129
คำ� วา่ ฌานก็ดี สมาธิก็ดี ปญั ญาก็ดี วิมุตตหิ ลุดพน้ ก็ดี หรอื กิเลสตายไปจนหมดสิน้ ภายในใจ
ก็ดี จะปรากฏประจกั ษ์กับใจในสถานท่บี ำ� เพ็ญอันถูกต้องเหมาะสมของผมู้ ีความเพียร เปน็ ไปดว้ ย
ความรอบคอบนนั่ แล ไม่มที ี่อืน่ เปน็ ท่เี กดิ และดบั ของกิเลสทัง้ มวล
โปรดทราบไว้อย่างถึงใจวา่ ธรรมเจรญิ ณ ที่ใด กเิ ลสยอ่ มเส่อื มและดบั สญู ไป ณ ทีน่ ัน้
คำ� วา่ “ที่ใด” นกั ปฏบิ ตั ทิ งั้ หลายพงึ ทราบวา่ คือ ที่ใจดวงเดยี วเท่านนั้
ฉะนั้น จงพากนั หำ�้ ห่นั ฟันฝา่ กิเลสดว้ ยความกล้าตายในสนามรบ คือ ที่ใจ โดยอาศยั สถานที่
เหมาะสมเป็นเครื่องหนุนก�ำลังเพือ่ ชยั ชนะเอาตัวรอดเปน็ ยอดคน ด้วยประโยคแหง่ ความเพียรของ
ตนเถดิ อย่าหันเหเรรวนว่า กิเลสกองทกุ ข์จะมอี ยู่ในที่อืน่ ใด นอกจากมอี ย่ใู นใจดวงเดียวนีเ้ ท่านน้ั
เทา่ ทีป่ ฏบิ ัติมาแต่ขน้ั เรม่ิ แรก ซึ่งเปน็ ไปด้วยความตะเกียกตะกายและลูบๆ คล�ำๆ เพราะ
ขาดครูอาจารย์ผู้อบรมส่ังสอนโดยถูกต้อง จนได้มาเป็นครูอาจารย์ส่ังสอนหมู่คณะ ก็มิได้เห็น
กองทุกข์และความแปลกประหลาด พร้อมกับความอัศจรรย์เกินคาดทั้งหลายท่ีไม่เคยรู้เคยเห็น
มากอ่ น แสดงขนึ้ ณ ทแ่ี หง่ ใดเลย นอกจากแสดงขน้ึ ท่ีใจดวงเดียว ซง่ึ เป็นทเ่ี กิดและสถิตอยแู่ ห่ง
ธรรมและกเิ ลสท้ังหลายนเี้ ทา่ น้นั และมที ุกข์ กับ สมทุ ัย ทม่ี ีอยใู่ นใจของเราทา่ นแตล่ ะรายน้ีเท่านน้ั
เป็นสิ่งท่ีมีอ�ำนาจมากเหนือส่ิงใดๆ ในโลกสาม ที่สามารถปิดก้ันทางเดินเพื่อมรรค ผล นิพพาน
ไดอ้ ยา่ งมิดชดิ
แม้เครื่องมอื ท�ำการขดุ คน้ บกุ เบกิ ทกุ ข์ สมทุ ัย เพอื่ มรรค ผล นพิ พาน ให้ปรากฏขน้ึ อยา่ ง
เปิดเผย ก็ไม่มีอะไรในโลกสามที่สามารถย่ิงไปกว่านิโรธ กับ มรรค ซ่ึงมีอยู่ในใจดวงเดียวกันน้ี
เร่ืองมอี ยู่เพียงน้ี อยา่ ไปสนใจคิดถงึ กาล สถานที่ หรือบคุ คลใดๆ ว่าเป็นภัยเปน็ คณุ ใหเ้ สียเวลาและ
ล่าช้าไปเปล่าๆ โดยไม่เกิดประโยชน์อะไร ยง่ิ กวา่ การคดิ เรือ่ งกเิ ลสกับธรรม ซึง่ มอี ยู่ท่ีใจ จะผดิ
พระประสงค์ความมุ่งหมายของพระศาสดา ผู้ประทานธรรมสอนโลกด้วยความถูกต้องแม่นย�ำ
ตลอดมา”
น้ีเป็นใจความโอวาทที่ท่านพระอาจารย์ม่ัน สั่งสอนอย่างถึงเหตุถึงผล สมัยอยู่กับท่านท่ี
เชียงใหม่ จ�ำไดอ้ ย่างฝงั ใจไมเ่ คยลมื จนบดั นี้ หลวงปู่ขาวท่านว่า
แนะน�ำกรรมฐาน ๕
คำ� สอนของหลวงปมู่ นั่ ในตอนน้ี ปรากฏในบันทึกประวัติของพระครอู ดุ มธรรมคณุ (หลวงปู่
พระมหาทองสุก สจุ ิตโฺ ต) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส จังหวดั สกลนคร
หลวงปู่พระมหาทองสุก ท่านเป็นชาวจังหวัดสระบุรี เคยเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมที่
วดั เจดยี ์หลวง จงั หวัดเชียงใหม่ ท่านเคยได้กราบและรบั การอบรมดา้ นสมาธภิ าวนาจากหลวงปู่มั่น
130
มาแล้ว เม่ือโอกาสอ�ำนวยท่านจงึ ลาจากการเป็นครูสอนพระปริยัติ ออกติดตามสืบเสาะเพ่อื ปฏิบัติ
พระกรรมฐานกับองค์หลวงปมู่ ่ัน
หลวงปู่พระมหาทองสุกออกธุดงค์ไปทางอ�ำเภอเชียงดาว แล้วข้ามไปทางอ�ำเภอพร้าว
สบื เสาะหาหลายแหล่ง แตก่ ็ไม่พบองคห์ ลวงปู่ม่ัน จนรู้สกึ ออ่ นใจและหมดหวัง วนั รุ่งขน้ึ เวลาเช้ามดื
ทา่ นเหน็ องค์หลวงปมู่ ั่นสะพายบาตรและบริขารธดุ งค์เดนิ มาตามลำ� พังองค์เดียว ตรงมายงั สถานที่
ท่ีหลวงปู่พระมหาทองสุกพักปักกลดอยู่ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันและอัศจรรย์ย่ิง เหตุการณ์นี้
เกดิ ขน้ึ ในชว่ งปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ สถานทแ่ี หง่ หนงึ่ ใกลเ้ คยี งกบั ทต่ี งั้ วดั ดงปา่ ดะในปจั จบุ นั ซงึ่ ตงั้ อยทู่ ่ี
ต�ำบลปา่ ไหน่ อยูท่ างตอนเหนอื ของอำ� เภอพร้าว
เก่ียวกับค�ำสอนของหลวงปู่มั่น ท่ีปรากฏในประวัติของหลวงปู่พระมหาทองสุก มดี ังน้ี
ตอนมาอยู่องคเ์ ดยี วกบั ท่านพระอาจารย์มนั่ ทา่ นเรม่ิ สอนวชิ าปฏิบัตอิ ย่างจรงิ จัง ณ ทบี่ ้าน
ภจู องจอย (ในต�ำบลป่าไหน่ อ�ำเภอพรา้ ว) น้ี ท้ังพาน่งั สมาธแิ ละเดนิ จงกรม และส�ำรวจวิถจี ิต และ
ทา่ นก็แนะนำ� ถึงกรรมฐาน ๕ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนงั ใหพ้ จิ ารณาใหเ้ ห็นตามความเป็นจรงิ ด้วย
สามารถแหง่ สมาธิ และทา่ นแนะนำ� ตอ่ ไปวา่ การพดู น้ันเป็นของงา่ ยนิดเดียว แตก่ ารท�ำนั้นเป็นของ
ยาก เช่น พูดวา่ “ท�ำนา” เพียงเทา่ น้ี เราท�ำกันไมร่ ู้กี่ปี ไมร่ จู้ ักแลว้ (ไม่รูจ้ กั จบสนิ้ ) และปริยัติทเี่ รียน
มานน้ั ให้เกบ็ ไว้ให้หมดก่อน ใช้แต่การพจิ ารณาตามความเปน็ จริง เพอ่ื ให้เกิดความสงบอยา่ งจรงิ จงั
ทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ ทา่ นอธิบายต่อไปว่า สมาธิก็ดี มีค�ำวา่ ขณกิ สมาธิ อปุ จารสมาธิ
อัปปนาสมาธิ และมีค�ำวา่ วิตก วจิ าร ปตี ิ สขุ เอกคั คตา แตถ่ ้าเราจะให้ใจของเราเป็นฌาน เราจะ
นง่ั นึกวา่ น่วี ติ ก นี่วจิ าร น่ปี ีติ นี่สขุ นี่เอกัคคตา มันจะเป็นฌานขน้ึ มาไม่ได้ จึงจ�ำต้องละถอนสญั ญา
ภายนอกด้วยสามารถแห่งอ�ำนาจของสติ จงึ จะเป็นสมาธิ เป็นฌาน
เมอ่ื ทา่ นพระอาจารยม์ ่นั สอนแนวทางแหง่ วิธีปฏบิ ัตไิ ด้ ๒ วัน ทา่ นก็ส่งให้ไปอย่ใู นภเู ขาลึก
อยหู่ ่างจากแมโ่ กน๋ (อยู่ทางเหนือของวดั ดงป่าดะ) ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร และใหไ้ ปแตผ่ ้เู ดยี ว เพอ่ื
ใหท้ ำ� ความเพยี รอยา่ งเตม็ ที่ แล้วท่านพระอาจารยม์ ั่น ทา่ นก็อยูท่ ีแ่ มโ่ ก๋นน้นั เอง
การเดินทางไปภเู ขาน้นั เปน็ ห้วยลำ� ธารเดนิ เลาะลดั ไป เปน็ ทางท่ีลำ� บากมาก แตก่ เ็ ป็นเรอื่ ง
ของความเตม็ ใจ ความล�ำบากนน้ั กเ็ ปน็ ส่งิ ธรรมดาไป คร้ันถงึ วันอุโบสถ ตอ้ งมารวมกันทจ่ี ุดหมาย
คราวน้ีก็เอาบ้านแม่โก๋น เป็นจุดนัดหมายประชุมกัน การประชุมท�ำอุโบสถนั้น นอกจากจะท�ำ
สงั ฆกรรมแลว้ ทา่ นพระอาจารยม์ ั่นก็ใหโ้ อวาทต่างๆ เทา่ ท่จี ะแนะนำ� อบุ ายสอน และไต่ถามถงึ การ
ปฏิบตั ิทีผ่ า่ นมาว่า องค์ไหนเปน็ อยา่ งไร ได้ผลอยา่ งไร จะตอ้ งแกไ้ ขกันอย่างไร เปน็ การทดสอบการ
ปฏบิ ัตไิ ปในตวั
131
อุโบสถนี้มี ๕ องค์ ท่านพระอาจารย์ใหญ่ (มน่ั ) ทา่ นอาจารย์สารณ์ ท่านอาจารย์ขาว
เรา (หลวงปพู่ ระมหาทองสกุ ) และทา่ นมนู
หลงั จากลงอุโบสถนีแ้ ล้ว ทา่ นพระอาจารย์มัน่ กอ็ อกจากบา้ นนี้ไปอยูท่ บี่ า้ นแม่งัด มบี ้านรา้ ง
อยู่ ๑ หลัง คนแถวๆ นั้นมีอาชีพขุดเหมือง เศรษฐีเขาเอาน�้ำไปจากแม่โก๋น และแม่งัด ส�ำหรับ
ท�ำเหมอื ง เปน็ อันวา่ ปีนไี้ ด้จำ� พรรษากับท่านพระอาจารยม์ ัน่ ณ ที่นี้ดว้ ยกัน ๕ องค์
หลังจากจ�ำพรรษาท่ีแม่โก๋นน้ันแล้ว ออกพรรษาท่านก็ให้ไปทิศละองค์ เพ่ือแสวงหาท่ีท�ำ
ความเพียร ต่างดัน้ ดน้ ไปตามภูเขา ปา่ ใหญ่ อยแู่ หง่ ละ ๕ คนื บ้าง ๑๐ คืนบา้ ง เมือ่ เห็นว่าทไี่ หนจะ
สงบวิเวกดกี ็อยนู่ านหน่อย ถา้ เหน็ ว่าจะเป็นการกงั วลดว้ ยผูค้ น กลวั จะเนน่ิ ชา้ ในการทำ� ความเพยี ร
ก็รีบเดนิ ทางต่อไป
ท่านพระอาจารย์มน่ั ฝังใจมากและพดู เสมอวา่ “มหาทองสุกเปน็ คู่ทุกข์คู่ยากกนั ” เพราะ
ทา่ นเคยจูงท่านพระอาจารยม์ ัน่ หนไี ฟปา่ ออกมา มิฉะนัน้ อาจถูกไฟคลอกตายได้ จงึ เปน็ คทู่ กุ ขค์ ู่ยาก
ท่านเผชิญหน้ากับหมีใหญ่
เร่อื งเผชิญหน้ากบั หมีใหญ่ เป็นอีกหนึง่ ประสบการณ์ธุดงคท์ างภาคเหนือของหลวงป่พู รหม
จิรปุญโฺ ในขณะทท่ี า่ นสรงน�้ำ ทา่ นไดพ้ บหมีใหญใ่ นภเู ขาจงั หวัดเชียงใหม่ แล้วเกดิ ความกลัวตาย
ขึน้ มา สนั นิษฐานวา่ เป็นท่ีส�ำนักสงฆ์ป่าเมยี่ งแม่สาย เพราะมีสภาพดงั ที่องค์หลวงตาฯ เขียนไว้ใน
หนังสือปฏิปทาฯ คือ เวลาสรงน้�ำต้องเดินลงไปท่ีตีนเขา และครูบาอาจารย์เล่ากันว่า สมัยน้ัน
สัตว์ปา่ ยงั ชุกชมุ เชน่ เสอื ช้าง หมี เกง้ งู ลงิ ชะนี นก ฯลฯ โดยเฉพาะหมียงั มมี ากเพราะไมถ่ ูกล่า
และในช่วงเวลาน้ันหลวงปู่พรหมท่านเพ่ิงพบหลวงปู่มั่นใหม่ๆ ท่านยังไม่บรรลุธรรม ท่านย่อมมี
ความกลัวตายเป็นธรรมดา ซ่ึงต่อมาท่านได้เมตตาเล่าความขี้ขลาดไม่เป็นท่าในเร่ืองนี้ของท่านให้
องคห์ ลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนโฺ น ฟัง โดยหนังสอื ปฏปิ ทาของพระธดุ งคกรรมฐานสายท่าน
พระอาจารยม์ ่นั ภูริทตั ตเถระ ได้บนั ทกึ เหตุการณต์ อนน้ไี ว้ดังนี้
“คราวท่าน (หลวงป่พู รหม) พักอยใู่ นภูเขา จังหวดั เชียงใหม่น้ัน ท่านวา่ เปน็ เร่อื งธรรมดา
ไม่ตดิ ใจในเหตกุ ารณ์ คอื ตอนเยน็ ราวบา่ ยห้าโมง ท่านลงไปสรงนำ้� ในคลองลกึ ทอ่ี ยูต่ นี เขา แตเ่ ฉพาะ
เย็นวนั น้ัน พอท่านเดินลงไปตามคลองแคบและลึกชนั มาก ท่านกโ็ ผล่ออกไป เจา้ หมีใหญ่ตัวหนง่ึ
ออกมาจะ๊ เอ๋กันจงั ๆ พอดี
ขณะทต่ี า่ งคนตา่ งเจอกนั อยา่ งจังๆ ไมม่ ที างหลบหลกี เจ้าหมีใหญ่ตกใจกลัว กระโดดขนึ้ ฝัง่
คลองชันๆ แล้วตกลงมา กระโดดขน้ึ ตกลงมา ตกลงมา และพยายามโดดขึน้ – ตกลงอยู่ถงึ สี่หา้ คร้ัง
ก็ไม่ส�ำเรจ็ จึงได้สติ วง่ิ กลบั คืนทางเกา่ แล้วหายไป
132
ส่วนทา่ นเอง ขณะน้นั จะวา่ กลวั กพ็ ูดไม่ถูก จะวา่ ไม่กลวั กผ็ ดิ ถนดั เพราะท้ังสองฝ่ายต่าง
ตกตะลึงงงงันจนไม่มสี ติรงั้ ใจดว้ ยกนั ตลอดจนแสดงตอ่ เหตกุ ารณ์ของทงั้ สองฝ่ายในขณะนั้นบง่ บอก
ความกลวั ตายชดั เจนไม่สงสัย คือฝา่ ยหมี กก็ ระโดดปีนข้ึนฝ่ังและปีนป่ายด้วยความกลวั เต็มประดา
และฝ่ายท่านก็ยืนย�่ำเท้าอยู่บริเวณนั้น จนพ้ืนที่ท่ีเหยียบย่�ำเหลวแหลกเป็นตมเป็นโคลนไปหมด
ราวกับเขาขย�ำดนิ เหนียวปัน้ อิฐหรอื ทำ� ภาชนะดนิ ฉะนน้ั พรอ้ มกับพูดหลุดปากออกมาโดยไมร่ สู้ กึ ตัว
ว่า เอ้า ! เอา้ ! เอ้า ! ไมห่ ยดุ ปาก
พอหมีใหญ่ตัวน่ารักน่าสงสารถึงใจว่ิงหนีไปแล้ว ท่านว่า ท่านเลยเดินกลับที่พักด้วยความ
ขบขนั และสงสารหมใี หญแ่ สนรูแ้ สนดีน้นั เป็นกำ� ลัง ทา่ นเองไม่ทราบวา่ เหงอ่ื หรือยางตายออกมา
เวลานั้นเปยี กมหาเปียกย่งิ กว่าลงอาบน�ำ้ เป็นไหนๆ ท่านวา่ ท่ที ่านไมเ่ ดินเลยไปสรงน้�ำแอ่งหินทเ่ี คย
สรงน�้ำ ทา่ นคิดวา่ บางทีหมีใหญ่ตวั น้ันมันโดดและวิ่งเสียจนอ่อนเพลยี แลว้ อาจไปลงนอนแช่นำ�้ ใน
แอ่งหนิ นนั้ เพอ่ื บรรเทากไ็ ด้ เผ่อื ไปเจอกันเขา้ อกี กลวั เหตุการณจ์ ะไมเ่ ปน็ ดงั ทเ่ี คยเปน็ มาแล้ว
วนั ตอ่ ไป ทา่ นจงึ ไปสรงน้ำ� ท่นี ่นั ขณะเดนิ ไปถงึ ทีท่ ีห่ มกี บั คนจะ๊ เอ๋กัน จึงได้มีโอกาสตรวจดู
สภาพของความกลัวตายประจ�ำสัตว์โลก พอดูแล้ว ท่านว่าท่านอดหัวเราะออกมาคนเดียวไม่ได้
เพราะดูรอยหมีโดดปีนฝั่งคลองกับรอยท่านย่�ำเท้าไปมานั้น ราวกับรอยหมี ๑๐ ตัว และรอย
พระกรรมฐาน ๑๐ องค์เลน่ กีฬากนั บริเวณนั้นแหลกเปน็ ตมเปน็ โคลนไปหมดไมม่ ชี นิ้ ดเี ลย ดแู ล้ว
ทำ� ใหห้ วาดเสยี ว และสงสารหมีเป็นอารมณเ์ คร่ืองระลกึ เตอื นใจอยู่ จนกระทง่ั วนั ท่านจากไป เพราะ
ขณะทพ่ี ักอยู่ ท่านลงไปสรงน�้ำทุกวนั และเหน็ รอยคนและสัตว์แสดงความกลวั ตายทุกวัน
ตามธรรมชาติสัตว์พรรค์น้ีโดยมากเม่ือเจอกันซ่ึงๆ หน้า มันมักจะโดดมาตะปบและกัดคน
ใหเ้ จ็บและเสยี ท่ากอ่ น แล้วจึงจะโดดหนไี ป การเจอคนระหวา่ งหมกี ับเสือ หมรี า้ ยกวา่ เสอื ต้องกดั
คนก่อนแล้วจึงจะโดดหนีไป เสือ ถ้าถกู ยิงเจบ็ ร้ายกวา่ หมี ฉะนนั้ ท่านจงึ นึกหวาดกลวั ในเหตกุ ารณ์
อยไู่ มว่ าย แม้ไม่เปน็ อนั ตราย”
เหตุการณ์ที่ส�ำนักสงฆ์ป่าเมี่ยงแม่สาย
หลวงป่พู รหม จริ ปญุ โฺ เมอื่ ทา่ นพักปฏบิ ัติธรรมกบั หลวงปู่ม่นั ทสี่ �ำนกั สงฆ์ปา่ เมี่ยงแมส่ าย
มีเหตกุ ารณ์สำ� คญั ทีค่ รบู าอาจารยท์ า่ นเล่าสบื ต่อๆ กันมาดังนี้
เรอ่ื งแรก เร่อื งหลวงปมู่ ่ันกล่าวชมหลวงปูพ่ รหมต่อหน้าบรรดาพระศษิ ย์ ดว้ ยหลวงปพู่ รหม
ท่านมีความปรารถนาอย่างสูงยิ่งในการบ�ำเพ็ญธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ และท่านมีความพากเพียร
เป็นเลศิ เชน่ เดียวกับบรรดาครูบาอาจารยพ์ ระศษิ ยห์ ลวงปู่มัน่ ทั้งหลาย กอปรกับวาสนาบารมที ีท่ ่าน
บ�ำเพ็ญส่ังสมมาด้วยดีแล้วในอดีตชาติ ดังนั้น เมื่อท่านถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ม่ันที่ส�ำนักสงฆ์
133
ป่าเมี่ยงแม่สายแล้ว ขณะน้ันท่านบวชได้ ๗ พรรษา ท่านได้เร่งความเพียรอย่างเต็มท่ี ผลการ
ปฏิบัตธิ รรมของทา่ นจงึ ก้าวหนา้ กว่าหมู่คณะ จนครง้ั หนงึ่ ขณะอย่ทู ่ามกลางสงฆ์ หลวงปู่ม่ันท่านได้
กล่าวชมท่านเปน็ ครั้งแรก มใี จความประมาณวา่ “ทา่ นพรหมภาวนาได้ผลดี” ท�ำใหห้ ลวงปพู่ รหม
เกิดกำ� ลังใจในการปฏบิ ตั ิธรรมเป็นอนั มาก
เรื่องที่สอง หลวงปู่มั่นมอบให้หลวงปู่พรหมปราบพญานาค ด้วยบริเวณท่ีต้ังส�ำนักสงฆ์
ป่าเมี่ยงแมส่ ายในอดีตมีสภาพเปน็ ปา่ เป็นดง เปน็ ป่าต้นน�ำ้ มีลำ� ธารไหลผา่ นจากยอดเขามาสพู่ ื้นล่าง
ตลอดปี สถานท่ีน้ีเปน็ ทห่ี า่ งไกลและเรน้ ลับ ชาวบา้ นทีม่ าบกุ เบิกต้ังถ่ินฐานก็นับถอื ผีกันท้ังหมูบ่ ้าน
นอกจากสถานที่นจ้ี ะมีเสอื ช้าง ชุกชมุ แลว้ ยังมพี วกผี พวกวญิ ญาณ และกายทิพย์ ซ่งึ ชาวบ้าน
ต่างเกรงกลัวฤทธิ์เดชผีกันมาก ต้องต้ังเครื่องเซ่นบวงสรวงเป็นประจ�ำทุกปีจนกลายเป็นประเพณี
เมื่อหลวงปู่ม่ันและพระศิษย์ธุดงค์มาปฏิบัติธรรม นอกจากท่านจะสั่งสอนจนชาวบ้านเลิกนับถือผี
หนั มานับถอื พระรตั นตรัยแลว้ ท่านยังมาพบพญานาคมจิ ฉาทฐิ ิท่ีนี่
ประสบการณ์เรื่องพญานาคของพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ทเ่ี ดินธดุ งค์
ภาวนามาทางภาคเหนือ มีครูบาอาจารย์หลายองค์ด้วยกันผจญกับพญานาคตามสถานที่ต่างๆ
ด้วยกันหลายแห่ง สถานทพี่ บพญานาคจะพบตามป่าเขาท่ีมีแหล่งน�้ำ ซง่ึ ในอดตี ลว้ นมสี ภาพเป็นปา่
เป็นดงมีต้นไมใ้ หญข่ ึ้นปกคลุมหนาแนน่ บรรยากาศเป็นธรรมชาติทเี่ งียบสงบ มีแตเ่ สยี งนกร้องและ
เสยี งแมลง อากาศบริสุทธิ์ ไมค่ ่อยมบี า้ นเรือนผคู้ นเหมือนอย่างสมยั ปัจจบุ นั
ประสบการณพ์ ญานาคทางภาคเหนอื เริ่มต้งั แตก่ รณีของหลวงปู่มนั่ ภรู ิทตโฺ ต เปน็ องคแ์ รก
มีพญานาคมิจฉาทิฐิที่ถ�้ำเชียงดาวมาเฝ้าจับผิดและคอยจ้องต�ำหนิท่าน ท่านพยายามสั่งสอนแก้ไข
ใหพ้ ญานาคตนนนั้ แตพ่ ญานาคเองกลบั ไม่อาจแกม้ จิ ฉาทิฐิของตนเองได้ ทา่ นจึงธุดงคจ์ ากไปทอ่ี ืน่
กรณขี องหลวงปชู่ อบ านสโม มีพญานาคสมั มาทฐิ แิ ปลงรา่ งเป็นมนษุ ย์ขน้ึ จากสระน�้ำมาใส่บาตร
ทา่ นทีเ่ สนาสนะป่าห้วยนำ�้ รนิ กรณีของหลวงปู่ตือ้ อจลธมฺโม มีพญานาคมาทำ� ใหน้ ้�ำในหนองน้�ำ
ออกสีแดงและเหม็นคลุ้งเหมือนน�้ำล้างเนื้อท่ีบริเวณน้�ำตกแม่กลาง ดอยอินทนนท์ จนหลวงปู่ตื้อ
ท่านเทศนส์ อนอบรมพญานาค จนพญานาคมายนิ ยอมต่อคำ� สอนและนำ้� กก็ ลับมาใสเหมอื นเดิม
ส�ำหรับท่ีเสนาสนะป่าเม่ียงแม่สายก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ อยู่
ปฏบิ ัตธิ รรมกบั หลวงป่มู น่ั มพี ญานาคมาแกล้งเล่นนำ้� ในลำ� ธารทีค่ รบู าอาจารยท์ า่ นใช้สรง ใชซ้ กั ผา้
ใชฉ้ นั อยู่เปน็ ประจ�ำ ซง่ึ น้ำ� ในลำ� ธารแห่งนีเ้ ปน็ น�้ำธรรมชาติท่ีใสเย็นนา่ ใช้ นา่ ฉนั แต่วนั ดีคืนดนี ำ้� น้ัน
กลับมาขุ่นอย่างไม่มีสาเหตุ เป็นเช่นนี้อยู่หลายวัน หลวงปู่มั่นท่านได้พิจารณาแล้วมีพญานาค
มาแกล้งเล่นน้�ำจนท�ำให้น�้ำขุ่น ท่านจึงมอบหมายให้หลวงปู่พรหมไปแก้ไข หลวงปู่พรหมท่าน
ก็ไปเทศนาธรรมโปรดจนพญานาคตนนนั้ ยอม และน้�ำท่ีข่นุ นัน้ กลบั มาใสเหมอื นเดิม
134
สาเหตุท่ีพญานาคมากลั่นแกล้งครูบาอาจารย์ท่ีไปธุดงค์บุกเบิกสถานที่ใหม่ๆ น้ัน เพราะ
ถือว่าตนมีอ�ำนาจและเป็นเจ้าของสถานที่นั้น พญานาคมีมิจฉาทิฐิและเข้าใจผิดในครูบาอาจารย์
เกรงวา่ ครบู าอาจารย์จะมาแยง่ สถานที่ มามีอำ� นาจเหนอื กวา่ ตน
สำ� หรบั เร่ืองปราบพญานาคมจิ ฉาทิฐิ ครูบาอาจารย์พระศิษยข์ องหลวงปมู่ ่นั บางองค์ท่านมี
ฤทธม์ิ ากสามารถปราบพญานาคได้ เช่น หลวงป่ตู ื้อ หลวงปู่ชอบ แต่หลวงปู่ม่ันท่านกลับไม่อนญุ าต
ให้พระศษิ ย์ใชฤ้ ทธ์ปิ ราบ เพราะแมป้ ราบได้ในเวลาไม่นาน แต่ก็ไดผ้ ลเพียงชว่ั คราวเท่านัน้ และยง่ิ
ผกู ใจเปน็ ศัตรมู ากย่ิงขน้ึ ทา่ นจงึ ใช้ธรรมปราบ ซงึ่ ตอ้ งใช้เวลานาน แต่ไดผ้ ลดีและถาวรกว่า ทัง้ ได้
เปลยี่ นจากศัตรูเปน็ มิตร ท่านใช้ความเมตตาธรรมตามอริยประเพณขี องพระอรยิ สงฆ์สาวกทัง้ หลาย
สมกับท่ีท่านเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส โดยการสวดมนต์ หลวงปู่มั่นท่านพาพระศิษย์สวดมนต์
บทขันธปริตรสูตร หรือที่รู้จักกันในนามบทสวดมนต์วิรูปักเขฯ ซึ่งเป็นบทสวดมนต์แผ่เมตตาและ
เจริญไมตรีเป็นมิตรกับพญานาคทุกตระกูลหมู่เหล่า ตลอดจนสัตว์อสรพิษท้ังหลาย และโดยการ
เทศนาธรรมอบรมส่งั สอนให้พญานาคมจิ ฉาทฐิ ยิ อมรับในธรรมจนกลายเปน็ พญานาคสัมมาทฐิ ิ และ
ยอมเคารพนบั ถอื ในครูบาอาจารย์ เช่น ทา่ นสอนใหร้ กั ษาศลี ๕ ไม่ใหเ้ บยี ดเบียนกัน สอนให้เจรญิ
พรหมวหิ ารธรรม เปน็ ตน้
พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๔๗๙ จ�ำพรรษาท่ีส�ำนักสงฆ์ป่าเมี่ยงแม่สาย
หลวงปู่พรหม จิรปญุ โฺ ทา่ นจำ� พรรษาอยู่ท่ีสำ� นักสงฆ์ป่าเมี่ยงแมส่ าย ต�ำบลโหลง่ ขอด
นานถึง ๓ พรรษา เป็นทจี่ �ำพรรษานานที่สดุ ในภาคเหนอื ครง้ั แรกปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ตอนพบหลวงปู่
มั่น ภูริทตโฺ ต ครง้ั แรกทา่ นจำ� อยู่ ๑ พรรษา และคร้ังหลงั ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๔๗๙ ทา่ นจำ� อยู่
๒ พรรษาติดต่อกัน เพราะตามปฏิปทาหลวงปู่พรหมท่านจะถือปฏิปทาอยู่สถานที่ใดไม่เกิน ๓
พรรษา โดยชว่ งนมี้ เี หตุการณ์สำ� คญั และเรื่องเลา่ ต่อๆ กนั มา ดังน้ี
หลวงปพู่ รหม ท่านไปนง่ั สมาธภิ าวนาบนพลาญหนิ ก้อนใหญ่ซึง่ เปน็ หนา้ ผา โดยดา้ นบนมี
หินก้อนใหญ่ยื่นออกมาเป็นหลังคาธรรมชาติกันแดดกันฝนได้ และบริเวณโดยรอบมีต้นไม้ใหญ่
ขึ้นหนาแน่นปกคลมุ สามารถผกู กลดกางมุ้งนั่งสมาธิภาวนาและใช้เปน็ ทีพ่ ักจำ� วดั ได้ เปน็ สถานที่
เงียบสงัดและสัปปายะมาก ซ่ึงสถานท่ีนี้มีระยะทางห่างจากศาลาอเนกประสงค์ประมาณ ๒๐๐
เมตร โดยเดินไตข่ ้นึ ไปตามทางไหล่เขาแคบๆ และจะต้องข้ามผา่ นล�ำธารทีม่ ีน้ำ� ไหลลงมาจากเขาอยู่
๒ – ๓ สาย จงึ จะถึงพลาญหินกอ้ นน้ี กลา่ วกนั ว่า หลวงปพู่ รหมทา่ นชอบมานั่งภาวนาทีพ่ ลาญหิน
ก้อนนี้เป็นประจ�ำ
135
หลวงปพู่ รหม ทา่ นมฝี มี อื แกะสลกั พระพทุ ธรปู เมอื่ ทา่ นพกั ปฏบิ ตั ธิ รรมทสี่ ำ� นกั สงฆป์ า่ เมยี่ ง
แม่สาย ท่านได้แกะสลักพระพุทธรูปขึ้นองค์หน่ึงพร้อมด้วยฐานพระ เป็นปางมารวิชัย มีขนาด
หนา้ ตักกวา้ งประมาณ ๙ นิ้ว โดยนำ� ไมแ้ ก่นขนุนมาแกะสลกั พระพทุ ธรปู องค์นป้ี จั จบุ นั ประดษิ ฐาน
ณ ศาลาอเนกประสงค์ สำ� นกั สงฆป์ า่ เมีย่ งแมส่ าย
ท่านช่วยหลวงปู่ขาวซ่อมพระพุทธรูป
เน่ืองจากหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านมีฝีมือในทางช่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปั้น
พระพุทธรูป จึงได้รับการร้องขอจากหลวงปู่ขาว อนาลโย ให้ท่านช่วยปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปที่
ชำ� รดุ เสียหายอีกครงั้ และเปน็ คนละองคก์ บั ทว่ี ดั พระเจ้าทองทิพย์ ซึง่ หลวงป่ขู าวทา่ นธุดงดไ์ ปพบ
พระพทุ ธรูปที่ช�ำรดุ ท่านอญั เชิญมาซอ่ มแซม ณ บริเวณบ้านท่งุ แดง ตำ� บลโหล่งขอด อ�ำเภอพร้าว
ดังน้ี
“อีกตอนหนึ่ง ทา่ นอาจารย์ขาว ได้ใหโ้ ยมน�ำพระพทุ ธรปู ทอง ซึ่งถกู พวกพาลชนท�ำลาย
พระเศยี ร แขนขากไ็ มม่ ี ถกู ตดั ไปหมด ยงั เหลอื แตแ่ กนกลางองค์ท�ำเป็นเกลยี วต่อกันไว้ ท่านจะ
ไปไหนก็คิดถึงมิได้วาย เมือ่ เอาลงจากดอยแลว้ ปรารภจะหาช่างมาตอ่ พระเศยี ร แขน ขา ใหเ้ ป็น
องค์พระท่สี มบูรณข์ ้ึนมา โยมผ้มู ีศรทั ธารับอาสาจัดหาเครอ่ื งอปุ กรณ์ เชน่ เหล็ก ปูน ทรายมาให้
แตย่ งั ขาดช่างผ้สู ามารถท�ำได้ ยงั นึกไม่เหน็ ใคร เหน็ แตท่ า่ นอาจารยพ์ รหมเทา่ นั้น พอจะมฝี ีมอื
ท�ำไดบ้ า้ งกระมงั
ขณะน้นั ทา่ นอาจารยพ์ รหม พักอยูท่ ่ปี ่าเมยี่ งแมส่ าย ท่านอาจารย์ขาว จึงไปหาท่านดว้ ย
ตนเอง เม่อื ไปถึงแลว้ ได้เล่าเรื่องราวให้ท่านอาจารย์พรหมฟงั เสร็จแลว้ ได้ถามตอ่ ไปวา่ พอจะบรู ณะ
ซอ่ มแซมใหด้ ีขึน้ ได้หรอื ไม่ ?
หลวงปู่พรหม กไ็ ด้รับตอบในทันทวี า่ ไม่ยาก ขอแตใ่ ห้มเี ครอ่ื งอปุ กรณ์ คอื ปูนซเี มนต์เท่าน้นั
กท็ �ำได้ จากนั้นท่านอาจารยท์ ้ังสองกไ็ ดต้ ดิ ตามกนั มา จนถึงตำ� บลโหล่งขอด ท่ไี ดเ้ อาพระพุทธรูป
มาไวก้ อ่ นแล้ว พอมาถงึ ได้เคร่ืองอปุ กรณเ์ พยี งพอ ท่านก็ลงมอื ทำ� ทนั ทีจนเป็นทีเ่ รยี บร้อย สมควรแก่
การกราบไหวส้ ักการบูชาของพระพุทธศาสนกิ ชนทว่ั ไป”
ปจั จบุ นั องคพ์ ระท่ีซอ่ มแซมถูกท�ำลายเหลือเพยี งซากปรกั หกั พัง
136
ภาค ๘ ท่านจ�ำพรรษากับหลวงปู่ม่ันคร้ังแรก
ท่านกราบเรียนถามหลวงปู่ม่ันไปอยู่อย่างนี้ท�ำไม ?
เร่ืองความทุกข์ยากล�ำบากของพระธุดงคกรรมฐานมีมาแต่คร้ังพุทธกาล กรณีในสมัยครั้ง
พุทธกาล องคส์ มเดจ็ พระสัมมาสัมพทุ ธเจ้าและพระสงฆส์ าวกเคยรบั ค�ำนมิ นต์จ�ำพรรษาท่เี วรญั ช–
พราหมณ์คาม แลว้ เวรญั ชพราหมณล์ ืมถวายอาหาร และชาวบา้ นเวรญั ชพราหมณ์คามทง้ั เมอื งก็
ถกู มารดลใจไมใ่ หใ้ ส่บาตร ท�ำใหพ้ ระองคท์ า่ นและพระสงฆ์สาวกตอ้ งเสวยและฉนั ขา้ วแดงทใ่ี ช้เลี้ยง
มา้ ตลอดพรรษา ซง่ึ ก็เปน็ เพราะผลกรรมในอดตี ชาตนิ ่นั เอง กรรมท่ีท�ำใหไ้ ด้เสวยขา้ วแดง พระผ้มู ี–
พระภาคเจ้า ตรสั แก่ภิกษุทง้ั หลายวา่
“เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลายในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ผุสสะ ว่าท่าน
ท้งั หลายจงเคีย้ ว จงกนิ แต่ขา้ วแดง อย่ากินขา้ วสาลเี ลย ดว้ ยวบิ ากกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นมิ นต์
แลว้ อยใู่ นเมอื งเวรญั ชา บริโภคขา้ วแดงตลอด ๓ เดอื น ในกาลนนั้ ”
กรณขี องหลวงปู่ม่ัน ภรู ิทตฺโต และพระศษิ ย์ก็เชน่ กนั กล่าวคอื สถานทท่ี า่ นอยู่จำ� พรรษา
ตามป่าตามเขาแถบทางภาคเหนอื ซงึ่ ถอื วา่ กันดารเปล่าเปลยี่ ว ความเปน็ อยกู่ ็อดอยากลำ� บากมาก
ท่ีสดุ เรื่องน้หี ลวงปพู่ รหมเลา่ ให้พระศษิ ยฟ์ งั วา่ “ครูอาจารย์มั่นเลา่ ว่า เมืองเหนอื เสาะหาภาวนา
ดีกวา่ เมอื งอสี าน หรือภาคกลาง เหตุเพราะวา่ ศาสนาของพระพทุ ธเจา้ ท้งั หลาย มาตั้งมาวางอยทู่ าง
เมอื งเหนอื นีม้ าหลายพระพุทธเจ้าแลว้ ”
ก่อนที่หลวงปพู่ รหม จริ ปญุ ฺโ จะไดอ้ ยู่จำ� พรรษากับหลวงปู่ม่นั ท่านไดเ้ ดินธุดงค์ไปกราบ
คารวะหลวงปมู่ นั่ ที่ปา่ เมีย่ งขนุ ปง๋ั ซ่งึ อยู่ทา่ มกลางปา่ เขา ใชเ้ วลาเดนิ ลดั ปา่ เขาจากปา่ เม่ียงแม่สาย
ไป ๔ – ๕ ชั่วโมง ท่านได้กราบเรยี นถามข้อสงสยั ในเร่อื งนี้ หลวงปู่มน่ั ก็ตอบวา่ “มาอยู่ใช้กรรม”
โดยครบู าอาจารยไ์ ด้เมตตาเลา่ เร่ืองน้ีไว้ดงั นี้
“หลวงปู่พรหม จิรปญุ ฺโ ได้ไปกราบหลวงปมู่ น่ั ขณะทที่ า่ นพักจ�ำพรรษาท่ปี ่าเม่ยี งขนุ ปั๋ง
ต�ำบลแม่ปั๋ง อ�ำเภอพรา้ ว จังหวัดเชียงใหม่
หลวงปูพ่ รหม หลวงปู่ขาว ทา่ นได้ผ่านแดนพ้นทุกขท์ ีโ่ หลง่ ขอด (ต�ำบลโหลง่ ขอด อ�ำเภอ
พร้าว จังหวัดเชียงใหม่) หลวงปู่ขาวเล่าว่า เวลาเดินจงกรมเหมือนกับมีเทวดาบังคับให้เดิน
ไม่เหนด็ เหนือ่ ย ไดท้ �ำความเพยี รอย่างจริงจัง เกดิ ปีติ หลวงปพู่ รหมกท็ ำ� นองนี้เหมอื นกนั
ขณะน้ันหลวงปมู่ นั่ ได้จ�ำพรรษาที่ป่าเมี่ยงขนุ ป๋ัง หลวงปู่พรหมไปกราบหลวงปู่มนั่ แลว้ ถาม
ว่า “ท่านอาจารย์ไปอยู่อย่างน้ที ำ� ไม ?”
137
หลวงปมู่ น่ั ตอบว่า “มาอยู่ใช้กรรม”
การอยู่ การฉนั ล�ำบากมากทีส่ ดุ การทำ� กระต๊อบกน็ ำ� ใบไมม้ าสานกันพอไดอ้ ย่.ู ..
หลวงปู่พรหม ท่านมศี รทั ธา ความเพียร แกก่ ล้ามาก เวลาท่านท�ำอะไร ท่านจะไมก่ ลัวตาย
มีนิสยั เดด็ ขาดมาก ยิง่ ไดม้ าพบและอย่ปู ฏิบตั ิธรรมใกลช้ ิดหลวงป่มู ั่น สมความปรารถนาแลว้ ท่าน
ถือว่าได้มาอย่ใู กล้ครบู าอาจารย์ผู้เลิศ แตกฉานในทางธรรม ท่านกย็ ิง่ มีก�ำลังใจที่จะเรง่ ความเพยี รใน
การปฏบิ ัตธิ รรมชนดิ มอบกายถวายชวี ิตเลยทีเดยี ว”
พ.ศ. ๒๔๘๐ จ�ำพรรษากับหลวงปู่ม่ันที่วัดพระธาตุจอมแจ้ง
การอยจู่ �ำพรรษาหรืออยรู่ ว่ มในส�ำนักหลวงป่มู ัน่ ภูรทิ ตฺโต น้นั เปน็ ที่ปรารถนาของบรรดา
พระศษิ ย์ท่ีออกธดุ งคต์ ดิ ตามทกุ องค์ ในระยะแรกหลวงป่มู น่ั ท่านชอบอยลู่ �ำพงั องค์เดยี ว ตอ่ มาท่าน
จึงเมตตาอนุญาตให้พระศิษยอ์ ยู่ร่วมจ�ำพรรษา กรณขี องหลวงปู่พรหม จริ ปญุ ฺโ กเ็ ช่นเดียวกนั
เม่ือท่านเข้ากราบหลวงปู่มนั่ ในครั้งแรกนนั้ ท่านกไ็ มไ่ ด้อยู่ร่วมจ�ำพรรษา จวบจนปี พ.ศ. ๒๔๘๐
ขณะทา่ นมีอายุ ๔๗ ปี พรรษา ๑๐ หลวงปู่มนั่ จงึ เมตตาอนญุ าตให้หลวงปู่พรหมติดตามเทีย่ วธดุ งค์
และอยรู่ ่วมจำ� พรรษา จากหนงั สือประวัตหิ ลวงปู่ชอบ านสโม บันทกึ ไว้ดังน้ี
“หน้าแล้งปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงป่มู น่ั ภูริทตโฺ ต พาลกู ศิษย์ออกฝึกเที่ยววเิ วกแถบปา่ เขาเขต
อำ� เภอพรา้ ว อำ� เภอเชยี งดาว จงั หวัดเชยี งใหม่ คร้ังน้ันมพี ระ เณร และตาผา้ ขาวติดตามองคท์ ่าน
หลวงปมู่ นั่ เที่ยววเิ วก ๔๐ กวา่ องค์ หลวงปูช่ อบ านสโม ท่านเป็นหน่งึ ในจำ� นวน ๔๐ กวา่ องค์
ที่ติดตามองค์ท่านหลวงปู่ม่ันไปเท่ียววิเวกในคร้ังนั้น เพ่ือนสหธรรมิกของท่านที่ติดตามองค์ท่าน
หลวงปู่มั่นเท่ยี ววิเวกครง้ั นั้นมหี ลวงป่ขู าว อนาลโย หลวงปูต่ ้อื อจลธมฺโม หลวงปู่แหวน สจุ ณิ ฺโณ
หลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ ฯลฯ”
จนใกลเ้ ขา้ พรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงปู่มน่ั ภูริทตโฺ ต ทา่ นไดย้ อ้ นกลับมาจำ� พรรษาที่
วัดพระธาตุจอมแจง้ อีกครั้ง มพี ระศิษย์มาจำ� พรรษาดว้ ยหลายองค์ รวมทง้ั หลวงป่พู รหม จริ ปุญโฺ
วัดแห่งน้ีต้ังอยูบ่ นดอยจอมแจง้ ในเขตอำ� เภอแมส่ รวย จังหวดั เชยี งราย เดมิ เปน็ วดั รา้ งท่ีหา่ งไกลจาก
บ้านเรอื นผคู้ น มศี าสนวัตถชุ นิ้ สำ� คญั คอื พระธาตุจอมแจ้ง บรเิ วณดอยและโดยรอบมีต้นไม้ใหญ่ขึน้
ปกคลุมหนาแน่น อากาศเยน็ สบาย เป็นท่ีสปั ปายะเงยี บสงดั เหมาะกับการบ�ำเพญ็ ภาวนา โดยในปี
พ.ศ. ๒๔๗๘ หลวงปู่มน่ั ท่านออกเดินธุดงค์มาพบและไดพ้ ักจ�ำพรรษาเปน็ คร้งั แรกในปนี ัน้
การอยูร่ ว่ มจำ� พรรษากบั หลวงปู่มนั่ ภูริทตโฺ ต พระอาจารย์ใหญ่ ที่วัดพระธาตจุ อมแจง้ ของ
หลวงปู่พรหม จริ ปุญฺโ นบั เป็นครั้งแรก นับว่าสมดังใจปรารถนาของทา่ นที่ต้องรอคอยอยู่นาน
หลายปี ดังนนั้ ในพรรษานี้ หลวงปูพ่ รหมท่านเกดิ กำ� ลงั ใจอย่างมากท่ไี ด้อยู่รว่ มกับหลวงปู่มัน่ ผ้เู ปน็
138
ครูบาอาจารย์องค์เลิศเลอและแตกฉานในทางธรรมปฏิบัติ ท่านมีความมั่นใจจะปฏิบัติธรรมแบบ
อุกฤษฏ์เต็มที่ แบบยอมมอบกายถวายชีวิตตามที่ท่านได้ตั้งใจไว้ เพราะท่านได้ปฏิบัติธรรมตามท่ี
หลวงปู่มน่ั ไดเ้ มตตาแนะนำ� ไวจ้ นบังเกดิ ผลแล้ว คือ จิตของท่านก็แก่กลา้ กว่าแตก่ อ่ น สมาธธิ รรม
ของท่านกห็ นาแนน่ มัน่ คง และการไดอ้ ยู่รว่ มจ�ำพรรษาปฏบิ ัติธรรมและได้อย่อู ุปัฏฐากรบั ใช้หลวงปู่
ม่ันอย่างใกล้ชิดน้ัน หาโอกาสได้ยากมากและก็ได้อานิสงส์มาก หลวงปู่ม่ันจะคอยเมตตาอบรม
ดูแล คอยแก้ไขเรือ่ งจิต วถิ ีจิต ทง้ั คอยตักเตอื นแนะน�ำและแก้ไขใหพ้ ระศิษย์เมื่อเกิดข้อผดิ พลาดได้
ทันท่วงที และท่ีสำ� คญั คอยสง่ เสรมิ สนับสนนุ โดยการเทศน์ โดยการถามศิษย์ และโดยการตอบแก้
ปญั หาธรรม พร้อมทั้งให้อบุ ายธรรมแกพ่ ระศษิ ย์ เพือ่ ให้พระศิษยเ์ กดิ ความกา้ วหนา้ ในธรรมปฏิบตั ิ
อย่างรวดเรว็ นนั่ เอง
ในพรรษานี้ มหี มคู่ ณะพักจำ� พรรษาอยดู่ ว้ ยกัน ๖ องค์ ได้แก่ ๑. หลวงปมู่ ั่น ภรู ิทตโฺ ต
๒. หลวงปูข่ าว อนาลโย ๓. หลวงปู่พรหม จริ ปญุ โฺ ๔. พระอาจารยม์ นู ๕. พระอาจารยค์ �ำ
๖. หลวงป่พู ระมหาทองสกุ สุจติ โฺ ต (พระครอู ุดมธรรมคณุ )
หลวงปู่อำ่� ธมมฺ กาโม วัดป่าเขาเขยี ว อ�ำเภอเนินมะปราง จังหวดั พษิ ณุโลก ศษิ ย์อาวโุ ส
ใกล้ชดิ องคห์ นึง่ ของหลวงปู่พรหม ได้เมตตาเลา่ เรื่องนีไ้ วว้ า่
“ในพรรษานี้ หลวงปพู่ รหม ได้ประกอบความเพยี รมาก ถอื เพยี งอิรยิ าบถ ๓ คอื ยืน เดิน
และนั่ง ไม่ถืออิริยาบถนอนตลอดไตรมาสสามเดือน ส่วนมากท่านถือการเดินจงกรมเป็นกิจวัตร
ประจำ� วัน ท่านมีความเพียรมาก เวลาเข้าพรรษา ท่านเดนิ จงกรม ดนิ ลึกลงไป ๓ นว้ิ โปง้ ไมน่ อน
๓ เดอื น บรรลถุ ึงพระอนาคาม”ี
ครูบาอาจารย์ผู้เป็นศิษย์บอกเล่าต่อกันมาว่า หลวงปู่พรหมท่านเร่งท�ำความเพียรอย่าง
เต็มที่ ถอื เป็นภาคปฏบิ ตั ิธรรมหกั โหมข้ันอุกฤษฏก์ ็ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ น้เี อง เวลาเดนิ จงกรมมี
ความร้สู กึ วา่ ตวั ลอยไปเรือ่ ย คลา้ ยกับเท้าไม่แตะพน้ื ร้สู ึกตวั เบา การเดินจงกรมแต่ละคร้ังนบั เป็น
เวลานานหลายๆ ชว่ั โมง ทา่ นก็ไม่รู้สกึ เหน็ดเหน่ือยเมอ่ื ยล้าและไมเ่ บือ่ หนา่ ย
ด้วยความพยายามดังที่กล่าวมานี้ เม่ือออกพรรษาท่านจึงได้รับค�ำชมเชยจากหลวงปู่ม่ัน
ต่อหน้าเพ่ือนพระด้วยกันว่า “ท่านพรหมเป็นผู้ที่มีความพากเพียรสูงย่ิง มีความต้ังใจแน่วแน่
ได้ประพฤติปฏบิ ตั ิธรรมอย่างเคร่งครดั ท่ีสุด เป็นตวั อย่างทด่ี ีแก่พระภกิ ษทุ ้ังหลาย ควรเอาเป็น
เยี่ยงอยา่ ง”
เมอื่ ออกพรรษาแล้วทั้งหลวงป่มู ่นั และพระศิษย์ ตา่ งกแ็ ยกย้ายกันไปเทีย่ วธุดงคห์ าวเิ วกใน
ถิ่นตา่ งๆ ตามความสนใจของแตล่ ะองค์
139
การบรรลธุ รรมข้นั อนาคามี คอื การละสงั โยชน์เบอื้ งต่�ำได้ ๕ ขอ้ จากทัง้ หมด ๑๐ ข้อ ได้แก่
สกั กายทิฐิ วจิ ิกิจฉา สลี พั พตปรามาส กามราคะ และปฏฆิ ะ ความเพียรของหลวงปู่พรหม ในธรรม
ขน้ั นีเ้ ปน็ ความเพียรอตั โนมตั ิ โดยองคห์ ลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนฺโน ได้เมตตาเทศนเ์ รื่องนี้
ไวด้ งั นี้
“นก่ี ็คนหนงึ่ (คุณยายก้งั ) ฟังวา่ อัฐขิ องแกกลายเป็นพระธาตุ ยอมรับทนั ทเี รา เพราะจติ แก
เก่งอยู่แลว้ ตงั้ แต่หลวงปู่มน่ั ยังอยู่ แกเดินจงกรม เฒา่ แก่ขนาดน้ันไดเ้ อาไม้เท้านะ ลูกหลานมาเลา่
ให้ฟัง อู๊ย ! ท�ำไมแกแกข่ นาดน้ันน่าจะนัง่ จะอะไรอยู่ ไมย่ อมนง่ั นะ กลางว่กี ลางวนั กต็ าม กลางคนื
กต็ าม แกจะมีไมเ้ ท้าเดินสกั เทา้ เดินจงกรมบนกฏุ แิ ก แกไมส่ นใจกับใคร ทัง้ วนั ทั้งคืนแกจะทำ�
ของแกอยอู่ ย่างนนั้ นน่ั หมายถงึ ว่า จิตแกเป็นอัตโนมัติ มนั หมนุ ตว้ิ ๆ ทีจ่ ะพุ่งแลว้ นะ มันจะพุ่งแลว้
เพราะฉะน้ันความเพียรจึงรอไม่ได้ ความเพียรมีทุกอิริยาบถ แม้นอนอยู่ก็มี เว้นแต่ขณะหลับ
นเ่ี รยี กวา่ ความเพยี รเปน็ อตั โนมัติ หมนุ ตัวไปเอง หมุนไปเองเรือ่ ย
ความเพียรประเภทนีจ้ ะเป็นต้งั แตข่ ้ันอนาคามไี ป ข้นั พระอนาคามเี ริ่มความเพยี รเป็น
อตั โนมัติ แลว้ เร็วเขา้ ๆ ละเอียดเข้าเรอื่ ยๆ จนพุ่งถงึ นิพพาน
นลี่ ะ่ ธรรมะพระพุทธเจา้ ทส่ี อนว่ายงั ไง ให้เปน็ กบั ผ้ขู นึ้ เวทซี จิ ะค้านท่านได้ยงั ไง จึงวา่ ธรรมะ
สดๆ รอ้ นๆ สวากขาตธรรม ตรสั ไวช้ อบแล้ว พระองค์ตรสั ไว้ยังไง พอข้ึนเวทรี ับกันป๊ับ มนั เขา้ กัน
ได้ทนั ทๆี ยอมรบั ๆ ของอนั เดียวกนั ดงั ท่ีเราพดู เมอ่ื วานน้วี า่ พระโสณะ เดินจงกรมจนฝา่ เท้าแตก
จะเอาอะไรไปวัด ใครจะไปคาด อยา่ งเราน้เี ราก็บอก เราไมเ่ ช่ือ อยๆู่ บังคับบญั ชาตวั เองให้เดนิ
จงกรมจนฝ่าเทา้ แตกนเี้ ป็นไปไมไ่ ด้ ลงแคน่ ัน้ ละ่ นะ ตอนเวลามาเปน็ ในตวั ของเราเองน่ี เดนิ จงกรม
จนฝา่ เทา้ แตกเปน็ ยังไง กเ็ คยเลา่ ให้ฟงั แล้วน่ันละ่ คือมนั หมนุ ตลอด ถา้ ลงได้ลงทางจงกรมลืมวนั
ลืมคนื ปเี ดอื น มีแต่กิเลสกบั ธรรมฟัดกันอยู่เป็นวงในตลอด ความเพียรตลอด นเ่ี รยี กว่า ความเพียร
อตั โนมัติ ขน้ั อนาคาฯ ความเพียรเป็นอัตโนมตั ิ ทา่ นเหล่าน้ีจะไมล่ ง ขน้ึ เร่อื ย”
พระธาตุจอมแจ้ง แม่สรวย
พระธาตุจอมแจ้ง ต้ังอยู่ทีเ่ ลขท่ี ๑ หมูท่ ี่ ๑๒ บ้านจอมแจ้ง ตำ� บลแมส่ รวย อ�ำเภอ
แมส่ รวย จังหวัดเชียงราย ปจั จบุ นั เปน็ วัดพระธาตจุ อมแจง้ สังกดั คณะสงฆ์มหานิกาย เปน็ วัดเกา่ แก่
มาแต่โบราณกาล ชาวบา้ นเรยี กวา่ “พระธาตจุ อมแจ้ง” เพราะมีพระธาตุอยูก่ อ่ นแล้ว เป็นสถานที่
อันศักดส์ิ ิทธ์ิ ชาวบ้านต่างเคารพบชู า เม่อื ถงึ ฤดกู าลท�ำนา ปีไหนฟ้าฝนไมอ่ ำ� นวย ชาวบ้านนยิ มน�ำ
ดอกไมธ้ ปู เทียนขึ้นมาบูชา อธิษฐานให้ฝนตก มักจะส�ำเร็จสมความปรารถนาของชาวบ้านสมยั นน้ั
140
จงึ มีการทำ� บญุ เป็นประเพณีในวันข้ึน ๑๕ คำ่� เดือน ๘ เหนือ (เดอื น ๖) เป็นประจ�ำทุกปี ตลอดถึง
ปัจจบุ นั
พระธาตุ เป็นสถานท่ีศักด์ิสิทธิ์ของชาวพุทธ มีความอัศจรรย์ปาฏิหาริย์มาก เป็นที่
ประดิษฐานพระบรมสารรี ิกธาตขุ ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพทุ ธเจา้ ไว้ให้ประชาชนไดส้ ักการบชู า
จากค�ำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในยุคก่อนๆ มักได้ยินได้ฟังเสมอว่า ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค�่ำ จะพบ
ปรากฏการณพ์ ิเศษเกดิ ขึน้ เสมอๆ เชน่ การปรากฏลำ� แสงพวยพงุ่ สุกสวา่ ง สดใส เปน็ รัศมสี แี ดง
สีเหลือง สขี าว ขึ้นรอบองค์พระธาตุ หรอื พาดผ่านขน้ึ ส่ทู ้องฟา้ บา้ ง หรือปรากฏกล่นิ หอมโรยรื่น
อบอวลชวนให้จติ สดช่ืนแจ่มใสบา้ ง ซ่งึ ปรากฏการณเ์ หล่าน้ี แสดงออกมาโดยอศั จรรย์ดว้ ยพทุ ธา–
นุภาพ เป็นท่เี ลื่อมใสศรทั ธาแก่ผองชนทีเ่ คารพเล่ือมใสเป็นอนั มาก
ตามประวตั ติ �ำนาน วดั พระธาตุจอมแจง้ นวี้ ่า ไดม้ ีพระมหาเถระรปู หนงึ่ ได้เท่ียวจาริกเทศนา
สัง่ สอนประกาศพระพุทธศาสนา เดินธดุ งคผ์ ่านมาถึงสถานท่ีแห่งนี้เป็นเวลารงุ่ อรุณข้นึ ของวนั ใหม่
(มาแจง้ หรือสว่างที่น่ี) จึงไดใ้ หต้ าแกค่ นหนงึ่ ทอี่ ย่ปู ฏบิ ตั ริ กั ษาพระธาตุน้ี ลงไปตกั น้ำ� ในลำ� น�ำ้ ข้ึนมา
ล้างหนา้ และพกั ทน่ี ี่ได้ ๗ วัน กอ่ นจะเดนิ ทางจาริกตอ่ ไป โดยมอบพระบรมสารรี ิกธาตุให้ตาแก่
เพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุ และยังได้ท�ำนายอนาคตภายหน้าว่า ชาวบ้านจะเรียกสถานที่แห่งน้ีว่า
วัดพระธาตุจอมแจ้ง สว่ นลำ� น�ำ้ ทพี่ ระมหาเถระใช้ล้างหน้าชาวบ้านเรียกวา่ แมน่ ำ้� ซว่ ย ต่อมาได้เรียก
ชอื่ เพย้ี นไปว่า แม่น�ำ้ สรวย จนถึงปัจจุบนั
วดั พระธาตจุ อมแจ้ง ปรากฏหลักฐานการสร้างประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้มี
หลวงปมู่ ่ัน ภูริทตโฺ ต เดินธดุ งคผ์ า่ นมาพักจำ� พรรษาใตต้ น้ ดอกไมส้ ารภี ๑ พรรษา พ.ศ. ๒๔๘๐
พระนวล ทิฏฺธมฺโม เปน็ ผู้ริเร่มิ น�ำชาวบ้านมาบรู ณปฏสิ ังขรณ์ มีนายจินดา ศรีสวสั ด์ิ และชาวบ้าน
ชว่ ยบรู ณะพระธาตุจนสำ� เร็จเป็นองคใ์ หญง่ ดงามแบบศลิ ปะพมา่ พ.ศ. ๒๔๘๒ พระครูอดลุ สีหวัตต์
(สิงห์คำ� ) ย้ายมาเป็นเจ้าคณะอ�ำเภอแม่สรวย และไดเ้ ปน็ เจ้าอาวาส น�ำคณะศรทั ธาและญาตโิ ยม
บรู ณปฏิสังขรณว์ ัดพระธาตุจอมแจ้ง จนเจริญร่งุ เรอื งมาเป็นลำ� ดบั ตราบจนปจั จุบัน
สาเหตุท่ีหลวงปู่มั่นและพระศิษย์พักท่ีวัดร้าง
ในสมัยคร้ังพุทธกาล สถานที่สัปปายะตามพระพุทธโอวาทในข้อรุกขมูลตามป่าตามเขา
ได้แก่ รม่ ไม้ ชายป่าชายเขา ถำ้� เงื้อมผา ปา่ ชา้ ปา่ รกชัฏ ที่แจง้ ล้อมฟาง อพั โภกาส มาในสมัยครั้ง
ก่งึ พทุ ธกาล หลวงปเู่ สาร์ กนตฺ สโี ล หลวงปมู่ นั่ ภรู ิทตโฺ ต ปรมาจารยใ์ หญ่ฝ่ายพระธุดงคกรรมฐาน
ทา่ นท้งั สองได้รว่ มกนั บกุ เบกิ ฟน้ื ฟูธุดงควตั ร นอกจากอาศยั สถานทสี่ ัปปายะดงั กลา่ วมา ยงั ได้อาศยั
ปฏิบตั ิธรรมตามวดั รา้ งที่อยตู่ ามป่าตามเขา เพราะเป็นสถานทเ่ี งียบสงดั วงั เวง ไม่มีผูค้ นมารบกวน
141
เพราะความกลัวในสถานท่ี เชน่ มบี างคนแอบลักลอบขดุ ของโบราณไปก็ประสบเหตุนา่ หวาดกลวั
ต่างๆ จนตอ้ งรบี น�ำมาคนื ก็มี และวดั ร้างบางแหง่ ก็มพี ระธาตุลอยเสด็จไปมาเปน็ ลูกกลมๆ มแี สงสี
ตา่ งๆ วัดรา้ งจงึ เป็นสถานท่ฝี ึกจติ ทรมานใจของนกั ปฏิบัตธิ รรมได้เปน็ อย่างดี
วัดร้างตามป่าตามเขา จึงนับเป็นสถานท่ีส�ำคัญแหล่งหนึ่งที่ครูบาอาจารย์พระศิษย์สาย
หลวงปู่เสาร์ หลวงปมู่ ัน่ นิยมธุดงคไ์ ปปฏิบตั ิธรรมและไดส้ บื ทอดกนั มา และกาลตอ่ มาครบู า–
อาจารย์ไดพ้ ัฒนาเป็นวัดข้นึ มาใหม่ รวมทงั้ กรณีหลวงปู่พรหม จริ ปญุ โฺ ก็ติดตามหลวงปูม่ ่นั พกั
ตามวัดร้างต่างๆ ทางภาคเหนอื และเมอื่ ทา่ นกลบั ทางภาคอีสาน ท่านกไ็ ปพักวัดร้าง และวดั ร้าง
บางแหง่ ทา่ นกพ็ ัฒนาเป็นวดั เชน่ วดั ศรีโพนสงู อ�ำเภอสว่างแดนดนิ จังหวดั สกลนคร กรณหี ลวงปู่
สมิ พุทธฺ าจาโร ทา่ นบกุ เบิกพฒั นาถ�ำ้ ผาปล่องจนเปน็ วดั พฒั นาตัวอยา่ ง ฯลฯ
ในท้องถน่ิ แถบปา่ เขาในจงั หวดั เชยี งใหม่ เชยี งราย มวี ัดร้างจำ� นวนมากมาย แสดงถึงความ
เจรญิ รุ่งเรืองในอดตี ส่วนใหญเ่ ปน็ วัดก่อสร้างมาแต่ยคุ โบราณ ซงึ่ ไม่สามารถทราบประวัตแิ ละอายุ
การกอ่ สรา้ งทแ่ี น่นอน หลายแห่งมเี พยี งประวัติในเชงิ ตำ� นาน หรอื เรือ่ งเลา่ ขานต่อๆ กันมา เป็นที่
น่าสังเกตว่า วดั ร้างแตล่ ะแหง่ มกั จะมีพระธาตุ เรียกตามภาษาทอ้ งถน่ิ ทางภาคเหนอื น่นั ก็คือ เจดยี ์
ทเี่ ราเรยี กกันทวั่ ไป เชน่ พระเจดยี ์หลวง (วดั เจดยี ห์ ลวง) พระธาตุแม่โกน๋ (ขุนโกน๋ ) พระธาตุ
ดอยนะโม พระธาตุจอมแจง้ พระธาตุจอมแตง พระธาตุดอยพระเจ้า ฯลฯ
ส่วนสาเหตุวัดร้างมีหลายประการ เกิดจากสถานท่ีทุรกันดารอดอยากยากล�ำบากจึงไม่มี
พระมาอย่บู ้าง เกิดจากพระย่อหยอ่ นไมป่ ฏบิ ตั ิตามพระธรรมวินยั บ้าง เกิดจากภัยศึกสงครามบ้าง
และปัจจุบนั เกิดจากพระชน่ื ชอบสะสมวตั ถุทางโลก โดยองค์หลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนโฺ น
ได้เมตตาเทศน์สอนไว้ดงั นี้
“เราอยากจะพูดว่าพระเป็นอันดับหนึ่งเป็นผู้ท�ำลายศาสนาเวลานี้ วัดก�ำลังจะร้าง วิทยุ
วิดีโอ เทวทัต โทรศัพทม์ ือถือกำ� ลงั ตเี ขา้ ในวัดในวาเวลาน้แี หลกหมด เราไปตระเวนตามสายพอ่ แม่
ครูจารยม์ ่ัน มไี หมวัดน้มี ไี หม อนั นนั้ มีไหม โทรทัศน์เทวทตั มไี หม วดิ โี อมีไหม โทรศพั ทม์ ือถอื มีไหม
วัดน้ีๆ องค์ไหนมี ไล่ออกจากวัดเวลาน้ันเลย ขับหนีจากหมู่จากเพ่ือนไม่ให้ร่วมอุโบสถสังฆกรรม
จะวา่ อะไร ของสิง่ เหล่านีเ้ ปน็ ของทำ� ลายแท้ๆ สงิ่ ท�ำลายท่ีสดุ คือตัวนเี้ องทำ� ลายศาสนา ทำ� ลายไป
มากเขา้ ๆ วดั วาอาวาสศาสนานี่รา้ งหมด ทำ� ไมจึงรา้ ง พระอยู่ไมไ่ ดซ้ ิ เพราะอะไรพระถึงอยู่ไมไ่ ด้
ไม่มคี นเขาใส่บาตรก็อยไู่ ม่ได้น่ะซิ วดั ก็รา้ งน่ะซิ อันนเี้ องไปทำ� ลายนะ เวลานกี้ �ำลงั เข้าทำ� ลาย”
142
ค�ำสอนหลวงปู่ม่ันท่ีพระธาตุจอมแจ้ง
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นพรรษาแรกที่ หลวงปพู่ รหม จิรปญุ ฺโ ท่านไดอ้ ยจู่ ำ� พรรษารว่ ม
กับหลวงป่มู น่ั ภรู ิทตฺโต ที่วดั พระธาตุจอมแจง้ หลวงปู่ม่ันทา่ นไดเ้ คี่ยวเข็ญพระศษิ ยแ์ ต่ละองค์ให้
ปฏิบัตธิ รรมอย่างเตม็ ที่ มีการเทศน์อบรมตลอดพรรษา ตามปฏปิ ทาของหลวงปมู่ ัน่ ทา่ นจะเทศน์
ตอนหัวค่ำ� โดยหลวงปเู่ จีย๊ ะ จุนโฺ ท ได้เมตตาเล่าไว้ดังนี้ “ไม่อบรมมาก อบรมกต็ อนหัวค�่ำหน่อย
ท่านก็เลิก คอื ได้เวลาเกอื บส่ที มุ่ ท่านก็เขา้ จำ� วดั ทา่ นขอ้ วัตรเปน็ อย่างนั้น”
สำ� หรับคำ� สอนของหลวงปู่ม่ันในพรรษาน้ี หลวงป่พู ระมหาทองสกุ สจุ ิตโฺ ต ซง่ึ ได้อยูร่ ว่ ม
จ�ำพรรษาดว้ ย ท่านไดส้ รปุ ไว้เป็นข้อๆ ดังน้ี
“...ในปีน้ี ทา่ นพระอาจารยม์ ่ัน ไดพ้ าทำ� ความเพียรเปน็ กรณพี ิเศษ และทา่ นไดอ้ ธบิ าย
ขอ้ ปฏิบตั ิและปฏปิ ทาตา่ งๆ มากมาย เช่น
๑. การปฏบิ ตั ทิ างใจ ตอ้ งถือการถา่ ยถอนอุปาทานเป็นหลัก
๒. การถา่ ยถอนน้ัน ไมใ่ ช่ถา่ ยโดยไมม่ เี หตุ ไมใ่ ชท่ �ำเฉยๆ ให้มนั ถา่ ยถอนเอง
๓. เหตแุ หง่ การถา่ ยถอนนนั้ ต้องสมเหตสุ มผล ท่านอา้ งเอาพระอัสสชิ แสดงในธรรมข้อท่ีว่า
เย ธมมฺ า เหตปุ ฺปภวา เตสเํ หตุํ ตถาคโต อาห
เตสญจฺ โย นโิ รโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณติ
ธรรมทั้งหลายเกิดมาจากเหตุ ธรรมท้ังหลายเหล่าน้ันดับไปเพราะเหตุ พระมหาสมณะ
(คือพระพทุ ธเจ้า) มีปกตติ รสั ดงั นี้
๔. เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอนอุปาทานนั้น มิใช่ไม่มีเหตุและไม่สมควรแก่เหตุ ต้อง
สมเหตสุ มผล
๕. เหตุ ได้แก่ การสมมุติบัญญัติขึ้น แล้วหลงตามอาการน้ัน เริ่มต้นด้วยการสมมุติตัว
ของตนก่อน พอหลงตัวเราแล้วก็ไปหลงผอู้ นื่ หลงวา่ เราสวยแลว้ จงึ ไปหลงผูอ้ ืน่ ว่าสวย เม่ือหลงตัว
ของตัวเองและผูอ้ ่ืนแลว้ ก็หลงพัสดขุ า้ วของนอกจากตวั กลับกลายเปน็ ราคะ โทสะ โมหะ
๖. แกเ้ หตตุ อ้ งพิจารณากรรมฐาน ๕ คอื ผม ขน เลบ็ ฟนั หนงั ดว้ ยสามารถแหง่ ก�ำลังของ
สมาธิ เมอ่ื สมาธขิ ั้นต�ำ่ การพจิ ารณาก็เป็นฌานข้ันต่�ำ เมอื่ เป็นสมาธขิ ั้นสงู พิจารณาเป็นฌานข้นั สูง
แต่กอ็ ยูใ่ นกรรมฐาน ๕
๗. การสมเหตุสมผล หมายถงึ คนั ที่ไหนต้องเกาท่ีนน้ั ถงึ จะหายคัน คนติดกรรมฐาน ๕
หมายถงึ หลงหนงั เปน็ ที่สดุ เรียกวา่ หลงกันตรงนี้ ถา้ ไมม่ หี นัง คงจะหนีกันแทบตาย เม่อื หลงทีน่ ี้
143
ก็ตอ้ งแก้ท่ีน้ี คือ เม่อื ก�ำลังสมาธิพอแล้ว พจิ ารณาก็เห็นตามความเป็นจริง เกิดความเบ่อื หน่าย
เป็นวปิ ัสสนาญาณ
๘. เป็นการเดินอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังท่ีพระองค์ทรงแสดงว่า
ชาตปิ ทิ กุ ข์ ชราปทิ ุกข์ พยาธิทกุ ข์ มรณมั ปทิ กุ ข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจบ็ ใครตาย กรรมฐาน ๕
เป็นตน้ ปฏิสนธเิ กดิ มาแลว้ แกแ่ ลว้ ตายแลว้ จึงชอื่ ว่า พจิ ารณากรรมฐานเป็นทางพน้ ทกุ ข์ เพราะ
พิจารณาตัวทุกข์จรงิ ๆ
๙. ทกุ ขสมุทยั เหตเุ กิดทกุ ข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมนั่ จึงเป็นทุกข์ เม่ือพิจารณา
กล็ ะได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมกบั ค�ำว่า รูปสมฺ ปํิ ิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพพฺ ินฺทติ
สญฺายปิ นพิ ฺพินฺทติ สงขฺ าเรสุปิ นพิ ฺพนิ ฺทติ วิญฺาณสฺมํปิ ิ นพิ ฺพนิ ฺทติ เม่อื เบ่อื หน่ายในรปู
(กรรมฐาน ๕) เป็นตน้ แล้ว กค็ ลายความก�ำหนดั เมื่อเราพ้น เรากต็ อ้ งมีญาณทราบชัดว่าเราพ้น
๑๐. ทกุ ขนโิ รธดบั ทกุ ข์ เมอื่ เห็นกรรมฐาน ๕ เบอื่ หน่าย ชอ่ื วา่ ดับอุปาทาน ความยึดมน่ั
ถอื ม่ัน เช่นเดียวกับทา่ นสามเณรสุมนะ ศษิ ย์ทา่ นพระอนรุ ุทธะ พอปลงผมหมดศรี ษะ กไ็ ดส้ ำ� เร็จ
พระอรหนั ต์
๑๑. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือ การเป็นปัญญาสัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ
เห็นอะไร ? เห็นอรยิ สจั ๔ อรยิ สจั ๔ ไดแ้ กอ่ ะไร ? ทกุ ข์ สมุทยั นโิ รธ มรรค การเห็นจรงิ แจ้ง
ประจักษด์ ว้ ยสามารถแหง่ สัมมาสมาธิ ไม่หลงติดสุข มสี มาธเิ ปน็ ก�ำลงั พจิ ารณากรรมฐาน ๕ กเ็ ปน็
องค์มรรค”
หลกั ๑๑ ประการนก้ี วา้ งขวาง ท่านพระอาจารยม์ ่ัน ทา่ นแสดงกว้างขวางมาก หลวงปู่
พระมหาทองสกุ ท่านกบ็ นั ทกึ ย่อๆ ไว้ เพอ่ื จะเปน็ แนวทางปฏิบัติของท่าน เพราะปีนีเ้ ป็นสำ� คญั
ทง้ั ศกึ ษาและปฏบิ ตั ิ มใิ ชศ่ กึ ษาอยา่ งเดยี ว
ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่นแนะว่า การฉันหนเดียว การฉันในบาตร การบิณฑบาต
การปดั กวาดลานวัด การปฏิบตั ิอปุ ชั ฌายอ์ าจารย์ การอยู่ปา่ วิเวก เป็นศลี วตั รอันควรแก่ผู้ฝกึ ฝนขน้ั
อุกฤษฏจ์ ะพึงปฏบิ ัติ
หลังออกพรรษาปีนน้ั แลว้ ต่างองคต์ ่างก็แยกย้ายกนั ไปบำ� เพญ็ เพียรตามอธั ยาศัยของแต่ละ
องค์ ในสว่ นของหลวงป่พู ระมหาทองสกุ ทา่ นเกิดอาการไข้มาลาเรียก�ำเริบข้ึน จงึ ไปรกั ษาตัวท่ี
จังหวดั เชยี งราย พอหายดแี ล้วทา่ นกก็ ลบั มาที่วัดพระธาตจุ อมแจง้ อกี ไมม่ พี ระเหลืออย่สู กั องค์เดียว
ทกุ ๆ องค์ตา่ งไปวิเวกหมด ทา่ นจงึ มาอยู่องค์เดียว กลางคืนเสือชมุ มาคอยรบกวนอยตู่ ลอดเวลา
มาหาทา่ นใกล้ๆ แตม่ นั ก็ไม่ทำ� อะไร มาคอยจอ้ งๆ มอง แลว้ กห็ ายไป
144
ทา่ นบอกว่า “ครง้ั แรกกท็ ำ� ให้เกดิ ความเสียวๆ อยู่ แต่พอเคยกนั เสียแลว้ ก็เฉยๆ”
หลวงปพู่ ระมหาทองสกุ เล่าต่อไปว่า
“อยู่มาเดือน ๓ ปนี ัน้ พระครนู พรัตน์บรุ าจารย์ ก็เลยพามาสร้างพระเจดยี ์ เพราะมเี จดีย์
(พระธาต)ุ เกา่ อยู่ท่ีน่ัน ทา่ นพาชาวบา้ นช่วยกนั กอ่ สรา้ งเพิม่ เตมิ กินเวลากอ่ สร้างถงึ ๔ เดอื น สำ� เรจ็
เอาเม่ือเดอื น ๖ สำ� เรจ็ แล้วชาวบ้านกพ็ ากันฉลองเปน็ การใหญ่
เวลาฉลอง ท่านอาจารย์ขาว (หลวงปูข่ าว อนาลโย) ท่านมนู มาร่วมการฉลอง มีการท�ำบุญ
ตกั บาตร ผคู้ นไมท่ ราบวา่ มาจากไหนมากมาย เพราะคนเมอื งนช้ี อบและเลอื่ มใสในการกอ่ พระเจดยี ์
จริงๆ มาถึงมาท�ำบุญ ไม่ต้องป่าวร้อง รู้แล้วมาเอง ท่านทุกองค์ต่างผลัดกันเทศน์โปรดญาติโยม
ได้ประโยชนด์ ีทีเดยี ว”
ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านธุดงค์พม่า
ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงปู่พรหม ไดต้ ดิ ตามหลวงป่มู ัน่ มาพกั ทส่ี �ำนักสงฆบ์ ้านปง
(วัดอรัญญวิเวก) อ�ำเภอแมแ่ ตง จงั หวัดเชียงใหม่ จากหนังสอื ประวัติหลวงปู่ชอบ านสโม บนั ทึก
ไวด้ ังน้ี
“หลงั จากออกพรรษาชว่ งเดอื นสบิ สอง องค์ทา่ นหลวงป่มู น่ั รับนิมนต์ชาวบา้ นปงมาท�ำบุญ
ย่เี ป็ง องค์ท่านเขา้ มาพักทีส่ ำ� นกั สงฆบ์ ้านปง โดยมี หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ หลวงปขู่ าว อนาลโย
และสามเณรอกี ๒ รปู ตดิ ตามองคท์ า่ นมา”
จากน้ันหลวงปพู่ รหม ท่านกราบขออนญุ าตท่านพระอาจารย์ม่นั เดนิ ธดุ งคว์ ิเวกทางเหนอื
ถึงเมอื งโต่น เมืองหาง เขตแคว้นเมืองเชยี งตงุ ไปทางประเทศพม่า ทา่ นไปธุดงค์ล�ำพังเพียงองคเ์ ดยี ว
ขึ้น ๓ ดอย ลงมาเจอชาวพม่า มี ๔ หลังคาเรือน อาชพี เขาฝืดเคอื ง เขาทุกข์ยาก ตักข้ยี างใส่
ขอนดอก (ไมข้ อนทผ่ี ุ) ท�ำขไ้ี ตไ้ ปขาย หลวงปู่พรหม ท่านธดุ งคม์ าถงึ ถ้�ำอกี แห่งหน่งึ อันเปน็ สถานที่
สงบระงบั เหมาะแกก่ ารเจรญิ ภาวนา ถ้ำ� น้มี ีชอื่ ว่า ถำ�้ ปมุ้ เป้ (ครูบาอาจารย์บางองค์เรยี กวา่ ถ้ำ� นาป)ู
เปน็ บริเวณปา่ ไม้และมสี ัตวป์ ่าอาศัยอย่มู ากชนิดดว้ ยกนั หลวงป่พู รหมไดอ้ าศยั บิณฑบาต ได้อาหาร
มาพอประทงั ชีวติ ตามสมควร นบั ได้ว่ามบี ุญวาสนาต่อกนั มากในสมัยน้ัน
เปน็ ท่ีทราบกนั ดใี นวงกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ว่า หลวงปู่ม่นั ท่านทรง
อภญิ ญา เมื่อพระศิษยก์ ราบลาท่านออกไปเท่ียวธุดงค์ หลวงปมู่ น่ั ท่านสามารถส่งกระแสจติ ไปสอน
พระศษิ ยไ์ ด้ เป็นภาพธรรมนิมิตไปปรากฏ แมว้ า่ พระศษิ ยจ์ ะอยู่ห่างไกลเพยี งใดก็ตาม ซ่ึงกรณนี ม้ี ี
ดว้ ยกันหลายองค์ โดยองค์หลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนฺโน ได้เมตตาเทศนเ์ ร่อื งนี้ไวด้ ังนี้
145
“เราคดิ เหน็ หัวใจเรา ไปอย่กู ับพ่อแมค่ รูจารยม์ ่นั นี้แหม อบอนุ่ เหลอื เกินนะ เหมือนวา่ กเิ ลส
นีเ้ ท่ียวหมอบอยตู่ ามพ่มุ ไม้ พ่มุ ไมพ้ มุ่ นัน้ พมุ่ นกี้ ิเลสเท่ยี วหมอบ เพราะเราเขา้ มาหาทา่ น กิเลสเขา้ มา
รมุ เราไม่ได้ มันเท่ยี วหมอบ ทีนีพ้ อเราก้าวออกจากวดั มันกร็ ุมเรา เป็นอย่างนนั้ นะ คือจติ ใจอย่กู ับ
ท่านอบอุน่ มากทเี ดยี ว เอาพดู เปดิ อกเลย เวลาอยู่กบั ท่าน การภาวนาไมว่ า่ หลับวา่ ตื่น เราภาวนาน้ี
ไม่ปรากฏองคข์ องท่าน มีแตค่ วามอบอนุ่ พอก้าวออกจากทา่ นไปนี้ โอ๋ย ! เกือบจะนบั ได้เลยว่า วันน้ี
วันนน้ั ไม่ปรากฏองคท์ า่ น นอกนัน้ ทกุ คนื ไปเลย
น่ีทำ� ไมเปน็ อย่างนัน้ พอนงั่ ปั๊บนี้มาแลว้ ๆ เตือนขอ้ นั้น เตือนขอ้ น้ี นีเ่ รียกภาคธรรมภายในใจ
ความเมตตาธรรมท่านครอบไป ทางน้ันรับประสานกันเลย ถา้ มีเคร่อื งรับนะ คนื ไหนก็คนื นนั้ เลยๆ
จนกระท่งั ได้มากราบเรยี นท่าน ต้ังแต่ออกจากท่านไปน้ันกลบั มานี้ กลางคืนไมป่ รากฏทา่ น เพียง
เท่าน้ันคืน เท่านี้คืน นอกนั้นปรากฏทั้งนั้น ท่านก็ตอบเล็กๆ น้อยๆ ไปอย่างน้ัน เพราะท่านรู้
หมดแลว้ เรื่องเหลา่ นี้ พอจากทา่ นไป ภาพธรรมนิมติ จะมาแสดงอยู่ตลอด ประสานกนั ตลอด นี่ละ่
ธรรมละเอียดอยา่ งน้ัน ไมม่ ีใกลม้ ไี กล”
กรณีของหลวงปู่พรหม จิรปญุ ฺโ ขณะธุดงค์ปฏิบัติธรรมในประเทศพม่าก็เช่นเดียวกัน
หลวงปูม่ ่นั ท่านกส็ ง่ กระแสจติ ไปสอน ดงั เรือ่ งเลา่ ตอ่ ไปนี้
“ทา่ นไดพ้ ักทำ� ความเพียรอยูท่ ีถ่ ำ�้ ป้มุ เป้ ปรากฏวา่ มีกระดกู พระองค์หน่งึ ท่มี รณภาพไปแลว้
อยู่ภายในบริเวณถ�้ำ ซึ่งถ้�ำมีทางเข้าทางเดียวและมีทางเดินจงกรม ยาวได้ประมาณ ๔๐ ก้าว
หลวงปู่พรหมได้บ�ำเพ็ญสมณธรรมโดยสะดวกสบายไม่มีการติดขัดในการภาวนา ขณะท่านเร่ง
ความเพยี ร หลวงปมู่ น่ั อย่ทู างเชียงใหม่ ท่านได้ใช้อภิญญาสอนหลวงปพู่ รหม โดยสง่ กระแสจติ ไป
สอนเปน็ ภาพธรรมนิมติ
ไมป่ รากฏชดั วา่ หลวงปู่ไดอ้ ยบู่ �ำเพญ็ ธรรม ณ ถ�้ำปุ้มเปแ้ ห่งนี้นานสักเท่าใด แตม่ ีคำ� บอกเล่า
ต่อๆ กันมาวา่ หลวงปพู่ รหมท่านได้เร่งท�ำความเพยี รอยา่ งชนดิ ทุม่ เทจติ ใจกันเลยทเี ดียว และการ
ปฏิบัติธรรมของทา่ นน้ัน ทำ� จิตใจเลอื่ นขนึ้ สู่ภูมธิ รรมขัน้ ละเอียดออ่ น ซ่งึ ยากท่จี ะอธิบายได้ ณ ทนี่ ี้...
สว่ นเรอ่ื งการระลกึ ชาติ หลวงปู่พรหมทา่ นระลึกชาติได้ ทา่ นว่าท่านเคยเกิดเป็นนกขาบ
(นกตะขาบ) ในถ�้ำปุ้มเป้ และท่านเคยเกดิ เป็นเสอื แถวบา้ นดงเยน็ ”
เสือเทพบันดาลมานอนขวางทางจงกรม
ประสบการณข์ องพระธดุ งคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มน่ั ภูรทิ ตฺโต มีครบู าอาจารย์
หลายองค์ขณะธุดงค์ปฏิบัติธรรมตามป่าตามเขา มักประสบกับเหตุการณ์แปลกประหลาด เช่น
กรณีเสือเทพบันดาล เทวดาแปลงร่างเป็นเสือโคร่งขนาดใหญ่มาหาบริเวณทางเดินจงกรม เช่น
146
หลวงปสู่ ที า ชยเสโน หลวงปชู่ อบ านสโม หลวงป่พู รหม จริ ปุญฺโ ฯลฯ โดยองค์หลวงตา
พระมหาบวั าณสมปฺ นฺโน ได้เมตตาเทศน์เรอื่ งน้ีไว้ดังน้ี
“น่อี าจารย์สที า โอ๋ ! นี่เปน็ องค์ท่พี อ่ แมค่ รจู ารย์มน่ั พดู ถงึ อยเู่ สมอนน้ั แหละ รปู รา่ งเล็กๆ
เท่ากนั กับพ่อแม่ครูจารยม์ นั่ เรา รูปร่างขนาดนน้ั เหน็ รูปร่างของท่านกด็ ู ทีเ่ สอื มันมานั่งเฝ้าอยู่
ท่านเดนิ จงกรมไปมากลางคนื ไปอยู่ฝ่งั นู้น ฝ่ังลาวเสอื ชุม ทา่ นอย่แู ห่งหน่งึ ทา่ นอาจารย์มั่นเรา
แล้วองค์นี้อยู่บ้านหนึ่งต่างหาก เวลาเดินจงกรมไปมาดูลักษณะมันผิดหูผิดตา ทีแรกไม่มีอะไร
ครนั้ ต่อมาดลู ักษณะในสายตาหางตามองไป มันอะไรนะ ท่านก็เลยดจู ริงๆ ท่ไี หนได้ เสือโครง่ ใหญ่
มนั มานงั่ ดูอย่นู ัน้ นะ่ เสอื โครง่ ใหญ่ ท่านมองเหน็ ทีแรก จติ ใจกม็ ลี ักษณะยิบๆ จะวา่ กลัวกไ็ มก่ ลัว
แตข่ นลุกซู่ ทา่ นวา่ อย่างนั้นนะ เขากน็ ัง่ อย่นู นั้ ท่านกเ็ ดิน ไมพ่ ดู อะไรกบั เขาล่ะทแี รก คดิ ก็ไม่คดิ
กร็ ู้แต่วา่ เสือ เดนิ ไปเดินมา
ทนี ้ีกไ็ ดค้ วามคิดข้ึนมา เสอื ตวั นีม้ านั่งเฝา้ เราน้ี นง่ั เฝา้ เพราะเหตไุ รนา ถา้ หิวอยากไปหาอยู่
หากินท่ีไหนก็ไป ไมต่ ้องมานั่งเฝ้าเราก็ไดท้ า่ นว่า คิดในใจ มนั กเ็ สียงกงั วานขึน้ เลย เหมอื นวา่ เสือ
เทพบนั ดาลนะ บนั ดาลใจเสอื หรือเปน็ เสอื เทพกไ็ มร่ ูล้ ะ่ พอท่านคดิ อย่างน้นั แล้วเสียงกงั วานขน้ึ เลย
เฮ่อๆ ขึ้นเลย ทา่ นเลยพลิกความคิดเสยี ใหม่ โอ๋ ! ถ้าไมไ่ ปจะรกั ษาอันตรายใหก้ ไ็ ม่เป็นไร เราไม่ว่า
อะไร เราคดิ เฉยๆ ถ้าหิวจะไปหากนิ ก็ใหไ้ ป วา่ อย่างน้นั ตา่ งหาก ถ้าจะนัง่ เฝา้ รกั ษาอนั ตรายใหก้ ไ็ ด้
ทา่ นว่า เลยเงยี บเลย ท่านกเ็ ดนิ จงกรม...
ถ้าลงพอ่ แมค่ รจู ารยม์ ั่นไดพ้ ดู อะไรแล้วแมน่ ยำ� นะ เราก็จบั ความคิดภาพพจน์ของอาจารย์
สที าน้ันไว้ พอดกี ็ไปเจอรูปปั้นท่านเท่าพ่อแมค่ รูจารยม์ ัน่ ออ๋ ! น่ีอาจารยส์ ีทาองค์นเี้ อง องคเ์ สอื มา
นง่ั เฝ้า เขาไมท่ ำ� ไมนะ เขานง่ั อยูเ่ ฉยๆ น่งั ไม่ใช่นง่ั หมอบ ถ้าน่งั หมอบมนั มที ่าจรงิ ทา่ เล่นไดน้ ะ ถา้
นัง่ ธรรมดาเหมือนหมานง่ั น่ีเรยี กว่านั่งดูธรรมดา ไมท่ ำ� อะไร ถา้ นง่ั หมอบเหมอื นแมวนี้มที ่านะ แตน่ ี่
เขาน่ังแบบหมานง่ั กม็ าคืนเดยี วจากนั้นไมม่ าอีกเลย จนกระทง่ั ทา่ นจากท่ีน่นั ไปไมม่ า คงจะเป็น
เสือเทพบนั ดาลว่างั้น แตส่ �ำหรับท่านเองไม่เคยพดู เรือ่ งสตั ว์เรอื่ งเสือใหฟ้ ังเลย พอ่ แมค่ รจู ารย์มน่ั
ไมเ่ คยพดู ทั้งๆ ทท่ี ่านสมบกุ สมบันมากในการอยใู่ นป่าในเขา ที่จะไปเจอเสือหรอื เจอสัตว์รา้ ยท่ีไหน
มาเลา่ ให้ฟงั ไมม่ ี มแี ตเ่ ลา่ เรอ่ื งขององคอ์ ่ืนๆ องค์ใดเดน่ ทางใดๆ ทา่ นเล่า”
หลวงปพู่ รหม จริ ปุญโฺ กเ็ ช่นเดยี วกนั ทา่ นไดเ้ มตตาเลา่ ประสบการณ์ขณะบำ� เพ็ญเพยี รที่
พม่าน้นั ท่านเดินจงกรมอย่างไมห่ ยุดหย่อน มีเสือมาขวางทางจงกรม เป็นเสือบนั ดาล โดยพระศิษย์
ไดเ้ ล่าตามที่ได้ฟังมาจากหลวงปู่พรหม ดังนี้
“หลวงปพู่ รหม ทา่ นไปธดุ งคพ์ ม่า ขณะท่ีท่านถือเนสัชชิเรง่ ความเพยี รดว้ ยการเดนิ จงกรม
นงั่ สมาธิตดิ ตอ่ กันหลายวัน ในคนื วนั หนึง่ ยามดกึ สงัด ขณะทท่ี า่ นก�ำลังเรง่ ท�ำความเพยี รดว้ ยการ
147
เดินจงกรม ท่านเดินกลับไปกลับมาบนทางจงกรม ท่านเดินอยู่นานหลายช่ัวโมงจนเม่ือยแล้ว
ปรากฏว่ามีเสอื ตวั ใหญ่ ความยาววดั ไดป้ ระมาณ ๘ ศอก มานอนขวางทางจงกรม ไม่ทราบว่าเสอื
ตัวนัน้ มาตง้ั แตเ่ มอื่ ไร จๆู่ มันก็มาปรากฏตัวบนทางจงกรม หลวงป่ทู ่านเห็นดงั นนั้ ทา่ นก็ไม่กลวั และ
ไมไ่ ด้หวนั่ เกรงภัยอันตรายใดๆ ทจี่ ะเกดิ ขึ้นกบั ทา่ น เพราะชีวิตของทา่ น ทา่ นยอมสละชีวิตเพื่อธรรม
อยูแ่ ล้ว ทา่ นจึงยนื น่งิ และกำ� หนดจิตพจิ ารณาดูเสือใหญ่ตวั นนั้ จงึ ทราบวา่ เปน็ เทวดาจำ� แลงรา่ งมา
เปน็ เสอื เปน็ เสือบันดาล โดยเทวดาเปน็ หว่ งเกรงวา่ ท่านอดหลับอดนอนเร่งความเพียรอยา่ งหนกั
โดยไม่ไดพ้ ักผ่อนมาหลายคืนตดิ ตอ่ กนั อาจจะลม้ ป่วยลงและเป็นอัมพาตได้ เทวดาตนนนั้ มีความ
ประสงคอ์ ยากใหห้ ลวงป่ไู ดพ้ กั ผ่อนหลบั นอนบา้ ง จงึ แปลงเปน็ เสอื ตวั ใหญม่ านอนขวางหลวงป่ไู ว้
สำ� หรับหลวงปูพ่ รหมเอง ทา่ นทราบในความปรารถนาดขี องเทวดาตนนนั้ ท่านก็ไมย่ อมไป
พักผอ่ น แต่ทา่ นกลับยนื สงบหลับตานงิ่ ทำ� ความพากความเพยี รต่อไปโดยไมไ่ ดส้ นใจเสอื ใหญต่ ัวน้ัน
ท่านอยู่ดว้ ยอริ ิยาบถยนื ท�ำความเพียรเปน็ เวลานานพอสมควรแลว้ จงึ ลืมตาข้นึ ดู ปรากฏว่าเสือใหญ่
ตวั นน้ั ได้อันตรธานหายไปตัง้ แตเ่ ม่อื ไรก็ไมท่ ราบ จากนน้ั ทา่ นก็เดนิ จงกรมทำ� ความเพยี รตอ่ ไป”
นอกจากเหตุการณ์เสือเทพบนั ดาลมาขวางทางจงกรมท่านแล้ว คราวหลวงปพู่ รหมท่านไป
เทย่ี วธดุ งคอ์ ยใู่ นแถบภเู ขาปา่ ลกึ ทา่ นกผ็ จญกบั สตั วใ์ หญส่ ตั วร์ า้ ยตา่ งๆ ซง่ึ อาจสมุ่ เสย่ี งตอ่ ความเปน็
ความตาย ทา่ นถึงกบั ยอมสละชีวติ และทา่ นก็ได้ผ่านพ้นเหตุการณ์เหลา่ นนั้ มาดว้ ยดี เชน่ บางครัง้
ท่านก็ผจญกับเสือใหญ่ มันมายืนตระหง่านขวางทางเดิน ท่านก็ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่
ยอมสละชีวิต “เอ้า ! ถ้ามึงอยากกัดกูตาย ให้มึงกัดเลย” ท่านว่า พอเสือมันได้ยินเท่านั้น มันก็
กระโดดหนีหายไปเลย มนั นา่ จะเป็นเทวดาเนรมติ เปน็ เสือใหญม่ ารักษาท่าน
ท่านน่ังสมาธิมีงูใหญ่เล้ือยมาพาดขา
เร่ืองงูใหญ่อย่างนี้ หลวงปู่พรหมท่านก็เคยผจญมาแล้ว ท่านเล่าให้ฟัง ท่านนั่งสมาธิอยู่
บางทงี ใู หญม่ ันกเ็ ลอ้ื ยมาพาดขาท่านนี่ แลว้ แตเ่ หตุการณม์ ันจะท�ำอะไร มนั จะขบจะกัดกแ็ ล้วแตม่ นั
ท่านกม็ ีแต่ภาวนาวา่ “พุทโธๆๆๆ” อย่างเดยี ว “ตายๆๆๆ” อย่างเดยี ว เอ้อ ! พทุ โธอย่างเดียว
ตายอย่างเดยี ว ยอมสละตาย ยอมสละชวี ิต ท่านวา่ “เอา้ ! มึงอยากท�ำอะไรก็ท�ำเลย” งใู หญม่ ันก็
เลอ้ื ยหนหี ายไป มนั คงเป็นเทวดาเนรมติ จะมารกั ษาทา่ นอกี
หลวงปพู่ รหมทา่ นเจองใู หญบ่ ่อยอยู่ เพราะว่าตอนไปเจองูใหญ่น่ี สถานทีน่ ้นั เจา้ ท่มี ันแรง
คือว่ามนั แรงมันดุ มันมีผวี า่ ง้นั เถอะ คนไปมาหาสู่ไม่ถึง ถา้ ไปผีมนั ก็กนิ หมด สถานท่ที ี่คนเขาไมไ่ ป
เขากลวั ท่หี ลวงปเู่ ข้าไปเจองูน่ี ชาวบ้านเขาก็มาบอกเตอื นว่า ไมต่ อ้ งไป ทีต่ รงนน้ั มพี ระสงฆไ์ ปตาย
กนั มากแลว้ ตายอยูห่ ลุบเหวอนั นน้ั ถ�้ำอนั นนั้ อย่างน้ลี ่ะ หลวงปู่ท่านกไ็ มก่ ลัว ทา่ นก็ไป ท่านวา่
148
“ใหม้ นั ตาย” งนู ี่มันกอ็ ยใู่ นถ�้ำ มนั มองไมเ่ ห็น อนั ทีจ่ ริงทเ่ี ปน็ งเู ปน็ อะไรน่ีกพ็ วกเทพพวกอะไรละ่
แปลงรา่ งมาทดลองทา่ น มาทา่ นกจ็ ะวา่ อย่างไร งูใหญม่ ันพาดบนขาทา่ น ตวั มันใหญเ่ ทา่ ตน้ ตาล
ต้นมะพรา้ วอยา่ งนีล้ ะ่ ท่านจะตกใจขาดสติกลวั ตายไหม ทา่ นก็สบาย แล้วแตม่ ันจะตาย ทา่ นกน็ ่ัง
สมาธเิ ฉยอยู่จนมนั เลอื้ ยหนไี ป วนั หลังมันก็เอาอนั ใหม่มาทดลองอยา่ งนีล้ ่ะ
พวกเทพแปลงรา่ งเป็นงูมาทดลองหลวงปู่ เปน็ เสือ เปน็ ช้าง เปน็ อะไรกแ็ ล้วแต่เขาจะแปลง
ร่างมา ตอนจะไปบณิ ฑบาตกเ็ ชน่ กัน ท่านเดินไปผจญกบั โขลงช้างระหวา่ งทาง มันทางปา่ ทา่ นก็
บอก “ไปๆ” ว่างั้น “โอ๊ย ! อยา่ มาบังมาเบียดเบียนกันเลย ไปๆ ทางใครทางมนั ” แลว้ ท่านก็ยืน
หลับตา “พุทโธๆๆๆ” กไ็ มร่ วู้ า่ ชา้ งหายไปเวลาไหน ท่านกเ็ ลยลมื ตาขึน้ ชา้ งหนกี ็ไปบณิ ฑบาต กค็ ง
เป็นพวกเทวดามาบันดาลอีก
ท่านเล่าประสบการณ์ธุดงค์ทางภาคเหนือ
หลวงปู่พรหม จิรปญุ ฺโ ทา่ นเล่าประสบการณธ์ ดุ งค์ทางภาคเหนอื ของท่านใหพ้ ระศิษย์ฟงั
ว่า “ช้างขวางหน้าก็มี เสือขวางหน้าก็มี งูใหญ่ก็มาพาดตักเวลานั่งสมาธิก็มี” ท่านก็ว่า “เอา !
แลว้ แตม่ ันจะตอด แลว้ แต่มนั จะกัด แล้วแต่มันจะตาย ถ้ามันจะตาย กใ็ ห้มันตาย” แลว้ สัตวพ์ วกน้ี
มันก็หนไี ป ท่านวา่ “ไมก่ ลวั เลยความตาย สละตายแล้ว ไมก่ ลัว”
ขณะท่ีหลวงปู่พรหมทา่ นไปเทยี่ วธุดงค์ บางครั้ง ๗ วนั กไ็ มไ่ ดฉ้ นั ข้าว เพราะมนั ไกลบ้านคน
ค่ำ� ไหนก็นอนน่นั ไปเรอื่ ยๆ ถา้ ฝนตกท่านก็นง่ั สมาธภิ าวนา “พุทโธๆๆๆ” ตากฝนเปยี กอยอู่ ยา่ งนั้น
ท่านต้องนง่ั หนาวสนั่ เหมือนนกจนฝนหยดุ ร่างกายน้เี ปยี กโชกไปหมด เจอบอ่ ย ท่านว่า
พวกเปรตน่ี ทา่ นกเ็ จอ เปรตมันยงิ่ ไมอ่ ยากใหไ้ ปอยู่ ทผ่ี ีมันแรงๆ แตท่ า่ นก็ตงั้ หนา้ ตงั้ ตาไปอยู่
“เปรตส้เู ราไม่ได”้ ทา่ นวา่ เปรตมันไม่อยากใหไ้ ปอยู่แทนท่ขี องเขา ไปท่นี น่ั เปรตมันมาก พระสงฆ์
องคเ์ จ้าตายหลายองค์แลว้ หลวงป่ไู มก่ ลัวตาย เขา้ ไปอยู่ เอาไปเอามาเปรตกห็ มด มันก็ยอมอยู่
เหมือนกนั ทา่ นวา่ หลวงปูท่ า่ นเจอเปรตท่ีเชียงตุง พม่า ท่เี ชยี งใหม่ เชียงรายกเ็ จอ เปรตมาขอ
ส่วนบุญ สมยั ก่อนยงั ไมเ่ จริญเหมอื นทุกวันนี้ เปรตก็คงจะมมี ากอยา่ งวา่ มีแตป่ ่าแตด่ ง มแี ตภ่ ูเขา
ทุกวนั นม้ี ันเขา้ ไปได้ ทางเรอื ก็ยังไปได้ แล้วหลวงปู่ไปโปรด เทศนอ์ บรมแผ่เมตตาให้เปรต
พบพระพุทธรูปแตกหักแสดงพุทธานุภาพ
เหตุการณ์ส�ำคัญขณะหลวงปู่พรหมธุดงค์ผ่านวัดร้างในพม่า แสดงให้เห็นถึงพุทธานุภาพ
ของพระพทุ ธรปู แม้จะเปน็ พระพุทธรูปเก่าๆ แตกหักพังแลว้ ก็ตาม แต่กย็ งั คงความศักด์ิสิทธ์ิ ดงั น้ี
149
“ในระหว่างการเดินทางธดุ งคกรรมฐานในเขตพมา่ ของหลวงปพู่ รหม จิรปญุ โฺ ทา่ นไดพ้ กั
บำ� เพ็ญธรรมอย่ใู กล้ๆ กบั หม่บู ้าน คร้ันพอรุ่งเช้าท่านกอ็ อกบณิ ฑบาตไดอ้ าหารมาพอประมาณ ขณะ
เดนิ กลบั จากบณิ ฑบาตน้นั หลวงปพู่ รหมทา่ นไดผ้ ่านวดั รา้ งแหง่ หนึง่ ซึ่งมีพระพทุ ธรปู เกา่ ๆ แตกหกั
พงั เกลอ่ื นเตม็ ไปหมด ทา่ นจงึ น่งั ลงแลว้ ถวายสกั การนมัสการ แตภ่ ายในจิตใจของทา่ นนัน้ ไดร้ �ำพึง
ขึ้นว่า พระพทุ ธรปู เหลา่ น้ี ไม่มใี ครเหลยี วแลและซ่อมแซมกันเลย ทง้ิ ระเกะระกะอย่เู ต็มไปหมด
พระพทุ ธรูปเหล่าน้ี ส้ินความศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ล้วละหรอื อย่างไร ?
ขณะท่ีหลวงปู่พรหม ท่านก�ำลังร�ำพึงในใจอยู่นั้น ก็เกิดความอัศจรรย์ข้ึน แผ่นดินสั่น
สะเทอื นเลือนลน่ั กระด่งิ เกา่ ๆ ทีแ่ ขวนอยชู่ ายโบสถห์ ลังเก่านนั้ ถกู แรงสะเทอื นดังเกรียวกราวขน้ึ
จนหลวงปู่พรหมต้องเข้ายึดเสาศาลาไว้ เพราะกลัวแผ่นดินจะถล่ม หลวงปู่พรหมท่านได้ก�ำหนดรู้
ดว้ ยวาระจติ และเหน็ เปน็ ประจักษ์แก่ตัวทา่ นเองวา่
ความอัศจรรย์ครั้งน้ีมิใช่แผ่นดินไหวแน่ แต่เป็นด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธรูปที่
หกั พงั เหลา่ น้ัน ท่านแสดงให้เห็นถงึ ความศักดิ์สทิ ธิ์เหล่านน้ั มีจริงๆ ไม่ควรประมาทในสิ่งเหลา่ น้ี
เพราะเปน็ วตั ถุบูชาชั้นสูง ยอ่ มมีเทวดาปกปักษร์ กั ษาอยู่เสมอ
เม่อื หลวงปพู่ รหม จิรปุญโฺ ท่านเหน็ เหตกุ ารณ์อนั น่าอัศจรรยน์ ีแ้ ลว้ บังเกดิ ปีตขิ นพอง
สยองเกล้า ท่านจึงน่ังลงกราบขอขมาลาโทษต่อพระพุทธรูปเหล่าน้ัน บัดน้ี หลวงปู่พรหมมีความ
เช่ือม่ันในพุทธานุภาพขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นท่ียิ่ง ท่านมีความมานะพยายามท่ี
จะบ�ำเพ็ญธรรมขน้ั สงู ตอ่ ไปโดยไม่หยดุ ยง้ั ...”
พบพระอุปคุตอรหันต์ในนิมิต
เรอ่ื งราวขององคส์ มเด็จพระสมั มาสัมพทุ ธเจ้าและพระอรหนั ตสาวกในครง้ั พทุ ธกาล ทัง้ ฝ่าย
พระภิกษุและพระภิกษุณีที่มาเมตตาสงเคราะห์เทศน์โปรดและมาสัมโมทนียธรรม โดยแสดงกาย
ปรากฏให้ครูบาอาจารย์ท่ีธุดงค์ปฏิบัติธรรมอยู่ท่ามกลางป่าเขาในเวลากลางดึก หรือมาปรากฏใน
นมิ ติ ในขณะภาวนามีมากมาย นับเปน็ เรอ่ื งจริงที่แปลกประหลาดอัศจรรยม์ าก และยงั รอการพิสจู น์
ท้าทายจากนักปฏิบตั ิธรรมท้ังหลาย ทีส่ �ำคัญเป็นการเพิ่มก�ำลงั ใจให้กับครบู าอาจารยท์ ม่ี ุ่งตอ่ ความ
พ้นทุกข์เป็นอย่างดี เช่น กรณีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกเสด็จมา
เยี่ยมแสดงสัมโมทนียธรรมกับหลวงปู่มั่นในคืนวันบรรลุธรรม กรณีพระมหากัสสปเถระเหาะลอย
มาทางอากาศ มาโปรดหลวงปู่ชอบ านสโม กรณีพระพากุลเถระเหาะมาโปรดหลวงปู่ขาว
อนาลโย กรณพี ระภิกษุณีอุบลวรรณาเถรี เมตตามาโปรดเยี่ยมทา่ นพระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโ
เปน็ ตน้
150
ส�ำหรับกรณพี ระอุปคุตเถรเจา้ มาเมตตาโปรดหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ มเี ร่อื งราวดังนี้
“สมัยท่ีหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านเดินธุดงค์แสวงหาความวิเวกทางใจอยู่ในดินแดน
ประเทศพมา่ ทา่ นผ่านจังหวัดตา่ งๆ มากมายหลายแหง่ ในวนั หน่ึงขณะท่ที า่ นเขา้ ทีเ่ จรญิ สมณธรรม
เม่อื จิตสงบดแี ลว้ ก็ปรากฏนิมติ หมายอันสำ� คัญวา่ ไดม้ พี ระภิกษุสงฆอ์ งค์หนง่ึ มาปรากฏกายยนื อยู่
ต่อหน้าของทา่ น พระภิกษุสงฆอ์ งคน์ นั้ มีรัศมกี ายสีฟา้ และมแี สงที่สวยสดงดงามตา ระยิบระยับไป
ทัว่ บริเวณนน้ั คร้ันแลว้ พระภิกษสุ งฆ์ผ้งู ดงามไดเ้ อย่ ขึน้ กับท่านวา่ “เราคอื พระอุปคุต เธอเคยเปน็
ศิษย์ของเรา เธอมีนสิ ัยแกก่ ล้า เอาให้พ้นทกุ ข์นะ” ตอ่ จากนัน้ ภาพของพระภกิ ษสุ งฆ์น้ันก็ค่อย
หายไป ด้วยเหตุการณ์คร้ังน้ี ท�ำให้หลวงปู่พรหม มีกำ� ลงั ใจทีจ่ ะปฏบิ ตั ติ ่อไปอกี มากมาย ดังนัน้
หลวงปู่พรหมจึงมุง่ ปฏิบตั ธิ รรมตามเสด็จพระพุทธเจา้ และพระสาวกเจา้ ทัง้ หลายใหท้ นั ในชาตนิ ี”้
อดีตชาติของหลวงปูพ่ รหม ทา่ นเคยเป็นลูกศษิ ยข์ องพระอุปคตุ มเี รือ่ งเลา่ ดงั นี้
หนทหี่ นึ่ง ท่านเล่าว่า “หลวงปพู่ รหม กบั หลวงปขู่ าว เคยไดอ้ ย่จู �ำพรรษาร่วมกนั ท่ี
แม่สาย ทเ่ี วียงป่าเปา้ และทบี่ ้านปง กบั ครูอาจารย์ม่นั และครอู าจารย์มนั่ นน่ั เองท่ีบอกหม่คู ณะวา่
“ท่านพรหมเคยบวชเป็นเณรนอ้ ยพระอปุ คุตมาก่อน” อนั นที้ ่านอาจารย์ขาวเล่าสูก่ ันฟัง”
หนทส่ี อง หลวงปพู่ รหม ท่านเล่าใหพ้ ระศษิ ยฟ์ งั ดงั นี้
“แตก่ อ่ นเกิดอยู่แม่แตง แม่มาลัย เป็นลูกศษิ ย์ของพระโมคคลั ลาน์ ในยุคสมยั ที่พระอัคร–
สาวกพากนั มาอยู่จำ� พรรษาท่วี ัดบา้ นปง ต้งั แต่ก่อนเกา่ (วดั อรญั ญวเิ วก ในปจั จบุ ัน) ตายจากภพนนั้
ไปสวรรค์ เกดิ มาอีกไปเกดิ อยอู่ นิ เดยี เปน็ ลกู ศษิ ยข์ องพระอปุ คุต ตายแลว้ ไปสวรรค์ ลงมาเกดิ อยู่
บ้านตาล (อ�ำเภอสวา่ งแดนดนิ จังหวัดสกลนคร)”
พระอุปคุตเถรเจ้า
พระอุปคุตเป็นพระอรหันตท์ ีม่ ีฤทธานุภาพมาก ท่านไดร้ บั อาราธนาให้เป็นผูป้ ราบพญามาร
ท่ีจะมาท�ำลายพิธีสมโภชพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช
ท�ำใหพ้ ญามารยอมสยบอย่างราบคาบ ด้วยเหตุนี้ พระอุปคุต จึงได้ชื่อว่าเทพเจ้าผู้คุ้มครองรักษา
และประทานโชคลาภให้แก่ผกู้ ราบไหวบ้ ชู า
เรื่องราวของพระอุปคุต ไม่มกี ลา่ วในพระไตรปฎิ ก เพราะท่านเกิดหลังพทุ ธกาล คอื เปน็
พระอรหันต์หลงั พุทธปรนิ พิ พานแลว้ ๒๐๐ กวา่ ปี ตามต�ำนานกล่าวว่า
“ก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า พระอุปคุตจะเป็นผู้
ทำ� หน้าท่ีสบื ทอดและพทิ ักษ์พระพุทธศาสนา ประดุจดงั พระพุทธเจา้ พระองค์หน่งึ ภายหนา้ จะเปน็
151
ผู้ปราบพญามารท่ีคอยมาท�ำลายพิธีกรรมต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา และพญามารจะคลาย
มิจฉาทิฐิละพยศ ยอมเข้ามาอยู่ในบวรพุทธศาสนา และพญามารจะแสดงอิทธิฤทธิ์เนรมิตตนเอง
แสดงให้เหน็ เปน็ พระพุทธเจา้ ใหบ้ รรดาพระสงฆส์ าวกได้เหน็ เป็นมหัศจรรย”์
เรอื่ งราวของพระอุปคตุ ปรากฏภายหลงั พุทธปรินพิ พาน ๒๑๘ ปี คอื ท่านเกิดร่วมสมยั
กบั พระเจ้าอโศกมหาราช พระอุปคุตเกิดในตระกลู พอ่ ค้า ประกอบอาชพี ค้าเคร่ืองหอมอยู่ในเมือง
มถุรา แควน้ สุรเสนะ เป็นเมืองท่ตี งั้ อยู่บนฝ่ังแมน่ �้ำยมุนา บิดาของทา่ นมีบตุ รชาย ๓ คน พระอปุ คตุ
เปน็ ลูกชายคนท่ี ๓
สาเหตุที่ท่านได้มาบวช เป็นเพราะบิดาได้เคยเอ่ยปากสัญญาไว้กับพระเถระรูปหนึ่ง คือ
พระสาณวาสเี ถระ (หรอื สาณสัมภูต)ิ วา่ หากตนมีบุตรชาย จะใหอ้ ปุ สมบทในพระพุทธศาสนา
เมือ่ มบี ุตรชายคนแรก กบ็ ่ายเบี่ยงว่ามีความจ�ำเปน็ ต้องให้ดูแลกิจการของครอบครัว เอาไว้
เมอื่ มบี ตุ รชายคนท่ีสอง จะใหบ้ วชอย่างแนน่ อน
พอมีบตุ รชายคนทสี่ อง บดิ าก็บา่ ยเบี่ยงอีก อ้างว่ามีความจำ� เปน็ ตอ้ งเอาไวต้ ดิ ตอ่ ท�ำธุระกับ
ต่างเมอื ง ขอผดั ผ่อนไปเป็นบตุ รคนทส่ี ามก็แล้วกัน
พอมบี ุตรคนทส่ี าม คอื อุปคตุ บดิ ากแ็ กลง้ ทำ� เมนิ เฉยตอ่ ค�ำสญั ญาน้ัน ฝา่ ยพระเถระเหน็ วา่
ยงั ไมถ่ งึ เวลาจงึ นิง่ เฉยอยู่ รอจนอุปคตุ โตเปน็ หน่มุ ตอนน้ันอปุ คตุ ไดช้ ว่ ยบิดาท�ำการค้าขาย ดว้ ย
อ�ำนาจแหง่ บุญ ปรากฏวา่ สินค้าขายดมี าก เงินทองหลง่ั ไหลเขา้ ตระกูลอยา่ งมากมายมหาศาล (จงึ
มีความเชื่อกันวา่ ถา้ ไดบ้ ชู าพระอปุ คตุ เป็นประจ�ำ จะชว่ ยให้โภคทรัพยไ์ หลมาเทมา กิจการเจริญ
ก้าวหนา้ เปน็ ปึกแผ่น)
เม่อื ถงึ เวลาทเี่ หมาะสม พระสาณวาสเี ถระ ไดแ้ วะไปทีร่ ้านและกล่าวธรรมกถาให้อปุ คตุ ฟงั
ปรากฏว่าทา่ นไดด้ วงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปตั ติผล เปน็ พระอริยบุคคลข้นั ต้น แล้วพระเถระจงึ ไป
ทวงสญั ญากบั บดิ า เมอื่ หมดทางบ่ายเบีย่ ง จึงยอมใหอ้ ปุ คตุ บวชตามสัญญา
เม่ือบวชแล้ว พระอุปคุตก็ได้เจริญวิปัสสนาญาณโดยล�ำดับจนบรรลุพระอรหัตผล เป็น
พระอริยบุคคลช้ันสูงสุด และต่อมาท่านก็ได้เป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานที่มีช่ือเสียง
โด่งดัง ในคัมภรี ์กล่าวว่า ทา่ นมลี กู ศษิ ยท์ สี่ �ำเร็จพระอรหนั ต์มากถงึ ๑๘,๐๐๐ องค์ ส�ำนกั ของทา่ น
อยู่ทวี่ ัดนตภตั กิ าราม ภเู ขาอุรมุ นท์
พระอุปคตุ ท่านสำ� เร็จอภิญญาต่างๆ มีอิทธิฤทธ์มิ าก มีปฏิปทาดำ� เนนิ ไปในทางสันโดษ
มักน้อย ท่านได้เนรมิตเรือนแก้วขึ้นในท้องทะเลหลวง ท่ีเรียกว่า สะดือทะเล แล้วลงไปบ�ำเพ็ญ
ภาวนาอยู่ท่ีนั่นตลอดเวลาสืบมาจนปัจจุบันน้ี เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดข้ึนต่อพระศาสนา หรือเมื่อมี
152
ผู้กราบอาราธนานิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือเพ่ือปกป้องพระศาสนาและขจัดเภทภัยเหล่านั้น
ใหห้ มดไป ดังต�ำนานพระอปุ คตุ ปราบพญามารกลา่ วไวด้ ังน้ี
“ในอดีตชาติของพญามารเคยได้รับพุทธพยากรณ์จากพระกัสสปพุทธเจ้าว่า จะได้ตรัสรู้
เปน็ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท้าววสวัตตีพญามารได้ครองทิพยสมบัติอยู่ท่ีสวรรค์
ช้ันปรนิมมิตวสวัตดี โดยสวรรคช์ ้นั น้ีจะมีเทพและมารอาศัยอยู่ร่วมกัน แต่ท้ังคู่จะไมม่ ายุง่ กันเลย
ในคนื วันทีพ่ ระพทุ ธเจา้ จะตรสั รู้นนั้ พระองค์ประทบั นง่ั อยูท่ ีโ่ คนต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงหัน
พระพกั ตรไ์ ปทางทิศตะวันออก มพี ระทยั ตั้งมน่ั ประทับนั่งคบู้ ัลลงั ก์ โดยตั้งสตั ยาธษิ ฐานว่า “แม้
เนือ้ และเลือดในสรีระเราจะแห้งเหือดไปหมดสนิ้ จะเหลอื แตห่ นัง เอ็น กระดูกกต็ ามที หากเรา
ยังไม่บรรลพุ ระสัมมาสัมโพธิญาณ กจ็ ักไมท่ �ำลายบัลลังกน์ ้ี” คอื จะไมล่ ุกจากทีเ่ ดด็ ขาด พญามาร
มีความเห็นว่าพระพุทธเจ้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะท�ำให้คนส�ำเร็จมรรคผลเข้าสู่พระนิพพาน
กันหมด ไม่เหลือวิญญาณไปข้ึนสวรรค์ จึงต้องยกกองทัพมาก�ำราบ แต่ถูกน้�ำจากมวยผมของ
พระแมธ่ รณพี ดั ไป จนในที่สดุ พญามารกย็ อมแพ้ ในภายหลงั พระพุทธเจ้าองคป์ ัจจุบันทรงพยากรณ์
เอาไวว้ ่า “พญามารตนนี้จะได้ตรสั ร้เู ป็นพระพทุ ธเจ้าพระนามว่า พระธรรมสามสี ัมพทุ ธเจ้า”
พญามารมารบกวนงานฉลองพระธาตุของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ถูกพระอุปคุตเถระ
สร้างความอับอายโดยการจับมัดไว้ที่เขาพระสุเมรุ ภายหลังปรารถนาพุทธภูมิ และยอมเป็นศิษย์
ของพระอุปคุต ท่ีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าว่า พระอุปคุตจะมา
ปราบท้าววสวัตตพี ญามาร พญามารที่เคยมารงั ควานพระพทุ ธองค์ ในวันทพ่ี ระองคจ์ ะเสด็จออก
มหาภเิ นษกรมณ์ และในวนั ที่จะตรสั ร้นู ั้น จนคลายทิฏฐมิ านะ”
ในปัจจุบันจะพบเห็นรูปเคารพของ พระอุปคุต หรือพระบัวเข็ม ซ่ึงได้รับความเลื่อมใส
ศรัทธามากในประเทศพม่า ในหม่ชู าวรามญั และในถ่นิ ล้านนาของไทย
ก�ำลังใจเป็นเร่ืองส�ำคัญ
การปฏิบตั ธิ รรมอย่างอุกฤษฏ์มมี าแต่ครัง้ พุทธกาล ในสมยั องค์สมเดจ็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจ้า
บ�ำเพ็ญทกุ รกิริยาดว้ ยประการตา่ งๆ อย่างไมม่ ใี ครเสมอเหมอื นอยู่ ๖ ปี แต่พระองค์ท่านก็ยังไม่
ตรัสรูอ้ นุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนคืนวันตรัสรู้ วนั เพญ็ วสิ าขะ เช้าวนั นน้ั นางสชุ าดาได้ถวายข้าว
มธุปายาสแก่พระองค์ท่าน พร้อมกล่าวให้ก�ำลังใจพระพุทธองค์ “ข้าแต่พระเป็นเจ้า ข้าพเจ้าขอ
ถวายมธุปายาสกับท้ังภาชนะทองอันรองใส่ ขอพระองค์จงรับโดยควรแก่พระหฤทัยปรารถนา”
ไหวแ้ ลว้ ทลู ว่า “มโนรถความปรารถนาจงส�ำเร็จแกท่ ่าน เหมอื นดังสำ� เร็จแก่ข้าพเจา้ เถิด”
153
เมื่อถวายแล้วนางจึงทูลลากลับไปยังท่ีอยู่แห่งตนด้วยจิตใจอันปีติเบิกบาน ข้าวมธุปายาส
ของนางสุชาดา ถอื เป็น ภตั ตาหารม้ือแรก หรือ การถวายอันส�ำคัญ ก่อนท่พี ระบรมโพธสิ ัตวจ์ ะได้
ตรัสรูเ้ ปน็ พระสัมมาสมั พุทธเจ้า เม่ือนางสุชาดาทลู ลากลบั ไปแล้ว พระบรมโพธิสัตวจ์ งึ เสดจ็ จากร่ม
นิโครธพฤกษ์ ทรงถอื ถาดมธปุ ายาสนนั้ เสด็จส่ฝู ั่งแมน่ �ำ้ เนรัญชรา เมื่อสรงพระวรกายแลว้ จึงประทับ
นง่ั ริมฝั่งแม่น�้ำนั้น บ่ายพระพกั ตรส์ ู่ทศิ บรู พา คือ ตะวนั ออก ทรงป้นั ข้าวมธุปายาสเป็นปนั้ ๆ ได้
๔๙ ป้ัน แล้วเสวยจนหมด ซ่งึ ถือเปน็ อาหารทิพยอ์ นั จะคมุ้ ไดถ้ ึง ๔๙ วัน ในการเสวยวมิ ุตตสิ ุข
ภายหลังการตรัสรู้
กรณีของหลวงปู่พรหม จริ ปุญฺโ กเ็ ชน่ เดียวกนั ก่อนการบรรลุธรรมนัน้ ท่านไดร้ ับค�ำชม
ท�ำให้เกิดก�ำลังใจในการปฏิบัติธรรมเป็นอันมาก โดยจากหลวงปู่ม่ัน ภูริทตฺตมหาเถร ครูบา–
อาจารยใ์ นปัจจบุ นั ชาติของท่าน ๒ คร้งั ครัง้ แรก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ขณะท่านอยู่ปฏบิ ัตธิ รรมกับ
หลวงปมู่ ัน่ ทสี่ �ำนกั สงฆ์ปา่ เมี่ยงแมส่ าย และครั้งทสี่ อง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ขณะอยู่จำ� พรรษากบั
หลวงปู่มั่นที่วัดพระธาตุจอมแจ้ง อ�ำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย รวมทั้งในปี พ.ศ. ๒๔๘๑
สมั โมทนียธรรมจากพระอปุ คตุ เถรเจา้ ครูบาอาจารย์ในอดตี ชาติของท่าน ได้เมตตาเหาะลอยมา
เมตตาโปรดเย่ยี มให้กำ� ลงั ใจ ในขณะท่ีหลวงปู่พรหมทา่ นธุดงค์อยทู่ ่ีประเทศพม่า ซึ่งเหลา่ น้ลี ว้ นเป็น
กำ� ลังใจส่งผลสนับสนุนต่อการปฏิบตั ิธรรมเป็นอย่างดี เพราะในกาลตอ่ มาไม่นานนกั หลวงปพู่ รหม
ท่านได้เร่งความเพียรอย่างอุกฤษฏ์เต็มท่ี และในที่สุดท่านก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสาวกอีก
องค์หนึง่
เทวดาบังบดมาใส่บาตรหลวงปู่พรหม
เรื่องของเทวดามาใส่บาตรหลวงปู่ชอบ านสโม และเรื่องของบังบดมาใส่บาตรหลวงปู่
พรหม จิรปุญฺโ ขณะท่ีทา่ นท้งั สองธุดงคห์ ลงปา่ อดอาหารในประเทศพมา่ อยหู่ ลายวัน เรือ่ งบังบด
ใส่บาตรคราวธดุ งคท์ ่ีพมา่ หลวงป่พู รหม ท่านเล่าใหค้ ุณครูชาย (ลกู ศิษยท์ ีบ่ ้านดงเย็น) ฟงั วา่
“เมอื่ ออกพรรษาแลว้ จงึ ออกธดุ งคไ์ ปประเทศพมา่ โดยเดนิ ทางขนึ้ ภเู ขา มชี อื่ วา่ ภเู ขาควาย
พอถึงยอดเขาสูง ท่านก็หลงทาง แต่ท่านจ�ำได้ว่าเส้นทางน้ีท่านเคยธุดงค์มาก่อนแล้ว ไม่น่าจะ
หลงทางเลย เดินไปๆ ก็กลบั มายงั ทีเ่ ดมิ เป็นอย่างน้ันอยูน่ าน หาทางออกไมไ่ ด้เลย และไดบ้ อกกบั
ตัวทา่ นเองว่า “เอาล่ะ โสสุดแล้วเรา !” (หาทางจนถงึ ที่สุดแลว้ เรา)
หลวงปู่จึงยึดถ้�ำแห่งน้ันเป็นท่ีพัก และปฏิบัติธรรมที่ปากถ้�ำ มีน�้ำหยดลงจากหินเป็นสาย
ตลอดเวลา และมแี อ่งหนิ เลก็ ๆ รองรบั น�้ำ และแอง่ หนิ เลก็ ๆ นี้ นำ้� ไม่เคยเตม็ สกั ที ทั้งๆ ท่ีน้�ำหยดลง
ตลอดเวลา แตป่ ริมาณของน้�ำอย่เู ท่าเดมิ หลวงปไู่ ดอ้ าศัยน้ำ� ในแอง่ หินนีด้ มื่ และเชด็ ตัว
154
ตลอดเวลา ๑๒ วัน ที่ทา่ นอาศยั อย่ปู ฏิบัติธรรมในถำ้� นี้ ท่านไม่ได้ฉันอาหารเลย มีเพยี งแต่
น�้ำดื่มเทา่ นั้น แตร่ ่างกายของท่านไม่มคี วามรู้สึกเมื่อยล้า หรือรสู้ ึกหวิ เลย การปฏบิ ัติภาวนาก็เป็นไป
ดว้ ยดี จติ ใจสงบมาก รเู้ หน็ ธรรมะ และตวั เบาสบาย
ในวนั ท่ี ๑๓ กม็ เี ทวดามาใส่บาตรให้ท่าน ซ่ึงมขี า้ ว ๑ ป้ัน มีปลาขาวไมม่ ีเกลด็ ๑ ตวั ทา่ นได้
ฉนั อาหารน้นั เป็นมื้อแรก อาหารท่ีเทวดาใสบ่ าตรน้นั มีรสชาติหอมหวาน เอรด็ อรอ่ ยมาก ฉันหมดก็
อม่ิ พอดี จติ ใจสงบ การปฏบิ ัติภาวนาก็เป็นไปดว้ ยดี มคี วามสวา่ ง พิจารณาธรรมะไดช้ ดั เจน เม่อื
ประสบกบั เหตกุ ารณเ์ ชน่ น้ัน หลวงปู่ก็หวนนกึ ถงึ พระคุณของพอ่ แมค่ รอู าจารย์ คือ องคห์ ลวงปมู่ ั่น
ภรู ทิ ตฺโต
ต่อมา เมื่อถึงวนั ที่ ๑๗ หลวงปู่กเ็ ห็นช่องทาง ทา่ นเล่าว่า เป็นชอ่ งทางใหเ้ ดนิ กลบั หลวงปู่
เดินทางไปตามช่องทางน้ันจนกระท่งั พบกับครอบครัวชาวเขาชาวพม่า ๔ หลงั คาเรอื น พวกเขาใส่
บาตรทา่ น และทา่ นไดพ้ ักอยู่กับพวกเขา ๒ คืน ชาวเขาได้บอกทางให้เดินกลับถงึ วัดที่หลวงปมู่ ั่นพัก
จ�ำพรรษาอย่”ู
155
ภาค ๙ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ม่ันที่บรรลุธรรมองค์แรก
ท่านบรรลุธรรมเป็นองค์แรก ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ เม่ือท่านเดินทางกลับจากพม่าแล้ว ท่านได้บ�ำเพ็ญธรรมขั้น
แตกหักและได้บรรลุธรรมที่ป่าเขาแถบอ�ำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ท่านเป็นพระศิษย์องค์แรก
ของหลวงป่มู ั่น ภรู ทิ ตฺโต ที่บรรลุธรรมก่อนหม่คู ณะ โดยครูบาอาจารย์ได้เลา่ ต่อๆ กันมา และ
หลวงปู่จนั ทา ถาวโร พระศิษย์อาวโุ สองคห์ น่ึงของหลวงปขู่ าว อนาลโย ท่านกไ็ ดก้ ล่าวยืนยันถงึ
การบรรลธุ รรมของหลวงปูพ่ รหมว่า “ท่านส�ำเรจ็ อรหันต์กอ่ นหมเู่ พ่ือนทง้ั หลาย” โดยบรรลธุ รรม
กอ่ นพระศิษยเ์ พชรน้�ำหนึ่งทต่ี ดิ ตามหลวงปมู่ น่ั ขน้ึ ภาคเหนอื จากเหตุผลประการตา่ งๆ สรปุ ได้ว่า
หลวงปู่พรหม บรรลธุ รรมข้นั สงู สดุ เป็นพระอรหนั ตสาวก ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ขณะมอี ายุ ๔๘ ปี
พรรษา ๑๑ ดังนี้
๑. ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงปูพ่ รหมท่านได้จำ� พรรษากับหลวงปู่มนั่ ท่ีวดั พระธาตจุ อมแจ้ง
ด้วยท่านมีความปรารถนาพ้นทุกข์อย่างแรงกล้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ท่านจึงเร่งบ�ำเพ็ญเพียรอย่าง
อุกฤษฏ์โดยถือเนสัชชิตลอดพรรษา ความเพียรของท่านเป็นข้ันอัตโนมัติ เมื่อออกพรรษาแล้ว
หลวงปู่มั่นท่านถึงกับกล่าวชมเชยหลวงปู่พรหม และในขณะน้ันหลวงปู่มั่นยังไม่มีพระศิษย์องค์ใด
บรรลธุ รรมตามทา่ น ทา่ นจึงไม่ได้มอบภาระใดๆ ให้หลวงปพู่ รหม ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้หลวงปพู่ รหมไดม้ ี
โอกาสเร่งความเพยี รธรรมขนั้ แตกหกั ไดอ้ ยา่ งเตม็ ที่
๒. ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงปู่พรหมท่านกราบลาหลวงปู่มั่นเดินธุดงค์เข้าพม่า
และท่ีพมา่ เกิดเหตกุ ารณ์อันอศั จรรย์ พระอปุ คตุ เถระมาเมตตาเย่ียมให้ก�ำลงั ใจทา่ น ย่งิ ทำ� ให้ท่าน
เกดิ ปตี แิ ละเกดิ กำ� ลงั ใจอยา่ งแรงกลา้ ทจี่ ะบำ� เพญ็ เพยี รใหพ้ น้ ทกุ ข์ จากนนั้ ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ทา่ นกเ็ ดนิ
ธุดงค์กลับมาทางอ�ำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ดังนั้น ท่านจึงพ้นทุกข์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑
กอ่ นเขา้ พรรษา โดยกาลต่อมาหลวงปูพ่ รหมทา่ นไดเ้ มตตาเลา่ เปิดเผยธรรมธาตขุ องทา่ นให้หลวงตา
พระมหาบัว าณสมฺปนฺโนฟังว่า ท่านบรรลุธรรมทางดอยแม่ปั๋ง อ�ำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
และเลา่ ให้หลวงปู่จันทา ถาวโรฟงั ว่า จติ ท่านสนิ้ กิเลสในขณะเดนิ จงกรม
๓. ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงปพู่ รหมไดจ้ ำ� พรรษากบั หลวงปู่มัน่ อกี วาระหน่งึ และทา่ นไดร้ ับ
ความไว้วางใจจากหลวงปูม่ ่นั โดยหลวงปมู่ ั่นมอบภาระหัวหน้าสำ� นกั สงฆบ์ ้านแม่กอยให้ทา่ น เพอ่ื
คอยดแู ลพระ เณร และกจิ การงานทั้งหมดของส�ำนัก องค์หลวงปูม่ ่นั เองอยู่ในฐานะครอู าจารยแ์ ละ
เป็นประธานสงฆ์ หลวงปู่พรหมได้ท�ำหน้าท่เี ป็นอยา่ งดี
156
๔. ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เมอ่ื หลวงปมู่ นั่ เดนิ ทางกลบั ภาคอสี านแลว้ และหลวงปขู่ าว อนาลโย
มาส�ำนักสงฆ์บ้านแม่กอย หลวงปู่พรหมจึงฝากภาระหัวหน้าส�ำนักสงฆ์ให้หลวงปู่ขาวดูแลแทน
จากน้ันท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปพม่าเพียงตามล�ำพัง และอยู่ทางภาคเหนืออีกระยะหนึ่งเพื่อโปรด
ชาวปา่ ชาวเขาทีเ่ คยมีบญุ คุณตอ่ ท่าน จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ทา่ นจึงเดินทางกลับภาคอีสาน
๕. หลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนฺโน เทศนถ์ ึงเพชรน�ำ้ หนึ่งบรรลุธรรมท่เี ชย่ี งใหม่ ดังน้ี
“เชียงใหม่รู้สึกวา่ เด่นมาก นบั แตห่ ลวงปู่มัน่ หลวงปู่ขาว หลวงป่พู รหม หลวงปแู่ หวน
หลวงปู่ตือ้ เทา่ ท่ีเรานับได้ ๕ องค์ เอ ! หลวงปู่สิมก็ดูว่าจะอยู่ที่นน่ั ล่ะมงั หลวงป่สู ิมน้ีองค์หนึ่ง
รวม ๖ องคเ์ ทา่ ที่จ�ำไดน้ ะ มีแตเ่ พชรนำ�้ หน่ึงผดุ ขนึ้ ทเี่ ชยี งใหม่ สถานท่ีเช่นน้นั ล่ะ เป็นสถานที่เพาะ
ท่านผเู้ ลศิ เลอ ในป่าในเขาๆ ทา่ นอยู่ในป่าในเขาท้งั นัน้ แหละ”
๖. พระศษิ ย์เพชรนำ้� หนงึ่ ของหลวงปมู่ ั่น ภรู ทิ ตโฺ ต บรรลธุ รรมทจ่ี ังหวัดเชยี งใหม่ ถัดจาก
หลวงปูพ่ รหม มดี ังนี้
หลวงปู่ต้ือ อจลธมฺโม ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๒ ทา่ นบรรลธุ รรมในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ จาก
เทศนาธรรมของหลวงปตู่ อ้ื อจลธมฺโม ทา่ นได้เมตตาเทศน์เรื่องนไี้ ว้ดังน้ี
“พระอาจารยต์ ือ้ อจลธมโฺ ม พรรษา ๗๔ อายุ ๙๔ เตม็ บริบูรณ์ จึงจะกล่าวธรรมะไวเ้ มตตา
แก่ลกู หลานเกดิ มาภายซอ่ ย (ภายหลงั ) พุทธะ ธมั มะ สังฆะ อยู่ในทอ้ งของคณุ ยายครบั พุทธัง ธมั มัง
สังฆงั เกิดแล้วคณุ ยาย ๑๙ ปี เป็นพระอรหนั ต์เป็นไป ซาวปีแรก (๒๐ ปแี รก) จงึ บวชเปน็ ภกิ ขไุ ด้
เรียกสงฆ์ไทย”
หลวงปูต่ ้อื บวชเรยี นและออกธดุ งค์ปฏบิ ตั ิธรรมเอง ๒๐ ปี เรยี กสงฆไ์ ทย ศกึ ษาธรรมกบั
หลวงปมู่ ่ันและออกธดุ งค์ปฏบิ ัตธิ รรม ๑๙ ปี เรียกเปน็ พระอรหันต์เป็นไป รวมทงั้ หมด ๓๙ ปี
ท่านบวชเม่อื ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ขณะมอี ายุ ๒๑ ปี ฉะนั้น ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงปูต่ ้อื ท่านบรรลธุ รรม
ขั้นสูงสุดเปน็ พระอรหนั ต์ ขณะมีอายนุ ับได้ ๖๐ ปี
หลวงปู่ขาว อนาลโย ญตั ตเิ ป็นธรรมยตุ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ บรรลุธรรมราวปี พ.ศ. ๒๔๘๔ –
พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นโฺ น ไดเ้ ขียนในประวัตหิ ลวงปขู่ าว ไวด้ ังนี้
“หลวงปู่ขาวเป็นผู้ผ่านพ้นภัยพิบัติสารพัดท่ีเคยมีในสงสาร บัดนี้ ท่านถึงสอุปาทิเสส–
นพิ พานในสถานที่มนี ามวา่ “โหลง่ ขอด” แห่งอ�ำเภอพร้าว จังหวดั เชยี งใหม่ ในราวพรรษาที่ ๑๖
หรือ ๑๗ (ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ – พ.ศ. ๒๔๘๕) ผเู้ ขียนจำ� ไมถ่ นัด จำ� ไดแ้ ต่เปน็ ฤดูเริ่มเกบ็ เกี่ยว ตอน
ออกพรรษาแล้วใหม่ๆ”
157
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงป่ขู าวชวนหลวงป่แู หวน สุจณิ โฺ ณ กลบั ภาคอสี านด้วยกนั แต่
หลวงปู่แหวนขออยบู่ ำ� เพ็ญธรรมให้ไดอ้ รหตั ตผลกอ่ น และต่อมาทา่ นไดบ้ รรลุธรรม ดังน้ี
“วนั หนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงปขู่ าว อนาลโย ซึ่งอย่ทู ่ีวัดถำ้� กลองเพล จงั หวดั อดุ รธานี
ไดป้ รารภเปน็ เชงิ รำ� พงึ อนโุ มทนากบั บรรดาศษิ ยานศุ ษิ ยข์ องทา่ นวา่ “เมอื่ คนื ไดน้ มิ ติ เหน็ ทา่ นแหวน
จติ ใสเหมอื นแก้ว สว่างไสวท้ังองค์ ท่านแหวนได้อรหัตตผลแลว้ หนอ”
ส�ำหรบั หลวงป่สู ิม พทุ ธฺ าจาโร ก่อนทห่ี ลวงปูม่ ัน่ จะกลบั ภาคอสี าน ท่านได้พยากรณไ์ วว้ า่
“ศิษย์รุน่ ตอ่ ไปทีจ่ ะมชี อ่ื เสยี งโด่งดงั คือ ท่านสมิ กบั ทา่ นมหาบวั น้แี หละ” และในปี พ.ศ. ๒๔๘๖
ก่อนหลวงปู่พรหมกลับภาคอีสาน หลวงปู่สิมท่านเดินธุดงค์ไปศึกษาฟังธรรมหลวงปู่พรหม และ
ต่อมาทา่ นไดบ้ รรลธุ รรมทเี่ ชยี งใหม่
อน่ึง ในคร้ังพุทธกาล เม่ือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ทรงประกาศ
พระพุทธศาสนา โดยเทศน์โปรดปญั จวัคคยี ์ทงั้ ๕ เป็นคณะแรก ครั้งนั้นพระอญั ญาโกณฑัญญะ
เรมิ่ รู้ธรรมเหน็ ธรรมตามพระองค์เป็นองค์แรก พระพทุ ธองค์ทรงปล้ืมพระทยั เป็นอนั มาก จนเปล่ง
อทุ านออกมาวา่ “อัญญาโกณฑญั ญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรูแ้ ลว้ หนอ” และได้เทศนโ์ ปรด
จนปัญจวัคคียท์ ้งั ๕ กบ็ รรลธุ รรมตามพระองค์ เปน็ ประจักษ์พยานของการตรสั รู้ธรรม
คราวหลวงปู่พรหมบรรลุธรรมตามหลวงปู่ม่ันเป็นองค์แรกนั้น ก็เช่นเดียวกัน ย่อมท�ำให้
หลวงปมู่ ัน่ ปล้มื ใจเปน็ อนั มาก และยอ่ มท�ำใหพ้ ระศษิ ยห์ ลวงปมู่ ั่นองค์อ่ืนๆ ต่างเร่งทำ� ความเพยี รกัน
อย่างอุกฤษฏเ์ ต็มท่ี ซ่งึ กาลตอ่ มาพระศษิ ย์แตล่ ะองคต์ ่างกบ็ รรลุธรรมตามๆ กนั จนปรากฏมชี อ่ื เสยี ง
โด่งดังเปน็ ท่รี ู้จักกนั อยา่ งกวา้ งขวาง ครบู าอาจารย์เพชรน�้ำหน่ึงท่านเป็นสังฆรัตนะอันประเสริฐสุด
เปน็ ทเี่ คารพกราบไหว้บูชา และเป็นท่ีพงึ่ ของชาวพทุ ธ จวบจนปจั จบุ ัน
หลวงปู่พรหมบรรลุธรรมขณะเดินจงกรมที่จังหวัดเชียงใหม่
สถานทบี่ รรลธุ รรมของหลวงปูพ่ รหม จริ ปญุ ฺโ ทีจ่ งั หวดั เชยี งใหม่ หลวงตาพระมหาบัว
าณสมฺปนฺโน ทา่ นได้เมตตาเทศน์เล่าไวด้ งั นี้
“นีห่ ลวงป่พู รหมนะน่ี หลวงปูพ่ รหมไปส�ำเร็จทเี่ ชียงใหมน่ ะนี่ ทา่ นเลา่ ใหฟ้ งั เอง ท่านไป
สิ้นสุดทเ่ี ชียงใหม่... ดูจะเป็นเหมอื นทางแมป่ ั๋งเหมือนกนั นะ หลวงปขู่ าว โหล่งขอด ท่านเลา่ ให้ฟงั
โหลง่ ขอดไปทางอำ� เภอแมแ่ ตงล่ะม้งั นีม้ ีแตป่ า่ แต่เขาทั้งนนั้ นะ อาจารยพ์ รหมกอ็ ยูท่ างแมป่ ั๋งล่ะทา่
เวลาเราไปกราบเย่ียมหลวงปู่แหวนน้ัน มีฆราวาสเขาชี้บอกสถานท่ีท่านอยู่ จากวัดดอยแม่ปั๋งไป
ทางตะวันออก หลวงปู่พรหมทา่ นมาพกั อยทู่ นี่ ่วี ่างนั้ เราก็ดทู ีน่ นั่ เปน็ ป่าทั้งน้ันแหละ
158
ท่าน (หลวงปพู่ รหม) เลา่ ให้ฟงั อยา่ งเปิดเผย ท่านเสร็จสน้ิ มาแลว้ ตั้งแตอ่ ยเู่ ชยี งใหม่ มากม็ า
พบกนั ทีบ่ ้านนามน ตอนนน้ั เราอยทู่ บ่ี ้านนามนกบั พอ่ แม่ครอู าจารย์มั่น”
การบรรลุธรรมของพระอรหันตม์ ดี ว้ ยกันทุกอิรยิ าบถ ท้ังจากการเดิน ยืน นง่ั นอน ภาวนา
กรณีของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านบรรลุธรรมในขณะเดินจงกรมภาวนา เช่นเดียวกับคร้ัง
พุทธกาลกม็ ีกรณีของปัจฉมิ สาวก พระสุภทั ทภกิ ษุ โดยหลวงปจู่ นั ทา ถาวโร พระศษิ ยอ์ าวุโสของ
หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านได้เมตตาเล่าเรื่องนีไ้ วด้ งั นี้
“สมยั ทอ่ี ยู่ถ้�ำกลองเพลโนน้ ได้ไปบา้ นดงเยน็ อำ� เภอบา้ นดุง จังหวดั อุดรธานี ไปศึกษากบั
หลวงปู่พรหม จิรปุญโฺ ทราบขา่ วว่า ท่านส�ำเรจ็ อรหันต์ก่อนหมเู่ พื่อนทงั้ หลาย ทา่ นเปน็ ลูกศิษย์
รุ่นใหญข่ อง หลวงปู่มน่ั ก็ไปกราบเรียนถาม
“ข้าแต่หลวงปู่ ขอจงเมตตาลูกหลานผู้ยังจมอยู่ เจริญธรรมอย่างไร จิตจึงจะล่วงพ้นจาก
กเิ ลสวฏั ฏ์ กรรมวฏั ฏ์ ได้ ขอจงเมตตาลูกหลานเถิด”
ท่านก็วา่ “จ�ำนะ ลกู หลาน กเิ ลสของหลวงปู่มันหนาแน่น หยาบ ปหี น่งึ อยเู่ ชยี งใหม่กบั
หลวงปู่ม่ัน ท�ำรา้ น (ท่ีพกั ) พอไดน้ ่ัง กลดใหญ่ ร้ิวกลดเท่านว้ิ มอื ยาวขา้ งละวา เอาขี้ยางและ
น�ำ้ มนั ยางผสมกนั แล้วทา พอไดก้ นั้ แดดกั้นฝน เอาไมน่ อน เดิน ยืน นัง่ เท่านน้ั ๗ วันฉันครั้ง
๑๕ วนั ฉนั ครั้ง ฉันขา้ วนอ้ ยมันกไ็ ม่ทับธาตุ มนั กเ็ บา ใหม้ นั ทกุ ข์เกดิ ข้นึ เผากาย มันก็เผาจติ ” ทา่ นว่า
อย่างนั้น “ในไตรมาส ๓ เดอื น มแี ตเ่ ดิน ยืน นั่ง เทา่ นน้ั เดินจงกรมเอาทกุ ขเ์ ปน็ อารมณข์ องจติ
จติ สงบพบั สงบลงข้นั ขณิกสมาธ”ิ ทา่ นว่า “พอจติ มนั สงบแลว้ สติกบั ปัญญาเปน็ ดาบเพชร ตัดกิเลส
ออกจากจติ จิตสน้ิ กิเลสในขณะเดินจงกรม ทางยาว ๒ เส้น กวา้ ง ๒ เมตร นน่ั ”
น่ไี ดไ้ ปศึกษากบั หลวงปพู่ รหม เป็นอยา่ งน้ัน
หลวงปู่พรหมท่านก็ว่า “ลูกหลานทั้งหลาย จงท�ำความเพียรเวียนหาทางพ้นทุกข์ อย่าง
หลวงปู่ทำ� นด้ี มี าก นนั่ แหละ ไมผ่ ิดหวงั ในการเจริญธรรม”
การบ�ำเพญ็ ธรรมข้ันสงู สดุ จนบรรลุธรรมเปน็ พระอรหันตข์ องหลวงปพู่ รหม จริ ปญุ ฺโ นน้ั
วงกรรมฐานทราบกันเป็นอย่างดี เพราะมีการตรวจสอบคุณธรรมซ่ึงกันและกัน และย่อมทราบ
ดว้ ยวา่ ทา่ นเปน็ พระอรหนั ตป์ ระเภทไหน แตท่ างธรรมยอ่ มไมเ่ หมอื นกบั ทางโลก จงึ ไมไ่ ดน้ ำ� มาอวด
มาเปิดเผยสู่สังคมภายนอก แม้หลวงปู่พรหมเองท่านก็ไม่เคยเปิดเผยเร่ืองการบรรลุธรรมอันเป็น
ธรรมฝ่ายผล ให้บรรดาพระศิษย์ฟังเลย แต่ท่านกลับพารักษาข้อวัตรปฏิบัติ การท�ำความเพียร
ภาวนาอยา่ งเข้มงวดกวดขันอันเป็นธรรมฝ่ายเหตุ ให้พระศษิ ย์ดูเป็นคตแิ บบอยา่ ง
159
อนง่ึ การพิจารณาธรรมขัน้ นข้ี องหลวงปู่พรหม เปน็ การทำ� ลายกเิ ลสอวิชชาด้วยมหาสติ
มหาปัญญา โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว าณสมปฺ นโฺ น ไดเ้ มตตาเทศน์ไวด้ งั นี้
“...นบั แต่ขั้นสติธรรมดา ข้นั ปญั ญาธรรมดา จนกลายเปน็ ขน้ั มหาสตมิ หาปัญญา มีความ
สามารถแกล้วกล้าตอ่ การพจิ ารณาส่ิงที่เกิดขน้ึ จากตวั เองไดท้ กุ เวลา กเ็ ม่ือสติปัญญาไดแ้ ปรสภาพ
ขน้ึ สคู่ วามเปน็ มหาสตมิ หาปญั ญาแลว้ กเิ ลสอาสวะจะซอ่ นตวั อยทู่ ไ่ี หน สามารถจะแทงทะลปุ รโุ ปรง่
ไปหมด ไม่มสี ิ่งใดปิดบงั และกีดขวางไว้ได้ ไม่ตอ้ งพดู ถึงสว่ นรา่ งกายซง่ึ เปน็ ส่วนหยาบๆ ทีส่ ตปิ ญั ญา
จะไมส่ ามารถรเู้ ทา่ ทนั และถอดถอนตนออกได้ แม้เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณ ซ่งึ เป็นสว่ น
ละเอียดย่ิงกว่ารูปกายน้ี ปัญญาประเภทนี้ยังสามารถสอดส่องมองเห็นโดยตลอดทั่วถึง และ
ถอดถอนตนออกจากสิง่ เหล่านี้ได้อีก
ส่วนละเอยี ดยงิ่ กวา่ นก้ี ็คอื อวชิ ชา ผทู้ รงไว้ซ่งึ กิเลสท้งั มวลทถี่ อื กนั วา่ เราวา่ เขานีเ้ อง ปญั ญา
ยังสามารถท�ำลายได้ ภพชาติอันเป็นบ่อกังวลของสัตว์ภายในอวิชชา เป็นหน้าที่และอ�ำนาจของ
มหาสตมิ หาปญั ญาเปน็ ผทู้ ำ� ลายใหข้ าดสะบัน้ ลงในขณะเดยี วเทา่ นัน้ เร่ืองการเกดิ ตายทเี่ คยผลักดัน
ใหจ้ �ำตอ้ งยอมจ�ำนน ย่อมสญู ส้นิ ลงในขณะทอี่ วิชชาขาดกระเด็นไป นนั่ คือ พทุ โธเต็มดวง ธมโฺ ม
ปทีโป กเ็ กดิ ในขณะเดียวกัน แมส้ ังโฆก็เกิดขึ้นในขณะอวิชชาดับเชน่ เดยี วกัน เปน็ อันว่าพทุ ธะกด็ ี
ธรรมะกด็ ี สังฆะก็ดี ยอ่ มปรากฏข้ึนอย่างเต็มทีใ่ นขณะมหาสตมิ หาปัญญาทำ� ลายอวิชชาภายในใจ
ใหส้ น้ิ ซากลงไป”
พ.ศ. ๒๔๘๑ ท่านจ�ำพรรษาและเป็นหัวหน้าส�ำนักสงฆ์บ้านแม่กอย
ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงปพู่ รหม จริ ปญุ ฺโ ท่านกลบั จากธดุ งค์ในประเทศพม่า ในพรรษาน้ี
หลวงปพู่ รหมได้มโี อกาสพักจ�ำพรรษาร่วมกบั หลวงป่มู ่นั อกี เป็นครงั้ ทีส่ อง ท่สี ำ� นกั สงฆ์บา้ นแม่กอย
อ�ำเภอพร้าว จังหวดั เชยี งใหม่
การจำ� พรรษาของหลวงปพู่ รหมร่วมกับหลวงปูม่ ่ันในครัง้ นี้ ขณะนนั้ หลวงปมู่ นั่ ทา่ นมอี ายุ
ยา่ ง ๗๐ ปี จดั อยใู่ นวยั ชรา และหลวงปู่พรหมเองท่านกบ็ รรลุธรรมหมดกิจภายในท่ตี อ้ งบำ� เพญ็ แลว้
หลวงป่มู นั่ ท่านจึงเมตตาไวว้ างใจหลวงป่พู รหม โดยมอบภาระหัวหนา้ ส�ำนกั สงฆบ์ า้ นแม่กอยใหท้ ่าน
คอยดูแลปกครองพระ เณร และกจิ การต่างๆ ของสำ� นักสงฆ์ สำ� หรับหลวงปูม่ ั่นทา่ นอย่ใู นฐานะ
ครอู าจารย์ใหญ่และเป็นประธานสงฆ์
การบรรลุธรรมของหลวงปู่พรหมนั้น หลวงปู่ม่ันท่านทราบก่อน โดยองค์หลวงตา
พระมหาบัว าณสมฺปนโฺ น ไดเ้ มตตาเทศนไ์ วด้ งั นี้
160
“หลวงปพู่ รหม บ้านดงเย็นก็กลายเป็นพระธาตุเรียบร้อยแลว้ ตง้ั หลายๆ องค์นะ ๑๐ กว่า
องค์ บรรดาครูบาอาจารย์ท้ังหลายที่เป็นสายหลวงปู่ม่ันเรานะ เป็นลูกศิษย์ของท่านท้ังนั้นล่ะที่
อัฐกิ ลายเป็นพระธาตุ เป็นเพชรน้ำ� หน่งึ ๆ ออกมาสำ� เรจ็ อฐั ิกลายเปน็ พระธาตุ ประกาศโลกให้รทู้ ัว่ ถึง
กนั ว่านคี้ อื พระอรหนั ต์ พดู งา่ ยๆ
แต่ส�ำหรบั พระที่อยใู่ กลช้ ิดติดพนั กับท่าน ลูกศษิ ยล์ ูกหาทา่ น ท่านทราบกอ่ นแลว้ ธรรมะ
อะไรลึกต้นื หยาบละเอยี ดอะไร ระหว่างพอ่ กับลกู ไมค่ ยุ กนั มีอย่างเหรอ ต้องพูดลกึ ตน้ื หนาบาง
ขนาดไหน ท่านต้องคุยกันเต็มเหน่ียว และพระเหล่าน้ันท่านรู้หมดแล้วแหละ รู้เฉพาะเร่ือง
ภายในจิต แตไ่ ม่ประกาศอยา่ งโจง่ แจ้งเหมอื นอฐั กิ ลายเป็นพระธาตุ พออฐั ิกลายเป็นพระธาตุ
แล้วทนี ม้ี ันกย็ อมรบั หมดเลย
นี่การปฏบิ ตั ธิ รรม เมอื่ ยังมผี ้ปู ฏบิ ตั ิอยู่ ธรรมเปดิ เผยตลอด เปน็ อกาลิโก ท้งั บาปท้ังบญุ
ใครทำ� บาปเมื่อไร เปน็ บาปเมือ่ น้ัน ท�ำบุญเม่อื ไร เป็นบุญเปน็ ธรรมตลอด จนกระทงั่ หลดุ พ้นได้
เปน็ อกาลโิ ก”
ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรม
หลวงป่พู รหม จิรปญุ ฺโ แม้ทา่ นบรรลธุ รรมข้นั สูงสดุ เปน็ พระอรหันตสาวกองค์หน่งึ แล้ว
ก็ตาม งานภายในจบส้ินลงแล้ว กิเลสภายในใจท่ีจะต้องช�ำระอีกก็ไม่มีแล้ว แต่ท่านก็ยังขยัน
ขันแข็งประกอบความพากเพยี รด้วยการเดินจงกรม นง่ั สมาธิ เปน็ ประจำ� ทกุ วันมไิ ด้ขาด และท่านก็
ท�ำเช่นน้ีตราบจนวนั มรณภาพ เพราะท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมนน่ั เอง โดยองคห์ ลวงตาพระมหาบวั
าณสมฺปนโฺ น ไดเ้ มตตาเทศนเ์ ร่อื งน้ไี ว้ดังนี้
“พระพทุ ธเจ้าท้งั หลายก็ดี พระสาวกก็ดี ทา่ นทรงบ�ำเพ็ญเพียรอยูต่ ลอดเวลาจนกระทงั่ ถงึ
วนั ปรินิพพาน เพื่อความรับผิดชอบในธาตขุ ันธน์ ้เี ทา่ นนั้ เป็นส�ำคญั กเิ ลสอาสวะไมต่ ้องพดู วา่ ทา่ นจะ
แก้อะไรอกี ท่านไมม่ คี วามมงุ่ หมายอะไรในการแก้กิเลส เพราะไม่มกี เิ ลสทีจ่ ะให้แก้ ให้ถอดถอน
อนั เกี่ยวกับเร่อื งความเพยี ร ทีเ่ รยี กว่ากเิ ลสหมดนน้ั หมดอย่างนี้ ไม่ใชห่ มดแล้วจะเกิดข้ึนมาอกี เอ๊ !
ท�ำไมกิเลสนีก้ ็ว่าสนิ้ ไปแล้ว วันนี้ท�ำไมมนั โผล่ขึ้นมา น่กี ็แสดงวา่ กเิ ลสยังไม่ส้นิ ยงั ไม่หมด เพราะ
ไม่สามารถท่ีจะค้นพบส่วนละเอียดของมันท่ีฝังอยู่อย่างจมมิด มันถึงต้องโผล่ขึ้นมาในเมื่อมีโอกาส
ทจี่ ะโผลข่ ึ้นมาได้ แต่ถา้ หมดไปจริงๆ แลว้ จะเอาอะไรมาโผล่ มนั ไมม่ ีต้ังแตข่ ณะบรรลธุ รรมถึงข้ัน
บริสุทธ์ิเต็มที่แล้ว จากนั้นไปกระท่ังวันนิพพาน จะไม่ปรากฏเร่ืองอะไรท่ีแสดงข้ึนมาว่าเป็นกิเลส
ภายในจติ ใจดวงนนั้ เลย ความจริงเป็นอยา่ งน้ี
161
แตก่ ารประกอบความเพยี รของพระอรหันต์ท่านผิดกับพวกเราอยู่มาก ประกอบเพ่ือเปน็
วิหารธรรมระหว่างขันธ์กับจิตท่ีครองกันอยู่ให้เป็นความสะดวกเหมาะสม ได้รับความผาสุก
สบายไปตามกาลอันควรจนกวา่ จะถงึ อายขุ ัยแล้วก็ผา่ นไป นี่เปน็ ประเพณหี รอื เปน็ ความจ�ำเปน็
ของพระอรหนั ต์ทา่ นนบั แตพ่ ระพุทธเจ้าลงมา เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์ท่านจึงประกอบความ
พากเพยี รของท่านอยเู่ สมอมิไดข้ าด...
...พระอรหนั ตท์ า่ นไม่ไดช้ �ำระกิเลส พอกิเลสขาดสะบ้ันลงไปแลว้ ทา่ นอย่ดู ้วยวิหารธรรม
เดนิ จงกรมท่านกเ็ ดนิ เดนิ มีสามประเภท การเดนิ จงกรมของพระอรหันต์ เดินพิจารณาความหยาบ
ความละเอียดของธรรมทั้งหลายด้วย เดินเพื่อธาตุเพื่อขันธ์เป็นวิหารธรรมความอยู่สะดวกสบาย
บ้าง เปล่ยี นกันไปเปลย่ี นกันมาอยู่งั้น ที่จะได้ละกเิ ลสไมม่ ี หมด
พระพทุ ธเจา้ และพระอรหนั ต์ทา่ นจึงเดนิ จงกรมอยูก่ ระท่งั วันนพิ พาน มีในต�ำรา ทา่ นเดิน
เพือ่ วิหารธรรมของท่านหน่ึง เดนิ เพื่อพจิ ารณาเลง็ ญาณดูสัตวโลก นง่ั กน็ ่งั เพื่อพจิ ารณาเล็งญาณดู
สตั วโลก ตามกำ� ลงั ความสามารถของทา่ น ผูม้ ีความลกึ ต้ืนหยาบละเอียดแห่งญาณความรู้ของทา่ น
จากน้นั กว็ หิ ารธรรมทางธาตุขันธ์ใหอ้ ยู่สะดวกสบาย ยืน เดิน นงั่ นอน สมำ�่ เสมอหน่ึง...”
ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ท่านไปธุดงค์พม่ากับหลวงปู่ชอบ
วนั ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ตรงกับวนั อาทติ ยท์ ี่ ๙ ตุลาคม เมื่อออกพรรษาแลว้ หลวงปู่
พรหม จิรปุญโฺ ไดอ้ อกธดุ งคเ์ ทีย่ ววเิ วกประเทศพมา่ อกี ครง้ั กบั หลวงปชู่ อบ านสโม
หลวงปูพ่ รหม จริ ปุญฺโ กบั หลวงปู่ชอบ านสโม ทา่ นเป็นเพอื่ นสหธรรมิกที่มีอาวโุ ส
ใกลเ้ คยี งกนั โดยหลวงปพู่ รหมเกิดกอ่ นหลวงปชู่ อบ ๑๑ ปี แตห่ ลวงปู่ชอบบวชก่อนหลวงปูพ่ รหม
๔ ปี ต่างองค์ตา่ งมนี สิ ัยอาจหาญ เดด็ เดยี่ ว ใจเด็ดไมก่ ลวั ตายเช่นเดยี วกัน ตามประวัตทิ ่านท้งั สอง
เคยรว่ มธุดงคใ์ นประเทศพม่าและประเทศจีนด้วยกนั โดยประวตั ขิ องหลวงปูช่ อบ านสโม บนั ทกึ ไว้
ดงั น้ี
“การข้นึ ภาคเหนอื ในคร้งั น้ี หลวงปู่ชอบ านสโม ต้ังใจว่าจะเทยี่ วธดุ งคไ์ ปให้ถงึ เขตพมา่
ทงั้ ๆ ทที่ ราบว่าหนทางเปน็ ป่าเป็นเขา แสนจะทรุ กนั ดาร ไมเ่ ปน็ การผดิ เลยที่จะกลา่ วว่า สำ� หรบั
หลวงปู่ชอบแลว้ ปา่ ลกึ และเขาสูงนนั่ เอง คอื บา้ นอนั แสนผาสุกของท่าน เมื่อมีโอกาสทา่ นจะต้อง
เขา้ ปา่ ขน้ึ เขาไปตามนิสยั ได้ไปถึงใจกลางปา่ ลึก ถงึ บนดอยเขาสูงแลว้ ใจจงึ จะมีความปลอดโปร่ง
โล่งสบาย เม่ือทราบว่าหลวงปู่ชอบจะธุดงค์เด่ียวเข้าแดนพม่า บรรดาเพื่อนพระด้วยกันต่างก็
ทักทว้ งดว้ ยความเป็นห่วงวา่ ทางทีจ่ ะไปพม่าน้นั แสนจะทุรกันดาร เตม็ ไปด้วยปา่ ดงดิบดงรา้ ย ไมม่ ี
บา้ นคน มแี ตส่ ัตว์ป่า ซง่ึ มกั จะเป็นประเภทดุรา้ ยอย่างเสือ อย่างชา้ ง เป็นตน้
162
ปพี ุทธศกั ราช ๒๔๘๑ หลวงปชู่ อบ านสโม พกั ภาวนาอยบู่ ้านโหลง่ ขอด อ�ำเภอพรา้ ว
จงั หวัดเชยี งใหม่ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านมาชวนหลวงปูช่ อบ ไปเท่ียววเิ วกประเทศพม่า
ด้วยกัน กอ่ นหนา้ น้นั หลวงปูพ่ รหมท่านเคยไปเทีย่ ววเิ วกทีป่ ระเทศพมา่ มากอ่ นแล้ว หลวงปูพ่ รหม
ท่านเล่าเรื่องเท่ียววิเวกท่ีประเทศพม่าให้ฟัง หลวงปู่ชอบท่านสนใจอยากจะไปเท่ียววิเวกประเทศ
พมา่ ท่านจงึ ขอให้หลวงปูพ่ รหมน�ำทางไปเทย่ี ววิเวกประเทศพมา่
กอ่ นเดนิ ทางไปเทยี่ ววเิ วกประเทศพมา่ กับหลวงป่พู รหม หลวงปู่ชอบท่านน�ำเรอื่ งนี้กราบ
เรยี น องค์หลวงปูม่ น่ั ภูริทตโฺ ต ผู้เป็นพอ่ แม่ครูบาอาจารยเ์ พ่ือพจิ ารณา องคห์ ลวงป่มู นั่ พิจารณา
เห็นควร จึงอนุญาตให้หลวงปู่ชอบไปเท่ียววิเวกประเทศพม่ากับหลวงปู่พรหม ผู้เป็นเพื่อนตาย
สหายธรรมของทา่ น ทา่ นทัง้ สองพากันกราบลาองค์ทา่ นหลวงปูม่ ั่นท่ีสำ� นักสงฆบ์ า้ นแมก่ อย (วดั ร้าง
ปา่ แดง) ออกเดินทางมาอำ� เภอฝาง จนถงึ อ�ำเภอแม่สาย เมื่อถึงแมส่ ายทา่ นทั้งสองพากันไปพกั ที่
ถ�้ำผาจม บ้านเวยี งผางคำ�
หลวงปู่ชอบท่านบอก สมัยนั้นถ้�ำผาจมยังไม่ได้เป็นวัดวาศาสนาเหมือนกับปัจจุบันอย่างท่ี
เราเห็น ตอนท่านกับหลวงปู่พรหมพากันมาพักภาวนา ถ�้ำผาจมยังเป็นป่าเขา ไม่มีบ้านเรือนผคู้ น
เนื่องจากชาวบ้านท่ีนี่สมัยก่อนเขากลัวผีถ�้ำผาจม จึงไม่มีใครกล้าเข้ามาอยู่อาศัย พ่อแม่ครูบา–
อาจารย์ท่านว่าที่ถ้�ำผาจมผีไม่ดุอย่างท่ีคนท่ัวไปเข้าใจหรอก ส่ิงท่ีดุอยู่ถ�้ำผาจมคือพญานาคเฝ้า
สมบัติพระศาสนา ท่านบอกถ้าใครไปก้าวก่ายกับสมบัติเก่าของพระศาสนาอยู่ท่ีนี่ มักจะได้รับ
อันตรายจากฤทธิ์ร้ายของนาคา คนสมัยก่อนจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปหักร้างถางพงท�ำอะไรไม่ดีกับ
ถ้ำ� ผาจม
ท่านบอกคนท่ีนี่สมัยนั้น เขายังไม่คุ้นเคยกับพระป่ากรรมฐาน พอเห็นพระป่ากรรมฐาน
นุ่งห่มผา้ สีแกน่ ขนนุ หมอกหมองเดนิ บณิ ฑบาต เขาจะไม่กล้าออกมาใสบ่ าตร ยิ่งเปน็ ลูกเดก็ เล็กแดง
พอเจอพระป่ากรรมฐานจะพากันรอ้ งไห้ วิ่งหนกี นั จา้ ละหวัน่ ไมก่ ลา้ ออกมาดู องคท์ ่านเล่าอยา่ งขำ� ๆ
พวกเด็กนอ้ ยเห็นพระป่ากรรมฐาน เขาจะเรยี กพวกเราวา่ ตดุ๊ งๆ ตุด๊ ง คอื คำ� พดู ของคนเมอื งเหนอื
สมัยน้นั ใชเ้ รยี กพระปา่ กรรมฐานอีสาน
ทา่ นบอกกว่าจะมคี นใส่บาตรใหท้ ่านทง้ั สอง ตอ้ งเดินวนรอบบา้ นเวียงผาคำ� ๒ – ๓ รอบ
ถงึ มคี นออกมาใสบ่ าตรให้ หลงั ฉนั อาหารแลว้ ทา่ นท้ังสองแยกยา้ ยกนั ทำ� ความเพียร หลวงปพู่ รหม
ท่านลงไปเดนิ จงกรมทรี่ มิ หาดนำ้� สาย ส่วนทา่ นเดนิ จงกรมอยหู่ นา้ ถ้ำ� ผาจม ระหวา่ งเดินจงกรมอยู่
หนา้ ถ�ำ้ ผาจม ทา่ นบอกเราได้ยนิ เสียงเหมือนหวูดรถไฟไอนำ้� ดงั ขึ้นเปน็ ระยะๆ เวลาเสียงน้ีดังขนึ้
แตล่ ะครง้ั พื้นดนิ ท่ีเราเดินจงกรมอยู่น้นั จะสัน่ สะเทอื น พอสอ่ื ความหมายใหเ้ ทา้ รสู้ มั ผสั
163
หลงั เลิกจากเดนิ จงกรมแลว้ หลวงปู่ชอบทา่ นมาน่ังภาวนาบนก้อนหนิ ภายในถ้ำ� องค์ท่าน
น่ังแผ่เมตตาให้สรรพสตั วท์ ้ังหลาย กายทพิ ย์ กายหยาบ ท่อี าศยั อยูใ่ นถ้ำ� ผาจมแหง่ นี้ ให้ได้รับผลบญุ
หนุนธรรมโดยทั่วกัน ท่านวา่ ขณะแผ่เมตตาอยู่น้ัน ก้อนหนิ ท่ีเราน่งั อย่จู ะสั่นไหวไปมา มเี สียงครืดๆ
อยู่ใตก้ ้อนหนิ คล้ายกับมอี ะไรบางอย่างเคล่อื นตวั อยใู่ ตก้ อ้ นหนิ ทเ่ี รานัง่ ภาวนา องค์ทา่ นจึงก�ำหนดดู
ทีม่ าของเสยี งแผ่นดินส่นั ไหวทีใ่ ตก้ ้อนหนิ
ท่านว่าสาเหตุที่แผ่นดินสั่นไหวใต้ก้อนหินน้ัน เกิดจากพญานาคเฝ้าสมบัติพระศาสนาท่ี
ถำ�้ ผาจม แสดงอนุโมทนา เวลาทอี่ งค์ทา่ นแผเ่ มตตา พญานาคถำ�้ ผาจมตนน้ี เขายินดใี นเมตตาธรรม
ท่อี งค์หลวงปู่ชอบแผไ่ พศาล พญานาคตนนี้เป็นผหู้ นึ่งทีไ่ ดร้ บั บุญธรรมฉ�ำ่ เย็นจากองคห์ ลวงปูช่ อบ
เขาจึงแสดงเทพฤทธ์ิโมทนา โดยการม้วนแผ่นดินเพ่ือให้หลวงปู่ชอบท่านทราบว่าเขาเย็นจิตใน
มติ รไมตรขี ององคท์ า่ น หลวงปชู่ อบบอกพญานาคตนนี้ ในอดตี ชาตเิ ขาเคยเปน็ เพอื่ นตายสหายธรรม
ของ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พญานาคตนน้อี ดีตชาตเิ คยบวชเป็นฤษมี นุ ีไพรดว้ ยกันกับหลวงป่ตู อ้ื
เม่ือปลายสมัยของพระพุทธเจ้ากัสสโป ในชาติน้ันหลวงปู่ตื้อท่านปฏิบัติภาวนาจนได้สมาบัติ
สหายธรรมของท่านปฏบิ ัตศิ ลี พรตมนุ ไี พร เพอื่ ปรารถนาอยากจะเกดิ เปน็ พญานาคราช หลงั หมด
อายขุ ัยสนิ้ ใจจากโลกในชาตนิ ้นั หลวงป่ตู อ้ื ทา่ นเวียนวา่ ยตายเกิดในมหาสมทุ รโลกสงสาร เพือ่ สั่งสม
บญุ ญาบารมีขององค์ท่าน บุญบารมที อี่ งค์ทา่ นหลวงปตู่ ้อื ปฏบิ ัตสิ ั่งสมมา จงึ ท�ำใหอ้ งค์ทา่ นสน้ิ ทกุ ข์
ถึงธรรมในชาตปิ ัจจุบัน
วันทีส่ องหลงั บิณฑบาตฉนั อาหารกันเรียบร้อยแลว้ หลวงปพู่ รหมพาหลวงปูช่ อบเดินขา้ ม
แม่น�้ำสายไปขนึ้ ฝั่งเมอื งท่าข้เี หลก็ ตรงขา้ มอำ� เภอแม่สาย หลวงปพู่ รหมทา่ นพาหลวงป่ชู อบเขา้ ไป
พักที่วัดเจ้าระเข่ง เน่ืองจากหลวงปู่พรหมท่านคุ้นเคยกันกับเจ้าจองระเข่ง (เจ้าอาวาสวัดระเข่ง)
ออกจากทา่ ข้เี หลก็ ทา่ นทัง้ สองพากันเทยี่ ววิเวกตามสถานทตี่ า่ งๆ ของเชียงตุง หลวงปู่พรหมชวน
หลวงปูช่ อบไปเท่ียววิเวกสิบสองปนั นา มณฑลยนู นาน ประเทศจีน พอเข้าไปวเิ วกสิบสองปนั นาแลว้
หลวงปู่ชอบท่านเห็นวตั รปฏบิ ัติของพระเณรทางน้นั หยอ่ นยานในพระธรรมวนิ ัย พากันกนิ ขา้ วเยน็
เล่นสตรี ไม่ต่างอะไรกับฆราวาส ผหู้ ญงิ บางคนจะมาจับเนอื้ ตอ้ งตัวท่านกับหลวงปูพ่ รหมเหมอื นท่ี
เขาคุน้ เคยกับพระเณรทีน่ ั่น หลวงปูช่ อบเห็นไมด่ ีจวี รจะหมอง ทา่ นจึงชวนหลวงปู่พรหมเดนิ ทาง
กลับมาประเทศพม่าอกี ครง้ั ”
164
ภาค ๑๐ จ�ำพรรษาที่ประเทศพม่าครั้งแรก
พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านจ�ำพรรษาท่ีพม่าครั้งแรก
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลังจากเดนิ ธดุ งคก์ ลบั มาประเทศพมา่ แลว้ หลวงปูพ่ รหม จิรปญุ โฺ
ชวนหลวงปู่ชอบ านสโม ไปเที่ยววิเวกมัณฑะเลย์และอินเดีย ท่านอยากไปดูแผ่นดินถ่ินธรรม
ต้นกำ� เนดิ ของพระพุทธศาสนา หลวงปูช่ อบท่านไม่อยากไปเมอื งมัณฑะเลย์ ท่านอยากจ�ำพรรษา
อยู่แถวเขตเชยี งตงุ เพราะสถานทภ่ี เู ขาป่าดอยแถวน้ถี กู กบั จรติ นิสัยของท่าน ท่านท้ังสองจงึ แยกกนั
ออกเท่ยี ววิเวกหาสถานทีจ่ ำ� พรรษา
หลวงปู่พรหม ท่านเดินทางไปเมืองมัณฑะเลย์เพียงล�ำพัง เพ่ือจะไปจ�ำพรรษาอยู่ท่ีน่ัน
ผู้เฒ่าพรหมบอกเราว่า “ครูบา ถ้าพวกเราไม่ตายก่อน ให้กลับมาเจอกันที่เชียงใหม่นะ ผมจะไป
มัณฑะเลย์ ไปอนิ เดยี ” เอาแท้ๆ อาจารย์พรหมทา่ นก็ไม่ได้ไปอนิ เดีย มันมีเหตพุ วกทหารอังกฤษ
เรม่ิ เข้ายดึ อินเดยี เลยเป็นเหตใุ หอ้ าจารย์พรหมไมไ่ ด้ไปแสวงบญุ อยู่อินเดยี ตามท่ที ่านตงั้ ใจเอาไว้
หลังแยกกันกับหลวงปู่พรหมแล้ว หลวงปู่ชอบท่านก็ออกเท่ียววิเวกหาสถานท่ีจ�ำพรรษา
ในเขตเมืองเชยี งตุง ท่านมาพบหมู่บ้านชาวไทยใหญ่แห่งหนึง่ ชอ่ื เมืองยาง บ้านเมอื งยางแหง่ นี้เพ่งิ
ตงั้ เปน็ หมบู่ า้ นขึ้นมาได้ไมก่ ี่ปี มีบ้านเรอื น ๑๐ กวา่ หลงั คาเรือน บา้ นเมอื งยางยงั ไมม่ ีวดั วาศาสนา
ใหญ้ าติโยมได้อาศยั ทำ� บุญ ชาวไทยใหญห่ มู่บ้านแหง่ นศ้ี รทั ธา จงึ พากนั นิมนต์องค์ทา่ นหลวงปชู่ อบ
จ�ำพรรษาอยู่ที่น่ี องค์ท่านพิจารณาเห็นสมควรแก่สถานที่และสัปปายะ หลวงปู่ชอบท่านจึงรับ
นิมนต์พีน่ ้องชาวไทยใหญ่จำ� พรรษาอยทู่ ี่เมืองยาง
ส�ำหรบั หลวงป่พู รหม จิรปุญฺโ เม่ือใกล้เข้าพรรษา ท่านอยูจ่ �ำพรรษาทีม่ ณั ฑะเลย์ในเขต
พม่าตามที่ท่านได้บอกกับหลวงปู่ชอบ านสโม นับเป็นครั้งแรกท่ีหลวงปู่ท้ังสองอยู่จ�ำพรรษาใน
ประเทศพม่า
การไปธดุ งค์พม่าของคู่สหธรรมิกหลวงปูพ่ รหม กบั หลวงปูช่ อบ แม้เสน้ ทางจะทรุ กนั ดาร
ยากลำ� บากเพียงไรก็ตาม แตเ่ หตผุ ลประการหนึ่งท่ที ำ� ให้หลวงปู่ทง้ั สองธดุ งค์ไปพม่าอยบู่ ่อยๆ และ
ไปจ�ำพรรษาอยู่หลายพรรษา เพราะท่านเมตตาชาวพม่าท่ีมีจิตใจงดงามนั่นเอง โดยหลวงปู่ชอบ
บอกว่า ทา่ นเอน็ ดชู าวพมา่ มาก ที่ส่วนใหญ่เปน็ คนดีมีศีลธรรม ไมล่ กั ขโมย ไมฉ่ อ้ โกงกนั ท้ังมีน�้ำใจ
ศรทั ธาในพระพุทธศาสนาอยา่ งดยี ิง่ บรรดาพวกยาง พวกกะเหรี่ยงไทยใหญท่ ่อี ยใู่ นป่าในเขา แม้จะ
ยากจนล�ำบากตรากตร�ำอย่างไร ก็จะต้องหาอาหารมาใส่บาตรอย่างเหลือเฟือ หลวงปู่ชอบชมว่า
พวกเขามีน้ำ� ใจงาม ไม่ฆ่าสตั วต์ ัดชีวติ ถือศลี บรสิ ุทธ์ิ แม้เปด็ ไกก่ ็หายาก ไม่มีคนเลีย้ ง เพราะเขาต่าง
ไมฆ่ า่ สัตว์
165
พระกรรมฐานติดครูบาอาจารย์
การออกเท่ียวธุดงค์ติดตามหลวงปู่มั่นทางภาคเหนือของบรรดาพระศิษย์ ผู้ปรารถนาต่อ
ความหลดุ พน้ ทัง้ หลาย ลว้ นอยากอยใู่ กล้ชิดครูบาอาจารย์ เพอื่ พึง่ พาอาศัยครบู าอาจารย์ เพราะการ
ปฏิบตั ธิ รรมย่อมมอี ปุ สรรค การแก้เร่อื งจติ แกไ้ ด้ยาก จำ� เป็นตอ้ งพง่ึ ครบู าอาจารย์ท่รี ้จู ริงเหน็ จรงิ
คอยเมตตาชแ้ี นะ แม้พระศษิ ย์เม่อื เขา้ กราบนมัสการหลวงปมู่ ัน่ ค�ำถามแรกท่หี ลวงปู่มั่นท่านถาม
ท่านถามถงึ การภาวนา
ในชว่ งแรกทห่ี ลวงป่พู รหม ยังไมบ่ รรลธุ รรมกเ็ ชน่ เดียวกนั ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗ – ๒๔๘๑
กอ่ นท่ีทา่ นจะบรรลุธรรม ทา่ นจะพกั จำ� พรรษาในสถานท่ใี กลๆ้ กบั ทพ่ี กั ของหลวงปูม่ ั่น แม้ได้อยู่
จำ� พรรษากบั หลวงปู่มัน่ แล้วกต็ าม ทา่ นกอ็ อกธดุ งค์ไปไม่นานก็กลับมาหาหลวงปมู่ ่ัน เพือ่ กราบเรียน
ผลการภาวนาถวายหลวงปู่มั่น เพราะขณะน้ันท่านยังจ�ำเป็นต้องพึ่งพาครูบาอาจารย์ เพื่อโปรด
เมตตาธรรมานเุ คราะหแ์ กไ้ ขปญั หาและแนะนำ� ใหอ้ บุ ายธรรมแก่ท่าน
ตามประวตั หิ ลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านได้ธดุ งคเ์ ข้าไปในประเทศพม่า ๒ ครั้ง จากน้ัน
ทา่ นก็กลับมาหาหลวงปู่มัน่ ดังนี้
ในคร้งั แรก หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านไปไมน่ านนกั และปี พ.ศ. ๒๔๘๑ เม่ือใกล้
เข้าพรรษา ท่านกเ็ ดนิ ธดุ งค์กลบั ฝ่งั ไทยเพ่อื อยจู่ ำ� พรรษากบั หลวงปมู่ ่นั ทว่ี ัดร้างปา่ แดง จงั หวัด
เชยี งใหม่
ในคร้ังท่ีสอง หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ท่านไปธุดงค์กับหลวงปู่ชอบ และในปี
พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านจำ� พรรษาที่มัณฑะเลย์ในประเทศพม่า พอออกพรรษาทา่ นก็รบี เดนิ ธดุ งคก์ ลบั มา
เฝา้ อาการอาพาธหนกั ของหลวงปู่มัน่ ที่ปว่ ยเปน็ มาลาเรยี ขึ้นสมอง
ในสมัยท่หี ลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ และคณะศิษย์ของหลวงปู่มนั่ ท่องธุดงค์อยูใ่ นพมา่ นนั้
เป็นช่วงทีพ่ ม่าอยใู่ นความปกครองขององั กฤษ ต่อเนื่องมาถงึ ชว่ งสงครามโลกครั้งทส่ี อง
สถานที่ท่านเท่ียวธุดงค์ในพม่า
สถานท่ีหลวงปูพ่ รหม จิรปุญโฺ ท่านไปธุดงคใ์ นประเทศพม่า (ปจั จบุ นั คือ สาธารณรัฐ
แห่งสหภาพเมยี นมาร์) คือ เมอื งโตน่ กบั เมอื งหาง อยูใ่ นแขวงเชียงตงุ รัฐฉาน เมืองโตน่ กบั เมืองหาง
เอกสารทางราชการเขยี นวา่ เมืองตว่ นกบั เมอื งหาง ซึ่งเป็นสถานท่ที ส่ี มเด็จพระนเรศวรมหาราช
เสดจ็ สวรรคต เมอื่ ปี พ.ศ. ๒๑๔๘ กอ่ นช่วงหลวงป่พู รหมออกธุดงค์ ๓๐๐ กวา่ ปี สถานท่เี หล่านี้
ทุรกนั ดารมาก มสี ภาพภูมิประเทศเป็นป่าเป็นเขา มถี ้ำ� เง้อื มผามาก สัตวป์ ่ากม็ าก สภาพภูมอิ ากาศ
166
ค่อนข้างหนาวเย็นจนถึงขั้นหนาวจัด นับเป็นสถานท่ีสัปปายะมากเหมาะกับการบ�ำเพ็ญภาวนา
ดังน้นั ครูบาอาจารยส์ ายหลวงปมู่ นั่ จึงนิยมไปเที่ยวธุดงค์
รัฐฉาน เป็นรัฐหน่ึงในสหภาพเมียนมาร์ ต้ังอยู่ตอนกลางประเทศทางด้านตะวันออก ทาง
ทิศเหนือและตะวันออกของรัฐ มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลยูนนานของประเทศจีน ทางทิศใต้
ติดต่อกับตอนบนของประเทศไทย เป็นแนวยาวจากอ�ำเภอเชียงดาว อ�ำเภอเวียงแหง อ�ำเภอ
ไชยปราการ และอ�ำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ยาวออกไปถึงอ�ำเภอแม่ฟ้าหลวง อ�ำเภอแม่สาย
และอำ� เภอเชยี งแสนของจังหวดั เชยี งราย ลกั ษณะภมู ิประเทศเต็มไปดว้ ยภเู ขาสูง และผืนป่า
รัฐฉาน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๑ แขวง และแขวงเชียงตุงเป็นแขวงหน่ึง
ประกอบด้วย ๓ เมืองคอื เมืองเชียงตงุ เมอื งยาง และเมืองปอก ในอดตี ถอื เป็นประเทศอสิ ระ มีชอื่
เรยี กประชาชนวา่ ไต หรอื ชาวไต เรียกชือ่ ประเทศวา่ เมงิ ไต ในส�ำเนียงของชาวไต หรอื เมืองไต
ในสำ� เนียงของไทยเรา เมงิ ไตด้ังเดิมประกอบด้วยหลายชนชาติอาศัยอยู่รว่ มกนั อยา่ งสงบสขุ โดย
ชนชาตไิ ทใหญ่มีจ�ำนวนมากที่สดุ มีเอกราชปกครองตนเองมาเปน็ เวลานานนับพนั ปี ก่อนท่อี ังกฤษ
จะขยายอิทธิพลเข้ามาครอบครองดนิ แดนพม่าทงั้ หมด
เมอื งส�ำคัญท่ีปรากฏในประวัตขิ องหลวงป่พู รหม จิรปุญโฺ คือ เมอื งตงุ ซึ่งก็คอื เชียงตงุ
เป็นเมืองใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่ แห่งล้านนา และเมืองเชียงรุ่ง แห่ง
สบิ สองปนั นา (ในประเทศจีน) ดงั น้นั เชียงใหม่ เชยี งตงุ เชยี งรงุ่ จงึ มกี ารติดตอ่ คา้ ขายกันตลอดมา
เมืองเชียงตุงในอดีต เคยอยู่ในปกครองของอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่สมัยพระเจ้ามังราย
ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา และเคยอยู่ในปกครองของไทย เมื่อล้านนาเข้ามารวมกับ
ประเทศไทยในสมยั กรุงศรีอยธุ ยา ทางด้านพระพุทธศาสนา ปรากฏวา่ พระมหาเถระฝา่ ยธรรมยตุ
ของไทย คือ ทา่ นเจ้าคณุ พระอบุ าลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สริ จิ นฺโท) แห่งวดั บรมนิวาส ซึง่ เปน็
พระอาจารยข์ องหลวงปู่มั่น เคยข้นึ ไปจำ� พรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ทบ่ี นเขา วัดพระธาตจุ อมยอง
เขตเมืองเชยี งตุง และต่อมาเจ้าฟา้ เมืองเชยี งตุง ได้อาราธนาให้ทา่ นพักอยู่ทน่ี น่ั เพื่อช่วยจัดระเบยี บ
การปกครองและการศึกษาของคณะสงฆ์เมืองเชียงตุง และยังได้จัดส่งพระภิกษุชาวเชียงตุงมา
บวชเรียนในกรงุ เทพฯ แลว้ กลับไปเผยแผพ่ ระพุทธศาสนายงั แดนเกิด คณะสงฆ์เชยี งตงุ จงึ มีความ
สมั พันธใ์ กลช้ ิดกบั คณะสงฆไ์ ทยตลอดมา
167
พบส่ิงแปลกๆ มหัศจรรย์มากมาย
สมัยที่หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านเที่ยววิเวกอยู่กลางป่าเขา ท่านได้พบกับส่ิงแปลกๆ
และอัศจรรย์มากมาย แต่ท่านไม่สามารถเล่าให้ละเอียดลงไปได้ ไม่ว่าสถานท่ี เวลา ปี ใดๆ
ไม่สามารถกำ� หนดชช้ี ัดลงไปได้เลย นอกเสียจากการประพฤติปฏบิ ตั ธิ รรมของท่านเทา่ นนั้
ทา่ นเดนิ ธุดงค์บุกปา่ ฝ่าดงไปในทีต่ า่ งๆ ทง้ั ในประเทศและนอกประเทศ ทา่ นเดินตลอดวัน
ตลอดคนื กไ็ ม่พบปะบ้านช่องเรอื นชานของผคู้ น ในเวลาท่ตี ้องผจญกับทุกขเ์ ชน่ นี้ ทา่ นมแี ต่ความ
อดอยากทรมานเสียมากกว่าความอ่มิ กายสบายใจ ท่านต้องทนยอมตอ่ ความหิวโหยอ่อนเพลีย ทัง้ น้ี
เพราะหลงทาง ทา่ นต้องนอนค้างอยกู่ ลางปา่ กลางเขา
เฉพาะการเดนิ ธุดงค์ในช่วงออกไปทางประเทศพม่า เปน็ ความยากล�ำบากมากเมื่อคราวเดนิ
วเิ วก เพราะทางท่ีไปนนั้ มีแตส่ ัตว์ปา่ นานาชนิด เชน่ พวกเสือ และงพู ิษ ทไ่ี มย่ อมกลวั คน บางครัง้ ก็
ตอ้ งปลงอนิจจงั ต่อความทุกขท์ ต่ี อ้ งทรมานสุดแสนจะทนและมีชวี ติ สบื ตอ่ ไปวนั ข้างหน้า
เมื่อนึกปลงใจตัวเองแล้ว ก็ดูเหมือนกับว่าส่ิงต่างๆ ในร่างกายนั้นมันจะหยุด ส้ินสุดลงไป
พร้อมๆ กัน ลมหายใจกเ็ หมอื นขาดตอนทต่ี ่อเนอื่ งกนั
นเ่ี ปน็ เคร่ืองถว่ งทรมานกายใจตอนนั้น แตใ่ นทสี่ ุดมันกพ็ อทนอยตู่ อ่ ไปไดอ้ ีกตามเหตกุ ารณ์
และวันเวลาทีผ่ ่านไปอยเู่ พอื่ ธรรมะ แมไ้ ปก็ยังมีธรรมะคู่กบั จติ ใจ ไมเ่ อนเอียงหวัน่ ไหวเลย
เรื่องเปิดเผยโดยหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๑ เมือ่ หลวงปพู่ รหมกราบลาหลวงปู่ม่ันเพอื่ ไปเทีย่ วธดุ งค์
ประเทศพม่ากับหลวงปู่ชอบ หลวงปู่ม่ันท่านก็ยังพ�ำนักท่ีส�ำนักสงฆ์บ้านแม่กอยต่อไปจนถึงเดือน
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๓ จงึ ไดเ้ ดนิ ทางเขา้ เชียงใหม่ เพื่อรกั ษาอาการอาพาธ และเตรียมตวั เดนิ ทาง
กลับภาคอสี าน เหตุการณ์ในระหวา่ งนีม้ หี ลวงปเู่ จ๊ยี ะ จุนโฺ ท ไดเ้ ขา้ มาทำ� หน้าทถี่ วายการอปุ ฏั ฐาก
รบั ใช้หลวงปมู่ ัน่ อยา่ งใกลช้ ิด ซง่ึ สอดคลอ้ งกบั ประวตั ิหลวงปู่เจย๊ี ะ จุนโฺ ท ท่ีเท่ียวธุดงคภ์ าคเหนอื เพื่อ
ติดตามหาหลวงปมู่ นั่ ตอนปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๒ จนพบและกราบถวายตวั เปน็ ศษิ ย์หลวงปู่ม่ัน ที่
วดั รา้ งป่าแดง บ้านแม่กอย โดยชว่ งน้ันหลวงปู่เจี๊ยะท่านไม่พบหลวงปู่พรหม และหลวงปู่ชอบ
จากการบอกเล่าของหลวงปู่เจ๊ียะ จุนฺโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม ต�ำบลคลองควาย
อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งท่านเดินทางมารับการอบรมและอยู่อุปัฏฐากหลวงปู่มั่นที่
สำ� นักสงฆ์แหง่ นปี้ ระมาณ ๓ เดอื น จนกระทัง่ ตดิ ตามไปภาคอีสานตอ่ ไป เพือ่ ใหเ้ หน็ สภาพความ
เป็นอยู่ของสำ� นกั สงฆ์ ข้อวตั รปฏบิ ัติของพระ หลวงป่มู น่ั อาพาธหนักดว้ ยไขม้ าลาเรยี จนต้องอ�ำลา
168
สำ� นกั สงฆแ์ หง่ นเี้ พอ่ื เขา้ รับการรกั ษาอาการทีโ่ รงพยาบาลในตัวเมืองเชียงใหม่ หลวงปู่เจี๊ยะรับอาสา
หลวงปู่พรหมปรนนิบัติหลวงปมู่ ัน่ มีดังต่อไปนี้
“หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงปู่เจี๊ยะออกเดินทางจากจังหวดั จนั ทบุรี ไปสององค์
กบั ท่านพ่อเฟอื่ ง โชติโก เพือ่ นพระวยั เดยี วกัน เพื่อออกตดิ ตามไปพบหลวงปมู่ ่ัน ทวี่ ัดรา้ งป่าแดง
บ้านแม่กอย อ�ำเภอพรา้ ว จังหวัดเชยี งใหม่ ในขณะนนั้ หลวงปู่พรหม จิรปุญโฺ ก�ำลงั ธุดงคอ์ ยใู่ น
ประเทศพมา่
หลวงปเู่ จ๊ยี ะ เลา่ ถึงการเข้ากราบหลวงปมู่ ่นั ครง้ั แรกวา่
“เมือ่ เดนิ ทางถงึ บ้านแม่กอย ถามคนเขาบอกว่าทา่ นพักอย่ทู ี่วัดร้างป่าแดงนน้ั ก็รบี เรง่ เดิน
ทางเขา้ ไป กระหายใครเ่ หน็ ใคร่สนทนา มากกว่าการกระหายน้�ำ ลืมความเหน็ดเหนอ่ื ย
มงุ่ ตรงเข้าไปยังวัดร้างปา่ แดง มกี ระทอ่ มนอ้ ยๆ มงุ หลงั คาฝาขดั แตะและใบไม้ พื้นไมไ้ ผ่ ดๆู
ในสถานที่นา่ จะมพี ระอยู่หลายองค์ เพราะสะอาดสะอ้านเหลอื ประมาณ บ้านเราอย่เู ปน็ สบิ คนท่ี
แคบๆ ยังไม่สะอาดเทา่ นี้ นี้นา่ จะมีพระอยู่จำ� นวนไม่น้อย
เมื่อเราเดินเข้าไปตรงกระท่อมหลังที่มองเห็นก่อนน้ัน มีพระรูปหนึ่งรูปร่างเล็กๆ ลักษณะ
องอาจ เป็นเถระ รูปร่างสณั ฐานสันทัด ผวิ ด�ำแดง นง่ั หม่ จีวรเปิดไหล่แสดงอาการใหเ้ หน็ ว่ารอใคร
บางคนอยา่ งเหน็ ไดช้ ดั อยู่บนแครน่ อ้ ยๆ ใช้ไมไ้ ผข่ ดั แตะ เอาหญ้าคามงุ กั้นฝาเป็นฟาก หันหน้ามา
ทางทีจ่ ะเดินเขา้ ไป แสดงอาการว่าสนใจคนทม่ี า แตไ่ มแ่ สดงออกทางค�ำพดู แตเ่ ปน็ กรยิ าทีร่ บั กนั
ใจในขณะนน้ั นอ้ มนกึ ข้ึนมาทนั ทวี ่า น่แี หละหลวงป่มู ่ัน”
กิจวัตรประจ�ำวันของหลวงปู่ม่ัน
กจิ วตั รประจำ� วนั ของหลวงปมู่ ั่น ในช่วงท่ีอย่สู ำ� นักสงฆ์บา้ นแม่กอย มดี ังนี้
ท่านพระอาจารย์มนั่ ปฏบิ ัตกิ ิจวัตรประจ�ำวันเป็นอาจณิ เพ่อื เปน็ แบบอย่างแก่ลูกศิษย์ และ
พร�ำ่ สอนสานุศิษยใ์ ห้ปฏิบตั ิเปน็ อาจิณวตั รตอ่ ไปนี้
เวลาเชา้ ออกจากกฏุ ิ ทำ� สรีรกจิ คือ ลา้ งหนา้ บ้วนปาก นำ� บริขารลงสโู่ รงฉัน ปดั กวาด
ลานวดั แล้วเดินจงกรม พอได้เวลาภกิ ขาจารกข็ น้ึ สู่โรงฉนั น่งุ ห่มเป็นปรมิ ณฑล สะพายบาตร
เข้าสหู่ มู่บ้านเพอ่ื บณิ ฑบาต กลับจากบณิ ฑบาตแลว้ จดั แจงบาตร จีวร แล้วจัดอาหารใส่บาตร
น่ังพจิ ารณาอาหารปจั จเวกขณะ ท�ำภตั ตานโุ มทนา คือ ยะถา สพั พีฯ เสร็จแล้วฉนั จังหนั เสรจ็ แล้ว
ล้างบาตรเก็บบรขิ าร
169
ขึน้ กุฏิทำ� สรีรกิจ พกั ผ่อนเลก็ น้อย แล้วลกุ ขึ้นลา้ งหนา้ ไหว้พระสวดมนต์ และพจิ ารณาธาตุ
อาหาเรปฏกิ ูล ตงั ขณกิ ะอตีตะปัจจเวกขณะ แลว้ ช�ำระจิตจากนิวรณ์ นัง่ สมาธพิ อสมควร
เวลาบ่าย ๓ – ๔ โมง กวาดลานวดั ตกั น้ำ� ใช้ น�้ำฉนั มาไว้อาบน้�ำชำ� ระกายใหส้ ะอาดปราศจาก
มลทนิ แลว้ เดนิ จงกรมจนถึงพลบค�่ำ จึงขึน้ กุฏิ
เวลากลางคืน ตัง้ แตพ่ ลบค�ำ่ ขน้ึ ไป สานุศษิ ยท์ ยอยกันขึ้นไปปรนนิบตั ิ ทา่ นไดเ้ ทศนาสั่งสอน
อบรมสติปัญญาแก่สานุศิษยพ์ อสมควร สานุศิษยถ์ วายการนวดเฟน้ พอสมควร แลว้ ทา่ นให้แยกยา้ ย
กัน เขา้ หอ้ งไหวพ้ ระสวดมนต์ น่ังสมาธิ แล้วพกั นอนประมาณ ๔ ทมุ่
เวลาตสี าม ตนื่ นอน ลา้ งหน้า บ้วนปาก แลว้ ปฏบิ ัติอยา่ งในเวลาเชา้ ต่อไป
กจิ บางประการ เม่อื ทา่ นมีลูกศิษยม์ ากและแกช่ ราแลว้ ก็อาศยั ศษิ ย์เป็นผทู้ ำ� แทน เช่น การ
ตักน้�ำใช้ นำ้� ฉนั เพราะเหนด็ เหน่อื ยเนอื่ งจากชราภาพ ส่วนกิจอนั ใดเป็นสมณประเพณี และเป็น
ศีลวตั รกิจ ท่านปฏิบัตเิ สมอเปน็ อาจณิ มิไดเ้ ลกิ ละ
ทา่ นถือคติวา่ “เม่อื มวี ตั รกช็ ่อื วา่ มีศีล ศลี เปน็ เบือ้ งตน้ ของการปฏบิ ตั ิ”
ทา่ นกลา่ ววา่ “ตน้ ดี ปลายกด็ ี ครน้ั ผดิ มาแต่ตน้ ปลายก็ไมด่ ”ี
ท่านกล่าวเปน็ ภาษาถนิ่ อีสานวา่ “ผิดมาแตต่ น้ ฮวงเม่าบม่ ”ี (ฮวงเมา่ คือ รวงขา้ ว) อุปมา
เหมอื นอยา่ งว่า “การทำ� นา เม่ือบ�ำรงุ รกั ษาล�ำตน้ ข้าวดีแล้ว ยอ่ มหวงั ได้แน่ซงึ่ ผล” ดงั นี้
ทา่ นจงึ ใหเ้ อาใจใสต่ กั เตอื นสานศุ ษิ ยใ์ หป้ ฏบิ ตั ศิ ลี วตั ร อนั เปน็ สว่ นเบอ้ื งตน้ ใหบ้ รสิ ทุ ธบ์ิ รบิ รู ณ์
อยเู่ สมอ
อบรมพระ ทา่ นอบรมตอนหัวค่ำ� หนอ่ ยแล้วก็เลิก คือพอไดเ้ วลา ๔ ทุ่ม ทา่ นอบรมครัง้ หนึ่ง
ประมาณ ๒ ชวั่ โมง เสรจ็ ก็แยกกันไปภาวนาเอง สว่ นมากท่านไมค่ ่อยอบรม ให้ภาวนาของใคร
ของมนั ไป เมือ่ ภาวนามีปญั หาสงสัยเกย่ี วกับเรื่องอะไร ก็มาถามทา่ น ทา่ นก็จะชแี้ จงใหฟ้ ัง
หลวงปเู่ จยี๊ ะ เล่าตอ่ ไปวา่
“ตอนทีเ่ รา (หลวงปู่เจี๊ยะ) ไปอย่เู ชยี งใหม่กับทา่ น มพี ระไมก่ ีอ่ งค์ มเี รา ท่านเฟ่อื ง ครบู า
ทองปาน ท่านศรี เณรอ้าย (หลวงปู่ค�ำอา้ ย พระชาวเหนือ อยู่วัดอรัญญวิเวก บา้ นปง ตำ� บลอนิ ทขิล
อ�ำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่) อยู่กับท่าน ท่านก็พาอยู่แต่ในป่า มีแต่เข้าป่า ไม่เข้ามาในเมือง
ถา้ ไมป่ ว่ ยไข้ ทา่ นพาอยู่พาปฏิบัตเิ พอ่ื หนทางพน้ ทุกขจ์ ริงๆ ไมม่ เี ร่ืองโลกๆ เขา้ มาเกี่ยวขอ้ ง เราอยู่
กับทา่ นท้ังทม่ี ีกเิ ลส ก็พอกลายเป็นธรรมข้ึนมาไดบ้ า้ งเหมอื นกัน”
170
หลวงปู่มั่นป่วยหนักเป็นไข้มาลาเรียขึ้นสมอง
ทา่ นพระอาจารยม์ ่ัน ป่วยเปน็ ไขม้ าลาเรยี ในคราวนน้ั เรา (หลวงปูเ่ จย๊ี ะ) เป็นพระคิลาน
อปุ ฏั ฐาก (ผู้เฝา้ ปฏบิ ตั พิ ยาบาล) ประจ�ำ
ทา่ นไม่ฉันขา้ ว ๓ วนั สาเหตทุ ่ที ่านป่วยนัน้ เพราะว่าลกู ศษิ ยเ์ กา่ แกข่ องทา่ นนมิ นต์ไปงาน
ท�ำบุญ ท่านก็เมตตา เมื่อไปแล้วท่านป่วยหนัก มาลาเรียข้ึนสมอง อาการของท่านไม่ดีอยู่แล้ว
ยังต้องเดินเทา้ เป็นระยะทางไกล
ไอห้ นุ่มคนทเ่ี ดินมาส่งท่านมนั บอกวา่ “ผมเปน็ ชาวป่าชาวเขาแทๆ้ เดินไม่ไดถ้ งึ กง่ึ ของทา่ น”
ทา่ นเดินเรว็ ตามไมท่ นั จะเรียกวา่ เดนิ ก็ยังไงๆ อยู่ เพราะเราตามไมท่ ันจริงๆ ถ้าจะวา่ เหาะนัน้ แหละ
เหมาะดี นีข่ นาดป่วยหนกั ถ้าไม่ป่วยจะขนาดไหน ไอห้ นุ่มคนน้ันมนั เล่าให้ฟัง ว่ามนั นนั้ นะ่ ท้งั วิ่ง
ทงั้ เดนิ ยงั ไมท่ ัน ทา่ นพระอาจารย์มัน่ หายลิบมาถงึ ก่อน
ทีม่ าพกั อยู่ที่แมก่ อย อาการของท่านหนักโดยลำ� ดับ หนานแดงจงึ นมิ นตใ์ หท้ า่ นพักรักษาที่
โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ในเมืองเชียงใหม่ สมัยนั้นไม่มีทางรถยนต์ ต้องเดินมาด้วยเท้า เรา
(หลวงปเู่ จ๊ียะ) สะพายบาตร ๒ ลกู คอื ของเราลกู หน่งึ ของทา่ นลูกหน่ึง เดนิ ตามทา่ น (ระยะทาง
จากอ�ำเภอพร้าวถึงเชียงใหม่ไกลมาก ผา่ นป่าผ่านเขาเกอื บ ๑๐๐ กิโลเมตร) ท่านมีไมเ้ ทา้ อันหนง่ึ
เดินเรว็ ป๊ึด... ป๊ึด... เราท้งั เดินทง้ั ว่งิ ยังไมท่ นั ทา่ น ท่านเป็นผู้อดทนมาก เปน็ ยอดคน ป่วยหนัก
ขนาดนนั้ ท่านยงั เดนิ เขา้ เชียงใหมอ่ ย่างสบาย
ในการปว่ ยคร้งั นี้ หมอไมร่ ับรองในอาการ !
ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ ได้เลา่ เร่ืองการป่วยอนั เปน็ โรคประจำ� ตัวตัง้ แตเ่ รม่ิ เกิด ให้ฟงั ว่า
“เม่ือผมประสบกับอาพาธคราใด ใจไม่เคยนึกถึงหยูกยามากกว่าหลักธรรม เวลาร่างกาย
จวนตวั จะตาย การพจิ ารณาธาตุขันธ์ แยกแยะสว่ นตา่ งๆ จงึ เป็นของส�ำคญั มาก การปว่ ยในบางคร้งั
ตอ้ งอาศยั ธรรมโอสถ เพราะในปา่ ลกึ ๆ ไมม่ หี ยูกยาเป็นเครอื่ งบรรเทา ยง่ิ คนเฒ่าแก่อยา่ งผม มีโรค
ประจำ� ตวั มาแตส่ มยั เดก็ ๆ คอื โรคปวดท้อง เวลาปวดมกั จะปวดอยา่ งแรง นงั่ นอนไมเ่ ปน็ สขุ ท้ังนั้น
เม่อื โรคชนดิ นีก้ ำ� เริบ จึงจำ� เปน็ ตอ้ งอาศยั วปิ ัสสนากรรมฐานเปน็ เคร่อื งอยู่
การเจบ็ ปว่ ยของผม บางคร้ังบางคราวแทบเอาตวั ไม่รอด ถึงขัน้ หมอไม่รับรองกต็ ัง้ หลายหน
ถา้ เปน็ คนธรรมดา มชี วี ิตลมหายใจอยู่กบั ยากับหมอ แบบไมม่ จี มกู ตนเองเปน็ ที่หายใจ อาศยั แตท่ ่ี
พึ่งภายนอก คงจะตายอยู่กลางป่าไปต้ังนานแล้ว แต่รอดพ้นมาได้ก็ด้วยธรรมโอสถ เป็นเครื่อง
เยยี วยารกั ษาทกุ ๆ คร้งั ทป่ี ว่ ยไข้ ไดร้ บั ทุกขต์ า่ งๆ ธรรมโอสถต้องเกดิ มาพรอ้ มกันและปฏิบตั ติ อ่ กัน
ในทันทที ันใด ไมร่ อชา้ ”
171
เม่อื ปฏบิ ัตดิ ังนี้ อาพาธกส็ งบ ปรากฏว่าร่างกายนลี้ ะลายพึ่บลงสพู่ ื้นดินเลย จึงปรากฏบท
คาถาข้นึ วา่ นาญฺ ตตฺ ร โพชฌฺ า ตปสา นาญฺตตฺ ร ปฏินสิ สฺ คคฺ า พิจารณาได้ความวา่ ธรรมอ่นื
เวน้ เสยี ซ่งึ โพชฌงค์เสยี แล้ว จะเปน็ เครอ่ื งแผดเผามไิ ดม้ ี ดงั นี้
ปรกติ ท่านพระอาจารย์ม่ัน ท่านไม่ชอบเก่ียวกับหยูกยาอะไร แม้ท่านจะอยู่ในวัยชรา
ธาตุขันธ์ก�ำลังร่วงโรยก็ตาม ท่านยังหนักในธรรมโอสถ เป็นเครื่องประสานธาตุขันธ์อยู่เสมอมา
ทา่ นพระอาจารยม์ นั่ จึงเลา่ ให้ฟังตอ่ ไปว่า “การป่วยทแ่ี ม่กอยคราวน้ีก็เชน่ กัน จะไมห่ ายดว้ ยยาโลก
แต่จะหายด้วยยาธรรม” พูดเทา่ นี้ ทา่ นกไ็ มพ่ ดู อะไรอกี ต่อไป
ท่านกลับมาพบหลวงปู่ขาวท่ีโหล่งขอด
เหตุการณน์ เี้ กดิ ประมาณตน้ ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ก่อนหลวงปู่ขาว อนาลโย จะบรรลุธรรมท่ี
โหลง่ ขอด จังหวดั เชยี งใหม่ ในระหวา่ งปี พ.ศ. ๒๔๘๔ – พ.ศ. ๒๔๘๕
เป็นธรรมเนียมปรกติของวงพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น เม่ือท่านธุดงค์
จากกันไปนาน หากคราใดทท่ี า่ นพบปะกนั ทา่ นมักไต่ถามสารทกุ ขส์ ุกดิบและพูดคุยสนทนาธรรม
แลกเปลยี่ นกนั ตามหลกั ของสลั เลขธรรม ท�ำใหท้ า่ นทราบภูมิจติ ภมู ิธรรมของกนั และกัน ดังนี้
“ออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์พรหมจึงได้เดินทางกลับจากพม่า มาพบกับท่าน
พระอาจารยข์ าวอีกทีบ่ ้านป่าแต้ง ตำ� บลโหลง่ ขอด อ�ำเภอพร้าว จงั หวัดเชยี งใหม่ ไดส้ นทนาธรรม
กันพอสมควรแล้ว ท่านพระอาจารย์พรหมก็ได้กล่าวถ้อยค�ำขึ้นด้วยความเบิกบานในขณะนั้นว่า
“ปัญญาผูท้ ำ� แสงสว่างไดเ้ กิดข้นึ แล้ว จะไปทิศานทุ ิศใดๆ ไมม่ คี วามหวาดกลัวอกี แลว้ ”
ในขณะน้นั ทา่ นไดถ้ ามปรศิ นาปัญหากบั ทา่ นพระอาจารยข์ าววา่ “เมอื่ ครูบามรณภาพแล้ว
จะไปอยู่ทีไ่ หน ?” นเี้ ป็นปัญหาทแี่ กย้ ากสำ� หรบั ปถุ ุชนทัว่ ไป ทา่ นพระอาจารย์ขาวได้กล่าวตอบ
ว่องไว ไม่ติดขัด และถูกต้องตามความเป็นจริงแห่งสัจธรรมว่า “อยู่ที่ไหนก็ไม่อยู่ ไปข้างหน้า
ข้างหลงั ก็ไมไ่ ป ข้ึนบนไมข่ ้ึน ลงลา่ งกไ็ มล่ ง ทศิ เหนือ ทศิ ใต้ ทศิ ตะวนั ตก ทิศตะวันออกก็ไมไ่ ป” ดังน้ี
เม่ือท่านพระอาจารย์ขาวได้กล่าวแก้ปัญหานี้จบลงแล้ว ท่านพระอาจารย์พรหมก็กล่าว
รับรองว่า แน่ทีเดียว ท่านพระอาจารย์พรหมได้กล่าวต่อไปอีกว่า “เมื่อความจริงมีอยู่ดังน้ี ท�ำไม
ครบู าจงึ คิดดุดา่ ตัวของตัวมากนัก ?” ได้รับค�ำตอบวา่ “ดดุ า่ ก็ดุดา่ แต่ลำ� พังใจตวั เองเทา่ น้นั ไม่ได้
ออกปากออกเสียงใหก้ ระเทือนใจผู้อน่ื ถงึ คราวเราชนะกข็ ่มข่ีมนั ไปอย่างนนั้ แหละ”
ตอนนี้แสดงให้เห็นว่า ท่านพระอาจารย์พรหม คงลว่ งรคู้ วามนึกคดิ ภายในจติ ใจของท่าน
พระอาจารยข์ าวไวเ้ ปน็ การลว่ งหน้าแนน่ อนทเี ดียว ค�ำสนทนาของหลวงปทู่ ้ังสององค์ ดูจะเปน็ ที่
172
เข้าใจยากส�ำหรับปุถุชนอย่างเราๆ เพราะท่านสนทนากันแบบพระอริยะ นัยแห่งภาษาย่อมมี
ความหมายแตกต่างไปจากทเ่ี ราพดู คยุ ตามธรรมดาท่วั ไป
จากเรอ่ื งราวทีก่ ล่าวมาน้ี ยอ่ มแสดงถึงหลวงป่พู รหมทา่ นมญี าณวิเศษ คือ อตีตงั สญาณ
และเจโตปริยญาณ หลวงปูพ่ รหมจงึ สามารถรู้อดตี และความในใจของหลวงปขู่ าวไดอ้ ย่างชัดเจน”
ต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ท่านเป็นหัวหน้าส�ำนักสงฆ์บ้านแม่กอยอีกคร้ัง
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ เมื่อท่านไปอินเดยี ไม่ได้ดังท่ีต้ังใจไว้ เนือ่ งจากประเทศอังกฤษ
ท�ำสงครามยาวนานกับประเทศอินเดีย และชนะสงครามยึดครองประเทศอินเดียเป็นเมืองข้ึนได้
ทงั้ หมด ดังนัน้ ในตน้ ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ท่านจงึ ยอ้ นกลบั มาเชียงใหม่ ตามท่ที ่านบอกกบั หลวงปชู่ อบ
และได้มาพกั ทีส่ ำ� นักสงฆ์บ้านแม่กอย (วดั รา้ งป่าแดง) กบั หลวงปู่ม่นั อกี ครั้ง ซงึ่ ในช่วงน้ีหลวงปูม่ นั่
ท่านเริ่มอาพาธหนักจากไข้มาลาเรียขึ้นสมอง และหลวงปู่พรหมท่านได้รับเป็นหัวหน้าส�ำนักสงฆ์
อกี ครง้ั
ประวัติช่วงน้ีหลวงปู่พรหม ท่านบรรลุธรรมขั้นสูงสุดเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านถึงพร้อม
ด้วยญาณวิเศษหลายประการ เช่น เจโตปริยญาณ การหยั่งรู้วาระจิตผู้อื่น อตีตังสญาณ การรู้
เหตุการณใ์ นอดีต รวมทัง้ อนาคตงั สญาณ การรเู้ หตกุ ารณ์ในอนาคต ฯลฯ ในการไปธุดงค์ประเทศ
พม่าในครงั้ นี้ ทา่ นกับหลวงปูช่ อบไดแ้ ยกกันไปธดุ งค์เดย่ี วตามล�ำพงั โดยในปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๒
ท่านคงทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าว่า หลวงปู่มั่นท่านเกิดอาพาธหนัก เป็นธรรมดาของลูกศิษย์ท่ีดี
โดยเฉพาะพระธุดงคกรรมฐานท่ีอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับครูบาอาจารย์ตามป่าตามเขา ย่อมเคารพ
เทิดทนู บชู าในครบู าอาจารย์ และย่อมมคี วามรกั ความผกู พนั ทัง้ ติดในครบู าอาจารย์ เมื่อทา่ นทราบ
จากความรภู้ ายในข้นึ มา ทา่ นจึงเกดิ ความหว่ งกังวลในอาการของหลวงปู่ม่นั จึงไมไ่ ปธุดงคท์ ีอ่ นื่ อกี
โดยท่านรีบออกเดินธุดงค์กลบั เข้ามาฝั่งไทยและม่งุ ตรงมาพกั ทีส่ �ำนกั สงฆ์บา้ นแมก่ อยทันที เพ่ือจะ
คอยเฝ้าปรนนบิ ัติดูแลหลวงปูม่ ่ัน และดแู ลพระเณรในสำ� นักสงฆแ์ ทนหลวงป่มู นั่
ซง่ึ ที่สำ� นกั สงฆแ์ หง่ นี้ หลวงปู่เจีย๊ ะ จุนฺโท ขณะเป็นพระหนุม่ พรรษา ๓ ท่านได้กราบและ
รจู้ กั หลวงปูพ่ รหม ศษิ ย์รุ่นอาวโุ สของหลวงปมู่ นั่ เปน็ ครงั้ แรก เม่ือประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๓
หลวงปู่ม่ันอ�ำลาบ้านแม่กอย
ในเดือนกุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๘๓ หลวงปู่ม่ันไปพักรักษาไขท้ บี่ ้านป่าเปอะ ตำ� บลท่าวังตาล
อ�ำเภอสารภี จังหวดั เชียงใหม่ รอเดนิ ทางกลบั ภาคอสี าน
173
เมอ่ื เดนิ ทางจากวัดรา้ งป่าแดง บา้ นแม่กอย อำ� เภอพร้าว มาถึงนครเชยี งใหม่ เขา้ มาพกั ท่ี
วัดเจดยี ์หลวงก่อน แลว้ ทา่ นกเ็ ดนิ ทางเขา้ ไปพักท่โี รงพยาบาลแมคคอรม์ ิค มีหนานแดง หนานพรหม
และศรทั ธาชาวเชยี งใหม่ ซึ่งเป็นลูกศิษยข์ องท่าน จดั การเรือ่ งน้ที ้งั หมด
โรงพยาบาลแมคคอร์มคิ นี้เปน็ โรงพยาบาลท่ีทันสมัยที่สดุ ในนครเชียงใหม่ เปน็ โรงพยาบาล
ของพวกชาวคริสตท์ ี่มาเผยแพร่ศาสนาสมัยกอ่ น ใครเข้าโรงพยาบาลน้ี ต้องมีหนา้ มตี าพอสมควร
เม่ือท่านพกั รกั ษาทีโ่ รงพยาบาลไมน่ านนัก ทา่ นเจา้ คณุ พระราชกวี (พิมพ์ ธมฺมธโร) (ตอ่ มา
คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์) วัดเจดีย์หลวง เดินทางมาเยี่ยมไข้ ท่านเจ้าคุณฯ จึงไปเชิญหมอ
แผนปัจจุบันมารักษาฉีดหยูกฉีดยาต่างๆ จนสุดความสามารถของหมอ วันหน่ึงมากระซิบบอก
ทา่ นเจ้าคุณฯ วา่ “หมดความสามารถแลว้ คราวนอี้ าจจะไม่รอด อาการท่านหนักมาก”
พอหมอไปแล้ว ทา่ นพระอาจารย์มนั่ จงึ เรยี กท่านเจา้ คุณพระราชกวไี ปถามว่า “หมอบอก
ว่าอย่างไร ?” ท่านเจ้าคุณฯ ก็เรียนให้ทราบตามตรง ท่านพระอาจารย์ม่ันจึงบอกว่า “การป่วย
คราวนี้ไม่ตายดอก อย่าตกใจ” แล้วจึงบอกความประสงค์ให้ทราบว่า ท่านได้พิจารณาแล้วรู้ว่า
อาพาธครงั้ น้จี ะระงับได้ด้วยธรรมโอสถ ณ สถานที่แหง่ หน่ึง คือ ปา่ เปอะ อนั เป็นสถานท่วี ิเวกใกล้
นครเชียงใหม่ ท่านจะไปพักทีน่ นั่ ทา่ นเจ้าคุณพระราชกวีกอ็ ำ� นวยตามความประสงค์ หลวงปเู่ จี๊ยะ
อาสาไปปฏบิ ตั ิครอู าจารย์
“... ในระหว่างที่ท่านพระอาจารย์มั่นออกจากโรงพยาบาลแมคคอร์มิคไปพักท่ีป่าเปอะ
เราพระเจีย๊ ะได้แยกเดนิ ทางไปทว่ี ัดรา้ งป่าแดง บ้านแม่กอย เพอ่ื กราบเรยี นอาการอาพาธของทา่ น
พระอาจารย์ม่ัน ให้ท่านพระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโ ทราบ สมัยนั้นท่านพระอาจารย์พรหม
เป็นหวั หน้าสำ� นักแม่กอย
ในตอนกลางคนื ทา่ นพระอาจารยพ์ รหมเรยี กประชุมสงฆ์ ท่านสอบถามในทา่ มกลางสงฆ์วา่
“เอา้ ! หม่.ู .. ท่านรปู ใดจะรบั อาสาไปปฏิบัติครูอาจารย์ ?”
เรา พระเจ๊ยี ะจงึ ยกมอื ขน้ึ วา่ “ผมครับ จะเปน็ ผูอ้ าสาไปปฏิบัตคิ รูอาจารย์”
ทา่ นกถ็ ามตอ่ วา่ “แล้วใครอีกองค์ล่ะ ?”
เหน็ แตพ่ ระน่งั เงียบ ไม่กลา้ ไป มัวแต่กลวั ทา่ นพระอาจารยม์ ัน่ มาก เพราะทา่ นท้ังนา่ เกรง
น่ากลัว น่ารัก เราพระเจ๊ียะเห็นเฒ่าตาเปียก (ท่านทองปาน) นั่งอยู่ข้างๆ คุ้นกันดีตั้งแต่อยู่
วดั ทรายงาม (จังหวดั จนั ทบุรี) จงึ ชักชวนทา่ นวา่ “เฮย้ ! ไปปฏิบตั คิ รอู าจารยด์ ว้ ยกนั ” เราท้ังสอง
จงึ เปน็ ผู้จะไปปฏบิ ัติท่านพระอาจารยม์ ่นั
174
ตกลงกบั เฒ่าตาเปียกว่า พรงุ่ นี้ฉันขา้ วเสรจ็ แลว้ เราก็จะกราบลาท่านพระอาจารยพ์ รหม
แลว้ ออกเดินทางด้วยเทา้ เข้าไปเชยี งใหม่ ออกเดินทาง ๑๐ โมงเช้า ถงึ ๓ ท่มุ เกือบ ๑๒ ชั่วโมง
แต่สำ� หรบั ทา่ นพระอาจารย์มนั่ ท้ังๆ ทท่ี ่านปว่ ยอยู่ ออกเดนิ ทางประมาณ ๑๐ โมงเช้า ทา่ นถงึ
๕ โมงเยน็ แต่เราลอ่ เขา้ ไป ๓ ทุ่ม ผดิ กันตั้ง ๔ ชัว่ โมง ทง้ั ท่เี ราเป็นหนมุ่ นอ้ ยนะ (อายุ ๒๓ ป)ี แตท่ ีนี้
ครบู าทองปานทา่ นเดินชา้ ...”
โดยสรปุ หลวงปู่มน่ั พกั รกั ษาไข้ทบี่ า้ นป่าเปอะ ท่านใช้ธรรมโอสถรักษาการอาพาธจนหาย
และรอจนถึงเดอื นพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ คณะศษิ ย์ทางภาคอีสานเดินทางมารบั ทา่ นจึงไดอ้ ำ� ลา
จากจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางโดยรถไฟไปพ�ำนักทภี่ าคอสี าน
เหตกุ ารณ์ส�ำคญั กอ่ นทีห่ ลวงปมู่ น่ั จะเดนิ ทางกลบั ภาคอีสาน หลวงปู่สมิ พุทฺธาจาโร ได้
เมตตาเล่าไวด้ งั นี้
“ครูอาจารย์ม่ันว่าไว้สุดท้ายก่อนท่านจะลงไปภาคอีสานว่า “หมู่เอ๊ย ! ให้รู้จักท่านขาว
ท่านพรหมไว้เน้อ เธอท้ังสองได้พิจารณาตัวเธอเองแล้ว อย่างเดียวกันกับท่ีผมผู้เฒ่าได้พิจารณาดู
ตัวเอง เปน็ ไปอย่างเดียวกนั ”
175
ภาค ๑๑ อยู่ภาคเหนือรักษารอยมือรอยเท้าครูบาอาจารย์
อดทนต่อสู้กับความอดอยากและความหนาวเย็นทางภาคเหนือ
หลวงปูม่ ่นั ภูริทตฺโต ทา่ นพกั และจำ� พรรษาอยูภ่ าคเหนือนานถงึ ๑๑ ปี สถานท่ีทา่ นพัก
จ�ำพรรษาแตล่ ะแห่งน้นั นอกจากอยใู่ นท่ปี า่ เปล่ยี ว อยู่ในถิน่ ทุรกนั ดารห่างไกลผ้คู น ซ่ึงต้องทนต่อ
ความอดอยากขาดแคลนในปัจจยั ๔ แลว้ สถานท่ดี ังกลา่ วลว้ นมีสภาพเป็นป่าเป็นเขาธรรมชาติ
ตน้ ไม้ขึ้นปกคลมุ หนาทึบอดุ มสมบรู ณ์มาก ดงั นั้น สภาพอากาศจงึ หนาวเย็นมากถงึ ข้นั หนาวเหน็บ
โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว พระศิษย์ท่ีพักจ�ำพรรษากับหลวงปู่ม่ัน จึงต้องมีความเพียรและมีความ
อดทนอย่างยง่ิ ยวด
หลวงปพู่ รหม จริ ปญุ โฺ ตามประวตั ทิ า่ นไดต้ ดิ ตามหลวงปมู่ นั่ อยา่ งใกลช้ ดิ ในระยะแรกๆ ท่ี
หลวงปู่มั่นขนึ้ ภาคเหนือ กอ่ นท่ีหลวงปู่เจยี๊ ะจะมอบกายถวายตวั เปน็ ศษิ ยอ์ ปุ ฏั ฐาก หลวงปู่พรหม
ท่านย่อมประสบกับความทุกข์ยากล�ำบากอย่างแสนสาหัส ทงั้ จากความหนาวเย็นถึงขั้นหนาวเหนบ็
และจากความอดอยากขาดแคลน ท่านจึงต้องมีความเพียรและความอดทนอย่างสูงย่ิง เพ่ือให้
ประวัติในตอนนี้ของหลวงปู่พรหมสมบูรณ์และชัดเจนย่ิงขึ้น จึงขอยกกรณีของหลวงปู่เจ๊ียะ จุนฺโท
ซึง่ เป็นพระอุปฏั ฐากใกลช้ ดิ หลวงปู่ม่ันในร่นุ ต่อมาและไดอ้ ยู่รว่ มกบั หลวงปูพ่ รหม จริ ปญุ โฺ ดงั นี้
“เม่อื ออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงป่เู จ๊ยี ะ จุนโฺ ท กับ ทา่ นพอ่ เฟื่อง โชตโิ ก ไดต้ ิดตาม
หาหลวงปมู่ ัน่ จนพบทา่ นที่ วดั รา้ งปา่ แดง (วดั ปา่ อาจารย์มน่ั ) อำ� เภอพร้าว จงั หวดั เชยี งใหม่ และ
ไดเ้ ข้าไปถวายตวั เป็นศิษย์ คนื นัน้ อากาศหนาวเยน็ มาก ทา่ นพกั เพยี งคนื เดยี ว หลวงปเู่ จ๊ยี ะกช็ วน
ท่านพอ่ เฟื่องหนีความหนาว ซึง่ หลวงปู่ม่ันท่านรวู้ าระจติ พอรงุ่ เชา้ เมอ่ื พบหลวงปูม่ ัน่ จึงถกู เอด็ โดย
ประวัตหิ ลวงปู่เจี๊ยะ ได้บันทึกเหตุการณต์ อนนไ้ี วด้ งั นี้
เม่ือรับฟังโอวาทจากท่านพระอาจารย์ม่ันด้วยความซาบซ้ึงแล้ว ต่างก็เข้าสู่ที่พักด้วยใจท่ี
แขง็ แกร่ง แต่ด้วยอากาศที่หนาวเหนบ็ เข้าไปภายในนัน้ ท�ำให้เนื้อตวั ส่ันเทา มีแต่เพียงจวี รบางๆ
เปน็ ทหี่ ่อห้มุ ร่างกาย เมื่อตกดกึ ๆ นอนไม่หลบั จึงเดินเขา้ ไปหาทา่ นเฟ่อื ง แลว้ กระซิบท่านเบาๆ
อันเป็นการหย่ังเชิงดูหมู่เพื่อนว่าจะเป็นไปอย่างไร คิดอย่างไร ว่า “เฟื่องเว้ย... หนาวเว้ย...
กลบั บ้านดีกว่า...” ท่านเฟื่องก็น่งิ เฉย ไม่ตอบแต่อยา่ งใด สว่ นภายในใจของเรานน้ั กไ็ ม่ได้ถอยแต่
อย่างใดเชน่ เดยี วกัน
พอรงุ่ เชา้ วันใหม่ มองเหน็ ลายมอื พอรู้ มองดูชายหญิงพอออกว่าเป็นชายหรอื หญิง มอง
ต้นไมอ้ อกวา่ เปน็ ต้นไม้อะไร ก็ออกจากท่พี ักอนั เปน็ เพิงเลก็ ๆ มงุ ด้วยใบตอง มีหลงั คาพอกันน�้ำค้าง
176
ที่นอนก็เปน็ แครไ่ มไ้ ผโ่ ยกเยกๆ เดินมากระทอ่ มน้อยอนั เป็นศาลาหอฉัน พอท่านพระอาจารยม์ ั่น
เหน็ หนา้ เทา่ น้นั แหละ เหมอื นดง่ั วา่ สายฟ้าฟาดลงบนกระหมอ่ มทนั ที
“คนทะลงทะเลไมม่ ีความอดทน ไป...ไป ไม่มใี ครอาราธนามาท่ีนี่”
ทา่ นพูดเสียงดุดงั นยั นต์ าก็กราดกรา้ วเหมือนพญาเสือโคร่งใหญ่ เปน็ กิรยิ าทห่ี มูแ่ มวๆ อย่าง
พวกเราต้องหมอบคลาน กา้ วขาก็ไม่ออก เร่อื งวาระจิตน่ี ทา่ นรทู้ กุ อยา่ ง จะพดู จะคดิ อะไรอยู่กบั
ทา่ นตอ้ งระวงั ประมาทไมไ่ ด้ เปน็ บาปใหญ่ เพราะท่านเปน็ พระอรหนั ต์ เม่อื ตง้ั สตไิ ว้ ก�ำหนดไวไ้ ด้
แล้วคอ่ ยกา้ วเท้าเดินต่อไปด้วยความนอบนอ้ ม
คำ� พูดของทา่ นเพยี งเทา่ นน้ั ละ่ มนั วนเวียนอยใู่ นใจ จะคิดอะไร จะพูดอะไร เหมอื นถูกคน
สะกดบงั คับใหต้ ้องเป็นไปตามแบบของทา่ น ก็ได้แตเ่ พยี งเตือนตนไว้ในใจวา่
“เอาล่ะนะ เจอของจรงิ แลว้ ระวงั ตวั ให้ด”ี
จากนน้ั มา ท่านก็เมตตาใช้ท�ำน่นั ท�ำน่ี ดูแลอุปัฏฐากใกล้ชดิ ทา่ น จติ ใจกค็ อ่ ยคุ้นๆ กับท่าน
สบายใจขึ้นบา้ ง จึงยอ้ นนกึ ถงึ ค�ำพดู ท่านพอ่ ลี กอ่ นทีจ่ ะมาวา่
“ท่านจะอยู่กับหลวงป่มู ่นั ไดห้ รือ ? ทกุ ขณะจิตของท่าน องคห์ ลวงปู่ใหญ่ท่านจะทราบ
หมด ถา้ จะไปอยกู่ บั ทา่ น อย่าใหเ้ สียช่อื เรานะ”
การที่ได้อยู่กับพระที่สมบูรณ์ท้ังความรู้ภายในและความประพฤติ นับว่าเป็นโชคอย่าง
มหาศาล การอย่กู ารฉัน กน็ ับว่าลำ� บากมากในสายตาของชาวโลก แตถ่ า้ เป็นนกั ธรรม ถอื วา่ สมบรู ณ์
พอดๆี ”
ส�ำหรบั อาหารการขบฉนั เม่อื หลวงปเู่ จยี๊ ะ จนุ โฺ ท วัดปา่ ภูรทิ ัตตปฏิปทาราม ท่านเห็น
ญาติโยมนำ� อาหารดๆี มาถวายทา่ น ทา่ นนกึ ถงึ หลวงปู่มัน่ แล้ว ทา่ นถงึ กับน�้ำตาไหล ท่านพดู ว่า
“หลวงปมู่ ่นั อย่ใู นปา่ ในเขาตลอดชีวิต ทา่ นไมเ่ คยฉันอาหารดๆี อยา่ งน้เี ลย”
เรอื่ งการขบการฉนั อยา่ งอดอยากขาดแคลนขององคห์ ลวงปมู่ ัน่ นั้น ครบู าอาจารย์ไดเ้ มตตา
เทศนาธรรมไว้ดังน้ี
“หลวงปเู่ จย๊ี ะกบั หลวงตาทา่ นพดู บอ่ ย หลวงตาทา่ นบอกนะ เวลาหลวงปมู่ นั่ ทา่ นเลา่ ใหฟ้ งั
ถึงตอนท่ีอย่ใู นป่า แลว้ ทา่ นอย่คู นเดยี ว เวลามนั ท้ังอดทัง้ อยาก ทง้ั ต่างๆ ทา่ นพดู ไปปกติ ท่านเล่าไว้
เป็นคติแบบอย่าง แต่หลวงตาบอกว่า ท่านต้องเบือนหน้าเข้าข้างฝาแอบเช็ดน�้ำตา หลวงตานะ
คนเล่าท่านเลา่ ไว้เปน็ คติ ไอค้ นฟงั นะต้องเบือนหน้าเขา้ ข้างฝา แลว้ เชด็ นำ้� ตาตัวเอง ชวี ติ ของท่าน
177
เป็นแบบนัน้ ถ้าพดู ถึงทางโลก ความสขุ ทางโลกไมม่ เี ลย นมี่ นั เปน็ แบบอยา่ งไง แลว้ มันมั่นคงใน
หัวใจไดอ้ ย่างไรละ่ ?
หลวงปเู่ จย๊ี ะทา่ นพดู เวลามีอาหารนะ ท่านคิดถงึ หลวงปมู่ ่ัน หลวงปมู่ ั่นไม่เคยฉันแบบนี้
แล้วเวลาหลวงป่กู งมามาเทย่ี วภาคกลาง มาเหน็ พระกรรมฐานนะร้องไห้เหมือนกนั ถ้าลองขบฉนั
กนั แบบนี้ กรรมฐานตายหมด กรรมฐานจะไมเ่ หลือรอด ถ้าขบฉนั กันแบบน้กี รรมฐานตายหมด”
กองทัพธรรมค�้ำชูพระพุทธศาสนา
กองทัพธรรมพระธดุ งคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์ม่นั ได้ค�้ำชู
พระพทุ ธศาสนา โดยการปฏบิ ตั ิตามหลกั พระธรรมวนิ ัยและถอื ธดุ งควัตรอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้
ยังได้ไปช่วยปลดปล่อยวิญญาณให้ได้ไปผุดไปเกิด และให้เลิกมิจฉาทิฏฐิต่างๆ รวมทั้งส่ังสอน
ประชาชนใหเ้ ลิกนับถือผี หนั มาถือพระรัตนตรัยเป็นที่พง่ึ โดยหลวงปูช่ อบ านสโม ทา่ นได้เมตตา
กล่าวถึงความส�ำคัญของกองทัพธรรมไว้ดังนี้
“ถา้ ไมม่ กี องทัพธรรมกรรมฐานลกู ศิษยข์ องท่านพระอาจารยใ์ หญม่ ่นั ค้�ำพระพุทธศาสนา
ในประเทศไทยแล้ว ศาสนาในเมืองไทยจะอ่อนแอมากกว่านี้ การปฏิบัติของพระ เณร เถร ชี
จะแหลกเหลวจนดูไมไ่ ด้ ทา่ นเจ้าคณุ พระอุบาลีคณุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิรจิ นโฺ ท) สมเดจ็ พระมหา–
วรี วงศ์ (อ้วน ตสิ โฺ ส) พระอาจารย์ใหญม่ ่ัน พระอาจารยส์ ิงห์ พระอาจารยม์ หาปน่ิ พวกท่าน
มองเห็นการณ์ไกลของพระพุทธศาสนา จึงพากันตั้ง “กองทัพธรรมกรรมฐาน” ขึ้นมาเพ่ือค้�ำชู
พระพุทธศาสนาในเมืองไทยของเรา ให้เจริญรุ่งเรืองม่ันคง สืบอายุวัสสาพระพุทธศาสนาใน
ประเทศไทยของเราให้ได้นานทสี่ ดุ ”
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโ ท่านเป็นพระศิษย์องค์หนึ่งในกองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐาน
สายท่านพระอาจารย์มั่น ท่ีเดินธุดงค์บ�ำเพ็ญประโยชน์ทางภาคเหนือ รวมทั้งพม่า จากประวัติ
ทา่ นเจา้ คุณพระอบุ าลีคุณปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้บนั ทึกไว้ดงั นี้
“ความปรารถนาของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นความจริง
ประจกั ษช์ ดั ขน้ึ มา กล่าวคอื เมอื่ หลวงปมู่ ั่นเทย่ี ววเิ วกในที่สงบสงัด เพ่อื บำ� เพ็ญธรรมข้นั แตกหกั
ตามปา่ เขาในเขตจังหวดั เชียงใหม่ จนประสบธรรมปิติบรรลุธรรมข้นั สูงสุด จากน้ันมาท่านไมเ่ คย
กล่าวเลยว่า “ก�ำลังเราไมพ่ อ”
ต่อมาพระศิษย์กองทัพธรรมฯ สมัยที่ท่านอบรมอยู่ภาคอีสานได้ออกติดตามท่าน และอยู่
บ�ำเพญ็ ธรรมตามป่าเขาตามดอยสูงตา่ งๆ ทางภาคเหนือ อาทิเชน่ หลวงปู่เทสก์ เทสรฺ ํสี หลวงปู่
อ่อน าณสิริ หลวงปชู่ อบ านสโม หลวงป่ขู าว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปแู่ หวน
178
สุจิณฺโณ ทา่ นพอ่ ลี ธมมฺ ธโร หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่พรหม จริ ปญุ โฺ หลวงปูส่ มิ
พุทธฺ าจาโร หลวงปู่เจย๊ี ะ จุนฺโท ฯลฯ ซ่งึ หลวงปมู่ น่ั ได้สั่งให้พระศษิ ย์แยกย้ายกนั ภาวนาตามปา่ เขา
ดอยสูงต่างๆ กองทัพธรรมศิษย์พระอาจารย์ม่ันได้บ�ำเพ็ญตนและประโยชน์แก่ชาวป่าชาวเขาเผ่า
ต่างๆ ท่ีอาศยั อยตู่ ามดอยสูง เช่น มเู ซอ กะเหรย่ี ง แมว้ เยา้ ฯลฯ
ส�ำหรับหลวงปู่ม่ัน ท่านเองก็ไม่ชอบอยู่กับที่นานๆ ท่านได้ออกเดินธุดงค์แล้วก็เอาเด็กๆ
มาบวชได้จำ� นวนไมน่ อ้ ย ใหม้ าศกึ ษาเลา่ เรียน พรอ้ มทง้ั จำ� พรรษาท่วี ดั เจดีย์หลวงนน้ั ทา่ นมองเห็น
ด้วยญาณของท่านว่า เด็กเหล่าน้ีจะบวชไม่สึกแน่ๆ เลยเอาเด็กเล็กเด็กน้อยมาศึกษาเล่าเรียน
ทางธรรมจนเป็นพระเถระผูใ้ หญ่กม็ าก ซ่งึ อดีตเคยส่งมาทีว่ ดั เจดยี ์หลวง
พระพุทธศาสนาทางภาคเหนือเจริญรงุ่ เรอื งอย่างเหน็ ได้ชดั ท้งั ด้านวตั ถแุ ละดา้ นจติ ใจ
ในดา้ นวัตถุ วัดปา่ เสนาสนะป่า สายหลวงปู่มั่น ท่ตี ัง้ อยู่ตามป่าเขาดอยสงู เกิดขนึ้ มากมาย
และในกาลต่อมาเหลา่ บรรดาสานศุ ิษยไ์ ด้รว่ มกันสร้างพระวิหาร – เจดยี บ์ รู พาจารย์ เพื่อเปน็ การ
นอ้ มร�ำลึกบชู าคุณบรู พาจารย์พระกรรมฐานทเ่ี คยอยูจ่ ำ� พรรษาทางภาคเหนอื
ในดา้ นจติ ใจ บรรดาพระศษิ ยห์ ลวงปู่ม่ันเจริญงอกงามในธรรมปฏบิ ตั ิ นับแตธ่ รรมเบื้องตน้
จนถึงธรรมขั้นสูงสุด ต่างช่วยกันวางรากฐานสืบทอดข้อวัตรปฏิบัติปฏิปทาพระกรรมฐานสาย
หลวงป่มู ั่น ชาวเมอื งชาวปา่ ชาวเขาทไี่ ดร้ ับการอบรมจากกองทัพธรรม ตา่ งก็มีความม่นั คงในการ
นบั ถอื พระพุทธศาสนา ใฝ่ใจในการบำ� เพ็ญทาน รกั ษาศลี เจริญเมตตาภาวนา บ้างก็ออกบวชศกึ ษา
เล่าเรยี นปฏิบตั ธิ รรม ทำ� ให้สยามประเทศในขณะนนั้ ซง่ึ มีภยั ตา่ งๆ รอบด้าน ทงั้ จากการรกุ รานของ
ประเทศมหาอ�ำนาจ และจากการเผยแพร่ลัทธิต่างศาสนา กลับมาสงบร่มเย็นภายใต้พระบวร–
พุทธศาสนาไดอ้ ย่างนา่ อศั จรรย์ นบั วา่ ทา่ นเจ้าคณุ อบุ าลีฯ ผู้รเิ ร่มิ เผยแผ่พระพุทธศาสนาทางภาค
เหนือ หลวงปูม่ ัน่ ภูริทตโฺ ต และพระศษิ ยก์ องทัพธรรมไดส้ ร้างคณุ ูปการทีเ่ ป็นคณุ ประโยชนต์ ่อชาติ
ศาสนา อย่างอเนกอนันต”์
ท่านอยู่ภาคเหนือหลายปีก่อนกลับภาคอีสาน
หลวงปู่พรหม จิรปญุ ฺโ ท่านได้ชอื่ วา่ เปน็ พระศิษยเ์ พชรนำ้� หนึง่ ของหลวงป่มู ั่น ภูริทตโฺ ต
พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน ท่านได้สดับรับฟังธรรมและติดตามหลวงปู่ม่ันอย่างใกล้ชิด เพื่อ
บ�ำเพ็ญเพียรและเผยแผ่พระธรรมกรรมฐานโปรดญาติโยมในถิ่นต่างๆ ตามป่าเขาที่เงียบสงัดทาง
ภาคเหนอื อยหู่ ลายปี หลวงปูพ่ รหมท่านเป็นศิษย์ผหู้ น่งึ ทีห่ ลวงป่มู นั่ ให้ความเมตตา ใหค้ ำ� ช่ืนชมการ
ปฏบิ ัตธิ รรม และให้ความเชือ่ ถอื ไวว้ างใจมาก