182
ภาค ๑๑ ถวายธรรมะแดส่ มเด็จฯ และ ท�ำบุญอทุ ิศบพุ การี
เดินทางเข้าจังหวดั อบุ ลฯ ถวายธรรมะแด่สมเดจ็ ฯ
สาเหตทุ ่ี สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ (อ้วน ติสโฺ ส) มบี ญั ชาให้หลวงป่ฝู นั้ อาจาโร เดินทางมา
วัดสปุ ัฏนาราม อ�ำเภอเมือง จังหวดั อุบลราชธานี ในครง้ั นนั้ เพราะในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ กอ่ น
เข้าพรรษาสมเด็จฯ อาพาธหนักมาก ถงึ ขนาดฉันอาหารไม่ได้ ตอ้ งถวายอาหารทางเส้นโลหติ ท่าน
จงึ นมิ นตพ์ ระเถระฝ่ายกรรมฐานเข้าไปปรึกษาหารอื เพอ่ื หาทางบำ� บดั โรคดว้ ยอาศัยธรรมปฏบิ ตั ิ
ในบ้ันปลายชวี ติ ของสมเดจ็ ฯ ท่านสนใจการปฏบิ ตั ิกรรมฐานอยา่ งจรงิ จัง โดยกอ่ นหนา้
เม่อื เดือนเมษายน ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ในงานประชุมเพลงิ ศพทา่ นพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสโี ล
สมเด็จฯ ท่านไปเปน็ องคป์ ระธานและไดพ้ บกับท่านพระอาจารยม์ ่ัน ภรู ิทตฺโต ทา่ นได้กลา่ วขอขมา
วงกรรมฐาน โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว เทศนไ์ วด้ ังน้ี
“นี่ล่ะยศ มนั ท�ำคนให้เปน็ บา้ ใหฟ้ ังเอานะ เราได้เปน็ คตเิ ครอื่ งเตือนใจมา ผู้ใหญ่ยศมาก
เท่าไร ยิ่งเปน็ บ้าหนักเขา้ ไปๆ ยกตัวอยา่ งเช่นสมเด็จมหาวรี วงศ์ (ติสโฺ ส อว้ น) วัดบรมนิวาส
ขู่เข็ญพระกรรมฐาน ขบั ไล่พระกรรมฐาน พูดจงั ๆ อย่างนล้ี ะ่ ภาษาธรรม รอ้ นมากอยู่นะตอนน้ัน
พอทา่ นลงเท่านั้นแหละก็เยน็ ไปหมดกรรมฐาน ท่านขอโทษวงกรรมฐาน ชัดเจนกต็ อนไปเผาศพ
หลวงปู่เสารเ์ รา ขอโทษหลวงปู่ม่ันเราตอ่ หนา้ พระสงฆ์มากๆ จนนำ้� ตาทา่ นเจา้ คุณธรรมเจดีย์
เรานีค้ ลอ ออกจากนัน้ ก็น�ำ้ ตาร่วงเลย”
การอาพาธหนกั ในคราวน้ี สมเด็จฯ ทา่ นได้นมิ นต์ ทา่ นพระอาจารย์สงิ ห์ ขนตฺ ยาคโม ให้
อธบิ ายธรรมเป็นองคแ์ รก เมือ่ ทา่ นพระอาจารยส์ ิงหอ์ ธิบายจบลงแล้ว สมเดจ็ ฯ จึงใหท้ า่ นพระ–
อาจารยท์ อง อโสโก เจ้าอาวาสวัดบรู พา (ศิษยผ์ ใู้ หญ่ของทา่ นพระอาจารยเ์ สาร์ กนตฺ สีโล) อธิบาย
อีกเปน็ องค์ท่สี อง ต่อจากน้ันสมเดจ็ ฯ จงึ หนั มาทางหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ให้อธบิ ายธรรมใหฟ้ ังอกี
เปน็ องคส์ ดุ ทา้ ย หลวงปู่ฝ้นั จึงได้อธิบายธรรมถวายสมเด็จฯ โดยมีอรรถธรรม ดังน้ี
“ให้ท่านทำ� จิตเปน็ สมาธิ ยกไวยกรณธ์ รรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขนั ธ์ ยกอันนีไ้ ว้เสยี กอ่ น
ท�ำจติ ใหเ้ ป็นสมาธิ เราตอ้ งต้ังสมาธใิ หไ้ ด้ ภาวนาก�ำหนดจติ ใหเ้ ป็นสมาธิ พอต้ังเป็นสมาธิดแี ลว้
ให้เป็นหลกั เปรยี บเหมือนเราจะนบั ต้งั ร้อยตง้ั พนั ก็ต้องตง้ั หน่งึ เสยี ก่อน ถา้ เราไม่ตงั้ หน่ึงเสียก่อน
กไ็ ปไม่ไดฉ้ ันใด จติ ของเราจะรไู้ ด้ เราก็ตง้ั จิตของเราเปน็ สมาธิเสยี ก่อน”
การปฏบิ ตั ิธรรม หลวงปู่ฝน้ั ท่านอุปมาดังปลูกตน้ ไม้ โดยหลวงปู่สุวจั น์ สวุ โจ เทศนไ์ วด้ งั นี้
183
“การปฏิบตั ิธรรมะก็เชน่ เดยี วกัน มนั ตอ้ งเปน็ ขนั้ ตอน อย่าไปรบี ร้อน อยา่ ไปหวังแต่ผล
ตอ้ งการอย่างน้นั ไม่ได้ตามใจ ก็นึกว่าเราบุญนอ้ ย วาสนานอ้ ย ท�ำอะไรกไ็ ม่เหน็ ได้อะไร แล้วไป
ใจร้อนท�ำอนั นั้นบา้ ง อันนีบ้ ้าง
หลวงป่ฝู ้นั ทา่ นอปุ มาเปรยี บวา่ นกั ปลกู ตน้ ไม้ ทา่ นวา่ ท่านไปเทศน์ให้สมเดจ็ ฯ เหมอื นกับ
ปลกู ตน้ ไม้ ปลกู ตรงนี้ พอปลกู เสรจ็ แลว้ รดน้�ำไปได้สองสามวัน ตรงน้ีไมด่ ี แต่ตรงน้ันนะดี เราก็
ยา้ ยไปปลกู ตรงนัน้ อกี พอยา้ ยไปปลกู คราวนีค้ นมาทกั อีก ไปปลูกตรงโนน้ ท�ำอยา่ งน้ันดกี วา่
ไปถอนออก น่เี อาไปปลูกอีก คนมาเหน็ โอ๊ย ! ปลกู ต้นไมน้ ี้ไมเ่ หมาะกบั ดินอันน้ี ต้องเอาตน้ อนั น้ัน
มาปลูก เอาอันนท้ี ้ิงซะ เอาอนั ใหมม่ าปลกู อีก ผลท่สี ดุ ท�ำอยอู่ ยา่ งนั้นสบิ ปี ยสี่ บิ ปี กไ็ มไ่ ดป้ ระโยชน์
เราต้องแนใ่ จว่าจะปลูกอะไรท่มี ีราคา ตลาดเขาต้องการ เปน็ ที่ต้องการ ตน้ ไมช้ นดิ นก้ี ต็ ้อง
อยูก่ บั ดิน ปุ๋ยไมม่ ีก็ตอ้ งหาปยุ๋ มาใส่ น้�ำไมม่ ีก็ให้น้�ำมาใส่ อะไรทเ่ี ป็นศตั รูกับพืช เขากเ็ อาสงิ่ น้นั ออก
บ�ำรุงอยตู่ รงน้แี หละ มนั ตอ้ งงามแน่นอน เพราะเขาปลกู ตรงน้ไี ด้ขายแลว้ สวนอืน่ ๆ เขาทำ� ฉนั ใด
การปฏบิ ตั ขิ องเราเหมอื นกัน อย่าไปยา้ ยมาก เขาวา่ อย่างโนน้ ว่าอยา่ งน้ี ก็ไปย่งุ ไปหมด
นหี่ ลวงปฝู่ ั้นเทศนต์ อนสมเดจ็ มหาวรี วงศ์ป่วยอยทู่ ี่เมืองอุบลฯ”
หรืออกี นยั หน่ึง เปรียบเหมอื นเราจะขุดนำ�้ บ่อ ตอ้ งการนำ�้ ในพน้ื ดิน เราขุดลงไปแห่งเดียว
เทา่ นั้น พอเราขุดไปไดห้ นอ่ ยเดยี ว ได้น้�ำสัก ๒ – ๓ บาตรแล้ว มีคนเขาบอกว่า ทน่ี ่ันมนั ตื้นกว่า
เรากย็ ้ายไปขุดทอี่ ืน่ อกี พอคนอ่ืนเขาบอกว่า ตรงนนั้ ไมด่ ี ตรงนี้ไมด่ ี กย็ า้ ยไปย้ายมา ผลที่สดุ ก็ไม่ได้
นำ�้ กิน ใครจะวา่ ก็ช่างเขา ขุดมันแหง่ เดยี วคงถึงน้�ำ ฉันใด เปรียบเหมือนสมาธิของเรา ตอ้ งตง้ั ไว้
แห่งเดียวเทา่ นน้ั เมื่อเราต้ังไวแ้ หง่ เดยี ว ไมต่ ้องไปอ่นื ไกล ไม่ตอ้ งสง่ ไปขา้ งหน้าขา้ งหลัง ไมต่ ้องนึก
ถงึ อดีต อนาคต กำ� หนดจิตให้สงบอนั เดียวเทา่ นนั้ ใหท้ า่ นท�ำสมาธภิ าวนา ทำ� จิตให้สงบ ให้
พิจารณาแยกธาตุแยกขนั ธ์ และอายตนะออกเปน็ ส่วนๆ ตามความเปน็ จริง พจิ ารณาให้เหน็ ความ
เป็นไปของส่งิ เหลา่ นัน้ ตามหนา้ ท่ขี องมัน แยกจิตออกจากกาย ให้ยดึ เอาตวั จิต คือ ผรู้ ู้ เปน็ หลัก
พร้อมด้วยสติ ธาตทุ ้ัง ๔ คือ ดิน นำ�้ ลม ไฟ ใหพ้ จิ ารณา ให้อยใู่ นสภาพของมนั แต่ละอยา่ ง
เมือ่ พจิ ารณาตามความเปน็ จริงแลว้ จะเหน็ ไดว้ า่ ธาตุทั้ง ๔ ต่างเจบ็ ไม่เป็น ปว่ ยไมเ่ ปน็
แดดจะออก ฝนจะตก กอ็ ย่ใู นสภาพของมนั เอง ในตัวคนเราก็ประกอบไปดว้ ยธาตุท้ัง ๔ นี้รวมกัน
การท่มี คี วามเจ็บปวดปว่ ยไขอ้ ยนู่ นั้ เนอ่ื งมาจากตัวผรู้ ู้ คอื จติ เข้าไปยึดถือดว้ ยอปุ าทาน วา่ เปน็ ตวั
เปน็ ตน เปน็ ของเขาของเรา เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแลว้ ตวั ผู้รู้ คอื จิต เท่านน้ั ที่ไปยดึ เอาว่า
เจ็บ วา่ ปวด ว่ารอ้ น ว่าเยน็ หรือหนาว ฯลฯ ตามสภาพความเป็นจรงิ แลว้ สงิ่ ท้งั ปวงเหลา่ นัน้
ไมไ่ ด้เปน็ อะไรเลย ดินกค็ งเป็นดิน นำ�้ ก็คงเป็นน�้ำ ไมม่ ีสว่ นรู้เห็นในความเจ็บปวดใดๆ ดว้ ย
184
เมื่อท�ำจิตใหส้ งบ และพจิ ารณาเหน็ สภาพความเปน็ จริงแลว้ จติ ยอ่ มเบ่ือหน่าย วางจาก
อุปาทาน คอื เว้นการยึดถอื มน่ั ในสง่ิ เหลา่ นน้ั เมื่อละได้เช่นน้ี ความเจบ็ ปวดตา่ งๆ ตลอดจน
ความตายยอ่ มไม่มตี ัวตน เพราะฉะนั้นหากท�ำจิตใหส้ งบ เปน็ สมาธแิ นว่ แนแ่ ลว้ โรคตา่ งๆ ก็จะ
ทุเลาหายไปเอง
หลวงปูฝ่ ้ัน เทศน์สาเหตกุ ารอาพาธหนกั ของสมเดจ็ พระมหาวีรวงศ์ ไว้ดงั น้ี
“สมเดจ็ สงั ฆนายก (สมเด็จพระมหาวรี วงศ์ (อว้ น ติสโฺ ส)) แต่ก่อน ท่านนอนไม่หลับ
ได้ไปเทศนาขอ้ นี้ให้ พอเทศน์แลว้ จิตทา่ นก็สงบ ทา่ นกน็ อนได้ หมอต้ังสองหมอประคองอยู่ พอค่�ำ
ท่านนอนไม่หลับ กระสบั กระส่าย พอเช้ากม็ กั เป็นลม นัน่ แหละ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วดั บรม–
นิวาส ทา่ นลาพกั ไปอุบลฯ อาตมาไปอบุ ลฯ กเ็ ลยเทศนายงั งแ้ี หละ ทา่ นถามว่า “ฉันจะอยู่ตลอด
พรรษาไหม” “พระเดชพระคณุ อยา่ งนก้ี ไ็ มต่ ลอดซ”ี ใครจะทนได้ กลางคนื ไมไ่ ดน้ อนตลอด กระสบั –
กระสา่ ยยงั งั้น พอเทศนาแล้ว จิตท่านสงบ ทา่ นกน็ อนได้สบาย โรคทา่ นก็เลยหาย”
พ.ศ. ๒๔๘๗ จ�ำพรรษา ๒๐ ที่วัดบูรพา เมอื งอุบลฯ
สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ (อว้ น ตสิ ฺโส) เมอื่ ท่านได้ฟังธรรมและไดฟ้ งั ค�ำตอบจากหลวงปู่ฝ้ัน
อาจาโร วา่ จะหายจากอาพาธหนกั ทา่ นกเ็ กิดก�ำลงั ใจในการปฏบิ ตั ธิ รรมเปน็ อนั มาก ดงั นั้น ในปี
พ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่อใกลเ้ ขา้ พรรษา ทา่ นจงึ ได้มีบัญชาใหห้ ลวงปู่ฝ้ันมาจำ� พรรษาอยูก่ บั ท่านท่ีจงั หวดั
อุบลราชธานี เพือ่ จะไดศ้ ึกษาธรรมปฏิบตั ิให้ลึกซึ้งย่ิงขึน้ หลวงปฝู่ นั้ ไดพ้ ิจารณาแล้ว จึงไดเ้ ลือก
วดั บูรพา เป็นสถานทีจ่ ำ� พรรษา เพราะวดั นอ้ี ยฝู่ ่ังเดียวกนั กบั วัดสปุ ัฏนาราม ทส่ี มเด็จฯ พำ� นักอยู่
การไปมาสะดวกกว่าวัดป่าแสนสำ� ราญ ซึ่งอยทู่ างฝงั่ อ�ำเภอวารนิ ช�ำราบ คนละฝัง่ ของแมน่ ้�ำมลู กบั
ตัวจังหวดั อุบลฯ ดงั นัน้ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ หลวงปฝู่ น้ั จงึ จำ� พรรษาอยู่ทีว่ ัดบูรพา ในเมือง
อบุ ลราชธานี เป็นพรรษาท่ี ๒๐ ขณะท่านมอี ายุ ๔๕ ปี
วดั บรู พาที่หลวงป่ฝู ั้นเลือกพักจำ� พรรษานแี้ บง่ พ้ืนทอี่ อกเปน็ ๒ ตอน ตอนหนงึ่ เป็นสำ� นกั
เรยี นพระปรยิ ัตธิ รรม และอกี ตอนหนง่ึ เป็นปา่ มีกฏุ ิหลงั เลก็ ๆ อยู่ ๕ – ๖ หลัง ส�ำหรับพระเณร
อาศยั ปฏิบตั กิ รรมฐานโดยเฉพาะ หลวงปฝู่ ้ันไดเ้ ลือกพกั ในดา้ นทเ่ี ปน็ ปา่ ตลอดพรรษานัน้ และได้
หม่นั ไปอธบิ ายธรรมปฏบิ ตั ถิ วายสมเดจ็ ฯ ทีว่ ัดสุปฏั นารามเกอื บทกุ วัน และด้วยอ�ำนาจการปฏบิ ัติ
สมาธภิ าวนานีเ้ อง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กห็ ายวนั หายคนื หายจากอาการเจ็บไข้ไดป้ ่วย ท้ังยังอยู่
ไดต้ ลอดพรรษาและลว่ งเลยต่อมาอีกหลายปี
สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ ได้ออกปากยอมรบั ในความจริง และชมวา่ “พระคณะกรรมฐานนี้
เปน็ ผู้ปฏิบตั ดิ จี ริง ทั้งยังท�ำไดด้ ังพดู จริงๆ อกี ด้วย สมควรท่ีพระมหาเปรยี ญท้งั หลาย จะถอื เอา
เป็นตวั อย่างปฏบิ ตั ิตอ่ ไป” สมเด็จฯ ยงั ไดก้ ลา่ วตอ่ หนา้ หลวงปฝู่ ัน้ ดว้ ยว่า “ฉนั เป็นพระอปุ ชั ฌาย์
185
บวชพระบวชเณรมาจนนบั ไม่ถว้ น แต่ไมเ่ คยนึกสนใจใน ตจปัญจกกัมมฏั ฐาน เหลา่ น้ีเลย เพิ่งจะมา
รู้ซ้ึงในพรรษานี้เอง” พูดแลว้ ท่านก็นบั เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ แล้วถามหลวงปู่ฝน้ั วา่
“น่ีเป็นธาตุดนิ นี่เป็นธาตนุ ำ�้ น่ีเป็นธาตุลม นเ่ี ป็นธาตุไฟ ใช่ไหม ?” ซึ่งท่านกร็ ับว่า “ใช่ขอรับ”
จากนน้ั ท่านก็ปรารภขนึ้ ว่า “ตัวทา่ นเองเปรียบเหมือนผ้บู วชใหม่ เพิง่ จะมาเรียนรู้ เกสา
โลมา ฯลฯ ส�ำหรับความรใู้ นดา้ นมหาเปรยี ญทีเ่ ลา่ เรยี นมามากน้นั ไมย่ ังประโยชน์และความหมาย
ต่อชวี ติ ท่านเลย ยศถาสมณศักด์กิ แ็ ก้ทกุ ขท์ ่านไมไ่ ด้ ช่วยท่านไมไ่ ด้ พระอาจารยฝ์ ้ันให้ธรรมปฏบิ ตั ิ
ในพรรษานีไ้ ด้ผลคุ้มคา่ ท�ำให้ท่านรูจ้ ักกัมมัฏฐานดีขน้ึ ”
ตจปญั จกกัมมฏั ฐาน อ่านว่า ตะจะปันจะกะกัมมัดถาน คือ กรรมฐานอันบัณฑิตกำ� หนด
ด้วยอาการมีหนงั เปน็ ท่ี ๕ เปน็ อารมณ์ หมายถงึ กรรมฐานท่ีทา่ นสอนใหพ้ จิ ารณาสว่ นของรา่ งกาย
(กายคตาสติ) ๕ อย่าง ได้แก่ เกสา (ผม) โลมา (ขน) นขา (เลบ็ ) ทนั ตา (ฟัน) ตโจ (หนัง) โดย
ความเป็นของปฏิกูล เปน็ กรรมฐานท่พี ระอุปชั ฌาย์ใหแ้ กผ่ ้บู วชใหม่
นอกจากน้ี หลวงปฝู่ ้ัน ยังแนะอุบายให้เกดิ ปญั ญา โดยหลวงปู่สุวจั น์ สุวโจ เทศน์ไวด้ งั นี้
“สมเด็จฯ ท่านฉลาดพอพูดไวน้ ะ “เออ ! จติ ไมเ่ ป็นสมาธิ จิตเปน็ สมาธนิ ต่ี ัง้ ม่นั สงบ”
พอท่านเขา้ ใจแล้ว ท่านก็ปฏบิ ตั ิเสยี จติ สงบ สงบจนไปบอกทา่ นวา่ “เอ๊ ! มันสงบมากไป ไมม่ ี
ปญั ญา มันไมท่ �ำงาน มันขี้เกยี จ” วา่ อย่างนนั้
หลวงปู่ฝน้ั เลยไปบอก “ไหน พระเดชพระคุณอยากใหส้ งบ กส็ งบๆ” ท่านก็แนะอบุ าย
ให้เกิดปัญญาข้ึนอีก ต้องให้สงบเสียก่อน เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปหา ไม่ต้องห่วงดูผลมากนัก
ใหท้ �ำงาน ให้ดูรักษา แลว้ ถา้ ไมม่ ีอะไรมาก่อกวนแล้ว จิตกอ็ ยูใ่ นตรงน้ัน มันไมไ่ ปไหน รูต้ รงนน้ั
เหน็ ตรงนน้ั เมือ่ สงบแลว้ มนั กค็ ่อยงอกงามข้ึนมา เหมอื นกบั ต้นไมท้ ีป่ กั แนน่ แลว้ รดนำ�้ ขึน้ แล้ว
รากน้กี อ็ อกมาเอง โดยไมต่ อ้ งไปท�ำอะไร มันค่อยแน่น ค่อยม่นั คง จับม่ันคงขึน้ มา ยอดมนั ก็ทอด
ออกเอง ใบมันก็ทอดเอง อนั ไหนรว่ งไป มนั ก็รว่ งไปดว้ ยกนั โดยธรรมชาติของมัน
โดยผลทีส่ ดุ มนั กผ็ ลิดอกออกผลตามเหตปุ ัจจัยท่ถี ึงวาระคราวมันเป็น ไดผ้ ลออกมา เวลา
ไม่มี จะไปหาไมม่ ีหรอก แมแ้ ต่เอาต้น เอาใบไปท�ำอยา่ งไร กม็ นั ไม่ออก ฉันใดก็ดี การภาวนาก็
เหมือนกนั ขอให้ท�ำโดยความยินดี ความเป็นสนั โดษตามที่ทา่ นแนะน�ำไว้ ทพี่ ระพทุ ธเจ้าพา
สาวกท�ำมาส�ำเร็จมาแลว้ เป็นจ�ำนวนมาก ละความอยากเสยี สร้างความขยนั สร้างความพอใจ
ในงานท่ีเราก�ำลังท�ำ ดว้ ยท�ำแล้วให้มคี วามสุข”
ในพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๗ นนั้ หลวงปฝู่ น้ั แทบไม่มเี วลาเป็นขององค์ทา่ นเลย ทง้ั นเ้ี พราะ
ท่านไดท้ ำ� หนา้ ทอี่ ปุ ฏั ฐากพรอ้ มกันถงึ ๒ พระอาจารย์ กลา่ วคอื ตอนกลางคืน หลวงป่ฝู ้นั ทา่ น
จะต้องเข้าถวายธรรมแก่สมเดจ็ พระมหาวีรวงศ์ ทวี่ ดั สุปฏั นาราม จากหัวค่�ำไปจนถึงเวลาประมาณ
186
๔ ทมุ่ บางคนื กเ็ ลยไปจนถงึ ๖ ทุ่ม จงึ เดินกลบั ไปยงั วัดบูรพาที่ทา่ นพกั จำ� พรรษาอยู่ พอรุ่งเช้า
ทา่ นก็ออกเดินบณิ ฑบาตไปเร่อื ยๆ แล้วเดินข้ามแมน่ ำ้� มูล ไปทางฝั่งอำ� เภอวารนิ ช�ำราบ ไปฉนั เชา้ ที่
วัดป่าแสนสำ� ราญ ฉันเสรจ็ ท่านก็ประกอบยารกั ษาโรคถวายทา่ นพระอาจารยม์ หาปิ่น ซ่ึงในปีนั้น
ทา่ นกำ� ลังอาพาธด้วยโรคปอด ไดม้ าพกั รักษาตัวอยู่ที่วดั ป่าแสนสำ� ราญ หลวงป่ฝู ้นั ไดพ้ ยายามหา
สมนุ ไพรและตัวยาตา่ งๆ มาปรุง แล้วกลั่นเปน็ ยาถวายทา่ นพระอาจารย์มหาปน่ิ ด้วยหยูกยาท่ี
ทันสมัยก็ไมม่ ี เพราะช่วงนน้ั อยู่ระหว่างสงครามโลกครง้ั ท่ี ๒ เป็นช่วงทีอ่ ัตคัดขาดแคลนทุกอย่าง
ในพรรษาน้ี ตลอดทั้งพรรษา หลวงปฝู่ ัน้ ไดอ้ ุปัฏฐากดแู ลอาการอาพาธ ตามท่อี งค์สมเด็จ–
พระสัมมาสมั พุทธเจ้าได้ทรงบัญญตั ไิ ว้
“ดูก่อนภิกษทุ ั้งหลาย พวกเธอไมม่ มี ารดา ไม่มบี ิดา ผู้ใดเล่าจะพึงพยาบาลพวกเธอ
ถา้ พวกเธอจักไมพ่ ยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล
ดูกอ่ นภกิ ษุทงั้ หลาย ผู้ใดจะพงึ อปุ ัฏฐากเรา ผนู้ ้นั พึงพยาบาลภิกษุอาพาธ”
หลวงปูฝ่ ้นั ทา่ นทำ� หนา้ ที่นไ้ี ด้อย่างสมบูรณค์ รบถว้ น อย่างไม่เหน็ แกเ่ หน็ดเหน่อื ย โดยการ
ถวายธรรมะให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ตสิ โฺ ส) และโดยการปรงุ ยาสมุนไพรถวายทา่ นพระ–
อาจารยม์ หาป่นิ จนทา่ นทง้ั สองต่างมอี าการดขี น้ึ ยอ่ มแสดงใหเ้ ห็นวา่ หลวงปฝู่ น้ั ทา่ นมีทัง้ ธรรมะ
และมีความรูท้ างดา้ นสมุนไพรเป็นเลิศ
การหย่ังรูเ้ หตุการณ์ลว่ งหน้า
ในช่วงของสงครามโลกครงั้ ท่ี ๒ ประเทศชาติต้องตกอยใู่ นภัยภาวะวิกฤตเิ หตุการณร์ ้ายแรง
ตอ่ ชวี ติ และทรัพยส์ ิน ทั้งเกดิ ความอดอยากขาดแคลนในปัจจัย ๔ ประชาชนไม่เว้นสมณชีพราหมณ์
ต้องประสบกับความเดือดร้อนโกลาหลกันทั่วทุกหย่อมหญ้า ท้ังต้องอพยพย้ายหนีและต้องหาที่
กำ� บงั หลบภัยจากการโจมตีของเครื่องบนิ ทงิ้ ระเบิด ซึ่งอันตรายต่อชีวติ ถึงข้ันบาดเจบ็ และลม้ ตาย
กนั จ�ำนวนมากมาย ในสถานการณ์ทุกข์ยากล�ำบากเชน่ นคี้ รบู าอาจารยก์ องทัพธรรมสายท่านพระ–
อาจารยม์ ัน่ ทา่ นไมเ่ คยทอดทิ้งคิดเอาตัวรอด แต่ต่างกลับเปน็ ท่ีพ่ึง เปน็ ขวัญก�ำลงั ใจใหก้ บั บรรดา
พุทธบริษัทอย่างแท้จรงิ ซึ่งหลวงปู่ฝน้ั อาจาโร ทา่ นกไ็ ด้ทำ� หน้าทผ่ี ู้นำ� ธรรมสงเคราะห์ชว่ ยเหลือ
พุทธบริษัทใหเ้ กดิ ความอบอุ่นใจ และให้เกิดความแคลว้ คลาดปลอดภัยจากการปฏบิ ตั ิธรรม
โดยชว่ งท่หี ลวงปู่ฝ้ัน พักจ�ำพรรษาอย่ทู ีว่ ัดบูรพา อ�ำเภอเมือง จังหวดั อุบลราชธานี ในปี
พ.ศ. ๒๔๘๗ น้ัน ยังอยใู่ นชว่ งของสงครามโลกครง้ั ท่ี ๒ เหตุการณ์ในพรรษาน้นั ทา่ นไดร้ ับความ
เคารพเลอื่ มใสศรทั ธาจากพุทธบรษิ ัทอยา่ งมาก โดย หลวงป่อู ่อน าณสิริ บนั ทกึ ไว้ดังนี้
187
“เมอ่ื พูดถงึ สงครามโลกครั้งที่ ๒ นา่ บนั ทกึ ไว้เป็นพิเศษในทนี่ ้ีดว้ ยว่า การหย่งั รู้เหตกุ ารณ์
ล่วงหน้าของพระอาจารย์ฝั้น ยังเป็นท่ีจดจ�ำและประทับใจในบรรดาลูกศิษย์ลูกหา และบรรดา
พุทธบริษทั จ�ำนวนมากในจังหวดั อุบลราชธานี มาจนกระทั่งทุกวนั นี้
ปนี ัน้ อยู่ในราวกลางพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๗ จังหวัดอบุ ลราชธานี กลาดเกลอ่ื นไปดว้ ยทหาร
ญ่ีป่นุ ซ่งึ เข้าไปตั้งมั่นอยู่ จงึ เปน็ ธรรมดาอยู่เองที่ฝา่ ยสัมพันธมติ รจะตอ้ งจดจ้องท�ำลายลา้ ง โดยสง่
เคร่ืองบินเข้ามาท้ิงระเบิดตามจุดยุทธศาสตร์อยู่เสมอ ชาวบ้านร้านถ่ิน จึงพากันอพยพหลบภัย
ออกไปอยู่ตามรอบนอกหรืออ�ำเภอช้ันนอกที่ปลอดจากทหารญี่ปุ่น ในตัวเมืองอุบลฯ จึงเงียบเหงา
ลงถนัด จะหลงเหลืออยู่ก็เฉพาะผู้ท่ีมีความจ�ำเป็นไม่อาจโยกย้ายหรืออพยพเท่านั้น ตกกลางคืน
คนเหล่าน้จี ะนอนตาไม่หลับลงง่ายๆ ต้องคอยหลบภัยทางอากาศกันอยูเ่ สมอ
ปกติเครือ่ งบินฝา่ ยสมั พนั ธมิตรจะมาทิ้งระเบดิ ในราวอาทิตย์ละ ๒ หรอื ๓ ครง้ั ถา้ วันไหน
เคร่ืองบินจะล่วงล้ำ� เข้ามาท้ิงระเบดิ พระอาจารยฝ์ ั้นจะบอกลว่ งหน้าให้บรรดาศษิ ย์ท้ังหลายรูก้ ่อน
อยา่ งนอ้ ย ๒ ช่วั โมง เชน่ ในตอนเยน็ ขณะพระเณรซ่ึงเปน็ ศษิ ย์ก�ำลังจดั นำ้� ฉันน้�ำใช้ถวายอย่นู ้ัน
ท่านจะเตือนข้ึนว่า “ให้ทุกองค์รีบท�ำกิจให้เสร็จไปโดยเร็ว แล้วเตรียมหลบภัยกันให้ดี คืนนี้
เครือ่ งบนิ จะมาท้งิ ระเบดิ อีกแลว้ ” ภกิ ษุสามเณรทั้งหลายกร็ บี ท�ำตามทที่ า่ นสั่ง พอตกกลางคนื กม็ ี
เคร่ืองบินข้าศึกเข้ามาท้ิงระเบิดจริงๆ บางคร้ังในตอนกลางวันแท้ๆ ท่านบอกลูกศิษย์ลูกหาว่า
“เคร่ืองบนิ มาแล้ว รบี ท�ำอะไรใหเ้ สร็จๆ แล้วรบี ไปหลบภัยกันเสยี ” ทกุ องค์ตา่ งมองตากันด้วย
ความงุนงง แล้วอีกไม่นานก็มีเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดจริงๆ ชาวบ้านหอบลูกจูงหลานเข้าไป
หลบภัยอยู่ในบริเวณวัดเต็มไปหมด พระอาจารย์ฝั้นก็ลงจากกุฏิไปเตือนให้อยู่ในความสงบและให้
ภาวนา “พทุ โธ พุทโธ” ไว้โดยท่ัวกันท้งั เด็กและผู้ใหญ่”
เหตกุ ารณ์วิกฤติตลอดพรรษาน้นั ได้ผ่านไปดว้ ยดี เพราะบารมธี รรมของหลวงปู่ฝ้นั ทำ� ให้
พระเณรชาวบ้านต่างอัศจรรยใ์ จในอำ� นาจคุณพระศรรี ัตนตรยั อำ� นาจ “พทุ โธ” คุ้มครองได้จริงๆ
ตา่ งกย็ งิ่ เกดิ ความเคารพเลอื่ มใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และในองคห์ ลวงปู่ฝ้นั ยงิ่ ๆ ข้ึน
ผ่านพระธาตพุ นม ไมแ่ วะกราบคือบาปหนา
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เมอ่ื ออกพรรษา เสรจ็ ฤดูกาลกฐนิ แลว้ หลวงปู่ฝน้ั อาจาโร ได้เข้ากราบ
นมัสการลาสมเด็จพระมหาวรี วงศ์ (อว้ น ตสิ โฺ ส) ท่วี ัดสปุ ฏั นาราม ขออนญุ าตเดนิ ทางไปสกลนคร
บา้ นเกิดของทา่ น เพ่ือบำ� เพ็ญกศุ ลทกั ษิณานปุ ระทานอุทิศแด่บพุ การี คอื โยมบิดามารดา สมเด็จฯ
ก็อนญุ าต ต่อจากนั้นทา่ นได้ไปกราบนมสั การลา ทา่ นพระอาจารยส์ ิงห์ ขนฺตยาคโม กับ ทา่ น–
พระอาจารยม์ หาปนิ่ ปญฺ าพโล ทว่ี ดั ป่าแสนสำ� ราญ แลว้ ลาญาตโิ ยมคณะศรัทธาท้งั หลาย
188
การออกเดินทางจากอบุ ลราชธานีในครง้ั นั้น หลวงปฝู่ ้นั มีพระภิกษุรปู หนงึ่ สามเณรรปู หนึง่
กบั เด็กลกู ศษิ ย์อีกคนหนึ่ง รว่ มตดิ ตามไปด้วย โดยม่งุ หนา้ ไปทางจงั หวัดสกลนคร เน่อื งจากขณะน้ัน
ยงั อยใู่ นระหวา่ งสงครามโลกครง้ั ท่ี ๒ นำ�้ มนั เชอ้ื เพลงิ ขาดแคลนมาก รถยนตโ์ ดยสารตอ้ งใชถ้ า่ นแทน
และมีว่ิงน้อยคัน หลวงปู่ฝั้นได้พาพระเณรและลูกศิษย์น่ังรถยนต์โดยสารท่ีใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงนี้
โดยออกเดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานีต้ังแต่เช้า ไปถึงอ�ำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
(ระยะทางประมาณ ๑๖๐ กม.) เมอื่ เวลา ๓ ทมุ่ เศษ แลว้ ไปขอพักค้างคืนท่วี ดั ศรีมงคล
ในเชา้ รงุ่ ขน้ึ ได้โดยสารรถยนต์คันเดิม ไปแวะพักค้างคืนที่ วดั ป่าเกาะแก้ว อ�ำเภอธาตพุ นม
จังหวดั นครพนม ซ่งึ เป็นวัดท่ีท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล บูรณะข้นึ มา จากนัน้ หลวงปฝู่ ั้นได้
พาคณะของทา่ นไปกราบนมัสการองค์พระธาตพุ นม ซึ่งตง้ั อยู่ไม่ไกลจากวดั ป่าเกาะแก้ว
พระธาตพุ นม อำ� เภอธาตพุ นม จงั หวดั นครพนม พระธาตุองคน์ ้บี รรจพุ ระอรุ งั คธาตขุ อง
องค์สมเด็จพระสมั มาสมั พุทธเจ้า ในสมัยกอ่ น ประชาชนแถวนนั้ คงไม่รถู้ งึ ความสำ� คัญ จงึ ไม่มใี คร
สนใจเทา่ ใดนัก เม่อื คณะของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ไดม้ าพ�ำนักจ�ำพรรษา ทา่ นได้เห็น
ปาฏิหาริย์พระธาตุลอยเสด็จไปมาปรากฏเป็นแสงหลากสีงดงามมาก จึงได้เปิดเผยความลี้ลับและ
ความศกั ดส์ิ ทิ ธิ์ ประชาชนและทางบ้านเมืองจงึ ไดต้ ื่นตัว ในกาลต่อมากไ็ ด้มีการบรู ณะพฒั นาขนึ้ มา
จนกลายเป็นปชู นยี ศาสนวตั ถทุ ีส่ ำ� คัญของภาคอีสาน และของประเทศไทยในปัจจุบนั จงึ นบั ไดว้ ่า
การมาพำ� นกั ของท่านพระอาจารยเ์ สาร์ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ทา่ นเจ้าคุณปัญญาพศิ าลเถร (หนู
ติ ปญโฺ ) และคณะในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ จงึ ถือเป็นคณุ มหาศาลท่ีทำ� ให้ชนรุ่นหลังได้พระธาตุพนม
สถานทศี่ ักดิ์สิทธ์ิเพอ่ื การกราบไหวม้ าจนทกุ วันนี้
ความส�ำคญั ของพระธาตพุ นม หลวงปู่ฝนั้ ทา่ นได้บอกกบั พระ เณร และลูกศิษยท์ ่ตี ดิ ตามว่า
“ใครผู้ใดเดินทางผ่านมาถึงแล้วไม่แวะนมัสการองค์พระธาตุพนม คนคนน้ันนับว่าบาปหนา
มกี รรมปกปิดจนไม่สามารถจะมองเห็นปชู นียสถานอันส�ำคัญ” ทา่ นเลา่ ตอ่ ไปวา่ “เมื่อก่อนโนน้
บริเวณพระธาตุพนมเต็มไปด้วยป่ารกรุงรัง องค์พระธาตุก็มีเถาวัลย์ข้ึนปกคลุมจนมิดยอดพระธาตุ
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กับ ท่านพระอาจารย์มั่น สมัยยังหนุ่มแน่นได้เที่ยวธุดงค์มาพักปักกลด
บรเิ วณพระธาตุพนม แล้วชกั ชวนญาตโิ ยมข้ึนไปรื้อเถาวัลยอ์ อก ถากถางป่ารอบๆ พระธาตพุ นม
จนสะอาด แลว้ พาญาติโยมท�ำพิธมี าฆบูชา จนเป็นประเพณสี ืบต่อมาจนถึงทกุ วนั น”ี้
ทรมานดดั นสิ ัยพระศิษย์ผูก้ ลวั ผี
หลวงปูฝ่ ้นั อาจาโร พักอยู่ที่วดั ปา่ เกาะแก้ว อำ� เภอธาตุพนม อยู่ ๔ – ๕ วนั ท่านกพ็ าคณะ
ออกเดนิ ทางตอ่ ด้วยเทา้ โดยตา่ งองค์ตา่ งสะพายบาตร แบกกลด หวิ้ กานำ้� ตามแบบฉบบั ของ
พระธุดงคกรรมฐาน มุ่งหน้าไปอ�ำเภอนาแก กว่าจะถงึ กเ็ กอื บมดื จึงแวะพกั ท่ีวดั บา้ นนาแกน้อย
189
หนงึ่ คืน พอเชา้ วันรงุ่ ขึน้ ฉนั เสรจ็ กอ็ อกเดินทางไปถงึ วัดป่าบา้ นนาโสก ทา่ นไดพ้ กั บ�ำเพญ็ ภาวนาที่
วดั นอี้ ยู่หลายคนื และทีว่ ดั แห่งนีเ้ องท่ที า่ นไดท้ รมานดดั นสิ ยั กลวั ผีของพระภิกษลุ กู ศษิ ยท์ รี่ ่วมคณะ
ไปด้วยจนไดผ้ ลหายกลวั ผี
เรื่องมวี า่ หลวงปฝู่ ั้นท่านจะพักอยู่วัดใดหรอื ทีใ่ ดกต็ าม ปกติท่านจะลงจากกุฏิ จากอาคาร
ไปอย่ตู ามรม่ ไม้ ซ่ึงเรียกว่า “อยรู่ กุ ขมูล” เสมอมา เม่ือมาพกั ที่วัดปา่ บ้านนาโสกกเ็ ชน่ เดียวกัน
เจ้าอาวาสไดจ้ ัดกุฏถิ วายให้ทา่ น แต่ท่านพักบนกฏุ ิเพียงคนื เดยี ว กพ็ าพระทีต่ ดิ ตามออกไปหาทพ่ี ัก
ในบรเิ วณปา่ ชา้ โดยยกแคร่ไม้เอาไปตง้ั ใตร้ ม่ ไม้ทอ่ี ยใู่ นปา่ ชา้ น้นั ที่นั่นเปน็ ป่าโปรง่ บา้ ง ปา่ ทึบบา้ ง
สัตวป์ า่ ต่างๆ ยังมชี ุกชุม เมื่อจัดท�ำที่พักสำ� หรับหลวงปฝู่ น้ั เสรจ็ แลว้ ทา่ นกบ็ อกพระให้แยกย้ายไป
หาทพี่ ักเอาตามชอบใจ ก่อนพระจะแยกไปเตรยี มทีพ่ กั หลวงปูถ่ ามวา่ “กลัวผกี ันหรอื เปลา่ ?”
พระภิกษรุ ปู นน้ั ก็ตอบไปตามตรงวา่ “กลวั ครับ” แทนทีห่ ลวงปจู่ ะบอกใหพ้ ักอยู่ใกล้ๆ ท่าน
ท่านกลับเดินน�ำไปเลือกที่ในกลางป่าช้าลึกเข้าไปในป่าทึบ รอบๆ บริเวณท่ีพักเต็มไปด้วยหลุม
ฝังศพทั้งเก่าและใหม่ แต่ด้วยความเคารพและเชื่อฟังในอาจารย์ พระภกิ ษุรูปน้นั จึงจำ� ตอ้ งเตรียม
ที่พักตรงที่หลวงปู่ได้ชี้ให้โดยไม่มีอาการอิดเอ้ือน ทั้งๆ ท่ีใจเต็มไปด้วยความหวาดหว่ันอยู่เต็มอก
ตกกลางคืนอากาศหนาวจัด แม้พระองค์น้ันไม่ได้ใช้ผ้าห่ม แต่กลับมีเหง่ือไหลโทรมกาย ท้ังน้ี
เพราะจติ ใจไมเ่ ป็นปกติ กลัวผจี ะออกมาหลอกหลอนตลอดทั้งคนื
คนื ตอ่ มาหลวงปฝู่ น้ั ก็ส่งั สอนให้รจู้ ักแกค้ วามกลัวในสิง่ ต่างๆ โดยท่านเร่มิ ถามว่า “เมอื่ คนื น้ี
เวลากลัวมากๆ อย่างน้ันน่ะ ภาวนาไปแล้ว จิตมันสงบหรือเปล่า ?” พระภิกษุรูปน้ันตอบว่า
“จติ ไมส่ งบเลย เพราะมีแตค่ วามกลวั จนนอนไมห่ ลับ” หลวงปจู่ งึ พูดสอนอยา่ งเปน็ เหตเุ ป็นผลว่า
“ถา้ จิตไมส่ งบ กแ็ สดงว่ามันไม่กลวั น่ะซี เพราะถ้าจติ มันกลัว มันกต็ อ้ งสงบ และตอ้ งรวม
เปน็ สมาธิได้ ถา้ จิตมันยงั แส่หา หรือนึกวา่ มีผี และยังกลัวอยู่ เรยี กว่า จิตไมส่ งบ เมอ่ื จิตไม่รวม
ไมส่ งบ กแ็ สดงวา่ จิตมันไม่กลัว ตามธรรมดา เมอื่ คนเราบังเกดิ ความกลัวข้นึ มา เปน็ ต้นวา่ กลวั ช้าง
กลัวเสอื หรอื กลัวสัตวต์ ่างๆ ยอ่ มต้องหาทีห่ ลบที่กำ� บัง หรือหาทพี่ ง่ึ เชน่ วงิ่ เขา้ หลบในบา้ นเรอื น
เม่ือหลบแล้วกำ� บงั แล้ว ความกลวั มนั ก็หายไป ตรงกนั ขา้ มถ้าว่งิ ออกไปขา้ งนอกโดยปราศจากท่ี
สำ� หรบั กำ� บังความปลอดภัยจะเกดิ ขนึ้ ไดอ้ ยา่ งไร จิตของคนเราก็เช่นกัน เมอ่ื บังเกิดความกลัวก็ควร
สงบนิ่งอยกู่ ับสมาธภิ าวนา ไมใ่ ช่วิ่งออกไปหาผีตามป่าช้า แล้วกน็ ่ังตวั ส่นั อยูค่ นเดยี ว”
แล้วทา่ นกส็ ่งั สอนอกี วา่ “ความกลวั ผนี ั้นเปน็ เพยี งอุปาทานของเรา เราหลอกตวั เราเอง
เราเองนกึ ขึน้ ว่าผี แลว้ เราก็กลัวผี เมอ่ื บงั เกดิ ความกลวั ขึ้นมาตอ้ งรบี ส�ำรวมใจใหส้ งบ จิตจะได้มี
ก�ำลงั ตา้ นทานตอ่ สงิ่ ร้ายเหล่าน้นั ได้ จิตของเราจะได้มีก�ำลงั พิจารณาเหตุผลตา่ งๆ เพอื่ จะได้ตอ่ ส้กู บั
ภยั ท้งั ปวงทจ่ี ะเกิดข้นึ จิตยิ่งฟุ้งซา่ นเทา่ ไหร่ แมใ้ บไมร้ ่วง กเ็ ข้าใจวา่ ผหี ลอก ดีไมด่ ีว่ิงจวี รปลิวไป
190
เปลา่ ๆ” เมอื่ พูดถึงตรงนแี้ ล้ว ท่านกบ็ อกศษิ ยค์ ลา้ ยกบั เปน็ การขวู่ า่ “ตอ่ ไปนี้ ถ้ากลวั ผมี ากกวา่
ครบู าอาจารยแ์ ลว้ ล่ะก็ จงไปคุกเขา่ กราบผีเสียดีกว่า ไม่ต้องมากราบไหวค้ รบู าอาจารย์ให้เสียเวลา”
พระภิกษรุ ูปนนั้ ไดม้ าเลา่ ใหฟ้ งั ในภายหลังวา่ “เมื่อได้ยนิ ค�ำของพระอาจารยฝ์ ้นั เชน่ นน้ั แล้ว
ให้บังเกดิ ความมานะเป็นอนั มาก พยายามตอ่ สคู้ วามกลัว ดว้ ยการรวบรวมสมาธจิ นเป็นผลสำ� เรจ็
และไดพ้ บความจริงด้วยวา่ เม่อื พจิ ารณากันด้วยเหตุดว้ ยผล กลา้ ต่อสกู้ ับความจริง อยา่ งพระ–
อาจารยฝ์ นั้ สง่ั สอนแลว้ แม้ตกอยู่กลางปา่ ช้าดงดบิ อนั เต็มไปด้วยหลุมฝังศพ ก็ไม่ใช่เร่ืองนา่ กลัว
แตป่ ระการใด เพยี งแต่ตัวเองคดิ ขน้ึ มาหลอกตัวเองเทา่ น้ัน”
ถงึ บ้านบะทอง บ้านเกิด จัดงานท�ำบญุ อุทศิ
การกราบคารวะเยีย่ มเยียนกนั ของพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารยม์ ่นั ภรู ทิ ตฺโต
มีมาต้ังแต่สมัยครัง้ พุทธกาล ปฏปิ ทาข้อนี้เปน็ อริยประเพณี อริยปฏบิ ตั ิ ท่ีพระธุดงคกรรมฐานได้
ด�ำเนินสืบทอดต่อๆ กันมา ท่านท�ำด้วยความเคารพเทิดทูนบูชาในครูบาอาจารย์กันจริงๆ ท่าน
ธมฺมสากจฺฉา หรอื สนทนาธรรมกัน กเ็ ปน็ ตามหลกั ของสลั เลขธรรม เพ่อื ความหลุดพ้นเปน็ สำ� คัญ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ทา่ นกไ็ ด้ดำ� เนนิ ตามปฏปิ ทาข้อนอ้ี ยา่ งเดน่ ชดั
หลวงปฝู่ ัน้ อาจาโร พาคณะศิษยพ์ กั ที่ วดั ป่าบา้ นนาโสก ราว ๘ – ๙ วนั กอ็ อกเดนิ ทาง
ตอ่ ไปพกั ทวี่ ัดปา่ บา้ นนามน (วัดป่านาคนมิ ิตต)์ ตำ� บลตองโขบ อำ� เภอโคกศรสี ุพรรณ จังหวัด
สกลนคร เพอ่ื ไปกราบ หลวงป่มู ั่น ภรู ทิ ตโฺ ต ซึง่ พกั จำ� พรรษาอยู่ ณ ท่นี ้นั เม่อื พรรษาที่ผา่ นมา
พอหลวงป่เู ดินทางไปถึงกท็ ราบว่า หลวงปมู่ นั่ ย้ายไปพกั วิเวกทีว่ ัดป่าบา้ นหว้ ยแคนแล้ว
เช้าวันรงุ่ ขึ้นหลวงปู่พร้อมด้วยคณะจึงไดเ้ ดนิ ทางไปกราบหลวงปมู่ ่ัน ท่วี ดั ป่าบ้านห้วยแคน
แล้วพักอยู่เพื่อรับการช้ีแนะอยู่กับหลวงปู่มั่น อยู่ ๓ คืน จึงได้กราบลาเดินทางไปพักที่วัดป่า–
บา้ นโคก วัดป่าบ้านโคกนี้ หลวงปู่มนั่ เคยพกั จ�ำพรรษาอย่กู อ่ น สำ� หรบั ในชว่ งน้นั หลวงปูก่ งมา
จริ ปุญฺโ เป็นเจา้ สำ� นกั อยู่ หลวงปู่ฝ้ันไปพักอยู่กบั หลวงป่กู งมา ทว่ี ัดปา่ บา้ นโคก อยู่ ๔ – ๕ คืน
ก็ออกเดินทางเพ่อื จะไปวดั ปา่ สทุ ธาวาส ซึ่งอยใู่ นตวั เมืองสกลนคร
เดนิ ทางไปถงึ แคบ่ า้ นนายอ ก็ค่ำ� ลงเสยี กอ่ น หลวงป่จู ึงได้พาคณะแวะไปปักกลดค้างคืนท่ี
โรงเรยี นประชาบาลบา้ นนายอ ตอนเช้าหลงั จากออกบณิ ฑบาต และฉันภัตตาหารแลว้ จงึ ไดอ้ อก
เดนิ ทางต่อไปยังวัดป่าสทุ ธาวาส พกั อยู่วัดปา่ สุทธาวาส ๓ คืน จงึ เดินทางต่อไปยังอ�ำเภอพรรณา–
นิคม แล้วเดนิ ลดั ตัดทงุ่ นาตรงไปบ้านบะทอง บา้ นเกดิ ของท่าน หลวงปู่และคณะได้เข้าไปพักท่ี
วดั บา้ นบะทอง เพียงคนื เดียว จงึ ไดย้ ้ายไปพักทปี่ ่าชา้ ใกลๆ้ กบั สระนำ้� ใหญ่ช่อื หนองแวง ซึ่งบรรดา
ญาติโยมได้พากนั ไปช่วยถากถางท�ำท่ีพกั ชว่ั คราวถวายให้ ท่ีพักชัว่ คราวทีห่ ลวงปูไ่ ปพกั อยูน่ ้ี ต่อมา
191
ไดก้ ลายเปน็ สถานทตี่ ้งั ของวดั ปา่ อุดมสมพร ในปัจจบุ นั สว่ นหนองแวงกไ็ ดก้ ลายมาเปน็ สระน้�ำใหญ่
ภายในวดั ซึ่งมีโบสถ์นำ้� อยกู่ ลางสระแหง่ นี้เอง
หลวงป่ฝู น้ั ไดจ้ ัดเตรยี มสถานที่ตรงท่ที า่ นพกั อย่ชู ่วั คราวน้ีเอง เป็นที่จัดท�ำบุญอทุ ศิ ส่วนกุศล
แดบ่ พุ การขี องท่าน โดยมญี าตโิ ยมชาวบ้านออกมาช่วยเตรียมงานกันอย่างแข็งขัน เมอ่ื ทุกอยา่ ง
พรอ้ มแลว้ หลวงปจู่ งึ ใหจ้ ดั พิธที �ำบุญข้ึน เปน็ การท�ำบญุ ทีใ่ หญโ่ ตมาก มชี าวบา้ นจากหลายหมบู่ า้ น
มารว่ มงานกันอยา่ งคบั คั่ง รูปแบบของการจดั งานเปน็ ไปตามแบบอยา่ งของพระกรรมฐาน คอื ไมม่ ี
มหรสพ ไม่มเี คร่ืองกระจายเสียง มแี ต่การสวดมนต์ รักษาศีล ฟงั เทศนอ์ บรมธรรม และปฏบิ ตั ิ
สมาธิภาวนากนั ตลอดคนื โดยมีพระเถระผูใ้ หญ่ไปรว่ มในพิธีด้วยหลายรปู
เมอื่ พระสงฆส์ วดพระพทุ ธมนตเ์ รยี บรอ้ ยแล้ว กม็ ีการแสดงธรรม องค์แรกที่ขึน้ แสดงธรรม
คือ หลวงปฝู่ ั้น ในนามของเจ้าภาพหรอื เจ้าของงาน บรรดาพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อบุ าสิกา
ตลอดจนศรทั ธาญาตโิ ยมท่ีมาร่วมงานต่างน่งั สมาธิภาวนา ขณะทีท่ ่านก�ำลังแสดงพระธรรมเทศนา
โปรดอย่นู ้นั ท่านได้ตักเตอื นบรรดาพทุ ธบรษิ ัทให้ต้ังใจรบั การอบรมอย่างจรงิ จงั อยา่ รบกวนสมาธิ
ของผฟู้ งั ด้วยกัน ล�ำดับต่อจากน้ันกน็ มิ นตพ์ ระอาจารย์ดี หรอื ทชี่ าวบา้ นเรยี กกนั ว่าทา่ นอาญาครดู ี
ข้นึ เทศน์เปน็ องคต์ ่อไป พระอาจารย์ดเี ทศนจ์ นถงึ ๖ ท่มุ กจ็ บลง ตอ่ ไป หลวงปอู่ อ่ น าณสิริ
ไดข้ น้ึ เทศนต์ อ่ ต้งั แต่ ๖ ทุ่ม ไปจนสว่าง เมอ่ื ไดเ้ วลาออกบิณฑบาต ทา่ นจงึ ไดล้ งจากธรรมาสน์
บรรดาญาตโิ ยมทไ่ี ปร่วมงานบำ� เพญ็ กุศลกับหลวงปู่ฝน้ั ในครง้ั นนั้ ตา่ งกป็ ลม้ื ปตี ิ ซ้งึ ใจ และ
อ่ิมบญุ กนั อยา่ งถ้วนทั่ว เพราะนานๆ จะได้พบกับงานบุญกนั จรงิ ๆ สกั ครง้ั หนงึ่ และตง้ั แต่บดั น้ัน
เป็นตน้ มา สถานท่จี ัดงานบญุ นน้ั กเ็ ริม่ มพี ระภิกษสุ ามเณรมาอยูพ่ ักจำ� พรรษาตลอดมา และได้
พฒั นาข้ึนเปน็ วดั ปา่ อดุ มสมพร วัดทหี่ ลวงปู่ฝน้ั ไดพ้ ำ� นกั เปน็ วัดสุดท้ายในชีวิตของทา่ น
นา่ สงั เกตว่า คืนแรกทห่ี ลวงปฝู่ ้นั ไดพ้ าพระภิกษุร่วมคณะเข้าไปพกั ในปา่ แหง่ นน้ี ้นั ท่านได้
ใหญ้ าตโิ ยมถางปา่ แลว้ เอาฟางมาปู จากน้ันก็ปเู สอื่ ทบั ลงไปบนฟาง ตกกลางคืนปลวกได้กล่ินฟาง
จงึ ออกมาอาละวาด ตอ้ งยา้ ยกนั ตลอดคนื ถึง ๔ – ๕ คร้ังจนสว่าง ทุกรปู ต่างกไ็ มไ่ ด้หลบั ได้นอน
ตลอดคืน พอเช้าวันรุ่งขึน้ ต้องท�ำเปน็ แคร่ยกขน้ึ พ้นจากพนื้ ดินจงึ ปลอดภัยจากกองทัพปลวกไปได้
การทส่ี ถานท่ีน้ัน กลายมาเปน็ วดั ปา่ อดุ มสมพร ท่ีเจริญรุง่ เรืองอยใู่ นปัจจุบัน ก็เป็นเพราะวา่
หลวงปูฝ่ ้ันไดบ้ ุกเบกิ มาดว้ ยความยากล�ำบาก นับตงั้ แตค่ นื แรกเลยทเี ดยี ว
192
ภาค ๑๒ แบ่งเบาภาระครูบาอาจารย์
พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๒๔๙๖ จ�ำพรรษา ๒๑ – ๒๙ ทวี่ ดั ป่าธาตุนาเวง
เสร็จจากงานบ�ำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานแด่บุพการีของท่านแล้ว อีกไม่กี่วันต่อมา
หลวงปฝู่ ้ัน อาจาโร ไดล้ าบรรดาญาตโิ ยมทั้งหลายเดนิ ทางกลับไปจังหวดั อุบลราชธานี เนื่องจาก
ได้รับนิมนต์ไปร่วมงานศพของคุณแม่ชีสาลิกา ซ่ึงทางเจ้าภาพและคณะสงฆ์ทางจังหวัดอุบลฯ
นิมนต์ไวล้ ว่ งหนา้ แล้ว ต้งั แตก่ อ่ นท่ที ่านจะเดินทางออกจากอุบลฯ มาสกลนครในคร้ังน้ี
เม่อื จดั บรขิ ารเสรจ็ เรยี บรอ้ ยแล้ว หลวงป่ฝู ้ันก็พาศิษย์ออกเดินทางดว้ ยเท้ายอ้ นกลับไปทาง
ตวั เมืองสกลนคร แต่เดินไปถงึ แค่บา้ นพานกใ็ กล้คำ�่ จงึ แวะเขา้ ไปปกั กลดพักในบรเิ วณปา่ ช้าหนึ่งคืน
ในตอนเชา้ ท่านกพ็ าลกู ศิษยอ์ อกรบั บณิ ฑบาตเพื่อโปรดสัตวต์ ามปกติ ปรากฏว่าบิณฑบาตไดเ้ พียง
ข้าวเหนียวกบั นำ้� อ้อยเพียง ๔ กอ้ นเท่านั้น
เก่ียวกับบิณฑบาตน้ี หลวงปู่ฝั้นท่านเคยเลา่ ให้บรรดาพระภกิ ษุสามเณรทเี่ ปน็ ศษิ ยใ์ กล้ชิด
ฟงั ว่า สมัยก่อนทา่ นเทยี่ วธดุ งค์ไปตามทตี่ า่ งๆ บางหมบู่ ้าน ทา่ นบณิ ฑบาตไม่ได้อะไรเลยก็มี แม้
ข้าวเหนยี วสักปั้นหนึง่ ก็ไมไ่ ด้ ต้องอดอาหาร เดินทางตอ่ ไปอกี แต่ถงึ ล�ำบากยากเขญ็ สักเพยี งใด
ทา่ นกไ็ มเ่ คยยอ่ ทอ้ ยิ่งอดอยากมากเทา่ ไร ก็ยงิ่ ท�ำความเพยี รไดม้ ากขึ้นเท่านนั้ ส�ำหรับทา่ นเองนน้ั
เคยฝกึ หัดทรมานตนด้วยการอดอาหารมาแลว้ เปน็ เวลาหลายๆ วนั กม็ ี
เมื่อหลวงปฝู่ น้ั กับศษิ ยฉ์ นั ขา้ วเหนียวกบั น�้ำอ้อยตอนเชา้ วนั นั้น เสรจ็ แล้วก็พากันเดินทางต่อ
ไปยงั วดั ปา่ ธาตุนาเวง ต�ำบลพังขว้าง อ�ำเภอเมือง จงั หวดั สกลนคร อนั เปน็ วดั ที่ หลวงปูพ่ รหม
จริ ปุญฺโ เคยเป็นเจา้ อาวาสมาก่อน ในสมยั กอ่ นนั้น วดั ป่าธาตนุ าเวง ตง้ั อย่ใู นป่าดงดบิ อยใู่ กลก้ ับ
โรงเรียนพลต�ำรวจ เขต ๔ และในระยะตอ่ มากลายเปน็ ท่ีต้งั ของวทิ ยาลยั ครูสกลนคร พฒั นามาเปน็
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร ในปจั จบุ ัน
ในตอนแรก หลวงปฝู่ ้ันต้งั ใจจะแวะพักที่วัดป่าธาตนุ าเวง เพียงคนื เดยี ว แตเ่ น่อื งจากมีผมู้ า
นิมนต์ให้ท่านอยู่จ�ำพรรษาท่ีสกลนคร เพ่ือจะได้ช่วยแบ่งเบาภาระของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น
ภรู ิทตฺโต ในการอบรมพระเณรทสี่ นใจดา้ นการปฏบิ ัตภิ าวนา เพราะในระยะนท้ี า่ นพระอาจารย์–
ใหญม่ ่นั ท่านเขา้ สู่วัยชราภาพแล้ว เหตผุ ลสำ� คญั อกี ประการหน่งึ เน่อื งจากกจิ นิมนต์ทที่ า่ นรับไวท้ ี่
จงั หวดั อบุ ลราชธานี เกีย่ วกับงานศพของคณุ แมช่ ีสาลกิ าน้นั ไดจ้ ัดการเผาศพไปเสร็จเรยี บร้อยแลว้
ทั้งนีม้ ีการเลื่อนกำ� หนดจัดงานให้เร็วขนึ้ โดยหลวงปู่ไม่ได้รบั แจง้ ให้ทราบ การเดนิ ทางไปจังหวัด
อุบลฯ ตามที่ท่านต้ังใจจึงหมดความจ�ำเป็น ด้วยเหตุน้ีหลวงปู่ฝั้นจึงตกลงรับค�ำนิมนต์พักและ
จำ� พรรษาที่ วดั ปา่ ธาตุนาเวง ตั้งแตป่ ี พ.ศ. ๒๔๘๘ เปน็ ต้นมา
193
โดยในปีนั้นก่อนเข้าพรรษา หลวงปู่ฝั้นท่านได้พาศิษย์พระเณรไปกราบเยี่ยมท�ำวัตรกับ
ท่านพระอาจารยใ์ หญม่ นั่ ที่วดั ปา่ บ้านหนองผอื ตำ� บลนาใน อำ� เภอพรรณานิคม ตามธรรมเนยี ม
ปฏบิ ตั ขิ องพระสงฆ์ทัว่ ไป โดยองคห์ ลวงตาพระมหาบัว เทศนเ์ หตุการณ์ตอนกราบเยย่ี มไว้ดงั นี้
“อย่างหลวงปู่ฝั้นพลังจิตเก่งมาก ยกให้เลยสมัยปัจจุบัน แล้วยังมีรู้ด้วยส่ิงต่างๆ
ยกตวั อยา่ งเชน่ วนั นั้นจวนจะเขา้ พรรษา ท่านจะพาลกู ศษิ ยล์ กู หาไปกราบพอ่ แม่ครูอาจารยม์ ัน่ ท่ี
หนองผอื เรามันเป็นอยา่ งนน้ั ละ่ ถา้ มคี รบู าอาจารย์องค์ใดมา เราจะเขา้ ถงึ ก่อนแล้ว เขา้ ถงึ ดทู กุ สงิ่
ทกุ อยา่ งกอ่ นๆๆๆ เร่อื ยเลย พอวนั น้นั ไปท่านข้นึ ไป เรากน็ งั่ อยู่นน้ั แลว้ คอย ครบู าอาจารยล์ ูกศษิ ย์
ของทา่ นชนั้ ผู้ใหญ่มาแต่ละองค์ๆ ท่านปฏิบตั ปิ ฏสิ นั ถารตอ้ นรับภายในภายนอก เรอื่ งศลี เร่ืองธรรม
อย่างไรบา้ งๆ ทา่ นจะไมป่ ฏบิ ัติเหมือนกันนะ พอ่ แมค่ รูอาจารยม์ นั่ นี้ องคน์ ี้ข้นึ มามีกิริยามารยาท
อรรถธรรมเป็นอย่างน้ัน องค์น้ีขึน้ มามกี ริ ิยามารยาทอรรถธรรมเปน็ อย่างนนั้ ไม่ไดซ้ �้ำกันนะ
พอดวี ันนั้นท่านขนึ้ มากราบ พอกราบลงไปท่านยม้ิ เพราะนิสัยท่านอาจารยฝ์ ้ันน่ีท่านยมิ้
ย้ิมสวยงามมากนะ ไมเ่ หมอื นหลวงตาบวั ย้มิ ถา้ หลวงตาบวั ย้มิ นี้ ศาลาแตกฮอื เลย เข้าใจไหม
ทา่ นอาจารย์ฝน้ั ย้ิมสวยงามมากนะ พอกราบลงๆ ทา่ นมอง “เออ ! วนั น้มี นั หอมอะไรนา แต่ไมใ่ ช่
หอมธปู ” ทางนนั้ “เอ๊ ! วันนี้หอมอะไรนา แต่ไมใ่ ชห่ อมธูปหอมเทียน” เท่าน้ันพอ พอทา่ นกราบลง
ไปเสรจ็ แลว้ ท่านยมิ้ ๆ “เอ๊ ! วันนีห้ อมอะไรนา แต่ไม่ใชห่ อมธปู หอมเทียน” ทางนัน้ ท่านตอบรบั
“เออ ! ใชแ่ ลว้ ” เท่านั้นพอ
พอท่านกราบลงไปเสร็จแล้วท่านยิม้ ๆ “เอ๊ ! วนั น้ีหอมอะไรนา แต่ไม่ใช่หอมธูปหอมเทยี น”
ทางนัน้ ทา่ นตอบรับ “เออ ! ใชแ่ ลว้ ” เวลาน้ันทา่ นไม่มีโอกาสทจี่ ะถามท่านได้ “จากน้ันแล้วขน้ึ ไป
หาท่านโดยเฉพาะ แลว้ เป็นอยา่ งไร เวลาท่านอาจารย์ฝั้นมากราบพอ่ แมค่ รูอาจารย์มลี ักษณะยิม้ ๆ
แลว้ วา่ “วนั นี้มนั หอมอะไรนา แตไ่ มใ่ ชห่ อมธูป มนั หมายความว่าอยา่ งไร” หมายความวา่ รกุ ขเทพ
เตม็ หมด ท่านบอก “เออ ! ใชแ่ ล้ว รุกขเทพมาเคารพบชู าครูบาอาจารยเ์ ตม็ ไปหมด” ท่านวา่
อย่างน้ันนะ ทา่ นตอบปง๋ึ เลยนะพอ่ แมค่ รูอาจารยม์ ่ัน แต่เวลาจะพูดได้ขนาดน้ันก็ “เออ ! ใชแ่ ลว้ ”
เรางงเป็นบ้าอยู่ เปน็ บา้ อยู่นาน พอได้โอกาส ท่านออกทันทีเลย พวกเทวดาเต็มมาคอยฟงั เทศน์
ท่าน นานๆ จะมที ีหนึ่ง เวลาพอ่ แม่ครูอาจารย์ตอบนะน่นี ะ ทา่ นบอกวา่ “เออ ! ใช่แลว้ ” เท่านั้นละ่
ไม่มาก เวลาเราไปถามธรรม ทา่ นตอบออกมาอยา่ งนั้นจงึ ชดั เจนมาก...
พระจิตตคุตต์ พวกเทพรกั มากทสี่ ดุ เปน็ คนละนสิ ัยวาสนา อันน้ไี ม่ได้เหมอื นกนั หมด อย่าง
สมยั ปัจจุบนั น้หี ลวงป่มู ัน่ กับหลวงป่ฝู น้ั หลวงปมู่ ัน่ เป็นท่หี น่ึง หลวงปูฝ่ ้นั เป็นทสี่ อง ต่อจากน้นั ก็
เปน็ ล�ำดบั กนั ไป ท่เี ด่นมากทีส่ ุดกค็ ือ หลวงปู่มนั่ น่ลี ะ่ เดน่ มาก กับพวกเทพนีไ้ ม่ว่าไปอยทู่ ่ไี หน
194
พวกเทพรักทา่ นมาก เทพไม่ใชเ่ ทพธรรมดา สวรรคช์ นั้ พรหมกย็ ังมา แต่ที่รกั ษาทา่ นธรรมดามีเป็น
ประจำ� ทา่ นวา่ ...
อย่างนี้ละ่ ความรูแ้ ปลกๆ ต่างๆ กัน ความรู้ภายในปดิ ไมอ่ ยนู่ ะ ตามภมู ินสิ ัยวาสนาของใคร
มีสมาธเิ ปน็ รากฐาน ทจ่ี ะให้เกิดความรูแ้ ปลกๆ ต่างๆ น้ีขึ้นมา สมาธิเป็นรากฐาน พอจิตมคี วามสงบ
เข้าเท่าไรๆ เรื่องนิสัยวาสนาของใครจะร้เู หน็ อะไรนี้ จะแตกออกมาจากสมาธินี้ รูส้ ่ิงนั้นสิ่งน้เี รอื่ ยๆ
แลว้ เก่ียวกนั ไปเร่ือย เปน็ ความชำ� นิช�ำนาญไปเรอ่ื ย คล่องตัวไปเร่อื ย จากพื้นฐาน ถงึ จติ จะขน้ึ ขั้น
ปญั ญาก็ตอ้ งมีฐานสมาธเิ ปน็ ที่รับรองในเบื้องต้น”
ครูบาอาจารย์ เทศนส์ าเหตุทเี่ ทวดามาฟังเทศน์ และเทศน์ถงึ หลวงป่ชู อบ หลวงปูฝ่ ั้นชว่ ย
หลวงปู่มั่นจับขโมย ไวด้ ังน้ี
“หลวงปู่ม่ันท่านก็บอกน่ี เพราะหลวงปู่ฝั้นท่านเห็นของท่าน ผู้ที่มีความรู้ กับ ผู้ท่ีมี
ความรู้ หัวใจมนั ถงึ กนั มันเห็นไง เพราะหลวงปู่ฝั้นทา่ นพูดเทา่ นี้ หลวงปู่มน่ั ทา่ นกร็ ับของท่าน
เท่านัน้ เพราะคนรู้ กับ คนรู้ มันไมต่ อ้ งพดู กนั มาก...
หลวงตาท่านพดู เห็นไหม บอกว่า หลวงปู่ม่ัน กับ หลวงป่ฝู ั้น ทา่ นเหน็ ด้วยตาเนือ้ นะ
เห็นเทวดา อินทร์ พรหม เหน็ ดว้ ยตาเนอ้ื เหน็ เหมือนเราเห็น มภี าพ ๒ ภาพซ้อนกัน ดมู นุษย์กด็ ู
อย่างน้ี ถ้าดูอีกทีก็เหน็ หมดเลย หลวงป่มู ่ันก็เหน็ อย่างนน้ั นะ เหน็ ดว้ ยตาเนอื้ เลย...
หลวงตาทา่ นจะบอกว่ามีหลวงปู่มัน่ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ชอบ พวกนจ้ี ะเหน็ ด้วยตาเนื้อเลย
เห็นจติ วญิ ญาณดว้ ยตาเนอื้ เลย แตถ่ ้าเป็นองคอ์ ื่นนะจะตอ้ งเข้าสมาธิ ตอ้ งเขา้ ไปเพอ่ื ให้ระดับจิต
ถงึ กนั มนั ถงึ จะเห็นกัน ถา้ เห็นกันนะ เขาเห็นของเขา...
ถา้ หัวใจมีธรรมและวินัยในหวั ใจนี้ มันจะท�ำใหเ้ ราประเสริฐขน้ึ มา เหน็ ไหม คนถงึ ต้องยกมือ
ไหวค้ นไง คนถึงต้องกราบคนไง เทวดาต้องมาฟงั ธรรมขององค์หลวงป่มู ั่นไง เทวดา อนิ ทร์ พรหม
ต้องมาฟังธรรมของหลวงปู่ชอบ ฟงั ธรรมของหลวงปู่ฝ้ันไง ท�ำไมมาฟังธรรมล่ะ ? เพราะเขาเข้าใจ
เรือ่ งชวี ิตปกติของเขา แต่เขาไม่เข้าใจเรื่องอรยิ สจั เขาไม่เขา้ ใจเรอื่ งการเคล่ือนไปของปัญญาในหัวใจ
ท่มี ันเคล่ือนอย่างไร สงิ่ ท่มี ันเคล่ือนไป แลว้ มันช�ำระกิเลสอย่างไร เห็นไหม นีค่ นถงึ ตอ้ งไหวค้ น
คนเพราะอีกคนคนหน่ึงเขาประพฤตปิ ฏิบัติ จึงเหน็ ความเปน็ ไปของโลก คอื ธรรมเหนือโลก...
เวลาหลวงป่มู ั่นท่านอยู่ท่หี นองผือ เวลาท่านจะเทศนาวา่ การ ทา่ นบอกวา่ ใหห้ ลวงป่ชู อบ
กับหลวงปฝู่ ั้น หลวงปู่ชอบกบั หลวงปฝู่ ้นั จะมจี รติ นสิ ัย มอี ำ� นาจวาสนามาก มบี ารมีมาก จะรูว้ าระ
จิตของคนไง หลวงปมู่ น่ั ฝากไวเ้ ลย บอกเวลาทา่ นเทศน์ ถ้าปกติจติ ของทา่ นเหมอื นกบั เราพร้อม
เรามเี รดาร์ เราจะจบั ได้เลยว่า ใครคิดอะไร แตเ่ วลาท่านเทศนาว่าการนี่ ท่านทำ� งานอยู่ เหมอื น
มือเราก�ำอะไรอยู่ เราไม่มีมอื ว่างทจี่ ะไปดูอะไร ฝากให้หลวงปูฝ่ ัน้ กบั หลวงป่ชู อบใหช้ ่วยจบั ขโมย
195
ให้ที ขณะท่ีเทศน์นี่เป็นวิชาการ เทศน์นี่เป็นสัจธรรมความจริงออกมาจากหัวใจของหลวงปู่มั่น
เพอ่ื ยน่ื จากใจดวงหนงึ่ ยื่นใหล้ กู ศษิ ย์ แต่ขโมยมันฟังธรรม มันก็ยงั คดิ ออกนอกลนู่ อกทาง คิดไป
เรอื่ งตา่ งๆ น่ีคือขโมย ใหพ้ วกนีค้ อยเตอื นที”
หลงั จากออกจากวดั ปา่ บา้ นหนองผอื แลว้ หลวงปฝู่ น้ั ทา่ นกพ็ าพระเณรเดนิ ทางไปถงึ วดั ปา่ –
บา้ นโคก ปรากฏว่าศษิ ย์ทีเ่ ปน็ พระรปู หน่ึงเกดิ อาพาธเป็นไข้มาลาเรียก�ำเริบอย่างหนัก ชว่ งน้ันอยู่
ระหว่างสงครามโลกครั้งท่ี ๒ หยูกยาหายากมาก กล่าวคอื ไมต่ อ้ งพูดถึงเร่อื งหยกู ยาทจ่ี ะใช้รักษาไข้
กันเลย หลวงปู่ได้รีบพาศษิ ยท์ ่ีป่วยนน้ั กลับวัดป่าธาตนุ าเวง แลว้ ดแู ลให้การรกั ษาพยาบาลปอ้ นข้าว
ปอ้ นน้�ำอยา่ งใกลช้ ิด จนกระท่ังอาการไขน้ นั้ หายเปน็ ปกติ
เกยี่ วกับเร่อื งไขม้ าลาเรียน้ี หลวงป่ไู ด้เลา่ ให้บรรดาศิษยฟ์ งั ว่า ตวั ทา่ นเองเคยประสบมาแลว้
เช่นเดยี วกนั ออกธดุ งค์คราใดทา่ นจะตอ้ งมรี ากยาตดิ ยา่ มไปดว้ ยเสมอ บางครั้งเดินอยดู่ ีๆ กเ็ กดิ
อาการไขข้ ึน้ มาอยา่ งกะทันหัน ต้องแวะนอนใต้ร่มไม้ เอารากยาออกเคี้ยวแลว้ กลนื น้�ำลายเขา้ ไป
แทนน้�ำ เพราะหาน้�ำทจ่ี ะใช้ฝนรากยาไม่ได้ในละแวกนน้ั ท่านต้องทนล�ำบากเพราะไขม้ าลาเรียอยู่
ถึงสบิ กว่าปี จึงได้ชินกบั ไข้ประเภทนี้
หลวงปฝู่ ้ันไดเ้ ตือนบรรดาพระลูกศษิ ย์ที่ร่วมธุดงคอ์ ยู่เสมอมาด้วยวา่ เวลาเดนิ ธดุ งค์ไปใน
ที่ต่างๆ ใหร้ ะวังเรื่องน�ำ้ เวลาเหนอ่ื ยๆ และกระหายนำ้� จดั อยา่ ดมื่ นำ้� ในทันทที ี่เหน็ น้�ำ ควรรอ
ให้หายเหนอ่ื ยเสยี ก่อนจงึ ค่อยดื่ม เรือ่ งอาบน�ำ้ ก็เชน่ กัน ถา้ เหงือ่ ก�ำลังออกโชกรา่ ง อย่าเพิง่
อาบน�ำ้ ทนั ที ควรรอให้เหง่อื แห้งเสียกอ่ นจงึ คอ่ ยอาบนำ้� ถา้ ด่ืมน�ำ้ ในเวลาที่หวิ จัด หรอื อาบน้ำ�
ท้งั เหงอื่ หรอื ก�ำลังเหนอื่ ย บางครั้งจะจับไข้ทนั ทไี ด้
ครั้นเม่อื ใกล้เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๘ หลวงปฝู่ ัน้ ทา่ นไดพ้ าพระเณรพักจ�ำพรรษาทวี่ ัดปา่ –
ธาตุนาเวง เป็นพรรษาแรก และได้อยู่จ�ำพรรษาเร่ือยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นเวลานาน
ตดิ ตอ่ กันถงึ ๙ พรรษา นบั เป็นพรรษาที่ ๒๑ – ๒๙ ขณะทา่ นมอี ายุ ๔๖ – ๕๔ ปี
ท่านบูรณะพฒั นาวดั ป่าธาตนุ าเวง
วัดป่าธาตุนาเวง ในตอนแรกเป็นท่ีพักสงฆ์ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านได้ไปสร้างไว้
มีผู้พยายามจะแย่งกรรมสิทธ์ิไป หลวงปู่ฝั้นต้องต่อสู้ด้วยธรรมอันยอดเยี่ยมของท่าน จึงสามารถ
รักษาวัดน้ไี ว้ได้ ต่อมาท่านได้ตง้ั ชอ่ื วดั ใหมว่ า่ วดั ป่าภธู รพทิ กั ษ์ และใชช้ ือ่ นีม้ าจนบดั น้ี สาเหตุ
เพราะท่านระลึกถงึ ความชว่ ยเหลอื ของต�ำรวจภูธรในสมัยน้นั
เมอ่ื หลวงปฝู่ ้นั อาจาโร ท่านมาพักจ�ำพรรษาอย่ทู ่ี วดั ปา่ ธาตุนาเวง หรอื วัดปา่ ภธู รพิทกั ษ์
ท่านได้เปน็ ผู้นำ� ในการบูรณะพฒั นาวดั ตามแบบฉบบั ของวัดป่ากรรมฐานสายท่านพระอาจารยม์ น่ั
196
โดยซอ่ มแซมกฏุ ิทผ่ี พุ ังใหม้ สี ภาพทด่ี ขี ้ึน ปรับปรงุ ทางเดนิ จงกรม สร้างกุฏกิ รรมฐานพรอ้ มทางเดนิ
จงกรม เพื่อรองรับพระเณรทมี่ าขออยูศ่ กึ ษาอบรม ท่านม่งุ ม่ันพัฒนาให้เปน็ วัดปา่ ที่มสี ภาพสมบูรณ์
มีความสะอาด รม่ รื่น วิเวกเงยี บสงัด เหมาะกบั เปน็ สถานทีป่ ฏบิ ัติธรรมเรื่อยมา ท่านพาพระเณร
รักษาขอ้ วตั รปฏบิ ัติ ปฏปิ ทาพระธุดงคกรรมฐานอยา่ งเขม้ งวดเคร่งครดั เช่น การบิณฑบาตเป็นวัตร
การปดั กวาดลานวดั ทำ� ความสะอาดเสนาสนะ การเดินจงกรม นงั่ สมาธภิ าวนา ฯลฯ พอถึง
วนั พระหรอื วันอโุ บสถ หลวงปู่จะอบรมสานศุ ิษย์เป็นประจำ� ท่านจะพาพระเณรถือเนสัชชิก โดยมี
การแสดงธรรม นัง่ สมาธภิ าวนาและเดนิ จงกรมตลอดท้งั คนื
ครบู าอาจารย์ทเี่ คยอยจู่ �ำพรรษา เพอ่ื ศึกษาธรรมปฏบิ ัตกิ บั หลวงป่ฝู ้ัน ท่ีวดั ป่าธาตนุ าเวง
ท่านเล่าว่า “ปฏิปทาและข้อวตั รปฏบิ ัตเิ ม่อื อย่กู ับหลวงปูฝ่ ั้นนั้น ปฏปิ ทาตา่ งๆ ก็เหมือนอยกู่ ับ
หลวงปูม่ ่ัน เพราะหลวงปู่ฝ้นั ทา่ นเป็นลูกศษิ ยใ์ กล้ชดิ หลวงปมู่ ั่น หลวงปู่ฝัน้ ทา่ นกเ็ อาปฏิปทา
ของหลวงปู่มั่นมาปฏบิ ตั ิ การปฏบิ ัติในชว่ งน้นั หลวงป่ฝู ้ันท่านเทศนาอบรมธรรมวนิ ยั พาภาวนา
ปฏบิ ัติธรรม ในวันพระกจ็ ะท�ำความเพียรนง่ั สมาธิและเดินจงกรมตลอดคืน”
ในการรักษาพระธรรมวนิ ัย ขอ้ วตั รปฏิบตั ิ หลวงปูฝ่ ัน้ ท่านจะดำ� เนนิ ตามหลวงปู่มัน่ ท่าน
จะรกั ษาอย่างเคร่งครดั มาก โดยครบู าอาจารย์เทศนไ์ วด้ งั น้ี
“เวลาผนู้ ำ� เปน็ ตัวอยา่ งทดี่ ี อยา่ งเชน่ องคส์ มเด็จพระสัมมาสัมพทุ ธเจา้ อย่างเชน่ ครูบา–
อาจารย์ของเรา หลวงปเู่ สาร์ หลวงปู่ม่ัน เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปมู่ น่ั ท่านอุทศิ ชีวิตของท่าน
ท่านอทุ ศิ ตัวของทา่ น ทา่ นท�ำให้เห็นไง พอทา่ นท�ำให้เหน็ ถึงเราจะเชอื่ หรือไมเ่ ชอ่ื ก็แลว้ แต่ สง่ิ ทมี่ ัน
เป็นตัวอยา่ งอันน้นั น่ะ มันท�ำให้พระอย่ใู นรอ่ งในรอยมากข้ึน เพราะอะไร
เราจะบอกวา่ เวลาเราบวชใหมๆ่ ไปอยู่ในวงสงั คมของพระ พระเขาพูดกันบอกวา่ “ท�ำ
ไม่ไดห้ รอก ธรรมวินัยทำ� ไม่ได้หรอก ไม่มีใครทำ� ได้” ทีนพ้ี อไม่มใี ครทำ� ได้ เราก็ฟงั ไวห้ หู นง่ึ แต่พอ
เราไปฟังเทศนห์ ลวงปู่ฝัน้ หลวงปู่ฝัน้ เวลาท่านพูดนะ ทา่ นเทศน์ ไปฟงั เทปหลวงปฝู่ ้นั สิ ท่านบอก
วา่ “ไม่ใชว่ า่ ท�ำไมไ่ ดน้ ะ พยายามจะท�ำทุกตวั อักษรเลย” นีเ่ วลาหลวงปูฝ่ ้ันทา่ นพูดอย่างนัน้ ...
อย่างข้อวัตรปฏบิ ัตมิ ันเหน็ เป็นเรอื่ งของเลก็ น้อย เร่อื งของเลก็ นอ้ ยนะ หลวงปู่ฝนั้ ท่านพดู
ประจ�ำ “เขื่อนมนั จะแตก มนั แตกจากตามด แตกจากสงิ่ ทเี่ ปน็ รอยรา้ วเลก็ นอ้ ยนีแ่ หละ มนั ท�ำให้
เขื่อนแตก เข่ือนพังได้” น่ีก็เหมือนกัน หลวงปู่มั่นท่านพยายามให้มีข้อวัตรปฏิบัติประจ�ำใจไป
ท่านบอกวา่ ให้มีขอ้ วตั รติดหวั มนั ไป ตดิ หวั คอื หวั ใจไง หวั ใจ คอื ความคิด ความคิดมันยอมรับ
ความคดิ มันเหน็ ประโยชนน์ ะ ข้อวตั รปฏิบัตมิ นั เหน็ ประโยชนม์ าก เก็บเล็กผสมนอ้ ย มันท�ำให้เรา
เขม้ แขง็ ขนึ้ มาได้”
197
เรือ่ งของอ�ำนาจจติ รถยนต์ตอ้ งจอดรถรอ
ระหว่างพรรษาแรก คอื ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ นี้ มเี ร่ืองอัศจรรยซ์ ่งึ บรรดาพระลูกศิษย์ชดุ ท่ี
จำ� พรรษาอยดู่ ว้ ย ยงั จำ� กนั ได้แมน่ ยำ� อยู่เรือ่ งหนึง่ คอื วดั ป่าธาตนุ าเวง หรือ วัดปา่ ภธู รพิทกั ษ์ นีอ้ ยู่
นอกตัวเมืองสกลนคร หา่ งออกไปทางเหนือประมาณ ๗ กิโลเมตร บนเส้นทางอดุ รธานี – สกลนคร
เวลาหลวงปู่ฝั้นมีกิจธุระต้องเข้าไปในตัวเมืองหรือไปวัดป่าสุทธาวาส ท่านจะต้องเดินเท้าออกไป
ราว ๑ กิโลเมตร จงึ จะถงึ สีแ่ ยกถนนใหญ่ แล้วเดนิ เท้าหรอื นง่ั รถยนตโ์ ดยสารต่ออีกราว ๖ กิโลเมตร
จงึ จะถงึ ตัวเมอื ง บางครง้ั หลวงปู่ก็พาศษิ ย์เดินไป และบางครั้งถ้าจงั หวะเหมาะก็นง่ั รถโดยสารไป
เรื่องท่ีกล่าวขานกันว่าน่ามหัศจรรย์น้ันมีอยู่ว่า บางครั้งเมื่อหลวงปู่และศิษย์เตรียมตัวจะ
ออกจากวดั ก็ไดย้ นิ เสียงรถยนตด์ งั กระหม่ึ อยู่บนถนนใหญ่ แน่ใจวา่ เป็นรถยนตโ์ ดยสารวง่ิ จากอุดรฯ
เพื่อเขา้ สกลนคร พอได้ยนิ เสียงรถ พระลกู ศิษยก์ จ็ ะขอว่งิ ออกไปกอ่ น เพอื่ ไปบอกใหร้ ถจอดรอตรง
สแี่ ยก หลวงป่บู อกว่า “ไม่ต้องหรอก ว่ิงให้เหนื่อยเปล่าๆ รถคนั นนั้ ต้องหยดุ รอเราแน่ๆ”
หลวงปู่พาคณะออกเดนิ ทางไปตามปกติ ไม่รบี รอ้ น พอถงึ ส่ีแยกกพ็ บรถโดยสารจอดรออยู่
จรงิ ๆ คนขบั รถก�ำลงั กลุ ีกุจอตรวจดเู ครื่องยนต์เพอ่ื หาทางแก้ไขอยู่ หลวงปไู่ ด้สอบถามคนขบั ดู กไ็ ด้
รบั คำ� บอกว่า “ไม่รมู้ ันเปน็ อะไร ว่งิ มาดีๆ พอมาถงึ สีแ่ ยกเครอ่ื งยนต์ก็ดับ สตาร์ตเท่าไรกไ็ มต่ ิด”
หลวงปู่พดู เรียบๆ ตามปกตวิ า่ “เอาละ่ ! เคร่ืองดีแล้ว รีบไปกันเถอะ อาตมาขอโดยสารไปใน
เมืองด้วย” หลวงปฝู่ น้ั พาคณะข้นึ บนรถ บอกใหค้ นขับรถลองติดเครื่อง เครื่องยนต์ก็ติดเสยี งดัง
กระห่มึ แล่นออกไปถึงตัวเมอื งสกลนครโดยไม่มปี ญั หาแต่อย่างใด ท้งั คนขบั รถและผ้ทู ี่นงั่ โดยสาร
อยบู่ นรถต่างก็พดู ว่า “แปลกแท”้ มองหนา้ กนั อย่างไม่เขา้ ใจ เหตุการณ์อยา่ งน้ีไม่ได้มีแคค่ ร้งั เดยี ว
ลูกศิษยบ์ อกว่า มีบอ่ ยจนเปน็ ทีร่ ู้กันในหมู่ศิษย์
หลวงปอู่ ่อน าณสิริ ไดบ้ นั ทกึ เรอ่ื งนไี้ ว้วา่
“เกีย่ วกับเรอ่ื งน้ไี ม่อาจมีใครทราบไดว้ ่า เกดิ จากกระแสจิตอนั แรงกล้าของพระอาจารยฝ์ ั้น
หรืออยา่ งไร แต่พระภิกษุผู้เป็นศิษยข์ องท่านรปู หนงึ่ ยงั จ�ำได้ถึงค�ำสอนของท่านเกี่ยวกบั อ�ำนาจจติ
ได้ดี กลา่ วคอื ท่านเคยเทศนส์ อนถงึ ความแกก่ ลา้ ของจติ กอ่ นจะท�ำไดต้ ้องบ�ำเพ็ญความเพยี รช�ำระ
กเิ ลสออกจากจติ ใหห้ มดสน้ิ ไปเสียกอ่ น เม่อื ขัดเกลาจนหมดจดได้แลว้ อ�ำนาจของจิตย่อมเกิดขึ้น
ไดเ้ อง เปรยี บเช่นกบั นำ้� ฝน เมื่อตกลงสแู่ ผ่นดนิ อันเต็มไปดว้ ยฝนุ่ ละออง นำ้� ฝนท่ใี สกก็ ลายเปน็
ขน้ ขนุ่ ย่ิงไปกวนเข้าก็ยิ่งขนุ่ มากขน้ึ
ใครฉลาดตักใสภ่ าชนะวางท้ิงไว้นิ่งๆ ความสกปรกก็จะตกตะกอนและน้�ำนนั้ กจ็ ะใสขน้ึ ใหม่
สามารถใช้ด่ืมกินได้ สภาพของจติ นนั้ เดมิ ก็ใสสะอาดปราศจากมลทิน เป็นส่งิ ทมี่ ีอ�ำนาจอยู่แลว้
198
แตเ่ มอ่ื เข้ามายดึ ถอื ในอตั ภาพรา่ งกายอันเตม็ ไปด้วยกิเลสต่างๆ จติ กเ็ ศรา้ หมองขุ่นมวั หากช�ำระให้
หมดไปได้ จิตกใ็ สสะอาด มีพลงั และมีอำ� นาจสามารถท�ำอะไรๆ ไดต้ ามกำ� ลงั ของจติ ”
องค์หลวงตาพระมหาบวั เทศน์เล่าอ�ำนาจจิตของหลวงปฝู่ ั้นไวด้ งั นี้
“กระแสจติ ตา่ งกนั กระแสจิตที่นมุ่ นวล กระแสจติ ที่มกี ระแสรนุ แรง กำ� ลงั แรง ต่างกนั
อย่างกระแสจติ ทา่ นพอ่ ลแี รง กระแสจติ หลวงปู่ฝน้ั สมยั ปจั จบุ นั แรง แรงมากทเี ดียว นีล่ ะ่ กระแสจิต
รถวิ่งมานี้ก�ำหนดจุดให้หยุดกึ๊กๆ ไปไม่ได้เลย เห็นไหม พลังของจิต ยกตัวอย่าง อย่าง
ท่านอาจารยฝ์ นั้ เกง่ มากทีเดียว ท่านพอ่ ลกี ็เกง่ ถงึ เรือ่ งการห้าม การยกจิตอะไร ก�ำหนดจิตก๊กึ
เหมอื นภเู ขาทั้งลูกกนั้ ไวเ้ ลย ข้ามไมไ่ ด้ กระแสจติ รนุ แรงยงิ่ กวา่ อะไร อยา่ มาวา่ ภูเขาท้ังลูกเป็นของ
มีก�ำลัง มีนำ�้ หนกั มาก สกู้ �ำลงั ของใจ น�้ำหนกั ของใจ ดี – ชวั่ ของใจไม่ไดน้ ะ เปน็ อยา่ งน้ันล่ะ
พลงั จิต กระแสใจของท่านอาจารย์ฝ้นั นีแ้ รง ทา่ นอาจารยล์ ี หนง่ึ
กระแสใจแรงมากอยู่ ทา่ นอาจารย์ฝนั้ ท่านอาจารย์ลี คือเราจะเห็นเวลาท่านทำ� น้ำ� มนต์
เพราะมันเขา้ ใจกัน คอื น�้ำมนต์ทท่ี ำ� บางองคท์ า่ นท�ำสุขุมเงียบๆ กระแสจิตของท่านน่มุ นวลแลว้
ค่อยท�ำ ซึ้งเขา้ ไปๆ บางองค์ทา่ นใสป่ ๊วั ะเลยๆ คอื กระแสจิตของท่านรนุ แรง พอใส่ป๊ัวะน่พี งุ่
พร้อมกนั เลยๆ อย่างท่านพอ่ ลนี เี้ ขาไปขอน�้ำพุทธมนตท์ า่ น ท่านสง่ เขา้ ไป ท่านใส่ปวั๊ ะเดียวๆ คอื
กระแสจิตของท่านรุนแรง พุ่งทเี ดียวถึงหมดเลย พุ่งทีเดยี วถึงหมด แตค่ รบู าอาจารย์บางองคท์ า่ น
นิม่ นวล ทำ� ชา้ ๆ ซึมไป ช้าๆ อนั น้นั ครอบหมดเหมือนกนั แตร่ นุ แรงตา่ งกัน
น่ันละ่ กระแสของจติ ผ้มู ีกระแสของจิตรนุ แรงก็มี ผูน้ ่มุ นวลก็มี อยา่ งท่านอาจารย์ลนี ี้
กระแสจิตแรงมาก ทา่ นอาจารย์ฝ้ันก็แรง สององค์นแี้ รงมาก กระแสจติ เวลาพุง่ ออก คือกระแสจติ
มันตามนิสยั วาสนา บางองคอ์ อกน่มุ นวล บางองค์ก็พุ่งอยา่ งแรงไปเลย เพราะฉะน้ันกริ ยิ าท่ีท่านทำ�
น้�ำมนต์ใหใ้ ครตอ่ ใคร จึงไมเ่ หมอื นกัน แต่คนภายนอกไมร่ ู้นะ นพี่ ูดจริงๆ ไมใ่ ชค่ ยุ รู้ พอทา่ นแสดง
เรารแู้ ล้ว อ๋อ ! ออ๋ แลว้ ร้แู ล้ว กระแสจติ ต่างกัน
อยา่ งทา่ นอาจารยฝ์ น้ั กระแสจิตแรง นกฮูกมนั รอ้ งอยู่ขา้ งบน ทา่ นนัง่ ภาวนา อนั นท้ี า่ น
เล่าเอง กระแสจิตของทา่ นแรงจริงๆ ทา่ นภาวนา นกฮูกมันรอ้ งข้างบน มนั เป็นอยา่ งไรนกตัวนนี้ ะ่
ท่านวา่ อยา่ งนั้น เลยกำ� หนดจติ ขึ้นไป ขึ้นไปพอเห็นตวั มนั แลว้ กเ็ พ่งเขา้ ถึงตัวป๊ับตกตมู ลงมานี้
ตกลงมาตอ่ หนา้ ท่านเลย ทา่ นมาจบั “อ้าว ! เราเพง่ ธรรมดา ท�ำไมมันจะตาย” มันดิ้นดุกๆ ทา่ น
เลยจบั ท่านรู้สกึ สะดดุ ใจ กเ็ ราไมไ่ ด้ท�ำให้มนั ตาย ไม่มีเจตนา เราเพ่งดมู นั เฉยๆ วา่ ท�ำไมเปน็ อยา่ งนี้
เลยจบั มัน มันด้นิ ปุบปบั ๆ บนิ ป้ึงไปเลย กระแสจติ ทา่ นแรง ทา่ นเพง่ อย่างแรง
คดิ ดูต้งั แต่มะละกอสกุ เวลาจิตของท่านสวา่ งไสวออกไปเห็นกระท่ังวตั ถุมะละกอ ทา่ นก็
เห็นชดั เจนแลว้ ตอนเช้าทา่ นยังไปดอู กี นะ ท่านเล่าใหฟ้ งั วัดธาตุนาเวงเขาปลูกมะละกอไว้ข้างๆ
199
วัด ตดิ ๆ กับวัด พอจิตมันสวา่ ง มันเห็นไปหมด จนกระทง่ั วัตถอุ ยา่ งมะละกอก็เหน็ มองไปเห็น
มะละกอสกุ เหลอื งอรา่ ม “เอ๊ ! ท�ำไมภาวนาเห็นเปน็ นามธรรม มันกลบั กลายอะไรไปเหน็ จนกระท่ัง
วตั ถุคือมะละกอสกุ มนั จะจริงๆ เหรอ ดูมนั ก็เหน็ อยู่อยา่ งนน้ั ” ทา่ นว่า หากว่าเฉยๆ วา่ มันจริงๆ
เหรอ ความจรงิ ท่านเชอ่ื แลว้ พอตอนเช้าออกจากทภี่ าวนาท่านกเ็ ดนิ ไป “โอย๋ ! สกุ อร่าม” ตาเหน็
ทางด้านวัตถกุ ็เห็น ท่านอาจารยฝ์ ้นั ทา่ นเห็นทางด้านวตั ถุ
นี่ล่ะ เร่ืองจิตตภาวนาจึงเป็นของส�ำคัญมาก ทางด้านวัตถุก็เห็นตามแต่นิสัยวาสนา
ทางด้านนามธรรมส่วนมากเหน็ กันทง้ั นั้น พวกเปรตพวกผีส่วนมากมองดูเห็น แต่วัตถุอยา่ งผลไม้
อยา่ งนี้ทา่ นไมค่ อ่ ยไดพ้ ูด แตท่ ่านอาจารยฝ์ น้ั นพ่ี ูด ทา่ นเห็นมนั เหลืองอรา่ มอย่บู นต้น เอ๊ ! ทำ� ไม
มนั เห็นนกึ ว่าจะเห็นเร่ืองนามธรรม ท�ำไมกลบั กลายไปเห็นวตั ถุ เช่น มะละกอสุกมนั กเ็ หน็ มันจริงๆ
เหรอ มันก็เห็นอยอู่ ย่างนัน้ ท่านวา่ คำ� ว่ามันจริงๆ หรือพูดเฉยๆ ความเช่อื นเี่ ชอ่ื แนแ่ ลว้ มนั เหน็ อยู่
ชัดๆ เด๋ียวน้ี ตาใจเห็นอยูน่ ัน้ ตอนเช้าทา่ นก็ไปซำ�้ เพือ่ เปน็ พยานของตาใจ ไปเหลอื งอร่ามอยู่จรงิ ๆ
โฮ้ ! ตาใจนก้ี ็สำ� คัญ แล้วกเ็ อาตาเน้อื มาดอู ีกท่านว่า นล่ี ะ่ ตาทา่ นอาจารย์ฝน้ั สวา่ งไสว
การภาวนาจึงเปน็ ของส�ำคัญ คอื จิตใจของเรานถี้ ูกปิดไว้ด้วยกิเลสประเภทตา่ งๆ มันเหมอื น
แกว้ ครอบด�ำๆ มาปดิ เช่น ดวงไฟฟ้าแรงเทียนจะสงู ขนาดไหนก็ตาม เม่ือมีอะไรครอบน้มี ันก็สวา่ ง
อยู่ภายใน ทะลุออกไปไมไ่ ด้ พออนั นี้ออกแล้วกจ็ า้ ออกไป ทีน้เี วลาแกก้ ิเลสก็เหมอื นกนั เวลามันมืด
มันมดื จรงิ ๆ ทางจติ ตภาวนาเหมือนกบั น�้ำทส่ี ะอาดซกั ฟอกลงไป ก�ำหนดลงไป ค่อยชะล้างลงไป
จติ ใจค่อยสงบ น่ันละ่ สงบจะเรมิ่ ผอ่ งใสแลว้ พอสงบเข้าๆ ตอ่ ไปกค็ ่อยแสดงความสว่างขนึ้ มาๆ
รอบดวงใจ แล้วกจ็ า้ ออก กว้างออกๆๆ เรียกวา่ กิเลสนจี้ างไป ดวงใจสง่างามขึน้ มา”
ธุดงค์ในเขตสกลนคร
ตามปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ ในฤดูกาลเขา้ พรรษา ท่านจะอยู่
จำ� พรรษา พอออกพรรษาแล้ว ทา่ นจะออกเทีย่ วธุดงค์ตามปา่ ตามเขา หลวงปฝู่ ั้น อาจาโร ท่านได้
ด�ำเนินตามปฏปิ ทาข้อนเี้ รื่อยมา แม้ในระยะนที้ า่ นจะยา่ งเขา้ สู่วัยกลางคนแล้วก็ตาม ในเข้าพรรษา
ตลอดระยะเวลาสามเดือน ทา่ นจะพักอยู่ประจ�ำทใ่ี นวดั หรอื ในสถานที่ท่ีท่านปวารณาอยูจ่ �ำพรรษา
พอออกพรรษาแล้ว ทา่ นมกั จะพาศิษย์ออกเทย่ี วธุดงคเ์ ปน็ ประจ�ำ
การมาพกั จ�ำพรรษาที่วัดป่าธาตนุ าเวงกเ็ ช่นกัน คือ ในพรรษาแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ หลังจาก
ออกพรรษา พอเสรจ็ ฤดูกาลรับกฐนิ แลว้ หลวงปู่ฝัน้ ทา่ นกพ็ าคณะศิษย์ออกเทยี่ วธดุ งค์ไปในเขต
เทือกเขาภพู าน สมยั นัน้ ภพู านมีสภาพเป็นปา่ จรงิ ๆ ป่าน้ีต้นไม้ใหญห่ นาแน่นทึบไปหมด ในป่าทึบ
จงึ เตม็ ไปด้วยไขป้ า่ บ้าง สตั ว์ป่า สตั วร์ า้ ยตา่ งๆ บ้าง ชา้ ง เสอื หมี งู นีม้ ีชกุ ชมุ มาก ทา่ นไดไ้ ปพัก
วเิ วกภาวนาตามสถานทอ่ี ันสงบสงัดตามเชงิ เขาบ้าง แลว้ เลยไปพกั ในถ้�ำบนเขาภูพานใกลๆ้ กับบา้ น
200
นาสนี วล ต�ำบลตองโขบ อำ� เภอโคกศรสี พุ รรณ กอ่ นเปน็ วดั ดอยธรรมเจดยี ใ์ นปจั จบุ ัน ซึง่ ขณะนนั้
ยงั เป็นป่าดงที่เต็มไปดว้ ยเสอื รา้ ยและสตั วป์ า่ นานาชนิด
ท่านและพระศิษย์พักวิเวกอยู่ที่บ้านนาสีนวล ได้ประมาณเดือนเศษก็ลงมา แล้วไปพักท่ี
วดั ป่าบา้ นโคก ปจั จบุ นั คอื วดั ปา่ วสิ ุทธธิ รรม (สถานทที่ ่หี ลวงปมู่ ่ันเคยจ�ำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๕
และปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ก่อนจะย้ายไปพักจำ� พรรษาท่วี ัดปา่ บ้านหนองผอื อันเปน็ วัดสดุ ท้ายในชีวิต
ของท่าน) หลวงปู่ฝั้นทา่ นได้ชวนหลวงปกู่ งมา จิรปญุ โฺ เพือ่ นสหธรรมิกร่วมเดนิ ธดุ งค์ไปดว้ ยกัน
หลวงปทู่ ง้ั สองพรอ้ มคณะศิษย์ได้เดนิ ทางไปพักทีว่ ดั ป่ารา้ งแหง่ หนึง่ อยู่ใกล้กับบา้ นหนองมะเกลือ
ต�ำบลดงชน อ�ำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พักอยทู่ น่ี ่อี กี ประมาณเดอื นเศษ ต่อจากน้ันก็ย้ายไปพกั ท่ี
ปา่ ไผ่ วัดพระธาตุดมุ บ้านธาตดุ มุ ซ่งึ อย่หู า่ งตัวเมอื งสกลนคร ออกไปราว ๔ – ๕ กิโลเมตร
ประมาณครงึ่ เดอื นตอ่ มา ทราบขา่ วว่าท่านพระอาจารย์ใหญม่ ่นั ภรู ทิ ตฺโต ได้อาพาธอยูท่ ่ี
วัดปา่ บ้านหนองผอื ต�ำบลนาใน อ�ำเภอพรรณานคิ ม ทงั้ หลวงปฝู่ ้นั และ หลวงปูก่ งมา จึงรบี รุด
เดินทางไปกราบเยี่ยมและอย่เู ฝา้ ปรนนบิ ัติดแู ลอาการทา่ นราว ๒ สัปดาห์ เมื่อเห็นวา่ อาการของ
พระอาจารยใ์ หญม่ ัน่ ทเุ ลาลงมากแล้ว ท้งั หลวงปฝู่ น้ั และ หลวงปูก่ งมา ก็ได้กราบนมัสการลา
แลว้ เดินทางกลับไปพกั ทปี่ ่าไผ่ วดั พระธาตดุ มุ บ้านธาตดุ มุ แหง่ นน้ั อกี ระยะหนงึ่ ตอ่ จากนนั้ จงึ ได้
ย้ายไปพกั วเิ วกทีว่ ัดร้างแหง่ หนง่ึ ซึ่งอยู่ในตวั เมืองสกลนคร คือ วดั สระแก้ว
พบโหลบรรจุอัฐขิ องโยม
วัดสระแก้ว น้ไี ดร้ ้างพระเณรมาหลายปีแล้ว บรเิ วณวดั จงึ กลายเป็นป่ารกรุงรัง สถานที่ของ
วัดสระแก้ว ท่ีเป็นวัดร้างแห่งน้ีก็คือ สถานท่ีท่ีเป็นโรงพยาบาลจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน มี
เรอ่ื งราวทนี่ ่าสนใจเกิดขน้ึ ในชว่ งทหี่ ลวงปู่ฝ้ัน อาจาโร มาพกั วเิ วกท่ีวัดรา้ งแห่งน้ี ในระยะแรกท่ี
หลวงปู่ฝัน้ กบั หลวงปกู่ งมา จริ ปุญฺโ พร้อมด้วยศิษยท์ เี่ ป็นพระและเณร ได้เข้าไปพักที่
วัดสระแก้ว ภายในวัดมีกุฏริ ้างทใ่ี กล้จะพังอยู่ ๒ หลัง หนั หน้าเขา้ หากัน ระหว่างกลางเป็นชานโล่ง
ปูพื้นติดต่อถึงกัน หลวงปู่ท้ังสองได้เข้าพักท่านละหลัง ส่วนพระภิกษุและสามเณรท่ีติดตามได้
ไปพักรวมกันท่ีกฏุ อิ ีกหลงั หน่ึง ซง่ึ อย่คู นละด้านกับที่หลวงป่ทู ้ังสองทา่ นพักอยู่ นอกจากนยี้ งั มกี ุฏิ
อกี หลงั หนึง่ ไดจ้ ดั ไวส้ ำ� หรับเปน็ ท่ีฉนั จงั หันรวม
หลวงปู่กงมา ไดพ้ ักอย่กู ับคณะของหลวงปู่ฝ้นั ระยะหน่ึงแล้ว ทา่ นก็ไดข้ อแยกเดินทาง
กลบั ไปวัดของท่าน คือ วดั ป่าบ้านโคก หลังจากหลวงป่กู งมาไปแล้ว ตามปรกตหิ ลวงปู่ฝนั้ ท่านมี
นิสัยชื่นชอบการอยู่ร่มไม้รุกขมูล ท่านจึงได้บอกกับพระเณรว่า “พักอยู่บนกุฏินี้ไม่ค่อยสงบนัก
ลงไปอยู่ร่มไม้รุกขมูลกันดีกว่า” แล้วท่านก็ลงจากกุฏิไปเลือกเอาท่ีพักใหม่ใต้ต้นสักซ่ึงอยู่ใกล้กับ
สระนำ้� ทา่ นให้ศิษยย์ กแครไ่ ม้ไปตัง้ เปน็ ทีน่ อน แลว้ ให้ทำ� ทางส�ำหรับเดินจงกรมใกล้ๆ บรเิ วณน้ัน
201
หลังจากที่หลวงปู่มาพักทใี่ หม่ใตต้ ้นสกั ได้ ๒ – ๓ คนื พอรุ่งเชา้ ทา่ นก็บอกกับพระลกู ศิษย์ว่า
“เม่ือคืนนเี้ ห็นแกว้ อะไรใสๆ จมอยู่ท่ีกน้ สระ”
หลวงปู่ฝั้นได้พาพระลกู ศษิ ยก์ ับนายใช้ ชาวบ้านท่อี ยูต่ ิดกบั ร้ัววัด และไดเ้ ข้ามาถวายการ
อุปัฏฐากหลวงป่ตู ลอดช่วงทพี่ ักอยู่ทนี่ ้ี ออกไปเดินดูรอบสระ ปรากฏว่าในสระเตม็ ไปดว้ ยสาหร่าย
มองไม่เห็นอะไรเลย หลวงปเู่ ดนิ ไปหยุดอยทู่ ห่ี นึง่ แลว้ ทา่ นก็ชไ้ี ปในสระบอกวา่ “อยู่ตรงนแ้ี หละ”
เป็นทน่ี ่าอัศจรรย์ หลวงป่ทู ่านราวกับตาเห็น เมอ่ื นายใช้ลงไปงมดตู รงต�ำแหน่งท่ีท่านชบ้ี อก ก็พบ
ขวดโหลขนาดกลางจมอย่ใู นเลนกน้ สระ ๒ ใบ
เมื่อน�ำขวดโหลมาลา้ งท�ำความสะอาด พิจารณาดแู ล้ว หลวงปู่กเ็ อย่ ขน้ึ วา่ “คงเปน็ โหลใส่
อฐั ขิ องทา่ นผใู้ ดผหู้ น่ึง อาจเปน็ โหลใสอ่ ฐั ิของคณุ พระพินิจฯ กไ็ ด้” เพราะบรเิ วณนั้นมีเจดีย์เกบ็ อฐั ิ
ของคุณพระพนิ ิจฯ อยใู่ กลๆ้ หลวงปูแ่ ละคณะจึงพากันเดนิ ไปดทู ี่เจดยี ์ เมอ่ื ใหน้ ายใช้ปีนข้ึนไปดู
ขา้ งบน ก็พบวา่ เจดยี ์ถูกคนร้ายลกั ลอบขุด โดยคอเจดยี ถ์ กู เจาะ แลว้ ขนสมบตั มิ ีคา่ ต่างๆ ท่บี รรจุไว้
ขา้ งในไปหมด สว่ นอัฐขิ องคุณพระพินจิ ฯ และภรรยา กถ็ ูกเทออกจากขวดโหลกองไวแ้ ยกกนั เป็น
๒ กอง เมือ่ ญาติๆ ของคุณพระพินจิ ฯ พากนั มาดู กย็ ืนยันว่าเปน็ ขวดโหลใสอ่ ฐั ิของคุณพระพินิจฯ
และภรรยาจรงิ จงึ ได้พร้อมใจกันทำ� บญุ อทุ ศิ ส่วนกศุ ล และทำ� พธิ ีบรรจุอฐั ขิ นึ้ ใหม่ แลว้ นำ� เข้าไว้ใน
องค์เจดยี ต์ ามเดิม
สอนต�ำรวจให้เลิกเชื่อถอื ผีสาง
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ทา่ นได้พาพระเณรศษิ ยข์ องทา่ น พกั วิเวกภาวนาทีว่ ดั สระแกว้ วัดร้าง
แห่งนน้ั อยู่รว่ มเดอื นเศษ จงึ ได้กลับไปวัดป่าธาตนุ าเวงอกี หลวงปูฝ่ น้ั ท่านเป็นผู้นำ� ในการพัฒนา
ท่านได้น�ำบรรดาทหาร ต�ำรวจ ในจังหวัด ให้ชว่ ยกันพฒั นาวัดปา่ ธาตุนาเวง ให้สะอาดเรยี บร้อยข้นึ
จนเจริญรงุ่ เรืองสบื ต่อมาเปน็ วัดป่าภธู รพิทักษ์ จนทุกวันนี้ ชื่อใหม่ของวดั คงตง้ั ตามหนว่ ยงานที่
อยู่ใกล้และใหค้ วามอปุ ถมั ภว์ ดั คือ โรงเรยี นพลตำ� รวจเขต ๔ (ชอ่ื วัดจึงมีคำ� วา่ ต�ำรวจภธู ร กับ
ผูพ้ ิทกั ษ์สนั ตริ าษฎร์รวมกนั ตามความหมายช่ือของวัด หมายถงึ วดั ทต่ี �ำรวจภูธรให้ความอปุ ถัมภ์)
หลวงปูอ่ ่อน าณสิริ ไดใ้ ห้ความเห็นไวต้ รงนวี้ ่า
“มีขอ้ เท็จจริงทีป่ ระจักษ์แจ้งอยูป่ ระการหนง่ึ ว่า การพัฒนาบ้านเมอื ง ซง่ึ ทางราชการกำ� ลงั
เรง่ รดั เพือ่ ความเจรญิ ของทอ้ งถนิ่ ตลอดจนสนบั สนุนให้ประชาชนรว่ มกนั พฒั นาอยใู่ นปจั จบุ ันน้ีนนั้
แท้ทีจ่ รงิ พระอาจารยฝ์ นั้ ไดม้ โี ครงการและลงมอื ปฏิบัติเอง และได้เปน็ ผู้น�ำในการพฒั นามาก่อน
แล้ว กลา่ วคอื ไมว่ ่าท่านจะไปพำ� นกั อยทู่ ่ีใด แมจ้ ะช่วั ๓ วนั ๗ วัน ก็ตาม ท่านจะแนะนำ� ชาวบา้ น
ให้ท�ำความสะอาดบ้านเรือน ตลอดจนถนนหนทางให้ดูสะอาดตาอยเู่ สมอ แมใ้ นขณะทที่ า่ นไป
202
พ�ำนักอยู่ในป่าช้า หรอื หม่บู า้ นปา่ บรเิ วณเชิงเขาภูพาน หนทางที่ทา่ นจะเดนิ ไปบิณฑบาตในหม่บู ้าน
จะมชี าวบ้านร่วมกนั ถากถางปัดกวาด และท�ำความสะอาดอยู่เสมอ...”
แม้กระท่ังมาพ�ำนักท่ีวัดป่าธาตุนาเวงนี้ หลวงปู่ก็ได้แนะน�ำให้มีการพัฒนาสถานท่ีภายใน
โรงเรยี นพลต�ำรวจ เขต ๔ ซง่ึ อยใู่ กล้กบั วัดน้นั เชน่ กนั กล่าวคอื ก่อนทห่ี ลวงปู่จะมาพกั อยู่วัดป่าธาตุ–
นาเวง บริเวณแถวนน้ั รกรุงรงั ด้วยป่าหญ้า ไขม้ าลาเรยี ก็ชกุ ชุม ต�ำรวจเป็นไขม้ าลาเรยี ข้นึ สมอง
ถงึ ขนาดโดดหนา้ ตา่ งกองร้อยตายไปก็มี ต�ำรวจและครอบครวั จึงเชือ่ กนั ว่า เปน็ เพราะผีเจา้ พ่อ–
หนองหญา้ ไซพิโรธ หาใชโ่ รคมาลาเรยี อะไรไม่ หลวงปไู่ ด้พยายามอธิบายใหต้ ำ� รวจเหลา่ น้นั เข้าใจ
ในเหตุผล เลกิ เชื่อถือผีสาง แตต่ ำ� รวจและครอบครวั เหลา่ นั้นก็ยังไมย่ อมเช่ือ
ต่อมา เมื่อคณะต�ำรวจนิมนต์หลวงปู่ไปเทศน์ที่กองร้อย ท่านจึงปรารภกับผู้ก�ำกับการ
ต�ำรวจวา่ “ถา้ อยากใหเ้ กดิ ความอยู่เย็นเป็นสขุ กค็ วรจดั สถานทีใ่ หส้ ะอาดข้นึ ตดั ถนนหนทางให้
เรียบรอ้ ย ถางป่าและหญ้าในบริเวณนน้ั เสียให้เตยี น อากาศจะไดป้ ลอดโปร่งและถ่ายเทได้ดขี ึน้
สำ� หรบั หนองหญา้ ไซนัน้ เล่า ก็ควรขุดลอกให้เป็นสระน้�ำเสยี จะไดด้ สู วยงามและได้ประโยชนใ์ นการ
ใชน้ �้ำดว้ ย” เมือ่ ผู้กำ� กบั ประชุมตำ� รวจแล้ว ทปี่ ระชุมตกลงทำ� ตามทหี่ ลวงปแู่ นะน�ำทุกอย่าง เวน้ แต่
การขุดลอกหนองหญ้าไซเท่านั้น เพราะกลัวผีเจ้าพ่อหนองหญ้าไซจะพิโรธ คร่าชีวิตต�ำรวจและ
คนในครอบครวั มากขน้ึ แล้วก็จัดการตัดถนน ทำ� สนามฟตุ บอล สนามเดก็ เล่น ถางปา่ ถางหญา้
จนสะอาด ทำ� ใหอ้ ากาศถา่ ยเทไดส้ ะดวกขนึ้ กวา่ กอ่ น
ต่อมาถงึ วาระประชุมอบรมฟังเทศนท์ ก่ี องรอ้ ยอีก คณะต�ำรวจและครอบครวั ได้ไปประชมุ
ฟังเทศน์กันอยา่ งคบั ค่ัง หลวงปู่จงึ หยิบยกปญั หาการขดุ ลอกหนองหญา้ ไซขึ้นมาปรารภอีกครั้งหนง่ึ
ทุกคนก็บอกว่าไม่กล้า กลัวเจ้าพ่อหักคอเอา แต่...หากท่านไปน่ังเป็นประธานดูพวกตนขุดแล้ว
จึงจะยอมท�ำ หลวงปกู่ ต็ อบสนอง การขุดลอกหนองหญ้าไซ จึงไดเ้ ร่มิ ขน้ึ ในโอกาสตอ่ มา ตอ่ หนา้
หลวงปฝู่ ัน้ อาจาโร จนกลายเปน็ สระนำ้� ขนึ้ มา อากาศภายในโรงเรยี นพลตำ� รวจเขต ๔ ก็ดขี ้ึน
ไข้มาลาเรียทเี่ คยชุกชุมก็คอ่ ยๆ ทเุ ลาลง จนเหือดหายไปในทีส่ ุด
ในชว่ งท่หี ลวงปูฝ่ ัน้ อาจาโร สงเคราะห์ให้คนเลิกนับถือผี หนั มานับถือพระรัตนตรัยกัน
อยา่ งจรงิ จงั ครูบาอาจารย์กองทพั ธรรมพระธดุ งคกรรมฐานอกี หลายต่อหลายองค์ ทา่ นกไ็ ด้ท�ำ
ประโยชน์ตรงนีใ้ ห้สงั คมไทยมหาศาล โดยครบู าอาจารยเ์ ทศนไ์ วด้ งั นี้
“สมัยหลวงปเู่ สาร์ หลวงปูม่ ่นั แล้วครบู าอาจารย์รนุ่ รองลงมา แลว้ มนั แบบกองทพั ธรรม
พอกองทัพธรรมมนั สร้างประโยชน์กับประเทศไทยอย่างใด ? มันสร้างประโยชน์กับประเทศไทยนะ
อยา่ งเช่นเม่ือก่อนนะ เมอื งไทยสมยั ครูบาอาจารย์เรายงั ไม่มถี นน เราไปอีสานนะ เสน้ ทางสาย
อดุ รฯ กบั สกลฯ ยงั เป็นลูกรงั อยู่
203
สมัยโบราณนะ สมยั กอ่ นหนา้ น้ันนะ ทางอสี านนี่ถนนหนทางมันไม่มี แลว้ พอจะไปทางไหน
มันจะเป็นป่าไปหมดนะ พอเป็นป่าไป ชาวบ้านเขาไปท�ำกิน มันจะไปเจอสถานทแี่ รงๆ เจ็บไข้
ไดป้ ่วยกันเต็มไปหมดเลย แลว้ ครบู าอาจารยเ์ ราเข้าไปนะ เขาจะนิมนต์ครูบาอาจารยเ์ ข้าไป ทไี่ หน
นะถ้าเป็นท่แี รง จะนิมนต์ครบู าอาจารย์ แล้วตอนนี้ใครไปสกลฯ นะ ไปแถวพวกบ้านโคกสิ เราไป
มา เขาบอกว่า “หลวงปู่กงมาเป็นเศรษฐที ่ีดนิ หลวงป่กู งมาเป็นเศรษฐีทีด่ ิน”
เรากง็ งอยนู่ ะ ไปถามชาวบา้ นวา่ “ท�ำไมเป็นเศรษฐที ่ีดินละ่ ?”
เขาบอกว่า “ตรงไหนนะ ถ้าเขาอยู่ไม่ได้ก็ถวายหลวงปู่กงมา ตรงไหนอยู่ไม่ได้ก็ถวาย
หลวงปู่กงมา” หลวงปกู่ งมานท่ี ีแ่ ถวน้ันเยอะมาก เป็นของหลวงปู่กงมาทงั้ น้ันเลย เขาอยู่ไม่ไดไ้ ง
พออยู่แล้วมันเจ็บไข้ได้ป่วย จนตายนะ จนเขาหนีกัน เขาอย่กู ันไม่ได้
นีเ่ ราจะบอกว่า สมยั กองทัพธรรมคนยังถือผี พอคนถอื ผี เขาก็ถือวา่ ถือผี กลัวผี แลว้ ผนี ี่
ใหโ้ ทษ ใหค้ ุณ ฉะน้ัน เวลาเขาไปท�ำกนิ ท่ไี หน เขาจะนมิ นตพ์ ระ เขาต้องหาพระไปเป็นขวญั
เปน็ กำ� ลังใจ แล้วถา้ พระท่ีไหนเปน็ ขวญั เปน็ ก�ำลังใจ จะไปชว่ ยคมุ้ ครองดูแลเขา ดูแลเขา เห็นไหม
ให้เขาเหน็ ว่า ถ้าเราถงึ รตั นตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผีนี่เขาจะได้ส่วนบญุ จากเรา เขาจะ
ไมท่ ำ� รา้ ยเรา นี่มนั มกี รณอี ยา่ งน้ีข้ึนมา กรณีกรรมฐานน่นี ะได้ท�ำส่งิ น้ีมา ไดเ้ ปลี่ยนสังคมไทย
สงั คมท่ีถือพุทธแต่ถอื ผีดว้ ย ใหเ้ ปล่ยี นมาเป็นถือพทุ ธท้ังหมดน่ีเยอะมาก สมยั ทกี่ องทัพธรรม
ท�ำประโยชน์กบั ประเทศชาติไม่มใี ครคิดอย่างนั้นไง...
นไ่ี งสงิ่ ทีท่ �ำมา เขาท�ำประโยชนก์ ับสังคมนะ ความรม่ เย็นเป็นสขุ ของสังคม”
สรา้ งกุฏถิ าวรถวายหลวงป่มู ั่น
ตอ่ มาในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะท่ีหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านไปกราบเยี่ยมฟงั ธรรมหลวงป่มู ่ัน
ภูริทตโฺ ต ท่ีวดั ปา่ บ้านหนองผือ ชาวบ้านหนองผือจะขอสรา้ งกฏุ ถิ าวรถวายหลวงปู่มั่น จึงพากนั ไป
ขอรอ้ งหลวงปฝู่ ั้น เพ่อื ไปกราบขอหลวงปมู่ ัน่ โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว เทศนไ์ ว้ดงั นี้
“อัปปิจฉตา จะได้แก่ใครในสมัยปัจจุบันน้ี ใครจะยิ่งกว่าพ่อแม่ครูอาจารย์ม่ันของเรา
ขึน้ ชื่อว่าความมักน้อยแลว้ ทอ่ี ยกู่ ็เปน็ กระต๊อบกระแตบ๊ อยูอ่ ย่างนน้ั ไปหรูหราทไี่ หน อยา่ งกุฏิที่
ท่านพักอยู่บ้านหนองผือนาในนี้ ก็ว่ากุฏิพอประมาณ นี้ก็ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่ีเป็นลูกศิษย์
ของทา่ นกราบวิงวอนขอทา่ น เพราะญาตโิ ยมในบา้ นหนองผือนน้ั เขาอยากสร้างกุฏถิ วายท่าน แล้ว
มากราบเรยี นครบู าอาจารยท์ ้ังหลาย เช่น อย่างทา่ นอาจารย์ฝัน้ เปน็ ตน้ อยากจะขอสรา้ งกุฏถิ วาย
ทา่ นสักหลงั หนึ่ง พอให้ท่านอยู่สะดวกสบาย เพราะท่านกน้ั หอ้ งศาลาอยู่เทา่ นน้ั โรงฉันกฉ็ นั อย่กู ับ
ทีน่ น่ั แลว้ ดา้ นหนึ่งก็เป็นมมุ ศาลา ท่านก็ก้นั ห้องอยขู่ องทา่ นอย่างนน้ั อยนู่ ามนทา่ นก็ท�ำอย่างน้นั
204
อย่ทู ีไ่ หน ทา่ นกท็ �ำของทา่ นอย่างสบายๆ อยู่บา้ นโคกกอ็ ยอู่ ยา่ งน้ัน คอื ก้นั หอ้ งตดิ กบั ศาลา กั้นห้อง
ในศาลาน้ันแหละมมุ หนง่ึ ๆ เป็นที่อยู่อาศัย
ทีนเ้ี มื่อมาอยู่หนองผือท่านกท็ ำ� อยา่ งน้นั ญาติโยมเขามศี รัทธาอยากจะสรา้ งกฏุ ิถวายท่าน
แล้วไปกราบเรยี นครูบาอาจารยม์ ที า่ นอาจารย์ฝั้น เป็นตน้ ใหก้ ราบเรยี นขอท่านตามความม่งุ หมาย
ของประชาชนญาตโิ ยมเขา ทา่ นยังไม่เหน็ เออ้ ! สรา้ งเสยี ทเี ดียว ยงุ่ อะไร นัน่ อย่นู ี้ก็สะดวกสบาย
แลว้ ไปอยูท่ ไ่ี หนก็เพื่อความสะดวกสบายในการบ�ำเพ็ญและธาตขุ ันธ์เพียงเทา่ นัน้ ไม่เห็นจะยุ่งอะไร
กับสงิ่ เหลา่ นั้น ทา่ นวา่ อย่างนัน้ แล้วครบู าอาจารย์ท่านกก็ ราบเรยี นขอร้องกบั ท่าน กก็ ราบเรียน
เหตุผล ประชาชนเขาอยากได้กุฏิเป็นท่ีระลึก ในเวลาที่พ่อแม่ครูจารย์มาเมตตาอยู่นี้หลายปี
หากว่ามีอะไรเป็นไปกุฏิหลังนี้ก็พอเป็นท่ีระลึก เขาจึงอยากจะสร้างกุฏิถวาย พอเป็นที่ระลึก
ในหัวใจของพนี่ อ้ งชาวหนองผอื เรา
เขาก็พูดดนี ะ ตกลงทา่ นก็เลยนิ่ง พอทา่ นน่ิง จึงได้สร้างกุฏิหลังนั้นข้ึน ถา้ ธรรมดาท่านไม่ให้
สร้าง ท่านกั้นห้องอยู่ เขาอยากได้เป็นท่ีระลึก ท่านอาจารย์ฝั้นเป็นผู้น�ำมากราบเรียนขอท่าน
พอทา่ นน่งิ กเ็ ลยสรา้ งให้นั่นล่ะกุฏหิ ลงั น้ัน เพราะผมอยูท่ น่ี ่นั ทา่ นจึงไดม้ กี ฏุ ิหลังนัน้ อยู่ เวลาประชมุ
กป็ ระชมุ รอบเฉลยี ง น่นั แหละ พระเณรอยู่ตามนั้น ท่านก็อยพู่ กั บน แลว้ ห้องหนงึ่ กเ็ ปน็ ท่พี ัก
หลับนอนของทา่ น น่คี อื ความอยูส่ บาย ความมักนอ้ ย ความไม่วุ่นวาย หลงั น้นั หลังท่ีมีอยู่ทุกวนั นี้
ไม่ใชท่ ่านให้ปลูกเองนะ พวกญาตโิ ยมขอรอ้ งทา่ นไมส่ �ำเรจ็ ก็ไปเอาท่านอาจารย์ฝ้นั มาขอรอ้ งอกี
ทา่ นก็เลยน่งิ จงึ ได้ปลกู ข้นึ มา”
กุฏิหลวงปมู่ ัน่ หลงั น้ี สร้างด้วยไมท้ ั้งหลงั ได้เปน็ ศาสนถาวรวตั ถชุ ิ้นส�ำคัญ เป็นอนุสรณท์ ี่
ทรงคณุ คา่ ยง่ิ ตราบเท่าทกุ วนั นี้ โดยปี พ.ศ. ๒๕๒๑ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ภมู พิ ลอดุลยเดช
และสมเดจ็ พระนางเจ้าสิริกติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ได้เสดจ็ พระราชด�ำเนนิ ทอดพระเนตร และต่อมา
กฏุ หิ ลังนไ้ี ดจ้ ดทะเบยี นข้นึ กบั กรมศิลปากรเป็นโบราณสถาน เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๒๒
หลวงปูส่ ุวจั นอ์ ุปัฏฐากหลวงปู่ฝั้น
ในราวปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงป่สู ุวจั น์ สวุ โจ ท่านไดต้ ิดตามมาอุปฏั ฐากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
สาเหตทุ ี่มา ตามประวตั หิ ลวงปู่สวุ จั น์ บันทึกไว้ดังน้ี
“เมอ่ื ออกพรรษาปี ๒๔๘๗ แล้ว เราต้งั ใจออกธดุ งค์ไปเพ่ือกราบนมสั การทา่ นพระอาจารย์
ม่นั ภูริทตโฺ ต เพราะท่านพระอาจารย์ฝัน้ ไดเ้ คยเลา่ เรือ่ งองคท์ า่ นให้ฟงั ท�ำให้อยากไปกราบทา่ น
ให้ได้ ขณะน้นั ท่านพระอาจารย์มน่ั พกั จำ� พรรษาที่บา้ นนามน อ�ำเภอเมือง จงั หวัดสกลนคร แต่ด้วย
คิดว่าการไปกราบครูบาอาจารย์ระดับท่านพระอาจารย์ม่ันน้ี ต้องมีบุญวาสนา ต้องท�ำจิตท�ำใจ
205
ใหไ้ ด้ดีเสียกอ่ น เพราะเกรงจะไปทำ� ใหอ้ งค์ทา่ นล�ำบากใจ จึงออกเดินธดุ งคใ์ หจ้ ติ ใจแก่กล้าข้ึนก่อน
โดยออกเดินทางมุ่งตรงไปจังหวัดรอ้ ยเอด็ ไปเจริญกรรมฐานทีน่ ั่นระยะหนึ่งกอ่ น”
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ หลวงปูส่ ุวัจน์ ทา่ นได้จำ� พรรษาที่วดั ปา่ ศรไี พรวัน จงั หวัดร้อยเอด็
เม่อื ออกพรรษาแลว้ ท่านพอม่นั ใจในตนเองไดแ้ ลว้ จงึ ได้ธดุ งคไ์ ปทางจังหวดั กาฬสนิ ธุข์ นึ้ เทอื กเขา
ภูพาน เข้าพักที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต�ำบลนาใน อ�ำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร กราบ
นมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้รับฟังธรรมะจากท่านพระอาจารย์ม่ัน พอเป็นอุบายแห่ง
การปฏิบัติ การฟังธรรมน้ันไม่มาก แต่ให้หนักแน่นในการปฏิบัติให้มาก เพราะท�ำให้คนฉลาด
มีปัญญาข้ึน คนส่วนมากไมค่ อ่ ยฉลาด เพราะไม่ฝกึ ฝนอบรมตัวเอง ไม่แกไ้ ขตนเอง ความจริงของดี
มอี ยู่ แต่คนไมร่ ้จู กั มนั จงึ เห็นไดแ้ ตท่ กุ ข์ วงิ่ วนอยู่เตม็ โลก เต็มแผ่นดนิ
เมือ่ ทา่ นเขา้ มาพกั ท่ีวัดปา่ บา้ นหนองผอื ทา่ นพระอาจารย์มน่ั เหน็ ว่า ท่านเปน็ ลกู ศิษยข์ อง
หลวงปูฝ่ ัน้ ท่านจึงกลา่ วสอนวา่ “ครบู า (สวุ จั น์) ท่านฝั้นซงึ่ เป็นอาจารยข์ องทา่ นตอนนี้ ก็เปน็
พระแกม่ ีอายุพรรษามากแลว้ สมควรทีท่ ่านจะต้องทดแทนบญุ คุณครบู าอาจารย์ ครบู าไมต่ อ้ ง
มาอยู่ท่ีนี่หรอกนะ ให้ไปปฏิบัติท่านฝั้น ศึกษาและปฏิบัติกับท่านฝั้นก็เป็นท่ีเพียงพอแล้ว”
หลังจากน้ันหลวงปู่สวุ จั น์ท่านไดต้ ดิ ตามอุปัฏฐากหลวงปฝู่ ้ันจนกระท่งั นิพพาน
เม่ือหลวงปู่สุวัจน์ออกจากวัดป่าบ้านหนองผือแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์ไปที่วัดป่าธาตุนาเวง
(วัดป่าภธู รพิทักษ์) เพอ่ื อย่รู ่วมจ�ำพรรษาและอปุ ัฏฐากหลวงป่ฝู ้ัน โดยปี พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๔๙๒
ท่านได้อยู่จ�ำพรรษากับหลวงปู่ฝั้นติดต่อกัน ๔ พรรษา ท่านท�ำตามที่ท่านพระอาจารย์ม่ันส่ังไว้
ทกุ ประการ ความจริงแลว้ แมน้ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ไมส่ ั่ง ทา่ นก็ตง้ั ใจอปุ ฏั ฐากหลวงปู่ฝน้ั อย่แู ลว้
เพราะท่านเป็นพระอาจารย์องค์แรกที่ให้อรรถธรรมทางด้านจิตตภาวนา ท่านได้ติดสอยห้อยตาม
หลวงปฝู่ นั้ มาตลอด เวลาหลวงปู่ฝนั้ เข้ากราบฟังธรรมจากทา่ นพระอาจารยม์ ั่น ทา่ นก็ติดตามมา
ด้วยโดยสมำ�่ เสมอ
พระอาจารย์ที่เคยอยูใ่ กลช้ ดิ หลวงปู่สุวจั น์ เมตตาเลา่ ใหฟ้ ังว่า การทีห่ ลวงปู่ม่ันทา่ นสง่ั ให้
หลวงปู่สุวัจนไ์ ปอยู่กับหลวงปู่ฝั้น ทา่ นคงจะเหน็ ว่านสิ ัยไปกันได้ หลวงปู่ฝนั้ เป็นพระท่เี รียบรอ้ ย
สมกบั ฉายาทวี่ ่า อาจาโร ซ่ึงแปลว่า มารยาทงาม หลวงปู่สวุ ัจนเ์ องกเ็ ปน็ พระที่เรยี บรอ้ ยเชน่ กัน
สวุ โจ แปลวา่ เปน็ ผวู้ ่าง่ายสอนงา่ ย หลวงปูส่ นทิ สนมกับหลวงปู่ฝัน้ มาก
หลวงปู่ท่านลึกมาก ละเอียดมาก อันไหนผิดถูก ท่านรู้หมด ศิษย์ใกล้ชิดท้ังพระและ
ฆราวาสตา่ งเชื่อว่าทา่ นรู้วาระจติ นิสัยทา่ นนิง่ ๆ ท่านไม่โออ้ วด ไมเ่ ปดิ เผย ทา่ นโนม้ ไปทางธรรม
อย่างเดียว ท่านคงได้นิสัยมาจากหลวงปู่ฝั้น สังเกตดู ท่านชอบค้นคว้าอยู่ในห้อง อ่านหนังสือ
ค้นคว้าทางปริยัติธรรมเพ่ิมเติมอยู่เสมอ แม้เป็นผู้ใหญ่แล้ว อายุมากแล้ว ท่านก็ไม่ประมาท
206
ประกอบความเพียรเพื่อเป็นแบบอย่างอยู่เสมอ ข้อวัตรท่านไม่ทิ้ง วินัยก็รักษาอย่างเคร่งครัด
เพราะถือนิสยั มาจากครบู าอาจารย์
หลวงปู่สุวัจน์ท่านรักษาธรรมเนียมของครูบาอาจารย์ได้ดี ตามอย่างปฏิปทาของพ่อแม่–
ครูบาอาจารย์มีหลวงปู่ม่ันและหลวงปู่ฝั้น เป็นต้น ถ้าส่ิงใดออกนอกลู่นอกทาง นอกปฏิปทาที่
ครบู าอาจารย์เคยพาด�ำเนิน ทา่ นเป็นต้องเตือนลูกศษิ ย์แลว้ แตก่ รณีไป ทา่ นไมเ่ คยเลา่ อภนิ ิหารของ
หลวงปฝู่ ัน้ ทา่ นไม่มีนสิ ัยอย่างน้นั สอนแต่ธรรมะให้เราได้คดิ เอง
หลวงป่ฝู น้ั เปน็ คนพดู จริงทำ�จริง เปน็ พระทม่ี แี บบอยา่ งทีด่ ีเลศิ
การสอนของหลวงปฝู่ นั้ ทา่ นทำ� เปน็ ตัวอยา่ งใหด้ ู วนั พระทา่ นจะเอา ๓ วนั คือ ๗ ค่�ำ ๘ คำ�่
๙ คำ�่ และ ๑๔ คำ�่ ๑๕ คำ�่ ๑ คำ่� ทา่ นจะพานัง่ ภาวนาตลอดรุง่ เป็นประจ�ำ องค์ท่านเองจะเปน็ ผนู้ ำ�
ท�ำจติ ตภาวนา โดยไมม่ ีลดละความพากเพยี ร พระทุกรปู ต้องภาวนาตลอดรงุ่ ดว้ ยอริ ิยาบถ ๓ คือ
ยนื เดนิ นั่ง เท่านน้ั หา้ มนอน ท่านพาท�ำอย่างนัน้ โดยตลอด
หลวงปสู่ ุวัจนท์ า่ นเคารพรักในองคห์ ลวงปู่ฝน้ั มาก ไมว่ ่าจะไปอยทู่ ใ่ี ด ตอ้ งวนเวยี นกลับมา
หาหลวงป่ฝู ัน้ โดยตลอด บางปกี ราบลาท่านไปเท่ยี วธุดงค์ เดือนสองเดอื นกต็ ้องยอ้ นกลับมาหาทา่ น
เพราะภายในระลึกเสมอว่าจะต้องกตัญญู กตเวทิตา สนองพระคุณทา่ น
ท่านเป็นพระอาจารยข์ องท้ังทหารและต�ำรวจ
หลวงปอู่ ่อน าณสริ ิ บันทึกไว้ดงั นี้
“ก่อนเข้าพรรษาปีต่อมา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงหาญสงคราม ผู้บัญชาการทหาร
นครราชสีมา ซึ่งเป็นศิษย์ท่ีมีความเคารพพระอาจารย์ฝั้น เป็นอย่างมาก ได้เดินทางไปตรวจ
ราชการท่จี ังหวดั สกลนคร พอทราบว่า พระอาจารยฝ์ น้ั พำ� นักอยู่ท่ีวัดป่าธาตุนาเวง กร็ ีบรดุ ไปหา
เพือ่ ขอนมิ นตใ์ ห้กลบั ไปโปรดทหารและประชาชนชาวจงั หวดั นครราชสีมาอกี ครัง้
หลวงหาญสงคราม ท่านน้ีเคยเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ฝั้นสมัยท่ีท่านพ�ำนักท่ี วัดป่า–
ศรัทธารวม จงั หวัดนครราชสีมา
มเี หตุการณ์ส�ำคัญ เม่ือคราวทหี่ ลวงหาญสงคราม เปน็ แมท่ พั น�ำกำ� ลงั เข้าลอ้ มเมอื งเชยี งตงุ
ในสมัยสงครามโลกคร้ังท่ี ๒ ไดล้ ้อมเมอื งอยหู่ ลายวัน ไม่อาจหาทางเข้าตขี น้ั แตกหกั ได้ คุณหลวงฯ
ได้น่ังสมาธิภาวนา ระลกึ ถึงพระอาจารย์ฝนั้ ในคืนวนั หน่งึ เชา้ มดื วันรงุ่ ข้ึน ได้ชวนทหาร ๒ – ๓ คน
ออกเดินส�ำรวจไปเร่อื ยๆ ในทส่ี ุดก็ไปพบมารดาเจา้ เมืองเชียงตงุ เขา้ โดยบังเอญิ จงึ ไดร้ ู้ทางเข้าเมอื ง
เชยี งตงุ จากมารดาเจ้าเมืองฯ การยกกำ� ลังเขา้ ตีกป็ ระสบความสำ� เร็จ หลวงหาญสงครามจึงรำ� ลกึ ใน
พระคุณของพระอาจารยฝ์ ้ันย่งิ ข้ึน
207
ภายหลงั คณุ หลวงฯ เที่ยวไต่ถามหาพระอาจารยฝ์ ัน้ แต่ไมพ่ บ จนกระทง่ั มาราชการท่ี
จังหวัดสกลนคร แลว้ ทราบทพ่ี กั ของท่านเข้า จงึ รีบรุดไปนมิ นต์ที่วัดปา่ ธาตุนาเวงดังกลา่ ว แต่
หลวงหาญสงคราม ไม่อาจนิมนต์พระอาจารย์ฝั้นไปโปรดที่นครราชสีมาได้ เพราะผู้ก�ำกับการ
โรงเรียนพลตำ� รวจเขต ๔ ไดพ้ ยายามทดั ทานไว้อยา่ งหนกั ต่างฝา่ ยต่างขอกนั อยูพ่ ักใหญ่ ในทส่ี ุด
หลวงหาญฯ ก็ใจออ่ นเลิกลม้ ความตั้งใจ กล่าวคือ ไมน่ มิ นตท์ ่านไปนครราชสีมา แต่ทา่ นต้ังขอ้ แม้
เอาไว้ว่า ท่านผู้ก�ำกับการต�ำรวจจะต้องดูแลปฏิบัติพระอาจารย์ฝั้นของท่านให้ดี ผู้ก�ำกับการก็
รับปากจะปฏิบัติตามน้ันอย่างแขง็ ขนั ”
สวดมนต์ขอฝน
บรรดาพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ครูบาอาจารย์องคท์ ่มี คี ุณธรรมล้ำ� เลศิ
ท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตาจิต เมตตาธรรม เม่ือชาวบ้านประสบปัญหาความทุกข์ยากล�ำบาก
เดอื ดร้อน ท่านก็จะสงเคราะหช์ ่วยเหลือ ในการทำ� พิธีขอฝนก็เป็นเรอื่ งหนงึ่ ที่มมี าตัง้ แตส่ มัยครงั้
พุทธกาล ถือเป็นอริยประเพณที ่ีสืบทอดกนั มา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ คราวจงั หวดั สกลนครแหง้ แล้ง
ฝนฟา้ ไมต่ กต้องตามฤดูกาล หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร ท่านได้เมตตาสงเคราะหช์ าวสกลนคร ดว้ ยการ
ท�ำพิธสี วดมนตข์ อฝน โดยหลวงปู่ออ่ น าณสริ ิ ไดบ้ นั ทึกไว้ดงั น้ี
“ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลังเขา้ พรรษามาจนถงึ เดอื นเก้า คือ เดอื นสงิ หาคม เข้าไปแลว้ ฝนฟา้
ก็ยังไม่ตกตอ้ งตามฤดกู าล ชาวบ้านกลัวอดขา้ ว เพราะทำ� นาไมไ่ ด้ จงึ ไปปรารภกับพระอาจารยฝ์ ้ัน
ทา่ นจึงแนะน�ำให้รกั ษาศลี ใหเ้ คร่งครัดโดยพร้อมเพรียงกนั
ท่านกล่าวว่า “หากยึดมั่นในพระรัตนตรัยแล้ว จะไม่อดตายแน่นอน กุศลความดี
ทั้งหลายจะรักษาผ้ปู ฏบิ ตั ิชอบเสมอ” บรรดาญาตโิ ยมและอบุ าสก อบุ าสกิ าทั้งหลาย ตา่ งก็พากนั
เขา้ วัดปฏิบัตถิ อื ศีล ๕ ศลี ๘ กันอย่างมัน่ คง
ต่อมาวันหน่ึง พระอาจารย์ฝั้นให้ศิษย์เอาเสื่อไปปูท่ีกลางแดดบนลานวัด แล้วท่านกับ
พระภกิ ษุ ๒ รูป สามเณรอกี ๒ รปู กล็ งไปน่ังสวดคาถาทา่ มกลางแสงแดดจา้ (คาถาท่ีสวดน้นั
พระอาจารยฝ์ น้ั เปน็ ผจู้ ดลงในสมุดปกแข็งสีนำ�้ เงนิ มีความยาวประมาณ ๓ หน้ากระดาษ)
นง่ั สวดไปไดป้ ระมาณครง่ึ ชวั่ โมง กเ็ กิดมหศั จรรยข์ ึ้น ทอ้ งฟ้าท่ีก�ำลังมีแดดจา้ พลันมีเสียง
ฟ้าค�ำราม แล้วบังเกิดกอ้ นเมฆกบั มฝี นเทลงมาอยา่ งหนัก พระอาจารยฝ์ นั้ จึงใหพ้ ระเณรทร่ี ่วมสวด
หลบฝนไปก่อน ส่วนตวั ท่านเองยงั คงนั่งอยูท่ เ่ี ดมิ อกี นานจงึ ไดล้ กุ ขึน้ ฝนตกอย่างลมื หูลืมตาไมข่ ึ้น
เกอื บ ๓ ช่วั โมง จงึ ได้หยุดตก และเม่ือหยดุ ตกแล้ว ทอ้ งฟา้ กแ็ จ่มใสดงั เดมิ ต้งั แตน่ ้ันมา ฝนฟา้ ก็
ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบา้ นทำ� นากนั ตามปกตโิ ดยทวั่ ถึง”
208
เหตกุ ารณ์ครง้ั นี้ ท�ำใหพ้ วกชาวบ้านยงิ่ เกิดความเลื่อมใสศรัทธาและยง่ิ ใหค้ วามเคารพนบั ถือ
ในทา่ นพระอาจารยฝ์ น้ั มากยง่ิ ขึน้ ไปอีก พร้อมทั้งเห็นคุณของการยึดมน่ั ในพระรัตนตรยั และ
คุณประโยชน์ของการรักษาศีล ปฏิบัตธิ รรมด้วยว่า สามารถให้ผลอยา่ งจริงจัง ท�ำให้ฝนฟา้ ตกต้อง
ตามฤดูกาล
วเิ วกถำ้� ผาแด่น ถ้�ำบา้ นไผ่
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เมื่อออกพรรษาแลว้ ในหนา้ แลง้ หลวงป่ฝู ้ัน อาจาโร ทา่ นพาพระเณร
ออกเทีย่ วธุดงคเ์ หมอื นเชน่ เคย ในคราวนี้ หลวงปฝู่ นั้ ท่านพาพระศษิ ยต์ ามรอยธุดงค์ของหลวงปู่มน่ั
ภรู ทิ ตโฺ ต โดยธดุ งคไ์ ปท่ถี ำ้� ผาแดน่ ซ่งึ ตัง้ อยบู่ นเทือกเขาภูพาน ขน้ึ อย่กู ับเขตบ้านดงนอ้ ย ตำ� บล
ดงมะไฟ อำ� เภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีระยะทางไกลมาก หา่ งจากบา้ นดงนอ้ ยไปประมาณ
๗ กิโลเมตร และเตม็ ไปดว้ ยสัตวป์ ่า สัตวร์ ้าย จากนน้ั หลวงป่ฝู น้ั ท่านไดไ้ ปธดุ งค์ภาวนาองค์เดยี วที่
ถำ้� บ้านไผ่ โดยหลวงปูห่ ล้า เขมปตฺโต บันทกึ ไว้ดงั นี้
“แท้จรงิ วนั ออกเดินทางน้ี (หลวงป่หู ลา้ ) ก็จับไขอ้ ยบู่ ้างแล้ว แต่ไม่เลา่ ใหเ้ ขาฟัง เพราะ
เกรงวา่ เขาจะเป็นอารมณ์ดว้ ย พอเขากลับ กต็ ้ังหนา้ ภาวนาเดนิ ตามชายเขา นกโพระดกร้อง
ส่งเสยี ง ใบไม้ร่วงจนโปรง่ ข้างบน ไมไ่ ดก้ งั วล ต้ังใจภาวนาพร้อมขากา้ วเดิน ทงั้ จับไข้ ทงั้ เดนิ ภาวนา
ไปตามไหล่เขา นกดุเหว่ารอ้ งเสียงดงั ก้องได้ยนิ ไกล เดนิ ทางไปได้ถงึ หา้ โมงเย็นเศษๆ จนถงึ เขต
บา้ นนานกเค้า พบพระอาจารยเ์ จ้าองค์สำ� คญั คอื พระอาจารย์ฝน้ั วัดป่าธาตนุ าเวง ทา่ นกำ� ลังเดิน
ทางมากับพระสามสีอ่ งค์ ท่านประสงคจ์ ะไปถำ้� ผาแดน่ มีตำ� รวจสองคนตามส่งท่าน ท่านถามว่า
“อ้าว ! จะไปไหน ใครบา้ งอยกู่ บั พระอาจารย์ใหญ่ ท�ำไมจึงหนีออกจากท่านมาคนละทิศละทาง”
นงั่ คุกเขา่ ลงกบั พื้นพรอ้ มทง้ั ประนมมือกราบเรียนทา่ นรวบรดั เอาแต่ใจความ
ทา่ นจงึ กลา่ วว่า “เออ ! วนั น้คี ุณเดนิ ทางตลอดวัน ทง้ั ไข้ไม่สร่าง เหน็ ใจมาก จงไปพกั
วัดธาตุนาเวงก่อนนะ เดี๋ยวน้ีวดั ไมม่ ีพระ ผมจะใหต้ �ำรวจสองคนนก้ี ลับไปสง่ เดย๋ี วนีแ้ หละ จากนี้ไป
ถ้ำ� ผาแด่น ผมไปกบั พระกไ็ ด้ ตำ� รวจเอย๋ ตอ่ พรงุ่ นี้เช้า ใหส้ ิบโทอมั พรมาฉดี ยาใหพ้ ระนะ หายแล้ว
จงึ ไปวเิ วกตอ่ ไป”
ขณะนั้นเวลาสายัณห์ตะวันเย็นริบหร่ีลงลับขอบฟ้าแล้ว ต�ำรวจสองคนก็มารับเอาบริขาร
คนหน่ึงสะพายบาตร คนหน่ึงแบกกลดพรอ้ มทัง้ ถอื เอากาน�้ำ กราบลาท่านกบั พ้นื ดนิ แล้วกผ็ ินหลัง
ใส่กัน ตา่ งพวกก็ต่างไป คอื องค์ทา่ นไปทางทิศใตก้ ับพระ ขา้ พเจา้ กบั ตำ� รวจไปทางทิศเหนือ...
พกั อยู่นัน้ อีกรวมท้งั หมดเป็น ๑๑ วนั สงั เกตธาตขุ นั ธ์กแ็ ข็งแรงข้นึ มามากแล้ว เหมือนไม่ได้
ไขส้ กั ที แล้วกล็ าโยมว่า “อาตมาจะลาไปถ�้ำพระเวส”
209
โยมใบร้องข้นึ วา่ “รักษาหายแลว้ หนไี ปละ่ ทนี ี้”
ขา้ พเจ้าทงั้ ตอบทั้งหัวเราะเขา ตอบว่า
“อาตมาเปน็ ผู้ต้องหา (ของ) หลวงป่มู น่ั อยู่ คอื องคท์ ่านเทศนห์ นกั แน่นว่า ใครไปวเิ วก
กลับมา ถามภาวนาไมไ่ ด้ความ จะเขกหนี ไม่ใหอ้ ยจู่ �ำพรรษาดว้ ย เพราะไปเท่ยี วเลน่ เฉยๆ และ
พระอาจารยฝ์ ัน้ ก็บอกไว้วา่ หายจากไข้แล้วจึงไปเทยี่ ววเิ วกอีกต่อไปดงั น้”ี
สมัยนั้นวัดดอยธรรมเจดียก์ ำ� ลังเรม่ิ สร้างมาในระหว่างสองปี ลาจากบ้านนาสีนวล เดนิ ทาง
ข้ามเขา บา่ ยสามโมงเย็นถงึ วดั ป่าบา้ นเตา่ งอย ลาจากนน้ั เป็นวันใหม่ ฉนั เสร็จเดินทางถงึ บา้ นไผ่
ประมาณเทยี่ งวนั ไดท้ ราบวา่ พระอาจารย์ฝ้นั มาพักอยู่ถ้�ำบ้านไผ่หลายวนั แล้ว องคท์ ่านยา้ ยจาก
ถำ�้ ผาแดน่ เขากลา่ ววา่ องค์ท่านลงมาจากถ้�ำ บณิ ฑบาตบา้ นไผน่ ท้ี ุกวนั องค์เดียว หมขู่ องทา่ นกลับ
วัดหมดแล้ว พอได้ยินเขาเล่าอย่างนั้นก็นึกในใจ ว่าเราจะผ่านไปถ�้ำผาแด่นเลยก็ไม่เป็นธรรมอีก
เราก็ต้องแวะองค์ท่าน เขาบอกล่วงหน้าว่า “จากบ้านนี้ข้ึนไปหาถ�้ำพระอาจารย์ฝั้น ทางไกล
๗ เสน้ ” “เออ ! อาตมาก็จะขน้ึ ไปหาองค์ทา่ น” วา่ แลว้ เขาก็ไปส่งทางประมาณสองเส้นกวา่ ๆ แล้วก็
บอกเขากลบั เดินไปอกี นานพอสมควร ก็ถึงถ้�ำองคท์ า่ นอยู่
ขณะนั้นองค์ท่านก�ำลังสานครุไว้ตักน�้ำอยู่องค์เดียว วางบาตรไว้ที่ควรแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า
เข้าไปกราบองคท์ า่ น องค์ทา่ นทกั ทายวา่ “มาจากไหน” เรยี นวา่ “มาจากถำ�้ มะเขอื นกึ วา่ จะไป
ถำ้� พระเวส แตห่ ลวงตาม่ิงอยู่แล้ว ก็ไปหาถำ้� ได้ถำ�้ มะเขือ คำ�่ ๆ จวนเวลา ก็ยอมนอนแผน่ ดนิ
ทน่ี อนเอียงมากและสถานทกี่ ไ็ ม่เหมาะสม นอนอยูค่ นื หน่งึ ก็เลยจากมาครบั ”
องค์ทา่ นกล่าววา่ “เออ ! ผมยา้ ยจากถำ�้ ผาแดน่ มานานแลว้ หมทู่ ่านกว่า พากนั กลบั วดั
หมดแลว้ ถา้ หากว่าทา่ นอยากอยู่กบั ผม ผมก็ไมข่ ดั ข้องเลย จงพจิ ารณาดูตามสะดวกเถิด”
กราบองค์ทา่ นแลว้ ก็ไปหาที่พกั เลยไดห้ นิ ดานกลางแจง้ ไมไ่ ด้กางกลดและม้งุ เลย ปูผ้านอน
หินดานเลย และน�้ำกอ็ ดอีก ไม่ไดอ้ าบน�้ำเลยวันน้ัน เพราะเกรงจะหมดไปจากองคท์ ่าน ตื่นเชา้
ไดเ้ วลาก็ไปบิณฑบาตกับองค์ทา่ น มีโยมผ้ชู ายคนหน่งึ มารับบาตรองค์ทา่ นและมารับใช้ ฉันเสร็จ
จึงเอาขา้ วเศษกลบั บา้ น และอากาศตอนกลางคืนกย็ ังมีหนาวเยน็ เยือกอยู่พอสมควร ฉนั เสร็จแลว้
ล้างบาตร เชด็ เสร็จแลว้ กราบเรียนองคท์ ่านวา่
“ท่พี ระอาจารยเ์ ปิดประตูใหก้ ระผมอยู่ด้วยนน้ั เปน็ บุญอนั ล้นเกล้าของกระผมแล้ว แต่นสิ ัย
กระผมเป็นคนขี้กลัวอยู่บ้าง กระผมอยากดัดสันดานมันอยู่ ถ้าหากว่ากระผมไปอยู่ถ�้ำผาแด่น
องค์เดียว พระอาจารย์จะเห็นสมควรหรือไม่หนอ ประการใดขอรับ และกระผมก็มีปัญหาอยู่
อนั หนงึ่ คอื หลวงป่มู ัน่ ปรารภปนี ้วี า่ ผ้ใู ดไปเที่ยววิเวกกลบั มาถามเร่ืองภาวนาไม่ได้ความ จะไมใ่ ห้
210
จำ� พรรษาด้วย ขอ้ นกี้ ็เจ็บปวดมาก เทา่ กบั ว่ากระผมแบกแผ่นดินแผน่ ฟ้าอยู่ ยังเป็นผ้ตู อ้ งหา แก้ยงั
ไม่ทันตก”
องค์ทา่ นทอดสายตาลงตำ่� อยู่สักครู่ กก็ ลา่ วว่า “คณุ เรียนผมแบบนี้ มันถึงจติ ถงึ ใจผมมาก
ผมอนโุ มทนาสาธกุ าร เอาให้ดีนะ ยกธงแดงตอ่ สู”้ แล้วองค์ทา่ นกบ็ อกว่า “เอ้า ! เตรยี มบริขาร
ผมจะใหโ้ ยมคนนแ้ี หละ ตามสง่ จนถงึ ถ�้ำผาแด่น ไปทางหลังภูเลยไม่ต้องลงไปทางตีนภู”
กราบสามทแี ลว้ กอ็ อกเดนิ ให้โยมออกกอ่ นเพราะเปน็ ทางไมเ่ ตยี น โยมจะสะพายเอาบาตร
แต่ไม่ให้สะพาย เพราะเกรงเขาหนกั เกนิ ไป เลยแบ่งหอ่ ผา้ ออกใหเ้ ขาถอื หรอื สะพายเอาบ้าง เดิน
ภาวนาไปเงียบๆ ประมาณบา่ ยสีโ่ มงเย็นก็ถงึ ถ�้ำผาแด่น”
ถำ้� บา้ นไผ่ นับเนือ่ งแตก่ ารมาพกั ปฏบิ ตั ภิ าวนาและอบรมส่ังสอนชาวบา้ นของ ท่านพระ–
อาจารย์มน่ั ภรู ทิ ตฺโต ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เปน็ องค์ปฐม แล้วตามดว้ ยอาจารยท์ เ่ี ปน็ ศษิ ย์องค์
สำ� คัญๆ อกี หลายรูป อาทิ หลวงป่กู งมา จริ ปญุ ฺโ หลวงปฝู่ ั้น อาจาโร หลวงปู่หล้า เขมปตโฺ ต
เป็นต้น จงึ เป็นเหตใุ หส้ ถานท่แี หง่ นี้ เป็นทร่ี ้จู กั กว้างขวางในหมู่พระธุดงคกรรมฐานวา่ เป็นสถานที่
อันวิเวก เหมาะสมแก่การภาวนา ท�ำใหม้ ีพระธดุ งค์มาพกั เพือ่ ปฏบิ ัตธิ รรมและจ�ำพรรษาอยู่เสมอ
หลวงป่ฝู ้ันทา่ นได้ปลูก “ตน้ ลน่ั ทม” เปน็ อนสุ รณ์ไว้ทห่ี นา้ ถำ�้ ตอ่ มาพระศษิ ย์หลวงปฝู่ ้นั ทา่ นไดม้ า
บุกเบิกพัฒนาเป็นวดั ปา่ หนองไผ่
หลวงปฝู่ ัน้ ทา่ นพักภาวนาเรง่ ความเพยี ร ท่ีถำ�้ บา้ นไผต่ ามล�ำพังเพียงองคเ์ ดยี ว ในปี พ.ศ.
๒๔๙๐ เมอื่ ใกล้เขา้ พรรษา ทา่ นกก็ ลบั มาจำ� พรรษาทว่ี ัดป่าธาตุนาเวง
ศึกษาธรรมกบั หลวงปู่มนั่
หลวงปูห่ ล้า เขมปตฺโต บนั ทกึ ไวด้ ังน้ี
“วัดปา่ บ้านหนองผือยคุ น้ัน จะวา่ ชมุ ทางของพระเณรผปู้ ฏบิ ตั ิก็ได้ ไม่ผูค้ นจะว่าชุมทางของ
ผปู้ ฏบิ ตั นิ ้นั กค็ ือใจอันประกอบดว้ ย ศีล สมาธิ ปัญญา กไ็ ด้ไม่ผดิ อกี แตถ่ า้ ไมเ่ ขียน ผูอ้ นื่ และผู้ฟังก็
คอยแตจ่ ะแซงอยู่ เขยี นซะอย่าให้แซง จะเสยี เวลา
ปี ๒๔๙๐ น้นั เอง ในฤดูแลง้ วนั นน้ั เปน็ วันบงั เอิญกว็ ่าได้ มพี ระผู้ใหญอ่ นั เป็นเถระตา่ งทศิ
ต่างจงั หวัด เขา้ ไปศึกษาหารอื ธรรมะกบั หลวงปใู่ นส�ำนกั พร้อมกันในวนั เดยี ว ท่านเจ้าคณุ ธรรม–
เจดีย์ อุดรฯ พระอาจารย์สงิ ห์ นครราชสมี า และท่านพระครูอะไรลืมชอื่ ไป ทา่ นเจา้ คณุ อรยิ เวที
(เขียน ป.ธ.๙) กาฬสินธ์ุ หลวงปูอ่ ่อน อยูว่ ดั ปา่ หนองโดก อ.พรรณานคิ ม หลวงปูฝ่ ัน้ อยูว่ ัดป่า–
ธาตุนาเวง อ.เมืองสกลนคร พระอาจารยม์ หาทองสกุ อยู่วดั ป่าสทุ ธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
211
มพี ระอาจารย์กงมา วดั ดอยธรรมเจดีย์ แตย่ งั มไิ ด้ใส่ชื่อวัด เพราะไปต้ังใหม่ บางวัน บางวาระกอ็ ยู่
พกั วดั ป่าบา้ นโคก
วันท่ีพระผู้ใหญ่มาเย่ียมหลายองค์ โดยมิได้นัดหมายเช่นน้ัน พอถึงหนึ่งทุ่มก็จุดตะเกียง
เจ้าพายุ ตรี ะฆังลงไปรวมกันทศี่ าลาอโุ บสถ (ไม่ใช่ศาลาโรงฉันดอก เพราะมนั คบั แคบเกนิ ไป) ครัน้
กราบไหว้พรอ้ มกันเสรจ็ ส้นิ แล้ว ต่างก็น่ังพับเพียบเงยี บสงัดอยู่ ๒ – ๓ นาที หลวงป่มู นั่ มีสนั ติวธิ ี
ปรารภข้ึนเยน็ ๆ วา่
“เออ ! วันน้ีเหมาะสม ผมจะไดศ้ ึกษากบั พวกท่าน จะผิดถกู ประการใด ขอให้พวกทา่ น
ปรารภได้ ไม่ให้เกรงใจ ผมได้ศกึ ษานอ้ ย เรียนนอ้ ย”
แล้วองค์ทา่ นเสนอว่า
“พระบรมศาสดา บัญญตั ิอนุศาสน์ ๘ อยา่ ง เปน็ ข้อเว้นเรือ่ งใหญ่ อันเปน็ ปู่ ย่า ตา ทวด
ของความผดิ คือ ปาราชิก ๔ แล้วอีก ๔ ประเภทในฝา่ ยปจั จัย ให้ปฏิบตั ิจนถงึ วันส้นิ ลมปราณ
เพราะเป็นปัจจัยเคร่ืองอาศยั ของบรรพชิต เรยี กนิสัยก็มี ๔ อย่าง เท่ยี วบณิ ฑบาตหนึ่ง อยู่โคนไม้
หนึง่ นุ่งหม่ ผ้าบังสกุ ุลหน่งึ และก็เภสัชดองน�ำ้ มูตรเน่าหน่ึง
ดา้ นบิณฑบาต พระองคไ์ ด้ทอดสะพานไวแ้ ลว้ จนส้ินลมปราณ แต่พวกเราไม่คอ่ ยจะไป
บิณฑบาตกัน กลับเหน็ ว่ามีลาภ แลว้ กค็ อยใหเ้ ขาเอามาส่งและบังสุกุล พวกเรากไ็ มอ่ ยากแสวงเสยี
เลย อยทู่ ่ีสงัดกายวิเวก พวกเราก็ไมอ่ ยากแสวงเลย ส่งิ เหลา่ น้ี พวกเราไดน้ ึกคดิ อย่างไรบา้ ง
พวกเราถกู ตามอนศุ าสน์แลว้ หรือหากวา่ บกพร่องอยบู่ า้ ง”
ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ยิ้มอยู่โดยเคารพมิใช่ย้ิมแย้ม ส่วนท่านเจ้าคุณอริยเวที ป.ธ. ๙
กราบเรยี นวา่ “ไม่มสี ิง่ จะแซงพระอาจารยไ์ ดด้ อก พวกกระผมจำ� ได้ท่องได้เฉยๆ ขอรบั ผม”
ในสมัยนน้ั ผูเ้ ขียนอายสุ ามสิบปกี ว่าลว่ งไป ได้สังเกตพฤติการณข์ องพระเถระในที่ประชุม
ทุกๆ องค์ ตลอดพระภิกษหุ นมุ่ สามเณรน้อย ใชม้ ารยาทเคารพรกั หลวงปู่มน่ั เหมือนบดิ ามารดา
บังเกิดเกล้า ไม่มที า่ นองคใ์ ดจะจบั ผดิ จับถกู ในทางแง่รา้ ยอนั ใดเลยแหง่ หลวงปมู่ ั่น การประชมุ ถงึ จติ
ถงึ ใจ จึงจำ� ไดไ้ มล่ ืม คลา้ ยกับวา่ เวลารา่ งกายร้อนเขา้ พักรม่ ไม้สูงๆ โตๆ มีก่งิ ก้านสาขา อากาศโปร่ง
ขา้ งล่าง ลมมาพดั พอเยน็ ๆ ดี ไมค่ ่อยแรง เรยี กวา่ ประชมุ เย็น มิใชป่ ระชมุ ร้อน
แล้วองค์หลวงป่กู ป็ รารภต่อไปอกี วา่
“พระบรมศาสดาทรงพระมหากรณุ า ทรงส่งั และทรงสอนเป็นช้ันท่หี น่ึง คอื ภกิ ษุ จงึ มี
คำ� ออกหนา้ วา่ ภกิ ฺขเว เกือบทกุ วรรคทกุ ตอน ถา้ ภิกฺขเว ไม่ศึกษาปฏบิ ตั ิ แลว้ จะให้ใครปฏิบัติ
ศกึ ษาเล่า ส่วนพระองคท์ รงพระกรณุ า ทรงส่งั สอนอุบาสก อุบาสกิ า เทวดา มาร พรหมกด็ ี วา่ ใน
212
พระบาลนี ้อยกวา่ ภิกษทุ ้ังหลาย นางภกิ ษณุ ีก็ดี สามเณรกด็ ี สามเณรกี ด็ ี นางสกิ ขมานากด็ ี
ในพระบาลีเห็นมีน้อยกวา่ ภิกษุ ผมผนู้ ั่งหลบั ตาได้ความอยา่ งนี้ ตามประสาผเู้ ฒ่า”
แลว้ องคท์ ่านหลวงป่กู ป็ รารภสมาธิ “สมาธิ” แปลวา่ ต้ังม่นั อยู่ในอารมณท์ ่ีเพ่งอยอู่ ันเดยี ว
เป็นหลัก แต่เม่ือหมดกำ� ลังกถ็ อนออกมา ส่วนญาณพเิ ศษ ว่าหลดุ ว่าพ้น ยงั ไมป่ รากฏ เป็นเพยี ง
พกั อารมณอ์ นั หยาบเฉยๆ เรยี กว่า จิตใจพักงานอันหยาบของอารมณ์
แต่จะตดิ อยูแ่ ต่เพยี งรสของสมาธไิ มไ่ ด้ เพราะรสของสมาธเิ ปน็ รสขนาดกลาง ต้องพจิ ารณา
ใช้สตปิ ญั ญาลงส่ธู าตขุ นั ธ์ ในสว่ นรปู ขันธ์ นามขนั ธ์ ให้เสมอภาคเหมือนหนา้ กลอง ทง้ั อดีต
ทั้งอนาคต ปจั จบุ ันใดๆ ท้งั สิ้น ลงส่ไู ตรลกั ษณ์เสมอหนา้ กลองอกี เรอ่ื ยๆ ตดิ ตอ่ อยู่ไม่ขาดสาย
ย่นย่อลงมาเปน็ หลักอนั เดยี วในปัจจุบัน ทรงอยู่ซ่ึงหนา้ สติ ซึ่งหน้าปญั ญา ตราบใดนิพพิทาญาณ
ยังไม่ปรากฏแกส่ ันดานอนั ประณีต กพ็ จิ ารณาตดิ ต่ออยู่ไม่ขาดวรรค ไมข่ าดตอนอยูอ่ ย่างนั้น มี
ทางเดียวเทา่ นนั้ ไม่มที างอืน่ เลย แตน่ านๆ จงึ จะพจิ ารณาคราวหน่งึ ขาดๆ วน่ิ ๆ นน้ั ผู้มีนสิ ัยหยาบ
ก็พอประทงั ไปเทา่ นั้น ไม่สามารถจะถึงนิพพิทาญาณ ความเบอ่ื หน่ายคลายหลงคลายเมาไดง้ ่าย
กลายเปน็ หมันไปอีก
สมถกรรมฐานทกุ ประเภท นับแต่หนังหมุ้ อยโู่ ดยรอบเป็นต้นไปก็ดี หรอื ลา้ นๆ นัยก็ดีแล
ก็ต้องปลงปัญญาลงสไู่ ตรลักษณท์ ง้ั น้ัน เพราะไตรลกั ษณเ์ ป็นที่ชุมทางของสมถะ และสมถะคล้าย
กบั เปน็ เมอื งขนึ้ ของไตรลกั ษณ์แบบตรงๆ อยแู่ ล้ว ไตรลกั ษณเ์ ปน็ เมืองขึน้ ของนิพพทิ าญาณความ
เบอื่ หน่าย ความเบ่ือหนา่ ยเปน็ เมืองข้ึนของวิมุตติ วสิ ุทธิ นพิ พาน พระโสดาบนั เปดิ ประตเู ข้า
นพิ พานได้แลว้ แตย่ งั ไมถ่ งึ ศนู ยก์ ลางพระนพิ พาน ยังไมไ่ ด้เทีย่ วรอบในพระนพิ พาน
จรงิ อยู่ พระนพิ พานไมม่ ปี ระตรู ปู ประตูนาม ศูนย์ขอบ ศูนย์กลางไปๆ มาๆ อยู่ๆ อะไร
เปน็ เพยี งอทุ าหรณ์เทียบเฉยๆ เพราะค�ำพดู ก็เปน็ วจีสงั ขาร พระนพิ พานมิใช่ค�ำพูดและนกึ คดิ หรือ
รสสง่ิ ต่างๆ มรี สเกลือ เปน็ ตน้ ซ่งึ เป็นรสหยาบๆ ในโลกของโลกลิ้น โลกผัสสะกระทบจงึ จะรู้จักเค็ม
เว้นไวแ้ ตช่ วิ หาประสาทพิการ แม้ชวิ หาประสาทจะพกิ ารกต็ าม รสของเกลือเคม็ ตามธรรมชาติของ
ความจรงิ ก็เค็มอย่อู ย่างน้ันแล ฉนั ใดกด็ ี ความนึกจิตและคำ� พดู ก็ดี จะไม่นกึ คิดพระนิพพานอยู่
ก็ตาม พระนพิ พานก็เปน็ ธรรมชาติอนั ไม่ตายอยูน่ น้ั แล ลน้ิ พกิ ารเปรยี บเหมอื นยังไมร่ ู้รสนิพพาน
องค์ท่านเปรยี บเทยี บอีก สีมา พัทธสีมา ทค่ี ณะสงฆท์ ำ� กรรมถูกต้อง ไม่เปน็ สมี าวิบตั ิ
คณะสงฆ์ ๔ รปู ข้นึ ไปก็สวดถอนได้ แตโ่ ลกตุ ตรธรรมนล้ี ะเอียดไปกว่านนั้ นับแต่พระโสดาบันขึน้ ไป
หาพระอรหันต์ แม้พระบรมศาสดาทกุ ๆ พระองค์ อรยิ สงฆ์ของพระพทุ ธเจา้ เหล่านนั้ ทง้ั หมด
จะพร้อมกันมาสวดถอนจติ ใจของพระโสดาบนั ก็ดี ใหเ้ ป็นปุถชุ นคนหนายอ่ มเปน็ ไปไมไ่ ด้
213
เหตุนัน้ พระอริยเจา้ ทงั้ หลายจงึ ยอมเคารพธรรมอย่างแจบจม ไม่จดื จาง ไมใ่ ช่ว่าพระอรยิ –
เจา้ ท้ังหลายไมถ่ ือมั่นแลว้ จะไมเ่ คารพธรรม ย่งิ เคารพมากกวา่ ปถุ ุชนคนหนาไม่มีประมาณได้ ไมใ่ ช่
ว่าถอนอปุ าทานความยดึ มั่นถอื มนั่ ไดแ้ ล้วก็เลยเถดิ ไป ไม่มขี อ้ วัตรเคารพธรรม เรียกวา่ พระอรยิ เจ้า
เลยเขตแดน กลายเปน็ พระอรยิ ะของพระเทวทัต แตท่ ่าน (พระเทวทัต) ก็เหน็ ความผิดของท่าน
แลว้ แต่เห็นความผิด รตู้ วั จวนคำ่� เลยไมม่ เี วลาขอขมาโทษพระองค์ ได้ขอแตล่ บั หลัง เพียงไหล่
ขน้ึ มาหาคอหาหวั โดยน้อมถวาย ถึงกระนนั้ กย็ ังจะไดเ้ ปน็ พระปัจเจกในอนาคต เพราะไดส้ รา้ ง
บารมีมาได้สองอสงไขยแล้วยังเหลือแสนมหากัป แต่ยังเป็นโลกีย์อยู่ จึงสามารถประพฤติล่วง
อนันตริยกรรมได้
หลวงปู่ม่นั ประชุมคณะสงฆว์ ันน้ันถงึ หกทุ่มนับทง้ั ปกิณกะสารพดั ”
พักวเิ วกบนภลู งั กา หนองคาย
หลวงปฝู่ ั้น อาจาโร ไดพ้ �ำนกั และบูรณะวดั ปา่ ธาตุนาเวง เป็นเวลาตดิ ต่อกันนานถึง ๙ ปี
(พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๒๔๙๖) ระหวา่ งน้นั เมือ่ ออกพรรษา เสรจ็ ฤดกู าลกฐิน ท่านจะพาพระภิกษุ
สามเณร เดินธดุ งค์ไปวเิ วกตามสถานทต่ี ่างๆ อยเู่ สมอ เพอื่ บำ� เพญ็ สมณธรรม เพือ่ ฝึกฝนอบรม
ธรรมปฏบิ ตั แิ กศ่ ิษย์ และเม่อื มโี อกาสท่านก็เมตตาสงเคราะหช์ าวบ้านตามรายทางท่ปี ระสบความ
เดือดร้อนมาขอพง่ึ ท่าน ทา่ นกส็ ั่งสอนใหเ้ ลกิ นบั ถอื ผี หันกลับมานบั ถอื พระรตั นตรัย การเทย่ี วธุดงค์
ของทา่ นและคณะมปี ระโยชน์อย่างมาก สมดงั ทอ่ี งคพ์ ระบรมศาสดาทรงตรสั ไวว้ ่า “ภกิ ษทุ ้ังหลาย
เธอทัง้ หลายจงจาริกไป เพือ่ ประโยชน์และความสขุ แกช่ นเปน็ อนั มาก เพ่อื อนุเคราะห์ชาวโลก
เพ่ือประโยชนเ์ ก้อื กลู และความสขุ แกท่ วยเทพและมนษุ ย์ทงั้ หลาย”
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ หลงั ออกพรรษาแลว้ หลวงปู่ฝ้ันไดพ้ าพระภกิ ษุสามเณร เดนิ ธุดงค์ไป
วเิ วกที่ภูวัว ในท้องทอ่ี ำ� เภอบงึ กาฬ จงั หวัดหนองคาย
เหตทุ ท่ี ่านจะไปพักบำ� เพญ็ เพียรบนภูววั เรม่ิ จากทา่ นเจา้ คณุ พระธรรมเจดยี ์ (จมู พนธฺ ุโล)
วัดโพธสิ มภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ไดน้ ิมนตห์ ลวงป่ฝู น้ั ไปในงานศพของ ท่านพระอาจารย์อุ่น ท่ี
อ�ำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ท่านพระอาจารย์อุ่น ท่านเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่มั่น
รุ่นราวคราวเดียวกับหลวงปอู่ ่อน กบั หลวงปู่ฝ้นั
เสรจ็ งานศพแล้ว หลวงปูฝ่ ั้น อาจาโร หลวงปูอ่ อ่ น าณสริ ิ และ ทา่ นพระครูอุดม–
ธรรมคุณ (หลวงปู่พระมหาทองสุก สจุ ติ ฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดปา่ สทุ ธาวาส สกลนคร) ไดป้ รกึ ษา
หารือกันว่า จะไปทางไหนกนั ดี หรอื จะแยกย้ายกันกลบั วัด หลวงปู่ออ่ นก็ออกความเหน็ วา่ ไปวิเวก
ต่อแถวๆ ภูลงั กา หรือภวู ัว กอ่ นดีกวา่ ตา่ งก็เหน็ ดดี ว้ ย หลวงป่ทู งั้ สามองค์ พรอ้ มดว้ ยพระภกิ ษุ
214
ผู้เป็นศิษย์อีกบางรูป จึงพร้อมใจกันออกเดินทางจากอ�ำเภอท่าอุเทน ไปทางอ�ำเภอบ้านแพง
จนกระทง่ั ถึงภลู ังกา ซง่ึ เป็นท่ีพำ� นักของ ทา่ นพระอาจารย์วงั ติ ิสาโร
ท่านพระอาจารยว์ ัง ท่านเป็นศษิ ยส์ ายหลวงปู่เสาร์ หลวงปูม่ นั่ ท่ไี ดร้ บั การยกย่องเป็น
“เทพเจ้าแห่งภูลงั กา” เมือ่ ทา่ นบวชพระแล้ว ท่านก็เร่งความเพยี รให้ย่งิ ๆ ขึน้ ทา่ นจงึ จ�ำเป็นตอ้ ง
แสวงหาครูบาอาจารย์ เมือ่ มคี รูบาอาจารยใ์ ดท่จี ะเป็นท่พี ึง่ ได้ในสมัยนั้น ทา่ นก็ไปกราบขอปวารณา
ตวั เป็นศษิ ย์ เช่น หลวงปู่ฝ้ัน ทา่ นก็เคยอยจู่ ำ� พรรษากับหลวงปู่ฝน้ั ด้วย ดงั นน้ั หลวงปฝู่ ั้นจงึ ถอื ว่า
ทา่ นพระอาจารยว์ งั เปน็ ศษิ ยร์ ปู หนงึ่ และดว้ ยความทท่ี า่ นเอาจรงิ เอาจงั ตอ่ การประพฤตปิ ฏบิ ตั ธิ รรม
หลวงปู่ฝ้ันจึงมักสั่งสอนลกู ศิษยร์ ปู อ่ืนๆ ว่า “ใหท้ �ำเหมอื นท่านวัง เอาจริงเอาจงั เหมอื นทา่ นวงั ”
อย่างน้ีเสมอ หลวงปู่อ่อน ท่านก็ถือว่าท่านพระอาจารย์วังเป็นศิษย์ของท่าน แม้แต่หลวงปู่ม่ัน
ทา่ นพระอาจารย์วังกเ็ คยเข้ารับฟงั โอวาท และอย่รู ่วมด้วยหลายครั้ง
เมื่อขึน้ ไปพักอย่กู ับทา่ นพระอาจารยว์ งั ได้ ๗ – ๘ วัน หลวงปฝู่ ัน้ ไดพ้ จิ ารณาเหน็ ความ
ลำ� บากในการขนึ้ ลงเขา เพราะเขาสงู มาก ลงมาบณิ ฑบาตไมไ่ ด้ พวกญาตโิ ยมต้องจัดเสบยี งอาหาร
สง่ ข้ึนไปให้ลูกศษิ ยท์ ำ� อาหารถวายพระเณร ยิง่ มากรปู กย็ งิ่ ล�ำบากมากขึน้ หลวงปู่จงึ ได้สอบถาม
ท่านพระอาจารยว์ ัง เกีย่ วกับภูวัว โดยปรารภวา่ อยากจะไปวเิ วกอยู่ทนี่ ัน่
ท่านพระอาจารยว์ งั ท่านก็บอกวา่ ภูวัวเป็นทว่ี เิ วกดมี าก เป็นปา่ ดงดบิ เต็มไปดว้ ยสัตว์ร้าย
นานาชนิด เชน่ ช้าง เสอื ตลอดจนวัวกระทงิ โดยเฉพาะอีเก้ง กวาง ลิง มีเปน็ ฝูงๆ หลวงปู่ฝัน้
หลวงปอู่ ่อน กับ หลวงปู่พระมหาทองสุก จงึ ไดล้ งจากภลู ังกา เดนิ ทางต่อไปยงั บา้ นโพธ์ิหมากแข้ง
แล้วไปพกั อย่ใู นวัดรา้ งบริเวณใกล้ๆ บา้ นโสกก่าม เม่ือถามญาตโิ ยมถงึ สถานที่อันเหมาะแก่การ
บ�ำเพญ็ กรรมฐานบนภวู ัว พวกญาตโิ ยมกบ็ อกวา่ มอี ยหู่ ลายแห่ง หลวงปูจ่ ึงใหช้ าวบ้านนำ� คณะท่าน
ขึ้นไป
215
ภาค ๑๓ ธดุ งคภ์ วู ัว – ดูแลอาพาธและช่วยงานศพหลวงปู่มัน่
วเิ วกหนิ กอ้ นนำ้� อ้อยและถ�ำ้ พระ
วนั แรกทขี่ ึ้นภูวัว คณะของหลวงปู่ไดไ้ ปพกั ทีห่ นิ กอ้ นน�้ำออ้ ย ที่เรยี กว่า กอ้ นน�้ำอ้อย หรอื
หนิ กอ้ นน้�ำออ้ ย เพราะเป็นหนิ ก้อนใหญ่ รูปรา่ งคล้าย งบนำ�้ อ้อย (นำ�้ อ้อยทที่ ำ� เปน็ แผน่ กลม) ตง้ั อยู่
บนหินใหญ่อีกกอ้ นหนงึ่ ใตห้ นิ ก้อนนำ�้ อ้อย เปน็ ทห่ี ลบแดดหลบฝนไดเ้ ป็นอย่างดี เพราะดา้ นใต้ของ
กอ้ นหนิ ยน่ื เป็นเพงิ ออกมาโดยรอบคลา้ ยๆ ถ้�ำ
หลวงปู่ฝน้ั หลวงป่อู ่อน และ หลวงปู่พระมหาทองสุก พักวิเวกอยู่ทน่ี ั่นหลายวนั กพ็ บว่า
เปน็ สถานท่ไี ม่สงบนกั เพราะเปน็ ทางทโ่ี ขลงช้างขึ้นลงอยู่เป็นประจำ� กลางคืนชา้ งจะข้ึนมาท้ังโขลง
ส่งเสียงดงั รบกวนสมาธอิ ย่เู สมอ ช้างโขลงหน่ึงนบั เป็นรอ้ ยเชือกก็มี เนอ่ื งจากโขลงช้างไม่อาจใช้
ทางอืน่ ได้ เพราะทางอืน่ เป็นหน้าผาชันไปท้งั หมด หลวงปทู่ งั้ สามองค์จงึ ได้ย้ายไปพักวเิ วกที่ถ�้ำพระ
ต่อไป หลวงปูท่ งั้ สามองค์ ยา้ ยสถานทีพ่ กั วิเวกจากบริเวณหนิ งบน�้ำอ้อย มาที่ถ�้ำพระ โดยใหพ้ วก
ญาตโิ ยมยกแครข่ ้ึนสงู พน้ พน้ื ดนิ เป็นท่ีพัก ถ้�ำพระแห่งนี้ อย่ใู นบริเวณริมหว้ ยบางบาด มลี านหนิ
กวา้ งใหญ่ และมีทสี่ ำ� หรบั บ�ำเพ็ญภาวนาอย่างเหมาะสม ร่มร่นื และสงบสงดั ดีมาก
ถ�้ำพระ ตัง้ อยทู่ างทิศตะวันออกของภวู ัว เดิมทบี ริเวณตรงหน้าผามพี ระวา่ นซึ่งท�ำดว้ ยคร่งั
องค์เลก็ เปน็ ปชู นียสถานเก่าแก่ เปน็ ทเี่ คารพของชาวบ้านบรเิ วณนน้ั มาตัง้ แต่ครง้ั โบราณกาลนาน
มาแลว้ วนั สำ� คญั ทางพระพุทธศาสนาชาวบ้านจะเขา้ มาทำ� พธิ ีสักการบชู ากัน ตอ่ มาสมัยหลวงปู่มั่น
ภรู ิทตโฺ ต พรอ้ มด้วยคณะสงฆไ์ ด้ออกจารกิ มาปฏบิ ัตธิ รรมถึงวดั ภูววั (ตามค�ำบอกเลา่ ) ได้อาศัย
ถ้ำ� พระน้ีเป็นทปี่ ฏบิ ัตธิ รรมสบื ตอ่ กันมา โดยมีการผลดั เปลยี่ นเขา้ ออกตามกาลเวลา
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ท่านพระอาจารย์วัง ติ ิสาโร (วัดถ้�ำชัยมงคล ภลู งั กา จงั หวัดนครพนม)
ไดม้ าปฏิบัตธิ รรมภาวนาอย่ถู ้ำ� พระหลายปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จงึ ย้ายออกไปภูลงั กา เนอื่ งจาก
ภูววั และภลู ังกามีแนวเขตติดต่อกนั ไมไ่ กลกนั นกั และทา่ นไดแ้ นะนำ� หลวงปู่ฝั้น อาจาโร กบั คณะ
ใหม้ าธุดงคท์ ี่ถ�ำ้ พระแหง่ นี้ จากน้ันหลวงปูข่ าว อนาลโย ท่านพระอาจารยจ์ วน กุลเชฏฺโ และ
คณะได้มาธุดงค์จ�ำพรรษา ภายหลังมีพระศิษย์ของหลวงปู่ฝั้นได้มาธุดงค์และสร้างเป็นวัดถ�้ำพระ
จนเปน็ วดั ทมี่ ัน่ คงถาวรในพระพุทธศาสนาจวบจนปจั จุบันนี้
อยา่ งไรกต็ าม ท่ีถ้�ำพระแห่งน้กี ย็ งั ห่างไกลจากหมบู่ ้าน ลงไปบิณฑบาตไมไ่ ด้ ต้องใหล้ กู ศษิ ย์
ท�ำอาหารถวายทกุ วนั โดยอาศัยญาติโยมบา้ นนาตะไก้ บา้ นโสกกา่ ม และบา้ นดอนเสยี ด หมนุ เวยี น
กันส่งเสบียงอาหารทุกวันพระ ถ้าวันไหนท่ีหลวงปู่ฝั้นไม่ลงฉัน ท่านก็จะบอกให้ท�ำฉันกันเอง
ท่านจะอดอาหารไปกี่วนั ท่านก็จะบอกลว่ งหนา้ ให้ทราบเพือ่ ความสะดวกในการจัดท�ำอยเู่ สมอ
216
ก็เป็นจรงิ อยา่ งทีท่ ่านพระอาจารย์วัง ติ สิ าโร บอกบนภูววั เตม็ ไปด้วยสตั ว์ปา่ นานาชนดิ
นำ้� ท่ากอ็ ุดมสมบูรณด์ ี ในหว้ ยบางบาดมีวังน�้ำอยแู่ หง่ หนึง่ น้�ำลึกมาก มีจระเข้ตัวใหญๆ่ อาศัยอยู่
หลายตัว ท่ามกลางแดดร้อนจัด พวกมันจะออกจากถ้�ำมานอนอ้าปากตากแดดอยู่เป็นประจ�ำ
แม้กระท่งั ทุกวันนกี้ ็ยงั มจี ระเขอ้ าศยั อยู่ในวังนำ้� แห่งนั้น (หลวงปู่ออ่ น บันทึกไวก้ อ่ นปี พ.ศ. ๒๕๒๐)
นอกจาก ๓ หมบู่ ้านที่ผลัดเปล่ียนกนั นำ� เสบียงอาหารไปส่งแลว้ ยังพบวา่ มีหมบู่ า้ นตั้งใหม่
อยใู่ กลเ้ ข้ามาอีกหนอ่ ย อยู่ห่างจากถ�้ำพระ ประมาณ ๖ – ๗ กโิ ลเมตร พระและเณรท่ีไปพักวเิ วก
จึงพอเดนิ ไปบณิ ฑบาตกนั ได้ คณะของหลวงป่พู ักวเิ วกอยูท่ ่ถี ำ�้ พระบนภวู ัว ได้ราว ๒ เดือนเศษ
หลวงปู่พระมหาทองสุก ก็ได้ออกความเห็นข้ึนว่า ควรจะท�ำอะไรไว้เป็นท่ีระลึกในสถานที่น้ัน
สกั อย่าง เผอิญว่าบนทพ่ี ักสูงข้นึ ไปเปน็ หน้าผาหินเหมาะส�ำหรับจะสรา้ งพระประธานไวส้ กั การบชู า
เป็นอย่างย่ิง หลวงป่ฝู ้ันจึงได้ตกลงสร้างพระพุทธรปู บนหน้าผาแห่งนน้ั โดยใชว้ สั ดทุ หี่ าได้งา่ ย
ในแถบน้ัน เชน่ มูลช้าง มูลววั จงึ แจง้ ให้บรรดาญาตโิ ยม บ้านดอนเสียด บา้ นโสกก่าม บา้ นนาตะไก้
และบา้ นอ่ืนๆ ทีอ่ ยใู่ กลเ้ คียง ใหช้ ่วยหาวัสดสุ ำ� หรบั ก่อสร้างเหลา่ นั้นมาให้
สำ� หรบั ช่างป้ันน้ัน หลวงปู่ฝ้ัน กบั หลวงปู่พระมหาทองสกุ ทา่ นทงั้ สองมฝี มี ือเยย่ี มอย่แู ลว้
จึงไม่ตอ้ งเสาะหาคนอ่ืน เมือ่ ได้ของพร้อมแล้ว ทา่ นก็ลงมอื ทันที ปนี ้นั ฝนตกหนักมาก น้�ำกห็ ลาก
มาแรง การสรา้ งพระพุทธรูปบนหน้าผา จึงประสบอุปสรรคไปบ้าง แตท่ ้ังๆ ทส่ี ร้างพระยังไมเ่ สรจ็
หลวงปฝู่ ั้นกผ็ ลุนผลนั ชวนหลวงปู่พระมหาทองสุกลงจากภูวัวโดยไม่มีใครทราบสาเหตุ
เย่ยี มอาพาธท่านพระอาจารยใ์ หญ่
การทห่ี ลวงป่ฝู ั้น อาจาโร พา หลวงป่พู ระมหาทองสุก สจุ ติ ฺโต หยุดจากการปั้นพระ
รีบผลนุ ผลนั ลงจากภูวัวในครั้งนั้น ไดส้ รา้ งความงนุ งงสงสยั ใหก้ บั ลูกศษิ ยแ์ ละบรรดาญาติโยมเป็น
อย่างมาก เพราะต่างก็ไม่ทราบเหตุผล พระภิกษุที่เป็นศิษย์ติดตามไปทราบเอาเมื่อหลวงปู่และ
คณะเดนิ ทางถงึ วัดป่าบ้านหนองผอื แล้ว ว่าการท่ที า่ นผลนุ ผลนั ลงมาจากภูวัวนน้ั เปน็ เพราะทา่ น
ตอ้ งการกลบั ไปเยี่ยมอาการอาพาธของทา่ นพระอาจารย์ใหญม่ ่นั ภรู ทิ ตโฺ ต ซึ่งขณะนนั้ ท่านอาพาธ
หนักยง่ิ กว่าครง้ั ใดๆ
หลวงปูฝ่ ้ัน ทา่ นทราบได้อย่างไรวา่ พระอาจารยข์ องทา่ นก�ำลังป่วยหนัก เร่อื งน้ีเป็นท่ี
ประหลาดใจกันอยู่ในหมู่พระทีเ่ ป็นศษิ ย์ ยงิ่ ไปกวา่ นน้ั ยังปรากฏดว้ ยว่าทา่ นพระอาจารย์ใหญม่ ่นั
ก�ำลังต้องการพบหลวงปู่ฝนั้ อยูจ่ ริงๆ ถงึ ขนาดให้พระเณรออกติดตามหาดว้ ยซ้�ำ หลวงปอู่ ยปู่ ฏิบัติ
ช่วยกนั พยาบาลดูแลท่านพระอาจารย์ใหญ่มัน่ อยูไ่ ด้ประมาณคร่งึ เดือน อาการของทา่ นได้ทเุ ลาลง
หลวงปู่จึงไดก้ ราบลาและกลับไปจ�ำพรรษาที่วัดป่าธาตุนาเวง หรือ วดั ป่าภธู รพทิ กั ษ์ ท่านมีความ
เป็นห่วงเป็นใยท่านพระอาจารยใ์ หญ่มน่ั มาก ในพรรษานน้ั ท่านได้กระท�ำสัตตาหะไปกราบเยย่ี มถงึ
217
สองครง้ั โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนอื่ ยและความยากลำ� บากในการเดนิ ทางฝา่ แดด ฝา่ ฝน และ
บกุ โคลนตมเขา้ ไป ความกตญั ญกู ตเวทขี องทา่ นเป็นท่ปี ระทบั ใจของผ้ไู ดร้ ู้ได้เห็นโดยท่วั กนั
เมอื่ ออกพรรษาปนี ้ัน (พ.ศ. ๒๔๙๑) แลว้ หลวงปู่ฝ้นั ก็ไดไ้ ปเยย่ี มอาการของพระอาจารย์–
ใหญ่ม่ันอีกคร้ังหน่ึงท่ีวัดป่าบ้านหนองผือ พักอยู่ที่น่ันหลายวันเห็นว่าอาการของพระอาจารย์ใหญ่
ดีขน้ึ มากแลว้ ท่านจึงได้กลับไปวัดป่าภูธรพิทกั ษอ์ ีก
ต่อมาในราวเดือนมกราคม ๒๔๙๒ หลวงปูฝ่ ้ันกไ็ ดช้ วนหลวงปูพ่ ระมหาทองสกุ กลับไป
วิเวกทภี่ วู ัวอกี เพื่อจะได้จดั การปั้นพระประธานบนหน้าผาให้เสรจ็ เรียบรอ้ ย การปัน้ เพือ่ เสริมแตง่
พระประธานครั้งน้ี หลวงปู่ท่านไดท้ ำ� อยา่ งเรง่ รบี เพราะทา่ นเปน็ หว่ งว่าทา่ นพระอาจารยใ์ หญม่ น่ั
จะป่วยหนักอีก เมื่องานปั้นพระประธานเสร็จเรียบร้อยแล้ว บรรดาศรัทธาญาติโยมได้ข้ึนไปร่วม
อนโุ มทนาบ�ำเพญ็ กุศลด้วยเป็นจำ� นวนมาก พธิ ฉี ลองของหลวงปฝู่ ้นั คือ เทศนโ์ ปรดศรัทธาญาตโิ ยม
ตลอดคืน ทำ� ใหค้ นพวกนนั้ มีความพอใจและปล้มื ปีติเป็นอนั มาก จากนน้ั ทา่ นก็ได้บอกลาญาตโิ ยม
ลงจากภวู วั กลับไปยังวัดป่าภูธรพทิ กั ษ์ ทา่ นไปพักทถี่ ้�ำพระบนภูววั รวมเป็นเวลาสองเดอื นเศษ
โดยในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปูม่ ัน่ ท่านมอี ายยุ า่ งเข้า ๘๐ ปี ทา่ นไดพ้ ยากรณอ์ ายุของท่าน
ไว้ล่วงหน้าวา่ ไม่เลย ๘๐ ปี โดย องคห์ ลวงตาพระมหาบวั ได้เทศนไ์ วด้ งั นี้
“เวลาท่านจะตาย ท่านยงั พดู เราไมล่ ืม พดู ชี้น้วิ ดว้ ย เอา ! ใครจะต้งั อกตัง้ ใจภาวนาให้
ตัง้ ใจนะ พดู อย่างเด็ด มีอะไรเอ้า ! ถามมา ภกิ ษเุ ฒ่าจะแก้ การภาวนาส�ำคญั มากนะ ไม่มีใครแกไ้ ด้
อยา่ งงา่ ยๆ น่เี วลาภกิ ษเุ ฒา่ ยังมีชีวติ เอ้า ! ใครขัดข้องตรงไหนการภาวนาใหถ้ ามมา เราจะแก้
น่ันท่านบอก นี่อายุเราไม่นานนะไมเ่ ลย ๘๐ น่ันบอก บอกไวช้ ดั เจนมาตลอด อายุ ๘๐ บางที
นับนว้ิ ดว้ ย นับขอ้ มอื ดว้ ย เวลานอ้ี ายุเทา่ นั้นๆ พอไปถึง ๘๐ น่นั เห็นไหมมันนานเหรอ ยังพากนั
นอนใจอยู่เหรอ พระเณรก็ตื่นเต้นล่ะซิท�ำความพากความเพียร พอถึงนั่นปั๊บ เริ่มไข้เท่านั้นนะ
เร่มิ ไมส่ บาย เออ ! นผ่ี มเร่มิ ป่วยแลว้ นะ เราสรุปเลยวา่ ป่วยคราวน้จี ะไม่มยี าอะไรรกั ษาเลย นีเ้ ปน็
ครง้ั สุดท้ายแห่งการป่วยของเรา นก่ี า้ วเขา้ ๘๐ นะ
ทา่ นบอกเลย เอายาเทวดามาใสก่ ็ไม่มีความหมาย มีแตจ่ ะตายท่าเดียว แตม่ ันไม่ตายงา่ ยนะ
โรคนเี้ ป็นโรคทรมาน เขาเรยี กวา่ โรคคนแก่ ทา่ นวา่ เราไมล่ มื นะ แลว้ กค็ อ่ ยเปน็ ค่อยไป ๘ เดือน
ต้งั แต่เรม่ิ ปว่ ยมา ๘ เดอื นท่านจึงไดส้ ิน้ เราไม่ลมื นะ นลี่ ะ่ ท่านพดู แม่นย�ำไหมละ่ บอกไม่เลย ๘๐
บอกมาเร่ือยๆ บางทนี บั ข้อมอื นีเ่ ท่าน้ันๆ พอถึง ๘๐ แนะ่ มันยดื ยาวไหมล่ะ พอจะมานอนใจ
อยู่เหรอผู้มาศึกษาอบรม มันก็เตือนใจซิ ให้ได้เร่งความพากเพียร การภาวนาส�ำคัญนะ การแก้
ทางด้านภาวนาส�ำคญั มาก ใหพ้ ากันตั้งอกตง้ั ใจปฏิบัต”ิ
218
ใช้พลังจิตรกั ษาอาการป่วยของพระศิษย์
กลับจากถ�ำ้ พระภวู ัว เทีย่ วทีส่ องนแี้ ลว้ หลวงปูฝ่ นั้ อาจาโร กลับไปพักท่วี ัดป่าภธู รพิทกั ษ์
ทา่ นพกั อยู่ ๓ วัน ก็กลับไปเยย่ี มทา่ นพระอาจารยใ์ หญม่ นั่ ทว่ี ดั ป่าบ้านหนองผือ รกั ษาพยาบาล
ทา่ นอย่สู องสปั ดาห์ เหน็ วา่ อาการไม่มอี ะไรน่าเปน็ ห่วงอกี แล้ว จงึ กลบั วัดปา่ ภธู รพทิ กั ษ์ จากนัน้
หลวงปู่ฝัน้ ไดเ้ ริ่มงานสำ� คัญอกี ช้นิ หนง่ึ เพื่อพัฒนาวัดป่าภธู รพิทกั ษ์
หลวงปูฝ่ นั้ ไดช้ กั ชวนบรรดาสานศุ ษิ ย์สร้างศาลาโรงธรรมหลงั ใหม่ขน้ึ (ศาลาท่ียงั เหน็ อยู่ใน
ปจั จุบนั ) โดยทา่ นเองเปน็ ประธานควบคุมการกอ่ สรา้ ง บรรดาต�ำรวจกับชาวบ้านได้สละแรงงาน
รว่ มมือกบั พระภิกษุและสามเณรในวดั ท�ำการกอ่ สรา้ งแบบคอ่ ยเป็นคอ่ ยไป ใครว่างเม่ือไหรก่ ็ไป
ช่วยทำ� ในระยะนี้สขุ ภาพของทา่ นพระอาจารย์ใหญ่มัน่ กเ็ สื่อมลงเรื่อยๆ ระหว่างพรรษาหลวงปู่ฝั้น
ได้กระท�ำสัตตาหะไปกราบเย่ียมและเฝ้าปรนนิบัติอาการหลายคร้ัง โดยท่านแวะรับหลวงปู่อ่อน
จากวัดป่าบ้านม่วงไข่ ไปด้วย ระหว่างน้ันการสร้างศาลาก็ด�ำเนินต่อไป พอออกพรรษาก็เสร็จ
สมบูรณเ์ รียบรอ้ ย โดยใชเ้ วลาในการก่อสรา้ ง ๗ เดือนเศษ ทันพธิ รี บั กฐนิ บนศาลาหลังใหมพ่ อดี
และศาลาโรงธรรมนี้ไดย้ นื ยงมาจนถึงปัจจบุ ัน
ในกลางพรรษา ระหวา่ งกอ่ สรา้ งศาลาโรงธรรมดงั กล่าว ได้มเี หตกุ ารณ์ทค่ี วรบันทกึ ไว้อกี
เรื่องหนึ่ง กล่าวคือ ตอนเข้าพรรษาปีนั้นได้มีพระภิกษุและสามเณรมากเป็นพิเศษ แม้ว่าการ
ก่อสรา้ งศาลาโรงธรรมกำ� ลังดำ� เนินอยูก่ ็ตาม แตถ่ งึ ตอนกลางคืนท่านก็จะใหพ้ ระเณรท�ำความเพยี ร
อยา่ งไม่ลดละ หลวงปฝู่ ั้นได้นำ� พระภกิ ษุ สามเณร ท�ำความเพยี รดว้ ยการเดินจงกรม และนั่งสมาธิ
ภาวนาเป็นประจ�ำ
ในพรรษาปีน้ี ปรากฏว่าฝนตกหนัก บางครั้งตกหนักท้ังกลางวันและกลางคืน อากาศก็
เปลี่ยนแปลงไม่เป็นปกติ เป็นเหตุให้ทั้งพระและเณรเจ็บป่วยเป็นไข้มาลาเรียกันหลายรูป มีเณร
รปู หน่งึ มอี าการหนกั มาก ตอ้ งนำ� ส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลนครพนม รักษาอยูห่ ลายสปั ดาห์จงึ หาย
เป็นปกติ ท่ีร้ายแรงมีพระภิกษุรูปหนึ่งเกิดวิปริตทางจิต จะเป็นด้วยไข้มาลาเรียขึ้นสมองหรือ
อยา่ งไรไมท่ ราบ ทา่ นเป็นมากถึงกบั พูดไมย่ อมหยุด คอื พดู ฝ่ายเดียวโดยไม่เปดิ โอกาสใหค้ ู่สนทนา
ได้พูดเลย หลวงปู่เรยี กให้พระภิกษรุ ปู นัน้ ขน้ึ ไปหาท่านบนกฏุ ิเพ่อื ไตถ่ ามอาการ พระกบ็ อกหลวงปู่
ว่า ไมไ่ ดเ้ ป็นอะไร สบายดที ุกอยา่ ง แต่กพ็ ูดอยูต่ ลอดไมย่ อมหยดุ หลวงปจู่ ะตักเตอื นอยา่ งไรกไ็ มฟ่ ัง
เอาแต่พูดอย่างเดียวแบบน้�ำไหลไฟดับ ไมย่ อมฟงั ใคร หลวงปู่ไดป้ ลอ่ ยให้พระองค์นัน้ พดู ไปเร่ือยๆ
ส่วนทา่ นเองไดน้ ั่งกำ� หนดจติ สงบน่งิ อย่ปู ระมาณ ๕ นาที ตอ่ มาพระภกิ ษุองค์นนั้ กห็ ยุดพูดลงทันที
อา้ ปากหาว แลว้ ล้มตวั ลงนอนตอ่ หนา้ ท่านไปเฉยๆ
219
หลวงปฝู่ นั้ บอกใหพ้ ระภิกษุอีกรปู หน่งึ หาหมอนมารองศรี ษะให้ แล้วส่ังวา่ ให้นอนหลับอยู่
เช่นน้ันแหละ นอนอ่ิมแล้วจะต่ืนขนึ้ มาเอง พดู แลว้ หลวงปกู่ ล็ งท�ำกจิ วัตรดว้ ยการปัดกวาดลานวดั
ตามปกติ จากน้นั ก็สรงนำ�้ แลว้ ก็เดนิ จงกรม พระภิกษุรูปน้ันนอนหลบั ไปต้ังแต่ ๑๕.๐๐ น. จนถงึ
๑๘.๐๐ น. จึงได้ลุกข้นึ มาดว้ ยท่าทางงงๆ ถามว่า “ผมมานอนอยู่ท่ีน่ตี งั้ แต่เมือ่ ไร” ส่วนอาการ
อาพาธของทา่ นไดห้ ายไปราวกับปลดิ ทิ้ง เมอื่ พระเณรองคอ์ ืน่ เลา่ ความใหฟ้ งั แล้ว ทา่ นก็แสดงความ
แปลกใจ บอกวา่ ไมร่ ้ตู ัวอะไรเลย แมก้ ารพูดโดยไม่ยอมหยุดกท็ ำ� ไปโดยไมร่ ตู้ ัวทัง้ สิน้ หลวงปฝู่ ัน้ เอง
ท่านไม่ได้พูดอะไรเกยี่ วกบั เร่อื งน้ี แตบ่ รรดาศษิ ย์ตา่ งมน่ั ใจกันวา่ นี่เป็นเรือ่ งนา่ อศั จรรย์เรื่องหนึ่ง
และคงจะเปน็ อน่ื ไปไมไ่ ด้ นอกจากเป็นการใชก้ ระแสจติ เข้าแกไ้ ขอาการป่วยของศิษย์
พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่ค�ำดถี วายตวั เปน็ ศษิ ย์
หลวงปู่ฝัน้ อาจาโร ช่ือเสียงกิตตศิ พั ท์ กิตติคณุ คุณธรรมของทา่ น ย่งิ นานวันก็ย่งิ โดง่ ดัง
ฟ้งุ ขจรขจาย มีครูบาอาจารยเ์ ข้ามามอบกายถวายตวั เปน็ ศษิ ย์เพอื่ ศกึ ษาอบรมอย่างตอ่ เนือ่ ง ในปี
พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปคู่ �ำดี ปญฺโภาโส ตอ่ มา คอื พระรชั มงคลนายก อดีตเจ้าอาวาสวดั ปา่ –
สทุ ธาวาส อ�ำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อดีตเจ้าคณะจังหวดั สกลนคร (ธรรมยุต) ทา่ นมีอุปนสิ ยั
นอ้ มมาทางปฏบิ ัตธิ รรมตั้งแตเ่ ป็นสามเณร เม่อื อายุครบบวช ท่านได้บวชเปน็ พระในฝ่ายมหานิกาย
ทา่ นได้ยินกติ ตศิ พั ท์ คุณธรรมของหลวงปฝู่ ั้น จึงไดเ้ ดนิ ทางไปกราบฟังเทศนาธรรมของหลวงปฝู่ น้ั
แล้วเกิดความศรัทธาเลอื่ มใส เกิดความซาบซง้ึ ในรสพระธรรม ท่านได้ตดั สินใจขอฝากตวั เป็นศิษย์
และขออยู่ปฏิบตั ธิ รรมด้วย ตามประวตั ิหลวงปคู่ ำ� ดี บนั ทึกไวด้ งั น้ี
“ภายหลงั จากทีเ่ สรจ็ งานท�ำบุญใหโ้ ยมมารดาเรยี บร้อยแล้ว หลวงตาค�ำดี ปญโฺ ภาโส
ท่านได้เดินทางมาพักท่ีวัดป่าธาตุนาเวง (ปัจจุบัน คือ วัดป่าภูธรพิทักษ์) อ�ำเภอเมือง จังหวัด
สกลนคร เพือ่ มากราบมอบกายถวายตัวเป็นศษิ ย์ของหลวงปูฝ่ นั้ อาจาโร ดงั ทีไ่ ด้ตัง้ ใจไว้ในสมัยท่ี
ทา่ นยังเรยี นพระปรยิ ตั ธิ รรม โดยหลวงปู่ฝั้นทา่ นกเ็ มตตารบั หลวงตาคำ� ดไี ว้เปน็ ศษิ ย์ดังที่ตั้งใจ และ
ให้หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นพระพี่เลี้ยงดูแลและบอกสอนเร่ืองข้อวัตรปฏิบัติเก่ียวกับพระธุดงค–
กรรมฐานตา่ งๆ ส่วนเรอ่ื งการปฏบิ ัตภิ าวนาน้นั องคห์ ลวงป่ฝู ัน้ ท่านจะเมตตาอบรมส่งั สอนอย่เู ปน็
ประจ�ำเสมอมิได้ขาด หากว่าหลวงตาค�ำดีท่านสงสัยข้ออรรถข้อธรรมอะไร ก็กราบเรียนถามกับ
หลวงปฝู่ ั้น ซงึ่ องคท์ า่ นกเ็ มตตาใหอ้ บุ ายธรรมแบบแยบยล จนเป็นทีพ่ อใจ
พอทราบถงึ ขอ้ วัตรปฏิบัติ เก่ียวกบั พระธดุ งคกรรมฐานและอุบายในการปฏบิ ัตธิ รรมต่างๆ
แลว้ หลวงปฝู่ ั้นเหน็ วา่ การทจ่ี ะมาอยรู่ ่วมกันในส�ำนักท่านน้ัน หากจะอยกู่ ันคนละสงั วาส การ
ปฏิบตั กิ จิ ทางพระธรรมวินยั เชน่ การท�ำสังฆกรรม การลงอุโบสถ จะเปน็ การลำ� บาก ทา่ นจงึ ให้
220
หลวงตาค�ำดไี ปญตั ตเิ ป็นพระธรรมยุต โดยหลวงปู่ฝน้ั ได้มอบหมายให้หลวงปูส่ วุ จั น์ เป็นผพู้ าไป
ญตั ตทิ ว่ี ัดศรเี ทพประดิษฐาราม อ.เมอื ง จ.นครพนม เม่อื วนั ที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒”
สำ� หรบั อบุ ายธรรมกรรมฐานต่างๆ ทห่ี ลวงปฝู่ นั้ อาจาโร ไดส้ อนหลวงตาค�ำดนี ้ัน ทา่ น
เมตตาเลา่ ว่า กรรมฐานท่พี ระอาจารย์ (หลวงปู่ฝน้ั ) อบรมศิษย์ โดยทวั่ ไปแลว้ สว่ นมากเน้นหนักใน
พทุ ธานสุ สติ กับ กายคตาสติ คอื สอนให้บริกรรมพทุ โธเปน็ อารมณ์ ในทุกอิริยาบถใหม้ สี ติกำ� หนด
ร้กู าย รจู้ ิต อยเู่ สมอ จะเป็นการยืนกำ� หนด เดนิ จงกรม นงั่ ภาวนา หรอื นอนสีหไสยาสน์ภาวนาก็ให้
มสี ติระลกึ รอู้ ยูต่ ลอดเวลา จนกวา่ ความรูก้ ับสติทรี่ ะลกึ สมั พนั ธเ์ ป็นอันเดยี วกันเปน็ สติ ชาคโร คอื
จิตต่ืนอยู่ หรือสวา่ งอย่เู ปน็ นิจ เปน็ จติ ท่ปี ราศจากนิวรณ์ จิตก็จะตง้ั มัน่ เปน็ สมาธิ สมาธิํ ภิกขฺ เว
ภาเวถ สมาหิโต ยถาภตู ํ ปชานาติ ภกิ ษุเมือ่ สมาธติ ้ังมั่นแลว้ ยอ่ มรตู้ ามความเปน็ จริง
เมือ่ ความรู้ รตู้ ามความเปน็ จริงของสภาวธรรมโดยรอบ คอื บรบิ รู ณ์แล้ว จติ กจ็ ะพ้นจาก
อารมณค์ รอบงำ� หรือ ดอง ทีเ่ รยี กว่า “อาสวะ” น้เี ปน็ หลกั ปฏบิ ตั ิโดยยอ่ ทสี่ อนทวั่ ๆ ไปในสำ� นกั นี้
และปรากฏวา่ ไดผ้ ลเปน็ ทน่ี า่ พอใจสำ� หรบั ศษิ ยผ์ ู้ใคร่ในการปฏิบตั ิจริง แมค้ ฤหสั ถท์ มี่ ีภารกจิ ในการ
ครองเรือนก็สามารถปฏิบัติได้ตามก�ำลัง เพียงแต่ตั้งสัจจะไว้ว่า เราเกิดข้ึนมาคร้ังน้ีจะพยายามส่ังสม
ความดีทุกวถิ ีทางอย่างงา่ ยๆ ก็คอื การภาวนา เม่อื ว่างจากภารกิจกเ็ อาเสียนิดหน่ึง โดยการตง้ั สติ
ระลึก จะใชก้ ริ ยิ ากาย หรือวาจากไ็ ด้ เช่น ไหว้พระสวดมนตเ์ ล็กน้อยแลว้ ก็ภาวนา โดยระลกึ
กำ� หนดดู ใหร้ ูก้ ายรู้จิต เพ่ือช�ำระอารมณ์ทเี่ ศรา้ หมองของจิตออกไป ผลกค็ อื ความสะอาดผอ่ งใส
อันเป็นสง่ิ ที่ทุกดวงจติ ต้องการ จึงเป็นส่ิงที่ควรพยายามไวใ้ ห้เป็นสมบัติของตน เพราะว่าจติ นีผ้ อ่ งใส
แตก่ ็หมองเศรา้ ไดเ้ พราะอปุ กิเลสทจี่ รมา จติ น้ีผ่องใส แตห่ ลดุ พ้นไดเ้ พราะละอุปกิเลสท่ีจรมา
การฝึกหัดปฏิบัติ อบรมจิตท่ีจะให้ธรรมเข้าถึงจิตน้ีน้ัน ต้องอาศัยการท�ำจริงและต้องมี
กลั ยาณมติ ร การท�ำจริง เรยี กว่า สัจจบารมี คือเม่ือตงั้ จติ ว่า เม่อื จะประพฤตปิ ฏบิ ตั ิแลว้ ต้องมีสติ
ควบคุมการท�ำ การพดู การคดิ การกระท�ำด้วยกายนั้น จะเป็นการกระท�ำโดยอิรยิ าบถยนื หรือเดิน
หรือนัง่ หรอื นอน ต้องมีสติควบคู่รทู้ ่ัวอยู่ในอริ ยิ าบถน้ัน การกระท�ำด้วยวาจาค�ำพูด กต็ อ้ งมีสติ
ระลึกรูอ้ ยใู่ นการพูดนน้ั ๆ การกระทำ� ดว้ ยจติ คอื การคิด จะเปน็ การบริกรรมภาวนาอยู่ในพทุ โธ
ก็ตาม จะเป็นการคดิ พจิ ารณาแยกธาตุขันธอ์ ยูใ่ นรูปในนาม คอื ในธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ก็ตาม ตอ้ งมสี ติ
ก�ำกบั ท�ำงานจรงิ อย่ใู นสิ่งน้นั ๆ เมื่อใช้ทัง้ ความเพียรบวกกับความจรงิ โดยมสี ตเิ ปน็ ผคู้ วบคุมในการ
ฝึกหัดปฏิบตั อิ บรมจิต ไมช่ า้ ธรรมกจ็ ะเข้าถึงจิต หรอื จะเรียกว่าจิตเขา้ ถึงธรรมะกไ็ ด ้
เพราะการกระท�ำดว้ ยกาย วาจา จติ บอ่ ยๆ หรือต่อเนือ่ งกันไม่ขาดช่วง ไมข่ าดตอน ส่งิ ท่ี
กระทำ� นนั้ กจ็ ะเขา้ ถงึ จติ หรอื จิตก็จะเห็นสง่ิ น้นั ตัวอย่างเชน่ การเรยี นหนังสอื การเขียนภาพต่างๆ
คร้งั แรกหดั เขียนหัดอ่านตามตัวอย่าง หรอื ตามครูผบู้ อกผู้นำ� แต่พอตวั หนงั สือหรือภาพเหล่าน้ัน
221
เขา้ ถงึ จิต จติ เห็นแล้ว ถงึ ส่งิ เหล่านั้นจะอันตรธานหายไปหมดแล้ว จติ กส็ ามารถส่งั ใหพ้ ดู ใหท้ �ำได้
อยา่ งถูกต้อง จะเรียกว่าด้วยหนงั สอื หรือภาพเหล่าน้นั ถึงจติ หรอื จิตบันทกึ สงิ่ เหล่าน้ันไว้ดว้ ยการ
เหน็ กค็ งไมผ่ ดิ เมอื่ ธรรมะเข้าถึงจติ หรือจติ เหน็ ธรรมแลว้ ก็จะเหน็ สภาพธรรมทั้งหมดทง้ั ปวง ทัง้ ท่ี
เรียกวา่ กศุ ลธรรม และ อกุศลธรรม วา่ เป็นเพยี งสภาพของธรรมชาติเทา่ นนั้ ”
หลวงตาค�ำดี ทา่ นได้อยศู่ กึ ษาขอ้ วตั รปฏิบตั ิ ปฏิบัติธรรมกรรมฐานอยู่กบั หลวงปฝู่ ้นั เป็น
เวลา ๔ พรรษา ครนั้ พอทราบถงึ ขอ้ วตั รปฏบิ ตั ิและอุบายธรรมทงั้ หลาย รจู้ กั หลักพระวินัยหนกั เบา
พอที่จะรักษาตัวเองไดแ้ ล้ว ท่านก็ไดก้ ราบลาหลวงป่ฝู ้ัน เพื่อออกเท่ียวเดนิ ธดุ งคต์ ่อไป”
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลังออกพรรษา หลวงปูผ่ า่ น ปญฺาปทโี ป ท่านเปน็ ศิษย์องค์หนึง่ ของ
หลวงปมู่ ่ัน ขณะทา่ นบวชได้ ๓ พรรษา ก็ได้มาศกึ ษาปฏิบตั ธิ รรมกบั หลวงปฝู่ ั้น ทวี่ ดั ปา่ ภูธรพิทกั ษ์
หลวงปู่เทศนอ์ บรมพระเณรทุกวัน ทา่ นเทศน์เร่อื ง “การท�ำจติ ใหม้ ีสมรรถภาพ” โดยทา่ นอธิบาย
ว่า “ให้เพ่งรา่ งกาย (กายคตาสติ เพ่งใหต้ ดิ ตา เมอื่ ตดิ ตาแลว้ ให้แยกออกเปน็ ส่วนๆ แลว้
ปลงลง เพ่งจนช�ำนาญสามารถท�ำไดร้ วดเร็ว)” ทา่ นสอนเรอื่ งนท้ี ำ� ให้หลวงปูผ่ ่านติดใจมาก เป็น
เหตุใหก้ ารภาวนาตอ่ มาหลวงปู่ผา่ นพยายามจะเพง่ รา่ งกายนี้อยูเ่ สมอ ส่วนหลวงปฝู่ ้นั ก็ท�ำเชน่ กนั
จนมีความช�ำนาญ ทา่ นมกี �ำลังจติ ทีก่ ลา้ แข็งมากเปน็ ทีย่ อมรับในหมู่พระกรรมฐาน
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พระอาจารย์ใหญ่ม่ันมรณภาพ
ในบั้นปลายชีวติ ของหลวงป่มู ่ัน ภูริทตโฺ ต ท่านพ�ำนกั จำ� พรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำ� บล
นาใน อ�ำเภอพรรณานคิ ม จงั หวดั สกลนคร เป็นแห่งสุดทา้ ย บา้ นหนองผอื เปน็ หมบู่ ้านเลก็ ๆ อยู่
หา่ งไกลตวั จงั หวัดสกลนคร ชาวบา้ นหนองผือดูแลเอาใจใส่ครบู าอาจารย์พระเณรเป็นอยา่ งดี
กอ่ นมรณภาพไม่กว่ี นั หลวงปมู่ นั่ ท่านบอกใหค้ ณะศิษย์หามท่านออกไปมรณภาพที่วัดปา่ –
สทุ ธาวาส ในเมืองสกลนคร เพราะถ้ามรณภาพทว่ี ดั ปา่ บ้านหนองผอื ทัง้ พระและผ้คู นจะตอ้ ง
หล่งั ไหลไปงานศพทา่ นอย่างมากมหาศาล พวกบรรดาสตั ว์ตา่ งๆ กจ็ ะถกู ฆา่ เพือ่ น�ำมาประกอบ
อาหารเลีย้ งดูกนั ซึง่ ไม่สมควรเลย ถ้าหากเป็นท่วี ัดปา่ สุทธาวาส ซงึ่ อยใู่ นเมอื ง มตี ลาดจำ� หน่าย
เนื้อสัตว์อยู่แล้ว ไม่ต้องฆ่าสัตว์เพ่ืองานของท่านโดยเฉพาะ คณะศิษย์ได้จัดการย้ายท่านมาถึง
วัดป่าสุทธาวาส ในตอนเย็น วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ และทา่ นก็มรณภาพในคนื นั้นเอง
ซ่งึ เป็นเวลาประมาณตี ๒ เศษ ของเชา้ วนั ท่ี ๑๑ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๙๒
ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พอออกพรรษา หลงั หมดธุระเสร็จงานกฐนิ แล้ว หลวงปฝู่ น้ั ทา่ นกร็ ีบ
เดนิ ทางไปกราบเยีย่ มทา่ นพระอาจารยใ์ หญ่มนั่ ด้วยความเปน็ หว่ ง พอไปถึงกลางทางได้ทราบว่า
ท่านย้ายไปพกั อยูว่ ดั ปา่ กลางโนนภู่แลว้ ก็รบี ติดตามไปจนพบและได้เฝา้ ดูอาการจนดึก จึงเดินทาง
กลับไปพักที่วดั ปา่ บา้ นมว่ งไข่ พอรุ่งขึ้นออกบิณฑบาตแล้วก็เลยไปวดั ปา่ กลางโนนภู่ เพ่อื กราบ
222
เยีย่ มทา่ นพระอาจารยใ์ หญ่มัน่ ด้วย เพ่อื ฉันเชา้ ด้วย ฉนั แล้วกก็ ลับไปพกั ที่วดั ปา่ บ้านม่วงไข่ พอตก
บา่ ยไดท้ ราบข่าวว่า ท่านพระอาจารย์ใหญม่ น่ั เดินทางต่อไปถึงวดั สุทธาวาสท่ีสกลนครแล้ว จึงรีบ
ติดตามไป ในคนื วนั นัน้ ทา่ นได้เฝ้าอาการท่านพระอาจารยใ์ หญ่มนั่ อย่จู นถงึ แก่มรณภาพ ท่านเป็น
องคแ์ รกทีท่ ราบว่า วาระสดุ ทา้ ยของท่านพระอาจารย์ใหญม่ น่ั ก�ำลังจะมาถงึ ท่านได้บอกกลา่ ว
พระอาจารยต์ ่างๆ ทีไ่ ปพกั รออยใู่ นวัดนั้นให้ไปเฝ้าดใู จได้ทันเวลา
หลวงป่อู ่อน าณสิริ บันทึกเรือ่ งราวของหลวงปฝู่ ้ัน ในเหตุการณค์ รง้ั นัน้ ไวด้ งั นี้
“อาการของพระอาจารย์ม่ันครั้งน้ี ปรากฏว่าน่าวิตกกว่าทุกคราว ทางจังหวัดสกลนคร
ทราบข่าว จึงใหค้ ณุ วนั คมนามูล (หัวหน้ากรมทาง) นำ� รถยนต์ไปรบั พระอาจารยม์ ั่นไปพักทวี่ ัดป่า–
สุทธาวาส เพ่ือให้ใกล้หมอยิ่งข้ึน หลวงปู่อ่อน พระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร
อีกมากมายได้ตามไปพักท่ีวัดน้ันด้วย เป็นเหตุให้กุฏิไม่พอพักอาศัยต้องพักรวมกันท้ังพระอาจารย์
กบั พระลกู ศิษย์
แพทยผ์ รู้ ักษาไดใ้ หย้ านอนหลับแก่พระอาจารย์ม่นั ในตอนไปถึงวดั เพราะการเดนิ ทางโดย
รถยนตส์ มยั น้ันกระเทือนมาก ทา่ นคงจะเหน่ือย จงึ ตอ้ งการใหท้ า่ นไดพ้ กั ผอ่ น พระภกิ ษรุ ูปหนึ่ง
ผู้เป็นศิษย์พระอาจารย์ฝั้น ยังจ�ำเหตุการณ์ในวันน้ันได้ดีว่า หลังจากพระอาจารย์ม่ันฉันยา
นอนหลับไปแล้ว พระอาจารย์ฝั้นได้ลงจากกุฏิท่ีพระอาจารย์ม่ันพักอยู่ แล้วบอกแก่พระภิกษุ
สามเณรบางรปู วา่ ถึงเวลา ๖ โมงเย็น พระอาจารยม์ ั่นจึงจะตนื่ ให้รีบสรงนำ้� กนั แตว่ ันๆ หนอ่ ย
ส�ำหรับพระอาจารย์ฝั้นน้ัน เมื่อสรงน�้ำเสร็จก็กลับไปเฝ้าดูอาการของพระอาจารย์ม่ันอีก
จนกระทง่ั ประมาณ ๓ ทมุ่ เศษ ท่านจึงได้ลงจากกฏุ ิมาบอกวา่ พระอาจารย์ม่ันยงั ไมฟ่ น้ื ทา่ นเอง
จะพักสกั คร่หู นึง่ กอ่ น หากถงึ เวลา ๖ ทุ่มแลว้ ถ้าท่านยังหลบั อยู่กใ็ ห้พระภกิ ษุผเู้ ป็นศิษย์ปลกุ ด้วย
เพราะจะตอ้ งข้ึนไปเปลีย่ นเวรเฝา้ พระอาจารย์ม่ัน
กวา่ พระอาจารยฝ์ ั้นจะหลบั กร็ ว่ มๆ ๕ ทุ่มเขา้ ไปแลว้ พอถงึ เวลา ๖ ทุม่ เศษ ทา่ นกล็ งจาก
กุฏิแล้วเรียกน�้ำไปบ้วนปาก พอพระภิกษุผู้เป็นศิษย์ยกน�้ำเข้าไป ท่านก็เร่งว่า “เร็วๆ หน่อย”
ทา่ นบ้วนปากอย่างลวกๆ แลว้ รีบไปทีก่ ุฏิพระอาจารย์ม่ันทนั ที สกั ครูต่ อ่ จากนนั้ พระอาจารยฝ์ น้ั ก็
สัง่ ใหพ้ ระภกิ ษรุ ีบไปนมิ นต์ครบู าอาจารย์ทุกๆ องค์ ไปพรอ้ มกนั ทกี่ ฏุ ิที่พกั พระอาจารยม์ ่ันโดยดว่ น
เม่ือศิษย์ช้ันผู้ใหญ่ของพระอาจารย์ม่ันไปรวมพร้อมกันทุกรูปแล้ว ถึงเวลาประมาณตี ๒ เศษ
พระอาจารยม์ ั่นกถ็ งึ แกม่ รณภาพด้วยอาการสงบ ท่ามกลางบรรดาสานศุ ิษย์ท่รี ายล้อมเฝ้าดูอาการ
อยู่ ณ ที่นน้ั หลวงป่มู ั่น ภูริทตโฺ ต ทา่ นจากไปดว้ ยอาการท่สี งบจรงิ ๆ แมแ้ ต่ศิษย์ทอี่ ยเู่ ฝา้ ล้อมรอบก็
ไมม่ ีทา่ นใดบอกว่า หลวงปู่ทา่ นจากไปเม่ือเวลาใดแน่ ได้แต่ประมาณเอา”
ในคราวหลวงปมู่ ัน่ มรณกาล หลวงปหู่ ล้า เขมปตโฺ ต บันทกึ ไว้ดงั น้ี
223
“ทา่ นเจ้าคุณธรรมเจดยี ์ ปรารภวา่ “พวกเราตอ้ งอยูร่ ะเบียงนอกหอ้ ง ปล่อยให้ลกู ศษิ ย์
องค์ท่านผ้โู ชกโชนปฏบิ ัตมิ ีสิทธปิ ลงธรรมสังเวชอาจารย์ใหญ่ เพราะหอ้ งกแ็ คบ ถ้าพวกเราชงิ เข้าไปก็
ไม่เปน็ ธรรม” ตกลงอยใู่ นห้องคอยจ้องดูลมออกเข้าของหลวงปู่ ๖ องค์ ๗ กับหลวงปู่ฝ้ัน
หลวงป่ฝู ัน้ น่งั ห่างองค์หลวงปูม่ ่ันประมาณวาหน่ึงต่างหาก ผินหน้ามาทางองค์หลวงปู่ใหญ่
อยูข่ ้างหลังพระอาจารย์กงมา หลวงปู่ฝน้ั น้ันองคท์ า่ นนัง่ ขดั สมาธภิ าวนาอยนู่ ิง่ ๆ พวกที่เขา้ ควิ นง่ั
รอบกายขององค์หลวงปมู่ ่ัน หา่ งจากกายขององค์หลวงปมู่ ่ัน กป็ ระมาณฝา่ มือ พระอาจารย์กงมานั่ง
อยทู่ างขวาขององค์หลวงป่ทู ่นี อนตะแคงขวานดิ หนอ่ ย เพยี งไหลข่ ององค์หลวงปู่ พระอาจารย–์
มหาบัวนั่งอยู่เพียงบั้นเอวขององค์หลวงปู่ ข้าพเจ้า (หลวงปู่หล้า) นั่งอยู่ใต้ฝ่าเท้ากับท่านสีหา
ครูบาทองค�ำน่ังอยู่เพียงหัวเข่าด้านหลังขององค์หลวงปู่ ครูบาวันนั่งอยู่เพียงบั้นเอวข้ึนไปหาอก
ขององคห์ ลวงปู่ ต่างกน็ ง่ิ จ้องดลู มขององค์ท่านอยู่ ประมาณสกั ๒๐ นาที องค์ทา่ นกส็ ิ้นลมปราณ
ไปเงียบๆ”
ในงานประชุมเพลิงหลวงปู่ม่ัน ซึ่งเป็นงานใหญ่มากของวงกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ต่าง
ระลึกถึงพระคุณของหลวงปู่ม่ัน เพราะการประพฤติปฏิบัติธรรมจ�ำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์รู้จริง
คอยช้ีนำ� หลวงปู่มัน่ ท่านเปน็ ผ้ชู ี้นำ� ทางธรรม ชี้ทางออกให้ ท่านจะคอยแนะน�ำ คอยตอกยำ�้ ให้
จนบรรดาพระศษิ ยเ์ กดิ ความกา้ วหน้าในธรรมปฏบิ ตั ไิ ด้บรรลุอรยิ ธรรมข้นั ต่างๆ เปน็ พระอรหนั ตก์ ็
มากมายหลายองค์ ตา่ งกล็ งใจในหลวงปู่มั่น แม้ชวี ิตกย็ อมสละแทนทา่ นได้ ในงานน้ีตา่ งไดเ้ ข้ามา
ช่วยงานประชุมเพลิงศพให้ส�ำเร็จลุล่วง หลวงปู่ฝั้นท่านเป็นครูบาอาจารย์องค์หน่ึงท่ีเคารพบูชา
ท่านลงใจในหลวงปู่ม่ัน ในขณะน้ันท่านรับหน้าท่ีเป็นหัวหน้างานองค์หน่ึงคอยเตรียมงานต่างๆ
อย่างไมเ่ หน็ แก่เหน็ดแกเ่ หนอื่ ย แมเ้ หนอ่ื ยทา่ นก็ทนเอาจนงานแล้วเสร็จ
ทา่ นอาจารย์ฝั้นมพี ลงั จติ มาก
หลวงปู่ฝ้นั อาจาโร ทา่ นมพี ลงั จิตเด่นมาก โดย องคห์ ลวงตาพระมหาบวั เทศน์ไว้ดังนี้
“ในสมัยปัจจบุ นั ที่เปน็ ลูกศิษยห์ ลวงปู่ม่นั ทีเ่ ด่นๆ ทางกำ� ลังจิตก็คือหลวงป่ฝู ั้น ท่านพอ่ ลี
สององคเ์ ดน่ มาก แตท่ างด้านจติ ใจธรรมะน้ันเป็นอกี อยา่ งหนง่ึ นะ นี่หมายถึงการแสดงออกแปลกๆ
ให้โลกไดเ้ หน็ คอื หลวงปฝู่ น้ั กับทา่ นอาจารย์ลีสององค์ เราจะเล่าใหฟ้ ัง เร่อื งมนั ตวั มนั คกึ มันคะนอง
นน่ั ละ่ ไม่มีใครดดั ได้ เอาศาสนาดดั เอา วันนนั้ ทา่ นอาจารยฝ์ น้ั ท่านพาพวกลูกศิษย์ลูกหาประชาชน
ญาตโิ ยม – พระเณรสานขัดแตะ ทจ่ี ะเผาศพหลวงปูม่ ัน่ เรา ทา่ นเปน็ หัวหนา้ งานควบคุมงาน
แล้วอยู่ๆ ก็มีเด็กผู้หญิงสองคนคึกคะนองขับจักรยานเข้ามานี่ พระท่านก็สานขัดแตะอยู่
ท่านอาจารย์ฝั้นเป็นหัวหน้า อยู่ธรรมดาๆ มันก็ขับรถมานี่ สะเปะสะปะมาน่ี เฉียดพระมาน่ี
ท่านเลย “มนั อย่างไรเด็กเหล่าน”้ี ทา่ นวา่ อยา่ งนนั้ นะ “มนั ไมร่ ู้ภาษีภาษาอะไร” พอว่าอยา่ งนน้ั
224
ท่านบอกว่า “เอาจะใหม้ นั ล้มให้ดู” ทา่ นว่าอย่างน้นั นะ “จะไม่ให้เจ็บ” ท่านบอกอย่างนนั้ นะ
“จะใหม้ นั ล้มใหด้ ู ขายหนา้ มนั สกั หน่อย” ทา่ นว่าอย่างนนั้ แต่ไมใ่ หเ้ จบ็ ท่านบอกอยา่ งนัน้ นะ
ทีนีพ้ ระเณรก็ปล่อยหมด คอยจอ้ เลย เพราะทา่ นพูดเสยี งดงั ด้วยนะ “มันเกง่ นักเดก็ เหลา่ น้ี
นะ เอาศาสนาปราบมนั ” ขับมาสะเปะสะปะมาน่ี แลว้ เฉียดพระมานี่นะ ท่านก็น่งั อยนู่ ้นั “มัน
อยา่ งไรเด็กเหลา่ น้ีน่ะ เอาๆ จะเอาใหม้ นั ลม้ ให้ดู จะไม่ใหเ้ จบ็ ” ท่านยงั บอกไว้ด้วยนะบอกไม่ใหเ้ จ็บ
แตจ่ ะใหม้ ันล้ม ใหม้ ันขายหนา้ มัน พูดง่ายๆ พอออกไปก็ลงตมู เลย ทนี ี้พระเณรหัวเราะกนั ลนั่
เปดิ เลย ปา่ นน้ีมันกลบั มาแลว้ ยังไมร่ นู้ ะ เห็นไหมละ่ พอว่าอย่างนัน้ เหน็ ไหมล่ะ บาปมี บญุ มี
มาประมาทได้เหรอ พอมนั ล้มลงตอ่ หนา้ พระ นนั่ เหน็ ไหมล่ะ บาปมี บญุ มี มาประมาทไดเ้ หรอ
ท่านว่า ท่านบอกว่าจะใหม้ นั ลม้ ให้ดู พระเณรไดย้ นิ หมดเลย เฉยี ดพระมาน่มี ันคึกคะนอง
พอมันเฉียดมาหาท่านอาจารย์ฝั้น “มันอย่างไรเด็กเหล่านี้น่ะ” ท่านว่าอย่างนั้นนะ
“ไม่รจู้ ักอะไรกนั ” พอวา่ อยา่ งนั้นเขาก็นง่ั รถจกั รยานไป เอาจะใหม้ นั ลม้ ให้ดแู ตไ่ ม่ให้เจบ็ ไปนั่นก็
ลม้ ทั้งสองตอ่ หนา้ พระ ทีน้พี ระจอ้ อยู่แล้วกำ� ลงั สานขัดแตะปล่อยมือหมด จอ้ คอย...เพราะฟังเสียง
คำ� พูดท่าน คอยดจู งั หวะมนั จะออกตามท่ที ่านสง่ั พอว่ากต็ มู เลย อู๊ย ! มันอายมากนะนี่ แกก้ ันตก
กับมนั ทะลง่ึ พอไปแลว้ เห็นไหม บาปมี บุญมี มาประมาทได้เหรอ ท่านอาจารยฝ์ ้นั มีพลังจติ มาก
แรง ท่านอาจารย์ฝั้น – ท่านอาจารย์ลี บรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นที่เด่นมากทางพลังจิตนี้
หมายถึง ฤทธ์ิออกมาแสดง ส่วนฤทธ์ิทางใจในอรรถในธรรมต่างคนต่างมีอยู่เงียบๆ แต่การ
แสดงออกนมี้ ีเปน็ บางองค์ ทา่ นอาจารยฝ์ ้นั เดน่ ชดั มากทเี ดยี ว…
พิลึกจริงๆ ท่านอาจารย์ฝั้นนเ้ี กง่ มาก ถ้าพูดถึงเรอ่ื งกระแสจิต ทา่ นพดู ให้ฟังตอนเผาศพ
หลวงปมู่ ่ันเรานี้นะ ตอนนั้นเขามารับจา้ งให้คนขึน้ เครอ่ื งบนิ ๒ นาทีตอ่ ๔๒ บาท เขากม็ านมิ นต์
ท่านไปขึ้น เขาไมใ่ ห้จ้างแหละ ท่านก็ไม่คิดอยากขนึ้ อะไร เวลานกี้ ำ� ลังว่าง เขามาเปดิ โอกาสให้
รบั จา้ ง ใหค้ นขึ้นน้ีแหละ ท่านอาจารย์ไม่ต้อง ให้ขน้ึ สะดวกสบายไปเท่ยี วดูทน่ี ัน่ ทีน่ ี่บ้าง มานมิ นต์
ท่านเลยไป ทา่ นว่านะ ไปเขาก็ไมไ่ ด้ไปธรรมดาตงั้ เกอื บ ๓๐ นาทไี ปหมดถึงอุบลฯ ไปหมดแถวภาค
อสี านนนั่ นะ่ พาท่านตระเวน ทา่ นกด็ นู ้นั ดนู ้ีไป บทเวลาทา่ นจะพูดนะ แต่เรอื่ งเครอ่ื งน้ที ่านจะ
ไมใ่ หจ้ ิตเข้า ทา่ นวา่ งน้ั นะ คือมานีก้ ใ็ ห้ผ่านเหมอื นว่าดนู ั้นดนู ้ใี ช้กระแสดธู รรมดานะ พอผ่าน
เครือ่ งก็ผ่านไปธรรมดาเหมอื นทั่วๆ ไป เครอื่ งบนิ เขากไ็ ปของเขา ถา้ จ่อเข้านน้ั ไมไ่ ด้ พังทงั้ เขา
ทัง้ เรา ทา่ นวา่ ง้ีนะ อย่างน้ันล่ะ อำ� นาจของจติ ท่าน เขาพาไปต้ัง ๓๐ นาที นนู่ อบุ งอุบลฯ ทไ่ี หน
ไปหมด จนกระทั่งเขาพาลงเอง ว่าง้นั แล้วท่านวา่ เครื่องบนิ เครือ่ งน้ีจะไม่เขา้ เลยจิต จะผา่ น
ธรรมดา ถา้ ธรรมดาก็เป็นธรรมดา ถ้าจอ่ ปบ๊ั พุง่ เลย ท่านว่างนั้ ”
225
ท่านทรงอรยิ ธรรมขั้นพระอนาคามี (ตน้ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓)
หลังงานประชมุ เพลงิ ศพหลวงป่มู ่นั ภูรทิ ตฺโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร บรรลุอริยธรรมขั้นสาม
คือ ข้ันของพระอนาคามี ที่วัดป่าภูธรพิทกั ษ์ โดยองค์หลวงตาพระมหาบัวเทศนไ์ วด้ งั นี้
“เรื่องหลวงปู่ฝ้ัน ทา่ นเตรยี มพรอ้ มมาแล้วตัง้ แต่หลังจากถวายเพลงิ หลวงปูม่ น่ั เพราะท่าน
เป็นหวั หน้าใหญอ่ ยู่นน่ั คอยดกู ารงานทกุ อยา่ ง ทกุ ขล์ �ำบากขนาดไหนกท็ นเอา ทนเพ่ือครูบา–
อาจารยจ์ ริงๆ พองานเสร็จแล้ว เราก็สลบไสล เราก็รีบมา ทา่ นก็เลา่ ใหฟ้ ังต่อหน้าตอ่ ตาเลยนะ
พยายามจะเขา้ หาทา่ น โดยเฉพาะจะพูดอรรถพูดธรรม ให้ถงึ เหตุถึงผลตอ่ กันโดยเฉพาะ ไม่มีเวลา
เพราะท่านมลี ูกศษิ ยล์ ูกหาไม่มากกพ็ ระเณรอยูน่ ่ัน เราจะพดู เฉพาะกับท่านในธุระอนั ส�ำคัญๆ ไมม่ ี
เวลาจะพูด แลว้ พอดที า่ นพดู ให้ฟังเอง ท่มี นั ชัดเจนนะ ทา่ นเล่าใหฟ้ งั ทา่ นจะสสบไสลมาจาก
วดั สทุ ธาวาส พยายามอุตสา่ หต์ ะเกยี กตะกายงานของหลวงปู่มนั่ ใหเ้ สรจ็ เจ้าของเป็นยังไงก็ทนเอา
พองานเสรจ็ ปบั๊ ทา่ นก็ออกเลย พอมานจี้ ติ มันเพียบเตม็ ทแี่ ล้ว ท้ังอยากพักผอ่ น ร่างกาย
ก็เพยี บเต็มท่ี มากเ็ ข้าท่ีเลย ทา่ นเลา่ ใหฟ้ งั เวลานนั้ มพี ระอยสู่ ององค์ เวลาเราจะพดู กนั แบบ
ถงึ พริกถงึ ขิง เหมือนกบั ว่าการตบ การตอ่ ย การหาความจรงิ เขา้ ใจมัย้ เราก็ไมอ่ ยากให้พระ
ท้ังหลายได้ฟัง เพราะระหว่างลูกศษิ ย์กบั อาจารย์ พดู กนั เฉพาะสองต่อสอง ถา้ ควรตำ� หนกิ เ็ อากนั
ตรงนนั้ ควรชมกนั ตรงไหน ก็เอากนั ตรงนั้น ทีนีก้ ็มพี ระอยูน่ ั่นสององค์สามองค์ จะคยุ อะไรกบั ทา่ น
โดยเฉพาะ ถามทา่ นโดยเฉพาะก็ไม่มเี วลา ทา่ นกม็ าเลา่ ให้ฟงั เสยี เอง เหตทุ ีจ่ ำ� เงอื่ นได้ ทา่ นมาเล่า
ขั้นท่ีมา ถงึ วดั แลว้ มนั จะสลบไสล จติ เจา้ ของมนั เลย มนั จะไป มันจะไม่อยู่ พอจติ รวมเขา้ มาผงึ
เหลอื แต่ความสวา่ งไสวจา้ อยูภ่ ายใน
ท่านก็พดู ตามเรอื่ งของทา่ น แตเ่ รากน็ ัง่ ฟงั อยู่น่ี เพราะต้งั ตาอยแู่ ล้วท่จี ะต่อยกัน แตน่ ่ไี มม่ ี
โอกาส ระหว่างลูกศษิ ยก์ ับอาจารย์ ทา่ นอาจารยฝ์ ั้นเปน็ อาจารย์ เรากเ็ ปน็ ลูกศษิ ย์ ลกู ศษิ ยก์ ับครู
ต่อยกนั ฝึกซอ้ มกนั เป็นอะไรไป ตัง้ แตน่ ักมวยเขายงั ฝกึ ซ้อมกนั ใช่มั้ย น่ลี กู ศษิ ยก์ ับครูเวลาจะเอากนั
ถงึ พรกิ ถงึ ขิงก็ตอ้ งเอากนั อย่างน้นั พอท่านเล่าถึงน่ีใหฟ้ งั ถงึ ข้ันที่จติ มันจะไป จิตมนั หดเขา้ มาหมด
ยงั เหลอื ความสวา่ งไสวภายในใจจา้ อยนู่ ้ี สว่างจ้า มนั จบั ไดแ้ ลว้ ทนั ทีทีเดียวไมต่ ้องพดู มาก
จะไปถงึ จดุ ท่เี ราตอ้ งการอยแู่ ล้ว ทีจ่ ะกราบเรยี นถามใหท้ ่านเลา่ เรอื่ งธรรมเหล่านนั้ ใหฟ้ งั พอดที ่าน
กบ็ อกว่า จิตมันรวมเข้าไปแล้ว มนั มาอยูน่ ผี้ อ่ งใสแจ๋วอย่ใู นนี้ แสงใสแจ๋วน่ีกจ็ า้ ออกจากความ
ผ่องใส จติ สว่างไสว ทางนีม้ ันกข็ ้ึนทนั ที เห็นมย้ั ล่ะ น่ีล่ะธรรม ไมไ่ ด้พูดว่าเคารพหรือไมเ่ คารพ
ธรรมเหนอื กว่าความเคารพเปน็ ไหนๆ พอทา่ นพดู ทางนัน้ ทางน้กี ข็ ึน้ รบั ทันที
พอทา่ นพูดวา่ ถึงจดุ นเ้ี ป็นความสงา่ ผ่องใสจ้าอยนู่ ี้เลย ทางนแี้ ทนท่ีจะชม ไม่ไดช้ ม
ยงั ตายอย่นู ่เี หรอ นกึ ว่าผ่านไปถงึ ไหนแลว้ มันตอบกันภายในใจ เราเสยี ดาย เราอยากจะพดู กับ
226
ท่านสกั ค�ำ พอพูดอกี สกั ค�ำ ถวายธรรมะทา่ นจะขนึ้ ทนั ทีไมน่ าน แต่มนั ก็เสียดายทีพ่ ระไปย่งุ
ไม่ได้พูดถึงพริกถึงขิง แต่ยังไงก็ตาม เราก็ถือเอาความแน่นอนว่า จิตนี่เข้าถึงข้ันน้ีแล้วยังไง
ก็ไม่อยู่จะพุ่งเลย เป็นแต่เพียงช้ากับเร็ว แต่ท่ีเรื่องที่จะถอยไม่มี มีแต่เพ่ือความหลุดพ้น
โดยถา่ ยเดยี ว ถา้ มีผู้แนะป๊ับจะเรว็ นะ ผึงเลยทนั ที ถ้าไมม่ ผี ้แู นะกไ็ ป ไปตามล�ำพงั เอง น่ีกไ็ ป
แต่จะช้า นี่ถงึ จดุ นท้ี ที่ า่ นวา่ ใสแจ๋ว สว่างจา้ แทนท่จี ะชม ไม่ได้ชม ยังนอนตายอย่นู เี่ หรอ ฟงั สิ
มันข้ึนรับกัน เสียดายไมไ่ ดถ้ วายเด๋ียวนัน้ พระกอ็ ยทู่ ีน่ ัน่ ท�ำยังไงนะ่ เวลาพูดกับสมาคมก็ต้อง
มสี งู มตี ำ่� ธรรมดา”
พระนิพพานอยูฟ่ ากตาย – ธุดงคข์ น้ึ ถ�้ำพระภูววั
หลวงปอู่ อ่ น าณสริ ิ บนั ทึก ดงั นี้
“บรรดาศิษยช์ ้ันผู้ใหญ่ของพระอาจารย์มั่น ได้ประชุมเพอ่ื จดั งานศพ และไดเ้ ตรยี มงานกัน
ถึง ๓ เดอื น จงึ กำ� หนดประชมุ เพลงิ (เมือ่ วนั องั คารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ เมรชุ ั่วคราว
วดั ปา่ สทุ ธาวาส อ�ำเภอเมอื ง จงั หวดั สกลนคร ณ สถานทีป่ ระชมุ เพลิงเปน็ สถานที่ตง้ั พระอโุ บสถ
ในปจั จุบันน)้ี
พระอาจารย์ฝั้น ได้อยู่ช่วยจัดการมาแต่ต้นจนกระท่ังประชุมเพลิงแล้วเสร็จ ต่อมา
ประมาณเดอื นมีนาคม ๒๔๙๓ พระอาจารยฝ์ น้ั ได้นำ� พระภิกษุบางรปู ออกเดนิ ธดุ งค์ไปทางจงั หวัด
นครพนม เพ่อื หาสถานที่วเิ วกทำ� ความเพียรตอ่ ไป ในการนไ้ี ดไ้ ปพักวเิ วกท่วี ดั ปา่ บา้ นท่าควาย อยู่
ประมาณ ๗ วนั แล้วเลยไปพกั วเิ วกทีภ่ กู ระแตอีก ๑๐ วัน ทภ่ี ูกระแตน้ี พระอาจารย์ฝัน้ ไดป้ รารภ
วา่ พกั ที่นอ่ี ันทจ่ี รงิ ก็ดีอยู่ แต่ผูค้ นมาเยี่ยมเยยี นมาก เปน็ การรบกวนมากเหลอื เกนิ ไม่มีโอกาสทีจ่ ะ
ท�ำความเพียรได้โดยสะดวก แล้วทา่ นก็พาพระภิกษลุ กู ศษิ ย์เดนิ ทางไปยงั ภูวัวอีกครั้งหนงึ่ โดยหวน
กลับมาพักท่วี ัดปา่ บ้านทา่ ควายอกี ครั้ง แลว้ ลงเรือขึน้ เหนือไปขน้ึ บกทบ่ี ้านท่าสีไค จากนน้ั เดินทาง
ไปพกั ท่บี ้านโสกกา่ ม คนื หนง่ึ เพื่อใหญ้ าตโิ ยมได้เตรียมเสบียงอาหารส�ำหรบั ข้นึ ภูววั
การไปวเิ วกทีภ่ วู วั ครัง้ น้ี มีพระภิกษรุ ่วมเดินทางไปดว้ ย ๑ รูป และสามเณรอีก ๑ รูป
มีเร่ืองน่าสนใจมากเรือ่ งหน่งึ ก่อนจะออกจากบา้ นท่าสีไคไปยังบ้านโสกก่าม คอื พระ–
อาจารย์ฝน้ั ไดพ้ าพระภิกษกุ บั สามเณรไปพักอย่ใู นปา่ ดงดิบอยคู่ นื หนึ่ง รงุ่ เชา้ ทา่ นถามพระภกิ ษทุ ่ี
ไปด้วยวา่ “เปน็ ยังไง เมอื่ คืนภาวนาไดด้ ไี หม ?” พระภกิ ษุรปู นัน้ กต็ อบไปตามตรงวา่ “เมอื่ คืนรู้สึก
นานเหลือเกินกว่าจะสว่าง” หลวงปู่ก็หัวเราะ แล้วพูดขึ้นว่า “มัวแต่น่ังเหงื่อแตกกลัวเสือร้องอยู่
น่ะซิ มวั แต่น่ังกลวั นอนกลวั จะไปสวรรคไ์ ปนิพพานได้อยา่ งไรกนั ละ่ ”
227
ปรากฏว่าพระภิกษุรูปน้ันไม่เป็นอันภาวนาทั้งคืนจริงๆ เพราะตลอดคืนได้ยินแต่เสียงเสือ
รอบๆ ที่พกั ถงึ ขนาดจะออกมาเดนิ จงกรมก็ไมก่ ล้า ไดแ้ ต่นั่งเหงือ่ แตกตัวสน่ั อย่ขู า้ งในม้งุ กลดทัง้ คืน”
หลวงป่ฝู ั้นไดเ้ ทศนาสงั่ สอนพระลกู ศษิ ย์ในตอนนน้ั ด้วยวา่
“...ไดเ้ คยบอกแล้วหลายครงั้ วา่ พระนพิ พานอย่ฟู ากตาย ความสขุ ก็อยฟู่ ากทกุ ข์ เราท�ำ
ความเพียรภาวนาไป พอถงึ ทกุ ข์ก็เกดิ ความกลัวทกุ ขเ์ สยี แล้ว แลว้ เม่ือใดจะพน้ ทกุ ขไ์ ปได้เลา่
พาไปอยูป่ ่าชา้ กก็ ลัวผี พามาอยู่ในดงกก็ ลัวเสือ การกลัวผกี ด็ ี การกลวั เสอื กด็ ี นั่นไมใ่ ช่กลวั ตาย
หรอกหรือ ลองนัง่ ภาวนาดูซิว่า เสือมันจะมาคาบคอไปกินจรงิ ๆ ไหม ? การกลัวควรกลวั แต่ใน
ทางทผี่ ดิ คอื กลัวความผิด ไม่กระท�ำผดิ กลัวว่าตนเองจะไมพ่ น้ จากวฏั ทุกข์ แล้วรบี เรง่ บ�ำเพ็ญ
เพียรเข้าจึงจะถกู ”
การธุดงคข์ องหลวงปู่ฝน้ั ก่อนไปภวู วั ในครั้งนั้น หลวงปูผ่ า่ น ปญฺาปทีโป เล่าไวด้ งั น้ี
“หลวงป่ผู า่ น ท่านติดตามหลวงปู่ฝ้ัน อาจาโร ไปวัดป่าบา้ นทา่ ควาย อำ� เภอเมอื ง จังหวดั
นครพนม ครั้งน้ันมพี ระอาจารย์ค�ำพอง ติสโฺ ส หลวงตาจรัส และสามเณร รว่ มเดนิ ทางไปดว้ ย
หลวงปฝู่ นั้ ทา่ นพาเดนิ ทางไปทวี่ ัดดอยธรรมเจดยี ข์ อง พระอาจารยก์ งมา จริ ปุญฺโ อยู่
๒ คืน จากนน้ั โยมเอารถมารบั ไปพักท่ีวัดป่าบ้านท่าควาย เม่ือไปอยู่วดั ปา่ บ้านทา่ ควาย หลวงปู่ฝน้ั
กำ� ลังเร่งความเพยี ร วนั หนึ่งๆ จะฉันนมเพยี ง ๑ แก้ว พระเณรท่ีตามไปดว้ ย รวมทั้งหลวงปู่ผ่าน
จึงพากันฉันวันเว้นวนั บา้ ง หลายวนั ต่อมาหลวงปูฝ่ นั้ พาเทศน์พระเวส (งานบุญพระเวส) มเี ทศน์
ท�ำบุญอย่างเดียว ไมไ่ ด้จดั แตง่ ดอกบวั ดอกผักตบ อยา่ งละ ๑,๐๐๐ ตามท่ีอื่นเขาทำ� กัน เปน็ เหตใุ ห้
พวกชาวบา้ นท่าควายไม่กลา้ มางาน เพราะกลัววา่ ท�ำไมถ่ กู วิธีแล้วจะมลี มพญามารใหญ่พดั มา มี
ญาติโยมมีศรัทธาเลือ่ มใสมานิดหน่อย ทา่ นกเ็ ทศน์จบแลว้ ทกุ อยา่ ง ไมม่ ลี มใหญ่อะไร ต่อมาไมน่ าน
ทางวัดท่หี มูบ่ ้านเขาจัดบ้าง หลวงปู่ผ่านไดไ้ ปด้วย ปรากฏว่าตอนบา่ ยมลี มพายพุ ดั ท�ำลายขา้ วของ
ในงานและกระทอ่ มเสยี หายหมด หลวงป่ผู า่ นว่านเี้ ป็นก�ำลังจติ ของหลวงป่ฝู นั้ จงึ ไมม่ อี ะไรรบกวน
เมอื่ อยบู่ า้ นทา่ ควายหลายวนั แลว้ วนั หนงึ่ ไปบณิ ฑบาต พอไปถงึ สดุ ทางบณิ ฑบาต หลวงปฝู่ น้ั
ท่านได้หยดุ ยนื แลว้ พดู วา่ “นนั่ ๆ ท่านผา่ น ท่จี ะไปภาวนา” ทนี่ ั้น คือ ภกู ระแต บ้านไผ่ลอ้ ม
๒ – ๓ วนั ต่อมา หลวงปฝู่ ้ันจงึ พาเดนิ ไปประมาณ ๕ กิโลเมตร จนกระทัง่ ถึงภูกระแต แลว้ จึง
แยกย้ายกันไปพ�ำนกั บำ� เพญ็ ภาวนา ท่ีนเี่ ป็นสถานท่ีสัปปายะ มสี ัตว์ป่ามากมาย มีแอ่งนำ้� ซับซึง่ ผุด
ออกมาจากดนิ อยู่ที่ตีนเขา พอรงุ่ เช้ามีชาวบา้ นมาเลา่ ถวายวา่ “เมอ่ื คืนฝันเห็นพวกภตู ผีปศี าจ
บนภเู ขาพากนั แตกตืน่ ยา้ ยครอบครัวหนี บอกว่าเจา้ นายมา”
หลวงปู่ฝั้น ท่านพาพระเณรภาวนาอยู่ท่ีภูกระแตระยะหนึ่ง จากนั้นท่านก็ได้เดินธุดงค์
ตอ่ ไปภวู วั สว่ นหลวงปู่ผา่ นกบั หลวงตาจรสั ไปอยู่ทีว่ ัดปา่ บา้ นทา่ ควาย”
228
การขนึ้ ธุดงค์ภวู วั ในครัง้ นั้น มีญาตโิ ยมไปส่ง ๖ – ๗ คน พร้อมเสบยี งอาหาร โดยออก
เดินทางลัดเลาะไป สองฟากทางเป็นปา่ ดงดิบท่แี สนจะรกทบึ ทางเดินก็เต็มไปดว้ ยรอยเท้าช้าง
กบั รอยเทา้ เสอื ทงั้ เกา่ และใหม่ กวา่ จะข้ึนถงึ ถ้�ำพระบนภวู ัว กต็ กบ่าย ๓ โมงกว่า พวกญาตโิ ยมได้
ช่วยกนั ซ่อมแซมทพี่ ักอาศยั และนอนคา้ งอยบู่ นน้นั ดว้ ย
คนื นน้ั หลวงปู่ฝั้นไดเ้ ทศนาอบรมให้ตัง้ ใจปฏบิ ัตธิ รรม และรกั ษาศีล ๕ ศลี ๘ จากน้ันได้น�ำ
ญาตโิ ยมนัง่ สมาธิภาวนาอยูจ่ นใกลจ้ ะตี ๒ จึงไดห้ ยดุ พกั ผอ่ น เช้าวนั รุ่งข้ึน พวกญาติโยมไดจ้ ัดการ
ท�ำอาหารใสบ่ าตร แล้วไปหาไมม้ าซอ่ มทพี่ กั ต่อ เสร็จเรยี บร้อยแล้วกพ็ ากนั ลงจากภูวัวไปตอนบา่ ย
๓ โมง บนถ้�ำพระ ภวู ัว จงึ เหลือแต่หลวงปฝู่ น้ั พระ และเณร รวม ๓ รูปเท่านน้ั หลวงปู่ พระและเณร
ไดท้ �ำความเพียรท้ังกลางวนั และกลางคืนเปน็ เวลาหลายเดอื น
ประสบอบุ ัตเิ หตุรอดตายอย่างนา่ อัศจรรย์
การบ�ำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ตามหลักของพระพุทธศาสนา จะต้อง
บ�ำเพ็ญบารมีอย่างเต็มเปี่ยมไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนกัป ผู้บ�ำเพ็ญบารมีมาเต็มเปี่ยมพร้อมท่ีจะเป็น
พระอรหันต์แลว้ ในระยะท่ีทา่ นยังไมบ่ รรลอุ ริยธรรมสงู สดุ เปน็ พระอรหันต์ ไมว่ า่ จะเกดิ เหตุการณ์
วิกฤติอนั ตรายรา้ ยแรงใดๆ อนั อาจทำ� ให้ถงึ ขนั้ เสยี ชีวิต ก็ไม่อาจท�ำให้ทา่ นถงึ แก่มรณภาพ เพราะ
อำ� นาจวาสนาบารมธี รรมคุ้มครองใหท้ า่ นแคล้วคลาดปลอดภยั นนั่ เอง
ครูบาอาจารยเ์ ทศน์ไว้ดงั น้ี
“ดสู ิ ตั้งแต่หลวงปูเ่ สาร์ หลวงปู่ม่ัน หลวงปฝู่ น้ั หลวงป่แู หวน หลวงปู่พรหม หลวงปู่ตอื้
ครูบาอาจารยท์ ี่ท่านเปน็ พระอรหนั ต์ไปท้งั หมด พระทจี่ ะเป็นพระอรหนั ต์ ทา่ นตอ้ งสร้างอ�ำนาจ
วาสนาบารมขี องทา่ นมา คำ� ว่า “สร้างอำ� นาจวาสนาบารมี” กเ็ หมอื นพระโมคคลั ลานะ พระสาร–ี
บตุ ร ท่านสรา้ งบารมีมา ทา่ นปรารถนามา...”
หลวงปูฝ่ ้ัน อาจาโร ท่านบ�ำเพญ็ บารมีมาเต็มเปย่ี มแล้ว ในชาติน้ีเปน็ ชาติสุดทา้ ยของท่าน
ทา่ นจะตอ้ งเปน็ พระอรหันต์อีกองค์หนง่ึ อยา่ งแน่นอน แมท้ า่ นจะประสบอุบตั เิ หตุรา้ ยแรงนา่ จะถงึ
ขนั้ เสยี ชีวิต ท่านกลบั รอดตายมาได้อย่างราวปาฏิหารยิ ์ โดยหลวงปอู่ อ่ น าณสิริ บนั ทึกไว้ดงั น้ี
“ในระหว่างท่ีพ�ำนักอยู่ในถ�้ำพระบนภูวัวครั้งนั้น พระอาจารย์ฝั้นได้ประสบอุบัติเหตุที่
นบั ว่าร้ายแรงท่ีสุดในชวี ติ ของท่าน กลา่ วคือ วนั หนึง่ พวกญาติโยมบา้ นดอนเสยี ด และบ้านโสกกา่ ม
ไดพ้ ากนั ขนึ้ ไปนมสั การ ตกกลางคนื พระอาจารยฝ์ ั้นไดเ้ ทศนาตามปกติ พอเช้าวันรงุ่ ข้นึ ท่านก็
ขอใหพ้ วกญาตโิ ยมพาไปชมภมู ปิ ระเทศบนภวู วั และเพือ่ ทจี่ ะแสวงหาสมนุ ไพรบางอยา่ งด้วย
229
เมือ่ ฉันจังหนั เสรจ็ กอ็ อกเดนิ ทาง โดยมีโยม ๒ คน เดนิ น�ำหนา้ พระอาจารยฝ์ ั้น และ
พระภิกษุตามหลัง ส่วนสามเณรน้ันท่านให้เฝ้าอยู่ที่พัก ท้ังหมดเดินข้ึนไปตามล�ำห้วยบางบาด
พอถึงลานหนิ ทีล่ าดชนั ขึน้ ไปขา้ งบน ระยะทางยาวประมาณ ๑๐ กว่าวา บนลานมีนำ้� ไหลรนิ ๆ และ
มีตะไคร่หนิ ขึน้ อยตู่ ามทางชนั นน้ั โดยตลอด โยม ๒ คน เดนิ น�ำหน้าขึ้นไปก่อน ท่านเดินตามขึน้ ไป
และตามด้วยพระภิกษซุ ึง่ เดนิ รงั้ ท้าย โยมทั้งสองไต่ผา่ นลานหินอันชนั ลื่นขน้ึ ไปไดแ้ ล้ว สว่ นพระ–
อาจารยฝ์ ้นั กไ็ ต่จวนจะถึงข้างบนอยแู่ ลว้ กะว่าเหลือเพียงก้าวเดียวก็จะพ้นไปได้ พอทา่ นกา้ วข้าม
รอ่ งน�้ำ พลนั ! ท่านก็ลื่นลม้ ท้ังยนื ศรี ษะฟาดกบั ลานหนิ ดังสนนั่ เสียงเหมอื นมะพรา้ วถกู ทบุ !
จากน้ันกล็ ่ืนไถลลงมาตามลานหนิ เอาศรี ษะลงมาก่อน พระลูกศิษยท์ เ่ี ดินรั้งท้ายตกใจตวั สนั่ ยืนน่ิง
อยกู่ ับท่ี จะเข้าไปชว่ ยอะไรกไ็ มไ่ ด้ เพราะท่านเองก็ประคองตวั แทบไมอ่ ยู่เหมือนกัน ไดแ้ ตย่ ืนตัวส่ัน
มองดพู ระอาจารย์ไถลผ่านหน้าไปดว้ ยความตกตะลงึ
รา่ งพระอาจารย์ตกไถลลงไปได้ประมาณ ๖ วา ก็ไปตกหลุมหนิ ซึ่งเปน็ แอ่งแห่งหน่งึ แต่ดว้ ย
ความลืน่ ของตะไคร่ ทา่ นจึงไม่ได้หยดุ อย่เู พียงเท่านัน้ กลับหมุนตัวในลักษณะเอาศีรษะข้นึ แล้วลนื่
ไถลลงต่อไปอีก ข้างลา่ งมชี ่องหนิ ใหญค่ ือกันกับตัวคน น้�ำท่ีไหลลงมาจากหนา้ ผาไปรวมหล่นอยใู่ น
ชอ่ งนั้น กลายเปน็ หลมุ น้�ำวน หากทา่ นไถลไปถึงชอ่ งนน้ั แล้วไหลพรวดลงในช่องหิน กไ็ มต่ อ้ งสงสยั
มที างเดียวคอื ต้องมรณภาพอยา่ งแน่นอน เหลือเชอื่ ! คงเปน็ ดว้ ยอ�ำนาจบุญ ก่อนร่างท่านจะถึง
ชอ่ งหิน หลวงปกู่ ลับตั้งหลกั ลกุ ขนึ้ ไดแ้ ลว้ ทา่ นก็เดินขึ้นไปตามทางเดมิ ทร่ี า่ งทา่ นหล่นลงมาดว้ ย
ทา่ ทางปกติ เหมอื นไมม่ ีอะไรเกิดข้นึ พระลูกศิษยร์ ้องขอให้ทา่ นออ้ มไปขน้ึ ทางอื่น แตท่ า่ นไมย่ อม
และบอกวา่ “เมื่อมันตกมาตรงน้ี ก็ตอ้ งขน้ึ ไปตรงนี้ให้ได”้
หลวงปเู่ ดนิ ข้นึ ไปตามทางเดมิ ดว้ ยความง่ายดายอยา่ งเหลือเช่อื
“น่าอัศจรรยก์ ็ตรงท่วี ่า พระอาจารยฝ์ ้นั ไมม่ ีบาดแผลเลยแมแ้ ต่นอ้ ย ถงึ จะมถี ลอกเพียงเทา่
หวั ไม้ขีดไฟบนข้อศอก กไ็ ม่นา่ จะเรียกว่า บาดแผล”
ตกเย็น เม่ือกลบั มาถึงที่พัก หลงั จากสรงน้�ำเสรจ็ แล้ว หลวงปกู่ ็ออกเดินจงกรมตามปกติ
ตกคำ่� พระภิกษุได้เขา้ ไปถวายการปฏบิ ัติ แล้วถามอาการของท่านวา่ “ขณะท่ีศีรษะทา่ น
กระแทกหินดงั สนั่นน้ัน ท่านรูส้ ึกอย่างไรบ้าง ?”
หลวงป่ตู อบว่า “อาการกเ็ หมือนส�ำลตี กลงบนหนิ น่ันแหละ !”
พระภิกษรุ ูปน้นั ขณะนีย้ ังมชี ีวิตอยู่ มีความเห็นว่า ในขณะที่ทา่ นกำ� ลงั ลื่นล้ม กอ่ นศรี ษะ
ฟาดลานหินนัน้ ทา่ นสามารถกำ� หนดจิตได้ในชว่ั พรบิ ตา ทำ� ใหต้ ัวทา่ นเบาไดด้ งั ส�ำลีโดยฉับพลนั
เพราะท่านเคยเทศน์ส่ังสอนเสมอว่า “จิตของผู้ที่ฝึกได้ดีแล้ว ย่อมมีสติพร้อมอยู่ทุกอิริยาบถ
ไม่ว่าจะยืน เดิน นงั่ หรือนอน ถงึ แม้จะหลบั อยูก่ ห็ ลบั ดว้ ยการพักผอ่ นในสมาธิ”
230
พ.ศ. ๒๔๙๓ ตัง้ ใจจ�ำพรรษารูปเดยี วท่ถี ้ำ� พระ ภูวัว เรง่ ความเพียร
ภวู ัวเปน็ สถานท่ีวิเวกเงียบสงดั สัปปายะมาก ในอดีตเป็นสถานที่หา่ งไกลและทุรกนั ดารมาก
การเดินทางก็ล�ำบากโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน อาหารการขบฉันก็ล�ำบากต้องอาศัยชาวบ้านข้ึนมา
ท�ำถวาย ทงั้ เต็มไปดว้ ยภัยอนั ตรายจากไข้ป่า สัตว์ป่าและจากภูตผปี ศี าจ สถานทแี่ ห่งนแี้ ม้จะตอ้ ง
ประสบกบั ทกุ ข์ยากลำ� บากเพียงไร และตอ้ งเสี่ยงต่อชวี ิตเพียงไรก็ตาม แตก่ ลับเปน็ ทีป่ รารถนาของ
พระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่นั ท่ีมงุ่ ตอ่ ความหลุดพ้น
ในเรื่องอาหารการขบฉัน หลวงปู่ฝั้นส่ังสอนให้ฉันแต่พอควร พอเป็นก�ำลังให้อยู่เพ่ือ
บ�ำเพ็ญภาวนาก็พอแล้ว ถา้ วันไหนคดิ จะไม่ฉัน ก็ไม่ตอ้ งประกอบอาหาร แต่ถึงอย่างไร ท่านก็ก�ำชับ
วา่ “อย่าถึงกบั หกั โหมอดอาหารเสียเลย ใหฉ้ ันแตน่ อ้ ยกอ่ น แลว้ ค่อยๆ ผอ่ นลง ถา้ อดอาหาร
ทนั ที โดยก�ำลงั ใจไมเ่ ขม้ แข็งพอ จะเกิดโทษ” องคห์ ลวงปเู่ องก็พยายามลดอาหารลง จนกระทั่ง
บางวันไม่ฉันอะไรเลย บางทอี ดไปเป็นเวลาหลายๆ วนั
หลวงปู่ฝ้นั ไดป้ รารภกับพระและเณรวา่ ปีน้ที ่านจะจ�ำพรรษาอยู่บนภวู วั พอถงึ เดือน ๘ ก็
บอกใหพ้ ระและเณรลงจากภูววั กลบั วดั ได้ ตวั หลวงป่เู องจะจ�ำพรรษาอยู่รปู เดียวตามทีต่ ้งั ใจไว้แลว้
หลวงปฝู่ น้ั บอกพระกับเณรวา่ “บนภเู ขาเช่นน้นั ผู้ท่ีมีก�ำลงั ใจไม่เข้มแขง็ พอ อาจเกิดอนั ตรายถึง
ชีวติ ได”้ ทัง้ ยังกล่าวด้วยว่า “กอ่ นหนา้ นีม้ ีพระอาจารยม์ ั่น เปน็ ครบู าอาจารย์ และเปน็ ทีพ่ งึ่ แก่
สานุศิษย์ทั้งหลายอยู่ บัดนี้ท่านล่วงลับไปแล้ว เราจ�ำเป็นต้องรีบเร่งท�ำความเพียรเพ่ือปฏิบัติ
เอาตัวรอดกอ่ น”
ภูวัว เป็นสถานท่นี ่าหวาดหวั่นสะพรึงกลัว หลวงปฝู่ น้ั ท่านจงึ เป็นหว่ งพระเณร โดยตอ่ มา
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงปขู่ าว อนาลโย ทา่ นพระอาจารยจ์ วน กุลเชฏฺโ ไดพ้ าพระเณรมาอยู่
จ�ำพรรษาท่ีภวู วั ท่านพระอาจารยจ์ วนไดเ้ ลา่ เรื่องราวแปลกๆ ของภวู ัวไว้ดงั นี้
“ในพรรษานน้ั สมยั นนั้ ภูวัว ช้าง เสอื มีมาก เขา้ มาบ่อยๆ ในเขตวัด และในสมัยนนั้ ก็มี
เรื่องราวแปลกๆ เกดิ ข้นึ มสี ัตว์ป่านานาชนดิ มีพวกผีปศี าจมันยงุ่ ยากมารบกวน พระเณรจะนอน
มันก็มาปลุกให้ท�ำความพากความเพียร บางองค์ไปดึงขาก็มี บางองค์ไปจับขาก็มี ปลุกให้ต่ืน
ท�ำความพากความเพยี ร แล้วพระเณรชอบป่วยกนั มากในพรรษานัน้ จะเปน็ เหตอุ ากาศ หรืออะไรก็
ไม่ทราบ บางครัง้ เสือสตั ว์ปา่ ก็มาก เมือ่ เป็นเช่นนหี้ ลวงปู่ขาว อนาลโย จงึ ให้ขา้ พเจา้ นำ� เร่อื งนี้ไป
พจิ ารณาดู
ขา้ พเจ้าไดไ้ ปพจิ ารณาดไู ดค้ วามเปน็ อรรถเป็นว่า “เย สนตฺ า” แปลว่า “ผสู้ งบไมม่ คี วาม
ทกุ ข์ความเดือดรอ้ น ความทกุ ข์ความเดือดร้อนกินแหนงแคลงใจภัยอนั ตรายไม่มแี กผ่ ู้สงบ” นี้
ข้าพเจ้าแปลได้ วนั ใหมจ่ ึงไปนมัสการกราบเรยี นทา่ น ทา่ นก็เลยถาม ท่านหลวงปู่ถามว่า “ไดค้ วาม
231
หรือไม่ ?” ตอบทา่ นวา่ “ได้ความ” “ว่าอย่างไร ?” ทา่ นว่า กเ็ ลยเรยี นให้ทา่ นทราบวา่ “เย สนฺตา
แปลว่า ผสู้ งบไม่มีทุกข์ภัยเดือดรอ้ น ความเดือดรอ้ น ความทุกขไ์ ม่มีแก่ผูส้ งบ” ว่าดังน้ี ขา้ พเจา้
แปลถวายทา่ น ท่านแปลว่า “จรงิ จริง ถกู มาก ถูกมาก” ท่านก็เลยยกบาลขี นึ้ วา่ “นตฺถิ สนฺตปิ รํ
สุขํ สขุ อื่นยง่ิ กวา่ ความสงบไมม่ ี” ดงั นี้ ผ้มู คี วามสงบแลว้ ไมม่ ีความทุกขค์ วามเดอื ดรอ้ นอะไรเลย
ความทกุ ขค์ วามเดือดร้อนไมม่ ีแกผ่ สู้ งบ จงึ ว่า สุขอ่นื ย่งิ กวา่ ความสงบไมม่ ี ดังนี้ “จรงิ ทีเดยี วไม่ผดิ ”
ท่านว่าอยา่ งน้นั ”
ในระยะทหี่ ลวงปูฝ่ ัน้ ทา่ นตดั สินใจจ�ำพรรษาองค์เดยี วทภี่ วู ัว เม่อื ใกลเ้ ขา้ พรรษา ปรากฏวา่
ในระยะน้นั ฝนกำ� ลงั ตกหนักทั้งกลางวนั และกลางคืน บางครัง้ ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวนั ท�ำให้
ญาติโยมไม่สามารถส่งเสบียงอาหารขึ้นมาได้ เนื่องจากพระภิกษุยังชีพด้วยปลีแข้งโดยอาศัยการ
บณิ ฑบาตเลยี้ งชพี หรอื โดยอาศัยญาติโยมท�ำอาหารมาถวาย ตามหลักพระธรรมวินัย ไมอ่ นุญาตให้
พระภิกษปุ ระกอบอาหารไว้ฉันเอง หรอื เกบ็ อาหารไวฉ้ นั ในวันตอ่ ไป
คร้ันตอ่ มา ในวนั พระใกลจ้ ะเขา้ พรรษา แมว้ ่าฝนจะตกหนักตดิ ต่อกนั หลายวัน แต่ด้วย
ความเปน็ ห่วงและด้วยศรัทธาของชาวบา้ นทม่ี ีต่อองค์หลวงปฝู่ น้ั บรรดาญาติโยมกย็ อมบุกปา่ ฝ่า
ห่าฝนข้ึนมาถวายอาหารด้วยความยากล�ำบากทุลักทุเล ในคืนน้ัน หลังจากหลวงปู่ฝั้นได้เทศนา
อบรมญาตโิ ยมแล้ว ท่านได้พจิ ารณาเห็นว่า “ถา้ จะจ�ำพรรษาอยู่ทีน่ ต่ี ่อไปแล้ว จะเปน็ ภาระหนกั ต่อ
ญาตโิ ยมเป็นอย่างมาก” วันร่งุ ขึ้น หลวงปทู่ า่ นจึงได้ตัดสนิ ใจลงจากภูวัว พาพระเณรเดนิ ทางไปหา
ทจ่ี ำ� พรรษาแหง่ อนื่ ตอ่ ไป
การเดินทางลงจากถ�้ำพระภูวัว ในคราวนั้น ประสบความยากล�ำบากยิ่งกว่าคราวก่อน
เพราะฝนตกหนกั ทำ� ใหน้ ้�ำมาก การข้ามหว้ ยขา้ มคลองซง่ึ มอี ยหู่ ลายแหง่ จึงท�ำใหท้ ุลกั ทุเลมากข้นึ
ที่นา่ หนกั ใจอกี อย่างหนึง่ ก็คือ ตัวทาก ทช่ี อบโดดมาเกาะแขง้ เกาะขาดดู กนิ เลือด โดยเฉพาะในเขต
ทีเ่ ปน็ ปา่ ดงดิบเช่นนี้ จะมกี องทัพทากชนิดนับไมถ่ ว้ นอยสู่ องขา้ งทางเลยทีเดยี ว ยังดีหนอ่ ยกอ่ น
ออกเดนิ ทาง โยมไดต้ ัดไมไ้ ผ่เอามาเหลาให้แบนคล้ายใบมดี แลว้ ถวายใหห้ ลวงปฝู่ ั้น พระ และเณร
ท�ำใหท้ ่านได้ใช้ประโยชนอ์ ยา่ งมาก คือ พอตวั ทากกระโดดเกาะแขง้ ขา ท่านกใ็ ช้ไม้ไผ่นนั้ เขย่ี ให้มนั
หลดุ ออกไปได้ โดยมนั ยงั ไมท่ ันกดั
ลงจากถำ้� พระ ภูววั สงเคราะหญ์ าตโิ ยม
เม่อื คณะของหลวงปู่ฝ้นั เดนิ ทางมาถงึ บา้ นดอนเสยี ด ทา่ นได้แวะพักเพื่อชว่ ยเหลือชาวบ้าน
ตามท่ีพวกเขานมิ นต์ไว้ อยู่ ๓ คืน เนื่องจากในระยะน้ันชาวบ้านเจ็บปว่ ยกนั มาก รวมท้งั ชาวบา้ น
บอกวา่ ทกุ คืนจะมแี สงอะไรไม่ทราบ แดงโร่ พุง่ ขา้ มหมู่บ้านไปมา ท�ำใหช้ าวบา้ นมคี วามหวาดกลัว