279
เหรียญรุ่นแรกน้ี จ�ำนวนการสรา้ งไมแ่ น่ชดั คนเฒา่ คนแกเ่ ล่าบอกต่อๆ กนั วา่ พระอาจารย์
ค�ำมี ไดถ้ วายให้หลวงปู่ไว้แจก ๒๐๐ เหรยี ญเทา่ นน้ั แตค่ ิดวา่ จะสร้างจ�ำนวนไม่มาก เมอ่ื พระ–
อาจารย์ค�ำมีสร้างเหรียญเสร็จแล้ว ก็ได้น�ำไปให้กับหลวงปู่ ท่านจะปลุกเสกอธิษฐานจิตเมื่อใด
อยา่ งไร ไม่มใี ครทราบ โดยปรกติ ทา่ นจะไมย่ อมจัดท�ำเครอื่ งรางของขลงั หรือสง่ิ อ่นื ใดในท�ำนองนี้
อย่แู ล้ว แต่คร้งั น้ีทา่ นอนญุ าต กน็ า่ เช่อื ว่าท่านคงจะปลุกเสกให้
ตามปรกติ หลวงปู่พรหมจะไม่รับนมิ นต์ใครไปไหนงา่ ยๆ ทา่ นจะอยูแ่ ต่ในวัด สร้างโน่น
สรา้ งน่อี ยตู่ ลอด เคยมญี าตโิ ยมนิมนต์ท่านไปฉันภตั ตาหารทีบ่ า้ น ท่านก็ไม่รับค�ำ กไ็ ดแ้ ตอ่ ้อนวอน
ซง่ึ ตอ้ งใช้เวลาถงึ ๓ ปีกวา่ ท่านจงึ ตกลงไปให้ การปลกุ เสกพระเครื่องกเ็ ช่นกัน ปรกตแิ ลว้ ทา่ นจะ
ไม่สนใจเร่ืองเช่นนี้ เคยมีพระผู้ใหญ่มาขอร้องท่าน โดยมาหาและหอบห้ิวพระมาพร้อม ท่านขัด
นิมนต์ไม่ได้ ก็ให้ศิษย์เอาพระไปไว้ที่หน้าพระประธานในห้องท่าน แต่ก็ไม่เคยมีใครเห็นท่านนั่ง
ปลกุ เสกพระโดยตรงทันที หลังจากที่ทา่ นพระอาจารยค์ �ำมีรับเหรียญกลับคนื มาแลว้ กย็ ังไดน้ �ำเขา้
พธิ พี ทุ ธาภิเษกในทอ่ี น่ื ๆ อกี กอ่ นทีจ่ ะน�ำออกแจกจา่ ยใหแ้ กผ่ ้มู ศี รทั ธาตอ่ ไป
เร่อื งการจดั สร้างวตั ถุมงคลหลวงปพู่ รหมในร่นุ ต่อมา ศิษยานุศิษย์เป็นผจู้ ัดสร้าง โดยรุ่น ๒
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ และรุ่น ๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ สรา้ งเป็นเหรียญ เพอ่ื นำ� ปัจจยั ท่ีได้มาก่อสร้างเจดยี ์
จริ ปญุ โญ ส่วนรนุ่ ที่ ๔ สร้างเปน็ เหรียญ รปู หลอ่ ผ้ายันต์ เพือ่ แจกในงานฉลองการบูรณปฏสิ ังขรณ์
เจดยี ์จิรปญุ โญ และพธิ ีเททองยกฉตั รเจดยี ์ ในวนั ที่ ๑๖ – ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๑๑ จ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรม
เมอื่ หลวงปพู่ รหม จริ ปุญฺโ ทา่ นกลับไปพัฒนาวัดที่บ้านเกดิ คือ วัดตาลนมิ ติ ร จนแล้ว
เสร็จสมบูรณ์ดังกล่าวมา จากน้นั ตง้ั แต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เปน็ ต้นมา ทา่ นกลับมาพกั จำ� พรรษาที่
วัดประสิทธิธรรม และท่านได้อยู่จ�ำพรรษาตราบจนวันท่ีท่านถึงแก่มรณภาพ วัดประสิทธิธรรม
จึงเป็นวดั สดุ ท้ายที่หลวงป่ทู ่านอยู่จำ� พรรษา และเป็นวัดท่หี ลวงปทู่ า่ นพกั จ�ำพรรษาต่อเน่ืองกนั นาน
ที่สดุ
โดยในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นอีกปหี นง่ึ ท่หี ลวงปผู่ าง ปริปณุ โฺ ณ ศิษย์เอกองค์สำ� คญั ไดม้ าพกั
จำ� พรรษากับท่าน โดยประวตั ิหลวงปู่ผาง บันทึกไวด้ ังนี้
“ปพี ุทธศักราช ๒๕๐๖ ท่าน (หลวงปู่ผาง ปรปิ ุณฺโณ) พักจ�ำพรรษาทว่ี ัดประสิทธธิ รรม
หลังออกพรรษาแลว้ ไดว้ เิ วกไปทางดงหม้อทอง พกั อยรู่ ะยะหนง่ึ ไดอ้ อกวิเวกต่อไปทางภวู วั ภูทอก
ไปพักกบั พระอาจารยจ์ วน กุลเชฏฺโ ระยะหนงึ่ แล้วออกวิเวกตอ่ ไปยังภลู งั กา”
280
หลวงปู่พรหมเทศน์โปรดคุณแม่ชีต้ือก่อนมรณะ
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านด�ำเนินตามหลักธรรมค�ำสอนขององค์พระบรมศาสดา ใน
เรอื่ งการสงเคราะหค์ รอบครัวญาติพน่ี อ้ งไดอ้ ย่างหมดจดงดงาม ดงั นี้
คณุ แม่ชีต้ือ ทา่ นเป็นน้องสาวแทๆ้ ของหลวงปพู่ รหม ทา่ นไดอ้ อกบวชเป็นแมช่ ีตลอดชวี ิต
หลังจากทห่ี ลวงป่อู อกบวชไม่นาน และตอ่ มาหลวงปทู่ า่ นกลบั มาสร้างวดั ประสิทธธิ รรม คณุ แม่ชีตอื้
ท่านก็ได้ติดตามหลวงปู่มาอยู่รักษาศีลปฏิบัติธรรมและอยู่ช่วยท�ำงานวัด ในบั้นปลายคุณแม่ชีตื้อ
ท่านป่วยหนกั บวมทง้ั ตวั ขาก็บวม ท้องกบ็ วมใหญ่ สันนษิ ฐานวา่ ท่านปว่ ยเป็นโรคไต มคี ุณยาย
คนหนึง่ สมัยเป็นเดก็ นักเรยี นได้มาปฏิบัติดแู ลคุณแม่ชีตือ้ พอเลิกโรงเรียนแลว้ ก็มาชว่ ยท่านทำ� งาน
เชน่ ถอนหญ้าถอนอะไรที่กุฏหิ ลวงปู่ หาบน�้ำ รดตน้ ไม้ เป็นต้น
คุณแม่ชีต้ือป่วยกระเสาะกระแสะนานอยู่หลายเดือน แต่ว่าตอนป่วยหนักๆ ก็ไม่นานนัก
ท่านป่วยมาเร่ือยๆ เดินเหินได้อยู่ แต่ว่าไม่ค่อยสบาย หลวงปู่พรหมท่านเมตตาไปเยี่ยม ไปให้
กำ� ลังใจคณุ แมช่ ตี อื้ ถึงทพ่ี ักซ่งึ เปน็ สำ� นักแม่ชีอยู่ในเขตวัด วันไหนถา้ คุณแมช่ ตี ือ้ เจ็บปวดเวทนามาก
ท่านก็เมตตาไปเทศน์โปรด ในคืนวันท่ีคุณแม่ชีต้ือจะหมดลมหายใจ หลวงปู่ท่านก็เมตตาไปโปรด
ท่านไปนงั่ อยขู่ า้ งท่ีนอนดา้ นหวั คุณแมช่ ีต้ือตลอดคนื โดยท่านไม่ยอมนอน ในคืนวนั น้ันทา่ นเมตตา
เทศนโ์ ปรด เทศนส์ งเคราะหต์ ลอดคืน ถา้ คณุ แมช่ ตี อ้ื เจ็บปวดรอ้ งครวญคราง ทา่ นก็เทศนธ์ รรมะ
ให้สติ ให้ก�ำลังใจ ใหอ้ ดทน ทา่ นเทศน์โปรดจนคณุ แมช่ ีต้อื หมดลมหายใจจากไปดว้ ยอาการสงบ
ตอ่ หนา้ ตอ่ ตาทา่ น
พ.ศ. ๒๕๐๘ สร้างศาลาเสา ๕๐ ต้น
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ หลวงปพู่ รหม จิรปุญฺโ ท่านมอี ายนุ บั ได้ ๗๕ ปี ดว้ ยในระยะนดี้ ำ� เนิน
เข้าสู่บน้ั ปลายชีวติ ของท่าน และด้วยช่อื เสียงกิตติศพั ทก์ ติ ตคิ ุณอนั โด่งดงั ของหลวงปูพ่ รหม ซง่ึ เกดิ
จากที่หลวงปูไ่ ดบ้ ำ� เพญ็ จรยิ า ๓ มาโดยตลอด ทัง้ เกดิ จากครูบาอาจารย์ท่านแนะนำ� และจากศิษย์
ผูท้ เี่ คยสัมผสั รับใช้ใกลช้ ดิ หรอื จากผูเ้ คยมากราบไหว้แล้วเกิดความเคารพศรทั ธา ซึ่งต่างก็ไดแ้ นะนำ�
บอกเล่ากนั ปากต่อปาก ทำ� ใหญ้ าตโิ ยมพทุ ธบริษัททง้ั ใกล้และไกลทีไ่ ด้ฟังมาเกิดความเคารพศรทั ธา
ต่างกม็ ุง่ มัน่ ต้งั ใจเดนิ ทางมากราบไหวฟ้ งั ธรรม ปฏิบตั ธิ รรม หรอื มาบำ� เพ็ญบุญกบั หลวงป่พู รหม ท่ี
วดั ประสทิ ธิธรรมกันจำ� นวนมากข้นึ
ส�ำหรบั สถานทรี่ องรับท่ีมีอยูใ่ นขณะนน้ั คือ ศาลากลางนำ้� จงึ คับแคบไปถนัดใจ ไม่เพียง
พอตอ่ บรรดาศรัทธาญาตโิ ยมทม่ี าประกอบงานบญุ โดยเฉพาะงานบญุ ใหญ่ๆ เชน่ งานกฐนิ เปน็ ต้น
ดงั นัน้ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ หลวงปู่พรหมทา่ นจึงเปน็ ผนู้ ำ� พาพระเณรชาวบา้ นร่วมกนั สรา้ งศาลา
281
อเนกประสงคห์ ลงั ใหญ่ขึ้น สามารถจุคนไดห้ ลายร้อยคน โดยสร้างดว้ ยไม้ทง้ั หลัง สถานท่ีต้งั ของ
ศาลาหลงั นีถ้ ูกสร้างขวางตะวัน คือ จากหนา้ พระอโุ บสถทุกวนั นีม้ าถึงตรงหนา้ เจดีย์จริ ปญุ โญ ขนาด
ของศาลากว้าง ๑๒ เมตร และยาวถงึ ๓๖ เมตร โดยมตี น้ เสาทัง้ หมด ๕๐ ตน้ มบี ันไดทางขึ้น ๓ ด้าน
สำ� หรับหลังคามงุ ดว้ ยสังกะสี ซ่งึ สมยั นน้ั ถอื ว่าเป็นศาลาอเนกประสงค์หลังใหญ่มาก ต่อมาเรยี กว่า
“ศาลาเสา ๕๐ ตน้ ”
เม่ือสร้างศาลาเสา ๕๐ ต้นแล้วเสร็จ ก็ใช้เป็นสถานท่ีประกอบงานบุญใหญ่ๆ ของทาง
วัดประสิทธธิ รรม เชน่ งานบวชสามเณร (บวชพระทวี่ ดั ผดงุ ธรรม) งานบญุ เข้าพรรษา งานบุญ
ออกพรรษา งานบุญข้าวสาก (กระยาสารท) งานบุญกฐิน และเม่ือหลวงปพู่ รหมทา่ นมรณภาพ
ลงในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ใช้เป็นสถานที่ต้งั บำ� เพญ็ กุศลศพของท่าน ซึ่งตัง้ อย่นู านถงึ ปีเศษ จงึ จดั งาน
ประชุมถวายเพลงิ ศพทา่ น โดยศาลาเสา ๕๐ ต้นนี้ สามารถรองรบั พทุ ธบรษิ ทั ท่ีมารว่ มงานกันอยา่ ง
เนืองแน่นคับคงั่ สมดังเจตนาทห่ี ลวงปู่ท่านได้พิจารณาสร้างไวล้ ่วงหนา้ และตอ่ มาศาลาเสา ๕๐ ตน้
ไดผ้ พุ ังชำ� รดุ ทรดุ โทรมลงตามกาลเวลา ปัจจุบันทางวดั ไดท้ �ำการรอ้ื ถอนแล้ว
จัดสร้างรูปเหมือนหลวงปู่พรหมขนาดเท่าองค์จริง
ในบัน้ ปลายชวี ิตของหลวงปู่พรหม จริ ปุญฺโ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ทา่ นเมตตาอนุญาต
ให้บรรดาศิษยานุศิษย์โดยการน�ำของหลวงปู่ลี ติ ธมฺโม จัดสร้างรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริง
ของทา่ นไวเ้ ปน็ อนสุ รณเ์ คร่อื งระลึก เพ่ือใหช้ าวบ้านดงเย็นและพุทธบรษิ ทั ในภายหน้าไดก้ ราบไหว้
บูชา ซึ่งคณะศษิ ยต์ ่างดีใจกนั มาก หลวงป่ลู ีและคณุ พ่อสีโท จงึ เดนิ ทางเข้ากรงุ เทพมหานคร เพอ่ื
ตดิ ต่อวา่ จา้ งโรงหล่อพระ นบั เปน็ รปู เหมอื นองคเ์ ดยี วทจี่ ดั สรา้ งในสมัยทีห่ ลวงปู่ยงั มีชีวติ อยู่
เมื่อหล่อรูปเหมือนหลวงปู่พรหมแล้วเสร็จ ชาวบ้านดงเย็นได้มากราบขออนุญาตหลวงปู่
จดั งานใหญฉ่ ลองท่ีลานวัดผดุงธรรม ก�ำหนดงาน ๗ วัน ๗ คืน มกี ฬี าการละเล่น เช่น ชกมวย
รถไตถ่ ัง ชิงชา้ สวรรค์ ฯลฯ พร้อมกับอญั เชญิ รูปเหมอื นของท่านมาท่ลี านวัดผดงุ ธรรมใหช้ าวบ้าน
ไดก้ ราบไหว้บชู า บรรดาศษิ ยานุศษิ ยไ์ ด้กราบนมิ นต์หลวงปู่ไปชม หลวงปไู่ ปเดินรอบๆ ดรู ปู เหมอื น
ของท่าน และกพ็ ูดวา่ “คอื ผหี ลอกแท”้ ความหมาย คอื มันไม่สวยไมเ่ หมอื นทีเดียว ดแู ลว้ ไมม่ ี
ชีวิตชีวา ท่านก็เลยว่ามันเหมือนผีหลอก ซึ่งเป็นค�ำของคนโบราณท่านจะชอบพูดกัน เพราะ
รูปเหมอื นเปน็ สงิ่ ทไ่ี มค่ อ่ ยมใี นสมยั นัน้ และการป้นั ให้เหมือนจรงิ กท็ �ำได้ยาก สาเหตุประการหนึง่
คือ รูปถ่ายของหลวงปู่ในอิริยาบถน่ังมีเพียงภาพถ่ายหน้าตรงเพียงภาพเดียว จึงไม่สามารถเก็บ
รายละเอยี ดใบหนา้ ของทา่ นมาป้นั ไดค้ รบทกุ ด้าน และเมอ่ื คราวงานประชุมเพลิงศพหลวงป่พู รหม
ทางวัดก็ไดอ้ ัญเชญิ ให้พทุ ธบรษิ ทั กราบไหวบ้ ูชา และต่อมาได้อัญเชิญประดษิ ฐานในเจดียจ์ ริ ปญุ โญ
282
ก่อนเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านปรามนาคเรื่องคุณไสย
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านสอนพุทธบริษัทให้ยึดม่ันในพระรัตนตรัย ส่วนเร่ืองวิชา
อาคมคุณไสย เป็นเดรจั ฉานวิชา ทา่ นจะหา้ มปราม เหตุการณ์นี้เกดิ กอ่ นเขา้ พรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๑
มผี า้ ขาวรอบวชพระ ๒ องค์ กอ่ นเป็นผ้าขาวเคยไปเรียนวชิ าอาคม ตอนเรยี นต้องไปลอดปลอ่ งขี้
ปลอ่ งเย่ียวมันถึงจะขลงั สมัยก่อนบา้ นดงเย็นมีเสอื ชุกชุม กลางคืนลงมาไม่ได้ ชาวบ้านสร้างบ้านไว้
สูงๆ แล้วเจาะรูไว้เพือ่ จะขจ้ี ะเยี่ยวลงมา
ทีนี้บ้านดงเย็นมีผู้หญิงตาย คลอดลูกออกมาแล้วไปอยู่ไฟก็เลยตาย ชาวบ้านเขาเรียกว่า
ตายโหง ก็เลยเอามาฝังไว้ที่ป่าช้า ความด้ือซนของผ้าขาวขณะเป็นวัยรุ่น ก็ชวนกันออกไปปลุกผี
ตายโหงท่ีป่าช้า แอบหลวงปู่พรหมมุดร้ัววัดออกไปทางทิศเหนือ ตอนท�ำพิธีปลุกผีประมาณ
บา่ ยสามหรือสี่โมง เดินไปป่าช้าก็พบร่องรอย สมัยกอ่ นคนตายโหง ทางอสี านจะทำ� หลาวไมไ้ ผผ่ ่า
แหลมหวั แหลมท้ายยาวประมาณ ๖๐ – ๗๐ ซม. เสยี บปักไวร้ อบๆ หลมุ แล้วคล้องสายสญิ จน์
ขงึ รอบ แลว้ กเ็ อาหนามคลุมเอาไว้กันผีออกมาจากหลุม คล้ายๆ เป็นพิธีสะกดผีไว้ ผ้าขาวคนหนงึ่
พ่นบรกิ รรมคาถาไป กระทบื ตงึ ๆๆ ไป ผ้าขาวอีกคนหนง่ึ ก็ถอนแล้วเขวยี้ งไป พอเสรจ็ แลว้ ก็พูดวา่
“คืนน้ี ให้มึงออกไป ไปดูหน้าลูกมึง แตม่ งึ อย่าไปท�ำอะไรเขานะ ถา้ มงึ ทำ� อะไร มึงตายอกี !”
พอตกกลางคนื ผ้าขาวสองคนกไ็ ปรอดูอยกู่ ฏุ ใิ กล้ร้วั ออกไปทางป่าชา้ ประมาณสองท่มุ กวา่
ก็พูดว่า “เฮย้ ! เมอื่ ไหรม่ งึ จะออกไปวะ กูใหม้ งึ ไป” สกั พักหนงึ่ เสียงรอ้ ง “โอ้ยๆๆๆ !” เสียงคนร้อง
สะอึกสะอน้ื วิญญาณออกจรงิ ๆ พอออกไป “มึงไป ! มึงไป ! ไป !” อันนีค้ นตายใหมๆ่ ตายได้สอง
หรอื สามวนั แคน่ ัน้ เอง ตอนน้ันยังเป็นผ้าขาวทั้งคดู่ ว้ ย ไอ้เร่ืองกลัวหลวงปู่พรหมว่านี้ไม่กลัวเลย
กลวั วิญญาณ วญิ ญาณไปจริงๆ เลย แต่มันเข้าบา้ นไม่ได้ เพราะวา่ ผ้าขาวส่ัง “ใหม้ งึ ออ้ มบา้ นไป”
เสียงหมาเห่าหอนจากบ้านดงเยน็ ไป ไปเรอ่ื ย ลงทุ่งใต้นู่น หมาเห่าหอนสกั พกั หน่งึ ตอนเกอื บ
สามทมุ่ กวา่ ทางน้กี ระทืบพืน้ ดนิ “เฮย้ ! กลับไดแ้ ลว้ ๆ” กบ็ รกิ รรมคาถา เสยี งหมาเหา่ หอนกลับมา
โอ๊ย ! ขนหัวลกุ เลย “มากลับมา กลับมา” ได้ยนิ เสยี งหมาเหา่ หอน แตไ่ ม่เห็นตัว พอวิญญาณมาถึง
หลมุ แลว้ มันจะลง มนั กค็ งไม่อยากจะลงหลมุ “มึงจะตายนะไอ้น่”ี กระทืบตนี อยอู่ ย่างนี้ กระทบื
พืน้ ป้ึบๆ รอ้ ง “มึงจะตาย” วญิ ญาณเงียบเลย ทำ� พิธอี ย่ทู ีว่ ดั แตว่ ญิ ญาณลงหลมุ ท่ีปา่ ชา้
รงุ่ เชา้ พอฉันข้าวเสรจ็ ญาตโิ ยมกลับบา้ นแลว้ ผา้ ขาวท้ังสองก็สงสัย “แหม ! วันนหี้ ลวงปู่
ทำ� ไมไม่กลบั กฏุ ิ ? หลวงปู่พรหมทา่ นอยกู่ ุฏขิ องท่าน แต่ท่านทราบวา่ ผ้าขาวไปทำ� อะไรกัน ท่านจึง
ดสุ อนวา่ “ผา้ ขาวสองคนนะ่ ไปทำ� อะไรไว้ รู้ตวั เปล่าวา่ มันไม่ดี เราไมส่ ่งั ไม่สอน” ทา่ นว่า “ไปทำ�
อันน้ันให้มันเรียบร้อยซะ และอย่าท�ำอีก ถ้าท�ำแบบนี้อยู่ด้วยกันไม่ได้” ผ้าขาวก็ปรึกษากัน
เพราะว่าไมไ่ ดก้ �ำหนดใหผ้ ีมนั อยู่กี่วัน ออกกีว่ นั ก็เลยตดั สินใจไป ไปกไ็ ปปกั ทีน้ี ก็บริกรรมคาถา
283
แลว้ เอาหลาวไม้ไผ่มาเสียบๆ เสยี บหวั เสยี บขา เสยี บมือ เสียบอะไรๆ แลว้ เอาสายสิญจนม์ าต่อ
“เอา้ ! จากแต่นต้ี อ่ ไป มงึ อยา่ ออกไปอีกนะ ถา้ มึงออกไปอกี มึงตาย ! ตายไม่ได้ผดุ ได้เกิดอกี เด้อทนี ี้
อยู่นี่ !” ป้บึ ! กระทืบสามครั้ง “ไป กลบั เถอะ” ก็พากันเดนิ กลบั วดั
หลวงปทู่ ่านก็ไมไ่ ด้เทศน์สอนอะไรอีก “ให้เลิกให้หยุด ถา้ ท�ำนน่ั ขอ้ ยไม่ใหอ้ ยู่ อยกู่ ับขอ้ ย
ไม่ได”้ ท่านหา้ มเรอื่ งเล่นวชิ าอาคมคณุ ไสย มันเป็นเดรจั ฉานวิชา ผดิ ทางพระดว้ ย เรอื่ งคุณไสยน้ี
มคี นหนึง่ ท่ีเก่งท�ำคณุ ไสย สะกดจิต เขาบอกวา่ “วัดหลวงปพู่ รหมน่ีอะไรๆ กเ็ ขา้ ไมไ่ ด้ เพราะว่ามี
กองไฟล้อมรอบ ไฟลุกเปน็ เปลวรอบวัด วิญญาณตา่ งๆ พวกภตู ิผีปศี าจนีเ่ ขา้ ไมไ่ ด้”
ส่วนการขอบวชเปน็ พระธดุ งคกรรมฐาน ถ้าตามนโยบายของหลวงป่พู รหม “นงุ่ หม่ ขาวอยู่
๓ เดือน บวช ๓ ปี ขอ้ ย (ขา้ ) ถงึ จะสนใจ” ตอนหลงั ทา่ นก็ผ่อนผันอนุโลม การเป็นผา้ ขาววันแรก
ก็ต้องฝึกกินมื้อเดียวแล้วท�ำงานทุกอย่าง ท่านฝึก ท่านสอนมาก ท่านว่าคนข้ีเกียจอย่ามาบวช
คนท่ีจะบวชต้องขยันอย่างเดียว เมื่อเป็นผ้าขาวครบ ๓ เดือน และท่องขานนาคได้แล้ว ต่อมา
ผ้าขาวทั้งสองกไ็ ด้บวชเป็นพระและมาอย่จู ำ� พรรษากบั ท่าน”
พ.ศ. ๒๕๑๑ จ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรมเป็นพรรษาสุดท้าย
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ หลวงปูพ่ รหม จิรปุญโฺ จำ� พรรษาท่วี ดั ประสิทธิธรรมเป็นพรรษาสดุ ท้าย
ก่อนมรณภาพ มเี หตกุ ารณ์ในปนี ี้ ดงั นี้
“พระเณรทอ่ี ยรู่ ่วมจำ� พรรษาในปีนัน้ ประมาณ ๑๒ องค์ หลวงปพู่ รหมท่านให้แยกกนั อยู่
ส่วนหน่ึงอยู่วัดผดุงธรรม อีกส่วนหนึ่งก็อยู่กับหลวงปู่พรหม ที่วัดประสิทธิธรรม พระเณรที่อยู่
จ�ำพรรษากบั หลวงปู่ มีพระ ๕ องค์ ในปีนี้หลวงปู่สอนไม่ได้อยู่จ�ำพรรษาด้วย และมีเณร ๔ องค์
ตามปรกติของหลวงปพู่ รหม ท่านชอบพระน้อยๆ ตามปฏปิ ทาของท่าน ท่านจะไม่รับคน
เข้ามาบวชงา่ ยๆ แตม่ นั ขดั ศรัทธาพี่นอ้ งบ้านดงเย็นและบ้านถอ่ นไม่ได้ ทา่ นเคยพูดว่า “บวชเขา้ วดั
เปน็ นาค ๓ เดอื น บวช ๓ ปี ข้อยถึงจะสนใจ ไม่ใชว่ ่าบวชเข้ามากินขา้ ววดั นอนศาลา บวชเข้า
มาเฮตงึ้ ” (เฮตง้ึ คอื เฮๆ ฮาๆ) พระหนมุ่ ๒ – ๓ องคร์ วมกนั เข้าก็เฮ อยา่ งน้ไี มไ่ ด้ บวชเป็นพระแล้ว
ตอ้ งเครง่ ครัดในพระธรรมวนิ ัย ต้องปฏบิ ัตภิ าวนา บวช ๓ ปี ทา่ นถึงจะสนใจ แต่พรรษาสุดท้าย
ของทา่ นกอ็ นโุ ลมใหพ้ ระบวชตอนเขา้ พรรษา ๑ พรรษา ในชว่ งนัน้ พระต้องบม่ บาตรเอง ขัดบาตร
ท�ำบาตรเอง ไม่ไดซ้ ือ้ เหมือนอยา่ งทุกวนั นี้
ในช่วงเข้าพรรษา หลวงปู่พรหมท่านจะแนะน�ำสอนให้พระศิษย์อธิษฐานจิตว่าจะท�ำอะไร
ใน ๓ เดือนนี้ องคไ์ หนจะท�ำอะไร ให้ท�ำเปน็ กิจจะลกั ษณะ ให้เปน็ นิสยั ตดิ ไปเรื่อยๆ อธิษฐานจิต
อะไรก็แล้วแต่ใครจะอธิษฐาน ให้เอาอะไรสักอย่างหน่ึง และท่านก็เน้นให้พระเณรเดินจงกรม
284
นัง่ สมาธภิ าวนา ส่วนเร่อื งทา่ นต้อนรับแขกเทพ พวกเทวดามาขอฟงั ธรรมทา่ นกม็ ี ตอนค�่ำคืนไหน
พวกเทพเทวดามา ทา่ นกว็ า่ “ไป พากนั ไปน่ันเถอะ เดยี๋ วจะคุยกับกลมุ่ นั้นกลุ่มน้ี”
ส่วนการเทศนาธรรม ในบ้ันปลายชีวิตของหลวงปู่พรหม โดยเฉพาะในปี พ.ศ. ๒๕๑๑
ซ่ึงเป็นพรรษาสุดท้ายนี้ ท่านเทศนไ์ ม่ค่อยบอ่ ย คอื ทา่ นจะไม่สนใจเท่าไร การเทศนก์ ม็ บี ้าง แต่
ส่วนใหญ่ถ้าเปน็ วันพระ เขา้ ไปท�ำวัตรสวดมนต์เยน็ ท่านก็จะเมตตาเล่าอะไรให้ฟงั บา้ งเล็กๆ น้อยๆ
เปน็ คตเิ ตือนใจบ้าง ท่านจะพาปฏบิ ตั ิ เดินจงกรม นง่ั สมาธิให้ดู ท�ำงานใหด้ ู และทา่ นไมร่ ับกจิ นมิ นต์
ใดๆ เลย แมแ้ ตฉ่ นั จังหันเช้าที่บา้ นญาตโิ ยม ทา่ นก็ไมไ่ ป เพราะวา่ ตอนบ้นั ปลายชวี ติ ท่านไมส่ ะดวก
ทา่ นฉนั เสรจ็ แล้ว ท่านจะเข้าห้องนำ้� ทันที ในปีนท้ี า่ นรับกิจนิมนต์ทิดเรืองเพียงคนเดียว ทดิ เรือง
ทำ� บญุ ขน้ึ บ้านใหม่ ท่านให้ความเมตตามาก ท่านจึงไปสวดมนต์ฉันเชา้ ให้ นอกน้ันทา่ นไม่ไป
เมือ่ มเี จ้านายผู้ใหญ่มากราบหลวงป่ทู ่ีวัดประสิทธธิ รรม ทา่ นไมอ่ ยากตอ้ นรับ ทา่ นบอกวา่
“ข่อยไม่อยากเป็นพระเจ้าพระนาย” ค�ำว่า “พระเจ้าพระนาย” คือ เจ้านายใหญ่ๆ โตๆ หรือ
แขกผู้มีเกียรติ ไปหาไปกราบแล้วท่านต้องต้อนรับ ท่านไม่เอา ท่านจะไม่ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ
ท่านจะไม่รับเลยตรงนั้น ท่านก็ว่า “ไปหาองค์น้ันเด้อ” แล้วท่านก็ไปของท่าน ตอนน้ันมีท่าน–
พระอาจารย์เวิน เป็นพระพี่เล้ียง ท่านมาจากวัดกุดเรือค�ำ แต่มาจ�ำพรรษาท่ีวัดประสิทธิธรรม
ทา่ นจะคอยต้อนรับแขกผใู้ หญแ่ ทนหลวงปู่ ปจั จบุ นั ท่านสกึ ไปแล้ว”
ครูบาอาจารย์มากราบคารวะเย่ียมเยียนเสมอๆ
พระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่ัน ท่านถือเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ดังที่
เรียกว่า “ครอบครัวกรรมฐาน” ท่านจะไปมาหาสู่กัน ไปกราบคารวะเยี่ยมเยียนกัน ดังกรณีของ
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ จะมคี รบู าอาจารยเ์ ดินทางมากราบคารวะเย่ยี มเยยี นทา่ นเสมอๆ
นอกจากการมากราบท�ำวัตรขอขมาในช่วงก่อนเข้าพรรษาแล้ว ครูบาอาจารย์ที่มากราบ
คารวะเย่ยี มเยียนหลวงป่พู รหม จริ ปญุ ฺโ เปน็ ประจำ� เชน่ หลวงปลู่ ี ติ ธมฺโม หลวงปู่สภุ าพ
ธมมฺ ปญโฺ หลวงปูอ่ อ่ นศรี านวโร หลวงปูจ่ นั ดี เขมปญโฺ ท่านเป็นพระศษิ ย์และวดั อยูใ่ กล้
วดั ประสิทธิธรรม ทา่ นจึงมาไดบ้ อ่ ย สว่ นหลวงปูบ่ ุญ ชินวํโส ทา่ นพระอาจารย์ค�ำมี สวุ ณณฺ สิริ
(พระครูศรีภมู านุรกั ษ)์ ท่านพระอาจารย์วนั อตุ ฺตโม ทา่ นพระอาจารย์จวน กลุ เชฏโฺ ท่านพระ–
อาจารย์สิงหท์ อง ธมฺมวโร หลวงปูส่ น่นั รกฺขิตสีโล หลวงปู่สมภาร ปญฺ าวโร หลวงปผู่ ่าน
ปญฺ าปทโี ป หลวงปู่ลี กุสลธโร หลวงปอู่ ุดม าณรโต หลวงปจู่ ันทา ถาวโร ฯลฯ ท่านก็
มากราบคารวะ หลวงปเู่ ทสก์ เทสรฺ ํสี ท่านก็เคยมาเยี่ยมเยยี น ส�ำหรับ หลวงตาพระมหาบวั
าณสมฺปนฺโน ทา่ นก็เคยแวะมากราบเยีย่ มและมาพกั ท่ีวัดกบั หลวงปู่พรหมกห็ ลายคร้งั
285
หลวงปู่พรหมทวนปาฏิโมกข์คร้ังสุดท้าย
การลงอุโบสถฟังปาฏโิ มกข์คร้งั สุดทา้ ย มีหลวงปู่พรหมและพระศษิ ยร์ วม ๕ องค์ พระศษิ ย์
ส่วนใหญ่มีแต่ปู่ คือ บวชนานแต่ไม่เคยเปิดหนังสือปาฏิโมกข์ ครบองค์สงฆ์ต้องสวดปาฏิโมกข์
มีหลวงปู่พรหมท่องได้องค์เดียว ถ้าไม่มีพระสวดปาฏิโมกข์ พระศิษย์จะหนีไปวัดป่าบ้านดงดารา
ให้เหลือแค่ ๓ ถ้า ๓ ไม่ต้องสวด ถ้าไม่มีพระสวดปาฏิโมกข์ก็ต้องไปที่อ่ืน เพ่ือไม่ให้ขาดกิจวัตร
พระบวชใหมท่ ่านสวดได้ จงึ ขอข้นึ สวด
หมวดพระวนิ ัย มหาวรรค ข้อ ๒. อโุ บสถขันธกะ (หมวดวา่ ดว้ ยอโุ บสถ) บญั ญตั ิไวด้ งั น้ี
“พระมี ๔ รูป ตรัสอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ ถา้ มี ๓ รปู หรอื ๒ รูป ให้ประชมุ กนั บอก
ความบริสุทธิ์แก่กนั และกัน เรยี กว่า ปารสิ ุทธิอโุ บสถ ถา้ มีรูปเดียว ให้ปัดกวาดสถานทค่ี อยภกิ ษุอนื่
เม่ือไม่เหน็ มาใหอ้ ธษิ ฐาน คือ ต้ังใจระลกึ วา่ วนั นเ้ี ปน็ วันอุโบสถ ถา้ ไม่ท�ำ ตอ้ งอาบตั ทิ ุกกฏ”
ชว่ งนน้ั เปน็ ชว่ งกอ่ นทห่ี ลวงปพู่ รหมจะมรณภาพ เปน็ การลงอโุ บสถฟงั ปาฏโิ มกขค์ รง้ั สดุ ทา้ ย
ของหลวงป่พู รหม หลังจากทีส่ วดปาฏิโมกขจ์ บ หลวงปู่ก็เลยคล้ายๆ มีค�ำตชิ ม แล้วท่านกพ็ ดู ให้
ก�ำลงั ใจและเลา่ นทิ านสัน้ ๆ ใหฟ้ งั ว่า “เออ ! กด็ ีนะ บวช ๙ องค์ ๑๐ องค์ เหลือองคเ์ ดยี ว ถ้าอยู่
ตอ่ ไป ก็จะดนี ะ การสวดปาฏิโมกขม์ ือ่ น้ี (วนั น้ี) ก็ดี แต่ว่าคำ� ท่ีมกี ็ไมเ่ วา่ (พูด) ค�ำทเี่ วา่ ออกมา
บางคำ� กไ็ มม่ ”ี ตำ� ราหลวงป่ทู า่ นแมน่ มาก ทา่ นท่องปาฏิโมกขไ์ ด้ ตอนทวนปาฏโิ มกข์ ท่านไม่ได้
เปดิ ตำ� รา ท่านฟงั ในใจไปเร่ือยๆ ท่านฟงั ไป ตรงไหนผดิ ตรงไหนใช่หรือไมใ่ ช่ ทา่ นจ�ำได้ แต่ท่าน
ก็ไม่ไดท้ กั ว่าทอ่ งผิดอยา่ งน้นั อยา่ งนี้
สว่ นนิทานน่ีท่านก็บอกวา่ อานิสงสป์ าฏโิ มกข์มันดนี ะ สมัยกอ่ นครง้ั พระพุทธกาล มีนทิ าน
เลา่ มาว่า สองผวั เมีย ผู้เป็นผัวนีบ่ วชนานทำ� งานท�ำการไม่ค่อยเปน็ ไมค่ อ่ ยเกง่ พ่อตาแมย่ ายกเ็ ลย
รังเกียจ ก็เลยให้ไปอยู่หัวไร่ปลายนา ผู้เป็นเมียก็สงสารผัวเลยให้ไปอยู่ด้วย พอไปอยู่ด้วยกัน
หน้านั้นหน้าเก่ียวข้าว ผัวก็เก่ียวข้าวไม่ค่อยเก่ง มีแต่เมียไปเกี่ยวข้าว พอชาวบ้านชาวช่องเขา
เก่ยี วเสร็จแลว้ เขากเ็ ผาฟาง เผาทีน่ า มันกเ็ ลยลามมาหานาสองผัวเมยี น้ี เมียไปเกยี่ วข้าวอยู่หวั นา
ผัวข้นึ มาอยทู่ ่ีเถียงนา ไฟกไ็ หม้มา ไหม้มา ไหมม้ า วนเข้า วนเข้า วนเขา้ จะถึงเถียงนา เมยี อย่หู ัวนา
กม็ องเหน็ ก็ว่งิ มาว่าไฟต้องไหมเ้ ถียงนา ไหมล้ อมขา้ ว ไหมผ้ วั ตวั เองตายแน่ ก็เลยว่งิ ฝา่ กองไฟมา
มาถงึ กต็ ะโกนวา่ “ทำ� ไมเจา้ ไมม่ าดับไฟ เจา้ มานง่ั อะไร” แต่มองไปแล้วเห็นผัวนก่ี �ำลังนั่งพนมมอื
สวดมนต์อยู่ ทา่ นพูดอย่างนนี้ ะ
สรุปแล้ว ผัวเขาสวดปาฏิโมกข์ อานิสงส์ปาฏิโมกข์ พอเมียมานั่น เขาก็ไม่สนใจ เขานั่ง
สวดปาฏโิ มกข์อย่างเดยี ว เพราะเคยบวชเป็นพระมานาน พอสวดปาฏิโมกข์จบ ปรากฏวา่ ไฟลอบ
286
เข้ามา ลอบเขา้ มา ไฟก็ดับเอง นีแ่ หละคืออานิสงสป์ าฏิโมกข์ ทา่ นเป็นผู้หน่งึ ทส่ี ามารถทำ� ตรงน้ไี ด้
ก็นับว่าดีนะ นบั วา่ เปน็ บุญเป็นกศุ ลนะ
เรื่องเล่าพระศิษย์หลวงปู่พรหม
หลวงปู่ผาง ปรปิ ุณฺโณ ท่านไม่ค่อยอยู่กับหลวงปู่พรหม หายไป จนหลวงปู่พรหมมรณภาพ
ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ถงึ เหน็ ทา่ นกลบั มา หลวงปูผ่ าง ทำ� ไมท่านไมอ่ ยกู่ บั หลวงปู่พรหม ท่านบอกว่า
จริตของทา่ นไมช่ อบทำ� งาน หลวงปพู่ รหมทา่ นพระทำ� งาน หลวงปผู่ างทา่ นเลยไมอ่ ยู่ สว่ นมากท่าน
ไปอยู่กับหลวงปู่ชอบ แล้วก็ธุดงคไ์ ปในทีต่ ่างๆ
หลวงปู่พรหม ทา่ นจะอยนู่ ตี่ ลอด องคท์ ่ีอยู่กับท่าน คือ หลวงปู่สอน อุตฺตรปญโฺ ท่านเป็น
คนบา้ นตาลเหมอื นกนั เปน็ ลูกหลานของท่าน หลงั จากทีห่ ลวงปู่พรหมทา่ นมรณภาพ หลวงปูส่ อน
ทา่ นไปอยู่กบั หลวงปู่จวน ทา่ นก็ให้หลวงปู่ผางอยนู่ ่ี แลว้ ทา่ นก็ออกไป ทา่ นวา่ ทา่ นอยูม่ านานแลว้
ปรกติก็อยู่ตอนหลวงปู่พรหมมีชีวิตอยู่ ท่านก็จะไปเร่ือยๆ แต่ว่าท่านต้องกลับมาดูแลหลวงปู่
ต้องไปๆ มาๆ ทา่ นกไ็ ปอยทู่ างภวู ัว ภทู อก กบั หลวงปู่จวน ทา่ นกไ็ ปมรณภาพที่ภูทอก ชาวบ้าน
ไปอาราธนาทา่ นมาประชมุ เพลงิ ทีว่ ัดใหมบ่ า้ นตาล กก็ ลบั มาท่ีนั่น น่ันคือลกู หลานของหลวงปทู่ ีอ่ ยู่
กบั ท่าน แตอ่ งค์อ่ืนๆ ที่ยงั มชี วี ิตอย่นู ่กี ็ไมป่ รากฏ จนกระท่ังตอนหลงั หลวงปอู่ ่�ำนีม่ า ถงึ ไดร้ วู้ ่าท่าน
เคยอย่กู บั หลวงปู่พรหม ท่านก็มาพกั บางทีก็ ๕ วนั บ้าง ๑๐ วนั บ้าง
หลวงปู่พรหมช่วยสร้างวัดป่าบ้านดงดารา
วดั ป่าบ้านดงดารา ตำ� บลอ้อมกอ อำ� เภอบา้ นดุง จังหวัดอดุ รธานี ปัจจุบนั คือ วดั สมประสงค์
เป็นวดั ป่ากรรมฐานอกี วัดหน่งึ ซง่ึ ตง้ั อยู่ไม่ห่างไกลจากวดั ประสทิ ธิธรรม บ้านดงเย็น ประมาณ ๔ –
๕ กิโลเมตร ในสมยั กอ่ นท้ังบ้านดงเยน็ และบา้ นดงดารา เป็นหมู่บา้ นในชนบทในภาคอสี าน สภาพ
พ้ืนท่สี ่วนใหญ่ก็เปน็ ปา่ เป็นดง การเดนิ ทางไปมาหาสู่กันคอ่ นขา้ งลำ� บาก เพราะเป็นทางเดนิ ป่า
ดว้ ยสภาพผนื ปา่ แถบบา้ นดงดาราเปน็ สถานทเ่ี งยี บสงดั เปน็ ทส่ี ปั ปายะเหมาะกบั การภาวนา
เมอื่ พระศษิ ยข์ องหลวงปูพ่ รหม จิรปญุ โฺ ท่านไปธุดงค์วิเวกภาวนา เห็นวา่ เป็นสถานท่เี หมาะสม
ต่อมาจึงได้สร้างเป็นวัดป่าข้ึนมา แม้สภาพในปัจจุบันของวัดป่าบ้านดงดารา ก็ยังเป็นสถานท่ี
เงียบสงัด เพราะมีผืนนาผืนใหญ่ของชาวบ้านอยู่หน้าวัด ส�ำหรับพระศิษย์องค์ส�ำคัญเคยมาอยู่
จ�ำพรรษา ไดแ้ ก่ หลวงปูส่ ุมาลี (พว่ั ) นิติโก หลวงปู่อดุ ม ติ ปญฺโ ฯลฯ
เมอื่ พระศิษย์ของหลวงป่พู รหมไปสร้างวดั ป่าบ้านดงดารา หลวงปู่ทา่ นกเ็ มตตาไปช่วยสรา้ ง
วดั แหง่ นี้ การทอดกฐนิ ภาคอีสานสมัยก่อนจะตอ้ งทำ� ถนนไปก่อน หลวงปู่ทา่ นพาชาวบ้านดงเย็นไป
287
ทอดกฐิน เป็นกศุ โลบายของทา่ น ท่านจะท�ำถนน ท่านเป็นผูน้ ำ� พาชาวบา้ นบุกเบิกป่าท�ำทางไปบา้ น
ดงดารา ซง่ึ สมัยนน้ั ยงั เปน็ ทางเทา้ ทางเกวยี นไปตามป่า การเดินทางจะสะดวกในช่วงหน้าหนาวและ
หน้าแลง้ แตใ่ นช่วงหน้าฝนนีน่ ำ�้ ไหลเซาะเป็นร่องเป็นหลุมเป็นบ่อ ลำ� บากคอ่ นขา้ งทุลักทเุ ล เพราะ
ทางเดินจะเปียกแฉะเละเป็นโคลน พอออกพรรษาแล้วฝนหยดุ ตก กบ็ ุกเบิกท�ำถนน ตอไม้ขุดออกได้
กข็ ดุ ขุดไม่ไดก้ ็ไปเร่ือยๆ กแ็ ห่กฐินไป เปน็ กศุ โลบายของหลวงปู่ เหมอื นกับกศุ โลบายทที่ า่ นให้มาทำ�
ถนนบิณฑบาตที่วัดผดุงธรรม เล่ากนั วา่ ท่านเหน็ คณุ ค่าของสงิ่ ของใชแ้ ล้ว ทา่ นให้เอาขวานเกา่ ๆ ท่ี
เป็นสนิมแลว้ มีดอีโต้เก่าๆ ทท่ี ้งิ แลว้ มาลับมาฝนให้คมแล้วใสด่ า้ มใหม่เอาไปใส่องค์กฐิน
นอกจากหลวงปู่ท่านพาท�ำทางแลว้ ท่านยังเมตตาไปชว่ ยสร้างศาลาไมไ้ วห้ น่งึ หลัง ซึ่งศาลา
ไม้หลงั นี้ตอ่ มาไดช้ �ำรดุ ทรุดโทรมลง เพราะปลวกกัดกิน ปจั จบุ ันทางวัดได้ร้อื ถอนและสรา้ งศาลา
หลงั ใหม่อย่างถาวรในบรเิ วณเดิม
288
ภาค ๑๖ ปฏิปทาของหลวงปู่พรหม
ท่านไม่รับพระมาก
ในระยะแรกๆ ทหี่ ลวงปู่พรหม จริ ปุญฺโ ทา่ นมาพักจำ� พรรษาอย่ทู ่วี ดั ประสิทธธิ รรม ยงั มี
พระเณรตดิ ตามมาอย่กู บั ทา่ นไม่มาก ต่อมาหลวงปมู่ ั่น ภรู ทิ ตโฺ ต ท่านถึงแก่มรณภาพ พระศษิ ย์
หลวงปู่ม่ันก็เริ่มเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ ด้วยชื่อเสียงและคุณธรรมของหลวงปู่พรหม ท�ำให้
พระศิษย์หลวงปู่ม่ันบางองค์เริ่มหลั่งไหลมาขออยู่ศึกษาธรรมกับท่านมากขึ้น ซ่ึงช่วงนั้นหลวงปู่
ทา่ นเรมิ่ ชราภาพแล้ว และในสมยั นัน้ เดก็ ผ้ชู ายมาขอบวชเป็นเณรกับหลวงปกู่ ม็ ี โดยส่วนใหญม่ แี ต่
เณรใหญๆ่ ทมี่ าขอบวชเปน็ พระกม็ มี าก เมอ่ื ใกลเ้ ขา้ พรรษาจะมผี ชู้ ายทมี่ อี ายคุ รบ ๒๐ ปบี รบิ รู ณจ์ าก
หมู่บ้านดงเย็นและหมู่บ้านในละแวกนั้น มาขอฝึกหัดเป็นผ้าขาวและบวชเป็นพระธุดงคกรรมฐาน
อยู่จำ� พรรษากับหลวงปู่
การมาขอบวชกับหลวงปพู่ รหม มีทกุ พรรษา โดยในแตล่ ะพรรษาไม่ตำ่� กวา่ ๑๐ องค์ โดย
ในช่วงเขา้ พรรษาน้ีจะมีพระเณร ๒๐ กว่าองค์ สว่ นหน่ึงอยู่จ�ำพรรษาท่วี ดั ประสทิ ธธิ รรมกบั หลวงปู่
โดยปฏิปทาของหลวงปู่ทา่ นรบั พระเณรอยจู่ �ำพรรษาไมม่ าก พระประมาณ ๔ – ๕ องค์ เณรก็
ประมาณ ๓ – ๔ องค์ อีกสว่ นหนึ่งก็แบง่ ไปจ�ำพรรษาทีว่ ัดผดุงธรรม ปฏปิ ทาในเรื่องนข้ี องหลวงปู่
พรหม ครูบาอาจารยไ์ ดเ้ มตตาเลา่ ไว้ดังน้ี
“ตอนอยกู่ บั หลวงปู่พรหม ท่ีวัดประสิทธิธรรม มีพระอยจู่ ำ� พรรษาไมเ่ กนิ ๕ องค์ มีอาจารย์
คำ� (สุมงฺคโล) บ้านเศรษฐี อาจารย์สอน (อุตตฺ รปญฺโ) อาจารยผ์ าง (ปรปิ ุณฺโณ) อาจารย์อ�่ำ
(ธมฺมกาโม) และก็มีหลวงปูย่ งยุทธ ทา่ นจะไมร่ ับพระมากนะ ตอนหลงั มาพระเณรจำ� พรรษากบั
ท่านมาก แตก่ อ่ นพระไมเ่ กิน ๕ องค์ มเี ณรองค์หนงึ่ อาหารการกนิ น่ี โอโ้ ห ! มันกันดารเหลอื เกิน
ตอนไทยทางกรุงเทพฯ มาเหน็ เขาก็เกดิ ความศรทั ธา อ๊ยู ! เขาเอาเงนิ ทางนนู้ มาบ�ำรุงอาหารพระ
ทางนี้ บางอันอาตมากินไมไ่ ดเ้ ลยอยูน่ น่ั ไปนน่ั รถเรอื ไมเ่ ห็นเข้าไปถงึ หรอกทางรถ
หลวงปู่พรหม ท่านนึกถึงตอนท่ีท่านธุดงค์ไปอยู่เมืองเหนือกับท่านพระอาจารย์ม่ัน ครั้น
ออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์ม่ันท่านไม่ค่อยให้พระศิษย์อยู่ใกล้ๆ กัน เพราะบ้านในภูในเขา
มีบ้านละสองสามหลังเท่าน้ัน อยู่กับมูเซอกับกะเหร่ียง ถ้าอยู่รวมกันมากๆ บิณฑบาตไม่พอฉัน
พอไมต่ ายไดฉ้ ันข้าว ไมใ่ ชไ่ ปฉนั ให้อิ่ม ฉันพออยไู่ ด้ มนั เห็นทกุ ข์ ถึงได้ก�ำหนดทุกข์ ฉนั พออย่ไู ด้ ชวี ติ
ท่านเป็นไปแค่นน้ั ทีนที้ า่ นหายสงสัย มนั หมดสงสยั ความรูม้ นั ทนั หมดแล้วธาตขุ ันธ์อันน้ี ถ้าจะตาย
หรือจะอยู่ ทา่ นก็ไมส่ งสัยกับมัน เหมอื นกบั เรากนิ แลว้ เราก็ถา่ ยออก นั่น”
289
สำ� หรับในชว่ งหน้าแลง้ มพี ระมามาก ๔๐ – ๕๐ องค์ แตก่ อ่ นพระไม่เคยขาด ส่วนมาก
พระตา่ งถ่นิ เขา้ มาอยู่ มาขอศกึ ษาปฏิบตั ิธรรมกบั หลวงปู่ ยิง่ ถ้าเป็นชว่ งใกลว้ นั อโุ บสถ พระท่านก็จะ
เดนิ มาอย่พู ักคา้ งคืนแถววดั มาลงปาฏิโมกข์ แล้วกม็ าฟงั ธรรมหลวงปู่ด้วย พระมาก ๔๐ – ๕๐ องค์
ลงอุโบสถสามัคคีพร้อมกัน กุฏิสมัยก่อนมีไม่มาก หลวงปู่ท่านท�ำแต่กุฏิไม้ หลังใหญ่ก็มีอยู่ แต่
สว่ นมากพระที่มา ท่านจะอยูแ่ คร่ อยูก่ ระต๊อบกัน เพราะสภาพวัดมันจะเป็นลำ� ห้วย และก็เปน็ ปา่
ท่านจะแขวนกลดภาวนาอยูก่ นั ตามป่า
สภาพของวัดประสิทธิธรรม ในช่วงท่ีมีพระเณรจ�ำนวนมากมาขออยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับ
หลวงปู่พรหมน้ัน คล้ายคลึงกับสภาพของวัดป่าบ้านหนองผือ สมัยท่ีหลวงปู่มั่นท่านยังมีชีวิตอยู่
กล่าวคือ ผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นสัญลักษณ์แห่งธงชัยพระอรหันต์ปลิวเหลืองอร่ามงามตาไปทั่ว
บรเิ วณวดั ในขณะทที่ า่ นสะพายบาตรออกเดินบณิ ฑบาตเรียงกนั เปน็ แถวยาวในหมบู่ ้าน ดว้ ยกริ ยิ า
การก้าวเดินอย่างมีสติพร้อมกับสายตาที่ทอดลงต�่ำ และในขณะที่ท่านนั่งเรียงกันบนศาลาเพ่ือ
ขบฉนั อาหารในบาตรก็ฉันกนั อยา่ งเงียบๆ ไมพ่ ดู คยุ ส่งเสียงดัง ฯลฯ ลว้ นเปน็ กิริยาอาการอนั สงบ
ส�ำรวมระวังของสมณะผู้เห็นภัยอย่างแท้จริง แลดูแล้วงามตาน่าเคารพเล่ือมใส ส�ำหรับชาวบ้าน
ดงเย็นทัง้ คนเฒ่าคนแก่ ผใู้ หญ่ หนุม่ สาวและเด็กตา่ งก็อมิ่ เอิบมีความสขุ ใจในบุญกุศลทไ่ี ด้ใสบ่ าตร
ถวายจังหันพระธดุ งค์จ�ำนวนมาก ส่วนชาวบา้ นทเ่ี ล่ือมใสศรทั ธามากก็มาอปุ ัฏฐากรบั ใช้พระ มาช่วย
กจิ การงานต่างๆ ภายในวัดอย่างกุลีกจุ อขยันขนั แขง็ เช่น สร้างกุฏิ ศาลา ปลูกกระตอ๊ บ ท�ำแคร่ไม้
ทำ� ทางเดนิ จงกรม เปน็ ตน้
กลา่ วถงึ เรื่องของหลวงปูค่ �ำ สมุ งฺคโล วัดป่าสมุ งั คลาราม บ้านเศรษฐี อำ� เภอมว่ งสามสบิ
จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นพระศิษย์สายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น อีกองค์หน่ึงท่ีเคยมาอยู่
จ�ำพรรษาศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ หลวงปู่ค�ำ บ้านเศรษฐีองค์นี้ พ่อตู้สีโท
จะกลา่ วถงึ ทา่ นบอ่ ยมาก ถา้ หลวงปคู่ ำ� มาอยกู่ บั หลวงปพู่ รหมนเี้ รยี กวา่ “แทนหลวงปพู่ รหมไดเ้ ลย”
พระเณรน้ีเรยี กวา่ เคารพและกลวั กนั มาก เพราะท่านจะดุมาก ถ้าใครท�ำอะไรผิด ท่านจะดทุ นั ทเี ลย
แม้แต่จักรเย็บผา้ ถา้ พระเณรเอาออกมาใช้แลว้ ไม่เกบ็ เขา้ ทเ่ี ดิม ท่านก็จะดุ
ถ้านับพรรษานี้ หลวงปคู่ ำ� บา้ นเศรษฐี ทา่ นอาวโุ สกว่าหลวงปผู่ าง และอาวุโสกวา่ รุ่น
หลวงปูล่ ี พระครศู รภี ูมานรุ กั ษ์ ไมม่ าก ท่านมาเก่ียวข้องกบั หลวงปูพ่ รหมคอ่ นขา้ งมาก แตไ่ มม่ ี
ข้อมูล พ่อตู้สีโทเล่าวา่ “โอย๋ ! หลวงปคู่ �ำ ทา่ นมาใช้จกั รเย็บผ้า มันเยบ็ ผ้าไมไ่ ด้ ทา่ นดุพระใหญ่เลย”
สมยั ทหี่ ลวงปคู่ ำ� ทา่ นมาอยจู่ ำ� พรรษากบั หลวงปพู่ รหม ทา่ นถอื เปน็ ลกู ศษิ ยอ์ าวโุ สองคห์ นงึ่ กลา่ วไดว้ า่
ท่านเป็นพี่ใหญ่ ท่านเคารพหลวงปู่พรหมมาก สมัยนั้นหลวงปู่โยท่านก็อยู่ด้วย หลวงปู่โยท่าน
290
เคารพหลวงป่คู ำ� มาก รนุ่ น้ันทที่ า่ นคุ้นเคยกนั ก็มหี ลวงปู่สอน หลวงป่ผู าง หลวงป่โู ย หลวงปูอ่ �ำ่
เพราะท่านเคยอยจู่ ำ� พรรษารว่ มกัน
ท่านก�ำหนดจิตตรวจดูพระเณร
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านจะเข้มงวดกวดขันให้พระเณรปฏิบัติภาวนา ท่านจะน่ัง
กำ� หนดจติ ตรวจดูพระเณรที่อยู่กบั ท่าน โดยครบู าอาจารย์ได้เมตตาเล่าเรอื่ งนไี้ วด้ งั นี้
“ครูอาจารย์พรหมท่านไม่ได้เดินตรวจพระเณรตามกุฏิ ท่านนั่งก�ำหนดจิตที่กุฏิของท่าน
ทา่ นก็รจู้ ักหมด เปน็ เรอ่ื งอัศจรรยอ์ ย่นู ะ เรากเ็ หลอื เชือ่ อยู่ ทา่ นรวู้ า่ ใครท�ำอะไรอยู่ มีครงั้ หนึ่ง
ตอนค�ำ่ ตอนใกลจ้ ะขน้ึ ไปกุฏิท่าน เราไปอา่ นหนังสอื ทา่ นเจ้าคณุ อุบาลีฯ อยปู่ ่าบงนู้น ข้างๆ หนอง
วัดนนู้ คำ�่ ๆ มาไมม่ ไี ฟฟ้า เราก็จดุ เทยี นอ่าน เราเลยไปจำ� ไปเรียนมา อ่านเอาความรใู้ นหนงั สอื เอ๊ะ !
ทำ� ไมทา่ นเจา้ คุณอบุ าลีฯ เทศน์ดีจัง
พอกลางคืนข้ึนไปกราบฟังเทศน์ครูอาจารย์พรหมท่านว่า “เออ ! ไม่ให้ไปเรียนเอา
ความจ�ำอารมณ์นน่ั ” ท่านไมใ่ ห้เรียน ทา่ นทำ� ไมรูว้ า่ เราท�ำอะไร เอะ๊ ! ท่านไปรู้ไปเหน็ ไดอ้ ย่างไร
อ่านอยตู่ ัง้ ไกล ท่านไดม้ าเตอื น “เรียนตามตัวหนังสือ มันไม่มวี ันจบหรอก” ทา่ นวา่ ทา่ นเตือนอยู่
อันนี้ เราก็เห็นอยู่ ขึ้นไปกุฏิ ไปกราบท่านนะ ท่านพูดเลยนะ “ไปเรียนเอาความรู้ความพูด
ในหนังสือนั่นมันความจ�ำ” โอ้ ! ท่านไม่ให้เรียนหนังสือ มันไปเรียนทางนอก ท่านไม่สนับสนุน
ทา่ นใหเ้ รียนละเรียนถอน เรียนใหม้ ันเกิดความร้ใู นใจของใครของมัน เรานั้นไม่ได้ ท่านท้วงตงิ การ
อ่านหนังสือ เราก็เลยหยุด ทกุ ส่ิงทุกอย่างทา่ นให้ปฏิบตั ิ ให้พิจารณาความจรงิ ความปรุง ความแตง่
ของอารมณ์ทั้งหลาย พวกอวชิ ชาตณั หาไปอย่างนน้ั นะ เราจ�ำไมค่ ่อยไดห้ รอกประวัตขิ องท่านนน่ั
เราไปอยูน่ ั่น ไอ้เรื่องท่านบอกให้ละใหถ้ อน ให้ปฏิบตั ิ ใหท้ �ำ เราจ�ำเอาตรงนนั้ ”
สว่ นเณรสมัยหลวงปพู่ รหม สว่ นใหญ่มีแตข่ ้กี ลากขน้ึ ทั้งนั้น มีเณรใหญอ่ งค์หนึ่งขี้กลากข้ึน
เต็มตัว ตัวนี้มีน้�ำเหลืองไหล สมัยน้ันขี้กลากยังมี หลวงปู่พรหมท่านบอกว่า “มันต้องท�ำผิดอะไร
สักอย่าง” แต่ก่อนท�ำผิด แม้ท�ำผิดนิดๆ หน่อยๆ ข้ีกลากขึ้นเลย เณรคงแอบกินอะไรนอกเวลา
เป็นเร่ืองแปลกมาก สมยั ก่อนขก้ี ลากเยอะ แต่ปัจจุบันไม่รหู้ ายไปไหน แมแ้ ต่หนังสือตา่ งๆ ใบลาน
วางตำ่� ๆ ไม่ได้ ไปเดนิ ขา้ มหนังสอื ขก้ี ลากขึ้นเลย
ท่านไม่เคยขาดการบิณฑบาต
การบิณฑบาตด้วยล�ำแข้งเท้าเปล่า ถือเป็นกิจวัตรอันส�ำคัญอย่างหน่ึงของพระภิกษุสงฆ์
ในบวรพระพทุ ธศาสนา และถอื เปน็ ปฏปิ ทาสำ� คญั อยา่ งหนงึ่ ของพระธุดงคกรรมฐานสายทา่ นพระ–
291
อาจารยม์ ่นั หลวงปู่พรหม จริ ปญุ ฺโ ทา่ นก็ไดด้ ำ� เนนิ ตามอย่างเคร่งครัด กลา่ วคือ ปีนน้ั แม้ท่าน
อายจุ ะครบ ๘๐ ปแี ล้ว ทา่ นยงั ออกเดินบิณฑบาตทุกเชา้ ไมเ่ คยขาด เว้นแต่ไม่ฉนั ท่านบิณฑบาต
จนวนั สดุ ทา้ ยก่อนวนั มรณภาพ ดงั น้นั การบณิ ฑบาตของหลวงปู่พรหม จึงถอื เปน็ คติธรรมอนั ล�้ำเลศิ
ใหพ้ ระศิษย์รุน่ หลังดำ� เนินตามได้เปน็ อยา่ งดี
ตอนเชา้ มาหลวงป่พู รหมท่านพาพระเณรออกเดนิ บิณฑบาตใกล้ๆ ท่ีวัดผดงุ ธรรม ซงึ่ หา่ ง
จากวัดประสิทธิธรรมเพียงถนนค่ันกลาง ท่านไม่ได้บิณฑบาตไกลๆ เหมือนแต่ก่อน ซ่ึงเดินรอบ
๓ หม่บู ้าน คือ บ้านดงสวรรค์ บา้ นดงสงา่ และบา้ นดงเย็น รวมระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร โดย
เรม่ิ จากบา้ นดงสวรรค์ ซง่ึ กอ็ ย่หู น้าวัดประสิทธิธรรม ไปบ้านดงสงา่ แลว้ กม็ าบา้ นดงเยน็ คือ ทีต่ ลาด
ในปจั จบุ ันนี้ ซ่ึงแต่กอ่ นนี้เป็นหมูบ่ ้านเดยี วกัน
ส่วนสาเหตุท่ีท่านบิณฑบาตตรงวัดผดุงธรรมหรือวัดในนี้ หลวงปู่พรหมท่านมีนโยบายว่า
ทา่ นจะรักษาวัดนี้ เพราะวดั ไมม่ พี ระอยู่ รกร้างไดพ้ รรษาสองพรรษาแลว้ เพราะตอนน้ันหลวงปู่บญุ
และพระท่อี ยวู่ ัดนี้ บางองค์กม็ รณภาพ และบางองคก์ ็สกึ ออกไป กเ็ ลยไม่มีพระอยู่ หลวงปู่พรหม
ท่านกเ็ ลยต้องมาดูแล เพราะวดั ผดงุ ธรรมนเ่ี ปน็ วัดท่ที ่านตั้งเปน็ องค์แรก ดงั น้นั ก่อนทจ่ี ะบิณฑบาต
ในตอนเช้า ท่านจึงบอกให้ญาติโยมท่ีจะใส่บาตรไปรวมกันที่วัดผดุงธรรม ให้ชาวบ้านเอาปิ่นโต
หม้อกบั ข้าวและกระตบิ๊ ข้าวไปวางไว้ เสร็จแล้วกไ็ ปช่วยกนั ทำ� ความสะอาดปดั กวาดตาดดายหญ้า
พอประมาณเจ็ดโมงครง่ึ พระกจ็ ะออกมาเคาะระฆัง แล้วกอ็ อกมาพรอ้ มกับหลวงปู่ มาครองผ้าจวี ร
กันท่วี ดั นี้ พอญาติโยมไดย้ ินเสียงระฆังก็วางเครื่องไมเ้ ครอื่ งมอื ลา้ งไมล้ ้างมือแล้วมาเขา้ แถว หลวงปู่
ก็พาพระเณรเดนิ บณิ ฑบาต
ชว่ งนั้นหลวงปู่พรหมทา่ นแบง่ พระมาอยู่วดั ผดุงธรรมแล้ว สว่ นใหญ่ก็อยทู่ วี่ ัดประสทิ ธธิ รรม
ที่วัดประสิทธิธรรม หลวงปู่ทา่ นกใ็ หญ้ าติโยมมาทำ� ขอ้ วตั รกอ่ นเชน่ เดยี วกบั วดั ผดงุ ธรรม เม่ือทา่ น
กลบั มาฉนั เช้าทีศ่ าลากลางนำ้� วดั ประสิทธธิ รรม ซึ่งแตก่ ่อนเป็นศาลาไม้ ญาตโิ ยมกต็ ามมาท�ำวตั ร
สวดมนตเ์ ช้า พอประเคนอาหารเสรจ็ พระก็ฉนั จงั หนั ไป ญาติโยมกส็ วดมนตไ์ ป สวดมนต์เสร็จก็
แยกยา้ ยกินขา้ ว เปน็ อาหารทเี่ หลอื จากพระ เณร แม่ชี ตกั แบ่งไวแ้ ล้ว ญาตโิ ยมก็มาแบ่งๆ กนั กนิ
มอี ะไรกก็ นิ กัน พอฉนั เสรจ็ ก็ลา้ งบาตร ล้างอะไรอย่ตู รงศาลา แตก่ ่อนล้างตรงนั้น
ส�ำหรับเรอ่ื งอาหารขบฉันมเี พียงพอ บา้ นดงเยน็ ข้ึนชอ่ื วา่ อุดมสมบูรณ์มาก ปลาในแมน่ ำ�้ มี
จ�ำนวนมาก พืน้ ที่ก็ไมแ่ ห้งแล้ง มีปีหนึง่ น�ำ้ ท่วม ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๖ – พ.ศ. ๒๔๙๗ น้ำ� จาก
แมน่ ำ�้ มาก ไดไ้ หลเออ่ ท่วมอยูว่ นั สองวนั กแ็ ห้ง ชาวบ้านก็ยา้ ยวัวยา้ ยควายขน้ึ ไปอยบู่ า้ นดงสงา่ หรือ
บ้านนอก เพราะมนั จะมีเนินสงู
292
ท่านมีปฏิปทาสั่งงานโดยไม่พูด
หลวงปพู่ รหม จิรปญุ โฺ ปฏปิ ทาในการสงั่ งานตา่ งๆ ภายในวดั หากเคยทำ� งานกับท่านแลว้
และเปน็ ลกั ษณะงานเดิมๆ ทา่ นจะไม่พดู ไม่บอกกลา่ วใดๆ แตท่ า่ นจะน�ำอปุ กรณ์ตา่ งๆ ไปวางไว้
เปน็ สญั ลักษณ์ ทำ� ใหพ้ ระเณรท่ีอยกู่ ับทา่ นได้มีโอกาสสงั เกตและได้ฝกึ หดั ใชส้ ตปิ ญั ญาพจิ ารณางาน
ภายนอก ซึง่ เปน็ เรือ่ งหยาบและงา่ ยกว่าการพิจารณางานภายใน ปฏปิ ทาเร่ืองนขี้ องหลวงปพู่ รหม
ครูบาอาจารยเ์ ล่าสืบต่อกนั มา ดังน้ี
“หลวงปู่พรหมน่ีปฏิปทาทา่ นไมเ่ หมอื นองค์อนื่ เวลาท่านจะสงั่ พระเณรทำ� งานในวดั ทา่ น
จะเอาอปุ กรณ์ไปวางไว้โดยไมพ่ ูด เช่น ถา้ ตอ้ งการดนิ ทา่ นมอบให้ใครท�ำ ทา่ นจะเอาจอบและบ้งุ กี๋
ไปวางไว้ แล้วก็เดินไปเลย โดยไม่ได้สั่งอะไร ถ้าต้องการดายหญ้า ท่านจะเอาจอบเอาเสียมไป
วางไว้ ถา้ อยากไดไ้ มน้ ่ี ท่านก็จะเอามดี ไปวางไว้ ลกู ศิษยจ์ ะตอ้ งเขา้ ใจเอง ทา่ นไม่บอก นิสยั ท่าน
“ไมโ้ ว้ย ! ฟันไมใ้ หห้ น่อย ตัดไม”้ ทา่ นไมพ่ ดู ท่านไปวางอุปกรณไ์ ว้ ถา้ ตอ้ งการหลมุ ปลกู ต้นไม้นี่
ทา่ นก็เอาถุงไปจองไว้ตรงหลุมปลูก แลว้ ก็เอาต้นไมไ้ ปวางไว้ ทา่ นก็ใหพ้ ระเณรท�ำเอง ส่วนอุปกรณ์
ต่างๆ ท่านจะเตรยี มให้หมด แต่ส่วนมากลูกศษิ ย์ ถา้ อยูก่ ับทา่ นจะรู้ ถา้ ท่านอ่นื ทีไ่ ม่เคยอยู่กบั ทา่ น
เขาไม่รูจ้ ักหรอก”
พระเณรกลัวหลวงปู่พรหม
หลวงปู่พรหม ขณะอยู่วดั ประสิทธธิ รรม มีแต่คนกลวั ทา่ น ไม่ค่อยมใี ครกลา้ ถาม นอกจาก
ทา่ นจะเลา่ เวลาท่านจะใช้งานอะไร ท่านจะพดู ค�ำเดยี ว ตอนมาสร้างวัดตรงนี้ หลวงปทู่ ่านใหพ้ ระ
ด�ำนำ�้ ตัดขอนไมท้ ี่จมอยูใ่ นนำ้� ข้ึนมาทำ� กุฏิ พระกก็ ลัวปลิง พอด�ำลงไป กลวั ปลงิ กโ็ ผล่ขึน้ มา หลวงปู่
กด็ ุ “ดำ� ลงไปใหม่ ตดั ใหข้ าด” โหย ! กลัวปลงิ ขนาดไหน กลวั หลวงป่มู ากกว่า หลวงปู่ยืนอยขู่ ้างบน
เณรโผล่ขึ้นมา หลวงปู่ดุ “ดำ� ลงไปใหม”่ ไปดึงเลือ่ ย ใจจะขาดกโ็ ผล่ขนึ้ มา ทัง้ ปลิงกย็ วั้ เยย้ี ไปหมด
เฮ้อ ! ยกขอนไม้ก็เหมือนกัน ถ้าเข้าไปมากๆ ยกหลายคนมันไม่ข้ึน หลวงปู่ให้ออกคร่ึงหนึ่ง
“มันมากเกิน มันเก่ียงกัน” ท่านว่า ท่านมีนิสัยเด็ดขาดมาก ถงึ มแี ตค่ นกลวั ท่าน
ท่านประหยัดมัธยัสถ์และดัดแปลงท�ำของใช้เอง
หลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ ท่านรกั ษาปฏปิ ทาพระธุดงคกรรมฐาน ทา่ นพาพระเณรย้อมผ้า
ดว้ ยแก่นขนนุ ส่วนบาตรใชบ้ าตรเหล็ก มกี ารบม่ บาตร เพอื่ ไมใ่ หเ้ ป็นสนมิ สำ� หรบั ของใช้ท่านมี
ปฏิปทาประหยัดมัธยัสถ์อย่างเด่นชัด และด้วยความที่ท่านเคยเป็นช่างท�ำเกวียน ท่านจึงชอบ
ดัดแปลงท�ำของใชเ้ อง ดังน้ี
293
“สมัยก่อนไมก้ วาดหลวงปูพ่ รหมทา่ นท�ำใชเ้ อง ทา่ นเอาตน้ เมก็ มาทำ� ดา้ มไมก้ วาด เคร่ืองไม้
เคร่ืองมือก็ไม่มี ความเพียรของท่าน ไม้เม็กมันคดมันงอ ท่านเหลาอยู่องค์เดียว ท่านเอามีดอีโต้
ตัดโคนตดั ปลายออก ตน้ เม็กต้นใหญ่ๆ ตอ้ งคอ่ ยๆ ถากออกมา เอามาทำ� ด้ามไมก้ วาดได้แค่ ๒ ดา้ ม
แลว้ ก็เอาเปลอื กมะพร้าวมาฉกี ๆๆ เป็นเสน้ ๆ คล้ายดอกหญา้ แลว้ เอาหวายมาถกั เป็นไม้กวาด
ใช้เวลาท�ำ ๓ – ๔ วันกวา่ จะเสรจ็ ขณะท่านท�ำไมก้ วาด ทา่ นบอกพระศิษยว์ า่ “ไมต่ ้องมาสนใจข่อย
(เรา) ดอก แต่ว่าสูเจา้ ทำ� งานของเจา้ ไป ข่อยกจ็ ะท�ำงานของข่อย” พวกพระเณรก็ไปขดุ สระ
รถเขน็ ๒ ลอ้ หลวงปูพ่ รหมทา่ นประยกุ ต์ท�ำขนึ้ เอง โดยใช้ไมเ้ นือ้ แข็งไม้เต็งไม้รงั แถวนนั้ ทำ�
ล้อและดุมแกนล้อก็ใช้ไม้ท�ำ ด้ามจับต่อข้ึนมาส�ำหรับเข็นก็ใช้ไม้ รถเข็นนี้ใช้ส�ำหรับขนดินและ
เครือ่ งใชข้ องสอย เชน่ ใชท้ ำ� ฝาย ขนดนิ ไดป้ ระมาณไม่เกิน ๒ บุ้งกี๋ พอใช้งานเสยี งมนั ดงั เอี๊ยดอ๊าดๆๆ
มันดังมากๆ บางทที า่ นก็บอกว่า “เอาไปจมุ่ นำ้� บ้างด”ิ จุ่มน�้ำแลว้ มนั ไมด่ งั แตม่ นั ฝดื บางทีทา่ นกใ็ ห้
เณรไปเอานำ้� ตาเทยี นที่เขาจดุ เทยี นอยขู่ า้ งโบสถ์มาใสด่ ุมใสเ่ พลาแทนน�้ำมนั หลอ่ ลนื่
ผ้าเหลอื ง เศษผา้ จีวรเก่าๆ ทา่ นก็เอาไปถกั ทำ� เป็นผ้าเช็ดเท้า เอาไม้ไผม่ าท�ำเปน็ ซๆ่ี ๆ เหลา
แล้วก็เอาหวายถัก นอกจากเอาเศษผา้ แล้วกเ็ อากาบมะพร้าวมาท�ำทเ่ี ชด็ เท้า หลวงปูพ่ รหมทา่ น
เหน็ ทุกอย่างมีคุณคา่ แลว้ ที่ท่านพาท�ำอีก สมยั นเี้ ขาเรยี กวา่ ชกั โครกมีที่ฉดี ล้างกน้ สมัยก่อนท่านก็มี
ทา่ นใช้ไมไ้ ผ่ปล้องยาวประมาณเทา่ แขนมาทำ� โดยปลายดา้ นหนงึ่ ผา่ เป็นรางให้เรยี วแล้วนำ� มาเหลา
จนเกล้ยี ง ตรงปล้องบนส่วนทีต่ ิดกับปลายดา้ นท่เี หลาก็เจาะเอาไวก้ รอกนำ�้ แล้วกต็ ้งั ไว้ข้างๆ ส้วม
สมยั กอ่ นไม่มชี กั โครก สว้ มไม่มถี ัง ไมม่ ีอะไร ถ่ายลงไปก็มองเห็นแล้ว พอถา่ ยเสร็จก็เอาตวั นี้จบั ล้าง
น้�ำตรงนี้มันก็จะไหลออกมารับกับก้นพอดี สมัยนั้นไม่มีทิชชู ท่านก็เอาผ้าเหลืองถักใส่ไม้ไผ่เช็ด
กน้ หรอื ทีเ่ รยี กวา่ ไม้ปนั่ ดาก ใช้แล้วก็ท�ำความสะอาดน�ำมาแขวนไว้ให้มนั แหง้ ๓ – ๔ วันเอามา
ตากแดด หรอื วนั ไหนมนั ชื้นมากๆ กเ็ อามาตากแดด ถ่ายเสรจ็ ลา้ งเสรจ็ ต้องกรอกนำ�้ ให้เต็มแลว้ เอา
ไปตงั้ ไว้เหมอื นเดิม
การเอาของเก่ามาใช้ประโยชน์ก็เป็นท่ียอมรับ หลวงปู่พรหมท่านประหยัดมัธยัสถ์ทุกส่ิง
ทกุ อย่าง เร่อื งตะปู ตะปเู ก่าๆ งอๆ ท่านไม่ท้ิงเลย บางทีกเ็ อาตะปเู กา่ ๆ ไปแชน่ ำ�้ มนั ยาง นำ้� มนั กา๊ ด
ฯลฯ ตะปูงอๆ ท่านดดั เอามาใชห้ มด บางทไี ม่มีตะปใู ช้ ทา่ นก็ตดั ลวดใชแ้ ทนตะปู เสาร้ัวชว่ งนน้ั กม็ ี
ลวดหนาม มนั เปน็ ขดๆ มนั มลี วดท่รี ัดลวดหนามซึง่ มนั หนากวา่ ทา่ นกเ็ อาลวดท่รี ดั ลวดหนามมาตดั
เป็นทอ่ นๆ ยาวพอๆ กบั ตะปู ๒ – ๓ นวิ้ มีดอโี ต้ของท่านใหญ่และคมมาก ทา่ นลบั ทกุ วนั เอามา
สบั ลวด สบั เฉียงๆ หน่อยหน่ึงใหม้ ันแหลมดา้ นหนึ่ง สบั โป๊กตรง สบั เป๊กแหลม
ตอกตะปู ท่านไมใ่ หห้ ลายดอก ทา่ นใหด้ อกเดียว เอาจนเขา้ ให้ได้ จะคดจะงอยังไงตอ้ งดัด
ทา่ นทำ� ของใชง้ ่ายๆ ไมม่ ีเคร่อื งไม้เคร่อื งมืออะไร หาเหลก็ เส้นทพี่ อจะตีเปน็ ตะปูได้ เช่น เหลก็ ท่ีเขา
294
ใช้หว้ิ กระป๋องน�ำ้ บ้าง มาดัด ดัดแลว้ กต็ ี เผาไฟให้ปลายมันแหลมๆ ก็ไปตอก พอมันจะเข้าไปมิดก็พบั
หวั ไว้นิดหนง่ึ แทนหมวกมัน สะพานทีเ่ อาไมท้ ่อนซงุ เปน็ ทอ่ นๆ มาท�ำ ขอนมนั ยาวกเ็ อาเหล็กยาวๆ
ทเ่ี ป็นเหลก็ เสน้ มาเผาไฟตปี ลาย ท�ำใหแ้ หลมแล้วก็ตีเข้าไปเปน็ สลกั ท่านจะใชข้ องทีค่ นอ่ืนไมค่ ิดวา่
จะใชไ้ ด้ ทา่ นทำ� ใชไ้ ด้ ทำ� สะพานขา้ มลำ� ห้วยใหญๆ่ ท่านทำ� ได้หมด อย่างคนโบราณทา่ นมปี ญั ญา
ถ้าเป็นคนสมยั นคี้ งไมม่ ปี ัญญาทำ� หรอก อันนนั้ ธรรมชาตมิ นั สอนทา่ น ให้แกป้ ัญหาเฉพาะหนา้
ตอนตอกตะปู กม็ ีเรอ่ื งอภนิ ิหาร ท่านมฤี ทธิ์ คือมีไม้เต็งเกา่ มาก มนั แขง็ ยิง่ กว่าหิน ทา่ นไป
ตอกโป๊กๆๆ ตะปูมันยาวประมาณสามนว้ิ คร่ึงหน่ึงมันเขา้ ไป ทีนตี้ อกไปตอกมาไม้มนั แข็ง ตะปเู หลก็
มันออ่ น โป๊ก... มันทนคอ้ นไมไ่ หว มันกง็ อพับเสยี บลงหวั แมม่ อื “อยุ๊ !” ท่านอบุ “โดนน้ิวมือเอาออก
ไมไ่ ด้” น้ิวทา่ นกค็ าอยู่อยา่ งนัน้ เลอื ดไหล พระศิษยก์ ว็ งิ่ เขา้ ไปเอาค้อนงัดออกมา เขา้ ไปลกึ มันทะลุ
ข้างๆ เลบ็ เข้าไป น่าจะเจบ็ ปวดมาก พองัดออกมาป๊บุ ท่านวา่ “หือ... มันบแ่ มน่ ของเฮา มนั เปน็
หยังไมเ่ ข้าไม”้ (หือ... มันไมใ่ ชข่ องเรา มนั ท�ำไมไม่เข้าไปในเนอื้ ไม้) ท่านพ่นน�้ำลายใส่พรวดๆ เลือด
ไหลๆ หยุดเลย เหมอื นการคัดห้ามเลือด สมยั ก่อนไมม่ ีพลาสเตอร์ ท่านก็ใช้ชายผ้าเหลืองพนั แผล
ไม่ไดท้ ายา เป่าพรวดๆ ทำ� งานต่อไป ท่านอดทนมาก ถ้าเป็นคนท่วั ไปคงท้งิ งานไปแลว้
สำ� หรบั กระโถน สบู่ แฟบ้ ผงซกั ฟอกสมยั นน้ั มแี ลว้ พวกแปรงสฟี นั นไี่ มใ่ ช้ ใชไ้ มเ้ จยี พระเณร
ทำ� กนั เอง พอจะเขา้ พรรษากเ็ อาไปกราบคารวะครบู าอาจารย์ นอกจากนห้ี ลวงปู่พรหมท่านบังสกุ ลุ
โลงศพเอามาทำ� ประโยชน์ คอื ทา่ นไม่ให้เผาโลงศพ ใหเ้ อาแตศ่ พซ่ึงมเี สือ่ พันไวเ้ อาขน้ึ กองฟอนเผา
กุฏบิ างกฏุ เิ กือบทง้ั หลงั เอาฝาโลงศพไปทำ� ฝาผนัง มนั กม็ กี ระดาษเงิน กระดาษทองติด สเี ขยี ว สีแดง
สีเหลืองอะไรเต็มไปหมด ทางอีสานเรยี กกระดาษจดิ จี่ พระบางองค์เห็นแล้วก็ไม่กล้าเขา้ ไปนอน
สำ� หรบั การรักษาเสนาสนะ การป้องกนั ปลวก หลวงปพู่ รหมท่านกเ็ อาปูนซเี มนต์ไปหลอ่ เสา
เชน่ ศาลาเสา ๕๐ ตน้ เป็นเสาเหลี่ยมยาว ๖ เมตร ท่านเอาปูนซเี มนต์ไปโบกหล่อ ด้านล่างกท็ ำ� เปน็
แอง่ ขึน้ มาเหมอื นชามใสต่ ูก้ บั ข้าว เอานำ�้ ใส่ไวไ้ ม่ให้ปลวกมดข้ึน พอปลวกมดมาเจอน้ำ� มันกเ็ ขา้ ไม่ได้
มันจะต้องข้ามน้�ำไปถึงจะไต่เสาได้ ท่านท�ำทุกต้นเสาและท�ำแทบทุกกุฏิ เป็นภูมิปัญญาของท่าน
กุฏบิ างทที ่านกเ็ อาผ้าเหลอื งทเ่ี ลกิ ใช้แลว้ น่ีชุบนำ้� มนั ยางแลว้ กไ็ ปพันเสาไวไ้ มใ่ หป้ ลวกขน้ึ สมยั ก่อน
ตน้ ยางที่วดั มีมาก ก็ไปเจาะเปน็ หลุมเขา้ ไปขา้ งใน น้�ำมันยางจะหยดไหลออกมาก็เอาเศษผา้ ไปซับ
พวกเศษผา้ น่ที ่านไมท่ ้ิงเปลา่ ท่านเอามาท�ำประโยชน์หมด”
295
ท่านปลงผมเอง – ฉันหมากวันละ ๓๐ ค�ำ
สาเหตทุ พี่ ระไปแยง่ กนั สรงนำ�้ หลวงป่พู รหม
๑. อยากไดฟ้ นั ของท่านที่หลดุ ออกมา
๒. อยากไดเ้ สน้ เกศาท่ที า่ นเพง่ิ ปลงออก
หลวงปู่พรหมท่านจะปลงผมเอง ถ้าทา่ นปลงผมเสร็จเรียบร้อยแลว้ ถา้ ทา่ นอยากใหเ้ สน้
เกศาใคร ถึงไดเ้ หน็ “อา้ ว ! พระองค์น้ี เส้นผมนี้ให”้ ถา้ ทา่ นไมใ่ ห้เห็นเส้นเกศา จะไมม่ อี งค์ไหน
เห็นเลย อยูใ่ นวดั ไม่มีพระองค์ไหนไดเ้ หน็ เสน้ เกศาท่านเลย ไมร่ ้วู า่ ทา่ นเอาไปไว้ไหน
หลวงป่พู รหม ตอนฉันจังหันเสร็จ ท่านชอบฉนั หมาก ฉนั แล้วก็คุย สว่ นบหุ รี่ ทา่ นไมค่ ่อยสูบ
ทา่ นฉนั หมากเปน็ ปรกติ ทา่ นเคยี้ วหมากเกง่ วนั ละ ๓๐ คำ� ท้ังพระทง้ั เณรช่วยกันต�ำวันละ ๓๐ คำ�
ต�ำเปน็ คำ� ๆ ตำ� ใส่ครกตำ� หมาก ใสห่ มากดบิ แก่นคูน ใส่พลู ใสป่ ูน ต�ำเสร็จแล้วก็ใส่ผา้ ไปถวายให้
ทา่ นฉนั พอท่านชราภาพ ตอนท่านเทศน์ ทา่ นถงึ ไม่เคยี้ วหมาก ยากไ็ ม่สบู
ท่านมีนิสัยขยันและท�ำให้ดูเป็นตัวอย่าง
สมัยหลวงป่พู รหมทา่ นยังมีชวี ติ อยู่ พระเณรจ�ำพรรษากบั ท่านไมม่ าก ตอนหลังมาพระเณร
มากขน้ึ สมยั กอ่ นบ้านดงเยน็ เป็นบ้านปา่ การคมนาคมไมส่ ะดวก หลวงปนู่ ิสัยท่านขยนั ไมอ่ ยู่นิง่
ไมอ่ ย่เู ฉยๆ พ่อตสู้ โี ทเป็นช่างท�ำเกวียน บางวนั ก็นง่ั ทำ� งานอยู่ ถ้ามคี นไปบอกวา่ หลวงปเู่ รยี ก ก็รีบ
เข้าไปวดั ทันที ไปทำ� ธรุ ะใหห้ ลวงปู่ ถา้ หมดหน้าธรุ ะจริงๆ หลวงปจู่ ะพาเข้าป่าไปหาไมม้ าซอ่ มกุฏิ
ศาลา ไมต้ ้นไหนทมี่ นั เหมาะพอเอาลงแล้วกต็ ดั พอ่ ตูส้ ีโทกจ็ ะเป็นคนเอาเหล็กแผ่นตีไม้ออกให้เปน็
แผ่นๆ ใช้คอ้ นใหญ่ๆ ตๆี ใหเ้ ป็นแผ่นออกมา แล้วหลวงปกู่ ็ใชม้ ีดอโี ตถ้ ากเพ่ือจะเอามาหนนุ คานกฏุ ิ
หลวงปู่ท่านจะพาทำ� อยู่ตลอด
สมัยก่อนน้ีรอบๆ บริเวณวัดผดุงธรรมและวัดประสิทธิธรรมยังไม่มีบ้านเรือนผู้คน วัดจึง
เงียบสงัดมาก ขนาดมีที่นาของชาวบ้านติดกับวัดก็ต้องระวังไม่ให้เกิดเสียงดัง ลูกหลานชาวบ้าน
กำ� ลังเกย่ี วขา้ วแล้วเปดิ วทิ ยเุ สียงดงั ล่นั หลวงปทู่ ่านใหไ้ ปเตือน ไมใ่ ห้เปดิ วทิ ยเุ สียงดัง ปจั จุบันรอบๆ
วัดเจรญิ หมดแลว้ เต็มไปด้วยบ้านเรอื นผคู้ น
สภาพวัดมันเปน็ ทลี่ มุ่ ในช่วงฤดูฝนน�ำ้ หลากไหลแรงมาก ทต่ี รงนหี้ ลวงปูพ่ รหมทา่ นก็มา
กั้นคลอง กัน้ อะไรตรงนีใ้ หเ้ ก็บกกั น�ำ้ ไว้ คูทกี่ ้นั นำ�้ ไว้เอาไม่อยู่ คขู าด หลวงปู่ทา่ นก็พาซอ่ มขดุ ดนิ
ถมคูนำ�้ ตอนแรกทา่ นมโี ครงการจะกกั เกบ็ น้ำ� ไว้ใหช้ าวบา้ นเขาท�ำนา ทา่ นก็ขดุ คลองอ้อมไปทางนนู้
ขดุ ไปไกลเกือบจะถงึ หมบู่ ้านแล้ว ให้ชาวบา้ นมาขดุ ทกุ วนั ๆ แลว้ ก็มีคลองเส้นหน่งึ ทา่ นก็ขุดลัดเพ่อื
296
ระบายนำ�้ กอ่ น ขุดมาหนา้ วหิ ารนีจ้ ะเอาลงน้ี พอหน้าน้ำ� มา คลองมนั พงั ทา่ นกเ็ ลยมองอู้ฮู้ ! ไม่ไหว
แบบน้ี มนั จะท�ำใหช้ าวบ้านเดอื ดรอ้ น ถ้ามนั ผา่ กลางหมู่บ้านไปนเ้ี รยี กวา่ มนั จะเปน็ ล�ำห้วยใหญ่เลย
ทา่ นก็เลยหยดุ
ทุกวันนี้ก็ยังเป็นรูปล�ำคลองอยู่ เลยเมรุไปน่ีจะเป็นล�ำคลองในป่า ท่านก็เลยเปล่ียนใหม่
มาขุดอ้อม อ้อมมาด้านนี้ อ้อมลงล�ำห้วยเดิมไป สภาพพ้ืนท่ีของวัดน้�ำมันหลากมาระบายไม่ทัน
น้�ำจะท่วมทุกปี พอหลวงปู่ท่านมาอยู่ตรงนี้ ท่านก็ท�ำเท่าท่ีท่านท�ำได้ ส่วนมากก็ช่วยชาวบ้าน
ถ้าสะพานขาด ท่านก็ไปซ่อม ถนนขาด ท่านก็ไปซ่อมอะไรอย่างน้ัน นิสัยท่านจะเป็นแบบนั้น
ท่านจะท�ำให้ชาวบ้านเห็นเป็นตัวอย่าง
มเี รอื่ งเลา่ ขุดดินถมคลองในวันพระ ญาติโยมท่ีอย่ใู นเหตุการณ์ไดเ้ ล่าไวด้ งั น้ี
“หลวงปพู่ รหมท่านฉลาด ทา่ นบอกใหญ้ าติโยมขุดดนิ ถมคลองกั้นทางน้�ำไหล ญาติโยมก็ไป
ช่วยกัน กพ็ ากนั มาขุดดินถมคลอง พอดีวันนน้ั เปน็ วนั พระ เขามารกั ษาศีลกัน พอเขาขดุ ดินก็ไปเจอ
ปลวก เขาบอกวา่ “ท�ำตอ่ ไปไม่ไดห้ รอก ขุดไปเจอปลวก กลัวขดุ ไปถูกตัวมนั ไปฆา่ มันแล้ว มนั จะ
เปน็ บาปเป็นกรรม” ก็เลยพากันหยุดท�ำ หลวงป่อู ยทู่ ี่กฏุ ิ แต่ทา่ นรูด้ ีอย่แู ลว้ ทา่ นเลยเดินมาถาม
หลวงปู่ว่า “มนั เป็นอะไร ?” เขาว่า “ปลวกมนั จะตาย” “เอา้ ! ไมไ่ ด้ฆ่าปลวก ก็เราถมคลองๆ
ทำ� ได้เลย เราไมไ่ ดแ้ กลง้ ไม่ได้เจตนา” ญาตโิ ยมท่มี าวัดจงึ ยอมกลบั ไปขุดดนิ ถมคลองน�้ำจนเสรจ็ ”
ท่านชอบท�ำงาน
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ เมอื่ ท่านบรรลุธรรมขัน้ สงู สดุ แลว้ ทา่ นมปี ฏิปทาหนง่ึ ทีโ่ ดดเด่น
ชดั เจน คอื ทา่ นชอบทำ� งาน งานก่องานสรา้ ง งานไม้ งานปูน งานปนั้ ฯลฯ ส�ำหรบั การมาพกั ประจำ�
ทบ่ี า้ นดงเยน็ ขององค์หลวงปพู่ รหมนั้น ทา่ นได้สร้างผลงานทางด้านถาวรวัตถุไวม้ ากมาย ดงั นี้
วดั ผดงุ ธรรม สร้างกุฏิ ศาลา พระอโุ บสถดว้ ยไมท้ ้งั หลัง และปน้ั พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ขนาดใหญเ่ พือ่ เปน็ พระประธาน
วัดประสิทธิธรรม สร้างถาวรวัตถุขึ้นภายในวัดเป็นจ�ำนวนมาก เช่น สร้างกุฏิ วิหาร
ศาลาการเปรียญ พระประธานปางมารวิชยั ๑ องค์ บอ่ น�้ำภายในวดั และนอกวดั สรา้ งฝายกน้ั น้ำ�
พาญาติโยมท�ำถนนหนทาง สร้างโรงเรียนประชาบาลบ้านดงเย็น และสร้างสะพานข้ามล�ำน้�ำ
สงคราม เปน็ สาธารณประโยชน์ไว้มากมาย
นอกจากท่านได้สร้างและอยู่จ�ำพรรษาท่ีวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็นแล้ว ท่านยังได้ท�ำ
ประโยชนแ์ ก่ชุมชนใกลเ้ คยี ง ท้งั ทางวัดและทางบ้าน
297
บางปีท่านจ�ำพรรษาทว่ี ัดศรีโพนสูง บ้านถอ่ น ตำ� บลโพนสูง อ�ำเภอสว่างแดนดนิ จังหวัด
สกลนคร ท่านซ่อมพระพุทธรปู ใหญ่ ๑ องค์ ซงึ่ ในสมยั นนั้ ใหญ่ที่สุดในอ�ำเภอสว่างแดนดิน พรอ้ ม
สรา้ งวิหาร และสรา้ งพระพุทธรปู ปางสมาธิ ๑ องค์ สรา้ งโบสถ์ ศาลาการเปรียญ กฎุ ี และสะพาน
ข้ามทุง่ นา นอกจากน้ที ่านยังซ้ือท่ีดนิ แปลงหน่งึ ประมาณเกอื บไร่ ในราคา ๓๐๐ บาท
บางปี จำ� พรรษาทีว่ ดั ตาลนิมิตร บา้ นตาล ต�ำบลโคกสี อ�ำเภอสวา่ งแดนดนิ จงั หวดั สกลนคร
ซึ่งเป็นมาตุภมู ิของท่าน สรา้ งกฎุ ี วิหาร พระพทุ ธรปู ปางสมาธิ ๑ องค์ ตอ่ มาสงฆไ์ ด้พากนั ผูกเปน็
พัทธสมี าใชใ้ นสังฆกรรมจนกระทัง่ ปจั จุบนั น้ี
สร้างศาลาให้กบั วัดปา่ บ้านดงดารา (วดั สมประสงค)์ บา้ นดงดารา ตำ� บลออ้ มกอ อำ� เภอ
บา้ นดุง จงั หวัดอุดรธานี และบุกเบิกท�ำถนนจากบา้ นดงเย็นไปบ้านดงดารา
นับว่าท่านบ�ำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่นได้สมบูรณ์ย่ิง ยากที่ผู้อื่นจะท�ำได้
เหมอื นอยา่ งทา่ น จงึ เปน็ ท่ีเคารพกราบไหว้บชู าของผ้มู งุ่ ประโยชนส์ ุขโดยทัว่ ไป
การสรา้ งวัดในช่วงบ้นั ปลายของหลวงปพู่ รหม จะมีหลกั ฐานสำ� คัญ คือ การปนั้ พระพุทธรปู
ขนาดใหญ่ เพ่อื ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ นอกจากนีท้ า่ นยงั ไปสร้างพระพทุ ธรูป
ตามที่หลวงปสู่ ารณ์ ซึง่ เปน็ อาจารย์องค์แรกของทา่ น นิมนต์ท่านไปชว่ ยสรา้ ง ที่วดั ภูเกา้ ตาดโตน
อ�ำเภอโนนสงั จังหวดั หนองบวั ล�ำภู ปัจจุบนั พระพุทธรปู ช�ำรุด ทางวดั ได้บรู ณะพระพทุ ธรปู องค์นี้
โดยสร้างองคใ์ หมค่ รอบห้มุ องค์เดิม
มีเรื่องเล่ากันวา่ ขณะหลวงปู่พรหมปั้นหรือฉาบปนู พระพทุ ธรูป ถ้าปนู ยังไม่แหง้ ดี ท่านจะ
ไปเดินจงกรมก่อนแลว้ ค่อยมาทำ� ต่อ นับวา่ ทา่ นมีความเพยี รอุตสาหะอย่างมากทีเดียว
ท่านพาท�ำกฐิน
วัดประสทิ ธิธรรม บา้ นดงเย็น งานบุญเผวส บญุ เดอื น ๔ กจ็ ะไมม่ ี เปน็ งานบุญประทาย
ข้าวเปลอื กแทน หลวงปพู่ รหมท่านไมพ่ าท�ำบญุ เผวส ท่านปรารภว่า “เผวสมนั ตอ้ งมเี ครอื่ งครบ
บริขาร บริวารเยอะ ท�ำท�ำไม ท�ำแลว้ มึงก็ไม่ไดบ้ ุญหรอก” แตก่ ฐินท่านพาท�ำ เม่ือออกพรรษาแลว้
ท่านจะพาท�ำกฐินทกุ ปี
ก่อนวันกฐินกม็ ีพธิ ีสมโภชน์กฐินในหมูบ่ า้ น หลวงปู่พรหมท่านไมไ่ ดไ้ ป ช่วงนนั้ ท่านจะไม่รับ
กิจนิมนตใ์ นหม่บู า้ นเลย ท่านใหพ้ ระศษิ ย์ไปสวดให้ญาตโิ ยม โดยตอนเยน็ สวดปริตรมงคลทอี่ งค์กฐิน
มหี ลวงปูล่ ี วดั เหวลึก หลวงปู่สภุ าพ วดั บ้านโคกคอน พร้อมด้วยพระศษิ ย์ ฯลฯ ไปสวด เช้าแล้ว
ญาติโยมก็ขนบรวิ ารกฐนิ เข้ามาวดั หลังจากน้ันเขาจะมมี หรสพอะไรก็แลว้ แต่ ทางวดั นี่ไม่เกีย่ ว
298
วันทอดกฐนิ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นับเป็นกฐนิ ปีสดุ ทา้ ยของหลวงปู่พรหม ในงานกฐนิ มญี าติโยม
มารว่ มงานกันมากหลายรอ้ ยคน มากนั เกือบทงั้ หมู่บา้ น ศาลาเสา ๕๐ ต้น ซงึ่ เปน็ ศาลาหลังใหญ่
ญาติโยมนั่งกันเกือบเต็มศาลา เพราะว่าตอนสวดกฐินรับกฐินนี่เป็นพิธีที่เรียบง่ายแต่ดูศักดิ์สิทธิ์
ใครๆ เขาก็อยากจะมาเห็นมาฟงั สวดกัน เพราะเหมือนได้อานสิ งส์เห็นๆ กฐนิ ปสี ดุ ท้ายน้หี ลวงปู่
ท่านไม่ได้เทศน์ ปรกตฉิ ันเช้าเสรจ็ แลว้ ญาติโยมกม็ าพรอ้ มกนั ทอดกฐนิ งา่ ยๆ ไมม่ ีพธิ ีรตี อง และไมม่ ี
มหรสพใดๆ สมยั นนั้ วัดยงั ไม่มีไฟฟา้ ใช้ ไมม่ เี ครื่องเสยี ง และวัดก็เงยี บมาก สวดกฐนิ ก็สวดปากเปล่า
เสยี งดังไดย้ ินกนั ทัว่ ทั้งศาลา เมอื่ เสรจ็ พิธีกฐิน ชาวบา้ นกช็ ว่ ยกันล้างถ้วยลา้ งจาน เกบ็ ข้าวเกบ็ ของ
จากนน้ั ก็แยกยา้ ยกันกลับบา้ น สว่ นพระทา่ นก็ไปทำ� การตัดเย็บยอ้ มผา้ ให้เสรจ็ ภายในวันน้นั
นอกจากทา่ นพาท�ำกฐนิ ทว่ี ดั ประสทิ ธธิ รรม บ้านดงเยน็ แล้ว ทา่ นจะพาไปทำ� บ้านอ่ืนๆ ดว้ ย
เช่น วัดป่าบา้ นดงดารา ทา่ นก็พาไปท�ำกฐนิ
ท่านเมตตาเด็กๆ
ตามปรกตทิ ัว่ ๆ ไป เรามักพบเหน็ วา่ หลวงปู่ ครบู าอาจารยแ์ ละพระภกิ ษสุ งฆ์ทัง้ หลาย มักมี
ความเมตตาต่อเด็กๆ เป็นพิเศษ และเป็นแรงจูงใจอย่างหน่ึงที่ส่งเสริมให้เด็กเข้าวัดและใกล้ชิด
พระศาสนา เราจะพบเหน็ ตวั อยา่ งทว่ั ไป ท้ังในเมืองและในชนบท
สำ� หรับองค์หลวงปู่พรหม จริ ปญุ ฺโ ทา่ นกเ็ มตตาต่อเดก็ เปน็ อย่างมาก จากท่ีผ่านมา เชน่
ท่านได้สอนวิธีปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ตลอดจนชักชวนให้บวช อนุญาตให้เด็กเด็ดมะม่วงในวัด
ไปกินทีบ่ ้านบ้าง คุณครูค�ำฟอง วงษ์ประชุม ศิษย์อปุ ัฏฐากใกล้ชดิ อกี ท่านหนง่ึ ได้เล่าถงึ คำ� พดู ของ
หลวงปู่พรหม ท่ีแสดงความเมตตาต่อเด็กๆ ในหม่บู า้ น ว่า
“หลวงปู่ทา่ นมีความเอ็นดูเดก็ ๆ มาก หลวงปทู่ า่ นไมเ่ คยดุดา่ ผู้ใดเลย มีแต่แนะน�ำวา่ ให้พา
ลูกหลานมาเขา้ วดั ไหว้พระ กราบพระ เขาจะได้บญุ และจะไดเ้ ปน็ อปุ นิสัยในภายภาคหนา้ ดว้ ย”
มเี รอ่ื งเล่าว่า สมัยหลวงปู่พรหมทา่ นมาสรา้ งวัดประสทิ ธิธรรมใหม่ๆ บรรยากาศภายในวดั
เงยี บสงดั มาก ชาวบ้านดงเย็นใหค้ วามเคารพเกรงกลัวหลวงปู่กันมาก ถวายจงั หันเช้าเสร็จแลว้ ตา่ งก็
แยกย้ายกันกลับบ้าน ไม่กล้าเข้ามาวัดส่งเสียงดังท�ำลายความสงบภายในวัด เว้นแต่มีงานการ
ภายในวัด เช่น ทำ� กุฏิ ศาลา ฝาย เปน็ ต้น และชาวบา้ นต่างกเ็ กรงว่าลูกหลานเดก็ เล็กจะพากนั ไปวดั
เลน่ พดู คุยสง่ เสียงดังกัน เกรงจะเปน็ บาปเปน็ กรรม เพราะไปรบกวนการภาวนาของพระเณร จึง
หา้ มไมใ่ ห้ลกู หลานเดก็ เล็กเข้าวดั เม่ือเดก็ ๆ ตามพอ่ แมม่ าวดั ในตอนเช้า หลวงปูจ่ ะเมตตาเอ็นดู
เด็กๆ มาก ท่านจะลบู หวั เด็กๆ และชวนมาวดั พร้อมแนะน�ำให้ผู้ใหญ่พาเดก็ ๆ เข้าวัด หากเดก็ ๆ
ใสบ่ าตรแต่ลืมถอดรองเท้า ทา่ นกจ็ ะไม่ดุและไมส่ อน แตท่ ่านจะปดิ ฝาบาตรและยืนรอจนเด็กร้ตู ัว
299
เมื่อเด็กถอดรองเท้าแล้ว ท่านจึงเปิดฝาบาตรให้เด็กใส่บาตร เด็กๆ บ้านดงเย็นจึงต่างก็รักและ
เคารพหลวงปกู่ ันมาก อยากมาวัดกนั เม่ือโตข้นึ กบ็ วชเป็นสามเณร และเมื่ออายคุ รบบวชกไ็ ด้บวช
กับหลวงปู่ เป็นพระธุดงคกรรมฐานเช่นเดียวกับหลวงปู่ จนเป็นประเพณีอันดีงามของชาวบ้าน
ดงเย็นสบื ต่อๆ กนั มา
เรอื่ งการใสบ่ าตรต้องถอดรองเท้า โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นโฺ น ได้เมตตา
เทศน์เรือ่ งนไ้ี ว้ดังนี้
“เราผู้มาท�ำบุญกับท่าน เราก็มุ่งอรรถมุ่งธรรมมุ่งกุศลจากท่านจากธรรม ท�ำอย่างไรจึงจะ
เป็นบุญเป็นกุศลดังใจหวัง เป็นไงถึงจะถูกอรรถถูกธรรมตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่สอนไว้
เชน่ พวกทหารเขาจะมาฟงั เทศน์ มาใสบ่ าตร เป็นตน้ พวกทหารเขาแต่งชดุ ทหารมา หรือพวกท่ี
โพกศีรษะมาด้วยประเพณีของเขาก็ไม่ต้องถอด ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เสียความเคารพ
ทางทหารกเ็ หมือนกันจะไม่ถอดรองเทา้ กไ็ ด้ นอกนน้ั ถา้ ใส่หมวกก็ใหถ้ อด ใสร่ องเทา้ ก็ให้ถอดเสยี
เพ่ือความเคารพธรรม เคารพทานของตน เคารพท่านผมู้ ีศีลซึ่งมเี พศสูงส่งกว่าเรา
การใสบ่ าตร เปน็ การบ�ำเพญ็ คณุ งามความดี เปน็ การน้อมรบั ธรรมส่วนกุศลของเราใหไ้ ด้
เตม็ ที่ พร้อมกบั เคารพธรรมดว้ ย เคารพครบู าอาจารย์ทท่ี ่านมีศลี มธี รรมด้วย เคารพในทานของเรา
ดว้ ย ดังน้นั เราถงึ ได้บอกใหเ้ ข้าใจ เพราะเทา้ และรองเทา้ มิได้สงู กว่าธรรม พอจะสง่ เสริมให้เปน็
วัฒนเท้าในเวลาเชน่ น้ัน บางคนไมเ่ ข้าใจ เพราะไม่เคยมใี ครบอก เนื่องจากท่านเหลา่ นน้ั คงเกรงใจ
ญาตโิ ยมมากกวา่ เกรงธรรม แตเ่ ราเมือ่ มีญาตโิ ยมเข้ามาเพือ่ ธรรม ทำ� ยงั ไง ญาติโยมมา มาเพอื่ อะไร
มาเพ่ือความเข้าอกเข้าใจในอรรถในธรรม สิ่งใดที่จะเป็นผลประโยชน์แก่ญาติโยมไม่เป็นความ
เสียหาย เรากบ็ อก เพราะเราเกรงธรรม เรามุง่ ต่อธรรมดว้ ยกนั เหมอื นประชาชน จึงไดบ้ อกเสมอ
ฉะน้ัน จึงควรพากนั เขา้ ใจไว้ สว่ นมากท่านไม่ค่อยบอก เวลาบิณฑบาตท่านเกรงใจ นอกจาก
เจรญิ พรและคลอ้ ยไปตามใจคนเสียเปน็ ส่วนมากตอ่ มาก ธรรม - ทาน และทา่ นผมู้ ศี ีลและเพศทีค่ วร
เคารพเลยกลายเป็นธรรมชาติที่ด้อยไปกว่าความเกรงใจกัน นี่เราท้ังหลายเป็นชาวพุทธ มีความ
เคารพธรรมอยา่ งฝังใจกวา่ ความสนใจเคารพเทา้ จึงได้เตอื นไดบ้ อกโดยธรรมเพ่ือเข้าใจท่วั กนั ”
ท่านไม่จูงศพ
ปฏิปทาหนง่ึ ของหลวงปพู่ รหม จริ ปุญฺโ คือ ทา่ นไม่จูงศพคนตาย และท่านก็ไม่คอ่ ยสนใจ
เร่อื งพิธีศพ เช่นเดียวกบั กรณขี องครบู าอาจารย์สายท่านพระอาจารย์มัน่ ภูริทตฺโต ทั้งหลาย ซึ่ง
ท่านจะสอนสานุศิษย์ให้พากันท�ำความดีตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ครูบาอาจารย์เล่ากันว่า ที่บ้านดงเย็น
เมอื่ มคี นตายในหมูบ่ ้าน จะมีพอ่ แม่ญาติพน่ี ้องของคนตายมากราบนิมนต์หลวงปู่ไปสวดศพ ไปสวด
300
กสุ ลา ธมมฺ า หรอื ไปจูงศพตอนเคลือ่ นศพข้ึนสเู่ มรเุ ผา ซง่ึ ตอ้ งมพี ธิ พี ระสงฆจ์ ูงนำ� หน้าศพเวียนรอบ
เมรุ ๓ รอบ ตามปรกติหลวงปู่ท่านจะไม่รับกิจนิมนต์งานเหล่าน้ี โดย องค์หลวงตาพระมหาบัว
าณสมปฺ นโฺ น ท่านไดเ้ มตตาเทศน์เร่ืองน้ีไวด้ งั น้ี
“กสุ ลา ธมฺมา แปลว่า ธรรมยงั บคุ คลให้ฉลาด เราฉลาดเลอื กเฟ้นเราเสียต้ังแตบ่ ัดนี้ ตายไป
แล้วเราจะสบายไม่ต้องนิมนต์พระมากุสลามาติกาก็ได้ ไม่เห็นอะไร ตามหลักธรรมมีอย่างนั้นนี่
เราไม่ไดอ้ ตุ ริพดู นะ ทีเ่ รยี ก กสุ ลา ธมมฺ า ที่ท่านสวดมาติกาบงั สกุ ลุ ทกุ วันนไี้ มใ่ ชม่ มี าดงั้ เดิม เปน็ ของ
มีมาใหม่ๆ น้ตี ่างหาก ทา่ นนมิ นตพ์ ระไปเยย่ี มป่าชา้ ไปพิจารณาซากอสุภะในปา่ ชา้ กไ็ ปพิจารณา
ให้ได้คติตัวอยา่ ง ว่าเขาก็ตายอย่างนี้ นเี่ วลาตายแล้วเปน็ อยา่ งนคี้ นเรา นี่เป็นปา่ ชา้ ผีตาย ปา่ ชา้
ผเี ป็นคือบา้ นของคน ป่าชา้ ผตี ายคอื ปา่ ช้า เชน่ เมรุ หรอื เขาต้งั เปน็ ปา่ ชา้ ไวส้ ำ� หรบั เผาคนฝังคน
นน่ั เป็นป่าช้าของผีตาย
ปา่ ชา้ ผเี ป็นก็คอื ตามบา้ นตามเรือนของเรานนั่ แล เวลามีชีวติ อย่กู เ็ ปน็ บา้ นเป็นเรอื น พอตาย
ลงไปแลว้ กเ็ ปลย่ี นเปน็ ปา่ ช้าในบคุ คลคนเดียวนนั่ แหละ ทา่ นให้ไปพิจารณาบังสกุ ลุ อยา่ งนี้ พิจารณา
ใหเ้ ป็นคตติ วั อยา่ งอันดีงาม ต่อจากน้ันมากต็ ายแลว้ ก็ กุสลา ธมฺมา พ่ึงมมี านนี่ ะ ไมใ่ ชว่ า่ ใครตาย
แลว้ นมิ นต์พระไปกสุ ลามาตกิ าใหไ้ ดบ้ ญุ ไดก้ ศุ ลไปสวรรคน์ พิ พาน ถา้ อยา่ งน้ันแล้วพระเองกจ็ �ำเป็น
อะไรจะตอ้ งไปบวชให้เสยี เวลำ่� เวลา ตายแล้วบวชหลวงตาไว้ในบ้านสักองคห์ น่งึ เช่น บ้านแพงเราน้ี
ก็บวชไว้เสียองค์หน่ึง เวลาตายแล้วก็นิมนต์พระหลวงตาองค์นี้ไปกุสลามาติกา ไปสวรรค์ท้ังหมด
หมดทงั้ บ้านแพงนนี่ ะ วา่ ง้นั ก็ตอ้ งไปกันหมด ไมต่ อ้ งสรา้ งบุญสรา้ งกุศลให้ลำ� บากลำ� บนอะไร
แต่นีม้ ันเป็นอย่างนั้นไม่ได้ ท่านจงึ สอนใหส้ รา้ งความดเี สยี ตง้ั แต่ยังมีชีวติ อยู่ ธรรมของ
พระพุทธเจ้าก็สอนคนเป็น ไม่ได้สอนคนตายแล้วนี่นะ ท่านสอนคนเป็นต่างหาก ตายแล้ว
หมดความหมาย อนั นก้ี ต็ ายแลว้ หมดความหมายดว้ ยกนั ทงั้ นนั้ เพราะฉะนนั้ จงสรา้ งความหมาย
คอื คุณงามความดไี วส้ ำ� หรับตนเสียต้ังแต่บัดน้ีจะไมไ่ ด้เสยี ท่าเสยี ที
ตายลม่ ตายจมมีดีที่ไหน ตายแล้วไปแบกกองทกุ ข์มีดีทไี่ หน เราเปน็ คนไปแบกเอง แต่เรา
ก็กล้าหาญชาญชัยตอ่ ความชั่วชา้ ลามก ไมเ่ ชือ่ พระพทุ ธเจ้า ทำ� ความชว่ั ช้าลามกแข่งขันประชนั กบั
พระพุทธเจ้า คร้ันเวลาตายแล้วไปจมนรกก็คือเรา พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ไปตกนรก ท่านจึงสอน
ให้พวกเราได้รเู้ ร่อื งรู้ราวเสียตง้ั แตบ่ ัดนี้ ดงั ท่ที ่านวา่ กุสลา ธมมฺ า อกสุ ลา ธมมฺ า อพฺยากตา
ธมมฺ า เปน็ ตน้ ทา่ นพดู ถงึ เร่อื งจติ ลว้ นๆ น่ีเปน็ นามธรรม จงึ เรยี กวา่ สวดอภิธรรม ยกเรือ่ งตวั อย่าง
มาตัง้ แตพ่ ระพุทธเจ้าท่านไปสอนพระมารดาทา่ นด้วยอภธิ รรมทั้งเจด็ น้ี เราก็เลยยึดอันนน้ั มาสวด
กสุ ลา ธมมฺ า มาตกิ านี้ต่างหากน่ีนะ ไมใ่ ช่เป็นคตติ วั อยา่ งอันเปน็ หลกั เปน็ เกณฑ์จรงิ ๆ ทจี่ ะละบาป
ท�ำบุญไดด้ ว้ ยการไดย้ ินไดฟ้ งั เสยี งกสุ ลาน้ีโดยถ่ายเดยี ว”
301
ภาค ๑๗ ท่านมีจิตท่ีแปลกประหลาดน่าอัศจรรย์มาก
หลวงปูพ่ รหม จิรปญุ โฺ เมื่อทา่ นบรรลุธรรมเปน็ พระอรหนั ตสาวก นอกจากจิตของทา่ น
จะเป็นดวงจิตท่ีบริสุทธิ์พุทโธแล้ว ยังเป็นจิตที่แปลกประหลาดน่าอัศจรรย์มาก เป็นจิตท่ีเหนือ
สามัญจติ ทัว่ ไป กล่าวคือ จติ ของทา่ นเป็นอรยิ จติ ทีท่ รงความรู้ความเห็นท่ีค่อนขา้ งพิสดารมาก และ
ก็เป็นอรยิ จติ เชน่ เดียวกับพระอรหันตสาวกในคร้ังพุทธกาลหลายๆ องค์ ซ่งึ เมือ่ ท่านบรรลธุ รรมแลว้
ท่านแสดงอ�ำนาจฤทธาศักดานุภาพให้เห็นเป็นประจักษ์ และเป็นสักขีพยานเร่ืองคุณวิเศษในทาง
พระพุทธศาสนาวา่ มีอยู่จริง และจะมีอยตู่ ลอดไป หากยงั มผี ้ปู ฏบิ ตั ิตามธรรม
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านเป็นพระอรหันต์อีกองค์หน่ึงของพระธุดงคกรรมฐานสาย
ท่านพระอาจารย์มั่น ทีถ่ งึ พร้อมด้วยคุณวิเศษตา่ งๆ ในทางพระพทุ ธศาสนามากมายหลายประการ
ด้วยกัน เชน่ เจโตปริยญาณ ร้วู าระจิต อตตี งั สญาณ รเู้ หตุการณใ์ นอดีต อนาคตงั สญาณ ร้เู หตกุ ารณ์
ในอนาคต ทพิ ยโสต หทู พิ ย์ ทพิ ยจกั ษุ ตาทพิ ย์ และมวี าจาอนั ศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ ฯลฯ บรรดาศษิ ยท์ งั้ หลายที่
ประสบกับเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยตนเองต่างพากันอัศจรรย์ใจ และต่างก็ให้ความเคารพย�ำเกรงใน
องคท์ า่ นมากยงิ่ ๆ ข้ึน
ในสมัยทีห่ ลวงปูพ่ รหมยังมชี วี ิตอยู่น้ัน ท่านมีช่ือเสยี งโดง่ ดงั มาก ผูค้ นเล่าลือกันว่า หลวงปู่
พรหมทา่ นมีอภิญญาจติ สามารถล่วงรู้เหตกุ ารณล์ ่วงหนา้ และรวู้ าระจิตผู้อืน่ ได้ จนหลวงปมู่ น่ั ทา่ น
บอกกบั พระเณรว่า “ถ้าทา่ นพรหมมา พระเณรตอ้ งระวังตวั นะ ท่านพรหมจะมีความร้คู วามเห็น
ที่พสิ ดารมาก”
เร่ืองราวท่ีแสดงถึงจิตที่แปลกประหลาดอัศจรรย์ของหลวงปู่พรหมมีมากมาย เป็นเรื่องท่ี
เหนือเหตุเหนือผล ดงั ตัวอย่างตอ่ ไปนี้
เร่ืองอิทธิฤทธ์ิ
หลวงป่พู รหม จิรปุญฺโ ขณะทา่ นพำ� นกั อยู่ ณ วดั ประสทิ ธิธรรม ท่านไดแ้ สดงอ�ำนาจจติ
ของทา่ นให้ชาวบา้ นดงเยน็ จนผู้คนต่างพากันเล่ือมใสในค�ำพดู อนั ศกั ดส์ิ ทิ ธิ์ของทา่ น และเชื่อวา่ ทา่ น
มีอิทธิฤทธ์ิ เร่อื งนกเป็ดน้ำ� ทที่ า่ นสัง่ ห้ามยิงเปน็ เรอ่ื งหน่ึง ดังน้ี
“นกจ�ำนวนมากบนิ มาอยู่บ้านดงเย็นน้ี มนี กเปด็ น�ำ้ นบั เปน็ พันๆ ตัว บนิ เขา้ มาอาศัยหากิน
ในเขตวดั ประสิทธิธรรม เวลานกมันบิน มนั บินไปเปน็ หมู่ๆ หมูล่ ะ ๓๐๐ – ๔๐๐ ตัว จนบรเิ วณน้นั
มดื ไปหมด ดว้ ยวัดเปน็ เขตอภยั ทาน เปน็ สถานทีป่ ลอดภยั ของบรรดาสัตว์ท้ังหลาย และเปน็ สถานที่
302
พระทา่ นอยูป่ ฏิบัตธิ รรม ต้องการความสงบวิเวกเงียบสงดั หลวงปพู่ รหมทา่ นจึงสัง่ ไมใ่ หใ้ ครมายิง
มาฆ่านกเหล่านี้ ทา่ นบอกว่า “ถ้าใครมาทำ� นก ตายนะ...”
นกเปด็ น้�ำทีบ่ ินมาในวดั ถา้ ใครไปฝนื ยงิ ทีแรกทา่ นจะปรบั ตัวละ ๒๐ บาท (ในสมยั ก่อนน้นั
ถือว่าสูงมาก) ต่อมาเมื่อนกเป็ดน้�ำบินออกไป คนก็ไปแอบยิงข้างนอกวัด ถ้ารู้ ท่านก็จับมาปรับ
แลว้ ตอ่ มากข็ ้ึนคา่ ปรบั เปน็ ตวั ละ ๕๐ บาท กย็ งั มีคนแอบมาลักยงิ อกี
เหตกุ ารณต์ ่อไปน้ี ทำ� ใหไ้ มม่ ใี ครกล้ามายงิ นกเปด็ นำ้� อีกต่อไป กลา่ วคือ ในวันหนง่ึ มคี นแอบ
เอาปืนไปลักลอบยิงนกเป็ดน้�ำอยู่ข้างนอกวัด พอหลวงปู่พรหมท่านได้ยินเสียงปืนดังข้ึน ท่านคง
กำ� หนดจติ ดู ทา่ นพดู วา่ “ดมู นั ดมู นั ” เทา่ นน้ั ปรากฏวา่ คนยงิ นอนกอดปนื อยขู่ า้ งรว้ั วดั ตวั นแ้ี ขง็ ทอ่ื
ไปหมดเหมือนท่อนไม้ กระดุกกระดิกไม่ได้ กลับไปบ้านไม่ได้แล้ว อิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่ ท่านเพ่ง
ปฐวกี สิณังใส่เขา ตัวเขาแขง็ เหมือนแผน่ ดนิ เลย ลุกไปไหนมาไหนไม่ได้ เมือ่ มคี นมาเห็นเข้า เขาก็
มาวดั มากราบนิมนตห์ ลวงปไู่ ปดู ท่านกไ็ ปแกไ้ ขช่วยให้เขาฟืน้ ขึน้ มา พร้อมท้งั อบรมสั่งสอนไม่ให้
เขายงิ นกอีก มนั เป็นบาปเป็นกรรม ท่านใช้อทิ ธิฤทธทิ์ ำ� ใหด้ เู ปน็ ตัวอย่างรายเดยี วเทา่ นั้น พวกมีปืน
ไม่กล้ามายงิ นกเปด็ น้�ำในเขตวัดอกี เลย”
เร่ืองภาพถ่าย
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านเป็นพระอริยเจ้าอีกองค์หน่ึงท่ีมีภาพถ่ายน้อยมาก เท่าท่ี
ปรากฏมีภาพถ่ายเดย่ี วของหลวงปู่เพยี ง ๒ ภาพเทา่ นัน้ เปน็ ภาพถา่ ยขาวดำ�
ภาพแรก เป็นภาพหลวงปู่พรหมในอิริยาบถน่ังลืมตา ห่มจีวรพาดด้วยสังฆาฏิ ขาท้ังสอง
ซ้อนกนั ในลกั ษณะนง่ั สมาธิ สำ� หรับมือทงั้ สองวางบนตกั ทั้งสอง ภาพนถ้ี า่ ยท่กี ุฏขิ องทา่ นเอง โดย
ท่านเมตตาใหบ้ นั ทกึ ภาพไวเ้ มือ่ วันท่ี ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๖
ภาพท่ี ๒ เป็นภาพหลวงปู่พรหมในอิริยาบถยืน ห่มจวี รไม่มีสังฆาฏพิ าดไหล่
ภาพถ่ายที่ปรากฏให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นได้กราบไหว้บูชากันนั้น เป็นการบันทึกภาพจาก
กลอ้ งถา่ ยรปู สมัยกอ่ น ซึ่งใชฟ้ ิลม์ บนั ทึกภาพ โดยมเี รื่องราวเล่าส่กู นั ฟงั ดังนี้
“คุณครูชาย วงษ์ประชุม ศิษย์ใกล้ชิดคนหน่ึงของหลวงปู่พรหม ได้กล้องถ่ายรูปตัวใหม่
มาจากเพอ่ื นที่เป็นสาธารณสขุ อ�ำเภอ คุณครชู ายพร้อมดว้ ยศึกษาธิการอำ� เภอและนายอำ� เภอ ต้ังใจ
จะไปขอถ่ายภาพหลวงป่พู รหม โดยทง้ั สามทา่ นตา่ งก็นำ� กลอ้ งถ่ายรูปไปคนละตัว กอ่ นจะถา่ ยภาพ
ก็แต่งขันธ์ ๕ เพื่อกราบขออนุญาตหลวงปู่ จะขอท�ำการถ่ายภาพท่าน หลวงปู่ท่านก็รับขันธ์ ๕
แล้วกว็ างไว้ โดยไมพ่ ูดอะไร
303
ทกุ คนท่ไี ปกถ็ า่ ยภาพหลวงปู่คนละ ๓ ทา่ ในทา่ นั่ง ยนื เดนิ ปรากฏวา่ เมือ่ เอาฟิล์มไปลา้ ง
ปรากฏว่าภาพจากกล้องทง้ั สาม ไม่ติดภาพของหลวงปเู่ ลยแม้แตภ่ าพเดยี ว ภาพทล่ี า้ งออกมาเกดิ
เป็นสดี ำ� หมด นับเป็นเรอื่ งทแี่ ปลกและอศั จรรย์มาก ทำ� ใหท้ กุ คนต่างกท็ ่ึงตะลึงตามๆ กัน และเชือ่
กนั วา่ หลวงปทู่ า่ นแสดงอทิ ธฤิ ทธใ์ิ ห้ปรากฏ
เร่ืองนร้ี ู้ไปถึงทา่ นพระอาจารยค์ ำ� มี สุวณณฺ สิริ (พระครศู รภี ูมานุรักษ)์ ว่าคณุ ครูชายและ
คณะไปถ่ายภาพหลวงปู่พรหมแล้วไม่ได้ ท่านพระอาจารย์ค�ำมีก็เลยพาครูชายและช่างภาพไป
กราบขออนุญาตถ่ายภาพหลวงปใู่ หมอ่ กี ครงั้ หลวงปทู่ ่านกเ็ มตตาอนุญาต พอถ่ายเสร็จ หลวงปไู่ ด้
พูดกับครูชายว่า “ชายเอ๋ย ! ตัวเราเข้าไปอยู่ในกล้องเขาแล้ว” คุณครูชายดีใจมากท่ีหลวงปู่พูด
เช่นนัน้ แสดงว่าการถา่ ยภาพครง้ั นีค้ งจะส�ำเร็จด้วยดี ซึง่ ก็เป็นเชน่ นน้ั จรงิ ๆ”
ดังนัน้ ในปจั จุบนั ภาพหลวงป่พู รหมเทา่ ทป่ี รากฏใหเ้ หน็ ทกุ วันนี้ จึงมี ๒ ภาพน้เี ทา่ น้ัน
เร่ืองถ่ายภาพหลวงปูพ่ รหมแลว้ ไมต่ ิดนี้ เป็นทอ่ี ัศจรรยแ์ ละเป็นทฮี่ อื ฮากนั มาก เร่ืองเช่นนี้
ในวงพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ นั่ กม็ ดี ้วยกนั หลายองค์ เช่น กรณีของหลวงปูด่ ลู ย์
อตุโล หลวงปู่ฝนั้ อาจาโร ขณะอยูท่ วี่ ัดถ้ำ� ขาม มชี า่ งภาพไปถา่ ยภาพท่าน คดิ จะเอาภาพถ่ายไป
จ�ำหนา่ ยเพอื่ เอาเงนิ มาบำ� รุงวดั ปรากฏว่าเมือ่ นำ� ฟลิ ม์ ไปล้างก็ไม่ตดิ ภาพทา่ น
เรอ่ื งอดั เสียงหลวงปพู่ รหมก็เชน่ กัน บางทา่ นเลา่ ว่า มีผนู้ ำ� เทปไปอดั เสยี งท่านเทศน์ โดย
ไมไ่ ดก้ ราบขออนุญาต ปรากฏวา่ ไม่มเี สียงทา่ น ไม่ทราบเปน็ เพราะเหตุใด ?
เร่ืองญาณหย่ังทราบ
เมอ่ื หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ไปจ�ำพรรษาทีว่ ดั ประสทิ ธธิ รรม บา้ นดงเยน็ แต่ท่านสามารถ
ทราบเหตกุ ารณท์ เี่ กิดขึน้ ท่บี า้ นถอ่ นไดอ้ ย่างอศั จรรย์ราวกบั ตาเห็น ดงั เหตุการณต์ อ่ ไปนี้
เร่ืองแรกควายตาย ขนาดชาวบ้านถ่อนนี่ไปท�ำควายของนายแก้ว กองแก้ว มัคนายก
วัดศรีโพนสูงที่ไปช่วยงานหลวงปู่พรหมท่ีวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น ควายตายอยู่บ้านถ่อน
ทา่ นก็บอกได้ ท่านเปน็ พระอรหนั ต์ ทา่ นทราบเลยดว้ ยญาณของทา่ น “โอ๋ ! ควายโต (เจา้ ) ตาย
ล่ะเด้ (นะ) แกว้ เอย” วา่ งน้ั พกั เดียวมาทันทีเลย ไปถึงบา้ นถ่อน ควายตวั นนั้ ตายจริงๆ ท่านเก่ง
ขนาดไหน ขนาดอยู่คนละหมู่บ้าน ห่างไกลกนั ดว้ ย ท่านบอกได้ ท่านบอกไดท้ กุ อย่าง
เรอ่ื งเมยี ตาย เวลาคำ�่ ประมาณหน่งึ ทุ่ม วนั หนึ่งเฒ่าคนหนึ่งอย่บู า้ นถ่อนน่ี จำ� ชอ่ื เฒ่าคนนั้น
ไม่ได้ เหตุการณน์ ้ีเกิดกอ่ นการสรา้ งวัดบ้านถอ่ น (วัดศรโี พนสงู ) เฒ่าคนน้นั มานมิ นตห์ ลวงปพู่ รหม
ที่วัดประสิทธิธรรม จะเอาท่านไปชักอนิจจาบังสุกุลให้เมียของเขาตามประเพณีของชาวบ้านถ่อน
304
เขาก็รีบมาเลย มาหาท่าน ไปก็พอดี ทา่ นวา่ “ฮว่ ย ! ก็จะไปยังไง เมยี โต (เมยี เจา้ ) ตายแล้ว
อยูบ่ า้ น เขาจะมาตามแลว้ ” ท่านว่างั้น พอเขากลับไปถงึ บา้ น เมียของเขาก็ตายจรงิ ๆ ทา่ นเกง่
ขนาดไหนว่างน้ั เถอะ พระอรหันต์
เรื่องป่ินโตตกนำ้� เร่อื งนเ้ี กิดกับศษิ ย์ผู้ใกล้ชิดสองคน ซง่ึ เป็นคนบา้ นถอ่ น เช้าวันหนึ่งลูกศิษย์
สองคนไปจงั หนั หลวงปพู่ รหมที่วัดประสิทธิธรรม สมัยนัน้ ไมม่ ีทางรถทางเรือ ก็พากันเดินลดั ทุ่งไป
ไปถึงบ้านตาล ปิ่นโตอาหารตกน�้ำ พากันไปงมปิ่นโตข้ึนมา พอไปถึงวัด ปรกติได้เวลาฉันแล้ว
แต่วันนั้นหลวงปู่ก�ำลังนั่งรอและท่านก็ถาม “เอ้า ! ท�ำไมถึงพากันท�ำปิ่นโตตกน้�ำ ?” ลูกศิษย์ไป
ช้าแล้วทา่ นก็เมตตาทกั ทา่ นบอกว่า “รออยู่” แตล่ ูกศิษยท์ ง้ั สองไม่ได้กราบเรียนท่านล่วงหนา้ วา่ จะ
ไปจังหนั เชา้ ทา่ นรู้ไดอ้ ย่างไรวา่ ลกู ศษิ ยจ์ ะไปท�ำบญุ แล้วอปุ กรณ์ตา่ งๆ ท่ีเอาไปทำ� บญุ กต็ กนำ้� ด้วย
เพราะว่าสมยั ก่อนทรุ กนั ดาร ไมม่ ีรถไป ต้องเดินไป ท�ำไมทา่ นจงึ รู้ ท่านนงั่ ภาวนาแล้วเกดิ นิมติ เห็น
หรือท่านทราบด้วยญาณ เมื่อไปถึงวัด พอท่านทักข้ึนมา ลูกศิษย์ทั้งสองต่างก็รู้สึกประหลาดใจ
“โอ้ย ! หลวงปู่รไู้ ด้อย่างไร ทา่ นไมด่ ุ มแี ตย่ ้ิมสบายอยสู่ ภาพเดมิ ทา่ นไม่มีโกรธมีโมโหใหใ้ คร”
เร่ืองหูทิพย์ ตาทิพย์
ครูบาอาจารย์ทา่ นได้เมตตาเลา่ เรื่องหูทิพย์ ตาทพิ ย์ ของหลวงปูพ่ รหม จิรปุญโฺ ไวด้ ังนี้
“วันหนึ่ง หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ หลวงปู่โย สามเณร และกลุ่มชาวบ้านจ�ำนวนหนึ่ง
มาช่วยกันท�ำร้ัววัด (ล้อมรั้ววัด) หลังจากท่ีได้ช่วยกันท�ำไปพักหน่ึงก็เลยมานั่งพัก คุยกันเบาๆ
หลวงปู่ผางได้พิจารณาดูรั้วท่ีหลวงปู่พรหมสั่งให้ท�ำ ท่านจึงพูดขึ้นเบาๆ ในเชิงต�ำหนิว่า “โอ๊ย !
ท�ำรัว้ ไมร่ ูว้ ่าท�ำอย่างไรเนาะ ถา้ ทำ� ดๆี หน่อยก็จะดนี ะ” พูดจบก็ไม่ได้คิดอะไร ช่วยกนั ทำ� งานตอ่ ไป
จนเสร็จ ตอนนั้นหลวงปู่พรหมท่านเข้าพักในกุฏิเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนท่านจะเดินจงกรม
ทั้งคนื จะเป็นอยา่ งน้ีตลอด
พอถงึ ตอนค�ำ่ เวลาประมาณทุม่ กวา่ ๆ เป็นชว่ งเวลาฉันน�ำ้ รอ้ นน�้ำชา เม่อื ฉันน้ำ� รอ้ นได้สักพกั
หลวงปพู่ รหมพดู ขน้ึ มาว่า “หาวา่ ... ใครก็อยากจะทำ� ใหด้ ี แต่มันไม่มีเงนิ !” ทุกคนเงยี บกรบิ !
หลวงปูผ่ างนง่ิ เงียบ ได้แตม่ องหน้ากนั กบั หลวงปู่โย หลังจากนัน้ ไมม่ ใี ครกล้าพูดอะไรอีกเลย ไมว่ า่
จะตอ่ หนา้ หรอื ลบั หลงั ตอ้ งไดร้ ะมัดระวังทกุ ขณะจิต เพราะนบั แต่วันน้ัน กร็ แู้ ลว้ ว่าหลวงปูพ่ รหม
ทา่ นได้สำ� รวจวาระจติ ของลกู ศิษยท์ กุ คนตลอดเวลา จะนึกคิดประมาทท่านไม่ไดเ้ ลย
“ชว่ งที่อาตมาไดจ้ ำ� พรรษากับหลวงปพู่ รหมรู้สึกอบอนุ่ ใจมาก ท�ำกจิ อนั ใดกร็ าบรน่ื ไปหมด
เป็นเพราะบารมีของครูบาอาจารยแ์ ทๆ้ อาตมาจึงเคารพทา่ นมาก จนทกุ วนั นกี้ ย็ งั ไม่ลืม... ถา้ ไมใ่ ช่
เพราะหลวงป่พู รหม ป่านนี้อาตมากค็ งจะไม่ไดอ้ ย่จู นถึงทกุ วันน้ี...”
305
ครูบาอาจารยม์ ีความสุขมากท่ีไดเ้ ล่าเรอื่ งเกา่ ความหลงั ทา่ นบอกวา่ “หลวงปูพ่ รหมท่านมี
สิง่ ดๆี อะไรหลายอย่างมาก ท่านไม่ธรรมดา ท่านเป็นคนพดู จรงิ ทำ� จริง เด็ดเดย่ี ว เดด็ ขาด ลองได้
พดู อะไรลงไป ไมม่ ใี ครกลา้ ขัด เพราะทกุ อยา่ งที่ท่านจะพูดออกมา ทา่ นพิจารณาดแี ล้วจงึ พดู ออกมา
หลวงปู่พรหมท่านไม่ธรรมดาจรงิ ๆ อยดู่ ้วยกัน ๘ ปี เหน็ อะไรหลายๆ อยา่ งมาก ทงั้ ธรรมะก็เด็ดขาด
กินใจ ส้นั ๆ แตก่ ินใจ ได้ความเลย ซึ่งหาฟังได้ยากมาก ท่านเป็นคนไมพ่ ดู มาก พูดนอ้ ยๆ แต่พระเณร
กลัวมาก” ท่านเล่าไปก็ยิม้ ไปอยา่ งมีความสขุ ”
เร่ืองวาจาสิทธ์ิ
ในงานทำ� บญุ ประจ�ำปที ว่ี ดั ประสทิ ธธิ รรม คร้ังหน่งึ พระอาจารยค์ ำ� มี สุวณฺณสิริ (พระคร-ู
ศรภี ูมานุรักษ)์ ได้ขออนุญาตหลวงป่พู รหม ใหม้ กี ารใชเ้ ครือ่ งขยายเสยี งในวดั หลวงปู่กอ็ นญุ าต แต่
บอกว่า “หา้ มมีการร้องรำ� ท�ำเพลง หรอื หมอลำ� โดยเดด็ ขาด ให้ใช้เพอื่ ประชาสมั พันธง์ านวัดเท่านน้ั ”
นายเป้ เป็นเจา้ ของเคร่ืองขยายเสียงมาตดิ ตงั้ ได้ควบคมุ การใช้เครอ่ื งขยายเสยี งดว้ ยตนเอง
ใช้ท�ำการประชาสัมพันธ์งานตามค�ำส่ังของหลวงปู่โดยเคร่งครัด การใช้เครื่องก็เป็นไปด้วยดี ไม่มี
ปัญหาขัดข้องประการใด ปัญหามาเกิดตอนหยุดพักเท่ียงวัน นายเป้ไปพักรับประทานอาหาร
กลางวัน ใหล้ กู น้องเปน็ ผคู้ วบคมุ เคร่ืองเสยี งแทน ลกู นอ้ งคงไม่ทราบกเ็ ลยเปิดหมอล�ำ เพอื่ ความ
บนั เทงิ ในงาน “พอเสียงออกไป ซ่งึ เปน็ การเร่ิมต้นของกลอนล�ำ เครอื่ งขยายเสียงน้นั ก็เกดิ ไฟไหม้
ไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไป” จากเหตุการณ์ในคร้ังนั้น นายเป้ได้ตัดสินใจบวชจนมรณภาพใน
ผ้าเหลอื ง
หลวงปูพ่ รหมพูดอะไรก็เปน็ อยา่ งน้นั พดู วา่ “เออ ! โยมนี้จะท�ำบุญด้วยไหม ? เดี๋ยวจะสรา้ ง
ศาลา” คนก็ต้องท�ำ ถึงขนาดไม่มเี งินกต็ ้องขายววั ขายควาย กย็ ังเอา เพ่อื หาเงนิ มาชว่ ยท่านสร้าง
ศาลา ตามทที่ า่ นพดู ถา้ ทา่ นพูดอะไร โยมอุปัฏฐากท�ำตามหมด เพราะเหน็ ตัวอย่างจากหลวงปูเ่ อง
ทา่ นสละหมดทั้งบ้าน ทง้ั นา ท้งั สวน ท้งั ทรัพยส์ มบตั ิ โค กระบอื ท่านยังสละหมดจนได้ ชาวบา้ น
เล่ือมใสทา่ นมาก แต่กลวั ท่านมาก ทา่ นพูดอะไรตอ้ งเปน็ อย่างนั้น”
รักษาโรคโดยให้ถือสัจจะ
สังคมของคุณครูชาย เป็นข้าราชการครู มีเพ่ือนที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการในอ�ำเภอ
สว่างแดนดิน มีการพบปะสังสรรค์เยี่ยมเยียนกันบ่อยๆ แต่ละคร้ังท่ีมีการพบปะกันก็จะมีการด่ืม
สุรากันแทบทกุ ครัง้ คณุ ครูชายเมอ่ื ดืม่ สุรา ก็จะมีอาการปวดทอ้ งมาโดยตลอดทกุ ครัง้ พอปวดท้อง
ทไี รกไ็ ปหาหมอเพ่ือรักษาอย่ตู ลอด ซึ่งหมอก็รักษาตามอาการ แตไ่ มห่ ายขาด
306
ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๘ หลวงปลู่ ี ติ ธมโฺ ม วัดเหวลกึ ได้เปน็ หว่ งสุขภาพของคณุ ครชู าย
จึงบอกกบั คณุ ครูคำ� ฟอง ภรรยา ว่าให้คณุ ครูชายเลกิ ด่มื สรุ า แล้วให้นิมนตห์ ลวงปู่พรหม มาสวด
บังสกุ ุลเปน็ – บังสุกุลตาย โดยมาท�ำบุญที่บ้าน
ปรกติ หลวงป่พู รหม จะไมร่ ับนิมนต์ไปฉนั อาหารท่บี า้ นใคร แต่ท่านกเ็ มตตารับนิมนตม์ า
ทำ� บญุ ท่บี า้ นคณุ ครูชาย ซงึ่ ในวนั ท�ำบญุ ก็ไดน้ ิมนตพ์ ระมา ๙ รูป แต่ทคี่ ุณครูชายจำ� ได้มี ๔ รูป คอื
หลวงปู่พรหม จิรปุญโฺ เป็นประธาน
หลวงปู่ลี ติ ธมฺโม วัดเหวลกึ
หลวงป่สู ุภาพ ธมมฺ ปญโฺ วดั ทงุ่ สว่าง
พระอาจารยจ์ ันดี เขมปญฺโ วดั ศรสี ะอาด บา้ นค�ำสะอาด สกลนคร
การท�ำบญุ วันนน้ั มกี ารสวดเจรญิ พระพุทธมนตต์ ามพิธี แล้วกส็ วดบังสุกลุ เปน็ – บังสกุ ลุ ตาย
ใหก้ บั คุณครูชาย และหลวงปไู่ ดท้ ำ� น้ำ� พระพทุ ธมนตใ์ หค้ รูชายด่มื แล้วใหส้ ัจจะว่าจะไม่ดม่ื สรุ าอกี
ต้ังแต่นนั้ มา คุณครชู ายกถ็ อื สัจจะไมด่ มื่ สรุ าอีกเลยและอาการปวดท้องก็หายเปน็ ปลิดทิ้งต้งั แตน่ น้ั
เร่ืองงูใหญ่มาให้โชค
ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๙ คุณครูชาย ศิษยอ์ ปุ ัฏฐากหลวงปู่ได้สร้างบ้านเสร็จใหม่ๆ เวลา
ประมาณ ๗.๐๐ น. มีนายแก้ว กองแกว้ พ่ชี ายของคณุ ครูคำ� ฟอง (ภรรยาของครชู าย) ก็มาที่บ้าน
ด้วย ลูกสาวของคุณครูชาย ชอ่ื แจ๋ว (ครแู จว๋ ) กำ� ลังอาบนำ้� แตง่ ตวั จะไปโรงเรียน จะไปเอาเสื้อผา้
ในห้องเกบ็ เสอ้ื ผ้า เกดิ ไปจบั ถกู ตัวอะไรก็ไม่รู้ ซึง่ เขา้ ใจว่าเปน็ งู ตกใจว่ิงร้องออกมาบอกพอ่ แม่ และ
ลงุ แก้ว
ลงุ แกว้ กพ็ ากนั เข้าไปดู เจองตู วั ใหญ่และยาวมาก ทางภาคอีสานเรยี กวา่ “งสู างห่า”
ลุงแก้วบอกว่ามนั เปน็ งพู ิษ จงึ ให้หลานชายซึ่งอยใู่ นท่นี น้ั ฆา่ มันเสีย
วนั ตอ่ มา คุณครูชาย และคุณครูค�ำฟองไปทำ� บญุ ถวายจงั หนั ทว่ี ดั ยังไม่ไดพ้ ดู อะไร หลวงปู่
พรหมก็เอ่ยขนึ้ วา่ “ไปฆ่ามนั ทำ� ไม ? งใู หญ่เขามาให้โชค”
นบั ว่าเปน็ เรอื่ งแปลก ยงั ไม่มใี ครเลา่ เรอ่ื งนใี้ หห้ ลวงป่ฟู งั แต่หลวงปูก่ ส็ ามารถรถู้ ึงเหตุการณ์
ทเี่ กิดขนึ้ ทบ่ี ้านของคุณครูชายได้
307
เรื่องพญานาคมาขอชีวิตคน
เร่ืองนี้คนเฒ่าคนแก่เขาพูดกัน สระน�้ำบริเวณศาลาใหญ่ สมัยก่อนมีพญานาคมาอาศัยอยู่
มาจากไหนก็ไม่รู้ แตห่ ลวงปพู่ รหมท่านรู้ ตวั อะไร ท่านรู้ไปหมด ทา่ นวา่ เป็นพญานาค ปจั จบุ นั นี้
ไมค่ ่อยมหี รอก เวลาน�้ำข้นึ พวกพญานาคจะมาขอชวี ิตคน มาขอหลวงปทู่ กุ ปีเลย จะเอาเท่านัน้ คน
เท่าน้ีคน หลวงปู่ท่านก็ไม่ให้ ชีวิตคนในบ้านดงเย็น ท่านไม่ให้ ท่านให้ไปเอาท่ีหมู่บ้านอ่ืน ท่านก็
แกโ้ ดยให้เส่ือกับหมอนแทน ท่านโยนเส่ือกับหมอนลงในสระน้�ำ ทีแรกพญานาคก็ไม่ยอมเอา แต่
ผลสุดท้ายกเ็ อา ถ้ามันเอา มันกห็ ายไป เรอ่ื งนอ้ี าจารยแ์ นมเห็นเหตุการณ์ แล้วก็ไปเล่าต่อ พญานาค
มันมาชนเสาไม้ๆ ชนตกึ๊ ๆๆๆ หลวงปูไ่ มอ่ ยากให้คนอน่ื กลัว เอาหมอนโยนให้ละ่ หยดุ
ที่นาของคุณยายคนหน่ึง อยู่ข้างวัดประสิทธิธรรม แต่ก่อนมีสภาพเป็นคลองเล็กๆ คลอง
มันลึก แต่ไม่ค่อยกว้าง หลวงปู่พรหมก็เอาเสื่อเอาหมอนไปโยน หลวงปู่ผางก็เอาเส่ือกับหมอน
ไปโยนที่นาของคุณยายคนนนั้ เหมือนกนั เพ่อื แกเ้ รื่องพญานาคมาขอชวี ติ
เครื่องยนต์ดับโดยไม่ทราบสาเหตุ
หลวงปู่พรหม ไดร้ บั นมิ นตใ์ ห้มาชว่ ยพระอาจารยค์ �ำมี สุวณณฺ สริ ิ (พระครศู รีภูมานุรกั ษ์)
ในการสรา้ งวดั ศรีสวา่ ง อ�ำเภอสวา่ งแดนดนิ จงั หวัดสกลนคร
ในชว่ งนั้น คุณครชู ายไดม้ านิมนตห์ ลวงปไู่ ปในงานท�ำบุญประจ�ำปี ท่บี า้ นถ่อน ซึ่งอยูห่ า่ ง
จากวดั ศรสี ว่าง ประมาณ ๗ กโิ ลเมตรกว่าๆ จะต้องเดินทางโดยรถยนต์โดยสารสายสว่างแดนดิน
อ�ำเภอบ้านม่วง ซึ่งเป็นรถโดยสารประจำ� ทางสมยั เกา่
ด้านหนา้ รถเปน็ ท่ีนงั่ คนขับ กบั ผู้โดยสารนงั่ ได้ ๓ คน ซึง่ มผี ู้หญงิ สาว ๓ คนนงั่ อยู่กอ่ นแลว้
คณะของหลวงปู่จะตอ้ งไปน่ังดา้ นหลงั ปะปนกับผโู้ ดยสารคนอ่นื ๆ ซึง่ มที ง้ั ชายและหญิง ไม่เปน็ การ
สมควร คุณครูชายได้ขอให้หญิงสาวทั้งสามคนสละท่ีนั่งให้หลวงปู่โดยย้ายไปนั่งข้างหลัง แต่ทั้ง
สามคนไมย่ อม หลวงปู่ สามเณร ครชู ายและศษิ ย์ติดตาม จึงตอ้ งเดินเทา้ ไปยงั บ้านถ่อน เพือ่ ไป
รว่ มงานดงั กล่าว รถโดยสารคันนนั้ ติดเคร่อื ง แล้ววง่ิ ออกไปไมถ่ ึง ๒๐ เมตร เครื่องยนตเ์ กดิ ดับโดย
ไมท่ ราบสาเหตุ ! เจ้าของรถพูดกบั คุณครชู ายว่า “รถขบั มาดีๆ กด็ ับโดยไมท่ ราบสาเหตุ ?”
ผู้โดยสารในรถบอกว่า พวกเขาจะสละท่ีนง่ั ใหผ้ ู้หญงิ ทัง้ สามคนมาน่งั แทน แลว้ พวกเขาจะไป
ยืนโหนนอกรถเอง แลว้ นมิ นตใ์ หห้ ลวงปขู่ นึ้ นง่ั หนา้ รถ พร้อมกับพระทีต่ ดิ ตาม ๒ รปู พอหลวงป่ขู ้ึน
น่ังรถแลว้ คณุ ครูชายบอกใหโ้ ชเฟอร์สตาร์ตรถ รถก็ติดเคร่อื งได้ และวง่ิ ไดต้ ามปรกติ จนถึงจดุ หมาย
ปลายทาง
308
เรื่องท่านดุชาวบ้านท�ำบาป
สมัยกอ่ นวัดประสิทธิธรรมมีตน้ มะมว่ งหลายตน้ และออกลกู ดกมาก มีคนในหมูบ่ า้ นแอบข้นึ
ต้นมะม่วง จะเด็ดมะม่วงมากินกัน โดยไม่ได้ขออนุญาตจากหลวงปู่พรหม พอมีคนมาแอบเด็ด
มะมว่ งเท่านนั้ หลวงป่ทู ่านอยู่ทีก่ ุฏิของทา่ น ท�ำไมทา่ นรนู้ ะ ทา่ นรหู้ มดทกุ อยา่ ง อยูไ่ หนทา่ นกร็ ูห้ มด
หลวงปทู่ า่ นกเ็ ดินมาเลย “มึงท�ำอะไรนนั่ ถ้ามึงกนิ มงึ ก็ถอนหญา้ ให้หมดนะ” ไปเอาของสงฆ์
โดยไมไ่ ดข้ ออนญุ าต มนั เป็นบาปเปน็ กรรม หลวงปู่จงึ ใหถ้ อนหญา้ ในวัดใชห้ น้สี งฆ์ จะได้ไมเ่ ป็นบาป
เปน็ กรรม ส่วนมะม่วงทรี่ ว่ งหล่นเองตามตน้ คนเฒา่ คนแก่เล่าวา่ ตอนเปน็ เด็กๆ เข้าๆ ออกๆ วดั
มาเกบ็ มะมว่ งที่มันร่วงหล่นอย่ตู ามตน้ ไปกิน ก็ไมเ่ หน็ เปน็ อะไร หลวงป่ทู ่านไมเ่ หน็ วา่ อะไรเลย แต่
ปัจจบุ นั นม้ี ะม่วงมนั ไมค่ ่อยมีแลว้
ขนาดขอนไมอ้ ยู่ในน�้ำ มอี ะไรๆ อยูใ่ นน�ำ้ น่ี หลวงปทู่ ่านรู้หมด ถา้ คนท�ำอะไรผดิ นะ พ่อออก
(โยมผชู้ าย) ที่รุน่ ของท่าน มาวดั ตกั บาตร จบั ปลาวัดไปกิน ทา่ นก็เห็นหมด ท่านวา่ “มึงทำ� ไมไปลัก
ปลาวัด” ก็ดา่ “มึงทำ� อะไร” ก็บอกถกู หมดน่ี ปลามันกอ็ อกจากวัดไหลลงไปตามคลอง “มงึ มาลัก
ปลากู กูรู้นะมงึ เอา มงึ มาวดั ไดย้ ังไง มงึ เอาปลาเปน็ ๆ ไปเลย้ี งลูกเลย้ี งเมยี มึง” ท่านรู้นะ “มงึ มา
วัดทำ� ไม มึงทำ� บาป” น่นั นะ่ ทา่ นพดู อยา่ งนั้น ทา่ นไม่ใหช้ าวบ้านเอาปลาไปฆ่ากิน ปลาของทา่ น
มีแตต่ วั ใหญ่ๆ ไหลออกจากวัดไปตามคลองแล้วชาวบ้านไปจับ แล้วทา่ นก็รู้ ฟา้ ฝนใหม่ ปลามนั ไหล
ออกนอกวัด หลวงปูอ่ ยใู่ นวัด แตท่ า่ นรหู้ มด ทา่ นกเ็ ลยว่าคนลกั ปลาวัด
มีจิตท่ีอัศจรรย์ รู้วาระจิต
ที่บา้ นดงเย็น สมัยเม่อื หลวงปพู่ รหม ทา่ นยังมชี วี ติ อยู่ กม็ กั จะมบี รรดาท่านสาธุชนเดินทาง
ไปกราบนมัสการท่านอยู่เสมอๆ แม้หนทางในสมัยน้ันการคมนาคมไม่สะดวกอย่างเช่นปัจจุบันนี้
การเข้าไปพบเพ่ือนมสั การทา่ นมใิ ช่ของงา่ ย ทางกไ็ มด่ ี อีกทงั้ ยังเปน็ ป่าไมอ้ นั หนาแน่น ถงึ กระน้นั
ทุกคนกไ็ ดพ้ ยายามจนไปถงึ ทท่ี า่ นจำ� พรรษาอยอู่ ยา่ งน่าสรรเสริญย่ิง
จิตท่ีปรกตแิ ลว้ ของหลวงปูพ่ รหม จริ ปุญโฺ ย่อมเป็นจติ ที่อศั จรรย์ คือ มีความรคู้ วามเหน็
อนั ผดิ ไปจากมนุษยธ์ รรมดาๆ จะรเู้ หน็ หรือเข้าใจ เม่อื คณะญาตโิ ยมคนใดกต็ ามมาถงึ วัดทท่ี ่านอยู่
จ�ำพรรษานั้น ท่านจะรู้วาระจิตของทุกๆ คนท่ีมา ท่านสามารถทายใจของทุกคนได้ถูกต้องและ
แม่นย�ำ อย่างเชน่ มีบุคคลทีไ่ ปท�ำบญุ กบั ท่าน แต่มีสงิ่ หวงั ตงั้ ใจมา ทา่ นกจ็ ะพดู เตอื นสติทันทเี มอ่ื พบ
หน้ากนั ดังนี้
“การท่ีจะท�ำบุญท�ำทานนน้ั ตอ้ งมใี จต้ังม่ัน และใหเ้ กดิ ศรัทธาในบุญกุศลทานเสียกอ่ น
ถ้าไม่ศรัทธา ใจไม่ต้งั มน่ั แล้ว อย่าทำ� จะไม่มีอะไรดีขึน้ เลย”
309
บางคราวจะมญี าติโยมชายหญงิ ท่เี ดินทางไปถงึ ก็เท่ียวเดินชมวดั และบรเิ วณต่างๆ แลว้ พดู
คุยกันในลักษณะประจบทำ� บุญเอาหน้าเอาตากันวา่ ฉนั จะตอ้ งมาสรา้ งโนน่ สร้างนี่ จะทำ� อยา่ งนนั้
อย่างน้ี แต่จิตใจน้ันมีเจตนาหวังผล หรือต้ังตัวเองให้เป็นผู้ท่ีสนิทชิดเชื้อกับตัวท่าน มีบุญมีคุณ
ตอ่ ท่าน แล้วท่านมกั จะเตอื นว่า “ถ้าไมศ่ รทั ธา มีเจตนาเปน็ อ่ืนก็ไมค่ วรจะทำ� ”
แต่ถ้ามญี าติโยมคนใดเขา้ ไปนมสั การและมีเจตนาดี มองเห็นคณุ เห็นประโยชนท์ ่จี ะเกิดข้นึ
โดยส่วนรวมแล้ว แม้ยงั ไม่ได้บอกกล่าวแกผ่ ู้ใดเลย หลวงปูพ่ รหมก็สามารถรูด้ ว้ ยจิตภายใน ทา่ นจะ
อนุโมทนาและกลา่ วข้ึนพอเปน็ การรบั รดู้ งั นี้ ว่า “ท่านมีเจตนาดีก็ท�ำไปเถิด เพราะสิ่งนัน้ เป็นบญุ
เป็นกุศล” ขนาดหลับทา่ นยงั รู้
หลวงปู่พรหม จิรปญุ ฺโ ทา่ นเป็นพระผู้ปฏบิ ัติธรรมทคี่ วรแกก่ ารเคารพบูชา แมค้ รบู า–
อาจารย์ในสมัยปัจจุบันก็ยังกล่าวถึงท่านด้วยกิตติคุณอันงดงามอยู่เสมอ สมัยหลวงปู่พรหมท่าน
กลับมาถึงบ้านดงเย็น ท่านได้สร้างความอัศจรรย์แก่พวกเราให้ได้เห็นมากมาย เมื่อท่านมาอยู่ได้
ไม่นานก็มีชาวบ้านบวชพระตามท่านไปหลายองค์ พวกชาวบ้านก็เข้าวัดเข้าวา ต่างดีอกดีใจท่ีมี
วัดปฏิบตั ิเปน็ ของตนเอง
อนาคตังสญาณของหลวงปู่
มีเหตุการณ์หลายคร้ังหลายหนท่ีปรากฏแก่บรรดาศิษย์ ท่ีแสดงให้เห็นประจักษ์ซ่ึงญาณ
รเู้ ห็นเหตุการณต์ า่ งๆ ทเ่ี ป็นความรูค้ วามสามารถเหนอื คนธรรมดาของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ
ในตวั อย่างดงั ตอ่ ไปน้ี
เรอ่ื งที่หนึ่ง
คณุ ครชู าย – คณุ ครคู �ำฟอง วงษ์ประชุม เลา่ วา่ หลวงปู่จะรู้เหตุการณล์ ่วงหนา้ เสมอๆ เช่น
ถ้ามคี นมาจงั หันจากทไ่ี กลๆ แลว้ ยังมาไมถ่ ึง หลวงปจู่ ะนงั่ รอ พร้อมกับเค้ียวหมากไป คนวัดก็จะรู้
ทันทวี ่า “วนั น้จี ะต้องมีศรทั ธามาจากทางไกล จะมาจังหันหลวงปู่ ท่านจึงรอจนกระทั่งศรัทธานนั้ มา
ได้ทันจงั หนั พอดี” คุณครชู ายและคณุ ครคู �ำฟองเอง ก็เคยเจอเหตุการณเ์ ช่นนบี้ ่อยครง้ั
เรื่องท่สี อง
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ หลวงป่พู รหมได้ปรารภกับศิษย์ผู้หนงึ่ วา่ “หนา้ น้ำ� หลากปีน้จี ะมคี น
ตาย ๒ คน ในบรเิ วณบา้ นเรา” ซึง่ ตอ่ มากเ็ ปน็ ความจรงิ ทุกอยา่ ง สามี – ภรรยาค่หู น่งึ ในหมู่บ้าน
ใกล้เคียงประสบอุบัติเหตุเรือล่ม จมน�้ำตายท้ังคู่ ในบริเวณบ้านดงเย็น ตามค�ำท่ีหลวงปู่พูดไว้
ทุกประการ
310
เร่ืองท่สี าม
ได้มีข้าราชการผู้ใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี ผ่านมาทางอ�ำเภอบ้านดุง แล้วแวะไปนมัสการ
หลวงป่ทู วี่ ดั หลวงปูก่ ็วสิ าสะดว้ ยเล็กน้อย และกลา่ วเตือนวา่ “อะไรๆ ทา่ นก็ดหี มด ไมว่ า่ จะหน้าท่ี
การงานอะไรกต็ าม เสียแตเ่ รอ่ื งผู้หญงิ ถ้าเลกิ ได้กจ็ ะพ้นภยั ” พอท่านกลา่ วแลว้ ทา่ นก็ลุกขึน้ ไป
เดินจงกรม ไมย่ นิ ดียินร้ายกบั ขา้ ราชการผูใ้ หญ่ท่านนั้นอกี ตอ่ มาอกี ประมาณ ๒ สัปดาห์ ข้าราชการ
ทา่ นนั้นถกู ภรรยายิงตายดว้ ยเรื่องช้สู าว
311
ภาค ๑๘ ท่านละสังขารตามกฎไตรลักษณ์
ท่านปรารภอายุขัย
ครูบาอาจารย์สายทา่ นพระอาจารย์มน่ั ภรู ทิ ตฺโต ประเภท เพชรน�ำ้ หนงึ่ เมอ่ื ทา่ นปรารภ
เรื่องอายุขัยล่วงหน้า แล้วศิษยานุศิษย์กราบอาราธนานิมนต์ขอให้ท่านเมตตาถนอมรักษาธาตุขันธ์
ใหท้ รงอยูน่ านๆ เพอื่ สงเคราะห์โปรดพทุ ธบรษิ ัท มีด้วยกันหลายองค์ เชน่ กรณีในหลวงเสดจ็ มา
กราบอาราธนาขอให้ หลวงปดู่ ูลย์ อตโุ ล หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปูแ่ หวน สุจณิ ฺโณ ฯลฯ รกั ษา
ธาตขุ ันธใ์ หท้ รงอยู่นานๆ ร้อยย่สี ิบปี เป็นต้น หลายๆ องค์ท่านกเ็ มตตารับอาราธนา แต่สุดท้าย
ในหลวงเสด็จมาทรงเหน็ ธาตุขันธ์ของหลวงป่แู ตล่ ะองค์ ซ่งึ ทา่ นชราภาพมากแล้ว การดำ� เนนิ รักษา
ธาตขุ นั ธ์ล้วนเปน็ ไปด้วยความยากล�ำบาก พระองคท์ า่ นจึงเสดจ็ มาขอคนื ซงึ่ บางองคก์ ็อยู่ถงึ เกา้ สิบ
กว่าปี บางองคอ์ ยเู่ กือบร้อยปกี ม็ ี
ส�ำหรับกรณีของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ในบ้ันปลายชีวิตของหลวงปู่พรหม ท่านก็มี
ปรารภเร่อื งอายขุ ัยของท่านให้บรรดาพระศษิ ยฟ์ ังเหมือนกัน เรือ่ งนี้หลวงปู่ผาง ปรปิ ุณโฺ ณ ทา่ น
ก็ทราบ ครบู าอาจารย์พระศิษย์องคอ์ นื่ ๆ ทา่ นกท็ ราบดี หลวงปู่พรหมท่านวา่ อายุของท่านไมเ่ กนิ
๘๐ ปี คล้ายๆ กับกรณีของหลวงปู่ม่ัน ท่านรู้อายุขัยของท่านล่วงหน้า ท่านจึงสร้างเจดีย์
ของทา่ นไว้ลว่ งหนา้ กรณีของหลวงป่ขู าว อนาลโย ท่านก็รเู้ ช่นกนั ทา่ นก็สรา้ งเจดยี ข์ องท่านเตรยี ม
ไว้ล่วงหน้า หลวงปู่หล้า เขมปตโฺ ต ท่านกร็ ู้เหมือนกัน ครบู าอาจารยป์ ระเภทเพชรน�้ำหนึ่ง ท่านรู้
อายุขัยลว่ งหนา้
เค้าแห่งความสูญเสียของบรรดาศิษย์
แมห้ ลวงปู่พรหม จริ ปุญฺโ ทา่ นจะมคี ุณธรรมสูงส่งเพียงใดกต็ าม กไ็ ม่สามารถหลกี พน้
กฎไตรลกั ษณ์ คอื อนจิ จัง ทุกขัง อนตั ตา ไปได้ โดยท่วั ไป หลวงปู่พรหม ท่านเปน็ พระเถระท่ีมี
สุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ทำ� งานวดั ไมเ่ คยไดห้ ยดุ ขณะเดียวกันก็น่งั สมาธแิ ละเดนิ จงกรมทกุ วัน
และครั้งละนานๆ ทา่ นไม่เคยป่วยหนักจนลม้ หมอนนอนเสื่อใหล้ กู ศิษยล์ กู หาตอ้ งทุกขก์ ังวลใจ
นายสุนทร ราชหงษ์ สาธารณสุข ศิษยผ์ ู้หนงึ่ ท่ีใกล้ชดิ หลวงปพู่ รหม ไดเ้ มตตาเล่าว่า
“ช่วงหลวงปู่ชราภาพใกล้มรณภาพ มีแต่พวกชาวบ้านกับพวกเพื่อนๆ น่ีล่ะไปดูไปรักษา
ไปกไ็ ปวัดปรอท วัดความดันตามประสาแพทย์ แล้วกใ็ ห้น�้ำเกลอื น�้ำอะไรแล้วทา่ นกห็ ายเปน็ ปรกติ
ร่างกายแข็งแรงไปไหนมาไหนได้อยู่ ตอนนั้นท่านไม่เป็นอะไรมาก สุขภาพของท่านดีมาโดยตลอด
เม่ือญาติโยมไปกราบ ทา่ นมแี ต่บอกญาตโิ ยม “ใหพ้ ากนั สร้างความดี ไม่ผลดั วนั ผลัดคนื ท�ำเลย
312
ถา้ ถงึ วันตื่นขึ้นมา ตายแลว้ ไม่ไดท้ �ำ” ท่านว่าอย่างนน้ั ทา่ นเทศนใ์ ห้ฟงั คร้นั เวลาทา่ นหกลม้ แล้ว
กเ็ ลยปว่ ยมา ทีน้ีเลยเข้าๆ ออกๆ รกั ษาทา่ น เมือ่ ท่านหายแลว้ ทา่ นก็ป่วยตามปรกติของผ้สู ูงวัย
พวกชาวบ้านเขากม็ าตามไปรักษา พอเขามาตามก็ไปเลย ตามกลางคืนกไ็ ปกลางคืน ไปรกั ษาทา่ น
ไม่มีอะไรบอกเหตุหรือผดิ สังเกตเลยวา่ ทา่ นจะมาด่วนมรณภาพ”
วนั ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เค้าแหง่ ปริศนาธรรมความเป็นจรงิ ไดป้ รากฏชดั ภายใน
จติ ใจของหลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ เสียแลว้ ชาวบา้ นดงเย็น อำ� เภอบ้านดงุ จงั หวดั อดุ รธานี จะมี
ใครคนไหนรู้ได้บ้างวา่ ขณะนตี้ ้นโพธิต์ ้นไทรทเี่ คยใหค้ วามสงบสขุ ร่นื รมยแ์ กพ่ วกเขาทงั้ หลาย ก�ำลัง
จะถกู พายุอนั เกดิ จากอำ� นาจพระไตรลกั ษณ์ คือ อนจิ จงั ทุกขงั อนตั ตา มาโคน่ มาถอนออกไปเสีย
จากจิตใจของพวกเขา กเ็ พราะความไม่เที่ยง ไม่แนน่ อน อยู่ไปก็มคี วามไมเ่ ท่ยี ง เปน็ ทุกข์ แท้จริง
กเ็ ป็นธาตุเฉยๆ ไมใ่ ช่ตวั ตนบคุ คลเราเขา
หลวงปู่พรหม จริ ปญุ โฺ จงึ สามารถก�ำหนดร้ชู ัดด้วยจติ ใจอนั เปน็ หนึง่ ของท่าน โดยไดป้ ลง
สังขาร กลา่ วอ�ำลาชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ไมข่ อกลับมาพบเหน็ คลุกเคล้ากนั อีกตอ่ ไป
หลวงปพู่ รหม จริ ปุญฺโ ทา่ นไดแ้ สดงธรรมปฏิบัติอันเปน็ อบุ ายธรรม
“ให้ทุกคนได้พิจารณาน้อมนึกถึงความตายอยู่เสมอๆ จงอย่าได้ประมาท การปฏิบัติตน
ให้เกิดสติปัญญา โดยเป็นเครื่องมือพิจารณาให้เห็นแก่นแท้ของธรรมะท่ีพระพุทธเจ้าตรัสสอนโลก
พรอ้ มทง้ั ไดช้ ีแ้ นะอย่ใู นตัว คอื พระพุทธองค์ทรงตรสั สอนโลก ทรงให้วนิ จิ ฉยั ด้วยสติปัญญา มองดู
อาการเคลอ่ื นไหวอาการของกเิ ลสทางใจ มีอาการเป็นไปทางใดบ้างในวนั หน่งึ ๆ”
เหตุการณ์ก่อนหลวงปู่พรหมจะมรณภาพ ท่านป่วยล่ืนล้มหัวฟาดพ้ืนหมดสติไป ช่วงน้ัน
พระ เณร ชาวบ้านตา่ งมาช่วยกันรักษาอาการอาพาธของท่านด้วยการยา่ ง (การรักษาแบบโบราณ
นอนบนแคร่ รมด้วยสมุนไพร) ท่านก็กลับมาแข็งแรงดี ศิษยานุศิษย์คิดจะสร้างเจดีย์ถวายท่าน
และได้ไปใส่ฟันปลอมให้ท่าน ท่านยังสดชื่นดี อายุยังไม่ถึง ๘๐ ปี แต่ท่านรู้ตัวดีว่า ท่านจะถึง
แกก่ ารมรณภาพ จงึ เกบ็ ของเรียบรอ้ ยหมด
ครูชาย วงษ์ประชุม ศิษย์อุปัฏฐากใกล้ชิดคนหนึ่งของหลวงปู่ได้บันทึกเหตุการณ์ ๒ วัน
สดุ ท้าย ก่อนทหี่ ลวงปู่พรหม จริ ปุญโฺ มรณภาพดังน้ี
“วันอาทติ ยท์ ่ี ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๑๒ ไดต้ งั้ ใจไว้วา่ จะไปธรุ ะทจ่ี งั หวดั สกลนคร แตม่ ีเหตุ
บันดาลใจอยากจะไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโ ด้วยรู้สึกเป็นห่วงท่าน
เพราะเมอ่ื วันอาทิตย์ท่ีแล้ว (๔ พฤษภาคม ๒๕๑๒) ข้าพเจ้าพร้อมด้วยภรรยาและชา่ งท�ำฟัน ไปทำ�
ฟนั ให้ท่านใหม่ เพราะท่านมีอาการปวดฟนั
313
เม่ือเกดิ สังหรณใ์ จเชน่ นี้ จึงได้เปล่ียนความตง้ั ใจใหม่ ไม่ไปธรุ ะทตี่ วั จังหวัดสกลนคร แตไ่ ด้
ชวนภรรยาไปนมัสการท่านที่วัด ไปถึงดงเย็นเวลา ๑๒.๓๐ น. ได้จอดรถจักรยานยนต์ไว้ที่ใต้ร่ม
มะมว่ ง แล้วจงึ พากนั ข้ึนไปนมสั การท่านบนกฎุ ี ปรากฏว่าท่านไดน้ ั่งรอคอยอยกู่ ่อนแลว้
เมอ่ื นมัสการกราบไหวท้ า่ นเสร็จแลว้ ท่านได้พดู ทักทายขึน้ วา่ “อาตมาไดย้ นิ เสียงเครอ่ื งบิน
วา่ แม่น (นกึ ว่า) เสียงรถของเจ้า”
วา่ แลว้ ทา่ นก็ลุกขึ้นไปหยบิ เอากานำ้� เพอ่ื ไปกรองนำ�้ ทโ่ี อ่ง ข้าพเจา้ ลกุ ขนึ้ ติดตามทา่ น รบั เอา
กานำ�้ จากทา่ น กรองนำ้� แทนท่าน แล้วทา่ นยงั ไปยกเก้าอ้มี า เพื่อเหยียบขนึ้ เอาแก้วน�ำ้ อยู่ทก่ี ล่องบน
ชัน้ ใตเ้ พดานกุฏิ ข้าพเจา้ จงึ มไิ ดร้ อช้า รีบไปหยิบเอาแกว้ นำ้� แทนทา่ นอกี เมื่อกรองน�ำ้ ล้างแก้วน�้ำ
เสร็จ จึงได้นำ� มาถวายท่าน เม่ือนำ� กาน้�ำเข้าไปถวายทา่ น ทา่ นได้บอกวา่
“อาตมาไปเอาน้�ำมาใหพ้ วกเจา้ กิน”
เสร็จแล้วข้าพเจ้ามาน่ังตรงต่อทที่ ่านนงั่ ท่านจึงไดเ้ ทศนาใหข้ ้าพเจ้าฟงั ว่า
“คนเราเกิดมาทุกรูปทุกนาม รูปสังขารเป็นของไม่เท่ียง เกิดขึ้นแล้วล้วนตกอยู่ใน
กองทุกข์ด้วยกนั ทง้ั น้นั ไมว่ ่าพระราชามหากษัตริย์ พระยานาหม่ืน คนม่งั มี เศรษฐี และยาจก
ล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น มีทางพอจะหลุดพ้นทุกข์ได้ คือ ท�ำความเพียร เจริญ
ภาวนา อย่าสมิ ัวเมาในรปู รา่ งสงั ขารของตน มัจจรุ าชมนั บไ่ ว้หน้าผใู้ ด ก่อนจะดบั ไป ควรจะ
สร้างความดีเอาไว้”
ท่านเทศนาใจความสั้นๆ ดังนี้แล้ว จึงได้สนทนากับท่านต่อไปอีก ได้เรียนถามท่านว่า
“ช่างท�ำฟนั มาแตง่ ฟันให้แลว้ รสู้ ึกเปน็ อยา่ งไร”
ทา่ นตอบวา่ “หายเจ็บแล้ว คือสิไดค้ ณุ ดี” (ไดผ้ ลดี)
ข้าพเจา้ เรียนถามต่อไปอกี ว่า “ท่านอาจารยฉ์ ันยาท่ีน�ำมาถวายแลว้ เป็นอย่างไร (ยาที่น�ำมา
ถวายท่านน้ี เอามาจากสูตรผสมยาของคุณหมออวย เกตุสิงห์ ปรุงถวายท่านอาจารย์ใหญ่ขาว
วดั ถ้�ำกลองเพล)”
ท่านได้ตอบว่า “ยานไี้ ดค้ ณุ ดี แตเ่ วลาน้มี จั จุราชมันบ่ได้ว่ายาให้แลว้ ”
เมือ่ ท่านพูดเช่นน้ี ขา้ พเจา้ รสู้ ึกตกใจ จงึ ไดอ้ าราธนานมิ นต์ท่านอยตู่ ่อไป “กระผมขอนิมนต์
ใหห้ ลวงป่อู ย่ไู ปกอ่ น ถึงอย่างไรกข็ อใหเ้ จดยี ท์ ่ีก�ำลงั จะก่อสรา้ งน้ีเสร็จเรียบรอ้ ยเสยี ก่อน”
ทา่ นไดต้ อบข้าพเจา้ วา่ “ชาย เจา้ มาโงแ่ ท้ เทศนาให้ฟังหยกๆ ยังไม่เขา้ ใจ”
314
ได้เวลา ๑๕.๓๐ น. ทา่ นไดส้ งั่ ใหข้ ้าพเจ้ากลับ เพราะจะค�่ำแล้ว ข้าพเจ้าไม่รอช้า เพราะทราบ
ดีว่า เม่ือท่านส่ังต้องปฏิบัติตาม ก่อนจะกลับก็กราบนมัสการท่าน ขณะท่ีกราบนมัสการลาท่าน
อยนู่ ัน้ ท่านยังได้ย�้ำอกี ว่า “ใหพ้ ากันเจรญิ ภาวนา ท�ำความเพยี ร จึงจะพน้ ทุกข”์ จากนั้นทา่ นกไ็ ป
ทำ� กิจของทา่ น คือ เดนิ จงกรมบนกฎุ ขี องท่าน
ตลอดทางท่ีกลับบ้าน ข้าพเจ้าคิดในใจถึงปรากฏการณ์ที่ท่านอาจารย์หลวงปู่เฒ่าของเรานี้
ผิดแปลกไปกว่าคร้ังก่อนๆ มาก เม่ือถึงบา้ นกไ็ ด้แตป่ รกึ ษากบั ภรรยาเท่าน้นั ต้งั ใจไวว้ า่ จำ� ตอ้ งน�ำ
เรื่องนี้ไปปรึกษากับ ท่านอาจารย์ลี ติ ธมฺโม วัดเหวลึก และท่านอาจารย์สุภาพ ธมฺมปญฺโ
วัดทุ่งสว่าง ดู แต่เร่ืองยังไม่ถึงท่านอาจารย์ทั้งสอง เหตุการณ์อันไม่คาดฝันก็เกิดข้ึนในตอนเช้ามืด
วนั ที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๒
ลางบอกเหตุ
ในช่วงบน้ั ปลายชีวิตของหลวงปพู่ รหม จริ ปญุ โฺ บรรดาลูกศษิ ย์ลูกหาตา่ งหว่ งใยสขุ ภาพ
ของหลวงปู่ ตา่ งกน็ �ำหยูกยามากราบน้อมถวายทา่ นกนั มากมาย หลวงป่พู ดู กบั พระเณรว่า “ยาก็
ไม่มปี ระโยชน์ดอก” ทา่ นว่า “มนั ถงึ เวลาเขาแลว้ เขามาตามเอาแลว้ เอายาอะไรมากไ็ ม่มปี ระโยชน์
ดอก” “เอ้า ! สูเจ้าจะมานวดแข้ง นวดขาอยู่นี่ก็ให้หยุดซะ มีคนจะมานิมนต์แล้ว ถึงเวลาแล้ว”
ทา่ นว่าอยา่ งน้ี ถงึ ครง้ั สดุ ทา้ ยท่านแลว้ นะ ท่านถงึ คดิ อย่างน้นั
หลวงป่พู รหมทา่ นจะไมม่ ีค�ำว่าป่วยออดๆ แอดๆ ไปบิณฑบาตไมไ่ ด้ ไม่มี ท่านจะไม่ปว่ ย
อะไร โรคประจ�ำตัวของท่าน คือ โรคผื่นคันทั้งตัว โรคท่ี ๒ ก็คือ ฟัน ศิษย์ผู้อุปัฏฐากใกล้ชิด
คนบ้านถ่อน ไปดูแลเรื่องฟัน ใส่ฟันเทียมให้ท่านจนครบสมบูรณ์ เม่ือฟันครบทุกซี่แล้วท่านก็เสีย
ก็ยังนึกว่า อ้อ ! ฟันเต็มปาก ท่านก็เลยหมดอายุขัย ยาแก้คันท่านไม่ใช้ยาสามัญประจ�ำบ้าน
ใชใ้ บตองกลว้ ยน้�ำวา้ นตี่ ม้ แลว้ กม็ าอาบแก้คนั
หลวงปพู่ รหมท่านขยนั ทา่ นทำ� งานจนวนั สุดทา้ ยกอ่ นมรณภาพ ลางบอกเหตุ วันอังคารที่
๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ก่อนมรณภาพหน่งึ วัน ตอนประมาณ ๕ โมงเยน็ ทา่ นบอกพวกนาค
ใหเ้ กบ็ ของใหเ้ รียบรอ้ ย “เกบ็ ของให้ดๆี นะ ถ้าขอ้ ยไมอ่ ยแู่ ล้ว มันจะหายนะ” ทา่ นกส็ ่งั พวกนาค
ลา้ งรถ ลา้ งจอบ ลา้ งเสียม รถเข็น ให้เก็บเขา้ ท่ี ตรงโรงเกบ็ ของเป็นกุฏหิ ลังเล็กๆ หน้าเจดีย์ทา่ น
ทา่ นบอกให้เก็บของแค่นนั้ บอกกอ่ นไมน่ าน ทา่ นพูดเปน็ ลาง ทา่ นพูดบอ่ ย “เกบ็ ของใหด้ ๆี นะ”
กอ่ นทา่ นจะมรณภาพ ทา่ นพูดประโยคนี้อยู่บอ่ ยๆ
315
ก่อนวันมรณภาพ ท่านสอนพระท่ีมาขอสึก
กอ่ นท่ีหลวงปู่พรหมจะมรณภาพ ใกลจ้ ะเดือน ๕ เดอื น ๖ ก็จะมีญาติโยมส่งลกู หลาน
เข้าไปเป็นนาคอีก รุ่นนั้นจะเป็นรุ่นสุดท้าย พระรุ่นก่อนหน้าสึกออกเกือบหมด เหลือครูบาอีก
องค์หน่ึง ต่อมาก็ไปขอลาสึก ก่อนจะไปลาสกึ กับอปุ ชั ฌาย์คำ� มี ก็ลาหลวงปูก่ ่อนหนา้ นัน้ ๒ – ๓ วนั
กวา่ ทา่ นจะอนุญาต ทา่ นอยากใหอ้ ยู่ตอ่ ทา่ นเทศน์ใหฟ้ ัง วนั แรกขนึ้ ไปปุ๊บ ท่านพูดวา่ “กโุ ส ยถา
ทุคฺคหโิ ต หตถฺ เมวานุกนตฺ ตฯิ ” ทา่ นแปลด้วยนะ “บุคคลใดก�ำหญ้าคาดงึ มากำ� ไม่แน่น ยอ่ มบาด
มอื ตวั เอง” ทา่ นเทศน์ให้ฟัง วนั กอ่ นทที่ า่ นจะมรณภาพ
พอวันที่ ๒ ไปอีก กำ� ลังจะเอย่ ปากจะขอลาสึกกบั หลวงปู่ แถวนั้นเปน็ ฐานทพั ของอเมรกิ า
เครือ่ งบินบินเสียงดงั รบกวน ไมไ่ ด้ยินอะไรเลย ทา่ นกว็ า่ “ไป มนั มดื แลว้ ดกึ แล้ว ไปนอนซะ ขอ้ ยจะ
พกั ผอ่ น” ยงั ขอไม่ไดอ้ ีก พอครงั้ ที่ ๓ ไปอีก น้องชายก็ถอื เสอ้ื ผ้าไป ท่านวา่ “เอา้ ! อดรนทนไม่ไหว
จรงิ ๆ บญุ ไดแ้ ค่น้กี ไ็ ปซะ แตว่ า่ ขอ้ ยสึกใหเ้ จ้าไม่ไดเ้ ด้อ เพราะขอ้ ยไมไ่ ดบ้ วชให้เจ้า คนไหนบวชให้เจา้
กต็ ้องไปลาคนนัน้ ” หมายถึงอุปัชฌายค์ �ำมี
หลวงปู่พรหมท่านอนุญาตให้สกึ แลว้ ทา่ นไม่รัง้ ไวแ้ ล้ว ก็ไปลาอปุ ัชฌาย์ค�ำมี พอท่าน
อนญุ าตปบุ๊ ตอนเย็นกก็ ลับมาวัด หลวงปูท่ ่านบอกนาควา่ “เกบ็ ของให้ดีนะ ถา้ ข้อยไม่อย่แู ลว้
มันจะหายนะ” หลังจากน้นั กข็ ้ึนไปจะสรงน้�ำใหท้ ่าน ท่านบอก “เอ้า ! ท�ำไมยังไม่สึกเหรอ ไปสึก
โน่นเด้อ ให้ปู่แก่นสึกให้เด้อ ข้อยสึกให้ไม่ได้” หลวงปู่แก่นบา้ นดงดารา ท่านมาเย่ียมหลวงปู่
พรหม ท่านสกึ ให้
หลวงปู่พรหม จิรปญุ โฺ นำ� บาทพระคาถา กโุ ส ยถา ทุคฺคหโิ ต หตฺถเมวานกุ นฺตติ มาเทศน์
สอนพระศิษยท์ มี่ าขอสึก พระธรรมเทศนามีบทเต็ม ดังนี้
กโุ ส ยถา ทคุ คฺ หโิ ต หตถฺ เมวานกุ นตฺ ติ
สามญฺ ํ ทปุ ฺปรามฏฺํ นิรยายปู กฑฒฺ ติ.
ยํ กิญจฺ ิ สถิ ลิ ํ กมมฺ ํ สงฺกลิ ิฏฺ ญฺจ ยํ วตํ
สงกฺ สสฺ รํ พรฺ หมฺ จรยิ ํ น ตํ โหติ มหปผฺ ล.ํ
กยริ ญฺเจ กยิรเถนํ ทฬฺหเมนํ ปรกกฺ เม
สิถโิ ล หิ ปรพิ พฺ าโช ภยิ โฺ ย อากริ เต รชํ.
316
หญา้ คาทบี่ ุคคลจับไม่ดี ยอ่ มตามบาดมอื นัน่ เองฉันใด
คณุ เครอ่ื งเป็นสมณะท่ีบคุ คลลูบคลำ� ไมด่ ี ย่อมครา่ เขาไปในนรก ฉันนน้ั .
การงานอยา่ งใดอย่างหน่ึงทีย่ ่อหย่อน วตั รใดทีเ่ ศร้าหมอง,
พรหมจรรย์ที่ระลึกดว้ ยความรังเกียจ, กรรมทง้ั สามอยา่ งนั้น ยอ่ มไม่มีผลมาก.
หากว่าบุคคลพงึ ท�ำกรรมใด. ควรท�ำกรรมนนั้ ให้จริง
ควรบากบ่นั ทำ� กรรมนน้ั ใหม้ ่ัน เพราะวา่ สมณธรรมเครอื่ งละเวน้ ท่ยี อ่ หยอ่ น ยงิ่ เกลยี่ ธุลลี ง.
บันทึกเหตุการณ์วันมรณภาพ
วันจนั ทร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ก่อนวันทีห่ ลวงปพู่ รหมจะมรณภาพ ท่านกย็ ัง
พูดคยุ กับญาติโยมดๆี อยู่ หลังจากทค่ี รบู าองคน์ นั้ สึกเสรจ็ แลว้ ตอนค่ำ� ก็กลบั ไปหาหลวงปพู่ รหม
ท่านก�ำลังต�ำหมาก ท่านว่า “ไป ไปหลับไปนอนซะ จะเข้าไปบ้านไปซะ จะอะไรก็ไป ไม่ต้อง
นั่นหรอก ข้อยอยู่ดีสบาย” พอประมาณ ๔ ทุ่มก็กลับบ้าน กลับมาบ้านแล้วก็ยังคิดถึงวัดอีก
กก็ ลับไปวดั อกี แลว้ กไ็ ปเฝา้ มองดทู า่ นที่กุฏิ พบว่า ท่านเขา้ พักแลว้ ไม่มีเหตกุ ารณ์อะไรเกิดขึ้น
จงึ ไปพักผอ่ น แต่พอตกกลางคืนท่านก็ทอ้ งเสยี การอาพาธท้องเสยี คืนเดียวเท่าน้ันเอง เปน็ สาเหตุ
น�ำมาซึง่ กาลแห่งมรณภาพของท่านในวนั รุง่ ขึน้
วนั อังคารที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๒ วนั ที่หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ จะมรณภาพ ท่านได้เข้า
ห้องน้�ำตั้งแตเ่ ช้ามืด ท่านปดิ ประตใู สก่ ลอนเงียบอยู่ ขณะนั้นใกล้ถึงเวลาทีจ่ ะตอ้ งออกบณิ ฑบาต ผูท้ ี่
เฝ้ารออย่หู น้าหอ้ งน�ำ้ ก็นงั่ รออยู่เฉยๆ ครัน้ จะบ่มุ บ่ามเข้าไปก็ไม่กล้า นั่งรออยู่จนกระทั่งหอ้ งน�้ำเปิด
หลวงป่ทู ่านโซเซออกมา กอ่ นพ้นประตูท่านเซลม้ ลงไป ผอู้ ยใู่ กล้กว็ ง่ิ เข้าไปรับแลว้ ประคองท่านเดนิ
มาน่ังพักเก้าอ้ีหวายอย่างทุลักทุเล เพราะตัวท่านใหญ่กว่าและที่น่ังพักก็ห่างจากห้องน้�ำประมาณ
๒๐ เมตร ได้กราบเรียนถาม “ปู่เป็นอิหยัง (เป็นอะไร)” น่ีค�ำถามครั้งสุดท้าย หลวงปู่ท่านตอบว่า
“เจ็บเหม๊ิดโต (เจ็บหมดตัว)” เป็นเพียงค�ำพูดเดียวและค�ำพูดสุดท้ายก่อนที่ท่านจะมรณภาพ
ในเช้าวันนั้นพระเณรแทบไม่ได้ออกบิณฑบาตกันเลย ต่างก็มีหน้าท่ีของตนคอยรับใช้
ครบู าอาจารยอ์ ยา่ งใกลช้ ดิ หลวงปพู่ วั่ ทา่ นเปน็ พระผใู้ หญใ่ นขณะนนั้ ทา่ นอนญุ าตใหล้ กู ศษิ ยส์ ะพาย
บาตรของหลวงปอู่ อกเดนิ บณิ ฑบาตนำ� หนา้ ทวี่ ดั ผดงุ ธรรม (บน้ั ปลายชวี ติ ของหลวงปพู่ รหมทา่ นเดนิ
บณิ ฑบาตทว่ี ดั ผดุงธรรม ซ่งึ อยูใ่ กลว้ ัดประสิทธธิ รรม) เมือ่ พระเณรบณิ ฑบาตเสรจ็ กแ็ จ้งข่าวกับ
ญาติโยมท่ีใส่บาตรว่า ขณะนี้หลวงปู่อาพาธหนัก จากน้ันข่าวน้ีได้ออกหอกระจายเสียงในหมู่บ้าน
และได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านและศิษย์ท่ีทราบข่าวต่างก็มาเฝ้าดูอาการหลวงปู่กัน
อย่างเนืองแนน่ กุฏขิ องหลวงปทู่ ้งั ช้ันบนและช้นั ลา่ งมีพระ เณร ชาวบา้ นเตม็ แนน่ ไปหมด ตา่ งกม็ ี
317
ใจจดจ่อในอาการอาพาธหนักของหลวงปู่ ด้วยความห่วงใยระคนกับความวิตกกังวลใจและความ
หงอยเหงาเศร้าใจ ในวันนั้นทั่วทั้งบริเวณวัดจึงเต็มไปด้วยสานุศิษย์และเสียงพึมพ�ำซักถามอาการ
ปว่ ยของหลวงปู่
ระหว่างท่พี ระเณรบิณฑบาต หลวงปพู่ รหมท่านนงั่ พกั อยูต่ รงเกา้ อหี้ วาย หลงั จากพระเณร
บณิ ฑบาตเสรจ็ ก็เอาบาตรหลวงปู่วางไว้ที่ศาลากลางนำ�้ พระเณรก็ลงมอื ฉนั จงั หันเชา้ ส่วนหลวงปู่
ท่านไม่ไดฉ้ นั พอเข้าไปดอู าการของหลวงปพู่ รหม ซ่ึงขณะนั้นตวั ทา่ นรอ้ นมากๆ กน็ ิมนตท์ า่ นไปน่ัง
ตรงหน้าห้อง พยุงท่านมาน่ังเอนๆ พิงหมอนสามเหล่ียม จากน้ันก็ปูเสื่อไว้บริเวณระเบียงหน้า
ห้องนอน แล้วก็คอ่ ยๆ ประคองให้ทา่ นลงนอน แลว้ คนนนั้ กม็ า คนนก้ี ็มาเยี่ยมดอู าการของหลวงปู่
ดว้ ยสมยั กอ่ นทางวดั ประสทิ ธิธรรมยงั ไมม่ ีไฟฟา้ ใช้ จงึ ไดเ้ อาเคร่อื งปั่นไฟขนาดเลก็ มาปัน่ ไฟ
เพ่ือเปิดพัดลมเปา่ ถวายทา่ น เครื่องปน่ั ไฟสตารต์ เทา่ ไรก็ไมต่ ดิ สตาร์ตป๊บุ ดบั ป๊ับๆ เป็นอยู่อย่างน้ี
หลายครั้ง จนหมดหนทางที่จะสตาร์ตเครื่อง แม้ขณะนั้นหลวงปู่พรหมท่านจะเจ็บปวดทง้ั ตัว
ท่านกำ� ลังจะมรณภาพ ไฟธาตุกใ็ กลจ้ ะแตกดับ ตวั ท่านจึงร้อนมาก แต่ทา่ นเคารพในพระวินัยอย่าง
เคร่งครัดย่ิงกว่าความทุกข์จากธาตุขันธ์ที่ก�ำลังเป็นไปอย่างเจ็บปวดรวดร้าว เพราะของใช้น้ันยัง
ไม่ได้ถวายเป็นของสงฆ์ ยังไม่ถูกต้องตามพระวินัย ท่านจึงไม่ยอมให้เครื่องอ�ำนวยความสะดวกนน้ั
มาบรรเทาธาตุขันธ์ท่าน ในที่สุดท่านเจ้าคุณพระเทพบัณฑิต จากหนองคาย ท่านทราบเร่ืองน้ี
ท่านเลยแนะน�ำว่าให้เอาเครื่องปั่นไฟถวายเป็นของสงฆ์เสียก่อน พอกล่าวถวายเป็นของสงฆ์จบ
ตามที่ท่านแนะน�ำเท่าน้ัน ปรากฏว่าเม่ือน�ำเคร่ืองปั่นไฟไปสตาร์ตปุ๊บก็ติดปั๊บ และเปิดพัดลม
ใช้งานได้ตลอดทั้งวันนับเป็นเรื่องที่แปลกอัศจรรย์ใจแก่ผู้อยู่ในเหตุการณ์และเชื่อว่าเป็นอิทธิฤทธิ์
ของหลวงปู่แสดงกอ่ นท่จี ะมรณภาพ ส่วนชาวบา้ นกใ็ ชต้ �ำราแผนโบราณ คือ ไปเอารากผักแว่นโคก
ผกั แว่นปา่ มาทุบแชน่ ้ำ� แล้วพรม ความรอ้ นในตวั หลวงป่กู ็ไมล่ ด
ส่วนครชู าย วงษป์ ระชมุ ศษิ ย์ผใู้ กล้ชิด เมอื่ คนบา้ นดงเย็นมาสง่ ข่าววา่ ทา่ นอาจารยใ์ หญ่
พรหม จิรปญุ ฺโ อาพาธหนัก เท่านน้ั ก็ไมไ่ ด้รอชา้ รีบเขยี นใบลาให้ครใู นโรงเรยี นส่งไปทางอำ� เภอ
และได้ชักชวนแพทยป์ ระจำ� ต�ำบลโพนสงู คือ นายสุนทร ราชหงษ์ ไปดว้ ย ถงึ บ้านดงเยน็ กร็ บี พากนั
กราบนมสั การทา่ น ปรากฏว่า ตอนน้ันท่านมอี าการสงบ นอนน่ิงเชน่ กับคนนอนหลับธรรมดา
อนามัยต�ำบลดงเย็น และนายสุนทร ราชหงษ์ เอาปรอทวัด และให้น�้ำเกลือตลอดเวลา
อาการยังไม่ดีข้ึนเลย จนกระท่ังเวลา ๑๓.๓๐ น. ครูชายจึงได้รีบเดินทางเข้าไปยังอ�ำเภอสว่าง–
แดนดนิ เพ่ือปรึกษานายแพทย์ และขอเชิญไปตรวจอาการของทา่ นอาจารย์ แตไ่ ด้รบั คำ� ปฏิเสธ
บอกว่า “ท่านเป็นโรคชรา ไม่มที างแก้ไข” ครชู ายจงึ ได้ไปร้านขายยา และซื้อยาตามที่อนามัย–
ต�ำบลสัง่ และแวะกลบั บ้านเพ่ือรับเอาภรรยาไปดว้ ย
318
ตอนเยน็ วนั หลวงปูพ่ รหมจะมรณภาพ วัดประสิทธิธรรม บา้ นดงเย็น ปรากฏว่ามีพระ เณร
แม่ชี และญาติโยม ทั้งจากบ้านดงเย็นและในบริเวณใกล้เคียงเดินทางมาวัดกันอย่างเนืองแน่น
เหมอื นมงี านบุญใหญ่ บริเวณบนกฏุ ขิ องหลวงปู่กเ็ ต็มแนน่ ไปด้วยพระผใู้ หญ่และศษิ ย์ผใู้ กลช้ ดิ ใต้ถุน
กุฏิก็เตม็ แน่นไปดว้ ยญาติโยม บรรดาสานุศิษยท์ ่ีมาวดั ต่างกม็ ีใจจดจ่อในอาการของหลวงปู่ด้วย
ความหว่ งใยระคนกับความวิตกกังวลใจและความหงอยเหงาเศร้าใจ เสียงซักถามอาการของหลวงปู่
จงึ สง่ เสียงดังพมึ พำ� ไปท่ัวบริเวณวดั
ครูชายมาถึงวัดเวลา ๑๗.๑๕ น. ก็รบี ข้นึ ไปบนกฏุ ิกราบนมัสการหลวงปู่ พระ เณร ทอี่ ยู่
ข้างซา้ ยมอื ได้หลีกให้ครชู ายเขา้ ไปถงึ ตวั ท่าน ครูชายไดจ้ บั ดชู ีพจรทีข่ ้อมือขา้ งซ้าย ปรากฏวา่ ชีพจร
อ่อนมาก แทบไม่เดินเลย เลยกล่าวกับท่านพระอาจารย์สอนที่เฝ้าอยู่ใกล้ชิดว่า “แย่แล้วครับ
อาจารย์ พวกเราจะท�ำอย่างไรต่อไป” พอพูดขาดค�ำหลวงปู่ก็ลืมตาข้ึน ตอนน้ันพระและทุกคน
ตา่ งดีใจมาก เพราะเขา้ ใจวา่ หลวงปทู่ า่ นฟ้ืนขึ้นมา จึงได้เรียกท่านเบาๆ แต่ปรากฏว่าไม่มีเสียงตอบ
แลว้ ทา่ นกห็ ลับตาลง พรอ้ มกับประนมมือข้นึ ถงึ หน้าอก นมสั การพระรัตนตรัย ชพี จรของท่านก็
ค่อยๆ ออ่ นลงๆ และในทสี่ ุดกห็ ยดุ เดนิ
เม่อื หลวงปพู่ รหมมรณภาพ ครชู าย กบั ครูสวสั ด์ิ ศิษยฝ์ ่ายฆราวาส ไดไ้ ปซอ้ื สิง่ ของต่างๆ
เพือ่ มาใชใ้ นงาน ทา่ นพระอาจารย์สอน (พระอุปฏั ฐากหลวงป)ู่ และพระศิษยไ์ ด้ชว่ ยกันจัดเตรยี ม
งานศพ ได้จัดการอาบน้�ำศพ จัดให้ท่านนอนและคลุมผ้าถวายท่าน จนประมาณตีหน่ึงตีสอง
ท่านพระอาจารยล์ ี กับ ท่านพระอาจารยส์ ุภาพ ศิษย์ผูใ้ หญ่ของทา่ นก็เดินทางมาถึงวดั สมัยกอ่ น
ล�ำบากมากทางรถทางเรือไปไม่ถึง ต้องเดินด้วยเท้า วันรุ่งขึ้นก็มีการรดน้�ำศพ มีการฉีดยา
ฟอร์มาลินใหศ้ พหลวงปู่ เพ่ือกันศพเน่าเปอื่ ย
วินาทีแห่งมรณกาลของหลวงปู่พรหม
วินาทแี ห่งมรณกาลของหลวงปู่พรหม จริ ปุญฺโ ท่านดำ� เนินตามรอยองคพ์ ระบรมศาสดา
และตามรอยพ่อแม่ครอู าจารย์ของทา่ นไดอ้ ยา่ งงดงาม สมเกยี รติ สมศกั ด์ศิ รี สมกบั ธรรมอนั เลิศเลอ
ทค่ี รองใจท่านมานาน สมแล้วที่ท่านไดร้ บั การยกย่องเปน็ ศากยบตุ รพทุ ธชโิ นรส และเป็นพระศิษย์
ประเภทเพชรนำ�้ หนึง่ อีกองค์หน่งึ ของพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์มั่น ภูริทตโฺ ต
ในวินาทีแห่งมรณกาลนี้ หลวงปู่พรหมท่านได้แสดงออกถึงลวดลายและคุณสมบัติพิเศษ
ของพระอรหันต์ไวอ้ ย่างชัดเจน โดยทา่ นไดแ้ สดงความองอาจกลา้ หาญ ความไม่หวาดหวัน่ พร่นั พรึง
ต่อมัจจรุ าชและต่อความตายทงั้ หลาย สติสมั ปชญั ญะของทา่ นกส็ มบูรณ์ เป็นสตอิ ันไพบูลย์เปย่ี มล้น
319
กายของทา่ นก็สงบนง่ิ ท่านไม่แสดงอาการทรมานเจ็บปวดทุรนทุรายทางร่างกายให้ปรากฏ วาจา
ของทา่ นกส็ งบน่ิง ท่านไม่ออกเสียงโอดโอยรอ้ งครวญครางใหไ้ ดย้ ิน และใจของท่านก็ย่งิ เยอื กเยน็
สงบน่ิง แมท้ ่านใกลว้ าระสดุ ทา้ ยหมดลมหายใจ ใจของท่านกย็ ังระลกึ ถึงคุณพระรัตนตรยั เพราะ
อำ� นาจธรรมท่ที า่ นไดจ้ ากการฝกึ ฝนอบรมตนมาดว้ ยดแี ล้ว ดงั นี้
“หลวงปู่ทา่ นนอนหลับตาอยนู่ งิ่ ๆ แสดงให้เหน็ วา่ ร่างกายรูส้ ึกออ่ นเพลีย ชีพจรของท่านเตน้
เบามาก คล�ำดรู ้สู ึกแทบจะไมเ่ ตน้ เพราะลกู ศษิ ย์คอยตรวจเชค็ ชพี จรของทา่ นอยูต่ ลอดเวลา
กาลเวลาค่อยๆ ผ่านไปๆ แต่ละวนิ าทีดูเหมือนว่าโลกจะหยดุ นิง่ คนที่อยู่ใกลๆ้ ท่าน ตา่ งก็
เพ่งมองดูอาการด้วยความเป็นห่วง ตา่ งคนต่างแทบไมห่ ายใจ เพราะความรสู้ ึกเป็นอย่างน้นั จรงิ ๆ
ดูคล้ายกับว่า หลวงปู่ได้รวบรวมพลังจิตเป็นคร้ังสุดท้ายลืมตาขึ้นมามองดูลูกศิษย์ทั้งหลายท่ี
หอ้ มล้อมท่านอยู่ มที ัง้ พระ สามเณร แมช่ ี อุบาสก อบุ าสิกา ทุกคน คล้ายกับจะบอกลา แล้วทา่ น
ก็ยกมอื ขึน้ ประนมเหนืออก เพอื่ บูชาพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ จากนน้ั หลวงป่กู ็คอ่ ยๆ ปิดตา
แลว้ สงบนิ่ง ชพี จรของท่านหยุดเต้น มือที่ยกขึน้ ประนมตกลงขา้ งกาย
หลวงปู่ ได้ปล่อยวางสงั ขารดว้ ยอาการอนั สงบ !
บดั น้ี หลวงปพู่ รหม จริ ปญุ ฺโ พระอรหันตแ์ หง่ บา้ นดงเย็น ท่านเขา้ สูอ่ นปุ าทเิ สสนิพพาน
คือ สิน้ ทงั้ กเิ ลสและชีวติ จิตเข้าสแู่ ดนพระนิพพานบรมสุข จากบรรดาลกู ศษิ ย์ลกู หาทุกคนไปด้วย
อาการสงบระงับ เมือ่ เวลา ๑๗.๓๐ น. ของวันองั คารท่ี ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ตรงกับวนั แรม
๑๓ คำ�่ เดอื น ๖ ปีระกา ดว้ ยโรคชรา สิรริ วมอายุได้ ๗๙ ปี ๗ วนั พรรษา ๔๑”
หลวงปู่พรหม จิรปญุ โฺ ท่านเปรียบเสมอื นประทีปดวงใหญท่ ีค่ อยสอ่ งสว่างหนทางแห่ง
ชีวิตแก่บรรดาสานศุ ษิ ย์ใหก้ า้ วเดินตามหนทางแห่งธรรม บัดนไ้ี ด้ดับสนิทลงแลว้ และทา่ นเปรยี บ
ประดุจด่ังร่มโพธริ์ ่มไทรใหญ่ทใี่ ห้ร่มเงา ให้ความร่มเยน็ เปน็ สุขแกบ่ รรดาสานศุ ษิ ยท์ ่ีเขา้ มาพึ่งอาศัย
บัดน้ีได้โคน่ ล้มลงแล้ว หลวงป่ไู ดจ้ ากพวกเราไปอย่างไม่มีวนั กลับมาอีกแลว้ ในชวี ติ นี้ยากท่จี ะหา
พอ่ แมค่ รอู าจารย์เช่นท่านไดอ้ กี แลว้
ทกุ คนยอ่ มมที ุกข์ และย่อมเกิด แก่ เจบ็ ตาย ด้วยกันทกุ คน สมกับคำ� ที่หลวงปทู่ า่ นเทศน์
เตือนไวเ้ สมอๆ “ใหท้ กุ คนได้พิจารณานอ้ มนึกถงึ ความตายอยูเ่ สมอๆ จงอย่าไดป้ ระมาท” เพอ่ื ให้
พวกเราท่ยี ังลุ่มหลงมัวเมา ได้รู้และเตรียมตวั ไว้ เพอื่ ไมใ่ หก้ ลัวตายอย่างตวั ท่าน
นับว่าท่านไม่หว่ันไหวแล้ว เปรียบเหมือนกุญชรท่ีฝึกดีแล้ว ย่อมไม่พรั่นพรึงต่อลูกศร
ที่มาจากทศิ ต่างๆ ในเวลาทีเ่ ข้าสู่สงคราม ฉะนน้ั
320
ดงั นนั้ โอวาทธรรมของทา่ นผรู้ กู้ ล่าวไว้วา่ มจั จรุ าชไม่เว้นมนษุ ย์ สตั ว์โลกทั้งหลายทเ่ี กิดมา
บนพื้นพภิ พนี้ มกี ารแตกดบั ไปทงั้ สิ้น
หลวงปู่พรหม จริ ปุญโฺ ท่านเปน็ พระมหาเถระทมี่ ั่นคงหนกั แนน่ ในพระธรรมวนิ ยั และ
ธุดงควตั ร ทา่ นประพฤติพรตพรหมจรรย์เนกขัมมภริ ัติ มขี ้อวัตรปฏิบัติอนั ดงี ามตามทางอรยิ มรรค
เปน็ วมิ ุตตหิ ลดุ พ้น ถงึ แมส้ รีระรา่ งกายของทา่ นจะแตกดบั ไปกต็ าม แต่คุณงามความดีทท่ี า่ นทำ� ไว้
เปน็ ของไมต่ าย และเป็นมรดกตกทอดไวใ้ ห้แกพ่ วกเราช่ัวกาลนาน นบั วา่ เกิดมาไม่เสยี ที เพราะท่าน
ได้ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผูอ้ น่ื ใหเ้ ตม็ เป่ยี มด้วยความไมป่ ระมาท ถือว่าทา่ นไดท้ ำ� ประโยชน์
ครบทงั้ ๓ คือ
อัตตัตถจริยา ประพฤติใหเ้ ป็นประโยชน์แก่ตน
ญาตัตถจรยิ า ประพฤตใิ ห้เปน็ ประโยชน์แก่หมูญ่ าติ
โลกตั ถจรยิ า ประพฤติใหเ้ ป็นประโยชนแ์ ก่ชาวโลกท่ัวไป
นบั ว่าเจริญรอยตามพระยคุ ลบาทขององค์สมเด็จพระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ทรงความเปน็ สาวก
ในพระธรรมวนิ ัยนส้ี มบูรณ์ทุกประการฯ
สาธุชนหลั่งไหลไปในงานศพของท่าน
ขา่ วการมรณภาพของหลวงปพู่ รหม จริ ปญุ ฺโ พระอรยิ เจา้ แห่งบ้านดงเย็น เป็นขา่ วใหญ่
ในสมัยน้ัน การสูญเสียครูบาอาจารย์องค์ส�ำคัญอย่างกะทันหัน ถือเป็นการสูญเสียอันใหญ่หลวง
ของวงพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นโฺ น
ไดเ้ มตตาเทศนไ์ วด้ ังน้ี
“นี่กห็ มดไปๆ จะท�ำยงั ไง ผมวติ กมากจริงๆ นะ ไมใ่ ชธ่ รรมดา ครบู าอาจารยท์ ค่ี อยให้อรรถ
ใหธ้ รรมช้ีแนวทางท่ีถูกต้องแมน่ ย�ำ ไมม่ ใี ครเกินอาจารยท์ ัง้ หลายทที่ า่ นผ่านไปแล้วเหลา่ นี้ นับแต่
พ่อแมค่ รอู าจารย์มนั่ ลงมา จากน้นั กค็ รูบาอาจารยอ์ งค์นนั้ ๆ สว่ นมากมีแตล่ ูกศิษยข์ องทา่ นทัง้ น้ัน
ทผ่ี า่ นไปๆ หลวงปู่ฝนั้ หลวงปู่พรหม มีแต่อยา่ งเพชรนำ�้ หน่ึงๆ ท้งั นนั้ หลวงป่บู วั หนองแซง
หลวงปขู่ าว วัดถำ�้ กลองเพล หลวงปคู่ �ำดี หลวงปูแ่ หวน หลวงปู่ทง้ั หมดเหลา่ นที้ า่ นเป็นอะไร ถ้าใน
ครง้ั พุทธกาลจะวา่ ทา่ นเป็นพระอะไร กว็ ่าเป็นพระอรหันตท์ ้ังนน้ั ”
ข่าวการมรณภาพของหลวงปู่พรหมได้แพร่สะพัดไปท่ัวอย่างรวดเร็ว บรรดาศิษยานุศิษย์
ทงั้ ฝา่ ยบรรพชติ และฝา่ ยคฤหสั ถ์ ตา่ งมคี วามเศรา้ สลดเสยี ใจและอาลยั ตอ่ การจากไปของหลวงปพู่ รหม
พระผู้เป็นร่มโพธ์ิร่มไทร ทุกคนเมื่อได้ทราบข่าวน้ี ต่างก็ได้ร�ำพึงถึงพระคุณความดีงามของท่าน
321
เพราะทา่ นเคยอยู่เป็นเน้อื นาบญุ และเคยสร้างสาธารณประโยชนม์ ากมาย อีกทง้ั ทา่ นยงั เมตตา
อบรมสั่งสอนธรรมะใหแ้ กศ่ ิษย์ พระภิกษุ สามเณร แม่ชี ตลอดฆราวาสทั้งหญิงและชาย ทกุ เพศ
ทกุ วัย โดยไม่เลือกชาติ ชนั้ วรรณะ ท่านมพี ระคุณอยา่ งหาประมาณมไิ ด้
บรรดาคณะศิษยช์ ายหญิงทเ่ี ปน็ ฆราวาส อันประกอบด้วยชาวกรงุ เทพฯ ชาวเชียงใหม่ และ
อีกหลายๆ จังหวดั ต่างก็ม่งุ หนา้ อตุ ส่าห์เดนิ ทางกันไปบ้านดงเยน็ ท่ีวา่ ไกลแสนไกลและทรุ กนั ดาร
ด้วยจิตใจท่ีมุ่งมั่นแสดงออกถึงความเคารพศรัทธา แม้จะทุกข์ยากล�ำบากเพียงใด แม้จะใกล้ไกล
แค่ไหน แมจ้ ะส้นิ เปลืองอย่างไร ทกุ คนดูเหมือนวา่ ไมม่ ีใครสนใจถงึ นอกจากขอให้ได้ไปกราบและ
คารวะศพท่านเปน็ ครง้ั สดุ ทา้ ยให้จงได้
วัดประสิทธิธรรม แม้มีสถานท่ีกว้างใหญ่ ก็กลายเป็นสถานท่ีคับแคบเสียแล้วในเวลาน้ัน
นอกจากน้ี นบั ว่าเป็นโอกาสอันดขี องทกุ ๆ คนที่มาร่วมงานสำ� คญั เพราะพระธดุ งคกรรมฐานในสาย
ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ภรู ิทตฺโต ได้เดนิ ทางไปรว่ มงานกนั จ�ำนวนมาก
การบ�ำเพ็ญกุศลศพหลวงปู่พรหม
เมอ่ื หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ มรณภาพทก่ี ฏุ ิของทา่ น หลงั จากทำ� พธิ ีกราบขอขมาและ
รดน�ำ้ ศพเสร็จแล้ว ในวนั รงุ่ ข้นึ กบ็ รรจศุ พของท่านลงในหบี ศพ ซึง่ เปน็ หบี ศพไม้ธรรมดา จากน้ันก็
ทำ� พธิ ีกราบขอขมาศพอกี ครงั้ แล้วเคลอื่ นหบี ศพมาตัง้ ท่ศี าลาเสา ๕๐ ตน้ ศพหลวงปู่ก็เลยตั้งอยูบ่ น
ศาลาหลังน้ี เพือ่ รอการประชุมเพลงิ ศพต่อไป สถานท่ตี ัง้ ศาลาเสา ๕๐ ตน้ อยู่หน้าเจดยี จ์ ริ ปญุ โญ
ปัจจุบนั ทางวดั ไดร้ ้อื ถอนออกหมดแลว้
สมัยก่อนไม่มีหีบศพเย็นเหมือนทุกวันน้ี ศพหลวงปู่พรหมต้ังอยู่บนศาลาเสา ๕๐ ต้น
เกอื บ ๒ ปี ศพทา่ นกต็ งั้ อย่ทู างทศิ เหนอื ของศาลา ในหบี ศพใชใ้ บยาสบู ใบฝร่งั ถา่ น ดบั กลนิ่ และก็
เอาถาดไปรองไว้ ถ้าเผ่ือน้�ำเหลือง น้�ำอะไรมันไหลออกมา ต้ังศพไว้ตรงน้ันนาน กลิ่นศพก็ไม่มี
อาจจะมีบา้ งเลก็ นอ้ ย
การบ�ำเพ็ญกศุ ลศพหลวงปู่พรหม จริ ปญุ โฺ ในทุกค�่ำคนื พระ เณร ญาติโยม จะไปทำ� วัตร
สวดมนต์เยน็ และปฏิบัติธรรมกนั เมอ่ื ถงึ งานบำ� เพ็ญกุศลศพหลวงปู่พรหม ครบ ๗ วนั ๕๐ วัน
และ ๑๐๐ วนั ทางวดั ได้กราบอาราธนานมิ นต์ครูบาอาจารยม์ ารว่ มงานกนั จ�ำนวนมาก ตอนเช้า
บิณฑบาต ตอนกลางคืนมกี ารเทศนาอบรมธรรม เชน่ ในงานทำ� บญุ สตั ตมวารศพหลวงปู่พรหม
ครบ ๗ วัน ซงึ่ จดั ขึ้นเมือ่ วนั ท่ี ๒๔ – ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยมี พระธรรมไตรโลกาจารย์
ทา่ นพระอาจารยว์ ัน อตุ ตฺ โม ฯลฯ เป็นองคแ์ สดงธรรม
322
เหตุการณ์ส�ำคัญภายหลังหลวงปู่ผางทราบข่าวหลวงปู่พรหมมรณภาพ
ประมาณเดอื นพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงปผู่ าง ปรปิ ณุ โฺ ณ ขณะเทีย่ ววเิ วกป่าเขาแถบ
จงั หวดั เพชรบรู ณ์ กบั ทา่ นพระอาจารยจ์ นั ทรเ์ รยี น คณุ วโร (วดั ถำ�้ สหายธรรมจนั ทรน์ มิ ติ ร) หลวงปผู่ าง
ท่านไดร้ บั จดหมายจากวดั ประสิทธิธรรม สง่ ขา่ วมาวา่ หลวงปูพ่ รหม จริ ปญุ ฺโ ได้มรณภาพแลว้
เหตุการณ์สำ� คัญในคร้งั พุทธกาล ทพี่ ระพุทธเจ้าทรงเนน้ ให้พระสงฆส์ าวก ปฏบิ ัติบชู าแทน
อามิสบูชา กล่าวคอื ในขณะทพ่ี ระพุทธเจ้าใกล้จะปรนิ พิ พาน มพี ระสงฆส์ าวกองคห์ นงึ่ แยกไป
ปฏิบัติธรรมตามล�ำพังองค์เดียว เพ่ือมุ่งต่อความหลุดพ้น จนถูกพระสงฆ์สาวกด้วยกันซ่ึงมัวแต่
นงั่ เฝา้ พระพทุ ธเจา้ เกิดเข้าใจผิดแลว้ ไปกราบทลู ฟอ้ งพระพุทธเจา้ วา่ ท่านองคน์ ั้นไมม่ าเหลยี วแล
ไม่มาเอาใจใส่ ไม่เคารพในพระองค์แล้ว แต่พระพุทธเจ้าทรงฟังแล้วก็ตรัสเรียกพระสงฆ์สาวก
องค์นน้ั มาตรัสถาม แล้วกลบั ตรัสสรรเสรญิ พระสงฆ์สาวกองค์นนั้ และตอ่ มาพระสงฆส์ าวกองคน์ ัน้
ก็บรรลุวิมุตติธรรม ตามประวัติของหลวงปู่พรหมในช่วงนี้ก็มีเหตุการณ์ใกล้เคียงกับครั้งพุทธกาล
กลา่ วคอื ครบู าอาจารยท์ ่านล้วนสนบั สนนุ การปฏิบัติบชู าอันเป็นงานภายในและส�ำคญั ย่งิ กว่าการ
ชว่ ยงานใดๆ แม้เปน็ งานศพครบู าอาจารยอ์ งค์สำ� คญั กต็ าม ดังนี้
“ในระหว่างนั้น หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ ท่านได้พาท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร
ออกเดินทางจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ไปจัดการเตรียมงานประชุมเพลิงหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่ี
วัดประสทิ ธธิ รรม ในสว่ นของทา่ นพระอาจารยจ์ ันทร์เรียน ทา่ นไปอยชู่ ่วยงานหลวงปู่พรหม ดว้ ยจติ
ของท่านในขณะน้ันก็ใกล้จะหลุดพ้นจากทุกข์ท้ังปวงแล้ว ธรรมก็เป็นธรรมขั้นอัตโนมัติแล้ว สติก็
เป็นมหาสติมหาปัญญาแล้ว พร้อมที่จะท�ำลายกิเลสอวิชชาให้หมดส้ินไปจากใจ ท่านจึงบอกเรื่อง
ธรรมภายในของตนเองให้หลวงป่ผู าง พอหลวงปผู่ างทา่ นทราบเทา่ น้ัน ทา่ นจึงสนับสนุนอย่างเต็มท่ี
ให้ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียนแยกไปปฏิบัติธรรม หลวงปู่ผางบอก “เรียน (ท่านพระอาจารย์
จันทร์เรียน) ไปเลย ท่านไม่ตอ้ งห่วงทางน่ี เราจะจดั การเอง ไปหาพ่อแม่ครูบาอาจารยช์ อบ”
ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน ท่านจึงกราบลาหลวงปู่ผาง แล้วออกเดินธุดงค์กลับมาหา
หลวงปู่ชอบ านสโม ทวี่ ัดป่าบา้ นโคกมน จงั หวดั เลย พอหลวงปู่ชอบฟังความนัยของทา่ นพระ–
อาจารย์จันทร์เรียนแล้ว หลวงปู่ชอบจึงสนับสนุนอย่างเต็มที่อีกเช่นกัน โดยให้ท่านพระอาจารย์
จันทร์เรยี นแยกตัวออกไปปฏบิ ตั ธิ รรมแต่ผูเ้ ดียว และทา่ นพระอาจารยจ์ นั ทรเ์ รยี นกไ็ ดท้ ำ� ความเพยี ร
ในธรรมข้ันอัตโนมัติสมดังความต้ังใจ ในชว่ งจดั เตรียมงานประชุมเพลิงศพหลวงปูพ่ รหมน่ันเอง”
323
การเตรียมงานประชุมเพลิงศพหลวงปู่พรหม
ก�ำหนดการประชมุ เพลงิ ศพหลวงปพู่ รหม จริ ปญุ โฺ วันท่ี ๕ – ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
ณ เมรวุ ดั ประสทิ ธธิ รรม บ้านดงเยน็ ต�ำบลดงเย็น อ�ำเภอบ้านดุง จงั หวัดอดุ รธานี โดยมีทา่ น
เจ้าคณุ ธรรมไตรโลกาจารย์ เปน็ ประธานฝา่ ยสงฆ์ และมีหลวงปลู่ ี ติ ธมฺโม ในฐานะศิษยร์ ุน่ ใหญ่
รว่ มกับ ท่านพระอาจารยว์ นั อุตตฺ โม รว่ มกนั เปน็ ประธานจัดงาน ส่วนทา่ นพระครูพศิ าลศาสนกิจ
(สนธ์ิ ขนฺตยาคโม) ทา่ นมพี รรษามากกวา่ ทา่ นพระอาจารย์วนั กับหลวงปู่ลี ท่านมาเปน็ แมง่ านทีม่ ี
บทบาทอีกองค์หนง่ึ ท่านมาดูงานคุมงานเปน็ คร้ังเปน็ คราว
การเตรยี มงานประชมุ เพลิงศพหลวงปู่พรหม ซงึ่ เปน็ งานใหญ่ก็มกี ารแบง่ งานเป็นฝ่ายต่างๆ
เช่น กองอำ� นวยการ ฝ่ายลงทะเบียนพระเณร ฝา่ ยต้อนรับพระ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสรา้ งเมรุ
ปะรำ� พิธี กฏุ ิทพี่ กั และแคร่ ฝา่ ยโรงครัว ฝ่ายไฟฟา้ ฝ่ายโรงตม้ นำ้� รอ้ น ฝา่ ยรับบรจิ าค ฝา่ ยหนังสือ
และเหรยี ญหลวงปู่พรหมแจกเป็นที่ระลึก ฯลฯ
ส�ำหรับหลวงปู่ชอบ านสโม ซึง่ เปน็ เพอ่ื นสหธรรมิกกับหลวงปู่พรหม ทา่ นได้เมตตามา
ร่วมงานนีอ้ ยู่หลายวัน ท่านมาเป็นก�ำลังใจใหพ้ ระเณรที่เตรียมงาน
เมรุหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ
การสร้างเมรุประชมุ เพลงิ ศพหลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ ณ วดั ประสทิ ธธิ รรม ถกู สรา้ งขน้ึ
เฉพาะเจาะจง เพราะหลวงปู่พรหมท่านเปน็ พระอรหันตสาวก จึงไม่สมควรที่จะใชเ้ มรเุ ผาศพปะปน
กบั ศพปุถชุ นคนทว่ั ไป เมรุประชุมเพลิงศพหลวงปพู่ รหมเป็นตามแบบฉบบั ของพระธดุ งคกรรมฐาน
อย่างแท้จริง คือ ลักษณะเมรุเป็นแบบสถาปัตยกรรมทางภาคอีสาน การออกแบบเรียบง่าย
ประหยดั แต่แฝงดว้ ยความงดงาม แต่ไม่หรหู ราฟุ่มเฟอื ย โดย พระอาจารยค์ ำ� มี สวุ ณฺณสริ ิ (พระครู
ศรีภูมานุรักษ์) เปน็ ผ้อู อกแบบ ดังนี้
ลกั ษณะเป็นเมรลุ อย แผนผังเปน็ รูปแบบ ๔ เหลี่ยมจตุรสั พื้นที่ดา้ นลา่ งเปดิ โลง่ บนเมรุ
โดยรอบปรับระดับพ้ืนสูงขึ้นพอพ้นน้�ำ มีบันไดเข้าถึงได้จากทั้ง ๔ ทิศ ตรงกลางเป็นที่ตั้งของ
จิตกาธานวางหีบศพ และมีระเบียงโดยรอบ ดา้ นลา่ งรอบเมรุมกี ารประดับด้วยฉัตร ส่วนดา้ นบน
ออกแบบเป็นลกั ษณะหลังคาตดั และบรเิ วณตรงกลางเป็นพระโกศ ประดบั ดว้ ยพานพุม่ ทง้ั ๔ มุม
รองรับดว้ ยโครงสร้างเสายกสูง ๔ ต้น และมีการประดบั ตกแต่งอย่างเรียบงา่ ย
ดังท่ีได้เคยกล่าวมา งานก่อสรา้ งต่างๆ ภายในวดั เช่น เจดีย์ ศาลา กุฏิ ตลอดจนงาน
สาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น สะพาน ถนน ฯลฯ พระ เณร ชาวบา้ นดงเย็นจะเสียสละชว่ ยกนั
สรา้ งโดยชาวบ้านไมไ่ ดเ้ งินคา่ จ้างใดๆ อนั เปน็ ธรรมเนยี มปฏิบัตทิ ่ีสบื ต่อกนั มานับแต่ครั้งอดีต โดยมี
324
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านเป็นผู้น�ำ การสร้างเมรุประชุมเพลิงศพหลวงปู่พรหมในคร้ังน้ี
ก็เช่นเดียวกัน พระ เณร ชาวบ้านดงเยน็ และใกลเ้ คยี งได้ออกแรงเสยี สละช่วยกนั สรา้ งขึ้น โดยม่งุ
สนองพระคณุ หลวงปพู่ รหมเปน็ สำ� คญั ส�ำหรบั ต�ำแหนง่ สถานทตี่ ง้ั เมรุประชมุ เพลงิ ศพ จะอยู่ใกลก้ ับ
เจดีย์จิรปุญโญโดยตง้ั เย้อื งไปทางทศิ ตะวนั ตกเฉียงใต้
หนังสือประวัติหลวงปู่พรหมเล่มแรก
คณะกรรมการจัดงานประชุมเพลงิ ศพหลวงป่พู รหม จริ ปญุ โฺ ไดจ้ ดั พิมพห์ นังสือประวตั ิ
หลวงปพู่ รหมเพือ่ แจกเปน็ ธรรมทานในงาน จากค�ำปรารภในหนังสือทรี่ ะลกึ ในงานพิธปี ระชมุ เพลงิ
ศพหลวงป่พู รหม จริ ปุญโฺ เมอื่ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ บนั ทกึ ไว้ดงั นี้
“ในงานพธิ ปี ระชมุ เพลงิ ศพทา่ นพระอาจารยพ์ รหม จริ ปญุ โฺ อดตี เจา้ อาวาสวดั ประสทิ ธ–ิ
ธรรม บ้านดงเยน็ ตำ� บลดงเย็น อำ� เภอบา้ นดงุ จงั หวดั อุดรธานี ซ่งึ ทา่ นลว่ งลบั ไปตัง้ แต่วนั ท่ี ๑๓
เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ดว้ ยโรคหวั ใจวาย รวมอายุ ๘๑ ปี (ตามหลักฐานแผ่นจารกึ ท่ีเจดยี ์
จริ ปญุ โญ ทา่ นเกิดปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ดงั น้ัน รวมอายุ ๗๙ ป)ี
ทางคณะศิษยานุศิษย์ และทายก ทายิกา ผู้เคารพนับถือในท่าน จัดให้มีหนังสือแจก
เปน็ ธรรมบรรณาการแดผ่ ู้ท่ีไปในงาน เพ่ือเป็นการประกาศเกยี รติคุณของทา่ นพระอาจารย์พรหม
ผู้เจรญิ ดว้ ยวยั วฒุ แิ ละคุณวุฒิ พรอ้ มด้วยสมณคุณอันย่งิ เปน็ พระเถระผูน้ ำ� ทางฝ่ายปฏบิ ตั ิ มจี รยิ า–
วัตรอันงดงามและมัน่ คง ยากที่จะหาไดใ้ นยุคน้ี
เมื่อท่านยังด�ำรงชีพอยู่ เตรียมการสร้างเจดีย์ ท่านก็ล่วงไปก่อน คณะศิษยานุศิษย์ และ
ทายก ทายิกา ผูเ้ คารพนบั ถอื ในทา่ น ไดร้ ับเปน็ ภาระจดั สร้างจนเปน็ การเรียบร้อย ประมาณการ
ใช้จ่ายท้ังส้ินเป็นมูลค่า สองแสนเจ็ดหม่ืนบาทเศษ อาศัยแรงศรัทธาของประชาชน ร่วมแรงกัน
เสยี สละ ซึ่งเป็นผลงานอนั ควรแกก่ ารสรรเสริญอยา่ งยิง่
บดั น้ี คณะศษิ ยานศุ ิษย์ และทายก ทายกิ า ผเู้ คารพนับถือในท่าน ไดพ้ รอ้ มใจกนั จัดพิธี
ประชุมเพลิงศพของท่านให้ส�ำเร็จลุล่วงไป ซึ่งก�ำหนดการวันที่ ๕ – ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
ณ วัดประสทิ ธิธรรม บ้านดงเย็น ต�ำบลดงเย็น อ�ำเภอบา้ นดงุ จังหวดั อุดรธานี
ในพิธกี ารน้ี ได้ตกลงพมิ พ์หนงั สือแจกเก่ียวกบั ประวัตขิ องทา่ น และธรรมปฏบิ ัติของท่าน–
พระอาจารย์ ผทู้ รงคุณวฒุ ิ ทเี่ ปน็ สหธรรมปฏบิ ัตพิ รหมจรรยร์ ว่ มกบั ทา่ นคราวยังดำ� รงชพี อยู่ เพอ่ื
เปน็ อนสุ รณ์ และทิฏฐานุคติในทา่ นทีฝ่ ากความดีไว้กบั พวกเราสบื ตอ่ ไป อนั ผมู้ อี ปุ นิสัย จะพงึ ยึดไว้
เป็นการปฏิบัติตนใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายตามทีป่ ระสงค์
325
ดว้ ยกศุ ลเจตนาของคณะศษิ ยานุศษิ ย์ และทายก ทายิกา ผเู้ คารพนับถือในสมณคุณ และ
จริยาวัตรของท่าน ไดเ้ สยี สละก�ำลังกาย กำ� ลงั ความคิด และกำ� ลงั ทรพั ย์ จดั กจิ การเปน็ ลำ� ดบั มา
พร้อมดว้ ยกศุ ลจรยิ าเหลา่ อื่น อนั เกดิ จากแรงศรทั ธาปสาทะ จัดพมิ พ์หนงั สือเป็นธรรมบรรณาการนี้
ขอน้อมเกล้าถวายบชู าพระคุณอันเลศิ ของ พระอาจารยพ์ รหม จิรปญุ โฺ ขอจงเพิ่มพลงั ให้ส�ำเรจ็
แดว่ มิ ุตตสิ ุข ซงึ่ พระอรยิ เจา้ ทัง้ หลาย ประสงคจ์ ำ� นงหมาย โดยเรว็ พลันเทอญ”
ส�ำหรับท่ีมาของหนงั สือประวัตหิ ลวงป่พู รหม โดยเฉพาะชีวติ ในการบวชมีน้อยมาก ท่านมา
อยู่ที่วดั ประสิทธิธรรม พอใครเอย่ ถาม “หลวงปเู่ ล่าอันนัน้ อนั นใี้ ห้ฟงั หนอ่ ย” ท่านจะดุ ท่านบอกว่า
“เสียเวลา อตตี ารมณ์” จงึ ไมค่ อ่ ยไดป้ ระวตั ิอะไร มหี ลวงปอู่ งคเ์ ดยี วไมค่ อ่ ยมีประวัติ ท่านจะไม่ให้
นอกจากบางทีท่านนัง่ อยู่ ท่านจะพูดขน้ึ มา แตก่ ไ็ ม่มีใครบนั ทึกไวอ้ ีก
ประวัติของหลวงปู่พรหมที่มี ก็ไปกราบเรียนหลวงปู่อ่อน าณสิริ วัดป่านิโครธาราม
ไดจ้ ากท่านมาบา้ ง แต่องคท์ ่เี รยี บเรยี งประวัติ คือ หลวงป่อู ำ่� ธมฺมกาโม ทา่ นเคยอยกู่ บั หลวงปู่
พรหมมาก่อน กอ่ นท่ีทา่ นจะสกึ สึกไปแลว้ ท่านก็กลับมาบวชใหมก่ ับหลวงปขู่ าว ทา่ นเปน็ องคท์ ี่
เรียบเรียงไว้
บรรยากาศงานถวายเพลิงศพหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ
บรรยากาศงานถวายเพลงิ ศพหลวงปพู่ รหม จริ ปญุ โฺ มพี ระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระ–
อาจารยม์ ั่น ภูรทิ ตฺโต ท้งั ใกล้และไกลเดนิ ทางมาร่วมงานกันอยา่ งเนืองแนน่ มากเปน็ ประวัตกิ ารณ์
ครบู าอาจารยอ์ งค์ส�ำคญั ทม่ี างาน ไดแ้ ก่ หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี หลวงปู่อ่อน าณสริ ิ หลวงปู่
ชอบ านสโม หลวงปู่หลยุ จนฺทสาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงป่ฝู ัน้ อาจาโร หลวงปคู่ �ำดี
ปภาโส หลวงปซู่ ามา อจตุ ฺโต หลวงปู่บญุ ชินวํโส หลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นฺโน หลวงปู่
บญุ จันทร์ กมโล หลวงป่ถู ริ ติ ธมฺโม ทา่ นพระอาจารยว์ ัน อตุ ตฺ โม หลวงปูล่ ี ติ ธมฺโม
ท่านพระอาจารย์จวน กลุ เชฏฺโ ท่านพระอาจารย์สิงหท์ อง ธมฺมวโร ท่านพระอาจารย์สภุ าพ
ธมมฺ ปญฺโ ฯลฯ ฝา่ ยปกครอง ได้แก่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) พระญาณเวที
พระครูศรภี มู านุรักษ์ (คำ� มี สุวณฺณสริ )ิ พระครูพศิ าลศาสนกจิ (สนธ์ิ ขนฺตยาคโม) ฯลฯ พระเถระที่
อย่ใู กล้ๆ วัดประสิทธธิ รรม ทา่ นเคารพนับถอื หลวงปพู่ รหม สว่ นใหญท่ ่านมากันหมด
พระ เณร แม่ชี ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน มาร่วมงานกนั อย่างเนอื งแน่นคบั ค่ัง
มากเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่สร้างวัดมา ส่วนมากญาติโยมจะรู้จักวัดจักพระน่ีต้องครูบาอาจารย์
พามา สมัยนน้ั การไปมายากลำ� บากมาก ถา้ ครบู าอาจารย์ไมพ่ าไป หรือไม่บอกใหไ้ ป มันไปไม่ได้เลย
เพราะรถหายากมาก
326
ช่วงงานศพกม็ ฝี นตกหนัก ถนนหนทางไปมาลำ� บากมาก จากอ�ำเภอสว่างแดนดนิ ผ่านบ้าน
หนามแท่ง บา้ นค�ำขนั ขา้ มน้ำ� สงคราม เขา้ ถึงบ้านดงเยน็ ถนนเตม็ ไปดว้ ยทราย บางทรี ถยนต์จะเข้า
มาวัดก็ติดทราย พวกชาวบ้านตอ้ งมาช่วยกนั เขน็ รถขึน้ จากทราย คุณพอ่ สโี ทเรยี กให้ลูกๆ ไปตัดใบ
มะพรา้ วในสวน ตัดเอามากองๆ แลว้ กเ็ อาเกวียนขนไปปใู หร้ ถว่ิง
ส�ำหรับกฏุ ิทพี่ กั ครบู าอาจารย์ พระเถระผใู้ หญก่ ็พักตามกุฏทิ ท่ี างวดั จัดไว้ พระ เณร แมช่ ี
และคนท่ีมางานก็พักอยู่ตามป่า พระท่านแขวนกลดกันทั่ว เพราะบริเวณวัดเป็นป่าท่ีอยู่ตามแถว
ล�ำหว้ ย มนั จะมีต้นแสง เป็นไมข้ น้ึ เตยี้ ๆ แล้วกจ็ ะมพี วกกิง่ มันจะเล้ือย แขวนกลดไดพ้ อดี กเ็ ขา้ ไป
อย่ใู ต้ต้นนนั้ กเ็ อาใบตองมารวมๆ กัน แล้วกเ็ อาเส่ือปู สว่ นไฟฟ้า – นำ้� ประปาสมยั นัน้ ยังไม่มี ไฟฟ้า
ใชเ้ ครอ่ื งปน่ั ไฟในหมู่บา้ น น้�ำกใ็ ช้น้�ำบอ่ และตามแหลง่ น�ำ้ ธรรมชาติ น�้ำบอ่ กข็ ุดเอา เป็นน�้ำเหลอื งๆ
ออกมา พระมาในงานสรงน้ำ� จากบ่อน้�ำกม็ ี สรงนำ้� ในลำ� ห้วยกม็ ี โดยท�ำเปน็ รา้ นยน่ื ลงไปแล้วกใ็ ห้
พระไปนง่ั ใช้ขันตกั ทจี่ อดรถกอ็ าศยั จอดตามขา้ งทาง สว่ นโรงทานมีแต่ไมม่ ากแบบทุกวนั นี้ ชาวบ้าน
มาชว่ ยกนั ท�ำ ทางลูกศษิ ยห์ ลวงปบู่ ัวทีห่ นองวัวซอกม็ าตั้ง ชาวบา้ นบงึ โนกม็ าต้งั มาช่วยกันท�ำครวั
เพ่ือถวายอาหารพระเท่านั้นเอง ท่ีส�ำคัญไม่มีการละเล่นมหรสพ และไม่มีการโฆษณาเร่ียไรใดๆ
การบรจิ าคกเ็ ปน็ ไปตามอัธยาศยั อันเปน็ แบบฉบบั งานของพระธดุ งคกรรมฐาน โดยในงานมเี หรียญ
และหนงั สอื ประวัตหิ ลวงป่พู รหมแจกเปน็ ทีร่ ะลึกแกผ่ ูม้ ารว่ มงาน
ในงานประชมุ เพลงิ ศพ ทางวัดดำ� เนินตามปฏิปทาของหลวงป่พู รหมอยา่ งแท้จริง คอื เน้น
ความเงียบและเรียบงา่ ย วันงานยงั เงียบเลย ไมเ่ พน่ พ่านเหมือนปจั จบุ นั นี้ ถ้าไมม่ ีเสยี งเคาะระฆัง
พระทา่ นจะไมอ่ อกมา ท่านกพ็ ักอยูต่ ามกลดในปา่ จะอยกู่ นั อยา่ งเงยี บมาก ไม่มีออกมาวุน่ วาย มแี ต่
พระท่ีท�ำงานไม่กี่องค์ ถ้าถึงเวลาจะมีเคาะระฆัง พระก็จะเริ่มทยอยกันออกมา เคร่ืองเสียงในงาน
เปน็ ของคนในหมบู่ ้านจะมีเคร่อื งป่ันไฟ จะไม่เปิดบอ่ ยนกั จะเปิดตอนพระทา่ นประชาสมั พันธ์หรอื
พูดเรียกใคร ถ้าหยุดใช้แล้วก็ปิดเครื่องไว้ เพราะสมัยนั้นต้องใช้น้�ำมันเบนซินปั่นไฟ เวลาจะใช้ที
กต็ ้องมาสตารต์ เครอื่ งใหมแ่ ลว้ กเ็ ปดิ
สถานที่ลงทะเบียนพระมากม็ ี ฝา่ ยน�้ำร้อน พระเปน็ ผ้ตู ม้ คมุ น้�ำรอ้ นเอง แลว้ มีโยมเป็นผชู้ ่วย
ไม่มีอะไรท่ีหรูๆ หราๆ เหมอื นทกุ วนั น้ี โดยมากก็มีน�้ำออ้ ย น้ำ� ตาล และน้�ำต้มสมนุ ไพร
หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส อ�ำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ท่านเป็น
พระมหาเถระผู้ใหญ่อีกองค์หน่ึงที่ไปร่วมงานถวายเพลิงศพหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านได้สั่ง
พระที่อยู่เฝ้าวัด ให้ตัดเย็บผ้าไตรจีวรไว้ให้ได้ ๑๐ ไตร เพ่ือจะไปถวายบังสุกุลในงานถวายเพลิง
ศพหลวงปพู่ รหม เม่ือถึงวันเริม่ งานถวายเพลิงศพหลวงปพู่ รหม คอื วนั ที่ ๔ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๑๔
หลวงป่ไู ด้พาญาติโยมและพระตดิ ตามไปรว่ มงานในคราวน้นั
327
วันท่ี ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ตอนเชา้ ครบู าอาจารย์ พระ เณรออกบณิ ฑบาตและฉันจังหนั
จากนน้ั คณะศษิ ย์ประกอบดว้ ย พระภกิ ษุ สามเณร แมช่ ี ตลอดฆราวาสญาติโยมจำ� นวนมาก พากัน
ท�ำพธิ ีกราบขอขมาศพหลวงปพู่ รหมท่ีศาลาเสา ๕๐ ต้น จากนั้นอญั เชญิ หีบศพข้นึ สู่เมรุ พรอ้ มกบั
อญั เชญิ รปู เหมอื นหลวงป่พู รหมขนาดเท่าองคจ์ ริงไปปะรำ� พธิ ี ใหผ้ มู้ าวางดอกไม้จนั ทน์ไดก้ ราบไหว้
ตอนกลางวนั ก็มคี รบู าอาจารย์ผู้ทรงคณุ วฒุ เิ ปน็ องค์แสดงธรรม ตอนกลางคนื พระภิกษุ สามเณร
ท่มี าร่วมในงานเป็นจำ� นวนมาก ท้งั อบุ าสก อุบาสกิ า พร้อมกนั สวดมนตท์ ำ� วัตรเยน็ และมกี ารสวด
พระอภิธรรมเป็นกรณีพิเศษ โดยพระพิธธี รรมจำ� นวน ๔ รปู จากวดั ในกรงุ เทพมหานคร เพ่อื เป็นการ
บูชาพระคุณของหลวงปู่พรหม จากนั้นก็ฟังพระธรรมเทศนาและปฏิบัติธรรมกันตลอดคืน โดย
พระเถระผใู้ หญ่มาแสดงกนั หลายองค์ เช่น พระธรรมไตรโลกาจารย์ หลวงปฝู่ ั้น อาจาโร หลวงปู่
สิม พทุ ธฺ าจาโร ท่านพระครูพศิ าลศาสนกจิ ทา่ นพระอาจารย์วัน อตุ ฺตโม ทา่ นพระอาจารย์จวน
กลุ เชฏโฺ ส�ำหรบั หลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนฺโน ทา่ นไม่ได้เทศน์
วันถวายเพลิงศพหลวงปู่พรหม
วันถวายเพลิงศพหลวงปู่พรหม จริ ปญุ โฺ ตรงกบั วนั ท่ี ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ตอนเชา้
ครูบาอาจารย์ พระ เณร พากันออกเดินบิณฑบาตและฉันจังหันเช้า ครูบาอาจารย์ พระ เณร
ญาติโยม ไดว้ างดอกไม้จนั ทน์ หลวงปบู่ ุญจันทร์ กมโล ได้พาทอดผ้าไตร ๑๐ ไตรทไี่ ดเ้ ตรียมไว้
น�ำไปจากวัด ถวายในงานหลวงปู่พรหมด้วย
เหตกุ ารณ์ตลอดวันถวายเพลิงศพหลวงป่พู รหม จริ ปุญฺโ โดยองค์หลวงตาพระมหาบวั
าณสมปฺ นฺโน ไดเ้ มตตาบันทึกไว้ดังนี้
“เม่อื ถึงวันงานถวายเพลิงศพทา่ น บรรดาพทุ ธบริษทั นกั แสวงบญุ ท้งั หลาย ทั้งใกล้ทัง้ ไกล
ตลอดชาวนครหลวงก็อุตส่าห์สละเวลาไปเปน็ จ�ำนวนมาก แมพ้ น่ี ้องชาวเชยี งใหมก่ ย็ งั อุตส่าหไ์ ปกนั
ทกุ ๆ ท่านท่ไี ป มิไดค้ �ำนงึ ถึงความลำ� บากและส้นิ เปลืองใดๆ เลย ม่งุ แตค่ วามสมหวงั ดังใจหมาย
ในงานโดยถา่ ยเดยี ว ฉะนั้น วัดทตี่ ั้งของงานแม้จะกวา้ งใหญไ่ พศาลในยามปกตธิ รรมดาแหง่ สายตา
คนท่ัวไป แต่ก็ได้กลายเป็นวัดที่คับแคบแออัดขึ้นมาในเวลานั้น เพราะผู้คนพระเณรจ�ำนวนมาก
ต่างหล่ังไหลกันมาในงานท่าน แม้เช่นนั้นก็มิได้เป็นความเอิกเกริกวุ่นวายแก่งานแต่อย่างใดเลย
เพราะตา่ งท่านตา่ งมาด้วยจิตผอ่ งใสใจศรัทธา มิได้มาดว้ ยความหวงั อยา่ งอน่ื ท่ีอาจเปน็ อันตรายแก่
งานและประชาชนท่ีมาในงานได้
ตอนกลางคนื ของงาน ทางคณะกรรมการวดั ได้จดั ให้มกี ารอบรมกรรมฐานตลอดรุ่ง โดยขอ
อาราธนาพระอาจารยก์ รรมฐานผทู้ รงคณุ วฒุ ิเป็นองคแ์ สดง ด้วยปกณิ กธรรมบ้าง ดว้ ยสมาธธิ รรม
บา้ ง ด้วยปญั ญาธรรมบา้ ง สบั ปนกนั ไป เพ่อื ประโยชน์แก่ท่านท่เี ปน็ นกั บวชฝ่ายธดุ งคกรรมฐาน
328
ซึ่งนานๆ จะได้มีโอกาสมาฟังกันบ้าง เพื่ออุบาสก อุบาสิกาที่สนใจธรรมปฏิบัติบ้าง เพื่อสาธุชน
ท่ัวๆ ไปบ้าง
การถวายเพลิงจริงท่านเร่ิมเวลาประมาณสี่ทุ่มของคืนวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
ขณะประชมุ เพลงิ น้นั มปี ระชาชนพระเณรมาแสดงธรรมสงั เวชเป็นจ�ำนวนมากมาย ต่างท่านตา่ งมี
ท่าอันสงบงามตาอย่างย่ิง ราวกับต่างระลึกร�ำพึงถึงพระคุณและความดีงามท่านอาจารย์พรหม
ผู้เคยบ�ำเพญ็ มาด้วยความกล้าหาญชาญชัย และความเสียสละทกุ อยา่ งไมอ่ าลัยเสยี ดาย และเคย
ประสทิ ธ์ปิ ระสาทธรรมแก่บรรดาศษิ ย์ ทงั้ บรรพชิตและคฤหสั ถ์หญงิ ชายไมม่ ีประมาณ แล้วจากไป
ตามกฎอนิจจัง และไม่มีใครแม้มีความเคารพรักเล่ือมใสท่านอย่างสุดจิตสุดใจ จะช่วยต้านทาน
ไว้ได้สักรายเดียว บางท่านที่ไม่เคยพบเห็นท่านมาก่อน อาจคิดไปในแง่กฎอนิจจังอันเป็นธรรม
สอนโลกและสอนตน มากกวา่ จะคดิ ถงึ แง่แห่งคณุ ธรรมทา่ น
ขณะท่ีก�ำลังถวายเพลิง ในบริเวณเมรุจะมีเฉพาะคณะกรรมการที่ท�ำหน้าที่ต่อศพท่าน
เท่าน้ัน ไม่มีใครเข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย ท้ังนี้อาจเป็นเพราะค�ำโฆษณาประกาศเตือนอยู่เป็นพักๆ ก็ได้
หรอื อาจเปน็ เพราะมรรยาทของทา่ นผูเ้ หน็ ภัยและคณุ ในขณะนั้นก็ยากแกก่ ารสนั นิษฐาน”
สำ� หรับค�ำไวอ้ าลยั หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ซึ่งเขียนโดย พันตรีศรพี นม วรสาร นายอ�ำเภอ
สวา่ งแดนดิน ในสมัยนนั้ มีดังนี้
“เนอ่ื งในงานประชมุ เพลงิ ศพของทา่ นอาจารยพ์ รหม จริ ปญุ โฺ ซงึ่ มกี ำ� หนดงานในวนั ท่ี ๕ –
๖ – ๗ มีนาคม ๒๕๑๔ น้ี ข้าพเจา้ ไดร้ ับมอบหมายให้เขียนค�ำไว้อาลยั แด่พระอาจารยผ์ ทู้ รงพระคณุ
อนั สงู ท่ลี ว่ งลับไปแลว้ นนั้ ข้าพเจ้าขอนอ้ มรับดว้ ยความเคารพและเต็มใจ
อนั ที่จริงประชาชนชาวอำ� เภอสวา่ งแดนดินกับชาวบ้านดงเยน็ นนั้ เราเคยเปน็ ญาติพีน่ ้องกนั
เคยพึง่ พาอาศัยกนั และเคยไปมาหาสกู่ ันตลอดมามิไดข้ าด แมจ้ ะมีล�ำนำ้� สงครามกัน้ แยกใหเ้ ราอยู่
คนละฟากฝ่งั แต่กไ็ มอ่ าจมาแยกความสมั พนั ธข์ องเราห่างกนั ได้ ความสมั พนั ธ์อนั ดีน้ี ได้ปรากฏ
แจ่มชัดย่ิงขึ้น คือในสมัยที่ท่านอาจารย์พรหม จิรปุญฺโ ยังด�ำรงชีวิตอยู่ และท่านได้กระท�ำ
ประโยชน์ทุกอย่าง เพื่อประชาชนทั้งสองอ�ำเภอ ไม่ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ท่ี
ประจกั ษ์แกต่ า ดูให้เห็นไดท้ ันที) สมั ปรายกิ ัตถประโยชน์ (ประโยชน์ทตี่ ้องรอคอยเวลา ไมเ่ หน็ ผล
ทันทีทนั ใด) และ ปรมัตถประโยชน์ (ประโยชน์ชัน้ สุดยอด) ทา่ นไดก้ ระท�ำอย่างครบถว้ นสมบูรณ์
การกระทำ� ของท่านเปน็ สปุ ฏิปันโน ปฏบิ ัติดี เปน็ อุชุปฏปิ นั โน ปฏบิ ตั ติ รง เป็นญายปฏปิ ันโน
ปฏิบัติเป็นธรรม และเป็นสามีจิปฏิปันโน ปฏิบัติสมควร สมบูรณ์พร้อมทุกส่ิงทุกอย่าง ท่านเป็น
ผู้เคร่งครัดในการปฏบิ ัติธรรม ทำ� งานอย่างเด็ดเด่ยี วแกลว้ กลา้ มวี าจาศักดิ์สิทธ์ิ ลงไดล้ ัน่ วาจา
ออกไป งานต้องสำ� เร็จทุกอยา่ งเพราะมแี ต่ความเคารพเช่อื ถอื ย�ำเกรง