329
งานช้ินส�ำคัญซ่ึงเป็นอนุสรณ์ของท่านที่ได้กระท�ำไว้ นับแต่การสร้างวัดท้ังสองแห่งท่ีบ้าน
ดงเย็น สร้างโรงเรยี นประชาบาลบา้ นดงเย็น โดยไม่ได้ใชจ้ า่ ยเงนิ งบประมาณของทางราชการสมทบ
แตอ่ ย่างใด สร้างสะพานข้ามทงุ่ นาเขา้ วดั บ้านถ่อน สรา้ งพระพุทธรปู พระประธานองคใ์ หญท่ ว่ี ัด
บา้ นถ่อน และสรา้ งสะพานขา้ มลำ� น�้ำสงคราม ระหว่างบ้านดงเยน็ กับบา้ นดอนเชียงยืน กวา้ ง
ประมาณ ๔ เมตร ยาวประมาณ ๔๐ เมตร ซงึ่ เป็นประโยชนอ์ ย่างอเนกอนนั ตแ์ ก่ชาวอ�ำเภอบ้านดงุ
และชาวอำ� เภอสว่างแดนดนิ ตลอดมาจนทกุ วนั นี้
การท�ำงานของทา่ น ทา่ นกระท�ำเพอ่ื งานโดยแท้ ไม่ตอ้ งการลาภ ยศ สรรเสรญิ สขุ หรอื
อยากดัง มาแอบแฝงเจือปนอยู่ด้วยทั้งส้ิน นับว่าเป็นบุคคลท่ีหาได้ยาก และควรแก่การเทิดทูน
บูชาเคารพกราบไหว้อย่างย่ิง ท่านไม่เป็นแต่เพียงเทพเจ้าของชาวอ�ำเภอบ้านดุง และชาวอ�ำเภอ
สวา่ งแดนดินเท่านนั้ ยังเปน็ เทพเจา้ องค์หนง่ึ ของชาวพทุ ธศาสนิกชนทั่วไปอกี ด้วย
การถึงแก่มรณภาพของทา่ นอาจารยพ์ รหม จริ ปุญโฺ ยอ่ มนำ� ความเศรา้ สลดใจมาสู่พีน่ ้อง
ชาวอ�ำเภอบ้านดุง และพ่ีน้องชาวอ�ำเภอสว่างแดนดิน ตลอดจนชาวพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็น
อย่างมาก เพราะเป็นการสญู เสยี ท่านผ้เู ปน็ แก่นแห่งการสร้างความดีไว้ เป็นอนสุ รณ์ไวใ้ ห้แก่พวกเรา
เป็นอย่างยิ่ง โดยไมม่ ีวนั กลับมาอกี
ในโอกาสน้ี ขา้ พเจา้ ขอต้งั จติ อธษิ ฐาน ขอใหก้ รรมดอี นั เปน็ บารมีธรรม ท่ที า่ นพระอาจารย์
พรหม จริ ปญุ ฺโ ไดป้ ระกอบไวใ้ ห้แก่ประเทศชาติ และพระบวรพุทธศาสนา ตง้ั แต่ต้นจนอวสาน
แห่งชีวิต พร้อมกับความดีท่ีข้าพเจ้าและสานุศิษย์ท้ังหลายที่กระท�ำมา ขอน้อมเกล้าถวายเป็น
พทุ ธบูชา ธรรมบชู า และสังฆบชู า ขอจงเป็นผลานิสงส์ ดลบนั ดาลใหด้ วงวิญญาณอนั บริสทุ ธ์ผิ ุดผ่อง
ของท่านอาจารย์พรหม จิรปุญฺโ จงก้าวไปสแู่ ดนอมตตามความประสงค์ดว้ ยเทอญ”
ชว่ งกอ่ นประชุมเพลงิ ทา่ นเจา้ คณุ พระญาณเวที ได้เลา่ เท้าความถงึ งานประชุมเพลิงศพ
หลวงป่พู รหม จิรปุญโฺ ในครั้งนนั้ ว่า “สาธารณชนไดม้ ีโอกาสร้จู ักและกราบไหว้ หลวงปูช่ อบ
านสโม เพ่ือนสหธรรมิกขององคห์ ลวงป่พู รหม เปน็ ครง้ั แรกเชน่ กัน และนับเปน็ คร้งั แรกท่ีหลวงปู่
ชอบ านสโม ไดเ้ มตตาแสดงธรรม และเลา่ ถึงปฏิปทาขององค์หลวงปพู่ รหม ในระหวา่ งเทยี่ วธุดงค์
ดว้ ยกันทา่ มกลางสาธารณชน”
หลวงปู่ชอบ เล่าเรื่องไปธุดงค์พม่าด้วยกันกับหลวงปู่พรหม แล้วมีฤาษีมาศรัทธาอุปถัมภ์
บ�ำรุงจนตลอดพรรษา สำ� หรบั ครบู าอาจารย์องคส์ �ำคัญท่ีพิจารณาผ้าบงั สุกลุ ในงานประชมุ เพลิงศพ
หลวงปู่พรหม ได้แก่ หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี หลวงปู่อ่อน าณสิริ พระธรรมไตรโลกาจารย์
หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนฺโน ฯลฯ
330
ตอนประชุมเพลงิ ศพหลวงปูพ่ รหม จิรปญุ ฺโ สมยั นน้ั ยงั ไมม่ ตี �ำรวจ – ทหารมาเฝา้ อารกั ขา
มแี ตพ่ ระลว้ นๆ เฝา้ อยบู่ นเมรุ คอยดแู ลความปลอดภยั เรียบรอ้ ยในขณะประชมุ เพลงิ ศพ และคอย
เกบ็ รักษาอัฐธิ าตุของหลวงปู่ หลวงปู่ผาง ปรปิ ณุ ฺโณ เล่าวา่ หลวงตาพระมหาบวั าณสมปฺ นฺโน
ท่านมาสง่ั การเร่อื งอฐั ิธาตุหลวงป่พู รหมเอง หลวงตาท่านนมิ นตใ์ หห้ ลวงป่ผู างเข้าไปหา ท่านขอแบง่
อฐั ธิ าตขุ องหลวงปพู่ รหม ๓ ส่วน คอื ส่วนบน ส่วนอก แลว้ กส็ ว่ นศรี ษะ ทา่ นจะเอาไปสงเคราะหโ์ ยม
หลวงตาทา่ นมาขอแบบไม่เอกิ เกรกิ อัฐิสว่ นนัน้ รสู้ กึ วา่ จะเอาไปให้นายวัน คมนามลู เจา้ ของโรงแรม
ทอ่ี ยู่จงั หวัดนครราชสมี า ต่อมาอัฐิธาตุหลวงปูพ่ รหมท่ีนายวนั น�ำไปกราบไหวบ้ ูชาแปรเปน็ พระธาตุ
พอหนังสือพิมพ์ศรีสัปดาห์เอาไปลง หลวงตาท่านกส็ งั่ หา้ มออกข่าวต้ังแต่ตอนนน้ั เลย
เช้าวนั ท่ี ๗ มีนาคม ๒๕๑๔ เก็บอฐั ิ มีพธิ ีสวดมนตฉ์ ลองอฐั ธิ าตุหลวงปูพ่ รหม จิรปญุ ฺโ
หลวงปูบ่ ุญจนั ทร์ กมโล ไดอ้ ยู่ในจ�ำนวนพระสงฆ์สวดมนตฉ์ ลองอัฐิดว้ ย เมอื่ สวดมนตเ์ สรจ็ มกี าร
ถวายอาหารบณิ ฑบาตแกพ่ ระภิกษุสามเณรท่มี าร่วมในงาน แลว้ กเ็ ป็นเสร็จพิธี ครบู าอาจารย์ตา่ ง
รำ�่ ลากนั กลับทีอ่ ยูข่ องแต่ละทา่ นละองค์ หลวงปบู่ ญุ จันทรก์ พ็ าเดินทางกลับวดั ป่าสนั ติกาวาส
ภายหลงั จากถวายเพลิงศพทา่ นไปแลว้ ไมน่ านนกั คณะกรรมการวัดประสทิ ธิธรรม ได้น�ำอฐั ิ
ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ส่วนหน่ึงน�ำมาบรรจุไว้ในเจดีย์จิรปุญโญ ซ่ึงคณะศิษย์ได้ร่วมกัน
สร้างขึ้นถวายเปน็ อนุสรณค์ ณุ งามความดี และแสดงความกตญั ญูกตเวทติ าคุณตอ่ ท่านอกี ดว้ ย
พ.ศ. ๒๕๑๔ หลวงปู่ผางรับเป็นเจ้าอาวาสวัดประสิทธิธรรม
หลังจากประกอบพิธีถวายเพลิงศพหลวงปู่พรหมในวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เม่ือ
เสรจ็ สน้ิ งานทกุ อยา่ งเกย่ี วกบั หลวงปพู่ รหมแลว้ ทางคณะสงฆก์ ม็ กี ารประชมุ สงฆล์ งมตสิ งฆเ์ ปน็ เอกฉนั ท์
วา่ สมควรมอบหมายให้ หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ ซึง่ เป็นพระศิษย์อาวุโสและเป็นชาวบ้านดงเยน็
ดำ� รงตำ� แหนง่ เจา้ อาวาสวดั ประสิทธิธรรมสบื ทอดต่อจากนนั้ มา
หลวงปู่ผาง ท่านเมตตารบั ภาระเป็นเจา้ อาวาสอยูร่ ะยะหนึง่ โดยอยูจ่ ำ� พรรษาตดิ ตอ่ กนั อีก
๒ พรรษา ตงั้ แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๑๖ จากน้นั ทา่ นกอ็ อกธุดงคว์ ิเวกไปท่ีอนื่ ชาวบ้านกไ็ ด้นมิ นต์
กลับมาเป็นเจา้ อาวาสอีก ท่านก็กลับมาจำ� พรรษาอีก จนประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๙ หลวงปผู่ าง
ทา่ นไปจ�ำพรรษาทอ่ี ่นื จากนั้นนานๆ ทา่ นกก็ ลบั มาวัด
331
ภาค ๑๙ พระธาตุและพระเจดีย์หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ
อัฐิหลวงปู่พรหมเป็นพระธาตุแน่นอน
องค์หลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนโฺ น ไดเ้ มตตาเทศน์เรื่องนไ้ี วด้ งั น้ี
“ค�ำว่าเปน็ พระธาตแุ ล้วน้ัน คอื พระอรหนั ตอ์ งคห์ นงึ่ น่ันเอง รอ้ ยเปอรเ์ ซ็นต์
คือพระธาตุน่เี ป็นเครื่องหมายของวัตถุ ด้านวตั ถุ ได้แก่ รา่ งกายซง่ึ เปน็ ส่วนหยาบ คอื จิตท่ี
บรรลุถึงวิสุทธิธรรมแล้ว จิตนี้จะบริสุทธิ์ น่ีพูดตามหลักธรรมชาตินะ จิตที่บริสุทธิ์แล้วครอง
ธาตุขันธอ์ ยู่นี้ ความบริสุทธ์ิของจติ นน้ั ละ่ จะซกั ฟอกออกมา ธาตุขนั ธเ์ ลยกลายเปน็ ธาตุขนั ธ์ท่ี
ละเอยี ดลออ จงึ กลายเปน็ พระธาตไุ ด้ ทง้ั ๆ ท่ีเป็นวตั ถุธาตเุ หมอื นกันกบั รา่ งกายของเรา แตร่ ่างกาย
ของพระอรหันต์ท่คี รองดว้ ยจติ ท่ีบรสิ ุทธ์ิ จติ ที่บรสิ ุทธน์ิ น้ั แหละซักฟอกออกมา แลว้ กก็ ลายเป็น
พระธาตไุ ดๆ้ ...
ทา่ น (หลวงป่พู รหม จิรปุญโฺ ) เลา่ ให้ฟัง ทา่ นเป็นคนศักด์ิศรีดงี าม มีอำ� นาจวาสนา
นา่ เกรงขามมาก เดด็ เดี่ยว ไปในงานศพทา่ น เรากไ็ ดบ้ อกกบั บรรดาลูกศิษย์วา่ พวกเราทง้ั หลายไปน้ี
ใหพ้ ยายามเอาอฐั ขิ องทา่ นอาจารยอ์ งค์นีใ้ ห้ไดน้ ะ อฐั ขิ องท่านอาจารย์องค์นีจ้ ะเป็นพระธาตุแน่นอน
เราว่าอยา่ งนี้ ครนั้ เวลาไปเผาศพ พอเผาศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว พวกกรรมการเขาไมท่ ราบก่ีชัน้
เข้าไม่ได้เลย ตกลงต่างคนต่างเผ่น จากน้ันมาอัฐิของท่านก็กลายเป็นพระธาตุ ก็อย่างน้ันแล้ว
แน่นอนมาต้งั แตค่ ยุ กันอยู่บา้ นนามน อย่างน้ีแหละเหน็ ไหมล่ะ ไม่ตอ้ งเอาอะไรมายนั กนั เพราะท่าน
คุยใหเ้ ราฟงั อย่างถงึ ใจเม่ืออยู่บ้านนามน ทา่ นผา่ นมาต้ังแต่อยู่เชียงใหมโ่ นน้
พดู อะไรๆ น้ี อยา่ งนนั้ ล่ะมันเรียงกนั มนั เรียงตามหลังท่าน เข้ากันไดพ้ ับเลย แตก่ ่อนท่าน
เล่าใหฟ้ งั เรากย็ ังไม่รู้อีโหน่อเี หนอ่ ะไร ทา่ นเล่าให้ฟัง จนกระทั่งถึงทา่ นผ่านไดเ้ ลย เราก็ฟังแบบ
หหู นวกตาบอด คร้นั เวลามาปฏบิ ัติ ปฏบิ ัติไม่ถอย มนั กร็ ้ตู ามกนั ไปๆ สุดท้ายยอมกราบทา่ นราบ
ดว้ ยเหตนุ ีเ้ องจึงพูดว่า อัฐขิ องทา่ นอาจารย์พรหมนจี้ ะเปน็ พระธาตแุ นน่ อน ท่านเลา่ ให้ฟงั แล้ว
ทางนี้ตามอกี ด้วยขอ้ ปฏบิ ตั ิ ดว้ ยความร้คู วามเห็น มนั ตามเขา้ ไป หาทแี่ ยง้ กนั ไมไ่ ด้ ยอมรบั เลย
น่ีองคห์ น่งึ อฐั เิ ป็นพระธาต”ุ
อัฐิท่านได้กลายเป็นพระธาตุในเวลาอันส้ัน
จากหนงั สอื ปฏปิ ทาพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตั ตเถระ โดย หลวงตา
พระมหาบัว าณสมปฺ นฺโน
332
“อฐั ิทา่ น (หลวงปูพ่ รหม จิรปุญฺโ) ท่ีไดท้ �ำการแจกจา่ ยแกท่ ่านท่ีมาในงาน ไปไวเ้ ป็นท่ี
ระลกึ สกั การบูชาในที่ต่างๆ มีมากต่อมาก จงึ ไมอ่ าจทราบไดว้ า่ ของทา่ นผู้ใดไดแ้ ปรสภาพจากเดมิ
หรอื หาไมป่ ระการใดบา้ ง แต่เม่ือไมน่ านมานี้ ไดม้ ีทา่ นทีไ่ ด้รบั แจกอฐั ิท่านมาแลว้ อัฐิน้นั ไดก้ ลายเป็น
พระธาตุสององค์ และได้เชิญไปให้ผู้เขียนดูที่วัดอย่างประจักษ์ หลังจากนั้นก็ได้ทราบจาก
หนังสือพิมพ์ “ศรสี ปั ดาห์” อีกวา่ อฐั ทิ า่ นไดก้ ลายเป็นพระธาตุแล้วกม็ ี ท่ยี ังไม่กลายก็มซี ่ึงอยใู่ นผอบ
อันเดยี วกนั จึงท�ำให้เกดิ ความอัศจรรย์ในคุณธรรมท่านว่า ท่านเป็นผบู้ รรลุถึงแกน่ ธรรมโดยสมบรู ณ์
แล้ว ดงั วงปฏบิ ตั ิเคยพากันคาดหมายทา่ นมาเปน็ เวลานาน แต่ท่านมิได้พดู ออกหนา้ ออกตาเหมือน
ทางโลกปฏบิ ตั ิกนั เพราะเป็นเรือ่ งของธรรมซงึ่ ผู้ปฏบิ ัตธิ รรมจะพงึ สำ� รวมระวังให้อยู่ในความพอดี
ทา่ นได้พบดวงธรรมอันประเสรฐิ สามารถก�ำชยั ชนะดว้ ยการบรรลธุ รรมวเิ ศษ ปลดเปล้ืองภาระ
หมดกิจหมดหนา้ ทแ่ี ล้วโดยสมบูรณ์...”
เร่ืองปาฏิหาริย์พระธาตุหลวงปู่พรหม
งานประชุมเพลิงศพหลวงปพู่ รหม จิรปุญโฺ เมอ่ื วนั ที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้เสรจ็
เรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็มีข่าวผู้ท่ีได้รับแจกอัฐิของหลวงปู่พรหมแปรสภาพเป็นพระธาตุ ซึ่งเป็นท่ี
ทราบกันดีในวงกรรมฐานวา่ อัฐิธาตุของทา่ นต้องเปน็ พระธาตุอยา่ งแน่นอน ครบู าอาจารย์ในยคุ นนั้
ไดก้ ลา่ วยกย่องหลวงปพู่ รหมว่า เปน็ พระอรหันตอ์ งค์หนงึ่ ในยคุ ของหลวงปู่มัน่ ภรู ิทตฺโต เพราะ
ท่านเป็นพระศิษยย์ คุ ตน้ ๆ ของหลวงปมู่ น่ั ท่ีมีอุปนิสยั แก่กล้า เด็ดเดี่ยว พูดจริง ทำ� จริง มคี วามเพยี ร
สงู ยงิ่ จนหลวงปู่มั่นออกปากชมตอ่ หน้าพระเถระวา่ “ท่านพรหมเปน็ ผูม้ ีสติ ทกุ คนควรเอาอยา่ ง”
ในเรื่องอฐั หิ ลวงปู่พรหมแปรสภาพเปน็ พระธาตุ ในสมัยนน้ั คอื พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๑๘
ยังเป็นยุคที่ทุรกันดารมาก การเดินทางไปมาหาสู่กันเต็มไปด้วยความยากล�ำบาก แม้แต่จะหาดู
พระธาตขุ องหลวงปู่ ก็นับวา่ ยากเตม็ ที เพราะอัฐบิ รรจุในองค์เจดยี ส์ ่วนบนท้ังหมด ท่ีพอหาดูได้กม็ ี
ครูสวสั ดิ์ ชาตะระ ซงึ่ เปน็ ลกู หลานบ้านดงเย็น และครชู าย วงษ์ประชุม อ�ำเภอสว่างแดนดนิ ผู้ซ่งึ
ไดร้ ับอฐั ิและเถา้ อังคารในวันประชุมเพลงิ แล้วแปรสภาพเปน็ พระธาตุ มสี ีทบั ทิม สีขาว เป็นตน้
เจดีย์จิรปุญโญ ในยุคแรกภายในเจดีย์ มีเพียงรูปเหมือนโลหะหลวงปู่พรหมเท่าองค์จริง
และมีตู้ ๑ ใบ สำ� หรับใสบ่ รขิ ารของหลวงปู่ เช่น ผ้าไตรจีวร บาตร กลด รองเท้า ฯลฯ บรขิ ารของ
หลวงปูม่ นี อ้ ยมาก เพราะท่านเปน็ พระท่ีมกั นอ้ ย สันโดษ ครองผ้าบังสกุ ุลเปน็ วตั ร อัฐหิ ลวงปพู่ รหม
ท่เี ล่าลือกันวา่ เป็นพระธาตุน้ัน ภายในเจดีย์กไ็ ม่มีให้ชม
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พอออกพรรษา พระเจดยี จ์ ิรปญุ โญ ได้มรี อยแตกรา้ วตัง้ แต่ส่วนยอดเจดยี ์
และมนี ้�ำขงั ในองคเ์ จดีย์ ทำ� ใหด้ า้ นล่างของเจดียม์ ีน�้ำซึมหยดลงมาตลอดเวลา ซึ่งเป็นมานานหลายปี
333
แล้ว เป็นท่ีลำ� บากแก่ผู้ท่มี ากราบสกั การะหลวงปู่เป็นอย่างย่ิง จงึ เป็นเหตใุ หม้ กี ารบูรณปฏสิ งั ขรณ์
องค์เจดียจ์ ริ ปุญโญ ต้ังแตบ่ ัดนั้นเปน็ ตน้ มา โดยทางวัดไดม้ ีการส�ำรวจหาสาเหตุ พระเณรไดข้ ึน้ ไป
บนเจดีย์ ใช้เหล็กสกัดเจาะเจดยี ์ทางดา้ นซุ้มทศิ ตะวันออก เพ่อื ดูว่ามนี ำ้� ทไี่ หลรั่วซมึ ลงมาในหอ้ งโถง
มาจากท่ีใด พระเณรใช้เวลาเจาะอยู่ ๒ – ๓ วัน ค่อยทะลุ เพราะก�ำแพงเจดีย์มีความหนามาก
พอเจาะเข้าไปก็พบกบั โกศทองเหลือง ๑ คู่ ซง่ึ เปน็ โกศทบ่ี รรจุอัฐขิ องหลวงปู่ จากนน้ั ก็อัญเชญิ โกศ
ทงั้ ๒ ใบนีล้ งมาประดิษฐานทีโ่ ตะ๊ หมบู่ ูชา ณ ศาลากลางน�้ำ
พอพระเณรเจาะทะลฝุ าและตดั เหลก็ ไดแ้ ล้ว ก็พบหอ้ งโปร่งหอ้ งหนึ่ง มองลงไปมนี ำ�้ ทว่ มขงั
๕๐ เซนติเมตร สันนิษฐานว่าน้�ำมาจากรอยร่ัวตามปูนขอบเจดีย์ และบ่อยคร้ังท่ีมีฟ้าผ่า ซ่ึงก็มี
สายลอ่ ฟา้ อยแู่ ลว้ พอสำ� รวจห้องโถงท่ีมนี �้ำ พบพระพุทธรูปองคเ์ ลก็ องคน์ อ้ ยเต็มไปหมด ตงั้ แต่
ขนาด ๑ น้ิว ๓ นวิ้ ๕ นิว้ ๗ นิ้ว ๙ น้วิ ซึง่ นา่ จะเปน็ พระทชี่ าวบ้านเอาของเก่าหรอื ของดีมาบรรจุ
ในเจดยี ข์ องหลวงปู่ นอกจากนี้ยังมพี ระแก้วมรกตในองค์เจดยี ์จ�ำนวนมากถงึ ๓๐ – ๔๐ องค์ และ
มีพระไม้แกะสลัก ปางยืน ปางนั่ง ขนาดหน้าตกั ตา่ งๆ กนั แตด่ ้วยความทพ่ี ระไมอ้ ยู่แช่ในน้�ำนานปี
จงึ ท�ำใหย้ ุย่ ผุพังเม่ือจบั ตอ้ งถกู จากนัน้ กข็ นยา้ ยพระตา่ งๆ ออกมาไว้ขา้ งล่าง
โกศทองเหลือง ๒ ใบ ที่บรรจุอัฐิหลวงปู่พรหมน้นั ไดส้ ลกั ช่ือครูบาอาจารยท์ เี่ ปน็ ผ้บู รรจุอฐั ิ
หลวงปู่ มี ๓ องค์ คอื หลวงป่บู ญุ ชินวโํ ส วัดศรสี ว่าง หลวงป่วู ัน อตุ ฺตโม วัดถ�้ำอภัยด�ำรงธรรม
(ถ�ำ้ พวง) หลวงปู่ลี ติ ธมฺโม วดั เหวลกึ
พอบ่ายสามโมงกฉ็ นั น้ำ� ร้อน ท�ำกิจวัตรกวาดลานวัด ถกู ฏุ ิ ถูศาลา กวาดลานเจดีย์ ขณะที่ไป
ท�ำความสะอาดบนศาลากลางน�้ำ สังเกตเหน็ ว่า มีนำ�้ ไหลลงมาจากโกศทองเหลืองด้านล่าง ท่วี างไว้
บนโต๊ะหมู่ ๑ โกศ แต่อีกโกศไม่มนี �ำ้ หยดลงมา น้ำ� ทห่ี ยดไหลลงมานองบนพน้ื ศาลา ซึง่ ก็แปลกและ
อศั จรรยม์ าก น้ำ� ก็ใสดมี าก และหยดตลอดเวลา กเ็ อาขนั เงินใบใหญ่ไปรองรบั โกศใบน้ไี ว้ นำ้� ท่ีหยด
ออกมาตั้งแต่ทีแรกจนนองพ้ืน น่าจะไมต่ ำ่� กว่า ๒ – ๓ ลิตร แตด่ ูปรมิ าณน�้ำท่ีบรรจุในโกศ นา่ จะพอดี
หรอื เกินโกศ ซึ่งฐานโกศ ๑๒ ซม. ความสูงของโกศ ๗๐ ซม. น้ำ� ท่หี ยดลงมานา่ จะหมด แต่ยงั หยด
ตอ่ ไปไดอ้ ีก
พอวันที่สาม ไดเ้ ปิดโกศทองเหลือง ซ่ึงขณะน้นั มคี รูบา ๒ รปู เณรน้อย ๑ รูป โดยยกโกศ
ลงมาตัง้ ท่ีอาสนส์ งฆ์ ขณะนน้ั นำ�้ ก็ยงั หยดอยู่ ซ่งึ เปน็ เรอื่ งทแ่ี ปลกมาก น�้ำน้มี าจากไหน ? น้�ำยังหยด
ตลอดเวลา อศั จรรยม์ าก ! กเ็ อาชามใบใหญม่ ารองรบั โกศ จะเปิดโกศออก พอหมนุ เกลยี วสว่ นบน
โกศออก มองเห็นน�้ำใสเต็มเปี่ยมในโกศ จนเกิดความอัศจรรย์ว่า ท�ำไมมีน�้ำเต็มโกศ พระก็ให้
เณรน้อยเอามอื ลว้ งเขา้ ไปในโกศ ซ่ึงขณะเอามือลว้ งลงไป น�้ำกล็ ้นออกมาดว้ ย
334
พระบอกใหเ้ ณรลว้ งลงไปใหส้ ุดฐานโกศ ใหเ้ อาสิ่งของที่พบออกมา ปรากฏว่าส่ิงทเี่ ณรเอา
ข้ึนมาเป็นพระธาตุสีต่างๆ มีพระธาตุสีทับทิม สีขาว สีเขียว ติดมาที่แขน ท่ีผิวหนังของเณรน้อย
พระที่อยู่ในเหตุการณ์ถึงกับขนลุกซู่ เพราะเคยได้ยินมาว่า พระธาตุหลวงปู่จะเป็นสีทับทิมเป็น
ส่วนใหญ่ จึงใช้กระดาษค่อยเก็บเม็ดพระธาตุอย่างระมัดระวัง เพราะกลัวจะตกหล่นไป เณรยังได้
ล้วงเอาสง่ิ ของลักษณะคลา้ ยเหรยี ญออกมาจากฐานโกศด้วย ผลปรากฏวา่ เหรียญทีเ่ อาออกมาได้
เป็นเหรียญหลวงปู่พรหม รุ่นสองกับรุ่นสาม ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ และ พ.ศ. ๒๕๑๔
บางเหรยี ญก็เปน็ สนิมเขียว เพราะแชน่ ้�ำ
พอรวู้ า่ เป็นพระธาตหุ ลวงปพู่ รหม กย็ กโตะ๊ ไมม้ ะคา่ มาเช็ดท�ำความสะอาด เอาผา้ ขาวมาปู
แล้วเอาโกศทองเหลอื งตั้งตรงกลาง และพระเณรก็ห่มคลุมจวี รแล้วกราบขอขมา จากนั้นกเ็ ทน้ำ� จาก
โกศออกมายังขนั พอเทนำ้� ออกแล้ว พระเณรกช็ ่วยกันแยกพระธาตุของหลวงปอู่ อกมา ซง่ึ พระธาตุ
มีสีทับทิม สเี ขยี วมรกต สขี าวขุ่น ฯลฯ ทเ่ี ป็นอฐั ิก�ำลังแปรสภาพและยังไม่แปรสภาพกม็ ี นอกจากน้ี
ยังมเี หรยี ญหลวงปู่ รุ่นสองและรุ่นสาม รวม ๓๔ เหรียญ ส่วนเหรียญรุ่นแรก พ.ศ. ๒๕๐๖ ไม่มแี ม้แต่
เหรียญเดยี ว
หลวงปูผ่ าง ปรปิ ณุ ฺโณ ศษิ ยเ์ อกของหลวงปพู่ รหม ได้อธบิ ายถงึ น้ำ� อัศจรรยว์ ่า “เปน็ น้�ำ
ศักดิ์สิทธิ์ เป็นน�ำ้ บริสทุ ธ์ิ เป็นนำ้� ทีห่ ลอ่ เลย้ี งพระธาตุของหลวงป่พู รหม”
สว่ นโกศทองเหลอื งอกี ใบหน่ึง ซ่งึ ไม่มนี �ำ้ มอี ฐั ทิ ย่ี ังไมแ่ ปรเป็นพระธาตุ พระองค์เลก็ องคน์ ้อย
เช่น พระรอด พระเปมิ พระนางกวกั ซึง่ พระเหล่าน้จี ะไปรวมตัวกบั ฝนุ่ องั คาร อฐั ิ แล้วตดิ กับสำ� ลี
ที่รองอัฐิ ที่ถูกย้ายออกมาจากโกศจนหมดสิ้น แล้วจากนั้นได้น�ำโกศทั้งสองใบไปท�ำความสะอาด
แลว้ เก็บไว้ในที่อันสมควรตอ่ ไป
พระธาตุหลวงปู่พรหมท่ีอัญเชิญลงมาจากโกศทองเหลืองมีจ�ำนวนมากนับเป็นพันๆ องค์
ในขณะท่ีพระเณรช่วยกันอัญเชิญพระธาตุลงในผอบแก้วน้ัน ปรากฏว่ามีพระธาตุองค์สีทับทิม
กระเด็นหายไปจากโต๊ะทีป่ ูผา้ ขาว พระเณรช่วยกันหาเทา่ ไหร่กไ็ ม่พบ จึงอธษิ ฐานขอใหเ้ สดจ็ กลบั มา
อยๆู่ ในชั่วพริบตาพระธาตอุ งคส์ ีทบั ทิมก็เสดจ็ กลบั มาวางบนผา้ ขาวไดอ้ ย่างอัศจรรย์ สรา้ งความ
ประหลาดใจให้กับพระเณร ณ ที่นั้น พอพระธาตุเสด็จกลับมาแล้ว ก็อัญเชิญลงผอบแก้วเอาไว้
สกั การบูชาตอ่ ไป
ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๗ หลวงปเู่ ทสก์ เทสฺรสํ ี ไดล้ ะสังขาร วนั ท่ี ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
หลวงปู่ผาง ปริปุณโฺ ณ ก็มาเคารพศพ และได้แวะมาท่วี ัดประสทิ ธิธรรม บ้านดงเยน็ หลวงป่ผู าง
ไดท้ ราบขา่ วเรือ่ งการเจาะเจดยี ์ เอาอฐั ธิ าตขุ องหลวงปพู่ รหมลงมาแล้ว อนั ที่จรงิ ก่อนทจ่ี ะท�ำการ
335
ขดุ เจาะเจดีย์น้นั ก็ได้ไปกราบขออนุญาตหลวงปผู่ างที่เขาจีนแล จังหวดั ลพบุรีแล้ว หลวงปู่ผางมา
พักท่วี ัดประสิทธธิ รรม ทา่ นก็ดพุ ระเณรวา่ “เอาอัฐธิ าตุหลวงปู่พรหมมาโชว์ มาโฆษณา เอาพระธาตุ
หลวงปู่มาขายกิน” ท่ีหลวงปู่ผางท่านกล่าวเช่นน้ี เพราะว่าอุปนิสัยของหลวงปู่พรหม ท่านจะ
เงยี บมาก ไม่โชว์ ไม่อวด มกั น้อย สันโดษ ไมค่ ลกุ คลี หลังจากน้นั หลวงปูผ่ างก็กลับภเู ก็ตไป
ต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หลวงปู่ชอบ านสโม ละสังขาร หลวงปู่ผางท่านเคยร่วมธุดงค์กับ
หลวงปูช่ อบ ท่านจงึ มาเคารพศพทจ่ี ังหวัดเลย หลงั จากนัน้ ท่านก็มาพักท่วี ดั ประสทิ ธธิ รรม
ข่าวเจดีย์หลวงปู่พรหมแตก มีพระธาตุหลวงปู่พรหมมากมาย พอข่าวนี้กระจายไปยัง
จงั หวดั อุดรธานี สกลนคร และหมบู่ า้ นตา่ งๆ ฯลฯ ก็มีคนหลัง่ ไหลมากราบอัฐิธาตุของหลวงปู่เปน็
จำ� นวนมาก คนเฒา่ คนแกค่ นวดั กม็ าจดุ ประกายไฟ บางคนกม็ าอวดอ้างว่า “ของกระผมกลายเป็น
พระธาต”ุ มีเล่าลอื กนั มากในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เมอื่ ตามไปดูพบวา่ พระธาตทุ แี่ ปรเปลี่ยนมา
จากเถา้ ฝนุ่ อังคารและอัฐิ โดยมากจะพบสีทับทมิ สีขาว และเศษกระดกู ทห่ี ดตัว เปน็ ต้น
พอ่ คำ� มี อยบู่ า้ นออ้ มกอ เคยไดป้ ฏบิ ตั ริ บั ใชห้ ลวงปพู่ รหมในสมยั นนั้ เกย่ี วกบั การสรา้ งศาลา
กลางน้�ำ (ศาลาไม)้ พ่อค�ำมีกไ็ ดร้ ับแจกผงฝุ่นอังคารของหลวงปพู่ รหมมาเหมือนกนั พ่อค�ำมมี าใส่
บาตรวันพระทว่ี ัดประสทิ ธธิ รรม แลว้ มาบ่นให้ฟังวา่ “ผงฝุน่ อังคารของหลวงปพู่ รหม ของคนอืน่
เปน็ พระธาตกุ นั แต่ทำ� ไมของเราจงึ ไมเ่ ปน็ พระธาตุ ?” พอ่ คำ� มยี ังบอกอกี วา่ “ได้ดูผงฝนุ่ อังคารอยู่
บ่อยๆ กย็ งั เหมือนเดิม ผงฝนุ่ อังคารน้ี พระเป็นผ้ใู หม้ า” และยังบอกดว้ ยวา่ “เขากเ็ ปน็ คนหน่ึงท่ี
ปฏิบตั หิ ลวงปพู่ รหมเหมอื นกัน แต่ท�ำไมผงฝุ่นอังคารไม่เป็นพระธาต”ุ
วันพระถดั มา พอ่ ค�ำมีกม็ าใสบ่ าตรทบ่ี ้านดงเย็น แล้วกลบั ไปบา้ นทอี่ อ้ มกอ ได้เขา้ ไปดตู ลบั
ผงฝ่นุ องั คาร ปรากฏว่าตลบั ดงั กล่าวหล่นจากโต๊ะหม่บู ูชา ลงมาอยชู่ นั้ ลา่ งอกี ชัน้ หน่งึ จงึ ไดถ้ าม
คนในบา้ นวา่ มใี ครเขา้ ไปเล่นในหอ้ งพระ หรอื โตะ๊ หมูบ่ ูชาหรอื เปลา่ ? ปรากฏวา่ ไม่มใี ครเข้าไป
เลน่ เลย ตลับท่ีใสผ่ งฝุ่นอังคารเป็นตลบั ใส่พระสมเด็จ บดุ ว้ ยผ้าก�ำมะหย่ี ขนาดเท่ากลักไม้ขดี ไฟ
เมื่อเปิดขนึ้ ดู เขาต้องตกตะลึง เพราะสงิ่ ทีเ่ หน็ คอื พระธาตสุ ีทบั ทิมเตม็ ตลบั จึงมาเล่าใหพ้ ระเณร
ทวี่ ัดประสทิ ธิธรรมฟงั พระธาตสุ วยงามมาก ลักษณะพระธาตเุ หมือนกบั ทีไ่ ด้มาจากโกศทองเหลอื ง
ท่ลี งมาจากเจดยี ์
ตน้ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มงี านพระราชทานเพลงิ ศพหลวงปู่ชอบ านสโม ซึ่ง หลวงปู่ผาง
ปริปณุ ฺโณ กม็ ารว่ มงานดว้ ย หลังจากนัน้ ทา่ นก็มาพักทว่ี ัดประสิทธธิ รรม บ้านดงเย็น หลวงป่ผู าง
ท่านได้พักทก่ี ฏุ หิ ลวงปูพ่ รหม ทา่ นถามหาพระธาตหุ ลวงปูพ่ รหม และพระศษิ ยไ์ ดน้ �ำมาถวายทา่ น
หลงั จากนน้ั หลวงปู่ผางก็นำ� พระธาตหุ ลวงปพู่ รหมไปลพบรุ ี และภเู กต็
336
พอปี พ.ศ. ๒๕๔๐ หลวงปผู่ างกลับมาจำ� พรรษาวัดประสทิ ธิธรรม บา้ นดงเย็น ท่านเล่าให้
พระศิษย์ฟังว่า พระธาตุหลวงปู่พรหมท่านแจกหมดแล้ว ท่านไม่ได้เก็บเอาไว้เลย หลังจากน้ัน
ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ก็มีการฉลองเจดีย์จิรปุญโญที่บูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ พร้อมกับการจัดท�ำบุญ
วันเกดิ ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษาของหลวงปู่ผาง โดยมพี ระกรรมฐานและพทุ ธบริษัทเดนิ ทางมา
รว่ มงานกันจำ� นวนมาก
อัศจรรย์เส้นเกศาหลวงปู่พรหม
เร่ืองแรก ครูบาอาจารย์ได้เมตตาเล่าว่า เรื่องเกศาหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ เป็นเรื่อง
อศั จรรย์มากนะ ท่านปลงเกศาเองตอนสรงน้ำ� แล้วเกศาทา่ นเก็บไม่ใหค้ นเห็น เมอื่ ทา่ นมรณภาพ
แลว้ เกศาทที่ ่านเกบ็ ไวห้ ดเปน็ พระธาตุ หดเขา้ อยา่ งนา่ อศั จรรย์มากนะ
เร่ืองที่สอง มีผไู้ ดร้ ปู หล่อหลวงปพู่ รหม ขนาดหนา้ ตัก ๓ นว้ิ ไปกราบไหวบ้ ูชา ปรากฏว่า
ภายในรูปหลอ่ มีซองพลาสตกิ อดุ อยู่บริเวณซอกคอ เมอื่ แคะออกมาพบว่าเปน็ เส้นเกศา จงึ น�ำไปใส่
ผอบบูชา ต่อมาเสน้ เกศาได้แยกตัวออกและขมวดเป็นก้อนกลมๆ ๓ กอ้ น อนั หมายถงึ พระพทุ ธ
พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อแนว่ ่าเส้นเกศานเี้ ป็นของหลวงปพู่ รหม เพราะบรรจใุ นรูปหล่อของทา่ น
เรื่องที่สาม พระศิษย์ได้เอาเส้นเกศาหลวงปู่พรหมมาหล่อใส่ตะกั่วจะท�ำเป็นพระห้อยคอ
พอตม้ ตะกว่ั หลอมละลายแล้วกเ็ ทใส่เบา้ จากน้นั กเ็ อาเส้นเกศาหลวงป่ใู ส่ลงไป ปรากฏวา่ ตะกั่วกบั
เส้นเกศาไมเ่ ขา้ กัน กลิ้งออกเลย ทีน้ีเอาเสน้ เกศาของตัวเองไปทดลองบ้าง ครเู่ ดียวไหมล้ ะลายหมด
แตเ่ สน้ เกศาหลวงปกู่ ลบั ไม่ละลาย ทัง้ ๆ ที่ตอนหลอมตะกัว่ รอ้ นมากๆ ไมน่ า่ จะเหลือ คนทอี่ ยูใ่ น
เหตกุ ารณ์น้ี ๓ – ๔ คน ท้ังพระท้ังคนตา่ งตกตะลงึ อศั จรรย์เสน้ เกศาหลวงปูต่ ามๆ กนั ตอนทดลอง
คล้ายๆ แอบทำ� แต่ทา่ นกร็ ู้ ความอยากไดเ้ กศาท่านมาทำ� พระห้อย ด้วยความพยายามสุดท้ายก็
ส�ำเรจ็ ไปเอาเทียนมาหลอ่ เปน็ รูปพระ พอเทียนเย็นแลว้ ก็เอามาเจาะกวา้ นเป็นรูแล้วเอาเส้นเกศา
หลวงป่ยู ดั เขา้ ไป แลว้ เอาลวดทองแดงถักหมุ้ หอ้ ยคอ
ทันตธาตุของหลวงปู่
ครอบครัวของคุณครูชาย วงษป์ ระชมุ มีศรทั ธาในองคห์ ลวงปพู่ รหมมาก นับถือหลวงปเู่ ปน็
ท่พี ่งึ ทางใจ คุณครูชายได้มโี อกาสปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ตามก�ำลัง และเป็นทีไ่ ว้วางใจของหลวงปู่
ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงปู่พรหมได้อนุญาตใหค้ ุณครชู ายทำ� ฟันปลอมใหก้ บั หลวงปู่
เพ่ือจะได้ขบฉันรบั ประทานอาหารได้สะดวก หลงั จากหลวงป่ไู ด้ให้หมอถอนฟนั แล้ว หลวงปไู่ ด้มอบ
ฟันให้กับหลวงปสู่ ุภาพ ธมฺมปญฺโ เพือ่ มอบใหก้ บั คุณครชู ายต่อไป
337
คณุ ครชู ายรู้สกึ ดีใจมากท่ีทา่ นเมตตามอบฟันของท่านใหน้ ำ� มากราบไหว้บูชา จนบดั นี้ ฟันซ่ี
ดังกล่าวได้กลายเป็นพระธาตุแล้ว (ทันตธาตุ) โดยปรกติคุณครูชายและคุณครูค�ำฟอง (ภรรยา)
จะเกบ็ รกั ษาฟันของหลวงปไู่ ว้ในผอบเพยี ง ๑ ซ่ี เทา่ นัน้ แต่พอเปดิ ผอบออกดู ปรากฏมพี ระธาตุ
เสดจ็ เพิ่มจ�ำนวน ๗ องค์ พระธาตุมลี กั ษณะเป็นสีขาวขุ่นใส เปน็ เมด็ เลก็ เท่าเมล็ดพนั ธ์ผุ ักกาด
สรา้ งความปตี ยิ ินดแี ละเปน็ ทีอ่ ัศจรรย์แก่ทุกๆ คน
เก่ยี วกบั พระทันตธาตุของหลวงปู่พรหม มีบนั ทกึ ไวใ้ นอีกทีห่ นึ่ง ดงั นี้
“หลวงป่ขู าว อนาลโย วัดถำ�้ กลองเพลได้บอกศิษย์ชอื่ คุณครชู าลี ดุลวรรณ ซ่งึ เปน็ เพื่อนกบั
คุณครชู าย วงษ์ประชมุ ศษิ ยข์ องหลวงปู่พรหม ตามทก่ี ลา่ วมาแลว้ ว่า “ถ้าอยากไดข้ องดี ให้ไปขอ
ท�ำฟันกบั หลวงปู่พรหม” คณุ ครูชาลีก็รบี เดนิ ทางไปกราบหลวงปูพ่ รหม เพอ่ื ขออนญุ าตพาคุณหมอ
มาท�ำฟัน รักษาฟัน และเปลยี่ นฟนั ให้หลวงปู่ แม้จะขออยูน่ าน หลวงปู่ท่านกไ็ ม่อนญุ าต จนคุณครู
ชาลหี มดปญั ญา จงึ ไปเลา่ ให้คณุ ครชู ายฟงั คุณครชู ายดีใจมาก ตวั เองอยรู่ บั ใช้หลวงปู่มานานจงึ ร้วู า่
ควรจะทำ� อยา่ งไร จึงไดไ้ ปกราบเรยี นหลวงปูล่ ี ติ ธมโฺ ม (วดั เหวลึก) เพื่อใหท้ า่ นพาไปกราบหลวงปู่
พรหม ขออนุญาตพาหมอมาท�ำฟนั ถวายทา่ น
หลวงปูพ่ รหมท่านมกั เรียกคุณครูชายวา่ “ข้ปี ลาทู” เมื่อไดร้ บั ค�ำขอ ท่านจงึ พดู ว่า “ข้ีปลาทู
เจ้าอยากท�ำหรอื เอ้า ! อนญุ าตให้ท�ำไดเ้ ลย” คณุ ครูชายได้ไปกราบเรียนหลวงป่ขู าววา่ “หลวงปู่
พรหมอนุญาตให้ท�ำฟันท่านแล้ว” และหลวงปู่ขาวได้ถามว่า “ชาย เจ้าจะเอาเงินท่ีไหน ถ้าไม่มี
กใ็ หม้ าเอากบั หลวงปไู่ ดน้ ะ” คณุ ครูชายรู้สึกซาบซงึ้ ในเมตตาของหลวงปขู่ าวมาก เมอ่ื กลับมาก็รีบ
ดำ� เนินการทนั ที โดยไปปรกึ ษากับหมอฟันชอื่ คณุ หมอประเสรฐิ แห่งรา้ นประเสริฐท�ำฟัน อยู่ท่ี
ตลาดพงั โคน สกลนคร แลว้ รบั คุณหมอไปถวายการทำ� ฟนั หลวงปู่
คณุ หมอประเสรฐิ ไดท้ ำ� การถอนฟัน กรอฟนั พิมพ์ฟนั และใสฟ่ นั ถวายหลวงปู่ ซึ่งใชเ้ วลา
เดือนเศษ และได้ใส่ฟันเทียมซี่ใหม่ถวายหลวงปู่ ขณะท่ีหมอถอนฟันถวายหลวงปู่นั้น มีหลวงปู่
สภุ าพ ธมฺมปญโฺ หลวงปูล่ ี ติ ธมโฺ ม คณุ ครชู าย วงษ์ประชมุ คุณครคู ำ� ฟอง วงษ์ประชุม และ
คุณครมู ัย (เพือ่ นคณุ ครชู าย) อย่ดู ้วย เม่ือหมอจับฟันซท่ี ี่มปี ัญหา ฟนั กห็ ลุดออกมาโดยไม่ต้องทำ�
อะไรเลย หลวงปู่สุภาพได้เอาถาดซ่ึงปูด้วยผ้าขาวให้วางฟันของหลวงปู่ แล้วเอาไปวางไว้ใกล้ๆ
หลวงปู่ หลวงปู่หยิบฟนั ซ่นี นั้ ยืน่ ให้หลวงปสู่ ภุ าพ แลว้ บอกวา่ “เอาใหข้ ้ปี ลาทูมัน”
ฟันซ่ีดังกล่าว คุณครูชาย คุณครูค�ำฟอง ได้เก็บบูชาในห้องพระ ในเวลาต่อมาฟันซี่นั้น
ไดก้ ลายสภาพเปน็ พระธาตุ สว่ นรากของฟนั มีสเี หลอื งอร่าม ใสเปน็ แกว้ สว่ นบนของฟันมีคราบ
น้�ำหมากด�ำเกาะอยู่ และมีพระธาตเุ สดจ็ มารวมอยูใ่ นผอบน้นั
338
พระเจดีย์หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ
หลวงปู่พรหม จริ ปุญฺโ ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหนั ตสาวก ซงึ่ ในวงกรรมฐานทราบดี
ตัง้ แต่ท่านยังมชี ีวติ อยู่ และเม่อื ทา่ นมรณภาพแล้ว ภายหลังประชมุ เพลงิ ศพท่าน อัฐิธาตขุ องทา่ น
ไดแ้ ปรเปน็ พระธาตมุ ีสสี ันวรรณะสวยงามมาก ดงั นั้น การสรา้ งเจดียข์ องหลวงปูพ่ รหม จงึ เปน็ ไป
ตามหลกั ถปู ารหบุคคล บคุ คลที่ควรแกก่ ารบรรจุอฐั ิธาตุในสถูปเจดีย์ ตามหลกั การกอ่ สร้างเจดยี ์
ทอี่ งค์สมเดจ็ พระสมั มาสัมพทุ ธเจ้าตรสั กบั พระอานนท์ เร่อื ง ถูปารหบุคคล ดงั นี้
“อานนท์ บุคคลผคู้ วรแกก่ ารประดิษฐานในสถูป เรยี กวา่ ถูปารหบคุ คล มี ๔ ประเภท คือ
พระตถาคตอรหนั ตสมั มาสัมพทุ ธเจา้ ๑
พระปัจเจกพทุ ธเจา้ ๑
พระสาวกอรหันต์ ๑
พระเจา้ จกั รพรรดิ ๑
บุคคลพิเศษทงั้ ๔ นี้ ควรท่บี รรจอุ ฐั ิธาตุไวใ้ นสถูป เพ่ือเป็นทีส่ ักการบูชากราบไหว้ ดว้ ย
ความเล่อื มใส ด้วยสามารถเปน็ พลวปจั จัย นำ� ให้ผูก้ ราบไหว้เขา้ ถึงสคุ ตโิ ลกสวรรคต์ ามก�ำลงั ศรัทธา
เล่ือมใส”
ในการคร้ังนี้ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาธรรมในพระคุณของท่านอาจารย์
พรหม จริ ปญุ ฺโ คณะศษิ ยานุศิษย์ พรอ้ มด้วยทายก ทายกิ า ท่เี คารพนับถือในทา่ น ไดพ้ รอ้ มใจกัน
เสียสละก�ำลังกาย ก�ำลังทรัพย์ และก�ำลังสติปัญญา ร่วมใจกันจัดสร้างเจดีย์จิรปุญโญ ขึ้นท่ี
วดั ประสิทธธิ รรม บ้านดงเยน็ ต�ำบลดงเย็น อำ� เภอบา้ นดงุ จงั หวดั อดุ รธานี เจดยี ม์ ีขนาดความสงู
๒๐ เมตร วตั ถปุ ระสงค์ในการสรา้ งเจดีย์เพอื่ บรรจุอัฐิธาตขุ องท่าน และเพ่อื เปน็ อนุสรณ์แก่อนุชน
รุ่นหลังไดก้ ราบไหวบ้ ูชา
ด้วยหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า ท่านจึงเร่ิมสร้างเจดีย์ตั้งแต่
ท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่ท่านได้วางศิลาฤกษ์และเร่ิมขุดหลุมวางรากฐานก่อนที่ท่านจะมรณภาพ
โดยไม่ได้ใช้เครื่องมือเครื่องจักรขุด อาศัยชาวบ้านดงเย็นและใกล้เคียงท้ังหญิงและชายมาร่วมแรง
รว่ มใจชว่ ยกันขดุ ชว่ ยกันโกยดนิ เตม็ ไปหมด
ช่วงสร้างเจดีย์ หลวงปู่พรหมทา่ นจะเร่งใหเ้ สร็จ ท่านบ่นแล้วบน่ อกี บน่ แลว้ บ่นอีก ขนมา
อะไร ไม้แบบนะ หลวงปูล่ ี หลวงปู่สภุ าพเอาไมแ้ บบมา “ไมร่ ู้เอามาท�ำอหิ ยงั ถา้ เปน็ ข้อยเอาปนู
โปะๆ ข้นึ นะ” คอื ท่านเร่ง ทา่ นคงรู้ตัว แตว่ า่ “โอ ! ไมแ้ บบ” ท่านว่าอยา่ งเนยี่ เร่อื งออกแบบเจดยี ์
339
หลวงปู่พรหมท่านไม่น่ันหรอก ท่านจะบ่นอย่างเดียว “เม่ือไรมันจะเสร็จ เม่ือไรมันจะเสร็จ” ก็
อย่างวา่ ล่ะ “ช่างมัวแตไ่ ปหากินข้าวตม้ ”
การสรา้ งเจดยี ์ก่อนมรณภาพของหลวงปพู่ รหม คลา้ ยกบั กรณีของหลวงปู่สารณ์ สุจติ ฺโต
ผู้เป็นครูบาอาจารย์องค์แรกของทา่ น กล่าวคอื หลวงปสู่ ารณ์กอ่ นมรณภาพ ทา่ นทราบเหตกุ ารณ์
ลว่ งหนา้ จึงใหส้ ร้างเจดีย์ประดิษฐานพระพทุ ธรูปสำ� คัญและไวบ้ รรจุอฐั ิของท่านเอง ท่านได้สรา้ งไว้
คร่ึงหนึง่ โดยส่วนท่เี หลือหลงั จากทา่ นมรณภาพไปแลว้ ท่านใหค้ ณะศษิ ย์สรา้ งตอ่ ให้แลว้ เสร็จ
การสร้างเจดยี ์จริ ปญุ โญ หลวงปู่พรหมทา่ นใหค้ วามเมตตาไว้วางใจให้หลวงปูล่ ี ติ ธมฺโม
ดูแลรบั ผดิ ชอบในกจิ การงานต่างๆ ของทา่ นสบื แทน ตราบถงึ กจิ การงานสดุ ท้ายนน้ั คือ งานสร้าง
เจดีย์เพือ่ บรรจอุ ฐั ธิ าตุ เครอ่ื งอัฐบรขิ าร และเครื่องใช้ของท่าน (เจดียจ์ ริ ปุญโญ) หลวงปลู่ ีไดเ้ ป็น
ประธานดำ� เนินการกอ่ สร้างตามเจตนารมณข์ องหลวงปู่พรหม จนสร้างแลว้ เสรจ็
หลวงปูผ่ าง ปริปุณฺโณ เม่อื ท่านทราบข่าวหลวงปพู่ รหม จริ ปญุ โฺ ถึงแกม่ รณภาพ ทา่ น
ได้กลบั มาพักจ�ำพรรษาอยทู่ ีว่ ดั ประสทิ ธิธรรม โดยในระหวา่ งเดอื นพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ – เดือน
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มกี ารเตรียมงานประชมุ เพลิงศพขององคห์ ลวงปพู่ รหมจนเปน็ ทเี่ รียบรอ้ ย
แลว้ ซงึ่ ในชว่ งนี้หลวงปูผ่ างได้นำ� คณะศรทั ธาญาตโิ ยมช่วยกนั กอ่ สรา้ งเจดีย์ เพ่ือบรรจอุ ัฐธิ าตแุ ละ
อัฐบริขารของหลวงปูพ่ รหม จนเสรจ็ เรียบรอ้ ยภายในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยในระหว่างนี้ ในปี พ.ศ.
๒๕๑๓ ท่านพระอาจารย์วนั อุตตฺ โม ทา่ นพระอาจารย์ลี ติ ธมฺโม และคณะศษิ ยใ์ นหลวงป่พู รหม
ได้รว่ มกันจดั สรา้ งเหรยี ญหลวงปูพ่ รหม รุ่น ๒ ขน้ึ เพื่อนำ� ปัจจัยมาดำ� เนนิ การจดั สรา้ งเจดียจ์ ริ ปุญโญ
เพ่ือเกบ็ อฐั ิธาตุ ตลอดจนเครือ่ งอัฐบริขาร และประดิษฐานรูปหลอ่ เหมือนหลวงปพู่ รหม (ขนาดเท่า
องค์จริง ทีจ่ ดั สรา้ งในสมยั หลวงป)ู่ ให้ชาวพทุ ธไดก้ ราบไหวบ้ ชู า
จากแผ่นป้ายหินอ่อนซ่ึงติดอยู่ประตูทางเข้าเจดีย์จิรปุญโญ จารึกไว้ดังน้ี การสร้างเจดีย์
เร่มิ สร้างวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๓ สรา้ งเสรจ็ วนั ท่ี ๒๕ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๕๑๔ สิ้นทรัพยไ์ ป
ประมาณ ๒๕๗,๘๙๘.๕๐ บาท คณะศษิ ยานศุ ิษยแ์ ละทายก ทายกิ า ผสู้ รา้ งถวาย
และกาลต่อมา ในขณะที่ หลวงปผู่ าง ปริปณุ ฺโณ ท่านพกั จ�ำพรรษาท่ีวัดประสิทธิธรรม
ในชว่ งฤดูแล้งปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ทางวดั ไดจ้ ัดพิธีอญั เชญิ พระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานภายใน
เจดยี จ์ ริ ปญุ โญ พิธสี ำ� คญั ในคร้งั นี้ ทางวดั ได้กราบอาราธนานมิ นต์พระเถรานเุ ถระชัน้ ผ้ใู หญม่ าท�ำ
พิธีบรรจพุ ระบรมสารรี ิกธาตุ โดยมี ท่านเจ้าคณุ พระธรรมไตรโลกาจารย์ เปน็ องค์ประธาน และมี
ครบู าอาจารยอ์ งคส์ �ำคัญมาร่วมงาน ไดแ้ ก่ หลวงปบู่ ญุ ชินวํโส ท่านพระอาจารย์วนั อตุ ฺตโม
หลวงปู่ลี ติ ธมฺโม ฯลฯ โดยในงานมีพระ เณร แมช่ ี และฆราวาสมาร่วมพิธกี นั จำ� นวนมาก
340
ตอ่ มาในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เจดยี ์เกดิ รอยรา้ ว จงึ มีการบูรณปฏิสงั ขรณข์ ึ้นใหม่ โดยพระเจดีย์
องค์ปัจจุบันน้ีมีรูปลักษณะสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ซ่ึงได้รับการบูรณะปรับปรุงมาจากเจดีย์
องคเ์ ดิม โดยทำ� เปน็ อาคารคอนกรีตเสริมเหลก็ ระบบเสาคาน กอ่ สรา้ งด้วยวธิ กี ่ออิฐถอื ปูนทง้ั หลงั
พระเจดยี ์องคน์ มี้ แี ผนผังเปน็ รูปสเ่ี หลย่ี มใชว้ ิธีย่อมมุ แบบไมส้ บิ สอง องค์พระเจดีย์แบ่งเป็น ๒ สว่ น
โดยสว่ นบนเป็นพระเจดีย์ และส่วนล่างเป็นฐานเจดยี ์
ส่วนองค์เจดีย์เปน็ รปู สี่เหลี่ยม ใช้วิธียอ่ มมุ แบบไม้สบิ สอง มีองคร์ ะฆงั เปน็ ทรงกลมตัง้ อยบู่ น
ฐานบัวลกู แก้วรปู ส่ีเหลยี่ มย่อมุมไมส้ ิบสองซ้อนกัน ๓ ช้นั ตงั้ บนฐานสิงห์ซอ้ นกนั ๒ ชน้ั ท่อี งค์ระฆัง
และฐานบัวลูกแก้วได้ออกแบบช่องท้ัง ๔ ทิศ โดยท�ำเป็นซุ้มจระน�ำ เพ่ือเป็นท่ีประดิษฐาน
พระพุทธรูป ตอนบนเปน็ ปล้องไฉน ปลแี ละหยาดน้�ำค้างเปน็ รปู ทรงกลม ส่วนยอดยกฉัตร ๕ ชั้น
องค์พระเจดีย์จนถึงยอด ประดับปูนปั้นด้วยลวดลายไทยอย่างวิจิตรและตกแต่งด้วยสีทองหมด
ท้ังองค์
ส่วนฐานเจดียท์ ่ีได้บรู ณะเพมิ่ เตมิ จากองค์เดมิ นัน้ ก็เป็นรูปสีเ่ หลย่ี มด้วยวธิ ยี อ่ มมุ แบบย่อ
ไม้สบิ สอง เช่นเดียวกับองค์เจดยี ์ ออกแบบเป็นฐานบัวลกู แก้ว บนฐานสงิ ห์ ๑ ชัน้ และรองรับด้วย
ฐานเขียงอีก ๑ ชั้น บริเวณทั้ง ๔ ด้านของฐานพระเจดีย์มีการเจาะช่องเป็นซุ้มจระน�ำเพื่อเป็น
ชอ่ งประตูทางเข้า ๓ ด้าน อกี ดา้ นหนง่ึ เปน็ ที่ประดษิ ฐานรปู เหมอื นหลวงปพู่ รหม โดยออกแบบ
เปน็ หลังคา ๑ ชัน้ ประดับด้วยบราลที ่อี อกแบบเปน็ หัวเม็ดบรเิ วณสันหลงั คา การประดบั หน้าจั่ว
ออกแบบเป็นปน้ั ลม หางหงส์ ปูนปนั้ ด้วยลวดลายไทย หน้าบนั ประดับด้วยปนู ป้ันเป็นรปู เทพพนม
ประดับลายไทยท้งั ๔ ด้าน และตกแต่งด้วยสที องท้ังหมดเชน่ เดียวกบั สว่ นองคเ์ จดีย์
341
ภาค ๒๐ โอวาทเทศนาธรรมของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ
การเทศน์ของหลวงปู่พรหม
หลวงปูพ่ รหม จริ ปญุ ฺโ สมัยท่ีทา่ นมชี วี ติ อยู่ ท่านเทศนาอบรมพระ เณร และญาตโิ ยม
เป็นประจ�ำทุกคืน เทศน์ของท่านมากจนก�ำหนดไม่ได้ แต่สมัยก่อนน้ันบ้านดงเย็นเป็นหมู่บ้าน
ในชนบทอย่หู า่ งไกล เครื่องไฟฟา้ สงิ่ อ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ยงั ไม่มี รวมทง้ั เครื่องบันทึกเทปก็
ไม่มี จงึ ไม่มกี ารบนั ทกึ เทศนาธรรมของหลวงปู่ไว้ การเทศนข์ องหลวงปู่ สว่ นใหญ่พระศิษย์จะจดจ�ำ
และถ่ายทอดสู่กันฟัง ค�ำเทศนข์ องหลวงปนู่ ัน้ มีความหมายทกุ ค�ำ ถา้ ท่านต�ำหนแิ ล้วใหเ้ ลิกทำ� ทนั ที
ถ้าอันไหนมนั ไมด่ ี ท่านพูดแล้ว ถา้ เราไมก่ �ำหนดรู้ ก็เสยี ตัวเราเองอีก
การเทศน์ช่วงเขา้ พรรษานเี่ ทศนต์ ลอด ๓ เดือน ทา่ นจะเทศน์ทุกวนั หลวงปู่พรหมทา่ นจะ
เมตตาเทศน์อบรมสง่ั สอนพระเณรญาตโิ ยม ช่วงเช้ากอ่ นฉัน ถา้ ออกพรรษาแลว้ น่ี จะเทศนส์ ัง่ สอน
เฉพาะวนั พระ ๘ ค่�ำ ๑๕ ค่ำ� และวนั สำ� คญั ทางพระพุทธศาสนา
ปรกตหิ ลวงปูพ่ รหมทา่ นไมค่ อ่ ยยงุ่ กบั ญาตโิ ยม ท่านจะพดู น้อย ตอนเทศนท์ า่ นไมพ่ ูดเสยี ง
ดงั เท่าไร เทศน์ครงั้ หน่ึงกไ็ ม่นาน อยา่ งมากทีส่ ดุ นานชัว่ โมงเดยี วเท่านน้ั บางคร้ังไม่ถงึ ท่านจะดู
พอ่ ออกแมอ่ อก ถ้าพูดคุยกนั จุ๊กจก๊ิ ไมต่ งั้ ใจฟังธรรมอย่างนี้ หลวงปจู่ ะหยุดเทศนเ์ ลย ท่านวา่ “เทศน์
ไปเยอะ มันกไ็ ม่ต้ังสมาธิ ไมท่ ำ� ความเพยี รก็เหมือนเดิม เทศนไ์ ปท�ำไม พอแลว้ เทศน์ไปก็ไมม่ ี
ความหมายอะไร” ทา่ นว่าอยา่ งน้ี
ทนี ้ีสว่ นของพระเณร กลางคนื ทา่ นเทศนอ์ บรมพระเณรทกุ คืน ท่านเทศนด์ ักวาระจติ พระท่ี
ไม่ท�ำความเพียร ขณะพระมานง่ั รวมกันฉนั น้�ำรอ้ นอยหู่ ลายๆ องค์ ท่านกถ็ ามขึ้นวา่ “เปน็ อยา่ งไร
จำ� พรรษาปีนี้ จิตใจเปน็ อยา่ งไร ทำ� อะไรบ้าง ท�ำความเพียรอย่างไรบา้ ง” หลวงปู่ท่านทราบ
ว่าใครทำ� ความเพียร ไมท่ ำ� ความเพยี ร เช่น ทา่ นถามพระองค์น้ี “เม่อื คืนนเี้ จ้าเดนิ จงกรมไหม ?
ท�ำความเพียร น่งั สมาธไิ หม ?” พระก็ตอบวา่ “นัง่ สมาธิครับ” “โอย๊ ! เจา้ อยา่ มาโกหกขา้ เจา้ ไมไ่ ด้
ทำ� ความเพียรอะไรดอก” พระองคน์ ั้นกอ็ ายแทบอยากมุดดินหนไี ปเลยนะ อย่ดู ว้ ยกนั หลายๆ องค์
มันอยากอายทา่ นใช่ไหม ทา่ นรวู้ าระจิตเรา พอหลวงป่จู บั ไดก้ อ็ ายหมู่ ทา่ นเจาะจงถามพระ “โอย๊ !
เจ้าท�ำความเพียรอยู่หรือ” ท�ำครับ “เดินจงกรมอยู่หรือ” เดินครับ “น่ังสมาธิอยู่หรือ” น่ังครับ
“โอ๊ย ! เจ้าอยา่ มาโกหกขา้ เจ้านอนตง้ั แต่หวั คำ่� นู้น” มันจะไม่อยากอายหรือ พระหลายองค์มานัง่
ด้วยกัน “ความเพียรเราไม่ได้น้อยก็ได้มาก” วา่ งนั้ “เอาทีละเลก็ ทลี ะนอ้ ย”
เทศน์ในตอนคำ�่ ท่านไมเ่ ทศนใ์ ห้ใครดอก เทศน์ใหต้ ัวเรานี่ ตัวใครตวั มนั คอื จิตของผูน้ นั้
ท่านกเ็ ทศนใ์ ห้ผนู้ ั้น จิตของผ้นู ี้ ท่านก็เทศน์ให้ผนู้ ้ี ทา่ นไม่เทศน์สว่ นรวม เทศน์เป็นบางคน ท่าน
342
เทศน์เรือ่ งวปิ สั สนา ท�ำความพากความเพียร เราท�ำอะไรบ้าง ท่านกบ็ อกเท่าทีบ่ อก ท�ำอันน้นั อันน้ี
นะวันนี้ เดนิ จงกรมบ้าง น่งั สมาธิบา้ ง อย่านอนแตห่ ัวคำ่� เหมอื นแมว ให้ทำ� ความเพยี ร ทา่ นว่า
หลวงปู่พรหมท่านเทศน์เน้นเรื่องท�ำความเพียรเป็นส่วนมาก ท่านให้เดินจงกรม นั่งสมาธิ
ไม่ได้น้อยกไ็ ด้ ๔๐, ๕๐ เร่ิมไปทีละเลก็ ละนอ้ ย ตั้งแต่ ๑ ขึ้นไปถงึ ๑๐๐ ถ้าได้ถงึ ๑๐๐ ก็เพม่ิ ขึ้นไป
เปน็ ๑๐๑, ๑๐๒, ๑๐๓ เช่น เราเดนิ จงกรมไปมาน้ี วันนเี้ ราว่า ๕๐ รอบกห็ ยุด พรงุ่ นี้เราต่อ ๕๐
ให้ไปถึง ๑๐๐ รอบ วันหลังมาอีกให้เพ่ิมข้ึนไปเร่ือยๆ ๑๐๐ รอบ แล้วก็ ๑๕๐ รอบ แล้วก็
๒๐๐ รอบ ทำ� ไปท�ำมาแล้วกเ็ รง่ แล้วก็ชนิ ได้มากขน้ึ ไปเรอ่ื ยๆ ในขณะทเ่ี ดนิ จงกรม ท่านก็สอนให้
บริกรรมพุทโธๆ พุทโธอยา่ งเดยี วเลย
ท่านเทศน์สอนพระวินัย
พระวินัย หรือ ศลี ๒๒๗ พระธุดงคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์มน่ั ท่านจะรักษาด้วย
ความเคารพเคร่งครดั กลา่ วกนั ว่า วดั ประสิทธิธรรม ภมู ิเทพเทวดาที่วดั เปน็ สมั มาทฐิ ิและแรงมาก
ท้ังรอบๆ บรเิ วณวดั ก็เปน็ ดงเสือดงช้าง ถ้าพระไมร่ กั ษาศลี ให้บริสทุ ธ์ิและไม่ตงั้ ใจทำ� ความเพยี รแลว้
อย่ไู ม่ได้เลย ตอ้ งสะพายบาตรออกจากวดั เลย สมยั หลวงป่พู รหม จิรปญุ ฺโ ทา่ นเทศน์สอนพระให้
รักษาพระธรรมวินัยดว้ ยความเครง่ ครดั หากพระท�ำผิดพระวนิ ยั ทา่ นจะเทศนเ์ ตอื นทนั ที ท่านสอน
พระวินยั บอ่ ยอยู่ ถ้าพระท�ำผดิ พระวนิ ยั ทา่ นจะเทศน์เตอื นทนั ที ถา้ เราทำ� ผิด ๓ ครงั้ ทา่ นเทศน์
เตอื นให้เรา “ใหเ้ ปลยี่ นนิสัย” และเทศน์สอนพระเณรใหเ้ ร่งท�ำความเพียร นั่งสมาธิ เดินจงกรม
ก็เทศน์ใสใ่ นใจเรานีล่ ่ะ “ไมใ่ ช่บวชมานอนกนิ เหมอื นแมว” และ “มาอยู่กับผม ตอ้ งเก่งทาง
เดนิ จงกรมแลว้ กท็ �ำความเพียร”
หลวงปพู่ รหมทา่ นสอนพระไมใ่ ห้อยู่กับผหู้ ญิงสองตอ่ สอง ทา่ นก็เทศน์ว่า “ครูบาอาจารย์
บวชแลว้ ไปอย่กู บั ผู้หญงิ สองตอ่ สองไมไ่ ด้ มนั ผดิ ศลี ต้องอาบัติ ถ้าจะอยู่ด้วยกนั ก็ต้องสามกบั พระ
หรอื ผ้ชู ายไปอยู่ พระมนั ไมเ่ หมือนเณร” แตส่ มมุติถา้ เราไปทำ� ท่านก็เทศน์สอนว่า “เออ ! แต่นี้
ต่อไปเจ้าอยา่ ทำ� อยา่ งนั้น ให้เลกิ มันไม่ดไี มง่ าม มนั ไมส่ วย มนั ไมถ่ ูกต้องตามหลกั พระวนิ ัยทาง
พระพุทธศาสนา” ท่านกเ็ ทศนาสอนเรา ส่วนมากท่านเทศน์เรื่องผหู้ ญงิ ไปอย่างนัน้ ไมใ่ หย้ ุ่ง ไมใ่ ห้
เกี่ยวกับผูห้ ญงิ ถ้าไปยุ่งไปเกยี่ วก็จะเปน็ ปาราชิกเหมือนกนั ถ้าพระกบั ผชู้ ายนี้อยไู่ ด้สองตอ่ สองก็
อยู่ได้ คุยกนั ได้อยา่ งสบาย แตผ่ ้หู ญงิ น้หี ้ามเด็ดขาด มันเป็นอาบัติ
หลวงปูท่ ่านจะเน้นให้พระเคร่งครัดในพระวนิ ัย แล้วกถ็ ือธดุ งควตั ร การบณิ ฑบาตน่หี ้ามขาด
กิจของวัด เชน่ การปัดกวาดท�ำความสะอาดวัด นกี่ ็หา้ มขาด นอกจากเจ็บปว่ ยเจบ็ อะไร ท่านถงึ
อนญุ าตให้ขาด
343
เรือ่ งหา้ มพระอยกู่ บั ผหู้ ญงิ สองต่อสองในที่ลับหลู บั ตา พระวนิ ัยได้บญั ญัติหา้ มไว้ ดงั น้ี
ในหมวดอนิยต ภิกษุน่ังในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนท่ีควรเชื่อได้มาพูดขึ้นด้วย
ธรรม ๓ อย่าง คอื ปาราชิก หรอื สังฆาทเิ สส หรือปาจิตตีย์ อยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ ภกิ ษุรับอย่างใด
ใหป้ รับอย่างน้ัน หรอื เขาวา่ จ�ำเพาะธรรมอย่างใด ให้ปรับอยา่ งน้ัน , ภิกษนุ ัง่ ในที่ลับหูกับหญงิ สอง
ตอ่ สอง ถ้ามคี นท่คี วรเชื่อไดม้ าพดู ข้ึนด้วยธรรม ๒ อย่าง คอื สงั ฆาทเิ สส หรือปาจิตตยี ์ อย่างใด
อยา่ งหนง่ึ ภิกษรุ บั อย่างใด ให้ปรับอย่างน้ัน หรือเขาวา่ จ�ำเพาะธรรมอย่างใด ให้ปรับอยา่ งนั้น
ในหมวดปาจติ ตยี ์ ห้ามนงั่ ในที่ลับมที ี่ก�ำบงั กับหญิง , ห้ามน่ังในทลี่ บั หูสองต่อสองกบั หญิง
เป็นต้น
ส่วนเร่อื งสถานท่แี รงนัน้ ครบู าอาจารยเ์ ล่ากันสืบต่อมาวา่
“สมัยปี พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๒๕ พระท่วี ดั ประสทิ ธธิ รรม เปน็ วิปลาส เป็นบา้ ไปกม็ ี เพราะว่า
เดินจงกรมไปเจอเปรตยนื ขวางอยทู่ างจงกรม พระองค์นัน้ กส็ กึ ออกไป เขากย็ งั ไม่หายเป็นปรกติเลย
มันแลว้ แต่บุคคลจะเจอนะพรรค์น้ี ถ้าเราไมม่ ีสติ เราสติออ่ น เวลาไปเจอเปรตก็หลดุ ไปได้นะ”
ของ ๔ อย่างห้ามประมาท
งูพษิ ๑ ไอต้ วั นอ้ ยๆ กไ็ มใ่ หป้ ระมาท ไม่ให้ล่อใหแ้ หลมกบั มัน
ไฟ ๑ มนั นอ้ ยๆ ทา่ นกว็ า่ ไม่ให้ประมาท มันไหม้เจ็บ
พระราชา ๑ แม้นองค์น้อย ทา่ นก็ไมใ่ หป้ ระมาท ทา่ นทำ� ลายเราได้ ใหเ้ คารพท่าน
สมณะหนมุ่ ผลู้ ะบาปไดแ้ ล้ว ผ้บู �ำเพญ็ ไดแ้ ล้ว ๑ ทา่ นก็ไม่ให้ประมาท มันเปน็ อย่างไร ท�ำให้
เราฉบิ หายกไ็ ด้ สมณะ คร้ันสมณะไมด่ ี พระไมด่ ี กไ็ ม่เปน็ อะไร ถ้าเป็นผหู้ มดกรรม หมดผลความช่วั
แลว้ ทา่ นก็ไม่ให้ประมาทท้งั กายท้งั ใจ มนั ทำ� ลายเราเสยี กไ็ ด้อันนน้ั
ของ ๔ อยา่ งทา่ นไมใ่ หป้ ระมาท มันประมาทไมไ่ ด้ ตอ้ งระมัดระวงั อดทนสงั วรระวงั เอา
สำ� รวมเอา เร่ืองทุกอย่าง
344
รวมโอวาทเทศนาธรรม
“ให้พากันทำ� ความดีนะ”
“บาปน้ันท�ำแล้ว หาอะไรมาลา้ งออกไม่ได้ดอก”
“อย่าไปพากนั เล่นกันซื้อ (หวย) เด้อ ของบม่ ีโตมตี น (ของไมม่ ีตวั ตน)”
“ใหพ้ ากนั สร้างความดี ไมผ่ ลัดวนั ผลัดคนื ทำ� เลย ถา้ ถึงวันต่นื ขน้ึ มา ตายแลว้ ไมไ่ ดท้ �ำ”
“ให้พากนั พิจารณาปฏสิ ังขาโยนะ”
“ใหพ้ ากันเจรญิ ภาวนาทำ� ความเพียรจงึ จะพ้นทุกข์”
“ใครอยากเป็นเจา้ เป็นนายร�ำ่ รวยตอ่ ไปให้รบั ใช้ครูบาอาจารยเ์ ด้อ”
“สอนดว้ ยปากไมเ่ กิดศรทั ธา ถ้าสอนดว้ ยการกระทำ� จะเกดิ ศรทั ธาทีม่ น่ั คง”
“เรยี นตามตวั หนงั สือ มันไมม่ วี นั จบหรอก ไปเรยี นเอาความรู้ความพดู ในหนังสือน่ันมนั
ความจ�ำ”
“กุโส ยถา ทุคคฺ หโิ ต หตถฺ เมวานุกนฺตตฯิ บคุ คลใดกำ� หญ้าคาดงึ มากำ� ไม่แนน่ ย่อมบาดมือ
ตวั เอง”
“การท่จี ะทำ� บุญท�ำทานน้ันตอ้ งมใี จตัง้ มน่ั และใหเ้ กดิ ศรทั ธาในบญุ กุศลทานเสียกอ่ น ถ้าไม่
ศรัทธา ใจไม่ตง้ั มนั่ แลว้ อยา่ ท�ำ จะไมม่ อี ะไรดขี นึ้ เลย”
“การบณิ ฑบาตถือเป็นกจิ วตั รประจ�ำวนั ไมใ่ ห้ขาด ถ้าไมบ่ ณิ ฑบาตไม่ไดฉ้ นั บิณฑบาต
เป็นวตั ร บิณฑบาตหา้ มพดู คยุ ใหม้ องใกล้ท่สี ุด ไม่มองไกล”
“ครูบาอาจารย์บวชแลว้ ไปอย่กู บั ผหู้ ญงิ สองต่อสองไมไ่ ด้ มนั ผดิ ศลี ตอ้ งอาบตั ิ ถ้าจะอยู่
ด้วยกันกต็ อ้ งสามกบั พระหรือผูช้ ายไปอยู่ พระมนั ไม่เหมอื นเณร”
“จงทำ� แตค่ วามดที มี่ คี ณุ ประโยชน์ จงอยา่ ทำ� ความชวั่ เพราะรงั แตจ่ ะเกดิ โทษอนั อเนกอนนั ต์
ให้มีสตปิ ัญญา ใหม้ ีทาน มศี ลี มภี าวนา ก็จะบงั เกิดปัญญาธรรมอันล้�ำค่า”
“ให้ทกุ คนได้พิจารณานอ้ มนึกถึงความตายอยู่เสมอๆ จงอยา่ ไดป้ ระมาท การปฏบิ ัตติ น
ใหเ้ กดิ สติปัญญา โดยเป็นเคร่อื งมือพจิ ารณาใหเ้ หน็ แกน่ แท้ของธรรมะทพ่ี ระพุทธเจา้ ตรัสสอนโลก
พร้อมท้งั ไดช้ แ้ี นะอยใู่ นตวั คอื พระพุทธองค์ทรงตรสั สอนโลก ทรงใหว้ นิ ิจฉยั ดว้ ยสตปิ ญั ญา มองดู
อาการเคลอ่ื นไหว อาการของกเิ ลสทางใจ มีอาการเป็นไปทางใดบา้ งในวันหนึ่งๆ”
345
“คนเราเกดิ มาทกุ รูปทกุ นาม รปู สังขารเปน็ ของไม่เท่ียง เกดิ ขึน้ แล้วล้วนตกอยู่ในกองทกุ ข์
ด้วยกันทง้ั น้ัน ไม่วา่ พระราชามหากษตั รยิ ์ พระยานาหม่ืน คนมั่งมเี ศรษฐแี ละยาจก ลว้ นตกอยู่ใน
กองทกุ ขด์ ว้ ยกันทั้งน้ัน มที างพอจะหลุดพ้นทกุ ข์ได้ คือ ทำ� ความเพียร เจรญิ ภาวนา อยา่ สมิ วั เมา
ในรปู รา่ งสังขารของตน มัจจุราชมนั บไ่ วห้ นา้ ผูใ้ ด ก่อนจะดับไป ควรจะสร้างความดีเอาไว”้
“เราทัง้ หลายเกดิ มาเป็นมนุษยช์ าติหน่งึ และมนษุ ย์น่ีเองท่สี ามารถยังประโยชน์ ก็ไดย้ งั เปน็
คณุ ประโยชน์แกต่ นเองและวงศาคณาญาติกว้างไปไกลถงึ สังคมชมุ ชนน้อยใหญ่ ใหม้ ีแต่ความเจริญ
สุขสถาพร ย่ิงได้สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมพลเมืองด้วยแล้ว ย่อมน�ำความเจริญรุ่งเรืองให้แก่
ประเทศชาติบ้านเมอื งตา่ งมีความสุขทุกเรือนชาน เพราะมนุษยม์ สี ตปิ ัญญา มีธรรมะประจำ� จิตใจ
ด้วยกัน กม็ นุษย์นี้แหละกระทำ� ข้ึนให้เกดิ ประโยชนท์ ้งั สิ้น
การท�ำความชั่ว ถ้ามนุษย์พึงปรารถนาใช้สติและปัญญาเท่ียวสร้างสรรค์แต่ความชั่วร้าย
ป่าเถอ่ื น อันประกอบตนเองลดฐานะของจติ ใจใหต้ กอยู่กับฝา่ ยชว่ั รา้ ย เทย่ี วเบียดเบียนบ่ันทอน
ผู้อน่ื ให้ได้รบั ความทุกขเ์ ดอื ดรอ้ น ออกเกะกะระราน เท่ียวฆา่ ปล้นชิงทรัพย์ ทำ� ลายล้างตนเองและ
วงศาคณาญาติ ลกุ ลามไปในชุมชนน้อยใหญ่ กจ็ ะมแี ตเ่ วรภัยหาความสขุ มไิ ด้
ย่ิงมนุษย์ยังมีสติปัญญาท่ีมัวเมา เต็มไปด้วยความชั่วร้าย มีนายคือจอมกิเลสคอยบงการ
กเ็ อาสตปิ ัญญานน้ั แหละ เทย่ี วค้นคดิ สร้างอาวธุ ยุทโธปกรณแ์ ลว้ นำ� มารบราฆ่าฟนั กนั ตาย ท�ำลาย
ชีวิตและสมบัติซึ่งกันและกัน ท�ำลายล้างแม้ประเทศชาติบ้านเมืองให้ฉิบหายล่มจม ล้างผลาญ
แม้กระท่ังสมณะ เณร ชี ให้ได้รับความเดอื ดรอ้ นอย่างที่เราทงั้ หลายมองเหน็ อยูใ่ นปัจจบุ ัน เมื่อยัง
ไม่ตาย วิบากของความชวั่ รา้ ยนั้น ก็คอยไลล่ ้างผลาญตนเองให้เท่ียวหนีซุกซ่อน เหมือนสตั ว์ทถี่ กู
น�้ำร้อน จึงหาความสขุ มไิ ด้ เปน็ นรกบนดินดว้ ยเหตุฉะน้ี”
“เอาปลวกเปน็ ตวั อย่าง มนั เอาดนิ ขึ้นมาทีละนิด เราฟนั ไม้น่ีมสี ะเก็ดตกออกมามากกว่าดนิ
ปลวกตง้ั เยอะ จงึ ฟันไปเรือ่ ยๆ จนขอนไม้ท่ขี วางทางคนเดินผา่ นไปมากล็ ำ� บาก วนั หนงึ่ มนั จะขาด
วนั หนึง่ มนั จะขาด ก็ตงั้ ใจไว้อย่างน้นั เหมอื นเราท�ำความดีนะแหละ ตัง้ ใจจะพน้ ทกุ ข์เมือ่ เหน็ โทษ
เห็นภยั มนั กเ็ ปน็ ไปเอง ไม่ต้องไปพดู ถึงนพิ พานมนั ล่ะ ไมใ่ ช่อย่เู ฉยๆ น่ีก็เหมอื นกัน จะขาดเม่อื ไร
ไมเ่ ก่ยี ว ฉันจะทำ� ของฉันไปเรอ่ื ยๆ กิเลสกเ็ หมอื นขอนไม้ขวางทาง ฟันไปเรือ่ ยๆ หาวธิ อี ุบายคดิ คน้
มันกจ็ ะมที างพน้ ทุกขไ์ มว่ ันใดกว็ ันหนึ่ง ท�ำไปเร่อื ยๆ คนอยู่เฉยๆ จะใหม้ นั มี มนั รู้ มันเห็นได้ เปน็ ไป
ไมไ่ ด้นะ”
346
ภาค ๒๑ ครูบาอาจารย์
หลวงปู่ม่ันกล่าวถึงหลวงปู่พรหม
การปฏบิ ตั ธิ รรมของหลวงปพู่ รหม จิรปญุ ฺโ นั้น เป็นการปฏบิ ัติที่เดด็ ขาดเดด็ เดี่ยวมาก
จนหลวงปมู่ ัน่ ไดย้ กย่องวา่ “ทา่ นพรหมน้ีเปน็ ผู้มีความเพียรอย่างยงิ่ ยวด ปฏบิ ัตอิ ย่างเดด็ เดีย่ ว
เด็ดขาด” นท่ี างด้านประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ แต่มีอีกดา้ นหนึ่ง หลวงป่มู นั่ ทา่ นบอกไวก้ ับหลวงปู่แหวน
หลวงปูต่ ือ้ กด็ ี ทเ่ี ป็นหมปู่ ฏิบัติด้วยกัน หลวงปู่ชอบก็ดี วา่ “ท่านพรหมนั้น ต้องให้เปน็ ผูท้ �ำงาน
ไปเร่อื ยๆ เวน้ จากการท�ำงานไมไ่ ด”้
งานภายนอก คือ การสรา้ งกฏุ ิ สรา้ งโบสถ์ วิหาร ศาลา สรา้ งอะไรตา่ งๆ ก็ใหท้ �ำไปเร่ือยๆ
แต่ว่างานภายใน คอื การบ�ำเพญ็ เพยี รภาวนาของทา่ น แมท้ ่านจะบรรลธุ รรมแล้วกต็ าม ทา่ นก็
ไมเ่ คยขาดจากการเดนิ จงกรมและนง่ั สมาธภิ าวนา หลวงปู่พรหมทา่ นจะท�ำงานภายนอกควบคกู่ บั
การปฏิบตั ิธรรมไปเรอื่ ยๆ ดว้ ยกนั คือ จะอยนู่ ง่ิ เฉยไมไ่ ด้ เหมอื นอย่างองค์อืน่ ๆ
หลวงปู่ขาวกล่าวถึงหลวงปู่พรหม
หลวงปพู่ รหมทา่ นออกบวชเพราะทา่ นหลวงปสู่ าร (หลวงปู่สารณ์ สุจติ โฺ ต) ชวนบวช ครั้น
ต่อมาหลวงป่พู รหมก็ไดไ้ ปพบพระอาจารยใ์ หญท่ ่านหลวงป่มู ่นั ภรู ิทตตฺ เถร ทจ่ี ังหวัดเชยี งใหม่
หลวงปู่ขาวเล่าต่อว่า “ท่านพรหมท�ำความเพียรเป็นยอดเลย” สมัยท่านอยู่เชียงใหม่
กฏุ ิท่ีทา่ นจำ� พรรษาอยู่นน้ั ท่านไปขอโอกาสจากท่านพระอาจารยใ์ หญ่มน่ั ขอรอื้ พน้ื กฏุ ิออกหมด
เหลือแต่เฉพาะเสากับหลงั คา ทา่ นวา่ เพ่ือไมใ่ หม้ นั ขน้ึ ไปนอนได้ ท่านวา่ เราไมใ่ ชจ่ ะมานอน ถ้าจะ
มานอนกไ็ ม่ตอ้ งมาใหไ้ กลป่านนดี้ อก นอนไหนมันกน็ อนได้ มามัวแตก่ นิ แตน่ อนอยู่ เม่ือไรมนั จะ
พ้นทุกข์เสียที หลวงปขู่ าวยงั เลา่ ตอ่ ว่า “ทา่ นพรหมน้ีเดนิ จงกรมหยั่งรู้ ทางเดนิ จงกรมยาวตง้ั เสน้
กว้างตัง้ สองวา ไปดูทางจงกรมของท่านพรหมแล้ว เกลี้ยงและเตียนหมด”
หลวงปู่แหวนกล่าวถึงหลวงปู่พรหม
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านพูดถึงหลวงปู่พรหม เพื่อนสหธรรมิกว่า “เป็นผู้มีความ
พากเพียร ถา้ ทำ� อะไร ไมม่ คี �ำวา่ ขเี้ กียจขค้ี ร้าน ขอ้ วตั รปฏบิ ตั ขิ องหลวงป่กู ็เป็นยอด”
หลวงป่พู รหมเวลาท่านทำ� อะไร ทา่ นจะไม่กลัวตาย มนี ิสยั เดด็ ขาดมาก หลวงปู่ทา่ นจะท�ำ
ประโยชนเ์ กื้อกลู แก่ตนเองและผูอ้ ่นื มากท่ีสุด ซ่งึ ผดิ กบั หลวงปูแ่ หวน ทา่ นจะไม่กอ่ สร้างอะไรเลย
หลวงปู่แหวนจะไม่ด�ำริในการก่อสร้างใดๆ ท้ังส้ิน
347
องค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนฺโน เทศน์ถึงหลวงปู่พรหม
• ท่านพระอาจารย์พรหมเป็นผู้มีนิสัยเคร่งขรึมและเด็ดเด่ียวมาก
จากหนังสือปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตตเถระ
จวนวาระสุดท้ายแหง่ ปฏิปทา จงึ ขอกลา่ วถงึ พระอาจารย์ส�ำคัญอีกองคห์ นึ่งซึง่ เปน็ ลกู ศษิ ย์
ท่านพระอาจารย์มั่นบ้างเล็กน้อย เพื่อเป็นอนุสรณุตตริยะแด่ท่านที่ไม่เคยผ่านประวัติท่าน คือ
พระอาจารย์พรหม ทา่ นอยวู่ ัดบ้านดงเยน็ อ�ำเภอหนองหาน จงั หวัดอุดรธานี ท่เี พิ่งมรณภาพไป
เมือ่ เร็วๆ นี้ ผู้เขยี นเคยได้อา่ นประวตั ยิ ่อท่ีพมิ พแ์ จกในงานศพท่านเหมอื นกัน แตห่ ลงลืมไปบา้ งแล้ว
ทางวดั ได้ถวายเพลงิ ท่านเมือ่ วนั ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๑๔ ท่านมีประวัตยิ อ่ ประจำ� องค์อยู่แลว้ แตท่ ่ีมา
เขียนซ้�ำอีกเล็กน้อยนี้ เพื่อท่านท่ียังไม่ได้รับหนังสือนั้น จะพอมีทางทราบได้บ้างว่าท่านเป็นพระ
เช่นไร ทรี่ ะบุนามท่านน้เี พราะประวัติท่านไดร้ ะบไุ วอ้ ย่างชดั เจนแล้ว จึงคดิ วา่ นา่ จะไม่ขดั กันกับที่
เขียนผ่านมา ซ่ึงมิได้ระบุนามท่านองค์อ่ืนๆ แต่การเขียนนี้จะไม่ขอกล่าวถึงความเป็นมาแห่ง
ฆราวาสของท่าน จะนำ� มาลงเฉพาะทจี่ ำ� เปน็ และปฏิปทาท่ีเกีย่ วกบั นักบวชทา่ นเท่านั้น
ก่อนบวชทราบว่า ท่านประกาศความใจบุญอันกว้างขวางแก่โลกให้คนแถบนั้นทราบโดย
ทั่วกันว่า ท่านประสงคจ์ ะสละทานในบรรดาสมบัติทม่ี ีอยทู่ ้ังสน้ิ ท้งั ทีม่ ีวิญญาณและหาวิญญาณมิได้
จนหมดส้ิน แล้วท่านและศรีภรรยาคู่บารมีได้ออกบวชตามเสด็จพระพุทธเจ้าและสาวกท้ังหลาย
ให้ทันในชาตินี้ ไม่ขออยู่ในโลกเกิดตายให้เนิ่นนานต่อไป ท่านผู้ประสงค์การสงเคราะห์โดยไม่คิด
ค่าตอบแทนใดๆ กรุณามารับทานน้ีไปเป็นสมบัติอันชอบธรรมของตน ภายในก�ำหนดท่ีก�ำลัง
ประกาศนี้ ทราบว่าท่านประกาศให้ทานอยหู่ ลายวนั ประชาชนผ้ยู ากจนต่างๆ จงึ พากันหล่งั ไหลมา
รับทานเป็นจำ� นวนมาก จนวัตถทุ กุ ประเภทหมดสนิ้ ไปภายในไม่กีว่ นั
ทั้งนี้เนื่องจากท่านเป็นผู้มีฐานะม่ันคง ม่ังมีสมบัติมากในแถบนั้น เพราะท่านเป็นพ่อค้า
สารพัดอย่าง ท้ังไม่มีลูกหญิงชายเป็นของตัวนับแต่วันแต่งงานกันมา มีเฉพาะศรีภริยาและเหล่า
หลานญาติมติ รบ้างเท่านั้น ซงึ่ ตา่ งยินดใี นการสละทานเพอ่ื ความออกเป็นนกั บวชดว้ ยกนั เมือ่ การ
ใหท้ านเสรจ็ สิ้นลงแล้ว ทัง้ สองคนตา่ งแยกทางกันเดนิ ท่านเองก็ออกบวชเปน็ พระธุดงคกรรมฐาน
มุ่งหนา้ ต่อท่านพระอาจารย์มนั่ เปน็ ทีฝ่ ากเปน็ ฝากตายในชวี ติ พรหมจรรย์ สว่ นศรีภริยากไ็ ปอกี ทาง
หนงึ่ เพ่ือบวชเปน็ ชมี ่งุ หนีสงสารสมความปณธิ านทีป่ รารถนาไว้ และดำ� รงตนอยใู่ นเพศพรหมจรรย์
จนอวสานแหง่ ชวี ติ มิได้เอนเอยี งหวนั่ ไหวต่อโลกามิสใดๆ ท้ังสน้ิ ซึ่งควรเปน็ ตวั อยา่ งไดเ้ ป็นอยา่ งดี
เฉพาะท่านอาจารย์พรหม ตอนบวชทีแรกยังไม่สมความมุ่งหมายที่ต้ังไว้ ต้องไปอาศัย
ท่านพระอาจารย์สารเป็นผู้พาอยู่อบรมไปก่อนจนกว่าโอกาสจะอ�ำนวย จากน้ันจึงได้เท่ียวไปทาง
จงั หวดั เชียงใหมเ่ พื่อแสวงหาทา่ นพระอาจารย์ม่ัน ซึ่งเวลานั้นทา่ นพักอยู่ท่ีจงั หวัดเชยี งใหม่ นัยวา่
348
ทา่ นอาจารย์พรหมน้ีได้เท่ียวไปในท่ตี า่ งๆ จนถึงประเทศพม่า และพกั อยูห่ ลายเมืองดว้ ยกัน มที า่ น
อาจารย์ชอบเป็นเพ่ือนเดินทาง ซ่ึงมีนิสัยเด็ดเด่ียวอาจหาญชนิดถึงไหนถึงกัน แบบเพชรน�้ำหน่ึง
เป็นหัวแหวนในวงเดียวกัน เรือ่ งเหลา่ น้ีทา่ นอาจารย์พรหมเคยเล่าใหผ้ ู้เขียนฟงั เหมอื นกันแตห่ ลงลืม
ไปบ้างแลว้ มีปรากฏเหลอื อย่เู พียงเลก็ น้อยท่ีไดน้ �ำมาเขียนน้เี ทา่ นัน้ ผดิ พลาดจึงขออภัยด้วย
ท่านมเี รอ่ื งแปลกๆ และอัศจรรย์เกีย่ วกับการปฏบิ ัติ ทงั้ ภายในและภายนอกอยูม่ ากทั้งใน
และนอกประเทศ แตจ่ ะขอผ่านไป ฟงั แล้วทั้งน่าสงสาร ท้งั น่าตนื่ เตน้ เพลดิ เพลิน และนา่ อัศจรรย์
ในความเป็นนักต่อสู้และความรู้ความเห็นของท่าน ในการบ�ำเพ็ญและการเดินบุกป่าฝ่าดงไปในที่
ตา่ งๆ ที่ปราศจากบา้ นเรอื นผ้คู น ในเวลาเชน่ น้ัน มีแตค่ วามอดอยากทรมานมากกวา่ ความอิ่มกาย
สบายใจ ทา่ นวา่ บางวันกพ็ บหมู่บา้ นและไดบ้ ณิ ฑบาตมาฉันพอประทังชีวิต บางวันกย็ อมอดยอมทน
ตอ่ ความหวิ โหยอ่อนเพลยี เพราะหลงทาง ทง้ั นอนคา้ งอยูใ่ นปา่ ในเขา
เฉพาะเวลาไปเที่ยวประเทศพม่านั้น ท่านว่าล�ำบากมากในเวลาเดินทาง เพราะทางท่ีไป
มแี ตป่ า่ แตเ่ ขา ซง่ึ เตม็ ไปดว้ ยสตั วเ์ สอื นานาชนดิ บางครงั้ ตอ้ งปลงอนจิ จงั ตอ่ ความเปน็ อยทู่ เ่ี ตม็ ไปดว้ ย
ความทุกข์ทรมาน ซึ่งแสนจะทนได้และมีชีวิตสืบต่อไปในวันข้างหน้า ขณะนั้นปรากฏว่าอะไรๆ
ภายในตัว ราวกับจะสุดจะสิ้นลงพร้อมในเวลาเดียวกัน ลมหายใจก็เหมือนจะขาดความสืบต่อลง
ไปด้วยเหตุใดเหตุหน่ึง ในบรรดาเหตุทั้งหลายที่เป็นเคร่ืองกดถ่วงทรมานร่างกายและจิตใจ แต่ก็
พอทนต่อไปไดต้ ามเหตุการณแ์ ละวนั เวลาท่ีผา่ นไป
การบำ� เพญ็ ทางจิตทา่ นก็มีก�ำลงั กา้ วหนา้ และเปน็ ทแ่ี นใ่ จตวั เอง กต็ อนที่ไปถึงท่านอาจารย์
ม่นั รบั การอบรมโดยสมำ่� เสมอเร่อื ยมา บางปที ่านเมตตาอนุเคราะห์ให้จ�ำพรรษาดว้ ย และมกี าร
เข้าๆ ออกๆ อยู่เสมอ คอื ออกเท่ยี วบ�ำเพญ็ ในสถานทต่ี ่างๆ ตามอธั ยาศยั เมื่อเกดิ ปัญหาขอ้ งใจก็
เขา้ มารบั การศกึ ษาอบรมกบั ท่านเปน็ ระยะไป สมัยอยู่กับท่านอาจารยม์ ั่นที่จังหวัดเชยี งใหม่ ทราบ
ว่าทา่ นบำ� เพ็ญอย่ทู ่เี ชยี งใหมอ่ กี หลายปี แลว้ จงึ ไดต้ ามท่านกลับไปจังหวดั สกลนคร
ท่านอาจารยอ์ งคน์ เ้ี ปน็ ผ้มู ีนิสัยเครง่ ขรึมและเด็ดเดี่ยวมาก สมท่ีสละสมบัตอิ ันมคี ่าออกบวช
จรงิ ๆ จึงขอสรปุ ผลแห่งการปฏบิ ัติท่ที า่ นได้รบั เป็นท่ีพึงใจว่า ท่านไดส้ มบตั ิอนั ล้นค่ามหศั จรรยอ์ ยทู่ ่ี
จังหวัดเชียงใหม่ ในเขาลึกกับคนชาวป่า ตามที่ท่านเคยเล่าให้ฟังถ้าจ�ำไม่ผิด แต่จ�ำไม่ได้ว่าเป็น
หมู่บ้านอะไร เขาลกู ใด และอ�ำเภอใด ทน่ี น่ั แลเป็นที่ปลดเปลือ้ งภาระแห่งวัฏวนภายในใจออกได้
โดยส้นิ เชงิ เมอ่ื ท่านอาจารยม์ ัน่ กลบั ไปจังหวัดสกลนครได้หลายปีแล้ว ท่านจึงได้ตามท่านไปราว
พ.ศ. ๒๔๘๖ และจ�ำพรรษาอยู่ทว่ี ัดสทุ ธาวาส จังหวดั สกลนคร จากนน้ั ท่านจึงได้หวนกลบั มาสร้าง
วัดทบ่ี ้านดงเย็น อ�ำเภอหนองหาน จงั หวดั อดุ รธานี (ปัจจุบัน คือ วดั ประสิทธธิ รรม อำ� เภอบา้ นดุง)
อันเปน็ ภูมิล�ำเนาเดิม และได้มรณภาพลงท่ีน่นั ดังท่เี ขียนผา่ นมาแล้ว
349
• ความผ่านพ้นทุกข์ทางใจของท่าน
กาลเวลาท่ีท่านผ่านพ้นดงหนาป่ากิเลส และกองทุกข์ทางใจทั้งมวลไปได้นั้น ท่านเล่าให้
ผู้เขียนฟังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ว่า ท่านผ่านไปแต่สมัยพักอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่ทราบว่าผ่านไป
กี่ปีแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจังหวัดสกลนคร จึงขอสรุปแต่ใจความว่า ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่ท่านไป
จำ� พรรษาทว่ี ัดสทุ ธาวาส สกลนคร จนถงึ พ.ศ. ๒๕๑๒ อนั เป็นปีท่านมรณภาพ ก็คงไม่นอ้ ยกวา่
๒๘ – ๒๙ ปี จึงพอจับใจความได้วา่ นบั แตว่ ันจิตหลุดพน้ และครองขันธ์ด้วยใจทบ่ี ริสทุ ธิต์ ลอดมา
จนถงึ วาระสดุ ทา้ ย นบั วา่ นานพอสมควร ดงั น้นั การทอ่ี ัฐทิ า่ นสามารถกลายเปน็ พระธาตุได้อย่าง
รวดเรว็ ในภายในไม่ถงึ ปีเตม็ จึงเป็นฐานะทคี่ วรเปน็ ไดไ้ มม่ ที างสงสัย
เฉพาะจงั หวดั เชียงใหม่เทา่ ท่ีทราบมา มีพระอรหนั ตส์ มัยปัจจบุ นั อบุ ตั ิขน้ึ ทีน่ ั่นถงึ ๓ องค์
คือ ท่านพระอาจารยม์ น่ั ซ่งึ เป็นอาจารยข์ องท่านทงั้ สอง องค์นเ้ี ปน็ องคแ์ รก ท่านอาจารยพ์ รหม
และท่านอาจารย์… ทา่ นยงั มีชวี ิตอยูเ่ ปน็ องค์ตอ่ มา สว่ นจงั หวัดอื่นๆ ทางภาคอีสาน เชน่ จงั หวัด
สกลนคร เป็นต้น ก็มีพระประเภทอัศจรรย์ได้ครองธรรมบริสุทธ์ิไม่ด้อยกว่าจังหวัดเชียงใหม่
เหมือนกัน นอกจากไม่มีใครทราบได้เท่านั้น เพราะท่านไม่เป็นนักพูดนักโฆษณา ต่างท่านต่าง
รู้กันอยใู่ นวงเฉพาะของนกั ปฏบิ ัตเิ ท่านนั้ สถานทีน่ ้ัน หมายถงึ ปา่ และเขาแหง่ จังหวัดนน้ั ๆ ทีท่ า่ น
นกั ปฏิบตั ิไปอาศัยบำ� เพญ็ และได้บรรลุมรรคผลสมความมุง่ หมายอย่างเงยี บๆ ไมค่ อ่ ยมใี ครทราบ
ถ้าไม่น�ำเร่ืองท่านมาเขียนไว้บ้างพอเป็นร่องรอย ศาสนธรรมก็จะปรากฏแต่ช่ือแต่นาม ส่วนตัว
จริงแท้จะไม่ปรากฏ จึงได้ตัดสินใจเขียนลงในท่ามกลางแห่งขวากหนาม ซ่ึงน่าจะไม่พ้นจากความ
ท่ิมแทงทีเ่ กิดจากความขัดขอ้ งสงสัยในแง่ต่างๆ ดงั ทเ่ี คยเป็นมา
การกล่าวท้ังนี้กล่าวด้วยความเช่ือสมรรถภาพของท่านนักปฏิบัติ ท่ีสามารถท�ำตนให้เป็น
หลกั จติ หลกั ธรรมอยา่ งมนั่ คง และเชื่อถือตนได้อย่างตายใจหนงึ่ กล่าวด้วยความเช่อื สวากขาตธรรม
ท่ีประทานไว้ว่า เป็นสวากขาตธรรมอยู่อย่างตายตัว ไม่มีการเปล่ียนแปลงไปตามสมัยนิยมแห่ง
สมมุตทิ งั้ หลายท่ีแสนปล้ินปลอ้ นหลอกลวงประจ�ำตน ผูเ้ ขา้ ยึดอาศัยไมม่ ที างไว้ใจพอหายใจเตม็ ปอด
ตลอดมาหนง่ึ กลา่ วทางภาคปฏบิ ัติ ปฏเิ วธ อนั เป็นทางแสดงออกแห่งผลของการปฏิบตั วิ า่ ไม่เปน็
โมฆะโดยเสียก�ำลงั ไปเปลา่ ไมม่ ผี ลเปน็ เครอ่ื งสนองตอบแทนความเหน่ือยยากจากการปฏิบตั ิหนึ่ง
ท่านอาจารย์ที่กล่าวถึงเหล่านี้ เป็นอาจารย์ที่ทรงมรรคข้อปฏิบัติด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
อยา่ งเต็มภูมิ ไม่มีทางตอ้ งติ และเป็นอาจารยท์ คี่ วรทรงผล คือ วิมตุ ตหิ ลุดพน้ อย่างสมเหตุสมผล
ตามธรรมทป่ี ระทานไวจ้ ริงไมข่ ดั แย้งกนั ทา่ นท่ยี งั เช่อื ว่าธรรมยังเปน็ ธรรมอยู่ ท่านอาจารยเ์ หลา่ น้ี
กค็ วรเป็นผทู้ รงมรรคทรงผลด้วยข้อปฏบิ ัติตามนโยบายแห่งธรรม และอยูใ่ นขา่ ยแห่งปุญญกั เขตได้
อย่างไม่แคลงใจ ไมฝ่ ืนใจในการเขยี นเร่อื งท่านนำ� ลงในหนังสอื เลม่ ตา่ งๆ และไมแ่ สลงใจทา่ นผู้อ่าน
350
ท้ังหลายดังกล่าวมา ท่ีนอกเหนือไปจากน้ีท่านผู้ใดจะคิดเห็นอย่างไรน้ัน ขอมอบให้เป็นสิทธิของ
แต่ละรายโดยไม่ขอยื้อแย่งแบ่งส่วนด้วย เพราะธรรมมีบอกไว้ว่า สัตว์มีกรรมและผลกรรมเป็น
ของตน คนอ่ืนจึงไม่ควรเข้าไปเกยี่ วขอ้ งแย่งชิง จะผิดกับกฎแหง่ กรรมขอ้ น้ีท่ปี ระกาศไว้อย่างตายตัว
มาแต่ดึกดำ� บรรพ์
• ครูบาอาจารย์ทต่ี ายใจได้
(๓ เมษายน ๒๕๓๐)
นเ่ี ราพูดถงึ เรอ่ื งการปฏิบัติ เวลานคี้ รบู าอาจารย์ท้งั หลายก็ล่วงไปๆ ทเี่ กาะทย่ี ดึ ของเรา
ด้วยความตายใจ เชน่ อยา่ งหลวงปูฝ่ น้ั หลวงปู่พรหม หลวงปขู่ าว หลวงปู่แหวน หลวงปคู่ ำ� ดี
ครอู าจารยเ์ หล่านลี้ ว้ นแลว้ แตเ่ ปน็ อาจารยท์ ีต่ ายใจไดท้ ง้ั นัน้ ตายใจไดร้ ้อยเปอรเ์ ซ็นต์ เปน็ ครูบา–
อาจารยท์ ี่บรสิ ทุ ธิว์ ิมตุ ตหิ ลุดพ้นจริงๆ ทางจติ ใจไมส่ งสัย เพราะฉะนั้นการสอนใครกต็ ามทางด้าน
จติ ตภาวนาจงึ ไมส่ งสัย ท่านเหล่านี้ไม่สงสยั ในการสอน ถูกตอ้ งแม่นย�ำหมด เพราะเจา้ ของเคยเปน็
เคยผ่านมาแลว้ การสอนก็ตอ้ งสอนไปตามสงิ่ ทเ่ี จา้ ของรู้ เจ้าของเห็น เจา้ ของเคยเป็นมาแล้วจะผดิ
ไปทตี่ รงไหน ไอ้แบบสอนสมุ่ สีส่ ุม่ หา้ นน่ั ซิ น่ีล่ะที่มนั ล�ำบากนะ ทหี่ าเกาะหายดึ ผ้เู ชน่ นห้ี าไดย้ ากลง
โดยลำ� ดบั ล�ำดาแล้วนะทกุ วนั น้ี จนจะไม่มแี ล้ว
• หลวงปพู่ รหมท่านเปน็ พระอรหนั ต์
(๑๖ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๔๕)
มผี ู้ถวายรปู น้ัน หลวงปู่พรหม บ้านดงเยน็ นป้ี ้นั รูปวา่ เป็น หลวงปพู่ รหม ตอ้ งหลวงป่พู รหม
เข้าใจไหม ? เราสนิทสนมกับท่านมานาน รูปท่านไม่ค่อยเหมือน ก็มีเค้าเหมือนอยู่บ้าง เอาล่ะ
พอหลวงปู่พรหม กราบเลยนะ นี่รูปหลวงปูพ่ รหม เดด็ นะน่ี อย่างนแี้ หละ ครบู าอาจารยอ์ งค์ใด
มาเป็นสรณะของพวกเราสมัยปจั จุบนั น้ี สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ กค็ อื นีอ้ งค์หนง่ึ เป็นพระอรหนั ตเ์ ทา่ นัน้
ว่าไง ? เพราะเคยคยุ ธรรมะกันแลว้ กอ่ นท่ที า่ นจะมรณภาพ คยุ ธรรมะกนั สนทิ สนมกับท่าน ไปพัก
กบั ทา่ นที่วัดดงเย็น (วัดประสิทธธิ รรม) ก็เคย ดงเยน็ ที่จะไปวันนี้ บา้ นหลวงปูพ่ รหมนะ ไปหาท่าน
ไปคยุ กนั ไม่ร้กู ีค่ รั้งกหี่ นแหละ อยู่นามน (วัดป่านาคนิมติ ต์ บา้ นนามน ตำ� บลตองโขบ อ�ำเภอโคกศร–ี
สพุ รรณ จังหวัดสกลนคร) ก็เหมอื นกนั ทา่ นเดด็ เด่ยี วมาก
แล้วองคไ์ หนบ้างนะลกู ศิษยห์ ลวงปู่มน่ั ? เอ้า ! นับไปเลย ต้ังแต่ทา่ นอาจารย์แหวน
ท่านอาจารยข์ าว หลวงปพู่ รหม หลวงป่ตู ื้อ หลวงปคู่ �ำดี หลวงปูฝ่ ้นั บอกเลย ไมเ่ ป็นชนิ้ วา่ งั้น
กบ็ อกแล้วน่วี า่ เป็นพระธาตุแล้วจะวา่ ยงั ไงอกี ทา่ นจวน ทา่ นสิงห์ทอง หลวงพอ่ บวั หนองแซง
อยา่ งน้อยได้ ๑๐ องคแ์ ล้ว ที่อัฐกิ ลายเป็นพระธาตุ
351
อฐั ิจะกลายเปน็ พระธาตุนัน้ ทา่ นก็มตี �ำราบอกไวเ้ รยี บรอ้ ยแลว้ คืออัฐิของผจู้ ะเป็นพระธาตุ
ได้ คือกระดูกเรานี่ อัฐนิ ี่ ท่ีจะกลายเป็นพระธาตุไดน้ ัน้ เปน็ อัฐขิ องพระอรหันตเ์ ท่านัน้ ฟงั ซิ องคอ์ ่ืน
เป็นไปไม่ได้ เทา่ น้ันฟงั ซิ ตัดขาดไวเ้ ลย
ครูบาอาจารย์เล่าเรื่องหลวงปู่พรหม
• หลวงปู่พรหมทา่ นเปน็ วมิ ตุ ติแล้ว
ครูอาจารยพ์ รหมทา่ นบรรลุธรรมอย่เู มอื งเหนอื โนน้ นะ ไปอย่กู บั อาจารย์มัน่ อาจารย์ขาว
ทา่ นจะสนทนากนั ทางใน โอ ! อศั จรรย์มาก
คอื อาจารย์มหาบวั ท่านทดสอบปัญญาเรา อาจารยพ์ รหมอย่างนน้ั อย่างนี้ ท่านพูดไป
หลายอยา่ ง ท่านอยากใหเ้ ราแย้มให้ทา่ นฟัง ขอโอกาสทา่ น “โอ๊ย ! ครจู ารย์เอย้ ผมไปพักกับ
ครูอาจารย์พรหมกห็ ลายปอี ยู่ แตม่ ันอยคู่ นละโลก” เราอดว่าไมไ่ ด้ “ท่านกอ็ ยโู่ ลกหนงึ่ เราก็อยู่
โลกหนง่ึ ” ทา่ นอยากถามเรา ทา่ นกอ็ ยากรู้ ครูอาจารยพ์ รหมจะเอาทา่ นไปเทยี บกับครูอาจารยอ์ ่ืน
ทีย่ งั ไม่บรรลุธรรมไมไ่ ด้ เพราะท่านหนีจากโลกแล้ว เรอื่ งสมมุตทิ า่ นกพ็ ูดอย่บู างครั้ง แต่ท่านไมต่ ิด
ในสมมุติอันนัน้ ทา่ นรวู้ าระจติ ท่านเปน็ วมิ ุตตแิ ล้ว
• หลวงปูพ่ รหมเทศน์น้อยแตใ่ ห้ไปพจิ ารณาเอา
ครูอาจารยพ์ รหมท่านไม่สอนมาก ท่านสอนให้ก�ำหนดจติ ใหก้ �ำหนดพุทโธ ใชล้ มหายใจ
ดว้ ยก็ดมี าก โอ๋ ! เราไปคิดเอายงั ว่า ท่านพูดนอ้ ยๆ ใหไ้ ปคดิ เอา คนมปี ญั ญามันกร็ ไู้ ว คนไม่มปี ัญญา
มันกช็ า้ สกั หน่อย มนั เป็นปญั ญาทางโลกก็เป็นปญั ญาทางธรรมได้ ถา้ ปฏิบัติ โลกยี ปัญญา ปัญญา
ทางโลก โลกตุ ตรปญั ญา ปัญญาทางธรรมๆ ถ้ามันไปเหน็ อนจิ จัง ทกุ ขัง อนตั ตา มันเป็นอาหาร
เล้ยี งธาตเุ ล้ียงใจ ความร้อู ันเห็นดว้ ยหดู ้วยตาเรา ความรูอ้ นั น้ียงั ไม่ถูกนะ ถา้ มนั เขา้ ถงึ ใจแล้ว เอาใจ
เอาจักขปุ ญั ญาเหน็ มันผดิ กนั มาก
ครูอาจารยพ์ รหม ทา่ นไม่ไดส้ อนมากนะ ท่านสอนปจั จุบนั แต่ตอนนั้นเรายังปฏิบัตไิ มถ่ ึง
อยา่ งที่ท่านสอน ท่านพูดนอ้ ยๆ เข้ากบั ในหลวง พูดเลน่ ไมเ่ ปน็ พูดถึงเรอ่ื งหยอกกนั เล่นกัน ถ้าเล่น
ท่านว่ามันไมเ่ ห็นโทษหรอื อยา่ งไร ทา่ นก็พูดอยู่ ของน่ี ถา้ ทา่ นจะท�ำ ขลงั นะ แต่วา่ จิตตัวนน้ั ถ้ามัน
ละในนิวรณธรรม ๕ ได้ ทำ� อะไรขลงั หมด ท่านวา่ เรากล็ องทำ� ดู มันกเ็ ป็นจรงิ กามฉนั ทะ พยาบาท
ถนี มทิ ธะ อทุ ธัจจกุกกุจจะ วจิ ิกิจฉา นิวรณธรรมทง้ั ๕ นี่กน้ั ถ้าใครเอาจติ ออกจากตรงนน้ั ไดท้ �ำอะไร
ขลังหมด อย่างท่บี อกของในกายทา่ น ของใชข้ องสอยทา่ นขลัง ในกุฏิท่านไมม่ ีอะไรนะ หนังสอื ไม่มี
ต�ำราไม่มี โอ ! แตท่ า่ นเรียนธัมมจักฯ อาทิตตฯ อนัตตฯ นั้น ทา่ นคน้ มา ท่านเอามาเทศนท์ หี ลงั
ทา่ นเทศน์น่าฟัง
352
ครอู าจารยพ์ รหมนั้นทา่ นใชว้ ปิ ัสสนา เร่อื งวปิ สั สนา เรื่องปัญญา ทา่ นหลุดพน้ แล้ว สมถะน้ี
ไมเ่ น้น โดยมากท่านใชว้ ปิ ัสสนา ท่านรู้ ทา่ นไมไ่ ด้ใช้สมถะเทา่ ใด สมถะพอจติ สงบเลก็ ๆ น้อยๆ
ทา่ นกใ็ ช้ปญั ญาของทา่ น ทา่ นแนะ ทา่ นกใ็ ห้ใช้ปญั ญามากๆ ปัญญากบั สติ สตนิ ่ะมนั เปน็ มหาสตนิ ู้น
ท่านไมไ่ ด้ใหอ้ ยเู่ ฉยๆ นะ รแู้ ลว้ ท่านทง้ิ ทา่ นไม่ใชไ่ มร่ ้นู ะ รอู้ ยูเ่ ฉยๆ แต่ท่านท้ิงออกไป ก�ำหนดจิตให้
รหู้ มด อารมณต์ ่างๆ มันมีอยู่ แตท่ ่านไมเ่ อามาใช้นะ ทา่ นรทู้ นั น่ะมันกแ็ ล้ว ทา่ นกท็ ้ิงกว็ างไปเฉยๆ
สว่ นเทศน์พเิ ศษของครอู าจารย์พรหม ทา่ นมีแตบ่ อกละ จาโค ปฏนิ สิ ฺสคโฺ ค มุตฺติ อนาลโย
ใหร้ ู้จกั สละจิต จาโค จาคะสละอารมณ์ ปฏนิ ิสสฺ คฺโค วาง ไปติดอะไร มุตฺติ ใหป้ ลอ่ ย อนาลโย
ไม่ให้พัวพันกับอารมณ์ต่างๆ เป็นอย่างน้ันนะ ครูอาจารย์พรหมท่านเทศน์ไปอย่างน้ันเลย ทีน้ีผล
ท่านเหน็ อยา่ งไรในใจ ทา่ นทำ� อยา่ งนนั้ เรามันทำ� อย่างท่านไม่ไดน้ ะ จิตท่านหลดุ พ้นอยา่ งน้ัน ทา่ นก็
เอามาเทศนอ์ ยา่ งน้นั เร่ืองอนิจจัง ทกุ ขัง อนตั ตา เรอ่ื งศีล สมาธิ ปญั ญา ทา่ นเทศนไ์ ปอย่างนัน้ เราก็
จำ� เอาไปเรอื่ ยๆ ทนี ม้ี นั ไมใ่ ชอ่ ยา่ งนนั้ นะ คนไมม่ ปี ญั ญากเ็ ลยไมเ่ อามาคดิ เมอื่ ไมค่ ดิ มนั กไ็ มเ่ ขา้ ใจเรอ่ื ง
อันนนั้ จาคะ สละ โอ้ ! อนั น้ีเทศนพ์ เิ ศษ ท่านก็เทศน์พิเศษหลายอนั อยู่ เราจำ� ไม่ได้หรอก ทา่ นมี
ปัญญาเยอะ โอ้ย ! ตามร้ไู ม่ทนั อย่างว่า อาตมาก็ไม่รู้จะพูดเปรียบอย่างไร ความร้ทู ่านมนั ถ้าเป็น
ทุกวันนี้ คือ ไอคิวทา่ นสูง
• หลวงปู่พรหมมีอทิ ธิปาฏิหาริยค์ รบ
ครูอาจารย์พรหม อิทธิปาฏิหาริย์ของท่านมีครบ แต่ท่านไม่ค่อยเล่า เหมือนกับเรา
คนตาบอดมาแตก่ ำ� เนดิ นั่นล่ะ ท่านจะเล่าอยา่ งไร ทา่ นเลา่ ไดอ้ ยู่ แตเ่ ราตาบอดมันไม่เหน็ ท่านจงึ
ไม่คอ่ ยเลา่ เลา่ กม็ ันท�ำอยา่ งไร มันเหมือนคนตาบอดมาแต่ก�ำเนิด เลา่ ไปกเ็ ขา้ ใจดว้ ยไม่ได้ จะให้
บอกแสงบอกเสียง นานๆ ท่านจะเล่าสักคร้ังหน่ึง มันคนละอันเว้ย ท่านกับเราไม่เหมือนกัน
เหมือนกับต�ำรับต�ำรานี่ล่ะมันมีอยู่ แต่ถ้าคนตาบอดแล้ว ต�ำรามันจะไม่มีความหมายนะ เราคน
ตาบอด กระจกใสขนาดไหนก็ไม่มีความหมายในคนผู้ตาบอดนั่น ถ้าคนตาดี ท่านส่องเห็น เห็นก็
เห็นแตเ่ งาแค่นั้น มันไมเ่ หน็ ของจริง อันเรื่องธรรมะ อยา่ ไปโทษอันนัน้ อันนน้ี ะ เราคิดให้มันเห็น
เฉพาะใครเฉพาะมัน มันเป็นปัจจัตตัง เฉพาะใครเฉพาะมัน วิญญูชนน่ะ ให้ปฏิบัติเองเสียก่อน
มนั เหน็ ของใครของมนั
• ทา่ นสอนเฉพาะคนท่จี รงิ จัง
ครูอาจารยพ์ รหม ท่านพยายามเอาคนท่ีท่านรจู้ ัก สอนเอาคนท่ีสอนได้หรือพอได้ ไม่ใชท่ า่ น
จะเทศน์สอนทั่วไปนะ ท่านระวังอยู่ค�ำพูดท่าน อันท่ีเป็นไปไม่ได้แล้ว ท่านก็ปล่อย ถ้าคนไหน
ทำ� ผดิ ท่านไม่ค่อยเอาใจใสเ่ ท่าไหร่ คนไปอยกู่ ับท่านครัน้ คดิ ผิดแลว้ ทา่ นจะไม่เอาเลย ไมน่ ่าจะ
สอนได้ ทา่ นกไ็ ม่สอน ใหป้ ลอ่ ยมนั ไปซะก่อน ใหส้ ติศรัทธามนั กลา้ ซะก่อน ใครขเ้ี กยี จปฏิบตั ิภาวนา
353
ไม่ร้จู ักพนิ จิ พจิ ารณาคน้ คว้า การปล่อยการวาง ทา่ นกไ็ ม่อยากย่งุ ไม่อยากสอนนะ ท่านดูคนเกง่
เหมือนกันกับในหลวง ท่านจิกตาสอนลูกศิษย์ สามเณรหลบทันที สายตาท่านเหมือนกับไฟฉาย
ครอู าจารยผ์ างกเ็ ป็นเหมอื นกนั เราสนทิ กนั
สมัยที่อาตมาไปอยู่กับครูอาจารย์พรหม ไม่ค่อยเห็นเรียนนะ ช่วงน้ันไม่มีนะ เรียนแต่
ภาวนาดใู จ ครอู าจารยเ์ สาร์ก็แนะไมใ่ ห้เรียนเลย ให้ภาวนาดูใจอย่างเดยี ว ถา้ พระศิษย์ออกธดุ งค์
ครอู าจารยพ์ รหมท่านกแ็ นะน�ำอยู่ ให้ไปหาครบู าอาจารย์ ไปศกึ ษา ไปหาภาวนา อย่าไปย่งุ กับเรอื่ ง
ทางโลก สถานทภ่ี าวนา สถานท่ไี หนน่ากลวั ยง่ิ นา่ กลวั เทา่ ไร หลวงปูพ่ รหมทา่ นใหไ้ ปอยูส่ ถานทนี่ น้ั
เช่น สถานทม่ี ผี ี เสือ ช้าง เป็นต้น ถ้าเสือมันกินคนกินควายเข้า เขาบอกให้ฟงั ดอก มีเยอะมากนะ
พูดถงึ เสือไม่แค่เท่านน้ี ะ กลางคืนน่ัน กรนหดื หาดๆ เข้าไปทำ� รา้ น เขาให้นอนบนร้าน ค�่ำมาเหน็
หัวเสอื โผลม่ าเยอะแยะ เสอื ไม่คอ่ ยจะกนิ พระ ชา้ งกไ็ มค่ ่อยเหยยี บพระ ทางภูลงั กา มันมเี สอื มีช้าง
มหี มีชุกชมุ มันไมท่ ำ� ร้ายพระ มนั รู้จกั ใจพระ ศาลามันกส็ งู เท่านัน้ แหละ อยดู่ งหม้อทอง เสือมนั มา
หยอกกนั อยใู่ ตถ้ นุ ศาลา เสือมนั ไมท่ �ำอันตรายนะ หากคนเรากลัวมนั ไปเอง เสอื มันเหมอื นแมว
ในบ้านเรา มนั ถกู กบั พระอยู่ สัตว์ปา่ ไม่กลัวพระ มนั รู้จกั พระ คนเคยเลีย้ งควาย ถ้าใจเราดี
ถือคอ้ น ควายมนั กไ็ ม่กลวั ถา้ ใจเราไม่ดี แม้ไมม่ ีอาวุธ ควายมนั กร็ ะวังนะ สัตว์ปา่ มนั กร็ ะวังตัว
ววั ควายก็เหมือนกนั เด๋ียวนีม้ นั พรรณนาไมไ่ ด้ เรากำ� หนดเอง ปฏบิ ตั เิ อง มนั จะรู้ด้วยตวั เองเลย
ครอู าจารยพ์ รหมท่านดุด่า โอ๊ย ! ธรรมเทศนาแลว้ อนั น้ัน ทา่ นดุ ทา่ นด่า ท่านเอด็ อะไร
อยา่ งน้ี ถา้ องค์ไหนคดิ ไปทางผดิ ทา่ นจะตักเตือนทันที ตอ้ งแกไ้ ข ไม่แกไ้ ขไม่ได้ มนั เป็นอยา่ งนั้นนะ
ทา่ นจะสอนแบบน้ี ท่านไม่ได้เอาความดมี าอบรม กเิ ลสน่ะมีหยาบ ทา่ นก็เอาตามหยาบ แอบหลงรกั
สกี า ทา่ นรหู้ มด ความรกั ความใครใ่ นผู้อ่ืน ทา่ นเตือนทันที ถา้ ท่านจะเตือน ทา่ นรวู้ าระจติ เราเดนิ
ตามหลังท่าน คิดอะไร ครูอาจารย์พรหมท่านรู้หมด แต่ท่านไม่ค่อยทักท้วงตักเตือนนะ ถ้าท่าน
เตอื นแล้วให้รีบแกไ้ ขไวๆ นานไปจะเสีย
• ปฏิบัตคิ รูบาอาจารย์
เราเกดิ มาตั้งแตเ่ ลก็ จนโตกไ็ มเ่ คยเกบ็ ขีเ้ กบ็ เยีย่ วคนนะ จนไปอยกู่ บั ครอู าจารยพ์ รหมท่าน
แก่แล้ว วันไหนท่านไปหอ้ งน�ำ้ ไม่ทนั นะ ไดซ้ กั ผ้าของท่านน่นั ล่ะ เรากว็ า่ เราได้ดแู ลท่านเต็มที่ ไดเ้ หน็
สมณะเพื่อนท่านสงบอย่ทู ่วี ัดครูอาจารย์บวั กบั ครูอาจารย์ม่ันน่ะ มันหนักย่งิ กว่า แตก่ อ่ นมนั ไม่มี
กระดาษช�ำระ เอาถุงพลาสติกสวมมือแล้วก็ข้ีในมือท่าน ตอนแก่มา ใครก็ว่าท�ำเต็มที่กันทุกคน
ไมเ่ คยปฏบิ ัตคิ รบู าอาจารย์ แต่มาอย่ใู นศาสนาท�ำหมดทุกอย่าง ตอนเช้าตอนเยน็ ๗ วนั ปฏบิ ัติท่าน
ทุกวัน ครอู าจารยพ์ รหมปฏิปทาทา่ นไมใ่ หพ้ ระเณรมายงุ่ มากนกั ท่านให้พระเณรภาวนา ดงั น้ัน
ปฏิบัตทิ า่ นตลอด ๗ วัน จึงหนักพอควร ท้งั สรงนำ�้ ซกั ผา้ ฯลฯ
354
เร่ืองซักสบงจีวรของครูอาจารย์พรหมก็พระเณรในวัดน่ันล่ะ โดยมากก็เป็นพวกพระเณร
นี้ล่ะ ท่านก็ท�ำอยู่ ท่านก็ไม่ได้ท้ิงข้อวัตรหรอก พวกเราแหละขอท�ำ แต่ก่อนเราตัดจีวร สังฆาฏิ
ไม่เปน็ หรอก มนั ท�ำยาก ทา่ นเลยซอ้ื จักรมา เราเลยไปเรยี น เราตดั จีวร สังฆาฏเิ ปน็ หมดแล้ว ตดั เย็บ
ใหท้ า่ นใชก้ ็มี
เวลาจะย้อมจะซกั ผ้า ถา้ มันสกปรก ถ้ามนั เป้อื นมาก เราก็ซัก ทา่ นไม่ได้มกี ำ� หนด เราไปดู
แล้วกท็ �ำ ย้อมจวี รน้ีท่านก็กำ� หนดเหมอื นกนั มันสกปรกก็ซกั ให้ท่าน สที ่านก็ท�ำเป็นหมดนะ เยบ็ มือ
กเ็ ป็นนะ นา่ ทึง่ นะ สียอ้ มนี่ธรรมดาโว้ย ส่วนมากเป็นสีแกน่ หมากมี่ (แก่นขนนุ ) สีเข้มๆ พอประมาณ
ตม้ น้ำ� รอ้ นแลว้ ก็ซักใหท้ า่ น ต้มได้สแี ลว้ ถงึ ย้อม ไปบณิ ฑบาต ทา่ นก็ใชท้ ุกวันละ่ สงั ฆาฏิ จวี ร ปฏิบัติ
ท่านง่ายกว่าองคอ์ ่ืนอยู่ ตอนนวดเส้นนวดเอ็นท่าน ก็แล้วแต่เราจะนวดถวาย ครอู าจารย์พรหม
ปฏิบัติทา่ นง่าย เร่อื งกจิ วัตรขอ้ วัตร พระเณรกไ็ ม่มาก
• หลวงปู่พรหมท่านเกง่ งานก่อสรา้ ง
ครูอาจารย์พรหมท่านท�ำเป็นหมดเว้ย สร้างพระพุทธรูปอันน่ีเป็นหมด ตีมีดตีขวานก็
เป็นหมด เราคาดไม่ถึง ท�ำงานใหญ่แบบนี่ ท�ำศาลานี่ก�ำหนดกับสังกะสีน่ี ท่านรู้จัก ไม่รู้ท่าน
ท�ำได้อย่างไร แลว้ การก่อสร้างท่านเก่งเว้ย ถา้ คนขี้เกยี จนี่อยูน่ น้ั ไมไ่ ด้
ครูอาจารย์พรหมชอบกอ่ สรา้ งอยู่ เวลาเพอ่ื นกลบั ไปกลับมากฏุ ิกไ็ มพ่ อกนั หรอก ทา่ นเนน้
การก่อสร้างอย่างอ่ืน แต่กุฏิของท่านเล็ก ทีน้ีปฏิปทาของท่านการก่อสร้างท่านท�ำเป็น ค�ำนวณ
การก่อสรา้ งก็ถกู นานมาแลว้ หมบู่ า้ นนน้ั บา้ นถ่อน เรียนจบชา่ งไม้มา ท�ำหน้าตา่ ง ไอ้ดอนท�ำได้
๑ อัน แตท่ ่านท�ำเสรจ็ ๓ อันนู้น เรว็ แล้วก็ยังทำ� เปน็ แลว้ กส็ วยไมไ่ ดต้ า่ งกันนะ มันเปน็ นสิ ัยของคน
ทา่ นท�ำเปน็ แปลกใจท่านหลายเร่ืองอยู่ มีดเลม่ เดยี วทา่ นใช้ฟันไม้ท่อนใหญๆ่ ขนาดเทา่ บาตรขาด
งา่ ยๆ แปลกใจมาก ถา้ เวลาท่านท�ำงานอย่างนี้ ไมต่ ่างจากการปฏบิ ัตขิ องท่านหรอก จิตทา่ นไม่รู้
มันเปน็ อยา่ งไรอยู่ บพุ กรรม กมมฺ พนธฺ ุ พันธกุ รรม มนั เป็นของทา่ นมาอยา่ งนั้น ทีนี้มีส่ิงแวดล้อม
จะพาให้ท่านท�ำนนั่ ล่ะ
• หลวงปู่พรหมไมฉ่ นั เนอ้ื สตั วใ์ หญ่
ครูอาจารย์พรหมนี่ ตอนท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ไม่ค่อยฉันเน้ือวัวเนื้อควาย ตอนท่าน
มรณภาพกไ็ ม่มเี นือ้ สัตว์ใหญน่ ะ มีแตป่ ู แต่ปลา กบ เขยี ดเทา่ น้ัน ไม่มีไก่ ไมม่ หี มนู ะ เนอ้ื ก็ไม่มีใคร
เอาไปงานศพท่าน เป็นเองของทา่ นนะ โอ้ ! เป็นเรอื่ งแปลกมาก ถ้าไมไ่ ปเห็น จะไม่เช่ือเลย
355
ท่านพระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต เทศน์ถึงหลวงปู่พรหม
• นพิ พานไม่เปน็ อจนิ ไตย
(๒๗ ธนั วาคม ๒๕๔๑)
ตามหลักความจรงิ หลวงปู่ม่ัน หลวงป่ขู าว หลวงปแู่ หวน หลวงปพู่ รหม ก็เปน็ เครอ่ื ง
ยืนยนั มาตลอดว่าไมเ่ ปน็ อจินไตย รไู้ ดจ้ รงิ เหน็ ตามความเป็นจริง เป็นนพิ พานจริงๆ เกดิ ข้นึ จาก
ผปู้ ฏบิ ตั ธิ รรมสมควรแกธ่ รรม รธู้ รรมตามความเป็นจรงิ ของธรรมน้นั มันถงึ ไม่เปน็ อจนิ ไตยไง แต่ไป
พูดวา่ เปน็ อจนิ ไตย หนงั สือพมิ พล์ งมาก ลงตรงน้ลี งมาก เขยี นเลยวา่ เป็นอจินไตย เบยี่ งเบนประเด็น
ไปหมด เบย่ี งเบนประเดน็ ไปหมด
เพราะโดยปรกตเิ ขาก็ยังวา่ กนั อยู่แลว้ วา่ มันหมดกาล หมดเวลาแล้ว ไม่ควรท�ำ ไม่ควร
ประพฤติปฏิบัติ แลว้ นพ่ี ดู กันจนยอมรบั เห็นไหม แลว้ มนั จะไปไหนกนั ล่ะ ? มันกเ็ ปน็ ทางใหต้ ่�ำลงๆ
ของชาวพทุ ธเท่านน้ั นะ่ สิ ถงึ วา่ มนั ไม่เปน็ อจนิ ไตย นพิ พานเป็นความจรงิ อจินไตยมี ๔ เท่านั้น
อจินไตย ๔ นิพพานไมอ่ ยใู่ น ๔ นัน้ นิพพานเปน็ ความจรงิ แตเ่ ขา้ ถงึ ได้ด้วยการทีผ่ ้ปู ฏบิ ตั ิธรรม
สมควรแกธ่ รรม ปฏบิ ัตจิ ริงสมควรแก่ธรรม ไม่ใช่การคาด การเดา การหมาย อยา่ งน้ันรู้ช่ือนิพพาน
รู้ชือ่ รทู้ ฤษฎี รู้การแยกแยะนิพพาน ร้กู ารวิเคราะหว์ จิ ยั ตามความจนิ ตนาการเปน็ จินตมยปัญญา
ภาวนามยปัญญาเขา้ ตามหลักความเปน็ จรงิ ผ้เู ขา้ ถึงจรงิ เหน็ จรงิ ตามหลักความเป็นจริง
เหน็ ไหม ผู้ใดปฏิบตั ิธรรมสมควรแก่ธรรม “อานนท์ เราเคยบอกเธอแลว้ ไมใ่ ชห่ รอื ? ในโลกนี้
ถ้ายังมีผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ พระอรหันต์ไม่ส้ินจากโลกนี้เลย” พระพุทธเจ้า
ประกาศไว้ชัดๆ เลย “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” ไม่ใช่ผู้ใดปฏิบัติด้วยเจตนาอยากจะได้
ชอ่ื เสียง อยากจะไดเ้ กยี รตศิ พั ท์ อยากจะได้แก้ว แหวน เงนิ ทอง แตเ่ อานพิ พานมาขายกินอย่างนน้ั
มนั ไม่ใชน่ พิ พาน มันนพิ พานในแบงกน์ ่ะสิ
• ครบู าอาจารย์ยืนยันมรรคผลนิพพาน
(๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๒)
ในปัจจบุ นั น้ี หลวงป่มู ่นั กับหลวงปเู่ สารเ์ ปน็ ผู้ทบ่ี กุ เบิกออกมาจากกิเลสก่อน เพราะว่าเปน็
คนเชอ่ื ในธรรมขององคส์ มเดจ็ พระสมั มาสัมพทุ ธเจ้า แล้ว ๒ องค์ชว่ ยกันขุดค้นคว้าไง หลวงปเู่ สาร์
เป็นอาจารยห์ ลวงปมู่ ่ัน เสร็จแลว้ ๒ คนบวชมาแล้วศึกษาพร้อมกนั จนข้ามพ้นออกไปจากกิเลส
เปน็ ผูช้ น้ี ำ� ได้ตามความเปน็ จริง เห็นไหม ตามความเปน็ จริงแบบวา่ องค์สมเดจ็ พระสมั มาสัมพทุ ธเจา้
ยนื ยนั กับพระสารบี ตุ ร ยืนยนั กับพระอัญญาโกณฑญั ญะรู้แลว้ หนอ
356
องค์หลวงปูม่ น่ั บอกวา่ ได้ประพฤติปฏบิ ตั แิ ล้ว ยงั ได้หลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน หลวงปู่
พรหม หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ฝั้น นี่ยืนยันกันมาทั้งหมด เพราะครูบาอาจารย์น้ีได้ดับขันธ์ไปแล้ว
ยนื ยนั กนั ดว้ ยธาตขุ นั ธก์ ไ็ ดว้ า่ ทา่ นดบั ขนั ธไ์ ปแลว้ ไดท้ ำ� ฌาปนกจิ ไปแลว้ กระดกู เปน็ พระธาตทุ งั้ หมด
นี่คอื ครบู าอาจารยข์ องเรา เราเกดิ มาพบครบู าอาจารย์อีกช้ันหนึง่ เกดิ มาพบครูบาอาจารย์ทรี่ ู้จริง
ครูบาอาจารย์ท่ีรู้จริงเท่าน้ันจะสามารถชี้ทางให้เราได้ไง เราไม่ใช่เช่ือครูบาอาจารย์จนยกครูบา–
อาจารยน์ เี้ หนอื ธรรม ครูบาอาจารยน์ ี้ประพฤติธรรม รู้ธรรมตามความเปน็ จริง คนทเ่ี หน็ ธรรม คอื
เห็นตถาคต
• ครูบาอาจารย์ตรวจสอบกันไดห้ มด
(๑๓ กันยายน ๒๕๕๒)
คนเป็นกับคนเป็นตรวจสอบกันได้หมดแหละ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมํคลมุตฺตมํ เห็นไหม
นเี่ จ้าคณุ จมู ธรรมเจดีย์ เอาหลวงตากบั หลวงปูข่ าวไปคยุ กนั แลว้ เวลาหลวงตาอยู่กบั หลวงปู่มน่ั
เวลาพระมาหาหลวงปูม่ ั่น นีไ่ งตรวจสอบกัน น่ีทำ� ไมจะตรวจสอบไม่ได้ ตรวจสอบไดห้ มดแหละ
น่ีหลวงปู่มนั่ ถงึ รับประกนั เลยวา่ “หมู่คณะจ�ำหลวงปขู่ าวไว้นะ เพราะหลวงปู่ขาวไดม้ าคุยกบั เรา
แล้วนะ จ�ำหลวงปพู่ รหมไวน้ ะ” นพ่ี วกน้ีตรวจสอบหมดแล้ว มันตรวจสอบได้
• ครบู าอาจารยท์ ่านไม่เคยอา้ งใคร
(๓๑ มกราคม ๒๕๕๓)
หลวงตาทา่ นเปน็ ความจริงของท่าน ตัง้ แตห่ ลวงปู่มัน่ ลงมา ต้ังแต่หลวงปู่ฝนั้ หลวงปู่ขาว
หลวงปู่พรหม หลวงป่แู หวน ทา่ นมีความจริงของทา่ นมา ท่านไม่เคยอา้ งใครเลย ท่านเอาสจั จะ
ความจรงิ ของท่าน แล้วเปน็ หลกั ชัยในศาสนา ใหพ้ วกเรามีที่พง่ึ อาศัย พวกเราได้กราบไหว้บูชากัน
แลว้ เราประพฤตปิ ฏิบตั กิ นั เห็นไหม ท่านอา้ งใคร เนยี่ ท่านอา้ งใคร แล้วท่านเปน็ หลักเป็นชยั ของเรา
ทา่ นอ้างใคร ทา่ นไมไ่ ดอ้ ้างใคร
• ทา่ นบวชเพอ่ื ความพน้ ทกุ ข์
(๙ เมษายน ๒๕๕๔)
ดสู ิ เชน่ หลวงปู่พรหม หลวงปพู่ รหมนที้ า่ นเป็นผู้มีฐานะนะ แลว้ ท่านสองคนตายาย
ไม่มบี ุตร ทา่ นต้องมาปรึกษากนั วา่ เราอยกู่ นั ไปทำ� ไม เพราะถ้าเราตายไปน่ีสมบัติก็อยู่ทีน่ ี่ เราอย่ไู ป
ท�ำไม กค็ ยุ กนั เสรจ็ แล้วท่านก็มาปรกึ ษากนั ทา่ นบอกถา้ อยา่ งน้ันเราออกบวชกนั ทงั้ สองคนตายาย
357
หลวงปูพ่ รหมเป็นพระอรหนั ต์แนน่ อน แตภ่ รรยานี่ไม่แน่ใจ สมบัติทัง้ หมดยงั เสียสละเลย
แจกอยู่ ๗ วนั ไม่หมดนะ นี่สมยั พุทธกาลก็มี แตส่ มัยปัจจบุ ันน้ี เวลาคนท่เี ขามีความคดิ อย่างน้กี ม็ ี
ท�ำไมเขาท�ำอยา่ งนี้ ทีเ่ ขาเสยี สละไปแลว้ แล้วมาหาผลประโยชนเ์ ลก็ น้อยอยา่ งนี้ มนั อย่ทู เ่ี ป้าหมาย
ดพู ระเราบวชมา พอเราพดู ถึงวา่ มรรคผลนพิ พานนีท่ ุกคนก็กลวั ทุกคนบอกวา่ มนั สดุ เออื้ ม มันเปน็
ไปไม่ได้ แต่ความจรงิ แลว้ เรามที กุ ข์ไหมล่ะ ? ถ้าหวั ใจเราทุกข์ หัวใจเรามีความทกุ ข์อยู่ นพิ พาน
คือพน้ จากทกุ ข์นน้ั ถ้ามันมีทุกข์อยู่ มนั กต็ อ้ งพน้ จากทกุ ขไ์ ด้ มนั มมี ืดก็มสี วา่ ง มนั มสี ิ่งทเี่ ราวา่ เปน็ ไป
ไม่ได้ มนั ยังมสี ิ่งท่เี ป็นไปได้
• พจิ ารณาไม่เหมือนกัน แต่ผลอนั เดียวกนั
(๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕)
เวลาลูกศิษย์หลวงปู่มั่นไปหาหลวงปู่ม่ัน ไปรายงานผลหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านเป็น
ประธาน น่หี ลวงปู่พรหม หลวงปู่บวั หลวงปแู่ หวน หลวงปตู่ ื้อ หลวงปชู่ อบ เวลาไปสนทนาธรรม
กบั หลวงปมู่ ่นั มอี ะไรผิดแตกตา่ งกัน ? แตเ่ วลาแยกสว่ นออกไปแลว้ นะ พจิ ารณาแต่ละคน ไม่เหมือน
กันเลย ไม่เหมือนกันเลย แต่ผลอันเดียวกัน แต่ผลอันเดียวกัน เห็นไหม ฉะนั้น เวลา
อรหัตตมรรค อรหัตตผลอนั เดยี วกัน นม่ี รรค ๔ ผล ๔ เหมือนกนั หมด แต่ แต่วิธีการ จรติ นิสยั
ของคน การกระท�ำของคน เห็นไหม ดูสิเที่ยวป่าเที่ยวเขา แต่ละสถานท่ีแตกต่างกัน แต่ผล
อันเดยี วกัน นี่ผลอนั เดยี วกนั น่ไี งครบู าอาจารย์ท่านรจู้ รงิ เหน็ จรงิ ประสบการณข์ องจิตแต่ละดวง
มันถึงเป็นความจรงิ
• ครอบครวั กรรมฐาน
(๒๔ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๕)
ในพระป่า ในวงกรรมฐาน หลวงตาท่านใช้ค�ำว่า “ครอบครัวกรรมฐาน” ในครอบครัว
กรรมฐานจะรู้ว่าพระองคใ์ ดสิ้นกิเลสแล้ว อยา่ งเชน่ หลวงตาท่านเคยเลา่ ให้ฟังวา่ ขณะทจ่ี ะเผาศพ
หลวงปู่พรหม ท่านไปกับลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ท่านบอกลูกศิษย์ลูกหาของท่านเลยบอกว่า
พยายามเอาอัฐิธาตุของพระองค์น้ใี หไ้ ด้นะ เพราะพระองคน์ จ้ี ะตอ้ งเป็นพระธาตเุ ด็ดขาด
หลวงป่พู รหมนห่ี ลวงตาพูดบ่อย ตอนน้ันท่านไปเผาศพหลวงป่พู รหม แลว้ มีลกู ศษิ ย์ลกู หา
ไปด้วย ทา่ นส่งั ลกู ศษิ ยเ์ ลยบอกว่าพยายามนะ พยายามเอากระดกู ของพระองค์นใ้ี หไ้ ด้ พระองคน์ ้ี
จะเป็นพระธาตุแน่นอน จะเป็นพระธาตุแน่นอน เพราะ เพราะหลวงปู่พรหมท่านส�ำเร็จมาจาก
เชียงใหม่ แลว้ ท่านมาส่งการบ้าน คอื ทา่ นมาตรวจสอบกับหลวงปู่มน่ั หลวงปู่มั่นไดต้ รวจสอบแล้ว
358
บอกว่า หลวงปพู่ รหมส้ินกิเลส เห็นไหม น่ีครอบครัวกรรมฐาน ถ้าครอบครัวกรรมฐานเขา
จะรู้กันว่าใครมคี ุณธรรมแค่ไหน
ทนี ้คี รอบครัวกรรมฐานรู้วา่ ใครมคี ณุ ธรรมแคไ่ หนเพราะอะไร ? เพราะเขาตรวจสอบกันดว้ ย
คณุ ธรรม ดว้ ยความเปน็ จริง ธมฺมสากจฉฺ า เอตมมฺ งฺคลมุตตฺ มํ ถ้ามผี ู้นำ� ที่ดี ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่ดี
นักปฏิบตั ิจะมีทพ่ี ่งึ แล้วถา้ มีทพ่ี ง่ึ สิ่งท่ีการปฏบิ ตั ิมา นคี่ รบู าอาจารย์ถ้าเป็นอาจารยข์ องคน มันต้อง
วินจิ ฉัยวา่ สิง่ นม้ี นั ถกู ต้องหรอื ไมถ่ ูกตอ้ ง ถ้าสิ่งนไ้ี มถ่ ูกตอ้ ง ครูบาอาจารย์ไม่วินิจฉัย หมูค่ ณะท่ีอยู่
ด้วยกนั นักปฏบิ ตั ทิ อี่ ยู่ดว้ ยกนั นกั ปฏบิ ตั ิทีอ่ ยู่ด้วยกันเขามวี ุฒภิ าวะเสมอกนั มวี ุฒภิ าวะเทา่ กนั
เหมือนเดก็ เด็กเล่นอยู่ดว้ ยกนั เด็กเลน่ ดว้ ยกนั เดก็ มันกม็ วี ฒุ ภิ าวะแบบเดก็ ๆ ทมี่ นั จะเล่น
ของเล่นกัน แล้วมันก็จะแยง่ ของเลน่ กัน เด็กมันก็จะมีปญั หากัน ในการปฏบิ ัตกิ ็เหมือนกนั ในการ
ปฏิบัตินะ ถ้าครบู าอาจารยเ์ ป็นผใู้ หญ่ เปน็ ผ้ทู ี่ดูแลเดก็ ถ้าเด็กมปี ัญหากนั ใครผิด ใครถกู เดก็ น้นั จะ
เคลียรป์ ัญหาน้ัน ผูใ้ หญ่จะเคลียร์ปัญหาเดก็ น้ันใหจ้ บสนิ้ ไป เดก็ นน้ั กจ็ ะไม่มีปัญหาขัดแยง้ กนั ในการ
ปฏบิ ัติก็เหมือนกัน ในครอบครัวกรรมฐานเขาจะรูก้ ่อน
• ครูบาอาจารย์ท่านเข้มขน้ ท้ังนน้ั
(๗ มิถนุ ายน ๒๕๕๘)
ถา้ ใครท�ำเขม้ ข้นได้เอาเลย ๗ วนั ๗ คนื เต็มทีไ่ ปเลย อดอาหารแล้วไมต่ ้องทำ� อะไรเลย
นเี่ พราะอะไรละ่ เพราะหลวงตา ถา้ พระเรยี กพอ่ แมค่ รจู ารย์ พอ่ แมค่ รจู ารยท์ า่ นอยกู่ บั หลวงปมู่ น่ั มา
หลวงปู่ม่ันท่านเข้มข้นแค่ไหน แล้วสมัยหลวงปู่ม่ัน มีหลวงปู่พรหม หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชอบ
หลวงปคู่ �ำดี ครูบาอาจารย์ท่านเข้มข้นทั้งนน้ั แลว้ ท่านปฏิบตั มิ าท่านไดเ้ พชรน�้ำหนง่ึ ทา่ นได้เนอื้
ไดน้ ้�ำมา ฉะนนั้ พอมารุ่นหลังมาเป็นปญั ญาชน มกี ารศึกษา มปี ญั ญามาก ก็คิดวา่ ทางลดั ทางสนั้
ทางสะดวกทางสบาย ทกุ คนมีปัญญา ขนปญั ญากนั มา หาบหามปัญญากนั มาปฏิบัติ บรรทุกปัญญา
มาเต็มท่ี แลว้ ปฏิบัตสิ ำ� มะเลเทเมา ปฏิบตั เิ อาแต่ใจของตวั ปฏิบตั เิ อาแตช่ อ่ งทางของตัว ปฏบิ ตั ิไม่ได้
อะไรเปน็ ชนิ้ เป็นอนั เลย แต่ครูบาอาจารย์ของเรา ทา่ นก็ยงั ยืนหลักของท่าน เพราะว่าท่านจะสร้าง
ผ้นู ำ� ไง
• ครูบาอาจารยท์ ่านสร้างอำ� นาจวาสนาบารมีมา
(๒๗ กนั ยายน ๒๕๕๘)
ดูสิ ตัง้ แตห่ ลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มน่ั หลวงปฝู่ น้ั หลวงปูแ่ หวน หลวงป่พู รหม หลวงปูต่ ้ือ
ครูบาอาจารยท์ ่ีท่านเปน็ พระอรหนั ตไ์ ปท้ังหมด พระท่จี ะเป็นพระอรหนั ต์ ทา่ นตอ้ งสรา้ งอำ� นาจ
วาสนาบารมขี องทา่ นมา
359
ค�ำว่า “สร้างอ�ำนาจวาสนาบารมี” ก็เหมือนพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ท่านสร้าง
บารมีมา ท่านปรารถนามา ค�ำว่า “ปรารถนา” คนมเี ชาวนม์ ีปญั ญา มีอำ� นาจวาสนาบารมี จะเชอ่ื ฟงั
สงิ่ ใด เขาต้องเชอื่ ฟงั ด้วยเหตุดว้ ยผล จะเชือ่ ฟังสง่ิ ใด เขาตอ้ งพสิ จู น์ตรวจสอบ
นีเ่ หมือนกนั เราเกิดมากง่ึ กลางพระพุทธศาสนา หลวงปเู่ สาร์ หลวงปู่ม่ันท่านรอื้ คน้ ขนึ้ มา
ทา่ นเปน็ แบบอย่างเป็นตัวอย่างของเรามา แล้วเวลาทา่ นไดล้ กู ศษิ ย์ของทา่ นมา ครูบาอาจารย์ท่ีเปน็
ลูกศษิ ย์ของท่านก็ประพฤตปิ ฏบิ ัติเหมือนกนั คนทมี่ อี �ำนาจวาสนา เวลาปฏบิ ตั ิไปแล้ว ถ้ามคี ณุ ธรรม
เสมอกัน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาส่ังเวลาสอน เวลาปฏิบัติไปแล้ว มันเข้าไปถึง
จดุ เดยี วกัน ถ้าเข้าไปถงึ จุดเดยี วกนั มันตรวจสอบกนั เองไง น่ีถา้ มันตรวจสอบกนั เอง ถา้ เราเชอื่ ม่นั
ครบู าอาจารยข์ องเรา เราเชอื่ มน่ั วา่ ครูบาอาจารยท์ ีเ่ ป็นพระอรหันตท์ า่ นต้องมีอำ� นาจวาสนา
360