29
ภาค ๓ พบครูบาอาจารย์องค์แรก
กองทัพธรรมเที่ยวจาริกแสดงธรรมทั่วภาคอีสาน
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๖๙ ช่วงท่หี ลวงปู่พรหม จิรปุญโฺ สมัยยังเปน็ ฆราวาส
ทา่ นไดพ้ บพระธุดงคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์เสาร์ – ทา่ นพระอาจารยม์ ั่น โดยกอ่ นหนา้ นัน้
ท่านมุ่งแสวงหาความสขุ ท่แี ท้จริงนนั้ ทา่ นทมุ่ เทแสวงหาด้วยตนเองตามล�ำพงั ตามก�ำลงั สตปิ ัญญา
ความสามารถ แสวงหาเท่าไร แสวงหาโดยวิธีการใดๆ กย็ งั ไมพ่ บ เพราะเป็นการแสวงหาทางโลก
และทส่ี ำ� คัญทา่ นก็ยงั ไม่มีผตู้ อบข้อสงสยั ของทา่ นได้ ท่านยังตอ้ งรอผชู้ ี้บอกธรรมสมบัติ อรยิ ทรพั ย์
ภายในอันประเสริฐต่อไป ช่วงนั้นกองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์เสาร์ –
ท่านพระอาจารย์ม่ัน เริ่มลงหลักปักฐานวงกรรมฐานทางภาคอีสานได้แล้ว และพระศิษย์ของ
พระปรมาจารยใ์ หญ่ทงั้ สองกเ็ ร่มิ ออกเดนิ ธดุ งคจ์ ารกิ ไปแสดงธรรมเผยแผข่ อ้ วตั รปฏปิ ทา ธดุ งควตั ร
การบ�ำเพ็ญสมถะ – วปิ สั สนากรรมฐานไปทั่วภาคอสี าน เชน่ เดยี วกบั คร้งั พุทธกาลที่พระพุทธเจ้า
ทรงรบั สง่ั ใหพ้ ระสาวกอรหนั ต์ออกเดินจารกิ เผยแผแ่ สดงธรรม ดังน้ี
ในสมยั ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพทุ ธเจา้ ตรสั รู้แลว้ ได้เสดจ็ โปรดพระปญั จวคั คยี ์ท้งั ๕ บรรลุ
เป็นพระอรหนั ต์ทงั้ ส้นิ ต่อจากน้ันพระองค์ไดเ้ สดจ็ ไปแสดงธรรมโปรดพระยสกลุ บุตรและพวกอีก
๕๔ ท่าน จนบรรลุเปน็ พระอรหันต์ท้ังหมด
ในครัง้ นนั้ จงึ มพี ระอรหันต์รวมท้งั พระองคด์ ้วยทั้งส้ิน ๖๑ พระองค์ พระพทุ ธเจ้าจึงพระด�ำริ
ให้พระสาวกออกประกาศศาสนา โดยมีพระปฐมวาจาในการสง่ พระสาวกออกประกาศศาสนาว่า
“ดกู รพระภิกษุทง้ั หลาย เราหลุดพ้นจากบ่วงท้ังปวง ท้ังท่เี ป็นของทิพย์ และของมนุษย์
แม้พวกเธอก็ได้หลุดพน้ จากบว่ งท้ังปวง ท้งั ของทพิ ย์และของมนษุ ยเ์ ชน่ กนั พวกเธอจงเทย่ี วไป
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพ่ือประโยชน์เก้ือกูลและ
ความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
พวกเธออย่าไปทางเดียวกนั ๒ รปู จงแสดงธรรมใหง้ ามในเบอื้ งต้น ในทา่ มกลาง และ
ในท่ีสุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมท้ังอรรถและพยัญชนะใหค้ รบถว้ นบรบิ ูรณ์ สตั วท์ ้งั หลาย
ผมู้ ีธลุ ี คอื กิเลส ในจักษุเพียงเลก็ นอ้ ยมีอยู่ แต่เพราะโทษที่ยังไมไ่ ดส้ ดบั ธรรม จึงต้องเสอ่ื มจาก
คุณที่พึงจะได้รับ ดกู รภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทัว่ ถึงธรรมมอี ยู่ แม้เราก็จักไปยังต�ำบลอุรุเวลาเสนานคิ ม
เพอื่ แสดงธรรม”
30
การประกาศศาสนาดงั กลา่ ว ทำ� ใหพ้ ระพทุ ธศาสนามคี วามเจริญรงุ่ เรือง และแผข่ ยายไปใน
ชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิม แล้วหันมานับถือเล่ือมใสศรัทธาใน
พระพุทธศาสนามากขน้ึ โดยลำ� ดับและเผยแผต่ อ่ มาจนถงึ ปัจจุบัน
พระปฐมวาจา “เพอื่ แสดงธรรม” โปรดมหาชน มีประโยชน์มากมายมหาศาล และมมี านาน
แต่คร้ังสมัยพุทธกาลจวบจนสมัยปัจจุบัน โดยพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์เสาร์ –
ท่านพระอาจารย์มัน่ ได้ด�ำเนินการสบื ทอด
หลวงปู่พรหมในสมัยฆราวาส แม้ท่านมีถ่ินที่อยู่กันดารห่างไกล ท่านก็เป็นอีกผู้หนึ่งท่ีได้
รับประโยชน์จากการแสดงธรรมของพระธุดงคกรรมฐานนี้ด้วย ซึ่งส่งผลให้ชีวิตของท่านเกิดการ
เปล่ียนแปลงคร้ังส�ำคัญอย่างใหญ่หลวง และเปน็ ผลดีโดยตรงตอ่ พระพทุ ธศาสนา กล่าวคือ ทา่ นได้
ออกบวชเปน็ พระปา่ สังกดั ธรรมยุติกนกิ าย และกาลตอ่ มาเมื่อหลวงป่พู รหมท่านบรรลุธรรม ท่าน
เปน็ ศาสนทายาทองคส์ �ำคญั อีกองค์หนงึ่ ท่ไี ดท้ ำ� หน้าท่ีสืบทอดพระพทุ ธศาสนา กลา่ วคอื ลูกหลาน
คนในบ้านตาลและบ้านดงเย็น ได้พากันออกบวชประพฤติปฏิบัติธรรมกันมากมาย บวชจนเป็น
ครบู าอาจารย์ที่มชี ือ่ เสยี ง เป็นที่เคารพนบั ถอื ของชาวพุทธกม็ หี ลายองค์ จากหมู่บา้ นท่ีไม่ค่อยเปน็ ที่
รู้จัก ก็เป็นหมู่บ้านท่ีมหาชนชาวพุทธรู้จัก และจากไม่มีวัดป่าธรรมยุต ก็มีวัดป่าธรรมยุตเกิดข้ึน
มากมาย
นอกจากกองทัพธรรมสายท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น ได้ออกเผยแผ่
แนวทางขอ้ วตั รปฏปิ ทาพระธดุ งคกรรมฐานและแนวทางการสรา้ งวดั ปา่ ตามครงั้ พทุ ธกาล ทำ� ใหเ้ กดิ
เป็นวัดป่าธรรมยุตจ�ำนวนมากมายไปท่ัวประเทศไทยแล้ว ส�ำหรับการจาริกเดินเท้าธุดงค์ตามป่า
ตามเขาของพระธดุ งคกรรมฐาน ซ่ึงแตก่ อ่ นชาวบา้ นจะแตกต่ืนและกลวั กันมาก ก็กลับกลายเปน็ ท่ี
เคารพศรัทธาและเป็นทีย่ อมรบั ในสังคมชาวพทุ ธ เพราะกองทพั ธรรมฯ สัง่ สอนทำ� ใหช้ าวบา้ นทาง
ภาคอสี านในสมยั นน้ั ซึ่งสว่ นใหญน่ ับถือผี นับถือภูเขา ตน้ ไมใ้ หญ่ หนั กลับมานับถอื พระรตั นตรยั
และพากนั ให้ทาน รักษาศีล เจรญิ เมตตาภาวนาอยา่ งจริงจงั หากมีลูกหลานก็สนับสนุนให้ออกบวช
เป็นพระธุดงคกรรมฐานกันมากมาย ซ่ึงต่างก็พากันปฏิบัติธรรมเพื่อมรรคผลนิพพาน จนได้เป็น
ครูบาอาจารย์สืบทอดวงกรรมฐานเรอื่ ยมาจนถึงปัจจบุ ัน พระพุทธศาสนาจงึ ไดก้ ลับมาเจริญรุง่ เรือง
อีกครัง้ ตามพระพุทธทำ� นาย
ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส
หลวงปู่พรหม จริ ปุญโฺ ในช่วงทท่ี ่านเปน็ ฆราวาสกอ่ นออกบวชน้นั ในทางโลกแลว้ ถอื ว่า
ท่านเป็นเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติสมบูรณ์พูนผลและประสบความส�ำเร็จในทุกด้าน แต่ความสุขท่ีท่าน
31
ได้รับน้ันก็เป็นเพียงโลกียสุข ไม่ใช่ความสุขอันแท้จริงที่ท่านได้ต้ังความปรารถนาในใจมา ท่านจึง
เกดิ นิพพทิ า คือ เกดิ ความเบอื่ หน่ายในกองทกุ ข์ เบือ่ หน่ายในโลกียวสิ ยั เบ่ือหนา่ ยในการใชช้ วี ิต
เยี่ยงฆราวาสท่ัวๆ ไป เช่นเดียวกับพระอรหันตสาวกในคร้ังพุทธกาลท้ังหลาย ซ่ึงท่านเหล่าน้ัน
ก่อนออกบวชลว้ นเกดิ ความเบือ่ หนา่ ยในโลกียวิสยั เช่น พระปัญจวคั คีย์ท้งั ๕ พระยสกลุ บตุ ร
พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลาน์ ฯลฯ และมีหลายองค์ท่ีท่านร่�ำรวยเป็นมหาเศรษฐีได้สละ
ทรัพย์สมบัติจ�ำนวนมหาศาลออกบวชก็มี เช่น พระมหากสั สปะ พระรฐั บาล ฯลฯ ท่เี ป็นวงกษัตริย์
ทรงสละราชสมบัติเสดจ็ ออกผนวชกม็ ี เชน่ พระภัททยิ ะ พระอนุรทุ ธะ พระอานนท์ พระนนั ทะ
พระกัปปินะ ฯลฯ
เรอื่ งความเบื่อหนา่ ยของผทู้ ี่ปรารถนาความสุขทแ่ี ทจ้ รงิ คอื นิพพานสมบัติ มีคตติ วั อย่าง
อันเลิศเลอมาตง้ั แต่องคส์ มเด็จพระสัมมาสมั พทุ ธเจา้ เม่อื คร้ังยงั ด�ำรงพระชนม์ชพี ดงั ทพ่ี ระพุทธองค์
แสดงธรรม ไว้ดังนี้
“ดูกรภิกษุท้ังหลาย เมื่อเราอยู่ในวัยหนุ่มมีเกศายังด�ำสนิท ถูกแวดล้อมด้วยสตรีล้วนแต่
สะคราญตา เปน็ ที่น่าปรารถนาของบรุ ษุ เพศผ้ยู งั ตดั อาลยั ในบว่ งกามมไิ ด้ แต่เราเบื่อหน่ายในโลกยี –
วิสัย จึงสละสมบัติบรมจักรและนางผู้จ�ำเริญตา ออกแสวงหาโมกขธรรมแต่เดียวดาย เท่ียวไป
อย่างไม่มอี าลัย ปลอดโปร่งเหมอื นบคุ คลทเ่ี ป็นหนแ้ี ล้วพ้นจากหนี้ เคยถกู คุมขังแล้วพน้ จากทคี่ ุมขัง
เคยเปน็ โรคแลว้ หายจากโรค
หลังจากท่องเท่ียวอยู่เดียวดายและท�ำความเพียรอย่างเข้มงวด ไม่มีใครจะท�ำได้ย่ิงกว่าอยู่
๖ ปี เรากไ็ ดป้ ระสบชัยชนะอยา่ งใหญห่ ลวงในชวี ิต ไดต้ รสั รู้อนุตตรสัมมาสมั โพธิญาณสงบเยอื กเย็น
ถึงที่สุด ล่วงพ้นบว่ งมารทงั้ ปวงท้ังท่เี ป็นทิพย์และเปน็ ของมนุษย์ มารและธิดามาร คือ นางตัณหา
นางราคะ และนางอรดี ได้พยายามย่วั ยวนเราด้วยวธิ ตี ่างๆ เพื่อใหเ้ ราตกอยูใ่ นอ�ำนาจ แต่เราก็
หาสนใจไยดีไม่ ในท่ีสุดพวกนางกถ็ อยหนีไปเอง เราชนะมารอย่างเดด็ ขาด จนมีนามกอ้ งโลกว่า
ผ้พู ิชิตมาร”
และเรื่องความเบ่ือหน่ายโลกียวิสัยของพระอรหันตสาวกนับแต่คร้ังสมัยพุทธกาล ก็มีองค์
สำ� คญั ๆ ทไี่ ดบ้ ันทกึ ไว้ในพระไตรปิฎก และชาวพุทธไดถ้ ่ายทอดและเล่าสูก่ นั ฟงั จนเปน็ คติตัวอยา่ ง
อันเลศิ เลอจวบจนถึงปจั จบุ ัน โดยองคห์ ลวงตาพระมหาบวั าณสมปฺ นฺโน ได้เมตตาเทศน์เร่ืองน้ี
ไวด้ ังน้ี
“ดังท่ีท่านผู้มีอุปนิสัยสามารถ ท่านเห็นโทษแห่งความเป็นอยู่ในโลกนี้แล้ว อยากเสาะ
แสวงหาธรรมเพอื่ ความรม่ เยน็ ในกาลตอ่ ไป แมท้ า่ นจะไมม่ ญี าณ ทา่ นกม็ คี วามรสู้ กึ เบอ่ื หนา่ ยในโลก
อยู่อยา่ งเต็มหัวใจ เช่น ประเภทอุคฆฏิตัญญู ดงั ตวั อยา่ งท่ยี กไว้ เช่น พระสารีบตุ ร พระโมคคัลลาน์
32
ท่านเหล่าน้ีสมบูรณ์พูนผลด้วยสมบัติศฤงคาร บริวาร แต่ท่านก็เบื่อ อยากเสาะแสวงหาคุณงาม
ความดี ท่านจึงได้ออกไปบวชเป็นเดียรถีย์นิครนถ์ หรือเป็นอะไร แต่ท่านก็เป็นนักบวชคนหนึ่ง
ในสมยั น้นั
นีเ่ พยี งทา่ นเห็นโทษแคน่ ท้ี า่ นก็ยงั ตะเกยี กตะกายออกไป ลงได้เห็นอย่างท่วี า่ นี้ ไมว่ ่าท่าน
วา่ เรา ว่าใคร ใครจะอยู่ได้ เมอื่ อยูใ่ นวสิ ยั ที่จะตะเกยี กตะกายไดแ้ ลว้ ตอ้ งตะเกียกตะกาย นอกจาก
สตั ว์ทีจ่ มอยู่ในหมอ้ น้�ำร้อนเทา่ นัน้ จะเอาอะไรไปตะเกียกตะกาย เพราะสุดวิสยั แล้ว น่ีเรายังอยูใ่ น
วิสัยท่ีจะตะเกียกตะกายได้ อย่างไรต้องดีดดิ้น จนสุดก�ำลังความสามารถขาดด้ินแห่งชีวิตจิตใจ
ของเราน้ันแล ไม่อยู่เฉยได้อย่างเด็ดขาดส�ำหรับหัวใจมนุษย์ เพราะเรื่องของทุกข์ในโลกของสัตว์
ผมู้ ีกรรม เป็นทุกขอ์ ย่างนนั้ จริงๆ”
ส่วนความเบื่อหน่ายในโลกียวิสัยของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ในขณะเป็นฆราวาสก่อน
ออกบวชนั้น ท่านจำ� เป็นต้องรอคอยครูบาอาจารย์มาเมตตาแสดงธรรมโปรดกอ่ น เมอ่ื ทา่ นได้ฟัง
ธรรมน้ันแล้ว ท่านก็หายสงสัยเรื่องความสุขที่แท้จริงน้ันคืออะไร พร้อมท้ังทราบวิธีการด�ำเนิน
เพื่อให้ได้ความสุขที่แท้จริงมาครอบครอง ท่านจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาถึงกับสละทรัพย์สมบัติ
ท่ีมีทั้งหมดออกบวชปฏิบัติธรรมเพ่ือความพ้นทุกข์ ประวัติในช่วงน้ีของท่านนั้น อุปมาดั่งดอกบัว
ทก่ี �ำลงั จะโผลพ่ น้ น้ำ� เพือ่ ชูช่อรอรบั แสงตะวันและรอการเบ่งบานไม่ตอ้ งตกเป็นอาหารของสัตวน์ ำ้�
เชน่ ปลาและเต่าตอ่ ไป หรืออกี นัยหน่ึง อปุ มาดงั่ วัวตัวทอี่ ย่ปู ากคอกซงึ่ ถูกจับขังรวมกับฝูงววั กำ� ลงั
รอการก้าวพน้ ออกจากคอก พอเจ้าของคอกววั เปิดประตอู อกเทา่ น้นั ววั ตัวที่อยู่ปากคอกซึง่ ออกได้
งา่ ยอย่แู ลว้ ก็กา้ วพ้นคอกกอ่ นวัวตวั อ่ืนๆ ทนั ที
ครูบาอาจารย์ผู้ชี้บอกทาง
ท่านผู้ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา และโดยเฉพาะอย่างย่ิงท่านผู้ที่มีอุปนิสัย
เบาบาง ใกล้จะพ้นจากทุกข์ พน้ จากวัฏสงสาร เกดิ เปน็ ชาติสดุ ทา้ ยนั้น ทา่ นเหล่านน้ั ไดส้ ร้างอ�ำนาจ
วาสนาบารมีมาอย่างเต็มทแี่ ลว้ พร้อมทจ่ี ะออกปฏบิ ัติธรรมเพื่อความพ้นทกุ ข์โดยถา่ ยเดยี ว อุปมา
ด่ังผลไม้ทสี่ ุกเตม็ ที่แล้ว พร้อมท่ีจะหลุดจากข้ัว ก็จะมีพระพทุ ธเจ้า หรือมพี ระอรหนั ตสาวก หรอื มี
ครูบาอาจารย์ผ้ปู ฏิบตั ิดี ปฏิบตั ชิ อบ เป็นบรมครูหรือครผู ู้ชบ้ี อกทาง
ครบู าอาจารยผ์ ู้ชบี้ อกแนวทางพ้นทกุ ขน์ ัน้ จำ� เปน็ และส�ำคญั มาก ในสมยั ครัง้ พทุ ธกาลหมู่ชน
คนสว่ นใหญต่ ่างมุ่งแสวงหาทางพ้นทกุ ข์ ในขณะนนั้ กม็ ีเจ้าลัทธติ า่ งๆ เกิดขนึ้ มากมาย แตไ่ ม่ไดเ้ ป็น
พระอรหนั ต์ จึงไม่อาจสอนใหบ้ รรดาสาวกพน้ จากทกุ ขไ์ ด้ จวบจนเจา้ ชายสทิ ธตั ถะเสด็จออกผนวช
และได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์องค์แรกของโลก พระองค์ทรงเป็น
33
บรมครสู อนโลกทง้ั ๓ และทรงเป็นผสู้ งั่ สอนช้ีบอกทางจนพทุ ธบริษัทบรรลธุ รรมกนั มากมาย เช่น
กรณีพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ออกบวชติดตามรอพระองค์ตรัสรู้ธรรมแล้วจะได้มาโปรด หรือกรณี
ชฎลิ ๓ พน่ี อ้ งพร้อมบริวารจำ� นวนพนั แสวงหาทางพน้ ทุกขด์ ้วยการบชู าไฟซง่ึ เปน็ ทางท่ผี ิด แล้ว
พระพุทธเจ้าเสดจ็ ไปโปรดจนออกบวช ตลอดจนพระอรหนั ตสาวกทกุ ๆ องค์ ลว้ นจำ� เป็นตอ้ งมคี รู
ผชู้ ีบ้ อกทางทง้ั ส้ิน
กรณขี องหลวงปพู่ รหม จริ ปญุ โฺ ในชว่ งฆราวาสกอ่ นออกบวช ชว่ งนน้ั นายฮอ้ ยพรหมเกดิ
ความเบื่อหนา่ ยทางโลกมาก ท่านจงึ จำ� เป็นต้องมีครบู าอาจารยเ์ ป็นผชู้ ้ีบอกทาง ทา่ นไดพ้ บครูบา–
อาจารย์องคแ์ รกของท่าน คอื ทา่ นพระอาจารยส์ ารณ์ สุจติ โฺ ต และทา่ นไดร้ ับค�ำชี้แนะอันทรง
คุณประโยชน์ยิ่ง เพราะเป็นค�ำแนะน�ำที่มุ่งตรงสู่ทางสายเอก ทางด�ำเนินตรงแน่วต่อมรรคผล
นิพพาน สาเหตปุ ระการส�ำคญั ที่ท่านได้เกิดเป็นมนษุ ย์พบพระพุทธศาสนา และไดพ้ บครบู าอาจารย์
ชีบ้ อกทางนั้น หากเป็นเพราะนายฮอ้ ยพรหมได้สร้างคุณงามความดี โดยการบ�ำเพญ็ บารมีตามหลัก
พระพุทธศาสนามาอย่างสมบูรณ์เปี่ยมล้น เช่นเดียวกับพระอรหันตสาวกในคร้ังพุทธกาลบ�ำเพ็ญ
บารมมี าน่นั เอง
ท่านพบครูบาอาจารย์องค์แรก
ขณะท่ีนายฮ้อยพรหม สุภาพงษ์ ท่านพบครูบาอาจารย์องค์แรกมาเมตตาตอบข้อสงสัย
และแสดงธรรมโปรดน้ัน ทา่ นมีอายุประมาณ ๓๕ – ๓๖ ปี เริ่มเข้าสมู่ ัชฌมิ วยั หรอื วัยกลางคน ทา่ น
เป็นผ้ใู หญท่ ่ถี งึ พร้อมดว้ ยวยั วฒุ ิ คณุ ธรรม วฒุ ภิ าวะ และความรอบรู้ทางโลกจากประสบการณช์ วี ติ
นักตอ่ สู้มาอย่างเจนจดั เชย่ี วชาญ ท่านผา่ นรอ้ นผ่านหนาว ผ่านอุปสรรคตา่ งๆ มาอยา่ งโชกโชน
ประสบทง้ั สุขและทุกข์โศกเศร้าระคนปนกนั ชีวิตท่ีเหลอื อยู่ของทา่ นจึงพร้อมท่จี ะออกเสาะแสวงหา
คณุ งามความดี และเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ พรอ้ มที่จะเปดิ เผยความสงสยั ภายในใจท่ีมมี าแต่
เยาว์วยั และพร้อมทจี่ ะรับฟังพระธรรมเทศนาจากครบู าอาจารย์
ในช่วงที่นายฮอ้ ยพรหมทา่ นเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ จนพบกบั ทา่ นพระอาจารยส์ ารณ์
สุจติ โฺ ต ครบู าอาจารย์องค์แรก และในกาลตอ่ มาได้กราบถวายตัวเป็นศิษยท์ ่านพระอาจารย์มัน่
ภรู ิทตฺตมหาเถร พระปรมาจารยใ์ หญฝ่ ่ายกรรมฐาน มีความคลา้ ยคลงึ กับเรอื่ งราวของพระสารบี ตุ ร
ในสมยั เป็นฆราวาสก่อนออกบวช เปน็ ปริพาชกหนุม่ นาม “อปุ ติสสะ” ไดพ้ บพระอัสสชิ หน่ึงใน
พระปัญจวัคคีย์ และกาลต่อมาได้เข้าเฝ้าพระพทุ ธเจา้
ทา่ นพระอาจารย์สารณ์ สุจติ ฺโต ท่านเป็นพระธดุ งคกรรมฐาน เปน็ พระศษิ ย์อาวุโสรุน่ แรกๆ
ของท่านพระอาจารย์ม่ัน ภรู ิทตตฺ มหาเถร ขณะน้ันทา่ นบวชได้ประมาณ ๑๐ กวา่ พรรษา ทา่ นแบก
34
กลดสะพายบาตรเดนิ เท้าธดุ งคม์ าจากจงั หวดั อบุ ลราชธานี เทย่ี วแสวงหาท่ีวเิ วกเพื่อปฏิบัติภาวนา
พร้อมกบั เผยแผ่ธรรมคำ� สอน โดยส่งั สอนการให้ทาน รกั ษาศลี เจรญิ เมตตาภาวนา ด้วยการบ�ำเพ็ญ
สมถะ – วิปสั สนากรรมฐาน ตลอดขอ้ วัตรปฏปิ ทา ธดุ งควตั ร ตามแนวปฏปิ ทาพระธดุ งคกรรมฐาน
สายท่านพระอาจารยเ์ สาร์ – ท่านพระอาจารย์มัน่ แกป่ ระชาชนตามรายทางมาเร่ือยๆ และท่านได้
เดินธุดงค์ผ่านเข้ามาถึงหมู่บ้านดงเย็น และได้ปักกลดพักวิเวกในบริเวณป่าอันเงียบสงัดปราศจาก
บ้านเรือนผู้คน ใกลล้ ำ� นำ�้ สงคราม
ท่านพระอาจารย์สารณ์ สจุ ติ ฺโต ทา่ นนับเป็นพระธุดงคกรรมฐานองค์แรกๆ ท่เี ดินธุดงค์มา
ปักกลดในปา่ ชา้ บ้านดงเย็น เพราะสมัยน้นั ยังไมม่ ีวัดปา่ กรรมฐาน นานๆ จงึ มพี ระธดุ งคกรรมฐาน
หรอื พระปา่ ธุดงค์ผา่ นมาแลว้ ก็ไปท่อี ่ืน ภาพพระปา่ นุง่ ผา้ จีวรสกี รักเขม้ ๆ เดินแบกกลดสะพายบาตร
ลูกโตๆ ภาพพระป่าสะพายบาตรเดินบิณฑบาตด้วยอาการสงบส�ำรวมน่าเลื่อมใส ภาพพระป่า
ฉนั จังหนั ในบาตรด้วยมือเพียงวนั ละมื้อ ภาพพระปา่ เดินกลบั ไปกลบั มาบา้ ง ยนื หลับตานิ่งๆ บ้าง
นง่ั หลบั ตาน่งิ ๆ บ้าง ตลอดจนภาพพระป่าปักกลดนอนอยูใ่ ตต้ ้นไม้ในป่าบ้าง ยังเปน็ เรอ่ื งแปลกใหม่
ชวนให้นา่ สงสัยและนา่ สนใจของคนบา้ นดงเยน็ ในสมยั นนั้
ในระหว่างน้ันท่านผู้ใหญ่พรหม หรือนายฮ้อยพรหม ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยเบาบาง เป็น
อุบาสกผู้แสวงหาครูบาอาจารย์ เมื่อได้ทราบขา่ วว่า มพี ระมาปักกลดพกั อยูใ่ นป่าชา้ ใกลบ้ ้านดงเยน็
มีจริยวัตรอันสงบเสง่ียมน่าเคารพเล่ือมใส ท่านเกิดความรู้สึกต่ืนเต้นและสนใจเป็นอันมาก จึงรีบ
ออกไปสู่ท่ีพักของท่านพระอาจารย์สารณ์ เพ่ือเข้ากราบนมัสการและถวายการอุปัฏฐากรับใช้
ทา่ นพระอาจารย์สารณก์ ใ็ ห้ความเมตตาทกั ทายต้อนรบั ท่านเป็นอย่างดี จากน้ันทา่ นกก็ ราบลาทา่ น
พระอาจารยส์ ารณ์ และไดเ้ ดินบอกชาวบา้ นใหม้ าถวายจังหนั ท่านพระอาจารย์สารณใ์ นเช้าวนั รงุ่ ขน้ึ
รุ่งเช้าชาวบ้านก็มาถวายจังหันท่านพระอาจารย์สารณ์ที่ป่าช้ากันมากมาย เมื่อท่านฉัน
จงั หนั เชา้ เสรจ็ ทา่ นเหน็ ทา่ นผใู้ หญพ่ รหมนงั่ คกุ เขา่ พนมมอื นง่ิ เฉยอยเู่ ปน็ เวลานาน ทา่ นจงึ แปลกใจ
และลุกขึ้นมาถาม “โยมท�ำไมน่ังพนมมือน่ิงเฉยอยู่อย่างน้ี มีข้อขัดข้องหมองใจอะไรหรือ” ท่าน
ผู้ใหญ่พรหมก็ตอบว่า “ถ้ากระผมถามอาจารย์ อาจารย์จะตอบข้อสงสัยของกระผมได้ไหมครับ”
ท่านก็ตอบว่า “ได้ ถ้าตอบได้จะตอบ ถ้าตอบไม่ได้ก็ไม่ตอบ” เมื่อมีโอกาสท่านผู้ใหญ่พรหมก็
กราบเรยี นถามทา่ นพระอาจารย์สารณใ์ นขอ้ ท่ตี นสงสัยอดั อั้นตนั ใจมานาน
ประวัติย่อ ท่านพระอาจารย์สารณ์ สุจิตฺโต
ท่านพระอาจารย์สารณ์ สุจติ โฺ ต หรือ หลวงปสู่ ารณ์ สจุ ติ โฺ ต วัดปา่ สจุ ติ ตะสังขะวนาราม
(วัดป่าบ้านสงั ข)์ บ้านสังข์ ตำ� บลกดุ นำ้� ใส อำ� เภอค้อวงั จังหวัดยโสธร ท่านเป็นพระธุดงคกรรมฐาน
35
และเป็นพระศิษยอ์ าวุโสรนุ่ แรกๆ ของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสโี ล และ หลวงปู่มน่ั ภรู ทิ ตโฺ ต และท่าน
เปน็ พระอาจารย์สอนกรรมฐานองค์แรกของหลวงปพู่ รหม จิรปุญโฺ
หลวงปู่สารณ์ เป็นผกู้ ่อตงั้ วัดปา่ บา้ นสงั ข์ มนี ามเดิมชือ่ สาน ท่านเกดิ เมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๔๒๔
ที่บ้านสงั ข์ ต�ำบลกดุ น้�ำใส อำ� เภอมหาชนะชยั จังหวดั อุบลราชธานี (ปจั จบุ ัน คอื อำ� เภอคอ้ วงั
จังหวัดยโสธร) อปุ สมบทในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เม่ืออายไุ ด้ ๓๖ ปี ที่สำ� นักสงฆ์พระครวู ิเวกพทุ ธกจิ
(หลวงปู่เสาร์ กนฺตสโี ล) มีพระครูสที า ชยเสโน วัดบูรพา จงั หวัดอบุ ลราชธานี เปน็ พระอุปชั ฌาย์
หลวงปู่มั่น ภูริทตโฺ ต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยมีหลวงปูเ่ สาร์ กนตฺ สโี ล นัง่ หตั ถบาส
หลงั จากบวช ท่านได้ศกึ ษาพระธรรมวินยั และด�ำเนินตามแนวข้อวตั รปฏิบตั ิของพระธุดงค–
กรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์และหลวงป่มู ่นั อย่างเครง่ ครัด ทา่ นไดธ้ ดุ งค์ไปหลายท่ี ท่ีแห่งหน่ึงทท่ี ่าน
ไดไ้ ป คอื บ้านดงเยน็ อำ� เภอบา้ นดุง จังหวัดอดุ รธานี ได้ไปปักกลดและส่งั สอนชาวบา้ นให้อยูใ่ นศีล
ในธรรม ยังความศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านดงเย็นท่ีช่ือผู้ใหญ่พรหมเป็นอย่างย่ิง
ทา่ นเป็นผชู้ กั ชวนผใู้ หญพ่ รหมในขณะน้ันให้ออกบวช และติดตามหลวงป่สู ารณธ์ ุดงค์ไปในหลายท่ี
จนไดฝ้ ากตัวเป็นศิษยข์ องหลวงปมู่ ั่น ภูริทตโฺ ต อดตี ผู้ใหญพ่ รหมก็คอื หลวงปพู่ รหม จริ ปญุ ฺโ
แห่งวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเยน็ นนั่ เอง
หลวงปสู่ ารณ์ ทา่ นไดอ้ อกปฏบิ ตั ิธรรมติดตามหลวงปมู่ ั่น ภรู ทิ ตโฺ ต อยู่หลายปี โดยเฉพาะ
ชว่ งทห่ี ลวงปมู่ นั่ ออกธุดงคเ์ ทีย่ ววเิ วกอยตู่ ามปา่ เขาทางภาคเหนือ แถบอ�ำเภอเชยี งดาว พรา้ ว และ
แถวเวียงป่าเป้านัน้ ในสมัยน้นั ท่านได้รับความไวว้ างใจจากหลวงปู่มัน่ มาก พระเณรองคใ์ ดต้องการ
เข้ากราบฟังธรรมหลวงปู่มั่น จะต้องได้รับการกล่ันกรองและได้รับการอนุญาตจากหลวงปู่สารณ์
เสียกอ่ น ท่านอย่ธู ดุ งค์ภาคเหนอื รว่ มกบั หลวงปมู่ ั่น ภรู ิทตฺโต หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปพู่ รหม
จริ ปุญฺโ นานถึง ๑๓ ปี
หลวงป่สู ารณ์ ทา่ นเป็นผเู้ ริม่ สรา้ งวดั ดอยแมป่ ัง๋ อ�ำเภอพรา้ ว จังหวดั เชยี งใหม่ ซงึ่ เป็นวดั ท่ี
ชาวพทุ ธรูจ้ ักกนั เปน็ อย่างดี เพราะเป็นวดั สุดท้ายที่ หลวงปู่แหวน สจุ ิณโฺ ณ พำ� นกั อย่จู ำ� พรรษา
ตราบวันมรณภาพ นอกจากน้ีหลวงปสู่ ารณท์ า่ นยังสร้างวัดภเู กา้ ตาดโตน จงั หวดั หนองบัวล�ำภู
ในชีวติ บ้นั ปลาย ทา่ นเดนิ ทางกลบั บา้ นเกิดและจ�ำพรรษาท่ดี อนปตู่ า หลงั จากนน้ั ทา่ นจึง
ได้กอ่ สร้างวัดปา่ สุจติ ตะสงั ขะวนาราม และจำ� พรรษาทว่ี ัดแห่งนี้ตลอดมา ทา่ นดำ� รสิ ร้างเจดยี ์เพอ่ื
บรรจุอัฐิของท่านไว้ก่อนมรณภาพ และได้น�ำพระนาคปรกซึ่งมีอายุกว่าพันปีมาประดิษฐานไว้ใน
พระเจดยี ์ของทา่ นดว้ ย เพอ่ื ใหศ้ ิษยานุศษิ ย์และประชาชนทว่ั ไปได้สกั การบูชา
36
เม่ือทา่ นกลบั มาจำ� พรรษาท่ีบ้านสังข์ อิทธปิ าฏิหาริย์และเรอื่ งเล่ามากมายของทา่ นไดเ้ ป็น
ท่กี ลา่ วขานของชาวบา้ น พ่อใหญแ่ พทยไ์ ดเ้ ล่าไว้วา่ หลวงปู่สารณ์เคยเลา่ เร่ืองตอนธุดงค์ใหฟ้ ังว่า
ครั้งที่ภาวนาอยู่ภูเก้า ตาดโตน ได้มีงูใหญ่มากินตัวท่านเข้าไปถึงครึ่งตัว (ไม่แน่ใจว่านิมิตหรือ
เหตุการณ์จริง) ความท่ีหลวงปู่มีอาคมแก่กล้า ท่านก็ได้ใช้สารพัดคาถาพระเวทย์ ไล่งูน้ันเสีย แต่
อยา่ งไรงกู ็ไมห่ ยดุ การกลนื กนิ องค์ท่าน สดุ ทา้ ยสิ่งที่ท�ำให้ทา่ นรอดมาได้ คอื นึกถึง “พ่อจ๋า แม่จา๋ ”
น่ันคอื คณุ พระบิดาคณุ พระมารดา ทหี่ าคณานบั ไมไ่ ด้ ทา่ นจงึ อบรมสงั่ สอนศิษยเ์ ร่ืองนเี้ สมอ
อกี เรอ่ื งคือ จระเขท้ ห่ี นองนำ้� หลังวดั (ปจั จบุ ันไมม่ หี นองน�ำ้ แลว้ ) ทีม่ าพรอ้ มกับคราวน้ำ� ทว่ ม
แตเ่ ป็นจระเข้ทไ่ี ม่กินคน กนิ แตส่ ัตวท์ ลี่ งน�้ำ ชาวบ้านเช่อื วา่ เพราะหลวงปสู่ ารณส์ ะกดจระเข้นัน้ ไว้
พอหลวงปู่สิน้ ก็ไมป่ รากฏจระเข้ตัวน้ันเลย
หลวงปู่สารณ์ก่อนมรณภาพ ท่านทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า จึงให้สร้างเจดีย์ประดิษฐาน
พระพุทธรูปส�ำคัญและไว้บรรจุอัฐิของท่านเอง ท่านได้สร้างไว้คร่ึงหน่ึง โดยส่วนท่ีเหลือหลังจาก
ท่านมรณภาพไปแล้ว ท่านให้คณะศิษย์สร้างต่อให้แล้วเสร็จ และต่อมาไม่นานท่านก็มรณภาพ
เมอ่ื วนั ท่ี ๒ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ ทว่ี ดั ปา่ สจุ ิตตะสงั ขะวนาราม สริ ิอายุรวม ๗๕ ปี ๓๙ พรรษา
เร่ืองเล่าจากหลวงปู่อ่อน าณสิริ
หลวงปู่อ่อน าณสิริ ได้เขียนในหนังสือที่ระลึกในงานประชุมเพลิงของหลวงปู่พรหม
จิรปญุ โฺ ช่ือเรอ่ื งวา่ ได้สดับมาและเขียนเพือ่ ขอ้ คิดแกผ่ ใู้ คร่สนใจในธรรม (หลวงปูส่ ารณ์ ตน้ ฉบับ
ของหลวงปู่อ่อนเขยี นเป็น ทา่ นพระอาจารยส์ าร เปน็ องคเ์ ดยี วกัน) ดงั น้ี
“ขา้ พเจา้ (หลวงปูอ่ ่อน) ไดร้ ับค�ำร้องจากบรรดาลกู ศิษย์ทัง้ หลายให้เปน็ ประธาน และให้
เอาโอวาท หรือบทความไปลงในหนงั สือท่จี ะพมิ พแ์ จกเปน็ ธรรมบรรณาการในพิธงี านประชุมเพลิง
ท่านอาจารย์พรหม จริ ปุญฺโ ซง่ึ เคยเป็นสหพรหมจรรย์ ประพฤตพิ รตพรหมจรรย์ ท้ังเปน็ ลกู ศิษย์
ของครูบาอาจารย์องค์เดียวกันมาด้วย
เมื่อตัวขา้ ฯ ได้รับค�ำร้องเชน่ นี้ จึงจำ� เป็นด้วยขา้ ฯ ไมเ่ คยแตง่ หนงั สอื อะไรมากอ่ นเลย จ�ำเป็น
จำ� ใจแต่งดูไปกอ่ น
ก่อนอืน่ ขอเล่าเรอื่ งความเป็นมาของทา่ นอาจารย์พรหม ทข่ี ้าพเจา้ เคยรมู้ า
… ทา่ นอาจารย์พรหม จริ ปุญโฺ เป็นสหพรหมจรรย์ ทั้งเป็นลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์
องคเ์ ดยี วกนั คอื ทา่ นพระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตโฺ ต
37
ทา่ นอาจารย์พรหมองค์น้ที ่านเป็นธรรมคติบคุ คล เปน็ ผมู้ งุ่ แสวงหาความสุข ต้งั แตส่ มยั ท่าน
ยังเปน็ ฆราวาสวิสยั ชีวติ ของท่านเหมือนประวัตขิ ององค์สมเด็จพระสมั มาสัมพทุ ธเจา้ สมัยพระองค์
ยังไมต่ รสั รู้
กอ่ นทรงผนวชและตรัสรู้ พระองค์กท็ รงครนุ่ คดิ เพื่อแสวงหาความสุขอันยอดเยย่ี ม ตง้ั แต่
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย คราวประพาสอทุ ยาน เกิดความสลดสงั เวช
พระหฤทยั มุ่งมน่ั ทจ่ี ะแสวงหาทางพ้นจากสง่ิ เหล่านน้ั
ท่านอาจารย์พรหมองคน์ ี้ก็มลี กั ษณะเชน่ น้ัน ตามที่ทา่ นอาจารยส์ าร ซง่ึ เปน็ ปฐมอาจารย์
สอนธรรมให้แก่ท่านอาจารย์พรหม ได้เล่าเรื่องราวของท่านอาจารย์พรหมถวายท่านอาจารย์ใหญ่
หลวงปูม่ นั่ ภรู ทิ ตฺโต ให้ไดท้ ราบ ในสมัยที่ทา่ นอาจารย์ใหญ่ม่ันพกั อย่ทู ่วี ัดปา่ บา้ นหนองผือ ต�ำบล
นาใน อ�ำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ในคร้ังน้ัน ข้าพเจ้า (หลวงปอู่ อ่ น) ได้เป็นปัจฉาสมณะ นงั่ คอยปฏิบัติทา่ นอยู่ ณ ที่นน้ั ดว้ ย
ไดฟ้ ังเรอ่ื งราวความเปน็ มาแห่งชวี ิตของทา่ นอาจารย์พรหม ท่ที ่านอาจารยส์ ารเลา่ ถวายทา่ นพระ–
อาจารย์ใหญม่ ่นั ได้ถงึ ความซาบซ้งึ ใจเปน็ ยง่ิ นัก เหมือนด่งั ได้ฟังประวตั พิ ระอรยิ สาวกตอ่ หนา้
องค์พระบรมศาสดา
ครนั้ กาลตอ่ มา ขา้ พเจ้ามคี วามกระหายอยากทราบเรื่องราวของทา่ นอาจารยพ์ รหม ผซู้ ่ึงมี
ปฏิปทาและความเป็นมาแห่งชีวิตที่น่าเล่ือมใสเหลือประมาณเพิ่มข้ึนอีก จึงได้เดินทางเข้าไป
กราบเท้าพระอาจารย์สาร และขอเรียนให้ท่านช่วยเล่าเรื่องของท่านอาจารย์พรหมสมัยยังเป็น
ฆราวาสแสวงหาความสุข และออกบวชจนรูแ้ จ้งชัดพ้นทุกข์ เพื่อเป็นคตติ ัวอย่างในทางพน้ ทุกข์บ้าง
ท่านอาจารย์สารนั่งบนกุฏิหลังน้อยเงียบสงัด อากาศปลอดโปร่งเบาสบาย พ้ืนที่สะอาด
เพราะได้รับการปัดกวาดทกุ เชา้ เย็น บรขิ ารทุกอย่างวางอย่างเปน็ ระเบียบ ใกล้ท่พี ักมโี อ่งน�ำ้ บรรจุ
น้ำ� เตม็ ปรม่ิ ส�ำหรับอาคนั ตุกะผู้มาเยอื นใช้สอย
นกตัวเล็กๆ หลายตวั กระโดดหยอยๆ อยูบ่ ริเวณนนั้ ไม่แสดงอาการหวาดกลวั ภัย แสดงถงึ
สถานที่แห่งน้เี ปน็ ทอ่ี ย่ขู องทา่ นผู้มีเมตตากรณุ าธรรม
พระอาจารย์สาร ท่านนัง่ นิง่ อยูค่ รูห่ น่งึ แล้วจงึ เลา่ เร่ืองท่านอาจารยพ์ รหมให้ฟังดังนี้
“สมัยที่ผม (หลวงปู่สารณ์) ออกธุดงค์มายังต�ำบลโคกสี อ�ำเภอสว่างแดนดิน จังหวัด
สกลนคร* ไดพ้ บท่านอาจารยพ์ รหมสมยั ยงั เป็นฆราวาส
หมายเหตุ ตามหลกั ฐานแลว้ หลวงป่สู ารณ์ ทา่ นธดุ งค์มายงั บ้านดงเยน็ ซึ่งขณะนนั้ ขึน้ กับ
อำ� เภอหนองหาน จังหวดั อุดรธานี ส่วนพน้ื ที่บา้ นดงเย็น ขน้ึ กบั ต�ำบลดงเยน็ อยูต่ ดิ กบั ต�ำบลโคกสี
38
อ�ำเภอหนองหาน จังหวดั อุดรธานี ตอ่ มาพื้นที่บางส่วนไดแ้ ยกมาตัง้ เปน็ กงิ่ อ�ำเภอบ้านดงุ
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ และยกฐานะเป็นอ�ำเภอบา้ นดงุ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖
อาจารย์พรหมหรือโยมพรหมในขณะนั้น ได้เขา้ มากราบขอฟังธรรม และได้เลา่ เรื่องความ
เปน็ มาของตนใหผ้ มฟงั ว่า...
... ท่านอาจารย์ (ต้ัง) แต่ผมเกดิ มากับพอ่ แม่ พอรู้เดยี งสาภาวะ ใจมแี ต่อยากไดค้ วามสุข
ไม่หยุดหย่อน จึงได้พากเพียรอุตสาหะมาก ช่วยกิจการงานของพ่อแม่ทุกอย่าง อย่างไม่ท้อ
ท่านอาจารย์ครับ พอโตข้ึนเปน็ หนุม่ ผมกย็ ังไม่เห็นความสขุ อีก เหน็ แตท่ ุกข์อยเู่ สมอ จงึ พิจารณา
ลงท่ใี จว่า มนั ชอบอะไร สขุ อยทู่ ไี่ หนหนอ ?
มันอยากได้เมีย นึกว่าจะมีความสุข เมื่อได้เมียแล้วนึกว่าจะเป็นสุข ก็หาสุขก็ไม่เจอ
เช่นเดยี วกัน จนกระทั่งมีลกู มีเตา้ มที รพั ยส์ นิ เงนิ ทอง ข้าวของเรือกสวนไรน่ า เหย้าบา้ นเรอื นชาน
ววั ควายปลายเขา และเป็นพ่อค้านายฮ้อย สง่ิ เหล่านม้ี ีครบบรบิ รู ณ์ สมบูรณห์ มดทกุ อย่าง แต่ถึง
กระนน้ั สุดทา้ ยผมก็ยังไม่พบความสุขเลย เห็นมแี ตค่ วามทกุ ขเ์ พมิ่ ทวี
ทา่ นอาจารย…์ ครบู าอาจารย์เคยธุดงค์ผา่ นมาทางน้ี หลายต่อหลายองค์ ท่านแนะน�ำให้
ละวางอารมณ์ทั้งหลายเสีย จะพ้นจากทุกข์ภยั จะได้ความสขุ ท่านเทศนาใหฟ้ งั อยา่ งนี้ ยงั ไม่เป็นที่
หายข้อข้องใจได้”
แลแล้วท่านอาจารย์พรหมหรือโยมพรหมจึงขอโอกาสให้ผม (หลวงปู่สารณ์) แสดงธรรม
โปรดในบทว่า ละวางอะไร จึงจะได้ความสขุ ใหแ้ จ่มแจ้งด้วยเถดิ ”
มหาปริจาค ๕ อย่าง
เม่อื หลวงป่สู ารณ์ ทราบถงึ ความประสงคข์ องผใู้ หญพ่ รหม แล้วท่านจงึ กลา่ วเตือนเพือ่
เป็นการเร่มิ ต้นวา่ ใหต้ ั้งใจฟงั ดว้ ยดี แลว้ ทา่ นกต็ ั้ง นะโม ๓ จบ แลว้ ขึน้ อเุ ทศคาถาว่า
“ธนปริจาโค ตณั หาปริจาโค ชวี ิตปรจิ าโค ปตุ ตปริจาโค ภรยิ าปริจาโค”
“ตอ่ แต่นีไ้ ป ขอใหพ้ ่อออก – แม่ออกทกุ คน จงตง้ั ใจฟังพระธรรมเทศนา ท่ีองคส์ มเด็จพระ–
สัมมาสัมพุทธเจ้าไดบ้ ำ� เพ็ญทานบารมีมา ดุจหว้ งแมน่ ำ�้ ใหญท่ ัง้ หา้ ได้สรา้ งมหาบรจิ าค ๕ อย่าง ท่ยี ัง
ไมม่ ใี ครสามารถบริจาคหรือกระท�ำได้ จนพระองค์ไดม้ าตรสั รู้เป็นพระพทุ ธเจ้า ถึงท่ีสดุ แหง่ ทกุ ข์น้นั
พระองค์กไ็ ด้คิดค้นแสวงหาความสุข ดจุ เดียวกันกบั พวกเรานแี้ หละ
ตงั้ แตส่ มัยพระองค์เป็นสิทธตั ถะราชกมุ าร มพี ระชนมายเุ พียง ๒๙ พรรษา ยังหนุ่มแน่น
มีเกสาดำ� สนทิ เสวยพระราชสมบตั ิอยู่ พระองคม์ ปี ราสาท ๓ ฤดู อนั สวยงาม ทำ� ด้วยไม้หอม อิฐและ
39
อุปกรณ์อืน่ ๆ ลว้ นอำ� นวยความสุขสบาย มีหญงิ บริวาร ๖๐,๐๐๐ คน ล้วนแต่สะคราญตา เป็นทน่ี า่
ปรารถนา แต่พระองคก์ ็หาได้คน้ พบความสุขไม่
ชีวติ ทุกชวี ติ ไมพ่ ้นไปจากความชรา พยาธิ มรณะ ได้ พระองค์เหน็ วา่ เป็นเพลงิ อันใหญห่ ลวง
เผามนุษยแ์ ละสตั วใ์ หพ้ นิ าศฉบิ หายไมห่ ยุดหยอ่ น นับวา่ เป็นมหันตทกุ ข์ มหันตภัย อนั ใหญ่หลวง
ในโลกนี้ จะมีทางใดหนอหลีกหนใี หพ้ ้นได้ หรอื จะมีหยูกยาเวทมนต์อันใด อย่ทู ่ีไหน มาแกใ้ ห้มัน
หายได้ ดังน้ี
พระองคจ์ งึ นึกถึงทางบรรพชาทางเดยี วเทา่ น้ัน พอเปน็ ทางทีพ่ ิจารณาแกไ้ ขทางแห่งทกุ ข์
ทงั้ สามอย่างนไี้ ด้
ดงั นี้ ก็เหมือนพอ่ ออกพรหม ได้คิดหาความสุขทัง้ หลายมาแลว้ กย็ งั ไม่พบเห็นความสขุ จน
บัดน้ี
โยมเอย ! ก็จะสุขได้อย่างไรเลา่ ?
เพราะความสขุ ทั้งปวง ลงท้ายดว้ ยความทุกข์
ความเพลิดเพลนิ ท้งั ปวง ลงทา้ ยด้วยความขมข่ืน
ความหวังทง้ั ปวง ลงทา้ ยด้วยความผดิ หวงั
ความงามท้ังปวง ลงทา้ ยด้วยความไมง่ าม ไม่นา่ ปรารถนา
อะไรเล่า ท่ีจะเท่ียงแทแ้ น่นอนในโลกน้ี นอกจากความไมแ่ น่นอน ?
เพราะการหาความสุขด้วยการวิ่งตามตัณหา เหมือนหมาไล่เน้ือ หรือเหมือนกับลิงติดตัง
มนั จะมีเหตุผลและความหมายสักเท่าใด
โยมลองพจิ ารณาดูเถดิ
พวกลิงเห็นหมลู่ งิ ตดิ ตงั กพ็ ากันคดิ หาอุบายแก้ไข จึงรีบเข้าไปชว่ ยเหลอื กไ็ ปเหยียบลงทีต่ ัง
ตวั แล้วตวั เลา่ ก็พากนั ตดิ ตงั ร้องระงมระทมทุกข์ ถงึ แกค่ วามตายไปทลี ะตวั สองตวั
อุปมานฉ้ี ันใด อุปไมยก็เหมอื นกัน
เพราะอะไร ? กเ็ พราะตัวของคนแต่ละคน ก็เตม็ ไปดว้ ยกองทุกข์อยแู่ ล้ว ไมท่ ราบว่าใครจะ
ช่วยใครให้พบสุข ผ่อนคลายทุกข์ไปได้บ้าง ถ้าคนเราไม่ประสงค์จะติดอยู่ในบ่วงแห่งความทุกข์
เชน่ นแ้ี ลว้ กม็ หี นทางเดยี วเทา่ นนั้ กลา่ วคอื การดบั เสยี ซง่ึ ความตะกละตะกลามตอ่ ความเพลดิ เพลนิ
40
ทุกอย่างท่ีเราได้พบเห็น และไม่ปล่อยตัวให้ตกจมลงไปในส่ิงซ่ึงเย้ายวน และไม่ปล่อยใจให้
ทะเยอทะยานไปตามสิ่งท่โี ลกนี้มไี วย้ ว่ั ยวนมนุษย์
ท่านผรู้ แู้ จง้ เหน็ จริงเทศนาเอาไวว้ า่ ใจเปรยี บเหมือนราชกุมาร ธาตทุ ั้งส่ีเปน็ แมเ่ ล้ยี ง ธาตดุ ิน
เป็นผู้ให้อาหาร ธาตุน้�ำเปรียบผู้ให้โสรจสรงให้มีความชุ่มเย็น ชีวิตของราชกุมารจึงอยู่ได้ ธาตุไฟ
ให้ความอบอุ่น ธาตุลมใหพ้ ดั วี ซึง่ ทำ� ใหร้ าชกมุ ารมีชวี ติ เป็นอย่ไู ด้ ดงั นี้
ใหพ้ อ่ ออกพรหม และโยมทกุ ทา่ นพิจารณาดใู หด้ ี ชีวิตของพวกเราทเ่ี ปน็ อยทู่ ุกวนั น้ี เปน็ อยู่
ไดด้ ว้ ยอาศัยธาตทุ ้ังส่ีเลี้ยงชวี ิต รักษาชีวติ ให้เปน็ อยู่ไดใ้ ช่ไหม ?
พระพทุ ธองค์บอกไว้ไม่ผิดเลย เรื่องธาตุทัง้ สนี่ ี้อนั ตรายมนั มีมาก มีโรคภยั เปน็ ตน้ มนั เกิดข้นึ
เบยี ดเบยี นตวั มนั เองให้แตกสลายทำ� ลายยอ่ ยยบั ไป
เป็นอนั วา่ พ่อออกพรหม ได้รู้ดเี ตม็ ใจอย่แู ลว้
เม่ือทกุ ตัวคนเรามอี ยูเ่ หมอื นราชกมุ าร ตอ้ งอาศยั ธาตุทัง้ สีค่ ุ้มครอง จงึ ไมถ่ งึ แก่ความตาย
นี่ฉันใด เรารู้ทุกข์แลว้ เราไปหาทุกขเ์ พิม่ เติมเขา้ ไปอกี ก็เหมือนกบั ลงิ ทตี่ ดิ ตังอยู่ หมู่ลงิ มา
ชว่ ยกัน ก็พากันขน้ึ เหยียบตวั ท่ตี ดิ ตงั กพ็ ลอยตดิ ตาม เปน็ การเพ่ิมทกุ ขใ์ หแ้ ก่กนั และกันจนถึงตาย
ดงั ไดอ้ ธิบายมาแล้วนัน้ แหละ
ต่อไปนี้ อาตมาจะไดแ้ สดงตามโอวาทของพระพทุ ธองค์ ดงั ที่ได้ยกอเุ ทศคาถาไว้ ณ เบื้องตน้
วา่ “ธนปริจาโค ตัณหาปรจิ าโค ชีวติ ปรจิ าโค ปุตตปริจาโค ภริยาปรจิ าโค” ดงั นี้
ธนปรจิ าโค ทรพั ย์ทงั้ หลายมีเงินทอง ขา้ วของ ช้าง มา้ วัว ควาย บ้านเรือน และไร่นา
เปน็ ตน้ เปน็ ของมมี าเพ่อื เพม่ิ ทกุ ข์ของตน ที่ตนมอี ย่ดู ว้ ยขันธ์ ๕ อันเปน็ ตวั ทกุ ข์อยู่แลว้ ดงั พ่อออก
พรหม ที่ได้เห็นมาแล้วนั้น จาโค ใหส้ ละ ใหว้ างออกจากใจของตนให้หมดเด๋ียวนี้
ตณั หาปริจาโค ให้ละให้วางตัณหา ความรักลูกและเมยี ออกจากใจของตนใหห้ มด ดัง
พอ่ ออกพรหมไดเ้ หน็ แลว้ ว่า มีเมียและมีลูก ได้ของเหล่านม้ี า เปน็ การเพม่ิ ทกุ ข์ให้กับตน ดังนี้ จงึ ให้
ละออกจากใจของตนใหห้ มดเดีย๋ วน้ี
ชวี ิตปริจาโค ชวี ติ ความเป็นอยูด่ ว้ ยลมหายใจ อนั วา่ ลม เป็นของไมม่ สี าระแก่นสารอะไร
ก้อนแห่งร่างกายของเราก้อนหนึ่งๆ มันเป็นของบูดเน่า เป็นของปฏิกูลน่ารังเกียจอยู่ทุกสัดส่วน
มนั ไมน่ ่ายินดเี ลย ให้ละออกใหห้ มดจากใจเดีย๋ วน้ี
ปตุ ตปริจาโค บตุ รเป็นตัวทกุ ข์ตวั ร้อนใหญ่ ผ้ใู ดมีบุตรกย็ ่อมมีทุกข์ ดงั พอ่ ออกพรหมได้เห็น
มาแลว้ ให้ละออกจากใจใหห้ มดเดีย๋ วน้ี
41
ภริยาปรจิ าโค ภรรยาลกู เมยี และลกู ผัวของใคร ชาย – หญงิ ทีม่ าน่ังฟงั เทศน์อย่เู ดีย๋ วน้ี
เปน็ ทุกข์ ผใู้ ดมยี ่อมมที ุกข์ ดงั พอ่ ออกพรหม ไดเ้ หน็ มาแลว้ ให้ละหมดเดยี๋ วนี้
มหาบริจาคทงั้ ๕ น้ี จะเป็นมหากศุ ลอันใหญย่ งิ่ ดจุ กระแสแม่น้ำ� กระแสชล ไหลลงสู่
มหาสมทุ รทะเลหลวง ให้นำ้� มหาสมุทรทะเลหลวงเต็มเอ่อขึน้ มหากศุ ลกจ็ ะบังเกดิ มใี นใจ เหมือนกัน
ฉันน้ันแลฯ”
ลิงติดตัง
ลิงติดตังว่าดว้ ยอารมณ์อันมใิ ชโ่ คจร กามคุณ ๕ เปรยี บเหมอื นตงั เหนียว [ลงิ ติดตงั ]
[๗๐๑] ดูกรภกิ ษุทงั้ หลาย ถน่ิ แหง่ ขนุ เขาช่อื หิมพานต ์ อันไปไดย้ าก ขรขุ ระ ไม่เป็นทเี่ ท่ยี วไป
ทงั้ ของฝงู ลิง ทง้ั ของหมมู่ นุษย์มีอยู่ ถนิ่ แหง่ ขนุ เขาชื่อหิมพานต์ อนั ไปไดย้ าก ขรขุ ระ เปน็ ท่เี ท่ียวของ
ฝงู ลิงเท่านัน้ ไม่ใช่ของหมู่มนุษย์มอี ยู่
ภูมิภาคแหง่ ขนุ เขาช่ือหิมพานต์ราบเรียบ นา่ ร่ืนรมย์ เปน็ ท่ีเที่ยวไปท้งั ของฝงู ลิง ทั้งของหมู่
มนษุ ยม์ ีอยู่ ณ ทน่ี น้ั พวกพรานวางตังไวใ้ นทางเดินของฝูงลิงเพ่ือดกั ลิง ในลิงเหล่านั้น ลิงเหลา่ ใด
ไมโ่ ง่ ไมล่ อกแลก ลิงเหล่านน้ั เห็นดงั น้ัน ย่อมหลีกออกหา่ ง สว่ นลิงใดโง่ ลอกแลก ลิงตัวนั้นเข้าไป
ใกลต้ ังนน้ั เอามอื จับ มอื ก็ตดิ ตงั มนั จึงเอามอื ขา้ งที่สองจับ ด้วยคิดว่า จักปลดมอื ออก มือข้างทสี่ อง
ก็ตดิ ตังอกี มันจึงเอาเทา้ จบั ดว้ ยคดิ ว่า จักปลดมอื ทง้ั สองออก เท้ากต็ ดิ ตงั อกี มันจึงเอาเทา้ ขา้ งที่
สองจับ ด้วยคิดวา่ จักปลดมอื ทง้ั สองและเท้าออก เท้าที่สองกต็ ดิ ตังอกี มันจงึ เอาปากกดั ดว้ ยคิดวา่
จักปลดมอื ท้งั สองและเท้าท้งั สองออก ปากก็ตดิ ตงั อีก
ลงิ ตวั นนั้ ถกู ตรึง ๕ ประการอย่างน้แี ลนอนถอนใจถึงความพินาศยุบยับแล้ว อันพรานจะพงึ
กระท�ำไดต้ ามความปรารถนา พรานแทงลิงตวั นัน้ แลว้ จงึ ยกขนึ้ ไว้ในทีน่ ้นั เอง ไมล่ ะทง้ิ หลกี ไปตาม
ความปรารถนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เร่อื งลงิ เทยี่ วไปในถน่ิ อ่นื อันมใิ ช่ทคี่ วรเทยี่ วไป ยอ่ มเปน็ เชน่ น้ีแหละ.
พบทางแห่งความสุข
หลวงปสู่ ารณ์ สุจติ ฺโต เล่าให้หลวงปอู่ ่อน าณสิริ ฟงั ตอ่ ไปว่า
“เมือ่ ผม (หลวงปู่สารณ)์ ได้อธิบายธรรมจบลงแล้ว จึงบอกให้โยมพรหม ผูน้ งั่ นิ่งไมไ่ หวติง
เหมอื นตอไมท้ ี่ตายแล้ว มนี ้ำ� ตาคลอเบา้ ซาบซ้งึ ถึงใจ เหน็ สจั จะแกน่ แท้ของชวี ิต
42
“พ่อออกพรหม ขอให้พอ่ ออกเปล่ียนทา่ นัง่ เป็นท่านั่งสมาธิ อาตมาจะนำ� นงั่ สมาธิภาวนา
อบรมใจตวั ดิน้ รนกวัดแกว่ง รกั ษายากห้ามยากกันบดั เดย๋ี วนี้ แลว้ พอ่ ออกวางอารมณ์ใหอ้ อกจากใจ
ให้หมด ดังทอี่ าตมาได้เทศนาบอกมาแลว้ น้นั ...”
ผม (หลวงป่สู ารณ)์ ก็พาน่งั เขา้ ทเ่ี ปน็ การน�ำจิต จติ ของโยมพรหมคราวนัน้ รวมลง ได้เห็น
ความสุขอันใหญ่หลวง เปน็ ของเกิดขนึ้ ภายในจติ ใจของตนเอง อันเกดิ จากการละวางอารมณภ์ ายใน
จติ ใจของตนเองแท้ๆ ซึง่ ไม่เคยพบเหน็ มากอ่ นเลย
คราวน้ี จติ โยมพรหมสงบนง่ิ อยนู่ านถึง ๒ ช่ัวโมง ผมจงึ เตือน แล้วพาออกจากที่ โยมพรหม
แน่ใจในหนทางชีวติ ของตน จงึ ไดอ้ อกอทุ านวา่ “ทางแหง่ ความสขุ มแี ล้ว ผมต้องออกบวชแนแ่ ล้ว
ท่านอาจารย”์ ดงั น้ี”
หลังจากหลวงปู่อ่อน าณสิริ ได้ฟังเร่ืองราวของหลวงปู่พรหมที่เล่าโดยหลวงปู่สารณ์
แล้ว หลวงปูอ่ อ่ น ท่านได้กล่าวสรปุ วา่
“พระอาจารยพ์ รหม จริ ปญุ ฺโ ท่านเป็นผ้มู ีวาสนาบารมแี ก่กลา้ เมอื่ ทา่ นได้สดับโอวาท
พระธรรมเทศนาของพระอาจารย์สารณ์ ซึ่งเป็นผู้ให้แนวทาง ท่านได้เง่ือนแห่งธรรมแล้ว ท่าน
กำ� หนดจิตพิจารณาตามจริงๆ ได้เห็นผลประจักษ์ใจตนเอง เพราะพระธรรมเป็นของไม่เลือกกาล
เลอื กสมัย และเป็นของวิญญูชนจะพึงรู้แจ้งเฉพาะตน” ดังน้ี
รสแหง่ ธรรม ช�ำนะรสทงั้ ปวง นับแต่สมัยครง้ั พุทธกาลทอี่ งค์สมเดจ็ พระสัมมาสัมพทุ ธเจ้า
ทรงประกาศความส�ำคัญของธรรมบทนเี้ ปน็ ต้นมา ยังเป็นสัจธรรมที่ก้องกงั วานและทา้ ทายรอการ
พิสูจน์อยู่เสมอ พ่อออกพรหมได้พิสูจน์และได้เริ่มล้ิมรสแห่งธรรมจากการนั่งสมาธิภาวนาครั้งแรก
ในชีวิต เพียงจติ สงบเทา่ นั้น ทา่ นก็มคี วามสขุ มีความอศั จรรยใ์ จอยา่ งไม่เคยเปน็ มาก่อน เปน็ รสชาติ
แห่งความสขุ ทีเ่ กิดข้ึนทีใ่ จ ย่งิ กว่าความสขุ ใดๆ ทที่ า่ นเคยประสบมา และเป็นความสขุ ทีแ่ ทจ้ ริงท่ี
ทา่ นมงุ่ เสาะแสวงหามาตง้ั แตเ่ ยาวว์ ัย จนทา่ นถึงกับตดั สนิ ใจออกบวชเพือ่ แสวงหาโมกขธรรม
43
ภาค ๔ สละทรัพย์สมบัติและครอบครัวออกบวช
การบวชเป็นของยาก
องค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนโฺ น ไดเ้ มตตาเทศน์เรือ่ งน้ไี ว้ดงั น้ี
“การบวชนเ่ี ป็นส่ิงทีบ่ วชไดย้ าก หาโอกาสได้ยาก สละหน้าทกี่ ารงานทกุ สง่ิ ทุกอย่างท่เี คย
รกั เคยสงวนมาบวชน้ียาก นั่นเพราะการบวชเป็นการตดั สิง่ ทง้ั หลาย ซึ่งเปน็ ความหว่ งใยหวงแหน
ของตน ของหวั ใจทกุ ดวงนนั่ แล การท่ีสละออกมาไดจ้ งึ ไม่ใช่เปน็ ของเล็กน้อย เป็นของหาไดย้ าก นน่ั
เวลาบวชแล้วจะประพฤติพรหมจรรย์ให้ถูกต้องตามหลักธรรมหลักวินัยท่ีพระพุทธเจ้า
ทรงส่งั สอนไว้ เพอ่ื ความเป็นสิริมงคลในตัวเองก็เป็นการยาก เพราะเป็นการฝนื อธรรม คือ ขา้ ศึก
ของธรรม เรยี กว่า มารของธรรม คอื อะไร กค็ ือ กิเลส สว่ นมากกิเลสมันครองหัวใจเรา ไม่วา่
หัวใจคน หัวใจพระ กิเลสครองอยู่ทัง้ นั้น เว้นจติ ของพระอรหนั ตแ์ ละพระพุทธเจ้าเทา่ นัน้ ทก่ี เิ ลส
ไม่อาจเอ้ือม เพราะมันหมดตัวที่จะมาอาจเอ้ือม ทุกประเภทของกิเลสไม่มีตกค้างอยู่ในหัวใจของ
พระอรหันต์และพระพุทธเจ้าเลย จึงไม่มีอะไรมาอาจเอื้อม มากีดกัน มากีดขวาง มาท�ำลาย
เหมอื นแต่กอ่ นท่ีเคยเปน็ มา
ส่วนจิตปถุ ชุ นทง้ั หลายนน้ั ไมพ่ น้ ทจ่ี ะตอ้ งถกู กีดขวางจากมัน เราจะทำ� คณุ งามความดีก็เห็น
ว่าเปน็ การลำ� บากไปเสยี ทำ� ยาก มคี วามล�ำบาก ท้งั อดท้ังหิว อดหลับอดนอน ผ่อนอาหาร หรือ
อดอาหาร ล�ำบากล�ำบนในการประกอบความพากเพยี ร มีแต่เรอื่ งกิเลสมนั หาเลศทจ่ี ะให้เราออก
นอกลนู่ อกทาง สดุ ทา้ ยก็ฉดุ ลากไปจนได้ ไม่พน้ ในเง้อื มมอื ของมัน ความดที คี่ วรจะได้จากการบวชก็
ค่อยรอ่ ยหรอไปๆ จนถงึ กับประสบความล้มเหลวไปกม็ ีอยมู่ ากมาย เพราะกเิ ลสมีอำ� นาจมาก
เราจะบวชกต็ าม กิเลสมนั ไมบ่ วช แตเ่ รายงั ดอี ันหนงึ่ วา่ เราบวชแลว้ ถึงกเิ ลสไม่บวช เราก็
บวชแลว้ พรอ้ มแล้วท่จี ะตอ่ สกู้ ับกเิ ลส เราตอ่ สกู้ บั กิเลสไดบ้ างประเภทแล้ว เราถึงมาบวชได้ ถ้าเรา
ตัดความห่วงความใย ฝืนความห่วงความใย ความรัก ความหวงแหนสมบัติเงินทองข้าวของที่
เกยี่ วขอ้ งทง้ั หลายไม่ได้ เรากม็ าบวชไมไ่ ด้ นเี่ รากไ็ ด้สละมาแล้วกช็ ่อื วา่ ชนะมัน ถงึ จะไม่โดยสิ้นเชิง
ชนะไดเ้ ม่อื ใดก็เป็นคุณคา่ แหง่ ความชนะของเราด้วยกนั ท้ังน้นั นน่ั นี่เรยี กว่าเราชนะมันได้ เราจึง
ได้มาบวช”
การบวชนัน้ เปน็ ของยาก ดงั เทศน์ขององคห์ ลวงตาฯ ทีย่ กมา โดยเฉพาะอย่างยง่ิ การบวช
เป็นพระธุดงคกรรมฐานหรอื พระป่า ต้องเป็นผูท้ สี่ ร้างอ�ำนาจวาสนาบารมีมาอย่างเป่ยี มลน้ เมอ่ื เป็น
พระปา่ ดำ� รงตนอย่ใู นสมณเพศแลว้ กต็ ้องปฏบิ ตั ิตนตามหลกั ของสมณวตั ร สมณวิสัย สมณสัญญา
และสมณสารปู โดยยึดถอื ปฏิบตั ติ ามหลักพระธรรมวนิ ยั และหลกั ธดุ งควตั รอย่างเขม้ งวดเคร่งครดั
44
พร้อมกับการบ�ำเพญ็ สมถะ – วปิ ัสสนากรรมฐาน ดว้ ยการเดนิ จงกรม น่ังสมาธิภาวนา ซึง่ ถือเป็น
งานโดยตรงของพระ ท่สี �ำคัญเปน็ ไปตามพระพุทธประสงคท์ ีแ่ ท้จรงิ ขององคพ์ ระบรมศาสดา ท้ังน้ี
เพ่อื เป้าหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ พระนพิ พาน อนั เปน็ บรมสขุ ต่อไป
การตดั สนิ ใจออกบวชของพ่อออกพรหม หรือผใู้ หญ่พรหม หรอื นายฮ้อยพรหม โดยการ
สละทรพั ย์สมบัตจิ �ำนวนมหาศาล สละต�ำแหน่งอนั น่าภาคภมู ใิ จ และสละครอบครัวอนั เป็นทร่ี ักย่งิ
นับเป็นการสละท่ียิ่งใหญ่มาก จนเป็นข่าวมงคลท่ีใหญ่โตมากและโด่งดังกระฉ่อนไปทั่วภาคอีสาน
ในสมัยน้ัน ทั้งเป็นท่ีสนใจของวงพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น เพราะเร่ืองของ
พอ่ ออกพรหมนัน้ เปน็ เร่ืองท่คี นท่วั ๆ ไปยากท่ีจะเขา้ ใจ และยากทจี่ ะสละและกระทำ� ตามได้ หาได้
ยากมากๆ ไม่ทราบว่าในจ�ำนวนก่ีรายจึงจะมีสักรายหน่ึง และหาได้ยากย่ิงกว่าสมัยครั้งพุทธกาล
เพราะสมัยน้นั พระราชามหากษตั ริยแ์ ละมหาเศรษฐสี ละทรพั ยส์ มบัติมหาศาลออกบวชกันมากมาย
ดงั นั้น ประวัตกิ ารออกบวชของหลวงปู่พรหม จิรปญุ โฺ ซ่งึ ถือเปน็ คตแิ บบอยา่ งอันงดงาม
ล้�ำเลศิ ของพระอรหนั ตสาวกอกี องคห์ นงึ่ ในสมยั ครง้ั ก่งึ พุทธกาล ควรคา่ แก่การจดจ�ำและจดบนั ทกึ
ไว้ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พุทธบริษัทในสมัยปัจจุบันกาลจวบจนอนาคตกาล
ไดศ้ กึ ษาและถา่ ยทอดบอกเลา่ ตอ่ ๆ กันไป
ท่านตัดสินใจออกบวช
เมื่อพอ่ ออกพรหม สภุ าพงษ์ ไดร้ ับการชแี้ นะแกข้ อ้ สงสยั ทั้งไดฟ้ งั พระธรรมเทศนาและได้
ปฏบิ ัติสมาธิภาวนากบั ทา่ นพระอาจารย์สารณ์ สุจิตฺโต ในครัง้ นน้ั จึงได้ประสบกับความสขุ สงบ
ภายในจิตใจอย่างท่ไี มเ่ คยเป็นมากอ่ น พร้อมท้งั พอจะทราบว่า ความสุขท่แี ทจ้ รงิ เกิดขึ้นทีใ่ จ และ
ต้องคน้ ลงที่ใจเทา่ น้นั ทา่ นจำ� เป็นตอ้ งทมุ่ เทคน้ หาอย่างจรงิ จงั เพื่อให้ไดค้ วามสขุ ทแ่ี ทจ้ รงิ คอื ใหไ้ ด้
ธรรมมาครองใจใหจ้ งได้น่นั เอง
พระธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์สารณ์ นัน้ เป็นธรรมแท้ ยงั คงกกึ ก้องกงั วานอยู่ในใจ
ของพ่อออกพรหมอย่างแนบแนน่ เพราะเป็นธรรมคำ� สอนทกี่ ินใจและตรงใจของพ่อออกพรหมเปน็
อันมาก เป็นการชี้ทางสว่าง เพือ่ ไปพบกับความสขุ ท่แี ท้จริงท่ที ่านเสาะแสวงหามาตลอดนัน่ เอง
เมื่อพ่อออกพรหมได้รับการชี้แนะแนวทางพ้นทุกข์จากท่านพระอาจารย์สารณ์เช่นนั้นแล้ว
กเ็ กดิ ความเบาใจ ประหน่ึงวา่ ความสขุ ทแี่ ท้จรงิ ท่ีเสาะแสวงหามานานนั้น จะไดป้ ระสบในเรว็ ๆ วนั นี้
แลว้ ท่านกด็ �ำรติ อ่ ไปอีกว่า “ถา้ เรายังพัวพนั เกีย่ วข้องอยกู่ บั ครอบครวั ทรัพย์สมบตั ิ เรือกสวน ไร่นา
ยังมวั เมาอยใู่ นต�ำแหนง่ หนา้ ทีแ่ ละในการคา้ การขายเชน่ นี้ นบั วนั กจ็ ะเหินห่างจากความสขุ ที่แทจ้ ริง
ท่ีเราเสาะแสวงหาอยตู่ อนนี”้
45
แตก่ ารไดค้ วามสขุ ทแ่ี ทจ้ รงิ หรอื ไดธ้ รรมมาครองใจนนั้ มใิ ชว่ า่ จะไดม้ าอยา่ งงา่ ยดาย วริ เิ ยน
ทุกขฺ มจเฺ จติ อนั วา่ บุคคลจะลว่ งพน้ จากทุกขไ์ ด้กเ็ พราะความเพยี ร พระพุทธเจ้าพ้นจากทุกข์ได้เป็น
พระบรมศาสดาของโลก เพราะการบำ� เพญ็ ธรรมขอ้ น้ี พอ่ ออกพรหมจงึ จ�ำเป็นตอ้ งทมุ่ เทเสยี สละ
แม้จะต้องสละชีวิตก็ตาม และชีวิตฆราวาสที่ด�ำเนินอยู่นั้นก็คงท�ำความเพียรได้ยาก แม้ท�ำได้ก็
ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก คงมีแต่การออกบวชโดยใช้ชีวิตบรรพชิตเท่าน้ัน จึงจะท�ำความเพียรได้
อย่างเต็มที่ สมดังธรรมบททีว่ ่า
“ฆราวาสเปน็ ทางคับแคบ เปน็ ทางมาแหง่ ธลุ ี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง”
อธิบายขยายใจความได้ดงั น้ี ฆราวาสช่ือวา่ คับแคบ เพราะไมม่ ีโอกาสทำ� กุศลได้อย่างเตม็ ท่ี
เหมือนสมณะ ชอ่ื ว่าเป็นทางมาแห่งธลุ ี เพราะเปน็ ที่ประชุมแหง่ ธลุ ี คอื กิเลส ดุจกองหยากเยอ่ื ที่
ไมไ่ ดร้ กั ษา เป็นท่ีรวมแหง่ ธลุ ีฉะน้นั บรรพชาเป็นทางปลอดโปรง่ เพราะมโี อกาสทำ� กุศลตามสบาย
หรืออกี ประการหน่งึ เมื่อบรรพชาเป็นสมณะแล้ว สมณะไมต่ อ้ งท�ำหนา้ ท่กี ารงานหาเลี้ยงชีพ เชน่
อยา่ งฆราวาสท้งั หลาย จึงมีเวลาในการบ�ำเพญ็ เพยี รไดอ้ ย่างเตม็ ท่ี
ดงั นนั้ พอ่ ออกพรหมจึงได้ตัดสนิ ใจอยา่ งเดด็ เดย่ี วแนว่ แนท่ ่จี ะออกบวชในพระพุทธศาสนา
ตามรอยองคพ์ ระบรมศาสดา เพอื่ แสวงหาโมกขธรรม ท่านจงึ ด�ำรติ ่อไปวา่ “ก่อนจะบวช เราควรจะ
เอาเย่ยี งพระเวสสันดร ตามทเี่ คยสดับมาว่าพระเวสสันดรน้ัน ทา่ นได้สละทกุ สงิ่ ทกุ อย่าง ตลอดถงึ
ลกู เมียเครือญาติ ออกบวชบำ� เพญ็ บารมเี พ่ือพระโพธิญาณในเบอ้ื งหนา้ ในทีส่ ดุ พระองค์กไ็ ดต้ รสั รู้
ความจริง คอื อรยิ สัจธรรมทง้ั ๔ เป็นศาสดา ครูสอนเทวดาและมนุษย์ท้ังหลาย ผลทัง้ นย้ี อ่ มสำ� เร็จ
มาจากการเสยี สละของพระองค”์
พระเวสสันดร
องคห์ ลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนโฺ น ได้เมตตาเทศน์เร่ือง พระเวสสันดร ไว้ดังนี้
“พระพุทธเจ้าครั้งเป็นพระเวสสันดร พระองค์ทรงท�ำอย่างไร ในพระคาถาของพระ
เวสสันดรชาดกมีมากมาย แตจ่ ะยกมาแสดงเพยี งย่อๆ ว่า
ทานํ เทติ พระเวสสันดรทา่ นทรงให้ทาน
สลี ํ รกขฺ ติ พระเวสสนั ดรท่านทรงรกั ษาศีล
ภาวนํ ภาเวตวฺ า พระเวสสันดรท่านทรงเจรญิ ภาวนา
จึงเปน็ พระพทุ ธเจ้าขึน้ มาและกลายเปน็ ศาสดาของโลกทง้ั สาม นี่คือหลกั ธรรมเครือ่ งดำ� เนิน
ของพระเวสสนั ดรทีท่ รงดำ� เนนิ มาเปน็ ลำ� ดบั จนบรรลุถงึ ความเป็นพระพทุ ธเจ้าอยา่ งสมบรู ณ์
46
ธรรมทง้ั นท้ี ่านประทานไว้เพ่ือพุทธบรษิ ัท คือ พวกเราจะตามเสดจ็ พระองคท์ ่านตามกำ� ลงั
ภูมินิสัยวาสนาของแต่ละท่าน ถ้าจะกล่าวถึงการบ�ำเพ็ญและฝ่าฝืนความทุกข์ทรมานในคราวเป็น
พระเวสสันดรนนั้ จะเห็นไดว้ ่าเปน็ การยากลำ� บากแสนสาหสั และไม่มใี ครจะกลา้ ทำ� ได้เหมอื นอย่าง
พระองค์ การบ�ำเพญ็ ทานกเ็ ป็นความอศั จรรย์ อาจจะกล่าวไดว้ ่าพระองค์ทรงคว้าประวตั ิศาสตร์
แห่งการเสียสละของคนในสมัยน้ัน โดยไม่มีใครจะสามารถเป็นคู่แข่งได้ ประหนึ่งฟ้าดินอันแสน
กวา้ งจะถลม่ เพราะความเลอ่ื งลอื กติ ตศิ ัพท์กติ ติคณุ ฟุง้ ขจรไปทกุ แห่งทุกหน ทงั้ เบื้องบน เบ้อื งล่าง
ชาวเมืองเกิดความไม่ยินดีและไม่พอใจในการบ�ำเพ็ญของพระองค์ ถูกกล่าวหาว่าให้ทาน
ช้างมงคลประจ�ำเมืองและประจ�ำแผ่นดนิ จนเกิดฟ้องรอ้ งกนั ขึ้น โดยตั้งขอ้ หาว่า พระเวสสันดร
เป็นคนขวางโลก ไม่สมควรเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดินต่อไป ถ้าฝืนให้อยู่บ้านเมืองและแผ่นดิน
จะลม่ จม ฝ่ายพระบิดาซ่ึงเปน็ เปา้ หมายแห่งการรบั ฟ้องรอ้ งของคนทง้ั แผน่ ดนิ ด้วยพระปรชี าฉลาด
ก็ทรงบรรเทาเหตุร้ายซ่ึงก�ำลังเกิดขึ้น โดยพระอุบายให้พระเวสสันดรพระลูกรักเหมือนดวงหทัย
ขยับขยายออกจากเมืองตามเหตุการณ์กอ่ น พอมที างแกเ้ หตุรา้ ยใหส้ งบลง
ฝา่ ยพระเวสสนั ดรหนอ่ พระสัพพัญญผู ูท้ รงธรรม มพี ระทยั อันเตม็ ไปด้วยพระเมตตาตอ่ สัตว์
ผยู้ ากจน และมพี ระราชศรทั ธาอนั กว้างขวางเหมอื นท้องฟ้ามหาสมุทร เมือ่ ทรงสดบั พระดำ� รัสจาก
พระบดิ าผบู้ งั เกดิ เกล้าแลว้ ทรงน้อมพระเศยี รรับและปฏิบัติตามด้วยความพอพระทัยมิได้ขดั ขืน แม้
เช่นน้นั กอ่ นจะเสดจ็ ออกจากพระนคร ยังทรงขอยบั ยง้ั ไวช้ ่วั กาล พอใหไ้ ด้บริจาคทานให้พอพระทยั
ก่อน แลว้ ก็เสดจ็ ออกจากพระนครดว้ ยพระอาการอนั ยม้ิ แยม้ แจ่มพระทัย ซึง่ สมกบั พระองคเ์ ป็น
พระเวสสนั ดรผู้เปน็ จอมใหท้ านในโลก อนั ไมม่ ใี ครเสมอเหมอื น ไมท่ รงมพี ระอาการหวั่นไหว เพราะ
ความไมพ่ อใจและการขับไล่ของชาวเมือง ทรงเปีย่ มด้วยพระราชศรัทธาทงั้ การเสด็จไป เสดจ็ อยู่ใน
ปา่ และเสดจ็ กลบั สพู่ ระนครตามคำ� ทลู ใหเ้ สด็จกลับ
การเสด็จออกจากพระนคร มีพระนางมัทรีคู่พระบารมีและพระโอรส – พระธิดาดวงหทัย
ตามเสดจ็ การเสด็จออกจากพระนครทง้ั น้ี พระเวสสนั ดรทรงปฏบิ ัติใหเ้ ป็นที่พอใจของชาวเมือง แต่
การบรจิ าคทานซ่ึงเปน็ ธรรมประจ�ำพระนิสัยของหนอ่ พระโพธญิ าณ ผจู้ ะทรงรอื้ ขนสัตวโ์ ลกใหข้ า้ ม
ตามเสด็จ พระเวสสนั ดรไมเ่ คยลดหย่อนอ่อนพระทยั ไปตามใครและทรงยอมอยใู่ ตอ้ ำ� นาจของผใู้ ด
ทั้งน้นั แมจ้ ะเสดจ็ เข้าอยใู่ นดงหนาทึบแร้นแคน้ กันดาร เหมอื นแดนนรกอนั ใครๆ ไม่พงึ ปรารถนา
ก็ตาม พระองค์ยงั ทรงพอพระทยั ในที่เช่นนัน้ และทรงบ�ำเพญ็ ทานไม่เคยลดละ เมอื่ ไมม่ อี ะไรจะทรง
บริจาคก็ทรงยกพระลูกรักทั้งสอง บริจาคให้แก่พราหมณ์ผู้จนมุมมาร้องขอ ไม่ทรงถือพระลูกรัก
ท้งั สองเปน็ อปุ สรรคตอ่ ทานบารมีเพอื่ ความเปน็ ศาสดาของโลกเลย
47
เม่ือทรงบริจาคไปแล้ว แม้พราหมณ์ผู้มีนิสัยใจโหดร้ายไร้ศีลธรรม จะเฆี่ยนตีพระลูกรัก
ทง้ั สองต่อพระพักตรโ์ ดยไม่เกรงขามพระบารมีก็ตาม กท็ รงทอดอาลยั ไม่ทรงกร้วิ โกรธแก่พราหมณ์
เลย เพราะทรงถือว่าเป็นทานที่บริจาคให้เป็นของคนอ่ืนด้วยความบริสุทธ์ิพระทัยแล้ว ไม่เพียง
พระลูกรักซ่ึงเทียบกับพระเนตรทั้งสองที่บริจาคให้แก่พราหมณ์ไปแล้ว ยังทรงยกพระนางมัทรี
ค่พู ระบารมี ผ้เู ปรยี บเหมือนดวงหทยั ใหแ้ กพ่ ราหมณผ์ ู้มารอ้ งขอในอนั ดบั ตอ่ มาอีก ด้วยความพอ
พระทยั มิได้ทรงอดิ เอ้อื นซึ่งจะเป็นเหตุใหป้ ลกี แวะจากทานบารมีเพ่ือพระโพธญิ าณเลย และยงั ทรง
อุทานเพื่อสละเลือดเนื้อและชีวิตทุกพระอาการแก่ผู้มุ่งมาขอทานอีก ไม่ทรงอาลัยในพระกายและ
จติ ใจแม้แตน่ อ้ ย
การทที่ รงบ�ำเพญ็ ทานบารมไี ดอ้ ย่างเตม็ พระทยั นี้ เนอ่ื งจากท่ีทรงอาศัยอยใู่ นสถานท่ีทโี่ ลก
เหน็ วา่ เปน็ ที่อยู่ของบคุ คลผ้จู นมมุ แตส่ ำ� หรับพระเวสสันดรกลับทรงเห็นว่า เปน็ ทเี่ วิง้ วา้ งจากภาระ
หนักและอารมณเ์ ครื่องกงั วลใจ ท้งั การบำ� เพ็ญทานบารมี ศีลบารมี ตลอดอุเบกขาบารมี ฯลฯ
ซึ่งเป็นธรรมเครื่องส่งเสริมทุกประเภท พระเวสสันดรทรงมีโอกาสได้บ�ำเพ็ญอย่างพอพระทัยใน
เวลานนั้ การบ�ำเพ็ญที่แสนยากล�ำบากและเตม็ ไปด้วยความชอกช�ำ้ เพราะการกระทบกระเทือน
นานาประการ ทง้ั เป็นการขดั ขวางทางด�ำเนนิ ของพระเวสสนั ดร หากกรรมดี กรรมชั่วจะเปน็ ไป
ตามความต�ำหนติ ชิ มของบคุ คลแลว้ พระเวสสันดรถงึ กับต้องถูกเนรเทศเพราะการให้ทาน กไ็ ม่ควร
จะรอดจากเหตุการณอ์ ันรนุ แรงนัน้ กลายมาเปน็ พระพุทธเจ้าใหโ้ ลกกราบไหวไ้ ด้ เพราะผลแห่งทาน
อันเปน็ ต้นเหตนุ น้ั ”
จัดการบวชชีให้ศรีภรรยา
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๐ เมอ่ื หลวงปู่พรหมยงั ครองเพศฆราวาส ขณะนน้ั ท่านมี
อายปุ ระมาณ ๓๖ – ๓๗ ปี ท่านอย่กู นิ กบั แมก่ องแพง ภรรยาคนท่สี องมาได้ ๕ ปี แต่ไมม่ บี ตุ ร
ดว้ ยกนั ช่วงน้ที ่านตัดสนิ ใจออกบวช โดยกอ่ นบวชทา่ นจดั การบวชชใี หศ้ รภี รรยาของท่าน กล่าวคอื
ผ้ใู หญ่พรหม กบั แม่กองแพง ศรภี รรยา ท่านท้งั สองเปน็ คู่ทุกขค์ ยู่ ากที่มที ิฐเิ สมอกัน และ
เปน็ คนใจบญุ สนุ ทานศรัทธาพระพุทธศาสนาเหมือนกนั ดังท่ีไดก้ ล่าวมา ดังน้ัน เมือ่ ผู้ใหญ่พรหม
เกิดความเขา้ ใจว่า ความสขุ ทแี่ ท้จริงคอื อะไร อย่ทู ี่ไหน และวธิ ีการใหไ้ ดม้ าซงึ่ ความสุขทแี่ ทจ้ รงิ นนั้
ท�ำอยา่ งไร แลว้ ทา่ นก็ตดั สินใจออกบวช โดย องค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนโฺ น ได้เมตตา
เทศน์ประวตั ิตอนนขี้ องหลวงป่พู รหมไวด้ ังน้ี
48
“น่ีท่าน (หลวงปู่พรหม) ประกาศ ๗ วัน เพราะทา่ นเป็นพอ่ ค้า ไมม่ ีลูกเตา้ ถา้ พูดถึงฐานะ
บ้านนอก กเ็ รียกว่า ท่านเปน็ ท่หี นึง่ ของบ้านน้ี เพราะการคา้ การขาย ท่านเป็นพ่อคา้ ทีนเี้ วลามา
ปรกึ ษาหารือกบั แม่บ้าน เพราะไมม่ ลี ูกดว้ ยกัน นีท้ �ำยงั ไง ?
น่เี ห็นไหม คนมีอุปนิสัย มันเปน็ นะ เราก็อยดู่ ว้ ยกนั มา ไมม่ ลี ูกมีเตา้ ที่จะสืบหน่อต่อแขนง
มรดกเหล่าน้ีจะท�ำยังไง ? แล้วตายแล้วใครจะสืบต่อก็ไม่ได้ไปท้ังน้ัน สืบต่อกันเป็นระยะๆ อันน้ี
เรายังมีชีวิตอยู่ ส่ิงเหล่านี้เราครองมานานแล้ว ก็ไม่เห็นเป็นประโยชน์อะไร ก็อยู่อย่างน้ีแหละ
เราออกบวชจะไมด่ หี รือ ? ตา่ งคนออกเสาะแสวงหาสมบัติภายใน สมบัติภายนอกเราเหน็ อยนู่ แ้ี หละ
ทา่ นเลา่ ให้ฟงั นะ แม่บา้ นกพ็ อใจทนั ทเี ลย ถ้าเราออกบวชแล้ว อันนเ้ี ราก็ประกาศให้ทานให้หมด
ไปเสีย เสร็จแล้วออกเลย ทางน้ันกพ็ ร้อมเลย ไมว่ ่า ทา่ นบอกว่าประกาศอยู่ ๗ วนั ของใหท้ าน
หมดเลย ให้ทาน ๗ วัน แล้วแม่บ้านออกทางหน่ึง ท่านก็ออกทางหนึ่งไปเรื่อย ท่านเล่าให้ฟัง
ท่านเป็นคนศักดศ์ิ รดี ีงาม มอี �ำนาจวาสนานา่ เกรงขามมาก เดด็ เดี่ยว”
ครูบาอาจารย์ท่านเลา่ กันวา่ แม่กองแพง ทา่ นเปน็ คนใจเดด็ เดย่ี ว มีศรัทธาในเร่ืองงานบุญ
งานกศุ ล ในวนั พระทา่ นเคยไปคา้ งคนื เพ่อื ถือศีลอโุ บสถ ฟังธรรม และปฏบิ ัตธิ รรมท่ีวดั มาบา้ งแล้ว
เมื่อทราบว่าสามีตอ้ งการจะบวช แม่กองแพงกต็ ัดสนิ ใจออกบวชชีเสียก่อน โดยสละครอบครวั ออก
บวชเป็นแมช่ กี ่อนผู้ใหญ่พรหมจะบวช ซึ่งกเ็ ปน็ ไปตามท่ผี ใู้ หญ่พรหมไดช้ ักชวนไว้
เรอ่ื งราวของแมช่ กี องแพงมไี ม่มากนัก ทราบแตว่ ่าท่านบวชเปน็ แมช่ กี อ่ นหลวงปู่พรหมบวช
เป็นพระ ๑ ปี ทา่ นบวชเปน็ ชีตลอดชวี ิต นับได้ ๖๐ กวา่ พรรษา องคห์ ลวงตาพระมหาบวั ทา่ น
ได้เมตตาเลา่ ไวว้ ่า แมช่ กี องแพงเคยเดนิ ทางไปกราบนมัสการฟังธรรมและอยปู่ ฏิบัติธรรมในสำ� นัก
ของหลวงปูม่ นั่ ในระยะสั้นๆ ประมาณ ๓ – ๔ วัน โดยไปทำ� รา้ นไว้บนตน้ ไมแ้ ละอยบู่ นนัน้ เพราะ
บริเวณนั้นเสือมันเยอะ หลวงปู่ม่ันเกรงว่าจะเป็นอันตราย เป็นกังวลจึงให้อยู่ด้วยไม่นาน แม่ชี
กองแพงทา่ นมคี วามตง้ั ใจปฏบิ ตั ิธรรมอย่างเด็ดเด่ยี วเต็มที่ ต่อมาหลวงปพู่ รหมกลบั จากภาคเหนือ
ได้มาสรา้ งวดั ผดุงธรรม คณุ แมช่ ีกองแพงได้กลับมาอยู่ที่วดั น้ีด้วย ภายหลังหลวงปพู่ รหมมรณภาพ
ท่านไดไ้ ปพกั ปฏบิ ัตธิ รรมกบั หลวงปู่แหวน สจุ ณิ โฺ ณ ทว่ี ดั ดอยแม่ป๋ัง อำ� เภอพร้าว จังหวัดเชยี งใหม่
จนเขา้ ส่วู ัยชราภาพ และในชวี ติ บั้นปลาย ทา่ นจงึ ไดก้ ลับมาพกั และมรณะทวี่ ัดประสทิ ธิธรรม บ้าน
ดงเย็น
ทางดา้ นของผใู้ หญพ่ รหม หรือหลวงป่พู รหมน้นั ทา่ นมีความมัน่ คงเด็ดเดี่ยวจรงิ จงั ประจ�ำ
นิสยั ของท่านอยู่แลว้ เมือ่ ทา่ นตดั สินใจจะทำ� อะไร ท่านจะมงุ่ มนั่ ทำ� จริงทำ� จัง จะตอ้ งทำ� ใหส้ ำ� เร็จ
และก็ส�ำเร็จทุกครั้งตามท่ีท่านต้ังใจด้วย เมื่อแม่กองแพงออกบวชเป็นชีแล้ว ผู้ใหญ่พรหมต้องอยู่
จัดการทรัพย์สมบัติและสร้างวัดตามล�ำพังคนเดียว ในระหว่างนี้ ท่านต้องฝึกหัดข้อวัตรปฏิบัติ
49
เชน่ เดียวกบั ผ้าขาวทง้ั หลาย จนรู้จักธรรมเนยี มปฏิบัตขิ องพระธุดงคกรรมฐาน จากนน้ั ทา่ นกเ็ ตรียม
เครือ่ งอัฐบริขารส�ำหรบั บวช และฝกึ หัดท่องขานนาค อยรู่ าว ๑ ปี จงึ ได้เขา้ พธิ ีบวชเป็นพระธดุ งค–
กรรมฐานเชน่ เดียวกับทา่ นพระอาจารย์สารณ์ สจุ ิตโฺ ต
เหตุการณ์ออกบวชของผู้ใหญ่พรหมและแม่กองแพงในคร้ังนั้น ย่อมเป็นเคร่ืองชี้ชัดว่า
ท่านท้ังสองเปน็ คูบ่ ุญบารมี ตา่ งมีสมั มาทฐิ ิ มีทิฐเิ สมอกัน จึงมีความเดด็ เด่ียวมนั่ คงในการออกบวช
เหมือนกัน
ท่านสร้างทานบารมีตามรอยพระเวสสันดร
การบ�ำเพ็ญทานบารมีตามรอยพระเวสสันดรโพธิสัตว์ของผู้ใหญ่พรหมนั้น มีประโยชน์
อยา่ งมาก เพราะในการออกบวชเพอ่ื ประพฤตปิ ฏบิ ัติธรรมนั้น จ�ำเปน็ ตอ้ งปลดหว่ งความกังวลใจ
และปลดปล่อยภาระธรุ ะต่างๆ ทางโลก ซ่ึงลว้ นเปน็ เคร่ืองกดถว่ งจิตใจให้เกดิ ความพะวกั พะวงและ
เป็นอุปสรรคส�ำคัญต่อการบ�ำเพ็ญสมถะ – วิปัสสนากรรมฐาน เพราะภรรยาและทรัพย์สมบัติ
จำ� นวนมหาศาล จะท�ำให้จิตใจของทา่ นไม่สะดวกปลอดโปร่งและทำ� ให้การภาวนาไม่กา้ วหนา้ เม่อื
ภรรยาของท่านออกบวชชีก็ท�ำให้ท่านหมดความกังวลใจไประดับหน่ึง และเม่ือท่านสละทรัพย์–
สมบตั อิ อกแจกทานบำ� เพ็ญกุศลกรรม จดั เป็นทานบารมี กย็ ง่ิ ท�ำให้ทา่ นหมดความกงั วลใจ จิตใจ
ของท่านน้ันก็มีแต่ความแช่มช่ืนเบิกบาน มีความสุขใจ อันส่งผลดีต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อความ
พน้ ทุกข์ของทา่ นตอ่ ไป
สำ� หรบั เรือ่ งการบรจิ าคทรัพยส์ มบัตขิ องหลวงปู่พรหม มกี ารบนั ทกึ ไวด้ งั น้ี
“เม่ือความตกลงใจจะออกบวช และสละสมบัติบรรดาที่มีอยู่เช่นน้ีแล้ว ก็ได้นัดประชุม
ประชาชนในหมู่บ้านวา่ ใครตอ้ งการอะไรในวัตถุสมบัตทิ มี่ อี ยู่ เชน่ โค กระบือ เงินทอง และเครอ่ื งใช้
ตา่ งๆ ทีม่ อี ยู่ ให้มารบั เอาไป
ในช่วงนี้ทา่ นตั้งใจจะบวชลูกหลานในหมู่บา้ น ทา่ นไปซือ้ ฝา้ ยมาทอผา้ ขาวจ�ำนวนมาก ท่าน
ให้นางกองแพงและลกู บญุ ธรรม ชว่ ยกันทอผ้า ทา่ นกลับจากฟงั เทศนเ์ สรจ็ ทา่ นจะเรียกให้มาทอผ้า
ทกุ วนั และชว่ งท่เี อาของให้ทาน แตผ่ ้าขาวจะไม่ให้ทาน
ในกาลตอ่ มา ท่านได้อนุญาตให้ นางกองแพง ซึง่ เปน็ ศรีภรรยาของทา่ นออกบวชเปน็ นางชี
กอ่ นเป็นเวลา ๑ ปี ปจั จบุ ันมรณภาพแลว้
ในตอนนี้ ท่านได้มศี รัทธาอนั แรงกลา้ จดั ตงั้ กองบุญ ๒๐ กอง เพ่ือจะบวชนาค ๒๐ นาค
แต่เมอ่ื จะบวชจริงๆ ปรากฏวา่ ไดน้ าคบวชเพยี ง ๑๒ นาคเทา่ นนั้ และท่านได้สรา้ งวัดขน้ึ ๑ วดั
พร้อมกบั ท�ำร้ัววัดดว้ ยทุนทรพั ย์ของท่านเปน็ การเรียบร้อย
50
ทา่ นไดม้ อบที่ดนิ ผนื หนึ่งประมาณ ๑๐ กว่าไร่ ส�ำหรบั สรา้ งโรงเรยี นประชาบาลบ้านดงเยน็
พรหมประชาสรรค์ พร้อมทงั้ สร้างศาลาเรยี นหนง่ึ หลงั ปจั จุบันที่ดนิ ทีต่ ัง้ โรงเรยี นเป็นทีส่ าธารณะ
เป็นสนามโล่งๆ กลางหม่บู ้าน สำ� หรบั ใช้จัดงานต่างๆ ของหมู่บ้าน
ตอ่ จากน้นั ทา่ นกไ็ ดส้ ละทานวตั ถตุ ่างๆ ตลอดจนขา้ วเปลือกในยงุ้ ฉางแก่คนยากจน หรอื แก่
บคุ คลที่สมควรจะให้ ทา่ นก็ยังไมไ่ ดไ้ ปบวช ยังตอ้ งจัดการเรอื่ งทนี่ า ซง่ึ ทา่ นกย็ กท่นี าใหโ้ ยมคนสนทิ
ท่านสละอยูอ่ ย่างนนั้ เปน็ เวลาหลายวัน ยงั เหลือไวแ้ ตเ่ รือน ๒ หลงั ต่อมาบ้านน้ันท่านกร็ ือ้ บ้านท่าน
เป็นเรอื นแฝด บ้านท่านหลังใหญ่ แตก่ อ่ นท่านปลกู เป็นเรอื นคู่ มีลานอยู่ตรงกลาง ก็ร้ือบ้านหลงั หน่ึง
มาสร้างกุฏิในวัดป่าบ้านป่าเป้า อ�ำเภอบ้านดุง อีกหลังหนึ่งยังไม่ได้ร้ือ ช่วงแรกเก็บไว้เผื่อแม่ชี
ภรรยาของท่านจะเปล่ียนใจสึกออกมา เมื่อแน่ใจว่าแม่ชไี ม่ยอมสึกแล้ว ท่านจึงไดร้ ือ้ ปลกู เปน็ กุฏทิ ี่
วดั ผดงุ ธรรม (วดั ใน) บ้านดงเย็น
การเสียสละทานที่ท่านได้บำ� เพญ็ ในคร้ังน้นั ยากท่ีบคุ คลจะท�ำได้เช่นน้นั เช่น ไดส้ ละทรพั ย์
สร้างวดั สิน้ เงินไป ๑ ชั่ง ๒ ตำ� ลงึ ๒ บาท เงนิ ช่ังในครั้งกระโนน้ คดิ เทยี บในปจั จบุ ันก็เป็นจำ� นวน
มากพอด”ู
ในเรือ่ งการบำ� เพ็ญทานของหลวงปู่พรหม ในครงั้ นัน้ มีขอ้ ทีน่ า่ คิดคือ ทา่ นไม่ใหท้ านเครอื่ ง
ดักสตั ว์ และเครือ่ งอุปกรณ์เก่ียวกบั การทำ� ลายชีวติ เช่น แห อวน เบ็ด ตะกวั่ ปนื ดนิ ประสวิ และ
หนิ ปากนก สิ่งเหลา่ นี้ ทา่ นขนไปทง้ิ หมด โดยไม่มีใครร้ทู ีท่ ่ีทา่ นทง้ิ ค�ำบอกเลา่ จากบางแหล่งบอกว่า
ท่านเอาไปฝงั ดินไว้ในป่า แลว้ ไมม่ ีใครทราบวา่ ทา่ นนำ� ไปฝังไว้ทีใ่ ด ท่านถอื ว่า “ของเหล่านี้ แมใ้ คร
ได้ไป เขากจ็ ะไปก่อกรรมกอ่ ภัยใหแ้ กต่ นเองอกี ” ท่านจงึ ไมใ่ ห้ใครเลย
การแจกทานของหลวงปู่พรหมในคร้งั น้ัน จนเปน็ ทก่ี ลา่ วขานในยคุ น้ันว่า “อีมลู ” ดงั นี้
“บ้านตาลอันเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่พรหม ก็มีชาวบ้านตาลมารับแจกทานโค กระบือ
วตั ถสุ ิ่งของเงนิ ทองในครัง้ นัน้ จนทัง้ หมู่บา้ นตาลพากนั เรียกว่า “อมี ลู ” จนเด็กๆ เกดิ สงสยั ต้งั ค�ำถาม
ว่า “ใครๆ เรยี กหมกู ็ว่าอมี ลู ควายก็อมี ลู วัวก็อมี ูล อะไรๆ กเ็ รยี กอีมลู ในบ้านตาลบ้านหลงั ไหนก็
เรียกอมี ลู อีมลู มาจากอะไร ?” พอ่ แมเ่ ดก็ กต็ อบว่า “โอ๋ ! น่นั มนั เปน็ มรดกตกทอดที่หลวงปพู่ รหม
สละทานมากอ่ นจะเขา้ บวช” เวลามนั ออกลกู มากแ็ บ่งใหล้ ูกหลานไปเลีย้ ง ไปท�ำเปน็ มรดก คำ� ว่า
อมี ลู นี่คือ มรดกตกทอดชั่วลกู หลานไปยาวไกล มาจากการสละทานของหลวงปู่พรหม คนไม่มวี วั ก็
ไปเอาวัว คนไมม่ ีควายท�ำนากไ็ ปเอาควาย ใครไม่มขี ้าวกไ็ ปเอาขา้ ว ใครไม่มีเงินก็ไปเอาเงิน”
หลวงปู่อำ่� ธมมฺ กาโม (วัดป่าเขาเขยี ว อ�ำเภอเนินมะปราง จงั หวัดพษิ ณุโลก) ศิษย์อาวุโส
ท่านหนง่ึ ของหลวงปู่พรหม ได้ยกหลักธรรมมาประกอบในตอนนไ้ี วด้ งั น้ี
51
“หลวงปูพ่ รหม ทา่ นเป็นแบบอยา่ งทดี่ งี ามแก่พวกเราพทุ ธบรษิ ัททุกทา่ น การกระท�ำเชน่ น้ี
ทำ� ใหร้ ะลกึ ถึงธรรม ๔ ประการ ท่อี งคส์ มเดจ็ พระสมั มาสัมพทุ ธเจา้ ตรัสสอนไว้ ดังน้ี
๑. มัจฉริยะ บคุ คลทมี่ ีความตระหนี่ ไมท่ �ำบุญใหท้ าน วิบากนน้ั บันดาลให้เปน็ คนยากจน
ขัดสนทรัพยส์ มบัตทิ ้ังปวง
๒. อเวยยาวัจจะ บุคคลที่มีความไม่ช่วย ไม่ขวนขวายในกิจท่ีชอบ คือ ไม่ช่วยขวนขวาย
ในการบญุ กุศลของคนอน่ื และไมบ่ อกบญุ ชกั ชวนคนอืน่ ในการบญุ และกศุ ล วิบากนั้นบันดาลใหเ้ ปน็
คนไรญ้ าตขิ าดมติ ร
๓. ปริจจาคะ บุคคลท่ีมีการบริจาคทรัพย์สมบัติของตนให้เป็นประโยชน์แก่คนอ่ืน ได้แก่
ไม่มคี วามตระหนี่เหนียวแนน่ มีความยินดีในการท�ำบุญทำ� กุศล กรรมดนี ั้นบนั ดาลใหเ้ ป็นคนม่งั คัง่
สมบรู ณด์ ้วยทรัพย์สมบตั ิ
๔. เวยยาวัจจะ บุคคลที่มีการช่วยขวนขวายในกิจอันชอบคือ ช่วยขวนขวายในการบุญ
การกศุ ล ชกั ชวนคนอืน่ ให้มารว่ มบุญกุศล กรรมดนี น้ั บนั ดาลให้เป็นบคุ คลทีส่ มบรู ณด์ ้วยญาตมิ ติ ร
สหายท้ังขา้ ทาสบรวิ ารก็มากมาย
หลวงปู่พรหม ทา่ นเป็นผทู้ ี่สรา้ งบารมีมาเปีย่ มลน้ แลว้ ทา่ นจงึ เปน็ ผู้มีสตปิ ัญญาในทางธรรม
ท่านจึงบ�ำเพญ็ คณุ ธรรมในข้อปรจิ จาคะและเวยยาวัจจะ
นอกจากการกระทำ� ภายนอกของหลวงปพู่ รหม เปน็ ทปี่ ระจกั ษ์นีแ้ ล้ว สว่ นภายในจติ ใจของ
ทา่ นยงั มีการกระท�ำดว้ ยจิตใจทต่ี ้งั มัน่ อยา่ งแน่วแนไ่ ม่เปล่ียนใจ คือ
๑. มคี วามเชือ่ ในพระตถาคต ต้งั มนั่ ไมค่ ลอนแคลน ไมส่ งสัย
๒. มศี ีลเปน็ ศลี ทงี่ ดงาม เป็นศลี ท่ีพระอรยิ เจา้ พอใจสรรเสริญ
๓. มีความเลือ่ มใสในพระสงฆ์ ผปู้ ฏิบตั ิดี ปฏิบตั ิตรงต่อค�ำสอน
๔. มีความเหน็ ทเี่ ที่ยงตรง คือ เห็นถูกตอ้ งตามท�ำนองคลองธรรม เมอ่ื บคุ คลท้ังปวง บัณฑิต
ท้ังหลาย ไดก้ ระท�ำให้มีขนึ้ แลว้ ทา่ นเรยี กว่าผ้นู ัน้ เป็นผไู้ มย่ ากจน ชีวติ ของผ้นู นั้ ไม่โมฆะ ไม่เปล่าจาก
สารประโยชน์ เป็นสมบตั ิของผู้มปี ัญญาธรรมโดยแทฯ้ ”
เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
เม่อื ผใู้ หญพ่ รหม สภุ าพงษ์ ได้สละทรัพยส์ มบตั ิ เรอื กสวนไรน่ า บา้ นเรอื น ออกแจกเปน็
มหาทาน และจัดการบวชให้ภรรยาเป็นแมช่ ี รวมทง้ั บวชลกู หลาน พรอ้ มทัง้ ทา่ นไดส้ รา้ งวดั ส�ำเรจ็
ตามความต้ังใจแลว้ ใจของทา่ นกป็ ลอดโปรง่ เป็นอสิ ระจากเคร่ืองผูกพนั รอ้ ยรัดทั้งปวง รู้สกึ เบากาย
เบาใจ ทา่ นไม่ต้องมเี ร่อื งอะไรให้หว่ งกงั วลใจอกี ตอ่ ไป
52
สำ� หรบั การบวชของผ้ใู หญพ่ รหมน้ัน เพ่ือไมใ่ ห้เปน็ ภาระกับผูห้ น่งึ ผใู้ ด ทา่ นกไ็ ดเ้ ตรยี มเงิน
ไวจ้ ำ� นวนหน่ึง เพื่อเป็นค่าใชจ้ า่ ยในการอุปสมบทของตัวท่านเอง บัดนี้ ผใู้ หญ่พรหม สุภาพงษ์
พร้อมทจ่ี ะอปุ สมบทมอบกายถวายชีวติ ใหแ้ กพ่ ระพทุ ธศาสนา
ดว้ ยสมยั น้ันบ้านดงเยน็ ยังไม่มวี ัดธรรมยุต และวัดธรรมยุตในภาคอีสานก็หายากมาก ตอน
ออกบวชท่านพระอาจารย์สารณ์จึงได้แนะน�ำให้ท่านบวชกับพระครูชิโนวาทธ�ำรง (จูม พนฺธุโล)
ตอ่ มาคอื ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ที่วัดโพธสิ มภรณ์ อ�ำเภอเมอื ง จังหวัดอดุ รธานี ซึ่งเปน็ วดั
ธรรมยตุ สำ� คญั ทพ่ี ระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์มน่ั ภูรทิ ตฺโต มาบวชกันมากในสมัยนัน้
ท่านจงึ อ�ำลาบรรดาญาติพีน่ อ้ ง มติ รสหาย ตลอดจนข้าราชการสายปกครองทีท่ า่ นเกยี่ วขอ้ งในฐานะ
เปน็ ผูใ้ หญบ่ า้ นดงเย็น แล้วทา่ นกบั ญาติสนิทไมก่ ่ีคนกอ็ อกเดนิ ทางไกลหลายสิบกิโลเมตรมุง่ หน้าไป
ยงั วัดโพธิสมภรณ์ โดยเดินเทา้ จากบา้ นดงเยน็ ลัดเข้าอ�ำเภอหนองหาน และเข้าตัวเมอื งอดุ รธานี
เมอื่ ผู้ใหญพ่ รหมเข้ากราบพระครูชโิ นวาทธ�ำรง (จมู พนฺธุโล) เพอ่ื แจ้งความจ�ำนงจะขอ
บวชเป็นพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มัน่ ท่านพระครฯู ท่านทราบความตัง้ ใจจริงของ
ผู้ใหญ่พรหมก็เมตตายินดีและอนุญาตทันที พร้อมทั้งมอบบทสวดขานนาคและก�ำหนดวันบวชให้
การบวชของผู้ใหญ่พรหมในคร้ังน้ัน ไมม่ เี ร่อื งโลกามิส ไม่มปี ัจจยั เงินทองใดๆ มาเกย่ี วข้อง เป็นการ
บวชเพือ่ ออกปฏบิ ัติธรรมซง่ึ ถูกต้องตามอรยิ ประเพณใี นสมยั คร้ังพุทธกาลอย่างแทจ้ ริง ในระหวา่ งน้ี
ผู้ใหญ่พรหมต้องฝึกหัดท่องขานนาคจนคล่องแคล่วขึ้นใจ และต้องเตรียมเครื่องอัฐบริขารส�ำหรับ
บวชให้ถกู ต้องครบถ้วนตามหลกั พระธรรมวินยั เพื่อเข้าส่พู ิธอี ปุ สมบทเป็นพระธุดงคกรรมฐานตาม
ทต่ี งั้ ใจต่อไป
ในสมัยก่อนนั้น วัดโพธิสมภรณ์ เป็นวัดซ่ึงครูบาอาจารย์เพชรน�้ำหนึ่งองค์ส�ำคัญๆ ในสาย
ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั ภรู ทิ ตฺโต นยิ มศรัทธาไปบวชหรอื ไปญัตตกิ ัน เชน่ หลวงปูห่ ลุย จนฺทสาโร
หลวงป่ขู าว อนาลโย หลวงปู่ฝัน้ อาจาโร หลวงตาพระมหาบวั าณสมปฺ นโฺ น ฯลฯ สาเหตุ
สำ� คัญประการหนึง่ คอื วัดโพธสิ มภรณ์ มีท่านเจ้าคณุ พระธรรมเจดยี ์ (จมู พนฺธุโล) เป็นเจา้ อาวาส
และท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านเจ้าคุณองค์น้ีท่านเป็นพระศิษย์ผู้ใหญ่ท่ีได้รับความเมตตา
ไว้วางใจจากท่านพระอาจารย์มั่นมาก และกล่าวได้ว่าในสมัยก่อนนั้นท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์
รับภาระหนา้ ทบี่ วชและญัตตพิ ระธุดงคกรรมฐานมากที่สุด
จะเห็นได้ว่า การบวชเป็นของยาก โดยเฉพาะอย่างย่ิงการบวชเป็นพระธุดงคกรรมฐาน
สังกัดฝ่ายธรรมยุตในสมัยก่อนนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เร่ืองสะดวกสบายเลย เพราะการแสวงหา
ครบู าอาจารยผ์ ้ชู ้แี นะกย็ าก การบวชกย็ าก การหาวัดธรรมยตุ กย็ าก ระยะทางกไ็ กลตอ้ งพักค้างแรม
ระหวา่ งทาง ซ่งึ ความยากเหลา่ นล้ี ว้ นมไิ ด้เปน็ อปุ สรรคต่อครบู าอาจารย์ท้งั หลายในยคุ นั้น รวมทง้ั
53
หลวงปพู่ รหมในขณะออกบวช เพราะครบู าอาจารยท์ า่ นมีศรทั ธาอยา่ งแรงกล้า คือ ท่านมคี วาม
ปรารถนาพ้นจากทุกข์นั่นเอง
ในแผน่ จารึกในพระเจดยี บ์ รรจุพระธาตขุ องท่าน จารกึ ไว้วา่
“...อุปสมบท อายุ ๓๗ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑...”
ผู้ใหญ่พรหม ทา่ นไดเ้ ข้าพิธีอปุ สมบทเปน็ พระในสังกดั คณะธรรมยตุ ิกนิกาย ณ พัทธสมี า
วดั โพธิสมภรณ์ อำ� เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีทา่ นเจ้าคณุ พระธรรมเจดีย์ (จมู พนฺธุโล)
สมัยดำ� รงสมณศกั ดิ์ท่ี พระครูชโิ นวาทธ�ำรง เปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ ทา่ นพระครปู ระสาทคุณานุกจิ เป็น
พระกรรมวาจาจารย์ ไดร้ ับฉายาอนั เป็นมงคลวา่ จิรปุญโฺ ซง่ึ หมายถึง ผูม้ บี ญุ อนั ยั่งยนื
และในกาลต่อมาไมน่ านนกั น้องชาย น้องสาวและนอ้ งเขยของหลวงปู่พรหม ก็ไดต้ ดิ ตาม
ออกบวชมอบกายถวายชีวติ ในพระพทุ ธศาสนาด้วยเช่นเดียวกนั นับวา่ ครอบครวั ของหลวงปูพ่ รหม
เป็นครอบครัวหน่ึงท่ีออกบวชกันมาก เร่ิมจากศรีภรรยาของหลวงปู่พรหม คือ คุณแม่ชีกองแพง
ออกบวชก่อน หลวงปู่พรหมบวชองค์ถัดมา จากน้ันหลวงปู่พิมพา น้องชาย คุณแม่ชีจันแดง
นอ้ งสะใภ้ คุณแมช่ ีตื้อ น้องสาว หลวงปู่เตอ่ื ย น้องเขย รวมท้ังหมด ๖ คน ออกบวชครองอย่ใู น
สมณเพศเป็นพระภิกษุและเปน็ แมช่ ีตลอดชีวิต
ครูบาอาจารย์พระศษิ ยส์ ายท่านพระอาจารย์มน่ั ภูริทตฺโต รนุ่ เกา่ ๆ ยังมีอกี หลายองคท์ ี่
ไมป่ รากฏ เพราะสมยั ก่อนไม่มีใครใสใ่ จ เหมือนหลวงปู่พมิ พาน้องชายหลวงปู่พรหม ท่านเป็น
พระศิษย์หลวงปมู่ ัน่ อีกองคห์ นึง่ ทีห่ ลวงปพู่ รหมเอามาบวชด้วย พอหลวงปูพ่ รหมบวชแล้ว ก็เอา
น้องชายน้องสาวมาบวชดว้ ย บวชไล่เลีย่ กัน คนเฒา่ คนแกเ่ ขาพดู ว่า “ปฏิปทาของหลวงปู่พิมพา
แตกตา่ งกบั หลวงปู่พรหม ทา่ นไมม่ ีเลน่ กับใครเลย ทา่ นปฏบิ ตั ิภาวนาอยา่ งเดียว ทา่ นไม่ยุ่งกบั ใคร
ท่านยังตำ� หนหิ ลวงปพู่ รหมวา่ ชอบทำ� งานคลกุ คลวี ่นุ วายกับคนมาก” หลวงป่พู มิ พาไม่ทราบวา่ ทา่ น
พักจำ� พรรษาท่วี ดั ไหน ช่วงทหี่ ลวงป่พู รหมกลบั มาอยวู่ ัดประสิทธธิ รรมน้ี ทา่ นไปมาหาสูก่ ันหรอื ไม่
กไ็ มม่ ขี อ้ มูล หลวงปพู่ มิ พาทา่ นมรณภาพอยู่ทางอำ� เภอสังคม จงั หวดั หนองคาย ตอนนั้นอายทุ า่ นก็
มากแลว้ แตไ่ ม่มชี าวบา้ นพูดถงึ เลย เพราะท่านไมเ่ ข้ามาเก่ียวข้องกบั ใคร
เร่ืองอานิสงส์การบวช
หลวงปู่พรหม จริ ปุญโฺ กอ่ นจะออกบวช ทา่ นไดเ้ ล็งเห็นความสำ� คัญและอานิสงสใ์ นการ
บวชสืบทอดรกั ษาพระพุทธศาสนา ดังนัน้ ในการสละทรัพย์สมบัติ แม้ท่านไม่มีลกู แตท่ า่ นส่งเสรมิ
ให้ลกู หลานคนในหมูบ่ ้านได้ออกบวช โดยท่านได้เปน็ เจ้าภาพบวชให้ ซงึ่ การบวชนีย้ อ่ มมีอานิสงส์
มากมาย โดยครูบาอาจารย์เทศน์ไวด้ งั นี้
54
“เหน็ ไหม ทางอสี านทางเหนือเขานี้ ค�ำ้ โพธ์ิ ค�้ำโพธิ์ คำ�้ โพธิ์ เราค�้ำศาสนาไว้ เราเอาลูกเรา
มาเป็นมดแดงเฝ้ามะมว่ งไว้ มะมว่ งก็รกั ษาไว้ แล้วท�ำมาบวช นล่ี ูกเรามันเป็นอะไร ลกู เรากค็ ือ
เลือดเน้อื เชือ้ ไข ไข่ของแม่ พอเกิดมาก็กนิ เลือด กนิ น�้ำนม กินเลือดในอก เอาเลอื ด เอาเนือ้
เอาเชือ้ ไขมาค้ำ� ศาสนา พ่อแม่ไดบ้ ญุ ไหม ลกู บวชนะจรงิ ๆ กค็ ือเทา่ พ่อแมบ่ วชนนั่ แหละ เพราะ
พอ่ แมเ่ ปน็ เจา้ ของลกู เราเลี้ยงมาๆ แลว้ มาคำ�้ ศาสนา บญุ เกิดตรงนไี้ ง พ่อแม่ได้ ๑๖ กัป”
และการทหี่ ลวงป่พู รหม จริ ปญุ ฺโ กอ่ นออกบวช ได้เปน็ เจ้าภาพบวชพระน้นั นับวา่ ทา่ น
เป็นญาตใิ นพระพทุ ธศาสนา กลา่ วคอื การบวชลกู หลาน ทาสาทาสี สามีภรรยาของตน ใหเ้ ป็นภกิ ษุ
ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ในพระพุทธศาสนานัน้ จดั ไดว้ ่าเปน็ ญาตใิ นพระพุทธศาสนา ข้อนป้ี รากฏ
ตามขอ้ ความสนทนาระหวา่ งพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกบั พระโมคคลั ลีบตุ รติสสเถระ ดังนี้
เร่อื งมวี า่ พระองค์ทรงเป็นผศู้ รทั ธาเลอ่ื มใสในพระพุทธศาสนาเปน็ อนั มาก ไดบ้ ริจาคทรัพย์
สรา้ งวิหารเจดีย์ถึง ๘๔,๐๐๐ แล้ว ได้ไปตรัสถามพระโมคคัลลีบตุ รติสสเถระวา่ “โยมสละทรัพย์
ในการก่อสร้างเจดีย์วิหาร ๙๖ โกฏิแล้ว จัดได้ว่าเป็นญาติในพระพุทธศาสนาแล้วหรือยัง ?”
พระโมคคลั ลบี ุตรตสิ สเถระถวายพระพรว่า “ยงั ไมเ่ ป็นญาตใิ นพระศาสนา เปน็ แต่เพียงคนเล่ือมใส
ได้บ�ำรุงพระศาสนาเท่าน้ัน” พระเถระกล่าวต่อไปว่า “ผู้ใดเป็นคนจนหรือคนร�่ำรวยก็ตามที
ถ้าไดม้ ีศรัทธาบวชลกู หลาน ทาสาทาสี สามีภรรยา ไว้ในพระพทุ ธศาสนา ผู้น้แี หละเรียกวา่ เปน็
ญาติในพระพุทธศาสนา” ในเวลาต่อมาพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้บวชเจ้ามหินทกุมาร และ
นางสงั ฆมิตตา ผเู้ ปน็ โอรสราชธิดาไว้ในพระพุทธศาสนา พระเถรเจ้าจงึ ซ้องสาธกุ ารแด่พระมหา–
กษัตรยิ ว์ า่ “บดั นพี้ ระองค์ได้เปน็ ญาติในพระพุทธศาสนาแล้ว”
การบวชบ�ำเพ็ญบุญล้างบาป
ประวัตหิ ลวงปู่พรหม จริ ปญุ โฺ ในเพศฆราวาสเคยเป็นนายฮอ้ ยคา้ วัวคา้ ควายดงั กล่าวมา
เปน็ อาชีพทเี่ ป็นบาปเปน็ กรรม สัตวย์ อ่ มจองกรรมจองเวรกบั ทา่ น การบวชนอกจากมีอานสิ งสม์ าก
แลว้ ยงั เปน็ การบำ� เพญ็ บญุ ล้างบาปอกี ด้วย จากประวัติหลวงปูจ่ ันทา ถาวโร พระศษิ ย์องค์ส�ำคัญ
ของหลวงปขู่ าว อนาลโย ได้เล่าการบวชบำ� เพญ็ บุญลา้ งบาป ไวด้ ังนี้
“ในสมัยหน่ึงได้ไปภาวนาอยู่ท่ีวัดป่าหนองแซง อ�ำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี กับ
หลวงปบู่ วั สริ ิปณุ โฺ ณ ซ่งึ เป็นเจา้ อาวาสในขณะน้ัน วันน้นั ท�ำความเพยี รอย่างหนัก ไม่ฉันอาหาร
เดินจงกรมวันยังค�่ำ พอค่�ำมาก็เข้าที่นั่งสมาธิ ตลอดทั้งคืน ไม่ยอมนอน พอล่วงไปถึง ๔ ทุ่ม
ความทุกขเ์ กดิ ขึน้ ความร้อนเกดิ ขน้ึ จนถึงเทยี่ งคนื จงึ ดบั พอตี ๑ ความรอ้ นแสบเยน็ เกดิ ขน้ึ อีกเป็น
ระยะๆ จนกระทงั่ แจ้งเป็นวันใหม่ นงั่ อยอู่ ยา่ งนน้ั ไม่กระดกุ กระดกิ
55
มาวันหลังเข้าที่น่ังสมาธิอีก จิตก็สงบ พอจิตสงบลงไปก็เกิดนิมิตเห็นสัตว์ท้ังหลาย มีกบ
เขียด ปู หอย นก หนู ปูปีกทต่ี นได้ฆา่ เขามาแลว้ นัน้ ทงั้ วัวและหมูกไ็ ดท้ �ำมาแลว้ แตค่ วายไมไ่ ดท้ ำ�
และมนุษย์ก็ไม่ไดท้ ำ� สตั ว์ทง้ั หลายเหล่านน้ั หล่ังไหลมาเต็มสถานทีน่ ัน้ จงึ กำ� หนดจิตถามไปวา่
“มาท�ำอะไรกันมากมายเช่นนี้ ?”
เขากต็ อบว่า “ไดท้ ราบขา่ ววา่ ท่านมาบวชในศาสนาแล้ว จึงมาขอรบั ส่วนบุญ ขอทา่ นจงแบ่ง
ส่วนบญุ ให้ด้วย เพราะท่านเม่ือสมยั ท่เี ป็นฆราวาสน้ันได้ฆ่าพวกขา้ พเจ้ากนิ เปน็ อาหาร ฉะนัน้ ถ้า
ไม่แบง่ ส่วนบญุ ให้ จะขอจองเวรจองกรรมนะ ขอใหเ้ ป็นผู้ไดป้ ระสบพบปะแตเ่ หตุเภทรา้ ย อายุส้นั
พลนั ตาย ประกอบดว้ ยโรคภัยนานาชนิด ไม่มวี นั จบส้ิน”
เม่อื เหน็ เปน็ เชน่ นั้น กเ็ ลยต้งั จติ อทุ ิศแบ่งสว่ นบุญไปให้ และให้เขารบั พระไตรสรณคมนแ์ ละ
ศีล ๕ แล้วกบ็ อกใหเ้ ขามารบั ทุกวัน เขาก็ว่า “ดีแลว้ นับวา่ เปน็ โชคลาภอนั ดี จะได้มีโอกาสไปเกิด
เป็นมนษุ ย์ เพราะภพชาติของพวกข้าพเจ้านต้ี �ำ่ ชา้ ลามก ไมม่ อี ทิ ธพิ ลใดๆ ท้งั สิน้ ”
ก็เลยอุทิศส่วนบุญไปให้อย่างน้ันไม่ลดละ จนกระท่ังอายุพรรษาล่วงมาได้ ๒๐ พรรษา
ไม่พบเห็นสัตว์เหล่าน้ันมาหาอีกเลย จึงได้ไปกราบเรียนถามหลวงปู่บัว ท่านก็ว่า “ผมเองก็
เหมือนกัน เม่อื ภาวนาจนจติ สงบลงไปแล้ว จะเหน็ ฝูงสัตว์ท้งั หลายมากนั สน่นั หวน่ั ไหว หลง่ั ไหลมา
ขอรบั ส่วนบุญ เมอื่ อุทศิ ใหแ้ ล้ว เขาก็รับ แล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ เขาไมม่ าจองเวรจองกรรมอีกต่อไป
เพราะเขาเห็นว่า ภพชาติสังขารของเขานั้นมันต�่ำช้าลามก ไม่เหมือนกับพวกมนุษย์ มนุษย์เป็น
ภพชาติสูงส่งยง่ิ กว่าใดๆ ทั้งหมด สามารถท�ำคณุ งามความดีได้ยิง่ เลิศประเสริฐทกุ อยา่ ง”
นั่นแหละ ทเี่ รียกวา่ การบวชบำ� เพญ็ บุญล้างบาป เมอ่ื เหน็ เปน็ เชน่ นั้นแล้วก็ส้นิ สงสัย”
ครอบครัวของท่านคล้ายกับพระมหากัสสปะ
ประวตั ชิ ีวติ ครอบครัวของหลวงปพู่ รหม จริ ปุญฺโ กับ แมก่ องแพง ตอนสมยั เปน็ ฆราวาส
เปน็ ครอบครัวท่ีมฐี านะรำ่� รวยมาก แตก่ ลับไม่สนใจใยดีในทรัพยส์ มบัติน้นั และได้สละทรัพยส์ มบัติ
ทงั้ หมดเพ่อื ออกบวช นบั เปน็ ครอบครัวตัวอยา่ งที่หาได้ยากมาก ครูบาอาจารย์ท่านได้เปรียบไวว้ ่า
มคี วามคลา้ ยคลงึ กับประวัติครอบครวั ของพระมหากสั สปเถร กับ พระภัททกาปลิ านเี ถรี ซงึ่ เปน็
พระอรหันตสาวกในสมัยคร้งั พทุ ธกาล ตอนสมยั ที่ทา่ นท้งั สองเปน็ ฆราวาสนน้ั กเ็ ปน็ ค่สู ามีภรรยา
ท่ีมฐี านะมง่ั ค่ังรำ�่ รวยมาก บรวิ ารกม็ าก แต่ไดส้ ละทรัพยส์ มบตั แิ ละกิจการงานเพ่ือออกบวชแสวงหา
โมกขธรรม
56
ในสมัยครงั้ พุทธกาล พระมหากสั สปเถร ทา่ นได้รับการยกย่องเป็นอสตี ิมหาสาวก (สาวก
ที่ย่ิงใหญ่ ๘๐ พระองค์) ท่านเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะด้านธุดงควัตร
ส่วนพระภทั ทกาปิลานเี ถรีกไ็ ด้บรรลธุ รรมเปน็ พระอรหนั ตเ์ หมือนกัน ทา่ นเป็นเอตทคั คะในฝ่ายผมู้ ี
ปุพเพนิวาสานสุ สตญิ าณ
ส�ำหรับครอบครัวของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และ
ได้รับการยกย่องว่าเป็น พระศิษย์องค์แรกของหลวงปู่ม่ัน ภูริทตฺโต ที่บรรลุธรรมก่อนหมู่คณะ
ส่วนแมช่ กี องแพง ท่านได้บวชตลอดชวี ิต แต่ไม่ไดก้ ลา่ วถงึ คุณธรรมไว้
ประวัติย่อ พระมหากัสสปเถรเจ้า
ท่านพระมหากสั สปะ เป็นบุตรกปิลพราหมณ์ กัสสปโคตร ในบ้านมหาตฏิ ฐะ แคว้นมคธ
มีชือ่ ว่า ปปิ ผลิ เรยี กตามโคตรว่า กัสสปะ พออายุครบ ๒๐ ปี พราหมณ์ผ้เู ปน็ บดิ า พรอ้ มกบั
นางพราหมณีผมู้ ารดาก็ปรกึ ษากนั หาภรรยาใหแ้ กบ่ ตุ รของตน จึงมอบส่ิงของมีเงินและทอง เป็นต้น
ให้แกพ่ ราหมณ์ ๘ คน แลว้ สง่ ไปเพ่อื ใหแ้ สวงหาหญงิ ที่มีลกั ษณะดีงาม มีฐานะเสมอกันกบั สกลุ
ของตน พราหมณ์ทั้ง ๘ คน รบั สงิ่ ของทองหม้ันแล้วกเ็ ทีย่ วแสวงหาไปจนกระท่งั ถงึ เมอื งสาคละ
แคว้นมคธ
ในพระนครนน้ั มธี ดิ าของพราหมณโ์ กสิยโคตรคนหน่ึง ช่ือวา่ ภัททกาปลิ านี อายุ ๑๖ ปี
รูปรา่ งสะสวยงดงามสมกับเป็นผมู้ บี ุญ พราหมณเ์ หลา่ นั้นครน้ั ไดเ้ ห็นแลว้ จงึ เข้าไปสูข่ อกบั บิดา
มารดาของนาง เม่ือตกลงกันแล้วจงึ มอบสิ่งของทองหมน้ั กำ� หนดวันอาวาหมงคล (แตง่ งาน) และ
สง่ ขา่ วให้กปลิ พราหมณไ์ ดท้ ราบ สว่ นปิปผลิมาณพเมอื่ ได้ทราบดงั น้นั ไมไ่ ดม้ ีความประสงค์ทจี่ ะ
แต่งงานเลย จงึ เขา้ ไปในห้องเขียนจดหมายบอกความประสงค์ของตนใหน้ างทราบ “นางผเู้ จริญ
จงได้สามที มี่ ีชาตแิ ละโคตร โภคสมบัตเิ สมอกับนาง อยูค่ รอบครองเรอื นเปน็ สขุ เถดิ ฉันจกั ออกบวช
ต่อไปภายหลังนางจะได้ไมต่ ้องเดอื ดรอ้ น” ครนั้ เขียนเสร็จแลว้ มอบให้คนใชน้ ำ� ไปสง่ แมน้ างภทั ท–
กาปลิ านี ก็มีความประสงค์เช่นเดียวกัน จงึ ไดเ้ ขยี นจดหมายเชน่ นนั้ ให้คนใชน้ ำ� มา คนถือจดหมาย
ทง้ั สองมาพบกนั ระหว่างทาง ต่างไต่ถามความประสงค์ของกนั และกันแลว้ จึงฉกี จดหมายออกอา่ น
แลว้ ทง้ิ จดหมายฉบบั น้ันเสยี ในป่า เขียนจดหมายมีเนือ้ ความแสดงความรกั ซึ่งกนั และกันข้นึ มาใหม่
แลว้ น�ำไปใหค้ นท้งั สอง
ครั้นกาลต่อมา การอาวาหมงคลเป็นการส�ำเร็จเรียบร้อย โดยคนท้ังสองไม่ได้มีความ
ประสงค์ สักแต่วา่ อยรู่ ว่ มกันเทา่ น้นั ไมไ่ ดถ้ กู ต้องกันเลย แมจ้ ะขึ้นสเู่ ตียงนอนกไ็ มไ่ ด้ขนึ้ ทางเดียวกนั
ปิปผลิมาณพข้ึนข้างขวา นางภัททกาปิลานีข้ึนข้างซ้าย เม่ือเวลานอนก็ต้ังพวงดอกไม้สองพวงไว้
กลางที่นอน เพราะกลัวร่างกายจะถูกต้องกัน ถึงกลางวันก็ไม่ได้มีการหัวเราะยิ้มหัวต่อกันเลย
57
เพราะฉะน้นั จึงไม่มบี ตุ รหรือธดิ าดว้ ยกัน สกลุ ของสามีภรรยาคูน่ ีม้ ัง่ มีมาก มกี ารงานเป็นบอ่ เกดิ แหง่
ทรัพยม์ าก มีคนงานและพาหนะสำ� หรบั ใชง้ านกม็ าก
คร้นั ต่อมาบิดามารดาเสียชีวิต ปปิ ผลมิ าณพไดค้ รองสมบัติ ดแู ลการงานสืบทอดจากบิดา
มารดา สามแี ละภรรยาตา่ งก็มคี วามเห็นรว่ มกันว่า “ผู้อยู่ครองเรอื นตอ้ งคอยนง่ั รับบาป เพราะ
การงานที่ผู้อนื่ ทำ� ไมด่ ”ี จึงมีใจเบอ่ื หนา่ ย พร้อมใจกนั จะออกบวช ไดแ้ สวงหาผ้ากาสายะถือเพศเปน็
บรรพชติ ออกบวชมงุ่ หมายเปน็ พระอรหันตใ์ นโลก สะพายบาตรลงจากปราสาทหลกี หนไี ป ปปิ ผลิ
เดินหน้า นางภทั ทกาปิลานีเดินหลงั พอถงึ ทางแยกแหง่ หน่งึ จึงแยกจากกนั ปปิ ผลเิ ดนิ ไปทางขวา
ส่วนนางภัททกาปิลานีเดินไปทางซ้าย จนบรรลุถึงส�ำนักของนางภิกษุณี ภายหลังได้บวชเป็น
นางภกิ ษณุ แี ละไดบ้ รรลพุ ระอรหตั ตผล สว่ นปปิ ผลเิ ดนิ ทางไปพบสมเดจ็ พระบรมศาสดา ซง่ึ ประทบั
อยู่ทใ่ี ตร้ ่มไทร ซึ่งเรยี กว่า พหุปุตตนิโครธ ในระหว่างกรุงราชคฤหแ์ ละเมอื งนาลนั ทาต่อกัน มคี วาม
เลือ่ มใสเปลง่ วาจาประกาศวา่ พระศาสดาเปน็ ครขู องตน ตนเป็นสาวกของพระศาสดา
พระศาสดาทรงอนญุ าตใหเ้ ป็นภกิ ษุในพระธรรมวนิ ัยน้ดี ว้ ยการประทานโอวาท ๓ ขอ้ วา่
๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุท่ีเป็น
ผู้เฒ่าและปานกลางอย่างดที ่สี ดุ
๒. เราจักฟงั ธรรมซ่ึงประกอบดว้ ยกศุ ล เราจักตง้ั ใจฟงั ธรรมนั้นแลว้ พจิ ารณาเน้ือความ
๓. เราจกั ไม่ละสตทิ เี่ ป็นไปในกาย คือพจิ ารณาเอาร่างกายเปน็ อารมณ์
คร้ันประทานโอวาทแกพ่ ระมหากัสสปะอยา่ งนี้แล้วเสดจ็ หลีกหนีไป ทา่ นพระกสั สปะได้ฟงั
พุทธโอวาทแล้ว กเ็ ร่ิมบ�ำเพญ็ เพยี ร ในวันที่ ๘ นบั จากวนั ทอ่ี ุปสมบทมากไ็ ดส้ �ำเรจ็ พระอรหตั ตผล
ตามปรกติท่านพระมหากสั สปะนัน้ ถอื ธดุ งค์ ๓ ขอ้ คือ ถอื ทรงผา้ บังสกุ ลุ จีวรเป็นวตั ร ถือเท่ยี ว
บิณฑบาตเป็นวัตร และถืออยู่ปา่ เป็นวตั ร ดว้ ยเหตนุ น้ั พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องว่า “เปน็ ผเู้ ลิศ
กว่าภิกษุทัง้ หลาย ผู้ทรงธุดงค์” อานสิ งส์แหง่ การถือธุดงค์ของท่านมปี รากฏดังนี้ คอื สมัยหนึ่ง
พระบรมศาสดาเสด็จประทบั อยู่ ณ พระเวฬวุ นั ทรงรบั สงั่ ใหท้ ่านเลิกการธุดงค์ ท่านไมย่ อมเลิก
แล้วแสดงคุณแหง่ การถอื ธุดงค์ ๒ ประการ คอื ๑. เปน็ การอย่เู ป็นสุขในบดั น้ี ๒. เพื่ออนุเคราะห์
ประชุมชนในภายหลงั จกั ไดถ้ ือเป็นทฏิ ฐานุคติ คือ ปฏิบตั ติ าม พระบรมศาสดากป็ ระทานสาธุการ
ว่า “ดีล่ะ ดลี ่ะ เธอปฏบิ ตั ิเพ่ือประโยชนส์ ขุ แกช่ นสว่ นมาก เธอจงทรงผ้าบงั สกุ ุลจีวร เธอจงเที่ยว
บณิ ฑบาต เธอจงอยใู่ นปา่ เถดิ ” ทรงสรรเสรญิ วา่ เป็นผู้มักน้อยสันโดษ
ท่านพระมหากัสสปะ เป็นพระสาวกส�ำคัญเมื่อพระบรมศาสดาทรงปรินิพพานแล้ว คือ
ในเวลานั้นท่านเป็นพระสังฆเถระ พอถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วได้ ๗ วัน ท่านประชุมสงฆ์
58
เล่าถึงการท่ีภิกษุช่ือว่า สุภัททะ ผู้บวชเมื่อแก่กล่าวค�ำจาบจ้วงต่อพระธรรมวินัย ในคราวเม่ือ
เดินทางจากปาวานคร ปรึกษาหารือในทางที่จะท�ำสังคายนา รวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้เป็น
แบบฉบับ พระสงฆ์กย็ ินยอมเห็นพรอ้ มด้วย ท่านจึงเลอื กภิกษุผู้ทำ� สงั คายนาได้ ๕๐๐ องค์
การท�ำสังคายนาในคร้ังน้ัน ท�ำท่ีถ�้ำสัตตบรรณคูหา แห่งเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์
พระมหากสั สปะ เป็นประธาน ไดพ้ ระอบุ าลี และ พระอานนท์ เปน็ กำ� ลงั สำ� คญั ในการวสิ ชั นา
พระวนิ ยั พระธรรม (พระสตู รและพระอภิธรรม) ตามลำ� ดบั ได้พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นศาสนปู ถัมภก
ทำ� อยู่ ๘ เดือนจงึ ส�ำเร็จ เรยี กว่า ปฐมสงั คายนา เมอื่ ทา่ นทำ� สังคายนาเสรจ็ เรยี บร้อยแลว้ ได้อยู่ที่
พระเวฬวุ นาราม ในกรงุ ราชคฤห์ ไม่ประมาท ปฏบิ ัตธิ รรมเปน็ นิตย์ ดำ� รงชนมายุสงั ขารประมาณได้
๑๒๐ ปี ทา่ นกป็ รนิ ิพพาน ณ ระหว่างกลาง กุกกฏุ สัมปาตบรรพตท้ัง ๓ ลูก ในกรงุ ราชคฤห์
59
ภาค ๕ ออกบวชเป็นพระธุดงคกรรมฐาน
ท่านเป็นสกุลแห่งพระธุดงคกรรมฐาน
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลวงป่พู รหม จิรปุญฺโ ท่านออกบวชเป็นพระธดุ งคกรรมฐานสาย
ทา่ นพระอาจารย์มน่ั ภูริทตโฺ ต เพือ่ เสาะแสวงหาความสขุ ทีแ่ ทจ้ รงิ คือ เพื่อพระนิพพานบรมสุข
ตามทีท่ า่ นพระอาจารยส์ ารณ์ สจุ ติ โฺ ต ครูบาอาจารย์กรรมฐานองคแ์ รกของทา่ นได้เมตตาแนะน�ำ
หลวงปพู่ รหมทา่ นไดเ้ ปน็ พระธดุ งคกรรมฐานหรือพระป่าสมดงั ใจมุง่ หมายตง้ั แต่บัดน้ัน
การที่หลวงปู่พรหม ท่านออกบวชเป็นพระป่าน้ันย่อมเป็นผลดีย่ิงต่อท่าน เพราะชีวิต
พระป่าแม้จะต้องประสบกับความทุกข์ยากล�ำบากอย่างแสนสาหัสนานัปการ แต่ก็เป็นสถานะที่
สะดวกคลอ่ งตวั ต่อการออกเทย่ี วธดุ งค์บำ� เพญ็ เพียรตามปา่ ตามเขาเพ่อื ฝึกจติ ทรมานใจ ซ่งึ การออก
เที่ยวธุดงคกรรมฐานนั้นถือเป็นอริยปฏิบัติอันงดงามสูงสุด และถือเป็นเกียรติประวัติของพระป่า
ทัง้ หลาย ทสี่ �ำคญั ถือเป็นการตามรอยครูบาอาจารย์และตามรอยองค์พระบรมศาสดา ท้งั เป็นไปเพ่ือ
เป้าหมายอันสงู สดุ ของพระพทุ ธศาสนา คือ การถึงซึ่งวิมุตติพระนพิ พาน
หลวงปู่พรหม จิรปุญโฺ ท่านเปน็ ผสู้ รา้ งบุญวาสนาบารมีมาดว้ ยดแี ตอ่ ดตี ชาติ ทา่ นถึงได้
บวชเปน็ พระธุดงคกรรมฐาน หรอื พระปา่ ฝา่ ยอรญั วาสี เพราะการเปน็ พระธุดงคกรรมฐานน้ไี ม่ใช่
ว่าจะเป็นกันง่ายๆ เหมือนพระบ้านฝ่ายคามวาสีทั่วๆ ไป เนื่องจากต้องมีบุญวาสนาบารมี ดังเช่น
เรื่องของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ขณะเป็นพระหนุ่มออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานแถบพระบาทบัวบก
จงั หวดั อดุ รธานี แล้วถูกก�ำนันวสาตามดา่ จนพระเถระผใู้ หญซ่ ่ึงชืน่ ชมและเคารพนับถือหลวงปตู่ อื้
เม่ือท่านได้ยินข่าวจึงสั่งให้ก�ำนันวสาไปขอขมาหลวงปู่ต้ือ โดยท่านพระอาจารย์ไท านุตฺตโม
หลานของหลวงปตู่ อ้ื ไดเ้ มตตาเลา่ ไว้ดังนี้
“รขู้ า่ วไปถงึ ครบู าเฒา่ องคห์ นง่ึ ครบู าเฒา่ องคน์ นั้ เปน็ คนเคารพนบั ถอื มาก อตี าวสาบวชเปน็
เณรกบ็ วชกบั ทา่ นอาจารย์องคน์ นั้ บวชเป็นพระ ผเู้ ฒ่ากเ็ ปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ให้ กเ็ ลยเรียกมา
“ตาวสา กูไดย้ ินข่าวว่า มงึ ดา่ พระธดุ งคกรรมฐาน พระธุดงคกรรมฐานนั้นเปน็ เชอ้ื ของ
ตระกูลโคตมพทุ ธจรงิ ๆ ผู้ใดไมม่ บี ุญวาสนาบารมี จะออกธุดงคกรรมฐานไมไ่ ด้ กูบวชเขา้ มานี่
กกู พ็ ยายามอยากไปธดุ งคกรรมฐาน กูไปไมไ่ ด้ ตดิ นั้นติดนี้ โดยเฉพาะย่งิ อปุ ัชฌาย์ กูเป็นมา กูน่ี
บวชพระมาเป็นรอ้ ยๆ เลย ทงั้ เณร ลกู ศษิ ย์กูยงั ไมเ่ คยเปน็ ธุดงคกรรมฐานเลย คุณหลาน (หลวงปู่
ตื้อ) มาอยูใ่ นยา่ นนกี้ เ็ คยไปมาหาสู่ กูเหน็ ทา่ นตงั้ แตเ่ ปน็ ผ้นู อ้ ย กยู ังเคารพนบั ถอื มึงต้องไปสมมา
(ขอขมา) คารวะ ไม่ไปแล้วมึงอย่ามาหากู หมอนี่มันเกินไป มันไปหาดูถูกพระเจ้าพระสงฆ์น่ี”
ผู้เฒา่ วา่ ”
60
นอกจากจะมีบุญวาสนาบารมดี งั กลา่ วแล้ว การเป็นพระธุดงคกรรมฐานหรอื พระป่า จะต้อง
รักษาพระธรรมวินยั และถอื ธดุ งควตั รอย่างเขม้ งวดเครง่ ครดั และจะตอ้ งปฏบิ ตั ิบ�ำเพญ็ ภาวนาอยา่ ง
ยอมสละเปน็ ยอมสละตาย เอาจรงิ เอาจัง จึงถือเป็นพระสงฆส์ าวกตามแบบฉบบั ของพระพทุ ธเจา้
อย่างแทจ้ รงิ ถอื เปน็ ศากยบุตรพทุ ธชิโนรสอยา่ งสมเกียรตสิ มศักดิศ์ รี และถือเป็นสกุลแห่งพระปา่
ท่ีสุดแสนน่าจะภาคภูมิใจอย่างย่ิง ซึ่งหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านนับเป็นพระศิษย์อาวุโสสาย
ทา่ นพระอาจารย์ม่ันอกี องค์หนึ่งท่จี ัดเข้าอย่ใู นขา่ ยนี้
สกุลแห่งพระธุดงคกรรมฐาน หรือ สกุลแห่งพระป่า ถือเป็นสกุลส�ำคัญท่ีสุดของบรรดา
พระสงฆ์สาวกทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงเป็นต้นสกุลแห่งพระป่า โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว
าณสมปฺ นโฺ น ได้เมตตาเทศน์ไว้ดงั น้ี
“พระพุทธเจ้าเป็นสกุลแห่งพระป่าท้ังมวล สาวกท้ังหลายเป็นสกุลแห่งพระป่าท้ังมวล
ตลอดพระป่าทุกวันน้ีสืบมาเน่ืองมาจากพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกที่ท่านพาอยู่ในป่าตลอดมา
จนกระทง่ั ทุกวนั น้ี ถ้าจะพดู ให้ทนั สมยั อยา่ งทุกวนั นี้ เขาเรียกวา่ มหาวิทยาลยั ป่า มหาวิทยาลัยบา้ น
อยา่ งมหาวทิ ยาลยั ทเ่ี ขาตั้งข้นึ ทุกวันน้ี คือ มหาวิทยาลยั กิเลส มตี ั้งแต่วชิ าความรู้ของโลกของสงสาร
ของกิเลสตณั หาทัง้ นั้นเขา้ ไปเต็มอยใู่ นมหาวทิ ยาลยั สงฆ์ๆ เอาชอื่ ของสงฆ์ไปเป็นนามเฉยๆ แต่แลว้
เอาคำ� วา่ “สงฆ”์ นนั้ แหละเปน็ พ้ืนฐานเหยยี บขนึ้ ของกิเลสทั้งหลาย และต้งั มหาวทิ ยาลยั สงฆ์นั้น
มหาวิทยาลัยสงฆน์ ี้ เพอื่ ใหไ้ พเราะเพราะพรงิ้ หยดยอ้ ย ให้กเิ ลสพวกเดยี วกนั มนั ตื่นเตน้ เปน็ บา้ ไป
ด้วยกัน นเ่ี รยี กวา่ มหาวิทยาลัยบ้าน
ทีน้ีมหาวิทยาลัยป่า คือ พระพุทธเจ้าทรงบ�ำเพ็ญอยู่ในป่า ต้ังแต่วันเสด็จออกทรงผนวช
บ�ำเพ็ญมาตลอด ๖ ปีได้ตรัสรู้ธรรมในปา่ แลว้ บรรดาพระสงฆ์สาวกท้งั หลายเข้าไปสดบั ธรรมจาก
พระพุทธเจ้าอยู่ในมหาวิทยาลยั ปา่ นั้น ไดส้ ำ� เรจ็ มรรค ผล นิพพาน ข้นึ มาเร่ือยๆ นับตง้ั แตป่ ฐมสาวก
คอื พระอญั ญาโกณฑญั ญะ พระวัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เหลา่ นี้ ๕ องค์ น่ีสำ� เร็จมาจาก
มหาวทิ ยาลัยปา่ ของพระพุทธเจา้ ซง่ึ เปน็ มหาวิทยาลยั ธรรมชาติแท้ ช�ำระกเิ ลส สะสางกิเลส
จากนั้นเวลาประทานพระโอวาทอุปสมบทพระ ในเบื้องต้นข้ึนต้นว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
ทา่ นจงเป็นภิกษมุ าเถดิ ธรรมเรากลา่ วดีแล้ว แล้วกเ็ ป็นภกิ ษุขึ้นทนั ที ตอ่ จากนนั้ กค็ อ่ ยเปลี่ยนมา
พระองค์เป็นผู้เปล่ียนเองจึงไม่ผิดพลาดท่ีตรงไหน มาขึ้นถึงเป็นสรณะแล้วก็เป็นพระโดยสมบูรณ์
จากน้ันก็ให้เป็นญัตติจตุตถกรรม อย่างทุกวันนี้ สวดญัตติจตุตถกรรม เป็นพระสงฆ์มาจาก
พระโอวาทของพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน ทีนี้เวลาบวชแล้ว นี่ล่ะพระโอวาทท่ีส�ำคัญของพระอยู่ใน
ป่าก็ตาม ในบา้ นกต็ าม ทจ่ี ะผ่านโอวาทอนั นไ้ี ปไม่ได้เลยแม้องค์เดียว
61
พออุปสมบทเสร็จแลว้ พระองคท์ รงประทานโอวาท เรียกวา่ นิสสยั ๔ เครือ่ งอยูอ่ าศัยของ
พระทถี่ กู ตอ้ งชอบธรรม ๔ ประการ แตน่ ีจ้ ะยกมาเพยี งอนั เดยี วท่อี ยู่ในจ�ำนวนนิสสัย ๔ นะ พอบวช
เสร็จแลว้ รุกฺขมลู เสนาสนํ นสิ สฺ าย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชวี ํ อสุ สฺ าโห กรณีโย บรรพชาอปุ สมบท
แลว้ ให้ทา่ นทง้ั หลายไปเท่ยี วอย่ตู ามรุกขมลู รม่ ไม้ ในป่าในเขา ตามถ�้ำเงื้อมผา ปา่ ชา้ ปา่ รกชัฏ ทีแ่ จง้
ลอมฟาง อนั เป็นความสะดวกแกก่ ารบ�ำเพ็ญสมณธรรม เพือ่ ความเจรญิ รุง่ เรืองแห่งธรรมภายในใจ
ของเรา เพราะเปน็ สถานท่ไี มย่ ุ่งเหยิงวนุ่ วายกับโลกามิสท้ังหลาย หรอื เรอื่ งยุ่งเหยิงวุ่นวายของโลก
และให้พวกเธอทั้งหลายจงท�ำความอุตส่าห์พยายามอยู่อย่างน้ีตลอดชีวิตเถิด คือไม่เว้นเลยตลอด
ชีวิตของพระแต่ละองค์ๆ ให้ท�ำความอุตส่าห์พยายามอยู่ในป่าในเขาน้ีตลอดชีวิตเถิด เข้าใจแล้ว
เหรอ
นี่ละ่ ขอ้ สำ� คัญท่เี ป็นตน้ รากของสกลุ ปา่ พระปา่ ของพระพทุ ธเจ้ามา ทนี เี้ วลาพระองคใ์ ดบวช
ก็ตาม เป็นอุปัชฌาย์ต้องให้โอวาทข้อน้ี ไม่ให้ไม่ได้ ผิด ปลดอุปัชฌาย์ทันที พระโอวาทข้อน้ีเป็น
โอวาททส่ี �ำคญั มาก ประทานให้แก่สัทธิงวิหาริกผบู้ วช แล้วใหไ้ ปอยู่ในปา่ ในเขาอยา่ งน้ี เป็นแต่เพียง
ว่าไม่บังคับ ให้เธอทั้งหลายไปอยู่ในป่าในเขาแล้ว ก็ให้ท�ำความอุตส่าห์พยายามอยู่ในสถานที่นั้น
ตลอดชีวติ เถิด”
ท่านด�ำเนินตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา
การออกเดนิ ธุดงค์ตามป่าตามเขาของพระธดุ งคกรรมฐาน นบั แต่สมยั คร้ังพทุ ธกาลจวบจน
สมยั ปจั จบุ นั พระสงฆส์ าวกทุกๆ องคจ์ �ำเปน็ อย่างยิง่ ทจ่ี ะต้องด�ำเนนิ ตามหลกั ของศลี สมาธิ ปัญญา
หรืออริยมรรคท้งั ๘ ประการอย่างเครง่ ครัด เพราะเมอื่ ธดุ งคเ์ ข้าไปอย่ใู นปา่ ในเขาอันเป็นสถานที่
สงบสงัดและเต็มไปด้วยภยันตรายต่างๆ แม้มีศีลคุ้มครอง ท�ำให้เกิดความอบอุ่นใจแล้วก็ตาม แต่
จิตใจก็ไม่อาจจะสงบสงัดเองได้ หากมิได้ตั้งใจบ�ำเพ็ญภาวนาอย่างเอาจริงเอาจัง จิตใจก็ย่อมไม่
สงบสงัด และสมาธธิ รรม ปัญญาธรรม ตลอดจนวิมุตตธิ รรมกย็ อ่ มไมบ่ งั เกดิ ขึ้น ฉะน้ัน การดำ� เนิน
ตามหลกั ของศลี สมาธิ ปัญญา ทีอ่ งค์สมเดจ็ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเมตตาประทานไว้ จึงเปน็
เรือ่ งส�ำคัญและจ�ำเป็นมาก ซงึ่ บรรดาพระอริยเจา้ ทกุ ๆ องคใ์ นคร้งั พุทธกาลล้วนจะต้องด�ำเนินตาม
หลักธรรมทัง้ ๓ ประเภทนี้
ในสมัยกึง่ พทุ ธกาล ท่านพระอาจารยเ์ สาร์ และ ทา่ นพระอาจารย์มน่ั ท่านท้งั สองดำ� เนิน
ตามหลกั พระธรรมวนิ ัย และเปน็ ผบู้ ุกเบิกฟนื้ ฟูธุดงควัตร ออกเท่ยี วธุดงคกรรมฐานก็ถือปฏบิ ัตติ าม
หลักของศลี สมาธิ ปญั ญาอยา่ งเคร่งครัด จนประสบผลสำ� เรจ็ บรรลุธรรมข้ันสูงสดุ เปน็ พระอรหันต์
ท่านท้ังสองจงึ ให้ความสำ� คัญหลักของศลี สมาธิ ปญั ญา และเนน้ สอนพระศษิ ยใ์ ห้ด�ำเนนิ ตาม ทั้งน้ี
เพอ่ื ใหผ้ ลการปฏิบัติธรรมของพระศษิ ยจ์ ะไดม้ ีความกา้ วหน้าและได้บรรลธุ รรมอนั พ้นจากทุกข์ ซ่ึง
62
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านก็ได้รับการอบรมมาและได้ด�ำเนินตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญา
ตั้งแตเ่ รมิ่ บวชพรรษาแรกๆ เช่นเดียวกับบรรดาพ่อแม่ครอู าจารยท์ ้งั หลาย เพราะศลี สมาธิ ปญั ญา
เป็นธรรมจ�ำเป็นท่ีจะแยกออกจากกันไม่ได้ และเป็นธรรมเคร่ืองหนุนกันไปตามล�ำดับ โดย
องค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนฺโน ได้เมตตาเทศนเ์ รอ่ื งน้ีไว้ดังนี้
“พระพุทธเจา้ ทา่ นทรงแสดงไวใ้ นตำ� รับตำ� รา พระน้ไี ดฟ้ ังทุกองคใ์ นอนศุ าสน์ ๘ นิสสัย ๔
อกรณยี กิจ ๔ จะยกมาแสดงเพียงนสิ สยั ๔ ท่ีพระองค์ทรงส่งั สอน แลว้ ก็มาสรุปเอาตอนนีเ้ ลยวา่
ท่านสอนพระในผลแห่งการไปอยูต่ ามปา่ ตามเขา รุกขมลู รม่ ไมบ้ �ำเพญ็ เพยี รในป่าในเขา ด้วยธรรม
๓ ประเภท คอื บำ� เพ็ญศลี สมาธิ ปญั ญา ให้เกิดใหม้ ใี นใจของตนจากสถานทีเ่ หมาะสมเช่นนัน้
เชน่ รุกฺขมูลเสนาสนํ ใหไ้ ปอยใู่ นป่าในเขาซงึ่ เป็นที่สงบงบเงียบ สะดวกแก่การบำ� เพญ็ สมณธรรม
ได้เปน็ อยา่ งดี
และผลของการไปบ�ำเพญ็ ในที่เชน่ นน้ั ทา่ นกย็ กศีล สมาธิ ปญั ญาขนึ้ ไปอยใู่ นท่เี ชน่ น้นั กค็ ือ
ไปรักษาศลี ให้สมบูรณ์บริบรู ณ์ ไปบ�ำเพญ็ สมาธิ คอื ความสงบเย็นใจ ความแนน่ หนาม่ันคงทั้งหลาย
ภายในใจ ปัญญาความรแู้ จ้งแทงทะลุ บกุ เบิกกิเลสตณั หาตวั มดื ตัวบอด ปดิ ตันทางเดินของเราออก
ใหม้ องเห็นบญุ เห็นบาป เหน็ ดี เหน็ ช่วั ใหเ้ หน็ ทั้งความฟุง้ ซ่านท่ีกเิ ลสสร้างข้ึนมา และความสงบ
ซึง่ ธรรมสรา้ งขึน้ มาในตวั ของเราแตล่ ะรายๆ ท่านแสดงไวเ้ ปน็ อานสิ งส์ คอื ผลประโยชน์อันดงี าม
ตลอดถงึ ผลประโยชนอ์ ันสุดยอดไว้ว่า
สลี ปริภาวโิ ต สมาธิ มหปผฺ โล โหติ มหานสิ ํโส พระบวชแลว้ ท่านทรงสอนไว้แลว้ นะ สมาธิ
เมื่อศีลอบรมแล้วย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก แปลตามภาษาปริยัตินะ ถ้าแปลตามภาคปฏิบัติ
มันแปลได้สองนัย แปลดว้ ยพยัญชนะก็ได้ แปลโดยอรรถก็ได้ แปลโดยอรรถเอาแตเ่ น้ือความป๋ึงเลย
สมาธิเมอ่ื มีศีลอบรมแลว้ ย่อมมผี ลมาก คือ ศีลเป็นทอี่ บอนุ่ ให้จิตใจไมว่ อกแวกคลอนแคลน
โดยส�ำคัญว่าศีลของตนด่างพร้อยหรือขาดทะลุอะไร แล้วเกิดความระแวงแคลงใจเป็นนิวรณ์ ทีน้ี
ศีลรักษาดเี รยี บรอ้ ยแลว้ มันกอ็ บอุ่น แล้วบ�ำเพ็ญสมาธิ จิตกไ็ ม่วอกแวกคลอนแคลนไปตามอารมณ์ที่
เคลอื บแคลงสงสยั ในศีลของตน แล้วสมาธกิ ส็ งบไดง้ ่าย
ทนี สี้ มาธิปริภาวติ า ปญฺ า มหปผฺ ลา โหติ มหานสิ สํ า ปัญญาเมือ่ มสี มาธเิ ป็นเครือ่ งหนุน
แล้วย่อมมีความแกล้วกล้าสามารถ หรือเดินได้คล่องตัว แต่ท่านแปลตามปริยัติว่า ย่อมมีผลมาก
มอี านิสงสม์ าก สมาธิอบรม สมาธิ ได้แก่ จติ ใจท่ีมันอิม่ อารมณ์ อิ่มทางรปู ทางเสียง ทางกลน่ิ
ทางรส เคร่ืองสัมผัสตา่ งๆ อยากคดิ อยากปรุงอยา่ งน้นั อย่างนมี้ นั หวิ มันโหย พอจติ มสี มาธิแล้วระงับ
ดับอารมณ์เหลา่ นั้นมา เรยี กว่า จิตอม่ิ อารมณ์
63
เม่ือจติ อ่มิ อารมณแ์ ลว้ ทนี ้ใี หด้ �ำเนนิ ทางด้านปญั ญา พจิ ารณาคลีค่ ลาย เกสา โลมา นขา
ทนั ตา ตโจ เขา้ ไปภายในภายนอกให้มันแหลกแตกกระจายไปหมด น้ีเรียกว่าปัญญา เวลาสมาธิ
หนุนปัญญา ปญั ญายอ่ มเดินได้คล่องตัว ทา่ นชีอ้ กี ว่า ปญฺ าปริภาวติ ํ จติ ตฺ ํ สมฺมเทว อาสเวหิ
วิมจุ ฺจติ จิตเมอื่ ปัญญาอบรมหรือซักฟอกแล้วย่อมหลดุ พน้ จากกเิ ลสทั้งปวงโดยชอบ
นลี่ ่ะอนุศาสน์ที่ทา่ นสอนพระบวชมาทุกองค์ ทา่ นสรปุ ในธรรมเหลา่ น้ี พวกศีล สมาธิ ปัญญา
บวชแล้วใหเ้ สาะแสวงหาอยา่ งน้ี พากันเข้าอกเขา้ ใจ
หลักพระวินัยต้องยดึ ใหค้ งเสน้ คงวาเสมอ ทีนก้ี ็ปฏิบตั ิตามหลักธรรม เมอ่ื ศลี บริสุทธ์อิ ยแู่ ลว้
ส�ำหรับผบู้ วชมาเพื่อรกั ษาศีล รกั ษาธรรม บำ� รุงธรรม ต้องให้ศลี หมดจดอยเู่ สมอ เป็นท่อี บอุ่นใจ
แล้วกด็ �ำเนนิ ทางด้านจติ ตภาวนา เมอื่ ด�ำเนนิ ทางดา้ นจติ ตภาวนา จติ ก็ไมส่ า่ ยแส่วุน่ วายไปเพราะ
ความผิดในแง่พระวนิ ยั ไมม่ คี วามกังวล ตดั นวิ รณเ์ หลา่ นเี้ สยี ได้ ใจก็เข้าสจู่ ดุ แหง่ ธรรมด้วยความ
สะดวก แล้วปรากฏเป็นความสงบรม่ เย็นขน้ึ มา
ท่านจึงเรียกว่า สีลปรภิ าวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสโํ ส สมาธิอนั ศลี อบรมแล้ว
ยอ่ มมีผลมากมีอานิสงสม์ าก ส�ำหรับนกั บวชผู้รักษาพระวนิ ยั กใ็ หเ้ ปน็ ผรู้ กั ษาจรงิ ๆ ใหด้ ำ� เนินตามนี้
สมาธิปริภาวิตา ปญฺา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลมาก
มีอานสิ งส์มาก นนั่ ปญฺา ปรภิ าวติ ํ จติ ตฺ ํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมจุ ฺจติ จิตอันปญั ญาอบรมแล้วย่อม
หลดุ พน้ จากกเิ ลสทัง้ ปวงโดยชอบ นี่เป็นหลกั ธรรมอันส�ำคัญ มคี วามเก่ยี วโยงกนั อยเู่ ชน่ นี้
ฉะน้ัน นักบวชเราจึงควรสนใจอย่างย่ิงในหลักธรรมหลักวินัย คร้ังพุทธกาลท่านปฏิบัติ
ดำ� เนนิ อยา่ งไร จงึ ปรากฏว่า ท่านองคน์ น้ั ส�ำเร็จอยู่ในเขาลกู นัน้ อยใู่ นป่านัน้ อยูใ่ นถำ�้ น้นั ด้วย
อิรยิ าบถนั้นๆ ทา่ นองคน์ ้นั สำ� เรจ็ อยใู่ นทีน่ ่นั ๆ ในป่าในเขาลำ� เนาไพร”
ท่านถือหลักปฏิปทาข้อวัตรปฏิบัติอย่างเข้มงวดเคร่งครัด
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ส�ำคัญอีกองค์หนึ่งท่ีถือหลักปฏิปทา
ข้อวัตรปฏิบัติของพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถร อย่างเข้มงวด
เคร่งครดั เชน่ เดียวกบั บรรดาพ่อแมค่ รูอาจารยป์ ระเภท “เพชรนำ้� หนึ่ง” ทงั้ หลาย โดยทา่ นถอื
นับแต่วันออกบวชเป็นพระธุดงคกรรมฐานต้ังแต่พรรษาแรกตราบจนวันถึงแก่กาลมรณภาพ โดย
องค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนฺโน ได้เมตตาเรียบเรียงหลักปฏิปทาข้อวัตรปฏิบัติไว้ใน
หนังสือปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ส�ำหรับความหมายของหลักปฏิปทา
ทา่ นไดก้ ลา่ วไว้ดงั น้ี
64
“เร่ืองปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติท่ีท่านพระอาจารย์มั่นพาคณะลูกศิษย์ด�ำเนินมาเป็นล�ำดับ
จนถึงปัจจุบัน การปฏิบัติตามปฏิปทาน้ีรู้สึกล�ำบาก เพราะเป็นการทวนกระแสโลกทั้งทางกาย
ทางวาจา และทางใจ หลกั ปฏปิ ทาก็มธี ดุ งค์ ๑๓ ขันธวตั ร ๑๔ มีอาคนั ตุกวตั ร เปน็ ต้น เป็นเคร่ือง
บ�ำเพ็ญทางกายโดยมาก และมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นเครือ่ งบำ� เพ็ญทางใจ สัมพันธเ์ กี่ยวเนอ่ื งกันไปตาม
อิริยาบถตา่ งๆ ของความเพยี ร”
ความสำ� คัญของธดุ งควัตร องค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นโฺ น ได้เมตตาแสดงไว้ดงั นี้
“พระอริยเจ้าทุกประเภทไปจากธุดงควัตรน้ีทั้งน้ัน เพราะธุดงค์เป็นธรรมเครื่องท�ำลาย
กเิ ลสได้ทกุ ประเภท ธุดงควัตรจงึ เป็นทางเดินเพ่ืออริยธรรม อริยบคุ คล...”
“พระพุทธเจา้ และสาวกทัง้ หลายบรรดาท่เี ลศิ แล้ว ลว้ นแต่ทา่ นรักษาธดุ งควัตรกันทัง้ น้ัน
ใครประมาทธดุ งคว์ า่ ไม่สำ� คญั ผนู้ ้ันคอื ผู้หมดสาระสำ� คญั ในตัวเอง...”
“ธุดงควัตรเป็นธรรมลึกลับ ยากที่จะมองเห็นความส�ำคัญ ทั้งที่ธุดงควัตรเป็นธรรม
ส�ำคัญในศาสนามาดั้งเดิม ธุดงควัตรเป็นหลักใหญ่แห่งพระศาสนา ผู้มีธุดงค์ประจ�ำตัว คือ
ผู้รู้ความส�ำคัญของตัวและรักษาถูกจุดแห่งความส�ำคัญได้ดี เป็นที่น่าชมเชยอย่างถึงใจ ผู้มี
ธุดงควตั รดเี ปน็ ผมู้ จี ิตใจเมตตาอ่อนโยนในสตั ว์ทง้ั หลาย
ถ้ายังมีผู้ปฏิบัติรักษาธุดงควัตรอยู่ตราบใด ศาสนาก็ยังทรงดอกทรงผลอยู่ตราบน้ัน
เพราะธดุ งค์เปน็ ทางทไ่ี หลมาแหง่ มรรคและผลทกุ ช้ัน ไมม่ สี ถานท่ี กาลเวลา หรอื ส่งิ ใดๆ มาเป็น
อปุ สรรคกดี ขวางทางเดนิ เพอื่ มรรคผลนพิ พานได.้ ..”
หลวงปู่พรหม จริ ปุญโฺ ท่านเปน็ พระผปู้ ฏบิ ัติดี ปฏบิ ัตชิ อบ และเป็นพระท่มี นี ิสยั แก่กล้า
พยายามฟันฝ่ากับอุปสรรคท้ังปวงเพ่ือจะขอเอาดวงจิตอันเป็นสมบัติดวงเดียวของท่านพ้นจากทุกข์
ให้ได้ กอ่ นท่ีทา่ นจะออกบวช ท่านมีความตงั้ ใจจะแสวงหาความสขุ ท่ีแท้จริง ความต้งั ใจของท่าน
นีเ้ อง จึงเปน็ หลักประกันปฏิปทาขอ้ วตั รอนั บรสิ ทุ ธ์ใิ นเพศพรหมจรรย์ของท่าน
ท่านถือหลักสัลเลขธรรม
การสนทนาธรรมของพระสงฆ์ ในสมยั ครั้งพุทธกาล องค์สมเด็จพระสมั มาสมั พุทธเจา้ และ
พระสงฆส์ าวก ทา่ นสนทนากนั แต่สัลเลขธรรม อนั เป็นเรอ่ื งของธรรมลว้ นๆ โดยไมม่ เี ร่อื งของโลกมา
เคลอื บแฝงเจอื ปน ในกาลต่อมาการปฏบิ ตั ิตามหลักสลั เลขธรรมของพระสงฆก์ ย็ อ่ หยอ่ นลง จวบจน
สมัยกง่ึ พทุ ธกาล ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ทา่ นพระอาจารย์มน่ั ภรู ิทตฺโต ท่านกถ็ อื ปฏบิ ตั ิ
ปฏิปทาข้อนี้อย่างเคร่งครัด และได้พาพระศิษย์ด�ำเนินตาม ซ่ึงครูบาอาจารย์พระศิษย์รุ่นแรกๆ
65
เช่น หลวงป่ชู อบ านสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงป่แู หวน สุจณิ โฺ ณ หลวงปตู่ อ้ื อจลธมฺโม
หลวงปู่พรหม จริ ปญุ โฺ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ฯลฯ จนถึงพระศิษยย์ ุคหนองผือนาใน เช่น องค์
หลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นโฺ น ทา่ นพระอาจารย์จวน กลุ เชฏฺโ ทา่ นพระอาจารย์สิงห์ทอง
ธมฺมวโร ฯลฯ ท่านได้ถือปฏิบัติตามได้อย่างเด่นชัด โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนฺโน
ไดเ้ มตตาเทศนเ์ รือ่ งนีไ้ ว้ดงั นี้
“พูดถึงการปฏิบัติปฏิปทาการด�ำเนิน เท่าท่ีเราได้เที่ยวเสาะแสวงหาครูหาอาจารย์มามาก
ต่อมาก ท่มี าถึงใจเสียทกุ สิ่งทกุ อย่าง ก็คอื พอ่ แม่ครูอาจารย์มัน่ ของเรา น่ีเปน็ เคร่อื งยนื ยันไดเ้ ลยวา่
ผู้ทรงมรรคทรงผลท่านด�ำเนินอย่างน้ัน อย่างพ่อแม่ครูอาจารย์ม่ันของเรา ไม่ว่าการจะอยู่ ไปที่ไหน
บ�ำเพ็ญท่ีใด มีแต่ท่ีสงบสงัด มีแต่ท่ีบ�ำเพ็ญท่ีเหมาะสมกับการจะยังธรรมให้เกิดเพ่ือมรรคเพื่อผล
โดยถ่ายเดยี วเท่านัน้ ไม่มีส่งิ ใดมาเคลือบมาแฝงเลย
ตั้งแต่สมัยท่านยังหนุ่มอยู่ก็เป็นเช่นนั้นเร่ือยมา จนกระทั่งเฒ่าแก่แล้ว ก็ไม่เคยลดละ
ปฏิปทาที่ราบร่ืนดีงามเรื่อยมา จนกระทั่งวาระสุดท้ายของท่าน ท่านถือหลักสัลเลขธรรมเป็น
เครื่องด�ำเนิน เป็นเคร่ืองสนทนาพูดจาปราศรัยกับพระกับเณรไปเสียท้ังนั้น คือ ไม่ห่างจาก
สัลเลขธรรม ๑๐ ประการนเ้ี ลย เพราะฉะนั้น สลั เลขธรรม ๑๐ ประการนี้ จงึ เปน็ เคร่ืองดำ� เนนิ
เพือ่ มรรคเพอ่ื ผลโดยตรง ไมม่ ีค�ำว่าอ้อมคอ้ ม ดังพ่อแม่ครอู าจารย์ม่นั ของเรา พดู ขึน้ คำ� ใดมแี ต่
เรอื่ งธรรม ๑๐ ประเภทน้ที ัง้ นน้ั คือ สัลเลขธรรม เครื่องขดั เกลา เคร่อื งซกั ฟอกกเิ ลส”
ท่านพระอาจารย์ม่นั ท่านจะตง้ั ค�ำถามเกย่ี วกบั การภาวนา เชน่ “เป็นยงั ไง ไปพักทไี่ หนมา
ได้ก�ำลังทางจิตใจอย่างไร ?” “เป็นยังไงจิตใจ ภาวนาอะไร ?” “การภาวนาไปถึงไหนบ้าง ?”
เปน็ ต้น ทา่ นมกั จะถามพระศษิ ยท์ กุ องคท์ กุ ครง้ั ไปที่เพิ่งกลับจากการธดุ งค์เทย่ี ววเิ วกตามปา่ ตามเขา
อนั เป็นการแสดงออกถงึ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ทา่ นมงุ่ สนใจงานภายในเป็นสำ� คญั และการสนทนา
พูดคยุ กัน ท่านก็ยดึ ตามหลกั สลั เลขธรรม ๑๐ ประการท่ีพระพทุ ธเจา้ ทรงบัญญตั วิ างไว้ทุกประการ
โดยท่านมุ่งสนทนาแต่เร่ืองธรรมเป็นส�ำคัญ อีกทั้งท่านเองก็ไม่ชอบการก่อการสร้าง และท่านก็
ไม่ส่งเสรมิ การก่อการสร้าง อันถือเป็นงานภายนอกและถอื เป็นขา้ ศึกต่อการบำ� เพญ็ ภาวนา
ในวงพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่ัน เม่ือท่านอยู่ร่วมส�ำนักเดียวกัน หรือ
เมอ่ื มกี ารไปมาหาสู่กัน หรอื เม่อื มกี ารพบปะกัน ทา่ นมกั จะมีการตรวจสอบคณุ ธรรมซ่ึงกันและกนั
โดยการพดู คุยสนทนาธรรมกนั ตามหลักสัลเลขธรรม ซง่ึ มีด้วยกนั ๑๐ ประการ มอี ัปปิจฉตา ความ
มักนอ้ ย เปน็ เบอื้ งตน้ มวี มิ ตุ ตญิ าณทัสสนะ ความรเู้ หน็ อันแจง้ ชดั ในความหลุดพน้ เปน็ ที่สดุ และ
เป็นมงคลตามหลกั ธมมฺ สากจฺฉา เอตมมฺ งคฺ ลมตุ ฺตมํ การสนทนาธรรมตามกาลเป็นมงคลอันสงู สุด
อนั เปน็ มงคลข้อหนึ่งในมงคล ๓๘ ประการ
66
กรณีของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ตามปรกติแล้วท่านเป็นพระที่เคร่งขรึมพูดน้อย แลดู
นา่ เกรงขาม เมอื่ ท่านพดู คยุ สนทนา ท่านก็สนทนาตามหลกั สัลเลขธรรมทีท่ ่านยดึ ถอื ปฏิบตั ปิ ฏิปทานี้
ตลอดมานบั แต่วันออกบวช เวลาท่านสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ดว้ ยกนั เช่น ท่านสนทนากับ
หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงป่ชู อบ านสโม หรือ องค์หลวงตาพระมหาบวั าณสมปฺ นโฺ น ฯลฯ
ต่างท่านต่างองคจ์ งึ มีความรื่นเรงิ เพลดิ เพลนิ ในธรรมทส่ี นทนาซงึ่ กาลต่อมาองคห์ ลวงตาพระมหาบัว
าณสมฺปนฺโน ได้เรียบเรียงประวัติบางส่วนของท่านไว้ในหนังสือปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสาย
ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ และได้เทศนาถงึ ท่านดว้ ยความเคารพเทดิ ทนู ในหลายวาระ
อนงึ่ การสนทนาธรรมตามหลกั สลั เลขธรรมของครบู าอาจารยใ์ นวงกรรมฐานสายทา่ นพระ–
อาจารย์ม่ัน ภูรทิ ตฺโต มีประโยชนอ์ ยา่ งมากหลายประการ ดงั น้ี
๑. ท�ำให้เห็นความส�ำคัญของภาคปฏิบัติ เพราะธรรมแท้ตามหลักของพระพุทธศาสนา
ย่อมเกดิ จากภาคปฏบิ ตั เิ ปน็ สำ� คัญ มิใช่เกิดจากภาคปริยัติ คือ การเรยี นแล้วจดจ�ำมาสนทนาธรรม
กนั สมดงั พระพทุ ธโอวาททรงเนน้ ใหพ้ ทุ ธบรษิ ทั ๔ บชู าพระองคด์ ว้ ยการ ปฏิบัตบิ ชู าแทนอามสิ บชู า
๒. ท�ำให้เห็นถึงความเด็ดเดี่ยวองอาจกล้าหาญของบรรดาครูบาอาจารย์ท้ังหลาย ท่ีท่าน
ยอมเสียสละทุกส่ิงทุกอย่าง แม้กระท่ังยอมสละชีวิตเพ่ือเข้าแลกกับธรรม เพราะสถานท่ีท่าน
ไปประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วรอดตายออกมาน้ัน ล้วนเป็นป่าเขาแสนเปล่าเปล่ียวแสนกันดาร ทั้ง
เตม็ ไปดว้ ยภยนั ตรายและความทกุ ขย์ ากลำ� บากนานปั การ ธรรมสนทนาทที่ า่ นเลา่ สกู่ นั ฟงั ถงึ สถานท่ี
เช่นนัน้ ยอ่ มเปรียบเหมอื นสมรภมู ิ เม่อื ท่านผา่ นสมรภมู แิ ละรอดตายมา จึงสมควรทีจ่ ะยกยอ่ งทา่ น
เปน็ นกั รบธรรมและเดนตาย
๓. ท�ำใหท้ ราบวา่ ครบู าอาจารยอ์ งคใ์ ดมคี ณุ ธรรมและทรงอรยิ ธรรมขัน้ ใด เพราะการปฏิบตั ิ
แม้จะแตกต่างกันตามจริตนิสัย แต่ผลของธรรมหรืออริยสัจธรรมในแต่ละข้ันนั้นย่อมเป็นอันหนึ่ง
อันเดยี วกนั
๔. ท�ำให้เกิดการเกื้อกูลสงเคราะห์กันทางธรรม เพราะครูบาอาจารย์องค์ที่ทรงอริยธรรม
ขนั้ สงู กวา่ ย่อมแกไ้ ขแนะนำ� ให้กบั องค์ทภ่ี าวนาแล้วยงั ตดิ ขดั ปัญหาธรรมในข้นั นั้นๆ
๕. ท�ำให้เกิดการสืบทอดรักษาพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เพราะหลักพระธรรมวินัย
ซ่ึงถือเป็นหัวใจส�ำคัญ พอมาถึงสมัยคร้ังก่ึงพุทธกาลเกิดมีข้อสงสัยขึ้น โดยมีความเห็นและมีการ
ปฏบิ ตั ิยอ่ หยอ่ นแตกต่างกันไป เมอื่ ครูบาอาจารยไ์ ด้ศึกษาพระธรรมวินัยแลว้ น�ำมาปฏิบตั ิ และไดม้ า
พูดแลกเปล่ียนสนทนาธรรมกัน ยิ่งจะท�ำให้เกิดความเข้าใจในความหมายท่ีถูกต้องของบทบัญญัติ
พระธรรมวินัยมากย่ิงข้ึน
67
สลั เลขธรรม ธรรมอนั เป็นเครื่องขัดเกลาช�ำระกเิ ลสเพ่อื ความหลุดพน้ มี ๑๐ ประการ
ได้แก่ อัปปจิ ฉตา (ความมักน้อย), สันตุฏฐี (สันโดษ), วิเวกตา (ความสงดั วเิ วกทางกายและทางใจ),
วิริยารัมภา (การประกอบความเพยี ร), อสงั สคั คณิกา (ความไม่คลุกคลีมัว่ สมุ กับใครๆ ทัง้ นนั้ ), ศลี ,
สมาธิ, ปัญญา, วมิ ุตติ (ความหลดุ พน้ ), วมิ ตุ ตญิ าณทัสสนะ (ความรู้เห็นอนั แจ้งชดั ในความหลดุ พน้ )
ท่านถือปฏิปทาอดอยากเดนตาย
หลวงป่พู รหม จริ ปญุ โฺ ท่านเป็นพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภรู ิทตฺโต
อกี องคห์ น่ึงท่ีได้ด�ำเนินตามอรยิ ปฏปิ ทาขอ้ อดอยากเดนตายนไ้ี ดอ้ ย่างชดั เจนเด่นชัด นบั แตพ่ รรษา
แรกๆ ท่านเป็นนักรบธรรมอกี องค์หน่งึ ท่ีมีความเด็ดเด่ียว องอาจกล้าหาญ พรอ้ มทจี่ ะต่อสเู้ ผชญิ กับ
ทุกขน์ อ้ ยใหญท่ ง้ั หลายอย่างชนิดไมเ่ กรงกลัว แมช้ วี ติ ท่านก็ยอมสละได้เพื่อแลกกบั วมิ ตุ ตธิ รรม ดงั
พุทธศาสนสุภาษิตบทที่วา่ “พึงสละทรพั ย์เพ่อื รกั ษาอวัยวะ พงึ สละอวัยวะเพอ่ื รกั ษาชวี ิต พึงสละ
ทรพั ย์ อวยั วะ และแม้ชวี ิตทุกอย่างเพือ่ รักษาธรรม” เพราะว่าธรรมหรือสจั ธรรมน้นั มีคณุ ค่าสูงสุด
เพราะว่าทรัพย์ อวัยวะ และชวี ติ เปน็ ของไม่จรี ังยัง่ ยนื มีแล้วก็เสอ่ื มสิ้นฉิบหายไป ส่วนธรรมคำ� สอน
ของพระพุทธเจา้ สอนใหพ้ น้ ทกุ ข์ พน้ ภัย เปน็ ของทม่ี ีสาระ มีแกน่ สาร ไมเ่ สอื่ ม ไม่โทรม ไม่ฉิบหาย
แมแ้ ต่องค์สมเดจ็ พระสัมมาสัมพุทธเจา้ ผเู้ ป็นองค์พระบรมศาสดา ครั้นทรงสละราชสมบัตทิ ุกอย่าง
แม้กระทัง่ สละชวี ิต แล้วได้ตรัสรู้ธรรม พระองค์ก็ทรงเคารพนบั ถอื ธรรมและทรงกราบได้แตธ่ รรม
เทา่ นนั้
ปฏปิ ทาอดอยากเดนตาย ถือเปน็ ปฏปิ ทาเด็ดเด่ยี วเฉยี บขาดย่ิงของพระธดุ งคกรรมฐานสาย
ท่านพระอาจารยเ์ สาร์ ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ที่บรรดาพอ่ แมค่ รอู าจารยป์ ระเภท “เพชรน้�ำหนึง่ ”
ทั้งหลายได้ด�ำเนินตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกในครั้งพุทธกาล
และได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน จนเป็นอริยปฏิปทาที่น่ายกย่องสรรเสริญ
โดยองคห์ ลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนโฺ น ได้เมตตาเทศนเ์ ร่ืองนี้ไวด้ งั นี้
“การด�ำเนนิ ปฏปิ ทาของครูบาอาจารย์ แม้เราไม่เห็นครัง้ พทุ ธกาล คอื พระพทุ ธเจ้าและ
สาวกท่ที รงพาด�ำเนินและด�ำเนินมากต็ าม ครูบาอาจารยท์ ั้งหลายมีท่านพระอาจารย์มั่น เปน็ ต้น
กค็ วรเปน็ ตวั อยา่ งแลว้ อยา่ งสมบรู ณ์
เราไม่มีที่สงสัยในปฏิปทาของท่าน และท่านด�ำเนินอย่างไร จึงได้น�ำปฏิปทาของท่านมา
แสดงใหเ้ ราท้ังหลายผู้ไมเ่ ห็นองค์ท่าน ไม่เห็นปฏิปทาของท่าน ได้ยดึ ไดถ้ อื ไดเ้ ป็นคตเิ คร่อื งเตอื นใจ
เช่น ความเป็นอยู่ปูวาย ท่านอยู่อย่างง่ายๆ อยู่อย่างสบายมากทีเดียว ไม่เป็นกังวลวุ่นวายกับ
จตปุ ัจจัยไทยทาน คอื ปจั จยั ทั้ง ๔ จวี ร บณิ ฑบาตได้อะไรมาฉันเท่านัน้ แหละ ไม่เป็นกงั วลอะไรเลย
68
แล้วอาหารหวานคาวส่วนมากตามปกติของบ้านของเมืองเขา อยู่ในป่า อาหารก็เป็นอาหารป่า
อย่ทู ี่ไหนอาหารเป็นประเภทนนั้ ๆ ขึน้ มา ท่านไม่ตน่ื เต้น ทา่ นไม่สนใจ เพราะท่านรู้รอบหมดว่า
ส่งิ เหลา่ น้เี ปน็ เพียงเคร่ืองเยยี วยาเทา่ น้นั ให้ได้ยงั อัตภาพครองชีวติ ไปด้วยความพากเพยี รอันราบรน่ื
ดงี าม จึงต้องมคี วามอดความอ่ิมบ้างส�ำหรับนกั ปฏบิ ตั ิ
หากจะมีแต่ความเหลือเฟือเลยดังท่ีเห็นอยู่นี้น้ัน หาทางท่ีเกิดธรรมได้ยาก เพราะเราก็
ไมเ่ คยไดป้ รากฏธรรมในขณะ หรอื ในเวลา หรอื สถานทที่ ส่ี มบรู ณพ์ นู ผลไปดว้ ยจตปุ จั จยั ไทยทานทง้ั ๔
นเี่ ลย สว่ นมากตอ่ มากมแี ตเ่ จรญิ ทางดา้ นจติ ใจ ไมว่ า่ สมาธิ ไมว่ า่ ปญั ญา ไมว่ า่ ขนั้ ใดๆ แหง่ ธรรม
ด้วยความอดอยากขาดแคลนไปทั้งนั้น บิณฑบาตมาไม่ได้อะไร มีแต่ข้าวเปล่าๆ ฉันลงไปแล้ว
เปน็ ยงั ไง พอยงั ชวี ิตใหเ้ ป็นไป ก็เราเสาะแสวงหาทเ่ี ช่นนน้ั เพื่อการดดั สนั ดานตวั เอง เพราะมันล้ิน
ยาวทอ้ งใหญท่ อ้ งโต มมี ากกินมาก กินไม่รูจ้ กั อมิ่ ไมร่ ้จู กั พอ เลยกลายเป็นเรือ่ งกนิ ดว้ ยกเิ ลสตัณหา
เอร็ดอรอ่ ย ใหร้ สแหง่ อาหารเหยยี บย�ำ่ ทำ� ลายแหลกหมด ธรรมไมม่ เี หลือภายในจติ ใจ
พระพุทธเจ้ากว่าจะไดน้ �ำศาสนามาสงั่ สอนคนกแ็ ทบล้มแทบตาย เราพจิ ารณาดซู ิ ท่าน
ผู้ขวนขวายหาธรรมอาหารโอชารสมาโปรดสตั ว์ผมู้ ืดมนอนธการ ทา่ นแทบลม้ แทบตาย ไมว่ ่า
พระพทุ ธเจ้าและสาวกที่เปน็ สรณะของโลก เอาชวี ิตเขา้ แลกเข้าประกัน กว่าจะไดอ้ รรถไดธ้ รรม
มาแนะนำ� ส่ังสอนโลก ทกุ ข์ยากลำ� บากขนาดไหน ครูบาอาจารย์แต่ละองคๆ์ ทป่ี รากฏช่อื ลอื นาม
กเ็ ดนตายมาทั้งนน้ั ”
ส่วนการฝึกจิตทรมานใจของหลวงปู่พรหมก็เป็นไปอย่างอุกฤษฏ์เดนตายนับแต่พรรษา
แรก เช่น อบุ ายวธิ ีในการอดนอน อดอาหาร ผอ่ นอาหาร เพือ่ การภาวนา การอยตู่ ามปา่ ช้า การอยู่
ตามป่าตามเขาท่ีเต็มไปด้วยไข้ป่าและสัตว์ป่าสัตว์ร้าย เช่น เสือ หมี เป็นต้น โดยองค์หลวงตา
พระมหาบัว าณสมปฺ นฺโน ไดเ้ มตตาเทศนเ์ ร่อื งอุบายวธิ ีการภาวนาไวด้ งั นี้
“ขอให้พากันต้ังอกต้ังใจภาวนา การภาวนานี่เห็นผลประจักษ์ แต่อุบายวิธีการภาวนานี้มี
หลายแง่หลายกระทงนะ อุบายวิธีการท่ีจะเป็นเคร่ืองสนับสนุนภาวนาของเราให้สะดวก ได้ผล
เร็วกวา่ ปกติ กว่าวิธีการทง้ั หลายคอื อะไรบา้ ง นอี่ นั หนง่ึ นะ เชน่ อดนอนเป็นยังไง ทา่ นแสดงไวใ้ น
เนสัชชิ (จดั อยู่ในธดุ งควตั ร ขอ้ ๑๓) อดนอนเป็นคืนๆ เป็นยังไง สังเกตดู ทั้งๆ ทเี่ ราตั้งสติภาวนาอยู่
ดว้ ยดี มกี ารเสริมเข้ามาด้วยการอดนอน
อดนอนนานเขา้ ไปเปน็ ยังไง ดู ผอ่ นอาหารเป็นยงั ไง อดอาหารเป็นยงั ไง กับฉันอ่มิ ๆ นเี้ ปน็
ยงั ไง ทง้ั ๆ ที่เราภาวนาอยดู่ ว้ ยกัน คือฉนั อิ่มหน�ำสำ� ราญกภ็ าวนา ผอ่ นอาหารกภ็ าวนา อดอาหารก็
ภาวนาดใู จของเรา มันมีความสง่างาม มคี วามผอ่ งใส แยบคายอยา่ งไรบา้ ง ให้ดูวธิ ีการ ไม่ใชส่ กั แต่
ว่าทำ� สักแต่วา่ ท�ำ ไมไ่ ดเ้ รื่องนะ ทา่ นจึงมวี ิธีการหลายอยา่ ง เดินมากเป็นยงั ไง เดินนอ้ ยเป็นยงั ไง
69
นั่งมากน่งั นอ้ ยเปน็ ยงั ไง ทั้งๆ ทตี่ ัง้ สติอยู่ดว้ ยกัน ผลปรากฏอยา่ งไรบา้ ง ควรสงั เกตวิธีการของตัวเอง
องค์หน่ึงคนหน่ึงหากจะถูกตามนสิ ยั ของตัวเองไปในแง่ตา่ งๆ
ส่วนมากกรรมฐานของเรามักจะถูกท่ีผ่อนอาหาร ท่านจึงให้ฉันพอประมาณ ไม่ให้ฉัน
เลยเถิด อ่มิ มากมันขีเ้ กยี จขค้ี ร้านมาก เสริมราคะตัณหามาก คืออาหารนเี่ ปน็ เครือ่ งส่งเสรมิ ธาตขุ ันธ์
ธาตขุ นั ธ์เป็นเครอื่ งมือของกิเลส มีกามกเิ ลสเป็นสำ� คัญ ถ้ามอี าหารหวานคาวมากๆ แลว้ กนิ มาก
นอนมาก ข้ีเกียจมาก ความคิดเร่ืองราคะตัณหา จะเด่นขึ้นเร่ือยๆ นี่บอกอย่างงั้น มันไม่ถึงกับ
แสดงอวยั วะนะ มนั ยบิ แยบ็ ข้นึ ภายในใจเท่านน้ั กร็ แู้ ลว้ ว่าสงิ่ เหลา่ น้ีเปน็ ภยั ใครจะไปยอมใหม้ ันคิด
เมื่อไม่ยอมใหค้ ิดยงั ไง จะตัดมันให้น้อยลงๆ จนกระทัง่ มนั ขาดไปนี้ ท�ำไมจะไมค่ ดิ ไม่พยายามคนเรา
ต้องพยายาม
ดว้ ยเหตุนเี้ องจึงต้องใช้วธิ ีการหลายอยา่ ง การผอ่ นอาหารมกั จะถกู ไม่มากนักก็ขอให้มกี าร
ผ่อนอาหาร สติจะค่อยดขี ึน้ ๆ ถ้าอ่มิ ๆ แล้วสตไิ ม่ไดเ้ ร่ืองนะ ตัง้ ป๊ับน่ีมนั เผลอไปตลอดเวลา พอผอ่ น
อาหารลงไปๆ หรืออดอาหารบ้าง ต้ังสติเปน็ ยงั ไง มนั จะรูน้ ะ เมือ่ มันรู้แล้ว โอ้ ! วิธีการน้ถี กู ตอ้ ง
ดีแล้ว มันก็ต้องพยายามคนเรา พยายามอด พยายามผอ่ นอยงู่ นั้ เพอื่ ผลประโยชน์ทางดา้ นธรรมะ
ซง่ึ มคี ณุ ค่ามากยงิ่ กว่าการกิน กินนีก้ ินเม่อื ไรมันก็อิ่ม หวิ มาแทบเป็นแทบตายกนิ ปั๊บๆๆ มันก็อิ่ม
ทันที เห็นผลประจักษ์ แต่จิตใจหิวโหยในอรรถในธรรมน้ีไม่ได้อิ่มง่ายๆ นะ เพราะฉะนั้นจึงต้อง
พยายามฟนื้ ขนึ้ ด้วยวธิ ีการต่างๆ”
ท่านผจญสัตว์ป่า เปรต ผี ภูมิเจ้าที่ บังบด เทวดา พญานาค ครุฑ
การออกธุดงคกรรมฐานของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ นน้ั ทา่ นก็ผจญกับพวกเปรต ผี ยักษ์
พวกกายทพิ ย์ บงั บด เทวดา พญานาค ครฑุ และ สัตวป์ ่า เชน่ เสอื โคร่ง หมีปา่ ชา้ งปา่ งพู ษิ
เป็นต้น ชวนใหน้ ่าหวาดกลัวชนิดขนพองสยองเกล้า เชน่ เดยี วกบั ทพ่ี ่อแม่ครูอาจารยท์ ง้ั หลายทท่ี ่าน
ได้ผจญภัยมา หลวงปู่พรหมก็เป็นอีกองค์หน่ึงที่เส่ียงเป็นเสี่ยงตายตามป่าตามเขา ท่านได้ผ่าน
เหตกุ ารณเ์ หลา่ นัน้ ไปด้วยดีโดยไมม่ ภี ัยอันตรายใดๆ มากล�ำ้ กราย ซ่งึ เปน็ เพราะท่านรักษาศีลดว้ ย
ความบริสุทธ์ิเครง่ ครัด ไม่ยอมให้ศลี ดา่ งพร้อยทะลุ และมกี ารบำ� เพ็ญสมถะ – วปิ ัสสนากรรมฐาน
อยา่ งเดด็ เดย่ี วเอาจรงิ เอาจัง โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนฺโน ได้เมตตาเทศนเ์ ร่อื งน้ี
ดังน้ี
“พอพูดอยา่ งนกี้ ร็ ะลกึ ถึงในเวลาทอ่ี ยู่ในป่าในเขา ไปสถานท่นี ่ากลวั มันกลัวจรงิ ๆ กลางคืน
กก็ ลัว กลางวันกก็ ลวั เพราะไปอยใู่ นท่ามกลางสตั ว์ ท่ามกลางเสอื เสอื นีส่ �ำคัญ ไปอยู่ในท่ดี ดั สันดาน
อย่างน้นั เอาอะไร เราไมม่ ีปืนผาหนา้ ไม้ เอาธรรม เฉพาะอย่างยง่ิ ศลี ท่ีบริสุทธแิ์ ลว้ เอา ! ตายเมอื่ ไร
70
ตาย กล้าหาญชาญชัย อยใู่ นปา่ ในเขาจติ ใจสงบเยน็ ไดส้ บายๆ นลี่ ะ่ เรอ่ื งศีลเรือ่ งธรรมเขา้ สจู่ ติ แลว้
จิตจะสงบร่มเย็นเลย รักษาศีลแน่วแน่แล้วชุ่มเย็น ไปไหนไม่สะทกสะท้าน ในป่าในเขาก็ไม่เคย
สะทกสะทา้ น ตายแล้วศลี มกี ับตัวของเรา
ศีลไม่เคยพาสัตวโ์ ลกใหล้ งนรก ศีลดึงขึน้ สสู่ วรรคน์ ิพพานท้งั น้ัน เรายึดศีลไวแ้ ลว้ อย่างน้อย
ตายแลว้ ต้องไปสวรรค์ จะช้นั ใดๆ กต็ าม สงู กวา่ นนั้ พรหมโลก หรอื ศลี ของผูม้ จี ติ บริสทุ ธถิ์ ึงนพิ พาน
นี่ล่ะศีลธรรมไม่เคยฉุดลากใครลงทางต�่ำนะ มีแต่ฉุดข้ึนทางสูงๆ ทั้งน้ัน ไอ้ส่วนกิเลสที่ว่าเร่ือง
สกปรกมนั ดงึ ลงๆ อยู่ในใครกด็ งึ ลง อยู่ในชมุ นุมใดก็ดงึ ลง ของชั่วไปท่ีไหนดึงลง เร่ืองศีลเรอื่ งธรรม
แล้วดงึ ข้นึ ทง้ั นั้น
นี่เราพดู ถงึ เรื่องอยูใ่ นป่าในเขา มนั ชมุ ไปด้วยเสอื ดว้ ยสตั ว์ตา่ งๆ พวกหมี พวกเสือนี่น่ากลัว
ไปกลางคืนกร็ ะวงั ตลอด แต่ระวงั นนั้ พระท่านระวงั คือจิตกับธรรมประจ�ำใจตามขนั้ ของจิต ถ้าผู้ท่ี
เรมิ่ ฝึกหัดอบรมใหม่ๆ คำ� บริกรรม คอื จะพุทโธ ธมั โม หรือสังโฆ บทใดก็ได้ตามแต่ความถนดั ใหต้ ิด
กบั ใจสติติดแนบเอา เข้าไปในท่ามกลางสัตวเ์ สอื เนอื้ ร้าย ไปอย่างอาจหาญนะ ถ้าไม่ปล่อยธรรมเสีย
อย่างเดียว จิตใจกล้าหาญข้นึ โดยล�ำดับๆ นีล่ ่ะธรรมเขา้ สจู่ ิต จติ มคี วามกล้าหาญชาญชยั อยู่ที่ไหน
สบายๆ และเปน็ ข้ันๆ ของจติ ถา้ จิตมภี มู สิ ูงเข้าไปเท่าไร ภมู สิ ูงภมู ิสมาธิ จิตอยกู่ บั สมาธมิ ีความสงบ
เยน็ อยู่นั้น สตจิ ับอยู่ท่คี วามสงบ จุดแห่งความสงบทีเ่ รยี กว่า สมาธิ แนน่ หนาม่นั คงดว้ ยความสงบ
อยนู่ นั้ จติ อยนู่ ี้
ถา้ จติ ขึ้นขั้นปัญญา พิจารณาเรื่องปญั ญา เปน็ สัตว์เสอื เนอ้ื รา้ ย มนั กธ็ าตุ ๔ ดนิ น้ำ� ลม ไฟ
เหมือนกันกบั เรา กลัวมนั หาอะไร นนั่ ล่ะปญั ญา แยกธาตแุ ยกขนั ธข์ องเสือตวั นั้นมนั มอี ะไร ถ้าว่า
กลัวเขยี้ วมนั เขีย้ วเราก็มี กลัวมันอะไร น่ีปัญญาแกต้ วั เอง กลวั ตา ตาเรากม็ ี กลวั มนั ทำ� ไม หรือ
กลวั ขนมันเหรอ ขนเราก็มี กลัวมนั ทำ� ไม ถามหมดอวยั วะของเรากับมันพอๆ กันทกุ อยา่ ง สกู้ ันไดๆ้
มันไม่กลวั เรากไ็ มก่ ลวั สิง่ เหลา่ น้ที ่ีเรากลวั อยู่กบั มัน มันไมเ่ ห็นกลวั เราไปกลัวอะไร ท่ีน่ีค�ำวา่ หู
มันมหี ู เรากม็ หี ู กลัวมนั ท�ำไม
ไลเ่ ข้าไปจนตรอกไปถงึ หาง หรอื กลัวหางมนั เหรอ ทีนีจ้ ะจนตรอกนะ เราไม่มีหาง เสอื มหี าง
ได้เปรียบเรา แกป้ บุ๊ เดียว กลัวหางมันเหรอ ทนี ้เี ราไมม่ ีหางจะแพม้ ันตรงนี้ เราพลิกป๊บั กลัวหางมัน
เหรอ ต้ังแต่ตวั มันไม่เหน็ กลัว หางมัน เราไปกลวั มันทำ� ไม น่ัน ตัวมนั เองไมเ่ ห็นกลวั กลัวมนั ท�ำไม
นั่นท่านวา่ ปญั ญา ใช้ทางดา้ นปญั ญา ใหผ้ ู้ปฏิบตั ทิ ง้ั หลายได้ทราบ นีค้ ือการกา้ วเดนิ เพอื่ รักษาจติ
ให้มีความแนน่ หนาม่ันคง และสวา่ งกระจา่ งแจง้ ไปตามภูมิอรรถ ภมู ธิ รรม ภมู สิ ติปัญญาของตน
พอถึงขั้นแยกธาตุออกหมดแล้ว จิตมันจะสว่างไสวท่ีนี่ รูปเหล่าน้ีไม่มี ดังท่ีว่าพวกสัตว์
พวกเสือวา่ กลวั มัน กลวั หาอะไร มันเป็นอากาศธาตุไปด้วยกนั หมด จติ ว่างไปหมด ไมว่ ่าจะกลวั อะไร
71
กลัวอากาศ ช่องจมูกเราก็มีอากาศ กลัวหาอะไร มันพิจารณาทางด้านปัญญา จากน้ันแล้วก็
หมดสภาพ มองเหน็ ตัวเสอื แล้วปรงุ ขน้ึ มาน้ี เสือทีน่ ่ากลัวแต่กอ่ นปรุงแพล็บเหมือนฟ้าแลบ ปรงุ
แพล็บปรากฏเสอื พบั ดับปบุ๊ ๆ จะแยกธาตุแยกขนั ธ์หรือจะท�ำให้กลัวไม่ทัน มนั เกดิ แลว้ ดบั ๆ น่ีละ่
ปญั ญาพจิ ารณา จนกระทงั่ มนั วา่ งไปหมด ในจิตใจวา่ ง จะกลวั อะไร อะไรๆ ท่ีจะเปน็ อนั ตรายไม่มี
จติ มนั ว่างหมดแลว้ เรือ่ ยๆ ไป จนกระทง่ั วา่ งภายในจิตล้วนๆ
ว่างภายนอก จิตยังไมว่ ่าง น่นั เปน็ อกี ข้ันหนึ่ง พิจารณาว่างภายนอก อะไรกว็ ่างหมดๆ
ยังไม่ว่างอย่ภู ายใน คอื จติ ยังหลงตวั เอง ยดึ ตัวเองอยู่ พิจารณาเขา้ ไปตรงน้ี รตู้ รงน้ี ปล่อยตรงน้ี
ว่างหมดเลย สญุ ฺ โต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โลกน้เี ป็นโลกสูญเปลา่ ว่างไปหมด นนั่ การพิจารณาทางด้าน
ปญั ญา นกั ปฏบิ ัติใหพ้ จิ ารณา”
การปฏบิ ัตธิ รรมของหลวงปูพ่ รหม จริ ปุญโฺ นบั แตด่ ้านสมาธิธรรม จนถึงดา้ นพิจารณา
ทางดา้ นปญั ญาธรรม เพ่อื ถอดถอนกิเลสออกจากใจ ก็เปน็ ไปอยา่ งรวดเรว็ ก้าวหนา้ ทำ� ใหเ้ กิดเป็น
อำ� นาจธรรมทค่ี อยปกปอ้ งค้มุ ครองรกั ษาทา่ นในขณะออกเท่ียวธดุ งคกรรมฐานได้เป็นอยา่ งดี สมดัง
บทธรรม “ธมฺโม หเว รกขฺ ติ ธมมฺ จารํ”ิ ธรรมย่อมรกั ษาผ้ปู ระพฤตธิ รรม โดยองค์หลวงตา
พระมหาบวั าณสมฺปนฺโน ไดเ้ มตตาเทศน์เร่ืองน้ไี วด้ ังนี้
“เหตุทพี่ ระธรรมจะรักษา กค็ อื เราเป็นผรู้ ักษาธรรมมากอ่ น ด้วยการปฏบิ ัติตามธรรม ผลท่ี
เกดิ ขึน้ จากการรกั ษาธรรมนั้น ก็ยอ่ มน�ำเราไปในทางแคลว้ คลาดปลอดภยั มคี วามอยูเ่ ย็นเปน็ สุข
ท่ีท่านเรียกว่า “ธรรมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม” การปฏิบัติธรรมมีความหนักแน่นมั่นคงละเอียดลออ
มากน้อยเพียงไร ผลเป็นเคร่ืองสนองตอบแทนที่เห็นชัดประจักษ์ใจ ก็ยิ่งละเอียดขึ้นไปโดย
ล�ำดับๆ ตามเหตทุ ่ีท�ำไวน้ น้ั ๆ จนผ่านพ้นไปจากภัยทั้งหลายไดโ้ ดยสิ้นเชงิ ท่ีเรียกวา่ “นิยยานกิ ธรรม”
น�ำผู้ปฏิบัติธรรมเตม็ สติกำ� ลังความสามารถนั้นให้ผ่านพ้นจาก “สมมตุ ”ิ อนั เป็นบ่อแหง่ อนจิ จฺ ํ ทุกฺขํ
อนตตฺ า หรอื แหลง่ แหง่ การเกิด แก่ เจบ็ ตาย น้ีไปเสยี ได้อยา่ งหายหว่ งถว่ งเวลา
พระพุทธเจ้าเป็นผู้หายห่วง พระอริยสงฆ์เป็นผู้หายห่วง ได้ด้วยการปฏิบัติธรรม
ธรรมรักษาท่าน พยุงท่าน จนถึงภูมิแห่งความหายห่วง ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์เยื่อใยเสียดาย
เป็นผสู้ น้ิ ภัย ส้ินเวรสิน้ กรรม สน้ิ วิบากแห่งกรรมโดยตลอดท่ัวถงึ คือ พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์–
สาวกท่าน”
ประวตั ขิ องหลวงป่พู รหม จริ ปุญโฺ ขณะเป็นพระภิกษุวัยกลางคน พรรษากไ็ มม่ ากและ
ชอบออกเท่ียวธุดงค์อย่างโดดเด่ยี วเพียงตามลำ� พงั เพ่ือวิเวกแสวงหาโมกขธรรมตามปา่ ตามเขา ซึ่ง
ล้วนเป็นสถานที่เปล่าเปล่ียวแสนที่จะทุรกันดาร ท่านต้องประสบกับความทุกข์ยากล�ำบากอย่าง
แสนสาหัส และท่านต้องเส่ียงเป็นเสี่ยงตายถึงกับยอมสละชีวิตเข้าแลก เหล่านี้ล้วนแสดงออกถึง
72
ความมุ่งมน่ั เด็ดเดย่ี วจริงจงั ความองอาจกล้าหาญ ความทรหดอดทน และความเปน็ เดนตาย
สมกับทา่ นเปน็ นักรบธรรมท่ีรอดตายมาและได้ธรรมอัศจรรย์มาครองใจ ทา่ นจึงเปน็ เจา้ ของเกยี รติ
ประวัติอันแสนจะงดงามและทรงคุณคา่ ยิ่ง ควรคา่ แก่การเคารพยกยอ่ งเชิดชู และควรค่าแก่การ
เทิดทนู กราบไหวบ้ ชู าอีกองค์หน่งึ ท่านเปรียบประดุจเป็นเพชรน้ำ� หนึง่ เพชรนำ�้ งาม ประดับไวเ้ ป็น
เกยี รตยิ ศศกั ดศิ์ รดี งี ามของพระพทุ ธศาสนา และของวงพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ น่ั
ฉะนน้ั จึงสมควรอยา่ งท่สี ุดที่จะต้องจดบันทึกเกยี รติประวัติของท่านอนั เลิศเลองดงามน้ไี วเ้ ผยแพร่
เพอื่ เปน็ คติธรรมให้กบั อนชุ นรุ่นหลังจะได้ศกึ ษาและน้อมนำ� ไปปฏบิ ตั ิตาม
ท่านถือปฏิปทาจ�ำพรรษาท่ีใดไม่เกิน ๓ พรรษา
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านถือปฏิปทาจ�ำพรรษาท่ีใดไม่เกิน ๓ พรรษา อันเป็นการ
ถอื ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มนั่ เนือ่ งจากท่าน
ไมต่ อ้ งการตดิ สถานท่ี ไม่ต้องการตดิ ญาตโิ ยม และไมต่ อ้ งการตดิ ลาภสกั การะ ดงั น้ี
“ทา่ นพระอาจารยเ์ สาร์ ท่านพระอาจารยม์ ั่น สมยั ท่ีทา่ นทง้ั สองออกเท่ยี วธดุ งคแ์ สวงหา
โมกขธรรม ท่านชอบในทีส่ งบสงดั และชอบอยู่องคเ์ ดียวตามล�ำพงั ดงั นั้น ทา่ นจะไม่พักที่ใดนานๆ
บางแห่งก็อย่คู นื เดียว บางแหง่ ก็ ๒ – ๓ วนั หรืออาจอย่เู ปน็ เดือน หรอื จำ� พรรษาอยู่ตลอดพรรษา
แตท่ ่านจะไม่เคยพักประจำ� อยู่ท่ใี ดทหี่ น่ึงเกิน ๓ ปี
เม่ือทา่ นพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มน่ั ปกั กลดลงที่ไหน ดว้ ยความศรทั ธาของ
ประชาชน ทำ� ใหส้ ถานที่แหง่ นนั้ กลายเปน็ วดั ปา่ เป็นสำ� นักปฏบิ ตั ิธรรมไปในทส่ี ดุ คือ มีส่ิงปลูกสร้าง
ถาวรเกิดขึ้นจากแรงศรทั ธาของญาติโยมประชาชน เช่น กฏุ ิ ศาลา โรงฉัน เปน็ ตน้ ท้ังๆ ที่ท่าน
ไม่เคยเอ่ยปากขอ หรือไมเ่ คยเรยี่ ไรใดๆ
ส่ิงเหลา่ นี้คอื ปฏิปทาอันงดงามของทา่ นพระอาจารย์เสาร์ ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั และได้
สืบทอดมาถึงลูกศิษยพ์ ระปา่ ท่ีแทจ้ ริงในปัจจบุ ัน คือ พระป่าทา่ นจะไม่เอย่ ปากขอและจะไมเ่ รีย่ ไร
ใดๆ จากใครให้เขาเดือดรอ้ นเปน็ อันขาด เวน้ แต่ญาตโิ ยมเขาปวารณาหรือบงั เกิดศรัทธาเล่อื มใสขนึ้
มาเอง
น่ันคอื การปลูกสรา้ งวดั วาอารามและเสนาสนะต่างๆ เปน็ เรื่องของศรัทธาญาตโิ ยมเขา
จะดแู ลกนั เป็นไปตามก�ำลงั ศรัทธา
ปฏปิ ทาอันโดดเดน่ ของทา่ นพระอาจารย์เสาร์ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั สมยั ออกเที่ยวธดุ งค์
แสวงหาโมกขธรรม ทา่ นท้ังสองไมเ่ คยพกั ประจำ� อยู่แห่งใดเกนิ ๓ ปี ทา่ นจะเดินธุดงคไ์ ปทแี่ หง่ ใหม่
ท่ที ีเ่ หมาะตอ่ การบำ� เพ็ญภาวนาและพอประกาศเผยแผป่ ระดษิ ฐานพระสทั ธรรมขององค์พระบรม–
73
ศาสดาได้ สาเหตุในการยา้ ยสถานท่ีปฏิบัติธรรมอยู่บ่อยๆ นน้ั เพือ่ ผลของการภาวนาเป็นส�ำคัญ
เพราะเมอ่ื คนุ้ เคยกับสถานท่ีแล้วจติ จะไม่ต่นื ตัว หากไปสู่สถานท่ใี หม่ๆ พบกบั สภาพแวดลอ้ มใหมๆ่
จิตย่อมจะเกิดความต่ืนตัวในการภาวนา การย้ายที่ภาวนามีประโยชน์มาก เพราะจะท�ำให้ไม่ติด
สถานท่ี ไม่ติดวัตถุ ไม่ติดญาติโยม และไม่ติดลาภสักการะ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเคร่ืองกดถ่วงการ
ภาวนา และเมื่อคนุ้ เคยกบั ญาติโยมแล้ว ญาติโยมอาจมารบกวน ท�ำใหต้ ้องเสยี เวลาในการสนทนา
ปราศรัยกับญาติโยม และที่ส�ำคัญเป็นการตามรอยองค์พระบรมศาสดาพระบรมครูอย่างแท้จริง
ซง่ึ กไ็ ม่ทรงจำ� พรรษาอยูป่ ระจำ� ณ ทใ่ี ดที่หนงึ่ เปน็ การถาวร”
กรณีหลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ เรอ่ื งการไมต่ ดิ สถานที่ ทา่ นถือปฏิปทาขอ้ นีไ้ ดอ้ ยา่ งเดน่ ชัด
ท่านมกั ธุดงค์ไปในสถานท่ีต่างๆ ทางภาคอีสานและภาคเหนอื รวมท้งั ธดุ งค์ไปฝ่งั ลาว พมา่ และจนี
แม้เข้าสวู่ ัยชราภาพ ทา่ นก็ไปสรา้ งวดั ตาลนิมติ ร ซึ่งตง้ั อยู่ท่ีบา้ นตาล อำ� เภอสวา่ งแดนดิน อันเปน็
บา้ นเกดิ ของท่าน และบรู ณะวดั ร้างทบ่ี า้ นถ่อน ปจั จบุ นั คือ วัดศรีโพนสูง อ�ำเภอสว่างแดนดนิ
จังหวัดสกลนคร สำ� หรับบา้ นดงเย็น อันเป็นบ้านทท่ี า่ นใช้ชีวิตคูค่ รองเรือนนน้ั ท่านสรา้ งขึน้ ๒ วดั
คอื วดั ผดงุ ธรรม และ วดั ประสิทธธิ รรม โดยท่านจะอยู่จำ� พรรษาแหง่ ละไมเ่ กิน ๓ ปี เวน้ แต่
วัดประสิทธธิ รรม อันเป็นวดั สดุ ท้ายที่ท่านสรา้ ง ทา่ นอย่จู วบจนวนั มรณภาพ
ส่วนการไมต่ ดิ ญาติโยม และไม่ติดในลาภสกั การะนน้ั ทา่ นถือปฏปิ ทาข้อนอ้ี ยูแ่ ลว้ เพราะ
ในสมัยที่ท่านเป็นฆราวาส ท่านเป็นท่ีนับถือของชาวบ้านจนได้รับการยกย่องเป็นนายฮ้อย และ
ทรัพยส์ มบัตขิ องทา่ นมมี ากจนเป็นเศรษฐี แต่ท่านกลบั ตัดสินใจสละสง่ิ เหลา่ น้ีออกบวชโดยไม่อาลัย
อาวรณ์ ดังนั้น เมือ่ ทา่ นออกบวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทา่ นยง่ิ ไม่ตดิ ญาตโิ ยมและไมต่ ดิ ในลาภ
สักการะ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องดึงดูดที่ไร้สาระแก่นสารส�ำหรับท่านผู้ต้องการความหลุดพ้น
และเปน็ เครือ่ งกดถว่ งจติ ใจอนั เป็นอุปสรรคยิง่ ตอ่ การบ�ำเพ็ญภาวนา
องคห์ ลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นโฺ น ได้เมตตาเทศนเ์ รื่องน้ไี ว้ดงั นี้
“ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดไม่ลืมตัว ไม่ติดถ่ินติดฐาน ติดบ้านติดเรือน ติดจตุปัจจัย
ไทยทานทงั้ ส่ี ไมต่ ิดแขกติดคนญาติโยม ไมเ่ ห็นอันใดดยี ่ิงกวา่ ธรรมท่เี ราก�ำลงั ดำ� เนินอยู่เวลาน้ี
น่ีคือทางท่ถี กู ตอ้ งดงี าม เปน็ อนิจตสาร ี หาที่อยไู่ มไ่ ด้ ไมก่ �ำหนดที่อยู่ เช่นเดยี วกับนกที่
ไปกนิ ผลไมห้ รอื หาอาหารมากิน กนิ ท่ไี หนแลว้ อ่ิมแล้วไปบินไป มแี ตป่ กี กับหางเทา่ นั้น ไม่กงั วลวา่
ตน้ ไมน้ เี้ ปน็ ของเรา ผลไม้นเ้ี ปน็ ของเรา เปือกตมเป็นของเรา กินอิม่ แลว้ ก็บินไปด้วยความหาอาลยั
เสียดายไม่ได”้
74
ท่านภาวนาด้วยบทพุทโธประจ�ำใจ
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ เม่ือท่านฝึกหัดภาวนาใหม่ๆ น้ัน ท่านบริกรรมด้วยบทพุทโธ
ประจ�ำใจ ตามแนวทางทที่ ่านได้รบั การอบรมสงั่ สอนมาจากท่านพระอาจารย์สารณ์ สุจิตโฺ ต ซ่ึงก็
เป็นไปตามแนวทางของพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่ันท่ีส่ังสอนอบรมกันมา พุทโธ
ธรรมบทนี้ถกู กับจรติ นิสยั ของหลวงปู่ เพราะทา่ นท�ำอะไร กท็ �ำจรงิ ทำ� จัง บริกรรมพทุ โธ ท่านก็
บรกิ รรมอยา่ งจริงจัง อย่างชัดเจนเร็วๆ อย่างต่อเน่อื งและไมท่ อ้ ถอยลดละ ท่านบวชแล้วทา่ นก็ใช้
ธรรมบทน้ีตลอดมา เพราะการภาวนาของท่านได้ผลก็เพราะมธี รรมบทนเี้ ปน็ พ้ืนฐาน กาลตอ่ มา
ทา่ นกส็ อนพทุ โธ ธรรมบทน้แี ก่บรรดาพระศษิ ยต์ ลอดญาติโยมทง้ั หลาย
ในระยะแรกของการภาวนา การบรกิ รรมพุทโธอย่างจริงจงั จำ� เป็นและสำ� คัญมาก หากท�ำ
ตอ่ เนื่องย่อมไดผ้ ลไม่วันใดกว็ ันหนง่ึ หลวงป่เู จยี๊ ะ จนุ ฺโท ไดเ้ มตตาเทศนส์ อนไวด้ งั นี้
“จงพากนั บริกรรมภาวนาพุทโธๆๆๆๆ ใหเ้ รว็ ๆๆ จนจิตนีม้ หี ลกั คอื ความสงบเปน็ พ้ืนฐาน”
“จะมาจับลม เข้าพทุ ออกโธ ไม่ทนั หรอก อยกู่ บั หลวงปมู่ ่นั ๓ ปี ๔ แลง้ ไมเ่ คยสอน
ซักที จับลมน้ี มแี ตพ่ ุทโธเรว็ ๆ บริกรรมพุทโธเรว็ ๆ”
“ใจตอ้ งคอ่ ยเตือนมัน อย่าใหม้ ันวิ่งออกไป อย่าข้ีเกียจขี้คร้าน อยา่ มกั ง่าย ตอ้ งอุตส่าห์
ภาวนา นง่ั อย่างน้ตี ้องพยายามอตุ สาหะ นงั่ นานๆ วา่ พทุ โธมากๆ บริกรรมเรว็ ๆ หลวงตาเคย
พดู หลายทบี อกวา่ การบริกรรมเรว็ ๆ นั้น เปน็ เพราะเหตอุ ะไร น่ีตอ้ งเข้าใจ เหมอื นช่างเขาตเี หลก็
นหี่ ลวงตาตเี หล็กมาวันนี้ ฟาดขวานสัก ๒ – ๓ เลม่ เมื่อเหล็กมนั ยังแดงจะไปตชี า้ ๆ ไมไ่ ด้ ตอ้ งตีเรว็ ๆ
มนั จึงไดย้ ดื ออกไป แลว้ กไ็ ด้กว้างขวางออกไป เปน็ อยา่ งนนั้ เหมือนใจเราทีเ่ ปน็ อย่างน้ัน เมอ่ื มัน
ไมต่ ้งั อย่กู บั พทุ โธ มนั พยายามจะวอกแวกออกไปเหมือนอย่างลิงอยา่ งน้นั เราก็ต้องวา่ เร็วๆ กำ� กับ
ด้วยพทุ โธ
น่อี บุ ายส�ำคญั อบุ ายอย่างนเ้ี ปน็ เคร่อื งตัดกระแสของใจท่ีไม่ให้คิดสา่ ยออกไป เป็นอย่างน้นั
ผทู้ ่ีไม่เคยภาวนากไ็ ม่สามารถจะเข้าใจสิง่ เหลา่ น้ี บางคนก็เอาแตล่ มหายใจสบายๆ แล้วกค็ ิดโน่น
คิดน่ี ประเด๋ยี วกม็ าไปโนน่ ไปนี่ ใจลอกแลกว่นุ วาย เออ น่ังไมไ่ ด้เสยี แลว้ ขีเ้ กยี จ ข้คี รา้ น มนั ได้โกงใจ
พรงุ่ น้เี อาใหมเ่ ถอะ นอนดกี วา่ กลบั กฏุ ินอนๆ แนะ่ ไปอยา่ งนั้น น่มี นั หลอกเรา มนั ดึงเราให้ลุ่มหลง
ต่างๆ นานาของใจ ใจมันเป็นสิง่ ทที่ รมานยาก
เพราะฉะนั้นต้องเอาพุทโธ ธัมโม สังโฆ หรอื ความตายอนั ใดอนั หน่ึงท่มี ันกลัวๆ อยา่ งนั้น
มากำ� ราบมัน อย่าใหม้ นั ดอ้ื อยา่ ให้มนั ซน เมื่อเราเอาคณุ ของพระพทุ ธเจ้ามาระลกึ อยใู่ นใจของเรา
อย่างนั้น พุทโธๆ ถา้ อย่างทา่ นอาจารยส์ อนจนกระทัง่ ตายไปแล้ว นีด่ ูสิ เราน่ะมันได้ท�ำอะไรบ้าง
75
ต้องคิดอยา่ งนั้น แลว้ ท�ำไมเราไม่ได้ มันเป็นเพราะเหตอุ ะไร ตณั หา ตณั หาของตวั เรา อย่าไปเท่ยี ว
เพง่ คนอ่นื อยา่ ไปดูคนอ่นื ดเู ราทำ� ไมภาวนาไมล่ ง มนั เปน็ เพราะเหตุอะไร ใจไม่เปน็ สมาธิ นี่ท�ำไม
มันเปน็ อยา่ งไร นด่ี มู นั เขา้ ไป เพ่งเอาเข้าไปพทุ โธ เจา้ จะวง่ิ ไปไหน ลองดูสิ เออ ขา้ จะว่าพทุ โธอยู่
อย่างนไี้ มใ่ ห้ใจไปไหน มนั ก็ต้องอยูเ่ ราวันยังคำ่� ถ้าใจอันนัน้ จริงแลว้ มนั ก็ตอ้ งได้สมาธิ ต้องเกิด
แน่นอน ๓ คืน ๗ คนื ต้องเปน็ อยา่ งแน่นอน”
ท่านเล่าเร่ืองธุดงค์สมัยแรกบวชยังไม่ครบพรรษา
หลวงปู่พรหม จิรปญุ ฺโ ท่านมเี ปา้ หมายสงู สดุ ในการออกบวช คือ ท่านบวชเพ่อื ธรรม
เพ่ือความพน้ ทุกข์ โดยหลักของธรรมแลว้ ธรรมจะเกิดในสถานท่ีอดอยากขาดแคลน ในสถานที่
สงบสงัดและในเวลาสงัด ฉะนั้น ท่านจึงด�ำเนินตามรอยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ
ตามปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่ัน ด้วยการออกเดินธุดงค์ตามป่าตามเขา
หาทสี่ งบสงดั เพือ่ บ�ำเพญ็ ภาวนาตั้งแตพ่ รรษาแรก โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นฺโน
ได้เมตตาเทศนเ์ ร่ืองธรรมชอบเกดิ ในทสี่ งัด ไวด้ งั น้ี
“เฉพาะอย่างย่ิงผู้อยู่ในป่าซ่ึงเป็นที่สงัดวิเวกตลอดเวลาด้วยแล้ว จัดเป็นผู้มีโอกาสเต็มที่
ในทางความเพียรเพ่ือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนสมบัติให้เกิดข้ึนเป็นขั้นๆ
ต้ังแต่ขั้นหยาบจนถึงข้ันละเอียด เพราะศีลและธรรมทุกข้ัน จะเป็นไปเพ่ือความหมดจดสดใสได้
ตามข้นั โดยมากยอ่ มอาศยั การอยใู่ นท่ีสงัด ปราศจากฝงู ชนทง้ั คฤหสั ถ์และบรรพชิต เราจะเหน็ ได้
จากพระพทุ ธเจา้ และสาวกพาดำ� เนินมา ปรากฏว่าท่านเห็นภยั ในทางคลุกคลี และกจิ การทจ่ี ะให้
เกิดกงั วล และเป็นข้าศึกตอ่ สมณธรรมเพอ่ื ความอย่สู บายในทฏิ ฐธรรมของพระองค์และสาวกทา่ น
ในขณะเดยี วกันทรงเหน็ คณุ และทรงสรรเสรญิ ในความสงัดมาก เพราะฉะน้นั ในพระอริ ิยาบถ ๔
ของพระองค์และอรยิ สาวกจึงเต็มไปดว้ ยความเพยี รในท่ีสงดั ทั้งนน้ั
ธรรมชอบเกิดในทสี่ งดั ถ้ายงั ไมส่ งัดทงั้ ภายนอกและภายในใจ ธรรมก็ยงั ไม่เกิด เมอ่ื ความ
สงัดท้ังสองได้ปรากฏข้ึนในท่านผู้ใด พึงทราบว่าธรรมเริ่มปรากฏขึ้นในท่านผู้นั้น คือ ศีลก็เร่ิม
บริสุทธิ์ สมาธิก็เริ่มปรากฏขึ้นมาในใจเป็นข้ันๆ ของสมาธิ ปัญญาก็เริ่มไหวตัวขึ้นมาในขณะท่ี
สมาธิเร่มิ ปรากฏเปน็ ข้ันๆ ของปัญญา ตามแตผ่ ู้บ�ำเพญ็ จะเร่งตามความปรารถนาของตน โดยไมม่ ี
อปุ สรรคใดๆ มากีดขวาง เพราะปราศจากส่ิงซึ่งมากอ่ กวนให้จิตเอนไปสู่ความกังวลในอารมณ์ท่ีมา
กระทบน้ันๆ
เม่ือสรุปความแล้ว ธรรมชอบเกิดข้ึนในท่ีสงัดและในเวลาอันสงัด แม้ผู้ทรงธรรม
มีพระพทุ ธเจา้ เป็นต้น กช็ อบประทับอยู่ในทีส่ งดั ตลอดเวลา หากจะมีอยู่บ้างก็สมัยที่พระองค์
76
ทรงท�ำหน้าท่ีพระพุทธเจ้า เสด็จเพ่ือโปรดเวไนยสัตว์เป็นบางกาลเท่าน้ัน ที่ทรงเห็นสมควรจะทรง
อนโุ ลมผ่อนผัน เพ่อื เวไนยผู้ควรจะได้รบั ประโยชนจ์ ากพระองค์ เมื่อเสร็จพทุ ธกจิ แล้วก็ทรงงดทันที
ไมท่ รงพรำ�่ เพร่อื เหมือนอย่างสามัญชนท่วั ไป”
ในวงกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตั ตเถระ บรรดาครบู าอาจารยท์ งั้ หลายเมอื่ ทา่ น
เปน็ พระหนมุ่ ออกธดุ งคใ์ หมๆ่ ตามปา่ ตามเขาในทสี่ งบสงดั การอยทู่ า่ มกลางดงปา่ ทเี่ ตม็ ดว้ ยสตั วป์ า่
สตั วร์ า้ ยนั้น ท่านกม็ คี วามกลัวตายเชน่ เดียวกัน ดังประวัตขิ องหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ เมื่อสมยั
แรกบวชยงั ไม่ไดพ้ รรษา เร่ิมแรกทา่ นออกธดุ งคโ์ ดยมเี พื่อนสหธรรมกิ เปน็ ท่พี ่งึ อนั เปน็ ปรกติของ
พระบวชใหม่ยังไม่เก่งก็ต้องมีเพอื่ น พอจิตเรม่ิ มีกำ� ลัง เร่ิมไม่กลวั แล้ว ต่อมาท่านก็ธดุ งค์ตามล�ำพงั
ท่านเคยไปธดุ งคพ์ กั ภาวนาทีถ่ ำ�้ พระเวส อ�ำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ท่านก็มคี วามกลัวเหมอื น
พระบวชใหมท่ ่ัวๆ ไปทเ่ี ร่ิมออกธุดงค์ เร่ืองน้ีเมอ่ื ทา่ นได้สนทนาธรรมกับองคห์ ลวงตาพระมหาบัว
าณสมฺปนฺโน ท่านได้เคยพูดความขี้ขลาดไม่เป็นท่าของท่าน โดยกล่าวถึงสมัยบวชใหม่ให้องค์
หลวงตาฯ ฟัง ซึ่งองค์หลวงตาฯ ได้เขียนไว้ในหนังสือปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระ–
อาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ และตอ่ มาไดเ้ มตตาเทศน์เรื่องนีไ้ วด้ ังน้ี
“ทีนพ้ี ูดถึงเรอื่ งยอ้ นหลงั ท่ที า่ น (หลวงปู่พรหม จิรปญุ ฺโ) บวชใหม่ พูดถึงเรอื่ งอีเก้งมันร้อง
แก้กๆ ทา่ นมาจาก อ�ำเภอนาแก วดั ถำ้� พระเวส เราเคยไปแลว้ ถ�ำ้ พระเวส ตกกลางคืนมา จากอำ� เภอ
นาแกมาถึงบ้านดงโทน เหล่าน้ีถึงโน้นเป็นดงใหญ่ เป็นดงป่า ดงสัตว์ ดงเสือ ดงเน้ือนะ เราไป
ทุกวันน้ีมีเม่ือไรป่า แต่ส�ำหรับเราไป เราไปเห็นตอนนั้นเรียกว่าป่าร้อยเปอร์เซ็นต์ ไปเท่ียวปี
พ.ศ. ๒๔๘๔ เปน็ ดงท้ังหมดนะนน่ั
ทีน้ีเวลามาคุยกันท่านเล่าให้ฟัง ท่านลงมาจากถ�้ำพระเวสจะมาทางสกลนคร มาถึงน้ัน
บกุ ป่ามากลางคืน ทา่ นว่านะ เพราะปา่ มันก็ปา่ จรงิ ๆ ทางเปน็ ทางลอ้ ทางเกวยี นพอหลวมตัวคนไปได้
ท่านมากช็ นนั้นชนน้ีมากลางคืนทา่ นว่า พอมาถงึ กลางดง เอ๊ ! จะไปอะไร ไปกลางค่�ำกลางคนื บกุ ป่า
ฝ่าดงไปหาอะไร พักที่ไหนกพ็ ักไดน้ น่ี ะ ทา่ นเลยหลีกทางออกไปพักอยูข่ า้ งๆ แขวนกลดลงทีน่ น่ั ซี
ท่านก็พักทน่ี ัน่ เลย
พอกลางคนื นัน่ ซี เราได้เขยี นไวใ้ นปฏิปทา เราระบชุ ่ือของทา่ นหรือเปลา่ กไ็ มร่ ู้ ถา้ ท่านยังมี
ชวี ิตอยอู่ าจไมร่ ะบุก็ได้ แตเ่ ขียนปฏิปทานีน้ า่ ท่านจะยงั มชี วี ิตอย่นู ะ ทีน้ที ่านมาพกั อยู่นน้ั กลางคนื
ท่านน่งั ภาวนาอยู่ อีเก้งมันก็มาขา้ งมงุ้ กไ็ ปกลางคืนมันเป็นดงทั้งนัน้ นี่ แขวนมงุ้ ไว้ เก้งมนั โผล่มาเหน็
มงุ้ ละ่ ซี ทางนัน้ ก็น่งั ภาวนา ทา่ นก�ำลงั จะออก ธรรมดาทา่ นไมห่ ัวเราะง่ายๆ นะทา่ นอาจารยพ์ รหม
โถ ! ลักษณะท่าทางน่ากลัวน่าเกรงขามมากนะ นิสัยเด็ดเด่ียว ทุกสิ่งทุกอย่าง มองดูลักษณะ
77
นา่ เกรงขาม นา่ เคารพเลื่อมใส ทีนี้พอท่านนัง่ ภาวนา ตอนน้ันท่านอดหัวเราะไม่ไดน้ ะ ทา่ นหัวเราะ
กา้ กเหมือนกัน เราก็หวั เราะ ทา่ นกห็ ัวเราะ
คอื นง่ั ภาวนาอยู่ อีเกง้ มันมาจากไหนกไ็ มร่ ู้ ทา่ นวา่ อยา่ งนนั้ นะ เรากน็ ่งั อยู่ก�ำลงั จะเร่มิ ออก
ไมไ่ ด้ยินเสยี งนะทา่ นว่า มนั มาข้างมงุ้ มาเจอมุ้ง มนั ก็ร้องแกก้ ข้ึน อเี กง้ ท่านวา่ งนั้ นะ อีเกง้ มนั ร้อง
แก้ก มนั ตน่ื มันตกใจ เราอยใู่ นมงุ้ รอ้ งก้าก อเี กง้ อยูน่ อกมุง้ ก็ร้องแกก้ เราอยใู่ นม้งุ กร็ ้องกา้ ก ทา่ นอด
หัวเราะไม่ได้ตอนน้ี เราก็รอ้ งก้ากโดยไมม่ ีสตสิ ตัง มนั บา้ จรงิ ๆ ทา่ นวา่ อยา่ งนนั้ นะ ทา่ นวา่ ให้ท่าน
มันอะไร เขากม็ าของเขา ไอเ้ ราก็รอ้ งทางน้ี รอ้ งอยใู่ นมงุ้ อเี กง้ ก็เปิงเลย ทางน้ีไม่เปงิ อยู่ในมุ้ง
ทา่ นเลยเล่าถึงว่า เอ๊ ! ไอค้ วามรกั สงวนชีวติ มนั เปน็ อย่างนีน้ ะ เราไมเ่ คยคิดเลยนะวา่ มนั จะเปน็
อย่างน้นั ได้ เวลาอีเก้งมนั ร้องแกก้ เราก็โกก้ ตา่ งฝ่ายตา่ งกลัวตาย ท่านเอามาเลา่ ท่านหวั เราะกา้ กๆ
เหมือนกันนะ มันบา้ จริงๆ นะ ทา่ นเล่าใหฟ้ ัง
น่ันล่ะเร่อื งทว่ี ่าหลวงปู่พรหมท่านร้องในมุง้ อเี กง้ รอ้ งนอกมงุ้ ทา่ นร้องอยู่ในมุ้ง ฟังเสียง
กา้ กข้ึนเลย มนั บ้าจรงิ ๆ ท่านวา่ ให้ท่าน มนั อะไรก็ไม่รู้ ไมไ่ ด้คิดได้อ่านเลย พอเขารอ้ งแก้ก เขาก็
ตื่น ทางนก้ี ็กา้ ก เสียงรบั กัน ฟังเสียงเกง้ ว่ิง โอ๋ย ! ปา่ ราบไปเลย ไอเ้ รารอ้ งอย่ใู นมุง้ เราเลยไม่ลมื
ท่านบวชใหม่ ท่านวา่ อนั นน้ั เปน็ ดงท้ังหมดนะ ท่ีผ่านไปน้ัน เดยี๋ วน้ีเปน็ บา้ นหมดเลย ไม่มใี ครรู้ล่ะว่า
แตก่ อ่ นเปน็ ดง เราไดเ้ ห็นชดั เจนแล้วทวี่ า่ น่นั น่ะ โอ๋ย ! ดงจรงิ ๆ ดงเสือ ดงสตั ว์ ดงเนอ้ื เพราะฉะนน้ั
เกง้ ถึงมากลางคนื ล่ะซี เด๋ยี วนี้ไม่มีแล้ว หมดเลย ต้งั แต่บา้ นเขาเรียกบ้านดงโทน ทะลุถึงนาแกนี้เป็น
ดงใหญ่ทัง้ หมดเลย เดีย๋ วนี้เป็นบ้านเปน็ ไร่เปน็ สวน โอย๊ ! มีแตบ่ ้านนนั่ แหละติดตอ่ กนั ตลอดเลย”
ประวัติวัดธรรมบรรพต (ถ้�ำพระเวส)
วัดธรรมบรรพต หรอื ถ้ำ� พระเวส ตั้งอย่บู นเทือกเขาภูพาน เขตต�ำบลนาแก อ�ำเภอนาแก
จงั หวดั นครพนม เปน็ วดั ปา่ ฝา่ ยธรรมยตุ ทม่ี ีประวัตอิ นั ยาวนานในด้านการเปน็ สถานทีป่ ฏบิ ตั ธิ รรม
กัมมัฏฐานของพระสุปฏิปันโนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ครง้ั แรกเมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ซง่ึ เป็นปีทที่ ่านพระอาจารยห์ ลาย ไม่ทราบฉายา ทา่ นธดุ งค์มาพกั
ปฏบิ ตั ิธรรม ถ�้ำพระเวสมีลกั ษณะภูมปิ ระเทศเป็นภูเขาเต้ียๆ ประกอบไปด้วยถ้ำ� หุบเขา ผาสงู ชัน
ล�ำห้วยธรรมชาติและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น วิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ
ท่ชี อบความเงียบสงบ ถือสันโดษเปน็ อย่างยิง่ โดยหลวงปูห่ ล้า เขมปตโฺ ต แหง่ วัดบรรพตคีรี หรอื
ภูจอ้ ก้อ ทา่ นเคยเดนิ ธดุ งค์มาปฏิบัติธรรมและได้บันทกึ ไว้ในประวตั ขิ องทา่ นว่า
78
“พอถึงถ้�ำพระเวสแล้ว จิตใจก็ดูดดื่มทวี เกิดปีติน้�ำตาไหล จิตใจอ่อนโยน ศรัทธา สังเวช
ในพุทธ ธรรม สงฆ์ย่ิงขึ้น ไม่มีที่เปรียบเทียบได้ สมัยน้ันป่ารกชัฏในบริเวณแถบนั้นมากนักหนา
มีสัตวป์ า่ นานา”
จากการบอกเล่าของชาวบา้ นทีเ่ ลา่ ต่อๆ กนั มาว่า มนี ายพรานคนหน่งึ ออกไปหาลา่ เน้ือตาม
ป่าและภูเขา ไดพ้ บถ�ำ้ และหนา้ ผาท่สี วยงาม มตี าน�ำ้ ไหลออกมาจากใตก้ อ้ นหินเปน็ ทางน�้ำเลก็ ๆ
ไหลตลอดเวลา หากมีภาชนะรองไว้สามารถน�ำไปใช้ส�ำหรับด่ืมและอาบได้ ขณะน้ันมีพระภิกษุ
๒ รปู เดินธุดงค์มาปฏบิ ัติธรรมอยูท่ ี่ถำ้� พระ (ปัจจุบันเรียกว่าถ�ำ้ ฤาษี) ชอื่ พระอาจารยโ์ พธิ์และ
พระอาจารย์พา ไม่ทราบฉายา นายพรานได้น�ำเรื่องที่พบถ�้ำดังกล่าวให้พระอาจารย์ทั้งสองฟัง
จงึ ได้พากนั ไปสำ� รวจดู และไดต้ ้ังชื่อถำ้� แห่งนวี้ า่ “ถำ�้ เย่ียวไก”่ (หรอื ถำ�้ ไก่เยีย่ ว)
สว่ นสาเหตทุ ่ีเรียกวา่ “ถ�้ำพระเวส” น้ัน พระอาจารยท์ ั้งสองได้เขา้ ไปพกั ปฏิบตั ธิ รรมอยทู่ ่ี
ถ�้ำเย่ียวไก่แล้ว ได้ชักชวนชาวบ้านไปพัฒนาแผ้วถางทางเดินจากถ้�ำพระไปยังถ�้ำเยี่ยวไก่ เพื่อให้
สะดวก เดินลงเขาไปบิณฑบาต เม่อื พัฒนาทางเดินเสร็จเรยี บร้อย ญาติโยมจงึ ชกั ชวนกนั จัดทำ� บญุ
พระเวสข้นึ โดยใชบ้ รเิ วณถ้ำ� เย่ียวไก่เป็นสถานทีป่ ระกอบงานบญุ โดยไม่มีการแหพ่ ระเวส จงึ พากัน
เรียกว่า “บุญพระเวสก้อม” ดังนั้น ถำ�้ เยยี่ วไก่ จงึ พากันเรียกวา่ “ถำ�้ พระเวส” ตัง้ แต่นนั้ มาจนถงึ
ทกุ วันนี้
มีพระภิกษุหลายรูปธุดงค์มาปฏิบัติธรรมถ้�ำพระเวสแห่งนี้ มีความประทับใจในธรรมชาติ
ของผนื ปา่ ทอี่ ดุ มสมบรู ณ์ บรรยากาศสงบวเิ วก เหมาะแกก่ ารบำ� เพญ็ สมถะ – วปิ สั สนากรรมฐานเปน็
อยา่ งมาก จากค�ำบอกเล่าของชาวบา้ นท่ีมโี อกาสอปุ ฏั ฐากพอ่ แม่ครูบาอาจารยใ์ นอดตี ทไี่ ดเ้ ดินธดุ งค์
มาถ้�ำพระเวส มีดังนี้ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
หลวงป่ดู ลู ย์ อตุโล หลวงปหู่ ลุย จนฺทสาโร หลวงปู่พรหม จริ ปุญฺโ หลวงปฝู่ ั้น อาจาโร หลวงปู่
สิม พทุ ฺธาจาโร หลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นฺโน หลวงปูห่ ลา้ เขมปตโฺ ต หลวงปศู่ รี มหาวโี ร
ฯลฯ
มีพ่อแม่ครูอาจารย์หลายรูป ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์มหัศจรรย์หลายประการท่ีเกิดขึ้นใน
คำ่� คนื ของวนั พระ เช่น มแี สงสว่างจ้าคลา้ ยดวงอาทติ ยพ์ วยพุ่งขึน้ มาจากปากถ้�ำ หรือบางครงั้ คลา้ ย
แก้วเสด็จจากฟ้าลงมาสู่ปากถ�ำ้ เปน็ ตน้
ท่ีมาของช่ือวัด โดยทางวัดได้รับความเมตตาอย่างสูงจากพระเดชพระคุณ พระสุธรรม–
คณาจารย์ (หลวงปเู่ หรียญ วรลาโภ) ได้เปลี่ยนช่ือวดั เพอ่ื ความเป็นศิรมิ งคลจาก วัดถ้�ำพระเวส
เปน็ “วดั ธรรมบรรพต (ถำ้� พระเวส) ธ.” (ธ. หมายถงึ เป็นวดั สังกดั ธรรมยตุ )