232
นายค�ำพอหัวหน้าหมู่บ้านได้นิมนต์หลวงปู่ฝั้นไปที่บ้าน และขอให้ท่านเจริญพระพุทธมนต์เพื่อ
ความเปน็ สริ ิมงคล
เมื่อเสรจ็ พิธเี จรญิ พระพุทธมนตแ์ ลว้ หลวงป่ฝู ้นั ได้อบรมชาวบา้ นเทศนาสง่ั สอนใหล้ ะเลกิ
จากมจิ ฉาทิฏฐิ ไดแ้ ก่ การบนบาน กราบไหวภ้ ตู ผปี ศี าจตา่ งๆ ให้มากราบไหวบ้ ูชาพระรตั นตรัย กับ
ให้ภาวนา “พทุ โธ” โดยทั่วกันท้งั เดก็ และผู้ใหญ่ ต่อจากนัน้ ทา่ นก็ประพรมนำ้� พระพทุ ธมนตใ์ หโ้ ดย
ทว่ั ถึง ปรากฏวา่ ชาวบา้ น บ้านดอนเสยี ด มกี �ำลังใจดขี ้ึน เมื่อชาวบ้านน้อมน�ำธรรมท่หี ลวงปฝู่ ั้น
อบรมสั่งสอนไปปฏิบัติ ก็เกิดความอัศจรรย์ในอ�ำนาจของพระรัตนตรัย และอ�ำนาจของพุทโธ
เพราะต่างกห็ ายเจ็บหายไขก้ ลบั มาเป็นปกติกันทกุ คน นอกจากน้ันแสงไฟแดงโรท่ ีพ่ ุ่งขา้ มหมู่บ้าน
ไปมาทกุ คืนก็พลอยหายไปด้วย หลวงปูฝ่ ัน้ อยู่โปรดชาวบ้าน บ้านดอนเสียด ๓ วนั แล้วจึงพาพระ
และเณรออกเดินทางตอ่ ไป
ออกจากบา้ นดอนเสยี ด หลวงปู่ฝั้นพาพระเณรไปแวะเย่ยี มญาติโยมบ้านโสกกา่ ม ชาวบา้ น
ไดน้ ิมนตใ์ หท้ า่ นเข้าพักในหม่บู ้านก่อน เพราะพวกเขาอยากจะท�ำบุญ ฟังเทศน์ และปฏิบัตธิ รรมกบั
ท่านใหเ้ ต็มที่ ชาวบ้านไดจ้ ดั ท่พี ักถวายทว่ี ดั ร้างในดงข้างหมบู่ ้านน้ัน หลวงปู่ได้พักอยู่บนศาลาหลงั
เลก็ ๆ แต่ใหพ้ ระกบั เณรติดตามพกั ลึกเข้าไปในดง ให้แยกกันพกั คนละด้าน อยา่ อยใู่ กล้กัน โดยมี
โยมชาวบา้ นไดท้ �ำแครย่ กพนื้ ถวายให้ แต่ไมม่ ฝี ากน้ั
เชา้ วนั ร่งุ ขึน้ หลวงป่ไู ดถ้ ามพระลกู ศษิ ย์ว่า “เมอ่ื คนื ได้ยนิ เสยี งอะไรหรอื เปลา่ ?”
พระตอบท่านว่า “ตอนสองยามเศษๆ ได้ยนิ เสยี งสัตว์อะไรกไ็ มท่ ราบ ร้องเหมอื นกับอีเก้ง
มาร้องอย่ใู กล้ๆ ขณะจดุ ไฟเดนิ จงกรม”
หลวงปู่ฝ้ันบอกพระใหท้ ราบว่า “ไม่ใชอ่ เี ก้ง แตม่ นั เป็นเสอื ใหญ่ พอมันออกจากทนี่ ั่นกไ็ ป
กินวัวของชาวบา้ น” ปรากฏว่าทห่ี ลวงปู่บอกนัน้ เปน็ ความจรงิ คือ เมอ่ื ออกไปบิณฑบาต ชาวบา้ น
ไดเ้ ล่าใหฟ้ งั วา่ เมอื่ คนื นเี้ จ้าลายใหญก่ ก็ ัดวัวไปถึง ๒ ตัว ตวั หน่งึ เอาไปไมไ่ ด้ มนั กดั เสียจนเอวหกั
แตไ่ มต่ าย อีกตวั หน่ึงมนั คาบหายไปเลย
หลวงป่ฝู ั้นกับพระและเณรพักโปรดชาวบา้ น บา้ นโสกก่าม อยู่ ๔ คืน จึงไดล้ าชาวบา้ น
ออกเดินทางต่อไปยงั อำ� เภอบ้านแพง (จงั หวัดนครพนม) แวะพักทว่ี ดั ปา่ ในอำ� เภอบ้านแพงหนง่ึ คืน
เช้าวันรุ่งข้ึนได้ลงเรือล่องไปตามล�ำแม่น�้ำโขง ไปขึ้นฝั่งท่ีจังหวัดนครพนม แวะพักท่ีวัดป่าบ้าน–
ท่าควาย อกี หนงึ่ คนื ตอ่ จากนน้ั กข็ ึ้นรถยนต์เดินทางไปยัง วดั ปา่ ธาตุนาเวง จงั หวดั สกลนคร
233
ภาค ๑๔ เสาหลกั พระกรรมฐาน
ท่านเป็นหลักของพระกรรมฐาน
เหตุการณ์ภายหลงั หลวงปู่มัน่ ภูรทิ ตโฺ ต อาพาธหนกั จนมรณภาพ วงกรรมฐานกระเทือน
อย่างหนัก หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเป็นครูบาอาจารย์ส�ำคัญอีกองค์หนึ่งท่ีหลวงปู่มั่นเมตตา
ให้ความไวว้ างใจ ใหพ้ ระเณรมาศึกษาอบรมกับท่าน ตามปรกตพิ ระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระ–
อาจารยม์ น่ั ที่ออกบวชเพอ่ื มรรคผลนิพพาน ตา่ งก็มุ่งเสาะแสวงหาครบู าอาจารย์ ก็ไดห้ ลวงปฝู่ ั้น
เปน็ ที่พงึ่ ที่ยึดเหนีย่ วทางดา้ นรา่ งกายและจิตใจ โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว เทศนไ์ วด้ งั นี้
“พอทา่ นป่วยเทา่ นั้น พระเณรยบุ ยอบไปหมด เพราะแสงสวา่ งไปอยกู่ บั ท่าน พวกเรา
เหมอื นคนตาบอด ทา่ นเป็นผ้ใู ห้แสงสว่างใหด้ วงตา แสดงอรรถแสดงธรรมแง่ใดต่อแงใ่ ด เราคอย
ส�ำเหนยี กศึกษา คอยยดึ คอยถือเอาจากทา่ น ทา่ นลว่ งไปน้ี โอ้โห ! ปรากฏว่าเหมือนฟ้าดนิ ถลม่
เชียวนะ พระเณรแตกกระจัดกระจายเกาะกนั ไมต่ ดิ เปน็ เวลาต้ัง ๓ ปี ๔ ปี แตกขนาดนน้ั นะ จงึ เป็น
สิง่ ทจ่ี �ำไม่ลืม ใครอย่ไู หนกแ็ ตกกระจัดกระจายไปหาครหู าอาจารย์ ต่างองค์ต่างไป แตกกนั ไปเพราะ
เกาะกันไม่ค่อยติด ระยะนั้นไม่ติด พอ ๓ – ๔ ปีมาน้ี ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ เช่น อย่าง
หลวงปู่ฝน้ั ท่านกอ็ ยูเ่ ป็นหลกั ไปเสีย หลวงปขู่ าวกอ็ ยู่เป็นหลัก กเ็ ขา้ เกาะตดิ ๆ เรื่อยไปละ่ ...
นี่ละ่ เรอ่ื งครูบาอาจารยอ์ งคส์ �ำคัญแต่ละองค์นี้เป็นรม่ โพธริ์ ่มไทร เป็นแมเ่ หล็กเครอ่ื ง
ดงึ ดูดโดยหลกั ธรรมชาติ ไม่ต้องมใี ครบอก หากเปน็ เองในหวั ใจของคนผเู้ สาะแสวงหาอรรถ
หาธรรมน้ันแล”
ต้ังแตป่ ี พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นตน้ มา หลวงปฝู่ น้ั ท่านจำ� พรรษาทว่ี ดั ปา่ ธาตนุ าเวงอยา่ งตอ่ เน่อื ง
พระเณรเม่อื ทราบข่าวตา่ งก็เร่มิ หล่ังไหลมาขอศกึ ษาธรรมและมาขออยู่จำ� พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓
พอถึงวนั เขา้ พรรษา ท่านได้พาพระเณรอธษิ ฐานจ�ำพรรษาท่วี ัดแห่งนตี้ ิดตอ่ กนั เปน็ ปที ่ี ๖ ขณะทา่ น
มอี ายุ ๕๑ ปี พรรษา ๒๖ ท่านเปน็ พระเถระทถ่ี ึงพรอ้ มด้วยวยั วุฒิ คณุ ธรรม บารมีธรรม และ
เมตตาธรรม มีคุณสมบตั ิของสมณะอันเพยี บพรอ้ มครบถว้ น ทา่ นถอื พระธรรมวินยั ธดุ งควัตร
ตลอดข้อวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน อย่างสมบูรณ์เคร่งครัด และท่านมีจริยวัตร
ปฏิสันถาร กิริยาอันงดงามนุ่มนวล ท�ำใหพ้ ระเณรญาตโิ ยมพทุ ธบรษิ ทั เมอ่ื ไดฟ้ งั ธรรม ไดเ้ ข้าใกล้
ไดส้ มั ผสั ได้รับใช้อยา่ งใกล้ชดิ จะเกดิ ความอ่ิมเอบิ อบอนุ่ ใจในบญุ กุศล และเกดิ กำ� ลังใจในการ
ปฏบิ ัตธิ รรม ดังน้ัน เม่อื หลวงปมู่ นั่ ทา่ นมรณภาพ หลวงปฝู่ ัน้ ทา่ นจึงไดร้ บั การยอมรับเป็นเสาหลัก
เป็นร่มโพธร์ิ ่มไทรองค์ส�ำคัญอีกองคห์ น่ึงของวงกรรมฐาน
234
ครบู าอาจารย์องค์ส�ำคัญท่ีเคยอยู่ศกึ ษาอบรมกบั หลวงปมู่ ่ัน ภรู ิทตโฺ ต ต่อมาได้มาอย่ศู กึ ษา
และปฏิบัติธรรมกับหลวงปฝู่ น้ั อาจาโร มดี ว้ ยกันมากมายหลายองค์ ได้แก่ หลวงปูซ่ ามา อจุตฺโต
วดั ปา่ อัมพวนั จ.เลย หลวงป่คู �ำ ยสกุลปตุ ฺโต วัดปา่ ศรจี �ำปาชนบท จ.สกลนคร หลวงปู่ค�ำพอง
ตสิ ฺโส วัดถ้�ำกกดู่ จ.อดุ รธานี หลวงปู่ถวิล จิณณฺ ธมโฺ ม วัดธรรมหรรษาราม จ.จนั ทบุรี หลวงปู่
สพุ ัฒน์ สขุ กาโม วัดป่าประสิทธ์ิสามัคคี จ.สกลนคร หลวงปผู่ า่ น ปญฺาปทโี ป วดั ป่าปทีป–
ปญุ ญาราม จ.สกลนคร หลวงป่ผู าง ปริปุณฺโณ วัดประสทิ ธธิ รรม จ.อุดรธานี หลวงปู่เพยี ร วริ ิโย
วัดปา่ หนองกอง จ.อุดรธานี ฯลฯ
ตลอดพรรษาในปีนั้น หลวงปู่ฝั้นท่านได้อบรมส่ังสอนพระเณรสานุศิษย์เป็นปรกติ คือ
ใหต้ ัง้ ใจบ�ำเพญ็ ความเพียรอย่างจริงจงั ถงึ วนั ธรรมสวนะตามปักข์ หลวงปู่จะพาสานศุ ิษย์น่ังบ�ำเพ็ญ
ภาวนาร่วมกันบนศาลาโรงธรรมตลอดคืน
การปฏิบัติธรรมตลอดคืนในวันพระ หรือ การถือเนสัชชิก ถือเป็นเรื่องปกติส�ำหรับพระ
เณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้มาถอื ศลี ในวดั ปา่ กรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ การถือเนสัชชกิ
ซง่ึ เป็นข้อหนง่ึ ในธดุ งค์ ๑๓ คือ การถืออริ ยิ าบถ ๓ เดิน ยืน นง่ั ภาวนา โดยไมน่ อนหรือหลัง
ไมแ่ ตะพ้นื ตลอดคืน ถอื เป็นเรื่องปกตสิ ืบมาจนทกุ วนั น้ี
ส�ำหรับตวั หลวงปูฝ่ ้ันเอง นอกจากทา่ นจะเทศนาอบรมสงั่ สอนพระเณรแลว้ ท่านไดท้ �ำตวั
ให้พระเณรดเู ป็นตัวอยา่ งตลอดพรรษา ไม่วา่ กลางวนั หรอื กลางคนื ท่านแทบจะไมม่ เี วลาพักผอ่ น
หลับนอนเลย คอื ตอนหวั คำ่� ท่านจะเทศน์อบรมพระเณรและญาติโยมจนถงึ ๓ ทมุ่ ครึ่ง จากน้ันก็
ลงเดินจงกรม จนถงึ ๕ ทมุ่ เศษ แล้วท่านก็ขน้ึ กฏุ ิให้พระขึ้นไปปฏิบตั ิทา่ นจนถึง ๖ ทมุ่ เศษ
ตอ่ จากนนั้ ท่านก็ลงมาเดินจงกรมอีก แลว้ กลับขน้ึ กฏุ ิ พอประมาณตี ๓ ทา่ นก็ออกมาลา้ งหนา้
บว้ นปาก ไหวพ้ ระสวดมนตท์ ำ� วัตรเชา้ เสรจ็ แลว้ ออกเดนิ จงกรมจนถงึ สว่าง ไดเ้ วลาจงึ ขึน้ ศาลา
เตรียมครองผ้า ออกบณิ ฑบาตโปรดสตั ว์ตอ่ ไป ฉันเชา้ เสร็จก็เดนิ จงกรม นงั่ สมาธิภาวนา ตอนบา่ ยก็
ปัดกวาดลานวดั กฏุ ิ เย็นก็สรงนำ้� น่คี อื กิจวัตรประจำ� วนั ของครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน ทา่ นท�ำ
อยา่ งนีจ้ นเปน็ ธรรมเนยี มสืบตอ่ กันมาจนทุกวันนี้
ไปโปรดชาวจนั ทบุรี
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ หลงั จากออกพรรษา หลวงปู่ฝ้นั อาจาโร พร้อมด้วย หลวงปูก่ งมา
จิรปุญฺโ ได้พาพระภิกษุสามเณรจ�ำนวนหน่ึงออกธุดงค์ไปทางจังหวัดจันทบุรี โดยก่อนหน้า
ทา่ นพ่อลี ธมฺมธโร และ หลวงปกู่ งมา ซง่ึ ญตั ตเิ ป็นธรรมยุตพร้อมกัน เป็นคูน่ าคบวชใหมพ่ ร้อมกัน
ท่านพ่อลเี ปน็ นาคซา้ ย หลวงป่กู งมาเป็นนาคขวา และเปน็ เพ่ือนสหธรรมกิ ทสี่ นิทสนมกบั หลวงปู่ฝั้น
ทา่ นทง้ั สองตา่ งเปน็ กำ� ลงั สำ� คญั ไดไ้ ปวิเวกเท่ียวธดุ งค์ พรอ้ มเผยแผธ่ รรมะและขอ้ วัตรปฏิบตั ิตาม
235
แนวปฏิปทาพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ จนญาติโยมชาวจันทบุรีเกิดความเคารพ
เลือ่ มใสศรัทธา และได้ออกบวชเปน็ พระศิษย์หลวงปู่ม่นั กันมากมาย องค์ทีม่ ชี ื่อเสียงและมคี ณุ ธรรม
เปน็ ทรี่ ู้จกั กนั เปน็ อยา่ งดใี นวงกรรมฐาน ได้แก่ ทา่ นพอ่ เฟอื่ ง โชติโก หลวงปเู่ จีย๊ ะ จุนโฺ ท หลวงปู่
ถวิล จณิ ฺณธมฺโม ฯลฯ
การธุดงค์คร้ังนี้เดินทางโดยรถยนต์และรถไฟ โดยหลวงปฝู่ ัน้ ท่านรับอาราธนานมิ นตไ์ ปใน
งานท่ีวัดด�ำรงธรรม อ�ำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี คณะของหลวงปู่ฝั้นได้นั่งรถยนต์โดยสารจาก
จังหวัดสกลนคร ไปข้ึนรถไฟท่ีสถานีจังหวัดอุดรธานี เข้ากรุงเทพฯ แล้วนั่งรถยนต์โดยสารจาก
กรุงเทพฯ ไปจันทบรุ ีอีกตอ่ หนง่ึ
ระหว่างพักท่ีวัดด�ำรงธรรม ได้มีศรัทธาญาติโยมสนใจเข้าฟังธรรมและรับการอบรมเป็น
จ�ำนวนมาก ตอ่ มาได้รบั นมิ นต์ไปพกั ที่ ส�ำนกั สงฆบ์ ้านกงษีไร่ ปัจจุบัน คือ วดั มณคี ีรีวงศ์ ซึง่ สรา้ ง
ขึ้นใหม่อยลู่ กึ เข้าไปในป่า หลวงปู่ฝนั้ ทา่ นไดพ้ กั อยทู่ ่สี �ำนักสงฆ์แหง่ น้ีหลายคืน แล้วจึงกลับมาพกั ท่ี
วัดด�ำรงธรรมอกี ต่อมาอีกหลายวนั ก็มโี ยมนมิ นต์ทา่ นและคณะไปพักวเิ วกบนเขาหนองชิม่ อ�ำเภอ
แหลมสงิ ห์ ปจั จบุ นั คือ วัดสถาพรพัฒนาราม พักอยทู่ ่ีนัน่ ได้ประมาณครึ่งเดือน ก็มญี าตโิ ยมมา
นิมนต์ทา่ นและคณะไปพักทีส่ ำ� นกั สงฆศ์ รัทธาวราวาส (ป่าเงาะ) ข้างน�้ำตกพลว้ิ อ�ำเภอแหลมสงิ ห์
อีกหลายวนั ทน่ี ัน่ มญี าติโยมเขา้ รบั การอบรมในขอ้ ปฏบิ ัติกนั เปน็ จ�ำนวนมาก เช่นเดียวกันกับทีอ่ ืน่ ๆ
ต่อจากนั้นทา่ นได้รบั นิมนตไ์ ปพักตามปา่ ตามสวนของญาติโยมในจันทบุรีอีกหลายแหง่
ตอนเดนิ ทางกลบั หลวงปู่ฝ้ันและคณะได้แวะตามสถานที่ตา่ งๆ อีกหลายแห่ง ครั้งสดุ ท้าย
ไปแวะที่ วดั เขาน้อย ท่าแฉลบ ปจั จุบัน คือ วัดวเิ วการาม เพ่ือรอเรอื กลับกรุงเทพฯ พกั ท่วี ดั นั้น
๙ – ๑๐ วัน จึงได้ลงเรือมาถงึ กรงุ เทพฯ ในตอนเช้าวนั รงุ่ ข้ึน รวมเวลาทีท่ ่านพ�ำนกั อยู่ในจงั หวดั
จันทบรุ ี ในคราวน้ันเกือบ ๓ เดอื น ในกรงุ เทพฯ ท่านและคณะไดไ้ ปพกั ทวี่ ดั นรนาถสนุ ทริการาม
เทเวศร์ ๓ คนื ตอ่ จากนัน้ ก็มีโยมรับไปพกั ท่ีวดั อโศการาม อยรู่ ิมทะเล อ�ำเภอเมอื ง จังหวัด
สมุทรปราการ ในชว่ งนน้ั ท่านพอ่ ลี ธมฺมธโร ก�ำลังสร้างวัดอโศการาม ยงั ไม่เรียบร้อยดี จงึ ไดพ้ า
ทา่ นและคณะไปชมวดั ตา่ งๆ ในจงั หวดั ลพบรุ ี และนมสั การพระพุทธบาท ทีจ่ งั หวัดสระบุรีด้วย
อยทู่ ลี่ พบรุ ีได้ ๗ – ๘ วนั ท่านจึงพาคณะกลบั ยังวดั ป่าธาตุนาเวง จังหวัดสกลนคร
จากนั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ฝน้ั ได้มกี จิ นมิ นตต์ อ้ งเดนิ ทางไปจงั หวัดจันทบรุ ีเปน็ ประจ�ำเกอื บ
ทกุ ปี เน่ืองจากท่านเปน็ ครบู าอาจารยอ์ กี องค์หน่งึ ทีช่ าวจันทบุรใี หค้ วามเคารพเลอ่ื มใสศรทั ธา จึงมี
ผู้มจี ิตศรทั ธาส่งผลไม้ เช่น เงาะ ทเุ รยี น มาถวายทา่ นทุกฤดกู าล โดยเฉพาะรายของหลวงปู่ถวิล
จิณณฺ ธมโฺ ม ซึ่งทา่ นเปน็ ศิษย์ของทา่ นพ่อลี ในขณะนนั้ ท่านเปน็ พระบวชใหม่ไดไ้ ม่กพ่ี รรษา ท่าน
236
เกิดความเคารพเล่อื มใสในองคห์ ลวงปูฝ่ ั้นมาก ในเวลาตอ่ มาทา่ นถึงกับเดินทางจากจังหวดั จนั ทบรุ ี
มาภาคอสี าน มาขออยูจ่ ำ� พรรษาเพ่อื ศึกษาอบรมปฏิบตั ิธรรมกับหลวงปู่ฝัน้ ทว่ี ัดป่าธาตุนาเวง
พ.ศ. ๒๔๙๔ ก�ำเนิดวนั บรู พาจารย์ ภูริทัตตเถรานสุ รณ์
กลบั มาวัดป่าธาตุนาเวง หรอื วดั ป่าภูธรพิทักษ์ ในคราวน้ี หลวงปู่ฝน้ั อาจาโร ได้จดั งาน
ส�ำคัญงานหนง่ึ ทีว่ ดั ปา่ สุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร คอื ในวนั ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ไดม้ ี
การจัดประชุมใหญ่พระกรรมฐาน เน่ืองในวันคลา้ ยวนั ประชุมเพลิงหลวงป่มู นั่ ภรู ทิ ตโฺ ต เพอ่ื ระลกึ
ถงึ พระคณุ ของท่านท่ีมตี ่อบรรดาสานุศิษย์ ในการจัดเตรยี มงานส�ำคัญในคร้ังนี้หลวงปู่ฝั้นไดไ้ ปพักท่ี
วดั ปา่ สุทธาวาส เพื่อเตรยี มงานกอ่ นงานเริ่มเปน็ เวลาหลายวัน
นอกจากน้ี การเรม่ิ กอ่ สรา้ งพระอโุ บสถของวัดปา่ สุทธาวาส ซงึ่ เรม่ิ เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๙๓ โดย
บรรดาครบู าอาจารย์พระศษิ ย์ของหลวงป่มู นั่ โดยมีท่านพระครอู ดุ มธรรมคุณ (พระอาจารยม์ หา
ทองสุก สุจติ ฺโต) เจ้าอาวาสวัดป่าสทุ ธาวาส ในขณะนัน้ เพ่ือแสดงออกถงึ ความกตัญญู กตเวที
และเพอื่ เปน็ อนุสรณ์แดอ่ งค์หลวงปู่มั่น กก็ �ำลังกอ่ สรา้ งอยา่ งรีบเรง่ โดยสรา้ งครอบบรเิ วณที่ใชเ้ ป็น
เมรุประชุมศพของหลวงปู่มั่น พระอุโบสถหลังใหญ่น้ีเด่นสง่างดงามมาก ได้ส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี
ในเวลาเพียงไมก่ ีป่ ี และได้ท�ำพธิ ผี กู พทั ธสีมา เมือ่ วันท่ี ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทง้ั นี้ เนอ่ื งจาก
เกิดจากความร่วมแรงรว่ มใจกันของบรรดาคณะศษิ ย์หลวงปู่มน่ั ท้ังฝา่ ยบรรพชติ และฝ่ายคฤหัสถ์
โดยมหี ลวงปู่ฝ้นั ทา่ นเป็นกำ� ลงั สำ� คญั องค์หนึ่ง ทา่ นไดส้ ่งพระเณรมาช่วยงาน
เสร็จจากงานการประชุมใหญ่พระกรรมฐานคราวน้ันแล้ว หลวงปู่ฝั้นก็กลับไปพักผ่อนยัง
วดั ปา่ ธาตุนาเวง เพราะท่านต้องตรากตร�ำและเหนด็ เหนือ่ ยจากการจดั งานมาหลายวนั สุขภาพของ
ท่านก็อ่อนแอและทรดุ โทรมลงไปมาก
การสร้างพระอโุ บสถน้อมถวายแดห่ ลวงปูม่ ่นั หลวงป่คู �ำดี ปญฺโภาโส บันทึกไว้ดงั น้ี
“ในขณะทีอ่ ยทู่ �ำความเพียรแต่ผูเ้ ดยี ว ท่ถี ำ้� ลาดกระเฌอ อย่สู กั สองอาทติ ย์ ตอนบา่ ยๆ
วนั หนงึ่ ก็ไดเ้ หน็ พระเดนิ มา มองไปกจ็ ำ� ไดว้ ่าเป็นทา่ นอาจารย์ออ่ น าณสิริ ท่านมาพร้อมกบั พระ
๑ รูป สามเณร ๒ รปู กบั ผ้าขาวอกี ๑ คน โดยมีโยมผาเปน็ ผู้น�ำทางมา เหน็ คร้ังแรกเขา้ ใจวา่ ท่าน
ธดุ งคม์ าเพอี่ บ�ำเพ็ญภาวนา กด็ ีใจจะไดศ้ ึกษาในอบุ ายวธิ ีและปฏิบัตไิ ปดว้ ย แตพ่ อทราบจากท่าน
โดยทา่ นบอกวา่ ท่านไดร้ บั มอบหมายให้เปน็ ผหู้ าหินกรวด โดยคณะกรรมการสร้างโบสถ์ ท่ีวดั ปา่ –
สุทธาวาส เพ่ือเป็นอนสุ รณ์แก่หลวงปู่ม่นั ภรู ทิ ตฺโต ตอ้ งการหิน ๖๐ ควิ
สมัยนัน้ หนิ หายาก และมีบนภเู ขาลกู น้ี แต่ต้องใชค้ นขดุ และสาดเอาดนิ ออก เป็นอนั ว่า
ทา่ นมาชว่ ยให้เราสรา้ งบารมีดว้ ย ตกลงเรากร็ ่วมเอาบญุ กบั ท่าน โดยชักชวนบอกบญุ กบั ญาตโิ ยม
237
ท่มี ีบ้านอยู่ใกลเ้ คยี งบรเิ วณน้นั มาชว่ ยขดุ แล้วสาดเอาดนิ ออก เอาแต่หินลกู กรวด ท้ังพระ เณร
และญาติโยมช่วยกนั ทำ� อยูใ่ นราว ๑ เดอื น ได้หิน ๖๓ คิว
ก่อนจะบรรทุกหินไปวัดสุทธาวาส ได้จัดท�ำบญุ ฉลอง โดยนมิ นตห์ ลวงปฝู่ ัน้ อาจารย์กงมา
หลวงปอู่ ่อน เทศน์ ๓ กัณฑ์ และ ส.ส.เตียง ศริ ิขนั ธ์ เอาหนังไปฉายใหเ้ ขาได้ชมกลางภเู ขานั้นเอง
รู้สกึ ว่าเขาปีติยนิ ดีกันมาก เพราะไดฟ้ งั เทศน์พระกรรมฐาน ๓ กัณฑ์ แล้วดหู นังฟรี เสร็จแลว้ แผนก
บรรทุกก็ขนไปท่ีวัดป่าสุทธาวาส เรากับคณะหลวงปู่อ่อนก็ธุดงค์ต่อไปท่ีอ่ืน จนถึงงานครบรอบ
ประจำ� ปีท่วี ัดปา่ สุทธาวาส และในปี ๒๔๙๔ น้ี เรากบั คณะหลวงปู่ออ่ นกไ็ ดร้ ่วมงานด้วย เพ่อื อนุสติ
ถงึ ปฏิปทาครูบาอาจารย์ ถวายสกั การะและรบั ฟังโอวาทจากพระเถรานเุ ถระ เสร็จจากงาน ก็เท่ียว
ธดุ งคต์ ่อไปจนถึงภวู วั อ�ำเภอบงึ กาฬ จังหวดั หนองคาย แลว้ ยอ้ นกลับตามล�ำนำ�้ โขง ไปอ�ำเภอนาแก
ไปอย่ถู ำ�้ พระเวส ถ�้ำโพธ์ทิ อง ดอยธรรมเจดยี ์ จนจวนเขา้ พรรษา จงึ กลบั ไปจ�ำพรรษากบั หลวงปฝู่ น้ั
ท่วี ดั เดมิ คือ วัดป่าธาตุนาเวง”
ส�ำหรับการจัดงานวันท่ี ๓๑ มกราคมของทกุ ปี ท่ีหลวงปฝู่ ัน้ ทา่ นรเิ ริ่มขนึ้ มา ตอ่ มาถอื เป็น
“วันบูรพาจารย์ ภูริทัตตเถรานุสรณ์” อันเป็นวันส�ำคัญของวงกรรมฐาน คณะพระกัมมัฏฐาน
จะมาร่วมร�ำลกึ อาจาริยบูชาคุณท่านพระอาจารยม์ ัน่ ท่วี ดั ป่าสทุ ธาวาส ซึ่งเป็นปัจฉมิ มงคลสถานท่ี
ท่านพระอาจารยม์ น่ั เขา้ สู่อนปุ าทเิ สสนพิ พาน และเป็นสถานทถี่ วายประชุมเพลิง การจดั งาน
ดังกล่าวได้ถือปฏิบัติกันเร่อื ยมาจวบจนปัจจบุ นั
รับบญั ชาใหเ้ ข้ากรงุ เทพฯ
ประมาณเดอื นเมษายน หรอื พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ทา่ นเจ้าคณุ สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์
(อว้ น ตสิ ฺโส) วัดบรมนวิ าส กรุงเทพฯ ไดม้ บี ัญชาให้หลวงป่ฝู ้นั ไปพบที่กรุงเทพฯ ดว่ น หลวงปฝู่ ั้น
พร้อมด้วยพระตดิ ตามรปู หนึ่งกับลกู ศิษยฆ์ ราวาสอีกคนหนง่ึ ไดเ้ ดนิ ทางเขา้ กรงุ เทพฯ ทันที ทา่ นไป
พักทว่ี ัดบรมนวิ าส อยู่ ๒ คนื สมเดจ็ ฯ จงึ เรยี กตวั ใหเ้ ขา้ พบอกี ครั้งหนึ่ง สมเดจ็ ฯ ทา่ นมีบญั ชาให้
หลวงปฝู่ ัน้ เดนิ ทางไปวัดเทพนิมติ ร อำ� เภอเมือง จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา เปน็ การดว่ น เนอื่ งจากทางวดั มี
ปัญหาเกดิ ความไมส่ งบภายในวัด พระภิกษุสามเณรแตกความสามคั คีกนั หลวงปไู่ ดร้ บั มอบหมาย
ให้เดินทางไปพจิ ารณาหาทางแก้ปญั หาที่วดั นนั้
เมือ่ ไปถงึ หลวงปฝู่ ้ันได้อยู่สังเกตการณ์ สบื หาข้อมูลและสาเหตุของปญั หาอยู่ ๔ – ๕ วนั
พอประมวลเหตุการณไ์ ด้ชดั เจนและแนใ่ จแล้ว ทา่ นจึงเดนิ ทางกลบั วดั บรมนวิ าส กราบทลู รายงาน
ให้สมเด็จฯ ไดร้ ับทราบ ปัญหาทเี่ กิดข้นึ คอื ชาวบา้ นและพระลูกวดั ต้องการใหส้ ง่ เจ้าอาวาส
องค์เดิมกลับวดั เพราะสมเด็จฯ ท่านเรียกตัวมาสอบเรือ่ งราวเป็นเวลานานแล้ว ยงั ไมส่ ง่ ตัวกลับ
ทางวดั จึงมคี วามแตกแยกเกิดข้ึน
238
เมอื่ สมเดจ็ ฯ ทา่ นทราบเรื่องดังน้ันแล้ว จึงไดส้ ่งเจ้าอาวาสกลับคืนวดั นน้ั ไป ปัญหาทีเ่ กิดข้ึน
ก็สงบลง ตอนที่หลวงป่ฝู ้ันกราบลากลับ สมเด็จฯ ไดป้ รารภกบั หลวงปวู่ ่า “ตั้งใจจะให้ทา่ นไปเป็น
เจา้ อาวาสวัดเทพนมิ ิตร ทฉ่ี ะเชงิ เทรา แตท่ ่านไปสงั เกตการณจ์ นไดค้ วามกระจา่ ง สามารถคล่ีคลาย
สถานการณ์ไปไดเ้ ช่นน้ี ก็นับวา่ ท่านไดท้ ำ� ประโยชนใ์ ห้มากทีเดยี ว”
ระหวา่ งท่ีหลวงปูฝ่ น้ั พักอยูว่ ดั บรมนวิ าส ทา่ นได้พาพระเณรลกู ศษิ ยอ์ อกบณิ ฑบาตทกุ เช้า
ทา่ นพาศิษยอ์ อกเดนิ ไปเรอื่ ยๆ ตามตรอกซอยต่างๆ พอเข้าไปในซอยแหง่ หน่งึ ชาวบา้ นดีใจกนั เปน็
อันมาก เพราะไมเ่ คยมีพระสงฆ์ไปบิณฑบาตในซอยนน้ั มาก่อนเลย ชาวบา้ นในซอยน้นั ไดน้ มิ นต์ให้
ท่านหยดุ รอ พรอ้ มกนั นั้นก็เรยี กกันมาใสบ่ าตร บางบา้ นจดั เกา้ อีน้ มิ นต์ทา่ นนัง่ กอ่ น ต่างจดั หา
ข้าวปลาอาหารมาใส่บาตรกันอย่างฉุกละหุก เมื่อทราบว่าหลวงปู่เป็นพระมาจากต่างจังหวัด ก็
นมิ นต์ใหท้ ่านเขา้ ไปรบั บิณฑบาตทกุ วันจนกวา่ จะกลบั
มีเหตกุ ารณ์ท่นี า่ สนใจอกี เรือ่ งหน่งึ คอื ในซอยๆ หนึ่งอยดู่ ้านหลังวดั พระยายัง อยูค่ นละฝัง่
คลองกับวัดบรมนวิ าส ด้านถนนบรรทัดทอง มีบ้านฝร่งั ชาวตา่ งประเทศอยหู่ ลังหนง่ึ พวกเขาไม่เคย
ตักบาตรพระสงฆม์ ากอ่ นเลย ปรากฏวา่ ฝร่งั ครอบครัวนน้ั ไดอ้ อกมาท�ำบุญใสบ่ าตรหลวงป่ฝู ัน้ กับ
พระตดิ ตาม เปน็ ทีแ่ ปลกใจให้กับคนแถวน้ันเปน็ อยา่ งยิ่ง หลวงปูไ่ ด้ปรารภกบั ศษิ ย์วา่ “ฝรัง่ แท้ๆ
ยงั รจู้ กั ใสบ่ าตร”
เป็นศนู ย์รวมของพระเณรสายกรรมฐาน
ภายหลังจาก หลวงปูม่ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต มรณภาพในปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๒ แลว้ วัดปา่ ธาตนุ าเวง
ซ่ึงมีหลวงปฝู่ นั้ อาจาโร มาอยจู่ �ำพรรษาตอ่ เนื่องและเป็นเจ้าอาวาส วดั แห่งนี้ได้กลายเป็นศนู ยร์ วม
พระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารยม์ ่นั อกี แหง่ หน่งึ หลวงปู่ฝน้ั ทา่ นเป็นร่มโพธริ์ ม่ ไทร เป็น
แม่เหล็กดงึ ดูดพระเณรสายกรรมฐานเขา้ ไปขออยูจ่ ำ� พรรษา เพ่ือศกึ ษาปฏบิ ตั ธิ รรม ท�ำให้พระเณร
มจี �ำนวนเพม่ิ มากข้ึนเรือ่ ยๆ กฏุ ทิ ่มี ีอยจู่ ึงไม่เพยี งพอจะให้พระเณรพัก
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เม่ือกลบั จากวดั บรมนวิ าสถึงวัดปา่ ธาตุนาเวงแล้ว หลวงปู่ฝ้นั ท่านจงึ ได้
จัดใหม้ กี ารกอ่ สรา้ งกฏุ ิถาวรเพ่ิมขึ้นอกี หลายหลัง เพ่อื ใหเ้ พียงพอแก่การอย่จู �ำพรรษาของพระเณร
ในระหว่างนัน้ ทา่ นถูกรบกวนจากบุคคลบางจ�ำพวกท่ีอิจฉารษิ ยาและพยายามจะยอื้ แย่งกรรมสทิ ธ์ิ
ท่ีดินจากทา่ น เนอ่ื งจากทเ่ี ดมิ เป็นวัดร้างเกา่ แก่ แต่ในทสี่ ุดพวกนั้นก็พา่ ยแพภ้ ัยตัวเองไปทง้ั หมด
ท่านต่อสู้ด้วยธรรมะอันยอดเยีย่ มของท่าน จงึ สามารถรักษาวดั น้ีไว้ได้
ในการก่อการสรา้ ง หลวงป่ฝู นั้ ทา่ นจะรักษาแนวปฏปิ ทาพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระ–
อาจารย์มั่นอย่างเคร่งครัด โดยได้เตือนพระเณรลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอว่า “การก่อสร้างใดๆ
239
ไม่ให้มีการบอกบญุ เร่ียไรเปน็ อนั ขาด ใหท้ �ำเทา่ ทีจ่ �ำเปน็ และสามารถท�ำได้ และใหท้ �ำตอ่ เม่อื มี
ผู้ศรัทธาจะท�ำ มิฉะน้นั จะเป็นเรื่องเดอื ดร้อนถงึ ชาวบ้าน”
เร่ืองการกอ่ สรา้ ง ในส่วนทหี่ ลวงปฝู่ ้ันเปน็ ผูร้ ิเริม่ คดิ ท�ำข้นึ เองน้ันนบั วา่ มนี อ้ ยมาก เพราะ
ทา่ นไม่ต้องการใหเ้ กิดความกังวล ทเ่ี รยี กวา่ ปลิโพธกงั วล ท่านไมอ่ ยากจะให้พระเณรเกิดอาวาส–
ปลิโพธ คอื หว่ งกังวลทอ่ี ยอู่ าศยั จะไดม้ เี วลาทำ� ความเพียรได้โดยปราศจากอปุ สรรคหรือข้อกงั วล
ปลโิ พธกังวล เคร่ืองกงั วลใจตา่ งๆ อนั เป็นเหตุให้ไม่สามารถตงั้ อยใู่ นอารมณ์กมั มัฏฐานได้
มี ๑๐ ประการ ได้แก่ อาวาสปลิโพธ ห่วงท่ีอยู่อาศัย กุลปลิโพธ ห่วงบริวาร ผู้อุปถัมภ์
ผู้อุปฏั ฐาก ลาภปลโิ พธ ห่วงลาภสกั การะ คณปลโิ พธ หว่ งพวกพอ้ ง หมู่คณะ กมั มปลโิ พธ
ห่วงงานทีย่ ังทำ� ค้างอยู่ อัทธานปลโิ พธ หว่ งการเดินทางไกล ญาติปลโิ พธ ห่วงญาติ กลวั ขาด
ผ้ปู รนนิบตั ิ อาพาธปลโิ พธ ห่วงกงั วลเรื่องความเจบ็ ป่วย คนั ถปลโิ พธ หว่ งการศึกษาเล่าเรยี น และ
อิทธิปลโิ พธ ห่วงฤทธ์ิ เกรงจะเสอ่ื มไป
เข้าพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงป่ฝู ้นั ไดจ้ �ำพรรษาอยทู่ ่ี วัดป่าภูธรพิทกั ษ์ เชน่ เดมิ
ทา่ นไดแ้ นะน�ำพร่�ำสอน และท�ำเป็นตัวอยา่ งแกส่ านุศิษยอ์ ย่างเคร่งครัดเหมือนกับปกี ่อนๆ รวมทัง้
เทศนาอบรมสั่งสอนประชาชนตลอดพรรษา ส�ำหรบั การประกอบความเพยี รของท่านเอง และของ
พระเณรในพรรษา ต่างก็เร่งทั้งกลางวันและกลางคืน พระเณรรปู ใดมีอารมณฟ์ ้งุ ซา่ นไปในทางทผ่ี ิด
ประการใดก็ตาม ท่านจะตกั เตอื น หรอื เทศนส์ อนขนึ้ มาทันที โดยไม่ตอ้ งถามและไมม่ ใี ครบอกทา่ น
ลูกศิษย์ต่างตระหนักดีว่า เร่ืองราวทุกอย่างของลูกศิษย์แต่ละองค์ ท่านสามารถหยั่งรู้ได้อย่าง
ชัดเจน บรรดาพระเณรจงึ ต้องส�ำรวมระวงั กันอย่างเตม็ ที่
ปัดเปา่ ความเดอื ดรอ้ นจากดว้ งท�ำลายมะพร้าว
ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงป่ฝู ั้น อาจาโร กบั หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโ ได้รับนิมนต์
ไปร่วมงานท่ีวดั ด�ำรงธรรม อำ� เภอขลงุ จังหวัดจนั ทบุรี อกี คร้ังหน่งึ เสร็จจากงานแล้ว หลวงปูฝ่ ัน้ ได้
ไปพักวเิ วกภาวนาอยูใ่ นป่าข้างๆ น�้ำตกพลิ้ว อ�ำเภอแหลมสิงห์ และตลอดระยะเวลาร่วม ๒ เดอื นท่ี
ท่านพักอยู่ในจังหวัดจนั ทบรุ ี ไดม้ ีศรทั ธาญาตโิ ยมมากราบนิมนต์ไปพักในที่ตา่ งๆ อีกหลายแหง่
ตอนเดินทางกลบั หลวงปฝู่ นั้ ไดแ้ วะพกั ทวี่ ัดป่าบา้ นฉาง เป็นเวลา ๔ – ๕ วัน ในชว่ งเวลานัน้
ชาวสวนมะพร้าวแถวน้ันก�ำลงั เดือดรอ้ นกบั ปัญหาด้วงมะพรา้ วกันมาก บางสวนมะพรา้ วถกู ตัวดว้ ง
กัดกนิ ยอดมะพรา้ วตายแทบเกล้ียง บางแหง่ ถงึ กับต้องตดั สนิ ใจเผาทง้ิ หมดทงั้ สวนกม็ ี มีโยมเจา้ ของ
สวนมะพรา้ วกับภรรยาไดม้ ากราบท่าน หวังจะพ่ึงพาอาศยั ท่าน เพราะหมดหนทางทีจ่ ะแก้ไขแล้ว
จงึ กราบเรียนทา่ น และขอให้ท่านเมตตาทำ� น้�ำมนตใ์ ห้ เพ่อื ขจดั ปดั เปา่ ความเดอื ดร้อนจากดว้ งกิน
ยอดมะพร้าวของพวกเขาใหห้ มดสิน้ ไป ท่านเมตตาสงเคราะหช์ ว่ ยเหลอื เขา โดยการท�ำน�้ำมนตใ์ ห้
240
พรอ้ มหยิบไมส้ ฟี ันของท่านใหไ้ ปด้วย ๔ – ๕ อัน พร้อมท้งั ก�ำชับใหเ้ ขาต้ังใจภาวนา “พทุ โธ” ใหด้ ี
แลว้ ใหเ้ อาไมส้ ีฟนั ไปเหน็บที่มุมสวนท้ัง ๔ มมุ กับให้เอาน้�ำมนตไ์ ปพรมรอบๆ สวนด้วย
เมอ่ื โยมเจ้าของสวนมะพร้าวกบั ภรรยากลับไปสวนแล้ว ได้ท�ำตามทห่ี ลวงปฝู่ ้นั ท่านเมตตา
แนะนำ� ทกุ ประการ อกี ๒ วนั ต่อมา กไ็ ด้กลับมาหาทา่ นอีก เม่อื กราบท่านแล้ว ก็ยกมอื ไหวท้ ่วมหัว
พร้อมกราบเรียนว่า ความเดือดร้อนท้ังปวงเหือดหายไปอย่างอัศจรรย์น่าเหลือเชื่อ บัดนี้ตัวด้วง
ทงั้ หลายไดห้ ายไปจากสวนของตนจนหมดสน้ิ แล้ว ไม่ต้องเผาสวนทิง้ เหมือนกับเจ้าของสวนคนอื่นๆ
เรือ่ งทำ� นองนี้ หลวงปูส่ ุวจั น์ เลา่ วา่ “หลวงปู่ฝน้ั เคยชว่ ยศษิ ย์ของท่านทเี่ ป็นเจ้าของไร่นา
เขาไปรอ้ งไหร้ �ำพนั กบั ท่านว่า ท�ำนาแต่ละปไี มไ่ ด้ผล นาลม่ ทุกปี พอถึงเวลาข้าวออกรวงกจ็ ะมพี วก
หนอน เพล้ยี ปู มากดั กินต้นขา้ ว รวงข้าว เสียหายหมด ขอให้ทา่ นชว่ ยเมตตาด้วย เขามารอ้ งไห้
ฟูมฟายมากมาย ทา่ นก็เมตตาสงสารเขา ท่านไปที่นาของเขา ไปยนื ก�ำหนดจิตที่คนั นา ปรากฏว่า
ปีนั้นนาขา้ วของเขาได้ผลดี นำ้� ทา่ บริบรู ณ์ หนอน เพลย้ี ปู มนั คลานหนีออกจากทีน่ าหมด”
ออกจากบ้านฉาง หลวงปฝู่ น้ั ไดเ้ ดินทางเขา้ กรุงเทพฯ และแวะไปพกั กับทา่ นพอ่ ลี ธมฺมธโร
ทวี่ ดั อโศการาม จงั หวัดสมทุ รปราการ จนถึงเดอื นมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงได้พาคณะเดนิ ทางกลับ
จงั หวดั สกลนคร
พ.ศ. ๒๔๙๕ ไปพักวิเวกทีถ่ ำ้� เป็ด
กลับไปสกลนครคราวน้ี เปน็ ชว่ งปลายเดอื นมกราคม ๒๔๙๕ หลวงปฝู่ ั้น อาจาโร ไดเ้ ลย
ไปพักท่ีวัดป่าสุทธาวาส ในตัวเมืองสกลนคร เพ่ือเตรียมการประชุมพระกรรมฐานในวันท่ีระลึก
คลา้ ยวันประชุมเพลงิ ศพหลวงปูม่ ั่น ภรู ิทตฺโต ซง่ึ ตรงกบั วนั ท่ี ๓๑ มกราคมของทุกปี เมือ่ เสร็จ
การประชมุ แลว้ ทา่ นก็กลับไปพักท่ีวัดป่าภธู รพทิ ักษต์ ามปกติ หลังจากพักได้ราว ๒ สัปดาห์ ทา่ นก็
พาพระภกิ ษสุ ามเณรลูกศษิ ยอ์ อกธุดงค์ตามป่าเขาตา่ งๆ อีก เพอ่ื แสวงหาสถานทีอ่ นั เป็นสัปปายะ
เหมาะในการท�ำความเพียร และเปน็ การฝกึ ฝนอบรมพระเณร ซงึ่ การธุดงค์ในป่าจะต้องเผชิญกับ
ภยันตรายต่างๆ มากมาย ย่อมท�ำใหม้ ีจิตใจทีเ่ ขม้ แข็ง เด็ดเดี่ยว อดทน
หลงั จากทอ่ี อกเดนิ ธุดงคไ์ ปตามป่าเขา ได้เดนิ ทางไปถงึ ถำ�้ แหง่ หนึ่งซ่ึงสปั ปายะมาก เรียกวา่
ถำ�้ เปด็ หลวงปู่ฝัน้ ท่านจงึ พาพระเณรพกั วเิ วกทถี่ ำ้� เป็ด เขตอ�ำเภอสว่างแดนดิน ต้ังอยูห่ า่ งจาก
วดั ถำ้� อภยั ดำ� รงธรรม หรือถ้�ำพวงของ ทา่ นพระอาจารยว์ นั อุตฺตโม ซ่ึงอยู่บนภูเหลก็ ประมาณ
๓ กิโลเมตร ปัจจบุ ัน ทง้ั วัดถ�้ำอภยั ดำ� รงธรรม และ วดั ถ�้ำเป็ด อย่ใู นเขตอ�ำเภอสอ่ งดาว ซ่ึงแยก
ออกมาจากอำ� เภอสว่างแดนดนิ มาเป็นอำ� เภอใหม่
241
วัดถ�้ำเป็ด มีสภาพพ้ืนท่ีเป็นธรรมชาติของป่าเขาอันวิเวกเงียบสงัด ห่างไกลจากหมู่บ้าน
และผู้คน เหมาะกบั การบำ� เพญ็ ภาวนาเปน็ อย่างดี ทไี่ ดช้ ือ่ ว่าวัดถำ้� เปด็ ก็เนื่องจากว่า ถำ้� แห่งน้ีมี
ตน้ ตีนเปด็ ขนาดใหญอ่ ายุหลายรอ้ ยปที ีย่ ังใหร้ ม่ เงาอยู่ปากถ�้ำ วดั ถำ้� เปด็ ตงั้ อยู่บนภูผาเหล็ก เป็น
ธรรมสถานอันศกั ดิส์ ทิ ธ์ทิ มี่ ีพอ่ แมค่ รอู าจารยห์ ลวงปู่มน่ั ภูริทตฺโต หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร เคยเดนิ
ธุดงคม์ าปฏิบตั ธิ รรม ในปัจจุบนั ยังคงหลงเหลอื ร่องรอยการมาจำ� พรรษาท่ีป่าแหง่ น้ี คือ กุฏขิ อง
หลวงปูท่ ัง้ สองท่ีถกู สรา้ งขึน้ จากไม้กระดานแบบเรียบง่ายท่ามกลางความสงบร่มเย็น
มีเร่อื งเล่าท่ถี ้ำ� เปด็ เป็นคติให้พระทีเ่ ที่ยวธุดงค์ตามปา่ ตามเขา ดังน้ี “มีอยู่วันหนง่ึ สามเณร
ทอ่ี ยูร่ ว่ มดว้ ย เนอื่ งจากอายุยังนอ้ ยชอบเลน่ ตามประสาเดก็ ๆ ในช่วงกลางวนั ก็ปนี ขน้ึ ไปบนภเู ขา
แลว้ ทดสอบปากอ้ นหนิ ดวู า่ ตนจะมีแรงสามารถขวา้ งปาก้อนหินไปไดไ้ กลสักปานใด กล็ องขวา้ งปา
ดู ๔ – ๕ ก้อน หลวงปู่ฝั้นอยู่ขา้ งล่างไดย้ ินเสียงก้อนหนิ จงึ เรยี กสามเณรลงมาถามว่า “เณร
ปากอ้ นหนิ ใชไ่ หม ?” สามเณรกก็ ้มหนา้ ยอมรบั หลวงป่ฝู ั้นก็เตือนวา่ “ทีหลังอย่าท�ำ การมาอย่ปู า่
อยเู่ ขา จะต้องสงบส�ำรวม ตอ้ งมกี ริ ยิ ามารยาททเ่ี รียบรอ้ ย จะเลน่ คะนองเชน่ น้ันไมไ่ ด้” แลว้
องคท์ ่านจึงได้อบรมสงั่ สอนในเรื่องอนื่ ๆ อกี จากนน้ั กใ็ หส้ ามเณรไปปดั กวาด ทำ� ความสะอาดกุฏิ
อาบน�้ำ เตรยี มตัวปฏบิ ัตธิ รรม
พอตกตอนกลางคืนในคนื นั้นเอง เวลาประมาณเท่ียงคืน ขณะทภี่ กิ ษุสามเณรทุกรูปก�ำลงั
จ�ำวัด ก็ไดย้ นิ เสียงดงั กับๆๆ เหมอื นม้าวง่ิ มาอยา่ งรวดเร็ว มาหยดุ ทช่ี านของกฏุ ขิ องสามเณรนอ้ ย
ซง่ึ อยดู่ ้านล่างเชิงเขา สามเณรได้ยนิ เสียงกต็ กใจกลวั จนตัวสั่น จะร้องให้ใครมาช่วยก็ร้องไมอ่ อก
ในขณะที่หลวงปู่ฝั้นก็ได้ยินเสียงดังกล่าวด้วยเช่นกัน จึงตะโกนเรียก เณรๆ แต่ก็ไม่ได้ยินเสียง
สามเณรตอบรับ ท่านจงึ เดนิ ลงมาจากกฏุ ขิ องท่าน มาดทู ก่ี ุฏสิ ามเณร เพราะกลวั ว่าเสือจะคาบเอา
สามเณรไปกิน เม่ือท่านมาถึงก็เห็นสามเณรนั่งตัวส่ันงันงกอยู่ในกุฏิ ขณะที่ข้างนอกก็ไม่พบสัตว์
หรอื สงิ่ ใดเลย ท่านจงึ กล่าวว่า เรอ่ื งนเ้ี ปน็ อุทาหรณเ์ ตอื นใจถึงการปฏิบัตติ วั ให้มคี วามส�ำรวมกาย
วาจา ใจ ในการออกธุดงค์ในที่ตา่ งๆ เพราะทกุ ๆ ทีล่ ้วนแลว้ แต่มีส่ิงศกั ด์ิสทิ ธิด์ แู ลอยู่”
ขณะทหี่ ลวงปฝู่ ้นั และพระลูกศิษยข์ ้นึ ไปพักทถี่ �้ำเปด็ ใหม่ๆ มีถำ้� เล็กๆ อยถู่ ำ้� หนง่ึ ถัดจาก
ทีพ่ ักของทา่ นลงมา พระศิษยร์ ูปหนงึ่ เห็นว่าท่ีถ�้ำนั้นสงบดี เหมาะแก่การพกั วิเวกจงึ ได้ใหพ้ วกโยมที่
ขึ้นไปสง่ จดั การยกแครไ่ มไ้ ผ่ที่สูงแคค่ ืบเดยี วไปให้เพ่ือใชเ้ ป็นที่พกั ตกเยน็ กอ่ นลงไปพักทถี่ ำ�้ เล็กนนั้
ท่านได้เตอื นพระลกู ศษิ ย์ว่า “ลงไปนอนทถี่ �้ำนนั้ ภาวนาให้ดลี ะ่ อยา่ ถึงกบั หอบบรขิ าร บาตร จีวร
ว่งิ หนี ต้ังใจภาวนาให้ดี อย่าประมาท” วา่ แลว้ ท่านกห็ ยดุ หัวเราะนอ้ ยๆ แลว้ พูดต่อไปอีกวา่
“ความกลวั ของคนเรานน้ั น่ะ ถา้ กลวั สุดขดี ถงึ เปน็ พระกรรมฐาน กเ็ ป็นบา้ ไดเ้ หมอื นกัน ถ้าไม่
กลวั ตายเสยี อย่างเดียว อยู่ไหนก็อยไู่ ด”้
242
พระศิษย์รูปนั้นเข้าใจว่า ท่านกล่าวตักเตือนเป็นปกติเหมือนทุกครั้งท่ีผ่านมา เมื่อตกดึก
ท�ำกิจวตั รเสรจ็ ประมาณ ๖ ทุ่มเศษก็ลงไปถ�้ำเล็ก เข้าท�ำวตั รสวดมนต์ จบแล้วกเ็ อนกายลงนอนพกั
ตง้ั ใจว่าขอเอนหลังสกั ครแู่ ล้วจะลุกขน้ึ มาภาวนา พอก�ำลังเคลิ้มๆ ท่านกส็ ะด้งุ ตืน่ ข้ึนมาดว้ ยความ
ตกใจ เนอ่ื งจากมีฝูงกบและเขยี ดแตกต่นื ออกมาจากถำ้� เป็นฝงู ๆ เพราะแคร่ท่ตี ั้งไว้ก็อยู่ตรงปากถำ�้
พอดี กบใหญ่ๆ ๓ – ๔ ตัว กระโดดขึ้นมาเกาะอยบู่ นหนา้ อกท่าน จนรสู้ ึกเย็นยะเยือก พอทา่ น
ผุดลกุ ขน้ึ นัง่ พวกกบกโ็ ดดหนีไป
พระทา่ นจะลุกหนีออกมาจากถ�้ำ เผอิญนกึ ถงึ คำ� เตอื นของหลวงปูฝ่ ้ันข้นึ มาได้ จึงพยายาม
สงบใจไว้ให้เป็นปกติ น่ังคอยสดับเหตุการณ์อยู่บนแคร่อย่างเงียบๆ ทันใดก็ได้ยินเสียงงูเล้ือยดัง
กราก กราก อยู่ภายในถ้�ำ หากจะโดดหนีก็เหมือนไม่เชื่อพระอาจารย์ จึงได้มุมานะนั่งภาวนา
ฟงั เสียงงเู ลือ้ ย และอยทู่ ่ามกลางเสยี งกบ เขยี ด กระโดดเป็นฝูงๆ อยตู่ ลอดคืน ในท่สี ดุ เมอ่ื จติ สงบ
ดีแลว้ ความกลัวก็หายไปเปน็ ปลิดทงิ้
รุ่งเช้าเม่ือขึน้ ไปทำ� กิจวัตรทกี่ ฏุ หิ ลวงปู่ฝ้นั ตามปกติ หลวงปู่ท่านได้ทักถามขน้ึ ว่า “เปน็ ไงมัง่
เกือบจะหอบบริขารวิ่งหนีความตายแล้วไหมล่ะ จะหนีไปอยู่ท่ีไหน จึงจะพ้นจากความตาย
อย่ทู ี่ไหนก็ตายเหมอื นกัน” พดู จบท่านกล็ ้างหน้าบว้ นปาก แล้วลงเดนิ จงกรมตามปกติ พระภกิ ษุ
รูปนั้นไดแ้ ตร่ ับฟังดว้ ยความแปลกใจวา่ “พระอาจารย์ท่านรไู้ ด้อยา่ งไร ?”
ในระหว่างท่ีหลวงปู่ฝน้ั อยทู่ ถี่ �ำ้ เปด็ มพี ระธดุ งคกรรมฐานแวะเวยี นกนั มาขออย่ปู ฏิบัติธรรม
หลวงป่ลู ี กสุ ลธโร เป็นครูบาอาจารยอ์ งค์หน่งึ ที่เดนิ ธุดงค์มาพกั กบั หลวงปู่ฝน้ั เพราะหลวงปฝู่ ั้นน้นั
เคยมีบุญคุณกับท่าน หลวงปู่ลีท่านเล่าว่า “เราไม่เคยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ครูจารย์หลวงปู่มหาปิ่น
(ปญฺาพโล) เพราะท่านตายตั้งแต่เรายังไม่บวชแล้ว ส่วนพ่อแม่ครูจารย์หลวงปู่ฝั้น ท่านเป็น
พระค่สู วดของเรา เราได้ยินวา่ ท่านอยู่ถ�้ำเปด็ เรากเ็ ดนิ ทางไปหาทา่ น ไปผเู้ ดียวนะ เราเคยร้จู ักกบั
องค์ทา่ นมาก่อนนี้แล้วกส็ นทิ กนั ดี เราไปอย่กู ับองคท์ ่าน ๒ เดอื นกวา่ เราก็ขอโอกาสกราบลาทา่ น
ไปวิเวกต่อ ระหว่างที่อยู่กับองค์ท่าน ก็อยู่ฉันข้าวด้วยกันทุกวัน และช่วงบ่ายเย็นก็ได้ถวายการ
นวดเสน้ แดอ่ งค์หลวงปฝู่ น้ั เปน็ ประจำ� หลวงป่ฝู ัน้ ทา่ นเสน้ เอ็นแขง็ มาก แต่เราก็ไดถ้ วายการรับใช้
ทา่ นดว้ ยความเคารพเทิดทนู สงู สดุ องค์หนึง่ เชน่ กัน”
หลวงปู่ลีพักภาวนากับพ่อแม่ครูจารย์หลวงปู่ฝั้นท่ีถ�้ำเป็ดนาน ๒ เดือนกว่า ถึงแม้ท่าน
ตอ้ งใชเ้ วลานานในการลงเขามาบณิ ฑบาต เพราะระยะทางหา่ งจากหมูบ่ า้ นถึง ๕ กิโลเมตร ก็ไม่เป็น
อุปสรรคแต่ประการใด พอใกล้เข้าพรรษา ก่อนวันเพ็ญเดือน ๖ ท่านก็กราบนมัสการลาท่าน
แล้วออกเดินธดุ งค์ย้อนกลบั มาจำ� พรรษา พอ่ แม่ครูจารยห์ ลวงตาพระมหาบัว ทีว่ ดั ป่าบ้านตาด
243
ตลอดระยะเวลาทห่ี ลวงปู่ลีท่านได้พักปฏิบัติธรรมกับพ่อแม่ครูจารย์หลวงปู่ฝั้นอย่างผาสุก
เยน็ ใจน้นั ท่านไดร้ ับฟงั พระธรรมเทศนา ได้เห็นความเครง่ ครัดในพระธรรมวนิ ยั และธุดงควตั ร
ตลอดขอ้ วัตรปฏิบตั ิปฏปิ ทาอนั น่าเคารพเลอ่ื มใสของหลวงปู่ฝ้นั แล้ว ความศรัทธาและความเคารพ
บูชาก็ย่ิงเพ่ิมพูนมากย่ิงขึ้น สมแล้วท่ีท่านเป็นพระศิษย์อาวุโสองค์หน่ึงของพ่อแม่ครูอาจารย์ม่ัน
ทา่ นเปน็ อีกองค์หน่งึ ในกองทพั ธรรมพระธดุ งคกรรมฐาน ทีม่ ีชอ่ื เสียงกติ ติศัพท์ กติ ติคุณ อันโด่งดงั
และวงกรรมฐานต่างก็ใหก้ ารยอมรับนับถือ ทงั้ มีพระเดนิ ทางมาเพือ่ ขออยู่ศกึ ษาอบรมปฏบิ ัตธิ รรม
ในกาลตอ่ มา หลวงปูล่ ี เมอื่ ทา่ นสรา้ งวัดป่าภูผาแดงแล้ว ท่านกไ็ ดเ้ ทศนถ์ งึ หลวงป่ฝู ั้นให้
บรรดาพระศิษยฟ์ ัง เปน็ ต้นวา่ “เราตอ้ งหาธรรมของพระพทุ ธเจา้ ไปใสใ่ นใจเราดซู ิ เผื่อวา่ มันจะ
แยกแยะได้ ถา้ แยกไมไ่ ด้ กเ็ พราะเดินไม่ตรงตามทางเท่านน้ั เอง เดินไปตามทางที่ท่านก�ำหนดไว้
มนั ก็ไมถ่ ูกตอ้ งนะ ตอ้ งฝกึ ตวั เอง น่ังก็ฝึก นอนกฝ็ กึ เหมือนที่หลวงปู่ฝนั้ ทา่ นว่า นั่งก็วัด นอนก็วัด
วดั ใจของเราดนู ั่นแหละ ทา่ นสอนเขา้ วัดเขา้ วา เราไปตดั เส้ือผา้ ยงั ต้องวดั ขนาด ถา้ วดั แลว้ มนั ไม่ถูก
ทา่ นสอนถงึ ขนาดนัน้ ”
หลวงปูฝ่ น้ั พักวิเวกอย่ทู ่ีถำ้� เปด็ เปน็ เวลาหลายเดือน ทา่ นได้จัดการบูรณะ สร้างถังเก็บน้�ำ
และไดส้ ร้างกุฏิ ๒ – ๓ หลงั รวมทั้งสรา้ งศาลาโรงฉันไวด้ ว้ ย
ปัจจุบนั การไปถ้�ำเป็ดมีถนนหนทางการคมนาคมสะดวกขึน้ กว่าเดมิ แตใ่ นสมัยที่หลวงปฝู่ น้ั
ไปพัก ไมม่ ีถนนหนทางไปบ้านสอ่ งดาว การไปมาต้องเดนิ เท้าแตป่ ระการเดียว หลวงปูฝ่ ้ันไปอยู่
คร้ังแรกมีความยากล�ำบากมาก เพราะอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านถึง ๕ กิโลเมตร ต้องใช้ระยะ
เวลานานในการลงเขามาบิณฑบาต
ทถี่ �้ำเป็ด นอกจากหลวงปูฝ่ ัน้ จะพัฒนาดา้ นสถานท่ี โดยชกั ชวนชาวบา้ นให้ช่วยกนั สรา้ ง
ถาวรวัตถุไวเ้ ป็นสาธารณประโยชน์แล้ว ทา่ นยงั พัฒนาดา้ นจิตใจของชาวบา้ นพรอ้ มกนั ไปดว้ ย โดย
การเทศนส์ ่ังสอนใหร้ ู้จกั การทำ� บุญให้ทาน การรักษาศีล และการปฏิบัตภิ าวนา ทสี่ ำ� คญั อกี อยา่ ง
ทา่ นสอนให้ชาวบา้ น ขยันหม่ันเพียรในการท�ำมาหากิน ปกติเม่ือพ้นฤดูท�ำนาแล้ว ชาวบ้านแถบนน้ั
จะเท่ียวเล่นสนุกสนานไปโดยไร้ประโยชน์ แล้วก็พากันบ่นว่าอดอยาก อาหารการกินก็ไม่อุดม–
สมบรู ณ์ ทา่ นไดแ้ นะนำ� ใหพ้ วกเขาร้จู ักทำ� สวนครัวปลูกผกั ต่างๆ ตลอดจนพริก มะเขอื เปน็ ตน้
แรกๆ มเี พยี งไม่กีค่ นทที่ ำ� ตาม ซ่ึงกไ็ ดผ้ ลดี และชว่ ยแกป้ ญั หาด้านเศรษฐกจิ ของครอบครัว ไมต่ อ้ ง
ทนอยู่อยา่ งอดๆ อยากๆ เหมอื นแต่ก่อน ท�ำใหช้ าวบ้านส่วนใหญ่พากันเอาอยา่ ง บางรายได้ผลดี
จนถงึ สามารถน�ำผลติ ผลไปจำ� หน่ายได้อย่างเป็นกอบเป็นก�ำ
ความสะอาดเป็นอีกเร่ืองหน่ึงที่ท่านพยายามเทศน์อบรมชาวบ้าน แล้วชักชวนลูกบ้านให้
ช่วยกันรกั ษาความสะอาดบา้ นเรือนของตนเองทกุ ครวั เรือน เวลาออกบณิ ฑบาต ถ้าเห็นตรงไหน
244
สกปรกรกรงุ รงั ท่านก็บอกใหท้ �ำความสะอาดตรงนัน้ ไมน่ านหมู่บา้ นนน้ั กส็ ะอาด มองไปทางไหนก็
ดูสดใสสบายตาขนึ้ มาก ไมว่ า่ จะเปน็ บ้านเรือน หรอื ถนนหนทางทว่ั ไป แลดสู ะอาดสะอา้ นไปหมด
นา่ ช่ืนใจ สว่ นอกี หมู่บา้ นหนงึ่ ที่อยู่ใกลๆ้ กับถ�้ำเป็ด พอถงึ ฤดแู ลง้ ชาวบ้านไมท่ �ำมาหากนิ อะไรเลย
เฝ้าแต่จะขุดหาอึ่งอ่างมากิน แต่ละวันได้แค่ตัวสองตัว หรือบางวันไม่ได้เลย ความเป็นอยู่ก็ย่ิง
อดอยากแร้นแค้นกว่าเดมิ ท่านไดใ้ ช้โอกาสเวลาชาวบ้านมาฟงั ธรรม เทศน์อบรมว่าเปน็ การขยัน
ในทางทผ่ี ิด ปราศจากประโยชนท์ ัง้ ส่วนตวั และส่วนรวม การออกเที่ยวขุดอ่งึ อา่ งหากิน ได้ไม่คมุ้ ค่า
กบั เวลาและแรงงานทีเ่ สยี ไป ควรเอาเวลาทวี่ ่างจากการท�ำนา พากันมาขุดดินท�ำไร่ทำ� สวนจะดกี ว่า
ชาวบา้ นต่างก็เชอื่ ทที่ ่านแนะนำ� และได้พากันทำ� ตาม จนบงั เกดิ ผลดขี น้ึ มาโดยล�ำดับ บางคนถึงไป
พูดกบั ทา่ นว่า ถา้ ท�ำอย่างท่ีท่านแนะมาตัง้ แต่ต้น ปา่ นน้คี งต้งั หลกั ฐานกันไดห้ มดแล้ว
รับภาระหนักเพราะเมตตา
หลวงป่ฝู ้ัน อาจาโร พร้อมด้วยพระเณรลูกศษิ ย์ พ�ำนักท่ีถำ้� เปด็ จนใกลจ้ ะถึงเขา้ พรรษา
คณะตำ� รวจโรงเรียนพลตำ� รวจ เขต ๔ ได้น�ำรถจ๊ปี กลางข้ึนไปรบั เพ่อื นมิ นต์ให้ทา่ นกลับลงมา
จำ� พรรษาที่วัดปา่ ภูธรพิทักษ์ เป็นพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ขณะทา่ นมอี ายุ ๕๓ ปี พรรษา ๒๘
ในพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ น้ี มพี ระเณรเพิม่ จ�ำนวนข้ึนมาก หลวงปูฝ่ ั้นท่านจงึ ต้องรบั ภาระ
เพิม่ ข้นึ ไปดว้ ย ทงั้ การส่งั สอนศษิ ย์ภายใน คอื พระภกิ ษุสามเณร และศษิ ย์ภายนอก คอื บรรดา
ญาติโยมท่ไี ปศกึ ษาธรรม ตลอดจนคณะอุบาสก อุบาสกิ าที่ไปรกั ษาศลี อุโบสถเป็นประจำ� ทุกวนั พระ
ท่านได้บ�ำเพญ็ ตนเปน็ ตวั อย่างแก่บรรดาศิษย์อยา่ งเคร่งครดั เสมอตน้ เสมอปลาย ตลอดท้งั พรรษา
โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในวนั พระอโุ บสถ ตอนกลางคืนทา่ นจะพาสานศุ ษิ ยน์ ัง่ สมาธภิ าวนาตลอดทง้ั คืน
เม่ือท่านเห็นว่ามีง่วงเหงาหาวนอนก็จะเทศน์อบรมสลับไปเป็นช่วงๆ ปฏิปทาของท่านเป็นท่ีน่า
เล่ือมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างย่ิง มีหลายต่อหลายคนมาบอกปฏิญาณตนเลิกการประพฤติ
ช่ัวต่างๆ โดยเด็ดขาดตลอดชวี ติ นบั วา่ ท่านได้ยังประโยชน์แก่มวลชนไดผ้ ลเป็นอยา่ งมาก
การถือธุดงค์ในช่วงเข้าพรรษา ตามปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่ัน
หลวงปู่ฝั้นทา่ นกพ็ าดำ� เนนิ อย่างเครง่ ครัด หลวงปคู่ �ำดี ปญโฺ ภาโส บันทึกไวด้ งั น้ี
“ครัน้ กลบั จากการเดนิ ธุดงคป์ ฏบิ ตั ิธรรมแสวงหาโมกขธรรมตามสถานที่ต่างๆ แลว้ จวน
เวลาทจี่ ะเข้าพรรษา หลวงตาค�ำดที ่านกเ็ ดินทางกลบั มาพกั จ�ำพรรษาอย่กู บั หลวงป่ฝู นั้ อาจาโร
ผเู้ ป็นอาจารย์ ทา่ นเล่าวา่ พรรษาปี ๒๔๙๕ นี้ มีเพอ่ื นสหธรรมิกอยู่รว่ มกนั หลายรูป เช่น อาจารย์
ถวิล จณิ ณฺ ธมโฺ ม จนั ทบุร ี อาจารย์พวง สขุ นิ ฺทรโิ ย ยโสธร อาจารยส์ ุพัฒน ์ สขุ กาโม บา้ นตา้ ย
สกลนคร อาจารยบ์ ุญเพ็ง เขมาภริ โต ถ้�ำกลองเพล
245
พรรษาน้ปี กตกิ ท็ ำ� วัตรสวดมนต์ อ่านพระวินยั นั่งภาวนา สองวันหรือสามวันพระอาจารย์
(หลวงปฝู่ ้ัน) จึงลงมาอบรมใหโ้ อวาท แลว้ ใหโ้ อกาสซักถามขอ้ สงสยั ได้ รูส้ กึ ว่าพระเณรเพลดิ เพลิน
ในการปฏิบัติกันอย่างจริงจัง มีพระเณรสมาทานธุดงค์กันหลายรูปต่างๆ กัน บางท่านสมาทาน
ฉันเฉพาะท่ีบิณฑบาตได้ อาหารน�ำมาถวายทหี ลงั ไม่รับ การฉันนน้ั ฉันมอ้ื เดยี ว อาสนะเดียว นีเ้ ปน็
ปกติของสำ� นักวัดป่าอยู่แล้ว บางท่านก็สมาทานไม่นอน ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง บางท่าน
ก็สมาทานเข้าไปอยใู่ นป่าช้า หรือไปเยย่ี มปา่ ช้าเปน็ ประจ�ำ (รมิ วดั มีปา่ ช้าอยู่แลว้ )
กลา่ วถงึ เร่อื งธุดงค์ ธุดงค์เป็นข้อปฏิบตั ิขนั้ อกุ ฤษฏ์ ซง่ึ เพ่ิมจากพระวินยั เปน็ การฝกึ หดั จิต
ให้มีสัจจะ ให้มีความกล้า เป็นสัลเลขเครื่องขัดเกลากิเลส นักปฏิบัติจึงนิยมสมาทานตามความ
สามารถท่ีจะปฏิบัติได้ ท�ำให้การปฏิบัติของแต่ละท่านได้อุบายและมีปัญหาธรรมะที่จะถามอาจารย์
อยู่เสมอ อาจารย์กม็ ีโอกาสทจี่ ะอธบิ ายขยายธรรมใหศ้ ษิ ยไ์ ด้รับฟงั อย่างกวา้ งขวาง”
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ผาง ปริปุณโฺ ณ พระศิษย์อาวโุ สของ
หลวงปู่พรหม จริ ปญุ โฺ ขณะนนั้ หลวงปูผ่ างท่านบวชได้ ๖ พรรษา ท่านไดก้ ราบลาหลวงปูพ่ รหม
ออกเดินธุดงคจ์ ากวัดผดงุ ธรรม บ้านดงเยน็ อำ� เภอบ้านดุง จงั หวดั อุดรธานี ปลีกวิเวกไปยงั จังหวัด
สกลนคร ท่านได้มาพักปฏิบัตธิ รรม ศึกษาธรรมกบั หลวงปฝู่ ัน้
จากนั้นหลวงปฝู่ ้ันมกี จิ นมิ นตล์ งไปกรงุ เทพมหานคร พร้อมด้วย หลวงปกู่ งมา จิรปุญฺโ
เสร็จกิจแลว้ ท่านทงั้ สองไดเ้ ลยไปจังหวดั จันทบุรีอกี คร้งั หนงึ่ ซึ่งการเดนิ ทางในครัง้ นีม้ ีหลวงปูอ่ ุ่น
กลยฺ าณธมโฺ ม เปน็ พระตดิ ตาม ในคร้งั นหี้ ลวงปูฝ่ น้ั ได้แสดงอ�ำนาจจิตอศั จรรยข์ องทา่ นใหป้ รากฏ
เปน็ ทปี่ ระจกั ษ์อีกครั้ง โดย หลวงปูก่ งมา เล่าไว้ดังนี้
“สมัยหนง่ึ หลวงปฝู่ ้ันได้ธุดงคไ์ ปยงั จงั หวดั จนั ทบรุ ี ทา่ นไดร้ บั นิมนตไ์ ปแสดงธรรมในงานศพ
มีผู้มาฟังธรรมเป็นจ�ำนวนมาก ในขณะท่ีท่านแสดงธรรมอยู่นั้น มีคนกลุ่มหนึ่งไม่สนใจในธรรมที่
ท่านแสดง เล่นหมากรุก เมาสุรา ส่งเสียงเอะอะโวยวายรบกวน ท่านจึงส่งกระแสจิตไปปราบ
พวกขี้เหล้าเหลา่ น้ัน เปน็ ทนี่ า่ อัศจรรยเ์ ปน็ อย่างยิง่ ขเี้ หล้าเหล่านัน้ หยดุ น่ิงไร้การเคล่อื นไหว บางคน
ยืนอา้ ปาก บางคนถือหมากรุกในมอื บางคนคอพับ ไม่สามารถไหวตงิ ได้ จนกระทั่งทา่ นแสดงธรรม
ให้พรจบลง เดินทางกลับ ขีเ้ หล้าเหล่าน้ันจงึ กลับมาส่ภู าวะความเปน็ ปกตไิ ด้”
กลบั จากจนั ทบุรี หลวงปู่ฝ้ันท่านไดแ้ วะเข้าพกั ที่ วดั อโศการาม อำ� เภอเมอื ง จังหวัด
สมุทรปราการ หลังจากนน้ั ท่านก็เดินทางกลบั จงั หวดั สกลนคร โดยมคี ณะศษิ ยจ์ ากกรงุ เทพฯ บา้ ง
จากจงั หวดั อนื่ บ้าง ตดิ ตามไปรบั การอบรมธรรมจากท่านกันหลายคน พรอ้ มทั้งคณะทายกทายิกา
ทีเ่ ป็นลกู ศิษยป์ ระจ�ำอยูก่ อ่ น กย็ กขบวนเข้ารับการอบรมด้วยเปน็ จ�ำนวนมาก เปน็ เหตใุ ห้ท่านต้องมี
ภาระในการรับแขกมากยง่ิ ขึ้น แต่ท่านกไ็ ม่เคยแสดงอาการท้อแท้ หรอื เบือ่ หน่ายให้ใครได้พบเหน็
246
ใครจะไปนมสั การเม่อื ใด ท่านกต็ อ้ นรบั เสมอหน้ากนั หมด บางครง้ั แขกมากมายท้ังกลางวัน
กลางคืน จนทา่ นจะหาเวลาลกุ ไปสรงน้�ำก็ยังยาก กว่าแขกจะกลบั หมดกต็ ก ๓ ทมุ่ ๔ ทุ่ม ท่านจึง
มีโอกาสสรงน�้ำ เคยมีพระลูกศิษย์ถวายค�ำแนะน�ำขอให้ท่านรับแขกเป็นเวลา แต่ท่านไม่ยอม
ท่านบอกวา่ จะท�ำใหพ้ วกเขาเหล่านั้นเสียเวลาทำ� มาหากิน ที่ต้องมารอกันเสยี เวลาเป็นช่วั โมงโดย
เปลา่ ประโยชน์
ในตน้ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมมฺ ทินโน ทา่ นเปน็ พระศษิ ย์อาวโุ สองคส์ ำ� คญั
องค์หนงึ่ ของทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ซ่งึ ทา่ นเป็นทั้งญาตใิ กล้ชดิ สนทิ สนมกนั มาก เปน็ ทัง้ สหธรรมกิ
ที่เคยร่วมธุดงค์กบั หลวงปูฝ่ น้ั ทา่ นได้มรณภาพ เม่อื วันท่ี ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้ฝาก
คติธรรมอันเลศิ เลอ นบั เป็นเกยี รตปิ ระวัติอันเล่อื งลอื และงดงามยิ่งของวงพระธดุ งคกรรมฐานสาย
ท่านพระอาจารย์ม่ัน และนบั ว่าสมเกยี รติแก่ท่านผู้ไดป้ ฏิบัติธรรมในพระพทุ ธศาสนามาโดยแท้
ในขณะท่ีทา่ นพระอาจารยก์ ูจ่ ะสนิ้ ลมปราณนน้ั คงเหลือแต่ทา่ นพระอาจารย์กว่า สุมโน
น้องชาย และพระ ๑ องค์ เณร ๑ องค ์ ผู้เฝา้ ปฏบิ ตั อิ ยา่ งใกล้ชิด ได้เหน็ ทา่ นพระอาจารยก์ นู่ งั่ สมาธิ
ท�ำความสงบแนน่ ิง่ อยู่ เฉพาะส่วนภายใน โดยมไิ ดห้ วาดหวน่ั พร่ันพรึงต่อมรณภัย และสน้ิ ลมหายใจ
ในอิริยาบถทา่ นั่งสมาธิอย่างสงบ ณ ถำ้� เจ้าผขู้ า้ ภพู าน
เม่ือทา่ นพระอาจารยก์ ู่ ธมฺมทนิ โน ถึงแกม่ รณภาพ พระอาจารยก์ ว่าจงึ ไดร้ ว่ มกับชาวบา้ น
เชญิ ศพของท่านบรรจุหบี นำ� มาไว้ทีว่ ัดปา่ กลางโนนภู่ อ�ำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร เพอ่ื จัด
งานบ�ำเพญ็ กุศลและฌาปนกจิ ศพถวายทา่ นพระอาจารย์กู่ มีพอ่ แมค่ รูบาอาจารย์ได้มาร่วมงานกนั
มากมาย อาทเิ ช่น หลวงปู่ออ่ น าณสิริ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร หลวงป่ฝู ้ัน อาจาโร หลวงปู่
ผ่าน ปญฺาปทโี ป เป็นตน้
อบุ ายสอนญาติโยมโดยใชส้ ผี ึ้งทาปาก
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เมอ่ื ถึงใกลเ้ ข้าพรรษา หลวงปู่ฝนั้ อาจาโร ทา่ นยังคงพาพระเณร
จำ� พรรษาอย่ทู ่วี ัดปา่ ภูธรพทิ กั ษ์ จังหวดั สกลนคร ติดตอ่ กนั เปน็ ปีท่ี ๙ ขณะท่านมีอายุ ๕๔ ปี
พรรษา ๒๙ ระหวา่ งน้ันทางด้านฆราวาสญาตโิ ยมยิง่ เพ่ิมจ�ำนวนมากขึน้ ผู้ทไ่ี ปนมสั การก็มมี าก
จากท้ังใกลแ้ ละไกล แตท่ า่ นก็ยงั เข้มแข็งในปฏิปทาตามปกติ ในพรรษานี้ครบู าอาจารยอ์ งค์ส�ำคญั ที่
อย่รู ่วมจ�ำพรรษา ได้แก่ หลวงปสู่ วุ ัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารยส์ ิงหท์ อง ธมฺมวโร หลวงปู่สมยั
ฑฆี ายุโก หลวงปสู่ รวง สิริปญุ โฺ ฯลฯ
เหตกุ ารณใ์ นพรรษานี้ หลวงปู่ฝัน้ ท่านสอนทา่ นพระอาจารย์สิงหท์ อง เกี่ยวกบั อุบายสอน
ญาติโยมโดยใชส้ นี วด (สีผึง้ ทาปาก) ไว้ดังน้ี
247
“ทา่ นพระอาจารย์สิงห์ทอง ตั้งแต่สมยั ทา่ นยังหนุม่ ๆ ทา่ นเคยจ�ำพรรษากบั หลวงปู่ฝนั้ ดว้ ย
ท่านเลา่ ให้ฟงั วา่ หลวงปฝู่ ้ันเรานีฉ้ ลาดอย่างไร คอื ชาวบ้าน ไอเ้ ดก็ ๆ ทีม่ นั มีรา้ นคา้ ของพอ่ แม่ มันก็
เอาสผี งึ้ ทนี่ ั่นเขาเรียก “สนี วด” เอาสีนวดมา
หญงิ สาว : “ป่เู สกให้หนอ่ ย เจ้าคะ่ ”
หลวงป่ฝู นั้ : “อยากจะใหห้ นมุ่ ติดใจเหรอ ?”
หญงิ สาว : “ไมใ่ ช่เจา้ ค่ะ คนจะได้มาซ้ือของ”
หลวงป่ฝู ัน้ : “เฮย้ ! เราจะให้คนมาซือ้ ของเน่ีย เราตอ้ งย้มิ แย้มแจ่มใส เขาจะรื้อ เขาจะคน้
อะไร เรากต็ อ้ งไม่ไปดวุ ่าเขา เรากต็ ้องบรกิ ารอย่างด”ี สอนข้อ ๑ ขอ้ ๒ ขอ้ ๓ อยา่ งโน้น อย่างนี้
“จำ� ได้ไหม ?”
หญงิ สาว : “จ�ำได้ เจา้ ค่ะ”
หลวงปฝู่ นั้ : “ไหนวา่ ใหป้ ูฟ่ งั ส”ิ
หญิงสาวกว็ ่าให้หลวงปฟู่ ังจนจบ หญิงสาวจ�ำไดด้ ี
หลวงปฝู่ ้ัน : “ตกลงนะ ไมต่ ้องไปเช่ือสีนวดนะ” มนั ก็กราบลา พอจะเดินไปถงึ ประตู
“อ้าว ! หล้า (หลานสาว) ไหนละ่ ๆ ไอส้ ีนวดจะให้ปู่เสก ?” กเ็ อามาให้เสก พอกลบั ไปเรยี บร้อย
ท่านพระอาจารยส์ งิ หท์ องกบ็ อก : “ไหนครูจารย์ สอนมนั ดีๆ แลว้ เสร็จแลว้ ไปเอาสีนวด
มาทำ� ไม ?”
หลวงปู่ฝั้น : “อู๊ย ! พอสอนมนั ดีๆ เนย่ี นะ มนั ก็จ�ำไดว้ นั ที่ ๑ วันที่ ๒ วันที่ ๓ พอถึง
วนั ท่ี ๔ มนั กล็ มื มันกไ็ ปด่าเขาอีก แตถ่ า้ เผ่ือเรา สนี วดใหไ้ ป พอมนั สีตอนเชา้ มันก็นึกถึงหลวงปูว่ า่
อยา่ งน้ีนะ กว่าสนี วดจะหมดตลบั นี่ มันเข้าไปอยูใ่ นใจมันแลว้ ”
ท่านจ�ำพรรษาอยูด่ ว้ ย ทา่ นก็ “อา้ ว ! ปสู่ อนมนั ดีๆ มนั ร้เู รื่อง กราบลาเรยี บร้อย เอา้ !
เอาสนี วดมา ป่จู ะได้เสกให้” ท่านก็บอก “ถา้ เผื่อเสกใหม้ นั แต่แรก มนั กไ็ มไ่ ดเ้ รื่อง แตถ่ ้าสอนมัน
อยา่ งนี้ มันก็ได้เรื่อง แตถ่ า้ ไมม่ ีสีนวด ๓ วัน มนั ก็ลมื แต่ถ้ามสี ีนวดด้วย กว่าสนี วดจะหมดกระปุก
มนั ก็จ�ำไดข้ ้นึ ใจมันแลว้ ” แต่ทจี่ ริงท่านกจ็ ะสอนเราดว้ ย คอื อยา่ ไปดูถูกดูหมน่ิ ครบู าอาจารย์ว่า
คล้ายๆ กับวา่ ทา่ นพางมงาย อนั ท่จี ริงท่านมีเหตุผลของทา่ น”
พ.ศ. ๒๔๙๖ ความอดทนของหลวงปฝู่ ้ัน – ทา่ นนมิ ติ เหน็ ถ้�ำขาม
ตามประวตั ิหลวงปสู่ ุวจั น์ สวุ โจ บันทึกไวด้ งั น้ี
248
“เราจะไปอยู่ทใ่ี ดก็ตามไม่ควรลืมครูบาอาจารย์ เมอื่ เรากลับมาหาครูบาอาจารย์ จิตเราก็ได้
กำ� ลงั เพิ่มขึ้น ได้ฟงั ธรรมอันเป็นอุบายอันแยบคายเพิม่ ข้นึ ศิษย์จึงไม่ควรหา่ งครบู าอาจารย์นานนัก
เพราะในพระวนิ ัยกบ็ อกไว้แลว้ วา่ ศษิ ยค์ วรจะปฏบิ ัตติ อ่ ครูบาอาจารยเ์ ชน่ ไร ไปที่ไหน เราจึงไป
ไม่นาน ต้องยอ้ นกลบั มากราบทา่ นพระอาจารย์ฝ้นั
เมื่อพระอาจารย์สุวัจน์ไปอยู่ทางภาคใต้ ท่านได้อบรมสั่งสอนประชาชนทางภาคใต้ให้
เลื่อมใสสนใจปฏิบัติธรรม น้อมน�ำตนให้เข้าสู่พระธรรมค�ำสอนได้อย่างมากมาย เม่ือมีผู้เข้ามา
ศรัทธาเลอื่ มใส ทา่ นก็จะแนะนำ� ชนเหลา่ นั้นใหเ้ ข้ามาหาท่านพระอาจารยฝ์ ั้น นำ� ชนเหลา่ นั้นมา
เป็นศษิ ยท์ า่ นพระอาจารย์ฝัน้ ...
พ.ศ. ๒๔๙๖ เน่ืองจากโยมมารดาป่วย ญาติโยมส่งข่าวไปให้ทราบ เราจึงเดินทางจาก
ภาคใตก้ ลับมาจังหวัดสรุ ินทร์ และไดฝ้ ากใหญ้ าติโยมดแู ลโยมมารดา ส่วนเราเดนิ ทางเข้าไปพกั
จ�ำพรรษากับทา่ นพระอาจารย์ฝน้ั ทีว่ ดั ปา่ ภธู รพิทกั ษ์ จังหวดั สกลนคร
สมยั ก่อนโน้น ทา่ นพระอาจารยฝ์ ัน้ มีความอดทนมากนะ ถ้าจะเปรยี บเทียบกับพวกเราแล้ว
เราทัง้ หลายยังไกลนัก ทา่ นไปอยใู่ นปา่ ดงพงไพรที่ชกุ ชมุ ดว้ ยไข้ป่า สัตวป์ า่ เสือ ช้าง ท่านก็อยูไ่ ด้
เปน็ อยา่ งดี อนั นเ้ี ราน่าคดิ พจิ ารณากันให้ดี วา่ ทา่ นผา่ นพน้ ความเป็นความตายมาได้อย่างไร อะไร
มารกั ษาใหท้ ่านอยู่รอดปลอดภยั เม่ือพูดถงึ ทาน ศีล ภาวนา หรือ ศีล สมาธิ ปญั ญา
พระอาจารยท์ ้งั หลายทัง้ ปวงนัน้ ทา่ นกต็ อ้ งพรอ้ มและบริสุทธ์ิทุกเม่อื อย่างไมต่ อ้ งสงสัย
ฉะน้นั การท่ีท่านส่งั สมบารมธี รรม ออกปฏบิ ตั พิ ระกรรมฐานจนปรากฏความสำ� เรจ็ ไดอ้ ยา่ ง
น่าภาคภูมิใจ เราทั้งหลายเป็นบุคคลภายหลงั ท่านสอน บอก แนะนำ� กเ็ อาธรรมะความเปน็ จริง
นนั้ แหละมาสอน เป็นธรรมะจากดวงใจอนั บรสิ ทุ ธ์ิผดุ ผอ่ งของท่านมาบอกใหเ้ รา นำ� ปอ้ นเขา้ ปาก
เลยทีเดียว เราจงึ เปน็ เพยี งผเู้ คี้ยวกลืนเทา่ นน้ั
ทา่ นพระอาจารย์ฝัน้ ทา่ นเคยพดู วา่ “คนเด๋ยี วนแี้ ปลก สอนยากเหลือประมาณ เอาของดี
ให้น�ำไปปฏบิ ัตใิ ห้เป็นธรรม เขาเหล่านั้นไมย่ อมรับ ไปรบั เอาสิ่งอ่นื ที่ไกลตวั ชอบคว้าเอามา
เหมือนหมากบั เงาฉะน้นั ””
ตอนกลางพรรษาปีน้ัน หลวงปฝู่ ั้นท่านได้ปรารภกับศิษยท์ ง้ั ปวงหลายครั้งวา่ ระหว่างท่ี
ท่านนั่งสมาธภิ าวนา ทา่ นได้นมิ ติ เหน็ ถำ้� อยถู่ ้�ำหน่งึ อยทู่ างทิศตะวนั ตกของเทอื กเขาภพู าน ในถำ้�
น้นั มีแสงสว่างไปท่วั ถ้ำ� ความสว่างเท่าๆ กับตะเกยี งเจ้าพายุ ๒ ดวง มีลมพัดเย็นสบาย อากาศดี
สงบและวิเวก เหมาะกับการบ�ำเพ็ญภาวนาอยา่ งยิ่ง เมอ่ื ข้ึนไปอยใู่ นถ้�ำนั้นแลว้ เหมอื นกบั อยู่ในอีก
โลกหนึ่งเลยทีเดียว ท่านยงั ปรารภหลายครง้ั ดว้ ยว่า ออกพรรษาแล้วจะตอ้ งไปดใู ห้ได้
249
ภาค ๑๕ บุกเบิกพัฒนาถ�้ำขาม
ค้นหาถำ้� ตามนมิ ิต
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พอออกพรรษาแลว้ หลวงปฝู่ ั้นกต็ ดั สนิ ใจออกไปบุกเบิกคน้ หาถ้�ำตามท่ี
ท่านเห็นในนิมติ โดยพาพระ ๑ องค์ กับเณร ๑ องค์ ตดิ ตามไปกับท่าน ทา่ นไม่ไดไ้ ปคน้ หาถำ้�
โดยตรงเลยทีเดยี ว เพราะมีกิจอนื่ ต้องไปท�ำด้วย เริ่มแรกทา่ นพาพระเณรไปพักที่ วัดป่าอดุ มสมพร
อ�ำเภอพรรณานิคม บ้านเกิดของท่าน เพ่ือพาคณะญาตโิ ยมบ�ำเพ็ญกศุ ลทกั ษิณานุประทาน อทุ ิศแก่
บพุ การที ง้ั หลาย เสรจ็ แลว้ ออกเดินทางไปวัดป่ากลางโนนภู่ อำ� เภอเดียวกัน เพือ่ รว่ มงานบำ� เพ็ญ
กุศลครบรอบวนั ฌาปนกจิ ของ ทา่ นพระอาจารย์กู่ ธมมฺ ทินฺโน อดตี เจ้าอาวาส
ในตน้ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลังเสรจ็ งานบ�ำเพญ็ กุศลถวายทา่ นพระอาจารยก์ ู่ หลวงปู่ฝน้ั และ
พระเณรติดตามได้เดนิ ทางต่อไปยังบ้านค�ำข่า ซง่ึ เป็นหมู่บ้านเชงิ เขาภูพาน ใกล้ถำ้� ขาม พวกโยมได้
พาท่านไปพักในดงขา้ งหมู่บ้าน เป็นดงหนาทึบมาก ชาวบ้านเรยี กกันว่า ดงวัดร้าง ท่านพาพระเณร
ปักกลดภาวนาอยู่บริเวณนั้นประมาณคร่ึงเดือน เพ่ือรอสอบถามญาติโยมเกี่ยวกับถ้�ำที่มีลักษณะ
ดังกลา่ ว เมือ่ รูจ้ ักคนุ้ เคยกับญาติโยมชาวบ้านคำ� ขา่ ดีแลว้ ท่านกถ็ ามพวกเขาว่า “ภูเขาแถบนมี้ ถี ำ�้
บ้างหรอื ไม่ ?” พวกโยมตอบว่า มอี ยู่หลายแห่ง มที ้งั ถ้�ำเลก็ และถ�้ำใหญ่ ท่านจึงให้พวกโยมพาข้นึ ไป
ดูในวันต่อมา วันน้ันทัง้ วันไดไ้ ปดูหลายถ้�ำ แตไ่ มต่ รงกับถ�้ำที่ท่านนมิ ติ เหน็ จึงกลบั ลงมาพักท่เี ดมิ
ญาตโิ ยมไดบ้ อกท่านว่า ยงั มีอกี ถ�้ำหนึ่งอยู่บนยอดเขา บนเทอื กเขาภพู าน เปน็ ถ�้ำใหญม่ าก
ชาวบา้ นเรยี กกนั วา่ “ถำ้� ขาม” ทกุ ปีเม่ือถงึ วันสงกรานต์ พวกชาวบา้ นจะพากันข้ึนไปทำ� บญุ และ
สรงนำ�้ พระพุทธรูปในถ�้ำเป็นประจ�ำ วันร่งุ ขน้ึ ชาวบา้ นจึงไดพ้ าท่านขึ้นไปดู การเดินทางเตม็ ไปดว้ ย
ความยากลำ� บาก ต้องปีนต้องไตไ่ ปตามไหล่เขา ท่ีเตม็ ไปดว้ ยขวากหนามตลอดทาง เมอ่ื ขน้ึ ไปถงึ
ถ้�ำขามแล้ว ทา่ นไดเ้ ดินดรู อบๆ บรเิ วณอยสู่ ักครู่ ท่านกอ็ อกปากวา่ “เออ ! ถำ�้ นีแ้ หละที่เรานิมติ
เหน็ ตอนกลางพรรษา” แลว้ ทา่ นกใ็ ห้ญาติโยมจัดหาไม้มาท�ำเป็นแคร่นอนขน้ึ ในถ�้ำน้ันรวม ๒ ที่
ใหเ้ ปน็ ท่ีพักชว่ั คราว ท่านบอกว่า แต่เดมิ ทา่ นตง้ั ใจจะพักคา้ งคืนในคนื นน้ั เลย แตเ่ นอ่ื งจากไม่ได้
เตรยี มบริขารและเสบียงอาหารข้นึ ไปดว้ ย จงึ จำ� ตอ้ งกลับลงมากอ่ น ระหวา่ งทางทลี่ งมาน้ัน ท่านได้
ใหพ้ วกโยมท�ำทางลงมาดว้ ย จะไดข้ ้ึนได้สะดวกในวนั หลัง
เช้าวนั รงุ่ ขน้ึ หลงั จากฉนั จงั หันเสร็จแล้ว หลวงปฝู่ ้นั และพระเณรตดิ ตามก็เดินทางข้นึ ไปยงั
ถำ�้ ขาม พร้อมด้วยญาตโิ ยมและเสบยี งอาหาร เพราะถำ้� น้ันอย่หู า่ งจากหมูบ่ า้ นมาก ประมาณ ๕ – ๖
กิโลเมตร การสัญจรไปบิณฑบาตไม่สะดวก ต้องอาศัยลูกศิษย์ท�ำอาหารเอง และต้องเตรียม
คา้ งคนื ในป่า เพราะระยะทางคอ่ นขา้ งไกล เวลาพลบคำ่� ชาวบ้านไม่กลา้ เดนิ ทางกลับกลัวเสอื จะมา
คาบไปกนิ ระหว่างทาง
250
ถ�ำ้ ขาม
ถ้�ำขาม เปน็ ถำ�้ ทเี่ กิดข้ึนตามธรรมชาติ ตง้ั อยใู่ นภูขาม ซงึ่ อยทู่ างทิศตะวนั ตกของเทือกเขา
ภพู าน ทา่ มกลางปา่ รกชฏั ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ ปัจจุบันขน้ึ กบั หมู่ ๔ บ้านค�ำขา่ ต�ำบลไร่ อ�ำเภอ
พรรณานิคม จงั หวัดสกลนคร บรเิ วณปากถ�้ำมีตน้ มะขามใหญ่เกดิ ข้ึน จงึ เปน็ ที่มาของช่อื ถ้�ำ อกี ทั้ง
ท่ัวบรเิ วณถ้�ำขามจะมีลิงปา่ อาศยั อยู่มากเชน่ กนั เพราะธรรมชาตผิ นื ปา่ อนั อดุ มสมบรู ณ์ ในอดตี การ
เดินทางขึน้ สู่ถำ้� ขามเต็มไปด้วยความยากลำ� บาก ท้ังระยะทางไกล ทรุ กนั ดารมาก และท้งั ตอ้ งเสยี่ ง
ภัยอันตราย เพราะเป็นป่าเขาสงู และมสี ตั ว์ป่า สตั วร์ ้ายมากมาย ท้ังเคยเป็นท่อี ยูอ่ าศัยของเสือ
ถ้�ำขาม ถึงแม้บริเวณวดั ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาจะไม่กวา้ งขวางมากนัก และภูเขาก็ไมส่ งู มาก
แตอ่ ากาศดบี รสิ ทุ ธปิ์ ลอดโปรง่ สดช่ืน มลี มพดั เย็นสบาย แมใ้ นหน้ารอ้ น อากาศกไ็ ม่รอ้ นมากนัก
แตใ่ นหนา้ หนาว กไ็ ม่หนาวมาก แมจ้ ะเหน็ดเหนอื่ ยเม่อื ยล้าจากการเดินทางไกลอนั แสนทุรกันดาร
แต่เมือ่ ขนึ้ ถงึ บนถ้�ำขาม ไดพ้ กั ผ่อนเพยี งเลก็ นอ้ ยไม่ก่นี าที อาการเหน็ดเหนื่อยก็หายเปน็ ปลดิ ท้งิ
กลับเปน็ ความอ่มิ เอบิ สดช่นื เน่อื งจากอากาศสปั ปายะมาก และทศั นยี ภาพบนถำ้� ขามโดยรอบเป็น
ธรรมชาติป่าเขาอนั เขยี วขจี งดงามกว้างใหญส่ ุดลูกหลู ูกตา จงึ เปน็ สถานที่สัปปายะเหมาะกบั การ
บ�ำเพ็ญภาวนาของพระธดุ งคกรรมฐานและพุทธศาสนกิ ทสี่ นใจ
หลวงปฝู่ นั้ ทา่ นเป็นบูรพาจารยผ์ บู้ ุกเบกิ พฒั นาถ�้ำขามจนเปน็ วดั ป่ากรรมฐานทเ่ี จริญมัน่ คง
และมีช่ือเสียง ในปัจจุบันการเดินทางไปถ�้ำขามสะดวกสบาย มีการสร้างถนนลาดยางขึ้นไปถึง
บริเวณวัดเมอื่ เดินขนึ้ บนั ไดไป ๓๐๐ เมตร จะพบลานหนิ บนยอดเขาซ่งึ มที วิ ทศั นง์ ดงามโดยเฉพาะ
ในช่วงหน้าร้อน จะมีดอกลน่ั ทมป่าบานสะพรงั่ สวยงาม จดุ เด่นบรเิ วณโดยรอบของวดั จดุ ตา่ งๆ ท่ี
น่าสนใจคอื กฏุ ิของหลวงปฝู่ ้นั จะเก็บรวบรวมประวัติและเครื่องใช้ต่างๆ ของหลวงปู่ฝนั้ ในบริเวณ
ดังกล่าวยงั มีหนุ่ ข้ีผ้งึ ของหลวงปฝู่ ั้นอย่ดู ้วย ในแต่ละวันจะมผี ู้มีจิตศรทั ธาเข้ามากราบไหวอ้ ยมู่ ขิ าด
อกี ทั้งวดั ถ้�ำขามยังเปน็ ที่ทห่ี ลวงปเู่ ทสก์ เทสรฺ สํ ี เคยมาบำ� เพ็ญภาวนา และในบน้ั ปลายทา่ นได้มา
จำ� พรรษาและมรณภาพท่วี ดั แห่งนี้ จงึ มกี ารสรา้ งเทสกเจดยี ์ไว้เป็นอนสุ รณ์
วัดถ้�ำขามเป็นวัดท่ีหลวงปู่ฝั้นช่ืนชอบมากที่สุด ท่านชมเสมอว่า “ขึ้นไปถึงบนน้ันแล้ว
เหมือนกับไปอยู่อีกโลกหน่ึง หน้าร้อนก็เย็นสบาย หน้าหนาวก็อุ่นสบาย สบายตลอดปี”
โดยเฉพาะตรงกุฏิของทา่ น ซ่ึงสรา้ งข้นึ ตรงปากถ้�ำเสือแมล่ กู อ่อน มปี ลอ่ งหินชว่ ยระบายอากาศ
ซ่งึ ท่านบอกวา่ เปน็ เคร่อื งแอร์ของท่าน และถ้�ำขามเปน็ สถานท่ีวิเวกเงียบสงดั การปฏบิ ัตธิ รรมได้
ผลดีอีกด้วย เดมิ ทเี ปน็ ที่อาศัยของสตั ว์ป่า ท่านยงั เคยพบเสอื มานอนอยใู่ กลๆ้ กับทท่ี ่านน่งั ภาวนา
ทา่ นไดใ้ ชค้ วามเพยี รบูรณะข้นึ จนเป็นสถานท่สี ปั ปายะ มีความสะดวก สบายทกุ อย่าง โดยอาศัย
สติปัญญาและก�ำลังกายของทา่ นเอง ประกอบกบั แรงศรทั ธาของชาวบา้ นช่วยกัน
251
วดั ถ�้ำขามน้หี ลวงปู่หลายองค์ บอกตรงกนั วา่ มีเทวดาคุ้มครองอยมู่ าก โดยเฉพาะภายใน
บริเวณศาลาถำ้� ขาม เทวดาจะมาไหวพ้ ระสวดมนต์ทุกคนื จงึ ไมใ่ หว้ ่งิ หรอื นงั่ – นอนเกะกะ หรือ
สง่ เสียงดังไม่ส�ำรวมบรเิ วณหนา้ พระประธาน ทงั้ นม้ี พี ระ เณร ชี และบุคคลท่วั ไปหลายคนประสบ
พบเหน็ มาแลว้
นิมิตเหน็ บ่อนำ้� ซมึ บนถำ้� ขาม
หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร ไดบ้ กุ เบกิ ขึ้นไปพกั อย่บู นถ�้ำขาม พรอ้ มด้วยพระภิกษแุ ละสามเณร
ผเู้ ปน็ ศิษย์ เมื่อประมาณเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ เมือ่ ข้ึนไปพักใหม่ๆ เต็มไปด้วยความ
ยากล�ำบากโดยเฉพาะเร่อื งนำ�้ ซึ่งมคี วามจ�ำเป็นมาก บนถ้�ำขามในระยะแรกๆ มีความขัดข้องในเรอ่ื ง
นำ้� ใชน้ �้ำฉนั พวกโยมกแ็ นะน�ำว่า มีบ่อน�้ำซมึ อยู่ที่ภูเขาอีกลูกหนงึ่ ทางทิศตะวันออก ซึ่งอยู่ห่างจาก
ถ�ำ้ ขามไปประมาณ ๔ กโิ ลเมตร
เม่ือไม่มีแหลง่ น�้ำทใี่ กล้กวา่ นัน้ จึงจำ� เป็นตอ้ งใช้นำ้� จากบ่อซึมดังกลา่ ว โดยใช้กระบอกไม้ไผ่
ขนาดใหญ่เป็นภาชนะใส่น้�ำ หรือที่เรียกว่า “บั้งทิง” พระเณรต้องสะพายบั้งทิงใส่บ่าท้ังสองข้าง
เอากลับมายงั ถ�้ำขาม หากใชถ้ งั หรือป๊บี นำ้� นำ�้ จะตอ้ งกระฉอกหกไปเกอื บหมด เพราะต้องเดนิ ทาง
ข้ามปา่ ขา้ มเขามาดว้ ยความยากลำ� บาก เวลาบิณฑบาตก็ตอ้ งลงไปบิณฑบาตถึงเชงิ เขา ตอ้ งบกุ ปา่
ฝา่ ดงลงไป ชาวบ้านจะส่งตัวแทนผลดั กนั มาใส่บาตรบริเวณเชิงเขา
ในชว่ งที่ขน้ึ ไปอยู่ถ�้ำขามใหมๆ่ จึงตอ้ งใชน้ ำ�้ อยา่ งประหยดั ทส่ี ุด พระเณรต้องเดินไปสรงนำ�้
บ่อซึมซ่งึ ไกลถึง ๔ กิโลเมตร เสรจ็ แล้วจงึ สะพายกระบอกนำ้� กลบั มาไว้ใช้บนถำ้� ขามอีก กว่าจะเดิน
กลบั มาถงึ ที่พักก็เหงือ่ โทรมกาย เหมอื นกับยังไม่ไดอ้ าบนำ�้ เลย การใชน้ ำ�้ อยใู่ นสภาพอัตคัดแร้นแคน้
ดังกล่าวประมาณคร่ึงเดือน หลวงปู่ฝั้นท่านก็พยายามหาทางแก้ไขปัญหาน้ีจนส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี
จากนิมิตท่ีเกิดจากการภาวนาอันแม่นย�ำของท่านนั่นเอง ท่านได้บอกกับพระเณรที่เป็นศิษย์ว่า
“บนเขาหลังถำ�้ ขามนี้มอี ่างน้�ำอย่เู หมือนกนั แต่ดินถมกลบลงไปจนเตม็ หมด หากโกยดินออกคงจะ
เก็บน้�ำฝนได้มากอยู”่
หลวงปู่ฝั้น ทา่ นบอกว่าได้นิมิตเห็นอ่างน้ำ� ทว่ี า่ นม้ี า ๒ – ๓ วันแลว้ จากนน้ั ท่านจึงไดพ้ า
พระเณรออกเดินสำ� รวจ และไดไ้ ปพบปากอา่ งน�้ำทีม่ ตี น้ หญ้าขึน้ ปกคลุมอยูเ่ ต็มไปหมด ทา่ นได้ให้
พระเณรเอาตน้ หญ้าออก แล้วพากันโกยดินและใบไม้ข้ึนมา พอโกยลึกลงไปประมาณเมตรเศษๆ ก็มี
นำ�้ ไหลซมึ ออกมา จึงไดป้ ลอ่ ยใหน้ ้�ำไหลซึมอยเู่ ช่นน้นั พระเณรไดอ้ าศัยน้�ำซมึ น้ี โดยตกั ไปใช้ไดอ้ ยู่
หลายวัน พอน้�ำแห้งก็โกยดินให้ลึกลงไปอีก ก็มีน้�ำไหลซึมออกมาให้ใช้อีก ก็ได้อาศัยใช้น้�ำน้ัน
ไปได้อกี เดือนเศษ
252
ตอ่ มาหลวงป่ฝู น้ั ได้ใหช้ าวบ้านมาช่วยขุด พอขดุ ลกึ ลงไปก็พบโพรงขนาดใหญ่ ๒ – ๓ โพรง
ซึง่ อยขู่ า้ งใต้ โพรงเหลา่ น้ันทะลถุ งึ กันแล้วกลายเปน็ อ่างนำ�้ ขนาดใหญ่ อยลู่ กึ ลงไป ขนาดท่ีคนลงไป
ยืนแลว้ ยกมอื ยนื่ ขึน้ มากย็ ังไม่ถึงปากหลมุ หลุมลกึ ทีว่ ่านจี้ ึงไดก้ ลายเป็นอ่างเก็บน้�ำฝนได้เปน็ อย่างดี
มาถึงทุกวนั นี้ ต่อมาอกี ปีกไ็ ดม้ กี ารระเบดิ หนิ บรเิ วณน้นั เปดิ เป็นสระนำ้� ขน้ึ อีก ๓ สระบนหลงั เขา
ท�ำให้มนี ้�ำใชพ้ อเพยี งมาตราบเท่าปัจจบุ ันนี้
ทา่ นสอนคาถาล้ีชา้ งล้เี สือ
ถ�ำ้ ขาม ในสมยั ทหี่ ลวงปฝู่ ้นั อาจาโร มาบุกเบิกพัฒนาในปแี รกๆ นั้น อาณาบรเิ วณ
โดยรอบมีสภาพเปน็ ป่าเปน็ ดงที่สมบูรณ์มาก สตั วป์ า่ สัตว์ร้าย เชน่ ช้าง เสือ หมี งู จึงชกุ ชุมมาก
และทถ่ี ำ�้ ขามเองก็เคยเป็นทอ่ี ยขู่ องเสอื โดยองคห์ ลวงตาพระมหาบัวเทศน์ไวด้ ังน้ี
“ท่ีถำ้� ขาม ตอนท่านอาจารย์ฝ้ันไปภาวนาอยู่ถ�้ำขาม ท่านไม่อยใู่ นถ้�ำ กลางคนื เดือนหงาย
ท่านข้ึนหลังเขาไปนั่งบนหลังถ้�ำ ท่านนั่งยังไม่ได้หลับตาภาวนา และเห็นเสือ แม่กับลูกสองตัว
มนั โผลข่ นึ้ มาหนิ ก้อนน้ัน ทา่ นอยูห่ นิ ก้อนน้มี าทางนี้ เสือมันขน้ึ หินก้อนนน้ั ทา่ นมองเห็นชัดเจน
พอข้ึนมามนั ก็เลยมามองเห็นท่านนะ พอเห็นท่านแลว้ รู้ว่าเปน็ ท่านแลว้ พาลกู กลับ ถอยกลบั ไปเลย
ทา่ นก็เลยนัง่ อยทู่ ่ีนนั่ ตอ่ ไป เสือโครง่ นะมลี กู สองตัว
ทา่ นนัง่ ภาวนาอยู่บนหลังถำ้� ขาม ข้ึนไปน่ังอยบู่ นข้างหลงั ถ�้ำ หนิ มนั กข็ าดทางนี้ ทางนูน้ ก็มี
หนิ ทางนูน้ พอดเี สือมนั มาทางนนู้ มนั กข็ ึ้นหินทางนู้น เห็นท่านน่งั อยนู่ ี้มันเลยพาลกู มนั กลบั หนีไป
เลย หายเงียบไป มันกำ� ลงั ข้ึนเท่ยี วหลังถ้ำ� ท่านนงั่ อยู่ ท่านไมก่ ระดุกกระดิกนะ มนั มองมามันเหน็
มนั รเู้ ลยนะ คือมนั เหน็ ชัดเจนวา่ เป็นคน มนั เลยพาลูกกลับไปเลย เพราะมันเดอื นหงาย กลางคืน
เดือนหงาย มองเห็นชดั เจนคลา้ ยกับกลางวัน เสือมันขน้ึ มาทางนู้น ก็ไมไ่ กล จากทา่ นไปดูเหมือน
เออ ! น่ีล่ะไม่ถงึ ฝั่งสระดว้ ย เลยเขา้ มานีอ่ ีก มนั โผลม่ าน่ี มันมาเห็นท่านนั่งอยนู่ ้ี มันดแู ลว้ มนั พา
ลูกกลับไปเลย แต่กอ่ นมนั ไมอ่ ดในภูเขาลกู นน้ั พวกเสือ พวกอะไรมีเยอะ สัตวพ์ วกเนอื้ พวกอะไร
มเี ต็มไปหมดในนัน้ คือพวกเสือมันอยูไ่ ด้เพราะมเี นื้อนะ ถา้ ไมม่ ีเน้อื มันไม่อยู่ ตรงไหนมีเนอ้ื เสอื จะ
มที ี่นน่ั ล่ะ ถา้ ไมม่ ีสัตว์ เสือกอ็ ยไู่ ม่ได้ เสืออาศัยกินเนื้อ”
เมื่อพระเณรมาศกึ ษาภาวนากบั หลวงปู่ฝั้นท่ถี ำ้� ขาม ต่างก็ได้ยินเสียงเสอื รอ้ งค�ำรามก้องป่า
อยู่เนืองๆ ตามประวตั หิ ลวงปู่สรวง สริ ิปญุ ฺโ วดั ป่าบา้ นศรีฐาน อ.ปา่ ติว้ จ.ยโสธร บนั ทึกไว้ดงั นี้
“ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงปสู่ รวง สิรปิ ญุ ฺโ ได้เดนิ ทางไปศึกษาแสวงหาครบู าอาจารย์
โดยไดเ้ ดินทางข้นึ ไปทางสกลนคร ได้ไปพกั ทีว่ ดั ป่าภูธรพิทักษ์ ซ่งึ บางครั้งไปเย่ียมหลวงตาพวง
สุขนิ ทฺ ริโย ซึ่งเปน็ พชี่ ายของหลวงปเู่ อง ซง่ึ ได้ขน้ึ ไปพักทีว่ ัดขาม บางครัง้ หลวงปูก่ ็ได้ไปพกั ภาวนาท่ี
วดั ถำ�้ ขาม เพ่ือศกึ ษาขอ้ วตั รปฏิบัติกับหลวงปฝู่ นั้ และชว่ ยงานครบู าอาจารยส์ ร้างถ้�ำขาม
253
หลวงปู่เล่าวา่ ขณะทเ่ี ราภาวนาอย่ทู ี่นั้น ภาวนาไปรสู้ ึกว่ากลวั เสอื ไดย้ นิ เสือขณะใด รสู้ ึกว่า
จติ ไมค่ อ่ ยเป็นสมาธิ วนั หนง่ึ ขณะที่เราสรงนำ�้ ถวายหลวงป่ฝู ้นั พอสรงน้�ำเสร็จ ผ่านมากข็ ึน้ จบั เสน้
ถวายหลวงปู่ฝน้ั พอประมาณแลว้ ทา่ นก็บอกว่า “เอาล่ะ พากนั ไปพักผอ่ น ไหว้พระสวดมนต์ซะ
พวกทา่ นทำ� งานกันท้ังวนั กค็ งจะเหนอ่ื ย” พระกก็ ราบทา่ นแลว้ จะกลบั กฏุ ิ เรากราบสดุ ท้าย เพราะ
เอากระโถนทา่ นไปเท ทนี ้ที ่านกเ็ ลยพดู วา่ “ทา่ นภาวนากันยังไง ภาวนาแบบไหน ไมม่ ีพทุ โธ
ระวงั พวกชา้ งพวกเสอื จะมาคาบไปกนิ ล่ะ” พอทา่ นพูดเสร็จ เรากม็ คี วามรู้สกึ กลวั อยูแ่ ลว้ ยิง่ กลวั
มากขน้ึ นึกในใจวา่ จะทำ� ยังไง ถ้าจะไปอยู่ทีอ่ น่ื ก็ไม่ร้จู กั ไม่ค้นุ เคยกบั ครูบาอาจารยร์ ปู อนื่
ทีน้ีหลวงปู่ฝน้ั จงึ บอกเราวา่ “ขยบั มานี่ จะบอกคาถาลชี้ า้ งลีเ้ สือให”้ จากนนั้ ทา่ นก็จบั
มือเรา ตอนทเ่ี ราประนมมือไหว้อยชู่ ลี้ งทก่ี ลางอกและบอกเราว่า “ใหเ้ อาจิตจี้ลงไปตรงน้ี จลี้ งไป
ลกึ ๆ อยา่ ใหม้ นั ออกไปทอ่ี นื่ ใหม้ นั เข้าไปในโครงกระดกู ลกึ ๆ โนน่ ให้ท�ำทกุ วนั อยา่ ให้มันส่งไป
ที่อืน่ ” จากนั้นเราก็กลับไปท่ีกุฏิท�ำตามที่ท่านบอก ตอนนั้นกลบั ไปท�ำวัตรภาวนา วันนน้ั เสือร้องดัง
กระหึ่มเหมือนกับวา่ ภเู ขาจะถล่ม พอทำ� ไปๆ ก็รสู้ ึกทำ� ไดไ้ ม่นาน จติ ก็ส่งไปหาเสืออีก ก็รสู้ กึ กลวั
แลว้ กน็ กึ ถงึ คำ� สอนทห่ี ลวงปฝู่ ัน้ บอก เรากย็ กมือข้ึนมาไว้ที่หนา้ อก พอก�ำหนดไป เอาจิตจอ่ เข้าไปใน
โครงกระดกู ใหเ้ หน็ โครงกระดกู ของตวั เอง พอจิตจ่อเขา้ ไปในโครงกระดูก ภาวนาไปไดส้ กั พกั
จติ สงบ กเ็ ห็นโครงกระดกู ขา้ งในของตวั เองท้งั หมดไมน่ าน ไม่รวู้ ่ามือตกลงมาตอนไหน พอร้สู กึ ตัว
ก็สวา่ ง กไ็ ดย้ นิ เสียงนกยงู ออกหากนิ ยามเชา้
หลวงป่เู ลา่ วา่ พอจิตเข้าไปอย่ตู รงนัน้ แล้ว มนั จะมอี �ำนาจมาก ไม่รสู้ กึ กลัวช้างกลัวเสอื
เลย มีแต่ความกล้าหาญ หากเราเคยท�ำกรรมกบั มนั ไว้กข็ อให้เสอื มนั กนิ เลย จะได้หมดเวร
หมดกรรม น่แี หละ หลงั จากนน้ั มา จงึ ไม่กลัวช้างกลัวเสืออีกเลย”
พาปฏบิ ัติธรรมในวันวสิ าขบชู าบนถ�้ำขาม
ทางด้านหลงั ของถำ�้ ขาม เป็นพลาญหินซง่ึ มีตน้ ล่นั ทมขาวข้นึ เต็มไปหมด ออกดอกสขี าว
สะพร่ัง สง่ กล่นิ หอมอ่อนๆ นุม่ นวลหอมฟ้งุ ไปท่วั บริเวณ หลวงป่ฝู ้ันไดใ้ ห้ญาติโยมช่วยกนั ปัดกวาด
พื้นใต้ปา่ ล่ันทมจนดสู ะอาดสะอา้ น เรียบร้อยสวยงาม นา่ เขา้ ไปนงั่ พักผ่อน และเหมาะกบั การนง่ั ฟัง
ปฏบิ ัติธรรมเป็นอยา่ งมาก ดังนน้ั พอถงึ วันวิสาขบชู า เดอื น ๖ เพญ็ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ซง่ึ เปน็
วันส�ำคญั ทางพระพทุ ธศาสนา อนั เป็นวนั ประสูติ ตรสั รู้ ปรินพิ พานของพระพทุ ธเจ้า หลวงปฝู่ นั้
ทา่ นจะด�ำเนนิ ตามปฏปิ ทาของท่านพระอาจารย์มน่ั อย่างเคร่งครดั ทา่ นจะพาพระเณรปฏบิ ัติบชู า
โดยการน่งั สมาธิ เดินจงกรมตลอดคนื ส่วนการท�ำพธิ ีเวยี นเทยี นท่านทำ� เปน็ เฉพาะครง้ั คราวเท่าน้นั
ในคืนวันวสิ าขบูชาปีนน้ั หลวงปฝู่ นั้ ทา่ นพาญาตโิ ยมประกอบพิธเี วียนเทยี นบนถำ�้ ขามเปน็
ครั้งแรก เสร็จแล้วท่านก็พาปฏิบัติธรรม อันเป็นการปฏิบัติบูชา ซ่ึงเป็นการบูชาอย่างเลิศท่ี
254
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ ในคนื วันนัน้ มีการแสดงธรรมและอบรมสมาธิภาวนาตลอดคนื โดย
หลวงปฝู่ ัน้ ท่านเป็นองค์แสดงธรรม ท่านนง่ั เทศนแ์ สดงธรรมใต้ตน้ ลนั่ ทมจนสว่างคาตา
งานวนั วิสาขบูชาบนถ�ำ้ ขามในครั้งแรกน้ี ได้มีชาวบา้ นญาติโยมขึน้ ไปบนถ้�ำขามเพ่ือร่วมงาน
กนั อยา่ งเนอื งแนน่ ล้นหลาม กลา่ วกนั วา่ แสงจากธูปเทียนจำ� นวนมาก จากการจดุ ในพิธีเวยี นเทียน
ในคนื วันนน้ั สวา่ งไสวไปหมดทั่วทัง้ ภูเขา ประชนั รบั กบั แสงจนั ทร์อันงดงามสว่างไสวทีส่ าดส่องลงมา
ในคืนพระจันทร์เต็มดวง ท่ามกลางบรรยากาศเช่นน้ีและอากาศที่เย็นสบาย พร้อมด้วยเทศนา
ธรรมะแท้จากหลวงปู่ฝ้นั นบั เป็นโอกาสทห่ี าไดย้ ากยิ่ง ฉะนั้น พระเณรตลอดชาวบา้ นญาติโยมที่
พากันนั่งฟังธรรม ปฏิบัติธรรมตลอดคืน ย่อมเกิดความเคารพเลื่อมใสในหลวงปู่ฝั้น เกิดความ
เชื่อม่นั ในพระรตั นตรัย และเกดิ ความศรทั ธาในพระพทุ ธศาสนามากย่งิ ข้นึ ท�ำใหเ้ กดิ มกี �ำลงั ใจใน
การประพฤตปิ ฏบิ ตั ิธรรมมากย่งิ ขึ้น
ต่อมาหลวงปู่ฝั้นได้ให้ญาติโยมช่วยกันท�ำที่พักมีหลังคาและฝาก้ัน เพื่อท่านและพระเณร
จะไดอ้ าศยั จ�ำพรรษาอยู่บนถ้�ำขามเปน็ ปีแรก ครูบาอาจารยเ์ ล่าว่า “เมือ่ ไปถึงครัง้ แรก ก็ไปสรา้ ง
กุฏิช่ัวคราวข้นึ โดยใช้ไม้ไผ่ ไมไ้ รแ่ ถวๆ นั้น มาท�ำเปน็ แคร่ บางส่วนก็ท�ำเปน็ ฝากันฝน” แต่ในการ
พกั จ�ำพรรษา จำ� เป็นจะต้องจ�ำกดั จ�ำนวนพระเณรให้มีน้อยท่สี ดุ เพราะล�ำบากในเรื่องอาหารการ
ขบฉนั เน่ืองจากหม่บู ้านต้ังอยู่หา่ งไกลมากไปบณิ ฑบาตไมถ่ ึง
หลวงปู่ฝนั้ ทา่ นได้ปรารภชน่ื ชมถ�้ำขามไวว้ า่ ไดพ้ บสถานที่อนั เหมาะสมแกก่ ารบ�ำเพญ็
ความเพยี รอยา่ งสมบรู ณแ์ ลว้ ท่านเองจะไมล่ งไปจ�ำพรรษาทีข่ ้างลา่ งอย่างแน่นอน แล้วท่านก็
เลือกสถานท่พี ักจ�ำพรรษา ซ่งึ กค็ อื กุฏิหลวงปู่ทอ่ี ยู่บนถ้�ำขามหลงั ปัจจบุ ันนเ้ี อง กุฏิทหี่ ลวงปู่พ�ำนกั
ชาวบ้านเรียกว่า “กุฏิถ้�ำเสือ” เพราะเมื่อตอนท่ีท่านข้ึนไปพักอยู่ใหม่ๆ จะมีเสือตัวหน่ึงข้ึนลง
เข้าออกบรเิ วณนี้อยเู่ ปน็ ประจำ� ตอ่ เมอื่ ทา่ นไปพกั ณ ทีน่ นั้ เสอื จึงได้หลบหนีไป ในปจั จบุ นั บรเิ วณนี้
มเี สือปูนป้ันไว้เป็นอนุสรณ์
คำ� กล่าวชน่ื ชมถำ้� ขามของหลวงปฝู่ น้ั แมใ้ นกาลตอ่ มาหลวงป่เู ทสก์ หลวงปู่ขาว ทา่ นได้
ขึ้นมาบำ� เพ็ญภาวนาบนถ�้ำขาม ตา่ งก็ชน่ื ชมสรรเสริญ
พ.ศ. ๒๔๙๗ จ�ำพรรษา ๓๐ ท่ถี �ำ้ ขามเป็นพรรษาแรก
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงปฝู่ ัน้ อาจาโร ได้ขนึ้ ไปพกั จ�ำพรรษาอยู่บนถ�ำ้ ขามเปน็ พรรษาแรก
ขณะทา่ นมอี ายุ ๕๕ ปี พรรษา ๓๐ ทา่ นยังมีสุขภาพพลานามยั ทส่ี มบูรณแ์ ข็งแรง ท่านเดินข้นึ เขา
ลงเขาได้อยา่ งสบาย ในพรรษาแรกเน่ืองจากความอัตคัดขาดแคลน จงึ มีพระเณรอยรู่ ่วมจำ� พรรษา
ไม่มาก ในปีน้ันมพี ระภกิ ษุอีก ๓ รูป กบั สามเณร ๓ รปู อยรู่ ว่ มจ�ำพรรษา
255
ถ�้ำขามในสมัยหลวงปู่ฝั้นเร่ิมมาบุกเบิกจ�ำพรรษาน้ัน ทุรกันดารและอัตคัดขาดแคลนมาก
เพราะตั้งอยูบ่ นภูเขาและหา่ งไกลจากหมู่บ้านมาก ตอ้ งเดนิ เทา้ ไปเปน็ ระยะทางกว่า ๒๐ กโิ ลเมตร
จงึ จะถึงถนนใหญ่ การบณิ ฑบาตจึงไม่อาจกระทำ� ได้ แมจ้ ะอดอยากอย่างไรก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการ
บ�ำเพญ็ เพียรเลย เพราะตามปฏปิ ทาของหลวงปู่ฝนั้ ท่านชอบอยตู่ ามปา่ ตามเขา โดยอาศัยหมูบ่ า้ น
เล็กๆ พออาศัยบิณฑบาตเลี้ยงชพี เพ่ือการบำ� เพญ็ สมณธรรม ปฏิปทาในขอ้ นี้ ทา่ นพระอาจารยม์ ัน่
พาดำ� เนนิ มา และท่านได้ด�ำเนนิ ตามได้อย่างเด่นชดั
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ท่ีหลวงปู่ฝั้นและพระเณรไปจ�ำพรรษาบนถ�้ำขามเป็นพรรษาแรกนั้น
ปรากฏว่ามชี าวไร่ ๓ ครอบครวั ข้นึ ไปท�ำไร่พรกิ บนภูเขาอีกลกู หนึ่ง ชาวบ้านส่วนใหญม่ ีอาชีพทำ� ไร่
พรกิ แมจ้ ะมีฐานะยากจน แต่ชาวบา้ นมีศรัทธาต่อพระพทุ ธศาสนายง่ิ นกั และมศี รทั ธานมิ นต์พระ
ไปบิณฑบาตเป็นประจ�ำ ส�ำหรับในวันพระ ชาวบ้านจะขึ้นไปที่ถ�้ำขามเพื่อท�ำอาหารถวายและ
ปฏบิ ตั ิธรรมอยบู่ นถำ้� ดงั นั้น ในเรอ่ื งอาหารการขบฉนั จงึ ไมถ่ ึงกบั อดอยากกันเท่าไรนัก ส�ำหรบั
หลวงป่นู ้นั ท่านไดต้ กลงใจไมฉ่ ันข้าว ฉนั แต่หนอ่ ไม้กบั ผลไม้เทา่ ทม่ี ีเท่านัน้ หนอ่ ไมก้ ็ฉันกบั น�้ำปลา
ตลอดท้ังพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านก็ยังฉันแต่หน่อไม้และผลไม้ต่อไปอีก เป็นเวลาถึง
เดือนเศษ รวมแล้วเป็นเวลาถึง ๕ เดือน ท่ีท่านไม่ได้ฉันข้าวเลยแม้แต่เมล็ดเดียว ก็น่าแปลก
ประหลาด เพราะปกตเิ มอื่ หมดฤดูกาลแลว้ หน่อไมจ้ ะไม่งอก แต่ในปีน้ันมีหน่อไมใ้ ห้ทา่ นฉนั ได้
ตลอดถึงเกือบสิน้ ปี
เม่ือออกพรรษาแล้ว ชาวบ้านใกล้เคียงถ้�ำขามไปกราบขออนุญาตทอดกฐินกับหลวงปู่ฝั้น
เป็นปแี รก โดยมีพระเถระผ้ใู หญ่ขนึ้ ไปร่วมงานทอดกฐิน ได้แก่ ท่านพระอาจารยอ์ ่อน าณสริ ิ
ท่านพระอาจารย์กว่า สมุ โน และ พระราชคณุ าภรณ์ เจา้ คณะธรรมยตุ จงั หวดั สกลนคร หลงั จาก
เสร็จงานทอดกฐิน หลวงป่ฝู ัน้ ท่านได้พาญาติโยมซง่ึ เสรจ็ จากการทำ� นาแลว้ ไปช่วยกนั ทำ� สระน�ำ้
บนหลงั ถำ้� และตัดเสน้ ทางลงมาบณิ ฑบาต เนอื่ งจากระยะทางจากถำ�้ ขามกับหม่บู ้านอยู่ห่างไกล
กันมาก ดังนั้น การบิณฑบาตจึงใชว้ ิธีนดั พบกนั กลางทาง กล่าวคือ ทางพระกจ็ ะเดินบุกปา่ ฝา่ ดง
จากถ�้ำขามลงมาครึ่งทาง ขณะเดียวกนั ทางฝ่ายชาวบา้ นกจ็ ะออกจากบา้ นไปครง่ึ ทาง ถงึ จุดนดั พบ
เพ่อื ใสบ่ าตร หลงั จากใสบ่ าตรในแตล่ ะเช้าเสรจ็ แลว้ พระเณรตา่ งกก็ ลับขึ้นไปฉนั จังหันบนถ้�ำขาม
ส่วนชาวบ้านก็กลับบ้านประกอบอาชีพของตน ปรากฏว่าในแต่ละวันมีชาวบ้านท่ีเลื่อมใสศรัทธา
พากนั ไปรอใสบ่ าตรหลวงปูแ่ ละพระเณรกันเป็นจ�ำนวนมาก
ทา่ นแก้จิตเกือบวิปลาส
ตามประวตั หิ ลวงปูส่ รวง สริ ปิ ญุ ฺโ บันทึกไว้ดังนี้
256
“ตอนนัน้ เรา (หลวงป่สู รวง) เคยอยู่กบั หลวงปูฝ่ ั้น ทแี รกจิตเกอื บวปิ ลาส ไปสร้างถำ้� ขาม
ปี ๒๔๙๗ ร่วมกนั จนส�ำเรจ็ ตอนนน้ั หลวงปูฝ่ ั้นไม่อยู่ ทา่ นลงไปนมิ นตท์ โี่ คราช เราก็เลยรกั ษาวดั
อยู่ท่ีน่ัน กม็ ีครบู าอาจารยอ์ ย่ดู ว้ ยกัน ๕ – ๗ องค์ หลวงปูฝ่ ัน้ ไมอ่ ยู่ พวกเราก็พากันเรง่ ความเพียร
อดนอน อดอาหารแขง่ กนั กลางวนั ก็ไม่นอน กลางคนื ก็ไมน่ อน นั่งภาวนาตลอดทง้ั วัน ตลอดทัง้ คืน
ทนี จี้ ิตมนั พุง่ ออกนอก หลวงปจู่ ิตมันพุ่งออกขา้ งนอกเปน็ รูปภาพ เปน็ นมิ ิตเหน็ รูปเทวบุตรเทวดามา
รปู นัน้ มาอันน้ีมา โอ้ย ! จิตมันติดไปตามรูปภาพน้ัน จิตไม่กลบั คนื มา มันไปตามรูป ปรงุ ไปตามรปู
ตลอด บางทีกม็ พี ระองค์นั้นมาเทศน์ องคน์ ี้มาเทศนใ์ ห้ฟัง ตนเองแหละเป็นคนปรุงเอง ผลสุดทา้ ย
เอาเขา้ แล้วร้สู ึกว่า ตัวเองเปน็ บา้ แตม่ นั กลับคนื มาไมไ่ ด้
พอดหี ลวงปู่ฝั้นทา่ นกลบั จากโคราช กอ่ นท่ีจะกลบั คนื ได้ก็เกือบเดือน เพราะพอเดนิ จาก
สกลนครมาโคราช มันจะกคี่ ืน รถก็ไม่มี สมัยแตก่ ่อนก็เดินเทา้ ลงมาเลย กลบั มากเ็ ดนิ ขน้ึ พอดี
หลวงปู่จะลงมาวันท่สี าม เรากล็ งไปรบั หลวงปู่ พอรับหลวงปู่แลว้ ก็รบั เอาของ สะพายของจาก
หลวงปกู่ ลบั ขึ้นมา พอดีถึงกต็ ม้ นำ�้ สรงน้�ำหลวงปู่ พอท่านสรงนำ�้ เสร็จ กเ็ ข้าไปกราบเรยี นหลวงปู่
“โอ้ย ! หลวงปู่ กระผมคงจะเป็นบา้ แลว้ แน่นอน หวั ใจมันแกว่งไหวเหมือนนาฬิกา กนิ ก็กินไมไ่ ด้
นอนกน็ อนไมห่ ลบั มแี ต่ปรงุ อยา่ งเดยี ว” หลวงปู่ฝนั้ เลยว่า “เปน็ อะไรกนั ” เลยตอบทา่ นวา่ “เวลานี้
หัวใจมนั แกว่งไหวเหมือนนาฬิกาอยู่ จิตมันไมอ่ ยใู่ นตัว มนั พุ่งออก เห็นอนั นน้ั อันนอี้ ย่ตู ลอดวนั
ตลอดคืน”
หลวงปู่ฝ้นั ก็วา่ “มันเปน็ อะไรกนั เธอเคยเข้าที่ไหน กเ็ ขา้ ทจ่ี ุดเก่าของเธอ มันกห็ าย
เท่านนั้ ” พอพูดเทา่ น้นั เราก็พจิ ารณาท่ีหัวใจ เพราะเราพิจารณาหัวใจอยทู่ ่ีหัวอกของเรา พิจารณา
ท่ีหัวอกของเราน้ี กลับมานึกพิจารณาตัวเองนี้ ตัวน้ันมันไม่รู้ว่าหายไปไหน เหมือนยกภูเขา
ก้อนใหญ่ออกท้ังลูกจากร่างกายตัว จิตมันก็ว่ิงเข้ามาท่ีตัวเหมือนเดิม พวกที่มันปรุงไม่รู้ว่าหาย
ไปไหนหมด ฟงั เทศนเ์ ราก็กำ� หนดเข้าจดุ เก่า ปรากฏว่าแจ้งสว่าง ความหนักไม่มใี นหัว ท่ีมารบกวน
ไม่รู้หายไปไหนหมด ผลสุดท้ายก็เลยก�ำหนดเอาจิตเข้าคืนในร่างกาย ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๙๗ ถึง
ทุกวนั น้ี
ออกพรรษาจงึ ลาหลวงปู่ฝั้น แลว้ เดินออกจากถำ้� ขามไป ไปแลว้ ไปพกั ที่บ้านหนองสมโฮง
ใกล้ๆ วัดหลวงปู่วนั ไปพบกบั หลวงปจู่ ันทา (หลวงป่จู ันทา ถาวโร วัดป่าเขานอ้ ย อ.วังทรายพนู
จ.พิจิตร) เจอกันแล้วพดู คุยสนทนาธรรมะกนั หลวงปจู่ นั ทาพูดเร่ืองภาวนาให้ฟงั ว่า “ผมใกล้จะ
เปน็ บ้าแล้ว ภาวนาไปแลว้ มนั เหน็ รปู เหน็ อะไรต่างๆ มนั เหมือนจะวิปลาส จะท�ำอยา่ งไร”
ก็เลยบอกท่านไปวา่ “ผมกเ็ ปน็ เหมือนกนั แตผ่ มหายแล้ว”
“ทำ� อยา่ งไร”
257
“ผมไปกราบเรยี นหลวงปฝู่ ัน้ กราบเรียนแล้วหาย หรือเรามีความกลัวตอ่ ครบู าอาจารย์
รปู ใด ใหไ้ ปหาครบู าอาจารย์รูปนน้ั เหมอื นกับวา่ เรายอมทา่ น ยอมลดทิฏฐิมานะ” ทา่ นกฟ็ ัง ก็เลย
ตอบว่า “หลวงปู่ฝัน้ นีผ่ มไมเ่ คยเจอท่าน แตไ่ ดย้ นิ ชื่อนี่ หลวงปฝู่ นั้ นี่ รสู้ ึกกลัวๆ” ก็ตกลงกัน
พากนั เดินทางมาหาหลวงปูฝ่ ัน้ กม็ าฟงั เทศน์หลวงปู่ หลวงปูใ่ ห้โอวาท จากน้ันหลวงปจู่ นั ทาก็หาย
จากวปิ ลาส”
หลวงปจู่ นั ทา ถาวโร เทศน์เร่ืองคาถาละรวยของหลวงปูฝ่ ั้น ไวด้ ังนี้
“เม่ือออกพรรษาแล้ว หลวงปูจ่ ันทากอ็ อกเทีย่ ววิเวกไปตามสถานท่ตี า่ งๆ จนกระทัง่ ได้มี
โอกาสไปศึกษาธรรมะกบั หลวงปู่ฝ้นั อาจาโร ทีถ่ �้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปี พ.ศ.
๒๔๙๘ หลวงป่ฝู นั้ ท่านว่า “ใครอยากรวย มาเรียนคาถาละรวยกับเรา เรยี นคาถาละแล้ว มันก็
รวยเทา่ นนั้ เอง” ทา่ นยกตวั อยา่ งวา่ เจา้ คุณวัดโพนเมอื ง เปน็ ถงึ มหาเปรยี ญธรรม ๖ ประโยค
จะกินก็ไมพ่ อ นงุ่ ห่มก็ไมพ่ อน่ันแหละ ผลสุดทา้ ยกม็ าขอเครอื่ งบริขาร อาหารการกินทุกอย่างจาก
หลวงปฝู่ น้ั นี่มันตา่ งกนั อยา่ งนี้ท่านท้ังหลาย
อีกตวั อยา่ ง มพี ระอาจารย์องค์หนึง่ อยูท่ ่ีอำ� เภอพรรณานิคม เป็นพระเถระใหญ่ แลว้ เกบ็ ผา้
เปน็ ไม้ๆ ไวเ้ ต็มกฏุ ิ จนไม่มที จ่ี ะอยู่ ทั้งวา่ นยาอะไรทุกอยา่ ง เขามาทานอะไรใหก้ ็เกบ็ ไว้ๆ ตระหนี่
เหนยี วแนน่ หลวงปฝู่ ้นั อาจาโร และทา่ นเจ้าคุณพิศาลฯ แนะน�ำพรำ่� สอนกไ็ ม่ยอมละ ผลสดุ ทา้ ย
ก็เลยตาย หลวงป่ฝู ้ันก็เลยไปอปโลกน์ของทัง้ หลายเหล่าน้นั แล้วกส็ ่งั ใหพ้ ระเณรและท่านเจา้ คณุ –
พิศาลฯ จัดการขนลงมาเตม็ ลานวดั เผาไฟทง้ิ เพราะผา้ มันขาดหมด ว่านยา ปัจจัย ๔ ทกุ อย่าง
ก็เสยี หายหมด โอย๊ ! น่าเสยี ดาย เผาท้ิงเต็มบรเิ วณวัดน้นั นนั่ แหละ สมบัตนิ ัน้ เกบ็ ไว้หลายกเ็ ปน็
โมฆะ ควรทจี่ ะเป็นบุญเป็นกุศลของตนและคนอืน่ ก็ไมไ่ ด้ ผลสดุ ท้ายก็เสีย ต้องเผาทิ้ง”
ในระยะน้ีกม็ ี หลวงปู่ทองพลู สิรกิ าโม วัดปา่ สามัคคีอุปถัมภ์ หรอื วดั ป่าภกู ระแต อ.เมอื ง
จ.บึงกาฬ ทา่ นเป็นพระธุดงคกรรมฐานสาย ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ิทตตฺ มหาเถร ทา่ นกบั
ท่านพระอาจารย์จวน กลุ เชฏฺโ มคี วามสนิทสนมกนั มาก ทา่ นไดศ้ ึกษาธรรมอย่กู ับหลวงปู่ฝ้ัน
อาจาโร โดยในครัง้ แรกนนั้ หลวงปู่สีโห เขมโก ไดพ้ าท่านไปกราบคารวะหลวงปฝู่ ้ัน ท่ีถ้�ำขาม
เมื่อไปถงึ แลว้ หลวงปฝู่ ้ันก็ไดใ้ หป้ ฏิบัติอยา่ งหนกั คือ นงั่ สมาธิ เดินจงกรม ฟงั อบุ ายธรรม ตลอดถึง
ขอ้ วัตรปฏบิ ตั ิอย่างเครง่ ครดั เลยทีเดยี ว ท่านเอาจรงิ เอาจงั หลายปี พิจารณาตน จนเหน็ ชัดวา่ นคี่ ือ
รงั ของโรค เพราะเหตนุ เ้ี องที่ หลวงปูม่ ัน่ ท่านจงึ ได้พยายามสัง่ สอนลกู ศษิ ยท์ ้ังหลาย ใหเ้ อากาย
น้แี หละ มาพิจารณา มองกายของเราแลว้ กายคนอน่ื ก็รูห้ มด เกดิ เบอ่ื หน่ายคลายความกำ� หนดั
ในขณะท่ีหลวงปู่ทองพลู ฟงั การอบรมกรรมฐานจากหลวงปูฝ่ ั้นอยู่นน้ั จิตใจของทา่ นเกดิ
ความสงบน่ิง เยอื กเยน็ เหลอื จะกล่าว มนั มีความสขุ จิตใจเบาโปรง่ ไปหมด เลยได้ต้ังจติ อธษิ ฐานว่า
258
“ขอใหข้ ้าพเจา้ จงพน้ เสียจากความทุกขโ์ ดยเร็วไวในชีวติ นี้ ข้าพเจา้ ขออทุ ศิ ถวายแด่
พระสัมมาสัมพุทธเจา้ ขออยา่ ได้มอี ปุ สรรคมาขดั ขวางทางด�ำเนินมรรคผลของขา้ พเจา้ เลย”
สรา้ งศาลาโรงธรรมถ�้ำขาม พวกเทพมาอนุโมทนา
หลวงปู่ออ่ น าณสริ ิ บันทึกไว้ดังนี้
“ถงึ ฤดแู ล้ง ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงปฝู่ ้นั อาจาโร ไดป้ รารภกบั บรรดาญาตโิ ยมที่ไปปฏบิ ัติ
ท่านว่า “ผู้คนที่ข้ึนไปปฏิบัติท่านเพ่ิมจ�ำนวนข้ึนทุกวัน ศาลาโรงธรรมที่มีอยู่ไม่แข็งแรงและไม่
เพียงพอแก่การพักอาศัย สมควรที่จะสร้างศาลาโรงธรรมอันเป็นท่ีพักให้ถาวรข้ึน” ญาติโยม
ทัง้ หลายกเ็ ห็นพอ้ งกันด้วย จึงไดช้ ่วยกนั จัดหาอปุ กรณ์การกอ่ สร้าง โดยตกลงใหพ้ ระอาจารย์ฝั้น
เป็นผู้อ�ำนวยการสร้างด้วยตัวของท่านเอง การล�ำเลียงอุปกรณ์ก่อสร้างข้ึนไปบนภูเขาในคร้ังนั้น
เตม็ ไปดว้ ยความล�ำบากอยา่ งยง่ิ ท้งั พระ ท้ังเณร พร้อมดว้ ยชาวบ้านตอ้ งใชก้ �ำลังแบกหามวัสดุ
ต่างๆ ขน้ึ ไป เสาบางตน้ ยาวตั้งแต่ ๑๑ – ๑๒ เมตร แต่ถงึ กระนนั้ กไ็ ม่มีใครย่อทอ้
ในระหว่างนั้นชาวบา้ นได้ทราบข่าวว่า พระอาจารยฝ์ นั้ จะสรา้ งศาลาโรงธรรม ก็พร้อมใจ
กันข้ึนไปช่วยกันอย่างคับคั่ง จนกระทั่งการขนอุปกรณ์การก่อสร้างส�ำเร็จลงโดยไม่มีใครเห็นแก่
ความยากลำ� บากเลย เมอื่ วนั ยกเสา ชาวบา้ นทง้ั ใกล้และไกลได้หลง่ั ไหลข้นึ ไปช่วยอย่างพรอ้ มเพรียง
และในทีส่ ุดการยกเสาขึ้นตั้งโดยการควบคุมของพระอาจารยฝ์ นั้ ก็ส�ำเรจ็ ไปไดอ้ ยา่ งน่าอัศจรรย์
ที่ว่าน่าอัศจรรย์ก็เพราะว่า พื้นท่ีที่จะปลูกสร้างศาลาโรงธรรมนั้นไม่ได้ราบเรียบเสมอกัน
สงู ๆ ต่�ำๆ และระเกะระกะไปดว้ ยกอ้ นหนิ ขนาดต่างๆ กัน เสาทกุ ตน้ ทย่ี กขน้ึ ตงั้ บนกอ้ นหิน จึงมี
สั้นบา้ ง ยาวบ้าง คือ มีขนาดยาวไม่เท่ากัน เม่อื พระอาจารยฝ์ นั้ สั่งให้ตดั และบากเสาใหเ้ ป็นปาก
สำ� หรบั รบั คานเรียบรอ้ ยแลว้ ทกุ ตน้ จงึ ใหย้ กข้นึ ตง้ั หมดทกุ เสา ปรากฏว่าเสาทุกเสาต้งั ไดท้ ท่ี ุกตน้
โดยไมต่ อ้ งแก้ไขหรอื ขยบั เขยอื้ นเลย มิหน�ำซ�้ำทงั้ ๆ ท่ีเสาทกุ ต้นวางต้งั ไว้บนกอ้ นหนิ แตท่ กุ ตน้ ก็
แน่นป๋งั ราวกับฝงั ลงลกึ ลงในดนิ เป็นเมตรๆ
ชาวบา้ นท่ีขึ้นไปชว่ ยตา่ งกลัวกนั วา่ เสาจะลม้ ทับ แต่พระอาจารย์ฝน้ั ปลอบว่า “ไมเ่ ป็นไร
ต้ังใจท�ำกันไปเถอะ” นอกจากน้ีทา่ นไมย่ อมใหช้ าวบ้านตคี ำ�้ ยันเพอ่ื กนั ลม้ ท่านบอกชาวบ้านวา่
“ถา้ ไม่เชือ่ ผลักดกู ็ไดว้ ่ามนั จะล้มไหม” ชาวบา้ นบางคนไดเ้ ขา้ ไปผลักเขย่าดู เม่อื เหน็ วา่ ตงั้ อยบู่ น
หินได้อย่างแนน่ หนาทุกตน้ กไ็ ดแ้ ตป่ ระหลาดใจ แตล่ ะคนไม่กลา้ พูดอะไร ได้แต่มองหน้ากนั ไปมา
เมื่อตั้งเสาศาลาโรงธรรมเสร็จก็ตกเย็น พวกญาติโยมบางคนก็ลงจากเขากลับบ้าน แต่
ส่วนใหญ่พักค้างกนั อยูบ่ นเขาเพอ่ื ชว่ ยงานตอ่ ไปในวันรุง่ ข้ึน คืนนนั้ พระอาจารย์ฝัน้ ได้ลงไปท�ำวัตร
สวดมนต์แล้วเทศนาสง่ั สอน และแนะน�ำใหพ้ วกชาวบา้ นภาวนา “พุทโธ” กันเขา้ ไว้ อยา่ หลบั นอน
259
ให้มากนกั เม่ือแนะนำ� เสร็จก็ให้ไปพกั ผอ่ นกนั ได้ พอตกดกึ เงยี บสงดั บรรดาญาติโยม ๓ – ๔ คน
ที่พกั อยู่ในถำ้� ตา่ งได้ยินเสยี งผู้คนนบั รอ้ ยๆ คยุ กนั ก้องถ�้ำไปหมด แต่ฟงั ไมไ่ ด้ศพั ท์ว่าพูดกันเรื่องอะไร
แรกๆ กค็ ดิ วา่ ชาวบา้ นบางคนลกุ ขึ้นมาคยุ กนั แต่เม่อื มองดูรอบๆ ก็เหน็ ทกุ คนยงั นอนหลับ
จึงรู้สึกเอะใจและเกิดนึกกลัวขึ้นมา จะนอนก็นอนไม่หลับ ได้แต่จับกลุ่มคอยสดับเหตุการณ์อยู่
อยา่ งเงยี บๆ จนกระทัง่ ตี ๕ เศษ พวกเขาจงึ ได้ลกุ ไปถามพระภกิ ษรุ ปู หนง่ึ ดูว่าเปน็ เสียงอะไรกนั แน่
แต่พระภกิ ษรุ ูปนนั้ ก็ได้แต่ยิ้มๆ ไม่ยอมตอบ เพยี งแตแ่ นะน�ำใหไ้ ปถามพระอาจารยฝ์ ั้นเอาเอง แลว้
พระทา่ นกช็ วนชาวบ้านกลุ่มนนั้ ข้ึนไปเดนิ จงกรมบนทร่ี าบดา้ นหลังถ้�ำ
เชา้ วันนัน้ พระอาจารย์ฝ้ันขึ้นไปบนศาลากท็ กั ทายกบั พวกญาตโิ ยมทันทีว่า “เป็นยังไงบ้าง
เมอื่ คืนนงั่ กลัวจนนอนไมห่ ลับทีเดยี วหรอื ไดย้ ินพวกเทพเขามาอนโุ มทนาสาธุการกันหรอื เปลา่
เขามาอนโุ มทนากันตงั้ มากมาย” พวกโยม ๓ – ๔ คน ทผ่ี ่านเหตุการณ์มาเมื่อคนื ไดแ้ ตม่ อง
หนา้ กันอยา่ งประหลาดใจ ท�ำไมพระอาจารยฝ์ น้ั จึงทราบไดว้ ่า เม่ือคนื กลวั กนั มากจนหลบั ไม่ลง
กไ็ ม่ทราบ”
ศาลาโรงธรรมท้งั หลงั สร้างสำ� เร็จโดยเวลาอนั รวดเรว็ อย่างไม่น่าเชอ่ื และได้ใชง้ านเรือ่ ยมา
จนกระทั่งพระอาจารย์ฝั้นใหเ้ ปลี่ยนเปน็ ศาลาคอนกรีตท้ังหลงั เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ นเ้ี อง ศาลา
โรงธรรมหลังใหมก่ ็ส�ำเร็จเสร็จสิ้นไปโดยรวดเรว็ เช่นกนั ด้วยแรงศรัทธาของศรทั ธาญาติโยมทม่ี ตี อ่
พระอาจารย์ฝ้ัน ในแตล่ ะวนั ไดพ้ ากนั ขนหนิ ขนทราย และปนู ซเี มนตจ์ ากเชิงเขาขึน้ ไปถึงยอดเขา
คนละกอ้ น คนละถงุ ศาลาโรงธรรมถ�้ำขามท้งั สองหลงั นับเปน็ ผลงานของพระอาจารย์ฝ้ันท่ีน่า
อัศจรรย์เป็นอยา่ งย่งิ
ศาลาโรงธรรมหลังนที้ ุกเช้าใช้เปน็ สถานทฉ่ี ันจงั หันรวมของพระภกิ ษสุ ามเณร ในบางโอกาส
บรรดาญาตโิ ยมกข็ ้ึนไปทำ� บญุ ใส่บาตรในศาลาโรงธรรมหลังนี้ สำ� หรบั ตน้ มะขามใหญ่ อันเปน็ ท่มี า
ของช่อื “ถ�้ำขาม” เม่ือทา่ นพระอาจารย์ฝ้นั สรา้ งศาลาโรงธรรม ทา่ นไดอ้ นุรักษต์ ้นมะขามใหญน่ ้ี
โดยการสร้างคร่อมไว้ ปัจจบุ ันตน้ มะขามใหญต่ ้นนยี้ งั อยคู่ กู่ ับศาลาโรงธรรมวดั ถำ�้ ขาม
มเี ร่ืองเล่าอ�ำนาจจติ อศั จรรย์ของหลวงป่ฝู ้นั ว่า ทา่ นสร้างวัด ต้องมกี ารระเบิดหนิ หากทา่ น
ไม่ต้องการให้หินช่วงไหนแตกร้าว ท่านจะเอาปากกาไปเขียนยันต์ไว้ตรงจุดน้ัน แม้ระเบิดจะแรง
ขนาดไหน หนิ น้ันกไ็ มแ่ ตกร้าว
อญั เชญิ พระประธานขน้ึ ถำ้� ขาม
ในทส่ี ุดศาลาโรงธรรมหลงั ถาวรภายใต้การอำ� นวยการสรา้ งของพระอาจารย์ฝน้ั กส็ �ำเรจ็ ลง
ในการน้ีได้มีการสร้างกุฏิท่ีพักอาศัยของพระอาจารย์ฝั้นขึ้นใหม่ด้วย โดยท่านเป็นผู้อ�ำนวยการ
260
บรู ณะอยา่ งใกลช้ ดิ จากกุฏไิ ม้ทง้ั หลงั เป็นกุฏมิ ั่นคงถาวร โดยมีโครงสรา้ งเสา คาน บันไดเป็นปูน
สว่ นพ้นื และผนงั เปน็ ไม้ โดยพระภกิ ษุ สามเณร และบรรดาญาติโยมช่วยกันบูรณะกฏุ ิของท่านให้
เป็นกฏุ ิถาวร กุฏิทบี่ ูรณะเรียบร้อยแล้ว ทา่ นไดใ้ ช้เปน็ ทพ่ี �ำนักจ�ำพรรษาตลอดเวลาท่อี ยบู่ นถำ้� ขาม
ส�ำหรบั หลังคากุฏิ ซ่งึ มีลกั ษณะเป็นดาดฟา้ ทา่ นใชเ้ ป็นทีพ่ กั ผอ่ น นอกจากน้ีทา่ นยังทำ� สระนำ�้
ขนาดใหญ่บนหลังถ�้ำ เพ่ือเป็นท่ีเก็บน�้ำฝนมาจนกระทั่งปัจจุบัน นับว่าได้อ�ำนวยประโยชน์แก่
บรรดาศษิ ยานุศิษย์ และบรรดาญาตโิ ยมทั้งหลายเปน็ อยา่ งยิง่
มีเรื่องทน่ี ่าบนั ทกึ ไว้ทนี่ อี้ กี เร่ืองหนง่ึ กลา่ วคอื กอ่ นจะลงมอื สรา้ งศาลาโรงธรรมดงั กลา่ ว
ได้เกิดปัญหาแก่บรรดาศรัทธาญาติโยมทั้งหลายข้ึนมาว่า องค์พระประธานซ่ึงเจ้าภาพจัดส่งไว้ท่ี
บ้านคำ� ข่านน้ั ทำ� อย่างไรจงึ จะอญั เชิญขึน้ ไปใหถ้ ึงถำ�้ ขามได้ เพราะระยะนั้นถนนส�ำหรบั ขึน้ ลงยัง
ไม่มี ทางคนเดนิ แม้จะมีอยู่แตจ่ ะข้นึ ลงแต่ละทีแสนยากลำ� บากอยแู่ ลว้ แต่พระอาจารย์ฝัน้ ไดบ้ อก
บรรดาศรทั ธาญาติโยมทั้งหลายว่า “ไมย่ าก ให้พากนั หามขน้ึ ไปได้เลย”
ในการหามพระประธานขึ้น ไดแ้ บง่ คนออกเป็นสองฝา่ ย ฝา่ ยหนึ่งท�ำหน้าท่ถี างทางน�ำหนา้
ข้ึนไปกอ่ น ส่วนฝ่ายหามพระประธานกใ็ ห้หามตามไปเรอ่ื ยๆ หากจะรอใหต้ ดั ทางใหเ้ สร็จก่อนแล้ว
ค่อยหามพระประธานข้ึนไปกจ็ ะต้องใชเ้ วลาอย่างน้อย ๕ วัน จึงจะตัดทางไดส้ ำ� เร็จ เหตุผลประการ
ส�ำคัญประการหนึ่ง พระอาจารย์ฝั้นจะต้องลงจากถ�้ำขามไปงานประชุมประจ�ำปีของคณะศิษย์
พระอาจารย์มัน่ ท่วี ัดป่าสุทธาวาส ซ่ึงจัดงานในวนั ท่ี ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ทา่ นไมม่ เี วลารอได้
ชาวบา้ นจงึ จำ� เป็นต้องทำ� ตามท่ีพระอาจารยท์ ่านบอก ด้วยการแบ่งก�ำลงั ออกเปน็ สองชดุ ชดุ แรก
ใหถ้ างทางขน้ึ ไปก่อน ชุดหลงั หามพระประธานตามขนึ้ ไป ตามทวี่ างแผนกนั ไว้
เม่ือลงมือเข้าจริงๆ ชุดที่ถางทางข้ึนไปก่อนท�ำงานไม่ทัน เพราะทางที่ขึ้นไปเป็นป่ารก
เต็มไปด้วยก้อนหินและขวากหนาม ชุดที่หามพระประธานข้ึนไปไม่อาจหยุดรอได้ เพราะ
พระประธานหนกั มาก จะวางลงหรือจะยกขึ้นแต่ละครงั้ ล�ำบากเปน็ ท่ีสดุ เนอ่ื งจากสภาพทส่ี ูงชนั
และเต็มไปด้วยกอ้ นหนิ ใหญน่ อ้ ยระเกะระกะ จงึ จ�ำตอ้ งแซงชดุ ถางทางข้นึ ไปก่อน เมอื่ แซงไปแลว้ ก็
บุกต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง เพราะทางสูงชันขึ้นตลอดเวลา ชุดท่ีถางทางล่วงหน้าจึงพากันวางมีด
ชว่ ยกนั ผลัดเปล่ยี นทำ� หน้าทห่ี ามพระประธานร่วมขบวนไปดว้ ย จนในที่สุดก็อญั เชิญพระประธาน
ขึ้นไปถึงถ�้ำขามได้ส�ำเรจ็ ภายในระยะเวลาเพียงไมก่ ี่ชว่ั โมง
น่าประหลาดใจอีกอย่างว่า ในขณะทีช่ าวบ้านช่วยกันหามพระประธานขน้ึ ไปน้นั ผูค้ น
ชลุ มนุ วนุ่ วายถึงขนาดหกลม้ ลุกคลกุ คลานกันตลอดเวลา หลายต่อหลายคนลม้ ลงในดงขวากหนาม
บางคนสะดุดก้อนหินล้มลุกคลุกคลานกัน น่าจะได้รับบาดเจ็บหรือมีบาดแผล หรือไม่ก็ฟกช้�ำ
ด�ำเขยี วกนั บ้าง แตน่ ่าอัศจรรย์ย่งิ ทุกคนปลอดภัย ไม่มีใครไดร้ ับบาดเจบ็ เลยสกั คน
261
พระพทุ ธรูปในศาลาโรงธรรมบนถำ้� ขาม มดี ้วยกัน ๓ องค์ ท้งั ๓ องคม์ ีกลดฉตั รเหนือ
พระพุทธรูป ส�ำหรบั พระประธานท่พี ระเณรชาวบ้านช่วยกนั อญั เชิญข้นึ ถำ้� ขาม คือ พระพุทธรปู
องคก์ ลางขนาดใหญ่
พ.ศ. ๒๔๙๘ จ�ำพรรษา ๓๑ ทถ่ี �้ำขาม
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เมอื่ ศรัทธาสาธุชนเร่ิมทราบว่า หลวงปู่ฝน้ั อาจาโร มาบุกเบกิ พัฒนา
จ�ำพรรษาท่ีถ้�ำขาม ดว้ ยชื่อเสยี ง กิตตศิ ัพท์ กิตตคิ ณุ ของท่าน และด้วยธรรมชาติปา่ เขาอนั งดงาม
เงยี บสงัดวิเวกของถำ้� ขาม จึงมีคณะศิษย์ทง้ั ใกลไ้ กลจากกรุงเทพฯ และจังหวดั อ่นื ๆ พอทราบขา่ ว
ต่างก็พากนั หลัง่ ไหลขึ้นถ้ำ� ขาม เพอื่ ไปกราบนมัสการฟังธรรมหลวงปฝู่ น้ั และชมสถานทีป่ ฏิบตั ธิ รรม
ตลอดทศั นยี ภาพบนถำ�้ ขามกนั เปน็ จำ� นวนมาก มีหลายกลุ่มหลายคณะดว้ ยกนั แมก้ ารขึ้นถ้�ำขาม
จะเป็นไปดว้ ยความยากลำ� บาก เพราะตอ้ งปีนปา่ ยตะเกียกตะกายข้นึ ไปจนถึงยอดเขา ท่ีจา้ งเกวยี น
น่ังไปจนถึงตีนเขาแล้วเดินขึ้นไปก็มี ท่ีขึ้นไปแล้วต้องพักเหนื่อยค้างคืนก็มีมาก ในขณะนั้นทาง
รถยนต์ข้นึ ถำ�้ ขามยงั ไมม่ ี ถ้าไม่ดว้ ยศรทั ธาและวิริยะ อุตสาหะ คงขึ้นไปไม่ถึงอยา่ งแนน่ อน
เหตุการณ์ในพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงป่ฝู ัน้ ขณะมีอายุ ๕๖ ปี พรรษา ๓๑ ทา่ นคง
จ�ำพรรษาอยบู่ นถ�้ำขาม พร้อมด้วยพระภกิ ษลุ ูกศษิ ย์อกี ๓ รูป กับสามเณร ๓ รูป จ�ำนวนเท่ากบั
พรรษาแรก ในฤดแู ลง้ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ น้ีไดม้ ีการทำ� สระน�้ำเป็นงานหลัก สระนำ้� บนถ้�ำขามนี้ตอ้ งทำ�
ถึงสองครง้ั เมอ่ื ทำ� เสรจ็ ครั้งแรก เกบ็ นำ้� ไดเ้ ตม็ สระแล้วเกิดช�ำรุด ผนงั สระเกดิ แตกร้าวนำ�้ ไหลซึม
ออกหมด จงึ ตอ้ งจดั ทำ� กันใหมอ่ ีกคร้ังหนงึ่ โดยขยับเนอื้ ท่เี ข้าไปอีก ทำ� สระให้เลก็ ลง ครัง้ นี้ทำ� ผนัง
เปน็ คอนกรตี เสริมเหล็ก จึงแน่นหนาถาวรมากระทงั่ ปจั จบุ ันนี้ และในปีต่อมา ท่านไดท้ �ำสระ
อกี แห่งบนพืน้ ทสี่ ูงขนึ้ ไป จึงมีทง้ั หมดสองสระ มนี ้�ำพอใชไ้ ปไดต้ ลอดฤดูกาล
ตลอดเวลาท่ผี า่ นไป หลวงปู่ฝ้นั ทา่ นยงั คงนำ� สานุศษิ ยบ์ �ำเพญ็ ความเพยี รอยา่ งคงเส้นคงวา
ส�ำหรับอาหารการบิณฑบาตก็ยังคงขัดสนอยู่เช่นเคย แต่บรรดาพระเณรที่มาอาศัยอยู่กับท่าน
ต่างกม็ งุ่ แสวงหาธรรม จงึ มไิ ด้ย่อทอ้ ต่อความล�ำบาก ทั้งชาวบ้านกเ็ อาใจใส่ดแู ลพระเณรเป็นอยา่ งดี
โดยเดินทางไปใส่บาตรทเี่ ชงิ เขาจุดนดั พบเป็นประจำ� ทกุ เช้า ส่วนพระเณรกส็ ะพายบาตรเดนิ ลงจาก
เขา มารับบณิ ฑบาตทจ่ี ดุ นดั พบ แล้วก็เดนิ กลับข้นึ เขาไป กวา่ จะได้ลงมอื ฉนั ก็เกอื บ ๙ นาฬิกาครงึ่
ที่วดั ถ้�ำขาม พระเณรทา่ นถอื ธุดงค์ฉนั มือ้ เดยี ว และตอนบ่ายมถี วายนำ้� ยาสมนุ ไพร หรอื นำ�้
ปานะ นอกนั้นมนี �้ำเปล่าฉนั เพยี งอยา่ งเดยี วเหมอื นวดั กรรมฐานทัว่ ไป ขณะเดยี วกนั นั้นก็ไดม้ ีการ
จัดสรา้ งกฏุ ทิ ่ีพัก สำ� หรับพระเณรทีม่ มี าเพิม่ ขนึ้ เรอื่ ยๆ ดว้ ยแรงศรัทธาในองค์หลวงปูฝ่ ั้น สำ� หรับ
ทุกวันพระ ทา่ นพาญาติโยมบ�ำเพ็ญภาวนาตลอดคืน โดย หลวงปู่สวุ จั น์ สวุ โจ เทศนไ์ ว้ดงั นี้
262
“อยทู่ างเมืองไทยของเรา นงั่ กับกระดานพ้นื มีเส่ือผืนเดียวปู แลว้ ก็นง่ั นัน้ เขานง่ั ได้เปน็
ชัว่ โมงนะ ได้เป็นช่ัวโมง บางคร้งั กพ็ านง่ั ชว่ั โมงสามสบิ หรอื สองชัว่ โมงก็มี ตอนอย่กู ับหลวงปู่ฝัน้
ถำ�้ ขาม หลวงปฝู่ ัน้ ทา่ นจะอยู่ตลอด พาโยมนงั่ ภาวนา เทศน์บ้าง น่งั ภาวนาบ้างจนสวา่ ง ตืน่ เชา้ แลว้
ก็พาโยมไปดูสวนอกี จนถึงเวลาตรี ะฆังใส่บาตรจึงจะกลบั ทำ� อยูอ่ ย่างนัน้ ทกุ วันพระ ท่านพาโยม
ปฏิบัติดูจิต โยมเดิน แต่ก่อนไม่มีรถ รถข้ึนไม่ถึง พระลงไปบิณฑบาต มีแต่เดินด้วยเท้าท้ังนั้น
โยมจากบ้านมาขึน้ ถ้�ำขาม เขาก็ทนจรงิ ๆ”
นักพฒั นาดา้ นวตั ถแุ ละด้านจติ ใจอย่างแท้จรงิ
ในระหว่างพรรษาปี ๒๔๙๘ หลวงป่ฝู น้ั อาจาโร ท้งั ๆ ทท่ี า่ นอายุใกลห้ กสิบปี ทา่ นยัง
ปฏิบัตศิ าสนกจิ ดว้ ยความเข้มแข็ง นอกจากนีท้ ่านได้จดั แสดงบทเรียนใหแ้ กช่ าวบา้ นค�ำขา่ เกี่ยวกับ
การทำ� มาหากิน โดย หลวงปู่อ่อน าณสิริ บนั ทกึ ไวด้ งั น้ี
“มีข้อน่าสงั เกตอีกประการหน่งึ ว่า ขณะทีพ่ ระอาจารยฝ์ น้ั ขน้ึ ไปพกั บนถ�้ำขามใหมๆ่ น้ัน
บริเวณเชิงเขาเต็มไปด้วยป่ารก เป็นดงช้าง ดงเสอื และสัตวป์ ่านานาชนดิ แตป่ ัจจบุ ันได้กลายเปน็
ป่ากลว้ ยและไร่ สวนมากมาย เหตุทเี่ ปน็ เช่นนนั้ กเ็ พราะพระอาจารย์ฝ้ันไดเ้ ปน็ ผูแ้ นะนำ� ใหช้ าวบา้ น
บุกเบกิ เพ่อื ประโยชนใ์ นการครองชีพ และในทางเศรษฐกจิ ของชาวบ้านแถบนั้นเอง
เร่ืองมอี ยวู่ ่า ในวันหน่งึ ขณะที่พระอาจารย์ฝ้ัน ท่านไดแ้ นะนำ� สง่ั สอนใหญ้ าติโยมมีความ
ขยนั หมั่นเพยี รในการทำ� มาหากิน ท่านได้แนะน�ำให้ปลูกกล้วย ปลูกอ้อยใหม้ ากขน้ึ จะได้มีอยมู่ กี ิน
ไมอ่ ดอยากยากแค้น โยมคนหนง่ึ ไดค้ ้านขึ้นว่า “หมู่บา้ นแถบนีพ้ ้ืนทไ่ี มอ่ ดุ มสมบูรณ์ ปลกู อะไรไมข่ ึน้
เสียแรงเปล่าๆ ตอ่ ให้เทวดาหนา้ ไหนมาปลกู ก็ไมไ่ ด้ผล”
พระอาจารย์ฝั้น ท่านจึงไดถ้ ามวา่ “ไดล้ องปลกู ดแู ลว้ หรอื ยัง ?” โยมผู้น้นั ตอบวา่ “ยงั ”
พระอาจารยฝ์ ้ันจึงส่งั สอนวา่ “เพราะพวกเราพากนั ขีเ้ กียจเชน่ น้แี หละถึงได้พากนั อดอยาก ท้ังๆ ที่
ยงั ไม่เคยลงมอื ท�ำเลย แลว้ จะรผู้ ลได้อย่างไรว่าปลูกขน้ึ หรือไม่ขึ้น หากปลกู ไม่ขนึ้ จรงิ ๆ แลว้ บรรดา
ตน้ ไมต้ า่ งๆ เหลา่ นม้ี นั จะอยไู่ ดอ้ ยา่ งไร ถงึ บนภเู ขานเ้ี องกเ็ ถอะ ถา้ ปลกู ลงไป มนั กข็ นึ้ ไดเ้ หมอื นกนั ”
ต่อจากน้ัน หลวงปฝู่ ้ันกล็ งมือพิสูจนใ์ หช้ าวบา้ นไดเ้ หน็ ว่า สามารถเพาะปลกู พืชบนภเู ขานน้ั ได”้
คุณหมออวย เกตุสงิ ห์ ไดบ้ นั ทึกเพิม่ เตมิ ไวด้ ังน้ี
“ท่านพระอาจารยถ์ ือว่าป่ากล้วยน้เี ปน็ บทเรียนสำ� หรับชาวบ้านใหเ้ หน็ วา่ การลงความเห็น
ว่า “อ้ายโนน่ ท�ำไม่ได้ อ้ายนี่ท�ำไมไ่ ด้ โดยไมพ่ ยายามลองดนู ้ัน คอื ความโง่และความเกียจคร้าน
ซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์และยากจน ส่วนความสนใจใคร่ทดลองท�ำอย่างโน้นอย่างนี้ แม้
ไมเ่ คยท�ำมาก่อน เปน็ ความฉลาดและความขยัน จะน�ำไปส่คู วามสขุ และความร่ำ� รวย”
263
อีกเรอ่ื งหนึง่ ท่ที ่านพระอาจารย์ได้โปรดชาวบา้ นคำ� ข่าในแง่ของการครองชพี โดยเฉพาะ คือ
การแนะนำ� ใหพ้ ากนั ทำ� ไรอ่ อ้ ย พวกนนั้ คดั คา้ นวา่ ปลกู แลว้ กข็ ายไมไ่ ด้ แตท่ า่ นพระอาจารยย์ งั คะยนั้ –
คะยอให้ปลูกและบอกว่า “ปลูกแล้วก็ขายได้เอง” ในท่ีสุดบางคนก็ตกลงท�ำตามที่ท่านแนะน�ำ
ปรากฏวา่ พออ้อยแกก่ ็มีพวกโรงงานนำ้� ตาลมาขอซื้อถึงที่ ท�ำใหเ้ จา้ ของไร่ไดเ้ งินกันไปคนละมากๆ
เห็นไดว้ า่ ทา่ นพระอาจารย์ฝนั้ เปน็ นกั พฒั นาอย่างแท้จริง และท่านพฒั นาท้งั ในด้าน
จิตใจและด้านวตั ถุ ไปอยทู่ ่ีไหนก็ยังความเจรญิ ใหเ้ กิดขึน้ ท่นี ั่น ท้ังในแง่ของศลี ธรรม วฒั นธรรม
และเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าท่านจะไปท่ีใด จึงมีแต่คนรักและเคารพท่านอย่างย่ิง เช่น
พวกชาวบ้านคำ� ขา่ ก็มีความภักดีต่อทา่ นอยา่ งแทจ้ รงิ ถ้าท่านไปอย่ทู ่ีถ�้ำขาม เขาจะตอ้ งหอบหิ้ว
จังหันไปใสบ่ าตรท่านเปน็ ประจ�ำ เดนิ ขนึ้ เขาไปสหี่ า้ กโิ ลเมตร ไมว่ ่าฝนจะตก แดดจะออก หรือ
อากาศจะหนาวเยือกเย็นเพยี งใด”
พ.ศ. ๒๔๙๙ จ�ำพรรษาท่ี ๓๒ วดั ปา่ ภูธรพิทกั ษ์
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ท่านให้ความเมตตาคุ้นเคยและให้ความไว้วางใจ
หลวงปฝู่ น้ั อาจาโร เปน็ อันมาก ในบน้ั ปลายชวี ติ ของสมเดจ็ ฯ ท่านไดเ้ ลง็ เห็นความส�ำคญั ของ
การปฏบิ ัตธิ รรม ทา่ นจงึ หนั กลับมาสง่ เสรมิ สนับสนุนวงกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น และ
ท่านเองก็ได้หันมาสนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง โดยมีครูบาอาจารย์ศิษย์สาย
ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ หลายองค์ คอยถวายธรรมะแนะนำ� เช่น ทา่ นพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
หลวงปู่ฝนั้ อาจาโร ท่านพอ่ ลี ธมฺมธโร หลวงปู่สมิ พทุ ธฺ าจาโร ฯลฯ
สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ (อว้ น ติสฺโส) ทา่ นไดถ้ ึงแกม่ รณภาพ เมอื่ วันท่ี ๒๖ มกราคม พ.ศ.
๒๔๙๙ ณ วดั บรมนวิ าส กรุงเทพมหานคร โดยอาการสงบด้วยโรคชรา สริ ริ วมอายไุ ด้ ๘๙ ปี
นบั เป็นการสูญเสียครัง้ ใหญ่ของวงการบรหิ าร การปกครอง คณะสงฆ์ และพุทธศาสนกิ ชนทั่วไป
โดยเฉพาะชาวจงั หวัดอบุ ลราชธานี กำ� หนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ณ เมรุ
วัดพระศรีมหาธาตุ วนั ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เปน็ งานใหญ่มาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
นายกรฐั มนตรี ในขณะนัน้ เลอื่ มใสศรทั ธาเปน็ เจ้าภาพพิมพ์พระนิพนธ์ของสมเดจ็ ฯ แจกเป็นทร่ี ะลกึ
ในงาน
ในระยะน้ีจึงมีพระมหาเถระผู้ใหญ่ฝ่ายปกครอง ครูบาอาจารย์วงกรรมฐานสายท่านพระ–
อาจารยม์ ั่น พระเณร พุทธบริษทั ตลอดขา้ ราชการ พ่อค้า ประชาชน เดินทางมากราบศพและ
ร่วมงานพระราชทานเพลิงศพของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กันอย่างเนืองแน่นคับคั่ง หลวงปู่ฝั้น
ท่านก็ได้เดนิ ทางมาร่วมงานน้ี และทา่ นไดก้ ลับไปพกั ทถี่ ้�ำขาม
264
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เม่อื ใกลเ้ ขา้ พรรษา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านกลบั ลงไปจ�ำพรรษาท่ี
วดั ป่าภธู รพทิ ักษ์ อ�ำเภอเมอื ง จงั หวัดสกลนคร เพราะบรรดาสานศุ ษิ ยท์ ้งั หลายไดพ้ ากนั ไปกราบ
นมัสการออ้ นวอน และขออาราธนาทา่ นกลบั ไปจ�ำพรรษาโปรดพวกเขาเหมอื นเดมิ เพราะพวกเขา
เคยท�ำบุญใส่บาตร ฟงั ธรรม ปฏิบตั ิธรรมกบั ทา่ นเป็นประจ�ำ พวกเขามีท่านเปน็ ท่พี ง่ึ มที า่ นเป็น
รม่ โพธิ์รม่ ไทรใหญม่ านานนบั สิบปี ยอ่ มมคี วามอบอุ่นใจ มีความผกู พัน และมคี วามรกั เคารพ
ในองค์ทา่ นมาก
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ – ๒๔๙๘ เมือ่ หลวงปฝู่ ้ันทา่ นพาพระเณรไปอย่จู �ำพรรษาและไดพ้ ัฒนา
สร้างวดั ถำ�้ ขามตดิ ตอ่ กัน ๒ พรรษา เหมอื นท่านจากพวกเขาไปนานแสนนาน พวกเขาย่อมขาด
ทพี่ ่ึง ย่อมวา้ เหว่ ขาดความอบอุ่นใจ พวกเขาจึงพากนั มากราบนมิ นต์ท่าน ทา่ นจงึ เมตตาอนุโลม
มาโปรดพวกเขา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ครั้นพอออกพรรษาแล้ว ท่านก็กลับไปพัฒนาถ้�ำขาม ด้วย
เสนาสนะที่จำ� เป็น เชน่ กุฏิ หอ้ งน�้ำ ยงั ขาดแคลนไม่เพยี งพอต่อการรองรับพระ เณร ตลอดศรัทธา
ญาติโยมซึง่ นับวันจะมีจ�ำนวนเพม่ิ มากขึน้ ทา่ นจึงได้พาพระ เณร ญาตโิ ยมในการบูรณะกบั การ
กอ่ สร้างถาวรวัตถทุ ่ีจำ� เป็นเพิม่ ขน้ึ ตามล�ำดับ
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ทา่ นเจ้าคณุ ธรรมเจดีย์ (จมู พนธฺ โุ ล) วดั โพธสิ มภรณ์ เกดิ อาพาธ
ล้มปว่ ยลง เนื่องจากท่านเจ้าคณุ ฯ อทุ ิศชวี ิตตรากตรำ� ท�ำงานอยา่ งหนัก เพื่อพระพทุ ธศาสนาและ
เพอื่ วงกรรมฐาน ท่านเปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ของครบู าอาจารย์องค์สำ� คญั หลายองค์ รวมทงั้ หลวงปู่ฝ้นั
และทา่ นเป็นพระเถระผใู้ หญท่ ่เี คารพนบั ถือของวงพระธดุ งคกรรมฐานสาย ท่านพระอาจารย์เสาร์
ท่านพระอาจารย์ม่นั เมอื่ หลวงปู่ฝน้ั ท่านทราบขา่ วนี้แล้ว ดว้ ยทา่ นเป็นพระท่มี นี ิสัยกตัญญู ทา่ นจึง
ได้รบี รดุ เดินทางไปกราบเย่ียมอาการอาพาธ
หลวงปู่บญุ จันทร์ กมโล เล่าว่า “พระเดชพระคณุ ท่านเจา้ คุณธรรมเจดียน์ ้ี ท่านส่งเสริม
การปฏิบัตสิ ายกัมมฏั ฐานนม้ี าก บางทเี ราไปพักกับท่าน ตอนเช้าเวลาฉัน ท่านจะเตือนพระสาย–
กัมมฏั ฐานวา่ พวกเจ้าเคยทำ� อย่างไรก็ใหท้ ำ� อยา่ งนน้ั เคยฉนั ในบาตรก็ใหฉ้ นั ในบาตร อย่าไปทำ�
อยา่ งพวกนักเรยี นเขา นบั ว่าทา่ นช่วยส่งเสริมพระสายกมั มฏั ฐานเป็นอย่างมากทีเดียว”
ในระยะนี้ จงึ เป็นชว่ งทบ่ี รรดาครบู าอาจารยส์ ายกรรมฐาน ไดม้ ีโอกาสพบกนั อยูบ่ อ่ ยครัง้
เพราะต่างองค์เมื่อทราบขา่ วนีแ้ ลว้ ตา่ งก็แวะเวยี นไปกราบคารวะเยยี่ มเยยี นและเฝ้าดแู ลอาการกัน
อยู่เสมอๆ อาทิเชน่ หลวงปู่บุญมา ติ เปโม หลวงปอู่ อ่ น าณสริ ิ หลวงปขู่ าว อนาลโย หลวงปู่
ฝน้ั อาจาโร หลวงป่กู งมา จิรปญุ ฺโ หลวงปู่พรหม จริ ปญุ ฺโ ทา่ นอาจารย์พระมหาบัว
าณสมปฺ นโฺ น หลวงปบู่ ญุ จันทร์ กมโล หลวงปูบ่ ัว สิริปุณฺโณ ฯลฯ ซึง่ ครูบาอาจารยเ์ หล่าน้ี
265
ล้วนแต่เป็นพระศิษย์ผู้ประพฤติปฏิบัติตามข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสาย
ท่านพระอาจารย์เสาร์ ทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ อยา่ งเคร่งครัด
หลวงปฝู่ น้ั ท่านเฝ้าเยย่ี มอาการอาพาธทา่ นเจ้าคุณธรรมเจดียอ์ ยู่ระยะหน่ึง เมื่ออาการของ
ท่านเจ้าคุณธรรมเจดียด์ ขี ้นึ แลว้ จากนั้นทา่ นก็กลบั ขนึ้ ถ้�ำขาม ซง่ึ ระยะนนั้ ก�ำลงั เข้าสปู่ สี ำ� คัญทาง
พระพทุ ธศาสนา คอื ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นปีฉลองก่งึ พทุ ธกาล
พ.ศ. ๒๕๐๐ กึง่ พทุ ธกาลศาสนาเจริญอกี หนหนึ่ง
พระธรรมวนิ ัยส�ำคญั มาก กอ่ นพระพุทธเจา้ จะเสด็จปรนิ ิพพานนน้ั พระพุทธเจ้าไมไ่ ดท้ รง
ตง้ั พระสงฆ์สาวกองคใ์ ดใหร้ บั ตำ� แหนง่ เปน็ พระศาสดาปกครองพระสงฆส์ ืบต่อจากพระองค์ เหมอื น
พระศาสดาในศาสนาอ่นื เร่ืองนกี้ ไ็ ม่มพี ระสงฆส์ าวกองคใ์ ดทลู ถามพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจา้
ตรัสบอกกับพระอานนท์ว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยกด็ ี ท่เี ราได้แสดงไว้ และบญั ญตั ไิ ว้
ดว้ ยดีน่ันแหละ จักเปน็ พระศาสดาของพวกทา่ นสืบแทนเราตถาคต เม่อื เราลว่ งไปแล้ว”
สมยั กง่ึ พทุ ธกาล ท่านพระอาจารยเ์ สาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น ไดม้ าฟน้ื ฟพู ระธรรมวนิ ยั
ธดุ งควัตร และวางขอ้ วัตรปฏบิ ตั ิ พอถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านพอ่ ลี ธมฺมธโร จัดงานฉลองกึง่
พุทธกาล ท่วี ัดอโศการาม จงั หวดั สมุทรปราการ สำ� หรับหลวงปฝู่ ้ัน อาจาโร ท่านเปน็ หนึ่งใน
กองทพั ธรรมทีฟ่ ้นื ฟพู ระพทุ ธศาสนา และทา่ นเป็นครบู าอาจารย์องค์หนงึ่ ท่ีมีส่วนส�ำคญั ในการฟ้นื ฟู
พระธรรมวินัย ในเรื่องของ กปปฺ ิยํ กโรหิ และ ผ้านสิ ีทนะ โดยครบู าอาจารยเ์ ทศน์ไว้ดงั นี้
“นเ่ี วลาฟ้ืนฟๆู กงึ่ พทุ ธกาล ศาสนาจะเจริญอีกหนหนงึ่ เจริญทไี่ หนล่ะ มันกเ็ จริญในหัวใจ
ของครบู าอาจารย์ของเรา เราศึกษานะ เราศกึ ษาทางประวตั ิศาสตร์ ศกึ ษาตา่ งๆ กอ่ นท่กี ่ึงพทุ ธกาล
ก่อนที่ตัง้ แต่อยธุ ยาแตก มันเป็นกก๊ เปน็ เหลา่ ก๊กพระยาฝาง กก๊ ต่างๆ กวา่ มนั จะฟนื้ ฟูศาสนา
พอฟื้นฟูศาสนา คนเราบ้านแตกสาแหรกขาด ใครจะมาดูแล ต่างคนตา่ งเอาชวี ติ รอด โอย๋ ! มัน
กระสานซา่ นเซน็ นะ บ้านแตกสาแหรกขาด กว่าพวกเราจะรวบรวมตวั กันขึ้นมาได้ แลว้ รวมตวั ขึ้น
มาได้นะ ผู้น�ำที่ดีมากลั่นมากรองข้ึนมา แล้วคดั เลือก คัดเลือกขนึ้ มานะ ถึงเวลาแลว้ หลวงปเู่ สาร์
หลวงป่มู น่ั ทา่ นกม็ าค้นคว้าในใจของท่านข้นึ มา แล้วพอเป็นความจริง
ถ้าเปน็ ความจริงนะ มันอย่ทู วี่ าสนา วาสนาของใคร เกดิ ในยุคของผูใ้ ด อยา่ งน้อยเราก็
เกดิ มาในยุคของกึ่งกลางพระพุทธศาสนา ๒๕๐๐ หลวงปู่มน่ั ทา่ นพูดไว้ “ก่ึงกลางพระพุทธศาสนา
เจรญิ มาตั้งแต่ ๒๔๘๘” ทา่ นพูดถึงขนาดนัน้ นะ หลวงปู่มัน่ ทา่ นพูดมาก่อนหนา้ น้ันแลว้ ระหวา่ ง
ทา่ นมา เวลาหลวงตาท่านถาม หลวงตาท่านจะถามเลย เพราะอยทู่ ่วี าสนาของครูบาอาจารย์
ของเราๆ ไดส้ รา้ งสมบญุ ญาธิการมามากขนาดไหน คือ หัวใจท่านเปิดกวา้ ง หวั ใจท่านรอบรไู้ ด้
มากกว่าเรา ทา่ นย้อนไปได ้ ท่านพยายามฟื้นฟู เหน็ ไหม
266
เรอื่ งของกรรมฐาน เรือ่ งของการประพฤติปฏิบัตเิ ห็นไหม เร่อื งของบรขิ าร ๘ ปจั จยั ๔
นี่ตา่ งๆ ท่านเป็นคนขดุ คุ้ยขนึ้ มาท้ังน้นั ตง้ั แตส่ ง่ิ ขอ้ วัตรปฏิบตั ติ า่ งๆ สิ่งความทเ่ี ปน็ ไปๆ ท่เี ราใชก้ ัน
เป็นปกติไง เราคุ้นชินกับมันไปจนไม่เหน็ คุณคา่ ของมนั ไปไง แต่กวา่ ทห่ี มู่คณะ ทค่ี รบู าอาจารย์ท่าน
จะฟนื้ ฟูขนึ้ มาได้ อย่างเชน่ ความเป็นอยขู่ องเรานี่ ผา้ ปนู อน ผ้านัง่ ผ้าตา่ งๆ น่ี เขาไม่ให้ทำ� ท้ังน้ัน
เขาเลิกกันแลว้ ไม่มีใครเขาทำ� ท่านจะมาอวดดี ทา่ นจะมาเกง่ กวา่ ใครไมไ่ ด้ ท่านพยายามฟน้ื ฟู
ของท่านขึ้นมาด้วยอ�ำนาจวาสนา
อย่างพวกเรานะไม่ต้องไปฟื้นฟูหรอก ปฏิบัติตามที่ท่านวางไว้ก็จะแยกกลุ่มแล้ว แยกฝูง
แล้วลำ� บากไม่มีความส�ำคัญ ไม่เป็นจริง แค่ กปฺปิยํ กโรหิ น่ี เขายังไม่ให้ท�ำเลย ผา้ นิสนี ี่ไม่ตอ้ ง
พดู ถงึ กว่าจะได้มา ลองไปสบื ค้นสิ เราสืบคน้ มาหมดแลว้ ล่ะ ผ้านสิ กี วา่ จะไดม้ าหลวงปฝู่ ัน้ ทา่ นไป
คยุ กบั สมเดจ็ อยา่ งไร โอ้โฮ ! กว่าจะออดจะออ้ นจนเขายอมให้เราได้ทำ� ตามธรรมวนิ ยั สงิ่ ที่จะ
ได้มาๆ ดว้ ยครูบาอาจารยท์ า่ นเปน็ หวั หอกเป็นผรู้ เิ ริ่ม เปน็ ผ้ทู ่ที ำ� กระท�ำ ทำ� เสร็จแลว้ นะ ก็ทำ� เพือ่
ศาสนา ทำ� เพื่อสงฆ์ ท�ำเพ่อื การปฏิบัติธรรม ไมเ่ อามาแอบอ้างเป็นบญุ เปน็ คณุ ใครทงั้ สนิ้ ...
สมัยหลวงปู่ม่นั หลวงปเู่ สารท์ ำ� สังคมยังแคบอยู่ สงั คมอ่ืนยังบอกว่า เหมือนกับตอ้ งการ
ท�ำใหล้ ักษณะเดน่ แต่ความจริง ท่านไม่รู้หรอก พวกนีใ้ จสะอาดบรสิ ุทธ์ิ จะท�ำตามวนิ ัย แตใ่ นเมื่อ
สังคมยงั ไมย่ อมรับ ฉะนัน้ ส่งิ ทีม่ ายอมรบั จริงๆ คือ สมยั หลวงปฝู่ น้ั มาพูดให้ที่วดั ปา่ สาลวนั อยู่ท่ี
วัดปา่ สาลวนั สมเด็จมหาวรี วงศ์ หลวงป่ฝู นั้ ทา่ นเปน็ คนพูด เหมอื นกบั เชน่ ท่ีหลวงป่เู จ๊ยี ะท่าน
เล่าถึงหลวงป่ลู ี วัดอโศการาม หลวงป่ลู ี วดั อโศการามกเ็ หมือนกัน นเ่ี วลาสมเด็จฯ เพ่งไฟใสเ่ ลย
จนเป็นไข้ พอเปน็ ไขแ้ ลว้ หลวงป่ลู ีกบ็ อกวา่ “ต้องพทุ โธแล้วมนั จะหาย” เพราะครูบาอาจารย์
สมัยนั้นทา่ นยังตอ่ ตา้ นกรรมฐาน ว่าอย่างนัน้ เถอะ แต่ใจทา่ นยังบอกวา่ พระไม่มกี ารศึกษา มันจะรู้
อะไร พระอยา่ งน้อยกต็ อ้ งมีการศกึ ษา มันถงึ จะรจู้ ริง นีค่ รบู าอาจารยท์ ีม่ พี าวเวอร์นะ จิตใจของ
ทา่ นเป็นธรรมนะ
หลวงป่ฝู ้นั นี่มฤี ทธิ์ หลวงป่ลู ี วัดอโศการาม ก็มีฤทธิ์ เพราะท่านส�ำเรจ็ ของทา่ น ทา่ นมี
คุณธรรมของทา่ น ทา่ นถึงพยายามปรับสมดุล ปรับทัศนคติของสงฆ์ใหก้ ารกระท�ำว่าสง่ิ นีท้ �ำแลว้
สงฆ์เหน็ ด้วย หรือไมเ่ หน็ ดว้ ย เพราะสังคมใหญ่ สงั คมใหญม่ ันต้องปรบั ดลุ อันนม้ี า ไม่อย่างนน้ั
ครูบาอาจารย์ท่ีท่านเป็นผู้ใหญ่ ท่านปกครองอยู่ ท่านก็มีความเห็นอันหนึ่ง แล้วเราจะไปถึงก็
“กปั ปยิ ะๆ” เหมือนเดก็ ๆ แลว้ ไปทำ� อวดผใู้ หญ่ น่าเกลียดมาก แตถ่ า้ ผใู้ หญ่ท่านเห็นด้วย เด็ก
ทำ� แล้ว เด็กเป็นผอู้ ปุ ฏั ฐากใชไ่ หม เราเปน็ ผอู้ ปุ ฏั ฐาก เราเปน็ คนรบั ประเคน เราเปน็ คนประเคนให้
ครบู าอาจารย์ เราท�ำให้ทา่ น ท่านก็ชนื่ บาน ท่านก็แจ่มใส เราท�ำกด็ ้วยความชืน่ บาน โอย๊ ! มันมี
ความสขุ นะ
267
กรณีอย่างน้ี เราเห็นมาตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านท�ำ มันแบบว่าทุกคนยังไม่
ไว้วางใจ แต่เพราะท่านท�ำจนเป็นกองทัพธรรม กองทัพธรรมตั้งแต่หลวงปู่สิงห์ ครูบาอาจารย์
จนมาถึงโคราชนีแ่ ล้ววัดปา่ สาลวนั ไดต้ ง้ั ขึน้ มา หลวงปู่ฝน้ั ท่านได้มาอยู่ทนี่ น่ั หลวงปู่ฝัน้ ทา่ นเป็น
ผูเ้ ริม่ กปปฺ ยิ ํ กโรหิ กปฺปิย ภนเฺ ต เรื่องแมแ้ ต่เม็ดพรกิ ไทย ใช้เหลก็ แหลมจ้ใี ห้สมเด็จมหาวรี วงศด์ ู
เปดิ พระไตรปิฎกให้ดกู นั เลย
เวลาครูบาอาจารย์จิตใจทา่ นเปดิ แลว้ ท่านฟงั นะ ทา่ นเคารพนับถือกนั นะ เช่น หลวงปู่ลี
วัดอโศการาม ฉะนั้น หลวงปมู่ ่ันทา่ นถึงบอก ลกู ศิษย์ของทา่ นองค์ไหนมีก�ำลัง องคไ์ หนจะเป็น
ประโยชน์ทา่ นส่งเสรมิ แลว้ ทา่ นตดิ ปัญญา ตดิ อาวุธปญั ญาไวใ้ ห้กับลูกศิษยล์ กู หา ไว้ใหเ้ ป็นร่มโพธิ์–
รม่ ไทรของพวกเรา ฉะนั้น สง่ิ ทวี่ า่ กปฺปยิ ํ กโรหิ กปฺปิย ภนฺเต สง่ิ ท่วี ่าต้องกัปปิ ไมต่ ้องกัปปิ กว่าจะ
เอาวินัยข้อนข้ี ึน้ มาเป็นบรรทดั ฐานใหใ้ ชก้ บั สังคม ทั้งๆ ท่ีมนั มอี ยนู่ แ่ี หละ แต่สังคมเลอื นรางไป
แลว้ ครูบาอาจารยท์ ่านจะฟนื้ ฟมู านี่ มันทุกขย์ ากขนาดนี้ กว่าจะได้มาแต่ละช้ินแตล่ ะอนั ...
หลวงปูเ่ สาร์ หลวงปมู่ ่ัน ท่านทำ� มาตงั้ แต่ตน้ นน้ั แหละ แตท่ ำ� ไปแลว้ มนั ไปขดั หูขัดตาคน
เยอะมาก แลว้ เวลาหลวงปฝู่ ้นั ไปพดู กบั สมเดจ็ ฯ สมเด็จฯ ทา่ นมีคำ� สั่งของท่าน ท่านไปสง่ั เขา้
มณฑล มนั กจ็ บหมดเลย มันกส็ งบระงับ มนั ก็เป็นเรอ่ื งคณุ งามความดขี องศาสนา เรานีค่ รบู า–
อาจารยข์ องเราแสวงหามาอยา่ งนี้ ทำ� มาอยา่ งน้ีเพอื่ ประโยชน์กบั เราชาวพทุ ธ
หลวงปู่ฝั้นน่ะ เร่ืองนี้มาได้อยู่ที่วัดป่าสาลวัน มาอยู่ท่ีโคราช หลวงปู่ฝั้นด้วยความ
น่ิมนวลของท่าน ดว้ ยบญุ บารมขี องทา่ น พยายามอธิบายให้พระผูใ้ หญย่ อมรบั ”
วินยั กรรมขอ้ กัปปิยะ
ผกั หรือผลไมท้ ่จี ะน�ำมาถวายพระ หากมเี มลด็ แก่ที่สามารถน�ำไปปลกู ใหง้ อกได้ อย่างสม้
แตงโม มะเขือสุก หรอื มีส่วนอื่นทนี่ �ำไปปลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นล�ำต้น ราก หัวกด็ ี เช่น ผกั บุ้ง
ใบโหระพา หวั หอม จะต้องท�ำวินัยกรรม ที่มกั เรยี กวา่ “กัปปิยะ” เสยี ก่อน พระทา่ นจึงจะฉนั ได้
หากไมท่ �ำกปั ปยิ ะก่อนแล้วพระฉนั เข้าไปจะเปน็ อาบตั ิทกุ กฏ
เร่ืองน้สี ืบเน่ืองมาจากพระวนิ ยั ทหี่ า้ มภิกษุพรากของเขยี ว คือ ตัดต้นไม้ เด็ดใบไมน้ น่ั เอง
ซ่ึงรวมไปถึงผลไมห้ รือลำ� ตน้ ทส่ี ามารถน�ำไปปลกู ใหง้ อกไดด้ ว้ ย
วิธกี ารท�ำกปั ปิยะ คือ น�ำผักหรือผลไม้ท่ตี ้องทำ� กัปปยิ ะมาวางตรงหนา้ พระ แล้วพระท่าน
จะถามวา่ “กัปปิยัง กะโรห”ิ แปลว่า “ท�ำให้สมควรแลว้ หรือ” โยมหรอื เณรจะใช้เลบ็ หรือมีดเดด็
หรือตัดพืชนนั้ เพยี ง ๑ ตน้ หรือ ๑ ผล ใหข้ าดออกจากกัน พรอ้ มกับพดู วา่ “กัปปิยะ ภนั เต”
แปลว่า “ท�ำให้สมควรแล้ว” การท�ำกัปปิยะกับพืชหรือผลไม้เพียงต้นเดียวหรือลูกเดียว จะมี
ผลทำ� ใหพ้ ระฉันพชื หรอื ผลไม้น้นั ได้ทง้ั จาน หรอื ทั้งถาด
268
วินัยขอ้ นีเ้ ห็นนิยมทำ� กันแตเ่ ฉพาะในสายวดั ปา่ เทา่ น้นั เพราะ หลวงปู่เสาร์ กนตฺ สโี ล และ
หลวงป่มู นั่ ภูริทตฺโต ทา่ นสอนลูกศษิ ย์ลูกหาสืบกนั มา ไม่ค่อยไดเ้ ห็นวัดในเมืองท�ำกนั สักเทา่ ใด
สมัยหนึ่ง หลวงปู่เสาร์ กนตฺ สโี ล เทีย่ วธุดงคไ์ ปพกั ที่วดั หน่งึ ใน จ.สกลนคร เจา้ อาวาส
วดั น้นั ซึง่ มพี รรษามากแล้ว เหน็ หลวงปู่เสารใ์ ห้โยมทำ� กปั ปยิ ะ กไ็ มเ่ ชื่อถอื และกลา่ วปรามาสทา่ น
หลวงป่เู สาร์ทา่ นกอ็ ธิบายวา่ “ทา่ นท�ำตามค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้คดิ ข้นึ เอง” ทันใดนนั้
หลวงตาเจา้ อาวาสท่านกล็ ม้ ลงชกั กับพ้ืน ด้วยอ�ำนาจกรรมทก่ี ล่าวปรามาสพระธรรมและพระสงฆ์
ผูป้ ฏิบัตดิ ี ปฏบิ ัติชอบ ฝ่ายพระลกู วัดกพ็ ากันมาเขยา่ ตวั ถามว่า “เป็นอะไรไป” ทา่ นจงึ รู้สึกตัวขึ้น
และกล่าวขอขมาหลวงปู่เสารท์ นั ที จากน้นั ท่านก็ท�ำตามหลวงปูเ่ สารจ์ นตลอดชวี ิต ครูบาอาจารย์
บางรูปทา่ นสอนลกู ศษิ ยว์ า่ หากไปฉนั ในวัดท่ีเขาไมท่ ำ� กัปปิยะกอ่ น ก็ควรเลี่ยงไมฉ่ นั พืชผลไมน้ ้นั
และไม่ควรไปพูดตำ� หนิเขาด้วย แต่ถ้าเล่ยี งไม่ไดจ้ รงิ ๆ ก็ใหฉ้ ันแตเ่ นือ้ ระวงั อย่าเคย้ี วเมล็ดจนแตก
พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๐๕ จ�ำพรรษา ๓๓ – ๓๘ ท่ถี ำ้� ขาม
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึง่ ตรงกับกง่ึ พทุ ธกาล หลวงปฝู่ ้นั อาจาโร ทา่ นม่งุ พฒั นาวดั ถ้�ำขาม
ให้เป็นสถานทปี่ ฏบิ ตั ิธรรมของพระ เณร ตลอดพุทธศาสนกิ ชนทวั่ ไป
ถ�้ำขาม เป็นสถานที่ซึ่งหลวงปู่ฝั้น ท่านชอบมากที่สุด เคยมีคนบางคนมีความเห็นว่าที่
หลวงปู่ฝั้นชอบอยู่บนถ้�ำขามนั้น เพราะท่านติดสุข ถ้าหมายความถึง ความสุขอย่างทางโลก
ความเห็นดังกล่าวไมถ่ ูกต้องแน่ เพราะการอยบู่ นถ้�ำขามในระยะแรกๆ นั้น ท่านตอ้ งประสบกับ
ความทุกข์ยากล�ำบากทางกายมากมาย ต้องอดทน อดอยาก และหิวกระหาย การบณิ ฑบาตทกุ เช้า
ก็ลำ� บากต้องเดินข้นึ เขาลงเขา ระยะทางก็ไกล และในปีน้นั หลวงปฝู่ ั้นทา่ นก็เริม่ เขา้ สวู่ ยั ชราภาพ
ขณะนั้นท่านมอี ายใุ กล้จะ ๖๐ ปี
สาเหตุประการส�ำคัญที่หลวงปู่ฝั้นชอบถ�้ำขาม ก็เพราะท่านมีความสุขในทางธรรม คือ
ถ้�ำขามเปน็ สถานที่สัปปายะมาก เปน็ ทส่ี งบสงดั และอากาศดี เหมาะส�ำหรับปฏิบัตภิ าวนา ซึ่งใน
ระยะนน้ั หลวงปฝู่ นั้ ทา่ นยังทรงอรยิ ธรรมข้นั สาม คือ ข้ันของพระอนาคามี ทา่ นจึงจ�ำเป็นต้องเร่ง
ความเพยี รเพอื่ ความพน้ ทุกขเ์ ป็นพระอรหันตต์ ามที่ท่านปรารถนาไว้ต่อไป
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๐๕ หลวงปู่ฝ้ันทา่ นพาพระเณรขึ้นมาจ�ำพรรษาทถี่ ้ำ� ขามติดต่อกัน
๖ พรรษา ขณะท่ที า่ นมีอายุ ๕๘ – ๖๓ ปี นบั เป็นพรรษาท่ี ๓๓ – ๓๘ เนอ่ื งจากถ�้ำขามอยูใ่ นถน่ิ
ทรุ กันดาร อัตคดั ขาดแคลน และศรทั ธาญาตโิ ยมสว่ นใหญ่ฐานะยากจน แตม่ ากด้วยนำ้� ใจแหง่ ความ
ศรัทธาอันเปี่ยมล้นต่อหลวงปู่ฝั้นตลอดพระเณรที่มุ่งม่ันปฏิบัติธรรม จึงพากันมาท�ำบุญใส่บาตร
เอาอาหารมาถวายเป็นประจ�ำทกุ เชา้ การอยบู่ �ำเพ็ญสมณธรรมในสถานท่เี ชน่ นนั้ แม้จะสปั ปายะ
269
มากๆ แต่พระเณรจะอยู่ไดก้ เ็ น่ืองดว้ ยอาศัยอาหารบณิ ฑบาตจากญาติโยม หลวงป่ฝู ั้นท่านเกรงวา่
จะเป็นภาระตกหนกั กับญาตโิ ยมมากจนเกนิ ไป ท่านจึงจ�ำกดั จ�ำนวนพระเณรท่ีจะอยู่จ�ำพรรษา
โดยในพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีพระและเณรจ�ำพรรษาอยกู่ บั ทา่ น รวม ๗ รปู เหมือนปกี ่อน
ปีต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๑ กย็ ังคงจ�ำนวนเดิม แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ มพี ระและเณรจ�ำพรรษาเพ่มิ ข้ึนเปน็
๙ รูป ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เพิม่ เป็น ๑๕ รูป รสู้ กึ ว่าจะเกนิ ก�ำลังของชาวบ้านผูใ้ ห้การอุปฏั ฐาก ยงั ความ
ล�ำบากแกพ่ ระและเณรในชว่ งกลางพรรษาเป็นอันมาก ในพรรษาตอ่ มาทา่ นก็ตัดจ�ำนวนพระเณรลง
คือ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ มพี ระและเณรจ�ำพรรษาลดลงเหลอื ๙ รูป และในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านให้
ลดลงอกี เหลอื ๖ รปู พอเหมาะสมกับความสามารถของชาวบ้านทจี่ ะใหค้ วามอุปถัมภ์ดูแลโดย
ไมเ่ ดือดรอ้ น
โดยในระยะน้ี หลวงป่ฝู ัน้ ทา่ นจะอยทู่ ีถ่ ้�ำขามเป็นส่วนใหญ่ ท้ังในและนอกพรรษา เวน้ ไว้แต่
มกี ิจจ�ำเปน็ หรือมีกจิ นิมนตท์ ส่ี ำ� คัญๆ ท่านจงึ ลงจากถำ�้ ขาม บรรดาพระธุดงคกรรมฐานทไี่ ดย้ นิ
ชื่อเสยี ง กิตติศัพท์แล้วเกดิ ความเลอื่ มใสศรทั ธาในหลวงปฝู่ ้ัน ต่างได้เดนิ ธุดงค์มาถ้�ำขาม เพ่อื มา
กราบถวายตวั เปน็ ศิษย์ มาขอศกึ ษาข้อวตั รปฏิบตั ิ และอบรมธรรมปฏบิ ัติกบั หลวงปู่ฝน้ั กันอย่าง
ตอ่ เน่ือง เม่อื ไดฟ้ งั ธรรม ปฏบิ ตั ิธรรมกบั หลวงปฝู่ ้นั กย็ ่ิงเกิดความเล่ือมใสศรทั ธาในพระพุทธศาสนา
ในหลวงปูฝ่ ้นั มากยง่ิ ๆ ข้นึ จนถือบวชครองสมณเพศตลอดชีวิตดว้ ยกันหลายรปู
หลวงปู่พรหมใหพ้ ระศษิ ย์ไปกราบคารวะหลวงปฝู่ น้ั
หลวงปูพ่ รหม จิรปญุ โฺ วัดประสิทธธิ รรม บ้านดงเย็น อำ� เภอบา้ นดุง จงั หวัดอุดรธานี
ทา่ นเป็นเพอื่ นสหธรรมกิ อกี องค์หนึ่งของหลวงป่ฝู ัน้ อาจาโร และต่างเป็นพระศษิ ยอ์ าวุโสประเภท
เพชรนำ้� หนงึ่ ของท่านพระอาจารยม์ ัน่ ภรู ทิ ตโฺ ต ถอื เปน็ ครอบครวั กรรมฐานเดยี วกัน หลวงปู่พรหม
ท่านมอี ายุมากกว่าหลวงป่ฝู น้ั ๙ ปี แตท่ า่ นบวชเม่ืออายมุ ากแล้ว โดยออกบวชในปี พ.ศ. ๒๔๗๑
ทา่ นจงึ มพี รรษานอ้ ยกวา่ หลวงปู่ฝัน้ ๓ พรรษา ท่านทั้งสองเคารพนบั ถือรกั ใครก่ นั จรงิ ๆ และตา่ ง
เคารพคุณธรรมของกนั และกนั เหตกุ ารณ์ต่อไปนเี้ ปน็ ชว่ งกอ่ นเขา้ พรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยใน
ระยะน้ที ่านทั้งสองเขา้ ส่วู ัยชราภาพ ท่านไดฝ้ ากความระลึกถึงกนั และกัน เมือ่ ศษิ ยต์ ่างฝ่าย ตา่ งไป
กราบคารวะ ท่านกเ็ มตตาเหมอื นพระลกู พระหลานจรงิ ๆ
ในชว่ งกอ่ นเขา้ พรรษาหลวงปูพ่ รหมทา่ นสั่งใหพ้ ระศษิ ยไ์ ปกราบคารวะหลวงปฝู่ ัน้ อาจาโร
ให้ไปด้วยกนั ๒ องค์ หลวงปู่ไม (วัดศรีโพนสงู มรณภาพไปแลว้ ) กบั พระบวชใหมค่ นบ้านถ่อน
สมยั นน้ั ทีว่ ดั ไม่มรี ถ เอาไม้เจียใส่บาตรแล้วกส็ ะพายบาตรออกเดนิ เทา้ จากวัดประสิทธิธรรม บา้ น
ดงเยน็ ไปพกั บา้ นท่าสองคอนและพักทอี่ ำ� เภอพรรณานคิ ม แตว่ า่ อาจารยไ์ มท่านไม่ขน้ึ ไปถำ�้ ขาม
ก็เลยไปองค์เดยี ว ถ้าไมไ่ ปจะให้ทำ� อย่างไร เพราะเป็นคำ� สง่ั หลวงปูพ่ รหม
270
พอไปถึงถำ�้ ขามกต็ รงเข้ากราบนมัสการหลวงปู่ฝนั้ พรอ้ มกราบเรยี นตามทีไ่ ดร้ ับมอบหมาย
จากหลวงปู่พรหม หลวงป่ฝู น้ั ทา่ นกถ็ าม “ไดอ้ ะไรมาฝาก” กเ็ อาไมเ้ จียถวายท่าน ในคืนแรก โอย้ !
เมือ่ ยๆ มนั กอ็ ยากหลบั อยากนอน มนั เหนื่อย เลยนอนหลับไม่รสู้ ึกตัว ตอนกลางคืนพระเณรที่
ถ�้ำขามก็นั่งสมาธิ เดนิ จงกรม สว่ นแมวมนั กข็ ่วนตน้ มะขามเสียงแก๊กๆๆ และมันก็ปนี ข้นึ ปนี ลง
พอถงึ ตอนเชา้ ลงไปหาหลวงปฝู่ ้นั แมวนน้ั มนั ก็เตน้ แก๊กๆๆ อยูต่ อ่ หน้าเรานัน้ ล่ะ หลวงปูฝ่ ัน้ ทา่ นวา่
“เจ้ารู้จักไหมนั้น เม่ือคืนนี้นอนตายซะขี้ล่าย (ขี้เหร่) กว่าแมว แมวมันยังเดินจงกรม พระ
มาใหม่ มานนั่ มาน้ี แมวมนั ไปแอบดู ไปดแู มวนนั้ เจา้ ไมเ่ ทา่ แมวข้า” กไ็ มร่ ู้จะว่ายังไง ไปพกั กบั
หลวงปู่ฝ้นั อยู่ ๑ เดอื น ก็กราบลาท่าน
ในระหว่างน้ี หลวงปู่ฝั้นท่านแสดงอนาคตังสญาณให้ปรากฏ โดยท่านบอกกับพระเณร
ลว่ งหน้าวา่ “พรงุ่ นจี้ ะมรี ถจากกรงุ เทพฯ พาคณะญาติโยมมาท�ำบญุ ใสบ่ าตร” พอถงึ รุ่งเช้ากม็ รี ถ
มาที่ถ�้ำขาม และญาติโยมก็ได้ข้ึนมาท�ำบุญใส่บาตร อีกเหตุการณ์หน่ึง หลวงปู่ฝั้นท่านบอกกับ
พระบวชใหมล่ ว่ งหนา้ วา่ “กลบั ลงไปแลว้ กจ็ ะสกึ และต้องไปฝกึ ทหาร” พอพระบวชใหมก่ ลบั ไป
วดั ประสิทธิธรรม ก็ไดล้ าสกึ จริงๆ และไดไ้ ปฝึกทหารจริงๆ ๑๕ วัน
ทว่ี ัดถ�้ำขาม มีต้นมะขามอยใู่ ต้กุฏิหลวงปูฝ่ ัน้ อยบู่ นโขดหิน ก็หยบิ พรา้ มดี ไปถากเอาแก่น
เปลือกขาม ได้แล้วกก็ ลบั มาถงึ วดั หลวงป่พู รหมถามว่า “ไปถำ้� ขามไดอ้ ะไรมา” ก็ตอบทา่ นวา่
“ไม่ได้เอาอะไรมา” แล้วก็ล้วงหยิบเอาเปลือกขามออกจากถุงผ้าอังสะ “โอ้ ! ได้เปลือกขามมา
ครบั ” เป็นหลกั ฐานว่าไปถ�้ำขามมา ทา่ นก็วา่ “ไปถึงแลว้ เก่งๆ” ถา้ ไปไม่ถงึ หลวงปฝู่ ั้น ท่านก็จะว่า
ให้เรา หลวงปู่พรหมก็ถามต่อไปวา่ “หลวงปฝู่ ้นั ท่านสอนอะไร” สว่ นมากท่านไมอ่ ยากสอนนะ
เราเปน็ ลูกศษิ ย์หลวงปู่พรหม ท่านก็จะเกรงกัน ครผู ู้นม่ี นั เกง่ แลว้ ครูผนู้ ้ันกเ็ ลยไมอ่ ยากสอนอะไร
271
ภาค ๑๖ เมตตาธรรม – สงั ขารท่านเรมิ่ รว่ งโรย
เมตตาธรรมอนั ย่งิ ใหญ่ของหลวงปูฝ่ น้ั
ความเมตตาธรรมของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นท่ีกล่าวขานกันในหมู่พุทธบริษัท โดย
หนังสือท่ีระลึกงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ฝั้น ได้รวบรวมเมตตาธรรมอันยิ่งใหญ่ของ
หลวงปู่ จากช่อื เรื่องวา่ “ปชู นยี บคุ คล ฝ้ัน อาจาโร” บันทกึ ไวด้ งั นี้
“จากวดั ปา่ อดุ มสมพร รถโดยสารขนาดใหญ่พาเราผ่านช่องทางปกคลมุ ดว้ ยแมกไม้ ได้กล่ิน
ฝุ่นรู้สึกรสชาติดินเข้ามาเยี่ยมกรายอยู่ในล�ำคอ มองไม่เห็นบ้านเรือนหรือแสงไฟอย่างใดท้ังส้ิน
พบแต่คนหนุ่ม คนสาวจูงเด็กขนาดพอจะเดินได้เก่ง สวนทางกับเราเป็นกลุ่มๆ ทุกคนหน้าย้ิม
แลเห็นฟันขาวอยู่ใต้ฝ่ามือและล�ำแขนท่ียกขึ้นบังแสงไฟฉายหน้ารถ คนท่ีไม่ได้ยกมือป้องหน้า
หลบั ตาป๋กี ย็ งั อวดฟัน รถตะกายเชิงเขาฝุ่นดินเลื่อนไถล กระฟดั กระเฟยี ด ตอ่ มาอีกพกั หน่ึงกจ็ อด
หนา้ ดวงโคมสวา่ งสองสามดวง “รถขึ้นมาได้เพียงแคน่ ้ีเทา่ น้นั เราจะตอ้ งเดนิ อีกช่วงหน่ึงจึงจะถงึ ที่
อาจารยฝ์ ้นั อย”ู่
ท่ีน่ันเขาถ้�ำขาม สถานท่ีหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ข้ึนไปบ�ำเพ็ญภาวนาในระหว่างเวลานอก
พรรษา ตรงสดุ ทางรถท่จี ะข้นึ ตอ่ ไปได้ มสี �ำนกั ชหี ลบอยใู่ นหลบื เขาแวดล้อมดว้ ยธรรมชาตสิ วยงาม
และสงบ ทางข้ึนเขาเลาะเลียบไปตามช่องหิน บางตอนลาด บางตอนเป็นมุมโค้งแคบ พอถึง
ยอดเขาจงึ จะเปน็ ลานกว้าง หินเรียบใช้เปน็ ทเ่ี ฮลคิ อปเตอรเ์ หาะลงจอดได้ เลยลานโดยรอบมดี ง
ดอกล่นั ทมออกดอกหอมกรุ่น
ยอดเขาขนาดย่อมลูกน้อี ยใู่ นเทือกเขาภพู าน ต้องไตบ่ ันไดในซอกลดต่�ำลงไปจงึ จะถึงหินผา
เปน็ ปกี คลา้ ยเพงิ ท่ีเรียกว่า ถ้�ำขาม ปกี ผาน้มี ตี ้นมะขามใหญ่ยืนตระหงา่ น เม่อื หลวงพอ่ จดั ต่อ
หลงั คาจากชะงอ่ นหนิ ใหญ่ออกมา ตน้ มะขามก็ยังคงถูกสงวนไวต้ รงกลางศาลานั่นเอง
โอกาสแรกท่ีได้ไปกราบนมัสการหลวงพ่อฝั้นคราวน้ันเป็นเวลาสามทุ่มเศษแล้ว หลวงพ่อ
ยังนั่งอยู่บนศาลา พรั่งพร้อมด้วยกลุ่มพระภิกษุห่มจีวรสีย้อมฝาด นั่งขัดสมาธิเรียงอยู่เกือบเป็น
วงกลม อกต้ังหลังแอ่นน่ิงประดจุ รูปป้ันล้อมดวงแหง่ ความสวา่ งโพลง
หลวงพ่อทกั ทายผเู้ ดนิ ทางไกลมาเปน็ เวลากวา่ สบิ สองชวั่ โมง “มากันแตไ่ หน มากันยังไง ?
เอา้ ! เขา้ มา” “มาจากกรุงเทพฯ เจ้าค่ะ” ศิษยท์ ีเ่ คยไปมาหาสปู่ ระนมมือหลังกราบงามสามหน
เรยี นใหท้ ราบ “มากันตง้ั แตเ่ มื่อไหร่ ?” “ออกจากกรงุ เทพฯ ต้ังแตเ่ ชา้ เจ้าคะ่ ” “เออ ! เหนอ่ื ยกัน
แย่ซ”ี “แต่พอมาถงึ แลว้ กป็ ล้มื ใจ หายเหน่ือยเลยเจา้ ค่ะ” เสยี งหลังนเี้ ปน็ ผ้พู งึ่ เคยพบหลวงพ่อฝั้น
272
อาจาโร เป็นวาระแรกในชวี ติ คำ่� วนั นั้นเอง สภุ าพสตรแี รกขอร้องให้หลวงพอ่ สอนพุทโธแกค่ ณะท่ีไป
เย่ียมเยียน
“พุทโธ คือ พระพทุ ธเจ้า พุทธะ คือ ความร.ู้ ..”
หลวงพอ่ แนะน�ำการนั่งใหส้ บาย หลับตา ท�ำใจใหส้ งบ ท�ำใจใหเ้ บกิ บาน หนา้ ย้มิ ๆ และ
ท�ำใจใหส้ วา่ ง ภาวนาพทุ โธ พร้อมกบั หายใจลึกเขา้ สกู่ ้นบ้งึ ของห้วงหทยั แล้วระบายออก
ศาลาถ�้ำขามเงียบกริบราวกับไม่มีส่ิงท่ีมีชีวิตอยู่เลย มองออกไปภายนอก ต้นไม้ชูยอด
เหยยี ดกิ่งก้านอยู่ตำ�่ กว่าเรา ดาวกะพริบขยบิ ระยับอย่ตู ามชอ่ งวา่ งของกงิ่ ไม้ ผูค้ นซ่งึ นัง่ ตามสบาย
หลบั นยั น์ตานิ่งไม่ไหวติง เหมอื นกบั ว่าหลุดออกไปลอยอยใู่ นกลุ่มเมฆเมอื งแมนแดนฟา้ นี่คือสภาพ
ปกติของกจิ วัตรหลวงพอ่ ฝ้ัน ประจำ� วัน ต้อนรบั ผู้ไปหาด้วยเมตตา ให้ความกรณุ าน�ำ น�ำโดย
ไม่เลือกเวลา ต้ังแต่อรุณถึงดึกด่ืนทุกคืน การหลับนอนพักผ่อนน้ันใช้เวลาเพียงน้อยนิด ความ
เมตตากรุณาของหลวงพอ่ ยิ่งใหญท่ สี่ ุดมากมายและเหลอื เฟอื เสมอ ผู้ที่ไปกราบนมสั การหลวงพ่อจะ
รสู้ กึ ถึงพลงั รังสแี หง่ ความเมตตาแผซ่ า่ นออกมาถงึ ตวั เขา ทำ� ให้รสู้ กึ เปน็ สขุ ลืมความเดอื ดร้อน
วนุ่ วายไม่เปน็ สุขอย่างปลดิ ท้งิ และเมอ่ื ได้ลองปฏบิ ัตติ ามค�ำแนะน�ำของหลวงพอ่ กจ็ ะเกิดความร้สู ึก
อย่างใหม่ ชนิดทไี่ มเ่ คยประสบมาก่อน
ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ พระอุปชั ฌายแ์ ละเพ่ือนสหธรรมิกละสงั ขาร
ดว้ ยท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ทา่ นเปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เมอ่ื ท่านเร่มิ อาพาธ หลวงปู่ฝน้ั ทา่ นกแ็ วะไปเยย่ี มเยียนดูแลอาการ พอถงึ วนั ท่ี
๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ก่อนเข้าพรรษาเล็กน้อย ทา่ นกถ็ งึ แก่มรณภาพด้วยอาการอนั สงบ ณ
โรงพยาบาลศิรริ าช กรงุ เทพมหานคร นบั เปน็ การสูญเสียอนั ใหญห่ ลวงของวงพระธุดงคกรรมฐาน
เพราะทา่ นเป็นศิษยอ์ าวโุ สรนุ่ แรกๆ ของท่านพระอาจารย์เสาร์ และทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ทา่ น
เปน็ พระราชาคณะทม่ี ีสมณศักด์สิ งู ถงึ ชั้นธรรม และหนกั แนน่ ในความกตัญญูกตเวทตี ่อผูม้ พี ระคุณ
แม้ท่านจะมีสมณศักดิ์สูงส่งข้ึนเพียงใดก็ตาม ท่านก็ยังแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพ่อแม่ครู–
อาจารยด์ งั เดิม
ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ท่านถอื เป็นพระอุปชั ฌายแ์ หง่ ยคุ ท่านบวชให้ครบู าอาจารย์ศษิ ย์
สายทา่ นพระอาจารยม์ ั่นมากมาย องค์ส�ำคัญๆ ท่ีท่านบวชให้ เชน่ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่
หลยุ จนทฺ สาโร หลวงปู่ฝนั้ อาจาโร หลวงปู่พรหม จิรปญุ โฺ องค์หลวงตาพระมหาบัว
าณสมฺปนโฺ น หลวงปหู่ ล้า เขมปตโฺ ต หลวงป่ลู ี กุสลธโร ฯลฯ ในกาลตอ่ มาลว้ นเป็นพระ
ประเภท “เพชรนำ�้ หนงึ่ ” ท่านเจ้าคณุ ธรรมเจดีย์เปน็ พระมหาเถระผูใ้ หญท่ ี่เอาใจใสป่ กครองดแู ล
273
วงกรรมฐานเป็นอย่างดี ท่านมคี วามเมตตากรุณาต่อพระผนู้ อ้ ย ทั้งส่งเสริมภาคปฏบิ ัติให้พระเณร
ภาวนาไดส้ ะดวก ทา่ นจึงเป็นที่เคารพนบั ถอื อยา่ งสูงของวงกรรมฐาน
หลวงปู่ฝ้นั นับแต่ท่านเป็นพระในฝา่ ยธรรมยุต เป็นพระธุดงคกรรมฐานเตม็ องคแ์ ลว้ ทา่ น
ถอื ธุดงควตั รตลอดชีวิตสมณเพศ ท่านจึงมปี รกตินิสยั ชนื่ ชอบอย่ตู ามปา่ ตามเขา ตามหมู่บ้านเล็กๆ
โดยทา่ นมงุ่ ด�ำเนินตามพระพทุ ธโอวาทข้อ “รุกขฺ มูลเสนาสนฯํ ” และมงุ่ ด�ำเนินตามข้อวตั รปฏิบัติ
ปฏปิ ทาของทา่ นพระอาจารยม์ ่ัน อย่างเครง่ ครดั ทีส่ ดุ ยากที่จะหาใครเสมอเหมอื น ดงั นัน้ ท่าน
ไม่เคยจำ� พรรษาตามวัดในเมอื ง แม้ทา่ นเข้ากรุงเทพมหานคร ทา่ นก็พักท่วี ดั บรมนวิ าส ซ่งึ สมยั นั้น
ถอื ว่าอยู่นอกเมอื ง ท่านจึงไม่เคยจำ� พรรษากับท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ พระอุปชั ฌายข์ องท่าน
สาเหตุเพราะ วัดของพระอปุ ัชฌายอ์ ยใู่ นเมือง แต่เม่อื ท่านมโี อกาสกเ็ ขา้ ไปกราบคารวะ
เยี่ยมเยยี น และเมอื่ ทา่ นได้รบั มอบหมายงานสิ่งใดใหท้ ำ� ทา่ นกจ็ ะสนองงานทกุ ส่งิ และทกุ ครง้ั ไป
อย่างเตม็ กำ� ลงั ความสามารถ ท่านเคารพทา่ นเจ้าคุณธรรมเจดียม์ าก และท่านจะไปร่วมงานท�ำบุญ
ของท่านเจา้ คุณธรรมเจดียท์ ุกโอกาสไมเ่ คยพลาด เพราะถือเปน็ การแสดงความกตัญญูทศ่ี ิษยพ์ งึ มี
ตอ่ ครูบาอาจารย์อย่างหนึ่ง โดยองคห์ ลวงตาพระมหาบัว เทศน์ไวด้ งั น้ี
“วัดโพธิฯ (วัดโพธิสมภรณ์) น้ี กรรมฐานเข้าไปค้างบอ่ ยๆ แหละ ต้งั แตท่ า่ น (ท่านเจา้ คุณ–
ธรรมเจดยี ์) มชี ีวิตอยู่ จากนั้นแล้วกไ็ ม่ได้ไป เราเองกไ็ ม่ไดไ้ ป ไปกไ็ ปชว่ั คราวไมไ่ ด้ค้าง แต่กอ่ น
พระกรรมฐานผใู้ หญ่ๆ เช่น หลวงปูข่ าว หลวงปฝู่ ัน้ หลวงป่อู อ่ น ใครตอ่ ใครผู้ใหญๆ่ แหละมา
ย่งิ มงี านแล้วเอามาหมด กรรมฐาน มาท่านกบ็ อก “นี่ใครจะกราบจะไหว้ ก็มากราบ มาไหวเ้ สีย
พระเหล่าน้เี ปน็ พระส�ำคัญทั้งน้นั นานๆ จะได้พบท่านทีหน่งึ ”
มงี านทีหนึ่ง พระกรรมฐาน ท่านเอามาหมด แลว้ ประชาชนเขาก็ไดท้ �ำบุญใหท้ านกบั ทา่ น
ท่านบอกตรงๆ เลย “เอา้ ! ใหพ้ ากนั ท�ำบุญ ใหท้ านเสยี นะ พบพระอยา่ งน้ีมันพบยากนะ”
ทา่ นพูดอย่างนีแ้ หละ เพราะท่านเปน็ พระผใู้ หญ่ แลว้ พระกรรมฐานมาค้างบ่อย ทา่ นไปเอามาจนได้
ไมม่ ีงาน ทา่ นก็ไปเอามา อยา่ งเรานไ้ี ปเรื่อย บางทที ่านมาเอาเอง ท่านมาเองเลย”
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เมอื่ ออกพรรษา หลวงปฝู่ ้ัน ทา่ นได้ลงจากถ้�ำขาม เพอ่ื ไปรว่ มท�ำบุญ
งานศพครบ ๑๐๐ วนั ของทา่ นเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ในช่วงเวลาเดียวกนั หลวงป่กู งมา จิรปุญโฺ
เพอื่ นสหธรรมกิ ใกลช้ ดิ ของทา่ น เคยเทีย่ วธดุ งคแ์ ละเคยจำ� พรรษาร่วมกนั ถึงแกม่ รณภาพ โดยกอ่ น
มรณภาพ หลวงปู่กงมาท่านได้พยากรณ์เร่ืองการมรณภาพของตวั ท่านเองให้ศิษย์ฟงั ล่วงหน้านาน
แล้วว่า ทา่ นจะมรณภาพดว้ ยรถยนต์ และกเ็ ปน็ เชน่ นัน้ จรงิ คือ เม่อื วนั ที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ทา่ นประสบอบุ ตั ิเหตรุ ถยนตค์ วำ่� ขณะเดนิ ทางไปงานนมิ นตแ์ หง่ หน่ึงท่จี งั หวดั จนั ทบรุ ี
274
หลวงปูก่ งมา ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิรริ วมอายไุ ด้ ๖๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วนั ไดน้ �ำ
ความเศรา้ โศกมาสู่บรรดาศษิ ยานศุ ษิ ย์และชาวพทุ ธเป็นอันมาก เมื่อหลวงป่ฝู ั้นทราบข่าว ท่านได้
เดนิ ทางไปวดั ดอยธรรมเจดยี ์ เพื่อคารวะเยย่ี มศพหลวงปูก่ งมา จากนนั้ ทา่ นไปพกั ทีว่ ดั ป่าอดุ ม–
สมพร อำ� เภอพรรณานคิ ม เปน็ การเปลยี่ นบรรยากาศและเพอ่ื สง่ั สอนอบรมโปรดชาวบา้ นพรรณาฯ
ซึง่ ส่วนใหญเ่ ป็นญาติพี่นอ้ งและลูกหลานของทา่ นเอง
ในงานท�ำบญุ ศตมวารศพ หรืองานทำ� บุญศพครบ ๑๐๐ วัน ของทา่ นเจา้ คณุ ธรรมเจดยี ์
คุณหมออวย เกตสุ งิ ห์ ซ่ึงตอ่ มาเป็นหมอประจำ� ตัวของหลวงป่ฝู นั้ และหลวงปู่ขาว บนั ทึกไวด้ งั นี้
“ผู้เขียนไดน้ มสั การ ท่านพระอาจารยฝ์ ้ัน เป็นครัง้ แรก เมื่อตน้ เดือนตลุ าคม ๒๕๐๕
ผูเ้ ขียนกบั ภรรยาไปในงานท�ำบญุ ศตมวารศพ ทา่ นเจ้าคุณพระธรรมเจดยี ์ (จมู พันธโุ ลเถระ)
ท่ี วัดโพธสิ มภรณ์ จ.อดุ รธานี มีพระกรรมฐานไปในงานนั้นเป็นจ�ำนวนมาก เพราะท่านเจ้าคุณ
เป็นพระอปุ ัชฌายข์ องทา่ น รงุ่ ข้ึนจากวันสุดท้ายของงาน ผเู้ ขียนกับภรรยาไปกราบนมัสการลา
ทา่ นอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมั ปนั โน ที่หอ้ งชน้ั ล่างกฏุ ขิ องทา่ นเจา้ คุณ พบทา่ นอาจารย์ก�ำลัง
ฉนั อยู่ พอกราบทา่ นเสรจ็ แล้ว ทา่ นก็พดู ว่า “อาจารยห์ มอกบั คณุ หญงิ กราบท่านอาจารย์ฝน้ั เสยี ซี่
น่แี หละพระร้อยเปอรเ์ ซ็นตล์ ่ะ”
ผู้เขยี นหนั ไปทางขวาของท่านกเ็ หน็ “ทา่ นอาจารย์ใหญ่” (ตามที่พระกรรมฐานจ�ำนวนมาก
นิยมเรียกท่าน) ก�ำลังฉันอยู่ ตอนนั้นสังเกตได้แต่เพียงว่า ท่านสมบูรณ์ดี หน้าตาแจ่มใส
ผิวพรรณเปลง่ ปลง่ั พอผ้เู ขียนและภรรยาลงกราบ ท่านก็ยิ้ม แลว้ เลอื่ นฝาบาตรมาให้โดยไม่พูดอะไร
แต่นัยน์ตาของท่านแสดงชัดแจ้งว่า “เอ้า ! เอาไปกินบ้างซ่ี” ผู้เขียนหยิบเอามะไฟมาสองผล
แบง่ ให้ภรรยาหนงึ่ ผล แล้วก็กราบลาโดยไมไ่ ด้พูดอะไรกบั ทา่ น เพราะเห็นว่าท่านกำ� ลังฉนั
ผู้เขยี นไม่ไดน้ ึกฝนั ว่า การประสบกันคร้งั น้ัน จะเป็นจุดเร่มิ ตน้ ของความสมั พนั ธ์อนั น�ำความ
ชุ่มชื่นหัวใจมาให้ตลอดเวลาอีกสิบห้าปีต่อมา ผู้เขียนได้ทราบประวัติของท่านอาจารย์ฝั้นมาแต่
ก่อนหน้านั้นมากมายหลายประการ รวมทง้ั ความเก่งกลา้ ของท่านดว้ ย เคยคิดไว้วา่ ท่านคงเปน็
พระทีโ่ ลดโผนองคห์ นึ่ง แต่เมอ่ื ไดพ้ บในวันนั้นกร็ สู้ กึ ว่า ท่านมสี มณสารูปทงี่ ดงามเข้าแบบเข้าแผน
ประกอบกับความสงา่ ผา่ เผยอยา่ งทห่ี าไดย้ ากในพระอ่ืนๆ ความบรสิ ทุ ธิ์ และความเมตตาทฉี่ าย
ออกมาในแววตาของท่าน เป็นข้อท่ีสะดุดใจ อีกประการหน่ึง ผู้เขียนรู้สึกเคารพรักท่านต้ังแต่
คราวนนั้ ท้ังๆ ทไี่ ม่ได้พดู กันสกั ค�ำเดยี ว ท่านอาจารยเ์ ปิดฉากความสมั พันธ์กบั ผู้เขยี นดว้ ยการ
“ให”้ แล้วท่านก็ “ให้” ตลอดจนถงึ นาทีสุดทา้ ย”
275
ครอบครวั กรรมฐาน
ครูบาอาจารย์พระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น โดยเฉพาะองค์ที่มีคุณธรรม
ท่านรักและเคารพกันมาก ท่านเคารพกันด้วยธรรม นอบน้อมกันด้วยอาวุโสแห่งพรรษา ท่าน
เหล่าน้ีล้วนเคยสร้างวาสนาบารมีธรรมร่วมกับท่านพระอาจารย์ม่ัน จึงได้ติดตามมาถวายตัวเป็น
พระศษิ ย์ ย่งิ องคท์ ่จี ะเปน็ พระอรหันตด์ ว้ ยแล้ว ท่านจะต้องสรา้ งบุญญาธิการมานานแสนกปั
หลวงปูฝ่ นั้ อาจาโร กับ หลวงปอู่ ่อน าณสิริ ท่านจะสนทิ สนมกนั มาก ถอื เป็นคู่
สหธรรมิกของวงกรรมฐานอีกค่หู นงึ่ กบั ครบู าอาจารยอ์ งคอ์ ื่นๆ เชน่ หลวงปู่หลยุ จนทฺ สาโร และ
หลวงปขู่ าว อนาลโย ทา่ นกส็ นทิ สนมกนั หากนับพรรษาขณะญตั ติเปน็ ธรรมยตุ แลว้ อาวโุ สกวา่
หลวงปู่ฝนั้ เพยี ง ๗ วนั เทา่ น้ัน โดยหลวงปูห่ ลยุ และ หลวงป่ขู าว ญตั ตพิ ร้อมกัน เมอ่ื วันท่ี ๑๔
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ สว่ นหลวงปู่ฝั้นญัตตเิ ม่ือวันท่ี ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ท่านท้ังสาม
ญตั ติ ณ พทั ธสมี าเดียวกนั คอื อโุ บสถ วดั โพธสิ มภรณ์ อ�ำเภอเมือง จงั หวัดอดุ รธานี และมี
พระอปุ ัชฌายเ์ ดยี วกัน คอื ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) จงึ ถอื เสมือนเปน็ ครอบครัว
เดียวกันจรงิ ๆ เปน็ พีแ่ ละเป็นนอ้ งผู้มพี ่อองคเ์ ดยี วกันจริงๆ หรือทเี่ รยี กวา่ “ครอบครวั กรรมฐาน”
โดยครบู าอาจารย์ เทศน์ไวด้ งั น้ี
“เราอยู่กบั ครบู าอาจารย์มา ศึกษามาตงั้ แตส่ มัยหลวงปมู่ ัน่ เห็นไหม กรรมฐานน่ีเขาจะ
ถึงกนั กรรมฐานนี่ ถ้าใครมปี ญั หา เขาจะแก้ไขกนั เขาจะคอยดแู ลกัน คอยดแู ลกนั จนมนั ม่นั คง
ขน้ึ มา แล้วทีห่ ลวงปฝู่ ัน้ บอก ทว่ี ่า อปรหิ านิยธรรม ๗ การหม่ันประชุมกันเนอื งนิตย์ มันมีอะไร
มนั จะแก้ไขกัน คือ มันเหมือนกบั ว่า เพื่อนตายไง คอื จะบอกกนั จะช้ีนำ� กัน จะชักนำ� กนั เพอื่ นตาย
มนั เป็นเพ่ือนตาย เปน็ เพื่อนแท้ ไมใ่ ชม่ ติ รเทยี ม ฉะนนั้ กรณอี ย่างนน้ั มนั ถงึ จะม่ันคงมา ทีนีพ้ อ
ม่ันคงมา หลวงตาทา่ นบอกวา่ “ครอบครัวกรรมฐาน” ครอบครวั กรรมฐานเปน็ ครอบครวั ใหญ่ ทนี ้ี
ครอบครัวใหญ่ ความผดิ ถูกในครอบครัวนม่ี นั รกู้ ันอยแู่ ล้วแหละ
ท่าน (พระเจ้าคุณธรรมเจดีย์ จูม พนธฺ ุโล) เปน็ อปุ ัชฌาย์ ท่านบวชให้ทั้งหมด ทา่ นถงึ เอา
ลูกศษิ ย์ลกู หาของทา่ นมาคยุ ธรรมะกนั อย่างเชน่ ให้หลวงปขู่ าวมาคุยกบั หลวงตา ใหห้ ลวงปฝู่ ั้น
มาคุย นท่ี ่านเป็นคนจับใหค้ ยุ กนั ๆ ค�ำวา่ คยุ กันนี่ ธมมฺ สากจฉฺ า คอื ตรวจสอบกันไง ตรวจสอบกนั ให้
เป็นความจรงิ ๆ ข้ึนมาไง ถ้ามนั ตรวจสอบกัน มนั เปน็ ความจรงิ ขน้ึ มา มันกเ็ ป็นความจริงขน้ึ มา”
ครอบครวั กรรมฐาน ในยามปรกตชิ ว่ งกอ่ นเข้าพรรษา ครบู าอาจารย์ทา่ นจะกราบทำ� วตั ร
องค์ท่ีอาวโุ สกว่า ซง่ึ เป็นอริยประเพณีของพระกรรมฐานสายน้ี หลวงปูฝ่ น้ั ทา่ นกม็ ากราบนมสั การ
เยีย่ มและทำ� วัตรหลวงปูข่ าว ณ วดั ถำ้� กลองเพล หลวงปู่ขาวทา่ นกไ็ ปเย่ียมหลวงปู่ฝั้น ท่านท้ังสอง
276
ร้จู ักค้นุ เคยกันเป็นอย่างดี ตา่ งปรารถนาความพน้ ทุกข์เหมือนกัน เคยได้รบั การอบรมธรรมปฏิบัติ
จากทา่ นพระอาจารย์มนั่ ด้วยกนั เมอ่ื กลับมาภาคอีสานก็ไปมาหาสู่กันเปน็ ประจ�ำ
ในยามมงี านพระพทุ ธศาสนา ครบู าอาจารย์ท่านกร็ บั นมิ นต์ไปรว่ มงานของหมคู่ ณะ เช่น
ฉลองโบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ หลวงปู่ฝนั้ ท่านจะเป็นครูบาอาจารยอ์ งค์แรกๆ ทถ่ี กู อาราธนานิมนต์
ไปเจรญิ พระพุทธมนต์ และเทศนาธรรมโปรดพทุ ธบริษทั ทม่ี าร่วมงาน
ในยามเจบ็ ปว่ ย ทา่ นจะหว่ งใยกันมาก ท่านจะไมท่ อดท้งิ กัน และท่านจะไปเฝ้าเยี่ยมดแู ล
อาการกนั ในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๐๖ หลวงปฝู่ ้นั ทา่ นนำ� ญาติโยมทำ� ทางจากโรงเรยี นบา้ นม่วงไขไ่ ป
ถึงบ้านหนองโดก ท่านไดไ้ ปอยู่ช่วยดแู ลเป็นก�ำลังใจแก่ชาวบา้ นอยา่ งใกลช้ ดิ เป็นเวลาถึง ๕ – ๖ วัน
จนกว่าการทำ� ทางจะเสร็จเรยี บรอ้ ย ท่านตอ้ งตรากตรำ� คร่ำ� เครง่ งาน แม้จะตากแดดตากฝนก็ตาม
จนอาพาธเป็นไขส้ งู ถงึ ขนาดต้องเข้าพกั รกั ษาตัวท่ีโรงพยาบาลสกลนคร ออกจากโรงพยาบาลแลว้
ท่านเข้ารักษาอาพาธหนกั ทกี่ รงุ เทพฯ เปน็ ครงั้ แรก จากนน้ั ทา่ นกเ็ ข้าพักทว่ี ดั ปา่ ภธู รพทิ กั ษ์ เมื่อ
ครบู าอาจารยท์ ราบขา่ ว ทา่ นก็แวะไปเย่ียมอาการอาพาธกันเสมอๆ หลวงปขู่ าวท่านกไ็ ปเฝ้าเยีย่ ม
อาการหลวงปูฝ่ ้ัน
ในยามมรณภาพ หากมงี านประชมุ เพลิงศพครูบาอาจารย์ ยิ่งองค์ท่ีมีคณุ ปู การ หรือองคท์ ่ีมี
คณุ ธรรมด้วยแล้ว ทา่ นกจ็ ะเดนิ ทางมารว่ มงานกนั อยา่ งเนืองแนน่ คบั คัง่ ย่งิ เป็นงานส�ำคัญใหญ่ๆ
ด้วยแล้ว ท่านก็เดินทางมาช่วยเตรียมงานกันล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือนก็มี และบางองค์ก็
ช่วยงานกนั จนกวา่ งานจะแล้วเสร็จกม็ ี โดยในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ มดี ้วยกนั ๒ งาน คอื งานประชมุ
เพลิงศพหลวงปู่กงมา จริ ปญุ ฺโ ในวันท่ี ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ และงานพระราชทานเพลิงศพ
ท่านเจ้าคณุ พระธรรมเจดยี ์ ในวนั ท่ี ๒ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ฯลฯ งานสำ� คัญคร้งั สุดท้ายของ
เพอ่ื นสหธรรมกิ และพระอปุ ัชฌาย์ หลวงปฝู่ ั้นท่านก็ไดเ้ ดินทางไปรว่ มงาน
การตรวจสอบคุณธรรมกัน การดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือเก้ือกูลกันของครอบครัวกรรมฐาน
เป็นการสงเคราะห์กันท้ังทางด้านร่างกายและจิตใจ อันเป็นการแสดงออกของธรรม ถือเป็นคติ
แบบอย่างอนั เลิศเลอลำ�้ ค่ายิง่ ของพุทธบริษทั ซงึ่ หาดไู ด้ยากยิ่งในสมยั ปจั จุบัน
พ.ศ. ๒๕๐๖ ทา่ นเล่าภมู จิ ติ ภูมิธรรมให้องค์หลวงตาฟงั
องคห์ ลวงตาพระมหาบวั เทศน์ไวด้ งั นี้
“หลวงปู่ฝนั้ เราพูดใหฟ้ งั ชัดๆ ทเ่ี ราแน่ใจตอ่ ท่านวา่ ต้องเปน็ พระธาตนุ ี่นะ คอื ท่านจะเขา้
จุดแลว้ เวลาไปคุยธรรมะกนั พยายามหาเวลาจะเขา้ ไปคุยกบั ท่านโดยเฉพาะ เขา้ ไปคุยทีไรๆ มันก็
หากมอี ยู่นน้ั ละ่ เพราะนิสยั วาสนาต่างกัน หมอเขาไมใ่ ห้รบั แขก ทา่ นไมร่ บั แขก แตท่ ่านรับพระ
277
มันเลยไมม่ ีเวลา เราเข้าไปหาทา่ น ทา่ นก็เลยเล่าใหฟ้ ัง ไปเผาศพหลวงป่มู ัน่ มาแล้ว ทา่ นว่า
ท่านจะเปน็ จะตายจริงๆ ทา่ นกม็ าก�ำหนดภาวนา ทนี ีม้ นั จะไป ท่านว่าอย่างนั้น พจิ ารณาปบั๊ เข้าไป
ตรงน้ี ท่านวา่ อยา่ งนัน้ เราก็จับปุ๊บ
ตอนที่ทา่ นเล่าเรื่องเผาศพพ่อแมค่ รจู ารย์มัน่ เราแลว้ กลบั มา นั่นล่ะท่ีว่ามันเขา้ จติ ใสแจว๋ นะ
ทางนป้ี ุบ๊ วา่ ยงั ตายอยนู่ ีเ่ หรอ เราวา่ ง้ันนะ มันร้ทู ันทนี ะ พอแย็บออกมานน่ั น่ะ โธ่ ! ยงั ตายอยนู่ ี่เหรอ
เราว่างน้ั นี่ล่ะธรรมต่อธรรมพูดกัน เสยี ความเคารพไม่มี ไม่มอี าวโุ ส ภันเต ธรรมตอ่ ธรรม
ตอบโต้กัน เขา้ ใจไหมล่ะ ยังตายอยู่น่ีเหรอ น่ัน ทางนตี้ อบออกนะนี่ มันรทู้ นั ที พอทางน้ัน
พดู แป๊บมา ทางน้รี แู้ ลว้ โฮ้ ! ยงั ตายอยู่นเี่ หรอ นึกว่าไปถึงไหนแลว้ ต่อจากนัน้ ท่านกไ็ ปผา่ นไดล้ ่ะ
คอื ตอนทที่ ่านวา่ เผาศพพ่อแม่ครจู ารยม์ น่ั มานัน่ ท่านมาเป็นข้นึ มานี้ เหมือนวา่ มันจะไปจรงิ ๆ
จติ หดเขา้ หมดเลย ยังเหลอื ตัง้ แต่ใสแจ๋วเทา่ น้ัน ทางนนั้ จับป๊บุ เลย ยังนอนตายอยนู่ ่ีเหรอ นัน่
เหน็ ไหม ถ้ามันผา่ นแลว้ มนั จะไม่มคี �ำว่าน้ี
นเี่ หน็ ไหม มันมสี ูงมีต่�ำเมือ่ ไร มนั นกึ ถงึ ครบู าอาจารย์นะ พอเขา้ ไปถึงจุดน้ันปั๊บ ทางนี้ขึ้น
เลยทันที “เหอ ! ยังนอนตายอยูน่ ีเ้ หรอ” นูน่ นะฟงั ซิ มันว่านะ ธรรมว่าให้ธรรมเปน็ อะไรไป
เราไมไ่ ดว้ า่ ใหค้ รบู าอาจารย์ใชไ่ หมล่ะ เราว่าใหธ้ รรมอย่ใู นหัวใจครบู าอาจารย์ ท่านไปอยตู่ รงน้นั
ทางนดี้ ูอย่ตู ลอด พจิ ารณาตลอด พอไปถึงนั้น ทา่ นก็หยุดของท่าน เรยี กวา่ ภมู ิของท่านในระยะน้นั
อยู่ตรงน้ัน ทางนม้ี นั ก็ออกรบั กนั ซิ ยังนอนตายอยู่นีเ้ หรอ น่มี นั เป็นในจิตนะ ถา้ หากว่าไมม่ ีใครเลย
นจ้ี ะเอากนั ตอนนนั้ เลย ผางทันทีเลย
นีล่ ะ่ ธรรมเป็นอย่างน้ัน ครบู าอาจารยท์ ่เี ปน็ ภมู นิ น้ั เป็นสมมตุ อิ นั หนึง่ หลักธรรมชาตินเี้ ปน็
ธรรม ไมม่ สี ูงมตี �่ำ เชน่ ท่านพดู ออกวนั นน้ั ทางน้ยี งั ขน้ึ กเ็ ลยพูดให้ลูกศิษยล์ กู หาฟัง พอท่านพดู ถึง
จดุ นั้น ท่านไปอย่ตู รงนั้นเสีย ยงั นอนตายอยนู่ ีเ้ หรอ น้นู นะ นกึ วา่ ไปถงึ ไหนแล้ว เราวา่ อย่างน้ันนะ
ความหมาย แต่จากนน้ั เปน็ ทแี่ นไ่ ปแล้ว เพราะฉะน้นั หลงั จากนนั้ มาต้งั ๒๐ ปี ทา่ นกม็ รณภาพ คอื
พ.ศ. ๒๕๒๐ ปที ่านมรณภาพ
ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เราไปเผาศพท่านอาจารย์กงมา นน่ั ล่ะ เข้าไปแวะท่าน ปี พ.ศ. ๒๕๐๖
ทา่ นกเ็ ลา่ เรื่องภมู ิธรรมภมู จิ ิตใหเ้ ราฟงั เพราะเราพยายามจะเข้าหาทา่ นทไี ร ทา่ นไม่รบั แขก แต่
ทา่ นรับพระอยตู่ ลอด มันไม่มเี วลาละ่ ซิ ท่านเลยเล่าเร่ืองของท่านออกมาๆ
เราก็จับเอาจนได้ ยังเสียใจอยู่ ถ้าได้แย็บออกสักนิดหน่ึงก็จะได้ประโยชน์มากมาย
พอไปถึงท่ีน่ัน มนั กระเทือนใจมาก ความหมายวา่ อย่างนัน้ นะ พอท่านไปพดู ถงึ น้นั ท่านตายใจ
แล้วนี่ทางนกี้ ข็ นึ้ รบั “ฮึ ! ยังนอนตายอยู่น้เี หรอ นึกวา่ ไปถงึ ไหนแลว้ ” แต่จากนนั้ ไปแลว้ ภูมิจิต
ของทา่ นจะดิง่ แล้ว เราก็รู้แลว้ นี่นะ ทีน้ตี ้ังแต่ พ.ศ. ๒๕๐๖ มาถงึ ๒๕๒๐ ก็หลายปี
278
เวลาเราเข้าไป เราจะคุยธรรมะโดยเฉพาะ พระก็อย่กู บั ท่านเสยี เราเลยไมไ่ ด้คุย จบั ได้
แงห่ น่ึง จับได้จุดนีเ้ ขา้ ชอ่ งแลว้ แน่ เขา้ ช่องต้องพุ่ง ให้ถอยไม่มี นบั วนั จะพงุ่ อยา่ งเดียว ถา้ ลงได้เข้าน้ี
แลว้ ป๊ับ ชเี้ ลยต้องเขา้ เรื่อยๆๆ เป็นอยา่ งนน้ั นี่แหละพระอนาคามี ท่านเป็นอยา่ งนนั้ เพราะฉะนัน้
ขนั้ พระอนาคามี จงึ เป็นขน้ั ทแี่ นน่ อน ท่จี ะหลุดพ้นโดยถา่ ยเดยี วในไม่ชา้ นท่ี า่ นเข้าชอ่ งตรงน้นั แล้ว
จะพุง่ แหละ”
การปฏบิ ัติยากอย่สู องคราว
ครบู าอาจารย์ เทศนไ์ วด้ งั น้ี
“หลวงปู่ม่ัน ครบู าอาจารย์ของเรา ทา่ นจะบอกนะ อยา่ งเช่น หลวงตาท่านพดู ค�ำว่า
เห็นไหมว่า ปฏิบตั ิทแี รกเกือบเปน็ เกือบตายเลย แล้วกต็ ัง้ ใจว่า ถา้ ขา้ งหนา้ ปฏบิ ัติไปแลว้ มันคงจะ
สบายข้ึน มนั คงจะเบาแรงขึน้ ท่านคิดของทา่ นในใจนะ แลว้ ท่านกป็ ฏบิ ัตไิ ป ไม่เหน็ จะเบาเลย
ย่ิงหนกั ไปเรื่อยๆ ยง่ิ ขน้ึ ไปสงู ยงิ่ หนกั ยงิ่ หนา้ ทีก่ ารงานของเรา ต�ำแหน่งเราเลก็ ความรับผดิ ชอบ
เราก็น้อย ต�ำแหน่งเราใหญ่ขึ้น ความรับผิดชอบเราก็มากข้ึน ย่ิงสูงขึ้นความรับผิดชอบเราย่ิง
มหาศาลเลย เอา้ ! แล้วมันจะไปวางภาระกันตรงไหนล่ะ
ปฏิบัตไิ ปนะ เป็นโสดาบัน กิเลสกห็ ยาบๆ สกิทาคามี กิเลสมันละเอียดขนึ้ ไปอกี หน่อย
อนาคาน่ีนะ กเิ ลสมนั กระทบื ตายเลย ยง่ิ เป็นอรหันต์นะ โอโ้ ฮ ! หากนั ไมเ่ จอเลย ถา้ หาเจอนะ
ครบู าอาจารย์เราไมต่ ดิ หรอก หลวงปฝู่ ัน้ หลวงปคู่ �ำดี ติดกันทง้ั นั้นล่ะ ท�ำไมเราไมส่ บายข้นึ ล่ะ
หลวงตาบอกว่าการปฏิบัติยากอยู่ ๒ ขั้นตอน ข้นั ตอนพืน้ ฐาน กับ ข้ันตอนสดุ ท้าย
ขั้นตอนสุดทา้ ยทที่ ่านไปแกห้ มด แก้หลวงป่บู ัว แก้หลวงป่ฝู น้ั แก้หลวงปูค่ �ำดี ขัน้ นนู้ น่ะ ขั้นนนู้
ก็ยุง่ ยงุ่ มากๆ เลย...
เรม่ิ ต้นต้ังแต่การปฏิบัติยากอยู่ ๒ คราว คราวหนึ่ง คือ คราวเร่มิ ต้น เรมิ่ ต้นจับพลัดจับผลู
ม่ัวไปหมดเลย มีแต่ปัญหา เร่ิมต้นเพราะเราไม่เป็น หญ้าปากคอก แต่ถ้าผ่านตรงนี้ไปแล้วนะ
เอาละ่ ไปได้แลว้ แลว้ จะไปยากอยอู่ ีกทีหน่ึงตอนที่สดุ แห่งทุกข์ ไปยากเพราะอะไร ?
ไปยากเพราะหลวงปฝู่ น้ั ทา่ นกพ็ ทุ โธผ่องใส พุทโธสวา่ งไสว ไปยากเพราะหลวงปู่บวั
หลวงปบู่ วั บอกว่า มันสิน้ แลว้ ไปยากเพราะหลวงปคู่ �ำดี หลวงป่คู �ำดีทา่ นบอกวา่ รอู้ ยแู่ ต่ไปไม่รอด
นีต่ ิดกันเยอะมาก ถา้ ไมม่ ีคนไปแก้นะ ไปไม่รอด ถา้ มคี นแกน้ ะ ยากอยู่ ๒ คราว คราวหน่งึ คอื
คราวเรมิ่ ต้น ท่ีว่ามันหมนุ ต้วิ ๆๆ แล้วมันกแ็ ยกร่าง แยกทรง นี่หมนุ ติ้วๆ ยุง่ ไปหมดเลย ยากตรงน้ี
แล้วยากตรงน้ีไม่ธรรมดานะ ยากตรงน้ีแล้วเราก็เพ่ิงมาหัดปฏิบัติใหม่กัน เราก็ทุกข์ยากมา เราก็
อยากปฏบิ ตั ิแลว้ มอี ะไรทช่ี ุ่มช่นื หวั ใจบ้าง แลว้ มาปฏบิ ัติมนั ก็ทุกข์ๆๆ มนั ยากตรงเร่มิ ตน้ น่ีแหละ แต่
279
พอมันผ่านตรงนไ้ี ปได้นะ มนั ภาวนาเปน็ แลว้ มันจะมชี อ่ งมีทางใหเ้ ราเดินไป เดนิ ไปมนั ก็จะไดม้ รรค
ไดผ้ ลขึน้ ไป มันก็พอมีเคร่อื งอยู่ พอเป็นไปได้
ฉะนน้ั ให้เขม้ แข็ง นีเ่ พราะวา่ หลวงตาท่านก็ปฏบิ ตั มิ า คนทป่ี ฏิบตั มิ าจะผา่ นเหตกุ ารณอ์ ยา่ ง
นี้มาทั้งนั้น เพราะคนเกิดมา น่ีคนเกิดมาจากกิเลสหมด ฉะน้ัน คนที่เกิดมา คนปฏิบัติทุกคน
ผ่านเหตุการณ์แบบน้ีมาทง้ั น้นั ฉะนนั้ เวลาเราเจอเหตกุ ารณ์แบบนีเ้ ราต้องสู้ เราตอ้ งสู้ ถ้าเรามี
หลกั เกณฑ์นะ...
พอหลวงปมู่ ั่นเสยี ไปแลว้ ท่าน (หลวงตา) ปฏบิ ตั ถิ งึ ทีส่ ุด พอมนั แก้ความสงสัยในหัวใจได้
หมดแลว้ ก็มาฟัง มาฟังหลวงปูฝ่ ้ัน “ผู้รสู้ ว่างไสว ผรู้ ู้ผอ่ งใส” ผู้รูเ้ หน็ ไหม ผู้รู้ไง เวลาจะแก้
เห็นไหม เวลาวนั เผาศพ นีห้ ลวงตาท่านเลา่ เอง เวลาวนั เผาศพอาจารย์กงมาที่วัดดอยธรรมเจดยี ์
พอเผาศพเสรจ็ ก็กลบั มาพกั อยูท่ ว่ี ดั ปา่ ภูธรพทิ กั ษ์ กค็ ยุ ธรรมะกนั ไง พอถงึ ที่สดุ ตรงน้ี คอื วา่
กระบวนการของความร้ภู ายใน
กระบวนการของภาวนามยปญั ญาเห็นไหม ถา้ คนไม่รู้ ฟังไมอ่ อกหรอก แล้วไอ้ค�ำนี้มัน
เป็นไฮไลทข์ องพระปา่ อยู่ชว่ งหนึง่ เลย “ผรู้ ผู้ ่องใส ผ้รู ู้สวา่ งไสว” เห็นไหม ผรู้ ูเ้ ปน็ ความวา่ งเหน็ ไหม
และเราก็ผู้รู้ ผ้รู ูผ้ ่องใสก็จำ� ขปี้ ากพูดกนั ไปเรื่อยๆ หลวงตาทา่ นบอกกับหลวงป่ฝู ั้นนะ พอหลวงปู่
ฝั้นพูดตรงนปี้ ๊ับ... หลวงตาใช้ค�ำนี้ เวลาจะแกจ้ ากภายใน มนั ต้องแก้แบบว่า ให้ส�ำนึก ให้ภายในมนั
ยอมรับ หรือชอ็ คตัวเองเลย ท่านใช้คำ� บอกวา่ “โอ้ ! นึกวา่ ไปถึงไหนแลว้ มานอนตายอยู่ทีน่ หี่ รอื
ก็นกึ วา่ สน้ิ กเิ ลสไปแลว้ มานอนตายอยทู่ ่ีนหี่ รอื ผอ่ งใส สว่างไสว”
เพราะจิตผ่องใส คอื อวิชชา ถา้ พูดถึงพทุ โธผอ่ งใส พุทโธสว่างไสว น่ันยังไมเ่ ห็นพุทโธ
เพราะเปน็ คนพูด แตถ่ ้าตวั เองเหน็ พทุ โธนะ “เออ๊ ะ !” พอเอ๊อะต้องฆา่ ต้องฆ่าอวชิ ชา ฆ่าอวชิ ชา
คอื ฆ่าความผอ่ งใส ถ้าฆ่าความผอ่ งใส คอื ฆา่ พทุ ธะ นี่ไง ถ้าฆ่าตวั นน้ั มนั จะไมไ่ ปเกดิ บนพรหม
ไปดูใน “ธรรมชุดเตรียมพร้อม” สิ ทา่ นมีเทศน์อยูห่ นึง่ กณั ฑ์ เหน็ ไหม แสงสวา่ ง คือ อวิชชา
ความผ่องใส คือ อวชิ ชา แล้วมันกก็ ลบั มาในพระไตรปฎิ ก “จิตเดมิ แท้นีผ้ อ่ งใส จิตเดมิ แท้เปน็
ผ้ขู า้ มพ้นกเิ ลส จติ เดมิ แทน้ ี้ผ่องใส จิตเดมิ แท้เป็นผหู้ มองไปดว้ ยอปุ กเิ ลส”
จติ เดมิ แท้นผี้ อ่ งใส จิตเดิมแทน้ ้ีเปน็ ผู้ข้ามพ้นกิเลส มนั กม็ ีทางวชิ าการ เขากเ็ ถียงกนั อยู่
พักหนึ่งว่า ผอ่ งใส คอื นิพพาน อีกกลุม่ หนึ่งบอกวา่ นพิ พานแล้วมาเกดิ ไดอ้ ย่างไร ถ้านพิ พาน
ไปแลว้ มนั ขดั แย้งกนั เห็นไหม โดยกระบวนการของทว่ี ่าภาวนามยปัญญา กระบวนการของท่ีว่า
คิดนอกกรอบ ถ้ามันผอ่ งใส มันเกิดไดอ้ ยา่ งไร แต่น้ไี อค้ นบอกวา่ ผอ่ งใส คอื นิพพาน นี่มันก็
เถียงกนั เพราะมันขัดแย้งเพราะอะไร เพราะมันไม่เป็นความจรงิ
280
แล้วนีพ่ อมันเป็นความจรงิ จิตเดมิ แท้นผ่ี ่องใส จติ เดมิ แท้นเี้ ป็นผูห้ มองไปดว้ ยอปุ กเิ ลส
จิตเดมิ แทน้ ี้ผอ่ งใส จติ เดิมแทน้ ีเ้ ปน็ ผขู้ า้ มพ้นกเิ ลส ไอจ้ ิตเดมิ แท้เปน็ ผู้ข้ามพน้ กเิ ลสเหน็ ไหม ถ้าคน
ไม่เปน็ คนไมเ่ ข้าใจจะไมเ่ ขา้ ใจ แตห่ ลวงตาเห็นไหม ท่านบอกวา่ “มันผ่องใส มนั สว่างไสว ก�ำหนด
แล้วมันว่างไปหมดเลยนะ พิจารณาไป ภูเขาทะลไุ ปหมดเลยนะ” แล้วธรรมะกลัวท่านหลง นไี่ ง
หลวงปมู่ ่นั ท่านฟังธรรมตลอดเวลา ธรรมะกลัวหลงเหน็ ไหม ธรรมะเตอื นเลย “ความสวา่ งไสว
เกิดจากจดุ และต่อม”
ท่านบอกว่า ธรรมะเตอื น คือ ธรรมะเตือน เตอื นผูเ้ ปน็ เตอื นผู้ท่ีเป็นอยนู่ ะ ให้ส�ำนกึ ตน
งงนะ งงเลยนะ บอกว่า “อา้ ว ! จดุ และตอ่ ม จุดและตอ่ มท่ไี หน” จะวง่ิ หาจุดและต่อม ฉะน้นั
จุดและตอ่ ม กค็ ือ เรานน่ั แหละ จุดและต่อมเป็นภพ เปน็ ปฏสิ นธิจิต สว่างไสว คอื มันไดท้ �ำความ
สะอาดเข้ามาถงึ ตัวของมนั พอถึงตัวของมัน มนั กส็ วา่ งของมนั โดยธรรมชาตขิ องมัน แต่ธรรมชาติ
ของมันนะ คือเพราะวา่ ร้เู ทา่ ไม่ถงึ การณ์ ความไมร่ ู้สึกตวั เองเห็นไหม นี่ “อวชิ ชาทัง้ หมดเลย แต่มัน
สว่างไสวของมันเหน็ ไหม”
พอมันสวา่ งไสว ความสว่างไสวน้ันเกิดจากจุดและตอ่ ม จุดและต่อมของจติ ท่านบอกว่า
ถ้าหลวงปมู่ น่ั อยู่นะ ท่านจะสำ� เร็จไปเลย แต่นี่หลวงปมู่ น่ั ไม่อยู่นะ มนั ก็กลับมาหา ทง้ั ๆ ท่ี ท้ังๆ ท่ี
ธรรมะเตือนนะ เอ ! แลว้ จุดและต่อมอะไร จุดและต่อมที่ไหน ตอนที่ยังไมร่ ู้นะ แต่พอท่านผา่ นแลว้
ท่านมาเช็คทกุ วันเหน็ ไหม จดุ และต่อมของจติ ไง เวลาถ้าผา่ นแล้วจะ... ถา้ คนท�ำลายแล้วจะเขา้ ใจ
หมดเลย แตถ่ ้าคนไม่เข้าใจนะ มันก็หนั รีหนั ขวางนะ เออ ! มันจุดอะไร แลว้ มนั ต่อมอะไร แลว้ มนั
อยู่ท่ไี หน เพราะไม่รู้ แตถ่ ้าหลวงปมู่ ัน่ อยู่ ท่านชี้ปับ๊ จบเลย น่ยี อ้ นกลับมา เพราะผ่านตรงน้ี แลว้ พอ
ผา่ นไปแลว้ ใช่ไหม มนั ต้องมีกระบวนการทผี่ า่ นตรงน้อี อกไป พอผ่านตรงน้ีออกไปปบั๊
พอไปเจอหลวงปู่ฝน้ั “ผู้รู้ผอ่ งใส ผรู้ ูส้ วา่ งไสว อะไร อะไร นกึ วา่ ผา่ นไปแลว้ มาตายอยทู่ น่ี ี่
เหรอ” ค�ำว่า ตายอยู่ท่ีนี่เหรอ ถ้าไม่เตือนอย่างน้ี กิเลสมันไม่ยอมหรอก กิเลสอันละเอียด
มนั กบ็ อกว่าเหมือนกนั เท่ากัน มันจรติ นิสัยต่างกัน มนั จะอา้ งเอาตวั รอดให้ไดล้ ่ะ กเิ ลสมันอ้าง
ขนาดเราเตอื นแล้วนะ
คนทรี่ ้นู ะเตือนแลว้ แต่กิเลสมนั ก็ยงั อ้าง เอาตวั รอด คือวา่ เอากเิ ลสรอดไง มันกอ็ ้าง ไมใ่ ห้
เขา้ ไปหามนั หรอก มนั ยังอา้ งไปเรอื่ ยๆ อ้างเลห่ ไ์ ปเรอ่ื ยๆ กิเลสน่ีร้ายนะ กเิ ลสนเ้ี ป็นเรา อนาคากม็ ี
กิเลส ฉะนัน้ เวลาจะให้สำ� นกึ ตน มันถึงตอ้ งกระตกุ ไง “นกึ ว่าไปถงึ ไหนแลว้ มานอนตายอยูน่ ไ่ี ด้
อยา่ งไร” พอนอนตายปบ๊ั นะ อะ๊ ! งงล่ะนะ พองงดว้ ยเหตุผลต่อสกู้ ัน ต่อสู้ หมายถึงวา่ โต้แยง้
ด้วยเหตดุ ว้ ยผล พอโตแ้ ย้งด้วยเหตุดว้ ยผล รแู้ ล้วๆ ร้แู ลว้ ๆ น่พี อรู้แล้ว พอรู้แล้ว ยอมรบั แลว้
281
หลวงตากห็ ยุด แล้วกร็ อให้ทา่ นแก้ไขของทา่ น น่พี ดู ถึงกระบวนการเวลาภาวนามยปัญญา หรอื วา่
กระบวนการทวี่ า่ คดิ นอกกรอบ เวลาคิดนอกกรอบ มนั เปน็ เร่อื งกระบวนการของปญั ญา”
ต้นปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านอาพาธหนกั ตอ้ งเข้าโรงพยาบาล
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ หลวงปฝู่ น้ั อาจาโร ท่านอาพาธหนกั ดว้ ยโรคหัวใจและความ
ดนั เลอื ดสูง ลกู ศิษย์ตดิ ต่อให้ท่านลงมารกั ษาอาการท่ีโรงพยาบาลศริ ริ าช กรุงเทพฯ แตท่ า่ นไม่ยอม
เขา้ โรงพยาบาล พอถึงเดือนเมษายน ท่านก็เดินทางไปรกั ษาตัวต่อท่ีกรุงเทพฯ โดยทา่ นพกั บา้ น
ลูกศษิ ย์ทีพ่ ระโขนง ทา่ นไม่ยอมเข้าโรงพยาบาล ท่านตอ้ งการใหห้ าแพทย์ไปรกั ษา และได้คุณหมอ
อวย เกตสุ ิงห์ เป็นผไู้ ปรักษาอาการ เมอ่ื รักษาอยูส่ ามสปั ดาหอ์ าการของทา่ นก็ดขี ้นึ ทา่ นกย็ า้ ยเข้า
พกั ฟนื้ ที่วดั พระศรีมหาธาตุ บางเขน เพราะพกั ท่บี า้ นไม่สะดวกตอ่ การปฏบิ ัติเหมอื นทีว่ ัด
หลวงปูฝ่ ั้น ท่านพกั ทีว่ ดั พระศรีมหาธาตุ อยเู่ ดือนกว่า แมข้ ณะพักฟน้ื อาการ ทา่ นยังเมตตา
เทศน์โปรดญาตโิ ยม โดย คณุ หมออวย เกตุสงิ ห์ บันทึกไว้ดังนี้
“ท่านอาจารย์พักอยู่ท่ีวัดพระศรีมหาธาตุเดือนกว่า มีคนไปเย่ียมและถวายจังหันมากข้ึน
ทุกๆ วัน ฉนั เสรจ็ ทา่ นก็เมตตาอบรมธรรมพานั่งสมาธิภาวนาทุกเช้าอีกดว้ ย กลางวนั ต้องตอ้ นรบั
แขกท้ังวัน ตอนกลางคืนถ้ามีคนไปเย่ียมมาก ท่านก็เทศน์อีกครั้งหนึ่ง พวกท่ีไปก็พากันต้ืนตัน
ในความเมตตาของทา่ น แม้จะอยใู่ นระหว่างพักฟ้ืน ท่านก็ไมย่ อมละเลยหนา้ ทข่ี องพระและของ
อาจารย์
เช้าวันอาทิตยว์ นั หน่งึ หลงั จากทา่ นฉนั เพง่ิ เสรจ็ มีอาจารยห์ ญงิ สองคน จากมหาวิทยาลัย
แห่งหน่ึงพากันไปนมสั การทา่ น คนหน่ึงทา่ นรจู้ กั อยแู่ ลว้ แต่อกี คนเพิ่งไปเป็นคร้ังแรก ผ้เู ขยี นจงึ
กราบเรียนท่านว่า “อาจารย์คนน้ีช่ือนั้นๆ ใจดีมาก ชอบท�ำบุญเสมอๆ” ท่านก็ถามทันทีว่า
“ท�ำบญุ บ่อยๆ แลว้ เห็นตวั บญุ หรือเปล่าละ่ ” (อาจารย์ผู้น้ันเคยถามผ้เู ขยี นก่อนหน้านัน้ ประมาณ
สามสี่เดือนว่า “ตัวบุญ” น้ันเป็นอย่างไร) อาจารย์ผู้น้ันบอกว่า ไม่รู้จัก ท่านก็เทศน์ให้ฟัง
ในตอนท้ายทา่ นบอกวา่ “แล้วถ้าหากใครเขาวา่ เราเป็นสนุ ัข ก็อยา่ เพ่อไปโกรธเขานะ ลองเอา
มือคล�ำดูกอ่ น ตัวเรามีหางหรือไม่ ถ้าไม่มีก็แปลว่า เราไมใ่ ชส่ นุ ขั เขาวา่ เราผิดๆ ไม่ต้องไป
โกรธขึง้ อะไร เขาก็ไม่ได้วา่ เรา”
อาจารยห์ ญงิ ผู้น้ันตอ้ งหันไปกระซิบถามเพื่อนว่า “เอะ๊ ! ท่านรใู้ จเราได้อยา่ งไร ก่อนจะมา
นเ่ี องฉนั โกรธพ่ี เพราะเขาว่าอยา่ ท�ำเป็นเหา่ ใบตองแห้ง” ทา่ นอาจารย์ ท่านอาจจะรจู้ รงิ ๆ จงึ ตง้ั ใจ
พูดเพอ่ื ชว่ ยให้อาจารย์หญิงผูน้ นั้ คลายความข่นุ ใจ น่ีก็ความเมตตาของทา่ น หากเหน็ มีอะไรทที่ ่าน
จะช่วยได้ แมเ้ ลก็ นอ้ ย ท่านก็ชว่ ย”