ ความกลา้ ขน้ึ มาได้
ใจเปน็ สมาธติ งั้ มัน่ อยู่อยา่ งองอาจ นา่ อัศจรรย์ใจจรงิ หนอ ส่ิงท่ไี ม่เคยเป็นก็มาเป็น สิง่ ท่ีไม่เคยมี
กม็ ามี กม็ าเห็นมาเปน็ ข้ึนมาได้ แปลกแต่ก็เปน็ ความจรงิ ที่ประจกั ษใ์ นตวั เรา”

เรื่องญาณหย่งั รู้ของหลวงปู่มั่นทีแ่ สดงออกกบั หลวงปฝู่ น้ั อยา่ งเปดิ เผยในครง้ั นี้ แมอ้ าจารย์
และศษิ ย์จะอยู่ห่างไกลกนั เพยี งไรกต็ าม แต่หลวงปมู่ น่ั ผูเ้ ป็นอาจารย์ ท่านก็สามารถส่งกระแสจติ
ตดิ ตามดูการออกเที่ยวธดุ งคป์ ฏบิ ัติธรรมของหลวงปู่ฝัน้ ผเู้ ปน็ ศษิ ยไ์ ด้ เมื่อหลวงปู่ฝน้ั ท่านไดส้ ัมผสั
เรอ่ื งนี้ด้วยตนเองแลว้ ท�ำให้ทา่ นยิง่ ยอมสยบและย่งิ ยอมรับในภมู จิ ติ ภูมิธรรมของหลวงปมู่ นั่ ผ้เู ปน็
ครบู าอาจารย์ ท่านจึงย่ิงใหค้ วามเคารพศรัทธา ย่งิ เกดิ ความเกรงกลัว และเชอื่ ฟงั หลวงปู่มัน่ มาก
ย่งิ ๆ ขึ้นเป็นล�ำดับ โดย องคห์ ลวงตาพระมหาบวั เทศนเ์ รอ่ื งญาณหยงั่ รู้ ไว้ดังนี้

“ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงถึงสาวกทั้งหลาย มีญาณหยั่งทราบละเอียดลออ มองเห็น
ทง้ั เปรตทัง้ ผี – สตั วน์ รกอเวจี – สวรรคช์ นั้ พรหมทะลไุ ปหมด ก็ใจดวงน้ีท่เี ปดิ กวา้ งออกไปแล้ว
ท่านเห็นไปหมด น่ีล่ะใจดวงน้…ี

พอ่ แมค่ รจู ารยม์ ่ันนี่ความรหู้ ย่ังทราบลึกซ้ึงตา่ งๆ สิง่ ตา่ งๆ นีก้ เ็ ปน็ ความรใู้ นภูมิของศาสดา
นี้ทา่ นก็มี พวกเทวบตุ ร เทวดา อินทร์ พรหม ท่านร้หู มดเลย ท่านถือเปน็ ธรรมดา น่ลี ะ่ ท่ที า่ นรูจ้ รงิ ๆ
เหมือนเราตาดมี องไปเจออะไรๆ ก็มาเลา่ สกู่ นั ฟงั ”

เรยี นหนงั สือใหญก่ บั ทา่ นพระอาจารย์มน่ั

ด้วยพระพุทธศาสนาจะสมบูรณ์ครบถ้วนและจะทรงได้นานตราบ ๕,๐๐๐ ปี ต้องมีท้ัง
ภาคปรยิ ตั ิ หรือการศึกษาเล่าเรียนทางธรรม ภาคปฏบิ ตั ิ หรอื ศกึ ษาเล่าเรยี นแล้วลงมอื ปฏบิ ัติธรรม
ใหเ้ ปน็ ไปตามความเปน็ จริง และภาคปฏิเวธ หรอื ผลอนั เกดิ จากภาคปฏบิ ตั ิ นับตงั้ แตส่ มาธธิ รรม
ปัญญาธรรม จนถึงวิมุตติธรรม ภาคปฏิบตั จิ งึ เป็นภาคส�ำคัญที่สุดของพระพทุ ธศาสนา ผู้ปฏิบตั ทิ ี่
ปรารถนาความหลดุ พน้ หรอื พระนพิ พาน อนั เปน็ เปา้ หมายสงู สดุ ของผปู้ ฏบิ ตั ธิ รรมทกุ ราย ลว้ นตอ้ ง
เกิดจากภาคปฏิบตั ิ หรือเกิดจากจิตตภาวนาเทา่ นั้น ฉะนน้ั หลวงป่มู ัน่ ท่านจึงเมตตาสง่ั สอนให้

37

หลวงป่ฝู น้ั ตลอดบรรดาพระศิษย์ทง้ั หลายท่เี ข้ารับการศกึ ษาอบรมจากท่าน ให้เนน้ ภาคปฏบิ ตั ิ คอื
ใหล้ งมือปฏบิ ัตภิ าวนากันอยา่ งจริงจัง หรือที่ท่านเรียกวา่ “เรยี นหนงั สอื ใหญ”่ นั่นเอง

หลงั จากทหี่ ลวงปมู่ นั่ กล่าวชมเชย หลวงป่ฝู ัน้ กบั สามเณรพรหม จบลง ท่านก็เอย่ ปาก
ถามความตงั้ ใจของลูกศษิ ยท์ ่มี มี าแต่เดิมวา่

“ท่านฝน้ั คดิ จะไปเรียนปฐมกัปป์ ปฐมมูล กบั มูลกจั จายน์ ตามทตี่ ั้งใจไว้จรงิ ๆ หรือ”
“ครบั เกล้ากระผมมีเจตนาไวเ้ ช่นนน้ั จรงิ ” หลวงป่ฝู น้ั ตอบทา่ นพระอาจารย์มั่นถึงความ
ตง้ั ใจตั้งแต่แรก ยงั ไมค่ ิดทจ่ี ะเปลี่ยนเลย เพียงแตร่ อโอกาสที่เหมาะสมเทา่ น้นั อย่ๆู ท่านพระ–
อาจารย์ม่ันกเ็ อย่ ปากขนึ้ เสียเอง เหมอื นกบั เปิดโอกาสให้ศษิ ยอ์ ยา่ งกับร้ใู จ ทา่ นจงึ ต่นื เตน้ ดใี จมาก
ที่ความใฝฝ่ ันอยากเรยี นหนังสอื จะเป็นความจริงขน้ึ มา
หลวงปู่มนั่ เหน็ ความต้ังใจจริงของศิษยเ์ ชน่ นั้นจึงพดู ข้นึ วา่ “ท่านฝน้ั ไมต่ ้องไปเรียนถึง
เมอื งอบุ ลฯ หรอก อย่กู ับผมทน่ี ี่กแ็ ลว้ กัน ผมจะสอน “หนังสอื ใหญ”่ ใหจ้ นหมดไส้หมดพุงเลย
ทเี ดยี ว หากไมจ่ ุใจค่อยไปเรยี นตอ่ ทีหลงั ก็ได้” เมอ่ื ท่านพระอาจารย์มั่นว่าเช่นนั้น หลวงปฝู่ นั้ ก็
จ�ำตอ้ งรับคำ� ด้วยกิรยิ าอนั สงบ ไม่ไดร้ ้สู ึกดีใจหรอื เสียใจอยา่ งใดเลย อาจารยพ์ ิจารณาเหน็ อยา่ งไร
ทา่ นก็เช่ืออยา่ งนนั้
หลวงปมู่ น่ั ไดเ้ อ่ยปากตอ่ ไปวา่ “สว่ นสามเณรพรหม เธอจะไปเรียนท่อี ุบลฯ กไ็ ด้ ตามใจ
สมคั ร” ด้วยเหตนุ ้ี สามเณรพรหมจึงได้แยกกันกบั หลวงปูฝ่ นั้ เหตกุ ารณต์ อนนน้ั เปน็ ปลายปี พ.ศ.
๒๔๖๔ สามเณรพรหมลงไปเมืองอุบลฯ โดยติดตามทา่ นพระอาจารย์สิงห์ ขนตฺ ยาคโม สว่ น
หลวงปฝู่ นั้ ก็อยูเ่ รยี น “หนงั สอื ใหญ”่ กับหลวงป่มู ัน่ ณ ที่น่นั
ในชว่ งนเ้ี ป็นช่วงเวลาท่หี ลวงปฝู่ นั้ ท่านได้รับการอบรมชแ้ี นะอยา่ งใกล้ชิดจากหลวงปู่มนั่
ภรู ทิ ตโฺ ต อกี วาระหนึง่ นอกจากทา่ นได้อยู่ปฏบิ ตั ใิ กล้ชิดกับครูบาอาจารย์แล้ว บางครง้ั บางช่วง
ท่านก็ไดอ้ อกบำ� เพ็ญภาวนาไปโดยล�ำพงั เมอื่ เกิดขอ้ สงสยั ในขอ้ อรรถข้อธรรมอันใด กก็ ลบั เข้ามา
กราบเรียนถามทา่ นพระอาจารย์มั่นตามโอกาสที่เหมาะสม
หนังสอื ใหญ่ หลวงปมู่ ่นั หมายถึง พระไตรปฎิ กใน นน่ั เอง โดยหลวงปฝู่ ้ันเทศน์ ไวด้ งั นี้
“ธรรมะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขนั ธ์ คนทง้ั หลายอา่ นพระไตรปิฎก ในปิฎกท้งั สาม และ
ตพู้ ระไตรปิฎกนอ่ี ยทู่ ไี่ หนเลา่ ตพู้ ระไตรปิฎกนเ่ี ราเรียนเข้ามาภายใน อย่าไปเรยี นภายนอก
เหตฉุ ันใดจงึ ว่าเช่นนน้ั ล่ะ ปิฎก นนั้ คอื อะไร มันอยทู่ ี่ไหนล่ะ ฟังแลว้ คือ (เหมือน) อย่ไู กล
คัมภีร์ทัง้ หลาย เราเป็นผูท้ �ำ เราเป็นผ้เู ขียน เราเป็นผอู้ ่าน ส่งิ เหลา่ นัน้ ละ่ ทา่ นว่า สุตตปฎิ ก

38

วินยั ปิฎก ปรมัตถปิฎก ปฎิ กทัง้ ๓ เรยี ก ตู้พระไตรปฎิ ก นอี่ ยู่ท่ีไหนเลา่ ต้พู ระไตรปฎิ ก ถ้าดูแล้ว
อย่ทู ่ีไหนเล่า ?

สุตตปฎิ ก กไ็ ด้แก่ ลมหายใจเขา้ ไป ดซู ี น่แี หละธรรม คือ ลมหายใจเขา้ ไป
วินยั ปฎิ ก กไ็ ด้แก่ ลมหายใจออกมา
ปรมัตถปฎิ ก ได้แก่ ผูร้ ้ทู างใน รกั ษาชวี ติ นิ ทรียค์ งอยู่ ไมแ่ ตกท�ำลาย
น่ีรวมเปน็ ตพู้ ระไตรปิฎก
ดูซิ ลมหายใจอยู่ทีไ่ หนเล่า ความรู้เราอยู่ทไี่ หนเล่า รวู้ า่ สขุ ก็ดี รวู้ า่ ทกุ ขก์ ด็ ี นีแ่ หละ
มาเปดิ คมั ภรี ต์ รงนี้ ถา้ เราไม่เปดิ คมั ภรี ์ตรงนี้แลว้ เราไม่รจู้ กั จะพ้นจากทุกขไ์ ด้ ถ้าเราน้อมเข้า
ภายในแลว้ มนั จะรจู้ ัก”

ไดอ้ บุ ายธรรมจากหมาแทะกระดูก

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านได้อยปู่ ฏบิ ัตธิ รรมเรยี นหนงั สอื ใหญก่ บั หลวงปู่
มน่ั ภรู ิทตโฺ ต ทเี่ สนาสนะปา่ บ้านนาสีดา ต�ำบลกลางใหญ่ อ�ำเภอบ้านผือ จังหวัดอดุ รธานี เป็น
เวลานานพอสมควร โดยในชว่ งนีห้ ลวงปู่ฝ้ันทา่ นไดอ้ อกบ�ำเพ็ญภาวนาโดยล�ำพัง ท่านยดึ ตามท่ี
หลวงปมู่ ่ันสงั่ สอนใหอ้ ุบายทา่ น “ไป๊ – ไปผเู้ ดยี วนน่ั แหละ จะไดก้ �ำลงั จิตฯ” เมือ่ มขี ดั ขอ้ งหรือมี
ขอ้ สงสัยในข้ออรรถขอ้ ธรรมอันใดกก็ ลบั เขา้ มากราบเรยี นถามหลวงปมู่ ่นั ทา่ นกไ็ ดร้ บั ความเมตตา
จากหลวงปู่มั่นโปรดธรรมานุเคราะห์ช้ีแนะแก้ไขทุกครั้งไป พอท่านได้อุบายธรรมที่ม่ันใจในการ
ออกไปปฏบิ ตั ิ ท่านกอ็ อกบำ� เพ็ญภาวนาตามลำ� พังอกี

ต่อมาหลวงปู่ฝั้นท่านได้กราบลาหลวงปู่มั่นออกเดินธุดงค์ไปทางอ�ำเภอวาริชภูมิ จังหวัด
สกลนคร แตเ่ พียงลำ� พังผ้เู ดยี ว เม่ือท่านไปถงึ เสนาสนะปา่ บา้ นหนองแสง ต�ำบลตาลโกน อำ� เภอ
สว่างแดนดนิ จงั หวัดสกลนคร ซง่ึ เปน็ วัดทห่ี ลวงป่เู สารส์ รา้ งขึ้นมา ทา่ นก็เกิดปว่ ยเป็นไขห้ วดั ใหญ่
อาการค่อนข้างหนักมาก เป็นอุปสรรคต่อการบ�ำเพ็ญภาวนาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะต้องทุกข์
ทรมานทางด้านรา่ งกายแล้ว ทางดา้ นจติ ใจก็ท้อแทม้ ีความรอ้ นรนกระวนกระวาย ท�ำให้ใจฟงุ้ ซา่ น
ไมส่ ามารถจะประกอบความเพียรได้ ทา่ นเกดิ ความคิดทอ้ ถอยหมดก�ำลังใจ อุบายความพากเพียร
รวมทง้ั สตปิ ญั ญาที่เคยนำ� มาใช้ได้ผล คราวนี้กลับใชไ้ ม่ได้เสียแล้ว ดจู ะตบี ตันอัน้ ตู้ไปหมด

หลวงปู่ฝ้นั ท่านเลา่ วา่ “อบุ ายแกไ้ ขที่เคยก�ำหนดรู้ไดก้ ห็ ลงลืมหมดไม่ผดิ อะไรกบั การเดิน
ป่าพบขอนไม้ใหญข่ วางก้นั จะขา้ มไปมันก็สงู ขึน้ จะลอดหรอื มนั กท็ รดุ ตำ่� ลงตดิ ดิน จะไปขวาไปซา้ ย
ขอนไม้มนั ก็เคลอ่ื นเข้ากางกน้ั ไวท้ ุกคร้ัง”

39

ท่านตกอยู่ในสภาพหมดหวังท้อแท้หาทางออกไม่ได้ เป็นเช่นนี้อยู่ ๓ วัน ๓ คืน ก็ยัง
เอาชนะอปุ สรรคไมส่ �ำเร็จ ยงิ่ รา่ งกายออ่ นเพลียเสียก�ำลังมากเทา่ ไร กย็ ่งิ ท�ำใหจ้ ติ ใจฟ้งุ ซา่ นคดิ มาก
ย่ิงขึ้นเท่านั้น พอเช้าวันท่ี ๔ ท่านออกบิณฑบาตกลับมาฉันได้เล็กน้อย ในที่สุดท่านก็ตัดสินใจ
ออกเดินธุดงค์ต่อไป จัดแจงเก็บบริขารบรรจุลงในบาตร บ่าข้างหนึ่งสะพายบาตร บ่าข้างหน่ึง
แบกกลด มอื ถอื กานำ�้ ออกเดินธุดงคเ์ พอื่ เปลีย่ นสถานทตี่ อ่ ไป ทง้ั ๆ ทอ่ี าการไข้ยังไมท่ ุเลา

เหตกุ ารณ์ชว่ งนน้ั เปน็ ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ สภาพภูมิประเทศแถบนัน้ ยงั เปน็ ป่ารกทบึ ห่างไกล
ผ้คู น ไม่มหี มอ ไมม่ ยี าท่จี ะรักษาอาการป่วยไขไ้ ด้ ยิง่ ชวี ิตของพระธดุ งคกรรมฐานดว้ ยแล้ว เมื่อทา่ น
เจบ็ ไขไ้ ด้ปว่ ย ท่านต้องทนทุกข์ทรมานสกั เพยี งใด หลวงป่ฝู นั้ ทา่ นกไ็ ดร้ บั ทุกข์ทรมานเช่นน้ันมา
แตก่ ารทีท่ ่านได้อยู่รว่ มในส�ำนกั ของหลวงปู่ม่ัน ทา่ นได้เห็นปฏปิ ทาทห่ี ลวงปูม่ ั่นพาด�ำเนินมา เวลา
องค์ท่านเองปว่ ยไข้ หรอื มพี ระเณรปว่ ยไข้ ทา่ นและพระเณรจะใชธ้ รรมโอสถรักษาไข้และรักษาใจ
ให้เข้มแขง็ จนกล่าวไดว้ ่า ธรรมโอสถนี้ นอกจากพระธดุ งคกรรมฐานแลว้ ไม่มีใครนำ� ไปใชไ้ ด้ง่ายๆ
ดังที่ องค์หลวงตาพระมหาบวั เทศนไ์ ว้ดงั น้ี

“พระพุทธเจ้าทา่ นสอนว่า ธรรมโอสถ ธรรมโอสถเปน็ ยังไง น่พี ระพุทธเจ้าทรงท�ำมาแล้ว
จนประกาศออกเปน็ ศาสนธรรมใหเ้ ราทง้ั หลายไดท้ ราบทวั่ กนั ตลอดมาว่า สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ โอสถํ
อตุ ตฺ มํ วรํ ปรฬิ าหปู สมนํ ธมมฺ เตเชน โสตถฺ ินา นัน่ ท่านบอกว่า ธรรมโอสถนี้เปน็ ยาระงับ
ดับโรคภัยได้เป็นอย่างดี นอกจากน้ันยังดับกิเลสอีก ไม่ใช่ดับแต่เพียงโรคภัย คนใจไม่วุ่นวาย
ใจมีอรรถมธี รรมน้ี ถงึ โรคจะเกดิ ข้ึนภายในร่างกายก็ไม่คอ่ ยเป็นทุกขม์ ากนกั น่สี ำ� คัญ”

มชี ่วงหน่งึ ขณะทีห่ ลวงปู่ฝนั้ กำ� ลังเดินอยู่ ไดเ้ หลอื บไปเหน็ หมาก�ำลงั งว่ นแทะกระดกู ควายท่ี
ตายด้วยโรคระบาดอยใู่ นปา่ นอกหมู่บ้าน ทา่ นจึงยกเอาเรื่องนีม้ าเปน็ อุบายพิจารณากับตัวทา่ นเอง
โดย หลวงป่สู ุวัจน์ สวุ โจ บนั ทึกไว้ดงั นี้

“ขณะก�ำลังเดินอยู่น้ัน ท่านได้มองไปเห็นหมาแทะกระดูกควายตายด้วยโรคระบาดอยู่
พอท่านเดินเข้าไปใกล้ หมากว็ ่งิ หนี พอท่านออกไปยืนดูอยู่แต่ไกล มันก็กลบั เข้าไปแทะอีก ทา่ นได้
ยนื พจิ ารณายกเอาเรอื่ งหมาหวงกระดกู ควายตายดว้ ยโรคระบาดมาวจิ ารณ์ตวั เองวา่

“เรานี้ ก็มาหลงยึดถือ หวงแหนท่อนกระดูกในตัวเองนี้ย่ิงมากกว่าหมาท่ีมันหวงกระดูก
ควายตายนี้เป็นไหนๆ เสียอีก หมาทม่ี ันแทะกระดูก มนั ยังได้กลืนน้�ำลายของมนั ทไี่ ด้ประสมกับรส
กล่ินของกระดูกอยู่บา้ ง พอให้เกิดความช่นื ใจ สว่ นเราไดอ้ ะไรบา้ งจากโครงกระดูกทเี่ ราหวงแหน
แบกหามอยู่ตลอดเวลา น่ชี าติ นชี่ รา นพ่ี ยาธิ นม่ี รณะ เหน็ ไหม สงิ่ เหลา่ นมี้ มี าจากไหน อาศยั อะไร
เปน็ ที่เกดิ ไม่ใช่มันมาจากโครงกระดูก และมันอาศยั เกดิ อยทู่ ่ีโครงกระดูกน้ีเองมิใชห่ รอื ใจเราที่

40

ได้รับทกุ ขโ์ ทมนัส ฟ้งุ ซา่ น ไมเ่ ปน็ อนั อยู่อันกนิ อันหลับนอนทีเ่ รากำ� ลงั ได้รับอยู่ในเวลานี้ มนั มาจาก
ไหนเลา่ ไม่ใช่มาจากชรา พยาธิ มรณะท่มี ีอยูเ่ ตม็ ทั่วไปในโครงกระดูกของร่างกายอนั นด้ี อกหรือ

หมามันหลงหวงกระดูกซากควายตายห่า มันกย็ ังวางปลอ่ ยทิง้ วงิ่ หนไี ด้ แต่เรานหี่ นา
ยงั โง่กว่าหมาเสยี อีก หลงรัก หลงหวงแหน หลงนอนกอดนอนชมงมอยู่ตลอดเวลา นอกจาก
ทุกข์แลว้ เราไมเ่ ห็นวา่ เราได้อะไรจากการแบกโครงร่างอนั เปน็ ภาระอันหนักน้ีเลย อย่างไรเรา
จงึ จ�ำตอ้ งรีบเร่งประกอบความเพยี รอยา่ งนกั ต่อสู้ หัวเดด็ ตีนขาดไม่ถอยหน”ี

ท่านไดท้ ำ� ความเพยี ร ค้นคว้าพจิ ารณาอยูไ่ ม่นานจติ รวมสงบลงอย่างแน่นหนา จากนัน้ มา
อาการป่วยด้วยไขห้ วัดก็หาย ร่างกายกลับปกติ

การปว่ ยเปน็ ไขห้ วัดใหญ่ของพระอาจารย์ฝั้นในคราวคร้ังนัน้ ท�ำใหท้ า่ นไดร้ ับผลประจักษ์
เป็นก�ำลังใจอยา่ งนา่ อศั จรรย์ ท่านไดบ้ �ำบัดทุกขเวทนาอนั กลา้ แข็งดว้ ยธรรมโอสถ มสี ติ วริ ิยะ
ธัมมวจิ ยะ มาเป็นองค์ประกอบ เพ่งภาวนาบ�ำเพญ็ ความเพียร และอุบายท่ีไดจ้ ากไปเหน็ หมาแทะ
กระดกู ควายตายดว้ ยโรคระบาดมาเปน็ เครื่องเตือนสติอบรมจิต จงึ ไดค้ วามสลดสงั เวช เบือ่ หน่าย
คลายความล่มุ หลง ปลง อนจิ จฺ ํ ทุกขฺ ํ อนตตฺ า จิตมีก�ำลังกล้าโดยปญั ญาอันแหลมคม สามารถตัด
สิ่งก่อกวนกีดกนั ลงอยา่ งราบคาบ ได้มองเหน็ ฝง่ั ทางดิ่งตรงไปอยา่ งถูกตอ้ งส้นิ สงสัย”

เปรยี บเทยี บกับชีวติ ฆราวาส

ในระหว่างท่หี ลวงปฝู่ ้นั อาจาโร ออกเดินธุดงค์ในขณะเจบ็ ป่วยเปน็ ไข้หวัดใหญ่ ท่านไปพบ
หมากำ� ลงั แทะกระดูกควายตายน้ัน ทา่ นมีอายรุ าว ๒๓ ปี และอายพุ รรษาในมหานิกายไดเ้ พียง
๔ พรรษาเท่าน้ัน ถอื ว่าทา่ นยังอยใู่ นวัยหน่มุ มาก จติ ใจยอ่ มด้ินรนกวัดแกวง่ ยงั อาลัยกับการกลับไป
ใชช้ ีวติ ฆราวาสอยูใ่ นบางชว่ งบางขณะเหมอื นกัน ท�ำให้การตัดใจออกบวชตลอดชวี ติ เพ่ือแสวงหา
โมกขธรรมยงั ไมม่ ั่นคงเดด็ ขาด ท่านเล่าถงึ การพิจารณาในครั้งนัน้ ว่า

“...เราเกิดธรรมสังเวช บังเกิดความสลดขึน้ ในใจเป็นอยา่ งมาก จึงถามตนเองวา่ ขณะนี้
เธอเป็นฆราวาส หรอื เป็นพระกรรมฐาน ถ้ายงั เปน็ ฆราวาส กเ็ หมือนกบั หมาท่ีแทะกระดูกอยู่
นี้แหละ กระดกู มนั มีเนอ้ื หนังอย่เู มือ่ ไร อย่างมากก็กลนื ลงคอไปไดแ้ คน่ �้ำลายของมนั เองเทา่ นัน้
แต่นเี่ ธอเป็นพระกรรมฐาน เท่าทเี่ ธอภาวนาไม่ส�ำเร็จมาถงึ ๓ คืน ก็เพราะเธอคิดอยากสร้างโลก
สร้างภพ สรา้ งชาติ สรา้ งวฏั สงสาร ไม่มสี ิ้นสุดแห่งความคิด อยากมบี ้านมีเรือน มีไรม่ นี า มีวัว
มีควาย อยากมีเมยี มีลกู มหี ลาน จะไปสรา้ งคุณงามความดีในท่ีใดกไ็ ม่ได้ เพราะเปน็ หว่ ง
สมบตั ิและห่วงลกู ห่วงเมยี เหมือนกบั หมาทก่ี �ำลังหลงก�ำลงั ห่วงกระดูกที่มนั ก�ำลังแทะอยนู่ เ้ี อง”

ตอ่ จากน้นั หลวงปู่ฝน้ั ทา่ นกไ็ ดก้ ลา่ วภาษิตบทหน่งึ ความว่า

41

“ตัณหารกั เมยี เปรยี บเหมือนเชอื กผกู คอ ตณั หารกั ลกู รกั หลานเปรียบเหมอื นปอผกู ศอก
ตณั หารักวัตถุขา้ วของต่างๆ เปรียบเหมอื นปลอกผูกตนี

สมบัติพัสถานตา่ งๆ ทส่ี รา้ งสมไว้ เม่อื ตายลงไมเ่ หน็ มีใครหาบหามเอาไปไดเ้ ลยสกั คนเดยี ว
มีแต่คุณงามความดีกับความช่ัวเท่านั้นที่ติดตัวไป ถ้าเธอเป็นพระกรรมฐาน ไม่ควรคิดสร้างโลก
วัฏสงสารเช่นนั้น ควรต้ังใจภาวนาให้รู้เห็นในอรรถธรรม สิ่งท้ังหลายในโลกน้ีไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ทง้ั สน้ิ ”

เมือ่ ทา่ นใชป้ ญั ญาพจิ ารณาได้เชน่ นีแ้ ลว้ และดว้ ยอ�ำนาจวาสนาบารมีธรรมที่ท่านได้บ�ำเพ็ญ
มาดีแล้วเป็นปัจจยั เครอ่ื งหนนุ นำ� จึงท�ำให้ทา่ นตัดสินใจบวชไมส่ กึ

โดยในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ น้เี อง พอถงึ ชว่ งใกลเ้ ขา้ พรรษา หลวงปมู่ น่ั ท่านกไ็ ดพ้ าพระเณรเดนิ
ธุดงค์มาทางอ�ำเภอวาริชภูมิ และท่านได้มาจ�ำพรรษาท่ีป่าริมหนองน�้ำบาก ใกล้บ้านหนองลาด
ตำ� บลหนองลาด อำ� เภอวาริชภมู ิ จังหวดั สกลนคร (ตอ่ มาเปน็ วดั ช่อื วา่ วดั ปา่ หนองบาก ตอ่ มาวดั
ไดย้ า้ ยออกไป ๒ กิโลเมตร และเปลย่ี นชื่อเปน็ วัดป่าราษฎรส์ ามัคคี สว่ นบริเวณวัดเดมิ กลายเป็น
โรงเรียนบ้านหนองลาดวิทยาคาร) ส่วนหลวงปู่ฝั้นในขณะน้ันท่านยังเป็นพระภิกษุหนุ่มในสังกัด
มหานิกาย เม่ือใกล้เข้าพรรษา สันนิษฐานว่าท่านจ�ำพรรษาวัดในละแวกน้ัน ส�ำหรับท่านพระ–
อาจารยก์ ู่ กับ สามเณรกว่า ญาตสิ นทิ ของทา่ นไดต้ ิดตามรบั ใชแ้ ละอยจู่ ำ� พรรษากบั หลวงปมู่ นั่

อศั จรรยญ์ าณหยัง่ รูข้ องหลวงปู่มน่ั

หลวงปฝู่ ัน้ อาจาโร หลงั จากอาพาธท่ีเนื่องจากไขห้ วัดใหญห่ ายกลับมาเป็นปรกตแิ ล้ว และ
ท่านตดั สินใจเดด็ ขาดวา่ จะบวชไมส่ ึก ทา่ นตอ้ งการเปน็ พระธุดงคกรรมฐานทีม่ งุ่ แสวงหาโมกขธรรม
มงุ่ ปฏิบัตธิ รรมอยา่ งมอบกายถวายชวี ติ แล้ว

เม่ือออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ต่อเนือ่ งปี พ.ศ. ๒๔๖๖ หลวงปูฝ่ ัน้ ท่านกเ็ ทยี่ วธดุ งค์ตาม
ล�ำพัง ทา่ นยงั ท�ำตามทหี่ ลวงปู่มนั่ ภรู ทิ ตฺโต พระอาจารย์ใหญส่ งั่ สอนไว้ทุกประการ ค�ำสง่ั สอนของ
หลวงป่มู ั่นทเี่ น้นให้ทา่ นไปผูเ้ ดียว “ไป๊ – ไปผเู้ ดียวนัน่ แหละ จะได้ก�ำลงั จติ ฯ” ยังคงกกึ กอ้ งในจติ
ของหลวงปู่ฝ้ัน เมอื่ ทา่ นภาวนาตดิ ขดั หรอื มปี ญั หาธรรมก็เข้ากราบเรียนถามหลวงปู่มน่ั เหมอื นเช่น
ทุกคร้ัง และท่านเป็นพระยอดกตัญญู ท่านระลึกถึงพระคุณของหลวงปู่ม่ันตลอดเวลา ซึ่งใน
ขณะนั้นหลวงป่มู ั่นท่านพ�ำนกั อยู่ทว่ี ัดมหาชัย ต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอหนองบวั ล�ำภู จงั หวัดอุดรธานี
(ปจั จุบนั เปน็ จงั หวดั หนองบัวลำ� ภ)ู ทา่ นจึงไดอ้ อกเดินธดุ งคต์ ดิ ตาม

42

เม่ือไปถึงวัดมหาชัย พอหลวงปู่ฝั้นกราบหลวงปู่ม่ันเสร็จ ท่านก็บังเกิดความอัศจรรย์ใจ
อกี ครั้งหนงึ่ เชน่ เดียวกันกับเมอื่ ตอนท่ที ่านธดุ งคก์ ลับจากฝัง่ ลาวคราวท่แี ลว้ โดยหลวงปู่มัน่ ทา่ นก็
พดู ยิ้มๆ ในลักษณะขบขันและกล่าวชมอุบายของท่านอกี ครง้ั วา่

“ทา่ นฝ้นั ครงั้ ก่อนไดย้ ินเสือร้อง จิตใจถงึ สงบ มาครั้งนี้ไดห้ มาแทะกระดูกเปน็ อาจารย์
เข้าอีกแล้ว จงึ มสี ตริ อบรใู้ นอรรถในธรรม ท่านฝัน้ ถอื เอาหมาแทะกระดูกเปน็ อบุ ายอนั แยบคาย
ส�ำหรบั เปลี่ยนจติ ใจใหส้ งบ จนสามารถท�ำใหเ้ ห็นแจ้งในธรรมนั้นได้ถูกตอ้ ง ชอ่ื ว่า เปน็ ศษิ ยข์ อง
พระพุทธองค์โดยแท้ การเห็นอะไรแล้วน้อมน�ำเข้ามาพิจารณาภายในจิตใจเช่นนี้ เป็นการ
กระท�ำท่ชี อบแลว้ ”

โดย หลวงปูส่ ุวจั น์ สุวโจ เทศน์ไว้ดังน้ี
“นี่การปฏบิ ตั ธิ รรม เพราะฉะน้ันตอนทเี่ ราไม่ลืม มสี ติมนี ่ี เราก็เอามาใชใ้ นชวี ิตประจ�ำวนั
ใหม้ ันทนั ต่อเหตุการณ์ได้ มันทันตอ่ เหตกุ ารณ์ สามารถชว่ ยตัวเองได้ตลอดไป อนั น้เี ป็นส่งิ ที่ส�ำคัญ
เพราะฉะน้ัน นกั ปฏิบตั ิจึงชอบ ชอบพจิ ารณา เหมือนกับหลวงปูฝ่ น้ั ก็ดี หลวงปมู่ ่นั ก็ดี
ทีอ่ าตมาอยใู่ กลช้ ิดหนึง่ ท่านเห็นอะไร พิจารณามาเป็นธรรมหมดนะ ไมว่ ่าเดินไปไหน เหน็ อะไร
ทา่ นพลกิ แพลงพจิ ารณาท�ำงานภายในของทา่ นอยนู่ ัน่ น่ะ ว่าเป็นธรรมเครื่องรู้ เครอ่ื งเหน็ เปน็
ความจรงิ ไปหมด เป็นเครอื่ งประกอบจิตใจใหม้ ่นั คง ใหฉ้ ลาดในการเหน็ ไม่ให้เกิดความมัวเมา
ไม่ใหเ้ กดิ ความหลงในสงิ่ นนั้ ๆ ใหร้ คู้ วามจริง สงิ่ ทคี่ วรสลดสงั เวชก็สลดสังเวช สง่ิ ทีค่ วรผ่องใส
ผอ่ งแผว้ ในใจก็ผ่องใสในใจ”
หลวงปู่ฝั้น ทา่ นท้งั แปลกใจและอศั จรรยใ์ จกบั ความรูภ้ ายในของหลวงป่มู ่นั ท่สี ามารถรู้ใจ
และล่วงรู้เหตกุ ารณค์ วามเปน็ ไปของพระศษิ ย์ไดอ้ ย่างชัดเจน ไม่วา่ จะอยู่ใกลห้ รอื ไกลเพียงไรก็ตาม
ถา้ องคท์ า่ นอยากจะร้กู ็ต้องรู้ โดยไมส่ ามารถปดิ บังญาณหย่งั รูข้ องทา่ นได้ อกี ทง้ั ค�ำกลา่ วชมของ
หลวงปู่ม่ันในคร้งั น้นี ับเป็นครง้ั ท่สี อง ท�ำใหห้ ลวงปฝู่ น้ั ท่านยิง่ เกดิ ความปตี ยิ นิ ดแี ละยิง่ เกดิ ก�ำลังใจ
มากเปน็ ทวคี ูณ ซ่ึง หลวงปู่เจีย๊ ะ จนุ ฺโท พระศษิ ย์หลวงปมู่ ั่น ทา่ นเลา่ ว่า “เพราะตามปรกตแิ ล้ว
ทา่ นพระอาจารย์มน่ั จะไม่ช่นื ชมใครง่ายๆ”
คำ� กล่าวชมจากใจจรงิ ของหลวงปู่ม่นั ผู้เป็นครูบาอาจารย์ แมท้ า่ นกล่าวดว้ ยถ้อยคำ� เพยี ง
ประโยคส้ันๆ แต่แฝงไว้ด้วยคณุ คา่ และประโยชน์อันมากมายมหาศาล เพราะท�ำใหห้ ลวงปู่ฝั้นผเู้ ปน็
ศิษย์ ยิง่ ม่ันใจในอุบายภาวนาทีท่ ่านเคยใชพ้ ิจารณามาแล้ว และที่สำ� คญั เปน็ พลังใจหนุนน�ำให้ทา่ น
ยง่ิ เร่งประกอบทำ� ความพากเพยี รมากย่ิงๆ ข้นึ ไปอกี ทั้งนีก้ ็เพ่อื พระนิพพานความหลุดพน้ จากทกุ ข์
ตามทที่ า่ นได้ตง้ั ความปรารถนาเอาไว้

43

เที่ยวธดุ งคต์ ามล�ำพงั – พบเพื่อนสหธรรมกิ

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ น้ีเอง ทา่ นพระอาจารย์กู่ ธมฺมทนิ โฺ น ซงึ่ ได้ติดตามและจำ� พรรษารว่ มกับ
หลวงปมู่ ั่นมาแล้ว ๒ ปี ทา่ นไดญ้ ตั ติเปน็ ธรรมยตุ ก่อนหลวงปฝู่ ้นั และในปีนี้ท่านก็ไดอ้ ยู่จ�ำพรรษา
รว่ มกับหลวงปูม่ น่ั อกี ที่วดั มหาชัย สำ� หรับหลวงปฝู่ ้ันท่านกย็ งั คงเทยี่ วธุดงค์ตามล�ำพังองค์เดียว และ
จ�ำพรรษาวัดในละแวกนั้น พอออกพรรษาหลวงปู่ฝั้นท่านได้ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่ม่ัน มาที่
เสนาสนะป่าบ้านคอ้ (วดั ป่าสาระวาร)ี อ�ำเภอบา้ นผือ จังหวัดอุดรธานี ซ่ึง ณ ที่น้ี ทา่ นไดพ้ บกับ
หลวงปูเ่ สาร์ กนตฺ สโี ล ดว้ ย นอกจากนท้ี า่ นยังได้พบกับสหธรรมิกองค์สำ� คัญ คอื หลวงป่อู อ่ น
าณสิริ เป็นครง้ั แรก และในกาลตอ่ มาทา่ นท้ังสองได้เปน็ คสู่ หธรรมกิ ท่รี กั ใครส่ นิทสนมกนั มาก
ต้ังแต่สมัยเป็นพระภิกษุหนุ่ม ได้ออกเที่ยวธุดงค์ด้วยกันเป็นประจ�ำ จนเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่
กเ็ ดนิ ทางไปมาหาสกู่ ราบคารวะเย่ียมเยียนธรรมสากจั ฉากนั เป็นประจ�ำ

หลวงป่อู อ่ น ท่านมอี ายอุ อ่ นกว่าหลวงปฝู่ ัน้ ประมาณ ๓ ปี โดยทา่ นเกดิ เมอื่ วันอังคาร
เดอื น ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ปขี าล ส่วนหลวงปฝู่ น้ั ทา่ นเกดิ เม่ือวันอาทติ ยท์ ี่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒
ปกี นุ แต่หลวงปู่ออ่ นทา่ นมอี ายุพรรษามากกวา่ หลวงป่ฝู ้ัน ท่านไดร้ ับการญตั ตเิ ปน็ ธรรมยุตกอ่ น
เพยี ง ๔ เดือนเศษ โดยท่านญตั ติเมอ่ื วันท่ี ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ส่วนหลวงปู่ฝัน้ ท่านญตั ติเม่อื
วนั ท่ี ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ (สมยั ก่อนถอื วันที่ ๑ เมษายน เปน็ วันขึน้ ปใี หม)่

ณ เสนาสนะป่าบ้านค้อ หลวงปูฝ่ ้ัน ท่านได้มีโอกาสพบกบั พระศิษย์รนุ่ แรกๆ ของหลวงปู่
เสาร์ และ หลวงปู่มนั่ ซงึ่ ได้ติดตามมาขอศกึ ษาอบรมธรรมปฏิบตั กิ บั ท่านพระอาจารย์ใหญท่ งั้ สอง
อยู่หลายองค์ เช่น หลวงปแู่ หวน สจุ ณิ โฺ ณ หลวงป่ตู ้ือ อจลธมฺโม เปน็ ตน้ ซ่ึงขณะน้นั ตา่ งกย็ ังเปน็
พระในฝ่ายมหานกิ าย

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านพระอาจารยม์ ่ัน ท่านได้พาพระเณรมาอยจู่ �ำพรรษาทเี่ สนาสนะปา่ –
บา้ นคอ้ อ�ำเภอบา้ นผือ จงั หวัดอดุ รธานี เพราะในการออกบวชปฏิบัติธรรมเพือ่ ความหลดุ พน้ แล้ว
จำ� เปน็ อยา่ งยงิ่ ทจ่ี ะตอ้ งมีครูบาอาจารยค์ อยส่งั สอนชแ้ี นะ จึงสนั นษิ ฐานได้วา่ หลวงป่ฝู ้นั ทา่ นกไ็ ด้
ตดิ ตามมาขอศกึ ษาปฏิบตั ธิ รรม และอยูจ่ ำ� พรรษาวดั ในละแวกนนั้

ส�ำหรบั สถานท่ีเทยี่ วธดุ งคใ์ นแถบอำ� เภอบา้ นผือ และในอ�ำเภอใกล้เคยี ง เช่น อ�ำเภอนำ�้ โสม
อำ� เภอนายงู อำ� เภอทา่ บ่อ มมี ากมายหลายแหง่ เชน่ พระพทุ ธบาทบัวบก ภยู ่าอู่ ถ�้ำพระ บริเวณ
นำ�้ ตกตาดโตน หรือน�้ำตกยูงทอง เป็นตน้ สถานท่เี หล่านีใ้ นอดตี ลว้ นมีสภาพเป็นป่าเป็นเขา มีถ�้ำ
เงือ้ มผา พลาญหนิ มตี น้ ไมน้ ้อยใหญข่ ึ้นปกคลุมหนาแนน่ เปน็ ดงป่าใหญ่ จงึ อุดมสมบูรณ์เต็มไปดว้ ย
สตั ว์ปา่ สตั วร์ ้าย นานาชนดิ เขา้ มาอยู่อาศัย สถานทเี่ หล่าน้กี แ็ สนทจี่ ะเปลา่ เปลีย่ ว ทรุ กันดารมาก
ห่างไกลบา้ นเรอื นและไม่มีผคู้ นสญั จรไปมา จงึ วิเวกเงยี บสงบสงดั สปั ปายะมาก

44

การโคจรบณิ ฑบาตก็อาศยั ชาวบ้านทีเ่ ข้ามาทำ� ไรเ่ พียงไม่กีห่ ลงั คาเรือน พออาศยั บณิ ฑบาต
ไดอ้ าหารมายังชพี เพอ่ื การปฏิบตั ิธรรม สถานทเ่ี ช่นน้เี ป็นทีอ่ อกเทย่ี วรกุ ขมลู ตามพระพทุ ธโอวาท
ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี จงึ เป็นที่ปรารถนาของพระโยคาวจรเจา้ สาวกศิษย์พระตถาคตผูแ้ สวงหาโมกขธรรม
เพ่อื ความหลดุ พน้ อย่างแทจ้ ริง เพราะเหมาะกบั การฝกึ ฝนอบรมทรมานจติ ใจได้เปน็ อยา่ งดี ถือเป็น
สถานท่ีปฏบิ ัติธรรมช้ันเอก และถือเป็น “มหาวทิ ยาลยั ป่า” ในทางพระพทุ ธศาสนา ซ่ึง หลวงปู่
เสาร์ และ หลวงปู่ม่นั พระปรมาจารยใ์ หญท่ ้ังสองไดไ้ ปเท่ยี วบกุ เบกิ ธดุ งคป์ ฏิบตั ธิ รรมมาหมดแลว้
และไดแ้ นะน�ำใหบ้ รรดาพระศษิ ย์ใหแ้ ยกยา้ ยกันออกเที่ยวธุดงคบ์ �ำเพ็ญเพยี รในสถานทเี่ ช่นนน้ั

หลวงปฝู่ ั้น ในขณะท่ที ่านออกธดุ งค์ติดตามและศกึ ษาอบรมกับหลวงปู่ม่ัน ทา่ นย่อมได้รบั
ค�ำแนะน�ำถึงสถานท่ีเหล่าน้ีเป็นอย่างดี และท่านได้ออกเท่ียวธุดงค์ตามรอยธรรมของหลวงปู่ม่ัน
โดยยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายในสถานที่เปล่าเปลี่ยวทุรกันดารตามล�ำพังเพียงองค์เดียว ท่านสมกับ
เปน็ พระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารยม์ น่ั ทอ่ี อกธดุ งคอ์ ยา่ งเดด็ เดี่ยวกลา้ หาญ ตั้งแตเ่ ปน็
พระภกิ ษหุ นมุ่ ๆ พรรษาน้อยๆ สมกบั ท่านเป็น “นกั รบธรรมเดนตาย” อยา่ งแท้จรงิ ทง้ั นก้ี ็เพ่ือ
ฝึกจิตทรมานใจและฝึกสมาธิธรรมให้ช�ำนาญแก่กล้าแล้วจึงออกพิจารณาทางด้านปัญญา อันเป็น
การดำ� เนินตามหลกั สมถ – วิปสั สนากรรมฐานที่หลวงปู่ม่ันเมตตาน�ำมาส่งั สอน เพือ่ รองรับธรรม
ในขัน้ สูงต่อไป

ดว้ ยหลวงป่ฝู ้นั ท่านเปน็ พระในฝา่ ยมหานิกายอยูน่ านถึง ๖ พรรษา ตั้งแตอ่ ุปสมบทในปี
พ.ศ. ๒๔๖๒ – ๒๔๖๗ ทา่ นเป็นพระมหานิกายทเี่ ครง่ ครดั ในพระธรรมวนิ ัย ถือธดุ งควตั ร รักษา
ข้อวัตรปฏิบัติ และปฏิบัติภาวนาด้วยการเดินจงกรม น่ังสมาธิ ตามแนวปฏิปทาของท่านพระ–
อาจารยม์ ่ัน ซง่ึ เป็นพระในฝา่ ยธรรมยตุ โดยทา่ นไดอ้ อกเท่ยี วธดุ งคกรรมฐานตัง้ แตพ่ รรษาแรกๆ
ต่อมาเมื่อท่านได้อยู่ศึกษาอบรม และได้รับความเมตตาธรรมานุเคราะห์จากท่านพระอาจารย์มั่น
ซ่งึ คอยสง่ั สอน คอยชีท้ างด�ำเนินเพอื่ มรรคผลนิพพานอย่เู สมอๆ เปน็ เวลานานติดตอ่ กันถงึ ๕ ปี
ท่านเกิดความซาบซึ้งใจในพระคุณอันไม่มีประมาณของท่านพระอาจารย์ม่ัน จนเกิดความเคารพ
เลื่อมใสศรัทธาในองค์ท่านอย่างยอมมอบกายถวายชีวิต แต่ด้วยมีนิกายที่แตกต่างกัน และด้วย
ความมุ่งมาดปรารถนาในมรรคผลนิพพาน ทา่ นจงึ ตงั้ ใจญตั ตเิ ปน็ ธรรมยตุ

45

ภาค ๔ ญตั ติเปน็ ธรรมยุต

ตดั สนิ ใจญตั ติเป็นธรรมยตุ

หลวงปูฝ่ น้ั ท่านได้คิดรำ� พงึ ระลึกถงึ ทา่ นพระอาจารย์ม่นั วา่ “เราควรจะอยู่ใกล้ชิด เปน็
ลูกศษิ ย์ตดิ ตามฝกึ หดั ปฏิบัตทิ า่ นไปอยา่ ไดอ้ อกห่าง แต่เรายังเป็นพระนานาสังวาส (พระตา่ งนิกาย)
ไมอ่ าจร่วมสงั ฆกรรม ทำ� สงั ฆกจิ ใกลช้ ดิ เป็นอนั หน่งึ อันเดียวกนั ได้ ถา้ ท่านพระอาจารย์ม่นั ท่านมี
เมตตาอนุเคราะห์รับเราเอามาเข้าญัตติเป็นพระในคณะธรรมยุติกนิกายแล้ว เราก็จะได้มีสังวาส
เสมอเปน็ อนั หน่งึ อนั เดียวกันกับท่านและคณะของทา่ น เราก็จักได้อยู่ใกลช้ ิด ออกธดุ งคต์ ดิ ตามไป
กับท่านด้วย”

ดงั น้นั ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ กอ่ นเขา้ พรรษา เม่อื หลวงปู่ฝ้นั คดิ ตกลงปลงใจอย่างแนว่ แนแ่ ลว้
ท่านก็จัดแจงเก็บบริขารเข้าในบาตร ผูกบาตรยกขึ้นสะพาย บ่าข้างหน่ึงแบกกลด มือข้างหนึ่ง
ห้วิ กาน�้ำ ออกเดินธดุ งค์มุ่งหน้าไปหาท่านพระอาจารยม์ ั่นทันที ซ่ึงขณะนั้นทา่ นพระอาจารยม์ นั่
พำ� นกั อย่ทู ่ีวัดมหาชัย อำ� เภอหนองบัวล�ำภู จังหวดั อดุ รธานี เมือ่ ได้โอกาสจังหวะเหมาะๆ ทา่ นจึง
เขา้ ไปกราบเรยี นถงึ ความประสงคท์ ่ีจะขอญตั ตเิ ปน็ พระในฝา่ ยธรรมยุตตามที่ท่านได้ตัง้ ใจไว้

ท่านพระอาจารย์มน่ั ท่านทราบจติ ใจเคารพเลือ่ มใสศรทั ธาของหลวงปฝู่ น้ั เปน็ อยา่ งดแี ล้ว
ท่านเห็นความตง้ั ใจในการออกบวชเพ่อื ความหลุดพ้น และความต้งั ใจบ�ำเพญ็ ภาวนาของหลวงปูฝ่ น้ั
มาโดยตลอด ทา่ นจึงตกลงรบั ทันที ซงึ่ ตามปฏิปทาของทา่ นพระอาจารยเ์ สาร์ ท่านพระอาจารยม์ น่ั
เคร่งครดั ในเรอ่ื งนมี้ าก เพราะการฝึกหัดดดั นสิ ยั ละนิสยั ของเก่าของเดมิ นัน้ มันเปน็ ของยากมาก
จึงไมญ่ ัตตใิ หใ้ ครงา่ ยๆ ท่านต้องใหม้ าฝึกหัดอยู่ ๓ – ๔ ปี จึงจะท�ำการญตั ติให้

ในระหว่างนมี้ ีเหตกุ ารณส์ �ำคญั ของวงพระธุดงคกรรมฐาน คือ มีงานผูกพทั ธสีมาพระอุโบสถ
วดั โพธสิ มภรณ์ อ�ำเภอเมอื ง จงั หวดั อุดรธานี โดยก�ำหนดจัดงานในระหว่างวนั ที่ ๖ – ๙ มีนาคม
พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยมี พระสาสนโสภณ (เจริญ าณวโร) เจ้าคณะรองคณะธรรมยุต เจ้าอาวาส
วดั เทพศริ ินทราวาส กรุงเทพมหานคร เปน็ ประธานในการผกู พทั ธสมี า และมีท่านเจ้าคุณอบุ าล–ี
คุณูปมาจารย์ (จนั ทร์ สิริจนฺโท) พระเทพเมธี (อว้ น ติสโฺ ส) เจา้ คณะมณฑลอุบลราชธานี
พระมหาจมู พนฺธุโล เจา้ อาวาสวัดโพธสิ มภรณ์ พรอ้ มดว้ ยพระภกิ ษสุ งฆ์ ๕๒ รูป รว่ มในพธิ ีอยูด่ ้วย
ซึ่งงานน้ี ท่านพระอาจารยเ์ สาร์ กับ ท่านพระอาจารยม์ นั่ ท่านทัง้ สองกร็ ับอาราธนานิมนตไ์ ป
ร่วมงานดงั กลา่ ว

พระอุโบสถ วดั โพธิสมภรณ์ นับเป็นสถานทส่ี ำ� คัญทางประวัตศิ าสตร์แหง่ หนึ่งของวงพระ–
ธดุ งคกรรมฐาน เพราะตอ่ มาเปน็ สถานที่ซ่งึ ครบู าอาจารยเ์ พชรนำ�้ หนึง่ หลายๆ องค์ ไดแ้ ก่ หลวงปู่

46

อ่อน าณสริ ิ หลวงปหู่ ลยุ จนฺทสาโร หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงป่ฝู ้นั อาจาโร หลวงปพู่ รหม
จริ ปญุ โฺ  องคห์ ลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นโฺ น ฯลฯ ไดม้ าบรรพชาอปุ สมบท หรือไดม้ าญตั ติ
เป็นพระธรรมยตุ ทพี่ ระอโุ บสถหลังน้ี โดยมี ทา่ นเจ้าคุณพระธรรมเจดยี ์ (จูม พนธฺ โุ ล) เป็น
พระอุปัชฌาย์

สาเหตุประการสำ� คัญทห่ี ลวงป่ฝู นั้ ญตั ติเปน็ ธรรมยุต ครูบาอาจารย์ เทศนไ์ ว้ดังนี้
“หลวงปู่ฝัน้ ทา่ นเปน็ มหานิกาย แลว้ หลวงปดู่ ูลย์ไปเทศน์เอาหลวงปูฝ่ ้นั หลวงปู่ขาวต่างๆ
จากมหานกิ ายมาญัตตธิ รรมยุต ฉะน้ัน ตอนทที่ า่ นเป็นมหานิกายท่านเขา้ ไปอปุ ฏั ฐากหลวงปู่มัน่
ท่านฟงั เทศน์หลวงปดู่ ูลย์ ฟงั เทศนห์ ลวงป่ดู ลู ยเ์ สร็จแล้วตอนนัน้ เปน็ มหานิกายอยู่ ก็ไปอยู่กับ
หลวงปู่มนั่ ไปอยกู่ บั หลวงปู่ม่ัน หลวงปมู่ นั่ ท่านเทศนาวา่ การมา โอ้โฮ ! มนั ซาบซง้ึ มนั มีบุญคณุ
เพราะเปน็ มหานกิ ายอยู่ เป็นวดั บ้านอยู่ กอ็ ยโู่ ดยธรรมชาติของพระ แตพ่ อฟงั เทศนห์ ลวงปู่มัน่
โอ๋ย ! มนั ซาบซ้ึง เพราะมันเหน็ ชอ่ งทาง เหน็ ช่องทางในการปฏิบตั ิ เห็นชอ่ งทางได้มรรคไดผ้ ล
เห็นชอ่ งทางจะช�ำระกิเลส เหน็ ช่องทางทีเ่ ป็นประโยชนห์ มดเลย อ๋ยู ! ได้ประโยชน์ ไดป้ ระโยชน์
จากหลวงป่มู น่ั มหาศาลเลย ...
ท่านไปอยู่กบั หลวงปู่มนั่ นะ ท่านศึกษามา ท่านบวชมาแล้ว ทา่ นประพฤติปฏิบัติของทา่ น
กติ ตศิ ัพท์ กิตตคิ ณุ ของหลวงปมู่ ั่นทา่ นมชี ือ่ เสยี งมาก ก็ไปฝากตวั เป็นลูกศษิ ยข์ องท่าน ฝากตวั เป็น
ลกู ศษิ ย์ของท่าน ทา่ นอบรมสง่ั สอนเห็นไหม โอ๋ ! ไดค้ ุณธรรม ไดค้ ุณธรรมอะไร คนท่ีมีศกั ยภาพ
เวลาเราทำ� สิง่ ใดไป หวั ใจของเรามันมปี ระสบการณข์ องมนั เหน็ ไหม เราน่ังสมาธิ เรากเ็ คยเห็นเคยรู้
ของเราว่า มนั จะเป็นสมาธิ หรือไมเ่ ป็นสมาธิ เวลามนั เกิดปัญญาขึน้ มา เกิดความคิดขึน้ มา เราก็
คิดว่านัน่ เปน็ ปัญญา เกดิ ความคิด เกดิ ความเหน็ เกดิ จนิ ตนาการตา่ งๆ แลว้ ใครจะแก้ไขเราละ่
หลวงปู่ม่ันท่านแกใ้ ห้ได้หมดละ่ เพราะถ้าแก้ได้ มันกม็ าสะทอ้ นใจ คนท่มี ธี รรมในใจไง
หลวงปู่มั่นให้ออกประพฤติปฏิบัติ แล้วมีสิ่งใดเวลาสงสัยก็เข้ามาหาท่าน ท่านแก้ไขให้
ทา่ นท�ำให้ เหน็ ไหม มนั มบี ุญมคี ุณ ฉะน้ัน คำ� พูดของครบู าอาจารย์ของเรา ท่านถงึ พดู ออกมาจาก
นำ�้ ใจ พ่อ แม่ ครู จารย์ เรามาอาศยั ท่านอยู่ แล้วเราไดป้ ระโยชน์จากท่านมหาศาลเลย ท่านคอย
ช้นี �ำ ท่านคอยดแู ลเรา แล้วเรามันเปน็ นานาสงั วาส เราไดป้ ระโยชนจ์ ากทา่ นหมดเลย แลว้ เวลา
หลวงปมู่ ่ันท่านเจบ็ ไขไ้ ดป้ ว่ ย เราอยากจะอปุ ฏั ฐากทา่ นเพือ่ น�้ำซักแก้วหน่งึ ยาซกั เม็ดหนงึ่ ยน่ื ใสม่ ือ
ทา่ นก็ทำ� ไม่ได้ เพราะเป็นนานาสังวาส ทา่ นตัดสินใจญตั ตใิ หมเ่ ลย หลวงปู่ฝ้นั ทา่ นกลบั ไปญัตติ
เหน็ ไหม คนมคี ุณธรรม”

47

พ.ศ. ๒๔๖๘ ญตั ตเิ ป็นธรรมยตุ

ทา่ นพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภรู ิทตฺโต ไดเ้ ตรยี มการให้ หลวงปฝู่ ั้น อาจาโร ญตั ตธิ รรมยตุ
หรือการบวชใหมค่ รั้งน้ใี ห้ถูกต้องตามหลักพระธรรมวนิ ัย นบั แต่ใหม้ กี ารจัดเตรียมบริขารให้ถกู ต้อง
ครบถว้ น มิฉะน้นั แล้วกจ็ ะเกดิ บริขารวิบัติ และจะตอ้ งฝกึ ฝนซอ้ มท่องขานนาคจนออกเสียงถูกตอ้ ง
ชดั เจนตามอักขระ และจะต้องทอ่ งจนคลอ่ งแคล่วไม่มีการติดขัดหรอื เคอะเขนิ มิฉะน้นั แล้วกเ็ กดิ
อกั ขรวบิ ัติ เป็นต้น ส�ำหรบั พระอปุ ัชฌาย์ท่ีจะบวชหลวงปฝู่ ั้นน้นั หลวงปูม่ ั่นท่านเมตตาใหค้ วาม
ไว้วางใจ ท่านเจ้าคณุ พระธรรมเจดยี ์ (จมู พนฺธโุ ล) เจา้ อาวาสวดั โพธิสมภรณ์ อำ� เภอเมือง จังหวดั
อดุ รธานี และเป็นลูกศิษยส์ �ำคัญของทา่ น เปน็ พระอุปัชฌาย์ ซ่ึงพระศิษยอ์ งค์ส�ำคัญของหลวงปมู่ น่ั
สว่ นใหญบ่ วชกับทา่ นเจ้าคุณพระธรรมเจดยี ์ โดยในระหว่างน้ีหลวงปู่ฝนั้ ทา่ นออกเดินทางไปกราบ
ท่านเจา้ คณุ พระธรรมเจดยี ์ เพอื่ กำ� หนดวนั เวลา ญตั ติธรรมยตุ ตอ่ ไป

ด้วยการอปุ สมบทเป็นพระภิกษุ เพอ่ื บำ� รุงรกั ษาและสบื ทอดพระพทุ ธศาสนา เปน็ การทำ�
สังฆกรรมอยา่ งหนงึ่ การปฏบิ ัติตามหลกั พระธรรมวินัยจงึ จ�ำเปน็ และส�ำคัญมาก การท�ำสงั ฆกรรม
ในท่ามกลางสงฆ์นตี้ ้องสะอาดบรสิ ทุ ธิ์ เชน่ อปุ ชั ฌาย์ กรรมวาจา สีมา อักขระ บริขาร ฯลฯ
ทุกอย่างต้องไม่วิบัติ เพราะเมื่อเกิดวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้ว การอุปสมบทท่ีไม่สมบูรณ์
ถกู ตอ้ ง หรอื มีความมัวหมอง ยงั ไม่ถือเปน็ พระภกิ ษุทีถ่ ูกต้องตามหลกั พระธรรมวนิ ัย อันจะมผี ล
ทำ� ให้การปฏบิ ตั ิภาวนาของพระภิกษุรปู น้นั เกดิ อปุ สรรคขดั ขอ้ งได้ ซึ่งจะตอ้ งท�ำการอุปสมบทใหม่
ให้สมบรู ณ์ถกู ตอ้ งต่อไป เมื่อพระอปุ ชั ฌายแ์ ละหลวงปูฝ่ ั้นท่านเตรยี มการอุปสมบททุกอย่างถูกตอ้ ง
พร้อมแล้ว พอใกล้ถึงวนั อุปสมบท ท่านจึงเดินทางไปวดั โพธสิ มภรณ์อกี ครั้ง

หลวงปฝู่ นั้ ไดท้ �ำการญตั ตเิ ป็นพระคณะธรรมยุต ณ พัทธสีมา วัดโพธสิ มภรณ์ อ�ำเภอเมือง
จังหวัดอดุ รธานี เมอ่ื วนั พฤหัสบดที ่ี ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกบั วนั พระ วันแรม ๑๕ ค่�ำ
เดอื น ๖ ปฉี ลู เวลา ๑๕ นาฬกิ า ๒๒ นาที โดยมี ทา่ นเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จมู พนฺธโุ ล)
เมอ่ื ครงั้ ทา่ นด�ำรงสมณศกั ดท์ิ ี่ พระครูสังฆวฒุ กิ ร เปน็ พระอุปชั ฌาย์ ทา่ นพระอาจารย์รถ เป็น
พระกรรมวาจาจารย์ และ ทา่ นพระอาจารย์มุก เปน็ พระอนสุ าวนาจารย์

โดยหลวงปู่ฝัน้ ท่านได้รับนามฉายาวา่ “อาจาโร” อันหมายถงึ ผ้มู ีความประพฤติดี หรือ
ผมู้ ีมารยาทงาม พระอปุ ชั ฌาย์ต้งั นามฉายาให้สมกบั ความประพฤตแิ ละมารยาทอนั ดงี ามของท่าน
ทีม่ กี ิริยามรรยาท น่มุ นวลออ่ นโยน สภุ าพเรยี บรอ้ ย และมคี วามเสมอต้นเสมอปลาย

อนงึ่ การนบั ปปี ฏทิ นิ ในอดีต กอ่ นปี พ.ศ. ๒๔๘๓ วนั ที่ ๑ เมษายนของปี ถือเป็นวนั ข้ึน
ปใี หม่ งานผกู พัทธสีมาพระอโุ บสถ วัดโพธสิ มภรณ์ จดั ระหว่างวันท่ี ๖ – ๙ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๖๗
เป็นชว่ งปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๗ หลวงปฝู่ ั้น ท่านญตั ติเป็นธรรมยตุ เมือ่ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.

48

๒๔๖๘ เป็นช่วงตน้ ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ดงั น้ัน หลังงานผกู พัทธสมี าไมน่ าน ตามใบสุทธิระบุชื่อ พระฝน้ั
อาจาโร มีสเี นือ้ ขาวเหลอื ง สัณฐานสันทดั ตำ� หนไิ ฝดำ� ที่ไหล่ขวา

เมอ่ื หลวงปู่ฝัน้ ทา่ นญตั ติเป็นพระในฝา่ ยธรรมยตุ ิกนิกายแลว้ การนบั อายุพรรษาจึงเริม่ ตน้
นบั หนึง่ ใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นต้นไป พระภกิ ษใุ นฝา่ ยมหานิกายที่ญัตติมาเป็นพระในฝา่ ย
ธรรมยตุ ณ พทั ธสีมา วดั โพธิสมภรณ์ ในระยะไลเ่ ล่ยี กัน โดยมี ทา่ นเจ้าคณุ พระธรรมเจดีย์
(จมู พนธฺ ุโล) เป็นพระอปุ ัชฌาย์ ซ่ึงประวตั ติ ่อๆ ไป จะต้องเกย่ี วขอ้ งกับหลวงปฝู่ ้ันอยา่ งใกลช้ ดิ คือ
กอ่ นหน้าน้นั ๔ เดือนเศษ คือ ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ มารับการญตั ตเิ ป็นพระธรรมยตุ
๒ องค์ คือ หลวงปู่อ่อน าณสิริ กับ หลวงปอู่ ่นุ กลยฺ าณธมฺโม และกอ่ นหน้านน้ั เพยี ง ๑ สปั ดาห์
คอื ในวนั ท่ี ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ กม็ ารับการญตั ติเป็นพระธรรมยุตพรอ้ มกนั อีก ๒ องค์
คอื หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร กับ หลวงป่ขู าว อนาลโย นอกจากนก้ี ็มที า่ นพระอาจารย์กว่า สมุ โน
นอ้ งชายของท่านพระอาจารย์กู่ ธมมฺ ทนิ ฺโน มีอายุครบบวช กเ็ ขา้ พิธีอปุ สมบทในคณะธรรมยุต
หลงั จากหลวงปฝู่ ้นั เข้าญัตติใหม่เพยี งไม่กี่วนั

ครบู าอาจารย์ทเ่ี ปน็ พระศิษย์สายท่านพระอาจารย์ม่ัน แม้ชวี ิตในทางโลก อนั เป็นชีวติ แรก
ทา่ นเกิดตา่ งบิดามารดากัน แตช่ วี ิตในทางธรรม อนั เป็นชวี ติ ใหม่ ท่านเกิดจากพ่อแม่ครูอาจารย์
องค์เดยี วกนั และหลายๆ องค์ เม่ือออกบวชหรอื ญัตตใิ หม่กม็ พี ระอปุ ัชฌาย์หรือบดิ าในทางธรรม
องค์เดยี วกนั เพราะท่านเหลา่ น้ันต่างไดร้ ับการฝึกฝนอบรมจากหลวงปู่มัน่ มาเป็นอย่างดีแล้วตัง้ แต่
พรรษาแรกๆ ท่านจงึ เปน็ พระทีด่ ี ทเี่ ครง่ ครดั ตั้งม่ันอยใู่ นพระธรรมวินยั และทา่ นกม็ คี ณุ ธรรมในใจ
ต้ังแตอ่ ายุพรรษานอ้ ยๆ ทา่ นจงึ ให้ความเคารพบชู ากนั และรกั ใครส่ นิทสนมกันมาก เพราะท่านถอื
เสมอื นเปน็ ครอบครัวเดียวกนั จรงิ ๆ หรอื ที่เรยี กวา่ “ครอบครัวกรรมฐาน” เมือ่ ท่านพบกนั หรือ
ไปมาหาสกู่ นั การแสดงความเคารพกนั ท่านจะยึดถอื อาวุโสภนั เตตามหลกั พระธรรมวินัย โดยองค์
ท่ีบวชภายหลัง แม้บวชหา่ งกันไม่ก่ีนาทีกต็ าม ท่านกก็ ้มกราบกัน เชน่ หลวงปขู่ าว เปน็ นาคซ้าย
ก้มกราบ หลวงป่หู ลยุ นาคขวา เป็นต้น

หลวงปู่ฝั้น ตามปรกตินิสัยของทา่ นแล้ว ทา่ นเป็นผ้มู ีกริ ิยามารยาทนุ่มนวลอ่อนโยน มี
ความประพฤติดี มีสัมมาคารวะ เม่ือท่านไปมาหาสู่กัน ท่านจะเคารพก้มกราบองค์ที่พรรษา
มากกว่าท่านเสมอๆ หลวงปฝู่ ้ันทา่ นเคารพและเคร่งครดั ในพระธรรมวนิ ยั มาก แมท้ ่านจะมอี ายุ
มากกวา่ และออกบวชเปน็ มหานกิ ายกอ่ นท่านพระอาจารยก์ ู่ อกี ท้ังท่านทั้งสองกเ็ ป็นญาตกิ นั และ
สนิทสนมกันมาต้งั แต่วัยเดก็ แต่หลวงปู่ฝัน้ ท่านญตั ติเปน็ ธรรมยุตหลังทา่ นพระอาจารย์กู่ เมือ่ ท่าน
ท้ังสองพบกัน ทา่ นก็ก้มกราบท่านพระอาจารยก์ ู่ทกุ ครั้งไป ท่านก้มกราบอย่างงดงาม กราบอยา่ ง
เคารพกนั จรงิ ๆ โดยไม่มีอาการเคอะเขนิ แต่อย่างใด

49

พ.ศ. ๒๔๖๘ จ�ำพรรษาแรกกบั หลวงปมู่ ่นั คร้งั แรกทวี่ ัดอรัญญวาสี

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หลวงป่ฝู ้นั อาจาโร หลงั จากท�ำการญตั ติเป็นธรรมยุตท่วี ดั โพธิสมภรณ์
อำ� เภอเมอื ง จงั หวัดอดุ รธานี เสรจ็ เรยี บรอ้ ยแลว้ ทา่ นได้กลับไปพ�ำนกั อยู่กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
ทวี่ ดั อรญั ญวาสี อำ� เภอท่าบ่อ จงั หวดั หนองคาย เมอื่ ถึงฤดูกาลเข้าพรรษา ทา่ นจงึ กราบขออนญุ าต
หลวงปมู่ น่ั เพ่ือปวารณาเขา้ จ�ำพรรษาทว่ี ัดแหง่ น้ี นบั เปน็ พรรษาที่ ๑ ของท่าน ในสงั กัดคณะ
ธรรมยุติกนิกาย ขณะทา่ นมีอายุ ๒๖ ปี และนับเป็นคร้งั แรกท่ไี ด้จำ� พรรษารว่ มกับหลวงปมู่ น่ั

พระอาจารย์ตา่ งๆ ท่รี ่วมจ�ำพรรษากับหลวงป่มู ั่น ทีว่ ดั อรญั ญวาสี ในพรรษาน้ี มดี งั นี้
ท่านพระอาจารย์มน่ั ภรู ิทตโฺ ต
ทา่ นพระอาจารย์กู่ ธมฺมทนิ ฺโน
ทา่ นพระอาจารย์ออ่ น าณสิริ
ทา่ นพระอาจารย์สาร (ไม่ทราบฉายา)
ท่านพระอาจารย์ฝ้ัน อาจาโร
ทา่ นพระอาจารย์กว่า สมุ โน
และยงั มีพระภกิ ษุสามเณรอีก ๑๖ รูป
การได้อยู่จ�ำพรรษาร่วมกบั หลวงปู่มนั่ ซง่ึ เป็นครบู าอาจารยส์ ปั ปายะ โดยมพี ระเณรท่ตี ้งั ใจ
บ�ำเพญ็ ภาวนา จัดเป็นหมู่คณะสัปปายะ ส่วนวัดอรญั ญวาสี เดิมเป็นวัดร้างเกา่ แก่ มสี ภาพเป็น
ดงหนาป่าทึบด้วยกอไผ่ ต้นกระพอก และต้นกระบก เป็นสถานท่ีร่มครึ้ม ห่างจากหมู่บ้าน
พอสมควร สถานท่ีจงึ เงยี บสงัดสปั ปายะมาก จดั เป็นอาวาสสปั ปายะ
ด้วยครูบาอาจารยส์ ัปปายะมีความจ�ำเปน็ และส�ำคัญมาก ดังน้นั โอกาสท่ีพระเณรจะได้
อยู่จ�ำพรรษาร่วมกับหลวงปู่ม่ันน้ันไม่ใช่หาได้ง่าย เพราะหลวงปู่มั่นท่านเป็นครูบาอาจารย์ท่ีรู้จริง
เหน็ จรงิ ในธรรม และท่านเขม้ งวดกวดขนั พระเณรมาก หากพระเณรองค์ใดไม่ไดต้ ง้ั ใจมาประพฤติ
ปฏบิ ตั ิธรรม หรือไมต่ งั้ ใจรักษาขอ้ วตั รปฏบิ ัตแิ ลว้ จะอยู่กับท่านไม่ไดเ้ ลย ท่านจะดุดา่ ขบั ไล่ทันที
ย่ิงพระเณรจะมาขออยู่จ�ำพรรษากับท่านด้วยแล้ว ท่านจะยิ่งพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบมาก
เป็นพเิ ศษ เน่อื งจากทา่ นด�ำเนนิ ตามแนวทางของวัดในครั้งพทุ ธกาลตามท่อี งคพ์ ระบรมศาสดาทรง
วางไว้ทุกประการ ทา่ นจึงรักษาความเรียบร้อยและความเงยี บสงบสงดั ของสถานท่ี เพอ่ื การบำ� เพ็ญ
เพียรภาวนา และท่านไดส้ งวนสถานทีเ่ ช่นนีใ้ หผ้ ้ทู ่ีต้องการมาประพฤตปิ ฏบิ ตั ิธรรมอย่างแท้จริง

50

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หลวงปฝู่ นั้ ท่านไดม้ โี อกาสมาอยูจ่ �ำพรรษากบั หลวงปู่ม่ัน พรอ้ มด้วย
ท่านพระอาจารยก์ ู่ กบั ทา่ นพระอาจารยก์ วา่ จากตระกลู สุวรรณรงค์ ซึง่ เปน็ ญาติสนิทของทา่ น
นบั เปน็ พรรษาแรกทีท่ า่ นทงั้ สามไดจ้ ำ� พรรษาร่วมกบั หลวงป่มู ั่น ซ่งึ ในขณะนั้นช่ือเสียง กิตติศพั ท์
กิตตคิ ุณของหลวงปู่ม่ันกโ็ ด่งดังไปทว่ั ทงั้ ภาคอสี านแลว้ โดยทา่ นได้รบั การยอมรับเปน็ จอมปราชญ์
แห่งยุคกงึ่ พทุ ธกาล

การเทศนาอบรมพระเณร การตอบปัญหา ตลอดการแนะนำ� อบุ ายภาวนาของหลวงปู่มั่น
นับวา่ เปน็ เลิศ ทา่ นเปน็ พระท่หี าไดย้ ากยงิ่ เพราะไมท่ ราบวา่ จ�ำนวนพระอกี สักเท่าไร อีกกห่ี มนื่
ก่ีแสนองคถ์ ึงจะมีข้นึ สกั องค์หนงึ่ และกไ็ มท่ ราบว่าอีกนานสักเทา่ ไร อกี กร่ี ้อยกีพ่ ันปีถึงจะมีขึ้นสกั
องคห์ น่ึง พระเณรที่ได้อยู่รว่ มกบั ทา่ นอยา่ งใกล้ชดิ จึงนับว่าเปน็ ผู้มอี �ำนาจวาสนามาก เพราะ
นอกจากได้เห็นหลวงปู่มนั่ ท่านปฏบิ ัติให้ดเู ปน็ แบบอยา่ งแล้ว ยังไดม้ ีโอกาสฟังโอวาทเทศนาธรรม
และกราบเรียนถามปัญหาธรรมจากท่านอย่างใกลช้ ดิ โดยตรง

ดงั นน้ั ในพรรษานพ้ี ระเณรจงึ ตา่ งพากนั ปรารภทำ� ความพากความเพยี ร ดว้ ยการเดนิ จงกรม
และนัง่ สมาธิภาวนากันอย่างเอาจริงเอาจงั เต็มท่ี หลวงปฝู่ ั้นกเ็ ชน่ เดียวกนั ทา่ นรออยู่หลายพรรษา
ถึงไดม้ าจ�ำพรรษากบั หลวงป่มู ่ัน เมอ่ื โอกาสอันดีมาถงึ แลว้ ท่านจึงเร่งปฏบิ ตั ิธรรมอยา่ งอกุ ฤษฏ์
โดยขอเอาชวี ิตเป็นเดิมพัน แมใ้ นขณะนน้ั ทา่ นลม้ ปว่ ยก็ตาม เพราะท่านถือคตธิ รรม “คนมกั ง่าย
มันจะได้ยาก คนมักยาก คนพยายามฝืนกบั กิเลสมันจะไดส้ มความปรารถนา”

โดยในพรรษานั้น หลวงปู่ฝน้ั ท่านเกิดอาพาธหนกั ปว่ ยเปน็ ไข้มาลาเรียตลอดทัง้ พรรษา
แมอ้ อกพรรษาแล้วกย็ ังไม่หายขาด ด้วยสมยั นน้ั ทางภาคอีสานก็ทุรกันดารมาก โรงพยาบาลก็หาได้
ยากมากและยงั ไม่เจรญิ เหมือนปจั จบุ นั นี้ ยารักษาไขม้ าลาเรียก็หาไดย้ าก หากใครปว่ ยไข้มาลาเรีย
โอกาสตายก็มีมาก และในสมัยน้ันพระเณรที่ออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานตามป่าตามเขามรณภาพ
ด้วยโรคมาลาเรียก็หลายองค์ ด้วยหลวงปูฝ่ ั้นทา่ นเปน็ พระท่มี ีพลังจิตท่แี กก่ ล้ารุนแรงมาก อนั เป็น
ผลจากสมาธิธรรมท่ีท่านได้บ�ำเพ็ญภาวนามาอย่างต่อเน่ืองประมาณ ๖ ปี เม่ือท่านเกิดอาการ
อาพาธในคราใด ท่านกจ็ ะบ�ำบดั รักษาดว้ ย “ธรรมโอสถ” ทกุ คร้ังไป

ในระหวา่ งทีห่ ลวงปู่ฝ้ันอาพาธอยูน่ น้ั แมจ้ ะมีไข้จับกต็ าม ทา่ นยงั ออกเดินบณิ ฑบาตทุกเชา้
เมอ่ื ถึงวนั ประชมุ ฟงั โอวาทจากหลวงปู่ม่ัน ท่านกไ็ ม่เคยย่อท้อ อุตสา่ ห์เข้าร่วมฟงั โอวาทโดยไมเ่ คย
ขาดเลยแมแ้ ตค่ รง้ั เดียว ยิง่ ไปกวา่ นนั้ การทำ� ข้อวัตรปฏิบัติตา่ งๆ ไมว่ ่าจะตกั นำ้� ปัดกวาดบรเิ วณวัด
ท�ำความสะอาดเสนาสนะ ทา่ นก็รว่ มท�ำกับพระเณรองค์อื่นๆ เสมอมิได้ขาด แม้จะมผี ู้นิมนตข์ อให้
ท่านหยุด ท่านก็ไมย่ อม ทา่ นกระท�ำตนเหมอื นมิไดป้ ่วยไขเ้ ลย โดยทา่ นใช้พลงั จติ เข้าต่อสู้กับเวทนา

51

ท่ีเกิดขึน้ จนได้อุบายวธิ ีที่ท�ำใหท้ ่านสามารถพลิกความป่วยไข้มาเปน็ ธรรมอริยสัจขน้ึ ได้ หลวงปู่มนั่
ถึงกับออกปากชมว่า “ท่านฝัน้ ไดก้ �ำลังใจมากนะ พรรษาน้”ี

เจา้ แม่นางอวั้ ใหพ้ ร

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เมื่อใกลจ้ ะออกพรรษา หลวงปูม่ ่นั ภูริทตโฺ ต ได้ประชมุ หมศู่ ิษย์พระเณร
เพื่อเตรยี มออกเทย่ี วธุดงคกรรมฐานหลังจากวนั ปวารณาออกพรรษาแลว้ โดยใหพ้ ระเณรหาท่วี ิเวก
เงียบสงบสงดั ตามปา่ ตามเขา ตามถ้�ำเงอ้ื มผา ตามปา่ ช้าปา่ รกชัฏ ตามหมู่บา้ นเลก็ ๆ เพื่ออาศัย
โคจรบณิ ฑบาต เพยี งได้อาหารมายงั ชีพ เพื่อปฏบิ ัตธิ รรม ซ่งึ ตามปฏิปทาของพระธดุ งคกรรมฐาน
สายท่านพระอาจารยม์ ัน่ ท่านจะสง่ เสรมิ ใหพ้ ระเณรออกเท่ยี วธุดงค์ในสถานท่ดี งั กลา่ ว หลงั จาก
ออกพรรษาเป็นประจ�ำทุกปี เพ่ือไมใ่ ห้พระเณรคุ้นเคยกับสถานท่ี ไมใ่ ห้คนุ้ เคยกบั ญาติโยม ท้งั น้ี
เพ่อื ประโยชนใ์ นการฝกึ ฝนอบรมทรมานจิตใจ

หลวงปูม่ ัน่ ได้แบ่งศษิ ย์ออกเป็นชดุ โดยจัด หลวงปู่กู่ ธมมฺ ทนิ โฺ น หลวงปู่อ่อน าณสริ ิ
และ หลวงป่ฝู น้ั อาจาโร ให้อยู่ในชดุ เดยี วกัน เพราะเห็นวา่ มีนิสยั ตอ้ งกัน สว่ นพระเณรนอกน้นั ก็
จดั เปน็ ชุดๆ อกี หลายชดุ แต่ละชดุ จะมีพระผูอ้ าวุโสที่สุดเปน็ หัวหน้า กอ่ นออกธดุ งค์หลวงปมู่ นั่ ได้
สั่งไว้ด้วยว่า แต่ละชุดให้เดินธุดงค์เลียบภูเขา ภาวนาวิเวกไปตามแนวภูเขาน้ัน และแต่ละชุดก็
ไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ งเดนิ ธดุ งค์เกาะกลุม่ ไปด้วยกนั ตลอด ระหว่างทางท่านใดอยากแยกไปพกั วิเวก ณ ท่ใี ด
เช่น ตามถำ้� ซง่ึ มอี ยตู่ ามทางที่ผา่ นกส็ ามารถทำ� ได้ เพยี งแตบ่ อกเล่ากนั ให้ทราบในระหวา่ งพระภิกษุ
ชดุ เดยี วกนั จะได้นัดหมายไปพบกันขา้ งหนา้ เพื่อเดินธดุ งค์ต่อไปได้อกี

เมอื่ ออกพรรษาแลว้ พระเณรแตล่ ะชุดตา่ งก็ออกธดุ งค์ตามท่ีตกลงกนั ไว้ หลวงปู่กู่ กับ
หลวงป่อู อ่ น ได้แยกไปทางพระพุทธบาทบวั บก อ�ำเภอบ้านผอื จงั หวดั อดุ รธานี สว่ น หลวงปู่ฝน้ั
ทา่ นมีนิสัยชน่ื ชอบออกเท่ียวธุดงค์ตามลำ� พงั ทา่ นได้ออกไปทางบา้ นนาบง ต�ำบลสามขา (ปจั จบุ นั
เป็นต�ำบลกองนาง) อ�ำเภอทา่ บ่อ จังหวัดหนองคาย แล้วไปภาวนาทวี่ ดั ร้างแหง่ หนง่ึ หลวงปฝู่ ้นั
พกั บำ� เพ็ญเพยี รอยทู่ ว่ี ัดร้างแหง่ นห้ี ลายวนั จึงออกเทีย่ วธุดงคต์ อ่ ไปโดยเดนิ เลียบไปกบั ฝัง่ แม่น�้ำโขง
ขนึ้ ไปทางเหนือ เขา้ ไปเขตอำ� เภอศรีเชยี งใหม่

วันหนึง่ ขณะทที่ ่านออกเดินไปจนคำ่� ไปพบศาลภตู า หรือศาลปตู่ า แห่งหนง่ึ อย่รู ิมฝั่งแม่น�้ำ
เปน็ ศาลากวา้ งคร่ึงวา ยาว ๑ วา สงู จากพ้ืนดนิ ประมาณ ๑ ศอก มงุ หลงั คาด้วยแผน่ ไมเ้ ล็กๆ คลา้ ย
แผ่นกระเบ้อื งเปดิ โลง่ ดา้ นหน้าและด้านข้างทง้ั สอง มฝี าผนังเฉพาะดา้ นหลังดา้ นเดยี ว หลวงปูฝ่ ้ัน
เหน็ วา่ ใกลจ้ ะค่�ำมืดแลว้ จงึ เข้าไปพกั ภาวนาท่ศี าลภตู าแหง่ นัน้ อย่จู นตลอดคืน

ตอนย่�ำรุ่ง พระอาทติ ย์จวนจะขึน้ แสงยังขมกุ ขมวั เห็นยงั ไมช่ ดั เจนดี กม็ คี นแจวเรอื มาจอด
ฝัง่ นำ�้ ตรงบรเิ วณทต่ี ง้ั ศาลภูตาแหง่ นั้น ชายคนแจวเรือยกมอื ประนม แล้วอธิษฐานดว้ ยเสียงอันดัง

52

ชดั เจนว่า “ขอให้เจ้าแมน่ างอว้ั บนั ดาลให้คา้ ขายดๆี ร่ำ� รวย อยเู่ ยน็ เปน็ สุข” หลวงปฝู่ ั้นเฝา้ มอง
ชายผู้น้นั อยแู่ ล้ว อดนกึ ข�ำไมไ่ ด้ จงึ ออกเสยี งแทนเจ้าแม่นางอ้ัว ไปว่า “เออ ! เอาซี” ท�ำเอา
ชายผ้นู ัน้ สะด้งุ ตกอกตกใจ แลว้ รบี แจวเรือหนไี ปอยา่ งลนลาน

เนอื่ งจากประเทศไทยในอดตี โบราณกาล มกี ารสรา้ งวดั ขนึ้ มากมาย อนั แสดงถงึ ความเจรญิ
รุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น ต่อมาเม่ือพระภิกษุประพฤติตนย่อหย่อนห่างเหินจาก
พระธรรมวินยั และหา่ งเหินจากขอ้ วัตรปฏิบัติ พระภกิ ษกุ ็เริม่ ร้างวัด และจ�ำนวนพระภิกษุกค็ อ่ ยๆ
ลดลง จงึ เกิดวดั ร้างขึ้นมามากมาย วดั รา้ งเป็นสถานทีว่ ิเวกเงียบสงดั เปล่าเปลีย่ วดูวังเวงนา่ กลวั
แต่กลับเป็นสถานที่ชื่นชอบของพระธุดงคกรรมฐานท่ีมุ่งแสวงหาโมกขธรรม พระกรรมฐานสาย
ทา่ นพระอาจารย์มน่ั เมอ่ื ธดุ งคไ์ ปเจอวัดรา้ ง จงึ นยิ มพกั แรมปักกลดปฏบิ ัตภิ าวนากนั ในบางแห่ง
ท่านกไ็ ด้กลบั ไปบรู ณปฏสิ งั ขรณเ์ ป็นวัดที่สมบรู ณเ์ จรญิ รงุ่ เรอื งขึน้ มา

เมอื่ เกิดพระร้าง วดั ร้าง ชาวบ้านขาดที่พึ่ง ขาดพระภกิ ษุคอยอบรมสงั่ สอน ก็ไมไ่ ด้นบั ถือ
พระรัตนตรยั เป็นท่พี ึง่ ก็หนั มานับถือผีสาง ต้นไม้ ภูเขาเลากา เป็นสิง่ ศกั ด์ิสทิ ธิ์ เปน็ ทพ่ี ึง่ ทางใจ
ทางภาคอสี านสมัยหลวงป่ฝู น้ั ออกเทย่ี วธดุ งค์ จงึ มศี าลภตู า หรอื ศาลปู่ตา เกิดข้นึ มากมายทั้งภาค
โดยชาวบ้านยึดถือเป็นส่ิงศักด์ิสิทธ์ิประจ�ำหมู่บ้านท่ีลงมาดูแลคุ้มครองช่วยเหลือชาวบ้าน ให้พ้น
จากภัยพิบัติ ใหอ้ ยสู่ ขุ สบาย ปราศจากโรคภยั ไขเ้ จ็บ เป็นท่ีพง่ึ สง่ เสริมขวัญและก�ำลงั ใจของคนใน
หมู่บา้ น ถ้าใครปฏบิ ัติดตี อ่ ศาลภูตาหรือผเี จา้ ท่กี ็ใหค้ ุณ โดยชาวบ้านจะมกี ารจดั พธิ บี วงสรวงดว้ ย
เหลา้ ขาว อาหารคาวหวาน หมากพลู บหุ ร่ี เปน็ ต้น หากปฏบิ ตั ิไมด่ หี รือไปลว่ งเกินผีกใ็ หโ้ ทษ

ด้วยชาวบ้านในสมยั กอ่ น โดยเฉพาะภาคอีสานนั้นเปน็ ภาคทแี่ หง้ แล้งอดอยากกนั ดารมาก
ความเป็นอยู่ตลอดการหาอยู่หากินของชาวบ้านก็ทุกข์ยากล�ำบากอยู่แล้ว ยังต้องแบ่งให้ผีกินอีก
ต่อมากองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้สร้างคุณูปการที่เป็น
คุณประโยชน์ในสงั คมไทยอยา่ งใหญ่หลวงยงิ่ ท่านได้เมตตามาโปรดชาวบา้ นให้เลกิ นับถอื ผี ให้
หันกลบั มานับถอื พระรตั นตรัยเปน็ ทพ่ี ึ่ง ซง่ึ หลวงปฝู่ น้ั ท่านเปน็ หนึ่งในกองทัพธรรม ทา่ นเป็นพระ
ทีม่ คี วามเมตตาธรรมสูงมาก ดงั น้ัน เมือ่ ทา่ นธดุ งค์ไปปฏบิ ัติธรรม ณ ทแ่ี ห่งใด ท่ีชาวบ้านนับถือผี
เป็นมจิ ฉาทิฐิ ท่านก็เมตตาโปรดสงเคราะหช์ าวบา้ น ณ ทแ่ี ห่งนั้น จนเลกิ นับถือผี หนั กลับมานบั ถือ
พระรตั นตรยั มากมายหลายหมู่บ้านดว้ ยกนั

ตามปรกติแลว้ วดั ร้าง หรือ ศาลปตู่ า เปน็ สถานทศ่ี ักดิ์สิทธิ์ซ่งึ ชาวบ้านท้ังให้ความเคารพ
และขยาดหวาดกลัว สว่ นใหญจ่ งึ ไมม่ ใี ครกลา้ เขา้ ไปพักคา้ ง แต่ส�ำหรบั หลวงปูฝ่ ้ันแล้ว เม่ือท่าน
ธดุ งค์มาเจอวดั ร้าง หรือศาลปูต่ า ดว้ ยท่านมีอ�ำนาจของศลี และอ�ำนาจของสมาธิธรรมคุ้มครอง

53

อีกทง้ั ท่านได้ไหว้พระสวดมนต์ เจริญเมตตาภาวนา และแผ่เมตตาจติ อทุ ิศสว่ นบญุ สว่ นกุศลเปน็
ปรกตปิ ระจ�ำทกุ คำ่� เชา้ ท่านจงึ อยพู่ ักค้างปฏิบตั ิภาวนาในสถานท่เี หล่านั้นได้อยา่ งผาสุกเย็นใจ

เหตกุ ารณเ์ จอเสือซึง่ ๆ หน้า

ออกจากศาลภูตาแลว้ หลวงปู่ฝ้ัน อาจาโร กเ็ ทย่ี วธุดงค์ตอ่ ไป และไดไ้ ปแวะพักท่ี วัดผาชนั
(ปจั จุบัน คอื วดั อรญั ญบรรพต อำ� เภอศรีเชียงใหม่ จงั หวดั หนองคาย วดั นอ้ี ยใู่ กลฝ้ ัง่ แม่นำ�้ โขง
เช่นเดียวกนั สรา้ งโดย หลวงปเู่ หรียญ วรลาโภ)

หลวงปู่ฝ้ันพกั อย่ทู ว่ี ัดผาชัน อยหู่ ลายวนั แล้วเดินขึ้นเหนอื เลยไปพักบรเิ วณหนิ หมากเปง้
อยอู่ กี ระยะหนึ่ง (ปัจจุบนั คอื วดั หนิ หมากเป้ง อ�ำเภอศรเี ชยี งใหม่ จงั หวัดหนองคาย วัดนอ้ี ยตู่ ดิ ริม
แมน่ ำ้� โขง สร้างโดยหลวงปเู่ ทสก์ เทสรฺ สํ ี) ออกจากหนิ หมากเป้ง หลวงปูฝ่ ้นั เดนิ ทางยอ้ นกลบั ไปพบ
หลวงปู่กู่ และหลวงป่อู ่อน ท่ีพระพทุ ธบาทบวั บก อ�ำเภอบา้ นผือ จงั หวัดอุดรธานี ตามที่
นัดแนะกนั ไว้ก่อนแยกทางกัน

หลวงปู่ฝั้นเดินทางมาถงึ บา้ นผกั บุ้ง ซึ่งอยเู่ ชิงเขาพระพุทธบาทบัวบก กท็ ราบว่าหลวงปู่
ท้ังสององค์ไดอ้ อกเดินธุดงค์ไปทางบ้านค้อ ซ่งึ อยูใ่ นท้องทอ่ี �ำเภอบา้ นผือเหมือนกัน หลวงปฝู่ ้นั จงึ
ปักกลดพกั ทีบ่ า้ นผักบงุ้ อยู่ ๕ วัน โดยหาสถานที่สงบสงัดปักกลดบ�ำเพญ็ เพียรอยู่ตามภเู ขาลูกนน้ั

ระหวา่ งที่ทา่ นพกั อยู่ในสถานทนี่ ี้เอง ได้มีเหตุการณ์ชวนใหข้ นพองสยองเกลา้ เกดิ ขึ้นอยา่ ง
ไม่คาดฝัน กล่าวคือ วันหนง่ึ เมือ่ หลวงปูฝ่ ัน้ เดนิ ข้ึนไปบนภเู ขาหาสถานทภ่ี าวนา ขณะท่ที ่านเดนิ ผ่าน
ราวปา่ แห่งหน่ึง ทา่ นถึงกับสะดุง้ เพราะได้ยินเสียงคล้ายสตั ว์กำ� ลงั ตะกยุ ดินอยขู่ า้ งทางด้านซา้ ยมือ
ดว้ ยสามญั ส�ำนึกบอกทา่ นวา่ จะต้องเปน็ สตั วใ์ หญ่ อาจเป็นสตั วร์ ้าย และคาดวา่ นา่ จะเป็นเสืออย่าง
แน่นอน เพียงนึกว่าเสือเท่าน้ัน ท่านถึงกับยืนน่ิงตัวแข็ง เพราะมันอยู่ใกล้กันเหลือเกิน
จะวา่ อยู่ประชิดตัวท่านก็ว่าได้ ทนั ใดน้ันเอง เจ้าของเสียงก็โผลห่ วั ข้นึ มาพ้นจากกอหญ้าอนั รกทบึ
ขา้ งทางนั้น มนั เปน็ เสอื จริงๆ และกเ็ ปน็ เสือโครง่ ลายพาดกลอน เห็นเพยี งหวั กร็ ูไ้ ดว้ ่าไม่ใช่ตัวเลก็ ๆ
เป็นเสือขนาดใหญม่ ากตวั หน่งึ

เม่ือหลวงป่ฝู ้ันเจอเสอื ประจันหนา้ อยา่ งซึง่ ๆ หนา้ และไม่เคยเจออยา่ งนีม้ าก่อน ท่านถงึ กับ
ยนื ตกตะลึงและเย็นวาบไปตามไขสนั หลงั เหง่ือเม็ดโป้งๆ ผุดขนึ้ ตามใบหน้าของท่าน ท้งั ๆ ท่อี ากาศ
ก็ไม่ได้ร้อนอะไรเลย ความรสู้ กึ ของทา่ นบอกโดยฉบั พลนั ว่า ถา้ ท่านหันหลังว่ิงหนี จะต้องเสร็จมนั
อย่างแน่นอน เพียงมนั กระโจนเข้าใส่ครั้งเดยี วก็ถงึ ตัวแล้ว ทา่ นจงึ ยนื สงบนงิ่ พยายามสำ� รวมจิตใจ
ให้ตั้งมัน่ ให้มสี ติ เพอ่ื รบั สถานการณ์ทเี่ กดิ ขึน้ อย่างกะทันหันรวดเร็ว แต่กท็ �ำไดไ้ มส่ ะดวกเหมือนใน
ภาวะปกติธรรมดา ลมหายใจมนั ตดิ ๆ ขัดๆ ดว้ ยไมร่ จู้ ะทำ� อะไร ท่านกไ็ ด้แตย่ นื น่งิ ตวั แข็งทอ่ื นึก

54

บรกิ รรมพทุ โธและจ้องมองมนั หากใครเจอเหตุการณ์เชน่ นแี้ ล้ว ถา้ ไม่มสี ตแิ ล้วก็จะตกใจกลวั อยา่ ง
สุดขีดและหันหลงั ว่งิ หนีอย่างสุดชวี ติ ซึ่งจะตอ้ งตกเปน็ เหยื่อของมันทนั ที

นบั ว่าหลวงปู่ฝัน้ ท่านตัดสินใจรับสถานการณ์อันเส่ยี งต่อความตายนีไ้ ดอ้ ย่างถูกต้อง ทาง
ฝา่ ยเสอื กจ็ ้องมองดทู า่ นอย่างไมล่ ะสายตาเช่นเดยี วกัน แต่เพยี ง ๒ – ๓ อึดใจ มันก็ค�ำรามลั่นป่า
แลว้ กระโจนหายวับไปตอ่ หนา้ ตอ่ ตา ท่านจงึ คอ่ ยหายใจโลง่ และกลบั มาเปน็ ปกติ บรรดาพระเณรท่ี
อยูข่ า้ งล่าง เมอื่ ไดย้ ินเสยี งรอ้ งค�ำรามของเสอื อยา่ งผิดสังเกต ต่างจงึ พากันว่งิ กรขู นึ้ เขามา พร้อมกบั
ตะโกนถามว่าเกดิ อะไรขึน้ เมอ่ื ทราบเรอื่ งราวทีเ่ กดิ ขน้ึ แลว้ ว่า ท่านไมเ่ ปน็ อะไร ทุกองค์ต่างก็รสู้ ึก
โลง่ อกโลง่ ใจไปตามๆ กัน

เหตกุ ารณท์ ี่หลวงปูฝ่ ั้นทา่ นเจอเสอื ซึ่งๆ หน้าในคร้งั น้ี เปน็ เหตุการณ์ทนี่ า่ สะพรึงกลัวมาก
และอาจเข้าขั้นถงึ กบั เสียชีวิตลงได้ แตห่ ลวงปู่ฝ้ันทา่ นกลบั รอดชีวติ มาได้ เปน็ เครอื่ งยืนยนั ได้ถึง
วาสนาบารมีธรรมของหลวงปฝู่ ัน้ ทีจ่ ะตอ้ งบรรลธุ รรมเป็นพระอรหันต์ในปัจจบุ ันชาติได้เป็นอย่างดี
และท่ีส�ำคัญ ย่อมแสดงให้ท่านและพระเณรได้เห็นประจักษ์ชัดและยิ่งท�ำให้เชื่อม่ันในพระธรรม
ค�ำสอนบททว่ี ่า “ธมฺโม หเว รกขฺ ติ ธมมฺ จาริํ” ธรรมย่อมรกั ษาผูป้ ระพฤติธรรม มากยิง่ ๆ ขนึ้ ดังท่ี
หลวงป่ฝู น้ั เทศน์ไวด้ งั น้ี

“ธมโฺ ม หเว รกขฺ ติ ธมฺมจาริํ สัตว์อาศยั ซึง่ ธรรม ธรรมอาศยั ซง่ึ สตั ว์ ถา้ สตั ว์ปฏิบตั ธิ รรมดี
ธรรมกน็ ำ� ความดใี หแ้ กพ่ วกเรา

ถ้าเราปฏิบัตดิ ี ประพฤติดี ธรรมกน็ ำ� คณุ ความดใี ห้ น�ำความสขุ ความเจรญิ ให้
ถ้าเราปฏบิ ัติไม่ดี ทำ� ไมด่ ี ธรรมกน็ ำ� ไม่ดีให้ในปัจจบุ ันและเบ้อื งหน้า
นี่ล่ะ บุญกศุ ล ท่ีเราไดท้ ำ� อย่างนีเ้ รยี ก ปฏปิ ัตตบิ ูชา บชู าอยา่ งเลศิ อย่างประเสรฐิ แท้”

ทา่ นสอนคนกลวั ผีใหภ้ าวนาจนจิตมอี ภญิ ญา

หลวงป่สู วุ ัจน์ สุวโจ บนั ทกึ ไว้ดงั น้ี
“สมัยกอ่ นท่านไปพักภาวนาจ�ำพรรษาอยู่ที่ใด ท่านให้ท�ำทพี่ ักอาศัยชัว่ คราว ไมส่ ร้างต้งั เปน็
วัดเป็นวาอยปู่ ระจ�ำเหมอื นอยา่ งพระทุกวนั นี้ ทา่ นมิอยูต่ ดิ ถน่ิ ตดิ ฐาน อยากไดเ้ ป็นสมภารแยง่ วัด
แย่งวากัน ท่านท�ำตัวเหมือนนกที่มแี ตป่ ีก บนิ ไปจบั ท่ใี ดไมม่ ีรอยเทา้ ฉนั น้ัน
เท่าทส่ี ังเกต พระอาจารย์ฝั้น ท่านไปพักอยู่ท่ีไหน เมือ่ มคี นไปกราบนมสั การ หรือท�ำบุญ
ให้ทานอยา่ งไรก็ตาม ปกติทา่ นตอ้ งเทศน์อบรมส่ังสอนทั้งเดก็ เลก็ หนุม่ สาว ปานกลาง คนใหญ่
ผู้เฒ่าผแู้ ก่ ท่านสอนทุกรายไปไมเ่ ลือก ใหร้ ้จู ักคณุ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณมารดาบิดา
ครูอาจารย์ ใหห้ มนั่ กราบไหวพ้ ระ ภาวนาระลึกเอาคุณพระพทุ ธเจา้ พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นท่ี

55

พึ่งทางใจของเรา ท่านอธิบายให้ผู้ฟังส�ำรวมจิตตภาวนา ท�ำสมาธิไปด้วย จากน้ันท่านก็ให้นึก
บริกรรมค�ำภาวนาวา่ พทุ โธๆๆๆๆ ค�ำเดียว ท�ำจติ ให้สงบเบาสบาย หายทุกข์ หายยากล�ำบาก
รำ� คาญ ไมฟ่ งุ้ ซ่านวนุ่ วาย เยน็ สบายในอกในใจ ทกุ คนตดิ อกติดใจ เกิดมีความเลอื่ มใสในองค์ทา่ น
เคารพฝังแนน่ อยใู่ นใจจนตลอดชีวติ ...

มตี อนหนึ่ง ท่านอาจารย์ฝั้น ได้เล่าใหผ้ ้เู ขียน (หลวงปู่สวุ ัจน)์ ฟังวา่ ทา่ นได้ออกธดุ งค์
ไปทางอ�ำเภอบา้ นผือ จงั หวดั อดุ รธานี ได้ไปพักบ�ำเพ็ญภาวนาอย่ทู ป่ี า่ ระหว่างบา้ นแห่งหนึ่ง เปน็
บ้านหนองกอง หรอื อะไรน้แี หละ ถ้าผเู้ ขยี นจำ� ไมผ่ ิด

บรเิ วณปา่ ทพ่ี ระธดุ งค์มาพักภาวนา เดิมเป็นเสนาสนะปา่ บ้านหนองกอง ในกาลตอ่ มาได้
สร้างเป็นวดั ถาวรในพระพุทธศาสนา คือ วดั ป่าบา้ นหนองกอง ความสำ� คัญของวัดแห่งนเ้ี คยเป็น
วดั ทที่ า่ นพระอาจารยม์ น่ั ธุดงคม์ าปฏบิ ตั ธิ รรม เมื่อท่านพระอาจารย์มัน่ ธดุ งค์จากไปทีอ่ นื่ ภายหลงั
มีพระศษิ ย์ขององค์ทา่ นไดจ้ ารกิ มาพกั เพ่อื บ�ำเพ็ญภาวนา ณ เสนาสนะป่าแห่งนเ้ี ป็นประจ�ำมิไดข้ าด
ดังเชน่ หลวงปู่หล้า ขนฺติโก (วดั ป่าบา้ นนาเกน็ อ.น�้ำโสม จ.อุดรธาน)ี หลวงปู่ฝ้ัน อาจาโร เปน็ ต้น
จงึ นับเป็นสถานท่ีมงคลแหง่ หน่ึง ชาวบา้ นหนองกองจึงไดพ้ ร้อมใจกันพัฒนาให้กลายเปน็ วดั ขึน้ มา
แตก่ ็ไม่มพี ระอย่เู ป็นประจ�ำ จงึ ไดม้ าขอพระจากหลวงปขู่ าว อนาลโย ซึง่ ท่านได้มอบใหห้ ลวงปู่
เพียร วิรโิ ย มาเปน็ เจา้ อาวาส

ในบ้านนนั้ มีผ้หู ญงิ วัยกลางคนคนหน่งึ ชอื่ นางค�ำภู เธอมคี วามเลื่อมใสในพระอาจารยฝ์ ้นั
ได้ออกไปท�ำบุญและฟังธรรมท่านพร่�ำสอนทุกวัน เธอมีนิสัยเป็นคนกลัวผีหลอกมาก เวลาค่�ำคืน
ถา้ ไดย้ นิ เสยี งอะไรผิดแปลก ก็เกดิ สะดงุ้ หวาดกลวั ว่า ผหี ลอก พระอาจารย์ท่านพยายามสอนให้เธอ
นั่งภาวนา เธอไม่กล้าน่ังภาวนา โดยคิดว่า “ถ้าเราน่ังแล้วเกิดเห็นผีปรากฏขึ้นมา เดี๋ยวเป็นบ้า
เพราะรักษาจิตไม่อย”ู่ ท่านสอนเท่าไรกไ็ ม่อยากจะท�ำ ท่านอาจารยก์ ็พยายามสอนทุกวัน อยู่มา
วนั หนง่ึ เธอตัดสนิ ใจนั่งภาวนาทดลองดู

“พระอาจารย์ท่านมีความเมตตา ได้มาอยู่ส่ังสอนอนุเคราะห์เรา ท่านสอน ชวนให้เรา
ไหว้พระแล้ว น่ังภาวนาทุกวันๆๆ เป็นอะไรก็ให้มันรู้ไป คืนนี้แหละ เราต้องนั่งภาวนาให้ได้”
ค่ำ� คนื นน้ั เธอเข้าหอ้ งสวดมนตไ์ หว้พระ สวดมนตแ์ ผ่เมตตาตน เมตตาสัตว์ แลว้ เร่มิ อธษิ ฐานจติ
คดิ บรกิ รรมท�ำภาวนา ระลึก พุทโธ ธัมโม สังโฆ, พทุ โธ ธมั โม สงั โฆ, พทุ โธ ธมั โม สังโฆ ๓ จบ
แลว้ ใหร้ ะลึกถึง พทุ โธๆๆๆ คำ� เดยี ว เธอมีความเพียรอดทนนั่งได้นานพอสมควร เวลาออกจาก
สมาธิแล้ว เธอรสู้ กึ มคี วามสบาย เบากายเบาใจ ต้ังแต่วันน้ันมา เธอกน็ ั่งภาวนาตอ่ ๆ มาทุกวัน

วนั หน่ึงเธอน่งั ภาวนาไปสักพกั หนง่ึ จิตก็เรม่ิ สงบรวมลงไปสักหนอ่ ย กเ็ กดิ นิมติ เห็นคนตาย
นอนอยู่ตรงหนา้ นกึ กลัว พอเตรยี มตวั จะลุกข้นึ ผีก็เล่อื นมานอนทบั ขาอย่บู นตักไว้ ลุกขึ้นไม่ได้

56

จนใจจะหาวธิ ีคดิ แกไ้ ขได้ ในทนั ทีทนั ใดน้นั เอง ผกี ็กลบั กลายหายเข้าไปในร่างตัวของเธอเอง เกิดมี
ความสว่างไสว มองเห็นหัวใจของเธอเองสว่างไสวใสสะอาด เธอสามารถเห็นจิตใครๆ เปน็ อย่างไร
เธอรู้หมด รู้ถึงใจของสัตว์เดรัจฉาน ตลอดถึงวิญญาณของสัตว์ในกามภูมิ จิตที่เคยมีความกลัว
กลบั หาย กลายมาเป็นจติ กลา้ หาผีตัวไหนท่ีจะก่อกวนหลอกให้หลงกลัวไม่มอี กี แล้ว เธอมีความ
สงบสขุ สบาย เอบิ อิม่ อยดู่ ้วยความปตี ิตลอดคืน

พอรุ่งเชา้ วันใหม่ เวลาตอนบา่ ย เธอออกไปฟงั เทศน์ของพระอาจารย์เช่นเคย ทา่ นพระ–
อาจารย์ ได้สังเกตอากัปกิริยาต้ังแต่เห็นเธอเดินเข้ามา มีหน้าตาเบิกบานเปล่งปล่ัง มีสติส�ำรวม
น่ิมนวลนอบน้อม ตาแหลมคม จิตเที่ยงตรงองอาจ กิริยาท่าทางผิดเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนมาก
เวลาน้ันท่านอาจารย์เป็นไข้ มีอาการไม่สบายมาก แต่ท่านพยายามท�ำใจให้เข้มแข็ง แสดง
เหมือนกับท่านไม่ได้เป็นอะไร ออกมาน่ังพูดจาปราศรัย แล้วแสดงธรรมปฏิสันถารเหมือนปกติ
พอทา่ นหยุดแสดงธรรม นางคำ� ภูผูร้ จู้ ติ ใจของผู้อ่ืนกพ็ ดู ขึน้ ว่า “แหม ! ดอกบัวของครูบาอาจารย์
วนั นี้ คอื เหย่ี วหลายแท้” (ดอกบวั หมายถงึ หวั ใจ)

“เป็นความจรงิ หรือ โยมรจู้ กั จติ ใจอาตมาไดอ้ ย่างไร ?” ท่านอาจารยร์ บี ถามเพราะแปลกใจ
“จรงิ ค่ะ ท่านอาจารย์เปน็ อย่างน้ันจริงๆ ดิฉันรู้ไดแ้ ละเหน็ ไดด้ ้วยใจของดฉิ นั เอง ถงึ ใคร
ไมบ่ อกก็ร้ไู ด”้ แม่คำ� ภูตอบ
“จิตใจมนั เป็นอยา่ งไร ก่อนทจ่ี ะไดเ้ กดิ ความรู้ ความเหน็ แจ้งจรงิ ประจกั ษข์ ้ึนมาไดอ้ ยา่ งนี้
ไหนลองเลา่ ให้อาตมาฟังซิ”
นางค�ำภจู ึงไดเ้ ลา่ เร่อื งท่เี ธอภาวนาปรากฏเป็นนมิ ิต เหน็ ผีนอนตายอยตู่ รงหนา้ ดงั กลา่ วมา
แล้วข้างต้นจนตลอด ให้ท่านอาจารย์ทราบแล้ว ท่านพระอาจารย์ฝั้น ก็ได้เทศน์อธิบายต่อเติม
สง่ เสริมให้มีกำ� ลงั ใจ ให้มสี ติ รักษาจิตใจตัง้ มั่นอยใู่ นสมาธิอยา่ งม่ันคง อยา่ ให้หลงไปตามอารมณ์
สัญญาวปิ ลาส เคล่อื นคลาดจากสมาธิ สติ ปญั ญา ใหน้ ้อมจติ เข้ารู้ตัวอย่เู สมอ ท่านอาจารย์แสดง
ธรรมจบแล้ว โยมค�ำภจู งึ ไดก้ ราบลากลบั บ้าน
ท่านพระอาจารย์ฝั้น คิดอยากจะลองจิตโยมค�ำภูดูอีกครั้ง จึงได้เร่งประกอบความเพียร
ภาวนา ตั้งสติรักษาจิตให้สงบ พอจิตรวมสงบระงับดับทุกข์จากการเป็นไข้ได้แล้ว จิตมีความ
สว่างไสว ปลอดโปรง่ เบาเนื้อเบาตัว สบายเปน็ ปกตแิ ลว้ พอรงุ่ ขึ้นวนั ใหม่ เวลาบา่ ยนางคำ� ภู
ก็ออกมาฟงั เทศนข์ องพระอาจารยอ์ กี วันน้ีท่านพระอาจารยน์ อนคลมุ ผา้ ท�ำทา่ ไมอ่ ยากจะลุกมา
ตอ้ นรับ นางค�ำภมู าถงึ แลว้ กราบและน่ังอยู่สักครหู่ นงึ่ ช�ำเลอื งตามองสอ่ งไปยงั ท่านพระอาจารย์
อย่างแสดงให้เห็นว่า มีความเคารพและเลอ่ื มใสอย่างสดุ อกสดุ ใจ แล้วกล่าวคำ� อทุ านพดู ข้ึนมาว่า
“ดอกบัวของทา่ นอาจารยว์ นั น้ี คอื มาบานดีหลายแท้น้อ”

57

ทา่ นพระอาจารย์ฝน้ั นกึ ชมอยูใ่ นใจวา่ โยมค�ำภูนี้ภาวนาเก่งจริง ท�ำความเพียรภาวนา
ไดด้ ี จนจิตมอี ภิญญาแตกฉาน สามารถฉลาดรอบรู้จิตใจของผอู้ ื่นและสัตว์อ่นื ไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ งตาม
ความเปน็ จริง น้อยนักน้อยหนาคนที่จะปฏิบัตภิ าวนาไดอ้ ย่างน้ี หาไดโ้ ดยไมง่ า่ ยนักเลย”

ใชธ้ รรมโอสถรกั ษาอาพาธอีกครั้ง

ชวี ิตของพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารยม์ ่นั ท่ีมุง่ แสวงหาโมกขธรรม เต็มไปด้วย
ความทุกข์ยากลำ� บาก ทา่ นตอ้ งอดทนสมบุกสมบนั มาก ต้องตรากตร�ำ ทนตากแดดตากฝน ต้องทน
ตอ่ ทกุ สภาพอากาศทงั้ ร้อน ทัง้ ฝน และทง้ั หนาว ในบางครง้ั เทยี่ วธดุ งคไ์ ปในสถานท่ที ุรกันดาร
แรน้ แค้น ไมม่ ีบ้านเรือนผคู้ น กไ็ มไ่ ด้อาหารมาขบฉัน ได้แต่ฉนั น�้ำเปลา่ ๆ เพื่อประทงั ชวี ติ แมม้ ี
อาหาร ทา่ นกต็ ้องอดอาหาร ผอ่ นอาหาร เพอ่ื การปฏบิ ัติธรรม ในบางคร้ังไปเจอสตั วป์ า่ สตั ว์รา้ ยก็
ตอ้ งเสีย่ งเป็นเสี่ยงตายกนั ตอ้ งเปน็ ไปตามบญุ ตามกรรม ถงึ ข้ันยอมสละตายก็มี เม่ือทา่ นเจบ็ ไข้
ล้มปว่ ยก็ไมม่ หี ยกู ยารักษา ทา่ นก็อาศัยธรรมโอสถ ดังนัน้ ครบู าอาจารย์แต่ละองค์กว่าทา่ นจะรอด
ตายจากปา่ ทา่ นปฏบิ ตั ิธรรมจนบรรลธุ รรม แลว้ น�ำธรรมมาสัง่ สอนโลก ชีวิตของท่านจงึ นับเปน็
ชีวิตเดนตาย ทา่ นสมกับเปน็ “นักรบธรรมเดนตาย” อย่างแท้จริง

ในชวี ติ พระธดุ งคกรรมฐานของ หลวงปู่ฝน้ั อาจาโร ท่านก็ผ่านชวี ติ เดนตายน้ีมา โดย
ในช่วงท่หี ลวงปฝู่ ้ัน ทา่ นออกเทีย่ วธดุ งคกรรมฐานในพรรษาแรกๆ ทา่ นยงั เปน็ พระภิกษหุ นุ่มแน่น
อายรุ าว ๒๒ – ๒๖ ปี ร่างกายของทา่ นแข็งแรง กระฉับกระเฉง ท่านเทยี่ วธุดงคป์ ีนข้ึนเขาลงเขา
บกุ ปา่ ฝ่าดง ขา้ มล�ำห้วยลำ� ธาร ไดอ้ ยา่ งคล่องแคล่ว แต่ด้วยสมัยนนั้ สภาพผนื ป่าเป็นปา่ เป็นดงจรงิ ๆ
ไขป้ ่าจึงชกุ ชุมมาก การเจ็บไขไ้ ด้ป่วยจึงเป็นเรอื่ งธรรมดา หลวงป่ฝู นั้ ท่านเองเม่อื เจบ็ ไขไ้ ด้ปว่ ย เปน็
ไข้ป่าอาพาธหนกั กห็ ลายครัง้ ท่านก็ใช้ธรรมโอสถรักษาอาพาธทุกครั้งไป เทา่ ทผ่ี ่านมาคร้งั แรกกม็ ี
ป่วยเปน็ ไข้หวัดใหญ่ ทา่ นไดอ้ ุบายธรรมจากหมาแทะกระดกู ควาย ครั้งที่สองท่านเป็นไขม้ าลาเรยี
ตลอดพรรษาแรกชว่ งจำ� พรรษาอยู่วดั อรัญญวาสี อ�ำเภอท่าบ่อ จงั หวดั หนองคาย ทา่ นกร็ ักษา
อาการไขด้ ว้ ยการใช้พลงั จิตท่ีแกก่ ลา้ เพง่ ระงบั เวทนา ครั้งทส่ี ามชว่ งไปโปรดนางคำ� ภู ผ้กู ลวั ผี
ภาวนาจนจิตมอี ภญิ ญา และครั้งนี้เปน็ การอาพาธคร้งั ทีส่ ่ี ท่านก็ใชธ้ รรมโอสถรักษาอีกครงั้ ดังนี้

ในช่วงหลังออกพรรษาแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังจากท่ี หลวงป่ฝู ้ัน ธดุ งค์ไปหลายแห่ง
ตามทกี่ ลา่ วมา ทา่ นไดอ้ อกติดตามหลวงป่มู ัน่ โดยหลวงปสู่ ุวัจน์ สุวโจ บันทึกไวด้ ังนี้

“ท่านมาบ�ำเพญ็ ทำ� ความเพยี รพกั อย่ทู ่ีนั่นนานพอสมควรแล้ว ทา่ นมีความระลึกถึงพระ–
อาจารย์ของท่าน (พระอาจารย์มนั่ ภรู ิทัตตะมหาเถระ) จงึ ได้ธุดงค์เดนิ ย้อนกลบั มาทางวดั อรญั ญ–
วาสี ท่ีได้จ�ำพรรษาอย่อู �ำเภอท่าบอ่ จงั หวัดหนองคาย พอเดนิ ทางมาถงึ วัดอรัญญวาสีปรากฏวา่
พระอาจารย์มนั่ ได้ออกเดินทางไปทางอำ� เภอวาริชภมู ิ จงั หวัดสกลนครแล้ว และได้พ�ำนกั อยูท่ ่ี

58

บ้านหนองลาด ท่านพระอาจารย์ฝัน้ เดนิ ธุดงคต์ ามไปทบี่ ้านหนองลาด เมื่อถงึ บา้ นหนองลาดก็ไป
ไมท่ นั อกี เพราะท่านพระอาจารยม์ ั่นไดเ้ ดินทางตอ่ ไปถงึ บ้านสามผงแล้ว ท่านจงึ ติดตามตอ่ ไป”

สาเหตทุ ีท่ า่ นไปไมท่ ัน เพราะพอไปถงึ อำ� เภอสวา่ งแดนดิน จงั หวัดสกลนคร ท่านก็เกดิ
อาพาธข้นึ อกี การเดินทางจงึ ชา้ ลง และทา่ นมาทราบภายหลงั วา่ ทา่ นพระอาจารย์เก่ิง อธิมตุ ฺตโก
และ ท่านพระอาจารย์สลี า อสิ สฺ โร ไดม้ ากราบอาราธนานมิ นตห์ ลวงปู่ม่นั ไปอยู่เสนาสนะปา่ –
บ้านสามผง อ�ำเภอทา่ อุเทน (ปจั จุบนั อยู่ในเขตอำ� เภอศรสี งคราม) จงั หวดั นครพนม

หลวงปู่ฝ้ันได้พยายามธดุ งคต์ ิดตามไปจนพบหลวงป่มู น่ั แตอ่ าการอาพาธของท่านก็ยงั ไม่
หายดี หลวงปูม่ ่นั จงึ ใหท้ า่ นนั่งภาวนาพจิ ารณาดูภายในร่างกายตลอดคืน เป็นทนี่ า่ อัศจรรย์ จติ ของ
ท่านสว่างไสวจา้ ข้นึ มาในคนื นั้น พอรุ่งเช้าอาการอาพาธของท่านก็หายไปราวปลิดท้งิ ทางดา้ น
ร่างกายก็กลับมาสดชน่ื แข็งแรง กระปร้กี ระเปรา่ ส่วนทางดา้ นจิตใจก็เจริญและเข้มแข็งยง่ิ ๆ ข้นึ ไป
สมาธธิ รรมก็แนน่ หนาม่นั คงมากขน้ึ ทา่ นไดก้ �ำลังใจเป็นอนั มาก ทงั้ จากอบุ ายพิจารณาทีห่ ลวงปมู่ ั่น
เมตตาชีแ้ นะให้และจากการใช้ธรรมโอสถระงบั อาพาธทุกครงั้ ไป ทา่ นจงึ ตง้ั ใจวา่ ในปีตอ่ ไปท่านจะ
ขออยจู่ �ำพรรษากับหลวงปู่มัน่ ผู้เป็นพอ่ แมค่ รูอาจารย์ เพื่อขออยู่ศึกษาปฏิบตั ธิ รรม พรอ้ มท้งั รบั ฟงั
พระธรรมเทศนาและกราบขอคำ� ช้ีแนะจากทา่ นต่อไป

59

ภาค ๕ กองทพั ธรรมเคลือ่ นสอู่ บุ ลราชธานี

เข้ารว่ มพิธญี ตั ตกิ รรม

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ชว่ งก่อนเขา้ พรรษา หลวงปู่ฝ้นั อาจาโร ทา่ นไดพ้ กั ปฏิบัติธรรมกบั
หลวงปู่ม่ัน ภรู ทิ ตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ ที่เสนาสนะป่าบ้านสามผง อำ� เภอท่าอเุ ทน จงั หวัด
นครพนม ในระหวา่ งนไี้ ด้เกิดเหตกุ ารณก์ ารประกาศธรรมชนดิ พลกิ แผ่นดนิ ทบ่ี า้ นสามผง ซ่งึ เปน็
เชน่ เดยี วกบั เหตุการณพ์ ลกิ แผ่นดินทบี่ ้านม่วงไข่ ในคราวท่ีมพี ระทงั้ วัดม่วงไข่ รวมท้งั หลวงปฝู่ ั้น
ขณะเปน็ พระมหานิกาย ออกธดุ งคต์ ดิ ตามหลวงป่มู น่ั และต่อมาขอญัตตเิ ป็นธรรมยุต ท�ำใหช้ อื่ เสียง
ของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสโี ล และ ท่านพระอาจารยม์ ัน่ ภรู ทิ ตโฺ ต พร้อมทงั้ กิตตศิ พั ท์
ของกองทพั ธรรมพระธดุ งคกรรมฐาน ลอื เล่ืองกระเดอื่ งไกล จนเปน็ ท่ีอัศจรรย์ร่�ำลอื ของผู้คนใน
แถบน้ัน ถึงกับว่า ทา่ นพระอาจารยท์ งั้ สององคเ์ ป็นพระผู้วิเศษทีท่ �ำใหพ้ ระดงั ถึงสามองคย์ นิ ยอม
ถวายตวั เปน็ ศิษยไ์ ด้ กล่าวคือ

พระคณาจารย์ใหญ่ในฝ่ายมหานิกายที่ปฏิบัตดิ ี ปฏบิ ัติชอบ มชี อ่ื เสยี งโดง่ ดงั มากในสมยั นั้น
ไดแ้ ก่ ทา่ นพระอาจารยเ์ กิ่ง อธมิ ุตตฺ โก ท่านพระอาจารย์สลี า อสิ ฺสโร ท่านท้ังสองเป็นเพื่อน
สหธรรมิกกัน ตา่ งเป็นพระเถระทมี่ ีอายุพรรษามากแลว้ และกเ็ ป็นพระอุปชั ฌายท์ ่ศี รทั ธาญาติโยม
ให้ความเคารพนบั ถอื มาบวชกับท่านมากมาย ภายหลังท่านท้ังสองไดย้ ินชือ่ เสียงกติ ติศพั ท์ กิตติคณุ
ของทา่ นพระอาจารยเ์ สาร์ ทา่ นพระอาจารย์ม่นั จึงชกั ชวนกนั มาฟังธรรมและอยศู่ ึกษาอบรมกบั
พระปรมาจารย์ใหญ่ท้ังสอง เมื่อตา่ งได้เห็นแนวปฏปิ ทาพระธดุ งคกรรมฐานที่พระปรมาจารยใ์ หญ่
ทงั้ สองพาดำ� เนนิ เปน็ ปฏปิ ทาทแี่ น่วแนแ่ ละตรงตอ่ ความพ้นทุกขอ์ ยา่ งแท้จรงิ ทา่ นท้ังสองจงึ เกดิ
ความเคารพเลื่อมใสศรัทธาเปน็ อนั มาก โดยยอมมอบกายถวายชีวติ และขอกราบถวายตวั เป็นศิษย์
อีกท้งั ต่อมาได้กราบขอญัตติเปน็ ธรรมยุตพร้อมด้วยพระศิษย์อกี จำ� นวนมาก ซึ่งหลวงปมู่ ัน่ ท่านก็
เมตตาอนุญาตให้ญตั ติ ดังนี้

พอใกลเ้ ขา้ พรรษาในเดือน ๗ มกี ารญัตติเป็นธรรมยตุ ถงึ ๓ ครั้ง คอื ในวันที่ ๑๙ มิถนุ ายน
พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้มพี ธิ ญี ัตตกิ รรมเป็นธรรมยตุ ของท่านพระอาจารย์เกง่ิ อธมิ ุตตฺ โก พร้อมท้ังพระ
ภิกษุสามเณรที่เปน็ ศิษยข์ องท่านประมาณ ๒๐ รปู ณ อทุ กกุ เขปสีมา หรืออุทกสมี า (โบสถ์นำ�้ )
อยู่กลางหนองบ้านสามผง จัดเปน็ พิธีญัตตกิ รรมคร้งั ใหญ่มากคร้ังหน่งึ ในจ�ำนวนพระเณรทีม่ าท�ำ
การญตั ติกรรมนี้ มสี ามเณรสิม วงศ์เข็มมา หรอื ตอ่ มา คอื หลวงปสู่ มิ พุทฺธาจาโร รวมอยู่ด้วย
และตอ่ มาในวันที่ ๒๒ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ทา่ นพระอาจารยส์ ีลา อิสฺสโร ก็ไดญ้ ตั ติเป็นธรรมยุต

60

หลงั จากพิธีญตั ติกรรมครงั้ นนั้ เพยี งไมก่ ว่ี นั ในวันท่ี ๒๖ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ทา่ นอาญา–
ครดู ี แหง่ วดั โพธช์ิ ัย หรือวดั มว่ งไข่ อ�ำเภอพรรณานคิ ม จงั หวดั สกลนคร กเ็ ดินทางมาขอญัตตเิ ปน็
พระธรรมยุตอกี รปู หน่งึ ทำ� พิธี ณ โบสถ์น้�ำแห่งเดียวกันน้ี

การท�ำญัตติกรรมครง้ั น้ีได้ไปอาราธนานิมนต์ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนธฺ ุโล)
ครัง้ ยงั เป็น พระครชู ิโนวาทธ�ำรง เจ้าอาวาสวัดโพธสิ มภรณ์ อำ� เภอเมือง จงั หวดั อดุ รธานี มาเปน็
พระอปุ ัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนตฺ ยาคโม เปน็ พระกรรมวาจาจารย์ และ ท่านพระ–
อาจารย์มหาป่ิน ปญฺ าพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยมีท่านพระอาจารย์มน่ั ภรู ิทตโฺ ต
นง่ั หัตถบาส รวมอย่ใู นหมสู่ งฆ์คร้ังน้ันด้วย ส�ำหรบั หลวงป่ฝู ้ัน ท่านก็ได้เขา้ ร่วมในพิธี โดยทา่ นร่วม
เปน็ พระนั่งอันดับดว้ ย

สำ� หรบั อุทกกุ เขปสมี า (อ่านว่า อุทะกกุ ะเขปะสมี า) หรือ โบสถน์ ้�ำทีพ่ ระท่านจัดสรา้ งขน้ึ น้ี
ใชเ้ รอื ๒ ลำ� ลอยอยู่กลางนำ�้ เป็นโปะ๊ เอาไมพ้ ืน้ ปูเป็นแพ แต่ไมม่ หี ลงั คาใชเ้ ปน็ ทปี่ ระกอบพิธี เหตทุ ่ี
ตอ้ งสรา้ งอุทกุกเขปสมี าเพ่ือทำ� สังฆกรรมคราวนี้ เพราะวา่ ในป่าห่างไกลบ้านเมอื งเช่นน้ัน จะหา
โบสถ์ท่ถี ูกตอ้ งตามพระวนิ ยั ไม่ได้ จึงต้องสรา้ งโบสถ์น้�ำขึ้นเพื่อประกอบพิธกี รรมตามพุทธานุญาต

การญัตตขิ องพระเถระฝา่ ยมหานกิ าย ๓ องค์ในครงั้ น้นั หลวงปสู่ ุวจั น์ สุวโจ บันทกึ ไว้ดังนี้
“ท่าน (หลวงปู่ฝ้นั ) เคยเลา่ ใหผ้ ูเ้ ขียน (หลวงปสู่ ุวัจน)์ ฟังว่า ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั คราว
คร้ังนนั้ ท่านไดไ้ ปโปรดหัวหน้าชฎิล ๓ สหาย ท้ัง ๓ ทา่ นล้วนแตเ่ ป็นผมู้ ชี อ่ื เสียง มคี นเคารพนับถือ
มีบริวารมาก ไดเ้ ป็นอุปัชฌายใ์ หบ้ รรพชา อุปสมบท พระภิกษุ สามเณร เปน็ สัทธิงวิหาริกของ
แต่ละทา่ นในถิน่ นนั้ เปน็ จำ� นวนมาก พระอาจารย์มนั่ ท่านแสดงธรรมปาฏหิ าริย์เทศน์ทรมานหวั หน้า
ชฎลิ ทั้ง ๓ ท่าน พรอ้ มท้งั บรวิ าร จนได้เกิดปัญญา มีศรทั ธาความเชอ่ื และเล่ือมใส ไดม้ อบกายถวาย
ชีวติ เปน็ ลูกศษิ ย์ติดตามปฏบิ ตั ิ ฝึกหัดอบรมอยู่ในโอวาท ยอมละทิฐมิ านะ เสียสละนกิ ายเดมิ
หันเขา้ มาเปล่ยี นญตั ตเิ ปน็ ธรรมยตุ ิกนกิ าย
สำ� หรับ ทา่ นอาญาครดู ี นนั้ เม่ือก่อนท่านเคยเปน็ ครบู าของพระอาจารยฝ์ ้ัน ทหี ลัง
ทา่ นจงึ เปล่ยี นญัตติเป็นพระฝ่ายพระธรรมยตุ ภายหลงั พระอาจารยฝ์ นั้ ต้ังแต่น้ันมาทา่ นอาญาครดู ี
ต้องเคารพกราบไหว้นบั ถือพระอาจารย์ฝัน้ เป็นครูบา นง่ั หรอื เดนิ ตามหลังพระอาจารย์ฝน้ั แต่ถึง
อย่างนัน้ ในดา้ นจิตใจ ต่างองค์ต่างกไ็ ดแ้ สดงออกมาใหไ้ ดเ้ ห็นวา่ มีความเคารพซึ่งกันและกนั
ไมท่ ะนงองคท์ า่ นดว้ ยถอื ทิฐิมานะ”
หัวหนา้ ชฎิล ๓ สหาย ได้แก่ ทา่ นพระอาจารยเ์ กง่ิ อธมิ ุตตฺ โก พรรษา ๑๙ ทา่ นพระ–
อาจารย์สีลา อสิ ฺสโร พรรษา ๑๗ ส�ำหรบั ทา่ นอาญาครูดี ราว ๒๐ พรรษา ที่ท่านเรยี ก
พระอาจารย์ใหญท่ ั้งสาม วา่ หัวหน้าชฎลิ น้ัน คงเป็นการเทยี บเคยี งกบั ครงั้ พทุ ธกาล

61

เม่ือครั้งพระพทุ ธองคเ์ ริม่ ประกาศพระศาสนา พระองคไ์ ดเ้ สด็จไปทีต่ �ำบลอุรุเวลาเสนานคิ ม
อยู่ใกลๆ้ พทุ ธคยา สถานทีพ่ ระพุทธเจา้ ตรสั รู้ เพื่อโปรดชฎลิ ๓ พีน่ อ้ ง ไดแ้ ก่ อรุ เุ วลกัสสปะ
ผพู้ ใี่ หญ่ นทกี สั สปะ พี่ชายรอง และ คยากัสสปะ น้องชายคนเล็ก นักบวชพวกนบ้ี ชู าไฟและมี
ฤทธิ์มาก คนพมี่ ีบริวาร ๕๐๐ คน คนกลางมบี ริวาร ๓๐๐ คน และคนน้องมบี รวิ าร ๒๐๐ คน
ทุกคนไดค้ ลายทฐิ หิ นั มามอบกายถวายชีวติ บวชเป็นสาวกพระพทุ ธองค์ รวมท้งั ส้นิ ๑,๐๐๓ องค์
พระพทุ ธองคเ์ ทศนาสั่งสอนบรรดาชฎลิ ทั้งหมดจนบรรลุธรรมเปน็ พระอรหนั ต์ และเป็นก�ำลงั สำ� คัญ
ในการเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนาตอ่ ไป

ในช่วงที่มเี หตุการณ์ส�ำคญั ในวงพระธดุ งคกรรมฐาน หรอื พระปา่ คือ มีพระอาจารย์ชอ่ื ดัง
ฝ่ายมหานกิ าย ๓ องค์ พรอ้ มด้วยศษิ ย์จำ� นวนมาก มาขอญตั ติเปน็ พระธรรมยตุ ทำ� ใหพ้ ระปา่
มีก�ำลังเพิ่มข้ึนอีกจ�ำนวนมาก และมีประชาชนเลื่อมใสศรัทธาเพ่ิมขึ้นอีกมากมาย อีกทั้งย่ิงท�ำให้
ชอ่ื เสียง กิตตศิ ัพท์ กติ ตคิ ณุ ของทา่ นพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มน่ั ทโ่ี ดง่ ดังอยูแ่ ลว้
ยง่ิ เฟอื่ งฟงุ้ กึกกอ้ งขจรไปไกล และกาลตอ่ มาพระทม่ี าญตั ติกไ็ ด้เปน็ ก�ำลังส�ำคญั ของ “กองทพั ธรรม
พระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารยม์ น่ั ” ท�ำใหก้ องทพั ธรรมมีก�ำลงั
แข็งแกรง่ เกรยี งไกรเป็นอันมาก

กล่าวถึง ทา่ นพระอาจารยเ์ กง่ิ ท่านพระอาจารย์สลี า ท่านอาญาครูดี เมื่อได้รับการญตั ติ
เป็นธรรมยุต และไดเ้ ปน็ เพื่อนสหธรรมิกกบั หลวงปูฝ่ ั้นแล้ว แม้ท่านทง้ั สามมีอายุมากกวา่ บวชก็
ออกบวชก่อน และในขณะนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่าหลวงปู่ฝั้นก็ตาม แต่เมื่อนับอายุพรรษา
ในฝ่ายธรรมยุตแล้วนอ้ ยกว่าเพียง ๑ พรรษา ตา่ งจงึ ให้ความเคารพนับถือหลวงปูฝ่ ้ัน และทา่ นทงั้ ส่ี
ต่างกใ็ ห้ความเคารพนบั ถือซง่ึ กันและกัน

หลวงปมู่ นั่ ห้ามญัตติ

ในระยะท่หี ลวงปฝู่ ัน้ อาจาโร ท่านได้รับการญัตติเปน็ ธรรมยตุ นั้น ชว่ งก่อนและหลังก็มี
พระในฝ่ายมหานิกายมาขอญัตติกันเรื่อยๆ สืบเน่ืองจากในสมัยน้ัน ส่วนใหญ่มีแต่วัดและพระใน
ฝ่ายมหานิกาย ดังนั้น เมื่อครูบาอาจารย์ออกบรรพชาอุปสมบท ส่วนใหญ่จึงออกบวชในฝ่าย
มหานิกาย การญัตติเป็นธรรมยุตของครูบาอาจารย์ที่เป็นฝ่ายมหานิกายในสมัยน้ันท่ีมาเล่ือมใส
ศรทั ธาหลวงปมู่ นั่ ทพ่ี าหมูค่ ณะมาถวายตัวเปน็ ศษิ ย์ มาขอญัตติ มีอยา่ งตอ่ เนอื่ งและมจี ำ� นวนมาก
ขึน้ เร่ือยๆ หลวงปู่ม่ันทา่ นกเ็ มตตาอนญุ าตญัตติให้ ในระยะต่อมาทา่ นจึงหา้ มญตั ติ และท่านได้
เมตตาอบรมสัง่ สอนจนเป็นครูบาอาจารย์ทมี่ ีชอื่ เสียงและคณุ ธรรมในฝ่ายมหานกิ าย ไดแ้ ก่ หลวงปู่
ทองรตั น์ กนตฺ สโี ล หลวงปกู่ นิ รี จนฺทิโย หลวงปูม่ ี าณมนุ ี หลวงปชู่ า สภุ ทฺโท เป็นต้น

สาเหตุท่หี ลวงปมู่ ่นั ท่านหา้ มญัตติ องค์หลวงตาพระมหาบวั เทศน์ไวด้ ังนี้

62

“เมื่อพวกท่านท้ังหลายญัตติแล้ว มันถือเป็นก๊กเป็นเหล่า บรรดาผู้ท่ีต้องการอรรถธรรม
ทง้ั หลายก็จะเข้าถึงพวกท่านได้ยาก หรือจะถือท่านว่าเป็นคณะหนึ่งไปแล้ว เป็นธรรมยุตไปแล้ว
ไปอะไรอย่างน้ี ก็เสียผลประโยชน์ของผู้มีความหวังในธรรมทั้งหลายอย่างมาก และมีจ�ำนวน
มากด้วย เพราะฉะนัน้ ไมต่ ้องญัตติ ท่านบอกไมต่ อ้ งเลย เอ้า ! อบรมไป ไมม่ ีค�ำวา่ สัคคาวรณ์
มัคคาวรณ์ การหา้ มมรรคหา้ มผลตอ่ นิพพานน้ันนไ้ี มม่ ี ขอให้ตง้ั หนา้ ตัง้ ตาปฏบิ ัตไิ ป มรรคผล
นพิ พานมอี ยกู่ ับทกุ พวกทุกคณะนนั่ แหละ

พอว่าอยา่ งน้ันทา่ นก็บอกว่า ถา้ มาญัตตแิ ลว้ ฝา่ ยส่วนมาก ซ่ึงเปน็ ฝ่ายของทา่ นจะขาด
ประโยชนม์ ากมาย ท่านว่าอยา่ งนนี้ ะ ไม่ใชข่ าดเพยี งเล็กนอ้ ย เม่อื พวกทา่ นทงั้ หลายไม่ตอ้ ง
ญัตติ ออกไปนก้ี ระจายกันไปเลยไดท้ ่วั ถงึ กนั สมานกันไปไดห้ มด ท่านว่าอย่างนนี้ ะ จึงไม่ตอ้ ง
ญตั ติ ท่านพูดเอง เราฟังอยา่ งถนัดทีเดียว หลวงปู่ม่ันพดู ท่านไม่ไดเ้ อนไดเ้ อยี งไปทไี่ หน ท่านเป็น
ธรรมลว้ นๆ พูดถงึ เร่อื งการญัตตินม้ี ันเป็นวงคบั แคบมาก ทา่ นวา่ งั้น

การไมญ่ ัตตนิ ี้ เรายอมรับกันแลว้ ในสงั คมเมอื งไทยเรากย็ อมรบั กนั แลว้ วา่ ธรรมยตุ
ก็สมบูรณแ์ บบ มหานกิ ายกส็ มบูรณแ์ บบ เรยี กวา่ พระสมบรู ณแ์ บบเหมือนกัน โลกยอมรบั แล้ว
เป็นสว่ นภายนอก สว่ นภายในเป็นหน้าทข่ี องเราจะปฏิบัติหลักธรรม หลกั วินัย ตา่ งคนตา่ ง
เข้มงวดกวดขนั ปฏบิ ตั ิแลว้ เป็นศากยบตุ รเต็มตัวเหมือนกนั

ฟงั ซิ ทา่ นวา่ ท่านถึงบอกว่าไม่ตอ้ งญตั ติ ด้วยเหตุนเี้ องคณะลูกศษิ ยท์ างฝา่ ยมหานกิ าย
ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านจึงไม่ได้ญัตติ เพราะหลวงปู่ม่ันเป็นผู้พูดเอง เราก็เห็นอย่างนั้นด้วยนะ
ยนั เลยเรากเ็ หมือนกนั ขอให้ปฏิบัตดิ ีเถิดเขา้ กันไดท้ ันที”

หลวงปู่มั่นท่านเล็งเห็นประโยชน์ภายภาคหน้า ท่ีไม่อนุญาตให้พระศิษย์ฝ่ายมหานิกาย
ญัตติเป็นธรรมยุตท้ังหมด พระศิษย์ทั้งสองนิกายต่างก็เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ถือธุดงควัตร
ขอ้ วัตรปฏบิ ัติ ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน และไดท้ �ำประโยชนเ์ ผยแผพ่ ระสัทธรรมออกไปอย่าง
กว้างขวางมากมายท้งั ในและต่างประเทศ ตามที่หลวงปมู่ น่ั ไดพ้ จิ ารณาไว้ เหลา่ นีล้ ว้ นก่อให้เกิดการ
เปล่ียนแปลงและเกดิ ประโยชนอ์ ย่างใหญห่ ลวงตอ่ สงั คมไทย ท้งั ความรม่ เย็นเปน็ สขุ ของประชาชน
ทง้ั เอกราชความเป็นปึกแผน่ ของชาติไทย และทสี่ �ำคญั พระพุทธศาสนาของเหล่ามวลมนุษยชาติ
และไตรโลกธาตุไดก้ ลบั มาเจริญรุง่ เรืองสงู สุดอีกคร้งั คนในสงั คมไทยพากันเลิกนบั ถือผี หันมา
นับถอื พระรตั นตรัย เช่ือมน่ั ในมรรคผลนิพพานว่ามอี ยู่จรงิ หนั มาประพฤตปิ ฏิบัติธรรมกันอยา่ ง
เอาจรงิ เอาจงั และพุทธบริษทั ไดร้ ว่ มมอื ร่วมใจกันทำ� นบุ ำ� รงุ พระพทุ ธศาสนาใหเ้ จริญม่นั คง ยัง่ ยืน
สถาพร เปน็ ศาสนาคูโ่ ลกค่สู งสารสืบต่อไป

63

ส�ำหรบั ครูบาอาจารยท์ ง้ั สองฝ่ายตา่ งใหค้ วามเคารพนบั ถือซง่ึ กันและกนั ประดจุ ครอบครวั
กรรมฐานเดียวกัน โดยท่านเดินทางไปมาหาสูก่ ราบคารวะเยีย่ มเยยี นสนทนาธรรมกันเปน็ ประจ�ำ
ดังเชน่ องค์หลวงตาพระมหาบัว กราบคารวะเยยี่ มเยยี นหลวงปู่มี าณมุนี และเย่ยี มเยียน
ทา่ นพระอาจารย์ชา สภุ ทฺโท และท่านพระอาจารย์ชาก็มากราบคารวะเย่ียมเยียนหลวงปดู่ ูลย์
หลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝัน้ และองคห์ ลวงตาพระมหาบัว เป็นต้น

พ.ศ. ๒๔๖๙ จ�ำพรรษา ๒ ทบี่ า้ นดอนแดงคอกช้าง

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงปฝู่ น้ั อาจาโร ท่านมีความต้งั ใจจะขออยู่จำ� พรรษากบั หลวงปู่มนั่
ภรู ิทตฺโต ท่ีเสนาสนะป่าบ้านสามผง แตม่ ีเหตไุ ม่ได้อย่จู �ำพรรษา คือ ก่อนเข้าพรรษาราว ๑ สัปดาห์
ก�ำนนั บา้ นดอนแดงคอกช้าง ต�ำบลบา้ นเสยี ว อ�ำเภอทา่ อเุ ทน (ปจั จุบันอยใู่ นอำ� เภอนาหว้า) จังหวัด
นครพนม พร้อมดว้ ยลกู บ้านได้ยินกิตติศพั ทข์ องหลวงปูม่ ่นั เม่อื ได้มาพบเห็นทงั้ สภาพของวัดปา่ –
กรรมฐานอันแลดสู ะอาดรม่ เยน็ และเงยี บสงบ ตลอดได้เห็นปฏปิ ทาขอ้ วัตรปฏบิ ตั ิอันเครง่ ครดั ของ
หลวงปู่มัน่ และคณะศิษย์ ก็เกดิ ความเคารพเลอื่ มใสศรทั ธา จึงไดพ้ ากนั มาวงิ วอนกราบอาราธนา
นมิ นตห์ ลวงปมู่ ่นั ไปจำ� พรรษาทบ่ี า้ นดอนแดงคอกชา้ ง เพอ่ื โปรดศรัทธาญาติโยม แต่หลวงปมู่ ัน่ ท่าน
มีเหตุขัดข้องไมส่ ามารถรบั นิมนตไ์ ด้ จงึ มอบหมายให้หลวงป่ฝู ้นั พร้อมดว้ ยหลวงป่กู ู่ ธมมฺ ทินฺโน
และ หลวงปกู่ ว่า สุมโน ไปอยูจ่ ำ� พรรษาแทน นับวา่ หลวงปู่ฝน้ั ทา่ นไดม้ ีโอกาสแสดงความสามารถ
ในการปกครองและอบรมส่งั สอนต้ังแตพ่ รรษาทส่ี อง (หลังจากญตั ติ)

ดว้ ยพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มนั่ พระศษิ ยอ์ งค์ที่มคี ณุ ธรรม ทา่ นจะให้
ความเคารพเทดิ ทนู บูชาและให้ความเคารพเชือ่ ฟงั ในคำ� ของครูบาอาจารยม์ าก ค�ำสงั่ หรือ ค�ำพดู
หรอื เพยี งแคค่ ำ� เผดยี งบอกของครบู าอาจารย์ ท่านจะรบั ฟงั ทันทแี ละจะใหค้ วามส�ำคัญมาก ท่านจะ
ท�ำตามโดยไม่มีข้อลังเลสงสัยหรือข้อแมใ้ ดๆ อันเปน็ อริยประเพณี อรยิ ปฏิบัตขิ องศิษย์ทด่ี พี งึ ปฏิบัติ
ตอ่ ครบู าอาจารย์ ดงั น้ัน ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงปฝู่ ั้น ทา่ นจงึ ไปจ�ำพรรษา ๒ ท่บี ้านดอนแดง–
คอกช้าง ตามที่หลวงปู่มั่นท่านมอบหมายทันทีอย่างไม่ลังเล โดยท่านได้จัดสร้างเสนาสนะป่า
เปน็ สำ� นกั สงฆข์ ึ้นเพือ่ อย่จู �ำพรรษา ส่วนหลวงปู่มน่ั เม่ือถงึ ฤดูเขา้ พรรษา ท่านยงั คงอยจู่ �ำพรรษาที่
เสนาสนะป่าบา้ นสามผง ต�ำบลสามผง อ�ำเภอศรีสงคราม จังหวดั นครพนม

ในพรรษาน้ี หลวงปฝู่ นั้ แม้ทา่ นเป็นพระภิกษหุ นุ่มมอี ายไุ ด้ ๒๗ ปี พรรษายงั ไม่มากกต็ าม
และท่านได้แยกมาจ�ำพรรษา แตท่ ่านตง้ั ใจรกั ษาขอ้ วัตรปฏบิ ัติ ปฏปิ ทาพระธุดงคกรรมฐานสาย
ทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ เป็นอยา่ งดี ทา่ นมคี วามส�ำรวมระวังในสกิ ขาบทน้อยใหญแ่ ละถือธุดงควัตร
อยา่ งเคร่งครัด อีกท้งั ท่านมีความตงั้ ใจประพฤติปฏิบตั ธิ รรมอยา่ งเต็มท่แี ละสม�่ำเสมอ ทา่ นจงึ เป็นท่ี
ยอมรับนบั ถอื และเปน็ ท่เี คารพเลอื่ มใสของเพอื่ นสหธรรมกิ ตลอดศรทั ธาญาตโิ ยมทัง้ หลาย

64

ส�ำหรับ หลวงปู่กู่ กบั หลวงปกู่ วา่ การประพฤตปิ ฏบิ ัติธรรมของท่านท้งั สองก็ไม่ยง่ิ หย่อน
ไปกว่าหลวงปู่ฝั้น การรักษาข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดปฏิปทาก็เข้มงวดกวดขันเหมือนกัน เพราะ
ท่านทั้งสามต่างออกบวชเพ่ือปรารถนาความพ้นทุกข์เหมือนกัน มีครูบาอาจารย์ช้ันเลิศเลอเอกอุ
องคเ์ ดยี วกนั คอื หลวงปู่มั่น และต่างก็ได้รับการอบรมสั่งสอนมาเหมอื นกัน ดังน้ัน ในพรรษานี้
ต่างองคต์ ่างเร่งบำ� เพญ็ เพยี รภาวนากันอย่างเตม็ ท่ี อย่างศษิ ย์มีครบู าอาจารย์ เพราะภายหน้าทา่ น
จะตอ้ งเป็นแมท่ ัพในกองทพั ธรรม เพอ่ื แบง่ เบาภาระครูบาอาจารยต์ อ่ ไป

ประชุมและเคลื่อนกองทพั ธรรม

ในระยะที่ หลวงปฝู่ ้นั อาจาโร เขา้ มอบกายถวายชีวติ เปน็ ศิษยข์ องทา่ นพระอาจารยม์ ่ัน
และกาลตอ่ มาท่านได้ญัตติเปน็ ธรรมยตุ นนั้ ถือไดว้ า่ เป็นชว่ งยคุ เรมิ่ ตน้ เร่ิมกอ่ ก�ำเนิดกองทัพธรรม
ในขณะนนั้ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และ ท่านพระอาจารยม์ ่ัน ภูรทิ ตโฺ ต ได้ฝกึ ฝนอบรม
ลูกศษิ ย์เปน็ พระธุดงคกรรมฐาน ถอื ธุดงควตั รและบำ� เพ็ญเพยี รภาวนาอยา่ งเครง่ ครัด เอาจริงเอาจงั
จากเร่ิมตน้ ในตอนแรกเพยี งไม่กีอ่ งค์ จนเริ่มมีจำ� นวนมากขึน้ เรื่อยๆ ท่ีติดตามท่านพระอาจารย์เสาร์
กม็ ีมากขึ้น โดยเฉพาะทตี่ ดิ ตามท่านพระอาจารย์มน่ั กย็ ง่ิ มมี ากขึน้ และที่ตดิ ตาม ท่านพระอาจารย์
สงิ ห์ ขนตฺ ยาคโม ก็มีด้วยกันหลายองค์ ที่แยกย้ายกระจดั กระจายไปบ�ำเพ็ญเพียรในทต่ี า่ งๆ ก็
มีมาก กล่าวไดว้ า่ เกอื บท่วั ภาคอสี านและกระจายไปทางฝ่ังประเทศลาว

ในยุคเร่ิมต้นน้ันเป็นช่วงเวลาที่ส�ำคัญย่ิงคร้ังหนึ่งของกองทัพธรรม มีบรรดาครูบาอาจารย์
ผู้ที่มอี �ำนาจวาสนาบารมี ซ่ึงในกาลตอ่ มาท่านเหลา่ น้ันเป็นก�ำลังส�ำคัญ อาจกล่าวไดว้ ่าแตล่ ะองค์
ท่านเป็นประดุจแม่ทัพธรรม ต่างได้น้อมตัวเข้ามาขอศึกษาอบรมแนวทางปฏิบัติ จนเกิดความ
เล่ือมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ได้ยอมมอบกายถวายชวี ิตเป็นศิษย์ ไดข้ อญัตตเิ ป็นธรรมยุต และขอ
ออกตดิ ตามไปปฏบิ ตั ิธรรมกับกองทัพธรรมของพ่อแม่ครูอาจารย์เปน็ จ�ำนวนมาก ไดแ้ ก่ หลวงปู่
ดูลย์ อตุโล หลวงปหู่ ลุย จนทฺ สาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปูอ่ อ่ น าณสิริ หลวงปู่
ฝน้ั อาจาโร หลวงป่เู กงิ่ อธิมุตตฺ โก หลวงปแู่ หวน สจุ ณิ โฺ ณ หลวงป่ตู ้ือ อจลธมฺโม ฯลฯ
สาเหตุประการส�ำคญั คอื ท่านเหล่านเี้ คยเป็นสายบญุ สายกรรม เคยสร้างบญุ ญาบารมีรว่ มกบั
ทา่ นพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารยม์ ่ัน มานน่ั เอง

เมื่อกองทัพธรรมเริ่มมีจำ� นวนมากขนึ้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พอออกพรรษา หลวงปมู่ ั่น ได้
นัดหมายพระเณรลูกศิษย์ของท่าน เข้าไปประชุมพร้อมกันท่ีเสนาสนะป่าบ้านดอนแดงคอกช้าง
เน่ืองจากมีพระเณรจ�ำนวนมาก การบิณฑบาตจึงจ�ำเป็นต้องแยกกันไปตามหมู่บ้าน ระหว่าง
บา้ นเสยี ว กับ บา้ นดอนแดงคอกชา้ ง โดย หลวงปสู่ ุวจั น์ สุวโจ บันทึกไว้ดงั น้ี

65

“เมือ่ ออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์มน่ั ทา่ นไดน้ ัดพระภกิ ษุ สามเณรของทา่ นซง่ึ กระจายอยู่
จำ� พรรษา อยูต่ ามปา่ ใกล้หมบู่ า้ นข้างเคยี งแถบนัน้ จ�ำนวนประมาณ ๗๐ รปู ให้ไปรว่ มประชมุ ท่ี
ส�ำนักพระอาจารยฝ์ ั้นอยจู่ �ำพรรษา บ้านดอนแดง อำ� เภอท่าอเุ ทน จงั หวดั นครพนม

เมอื่ พระภิกษุ สามเณร อนั เปน็ ศษิ ยานุศษิ ยข์ องท่านพระอาจารยม์ นั่ ประมาณ ๗๐ รูป
เดนิ ทางมาถึงหมดทุกรปู แลว้ ท่านพระอาจารยม์ ั่น ภรู ิทัตตะมหาเถระ จงึ ได้เปดิ ประชุมทศี่ าลา
โรงฉนั เร่อื งท่ที า่ นพระอาจารย์มน่ั ไดห้ ยิบยกขึ้นมาพูดในที่ประชมุ คร้ังนน้ั กค็ อื นอกจากท่านให้
โอวาทตักเตือนส่ังสอนเพ่ือให้ศิษยานุศิษย์มีก�ำลังใจ ท่านแสดงธรรมปลุกใจให้ลูกศิษย์ลุกข้ึนต่อสู้
กับกเิ ลสทคี่ รอบงำ� จติ ใจให้อ่อนแอ งว่ งเหงาหาวนอน ขเ้ี กียจข้ีคร้าน ฟุ้งซา่ น เถลไถล ไม่มีความ
อดทนพยายามบ�ำเพญ็ เพียรภาวนา

แล้วท่านได้ปรารภในท่ปี ระชุมว่า ในเขตท้องที่ ๔ – ๕ จังหวดั คอื จงั หวัดเลย สกลนคร
อุดรธานี นครพนม หนองคาย พวกเราก็ได้ออกเดินธดุ งคท์ ำ� ความเพียรบ�ำเพญ็ ภาวนา วกไป
เวยี นมาอย่ใู นปา่ ภเู ขาแถบนี้ กเ็ ป็นเวลาหลายปแี ล้ว ปนี ้ีพวกเราควรไปทางไหนดี สว่ นผมจำ� ตอ้ งพา
คุณโยมแมใ่ ห้ไปอยู่กบั น้องสาวท่เี มืองอบุ ลฯ เพราะท่านชราภาพมาก อายุ ๗๘ ปีแลว้ จะพา
ทลุ กั ทุเลอยู่ดงอยู่ปา่ คงจะไปไมไ่ หว พระอาจารยส์ งิ ห์ และพระอาจารย์มหาป่นิ ปญฺ าพโล ต่าง
ก็รับรองจะพาคณุ โยมแมข่ องท่านพระอาจารยไ์ ปสง่ ถึงเมืองอุบลฯ แตต่ ้องไปด้วยเกวยี น เดินเทา้ ไป
ไมไ่ หว เพราะทา่ นชราภาพมาก ไม่มกี �ำลังพอ

ที่ประชมุ ตกลงตามพระอาจารยม์ ่นั ไปเทย่ี วธดุ งคกรรมฐานตามท้องทจ่ี งั หวัดอบุ ลราชธานี
หมดด้วยกันทกุ องค์ หลงั จากเลกิ ประชมุ แล้ว กไ็ ด้แยกออกเดินธุดงคไ์ ปเป็นหมู่ๆ ถ้าใครองค์ใด
ไปพบสถานท่ีเหมาะดสี บาย มีความสงดั จะพกั อยู่ปฏบิ ตั ิฝกึ หัดเพ่ือใหไ้ ดก้ �ำลังใจเพิ่มย่ิงๆ ขนึ้ อกี ก็
อยูไ่ ด้ แตใ่ หม้ จี ุดหมายไปพบกันที่เมืองอบุ ลฯ

พระอาจารยฝ์ น้ั พระอาจารย์กู่ พระอาจารย์ออ่ น พระอาจารยก์ วา่ พรอ้ มทัง้ สามเณร
๒ – ๓ องค์ ออกเดนิ ธุดงคไ์ ปด้วยกัน ผา่ นบา้ นตาล บา้ นนาหว้า บา้ นนาววั บา้ นโพนสวา่ ง บา้ น
เชียงเครอื ถึงเมืองสกลนคร พักอยู่ ๗ วัน เพราะโยมในเมืองสกลนครมีศรัทธานิมนต์ไว้บำ� เพ็ญบญุ
เมอ่ื เสรจ็ แล้วกเ็ ตรยี มออกเดินทางต่อไป ผ่านบา้ นตองโขบ บา้ นโคก บ้านนามน บ้านดงเถ้าเก่า
อำ� เภอนาแก ลัดเขา้ ปา่ เข้าดง ข้นึ ภเู ขาไปพกั บ้านหว้ ยทราย คำ� ชะอี บา้ นหนองสูง จงั หวัดนครพนม
ข้ามไปเขตจังหวัดอบุ ลราชธานี”

ธรรมปาฏิหารยิ ข์ องหลวงปู่ฝนั้

ในการออกธุดงค์ไปอุบลราชธานขี องหลวงป่ฝู น้ั อาจาโร และคณะ ซง่ึ ในขณะนน้ั แตล่ ะองค์
มีอายุราว ๒๐ ปีเศษ ถือวา่ เปน็ พระภิกษหุ น่มุ และมพี รรษาไมม่ าก โดยมอี ายุพรรษาเพียง ๒ – ๔

66

เทา่ นน้ั อีกทัง้ ไม่ได้ศกึ ษาเลา่ เรียนทางดา้ นปริยตั มิ ากอ่ น ด้วยหลวงปู่ฝ้ันท่านเคยอยู่ฝกึ ฝนอบรม
ธรรมปฏบิ ัตกิ บั ท่านพระอาจารย์ม่นั และทา่ นเคยออกเทยี่ วธุดงคม์ าประมาณ ๗ ปี ตัง้ แต่ขณะที่
ทา่ นยงั ไม่ญัตตเิ ป็นธรรมยตุ ในระหวา่ งเทยี่ วธุดงค์ เมอ่ื ทา่ นประสบอุปสรรคในคราใด ทา่ นก็มี
ปัญญาเป็นเลิศ สามารถคดิ ค้นอุบายวิธีภาวนาแกไ้ ขได้ด้วยตนเองหลายครง้ั จนทา่ นประสบกับ
ธรรมปาฏหิ ารยิ ์ เพียงอ�ำนาจของสมาธธิ รรม จิตสงบกท็ �ำใหท้ า่ นเกิดความอศั จรรย์ใจในธรรมของ
องค์สมเดจ็ พระสมั มาสมั พุทธเจา้ ทา่ นหายกลัวผแี ละหายกลัวเสือ รวมท้งั สามารถระงับอาพาธด้วย
ธรรมโอสถหลายครั้งดงั ท่กี ลา่ วมา

ในการออกเทยี่ วธดุ งค์กับหมู่คณะในคราวน้ี หลวงปอู่ อ่ น าณสริ ิ เพ่อื นสหธรรมกิ ของ
หลวงปฝู่ ั้น ท่านเกดิ ขอ้ วิตกขนึ้ มา และหลวงปู่ฝน้ั ทา่ นได้ฉายแววแห่งความเป็นผนู้ ำ� เป็นแม่ทพั
กองทพั ธรรม ต้งั แตท่ า่ นยงั เปน็ พระภกิ ษหุ น่มุ อายุได้ ๒๗ ปี ท่านได้แก้ข้อวติ กน้ัน โดย หลวงปู่
สวุ ัจน์ สุวโจ บันทกึ ไวด้ งั นี้

“วนั หน่งึ พระอาจารยอ์ อ่ น าณสริ ิ ได้มีความวติ กเกิดข้นึ ในใจวา่ ถ้าหากมีผู้หนง่ึ ผ้ใู ด
ทีม่ ีความเฉลียวฉลาดเปน็ นักปราชญ์อาจารย์ แตกฉานในปรยิ ตั ิธรรมมาถามธรรมะท่ีสูงและลึกซึ้ง
ท�ำอยา่ งไรเราจึงจะตอบแก้ปัญหาธรรมของเขาได้ ภายหลังทา่ นพระอาจารย์อ่อนได้น�ำเอาเรอื่ งที่
ทา่ นไดว้ ติ กดงั กล่าวมาแลว้ มาเลา่ ใหท้ า่ นพระอาจารยฝ์ ั้นฟงั

และท่านพระอาจารยอ์ อ่ น ไดเ้ ลา่ ต่อไปอีกว่า “เมอื่ ก่อนทเ่ี ขาถามปัญหาธรรมทกุ ครงั้ ท่มี ี
ทา่ นพระอาจารย์มั่นอยู่ด้วย ท่านเปน็ ผแู้ ก้ตอบปญั หาธรรมของเขาเหล่านั้นได้อยา่ งถกู ตอ้ ง ตรง
ตามความในปัญหาธรรมที่เขานำ� มาถาม จนผ้ฟู ังได้รบั ความพอใจ หมดความสงสัย ส่วนพวกเรา
จะท�ำอยา่ งไร เมอ่ื มีใครมาถามปัญหาธรรม เพราะพวกเรากไ็ ม่ได้เรียนปรยิ ัตธิ รรม และเพิง่ มา
ฝกึ หัดปฏบิ ัตใิ หม่ จะตอบแกป้ ญั หาธรรมท่ีสงู และลึกซ้งึ ของเขาไดห้ รือ”

เม่ือพระอาจารย์อ่อนพูดจบลงแล้ว พระอาจารย์ฝั้นได้พูดข้ึนทันทีว่า “จะไปกลัวท�ำไม
ในเรอื่ งนี้ ธรรมทั้งหลายเกิดขึน้ ท่ีหวั ใจ รวมอยทู่ ี่ใจ พวกเรารู้จุดรวมของธรรมทงั้ หลายอยแู่ ล้ว
ตอบเขาไปวนั ยังค่ำ� กไ็ มม่ วี ันอับจน เรอ่ื งนไ้ี มต่ อ้ งวติ ก” พระอาจารย์ฝน้ั พูดอย่างท้าทายองอาจ
แสดงออกซ่ึงธรรมปาฏิหาริย์ อันเป็นอ�ำนาจพลังของจิตใจที่ได้ฝึกอบรมอย่างเอาจริงจากพระ–
อาจารย์มนั่ ภูริทตั ตะมหาเถระ พระอาจารยอ์ ่อน ได้ฟังดงั นน้ั กม็ ีความโล่งใจหายกังวล

พอไปถึงบา้ นหวั วัว อำ� เภอกดุ ชมุ จงั หวัดยโสธร ก็ได้ไปพบพระอาจารย์มัน่ ที่ไดไ้ ปพัก
ดักรอคอยอยูท่ นี่ ั้นก่อนแลว้ เมือ่ คณะลูกศิษย์ได้เดนิ ทางมาถงึ รวมกนั หมดทกุ ชุดแล้ว จึงออกเดิน
ธุดงค์ต่อไป พอไปถงึ บา้ นหวั ตะพาน กถ็ ึงจวนเวลาจะเข้าพรรษา พระอาจารย์มั่นพักอยทู่ ่ีป่าใกล้

67

วดั หนองขอน พระอาจารยฝ์ ้นั ตามไปช่วยจดั เสนาสนะ ทำ� ทีพ่ กั ชว่ั คราวในกาลพรรษา เสร็จแล้ว
พระอาจารย์ฝั้นไดไ้ ปจ�ำพรรษาท่บี ้านบอ่ ชะเนง”

ถงึ อบุ ลฯ เจออปุ สรรคใหญ่ ถกู ขบั ไล่

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พระกรรมฐานคณะของหลวงปู่ม่นั เดนิ ทางไปพกั ท่ีบ้านหวั ตะพาน
อ�ำเภออำ� นาจเจรญิ จังหวัดอบุ ลราชธานี (ปัจจุบนั เปน็ จงั หวัดอ�ำนาจเจริญ) ในขณะนั้นจวนจะ
เข้าพรรษา ตา่ งจึงแยกยา้ ยกันหาท่ีพกั จำ� พรรษา โดยหลวงปู่ม่ันทา่ นพกั อยทู่ ีป่ า่ ใกล้วดั หนองขอน
ซ่งึ อยหู่ ่างจากบ้านหวั ตะพานประมาณ ๕๐ เส้น (๒ กโิ ลเมตร) หลวงปู่ฝ้ันท่านตัง้ ใจจ�ำพรรษากับ
หลวงปู่มั่น ส่วนองค์อ่ืนก็แยกย้ายกันจ�ำพรรษาท่ีบ้านบ่อชะเนงและบ้านหัวตะพาน แต่ก่อนจะ
เข้าพรรษาเจออุปสรรค์ใหญ่ถูกขบั ไล่ โดยหลวงปสู่ วุ ัจน์ สุวโจ บนั ทกึ ไวด้ งั นี้

“ก่อนเขา้ พรรษาไดม้ เี รื่องเกิดข้ึนแกพ่ ระคณะนี้ คือ สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ (อ้วน ตสิ สะ
เถระ) เม่ือยังเปน็ พระโพธวิ งศาจารย์ ดำ� รงต�ำแหน่งเปน็ เจา้ คณะมณฑลอสี าน ท่านออกตรวจการ
คณะสงฆ์ ท่านไดเ้ รียกเจ้าคณะแขวงอ�ำเภอต่างๆ ในเขตจงั หวัดอบุ ลราชธานี ให้เข้ามาประชุมท่ี
วดั สุปัฏนาราม เมืองอุบลฯ เกย่ี วกับเรอ่ื งระเบยี บ การปกครอง การศึกษาเล่าเรยี น และการ
ประพฤติปฏิบตั ิของคณะสงฆ์ พระภกิ ษุ สามเณร ให้มคี วามเป็นระเบยี บเรยี บร้อย ถูกต้องตาม
พระธรรมวนิ ัย

หลงั จากประชุมเสร็จแลว้ สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ท่านได้ทราบว่า พระกรรมฐานคณะของ
พระอาจารย์ม่นั ได้พาคณะมาพกั อยู่ท่บี ้านหนองขอน บอ่ ชะเนง หัวตะพาน ในเขตท้องทอ่ี �ำเภอ
อำ� นาจเจริญ จังหวดั อบุ ลราชธานี ท่านจึงไดเ้ รียกพระเจ้าคณะแขวงอำ� เภออ�ำนาจเจรญิ และ
เจ้าคณะแขวงอำ� เภอมว่ งสามสิบ มาถามวา่ “ได้ทราบว่ามพี ระอาคันตกุ ะ คณะกรรมฐานเดนิ ทาง
มาพกั อยู่ในเขตท้องทีใ่ นความปกครองของเธอหรอื พวกเธอไดไ้ ปตรวจสอบถามดูหรอื เปลา่ เขามา
จากไหน เขาอยูอ่ ย่างไร ไปอย่างไร” พระเจ้าคณะแขวงอ�ำเภออำ� นาจเจริญ ได้กราบเรียนทา่ นว่า
“เกลา้ ฯ มไิ ด้ไปตรวจสอบถาม เพราะเนอ่ื งจากพระคณะกรรมฐานเหลา่ น้ัน เขาวา่ เป็นลูกศษิ ยข์ อง
พระเดชพระคุณ” (สมเดจ็ พระมหาวีรวงศ์ เป็นพระอุปัชฌายข์ องพระอาจารยส์ ิงห์ ขนตฺ ยาคโม)

พอเจ้าคณะแขวงพดู จบ สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ ก็ขึ้นเสียงดังออกมาทนั ทวี ่า “บ๊า !
ลูกศษิ ย์พระเดชพระคุณทไ่ี หน ข้าไม่รู้ไม่ชี้ ไป๊ ! ไลม่ นั ใหอ้ อกไป ไปบอกพวกโยมอยา่ ใสบ่ าตร
ให้กิน” แล้วสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ก็ส่ังเจ้าคณะแขวงอ�ำเภอม่วงสามสิบและอ�ำเภออ�ำนาจเจริญ
พรอ้ มดว้ ยนายอำ� เภอทั้งสองอำ� เภอไปขับไล่พระกรรมฐานคณะนี้ใหอ้ อกไปจากเขตนีใ้ ห้หมด แลว้
ก�ำชบั ให้บอกพวกญาติโยม “อย่าเอาขา้ วใสบ่ าตรใหพ้ ระกรรมฐานกิน ถา้ ใครฝ่าฝืนยงั เอาข้าวใส่

68

บาตรให้พระคณะน้ีกินแล้ว จะจับเอาไปเข้าคุกให้หมด” แต่ถึงอย่างไร ชาวบ้านก็ไม่หว่ันเกรง
แต่อยา่ งใด เขาพากนั ทำ� บญุ ใส่บาตร ฟงั ธรรม จ�ำศลี ปฏบิ ัตฝิ ึกหัดเจริญเมตตาภาวนาเชน่ เคย

สว่ นนายอำ� เภอเข้าไปหาพระคณะนีแ้ ล้วจงึ แจง้ ว่า “ในนามของจงั หวดั ทางจงั หวัดมีค�ำสั่ง
มาว่า ให้กระผมมาขับไล่พระคณะน้ีให้ออกไปจากเขตนี้ให้หมด” พระอาจารย์สิงห์จึงได้พูด
ขอให้นายอ�ำเภอลดหย่อนผ่อนผันให้ได้อยู่ที่น่ี เม่ือออกพรรษาแล้วจึงจะไป เวลาน้ีก็ใกล้จะถึง
วันเข้าพรรษาอยูแ่ ล้ว นายอ�ำเภอไม่ยอม “อา้ งแตท่ างจงั หวดั ”

พระอาจารยส์ ิงห์ ขนฺตยาคโม (พระญาณวศิ ิษฏฯ์ ) พดู ร้องขอตอ่ ไปอกี ว่า “อาตมาเอง
เป็นคนเกดิ อยูท่ ีน่ ี่ ญาตพิ ี่นอ้ งของอาตมากอ็ ยทู่ ่ีน”่ี นายอ�ำเภอกอ็ า้ ง “แล้วแต่ทางจังหวัด” ทา่ เดยี ว
อยอู่ ย่างนั้น พระอาจารย์ฝั้นก็ไดช้ ่วยพดู ขอร้อง ให้ผอ่ นสน้ั ผ่อนยาวบา้ ง นายอำ� เภอกอ็ า้ ง “แลว้ แต่
ทางจังหวัด”

จากนน้ั นายอ�ำเภอก็ส�ำรวจจดชอ่ื พระภกิ ษุ สามเณร ไมเ่ วน้ แม้แตเ่ ดก็ ตาปะขาว ตลอดถงึ
ชอ่ื นามสกลุ ชอ่ื บิดา มารดา เกิดท่ไี หน อย่บู ้านตำ� บล อำ� เภอ จังหวัดอะไร บวชท่ีไหน อปุ ชั ฌาย์
อาจารย์ชือ่ อยา่ งไร จนหมดรวมท้ังทา่ นพระอาจารย์ม่นั พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารยม์ หาปิน่
พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์เก่ิง พระอาจารย์สีลา พระอาจารย์กู่
พระอาจารย์กวา่ ฯลฯ พระ เณร ท้งั หมดกว่า ๕๐ รปู ท้งั ตาปะขาวและเดก็ เกือบ ๑๐๐ คน
นายอ�ำเภอท�ำการจดจนกวา่ จะแล้วเสร็จทง้ั พระ ท้งั เณรและตาปะขาว ตั้งแต่กลางวันจนถงึ ๒ ยาม
จงึ แล้วเสรจ็ ตัง้ หนา้ ตง้ั ตาจดจนไม่ไดก้ ินขา้ วเทย่ี ง

นายอ�ำเภอกลับไปแล้ว ฝ่ายคณะสงฆ์มีพระอาจารย์สิงห์เป็นประธาน ได้เปิดประชุม
ปรึกษากันว่า เราควรท�ำอย่างไรเรือ่ งนจ้ี งึ จะสงบไปดว้ ยดี ไม่ลกุ ลามออกไปเป็นเรื่องใหญ่ ในที่
ประชมุ ลงความเหน็ “ควรมอบเรื่องใหพ้ ระอาจารย์มหาป่ิน ปญฺาพโล กับ พระอาจารยอ์ ่อน
และพระอาจารย์ฝน้ั รบั ไปพิจารณาแกไ้ ข”

หลงั จากเลกิ ประชุมกนั แล้ว ท่านพระอาจารยฝ์ นั้ กไ็ ด้ไปกราบเรียนพระอาจารยม์ ่ัน ซ่งึ
ท่านพักอยู่ท่ีบ้านหนองขอน พระอาจารย์ม่ันครั้นท่านได้ทราบเร่ืองแล้ว ท่านพูดว่า “ท่านฝั้น
ท่านลองนั่งพิจารณาดูซิเรื่องท่ีเกิดขึ้นน้ีมันจะไปถึงไหน” พอตกเย็นค่�ำคืนวันนั้น พระอาจารย์ฝั้น
ออกจากทางจงกรมแล้ว เข้าห้องไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้ว ก็นั่งสมาธิเข้าท่ี พอจิตรวมสงบ
เบาสบายทง้ั กายทงั้ จติ แลว้ กเ็ กดิ มนี มิ ติ มาปรากฏใหเ้ หน็ วา่ “แผน่ ดนิ ทต่ี รงมเี รอ่ื งนนั้ ไดแ้ ตกเปน็
ทางแยกออกจากกันไปเป็น ๒ ภาค ผู้ท่ีอยู่ข้างโน้นจะข้ามมาข้างน้ีก็ข้ามเข้ามาไม่ได้ ผู้ที่อยู่
ข้างน้ีอยากจะข้ามออกไปข้างโน้นก็ข้ามออกไปไม่ได้” พอรุ่งเช้าวันใหม่ พระอาจารย์ฝั้นท่านได้
กราบเรียนเลา่ เรอ่ื งนมิ ิตทป่ี รากฏเห็นเม่อื คนื ถวายให้พระอาจารย์ม่ันฟัง

69

พระอาจารยม์ หาปิน่ และพระอาจารย์อ่อนไปบิณฑบาตกลบั มาฉนั แตเ่ ชา้ เสร็จแลว้ กอ็ อก
เดินทางด้วยล�ำแขง้ เขา้ เมอื งอุบลฯ เพ่ือจะได้ไปพบกบั เจ้าคณะจังหวัด เม่อื พระอาจารย์ท้ังสองได้
ไปถึงและพบกนั กับเจา้ คณะจงั หวดั แล้วได้เลา่ เรอ่ื งราวทีเ่ กดิ ข้ึนว่า เจ้าคณะจังหวัดสงั่ ให้นายอ�ำเภอ
ไปไล่พระกรรมฐานของพวกคณะพระอาจารย์มั่นไม่ให้อยู่ในถ่ินนั้น เจ้าคณะจังหวัดได้ชี้แจงว่า
ท่านไม่ทราบ และท่านไม่รู้เร่ืองเลย จากนั้นเจ้าคณะจังหวัดจึงได้เขียนจดหมายไปถึงนายอ�ำเภอ
บอกนายอ�ำเภอวา่ เรอ่ื งนท้ี า่ นไมเ่ กี่ยวขอ้ ง เรือ่ งท้ังหมดจงึ สงบลงไป”

เหตุการณ์ในคร้ังนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นได้แสดงให้ปรากฏแก่ศิษย์ท้ังหลายว่า ท่าน
ยอมรับท่านพระอาจารยฝ์ ัน้ มคี วามสามารถในทางเขา้ สมาธพิ จิ ารณาเรือ่ งราวตา่ งๆ และผลของ
การพิจารณาของท่านก็ถูกต้องแม่นย�ำเสียด้วย ท่านพระอาจารย์มั่นต้ังใจจะยกย่องศิษย์องค์นี้
ตง้ั แตน่ นั้ มาช่อื เสียงของทา่ นพระอาจารย์ฝนั้ ในด้านธรรมปฏบิ ัตกิ ็ฟงุ้ เฟื่องขนึ้ เป็นล�ำดบั

สาเหตปุ ระการส�ำคญั ท่ีพระกรรมฐานคณะของหลวงปู่มน่ั ถูกขับไล่นัน้ เน่อื งมาจากสมเดจ็ –
พระมหาวรี วงศ์ ทา่ นเปน็ พระฝา่ ยปกครอง ในขณะนั้นท่านจะมุ่งส่งเสริมใหพ้ ระศกึ ษาเลา่ เรียน
ทางด้านพระปริยัติ ทา่ นไม่สง่ เสริมพระออกเทีย่ วธดุ งคป์ ฏบิ ัตติ ามป่าตามเขา โดยกอ่ นหนา้ น้ันท่าน
ก็เคยขับไลห่ ลวงปเู่ สาร์ หลวงป่มู ั่น มาแลว้ ทา่ นทัง้ สามต่างกล็ ้วนเป็นพระศษิ ย์ของทา่ นเจา้ คณุ –
พระอบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนโฺ ท) ซึ่งทา่ นเจา้ คุณอุบาลีฯ ทา่ นจะเน้นหนักทง้ั ทางดา้ น
ปริยัติ และ ด้านปฏบิ ตั ิ ส�ำหรบั สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านจะเน้นหนักภาคปรยิ ตั ิ ส่วนหลวงปู่เสาร์
หลวงป่มู ัน่ ทา่ นจะเนน้ หนกั ภาคปฏบิ ตั ิ และเมอ่ื ทา่ นทงั้ สองปฏบิ ัตไิ ปแลว้ เกดิ ขอ้ สงสยั หรอื
เกดิ มีปัญหาธรรม ทา่ นก็จะปรกึ ษาสนทนาธรรมกับทา่ นเจ้าคณุ พระอุบาลีฯ

หลวงปู่ฝ้นั นอกจากทา่ นมีนมิ ติ ภาวนาทีถ่ ูกตอ้ งแมน่ ย�ำราวกับตาเหน็ แล้ว ดังเหตกุ ารณ์
ทผ่ี ่านมาก็ไดค้ ลีค่ ลายผา่ นไปด้วยดี และเหตุการณท์ เี่ กดิ ต่อไป ท่านพาพระเณรไปธดุ งคอ์ ย่ใู นปา่ ท่ี
ไม่เคยไปมากอ่ น แลว้ ไมท่ ราบจะโคจรบิณฑบาต ณ ที่ใด นิมติ ภาวนาของทา่ นก็ช่วยให้ทา่ นเห็นทาง
ไปหมู่บ้านท่ีจะโคจรบิณฑบาต การแก้นักปฏิบัติภาวนาเกิดจิตวิปลาส หรือเกิดวิปัสสนูปกิเลส
หลวงปฝู่ ้นั ทา่ นก็มีความเชย่ี วชาญเป็นเลศิ ทา่ นสามารถที่จะแกไ้ ขไดอ้ ย่างไม่ยากเยน็ นกั ซ่ึงในวง
พระธุดงคกรรมฐานมนี ้อยองคจ์ ะทำ� ไดเ้ ชน่ ทา่ น

ไปชว่ ยพระอาจารย์ดีแก้จติ วปิ ลาสของญาตโิ ยม

ทา่ นพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เจ้าอาวาสวัดบา้ นกุดแห่ ตำ� บลกุดเชียงหมี อำ� เภอเลงิ นกทา
จังหวัดอุบลราชธานี (ปจั จบุ ัน ขึน้ กับจังหวดั ยโสธร) ทา่ นเป็นพระเถระฝา่ ยมหานิกายทม่ี ชี อ่ื เสียง
โด่งดังมากอกี องค์หน่ึง ทา่ นไดย้ นิ ช่อื เสยี งกติ ติศัพทข์ องหลวงปู่มั่น และไดม้ าฟงั ธรรมอยศู่ ึกษา
อบรมกับหลวงปู่มั่น ทเ่ี สนาสนะป่าบ้านสามผง แล้วเกดิ ความเคารพเลอ่ื มใสศรทั ธา ขอมอบกาย

70

ถวายชีวิต กราบถวายตวั เปน็ ศิษย์ และกราบขอญตั ตเิ ป็นธรรมยุต โดยท่านพระอาจารยด์ ี ไดญ้ ตั ติ
เปน็ ธรรมยตุ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ทีว่ ดั สร่างโศก หรือ วดั ศรีธรรมาราม จังหวัดยโสธร ในขณะท่ที ่าน
มาอย่ศู กึ ษาอบรมกับหลวงปมู่ ัน่ ทา่ นมคี วามสนิทสนมคุ้นเคยกับหลวงปูฝ่ น้ั เปน็ อย่างดี และท่าน
ทง้ั สองไดเ้ ป็นเพื่อนสหธรรมิกกัน

เมอื่ เหตกุ ารณท์ ีพ่ ระกรรมฐานคณะของหลวงปู่มน่ั ถูกขับไลไ่ มใ่ หอ้ ยใู่ นจังหวัดอบุ ลฯ สงบ
ลงแล้ว หลวงปฝู่ ้นั ไดก้ ราบลาหลวงปูม่ ัน่ ออกธดุ งค์ และไดเ้ ดินทางมาเย่ยี มท่านพระอาจารยด์ ี ที่
วดั บ้านกุดแห่ เมอ่ื ไปถึงทา่ นพระอาจารยด์ ีก็ไดต้ อ้ นรบั ขับส้หู ลวงปู่ฝน้ั อยา่ งแข็งขนั จากการถาม
ทกุ ข์สขุ ท่านพระอาจารยด์ ีได้แสดงความวิตกกังวล โดยหลวงปู่สวุ จั น์ สุวโจ บันทกึ ไวด้ ังน้ี

“พระอาจารย์ฝัน้ ไปช่วยท่านพระอาจารยด์ ี บา้ นกดุ แห่ ต�ำบลกดุ เชยี งหมี อ�ำเภอเลงิ –
นกทา จงั หวดั ยโสธร เนอ่ื งจากคณะโยมบา้ นกุดแห่มศี รัทธา พร้อมใจกนั สรา้ งสำ� นักสงฆ์ นิมนต์
พระอาจารยด์ ี ฉนโฺ น มาอยู่โปรดโยมที่บ้านนั้น พระอาจารย์ดีก็ไดไ้ ปอย่อู บรมสงั่ สอน พาปฏิบตั ิ
ฝกึ หัดภาวนา จนบางคนไดเ้ กิดสัญญาวปิ ลาส ขาดสติความส�ำนึกรู้สึกตวั พระอาจารย์ดจี งึ ร้องขอให้
พระอาจารย์ฝนั้ ชว่ ยแก้ไข

“ทวี่ ่าบางคนภาวนาเกดิ เป็นจิตวิปลาสน้นั มันเป็นอย่างไร” พระอาจารย์ฝน้ั ถาม
พระอาจารยด์ ตี อบว่า “บางคนเดินไปตามทางถงึ สีแ่ ยก กเ็ กิดความรู้ขน้ึ มาในใจว่า สถานท่ี
ตรงนี้เปน็ ทอ่ี งค์สมเด็จพระสัมมาสัมพทุ ธเจ้าและพระอริยสาวกของพระพุทธเจ้า เคยเสดจ็ มาทาง
สายนี้ แล้วพากันนง่ั คกุ เข่าไหวก้ ราบอยูท่ น่ี น้ั เปน็ เวลานาน กราบแลว้ กราบเล่า เมอื่ ลุกไปจากทน่ี นั้
แลว้ ไปถงึ สแ่ี ยกขา้ งหนา้ ก็ปฏบิ ตั ิอย่างน้ันอีก บางคนเมอื่ เวลาก�ำลังนัง่ ภาวนารวมอยู่ท่ศี าลา เวลา
จิตเกิดวิปลาสก็ลุกข้ึนเปลื้องผ้านุ่งห่มออกทิ้งทั้งหมด แล้วเดินฝ่าผู้คนท่ีเขานั่งภาวนาอยู่ด้วยกัน
เรื่องเขาเป็นอย่างน้ี กระผมพยายามเท่าใดก็ไม่เป็นผล กรุณาท่านอาจารย์ได้เมตตาช่วยแก้ไข
ใหด้ ว้ ย”
พระอาจารย์ฝั้นรับค�ำว่าจะช่วยแก้ไข พระอาจารย์ดีจึงได้บอกนัดญาติโยมในบ้านให้ออก
ไปฟังเทศน์ของพระอาจารย์ฝั้น รวมกันที่ศาลาโรงธรรมตอนเย็นวันน้ัน ครั้นถึงเวลาแล้วพวก
ญาติโยมก็ได้ทยอยกันออกมารวมกันอยู่บนศาลา เมื่อพร้อมเพรียงกันแล้ว ได้นิมนต์ท่านพระ–
อาจารย์ฝน้ั ขึ้นเทศน์
พระอาจารย์ฝัน้ จึงได้แสดงธรรมแนะนำ� วธิ ีภาวนา อบรมจติ ระวังรักษาจติ อย่าใหจ้ ติ
คิดฟุ้งซ่านเพน่ พา่ นออกไปข้างนอก ต้งั จิตให้ตรง ดำ� รงสติใหม้ น่ั ให้มคี วามรูต้ ัว มคี วามระลกึ นึก
ค�ำบรกิ รรมวา่ พทุ โธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พทุ โธ ธมั โม สงั โฆ ๓ จบ แลว้ ใหร้ ะลึก
นึกเอาแต่พุทโธๆๆๆ ค�ำเดียว เพือ่ ตัดสัญญาอารมณข์ า้ งนอก ขา้ งใน ให้เหลอื แตพ่ ุทโธอยใู่ นใจ

71

อยา่ งเดียว ระลึกไปๆๆๆ อยา่ ปล่อยให้จิตวา่ ง เพราะจะเป็นช่องทางให้กิเลส ตณั หา สญั ญา
อารมณ์ เขา้ มาอาศัยก่อกวนจิตใจ ท�ำใหจ้ ิตฟงุ้ ซ่าน ข้เี กยี จขค้ี รา้ น เกดิ ความร�ำคาญ อยากหลบั
อยากนอน ให้เพียรพยายามพทุ โธ อย่าใหเ้ ผลอเลนิ เล่อขาดสติ ใช้ไม่ได้

เพราะสติท�ำใหเ้ ราระลึกได้หมายรูต้ วั ของเราเองไดเ้ สมอ เมอ่ื เรามีความระลึกรู้สกึ ตัวเราเอง
อยอู่ ย่างน้ี จิตของเราก็ไม่วปิ ลาสคลาดเคล่อื นไปเปน็ อยา่ งอนื่ เมอ่ื มันจะเหน็ เราก็เหน็ เราก็รู้วา่ มนั
จะเปน็ เราก็ไม่ให้มนั เป็น เพราะมนั ไม่ดี ไม่ใช่ทางของพระอรยิ ะ ทางท่ถี กู เราตอ้ งมีปัญญา รักษา
จติ ใหไ้ ดร้ ู้ได้เหน็ จิตของเราเองตลอดเวลา ทั้งกลางวันกลางคนื ยนื เดิน นั่ง นอน ให้เหน็ ธรรม
ทง้ั หลายเกิดขึน้ ที่ใจ ดบั กด็ บั ลงที่ใจ เหตเุ กดิ ข้นึ ทีใ่ จ ผลก็เกิดขนึ้ ที่ใจ เราไม่ควรไปดู ไปรู้ไปเหน็
ท่ีไหน ให้ดรู เู้ หน็ อยู่ทใ่ี จดวงนีด้ วงเดียวก็พอ บำ� รงุ ใจดวงเดยี วนี้ใหม้ กี �ำลงั ด้วยสมาธิ วริ ยิ ะ สติ
ปญั ญา ศรทั ธาความเช่ือถอื ใหถ้ ูกต้องตามทางของพระอรยิ ะ

เมอื่ จิตมีสติ สมาธิ ปญั ญา ศรทั ธา ความเพยี รอย่างถูกตอ้ งมาเปน็ ก�ำลังมรรคสามคั คมี ขี น้ึ ที่
จติ แล้ว จติ ก็สามารถพชิ ิตชงิ ชยั ไดช้ นะกเิ ลส ทีเ่ ป็นเหตใุ หเ้ กิดวิปลาสน้ันได้อย่างสนิ้ ซาก จากนัน้ ก็
เหลือแตเ่ อกัง จิตตัง มจี ิตดวงเดยี ว เอกัง ธัมมงั มธี รรมอนั เดียว มีความเหน็ เปน็ อันเดียว
ไมแ่ บง่ แยก เหน็ ธรรมในจิต เห็นจติ ในธรรม เห็นธรรมเป็นจติ เหน็ จิตเปน็ ธรรม ปราศจากตวั ตน
สตั ว์ บุคคล เรา เขา จงึ เปน็ จิตวา่ ง

จิต ๐ (ศูนย)์ จติ วา่ งแบบน้ีใชว่ ่างเปลา่ แต่ว่างจากกเิ ลสอาสวะ
จติ ๐ แบบนไี้ มใ่ ช่ ๐ เปล่า แต่จติ ๐ จากสตั ว์บุคคล จากตัวจากตน จากเขาจากเรา
พระธรรมเทศนาที่พระอาจารย์ฝั้นแสดงอบรมครั้งน้ัน ท�ำให้ผู้ฟังมีความรู้สึกส�ำนึกรู้ตัว
ไดเ้ จรญิ สติปญั ญา รักษาจิตอย่างเอาจริงเอาจัง ผทู้ ี่จิตเคยเกดิ วปิ ลาส ขาดสตปิ ัญญา จติ กลับเข้าสู่
ความสงบตงั้ ม่ันเป็นสมาธิ มสี ติระลึกรู้สกึ ตวั จิตที่มคี วามเห็นวิปลาสขาดสติ กห็ ายกลบั เปน็ ปกติ
พระอาจารย์ดี ฉนฺโน และญาติโยมทุกๆ คน เมื่อได้ฟงั ธรรมเทศนาจบลงแล้ว ต่างก็มีความ
ปีติปล้ืมใจเป็นอย่างยิ่ง ต่างก็แซ่ซ้องสาธุการยินดีโดยทั่วกัน ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้อยู่อบรม
แนะน�ำ พาท�ำสมาธิภาวนาต่อมาทุกวัน ญาติโยมก็พากันหล่ังไหลเข้าวัด ปฏิบัติบ�ำเพ็ญภาวนา
มีจ�ำนวนเพ่ิมมากข้ึนทุกวันๆ เม่ือท่านเห็นว่าทุกคนที่ไปภาวนา มีสติปัญญารักษาจิตไม่วิปลาส
ถูกตอ้ งแล้ว ท่านจึงได้อ�ำลาพระอาจารยด์ ีและญาตโิ ยม กลบั ไปหาท่านพระอาจารย์มน่ั เพ่ือจะได้
อยจู่ �ำพรรษากบั ท่านทบ่ี า้ นหนองขอนน้ัน”

72

พ.ศ. ๒๔๗๐ จ�ำพรรษา ๓ ทีว่ ัดป่าบ้านบ่อชะเนง ถูกขบั ไลก่ ลางพรรษา

ตามปรกติพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่ัน โดยเฉพาะพระศษิ ย์ในรุน่ ก่อนๆ
ทา่ นจะทอ่ งปาฏิโมกขก์ นั ได้อย่างคล่องแคลว่ หลวงป่ฝู น้ั อาจาโร ทา่ นเป็นองคห์ นึ่งทท่ี อ่ งปาฏิ–
โมกขไ์ ด้อยา่ งคลอ่ งแคลว่ เมื่อทา่ นเดนิ ทางกลบั ไปถึงเสนาสนะป่าบ้านหนองขอน ทา่ นก็กราบเรยี น
เร่อื งทไี่ ปช่วยทา่ นพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ในปนี ้ที า่ นตง้ั ใจจะขออย่จู ำ� พรรษากับทา่ นพระอาจารย์ม่ัน
แต่สุดท้ายทา่ นต้องไปจ�ำพรรษาท่ีวดั ป่าบา้ นบอ่ ชะเนง โดย หลวงปสู่ ุวัจน์ สวุ โจ บนั ทกึ ไวด้ ังนี้

“พอใกล้ถงึ วันจะเขา้ พรรษา พระอาจารยก์ ู่ ซงึ่ อยูท่ สี่ �ำนักวัดปา่ บา้ นบอ่ ชะเนง ไมม่ ีพระ
สวดปาฏิโมกข์ พระอาจารยม์ ัน่ จึงไดส้ ง่ พระอาจารย์ฝนั้ ใหไ้ ปอยู่ทว่ี ดั ป่าบ้านบ่อชะเนงกบั พระ–
อาจารยก์ ู่ เพื่อจะไดส้ วดปาฏิโมกข์”

ดงั น้ัน ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงปู่ฝ้นั ทา่ นจึงไดจ้ �ำพรรษาที่วดั ปา่ บ้านบ่อชะเนง อำ� เภอ
อำ� นาจเจริญ จงั หวัดอบุ ลราชธานี (ปัจจบุ นั คือ อำ� เภอหวั ตะพาน จงั หวัดอำ� นาจเจรญิ ) นบั เป็น
พรรษาท่ี ๓ ขณะท่านมอี ายุ ๒๘ ปี

บา้ นบ่อชะเนงนี้เปน็ บ้านเกดิ ของหลวงป่ขู าว อนาลโย ซ่ึงในปีทหี่ ลวงปฝู่ ้ันมาจ�ำพรรษา
หลวงปขู่ าวทา่ นติดตามท่านพระอาจารย์บุญ ปญฺาวโุ ธ ไปจ�ำพรรษาทวี่ ดั สทุ ธจนิ ดา อำ� เภอเมือง
จงั หวดั นครราชสีมา

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ภูรทิ ตฺโต และพระเณร ได้แยกยา้ ยกันจำ� พรรษา
ตามสถานท่ีตา่ งๆ ในท้องทจี่ งั หวัดอบุ ลราชธานี ดงั น้ี

๑. บ้านหนองขอน ท่านพระอาจารยม์ ่ัน อยู่จำ� พรรษา
๒. บา้ นน�้ำปลีก ทา่ นพระอาจารย์เกง่ิ และ ท่านพระอาจารยส์ ลี า อย่จู ำ� พรรษา
๓. บ้านหวั ตะพาน ท่านพระอาจารย์ออ่ น อย่จู ำ� พรรษา
๔. บ้านบ่อชะเนง ท่านพระอาจารย์กู่ ท่านพระอาจารยฝ์ ั้น และ ทา่ นพระอาจารยก์ วา่
อยู่จ�ำพรรษา
ในระหวา่ งพรรษา พระกรรมฐานถูกขับไลอ่ ีกครัง้ โดยหลวงปูส่ วุ ัจน์ สวุ โจ บนั ทกึ ไว้ดังนี้
“ท่าน (หลวงปฝู่ ัน้ ) เคยเล่าใหฟ้ งั ว่า สำ� นักสงฆบ์ ้านบ่อชะเนงนีแ้ หละเคยมเี รอื่ ง คือ
พระเจา้ คณะหมวด (เจ้าคณะต�ำบล) ทา่ นมาไลไ่ มใ่ หพ้ วกเราอยูใ่ นเขตทอ้ งที่ของทา่ น เร่ืองมีอยู่วา่
อุปชั ฌาย์ลยุ ทา่ นไดเ้ ป็นเจา้ คณะหมวด อยตู่ �ำบลเคง็ ใหญ่ ท่านไดท้ ราบวา่ มีพระกรรมฐาน
เดนิ ธุดงคม์ าพกั อยู่ทบ่ี า้ นบอ่ ชะเนงนี้ ไดม้ าเทศนาสัง่ สอน ชาวบา้ นมีความเคารพเลอื่ มใสในพระ
คณะนีม้ าก พากันหลง่ั ไหลไปท�ำบญุ ใหท้ านทุกวันๆ เตม็ ไปหมด เกิดความไมพ่ อใจ ได้พดู กับ

73

พวกญาตโิ ยมชาวบ้านว่า “พระอะไร วดั มไี มย่ กั อยู่ ไมม่ าพกั ไปเทีย่ วพกั ตามหวั ไร่หัวนา ตามปา่
ตามดง นอนกับดิน กนิ กบั ทราย อาตมาจะไปขับไลใ่ ห้ออกไปใหไ้ กลจากเขตน้คี อยดูนะโยม”

คณะศรัทธาญาตโิ ยมชาวบา้ นผูท้ ี่มีความเคารพและเลอ่ื มใสในพระคณะน้ี เม่ือทราบขา่ ววา่
อุปชั ฌาย์ลยุ เจ้าคณะหมวดจะออกไปขบั ไลพ่ ระกรรมฐาน ซ่ึงมพี ระอาจารย์ฝนั้ เปน็ หัวหนา้ ดังนั้น
ทกุ คนมีความตกใจเป็นทกุ ข์เดอื ดร้อนและเสยี ใจมาก ทกุ คนไมอ่ ยากจะใหท้ ่านไป เพราะทา่ นได้มา
พกั อยู่ที่นี่ ท่านได้เทศนาอบรมส่ังสอนพวกเขาทุกวันทกุ เวลา ทำ� ใหพ้ วกเขามศี รัทธาเลื่อมใส จึงได้
พากันหลงั่ ไหลออกไปบำ� เพ็ญกศุ ล ฝึกหัดไหวพ้ ระสวดมนต์ ภาวนา รกั ษาศลี ยินดีในทานเพิ่ม
จ�ำนวนมากขึ้นทุกวนั ๆ ท�ำใหช้ าวบ้านมคี วามเลือ่ มใสในทา่ นมาก จงึ ไม่อยากใหท้ า่ นหนีไปจาก
พวกเขา พวกเขาอยากใหท้ ่านอยู่โปรดพวกเขานานๆ อุปัชฌาย์ไมน่ า่ เลย พระดีๆ เขา้ มาอยกู่ ับ
พวกเขาไมไ่ ด้

เวลาท่านพาคณะออกบิณฑบาต พวกญาติโยมมาใสบ่ าตรแลว้ ไดก้ ราบเรยี นเรื่องดงั กล่าว
ใหท้ า่ นทราบ ทา่ นพระอาจารย์ฝน้ั ไดฟ้ งั แลว้ ท่านไมพ่ ดู อย่างใด ได้แตย่ ม้ิ ๆ แลว้ เดินรับบณิ ฑบาต
ผ่านเร่ือยไปสดุ ทางแลว้ ก็กลบั ชาวบา้ นกพ็ ากันทยอยออกตามหลงั ท่านไป เพอื่ ไปคอยฟังอุปชั ฌาย์
เจา้ คณะหมวด ทา่ นจะออกไปว่าอย่างไร หลงั จากนนั้ เจ้าคณะหมวด ท่านได้เดินออกมาหา
พระอาคันตุกะ ท่ีมาพกั รุกขมลู ทนั ที

เมื่อท่านเจ้าคณะต�ำบลเดินมาถึงท่ีพักของพระอาจารย์ฝั้นแล้ว พระอาจารย์ฝั้นท่านก็ได้
ลุกขึน้ ปฏสิ ันถารต้อนรบั ทา่ นเจ้าคณะหมวด ผู้มีบุญหนักศกั ดใ์ิ หญม่ ุ่งมาเพือ่ จะขบั ไลใ่ หท้ า่ นอาจารย์
และคณะออกไปจากทนี่ ั้น โดยจดั ทถ่ี วายใหท้ ่านเจา้ คณะหมวดน่ัง แลว้ กราบพระเดชพระคุณทา่ น
เจ้าคณะหมวดด้วยความเคารพ

ทา่ นเจา้ คณะหมวดถามพระอาจารยฝ์ ้ันวา่ “พวกเธอพากันไปอยา่ งไร มาอยา่ งไร มาอยู่ที่นี่
ต้องการอะไร”

“พวกกระผมพากันเดินธุดงค์มา และจะพากันไปแบบพระธดุ งคกรรมฐานเขาปฏบิ ตั ิกนั ท่ี
พวกกระผมมาอยทู่ นี่ ่ีก็เพื่อจะมาอาศยั พง่ึ บญุ บารมพี ระคณุ ท่านเจา้ คณะทน่ี ี่ เพราะพวกกระผมเป็น
พระพึ่งมาฝกึ หดั ปฏบิ ัติใหม่ ยังไมฉ่ ลาดในพระธรรมวินยั ถ้าท่านเจ้าคณะเหน็ การประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ
ของพวกกระผมไม่ถูกตอ้ ง บกพร่องผิดท�ำนองคลองธรรม วนิ ัยบกพรอ่ งตรงไหน ขอความกรณุ า
ได้ชว่ ยเมตตาตกั เตอื นสงั่ สอนพวกกระผมดว้ ย พวกกระผมมคี วามรู้น้อย ไดผ้ ่านการศึกษากน็ อ้ ย
ไมค่ อ่ ยจะมีความฉลาด ดังน้ัน กระผมขอโอกาสถามพระคุณเจ้าคณะ คอื วา่ ที่พวกกระผมมาเทยี่ ว
พกั อย่รู ุกขมูลร่มไมพ้ กั อยตู่ ามปา่ พระพทุ ธเจ้าพระองค์ห้ามไหม”

“พระพทุ ธเจา้ พระองค์ไมห่ า้ ม พระองค์กลับทรงอนุญาตเสยี อกี ” เจา้ คณะตอบ

74

“แลว้ มคี วามผดิ ทางวนิ ัยไหม” พระอาจารยฝ์ น้ั ถาม
“ทางพระวนิ ยั กไ็ มผ่ ดิ ” เจ้าคณะตอบ
พระอาจารยฝ์ ั้นกไ็ ดซ้ ักไซ้ไล่เลียงถามตอ่ ไปอกี ว่า “พวกกระผมเดินบิณฑบาตมาฉนั ผิดไหม
ถามถึงฉันสำ� รวมในบาตร ฉนั มือ้ เดียวเทย่ี วพ�ำนกั พักอยูต่ ามปา่ เทศนาอบรมสง่ั สอนญาติโยม ให้มี
ความเคารพคารวะร้จู ักคณุ พระพทุ ธ คณุ พระธรรม คุณพระสงฆ์ ใหร้ ้จู ักกราบ ใหร้ ูจ้ ักไหว้ รู้จัก
ท�ำบญุ ใหท้ าน จำ� ศลี ภาวนาอะไรเหล่านี้มคี วามผิดไหม พระพุทธองคห์ า้ มการปฏบิ ตั ิอย่างนี้ไหม
เจ้าคณะตอบว่า “พระพุทธองค์ไม่ได้ห้าม การปฏิบัติของพวกท่านท่ีพากันปฏิบัติกันอยู่
เวลานี้ ก็ไม่มคี วามผิด”
“เม่อื ปฏบิ ตั ิไม่ผดิ ปฏิบัติถกู ต้องตามพระวินยั บัญญตั ทิ ุกอย่างแล้ว ก็ยอ่ มเป็นผู้ไม่มีความ
รงั เกยี จของเพ่ือนนกั บวชดว้ ยกนั มใิ ช่หรือขอรับ”
“ใช่ ไมค่ วรรงั เกียจ” เจา้ คณะตอบ
“ถ้าอย่างนนั้ เมื่อการพักอยปู่ ฏิบตั ขิ องพวกกระผมไมม่ ีความผิด ทางพระวนิ ยั กไ็ มไ่ ดห้ ้าม
และไมเ่ ปน็ ที่รงั เกียจของเพือ่ นนักบวชประพฤตพิ รหมจรรยด์ ว้ ยกันแล้ว พวกผมต้องการอยากจะ
พักบ�ำเพญ็ เพยี รอยทู่ ไี่ หน ก็ควรจะอย่ไู ดใ้ ช่ไหม”
“คงจะเป็นอยา่ งนั้น ใชแ่ ลว้ แต่อยา่ พักอยนู่ านๆ ประเดีย๋ วจะตดิ บา้ นตดิ ถน่ิ ตดิ ทีอ่ ยู่
ติดญาตติ ดิ โยม กรรมฐานจะเสอ่ื ม”
ทา่ นพระอาจารย์ฝ้ันเห็นได้ทา่ แล้ว พูดตอ่ ไปอีกว่า “ไหนพระคุณท่านเจา้ คณะวา่ จะมาไล่
พระกรรมฐานอย่างน้นั หรอื ดีแลว้ ท่จี ะมาไลก่ รรมฐาน อะไรเป็นกรรมฐาน กรรมฐานอยูท่ ไ่ี หน
ไม่ใช่เกศา ผม โลมา ขน นขา เลบ็ ทนั ตา ฟัน ตะโจ หนงั เหล่าน้หี รือเปน็ กรรมฐาน มนั มีอยูท่ เี่ รา
ทกุ คนไม่ใชห่ รือ สิ่งเหลา่ น้ที ่านเจ้าคณะก็เป็นอุปชั ฌาย์ เวลาบวชกลุ บตุ ร ทา่ นก็คงสอนลกู ศิษย์ของ
ทา่ นใหร้ จู้ ักกรรมฐาน แล้วให้ฝึกอบรมกรรมฐาน ท่านสอนกรรมฐานอยา่ งน้ีให้เขามิใช่หรือขอรับ
แลว้ ท่านจะมาขบั ไลก่ รรมฐานโดยวิธีไหนเลา่ เกศา – โลมา ท่านจะไล่ด้วยวิธีตม้ น้�ำรอ้ น
ลวกหรอื ฆ่าเป็ดฆ่าไก่เหรอ นขา – ทันตา จะเอาแหนบเอาคมี มาคีบดงึ ถอนออกมาอยา่ งนัน้ หรือ
ขอรับ หรอื พระคุณเจา้ คณะจะวา่ อย่างไร ให้วา่ มา พวกกระผมและญาติโยมท้งั หลายจกั ไดฟ้ ัง
ถา้ ท่านเจ้าคณะจะไลก่ รรมฐานแบบน้ี กระผมกย็ นิ ดีให้ไล่ขอรับ”
ท่านอปุ ชั ฌาย์เจา้ คณะหมวดบา้ นเคง็ ใหญ่ ไดฟ้ ังแล้วกย็ ่ิงมีความโกรธมาก แตจ่ ะท�ำอะไรก็
ไมไ่ ด้ คว้าไดย้ ่ามแล้วลุกเดนิ ออกไปทนั ทแี บบไม่กล้ามองดหู นา้ ใครเลย”

75

ระหวา่ งจ�ำพรรษาทวี่ ัดปา่ บ้านบอ่ ชะเนงนัน้ (ปี พ.ศ. ๒๔๗๐) หลวงปกู่ ู่ ธมฺมทนิ โฺ น กับ
หลวงปู่ฝนั้ อาจาโร ไดเ้ ทศนาส่งั สอนพวกญาตโิ ยมบ้านบอ่ ชะเนง และหมบู่ ้านใกลเ้ คยี งมาตลอด
ผูค้ นตา่ งกเ็ ล่ือมใสในปฏิปทาของพระอาจารยท์ ง้ั สองเปน็ อยา่ งมาก ถงึ กับให้ลกู ชายลูกสาวมาบวช
เป็นพระเปน็ เณร และเป็นแม่ชกี ันมากมาย

เข้าเมืองอุบลฯ อบรมส่งั สอนประชาชน

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เมอ่ื ออกพรรษาแลว้ หลวงปมู่ ่นั ภูรทิ ตฺโต ไดพ้ าพระภกิ ษสุ ามเณรมา
ประชมุ ปรึกษาหารือกันท่ี วดั ปา่ บ้านบ่อชะเนง สถานทซ่ี ง่ึ หลวงปฝู่ นั้ จำ� พรรษา โดย หลวงป่สู ุวจั น์
สุวโจ บนั ทกึ ไว้ดังนี้

“ออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์ม่ันกไ็ ด้เดนิ ทางออกมาทว่ี ดั ปา่ บ้านบ่อชะเนง ไดป้ ระชมุ
ปรกึ ษาเรื่องท่ีออกปฏิบตั ิ และอบรมสง่ั สอนประชาชนในเขตทอ้ งท่ีเมอื งอุบลฯ เมอ่ื ประชุมตกลง
เป็นทเ่ี รยี บรอ้ ยแลว้ ไดอ้ อกเดินทางรว่ มกบั พระอาจารย์มน่ั เข้าเมอื งอบุ ลฯ”

หลวงปู่ฝ้นั ทา่ นรว่ มเดินทางไปกบั พระกรรมฐานคณะของท่านพระอาจารยม์ น่ั โดยเขา้ ไป
พักท่ีวัดสุปัฏนาราม ๒ คนื พกั ท่วี ัดเลียบ ๒ คนื แล้วไปพักทวี่ ัดบูรพา อกี ๑๐ คนื ซ่งึ ท้ัง ๓ วัดนี้
เป็นวัดธรรมยุตส�ำคญั ในจงั หวดั อุบลราชธานี ระหวา่ งเดินทางไปอุบลราชธานี ท่านพระอาจารยม์ น่ั
ได้พาโยมมารดาไปอยูบ่ ้านบอ่ ชะเนงตามทต่ี ัง้ ใจไวแ้ ต่ต้น เมอ่ื จัดหาที่พักใหโ้ ยมมารดาเรยี บรอ้ ยแลว้
ก็มอบใหพ้ ระอาจารยอ์ นุ่ รับภาระดูแลโยมมารดาตอ่ ไป

หลวงปู่สุวัจน์ สวุ โจ ได้บันทกึ ต่อไปวา่
“ระหวา่ งท่ีพระอาจารยฝ์ ัน้ พ�ำนักอย่วู ัดบูรพา เมืองอบุ ลฯ พระอาจารย์สิงห์ ขนตฺ ยาคโม
ไดส้ ่ังให้พระอาจารย์ฝั้น กลับไปรบั คณุ โยมแมข่ องพระอาจารยม์ ัน่ ซ่งึ อยทู่ ่ีวดั ป่าบ้านบ่อชะเนง
เข้ามาอยู่เมืองอุบลฯ ครั้นพระอาจารย์ฝั้นไปถึงวัดป่าบ้านบ่อชะเนงแล้ว เห็นพระอาจารย์อุ่น
(พระอาจารย์อุ่น มรณภาพที่อ�ำเภอท่าอุเทน) ได้เดินทางมาพักอยู่ท่ีน้ันก่อนแล้ว ท่านเรียน
พระอาจารย์อุ่นวา่ ทา่ นกลบั มารับคณุ โยมมารดาของทา่ นพระอาจารย์ใหญ่มั่นไปเมืองอุบลฯ
พระอาจารย์อุ่น จงึ พูดรบั รองกบั พระอาจารยฝ์ ั้นวา่ “เร่ืองนี้ให้เป็นภาระหน้าที่ของผมเอง
ทา่ นไม่ต้องเป็นหว่ ง ผมกจ็ กั ได้เขา้ ไปนมัสการทา่ นพระอาจารย์ใหญม่ ่ันอยู่แลว้ ถ้าทา่ นอยากจะ
ปลกี ตวั ไปท�ำความเพียรบ�ำเพญ็ ภาวนา ทไ่ี หนเหมาะกน็ มิ นต์ ทางน้ีผมจะจัดการใหเ้ รยี บร้อย”
พระอาจารย์ฝัน้ เมอื่ เหน็ ว่า พระอาจารยอ์ ุ่นรบั เปน็ ภาระทจี่ ะพาคุณโยมแมข่ องพระอาจารยใ์ หญม่ ่นั
ไปแทนดงั นน้ั แล้ว ท่านจงึ ได้คดิ เปลย่ี นทางใหม่ ไมอ่ ยากจะกลับเมืองอุบลฯ อกี

76

ท่านระลึกถงึ ภเู ขาแถวบา้ นหนองสงู อำ� เภอค�ำชะอี จังหวดั นครพนม (ปจั จุบันอยู่ในเขต
จังหวัดมุกดาหาร) ท่ีได้ผ่านมา เห็นเป็นสถานท่ีสงบสงัดเหมาะแก่การไปอยู่ปฏิบัติฝึกหัดจิตใจ
ให้ไดก้ �ำลังสติปัญญา สามารถต่อสขู้ บั ไล่ชงิ ชัยกบั กิเลส อันเปน็ เหตุกอ่ กวนจติ ใจใหม้ วั หมอง เรา
จึงต้องปราบทุกข์ให้ราบคาบ เม่ือท่านได้ตัดสินใจเปล่ียนเส้นทางใหม่แน่วแน่แล้ว ก็เตรียมออก
เดินทาง มพี ระเณร ๓ รปู ตาปะขาว ๒ คน ติดตามไปดว้ ย”

ไปวเิ วกที่ถ้ำ� จ�ำปา

หลวงปูส่ ุวจั น์ สวุ โจ บนั ทกึ ไวด้ ังนี้
“หลังจากนั้น พระอาจารย์ฝั้นก็ได้พาลูกศิษย์ของท่าน ออกเดินธุดงค์ต่อไปมุ่งต่อภูเขา
ล�ำเนาไพร ไปทางบ้านหนองสงู อ�ำเภอค�ำชะอี จงั หวัดนครพนม ท่านไดพ้ าลกู ศิษย์ของท่านไปพกั
ท�ำความเพียรภาวนาอยใู่ นถำ้� แหง่ หนง่ึ ชื่อว่า “ถ้�ำจำ� ปา” แตก่ ารเดนิ ทางไปถ�้ำจ�ำปาน้ันล�ำบากมาก
ทางแคบรก เดนิ หลงทางวกไปเวียนมา ขึ้นๆ ลงๆ ดงกห็ นา ปา่ กท็ ึบ ท้ังมสี ตั ว์ร้ายนานาชนิด
พอไปถงึ หนองน้ำ� ใหญ่ก็พากนั พกั เหนือ่ ยสกั ครู่ แล้วก็ออกเดนิ ทางตอ่ ไป
พอเดินไปสกั พกั ใหญ่ โยมผ้นู �ำทางพาไปหลง เดินไปเทา่ ไรก็ไปไมถ่ ึงสกั ที เกดิ สงสัย เพราะ
หลง เดินวกยอ้ นกลับมาทางเก่า โดยเขา้ ใจวา่ เดนิ ไปหนา้ ท่านอาจารย์จงึ บอกพวกเราหลงทาง
กลับมาทางเก่าอีกแล้ว โยมผนู้ ำ� ทางยงั ไม่เช่อื ทา่ นจึงชี้ตรงทน่ี ง่ั พักเหนอ่ื ยนนั้ วา่ นี่น�้ำหมากท่ีเรา
บ้วนลงตรงทเ่ี ราน่งั พักเหน่ือยเมอ่ื ตะกี้น้ี โยมจงึ เช่อื แล้วจงึ กลับตัง้ ต้นเดนิ ไปใหม่ ออกไปคราวนี้
ไมห่ ลง ได้ไปถงึ ถ�้ำกร็ าวๆ ๕ โมงเย็น เห็นว่าค่�ำแล้ว พวกโยมกร็ ีบเดนิ ทางกลับบา้ น เพราะกลัวจะมดื
กลางทาง ประเดยี๋ วเดินทางกลับบา้ นไมไ่ ด้ ทา่ นอาจารย์ถามพวกโยมท่มี าส่งว่า หม่บู ้านเขาอยู่
ทไี่ หน พวกโยมกเ็ รยี นทา่ นวา่ ไมท่ ราบ
เมอื่ พวกเขาพากันกลับบา้ นหมดแลว้ ท่านก็พาเณรจัดเลอื กหาทีพ่ กั ไปตกั และกรองนำ้�
ไว้ฉนั ไว้ใช้ กวา่ จะเสร็จกค็ ่�ำมืดพอดี เดินทางทลุ กั ทเุ ลเหนื่อยอ่อนเพลยี ท้งั วนั จงึ เข้าพักสวดมนต์
ไหวพ้ ระ แลว้ นง่ั ทำ� สมาธภิ าวนา ไดพ้ จิ ารณาระลกึ นกึ ถงึ หมบู่ า้ นทจี่ ะไปบณิ ฑบาตวา่ จะอยทู่ ศิ ทางใด
แล้วจึงปล่อยวาง มาตั้งสติก�ำหนดจิตให้รวมเป็นก�ำลัง ตั้งสมาธิให้จิตสงบด้วยความพยายาม
ไม่ใหก้ �ำลังจติ ย่อหยอ่ น (ก�ำลงั จิตนั้น คือ สติ วิริยะ ปัญญา ศรัทธา สมาธิ แต่ละอยา่ งนีส้ ามัคคีกบั
จติ ท�ำกจิ ร่วมกนั ในอารมณก์ รรมฐานที่เกดิ ปรากฏในจติ ปัจจุบัน)
ประเดี๋ยวเดยี วจติ ก็รวมอารมณ์เป็นหน่ึง จติ สงบแนว่ แน่อยู่อารมณ์อันเดยี ว ความเหน่ือย
ออ่ นเพลยี งว่ งเหงาหาวนอน ขีเ้ กียจขีค้ ร้าน ฟุ้งซา่ น รำ� คาญในจติ ดบั ไป มีความสงบสบาย อ่มิ กาย
อิ่มใจ เกิดสวา่ งไสวในใจในจิต แลว้ กป็ รากฏนิมิต “ไดย้ นิ เสยี งวัวร้อง ท่านไดม้ องไปตามทิศทาง

77

ทไ่ี ด้ยินเสยี ง กป็ รากฏเห็นทาง จงึ ไดเ้ ดินออกไปตามทาง เดินไปๆ ก็ไปพบนาและกระท่อมนา
พอมองข้ามทุ่งนาไปฟากฝ่ายโน้นเหน็ มหี ม่บู า้ น แล้วนิมติ กห็ ายไป”

พอรงุ่ เชา้ ท่านก็ออกมา พาพระเณรปัดกวาดจดั สถานท่นี ่ังฉัน ถงึ เวลาไปบิณฑบาต ท่านก็
พาพระเณรและตาปะขาว เดินออกไปตามทิศทางที่ปรากฏจดจำ� ไว้ในนิมติ ได้เดนิ ไปไกลประมาณ
๒๐๐ เส้น ก็ไปเหน็ กระทอ่ มนา และทางเข้าไปในหมบู่ ้าน มจี รงิ ตามความทีเ่ ห็นในนมิ ิต ไปถึงทงุ่ นา
หยดุ ยืนคลุมผ้า บ่าสะพายบาตร เดนิ เขา้ ไปบณิ ฑบาตในหมูบ่ า้ น ซ่ึงมปี ระมาณ ๗ – ๘ หลังคาเรอื น
เม่ือรับบิณฑบาตแล้วเวลาจะกลบั ถำ้� กลบั ไมถ่ กู เพราะทางออกมาเปน็ ปา่ รก ดงหนา ปา่ ทบึ จงึ หลง
กลบั ไม่ถูก ถามชาวบ้านกไ็ ม่มใี ครรูจ้ กั ถำ้� จำ� ปาแม้สักคนเดียว เน่อื งจากพวกเขาเหลา่ น้ันเพง่ิ อพยพ
มาใหม่ ท่านจงึ ถามเขาอกี ว่า “โยมรู้จกั ไหมหนองน้�ำใหญ่อยตู่ รงไหน” พวกโยมวา่ “หนองใหญ่
พวกผมรูจ้ กั ” “ถา้ อย่างน้ันโยมพาอาตมาไปใหถ้ งึ หนองน�้ำใหญแ่ ล้ว อาตมากจ็ ะไปถกู ” พวกโยม
จงึ ไดพ้ าท่านไป เดนิ กลับมากว่าจะถึงถ�้ำ ตะวันกข็ น้ึ สูง สายมาก เวลาประมาณ ๑๐ นาฬิกาเศษ

ทีถ่ ้�ำจ�ำปาเปน็ สถานทีว่ เิ วกเงียบสงัด และแถมยังมสี ัตว์ป่านานาชนิดเหลือหลากมากหลาย
อีกด้วย จำ� พวกสตั ว์ร้ายก็ชุกชมุ ครูบาอาจารย์สมยั ก่อน ลกู ศษิ ยค์ นใดจิตใจไมค่ อ่ ยสงบ มีสติ
หลงใหล โลเล เหลาะแหละ มัวเมาประมาท ขาดความพยายาม ทา่ นมกั สง่ ให้ไปอยู่ฝึกตอ่ สู้กับ
สถานท่ีเช่นนั้น

ท่านพระอาจารย์ฝน้ั ไดพ้ ักทำ� ความเพียรภาวนา พาลูกศิษยอ์ ยู่ถ้�ำจ�ำปาเปน็ เวลาครง่ึ เดือน
กวา่ จากน้ันท่านกไ็ ด้จารกิ ไปตามปา่ เขาละแวกน้ัน จวนถึงเวลาจะเขา้ พรรษา ท่านได้พาลกู ศิษย์
ของทา่ นเดินทางออกมาด้วย ตงั้ ใจวา่ จะกลบั ไปจ�ำพรรษาอยกู่ บั พระอาจารย์มน่ั ทเ่ี มอื งอุบลฯ
พอเดินทางไปถึงท่ีพกั สำ� นกั สงฆ์บ้านบอ่ ชะเนง กไ็ ดพ้ บ พระอาจารย์ทอง อโสโก กไ็ ด้มาพักท�ำ
ความเพียรภาวนาอยู่ท่ีนั่น จึงไดท้ ราบจากท่านพระอาจารยท์ องว่า พระอาจารย์ใหญม่ น่ั ทา่ นไดล้ ง
ไปอยกู่ รงุ เทพฯ กบั ทา่ นเจา้ คุณปญั ญาพิศาลเถร (หน)ู วัดปทุมวนาราม ตง้ั แตเ่ ดือน ๓

เมอ่ื ท่านพระอาจารยใ์ หญ่ม่นั ไม่ไดอ้ ยูเ่ มอื งอุบลฯ แล้ว เราควรกลบั ไปท�ำความเพยี รภาวนา
จ�ำพรรษาอยู่เขตท้องท่ีอ�ำเภอค�ำชะอีดีกว่า เพราะสถานท่ีนั้น เป็นรมณียสถานไม่พลุกพล่าน
มีความเงยี บสงัด เปน็ เสนาสนะเหมาะแกก่ ารบำ� เพญ็ ท�ำความเพียรภาวนาเป็นอยา่ งยงิ่ เมอ่ื ท่านคดิ
เปลีย่ นใจไมจ่ �ำพรรษาที่เมืองอุบลฯ แล้ว จงึ เดนิ ทางกลับไปยังสถานท่ีดงั กล่าวแลว้ ”

อยู่ไกลเหมอื นอยใู่ กล้

ในเดอื นเมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ นับแต่หลวงปูม่ ัน่ ภูริทตโฺ ต ท่านลงไปอย่กู รงุ เทพฯ
เนอื่ งจากทา่ นปรารภว่า “ก�ำลังเราไม่พอ” คือ ท่านยงั ไมบ่ รรลุอริยธรรมขัน้ สูงสุดเปน็ พระอรหันต์
ทา่ นจึงไดป้ ลกี ตวั ไปจากหมคู่ ณะ จากนั้นมาหลวงปู่ฝัน้ อาจาโร ทา่ นก็ไม่ไดอ้ ยูจ่ �ำพรรษาและไมไ่ ด้

78

รับฟังโอวาทธรรมกับหลวงปู่ม่ันอีก เป็นเวลายาวนานติดต่อกันเกือบ ๙ ปี ส�ำหรับหลวงปู่ฝั้น
ซึ่งขณะน้ันท่านเป็นพระภิกษุหนุ่มที่มุ่งม่ันออกบวชปฏิบัติธรรมเพ่ือความหลุดพ้น และท่านก็เพิ่ง
ญัตติเป็นธรรมยุตได้ไม่นาน การอยู่ห่างไกลจากหลวงปู่มั่นผู้เป็นครูบาอาจารย์นานเกือบ ๙ ปี
ถอื เปน็ ระยะเวลาการรอคอยท่ยี าวนานมาก

โดยในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลวงปมู่ ่นั ท่านจ�ำพรรษาอยูว่ ดั ปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
พอออกพรรษาแลว้ ท่านได้รบั นิมนต์ทา่ นเจา้ คุณพระอบุ าลคี ุณปู มาจารย์ (จนั ทร์ สิรจิ นฺโท)
เดนิ ทางขึน้ ภาคเหนือ และเขา้ พกั ที่วัดเจดยี ์หลวง อำ� เภอเมอื ง จังหวดั เชยี งใหม่ จากน้นั ทา่ นก็
ออกเที่ยวธุดงค์ตามป่าตามเขาเพ่ือบ�ำเพ็ญธรรมขั้นแตกหัก จนท่านบรรลุอริยธรรมขั้นสูงสุดเป็น
พระอรหันตส์ มดังความปรารถนาแลว้ ท่านไม่เคยปรารภวา่ “ก�ำลงั เราไม่พอ” อกี เลย ทา่ นยังคง
อยู่บ�ำเพ็ญเพียรเพ่อื วิหารธรรม และสั่งสอนพระศษิ ย์ทข่ี น้ึ ตดิ ตามทา่ นทางภาคเหนอื ตดิ ต่อกนั นาน
เกือบ ๑๒ ปี ต้ังแต่ประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๑ – เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓

ในระยะที่ หลวงปู่ฝน้ั ทา่ นไม่มีหลวงปมู่ ่ันเปน็ ครูบาอาจารย์คอยเมตตาอบรมสงั่ สอนอยา่ ง
ใกล้ชดิ นัน้ ท่านย่อมเกิดความรสู้ ึกว้าเหว่ ขาดความอบอ่นุ เหมอื นคนสนิ้ ท่าไปพกั หนงึ่ ประดจุ บตุ ร
ทก่ี �ำลงั เจริญเติบโตแต่ห่างไกลบดิ าบังเกดิ เกลา้ ด้วยความเคารพรักเทดิ ทนู บชู า ดว้ ยความผูกพันกัน
ในทางธรรม และด้วยการปฏบิ ตั ธิ รรม ในธรรมทุกข้นั นบั แต่สมาธธิ รรมถงึ ปัญญาธรรม และในทุก
อริยภมู ิ นับแต่ภูมพิ ระโสดาบนั ถงึ ภมู ิพระอนาคามี ผปู้ ฏิบัตธิ รรมทกุ รายมีโอกาสติดและหลงได้
ด้วยกนั จึงจ�ำเปน็ ตอ้ งมีพอ่ แมค่ รอู าจารย์คอยเมตตาช้แี นะแก้ไขตลอดให้อุบายธรรม

ดงั นนั้ ในระหว่างที่หลวงปูม่ น่ั บำ� เพญ็ เพยี รอยู่ทางภาคเหนือน้นั แม้หลวงปฝู่ ั้นทา่ นจะอยู่
หา่ งไกลจากหลวงปู่ม่นั ผ้เู ปน็ พอ่ แมค่ รอู าจารยเ์ พียงใดก็ตาม แต่การประพฤตปิ ฏบิ ัติของท่านแล้ว
เหมอื นอย่ใู กล้ชิดติดพนั มาก โดยทา่ นไดอ้ อกเท่ียวธดุ งคป์ ฏิบัตธิ รรม ตามทที่ ่านได้รบั การฝึกฝน
อบรมจากหลวงปู่ม่ันมาอยา่ งเขม้ งวดเคร่งครัด การรักษาพระธรรมวินัย ธดุ งควตั ร ตลอดขอ้ วัตร
ปฏิบตั ิ ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน กเ็ ป็นไปอย่างระมดั ระวังโดยมสี ติตดิ แนบ ในการบำ� เพ็ญเพียร
ภาวนา ทา่ นกข็ ยนั หมน่ั ท�ำความเพียรเปน็ ประจำ� ทกุ วนั ทา่ นไดด้ �ำเนนิ ตามรอยหลวงปมู่ ่นั อย่าง
ครบถว้ นสมบูรณ์ อย่างศษิ ย์มคี รู และทา่ นด�ำเนินตามพทุ ธพจน์ ดังทค่ี รูบาอาจารย์เทศนไ์ วด้ งั นี้

“เวลาองคส์ มเด็จพระสัมมาสมั พทุ ธเจ้าบอกพระ เหน็ ไหม ผูใ้ ดอยู่ทางฟากฝั่งตะวันตก
ของประเทศ ผู้ใดปฏิบตั ิตามเรา เหมือนอยใู่ กล้เรา ผ้ใู ดเกาะชายจวี รเราไว้ กอดเราไว้เลยนะ
นไ่ี งพทุ ธพจน์ๆ นะ แต่ไม่ปฏบิ ตั ติ ามเรา เหมอื นอยู่หา่ งไกลมากนะ”

นอกจากนี้ หลวงปู่ฝนั้ ทา่ นไดเ้ ข้ารว่ มกับกองทพั ธรรมในการออกเทยี่ วธดุ งคจ์ าริกเผยแผ่
พระพุทธศาสนา และเผยแผแ่ นวปฏปิ ทาพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์ม่ัน โดยการ

79

อบรมสัง่ สอนประชาชนญาติโยมใหพ้ ากนั เลิกนับถือผี หนั มานบั ถอื พระรัตนตรัย และบ�ำเพ็ญทาน
ศีล ปฏบิ ตั ิภาวนากันอยา่ งจริงจงั ท้ังนี้เพือ่ จกั ได้เป็นพทุ ธบรษิ ทั ที่มสี ติปญั ญามาบำ� รุงรักษาและ
สบื ทอดพระพทุ ธศาสนาให้เจริญมนั่ คงสบื ต่อไป

พ.ศ. ๒๔๗๑ จ�ำพรรษา ๔ ที่บา้ นหว้ ยทราย

เมือ่ ออกจากเมอื งอุบลฯ แล้ว หลวงปูฝ่ ้นั อาจาโร ทา่ นก็ธดุ งค์กลับมาทางอ�ำเภอค�ำชะอี
จงั หวัดนครพนมอีก (ปจั จุบนั จังหวดั มกุ ดาหาร) คิดวา่ จะหาทพี่ ักจำ� พรรษาในบริเวณน้นั โดย
หลวงปสู่ วุ ัจน์ สุวโจ บนั ทึกไวด้ ังนี้

“พระอาจารย์ฝัน้ อาจาโร เดนิ ธุดงคไ์ ปถงึ บา้ นหว้ ยทราย ชาวบ้านมศี รทั ธา นมิ นต์ใหท้ า่ น
อย่จู �ำพรรษาในละแวกนั้น จึงไดไ้ ปจดั ทำ� ส�ำนกั เป็นเสนาสนะพกั จ�ำพรรษาชัว่ คราว ท่ีป่าหนองน่อง
ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระอาจารยฝ์ ัน้ จ�ำพรรษาบา้ นห้วยทราย อ�ำเภอค�ำชะอี จงั หวดั นครพนม”

ในพรรษาน้นี บั เป็นพรรษาที่ ๔ ของหลวงปูฝ่ ั้น ขณะทา่ นมอี ายุ ๒๙ ปี นบั เปน็ การด�ำเนนิ
ตามรอยเท้าหลวงปู่มั่น ภรู ิทตโฺ ต อีกครัง้ เนื่องจากทีบ่ ้านหว้ ยทรายแห่งนี้ เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๖๔
หลวงป่มู นั่ ทา่ นเคยธุดงคม์ าปฏิบัติภาวนาตามปา่ ตามเขาแถบน้ี และท่านได้มาอยูพ่ กั จ�ำพรรษาที่
เสนาสนะปา่ บา้ นห้วยทราย ๑ พรรษา (ปัจจบุ ัน คือ วดั ปา่ วิเวกวัฒนาราม บา้ นหว้ ยทราย อ�ำเภอ
ค�ำชะอี จังหวดั มกุ ดาหาร) ในคร้งั นั้นหลวงปมู่ นั่ ท่านได้มาเมตตาโปรดคณุ แม่ชแี ก้ว เสียงล้ำ�
ขณะอยู่ในวัยสาว ยังไม่ไดอ้ อกบวชเปน็ แม่ชี

ในระหวา่ งทหี่ ลวงปูฝ่ ั้นพกั จ�ำพรรษาบรเิ วณป่าหนองน่อง บ้านหว้ ยทราย ท่านไดอ้ าศยั
บณิ ฑบาตโปรดญาตโิ ยมในหมู่บ้าน ซง่ึ ญาตโิ ยมที่นี่มคี วามเลื่อมใสศรทั ธาพระธดุ งคกรรมฐานมาก
และร้จู ักการปรนนิบัติต่อพระเณรเปน็ อยา่ งดี ทำ� ให้พระเณรทีเ่ ท่ียวธุดงค์มา ปฏิบตั ิธรรมกนั ได้
อยา่ งสะดวกสบาย สาเหตเุ ปน็ เพราะญาตโิ ยมบา้ นหว้ ยทรายไดร้ บั การฝกึ ฝนอบรมมาเปน็ อยา่ งดแี ลว้
จากคราวท่ีหลวงปมู่ ั่นทา่ นพาพระเณรธดุ งคม์ าจ�ำพรรษา สำ� หรับคณุ แมช่ ีแก้ว เสยี งล�้ำ ในขณะน้นั
ท่านแตง่ งานมีครอบครวั แลว้ ยงั ไม่ออกบวชชี ทา่ นมีความเล่อื มใสศรทั ธาพระธดุ งคกรรมฐาน
ทา่ นก็มาใส่บาตรหลวงป่ฝู ้ันเป็นประจ�ำ

เมื่อหลวงป่ฝู นั้ มาจ�ำพรรษา ทา่ นก็เมตตาอบรมสง่ั สอนญาติโยม เปน็ การตอกยำ้� ญาตโิ ยม
ใหม้ ีความศรทั ธามากย่ิงข้ึน ตอ่ มาก็มีครบู าอาจารย์ธดุ งค์แวะเวยี นมาจ�ำพรรษาและอบรมสั่งสอน
ญาตโิ ยมเร่ือยมา รวมทั้งองค์หลวงตาพระมหาบัว ท�ำใหบ้ ้านห้วยทรายเป็นอกี หมู่บา้ นหนึ่งท่ีมี
ความเลื่อมใสศรทั ธาพระพทุ ธศาสนาอยา่ งแน่นหนาฝังลกึ ได้ออกบวชเปน็ พระ เณร และแมช่ ีกัน
มากมาย องคท์ ่มี ชี ื่อเสียง คุณธรรม ได้บรรลธุ รรมเปน็ พระอรหันต์ เปน็ ท่ียอมรับในวงกรรมฐาน คอื
คณุ แมช่ แี ก้ว เสียงล�้ำ ความเล่อื มใสศรทั ธาของญาตโิ ยมบ้านหว้ ยทรายเป็นมาอยา่ งสม�่ำเสมอและ

80

ต่อเนือ่ ง โดยตา่ งพาลกู หลานเขา้ วัดท�ำบุญ ฟังธรรม ปฏิบัตธิ รรม และออกบวช สืบทอดกนั มาเปน็
ประเพณีจนถงึ ปัจจุบันนี้

ในพรรษาน้ี ระหว่างพรรษาหลวงปู่ฝัน้ ท่านไดอ้ าพาธหนกั อีกครง้ั ด้วยโรคกระเพาะ อาการ
หนกั มาก แต่พอออกพรรษากค็ อ่ ยหายเป็นปกติ โดยท่านใชธ้ รรมโอสถบ�ำบัดอาการอาพาธเหมือน
เชน่ เคย นอกจากนี้ท่านยงั ถูกลองภูมิ ดว้ ยโยมพอ่ ออกวัดน้ีเห็นว่าท่านเปน็ พระภิกษหุ นุม่ และทา่ น
ไดแ้ สดงญาณหยัง่ ทราบของทา่ น ดังนี้

“วนั หนึ่งหลวงปฝู่ นั้ ใชใ้ ห้ตาอ้วนข้หี นอน โยมพอ่ ออกวดั นี้ ไปลา้ งหม้อน�้ำ แตใ่ นหมอ้ น้�ำนน้ั
มีลกู ยงุ อยู่มาก จงึ บอกให้เอาไปเทใสห่ นองบวกควายนอน อย่าเอาไปเทลงหนอง ปลาจะกนิ ได้
แต่ตาอ้วนขห้ี นอนคนน้ีแกอยากลองดูภูมิธรรมของหลวงปฝู่ ัน้ จึงน�ำหม้อน้�ำน้นั ออกนอกวดั ด้านทมี่ ี
หนองบวกควายนอน แต่แกไปไมถ่ งึ หรอก พ้นเขตวัดก็เอามอื กวนน้�ำในหม้อแล้วกค็ ว่�ำหม้อลงดนิ
จากนั้นก็เลยไปล้างไปขัดหมอ้ น้�ำทหี่ นองน้�ำจนสะอาดแลว้ กลับมา

หลวงปู่ฝ้ัน ทา่ นนงั่ รออยู่ในวัด แตท่ า่ นทราบด้วยญาณหยงั่ ทราบของทา่ น และท่านได้
ดเุ ตือนตาอ้วนขหี้ นอนวา่ “พ่อออกอ้วนนีเ้ สยี เป็นคนใหญ่คนโต ใช้แลว้ ใหท้ ำ� แคน่ ี้ กใ็ ช้การไมไ่ ด้
สเู้ ด็กน้อยไม่ได้ บอกสอนมนั มิเอาความดี วา่ ให้เอาไปเทใสห่ นองบวกควายนอน แตเ่ อาไปเทลงดนิ
ลูกยุงมันก็ตายหมด เอาไปเทลงน�้ำ มันอาจรอดตายบ้าง หากไม่เคารพกนั แล้ว กไ็ ม่ตอ้ งมาหาสู่
กันอีก”

โยมพ่อออกอว้ นแกสำ� นึกผิด พร้อมกราบขอขมาหลวงปู่ฝ้นั ว่า “โอย ! ขา้ นอ้ ยขอโทษ
ขอกร ขอครูบาอาจารยโ์ ปรดอโหสิกรรมแกข่ ้านอ้ ย ข้าน้อยมันโง่ มนั ดื้อ ผดิ ไปแลว้ ขา้ น้อยจะไม่ท�ำ
อีกแล้ว อย่าให้ข้าน้อยเป็นบาปเป็นกรรม” ท้ังพูด ท้ังหมอบคลานเข้าหาหลวงปู่ฝั้น ก็เป็นท่ี
นา่ อัศจรรยอ์ ยู่ เพราะกอ่ นจะเททง้ิ ลงดนิ ตาอ้วนแกก็มองแลว้ มองอกี ไม่เห็นใคร แกจงึ เท

หลวงปู่ฝ้ันนเี่ กง่ หลายอยา่ ง จิตก็เก่ง กายกเ็ กง่ วาจากเ็ กง่ ”
ในระหวา่ งเขา้ พรรษาปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ซึ่งอยูจ่ ำ� พรรษาที่
เสนาสนะป่าบ้านหนองขอน อำ� เภอหัวตะพาน จงั หวัดอบุ ลราชธานี ท่านไดร้ บั จดหมายนมิ นต์จาก
ท่านพระครูพิศาลอรัญญเขต (จนั ทร์ เขมโิ ย ป.ธ. ๓) เจา้ อาวาสวดั ศรจี นั ทร์ (วัดศรีจนั ทราวาส)
อำ� เภอเมือง จังหวัดขอนแกน่ รูปท่ี ๗ และเจา้ คณะจงั หวัดขอนแกน่ ธรรมยุต ให้ไปชว่ ยเผยแผ่
ธรรมปฏิบัติให้กับประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่น ท่านพระอาจารย์สิงห์จึงได้นัดประชุมกองทัพ–
ธรรมพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์ม่นั ในวันมาฆบูชา วนั เพญ็
เดือนสาม ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ณ ทพ่ี ักสงฆ์บา้ นหวั ววั อำ� เภอกุดชุม จงั หวดั อุบลราชธานี ซึ่งหลวงปฝู่ ั้น
ทา่ นได้เข้ารว่ มประชุมกองทัพธรรมในครงั้ นน้ั ดว้ ย โดย หลวงปสู่ วุ จั น์ สวุ โจ บนั ทกึ ไว้ดงั นี้

81

“เม่อื หมดเขตพรรษาปวารณาแลว้ ทา่ น (หลวงปูฝ่ ้ัน) ได้ออกเดินทางย้อนกลับทางเมอื ง
อบุ ลฯ อกี ครัง้ ไดม้ าพบกบั ทา่ นพระอาจารย์สิงหแ์ ละพระอาจารย์มหาปนิ่ ที่บา้ นหวั วัว ทา่ นพระ–
อาจารย์สงิ ห์ จงึ ไดน้ ดั พระคณะลูกศษิ ยก์ รรมฐานทไี่ ดต้ ดิ ตามพระอาจารย์มน่ั ท้งั หมด ซ่งึ อย่ใู น
ทอ้ งทีจ่ ังหวัดอุบลฯ (ท่านพระอาจารย์มนั่ กอ่ นทที่ า่ นจะลงไปกรุงเทพฯ ทา่ นได้มอบให้ท่านพระ–
อาจารย์สงิ ห์ และพระอาจารย์มหาปิ่น ปกครองอบรมพรำ่� สอนสานุศิษย์ของท่านทัง้ หมดแทน)
ให้เขา้ มาทพ่ี กั สงฆบ์ า้ นหวั วัว เพื่อรว่ มปรกึ ษาเกยี่ วกับไปช่วยทางจังหวัดขอนแก่น

ท่ีประชุมได้ปรึกษาตกลงกันว่า พวกเราควรออกเดินธุดงค์ไปเผยแพร่การประพฤติปฏิบัติ
ธรรมแก่ประชาชนชาวจงั หวดั ขอนแก่น เพอ่ื ช่วยทา่ นพระครูพศิ าลอรัญญเขต (จนั ทร์ เขมโิ ย)
ซ่ึงท่านได้ไปเป็นเจ้าคณะจังหวัดฝ่ายธรรมยุต จังหวัดขอนแก่น เม่ือในท่ีชุมนุมปรึกษาได้ตกลง
ถกู ต้องพอ้ งกนั แลว้ จึงได้แยกย้ายกันออกเดินธดุ งค์ไปคนละทิศคนละทาง แตก่ ไ็ ดน้ ดั หมายใหไ้ ป
รวมกนั ท่จี ังหวัดขอนแก่นก่อนเขา้ พรรษา พระอาจารย์ฝนั้ ไดอ้ อกเทย่ี ววเิ วกมาทางจังหวัดสกลนคร
เพอื่ เยีย่ มเยียนโยม (บิดา มารดา) และญาติพน่ี ้องของท่าน ซ่งึ อยบู่ า้ นบะทอง อ�ำเภอพรรณานิคม
จงั หวัดสกลนคร”


Click to View FlipBook Version