The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-06 22:46:03

ประวัติ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

ประวัติ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

Keywords: ประวัติ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

229

วดั ศรโี พนสงู เปน็ วัดปา่ กรรมฐานอกี แหง่ หนึ่ง เปน็ ทีพ่ ักสงฆก์ ลางทาง ตัง้ อยรู่ ะหว่างวัดปา่
ศรีสว่าง อำ� เภอสวา่ งแดนดนิ จังหวดั สกลนคร กบั วัดประสทิ ธิธรรม อำ� เภอบา้ นดุง จังหวดั อุดรธานี
สมยั ก่อนหลวงป่พู รหมทา่ นเดนิ เท้าธุดงคก์ ลับวัดประสิทธธิ รรม ทา่ นจะแวะพกั ท่ีวดั ศรโี พนสูงกอ่ น
หรือเมื่อท่านมีกิจนิมนต์ในจังหวัดสกลนครหรือจังหวัดอุดรธานี ท่านจะไปพักที่วัดป่าศรีสว่างเพ่ือ
ต่อรถโดยสาร ท่านก็จะแวะพักที่วัดศรีโพนสูงก่อน

ส�ำหรบั วดั ปา่ ศรสี ว่าง เป็นวัดธรรมยตุ ในสมยั ก่อนถอื ว่าเปน็ วัดปา่ ศูนยก์ ลางของพระธดุ งค–
กรรมฐานในเขตตัวอ�ำเภอสว่างแดนดิน มีหลวงปู่บุญ ชินวํโส เป็นเจ้าอาวาส (ท่านเป็นพระศิษย์
ส�ำคัญรูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น) ท่ีวัดแห่งน้ีบรรดาครูบาอาจารย์ท่ีอยู่ในละแวกน้ีรวมท้ังหลวงปู่
พรหม สมัยก่อนต้องเดินเทา้ มาพักทีว่ ดั ปา่ ศรสี ว่าง สมยั นัน้ ก็ไมค่ ่อยมีรถ ส่วนมากจะเปน็ ทางเกวยี น
และแถวนี้เปน็ หมู่บ้านสีแดงของผูก้ ่อการรา้ ยคอมมวิ นิสต์

พ.ศ. ๒๔๙๒ จ�ำพรรษาวัดศรีโพนสูง

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เมอื่ ใกล้ถึงวันเขา้ พรรษา หลวงปพู่ รหม จริ ปุญฺโ ท่านได้มาจำ� พรรษา
ท่ีวัดศรีโพนสูง นับเป็นปีแรก โดยมีหลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ มาอยู่ร่วมจ�ำพรรษา โดยช่วงก่อน
เขา้ พรรษา ชาวบ้านได้ชว่ ยกนั สร้างเสนาสนะปา่ ช่ัวคราว ด้วยการปลูกกฏุ กิ ระต๊อบ แคร่ไม้ และทำ�
ทางเดนิ จงกรมถวาย

จากประวตั หิ ลวงปผู่ าง ปรปิ ุณฺโณ ได้บันทกึ เหตุการณ์ในพรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๒ ไวด้ งั น้ี 

“หลวงปผู่ าง ปรปิ ณุ ฺโณ ทา่ นไดต้ ิดตามองค์หลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ  เดนิ รอนแรมไปลถุ งึ
เขตอ�ำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และได้พักจ�ำพรรษาท่ีวัดศรีโพนสูง บ้านถ่อน ต�ำบล
โพนสูง อำ� เภอสวา่ งแดนดิน จังหวัดสกลนคร”

การมาอยจู่ ำ� พรรษาทว่ี ดั รา้ งแหง่ น้ี หลวงปพู่ รหมทา่ นไดเ้ มตตาสงเคราะหช์ าวบา้ นถอ่ นเปน็
อนั มาก คือ นอกจากทา่ นจะเมตตาอบรมหลวงปผู่ างซึ่งเป็นศษิ ยเ์ อกอยา่ งใกล้ชิดแลว้ ท่านยงั ได้
เมตตาอบรมสั่งสอนชาวบ้านใหร้ ูจ้ ักการบำ� เพ็ญทาน รกั ษาศลี เจริญเมตตาภาวนา ด้วยการรกั ษา
พระธรรมวนิ ัยอยา่ งเครง่ ครัด ด้วยการรกั ษาขอ้ วตั รปฏบิ ัติ ปัดกวาดลานวัด อยา่ งประจำ� สม่ำ� เสมอ
ด้วยการปฏิบัติธรรมเดินจงกรมน่ังสมาธิอย่างเข้มข้นของหลวงปู่ท้ังสอง ท�ำให้ชาวบ้านถ่อนเกิด
ความเคารพเลื่อมใสศรัทธากันมาก ภายหลังมีลูกหลานชาวบ้านถ่อนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา
ออกบวชเปน็ พระธดุ งคกรรมฐานกนั มากมาย และไปอยจู่ ำ� พรรษากบั ทา่ นทวี่ ดั ประสทิ ธธิ รรมกม็ ี รวมทงั้
มีนายสุนทร ราชหงษ์ ท่านเป็นสาธารณสุข ก็ได้มาท�ำบุญใส่บาตรและคอยอุปัฏฐากดูแลรับใช้

230

ท่านอย่างใกล้ชิดตราบจนวนั มรณภาพ ส�ำหรบั ชาวบ้านถอ่ นทัง้ หญงิ และชาย ต่อมาไดช้ ่วยกนั เป็น
ก�ำลงั สำ� คัญในการพัฒนาบรู ณะวัดร้างแหง่ น้ีร่วมกับหลวงป่พู รหม

ขณะท่ีหลวงปู่พรหมมาจ�ำพรรษา ชาวบ้านถ่อนต่างก็ให้ความเคารพท่านมาก คนเฒ่า
คนแกไ่ ด้เล่าความประทบั ใจกนั ว่า “โอย๊ ! ศรัทธาหลวงปพู่ รหมท่านมากๆ โอ้ ! ท่านปฏิบตั เิ ก่งนะ
ขนาดกลับมาจากบณิ ฑบาตนีน้ ะ ระหว่างรอฉันจงั หนั ทา่ นจะไปเดนิ จงกรมก่อนทท่ี า่ นฉนั จังหันนะ
ทา่ นปฏบิ ตั ิเคร่งมากขนาดน้ี ทา่ นเทศนก์ ็สนั้ ๆ ไมน่ าน ท่านพดู นอ้ ยแตไ่ ดใ้ จความ”

ประวัติวัดศรีโพนสูง

วดั ศรีโพนสูง ปัจจบุ ันขึ้นกับ บา้ นโพธชิ์ ยั ตำ� บลบ้านถ่อน อ�ำเภอสวา่ งแดนดนิ จังหวัด
สกลนคร เดมิ ชอ่ื วดั ศรีสวา่ ง เปน็ วดั รา้ งเกา่ แกไ่ ม่ทราบวา่ สรา้ งในปีไหน ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางวดั ได้
จดทะเบยี นวัดใหม่ โดยต้งั ช่ือว่า วดั ศรีโพนสูง เนือ่ งจากลักษณะของวดั เป็นโพนเหมอื นกับเกาะอยู่
กลางทุ่งนา และตอ่ มาเปน็ วดั ร้างอีกคร้ัง สภาพพ้นื ทว่ี ัดมีลกั ษณะเป็นเกาะ บนเกาะเปน็ ปา่ ไผ่และ
ป่ามะพรา้ ว บริเวณโดยรอบเกาะในอดีตเป็นดงป่ามตี ้นไมใ้ หญแ่ ละดงไผข่ น้ึ ปกคลมุ หนาแน่น ตอ่ มา
มีการมาจบั จองทท่ี ำ� กิน ปจั จุบนั เลยกลายเป็นทงุ่ นา ในหน้าฝนจะมนี ้�ำล้อมรอบเกาะ หน้าหนาว
อากาศหนาวเย็นมาก ชว่ งเชา้ จะมีหมอกไปทวั่ บรเิ วณ บรเิ วณวัดรา้ ง พบซากโบสถ์ และซากอิฐกอ้ น
ขนาดใหญ่ พระพุทธรูปเศยี รหกั และมกี ารขดุ คน้ พบพระพทุ ธรปู โบราณ โครงกระดกู ของมนุษย์
และวตั ถุโบราณตา่ งๆ เช่น ไปปส์ ูบยา ไห หมอ้ จอบ เสยี ม ฯลฯ นับเป็นสถานทเ่ี งยี บสงดั วเิ วกมาก
เปน็ ทสี่ ปั ปายะเหมาะกบั การภาวนา

คนเฒ่าคนแก่ทีม่ าทำ� บญุ ทว่ี ัดศรโี พนสงู เลา่ กนั ว่า ณ วัดรา้ งแห่งน้ี ในวนั พระ ๑๕ ค�ำ่ จะมี
แสงปาฏหิ ารยิ ส์ วา่ งไสว ลกั ษณะเป็นดวงแกว้ ขนาดใหญ่เทา่ ลกู มะพร้าว ใหญ่บา้ ง เลก็ บา้ ง ชาวบา้ น
เรียกวา่ “แกว้ ส”ี ดวงแกว้ จะลอยเสด็จไปมาบ่อยมาก โดยจะเสดจ็ ระหวา่ งวัดศรโี พนสงู กบั วดั โนนดู่
ซง่ึ เปน็ วัดร้างอีกแห่งหนงึ่ ซง่ึ วดั รา้ งทงั้ สองห่างกนั ประมาณ ๑ กโิ ลเมตร

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่พรหมได้ธุดงค์มาพบวัดร้างแห่งน้ี ได้พบพระพุทธรูปเศียร
หกั ซง่ึ มปี า่ ไผ่หุ้มอยู่โดยรอบองคพ์ ระ ท่านได้มาพัฒนาบรู ณะวัดรา้ งแหง่ นี้ และปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้
ซ่อมแซมพระพุทธรปู จนสำ� เรจ็ ซ่ึงเดิมทีวดั ร้างแห่งนี้เป็นสถานทเี่ ข็ดมาก (เจา้ ท่ีแรงมาก) ใครเข้าไป
ใกล้ไม่ไดเ้ ลย มนั เขด็ มาก ใครไปแตะต้อง ไปขุด ไปท�ำอะไรไม่ได้เลย ชาวบ้านเกรงกลวั กนั มาก
เม่อื หลวงป่พู รหมมาอยจู่ งึ พัฒนาสร้างเป็นวดั ข้นึ มาได้ เป็นบารมีธรรมของทา่ น เพราะท่านไดส้ รา้ ง
ของท่านมาแต่ชาติปางกอ่ น เม่อื มาขุดมาบรู ณะวัดก็ไดพ้ ระพุทธรปู ขึน้ มาจากตอไมก้ ม็ ี เปน็ ตอของ
ต้นโพนหมากข่อย นอกจากขุดได้พระพุทธรูปแล้วยังได้ของโบราณข้ึนมาตั้งมากมาย ส่วนเร่ือง

231

ดวงแก้วเสด็จไปมา หลวงป่พู รหมทา่ นกเ็ หน็ แต่ท่านไมไ่ ด้เล่าให้ญาตโิ ยมฟัง นอกจากพวกพระที่
บวชอยกู่ บั ทา่ น ตอ่ มาท่านไดบ้ รรจดุ วงแก้วนีไ้ ว้ในพระพุทธรูป แตไ่ มร่ วู้ า่ บรรจุไว้องค์ไหน หลวงปู่
หนูเพชร ปญฺ าวโุ ธ พระศษิ ย์หลวงปพู่ รหมทา่ นเลา่ วา่ “ดวงแก้วมีทั้งหมด ๓ ดวง คอื ดวงแก้ว
สใี ส ดวงแก้วสีเขยี ว และดวงแก้วสีแดง ดับไปแล้ว ๒ ดวง เหลอื อยู่ ๑ ดวง ปัจจุบนั ดับหมดแลว้ ”

สมัยก่อนแถบบริเวณน้มี ี ๒ วดั วดั หนึ่งอยบู่ ริเวณท่ีตัง้ วดั ศรีโพนสูงในปัจจบุ ัน อีกวดั หนึ่งอยู่
ศาลากลางบา้ นโพธิช์ ัย หลวงปพู่ รหมยา้ ยออกมาอยทู่ น่ี ี้ มาบูรณะวดั นี้ โดยรื้อถอนเสนาสนะวดั น้นั
มารวมที่นี้ บริเวณนนั้ ก็เลยเป็นวัดรา้ ง มแี ต่ท่ีดินวา่ งเปล่า ทางเจ้าอาวาสวดั ศรีโพนสงู กเ็ ลยมอบให้
เปน็ ทีส่ าธารณประโยชน์ และเปน็ ทต่ี ง้ั ศาลากลางบ้านโพธิช์ ัย

ขณะทีห่ ลวงปู่พรหมพกั ทว่ี ดั ศรโี พนสงู วัดขนึ้ อยู่กบั ต�ำบลโพนสูง ต่อมาแยกเปน็ ๒ ตำ� บล
โดยมคี ลองแบง่ เป็นตำ� บลบา้ นถ่อนและต�ำบลโพนสูง ปจั จบุ ันวัดศรโี พนสูงขน้ึ กับตำ� บลบา้ นถอ่ น

ปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านไปเตรียมงานประชุมเพลิงหลวงปู่ม่ัน

หลวงปูม่ ่นั ภูริทตโฺ ต ท่านมรณภาพเมอ่ื วันท่ี ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่พรหม
จิรปุญฺโ ท่านไปเตรียมงานประชุมเพลิงหลวงปู่ม่ัน จากประวัติหลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ ได้บันทึก
เหตกุ ารณ์ในพรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๒ ไว้ดังน ้ี

“หลังจากออกพรรษาแลว้ หลวงปู่พรหมไดเ้ ดนิ ทางพาหลวงปูผ่ างมุ่งหน้าส่วู ัดป่าหนองผือ
นาใน อำ� เภอพรรณานิคม เพอ่ื ประชมุ คณะสงฆเ์ ตรยี มงานประชุมเพลงิ องค์หลวงปูม่ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต
และโอกาสน้ีหลวงปผู่ าง ได้มีโอกาสกราบนมัสการหลวงปขู่ าว อนาลโย หลงั จากไดก้ ราบนมัสการ
หลวงป่ขู าวแล้ว หลวงปกู่ ็ไดก้ ราบขออนุญาตหลวงป่พู รหม ติดตามหลวงปขู่ าวไปธดุ งค์วเิ วกตาม
เทือกเขาภพู าน และไดม้ าแวะพักทีว่ ัดถำ�้ อภัยด�ำรงธรรม (ถ้ำ� พวง) ในเขตอ�ำเภอส่องดาว จงั หวัด
สกลนคร”

งานประชมุ เพลงิ ศพหลวงปู่มั่นในครั้งนั้นถอื เป็นงานทใี่ หญโ่ ตมาก เพ่ือความสงบ เพ่ือความ
สะดวกเรียบร้อยและความเป็นระเบียบงามตาในงาน และเพ่ือให้สมเกียรติวงพระธุดงคกรรมฐาน
ซึ่งมงุ่ เน้นความสงบเรียบงา่ ย ประหยดั ไมห่ รหู รา เปน็ การบำ� เพญ็ บญุ อย่างแท้จริง จงึ ตอ้ งมีการจัด
ประชุมคณะสงฆ์ เพ่ือเตรยี มรองรับงานในทกุ ๆ ด้าน ซ่ึงงานนี้คาดว่าจะมศี ษิ ย์ทง้ั ฝา่ ยบรรพชติ คือ
พระผใู้ หญ่ฝ่ายปกครอง และพระธดุ งคกรรมฐาน สามเณร แม่ชี ทงั้ ฝ่ายคฤหัสถ์ คอื ขา้ ราชการ
พ่อคา้ ประชาชน มารว่ มงานครัง้ สำ� คัญ ครง้ั สุดท้ายกันอย่างเนอื งแน่นคบั คง่ั

การประชุมคณะสงฆค์ รั้งสำ� คัญในครง้ั น้นั มีท่านเจา้ คณุ พระธรรมเจดยี ์ (จูม พนฺธโุ ล) เป็น
ประธานสงฆ์ นับเป็นการประชุมคณะสงฆ์ท่ีพระศิษย์หลวงปู่มั่นมาร่วมประชุมกันอย่างเนืองแน่น

232

เช่น หลวงปู่สิงห์ ขนตฺ ยาคโม หลวงปู่ดลู ย์ อตโุ ล หลวงปู่เทสก์ เทสรฺ สํ ี หลวงปู่ออ่ น าณสิริ
หลวงปขู่ าว อนาลโย หลวงปฝู่ ้นั อาจาโร ทา่ นพอ่ ลี ธมมฺ ธโร หลวงปกู่ งมา จริ ปญุ โฺ  หลวงปู่
พรหม จิรปุญฺโ หลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนโฺ น ทา่ นพระอาจารย์วัน อุตตฺ โม หลวงปหู่ ล้า
เขมปตโฺ ต ฯลฯ

ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านอยู่ช่วยงานประชุมเพลิงศพหลวงปู่มั่น

ในช่วงระหว่างที่หลวงปู่ม่ัน ภูริทตฺโต มรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส อ�ำเภอเมือง จังหวัด
สกลนคร เมื่อวันท่ี ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ จนถึงวันประชุมถวายเพลิงศพ เม่ือวันที่
๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ซง่ึ ถอื เปน็ งานทใ่ี หญโ่ ตมากของวงพระธดุ งคกรรมฐานในสมยั นน้ั นบั เปน็
การรวมตวั ครั้งยิ่งใหญ่ท่ีสดุ ของพระธุดงคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์มั่น

ในวนั ประชมุ เพลิง พระผใู้ หญ่ฝ่ายปกครอง ครบู าอาจารย์พระศษิ ย์ ข้าราชการ พอ่ ค้า
ประชาชน ตลอดจนฆราวาสศษิ ยห์ ลวงปู่ม่ันจากทว่ั สารทศิ ไดเ้ ดินทางมาร่วมงานกันอย่างเนืองแนน่
คับคงั่ ตามท่คี าดการณ์ไว้ ท่อี ยู่ ทพี่ ักปกั กลดตามปา่ แน่นไปหมด บรรยากาศในงานเป็นแบบฉบบั
ของกรรมฐานอย่างแท้จริง คือ ไมม่ มี หรสพ ไมม่ ีการโฆษณาหรอื พดู เรยี่ ไรใดๆ มแี ต่การบำ� เพญ็ บญุ
ล้วนๆ โดยการใส่บาตร สวดมนต์ ฟังธรรม และปฏบิ ัตธิ รรม แมพ้ ระ เณร แม่ชี ผคู้ นจะมากจน
ลน้ หลามเบียดเสยี ดกนั ก็ตาม แต่เหตุการณ์กลบั สงบราบรน่ื ไม่มเี ร่ืองทะเลาะเบาะแว้งกนั อาหาร
กเ็ พียงพอ วตั ถุไทยทานต่างๆ ก็มากมายกองจนล้นเป็นภูเขา ปัจจัยร่วมบรจิ าคทำ� บญุ งานศพกม็ าก
เป็นประวตั ิการณ์ และไมม่ กี ารประกาศหาของหายแม้แตช่ นิ้ เดยี ว

ในระยะนี้หลวงป่พู รหม จริ ปญุ ฺโ ไดน้ ำ� ชาวบา้ นดงเยน็ และละแวกใกลเ้ คยี งไปรว่ มงาน
ทา่ นไดอ้ ยชู่ ว่ ยถวายงานศพรว่ มกบั พระศษิ ยห์ ลวงปมู่ ัน่ โดยเฉพาะการแสดงธรรมและปฏิบัติธรรม
ในตอนค�่ำ ซึ่งวงพระธุดงคกรรมฐานให้ความส�ำคัญมาก ก็จะมีบรรดาครูบาอาจารย์องค์ส�ำคัญๆ
สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันข้ึนแสดงธรรมเป็นประจ�ำทุกคืนตลอดงาน จนถึงวันประชุมเพลิงศพ
หลวงปพู่ รหมทา่ นกเ็ ป็นอกี องค์หนึ่งท่ีได้เมตตาแสดงธรรมในงานดังกลา่ ว

ผลงานของหลวงปู่มั่นกว้างขวางมาก

องค์หลวงตาพระมหาบวั าณสมปฺ นโฺ น ได้เมตตาเทศน์ผลงานของหลวงปู่มน่ั ไวด้ งั น้ี

“กรรมฐานในประเทศไทยมีอย่ทู ุกภาคทเ่ี ป็นลกู ศิษย์หลวงปูม่ ัน่ ประสทิ ธิ์ประสาทให้ แมจ้ ะ
ไม่เปน็ ลูกของท่านจริงๆ ท่อี ยู่กับท่าน แตก่ เ็ ปน็ หลาน คอื ไดร้ ับจากครจู ากอาจารยซ์ งึ่ เปน็ ลูกศษิ ย์
ของทา่ นมาก่อนแลว้ ก็ประสิทธิป์ ระสาทธรรมะให้ แล้วก็เป็นครูเป็นอาจารย์ต่อไป สงั่ สอนญาติโยม

233

ในทีต่ า่ งๆ มจี �ำนวนมาก นลี่ ะ่ เปน็ ผลงานของหลวงปูม่ น่ั เรา เป็นผลงานที่กวา้ งขวางมาก ลกู ศิษย์
ลกู หาองค์ไหนอย่ทู ่ใี ด ถามแลว้ มีแตล่ กู ศษิ ย์หลวงปมู่ น่ั ๆ ไมค่ อ่ ยล่อแหลม มักจะมีหลักมเี กณฑ์
อยเู่ สมอ ไมไ่ ดส้ อนแบบออกนอกลู่นอกทาง ขลงั ไปในที่ตา่ งๆ อยา่ งนไ้ี ม่ค่อยมี ลกู ศษิ ย์ของทา่ น
อาจารย์มน่ั จรงิ ๆ ไมค่ อ่ ยมี สอนไปตามอรรถตามธรรมล้วนๆ ท่านสอนอยา่ งนี้

ท่านมาอยู่ท่ีนี่ (วัดป่าบ้านหนองผือ ต�ำบลนาใน อ�ำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร)
พระเณรก็หลั่งไหลเขา้ มาศกึ ษาอบรมกบั ทา่ นไม่ไดข้ าดเลย เต็มอยใู่ นวดั น้ี เต็มตลอด อยา่ งครบู า–
อาจารย์ทั้งหลายที่ปรากฏชื่อลือนามมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เราอยากจะพูดว่า ร้อยท้ังร้อยมีแต่
ลูกศิษย์หลวงปูม่ ัน่ ทง้ั นั้น ท่ีรำ�่ ลอื อยทู่ กุ วนั น้นี ะ แมท้ ่านจะล่วงไปแล้ว คณุ งามความดีทา่ นไม่ล่วงไป
ก็เหมือนอย่างหลวงปู่ม่ันเรานี่ท่านล่วงไปแล้ว คุณงามความดีของท่านที่ครอบเมืองไทยเราอยู่
เวลานไี้ มไ่ ดจ้ ืดจางไปไหน ครบู าอาจารย์ทั้งหลายซึ่งเปน็ ลกู ศษิ ย์ท่านกเ็ หมือนกันอย่างนัน้ ส่วนมาก
มีแตล่ กู ศษิ ยห์ ลวงปมู่ ่นั ท้งั นั้น นีล่ ะ่ ผลงานของท่านเหน็ อย่างน้ี

แล้วได้ลูกศิษย์เพยี งองคห์ นง่ึ ๆ เปน็ ครเู ป็นอาจารยส์ อนคนนจี้ ำ� นวนมากขนาดไหน นี่ผลงาน
ของท่าน เราจะเอาเงินหม่นื เงินแสน เงนิ ลา้ นมาซือ้ ไม่ไดน้ ะ ครูบาอาจารย์แต่ละองคๆ์ ที่ประพฤติ
ตวั มีหลักมเี กณฑจ์ นกลายเปน็ เพชรน�้ำหน่งึ ขน้ึ มาอยา่ งน้ี เอาคุณค่าของโลกชนิดไหนมาเทยี บไมไ่ ด้
เลย นั่นละ่ จึงเรียกว่าผลงานของทา่ นกวา้ งขวางมาก”

“เพชรน้�ำหนึ่งๆ พอท่านล่วงไป อัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุท้ังนั้นนะ คือ ถ้าลง
อฐั ิกลายเปน็ พระธาตุแลว้ ตีตราเลย เปน็ อื่นไปไม่ได้ เพราะมตี �ำราบอกชัดเจน บอกบทจ�ำกัดไว้
ด้วยนะ อัฐทิ ีก่ ลายเป็นพระธาตนุ ้ี มอี ัฐขิ องพระอรหันตเ์ ท่าน้ัน”

บรรดาครบู าอาจารย์เพชรน้�ำหน่งึ ซ่ึงเป็นพระศษิ ยข์ องหลวงปู่มนั่ ภูรทิ ตฺโต ท่อี งค์หลวงตา
พระมหาบวั าณสมฺปนฺโน ไดร้ บั รองไว้ มดี ังนี้

“หลวงปสู่ ิงห์ ขนตฺ ยาคโม พระอาจารยม์ หาปิน่ ปญฺ าพโล หลวงปูด่ ูลย์ อตุโล หลวงปู่
ออ่ น าณสริ ิ หลวงปชู่ อบ านสโม หลวงป่หู ลยุ จนทฺ สาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปฝู่ ้นั
อาจาโร ท่านพ่อลี ธมฺมธโร หลวงปู่กงมา จริ ปุญฺโ หลวงป่แู หวน สุจณิ ฺโณ หลวงปูต่ อ้ื
อจลธมฺโม หลวงปู่คำ� ดี ปภาโส หลวงป่พู รหม จิรปุญฺโ หลวงปสู่ าม อกิญฺจโน หลวงปู่สมิ
พุทฺธาจาโร พระเทพโมลี (สำ� รอง คุณวุฑโฺ ฒ วดั อโศการาม) หลวงตามหาบวั าณสมฺปนโฺ น
พระอริยเวที (หลวงปูม่ หาเขียน ติ สโี ล) หลวงปเู่ จี๊ยะ จุนฺโท หลวงพอ่ ชา สภุ ทโฺ ท พระอาจารย์
จวน กุลเชฏฺโ พระอาจารยส์ งิ ห์ทอง ธมฺมวโร หลวงป่หู ล้า เขมปตฺโต

234

ทีอ่ อกมาเหลา่ น้มี เี พชรน้�ำหนึ่งถึง ๙๕% ส่วนที่ลดกันลงมานดิ หน่อยๆ ยงั มอี ยู่ ๕% ท่กี ำ� ลงั
จะก้าวจะเขา้ ถึงท่สี ดุ ก็พอดีมรณภาพไปเสยี นลี่ ่ะเพชรน�้ำหน่งึ ของพทุ ธศาสนาแหง่ ชาตไิ ทยของเรา
จากทา่ นผู้ปฏิบัตจิ ริงๆ คยุ้ เข่ยี ขุดค้นหาธาตทุ ีเ่ ลิศเลออยู่ใตด้ นิ คอื กเิ ลสอยู่ขา้ งบน ของเลิศเลอน้ี
อยู่ขา้ งใต้ กเิ ลสเหยียบย่ำ� ไปมา ท่านคุ้ยเขย่ี ขดุ ค้นขน้ึ มาไดป้ รากฏนาม ทา่ นเหล่านีอ้ ัฐิกลายเป็น
พระธาตๆุ ทงั้ นน้ั แหละ

อยา่ งท่านจวนท่ีตกเครื่องบนิ ทา่ นสงิ ห์ทองตกเครอื่ งบนิ น่ีอัฐกิ ็กลายเป็นพระธาตุ ทตี่ ก
เครอื่ งบนิ ห้าองค์หรอื อยา่ งไรคราวนนั้ อฐั ิกลายเป็นพระธาตสุ ององค์ นที่ ราบกันอยู่ก่อนแล้วต้งั แต่
ท่านยังไม่ตาย พอตายไปตกเครื่องบินลงมาก็ตาม ก็กลายเป็นพระธาตุเหมือนกันท่านสิงห์ทอง
หลวงปู่ผาง (จิตฺตคุตฺโต) องค์หนึ่ง อันนี้แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ หลวงปู่ผาง เพชรน้�ำหน่ึง
ร้อยเปอร์เซ็นต์ ท่ีอ�ำเภอมัญจาคีรี เราระลึกได้ตะก้ีน้ีลืมไปเสีย องค์ท่ีเป็นเพชรน�้ำหนึ่งแต่ยัง
ไม่ปรากฏในรายชื่อน้ีมี เราลืมไปเสียองค์ไหนบ้าง หลวงปู่ผางก็เป็นเพชรน�้ำหนึ่ง อัฐิกลายเป็น
พระธาตุเรียบร้อยแล้ว ท่านสุวัจน์ (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) นี้องค์หนึ่ง ท่านสุวัจน์ที่วัดเขาน้อย
บรุ รี มั ย์ น้อี งค์หนึ่งแนน่ อน

น่ีล่ะความเดน่ ดวงของพทุ ธศาสนาเรา จะเด่นขึน้ จากผปู้ ฏบิ ตั ิ ค้นแรแ่ ปรธาตุท่เี ลศิ เลอขน้ึ มา
ให้โลกได้ชม อย่างท่ีออกรายนามเหล่านี้ประเภทเพชรน�้ำหน่ึงๆ ท่านรู้กันต้ังแต่ท่านยังไม่ตายนะ
รกู้ ันก่อนแล้วๆ พอทา่ นตายป๊บั อัฐิก็กลายเปน็ พระธาตุ ประกาศอย่างโจ่งแจ้งขึน้ มา ส่วนมากทา่ น
จะทราบกันกอ่ นแลว้ ในวงกรรมฐานท่านทราบโดยเฉพาะนะ ทา่ นไม่คอ่ ยออกโฆษณา วงกรรมฐาน
ท่านจะรู้ท่านโดยเฉพาะ เหมือนในครัวเรือนของเรารู้เร่ืองกันในครัวเรือนได้ดี นี่วงกรรมฐาน
องค์ไหนเป็นอย่างไรๆ น้ที ่านรู้เร่อื งกนั ได้ดีในวงของทา่ นเอง น่ีพึง่ ออกมาประกาศนะ

หลวงพอ่ ผาง (หลวงปู่ผาง ปริปณุ โฺ ณ) ดงเยน็ และหลวงพ่อผาง (หลวงปผู่ าง จิตฺตคตุ โฺ ต)
ขอนแก่น มัญจาคีรี ผางนก้ี ็อัฐกิ ลายเปน็ พระธาตุ คอื เปน็ พระวัดปา่ บ้านตาดนั้นแหละ ท่านอยู่บ้าน
ดงเยน็ เวลาทา่ นจะเสยี ท่านออกมาจากวดั ปา่ บ้านตาด ท่านมาอยทู่ ่ีบ้านดงเยน็ เสียเงยี บๆ เลย
กลางคืนดกึ สงัด เสยี เงียบๆ เสรจ็ แลว้ อฐั ิของทา่ นกลายเป็นพระธาตุ ท่านผางน่ี

ท่านผางนี้เงียบมากจนคนเข้าใจผิดท่านก็มี คือท่านไม่ค่อยสนใจกับใคร อยู่ในวัดในวา
พระเณรมีจ�ำนวนมากน้อย ท่านไม่คอ่ ยสนใจกบั ใคร ท่านอยลู่ ำ� พงั ทา่ นๆ องค์เดยี วๆ พระบางองค์
เข้าใจท่านผดิ แมอ้ ยู่ในวดั เดยี วกนั ก็ยงั เขา้ ใจท่านผิด ทา่ นทำ� ไมลักษณะเงยี บๆ ขรึมๆ มกั จะอยู่
คนเดียว เขาอยากจะว่าเซอ่ ๆ แต่เขาไมก่ ล้าพูด ความจรงิ ทา่ นสั่งสมธรรมท่ีเลศิ เลอลำ� พงั คนเดยี ว
กลางคนื เวลาตาย ท่านกต็ ายเงยี บเลยนะ น่ีอฐั ิท่านกลายเปน็ พระธาตทุ ่านผาง ออกมาจากวดั ปา่ –

235

บ้านตาดมาอยู่นั้น แล้วท่านอาจารย์พรหม บ้านดงเย็น ท่านผางก็บ้านดงเย็น บ้านดงเย็นนี้
มีสององค์ที่มีเพชรน้�ำหน่ึง คือ อาจารย์พรหมองค์หน่ึง แล้วท่านผาง ก็บ้านดงเย็นเหมือนกัน
อัฐิกลายเป็นพระธาตุ”

พ.ศ. ๒๔๙๓ จ�ำพรรษาวัดศรีโพนสูง บูรณะพระพุทธรูปเศียรหัก

จำ� เดมิ ท่ีวัดศรีโพนสงู อนั เป็นวัดรา้ ง มสี ภาพเป็นป่าทบึ มพี ระพุทธรปู เกา่ แก่อยู่องค์หน่ึง
ตอ่ มาถกู ชา้ งพลายหกั เศยี ร ช้างพลายตวั น้เี ป็นชา้ งหนมุ่ มาจากดงพระ เขตอำ� เภอสอ่ งดาว มนั มา
เทย่ี วหากินลำ� พงั ตวั เดยี วโดยใช้งวงหกั ไผ่ หักไมผ้ ล กินใบไผ่ผลไม้ หากนิ ตามทางมาเรื่อยๆ ตาม
ประสาช้างหน่มุ วยั คะนอง จนมาถึงบรเิ วณทีป่ ระดิษฐานพระพุทธรูปมีปา่ ไผห่ ุม้ อยู่ ซึ่งอยู่ในบรเิ วณ
วดั ร้างบ้านถอ่ น แต่ก่อนเปน็ ปา่ ไผส่ งั คำ� (ไผ่เหลือง) ชา้ งมันมาเห็นใบไผย่ าวๆ มันก็เอางวงมันดึงเอา
ใบไผ่มากนิ ก็ถกู เอาคอพระพทุ ธรปู ลม้ ลง เศียรพระกเ็ ลยขาด ขาดแล้วกด็ ึงใบไผ่กิน อิม่ แลว้ มนั กไ็ ป
ตามทุ่งนา ในเวลาไม่นานนกั มนั ก็ไปลม้ ตายบรเิ วณบา้ นหนามแท่ง ซึ่งมีกกสงั (ต้นกะสงั ) อยูน่ ่ัน
เขาเลยเรียกโนนกกสงั ห่างจากวัดร้างบ้านถอ่ นประมาณ ๒ กิโลเมตร ช้างมนั นอนชกั ดิ้นตายบนพนื้
ดนิ ทรายอย่างเจ็บปวดทุรนทุราย ท�ำให้บรเิ วณนั้นกลายเป็นหลุมเปน็ สระ

สาเหตุท่ีช้างพลายตัวนั้นมันล้มตายลงอย่างกะทันหัน เป็นเพราะผลกรรมท่ีมันคึกคะนอง
ไปท�ำให้พระพุทธรูปเศียรหัก แม้มันจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน แม้มันจะไม่รู้ว่าที่มันท�ำไปน้ันเป็นโทษ
เป็นกรรมหนกั กต็ าม แต่มนั กต็ อ้ งชดใช้ผลกรรมนั้น เพราะพระพุทธรูปเป็นส่ิงศกั ด์ิสิทธิ์ เปน็ วตั ถุ
เคารพบูชาชน้ั สงู และเปน็ สัญลักษณ์องค์แทนพระพุทธเจา้ ย่อมมีพุทธานุภาพ และยอ่ มมีเทวดา
คอยปกปกั ษ์รกั ษา การทำ� ลายพระพุทธรูปจึงเปน็ กรรมหนัก

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เมือ่ หลวงปูพ่ รหม จริ ปุญฺโ ขณะอยู่จำ� พรรษาทว่ี ัดศรีโพนสูง มพี ระจาก
ที่อ่นื มาอย่จู �ำพรรษา พรรษานั้นมีพระนอ้ ยมากไมก่ อ่ี งค์ เพราะสมัยนั้นยังไมม่ คี นมาศรทั ธาขอบวช
ในระหว่างนกี้ ส็ ร้างศาลาหลงั เลก็ ดว้ ยไมท้ ั้งหลัง ตรงบริเวณสระน้�ำที่ท่านขุดไวห้ นา้ โบสถ์ โดยศาลา
อยใู่ นพื้นดนิ ครึ่งหนึ่ง อยใู่ นสระน�ำ้ คร่งึ หน่งึ และสร้างกุฏิกรรมฐาน โดยกุฏขิ องหลวงปอู่ ยู่ด้านหลงั
มีทางจงกรมอยดู่ ้านลา่ ง ลกั ษณะเหมอื นกับที่วัดปา่ บ้านหนองผอื

ตอ่ มาหลวงปู่พรหมท่านเปน็ ผนู้ �ำชักชวนชาวบา้ นถ่อน ชว่ ยกันบรู ณะฟน้ื ฟูวดั และซอ่ มแซม
พระพทุ ธรปู เศยี รหกั องค์นี้ โดยหลวงป่ทู ่านลงมอื ดว้ ยองคท์ า่ นเอง ช่วงนั้นก็มญี าตโิ ยมมาช่วยกัน
ตามธรรมดา ไม่มากเหมอื นทกุ วนั น้ี ถา้ เปน็ เหมอื นทุกวันน้ไี ม่มีท่ีอยู่ แตก่ อ่ นคนยงั ไม่สนใจ หลวงปู่
บอกชาวบ้าน ก�ำนันผู้ใหญ่บ้านเขาก็เกณฑ์กันมาช่วยทีละหมู่บ้าน สมัยนั้นมี ๗ – ๘ หมู่บ้าน
หมุนเวียนกันมาท�ำทุกวันจนครบทุกหมู่บ้านแล้วก็หมุนเวียนรอบใหม่ ซ่อมอยู่ประมาณ ๒ – ๓

236

เดอื นก็แล้วเสร็จ ซง่ึ ฝีมือการปน้ั พระพทุ ธรูปของหลวงปู่จะเปน็ เอกลักษณ์ดังกล่าวมา โดยท่านปั้น
องค์ใหม่ครอบองค์เดมิ ทีเ่ ศยี รหกั

จากนั้นหลวงปู่ท่านได้สร้างโบสถ์หลังเล็กด้วยไม้ทั้งหลังเพื่อครอบพระพุทธรูปองค์น้ี และ
สร้างฐานพระพุทธรูป เป็นที่น่าสังเกต คือ ฐานท่ีประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ท่ีบูรณะขึ้นใหม่นี้
หลวงปู่ท่านสร้างฐานไว้ไม่สูงมากนัก แม้พระพุทธรูปเมื่อประดิษฐานอยู่ในโบสถ์จะแลดูต�่ำและ
ไมง่ ามเดน่ สงา่ กต็ าม แตเ่ จา้ อาวาสองค์ต่อๆ มาทกุ องค์ ทา่ นตา่ งให้ความเคารพเทิดทนู บชู าในองค์
หลวงปู่ และเคารพในรอยมือรอยเทา้ ทีห่ ลวงปไู่ ดเ้ มตตาฝากไว้ จงึ ไมม่ ีองค์ใดไปร้อื ถอนและทำ� ฐาน
พระพทุ ธรปู ข้ึนใหม่

ชว่ งน้ันหลวงปูพ่ รหมท่านตรากตร�ำทำ� งานอยา่ งหนัก พาบูรณะวัด พาซ่อมแซมพระพุทธรูป
กลางวนั ท�ำงาน กลางคนื กภ็ าวนาเดินจงกรม นั่งสมาธิ ท่านไมค่ อ่ ยไดพ้ กั ผ่อนหลบั นอน จนท่านปว่ ย
ไม่สบาย ชาวบ้านก็มาบอกนายสุนทร “ปู่ป่วยแล้ว” นายสุนทรก็รีบไปฉีดยาถวายน�้ำเกลือให้
หลวงปู่ ท่านก็กลับมามีแรง แข็งแรงเหมือนเดิม ตั้งแต่นั้นมาก็ได้ดูแลสุขภาพหลวงปู่ตราบจนวัน
ทา่ นถงึ แก่มรณภาพ

หลวงปู่พรหมแก้ชาวบ้านนับถือผี

สมัยก่อนทางภาคอีสานส่วนใหญ่ผู้คนยังนับถือผี ต่อมากองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐาน
สายท่านพระอาจารยเ์ สาร์ ท่านพระอาจารยม์ ัน่ เดินจาริกธุดงคม์ าเมตตาโปรด ชาวบ้านจงึ พากัน
เลกิ นบั ถือผี หนั มานบั ถอื พระรตั นตรัยกนั มากมาย รวมทั้งชาวบ้านถ่อนและบา้ นในละแวกใกล้เคียง
ส่วนใหญ่ก็นับถือผี เม่ือหลวงปู่พรหมท่านเดินธุดงค์มาเมตตาโปรด ท�ำให้บรรยากาศในวัดและ
ในหมบู่ ้านกเ็ ปล่ียนแปลงดขี ้ึนอย่างเห็นได้ชดั วัดร้างก็มีสภาพดขี ้นึ มพี ระมาอยู่ประจ�ำ ชาวบา้ นก็
มที พี่ ่งึ ทางใจ ความเป็นอยู่คุณภาพชีวติ ต่างๆ ก็ดีข้นึ ชาวบ้านจากไมม่ อี ะไรเป็นที่พงึ่ กพ็ ากนั พ่ึงผี
นับถือผี พอมีหลวงปู่พรหมซึ่งเป็นพระองค์ส�ำคัญมาเมตตาโปรด ก็พากันพึ่งพระ นับถือพระ ได้
อปุ ัฏฐากรบั ใชพ้ ระ และไดม้ าบูรณะพฒั นาวดั ร้างกับหลวงปู่

หลวงปูพ่ รหมท่านมกี ติ ติศัพท์ปราบทฐิ ิชาวบา้ นนบั ถอื ผี หลวงปพู่ รหมมาอยนู่ ี้ กอ่ นหนา้ นน้ั
แถวบ้านถอ่ นนช้ี าวบา้ นกน็ บั ถอื ผีเหมอื นกนั เรอื่ งเปน็ หมอสูตรหมอเซา (หมอผี – หมอธรรม) ผไี ท้
ผีโอะ๊ ไมว่ ่าจะเปน็ ผอี ะไร มันนานแลว้ ท่านกม็ าปราบมาแก้ทฐิ ชิ าวบ้าน จนพากนั เลกิ นบั ถือผี หนั มา
นับถือพระรัตนตรัย ท่านเทศน์ให้ลูกศิษย์ฟังว่า “ของบ่มีตนมีโต (ของไม่มีตัวตน) ของไม่จริง”
เรอื่ งบงั บด วิญญาณ พญานาคไมป่ รากฏ มาอยูน่ ้กี ็หลายปีแลว้ ไมป่ รากฏ แต่ก่อนมี มกี ไ็ มไ่ ด้เห็นเอง

237

ด้วยตานะ ได้ยินแต่ชาวบ้านพูด พ่อแม่เล่าต่อๆ กันมา ส่วนเรื่องเล่าเปรตผีอะไรในวัดนี้ก็จะ
ไม่ปรากฏ ท่ีแรงๆ แถวน้ีก็ไม่มี แต่ผีมาท�ำคน มาเข้าสิงคน แถวอ่ืนข้างนอกแต่ก่อนมีมาก แล้ว
หลวงปู่ท่านก็ไปเมตตาโปรดจนหายไปเรื่อยๆ ด้วยอ�ำนาจพุทธคุณล้วนๆ ชาวบ้านแถบน้ันเลยได้
อานสิ งส์ ได้ท่ที �ำกนิ กัน

อน่ึง สมยั กอ่ นสภาพพน้ื ทีท่ างอสี าน มสี ภาพเปน็ ป่าเปน็ ดงตน้ ไมใ้ หญ่ สถานทมี่ ันแรงมาก
พวกเทพ พวกบังบดมิจฉาทิฐกิ ม็ ี และพวกเปรต ผี วญิ ญาณ ทั้งดุรา้ ยและหวงสถานท่ีก็มีมาก ดงั นนั้
การทำ� มาหากิน ทำ� นาทำ� ไรก่ ย็ าก หากทำ� ไมด่ ี ทำ� ไมถ่ กู ตอ้ ง หรือไปลบหลูก่ ็เกดิ ล้มปว่ ยเจบ็ ตายได้
ครูบาอาจารย์พระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่ัน เมื่อท่านไปบ�ำเพ็ญภาวนาในสถานท่ี
นั้นๆ ทา่ นกเ็ ทศนาธรรมและแผเ่ มตตาสงเคราะหพ์ วกเทพ พวกบงั บดให้เปน็ สัมมาทิฐิ และชว่ ย
ปลดปลอ่ ยเปรต ผี วญิ ญาณตา่ งๆ เหมือนกับทดี่ งค�ำเทาน่ี “คำ� เทา” ทีว่ ดั อีกวัดหน่งึ ไมไ่ กลจาก
วดั ศรีโพนสูง สถานท่ีนน่ั มนั กแ็ รงมาก คนเฒา่ คนแกเ่ ล่ากนั ว่า ถา้ เปน็ วันพระใหญ่ หรือวนั สำ� คัญทาง
พระพุทธศาสนาจะได้ยินเสียงฆอ้ งเสยี งกลองของพวกเทพ พวกบังบดก็มี

เรื่องพุทธานุภาพความศักดิ์สิทธ์ิวัดศรีโพนสูง

พุทธานุภาพ หรือ อานุภาพขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความศักดิ์สิทธิ์
อันเกิดจากพระพุทธองค์ จึงมีอ�ำนาจมากมายมหาศาลและมีความมหัศจรรย์มาก ผู้ที่ประสบ
เหตุการณ์เก่ียวกับพุทธานุภาพ ย่อมเกิดความอัศจรรย์ใจและย่ิงเชื่อม่ันเคารพบูชาในองค์สมเด็จ–
พระสัมมาสมั พุทธเจ้า ดงั ในครั้งพทุ ธกาลพุทธบริษทั ประสบกบั พุทธานุภาพ จนเกิดความตกตะลงึ
ต่ืนเต้น อศั จรรยใ์ จในพุทธานุภาพ ดังเชน่ คราวปราบทฏิ ฐพิ ระประยรู ญาติ พระองคบ์ นั ดาลฝน
โบกขรพรรษ หรอื ฝนดุจนํ้าตกลงในใบบวั ฝนชนิดน้ีใครอยากจะใหเ้ ปยี กก็เปยี ก ถ้าไมอ่ ยากใหเ้ ปียก
กไ็ ม่เปียกเหมอื นนํ้าตกลงบนใบบวั หรือคราวทรมานชฎิล ๓ พีน่ อ้ ง ดงั นี้

“วันหน่ึงมหาเมฆตั้งข้ึนมิใช่ฤดูกาล บันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้�ำเป็นห้วง
ใหญ่ไหลท่วมไปในท่ีทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้น ธรรมดาว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จสถิตอยู่ ณ
ประเทศใด แมท้ น่ี น้ั นำ้� ทว่ ม กท็ รงอธิษฐานมใิ หน้ �ำ้ ทว่ มเขา้ ไปในที่นน้ั ได้ และในครัง้ นัน้ ก็ทรงดำ� ริวา่
ตถาคตจะยังน้�ำน้ันให้เป็นขอบสูงข้ึนไปในทิศโดยรอบ ท่ีหว่างกลางนั้นจะมีพื้นภูมิภาคจะราบเรียบ
ขน้ึ ปกติ ตถาคตจะจงกรมอยใู่ นทีน่ ้ัน แลว้ ก็ทรงอธษิ ฐานบันดาลใหเ้ ปน็ ดังพทุ ธด�ำรนิ ั้น

ฝา่ ยอุรุเวลกสั สปนน้ั คิดวา่ พระมหาสมณะนี้ น้�ำจะทว่ มเธอหรือไมท่ ว่ มประการใด หรือจะ
หลีกไปสู่ประเทศอื่น จึงลงเรือพร้อมกับชฎิลท้ังหลาย รีบพายไปดูโดยด่วนถึงประเทศที่พระองค์
ทรงสถติ กเ็ หน็ น�ำ้ สงู ขนึ้ เปน็ ก�ำแพงล้อมอยโู่ ดยรอบ แลเหน็ พระบรมศาสดา เสดจ็ จงกรมอยใู่ นพ้นื

238

ภูมภิ าคปราศจากนำ้� จงึ ส่งเสยี งรอ้ งเรยี ก พระพุทธเจา้ ขานรบั ว่า “กสั สป ! ตถาคตอยทู่ ีน่ ี”่ แลว้ ก็
เสดจ็ เหาะข้ึนไปบนอากาศเลอ่ื นลอยลงสู่เรือของกัสสปชฎิล กสั สปชฎิลกด็ ำ� รวิ า่ พระมหาสมณะนี้มี
อทิ ธฤิ ทธ์เิ ป็นอันมาก แตถ่ งึ มีอานุภาพมากอยา่ งนัน้ ก็ยงั ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา

พระพทุ ธองค์ทรงด�ำรแิ ละตรสั สอนกสั สปชฎลิ จนเกดิ ความสลดใจก้มศีรษะลงแทบพระบาท
กราบทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาจงึ ตรสั แกเ่ ธอวา่ “กัสสป ท่านเปน็ อาจารย์เจา้ สำ� นกั ท่ยี ิง่ ใหญ่
มีบริวารมากกว่า ๕๐๐ คน ท่านจงบอกให้บริวารของทา่ นทราบท่ัวกันกอ่ น ตถาคตจงึ จะอปุ สมบท
ใหท้ า่ น”

แมใ้ นสมัยปัจจบุ ัน องค์สมเด็จพระสัมมาสมั พุทธเจ้าปรนิ ิพพานไปแล้วกต็ าม แต่พระบรม–
สารีริกธาตุก็ยังคงแสดงปาฏิหาริย์ให้เกิดข้ึนมากมาย ท�ำให้ชาวพุทธได้ประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์
ของพุทธานุภาพ ไดเ้ กิดความเลอ่ื มใสศรทั ธาในพระพุทธศาสนา

หลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ  ท่านเองกเ็ คยมปี ระสบการณโ์ ดยตรงเก่ียวกบั พุทธานภุ าพ ตั้งแต่
คราวธุดงค์ในประเทศพม่า ท่านพบวัดร้างและพระพุทธรูปแตกหักแสดงพุทธานุภาพ ดังท่ีกล่าว
มาแล้ว เม่ือคราวหลวงปพู่ รหมและชาวบ้านไดม้ าบรู ณะพัฒนาวัดศรีโพนสงู ซ่งึ เปน็ วัดร้าง ท่านได้
อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระอรหันต์บรรจุอยู่ใต้พระประธาน และท่านได้สร้าง
โบสถ์ครอบไว้

ด้วยหลวงปู่พรหมท่านมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ลูกหาเป็นอันมาก เมื่อคราวท่ีท่านอยู่พัก
จ�ำพรรษาท่ีวัดศรีโพนสูง ก่อนท่ีท่านจะกลับไปจ�ำพรรษาที่วัดประสิทธิธรรม ซ่ึงเป็นวัดบ้านเกิด
ของท่าน ท่านได้เมตตาสั่งบรรดาศิษย์ท้ังหลายด้วยความเมตตาห่วงใยว่า “ถา้ บ้านเมืองเดือดรอ้ น
ให้เข้ามาอาศัยอยู่ท่วี ดั น”้ี

เหตุผลท่ีหลวงปู่พรหมท่านได้เมตตาส่ังไว้เชน่ นัน้ เพราะวา่ พระพทุ ธรูป แมจ้ ะเป็นอฐิ หิน
ปนู ทราย หรอื โลหะก็ตาม เมอ่ื ถกู สร้างขนึ้ เปน็ สัญลักษณ์องคแ์ ทนพระพทุ ธเจา้ แลว้ ย่อมเปน็ วัตถุ
บูชาช้ันสูงมีเทวดาปกป้องรักษา ย่อมมีพุทธานุภาพ แม้พระพุทธรูปแตกหักก็ยังมีพุทธานุภาพ
มากมาย ยง่ิ เปน็ พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระอรหันต์ ซง่ึ เป็นกระดูกอัฐิและเป็นชิน้ สว่ น
อวยั วะโดยตรงของพระพุทธเจา้ และพระอรหันตสาวกด้วยแล้ว ย่อมมีพทุ ธานุภาพมากกวา่ ย่อมมี
อานภุ าพมากมายมหาศาล และย่อมค้มุ ครองคุม้ ภยั ตอ่ โลกและชีวิตแหง่ สรรพสตั ว์ทั้งหลาย

ด้วยเหตุผลประการต่างๆ นี้ เม่ือบ้านเมืองเกิดเหตุร้ายต่างๆ หลวงปู่พรหมท่านจึงส่ังให้
ลูกศิษย์เข้ามาหลบภัยที่วัดศรีโพนสูง ลูกศิษย์ผู้เชื่อและยึดมั่นต่อพุทธานุภาพอย่างแท้จริง ด้วย
ปญั ญาอันชัดแจ้งเมื่อนนั้ แมท้ งั้ โลกนแี้ ละโลกหน้า พวกศษิ ย์ทง้ั หลายจะพน้ จากภยั ต่างๆ

239

เรอ่ื งพทุ ธานภุ าพท่ีวดั ศรโี พนสูง ในกาลต่อมายงั ปรากฏให้พระบวชใหม่ไดป้ ระสบกบั ความ
ศกั ดส์ิ ิทธขิ์ องพระพทุ ธรูปท่หี ลวงปพู่ รหมสรา้ งประดษิ ฐานในพระวิหาร ดังเรื่องเล่าตอ่ ไปนี้

“ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ มขี า้ ราชการทา่ นหนงึ่ ได้ลาบวช ๑ พรรษา กับหลวงปู่บุญมี านิสฺสโร
(พระศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปญุ โฺ ) ทีว่ ัดศรีโพนสงู บวชแลว้ อยูจ่ ำ� พรรษาดว้ ยกัน ๒ องค์
นอกน้ันมีแต่เณร พระพุทธรูปใหญ่ที่หลวงปู่พรหมท่านสร้างในพระวิหาร แต่ก่อนมันจะเป็นแท่น
เป็นแทน่ ตรงกลาง และมรี ่องบรรจุกระดูก ผหู้ ญิงจะขนึ้ ไปข้างบนไมไ่ ด้

วนั หนง่ึ ตอนกลางวนั พระบวชใหม่ไปท่องหนงั สือแลว้ ก็ไปจำ� วัดอยู่บนแท่นพระพุทธรปู ใหญ่
ที่แท่นเขียนจารึกไว้ว่า “หลวงปู่พรหมสร้างปี ๙๘ (๒๔๙๘)” เหมือนกับไม่หลับ เหมือนกับจริง
มีคนโบราณสงู ใหญ่ขนาดแปดศอก ขี่ม้าขาวตวั ใหญ่มาจอดอย่ตู รงหนา้ พระวิหาร แล้วเดินข้ึนไป
เอาเท้ามาเหยียบหน้าอกแล้วถามว่า “มึงมานอนท�ำไมอยู่ตรงนี้” ก็เลยมาเล่าให้หลวงปู่บญุ มีฟัง
“พระอาจารย์ ผมไปนอนอยู่น้ัน ฝันไปว่ามีหลวงปู่ใหญ่ เป็นคนแบบโบราณข่ีม้าขาวมา” “โอ้ !
หลวงปู่ศรี” หลวงปบู่ ุญมวี ่า หลวงปศู่ รเี ป็นเจ้าที่อยู่ท่ีนี่ “อย่าไปนอนนะทนี ”้ี ทา่ นบอกว่าอยา่ ไปนอน
เพราะว่าช่วงอะไรน่ี พวกพรหม พวกบังบดจะเข้ามาสวดมนต์ ตั้งแต่น้ันมาก็ไม่เคยเข้าไปนอนบน
แท่นข้างบนอีกเลย เพราะตรงนั้นมันจะมีพวกกระดูกใส่ตามร่อง ข้ึนไปพระวิหารกราบแลว้ กล็ งมา
ไมก่ ลา้ ไปนอน”

ความศักด์ิสิทธ์ิในพระวิหาร สมัยก่อนพระยังเล่ากันว่า เวลาจะข้ึนทาสีหรือเช็ดท�ำความ
สะอาดพระพุทธรูป ถา้ ไม่กราบคารวะขอขมากอ่ น ขกี้ ลากกนิ หัวแลว้ ปกตทิ างวดั ไมใ่ ห้คนนอนพัก
ในพระวิหาร เพราะว่าหลวงปเู่ จา้ อาวาสองคก์ อ่ นๆ ทา่ นสงั่ ไว้วา่ ชว่ งตอนดกึ ๆ พวกเทวดาจะลงมา
ไหวพ้ ระสวดมนต์ กเ็ ลยไม่ใหเ้ ข้าไปนอน ถ้านอนอยใู่ นโบสถ์ หรือศาลานีไ่ ม่เป็นไร

เทวดามาฟงั เทศนฟ์ ังธรรมหลวงปพู่ รหม ตงั้ แตส่ มยั ท่านอยกู่ ็เป็นไปได้ ท่นี ้มี ันแรง เป็นพวก
บงั บดนี้แหละ ถ้าโดยมากจะเป็นเทพ ที่บรเิ วณนีข้ ดุ เจอไห เป็นแบบไหธรรมดา เจอของโบราณในนี้
เต็มไปหมด ไปป์ดินก็มีมาก อีกไหหนึ่งท่ีว่าคล้ายๆ บ้านเชียง แล้วท่ีเจอโครงกระดูก เจอไปป์
บหุ รที่ องคำ� มนั จะอยู่โนนโพธโ์ิ นน้

อนง่ึ ในขณะทีห่ ลวงปพู่ รหมอยู่จ�ำพรรษาท่วี ัดศรโี พนสูง ทา่ นพาชาวบ้านบรู ณะพฒั นาวดั
ท่านพาสร้างวัด สร้างศาสนวัตถุไปเรื่อยๆ เมื่อถึงหน้าแล้งนี้ ท่านไม่ได้อยู่ ท่านจะไปบ้านดงเย็น
จากน้นั ทา่ นก็ไปๆ มาๆ ระหวา่ งวดั ศรีโพนสงู กบั วัดประสทิ ธธิ รรม

240

พ.ศ. ๒๔๙๔ จ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรม

เม่ือหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านสร้างพระอุโบสถพร้อมพระประธานปูนปั้นขนาดใหญ่
ทว่ี ัดผดงุ ธรรมเสรจ็ และฉลองในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซ่ึงนบั เปน็ พระอโุ บสถหลังแรกท่ที ่านสร้างข้ึน และ
ถัดมาทา่ นบูรณะพระพทุ ธรูปทวี่ ดั ศรโี พนสูงจนแล้วเสรจ็ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ จากนน้ั ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔
หลวงปูพ่ รหม ท่านกลบั มาจ�ำพรรษาท่วี ัดประสิทธิธรรม บา้ นดงเยน็ อกี คร้งั

ในพรรษานหี้ ลงั จากออกพรรษา หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ ท่านได้ธดุ งค์กลับภมู ลิ ำ� เนาเพื่อ
อปุ ัฏฐากหลวงปูพ่ รหม หลงั จากพกั อยนู่ านพอสมควรแล้ว หลวงป่ผู างก็กราบนมัสการลาหลวงปู่
พรหมออกเที่ยววเิ วกตอ่ ไป

พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้ศิษย์ฆราวาสอุปัฏฐากใกล้ชิด

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ หลวงปูพ่ รหม จิรปุญโฺ  ท่านกลับมาพกั ที่วดั ศรีโพนสูง ท่านเปน็ ท่ีพง่ึ
ทางใจและเปน็ ทเี่ คารพกราบไหวบ้ ชู าของชาวบ้านถ่อน ในปีน้มี ขี า้ ราชการครมู ากราบถวายตวั เปน็
ศิษย์ ชือ่ ครูชาย วงษ์ประชุม และตอ่ มาครูชายไดเ้ ปน็ ศษิ ยฆ์ ราวาสผู้หน่ึงทีไ่ ดเ้ ขา้ ไปอปุ ัฏฐากรบั ใช้
หลวงป่อู ยา่ งใกล้ชดิ ดงั น้ี

“คุณครูชาย วงษ์ประชุม มารู้จักกับหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ คร้ังแรกประมาณปี พ.ศ.
๒๔๙๕ โดยคณุ ครชู ายไดม้ าเป็นครสู อนทีโ่ รงเรียนบ้านหนามแทง่ และมาแตง่ งานกับคณุ ครูค�ำฟอง
วงษ์ประชมุ (กองแกว้ ) แล้วตงั้ หลกั ปกั ฐานอยู่ท่บี า้ นถอ่ น ตำ� บลโพนสงู อำ� เภอสว่างแดนดนิ จงั หวดั
สกลนคร ชว่ งเวลาน้ันหลวงปูพ่ รหมไดม้ าพักทวี่ ดั ศรีโพนสงู (วดั ทุ่ง) บ้านถ่อน คณุ ครชู ายไดม้ าร้จู กั
กบั หลวงปู่ โดยมีนายแก้ว กองแก้ว ซึง่ เปน็ พ่ชี ายของคณุ ครคู ำ� ฟอง และได้ท�ำหน้าท่ีเป็นมัคนายก
วดั ศรีโพนสูง นายแกว้ ไปกราบไหว้ ไปปฏิบัตริ บั ใชห้ ลวงปทู่ ่ีวัดอยเู่ ป็นประจำ� ตอ่ มาได้พาครชู ายไป
ฝากถวายตัวเป็นลกู ศษิ ย์ตามประเพณชี าวบ้านในสมยั นั้น

เม่ือครูชายมารู้จักหลวงปู่พรหมครั้งแรกท่ีวัดศรีโพนสูง ก็เกิดความประทับใจในสภาพวัด
ซ่ึงสะอาดเงียบสงบ และเกดิ ความเคารพเล่อื มใสในข้อวตั รปฏปิ ทาของหลวงปู่เป็นอันมาก และท่ี
สำ� คัญเพราะครูชายเคยเปน็ สายบุญสายกรรมของหลวงปูน่ น่ั เอง ครชู ายและครูค�ำฟอง ศรีภรรยา
ต่างให้ความเคารพศรัทธาในหลวงปู่พรหมเป็นอันมาก และได้ติดตามอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่อย่าง
ใกลช้ ิด แมห้ ลวงป่ทู ่านกลบั ไปวัดประสิทธธิ รรมกไ็ ด้ตดิ ตามมารับใช้ ตราบจนวันหลวงปมู่ รณภาพ
ครูทั้งสองรบั ใชห้ ลวงปอู่ ยา่ งต่อเนอ่ื งยาวนานนบั สิบกวา่ ปี จนได้รับความเมตตาไว้วางใจจากหลวงปู่
แม้ก่อนหลวงปู่จะมรณภาพ ท่านได้ไปท�ำฟัน และได้เมตตามอบฟันของท่านให้ครูชายน�ำกลับไป
กราบไหวบ้ ชู าทบี่ ้าน ซึง่ ต่อมาฟันซ่ีนน้ั ไดแ้ ปรสภาพเป็นพระธาตุ”

241

ครูชาย และ ครูค�ำฟอง วงษ์ประชุม เป็นฆราวาสครอบครัวหน่ึงท่ีเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับ
ประวัติหลวงป่พู รหม จริ ปุญโฺ  ในบั้นปลายคอ่ นขา้ งมาก ครูทง้ั สองท่านรับราชการจนเกษยี ณอายุ
นับเป็นครอบครวั ครูทีบ่ �ำรุงพระพุทธศาสนา ปจั จบุ นั ครูทั้งสองทา่ นต่างได้ถึงแกก่ รรม

ท่านสอนศิษย์ฆราวาสไม่ให้เล่นหวย

การเลน่ หวยเสยี่ งโชค เปน็ การพนันชนดิ หนึ่ง และเปน็ เรือ่ งปรกติของสงั คมไทย ซึง่ คนไทย
สว่ นใหญน่ ิยมซอื้ หวยไวล้ ุ้นโชคกัน รวมทงั้ คนภาคอีสาน คนทชี่ อบเสี่ยงโชค บางรายกไ็ ปสงั เกตหรอื
ไปฟังครบู าอาจารยแ์ ล้วกม็ าตีเลขหวยกัน บางรายก็ไปเอ่ยปากตรงๆ ขอเลขกับครูบาอาจารย์กม็ ี
ซึ่งครูบาอาจารย์ในวงกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ม่ัน ท่านจะไม่ส่งเสริมการเล่นหวย เพราะ
ขัดกบั หลักธรรมค�ำสอนในพระพุทธศาสนา และถือเป็นอบายมุข อนั เป็นหนทางไปสู่ความฉบิ หาย
ของโภคทรพั ย์ และน�ำไปสู่ความทุกข์เดอื ดร้อนประการตา่ งๆ

สมัยหลวงป่พู รหม จริ ปญุ โฺ  ท่านไปอยบู่ า้ นถอ่ นก็เช่นกัน ชาวบ้านแถวน้ันก็ชอบเลน่ หวย
เสย่ี งโชคกันแล้ว ชาวบา้ นเขามาวดั กห็ วงั จะไดเ้ ลขหวยจากหลวงปู่ แต่หลวงปูท่ ่านจะไม่สง่ เสริมให้
ชาวบา้ นเลน่ หวยกันเลย ทา่ นไมเ่ คยให้หวยกับชาวบ้าน และทีส่ ำ� คัญท่านส่งั สอนไว้เลยว่า “อย่าไป
พากันเล่นกันซ้ือเด้อ (นะ) ของบ่มีโตมีตน (ของไม่มีตัวตน)” ท่านพูด “ถ้าเขาหมุนอยู่ทางน้ี
กลางคืน พรุ่งนี้จึงออกน่ี ทุกข์ตายนะ” เหมือนอย่างคนที่เขาบอกเบอร์ใบ้หวย มีคนไปซื้อแล้ว
มันไม่ออก มันก็เสียเงินเสียทอง มันก็ทุกข์ ท่านส่ังก�ำชับลูกศิษย์ผู้อุปัฏฐากใกล้ชิด ไม่ให้เล่นหวย
ซอ้ื ไปแลว้ มนั กไ็ มถ่ ูก ท่านไม่ให้ซอื้ เลย ลกู ศิษยก์ ็จดจำ� ทำ� ตามทท่ี ่านสง่ั ก็เลยไม่เลน่ หวย ส่วนคนที่
ชอบซื้อหวย เขาซอื้ หวยเปน็ ประจำ� จนตดิ หวย เขากไ็ มเ่ ลกิ ซ้อื หวย

พ.ศ. ๒๔๙๕ จ�ำพรรษาวัดผดุงธรรม

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ หลวงปพู่ รหม จิรปญุ โฺ  ทา่ นได้มาจ�ำพรรษาท่ีวัดผดงุ ธรรม การกลับมา
จำ� พรรษาในครงั้ นี้ ท่านมีเจตนาสรา้ งวัดผดุงธรรมเป็นทั้งส�ำนักเรยี นปรยิ ัติและส�ำนักปฏิบัตธิ รรมอยู่
ในวัดเดียวกัน โดยครูบาอาจารย์และคนเฒ่าคนแกไ่ ดเ้ ลา่ เรอื่ งนไี้ ว้ดงั นี้

“วัดผดงุ ธรรม หรือวัดใน ในสมัยทีห่ ลวงป่พู รหมมาพฒั นาในระยะแรก ท่านจะท�ำเปน็
ส�ำนกั เรยี นปรยิ ตั ิด้วย มคี วามเป็นมา คือ สมยั กอ่ นบา้ นเจรญิ ศิลป์ อ�ำเภอเจริญศลิ ป์ ตง้ั หมูบ่ า้ นใหม่
แล้วขยับจะสรา้ งวัดใหม่ ชาวบ้านได้พากนั มากราบอาราธนานมิ นตห์ ลวงปพู่ รหมไปชว่ ยสรา้ งวดั ให้
องคท์ ่มี านิมนต์หลวงปูพ่ รหมทา่ นกเ็ ลา่ ให้ฟงั กม็ ี หลวงปมู่ ี อภิชาโต ซึง่ ขณะนน้ั ท่านเปน็ ฆราวาส
ทา่ นเปน็ คนบ้านเจริญศลิ ปแ์ ละเพงิ่ มรณภาพไปไมน่ าน ท่านเคยอยูด่ ้วยกนั หลวงปพู่ รหมขณะนั้น

242

ท่านไม่วา่ ง เพราะท่านก�ำลังจะไปบูรณะพัฒนาวัดรา้ งท่ีบ้านถอ่ น คือ วดั ศรีโพนสูง กเ็ ลยมอบให้
พระอาจารยช์ าย ซ่ึงเปน็ พระศษิ ยไ์ ปแทน

สาเหตุการสร้างส�ำนักเรียนปริยัติในวัดผดุงธรรม คือ พระอาจารย์ชายไปเรียนปริยัติท่ี
ขอนแก่น ท่านสึกไปแล้ว อาจารยช์ ายกลบั มาจากไปเรียนทีข่ อนแกน่ แลว้ หลวงป่พู รหมให้ไปชว่ ย
สร้างวดั แทนท่บี ้านหวั ท่งุ ปจั จบุ ันเปน็ บา้ นเจรญิ ศิลป์ ซ่งึ ต่อมา คือ วัดศิรริ าษฎร์วัฒนา แลว้ ทา่ น
ก็สร้างเป็นส�ำนักเรียนปริยัติด้วย วัดศิริราษฎร์วัฒนาจึงมีหลักมีฐานท้ังฝ่ายเรียนปริยัติและท้ังฝ่าย
ปฏิบัติอยู่ด้วยกัน ก็เลยเป็นวัดที่ค่อนข้างฐานจะแน่นท้ังฝ่ายเรียนและฝ่ายปฏิบัติ หลวงปู่พรหม
ท่านก็เลยมีเหตุผลอยากจะสร้างส�ำนักเรียนปริยัติในวัดผดุงธรรมด้วย เพราะว่าเห็นรูปแบบของ
วดั ศิริราษฎร์วฒั นา

การสร้างท้ังส�ำนักเรียนปริยัติและส�ำนักปฏิบัติธรรมอยู่ในวัดเดียวกันนั้น ยกตัวอย่างเช่น
วดั ป่าแห่งหน่ึงในจังหวดั นครราชสมี า ฐานมาจากทนี่ น่ั ท้งั เรียน ทงั้ ปฏิบัติ แล้วแต่ใครจะชอบเรยี น
กเ็ รยี น ใครจะชอบปฏิบัตกิ ็ปฏิบตั ิ มนั กจ็ ะมี ๒ รปู แบบอยใู่ นวัดเดยี วกนั

สมัยก่อนคนท่บี า้ นดงเยน็ ไปบวชเรียนทว่ี ดั ศริ ริ าษฎร์วัฒนากนั มาก เพราะวดั ในบ้านดงเยน็
ไมม่ สี ำ� นกั เรียนปรยิ ัติ เมอ่ื กอ่ นวดั ผดุงธรรมยังไมม่ โี บสถ์ หลวงป่พู รหมจะมหี นองสมิ ท�ำเปน็ ท่บี วช
โดยบวชในหนองน้ำ� นี้ จากนั้นกม็ าสรา้ งโบสถ์ ถ้าวดั ผดุงธรรมมีทง้ั โบสถแ์ ละสำ� นักเรียนปริยตั ิ จะได้
บวชแลว้ เรยี นที่น่ีและไมต่ ้องเดนิ ทางไกลไปเรียนถงึ โน่น คลา้ ยๆ ว่าทา่ นจะฟ้ืนฟทู ัง้ ฝ่ายปรยิ ัตแิ ละ
ฝ่ายปฏบิ ัติ ท้ังเปน็ การสงเคราะห์ชาวบา้ นดงเย็นดว้ ย เมอ่ื มสี ำ� นกั เรยี นในวดั ผดุงธรรมแลว้ ก็มคี น
บา้ นดงเย็นมาบวชเรียนพระปริยัติธรรมทวี่ ัด เรยี นจนเปน็ มหาเปรียญกม็ ี แต่สดุ ทา้ ยเปน็ สำ� นักเรยี น
ไม่ได้ เพราะว่าไมม่ ีครสู อนปริยัติ และตอ่ มาหลวงปู่ทา่ นกเ็ ลกิ ลม้ ความตั้งใจนน้ั หันมามงุ่ ส่งเสรมิ ให้
พระเณรปฏบิ ตั ิภาวนาเพียงอย่างเดยี ว”

ในพรรษานี้ หลวงป่ผู าง ปรปิ ุณโฺ ณ ไดก้ ลับมาอยูจ่ �ำพรรษากบั หลวงปูพ่ รหม จากประวัติ
หลวงปูผ่ าง ปริปุณโฺ ณ ได้บนั ทึกไวด้ งั น้ี

“พรรษาที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๙๕ ไดพ้ ักจ�ำพรรษาที่วดั ผดุงธรรม บ้านดงเย็น หลังจากออกพรรษา
แลว้ ได้ลาองค์หลวงปพู่ รหม จริ ปญุ ฺโ ปลีกวเิ วกไปยงั จังหวดั สกลนคร ไดไ้ ปพกั ปฏบิ ัติธรรมกับ
หลวงปู่ฝัน้ อาจาโร ท่อี �ำเภอพรรณานคิ ม ตอ่ จากนน้ั ไดว้ ิเวกกลบั มาทอี่ �ำเภอสวา่ งแดนดนิ เพ่อื
กราบนมัสการหลวงปู่พร สุมโน และไดพ้ ักอยกู่ ับหลวงปู่พร สุมโน ระยะหนงึ่ จงึ กลบั ไปบ้านดงเยน็
เพ่ือมากราบเยย่ี มหลวงป่พู รหม จริ ปญุ ฺโ ซ่ึงเป็นครูบาอาจารย์ของทา่ นเสมอมิได้ลมื และได้พกั
ปรนนบิ ัตหิ ลวงปพู่ รหมระยะหน่ึง จงึ ได้กราบลาหลวงปู่พรหมออกวเิ วกไปยงั อ�ำเภอส่องดาว”

243

เหตกุ ารณ์ส�ำคญั ในพรรษาน้ี หลวงปู่ผาง ปริปณุ ฺโณ ท่านอยากสึก ดงั น้ี

“หลวงป่ผู าง ปรปิ ณุ โฺ ณ ขณะที่ท่านยังเป็นพระหน่มุ พรรษาไมม่ าก ทา่ นกม็ คี วามต้งั ใจ
ลาสิกขาบทเหมอื นกนั เนอื่ งจากในขณะนั้นพระหนุ่มรุ่นราวคราวเดียวกันจากหม่บู า้ นดงเยน็ ไดแ้ ก่
ทดิ จันทา ทิดบด ทิดอ่อน ทิดแกว้ ทา่ นเหลา่ นั้นบวชอย่ดู ว้ ยกนั เมื่อออกพรรษาแลว้ ต่างก็พากนั
สึกหมด ซ่งึ ทุกองคท์ ่มี ากราบลาขอสกึ นั้น หลวงปูพ่ รหมท่านกอ็ นุญาต ท่านไมห่ ้ามแต่ประการใด
แตส่ �ำหรับหลวงปผู่ าง เมอื่ ทา่ นถอื พานขนั ธ์ ๕ มากราบลาขอสึก หลวงปพู่ รหมทา่ นกลับไม่อนญุ าต
ท่านไมย่ อมรบั ขันธ์ ๕ ทา่ นดวุ ่า “ไม่ต้อง” พร้อมท้งั ขับไลห่ ลวงปู่ผาง “ไปๆ” หลวงปูผ่ างตอ้ งไป
แอบอยู่หลังเสา หลวงปู่พรหมดุอยา่ งน้ี หลวงปู่ผางท่านโกรธจนหน้าแดง เพอ่ื นไปเก็บดอกไมแ้ ต่ง
ขนั ธ์ ๕ ก็ไปเก็บด้วยเหมือนกนั เพอื่ นๆ ไดส้ ึกกันหมดแลว้ ทำ� ไมไมใ่ หท้ า่ นสกึ ท่านไม่ยอมกราบ
หลวงป่พู รหมเลยนะ ลุกข้ึนไดเ้ ดนิ เลย พออย่ไู มน่ าน ท่านแต่งบาตรแลว้ สะพายบาตรเดนิ ออก
จากวัดเลย สมัยนนั้ มีแตเ่ ดนิ ออกจากวดั มาก็ลดั ไปบา้ นถ่อน ไปบา้ นกุดพะเนาว์นูน่ ถามท่านวา่
“อาจารยจ์ ะกลับมาวนั ไหน” ทา่ นไม่พดู ท่านเดินไปเลย

ตอนทหี่ ลวงปผู่ างไปลาสกึ กบั หลวงปพู่ รหม หลวงป่พู รหมท่านไมส่ อน ไม่ใหอ้ บุ ายอะไรเลย
ท่านไม่รับขันธ์ ๕ หลวงปูผ่ างโกรธในใจแล้วแตง่ บาตรหนเี ลย ไปอยทู่ ีอ่ ่ืน ๕ ปกี ลบั มา พอกลบั มา
พอ่ ตอู้ ำ่� นิมนต์ให้อยู่ ทา่ นกไ็ ม่อยู่ อยไู่ ด้ ๗ วัน ทา่ นไปอีกวัดหนึง่ ท่านไดอ้ อกเดนิ ธุดงคจ์ ากบ้านเกดิ
ไปบำ� เพญ็ ภาวนาท่ีอนื่ อยหู่ ลายปี และในทีส่ ดุ ทา่ นก็ไม่ไดส้ กึ ”

กรณีน้ีเชื่อกันว่าหลวงปู่พรหมท่านมีอนาคตังสญาณล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าว่า พระหนุ่ม
องค์ไหนมีหรือไม่มีอ�ำนาจวาสนาบารมีท่ีจะอยู่ครองสมณเพศบ�ำเพ็ญสมณธรรมได้ หลวงปู่พรหม
ท่านทราบล่วงหน้าว่าหลวงปู่ผางเป็นพระผู้มีอ�ำนาจวาสนาบารมี และต่อไปจะเป็นทายาทธรรม
องค์สำ� คญั ของท่าน ทา่ นจงึ ออกอบุ ายขบั ไล่หลวงปูผ่ างให้ออกธดุ งคไ์ ปภาวนาทีอ่ ่ืน ใหห้ ่างไกลจาก
บ้านเกิด ห่างจากญาตพิ ่นี ้อง ห่างจากสญั ญาอารมณ์ตา่ งๆ ในอดีต ซึง่ ทา่ นเองเคยท�ำจนไดผ้ ลมา
แลว้ ”

หมายเหตุ ประเพณพี ระทางภาคอสี าน การจัดขันธ์ ๕ คือ การจดั ดอกไม้ เทยี น อยา่ งละ
๕ คู่ ใส่จานหรือพาน ใช้เม่ือขอขมา ขออนุญาต ผู้หลักผู้ใหญ่ ครูบาอาจารย์ท่ีเราเคารพ ถ้าท่าน
รับขนั ธ์ ๕ แสดงวา่ อนุญาต ถ้าไมร่ ับคือการปฏิเสธ

244

ภาค ๑๕ ปัจฉิมวัยจ�ำพรรษาวัดประสิทธิธรรม

ก�ำเนิดวัดป่าประสิทธิธรรม

ก่อนทจ่ี ะกำ� เนดิ วดั ประสิทธธิ รรมนขี้ นึ้ มา ขณะนั้นหลวงป่พู รหม จิรปุญฺโ ทา่ นมีอายุ
๖๓ ปี แมว้ ่าท่านเริม่ ชราภาพแล้ว แตท่ ่านยังถอื ธุดงคเ์ ปน็ ตวั อย่าง โดยปฏบิ ัตติ ามธุดงควตั รอยา่ ง
เคร่งครัด ซึ่งปฏิปทาหนงึ่ ของหลวงป่พู รหม ท่านจะไมพ่ กั ซ้ำ� ทเ่ี ดมิ เกนิ ๓ ปี ทา่ นจะตอ้ งยา้ ย ในปี
พ.ศ. ๒๔๙๖ เมื่อท่านพกั ทว่ี ัดผดุงธรรมและวดั ประสิทธิธรรม ซึง่ ขณะน้นั เป็นเสนาสนะปา่ ยงั ไมไ่ ด้
เป็นวัด ท่านอยู่จ�ำพรรษาทั้ง ๒ แห่งครบ ๓ ปีแล้ว ท่านจะย้ายไปพักจ�ำพรรษาที่ใหม่ โดยปีนั้น
ทา่ นตัง้ ใจจะไปจำ� พรรษาทีว่ ดั ศรีโพนสงู บา้ นถอ่ น

ทีนี้พวกพอ่ ต้สู โี ท กเ็ ลย “เออ้ ! เอายังไงดี ยังไม่อยากใหห้ ลวงปู่จากไป” ไมอ่ ยากให้ไปทอ่ี ื่น
กเ็ ลยออกอบุ ายกนั พากนั มาท่ตี รงนี้ ซ่งึ เปน็ ท่ีวา่ งเปลา่ ตรงโรงฉนั จะเป็นหนองน้ำ� อยเู่ ลก็ ๆ เป็นแอ่ง
ก็เลยแอบพากนั มาท�ำกระตอ๊ บไว้ก่อน พอใกลๆ้ วนั หลวงปู่ท่านจะไป พวกพ่อตสู้ โี ทกถ็ ือโอกาสไป
กราบอาราธนานิมนตห์ ลวงปยู่ ้ายมาจำ� พรรษาท่นี ี่

สมยั แรกท่ีหลวงปูพ่ รหมมาอยจู่ ำ� พรรษานัน้ ลานวดั บริเวณแถวเจดีย์ หากพูดเปรียบเทียบ
เป็นบ้านคนแลว้ ถ้าไมม่ หี ลวงปู่มาอยู่นี่ มนั โล่งไมน่ า่ อยู่ ปา่ ไม้มันกไ็ มใ่ หญ่ ต้นไม้มันไมข่ ึ้นด้วย
เพราะสภาพดนิ เปน็ ดนิ เหนยี ว มนั เป็นปา่ ท่เี ขาไม่ท�ำอะไรแลว้ ภายหลังถงึ ไดม้ าปลกู ตน้ ไม้เพ่มิ เตมิ
สว่ นที่เป็นดงเป็นปา่ น่คี ือนอกวดั ไปนี่ บริเวณนแี้ ต่กอ่ นมันเป็นดงเป็นป่าหมด เปน็ ปา่ ดงดิบ เปน็ ดง
จรงิ ๆ สภาพป่ากเ็ หมือนปา่ ที่วดั ผดุงธรรมในทุกวันนี้ ตรงด้านหนา้ วดั บริเวณบา้ นแมช่ กี ็ยงั เปน็ ปา่
หลวงปใู่ หค้ นมาถากถางปลกู ฝ้าย สว่ นตรงหลังเมรุ แตก่ อ่ นพวกพ่อตู้สีโทเคยมาจับจองไว้ แถวน้ีมนั
ไมม่ หี มู่บ้าน ตรงท่ีเป็นหมบู่ ้านติดร้วั วดั น่ีเป็นปา่ ช้าเดก็

ปีแรกท่หี ลวงปพู่ รหมทา่ นมาจ�ำพรรษา ทา่ นอยกู่ ระต๊อบตรงนเี้ พยี งองคเ์ ดยี ว ส่วนพระศษิ ย์
ท่านไม่ใหม้ าอยดู่ ว้ ย เจตนาพวกพ่อตู้สโี ทมาทำ� กระตอ๊ บใหห้ ลวงปูม่ าจำ� พรรษาพอพน้ พรรษาเฉยๆ
แตพ่ อหลวงปมู่ าจ�ำพรรษาท่นี แี่ ลว้ ท่านก็ไม่ไปไหนอีก ท่านทำ� ตรงน้เี ปน็ วดั เลย

ดงั น้นั ในปัจฉิมวยั ของหลวงปู่พรหม จริ ปญุ ฺโ นับแตป่ ี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นต้นมาจนถงึ ปี
พ.ศ. ๒๕๑๒ อนั เปน็ ปที ห่ี ลวงปู่พรหมท่านมรณภาพ ท่านจ�ำพรรษาอยู่ท่วี ัดประสิทธิธรรมเรื่อยมา
เวน้ แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๐๕ ทา่ นไปอยู่จ�ำพรรษาทีว่ ัดตาลนิมิตร อนั เปน็ วดั บา้ นเกดิ ของทา่ น

245

พ.ศ. ๒๔๙๖ พระศิษย์ข้ามห้วยข้ามดงเสือฟังธรรมหลวงปู่พรหม

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงปู่พรหม จิรปญุ โฺ  ท่านออกมาจ�ำพรรษาท่วี ัดประสิทธธิ รรม
รปู เดยี ว พออยจู่ �ำพรรษาท่วี ดั ประสิทธิธรรมแลว้ ท่านกไ็ ปทำ� ศาลาที่ฉัน โดยท�ำเปน็ เพิงตรงบรเิ วณ
พระอุโบสถในปจั จบุ ัน ท่านทำ� ตรงนัน้ ไว้ แลว้ กฉ็ นั อยตู่ รงนัน้ ท�ำไปท�ำมา ทา่ นมนี สิ ัยขยัน ทา่ นก็
ต่อเติมไปเร่ือย แลว้ ท่านกท็ ำ� กุฏอิ ยู่ตรงนน้ั หลวงปู่ลี ติ ธมโฺ ม วดั เหวลึก หลวงปอู่ อ่ นศรี านวโร
วดั ถ�ำ้ ประทุน ตอนน้นั ท่านเป็นพระหนมุ่ กม็ าอย่กู ับท่าน แต่อยู่ท่ีวัดผดุงธรรม กลางค�ำ่ กลางคืน
ก็เดินมาฟงั เทศน์ท่าน ฟังเสรจ็ แล้วก็เดนิ กลับไป ไมไ่ ดพ้ กั ค้างคืน เพราะมันล�ำบากตอ้ งเดนิ ข้าม
ลำ� ห้วยทขี่ ้างศาลาไป จะตอ้ งเอาขอนไม้พาดแล้วจงึ จะเดนิ ข้ามไปได้

องคห์ ลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนฺโน ได้เมตตาเทศนถ์ ึงสภาพดงป่าที่หลวงปูพ่ รหม
ไปอยจู่ �ำพรรษาในสมยั น้ันไว้ดงั น้ี

“นี่วัดของท่าน คือแต่ก่อนท่านอยู่วัดน้ี แล้วท่านย้ายจากน้ีออกไปตะวันตก แต่ก่อน
ตะวนั ตกน้เี ป็นดงใหญ่นะ ดงทงั้ หมด ดงสตั ว์ ดงเนือ้ ดงเสือเต็ม วดั ท่านก็อย่ใู นดง เราไปพักกับ
ท่านอยู่นัน้ รู้สกึ ท่านเมตตามากนะกับเรา นสิ ัยทา่ นน่าเกรงขามมาก นสิ ยั จริงจังเด็ดเด่ยี วทกุ อย่าง
ฉลาดรอบคอบ ไม่ใชเ่ ลน่ นะ

พอเห็นเราไปแล้ว หา ! ข้ึนเลย ก็สนิทกนั มาเทา่ ไรแล้ว พอมองเหน็ เรา เรากำ� ลังสะพาย
บาตรเข้าไป “หา ! ท่านมหามาเหรอ” “โอ๊ย ! มาแล้ว คิดถึงครูบาอาจารย์มาก ต้องมาล่ะ” “เอ่อ
เอ้า ! มาเวลาน้กี ำ� ลังหนาว” เราไปเดือนธนั วาคม มันก็หนาวละ่ ซี แล้วบา้ นดงเย็นเป็นบา้ นที่หนาว
มากดว้ ย ไปคุยธรรมะธัมโมกับท่าน”

ในสมัยท่ีหลวงปู่พรหมท่านจ�ำพรรษาท่ีวัดประสิทธิธรรม สมัยน้ันถือว่าวัดตั้งอยู่ในชนบท
อยู่ในท่ีทุรกันดารหา่ งไกลมาก และสภาพวดั ก็ยังเป็นดงป่าดงเสือ ครบู าอาจารยท์ ่เี คยอยู่จ�ำพรรษา
วดั ผดงุ ธรรม หรือวัดในละแวกใกล้เคยี ง เมือ่ ท่านตั้งใจไปกราบฟงั ธรรมหลวงปพู่ รหม แม้ว่าท่าน
จะตอ้ งธุดงคเ์ ดินทางไกลและท่านต้องเสยี่ งเปน็ เสี่ยงตายเดินขา้ มดงเสอื ไปฟงั ธรรมกต็ าม เหล่านีก้ ็
ไมเ่ ปน็ อปุ สรรคแตป่ ระการใด เพราะทา่ นเหน็ ความสำ� คญั และเหน็ คณุ คา่ ของธรรมยงิ่ กวา่ ความทกุ ข์
ยากล�ำบากและความกลัวตายน่ันเอง ครูบาอาจารย์ท่ีท่านจ�ำพรรษาที่วัดผดุงธรรมท่านเล่ากันว่า
“ขนาดฟังเทศน์หลวงปู่พรหมกลับไปนี้ รอยเสอื ยงั เดนิ ขา้ มทางเลย ตอ้ งเดนิ ขา้ มดงเสอื ไปฟังธรรม
หลวงปพู่ รหม ทกุ คนื ตลอดพรรษา”

246

พ.ศ. ๒๔๙๗ สร้างเสนาสนะป่าในวัดประสิทธิธรรม

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงปพู่ รหม จิรปุญฺโ ท่านอยูจ่ �ำพรรษาที่วดั ประสทิ ธธิ รรม ซึง่ เป็น
ปแี รกๆ ทที่ ่านเป็นผู้นำ� พาพระ เณร ชาวบา้ นพัฒนาสรา้ งเสนาสนะปา่ ในวัดประสทิ ธธิ รรม โดยปนี ้ี
ท่านเร่ิมสร้างกุฏิกรรมฐานพร้อมทางจงกรม และห้องน�้ำ เพ่ือรองรับพระเณรที่มาขออยู่ศึกษา
ปฏบิ ัตธิ รรม ฯลฯ

ในปนี ี้ หลวงปูอ่ ่�ำ ธมมฺ กาโม แห่งวดั สนั ตวิ รญาณ อ�ำเภอวงั โปง่ จงั หวดั เพชรบูรณ์ ท่าน
บวชใหม่เปน็ ครง้ั ท่ี ๒ ทา่ นได้มากราบขออยศู่ ึกษาปฏิบตั ธิ รรมกับหลวงปพู่ รหม ที่วัดประสทิ ธธิ รรม
ในขณะนั้นหลวงปอู่ �่ำทา่ นเป็นพระหนุม่ บวชใหม่ ทา่ นอยู่กับหลวงป่พู รหมเปน็ เวลา ๔ ปี ตลอดเวลา
ท่ที ่านอย่กู ับหลวงปู่พรหม ท่านไดม้ าชว่ ยงานสรา้ งเสนาสนะตา่ งๆ ภายในวดั ท่านเล่าวา่ ท่านได้
นิสัยขยันขนั แข็งในการทำ� งานจากหลวงปพู่ รหมซ่ึงท่านพาท�ำท้งั งานภายใน และ งานภายนอก

กาลตอ่ มาเมือ่ หลวงปูอ่ ่�ำทา่ นมาตัง้ เป็นสำ� นกั ธดุ งคสถานที่อ�ำเภอวงั โปง่ ท่านไดด้ �ำเนินตาม
ปฏิปทาของหลวงปพู่ รหม กลา่ วคอื ท่านเป็นพระทเี่ ครง่ ครัดวนิ ยั มาก วตั รท่ปี ฏบิ ัต ิ คือ นอกจาก
จะท�ำวตั รสวดมนต์เป็นประจ�ำแลว้ ส่ิงที่ถอื เปน็ กจิ วตั ร คอื การออกบณิ ฑบาตโปรดญาติโยมทุกเช้า
แมอ้ ายจุ ะลว่ งเข้าวัยชรา สขุ ภาพร่างกายของทา่ นยังดูแข็งแรง เดนิ ทางได้ระยะไกลๆ ท่านบอกวา่
ที่ท่านมสี ุขภาพรา่ งกายแขง็ แรง เป็นเพราะทา่ นปฏิบตั ธิ รรมกัมมัฏฐาน เจริญสติภาวนาเป็นประจ�ำ
ซ่งึ ถอื เปน็ งานภายใน สำ� หรบั งานภายนอก ท่านและชาวบ้านศรทั ธาญาติโยมได้ร่วมกันก่อสร้าง
ศาสนสถาน ประกอบด้วย พระอุโบสถ ศาลาการเปรยี ญ กุฏิ ห้องน�้ำ และมหาเจดยี ์เพอื่ บรรจุ
พระบรมสารรี ิกธาตุ เปน็ ต้น ซ่ึงต่อมาสำ� นักแห่งนไ้ี ดร้ ับการยกฐานะเปน็ วัดที่ถกู ตอ้ งตามกฎหมาย
ช่ือ วัดสันติวรญาณ

ตามประวัติหลวงปูอ่ �ำ่ ทา่ นเลา่ ว่า ตอนทีท่ า่ นบวชครั้งแรก “ตอนเปน็ เณร อาตมาเคยรบั ใช้
ครูบาอาจารย์มาก่อน เคยไดไ้ ปอยู่กับท่านพระอาจารยพ์ รหม จริ ปุญฺโ ท่านเมตตาสอนอาตมาว่า
“ใครอยากเป็นเจ้าเปน็ นายร�ำ่ รวยต่อไปใหร้ ับใช้ครูบาอาจารย์เดอ้ ” และตอ่ มาเมื่อทา่ นเปน็ พระ
ไดไ้ ปขอฝากตวั เปน็ อนั เตวาสิก (ภิกษผุ ขู้ ออย่รู ว่ มสำ� นัก) ของท่านพระอาจารย์ม่ัน ภรู ิทตฺตมหาเถร
ท่ีวัดปา่ บ้านหนองผอื เพ่ือศึกษาด้านวปิ สั สนากัมมฏั ฐาน นงั่ สมาธิ เจรญิ จิตตภาวนา และทา่ นมี
หน้าท่ีถวายงานรับใช้หลวงปู่ม่ัน โดยการสรงน�้ำหลวงปู่มั่นในเวลาตอนเย็น หลวงปู่อ�่ำได้เล่าว่า
“อาตมาสรงน้�ำทา่ นทุกวัน ตอนนนั้ บวชเป็นพระยังไม่ได้ถึงพรรษา ตอนท่สี รงน้ำ� ทา่ น คือ เปน็ อุบาย
ของท่านทจ่ี ะไดฝ้ ึกหัดใหพ้ ระเลก็ ๆ พรรษาน้อย ไดเ้ รียนรขู้ ้อวตั รปฏบิ ตั ิและมีโอกาสใกลช้ ิดทา่ น”

หลวงปู่อำ่� ท่านได้เข้าไปพักที่วัดป่าบา้ นหนองผอื ประมาณ ๓ เดือนกว่า คอื ต้งั แตเ่ ดอื น
๑๒ จนถึงเดอื นสามเพ็ญ พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่จ�ำเป็นต้องออกไปจากวดั ป่าบ้านหนองผือ เพราะมี

247

จดหมายมาตามให้ไปคัดเลือกทหารท่ีบ้านเดิมอุบลราชธานี โดยมากหากพระองค์ใดต้องไปเกณฑ์
ทหารแล้ว หลวงป่มู ่นั ท่านตอ้ งให้ไปทำ� หน้าทเี่ พ่ือชาตบิ ้านเมอื งตรงน้ีก่อนเสมอ หลวงปู่จึงเดินทาง
กลบั บา้ นเกิด พรอ้ มกบั ไดอ้ อกเดินธุดงควัตรไปตามสถานท่ีตา่ งๆ ในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื เม่อื
สกึ ออกไปแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงป่ไู ด้กลบั มาบวชใหม่เปน็ คร้ังที่ ๒ และไดก้ ลบั ไปจำ� พรรษา
กบั หลวงปู่พรหมทีว่ ัดประสิทธธิ รรมอกี ครงั้ ”

กุฏิสมัยหลวงปู่พรหมเริ่มสร้างวัดทีแรก

ก่อนท่ีจะได้เป็นวัดประสิทธิธรรม หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านมีปฏิปทาข้อหน่ึงว่า
พรรษาหนึ่งต้องย้ายกุฏิ ท่านไม่ได้ย้ายวัด แต่ท่านย้ายที่อยู่ เช่น พรรษานี้จ�ำพรรษาอยู่ตรงน้ี
พรรษาหนา้ ย้ายไปจำ� พรรษาอยตู่ รงน้ัน อะไรท�ำนองน้ี หากอยู่ภายในวดั เดยี วกนั แตท่ า่ นยา้ ยกุฏิ
ไปเร่ือยๆ เร่ืองนี้ถือเป็นปฏิปทาเฉพาะของท่าน ท่านก็เลยข้ามจากวัดผดุงธรรมไปปลูกกุฏิอยู่ท่ี
วดั ประสิทธิธรรม ซึ่งอยู่ใกลๆ้ แหล่งน�้ำ เพราะสมัยกอ่ นทีด่ ินตรงไหนๆ ก็ไปอยู่ได้ โดยเฉพาะวัด
ไม่ต้องไปขอใคร ต่อมาเมื่อมีพระเณรมาขออยู่จ�ำพรรษากันมากขึ้น ท่านจึงได้สร้างกุฏิกรรมฐาน
พรอ้ มทางเดินจงกรมเพ่ือรองรบั

สภาพกฏุ ิสมยั ก่อน ในระยะแรกๆ หลวงป่พู รหมจะปลูกเป็นกุฏกิ รรมฐานหลงั เลก็ ๆ เป็น
ลักษณะกระตอ๊ บช่ัวคราว โดยท�ำจากไม้ไผ่ หลงั คามุงจาก มที างเดินจงกรมอยู่ขา้ งกฏุ ิ กระตอ๊ บ
จะปลูกเปน็ หยอ่ มๆ อยู่หา่ งๆ กัน ทง้ั น้ีเพอ่ื ความสะดวกในการปฏิบัตภิ าวนาของพระเณร ต่อมา
ระยะหลังๆ กฏุ สิ รา้ งจากไมท้ ้งั หลงั มีเสา ๔ ตน้ อยา่ งมากก็ ๖ ตน้ มหี ้องนอน ระเบียงเลก็ ๆ หลงั คา
ใช้สังกะสี ในชว่ งปี พ.ศ. ๒๕๑๒ มีสงั กะสแี ลว้ สว่ นห้องน�้ำแยกต่างหาก ห้องน้�ำสว่ นใหญ่จะเปน็
ส่วนรวมใชร้ ่วมกัน

หลวงปู่พรหมท่านชอบสร้างเสนาสนะต่างๆ แต่กุฏิท่ีท่านอยู่เป็นกุฏิกรรมฐานหลังเล็กๆ
ส�ำหรับกุฏิหลังสุดท้ายของท่านมาสร้างทีหลัง ลักษณะเป็นเช่นเดียวกับกุฏิของครูบาอาจารย์สาย
ท่านพระอาจารยม์ ัน่ คือ มหี อ้ งนอนเล็กๆ ขนาดตามพระวนิ ัย ดา้ นหนา้ หอ้ งนอนเปน็ พ้ืนต่างระดับ
พื้นด้านบนอยูต่ ดิ หน้าหอ้ งนอน ใชเ้ ป็นทนี่ ัง่ รบั แขกและสำ� หรบั พระนงั่ พื้นด้านลา่ งส�ำหรบั ญาติโยม
สว่ นท่แี ตกต่างกัน คอื มที างเดินจงกรมและมีหอ้ งน�้ำอยูบ่ นกุฏิ ทั้งน้อี อกแบบเพ่อื ความสะดวกตอ่
ธาตขุ ันธ์ของหลวงปู่ ซ่ึงขณะน้ันท่านอยใู่ นวยั ชราภาพมากแล้ว หลวงปู่ท่านอยู่กฏุ ินหี้ ลายปีถงึ ได้
มรณภาพ โดยกฏุ หิ ลงั นคี้ ุณพอ่ สโี ทเป็นผมู้ ีจติ ศรัทธาน้อมสร้างถวาย โดยก่อนที่คณุ พอ่ สีโทจะทุ่ม
ท�ำบุญอย่างหนักสร้างกุฏิหลังน้ีถวายนั้น เพราะได้เห็นอภินิหารของหลวงปู่จนเกิดความเคารพ
ศรทั ธา

248

สำ� หรับทางจงกรมบนกฏุ ซิ ่งึ เปน็ พน้ื ไม้ ปรากฏวา่ หลวงปพู่ รหมทา่ นเดินจงกรมจนเน้อื ไม้
สกึ เปน็ รอ่ งรอยใหเ้ หน็ ดว้ ยตา อนั แสดงถึงความเพียรเป็นเลิศของท่าน แม้ในบ้นั ปลายชีวิตท่านกย็ งั
ขยนั ทำ� ความเพยี รเดินจงกรม

พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านกลับไปบูรณะพัฒนาวัดศรีโพนสูง

เดมิ วดั ศรีโพนสูงเป็นวัดร้าง ยงั ไมไ่ ดว้ ิสุงคามสมี า แต่เปน็ วดั เก่าทีม่ ที ะเบียน จงึ ขอออกโฉนด
และขอวสิ งุ คามสมี าไดไ้ มย่ าก สมัยกอ่ นมพี ระธดุ งคแ์ วะเวียนมาพักแลว้ ก็ผา่ นไป ทา่ นไม่ไดม้ าบรู ณะ
พัฒนาอะไร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงป่พู รหมทา่ นธดุ งค์มาองค์เดียว แลว้ ท่านกม็ าเป็นหลกั ในการ
บูรณะพฒั นาวัด ทา่ นไปๆ มาๆ และได้จ�ำพรรษาตดิ ต่อกนั ๒ พรรษา โดยมพี ระศิษยต์ ดิ ตามมา
๒ – ๓ องค์ จากน้นั ท่านกลบั ไปจ�ำพรรษาวดั ทบี่ า้ นเกิด

ประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านได้กลับมาบูรณะพัฒนา
วัดศรีโพนสงู อกี คร้งั ในครัง้ นที้ ่านไดพ้ าชาวบา้ นถ่อนสรา้ งพระพทุ ธรูปปนู ปั้นขนาดใหญต่ รงบริเวณ
ข้างโบสถ์ ขณะที่หลวงปู่พรหมท่านรื้อซากเจดีย์เก่า ท่านได้พบพระธาตุของพระอรหันต์และมี
น้�ำหล่อเล้ียงพระธาตุอยู่ในเจดีย์เก่า ท่านได้น�ำพระธาตุมาบรรจุไว้ในผอบเจดีย์และอัญเชิญไว้
ในพระพุทธรูปองค์น้ี เมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จได้เขียนไว้ว่า “หลวงปู่พรหมสร้างปี ๙๘” ไว้ที่
ฐานพระประธาน และต่อมาได้สร้างพระวิหารหลังใหญ่ด้วยไม้ท้ังหลังเพ่ือครอบองค์พระพุทธรูป
โดยท่านมอบหมายให้หลวงปู่ลี ติ ธมฺโม วดั เหวลึก เปน็ ผดู้ ำ� เนินงานก่อสรา้ ง โดยใช้เวลา ๒ ปี
จงึ แล้วเสร็จ สำ� หรับซากเจดยี เ์ ก่าไดบ้ รรจุไว้ในพระวิหาร

การบูรณะพัฒนาวัดในระยะแรกๆ ค่อนข้างล�ำบากทุลักทุเลมาก เวลาจะบูรณะครั้งหนึ่ง
ต้องรอถงึ ฤดูแลง้ จงึ ขนเอาวสั ดอุ ุปกรณเ์ ดินตดั ท่งุ นาระยะทางประมาณ ๔๐๐ เมตร เขา้ มาในวัด
เพราะช่วงฤดูฝน พน้ื ทว่ี ัดอยูก่ ลางทุ่งนาจะมนี ้�ำท่วมขังโดยรอบ สภาพวัดเหมือนเกาะอยู่กลางน้�ำ
ต้องฝากวัสดุอุปกรณ์เอาไว้ในหมู่บ้าน แล้วก็ขนเข้ามาในหน้าแล้ง ตอนท่ีท่านมาอยู่จ�ำพรรษาท่ี
วดั ศรโี พนสงู ก็มีพระศิษย์แวะเวียนมากราบคารวะ แต่ไม่ได้มาอยู่จ�ำพรรษา เช่น หลวงปู่สุภาพ
ธมฺมปญฺโ หลวงป่สู นนั่ รกขฺ ิตสีโล หลวงป่หู นเู พชร ปญฺาวุโธ หลวงปไู่ ม ฯลฯ

สำ� หรับพระประธานปูนปั้นองค์ขนาดใหญใ่ นพระวหิ าร วัดศรีโพนสงู ในสมัยกอ่ นน้ันถอื ว่า
มีขนาดใหญ่กว่าทุกวัดท่ีหลวงปู่ได้สร้างมาและใหญ่ท่ีสุดในอ�ำเภอสว่างแดนดิน ต่อมาท่านก็พา
ชาวบ้านสร้างสะพานไม้ข้ามทุ่งนามาวดั สำ� หรับแหลง่ น�ำ้ ซงึ่ เปน็ สง่ิ จำ� เป็นและส�ำคัญ สมัยหลวงปู่
มีบอ่ น้ำ� อย่กู ลางทุง่ นาหา่ งจากวดั ประมาณ ๒๐๐ เมตร ตอ้ งเดินไปตามสะพานไมไ้ ปตักนำ�้ ทบ่ี ่อนนั้
มาใช้ มผี พู้ บเหน็ บัง้ ไฟพญานาคขนึ้ จากบ่อน�ำ้ นนั้

249

ปจั จุบนั พืน้ ท่ีทัง้ หมดของวดั มี ๑๒ ไร่เศษ รวมท่หี ลวงป่ซู ือ้ เพิ่มในภายหลังอีกเกอื บหนึง่ ไร่

พระวิหารหลังเกา่ ซึ่งสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง สร้างเสร็จในเวลาหนึง่ ปี โดยใชต้ น้ สม้ โมง ซง่ึ เปน็
ตน้ ไมข้ นาดใหญ่ มาทำ� เป็นพ้ืนกระดาน ฝาผนัง และเคร่อื งด้านบน สว่ นไม้ตะเคียนกเ็ อามาท�ำเสา
ขนาดเสาก็ไมใ่ หญ่ เทา่ ๆ กบั ต้นมะม่วง โบสถ์หลงั เก่ากเ็ อาไม้มาสร้าง แมแ้ ตศ่ าลาหลงั นีก้ ย็ งั เป็น
ไมบ้ ริจาค แต่กอ่ นบรเิ วณนี้เป็นปา่ เปน็ ดงมตี ้นไม้ข้นึ ปกคลมุ มากมาย จะเลอื กเอาไมอ้ ะไรก็ได้ จะเอา
ไม้ส้ันยาวขนาดไหนก็ได้ ส่วนแรงงานท่านก็อาศัยชาวบ้านในหมู่บ้านมาร่วมแรงร่วมใจช่วยกันท�ำ
ในหนา้ แล้ง ว่างจากการท�ำนาก็พร้อมใจกนั มาตัดมาเล่อื ยอย่ใู นวัด

การบูรณะพฒั นาวดั รา้ งของหลวงป่พู รหม ดงั กลา่ วมา ถือเป็นงานใหญ่และสำ� คัญ และ
เปน็ ไปตามหลักธรรมอยา่ งแท้จริง เพราะการบริจาคของชาวบ้านญาติโยมกเ็ ปน็ ไปตามก�ำลงั ทรัพย์
ก�ำลังศรทั ธา โดยท่านไมใ่ หม้ กี ารเรยี่ ไรหรือรบกวนเงินทองใดๆ จากชาวบ้านใหเ้ ดอื ดร้อนรำ� คาญใจ
เฉพาะอยา่ งยง่ิ ในสมัยนั้นธรรมชาติกอ็ ดุ มสมบูรณม์ าก วัสดหุ ลัก คอื ไม้ ก็ไปหาตดั เอาในปา่ ไมไ่ ดไ้ ป
ซื้อหาแตป่ ระการใด ส่วนแรงงานก็เปน็ แรงงานอนั บริสทุ ธิจ์ ากน�้ำใจใสสะอาดและจากน�้ำพักน�้ำแรง
ของชาวบา้ นทีส่ ามัคคพี ร้อมเพรียงและพรอ้ มใจกนั เสียสละ ชว่ ยกนั บูรณะพัฒนาวัดร้างในหมูบ่ า้ น
ของตนใหเ้ จรญิ รุ่งเรอื ง ซง่ึ ตา่ งก็ท�ำด้วยเจตนาอันบรสิ ทุ ธิ์ เพ่อื มงุ่ หวงั บุญหวังกศุ ลอย่างแท้จรงิ

ในระหว่างที่หลวงปู่พรหมมาบูรณะพัฒนาวัดนั้น ด้วยชาวบ้านในสมัยน้ันยังห่างไกลจาก
ธรรมะ ยงั คงนบั ถือผี ทา่ นจงึ ไดเ้ มตตาสงเคราะหต์ อบแทนบุญคณุ ของชาวบ้าน เป็นเนอ้ื นาบญุ ให้
ชาวบ้านได้บำ� เพ็ญบุญ และท่สี ำ� คัญเป็นผู้จ�ำแนกแจกธรรม โดยเทศนาธรรมโปรดชาวบ้านให้นับถือ
พระรตั นตรยั เป็นที่พึ่ง ให้พากันใหท้ าน รักษาศีล เจรญิ เมตตาภาวนา โดยเฉพาะในวันพระ หรือ
วนั สำ� คญั ทางพระพุทธศาสนา ทา่ นกเ็ มตตาให้ชาวบ้านมาถอื ศีลและปฏบิ ตั ิธรรมกนั ที่วดั ซง่ึ สมัยนน้ั
วัดศรีโพนสูงนบั วา่ เป็นศนู ย์กลางของวดั ปา่ กรรมฐาน ในสงั กัดธรรมยุตแหง่ แรกและแหง่ เดียวของ
บา้ นถอ่ น จึงมีชาวบ้านเลือ่ มใสศรัทธามาบ�ำเพญ็ บุญทีว่ ัดกันมากมาย และไดส้ ืบทอดกนั มาจนเปน็
ประเพณีจวบจนปัจจุบนั น้ี

สมยั กอ่ นผ้กู อ่ การรา้ ยคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในแถบบริเวณน้ียังค่อนข้างรนุ แรง แต่ชาวบ้าน
ก็ไมเ่ ป็นอะไร ไมไ่ ด้รับอนั ตราย ต่างให้ความเคารพศรทั ธาหลวงปพู่ รหม จิรปุญฺโ กนั มาก กพ็ า
กนั มาพึง่ บารมหี ลวงปู่ มาบำ� เพญ็ บญุ และมาชว่ ยกนั บูรณะพฒั นาวดั ครัน้ ชาวบ้านญาตโิ ยมทำ� ผดิ
หลวงปทู่ ่านจะดุวา่ กล่าวตกั เตือนทันที ท่านดุจริง ! เอาจริง

อนง่ึ การบรู ณะพัฒนาวัดศรีโพนสงู หลงั จากทีห่ ลวงปู่พรหมมอบหมายให้หลวงปูล่ ี ซ่งึ เป็น
พระศษิ ย์อาวุโส เปน็ หลกั ในการดแู ลงานแลว้ ท่านก็เมตตาเดนิ ธดุ งคม์ าพกั บา้ ง มาสง่ั งานบา้ ง และ

250

ท่านก็มีเจตนามาให้ก�ำลังใจและเทศนาธรรมโปรดชาวบ้านบ้าง โดยท่านแวะมาพักท่ีวัดแต่ละครั้ง
๒ – ๓ วนั ท่านจงึ เดนิ กลบั วัดประสิทธิธรรม

กาลตอ่ มา โบสถ์ พระวิหาร และศาลาช�ำรดุ ทรุดโทรมผุพงั ลง เน่อื งจากปลวกมาทำ� ลาย
กัดกินเนื้อไม้ เจ้าอาวาสองคต์ ่อๆ มาจึงได้บูรณะขึ้นมาใหมใ่ หม้ นั่ คงถาวรกวา่ เดมิ ดว้ ยการผูกเหลก็
เทปูน โดยโบสถแ์ ละศาลาก็ได้บูรณะสรา้ งขน้ึ ใหมท่ ้งั หลงั สว่ นพระวิหารหลงั ใหญก่ เ็ รม่ิ รือ้ ถอนออก
เม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ และสร้างขึน้ ใหมใ่ นบริเวณเดิม โดยปจั จบุ ันไดส้ รา้ งเสร็จแลว้ สว่ นเสาและไม้
เกา่ ๆ ที่ร้อื ถอน ซง่ึ สรา้ งในสมัยหลวงปู่ก็ยังเหลอื อยู่ ทางวดั ได้เกบ็ รกั ษาไว้เปน็ อยา่ งดี

ท่านเป็นผู้น�ำสร้างสะพานไม้เข้าวัดศรีโพนสูง

หลวงปูพ่ รหม จริ ปญุ โฺ  ท่านมาอยูท่ ่ีวดั ศรโี พนสงู ใหม่ๆ สมยั นน้ั ไมม่ สี ะพาน ทา่ นกเ็ ดนิ ไป
ตามคันนา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ พอเข้าพรรษาซงึ่ เปน็ ชว่ งฤดฝู น นำ้� จะท่วมเต็มทุง่ นา ทา่ นเหน็ การ
เดนิ ทางสญั จรไปมาค่อนขา้ งล�ำบาก จึงได้เปน็ ผนู้ �ำสร้างสะพานข้ามทุ่งนาครัง้ แรกด้วยไม้ไผ่ จาก
บรเิ วณฝ่ังหนา้ วดั ศรโี พนสูงไปฝง่ั หมู่บา้ น ใชเ้ วลาไม่นานกแ็ ล้วเสรจ็ และต่อมาสะพานไมไ้ ผไ่ ดช้ ำ� รดุ
ทรุดโทรมลง

เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงปู่พรหม ท่านได้เดินมาพักที่วัดศรีโพนสูงอีกครั้ง
สมยั นั้นทา่ นพระอาจารย์ไม เป็นเจ้าอาวาสวดั ศรีโพนสงู ปัจจบุ ันทา่ นมรณภาพแล้ว หลวงปู่พรหม
ท่านเมตตาเป็นผ้นู ำ� ชาวบ้านถอ่ นสร้างสะพานขา้ มทอ้ งทุ่งนาใหม้ คี วามแข็งแรงม่ันคงกว่าเดมิ โดย
ใชเ้ ฉพาะไม้เน้ือแขง็ ระยะทางโดยประมาณ ความยาว ๓๔๐ เมตร และมคี วามกวา้ ง ๓ เมตร
พอหลวงปทู่ ่านจะพาสรา้ งสะพาน กำ� นันและผใู้ หญ่บา้ นพอทราบข่าวน้ี ก็ประกาศเกณฑช์ าวบา้ น
มาชว่ ยกนั เลือ่ ยไม้ มาชว่ ยกนั สร้างสะพาน โดยหาตัดตน้ ไมเ้ น้ือแขง็ ท่ีอยู่ตามปา่ เชน่ ไม้ประดู่
ไม้ตะเคียน ไม้พะยูง ฯลฯ ซ่ึงสมัยก่อนบริเวณนีย้ ังมสี ภาพเปน็ ปา่ เป็นดง ตน้ ไมเ้ นอ้ื แข็งขนาดใหญ่
เหล่านจี้ ึงมีมาก

การสรา้ งสะพานขา้ มท่งุ นาในครงั้ น้ี หลวงปู่พรหมทา่ นมุง่ ทำ� เพื่อประโยชน์สว่ นรวมอย่าง
แทจ้ ริง ชาวบ้านตา่ งกใ็ หค้ วามร่วมมอื เป็นอยา่ งดี ในสมยั กอ่ นนั้นใช้เลื่อย ๒ คน ดงึ คนละขา้ ง ในปี
พ.ศ. ๒๔๙๙ สะพานไมท้ ส่ี รา้ งใหมจ่ งึ แลว้ เสรจ็ โดยใชเ้ วลาสร้างประมาณปเี ศษ เมอ่ื สะพานสร้าง
เสร็จแลว้ พระ เณร และชาวบา้ นโดยรอบวดั และบรเิ วณใกล้เคียงตา่ งกไ็ ด้อาศัยสะพานขา้ มทงุ่ นา
เดนิ ทางสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก มีประโยชนม์ าก

สะพานไมน้ ไ้ี ดช้ ำ� รดุ ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา โดยใช้งานอยไู่ ดท้ นนานประมาณ ๓๐ ปี
กต็ อ้ งบรู ณะใหม่ เนือ่ งจากการหาไมม้ าบูรณะน้นั หาได้ยาก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ทา่ นพระอาจารย์

251

ค�ำแสง (เกลอ) (เป็นพระน้องชายของทา่ นพระอาจารยส์ นน่ั รกขฺ ิตสีโล วัดปา่ สุขเกษมนิราศภยั )
ทา่ นไดเ้ ปน็ เจา้ อาวาสวัดศรีโพนสูง จึงด�ำรทิ ่ีจะรื้อและสรา้ งสะพานขนึ้ ใหม่ ทา่ นได้นำ� ความเรอื่ งน้ี
กราบเรียนปรึกษากบั หลวงปลู่ ี ติ ธมโฺ ม ซึ่งทา่ นกเ็ ห็นชอบด้วย จึงได้ทำ� การรอื้ ถอนสะพานไมอ้ อก
และสร้างขนึ้ ใหมเ่ ปน็ สะพานปูนอยา่ งถาวร ระยะทางความยาวประมาณ ๓๔๐ เมตร ความกว้าง
๓ เมตร โดยใชเ้ วลาสร้างอยปู่ ระมาณ ๒ ปี จงึ แล้วเสรจ็ สะพานใหมส่ �ำเรจ็ สมบูรณด์ งั ที่ปรากฏ
ใหเ้ ห็นและได้ใช้งานจวบจนถงึ ปจั จุบันน้ี

พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๐ สร้างพระวิหาร พระประธาน ศาลากลางน�้ำ

ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงปพู่ รหม จิรปุญโฺ  ท่านเปน็ ผู้นำ� ชักชวนชาวบา้ นดงเย็น
สร้างพระวิหารข้ึนในวัดประสิทธิธรรม โดยขนก้อนหินศิลาแลงขนาดใหญ่และขนทรายธรรมชาติ
รอบๆ วดั มาถมรองพนื้ เพ่ือทำ� พ้นื พระวิหาร สำ� หรับเสา เพดานและผนงั ใช้ไม้ โดยหาตดั ไมต้ ามป่า
มาเล่ือย ซึง่ สมัยนั้นป่าไม้ยงั อดุ มสมบรู ณ์มาก ส่วนหลงั คามงุ ด้วยสงั กะสี และหลวงปู่อนญุ าตใหค้ นท่ี
ถนัดวาดภาพให้วาดภาพบนเพดานพระวิหาร ในการสร้างพระวิหารกว่าจะท�ำให้ส�ำเร็จเป็นหลัง
ขนึ้ มาน้ัน ท่านคอ่ ยๆ ตอ่ เติมอย่เู รื่อย มวี ัสดุมากท็ �ำไปเรื่อย หลวงปูท่ ่านเปน็ อยา่ งน้นั

เมื่อสร้างพระวิหารเสร็จเรียบร้อยแลว้ หลวงปู่พรหมทา่ นเป็นผู้นำ� สร้างพระพทุ ธรูปปูนปัน้
ขนาดใหญเ่ พ่ือประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหาร มเี ร่อื งเลา่ กนั ว่า หลวงปพู่ รหมท่านเกง่
ทางด้านการก่อการสรา้ ง การปัน้ พระพุทธรูป แต่ตอนอยูภ่ าคเหนอื นท้ี า่ นไม่ท�ำอะไรเลย พอกลบั มา
บ้านดงเย็นนท่ี ่านท�ำ เรียกว่า ท่านขยนั ท�ำ แบบชนิดท่ีวา่ ฉันเสรจ็ นพี้ าท�ำงานเลย ทา่ นมาปลกู
กระตอ๊ บอยตู่ รงบอ่ นำ�้ มันเปน็ แอ่งคลา้ ยๆ หนองน้ำ� นำ�้ จะขงั อย่ตู รงนัน้ แล้วกม็ าท�ำเปน็ เพิงขึ้น
กฉ็ นั อาหารอยู่ตรงน้ี ฉันเสร็จแล้วท่านกจ็ ะปัน้ พระพุทธรูปในพระวิหาร ส่วนมากจะเป็นฝีมือการป้นั
ของหลวงปู่ โดยมพี ระเปน็ ผู้ชว่ ย แตท่ �ำกบั หลวงปไู่ ม่ไดห้ รอก เพราะพระมนั ใจร้อน อยากเสรจ็ เรว็
โปะๆ เอา หนักๆ เข้า มันก็หลุด มนั กน็ ้ำ� หนักปูน มนั กข็ าดออก หลวงปูก่ ด็ ุ “โอ้ ! มนั ไม่มีขันต”ิ
ครูบาอาจารย์เคยเล่าว่า “ผมก็เคยปั้นพระพุทธรูปในวิหารกับหลวงปู่พรหม จนผมถูกดุตรงนี้”
ตอนท่านกอ่ พระพุทธรูปองคน์ ี้ ส่วนไหนท่มี นั ไม่เสร็จ ทา่ นกลัวมันหักพงั ลงมา ท่านก็ไปท�ำกบั พระ
เณรในตอนกลางคนื

ส�ำหรับวสั ดุในการสร้างพระประธาน พ่อต้สู ีโทต้องไปขนจากจังหวดั หนองบัวลำ� ภู โดยเอา
เกวียนไปขนหินขนปูน และต้องไปหาเปลือกหอยในล�ำห้วย หลวงปู่พรหมท่านเอาเปลือกหอย
มาเผาท�ำให้มันเป็นกากแล้วมาผสมกับปูนซีเมนต์ ไม่ทราบว่าหลวงปู่พรหมท่านได้สูตรมาจากไหน
เปลือกหอยก็ไม่ใหญ่มากเหมือนกับหอยแครงหอยคราง นอกจากใช้เปลือกหอยแล้ว ตอนปั้นแขน
พระพุทธรูปก็ใช้กาบกล้วย หลวงปู่ปั้นแขนพระพุทธรูปแล้วก็ไปบิณฑบาต พอบิณฑบาตกลับมา

252

แขนพระพุทธรปู หลน่ ลงมาแล้ว ก็ไปเอากาบกล้วยมาหอ่ มัดไวแ้ ล้วก็เอาปนู ใส่ ปัจจบุ ันนย้ี ังเป็นรอย
เกลย้ี งๆ อยู่ กค็ อื กาบกล้วย

เมื่อมีพระเณรติดตามมาขออยู่จ�ำพรรษากับหลวงปู่พรหมมากข้ึน เพิงที่สร้างไว้ช่ัวคราว
สำ� หรับฉันจงั หันเรมิ่ จะไม่เพียงพอตอ่ พระเณรทม่ี านั่งฉนั เหตกุ ารณ์ในระหว่างนี้ นอกจากท่านจะ
สรา้ งพระวหิ ารและพระพุทธรปู แลว้ ท่านยังได้สรา้ งศาลากลางนำ้� หลงั แรกขน้ึ ดว้ ยไมท้ ้งั หลัง หลังคา
มุงดว้ ยสงั กะสี ศาลาหลงั น้ขี นาดไม่ใหญม่ ากนกั ลกั ษณะเปน็ ห้องส่ีเหลยี่ ม มีบนั ไดทางขน้ึ หลายทาง
สำ� หรบั ใช้เป็นทฉ่ี นั จังหันเชา้ ของพระเณรซง่ึ จะตอ้ งมาฉันรวมกันในทกุ เช้า ทง้ั ใช้เปน็ ทีป่ ระกอบงาน
บุญและเปน็ ทีพ่ ักค้างแรมของญาติโยม ฯลฯ

ต่อมาพระวิหารได้ช�ำรุดทรุดโทรมลงจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๗ หลังจากออกพรรษาแล้ว
ชาวบ้านดงเย็นได้พากนั ไปกราบอาราธนานิมนตห์ ลวงปูผ่ าง ปรปิ ุณฺโณ ขอใหท้ า่ นเมตตากลบั มา
วดั ประสิทธิธรรม เพอ่ื โปรดญาติโยม หลวงปผู่ างหลังจากกลบั มาแล้ว ทา่ นกป็ รารภเรื่องการรอื้
วหิ ารหลงั เก่าทช่ี ำ� รดุ ทรุดโทรมออกไป และทำ� การบูรณะวหิ ารขึ้นมาใหม่แทนหลังเกา่ ซงึ่ เปน็ ไม้ได้
ช�ำรดุ ทรุดโทรมลงไปมากแล้ว

ต่อมาทางวัดได้มาบูรณะโดยร้ือถอนพระวิหารไม้หลังเก่าและสร้างเป็นพระอุโบสถหลังใหม่
ขนึ้ มา โดยครอบบริเวณพระวิหารอย่างมน่ั คงถาวรโดยการผกู เหล็กเทปูน และก็ได้รับพระราชทาน
วิสุงคามสีมา ส�ำหรับพระพุทธรูปที่หลวงปู่ปั้นข้ึนนับเป็นผลงานด้านศาสนวัตถุชิน้ ส�ำคัญที่ยังเหลอื
อยูช่ นิ้ เดยี วในวัด และเป็นพระประธานในพระอุโบสถอยคู่ ู่วดั มาตราบเทา่ ทุกวันนี้

เตือนชาวบ้านห้ามประมาทหลวงปู่พรหม

หลวงป่พู รหม จิรปญุ โฺ  แมว้ ่าท่านบรรลุธรรมขนั้ สงู สดุ เป็นพระอรหันต์ แตท่ า่ นไมเ่ คยเล่า
เปิดเผยภูมิธรรมของท่านให้บรรดาพระศิษย์หรือญาติโยมฟังแม้แต่น้อย ท่านอยู่จ�ำพรรษาแบบ
หลวงปู่หรือหลวงตาแก่ๆ องค์หน่ึงท่ีเคร่งครัดในธุดงควัตรและพระวินัย ท้ังขยันขันแข็งในการท�ำ
ความพากความเพียร และทา่ นพาพระ เณร ญาติโยมพัฒนาวดั และสาธารณประโยชน์ ในบั้นปลาย
ชีวิตของท่าน เมือ่ ท่านมาอย่จู �ำพรรษาที่วดั ประสทิ ธิธรรม ก็มบี รรดาพระธุดงคกรรมฐานศิษยส์ าย
ท่านพระอาจารย์เสาร์ ทา่ นพระอาจารยม์ ่ัน มาขอศึกษาอยูป่ ฏบิ ัตธิ รรมกบั ทา่ น ต่างทราบถึง
ภูมจิ ิตภูมธิ รรมของหลวงปู่พรหมเป็นอยา่ งดี ส่วนฆราวาสญาติโยมไม่คอ่ ยทราบกนั

ด้วยพระธุดงคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์เสาร์ ทา่ นพระอาจารย์ม่นั ในสมยั กอ่ นน้นั
ท่านเปน็ พระทเ่ี คร่งครดั ในธดุ งควตั ร พระธรรมวนิ ัย รักษาขอ้ วัตรปฏบิ ตั ิ และดำ� เนนิ ตามปฏิปทา
ของครูบาอาจารย์กนั อย่างจรงิ ๆ จงั ๆ ทา่ นขยนั ท�ำความเพียรด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา

253

เพ่อื ความหลดุ พน้ จนสงั คมทางอสี านให้ความเคารพนับถือกันอยา่ งสูงสดุ สำ� หรบั ชาวบา้ นดงเยน็
ในสมัยกอ่ นก็เชน่ กนั ใหค้ วามเคารพนบั ถอื พระธดุ งคกรรมฐานกนั มาก โดยไมไ่ ดค้ �ำนึงถึงความเป็น
พระอรหันต์ ชาวบา้ นเพยี งเหน็ ผา้ เหลอื งสีหม่นๆ ของพระธดุ งคกรรมฐาน ไมว่ า่ จะเป็นพระหนมุ่
หรอื พระผ้เู ฒ่า ตา่ งกใ็ ห้ความเคารพนบั ถืออย่างสงู สุดกนั แล้ว แม้ก�ำลังจะเดนิ สวนทางกนั พอเหน็
พระธุดงคเ์ ทา่ นัน้ ญาติโยมชายหญิง คนเฒ่าคนแก่ หนุ่มสาว ตลอดเด็กทีเ่ ร่มิ รู้ความ ต่างก็พากนั
นงั่ คกุ เข่าพนมมือไหว้ รอให้พระท่านเดินผา่ นไปกอ่ นจงึ คอ่ ยลกุ ข้ึนเดนิ ต่อไป และมเี ร่อื งเล่าแสดง
ถึงความเคารพนับถือพระธุดงค์ในสมัยนั้นว่า ขณะพระธุดงค์หนุ่มๆ ไปตรวจคัดเลือกเกณฑ์ทหาร
เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่กล้าให้เปล้ืองผ้าจีวร และในขณะวัดส่วนสูง ก็ไม่กล้าถูกศีรษะของพระธุดงค์
เจา้ หนา้ ทีจ่ ะใหพ้ ระทา่ นวดั สว่ นสูงกันเอง เป็นตน้

ท่านพระครูพิศาลศาสนกิจ (สนธิ์ ขนฺตยาคโม) วัดสุทธิมงคล อำ� เภอพรรณานคิ ม จังหวัด
สกลนคร ทา่ นเปน็ หลานหลวงปู่ฝ้นั อาจาโร ทา่ นมีรปู รา่ งอ้วนใหญ่ ชาวบา้ นจะเรียกทา่ นวา่
“หลวงพ่อก�ำป้นั ใหญ”่ เพราะเหตุทีท่ า่ นเปน็ พระทใ่ี จร้อน ถ้าใครทำ� ไม่ถูก ทา่ นทบุ ตีเลย ถึงบอกว่า
ก�ำปัน้ ใหญ่ ท่านทราบภมู ิจติ ภูมิธรรมของหลวงปู่พรหมเปน็ อย่างดี ท่านจึงเคารพหลวงปู่พรหมมาก
ท่านถงึ กับเตือนชาวบา้ นหา้ มประมาทพลาดพลั้งหลวงปู่วา่ “ใหร้ ะวังนะ อย่าคิดอะไรท่มี ันไม่ดีนะ
หลวงป่ไู มใ่ ชธ่ รรมดานะ” ท่านเตอื นแค่นัน้ เอง ท่านบอกชาวบ้านดว้ ยประโยคสั้นๆ เปน็ นยั ๆ ว่า
หลวงปพู่ รหมเป็นพระองค์ส�ำคัญ เพราะชาวบ้านสมยั ก่อนเขาไมร่ เู้ รอ่ื งคณุ ธรรมขน้ั ไหนๆ เขายังไม่
รจู้ กั พระอรหันต์คอื อะไร เขาไมร่ ้เู รื่องพระอรหนั ต์ เขามีแต่จะเคารพนับถอื ในนาม “หลวงปู่ใหญ่”
เพราะครูบาอาจารย์สมยั น้นั ท่านจะไมพ่ ดู เรอื่ งพวกน้ี ไม่เหมือนคนเด๋ียวนี้หาแตพ่ ระอรหันตท์ ง้ั น้ัน
แตก่ อ่ นเขาจะเรียกหลวงปพู่ รหมวา่ “หลวงปใู่ หญ่”

หลวงปู่พรหมก�ำหนดจิตรักษาฝี

เหตุการณ์ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านเกิดหัวฝีเม็ดใหญ่ ท่านก�ำหนดจิตรักษาเองนี้
เกิดข้ึนประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ครบู าอาจารย์ได้เมตตาเลา่ เรื่องนี้ไวด้ ังน้ี

“เราไปทแี รกปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปพู่ รหมทา่ นเปน็ หัวฝีบรเิ วณคอด้านหลงั มันปวดมากนะ
กอ่ นมนั จะเปน็ หัวฝมี ันใหญ่และแดงมาก ขนาดเท่าเมด็ มะขามป้อมนะ ทา่ นก�ำหนดจติ รักษาเอา
หัวฝีออก นำ้� เลือดนำ�้ หนองนี้ไหลย้อยลงมาใส่กลางหลังข้างซา้ ยนี่ละ่ เปน็ เรอ่ื งอศั จรรย์น่าทงึ่ มาก
ทา่ นอดทนมากนะ เอาหวั ฝีออกแล้วตอนเย็นกม็ าสรงน�ำ้ ท่าน เห็นเปน็ รใู หญ่ เห็นถึงขา้ งในนู้น แต่
ทา่ นเฉย อาบน�้ำเสร็จแล้ว ท่านก็ลงไปเดินจงกรม ทา่ นกเ็ ฉยอยู่ ฮ่วย ! เป็นเรอ่ื งอัศจรรยน์ า่ ทงึ่ จรงิ ๆ

ฝหี ัวใหญ่ๆ ของหลวงปู่พรหม ไมท่ ราบวา่ ท่านเร่ิมเป็นปีไหน เป็นกรรมของทา่ น ทา่ นวางได้
อุปาทานความยึดธาตุยึดขันธ์อนั น่ี เอาหัวฝีมนั ออก น�ำ้ เลอื ดนำ�้ หนองไหลโจ๊กลงนี่ ทา่ นมาเปน็ ฝแี ต่

254

ข้างทางซา้ ยนั่นล่ะ ทีน้ีโยมเขาบอกถ้าขา้ มสันหลังมาขา้ งขวานตี่ าย กรรมของทา่ น อาการเจบ็ ปวด
ทรมานมาก แต่ท่านวางได้ ใหผ้ ล คอื ท่านไมไ่ ด้เวทนานี่ ทีน้ี ๑๐ กว่าปี ทา่ นจงึ มรณภาพ โอย๊ !
นา่ กลัวเรื่องครูอาจารยพ์ รหม

ทา่ นรักษาฝเี อง ตอนแรกท่านก�ำหนดจิตดฝู ที ่านเอง เห็นแดงบวมใหญ่ ดนู า่ กลวั แล้วท่าน
กฉ็ ันยาทัมใจและปวดหายระงับปวดเท่าน้นั แหละ มันกค็ อ่ ยยงั ชั่ว ไม่รู้วา่ ท่านรักษายังไง แตอ่ าการ
ก็ทเุ ลาลง พอหวั ฝอี อกมากด็ ีขึน้ เราเห็นทา่ นท้ิงสงั ขารของทา่ นนะ เรารูต้ ้งั แต่ตอนน้ันแลว้ ทา่ นมี
ทกุ ขเวทนาเหมือนกัน แตท่ า่ นสละได้ ทนได้ มนั ไมเ่ ข้าถึงใจทา่ นนะ ถ้าคนเราทั่วๆ ไป โรงพยาบาล
อย่ไู หนกใ็ กล้ จะวงิ่ หาหมอ แตค่ นสมัยกอ่ นไมค่ อ่ ยจะกินยา ถ้าจะกินยากันก็ไปขอยาสมุนไพรกับ
อาจารย์เพ็ง พวกรากไมก้ ็หาเอาตามปา่ ตามดง

หลวงปู่พรหมเป็นฝนี ี่นานอยู่นะ เป็นท้งั เดอื นนนู้ ท่านนา่ จะเจ็บปวดทรมานมาก แตท่ า่ น
กอ็ ดทนเฉยอยู่ เหมือนไมเ่ ป็นอะไรเลย ทา่ นก�ำหนดจิตเอาหวั ฝีมนั ออก เอาออกข้างนแ้ี ล้ว ยังเหลอื
ขา้ งนี้ มตี ุม่ หน่ึง ข้ึนอีกตุ่มหนึ่ง วา่ งนั้ เถอะ ท่านเฉย เป็นเรอ่ื งอศั จรรยน์ า่ ท่ึงของครูอาจารย์พรหม
ผูเ้ ดยี วนะ ในโรคอันน้ีจะหาพระอน่ื เชน่ ท่านไมม่ ีนะ”

หลวงปู่พรหมทักพระศิษย์ดูศพหญิงเปลือยเห็นภาพติดตา

วันหนึ่งหลวงปู่พรหมใช้พระศิษย์เข้าไปป่าช้า เหลือเณรน้อยองค์หน่ึง ส่วนหมู่ไปเท่ียว
ตอนค่�ำ ยังเหลือหลวงตากับเณรน้อยองค์หน่ึงกับท่าน “ไปชักบังสุกุลไป เขาจะมาทิ้งป่าช้า
ขา้ งวัดนน่ั ” กไ็ กลอยู่ วนั นั้นเขาผ่าทอ้ งคน ผ่าคนตายในท้อง ตายทั้งกลม

ขอดูกบั พ่อทอง “พ่อทอง ผมขอดูหน่อย ผมไมเ่ คยเหน็ สักที” “เขา้ ไมไ่ ด้มันเปน็ เวร” เขาว่า
พอเท่ียงก็ไป คนทอ้ งแก่อย่นู ะ ว่างน้ั ผมรับผิดชอบเองหรอกเร่อื งอันน้ี เขามีเคียวเกย่ี วขา้ วเลม่ หน่งึ
กับมีดแหลมอันหน่ึง กับหม้อดิน ผ้าขาวคลุม แก้ผ้าออกมาด้วย ดูชัดๆ ซะ เขาใช้เคียวมีดผ่าท้อง
เอาทารกน้อยท่จี ะเกิดน้ันออกมาเป็นทารกชาย

พอกลับเข้าไปวัด หลวงปู่พรหมท่านกวาดตาดอยู่ ก็กวาดตาดกับท่าน เห็นภาพอันนั้น
ตดิ ตาอยนู่ ะ คำ่� มามาอาบนำ�้ แลว้ กล็ งไปเดนิ จงกรม ทมุ่ หนง่ึ นน่ั แหละขนึ้ มาประชมุ มาฟงั เทศนท์ า่ น
หลวงปพู่ รหมท่านรคู้ วามนกึ คดิ ของเราหมดนะ ท่านกท็ ัก เปน็ เร่อื งทนี่ า่ ทึ่งเหลอื เชื่อมาก ออกไป
เดินจงกรมนู่น มันไม่ดู มันก็เห็น เห็นภาพอันนั้น เห็นของจริงน่ัน ท�ำอย่างไรหนอ เราก็ดู
ตอนค่�ำไปไหว้พระย่อๆ นั่งพิจารณาดูชัดๆ ซะ ดูในท้องอีนางน้ัน ผู้ใดกลัว ไปบิณฑบาตเห็น
ผสู้ าวงามนี่ ดูเห็นหมดเวย้ เอามาพิจารณาดู เหน็ ทั้งในท้ังนอกดว้ ย หลวงปู่ทา่ นก็รูค้ วามนึกคิด
ของเราอยนู่ ะ โอย้ ตาย ! เป็นแบบนี้ก็เปน็ เนาะ จติ มนั โลดไปบณิ ฑบาตเห็นคนงามๆ หลบั ตาดูกเ็ ห็น

255

ไม่นุง่ ผา้ นุ่งแพรนนู้ อ้าว ! เหน็ ธรรมมนั เหน็ ดว้ ยตาใน กน็ านอยู่ หลวงปู่พรหมท่านกด็ ูอยนู่ ู้น ทา่ นจะ
ทว้ งน่ันละ่ คิดอนั ไหน ทา่ นรหู้ มด เรากเ็ หลือเช่อื อัศจรรยอ์ ยนู่ ะ

อดีตชาติหลวงปู่พรหมเคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

หลวงปพู่ รหม จิรปุญฺโ ท่านสร้างเจดยี ์ทวี่ ดั ประสิทธธิ รรม เพราะว่าในอดีตชาตทิ ่านเคย
เกดิ เป็นสัตว์ เป็นเสือ เป็นหมี เปน็ อะไรอยู่ตรงทส่ี รา้ งเจดีย์ ท่านระลกึ อดตี ชาตขิ องทา่ นได้ เร่ืองนี้
คนเฒ่าคนแก่ไดเ้ ล่าถ่ายทอดต่อๆ กันมา โดยหลวงปูพ่ รหมท่านเมตตาเลา่ ให้ลกู ศษิ ย์ลูกหาฟังเอง
เจดียท์ า่ นก็สร้างเอง โดยทา่ นก�ำหนดท่สี ร้างเจดียแ์ ละเรม่ิ ลงมอื สร้างเอง ทา่ นเกดิ เป็นเสือน่ีกเ็ กิด
ทีบ่ ้านดงเยน็ ตรงนี้ เหมือนกบั หลวงปู่บุญจนั ทร์ กมโล วัดปา่ สันติกาวาส อำ� เภอไชยวาน จงั หวัด
อุดรธานี ในอดตี ชาตทิ า่ นก็เคยเกดิ เป็นเสอื ตรงท่ที ่านสร้างเจดีย์

สมัยก่อนบ้านดงเย็น เป็นป่าเป็นดงใหญ่มาก ต้นไม้เห็นแต่ต้นขนาดใหญ่ท่วมหัว มันก็มี
แต่เสือแตช่ ้างอย่แู ล้วแถบน้ี พวกลิงพวกค่างอะไรมันเต็มไปหมด เสือมนั อยทู่ ้งั ในปา่ ในเขา เพราะ
แถบนล้ี ำ� ห้วยสงครามเป็นแหลง่ อาหารอดุ มสมบรู ณ์ เปน็ แหลง่ ที่สัตวห์ ากิน คนเฒ่าคนแก่ในหมบู่ า้ น
ยังเล่าวา่ เสือไปเอาวัวของเขาในหม่บู ้านมากนิ อยู่เลย

หลวงปพู่ รหมท่านระลกึ อดีตชาตขิ องท่านได้ เกิดเปน็ หมีก็เปน็ เห็นเขาว่าเปน็ หลายอย่าง
ส่วนใหญ่ครูบาอาจารย์บางองค์ก็เล่า บางองค์ก็ไม่เล่า แต่หลวงปู่พรหมเล่าเอง ท่านเป็นหมีก็มี
แต่ว่าไม่เขียนไว้เหมือนหลวงปู่บุญจันทร์ หลวงปู่บุญจันทร์จะเขียนเป็นหลักฐานไว้โดยแกะไว้บน
แผ่นหนิ แตน่ ี่หลวงปูพ่ รหมเลา่ ใหฟ้ ังเฉยๆ ตรงที่สรา้ งเจดีย์ ด้านหลงั เปน็ กฏุ หิ ลวงปู่ ตอนเปน็ เสอื ก็
คงหากินแถบนั้นล่ะ สมยั เม่อื กอ่ นมันเปน็ ดงเปน็ ป่า ไมร่ วู้ า่ ชาตไิ หนสมัยไหน มนั กน็ านโข

และในอดีตชาติ ท่านเคยเกดิ เปน็ หมาอยหู่ ลายชาติ ท่านเกดิ ความสลดสังเวชใจในภพชาติ
น้นั มาก จึงได้น�ำมาเลา่ ให้พระศิษย์ฟังเพือ่ เปน็ คติเตอื นใจ โดยครบู าอาจารยไ์ ด้เมตตาเล่าเรอ่ื งนไ้ี ว้
ดงั น้ี

“ครูอาจารย์พรหม ชาติหนง่ึ ท่านเคยเกดิ เปน็ หมา อูย้ ! กัดกันจนหนา้ เป็นแผล ก่อนจะไป
เกิดเป็นหมา ท่านเป็นเณรน้อยในวัดบ้านน่ันล่ะ พระแต่ก่อนท่านฉันเพล สงสัยเป็นพระนิกาย
ไปขอข้าวเพลพระมาฉนั ไปเหน็ หมาผสมพันธ์ุกันตอนเดอื น ๘ เดอื น ๙ แลว้ เกิดความก�ำหนดั ยนิ ดี
กับหมาผสมพนั ธุก์ นั นั่นล่ะ รสชาตกิ ามคุณนั้น พอตกตอนกลางคืน เณรนอ้ ยเกิดโรคท้อง ลมมนั ตีขึ้น
เลยตายในคนื นนั้ แล้วไปเกดิ เปน็ หมา เป็นภพหมาหลายภพหลายชาติอยูน่ ะ ทา่ นเล่าใหฟ้ งั พอเกดิ
เป็นหมากก็ ดั กันหน้าบาดหน้าขาด ขาหกั ขาพงั ยงั ไมย่ อม โอ ! เกิดเปน็ หมาน้นั ทุกข์มาก มันนา่ กลัว
อยู่นะ อู๋ย ! กว่าจะพน้ จากชาตขิ องหมาออกมา เพราะความสุขอยใู่ นนั้น ในภพหมาน้นั

256

เกิดเปน็ หมาคราวน้นั หลายภพหลายชาติอย่กู วา่ จะแก้ได้ หมากม็ ีความสุขกบั หมานั่นล่ะ
ตดิ ภพไหนกย็ นิ ดกี ับภพนนั้ ล่ะ ทา่ นก็สรา้ งกรรมดีกไ็ มใ่ ชธ่ รรมดานะ สร้างกรรมชว่ั ก็มีผลอยู่ ตอน
ทา่ นเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาตจิ ากหมามาเป็นคน อู้ย ! หลายชาตเิ ว้ย

เราไปอย่กู ับครอู าจารยพ์ รหม ๒ – ๓ ปีทีแรก หาทุจริตอะไรไมม่ เี ลยครอู าจารย์พรหมนี่
ทา่ นทำ� อะไรมีความหมายหมด ใจท่านนัน้ โอ้ ! เรายอมรับเลยครูอาจารยพ์ รหม สว่ นเร่อื งเกิดเปน็
หมา ฟังทา่ นเล่าหลายครัง้ อยู่นะ โอ้ ! แก้ได้ ท่านกค็ งจะทำ� กรรมดี ท่านมีน่ันละ่ ”

พ.ศ. ๒๕๐๑ เร่ืองการถืออุโบสถศีลสมัยหลวงปู่พรหม

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ หลวงปูพ่ รหม จิรปุญโฺ  ท่านจ�ำพรรษาที่วดั ประสทิ ธธิ รรม ขณะที่
หลวงปู่ผาง ปรปิ ุณโฺ ณ พักจำ� พรรษาท่อี ำ� เภอภูเวียง จังหวดั ขอนแก่น หลังจากออกพรรษาแล้ว
หลวงปูผ่ างไดว้ เิ วกกลบั มาทีบ่ ้านดงเยน็ เพ่อื อุปฏั ฐากหลวงปพู่ รหม ในพรรษานช้ี าวบ้านดงเย็น
พากันมารักษาอโุ บสถศลี ท่วี ดั กนั มากข้นึ โดยก่อนหนา้ มีการต่อเติมขยายศาลากลางน�ำ้ จนแลว้ เสร็จ
เพื่อรองรับพระ เณร และชาวบา้ นที่เพ่ิมมากขนึ้ การถืออโุ บสถศลี ของชาวบา้ นสมยั หลวงปพู่ รหม
มขี อ้ ปฏบิ ตั ิ ดงั นี้

“ในวันพระ วนั สำ� คัญทางพระพทุ ธศาสนา เชน่ วนั มาฆบูชา วนั วิสาขบชู า วนั อาสาฬหบชู า
ฯลฯ หลวงปพู่ รหม จิรปญุ ฺโ ท่านพาชาวบ้านเดนิ เวยี นเทียนรอบพระวหิ าร แตท่ า่ นจะไม่เดนิ น�ำ
ท่านจะนง่ั รออยใู่ นพระวหิ าร ในวันเช่นน้ีทา่ นจะสง่ เสรมิ ให้ชาวบา้ นญาตโิ ยมมาถอื อุโบสถศีล คือ
รกั ษาศีล ๘ ให้อยนู่ อนค้างท่ีวดั หนง่ึ คนื คอื ถา้ ใครจะมาถืออุโบสถศลี ท่วี ดั ใหเ้ อาเสอื้ ผา้ มานอนค้าง
วัดด้วย ให้มากนั ตั้งแตเ่ ช้า ถวายจงั หันแลว้ ก็รับศลี รับประทานขา้ วมอ้ื เดยี ว และใหอ้ ย่ปู ฏบิ ัตธิ รรม
ทวี่ ัดท้งั วัน ตอนบา่ ยกป็ ัดกวาดลานวัด จากนั้นก็ด่มื น�้ำรอ้ นน้�ำสมนุ ไพร ตอนค่ำ� กท็ ำ� วตั รสวดมนต์
ปฏิบัตธิ รรม แล้วนอนค้างคืนหนง่ึ อกี วันหนง่ึ ถงึ จะออกจากอุโบสถศีล ท่านไม่ให้กลับบ้านก่อน
ถา้ ใครมาถวายจังหันแล้ว รับศีลแลว้ กลบั บา้ น หรอื ถา้ ใครไมไ่ ดม้ าแตเ่ ช้า มาตอนบ่ายค่อนวนั หรือ
ค่ำ� ๆ ค่อยมา หลวงปู่ไมใ่ ห้ ทา่ นดุดา่ เลย “มาท�ำไม” ท่านไล่หนีเลย สมยั นน้ั ก็มคี นโดนดุท�ำนองนี้

ขณะหลวงปู่ผาง ปรปิ ณุ โฺ ณ อย่ทู วี่ ัดประสิทธิธรรม ทา่ นกพ็ าท�ำ ใครมาถืออโุ บสถรกั ษาศลี
ที่วดั ใครกลบั บ้านกอ่ น ท่านก็ไลก่ ลบั เลย หลวงปู่พรหมกไ็ ล่ หลวงปู่ผางกไ็ ล่ ทา่ นเจตนาจะใหอ้ ยู่
ปฏบิ ัติธรรมทว่ี ดั ตลอดทัง้ วันทัง้ คนื แลว้ สุดท้ายชาวบา้ นก็พร้อมใจกันท�ำตามหลวงปู่

สมยั หลวงปูพ่ รหม ผ้คู นบา้ นเรือนยังไม่มาก ก็มคี นมาถืออุโบสถศลี ท่วี ัดกันเตม็ ศาลา เพราะ
คนสูงอายุไม่มีงานที่ไหน ลูกๆ ก็อยู่บ้าน ส่วนสมัยนี้ลูกๆ ก็ไปท�ำงานกันหมด ส่วนมากไม่มีใคร
อยูบ่ า้ น เดี๋ยวนี้คนมันไม่เหน็ ธรรม มนั ก็บวชไม่ได้ ใจไมเ่ อา ใครมาเหน็ งานหนัก ใจมนั ก็ถอยแลว้

257

การถืออุโบสถศีลท่ีวัดหนึ่งวันหนึ่งคืน หลวงปู่พรหมท่านจะพาท�ำเฉพาะวันศีลวันพระ
เดือนละ ๔ คร้งั คอื วันขึน้ และวนั แรม ๘ ค�ำ่ วันขน้ึ และวันแรม ๑๕ คำ่� และได้สืบทอดจนเปน็
ประเพณมี าตราบจนถงึ ทุกวนั น้ี”

หลวงปู่พรหมสร้างสะพานข้ามแม่น�้ำสงคราม

หลวงปู่พรหม จริ ปญุ ฺโ เมื่อทา่ นมาอย่จู �ำพรรษาท่ีวัดประสทิ ธิธรรมเปน็ การถาวรแล้ว
นอกจากทา่ นจะบ�ำเพญ็ ประโยชน์ทางด้านศาสนา โดยการบูรณะพฒั นาและสรา้ งวดั แล้ว ท่านยัง
บ�ำเพญ็ ประโยชน์ทางดา้ นชาติบา้ นเมอื ง โดยช่วยทางราชการสรา้ งสาธารณประโยชนม์ ากมาย เช่น
การสรา้ งสะพานขา้ มแม่น้ำ� สงคราม สะพานทห่ี ลวงปสู่ รา้ งไว้ขาดถงึ ๓ เทย่ี ว ๔ เที่ยว เพราะกระแส
น้ำ� ไหลแรงมาก ไหลมาซดั สะพานขาด ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงสรา้ งสำ� เร็จ โดยมีประวัตโิ ดยยอ่ ดังน้ี

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงปู่พรหมท่านไดเ้ ป็นผู้น�ำพาชาวบ้านดงเยน็ และบา้ นดอนเชียงยนื
สร้างสะพานข้ามแม่น�้ำสงครามข้ึนเป็นครั้งแรก เป็นสะพานแพไม้ลอยขึ้นลอยลงตามน้�ำขึ้นน้�ำลง
และต่อมาสะพานแพไมถ้ กู ความแรงของกระแสน้�ำซดั จนขาด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ท่านสรา้ งสะพาน
ขึน้ ใหม่เป็นคร้งั ท่ี ๒ ให้ม่นั คงแข็งแรงกว่าเดิม โดยสร้างดว้ ยไม้เน้อื แข็ง รวมทงั้ เสาเข็มคำ้� ยนั กเ็ ปน็
ไมเ้ นอ้ื แขง็ และมหี ลังคาจ่วั สงั กะสี ขนาดสะพานกว้าง ๔ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ดงึ ตวั สะพานใหโ้ ค้ง
ส้แู รงน�ำ้ ไหล พร้อมตอกเสาเขม็ ยึดค�ำ้ ยนั เสาสะพานกลางน้ำ� ทัง้ หมด การสร้างในครั้งน้ีใช้ไมเ้ นอื้ แข็ง
จ�ำนวนมาก โดยได้รับบริจาคจากชาวบ้านทั้งหมด สะพานนี้นอกจากเป็นทางเดินสัญจรของ
ชาวบา้ นแลว้ ยังใหว้ ัว ควาย ม้า เกวยี นขา้ มได้ แตช่ า้ งไมใ่ หข้ ้าม ให้ลุยน้�ำขา้ ม ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑
ทา่ นได้ปรบั ปรุงซอ่ มแซมสะพานอีกคร้ังเปน็ คร้งั ท่ี ๓ มกี ารรื้อหลงั คาสะพานออก เน่อื งจากเถา้ แก่
อำ� เภอสว่างแดนดนิ จะเอารถดอดจม์ าวงิ่ แต่รถตดิ หลงั คาสะพาน จงึ มากราบหลวงป่ขู ออนุญาต
ขา้ มสะพาน หลวงปจู่ งึ ให้รือ้ ออก

การสรา้ งสะพานขา้ มแมน่ �้ำสงคราม โดยหลวงปพู่ รหมเป็นผูน้ �ำนั้นไมไ่ ด้ใชง้ บประมาณใดๆ
จากทางราชการ ถงึ แม้วา่ การสรา้ งสะพานจะมอี ุปสรรคและสร้างได้ยากกต็ าม เนอ่ื งจากกระแสนำ�้
ไหลเช่ียวแรงมาก แต่เมื่อหลวงป่ทู ่านพาสร้างต้องส�ำเรจ็ นบั วา่ หลวงปทู่ ่านเป็นผนู้ ำ� ศรัทธาอย่าง
แท้จรงิ ของชาวบา้ น จนชาวบ้านท้งั สองฝง่ั เห็นดเี ห็นงาม ยอมเสยี่ งชีวติ และยอมอุทิศตวั เสยี สละ
เวลา แรงงาน ตลอดจนสง่ิ ของ เพื่อสนับสนนุ การสรา้ งสะพานจนสำ� เร็จลุล่วงดว้ ยดี ซง่ึ สะพาน
มีประโยชน์มาก ท�ำให้บ้านดอนเชียงยืน อ�ำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กับบ้านดงเย็น
อ�ำเภอบา้ นดงุ จงั หวัดอุดรธานี ซ่งึ ตั้งอยคู่ นละฝง่ั แม่นำ�้ ไดเ้ ช่ือมเขา้ หากัน ท�ำใหก้ ารเดินทางสญั จร
ของชาวบา้ นสองฝ่ังแมน่ �ำ้ สะดวกรวดเรว็ ข้นึ

258

ปัจจุบนั สะพานขา้ มแมน่ �ำ้ สงครามท่สี รา้ งข้ึนใหมภ่ ายหลงั โดยทางราชการ เปน็ คอนกรีต
เสรมิ เหล็กอยา่ งดแี ละมีความยาวกว่าเดิม เพราะสภาพแมน่ ้ำ� กวา้ งข้นึ เน่อื งจากกระแสนำ�้ ไหลกัด
เซาะตลง่ิ โดยทางราชการตั้งชือ่ ว่า “สะพานดอนเชยี งยืน พ.ศ. ๒๕๓๘”

สมัยที่หลวงปู่พรหมพาสร้างสะพานข้ามแม่น�้ำสงคราม ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ มีเหตุการณ์
นายอำ� เภอสวา่ งแดนดินเดนิ ทางมาตรวจไมท้ ต่ี ัดมาสรา้ งสะพาน ดงั นี้

“สมัยน้ันนายอำ� เภอสว่างแดนดินจะไปวา่ หลวงปพู่ รหม ไปบบี ก�ำนนั ผ้ใู หญบ่ ้านจะเอาเร่อื ง
โดยเฉพาะผ้ใู หญ่บา้ นดอนเชียงยนื ท่ีอยู่ตรงขา้ มกบั บ้านดงเยน็ วันนัน้ หลวงปทู่ ่านฉนั น�้ำรอ้ นน้�ำชา
อย่ใู ตก้ อไผ่หนา้ สะพานบา้ นดงเย็น ผใู้ หญ่บา้ นบอกวา่ “หลวงป่คู รับนายอำ� เภอจะมา” “มาอหี ยงั ”
(มาท�ำอะไร) “จะมาตรวจไม้” ทา่ นกเ็ ฉย หลวงปู่ใหช้ าวบ้านไปตัดไม้มาท�ำสะพาน สมัยนัน้ ปา่ ไม้
อุดมสมบรู ณ์ ตามกฎหมายเรอ่ื งป่าไม้ ไม้ท่ีโค่นลงมาแล้วอยูใ่ นป่า เรยี กว่า ไมล้ ้มขอนนอนไพร
เปน็ สมบตั ิของชาติ ไปเอามาทำ� ฟนื ทำ� อะไร ต้องขออนุญาตกอ่ น มฉิ ะนน้ั จะผิดกฎหมาย นายอำ� เภอ
มาตรวจไม้วันน้ี พอมาถงึ กราบปุบ๊ ป๊บั แล้วก็เงย ยังไมท่ นั พดู อะไรเลย หลวงปกู่ ถ็ าม “เปน็ จั่งไดล๋ ะ่
ไตส่ ะพานขอ้ ยมาดบี ”่ (เปน็ ยังไงล่ะ ข้ามสะพานขา้ มาดไี หม) แคน่ น้ั แหละนายอ�ำเภอสวา่ งฯ กราบ
ปบ๊ั ๆ แล้วกลบั เลย ไมพ่ ูดอะไรเลย พดู ไมอ่ อก หน้าเสียไปเลย เดาใจท่านวา่ ถ้าเดนิ ไม่ดี เวลากลับ
อยา่ เดนิ ขา้ มสะพานขอ้ ยนะ ให้ลุยน้ำ� ไปเลย ท่านคงจะพดู อยา่ งนค้ี วามหมาย”

พ.ศ. ๒๕๐๒ ครูบาอาจารย์กราบท�ำวัตรขอขมาหลวงปู่พรหม

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ หลวงปู่พรหม จิรปญุ ฺโ ได้พักจำ� พรรษาทวี่ ดั ประสทิ ธิธรรม โดยมี
หลวงปผู่ าง ปริปุณโฺ ณ อยู่รว่ มจ�ำพรรษา ดว้ ยหลวงปู่พรหม ทา่ นเปน็ ครบู าอาจารย์ท่มี อี าวุโสสงู สุด
และมีคุณธรรมองค์หนึง่ ในเขตอ�ำเภอบ้านดงุ อำ� เภอสว่างแดนดิน และในแถบบริเวณน้นั ดงั น้ัน
ก่อนเข้าพรรษาจึงมีพระเณรตามวัดธรรมยุตในละแวกนั้นมากราบท�ำวัตรขอขมาหลวงปู่เป็นประจ�ำ
ทุกปี ดังนี้

“ก่อนเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ทา่ นพระอาจารย์ลี ติ ธมฺโม วัดป่าบ้านตาล ท่านพระ–
อาจารย์สุภาพ ธมมฺ ปญฺโ วดั ทงุ่ สว่าง ท่านพระอาจารยอ์ ่อนศรี านวโร วัดบา้ นบึงโน ซึ่งวดั
ทง้ั สามตัง้ อยใู่ นตำ� บลโคกสี อ�ำเภอสวา่ งแดนดนิ จงั หวัดสกลนคร ท่านพระอาจารยท์ งั้ สามเปน็
พระศิษย์รุ่นอาวุโสของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ได้น�ำพระเณรในอาวาส พร้อมด้วยพระเณร
วัดธรรมยตุ ในละแวกน้ัน รวมทง้ั อุบาสก อบุ าสกิ า ได้นัดรวมกนั ไปกราบท�ำวัตรขอขมาหลวงปพู่ รหม
ทว่ี ดั ประสทิ ธธิ รรม บา้ นดงเย็น อำ� เภอบา้ นดงุ จังหวัดอุดรธานี ดงั เช่นท่เี คยปฏิบตั มิ าทกุ ปี จนเปน็
ประเพณี

259

ในเชา้ วันกราบทำ� วตั รขอขมาหลวงปพู่ รหม เมือ่ พระเณรฉันจังหนั เชา้ ทีว่ ัดของตนเสรจ็ แลว้
ตา่ งกอ็ อกเดนิ ทางไปวดั ประสทิ ธิธรรม เมือ่ หม่คู ณะพระภกิ ษุ สามเณร ตลอดอุบาสก อุบาสิกา
พร้อมเพรียงกนั ที่ศาลาในตอนบา่ ย ก็ได้กราบนมิ นตห์ ลวงปู่พรหมมาท่ศี าลา เพอ่ื ท�ำพิธีกราบทำ� วตั ร
ขอขมาและฟงั โอวาทธรรม ในขณะนั้นท่านพระอาจารย์ลี ติ ธมโฺ ม ซึง่ มีอายพุ รรษามากท่ีสุด เป็น
ผนู้ ำ� กลา่ วค�ำขอขมาหลวงปู่พรหม เมอื่ เสรจ็ พิธี หลวงปพู่ รหมทา่ นได้เมตตาให้พรและเทศนส์ ้นั ๆ
“ใหพ้ ากนั พิจารณาปฏสิ งั ขาโย” จากน้ันพระเณรต่างก็พากนั กราบลาเดนิ ทางกลบั วัดของตน

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ หลวงปูพ่ รหม จริ ปญุ ฺโ ท่านเมตตารับกจิ นมิ นตม์ าฉนั เชา้ ทีว่ ัดท่งุ สว่าง
วัดของพระอาจารย์สุภาพ ธมมฺ ปญโฺ  อยู่บ่อยๆ”

ธรรมเนยี มการกราบขอขมาคารวะ หรอื บางครงั้ เรยี กวา่ “ทำ� วัตร” ของพระธดุ งคกรรมฐาน
สายท่านพระอาจารย์มั่น ภรู ทิ ตฺโต นัน้ นิยมกระท�ำกันทกุ ปจี นเป็นประเพณี โดยมกั ท�ำวัตรกนั ใน
ช่วงกอ่ นหรือระหว่างเข้าพรรษา และชว่ งเวลาอื่นๆ ตามโอกาสอันเหมาะสมด้วย ปกติกอ่ นจะถึง
วันเข้าพรรษา พระภกิ ษุสามเณรจากหลายวดั ทอี่ ยใู่ กลเ้ คยี งกันมกั จะมารวมตวั กันทวี่ ดั ใดวดั หนึ่ง
ในเขตพน้ื ที่นัน้ ซ่ึงเป็นวดั ทีม่ ีพระเถระผู้มีอายพุ รรษามากและปฏิบตั ดิ ี ปฏิบตั ิชอบ เป็นท่เี คารพ
เล่ือมใสในหมู่พระภิกษุสามเณร เพ่ือกราบขอขมาคารวะและรับฟังโอวาทธรรม อันเป็นการสร้าง
ความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และยังเป็นการกระตุ้นเตือนจิตใจให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมก�ำจัดกิเลส
ในชว่ งฤดเู ขา้ พรรษาอยา่ งเตม็ ที่

กรณที ่หี ลวงป่พู รหมท่านมักเทศนส์ อนพระด้วยบทธรรมะสน้ั ๆ เป็นประจ�ำว่า “ใหพ้ ากัน
พจิ ารณาปฏสิ ังขาโย” ความส�ำคญั ของธรรมบทน้ี องค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนโฺ น ได้
เมตตาเทศนไ์ ว้ดังนี้

“... ก่อนบริโภคใช้สอยในปจั จัยทกุ ส่ิง พระพทุ ธเจา้ จึงสอนใหพ้ ิจารณา ปฏสิ งขฺ า โยนิโส

เพราะค�ำวา่ ปฏิสงขฺ า โยนิโส ไม่ใช่เรื่องเลก็ นอ้ ย แต่เป็นเร่ืองใหญ่โตมากและครอบไปหมด
ท้งั โลก เพราะเป็นเรอื่ งของปัญญา จึงไม่ควรท�ำเอาเฉยๆ โดยปราศจากการใครค่ รวญไตรต่ รอง
ใหร้ อบคอบกอ่ น ก่อนฉนั ทกุ ๆ คร้ัง จึงควรพิจารณาปัจจัยทีม่ ารวมอยู่ในบาตรหรือในภาชนะวา่ น้ี
ไดม้ าแลว้ ด้วยความบริสุทธิ์ แต่ขณะจะฉนั จะเป็นความบรสิ ทุ ธ์ิหรือไม่ หรอื จะกลายเป็นมจิ ฉาชีพ
ไปโดยเจ้าตวั ไม่รู้ ด้วย ปฏสิ งฺขา โยนิโส จวี รํ ปณิ ฑฺ ปาตํ เสนาสนํ คลิ านเภสชฺชํ ปฏเิ สวามิ

ให้เห็นสักว่าเป็นเคร่ืองเยียวยาธาตุขันธ์ไปในวันหนึ่งๆ เพ่ือบ�ำเพ็ญพรหมจรรย์ให้เป็นไป
ในวันหน่ึงๆ เทา่ นั้น ไมไ่ ด้มุง่ ถึงรสชาตคิ วามเอร็ดอรอ่ ย ไม่ได้มุ่งถึงอาหารจะประณตี บรรจงหรอื ไม่
ไม่ไดม้ ุ่งสถานที่ และชาติ ช้ัน วรรณะของผู้มาใหท้ าน แตม่ งุ่ ถึงความบรสิ ทุ ธ์ใิ จที่ไดม้ าด้วยความ

260

ชอบธรรม และการขบฉนั ดว้ ยความชอบธรรมเท่านัน้ นแี้ ลเป็นยอดอาหาร เปน็ อาหารที่ประเสริฐ
และเปน็ การขบฉนั ท่ชี อบธรรม...

สบง จีวร กุฎีที่อยู่อาศัย ยาแก้โรค ส่ิงเหล่าน้ีตามปกติมีความสะอาดพอดู แต่พอมา
คลกุ เคลา้ กบั รา่ งกายแลว้ ไมว่ า่ สง่ิ ใด อาหารกต็ อ้ งเปน็ ปฏกิ ลู ทนั ที ผา้ ทม่ี เี นอื้ ดแี ละสะอาดกก็ ลายเปน็
ของสกปรก จ�ำต้องซักฟอกอยู่เสมอ ไม่เช่นน้ันจะเป็นของสกปรกย่ิงขึ้น ใช้นุ่งห่มต่อไปอีกไม่ได้
เสนาสนะก็จ�ำต้องปัดกวาดเช็ดถูเสมอเช่นเดียวกัน เพราะอาศัยของไม่สะอาดเป็นเจ้าของและอยู่
ที่นั่น จะอยู่ไปเฉยๆ โดยไม่ท�ำความสะอาดไม่ได้ จะกลายเป็นโลงผีดิบข้ึนมาในกุฎีและศาลาหลัง
น้ันๆ กิจวัตร คือ การท�ำความสะอาดเกี่ยวกับสบง จีวร บริขาร เครื่องใช้ตลอดกุฎี วิหาร
พระพุทธเจ้าต้องทรงบัญญัติให้ภิกษุปฏิบัติต่อส่ิงเหล่าน้ีด้วยความเอื้อเฟื้อ ไม่ให้ท�ำความเมินเฉย
และปรบั อาบัติโทษแก่ผ้ทู อดธรุ ะไมเ่ หลยี วแล

เพราะฉะนน้ั ปฏสิ งขฺ า โยนิโส จงึ ไม่ใช่ธรรมเลก็ น้อย ผมู้ ี ปฏสิ งฺขา โยนโิ ส ประจ�ำใจจะไป
จะมา จะเดนิ จะเหิน จะฉัน หรือจะท�ำอะไร ยอ่ มมคี วามรอบคอบ ไมค่ ่อยมคี วามผดิ พลาด เพราะ
อำ� นาจความแยบคายของปัญญาสง่ กระแสซา่ นไปตามอาการทเี่ คลอื่ นไหว”

ท่านมอบหมายให้พระศิษย์ไปคารวะหลวงปู่ฝั้น

ในช่วงก่อนเข้าพรรษาหลวงปู่พรหมท่านสั่งใหพ้ ระศษิ ยไ์ ปกราบคารวะหลวงป่ฝู ั้น อาจาโร
หลวงปูฝ่ ้ันพรรษามากกวา่ หลวงปพู่ รหม ไปดว้ ยกนั ๒ องค์ หลวงปู่ไม (วัดศรโี พนสงู มรณภาพ
ไปแลว้ ) กบั พระบวชใหม่ สมยั นน้ั ทวี่ ดั ไมม่ รี ถ เอาไมเ้ จยี ใสบ่ าตรแลว้ กส็ ะพายบาตรออกเดนิ เทา้ จาก
วดั ประสทิ ธธิ รรม บา้ นดงเยน็ ไปพักบ้านท่าสองคอนและพกั ที่อำ� เภอพรรณานคิ ม แตว่ ่าอาจารยไ์ ม
ทา่ นไม่ขึน้ ไปถำ�้ ขาม ก็เลยไปองคเ์ ดยี ว ถ้าไมไ่ ปจะใหท้ �ำอย่างไร เพราะเปน็ คำ� สง่ั หลวงปู่พรหม

พอไปถงึ ถ้�ำขาม หลวงปฝู่ นั้ ทา่ นก็ถาม “ได้อะไรมาฝาก” กเ็ อาไมเ้ จยี ถวายท่าน ในคนื แรก
โอย้ ! เม่อื ยๆ มันก็อยากหลับอยากนอน มันเหนอื่ ย เลยนอนหลับไมร่ ู้สกึ ตัว ตอนกลางคนื พระเณร
ทถ่ี ำ�้ ขามก็นง่ั สมาธิ เดินจงกรม สว่ นแมวมนั ก็ข่วนตน้ มะขามเสียงแก๊กๆๆ และมันกป็ ีนข้นึ ปนี ลง
พอถงึ ตอนเช้าลงไปหาหลวงปู่ฝนั้ แมวน้นั มนั ก็เตน้ แก๊กๆๆ อยตู่ ่อหนา้ เรานน้ั ละ่ หลวงปูฝ่ น้ั ท่านว่า
“เจา้ รจู้ กั ไหมน้นั เมื่อคนื นีน้ อนตายซะขร้ี ้าย (ข้เี หร่) กวา่ แมว แมวมันยงั เดินจงกรม พระมาใหม่
มานนั่ มานี้ แมวมันไปแอบดู ไปดแู มวนน้ั เจา้ ไม่เท่าแมวข้า” กไ็ มร่ ู้จะวา่ ยงั ไง ไปพกั กบั หลวงปฝู่ ั้น
อยู่ ๑ เดือน กก็ ราบลาทา่ น

ทีว่ ดั ถำ้� ขาม มตี น้ มะขามอยู่ใตก้ ฏุ ิหลวงปู่ฝ้ันอย่บู นโขดหนิ กห็ ยบิ พร้ามีดไปถากเอาแกน่
เปลอื กขาม ไดแ้ ลว้ ก็กลับ มาถึงวดั หลวงปู่พรหมถามวา่ “ไปถ�ำ้ ขามได้อะไรมา” กต็ อบทา่ นว่า

261

“ไม่ได้เอาอะไรมา” แล้วก็ลว้ งหยบิ เอาเปลอื กขามออกจากถุงผ้าองั สะ “โอ้ ! ได้เปลือกขามมาครับ”
เปน็ หลกั ฐานว่าไปถำ�้ ขามมา ท่านก็ว่า “ไปถึงแล้ว เกง่ ๆ” ถ้าไปไมถ่ ึงหลวงป่ฝู ัน้ ทา่ นกจ็ ะวา่ ใหเ้ รา
หลวงปู่พรหมก็ถามต่อไปว่า “หลวงปู่ฝั้นท่านสอนอะไร” ส่วนมากท่านไม่อยากสอนนะ เราเป็น
ลูกศษิ ย์หลวงปู่พรหม ท่านก็จะเกรงกนั ครูผ้นู ี่มันเกง่ แล้ว ครผู นู้ น้ั กเ็ ลยไม่อยากสอนอะไร

พระบวชใหม่เปน็ ชาวบ้านถ่อน ได้กราบหลวงปู่พรหมคร้งั แรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ที่
วดั ศรโี พนสูง ขณะท่านมาซ่อมพระพุทธรปู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ – พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงป่ทู า่ น
สรา้ งสะพานจากหนา้ วดั ไปหมู่บา้ นกไ็ ดม้ าช่วยงาน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ไดม้ าขอบวชกับหลวงปู่พรหม
และมีอีกคนหน่ึงก็มาขอบวช ทั้งสองคนได้ฝึกหัดเป็นผ้าขาวและซ้อมท่องขานนาคกับหลวงปู่ไม
ตอ้ งฝกึ ซ้อมทอ่ งขานนาคจนคล่องแคล่วพร้อมเพรยี งกนั ขนึ้ พร้อมกนั และลงพรอ้ มกัน จงึ จะไดบ้ วช
หากทอ่ งไมพ่ ร้อมกันจะตอ้ งกลับไปฝกึ ซอ้ มใหม่ เม่อื ท่องขานนาคไดแ้ ล้ว กเ็ ปน็ คูน่ าคบวชพรอ้ มกนั
ในโบสถว์ ัดศรีโพนสงู โดยมีหลวงปพู่ รหมท่านเมตตานั่งเป็นประธานสงฆ์

หลวงปู่พรหมท่านไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยท่านถือตามปฏิปทาของพ่อแม่ครูอาจารย์
สายพระธดุ งคกรรมฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ทา่ นจะไมเ่ ปน็ พระอุปัชฌาย์ นบั แต่หลวงปเู่ สาร์ หลวงปู่ม่นั
หลวงปู่ชอบ านสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย ฯลฯ ตามประวัติหลวงปู่ม่ันท่านเคยรับแต่งต้ัง
เป็นพระอุปัชฌาย์ ทา่ นพระอาจารย์เกตุ วณณฺ โก หรอื หลวงตาเกตุ เปน็ สทั ธวิ หิ าริก หรอื พระท่ี
หลวงปมู่ นั่ เปน็ พระอุปัชฌาย์ท�ำการอุปสมบทให้ มเี พียงหลวงตาเกตุผ้เู ดียวเท่านัน้ ท่หี ลวงปูม่ ัน่ เป็น
พระอุปัชฌาย์ให้ จากน้ันท่านก็สละต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงและต�ำแหน่งพระอุปัชฌาย์
ออกธุดงค์

พ.ศ. ๒๕๐๓ พระเณรท่ีอยู่จ�ำพรรษากับหลวงปู่พรหม

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ขณะหลวงปพู่ รหม จิรปุญโฺ  จำ� พรรษาที่วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเยน็
มีพระทีอ่ ยู่จ�ำพรรษากบั หลวงปู่พรหม ๖ องค์ ไดแ้ ก่ อาจารยผ์ าง (หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ) คนบา้ น
ดงเยน็ อาจารยส์ อน (หลวงปูส่ อน อตุ ฺตรปญฺโ) คนบ้านตาล ท่านเป็นสหธรรมกิ กบั ทา่ นพระ–
อาจารยจ์ วน กลุ เชฏโฺ  วดั เจตยิ าคริ วี หิ าร (ภทู อก) อาจารย์คาน คนบา้ นตาล อาจารย์โย (หลวงปู่
ยงยุทธ ติ ธมฺโม) คนภูไท อาจารย์ไม คนบ้านถ่อน ครูบาคนบ้านถ่อน รวมพระ ๗ องค์
เณร ๓ องค์ และแม่ขาวประมาณ ๕ คน

สำ� หรับอาจารย์พ่ัว (หลวงปู่พวั่ นิติโก) คนพษิ ณโุ ลก ทา่ นจะมาพกั ในหน้าแล้ง ท่านไม่เคย
อยจู่ ำ� พรรษาทวี่ ดั ประสทิ ธิธรรมกบั หลวงปูพ่ รหม จิรปญุ โฺ  ซ่ึงเป็นพระอาจารยร์ ปู แรกๆ ของท่าน
ส่วนใหญ่ท่านจะอยวู่ ดั บา้ นป่าเปา้ (ปัจจบุ นั คือ วัดป่าสารไพรวัลย์ บ้านป่าเปา้ ตำ� บลดงเย็น อำ� เภอ
บา้ นดุง จงั หวดั อุดรธานี) ท่านจะมาอยู่เฉพาะหน้าแลง้ เปน็ เวลานานๆ ทา่ นเปน็ ค่สู นทนากบั หลวงปู่

262

พรหม ในช่วงนั้นหลวงปู่ผางท่านไปเท่ียวธุดงค์ที่อ่ืน คงมีแต่หลวงปู่พรหมกับหลวงปู่พั่ว ท่าน
สนทนากันอยา่ งอบอนุ่ ตอ่ ลูกพระลกู เณร

เพราะโดยปรกติ หลวงปู่พรหม กับ หลวงปู่พว่ั จะมีวตั รปรกติ คือ พูดนอ้ ย แตพ่ อท่าน
มาอยชู่ ว่ งหนา้ แลง้ ดว้ ยกนั ทา่ นทงั้ สองกส็ นทนากนั หลวงปพู่ วั่ ไมย่ อมอยจู่ ำ� พรรษาทวี่ ดั ประสทิ ธธิ รรม
แมส้ ักพรรษาหนึง่ ก็ไมเ่ คย ต่อมาจึงทราบวา่ หลวงปพู่ ั่วชอบจำ� พรรษาเพยี งรปู เดียวเปน็ ส่วนใหญ่
ตามวิสัยของพระปัจเจกโพธิ อย่างดีกม็ หี ม่พู ระมาอย่ดู ้วยบา้ งไมเ่ กิน ๒ รูปในชว่ งพรรษากาล

ประวัติย่อ หลวงปู่พ่ัว นิติโก

หลวงปูพ่ วั่ นิตโิ ก หรือ หลวงปู่สมุ าลี วดั ป่าสารไพรวัลย์ (บ้านป่าเปา้ ) ต�ำบลดงเย็น อำ� เภอ
บ้านดงุ จังหวดั อุดรธานี ท่านถอื กำ� เนดิ ในสกลุ “องค์ม”ี ณ บ้านหวั ร้อง อ�ำเภอนครไทย จงั หวัด
พิษณโุ ลก เมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เม่ือถงึ วาระอายคุ รบบวช จึงเขา้ บรรพชาอปุ สมบท ณ พทั ธสมี า
วัดกลางศรีพุทธาราม ต่อมาท่านกราบถวายตวั เปน็ พระศษิ ยห์ ลวงปมู่ ัน่ ภรู ิทตฺโต และ หลวงปู่
พรหม จริ ปุญฺโ ทา่ นอยูศ่ กึ ษาปฏบิ ตั ิธรรมกับหลวงปมู่ ัน่ หลายพรรษา เมอื่ หลวงปมู่ ัน่ มรณภาพลง
ทา่ นไดม้ าศึกษาปฏิบตั ธิ รรมกับหลวงป่พู รหมตราบจนหลวงป่พู รหมมรณภาพ จากนัน้ ท่านไปสร้าง
วัดท่บี ้านปา่ เปา้

อุปนสิ ยั หนึ่งของหลวงป่พู ว่ั คอื ทา่ นไม่อนุญาตให้มีกฐินหรือผา้ ปา่ มาทอดถวายในวดั ทท่ี า่ น
จ�ำพรรษา ใครมาขอทอดผา้ ปา่ หรือกฐนิ แมม้ หี มู่คณะพระครบองคส์ งฆ์ ทา่ นก็ไม่ยอมรบั ให้ไปทอด
วดั อน่ื ทา่ นมักอา้ งว่า วดั ท่านไมม่ คี วามจำ� เป็นใดๆ กบั ผ้าป่า กฐินน้นั ท่านบณิ ฑบาตฉนั เปน็ ปรกติก็
เพียงพอแล้ว ไมต่ อ้ งการปจั จัย หรอื สิ่งของอันเกินความจำ� เป็นใดๆ หมูพ่ ระหนุ่มๆ จงึ ไม่คอ่ ยมีรูปใด
อย่กู ับท่านไดน้ านๆ ด้วยไม่มีอตเิ รกลาภนี้กด็ ้วยเหตผุ ลประการหนงึ่

มเี รอื่ งเลา่ วา่ คราวหน่ึงเม่ือคร้งั ท่านอยจู่ �ำพรรษาทว่ี ดั ปา่ บ้านดงดารา อ�ำเภอบ้านดงุ จังหวัด
อุดรธานี ก่อนจะมาจ�ำพรรษา ณ วดั ปา่ สารไพรวลั ย์ มีคณะศรทั ธามาจากกรงุ เทพฯ พากันยกกอง
ผ้าปา่ มาถวายโดยไมไ่ ดบ้ อกท่านมากอ่ น ได้ปัจจยั จ�ำนวนมากในคร้งั นั้น รวมทง้ั ส่งิ ของต่างๆ อนั เป็น
บรวิ าร พอคณะผ้าป่าเดินทางกลบั ท่านสง่ั ใหท้ ายก ทายกิ าในวัด ยกขา้ วของเหลา่ นน้ั พรอ้ มทง้ั
ปัจจัยทงั้ หมดไปถวายวัดบ้านแห่งหน่งึ โดยใหเ้ หตผุ ลสน้ั ๆ วา่ “เกนิ ความจำ� เปน็ สำ� หรบั ชีวติ พระ”

หลวงปู่พ่ัว ก่อนฉนั ก็จะปรารภธรรมนิดหน่อย ตามระเบียบวธิ ขี องพระสายปา่ ท่ัวไป แลว้ ก็
จะให้น่งั ภาวนาโดยกลา่ วว่า “พอ่ ออก แมอ่ อก พุทโธๆ กนั เดอ้ ” เทา่ นัน้ ท่านจะเน้นอยูเ่ สมอวา่
“ไม่มีอะไรย่ิงใหญ่ไปกวา่ พทุ โธ พูดให้ตายกเ็ สียเวลาเปลา่ ไม่เทา่ พุทโธ” เป็นเชน่ น้ีเสมอมา

263

ในช่วงทหี่ ลวงปูพ่ ัว่ ท่านชราแลว้ จะจ�ำพรรษาติดต่อกนั ทวี่ ัดป่าเปา้ (วัดปา่ สารไพรวัลย)์ น้ี
จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตถึง ๑๓ พรรษา นับว่ายาวนานกว่าสถานที่อ่ืนๆ ในช่วงออกพรรษา
เทา่ นน้ั จงึ จะจาริกไปอยูโ่ ปรดสัตว์ท่ีอื่น ตามอธั ยาศยั แบบเงียบและเรยี บง่าย ท่านจะมพี ระมาอยู่
จ�ำพรรษาไมน่ ้อยกวา่ ๒ รปู เสมอ เพ่อื ปรนนิบตั ิองคท์ า่ น แต่องค์ทา่ นกไ็ มค่ ่อยนยิ มใหล้ กู พระชว่ ย
ท�ำอะไรให้ท่าน มกั นยิ มท�ำเองในกจิ วตั ร แมส้ ุขภาพองค์ท่านจะไม่คอ่ ยอ�ำนวยแล้วกต็ าม

หลวงป่เู คยทง้ั เลา่ ท้งั ย้ำ� ให้ฟังเสมอว่า

“คนและสัตวเ์ กดิ มาในโลกนี้ ยอ่ มเกิดตายซำ้� ซากกนั นับประมาณมิได้ หยดุ เกิดหยุดตาย
จึงจะพน้ ทุกขไ์ ด้ ในภพชาตหิ น่ึงอันเปน็ เดรจั ฉานสดุ ทา้ ยของเรา ไดเ้ คยเกิดมาเปน็ พญางูเหลอื ม
แล้วมาท้งิ ร่างแก่ตายทว่ี ัดป่าเปา้ แห่งน้ี”

ท่านเคยให้ศิษย์ขุดลงไปท่ีบริเวณอันเป็นที่ต้ังกุฎีของท่าน ลงไปจนลึกมาก ก็ได้พบโครง
กระดกู พญางเู หลือมตวั นนั้ จริงๆ ซึ่งทุกๆ คนทอี่ ยใู่ นเหตกุ ารณน์ นั้ ต่างอศั จรรย์ใจกนั มาก ชว่ งท่ีขดุ
นัน้ ประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ซ่งึ ท่านได้ยา้ ยมาอยู่ใหม่ๆ แล้วจึงอนญุ าตใหส้ รา้ งกฎุ ที ี่อย่ปู ระจ�ำ
ของทา่ นในจดุ เดิมตรงนน้ั ใหม้ ลี กั ษณะเป็นเรอื นแถวยาวเหมอื นงูเหลอื มนอนตายอยู่ โดยท่านกลา่ ว
เปรยๆ วา่ “เราจะมาทิ้งร่างสุดท้าย ในทเ่ี กา่ ตรงจดุ น้ี”

หลวงปูพ่ ัว่ นิตโิ ก ถงึ แกม่ รณภาพ ณ วดั ป่าสารไพรวัลย์ เมอ่ื วันท่ี ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๒๕ ตามท่ที ่านได้เปรยไว้ สิรอิ ายุได้ ๖๒ ปี ๔๑ พรรษา

ก่อนถึงวันมรณภาพ ชาวบ้านป่าเป้าไดไ้ ปปรนนบิ ตั ิอยา่ งใกล้ชิด และตา่ งกราบเรียนท่านวา่
“ขา้ น้อย คงจะไมม่ ปี ัญญาสร้างเจดียถ์ วายหลวงปู่ตามประเพณที ่ปี ฏบิ ตั ิตอ่ พระอรยิ เจา้ ” หลวงปู่
ตอบวา่ “พวกเจ้าอยา่ ไดก้ งั วลใจไปเลย หลงั จากเราลว่ งลบั ไปแลว้ ในราว ๓๐ ปี จะมีผ้มู ีบญุ เขาจะ
มาสร้าง มาท�ำของเขาเอง” น่ีคืออมตวาจาสุดท้ายของหลวงปู่พ่ัว นิติโก และปัจจุบันก็เป็นจริง
ขน้ึ มา โดยทางวดั ได้มกี ารสร้างเจดยี ข์ นึ้ ภายในบรเิ วณวัด

ข้อวัตรสมัยองค์ท่าน – กลางดึกต้อนรับแขกเทพ

ต่นื นอน ๐๓.๐๐ น. มาเตรียมจดั ศาลา เหน็ หลวงปูพ่ รหมเดนิ จงกรมแล้ว เวลา ๐๖.๐๐ น.
พระก็มารวมกันทศี่ าลา ๐๗.๐๐ น. พระเณรกป็ ัดกวาดเช็ดถูศาลา จัดบาตร แลว้ ก็ปูเสื่อจดั อาสนะ
ปเู ส่อื รับญาตโิ ยมท่ีมาวดั จากนัน้ รอหลวงปลู่ งมาศาลา พระก็รีบเตรยี มของ น�ำบาตรมาถวายทา่ น
เวลา ๐๘.๐๐ น. ก็ออกบณิ ฑบาต กลางคนื หลวงปนู่ อนน้อยมาก แตท่ า่ นไม่มอี าการงว่ งนอน และ
ท่านไม่เคยขาดบิณฑบาต “บิณฑบาตถือเป็นกิจวัตรประจ�ำวัน ขาดไม่ได้” ท่านว่า ท่านพา
พระเณรออกเดนิ บิณฑบาตในบา้ นดงเยน็ ระยะทางไมไ่ กลมาก ตอนน้นั พระกส็ ิบกวา่ องค์ แตถ่ ้า

264

ถูกนิมนต์ไปโน่นไปนี่ มันถึงไกลหน่อย ถ้าอยู่กับวัดน้ีก็เดินรอบบ้านแล้วกลับวัด ถ้าพระขาด
บณิ ฑบาต หลวงปู่ท่านเรยี กมาเตือนทนั ที “คณุ มาน”ี่ และทา่ นเทศน์สั่งสอนให้ฟงั “การบณิ ฑบาต
ถือเป็นกจิ วัตรประจำ� วนั ไมใ่ หข้ าด ถา้ ไม่บิณฑบาตไมไ่ ด้ฉัน บณิ ฑบาตเป็นวัตร” การบณิ ฑบาต
ท่านก็สอน “บิณฑบาตห้ามพูดคุย ให้มองใกล้ที่สุด ไม่มองไกล” ท่านสอนพระให้รับผิดชอบ
กล่าวกนั ว่าแม้ขณะฝนตก ทางเดนิ บณิ ฑบาตเเฉะมาก หลวงปูพ่ รหมทา่ นชราภาพมากแล้ว ทา่ นกย็ งั
พาพระเณรกางร่มออกเดินบณิ ฑบาต โยมอปุ ฏั ฐากจะเข้าสวนแต่เชา้ ตัดใบมะพร้าวทั้งใบแหง้ ใบสด
ลากออกมาปูตามถนน เพอื่ ใหห้ ลวงปู่ทา่ นเดินบิณฑบาต โดยทา่ นจะถอื ไม้เทา้ ไปด้วย

เม่ือกลับจากบิณฑบาตมาถึงวัด ญาติโยมก็ตามไปวัด ไปจัดเตรียมส�ำรับกับข้าวอาหาร
เม่ือได้เวลาหลวงปู่และพวกอาจารย์ใหญ่ พระเณรท่านก็น่ังเรียงล�ำดับ ตอนน้ันพระบวชใหม่
ทำ� หน้าทร่ี บั ประเคน แลว้ กป็ ระเคนให้หลวงปู่ พอหลวงปรู่ บั แล้ว ทา่ นกต็ กั เอาอาหารแล้วส่งตอ่ ไป
จนสุดถงึ เณร พอประเคนหมด หลวงปูท่ ่านจะใหพ้ ร โดยหลวงป่ขู ้นึ น�ำ พระลูกวัดองคร์ องสวดรับ
หลงั จากน้ันก็สวดพร้อมกันท้ังพระและเณรจากนั้นท่านจะให้ญาติโยมสวดมนต์ไหว้พระระหว่าง
ครูบาอาจารย์ฉนั ขา้ ว ถา้ เขา้ พรรษานก้ี ส็ วดทกุ วนั ถ้าออกพรรษาก็สวดเฉพาะวนั พระ ๘ คำ่� ๑๕ ค่�ำ
วันธรรมดาไมไ่ ดส้ วด ญาตโิ ยมกแ็ ยกย้ายกลับบา้ น

การสวดมนต์ของญาตโิ ยมระหว่างพระฉันจงั หนั เช้าไดส้ ืบทอดเปน็ ประเพณมี าจนทกุ วันนี้

ท่านฉันเช้าหนเดยี ว เวลา ๐๙.๐๐ น. แตก่ ่อนมันอดมันอยาก ไม่มนี ม ไม่มขี นมอยา่ งสมยั นี้
ขนมกม็ แี ตข่ นมจีน ขา้ วต้มหอ่ ฉนั เสรจ็ ก็เกา้ โมงกวา่ ตอนฉนั ข้าวนี้ ถ้าทา่ นหยดุ ฉนั ท่านจะลว้ ง
ขา้ วออกจากบาตรโยนลงสระนำ้� เลีย้ งปลา พระเณรฉนั อม่ิ ไมอ่ ่มิ ก็ต้องหยุดฉัน ลกุ ขึน้ ไปล้างบาตร
ลา้ งอะไร พอทา่ นโยนข้าวให้ปลาเสร็จแลว้ ก็ไปรบั บาตร รบั กระโถนของท่านไปใหเ้ ณรล้าง ลา้ ง
เสรจ็ แลว้ ก็เช็ดแหง้ ทำ� ความสะอาด เอาบาตรไปตากแหง้ แล้วก็สะพายเก็บขึน้ กฏุ ิท่าน

ท่านฉันเสร็จแลว้ ก็กลับไปเดินจงกรมบนกฏุ ขิ องท่านเป็นประจ�ำทุกวัน ท่านสอนเดินจงกรม
ถ้าพระองค์ไหนไมน่ ่งั สมาธิ ไมเ่ ดินจงกรม ทา่ นอยใู่ นกุฏิ ทา่ นก็รู้ ตอนเยน็ ฉันนำ�้ ร้อน ท่านเทศน์
สง่ั สอนให้พระองค์นน้ั พระทุกองค์ในวดั ต้องเดินจงกรม นงั่ สมาธภิ าวนา ถอื เป็นกจิ วตั รสำ� คญั ขาด
ไมไ่ ด้ ชว่ งเช้าท่านเดนิ จงกรมถึง ๑๑.๐๐ น. กพ็ กั ทา่ นเดินชวั่ โมงกว่า จากนน้ั ทา่ นกน็ ั่งสมาธิภาวนา
หรอื ทำ� กิจสว่ นตวั บางวนั มงี าน ฉนั เสร็จท่านก็พาพระเณรท�ำงานจนถึงเย็น ทา่ นไมไ่ ดพ้ กั ผ่อนเลย

เวลา ๑๕.๐๐ น. หลวงปกู่ ็ลงมาพาพวกพระลูกวัดทำ� ความสะอาดปดั กวาดลานวัด ภาษา
อสี านเขาเรียกว่าตตี าด กวาดใบไม้ เสรจ็ ประมาณเวลา ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. หลวงปู่กป็ ดั กวาด
อยู่ในบริเวณกุฏิของท่าน แล้วก็กลับข้ึนกุฏิ ส่วนพวกพระหนุ่มเณรน้อยก็ช่วยกันปัดกวาดจนแล้ว

265

เสรจ็ เร่อื งกจิ วัตรปดั กวาดลานวัดท�ำความสะอาดจะทำ� ทกุ วนั เพราะว่าใบไม้มนั หลน่ ทุกวนั ยกเวน้
ถ้าวันไหนฝนตก ห้องน้�ำก็ท�ำความสะอาดทุกวัน ส่วนมากจะเป็นพระลูกวัดและพวกเด็กวัดเป็น
ผู้ท�ำความสะอาด

พอปัดกวาดลานวัดและท�ำความสะอาดห้องน้�ำเสร็จแล้ว พระต่างก็แยกย้ายกันไปสรงน้�ำ
ไปเดินจงกรมรอเวลาท�ำวัตรเย็น ส่วนเณรก็ไปเตรียมต้มน้�ำร้อนท่ีโรงต้ม น้�ำสรงหลวงปู่ใส่รากไม้
สมุนไพรตม้ ถวายทา่ น สมยั นัน้ พระบวชใหม่พาเณรท�ำ ยงั ใช้ป๊ีบต้ม น้�ำเดอื ดแล้วกเ็ อาไม้สอดปบี๊
แลว้ ก็หามมาประเคนให้พระศิษย์ท่ีกุฏิของท่าน แล้วก็เอามาผสมน�้ำ แตะดูพออุน่ ๆ นีเ่ รม่ิ สรงได้

เวลา ๑๘.๐๐ น. หลวงป่พู รหมทา่ นจะสรงนำ�้ ทา่ นเปิดโอกาสใหพ้ ระเณรสรงในตอนเย็น
ของทุกวัน ช่วงหน้าหนาวอากาศหนาวมากกจ็ ะสรงเรว็ ขึน้ พวกพระผใู้ หญ่ ทา่ นไมค่ ่อยมาสรง
ท่านบอกให้พระหนุ่มพระบวชใหม่ไปสรงน�้ำท่าน ถ้าพระองค์ไหนไม่ได้มาก็ว่าไม่มีบุญ ถ้าอยาก
ไดบ้ ญุ ก็ให้สรงน�ำ้ หลวงปู่ ตอนสรงน�้ำมพี ระและเณร ๓ องค์ ลอ้ มหนา้ ลอ้ มหลังสรงทา่ น กถ็ า่ ยผา้
(เปล่ียนผา้ ) ถา่ ยอะไรใหท้ ่านแลว้ ท่านนุ่งผ้าอาบน้ำ� เรยี บรอ้ ยแล้วกน็ ิมนต์ท่านมาน่ังโตะ๊ กย็ กมอื
ไหวค้ ารวะท่าน แล้วกเ็ ร่มิ ตักน�้ำสรงท่าน สรงเรยี บร้อย กเ็ ปล่ียนผา้ นุง่ ผ้าครองให้ท่าน สมัยนั้นสบู่
ไม่ค่อยมี แมแ้ ฟบ้ (ผงซกั ฟอก) กย็ งั ไม่มี หายาก ตม้ ผ้ายอ้ มผ้าน่ีใชแ้ กน่ ขนนุ

สรงน�้ำเสร็จกฉ็ ันน้ำ� รอ้ นท่ีต้มรากไม้นะ แต่กอ่ นมันไมม่ อี ะไร พระอยใู่ นวัดตม้ มาแล้วกถ็ วาย
ใหท้ า่ นฉนั พระทีม่ าก็ฉันนำ�้ รอ้ นด้วยกัน เวลา ๑๙.๐๐ น. ทำ� วตั รสวดมนตท์ ี่พระวหิ าร พระอย่ใู น
วดั มกี ่อี งคม์ าหมด ทำ� วัตรสวดมนตเ์ สร็จแลว้ พระกอ็ ยนู่ ัน้ ฟังเทศน์ทา่ น ถ้าหลวงปู่เทศน์ใหฟ้ ังแล้ว
ไม่อยากลกุ เลย การทำ� วัตรสวดมนตเ์ ยน็ ในช่วงเขา้ พรรษาตอ้ งมารวมกนั ทำ� ทกุ ค�่ำ ถา้ ออกพรรษา
กร็ วมกนั ท�ำเฉพาะวันพระ ๘ ค�่ำ ๑๕ คำ�่ นอกนัน้ ก็ต่างองค์ตา่ งท�ำ สถานท่ีทำ� วตั รเย็นไมแ่ น่นอน
บางครั้งก็ที่กุฏิหลวงปู่ บางครั้งก็ท่ีพระวิหาร ถ้าพระเณรมาพร้อมกันท่ีกุฏิ หลวงปู่ก็เทศน์และ
ทำ� วัตรทกี่ ุฏิเลย ถ้ามีพระไปรอทศี่ าลากน็ ิมนต์หลวงปไู่ ปท่ีพระวหิ าร

พอถึง ๒๑.๐๐ น. ท่านก็สง่ั ให้เลกิ ใหก้ ลับกุฏิใครกฏุ มิ นั ทำ� ความเพียร ผเู้ ดนิ จงกรมไปแล้ว
ผกู้ ำ� ลังจะเดนิ จงกรม เดินไดน้ ้อยไดม้ าก ไม่ต้องห่วงท่านละ่ ทนี ้ี ท่านทราบลว่ งหนา้ ว่าต่อนไี้ ป มีพวก
เทพ เทวดา พญาครุฑ พญานาค เวลาเท่าน้ันมา เขาจะมาฟังเทศน์ฟังอะไรเหมือนพวกเรานี้ล่ะ
แต่ก็ไม่รูว้ ่าท่านเทศนอ์ ะไร มีแตท่ า่ นเลา่ ใหฟ้ งั เฉยๆ พวกพระเณรอย่ใู นวดั นกี้ แ็ ยกย้ายกันกลับกฏุ ิ
ท�ำความเพียรเดินจงกรมนง่ั สมาธิ ครูบาอาจารยพ์ ระเณรในวดั กลางคืนนีเ่ หมอื นกับว่าไมไ่ ด้นอน
หลวงป่กู ็รอเทศน์สอนพวกเทพเทวดาต่อไป ทา่ นจะอยอู่ งค์เดยี ว บางครั้งก็รออยูท่ ่ีศาลา บางครั้งก็
รออย่ทู ่ีกุฏิ ไมแ่ น่แล้วแต่วา่ จะทำ� วัตรสวดมนตเ์ ยน็ ทไี่ หน ถา้ ทำ� ท่ศี าลาก็รอรับทศ่ี าลา

266

ท่านเทศน์ให้เทวดาฟังถึง ๐๒.๐๐ น. บางคืนก็ไม่ได้นอน แล้วแต่พวกเทพเขาจะมาน้อย
มามาก หลายกลุ่มเหมอื นคนเราน่ีละ่ เทพกลุม่ นม้ี าฟงั แล้วก็เลิก เทพกลมุ่ ใหมม่ าฟังทีนี้ หลายกล่มุ
หลายช้ันฟ้า บางคืนก็มาสองชุด สามชุด บางคืนก็มาชุดเดียวอย่างน้ี บางทีท่านก็ว่าตี ๒ ท่าน
ง่วงนอนอยู่ ทา่ นเทศน์สอนเทวดาทกุ คืน พวกพระอย่ใู นวัดนี่ก็ฟังเทศน์หลวงปทู่ ุกวัน หลวงปู่นอน
น้อยมากเพียงวันละไม่กี่ชั่วโมง บางทีท่านไม่ได้นอน เพราะว่าพระอยู่ที่น่ันเห็น บางที ๖ ทุ่ม
(๒๔.๐๐ น.) ยงั เห็นท่านเดนิ จงกรม ได้ยนิ แตเ่ สียงรองเท้าของทา่ น ต้ับๆ ต้ับๆ ทา่ นเดนิ จงกรมอยู่
บนกฏุ ิกลางดกึ ต่นื นอนตอนตสี ามตสี ่ยี งั เห็นท่านเดินจงกรมอยู่ เลยไม่รวู้ ่าท่านไปนอนตอนไหน

ท่านไล่พระไม่เคารพอาวุโส – ภันเต

ทนี ี้มพี ระองคห์ น่ึงรจู้ กั หลวงปู่พรหมได้เข้ามาในวัด เห็นวา่ พระองค์นพี้ ูดอดุ รฯ พระอดุ รฯ
องค์นี้ท�ำผิดแล้วจึงถูกหลวงปู่ขับไล่ออกจากวัด คือว่า ท่านอยากเป็นใหญ่ ท่านมาแสดงอ�ำนาจ
อยากเปน็ อาวุโส คอื มีพระอยู่ก่อนแล้ว เปน็ อาวุโสกอ่ นแล้ว พระอุดรฯ มพี รรษาน้อยกว่า แตอ่ ยาก
ไปน่ังแทนที่พระอาวุโสกว่า ไปนั่งสูงกว่า พระพวกท่ีท่านพรรษามากกว่าเคยนั่งอยู่ใกล้หลวงปู่นี่
ท่านก็ยอมขยับลงมา หลวงปู่ท่านก็เลยถามพระอุดรฯ องค์น้ัน “คุณมาจากไหน ?” “มาแต่บ้าน
พ่อใหญ่ล่ะครับ” “มาทางไหนล่ะ ?” “ลัดทุ่งมานี่ล่ะครับ” “ไป ไม่ต้องอยู่ สะพายบาตรไปเลย
กลับไปทางเกา่ นะ ไปให้มันถึง อยา่ ไปสึกกลางทางนะ” ทา่ นวา่ อย่างนั้น ท�ำยังไง เราไม่อายท่าน
หรือ โอ้ย ! อยากอายก็อยากอาย พระอุดรฯ องค์นนั้ ไม่ได้ฉนั ขา้ วดว้ ย สะพายบาตรไปเลย

ครูบาอาจารย์ ไดเ้ มตตาเทศนค์ วามส�ำคญั ของอาวุโส – ภนั เต ไว้ดงั น้ี

“อาวโุ ส – ภนั เตนธ่ี รรมวินยั นะ อาวุโส ผู้ทเี่ ป็นอาวโุ สกว่า การเขา้ ไป เราจะเข้าไปใกลท้ ่าน
ภายใน ๖ ศอก ถ้าท่านไม่ใส่รองเท้า เราใส่รองเท้าเข้าไป เป็นอาบัติทุกกฏ ในการน่ังในตั่ง
อนั เดียวกัน อาวุโสต่างกนั เกนิ ๓ พรรษา หา้ มนัง่ ด้วยกนั ถ้าอาวุโสนัง่ อยสู่ ูงกวา่ เราตอ้ งนั่งต�ำ่ กว่า
เพราะเคยมีพระนงั่ บนต่งั น้ัน ๔ องค์ขน้ึ ไปจนตั่งนนั้ หัก ฉะน้ัน อาวุโสถึงมีสิทธน์ิ ่ัง ภนั เตไม่มสี ทิ ธิน์ ั่ง
ภันเตตอ้ งนัง่ ข้างลา่ งมา

ในการฉันอาหาร เราตอ้ งนบั อาวโุ ส – ภันเต ถา้ ภนั เตน่งั หนา้ อาวุโส ภันเตเป็นอาบตั ิทกุ กฏ
โดยอตั โนมัตเิ ลย แต่ถา้ เร่ิมมกี ารฉันไปแล้ว จะ ๑๐๐ พรรษา ๒๐๐ พรรษามา กจ็ ะมาให้ลกุ ไมไ่ ด้
เพราะมันไปขัดกบั ธดุ งควตั ร ธดุ งควัตร คือ อาสนะเดยี ว ลุกจากอาสนะน้นั แล้วฉันไม่ได้ เห็นไหม
แม้แตอ่ าวุโส ก่อนฉนั อาวโุ สมา มสี ทิ ธิ เราต้องเลอ่ื นให้อาวโุ สนัง่ หนา้ นอ่ี าวุโส มนั เปน็ วนิ ัย วนิ ยั
มนั เหมือนกฎหมาย ต้องเดด็ ขาด ตอ้ งชัดเจน ความชัดเจนในอาวุโส – ภนั เต ชดั เจนในกฎหมาย
เรายอมรับในกฎหมาย

267

แตใ่ นธรรม อาวโุ สตอ้ งเปน็ ผู้นำ� อาวุโส เราเปน็ อาวุโส พอ่ แม่ครจู ารย์ เปน็ ทัง้ พอ่ ทัง้ แม่
ทั้งครบู าอาจารย์ อาวโุ สจะดแู ลภนั เต ภันเตผิดพลาดไป ภนั เตมปี ัญหาข้นึ มา อาวโุ สจะประคับ–
ประคองไว้ ภนั เตบวชเข้ามา เราบวชเข้ามา ได้จากอปุ ัชฌาย์มา นิสสัย ๔ เราได้จากอปุ ชั ฌาย์มา
ท้ังหมด ผู้ท่บี วชได้นิสสยั ๔ อกรณียกิจ ๔ นิสสัย ๔ การดำ� รงชีวติ เลี้ยงชีพดว้ ยปลแี ขง้ สง่ิ ต่างๆ
อกรณยี กิจ สงิ่ ท่ีท�ำไมไ่ ด้ ๔ อย่าง การฆา่ คน การลักทรัพยม์ ันขาดจากพระทนั ทีเลย แต่ผทู้ ี่บวช
ออกมาใหม่ๆ จะเขา้ ใจเรอ่ื งนไ้ี หม แตก่ ารบวชมาก็ตอ้ งวา่ นิสสยั ๔ อกรณยี กจิ ๔ ส่ิงนมี้ นั เป็นหัวใจ
เลย อาวโุ สจะคอยดูแล ดูแลสง่ิ ทท่ี ำ� ไดห้ รอื ทำ� ไม่ได้ ถงึ ตอ้ งขอนิสัยไง

ถ้าอยู่กับอปุ ชั ฌาย์ อปุ ัชฌาย์ต้องดูแล ๕ ปี ถ้าอยู่กบั อาจารย์ อาจารย์จะดแู ล แล้วถ้าเปน็
อาวโุ ส อาวุโสกด็ แู ลภันเตไง ความดูแลอย่างนี้มันเป็นความดูแลจากวนิ ยั การดแู ล มนั เกดิ การ
ขอนิสัย ยอมรบั นิสัย อาวโุ ส – ภันเตเปน็ อย่างน้”ี

ครูดี นักเรียนดี

หลวงปู่พรหมเวลาเทศนก์ ม็ เี ล่าถงึ หลวงป่มู น่ั ครูบาอาจารย์ของทา่ น “หลวงปมู่ ่ันนี้ อยู้ !
ยอด สุดยอด เต็มร้อย การปฏิบัติธรรม พระธดุ งคกรรมฐานน่ยี อด ไม่มีใครจะเปรียบหลวงปู่ม่ัน”
ท่านวา่ ยอดละ่ หลวงปมู่ ่ันนี่ ท่านเก่งอยา่ งน้ันอยา่ งนี้ ไปธุดงค์ ไปมาหมด รูท้ ุกอย่าง ทางพระธุดงค์
พระอะไรรจู้ กั หมด จะเปน็ อยา่ งไรๆ นง่ั หลับตาน่รี ้จู ักเลย รูจ้ ักถงึ วนั ตาย วนั อะไร ท่านรหู้ มด
ท่านเลา่ ใหฟ้ งั ว่า องค์น้นั เกง่ อานสิ งส์เกง่ ท�ำความพากความเพียร ธุดงคไ์ ปหมด ไปตรงผตี รงสาง
เยอะๆ ให้กลัวไม่กลัว

หลวงปขู่ าว หลวงปฝู่ ัน้ หลวงปชู่ อบ หลวงปแู่ หวน หลวงปู่จวน หมู่น่ี เหมอื นกนั หมด
ปฏิบัติเหมือนกันหมด ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ม่ันหมด หลวงปู่พรหมท่านเล่าให้พระศิษย์ฟัง
เหมือนกันหมด เพราะครดู ี ครูก็ตอ้ งส่ังสอนนักเรยี น ครูดี ศิษยก์ ็เปน็ นกั เรยี นดี เกง่ เหมอื นกนั หมด
เกง่ หมด ทา่ นกลา่ วถงึ อาจารย์องค์นั้นช่ือนน้ั อาจารย์องค์นชี้ ่ือน้ี มีแต่ลูกศษิ ย์หลวงป่มู ัน่ ท้งั น้นั

หลวงปพู่ รหมทา่ นชมหลวงปมู่ ั่นมาก แลว้ ท่านก็มีเล่าถึงหลวงปู่สารณ์เปน็ บางคร้งั เล่าถงึ
พระศษิ ยห์ ลวงปูเ่ สาร์ หลวงปมู่ ั่น กค็ งไม่เตม็ ร้อยเหมือนหลวงป่เู สาร์ หลวงปู่มนั่ ซ่งึ ไม่มีหล่น
ร้อยเต็มหมด นำ้� ก็ไมใ่ หล้ ้น เต็มเปย่ี มอยอู่ ยา่ งนน้ั ตลอด พระศิษย์กค็ งประสีประสา เก่งทงั้ ธุดงค์
เก่งหมด แตอ่ งคอ์ ืน่ ๆ กล็ ดลงตามความสามารถ

268

การสวดพระปาฏิโมกข์สมัยหลวงปู่พรหม

สมยั หลวงปูพ่ รหมมชี วี ติ อยู่ ในวนั พระใหญ่มีการลงอโุ บสถสามคั คีและฟังสวดปาฏิโมกข์ที่
วัดประสิทธิธรรม เริม่ สวดประมาณ ๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. บางทกี ็ห้าโมงเช้า บางทีกบ็ ่ายสองโมง
แลว้ แตเ่ หตุการณ์ วดั อยใู่ กลๆ้ กัน รถเรือกไ็ ม่มี พระท่านเดนิ เทา้ มา มันไกลก็ตอ้ งรอ พระมากัน
พรอ้ มเวลาไหนก็สวดเอาเวลาน้ัน หลวงปูจ่ ะบอกสัญญาณลว่ งหน้า ถึงเวลาแลว้ ท่านกม็ ารวมๆ กัน
ถา้ ครูบาอาจารยบ์ า้ นนน่ั บ้านน่ยี งั มารวมกันไมห่ มด ให้รอสักหน่อย ทา่ นก็พดู อย่างนี้ สมัยนนั้ พระ
ที่มาลงปาฏโิ มกขม์ ากถึง ๒๐ – ๓๐ องค์

พระท่านใกลท้ ่ีไหนก็ไปรวมลงอโุ บสถท่นี ่ัน คอื ใกล้วัดไหนก็ไปวดั นัน้ ถ้าใกล้สว่างฯ ท่านก็
ไปทางสวา่ งฯ ถ้าใกล้บ้านดอนตาลก็ไปบ้านดอนตาล ใกล้บ้านหนามแทง่ ก็ไปวัดหนามแท่ง มนั เดนิ
ด้วยเท้าตามทางเกวยี นทางควาย นอกจากไกลแลว้ บางทหี น้าฝนน่กี ็ลำ� บากหนอ่ ย ครบู าอาจารย์
ลยุ โคลนมา ตอ้ งรอกัน ตอนหน้าฝนนม่ี ันก็บา่ ยสองบ่ายสามไมต่ ายตัว หลวงปทู่ ่านกเ็ ทศนช์ ่วั โมง
ครึ่งชวั่ โมง องคท์ ส่ี วดปาฏโิ มกขก์ ม็ ีหลายองค์ หลวงปผู่ าง หลวงปูส่ อน หลวงปู่พ่ัว อาจารยค์ าน
ทา่ นหมุนเวียนกันสวด ทา่ นมรณภาพกันหมดแล้ว

ครงั้ หนงึ่ หลวงปผู่ างเปน็ องคส์ วดปาฏโิ มกข์ พระบวชใหมท่ ไี่ ดร้ บั มอบหมายใหท้ วนปาฏโิ มกข์
ท่านดูหนังสอื ปาฏโิ มกข์ (พระคัมภีร์บาลี ภกิ ขปุ าฏโิ มกข์ เป็นแผน่ พับ) ไม่ทัน หลวงปู่ผางทา่ น
สวดเรว็ มาก พระใหมท่ ่องปาฏิโมกขไ์ มไ่ ด้ เปดิ ทวนกไ็ มท่ ัน ส่วนหลวงปู่พรหมทา่ นท่องได้ ท่านก็
ฟังทวนปาฏิโมกขไ์ ปด้วย ทา่ นบอกหน้าท่ีทวน พระกม็ าเปิดเจอแล้ว เสรจ็ แล้วก็สวดตอ่ ไป หลวงปู่
ผางสวดเรว็ มาก พระยงั ทวนไมท่ นั อกี พอสวดผดิ หลวงปูพ่ รหมทา่ นก็เลยทักวา่ “มนั ไมถ่ กู ” ท่าน
ก็ว่า “หน้าที่เท่าน้ัน” ก็มาเปิดอีกก็เจออีก ท่านรู้แล้วท่านถึงว่า ถึงหน้านั้น แต่พระทวนไม่ทัน
พอเปิดดูหนังสือแลว้ “อ้าว ! ขอโอกาสครบั เจอแลว้ ครับ” แล้วหลวงปูผ่ างท่านก็สวดตอ่ ไป

วันพระใหญ่ท่านถือเนสัชชิ สอนให้พระเร่งความเพียร

หลวงปู่พรหมท่านสอนอุบายวิธีภาวนาให้พระเณรอดนอนผ่อนอาหาร วันพระใหญ่ก็สอน
ให้ถือเนสชั ชิ แตห่ ลวงปทู่ า่ นไมไ่ ดก้ ำ� หนดวา่ วนั พระนหี่ า้ มนอน ทา่ นไมไ่ ดบ้ งั คบั เจาะจง แลว้ แตใ่ คร
จะทำ� ในวนั พระใหญ่ หลวงปนู่ ที่ า่ นไมไ่ ดน้ อน ทา่ นกไ็ มอ่ ยากใหพ้ ระเณรนอนดว้ ย อยากใหพ้ ระเณร
น่ังสมาธิแล้วก็เดินจงกรม เมอื่ ยแล้วก็นง่ั สมาธิ เดินจงกรมสลบั กนั ให้ท�ำแลว้ แต่วา่ แตล่ ะองคจ์ ะท�ำ
ไดแ้ ค่ไหน

หลวงปูท่ ่านส่งเสริมพระเณรใหท้ ำ� ความเพยี ร ให้นงั่ สมาธิ เดนิ จงกรม แตท่ า่ นก็ไมไ่ ด้บังคบั
วา่ ให้ท�ำตลอด ท่านกว็ า่ ใหพ้ ักไปทำ� ไป ค่อยๆ ทำ� ไป นับหน่ึงถึงสบิ นบั สิบถงึ ยีส่ บิ ไป ทา่ นว่าลองดู

269

ลองไปๆ แลว้ มนั จะชนิ เอง ท่านวา่ อย่างน้ี ให้ทำ� ความเพียรไปเร่อื ยๆ ทำ� ทกุ วันๆ วนั นไ้ี ดเ้ ท่านัน้
วันนัน้ ไดเ้ ท่าน้นั มนั ช�ำนาญเอง มันฝ่าไปไดเ้ อง

ในวันพระใหญ่ก็มีพระศิษย์หลายองค์ถือเนสัชชิตามหลวงปู่พรหม พวกเป็นอาจารย์ เช่น
หลวงปู่พ่ัว หลวงปู่สอน หลวงปู่ผาง ฯลฯ ก็อาจจะไม่นอน ก็ไม่รู้ เพราะว่ากุฏิมันห่างกันไกล แต่
กุฏิครูบาคนบ้านถ่อนใกล้กับกุฏิหลวงปู่ เณรก็อยู่กุฏิทางน้ันคนละฟาก บางทีท่านก็เรียก “เณรๆ”
เรยี กสองครัง้ เท่านั้น เณรเฉยไมไ่ ด้ยิน ท่านก็เรียกมาทางน้ี “โวย้ !” นึกว่าเกือบหลบั ไปแล้ว หูนี่จ้อ
เหมอื นกับคอยเอียงหฟู งั เสยี งทา่ นตลอด ตากจ็ ้ออยู่ ไม่รูว้ ่าทา่ นจะเรยี กตอนไหนต้องเตรยี มพร้อม
อย่ตู ลอด แตว่ ่ามันตี ๑ ตี ๒ ฟงั แต่เสียงรองเทา้ ทา่ น ตึก้ ๆๆ ตี ๒ ตี ๓ ก็ยังตึก้ ๆๆ ต้องลุกลา้ งหนา้
ลา้ งตา คลุมผา้ คลุมอะไรเสรจ็ เตรียมบาตรเตรียมอะไรลงมาศาลาแล้ว กย็ ังเอาอยู่ ต้ึกๆๆ อยู่นี่
อู๊ย ! ท่านไม่ได้หลับไม่ได้นอนโน่นล่ะ วัน ๘ ค�่ำ ๑๕ ค่�ำน้ีแหละส่วนมากในช่วงเข้าพรรษา

ตั้งแตต่ ี ๒ จนจะเช้า หลวงปกู่ ย็ งั เดินจงกรมอยู่ “โอ้ย ! ลมื เวย้ ” (เดนิ จงกรมจนลมื เวลา)
ทา่ นวา่ อยา่ งนี้ ขนาดอายุ ๗๐ กว่า ทา่ นยงั เดินจงกรมนานหลายช่วั โมง เราไปกฏุ ิท่าน ไปเอาบาตร
ทา่ นว่า “ลืมเวย้ ! ลมื แจ้ง (ท�ำความเพยี รเพลินจนสวา่ ง)” ไม่รูท้ า่ นไดน้ อนหรือไม่ไดน้ อน ท่านจะ
แกลง้ พดู * ใหเ้ ราล่ะ “ลืมแจ้ง สายแล้วหรอื ?” บางครง้ั ก็ ๓ โมงเชา้ บางครั้งกเ็ กือบ ๔ โมงเช้า
นู่นล่ะค่อยบิณฑบาต แล้วแตท่ ่านจะนกึ ได้

* แกลง้ พดู ในท่ีนีห้ มายถงึ ท่านอยากใหม้ คี วามเพียรเหมอื นท่านทีท่ �ำความเพียรจนลืมสว่าง
โดยทา่ นท�ำตวั ท่านเองให้เหน็ เป็นตัวอยา่ ง ทา่ นเลยแกลง้ พูดวา่ “ลืมแจ้ง”

ปรกติตอนเช้า ๖ โมงกวา่ ๆ นีพ่ ระมารวมกันทศ่ี าลา จดั ศาลาเสรจ็ กต็ อ้ งรอ ถึง ๒ โมงเช้า
กย็ ังรออยทู่ ่ศี าลาเหมือนเดมิ พระไปบณิ ฑบาตไม่ได้ สว่ นหลวงปทู่ า่ นก็ยงั เดินจงกรมต๊กึ ๆๆ บางครัง้
อาจารย์ผางไปบอกอาจารยพ์ วั่ ใหไ้ ปนมิ นต์หลวงปู่ไปบณิ ฑบาต “ไปสิ ไปบอก ไปนิมนตท์ า่ นมา”
ไปนิมนต์หลวงปู่ ทา่ นกย็ งั เดินอยู่ เรากไ็ ปน้ี “โอย๊ ! หลวงปสู่ ายแลว้ บณิ ฑบาตสายนะ จะ ๓ โมง
แล้ว” วา่ งน้ั “หือ ! ลมื เวย้ ” “บาตรอยไู่ หนละ่ ?” บาตรอยศู่ าลาโน่น ไมร่ ้วู ่าทา่ นนอนตอนไหน
เดินจงกรมเพลนิ จน ๓ โมงเช้ากม็ ี ฟังแต่เสยี งรองเท้าท่าน ต้กึ ๆๆ ถา้ เป็นพื้นปนู เหมอื นทุกวันน้กี ็คง
ไมเ่ สียงดงั หรอก แต่กอ่ นเป็นพนื้ ไมเ้ นาะ เริ่มบิณฑบาต ๘ โมงเช้า บางทกี เ็ กือบ ๔ โมงเช้า ท่านท�ำ
ความเพียรเก่งมาก เดนิ จงกรมเพลนิ เลย

ท่านสอนไม่ให้กลัวสัตว์ป่ารอบวัด ให้พุทโธอย่างเดียว

สมยั อยบู่ ้านดงเย็น ยงั มีพวกเสือพวกช้าง ชา้ งกไ็ ด้ยนิ ขา่ ววา่ ผ่านไปผ่านมาอยู่ ผ่านไปนั้น
มานี้ ผ่านจากดงนน้ั ไปดงนี้ ผ่านจากดงน้ไี ปดงนั้น แตไ่ ม่เขา้ มาวดั ดงมนั อยทู่ างทิศตะวันตกของวดั

270

มาแถวบ้านดงเยน็ มนั กอ็ อกไปดงเชียงเครือ มันกม็ าน่ี ช้างออกจากดงลดั เลาะมานี่ล่ะ แตก่ ่อนเสือ
มันก็มี มันกอ็ ยู่ของมัน มนั กก็ ลวั คนเหมือนกนั เราไม่ทำ� อะไรมนั กค็ งไม่เปน็ อะไร พวกชา้ งพวกเสือ
ก็มมี าก ส่วนพวกลงิ พวกคา่ งนม้ี ีหมด ในปา่ พวกกวางพวกเกง้ นกี้ ม็ เี ยอะมาก สตั วป์ ่ามนั ก็อยขู่ องมัน
เรากอ็ ยขู่ องเรา เราเหน็ มันก็ปลอ่ ยมนั ไปซะ มนั ก็จะไมว่ งิ่ มากดั เรา มันกก็ ลัวเราอยู่ ถา้ มนั กดั ใหม้ ัน
กดั ตายเลย ภาวนาตายอย่างเดียว เอามนั เลย

เสือชา้ งเยอะ สมยั น้ันยงั เป็นป่า แถวนี้ยังเปน็ ดงเปน็ ป่าหมด ไม่อดหรอกเป็นป่า มที ั้งหมูป่า
มที งั้ นกเงอื กละ่ แถวน้ี หลวงป่พู รหมท่านก็ไม่ไดส้ อนอะไรมาก ท่านสอนไมใ่ หก้ ลัวพวกชา้ งพวกเสอื
รอบๆ วัด มีแตส่ อนใหพ้ ุทโธอย่างเดียว มแี ตพ่ ทุ โธๆๆ ภาวนาตายๆๆ ให้มนั ตาย ทา่ นว่า “ถา้ มัน
จะตายเพราะเสือมนั กัดกใ็ หม้ ันกัด ตายกช็ ่างมันเถอะ พวกเสอื ไม่มาให้เรากลวั หรอก ให้มแี ต่
พุทโธอยา่ งเดียว พทุ โธๆๆ”

รับกิจนิมนต์ – เดินอย่างเดียว

สมยั นน้ั (ปี พ.ศ. ๒๕๐๓) ไมม่ ีแมแ้ ตร่ ถยนต์ไปมา เวลาหลวงปู่พรหมไปนน่ั ไปน่ี ทา่ นเดนิ
อย่างเดียว พวกเขามานิมนต์หลวงปู่ไปสวดมนตน์ ่ี ครบู าอาจารยไ์ มไ่ ด้ไป มแี ตพ่ ระบวชใหม่ติดตาม
ท่านไป เพราะอยใู่ กล้กฏุ ทิ ่าน ถา้ ท่านเรียก “เณรๆๆ” สามทีไมไ่ ป ท่านจบั ไม้เท้าเดินจก้ึ ๆๆๆ ไปเลย
ขณะนั้นพระบวชใหม่ยงั สวดมนต์ไม่ได้ ไมร่ ทู้ ่านสวดเร่อื งอะไร

หลวงปพู่ รหมท่านรับกจิ นิมนตต์ ามงานตา่ งๆ บ่อยคร้งั ทา่ นจะเดนิ ไปทุกครง้ั ไปสวดมนต์
ตามบ้าน เป็นงานบญุ เป็นงานศพนี้ บางครง้ั ก็ไปกัน ๒ องค์ บางครงั้ ก็ ๓ องค์ สวดกลับมาแล้ว
ก็มาดู ท่านสวดเจ็ดตำ� นาน สิบสองตำ� นาน ท่านสวดไมน่ าน ไปสวดมนต์ในบ้านกด็ ี เดย๋ี วเดียวก็ลุก
ปึ๊บปั๊บข้ึน พระติดตามก็รีบลุกไปตัดหน้าเอาไม้เท้าให้ท่าน พร้อมแล้วก็มาประคอง พากันเดิน
กลับวัด หลวงปู่ผางท่านหยอก “เจ้าไปน่ังเป็นตอ ไปกับท่านเฉยๆ ดอก” ท่านว่าเอาไปเป็นหมู่
เฉยๆ ไปนัง่ เปน็ พระติดตาม

การเดนิ ทางสมยั ก่อนเดินดว้ ยเทา้ เปลา่ เดนิ ลัดทุง่ นี้แหละข้ามดงไปเลย เดินจากบา้ นดงเยน็
ไปบ้านศรีโพนสูง ถ้าออกโมงเช้า (๐๗.๐๐ น.) ถึงประมาณสามโมงเช้า (๐๙.๐๐ น.) เดินลัดทุ่ง
เกรงไปเจอพวกควายพวกอะไร ก็ผา้ เหลือง ควายมันตน่ื พวกสเี หลือง ส้ม แดง ควายมันอยากไล่ชน
ไปไกลต้องพิจารณา ไปใกล้โพน (เนินดิน) พอถึงเวลาควายมันจะไล่ชน เรานี่ก็ค่อยว่ิงข้ึนโพน
เพ่ืออาศัยหลบหลกี ถา้ ไมม่ ีแลว้ กไ็ ปเรือ่ ย มันจะไล่ชนนะไอ้พวกควายนี้ ถา้ ตัวดื้อมันก็จะวิง่ ไล่ ถา้ ตัว
ไมด่ อื้ มนั กลวั ก็จะต่ืนหนี พระธดุ งค์ตามคันนาไปเจอควาย ทา่ นก็ระวังตัวเหมือนกนั ท่านก็ตอ้ งดทู ่ี
ก�ำบังหลบภยั ตอ้ งระวังตวั ถ้ามีตน้ ไม้ กอ็ าศยั เป็นทก่ี ำ� บังหลบภยั

271

บทสวดมนต์เจ็ดต�ำนานและสิบสองต�ำนาน มีช่ือเดิมว่า “พระปริตร” แปลว่า “เครื่อง
คมุ้ ครอง” เป็นทนี่ ิยมสาธยายในหม่ชู าวพุทธต้งั แตส่ มยั พุทธกาลจวบจนถึงปัจจุบนั เพ่ือความเป็น
สริ ิมงคลและเพ่มิ พูนภาวนาบารมี โบราณาจารยไ์ ดจ้ �ำแนกพระปรติ รออกเปน็ ๒ ประเภท คือ

เจด็ ตำ� นาน มี ๗ พระปรติ ร คอื ๑. มังคลปริตร ๒. รัตนปรติ ร ๓. เมตตปริตร ๔. ขนั ธปริตร
๕. โมรปริตร ๖. ธชคั คปรติ ร ๗. อาฏานาฏยิ ปริตร

สบิ สองต�ำนาน มี ๑๒ พระปรติ ร โดยเพิ่มจากเจ็ดต�ำนานอกี ๕ พระปริตร คือ ๑. วัฏฏก–
ปริตร ๒. อังคุลิมาลปริตร ๓. โพชฌังคปรติ ร ๔. อภยปริตร ๕.ชัยปรติ ร

เร่ืองแปลกอัศจรรย์ขณะท่านเอาต้นไม้ใหญ่ข้ึนจากน้�ำ

เร่ืองหลวงปู่พรหมพาพระเณรด�ำน�้ำเลื่อยไม้ใหญ่นี่ เป็นเรอ่ื งน่าแปลกอัศจรรย์มาก ไมท้ ่ี
เลอ่ื ยเปน็ ไม้ตะเคยี นใหญ่ ลำ� ตน้ ประมาณลอ้ รถสบิ ลอ้ ยาวประมาณ ๖ เมตร จมอย่ใู นห้วยกลางวดั
ชอ่ื หว้ ยแข้ (แข้ หมายถงึ จระเข้) ไม้หนักมาก เอาข้ึนยาก ตอ้ งเลือ่ ยซอยเปน็ ทอ่ นๆ ตดั หัวตัดหาง
แล้วข้นึ มาเล่อื ยตอ่ บนบก เพอ่ื ท�ำกฏุ ิ น�้ำตรงน้นั ก็ไม่ลึกมากนัก สูงประมาณคอ ยืนถงึ แต่ต้องด�ำน�้ำ
ลงไปยนื เลือ่ ย เล่ือยกเ็ ปน็ เล่อื ยมือ ต้องใชส้ องคนชว่ ยกันดงึ คนละขา้ ง ไม่ใชเ่ ลอื่ ยยนต์เสยี งแกรกๆ
อย่างทุกวันนี้

ขณะนั้นหลวงปูพ่ รหม ทา่ นชราภาพมากแลว้ อายปุ ระมาณ ๗๐ ปี ทา่ นองคเ์ ดียว พระหนุ่ม
เณรน้อย ๓ องค์ มาช่วยหลวงป่ดู ึงเลอ่ื ยคนละขา้ ง แต่สู้ท่านเพยี งองคเ์ ดยี วกไ็ ม่ได้ จับเล่อื ยกไ็ มม่ แี รง
องค์หนงึ่ ด�ำน้ำ� ลงไปเลอื่ ยแล้วทนไมไ่ หว จะขาดใจตาย ก็โผลข่ ึ้นมาหายใจแลว้ เปลย่ี นองค์ใหมล่ งไป
แตว่ ่าหลวงปยู่ งั ไม่โผล่สักที เหน็ แต่น�ำ้ แกรกๆๆ อยู่ เหน็ แตฟ่ องอากาศผดุ ขึ้นมา พระเราลงไปเลอ่ื ย
อยนู่ ี่ ทา่ นก็ยงั จบั เลอื่ ยอยู่ พระไปขยบั เล่อื ย ท่านวา่ “ดงึ ท่�ำแม้ (ดึงส)ิ ” ดงึ ได้ ๒ – ๓ ครงั้ กต็ ้องข้ึน
เหมือนเดิม แต่ท่านยังไม่ขึ้น ท่านไม่ไหวจึงค่อยโผล่ขึ้น หลวงปู่ท่านอึดมาก ท่านด�ำน้�ำทนมาก
เปลีย่ นไป ๒ – ๓ องคแ์ ลว้ แตห่ ลวงปู่ก็ยังอยู่ใต้น�ำ้ จนท่านเม่อื ยแลว้ จงึ โผล่ขึน้ มา

เรอื่ งหลวงปพู่ รหมท่านลงไปด�ำน้�ำเล่ือยไมไ้ ดน้ านมากประมาณ ๑๐ นาที โดยไม่มอี ุปกรณ์
ช่วยหายใจ เป็นเรอื่ งทแี่ ปลกอศั จรรย์ ทา่ นกลนั้ ลมหายใจได้นานกว่าคนปรกตทิ ่ัวไป คนส่วนใหญ่
อย่างมากกล้นั ลมหายใจไดเ้ พียง ๓ นาที กต็ ้องโผล่ขน้ึ มา เพราะในน�้ำซึง่ มคี วามกดอากาศ ท�ำให้
ไม่สามารถกลั้นลมหายใจไดน้ าน นำ้� จะเข้าจมูก ใจจะขาดตอ้ งพรวดพราดโผล่หัวข้ึนมาหายใจ

เมือ่ พระเณรขน้ึ มาจากน้ำ� หมดทกุ องคแ์ ล้ว หลวงปพู่ รหมท่านกว็ ่า “โอย้ ! พวกคุณแยม่ าก
โงม่ ากนะ ไมม่ ปี ญั ญาเอาขึ้น” ก็แล้วแตท่ ่านจะว่า “มันโง่จริงๆ ละ่ มนั จะไปดำ� นำ้� ได้หรอื พรุ่งนี้

272

เช้าพวกคุณจะเห็นหรอก เราจะเอาไม้ขน้ึ คนเดียว” ท่านวา่ แล้วกไ็ ปกฏุ ทิ ่าน พระเณรกไ็ ม่มีใครเชือ่
ไมต้ น้ ใหญข่ นาดน้ัน “โอย้ ! มนั จะข้ึนไดจ้ รงิ หรือ ?” คิดว่าอยูใ่ นใจ

รุ่งขึน้ หกโมงเช้านี่ ต้นตะเคยี นใหญ่ต้นนนั้ ข้ึนแล้ว ขึน้ อยตู่ รงขา้ งกฏุ ทิ า่ นโน้นครง่ึ หนง่ึ หรอื
ทา่ นจะเอาข้นึ แต่กลางคนื หรือยงั ไง เพราะตอนหกโมงเช้า พระจะออกไปบิณฑบาตเห็นแลว้ ไมน้ ่ี
แปลกใจมากๆ ตอนเย็นมาทา่ นกม็ าเทศน์อกี ไปสรงนำ้� ท่านแล้วก็รวมกนั “โอย้ ! สูเจ้า (พวกคุณ)
เราจะไปยากอะไร พญานาคกม็ ี พญาครฑุ ก็มี พระอนิ ทร์ พระพรหมกม็ มี ากมาย มีแตพ่ วกเทพ
เขาอยากมาชว่ ยกันมากๆ ไมใ่ หม้ ามากเกิน มันไม่มที ีจ่ ับ (เลือ่ ย)”

มีผู้อยู่เหตกุ ารณน์ ี้หลายองค์ เหน็ แล้วไม่รูม้ ันเปน็ อยา่ งไร มันเปน็ ปาฏิหารยิ ์อกี แบบ องคท์ ี่
ไปช่วยเลอื่ ยตอนนนั้ ก็มคี รบู าคนบ้านถอ่ น อาจารยไ์ ม และเณร สว่ นอาจารย์สอน อาจารย์ผาง
ทา่ นพรรษามากแล้ว ทา่ นกไ็ ปยนื บอกเฉยๆ ไม่ได้ลงไปช่วยเล่ือย เลื่อยกนั อยู่หลายวัน ก็แล้วแต่
ครูบาอาจารย์ วนั ไหนครบู าอาจารยไ์ ม่อยู่ก็ไมไ่ ดเ้ ลอ่ื ย แต่วา่ วนั เอาไม้ขนึ้ จากน�ำ้ หลวงปู่ท่านเอาขน้ึ
องคเ์ ดียวและในเชา้ เดียว

หลวงปู่พรหมพาท�ำฝายเก็บน้�ำไว้ใช้ในวัด

กจิ วตั รประจ�ำวัน หากมงี านจำ� เป็น หลวงปพู่ รหม จิรปญุ โฺ  ทา่ นจะพาพระเณรทำ� งาน
โดยเฉพาะเขา้ พรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทา่ นทำ� ฝายซ่อมฝายเพ่อื เกบ็ น�้ำไวใ้ ชใ้ นวดั

ชว่ งตลอด ๓ เดือนในจำ� พรรษานี้ มงี านค่อนข้างมาก ถนนแต่กอ่ นไม่มีหนิ มีปูนเหมอื นอยา่ ง
ทุกวันน้ี หลวงปทู่ ่านปั้นเอา (ทำ� คนั ดนิ – คดู นิ ) พาท�ำงานป้ันฝาย พอฝายขาด หลวงปู่ทา่ นพาซ่อม
ฉนั ข้าวเสรจ็ ๔ โมงเช้า (๑๐.๐๐ น.) ทา่ นพาลงไปท�ำแต่วัน บางวันก็ ๕ โมง ทา่ นวา่ “วนั นี้ฝาย
ขาดมาก ไปซ่อมฝาย” ทา่ นว่า “ไป” ท่านถามวา่ “สานบงุ้ กเ๋ี ป็นไหม ?” “สานเปน็ ” บอกเณรไป
ตดั ไม้ไผ่มาสานบงุ้ กีแ๋ ล้วขุดดินไปใสต่ รงมนั ขาด ช่วงนั้นหน้านำ�้ คดิ ดูฝนมานี่ โอย้ ! ตกหนกั ถนนมัน
ดนิ ทราย มันกพ็ งั ตอ้ งไปซ่อมฝายกั้นนำ้� ทา่ นพาทำ� ไม่ไดห้ ยุด พวกพระใหญ่ทา่ นไม่อยากไปท�ำดว้ ย
มีแตพ่ ระเลก็ พระน้อยกับเณร ท�ำจนเยน็ ไม่เสรจ็ กป็ ลอ่ ยไว้นัน่ วนั ใหมท่ ำ� ต่อ นั่นแหละท่านพาทำ�
๔ โมงเย็นให้หยุด ให้วัดกลบั มาเงียบสงบ เพื่อใหพ้ ระเณรภาวนากัน มงี านก็ไมใ่ หท้ ง้ิ การภาวนา
จากนนั้ ก็ต้มน�ำ้ ร้อน ตม้ น้�ำสรง สรงพระสรงหลวงปู่

เหตุทีห่ ลวงปูท่ ำ� ฝายกเ็ พอื่ ก้ันน�ำ้ ในหว้ ยไว้ใชใ้ นวดั เรียกหว้ ยแข้ เป็นหว้ ยในวดั มันไหลลงมา
แม่นำ้� สงคราม สมัยก่อนไม่มนี ้�ำประปาใชเ้ หมอื นทุกวนั นี้ ถา้ นำ�้ แรง ฝายมนั กข็ าด น้ำ� ก็ไหลออกจาก
วัดหมด ในวัดก็ไม่มนี ้ำ� ใช้ เวลาซอ่ มฝาย หลวงปทู่ ่านจะส่ัง เวลาหยุดพักไม่มีงานท�ำ เราก็ไปกฏุ แิ ลว้
กท็ �ำความเพียร นอกจากซ่อมฝายแลว้ ทา่ นกพ็ าปลูกไม้ไผ่ พระเณรกช็ ว่ ยกนั ปลกู

273

เรือ่ งตลกขำ� ขนั ไม่ค่อยมี เพราะวา่ หลวงปทู่ า่ นใจเด็ด พาทำ� เป็นท�ำ พกั เป็นพัก คือเวลาทำ�
ทำ� เปน็ ทำ� ทำ� จรงิ เวลาพักผอ่ นกพ็ กั ผอ่ น พกั เปน็ พกั หยุดเป็นหยุด ทำ� เป็นทำ� วา่ งนั้ เอาอยา่ งเดียว
ถา้ ป้นั ฝายอย่างนี้ท�ำจริงจนเมื่อย

พ.ศ. ๒๕๐๔ เรื่องท่านถือสัจจะและมีนิสัยเด็ดขาด

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ หลวงป่พู รหม จิรปญุ โฺ  จำ� พรรษาท่วี ดั ประสิทธธิ รรม ในพรรษาน้ี
มีพระเณรอยรู่ ว่ มจำ� พรรษาหลายองค์ เช่น หลวงปผู่ าง ปริปณุ ฺโณ หลวงปู่สอน อุตตฺ รปญโฺ 
พระศิษยอ์ าวุโสองค์สำ� คัญ ในพรรษานี้มีเรอื่ งเล่าหลวงปพู่ รหมท่านถือสจั จะ และมนี สิ ยั เดด็ ขาด
ดังน้ี

หลวงปู่พรหม ทา่ นเป็นพระที่เดด็ ขาดมาก แต่คนทว่ั ไปบอกวา่ ท่านดุ ชาวบา้ นจงึ ไมก่ ล้า
เขา้ ใกลท้ า่ น ถ้าทำ� ศาลา ท�ำกฏุ ิ หรอื ท�ำอะไร ก็ต้องทำ� ตามทีท่ ่านสั่งอยา่ งเดยี ว ทา่ นเปน็ พระทม่ี ี
สจั จะ ท่านสั่งทำ� อะไรกต็ อ้ งทำ� ตามน้นั

เมอ่ื มาอยวู่ ดั ประสิทธธิ รรม บา้ นดงเยน็ มาท�ำศาลาท่าน้ำ� นอี่ ยู่ด้วยกนั หลวงป่สู ุภาพ
ธมฺมปญโฺ  ท่านก็อยใู่ นเหตกุ ารณน์ ้ี คือ หลวงปู่พรหมทา่ นสง่ั ใหเ้ อาแผน่ ไมก้ ระดานตวั ไหนไปวาง
ตรงไหน ก็ต้องวางตรงน้ัน ถ้าวางแลว้ ไม่พอดกี เ็ อาขวานถากลงไป หรอื ท่านสง่ั ใหต้ ตี รงไหนก็ตอ้ งตี
ตรงนน้ั ต้องตีลงไปเลย อยา่ ให้เคลือ่ นไปไหน ถา้ ไม่ตีตรงน้นั ท่านจะเดินหนที ันทเี ลย เมื่อวางตรงนน้ั
ก็ตอ้ งตีตรงน้ันเลย สงู ต่ำ� ไมร่ บั รอง ถา้ คนท่ีเคยพบศาลานำ้� หลังเก่าท่อี ยใู่ นสระ กระดานพนื้ แผ่นสูง
แผ่นต�่ำ มนั จะสูงจะต่�ำยงั ไงก็ช่างมัน มนั จะสัน้ จะยาวตเี ข้าไปเลย ปไู ปเลย มนั ใชป้ ระโยชน์ไดก้ พ็ อ

หลวงปพู่ รหมท่านมีปฏปิ ทาชอบการกอ่ การสรา้ ง สว่ นหลวงปู่มั่นเองท่านไม่ชอบ ทั้งท่าน
ไมส่ ง่ เสริมและไม่ชอบใหพ้ ระศิษย์ก่อสรา้ ง แต่ด้วยอุปนิสยั ของหลวงป่พู รหม ท่านเคยสร้างมาแล้ว
หลายภพหลายชาติ เชน่ สรา้ งพระประธาน สรา้ งวดั โบสถ์ วิหาร ศาลา กุฏิ สะพาน ฯลฯ ดงั น้ัน
นสิ ยั การกอ่ การสร้างจงึ ตดิ ตามตัวทา่ นมา ตอนแรกทา่ นก็ไมท่ ราบ ท่านทราบจากหลวงปูข่ าว และ
ทา่ นพิจารณาเองแล้วก็เลยรวู้ ่าตัวท่านเองเคยสร้างมา

หลวงปู่มั่นทา่ นทราบวา่ หลวงปพู่ รหมหลดุ พน้ แล้ว และเม่ือท่านพจิ ารณาแล้ว จึงทราบว่า
หลวงปพู่ รหมมนี สิ ัยชอบงานก่อสรา้ ง หลวงปูม่ น่ั กลา่ วถงึ หลวงปู่พรหมในเร่ืองนวี้ ่า “ท่านพรหมน้ี
ตอ้ งใหท้ �ำงาน ต้องให้ท่านท�ำงานไปจนสน้ิ อาย”ุ ความหมายของหลวงปู่มั่น คอื ทา่ นตอ้ งท�ำ
ประโยชน์เพอื่ หมูค่ ณะในวงกรรมฐาน และเพื่อประโยชน์แกป่ ระชาชนทวั่ ไป

เมอื่ หลวงปู่พรหมท�ำงานเสรจ็ ในแต่ละวัน ทา่ นจะสรงน้ำ� เสร็จแล้วเดินจงกรมทันที องคอ์ ่นื
ท�ำตามไม่ได้ ท่านเป็นคนร่างกายแข็งแรง มีความขยันขันแข็งเป็นเลิศ หาคนเปรียบเทียบได้ยาก

274

อุปนิสัยของท่านจะไม่ยอมอยู่นิ่งเฉย ท่านจะท�ำโน่นท�ำนี่ตลอดเวลา เป็นวิหารธรรมของท่าน
เล่ากนั ว่า ทา่ นมมี ดี เลม่ เล็กๆ หน่ึงเล่ม ทา่ นฟนั ขอนยางขนาดใหญ่ ซึง่ ต้องใชบ้ ันไดขา้ มขอนยางนัน้
ขาดได้ นับไดว้ ่าหลวงปทู่ ่านเป็นพระท่มี ีศรัทธาความเพียรสูงย่ิงจริงๆ หลวงป่จู ะเดนิ จงกรมมาก
เวลาหลบั นอนของทา่ นจะมนี ้อยมาก

สว่ นผลงานกอ่ สร้างของหลวงปพู่ รหม ทา่ นมงุ่ เน้นท่กี ารใชง้ านได้เปน็ สำ� คัญ สวยไมส่ วย
งามไมง่ ามไมเ่ ปน็ ไร ทา่ นเหน็ วา่ มนั เกิดแล้ว มนั กพ็ งั เพราะท่านเปน็ ผู้หลุดพน้ แล้ว ทกุ ส่งิ ทกุ อย่าง
ไม่วา่ สวยงามเพียงใด ตอ้ งเกา่ แก่คร่�ำคร่า ทำ� แลว้ ก็ตอ้ งพงั อนั น้อี ยใู่ นใจทา่ นตลอด มันใชป้ ระโยชน์
ไดไ้ หม แม้แต่รา่ งกายก็ยังแตกสลาย เม่ือปฏิบัตแิ ลว้ จะรคู้ วามหมายในปฏปิ ทาของท่าน แตก่ อ่ น
พระเณรชว่ ยทา่ นท�ำศาลา พน้ื ปูดว้ ยแผ่นไม้ มันไม่เรยี บ ดูแลว้ ไม่สวยไมง่ าม ท่านกบ็ อกวา่ “ไม่งาม
กเ็ อาขวานถากเอา” กบไสไมก้ ไ็ มม่ ี ทา่ นกว็ า่ “ถากๆ ไป เอาเสือ่ ปนู ัง่ แล้ว มันไม่ปกั กน้ กใ็ ช้ได้แลว้ ”
สว่ นของทุกอย่าง ทา่ นกไ็ มท่ ิ้งใหเ้ ปลา่ ประโยชน์ ท่านเอามาใช้ประโยชน์หมด ไม้กระดานแผ่นเลก็
แผน่ นอ้ ย ทา่ นเอามาใช้งานหมด

ตอนสรา้ งโบสถ์วัดบ้านตาล อ�ำเภอสว่างแดนดนิ จงั หวัดสกลนคร กเ็ ชน่ กนั ไมม่ ีเกรยี งเหลก็
ปาดปนู ทำ� ให้พนื้ มันเรยี บ หลวงป่พู รหมท่านให้เอาตาด (ไมก้ วาดทางมะพร้าว) กวาดเอาเลย พ้นื
ก็เอาตาดกวาดเอา พ้นื โบสถ์จึงไมเ่ รียบ ทา่ นว่า “ปูเสอื่ ไดก้ เ็ อาแหละ” หลวงปู่สภุ าพ ธมฺมปญโฺ 
ท่านชอบงานละเอยี ด คงทน และสวยงาม ทา่ นแทบทำ� ร่วมกับหลวงปู่พรหมไมไ่ ด้เลย หลวงปสู่ ภุ าพ
กราบเรยี นถามหลวงปู่พรหมว่า “หลวงปทู่ ำ� อยา่ งน้มี นั ก็ไม่ทนสิ ได้พอสักสองปี สามปี มนั ไม่แตก
ไมพ่ ังเหรอ ?” ทา่ นก็ว่า “ฮว่ ย ! ทำ� เสรจ็ แล้ว ใชง้ านไดแ้ ล้ว ได้บุญแล้ว ถา้ มนั แตก มันพงั อกี โยมเขา
ก็ท�ำใหม่ เขากไ็ ดบ้ ุญอีก” ได้สองปี มันก็แตกพัง พังแลว้ กท็ ำ� ใหม่ ตามทีท่ า่ นว่า

หลวงปู่พรหมท่านหลดุ พน้ แลว้ ท่านไมต่ ดิ อะไร ท่านเหน็ ไตรลกั ษณ์ เกดิ ขึ้น ต้งั อยู่ ดบั ไป
อยู่ตลอดเวลา จติ ใจของผู้ท่หี ลดุ พน้ แล้ว ท่านเห็นอย่างนั้น ทา่ นไมไ่ ด้สนใจวา่ สิง่ น้ีสวย ส่ิงน้ไี ม่สวย
ขอให้ใช้ประโยชน์ได้เทา่ น้นั ผ้ทู ไี่ ม่หลดุ พ้นกช็ อบสวยชอบงาม ชอบความมั่นคง ทา่ นวา่ “เอาสำ� เรจ็
ประโยชนก์ ใ็ ช้ได้ในสงิ่ น้ี” ทา่ นท�ำอย่างนัน้ ท่านพิจารณาของท่านแลว้ ใครไปขัดท่านไมไ่ ด้ ถา้ ขัด
ท่านหนีเลย ท่านไม่ท�ำ ทา่ นรกั ษาสัจจะ ทา่ นตง้ั สจั อธิษฐานไว้ตงั้ แต่ออกบวช ทำ� อะไรต้องมสี ัจจะ
ทำ� อะไรตอ้ งท�ำจริงท�ำจัง ท�ำเล่นๆ ไมไ่ ด้ ส�ำหรับการทำ� กุฏกิ ด็ ี ท�ำศาลาทา่ น�้ำกด็ ที ่ีบ้านดงเย็นน้ี
ถ้าบา้ นดงเยน็ ไม่ท�ำตามทา่ น “กูจะไปอยูบ่ า้ นถอ่ นโว้ย ขอ่ ยจะไปอยบู่ ้านถอ่ นเด๊ะ ข่อยพาเจา้
ท�ำแล้ว เจา้ บ่อยากทำ� นะ่ !” ทา่ นพดู อยา่ งเด็ดขาดเลย เหมอื นสรา้ งกฏุ ิท่ีบา้ นถ่อน วดั ศรโี พนสงู
เวลาท�ำหลังคากุฏอิ ยู่ ว่าจะให้ตีโครงหลงั คา ถา้ หลวงปบู่ อกวา่ “ใหต้ ีตรงนีแ้ หละ” เคลอื่ นไปสกั
น้วิ หนง่ึ นดิ หน่ึงกไ็ ม่ได้ ท่านจะไมพ่ ูดด้วย ท่านจะเลกิ จาก ไม่ทำ� งาน ทา่ นมาวัดประสทิ ธธิ รรมเลย

275

นคี่ อื ความสัจจริงของหลวงปู่ เมอ่ื ท่านตัดสินใจท�ำอะไรแลว้ ถ้าไม่เสรจ็ ก็จะไมห่ ยดุ ท�ำ เช่น
สะพานข้ามแมน่ �ำ้ สงคราม ซึง่ สร้างไดย้ ากมาก หรือสะพานข้ามทุ่งนามาวัดศรีโพนสูง จากฝงั่
หมู่บ้านมาวัด ความยาว ๓๐๐ กว่าเมตร หลวงปูล่ งมอื ทำ� ตอ้ งส�ำเรจ็ แนน่ อน องค์อื่นทีไ่ ม่มีสจั จะ
ไมม่ ที างส�ำเร็จ เพราะหลวงปู่ท่านยึดม่นั ในสัจจะท่ีได้ตง้ั ไวน้ ั่นเอง ท่านมีอิทธิฤทธ์ิและวาจาของท่าน
กศ็ ักดส์ิ ิทธิ์ พระ เณร ญาติโยม จงึ ใหค้ วามเคารพเลือ่ มใสและเชื่อฟงั ยำ� เกรงทา่ นมาก

พ.ศ. ๒๕๐๕ งานท�ำบุญครบรอบวันเกิดหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ครบ ๖ รอบ

การจัดงานครบรอบวันเกดิ ของครูบาอาจารย์กรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ ภูรทิ ตโฺ ต
สว่ นใหญ่ทา่ นไม่นยิ มและไม่สนใจกับการจดั งานครบรอบวนั เกดิ เวน้ เสียแต่เนื่องในโอกาสส�ำคญั
จริงๆ ท่านจึงอนญุ าตใหศ้ ิษยานุศิษย์จัดงานถวาย เช่น กรณขี องหลวงปู่เสาร์ กนฺตสโี ล บรรดาศษิ ย์
จัดถวายทา่ นตอนงานครบรอบวันเกดิ ๘๐ ปี ทา่ นอนุญาตใหจ้ ัดงานใหญ่ในครั้งนนั้ เพียงครง้ั เดยี ว

กรณีของหลวงป่พู รหม จิรปุญฺโ กเ็ ช่นกนั ท่านไม่เคยจดั งานวันเกิดให้กับองคท์ ่านเอง
ตามจรติ นสิ ัยของท่านแลว้ ท่านไม่วุ่นวายกบั เรือ่ งพวกนีเ้ ลย ท่านไม่เอาเลย มเี ฉพาะในปี พ.ศ.
๒๕๐๕ อันเป็นปีส�ำคัญปีหน่ึงของท่าน กล่าวคอื วนั อาทิตย์ท่ี ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เปน็ วนั
ครบรอบวันเกดิ โดยในปนี ้ที ่านเจริญอายวุ ฒั นมงคลครบ ๖ รอบ ๗๒ ปี ท่านจึงอนุญาตใหบ้ รรดา
ศิษย์จดั งานใหญ่ถวาย และเปน็ การจดั งานทำ� บุญครบรอบวันเกิดเพียงครั้งเดียวในชวี ติ ของทา่ น

เนื่องจากหลวงปู่พรหม ทา่ นเปน็ พระธุดงคกรรมฐาน เปน็ หนึ่งในพระศิษย์อาวโุ สองค์ส�ำคญั
ประเภท “เพชรน�ำ้ หน่งึ ” ของหลวงปู่มน่ั ภูริทตฺโต โดยทา่ นบรรลธุ รรมเป็นพระอรหันตอ์ งค์แรก
ก่อนหม่คู ณะ เมือ่ ทา่ นบำ� เพญ็ ประโยชนต์ นจนครบถ้วนสมบรู ณ์แล้ว ท่านได้บ�ำเพญ็ ประโยชน์แก่
สว่ นรวม โดยการเทศนาอบรมสั่งสอนธรรมแก่บรรดาพุทธบรษิ ทั และไดบ้ ำ� เพ็ญสาธารณประโยชน์
ไว้มากมาย ดงั นั้น เมื่อถึงงานทำ� บญุ ครบรอบวันเกิด ๖ รอบของหลวงปู่พรหม บรรดาศษิ ยานศุ ิษย์
ทงั้ ฝา่ ยบรรพชติ และฝา่ ยฆราวาส จึงแสดงความกตญั ญูกตเวทีโดยพรอ้ มใจกนั จัดงานใหญน่ ข้ี ้นึ มา
โดยมคี รูบาอาจารย์พระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปูม่ ั่น ตลอดพระ เณร แม่ชี ฆราวาส ไปรว่ มงาน
สรงน้�ำ เพื่อแสดงมุทิตาจิตสักการะกันจ�ำนวนมากมาย รวมทั้งท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโ
ท่านพระอาจารย์สงิ หท์ อง ธมฺมวโร ท่านพระอาจารย์ขาน านวโร พร้อมคณะก็ไดเ้ ดนิ ทางไป
รว่ มงานสำ� คัญในครัง้ น้ี

การจดั งานทำ� บญุ ครบรอบวนั เกิด ๖ รอบของหลวงป่พู รหม เปน็ เรือ่ งของธรรมลว้ นๆ ไมม่ ี
เรอ่ื งของโลกเจอื ปน บรรยากาศในงานเงยี บสงบ ไมม่ กี ารโฆษณาเรี่ยไรใดๆ และไมม่ ีมหรสพหรอื
การละเล่นใดๆ ตอนค่�ำก่อนวันงานมีการเจริญพระพุทธมนต์ และมีการฟังธรรม ปฏิบัติธรรม

276

ตอนเช้าของวันงานหลวงปู่ท่านก็ใส่บาตรให้พระ เณร ท่ีมาในงาน จากนั้นก็มีการกราบท�ำวัตร
สรงน�้ำถวายแด่หลวงปู่ และรับพรจากหลวงปู่ เปน็ อนั เสร็จพธิ ี

และในปนี ี้ เมื่อใกลถ้ ึงชว่ งวันเขา้ พรรษา หลวงปูพ่ รหม ทา่ นได้มอบหมายใหห้ ลวงป่ผู าง
ปรปิ ุณฺโณ ไปจำ� พรรษาทว่ี ดั ศรโี พนสงู อำ� เภอสว่างแดนดิน จงั หวัดสกลนคร หลังจากออกพรรษา
แลว้ หลวงป่ผู างได้เดนิ ทางกลับวดั ประสิทธิธรรม

เร่อื งการจัดงานทำ� บุญครบรอบวันเกิด ในกาลตอ่ มาหลวงป่ผู าง ปริปุณโฺ ณ ทา่ นก็ได้ด�ำเนนิ
ตามปฏปิ ทาข้อนี้ กล่าวคือ หลวงปผู่ างทา่ นไมเ่ คยอนญุ าตให้ศษิ ยานุศษิ ยจ์ ดั งานครบรอบวนั เกิด
ของท่าน ต่อเมอ่ื ทา่ นมอี ายคุ รบ ๖ รอบ ๗๒ ปี ท่านก็อนญุ าตให้จัดงานครบรอบวันเกดิ ถวายท่าน
พรอ้ มกับการฉลองและยกฉัตรเจดียจ์ ิรปุญโญ

พ.ศ. ๒๕๐๕ จ�ำพรรษาวัดตาลนิมิตร

หลวงปพู่ รหม จริ ปุญฺโ ในปัจฉิมวยั ทา่ นจำ� พรรษาอยู่ท่ีวัดประสทิ ธิธรรมเรอ่ื ยมา จวบจน
ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ขณะท่านมีอายนุ บั ได้ ๗๒ ปี เข้าสู่วัยชราภาพมากแลว้ ทา่ นยังมสี ุขภาพแขง็ แรง
ยงั ชอบทำ� งานอันเป็นปรกตนิ ิสยั ของทา่ น ในครง้ั นี้ท่านไดเ้ มตตากลบั ไปจ�ำพรรษาและบูรณะพัฒนา
วัดตาลนิมติ ร อันเป็นวัดบ้านเกดิ และนบั เป็นวัดสดุ ทา้ ยท่ีหลวงปู่ท่านเมตตาเปน็ ผู้นำ� พาชาวบ้าน
สร้างศาลา พระอโุ บสถ พร้อมปนั้ พระพุทธรูปขนาดใหญ่เพ่อื เปน็ พระประธาน ดังเรอื่ งเล่าดงั น้ี

“วดั ตาลนมิ ติ ร บ้านตาล ต�ำบลโคกสี อำ� เภอสว่างแดนดนิ จงั หวดั สกลนคร เปน็ วดั บา้ นเกดิ
ของหลวงปู่พรหม จิรปุญโฺ  สรา้ งขนึ้ เมอื่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นปีเดียวกับท่หี ลวงปพู่ รหมออกบวช
ตอ่ มาเป็นวดั ร้าง สมัยก่อนบริเวณนยี้ งั เป็นปา่ เป็นดง ยังไมเ่ จรญิ ยงั มสี ัตว์มเี สือชกุ ชมุ ถ้าไปท้องไร่
ท้องนา ไปที่ไหน พอเห็นกระทอ่ ม ชาวบา้ นเขาท�ำทน่ี อนอยู่บนตน้ ไม้สงู ๆ เขานอนสูงขนาดนนั้
เขาไมก่ ลวั ตก เขากลวั เสือมากกว่า พอมาระยะหลงั ๆ เสือเรม่ิ หนีเขา้ ปา่ ไปแล้ว และบริเวณนเ้ี ดิมที
กเ็ ต็มไปดว้ ยฝงู อแี รง้ นับ ๑๐๐ ตวั ออกบินหากนิ ซากสตั ว์ ถ้าเหน็ ฝงู อีแรง้ บินวนอยทู่ ไี่ หน ถา้ ไม่
ควายตาย กว็ วั ตาย หรือไม่กห็ มาตาย อีแรง้ มันจะรู้กอ่ นคน

เมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงปูพ่ รหมทา่ นได้กลับมาอย่จู �ำพรรษาและบูรณะพัฒนาวัดบ้านเกิด
ของทา่ น ท่านไดส้ ร้างกฏุ ิ หอ้ งนำ้� ทางเดินจงกรม ส�ำหรบั กฏุ ขิ องทา่ น เป็นกุฏิไมท้ รงเกา่ คลา้ ยกบั
กฏุ หิ ลวงปู่มัน่ ทว่ี ัดป่าบ้านหนองผือ

ตอ่ มาปี พ.ศ. ๒๕๐๖ หลวงปพู่ รหมทา่ นมาสร้างพระพุทธรปู และพระอโุ บสถด้วยไมท้ ้ังหลัง
อันเป็นปเี ดียวกบั ทที่ า่ นได้เมตตาอนุญาตให้สร้างเหรยี ญรุ่นแรกของทา่ น ซึ่งผู้สร้างเหรียญไดน้ ำ� มา
ถวายหลวงปู่ และท่านได้น�ำมาแจกใหช้ าวบา้ นทมี่ าช่วยบูรณะพฒั นาวัด

277

ขณะทหี่ ลวงปพู่ รหมมาพฒั นาวดั ตาลนมิ ติ ร ทา่ นเปน็ ผนู้ ำ� ชกั ชวนชาวบา้ นสรา้ งพระพทุ ธรปู
พระอโุ บสถ กุฏิ และศาลา ฯลฯ กม็ ีชาวบา้ นตาลมาชว่ ยกันมาก เชน่ เดียวกบั ครง้ั ท่บี รู ณะพฒั นา
วดั ศรโี พนสูง โดยมนี ายชา สที ับทมิ ซึ่งเปน็ คนท่ชี าวบ้านให้ความเคารพนบั ถือ ถ้าสมยั ปัจจุบนั น้ี
เรยี กวา่ ผใู้ หญ่บ้าน แต่ว่าไมย่ อมเป็น นายชาได้เขา้ มาถวายการอุปัฏฐากรบั ใชห้ ลวงปูพ่ รหมและ
ได้เปน็ กำ� ลังหลกั ในการพัฒนาวดั ตาลนิมติ รมาโดยตลอด นายชาเป็นช่าง เปน็ คนหาเสา ถากเสา
ถากไม้ให้หลวงปมู่ าสร้างพระอโุ บสถ จึงไดเ้ หรียญหลวงปู่พรหมรนุ่ แรกไปมาก นอกจากนก้ี ็มคี นใน
หมู่บ้านหลายคนได้เข้ามาเป็นกำ� ลังหลกั เช่น พอ่ ตโู้ ส พ่อตทู้ ิดสง ฯลฯ พวกหาเสาชดุ หนงึ่ พวกหา
ไม้พนื้ กระดาน ไม้ฝาชดุ หน่ึง พวกหาไมท้ ำ� หลังคามุงแป้นอกี ชดุ หน่ึง นับเปน็ พระอโุ บสถสรา้ งดว้ ยไม้
ท้งั หลงั และสร้างดว้ ยแรงงานเสียสละของชาวบา้ น ตอ่ มานายชากเ็ ลือ่ มใสศรัทธาออกบวช บวชได้
พรรษา – สองพรรษาก็สึก ระหวา่ งบวชทา่ นก็ชว่ ยเล่อื ยไม้อย่ทู ่ีวดั

สำ� หรบั พระประธานในโบสถ์ เป็นพระพทุ ธรูปปูนปน้ั ขนาดใหญ่ หลวงปู่พรหมก็เปน็ ผู้น�ำพา
ชาวบา้ นปนั้ เป็นสญั ลักษณห์ นึ่งของหลวงปู่วา่ ท่านไดม้ าบูรณะพัฒนาวัด ปัจจบุ นั ทางวดั ไดอ้ ญั เชิญ
ยา้ ยมาประดษิ ฐานที่ศาลาใหญข่ า้ งพระอโุ บสถ

ตอนสร้างพระอุโบสถวดั ตาลนมิ ติ ร หลวงปพู่ รหมท่านก็มาอยูจ่ ำ� พรรษา ทา่ นไปอยทู่ ่ีไหน
เจริญรุ่งเรืองที่นั้น ใครได้ไปฟังเทศน์หลวงปู่พรหม คนจนๆ ก็เกิดเป็นคนร่�ำรวยมีอภินิหารข้ึน
คนขนาดนอนทาง ๑๐ คืน เขายังวา่ ใกล้ นอนทาง ๑๐ คนื คือ เดนิ ทางดว้ ยเทา้ ไปถึงหมู่บา้ นน้ี
คำ่� แลว้ ก็ขอนอนหมบู่ ้านนี้ ขอขา้ วกนิ ตามหมบู่ ้านนี้ ตื่นเชา้ กเ็ ดินไปอกี คำ�่ บ้านไหนก็นอนบา้ นนน้ั
เขาถามวา่ “จะไปไหน ?” ก็ตอบว่า “จะไปฟังเทศน์หลวงปูพ่ รหม”

ถา้ จะไปฟงั เทศนห์ ลวงปู่พรหม สมยั กอ่ นต้องเดิน เดินอยา่ งเดียว มนั ไม่คอ่ ยจะมีรถ จะมรี ถ
แตพ่ วกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เพ่ือมาฟงั เทศนห์ ลวงปพู่ รหม ทั้งๆ ทท่ี ่านเทศน์นอ้ ย ถ้าใครได้ฟงั เทศน์
หลวงปู่พรหม อานิสงส์ทันตาเห็น ญาติโยมถึงบอกกันปากต่อปาก สมัยน้ันไม่มีวิทยุออกข่าว
หลวงปู่ท่านไปอยู่ที่ไหน ญาติโยมเขาก็ตามไปท่ีน้ัน ตามไปวัดตาลนิมิตรบ้าง วัดศรีโพนสูงบ้าง
วัดประสทิ ธธิ รรมบ้าง ฯลฯ

วัดตาลนมิ ติ ร จากวัดร้าง จากวดั ไมม่ อี ะไร หลวงปู่พรหมทา่ นมาเป็นผนู้ ำ� บูรณะพฒั นาวดั
ท่านไปอยู่ที่ไหนก็เจริญรุ่งเรืองท่ีน้ัน ใครก็อยากจะนิมนต์ท่านไปอยู่ ไปเมตตาโปรด สมัยน้ันใคร
มาเห็นวัดตาลนิมิตร ก็ถือว่าเป็นวัดที่เจริญทันสมัย เพราะพระอุโบสถก็หลังใหญ่ พระพุทธรูป
ปูนปั้นก็มีขนาดใหญ่และงดงาม ศาลาก็หลังใหญ่เป็นศาลาไม้ท้ังหลัง สถานที่วัดก็เงียบสงบ แลดู
เปน็ ระเบียบและสะอาดสะอา้ น

278

ส�ำหรับลูกหลานชาวบ้านตาล ก็มีจิตใจเล่ือมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และได้ด�ำเนิน
ตามรอยหลวงปพู่ รหมออกบวชเป็นพระธดุ งคกรรมฐานและอยจู่ ำ� พรรษาท่วี ดั แหง่ นสี้ บื ตอ่ กันมา

เสนาสนะในอดีตของวดั ตาลนมิ ติ ร ไมว่ ่าโบสถ์ ศาลา กุฏิ ลว้ นสร้างจากไม้ พอกาลเวลา
ผ่านไปก็ผุพังช�ำรุดทรุดโทรมลง เมื่อบูรณะใหม่ไม้หายากและมีราคาแพงมาก จึงหันมาใช้เหล็ก
ใชป้ นู แทน ปัจจุบนั กุฏิ ศาลา พระอโุ บสถ ท่ีสร้างด้วยไมใ้ นสมัยหลวงปู่พรหมรือ้ ออกไปหมดแลว้
โดยเจา้ อาวาสองคป์ จั จบุ นั ไดม้ าบรู ณะพฒั นาวดั สำ� หรบั พระอโุ บสถไดท้ ำ� การรอื้ ถอนแลว้ สรา้ งขน้ึ ใหม่
ในขนาดเท่าเดิม เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยการผูกเหล็กเทปูนมุงหลังคากระเบื้อง และได้รับ
พระราชทานวสิ ุงคามสมี า

ปัจจุบัน วดั ตาลนิมติ ร มีพ้ืนท่ีทง้ั หมดรวม ๑๖ ไร่ มีพระเณรอยจู่ �ำพรรษาไมก่ ี่รูป แตท่ า่ น
รักษาข้อวตั รปฏบิ ตั ิกันดี วัดจึงสะอาดสะอา้ นมาก”

พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านอนุญาตให้สร้างเหรียญรุ่นแรก

โดยปรกติ หลวงปู่พรหม จิรปญุ โฺ  จะไม่ยอมใหใ้ ครมาสรา้ งพระโดยอาศัยนามของท่าน
เป็นอนั ขาด มศี ษิ ยห์ ลายคนมาขอสรา้ ง ท่านกไ็ ม่ยอมอนุญาต แมม้ ีคนมาขอประวัติ วันเดือนปีเกิด
ของทา่ น ทา่ นยังไม่ยอมบอกใหท้ ราบเลย แต่จะตอบวา่ “จะรไู้ ปทำ� ไม ไม่มีประโยชน”์ จนกระท่งั
ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ทา่ นพระอาจารยค์ ำ� มี สุวณฺณสิริ (พระครศู รีภมู านรุ ักษ์) วัดปา่ สามัคคีธรรม
อำ� เภอพงั โคน จังหวัดสกลนคร ไดม้ ากราบนมัสการองค์หลวงปู่ และขออนญุ าตจัดสร้างเหรยี ญ
เพอื่ น�ำออกทำ� บุญตอบแทนแกผ่ ้บู รจิ าคทรัพยส์ รา้ งสระน�้ำ วดั ศรสี ว่าง อำ� เภอสวา่ งแดนดิน จังหวดั
สกลนคร ที่ยงั ไม่แลว้ เสรจ็ เพราะขาดทุนทรพั ย์ในการก่อสรา้ ง

หลวงปูพ่ รหมท่านกไ็ ม่ไดอ้ นญุ าตให้สร้างทนั ที ทา่ นพิจารณาอยู่หลายวนั และไดป้ รารภ
กบั ศิษยใ์ กลช้ ิดวา่ “เขามาขอทำ� เหรียญ เขามศี รทั ธา เปน็ การกุศล น่าจะช่วยเขาบา้ ง” ต่อมา
พระอาจารย์คำ� มีไปขออนุญาตเปน็ ครัง้ ทสี่ อง หลวงปู่ก็ไมต่ อบรบั โดยตรง ได้แต่พูด ออื ๆ เท่าน้นั
แล้วไมไ่ ด้กล่าวอะไรอกี เลย ท่านพระอาจารยค์ �ำมจี ึงได้จัดชา่ งไปถ่ายรปู หลวงปู่ เพอ่ื ท�ำบลอ็ กสรา้ ง
เหรยี ญ เหรียญรุ่นแรกนี้ จงึ ได้ชอ่ื วา่ “เหรยี ญวันสร้างสระ” ซงึ่ เปน็ เหรียญเดยี วทส่ี ร้างในขณะที่
หลวงปู่ยงั มชี วี ติ อยู่

เหรียญรนุ่ แรก ลักษณะเหรียญรุ่นแรก เป็นเหรยี ญรปู ไข่ ขนาดกะทดั รัด มีรปู หลวงปู่พรหม
ครึ่งองค์อยูด่ ้านหนา้ เหรียญ (ซ่ึงถอดพิมพ์มาจากรูปถา่ ย) มีตวั หนงั สอื เขยี นไวว้ า่ พระอาจารยพ์ รหม
จิรปุญฺโ ด้านหลังจะมียันต์ และบอกปี พ.ศ. ท่ีสร้าง คือ ๒๕๐๖ มีเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
และทองแดงกะไหลเ่ งนิ


Click to View FlipBook Version