The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-06 22:46:03

ประวัติ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

ประวัติ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

Keywords: ประวัติ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

ประวัติท่านพระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโ

ISBN 978-616-7870-43-4

พมิ พ์คร้งั ท่ี ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐

จ�ำนวน ๑๕,๐๐๐ เลม่

จัดท�ำโดย มูลนิธิพระสงบ มนสสฺ นโฺ ต
เลขที่ ๕ หมู่ ๓ บา้ นหนองแหน ต.หนองกวาง
อ.โพธาราม จ.ราชบรุ ี ๗๐๑๒๐

จัดพิมพ์ท่ ี บรษิ ัท อมรนิ ทร์พร้ินต้ิงแอนด์พบั ลชิ ชิง่ จ�ำกดั (มหาชน)
๓๗๖ ถนนชยั พฤกษ ์ (บรมราชชนน)ี เขตตลงิ่ ชนั กรงุ เทพฯ ๑๐๑๗๐
โทรศพั ท ์ ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒

หนงั สือเล่มนี้จดั พิมพเ์ พือ่ เผยแผเ่ ปน็ ธรรมทาน ห้ามคัดลอก ตดั ตอน หรือน�ำไปพมิ พ์จ�ำหนา่ ย
หากทา่ นใดประสงค์จะพมิ พ์แจกเป็นธรรมทาน โปรดตดิ ตอ่ มูลนิธพิ ระสงบ มนสสฺ นโฺ ต

www.sa–ngob.com

ค�ำน�ำ

ท่านพระอาจารย์พรหม จริ ปุญโฺ  หรอื หลวงปู่พรหม ทา่ นเป็นสกุลแห่งพระป่า เปน็ ศิษย์
องคแ์ รกของหลวงป่มู นั่ ภูรทิ ตฺโต ที่บรรลอุ รยิ ธรรมข้นั สูงสุดเปน็ พระอรหนั ต์

หลวงปพู่ รหม ชวี ติ ครอบครวั ของทา่ นคลา้ ยคลงึ กบั ของพระมหากสั สปะ พระอรหนั ตสาวก
องค์ส�ำคัญในครั้งพุทธกาล ท่านมีเกียรติประวัติอันงดงามมาต้ังแต่เป็นฆราวาส ด้วยเหตุท่ีท่าน
บำ� เพ็ญบารมธี รรมมาดว้ ยดแี ต่อดตี ชาติ ส่งผลสนับสนุนให้ท่านดำ� เนนิ ตามรอยองคพ์ ระบรมศาสดา
โดยท่านมีจิตใจมุ่งมั่นแสวงหาความสุขที่แท้จริงต้ังแต่วัยเด็กจนเติบใหญ่มีครอบครัว แม้ท่านสร้าง
ฐานะจนร�ำ่ รวยเปน็ เศรษฐี ครอบครัวกอ็ บอ่นุ ทง้ั เปน็ ผใู้ หญบ่ า้ นและเป็นนายฮ้อยทชี่ าวบา้ นยกย่อง
แต่ท่านกไ็ ม่พบความสขุ ที่แท้จรงิ จวบจนพบหลวงปู่สารณ์ สุจติ โฺ ต ซึ่งเป็นครบู าอาจารยอ์ งคแ์ รก
ชีน้ ำ� ทางธรรม ท่านจงึ ตดั สินใจออกบวชเพอ่ื แสวงหาโมกขธรรม โดยก่อนบวชท่านไดส้ ละตำ� แหน่ง
ลาภ ยศ ช่ือเสยี ง และทรพั ย์สมบัตทิ ัง้ หมดออกแจกทานเชน่ เดียวกบั พระเวสสันดร ทง้ั ใหศ้ รภี รรยา
ออกบวชเป็นแม่ชตี ลอดชวี ติ การกระท�ำของทา่ นนน้ั ยากทีค่ นสมัยนั้นจะเข้าใจและยากทจ่ี ะกระทำ�
ตามได้ จนเปน็ ขา่ วใหญ่โตและโด่งดังมาก

และเม่ือหลวงปูพ่ รหมครองสมณเพศแลว้ ทา่ นไดอ้ อกเทยี่ วธดุ งค์ต้ังแต่พรรษาแรก และได้
พบหลวงปูช่ อบ านสโม เปน็ สหธรรมกิ องค์สำ� คญั เป็นนกั รบธรรมเดนตาย ออกเทย่ี วธดุ งค์ขน้ึ
ภาคเหนอื ติดตามหลวงปมู่ ัน่ ด้วยกนั จนพบและไดถ้ วายตวั เปน็ พระศิษย์ ทา่ นดำ� เนนิ ตามปฏปิ ทา
ของหลวงปู่ม่ัน โดยยึดมั่นในพระธรรมวินัย ธุดงควัตร และข้อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดท่ีสุด
แม้ท่านบวชเม่ืออายุมากแล้ว และเร่ิมจากจิตปุถุชนคนธรรมดา แต่ด้วยความอดทนต่อความทุกข์
ยากลำ� บาก ดว้ ยความยดึ ม่นั ในสัจจะแมช้ ีวิตกย็ อมสละได้ และดว้ ยความพากเพียรอุตสาหะอย่าง
อุกฤษฏย์ ่ิงยวด ในเวลาไมน่ านทา่ นกบ็ รรลธุ รรม เปน็ พระอรหันต์ประเภทขปิ ปาภิญญา มีความรู้
พิเศษพสิ ดารมาก มอี ภญิ ญาจนหลวงปมู่ ่นั เมตตาชม และองคห์ ลวงตาพระมหาบวั าณสมปฺ นฺโน
กไ็ ด้ยกย่องท่านเป็นหนง่ึ ใน “เพชรน้�ำหนง่ึ และ โพธ์ิธรรม” ของวงพระธดุ งคกรรมฐาน

หลวงปพู่ รหมทา่ นเปน็ พระมหาเถระทีม่ ีนิสยั เดด็ เดยี่ วเครง่ ขรึมน่าเกรงขาม มกั นอ้ ยสนั โดษ
พูดน้อยแต่ปฏิบัติมาก ท่านมีศีลาจารวัตรอันงดงาม มีธรรมภายในอันเปี่ยมล้น เทศนาธรรม
ของท่านสน้ั กระชับแตล่ ึกซึง้ ประทับใจ ท่านมวี หิ ารธรรม คือ ขยนั ท�ำงานทัง้ งานภายใน – ภายนอก
เมอื่ ทา่ นบ�ำเพ็ญจริยา ๓ โดยบำ� เพญ็ ประโยชน์ตนจนสมบูรณ์แล้ว จงึ บ�ำเพญ็ ประโยชน์แกญ่ าติและ
แกโ่ ลก โดยสรา้ งศาสนทายาท ศาสนถาวรวัตถุ และสาธารณประโยชนไ์ วม้ ากมาย ผลงานที่ส�ำคญั
คือ พระพุทธรูป อันมีพุทธลักษณะเป็นเอกลักษณ์ประจ�ำองค์ท่าน ส่วนเกียรติประวัติอันส�ำคัญยิ่ง
ของทา่ น คือ ท่านได้ทุม่ เทชวี ติ พสิ จู น์ยืนยนั ยอดแหง่ บทธรรม นพิ ฺพานํ ปรมํ สขุ ํ วา่ มีจรงิ และ
ยังคงทนทา้ ทายต่อการพิสูจนต์ ลอดไป

มลู นธิ ิพระสงบ มนสฺสนฺโต
สิงหาคม ๒๕๖๐

“คนเราเกิดมาทกุ รูปทกุ นาม รปู สงั ขารเป็นของไมเ่ ทย่ี ง
เกดิ ขึน้ แล้วลว้ นตกอยใู่ นกองทุกข์ด้วยกนั ท้งั นน้ั

ไมว่ ่าพระราชามหากษัตริย์ พระยานาหมนื่ คนมง่ั มเี ศรษฐีและยาจก
ล้วนตกอยู่ในกองทกุ ขด์ ้วยกนั ทง้ั น้ัน

มีทางพอจะหลุดพน้ ทกุ ขไ์ ด้ คือ ท�ำความเพียร เจริญภาวนา
อยา่ สมิ วั เมาในรปู รา่ งสังขารของตน มจั จรุ าชมนั บ่ไวห้ น้าผู้ใด

ก่อนจะดับไป ควรจะสรา้ งความดีเอาไว”้

หลวงปพู่ รหม จิรปญุ โฺ 

e

หลวงปู่พรหม จริ ปุญโฺ 

หลวงปู่พรหม จริ ปุญโฺ 

พระเจดยี ์จริ ปญุ โญ

พระอโุ บสถวดั ประสิทธิธรรม
ภาพพระธาตขุ องหลวงป่พู รหมมีหลากสสี ัน
งดงามประดุจอัญมณีล้�ำคา่ เช่น สีแดงทับทิม สขี าวดุจสีสงั ข์ สแี กว้ ใสดุจเพชร
สเี ขียวมรกต สฟี า้ ไพลนิ สเี หลืองบษุ ราคัม ฯลฯ

สารบัญ 1

ภาค ๑ ชีวิตฆราวาสปฐมวัย 1
ชาติก�ำเนิด 3
ปฏิปทา ๔ 4
ท่านก�ำเนิดในครอบครัวชาวนาสัมมาทิฏฐิ 6
ชีวิตฆราวาสวัยเด็ก 7
รูปร่างและอุปนิสัยใจคอ 9
ภาค ๒ ชีวิตฆราวาสแสวงหาความสุขที่แท้จริง
พระนิพพานบรมสุข คือ ความสุขท่ีแท้จริง 9
ท่านครุ่นคิดถึงความสุขที่แท้จริงต้ังแต่เด็ก 10
หรือว่าชีวิตการครองเรือนคือความสุข ? 11
บ้านดงเย็น 12
ชาวบ้านดงเย็นสมัยก่อนนิสัยนักเลง 14
เป็นครอบครัวอุตตมะ 14
พบความไม่เท่ียงและการพลัดพราก 15
การครองเรือนแต่งงานคร้ังที่สอง 18
ชีวิตการเป็นนายฮ้อยพรหม 20
ท่านมีนิสัยนักปราชญ์ 24
นายฮ้อยบุญฮ้อยบาป 24
ท่านยังไม่พบความสุขท่ีแท้จริง 26
ธรรมสมบัติ 28
ภาค ๓ พบครูบาอาจารย์องค์แรก 29
กองทัพธรรมเท่ียวจาริกแสดงธรรมทั่วภาคอีสาน
ท่านเกิดความเบ่ือหน่ายในชีวิตฆราวาส 29
ครูบาอาจารย์ผู้ช้ีบอกทาง 30
ท่านพบครูบาอาจารย์องค์แรก 32
ประวัติย่อ ท่านพระอาจารย์สารณ์ สุจิตฺโต 33
34

เรื่องเล่าจากหลวงปู่อ่อน าณสิริ 36
มหาปริจาค ๕ อย่าง 38
ลิงติดตัง 41
พบทางแห่งความสุข 41
ภาค ๔ สละทรัพย์สมบัติและครอบครัวออกบวช 43
การบวชเป็นของยาก
ท่านตัดสินใจออกบวช 43
พระเวสสันดร 44
จัดการบวชชีให้ศรีภรรยา 45
ท่านสร้างทานบารมีตามรอยพระเวสสันดร 47
เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ 49
เร่ืองอานิสงส์การบวช 51
การบวชบ�ำเพ็ญบุญล้างบาป 53
ครอบครัวของท่านคล้ายกับพระมหากัสสปะ 54
ประวัติย่อ พระมหากัสสปเถรเจ้า 55
ภาค ๕ ออกบวชเป็นพระธุดงคกรรมฐาน 56
ท่านเป็นสกุลแห่งพระธุดงคกรรมฐาน 59
ท่านด�ำเนินตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา
ท่านถือหลักปฏิปทาข้อวัตรปฏิบัติอย่างเข้มงวดเคร่งครัด 59
ท่านถือหลักสัลเลขธรรม 61
ท่านถือปฏิปทาอดอยากเดนตาย 63
ท่านผจญสัตว์ป่า เปรต ผี ภูมิเจ้าที่ บังบด เทวดา พญานาค ครุฑ 64
ท่านถือปฏิปทาจ�ำพรรษาที่ใดไม่เกิน ๓ พรรษา 67
ท่านภาวนาด้วยบทพุทโธประจ�ำใจ 69
ท่านเล่าเร่ืองธุดงค์สมัยแรกบวชยังไม่ครบพรรษา 72
ประวัติวัดธรรมบรรพต (ถ�้ำพระเวส) 74
75
77

๓ พรรษาแรก ท่านธุดงค์ไปทางจังหวัดอุบลราชธานี 79
ภิกษุผู้บวชใหม่จ�ำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์ที่ดี 82
ท่านเร่งความเพียรจนชนะกิเลสจึงไม่สึก 83
ไม่มีอะไรจะหนักย่ิงกว่าการฆ่ากิเลส 85
พ.ศ. ๒๔๗๔ จ�ำพรรษาวัดผดุงธรรม สร้างหอไตร 86
ท่านหลงเข้าใจว่านิพพานอยู่บนฟ้า 87
ประวัติย่อ หลวงปู่ลี อโสโก 88
จ�ำใจจากบ้านเกิดออกธุดงค์ 89
ออกธุดงค์ไปเมืองหลวงพระบาง 91
พ.ศ. ๒๔๗๕ ท่านจ�ำพรรษาที่เมืองหลวงพระบาง 93
ท่านรักษาอาพาธด้วยธรรมโอสถ 93
เรื่องเปรตเฒ่าจันทร์ 95
ภาค ๖ เดินธุดงค์ภาคเหนือติดตามหาท่านพระอาจารย์มั่น 97
ครูบาอาจารย์จ�ำเป็นและส�ำคัญมาก
ท่านปรารถนาเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น 97
เรื่องของการเดินจงกรม 99
พ.ศ. ๒๔๗๖ ท่านธุดงค์ภาคเหนือติดตามหาหลวงปู่มั่น 101
ถ้�ำน�้ำบัง 102
ท่านพบสหธรรมิกองค์ส�ำคัญ 104
พระธุดงค์ลองภูมิกันและกัน 105
ภาค ๗ ถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น 108
หลวงปู่ม่ันบรรลุธรรม 111
หลวงปู่มั่นออกธุดงค์เพื่อสงเคราะห์พระศิษย์
ปฏิปทาและการสอนศิษย์ของหลวงปู่ม่ันขณะอยู่ทางภาคเหนือ 111
หลวงปู่ม่ันเริ่มเปิดเผยธรรมธาตุต่อพระศิษย์ 113
สัปปายะส่งเสริมวิเวก ๓ 115
117
118

พ.ศ. ๒๔๗๗ หลวงปู่พรหมเข้ากราบหลวงปู่มั่นครั้งแรก 120
ส�ำนักสงฆ์ป่าเมี่ยงแม่สาย 124
กองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐานสอนให้ชาวบ้านเลิกนับถือผี 126
ค�ำสอนของหลวงปู่มั่น 127
แนะน�ำกรรมฐาน ๕ 129
ท่านเผชิญหน้ากับหมีใหญ่ 131
เหตุการณ์ท่ีส�ำนักสงฆ์ป่าเม่ียงแม่สาย 132
พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๔๗๙ จ�ำพรรษาที่ส�ำนักสงฆ์ป่าเมี่ยงแม่สาย 134
ท่านช่วยหลวงปู่ขาวซ่อมพระพุทธรูป 135
ภาค ๘ ท่านจ�ำพรรษากับหลวงปู่มั่นคร้ังแรก 136
ท่านกราบเรียนถามหลวงปู่มั่นไปอยู่อย่างนี้ท�ำไม ?
พ.ศ. ๒๔๘๐ จ�ำพรรษากับหลวงปู่ม่ันท่ีวัดพระธาตุจอมแจ้ง 136
พระธาตุจอมแจ้ง แม่สรวย 137
สาเหตุที่หลวงปู่ม่ันและพระศิษย์พักท่ีวัดร้าง 139
ค�ำสอนหลวงปู่ม่ันท่ีพระธาตุจอมแจ้ง 140
ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านธุดงค์พม่า 142
เสือเทพบันดาลมานอนขวางทางจงกรม 144
ท่านน่ังสมาธิมีงูใหญ่เล้ือยมาพาดขา 145
ท่านเล่าประสบการณ์ธุดงค์ทางภาคเหนือ 147
พบพระพุทธรูปแตกหักแสดงพุทธานุภาพ 148
พบพระอุปคุตอรหันต์ในนิมิต 148
พระอุปคุตเถรเจ้า 149
ก�ำลังใจเป็นเร่ืองส�ำคัญ 150
เทวดาบังบดมาใส่บาตรหลวงปู่พรหม 152
ภาค ๙ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ม่ันที่บรรลุธรรมองค์แรก 153
ท่านบรรลุธรรมเป็นองค์แรก ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ 155

155

หลวงปู่พรหมบรรลุธรรมขณะเดินจงกรมท่ีจังหวัดเชียงใหม่ 157
พ.ศ. ๒๔๘๑ ท่านจ�ำพรรษาและเป็นหัวหน้าส�ำนักสงฆ์บ้านแม่กอย 159
ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรม 160
ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ท่านไปธุดงค์พม่ากับหลวงปู่ชอบ 161
ภาค ๑๐ จ�ำพรรษาที่ประเทศพม่าครั้งแรก 164
พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านจ�ำพรรษาท่ีพม่าครั้งแรก
พระกรรมฐานติดครูบาอาจารย์ 164
สถานที่ท่านเท่ียวธุดงค์ในพม่า 165
พบส่ิงแปลกๆ มหัศจรรย์มากมาย 165
เร่ืองเปิดเผยโดยหลวงปู่เจ๊ียะ จุนฺโท 167
กิจวัตรประจ�ำวันของหลวงปู่ม่ัน 167
หลวงปู่ม่ันป่วยหนักเป็นไข้มาลาเรียข้ึนสมอง 168
ท่านกลับมาพบหลวงปู่ขาวท่ีโหล่งขอด 170
ต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ท่านเป็นหัวหน้าส�ำนักสงฆ์บ้านแม่กอยอีกคร้ัง 171
หลวงปู่ม่ันอ�ำลาบ้านแม่กอย 172
ภาค ๑๑ อยู่ภาคเหนือรักษารอยมือรอยเท้าครูบาอาจารย์ 172
อดทนต่อสู้กับความอดอยากและความหนาวเย็นทางภาคเหนือ 175
กองทัพธรรมค้�ำชูพระพุทธศาสนา
ท่านอยู่ภาคเหนือหลายปีก่อนกลับภาคอีสาน 175
พ.ศ. ๒๔๘๓ จ�ำพรรษาส�ำนักสงฆ์บ้านแม่กอย 177
พ.ศ. ๒๔๘๔ จ�ำพรรษาที่ถ้�ำในจังหวัดกาญจนบุรี 178
พ.ศ. ๒๔๘๕ จ�ำพรรษาท่ีวัดเจดีย์หลวง 180
พ.ศ. ๒๔๘๖ จ�ำพรรษาท่ีเสนาสนะป่าบ้านป่าเปอะ 182
สถานท่ีหลวงปู่พรหมอยู่จ�ำพรรษาทางภาคเหนือ 184
เพชรน้�ำหนึ่งผุดขึ้นตามป่าเขาในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 184
โปรดหลวงปู่สิมและคณะก่อนลงไปอีสาน 185
186
187

ภาค ๑๒ เดินทางกลับภาคอีสาน 190
ท่านแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อหลวงปู่มั่น
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๖ กลับอีสาน ท่านได้รับค�ำชมจากหลวงปู่ม่ัน 190
ประวัติวัดป่าบ้านนามน 191
ท่านให้ความเมตตาสนิทสนมองค์หลวงตาฯ มาก 192
พ.ศ. ๒๔๘๗ จ�ำพรรษาวัดป่าสุทธาวาส 194
ท่านถามท่านพระอาจารย์วันจะเรียนไปถึงไหน ? 195
ออกพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านไปวัดป่าบ้านโคก 197
พ.ศ. ๒๔๘๘ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าธาตุนาเวง 198
ประวัติวัดป่าภูธรพิทักษ์ 199
พ.ศ. ๒๔๘๘ ติดตามหลวงปู่มั่นไปวัดป่าบ้านหนองผือ 200
พ.ศ. ๒๔๘๘ จ�ำพรรษาถ�้ำพระ บ้านนาใน 201
ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ท่านไปพักกับหลวงปู่ลี อโสโก 202
พ.ศ. ๒๔๘๙ จ�ำพรรษาถ�้ำพระ บ้านนาใน 204
ภาค ๑๓ ท่านสร้างศาสนทายาท 204
ท่านมุ่งมั่นฝึกฝนอบรมส่ังสอนตนเองก่อน 207
ท่านได้ศิษย์เอกเพชรน้�ำหนึ่ง
ประวัติย่อ หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ 207
เร่ืองเล่าหลวงปู่พรหมเดินเท้าไปกราบหลวงปู่มั่น 208
พ.ศ. ๒๔๙๐ จ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรม 209
ท่านไปกราบคารวะเย่ียมเยียนหลวงปู่มั่นเป็นปรกติประจ�ำ 211
พ.ศ. ๒๔๙๑ จ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรม 212
พ้ืนเพของวัดที่หลวงปู่มั่นพาด�ำเนิน 213
เร่ืองท่านสร้างโบสถ์หลังแรกที่วัดผดุงธรรม 214
หลวงปู่ม่ันดุหลวงปู่พรหมสร้างโบสถ์ 214
หลวงปู่อ่อนศรีเล่าปฏิปทาของหลวงปู่พรหม 216
218
220

ประวัติย่อ หลวงปู่อ่อนศรี านวโร 220
ท่านเน้นสอนภาวนาพุทโธ 222
ประวัติย่อ หลวงปู่สุภาพ ธมฺมปญฺโ 223
ท่านช่วยสร้างวัดศิริราษฎร์วัฒนา 225
ประวัติย่อ พระครูศรีภูมานุรักษ์ (หลวงปู่ค�ำมี สุวณฺณสิริ) 226
ภาค ๑๔ บูรณะวัดร้างและพัฒนาวัดผดุงธรรม วัดประสิทธิธรรม 228
กราบเยี่ยมหลวงปู่ม่ันและพักวัดร้างพบพระพุทธรูปเศียรหัก
พ.ศ. ๒๔๙๒ จ�ำพรรษาวัดศรีโพนสูง 228
ประวัติวัดศรีโพนสูง 229
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านไปเตรียมงานประชุมเพลิงหลวงปู่มั่น 230
ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านอยู่ช่วยงานประชุมเพลิงศพหลวงปู่ม่ัน 231
ผลงานของหลวงปู่ม่ันกว้างขวางมาก 232
พ.ศ. ๒๔๙๓ จ�ำพรรษาวัดศรีโพนสูง บูรณะพระพุทธรูปเศียรหัก 232
หลวงปู่พรหมแก้ชาวบ้านนับถือผี 235
เร่ืองพุทธานุภาพความศักด์ิสิทธ์ิวัดศรีโพนสูง 236
พ.ศ. ๒๔๙๔ จ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรม 237
พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้ศิษย์ฆราวาสอุปัฏฐากใกล้ชิด 240
ท่านสอนศิษย์ฆราวาสไม่ให้เล่นหวย 240
พ.ศ. ๒๔๙๕ จ�ำพรรษาวัดผดุงธรรม 241
ภาค ๑๕ ปัจฉิมวัยจ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรม 241
ก�ำเนิดวัดป่าประสิทธิธรรม 244
พ.ศ. ๒๔๙๖ พระศิษย์ข้ามห้วยข้ามดงเสือฟังธรรมหลวงปู่พรหม
พ.ศ. ๒๔๙๗ สร้างเสนาสนะป่าในวัดประสิทธิธรรม 244
กุฏิสมัยหลวงปู่พรหมเริ่มสร้างวัดทีแรก 245
พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านกลับไปบูรณะพัฒนาวัดศรีโพนสูง 246
ท่านเป็นผู้น�ำสร้างสะพานไม้เข้าวัดศรีโพนสูง 247
พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๐ สร้างพระวิหาร พระประธาน ศาลากลางน้�ำ 248
250
251

เตือนชาวบ้านห้ามประมาทหลวงปู่พรหม 252

หลวงปู่พรหมก�ำหนดจิตรักษาฝี 253

หลวงปู่พรหมทักพระศิษย์ดูศพหญิงเปลือยเห็นภาพติดตา 254

อดีตชาติหลวงปู่พรหมเคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน 255

พ.ศ. ๒๕๐๑ เร่ืองการถืออุโบสถศีลสมัยหลวงปู่พรหม 256

หลวงปู่พรหมสร้างสะพานข้ามแม่น้�ำสงคราม 257

พ.ศ. ๒๕๐๒ ครูบาอาจารย์กราบท�ำวัตรขอขมาหลวงปู่พรหม 258

ท่านมอบหมายให้พระศิษย์ไปคารวะหลวงปู่ฝั้น 260

พ.ศ. ๒๕๐๓ พระเณรท่ีอยู่จ�ำพรรษากับหลวงปู่พรหม 261

ประวัติย่อ หลวงปู่พ่ัว นิติโก 262

ข้อวัตรสมัยองค์ท่าน – กลางดึกต้อนรับแขกเทพ 263

ท่านไล่พระไม่เคารพอาวุโส – ภันเต 266

ครูดี นักเรียนดี 267

การสวดพระปาฏิโมกข์สมัยหลวงปู่พรหม 268

วันพระใหญ่ท่านถือเนสัชชิ สอนให้พระเร่งความเพียร 268

ท่านสอนไม่ให้กลัวสัตว์ป่ารอบวัด ให้พุทโธอย่างเดียว 269

รับกิจนิมนต์ – เดินอย่างเดียว 270

เร่ืองแปลกอัศจรรย์ขณะท่านเอาต้นไม้ใหญ่ขึ้นจากน้�ำ 271

หลวงปู่พรหมพาท�ำฝายเก็บน�้ำไว้ใช้ในวัด 272

พ.ศ. ๒๕๐๔ เร่ืองท่านถือสัจจะและมีนิสัยเด็ดขาด 273

พ.ศ. ๒๕๐๕ งานท�ำบุญครบรอบวันเกิดหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ครบ ๖ รอบ 275

พ.ศ. ๒๕๐๕ จ�ำพรรษาวัดตาลนิมิตร 276

พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านอนุญาตให้สร้างเหรียญรุ่นแรก 278

พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๑๑ จ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรม 279

หลวงปู่พรหมเทศน์โปรดคุณแม่ชีตื้อก่อนมรณะ 280

พ.ศ. ๒๕๐๘ สร้างศาลาเสา ๕๐ ต้น 280

จัดสร้างรูปเหมือนหลวงปู่พรหมขนาดเท่าองค์จริง 281
ก่อนเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านปรามนาคเร่ืองคุณไสย 282
พ.ศ. ๒๕๑๑ จ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรมเป็นพรรษาสุดท้าย 283
ครูบาอาจารย์มากราบคารวะเย่ียมเยียนเสมอๆ 284
หลวงปู่พรหมทวนปาฏิโมกข์ครั้งสุดท้าย 285
เรื่องเล่าพระศิษย์หลวงปู่พรหม 286
หลวงปู่พรหมช่วยสร้างวัดป่าบ้านดงดารา 286
ภาค ๑๖ ปฏิปทาของหลวงปู่พรหม 288
ท่านไม่รับพระมาก
ท่านก�ำหนดจิตตรวจดูพระเณร 288
ท่านไม่เคยขาดการบิณฑบาต 290
ท่านมีปฏิปทาสั่งงานโดยไม่พูด 290
พระเณรกลัวหลวงปู่พรหม 292
ท่านประหยัดมัธยัสถ์และดัดแปลงท�ำของใช้เอง 292
ท่านปลงผมเอง – ฉันหมากวันละ ๓๐ ค�ำ 292
ท่านมีนิสัยขยันและท�ำให้ดูเป็นตัวอย่าง 295
ท่านชอบท�ำงาน 295
ท่านพาท�ำกฐิน 296
ท่านเมตตาเด็กๆ 297
ท่านไม่จูงศพ 298
ภาค ๑๗ ท่านมีจิตที่แปลกประหลาดน่าอัศจรรย์มาก 299
เรื่องอิทธิฤทธิ์ 301
เรื่องภาพถ่าย
เร่ืองญาณหย่ังทราบ 301
เรื่องหูทิพย์ ตาทิพย์ 302
เรื่องวาจาสิทธิ์ 303
304
305

รักษาโรคโดยให้ถือสัจจะ 305
เรื่องงูใหญ่มาให้โชค 306
เร่ืองพญานาคมาขอชีวิตคน 307
เคร่ืองยนต์ดับโดยไม่ทราบสาเหตุ 307
เรื่องท่านดุชาวบ้านท�ำบาป 308
มีจิตที่อัศจรรย์ รู้วาระจิต 308
อนาคตังสญาณของหลวงปู่ 309
ภาค ๑๘ ท่านละสังขารตามกฎไตรลักษณ์ 311
ท่านปรารภอายุขัย
เค้าแห่งความสูญเสียของบรรดาศิษย์ 311
ลางบอกเหตุ 311
ก่อนวันมรณภาพ ท่านสอนพระที่มาขอสึก 314
บันทึกเหตุการณ์วันมรณภาพ 315
วินาทีแห่งมรณกาลของหลวงปู่พรหม 316
สาธุชนหล่ังไหลไปในงานศพของท่าน 318
การบ�ำเพ็ญกุศลศพหลวงปู่พรหม 320
เหตุการณ์ส�ำคัญภายหลังหลวงปู่ผางทราบข่าวหลวงปู่พรหมมรณภาพ 321
การเตรียมงานประชุมเพลิงศพหลวงปู่พรหม 322
เมรุหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ 323
หนังสือประวัติหลวงปู่พรหมเล่มแรก 323
บรรยากาศงานถวายเพลิงศพหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ 324
วันถวายเพลิงศพหลวงปู่พรหม 325
พ.ศ. ๒๕๑๔ หลวงปู่ผางรับเป็นเจ้าอาวาสวัดประสิทธิธรรม 327
ภาค ๑๙ พระธาตุและพระเจดีย์หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ 330
อัฐิหลวงปู่พรหมเป็นพระธาตุแน่นอน 331
อัฐิท่านได้กลายเป็นพระธาตุในเวลาอันสั้น
331
331

เร่ืองปาฏิหาริย์พระธาตุหลวงปู่พรหม 332
อัศจรรย์เส้นเกศาหลวงปู่พรหม 336
ทันตธาตุของหลวงปู่ 336
พระเจดีย์หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ 338
ภาค ๒๐ โอวาทเทศนาธรรมของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ 341
การเทศน์ของหลวงปู่พรหม
ท่านเทศน์สอนพระวินัย 341
ของ ๔ อย่างห้ามประมาท 342
รวมโอวาทเทศนาธรรม 343
ภาค ๒๑ ครูบาอาจารย์ 344
หลวงปู่มั่นกล่าวถึงหลวงปู่พรหม 346
หลวงปู่ขาวกล่าวถึงหลวงปู่พรหม
หลวงปู่แหวนกล่าวถึงหลวงปู่พรหม 346
องค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนฺโน เทศน์ถึงหลวงปู่พรหม 346
ครูบาอาจารย์เล่าเร่ืองหลวงปู่พรหม 346
ท่านพระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต เทศน์ถึงหลวงปู่พรหม 347
351
355

ภาพพระพทุ ธรปู ท่อี งค์หลวงปู่พรหมท่านป้ันดว้ ยมือของทา่ นเอง
และรูปหลอ่ องคท์ ่านท่อี ยใู่ นพระอโุ บสถ

1

ภาค ๑ ชีวิตฆราวาสปฐมวัย

ท่านพระอาจารย์พรหม จริ ปญุ ฺโ หรือ หลวงปพู่ รหม ท่านเป็นพระศษิ ยอ์ าวโุ สรปู หนง่ึ
ผู้เคยสดับรับฟังโอวาทเทศนาธรรมและได้มีโอกาสติดตามท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทตฺตมหาเถร
พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานอย่างใกล้ชิด หลวงปู่พรหมท่านเป็นพระธุดงคกรรมฐานหรือ
พระป่า ผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ต้ังม่ันอยู่ในธุดงควัตร มุ่งรักษาข้อวัตรปฏิปทา และตั้งใจ
ใฝ่ปฏิบัติธรรมเพ่ือมุ่งต่อความหลุดพ้น เช่นเดียวกับพระสงฆ์สาวกในสมัยครั้งพุทธกาล ท่านจึงมี
ศษิ ยานศุ ิษยแ์ ละผใู้ ครใ่ นธรรมปฏบิ ตั ใิ หค้ วามเคารพนบั ถือในท่านเป็นจำ� นวนมาก ดว้ ยธรรมประวตั ิ
อันเลิศเลองดงามตลอดชีวิตบรรพชิตของท่าน จนเป็นท่ียอมรับในวงกรรมฐานอย่างกว้างขวางว่า
ท่านเป็นสมณะผ้เู หน็ ภยั ในวัฏสงสาร เปน็ เนติสงฆ์ เป็นพระสมบรู ณแ์ บบ และเปน็ สงั ฆรัตนะ ทค่ี วร
แก่การสกั การบชู า เปน็ ทิฏฐานคุ ตแิ บบอยา่ งอนั ลำ�้ คา่ แก่พุทธศาสนกิ ชน ดงั จะกล่าวตอ่ ไป

ชาติก�ำเนิด

หลวงปูพ่ รหม จริ ปุญโฺ  ท่านมีนามเดิมวา่ พรหม นามสกุล สุภาพงษ์

โยมบดิ าของทา่ นช่ือ นายจนั ทร์ สุภาพงษ์ โยมมารดาของท่านชื่อ นางวนั ดี สภุ าพงษ์

หลวงป่พู รหม จิรปุญฺโ ทา่ นเกดิ เมอ่ื วนั แรม ๓ ค่ำ� เดือน ๖ ปขี าล ตรงกบั วันอังคารท่ี
๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นไปตามแผ่นหินอ่อนจารึกในพระเจดีย์ของท่าน ซ่ึงจารึกไว้ว่า
“พระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโ ชาตะวันท่ี ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ตรงกับวันอังคาร
แรม ๓ คำ่� เดือน ๖ ปขี าล” ตรงกบั รัชสมยั ของพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั หรอื
สมเดจ็ พระปิยมหาราช รชั กาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งในรัชสมัยนี้ถอื เป็นยคุ ทองร่งุ เรือง
เพราะมีครบู าอาจารยว์ งกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภูรทิ ตฺตมหาเถร รนุ่ อาวุโส ประเภท
“เพชรนำ้� หนง่ึ ” มาถือกำ� เนิดในรชั สมัยของพระองคม์ ากท่ีสดุ

หลวงปพู่ รหม ทา่ นสรา้ งบารมธี รรมมาเปย่ี มลน้ ตง้ั แตบ่ พุ เพชาตอิ นั ยาวไกลนานนบั แสนกปั
ท่านเป็นสาวกบารมีญาณผู้เลิศด้วยความศรัทธาและพากเพียรอย่างย่ิงยวด ท่านจึงบรรลุธรรมได้
อย่างรวดเร็ว การปฏิบัติธรรมของท่าน ในฝ่ายปฏิปทา ๔ ท่านจัดอยู่ในประเภททุกขาปฏิปทา
ขิปปาภญิ ญา คือ ปฏบิ ัตลิ ำ� บาก แตร่ ไู้ ด้เร็ว

ด้วยทา่ นเปน็ ผมู้ ีอ�ำนาจวาสนามาก พร้อมท่จี ะบรรลธุ รรมในปจั จบุ นั ชาติ ท่านจึงมอี ปุ นสิ ยั
อรหัตตคุณรุ่งเรืองอยู่ในจิตใจ ในชีวิตฆราวาสของท่านน้ัน ตั้งแต่อยู่วัยเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็น
ผใู้ หญ่ จิตใจของท่านจงึ ประหวัดครุน่ คิดแสวงหาแตค่ วามสขุ ท่แี ท้จรงิ ทา่ นแสวงหาความสุขนน้ั ดว้ ย

2

ตนเองด้วยวิถีฆราวาส ท่านท�ำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ความสุขน้ัน สุดท้ายความสุขที่ท่านได้รับน้ัน
ลว้ นเปน็ เพยี งความสุขทางโลกอนั น้อยนดิ และแถมเจือปนเต็มไปดว้ ยทุกข์ ท่านจึงยังไม่ประสบพบ
ความสุขที่แท้จริง สาเหตุประการส�ำคัญ คือ เพราะท่านยังไม่พบครูบาอาจารย์ผู้รู้จริงเห็นจริง
ส่งั สอนช้แี นะความสุขทางธรรม

องค์สมเดจ็ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรสั สอนเรอื่ งความสขุ ท่ีแท้จริงไวว้ า่

“ดกู รภกิ ษทุ ง้ั หลาย ไม่มีความสขุ ใดเสมอดว้ ยความสงบ ความสุขชนิดน้ีสามารถหาได้
ในตัวเรานี้เอง ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นหาความสุขจากที่อ่ืน เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริง
เลย...”

“นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ” ธรรมบทส�ำคัญน้ีอันหมายถึง ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ
นบั แต่สมยั ครั้งพุทธกาลจวบจนสมัยปจั จุบนั ยังกอ้ งกงั วาน ทันสมยั และยงั คงทา้ ทา้ ยผู้ต้องการ
แสวงหาความสขุ ทแ่ี ท้จริงอยเู่ สมอ ดงั เรอ่ื งของพระมหากัปปนิ พระอรหันตสาวกในครัง้ พทุ ธกาล
โดยองคห์ ลวงตาพระมหาบวั าณสมปฺ นโฺ น ไดเ้ มตตาเทศน์ไวด้ ังน้ี

“... สว่ นผเู้ ห็นธรรมแล้ว ไมม่ ใี ครท่จี ะบน่ นอกจากออกอทุ านเทา่ นน้ั อยา่ งพระมหากัปปนิ
ท่านว่า สุขํ วต สขุ ํ วต สุขหนอๆ น่ีทา่ นเคยเปน็ พระมหากษัตริย์มาแตก่ ่อน เสด็จออกผนวชจน
ได้เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้วท่านเปล่งอุทานว่า สุขํ วต สุขํ วต สุขหนอๆ นั่น แต่ก่อนท่านอยู่
ในพระราชวังไม่เคยเห็นออกอุทานว่า สุขหนอๆ เวลาเสด็จออกจากส่ิงพัวพันทั้งหลายและสลัด
ภายในใจออกอีก จนกลายเป็นใจทีบ่ ริสุทธ์ิแล้ว อยไู่ หนกส็ ขุ หนอๆ สุขํ วต สุขํ วต เรากเ็ อาให้ได้ซิ
อยู่ท่ีไหนก็ สขุ ํ วต ซิ ท่านมหากปั ปินมไิ ด้ผูกขาดน่ี นี่อย่กู ับผ้ปู ฏิบัติดปี ฏบิ ัตชิ อบ ตัง้ ใจประพฤติ
ปฏบิ ัติดว้ ยสติปัญญาอย่านอนใจ น่ีแลทางแห่ง สุขํ วต อยูต่ รงน.้ี ..”

และในกาลต่อมานายฮ้อยพรหมทา่ นได้ประสบกับธรรมบทน้ดี ว้ ยตัวของท่านเอง กลา่ วคือ

เมอ่ื นายฮอ้ ยพรหมท่านไดฟ้ งั ธรรมจากครบู าอาจารย์ และทา่ นได้เร่มิ ปฏิบัติธรรม ความสงบ
และความสุขไดบ้ ังเกดิ ข้นึ แก่จิตใจท่าน ทา่ นเร่มิ ประสบความสุขท่ีแท้จรงิ ท่านจงึ ตัดสนิ ใจออกบวช
โดยก่อนท่ีท่านจะออกบวช ท่านได้สละทรัพย์สมบัติข้าวของจ�ำนวนมากมายมหาศาลออกบ�ำเพ็ญ
มหาทาน และออกบวชเป็นพระธุดงคกรรมฐาน เพื่อแสวงหาความสุขที่แท้จริงสมดังใจมุ่งหมาย
โดยออกเดินเทา้ ธดุ งคป์ ฏบิ ัตธิ รรม เป็นนกั รบธรรมออกเส่ยี งเปน็ เส่ียงตายตามป่าตามเขา ปฏบิ ัติ
แบบอุกฤษฏ์เดนตาย และท่านก็ถึงซ่ึงวิมุตติธรรม ประสบวิมุตติสุข บรรลุธรรมขั้นอรหัตตผล
อันเป็นอริยธรรมข้ันสูงสุดในเวลาอันรวดเร็ว เพียงไม่ก่ีปีภายหลังจากท่ีท่านได้เข้ากราบนมัสการ

3

และน้อมถวายตัวเป็นศิษย์ติดตามใกล้ชิดท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทตฺโต ท่านก็บรรลุธรรมตาม
พอ่ แมค่ รบู าอาจารย์ของทา่ น

หลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ  ท่านจึงนบั เป็นพระศษิ ย์องค์แรกของหลวงปมู่ ั่นทไ่ี ดบ้ รรลุธรรม
เป็นพระอรหนั ต์ก่อนหมูค่ ณะ เป็นสกั ขีพยานยืนยนั มรรคผลนพิ พานว่า มีจรงิ และยังไม่เคยครึ
หรือล้าสมยั

สว่ นเรอื่ งราวในอดตี ชาติของหลวงปู่พรหมน้ัน มชี าตสิ �ำคัญชาติหนึง่ อันบง่ บอกถึงเรื่องของ
การบ�ำเพญ็ บญุ รว่ มสายบุญสายกรรม เปน็ เรอ่ื งสำ� คญั และจำ� เป็นมาก หากมีสายบญุ สายกรรมทีด่ ี
มสี มั มาทิฏฐิ ยอ่ มชว่ ยเหลอื เกอื้ กลู กนั ย่อมสง่ เสรมิ กันให้เร่งรีบบำ� เพ็ญแต่คณุ งามความดี อันส่งผลดี
แก่กนั และกนั ให้ไดร้ บั ความสขุ ท้งั โลกนแ้ี ละโลกหนา้ และถึงที่สดุ แห่งความสขุ คอื พระนิพพาน
บรมสุข กล่าวคือ หลวงปู่พรหมท่านเคยเกิดเป็นศิษย์ของพระอุปคุตเถรเจ้า พระอรหันตสาวก
องค์ส�ำคัญท่ีเป็นเลิศด้านอิทธิฤทธ์ิ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน
ไปแลว้ ๒๐๐ กว่าปี อันเป็นยคุ ทีพ่ ระเจ้าอโศกมหาราชทรงเลอ่ื มใสศรัทธาพระพทุ ธศาสนา

เมอ่ื หลวงปพู่ รหม ทา่ นออกเรง่ ทำ� ความเพยี รเพอื่ ความหลดุ พน้ เพยี งองคเ์ ดยี วตามลำ� พงั นน้ั
คืนวันหน่ึงในยามดึกสงัด พระอุปคุตเถรเจ้าท่านได้เมตตาเหาะลอยมาโปรดเย่ียมให้ก�ำลังใจท่าน
ถึงบริเวณท่ที ่านพกั ภาวนา ส่งผลใหท้ า่ นมกี �ำลังใจเป็นอันมาก ซ่งึ เหตกุ ารณ์อัศจรรยเ์ ช่นนมี้ ักเกิดกบั
ครูบาอาจารย์วงกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่นหลายต่อหลายองค์ ตัวอย่างเช่น กรณีของ
พระมหากัสสปเถรเจ้า พระมหาเถระองค์ส�ำคัญอีกองค์หน่ึงในคร้ังพุทธกาล ซ่ึงองค์สมเด็จพระ–
สมั มาสัมพทุ ธเจา้ ทรงยกย่องและประทานตำ� แหนง่ เอตทคั คะดา้ นธุดงควตั รให้กับพระมหากัสสปะ
ท่านได้เมตตาเหาะลอยมาโปรดเยี่ยมใหก้ ำ� ลังใจหลวงปู่ชอบ านสโม พรอ้ มทัง้ เมตตาเทศน์แสดง
ธุดงควตั รเป็นธรรมสำ� คญั คเู่ คยี งกบั พระพทุ ธศาสนามาด้งั เดมิ

ปฏิปทา ๔

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสตุ ตนั ตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ได้บันทกึ ไว้ดงั นี้

[๘๒] ข้าแตพ่ ระองค์ผู้เจรญิ ยงั มอี ีกข้อหนึ่ง ซึง่ เปน็ ธรรมท่เี ยี่ยม คอื พระผมู้ ีพระภาคทรง
แสดงธรรมในฝา่ ยปฏปิ ทา ปฏิปทา ๔ เหลา่ นี้ คือ

๑. ทุกขาปฏปิ ทา ทันธาภิญญา ปฏิปทาท่ปี ฏิบัตลิ �ำบาก ทง้ั รู้ได้ช้าฯ
๒. ทุกขาปฏิปทา ขปิ ปาภญิ ญา ปฏปิ ทาที่ปฏิบตั ลิ �ำบาก แตร่ ู้ได้เรว็ ฯ
๓. สขุ าปฏิปทา ทนั ธาภิญญา ปฏปิ ทาทปี่ ฏบิ ัติได้สะดวก แตร่ ไู้ ดช้ ้าฯ
๔. สขุ าปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏปิ ทาที่ปฏิบัติได้สะดวก ทงั้ รูไ้ ด้เรว็ ฯ

4

ขา้ แตพ่ ระองค์ผ้เู จริญ ในปฏิปทา ๔ น้ัน ปฏิปทาที่ปฏิบตั ลิ ำ� บาก ทงั้ รไู้ ด้ช้านี้ นบั ว่าเปน็
ปฏปิ ทาที่ทราม เพราะประการทงั้ สอง คอื เพราะปฏิบตั ิลำ� บากและเพราะรไู้ ดช้ ้า

อน่งึ ปฏปิ ทาท่ปี ฏิบตั ิล�ำบาก แตร่ ู้ได้เรว็ นี้ นับวา่ เปน็ ปฏปิ ทาที่ทราม เพราะปฏบิ ตั ิลำ� บาก

ปฏปิ ทาทป่ี ฏิบัติไดส้ ะดวก แต่รไู้ ด้ชา้ นี้ นับว่าเป็นปฏปิ ทาที่ทราม เพราะรู้ได้ช้า

ส่วนปฏปิ ทาทป่ี ฏิบัติสะดวก ทัง้ รไู้ ด้เร็วนี้ นบั ว่าเปน็ ปฏิปทาประณีต เพราะประการทัง้ สอง
คอื เพราะปฏบิ ตั สิ ะดวก และ เพราะรไู้ ดเ้ รว็ ขา้ แตพ่ ระองคผ์ เู้ จรญิ นเ้ี ปน็ ธรรมทเ่ี ยยี่ มในฝา่ ยปฏปิ ทาฯ

ท่านก�ำเนิดในครอบครัวชาวนาสัมมาทิฏฐิ

หลวงปูพ่ รหม จริ ปญุ โฺ  ทา่ นบ�ำเพ็ญ ปุพเฺ พ จ กตปญุ ฺ ตา คือ บำ� เพญ็ บุญมาแล้วดว้ ยดี
แต่ชาติปางก่อน อุดหนุนส่งผลให้ท่านมีอ�ำนาจวาสนาในทางธรรม ท่านจึงเกิดในปฏิรูปเทสวาสะ
คอื เกิดในประเทศอนั สมควร คอื ประเทศทปี่ ระดษิ ฐานของพระพทุ ธศาสนา และพบครูบาอาจารย์
ประเภทจอมปราชญ์ทางด้านธรรมเมตตาแนะน�ำสั่งสอน โดยท่านเกิดในครอบครัวตระกูลชาวนา
สมั มาทิฏฐิ เชน่ เดยี วกบั ครูบาอาจารย์สายทา่ นพระอาจารยม์ ่นั ทัง้ หลาย ณ บ้านตาล ต�ำบลโคกสี
อ�ำเภอสวา่ งแดนดนิ จงั หวัดสกลนคร ซึง่ เหลา่ นี้เป็นปจั จัยส�ำคัญที่เกื้อหนุน ทำ� ให้ทา่ นไดอ้ อกบวช
แสวงหาโมกขธรรมในกาลตอ่ มาไดอ้ ยา่ งราบร่นื ไมม่ ีอุปสรรคใดๆ ขดั ขวาง

โมกขธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้น ธรรมที่นำ�สัตว์โลกให้พ้นจากกิเลสและ
กองทกุ ขท์ ั้งมวล ในความหมายสงู สดุ คอื พระนิพพาน เพราะพระนิพพานเป็นความดับกเิ ลสและ
กองทุกข์ได้ทั้งหมดทั้งสิ้น โมกขธรรมจัดเป็นจุดหมายสูงสุดของการออกบวชเป็นบรรพชิต เช่น
การเสด็จออกผนวชของพระพุทธเจ้าก็ทรงมุ่งแสวงหาโมกขธรรมนี้ แม้พระสงฆ์สาวกในภายหลังก็
ออกบวชกนั ด้วยมปี ณิธานและความมุ่งมัน่ เชน่ น้ี
หลวงปพู่ รหม ท่านเปน็ บุตรคนโตหวั ปี มพี ่นี ้องร่วมบดิ ามารดาท้ังหมด ๔ คน เป็นชาย
๒ คน และหญงิ ๒ คน เรยี งตามลำ� ดับ ดังน้ี

๑. หลวงปูพ่ รหม จริ ปญุ ฺโ
๒. นายพมิ พา สภุ าพงษ ์ ภายหลังได้บวชเป็นพระจนตลอดชีวิต
๓. นางค�ำแสน สุภาพงษ์ ในประวัตไิ ม่ได้กล่าวถงึ
๔. นางตื้อ สภุ าพงษ์ ได้อทุ ิศชวี ติ บวชเปน็ ชีและเจรญิ อยูใ่ นธรรมตลอดชีวติ

5

บ้านตาล อนั เปน็ บา้ นเกิดของหลวงปูพ่ รหมนน้ั ในสมัยกอ่ นเม่อื รอ้ ยกวา่ ปที แี่ ล้ว บา้ นตาล
เป็นหมูบ่ า้ นในถนิ่ ทุรกนั ดาร สภาพบ้านเรอื นปลกู เปน็ บา้ นไม้ชนั้ เดียวยกพ้ืนสงู และเรอื นแต่ละหลงั
มียุ้งข้าวของตนเอง การคมนาคมยังไม่สะดวกสบายเหมือนสมัยน้ี ถนนสัญจรไปมาเป็นทางลูกรัง
ดินแดง เปน็ ทางเดนิ เท้าของผู้คน ชา้ ง มา้ ววั ควาย และเปน็ ทางเกวียน สมัยนน้ั ยงั ไมม่ รี ถยนต์
สภาพภูมิประเทศเป็นทรี่ าบลมุ่ มีแหลง่ น้ำ� อดุ มสมบรู ณ์ คือ มแี ม่นำ้� สงคราม อนั เปน็ แม่นำ้� สำ� คัญทาง
ภาคอสี านตอนบนไหลผา่ น วิถชี ีวติ ความเปน็ อย่ขู องชาวบา้ นตาล จึงมอี าชพี เป็นเกษตรกรชาวนา
เลย้ี งววั เลย้ี งควาย ทำ� มาหากนิ ตามประสาชวี ติ ในชนบทกนั ดารหา่ งไกล โดยปลกู ขา้ วเหนยี ว จบั กบ
จับเขียด หาผักหาปลาตามท้องไร่ท้องนาและตามแหล่งน้�ำ เพ่ือด�ำรงชีวิตตามวิถีธรรมชาติอย่าง
เรยี บงา่ ย โยมบิดามารดาของหลวงป่พู รหมกเ็ ปน็ ชาวนา ซ่ึงเปน็ อาชพี ด้ังเดิมสบื มาแต่บรรพบรุ ษุ
ปู่ ย่า ตา ยาย ครอบครัวของท่านเปน็ ตระกลู สมั มาทิฏฐิ ใจบุญสนุ ทาน มคี วามเลอ่ื มใสศรทั ธาใน
พระพทุ ธศาสนาอย่างมัน่ คงเหนียวแนน่ เสมอมา

อน่ึง วัดซ่ึงถือเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน และเป็นที่พึ่งทางใจ
สำ� คญั ของชาวบ้านทางภาคอสี าน รวมทงั้ ชาวบ้านตาล สมัยหลวงปพู่ รหมยังเป็นเด็กนน้ั ส่วนใหญ่
เปน็ วัดในฝ่ายมหานกิ าย ชว่ งนั้นวดั ปา่ ธรรมยตุ ก็ยังไมม่ าก ยงั ไม่แพรห่ ลาย พระธดุ งคกรรมฐานก็
ยังไม่มาก เพราะเป็นชว่ งสมยั ท่ีทา่ นพระอาจารย์เสาร์ กนตฺ สลี มหาเถร และ ท่านพระอาจารย์มน่ั
ภูริทตฺตมหาเถร พระปรมาจารยใ์ หญ่ฝา่ ยกรรมฐานทงั้ สองเพ่ิงจะเร่ิมต้นบกุ เบิกฟืน้ ฟูธุดงควัตร และ
ได้เร่ิมออกเดินธุดงค์บ�ำเพ็ญเพียรภาวนาตามป่าตามเขา เพ่ือค้นคว้าแสวงหาสัจธรรมตามรอยองค์
สมเด็จพระสมั มาสัมพุทธเจ้า

กรณขี องชาวนาในสมัยก่อน ซ่ึงในสายตาของคนท่วั ๆ ไปแลว้ ล้วนมีมุมมองทัศนะว่า ชาวนา
ในชนบทเป็นอาชพี ที่ทุกข์ยากลำ� บากตรากตรำ� หลังสูฟ้ า้ หนา้ สู้ดิน โดยเฉพาะทางภาคอสี านแล้ว
สภาพผนื ดนิ เป็นดนิ ปนทราย แหง้ แล้ง เพาะปลูกอะไรกไ็ มค่ ่อยไดผ้ ล และส่วนใหญ่เป็นผมู้ ฐี านะ
ยากจนตอ้ ยต�่ำ ไม่นา่ เชื่อวา่ จะมคี วามสุข จงึ มผี ู้คนส่วนใหญ่เกดิ ค�ำถามสงสัยกนั วา่ ทำ� ไมพอ่ แม่คร–ู
บาอาจารย์วงพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารยเ์ สาร์ และ ท่านพระอาจารย์มนั่ สว่ นใหญ่
จึงไปเกดิ เป็นลูกชาวนาในชนบทโดยเฉพาะภาคอสี าน ความสงสยั ในเร่อื งนี้ ครูบาอาจารย์ทา่ นได้
เมตตาเทศนเ์ หตผุ ลไว้ดังน้ี

“นท่ี �ำไมครบู าอาจารยเ์ ราสังเกตไดไ้ หม อาจารยม์ หาบัว หลวงปมู่ น่ั ครูบาอาจารยท์ ุกองค์
เลย ท�ำไมไปเกดิ ในภาคอีสาน แลว้ ไปเกิดอยเู่ ป็นลกู ชาวนา เพราะอะไร ? เพราะเกดิ ในประเทศ
อันสมควรไง

6

พอเกิดในเมือง เขาก็ส่งเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก ก็เป็นดอกเตอร์ เป็นผู้บริหารไง
ก็บวชไม่ได้ ไปเกิดชายทุ่งชายป่านู่นน่ะ ไปเกิดที่พ่อแม่ศรัทธาในศาสนา เกิดมาก็บวชตั้งแต่เณร
เห็นไหม ?

นี่เราไปดูว่าการเกิด แล้วเกิดในกองสมบัติมากๆ อันน้ันมีวาสนา แต่ไม่ได้บอกว่าไปเกิด
ในประเทศอันสมควร เกิดในพ่อแม่ท่ีเป็นสัมมาทิฏฐิอยู่ในหลักของศาสนา เกิดมาก็พาลูกเข้าวัด
นี่ปพู ้นื ฐานไวแ้ ลว้ ลูกไปเหน็ พระกอ็ ยากศึกษา นี่บญุ บารมี ไปเกดิ ในประเทศอันสมควรทีจ่ ะไดม้ า
ประพฤติปฏบิ ตั ิพรหมจรรย์ไง จะได้ไปหาโมกขธรรมไง”

ชีวิตฆราวาสวัยเด็ก

หลวงป่พู รหม จิรปุญโฺ  เมื่ออยูใ่ นวัยเด็ก ท่านกใ็ ช้ชวี ิตเชน่ เดียวกบั เดก็ ทั่วๆ ไปในชนบท
ภาคอสี าน คือ ชว่ ยงานโยมบดิ ามารดาท�ำนา เลย้ี งวัวเลย้ี งควาย และวงิ่ เลน่ สนุกสนานตามประสา
เดก็ ฯลฯ ดว้ ยครอบครวั ของทา่ นเปน็ สมั มาทิฏฐิ โยมบดิ ามารดาจึงปลกู ฝงั นสิ ัยทางธรรมแกท่ ่าน
โดยพาท่านและน้องๆ เข้าวัดประจ�ำหมู่บ้าน ทุกเช้าโยมบิดามารดาพาท�ำบุญใส่บาตรเป็นประจ�ำ
ท่านและน้องๆ ก็จะออกมาตักบาตร และไปถวายอาหารเพลทวี่ ดั บางวนั โยมบดิ ามารดาก็ใชใ้ ห้
ท่านไปถวายอาหารเพล ดังนน้ั หลวงปทู่ ่านจงึ มคี วามคุ้นเคยและผกู พันกบั วดั กับพระ เช่นเดยี วกับ
เด็กในชนบทโดยทั่วไปในสมัยนั้น ท้ังน้ีการบ�ำเพ็ญทานของครอบครัวท่าน ได้เป็นอุปนิสัยเด่น
ประจำ� ตัวท่าน จนใกลว้ นั ทที่ ่านจะออกบวช ทา่ นถงึ กบั สละทรัพย์สมบัติท่มี อี ยทู่ ้ังหมด ยกเว้นเครื่อง
ดกั จบั สตั ว์ ออกแจกบำ� เพ็ญทานจนหมดส้นิ

เรื่องการศึกษาของหลวงปู่พรหมในวัยเด็ก ไม่มีการจดบันทึกเป็นหลักฐานไว้ ในสมัยนั้น
ตามท้องถิ่นชนบทไทยยังไม่มีโรงเรียนเปิดท�ำการเรียนการสอนหนังสือ เหมือนเช่นสมัยปัจจุบันนี้
โรงเรียนประถมศึกษาแหง่ แรกของไทยเร่มิ มขี ึน้ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ชือ่ “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม”
ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดมหรรณพาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ส�ำหรับโรงเรียนแห่งแรก
ในภาคอสี านเร่มิ มีข้ึนในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยทา่ นเจา้ คณุ พระอบุ าลคี ณุ ูปมาจารย์ (จนั ทร์ สริ จิ นโฺ ท)
วดั บรมนิวาส เป็นผู้จดั ตั้งทวี่ ดั สปุ ฏั นาราม จังหวัดอุบลราชธานี โดยใชส้ ถานท่วี ดั เปดิ เป็นโรงเรยี น
และมีพระเป็นผู้สอน โดยต้ังช่ือว่า “โรงเรียนอุบลวิทยาคม” และต่อมาจึงได้ขยายไปท่ัวมณฑล
อีสาน สว่ นการศึกษาภาคบงั คับของประเทศไทย เริม่ มีขนึ้ เป็นครง้ั แรกในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ คอื เม่ือ
๙๐ กว่าปีมาน้ีเอง

การศึกษาในสมัยก่อนน้ัน บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ปรารถนาให้บุตรหลานของตน
มคี วามเจรญิ กา้ วหนา้ ในชีวิต เปน็ คนดีมคี วามรูค้ ่กู ับคณุ ธรรมในสงั คม จึงมกั จะส่งบุตรหลานไปวัด

7

เพอ่ื ศึกษาเลา่ เรียนพร้อมกบั ขดั เกลาจิตใจ พระสงฆ์ที่มคี วามรูท้ ่านจะเปน็ ผู้สอนเดก็ โดยสอนการ
อ่านเขยี นอักษรไทยน้อย อกั ษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม พร้อมกบั อบรมศลี ธรรม คุณธรรม
จรรยา มารยาท ใหก้ บั เดก็ ซงึ่ สมยั นัน้ เปน็ ทน่ี ยิ มแพร่หลายกันมากในภาคอีสาน

พอ่ แม่ครูบาอาจารยใ์ นสายกรรมฐานและศิษย์อาวโุ สร่นุ แรกๆ ที่มีอายรุ นุ่ ราวคราวเดียวกัน
ที่มชี อื่ เสยี งโด่งดงั เช่น ทา่ นเจ้าคุณอบุ าลคี ณุ ูปมาจารย์ (จนั ทร์ สริ จิ นโฺ ท) หลวงปู่เสาร์ กนตฺ สโี ล
หลวงปู่ม่ัน ภูรทิ ตโฺ ต หลวงป่ขู าว อนาลโย หลวงปูแ่ หวน สจุ ิณฺโณ หลวงป่ตู อื้ อจลธมโฺ ม ฯลฯ
ล้วนศึกษาเล่าเรียนท่ีวัด ดังนั้น จึงท�ำให้เช่ือม่ันได้ว่า ในวัยเด็กของหลวงปู่พรหมก็เช่นเดียวกัน
โยมบิดามารดาต้องปรารถนาให้ท่านมีความรู้และคุณธรรมติดตัว จึงได้ส่งให้ท่านเข้าเรียนหนังสือ
กับพระท่ีวดั ใกลบ้ ้าน

นอกจากนี้สภาพการด�ำเนินชีวิต และ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในสังคมชนบททาง
ภาคอสี านนน้ั ยอ่ มเป็นครสู อนทา่ นไดเ้ ปน็ อยา่ งดี เพราะเป็นการเรยี นรูจ้ ากประสบการณช์ ีวติ จรงิ
จากประสบการณ์ตรงของทา่ นเอง และจากสภาพเหลา่ นั้น ยอ่ มเปน็ ประโยชนต์ ่อท่านเป็นอย่างมาก
เพราะทำ� ใหท้ ่านไดส้ ะสมความรู้ ความคดิ สติปัญญา พร้อมกับไดห้ ล่อหลอมรา่ งกายใหแ้ ขง็ แกร่ง
และหลอ่ หลอมจิตใจของทา่ นใหเ้ ขม้ แข็ง พร้อมท่จี ะเผชิญกบั ปญั หาและอุปสรรคตลอดภัยอันตราย
ต่างๆ ทอี่ าจจะเกดิ ขึ้นในอนาคตท้งั ทางโลกและทางธรรม

รูปร่างและอุปนิสัยใจคอ

หลวงปู่พรหม จิรปญุ ฺโ ทา่ นมีรูปรา่ งสันทดั สูงปานกลาง มผี ิวดำ� แดง ทา่ นมอี ปุ นิสยั
ใจคอเครง่ ขรึม เด็ดเด่ียว เป็นคนไมค่ อ่ ยชอบพูดชอบจา เวลาพูดก็พูดเรอ่ื งจรงิ ไมพ่ ดู เลน่ และไม่
พูดอวดอ้าง เป็นคนหม่ันเพยี รขยนั ขนั แขง็ มนี ิสยั เดด็ ขาด ทำ� อะไรก็มุ่งมน่ั ทำ� จรงิ ท�ำจงั ประเภท
พูดน้อยแต่ต่อยหนัก และเปน็ นกั สู้ประเภท “สไู้ ม่ถอย” แลดูนา่ เกรงขาม น่าเชือ่ ถือ ทา่ นเป็นคน
มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มไี หวพรบิ ปฏิภาณ มีเชาวนป์ ญั ญา ชา่ งสงั เกต และทสี่ �ำคญั ท่านเปน็ คน
กตัญญูกตเวที ออ่ นนอ้ มถอ่ มตน เสมอต้นเสมอปลาย มจี ติ ใจเมตตา โอบออ้ มอารี ใจบญุ สนุ ทาน
เลอื่ มใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

หลวงปู่พรหม ทา่ นมลี กั ษณะเปน็ ผนู้ �ำเหน็ ได้อยา่ งเดน่ ชดั ต้ังแตว่ ัยเด็กจนเติบโตเปน็ ผูใ้ หญ่
คือ ทา่ นเป็นคนมีคุณธรรม มีจติ ใจเข้มแข็งหนกั แนน่ มีความรับผดิ ชอบตอ่ หน้าท่ีการงาน องอาจ
กล้าหาญ เสยี สละอดทน จรงิ ใจและจรงิ จงั รักษาสจั จะ ซ่อื สตั ย์สุจริต มีมานะบากบนั่ พากเพยี ร
อุตสาหะ มีน�้ำใจ ชอบช่วยเหลอื เกอ้ื กูล และประหยดั อดออม ฯลฯ ซง่ึ อปุ นสิ ยั อันดีเด่นและจติ ใจ
อันดีงามเหลา่ นข้ี องทา่ น อันเป็นฝา่ ยผลนนั้ ย่อมไม่อาจเสกสรรป้นั แต่งขึน้ มาไดเ้ อง ลว้ นมเี หตุปจั จยั

8

มีท่มี าทง้ั สิน้ เพราะลว้ นเกดิ จากฝา่ ยเหตุ ซ่ึงทา่ นไดบ้ ำ� เพญ็ ปพุ เฺ พ จ กตปญุ ฺ ตา คอื การบ�ำเพ็ญ
ส่ังสมบญุ บารมมี าด้วยดีแลว้ ตัง้ แต่บพุ เพชาตปิ างก่อนอันยาวไกลนานนับแสนกปั น่นั เอง

ด้วยอุปนสิ ยั ใจคอของหลวงปูพ่ รหมดังกลา่ วมา ท่านจงึ เป็นท่รี กั ใครไ่ วว้ างใจของโยมบิดา –
มารดา ท่านเป็นท่ีรักใคร่และเกรงใจของน้องๆ ในครอบครัวตลอดญาติสนิทมิตรสหายเพ่ือนบ้าน
และท่านเป็นที่รักใคร่และฝากเป็นฝากตายของภรรยา ซ่ึงในกาลต่อมาเมื่อท่านเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ทา่ นเปน็ คนที่มฐี านะม่ันคงและรำ�่ รวยทีส่ ดุ ในหมบู่ ้าน ดว้ ยความดขี องทา่ นนั่นเอง เป็นทป่ี ระจักษ์
และเปน็ ทยี่ อมรบั ของชาวบา้ น ชาวบา้ นจงึ ใหค้ วามเคารพนบั ถอื ใหค้ วามไวว้ างใจและเกรงใจในตวั
ท่านมาก ถึงกับยกย่องเชิดชูให้ท่านเป็น “นายฮ้อย” อันเป็นต�ำแหน่งทรงเกียรติ ส�ำคัญและ
น่าภาคภูมใิ จของชาวภาคอสี านในสมัยน้ัน

สำ� หรบั เรอ่ื งระยะเวลาการสรา้ งบารมเี ปน็ พระอรหนั ต์ และเรอ่ื งผทู้ สี่ รา้ งบญุ วาสนาบารมมี า
มากน้อย จะสังเกตได้จากอะไร ซ่ึงเป็นเร่ืองที่ชาวพุทธเราสนใจกัน ครูบาอาจารย์ได้เมตตาเทศน์
เรื่องนีไ้ วด้ ังน้ี

“ในพระไตรปฎิ กบอกว่า ถา้ พระอรหนั ต์อยา่ งน้อยต้องสร้างมาแสนกัป ตอ้ งสร้างมาแสนกัป
นะ อยใู่ นอภธิ รรม ต้องมีบุญ มวี าสนา มบี ารมี ตอ้ งสรา้ งมาเป็นแสนกปั เลย แล้วพอสรา้ งมาแสนกัป
ต้องพยายามปฏบิ ัติ เอาตวั เองพ้นให้ได้ดว้ ย ถ้าสร้างมาแสนกปั ถ้ายังไมไ่ ดก้ ย็ ังตอ้ งต่อเน่ืองไป...”

“เราจะรู้ว่า ใครสร้างบุญสร้างกรรมมามากน้อยขนาดไหน ถ้าเราไม่รู้ว่า ใครสร้างบุญ
สร้างกรรมมามากน้อยขนาดไหน เชาวน์ปัญญานี่แหละ มันจะบอก คนท่ีมีบุญ มันจะมีเชาวน์
มปี ัญญานะ จะฉลาดมาก จะมีสงิ่ ทว่ี ินิจฉยั ไม่เป็นเหยือ่ ของใคร คนทีม่ เี ชาวนป์ ัญญา น่ันเพราะเขา
สรา้ งอำ� นาจวาสนาของเขามา....”

9

ภาค ๒ ชีวิตฆราวาสแสวงหาความสุขที่แท้จริง

พระนิพพานบรมสุข คือ ความสุขที่แท้จริง

มนุษยย์ ่อมรักสุขเกลียดทกุ ข์กันทกุ คน ต่างคนจงึ มงุ่ แสวงหาความสุข แต่ความสขุ ที่ทกุ คน
แสวงหาส่วนใหญ่น้ันเป็น “โลกียสุข” คือ ความสุขอย่างโลกีย์ หรือ ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก
ซึ่งต่างกับทีเ่ พศของสมณะนักบวชในพระพุทธศาสนาอยา่ งส้นิ เชิง ท่ีท่านมงุ่ แสวงหา “โลกตุ ตรสขุ ”
คือ ความสขุ อย่างโลกตุ ระ ความสขุ ที่เหนือกวา่ ระดับของชาวโลก หรอื ความสุขเนื่องด้วยมรรคผล
นิพพาน ซงึ่ “นิพพาน” นี้หมายถงึ การดบั กเิ ลสและกองทุกข์ เป็นโลกตุ ตรธรรม เป็นโลกตุ ตรสขุ
และเปน็ จุดม่งุ หมายสูงสุดในพระพทุ ธศาสนา

ความสขุ ของ หลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ  ทีท่ า่ นได้รบั ในสมัยยงั เปน็ ฆราวาสนน้ั ก็เป็นเช่น
เดียวกับฆราวาสทั่วๆ ไป แต่จุดมุ่งหมายสูงสุดของท่านนั้น ท่านกลับมิได้ปรารถนาโลกียสุขเลย
แม้แต่น้อยนิด หากแต่ท่านมีจิตใจมุ่งม่ันปรารถนาที่จะแสวงหาความสุขที่แท้จริง คือ “นิพฺพานํ
ปรมํ สขุ ํ” อนั หมายถงึ นิพพานเป็นสุขอยา่ งยง่ิ

องค์หลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนฺโน ทา่ นได้เมตตาเทศนแ์ สดง “นิพพฺ านํ ปรมํ สุข”ํ
อนั เปน็ ธรรมบทสำ� คัญน้ีไว้ดงั น้ี

“ท่านกล่าวไวว้ า่ นิพฺพานํ ปรมํ สขุ ํ ในธรรมะมีบทนเ้ี ป็นยอดแหง่ ธรรม ท่ีกล่าววา่ เป็นผล
ของการปฏิบตั ิ เราทกุ ทา่ นเคยได้ยนิ เสมอว่า พระนพิ พานเปน็ ความสุขอย่างยอดเยยี่ ม นี่เปน็ องค์
ของพระพทุ ธเจา้ ผู้ไดท้ รงค้นพบและน�ำมาประกาศสอนโลก ให้ทราบความลึกซง้ึ แหง่ ความสขุ ที่โลก
แมจ้ ะไมเ่ คยเหน็ กต็ าม เพอ่ื ใหไ้ ดย้ นิ และเปน็ ทจ่ี บั จติ จบั ใจ เปน็ เครอ่ื งปลกู ศรทั ธาความเชอ่ื มนั่ วริ ยิ ะ
ความพากเพียร ทจี่ ะบ�ำเพ็ญตนไปดว้ ยความอดทนและขยันหม่นั เพียร

ไม่มีใครจะสามารถยกธรรมบทน้ีขึ้นมาให้โลกได้ยินได้ฟัง และไม่มีใครสามารถจะชี้
ช่องทางเพ่ือธรรมบทนี้ปรากฏขึ้นภายในใจได้ นอกจากพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นเป็น
ครงั้ แรก ซง่ึ เป็นผู้นำ� พระศาสนา แม้สาวกกต็ ้องได้สดับจากพระพทุ ธเจ้ามาก่อน ไม่เชน่ นัน้ ก็
ไมส่ ามารถ น่แี สดงถงึ ความยอดย่งิ แห่งความสุขท่ีโลกปรารถนา นับแต่สัตวก์ ็มคี วามปรารถนา
ด้วยกนั พระพุทธเจ้าทา่ นแสดงใหท้ ราบอยา่ งนี้

ความสขุ ทเี่ ราๆ ทา่ นๆ ไดป้ รากฏอยูเ่ หล่าน้ี เป็นความสขุ ทพี่ ระพุทธเจ้าเคยพบ เคยเหน็
และเคยเสวยมาดว้ ยกนั แตย่ งั ไมไ่ ดเ้ สดจ็ ออกทรงผนวชและยงั ไมไ่ ดต้ รสั รู้ พระองคท์ า่ นกไ็ มส่ ามารถ
จะประกาศธรรมบทน้ใี หโ้ ลกได้ยนิ ท่วั ถงึ กัน เพราะพระองค์ไมท่ รงทราบว่าเป็นอยา่ งไร ตอ่ เม่ือได้

10

บำ� เพ็ญเต็มพระสตกิ ำ� ลังความสามารถ จนได้รู้เหน็ ธรรมบทท่อี ศั จรรย์เหนือโลกนแี่ ลว้ จึงไดน้ �ำมา
ประกาศส่ังสอนบรรดาสตั ว์”

นิพพฺ านํ ปรมํ สขุ ํ ธรรมบทส�ำคญั น้ี หลวงปู่พรหม จริ ปุญฺโ ในสมัยท่ที ่านยงั เป็นฆราวาส
ทา่ นกร็ อผแู้ นะน�ำสัง่ สอนธรรมบทสำ� คัญน้ี เหตุผลประการส�ำคัญ คอื ผู้ปรารถนาซงึ่ พระนพิ พาน
จ�ำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์ที่ดีที่รู้แจ้งเห็นจริงคอยอบรมสั่งสอนชี้แนะ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลี–
คุณูปมาจารย์ (จนั ทร์ สิรจิ นฺโท) ท่านได้เมตตาแสดงไว้ดงั นี้

“ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลท้ังหลายผู้ปรารถนาซึ่งพระนิพพาน ควรแสวงหาซ่ึงครูท่ีดี
ท่อี ยู่เป็นสขุ สำ� ราญ มิไดป้ ระมาท เพราะพระนิพพานไมเ่ หมอื นของสงิ่ อ่ืน อันของส่งิ อน่ื นนั้ เมือ่ ผิด
ไปแลว้ กม็ ที างแก้ตวั ได้ หรอื ไม่ส้เู ปน็ อะไรนกั เพราะไมล่ ะเอยี ดสขุ มุ มาก สว่ นพระนิพพานนล้ี ะเอียด
สุขุมที่สุด ถ้าผิดแล้วก็เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์เป็นหนักหนา ท�ำให้หลงโลกหลงทางห่างจาก
ความสขุ ท�ำให้เสยี ประโยชนเ์ พราะอาจารย์

ถ้าไดอ้ าจารยท์ ีถ่ กู ที่ดี ก็จะไดร้ ับผลท่ถี ูกทีด่ ี ถ้าไดอ้ าจารย์ท่ีไม่รไู้ มด่ ี ไม่ถูกไมต่ อ้ ง ก็จกั ได้
รบั ผลท่ีผดิ เป็นทกุ ข์ พาให้หลงโลกหลงทาง พาใหเ้ วียนวา่ ยตายเกิดอย่ใู นวัฏสงสารสิน้ กาลนาน
เปรียบเหมือนผู้จะพาเราไปในท่ีต�ำบลใด ต�ำบลหน่ึง แต่ผู้นั้นไม่รู้จักต�ำบลน้ัน แม้เราเองก็ไม่รู้
เมื่อกระน้ัน ไฉนเขาจงึ จะพาเราไปใหถ้ ึงตำ� บลนนั้ ได้เล่า ข้ออุปมานีฉ้ นั ใด อาจารยผ์ ู้ไมร่ ้พู ระนพิ พาน
จะพาเราไปพระนิพพานนั้น ก็จะพาเราหลงโลกหลงทางไปๆ มาๆ ตายๆ เกดิ ๆ อยูใ่ นวัฏสงสาร
ไม่อาจถึงพระนพิ พานได้ เหมือนคนทไ่ี มร่ ู้จักตำ� บลท่ีไปและเปน็ ผพู้ าไป ก็ไมอ่ าจจะถึงได้ มอี ุปไมย
ฉะนั้น”

ท่านครุ่นคิดถึงความสุขท่ีแท้จริงต้ังแต่เด็ก

หลวงปพู่ รหม จริ ปญุ โฺ  ในช่วงท่ที ่านใช้ชีวิตเย่ยี งฆราวาสท่วั ๆ ไป แต่ภายในจิตใจของท่าน
นน้ั มคี วามมุง่ ม่ันปรารถนาอย่างแรงกลา้ ทา่ นมีจุดม่งุ หมายสงู สดุ คือ พระนิพพานบรมสุขอยภู่ ายใน
จิตใจน่ันเอง กล่าวคือ ต้ังแต่วัยเด็กเป็นต้นมา แม้ร่างกายของท่านจะเป็นเด็ก แต่ท่านกลับมี
ความคดิ ความอ่าน มีความประพฤติ และมกี ารกระท�ำไม่เหมอื นเด็กทว่ั ๆ ไป เมือ่ เปน็ วัยหนุ่มจน
เติบใหญก่ เ็ ช่นกัน ท่านมีความสงสัยและครนุ่ คดิ ถึงเรอ่ื งความสขุ ท่ีแทจ้ รงิ ของคนเรา

หลวงปพู่ รหมในวัยเด็ก ทา่ นมคี วามอดทน ขยนั ขนั แข็ง ทา่ นได้ช่วยแบ่งเบากิจการงานของ
ครอบครัวอย่างมีความสุข ตามประสาวัยเดก็ เม่อื ท่านเตบิ โตเปน็ วัยหนุ่ม ด้วยท่านเปน็ บุตรชาย
คนโต ทา่ นจงึ รบั ภาระและช่วยแบ่งเบากจิ การงานทกุ อยา่ ง โดยเปน็ ก�ำลังหลกั ของครอบครัว ทา่ น
ท�ำงานหนกั อย่างท่มุ เท เอาใจใส่รบั ผดิ ชอบงานอย่างเตม็ กำ� ลงั ความสามารถ จนท่านเป็นที่รกั ใคร่

11

และไว้วางใจของบิดามารดา งานท่ีทา่ นทำ� ในแต่ละวนั ก็เปน็ เช่นเดียวกบั วิถีชาวนาท่ขี ยนั ขันแขง็ คอื
เม่ือถึงหน้าฝนอันเป็นฤดูกาลท�ำนา ช่วงเช้าท่านก็ออกไปช่วยบิดา เตรียมดินเพาะปลูก โดยเอา
ควายออกไถนา หวา่ นกล้า ปักดำ� ไปจนกวา่ จะแล้วเสร็จ จากน้ันกร็ อจนข้าวเจรญิ เตบิ โตงอกงาม
จึงเกี่ยวขา้ ว ตากข้าว แล้วเอาขา้ วขึ้นเกบ็ ย้งุ ฉาง เม่ือว่างจากการทำ� นากท็ ำ� ไร่ท�ำสวน เพาะปลกู
พชื ผกั พชื ไร่ต่างๆ เพือ่ เกบ็ นำ� มาเป็นอาหารบา้ ง เพ่อื เกบ็ น�ำไปขายสู่ตลาดบ้าง นบั เปน็ วิถีการใชช้ วี ิต
ทวี่ นเวยี นจำ� เจ วนั แล้ววนั เลา่ เดือนแล้วเดือนเล่า ปแี ล้วปีเล่า ไมร่ ูจ้ ักจบจกั สนิ้

การใช้ชีวติ ของหลวงปู่พรหมในช่วงวยั เด็กและวัยหนุ่ม ในสภาพของหมบู่ ้านชนบทหา่ งไกล
ในสมัยนั้นจัดว่า ท่านมีความสุข เพราะฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวท่านจะดีกว่าครอบครัว
อ่ืนๆ ในละแวกเดียวกัน เป็นครอบครัวหนึ่งท่ีอบอุ่นมีความสุข แต่ท่านกลับมีความคิดแสวงหา
ความสุขท่ีแท้จริง โดยนับตั้งแต่เยาว์วัยรู้เดียงสาจนเติบใหญ่ข้ึนมาเป็นหนุ่ม ท่านก็ยังคงสงสัย
ค�ำถามเดมิ ๆ ทีเ่ คยคิดนึกมาแต่ต้น คอื มักจะครนุ่ คดิ และถามตนเองว่า

คนเราเกิดมาแล้วนี้ จะแสวงหาความสขุ ทแี่ ท้จรงิ ไดอ้ ย่างไร ?

อะไรคือความสุขทแี่ ท้จรงิ ?

ความสขุ ท่แี ท้จริงอยู่ทีไ่ หน ?

จะทำ� อย่างไรให้ได้ความสขุ ท่แี ทจ้ รงิ น้นั ?

คำ� ถามเรอ่ื งความสุขท่ีแทจ้ รงิ น้ี ท่านมงุ่ ม่ันจะคน้ หาคำ� ตอบดว้ ยตัวท่านเอง ท่านถามอย่าง
เอาจริงเอาจัง และค้นหาและกระท�ำอย่างจริงจังทุกวิถีทาง เพ่ือให้ได้ความสุขท่ีแท้จริง จนแล้ว
จนรอด ทา่ นก็ไม่สามารถหาค�ำตอบที่พงึ พอใจให้กบั ตนเองได้ ทา่ นได้แตค่ รนุ่ คดิ คน้ หาความจริงอยู่
เงยี บๆ โดยไม่เคยปรปิ ากถาม หรือบอกให้ใครรู้เลย

หรือว่าชีวิตการครองเรือนคือความสุข ?

หลวงปู่พรหม จริ ปุญโฺ  ในวยั หนุ่มสมยั เปน็ ฆราวาส ท่านก็ยงั คงครุ่นคดิ เรอ่ื งความสุขท่ี
แท้จรงิ อยู่คนเดียว โดยไม่มีครบู าอาจารยอ์ งคใ์ ดคอยช่วยช้แี นะให้ ท่านกป็ รารถนาจะครองเรือน

เรอ่ื งการครองเรอื น องค์สมเดจ็ พระสัมมาสัมพทุ ธเจ้าตรัสสอนไวด้ ังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจ�ำที่ท�ำด้วยเชือกเหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็น
เครือ่ งจองจำ� ทแี่ ขง็ แรงทนทานเลย แต่เครือ่ งจองจ�ำ คือ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบตั ินแ่ี ลตรงึ รดั
มัดผูกสัตวท์ ้งั หลายให้ติดอย่ใู นภพอันไมม่ ที ส่ี น้ิ สดุ ”

12

ส�ำหรับฆราวาสโดยทว่ั ไปส่วนใหญท่ ั้งหญิงและชาย ตา่ งก็มกี ิเลสและมีความปรารถนาท่ีจะ
ครองเรอื นด้วยกันทงั้ นนั้ เพราะตา่ งก็มคี วามเห็นว่า เมอื่ มคี รอบครัวแล้วชวี ติ คจู่ ะทำ� ให้มีความสขุ
สมยั หลวงปู่พรหมในวยั หนุม่ ก่อนบวช ท่านก็มคี วามเห็นเชน่ นั้น เมือ่ อายุท่านย่างเข้า ๒๐ ปี เขา้ สู่
วัยหนุม่ เตม็ ตวั ค�ำตอบก็เริ่มผุดมาใหเ้ หน็ โดยมาฉุกคิดไดว้ ่า

“...หรอื ว่า การครองเรอื นมคี รอบครัวนก่ี ระมัง ที่จะนำ� ความสขุ มาให้เรา เพราะเท่าที่เห็น
เพื่อนบา้ นทเ่ี ขามคี รอบครวั กันแลว้ กเ็ ห็นวา่ มคี วามสขุ ดี ต่างคนตา่ งพึงพอใจด้วยกันท้ังนนั้ ”

เมื่อท่านเกิดความคิดเช่นน้ีแล้ว ก็ได้แจ้งความประสงค์ของตนให้บิดามารดาได้รับรู้ บิดา
มารดา ตลอดจนถงึ หมู่ญาติผ้ใู หญ่ ไม่มคี วามขัดขอ้ งแตอ่ ย่างใด ประกอบดว้ ยวยั ก็เหมาะสมทจ่ี ะมี
ลกู มเี มียได้แล้วในสมยั นัน้ ทุกคนจงึ เห็นดีด้วย

บดิ ามารดาและญาติๆ ได้เทีย่ วสอดสอ่ งหาหญงิ สาวที่ค่คู วร ซง่ึ มกี ริ ยิ ามารยาท ตลอดถงึ
ฐานะความเป็นอยู่ท่ีเหมาะสม เพื่อจะสู่ขอมาตบแต่งเป็นภรรยาท่าน ไม่นานนักก็พบกับสาวน้อย
รูปงามคนหนึ่งชื่อ “พมิ พา” เป็นคนบ้านดงเย็น ตำ� บลดงเย็น อำ� เภอบ้านดุง จงั หวัดอดุ รธานี ซึ่งอยู่
คนละจังหวัดกัน กล่าวคอื นายพรหม เป็นคนบ้านตาล ตำ� บลโคกสี อำ� เภอสวา่ งแดนดนิ จงั หวดั
สกลนคร

ทีอ่ ย่ขู องสองครอบครวั นี้ ความจรงิ แลว้ ไม่ได้อยูห่ ่างไกลกันนกั ตง้ั อยใู่ กลก้ นั มาก เพยี งแต่
ตั้งอยูค่ นละฝงั่ ของล�ำน�้ำสงคราม ประชาชนทั้งสองฝง่ั ถือเป็นญาตพิ ีน่ ้องกนั ตา่ งขา้ มฝง่ั น�้ำไปมาหาสู่
กนั เปน็ ปรกติ เป็นอนั วา่ นายพรหม สุภาพงษ์ แหง่ บ้านตาล จังหวดั สกลนคร กับ นางสาวพิมพา
แห่งบา้ นดงเยน็ จงั หวัดอดุ รธานี กไ็ ด้เข้าพิธแี ตง่ งานกันตามประเพณี

หลงั จากเขา้ พิธแี ตง่ งานแล้ว นายพรหมก็ไดย้ ้ายข้ามฝั่งแมน่ ำ้� สงคราม ไปอยู่กับศรภี รรยาท่ี
บ้านดงเย็น ไปเรม่ิ ปกั หลกั สรา้ งครอบครัวใหมจ่ นเปน็ ปกึ แผ่นขน้ึ มา

บ้านดงเย็น

บ้านดงเย็น ปัจจบุ นั ขน้ึ กับต�ำบลดงเย็น อ�ำเภอบา้ นดุง จงั หวดั อดุ รธานี

ค�ำว่า “ดงเย็น” ที่ตั้งหมู่บ้านแห่งนี้ในอดีตเป็นป่าไม้ดงดิบเขียวชอุ่ม มีสัตว์ป่านานาชนิด
และมีแม่นำ�้ สงครามไหลผา่ นใหค้ วามชุม่ ชน่ื กับพชื พนั ธ์ุธญั ญาหารท่ีราษฎรเพาะปลูก ดงั นน้ั “ดง”
จึงมาจากผืนดินที่เป็นป่าดงดิบ และ “เย็น” จึงมาจากความชุ่มชื่นของล�ำน้�ำสงคราม นอกจากนี้
ล�ำน้ำ� แหง่ น้ียงั มีปลาชุกชมุ จงึ เป็นแหล่งอาหารของชาวบา้ นดงเยน็

13

ลักษณะภมู ิประเทศของบา้ นดงเยน็ สว่ นใหญ่เป็นที่ราบ สลับท่ดี อน พนื้ ทีส่ ่วนใหญเ่ ป็นท่ีนา
มที ุ่งหญ้าเลย้ี งสตั ว์ ทีไ่ ร่ ท่สี วน และป่าไม้ มแี หล่งน้ำ� อุดมสมบรู ณ์ จงึ เหมาะกบั การประกอบอาชพี
ทางการเกษตร อาชพี หลักของชาวบ้านดงเย็น คอื การท�ำนา มีการเลย้ี งววั เลี้ยงควาย

ถนนสัญจรในบ้านดงเย็นในอดีตเป็นทางเกวียนเล็กๆ เป็นทางดินทรายไปตามป่าตามดง
สองข้างทางมสี ภาพร่มเย็นสบาย เพราะอุดมสมบรู ณ์ด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ มตี ้นมะเฟือง ตน้ มะไฟ
ชาวบ้านไปมาหาสกู่ ันด้วยการเดินเท้าบา้ ง ขมี่ ้าบา้ ง นง่ั เกวยี นบา้ ง สภาพบา้ นเรอื นกย็ งั ไมม่ ากตั้งอยู่
ห่างๆ กนั บรรยากาศเปน็ ธรรมชาตคิ ่อนขา้ งเงยี บสงัด ไมม่ เี สียงดงั รบกวน

ประวัตคิ วามเป็นมาของบา้ นดงเยน็ ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ขุนขจรเจนไพร ไดน้ ำ� ญาตพิ ่ีนอ้ งอพยพ
มาจากจังหวดั นครนายก มาตงั้ ถิ่นฐานอยรู่ มิ ห้วยสงคราม ซงึ่ เปน็ ทตี่ ั้งของตำ� บลดงเย็นหมทู่ ่ี ๑ หรือ
บ้านดงเย็นในปัจจุบัน เน่ืองจากเป็นที่ท�ำเลที่ดี ราษฎรจากจังหวัดต่างๆ และอ�ำเภอใกล้เคียงได้
อพยพมาอีกเปน็ จำ� นวนมาก ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ต�ำบลดงเยน็ ได้ยกฐานะเป็นต�ำบล โดยขน้ึ ตรงต่อ
อำ� เภอหนองหาน ตอ่ มาทางราชการได้แบง่ แยกอ�ำเภออีก จงึ เป็นอ�ำเภอบ้านดุง และตำ� บลดงเย็น
ได้ขน้ึ ตรงตอ่ อำ� เภอบ้านดุงนับตั้งแตน่ ้นั มา

ขนุ ขจรเจนไพร สบื สานประเพณพี ทุ ธศาสนาอย่างเคร่งครดั ได้พาลูกหลานชาวบา้ นสร้าง
วดั กะเฉด และไปนมิ นตพ์ ระจากอ�ำเภอสวา่ งแดนดนิ (พระมหานิกาย) มาจำ� พรรษา และน�ำการไป
ทำ� บุญตกั บาตรตอนเช้าทบ่ี ้าน ไปจังหนั ที่วดั ทกุ วันพระจะไปตกั บาตรที่วดั ทุกครัวเรือน คนแกจ่ ะไป
นอนรกั ษาศีลทีว่ ัด และสอนให้เดก็ เลก็ ตกั บาตรและเขา้ วัดทกุ คน สว่ นคนหนุ่มสาวจะใหไ้ ปทำ� งาน
ขดุ ดินท�ำลานวดั ในตอนเยน็ ผชู้ ายอายคุ รบ ๒๐ ปี จะให้เข้าอปุ สมบทอย่างน้อย ๑ พรรษา

หลังจากตัง้ วดั ผดงุ ธรรม (พระธรรมยตุ ) การท�ำบุญตามประเพณีจะมีรว่ มบญุ ข้าวประดบั ดนิ
ที่มีฉลองบุญดว้ ยหมอล�ำ แต่ไมใ่ หเ้ สียงดงั ไปทางวดั มปี ระเพณีสงกรานต์ ซึง่ ทา่ นจะน�ำลกู หลานทำ�
น้ำ� อบนำ้� หอมไปสรงนำ�้ พระทีว่ ัด และจะเล่าเรอ่ื งประวตั ิวนั สงกรานต์ให้ฟงั แล้วจงึ ให้เลน่ สงกรานต์
ที่ลานศาลากลางบ้าน ที่ดงเย็นจะไม่มีประเพณีท�ำบุญบั้งไฟ จะไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน
เด็กหนุ่มจะไมม่ จี บั กลุ่มตกี ัน ประเพณีงานศพจะใหเ้ พือ่ นบ้านใกลก้ นั ไปนอนทีบ่ า้ นงานไมน่ อ้ ยกวา่
๓ คืน หรือจนกวา่ เสร็จงาน ทกุ งานบญุ ตามประเพณจี ะไม่มีการดมื่ เหล้าภายในงานทกุ งาน

การท�ำนาจะมกี ารลงแขกช่วยกนั ดำ� นาเก่ียวขา้ ว ชว่ ยกันท้งั หมบู่ า้ น การท�ำงานสาธารณะ
เช่น สร้างศาลากลางบ้าน สร้างโบสถ์ สร้างสะพานข้ามแม่น�้ำสงคราม หรือท�ำถนนในหมู่บ้าน
คนในหมู่บ้านจะไปช่วยกันท�ำจนส�ำเร็จ ไม่เคยรองบประมาณจากทางราชการและไม่เคยขอให้
ทางการมาช่วยทำ� ให้

14

ชาวบ้านดงเย็นสมัยก่อนนิสัยนักเลง

ในอดตี ของบ้านดงเยน็ ในสมัยหลวงปพู่ รหม จิรปุญโฺ  ยังเป็นฆราวาสนนั้ เป็นทที่ ุรกนั ดาร
หา่ งไกลมาก แมใ้ นสมยั ปัจจบุ นั มถี นนหนทางสะดวกสบายกย็ งั ไปมาลำ� บาก เน่ืองด้วยสภาพความ
เป็นอย่ตู ามวถิ ีธรรมชาติ ซึง่ เปน็ ดงปา่ มีสตั ว์เสือร้ายชุกชุม ทงั้ ต้องประสบกบั ภยั ธรรมชาตจิ ากน�ำ้ ใน
แมน่ ำ�้ สงครามทไี่ หลบ่าทว่ มเปน็ ประจ�ำ ฯลฯ เหลา่ น้จี งึ เปน็ เคร่อื งหล่อหลอม ทำ� ใหช้ าวบ้านดงเย็น
ในอดตี เป็นผ้ทู มี่ จี ติ ใจกลา้ หาญอดทน เปน็ นกั ต่อสู้ และเป็นที่กลา่ วขานรำ่� ลือกนั มาก คอื คนบ้าน
ดงเยน็ มีนสิ ัยเปน็ นักเลงดว้ ย ดังนี้

“หลวงปู่พรหม ทา่ นถึงพลกิ ความคดิ ของชาวบ้าน คือ ทา่ นทำ� ท่านแนะ และทา่ นนำ� ดว้ ย
แล้วก็เปล่ยี นจิตใจของชาวบา้ น แต่กอ่ นชาวบา้ นคนเฒ่าคนแกร่ นุ่ เกา่ นเ้ี รียกวา่ คนบา้ นปา่ เมอื งเถื่อน
เปน็ นิสยั นกั เลง แต่กอ่ นไปไหนอยากได้อะไรของใครน่ี เดนิ ผา่ นเจอวัวเจอควายใครสวยๆ งามๆ นี้
ขึ้นข่ีหลงั มาเลย ไลต่ ้อนมาเลย บอกเลยของใคร ใครอยากไดไ้ ปตามเอาที่ดงเยน็ มันจะมพี วกพ่อคา้
ทเ่ี อามาไว้ ถา้ เขาไม่มาเอากเ็ รยี กวา่ เอาไปขายต่อ เปน็ อยา่ งน้นั

ตอนหลังมา ในชีวิตบั้นปลายหลวงปู่พรหมท่านกลับมาบ้านดงเย็น ท่านก็เลยมาแนะน�ำ
ชาวบ้านน้ีให้เลิก ให้เลิกตรงน้ี แล้วหลวงปู่สมัยเป็นฆราวาสน้ันก็คงเป็นกับเขาด้วย หลวงปู่ว่า
“คนไมเ่ คยทำ� อะไรกนั มาก่อน ไม่เคยทำ� มันก็จะไม่ไดท้ �ำ” ทา่ นว่า “ถา้ ตอนนัน้ ถ้าเจา้ ของเขามา
ตามน่ี ถ้ามันมาแบบนกั เลง กต็ ้องสกู้ ันแบบฆา่ กนั เลย” ท่านว่า “ท่านมาจากทางทศิ ตะวันออก
น่แี หละ เดนิ ผ่านบ้านดงบงั มา เจอควายตวั หนง่ึ โอ้ ! มนั ใหญ่ มันใหญ่ ขน้ึ ขี่หลงั มาเลย บอกเลย
พอเจอใครกบ็ อกเลย ใครอยากไดก้ ็ตามไปเอาทดี่ งเย็นนะ” ไมม่ ีใครมา เหมือนกบั ไม่ไดท้ ำ� กนั ”

เป็นครอบครัวอุตตมะ

ชวี ิตครอบครัวใหม่ของนายพรหม – นางพมิ พา เป็นครอบครัวสามีภรรยาหน่มุ สาวทใี่ ชช้ วี ิต
ครองรกั รว่ มกนั อยา่ งมคี วามสุข ประหนงึ่ เหมือนเปน็ อวยั วะเดยี วกัน เป็นครอบครวั ท่ีด�ำเนนิ ตาม
หลักธรรม สมชวี ิธรรม ๔ ประการ อนั หมายถึง หลักธรรมของคชู่ ีวติ ธรรมท่ีจะท�ำใหค้ ูส่ มรสชวี ติ สม
หรอื สม�ำ่ เสมอกลมกลืนกนั อยู่ครองกนั ยืดยาว พื้นฐานอันม่ันคงท่ีจะท�ำใหส้ ามีภรรยาครองชีวิตกนั
ยนื ยาว มคี วามสุข คอื คูส่ ามภี รรยาต้องมสี มชวี ิธรรม ได้แก่

๑. สมสทั ธา มีศรทั ธาเสมอกัน
๒. สมสลี า มีศีลเสมอกัน
๓. สมจาคา มีจาคะเสมอกนั
๔. สมปัญญา มปี ัญญาเสมอกนั

15

และต่างฝ่ายต่างก็ท�ำหน้าท่ีของสามีภรรยาที่ดีต่อกัน ตามวิถีชีวิตของสังคมชนบทสมัยนั้น
ฝา่ ยสามีกท็ ำ� หนา้ ท่หี วั หนา้ ครอบครัวที่ดี เปน็ พ่อบา้ นที่ท�ำงานหนกั ขยันขนั แข็งในอาชีพการงาน
ยกยอ่ งให้เกยี รตภิ รรยา มอบความเป็นใหญ่ใหภ้ รรยา ให้เคร่ืองแตง่ ตวั ฯลฯ ฝ่ายภรรยาก็ท�ำหนา้ ที่
ของศรีภรรยาที่ดที ุกประการ เป็นแม่บา้ นขยนั ขันแข็งในการท�ำงานบ้าน เชน่ จัดบ้าน ทำ� ความ
สะอาดบา้ น หุงหาอาหาร ซักผา้ ปรนนิบตั ิสามอี ยา่ งไมข่ าดตกบกพร่อง รักษาทรพั ย์ รจู้ กั การ
ใช้ทรัพย์ ฯลฯ ต่างฝา่ ยตา่ งมีความซือ่ สตั ยแ์ ละจรงิ ใจตอ่ กัน ไมน่ อกใจกนั มสี ขุ มที กุ ข์รว่ มกนั มกี าร
ปรึกษาหารือให้ก�ำลังใจกัน มีการเอาอกเอาใจกัน มีการดูแลเอาใจใส่กันเป็นอย่างดี และมีการ
ยึดเหน่ียวน�้ำใจกันด้วยการสงเคราะห์ซ่ึงกันและกันตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ประการ ได้แก่
ทาน คือ การให้ ปิยวาจา คอื พดู จาไพเราะออ่ นหวาน อัตถจริยา คอื การบำ� เพญ็ ประโยชน์ และ
สมานตั ตตา คือ การทำ� ตนเสมอตน้ เสมอปลาย

ครอบครัวของท่านจัดวา่ เปน็ “ครอบครวั อตุ ตมะ” หรือครอบครัวท่ีดเี ลศิ ยอดเยีย่ ม รกั ใคร่
ปรองดองกัน เป็นครอบครัวคู่ทุกข์คู่ยากท่ีมีความสุขมากครอบครัวหนึ่ง เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ
ครอบครัวอื่นๆ ในบ้านดงเย็น นายพรหมได้สร้างครอบครัวจนมีฐานะมั่นคง ด้วยวัยอายุเพียง
ประมาณ ๓๐ ปี ท่านก็ประสบความส�ำเร็จในชีวิตฆราวาสแทบทุกด้าน ท้ังด้านชีวิตครอบครัว
อันอบอุ่น ทั้งด้านอาชีพการท�ำงานอันม่ันคง ท้ังเป็นนายฮ้อยที่ชาวบ้านยกย่อง ท่านจึงได้รับ
ความสขุ สมความปรารถนาทกุ ประการ จนนายพรหมเองเข้าใจว่า น่ีคือความสุขทีแ่ ท้จรงิ ที่ทา่ น
ใฝ่ฝนั แสวงหามาตลอดต้งั แต่วยั เด็ก

พบความไม่เท่ียงและการพลัดพราก

ครอบครัวของนายพรหมและนางพิมพาน้ัน เป็นครอบครัวแบบอย่างท่ีใช้ชีวิตคู่ครองเรือน
ครองใจรักกันอย่างมีความสุขราบร่ืนด้วยดีเสมอมา แต่ทุกสรรพส่ิงบนโลกมนุษย์ล้วนต้องตกอยู่
ภายใตก้ ฎแหง่ อนจิ จัง คือ ความไม่เทีย่ ง และทกุ คนท่ีเกิดมาลว้ นต้องพบกับการพลัดพราก สมดังท่ี
องคส์ มเด็จพระสัมมาสัมพทุ ธเจา้ แสดงธรรมตรัสสอนเรอ่ื งนไ้ี วด้ งั นี้

“ดูกรภิกษทุ งั้ หลาย ความทุกข์ทเี่ กิดขึน้ จากการพลดั พรากจากสงิ่ อนั เป็นทรี่ กั ท่พี อใจนนั้
เป็นเร่ืองทรมานยิ่ง และเรื่องท่ีจะบังคับมิให้พลดั พราก ก็เปน็ สิ่งสดุ วสิ ัย ทุกคนจะต้องพลัดพราก
จากส่ิงอนั เป็นทีร่ ักทีพ่ อใจ ไมว่ ันใดกว็ ันหนึง่ ”

หลงั จาก นายพรหม และ นางพมิ พา ครองความสขุ ฉนั สามภี รรยากนั อย่ไู ม่นาน ต่อมา
ศรีภรรยาของทา่ น คือ นางพิมพาได้ตัง้ ครรภ์บตุ รคนแรก จะไดเ้ ปน็ แม่คน เม่อื ท่านทราบข่าวดวี ่า

16

ท่านจะไดบ้ ตุ รคนแรก จะไดเ้ ปน็ พอ่ คน ย่อมเปน็ ธรรมดาของครอบครัวที่รักกนั ที่ฝากเปน็ ฝากตาย
ไวใ้ จกนั จะได้มที ายาทไว้สืบทอดสกลุ เปน็ ครอบครัวทอ่ี บอนุ่ ครบสมบูรณ์ คือ มีทั้งพอ่ แม่ และลูก
จึงท�ำให้ทา่ นและศรีภรรยามคี วามตนื่ เต้นยินดีและมคี วามสขุ ใจเป็นอนั มาก

ในระหว่างที่นางพิมพาศรีภรรยาของท่านก�ำลังต้ังครรภ์อยู่นั้น ท่านก็ได้เฝ้าดูแลเอาใจใส่
เฝา้ ทะนุถนอมศรีภรรยาของท่านทงั้ ดา้ นร่างกายและจิตใจเป็นอยา่ งดี ท่านได้ท�ำหนา้ ท่ีเยี่ยงสามีทด่ี ี
ทั้งหลายที่พึงกระท�ำต่อศรีภรรยาท่ีก�ำลังตั้งครรภ์อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ส่วนครรภ์ของศรีภรรยา
ท่านนั้นนับวันก็เริ่มโตข้ึนๆ ท่านและศรีภรรยาต่างก็เฝ้ารอวันท่ีจะได้เห็นทารกน้อยคลอดออกมา
อย่างใจจดใจจ่อ ต่างก็เฝ้ารอวันที่จะได้อุ้มกอดทารกน้อยไว้ในอ้อมอกเพื่อเชยชมอย่างสมใจ แต่
เหตกุ ารณก์ ลบั พลกิ ตาลปัตรอย่างสิ้นเชงิ นายพรหมตอ้ งประสบกบั สจั ธรรมอนั ส�ำคัญจริงแท้ดว้ ยตวั
ของท่านเอง คือ ท่านพบกับความไม่แน่นอน และพบกับความพลัดพราก กลายเป็นเหตุการณ์
สลดสะเทือนใจอย่างหนักหน่วงที่สดุ ในชีวิตฆราวาสของท่าน กล่าวคอื

ครัน้ ถึงวันเวลาคลอดบตุ ร ซึง่ การคลอดในสมยั ก่อนนนั้ ยังไมม่ ีโรงพยาบาลหรือสถานีอนามยั
เหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และการแพทย์ยังไม่เจริญ จึงยังไม่มีการผ่าตัดท�ำคลอด การคลอดบุตรจึง
ท�ำคลอดกนั ทีบ่ า้ น โดยมีหมอต�ำแย หรือไม่ก็ทำ� คลอดกนั เองอย่างทุลักทเุ ล เช่น กรณีหลวงป่สู วุ ัจน์
สุวโจ ขณะเป็นฆราวาสก่อนออกบวช ท่านเคยชว่ ยผหู้ ญิงทอ้ งแกท่ ำ� คลอด ท่านเกิดความสลดใจ
ในการเกดิ จนต้ังใจวา่ “สักวนั หน่งึ เราจะตอ้ งออกบวชอยา่ งแนน่ อน” เพราะความสลดสงั เวชใน
วัฏสงสารคราวนนั้ นบั ได้วา่ เปน็ มหาสงั เวชเลยทีเดียว

กรณนี างพมิ พา ศรภี รรยาของนายพรหมนัน้ ทำ� การคลอดท่บี ้านและก็ต้องเสียชวี ติ ลงไป
พร้อมกบั ทารกน้อย คือ ภรรยาของท่านตายท้งั กลม อนิจจัง ความไมเ่ ที่ยงและความพลัดพราก
ได้พากันประดังถาโถมเข้ามาในชีวิตของนายพรหม แม้ท่านจะมีชีวิตจิตใจเข้มแข็งเพียงใดก็ตาม
ภาพศรีภรรยาและทารกนอ้ ยอนั เปน็ ทร่ี ักยิ่งของท่านนั้นไดต้ ายลงต่อหน้าตอ่ ตาทา่ น โดยในระหว่าง
คลอดทารกน้อยนั้น ท่านก็คอยให้ก�ำลังใจ ท่านได้ยินเสียงร้องอันเจ็บปวดทรมานของศรีภรรยา
พรอ้ มกับเห็นร่างท่ีเตม็ ไปด้วยเหง่อื อันเปียกชุ่มไหลทว่ มตวั และนำ�้ ตาทไี่ หลอาบสองแก้มจนดวงตา
ทั้งสองข้างแดงก�่ำ เสียงร้องของศรีภรรยาท่านนั้นเปล่งเสียงร้องดังลั่นอย่างเจ็บปวดทรมานมาก
รอ้ งจนแทบขาดใจหมดสติ และรอ้ งจนหมดลมหายใจ

ในที่สุดเสียงร้องนั้นได้เงียบหายไป พร้อมกับร่างของศรีภรรยาท่านที่นอนแน่น่ิงไม่ไหวติง
ท้ังเสียงร้องอันเจบ็ ปวดทรมาน ท้ังร่างของภรรยาทีก่ �ำลังปวดเบ่งเพอื่ คลอดทารกน้ัน และท้ังรา่ ง
ของศรภี รรยาท่นี อนตายพรอ้ มทารกน้อย ทา่ นไดเ้ ห็นอย่ตู รงหนา้ ทา่ น ย่อมเสียดแทงเขา้ ขัว้ หวั ใจ
ของท่านโดยตรง และย่อมท�ำให้ท่านเกิดความเจ็บปวดทรมานใจ ใบหน้าและสีหน้าของท่านน้ัน

17

ไดแ้ สดงออกถึงความเปน็ หว่ ง ความกงั วลใจ และความเศร้าโศกเสยี ใจ หากเป็นไปไดแ้ ล้ว ดว้ ยความ
เปน็ สุภาพบุรุษลกู ผูช้ ายของท่าน และด้วยชาตนิ ้ีเป็นชาติสุดทา้ ยของท่าน ท่านยอ่ มมีจิตใจอันสงู สง่
มีจิตใจที่รับผิดชอบ ท�ำให้ม่ันใจว่า ภายในจิตใจของท่านน้ัน ท่านยินยอมท่ีจะรับความเจ็บปวด
อันแสนท่ีจะทรมานและยอมสละตายแทนศรภี รรยาอันเปน็ ทร่ี กั ย่งิ ของท่าน ดังเชน่ พระโพธิสตั ว์
ทกุ ๆ พระองค์ทีป่ รารถนาตรัสรูพ้ ระอนตุ ตรสัมมาสมั โพธิญาณ หรอื เปน็ พระพทุ ธเจ้าน้ัน จะต้อง
สละลูกสละเมีย กรณีพระเวสสนั ดรก็เช่นกันทา่ นสละพระโอรส – พระธิดาทง้ั สอง คอื กัณหา ชาลี
ใหช้ ชู ก แลว้ ชชู กเฆย่ี นพระโอรส – พระธิดาท้ังสองต่อหน้าต่อตา ยอ่ มสรา้ งความสะเทอื นใจใหก้ บั
พระเวสสันดรเปน็ อันมาก ถงึ กับจะฆา่ ชูชก แตด่ ้วยความปรารถนาน้นั จำ� ต้องยอมสละพระโอรส –
พระธดิ าท้งั สองไป โดยครูบาอาจารยไ์ ดเ้ มตตาเทศน์เรอ่ื งน้ไี ว้ดังน้ี

“พระเวสสนั ดรเป็นพระโพธิสตั ว์ ถ้าเป็นพระโพธิสัตว์ ชาติที่มาเกดิ เปน็ เจ้าชายสทิ ธตั ถะเปน็
ชาติสดุ ทา้ ยแลว้ อีกชาตเิ ดยี ว แล้วคิดดูสิ คนทม่ี ีความดขี นาดน้จี ะรบั ผิดชอบไหม

๑. จะเปน็ ผ้ทู ีร่ ับผดิ ชอบสงู

๒. จะมกี ตัญญู มีความผูกพนั มาก แล้วต้องสละไป

นีพ่ ดู ถึงไง เราจะบอกวา่ สิง่ ทพี่ ระโพธิสตั วส์ ละขนาดนี้ จะเปน็ พระอรหันต์ จะเป็นผูท้ ป่ี ฏิบตั ิ
เขาตอ้ งเสียสละมา”

แม้นายพรหมกับนางพิมพาเป็นครอบครัวใหม่ เริ่มต้นสร้างฐานะมาด้วยกัน การอยู่กิน
ร่วมทกุ ข์ร่วมสขุ กนั ด้วยความดีและส่งิ ดๆี ท่ีมอบใหแ้ กก่ นั และกันตลอดเวลาประมาณ ๑๐ ปนี น้ั
ย่อมเกิดเป็นความรักความผูกพันทางใจอย่างลึกซ้ึง นายพรหมรักนางพิมพาศรีภรรยาคนน้ีมาก
จึงได้จัดงานศพให้กับศรีภรรยาและบุตรของท่านตามประเพณีอย่างสมเกียรติ ด้วยครอบครัวของ
ท่านเป็นครอบครัวแบบอย่างและเป็นที่รักใคร่ของคนในหมู่บ้านดงเย็น ดังน้ัน ในวันเผาศพจึงมี
ชาวบ้านมารว่ มงานไวอ้ าลัยและมาเผาศพกันจำ� นวนมาก

เหตุการณ์สลดสะเทือนใจครั้งส�ำคัญคร้ังน้ัน ท�ำให้ท่านเกิดความทุกข์ระทมใจ เกิดความ
เศร้าโศกเสียใจเปน็ อันมาก ยากนักท่ีจะลบเลอื นออกจากใจทา่ นได้ ความคดิ ทีว่ า่ การมคี รอบครัว
แล้วจะมคี วามสุขทีแ่ ท้จรงิ นนั้ เปน็ ความคิดทไี่ มถ่ กู ต้องเสียทเี ดยี ว ตรงกันขา้ มกลับเพม่ิ ความทุกข์
ใหม้ ีแก่ตนอกี เปน็ เทา่ ทวีคณู ความคิดนั้นเป็นอันว่าล้มละลายหายสญู ไปอกี เพราะยังเต็มไปด้วย
ความทุกข์ท้ังจากความไม่เท่ียงและจากการพลัดพราก ในขณะนั้นท่านยังไม่พบครูบาอาจารย์ที่
รจู้ ริงเห็นจริงคอยเมตตาช้แี นะทางธรรม ท่านต้องแสวงหาความสุขท่แี ทจ้ รงิ ต่อไปตามลำ� พงั และ
ท่านต้องอยู่ในอาการทนทุกข์ทรมานจิตใจอยู่ปีกว่า เหตุการณ์สูญเสียครั้งส�ำคัญนี้เป็นสาเหตุหน่ึง

18

ซึง่ ในกาลตอ่ มาท�ำใหท้ ่านไดต้ ดั สินใจสละเรือนและสละทรพั ยส์ มบัติจ�ำนวนมากมาย ออกบวชเป็น
พระธดุ งคกรรมฐาน เพอื่ แสวงหาโมกขธรรมอันเปน็ ความสุขท่ีแท้จริง

ประวัตขิ องหลวงปู่พรหม กับ หลวงป่กู งมา มีความคลา้ ยคลงึ กนั มาก ตอนเป็นฆราวาสก็
เป็นนายฮ้อยไปคา้ ขายท่ภี าคกลางเหมือนกัน มภี รรยาคลอดลกู ออกมากต็ ายเหมือนกัน เมอ่ื ออก
บวชเป็นพระก็ฉายา จิรปุญฺโ เหมือนกัน ภายหลังถวายตัวเป็นพระศิษย์หลวงปู่มั่นแล้วก็มุ่ง
แสวงหาโมกขธรรมเหมือนกัน

การครองเรือนแต่งงานคร้ังที่สอง

การพลัดพรากสูญเสียศรภี รรยาและบตุ รไปพรอ้ มๆ กันน้ัน เป็นผลทำ� ใหช้ วี ิตของนายพรหม
เปล่ยี นแปลงไปมาก ทา่ นเหมอื นคนไม่มคี วามสขุ ดูหงอยเหงาเปลา่ เปล่ยี ว ในใจกว็ ้าเหว่เดียวดาย
ย่งิ คิดคำ� นงึ ยงิ่ ร�ำพนั ถึงภรรยา กย็ ่ิงทุกขท์ รมานใจ และน่นั กย็ ่ิงเป็นปจั จัยผลกั ดนั ให้ทา่ นยิ่งแสวงหา
ความสุขที่แท้จริง ส่วนบรรดาญาติพี่น้องต่างก็ไม่รู้ความในใจที่แท้จริงของท่าน ต่างก็สงสารและ
เหน็ ใจ ดว้ ยความปรารถนาดีแบบโลกๆ จงึ ได้แนะนำ� ให้ท่านแตง่ งานอีกเป็นครั้งท่ีสอง

การแตง่ งานใหมใ่ นครง้ั นี้ แรกเรม่ิ เดิมทที ่านก็ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมากนัก เพราะท่านได้
สมั ผัสรสชาตขิ องความทุกข์ ความทรมานใจจากการพลัดพรากสูญเสยี มาแล้ว ซ่งึ ยากท่จี ะเยยี วยา
แก้ไขให้กลับมาสดช่ืนแจ่มใสเหมือนเดิมได้ แม้กาลเวลานั้นจะช่วยเยียวยาให้ท่านคลายจากความ
ทกุ ขโ์ ศกไปได้บ้างแล้วกต็ าม แต่จติ ใจของคนทเ่ี คยพบกบั ความพลัดพรากสญู เสยี มาแลว้ นน้ั กย็ ากท่ี
จะแตง่ เตมิ ใหด้ เี หมอื นเดิมได้ อุปมาดังแก้วท่มี ันรา้ ว แม้จะประสานให้ดีเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจลบ
รอยรา้ วใหก้ ลบั มาดเี หมอื นดงั เดมิ ได้ หากแตง่ งานใหมแ่ ลว้ เกรงจะซำ้� รอยเดมิ แตใ่ นทสี่ ดุ ดว้ ยเหตผุ ล
ประการต่างๆ ทา่ นก็ไดเ้ ข้าพธิ ีแตง่ งานอกี เปน็ ครั้งทส่ี อง

ภรรยาคนทสี่ องของทา่ นชือ่ นางกองแพง ได้รว่ มสุขรว่ มทุกขอ์ ยูก่ ินกับท่านเปน็ เวลา ๕ ปี
โดยไม่มบี ตุ รด้วยกัน นบั วา่ เป็นโชควาสนาของนายพรหมเปน็ อย่างยิง่ เพราะภรรยาใหม่ของทา่ น
นนั้ เปน็ คนดี ขยันขนั แขง็ ทส่ี �ำคญั มีจิตใจใฝ่ทางธรรมะ ซง่ึ ภายหลงั ต่างคนต่างสนบั สนนุ กันออกบวช
ถือเพศนักบวชด้วยกันทง้ั คู่

ขณะใช้ชวี ติ ค่รู ่วมกนั นั้น นายพรหม และนางกองแพง ซ่งึ เป็นศรีภรรยาใหมข่ องทา่ น ตา่ ง
กไ็ ดช้ ว่ ยกันทำ� มาหากินอย่างขยันขนั แข็ง จนสามารถสรา้ งฐานะได้ม่ันคงมีอนั จะกนิ เปน็ ครอบครวั
ที่มคี วามสุขมากและมที รพั ยส์ ินมาก ทา่ นมที ่ีดนิ ปลกู บา้ นหลังใหญ่ เปน็ บา้ นแฝดสองหลงั ชานเรือน
อย่รู ะหว่างกลาง มที ีเ่ รอื กสวนไรน่ าหลายแปลง มโี คเปน็ ร้อยๆ ตวั และมกี ระบือไม่ตำ่� กว่า ๕๐ ตัว
นบั ว่าครอบครวั ของทา่ นมีฐานะร่ำ� รวยมนั่ คงที่สุด ถอื เปน็ เศรษฐีในหม่บู า้ นในขณะน้ัน

19

ด้านนายพรหม สุภาพงษ์ นอกจากจะมคี วามขยันขนั แขง็ เอาการเอางานเปน็ พเิ ศษ และ
สรา้ งฐานะได้อยา่ งมั่นคงแลว้ ท่านยังมจี ติ ใจทด่ี ีงาม ไมม่ คี วามบกพรอ่ งเสียหายดา้ นความประพฤติ
ผู้คนในหมบู่ ้านตา่ งใหค้ วามนับถอื และย�ำเกรง จัดเป็นบคุ คลตัวอยา่ งของหมูบ่ ้าน ทางฝ่ายบา้ นเมอื ง
กม็ องเหน็ ความดี และคุณลักษณะความเปน็ ผ้นู �ำของท่าน จงึ ไดแ้ ต่งตั้งใหท้ า่ นเป็นผู้ใหญบ่ ้าน หมู่ ๑
แห่งบา้ นดงเยน็ ท่านไดป้ กครองลกู บ้านโดยหลกั ยุตธิ รรมเทยี่ งตรง ไมเ่ ป็นไปตามอ�ำนาจอคติ ๔
ประการ คอื ฉนั ทา โทสา โมหา และภยาคติ ไม่เหน็ แกส่ นิ จ้างรางวัล และไมเ่ ข้าขา้ งคนผดิ จงึ เปน็ ท่ี
เคารพนบั ถอื ยำ� เกรงของประชาชนในถนิ่ นน้ั มาก เป็นหวั หนา้ ผ้ปู กครองทด่ี ีคนหนงึ่

ด้านอาชีพการงาน นอกจากจะท�ำนาท�ำไร่ เหมือนชาวบ้านทั่วไปแล้ว ท่านยังประกอบ
อาชีพค้าขาย โดยเป็นหัวหนา้ นำ� หม่พู ่อค้าโคกระบอื เพื่อนำ� ไปขายทางภาคกลาง นอกจากนที้ า่ น
ยังเป็นหัวหน้ากองคาราวานเกวียน บรรทุกหนังสัตว์และของป่าไปจ�ำหน่ายที่จังหวัดนครราชสีมา
ขากลับก็บรรทุกสินค้าต่างๆ เช่น ตะกั่ว ดินปืน เครื่องนุ่งห่ม ยา และข้าวของจ�ำเป็นต่างๆ น�ำ
กลับมาขายยังทอ้ งถ่นิ ของตน

หลวงปูพ่ รหม ทา่ นเคยเล่าใหพ้ ระศิษยฟ์ ังว่า ในชวี ติ เปน็ ฆราวาสกอ่ นบวชท่านเคยประกอบ
อาชีพเป็นช่างทำ� เกวยี นขาย ท�ำเกวยี นใส่โค ขายเลม่ ละสองบาทถงึ สามบาท สมัยนนั้ ใชเ้ งนิ เหรียญ
เงนิ ตราชา้ งสามเศยี ร ทา่ นทำ� เกวยี นอย่บู ้านตาล และยา้ ยมาอย่บู ้านดงเย็นก็ท�ำดว้ ย โดยใช้ไม้พะยงู
สมยั กอ่ นไม้ยังมมี ากมาย

การแตง่ งานครง้ั ทสี่ อง นายพรหม ซง่ึ ทา่ นเปน็ พอ่ คา้ ตา่ งถน่ิ ชว่ งนที้ ำ� ใหฐ้ านะครอบครวั ดขี น้ึ
อย่างมาก แต่ท่านตอ้ งแลกกับการเดินทางไกล ท่านต้องสละความสุข ตอ้ งจากบา้ น จากภรรยาท่รี ัก
และต้องจากกันคราวละนานๆ เป็นเวลาหลายๆ เดือน ซึ่งสมัยก่อนน้ันถนนหนทางในภาคอีสาน
ยงั ทุรกนั ดารมาก การเดินทางเต็มไปดว้ ยความยากลำ� บาก ตอ้ งรอนแรมนอนคา้ งตามทาง ตามที่
ราบบ้าง ตามรม่ ไม้ชายป่าบ้าง ตามป่าตามเขาบา้ ง ซงึ่ ล้วนต้องเส่ียงภยั อันตรายตา่ งๆ นานัปการ
ท้ังจากโจรผู้ร้าย จากสัตว์ป่า จากไข้ป่า และจากเหล่าภูตผีวิญญาณ ภัยอันตรายต่างๆ เหล่านี้
ย่อมท�ำให้ภรรยาของท่านเป็นห่วงเป็นใย เป็นธรรมดา แต่ในเร่ืองความประพฤติส่วนตัวของท่าน
แลว้ ในเร่ืองปันใจเปน็ อืน่ นน้ั ภรรยาของทา่ นมิได้กงั วลใจเลยแม้แต่นอ้ ย ภรรยาให้ความไวว้ างใจ
และเชื่อมั่นในตัวของท่านมากเป็นพิเศษ เพราะท่านยังคงท�ำหน้าที่สามีที่ดี มีคุณธรรม มีความ
ประพฤติดีงามเสมอต้นเสมอปลาย ส�ำหรับความประพฤติส่วนตัวของภรรยาน้ัน ท่านก็ให้ความ
ไว้วางใจเช่นเดียวกัน เพราะต่างฝ่ายต่างมีความจงรักภักดีและซ่ือสัตย์สุจริตต่อกันด้วยดีเสมอมา
โดยองคห์ ลวงตาพระมหาบวั าณสมปฺ นโฺ น ไดเ้ มตตาเทศนค์ วามสำ� คญั ของครอบครวั จำ� เปน็ ตอ้ ง
จงรักภกั ดีและซ่ือสัตยส์ จุ ริตต่อกนั ไว้ดังน้ี

20

“สามีภรรยา ให้มีความจงรักภักดีต่อกัน มีความซ่ือสัตย์สุจริตต่อกัน มีความฝากเป็น
ฝากตายตอ่ กนั ตลอดกาลสถานที่ ไม่มที ีล่ ับที่แจง้ เปิดเผยความบรสิ ุทธิ์และความจงรักภักดีตอ่ กนั
อยภู่ ายในใจอันสะอาด ใครจะไปท�ำงานในบา้ นนอกบ้าน ไปใกล้ไปไกลข้ามวันขา้ มคืนทไี่ หน กไ็ ป
ด้วยใจสัตยซ์ ื่อมอื สะอาด ไม่มมี ลทินมวั หมองติดตวั มาฉาบทากนั ไปเที่ยวท�ำมาคา้ ขายใกล้หรอื ไกล
ก็เพอ่ื จะยงั การครองชพี ให้เปน็ ไปดว้ ยความราบรื่นดงี าม ไมม่ ีความวติ กวิจารณ์ ไมม่ ีความเปน็ ห่วง
เป็นใย ไม่มีความเดือดร้อนภายในจิตในใจว่า สามีหรือภรรยาของตนจะไปประพฤติไม่ดีไม่งาม
ด้วยการคบชูส้ ู่หญงิ สู่ชายนอกบญั ชี ซ่ึงเท่ากับผีรอ้ ยตวั มาคว้าเอาหัวตบั หวั ปอดขั้วหวั ใจ ไปขยขี้ ยำ�
ต�ำบอนโดยประการตา่ งๆ ซ่งึ ทำ� ลายอปฺปจิ ฺฉตาธรรมใหฉ้ ิบหายปน่ ป้ี ไปเป็นการนานเปน็ คุณ น�ำผล
รายได้มาอดุ หนุนครอบครวั ใหม้ ีความจีรังย่ังยืนดว้ ยความชื่นบานหรรษาตอ่ กัน

สามีภรรยาปฏบิ ตั ิตวั ดังกลา่ วน้ี อยทู่ ี่ใด ไปทีใ่ ด ย่อมไมม่ คี วามกังวลหมน่ หมอง ครองกัน
ดว้ ยความราบรนื่ ชื่นใจตลอดไปจนอายุขัย เพราะหลักใหญม่ ใี จซอ่ื สัตย์ม่ันคงต่อกัน”

ด้วยความเป็นผู้น�ำที่ดี มีคุณธรรมและมีความสามารถมากของผู้ใหญ่พรหมนี้เอง ในกาล
ต่อมาประชาชนลูกบ้าน จึงยกย่องขนานนามให้ท่านว่า “นายฮ้อยพรหม” ซ่ึงเป็นค�ำเรียกขานที่
ถอื วา่ มเี กยี รตมิ าก และกน็ ่าภาคภมู ิใจมาก

ครูบาอาจารยท์ า่ นบอกว่า “ผ้ทู ี่จะได้รับการเรยี กขานเป็น นายฮ้อย นายแถว ในสมัยนัน้
ตอ้ งเป็นคนมที รพั ย์ มีความดี เป็นที่ยอมรับนบั ถือของคนอน่ื เสียงนม้ี าจากประชาชน ไม่ใช่การตงั้
ตวั เอง จงึ นบั วา่ เปน็ เกียรติอนั สงู สง่ ซงึ่ ใครๆ กก็ ระหยิม่ อยากได้กัน”

ชีวิตการเป็นนายฮ้อยพรหม

สภาพความเปน็ อยู่ของชาวอสี านตัง้ แตอ่ ดีตถงึ ปัจจุบัน ชาวบ้านมีการเลี้ยงวัว – ควาย เปน็
อาชพี ทค่ี วบคูก่ นั มากับการท�ำนาทำ� ไรซ่ ึ่งเป็นอาชีพหลัก กลมุ่ คนทค่ี ้าขายวัว – ควาย จะถูกเรยี ก
ขานว่า “นายฮ้อยววั – ควาย” นายฮอ้ ยววั – ควายจึงมีบทบาทมากและมคี วามสมั พันธก์ บั วิถชี ีวิต
ของคนอสี านใกล้ชิดมากกว่ากลุ่มพ่อคา้ สนิ คา้ ประเภทอน่ื ๆ สภาพความเปน็ อยู่ของชาวบา้ นดงเยน็
ในสมัยท่ีนายฮ้อยพรหมไปปักหลักสร้างครอบครัวใหม่ก็เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่มีอาชีพท�ำนาท�ำไร่
และเลี้ยงววั – ควาย

วัว – ควาย จึงเป็นสัตวเ์ ลย้ี งทม่ี คี วามส�ำคัญตอ่ ชมุ ชนทางภาคอีสานในอดตี ท้ังในสถานะ
ปัจจัยการผลิต คือ แรงงานไถนา ผลิตปุ๋ยคอก เป็นพาหนะอ�ำนวยความสะดวกในการเดินทาง
คมนาคมขนส่ง และเป็นสงิ่ แสดงถงึ สถานะทางสงั คม เป็น “มลู มัง” (สมบตั ิ ส�ำหรับลกู หลานเวลา

21

แต่งงานมเี หยา้ มีเรอื นแยกครอบครวั เป็นของตนเอง และเป็นสนิ ค้าท่ีสามารถขายสรา้ งรายได้ใหก้ ับ
ครอบครวั )

ตามธรรมเนยี มของพวกพอ่ คา้ ววั พอ่ คา้ ควาย ตอ้ งมวี วั ตา่ งสำ� หรบั บรรทกุ สมั ภาระบางอยา่ ง
ไปด้วย ๒ – ๓ ตวั พ่อคา้ แต่ละพวก จะต้องมหี วั หน้าน�ำหมคู่ ณะหนึ่งคน ท่เี รียกกันวา่ นายฮอ้ ย

ผู้ที่จะเป็นนายฮ้อยนั้น ไม่มีการหาเสียงอย่างผู้แทนราษฎร เป็นความเห็นดีเห็นชอบของ
เพื่อนฝงู หรือเฒ่าแก่บ้านเมอื ง โดยเพอื่ นฝงู หากขอร้องใหเ้ ปน็ และพร้อมกันยกยอกันขึน้ ครัน้ แล้ว
กต็ อ้ งเคารพนบั ถือเชอื่ ฟังกัน รว่ มทกุ ข์ร่วมสุขกัน รว่ มเปน็ รว่ มตายกัน

ในการซอ้ื ขายววั – ควายนีเ้ อง นายฮอ้ ยได้เข้ามามบี ทบาทส�ำคัญมาก เพราะสภาพสงั คม
แตเ่ ดมิ การขายววั – ขายควายในท้องถิน่ เปน็ ไปได้ยาก ทัง้ นเี้ พราะชาวบา้ นส่วนใหญ่ต่างก็เลย้ี งวัว –
เล้ียงควายเหมอื นๆ กนั ตลาดวัว – ควายในขณะน้นั อยใู่ นถ่นิ ทางภาคกลาง ซึ่งตอ้ งใชเ้ วลาในการ
เดินทางยาวนานรอนแรมหลายเดือน ดังนัน้ การจะนำ� วัว – ควายไปขายนัน้ เพอ่ื ความปลอดภยั
จงึ ตอ้ งอาศยั การรวมตัวเดินทางกันเปน็ หมู่เปน็ คณะ หรอื ที่เรียกว่า “คาราวานเกวียน” นนั่ เอง และ
จากการเดินทางในลกั ษณะเช่นนเ้ี อง ได้บม่ เพาะประสบการณ์ใหก้ บั กลมุ่ ชาวบ้านท่ีน�ำววั – ควายไป
คา้ ขาย จนกลายเปน็ ต�ำนาน “นายฮอ้ ย” ในเวลาตอ่ มา

ในช่วงท่ีนายฮอ้ ยพรหม เริม่ ทำ� อาชีพเป็นพอ่ คา้ วัว – ควายนัน้ ท่านตอ้ งลงทนุ ซ้อื วัว – ควาย
มาเลยี้ งเอง แลว้ น�ำไปขายภาคกลางในช่วงหน้าแล้ง ไดก้ ำ� ไรเทย่ี วหน่ึงกค็ ุ้มค่ามาก ซึ่งต่อมาทำ� ให้
ทา่ นร�ำ่ รวยเป็นเศรษฐมี คี วามสุขตามทท่ี ่านแสวงหา แต่กต็ อ้ งทนกบั ความทุกขย์ ากลำ� บากจากการ
เดนิ ทางไกล ศรภี รรยาคนทส่ี องของท่าน คือ นางกองแพง ตอ้ งเป็นช้างเทา้ หลัง เปน็ ก�ำลงั ใจให้ทา่ น
ได้เป็นอย่างดี โดยการตระเตรียมห่อเส้ือผ้า เสบียง ข้าวเหนียว อาหารแห้ง ปลาร้า เกลอื ฯลฯ
และของใชท้ จี่ �ำเป็นใหท้ ่าน

ในการน�ำวัว – ควายไปขายทางภาคกลางนั้น นายฮ้อยพรหม ท่านเป็นหัวหน้า เป็น
ผรู้ บั ผดิ ชอบของหม่คู ณะทกุ ประการ ทา่ นเปน็ คนดีมีความรู้ความสามารถมาก และทา่ นเป็นผ้หู น่งึ
ท่ีมคี วามรใู้ นการดูลักษณะวัว – ควายทเ่ี ป็นมงคลหรืออัปมงคล หรอื ลกั ษณะววั – ควายท่เี ลย้ี งแล้ว
แขง็ แรงโตเร็ว ท้งั มีความรูเ้ ทคนิคในการเล้ียงวัว – ควาย และการดแู ลป้องกันรกั ษาโรคววั – ควาย
เป็นอย่างดี รวมท้ังการประเมินราคาและการต่อรองการค้าขายวัว – ควาย ชาวบ้านดงเย็นจึงให้
ความเช่ือถอื ในภูมิปัญญาของท่าน

นอกจากนี้ นายฮ้อยพรหม ท่านมลี กั ษณะคณุ สมบตั ิของนายฮ้อยที่ดีครบทกุ ประการดงั น้ี
คอื

22

๑. เปน็ ผชู้ ำ� นาญทาง ฉลาดในการเดินป่า

๒. เปน็ ผูพ้ ดู จาคลอ่ งแคล่ว

๓. เปน็ ผรู้ กู้ ฎหมาย ระเบยี บและประเพณขี องทอ้ งถน่ิ นน้ั ๆ เปน็ ผมู้ ปี ญั ญาความฉลาดในการ
ติดตอ่ สงั คม ในการซอื้ ขาย ในการรักษาทรพั ย์ ในการรักษาชีวติ ของตนเองและหมูค่ ณะ เป็นต้น

๔. เปน็ คนซ่ือสตั ยส์ จุ รติ โอบออ้ มอารี มเี มตตาจิต ไมเ่ ห็นแกป่ ระโยชนต์ น ไม่คดโกง ฉ้อฉล
เบยี ดบังเอาเปรยี บในลกู น้องของตน

๕. เปน็ ผ้มู คี วามแกลว้ กลา้ สามารถ อาจหาญ มกี ารยอมเสยี สละ ตอ่ สเู้ หตุการณโ์ ดยไม่
หวั่นไหว (นายฮ้อยบางคนที่มีวิชาอาคมก็เป็นผู้เก่งทางอยู่ยงคงกระพัน ยิงไม่ออก ฟันแทงไม่เข้า
ตไี ม่แตก จับไมอ่ ยู่ เป็นต้น)

๖. เป็นผู้ฉลาดในการวางแผน เชน่ จะออกเดินทางในวนั เวลาใด ควรจะให้ใครออกก่อน
ใครอยู่ท่ามกลาง และใครอยู่ตามหลัง พักกลางวันและพักค้างคืนที่ใด จะให้น้�ำให้หญ้าแก่สัตว์
อยา่ งไร ไปช้าไปเรว็ ขนาดใด เป็นต้น

๗. เปน็ ผรู้ จู้ กั สอดส่องมองรูท้ ันทว่ งทีตอ่ เหตุการณ์ทจี่ ักเกดิ ขน้ึ

สมัยก่อนน้ันพวกพ่อค้าวัว – พ่อค้าควาย หรือนายฮ้อยต้องไล่ต้อนวัว – ควายลงไปขาย
ทางภาคกลาง โดยไปตามเส้นทางการค้าสมัยก่อนซง่ึ เปน็ ทางเกวยี นทางเทา้ จากบา้ นดงเยน็ ไปทาง
อ�ำเภอสวา่ งแดนดนิ เดินเลยี บเลาะไปตามภูเขา อำ� เภอสอ่ งดาว ตาดภูวง อ�ำเภอวงั สามหมอ จังหวดั
ขอนแก่น และนครราชสีมา การรอนแรมเดินทางไกลเป็นคาราวานเกวียนร่วมกันเป็นหมู่คณะ
หลายสิบชวี ติ พร้อมดว้ ยฝงู วัว – ควายนับรอ้ ยๆ ตัวนัน้ ตอ้ งลำ� บากตรากตรำ� ต้องกินอยหู่ ลับนอน
รว่ มทกุ ขร์ ว่ มสขุ กัน ซึง่ นอกจากมีเสบยี งขา้ วสารอาหารแห้งแลว้ การอยกู่ ารกนิ กห็ ากบั ขา้ วกับปลา
ตามวิถธี รรมชาติท่ียงั อุดมสมบรู ณ์ เช่น จับกบ จบั เขียด จบั ปลาตามแหล่งนำ้� ยิงกระตา่ ย เก้ง กวาง
หมูป่าตามป่าตามเขา เก็บพืชผักผลไม้ป่าตามรายทาง พักที่ไหนก็ก่อกองไฟหุงหาอาหารกินกัน
หากมีไม้ไผ่ลำ� ใหญก่ ็ตัดเปน็ กระบอกใส่ขา้ วเหนยี วพร้อมนำ�้ แช่ทิง้ ไว้ แลว้ จึงน�ำไปย่างไฟจนสุกคลา้ ย
ข้าวหลาม ปลารา้ ก็นำ� ใบตองมาห่อแล้วยา่ งไฟจนส่งกลิ่นหอมชวนรบั ประทาน ส�ำหรบั น้�ำดม่ื นน้ั ก็
หาไดต้ ามแหลง่ น�้ำโดยกรอกใส่ภาชนะทีเ่ ตรียมไว้ เมื่อพักค้างแรมกลางทางก็ตอ้ งกอ่ กองไฟ และ
ตอ้ งผลัดกนั เขา้ เวรยาม เพอื่ ปอ้ งกนั ภยั ท้งั จากโจรผรู้ า้ ยและสัตว์ป่า

เมอ่ื จะตอ้ งผา่ นเขตเขาใหญ่ เปน็ ป่าดงผนื ใหญ่ ซง่ึ มมี หาโจรเขาใหญค่ อยสกัดท�ำร้ายเปน็
ประจ�ำ ด่านผูร้ ้ายทีส่ ำ� คญั ขนาดเขตอนั ตรายสแี ดงในสมยั นัน้ ก็คือ ปากชอ่ ง และ ชอ่ งตะโก ก็จะ

23

ขขี้ ลาดตาขาวไม่ได้ ตอ้ งกลา้ เก่งห้าวหาญ เตรยี มต่อสกู้ นั ทุกคน ขน้ึ ชื่อวา่ ลูกผูช้ ายแล้ว ต้องบุกให้
ผา่ นพ้นอันตรายใหจ้ นได้ นายฮอ้ ยตอ้ งมอี าวุธประจำ� กาย เชน่ ปนื ดาบ ตดิ ตัวเสมอ เม่ือเกดิ เหตุร้าย
ต้องออกหน้าออกตาน�ำหมู่คณะเข้าต่อสู้ประจัญบาน ถ้านายฮ้อยเก่งและดีก็พาหมู่คณะปลอดภัย
ทงั้ ขาไปและขากลบั

เม่ือเวลาขากลับนั้น จวนจะถึงบ้านแล้ว ต้องพักแรมในสถานที่ใดที่หนึ่งก่อน แล้วส่งข่าว
ไปหาทางบ้าน ว่าพรงุ่ นจ้ี ะได้เดินทางกลับมาถึงบ้านเวลาประมาณเท่านน้ั ก่อนจะถงึ บ้านประมาณ
๒ – ๓ กม. จะตอ้ งจุดประทัดหรอื ยิงปืนเป็นเคร่ืองสัญญาณ ฝ่ายพีน่ อ้ งลูกเมยี ได้ยนิ สัญญาณแล้วก็
เตรียมตัวออกไปต้อนรับห่างจากบ้านประมาณ ๑ กม. ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีบรรณาการของฝาก
ตอ้ นรับกนั โดยความรา่ เริงบนั เทงิ ใจ ฝ่ายภรรยาบางคนถงึ กับนำ้� ตาคลอเลย เพราะความปลื้มปตี ิ
ที่ได้พบหน้าสามีของตน พวกพ่อค้าทั้งหลายมักจะเตรียมเสื้อผ้า ขนม ประทัด มาแจกลูกหลาน
ของตนในเวลาน้ัน พวกเดก็ ๆ เวลาได้รับของแจกก็ดใี จใหญ่ เดินจุดประทัดกลับบา้ นสนั่นหวนั่ ไหว

ประวัติตอนนี้ของหลวงปู่พรหม พ่อตู้สีโท เคยดูแลอยู่กับหลวงปู่พรหมมาตั้งแต่สมัยเป็น
ฆราวาส เป็นลูกน้อง ติดตามหลวงปู่ไปค้าขายทางนครราชสีมา ทางสระบุรี เหมือนเดินต้อนวัว
ต้อนควายไปขาย แลว้ ก็นำ� ของป่าไปขาย บางทีกไ็ ป ๓ เดอื นกลบั มา ทางบา้ นก็รอ ถ้าไดย้ ินเสียง
ประทัดแลว้ ก็แสดงว่าพวกไปค้ากลับมาแลว้ บางทกี ็มาไม่ครบ ตายเพราะไข้ปา่ บา้ ง ตายเพราะ
อันตรายพวกโจรปล้นบา้ ง ชีวติ คนกล็ ำ� บากมาก สมัยเปน็ ฆราวาส

ชีวิตการเป็นนายฮ้อยพรหม นับว่าท่านเป็นนายฮ้อยที่ดี เพราะท่านต้องผ่านอุปสรรค
ตา่ งๆ ดังกลา่ วมา จนประสบความส�ำเร็จฐานะทางบา้ นมั่งคง่ั ร�ำ่ รวย ท�ำใหช้ าวบา้ นดงเย็นนั้นรกั ใคร่
ให้ความเคารพยำ� เกรงและเช่อื ฟังท่านมาก โดยเฉพาะพวกทไี่ ดร้ ่วมเดินทางไปกบั ทา่ นแล้ว ตา่ งยง่ิ
ประจักษใ์ นคณุ ธรรมความเปน็ ผู้น�ำของทา่ น ก็ยง่ิ รกั ใคร่ ยงิ่ ใหค้ วามเคารพย�ำเกรง และยิ่งเช่ือฟัง
ท่านมาก แต่ไม่ใช่ว่านายฮ้อยทุกรายจะประสบความส�ำเร็จเช่นเดียวกับนายฮ้อยพรหม กล่าวคือ
การเอาวัวควายไปขายในสมยั ก่อนนน้ั การเดนิ ไปกว่าจะถึงแหลง่ ขายล�ำบากมาก บางคร้งั ววั ควาย
เกิดเจ็บป่วยล้มตายจนขาดทุนปน่ ปกี้ ม็ ี หรือวัวควายเกิดเจ็บปว่ ยแลว้ รกั ษาใช้เวลานานกวา่ จะหาย
ต้องขายขาดทนุ ก็มี บางคร้งั ตอ้ งเจอสัตวป์ ่าสัตว์รา้ ยก็มี บางครง้ั เกิดโจรผูร้ ้ายวางแผนแย่งชิงเอาไป
กม็ ี บางคร้งั เกิดการตอ่ สู้กับพวกโจรผรู้ า้ ย ถูกท�ำรา้ ยจนบาดเจ็บก็มี เกดิ การต่อสกู้ ันถงึ ขน้ั ล้มตาย
กม็ ี บางครัง้ เกิดไปผา่ นอหิวาตกโรค หรือ โรคฝีดาษ ซ่ึงก�ำลงั เกิดระบาดระหว่างทาง โดยมากมกั เปน็
บ่อยท่ีโคราช เกิดปว่ ยหรอื ตายดว้ ยโรคระบาดนั้นก็มี บางครั้งเกดิ เป็นไขป้ ่ากม็ ี

24

ฝ่ายพ่อแม่พ่นี อ้ งเพือ่ นฝงู และลกู เมยี ทอ่ี ยทู่ างบา้ น เปน็ หว่ งในผู้ทีจ่ ากไปมากท่ีสุด คอยฟงั
ขา่ วคราวสขุ ทกุ ขข์ องผู้จากไปอยทู่ ุกวิถีทาง และคอยการกลบั ว่าวนั ไหนหนอจะโผล่หน้ามาถงึ บา้ น
คอยแล้วคอยเลา่ จนเป็นจินตนาคตพิ งั เพยว่า “เหมอื นนกยางคอยปลา เหมือนนกกระทาคอยปลวก
เหมือนลูกฮวกอยู่น�้ำคอยทา่ หม่ฝู น”

ประสบการณใ์ นขณะทห่ี ลวงปพู่ รหม จิรปญุ ฺโ ทา่ นเปน็ นายฮอ้ ยพรหม เป็นประโยชน์
อย่างมาก เพราะในกาลตอ่ มา เม่อื ท่านออกบวชเป็นพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารยม์ ่นั
ภรู ทิ ตฺโต ท่านเป็นพระนกั รบธรรมเดนตายอีกองค์หนึง่ ท่กี ลา้ หาญเดด็ เด่ียว ทรหดอดทน เส่ยี งเป็น
เสย่ี งตาย ออกเดินธุดงคต์ ามป่าตามเขา ตามล�ำพงั เพยี งองค์เดยี ว นับแตพ่ รรษาแรกๆ

ท่านมีนิสัยนักปราชญ์

ครั้งหน่งึ ทา่ นไปเอาของปา่ เข้าไปขายทางหนองคาย ทา่ นเดินไป แต่นิสยั ท่านแบบว่าคนมี
ปัญญา ท่านจะรู้จกั สงั เกต รสู้ ึกเหมอื นเอาน�ำ้ มนั ยางไปขาย ท่านไปคนเดยี วดว้ ยสมยั เป็นฆราวาส
ทา่ นเดินผา่ นตรงน้ัน มันจะมีต้นกระบากใหญ่ต้นหนงึ่ แล้วมีกอไผ่อยดู่ า้ นขา้ ง

พอขายเสร็จ ท่านกเ็ ดินกลับมา ทา่ นกลับมานท่ี า่ นว่า “ตอนนัน้ ถา้ มนั จะไดฆ้ ่าคน คงได้
ฆ่าแล้ว” ท่านว่า ท่านมีนิสัยนักปราชญ์ ท่านจะสังเกตเห็น ท่านเห็นว่าไม้ไผ่โดนตัดไปล�ำหนึ่ง
ท่านเริ่มสงั เกตเลย ทา่ นระวังภัยนะ พอเดินมาถงึ ไอโ้ จรนน้ั มันรออย่แู ล้ว รอท่จี ะตีอยูแ่ ล้ว มันตัด
ไมไ้ ผแ่ ล้ว มนั กเ็ งื้อไว้แล้ว วา่ งนั้ เถอะ เหมือนกับถ้าเดินมาก็เรียกวา่ ตีลงไปเลย แตท่ ่านพดู ขนึ้ ก่อน
บอกวา่ “ถา้ กลวั ตาย รีบหนีไปซะ” ท่านพูด

ท้ังๆ ท่านไม่เห็นตัวนะ คือท่านว่า ท่านเห็นไม้ไผ่ที่เขาเงื้อไว้น้ีมันเลยต้นไม้ออกไป ท่านรู้
ท่านบอกว่า “รีบไปซะ” มันก็ว่ิงหนีไปเลย น่ันล่ะคือความมีปัญญาของท่าน ถ้าเป็นคนอื่นก็คง
ไมไ่ ดส้ ังเกตล่ะว่าท�ำไมไมไ้ ผโ่ ดนตดั นีล่ ะ่ เหมือนมนั คนจะไม่ไดท้ �ำกัน มันก็ไม่ได้ทำ� เขาก็หนไี ป

นายฮ้อยบุญฮ้อยบาป

การประกอบอาชีพของนายฮ้อยพรหมเปน็ พ่อค้าเกวยี นนัน้ แมว้ ่าจะเปน็ อาชพี ทีส่ จุ ริตและ
สร้างฐานะรายได้ให้ท่านเป็นกอบเป็นก�ำจนร่�ำรวย แต่มีการค้าวัวค้าควายและเคร่ืองดักจับสัตว์
รวมอยดู่ ้วย ซึง่ ส่วนน้ีขดั กบั หลักธรรมคำ� สอนทางพระพุทธศาสนา ซ่งึ ในกาลตอ่ มาหลวงปู่พรหม
จิรปุญโฺ  ท่านได้เมตตาเลา่ ให้พระศษิ ยฟ์ ังว่า

“ชวี ติ นี้เกดิ มาทุกข์แท้ เปน็ นายฮ้อย เป็นพ่อคา้ เกวยี น เป็นผู้ใหญบ่ ้าน โลกเขาว่านายฮอ้ ย
แตธ่ รรมะวา่ ฮ้อยบุญ ฮอ้ ยบาป แต่ก่อนมันฮอ้ ยเอาแต่บาป”

25

หลวงปู่กนิ รี จนทฺ ิโย พระศิษย์อาวโุ สในฝา่ ยมหานิกายของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
และท่านพระอาจารยม์ ่นั ภรู ทิ ตโฺ ต ทา่ นเปน็ พระอาจารยข์ องท่านพระอาจารย์ชา สภุ ทโฺ ท ในสมยั
หลวงปกู่ นิ รเี ปน็ ฆราวาส ทา่ นกเ็ คยเปน็ นายฮอ้ ยคา้ ววั คา้ ควาย ทำ� ใหค้ รอบครวั ของทา่ นตอ้ งประสบ
เคราะห์กรรม คอื ภรรยาและลกู ตอ้ งพลดั พรากตายจาก โดยประวัตขิ องหลวงปกู่ ินรี จนฺทโิ ย ได้
บันทกึ ไวด้ งั นี้

“เมอื่ อายุ ๑๐ ขวบ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ท่ีวัดหนองฮี ได้ศกึ ษาหนงั สือธรรม หนงั สอื
ผูกทง้ั ภาษาขอม ภาษาไทยน้อยหรอื อักษรธรรม และภาษาไทยสมัยปจั จบุ ัน เม่อื อายุ ๒๐ ปี ได้
อปุ สมบทที่วดั เกาะแกว้ เขตอ�ำเภอธาตุพนม ต่อมาด้วยความห่วงใยบิดา – มารดา และไดร้ บั การ
ขอร้อง ด้วยความเป็นบุตรคนเลก็ ท่านจึงลาสิกขาตามความตอ้ งการของโยมพอ่ และโยมแม่ ใชช้ วี ิต
ฆราวาสไมร่ าบรื่นและไม่ประสบผลส�ำเร็จมากนัก เปน็ นายฮ้อยวัวควายกข็ าดทุนอย่างหนกั หลวงปู่
เลา่ วา่

เพราะการกระท�ำของทา่ น ทพ่ี รากพ่อ – แม่ – ลูก วัวควาย ทข่ี ายไปถิน่ ตา่ งๆ ย่อมเปน็
บาปอย่างมหันต์ ผลกรรมจึงย้อนตอบสนองให้ต้องสูญเสียภรรยาหลังคลอดบุตรได้ไม่นาน และ
ได้สูญเสียลูกอันเป็นท่ีรักซ้�ำอีก เพราะทารกน้อยขาดนมจากผู้เป็นแม่ ความสูญเสียอันใหญ่หลวง
ของท่าน ท�ำให้เป็นทุกขเวทนา ความอาลัยอาวรณ์ ความโศกเศร้า ทับถมทวีความทุกข์ยิ่งขึ้น
ดว้ ยความทุกขเ์ ปน็ กุศลปจั จัยผลักดัน และบันดาลใจใหท้ ่านก้าวเข้าส่รู ่มกาสาวพสั ตร์ สูค่ วามเปน็
บรรพชิตในบวรพทุ ธศาสนา”

สาเหตทุ ่หี ลวงปูพ่ รหมว่า “มันฮอ้ ยเอาแต่บาป” เพราะว่าการคา้ วัวควายเป็นอาชีพที่จดั อยู่
ในมิจฉาวณชิ ชา เปน็ การคา้ ขายที่ผิด ไมช่ อบธรรม ไม่ควรคา้ ขายและไม่ควรชกั ชวนใหผ้ ้อู ื่นคา้ ขาย
ดงั ทอี่ งคส์ มเดจ็ พระสัมมาสมั พุทธเจา้ ตรสั สอนไว้ดังน้ี

“ดูก่อนภกิ ษทุ ั้งหลาย การคา้ ขาย ๕ อยา่ งเหล่าน้ี อันอุบาสกไมค่ วรท�ำ คอื
๑. การค้าขายศสั ตรา (สัตถวณิชชา)
๒. การคา้ ขายมนุษย์ (สัตตวณิชชา)
๓. การคา้ ขายสัตว์สำ� หรบั ฆา่ เป็นอาหาร (มังสวณชิ ชา)
๔. การคา้ ขายน้ำ� เมา (มชั ชวณชิ ชา)
๕. การคา้ ขายยาพิษ (วสิ วณิชชา)
ดูก่อนภกิ ษุทง้ั หลาย การคา้ ๕ อยา่ งเหล่านี้ อันอุบาสกไม่ควรทำ� ”

26

ท่านยังไม่พบความสุขที่แท้จริง

ผู้ใหญ่พรหม หรือ นายฮ้อยพรหม สุภาพงษ์ มีครอบครวั ทพี่ ร้อมบริบรู ณท์ กุ อย่าง ฐานะก็
รำ่� รวย ทรพั ย์สมบตั ิกม็ าก เขา้ ข้ันเป็นเศรษฐีคนหน่ึง สว่ นภรรยาก็เป็นนางแก้ว เปน็ ศรีภรรยาท่ีคอย
ร่วมทุกข์ร่วมสุข คอยให้ก�ำลังใจ ชีวิตฆราวาสของท่าน ท่านน่าจะมีความสุขอย่างสมบูรณ์เท่าที่
ชวี ิตฆราวาสจะพงึ มี แต่ทา่ นกลับเหน็ ตรงกนั ขา้ ม ท่านมองเหน็ เปน็ ความทุกข์ ความกงั วล และดู
เหมือนว่ามันเพ่ิมก�ำลังมากขึ้นทุกขณะจิต ไม่ว่ายืน เดิน น่ัง นอน ล้วนแต่เป็นกังวล เป็นทุกข์
เป็นรอ้ นไปหมด ไม่มคี วามสุขสบายอยา่ งท่ีทา่ นได้ดนิ้ รนไขว่ควา้ หามาโดยตลอด

ตามธรรมดาของทรพั ย์สมบัติอันเป็นของภายนอก เม่อื ไดท้ รพั ย์สมบตั ินัน้ มาครอบครองก็มี
ความสขุ แตเ่ มอ่ื ต้องรักษาทรัพย์สมบตั นิ ้ันไว้กเ็ ป็นความทุกข์ เปน็ ความกงั วลใจ และกเ็ ปน็ สาเหตุ
ประการสำ� คญั ที่นำ� ความทุกข์มาสนู่ ายฮ้อยพรหม เพราะเมื่อท่านไดพ้ ิจารณาอย่างถว้ นถี่แล้ว ก็คือ
ทรพั ย์สมบัติ ท่ที า่ นเสาะแสวงหาและสะสมไวจ้ ำ� นวนมากนั่นเอง ทา่ นตอ้ งคอยเฝา้ รกั ษา คอยวติ ก
กังวลและเป็นห่วงทรัพย์สมบัติ ข้าวของเงินทอง เพราะเกรงว่าจะถูกโจรปล้น โจรลักขโมยบ้าง
เกรงว่าจะน้�ำท่วมสูญหายไปบ้าง เกรงว่าจะไฟไหม้ท�ำลายไปบ้าง เกรงว่าจะไม่มีลูกเป็นทายาท
ผู้ด�ำเนนิ สบื ทอดบ้าง เหลา่ นีล้ ว้ นเป็นปญั หาทีส่ รา้ งความทกุ ข์ความกังวลใจให้กับท่านในชว่ งนั้น แต่
โดยส่วนลึกภายในจิตใจของนายฮ้อยพรหมแล้ว ซ่ึงเป็นด้วยอ�ำนาจวาสนาบารมีเดิมคอยปลอบ
เตือนใจท่านว่า

“อนั ทรพั ย์สมบัตภิ ายนอกเหลา่ นี้ ไมว่ นั ใดก็วนั หนงึ่ ก็อาจจะถงึ กาลแหง่ ความวบิ ตั ไิ ด้เป็น
ธรรมดา ในโลกนีไ้ ม่มสี ิง่ ใดจะจีรงั ยั่งยนื อยไู่ ด้ตลอดไป แต่สงิ่ ทเี่ ราตอ้ งการแสวงหามากท่ีสดุ ไดแ้ ก่
ความสุขท่แี ทจ้ รงิ ของชีวิต ไม่ใช่ทรัพยส์ มบตั ิขา้ วของเงนิ ทองเหล่านมี้ ใิ ช่หรอื ”

ส่วนสมบตั ิภายในที่นายฮ้อยพรหมต้งั ความปรารถนาไว้ คือ ธรรมสมบตั ิ คือ ใจ อันเป็น
สมบัติอนั ล้�ำค่านนั่ เอง หลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนา องคส์ มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแสดง
ความส�ำคัญของใจ ไวด้ ังน้ี

“มโนปุพฺพงคฺ มา ธมมฺ า มโนเสฏฺา มโนมยา” ธรรมทง้ั หลาย มใี จน่ันแหละเปน็ ใหญ่
มีใจน่นั แหละเปน็ หัวหน้า มีใจนนั่ แหละประเสริฐสุด ส่ิงท้ังหลาย บาปก็ดี บุญกด็ ี ส�ำเร็จไดด้ ้วยใจ
คือ “ถ้าใจเศรา้ หมองขนุ่ ขอ้ งแลว้ ก็ไม่มคี วามสขุ อยู่ในโลก จะอยู่ท่ีไหนๆ ก็ไมม่ ีความสขุ ” ในทาง
ตรงกันข้าม “บุคคลผูม้ ใี จผ่องแผว้ ดแี ล้ว แม้จะพดู อยูก่ ด็ ี แม้จะทำ� อย่กู ด็ ี ความสุขยอ่ มไปตามเขา
เพราะเหตุน้นั เหมือนกับเงาตามตนไป ไปสวรรค์ก็ดี ไปมนษุ ยก์ ็ดี ย่อมมีความสุขทัง้ ส้ิน...”

27

หลวงปมู่ ่ัน ภูรทิ ตโฺ ต ท่านได้เมตตาเทศน์ความสำ� คัญของใจ ไว้ดงั น้ี

“การบำ� รุงรักษาส่ิงใดๆ ในโลก การบ�ำรงุ รกั ษาตน คือ ใจ เปน็ เยี่ยม จุดทีเ่ ยยี่ มยอด
ของโลกคอื ใจ ควรบ�ำรงุ รักษาด้วยดี ไดใ้ จแล้ว คอื ได้ธรรม เห็นใจแลว้ คือ เหน็ ธรรม รูใ้ จแล้ว
คอื รู้ธรรมทง้ั มวล ถงึ ใจตนแลว้ คอื ถงึ พระนิพพาน”

นายฮ้อยพรหม สุภาพงษ์ ในขณะน้นั ชวี ติ การครองเรือนของทา่ นประสบความสขุ ทางโลก
อันนอ้ ยนดิ แตเ่ ต็มไปด้วยความทกุ ข์ ท่านยังไมพ่ บความสขุ ทางธรรม อันเปน็ ความสขุ ท่แี ท้จรงิ
ท่านจงึ เกิดความเบ่อื หนา่ ยในทางโลก แมท้ ่านจะเกิดความเบื่อหน่ายทางโลกเพยี งใด แม้ท่านจะมี
ค�ำถามในใจมากมายเพียงใด ก็ยังไมม่ ใี ครชว่ ยช้แี นะหรือชว่ ยแก้ไขบรรเทาขอ้ สงสยั ใหท้ า่ นได้ ท่าน
จ�ำเป็นตอ้ งรอคอยครบู าอาจารยม์ าเมตตาโปรดตอ่ ไป

เรอื่ งการครองเรอื นมคี วามสขุ เพียงน้อยนิด ครบู าอาจารย์ไดเ้ มตตาเทศน์ไวด้ ังน้ี

“องค์สมเด็จพระสมั มาสมั พทุ ธเจ้าบอกเลยนะ การครองเรือนนี่ครองแสนยาก เรามองกนั
แต่วา่ การครองเรือน มองกันตรงนน้ั แต่พระพทุ ธเจา้ ไมไ่ ดม้ องวา่ การครองเรือนคอื มคี รอบครวั นะ
เรามองว่าการครองเรือนเป็นการมีครอบครัว พยายามหาอยู่หากินกันไป พยายามปกป้องกันไป
นีค่ ือการครองเรอื น

แตพ่ ระพทุ ธเจ้าบอกเลย “การครองเรือน คือ การครองใจ” ใจของเราเอง เรายงั ขดั ขอ้ งใจ
ของเราเองอยู่ แลว้ สามีภรรยามนั ก็ ๒ หัวใจเข้าไป แลว้ ยงั มีบตุ รมธี ดิ าไปอกี ก่หี วั ใจ การครองเรอื น
การครองใจ ใจมันเลย้ี งกันไมไ่ ด้ เพราะความรัก ความผกู พัน...

การครองเรือนน้ี พระพุทธเจา้ เปรียบเลยนะ เปรียบเหมือนกบั การวดิ นำ้� ทง้ั ทะเลเพ่อื เอา
ปลาตวั เดียว ชีวติ ของเราเปน็ อย่างนน้ั จริงๆ...

บวชมาๆ ดูสิ ทางฆราวาสเขาอาบเหง่ือต่างน�้ำ หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน เพ่ือหาเลี้ยงปาก
เล้ียงท้อง เลี้ยงปากเลี้ยงท้องขึ้นมาแล้ว หัวใจผู้รับผิดชอบครอบครัว องค์สมเด็จพระสัมมาสัม–
พทุ ธเจ้าบอก การมคี รอบครัวเหมือนวดิ น�้ำทะเลทง้ั ทะเลเลย เอาปลาตัวเล็กๆ ตวั หนง่ึ

ความสุขในการครองเรอื นไง วิดทะเลทั้งทะเลเลยนะ อาบเหงื่อต่างน�้ำทำ� งาน อูย๋ ! เตม็ ทเ่ี ลย
เพ่อื ความสงบระงบั เพื่อความสุขในครอบครัว ได้ปลาเล็กๆ มาตัวหน่งึ แตว่ ดิ นำ�้ ทัง้ ทะเลเลย นีเ่ ปน็
ค�ำพดู ขององคส์ มเด็จพระสมั มาสมั พุทธเจ้า เราไมไ่ ด้พูด ไปเปิดดใู นพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าเวลา
พดู ถึงการครองเรือนๆ มนั ทกุ ขม์ ันยากๆ ทุกขย์ ากมหาศาลเลย”

28

ธรรมสมบัติ

หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ในชีวิตคราวเป็นฆราวาสนั้น ภายในจิตใจอันฝังลึกแท้จริง
ซ่ึงท่านได้ตั้งความปรารถนาและได้บ�ำเพ็ญบารมีมาอย่างยาวนานนั้น ท่านมุ่งแสวงหาธรรมสมบัติ
อันมศี ีลสมบตั เิ ปน็ เบ้อื งต้น และมนี ิพพานสมบตั ิเป็นทส่ี ดุ

ธรรมสมบตั ิ ถือเป็นอรยิ ทรัพยข์ องพระอรยิ บุคคลในพระพทุ ธศาสนา และเป็นสมบัติภายใน
ซงึ่ ไมม่ ีภัยใดๆ ไม่วา่ จะเปน็ โจรภัย อัคคภี ัย วาตภยั อทุ กภัย ฯลฯ ล้วนไมอ่ าจจะมาแย่งชิงหรอื
มาทำ� ลายธรรมสมบตั ไิ ด้ และธรรมสมบัติทเ่ี ป็นเปา้ หมายสงู สุดของทา่ นนั้นกค็ อื “นิพพานสมบัติ”
อนั เปน็ มรดกธรรมอนั เลศิ เลอล�ำ้ ค่าสงู สดุ ของพระพุทธศาสนา ซ่งึ บรรดาองค์สมเด็จพระสัมมาสมั –
พุทธเจา้ ทกุ ๆ พระองค์ ทรงพระเมตตาประทานไว้ให้บรรดาพทุ ธบรษิ ทั

เร่อื งธรรมสมบตั ิ องคห์ ลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนฺโน ทา่ นได้เมตตาเทศนไ์ วด้ ังน้ี

“ธรรมเมือ่ เราบำ� เพ็ญสดๆ ร้อนๆ ขวนขวายอยดู่ ้วยความพากเพียร ธรรมกเ็ กิดขนึ้ มาสดๆ
ร้อนๆ เชน่ เดยี วกัน สดุ ท้ายก็ถึงมรรคผลนิพพานได้สดๆ ร้อนๆ เช่นเดียวกัน เมือ่ กิเลสเคร่อื งหุ้มห่อ
ปดิ บงั นีอ้ อกหมดแล้ว นิพพานคอื อะไร จะไปถามใครทไ่ี หน

นี่ล่ะเป็นธรรมสมบัติ เป็นสมบัติท่ีเลิศเลอ พระพุทธเจ้าสอนโลก สอนเพื่อสมบัติอันนี้
แม้จะเป็นกษัตริย์เสด็จออกมาจะผนวช มาบวชกับพระพุทธเจ้า ก็ทรงส่ังสอนน้ีปล่อยวางหมด
สมบัติภายนอก เอาเขา้ ส่สู มบัติภายใน คือ ธรรมสมบตั ิ จนกระท่ังถงึ นิพพานสมบตั ิ สอนลงไปจุดน้ี
เมอื่ ถึงจุดน้แี ล้วไมถ่ ามหาอะไร

ในโลกนี้ไม่มีอะไรเกินธรรมสมบัติ หรือธรรมธาตุท่ีจิตใจได้บ�ำเพ็ญแล้วจนถึงขั้นบริสุทธ์ิ
เต็มดวงแลว้ นี่คือธรรมอันเลิศเลอสดุ ยอด เกิดก็ไมต่ อ้ งเกดิ อีกแลว้ ตายไม่ต้องตาย ความทุกข์
ยากลำ� บากกไ็ มม่ อี ีกแลว้

ทา่ นว่า นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ต้ังแตบ่ ดั นต้ี อ่ ไป เราจะไม่กลบั มาเกดิ อกี แล้ว อยมนตฺ มิ า ชาติ
ชาติน้เี ป็นชาติสดุ ท้ายของเรา ใครถงึ ธรรมประเภทน้ีแล้ว อยมนตฺ มิ า ชาติ ชาตสิ ุดท้ายกจ็ ะประกาศ
ขึ้นด้วย สนฺทฏิ ฺโิ ก แหง่ ความบริสุทธ์ขิ องใจทีบ่ �ำเพญ็ มาเตม็ ดวงแล้วนัน้ แล

นี่ล่ะท่านว่า สนฺทิฏฺโิ ก จะประกาศป้างข้ึนมาที่นั่น ถึงแดนแห่งความพ้นทุกข์ ได้แล้วซึ่ง
สมบัติอันเลิศเลอ สมบัติอันเลิศเลอ คือ นิพพานสมบัติ สมกันกับผู้ประกอบความพากเพียรหา
สมบัตอิ ันล้นค่า ดังพระพุทธเจา้ ทรงค้นพบแลว้ สมบัติอันล้นค่า ประกาศธรรมสอนโลกจนกระเทือน
มาจนกระทัง่ ทุกวันนี้ ประกาศเพ่อื สมบัตอิ นั ล้นค่านี้เป็นอันดบั หนง่ึ นอกจากนน้ั กเ็ ป็นอันดบั ตอ่ ไปๆ
แล้วสมบตั ิเหล่านีไ้ ม่เคยครเึ คยล้าสมัย เปน็ แตเ่ พียงว่ากิเลสปดิ บงั หุม้ หอ่ ไวเ้ ท่านัน้ ”


Click to View FlipBook Version