The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-24 21:38:21

ประวัติท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ประวัติท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร

Keywords: ประวัติท่านอาจารย์ฝั้น

332

ของการภาวนายอ่ มจะเข้าใจไดว้ ่าเหตุใดทา่ นพระอาจารย์ ซงึ่ อายุเข้ารอบทเี่ จ็ดแล้วและมโี รคหวั ใจ
ประจ�ำตวั อยูด่ ว้ ย จงึ สามารถทนทานตอ่ การรบกวนท้งั กลางวนั และกลางคืนได้ต้งั หลายปี”

ส�ำหรับเหรยี ญของหลวงปฝู่ ้นั บรรดาคณะศิษยไ์ ด้รว่ มกนั จดั ท�ำเหรยี ญออกมาในหลายครั้ง
ตามวาระโอกาสที่ส�ำคัญ มีการจัดสร้างจ�ำนวนมากและมีหลายรุ่น แต่ท่ีโดดเด่นโดยคณะศิษย์
ทหารอากาศ สรา้ งถวายตงั้ แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๑๑ มที งั้ หมด ๗ รุน่  สำ� หรบั เหรยี ญหลวงปฝู่ น้ั
รุ่น ๑ พ.ศ. ๒๕๐๗ ท่หี ลวงปู่ฝ้ันอนญุ าตนน้ั สรา้ งถวายเน่ืองในงานยกเสาโบสถ์นำ้� วัดปา่ อุดม–
สมพร ไวแ้ จกจ่ายเปน็ ทรี่ ะลึกในงานดังกล่าว ตามดว้ ยเหรยี ญพระอาจารยฝ์ นั้ รนุ่ ๒ ซึง่ สร้างปี
เดยี วกนั ส�ำหรบั แจกเปน็ ท่รี ะลกึ งานสรา้ งโบสถน์ ำ�้

ท่านกลายเปน็ นักแจกเหรียญ

คุณหมออวย เกตุสงิ ห์ ไดบ้ ันทกึ ไวด้ ังนี้
“การท่ีท่านอาจารย์เริ่มแจกเหรียญ ก็เกิดจากความเมตตาและความส�ำนึกในอุปการคุณ
แตเ่ ดิมเคยมผี ูข้ อท�ำเหรยี ญของทา่ นหลายครั้ง ทา่ นไม่อนญุ าต ต่อมามขี ้าราชการฝา่ ยทหารผู้หนึ่ง
ไปขอบ้าง อ้างว่าจะน�ำไปแจกทหารและต�ำรวจ ท่านก็ไม่ยอม ข้าราชการผู้นั้นเพียรไปขออีก
หลายครงั้ ก็ไม่ไดผ้ ล
บงั เอิญไปครั้งหนงึ่ ก�ำลังสร้างโบสถ์น้�ำ และชา่ งขาดความช�ำนาญในการทำ� งานในน�้ำ จงึ มี
ความขลุกขลักตอนต้ังเสา ข้าราชการผู้น้ันพร้อมกับคณะที่ไปด้วยได้ลงไปช่วยท�ำงานในน้�ำจน
ส�ำเรจ็ ทา่ นอาจารย์เหน็ ความดี จึงไดอ้ นญุ าตใหท้ �ำเหรียญในจ�ำนวนจำ� กดั และก�ำชบั ใหแ้ จกจา่ ย
จรงิ ๆ ไมใ่ ห้ขาย เมอ่ื ให้ครั้งหน่ึงแลว้ กต็ ้องครงั้ ท่ีสองและต่อๆ ไป ใหค้ นหนึง่ ก็ต้องให้คนอนื่ ๆ อกี
เหรยี ญของท่านมีคนนิยมมากขนึ้ อยา่ งรวดเร็ว เพราะมีผ้ยู ืนยนั ในความศักด์ิสทิ ธ์ิดว้ ยประการตา่ งๆ
ท่านอาจารย์ก็กลายเปน็ จอมสร้างเหรยี ญทล่ี �้ำหนา้ ใครๆ หมด โดยท่ีท่านไมอ่ ยากเปน็ เลย
ท่านเคยประกาศวา่ ต่อไปนไี้ ม่ให้ใครทำ� เหรยี ญอกี แต่...พวกท่ีรจู้ ุดอ่อนของท่านกอ็ ้อนวอนจนทา่ น
ต้องยอม จุดอ่อนของท่านอยู่ที่ ท�ำไปเพื่อแจกจ่ายทหาร ต�ำรวจ และเจ้าหน้าท่ีของรัฐบาล
ทที่ �ำการป้องกันประเทศชาติ อา้ งขอ้ นีเ้ ข้า ท่านก็ใหท้ ุกที ! ข้อทีท่ ่านกำ� ชับเสมอ คือ ห้ามขาย
ถ้าใครทำ� แลว้ ถวายให้ท่านแจก ทา่ นกแ็ จกให้อย่างหว่านจรงิ ๆ ไม่วา่ ใครขอ ท่านกใ็ ห้ท้งั นั้น
ไม่ได้เอาใจใสว่ า่ ใครจะเวียนมารบั สักก่ีคร้ัง ถ้ายนื่ มอื เข้ามา ท่านกใ็ สม่ ือให้ ถา้ ยื่นไมถ่ งึ ท่านก็
โยนให้ บางครงั้ ท่านนง่ั อยบู่ นศาลา คนรุมอยรู่ อบตัว ท่านมองไปข้างนอกเห็นมอื ชรู ่อนอยู่ ทา่ นก็
โยนออกไปให้ทางหนา้ ตา่ ง

333

เม่อื เรม่ิ ท�ำเหรียญใหม่ๆ คุณหมอเจรญิ วฒั นสุชาติ ไดช้ วนผ้เู ขยี น สรา้ งเหรยี ญถวายทา่ น
๘,๐๐๐ เหรียญ เพ่อื ใหท้ า่ นแจกทหารและตำ� รวจ ผเู้ ขยี นตกลง คณุ หมอเจรญิ ไดเ้ หรียญแลว้ ก็
เอามาให้ผเู้ ขียน ผูเ้ ขยี นเอาใสร่ ถไปถวายท่านอาจารยโ์ ดยไมไ่ ด้เปิดหีบ นกึ ในใจว่าทา่ นคงมแี จกไป
อีกต้ังปี พออกี เดอื นเศษ ขึ้นไปเยี่ยมทา่ นอาจารยก์ ท็ ราบวา่ เหรยี ญรุ่นนั้นหมดไปนานแล้ว โดย
ผเู้ ขียนเองกไ็ มไ่ ดส้ ักเหรียญเดียว เห็นไดว้ ่า ทา่ นอาจารย์ไมใ่ ชน่ กั สร้างเหรียญ แต่เปน็ นักแจก
เหรียญท่หี าตวั จบั ยาก และเป็นโดยทที่ ่านไม่อยากเปน็ เลย

องคห์ ลวงตาพระมหาบัว เทศนเ์ ร่อื งหลวงปูฝ่ ัน้ แจกเหรียญ ไวด้ งั น้ี
“นพี่ ูดเรื่องทา่ นอาจารยฝ์ น้ั นะ พดู ถึงเร่อื งท่านเมตตา กบั เราท่านเมตตาจริงๆ แต่เราเป็น
ฝ่ายโจมตที า่ นนะ ท่านไม่คอ่ ยไดว้ ่าอะไร เพราะทา่ นสวยงามทุกอย่างนมิ่ นวลทุกอย่าง เรานเี้ หมอื น
ลิง พอใส่ปว๊ั ะเลย พอไปถงึ ก็ใส่กันปั๊วะเลย นั่นละ่ ทา่ นระวงั ลิง
ทนี วี้ ันหนึง่ หมอเพ็ญศรีนแี้ หละคนหนึง่ ไปดว้ ย วนั นั้นรถใหญ่ไป คนไปด้วยกันหลายคน
ตงั้ ใจจะไปกราบ คนน้นั ก็จะไป คนนกี้ ็จะไป ตกลงกเ็ ลยไปเตม็ รถ พอไปถึงแลว้ กเ็ ข้าไปหาท่าน
ท่านก�ำลังแจกเหรยี ญอย่ตู อนนน้ั หมอเพ็ญศรีน้ีตาแหลมจริงๆ ไม่ใช่เล่น พอท่านก�ำลังแจกเหรียญ
ทา่ นน่งั อยู่เก้าอีใ้ ตถ้ นุ กฏุ ทิ า่ น เราพอเขา้ ไปนัน้ ทา่ นก�ำลงั แจกเหรียญอยู่ เอาละ่ เลกิ ๆ ท่านวา่ งน้ั นะ
คอื กลวั บา้ ตัวนี้จะไปกัดท่านไมใ่ ช่อะไร พอเราไปทา่ นกำ� ลังแจกคนน้นั แจกคนนี้ แจกนัน้ แจกนี้
พอมองเหน็ เราโผล่เขา้ มา “เออ ! เลิกๆ จะคุยธรรมะกัน” ความจรงิ คือ ท่านกลวั หมาตวั นีจ้ ะไป
กัดท่าน อันนั้นเหมอื นไมม่ ีนะ เงียบเลย พวกนัน้ ก็เงียบหมดเลย ท่ีท่านกำ� ลังแจกอยู่นน้ั “เอาล่ะ
เลกิ ๆ จะคยุ ธรรมะกนั ” ท่านแก้ดอี ยู่นะ จะคุยธรรมะกนั …
พูดอย่างน้ีก็ระลึกถึงท่านอาจารย์ฝั้นนะ ท่านจะเป็นอะไรของท่านล่ะ แต่เร่ืองธรรมคาด
ไมไ่ ดน้ ะ ทา่ นพดู ออกมา ทา่ นเอาเหรยี ญใหเ้ ขา ใหห้ มอดว้ ยนะ ใหเ้ หรยี ญกบั เขา พอยน่ื เหรยี ญใหป้ บ๊ั
รถควำ�่ ก็ไมเ่ ปน็ อนั ตราย ท่านวา่ อยา่ งนั้นนะ รถคว่�ำกไ็ มเ่ ปน็ อนั ตราย เขาไดเ้ หรียญจากท่านไป
เขาก็ขับรถอย่างวา่ อยา่ งหลวงพ่อคูณแหละ ฟาดไปรถมันก็ลงไปนู้น ไม่เป็นอนั ตราย ไม่มีอะไร
เสียเลย ก็แปลกอยู่นะ คือรถคว่�ำก็ไม่เป็นอันตราย ท่านว่า พอย่ืนให้ ท่านว่ารถคว�่ำก็ไม่เป็น
อนั ตราย และเขาไปก็เปน็ เทย่ี วน้นั เอง เขาไปก็ฟาดซกี ็ยิง่ บา้ เหอ่ ใหญ่ละ่ ได้เหรยี ญแลว้ เลยพาลง
คลอง แต่ไม่เปน็ อันตรายนะ ไมม่ อี ะไรเสียหายเลย รถก็ดี อะไรกด็ ี อันนี้ก็นา่ คิดอยนู่ ะ ทา่ นพดู ออก
มาเอง ส่วนหลวงพอ่ คูณทา่ นพดู อกี แบบหนึง่ (หวั เราะ) เพียงถงึ ๙๐ กูโดดลงรถแล้ว (หวั เราะ)
กูจะไปตามรกั ษามึงอะไร ตัง้ แต่รักษาชวี ิตกกู ็เกอื บจะไม่รอด (หัวเราะ) แก้ดี เขา้ ใจไหม เออ !
นา่ ฟังนะ หลวงพ่อคณู นน่ี ่าฟงั ”
ประวัตหิ ลวงปู่สุวัจน์ สวุ โจ บันทกึ คตธิ รรมจากการท�ำเหรยี ญทา่ นพระอาจารย์ฝน้ั ไว้ดงั น้ี

334

“บางครั้งท่านจะบ่นใหฟ้ งั เรอ่ื งเหรียญของทา่ นพระอาจารย์ฝัน้ ท่ีมขี ้ึนน้ีเพราะทา่ นเองเปน็
ผู้กราบเรียนขอ สมัยน้ันพวกทหารอากาศมาขอท�ำเหรียญหลวงปู่ฝั้นประมาณ ๑,๐๐๐ เหรียญ
จะแจกกันเอง ท่านพระอาจารย์ฝั้นปฏิเสธไม่ให้ท�ำ พวกทหารเขาก็เข้ามาหาพระอาจารย์สุวัจน์
เหน็ เป็นพระอุปัฏฐากใกลช้ ิดท่านพระอาจารยฝ์ ้ัน จึงมาออ้ นวอนขอให้ช่วย

คร้ังแรกพระอาจารย์สุวัจน์ไปขอ ท่านพระอาจารย์ฝั้นก็ไม่อนุญาต เขาก็มาอ้อนวอน
กม็ าขอให้พระอาจารย์สวุ จั นช์ ่วยอกี ทา่ นก็ไปขอท่านพระอาจารยฝ์ ั้นให้อีก ตอนหลังท่านพระ–
อาจารย์ฝ้นั จงึ อนญุ าตให้ท�ำได้ ต่อมาก็มคี นอน่ื มาขออีก โดยอ้างวา่ ท�ำไมให้คนอ่ืนท�ำได้ ท�ำไมไมใ่ ห้
ผมท�ำบา้ ง ท่านพระอาจารย์สุวัจนจ์ ึงจดจ�ำเอาเรื่องนมี้ าเปน็ คตโิ ดยตลอด”

สรา้ งพพิ ธิ ภัณฑท์ า่ นพระอาจารย์มน่ั ภรู ิทตฺตมหาเถร

เมอื่ การก่อสร้างพระอโุ บสถเพื่อเป็นอนุสรณ์น้อมถวายแด่ ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั ภูริทตโฺ ต
พระบูรพาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน ท่วี ดั ป่าสทุ ธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ได้สำ� เรจ็ เสร็จสน้ิ ลง
ในเวลาตอ่ มาคณะสงฆ์ศิษยานศุ ิษยท์ ่านพระอาจารย์ม่ัน นำ� โดยหลวงปฝู่ ั้น อาจาโร หลวงตาพระ–
มหาบวั าณสมฺปนโฺ น ไดป้ ระชุมปรึกษาหารือกันว่า สมควรที่จะสรา้ งเปน็ อาคารพพิ ิธภัณฑ์
เพ่ือเป็นทรี่ วบรวมเครื่องอฐั บริขาร สง่ิ ของเครอ่ื งใชป้ ระจ�ำองคท์ า่ น ซึง่ กระจัดกระจายอย่ใู นทต่ี ่างๆ
มาไว้ในที่แห่งเดียวกัน เพื่อสะดวกแก่การดูแลรักษาและสักการบูชา ฯลฯ โดยตกลงกันสร้าง
ตรงบริเวณกุฏิท่ีองค์ท่านมรณภาพ และได้พิจารณาแบบแปลน ก็ได้อาคารพิพิธภัณฑ์ท่ีมีขนาด
พอเหมาะพอดี มีลกั ษณะกลมกลืนกับธรรมชาติของปา่ ไมภ้ ายในวัด คอื เรยี บงา่ ย ไมห่ รูหรา แต่
แฝงไวด้ ว้ ยความสงบ ความงดงามของอาคารทแี่ ลดูนา่ เกรงขามตามแบบฉบับกรรมฐาน

การด�ำเนนิ การสร้างพิพิธภณั ฑท์ า่ นพระอาจารยม์ นั่ ในครัง้ น้ี มหี ลวงปู่ฝ้นั อาจาโร เปน็
ประธานอ�ำนวยการ หลวงตาพระมหาบวั   าณสมปฺ นฺโน เป็นประธานด�ำเนนิ งาน ดร.เชาวน์
ณ ศีลวัน เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เรมิ่ สรา้ งในปี พ.ศ. ๒๕๑๖

โดยคณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์ ได้จัดพิธีวางศิลามงคลอาคารพิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์ม่ัน
ภรู ทิ ตฺตมหาเถร ณ วัดป่าสุทธาวาส เม่ือวันอาทติ ย์ที่ ๑๑ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยมี
สมเดจ็ พระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) วดั ราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เสด็จทรงเป็นองค์ประธาน
พรอ้ มด้วยสมเด็จพระมหาวรี วงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน และศิษยานุศษิ ย์
หลวงปมู่ ่นั ท้งั ฝา่ ยบรรพชิต และฝ่ายฆราวาส เข้ารว่ มงานคร้ังนีก้ ันจ�ำนวนมากมาย โดย หลวงปูฝ่ นั้
อาจาโร ท่านเป็นองค์ประธานท�ำพิธเี จมิ แผน่ ศิลามงคล

การก่อสรา้ งอาคารพพิ ิธภณั ฑ์ทา่ นพระอาจารย์มั่นด�ำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก ได้แลว้ เสร็จ
และท�ำพิธเี ปดิ เมอื่ วันอาทติ ยท์ ่ี ๒ กมุ ภาพันธ ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยใช้เวลาเพยี ง ๑ ปเี ศษ นบั เป็น

335

ตน้ แบบของการสรา้ งพพิ ธิ ภัณฑ์ทพี่ ระอรหันต์สรา้ งถวายพระอรหนั ต์ หลวงปู่ฝนั้ หลวงตาพระ–
มหาบัว พระอรหนั ต์ผูเ้ ปน็ ศษิ ย์ ไดน้ ้อมสรา้ งถวาย ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ พระอรหันต์ผู้เป็น
อาจารย์ ในกาลต่อมาพิพธิ ภัณฑด์ งั กล่าวไดเ้ ป็นต้นแบบให้ หลวงปู่ลี กสุ ลธโร พระอรหนั ตผ์ ูเ้ ปน็
ศิษย์ ไดน้ อ้ มสรา้ งถวายองคห์ ลวงตาพระมหาบัว

ทา่ นทราบดว้ ยญาณหลวงปู่ตอื้ มรณภาพ

หลวงป่ฝู ้นั อาจาโร กบั หลวงป่ตู อ้ื อจลธมโฺ ม เคยพบกันตง้ั แต่สมัยเปน็ พระมหานกิ าย
ที่มาขอศึกษาอบรมธรรมปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านท้ังสองถือเป็นศิษย์อาวุโสรุ่นแรกๆ
เป็นศษิ ยป์ ระเภท “เพชรนำ�้ หนึง่ ” ของหลวงปมู่ ่ัน ถอื เป็นครอบครวั กรรมฐานเดียวกัน ซง่ึ ต่างยอ่ ม
ทราบภูมิจิตภูมิธรรมของกันและกัน คร้ังหน่ึงหลวงปู่ต้ือเทศน์ถึงครูบาอาจารย์ท่ีถึงศาลาพันห้อง
ถึงบรมสุข โดยยกย่องหลวงปฝู่ ั้นไว้ด้วย ดังน้ี

“อันผู้เพ่ินกาย (ข้าม – พน้ ) ได้ เหมือนอย่างหลวงปเู่ สาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝ้นั หลวงปู่
อ่อน ผู้เพิน่ กายได้ นน่ั เข้าสศู่ าลาพนั ห้องเนย่ี เออ้ ! เขา้ สู่กายนคร ดแู ลว้ รจู้ ักหมด นน่ั ล่ะ
ทัง้ กายนคร ส่ิงทเ่ี ปน็ รูป เปน็ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แลว้ ละได้หมด รูป รส กลิน่ เสียง
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นนะ่ จติ ใจเพิน่ (ท่าน) กเ็ ลยเปน็ ศลี เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ห่างเหิน
ออกจากโลภ โกรธ หลง นนั่ ล่ะจงึ ว่า ศาลาพันหอ้ ง ถึงบรมสขุ ที่ว่า นตถฺ ิ สนฺติ ปรมํ สขุ ํ มนั มี
ความสขุ ดเู อานั่น เหน็ บ่ (เหน็ ไหม) เพิน่ นง่ั อยเู่ ฉยๆ มแี ต่คนเอาของไปใหเ้ พน่ิ เห็นบ่ หลวงปูฝ่ นั้

หลวงปู่มนั่ หลวงปู่เสาร์ นี่ก็ตงั้ แตเ่ ราบ่ทนั ... ผูเ้ พิ่นคกั ดอก (ดมี าก) หลวงป่มู น่ั หลวงป่เู สาร์
ของพวกเราน่ีคกั ...บอ่ ดึ (เยอะ) คนเอาของไปใหเ้ พนิ่ ทรัพยส์ ินเพนิ่ บ่เอาไว้ดอก เห็นบ่ เพิน่
มรณภาพแตว่ นั หมดลมจนถงึ วันเผา เปน็ เวลาปหี นึ่งพอดี ได้เงินเทา่ ไร ๕๖ ล้าน นน่ั บแ่ มน่ (ไม่ใช่)
นอ้ ยๆ คนไปท�ำบญุ สุนทานกับเพน่ิ นน่ั ละ่ เพน่ิ ถงึ ศาลาพนั ห้อง หอ้ งกายเพิ่นกบ็ ริสทุ ธ์ิ ห้องวาจา
เพน่ิ ก็เต็ม หอ้ งจติ ใจเพนิ่ กบ็ ่มีโลภ บม่ โี กรธ บ่มหี ลง นน้ั ล่ะจงึ ว่าถึงศาลาพันหอ้ ง”

ในเช้าตรูข่ องวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ท่ีวดั ป่าอุดมสมพร หลวงปู่ฝ้นั อาจาโร
ก�ำลงั สรงน้�ำ กับพระทอี่ ปุ ัฏฐากในเชา้ วันนน้ั พักนึงท่านกล่าวข้ึนมาวา่ “หลวงปู่ต้ือไปแลว้ ” พระท่ี
อุปฏั ฐากก็งง ว่าหลวงป่ตู ือ้ ไปไหน พอสรงน�ำ้ เสร็จ สายๆ ลงมาศาลา ชาวบ้านทีม่ าถวายจังหันเช้า
กแ็ จ้งขา่ ว หลวงป่ตู ื้อละขันธ์ใหท้ ราบ หลวงปู่ฝ้ันทา่ นทราบเหตุการณ์ดว้ ยญาณภายในอันแจ่มชดั
แมน่ ย�ำของทา่ น

หลวงปู่ตอ้ื อจลธมฺโม พระผูเ้ ป็นศากยบตุ รพทุ ธชโิ นรสขององคพ์ ระบรมศาสดา ทา่ นเป็น
ลกู ศิษยเ์ อกองค์หน่ึงของหลวงปู่มั่น ภูรทิ ตฺโต ท่านเป็นพระสมบูรณแ์ บบประเภท “เพชรน้ำ� หนง่ึ ”
ทา่ นได้ละวางขนั ธ์ถงึ แกม่ รณภาพดว้ ยความองอาจ กลา้ หาญ และสง่างาม ครบถว้ นบรบิ ูรณ์ทสี่ ุด

336

ณ วัดป่าอรัญญวิเวก อำ� เภอศรีสงคราม จังหวดั นครพนม เมื่อวนั ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
เวลา ๑๙.๐๕ น. สริ ริ วมอายไุ ด้ ๙๕ ปี มหานกิ าย ๒๘ พรรษา ธรรมยตุ กิ นิกาย ๔๖ พรรษา รวมทง้ั
สองนิกายได้ ๗๔ พรรษา

บาตรเหล็กของหลวงปชู่ อบ

หลวงปชู่ อบ านสโม ทา่ นเล่าเรอ่ื งนี้ไวด้ ังน้ี
ตอนปี ๒๕๑๗ เถ้าแกพ่ วก กรงุ เทพฯ ไดต้ ดิ ตาม หลวงป่ฝู ้ัน อาจาโร ไปกราบ หลวงป่ขู าว
อนาลโย ท่วี ดั ถ�้ำกลองเพล หนองบวั ล�ำภู หลวงปขู่ าวท่านบอกเถา้ แกพ่ วกให้หาบาตรกับผา้ ไตร
เอาไปถวายหลวงปู่ชอบ หลวงปู่ฝ้ันทา่ นบอกเถา้ แกพ่ วกให้ไปสั่งช่างท่ีบ้านบาตร กรุงเทพฯ ตบี าตร
เหล็ก ขนาด ๙ นิว้ ขึน้ มาหนงึ่ ใบ เอามาถวายหลวงปูช่ อบ
หลวงป่ชู อบทา่ นวา่ เหตทุ ห่ี ลวงปขู่ าวกับหลวงปฝู่ ้ันบอกเถา้ แก่พวกใหเ้ อาบาตรกับผ้าไตร
มาถวายท่านนน้ั ก็เพราะว่า เถา้ แกพ่ วกนั้นมศี รัทธาในพระศาสนา อปุ ถัมภอ์ ุปัฏฐากครบู าอาจารย์
กรรมฐานร่นุ เกา่ มาหลายองค์ เถ้าแกพ่ วกเคยคิดอยากจะบวชหลายครง้ั แตก่ ็ไมส่ ำ� เร็จผลสกั ครัง้
ทุกครั้งท่ีคิดว่าจะบวช ก็จะมีอุปสรรคในเร่ืองนั้นเร่ืองน้ีทุกครั้งไป จนสุดท้ายตนเองก็ไม่ได้บวช
ด้วยเหตอุ ันนี้ หลวงปูข่ าว กับ หลวงป่ฝู นั้ จึงบอกเถา้ แก่พวก หลวงปู่ชอบวา่ เถ้าแก่พวกก็เอาบาตร
ใบน้ีกับผ้าไตรมาถวายท่าน เม่ือในพรรษาปี ๒๕๑๗ ตอนท่านจ�ำพรรษาอยู่ท่ีพักสงฆ์ กม. ๒๗
ต.คูคต อ.ล�ำลูกกา จ.ปทมุ ธานี
หลงั จากนนั้ หลวงปู่หลยุ จนทฺ สาโร กบั หลวงพ่อบัวค�ำ มหาวีโร ก็พากันเอาบาตรเหล็ก
ใบนไี้ ปบม่ เผาไฟ เพอ่ื ท�ำลายสีเหล็กเดิมให้กลายเปน็ บาตรสีดำ� บาตรหลวงป่ชู อบนี้ ทา่ นจะไมใ่ ห้
เผา จนเกิดเป็นสะเก็ดระยบิ ระยบั ภาษากรรมฐานอีสาน บม่ บาตรจะเรยี กกนั วา่ “ไฮบาตร”
หลวงปู่ชอบท่านว่า ถ้าเป็นสมัยที่องค์ท่านหลวงปู่ม่ันยังอยู่นั้น ถ้าพระเณรองค์ไหนใช้
บาตรท่ีบม่ ไฟ จนเป็นไฮระยบิ ระยับแบบนเี้ ขา้ มาหาท่านแลว้ พระเณรผู้นน้ั กจ็ ะถกู องค์ท่านดุเอา
ท่านว่าอย่างตอนที่ หลวงปอู่ ่อน าณสริ ิ กับ หลวงป่ฝู ้ัน อาจาโร พากันมาปฏิบตั กิ บั องคท์ า่ น
หลวงป่มู ่นั ทบ่ี ้านปา่ เมย่ี งแมส่ าย เชียงใหม่ ครบู าอาจารย์ทงั้ สองท่าน ก็เคยถูกองคท์ า่ นหลวงปู่มั่น
ดุเอาในเร่ืองกรรมฐานบริขารงาม
หลวงปู่ชอบว่า “บาตรเฮา (เรา) นี่ เทวดา พญานาคเขารักษา ถึงเวลามันสิ (จะ) มีเหตุ
ให้เกิดข้ึนเอง เฮากะเอาบาตรเถา้ แก่พวกอนั นีไ่ ปบณิ ฑบาตโปรดสตั วจ์ นนับบ่หลอ่ น (จนนบั ไม่ถ้วน)
เฮาบอกเถ้าแกพ่ วก พวกเอ้ย ! บ่ (ไม)่ ว่า เจ้าสิเกดิ มาในชาติใดๆ ตอ่ ไปนก่ี ะขอให้เจา้ นนั่ กนิ บบ่ ก
จกบเ่ สีย้ ง (มกี ิน มีใช้ ไมอ่ ด ไมอ่ ยาก) เด้อ”

337

ค�ำเตือนของหลวงปู่เร่ืองสร้างเหรยี ญ

บันทึกจากคณะศษิ ย์ วนั ที่ ๗ กันยายน ๒๕๑๗ ท่านอาจารย์ใหญ่ (หลวงปู่ฝัน้ อาจาโร)
เล่านิมิตให้คณะศิษยฟ์ งั วา่

“ในคนื วันท่ี ๓ กนั ยายนท่ผี ่านมาน้ี เวลาประมาณตีหน่งึ (หรอื ๐๑.๐๐ น. ของวันที่ ๔)
ขณะทีท่ า่ นนงั่ ภาวนาสงบอยู่ ไดบ้ ังเกดิ นิมิตขนึ้ ว่า ขณะนั้นท่านกำ� ลงั อยูบ่ นวดั ถ�ำ้ ขามไดเ้ กดิ นำ้� ท่วม
ข้นึ จนสงู พน้ื แผ่นดินเตม็ ไปด้วยโคลนตม ท่านต้องย่�ำอยนู่ านกวา่ จะขน้ึ ไปถึงบนกุฏทิ พี่ ักของทา่ น
ทนั ใดน้นั ใจท่านเกิดหววิ ส่นั เต้นแรงคลา้ ยจะดบั ลง ทา่ นเพ่งพิจารณาดูว่า จะตอ้ งส้ินขนั ธ์ในขณะนนั้
หรือก็ไม่ใช่ วา่ จะมเี รอ่ื งต้องตกอกตกใจอนั ใดหรือก็เปลา่ ขณะก�ำลังพิจารณาก�ำหนดอยู่น้นั กเ็ กิด
ก้อนไฟใหญร่ อ้ นแรง มาลอยอยเู่ บอ้ื งหนา้ ท่าน ท�ำใหเ้ กิดความรอ้ นรนเป็นก�ำลัง จึงเพง่ พจิ ารณา
หาอบุ ายดับดว้ ยวิธีตา่ งๆ อยู่นานกห็ าดบั ได้ไม่

เมื่อเรง่ จติ ตภาวนาหามลู เหตุแห่งโทษนี้ กเ็ หน็ ไดใ้ นท่สี ดุ วา่ เกดิ เพราะมีทจุ รติ ชนบางกลมุ่
รวมท้งั ศษิ ย์นอกลนู่ อกทางบางคน ได้จดั ทำ� เหรียญและวตั ถอุ ่ืนทเ่ี กีย่ วขอ้ งด้วยท่าน บางรายไมไ่ ด้
ขออนญุ าต บางรายขอแลว้ ทา่ นไมอ่ นญุ าต บางรายแอบอ้าง บางรายปลอมแปลง ผู้ว่าจา้ ง
บางรายลักลอบทำ� เกนิ จ�ำนวนท่ีขออนุญาต แลว้ นำ� ไปจ�ำหนา่ ย น�ำไปขาย ไปแลกเปลี่ยนโดยท่ี
เหรียญหรอื วัตถุเหลา่ นั้นมไิ ดผ้ ่านการอธิษฐานภาวนาจากท่าน ผลบาปจากอกศุ ลกรรมในการนจ้ี ะ
ท�ำใหผ้ ้จู ัดท�ำ ผู้ว่าจ้างให้ท�ำ ผนู้ �ำไปขาย ไปแลกไปเปลีย่ น รวมทง้ั ผู้ได้ผลประโยชน์ในการนจ้ี ะ
บงั เกดิ ความวบิ ัติ วนิ าศ ถงึ แกค่ วามฉิบหาย แม้ผู้รับไปก็มิต่างไดร้ ับเอาก้อนกรวด หรือเศษโลหะ
ทไี่ มเ่ กิดคณุ คา่ อะไร เพราะเปน็ ของวิบตั ิ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ แม้ความวบิ ตั ฉิ บิ หายไดบ้ งั เกดิ กบั
ผู้กระท�ำน้นั ผลบาปจากอกุศลกรรมนั้น ยังจะมาแปดเปอื้ นสรา้ งความมวั หมองใหก้ ับทา่ นดว้ ย

เม่ือท่านได้ตีมูลเหตุแห่งนิมิตดังกล่าวนี้ลงได้ ก้อนไฟก็ดับวูบลง ความร้อนรนของท่านก็
ดบั ลงโดยพลนั ความสงบเยน็ และพลงั จติ กไ็ ดก้ ลบั มาสทู่ า่ นเปน็ ปกติ เมอ่ื ทา่ นไดถ้ อนออกจากสมาธิ
ปรากฏว่าเวลาได้ผ่านไปหลายชั่วโมงในการพิจารณาและก�ำหนดนิมิตน้ี ท่านบังเกิดความเวทนา
สงสารอยา่ งยงิ่ สำ� หรบั ผูท้ ีจ่ ะตอ้ งรับความวิบตั ิ ความวนิ าศฉบิ หาย เพราะการกระทำ� ทไ่ี ปเก่ยี วพัน
กับทา่ น ท่านจึงมีความเมตตาสั่งใหแ้ จ้งเร่อื งนี้ใหท้ ราบโดยท่วั กัน ทัง้ พระภกิ ษสุ งฆ์ และฆราวาส
ทรี่ เู้ ทา่ ไม่ถึงการณก์ ็ดี ทง้ั ทจุ รติ ชนท่มี เี จตนาทำ� กด็ ี ขอให้พึงงดเว้นเสยี

ทา่ นบอกว่า ท่านได้เห็นภัยนี้แล้วจงึ ไดห้ า้ ม ท่านบอกว่า ถึงท�ำแลว้ จะท�ำให้ได้เงินทอง
หรือของมีค่ามาเป็นผลตอบแทนในทุจริตกรรมนั้นในข้ันแรก แต่ก็จะต้องถึงกาลวิบัติฉิบหาย
ในตอ่ มาจนถงึ ทส่ี ุดโดยมิตอ้ งสงสัย ส�ำหรับศษิ ย์ทว่ั ๆ ไปทมี่ คี วามเคารพนับถอื ในท่าน ท่ไี ม่เคย
ไดร้ บั แจกเหรียญหรือมงคลวัตถใุ ดจากท่าน หรือได้จากบุคคลทีเ่ ชอื่ ถอื ได้ (โดยไม่ต้องซอ้ื หาดว้ ย

338

มูลค่าเงินทอง) ขอเพยี งใหน้ กึ ถงึ ทา่ น ประพฤตปิ ฏบิ ัตติ ามพระธรรมคำ� ส่ังสอนของพระพทุ ธเจ้า
พึงเว้นในส่ิงท่ีท่านเว้น พึงเจริญในส่ิงท่ีท่านให้ปฏิบัติ เท่านี้ท่านก็สามารถจะคุ้มครองให้พ้นโทษ
พน้ ภัย มคี วามเจริญสุขไดเ้ ชน่ เดียวกนั ไม่บังควรไปขวนขวายหามาในรูปของการซื้อหรอื แลก–
เปล่ยี น ซ่ึงอาจจะผิดพลาดไปพบของวิบตั เิ ข้าดังกล่าว

อนึ่ง ท่านไดเ้ น้นว่า หากผู้ใดได้ทราบวา่ ทา่ นไดห้ า้ มแลว้ เช่นนี้ ยงั ขนื กระทำ� อกี เมอ่ื เกดิ
ทกุ ขภ์ ัยขึน้ จงเว้นการกล่าวโทษท่าน อยา่ ไดต้ ูท่ า่ น อนั จะทำ� ใหบ้ าปอกศุ ลกรรมนี้ไปมวั หมองทา่ น”

กิจที่ไม่อยากท�ำ

คุณหมออวย เกตุสงิ ห์ บันทึกไว้ดังน้ี
“กิจอีกอย่างหน่ึงท่ที ่านอาจารย์ไมอ่ ยากกระท�ำ แต่ตอ้ งกระท�ำ เพราะความเมตตาของทา่ น
คอื การเป่าหวั และพรมน้�ำมนต์ ซ่งึ มคี นมาขอท่านวันละมากๆ เพื่อสะเดาะเคราะห์ เพอ่ื ให้มีลาภ
ฯลฯ ผู้เขยี นเชอ่ื ว่า ท่านไมไ่ ดอ้ ยากท�ำใหใ้ ครทง้ั น้ัน เพราะสังเกตว่า ทา่ นไมเ่ คยบอกเองเลยว่า
จะพรมนำ้� มนต์หรือเป่าหวั ให้ ตอ้ งมีคนขอ ท่านจงึ ท�ำ ท่านบน่ บ่อยๆ ว่า “บอกใหห้ ัดภาวนากนั
จะไดม้ คี วามสุข หมดความทกุ ข์ มนั กไ็ ม่คอ่ ยจะท�ำ ดแี ตจ่ ะใหเ้ ปา่ หัวเป่าหาง เปา่ จนคอแห้ง
แล้วละ่ วะ ไมเ่ ห็นมนั ได้อะไรขน้ึ มา พุทโธเข้าซ”ี่ ท่านบน่ อย่างนี้ แตพ่ อมีคนขอ ทา่ นกเ็ ป่าหรอื
พรมใหท้ ุกที เร่อื งเจิมรถยนตก์ เ็ หมือนกัน ผเู้ ขยี นเคยได้ยนิ กบั หู มคี นชอบนำ� รถมาให้ทา่ นเจิม
เพราะเช่อื ว่าจะคุ้มครองให้พ้นอันตรายได้ ในตอนต้นทา่ นมักจะอดิ เอือ้ นก่อนเสมอ บางทกี ็ถามว่า
“ต้องเจมิ ดว้ ยเรอะ ?” บางทกี ็บน่ วา่ “เจิมไปทำ� ไมกันวา๊ !” แตล่ งท้าย ท่านกเ็ จิมให้ทกุ ที
ท่านต้องทนทำ� กิจอะไรต่อมิอะไร ทา่ นท�ำใหเ้ พราะความเมตตา ไมใ่ ชเ่ พราะความชอบหรอื
ความอยากไดล้ าภ หรือแม้แต่หน้าตา
ทา่ นอาจารยเ์ คยเลา่ วา่ ในสมยั สงครามโลกคร้งั ทสี่ องเลกิ ใหมๆ่ หวยเถอ่ื นก�ำลังระบาดหนัก
พระอาจารย์หลายองค์ตั้งตัวเป็นอาจารย์ให้หวย ต�ำรวจต้องไปห้ามปราบและตักเตือน ท่าน–
อาจารย์กถ็ ูกเตอื นดว้ ย ท่านปฏิเสธว่า ทา่ นไมเ่ คยให้หวยใครเลย ใครๆ มาขอ ทา่ นกไ็ มใ่ หส้ กั ที
แต่ทา่ นก็ทราบว่า หลายคนไปหาท่านแลว้ กลับไปแทงหวยและถกู ทา่ นวา่ ท่านพูดอะไรออกไป
ก็ตาม พวกนักเลงกแ็ ปลเปน็ ตัวเลขไปหมด เช่น ท่านจะไปกรงุ เทพฯ มคี นถามว่า ท่านจะไปสกั กีว่ นั
ทา่ นตอบว่า สห่ี า้ วัน เขาไปแทง ๔ กบั ๕ บางคนมาขอลาภขอหวย ทา่ นกเ็ อ็ดเอาว่า ทา่ นไม่มหี วย
จะเอาอะไรไปให้ มแี ต่พระธรรมแปดหมื่นสพ่ี ัน เขากไ็ ปแทง ๘ กับ ๔ แลว้ ก็ถูกทกุ คร้ัง

339

อยา่ งน้ีคนถูกหวยกไ็ ดล้ าภไป ส่วนทา่ นต้องเสยี ชอ่ื เพราะเป็นพระใบ้หวย แต่ทา่ นกไ็ ม่วา่
อะไร เพราะฉะนั้น แมใ้ นสมัยหลังๆ น้ี กย็ ังมคี นไปคอยนัง่ ฟงั คำ� พูดของทา่ น เพื่อจะเอาไปแปลเปน็
เลข คงเปน็ ดว้ ยแรงเมตตาของท่านนน่ั เอง ทบ่ี นั ดาลให้หวยออกตรงกบั ท่พี วกนน้ั แปล”

กิจวตั รประจ�ำวนั ของหลวงปู่

ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระผู้มีระเบียบเรียบร้อย สมกับท่ีท่านสืบตระกูล
มาจากผู้สงู ศักด์ิ นอกจากนัน้ ทา่ นมีความขยันหมนั่ เพยี รอยา่ งเอกอุ ไมว่ ่าจะเป็นเรอ่ื งการบำ� เพ็ญ
ภาวนา การอบรมส่งั สอนศิษย์ หรอื กอ่ สร้างอาคารหรือถนนหนทาง ท่านถือเอาการงานและหนา้ ที่
เป็นเร่ืองส�ำคัญข้อแรก ส่วนความสะดวกสบายนั้นเป็นข้อรอง และท่านปฏิบัติเช่นนี้โดยเสมอมา
ตงั้ แต่หนุ่มจนถึงวัยชรา

รายการต่อไปน้ีต้องถือเป็นตัวอย่างในเวลาท่ีท่านว่างจากกิจกรรมพิเศษ และเป็นเวลาท่ี
ท่านอยู่ประจำ� วดั เชน่ ระหวา่ งเขา้ พรรษา หากทา่ นท�ำการธดุ งค์ไปเสาะหาท่ีวเิ วก หรอื มีกจิ การงาน
อะไรเปน็ พเิ ศษ การปฏิบัติตวั ของทา่ นก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์

กิจวตั รประจ�ำวนั ตามปกติของท่านพระอาจารย์ฝั้น มีดังต่อไปนี้
เวลาตี ๓ ออกล้างหน้า บ้วนปาก แล้วไหว้พระสวดมนต์ และน่ังสมาธิจนถึงเวลาตี ๕
ลงเดินจงกรมไปจนสว่าง พอสว่างได้อรุณแล้ว ท่านพระอาจารย์ลงปัดกวาดลานวัดและท�ำความ
สะอาดบรเิ วณวัด พรอ้ มดว้ ยพระภิกษุสามเณรจนเสรจ็
เวลาประมาณ ๐๖.๓๐ น. ออกบิณฑบาตไปตามหม่บู า้ น กลบั จากบณิ ฑบาตแล้วเตรียม
ฉันเช้า เวลาที่จะฉันจังหันเช้าน้ันสุดแต่ระยะทางที่ออกบิณฑบาตตามหมู่บ้าน ถ้าระยะทางไกล
ตอ้ งเสยี เวลามากก็ต้องฉนั สายๆ หนอ่ ย ถา้ หมู่บา้ นอยู่ใกล้ก็ฉันเร็ว ประมาณ ๐๗.๓๐ น. ทา่ นพระ–
อาจารย์ไม่เคยขาดการบิณฑบาตเลย มาระยะหลังๆ ทา่ นอาพาธกย็ ังพยายามบิณฑบาตในวัด
เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. หลงั จากฉันเช้าเสรจ็ และเกบ็ บรขิ ารเรียบรอ้ ยแล้ว ทา่ นพระ–
อาจารย์กล็ งเดินจงกรม จนถงึ เวลา ๑๑.๐๐ น. ทา่ นจึงขน้ึ พัก
เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. เศษ ทา่ นออกจากทีพ่ ัก ถ้ามีแขกมา ทา่ นก็รับแขกต่อไป ถา้ ไมม่ ี
แขก ท่านก็ลงเดินจงกรมอีก ไปจนถึงเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. ก็ลงฉันน�้ำร้อนและเภสัชต่างๆ
ร่วมกบั พระภิกษสุ ามเณร
หลวงปฝู่ ั้น อาจาโร ท่านเป็นพระธดุ งคกรรมฐานทไี่ ด้ช่อื ว่า ถือพระธรรมวนิ ัยด้วยความ
เคร่งครัด จนเป็นแบบอย่างของพระธุดงคกรรมฐานท่ัวไปได้ ท่านถือฉันเอกา หรือฉันมื้อเดียว

340

เปน็ ประจ�ำ แบบเดียวกบั พระสายทา่ นพระอาจารย์ม่นั ทัง้ หมด พน้ เวลาไปแลว้ ทา่ นไม่ยอมฉัน
อะไรทไี่ ม่มีอนุญาตไว้ แม้ว่าไปธุดงค์ก็เหมือนกัน เวลาท่านอยู่วัดป่าอุดมสมพร มักมีคนแย่งกัน
หรือแขง่ กันทำ� อะไรๆ มาถวายใหฉ้ นั ถ้าไมผ่ ิดพระวินยั ทา่ นกร็ ับไว้ แล้วฉันใหเ้ จา้ ละเล็กๆ นอ้ ยๆ
ด้วยความเมตตาต่อผู้ถวาย บางวันมีคนน�ำน้�ำดื่มท�ำจากผลไม้ต่างๆ มาถวายท่านตั้งเจ็ดแปดราย
เพียงจิบถ้วยนี้บ้าง ถ้วยน้ันบ้าง บางทีก็ท�ำให้ท่านท้องเสีย ถ้าเป็นคนท่ีเคยท�ำมาถวายอยู่เสมอๆ
ท่านก็ไม่ค่อยสงสัยอะไร แต่ถ้าเป็นคนหน้าใหมม่ า ทา่ นจะต้องซกั ถามวา่ นำ�้ อะไร ทำ� ยงั ไง ? ตม้ หรอื
ไม่ไดต้ ้ม กรองยงั ไง ? เหล่านีเ้ ปน็ ตน้ นกี่ ็เพื่อให้แนใ่ จว่าทำ� ถกู ต้อง

เสรจ็ จากฉนั น้�ำร้อนแลว้ ลงปัดกวาดลานวดั ปดั กวาดเสรจ็ พระเณรตกั นำ�้ ใสภ่ าชนะตาม
ท่พี ักตา่ งๆ จนเตม็ หมดทุกแหง่ แล้วท่านพระอาจารยส์ รงน้�ำ หลงั จากสรงน�้ำแล้ว ท่านจะลงเดิน
จงกรมไปจนมืด จงึ ขึ้นทีพ่ ักหรอื กฏุ ิ เข้าห้องทำ� วัตรสวดมนต์

เวลาประมาณ ๑๙.๓๐ น. หรอื ๒๐.๐๐ น. ทา่ นพระอาจารยอ์ อกจากหอ้ ง พระเณรขึ้นไป
รวมกนั เพือ่ ฟังการอบรม ท่านเทศน์สัง่ สอนข้อวตั รปฏิบตั ิ ตลอดจนธรรมะต่างๆ พรอ้ มทัง้ แกป้ ัญหา
นานาประการใหแ้ ก่พระและเณรผสู้ งสัยและซกั ถาม จนถึงเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. เศษ จงึ เลกิ
(บางวนั ถงึ ๒๔.๐๐ น.) ต่อจากนน้ั ศษิ ยผ์ ใู้ กลช้ ดิ หรอื พระเณรก็จะเขา้ ปฏิบตั นิ วดเสน้ ถวาย จนถงึ
เวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น. หรอื บางทีกถ็ ึง ๒๔.๐๐ น. ทา่ นกบ็ อกให้เลกิ ทา่ นเข้าห้องพกั นงั่ สมาธิ
ภาวนาของทา่ น (แตเ่ วลา ๐๓.๐๐ น. เป็นเวลาออกล้างหน้าบ้วนปากเปน็ นจิ )

อน่ึง โอกาสท่ีท่านพระอาจารย์ฝัน้ ใชส้ �ำหรบั เลา่ เหตุการณต์ า่ งๆ ใหศ้ ิษยฟ์ ังเกย่ี วกับการ
ปฏบิ ตั ิ อนั เป็นธรรมลกึ ซงึ้ ละเอยี ด คือ (๑) ช่วงเวลาท่ีท่านออกลา้ งหน้าบ้วนปาก (๒) ชว่ งทศ่ี ิษย์
ถวายการนวดเสน้ (๓) ช่วงทท่ี ่านเทศน์อบรมพระเณรเสร็จแล้ว แมจ้ ะมีผู้ถามขึ้น

ครูบาอาจารย์เทศน์เร่ืองการสวดมนต์ ไวด้ ังนี้
“การภาวนาน่ีมันมีครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้น�ำ อย่างเช่น สายหลวงปู่ฝั้น ท่านจะภาวนา
ท่านจะสวดมนต์แล้วน่ังสมาธิหลายๆ ชั่วโมง แต่เรามาอยู่กับหลวงตา หลวงตาท่านไม่เคยพา
สวดมนต์เลย ทา่ นบอกวา่ ท่านนง่ั ตลอดรุ่ง หรอื บางองคน์ ที่ ่านนั่งทหี นง่ึ ๔ ช่ัวโมง ๕ ชั่วโมง
บางองคจ์ ะน่งั ไดเ้ ลก็ น้อย ถา้ เอามาภาวนาร่วมกันนี่ ไอไ้ ดป้ ระโยชน์ คือ ได้ประโยชน์จากพระที่
ภาวนาไดน้ ้อย เพราะวา่ เวลาเข้ามาภาวนาด้วยกนั หม่พู ระมนั จะบบี บังคบั ใหต้ ัวเองไปไหนไม่ได้
กต็ ้องทน แต่พระท่ภี าวนาทงั้ คนื น่ี เขาต้องระวังเวลา เพราะไม่ใหจ้ ิตลง เพราะถ้าจติ ลงแล้วนเ่ี ดย๋ี ว
จติ เลกิ จะเลกิ ไมท่ ันเขา น่งั สมยั หลวงปฝู่ ัน้ เวลาท่านจะท�ำวตั รกลางคนื เห็นไหม แลว้ น่งั ที ๔ ทุม่
๕ ทุ่ม บางทีตี ๑ ตี ๒”
นอกจากน้ีท่านเขม้ งวดกวดขนั ศิษย์ โดยคุณหมออวย เกตุสิงห์ บนั ทกึ ไวด้ ังน้ี

341

“จากถอ้ ยค�ำของผ้ทู เ่ี คยเป็นศษิ ยท์ า่ น ตัง้ แตใ่ นสมัยทีท่ า่ นยังแข็งแรงอยู่ ทราบว่าทา่ นเปน็
อาจารยท์ ี่เข้มงวดกวดขันมาก คอยเคี่ยวเขญ็ พระเณรตลอดจนผา้ ขาวใหป้ ฏิบตั ภิ าวนาโดยเขม้ แข็ง
เสมอ ถา้ ใครเกยี จครา้ นหรอื เหลาะแหละ ทา่ นก็จะวา่ กลา่ วตักเตือน ถา้ เตอื นแลว้ ไมไ่ ด้ผล ก็มักจะ
ไล่ไปเสียจากส�ำนัก แม้ในสมัยหลังน้ีท่ีท่านไม่ค่อยแข็งแรงแล้ว หากใครท�ำความเหลวไหลในวัด
ทา่ นกม็ กั เรยี กมากลา่ วเปน็ สว่ นตวั หรอื ไมก่ ว็ า่ เปรยๆ ให้ฟงั บางทกี ็ว่าอยา่ งหนกั ๆ เช่นว่า บวชแล้ว
อยา่ ใหช้ าวบ้านเปลืองขา้ วเปลา่ ๆ หรือว่าพระกรรมฐานเป็นพระนง่ั ไมใ่ ชพ่ ระนอน เป็นต้น

ถา้ ใครปฏบิ ตั ิดี ปฏิบัตชิ อบ ท่านก็ชมเชยและเอาใจใส่อบรมเปน็ พเิ ศษ เพื่อจะได้ก้าวหน้าไป
ไกลยงิ่ ข้ึนอีก โดยเฉพาะอย่างย่งิ ในสมัยสามส่ีปีสุดทา้ ยนี้ มผี ู้ต้ังขอ้ สงั เกตวา่ ท่านอาจารยเ์ ข้มงวดกับ
ศษิ ยท์ ด่ี ๆี และเอาใจใส่มาก ขณะเดยี วกันงานต่างๆ เกยี่ วกับวดั ทอี่ ยูใ่ นอาณัติของทา่ น ท่านก็
เร่งเร้าใหร้ บี ท�ำใหเ้ สร็จๆ โดยอตุ ส่าห์น�ำตัวเองไปนัง่ หรอื เดิน ยนื เป็นประธานอยดู่ ว้ ย เพือ่ ใหง้ าน
ก้าวหนา้ เร็วขนึ้ ดังนั้น งานบางอยา่ งจงึ ลลุ ่วงไปรวดเรว็ อย่างไมน่ า่ เชื่อ อย่างเช่น การสร้างศาลาท่ี
ส�ำนักสงฆ์ถ้�ำขามเป็นคอนกรีตแทนศาลาไม้หลังเดิม และขยายให้ใหญ่ข้ึนอีกเกือบครึ่งหน่ึง ถ้า
คนอื่นสร้างคงจะตอ้ งใช้เวลาไมน่ ้อยกว่าหกเดอื น เพราะข้ึนไปสร้างบนยอดเขาและสรา้ งบนลานหิน
ขรุขระ แต่ท่านสร้างเพียงส่ีเดือนเท่าน้ัน มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าที่ท่านเร่งเร้าลูกศิษย์ในการปฏิบัติก็ดี
หรอื รบี เรง่ เรื่องการก่อสร้างก็ดี ก็เพราะทา่ นเตรยี มตวั ของทา่ นเพ่อื การทงิ้ ขนั ธ์ ซง่ึ ท่านกไ็ ดก้ ระท�ำ
ในเวลาตอ่ มา

กับลูกศิษย์ภายในวัดของท่าน ท่านอาจารย์ให้ความเอาใจใส่ไม่เพียงแต่ในเร่ืองการปฏิบัติ
ภาวนาเท่านัน้ แตเ่ อาใจใส่ในทุกๆ เรอ่ื ง ทั้งการกิน การอยู่ การนงุ่ หม่ ตลอดจนการเจ็บไขไ้ ด้ป่วย”

พ.ศ. ๒๕๑๘ รูล้ ว่ งหน้าพระธาตพุ นมจะล้ม

หลวงปู่ฝนั้ อาจาโร ท่านเป็นพระอรหนั ตอ์ งค์หน่งึ ที่มีอนาคตังสญาณหยงั่ ทราบเหตุการณ์
ลว่ งหน้า ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ขณะท่ีทา่ นพาพระเณรจำ� พรรษาทวี่ ดั ปา่ อดุ มสมพร เมอื่ เขา้ พรรษา
ผา่ นไปไม่นาน ท่านทราบเหตกุ ารณล์ ว่ งหน้าวา่ พระธาตุพนมจะล้ม

พระธาตุพนม อ�ำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สร้างข้ึนโดย พระมหากัสสปเถรเจ้า
พระอรหนั ตสาวกองคส์ ำ� คัญในครง้ั พุทธกาล และเป็นพระบรมสารีรกิ ธาตใุ นสว่ นของพระอุรังคธาตุ
(กระดกู ส่วนหนา้ อก) อันศักดิส์ ิทธิ์ขององคส์ มเดจ็ พระสมั มาสัมพุทธเจ้าบรรจอุ ยู่

กอ่ นทอ่ี งคพ์ ระธาตุพนมจะลม้ ครนื พังทลายลงมานน้ั พุทธศาสนิกชนท้ังคนไทยและคนลาว
ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า และไม่มีใครเช่ือว่าจะล้มลงมา เพราะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และสูงค่ายิ่งของ
พระธาตพุ นมจะต้องมเี ทวดา พญานาค คอยปกปักรักษา แต่ครูบาอาจารยห์ ลายองคท์ า่ นรกู้ ัน

342

ล่วงหนา้ หลวงปูฝ่ ้นั ท่านกร็ ูล้ ว่ งหนา้ ท่านบอกศรทั ธาญาติโยมลว่ งหน้า ๒ วัน เร่ืองอย่างนี้ไม่เช่อื
ก็ต้องเช่ือ เพราะเกดิ ขึน้ แล้ว ทำ� นายก็ถูกต้องแล้ว เร่ืองนเ้ี ป็นเรื่องทีเ่ หลอื เชื่อจริงๆ คอื

มีอยู่วนั หนง่ึ กอ่ นท่อี งค์พระธาตพุ นมจะล้มครืนลงมาน้ัน วนั นั้นไดม้ บี รรดาศรทั ธาญาติโยม
ไปทำ� บญุ ฟงั เทศนแ์ ละสนทนาธรรมกบั หลวงปฝู่ น้ั ทวี่ ดั หลงั จากทเี่ ทศนาสง่ั สอนเปน็ ทเี่ รยี บรอ้ ยแลว้
ศรัทธาญาตโิ ยมทัง้ หลายตา่ งยิม้ แยม้ แจม่ ใส อิ่มบญุ ไปตามๆ กัน โดยไมม่ ีใครคาดคิด ท่านกพ็ ูด
ขึ้นมาลอยๆ ว่า “พระธาตพุ นมลม้ แล้วนี่ นา่ เสยี ดายนะโยม” ท�ำเอาศรทั ธาญาตโิ ยมทมี่ านงั่ ฟัง
ท่านเทศนใ์ นวนั นนั้ ต่างพากันตกอกตกใจและไม่เชื่อหูของตัวเองด้วยซำ�้ ว่า ทา่ นพูดเชน่ น้ี

ท่านพูดขึ้นมาอย่างน้ีเหมือนกับว่า พระธาตุล้มลงมาแล้วอย่างนั้นแหละ บรรดาศรัทธา
ญาตโิ ยมตา่ งสงสยั วา่ ลม้ ลงมาไดอ้ ยา่ งไร “หลวงปวู่ า่ พระธาตลุ ม้ ลงมาแลว้ หลวงปรู่ ไู้ ดอ้ ยา่ งไรขอรบั ”
ศรัทธาญาติโยมคนหน่ึงถามด้วยความสงสัย ไม่น่าจะเป็นเร่ืองจริง หลวงปู่ฝั้นก็บอกว่า “อ๋อ !
อาตมาก็ไดย้ นิ เขาประกาศทางวทิ ยุวา่ พระธาตพุ นมลม้ แลว้ ก็แคน่ แ้ี หละ” ท่านพูดแคน่ ้ไี มไ่ ดพ้ ูดต่อ
ท�ำเอาหัวใจของทกุ คนเต้นตุ้มๆ ตอ่ มๆ เพราะพระธาตุองคน์ ีเ้ ปน็ เสาหลกั เปน็ ท่ีพ่งึ ของคนอีสานมา
เป็นเวลาช้านานหลายช่ัวอายคุ น ซึง่ ประเพณคี นอสี านนนั้ ถอื วา่ เกดิ มาชาตหิ นง่ึ ขอให้ไดเ้ ดนิ ทางไป
กราบไหวพ้ ระธาตพุ นมสกั ครงั้ หนงึ่ ถอื ว่าไดบ้ ุญไดก้ ศุ ล ตายไปแลว้ จะไดไ้ ปเกดิ บนสวรรค์

เร่ืองพระธาตุพนมล้ม ชาวบ้านที่มาฟังเทศน์ของหลวงปู่ฝั้นไม่มีใครระแคะระคายมาก่อน
ไมน่ ่าจะลม้ อย่างทที่ ่านพูด บางคนถึงกบั กลา่ วว่าหลวงปู่ฟังวทิ ยผุ ดิ ไปหรือเปลา่ กระทัง่ เวลาได้ผ่าน
ไป ๒ วนั กม็ ีข่าวทางวทิ ยโุ ทรทศั น์ประกาศข่าวใหช้ าวพุทธทั้งหลายท้ังปวงทราบกันว่า

“พระธาตพุ นมล้มแลว้ จริงๆ และพังยบั เยนิ ”
เหตกุ ารณ์ความเสียหายในครั้งน้ัน ไดส้ รา้ งความสะเทอื นใจ และสรา้ งความโศกเศร้าตอ่
พทุ ธศาสนิกชนสองฝ่งั โขงเป็นอยา่ งมาก เป็นข่าวใหญใ่ นสมัยนนั้ และกลายเป็นเรื่องราวมหศั จรรย์
ทีห่ ลวงปฝู่ ั้นทา่ นแสดงใหเ้ หน็ วา่ ทา่ นรเู้ หตุการณ์ลว่ งหน้า เปน็ ที่วิพากษว์ ิจารณก์ นั ของประชาชน
และในหม่ขู ้าราชการแพร่หลายออกไปอยา่ งรวดเรว็ วา่ หลวงป่ฝู ้ันทา่ นมอี นาคตังสญาณ สามารถ
หยัง่ รเู้ หตุการณ์ล่วงหนา้ ได้ราวกบั ตาเหน็ เมอ่ื ขา่ วแพร่สะพัดออกไป ชื่อเสียง กติ ติศพั ทข์ องท่าน
กย็ ิง่ เลอื่ งลอื กระฉ่อนโดง่ ดงั
เหตกุ ารณ์ส�ำคัญทางประวัตศิ าสตร์ของชนชาตไิ ทยและชนชาตลิ าว คือ องคพ์ ระธาตพุ นม
ไดล้ ้มทลายลงมาทัง้ องค์ เมอื่ วนั ท่ี ๑๑ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น. สาเหตุมาจาก
แผ่นดนิ ไหวในเดือนมนี าคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ทำ� ให้องค์พระธาตุพนมเกิดรอยร้าว และกอ่ นล้มได้เกิด
ฝนตกหนกั เกิดพายุพดั แรงติดต่อกนั หลายวนั รวมถงึ ความเกา่ แก่ขององค์พระธาตุพนม ซึง่ มีอายุ
๒,๕๐๐ กว่าปี แต่ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัว รัชกาลท่ี ๙ และด้วยพลงั แรง

343

ศรัทธาที่มตี อ่ องคพ์ ระธาตพุ นม ประชาชนไดร้ ว่ มกนั บรจิ าคทนุ ทรพั ย์ เพ่อื เปน็ ทุนในการก่อสร้าง
องค์พระธาตุข้นึ ใหม่ตามแบบเดมิ โดยมีรฐั บาลไทยเปน็ ผดู้ �ำเนินการกอ่ สรา้ ง จนแลว้ เสรจ็ ในปี
พ.ศ. ๒๕๒๒ องค์พระธาตุพนมท่พี งั ทลายลงตามกาลเวลา กก็ ลบั มาตั้งตระหงา่ นสงู เสียดฟ้า ณ
รมิ ฝั่งโขง ให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการบชู าอีกครงั้ และยงั เป็นศนู ย์รวมจติ ใจยดึ มั่นศรัทธาใน
พระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนสองฝง่ั โขงอยา่ งไม่เส่ือมคลาย

นอกจากหลวงป่ฝู น้ั ทา่ นรู้ล่วงหน้าว่าพระธาตุพนมจะล้มแล้ว ก็มอี ีกเรื่อง เนอื่ งจากสิง่ ท่เี กดิ
ขน้ึ อยเู่ หนอื ความคาดหมายจริงๆ ปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ขณะท่ที างวัดปา่ อดุ มสมพร ไดจ้ ัดให้มีงาน
ประจ�ำปี ซ่ึงเป็นประเพณสี ืบสานกันมานานแลว้ วันนัน้ หลวงปฝู่ ้ันทา่ นไดส้ งั่ พระภกิ ษุ สามเณร
และชาวบา้ นทมี่ าช่วยงาน ให้ชว่ ยกนั ท�ำความสะอาดวัดใหเ้ รยี บร้อย พรอ้ มกับสง่ั ใหช้ ่วยกนั สรา้ ง
ปะร�ำพิธีไวเ้ พ่อื เตรียมการรบั เสดจ็ ฯ เน่ืองจากท่านรเู้ หตุการณ์ล่วงหน้าว่าในหลวงจะเสด็จ

การท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปท่ีไหน ส่วนใหญ่จะต้องมีหมายก�ำหนดการ
ลว่ งหนา้ แมจ้ ะไม่มหี มายก�ำหนดการ หรอื ไม่มีการสง่ ข่าวแจง้ มาทางวดั ล่วงหนา้ กต็ าม แต่บรรดา
พระภิกษุ สามเณร รวมท้ังชาวบ้านกช็ ่วยกันสรา้ งปะร�ำพิธีจนแลว้ เสรจ็ เพราะความเคารพเชือ่ ฟัง
ในครบู าอาจารย์ และในอีก ๒ วันถดั มา กเ็ กิดเหตุการณ์ดังกลา่ วขน้ึ มาจรงิ ๆ ตามท่ีหลวงปฝู่ ้นั ท่าน
ได้พูดไวล้ ว่ งหนา้ คอื ในหลวงเสดจ็ เปน็ การสว่ นพระองคผ์ ่านและแวะมากราบนมัสการ ฟงั ธรรม
สนทนาธรรมกบั หลวงปฝู่ ้ันท่ีวดั ป่าอดุ มสมพรจรงิ ๆ ดังนี้

เมอื่ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ ิกติ ์ิ
พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนนิ ณ วัดปา่ อุดมสมพร เป็นการส่วนพระองค์ เสด็จกราบ
นมสั การเย่ียม พรอ้ มถวายจตุปัจจยั แด่ หลวงปู่ฝัน้ อาจาโร

พ.ศ. ๒๕๑๘ สรา้ งตึกสงฆ์อาพาธให้โรงพยาบาลสกลนคร

ในสมัยกอ่ น การสาธารณสุขก็ยังไม่เจริญ โรงพยาบาล ตึกสงฆ์อาพาธ ซง่ึ รองรับผปู้ ว่ ยยงั
ขาดแคลนและจำ� เป็นอยู่มาก ท้งั การคมนาคมก็ยังไมส่ ะดวกสบายเหมอื นปจั จุบนั น้ี โดยเฉพาะทาง
ภาคอีสาน ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน ยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องเดินทางไกลไปโรงพยาบาล
รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์อาพาธ ครูบาอาจารย์สายท่านพระอาจารย์ม่ัน ท่านจึงเมตตาสงเคราะห์
ในบั้นปลายชีวติ ของ หลวงปฝู่ นั้ อาจาโร ท่านได้เมตตาสงเคราะหโ์ ลกโดยการสรา้ งตึกสงฆอ์ าพาธ
และโรงพยาบาล

จากการท่ศี รัทธาญาตโิ ยมจากทกุ สารทศิ ได้มากราบนมัสการหลวงปูฝ่ ้ัน และไดถ้ วายปัจจยั
ในโอกาสต่างๆ ร่วมก่อสร้างถาวรวตั ถุและสิ่งท่ีเป็นประโยชนต์ ่อสาธารณะ แล้วกม็ เี งินสว่ นหนึง่ ท่ี
เป็นส่วนเกินไดส้ ะสมมากขนึ้ เรื่อยๆ จนเปน็ ก้อนใหญ่พอท่ีจะท�ำประโยชน์ให้แกส่ าธารณะไดม้ ากข้ึน

344

เมอื่ หลวงปฝู่ ้นั ได้ทราบวา่ ตึกสงฆ์ของโรงพยาบาลจังหวัดสกลนครช�ำรดุ ทรุดโทรมมากแลว้
และทางโรงพยาบาลใครจ่ ะได้ตกึ หลงั ใหม่ หลวงปู่จึงรบั ท่จี ะสรา้ งให้ พอขา่ วแพร่ออกไปว่า หลวงปู่
จะสร้างตกึ สงฆอ์ าพาธให้แกโ่ รงพยาบาลจังหวัดสกลนครเท่านั้น กม็ คี นน�ำปัจจยั ไปถวายเพอื่ สมทบ
ทุนกันเรื่อยๆ ในวันท่ีก�ำหนดทำ� พธิ วี างรากฐานตกึ คือ วันท่ี ๒๐ สงิ หาคม ๒๕๑๘ มคี นไปรว่ มพธิ ี
อย่างแน่นขนัด นอกจากคนตั้งใจไปรับเหรียญท่ีระลึกของหลวงปู่แล้ว ยังมีพ่อค้า คหบดี และ
ขา้ ราชการท้ังในจังหวัดและนอกจงั หวดั ไดเ้ ตรียมเงินไปถวายเพ่อื ร่วมการก่อสร้างอกี จ�ำนวนมาก

ช่วงเช้าวนั น้ันเอง ไดร้ ับเงนิ สมทบทนุ มากกว่าสามแสนบาท และหลวงป่กู ไ็ ด้ใหส้ ่งเข้าบัญชี
เฉพาะส�ำหรับเร่ืองตึกสงฆ์ ดังน้ัน ท้ังการก่อสร้างและจัดหาอุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องใช้ในตึก
จงึ ดำ� เนินไปโดยราบรื่นและรวดเรว็ ทางการสามารถเปดิ ตกึ ไดภ้ ายในกำ� หนด ๑๒ เดอื น การ
กอ่ สรา้ งเสรจ็ สน้ิ ลงด้วยเงินจำ� นวน ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท ซ่งึ ไดม้ าจากหลวงปูแ่ ละผรู้ ่วมทำ� บุญกบั
ทา่ นทง้ั สิน้ ตึกน้ีได้เปิดใช้งานเม่อื วนั ที่ ๒๐ สงิ หาคม ๒๕๑๙ ตรงกับวันเกิดปีท่ี ๗๗ ของท่าน
ตอ่ จากนน้ั มาอีก ๒๕ วัน ทา่ นกไ็ ดเ้ ขา้ พำ� นักรักษาตวั ในฐานะคนไขใ้ นตกึ หลงั นนั้ ในการอาพาธ
ครงั้ สุดทา้ ยของทา่ น ในฐานะคนไขร้ ายแรกของหอ้ งพเิ ศษชัน้ บน

“ตกึ พิเศษสงฆ”์ นเี้ ปน็ การบริจาคช้ินใหญ่ชิน้ หนึ่งของหลวงปู่ทใ่ี หแ้ ก่ชาวสกลนคร หลังจาก
ทโ่ี ปรดชาวเมอื งนดี้ ว้ ยการอบรมธรรมะมานับสามสบิ กวา่ ปี รสู้ กึ ว่าทา่ นมีความพอใจมาก คงเปน็
เพราะทา่ นเองก็มีความสนใจการบำ� บดั โรคภัยไข้เจ็บใหแ้ ก่ประชาชนเป็นพื้นอย่แู ลว้

อน่ึง ในระหวา่ งก่อสรา้ งตกึ สงฆ์ โรงพยาบาลสกลนคร เมือ่ วนั ท่ี ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙
ท่านพระอาจารย์กวา่ สุมโน ซ่ึงเป็นญาตใิ กลช้ ดิ และสนิทสนมกับหลวงปู่ฝั้น ไดถ้ ึงแก่มรณภาพ
ดว้ ยโรคหัวใจวาย ท่วี ัดป่ากลางโนนภู่ อ�ำเภอพรรณานิคม ซงึ่ วัดนต้ี ้งั อยู่ไม่ไกลจากวัดป่าอุดมสมพร
มากนัก หลวงปฝู่ ัน้ ท่านกเ็ ดนิ ทางไปร่วมงานศพ ภายหลังจากงานฌาปนกจิ ศพท่านแลว้ ก็ได้มีการ
สรา้ งเจดยี ์บรรจอุ ัฐิธาตุของท่านไว้เคยี งคูก่ ับเจดีย์บรรจุอฐั ิธาตุของทา่ นพระอาจารย์กู่ ธมมฺ ทนิ โฺ น
ผูเ้ ป็นพระพี่ชาย ไวท้ ี่วัดปา่ กลางโนนภู่

และในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จพระราช–
ด�ำเนินไปกราบนมสั การหลวงปฝู่ น้ั ที่วัดปา่ อดุ มสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร แมช่ ที ่ีวัดไดเ้ ลา่
ย้อนอดีตบทสนทนาธรรมระหว่างหลวงป่ฝู ัน้ กบั ในหลวง ในครัง้ นั้นวา่

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์รับสั่งว่า “อยากไปวัดอยู่
แตบ่ างครัง้ กไ็ มม่ เี วลา เพราะมภี ารกจิ เยอะ” หลวงปู่ฝัน้ จึงพูดต่อวา่ “วดั นี้ไม่ใช่วดั อุดมสมพร
วัดบวรฯ หรือวดั อื่นๆ แตค่ อื วดั ใจตวั เอง ไม่ใชว่ ดั ตามสถานทตี่ ่างๆ ใหว้ ัดจิตวัดใจ ถา้ ใจดกี ็
ดีหมด” ซ่งึ หลวงปู่ฝน้ั กพ็ ดู ถึงเร่ืองน้ีบ่อยครัง้ ในการสอนคน”

345

พ.ศ. ๒๕๑๙ สรา้ งโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝ้นั อาจาโร

ในสมัยนัน้ อ�ำเภอพรรณานิคมไมม่ ีโรงพยาบาลมากอ่ นเลย มเี พียงแต่สถานีอนามยั ซงึ่ ไมม่ ี
แพทย์ประจ�ำ ท�ำหนา้ ท่รี กั ษาพยาบาลเบือ้ งตน้ เทา่ น้นั จนกระทั่งป ี พ.ศ. ๒๕๑๙ ระหวา่ งน้นั การ
ก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธยังไม่แล้วเสร็จ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเห็นความล�ำบากของประชาชน
ทตี่ อ้ งเดินทางไกลไปรักษาโรค จงึ ดำ� ริท่จี ะสรา้ งโรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตยี งขึน้ เมอื่ ทางราชการ
แจ้งว่าตามแผนก่อสร้างโรงพยาบาลที่อ�ำเภอพรรณานิคม จะมีขนาด ๑๐ เตียง ท่านก็ไม่ยอม
เปล่ยี น ยนื ยันทีจ่ ะให้ขนาด ๓๐ เตียง จนทางราชการต้องยอมผ่อนตาม

ท่านไดเ้ ป็นธุระเตม็ ที่ในการเลือกต�ำแหนง่ ทีต่ ัง้ โดยท่านจดั หาทด่ี นิ ผืนใหญ่ให้และรบั ภาระ
สว่ นใหญใ่ นการจัดสรา้ งอาคาร ทง้ั นอี้ าศัยปัจจยั ท่มี ีผบู้ รจิ าคถวายท่านไว้เปน็ ส่วนตัว และหาชา่ ง
ผู้รับเหมาในราคาต่�ำเป็นพิเศษ เมื่อทางราชการตกลงอนุมัติ พร้อมท้ังจะให้งบประมาณส�ำหรับ
อาคารบริวารอน่ื ๆ แล้ว ท่านกไ็ ดส้ ่งั ให้ลงมืออย่างเร่งรบี งานเบอื้ งต้น คือ การถากถางและปรับ
พน้ื ท่ี มีชาวบา้ นจากตำ� บลพรรณา จากอำ� เภอพรรณานคิ ม และจากอำ� เภออนื่ ๆ ตลอดจนจงั หวดั
อืน่ ๆ อาสาสมัครมาท�ำงานกันอย่างแนน่ ขนดั ในแตล่ ะวันมีคนมาช่วยท�ำงานนบั รอ้ ยคน ซ่ึงตา่ งก็
มิไดก้ งั วลถึงแดดหรอื ฝน โดยหลวงปฝู่ น้ั เป็นองคป์ ระธานงานพิธีวางศลิ าฤกษ์ก่อสรา้ งโรงพยาบาล
เม่ือวนั ท่ี ๒๐ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ อันเป็นวันครบรอบวันเกิด ๗๗ ปีของท่าน

นอกจากได้แรงงานอาสาสมัคร ทำ� ใหป้ ระหยดั ค่าใชจ้ ่ายไปสว่ นหนงึ่ แลว้ ทา่ นยังวางแผน
ดำ� เนินงานและแบง่ งานตามแบบและวธิ กี ารของทา่ น ซึง่ ย่ิงท�ำใหป้ ระหยดั คา่ ใช้จ่ายลงเป็นอนั มาก
โรงพยาบาลอ�ำเภอพรรณานิคม จึงสร้างได้ด้วยจ�ำนวนเงินน้อยกว่าที่ทางราชการค�ำนวณไว้หลาย
แสนบาท ในระหวา่ งกอ่ สรา้ งท่านให้ความสนใจไต่ถามและปรึกษาหารือกบั นายชา่ งและข้าราชการ
ทเ่ี กีย่ วขอ้ งอยูต่ ลอดเวลา ท่านเร่งเรา้ จะให้การสรา้ งส�ำเรจ็ ลงในวนั ครบรอบวันเกิด ๗๘ ปีของทา่ น
ประหนึ่งว่า ท่านไม่แน่ใจว่าจะได้อยู่เห็นโรงพยาบาลนั้นหรือไม่ และก่อนท่านจะมรณภาพไม่ถึง
๓ วัน แม้ขณะที่ท่านอาพาธหนัก ยังเรียกไวยาวัจกรผู้ท่ีได้รับมอบหมายงานเรื่องโรงพยาบาล
ไปหารือและได้กำ� ชบั ว่า ใหใ้ ช้ปจั จัยในบญั ชที ่ีเป็นชื่อของท่านก่อน หมดแลว้ จงึ ใชเ้ งนิ จากส่วนอ่นื ๆ

การก่อสร้างโรงพยาบาล ช่างผู้รับเหมาได้เร่งงานตามความประสงค์ของท่านจนแล้วเสร็จ
เม่ือวนั ที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ หลังจากท่านถึงแก่มรณภาพแลว้ เจ็ดเดอื นเศษ และถือเปน็
วนั ครบรอบวนั เกิด ๗๘ ปขี องท่าน โดยสามารถเปิดเปน็ โรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตยี ง ซงึ่ ถือว่าเปดิ
ไดร้ าวปาฏหิ าริย์ เพราะไม่ต้องผา่ นการเปน็ โรงพยาบาลขนาด ๑๐ เตียง และไม่ตอ้ งพง่ึ งบประมาณ
จากทางราชการแต่อย่างใด

346

ในวันที่ ๒๐ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ จงึ ถอื เปน็ วันกอ่ ต้งั โรงพยาบาล และเพ่อื นอ้ มร�ำลกึ ถงึ
พระคุณอันไม่มีประมาณของหลวงปู่ฝั้นที่มีต่อชาวอ�ำเภอพรรณานิคม ตลอดชาวจังหวัดสกลนคร
และเพ่ือจารึกไว้เป็นคติธรรม เป็นเกียรติประวัติอันงดงามของท่าน ต่อมาจึงได้มีการต้ังช่ืออย่าง
เปน็ ทางการว่า “โรงพยาบาลพระอาจารยฝ์ น้ั อาจาโร” และมีการสรา้ งรปู หลอ่ เหมือนหลวงปู่ฝ้ัน
ในอิรยิ าบถยืนถอื ไมเ้ ท้า ประดษิ ฐานอยู่ดา้ นหนา้ อาคาร ใหผ้ ูม้ าโรงพยาบาลไดก้ ราบสักการะขอพร
โรงพยาบาลแหง่ นน้ี บั เป็นงานกอ่ สรา้ งสำ� คญั ช้ินสดุ ท้ายทีท่ ่านได้ให้แก่ประชาชนของทา่ น ซ่งึ ยังคง
เปน็ อนุสรณ์มาจนทุกวันนี้ เป็นการแสดงใหเ้ หน็ ถงึ น้�ำใจอันบรสิ ุทธิ์เตม็ เปี่ยมจากความเมตตาธรรม
ของท่าน ที่ไดท้ ุ่มเทเสยี สละอุทศิ ชีวติ ใหก้ ับการพัฒนาทัง้ ในด้านจติ ใจและดา้ นวตั ถุ ตราบจนวาระ
สุดทา้ ยแหง่ ชีวติ ของทา่ น

โรงพยาบาลพระอาจารยฝ์ ั้น อาจาโร เปิดอย่างเปน็ ทางการ เมอื่ วนั ท่ี ๒๑ พฤศจกิ ายน
พ.ศ. ๒๕๒๑ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั สมเดจ็ พระบรมราชนิ ีนาถ และพระบรมวงศานวุ งศ์
ไดเ้ สด็จมาทรงเปิด นับเปน็ เกยี รตอิ ันสงู สุด เปน็ การแสดงออกถงึ ความรัก ความเคารพเทิดทูนบูชา
ของล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ท่ีทรงมีต่อพระอาจารย์ฝั้น ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นสิริมงคล เป็น
มิง่ ขวัญแก่โรงพยาบาล ตลอดบรรดาพสกนิกรชาวอ�ำเภอพรรณานิคมและชาวจังหวัดสกลนครเป็น
อยา่ งยงิ่ โรงพยาบาลไดเ้ จรญิ กา้ วหนา้ ทนั สมยั ตามลำ� ดบั ปจั จบุ นั มขี นาด ๙๐ เตยี ง มเี นอ้ื ที่ ๓๓ ไร่
สงั กัดสำ� นกั งานปลัดกระทรวงสาธารณสขุ

ทา่ นเป็นพระยอดนกั พฒั นา

คุณหมออวย เกตุสิงห์ บนั ทึกไวด้ ังน้ี
“ทา่ นพระอาจารย์ฝ้นั อาจาโร กล่าวตามภาษาทแี่ พรห่ ลายในปัจจบุ นั น้เี ป็นนักพัฒนาท่ี
ยอดเยย่ี มทา่ นหนึง่ จะกลา่ วว่าท่านเป็นนักพฒั นาอยา่ งทีไ่ ม่มใี ครเหมือนก็คงจะไม่ผิด เพราะทา่ น
พัฒนาท้งั ทางโลกและทางธรรม หรอื จะกล่าวว่าท้งั ทางวัตถแุ ละทางจติ ใจก็ได้ งานพัฒนาสว่ นใหญ่
ของท่านเป็นงานด้านจิตใจ คือ การอบรมสง่ั สอนธรรมะเช่นเดียวกบั พระภกิ ษุทง้ั หลาย นอกจากนนั้
ท่านยังได้กระท�ำการท่พี ระอาจารย์องค์อ่ืนๆ ไม่ค่อยจะไดก้ ระท�ำ คอื การพฒั นาทางดา้ นสังคม
ท่านได้เป็นผู้น�ำทายกทายิกาท�ำการก่อสร้างถาวรวัตถุที่เป็นประโยชน์สาธารณะไว้มากมาย
ทง้ั ภายในวดั และภายนอกวดั บางครัง้ งานก่อสรา้ งน้นั ๆ ไดส้ �ำเรจ็ ลุล่วงไปอย่างไมน่ า่ จะเปน็ ไปได้
ซ่งึ ผรู้ ่วมงานหรือผ้ไู ดเ้ หน็ ในภายหลังปลงใจเชื่อวา่ งานน้นั ๆ เสรจ็ ไปกด็ ้วยบารมีพเิ ศษของท่านพระ–
อาจารย์ เม่อื มีผกู้ ล่าวเรอ่ื งนีก้ บั ท่าน ทา่ นก็มกั จะบอกแต่เพยี งวา่ “เวลาอาตมาไปอยดู่ ้วย เขาก็
มากันมาก และท�ำงานกันอย่างไม่รู้เหนื่อย งานก็เสร็จเร็ว ถ้าอาตมาไม่ไปก็ไม่ค่อยมีคนมา
แลว้ งานก็เสร็จชา้ ”

347

ท่านเคยเล่าถึง การสร้างเข่ือนก้ันน้�ำแห่งหน่ึง ซ่ึงเดิมทางการได้เป็นฝ่ายจัดท�ำ แต่ท�ำ
เทา่ ไรๆ เข่ือนน้ันก็พังเร่ือย จนต้องบอกยกเลิก ว่าท�ำไม่ได้ ท่านพระอาจารย์ได้ไปดูที่งาน แล้วก็
เรียกประชาชนมาชว่ ยกนั ทา่ นว่า ทา่ นก็ไม่มีเคร่ืองไมเ้ ครื่องมืออะไร เพียงแตเ่ อาเสาปกั ๆ ลงไป
เอาไม้ขดั แลว้ ก็ใสด่ นิ “มนั ก็อยู่ แล้วก็ไมเ่ ห็นพงั ”

งานท่ีนา่ พิศวงอยา่ งยง่ิ ในแง่ของการช่าง คอื การสรา้ งศาลาใหญ่ท่ีสำ� นักสงฆถ์ ้�ำขาม ซงึ่ เปน็
การสรา้ งศาลากวา้ งประมาณสิบเมตรยาวประมาณยส่ี บิ เมตรเกาะตดิ กับผาลาดทคี่ อ่ นขา้ งชนั พ้ืนท่ี
เปน็ หนิ แข็งและมีกอ้ นหินใหญๆ่ ต้ังอยรู่ ะเกะระกะ ทา่ นพระอาจารยบ์ งการเตรยี มและปรงุ ตวั ไม้
ตา่ งๆ ดว้ ยตนเอง ตัง้ แต่เสา คาน ตง ตลอดจนเครอื่ งหลังคา พอพร้อมแล้วกใ็ ห้ชาวบ้านชว่ ยกนั ยก
เสาต้งั ขึน้ บนก้อนหินแล้วเอาตวั ไม้ที่เตรยี มไว้ประกอบเข้าไป กต็ ัง้ โครงศาลาขนึ้ ไดโ้ ดยไม่มีอปุ สรรค
ใดๆ ตัวไม้ท้ังหลายทีเ่ ตรียมไว้นั้นเข้ากนั ได้โดยเรยี บรอ้ ยม่ันคงและไมต่ อ้ งมีการแกไ้ ข ท้งั ๆ ท่ีพ้นื ที่
ไม่สม่�ำเสมอกันเลย ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างก็พากันพิศวงในความสามารถพิเศษของท่านอาจารย์
เป็นอย่างยิ่งและปลงใจเชื่อว่า ท่านต้องมีอิทธิฤทธ์ิอะไรเหนือกว่าคนธรรมดา จากการส�ำรวจ
ผลงานของท่านในด้านก่อสร้างเห็นได้ว่า ท่านพระอาจารย์มีความรู้และความเข้าใจในด้าน
การกอ่ สร้างตา่ งๆ เปน็ อย่างดี ผดิ จากคนท่วั ๆ ไป

ขอ้ ทน่ี า่ สงั เกตประการหน่งึ คอื แม้ในขณะทท่ี ่านพระอาจารย์ฝน้ั ทา่ นบงการงานด้านวัตถุ
ตา่ งๆ อย่นู น้ั ท่านก็ไมไ่ ดท้ อดทิ้งงานดา้ นศาสนา ท่านต้องเตอื นใหพ้ วกท�ำงานนกึ ถึงคณุ พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ อยู่เสมอ และเมื่อถึงเวลาพักผ่อนตอนกลางคืนก็พร่�ำสอนให้พากันท�ำการ
ภาวนาเป็นประจ�ำ ท่านบอกว่า ถา้ ทกุ คนท�ำจิตใจใหอ้ ย่ใู นศีลในธรรมแล้ว การงานท่ที �ำน้ันยอ่ มได้
ผลดแี ละส�ำเรจ็ โดยรวดเร็ว

ในส่วนงานดา้ นพัฒนาจิตใจ คอื การเทศนาและอบรมภาวนานัน้ ท่านพระอาจารยฝ์ น้ั
กเ็ ป็นผ้ทู ไี่ ดร้ ับการยกยอ่ งจากทายกทายกิ าวา่ มคี วามสามารถเปน็ เลศิ ไมว่ ่าทา่ นจะไปเทศน์ที่ไหน
ในงานใดกต็ าม ประชาชนจะต้องพรอ้ มเพรียงกันไปฟงั ทา่ นเปน็ จำ� นวนมากมายทกุ ครั้ง และพอ
เทศนจ์ บแลว้ กจ็ ะต้องพบวา่ กณั ฑเ์ ทศนข์ องทา่ นมจี ำ� นวนมากกวา่ ของพระอาจารยอ์ งค์อ่ืนๆ เสมอ
ทเี่ ป็นเช่นน้ี กเ็ พราะลกั ษณะพเิ ศษหลายประการของทา่ นในการเทศน์ เช่น น�้ำเสียงนุ่มนวลแต่
แจ่มใสชดั เจน ถอ้ ยคำ� ไพเราะและคล้องจองฟงั คลอ่ งหู อรรถาธิบายมีการเปรยี บเทียบที่แยบคาย
ท�ำให้เขา้ ใจงา่ ยและกระจ่างแจง้ ดังน้ีเป็นต้น บางครง้ั กม็ ีสลบั ด้วยเร่อื งชวนขัน ทำ� ให้เกดิ ความ
สนกุ สนานและไมเ่ บือ่ หนา่ ย การแสดงธรรมของพระอาจารย์ส่วนมากเปน็ แบบอาศัยปฏิภาณและ
ไมไ่ ด้ตระเตรียมมากอ่ น

348

เมื่อมที ายกทายิกามาพร้อมเพรียงกนั แล้วท่านกเ็ รม่ิ ต้นทักทายคนโนน้ คนนี้ ถามถึงสารทุกข์
สุขดิบต่างๆ อย่างคนคุยกัน พอมีใครคนหนงึ่ กราบเรยี นหรอื ถามเร่อื งที่ทา่ นเห็นเหมาะ ทา่ นกจ็ ับ
จุดนน้ั เปน็ หัวขอ้ แสดงธรรมต่อไป เชน่ ถ้ามใี ครกราบเรยี นวา่ เจบ็ ไขไ้ ดป้ ่วย ท่านกจ็ ะจบั เรื่องพยาธิ
ภัยหรือทุกข์เป็นหัวข้อส�ำหรับการสอน ผู้ที่ได้ฟังท่านบ่อยๆ ย่อมเกิดความรู้ว่าท่านพระอาจารย์
องค์นท้ี า่ นมีวธิ ีและแบบแผนในการสอนแตกตา่ งจากท่านอนื่ ๆ เปน็ อนั มาก บางคนฟังแล้วอาจจะ
บอกว่าท่านพูดซำ�้ ๆ อย่เู รื่อย แตเ่ มือ่ ไดพ้ จิ ารณาละเอียดลงไปแล้วก็จะได้ความรวู้ ่าส่วนทีไ่ ดย้ ินซ้�ำๆ
เสมอ (เช่น ให้หลบั ตางับปาก ลนิ้ ไมก่ ระดกุ กระดิก) นัน้ เป็นเสมอื นเครอ่ื งหมายประจ�ำตวั ของทา่ น
ทา่ นสอนที่ไหนก็ตอ้ งแสดงเครอื่ งหมายอนั นนั้ แท้จรงิ เนอื้ หามีแตกต่างกันออกไปเป็นเร่ืองๆ”

นอกจากนีบ้ างครัง้ ท่านกเ็ ทศนต์ ลก โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว เทศน์ไวด้ งั นี้
“อย่างทา่ นอาจารยฝ์ ้นั ทา่ นพูด เราเปน็ กรรมฐานตอ้ งสทู้ กุ ด้านซิ นกั มวยกต็ อ้ งฟาดทั้งศอก
ทงั้ เขา่ ท้งั หวั พอวา่ ท้ังหวั ทา่ นหัวลา้ นนะ โอะ๊ ! โดนเรา แนะ่ เวลาทา่ นจะตลก ทา่ นอาจารยฝ์ ั้น
ทางไหนเอาหมด ศอกก็เอา เขา่ ก็เอา เตะอะไรๆ เอาหมด พอมาถงึ หวั ก็เอาหัวชนเลย โอะ๊ !
หวั ล้าน ท่านเปน็ อย่างนั้นล่ะ”

งานพัฒนาทางวตั ถุ

วัด ตลอดระยะเวลารว่ ม ๖๐ ปีท่หี ลวงปฝู่ น้ั อาจาโร ทา่ นครองสมณเพศ ท่านไดก้ อ่ ตง้ั
และบรู ณะจนเปน็ วดั ทมี่ นั่ คงถาวรในพระพทุ ธศาสนา มีดว้ ยกนั ๕ วัด เรยี งลำ� ดบั ดงั นี้

วัดป่าศรัทธารวม ตำ� บลหวั ทะเล อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั นครราชสีมา
วัดป่าโยธาประสิทธ์ิ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสรุ ินทร์
วัดป่าภูธรพทิ ักษ์ บา้ นธาตุนาเวง ตำ� บลพงั ขว้าง อ�ำเภอเมือง จังหวดั สกลนคร
ส�ำนักสงฆ์ถ้�ำขาม บา้ นคำ� ข่า ตำ� บลไร่ อำ� เภอพรรณานคิ ม จังหวดั สกลนคร
วดั ปา่ อุดมสมพร บา้ นนาหวั ช้าง ต�ำบลพรรณา อ�ำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร
นอกจากน้ีมอี กี หลายวัดทพ่ี ระศิษย์ของทา่ นไดไ้ ปต้ังข้นึ โดยท่านให้การสนับสนุนทัง้ ทางตรง
และทางออ้ ม จนวัดเหล่านนั้ เจริญรุ่งเรืองเป็นจดุ เผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนาในทีน่ น้ั ๆ สืบไป
ถาวรวัตถุอื่นๆ ท่ีเป็นสาธารณประโยชน์ ท่านพระอาจารย์ฝั้น เป็นนักพัฒนาอย่าง
แท้จริง ท่านไปที่ไหน ก็จะชักชวนชาวบ้านให้พร้อมใจกันลงมือก่อสร้างสิ่งท่ีเป็นประโยชน์ต่างๆ
เอาไวม้ ากมาย ผลงานเฉพาะทสี่ �ำคัญๆ มดี ังนี้

349

ทางสายบ้านค�ำข่า – บ้านหนองไผ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้พา
ญาติโยมชาวบา้ นค�ำขา่ และบ้านหนองไผ่ พร้อมดว้ ยชาวบ้านใกลเ้ คียง ช่วยกันพฒั นาทางจากบ้าน
ค�ำข่าถึงบ้านหนองไผ่ (อ�ำเภอพรรณานิคม) คิดเป็นระยะทางประมาณ ๔ กม. เศษ พร้อมท้ัง
เสยี สละจตปุ จั จยั ส่วนตัวของทา่ น หาอาหารเล้ียงชาวบ้านท่ีมาช่วยท�ำงานและตง้ั องค์กฐนิ ไปทอดที่
วดั บา้ นหนองไผ่ดว้ ย จดุ ประสงค์ของท่านพระอาจารย์ทีต่ ง้ั กองกฐนิ ก็เพือ่ ช่วยรวบรวมก�ำลงั คนให้
มาชว่ ยพฒั นาทางสายน้ีจนส�ำเร็จและไดใ้ ชส้ ญั จรไปมาโดยสะดวกจนกระทัง่ ทุกวนั นี้

ทางสายบา้ นค�ำขา่ – บ้านไร่ ในปเี ดยี วกนั (พ.ศ. ๒๔๙๘) ท่านพระอาจารยฝ์ น้ั กพ็ า
ญาติโยมตัดทางจากหมู่บ้านค�ำขา่ ถงึ หมู่บ้านไร่ในเขตอำ� เภอพรรณานคิ ม จัดสรา้ งสะพานขา้ มห้วย
จ�ำนวนสสี่ ะพานดว้ ยกัน ตอ้ งใช้เงนิ ก่อสรา้ งเฉพาะสะพานในครง้ั นัน้ ประมาณ ๙,๐๐๐ บาท ถงึ
๑๐,๐๐๐ บาทเศษต่อหนึง่ สะพาน ก่อสร้างจนส�ำเร็จใชไ้ ด้สะดวก รวมระยะทาง ๖ กม. เศษ
รถยนต์อาศัยวิ่งไปมาได้จนถึงทุกวันน้ี ท้ังน้ีโดยใช้ทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธาและจตุปัจจัยส่วนตัว
ของท่านจา่ ยในการก่อสรา้ งและพัฒนาทางสายน้ที ้งั สาย

ทางสายหม่บู า้ นค�ำขา่ – เชงิ เขาถ�้ำขาม ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ทา่ นพระอาจารยฝ์ ั้นไดพ้ า
คณะศิษยแ์ ละญาติโยมตดั ทางจากหมู่บา้ นค�ำข่าไปท่ีเชงิ เขาถำ�้ ขามจนส�ำเรจ็ รวมระยะทาง ๗ กม.
เศษ ภายหลังตอ่ มาคณะศษิ ยท์ เ่ี ข่อื นน้�ำอูนไดไ้ ปชว่ ยเสริมขนึ้ อกี และทางส�ำนกั งานเรง่ รดั พฒั นา–
ชนบท (รพช.) ได้ช่วยซอื้ หนิ ลูกรังไปใส่ เพอ่ื ใหเ้ ป็นการถาวร ถา้ จะคิดเป็นราคาเงนิ การสรา้ งนี้ ก็ได้
ใชเ้ งนิ ไปหลายแสนบาท ถนนสายน้ียังใชไ้ ด้ดีจนกระทงั่ ทุกวันนี้

ทางสายบ้านม่วงไข่ – บา้ นหนองโดก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ทา่ นพระอาจารยฝ์ ั้นไดพ้ า
คณะญาติโยมพัฒนาทางจากโรงเรียนประชาบาลบ้านม่วงไข่ไปจนถึงบ้านหนองโดกเป็นผลส�ำเร็จ
เปน็ ระยะทางประมาณ ๖ กม.

ทางสายอ�ำเภอพรรณานคิ ม – วดั ป่าอุดมสมพร ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านพระอาจารย์ฝ้ัน
ได้พาคณะญาตโิ ยมช่วยกนั พฒั นาทางจากอ�ำเภอพรรณานคิ มไปถึงวดั ป่าอดุ มสมพรจนส�ำเร็จ รวม
ระยะทางยาว ๓ กม. เศษ

สะพานขา้ มห้วยทราย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ทา่ นพระอาจารยฝ์ ัน้ ไดพ้ าคณะศษิ ยท์ งั้ ต�ำรวจ
และชาวบ้านช่วยกันก่อสร้างสะพานข้ามล�ำห้วยทรายบนทางแยกธาตุนาเวง (จากถนนพหลโยธิน
สายอดุ รฯ – สกลนคร) เขา้ ไปหาวดั ปา่ ภูธรพทิ กั ษ์ สนิ้ เงนิ ในการก่อสร้าง ๔๐,๐๐๐ บาทเศษ เปดิ
สะพานให้ใชเ้ ป็นสาธารณประโยชน์ในปีน้นั ประชาชนได้ใช้สัญจรไปมาโดยสะดวกจนถงึ ปจั จบุ นั นี้

350

โบสถ์น้�ำและสระหนองแวง ใน พ.ศ. ๒๕๐๗ ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้น�ำศิษย์และผู้มี
ศรัทธาทั้งหลายช่วยกันขุดสระใหญ่ขึ้นที่หนองแวง ในบริเวณวัดป่าอุดมสมพร ให้มีน�้ำใช้ตลอดปี
แลว้ ชว่ ยกันสร้างโบสถน์ �้ำของวัดข้ึนเป็นอาคารคอนกรตี ทง้ั หลัง ดงั ทปี่ รากฏอยู่ในปจั จบุ ันน้ี

เขื่อนก้ันน�ำ้ อูนและสะพานบ้านบะทอง ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กบั พ.ศ. ๒๕๑๕
ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้พาคณะญาติโยมก่อสร้างเข่ือนกั้นน้�ำอูน และสร้างสะพานข้ามห้วยที่ข้าง
หมูบ่ ้านบะทอง เพื่อให้เป็นประโยชนแ์ กส่ าธารณชน และให้ชาวบ้านได้ใชน้ �้ำในการเพาะปลกู และ
เลย้ี งสัตว์ต่างๆ โดยไมต่ ้องอาศัยงบประมาณจากส่วนกลางแตอ่ ย่างใดเลย เปน็ แตท่ า่ นพระอาจารย์
ได้สละจตุปัจจัยส่วนตัวของท่านร่วมกับเงินท่ีมีผู้ศรัทธาสมทบทุนอีก เข่ือนและสะพานท่ีกล่าวน้ี
สำ� เรจ็ ลงด้วยสติปัญญาของท่านพระอาจารย์ ประกอบกับบารมีท่ีท่านสร้างไว้ในหม่ปู ระชาชน และ
ยงั เป็นสาธารณประโยชนอ์ ยู่จนทกุ วนั นี้

สำ� หรับ ตกึ พเิ ศษสงฆ์ทโ่ี รงพยาบาลสกลนคร และ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
เปน็ ผลงานถาวรวัตถุชน้ิ ส�ำคัญ ชิ้นสุดทา้ ยของทา่ น

351

ภาค ๒๐ อาพาธหนกั สูม่ รณภาพ

เขา้ พรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทา่ นจะเขา้ สมาบัติต่ออายุ

ครูบาอาจารย์ เทศน์ไว้ดังน้ี
“ทนี ก้ี ารต่ออายุ หลวงปฝู่ ัน้ ท่านไปตอ่ หลวงปขู่ าว ท่านคอยช่วย สมยั น้ันนะ สมัยน้ัน
มันแบบว่า หลวงปมู่ ั่นท่านเรม่ิ วางรากฐานของศาสนา แลว้ มันตอ้ งแกไ้ ข มันตอ้ งปรบั ปรงุ อะไร
อีกเยอะมาก แล้วถา้ ครบู าอาจารยเ์ ปน็ หลักเปน็ ชยั นะ ท่วี า่ หลวงปูฝ่ นั้ ท่านทำ� ได้ ทา่ นรู้ เวลา
หลวงปูฝ่ ้นั หลวงปู่อะไรท่ีไปหาหลวงปู่มน่ั ทา่ นจะบอกว่าใหช้ ว่ ยดๆู เวลาหลวงปู่ฝ้นั ทา่ นไปแกใ้ ห้
หลวงปู่ขาว แลว้ เวลาตัวทา่ น ท่านพดู เอง เพราะวา่ เราไปอยูท่ ่ีน่ันมา เราอยวู่ ดั อดุ มสมพรหลายปี
ท่านบอกหลวงปูส่ ุวจั นว์ า่ ให้ไปสร้างกุฏิไว้ทถ่ี ำ้� ศรีแกว้ แลว้ ท่านจะเขา้ สมาบัติ ถา้ ท่านเขา้ สมาบัติ
ทา่ นฟอกใจของทา่ น ท่านจะอย่ไู ดอ้ ีกนานเลย
ทีนไ้ี ปสรา้ งมนั เสรจ็ ไม่ทัน พอไปสร้างเสรจ็ ไมท่ นั ก็ยังจ�ำพรรษาอยู่ที่วดั อุดมสมพรนนั่ นะ่
พอจ�ำพรรษาอยู่ท่ีวดั อุดมสมพร คนโน้นกเ็ ขา้ คนน้กี ็เข้า ทา่ นบอก หมายถึงว่า ทา่ นขอ ทา่ นขอว่า
ในพรรษานี้ ใน ๓ เดือนนี้ ใหใ้ ครกนั ไม่ใหค้ นเขา้ ไปหาทา่ น ทา่ นจะฟอกของทา่ นเองไง อันน้ี
ไอ้คนคุ้นเคย ไอค้ นคุ้นเคย ไอค้ นทีไ่ ปประจำ� ไอค้ นกันเอง เคยเขา้ เคยออกหรือสนทิ มนั ไมย่ อม
มนั ผ่าเข้าไป พอผา่ เข้าไปป๊บั โอ้โฮ ! หลวงปสู่ วุ จั น์ท่านเป็นเลขา ท่านพยายามจะกันไว้ให้ ทนี ้ี
คนเข้าใจผิด เข้าใจหลวงปสู่ ุวัจนผ์ ดิ ว่าหลวงปูส่ วุ ัจน์ขีเ้ หนียว คอื วา่ กีดกัน แตเ่ วลาพออยา่ งนั้นปั๊บ
พอกลางพรรษา ทา่ นก็ปว่ ย กพ็ ระเพ่ือนไปถามท่านเอง เพราะพระเพ่ือนเป็นผู้อุปฏั ฐาก ไปถาม
หลวงปู่ “หลวงปู่ หลวงปู่ปว่ ยคราวนจ้ี ะหายบ่”
“โอ้ ! หลับตาลงเมอ่ื ใดมแี ต่ผูเ้ อาน้ำ� ตามาฝากว่ะ”
ตีความไม่ออกนะ เพราะท่านพูดออกไปปั๊บ พระมันจะเสียก�ำลังใจหมด ท่านรู้เลยว่า
ทา่ นตอ้ งเสยี หลับตาลงเมอื่ ไหร่ คือ ตายไง ตายลงเมื่อไหรน่ ะ มแี ตน่ ้�ำตาทว่ มวัด แต่ท่านไม่พูด
ตรงๆ ท่านบอกหลับตาลงเม่อื ใด ก็เห็นมีแต่คนเอาน้�ำตามาฝาก คอื ท่านไมไ่ ด้สะเทือนอะไรเลย แต่
ถา้ พูดถึงทา่ นขอ ท่านขอบอกวา่ อยา่ ให้เขา้ ไปหาท่านใน ๓ เดือนนะ ท่านยงั ไม่ตาย แลว้ ท่าน
แขง็ แรงมากนะ...
แตถ่ ้าพูดถึงจรงิ ๆ นะ เราจะพดู อย่างนี้ เราจะบอกวา่ พระอรหนั ตจ์ ะอยู่ตอ่ ไปกอ็ ยูไ่ ด้
มนั แก้ไขได้ มนั ท�ำได้ เพราะเร่ืองอยา่ งน้ีมันจิตออก จิตเราดู เราคมุ ไดห้ มด มนั จะไปไหน เรารหู้ มด
แล้วถ้ากูไม่ไป มันจะเกดิ อะไรวะ เพียงแตว่ ่าประสาเรานะ ถ้าเราปล่อยตามธรรมชาติ ไปไหนก็ไป
คือว่าไมย่ นิ ดียินร้าย มนั กไ็ ปตามธรรมชาตมิ ัน แตถ่ า้ เราตง้ั สติ กูไมไ่ ป มึงจะไปไหน แล้วกูไม่ตาย

352

มันจะตายได้อย่างไร เพียงแต่ว่า พอเราไม่ตาย มันไม่ไหวไง ร่างกายมันไม่ไหว ร่างกายมัน
เส่อื มสภาพ อยูแ่ ลว้ มนั โอดมนั โอย ทงิ้ เลย

แตไ่ อ้อยา่ งทวี่ า่ ทต่ี อ่ มนั ตอ่ แล้ว มันแข็งแรงหมดด้วยนะ หลวงปูข่ าว เขาไปแกะสลกั
หมออวย เกตุสงิ ห์ ท่ไี ปแกะสลกั ไว้ทีห่ นา้ ผา นั่นนะ่ ช่วยกัน แล้วหลวงปฝู่ ัน้ ดว้ ย เพราะเมอ่ื ก่อนนะ
พระรักกันมาก แล้วส่วนใหญ่แล้วเป็นธรรม พูดอะไรกันผิดถูก ทุกคนเป็นสุภาพบุรุษ ผิดต้อง
ยอมรับว่าผิด ถูกต้องยอมรบั ว่าถกู คุยอะไรกนั งา่ ยมากเลย”

หลวงปู่สุวจั น์ สุวโจ ทา่ นเล่าเหตุการณ์ตอนน้ีวา่
“ในระหว่างท่ีท่านพระอาจารย์ฝั้นป่วยอยู่น้ัน ท่านได้สั่งเราว่า “ท่านสุวัจน์ ท่านจะ
รบั รองได้ไหมวา่ ภายในสามเดอื นน้ี จะไม่ให้ใครมารบกวนผมได้” “ผมรบั รองครับทา่ นอาจารย์
ถ้าเป็นความต้องการของท่านอาจารย์ ผมก็ท�ำได้” เม่ือเรารับปากท่านพระอาจารย์ฝั้นแล้ว จึง
จัดการล้อมร้วั กุฏิทุกดา้ น ไมใ่ ห้ใครเข้าไปได้
อยู่ตอ่ มาวันหนงึ่ ท่านเจ้าคุณพิศาลศาสนกจิ หลานท่านพระอาจารย์ฝ้ัน อ้างว่าเปน็ หลาน
อยากเขา้ ไปกราบดว้ ยวธิ ีการตา่ งๆ เราจงึ ใจอ่อนให้เข้ากราบทา่ นพระอาจารยฝ์ ้นั เมอ่ื เจา้ คณุ ฯ กลบั
ทา่ นพระอาจารย์ฝัน้ จงึ เรยี กเราเข้าไปถามว่า “ไหนสุวจั น์ ! ไหนว่าไม่ให้ใครเลด็ ลอดเขา้ มาได”้
เรากจ็ นปัญญา ก็มแี ตน่ งิ่ เมอ่ื เรือ่ งนัน้ เกิดขนึ้ ข่าวแพรอ่ อกไป ชาวบ้านกดุ บากกด็ ่ากนั ใหญ่ ด่าเรา
ว่า อย่าใส่บาตรให้มนั กินพระองค์น้ี มนั ไมใ่ ช่พระ เรากไ็ ดแ้ ต่นงิ่ และอดทนตลอดมา”
สุดทา้ ยหลวงป่ฝู ัน้ ท่านตอ่ อายขุ องทา่ นไมส่ �ำเรจ็
โดยก่อนท่หี ลวงปฝู่ ั้นจะเข้าสมาบตั ใิ นช่วงเขา้ พรรษา วนั ที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
ซ่งึ ตรงกบั วันอาสาฬหบชู า ท่านเนน้ สอนพระ เณร ใหป้ ฏบิ ตั ฟิ ากตายอยา่ งครบู าอาจารย์ ดงั นี้
“การกระท�ำ การปฏบิ ัตมิ นั ไม่ใชอ่ ยูข่ องเก่า ต้องก้าวหนา้ มันจงึ ดี เดี๋ยวนีม้ นั ปฏิบตั ิถอยหลัง
พระเณรกค็ อื กนั (เหมือนกัน) ไผคือกัน (ใครๆ ก็เหมือนกนั ) แต่กอ่ นปฏิบัติ การกระทำ� การปฏิบตั ิ
กลางคืนอยา่ งนี้ นอนน้อย กลางวันคือกัน นอนเอาท้ิงไวห้ ลงั อย่าเอาไปไว้ข้างหนา้ การอยกู่ ารกิน
ขบฉันก็ทง้ิ ไวห้ ลัง ไมไ่ วข้ า้ งหน้า กินหรอื ไมไ่ ดก้ นิ เราไม่ไดค้ �ำนงึ เราเอาแต่การปฏบิ ัติเทา่ นนั้ นอน
หรอื ไม่นอน เราไม่เอา... เราเอาแตข่ ้อปฏบิ ตั เิ ท่านัน้

กลางคืน กลางวนั ตง้ั ใจศรัทธากระท�ำ เดนิ จงกรม นั่งสมาธิ ถา้ ฝนไมต่ กตรงนี้ ไม่ต้องขนึ้ กุฏิ
เม่ือทางจงกรมเรียบร้อยแล้ว ท�ำร้านเหมือนกับท�ำอาสน์น่ี นั่งอยู่นั่น เดินเหนื่อยแล้วก็มานั่ง
นง่ั เหนอ่ื ยแลว้ กเ็ ดิน หลับให้มันหลบั อยนู่ นั่ มนั ท�ำมาแตก่ อ่ น เอาอยา่ งนัน้ ฤดฝู นน้ี ฤดูแล้งคือกนั
ฤดแู ล้ง แล้วไปนอนตามโคนไม้ กางกลดอยู่ พอหมดฤดฝู นก็ลงอย่รู กุ ขมลู ร่มไม้เป็นวตั ร นี่ปฏิบัติ ...

353

เดย๋ี วนี้ละ่ จะเดนิ จงกรมก็ไมม่ ีทั้งคนื ท�ำความเพยี รก็ไมม่ ี กลวั แต่ทกุ ข์ กลัวแตเ่ หนอ่ื ย
กลวั แต่หวิ แล้วไมไ่ ด้เปน็ เราต้องปฏิบตั ใิ หฟ้ ากตาย

ทา่ นอาจารย์ (หลวงปมู่ น่ั ) แตก่ อ่ น ท่านสรา้ งกุฏิ ทา่ นร้ือ ถ้าเป็นกฏุ นิ ี่ เอาไอท้ างจงกรม
ทำ� ร้านใหข้ ้นึ ธรรมาสนน์ ี่ เส่อื หมอนเอาข้นึ ไปพ่นุ (นู่น) คา้ งคืนๆ เดินแล้วก็ เหนอ่ื ยเดินแล้วก็ยนื
เหน่ือยยนื แลว้ ก็นงั่ เหนื่อยนงั่ กเ็ ดิน ทำ� ความเพยี รขนาดนน้ั ท่านจงึ ได้เป็นครูเปน็ อาจารย์ คร้ันทำ�
มาได้ ๑๖ ปี เม่อื ท่านไดร้ แู้ ลว้ ถึงจะมาเทศนาสง่ั สอนแก่พวกเราทงั้ หลายก็คอื วันนี้ แตก่ อ่ นไมม่ ใี คร
มาชแ้ี จงแสดงให้ฟงั ”

อาพาธหนกั คร้ังสดุ ทา้ ย

หลวงปูส่ ุวจั น์ สวุ โจ บนั ทกึ ไวด้ งั นี้
“แม้ในระหวา่ งทอ่ี ยจู่ �ำพรรษาที่วัดถ�้ำศรีแกว้ เรากเ็ ดนิ ทางไปมาหาสกู่ ับทา่ นพระอาจารย์
ฝนั้ เสมอๆ มไิ ด้ขาด เพราะทา่ นเปน็ อาจารยผ์ ้ปู ระสิทธค์ิ วามรู้และการประพฤติทุกอยา่ ง พระคณุ
และความรักท่ีมีต่อท่านพระอาจารยฝ์ ัน้ จึงไม่มีลืมเลือน...
ความตรากตร�ำในการแผ่บารมีธรรมของทา่ นนี้เอง เปน็ มูลเหตสุ �ำคญั ให้ทา่ นเกิดอาพาธ
อยา่ งฉบั พลัน เมอ่ื วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ จงึ ได้เขา้ รบั การรกั ษาทีโ่ รงพยาบาลสกลนคร
แต่อาการของท่านไม่ดขี น้ึ จงึ ได้เข้ามารบั การรักษา ท่ีโรงพยาบาลจฬุ าลงกรณ์ ในกรงุ เทพฯ อกี
ระยะหนึ่ง โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะหข์ องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเดจ็ พระ–
นางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถ รกั ษาตวั อยู่ไดร้ ะยะหน่งึ ท่านพระอาจารย์ฝน้ั ก็ขอกลับวดั กลบั มา
คราวนี้ คณะศิษย์ไดร้ ว่ มกนั สรา้ งกุฏหิ ลังใหมใ่ หท้ า่ นพักอาศยั โดยยกพ้นื ขึ้นมาบนสระหนองแวง
ขา้ งโบสถน์ ำ้� และทำ� รวั้ ก้นั เพอื่ ไมใ่ หผ้ ้คู นเขา้ ไปรบกวนทา่ นดว้ ย แต่อาการของท่านกย็ ังไมด่ ีขน้ึ
มแี ต่ทรงกบั ทรุดอย่ตู ลอดเวลา”
เหตกุ ารณอ์ าพาธหนักครง้ั สดุ ท้าย จากบันทกึ คณุ หมออวย เกตสุ ิงห์ ดงั นี้
“ในวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๑๙ ท่านได้รับนิมนต์ไปในงานขึ้นบ้านใหม่ของศิษย์ผู้หนึ่ง
ท่านต้องขึ้นบันไดตึกสี่ช้ันเพ่ือพรมน�้ำมนต์ห้องต่างๆ เสร็จแล้วยังต้องปีนข้ึนไปเจิมรถยนต์สิบล้อ
อีกเจ็ดคัน พอกลบั ถึงวัดในตอนบา่ ย “ทา่ นก็นอนแผ”่ ตามคำ� ของพระเณรทรี่ บั ใช้ ทา่ นมอี าการ
เหน็ดเหน่ือยผิดธรรมดา และในคืนนั้นเองท่านก็เริ่มอาพาธหนักเกิดอาการเจ็บปวดบริเวณหัวใจ
อย่างรุนแรง แล้วก็อาพาธเร่ือยไปสามเดือนเศษ จนถึงแก่มรณภาพ ท่านต้องเข้ารักษาตัวใน
โรงพยาบาลสกลนคร ในวันต้นๆ แพทย์ห้ามเยี่ยมโดยเด็ดขาด เพราะท่านมีอาการทางหัวใจ
อยา่ งมาก นอกจากแพทย์ในโรงพยาบาลสกลนครแลว้ ยังมแี พทยท์ เี่ ปน็ ศิษยข์ องท่านมาช่วยจาก

354

กรุงเทพฯ อีกดว้ ย ดว้ ยความร่วมมือและความเอาใจใสข่ องแพทย์ อาการของพระอาจารย์ได้ดขี นึ้
โดยรวดเร็ว

ในเช้าวันท่ี ๘ ตุลาคม ๒๕๑๙ ท่านไดเ้ ลา่ ใหแ้ พทย์ผูร้ กั ษาฟังวา่ ตั้งแต่เร่มิ อาพาธมา ท่านได้
พิจารณาดูตัวเองทุกๆ คืน เห็นว่ามีจุดด�ำๆ อยู่ท่ีหัวใจมาต้ังแต่วันแรก แต่เม่ือเช้ามืดวันน้ัน
ท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าจุดด�ำนั้นหายไป แพทย์ได้จัดการท�ำการตรวจหัวใจด้วยการบันทึก
คล่ืนไฟฟา้ หัวใจ (อ.ี ซ.ี จ.ี ) และพบวา่ ลกั ษณะทแ่ี สดงความผดิ ปกตบิ างอยา่ งในหัวใจของท่านได้
หายไปจริง นับว่าสมรรถภาพทางจิตของท่านยังดีอยู่ แม้ในตอนนั้นท่านอาพาธหนัก ท่านอยู่ที่
โรงพยาบาลสกลนครตอ่ ไปอีก ๘ วัน อาการดีขนึ้ เรอื่ ยๆ

ในวนั ที่ ๑๗ ตลุ าคม ท่านก็กลับไปรักษาตวั ตอ่ ที่วดั พอวนั ท่ี ๒๕ เดือนเดียวกนั กต็ อ้ งกลบั
เขา้ โรงพยาบาลใหม่ เพราะอยทู่ ว่ี ดั ท่านฉันไมไ่ ด้ นอนกไ็ ม่หลับ ในที่สุดกเ็ ลยอาเจียนมาก จนสงสัย
กนั วา่ โรคหัวใจกำ� เรบิ อีก ต้องพาท่านกลับเข้าโรงพยาบาลอกี แลว้ กเ็ ลยตอ้ งเขา้ กรงุ เทพฯ

ท่จี รงิ ทา่ นอาจารยไ์ ม่คอ่ ยเต็มใจเข้ารักษาตัวท่ีกรงุ เทพฯ แม้จะมีผู้อ้าง “ค�ำส่ังจากเบอื้ งบน”
ท่านก็ยังลังเล หลังจากได้ปรึกษาท่านอาจารย์สุวัจน์ และผู้เขียนแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเข้า
กรงุ เทพฯ บางคนเชือ่ ว่า ท่านยอมเข้ากรุงกเ็ พ่อื เปดิ โอกาสให้ท่านผ้ยู ิง่ ใหญบ่ างทา่ น ได้ท�ำบุญกบั
ท่านเป็นครง้ั สุดทา้ ย เพราะท่านทราบลว่ งหน้าแล้ววา่ เขา้ กรงุ เทพฯ จะมีความยงุ่ ยากอะไรบา้ ง

วันท่ี ๒๗ ตลุ าคม ๒๕๑๙ ท่านเดนิ ทางไปกรงุ เทพฯ และเข้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เพอื่ ใหแ้ พทยท์ ำ� การตรวจเกยี่ วกบั ปอดและหวั ใจ ทราบวา่ ทา่ นบอกกบั ศษิ ยท์ ส่ี กลนครวา่ “จะเขา้
ไปให้แพทยท์ �ำการตรวจโดยละเอียดแลว้ กจ็ ะกลบั จะอยเู่ พียงสองสามวัน” แตก่ ารตรวจไดย้ ืดเย้อื
ไปเปน็ สามสปั ดาห์ พอมโี อกาสแรกท่านก็รีบขอเดินทางกลบั แม้จะมีผเู้ สนอให้ทา่ นไปพกั ฟ้ืนในท่ี
พิเศษแหง่ หน่ึง ท่านกไ็ มป่ รารถนา เพราะเป็นการไมค่ อ่ ยถูกตอ้ งนกั ในทางพระวนิ ัย ท่านอยู่ใน
โรงพยาบาลจนถงึ วันท่ี ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ จึงเดนิ ทางกลบั ไปรกั ษาตวั ตอ่ ท่วี ัดปา่ อดุ มสมพร
เมอ่ื ทา่ นกลับจากโรงพยาบาลจฬุ าลงกรณ์ ถงึ วัดป่าอดุ มสมพร ทา่ นไดส้ ง่ั ห้ามไมใ่ หใ้ ครๆ ไปรบกวน
ทา่ นที่กุฏิ”

ในระหว่างนีค้ ณะศิษยานุศิษย์ได้จดั ทำ� บุญสวดมนต์ถวาย เพ่ือเป็นการต่ออายใุ ห้ท่าน โดย
อาราธนานมิ นตค์ รูบาอาจารยม์ าสวด และไดน้ มิ นต์หลวงปูบ่ ญุ จันทร์ กมโล ไปร่วมในงานดว้ ย
หลวงปรู่ ับนมิ นตแ์ ละเดนิ ทางไปค้างทวี่ ดั ป่าอุดมสมพร เพ่อื สวดมนต์ถวายหลวงปฝู่ ัน้ ตอนเชา้ รับ
ฉันบณิ ฑบาตเสรจ็ แลว้ จงึ เดนิ ทางกลับวดั ป่าสนั ติกาวาส

355

หลวงปู่จะเข้าทีน่ ะ

คุณหมออมรา มลลิ า เลา่ ไว้ดังน้ี
“ชว่ งทท่ี า่ นอาจารยฝ์ ้ันเจ็บ ท่านอาจารยส์ ิงหท์ องกไ็ ป แลว้ ก็ สสจ. (ส�ำนกั งานสาธารณสขุ
จังหวดั ) ท่ีสกลนคร พอทา่ นหลวงป่ฝู ้ัน ท่านพิจารณาแลว้ แล้วทา่ นก็ขอลาจากโรงพยาบาลจุฬาฯ ที่
จะมาละขันธ์ท่วี ัด ทางกระทรวงก็ให้ สสจ. (สาธารณสุขจังหวดั ) คุณหมอนี่ไปดแู ล แล้ว สสจ. ก็
ไปหลวงปฝู่ ้นั มาหาท่านอาจารย์สิงหท์ อง
แลว้ ก็พอคณุ หมอมาวดั ปา่ แกว้ ชุมพล ก็เจอวา่ เราปฏิบัติอยู่ คณุ หมอกใ็ นฐานะรุ่นพี่ กจ็ ะเล่า
ถวายท่านอาจารยส์ งิ ห์ทอง แล้วก็เล่าใหเ้ ราฟังถึงว่า หลวงปฝู่ นั้ เป็นยังไง คอื คณุ หมอนีไ่ ม่ได้ปฏบิ ตั ิ
เลย ก็พวกหมอทัง้ หลายพอสี่โมงเสรจ็ กเ็ ฮฮา แล้วทีน้หี ลวงปู่ฝ้นั คงรู้ เพราะตอนหลงั คณุ หมอเปน็
มะเรง็ ท่ีตับ ก็จะบอกเขาตอนนั้นไขจ้ ะสูงมากเลย บางที ๔๒ (องศาเซลเซียส) มันจะชัก ให้ยา
ใหอ้ ะไรก็ไมล่ ด แลว้ ความดนั กส็ งู ดว้ ย หลวงปฝู่ น้ั กจ็ ะบอกคณุ หมอว่า “หลวงปู่จะเขา้ ท่ีนะ” เวลา
ทา่ นจะเป็นท�ำสมาธิ “หลวงปูจ่ ะเข้าทีน่ ะ” บางทีกบ็ อกชั่วโมงหนึง่ บางทกี ็ ๗ ช่ัวโมง มากทีส่ ดุ
๗ ช่ัวโมง ถ้าระหว่างทบ่ี อกเอาไว้ อาการเปน็ ยงั ไง ไม่ต้องยุง่ ไม่ต้องยุ่ง ปลอ่ ยเอาไว้ แตถ่ ้าเกินเวลา
ที่ท่านสั่งแล้วนะ คุณหมอจะท�ำอะไร ทำ� เต็มทเ่ี ลย
คุณหมอกส็ งั เกตวา่ เวลาที่หลวงป่ฝู นั้ บอกวา่ “หลวงปเู่ ขา้ ที่” คณุ หมอเขาแตะตวั ไอ้ไขท้ ี่
๔๒ (องศาเซลเซียส) มันจะเย็นเกือบเทา่ กบั อุณหภมู ิห้องเลย แต่พอครบช่ัวโมงปุบ๊ เหมอื นติดเครื่อง
มนั กจ็ ะคอ่ ยๆ ความดนั สงู ข้ึนมา หายใจหอบอะไรอย่างนี้ ทางเขาก็สงสยั เหมือนอย่างกับวา่ เวลาท่ี
ท่านเขา้ ที่ ท่านไม่หอบ ทา่ นไม่หายใจ เขาก็เลยไปกราบเรยี นวา่ ระหว่างท่หี ลวงปเู่ ขา้ ทน่ี ่ี ขอเขา
วดั ความดัน คอื เขาพันเครอื่ งวดั ความดันไว้ แลว้ เขาขอเอาหูฟังไปฟงั ได้ไหม ก็พบว่าท่านไมห่ ายใจ
ท่านไม่หายใจเลย เอาส�ำลีวางตรงจมูกก็ไมก่ ระดุกกระดกิ เลย
ซ่ึงตรงนี้ เวลาทีจ่ ิตรวม เราไมห่ ายใจทางปอด เราหายใจผ่านทางน้ี ซึ่งตอนนน้ั เรารแู้ ล้ว
เพราะวา่ ทา่ นอาจารย์สงิ หท์ องบอกว่า อยา่ ตกใจไปนะ แล้วมันทำ� เหมอื นนมิ ติ อยดู่ ๆี ลมมันออก
ทางหนงั ศรี ษะ ผมเรานเี่ หมือนใครเอาไดเออร์ไปเป่า มันฟืบขน้ึ มา แล้วมนั หุบลงมา ฟบื ข้นึ มา
มันออกตามตัว แล้วเสอ้ื แขนยาวเราน่ี มนั ก็จะเหมือนใครมาเป่า แขนเสอื้ กฟ็ ู แลว้ กย็ บุ ตรงนีเ้ รา
รแู้ ล้ว ทีนค้ี ณุ หมอกจ็ ะเลา่ ใหฟ้ งั ซง่ึ มนั ก็ต่นื เต้นใช่ไหม แล้วกว็ ัดความดนั ความดนั หลวงปซู่ ึ่งปกติสูง
พอเป็นตอนที่ทา่ นเขา้ ท่ี มันเหมอื นคนไข้ช็อก ตวั บนปกติเราจะ ๑๒๐/๘๐ ใช่ไหม ตัวบนของ
หลวงปู่ ๕๐ บางทไี มถ่ ึง ๕๐ แล้วกต็ วั ลา่ งวดั ไมไ่ ด้เลย มนั ก็จะราบไปจะหมดเลย เหมือนคนไข้ชอ็ ก
แล้วหัวใจเต้นก็เหมอื นอย่างกับทจ่ี ะตอ้ งเปลย่ี นไอเ้ พจเมกเกอร์ ตอื ตือตดึ๊ หยุดไปสัก ๒ นาที ต้ืบ
แล้วกอ็ ะไรอย่างน้ี เป็นเต้นระบำ� เลย

356

คลา้ ยวา่ ทา่ นเข้าฌานสมาบตั ิ แล้วก็คล้ายๆ มนั ทิง้ กาย มันกไ็ ด้พกั นี่คุณหมอก็จะเล่าให้
เราฟงั หมดเลย ซง่ึ มนั กด็ ีมากเลย เพราะวา่ เราเองปฏบิ ตั อิ ย่างไร มนั กไ็ ม่ไดอ้ ย่างน้ัน กถ็ งึ ไดบ้ อกวา่
หลวงปฝู่ นั้ ท่านเมตตาใหค้ ุณหมอไดเ้ หน็ อยา่ งน้ี พอตอนทีค่ ณุ หมอเปน็ มะเรง็ ก็ไดป้ ฏิบตั ิ ไดค้ ล้ายๆ
พักไปดว้ ย มนั ก็ไม่ทรุ นทุรายมาก จ�ำชื่อคุณหมอไมไ่ ด้ เปน็ สสจ. ตอนร่นุ นน้ั เปน็ นายแพทย์ใหญ”่

ช่วงส่หี ้าวันสดุ ท้ายกอ่ นมรณภาพ

คุณหมออวย เกตสุ งิ ห์ บนั ทึกไว้ดังนี้
“เมือ่ กลบั จากกรุงเทพฯ อาการสำ� คญั ของท่านมสี องอยา่ ง คอื อาเจียน และ เบ่ืออาหาร
ซง่ึ ทำ� ให้ออ่ นเพลีย แม่ชใี นวัดและศษิ ย์ฝ่ายหญงิ ท่ีไปช่วยอยไู่ ดร้ ่วมใจกันปรุงอาหารต่างๆ ส่งเข้าไป
ถวายทกุ ๆ วนั แต่ท่านก็ฉันไม่คอ่ ยลง ถ้ามื้อไหนฉันค่อนข้างมากหน่อย ประเด๋ยี วก็อาเจียนออกมา
อาการของทา่ นจงึ มแี ต่ทรงกับทรดุ ตงั้ แตก่ ลบั ไปจากกรุงเทพฯ ผเู้ ขียนถือสัจจะท่ีขออนญุ าตท่านไว้
นั่งอยู่ท่รี ะเบียงหนา้ ห้องกุฏิของท่านตลอดคนื ทุกๆ คนื เพอ่ื ปรนนิบัตทิ ่าน ในฐานะลูกศิษย์
ในวาระสุดทา้ ย เมอ่ื แพทยส์ กลนคร มคี วามขดั ข้อง และแพทย์ทางกรงุ เทพฯ รบเรา้ จะให้
ทา่ นเข้ากรงุ อกี และทา่ นไมย่ อม ท่านอาจารยจ์ งึ ไดม้ อบหมายให้ผูเ้ ขยี นเปน็ ผูร้ ักษาท่านต่อไป แมจ้ ะ
รวู้ ่าเปน็ หนา้ ทซ่ี ่งึ แทบไม่มีทางจะส�ำเร็จ ผ้เู ขียนก็รู้สกึ ซาบซง้ึ ในความเมตตาของท่าน ในการท่ีไวใ้ จ
ใหร้ บั ใช้ทา่ นในตอนทีส่ ำ� คัญท่สี ุด ผเู้ ขียนนกึ หวังท่ีจะพ่ึงอำ� นาจจิตของท่านอาจารย์อยา่ งเตม็ ที่ และ
ไดเ้ รียนช้ชี ่องใหท้ า่ นทราบว่า ท่านจะช่วยตัวเองได้อย่างไร
ผเู้ ขียนเชื่อแน่ว่า หากร่างกายทา่ นแขง็ แรงดี และไม่มีโรคแทรก คือ การ “จับหดื ” อยา่ ง
จู่โจมเกดิ ขึ้น ทา่ นอาจารย์คงจะสามารถยดื เวลาของท่านออกไปไดอ้ กี หลายเดอื น หรือแมป้ ีสองปี
แต่รา่ งกายท่านทรดุ โทรมมาก เพราะขาดอาหารและขาดสารส�ำคญั บางอยา่ ง แมจ้ ิตจะสง่ั ร่างกาย
ก็ไม่มีกำ� ลงั หรอื พลังทจ่ี ะท�ำตามได้ ความพยายามของท่านและของผเู้ ขียนจงึ ล้มเหลว แตผ่ ู้เขียนก็
ยงั พอใจวา่ ได้ช่วยใหท้ า่ นมีความสบายขนึ้ ในบางแง่ ในส่ีห้าวันสดุ ทา้ ยของทา่ น
ผเู้ ขียนเช่อื แนว่ ่า โดยล�ำพงั ตวั ของท่านอาจารย์นนั้ ทา่ นพรอ้ มท่จี ะไปอยู่เสมอ เพราะ
กิจของท่านน้ันเสรจ็ มานานแล้ว แต่ท่ที า่ นยงั ตอ่ สูอ้ ย่อู ยา่ งแขง็ ขนั จนวนั สดุ ท้าย กเ็ พราะท่าน
เมตตาต่อคนทัง้ หลาย โดยเฉพาะอยา่ งย่ิง ทา่ นเปน็ ห่วงบา้ นเมอื งและ “เจา้ เหนอื หวั ” ประกอบ
กับพวกลูกศิษย์อาราธนา ท่านจึงลองสู้ด้วยเลือดนักสู้ตลอดเวลา ท่านแสดงเมตตาต่อศิษย์
ทงั้ หลายด้วยประการต่างๆ กัน ทีน่ ่าสงสารมากคือ การฉัน ฉนั นอ้ ย ท่านกค็ งจะหวิ ฉันมากก็
อาเจยี น แมก้ ระนัน้ ทา่ นกย็ ังพยายามฉัน คงจะดว้ ยตอ้ งการใหพ้ วกท�ำอาหารปล้ืมใจ
สองสามวนั สดุ ท้าย ท่านไม่อาเจียนและฉนั ได้มากขึน้ ทำ� ให้ทกุ คนดใี จ...

357

เชา้ วนั ที่ ๔ มกราคม (๒๕๒๐) ...ปรากฏว่าท่านฉันได้มากและแสดงอาการวา่ อยากฉนั
พอหยุดฉนั ทา่ นกพ็ ูดกับภรรยาผ้เู ขียนวา่ “พอเทา่ นี้แหละนะ คณุ หญงิ ” ในตอนนนั้ เราไมไ่ ดน้ ึกเลย
วา่ จะเปน็ การพูดครงั้ สุดทา้ ยของท่าน กบั ภรรยาผเู้ ขยี น (ม.ร.ว.ส่งศรี เกตุสิงห)์ และเปน็ การฉัน
คร้งั สดุ ท้ายของท่าน

ในบ่ายวันน้ัน เมื่อท่านมีอาการหอบรุนแรงแบบ “จับหืด” เกิดขึ้นโดยกะทันหัน (ซึ่ง
สว่ นหนงึ่ คงจะเก่ยี วกับอากาศไมด่ ี หนาวจัดและฝนตกพร�ำๆ มาเกอื บสามสิบหกชั่วโมงตดิ ต่อกนั )

ท่านระวังเร่ืองศีลของท่านอยู่จนถึงท่ีสุด เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนท่านจะถึงแก่มรณภาพ
ท่านยงั ลุกข้ึนนั่งกลา่ วค�ำปลงอาบัตติ อ่ สงฆ์เป็นครง้ั สุดท้าย เวลา ๑๕.๐๐ น. ท่านพระอาจารย์
เรียกพระเข้าไปรับแสดงบรสิ ทุ ธ์ิ เน่ืองดว้ ยเปน็ วนั ปาฏโิ มกข์ ทา่ นลุกขึ้นนั่งบนเตียงและกลา่ วค�ำ
แสดงอาบัติด้วยตนเองอย่างชัดเจนถูกต้อง (ท่ีหนังสือพิมพ์บางฉบับลงข่าวว่า ท่านมีอาการ
โคมา่ อยู่หลายวนั ไม่มมี ูลความจรงิ เลย)

ผู้เขียนก็พยายามต่อสู้กับพยาธิภัยอย่างเต็มที่ พร้อมกับขอให้ท่านอาจารย์ใช้พลังจิตของ
ท่านช่วยด้วย เพื่อให้อาการหอบและท้องอืดทุเลาลง เพราะทั้งสองอย่างเป็นอาการอันตราย
นอกจากน้ันยังได้ถวายยาให้ฉัน ฉีดยาและใส่หลอดสวนลมจากล�ำไส้อีกด้วย ท่านก็ยอมให้ท�ำ
ทุกอย่างด้วยความอดทน จนกระทั่งถึงเวลาสองสามนาทีก่อนวาระสุดท้าย ตอนที่ผู้เขียนฉีดยา
ท่านไดช้ ้อนนยั นต์ าขน้ึ มอง คลา้ ยๆ กับจะบอกวา่ “เลิกทลี ่ะนะ” แลว้ ขณะท่ผี เู้ ขยี นก�ำลงั จะช่วย
ทา่ นเป็นครงั้ สุดทา้ ย ทา่ นกเ็ ลิกการหายใจหยุดทันที แลว้ หวั ใจกค็ ่อยๆ หมดกำ� ลังไป เป็นการส้นิ สดุ
การต่อส้อู ยา่ งฉกาจฉกรรจข์ องนักรบผยู้ ิ่งใหญ่

ณ บัดน้ี พระภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้ารูปหน่ึง หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
พระผปู้ ฏบิ ตั ิดี ปฏิบตั ชิ อบ ปฏบิ ัติตรง รูแ้ จง้ เห็นจริงในพระสัทธรรม ไดก้ ระท�ำท่ีสุดแห่งทกุ ข์
ละสังขารขันธ์พ้นโลกดับสูญไปแล้ว จะเหลืออยู่ก็แต่ร่องรอยแห่งเมตตาบารมีธรรมอันสูงส่ง
ของท่าน ซึง่ จะจารกึ อยูใ่ นความทรงจ�ำของบรรดาสานศุ ษิ ย์ และพุทธศาสนกิ ชนโดยทวั่ ไป
อยา่ งไมม่ ีวนั ลืมเลือน”

หลวงป่ฝู น้ั อาจาโร ทา่ นเข้าสู่อมตมหานฤพาน ณ วัดปา่ อุดมสมพร อำ� เภอพรรณานคิ ม
จงั หวัดสกลนคร เม่อื วันอังคารท่ี ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๑๙.๕๐ น. ตรงกับวันขนึ้ ๑๕ คำ�่
เดือนย่ี (๒) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นวันพระใหญ่ สิรริ วมอายไุ ด้ ๗๗ ปี ๔ เดอื น ๑๕ วัน
๕๒ พรรษา แมท้ ่านมรณภาพไปแล้ว แต่กติ ตศิ พั ท์ กิตตคิ ุณ เรอ่ื งราวคุณงามความดีของท่าน
ตลอดอำ� นาจจิตอศั จรรย์ของทา่ น สมควรยกย่องและเทดิ ทนู วา่ ทา่ นเปน็ ปูชนยี าจารย์ ควรแก่การ
จารกึ ในประวตั พิ ระพทุ ธศาสนาสมยั กง่ึ พทุ ธกาล บนั ทกึ ถวายเปน็ สมญั ญาของทา่ นว่า

358

“พระอริยเจ้ายอดนักพัฒนา”
“พระอรยิ เจา้ ผู้เปย่ี มล้นดว้ ยเมตตาธรรม”
“พระอริยเจ้าผ้มู ีอ�ำนาจจติ อัศจรรย์เหนอื ฟา้ ดิน”
ท่านพระอาจารยส์ อนลกู ศิษยเ์ สมอๆ วา่ “ทกุ คนจะตอ้ งเข้ามหายทุ ธสงครามสกั วันหน่ึง
คอื การต่อสู้กบั มจั จรุ าช เมอ่ื ถึงเวลานนั้ แต่ละคนจะต้องสเู้ พอ่ื ตนเองและส้โู ดยล�ำพงั ผูท้ ีส่ ้ไู ด้ดี
จะไปดี คือไปสู่สคุ ติ ผู้ทีเ่ พลีย่ งพล้ำ� จะไปรา้ ย คือไปสู่ทคุ ติ อาวุธทจี่ ะใชต้ ่อสู้มสี งิ่ เดยี ว คอื สติ
ซ่งึ จะสรา้ งสมได้ด้วยจติ ตภาวนา”
ทา่ นพระอาจารย์ไดก้ ระท�ำสงครามของทา่ นดว้ ยความเข้มแขง็ ตลอดสามเดอื นเศษ ไม่มีสัก
ครัง้ เดยี วท่ีทา่ นไดแ้ สดงความอ่อนแอ หรือสะทกสะทา้ นให้เหน็ แม้วา่ สภาพทางกายของท่านจะ
เสอ่ื มโทรมลงไปด้วยเหตุแวดลอ้ มหลายประการ ทา่ นกส็ ู้โดยทุกๆ ทางดว้ ยความอดทนแลบึกบนึ ที่
ท่านสร้างสมมานับห้าหกสิบปีด้วยการอบรมจิต ก่อนวินาทีสุดท้ายไม่ก่ีชั่วโมง ท่านยังลุกขึ้นนั่ง
กล่าวแสดงความบรสิ ทุ ธ์ิด้วยคำ� ภาษาบาลอี ยา่ งถกู ตอ้ งและชัดเจน ขอ้ กังวลใจใดๆ ทีท่ ่านอาจมีอยู่
เชน่ เรอื่ งการสร้างโรงพยาบาล ท่านก็ได้สงั่ เสยี ไปเสร็จเรยี บร้อยแล้ว แมก้ ารต่อสูใ้ นตอนทา้ ยสดุ ของ
ท่านจะหนักหนาและท�ำให้แสนจะเหน็ดเหนื่อย ท่านก็คุมสติอยู่ได้ตลอดเวลา ตราบจนวินาที
สุดท้าย เมอ่ื ทา่ นเหน็ ว่าไดส้ ้มู าพอแล้วท่านกป็ ลอ่ ย มหายุทธสงครามของทา่ นก็จบลงด้วยความสงบ
ผใู้ ดจะเอาชนะมจั จุราชผ้มู ีเสนาใหญ่ได้ ข้อน้ี ท่านพระอาจารย์ย่อมทราบดี แตใ่ นฐานะที่
ท่านเปน็ นกั สู้ ตราบใดทีย่ ังมลี มหายใจอยู่ก็ตอ้ งสู้ เมือ่ สู้จนหมดทางแลว้ ท่านกต็ ้องจากไป ท้ิงไว้แต่
รอยเทา้ ให้เราเดินตาม ศษิ ย์ของทา่ นไม่มใี ครสงสัยเลยวา่ ท่านไปสู่ที่ใด ขอให้เราได้ตามรอยเท้าของ
ท่านเถิด

ปลงธรรมสังเวช – ไม่ประมาทในชีวติ

หลวงปูส่ ุวจั น์ สุวโจ บนั ทึกไว้ดงั น้ี
“ข่าวมรณภาพแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว สานุศิษย์และญาติโยมท้ังหลายต่างหลั่งไหลไป
คารวะศพของท่าน แต่ละคนพบกันด้วยสีหน้าหม่นหมอง หลายต่อหลายคนบรรยายความรู้สึก
ในขณะน้ันด้วยน�้ำตา เพราะไม่ทราบจะบรรยายถึงความเศร้าเสียใจให้สมบูรณ์ดีไปกว่าน้ันได้
อยา่ งไร”
เมื่อท่านพระอาจารย์ฝั้นมรณภาพลง เราก็ได้แต่ปลงธรรมสังเวช เพราะท่านเป็นพระผู้
ทรงคุณ เราเป็นลูกศษิ ย์คนโตกไ็ ด้ใหโ้ อวาทหมู่เพอื่ นวา่

359

“สงั ขารขนั ธ์ มนั กผ็ กผันแปรเปลี่ยนแตกสลายไปอย่างนเี้ อง และไม่เพยี งจะเปน็ วันน้ีหรือ
สองวัน แต่จะเปน็ ไปตลอดอนันตกาล เราจะแสวงหาความสุขใสถ่ งั แตก คอื ขนั ธ์นไ้ี ม่มที าง ลองดู !
พระพุทธองค์ทรงเป็นแบบอย่างให้แล้ว พระองค์ไม่หลงตักน้�ำใส่ถังแตก เหมือนกับพวกเรา
เหมือนกับโลกทัง้ หลายทส่ี ำ� คัญตนวา่ เปน็ คนฉลาด มคี วามรสู้ งู แตพ่ ยายามหาความสขุ ด้วยถงั แตก
บ�ำรุงถังแตกให้มันเต็ม มันจะเต็มได้อย่างไร เพราะมันร่ัวไหลอยู่ตลอดเวลา ไม่พยายามปิด
ไม่พยายามแกไ้ ข ได้ประโยชน์อะไร เหนื่อยเปล่าๆ

จงพยายามสอนตนไม่ให้ประมาทในวัย ไมป่ ระมาทในชีวิต ไม่ประมาทในความไม่มโี รค
บุคคลทป่ี ระมาทในวยั นนั้ ส�ำคัญตนวา่ ยังหนุ่มแน่น ก็เลยมวั เมาในวัยของตนเอง จะหาความสขุ ใน
ถังแตก หาเท่าไหรก่ ไ็ ม่มีวนั พบ เพราะคนก่อนๆ เขาหามาแล้ว เรากด็ ูไม่เห็นใครได้อะไรกันเลย
เมื่อหลงเช่นน้ัน หาควรไม่ องค์สมเด็จสัมมาสมั พุทธเจา้ พระองค์อาศัยสตปิ ัญญาพิจารณาสอดส่อง
เห็นความจริงในข้อนี้ พระองค์จึงสลัดท้ิงเหมือนน้�ำลาย อันถังแตกท่ีอยู่ในการครองราชสมบัติ
ลว้ นแตห่ มกมนุ่ อยใู่ นถงั แตก พระองคท์ รงสละทงิ้ หนั กลบั มาประพฤตปิ ฏบิ ตั อิ บรมจติ ใจทไ่ี มใ่ หแ้ ตก
ไมใ่ หร้ ว่ั ไหล สิง่ ใดทีพ่ ระองค์ไดบ้ รรลุ ส่งิ น้ันเปน็ สมบัติอนั มง่ั คง

เมอ่ื พระพุทธองค์พบถังอนั มั่นคง ทพี่ ระองคพ์ ยายามบรรจจุ นเต็มเป่ียมรอบแลว้ พระองค์ก็
ปฏญิ าณว่าพอแล้ว ไดร้ ับความสุขพอแล้ว ไมแ่ สวงหาอกี แล้ว พระองค์หยุดเลกิ ไม่แสวงหาความสขุ
เพราะไม่ต้องอาศัยถังแตกอีก เพราะความสุขท่ีเจือด้วยอามิสน้ัน ตักมาเท่าไหร่ ก็ไม่รู้จักเต็ม
ร่วั ไหลออกไปอยู่ตลอดเวลา

โบราณบัณฑติ ทง้ั หลายจึงกล่าวได้วา่ ที่พึ่งอย่างอน่ื ไมม่ ี จะพง่ึ ขา้ วพง่ึ น้ำ� พึ่งธาตุพ่ึงขนั ธ์
พึ่งโลกอันน้ี พงึ่ ไม่ได้สักอยา่ ง ส่องดแู ล้วมแี ต่ทรดุ โทรมคร�่ำคร่าทง้ั นนั้ ทั้งโลก ท้งั แผ่นดินไม่ควร
ยดึ มัน่ ถือมั่นว่าม่นั คง สิง่ ท่ีควรยึดม่นั นัน่ ก็คอื “ธรรม” ธรรมของบัณฑิตไม่เคยคร่�ำครา่ ไม่เคย
ทรดุ โทรม เป็นสิ่งทีม่ ่นั คง เป็นสจั ธรรม ธรรมนน้ั คอื อะไร ธรรมนนั้ เป็นสภาวะ มีลักษณะแห่ง
ความมงั่ คง เป็นธรรมชาตทิ ่ีไมเ่ คยเปล่ยี นแปลง เรียกวา่ “สจั ธรรม”

เราจงึ ตอ้ งก้าวเดนิ ต่อไปอยา่ หยดุ ยง้ั ถา้ หากเราเหนื่อยนัก เรากต็ ้องพกั ผ่อน เราพักผ่อน
มกี ำ� ลงั แล้ว เรากเ็ ดินตอ่ สู้ไปอกี เพื่อให้ข้าศกึ อยูข่ ้างหลัง อย่าให้อยู่ข้างหนา้ ถา้ ข้าศึกอยู่ข้างหลงั
แสดงว่าเราไดผ้ ่านพ้นมาแลว้ แปลว่าเราปลอดภัยแล้ว แตถ่ ้ายงั ไม่มีข้าศกึ หรือข้าศกึ ยังไมม่ าถงึ
หรือข้าศกึ อยู่ข้างหนา้ เราไม่ควรประมาท เราควรเตรียมพร้อม ไม่ควรเลินเลอ่ เผลอตวั เพราะข้าศกึ
อยู่ขา้ งหนา้ จะมาเมอื่ ไหร่ เราก็ยังไม่รู้

360

ชวี ติ ของเราเป็นของช่ัวคราว ไมใ่ ชเ่ ป็นของยั่งยนื รา่ งกายของเราเปน็ เคร่ืองแตกดับ แตก
สลายทุกวนั ทกุ เวลา ทกุ นาที ถา้ หากวา่ เราไม่ทำ� กิจเพ่อื ประโยชน์แกต่ ัวเราเอง ชวี ิตนี้กไ็ มม่ ี
ความหมาย ไมเ่ กดิ ประโยชนอ์ ะไร หมดไปเปล่า ลว่ งไปเปลา่

ท่านเปรยี บเหมอื น บรุ ษุ หรอื นายโคฆาตทจ่ี งู โคไปสูโ่ รงฆ่าสัตว์ ต้งั แตเ่ ขาจบั ไดแ้ ล้วจงู ไป
ยกเท้าขึ้นทีแรก ก็นับว่าใกล้เข้าไปในท่ีมรณะฉันใด ชีวิตของเราก็ฉันน้ัน ตั้งแต่เร่ิมต้นมีชีวิต
ขึ้นมาแลว้ กเ็ ขา้ ไปสูค่ วามแกช่ รา เขา้ ไปส่คู วามคร�่ำคร่า เขา้ ไปสู่ความตาย ความตายขยับเข้ามา
ใกลท้ กุ ๆ ที เพราะฉะนั้นชีวิตน้ี ยงั มเี หลืออยูป่ ระมาณเท่าใด ควรจะท�ำชีวิตใหเ้ กดิ ประโยชน์ใหม้ ี
คณุ ค่า ถ้าเราทำ� แต่สงิ่ ไมด่ ีขึ้นมาแลว้ ชวี ิตจะมคี ณุ ค่าอะไร จะมีประโยชน์อะไร ทม่ี ันผ่านไปๆ

ถ้าหากเราไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไข รีบสร้างความดีข้ึนมา ให้มีคุณค่าเป็นสมบัติในจิตในใจ
ของเรา สร้างบุญสร้างกุศล อบรมจิตใจเรา อบรมจิตของเราให้มีความสงบ ความฉลาดในทาง
ธรรมะ เพราะธรรมเป็นที่พง่ึ ในด้านจิตใจ ถา้ หากเรามธี รรมประจำ� ใจแล้ว เทา่ กับเรามีทพี่ ่งึ มที ่อี าศัย
ทกุ ข์ภัยท่เี กิดขนึ้ ในจิตใจแล้ว เรากจ็ ะได้มีธรรมะ เป็นท่ีพึ่งทอี่ าศัย ยกจติ ยกใจขนึ้ สธู่ รรมะ

ทา่ นพระอาจารย์ฝ้ัน ท่านผ่านดงกเิ ลสเขา้ สู่นพิ พานแลว้ ส่วนพวกเราก็ต้องด�ำเนนิ ตาม
ปฏิปทาท่ีท่านสอน อย่ามวั ก�ำด�ำก�ำขาว ถา้ เป็นอย่างนน้ั จะไม่ไดเ้ รือ่ งนะ”

หลวงป่สู วุ ัจน์ สุวโจ ได้อบรมพระตอ่ ไปอีกวา่ ...
“ผมเช่ืออันหน่ึงว่า ถ้าพวกเราพร้อมเพรียงกันรักษาวินัย แบบฉบับของครูอาจารย์ไว้
อยา่ ไปหลงเถลไถลแบบใหม่ๆ แบบเขาวา่ โลกเจริญ กเ็ ลยลมื พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
โลกมันเจริญแคไ่ หน มนั เพยี งแค่กามเทา่ น้ันแหละ ผลทีส่ ุดโรคกามรุมหวั มันหมดแลว้ มนั เจริญของ
โลกนี่ มันจะอศั จรรยส์ ักเทา่ ไร ธรรมะเรามันอศั จรรยจ์ รงิ ๆ เพราะฉะน้นั จึงอยากให้หมู่พวกเช่ือ
ในธรรมในวนิ ยั
พระพุทธเจ้า พระองค์ก็มองพระองค์ก่อน พระองคไ์ ม่ไดว้ ิง่ ไปสอนโลกกอ่ น พระองคส์ อน
พระองคจ์ นส�ำเร็จกจิ แลว้ พระองคจ์ ึงสอนคนอืน่ ครูบาอาจารยต์ ง้ั แตท่ า่ นทนทกุ ขท์ รมานจนกว่า
จะบรรลุ น.่ี .. เหมือนกับท่านพระอาจารยม์ น่ั ผมไปดู ไปอยใู่ กลช้ ิดแลว้ ทา่ นไม่คอ่ ยเอาใจใส่
เรื่องญาติโยมเท่าไร ทา่ นเอาใจใส่พระเรา สามเณรของเรา ถ้าเราดีแล้ว โยมเขาก็ดีด้วย ทา่ นพดู
อย่างนน้ั นะ ผมจ�ำชดั จริงๆ...
อยากให้หมพู่ วกทั้งหลายท่ไี ดบ้ วชมาแล้วนะ่ ตอ้ งเร่งความเพยี ร ไม่ตอ้ งท�ำอะไรท่ไี หนล่ะ
ดกู ายกับจิตนี้ ผมก็ท�ำตามแบบครูบาอาจารยส์ อนนเ้ี อง แต่ความทเ่ี ราพดู เดย๋ี วนี้ ไม่ใช่เราเป็น
ผรู้ ูค้ นเดยี วนะ มันยงั ร้วู ่า ครบู าอาจารยข์ องเราก็พ้นทกุ ข์ไปมากแล้ว มนั เช่ือนะ หลวงปฝู่ ้นั น่ี
ท่านพ้นแล้วนะ มนั เชอื่ นะ เราโง่ เราไม่รู้ ครูบาอาจารยข์ องเรานี่ ผู้ปฏบิ ัติจริงๆ”

361

สาเหตหุ ลวงปูฝ่ ้นั อายุสน้ั

ครบู าอาจารย์ เทศน์ไว้ดังนี้
“หลวงปู่ฝั้นท่านเป็นพระอรหนั ตน์ ะ แต่หลวงป่ฝู ้ันน่เี ทศนน์ ่มิ นวลมากแลว้ มพี ลัง มพี ลังนะ
ท่านพูดช้าๆ นะ “พทุ โธๆ พทุ โธนะ พุทโธสวา่ งไสว พุทโธผ่องใส” พุทโธๆ”
แล้วประชาชนมาจากทั่วประเทศ มาจากเชียงใหม่ มาจากภาคใต้ มาหมดเลย มาถึงปั๊บ
จะเข้าไปกราบท่าน กราบอยู่ตลอดเวลา กราบอยู่ตลอด จนท่านแบบ ท่านใช้ร่างกายมาก
ทา่ นเลยอายสุ ัน้ พออายุสั้นเพราะอะไร เพราะเกรงใจโยมไง เพราะมันเปน็ จริตนิสัย เพราะ
เราอยู่เราไปเทีย่ วอย่สู ายนเี้ ยอะ สายถ�ำ้ ภถู ้�ำขาม เวลาครูบาอาจารย์ทา่ นบอก ขนาดพระด้วยกัน
พยายามจะกนั กนั ไม่ให้โยมเขา้ มา เพราะพยายาม คอื ว่าใหโ้ ยมมาเป็นเวลาไง พอใหโ้ ยมมาเปน็
เวลาปั๊บ พอถงึ กอ็ ยากเขา้ มา พอไปเจอหลวงปู่ฝั้น หลวงป่ฝู ้ันท่านถามเลยนะว่า “พวกโยมน่ีเขามา
หาใคร” เขาบอก “มาหาหลวงป่ฝู ้ัน” “ก็มาหาเรา แล้วหน้าทีอ่ ะไรเอง็ ไปกนั ท่าไว้อย่างนัน้ ”
ลูกศิษย์ก็เลยไม่กล้าท�ำไง น้ีพอเข้าไปๆ น้ีหลวงตาพูดเอง ตอนหลังหลวงตาพูดเองว่า
ตัง้ แต่ฉนั ขา้ วเสรจ็ จนสท่ี ุม่ หา้ ทุ่ม สที่ ุ่มหา้ ทุ่มทกุ วัน คนน่งั อย่างนีท้ งั้ วนั ๆ ทุกๆ วนั ไหวไหม
สดุ ทา้ ยอายุทา่ นก็เลยสัน้
ฉะนั้น พอหลวงตา ถงึ เวลาทา่ น ของท่าน ทา่ นจะบอกว่า ของทา่ นนะ ถา้ จิตใจท่าน
หรือท่านมีภาระของท่าน ท่านจะบอกไฟเหลืองๆ เพราะมารยาทไง ด้วยนิสัยท่านนุ่มนวลมาก
หลวงปู่ฝ้ันท่านนิม่ นวลมาก แตเ่ วลาหลวงตาทา่ นเหน็ มา ตั้งแต่สมเด็จมหาวรี วงศ์ วัดพระศรี–
มหาธาตุ วนั สงกรานต์ สรงน้�ำๆ ไง พอสรงน้�ำเสรจ็ โยมมาเอาบุญใชไ่ หม โยมกก็ ลับบ้าน สมเดจ็ ฯ
กเ็ ขา้ โรงพยาบาล ปอดบวม เวลาเราคดิ กนั ถ้าโลกเขาคดิ กันอย่างนัน้ ”

เหตุอศั จรรย์หลังวันมรณภาพ

องค์หลวงตาพระมหาบัว เทศนไ์ ว้ดงั นี้
“ท่านอาจารยฝ์ ั้นกับเราน้ีแยกกนั ไมอ่ อก วา่ อย่างนน้ั เลย เราเคารพทา่ น เทิดทูนท่าน
ตลอดมา ท่านก็เมตตาเราตลอดเหมือนกัน แต่ส่วนมากเป็นฝ่ายเราน่ีโจมตีท่าน น่าโจมตีนะ
ท่าน “เหอๆ” ใสเ่ ปร้ยี งๆ เรากบั ทา่ นพนั กนั อยา่ งนน้ั ละ่ ทา่ นมีแต่ “เหอๆ” ไอเ้ รากจ็ ะตีตัง้ แต่อยู่
ด้วยกนั พูดถงึ เรื่องท่านอาจารยฝ์ ัน้ นี้ กเ็ ปน็ เรอื่ งอศั จรรย์เหมือนกันนะ น่ีเหน็ ไหมล่ะ อ�ำนาจจติ
ของทา่ น แม้ท่านลว่ งไปแล้วกย็ ังมาแสดงใหเ้ หน็ รู้สกึ ท่านจะมาเมตตากับเรามากนะ คืนวนั ที่
๒๐ ธันวาฯ เราพกั อยู่ท่ีวดั ดงศรชี มภู ให้เขาท�ำร้ัวเพอื่ รกั ษาสตั วใ์ นวดั เราไปคอยดูแลอยนู่ ัน้ ค้างอยู่
เป็นอาทิตยๆ์ นะ ทีน้ีเวลากลางคนื วันที่ ๔ มกราฯ โอ้โหย ! ฝนพลิ กึ พิลั่นอะไรนักหนานะ

362

เดือนสิงหาฯ กันยาฯ ซึ่งเป็นหนา้ ฝนยงั สู้ไม่ได้ มนั ตกเอาจรงิ เอาจัง น�้ำทว่ มหมดเลย ตามทอ้ งนา
แห้งแลง้ ๆ วันท่ี ๔ มกราฯ มนั ตกเอาจริงๆ ไม่ใช่ธรรมดา นำ�้ ทว่ มไปหมดตามทอ้ งนา

นี่ล่ะที่มันแปลกประหลาดอยู่นะ อ�ำนาจจิตของท่าน พอตอนเช้า (วันท่ี ๕ มกราคม
๒๕๒๐) ทา่ น... ไปทำ� งานเอง ตอนเชา้ เราจะกลบั อุดรฯ รถจะมารับเรากเ็ ป็นรถเกง๋ มาทนี ้ีมันเขา้
ไมไ่ ด้ซี นำ้� ทว่ มหมดตามท้องนา ท่าน... ต่ืนเต้นแต่เชา้ ไปหาโยมอุปฏั ฐากท่าน นม่ี ันกลับตาลปัตร
อย่างน้ีนะ มันแปลกเหลือเกนิ ก�ำลงั ใจของทา่ นอาจารยฝ์ ัน้ พลังจิตของทา่ นเก่งมาก เครือ่ งบินข้นึ
บนฟา้ ก็มาเถอะนะ่ ถ้าท่านเพง่ ตกเลย ฟงั ซินะ่ อ�ำนาจจิตของทา่ น

ไปกไ็ ปสง่ั เสียโยมอุปฏั ฐากท่านนน่ั แหละ บ้านนาขาม ไปกไ็ ปสัง่ ก็ท่านเปน็ คนสงั่ เอง นนี่ ะ
จะพูดใหฟ้ งั ชัดเจน “วนั นตี้ อนเช้าท่านอาจารยฉ์ นั จงั หนั เสรจ็ ที่วดั ดงศรีชมภแู ล้วน้นั ท่านจะออก
เดินทางกลับอุดรฯ” เพราะเรามีธุระท่ีอดุ รฯ คือรถที่จะมารบั ท่านจะเป็นรถเกง๋ ไปไม่ได้ ใหเ้ อารถที่
บา้ นของเราน่ี โยมอปุ ฏั ฐากมีรถอยูส่ องคัน ใหเ้ อารถทบ่ี า้ นของเรานีไ่ ปรบั ท่านมาจากน้นู แล้วมาทีน่ ่ี
รถเกง๋ มากม็ ารอทน่ี ่ี ขน้ึ รถเก๋งกลบั สัง่ เสียเรียบรอ้ ย ท่าน...นะมาสั่งเอง มนั กลับตาลปตั รอย่างน้นี ะ

พอมาสง่ั เสรจ็ เรียบรอ้ ยแลว้ กลับไปวัด รถเก๋งมาถึงนน้ั แลว้ โยมอุปัฏฐากนัน้ น่ะที่วา่ ใหเ้ อา
รถไปรับเรา บอกว่าท่านอาจารย์... ท่านส่ังว่า รถเก๋งมาถึงท่ีนี่แล้วให้รอที่น่ี ท่านอาจารย์
จะเดินทางมาเอง มาข้นึ รถเก๋ง ฟังซิน่ะ เขาก็ เอ๊ ! อย่างไรถงึ ว่าอย่างนน้ั น้า คนขึ้นรถเกง๋ มา เขาก็
เดนิ สะเปะสะปะไปจนกระทั่งถงึ วดั ไปดูทาง มันกม็ าไม่ไดจ้ รงิ ๆ เพราะน้�ำเต็มไปหมด พอไปถึงเรา
อา้ ว ! มาอยา่ งไรละ่ รถมันมาไม่ได้ แลว้ ท่าน...ก็น่งั รออย่นู ั่น ทา่ น...วา่ ไหนว่าอย่างไร ในบา้ นเขา
สง่ั ว่ารถเก๋งมาถึงที่นี่แล้วให้จอดอยู่ทน่ี ี่ ท่านอาจารย์จะเดนิ ทางมาขึ้นรถคันนีไ้ ปเอง กลับอุดรฯ เอง
ทบ่ี อกว่า ให้รถไปรบั เรามาขึน้ รถเกง๋ ไม่พดู เลยนะ

พอทา่ น...ไดย้ นิ ตายขน้ึ ทันทเี ลย ทา่ นก็บ่งึ เลย จีวรครองหรอื ไม่ครองไม่ทราบ ปลวิ ไปเลย
ทเี ดยี ว ท�ำไมจึงเปน็ อยา่ งนน้ั ท่าน...บึง่ เลยทันที ก็เราสั่งอยา่ งนัน้ ๆ ทำ� ไมเปน็ อยา่ งนีไ้ ด้ พอดีไปถงึ
บา้ นนาขาม รถเจ็ดคัน เราก็เลยไม่ลมื ถ้าไม่มเี หตุ ไมล่ ืมนะ รถตัง้ เจ็ดคนั ไม่มรี ถสกั คนั เดียว ไปรอ
อยูน่ ั้นตง้ั สองชวั่ โมง ท่าน...ไปรออยู่ คันไหนมากจ็ ะจบั ไปเลย ว่าอย่างนน้ั เถอะ แตร่ ถไม่มเี ลย
รออยตู่ ้งั สองช่วั โมงเห็นรถสองแถวคนั หน่งึ แคร็กๆ มา ก็เลยจับรถสองแถวน้เี ข้าไปเลย พอไปถงึ เรา
แลว้ ก็เตรียมของขึ้นรถ

พอเตรยี มของขึน้ รถแล้วตดิ เคร่อื ง รถคนั นกี้ เ็ ปน็ ธรรมดาๆ นะ พอเตรียมของข้ึนรถแล้ว
ติดเครือ่ ง ตดิ เครื่องแลว้ ดับ ติดเครื่องแล้วดบั อยูอ่ ยา่ งนั้น ไม่ยอมไป รถคันนี้นะ อย่วู ัดดงศรีชมภู
มันกระเทือนใจ ถึงคร้งั ทส่ี าม ทางน้ีกโ็ พล่งออกเลย วนั นี้จะต้องมีเหตกุ ารณ์อะไรแน่นอนเกดิ ข้ึน
คอยดกู แ็ ล้วกนั เกดิ แน่ๆ วันนีม้ ี คอยฟงั รถคนั นเ้ี ปน็ เหตุ บอกแลว้ สกั เด๋ียวเห็นทา่ นเอียนไปจาก

363

กรงุ เทพฯ นี้ไปฉันจงั หันทบ่ี ้านตงั ล้งอุดรฯ ไปได้ขา่ วทา่ นอาจารยฝ์ ั้นมรณภาพ ท่านมรณภาพ
เมอ่ื คนื นท้ี ่ีวดั อดุ มสมพร ทา่ นได้ขา่ วอันน้ีมา เลยตอ้ งรอข่าวอนั น้ี เขา้ ใจไหมละ่

รถอยา่ งไรกไ็ มต่ ิดๆ อยงู่ ้ัน ถึงเวลาควรจะไป ไปไม่ได้ พอดรี ถท่านเอียนก็ออกไปจากอุดรฯ
รอข่าวอันนี้เอง ใหร้ อ พอรถท่านเอยี นจอดปับ๊ ท่านเอยี นกว็ ิง่ ป๊บุ มานี้เลย มากบ็ อกวา่ ท่าน–
อาจารย์ฝั้น ทา่ นมรณภาพแลว้ เมอ่ื คืนน้ตี อนหน่งึ ทมุ่ หา้ สิบนาที เราไม่ลมื นะ พอวา่ อย่างนั้น เออ !
เอาละ่ ไดค้ วามทน่ี ่ี รถติดเคร่อื งไมต่ ิดเครื่อง มนั จะไปเอง ทนี ไ้ี ด้ความแลว้ น่เี หตกุ ารณ์ พอตดิ
เครอ่ื งบึง่ เลย ออกจากน้นั เรากบ็ ง่ึ ไปท่ีวดั อดุ มสมพร แทนที่จะกลบั อดุ รฯ ไมไ่ ดก้ ลบั นะ บงึ่ ไปถึงนู้น
เลย ไปถงึ โน้นก็ค่�ำพอดี นลี่ ่ะเรือ่ งเปน็ อย่างน้ี ท่านอาจารย์ฝ้ันนะนนั่ น่ลี ะ่ อ�ำนาจของทา่ นเปน็
อย่างนนั้ บังคบั ไวท้ กุ อย่าง ...

นี่ล่ะทีว่ ่ามนั ประจกั ษส์ ะเทอื นหัวใจถงึ ๓ หน มนั ยังไงๆ จนโพล่งออกมาเลยครั้งทสี่ าม
ทา่ นเอยี นมากระซิบ ไม่บอกใครให้รู้นะ พอทราบแลว้ ก็ เอ้า ! ติดเครอ่ื งท่นี ี่ ติดไดล้ ่ะเราวา่ พอตดิ
ป๊บุ ๆ กไ็ ปไดไ้ มม่ ีปัญหาอะไรเลย น่มี ันอยา่ งนั้นนะ...”

ในหลวงเสดจ็ สรงน้ำ� ศพ

นับแต่วันท่ีท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้ถึงแก่กาลมรณภาพ เมื่อวันอังคารท่ี
๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๑๙.๕๐ น. ยังความเศรา้ โศกสลดใจแก่พุทธศาสนิกชนทว่ั ประเทศ
บรรดาลูกศิษย์และผู้เคารพเล่ือมใสในท่านพระอาจารย์ฝั้นจากทั่วทุกสารทิศ เมื่อทราบข่าวได้
หลั่งไหลทยอยกนั เดินทางไปกราบคารวะและสรงน้�ำศพ

วันพุธที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว พร้อมดว้ ยสมเด็จพระนาง–
เจ้าฯ พระบรมราชนิ นี าถ ไดเ้ สด็จมาพระราชทานน�้ำอาบศพดว้ ยพระองค์เอง ณ วดั ปา่ อุดมสมพร

เมอ่ื เสดจ็ พระราชด�ำเนินถึงวดั ปา่ อดุ มสมพรแล้ว เสด็จขึน้ ศาลาประชาสามคั คี พระบาท–
สมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัว และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถ ทรงจดุ ธปู เทยี นเครอื่ งทองนอ้ ย
นมัสการศพพระอาจารย์ฝนั้ อาจาโร ต่อจากนน้ั ทรงสรงน้�ำศพ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวทรง
ถวายผ้าไตร ๑ ไตร แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั และสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชิน–ี
นาถ ทรงวางพวงมาลาท่ีหน้าศพ เสร็จแลว้ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ไดพ้ ระราชทานผ้าไตร
๑๐ ไตร แกผ่ ู้ว่าราชการจังหวดั สกลนคร ส�ำหรับทอดถวายพระสงฆ์บงั สกุ ลุ ทีป่ ากหบี และทรง
พระกรณุ าโปรดเกล้าฯ บำ� เพญ็ พระราชกศุ ล ๗ วัน พระราชทานหบี ทองทบึ ประกอบศพ ตลอดจน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตใหร้ าษฎรและศษิ ยานุศิษย์สรงน้�ำศพ
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ซ่ึงเป็นท่ีเคารพนับถือของราษฎรท่ัวประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื

364

ในการสรงน้�ำศพของพระอาจารย์ฝน้ั ครงั้ นี้ เป็นคร้ังแรกของเมืองไทย ไม่ว่าในกรณศี พของ
บุคคลใดก็ตาม ถา้ พระมหากษัตริย์พระราชทานอาบนำ้� ศพแล้วจะไมม่ กี ารรดน้�ำศพอีก แต่กรณีศพ
ของพระอาจารย์ฝ้ัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ด้วยกระแสรับสั่ง
ของพระองคเ์ องวา่ “ขออยา่ ได้หา้ มประชาชนสรงน�้ำศพทา่ นอาจารย์ จงให้เขาไดส้ รงน้ำ� ตอ่ ไป
ตามแตศ่ รัทธา”

พระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายหลังจากการสรงน้�ำศพ
ทา่ นพระอาจารยฝ์ ้ัน อาจาโร

“ในฐานะทเ่ี ราเป็นลูกศษิ ยข์ องพระอาจารย์ ขอให้ทกุ คนไดส้ ามคั คกี ัน อยา่ ให้เกิดความ
แตกแยก และขอใหย้ ึดมัน่ ในค�ำส่งั สอนของทา่ นให้มัน่ คง ขอใหเ้ ก็บอัฐิของทา่ นพระอาจารย์
ไวแ้ หง่ เดียวกนั เครอ่ื งอฐั บรขิ ารของทา่ นพระอาจารย์ สามารถเกบ็ รวมรกั ษาไวเ้ ป็นที่เดียวกัน
กจ็ ะด”ี

วันจันทร์ที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๒๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระราชทานพวงมาลาของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั และของสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วางทีห่ นา้ หบี ศพ
พระสงฆ์ ๑๐ รปู สวดพระพุทธมนต์ จบ มีพระธรรมเทศนากณั ฑ์ ๑ พระ ๔ รูปสวดธรรมคาถา
พระพธิ ธี รรมสวดพระอภิธรรม

วันองั คารท่ี ๑๑ มกราคม ๒๕๒๐ เวลา ๘.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รปู ทส่ี วดพระพทุ ธมนต์
แต่วันก่อนถวายพรพระ แลว้ รับพระราชทานฉัน พระสงฆอ์ ีก ๑๐ รปู บังสุกุล เปน็ เสรจ็ การ

โจมตีหลวงป่ฝู ั้นหลังมรณภาพมีเงินมาก

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลังจากท่านมรณภาพแล้ว พบว่าเงินที่ฝากอยู่ในบัญชีธนาคาร
ท้ังหมด ก�ำลังรอใช้จ่ายส�ำหรับการบ�ำเพ็ญกุศลสาธารณประโยชน์ท้ังสิ้น ส�ำหรับเงินทองที่เป็น
สว่ นตวั ของทา่ นเอง แม้แตค่ า่ ท�ำศพกไ็ มไ่ ดม้ กี ารสัง่ ไว้ แม้มีผูม้ จี ิตศรัทธา ถวายปัจจัยร่วมท�ำบุญ
กับทา่ นอย่างมากมาย ทา่ นกใ็ ช้เพอื่ ทะนุบ�ำรงุ พระพุทธศาสนา และเพื่อสาธารณประโยชน์ท้งั สนิ้
ท่านไม่มกี ารสะสมเงินเพ่อื ประโยชน์ส่วนตัวแตอ่ ย่างใดเลย

เร่อื งที่ท่านถูกโจมตีว่ามีเงินมาก องค์หลวงตาพระมหาบัวเทศนไ์ ว้ดงั นี้
“อย่างบอกพ่ีน้องท้ังหลายน้ีให้ทราบเอาไว้ เวลาหลวงตาบัวตาย เขาเคยมี ลานอะไร
ไมท่ ราบ มนั ลานโพธิ์ลานผีอะไรก็ไม่ทราบ เขามาโจมตีหลวงปู่ฝ้ันเรา ตอนนัน้ เงินแพง ปี ๒๕๒๐
เงินยงั แพงอยู่นะ เขาเอาเร่ืองเงินของท่านทเี่ กบ็ ไวใ้ นวัด ซง่ึ ท่านส่งั เสยี ไวแ้ ลว้ นะ พวกน้ไี มร่ ู้ หรือรู้
มันก็ทง้ิ ไว้อย่างนนั้ มนั ก็มาโจมตีถา่ ยเดยี วเท่านั้นกไ็ ดน้ ะ เขาออกประกาศลั่นทางหนังสอื พิมพว์ ่า

365

เวลานที้ า่ นอาจารย์ฝัน้ มเี งินอยู่ ๑ ล้าน ๕ แสน คนน้ีหูกางกนั ไปหมด ตน่ื เตน้ กนั กแ็ สดงวา่
ทา่ นอาจารยฝ์ น้ั ทา่ นมเี งินมาก พระกรรมฐานไม่นา่ จะมีเงนิ มากถึงล้านๆ อย่างนัน้ ความหมายก็
วา่ ง้ัน เพราะธรรมดามาถาม ไม่คอ่ ยมเี งนิ มที องแหละ แตท่ ่านมนี ี้ เขามาถวายท่านนะ ท่านไมไ่ ด้
ไปหารบกวน ถวายท่าน ท่านก็แยกสันปันสว่ น ดงั ทที่ ่านปฏบิ ตั ิมาน้ันแหละ

แต่ความจริงนนั้ ท่านสัง่ ไว้แลว้ ทีนเ้ี ราก็ทราบคำ� สง่ั ของท่านว่า เงนิ จำ� นวน ๑ ลา้ น ๕ แสน
บาทนี้ ท่านแบ่งเปน็ แสนๆ เช่น วดั ปา่ ภธู รพิทักษ์ วดั อุดมสมพร วดั ถ�้ำศรีแกว้ เวลาจ�ำเป็นให้แยก
เอาเงนิ นแ้ี ห่งละ ๕ แสนๆ พอดีเปน็ เงนิ ล้านหา้ แสน น่ที ่านสงั่ เสียไว้เรยี บร้อยแลว้ แตพ่ วกมาโจมตี
จะฟังหรือไม่ฟงั ได้ยิน ไม่ได้ยิน ไม่ทราบนะ มาโจมตเี อาอยา่ งนัน้

เราก็ โหย ! ใจหายเลย ก็พอดีสมเดจ็ ฯ ที่วัดนรนาถฯ (สมเดจ็ พระมหามุนวี งศ์ (สนัน่
จนทฺ ปชโฺ ชโต)) ทา่ นก็รู้สึกวา่ เสยี ใจเหมือนกนั ตกตะลึงเหมอื นกัน ท่านบ่ึงมาหาเรา ท่านอาจจะ
ทราบเบาะแสอะไรบ้างก็ได้นะว่า เราอาจจะทราบเรื่องราว ก็พอดีออกไปเจอกันตรงกลางทาง
ตอนบ่าย ๓ โมง ท่านเปดิ ไฟพับ เรากแ็ อบรถ คงจะมีอะไรๆ เราแอบรถกอ่ น พอดที ่านออกมา
“เออ ! พอดี จะไปไหน” ท่านวา่ “ไปไหนก็ไปแหละ ไม่ใชค่ นตาย” พูดกับสมเด็จฯ เปน็ อย่างน้นั
นะ ตอนนั้นยังไม่เป็นสมเด็จฯ คุ้นกันมาแต่ไหนแต่ไร ท่านก็เลยมาเล่าน่ีให้ฟัง ตาลีตาลาน
เหมอื นกนั นะ พดู ด้วยความเสียอกเสียใจด้วย ยกเรือ่ งข้ึนมาทเี่ ขาโจมตี ทางนีก้ ต็ าลตี าลานไปรับ
ท่านเหมือนกัน ก็เลยกราบเรยี นท่านวา่ เร่อื งราวเปน็ อยา่ งนๆี้

ดว้ ยเหตนุ ้จี งึ เรียนใหพ้ นี่ อ้ งทงั้ หลายทราบทเ่ี ขาโจมตีหลวงปฝู่ ั้นเรา เราตามแกน้ ะ เพราะ
ความจรงิ เรากำ� ไว้ในเงื้อมมอื ท้งั หมด พวกนีไ้ มม่ คี วามจรงิ มาตม้ เอาเฉยๆ ...”

ครบู าอาจารย์เทศน์ในงานบ�ำเพญ็ กศุ ลศพหลวงปู่ฝั้น

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ในยามท่ีท่านมีชีวิตอยู่และมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ท่านให้
ความส�ำคญั ตอ่ ชาติ ศาสนา พระมหากษตั รยิ ์มาก ทา่ นจงึ ทมุ่ เทเสียสละอทุ ิศชวี ิตเพ่ือประโยชน์
ส่วนรวมอยา่ งแท้จรงิ จนไดร้ ับการถวายสมณสมัญญาเป็น “พระยอดนักพัฒนา” ท่านพัฒนาทัง้
ดา้ นวัตถุควบคู่กับด้านจติ ใจ ทา่ นให้ความสำ� คัญต่อวงกรรมฐานมาก ทา่ นถือเสมอื นเป็นครอบครวั
กรรมฐานเดียวกันจรงิ ๆ ท่านจึงเดนิ ทางไปร่วมงานส�ำคัญๆ ของพระอุปัชฌาย์ เพ่ือนสหธรรมิก
ตลอดครูบาอาจารย์ทง้ั หลาย ทัง้ ใกลแ้ ละไกลอยู่เปน็ ประจำ� และทา่ นก็เมตตารับกจิ นมิ นต์เดนิ ทาง
ไปโปรดสงเคราะห์พทุ ธบรษิ ทั ตามสถานทต่ี ่างๆ อย่างไม่เหน็ แก่ความเหน็ดเหนื่อย

คุณธรรมในขอ้ น้ีของหลวงปู่ฝ้นั เด่นชัดมาก และไดแ้ สดงให้ปรากฏในวาระสุดทา้ ยของท่าน
กลา่ วคือ ในระหวา่ งก่อนงานพระราชทานเพลงิ ศพของท่าน จึงมีเพ่อื นสหธรรมิก ครูบาอาจารย์
วงกรรมฐาน ตลอดพทุ ธบริษทั คณะตา่ งๆ ท้งั ใกลแ้ ละไกล คณะแลว้ คณะเลา่ พากันหลงั่ ไหลเดนิ ทาง

366

มากราบคารวะศพและมาบ�ำเพ็ญบญุ กุศลอทุ ศิ นอ้ มถวายแด่ท่าน ทีว่ ัดป่าอุดมสมพร เปน็ ประจ�ำ
อย่างไม่ขาดสาย โดยการบำ� เพญ็ บญุ กุศลก็ท�ำตามแบบฉบบั ปฏปิ ทาของพระธดุ งคกรรมฐาน คอื
มีการท�ำวัตรสวดมนต์ การฟังธรรม ปฏิบัติธรรม โดยองค์แสดงธรรมจะกราบอาราธนานิมนต์
ครูบาอาจารย์วงกรรมฐานองคส์ �ำคัญๆ ทม่ี ีคณุ ธรรมเปน็ ท่ียอมรบั ไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรด
พทุ ธบรษิ ัท เนอ่ื งในงานมรณภาพครบ ๕๐ วัน ๑๐๐ วนั ของท่าน ตลอดวนั พระ วนั สำ� คญั ทาง
พระพทุ ธศาสนา ฯลฯ

ด้วยครบู าอาจารยว์ งกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ทา่ นมกั สนทนาธรรมกันตามหลัก
ของสลั เลขธรรม ท่านยอ่ มทราบคณุ ธรรมของกนั และกนั เป็นอย่างดี ดงั นั้น ครบู าอาจารย์ทุกองค์
เมื่อมาแสดงธรรมในงานศพของหลวงปู่ฝั้น ต่างก็เทศน์ยกย่องสรรเสริญและช่ืนชมในคุณธรรม
ของทา่ นอยา่ งไมม่ ีข้อเคลือบแคลงสงสัย ทา่ นเทศนธ์ รรมแท้อยา่ งบริสทุ ธิ์ใจจากใจบรสิ ทุ ธ์ิ โดยไมม่ ี
การเยินยอหรอื เสกสรรป้นั แตง่ ดังเช่น องค์หลวงตาพระมหาบวั ทา่ นรับอาราธนานิมนต์ไปเทศน์
โปรดบรรดาพทุ ธบริษัทท่วี ดั ปา่ อุดมสมพร เมอ่ื วันท่ี ๑๒ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ บางสว่ นของ
เทศนาธรรมถงึ หลวงปฝู่ นั้ มดี งั น้ี

“...วันน้ีเป็นโอกาสอันดีของพี่น้องท้ังหลาย ที่มาจากทั้งทางใกล้และทางไกล มาเคารพ
นบน้อมศพของทา่ นพระอาจารย์ฝั้น ซง่ึ เปน็ ผู้มีอปุ การคณุ แก่โลกมามากมายกา่ ยกอง และเป็น
เวลานาน เราทา่ นทั้งหลายที่เปน็ พทุ ธบริษทั และได้นับถอื ทา่ นวา่ เป็นครู เป็นอาจารย์ เมือ่ ทราบถึง
การล่วงลบั ของท่าน ซง่ึ เปน็ ธรรมดาของกฎอนจิ จงั ท่ีมีอยู่กับทกุ คน แล้วก็ได้อุตสา่ หส์ ละจากบ้าน
จากเรือน หน้าทก่ี ารงาน แมท้ ส่ี ดุ ชีวติ ก็ยอมสละ เพอื่ มากราบไหว้บูชาคุณทา่ น…

ทานก็เปน็ ความดขี องเรา ศลี กเ็ ปน็ ความดีของเรา ภาวนาก็เป็นความดขี องเรา เฉพาะอย่าง
ย่งิ ภาวนาเป็นสง่ิ สำ� คัญมากทีเดยี ว ให้อ่านดูจิตใจของเรา วนั หนึ่งคนื หนึง่ จติ ใจของเรามันคิดแส่ส่าย
ไปท่ไี หนบา้ ง ได้ประโยชน์อะไรบา้ ง เราไมเ่ คยค�ำนึงคำ� นวณถงึ ความคดิ ความปรงุ ท่มี ันก่อความ
เสียหายใหต้ นอยู่เรื่อยๆ นน้ั เราคิดแตเ่ รื่องอืน่ มองดแู ต่สิ่งอ่นื ไมม่ องดตู วั ของเรา เรากไ็ ม่เหน็
ความบกพร่องของเรา แลว้ จะแก้ไขกนั ได้อย่างไร หาทางแก้ไขไม่ได้

เพราะฉะนั้นธรรมะพระพุทธเจ้าทา่ นสอน ซ่ึงสอนมาหาเราให้เราไดด้ ตู ัวของเรา โอปนยิโก
ใหน้ อ้ มเขา้ มาดู เหน็ คนอ่นื ตายเราก็น้อมเข้ามาดูตัวของเราว่าจะตายอยา่ งนัน้ หรือไม่ แนะ่ ดงั
ทา่ นพระอาจารย์ฝั้น เปน็ ต้น ทา่ นก็ปรากฏชื่อลือนามด้วยคณุ งามความดีท้ังหลาย เปน็ สงา่ ราศี
ในวงพระศาสนา ตลอดถึงให้ความรม่ เยน็ แกป่ ระชาชนมากว้างขวางมากมาย แมเ้ ชน่ นั้นทา่ นก็ยงั
ตกอยใู่ นกฎอนจิ จงั ทกุ ขงั อนัตตา คอื เกดิ แล้วก็ต้องตายเช่นเดยี วกนั ทา่ นตายไปวันน้ี เราอาจจะ

367

ตายในวันพรุ่งน้ีก็ได้ ทุกรูปทุกนามท่ีอยู่ด้วยกันนี้ มีป่าช้าตีตราอยู่ด้วยกันทุกคน ไม่มีใครที่จะ
นอกเหนอื กวา่ กันได้ ที่จะข้ามโลกข้ามสงสารไปโดยไมม่ ปี ่าชา้ เกิดแล้วต้องตายดว้ ยกนั …

นพิ ฺพานํ ถงึ ละ่ ทน่ี ี่ ถึงนิพพาน เมือ่ ถงึ นิพพานแล้วกเ็ ป็นอนั ว่าแลว้ เทา่ น้นั อย่างทา่ น–
อาจารย์ฝนั้ ท่านเคยแสดง เราก็เคยได้ยนิ ทา่ นพดู ทา่ นพดู ใหพ้ วกเราฟงั ได้อยา่ งง่ายๆ ถา้ จะแปลให้
ลกึ ซ้งึ กว่านัน้ พวกเราทัง้ หลายจะไม่เขา้ ใจ ทา่ นกแ็ ปลเอาอย่างง่ายๆ ให้พวกเราทง้ั หลายฟงั บรรดา
ผูใ้ ดท่ีเคยฟังธรรมจากทา่ น คงจะไดฟ้ งั ศพั ทน์ ว้ี า่ นพิ พานๆ นน้ั แปลว่าอะไร ทา่ นว่า

“ก็อะไรมาพาน กห็ นบี เอาๆๆ เอาหมด ความโลภกห็ นีบมัน ความโลภมาพานก็หนีบ
มนั เสีย ความโกรธมาพาน ก็หนีบมนั ขาดไปเลย ความหลงมาพาน ก็หนีบมนั อะไรมาพาน
ก็หนบี มันหมด จงึ เรียกวา่ นเี้ ปน็ นพิ พาน”

ท่านวา่ ง้ัน นั่นฟงั ซิ เราเคยหนีบไหมละ่ ไม่เคยหนีบ มแี ตก่ ่อตัวขึ้นเร่ือยๆ ก่อตัวขึน้ เรอ่ื ยๆ
จนเกดิ ความทกุ ข์ ความล�ำบากแกต่ วั ของเรานน้ั แหละ น่ไี ด้ยกทว่ี ่า ยอดธรรม หมายถึงอยา่ งน.้ี ..”

ทา่ นพระอาจารยส์ ิงหท์ อง ธมฺมวโร กเ็ ป็นครบู าอาจารย์องค์ส�ำคัญอีกองคห์ นึ่งท่ไี ปเทศน์
ในงานบำ� เพญ็ บุญอทุ ศิ ถวายแดห่ ลวงปฝู่ ัน้ บางสว่ นของเทศนาธรรมถงึ หลวงปู่ฝั้น เมื่อวันที่ ๗
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีดงั น้ี

“ยกตัวอย่าง ท่านอาจารย์ใหญ่ฝั้นของเรา ที่ท่านได้มาแนะน�ำพร่�ำสอนพวกพุทธบริษัท
ตัวของท่านเคยได้ประพฤติปฏิบัติ ท้ังแนะทั้งน�ำคือทุกส่ิงทุกส่วน ท่านเคยประพฤติปฏิบัติในตัว
ของท่านมาถูกต้องดีทุกอย่าง ท่านจึงเป็นแม่เหล็กส�ำคัญที่ดึงดูดผู้คนประชาชนท่ัวไปให้เลื่อมใส
ศรทั ธา เพราะท่านเปน็ ตวั อยา่ งในทางปฏบิ ัติไมว่ ่าด้านกาย วาจา จติ

พวกเราที่มาแนะมาสอนกัน มันไม่เหมือนอย่างท่าน จึงเป็นท่ีน่าเสียดาย ท่านได้มา
มรณภาพจากไป เป็นทพ่ี ่ึงของใจของพทุ ธบรษิ ทั ได้อย่างดี ครูอาจารยส์ มยั น้ีจะหาเหมอื นทา่ นไม่มี
ถึงจะมอี รรถธรรมภายในใจ บางท่าน บางองค์ ทา่ นกไ็ มช่ อบที่จะแนะจะสอนคนอนื่ บางทา่ น
บางองค์กส็ อน แตถ่ า้ วา่ ธรรมะกไ็ มถ่ ึงจติ ถึงใจของบุคคล

ฉะนนั้ การสอนคนเปน็ ของยาก ของล�ำบาก ไมใ่ ชข่ องงา่ ย ตวั ของเราเองเคยบวชเรียน
เขียนอา่ นมาก็เหมือนกนั ไมใ่ ช่วา่ ทา่ นสอนเก่งแล้วจะชอบองคท์ ี่ท่านสอนเกง่ ทุกองคไ์ ป ไม่อย่างนั้น
ยง่ิ เปน็ เจ้ามานะทิฏฐิ อยา่ งตัวของผเู้ ทศน์ (ท่านพระอาจารยส์ ิงหท์ อง) จะต้องดูทุกแง่ทกุ มุม ดคู น
ไม่ใช่ว่าเช่ือเพียงลมปากของคนเท่านั้น จะเช่ือเข้าถึงจิตถึงใจได้ ก็เพราะอาศัยข้อวัตรปฏิบัติ
อาศัยความดีความเด่นของทา่ น ไม่เพยี งแตม่ าพูดกันเปล่าๆ เพียงลมปาก ไม่ยอมเชือ่ ให้ น้ีพดู ถงึ
จิตใจคนที่ทิฏฐิหนักอย่างอาจารย์ (ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง) เป็นอย่างนั้น ไม่ค่อยเช่ืออย่าง
งมงายงา่ ยดายเท่าใด...”

368

สมเดจ็ พระสงั ฆราช (วาสนมหาเถร) กบั หลวงปู่ฝนั้

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสงั ฆราช สกลมหาสงั ฆปริ–
ณายก วดั ราชบพธิ สถติ มหาสมี าราม พระองคท์ า่ นมพี ระเมตตาใหค้ วามสนทิ สนมคนุ้ เคย และให้
การสนบั สนุนวงกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ ่นั เป็นอย่างดี พระองค์ทา่ นมกั เสด็จไปเยี่ยมเยยี น
สนทนาธรรมกับครบู าอาจารย์องคส์ �ำคญั ๆ ที่มคี ุณธรรมเปน็ ประจำ� เช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย ที่
วัดถ�ำ้ กลองเพล จ.หนองบัวลำ� ภู หลวงป่แู หวน สจุ ิณโฺ ณ ทีว่ ัดดอยแมป่ ง๋ั จ.เชยี งใหม่ และเคยเสดจ็
ไปเยีย่ มเยียนสนทนาธรรมกบั หลวงปฝู่ ั้น อาจาโร ทีว่ ดั ถ�้ำขาม จ.สกลนคร เปน็ ต้น

เมื่อหลวงปู่ฝ้นั ถึงแกม่ รณภาพ พระองค์ท่านกไ็ ดเ้ สดจ็ ไปรว่ มงานบ�ำเพ็ญกศุ ลศพครบรอบ
๑๐๐ วัน หลวงปฝู่ ้ัน เมือ่ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ทรงเป็นองคป์ ระธานในงาน และในคนื
วนั น้ันทรงรว่ มสวดพระอภิธรรม และเมอ่ื มกี �ำหนดการพระราชทานเพลิงศพ ระหวา่ งวันท่ี ๒๐ –
๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ พระองคก์ ็เตรยี มท่จี ะเสดจ็ ไปร่วมงาน

โดยวนั ท่ี ๙ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๒๐ พระองค์ท่านมีลิขติ อนสุ รณ์สรรเสรญิ หลวงปู่ฝ้นั
อาจาโร ไว้ดงั น้ี

“พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร นับเป็นปูชนียภิกษุรูปหนึ่ง การบ�ำเพ็ญสมณธรรมตลอดถึง
กรณียกิจน้อยใหญ่ท่ีท่านได้ปฏิบัติมาแล้ว ล้วนแต่สมควรถือเป็นอนุสาวรีย์แห่งชีวิตของท่าน ท่ี
บรรดาศษิ ยานุศษิ ย์ผมู้ นี �ำ้ ใจม่ันในกตญั ญู กตเวที ตามธรรมจะพึงบูชาดว้ ยการประพฤติปฏบิ ตั ติ าม
เยีย่ งอยา่ งตลอดกาลทุกเมื่อ

ชีวิตของท่านอาจารย์ได้ดับสลายตามสภาวะปรากฏชัดแล้ว แต่คุณธรรมที่ท่านปฏิบัติมา
หาได้ดับสลายตามชีวิตร่างกายไม่ เชื่อว่ายังคงสถิตประจ�ำใจศิษยานุศิษย์ ตลอดผู้เคารพนับถือ
อยเู่ สมอ

การบ�ำเพ็ญกุศลตามศาสนประเพณี ถือว่าเป็นเพียงอามิสบูชา จึงสู้การนิยมปฏิบัติตาม
คำ� สง่ั สอนไวม้ ิได้ เพราะอ�ำนวยคณุ ประโยชนแ์ ก่ผูป้ ระพฤตติ ามโดยตรง และชื่อว่าเป็นการแสดง
กตัญญู กตเวที อยา่ งท่ีบณั ฑติ พงึ สรรเสรญิ โดยแท้”

เตรยี มงานพระราชทานเพลงิ ศพหลวงปฝู่ ้นั

ข่าวหลวงปฝู่ น้ั อาจาโร มรณภาพแพรส่ ะพดั ไปอยา่ งรวดเรว็ พระภิกษุ สามเณร แมช่ ี
ตลอดศรัทธาญาติโยมผู้เล่ือมใสจากท่ัวประเทศ ทยอยเดินทางไกลมากราบคารวะศพและบ�ำเพ็ญ
กุศลถวายแด่ท่านตลอดมาจนถึงวันพระราชทานเพลิงศพ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

369

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ในการพระราชทานเพลิงศพ
พระอาจารย์ฝ้ัน ณ เมรวุ ัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร ดงั น้ี

วนั ศุกรท์ ่ี ๒๐ มกราคม ๒๕๒๑ เวลา ๑๖.๓๐ น. บ�ำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานในการ
ออกเมรุ ณ ศาลาการเปรยี ญ วดั ป่าอุดมสมพร พระสงฆ์ ๑๐ รปู สวดพระพุทธมนต์ จบ มีพระธรรม
เทศนากณั ฑ์ ๑ พระ ๔ รปู สวดธรรมคาถา พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม

วันเสารท์ ่ี ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ เวลา ๐๘.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รปู ทสี่ วดพระพุทธมนต์
แต่วันกอ่ นถวายพรพระ แลว้ รบั พระราชทานฉัน

เวลา ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รปู บงั สกุ ลุ เชญิ หีบศพเวียนเมรุ แล้วเชิญขน้ึ ตั้งบนจติ กาธาน
เวลา ๑๕.๐๐ น. พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั และสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชิน–ี
นาถ เสด็จพระราชด�ำเนินถึงวัดป่าอุดมสมพร ทรงทอดผ้า พระสงฆ์ ๑๐ รูป บังสุกุลแล้ว
พระราชทานเพลิง สมควรแกเ่ วลาเสด็จพระราชดำ� เนินกลับ
วนั อาทิตยท์ ่ี ๒๒ มกราคม ๒๕๒๑ เวลา ๐๗.๐๐ น. พระราชทานผ้าไตรและภัตตาหาร
สามหาบ ในการเก็บอฐั ิ
กอ่ นพระราชทานเพลิงศพหลวงปฝู่ นั้ อาจาโร ทา่ นพระอาจารยส์ วุ จั น์ สุวโจ ได้สนองคุณ
ท่านพระอาจารยฝ์ นั้ ครบู าอาจารย์ของทา่ นอยา่ งยอมถวายชวี ิตสุดก�ำลงั ความสามารถ โดยทา่ น
วางแผนแบบละเอยี ดลึกซึ้ง ใหเ้ จ้าอาวาสวัดปา่ อดุ มสมพร ซอ้ื ทด่ี า้ นนอกวดั เตรียมการไว้ส�ำหรับที่
พระราชทานเพลิง และอีกด้านท�ำเป็นที่จอดรถ ถมดินจ�ำลองให้เหมือนถ้�ำขาม ท�ำกลดใหญก่ ว้าง
๖ เมตร วางบนเมรุ ติดตอ่ นายอ�ำเภอ เพราะผคู้ นจะหลง่ั ไหลมาจากทุกสารทิศ คณะกรรมการ
จัดงานทกุ คน ตลอดจนพระภกิ ษุสามเณรก็มีความเหน็ แยง้ วา่ ต้องเอาทา่ นพระอาจารยฝ์ น้ั ไวใ้ นวดั
ทา่ นจงึ เปน็ พระหวั เดยี วกระเทยี มลบี แตโ่ ดยทสี่ ดุ เมอื่ มหาชนหลง่ั ไหลมากๆ กต็ ้องท�ำตามวธิ ีท่ีท่าน
คดิ ไว้เดมิ หมด
คณะกรรมการจดั งานตอ้ งเตรยี มความพรอ้ มในทกุ ๆ ดา้ น เช่น เมรพุ ระราชทานเพลงิ ศพ
ปะร�ำพิธีสงฆ์ พลับพลารับเสด็จฯ กองอ�ำนวยการ สถานท่ีลงทะเบียนของพระภิกษุสามเณร
สถานท่รี ับบรจิ าค การรักษาความปลอดภัย การจราจร สถานทจี่ อดรถ ระบบไฟฟ้า นำ�้ ประปา
หนังสอื ที่ระลกึ ฯลฯ
ก�ำหนดการพระราชทานเพลงิ ศพ พระอาจารย์ฝ้นั อาจาโร จะมขี ึ้นระหวา่ งวันที่ ๒๐ –
๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ แต่ทางคณะกรรมการพระราชทานเพลิงศพ ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่าย
ฆราวาสได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่า บรรยากาศจะต้องเร่ิมคึกคักมาก่อนหน้าน้ันเป็นเวลาหลายวัน

370

แนๆ่ เพราะพระภิกษุ สามเณร แมช่ ี ตลอดพทุ ธบริษัทจากจงั หวดั ต่างๆ ทวั่ ประเทศจะต้อง
หล่ังไหลทยอยกันเดินทางไกลมาร่วมงานอย่างเนืองแน่นคับคั่ง การจัดเตรียมท่ีพักแรม ห้องน้�ำ
ห้องสุขา ตลอดข้าวปลาอาหาร และนำ�้ กนิ น้�ำใช้ จงึ จะตอ้ งเตรยี มการรองรับ ใหส้ มควรแก่ศรทั ธา
ของผรู้ อนแรมมาจากทว่ั สารทิศ ในทีส่ ุดทป่ี ระชมุ คณะกรรมการจดั งาน ก็มมี ตใิ ห้สร้างทพี่ กั ห้องน้�ำ
หอ้ งสขุ า และโรงทานขึน้ ล่วงหน้าอย่างเร่งรบี

ทพ่ี กั ประกอบดว้ ยที่พกั สงฆแ์ ละฆราวาส ซง่ึ จัดแยกไปตา่ งหากไม่ใหป้ ะปนกันและเน่ืองจาก
ไมอ่ าจจัดให้อยอู่ าศยั ในกุฏสิ งฆ์ซ่ึงมจี �ำนวนจ�ำกดั ได้ คณะกรรมการจงึ จดั สร้างที่พกั ช่วั คราวโดยมี
หลังคาคมุ้ แดดฝนให้ สว่ นพ้นื ดนิ กจ็ ดั ท�ำฟาก ส�ำหรบั รองนัง่ นอนไว้ใหเ้ สรจ็ ที่พกั ดังกลา่ วได้ปลกู
สรา้ งข้ึนในบรเิ วณดา้ นหลังของตวั วัด แตล่ ะหลังท้ังกวา้ งและท้งั ยาว ซ้�ำยังแบ่งออกเปน็ ห้องใหญๆ่
สำ� หรับพทุ ธบริษทั แต่ละจังหวัดท่เี ข้ามาพกั แรมอกี ด้วย ส�ำหรบั น้�ำใช้น้นั หน่วยราชการและเอกชน
หลายรายได้นำ� ถังมาตงั้ ไวใ้ ห้หลายสิบแห่ง โดยเตมิ นำ้� ให้เต็มถังอยูท่ กุ วนั จนกระท่งั ถึงวนั งาน

ส่วนโรงทานซ่ึงจ�ำเป็นส�ำหรับผู้พักแรมและผู้ไปร่วมงานโดยทั่วไป ก็ได้ปลูกสร้างเป็นเรือน
โรงหลังคาจากข้ึนทางหลังวัดสองแถวและทางด้านหน้าอีกหนึ่งแถว แต่ละแถวกั้นไว้เป็นช่วงๆ
ส�ำหรับใหค้ ณะบุคคลหรอื เอกชนผ้มู จี ิตศรัทธาไปประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายเปน็ ทาน อนั นับเปน็
การร่วมกศุ ลอทุ ิศถวายแด่พระอาจารย์ฝนั้ อาจาโร ผู้ละสังขารขนั ธ์ไปแล้วอกี ทางหน่งึ

ในที่สดุ เหตกุ ารณก์ เ็ ปน็ ไปดังที่คาดหมาย ตัง้ แตว่ นั ที่ ๑๕ มกราคม มีพระภิกษุ สามเณร
แม่ชี ตลอดพุทธบริษทั จากจังหวดั ไกลๆ ทยอยกนั เขา้ ไปพกั แรม และยังมีจำ� นวนมากข้ึนทกุ วัน
จนถงึ วนั ท่ี ๑๘ มกราคม จ�ำนวนพระภกิ ษุสามเณรเพมิ่ ขนึ้ เป็น ๖๐๐ กว่ารปู พุทธบริษทั เพิ่ม
จ�ำนวนขนึ้ นบั เป็นจำ� นวนพนั เม่ือคนื วันที่ ๒๐ มกราคม กอ่ นวันงานพระราชทานเพลงิ ศพหน่งึ วัน
พระภิกษสุ ามเณรเพ่ิมจ�ำนวนขึ้นไปเป็น ๑,๔๐๐ รปู พุทธบรษิ ัทจากจังหวัดต่างๆ หลั่งไหลเข้า
พกั แรมนับเปน็ จ�ำนวนหมนื่ ๆ โดยเฉพาะในวันงาน พระภกิ ษสุ ามเณรเฉพาะทลี่ งบญั ชที วจี ำ� นวนขึ้น
เปน็ กว่า ๒,๐๐๐ รปู ส่วนพทุ ธบริษัทนน้ั มากมายจนสดุ คณานับ

ครูบาอาจารยห์ ลายองคไ์ ปรว่ มงานก่อนจะถงึ วันพระราชทานเพลิงศพ เนอื่ งจากอายุมาก
และสขุ ภาพไมอ่ �ำนวย เชน่ หลวงปูบ่ ุญจันทร์ กมโล พระเถระผ้ใู หญอ่ ีกองค์หนึ่งของวงกรรมฐาน
ท่านได้ระลกึ ถงึ คณุ านุคณุ ของหลวงป่ฝู ั้น ซึง่ เป็นครบู าอาจารยท์ เี่ คยพบปะสนทนาธรรมกนั และ
ท่านกม็ ีความเคารพในหลวงป่ฝู ั้นด้วย จงึ ไดเ้ ดินทางไปกราบคารวะศพทวี่ ัดป่าอุดมสมพร กอ่ นงาน
๓ วนั ทา่ นบอกว่า “วันงานคนเยอะ เราตาไมด่ ี ขาไม่ดี ตอ้ งไปก่อนวนั งาน”

ก่อนวนั พระราชเพลงิ ศพหนึ่งวนั คือวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๑ เจา้ หน้าทีส่ �ำนักพระราชวัง
ได้ข้ึนไปตบแต่งบริเวณปริมณฑล ซึ่งเป็นที่ตั้งจิตกาธานดังกล่าวแล้วน้ีต้ังอยู่บนเขาย่อมๆ ลูกหนึ่ง

371

ในบริเวณวัด เม่ือแรกเร่ิมคณะกรรมการจัดงานศพต้ังใจจะจ�ำลองภูเขาให้มีสภาพเหมือนถ�้ำขาม
ซ่ึงเป็นส�ำนักสงฆ์ที่พระอาจารย์ฝั้นพ�ำนักบ�ำเพ็ญภาวนาอยู่ในระยะหลัง แต่การจ�ำลองให้เหมือน
ไม่ทันการ ทางส�ำนกั พระราชวังจึงออกแบบใหใ้ หมเ่ ป็นพเิ ศษ ขณะก�ำลงั ตบแต่งบริเวณปรมิ ณฑล
อยู่นน้ั ประชาชนนบั หมื่นได้ทยอยไปเดนิ ดูรอบๆ เขา สว่ นใหญ่อดใจอย่ไู ม่ไดถ้ ึงกบั ออกปากชมกัน
หนาหวู ่า สวยงามทีส่ ุดในบรรดาท่เี คยพบเห็นกันมา

วันน้ันพุทธบริษัทจ�ำนวนไม่น้อยได้แย่งกันผ่าท่อนไม้จันทน์ ส�ำหรับเป็นฟืนพระราชทาน
เพลิงในวันรุ่งขึ้น กองรักษาการณ์ในบริเวณวัด มีเจ้าหน้าที่ต�ำรวจมาปฏิบัติหน้าที่คึกคักขึ้นกว่า
วันกอ่ น พอถึงเวลา ๑๖.๐๐ น. มีพธิ ีบำ� เพ็ญพระราชกุศล พระราชทานในการออกเมรุบนศาลา
โรงธรรมซึ่งตง้ั ศพบำ� เพญ็ กศุ ลมาแตต่ น้ พระภกิ ษุ ๑๐ รปู สวดพระพุทธมนต์ มีพระธรรมเทศนา
๑ กัณฑ์ พระสงฆ์ ๔ รูป สวดธรรมกถา มพี ระพธิ ธี รรม แล้วสวดพระอภิธรรม

ค�ำ่ วันเดยี วกันนั้น คือวนั ที่ ๒๐ มกราคม พระภิกษุจากวัดต่างๆ ทั้งใกลแ้ ละไกลไดผ้ ลดั กัน
ข้ึนธรรมาสนใ์ นโรงฉันภตั ตาหารเพอื่ แสดงธรรมเทศนาจนกระท่งั เวลา ๒๔.๐๐ น. จงึ ยุติ ปรากฏวา่
มีพุทธบรษิ ัทนบั จำ� นวนพัน ไปนงั่ ฟังธรรมเทศนาอยา่ งคบั คั่งตง้ั แต่หัวค่�ำ เมอื่ เลิกแลว้ จึงทยอยกัน
กลบั ไปนอนยังโรงท่พี กั

ในคืนนัน้ อีกเหมือนกนั เจ้าหนา้ ทฝ่ี า่ ยแจกหนังสอื เลม่ เล็ก ซง่ึ ทางวดั ปา่ อุดมสมพร จดั พิมพ์
แจกเป็นอนสุ รณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารยฝ์ ั้น อาจาโร ไดแ้ ยกย้ายกนั ออกแจกตาม
โรงทพี่ ักและถนนหลายสายภายในบรเิ วณวดั ผู้เฒ่าผ้แู ก่ทีน่ อนหลบั ไปแล้วตา่ งกถ็ ูกปลกุ ข้ึนรบั แจก
อยา่ งทวั่ ถงึ เมอื่ ทราบวา่ เปน็ หนงั สอื อนุสรณแ์ ละเหน็ ภาพส่สี ีพระอาจารยฝ์ ้ันทพ่ี วกตนเคารพนบั ถอื
ภายในเล่ม ต่างก็ยกหนังสือขึ้นพนมเหนือศีรษะ เป็นการสักการะพระอาจารย์ฝั้นไปตามๆ กัน
ปรากฏว่าเพียงประมาณสองช่ัวโมง หนังสือดังกล่าวได้ถูกแจกจ่ายจนถึงมือชาวบ้านจากสารทิศ
ต่างๆ ไปถงึ หมื่นกวา่ เล่ม ทง้ั นี้มิไดร้ วมถึงการแจกจ่ายในวนั งานอกี ประมาณ ๓ หมนื่ กวา่ เล่ม

มืดฟา้ มัวดนิ วันพระราชทานเพลงิ หลวงปู่ฝ้ัน อาจาโร

วนั พระราชทานเพลงิ ศพหลวงปฝู่ ั้น อาจาโร ในวนั เสาร์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑
นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ที่ควรแก่การจดจารึกยกย่องเป็น
เกยี รตปิ ระวตั ิของพระพุทธศาสนา ของวงกรรมฐาน และของหลวงปฝู่ ้นั เน่อื งจากการมารวมกนั
ของคลน่ื ศรัทธามหาชนจ�ำนวนนับแสน ณ บรเิ วณวดั ป่าอดุ มสมพร อำ� เภอพรรณานคิ ม จงั หวัด
สกลนคร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ และสมเด็จ
พระสังฆราช ทรงเป็นองคป์ ระธานฝา่ ยบรรพชิต โดยมคี ล่ืนพระภกิ ษุ สามเณร แม่ชี จ�ำนวน

372

นบั หมื่น ตลอดมขี ้าราชการทหาร ตำ� รวจ และพลเรือน มาร่วมงานกนั จำ� นวนมาก พื้นทว่ี ัดซึง่ มี
อาณาบริเวณกวา้ งขวางหลายสิบไร่ จงึ กลบั ดคู ับแคบลงไปอยา่ งถนดั ใจ

คลื่นศรัทธามหาชนจากท่ัวทกุ สารทิศ จากทงั้ ใกลแ้ ละไกล ประกอบดว้ ยประชาชนทุกเพศ
ทกุ วัย หลายเช้อื ชาติ หลายศาสนา ตา่ งพากันหลั่งไหลเดินทางเขา้ สู่บรเิ วณวัด ตา่ งก็เดนิ เทา้
เบยี ดเสยี ดแน่นขนดั มากยิ่งกว่าจ�ำนวนผู้คนในงานมหกรรมใหญๆ่ แมว้ ่าบรรยากาศจะเตม็ ไปดว้ ย
ความอึดอดั จนกระทั่งหลายคนหน้ามดื เปน็ ลม และหน่วยพยาบาลจากโรงพยาบาลจงั หวัดสกลนคร
ตอ้ งออกแจกจา่ ยยาดมอยตู่ ลอดเวลา แตอ่ ุปสรรคเหลา่ นั้น ก็มิได้ทำ� ใหค้ ลื่นศรทั ธามหาชนท้อถอย
แต่ประการใด

สำ� หรับการจราจรภายในวัดและรอบๆ บริเวณวดั กต็ ิดขดั อย่างหนัก เนอ่ื งจากยานพาหนะ
ทผี่ า่ นเขา้ ออกในบรเิ วณวัดมจี ำ� นวนมาก แมเ้ จ้าหนา้ ทีต่ �ำรวจจะมกี ารวางแผนรองรบั สถานการณไ์ ว้
เปน็ อย่างดีแลว้ ก็ตาม ท้งั เตรยี มสถานท่จี อดรถ และเตรยี มเจา้ หนา้ ทคี่ อยดแู ลประจำ� จุดต่างๆ แต่
ยงั ต้องแกไ้ ขอปุ สรรคเฉพาะหน้ากนั อยา่ งชลุ มนุ

งานพระราชทานเพลงิ ศพเปน็ งานใหญ่ ย่อมมอี ุปสรรค แตก่ ็ผ่านพน้ ดว้ ยดี เพราะความ
เล่ือมใสศรัทธาในพระอาจารย์ฝ้ัน อาจาโร ปูชนยี ภกิ ษุท่มี ากด้วยบารมธี รรม สามารถครองใจผูค้ น
จากท่ัวทุกทิศานุทิศ พุทธบริษัทแต่ละคนท่ีหล่ังไหลเข้าสู่ในบริเวณงาน จนมีลักษณะเป็นคล่ืน
ศรทั ธามหาชนในวนั นนั้ ต่างก็มจี ิตใจอันมงุ่ มนั่ แนว่ แน่ ในอนั ท่ีจะรว่ มแสดงความอาลัยและความ
เคารพบูชากับทา่ นเปน็ ครงั้ สดุ ทา้ ย ไม่วา่ จะบูชาดว้ ยดอกไมจ้ นั ทน์ ตลอดข้าวของเงนิ ทองถวาย
อันเป็นอามสิ บูชา และด้วยการฟงั ธรรม ปฏิบัติธรรม อนั เปน็ การปฏิบัตบิ ชู า โดยขอใหต้ นเพยี งได้มี
ส่วนร่วมบำ� เพ็ญบญุ กศุ ลกับท่านผู้มคี ณุ ธรรมอนั เลศิ เลอ เป็นท่ยี อมรับกนั ในวงกรรมฐานว่า ทา่ น
บรรลธุ รรมข้นั สูงสดุ เปน็ พระอรหันต์ เท่านั้นก็สมปรารถนาแลว้

สำ� หรับการบณิ ฑบาต พระภิกษุ สามเณร ทเี่ ขา้ ไปพกั แรมก่อนวนั งานจนถงึ เช้าวนั งานนน้ั
ทุกเชา้ จะบณิ ฑบาตภายในวัด เพราะทั้งจากชาวบ้านทอ่ี ยู่ใกลว้ ดั ซึง่ ใสบ่ าตรเป็นประจำ� ทกุ เช้า และ
ท้ังจากพุทธบรษิ ทั ทเ่ี ดินทางมาจากทั้งใกลแ้ ละไกล จะน�ำภัตตาหารถวายเปน็ จ�ำนวนหลายรอ้ ยราย
จนทางวดั จำ� เปน็ ต้องจดั ระเบยี บการใส่บาตรขึ้นเป็นพิเศษทกุ ๆ เช้า โดยจดั ให้มีแถวใส่บาตรแยก
เปน็ สามสาย ยนื เรียงแถวกนั สองฟากถนนตรงสามแยกข้างศาลาโรงธรรมอนั เป็นทตี่ ง้ั ศพบ�ำเพ็ญ
กุศล แลว้ ใหพ้ ระภกิ ษสุ ามเณรแยกกันออกรับบิณฑบาต ปรากฏว่าทุกเช้า แม้พระภิกษสุ ามเณร
จะมีจ�ำนวนเพิม่ เป็นหลักพนั อาหารก็ยังลน้ บาตรทกุ รูปไป

โดยเฉพาะอย่างย่งิ ในเช้าวนั งานพระราชทานเพลงิ ศพ แมพ้ ระภกิ ษุสามเณรจะเพม่ิ จ�ำนวน
เป็น ๒,๐๐๐ กวา่ รูป อาหารกย็ งั ลน้ บาตรอย่เู ช่นเดิม เพราะจำ� นวนพทุ ธบริษทั ทไ่ี ปใส่บาตรก็ทวี

373

มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ยง่ิ ไปกว่าน้นั กอ่ นจะลงมือฉันในโรงฉนั กย็ งั มพี ทุ ธบรษิ ัทอกี จ�ำนวนมาก
ตามมาถวายภตั ตาหารพเิ ศษอกี ดว้ ย ภตั ตาหารของแตล่ ะรูปทีว่ างอย่ตู รงหน้าจึงมากมายก่ายกอง
อันเปน็ การบง่ บอกถงึ พทุ ธบริษทั ทม่ี าร่วมงาน ตา่ งมาด้วยความเคารพเลอื่ มใสศรทั ธาในหลวงป่ฝู ั้น
และในบญุ ทานการกศุ ลจริงๆ

ส�ำหรับอาหารข้าวก้นบาตรของพระภิกษุองค์ส�ำคัญ เช่น พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร
วัดถ�้ำผาปลอ่ ง พระอาจารยจ์ วน กลุ เชฏโฺ  วดั เจติยาคริ ีวหิ าร (ภทู อก) พระอาจารยว์ นั อุตตฺ โม
วัดถ้ำ� อภัยดำ� รงธรรม (ภเู หล็ก) ฯลฯ เป็นต้น บรรดาลกู ศิษยล์ ูกหาจะพากนั เฝา้ รอให้ท่านฉันเสรจ็
แล้วกจ็ ะขอจากท่านไปแบง่ รับประทานท่วั ๆ กัน เพ่ือความเปน็ สริ ิมงคล

สมเดจ็ พระราชาคณะ ทางฝา่ ยปกครอง ท่ไี ปรว่ มงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารยฝ์ น้ั
อาจาโร ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราชฯ (วดั ราชบพิธสถติ มหาสีมาราม) สมเด็จพระญาณสังวร
(วดั บวรนเิ วศวิหาร) และสมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ (วัดราชผาติการาม) สำ� หรับสมเด็จพระสงั ฆราชฯ
นั้น พระองคท์ ่านได้เสดจ็ จากกรงุ เทพฯ ไปจงั หวัดสกลนคร ตงั้ แต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๑
โดยไปประทับแรมอยทู่ ว่ี ดั ประสทิ ธิวนาราม (วดั บา้ นต้าย) อ�ำเภอสวา่ งแดนดิน รุง่ ข้ึนของวันงาน
จึงได้เสด็จไปยังวดั ป่าอุดมสมพร เพอ่ื ทรงร่วมในพิธสี งฆ์

พระราชาคณะชน้ั ผู้ใหญ่รปู อนื่ ๆ ไดแ้ ก่ พระพุทธพจนวราภรณ์ (วดั ราชบพธิ สถิตมหา–
สีมาราม) พระพรหมมุนี (วัดนรนาถสุนทริการาม) พระธรรมบัณฑิต (วัดสัมพันธวงศาราม)
พระธรรมวราภรณ์ (วัดราชาธวิ าส) พระเทพบณั ฑติ วดั ศรีเมือง (หนองคาย) พระเทพวราลงั การ
วดั ศรสี ทุ ธาวาส (เลย) พระเทพเมธาจารย์ วัดโพธิสมภรณ์ (อุดรธานี) พระราชธรรมานุวตั ิ
วดั ประชานยิ ม (กาฬสนิ ธุ์) พระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสทุ ธจินดา (นครราชสีมา) ฯลฯ

ส่วนพระคณาจารย์รูปส�ำคัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ไปร่วมงานคร้ังน้ี มี พระรัตนากรวิสุทธิ์
(ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม (สุรินทร์) พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสฺรํสี)
วดั หนิ หมากเป้ง หลวงปูบ่ ุญมา ติ เปโม วดั สริ ิสาลวัน (อดุ รธาน)ี หลวงปู่ออ่ น าณสิริ วัดป่า–
นโิ ครธาราม (อุดรธานี) พระอาจารย์ซามา อจุตโฺ ต วดั ป่าอัมพวนั (เลย) พระอาจารยอ์ นุ่ อุตฺตโม
วัดอุดมรตั นาราม (สกลนคร) พระอาจารยส์ ิม พทุ ฺธาจาโร วัดถ้�ำผาปล่อง (เชียงใหม่) พระอาจารย์
มหาบวั าณสมปฺ นโฺ น วดั ป่าบา้ นตาด (อดุ รธาน)ี พระอาจารยส์ าม อกญิ ฺจโณ วัดไตรวิเวก
(สรุ นิ ทร)์ พระอริยเวที (เขียน ติ สโี ล) วัดป่ารังสปี าลิวนั (กาฬสนิ ธ)ุ์ พระอาจารยว์ ัน อตุ ฺตโม
วดั ถ้�ำอภยั ด�ำรงธรรม (สกลนคร) พระอาจารยจ์ วน กลุ เชฏโฺ  วัดเจติยาคริ ีวิหาร (หนองคาย)
พระอาจารยส์ งิ ห์ทอง ธมฺมวโร วดั ปา่ แก้วชมุ พล (สกลนคร) ฯลฯ

374

ดว้ ยทางวดั ไม่อนุญาตให้พอ่ คา้ แม่คา้ เข้าไปจ�ำหน่ายสินค้าทุกประเภทในบรเิ วณวดั อาหาร
และนำ้� ของผู้มาร่วมงานจงึ ได้อาศัยโรงทานโดยไมจ่ ำ� กดั จ�ำนวนม้อื ในงานมโี รงทานเปดิ แจกอาหาร
และนำ�้ จำ� นวนมาก บางโรงทานเปดิ ตงั้ แตว่ นั ท่ี ๑๕ มกราคม และทยอยเปิดเพ่มิ ขนึ้ เรอ่ื ยจนกระท่ัง
ถึงวนั งาน

ในวนั งานพระราชทานเพลงิ ศพ คือวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ มพี ุทธบริษทั มารอใสบ่ าตร
กันแตเ่ ช้า เวลา ๐๘.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รปู ทีส่ วดพระพทุ ธมนต์แต่วันวานรับพระราชทานฉัน

พอถึงเวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รูปได้บังสุกุลแล้ว เจ้าหน้าท่ีส�ำนัก
พระราชวังได้เชิญศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ลงจากศาลาโรงธรรม จากนั้นเชิญศพจากศาลา
โรงธรรมไปเวียนเมรุ เพื่อเชญิ ข้นึ ต้ังบนจิตกาธาน โดยมีพระภกิ ษุเดินตามศพนบั รอ้ ยรปู พร้อมด้วย
พุทธบริษัทท้งั หลายร่วมขบวนศพดว้ ยอย่างคับคัง่

เชิงเขาด้านหน้าของเมรุ คณะกรรมการจัดงานศพได้สร้างโต๊ะยาว ส�ำหรับให้ประชาชน
วางดอกไม้จันทน์ไว้ด้วย ถึงระยะน้ีเจ้าหน้าท่ีได้เริ่มเข้มงวดให้ประชาชนอยู่นอกเชือกก้ันตามแนว
รมิ ถนนรอบๆ เขา ชาวบา้ นทุกเพศทกุ วยั ต่างก็นั่งกบั พนื้ ดนิ เพือ่ รอเวลาพระราชทานเพลงิ อยอู่ ย่าง
ยัดเยียด แตก่ โ็ ดยสงบ มไิ ด้มีเหตรุ ้ายหรอื เหตกุ ระทบกระทั่งใดๆ เกดิ ขึ้นเลย เร่ืองปรารภทีอ่ บุ ตั ิข้นึ
ในตอนนดี้ จู ะเปน็ เรื่องเดียวกนั หมด คอื ประชาชนคบั ค่งั เป็นแสนๆ เชน่ นี้ เจา้ หนา้ ที่จะเปดิ โอกาสให้
ข้ึนไปเผาศพพระอาจารย์ฝั้น ที่เขาเคารพบูชา ให้ได้สมปรารถนาที่อุตส่าห์รอนแรมมาหรือไม่
หากแม้เจ้าหน้าท่ีเปิดโอกาสให้ ความชุลมุนวุ่นวายจะอุบัติขึ้นเพียงไหน คนจะหน้ามืดเป็นลม
หรือลม้ ลงจนถูกเหยยี บจากคล่ืนศรัทธามหาชนทกี่ �ำลังหลัง่ ไหลข้ึนไปหรอื เปล่า และถา้ มโี อกาสจริง
ถงึ สองยามจะไดเ้ ผากันถว้ นทว่ั ทกุ ตวั คนหรอื ไม่

คณะกรรมการจัดงานศพดูจะค�ำนึงถึงปัญหานี้อยู่แล้ว จึงได้เปิดโอกาสให้ประชาชนน�ำ
ดอกไม้จันทน์ ไปวางสักการะบนโต๊ะยาวที่จัดไว้ให้ดังกล่าวข้างต้น เพื่อบรรเทาความหนักใจไป
ช่ัวระยะเวลาหนึ่งเสียก่อน แม้กระน้ันก็ยังมีผู้คนอีกเป็นหม่ืนๆ ที่ไม่ยอมออกไปวาง โดยหวังว่า
จะได้มโี อกาสข้ึนไปวางใหถ้ ึงจติ กาธานเลยทีเดยี ว

ครน้ั ไดเ้ วลาประมาณ ๑๔.๓๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัว พร้อมด้วยสมเด็จพระ–
นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ า เจ้าฟา้ มหาจักรสี ริ นิ ธร ได้เสดจ็ ฯ
ถึงวัดป่าอุดมสมพร ปกติรถยนต์พระที่นั่งจะเข้าเทียบยังพลับพลาท่ีประทับซ่ึงจัดถวายไว้ข้างเมรุ
แต่ทั้งสามพระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้หยุดรถลงตรงปากทางเข้าด้านหน้าเมรุ แล้วเสด็จฯ โดย
ปราศจากลาดพระบาทไปตามทางเข้า เพ่ือให้ประชาชนที่แน่นขนัดอยู่สองข้างทางได้เฝ้ารับเสด็จ
อยา่ งใกล้ชิดย่ิงข้ึนไปอีก นับเป็นพระมหากรุณาธคิ ุณอย่างล้นพน้

375

เมือ่ เสดจ็ ขึน้ ประทับบนพลบั พลาและได้เวลาอนั สมควรแลว้ ทัง้ สามพระองค์เสด็จฯ ขึน้ สู่
เมรทุ รงทอดผา้ ไตร พระสงฆ์ ๑๐ รปู บงั สกุ ลุ แลว้ พระราชทานเพลิงศพ

ทน่ี า่ ประทบั ใจเปน็ อย่างยิ่งกค็ ือ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัว และสมเด็จพระนางเจา้ ฯ
พระบรมราชนิ นี าถ ทรงลดพระองคล์ งกราบศพพระอาจารย์ฝ้นั อาจาโร บนพระสจุ หนป่ี ูลาดที่
พ้ืนสนามหนา้ จิตกาธาน ภาพทป่ี ระทับใจเชน่ น้บี รรดาประชาชนที่เฝ้าอยู่นบั แสน ตา่ งก็ส�ำนึกโดย
ทว่ั กัน วา่ มีโอกาสพบเห็นได้ยากยง่ิ

ส่วนหีบบรรจุศพพระอาจารย์ฝั้นน้ัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานหีบทอง
แดพ่ ระอาจารยฝ์ นั้ ดว้ ย เพราะพระอาจารย์สอนกรรมฐานแด่พระองค์มาโดยตลอด พระองคท์ รง
เคารพนับถือพระอาจารย์ฝนั้ มาก ทรงเข้าไปไหว้หีบศพพระอาจารยฝ์ ้นั ดว้ ย โดยทรงพนมพระหัตถ์
และทรงนอ้ มพระเศียรแนบกบั หบี ศพ เมื่อไดเ้ วลาอนั สมควรแลว้ ทั้งสามพระองคไ์ ด้เสด็จกลับตาม
ทางเดมิ ก่อนทจ่ี ะเสด็จกลบั ทรงมปี ฏสิ ันถารกบั พสกนกิ รชาวไทยท่มี าเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จอยสู่ อง
ข้างทางอย่างไม่ถอื พระองคด์ ว้ ย จนกระทง่ั เสด็จข้นึ ประทบั บนรถยนตพ์ ระท่ีนง่ั กลบั ออกไปจากวดั
เพอ่ื ประทบั เคร่ืองบินพระท่นี ่ังกลับพระต�ำหนกั ภูพงิ ค์ราชนเิ วศน์ ทีเ่ ชยี งใหม่

เม่อื เสดจ็ ฯ กลับแลว้ บรรดาพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และแมช่ ไี ดข้ นึ้ เผาตามล�ำดับ ส�ำหรับ
ประชาชนนั้น เจ้าหนา้ ท่ีอนญุ าตใหข้ ึ้นเผาไดโ้ ดยให้ขึ้นไปวางดอกไมจ้ ันทนบ์ นถาดนอกลวดหนาม
กนั้ ช้นั ในเท่านั้น ปรากฏวา่ ผ้คู นหลง่ั ไหลขึน้ ไปอยา่ งแนน่ ขนดั เจา้ หน้าท่ีเกรงว่าจะเกดิ เหยยี บกนั ถงึ
ขนาดบาดเจบ็ ล้มตาย จงึ จ�ำตอ้ งสะกดั กัน้ และหา้ มขึ้นเผาบนเมรุ ท้ังๆ ที่ประชาชนได้ขึน้ ไปเผากนั
ไม่ท่ัวถงึ

๑๘.๐๐ น. เป็นเวลาเผาจริง ท่ามกลางฝูงชนนับหม่ืนๆ ที่รายล้อมแสดงความอาลัยอยู่
รอบๆ เมรุ จนกระทัง่ เวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. ของวันใหมไ่ ฟจงึ ไดม้ อดลง

น่าสังเกตว่า ตลอดคืนน้ันได้มีการเฝ้าอัฐิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร บนจิตกาธานอย่าง
เข้มแข็ง กลา่ วคอื นอกจากเจา้ หน้าท่ตี ำ� รวจจะรายลอ้ มชนั้ ในไวช้ นั้ หน่งึ แล้ว ยงั มเี จา้ หน้าทีฝ่ ่าย
จงั หวัดรายล้อมไวอ้ ีกชัน้ หนึง่ ส่วนช้ันนอกซงึ่ เป็นรอบๆ เมรุช้นั ลา่ ง ประชาชนนับพนั ๆ ยังรายลอ้ ม
เฝ้าสงั เกตการณอ์ ย่ดู ว้ ยเป็นชั้นสดุ ท้าย ท้ังนเ้ี พราะอฐั ิของพระอาจารย์ฝนั้ เปน็ ยอดปรารถนาท่ี
ทกุ ๆ ฝา่ ยตา่ งก็อยากได้ไปกราบไหวบ้ ูชาบรรยากาศรอบๆ เมรใุ นคนื นั้นจึงมีสภาพไม่ผดิ อะไรกบั
การ “คมุ เชิง” ซึง่ กนั และกัน

เช้าตรวู่ ันรงุ่ ขนึ้ คอื วนั ท่ี ๒๒ มกราคม บนจิตกาธานยงั มคี วนั กรุน่ อยู่ สว่ นเจ้าหน้าทต่ี ำ� รวจ
และเจา้ หนา้ ท่ี อส. ตลอดจนบรรดาประชาชนตา่ งกย็ งั รายลอ้ มอยู่ในสภาพเดิม

376

พิธีสามหาบได้กระท�ำกันแต่เช้า พระภิกษุที่บังสุกุลในตอนน้ี ได้แก่ พระเทพบัณฑิต
เจ้าคณะธรรมยตุ ภาค ๙ พระนโิ รธรังสีคมั ภรี ปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรฺ ํส)ี และ พระรตั นากร–
วสิ ุทธ์ิ (ดลู ย์ อตโุ ล) เจา้ คณะธรรมยุตจังหวดั สุรินทร์

หลงั จากพธิ ีสามหาบเสรจ็ ส้นิ ลงแลว้ ก็ถึงวาระของการเกบ็ อฐั ิ โดยเจา้ หน้าท่ีฝ่ายจังหวดั และ
เจา้ หน้าท่ีตำ� รวจ ตลอดจนพระสงฆ์บางรปู ไดช้ ่วยกนั เก็บอัฐิบรรจใุ นเจดยี ห์ ินออ่ น จากนั้นจงึ เกบ็
อังคารบรรจุลงในหีบไม้มะค่าโมงลั่นกุญแจ แล้วอัญเชิญท้ังอัฐิและอังคารขึ้นรถน�ำไปไว้บนศาลา
โรงธรรม ตอ่ มาทางวดั ไดจ้ ัดเกบ็ ไว้อยา่ งแข็งแรงในตเู้ ซฟทวี่ ดั หามาถึง ๒ ใบ ท่กี ฏุ ิพระอาจารย์ฝ้ัน
ในวดั ป่าอดุ มสมพร

เมอ่ื เชญิ อัฐิและอังคารไปแล้ว ประชาชนที่ขึน้ ไปมงุ สงั เกตการณร์ อบๆ เมรุ ตง้ั แตเ่ รม่ิ เกบ็ อฐั ิ
ไดพ้ ยายามขอรอ้ งเจา้ หน้าที่ตำ� รวจซึ่งรายลอ้ มอยชู่ ้ันใน ให้ชว่ ยหยิบดอกไมบ้ ้าง หยวกกลว้ ยบา้ ง
หรืออะไรอื่นๆ ที่พอจะน�ำไปกราบไหว้บูชาได้ เจ้าหน้าท่ีต�ำรวจได้หยิบหยวกกล้วยส่งออกมาให้
ท่อนหน่ึง พอไดม้ าต่างฉกี แบ่งกันคนละเลก็ ละนอ้ ย นายตำ� รวจชนั้ ผูใ้ หญท่ า่ นหน่ึง เกรงวา่ จะเปน็
การไม่เหมาะสม จึงสั่งระงับเสียโดยทันที แม้กระน้ันก็ยังมีผู้ส่งผ้าเช็ดหน้าบ้าง หมวกบ้าง
ให้เจ้าหนา้ ทตี่ �ำรวจช่วยน�ำไปซบั นำ้� ตรงเชงิ เมรุให้

ส�ำหรับหยวกกล้วยกด็ ี ดอกไม้ท่ีประดับเมรกุ ็ดี ฯลฯ เจา้ หน้าทีไ่ ด้จดั การรวบรวมเผาอกี
ครง้ั หนึ่งในลำ� ดบั ต่อมา เพอื่ ป้องกันมใิ ห้เกดิ การจลาจลในการแย่งชงิ กันข้นึ

อัฐิของพระอาจารยฝ์ ัน้ อาจาโร ทางจงั หวัดและวดั ปา่ อดุ มสมพร ไดต้ กลงกนั จะบรรจุไวใ้ น
สถูป โดยจะสร้างสถูปข้นึ ไวบ้ นพพิ ธิ ภณั ฑพ์ ระอาจารยฝ์ น้ั ขณะนท้ี างคณะกรรมการฯ ได้ออกแบบ
พิพิธภณั ฑแ์ ละสถปู ไว้เรียบร้อยแล้ว

ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น ส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี องค์หลวงตาพระมหาบัว
ทา่ นเปน็ หวั หน้างาน และทา่ นเตอื นเรื่องล้วงกระเป๋า โดยท่านเทศน์ไวด้ งั นี้

“พูดถึงเรื่องท่านเมตตา เมตตามากอยู่นะกับเรา เอะอะก็ต้องเกี่ยวกับเรา เกี่ยวกับเรา
อยู่เร่อื ยๆ ทา่ นคงเหน็ ว่า หมาตัวนม้ี ันกัดเก่ง มันเหา่ ก็เกง่ กดั กเ็ กง่ เลยยุมนั เรือ่ ย ให้มันกดั เร่อื ยทา่
แล้วเรื่องศพของท่านก็เรียบร้อยไปทุกอย่างไม่มีอะไร อันน้ีก็เอาเราไปเป็นหัวหน้าอีกเหมือนกัน
เผาศพทา่ น เราเป็นคนจัดแจงทกุ อยา่ ง คนมามากตอ่ มาก รถนีไ้ ปหาจอดตามอำ� เภอ ตามโรงรำ�่
โรงเรียน ตามสถานทีว่ ่าง เขาเปดิ ทางใหพ้ วกอ�ำเภอพรรณาฯ ทั้งอ�ำเภอ เปดิ ทางให้หมดๆ ใหร้ ถ
เข้าจอดได้หมดเลย เพราะรถมากต่อมาก นเี่ ราไปเป็นหัวหน้างานอยนู่ นั้ ไมใ่ ช่เลน่ นะ หลวงป่ฝู ัน้
เราร้สู ึกหนกั มาก

377

นเี่ ราก็ไมล่ ืมที่งานศพทา่ นอาจารยฝ์ ั้น เราเตอื นเลย บอกผอู้ ำ� นวยการในงานนนั้ นะ เราบอก
งานน้ีเป็นงานบุญกุศลก็จริง งานมหาภัยแทรกอยู่ในน้ันก็มี เราบอกหมด เร่ืองการท่ีเขาจะล้วง
กระป๋งกระเป๋า ให้เขาประกาศ กองอ�ำนวยการเขาประกาศ ถึงอย่างนั้นก็ไม่พ้น ล้วงกระเป๋า
โอ๊ย ! มาก อย่างนน้ั แล้ว เราบอกไปแล้วนะ ใหไ้ ปประกาศ ใหก้ องอ�ำนวยการเขาประกาศให้
คนทราบ ทีนีค้ นมนั เข้ามนั ออกอยเู่ รอ่ื ย ใครจะทราบไม่ทราบก็ไมร่ ใู้ ช่ไหมล่ะ มันล้วงกระเป๋าเสยี
ตั้งมากมาย กระเปา๋ ฉกี กระเป๋าขาด มนั หนีบกระเป๋าๆ เปน็ อยา่ งนน้ั ล่ะ ให้ระวัง เหน็ ใครกว็ ่า
คนเหมือนกันๆ คนมันเหมือนคนนั้นแหละ แต่ว่าโจรมันไม่เหมือนคนนะ มันเป็นโจรอยู่ในคน
นั้นแหละ”

คณุ หมออวย เกตุสงิ ห์ บนั ทกึ ไว้ดงั น้ี
“บรรดาผู้ทไ่ี ดใ้ กลช้ ดิ กับทา่ นเป็นเวลานานพอสมควรมคี วามเหน็ พอ้ งกันว่า คุณธรรมที่เดน่
ท่ีสุดของทา่ นอาจารย์ คอื กรณุ าคณุ ความกรณุ าของทา่ นน่แี หละ เป็นตวั ดึงดดู ใหค้ นทัง้ หลาย
พากันไปหาทา่ น แล้วก็รกั และนับถือท่าน และเมอื่ จากไปกเ็ ฝ้าระลกึ ถึงทา่ น เพราะเหตุนั้นเมอ่ื ท่าน
ถึงแกม่ รณภาพ จงึ มีคนจากหวั บา้ นหัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศไปเคารพศพนบั เปน็ จ�ำนวนแสนและ
มีผู้ถวายเงินช่วยงานศพของท่านถึงสามสี่ล้านบาท ความกรุณาของท่านเป็นเหตุให้ท่านได้รับ
ความนยิ มยกยอ่ ง แต่กเ็ ปน็ เหตุใหท้ า่ นต้องเสียอะไรต่ออะไรตลอดจนกระท่งั ชีวิต”

องค์หลวงตาพระมหาบวั เป็นองค์แสดงธรรม

องค์หลวงตาพระมหาบัว ท่านเป็นองค์แสดงพระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลงิ ศพ
หลวงปู่ฝ้ัน อาจาโร เม่อื วนั ท่ี ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ดงั พระธรรมเทศนาบางสว่ น ดงั นี้

“... วันน้ีเกี่ยวกับการถวายเพลิงศพของท่านพระอาจารย์ฝั้น ซึ่งเป็นพระอาจารย์ส�ำคัญ
องค์หน่ึง เวลานก้ี ำ� ลงั จะเสร็จเรียบรอ้ ยลงไปด้วยดี ทำ� ไมทา่ นอาจารยฝ์ ัน้ ทา่ นก็เป็นพระเหมือนกนั
กับพระท้ังหลาย ท่ีว่าเป็นลูกศิษย์พระตถาคต ปรากฏอย่างเด่นชัดในความเป็นพระเหมือนกัน
แต่ประชาชนพุทธบรษิ ทั ท้งั หลาย มีความเคารพนับถือ มีความรัก ความจงรกั ภกั ดตี ่อท่านมาก
ทั่วประเทศไทยกว็ า่ ได้ ไม่วา่ ทางใกล้ ทางไกล ฐานะสูงตำ�่ หรอื วยั ใดไม่เลือก ต่างท่านตา่ งเสยี สละ
มาด้วยความเช่ือ ความเล่อื มใส มาถวายเพลงิ ทา่ นในวาระสุดทา้ ยนี้

การมาน้ยี อ่ มเสียสละทุกอย่าง เราท่านทงั้ หลายกท็ ราบได้ดี เสยี สละทั้งเวล�่ำเวลา หน้าท่ี
การงานสมบัตเิ งนิ ทอง แม้ท่ีสดุ ชวี ติ จะหาไม่ ในขณะทมี่ าก็จ�ำยอม นีเ่ พราะความเชื่อ ความเลอื่ มใส
ต่อทา่ น ท่านเป็นพระประเภทใดถึงไดม้ ีประชาชนเคารพนับถอื มาก เราเองเพยี งจะมีความภมู ิใจ
ในเรา เป็นท่ีอบอุ่นใจในเรากย็ ังเป็นไปไม่ได้ แตท่ า่ นเองสามารถท�ำความรม่ เย็นให้แกอ่ งค์ท่านเอง
แล้ว ยังสามารถท�ำความรม่ เย็น หรอื เปน็ เครือ่ งดดู ดม่ื จิตใจของประชาชนท้ังหลายได้เป็นจ�ำนวน

378

มาก ซง่ึ เทยี บกับแมเ่ หลก็ อันสำ� คัญดงึ ดดู จติ ใจประชาชนให้มีความเชื่อ ความเลือ่ มใส ท้ังน้ีเพราะ
ท่านมคี วามสำ� คญั อยภู่ ายในองคท์ า่ น เรียกวา่ “คุณธรรม”

“คุณธรรม” น้เี ปน็ สงิ่ ท่ปี ระเสรฐิ เหนือโลกท้ังสาม ค�ำว่า “ธรรม” น้ัน เปน็ ของมอี ยูต่ ลอด
อนนั ตกาล แต่ไมม่ ใี ครสามารถท่ีจะร้ือฟนื้ ธรรมนนั้ ขน้ึ มาแสดงใหโ้ ลกเห็นได้ นอกจากพระพุทธเจา้
เป็นพระองค์แรกเพียงองคเ์ ดยี ว ท่านอาจารยฝ์ ั้นได้บวชในพระพทุ ธศาสนา ตั้งใจประพฤตปิ ฏบิ ัติ
ดดั กาย วาจา ใจของตน เต็มสตกิ �ำลงั ความสามารถเรอื่ ยมา เรยี กวา่ เปน็ สุปฏปิ นฺโน ผปู้ ฏบิ ตั ิดี
อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อทางมรรคผลนิพพาน ายปฏิปนฺโน ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง
เห็นจรงิ ภายในใจ สามีจิปฏปิ นโฺ น เปน็ ผ้ปู ฏิบัตสิ มควรแกธ่ รรม นา่ กราบไหวบ้ ูชา เพราะฉะนนั้
คนท้ังหลายจึงได้กราบไหว้บูชาเคารพนับถือท่าน เน่ืองจากท่านมีของดีด้วยธรรมปฏิบัติมี ๔
ประการนี้เปน็ รากฐานสำ� คญั

คำ� วา่ สปุ ฏิปนฺโน อุชุฯ ายฯ สามีจิปฏปิ นฺโน น้ีน้ัน เป็นพระโอวาทของพระพทุ ธเจ้า
ทท่ี รงสง่ั สอนบรรดาพุทธบรษิ ัท เฉพาะอยา่ งย่งิ คือ ภิกษุบริษทั หรอื เปน็ เครื่องมอื ส�ำคญั ทจ่ี ะ
ถากถางดัดแปลงกาย วาจา ใจของผูป้ ฏบิ ัตนิ ้ันๆ ให้ได้ถงึ ความรยู้ ง่ิ เหน็ จริง ศาสนาของพระพทุ ธเจ้า
รวมลงแลว้ เรียกว่า มชั ฌมิ าปฏิปทา เป็นธรรมศูนย์กลางอยเู่ สมอตอ่ มรรคผลนพิ พาน ท่านผู้ใดตง้ั ใจ
ประพฤติปฏบิ ตั ิ ไม่วา่ ภิกษุ ไม่วา่ อบุ าสก อบุ าสกิ า ธรรมไม่ได้เลือกหน้า ไม่ไดเ้ ลอื กทีร่ ักมกั ทช่ี ัง
เป็นต้องให้ผลแกผ่ ู้ปฏิบตั นิ ้นั โดยล�ำดบั ดว้ ยกัน

ท่านอาจารย์ฝัน้ ทา่ นเปน็ พระสำ� คญั มาดง้ั เดิม การประพฤติปฏิบตั ิกต็ ั้งใจประพฤติปฏิบตั ิ
จรงิ ๆ จนมีความรู้ ความเข้าใจทางด้านปฏบิ ัตธิ รรม ถ้าเปน็ สมัยพุทธกาล ก็เรยี กว่าบรรลุธรรม
ขั้นน้ันๆ ไปโดยล�ำดับ ผู้มีความสามารถฉลาดรู้ถึงอรรถถึงธรรมจริงๆ ก็บรรลุถึงอรหัตผลได้
เช่นเดียวกับครั้งพุทธกาล เพราะศาสนธรรมน้ีเป็นท่ามกลางเสมอในการสั่งสอนอบรม หรือเป็น
ท่ามกลางในการท่ีผู้ปฏิบัติจะน�ำมาแก้กิเลสอาสวะทุกประเภทที่มีอยู่ภายในใจ และเป็นความ
เหมาะสมในการแก้กิเลสทกุ ประเภทต้ังแต่ครง้ั พทุ ธกาลมาจนกระทงั่ ถงึ ปจั จบุ นั น้ี...

คนเรามีคุณค่าอยู่ท่ีความประพฤติปฏิบัติ สัตว์ท้ังหลายมีคุณค่าอยู่ที่เนื้อที่หนังของมัน
ตายแล้วน�ำไปจ่ายตลาดได้เป็นเงินเป็นทองส�ำเร็จประโยชน์ มนุษย์ตายแล้วกลัวผีกันทั้งน้ัน หา
คณุ ค่าราคาไมไ่ ด้ ถา้ ไมห่ าคณุ ค่าราคาด้วยคุณธรรม ยกตวั อย่างเชน่ ครบู าอาจารย์ นี่ลองดูซิ อยา่ ง
ท่านอาจารย์ฝนั้ น้เี ป็นตน้ ใครกลัวไหมกระดกู ทา่ นอาจารย์ฝัน้ มแี ต่ผู้อยากไดต้ อ้ งการทง้ั นั้น ถ้าเรา
จะแจกแลว้ ชุลมุนกนั ใหญ่เลย เปน็ ข้าศกึ นอ้ ยๆ อนั หน่ึงขนึ้ มาในวงงานนี่แหละ เพราะใครก็ต้องการ
กระดูกท่าน ต้องการอฐั ิท่าน ใครก็ตอ้ งการๆ

379

ไม่เห็นมีใครว่ากลัวกระดูกท่านอาจารย์ฝั้นเลย นี่เพราะเหตุใด เพราะกระดูกน้ีมีคุณค่า
กระดูกนี้มคี ุณธรรม ออกมาจากท่านผ้มู คี ุณธรรม อะไรก็กลายเป็นคุณธรรมไปหมด เช่น ผ้าสบง
จีวร เคร่อื งใชต้ ่างๆ บรขิ ารของทา่ นเป็นสริ ิมงคลไปหมด เพราะท่านพาใหเ้ ป็นสริ มิ งคล ทา่ นเปน็ ผู้มี
คุณค่า ส่งิ ท้ังหลายเหลา่ นัน้ มีคุณคา่ ไปหมด แนะ่ ถ้าเปน็ ธรรมดาๆ อย่างคนตายธรรมดาๆ แลว้ ใคร
กลวั ผที ง้ั นน้ั แหละ แมแ้ ต่พอ่ แมก่ บั ลกู ยงั กลวั ผีกัน กลวั พ่อจะมาหลอก แมจ่ ะมาหลอก และกลัวลูก
คนนนั้ จะมาหลอกมาหลอน ทัง้ ๆ ที่ยังมชี วี ิตอยรู่ ักกันแทบลม้ แทบตาย พอชีวติ หาไม่แล้วเทา่ นนั้
กลัวผกี ันแลว้ น่นั เพราะเหตุไร มันต่างกันทค่ี ุณธรรมน้ี

มนุษย์เราจึงส�ำคัญท่ีคุณธรรมเป็นหลักใหญ่ พระพุทธเจ้าจึงสอนธรรมะนี้เพ่ือให้เป็น
คุณธรรม ให้เปน็ ส่ิงท่ีมีคุณคา่ เป็นเครื่องประดับมนษุ ยใ์ ห้มีความสวยงาม สวยงามภายนอก
สวยงามภายใน ...

มนุษยเ์ รามีคณุ คา่ ทกี่ ารประพฤตปิ ฏบิ ัติ ดงั ทีก่ ลา่ วแล้วสกั ครู่น้ี ถา้ ไม่มีคุณค่าอันน้ีนะ่ กลวั ผี
กนั ทงั้ นั้นแหละ ถ้ามคี ณุ ค่านี้แล้ว ดงั อฐั ิของทา่ นอาจารยฝ์ น้ั นีแ้ หละแจกไมไ่ ด้ ต้องเปน็ ข้าศกึ กัน
ทันที ใครก็จะเอาๆ กระดกู ของท่านมีเพยี งเลก็ น้อยเท่านั้น คนทว่ั ประเทศไทยใครก็จะเอาๆ นน่ั ล่ะ
ตอนจะเกิดขา้ ศึกกนั ทำ� ไมใครจงึ ไม่คดิ กลวั ผกี ระดูกทา่ นบ้าง ก็เพราะคณุ ธรรมของทา่ นเปน็ สำ� คัญ
ใหเ้ ราท�ำตวั ของเราอย่างนี้ ไมไ่ ดอ้ ย่างทา่ นอาจารยฝ์ ั้นกต็ าม แต่ขอใหเ้ ราเปน็ คนดี ประพฤติปฏบิ ตั ิ
ตัวให้ดี...”

ชวี ติ พระป่า

คุณหมออวย เกตสุ ิงห์ บนั ทึกไวด้ งั นี้
“พระภิกษใุ นพระพทุ ธศาสนา แบ่งออกไดเ้ ปน็ สองฝา่ ย ฝา่ ยปรยิ ตั มิ ุง่ ศึกษาโดยการทอ่ งบน่
ต�ำรา ส่วนมากอยู่ท่ีวัดในเมืองหรือหมู่บ้านเพื่อความสะดวกในการเสาะหาอาจารย์ จึงเรียกว่า
พระฝ่ายคามวาสี คือ พระบ้าน อกี ฝ่ายหน่ึงมุ่งศึกษา โดยการกระท�ำและอยู่ตามปา่ ตามเขาท่ี
สงบสงัด สะดวกต่อการปฏบิ ัติ จึงเรยี กว่า พระอรัญวาสี หรือพระป่า หรือพระธุดงคกรรมฐาน
ในหนงั สือนี้มชี ่ือพระปา่ เพราะสัน้ และเข้าใจงา่ ย
ตัวพระเองทา่ นกช็ อบชอ่ื น้ี เมอ่ื พระอาจารยฝ์ ั้น อาจาโร แหง่ วัดป่าอดุ มสมพร จังหวดั
สกลนคร ไดร้ บั นมิ นตไ์ ปเทศนโ์ ปรดทายกทายกิ าทว่ี ัดบวรนิเวศวิหาร กรงุ เทพฯ เนื่องในวันเฉลิม–
พระชนมพรรษาเม่อื พ.ศ. ๒๕๑๘ ทา่ นได้ออกตวั ว่า อาตมาเป็นพระปา่ เทศนไ์ มด่ ี แตพ่ ระอุโบสถ
ในวนั นั้นแน่นขนัดไปด้วยคนซงึ่ ตงั้ ใจไปฟังทา่ นทัง้ น้ัน และยังไดอ้ าราธนาให้ท่านเทศน์ซ้�ำในวันหลงั
อีก คนนยิ มฟงั ทา่ นเทศน์ เพราะนอกจากท่านมีดเี ป็นส่วนตัวแลว้ ทา่ นยังเทศนธ์ รรมะป่าอีกดว้ ย

380

เทศน์ของพระปา่ ไม่มีพิธีรตี อง มีแตเ่ นือ้ ล้วนๆ และตรงจุดสุดยอด คอื เทศนเ์ รื่องจติ และการอบรม
จิต ซงึ่ น�ำไปสกู่ ารหลุดพน้ โดยเฉพาะ

ในสมัยพุทธกาลพระทุกองค์เป็นพระป่า พระพุทธองค์เองก็ทรงเป็นพระป่า และได้ทรง
ก�ำชับสาวกของพระองค์ให้ออกไปสู่โคนไม้ คูหาหรือเรือนร้างเพื่อปฏิบัติภาวนา ในสมัยน้ีพระ
สว่ นใหญ่เปน็ ฝา่ ยปรยิ ตั ิ พระปฏิบตั ิแทๆ้ น้นั มนี ้อยนับตวั ถ้วน ทงั้ นเ้ี ขา้ ใจวา่ เน่ืองจากชวี ติ ของ
พระปา่ นั้นล�ำบากลำ� เค็ญ ยากที่คนท่ัวไปจะทนได้ และอาจารยฝ์ า่ ยปฏิบัตทิ ดี่ ีแทน้ ้ันหายาก ในสมยั
๕๐ ปหี ลงั น้ี อาจารย์ที่ข้นึ ชื่อลอื ชาท่สี ดุ นา่ จะไดแ้ ก่ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภูรทิ ตั โต แห่งจงั หวัด
สกลนคร ผไู้ ดบ้ ำ� เพ็ญความเพียรในขัน้ เอกอุบรรลถุ ึงธรรมชน้ั สงู สุด ดงั มพี ยานหลกั ฐานและปรากฏ
อยูก่ ็คอื อฐั ิของทา่ นไดก้ ลายเปน็ พระธาตุ ดงั ทม่ี บี รรยายไวว้ า่ เปน็ ลักษณะของพระอรหนั ตสาวก
ศิษยานุศิษยไ์ ด้นำ� ประดิษฐานไวใ้ นพิพิธภณั ฑ์บรขิ ารท่ีวัดปา่ สทุ ธาวาส ในจังหวัดสกลนคร หลังจาก
ทา่ นมรณภาพ (๒๔๙๒)

ท่านพระอาจารยม์ ัน่ ไดอ้ บรมสง่ั สอนลกู ศษิ ยช์ นั้ อาจารย์ไวเ้ ปน็ อันมาก ซงึ่ ได้สืบตอ่ ระเบียบ
ระบบ และวิธกี ารของทา่ นมาจนถงึ ปัจจบุ นั น้ี เมอื่ ศิษย์หลายองคถ์ งึ แกม่ รณภาพ อัฐิของทา่ นก็
แปรสภาพไปในทำ� นองเดยี วกนั กับทา่ นพระอาจารยม์ ่นั ปรากฏการณ์เหล่านี้ไดเ้ ร่งเร้าความศรทั ธา
ของประชาชนในการปฏิบตั ิกรรมฐานเปน็ อย่างย่งิ เปน็ เหตุแห่งการฟ้ืนฟวู ดั ป่าและชักจูงให้มีผูบ้ วช
เปน็ พระป่าเพ่มิ ขนึ้ เปน็ จ�ำนวนมาก

ศษิ ย์เอกองคห์ นึง่ ท่ีท่านพระอาจารย์มน่ั ไว้วางใจ คือ พระอาจารยฝ์ ัน้ อาจาโร
ท่านผู้นี้บ�ำเพ็ญบารมีในทางพระป่ามาต้ังแต่ต้น และได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ตราบสิ้นชีวิต ตลอดเวลากว่า ๕๐ ปี ท่านมีชีวิตอยู่แต่ในวัดป่า และได้จาริกไปในเขตแคว้น
ทรุ กนั ดารตา่ งๆ แทบท่ัวประเทศไทย คุณธรรมของท่านได้ปรากฏใหค้ นท้ังหลายจนเปน็ ที่เล่อื งลือ
ไปทกุ หนทกุ แหง่ ไมม่ ขี อ้ สงสยั เลยว่าท่านเป็นพระปา่ ทีย่ อดเย่ยี มองคห์ น่งึ ในสมัยนี้
ในโอกาสถวายเพลิงศพของท่านในเดือนมกราคม ๒๕๒๑ ผู้เขียนเห็นสมควรจะน�ำความ
เป็นอย่ขู องพระปา่ มาเผยแพร่ เพ่อื ผู้ทีย่ งั ไม่ทราบจะได้ทราบว่า การเปน็ พระปา่ น้ันหมายความวา่
อย่างไร ท่านพระอาจารยฝ์ ั้นต้องผา่ นภาวการณต์ า่ งๆ อย่างไรบ้าง ก่อนทีจ่ ะมาเป็น “ทา่ นอาจารย์
ใหญ”่ ดงั ทพี่ ระปา่ สายท่านพระอาจารย์ม่ันได้ถวายสมญาไว้”

อัฐิหลวงปู่ฝัน้ กลายเปน็ พระธาตุ

องคห์ ลวงตาพระมหาบวั เทศนไ์ ว้ดังน้ี

381

“เราจงึ แนใ่ จว่า ถึงยงั ไม่เปน็ กจ็ ะเป็น อาจจะเป็นชา้ ก็ได้ คอื อฐั ิกลายเปน็ พระธาตุน่ี มีอยู่
หลายประเภท หนึง่ พอผู้ส�ำเร็จแล้วไม่นานนิพพานไปเสีย นี่กอ็ ฐั ิจะนานหน่อยกลายเป็นพระธาตุ
ทนี ี้อกี ขอ้ หน่ึงทม่ี ารับกนั น้กี ็คือวา่ ผทู้ ่ีส�ำเรจ็ แล้วไมน่ านนิพพานไปเสยี ทา่ นอาจอบรมมาเปน็ ลำ� ดับ
ล�ำดาเป็นเวลานานแล้ว พอส�ำเร็จแล้วนิพพานไปเสีย อัฐิก็กลายเป็นพระธาตุได้ง่ายเหมือนกัน
เพราะหนุนกันมาอยแู่ ลว้ ต่างกันอย่างนี้ ถา้ ผ้ทู ่ีอยู่นานๆ ส�ำเร็จแลว้ อยนู่ านๆ อยู่ในธาตุขันธน์ ้ี จติ ที่
บรสิ ทุ ธน์ิ ซี้ ักฟอกธาตขุ นั ธโ์ ดยอตั โนมตั ขิ องมนั คอื จติ ทีบ่ รสิ ทุ ธ์คิ รองขนั ธ์น้ี ขันธ์จะกลายเปน็ ขันธ์
ละเอียดเขา้ ไปๆ เพราะฉะนน้ั เวลาท่านมรณภาพไปแลว้ อฐั จิ ึงกลายเปน็ พระธาตุ คือขนั ธก์ ็สะอาด
เตม็ ทีข่ องขนั ธ์ ในส่วนสมมตุ ิไปอย่างน้ีแหละ มีหลายขนั้ ทจ่ี ะส�ำเร็จไปน้ี

เพราะฉะนนั้ เราถงึ แนใ่ จ แตก่ ม็ พี ยานแลว้ นะ พอท่าน (หลวงปูฝ่ น้ั ) มรณภาพไปนาน
อัฐิของท่าน เราเป็นประธานกรรมการทีจ่ ะเกบ็ รักษา จ่ายไปทไ่ี หนๆ เราเปน็ คนไปตรวจ ไปดู
เสร็จแล้วเราก็หาอุบายวิธีการ เพราะเป็นประธานน่ีว่าไง อันนี้เอาไว้บรรจุน้ันๆ อันนี้ไม่เอา
เราท�ำท่าไม่เอา อนั นจี้ �ำเปน็ มากกวา่ คือความหมายว่าจะแจกลกู ศษิ ย์ เราก็บอกพระ อนั น้ไี มเ่ อา
แหละ โอ๋ย ! รมุ เลย น่ีล่ะที่เขาเอาไปแลว้ กลายเปน็ พระธาตอุ ยู่ในบา้ นของเขา เขาก็มาเลา่ ให้ฟงั
ว่าอัฐขิ องทา่ นอาจารย์ฝั้นเปน็ พระธาตแุ ลว้ เรายอมรับทนั ที นี่ล่ะเร่อื งราวเปน็ อย่างนัน้ จงึ หา
อบุ ายใหล้ ูกศิษย์ ก็เราเปน็ ประธานกรรมการนว่ี ะ อนั ไหนสมควรๆ เราก็แยกออก อันนไี้ มจ่ �ำเปน็
แลว้ พอว่าไม่จ�ำเปน็ แลว้ ลกู ศิษย์รุมเลย หมดเลย เขาไดอ้ ันน้ลี ะ่ ท่เี อามาอวดเราวา่ เป็นพระธาตุ
เรียบรอ้ ยแล้ว เปน็ มากตอ่ มากนี่ กอ็ ย่างนัน้ แหละ ถ้าเขา้ ตรงนน้ั แล้วไม่เปน็ อ่นื ชา้ กับเรว็ เท่านนั้ เอง
นลี่ ่ะองค์หน่งึ

เราไม่ไดย้ กตนขม่ ทา่ น ครูบาอาจารย์ เชน่ หลวงปฝู่ น้ั นเี่ ราเคารพเทดิ ทนู ท่านมากทสี่ ดุ
ทั้งรัก ทั้งเคารพทา่ น แตเ่ รายังเสยี ดาย ยังมาพูดอยา่ งนี้ใหเ้ ราฟัง จิตมนั รวมเขา้ มานี่ มันสว่างจา้
อยูจ่ ุดผ่องใสแจ๋ว เท่านน้ั จบั ได้แลว้ เพราะฉะนนั้ มันตอ้ งพุง่ ออกมาทางน้ี มันไม่ได้ว่าธรรมดานะ
การท่จี ะจมอยู่ในกองทุกข์ ทจี่ ะดึงขนึ้ มีคุณคา่ ขนาดไหน ทำ� ไมจึงมาตายอยกู่ ับสิ่งเหลา่ นี้ น่ีเรา
แนน่ อน หลังจากนัน้ มาอีก ตั้งแต่ ๒๔๙๒ – ๒๕๒๐

๒๔๙๓ เผาศพหลวงป่มู ่ัน ท่านมาเล่าให้ฟัง ตอน ๒๕๐๖ วนั ทที่ ่านเล่ากบั เรา เป็นวันทเี่ รา
ไปเผาศพทา่ นอาจารยก์ งมา เราจงึ ถอื โอกาสจะไปเรยี นถามธรรมะทา่ นโดยเฉพาะ ปเี ราไปเผาศพ
ท่านอาจารยก์ งมา เผาปี ๒๕๐๖ ปีเผาศพ (ประชุมเพลงิ ศพหลวงปกู่ งมา ๓ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๐๖)

จาก ๒๕๐๖ มาถงึ ปี ๒๕๒๐ ปที ท่ี า่ นมรณภาพ เป็น ๑๔ ปี ผา่ นได้ เพราะอันนจ้ี ะออก
นีจ้ ะพุ่งเลย ใหไ้ ปทางอืน่ ไม่มี มีแต่จะพงุ่ เลยถา่ ยเดียว เปน็ แต่ว่าชักช้า ขาดผนู้ �ำ คือ ผูแ้ นะ
ผู้แนะมีความรเู้ หนือกว่าแลว้ แนะแลว้ พุ่งเลย ยังไงก็พ้นแน่ เราจึงเช่อื เลยว่าจากนนั้ มา ๑๔ ปี


Click to View FlipBook Version