The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-03-12 11:48:04

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

Keywords: ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเดจ็ พระสังฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก

คณะกรรมการอำ� นวยการจัดงานฉลองพระชันษา
สมเดจ็ พระญาณสงั วร สมเดจ็ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑๐๐ ปี ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
จัดพิมพ์ถวาย

ขอ้ มลู ทางบรรณานุกรมของสำ� นักหอสมดุ แหง่ ชาติ

สมเดจ็ พระญาณสังวร สมเด็จพระสงั ฆราช สกลมหาสังฆปรณิ ายก

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒, - กรงุ เทพฯ :

คณะกรรมการอ�ำนวยการจดั งานฉลองพระชนั ษา

สมเดจ็ พระญาณสงั วร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑๐๐ ปี ๓ ตลุ าคม ๒๕๕๖

ISBN 978-616-7821-11-5



พิมพค์ รั้งท่ี ๑ : ตุลาคม ๒๕๕๖

จำ� นวนพิมพ ์ : ๕,๐๐๐ เลม่

ดำ� เนนิ การผลติ โดย : สาละพมิ พการ

ออกแบบปก : พระทศพร คณุ วโร

ออกแบบรปู เลม่ : พระปรญิ ญา อภชิ าโน

แบบอกั ษรญาณสงั วรธรรม : อาจารย์วิชยั รักชาติ

พิมพ์ที ่ : ห้างหนุ้ สว่ นจำ� กดั สาละพิมพการ

๙/๖๐๙ ต.กระทมุ่ ลม้ อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๒๐

โทร ๐-๒๔๒๙-๒๔๕๒, ๐๘-๖๕๗๑-๑๖๘๕



.

ค�าปรารภ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ในโอกาสการจัดท�าหนังสือท่ีระลึกงานฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พุทธศักราช ๒๕๕๖
.............................................

เน่ืองในโอกำสที่สมเด็จพระญำณสังวร สมเด็จพระสังฆรำช สกลมหำสังฆ-
ปรณิ ำยก ทรงเจรญิ พระชนั ษำ ๑๐๐ ปบี รบิ รู ณ์ ในวนั ที่ ๓ ตลุ ำคม พทุ ธศกั รำช ๒๕๕๖
น้ี นับว่ำเป็นศุภมงคลวำระอันหำได้ยำกยิ่ง และมิได้เคยปรำกฏมีแต่กำลก่อน เป็น
ท่ีปีติโสมนัสของพุทธบริษัททั้งปวง รัฐบำลพร้อมด้วยคณะสงฆ์และประชำชนไทย
ผเู้ ป็นศำสนกิ ชนจงึ ได้ร่วมกันจดั งำนฉลองพระชนั ษำ ๑๐๐ ปี สมเดจ็ พระญำณสงั วร
สมเดจ็ พระสงั ฆรำช สกลมหำสงั ฆปรณิ ำยก ขนึ้ ระหวำ่ งวนั ท่ี ๑ - ๗ ตลุ ำคม พทุ ธศกั รำช
๒๕๕๖ เมื่อควำมทรำบฝ่ำละอองธุลีพระบำทพระบำทสมเด็จพระเจ้ำอยู่หัว ทรง
พระกรุณำโปรดเกล้ำโปรดกระหม่อมให้รับงำนฉลองพระชันษำดังกล่ำวไว้ใน
พระบรมรำชปู ถัมภ์ นบั เป็นพระมหำกรณุ ำธคิ ุณหำท่ีสดุ มไิ ด้

สมเด็จพระญำณสังวร สมเด็จพระสังฆรำช สกลมหำสังฆปริณำยก
ทรงเป็นพระมหำเถระผู้เพียบพร้อมด้วยศีลและธรรม ได้ทรงปฏิบัติบ�ำเพ็ญศำสนกิจ
น้อยใหญ่เกื้อกูลแก่พุทธศำสนิกชนทั้งในประเทศและต่ำงประเทศมำช้ำนำน ได้ทรง
พระเมตตำโปรดให้สร้ำงพุทธสถำน อำคำรเรียน และสถำนสำธำรณประโยชน์ขึ้นไว้
เปน็ จำ� นวนมำก เพอื่ เผยแผพ่ ระบวรพทุ ธศำสนำ สง่ เสรมิ กำรศกึ ษำ และอำ� นวยประโยชน์
สุขแก่ชุมนุมชน ได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือหลำกหลำยเร่ืองเกี่ยวเน่ืองกับหลักธรรม
คำ� สอนและเรอ่ื งนำ่ รใู้ นพระบวรพระพทุ ธศำสนำไวเ้ ปน็ จำ� นวนมำก หนงั สอื พระนพิ นธ์
เหลำ่ นเ้ี ปน็ ทยี่ กยอ่ งกนั วำ่ ไดท้ รงเรยี บเรยี งดว้ ยพระปรชี ำสำมำรถ ทรงสอดสอ่ งเชย่ี วชำญ

ในอรรถและธรรม ได้ทรงน�ำพระธรรมค�ำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมา
สัมพุทธเจ้ามาแสดงให้ปรากฏ เป็นประโยชน์แก่มหาชนที่จะได้ศึกษาและใคร่ครวญ
ตรึกตรองปฏิบัติตาม นับว่าพระนิพนธ์เหล่านี้เป็นเพชรน้�ำเอกท่ีทรงคุณค่ายิ่งแก่การ
เผยแผ่พระศาสนา

ในวาระงานฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ
พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นอกจากการจัดงานฉลองสมโภชและกิจกรรม
เฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ แล้ว คณะกรรมการอ�ำนวยการจัดงานฉลองพระชันษา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑๐๐ ปี
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ เหน็ สมควรจดั พมิ พห์ นังสอื ประมวลพระนพิ นธ์ขึ้นชุดหนึ่งเรยี กวา่
“ญาณสังวรธรรม” เพ่ือเป็นที่ระลึก และเป็นธรรมานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติคุณ
เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้
ปรากฏย่งั ยืนสบื ไป

รัฐบาลในนามของพุทธศาสนิกชนท้ังปวง ขอเชิญชวนพุทธบริษัททุก
ฝ่ายพร้อมใจกันอธิษฐานจิตถวายพระกุศลและน้อมเศียรเกล้าถวายพระพรแด่สมเด็จ
พระญาณสงั วร สมเดจ็ พระสงั ฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก ขอจงทรงเจรญิ พระชนั ษา
ยิ่งยืนนาน ทรงเบิกบานผ่องแผ้วเป็นหลักชัยและประทีปธรรมแก่คณะสงฆ์
และพุทธศาสนิกชนทั้งไทยและเทศ ทรงเป็นบุญเขตที่เคารพศรัทธาของมหาชนอยู่
ตราบจริ ฐั ติ ิกาล

(นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
นายกรัฐมนตรี

ประธานกรรมการอ�ำนวยการจัดงานฉลองพระชันษา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑๐๐ ปี

๓ ตุลาคม ๒๕๕๖

คำ� ชี้แจง

ญาณสงั วรธรรม เลม่ ๔-๕ คือ “๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เลม่ ๑-๒”
พระนิพนธ์เรื่องน้ี ทรงเตรียมขึ้นส�ำหรับเป็นค�ำสอนพระใหม่ ในพรรษกาล ๒๕๐๔
ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ขณะด�ำรงสมณศักด์ิที่ พระธรรมวราภรณ์ ได้มีผู้
บันทึกเสยี งไวแ้ ลว้ ถอดออกเป็นหนงั สอื เจ้าพระคุณ สมเดจ็ ฯ ได้ทรงตรวจแกไ้ ขแล้ว
ไดล้ งพมิ พใ์ นนติ ยสารศรสี ปั ดาหเ์ ปน็ ตอนๆ เรม่ิ ลงพมิ พใ์ นศรสี ปั ดาห์ ฉบบั ท่ี ๕๒๘ ปี
ท่ี ๑๑ ประจ�ำวันศุกร์ท่ี ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๔ เป็นฉบบั แรก และลงตอ่ เน่ืองมาจนถงึ
ฉบบั ที่ ๗๕๔ ปที ่ี ๑๕ ประจำ� วนั ศกุ รท์ ี่ ๔ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๐๙ รวมเนอื้ หาไดถ้ งึ พรรษา
ท่ี ๙ ต่อมาได้ อนญุ าตให้น�ำลงพิมพ์ในนติ ยสารธรรมจกั ษุ ของมูลนิธมิ หามมกฏุ ราช
วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถมั ภ์ ดว้ ย

พ.ศ. ๒๕๑๐ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ให้
พิมพเ์ รอื่ ง ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจา้ ซง่ึ มีเนื้อหาถึงพรรษาท่ี ๙ ขึ้นเป็นครง้ั แรก
ในการพระราชทานเพลิงหลวง เผาศพ นางน้อย คชวัตร พระชนนีของเจ้าพระคุณ
สมเด็จพระญาณสังวร ณ เมรุวัดเทวสังฆาราม จังหวัด กาญจนบุรี เม่ือวันท่ี ๒๒
เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐

ในพรรษกาล พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๓ เจา้ พระคณุ สมเดจ็ ฯ ไดท้ รงนำ� เรอ่ื ง ๔๕
พรรษาของพระพทุ ธเจา้ ตอ่ จากพรรษาท่ี ๙ ทย่ี งั คา้ งอยแู่ ละพรรษาท่ี ๑๐-๑๑-๑๒ มา
สอนพระใหม่อีกวาระหนึ่ง ได้มีผู้บันทึกเสียงไว้แล้วถอดอออกเป็นหนังสือถวาย
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงตรวจ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงตรวจทานแก้ไขได้เพียง
พรรษาท่ี ๑๐ แลว้ มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ไดน้ ำ� มาจดั พมิ พเ์ ผยแพรเ่ ปน็ “๔๕ พรรษา
ของพระพทุ ธเจา้ ฉบบั แกไ้ ขเพมิ่ เตมิ ” เมอื่ พ.ศ. ๒๕๓๒ นบั เปน็ การพมิ พค์ รง้ั ท่ี ๒ สว่ น
พรรษาท่ี ๑๑-๑๒ ยงั คา้ งอยู่ เพราะเจา้ พระคณุ สมเดจ็ ฯ ยงั ไมท่ รงมเี วลาตรวจทาน

ในระหว่างนี้ “๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม” ได้พิมพ์
เผยแพรอ่ ีกหลายคร้งั

ถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ อันเป็นโอกาสฉลองพระชันษา ๙๖ ปี ของเจ้าพระคุณ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จ
พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหพ้ มิ พเ์ รอื่ ง
๔๕ พรรษาของพระพทุ ธเจา้ พระราชทาน ในการบำ� เพญ็ พระราชกศุ ลฉลองพระชนั ษา
๙๖ ปี สมเดจ็ พระญาณสงั วร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรณิ ายก เมื่อวนั
ที่ ๓ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จงึ ได้นำ� ตน้ ฉบบั พรรษาที่ ๑๑-๑๒ ของเจา้ พระคณุ
สมเดจ็ ฯ ทยี่ งั คา้ งอยมู่ าตรวจทานและจดั พมิ พใ์ หค้ รบบรบิ รู ณเ์ ทา่ ทเ่ี จา้ พระคณุ สมเดจ็ ฯ
ไดท้ รงนพิ นธไ์ ว้ โดยแบง่ จดั พมิ พเ์ ปน็ ๒ เลม่ เลม่ ๑ ประกอบดว้ ยเนอื้ หาของพรรษา
ท่ี ๑-๗ เลม่ ๒ ประกอบดว้ ยเนือ้ หาของพรรษาท่ี ๘-๑๒ นับเปน็ ฉบบั แก้ไขเพิม่ เตมิ
ครง้ั ท่ี ๒

ในการพิมพ์คร้ังน้ี ได้ใช้ฉบับแก้ไขเพ่ิมเติมคร้ังท่ี ๒ เป็นต้นฉบับในการจัด
พิมพ์ และจดั พิมพ์ เปน็ ๒ เลม่ เช่นเดิม คอื ญาณสังวรธรรม เล่ม ๔ และเลม่ ๕
พรอ้ มทัง้ ได้พมิ พค์ ำ� น�ำในการพิมพค์ รง้ั แรก คำ� น�ำในการพมิ พฉ์ บบั แก้ไขเพม่ิ เตมิ และ
คำ� ชแี้ จงในการพมิ พ์ฉบบั แกไ้ ขเพิ่มเติมคร้งั ท่ี ๒ ไว้ด้วย เพื่อจกั ไดท้ ราบความเปน็ มา
ของพระนพิ นธเ์ รื่องนี้ตง้ั แตต่ น้

วดั บวรนเิ วศวหิ าร
๓ ตลุ าคม ๒๕๕๖

คำ� น�ำ

(ฉบับแกไ้ ขเพม่ิ เติม)

พทุ ธประวตั ิ หรอื พระประวตั ขิ องพระพทุ ธเจา้ ผพู้ ระบรมศาสดาของพระพุทธ-
ศาสนานนั้ ไดม้ ผี เู้ รยี บเรยี งกนั ไวม้ าก ทงั้ ทเี่ ปน็ ภาคภาษาบาลแี ละภาคภาษาไทย เฉพาะ
ทเี่ ปน็ ภาษาไทยนนั้ เทา่ ทย่ี ดึ ถอื เปน็ แบบสำ� หรบั ศกึ ษาอา้ งองิ กนั อยู่ กเ็ ชน่ พระปฐมสมโพธ-ิ
กถา พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ปฐมสมโพธิ
พระนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว สา) พุทธประวัติ พระนิพนธ์สมเด็จ
พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ซงึ่ แตล่ ะฉบบั กม็ ลี ลี าและอรรถรสแตก
ตา่ งกนั ออกไปตามประสงค์ กลา่ วคอื พระปฐมสมโพธกิ ถาเนน้ หนกั ในทางมงุ่ อรรถรส
เชงิ วรรณคดแี ละแสดงพระพทุ ธาภนิ หิ าร เพอื่ เสรมิ ศรทั ธาปสาทะในพระพทุ ธคณุ สว่ น
ปฐมสมโพธกิ ม็ งุ่ แสดงหลกั ธรรมคำ� สอน ไมเ่ นน้ ในเรอ่ื งประวตั แิ ละเหตกุ ารณเ์ ทา่ ไรนกั
ส�ำหรับพุทธประวัติก็มุ่งแสดงพระประวัติของพระพุทธเจ้าและเหตุการณ์บ้านเมืองใน
เชงิ ประวตั ศิ าสตร์ หรอื เชงิ ขอ้ เทจ็ จรงิ เปน็ สำ� คญั พระนพิ นธต์ า่ ง ๆ ดงั ยกมาเปน็ ตวั อยา่ ง
น้ีจึงให้สารัตถะและอรรถรสแตกต่างกันออกไป ท้ังน้ี ก็เพราะว่าพระประวัติของ
พระพุทธเจ้าเท่าท่ีมีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์ชั้นต้นของพระพุทธศาสนานั้น กระจาย
กนั อยใู่ นทีต่ ่าง ๆ หลายแห่ง ไม่ได้จัดเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวติดต่อกนั ต้งั แตต่ ้นจน
จบ ฉะนน้ั ผเู้ รยี บเรยี งพทุ ธประวตั จิ งึ ตอ้ งรวบรวมเรอื่ งราวตา่ ง ๆ ทก่ี ระจายอยนู่ นั้ มา
เรยี บเรยี งปะตดิ ปะตอ่ กนั ใหเ้ ปน็ เรอ่ื งราวตอ่ เนอ่ื งเอาเอง ตามความสนั นษิ ฐานประกอบ
กบั หลกั ฐานเทา่ ทสี่ ามารถจะทำ� ได้ ดว้ ยเหตนุ ี้ พทุ ธประวตั ทิ ไ่ี ดม้ ผี เู้ รยี บเรยี งขน้ึ แลว้ นนั้
จงึ มหี ลายแนวและหลายส�ำนวนตา่ ง ๆ กัน ไปตามประสงค์ โดยย่อบ้างโดยพิสดาร
บ้าง

อนั ทจ่ี รงิ เรอ่ื งพทุ ธประวตั หิ รอื เรอ่ื งราวเกยี่ วกบั พระพทุ ธกจิ ทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ทรง
บำ� เพญ็ ตอ่ โลกนน้ั มเี รอื่ งนา่ รนู้ า่ ศกึ ษามากมาย หากไดพ้ นิ จิ ศกึ ษาอยา่ งกวา้ งขวางแลว้
ก็ได้รับประโยชน์เป็นอันมาก ทั้งในทางคดีโลกและคดีธรรม ซึ่งอาจน้อมน�ำมาเป็น

หลักปฏบิ ตั ิ ใหเ้ ป็นประโยชนท์ ั้งแกต่ นเองและส่วนรวมได้เปน็ อย่างดี ดว้ ยความค�ำนึง
ดงั นีเ้ อง จึงไดค้ ดิ เรียบเรียงเร่ือง ๔๕ พรรษาของ พระพุทธเจ้า ข้ึน โดยมงุ่ ที่จะแสดง
พระประวตั ิหรือพระพทุ ธกิจของพระพทุ ธเจ้า ไปตามล�ำดับพรรษา กลา่ วคอื พยายาม
รวบรวมเรื่องราวตา่ ง ๆ ที่เกิดขึ้นในพรรษา น้ัน ๆ มากล่าวไปตามลำ� ดับ เมือ่ ถึงเรอ่ื ง
ที่ทรงแสดงธรรมโปรดบุคคลต่าง ๆ ในคราวน้ัน ๆ ก็ถอื โอกาสอธบิ ายธรรมในหัวขอ้
ธรรมทท่ี รงแสดงนนั้ ดว้ ย และในการอธบิ ายธรรมในตอนนน้ั ๆ กม็ ไิ ดจ้ ำ� กดั คำ� อธบิ าย
อยู่เฉพาะในเรื่องของหัวข้อธรรมนั้น ๆ เท่าน้ัน แต่บางคร้ังก็ได้ยกเอาเรื่องราวท่ี
เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน ตลอดถึงเหตุการณ์ใน
ประวัติศาสตร์ในยุคหลัง ๆ มา เข้ามาประกอบการอธิบาย เป็นเชิงตัวอย่างบ้าง
เป็นเชิงเปรียบเทียบบ้าง อยู่ตลอดเร่ือง ฉะน้ัน เร่ือง ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
นี้ จึงมีทั้งเร่ืองพุทธประวัติ ค�ำอธิบายธรรมของพระพุทธศาสนา และเรื่องราวทาง
พระพทุ ธศาสนาทงั้ อดตี และปจั จบุ นั ผสมกนั อยู่ แตจ่ ะอยา่ งไรกต็ าม เรอ่ื ง ๔๕ พรรษา
ของพระพทุ ธเจา้ นี้ กม็ งุ่ แสดงพระพทุ ธกจิ อนั เปน็ หติ านหุ ติ ประโยชนต์ อ่ มวลสรรพสตั ว์
ใหเ้ ปน็ ทเ่ี ขา้ ใจ สำ� หรบั ผูอ้ ่านทวั่ ไปเป็นสำ� คญั

ในการเรยี บเรยี งเร่อื ง ๔๕ พรรษาของพระพทุ ธเจา้ น้ี ก็ไดอ้ าศยั ต�ำรบั ตำ� รา
ท่ีพระบูรพาจารย์ดังท่ีได้อ้างพระนามมาแล้วนั้นเป็นต้นเป็นแนวทาง ประกอบกับ
การศกึ ษาคน้ ควา้ จากคมั ภรี ช์ นั้ บาลแี ละอรรถกถาฎกี า แลว้ นำ� มาเรยี บเรยี งตามลำ� ดบั กาล
แต่กเ็ ลือกเอาเฉพาะบางเรอื่ งท่สี ำ� คัญมสี าระประโยชนเ์ ท่านั้น มไิ ด้นำ� มากลา่ วทงั้ หมด
โดยที่บางเรอื่ งก็มหี ลกั ฐานเรือ่ งกาลเวลาชดั เจน บางเรอื่ งก็ไม่ปรากฏชดั เจน ซง่ึ มเี ป็น
สว่ นมาก การเรยี บเรยี งเนอ้ื หาสว่ นใหญจ่ งึ เปน็ ไปทางสนั นษิ ฐานตามหลกั ฐานประกอบ
เทา่ ทจ่ี ะสามารถหาได้

หลกั ฐานเกยี่ วกบั การเสดจ็ จำ� พรรษาของพระพทุ ธเจา้ ในแตล่ ะแหง่ นนั้ ในคมั ภรี ์
ชั้นบาลีคือพระไตรปิฎกมิได้แสดงไว้ชัดเจน มีเพียงบางแห่งที่แสดงพอเป็นเค้าให้จับ
ความไดว้ า่ เสดจ็ จำ� พรรษาไหนทไ่ี หนและทรงแสดงธรรมอะไรแกใ่ คร หลกั ฐานทช่ี ดั เจน
มาปรากฏในคัมภีร์ชั้นหลัง คือคัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย แห่ง

สตุ ตนั ตปฎิ ก (ภาค ๒ หนา้ ๓๗-๓๙) รจนาโดยพระพทุ ธโฆสะ นอกจากนกี้ ม็ ปี รากฏ

ในคัมภีร์อื่น ๆ อีก เช่น คัมภีร์ญาโณทัย รจนาโดยพระพุทธโฆสะเช่นกัน คัมภีร์

ชนิ มหานทิ าน ไมป่ รากฏนามผแู้ ตง่ คมั ภรี ป์ ฐมสมโพธกิ ถา ทส่ี มเดจ็ พระมหาสมณเจา้

กรมพระปรมานชุ ติ ชโิ นรส ทรงถอดความเปน็ ภาษาไทย เปน็ ตน้ คมั ภรี ต์ า่ ง ๆ ดงั กลา่ ว
มาน้ีล้วนรจนาข้ึนเม่ือหลังพุทธปรินิพพานกว่า ๑,๐๐๐ ปีทั้งน้ัน คัมภีร์มโนรถปูรณี
ได้แสดงสถานทีแ่ ละปีทีพ่ ระพุทธเจา้ เสด็จ จ�ำพรรษาไว้ดงั น้ี

พรรษาที่ ๑ ปา่ อสิ ปิ ตนมฤคทายวนั แขวงเมืองพาราณสี
พรรษาที่ ๒-๔ กรงุ ราชคฤห์
พรรษาที่ ๕ กูฏาคารสาลา ปา่ มหาวนั กรุงเวสาลี
พรรษาที่ ๖ มกลุ บรรพต
พรรษาที่ ๗ สวรรคช์ ัน้ ดาวดงึ ส์
พรรษาท่ี ๘ เภสกลาวนั สงุ สุมารคิระ
พรรษาท่ี ๙ กรงุ โกสัมพี
พรรษาท่ี ๑๐ ป่าปาริเลยยกะ
พรรษาท่ี ๑๑ พราหมณคาม ชื่อเอกนาฬา
พรรษาท่ี ๑๒ เมอื งเวรญั ชา
พรรษาที่ ๑๓ จาลยิ บรรพต
พรรษาที่ ๑๔ พระเชตวัน กรุงสาวตั ถี
พรรษาท่ี ๑๕ กรงุ กบลิ พสั ด์ุ
พรรษาที่ ๑๖ เมืองอาฬวี
พรรษาที่ ๑๗ กรุงราชคฤห์
พรรษาที่ ๑๘-๑๙ จาลยิ บรรพต
พรรษาที่ ๒๐ กรุงราชคฤห์
พรรษาที่ ๒๑-๔๕ พระเชตวันบ้าง ปุพพารามบ้าง ณ กรงุ สาวัตถี

ส่วนที่ปรากฏในคัมภีร์อ่ืน ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเป็นต้นนั้น ก็เค้าเดียวกัน
มตี า่ งกนั ออกไปบา้ งเกย่ี วกบั ลำ� ดบั พรรษาและชอ่ื สถานทบ่ี างแหง่ เทา่ นนั้ แสดงวา่ คงจกั
มที ีม่ าแหล่งเดียวกนั

เรอ่ื ง ๔๕ พรรษาของพระพทุ ธเจา้ นี้ ไดร้ วมพมิ พข์ นึ้ ครงั้ แรกเมอื่ พ.ศ. ๒๕๑๐
ซง่ึ เปน็ การจดั พมิ พอ์ ยา่ งรบี ดว่ น (ดงั แจง้ ในคำ� นำ� ในการพมิ พค์ รง้ั แรก) จงึ มขี อ้ ผดิ พลาด
อยหู่ ลายประการ และในการพมิ พค์ รงั้ นน้ั มเี นอื้ หาเพยี งพรรษา ที่ ๙ ในการจดั พมิ พ์
ครัง้ น้ี ไดม้ ีการแก้ไขข้อผิดพลาดในการพมิ พค์ รงั้ แรกใหเ้ รยี บร้อยขึ้น และไดเ้ พ่ิมเติม
เนอ้ื ขนึ้ อกี เลก็ นอ้ ย คอื เรอื่ งราวในตอนทา้ ยของพรรษาท่ี ๙ และเรอ่ื งราวในพรรษาที่ ๑๐
อกี หนึง่ พรรษา

ขออนุโมทนาขอบใจ ผศ.สุเชาวน์ พลอยชุม ท่ีได้ตรวจแก้ต้นฉบับด้วย
ความต้ังใจท�ำอย่างละเอียด แก้ไขข้อผิดพลาดในการพิมพ์คร้ังแรก พร้อมกับได้
ทำ� เชงิ อรรถและบรรณานกุ รมเพม่ิ ขน้ึ เพอ่ื เปน็ การสะดวกแกผ่ ปู้ ระสงคจ์ ะตดิ ตามศกึ ษา
เรื่องราวน้นั ๆ เพมิ่ เติมให้กวา้ งขวางย่ิงขน้ึ

วดั บวรนิเวศวหิ าร
มนี าคม ๒๕๓๒

ค�ำนำ�

(ในการพมิ พค์ รั้งแรก)

ตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เริ่มทรงประกาศ
พระพุทธศาสนา จนถึงได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระคันถรจนาจารย์แสดงไว้
วา่ เปน็ เวลา ๔๕ พรรษา ในคมั ภรี ช์ น้ั บาลไี มไ่ ดม้ แี สดงไวโ้ ดยตรงวา่ พรรษาไหน ประทบั
ท่ีไหน และทรงแสดงธรรมเร่ืองอะไรในพรรษาน้ัน ๆ นอกจากในตอนปฐมโพธิกาล
กับปัจฉิมโพธิกาลท่ีมีกล่าวไว้ในคัมภีร์พอจะจับได้ว่าประทับที่ไหนและทรงแสดงธรรม
เรอ่ื งอะไร มาถงึ ชนั้ อรรถกถาจงึ ไดม้ กี ลา่ วไวใ้ นคมั ภรี ม์ โนรถปรู ณี อรรถกถาองั คตุ ตรนกิ าย
(เลม่ ๒ หนา้ ๓๗-๓๙) กบั ไดพ้ บกลา่ วไวใ้ นคมั ภรี ญ์ าโณทยั ทวี่ า่ ทา่ นพระพทุ ธโฆสะ
แต่งเมอ่ื ประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐ และหนงั สอื พระปฐมสมโพธิกถา พระนพิ นธ์สมเดจ็
พระมหาสมณเจา้ กรมพระปรมานชุ ติ ชโิ นรส เพยี งแตร่ ะบวุ า่ พรรษาไหน ประทบั ทไี่ หน
ไมไ่ ดก้ ลา่ วถงึ รายละเอยี ด ในการแสดงเรยี บเรยี งเรอื่ ง ๔๕ พรรษาของพระพทุ ธเจา้ น้ี
ไดถ้ อื ปแี ละสถานทที่ รงจำ� พรรษาดงั กลา่ วในหนงั สอื เหลา่ นนั้ เปน็ หลกั แลว้ คน้ หาเรอื่ งราว
และพระสตู รทเ่ี กยี่ วแกส่ ถานทเ่ี หลา่ นนั้ ยตุ เิ ปน็ พรรษาหนงึ่ ๆ ตามทพ่ี จิ ารณาเทยี บเคยี ง
สันนิษฐาน แต่ทางต�ำนานยังไม่ยุติลงได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ หนังสือน้ีมุ่งแสดง
อธบิ ายธรรม ตงั้ แตป่ ฐมเทศนาเปน็ ตน้ ไป เพอ่ื ทำ� ความเขา้ ใจในเนอ้ื หาของพระพทุ ธศาสนา
พร้อมกันไปกับตำ� นานพระพุทธศาสนาตามสมควร

เหตปุ รารภทำ� เรอ่ื ง ๔๕ พรรษาของพระพทุ ธเจา้ ขน้ึ กเ็ พราะไดร้ บั อาราธนาไป
เทศนอ์ บรมในการใหท้ นุ ชว่ ยการศกึ ษานกั เรยี นนกั ศกึ ษาทศี่ รสี ปั ดาห์ เปน็ ประจำ� ทกุ เดอื น
เรมิ่ ตง้ั แตว่ นั ที่ ๗ มนี าคม ๒๕๐๒ ไดเ้ ทศนเ์ รอ่ื ง หลกั พระพทุ ธศาสนา ตดิ ตอ่ กนั จนถงึ
วนั ท่ี ๒ กนั ยายน ๒๕๐๔ ระหวา่ งนนั้ ไดร้ บั อาราธนาใหเ้ ขยี นเรอื่ งทางพระพทุ ธศาสนา
เพื่อลงติดต่อกันในศรีสัปดาห์ ได้เลือกจะท�ำเร่ือง ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
จงึ ไดเ้ รมิ่ ดว้ ยการคน้ ควา้ ไปแสดงบรรยายอบรมนวกภกิ ษวุ ดั บวรนเิ วศวหิ าร ศก ๒๕๐๔
ในพระอุโบสถ

ศรสี ปั ดาห์ ไดจ้ ดั หาเครอ่ื งบนั ทกึ เสยี ง พระมหาวญิ ญ์ วชิ าโน๑ กบั พระนวกะ
และพระอ่ืนอีกหลายรูป ได้เป็นธุระช่วยบันทึกและคัดลอก ได้แก้ไขตามสมควร
แลว้ อนญุ าตใหน้ ำ� ลงใน ศรสี ปั ดาห์ ตามความมงุ่ หมายทปี่ รารภจบั ทำ� เรอ่ื งนี้ เรมิ่ พรรษา
ท่ี ๑ ในฉบับที่ ๕๒๘ ปีที่ ๑๑ ประจ�ำวนั ศกุ ร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๔ จนถงึ พรรษา
ที่ ๙ ในฉบบั ที่ ๗๕๔ ปีท่ี ๑๕ ประจำ� วนั ศุกรท์ ่ี ๔ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๐๙ ตอ่ มาได้
อนุญาตให้น�ำลงหนังสือธรรมจักษุ และได้มอบลิขสิทธ์ิหนังสือน้ี ให้แก่มหามกุฏ-
ราชวทิ ยาลยั ในพระบรมราชูปถมั ภ์ เป็นเจ้าของจัดพมิ พเ์ ป็นเล่มตามประสงค์

ดว้ ยเหตทุ เ่ี รอื่ ง ๔๕ พรรษาของพระพทุ ธเจา้ น้ี ไดแ้ สดงบรรยายในการอบรม
นวกภกิ ษุ ถอ้ ยคำ� จงึ เปน็ โวหารพดู ทง้ั หมด มแี กไ้ ขจากตน้ ฉบบั ทคี่ ดั ลอกจากบนั ทกึ ตาม
สมควร เพอื่ ใหท้ นั พมิ พเ์ พอ่ื แจกในการทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ พระราชทานเพลงิ
หลวงเผาศพโยมมารดา เม่อื วนั ท่ี ๒๒ เมษายน ๒๕๑๐ เปน็ คร้งั แรก เว้นแต่พรรษา
ท่ี ๖ เรื่องพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ เร่ืองโลกและนรก สวรรค์เป็นต้น ที่เขียน
เพิ่มเติมข้นึ ภายหลัง ดงั น้นั จึงอาจจะมีที่ผดิ พลาดบกพร่องในหนงั สือนี้หลายแห่ง

ขอขอบคณุ มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ฯ ซงึ่ ไดก้ รณุ าจดั แบง่ ฉบบั พมิ พใ์ หเ้ พอื่ แจกใน
งานเผาศพโยมมารดาส่วนหนึง่ ขออนโุ มทนาอำ� นวยพร ศรีสัปดาห์ ที่ได้เป็นต้นเหตุ
ปรารภท�ำเรอ่ื งนี้ และไดจ้ ดั อปุ ถมั ภ์ด้วยประการทั้งปวง

ขอขอบคณุ ทา่ นเจา้ คณุ พระธรรมโสภณ (สนธ์ิ กจิ จฺ กาโร)๒ วดั บวรนเิ วศวหิ าร
ท่ีได้กรุณาด�ำริริเร่ิมให้เกิดความส�ำเร็จในการรวมพิมพ์เป็นเล่ม และตรวจสอบทาน
ต้นฉบับจนเสร็จเรียบร้อย ขอขอบใจพระครูประสิทธิ์พุทธมนต์ (สุรพงษ์ านวโร)๓
ที่ได้ชว่ ยดำ� รแิ ละตรวจทานในการพมิ พ์ กับขอขอบใจพระมหาวิญญ์ วชิ าโน ผทู้ �ำการ
ถอดคัดลอกจากบันทึก กบั ผทู้ ีไ่ ด้ช่วยในการนีท้ ง้ั ปวง

๑ สดุ ทา้ ยได้รบั พระราชทานสมณศักดท์ิ ่ี พระราชวราจารย์
๒ สุดทา้ ยไดร้ บั พระราชทานสถาปนาสมณศกั ดเ์ิ ป็นที่ พระญาณวโรดม
๓ สดุ ท้ายไดร้ ับพระราชทานสมณศักดท์ิ ี่ พระเทพวัชรธรรมาภรณ์ เจา้ อาวาสวดั ตรีทศเทพ

อน่ึง จะได้ท�ำต่ออีก เม่ือพอจะรวมพิมพ์เป็นเล่มได้ ก็จะได้รวมพิมพ์ต่อไป
และแม้ที่ท�ำไว้แล้วน้ี หากได้พบหลักฐานที่ควรแก้ไขเพิ่มเติม ก็จักแก้ไขเพิ่มเติมอีก
เพราะเป็นเร่อื งท่ีจะตอ้ งคน้ คว้ากันต่อไปอกี มาก

(พระสาสนโสภณ)
วัดบวรนเิ วศวิหาร
เมษายน ๒๕๑๐

คำ� ช้ีแจง
(ฉบับพิมพ์ ๓ ต.ค. ๒๕๕๒)

ความเปน็ มาของพระนพิ นธเ์ รอ่ื ง ๔๕ พรรษาของพระพทุ ธเจา้ นม้ี รี ายละเอยี ด
ปรากฏในค�ำน�ำเม่ือพมิ พค์ รัง้ ท่ี ๑ และเมือ่ พมิ พ์ฉบบั แก้ไขเพม่ิ เติม ซง่ึ ไดพ้ ิมพ์รวมไว้
ในการพิมพค์ รงั้ น้ีด้วยแล้ว ส่วนที่ควรชแ้ี จงเพม่ิ เติมเฉพาะท่ีเก่ยี วกบั เนื้อหาที่เพ่ิมเตมิ
ใหมใ่ นการพิมพค์ ร้งั นี้ ดังนี้

นบั แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๑๐ ซง่ึ ไดจ้ ดั พมิ พพ์ ระนพิ นธเ์ รอื่ งนเ้ี ปน็ ครงั้ แรก เปน็ ตน้ มา
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็มิได้ทรงนิพนธ์เรื่องน้ีต่อ คงเน่ืองด้วยทรงมีพระภารกิจอ่ืน ๆ
ท่ีต้องทรงปฏิบัติมาก จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้ทรงปรารภถึงเรื่อง ๔๕ พรรษาของ
พระพทุ ธเจา้ ทท่ี รงนพิ นธค์ า้ งไวเ้ พยี งพรรษาที่ ๙ อกี ครงั้ หนงึ่ จงึ ไดท้ รงทบทวนเนอื้ หา
ทไ่ี ดท้ รงนพิ นธไ์ วเ้ ตมิ และทรงเรม่ิ ทรงนพิ นธเ์ รอ่ื งราวของพรรษาตอ่ ๆ ไป โดยวธิ ที รง
นำ� เรอื่ งราวในพรรษานน้ั ๆ มาแซกไวใ้ นการอบรมนวกภกิ ษใุ นระหวา่ งพรรษา ซง่ึ ทรง
ปฏิบัติเปน็ กิจวัตรในฐานะพระอุปัชฌาย์ เร่มิ แต่ในพรรษกาล ปี ๒๕๓๑ เป็นตน้ มา
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้ทรงบรรยายเร่อื งราวในพรรษาท่ี ๙ เพม่ิ เติมจนจบ แล้วทรง
บรรยายเรอ่ื งราวในพรรษาท่ี ๑๐ พรรษาท่ี ๑๑ และ พรรษาท่ี ๑๒ ตอ่ เนอ่ื งกนั ไปใน
พรรษกาล ๒๕๓๒ และ ๒๕๓๓ จนจบเร่อื งราว ในพรรษาที่ ๑๒

พระโอวาทอบรมนวกภกิ ษใุ นพรรษกาล ๒๕๓๑-๒๕๓๓ ดงั กลา่ วนี้ ดร.เสาวนยี ์
จกั รพิทักษ์ ไดถ้ อดเทปแล้วพมิ พ์เปน็ ต้นฉบบั ถวายเจ้าพระคณุ สมเด็จฯ เพ่ือทรงตรวจ
ทานสำ� หรบั จดั พมิ พเ์ ผยแพร่ เจา้ พระคณุ สมเดจ็ ฯ ไดท้ รงตรวจทานตน้ ฉบบั ไดบ้ างสว่ น
คือส่วนของพรรษาท่ี ๙ เพิ่มเติม (เล็กน้อย) และพรรษาที่ ๑๐ แล้วได้น�ำมา
จัดพิมพ์เป็น “๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า ฉบับแก้ไขเพ่ิมเติม″ พิมพ์คร้ังแรก
พ.ศ. ๒๕๓๒ ซง่ึ มีเน้ือหาเพ่ิมขึน้ ถึงพรรษาท่ี ๑๐

สว่ นตน้ ฉบับของพรรษาท่ี ๙ เพ่ิมเตมิ อยา่ งละเอียด และพรรษาท่ี ๑๑ และ
๑๒ นั้น ยังคงค้างอยู่ต่อมา เพราะเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่ทรงมีโอกาสตรวจทาน
กระทง่ั ในโอกาสงานฉลองพระชนั ษา ๙๖ ปี ของเจา้ พระคณุ สมเดจ็ ฯ วนั ที่ ๓ ตลุ าคม
๒๕๕๒ น้ี ทางวัดบวรนเิ วศวหิ ารจงึ ไดน้ �ำต้นฉบบั พรรษาท่ี ๙ เพิ่มเติมทยี่ งั เหลอื อยู่
และพรรษาท่ี ๑๑-๑๒ ของเจา้ พระคณุ สมเดจ็ ฯ ทยี่ งั คา้ งอยู่ ดงั กลา่ วมาตรวจทานและ
จัดพมิ พ์รวมกับเรอ่ื งราวในพรรษาที่ ๑-๑๐ ท่ไี ดพ้ ิมพ์เผยแพร่ไปแลว้ ใหค้ รบบริบูรณ์
เทา่ ท่ีเจา้ พระคุณสมเดจ็ ฯ ได้ทรงนิพนธไ์ ว้

ในการจดั พมิ พค์ รงั้ นี้ ไดค้ งถอ้ ยคำ� สำ� นวนของเจา้ พระคณุ สมเดจ็ ฯ ไว้ ตามตน้ ฉบบั
เวน้ แตบ่ างค�ำทพี่ จิ ารณาเห็นว่า ผ้คู ัดลอกอาจคัดมาผิดจากคำ� เดมิ หรือสะกดการนั ต์
ไมต่ รงกบั คำ� เตมิ เพราะเปน็ ค�ำบาลี หรือศพั ทธ์ รรมท่ผี คู้ ดั ลอกไมค่ นุ้ เคย จึงแก้ไขให้
ถกู ตอ้ งตามหลักฐานในพระไตรปฎิ กท่เี จา้ พระคุณสมเด็จฯ ทรงอ้างถงึ

วดั บวรนิเวศวหิ าร
๓ ตุลาคม ๒๕๕๒

อักษรย่อช่อื คัมภีร์

(สำ� หรับคมั ภรี บ์ าลี เล่ม/ข้อ/หนา้ )

องฺ. อฏฺก. - องฺคตุ ตฺ รนิกาย อฏฺ กนิปาต สตุ ตฺ นตฺ ปิฏก
องฺ. จตุกกฺ .
อง.ฺ ฉกกฺ . - ” จตกุ ฺกนิปาต ”
อง.ฺ ตกิ . - ” ฉกฺกนิปาต ”
อง.ฺ ทสก.
อง.ฺ ทกุ . - ” ติกนปิ าต ”
อง.ฺ นวก. - ” ทสกนปิ าต ”
อง. ปญฺจก. - ”
อง.ฺ สตตฺ ก. - ” ทกุ นิปาต ”
อภ.ิ ฏีกา. นวกนปิ าต
อภธิ าน. ”
ข.ุ อิติ. - ” ปญจฺ กนิปาต ”
ขุ. อุ.
ข.ุ ข.ุ - ” สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา.
ขุ. ธ. - อภิธมมฺ ตฺถสงฺคหฏีกา
ขุ. ปฏิ.
ข.ุ พุทธฺ . - พระคัมภีรอ์ ภธิ านัปปทปี ิกา
ข.ุ สุ.
ชาตก. - ขทุ ทฺ กนกิ าย อติ วิ ตุ ตฺ ก สตุ ฺตนตฺ ปฏิ ก
ชินกาล.
ไตรภมู .ิ - ” อุทาน ”
ที. ปา. - ” ขุทฺทกปา ”
ที. มหา. - ” ชาตก ”
- ” ธมฺมปท ”
- ” ปฏิสมฺภิทามคคฺ ”
- ” พุทธฺ วสํ ”
- ” สุตตฺ นิปาต ”
- ชาตกฏฺกถา (อรรถกถาขทุ ทกนิกาย ชาดก)

- ชินกาลมาลีปกรณ์ (ฉบับแปลเปน็ ไทย)

- ไตรภมู ิพระรว่ ง

- ทฆี นกิ าย ปาฏิกวคคฺ สตุ ฺตนตฺ ปฏิ ก

- ” มหาวคฺค ”

ธมมฺ ปท. - ธมมฺ ปทฏฺ กถา (อรรถกถาขทุ ทกนกิ าย ธรรมบท ฉบบั บาลี ๘ เลม่
๑ ชุด มลู นิธิมหามกุฏฯ)
ปฐม. - พระปฐมสมโพธกิ ถา
ป. ส.ู - ปปญฺจสทู นี (อรรถกถามชั ฌมิ นกิ าย)
พทุ ธ. - พทุ ธประวตั ิ
ม. อ.ุ - มชฺฌิมนกิ าย อุปรปิ ณฺณาสก สตุ ฺตนฺตปิฏก
ม. ม. - ” มชฺฌมิ ปณฺณาสก
ม. มู. - ” มลู ปณฺณาสก ”
มงฺคล. - มงฺคลตฺถทปี นี ”

มโน. ป.ู - มโนรถปูรณี (อรรถกถาอังคตุ ตรนกิ าย)
มิลินฺท. - มิลนิ ทฺ ปญหฺ า
โมคคฺ ลลฺ าน. - โมคคฺ ลลฺ านปกรณํ
ว.ิ จุลลฺ . - วินยปฏิ ก จลุ ลฺ วคคฺ
วิปสั สนา. - วิปสั สนากัมมฏั ฐาน
ว.ิ มหา. - วินยปิฏก มหาวคฺค
ว.ิ มหาวิ. - วนิ ยปฏิ ก มหาวภิ งฺค
วิสุทธฺ ิ. - วิสุทฺธิมคฺค
สํ. ขนฺธ. - สํยุตฺตนิกาย ขนฺธวารวคคฺ สุตตฺ นฺตปิฏก
สํ. นิ. - ” นทิ านวคฺค
สํ. มหา. - ” มหาวารวคฺค ”
ส.ํ ส. - ” สคาถวคฺค ”
ส.ํ สฬา. - ” สฬายตนวคคฺ ”
สมนฺต. - สมนฺตปาสาทิกา (อรรถกถาวินัยปฏิ ก) ”

สา. ป. - สารตฺถปกาสนิ ี (อรรถกถาสังยุตตนิกาย)
สารสังคห. - คมั ภีรส์ ารสงั คหะ หรือสารตั ถสงั คหะ

สุ. ว.ิ - สมุ งฺคลวลิ าสินี (อรรถกถาทฆี นิกาย)







สารบาญ ๑

พรรษาที่ ๘ เภสกลาวนั ใกลส้ งุ สมุ ารคิระ ๑

ปญั หาในอรยิ ภมู ิ ๕
อาจารย์ผ้นู ิดหนึ่งกไ็ มม่ ี ๙
เหตุที่ไม่ทรงเหยียบผ้าขาว
พรรษาที่ ๙ กรุงโกสัมพ ี ๙
๑๒
พระพุทธจารกิ ๑๓
รัฐท่มี อี ำ� นาจมาก ๔ รัฐ ๑๔
เสดจ็ ประทบั ณ กรุงโกสมั พี ๒๐
พระเจา้ อเุ ทน ๒๖
ประวัติโฆสกเศรษฐี ๓๔
ผู้อดทนคอื ผู้ฝึกตนดีแลว้ ๓๕
สาราณียธรรมสตู ร ๓๗
สลี สามญั ญตา ๓๙
ทิฏฐสิ ามัญญตา ๔๑
ภิกษชุ าวโกสมั พ-ี สังฆเภท ๔๓
นานาสงั วาสกะ สมานสงั วาสกะ ๔๘
ทฆี าวกุ มุ าร ๕๐
ตน้ เหตขุ องสงั ฆเภท
เสดจ็ สปู่ ่าปาริเลยยกะ

พระสตู รทพ่ี ระพุทธเจ้าทรงแสดงที่กรงุ โกสมั พี ๕๔
- อานันทสูตร ๕๔
- สลี สูตร ๕๕
- อเสขิยสตู ร ๕๖
- จาตทุ สิ สตู ร ๕๘
- อรัญญสตู ร ๕๙
- กลุ ูปกสตู ร ๖๐
- ปัจฉาสมณสตู ร ๖๑
- สมาธสิ ตู ร ๖๒
- เวสารัชชกรณสตู ร ๖๔
- สงั กติ สตู ร ๖๕
- โจรสูตร ๖๕
- สขุ มุ าลสูตร ๖๗
- ผาสุวหิ ารสตู ร ๖๙
- อทุ ายิสตู ร ๗๐
- ทุพพิโนทยสูตร ๗๐
- อาฆาตวินยสตู ร ๗๑
- สากัจฉาสตู ร ๗๔
- สาชวี สตู ร ๗๕
- ปญั หาปุจฉาสตู ร ๗๖
- นโิ รธสตู ร ๗๗
- โจทนาสูตร ๗๙
- สลี สูตร ๘๓

- นิสันตสิ ตู ร ๘๔
- ภทั ทชิสตู ร ๘๖
- กัมโมชสูตร ๙๐
- ปาณาตปิ าตสูตร ๙๐
- มสุ าสตู ร ๙๑
- วัณณสูตร ๙๒
- โกธสตู ร ๙๓
- ตมสตู ร ๙๔
- โอณตสูตร ๙๖
- ปุตตสตู ร ๙๖
- สังโยชนสตู ร ๑๐๐
- ทิฏฐสิ ตู ร ๑๐๑
- ขนั ธสตู ร ๑๐๒
- อสุรสตู ร ๑๐๔
- ปฐมสมาธสิ ตู ร ๑๐๖
- ทุตยิ สมาธสิ ูตร ๑๐๗
- ตตยิ สมาธิสตู ร ๑๐๘
- ฉวาลาตสูตร ๑๑๐
- ราคสตู ร ๑๑๑
- นสิ นั ตสิ ตู ร ๑๑๒
- อตั ตหติ สูตร ๑๑๓
- สกิ ขาสูตร ๑๑๔
- โปตลยิ สูตร ๑๑๕

- อาชวี กสตู ร ๑๑๖
- นิททสสตู ร ๑๑๘
- จิตตสตู ร ๑๑๙
- ปรกิ ขารสูตร ๑๒๒
- อัคคิสตู ร ๑๒๓
- อนรุ ุทธสตู ร ๑๒๔
- ยสสตู ร ๑๒๗
- ปัตตสตู ร ๑๓๐
- อัปปสาทสตู ร ๑๓๑
- ปฏสิ ารณยี สตู ร ๑๓๒
- วัตตตสิ ตู ร ๑๓๔
- ราคเปยยาล ๑๓๔
- ปณิ โฑลภารทวาชสตู ร ๑๓๗
- เสขสูตร ๑๓๘
- ปทสตู ร ๑๔๐
- สารสตู ร ๑๔๐
- ปติฏฐิตสตู ร ๑๔๑
- สีสปาสตู ร ๑๔๑
- ขทริ สตู ร ๑๔๒
- ทัณฑสตู ร ๑๔๓
- เจลสูตร ๑๔๔
- สัตติสตสูตร ๑๔๔
- ปาณสตู ร ๑๔๕

- ปฐมสรุ ิยูปมสูตร ๑๔๖
- ทุตยิ สุริยูปมสูตร ๑๔๖
- อินทขีลสูตร ๑๔๗
- วาทีสตู ร ๑๔๘
- เขมกสูตร ๑๔๙
- สันทกสตู ร ๑๕๔
- ชาติ ๖ เพ่ิมเตมิ ๑๗๖
พรรษาที่ ๑๐ รกั ขติ วัน หรอื ป่าปาริเลยยกะ ๑๗๘
พระประวัตขิ องพระพุทธเจ้าในพรรษาที่ ๑๐ ๑๗๘
อุปกเิ ลส ๑๑ ๑๗๙
การท�ำสมาธิ ๑๘๒
รูปนมิ ิต ๒ อยา่ ง ๑๘๕
เภทกรณวตั ถุ ๑๘๖
สังฆเภท สงั ฆสามคั ค ี ๑๙๐
สงั ฆสามัคคี ๒ อยา่ ง ๑๙๒
เหตใุ หแ้ ตกแยกนกิ าย ๑๙๔
พระสงฆธ์ รรมยตุ พระสงฆม์ อญ ๑๙๕
พรรษาท่ี ๑๑ หม่บู า้ นพราหมณ์ชอ่ื เอกนาฬา ๑๙๘

กสิสตู รหรอื กสภิ ารทวาชสูตร ๑๙๙
อรรถกถาของกสิสตู รบางตอน ๒๐๑
อุปกาชวี ก ๒๐๗
เรอ่ื งอปุ กาชีวก ๒๐๗
เรอ่ื งถือนสิ ยั ๒๐๘

พระพุทธานญุ าตให้ถอื นสิ ยั ๒๐๙
ชีวกโกมารภัจจ์ ๒๑๗
- กำ� เนิดชวี กโกมารภจั จ์ ๒๑๘
- เรียนศลิ ปะทางการแพทย์ ๒๑๙
- เรม่ิ ปฏิบัตงิ านแพทย์ ๒๒๐
- เร่ิมรักษาภรรยาเศรษฐ ี ๒๒๑
- พระเจ้าพมิ พิสารทรงประชวรโรครดิ สีดวงงอก ๒๒๒
- เศรษฐีพระนครราชคฤห์ ๒๒๓
- บตุ รเศรษฐีปว่ ยเปน็ โรคเนือ้ งอกท่ีลำ� ไส้ ๒๒๕
- พระเจา้ จัณฑปชั โชตทรงประชวรโรคผอมเหลอื ง ๒๒๖
- พระเจ้าจณั ฑปชั โชตพระราชทานผา้ สิไวยกะ ๒๒๙
- พระผมู้ พี ระภาคเจ้าเสวยพระโอสถถ่าย ๒๒๙
- กราบทลู ขอพร ๒๓๑
- พระพุทธานญุ าตคหบดีจวี ร ๒๓๒
- พระพทุ ธานญุ าตผา้ ปาวารและผ้าโกเชาว์ ๒๓๒
- พระพุทธานญุ าตผา้ กัมพล ๒๓๓
พระพทุ ธานญุ าตคหบดจี ีวร ๖ ชนดิ ๒๓๓
เร่ืองขอส่วนแบง่ ๒๓๔
องค์ของเจ้าหนา้ ท่ผี ูร้ บั จวี ร ๒๓๕
องค์ของเจา้ หน้าที่ผ้เู ก็บจีวร ๒๓๖
พระพุทธานุญาตเรือนคลัง ๒๓๗
องค์ของเจ้าหนา้ ทีผ่ รู้ กั ษาเรือนคลัง ๒๓๘
พระพทุ ธบญั ญัตหิ า้ มยา้ ยเจา้ หนา้ ทีร่ กั ษาเรอื นคลงั ๒๓๙

องค์ของเจ้าหนา้ ทผ่ี ูแ้ จกจวี ร ๒๓๙
พระพุทธานญุ าตน�ำ้ ย้อมเปน็ ตน้ ๒๔๑
พระพุทธบญั ญตั ิหา้ มใช้จีวรทไ่ี มต่ ัด ๒๔๒
พระพุทธบัญชาให้แต่งจีวร ๒๔๓
ตรสั สรรเสรญิ ท่านพระอานนท ์ ๒๔๓
เสด็จพระพุทธดำ� เนินทางไกล ๒๔๔
พระพทุ ธานญุ าตไตรจีวร ๒๔๕
พระพทุ ธบัญญตั อิ ดเิ รกจวี ร ๒๔๕
พระพุทธานญุ าตใหว้ กิ ัปอดเิ รกจวี ร ๒๔๖
พระพุทธานุญาตผา้ ปะเปน็ ตน้ ๒๔๖
เรอ่ื งนางวสิ าขามคิ ารมาตา ๒๔๗
พระพทุ ธานญุ าตผ้าวสั สกิ สาฎกเปน็ ตน้ ๒๕๒
ผา้ ป่า ๒๕๒
พระนอนหลับลมื สติ ๒๕๕
พระพุทธานุญาตผ้านิสที นะ ๒๕๖
พระพทุ ธานุญาตผา้ ปัจจัตถรณะ ๒๕๖
พระพทุ ธานุญาตผ้าปิดฝี ๒๕๗
พระพทุ ธานุญาตผา้ เช็ดหนา้ ผา้ เชด็ ปาก ๒๕๗
องค์ของการถอื วิสาสะ ๕ ประการ ๒๕๘
พระพุทธานญุ าตผ้าบรขิ าร ๒๕๘
พระพทุ ธานุญาตผ้าทีต่ อ้ งอธษิ ฐานและวกิ ปั ๒๕๘
พระพุทธานญุ าตผ้าท่ีตดั และไมต่ ัด ๒๕๙
พระให้ผ้าแกโ่ ยมมารดาบดิ าได้ ๒๖๐

พระพทุ ธบัญญตั ิห้ามครองผ้า ๒ ผนื เขา้ บ้าน ๒๖๐
ถวายจีวรเป็นของสงฆ์ ๒๖๑
พทุ ธบัญญัตหิ า้ มรบั จีวรในวดั ท่ีไม่ได้จำ� พรรษา ๒๖๓
พระอาพาธ ๒๖๔
องคข์ องภิกษอุ าพาธท่พี ยาบาลได้ยาก ๕ อยา่ ง ๒๖๖
องค์ของภกิ ษุอาพาธท่ีพยาบาลได้ง่าย ๕ อยา่ ง ๒๖๖
องคข์ องภกิ ษผุ ูไ้ ม่เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง ๒๖๖
องค์ของภิกษผุ เู้ ข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง ๒๖๗
เร่ืองใหบ้ าตรจวี รของผ้ถู งึ มรณภาพแกค่ ลิ านปุ ฏั ฐาก ๒๖๗
สามเณรถงึ มรณภาพ ๒๖๘
ภิกษุและสามเณรช่วยกนั พยาบาลไข้ ๒๖๙
เร่อื งสมาทานติตถยิ วัตรมีเปลอื ยกายเปน็ ต้น ๒๖๙
พระฉัพพัคคยี ท์ รงจีวรสีครามลว้ นเปน็ ตน้ ๒๗๑
เรอื่ งจวี รยงั ไม่เกิดแก่ผู้จ�ำพรรษา ๒๗๑
เรื่องพระเรวตเถระฝากจวี ร ๒๗๓
จีวรที่เกิดข้ึนมี ๘ มาติกา ๒๗๕
อดตี ของหมอชีวกโกมารภัจจ ์ ๒๗๗
ธนญั ชานสิ ตู ร ๒๗๙
มาตาสตู ร ๒๙๔
อปุ กาชีวกพบพระพทุ ธเจ้า ๒๙๙
นางจาปาเถรี ในจาปาเถรีคาถา ๓๐๒
ฆฏกิ ารสูตร ๓๐๕
จวี รสตู ร ๓๐๖

ประวตั ทิ า่ นพระมหากสั สปะ ๓๑๒
ชวี กสูตร ๓๑๙
- การแผเ่ มตตา ๓๒๐
- การแผ่กรุณา มทุ ติ า อเุ บกขา ๓๒๑
- ฆา่ สัตวท์ ำ� บญุ ไดบ้ าปด้วยเหตุ ๕ ประการ ๓๒๓
พรรษาท่ี ๑๒ เมืองเวรัญชา ๓๒๘

ปฐมสงั วาสสูตร ๓๒๘
เรอ่ื งเวรญั ชพราหมณ์ ๓๓๐
เวรญั ชพราหมณก์ ล่าวตู่พระพทุ ธเจ้า ๓๓๑
ทรงอปุ มาด้วยลูกไก ่ ๓๓๔
ฌาน ๔ และวชิ ชา ๓ ๓๓๔
เวรญั ชพราหมณ์แสดงตนเป็นอบุ าสก ๓๓๗
เมืองเวรัญชาเกดิ ทุพภิกขภยั ๓๓๗
พระพุทธประเพณ ี ๓๓๘
พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท ๓๓๘
เหตุใหพ้ ระศาสนาด�ำรงอยู่ไม่นานและนาน ๓๓๙
ปรารภเหตุใหท้ รงบญั ญัตสิ กิ ขาบท ๓๔๑
เสดจ็ นเิ วศนเ์ วรัญชพราหมณ ์ ๓๔๒
ปหาราทสูตร ๓๔๔
เรอ่ื งภกิ ษุ ๕๐๐ รูป ๓๔๙
วาโลทกชาดก (ชาดกเร่อื งน้�ำหาง) ๓๕๐
เรื่องของพระมหากัจจานะ ๓๕๑
บรรณานุกรม



พรรษาที่ ๘

เภสกลาวัน ใกลส้ งุ สุมารคริ ะ

ปัญหาในอรยิ ภมู ิ

พรรษาที่ ๘ ของพระพทุ ธเจา้ พระอรรถกถาจารยซ์ ง่ึ ไดเ้ ขยี นคมั ภรี อ์ รรถกถา
ในสมัยเม่ือพระพุทธศาสนาล่วงได้แล้วประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเศษ ได้เขียนเล่าไว้ว่า๑
พระพทุ ธเจา้ ไดท้ รงเทศนอ์ ภธิ รรมโปรดพระพทุ ธมารดากบั เทพยดาบนสวรรคช์ นั้ ดาวดงึ ส์
ตลอดไตรมาส ในวันมหาปวารณาออกพรรษา ก็ได้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
มายังเมืองมนุษย์ที่ นครสังกัสสะ ได้มีหมู่มนุษย์ทุกช้ัน ตั้งต้นแต่พระเจ้าแผ่นดิน
ได้ไปรอเฝ้ารับการเสด็จลงมาของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก เม่ือพระพุทธเจ้าได้เสด็จ
ลงมาแล้ว ก็ได้ตรัสถามปัญหาแก่บุคคลต้ังต้นแต่ภูมิชั้นต้น ชั้นต่�ำ จนถึงภูมิช้ันสูง
เม่ือทรงต้ังปัญหาถามในภูมิชั้นใด บุคคลผู้ได้ภูมิชั้นน้ันแล้วก็ตอบปัญหานั้นได้ แต่ก็
ไมอ่ าจจะตอบปญั หาทส่ี งู กวา่ ภมู ขิ องตนได้ ไดต้ รสั ถามเรอื่ ยจนถงึ ภมู ขิ องพระอคั รสาวก
เบ้ืองขวาคือพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ตอบได้ แต่เม่ือทรงได้ต้ังปัญหาถามในชั้น
พทุ ธภมู ทิ สี่ งู กวา่ ภมู ขิ องพระสารบี ตุ ร พระสารบี ตุ รกต็ อบไมไ่ ด้ ทตี่ อบไมไ่ ดน้ นั้ กเ็ พราะ
ไม่ทราบพระพทุ ธอธั ยาศยั วา่ จะมพี ระพทุ ธอธั ยาศยั ให้ตอบโดยนยั ไหน

๑ ยมกปาฏิหาริยวตถฺ ุ ธมฺมปท. ๖/๘๕-๙๘.

2 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ท่านยกตัวอย่างปัญหาท่ีถามในพุทธภูมิว่า “บุคคลผู้ที่มีธรรมอันนับแล้วคือ
พจิ ารณารตู้ ลอดแลว้ (หมายถงึ พระอเสขบคุ คล คอื พระอรหนั ต)์ กบั บคุ คลผทู้ ย่ี งั เปน็ เสขะ
(คือยังต้องศึกษาอยู่ หมายถึงท่านผู้บรรลุภูมิพระโสดาบันข้ึนมาจนถึงภูมิของ
พระอนาคามี) บคุ คล ๒ จ�ำพวกน้ีมีความประพฤตเิ ปน็ อย่างไร″๒

ปัญหานี้พระสารีบุตรไม่ทราบพระพุทธอัธยาศัยว่ามุ่งจะให้ตอบในนัยไหน
แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทานนัย มุ่งจะให้ตอบในนัยของขันธ์ พระสารีบุตรก็เกิด
ปฏภิ าณขน้ึ จึงตอบได้

ข้อที่ท่านเล่าไว้นี้ก็น่าฟังอยู่เหมือนกัน ในการตอบปัญหาน้ัน จ�ำจะต้องรู้นัย
คือ ความประสงค์ของปัญหาหรือของผู้ถาม เมื่อตอบให้ถูกตามความประสงค์ก็เป็น
อนั ใชไ้ ด้ ดงั่ ปญั หาธรรมวา่ คนดนี นั้ คอื คนอยา่ งไร กก็ วา้ งมาก ถา้ จะตอบยกเอาธรรม
ในนวโกวาทมา ก็ได้เกือบจะทุกข้อ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องพิจารณาให้รู้ความประสงค์
ของผู้ถามหรือของปัญหาว่า มุ่งจะให้ยกเอาธรรมข้อไหนข้ึนมาตอบ และเมื่อตอบให้
ถกู ความประสงคไ์ ด้ ก็เป็นอนั ใช้ได้ ตอบนดิ เดียวก็ใช้ได้ แต่ถา้ ตอบผดิ ความประสงค์
ยกเอาธรรมมาตอบท้ังเล่ม บางทีก็ไม่ได้เหมือนกัน น้ียกเป็นตัวอย่าง เพราะฉะน้ัน
เมอ่ื มาถงึ ปญั หาทเี่ ปน็ พทุ ธภมู ิ พระสารบี ตุ รกจ็ ำ� จะตอ้ งไดน้ ยั และเมอ่ื ไดน้ ยั แลว้ กต็ อบได้

อาจารยผ์ ้นู ดิ หน่งึ ก็ไม่มี

พระพุทธเจ้าได้ทรงสรรเสริญพระสารีบุตรว่า เป็นผู้มีปัญญามาก เป็นผู้ที่
สามารถจะปฏบิ ตั ธิ รุ ะแหง่ พระองคไ์ ด้ และทา่ นไดเ้ ลา่ วา่ ไดต้ รสั ชาดกเรอื่ งหนง่ึ ๓ ยกยอ่ ง
พระสารบี ตุ รมีความว่า

๒ ข.ุ ส.ุ ๒๕/๔๒๕/๕๓๑.
๓ ข.ุ ชา. ๒๗/๙๙/ ๓๒ ; ปโรสหสฺสชาตก. ชาตก. ๒/๒๕๔.

พรรษาท่ี ๘ 3

ได้มีดาบสคณะหน่ึงประพฤติพรตอยู่ในป่า มีอาจารย์เป็นผู้อบรมสั่งสอน
หมดู่ าบสทง้ั หลาย บรรดาศษิ ยเ์ หลา่ นนั้ ไดม้ ศี ษิ ยผ์ หู้ นงึ่ เปน็ ผฉู้ ลาด และไดร้ บั ยกยอ่ ง
ใหเ้ ปน็ หวั หนา้ ศษิ ยท์ งั้ หลาย คราวหนงึ่ หวั หนา้ ศษิ ยค์ นนนั้ กไ็ ดล้ าอาจารยพ์ าคณะศษิ ย์
หมู่หน่ึงไปอยู่ในละแวกบ้าน ฝ่ายอาจารย์ก็เกิดอาพาธขึ้น และเม่ือใกล้จะถึงมรณะ
ศษิ ยท์ งั้ หลายกไ็ ดถ้ ามอาจารยว์ า่ อาจารยบ์ รรลธุ รรมอะไรบา้ ง อาจารยก์ ต็ อบวา่ นดิ หนงึ่
กไ็ มม่ ี

พวกศษิ ยไ์ ดย้ นิ ดงั นน้ั กเ็ สยี ใจวา่ อาจารยไ์ มไ่ ดบ้ รรลธุ รรมอะไรเลย เมอื่ อาจารย์
ถึงมรณะแล้วก็ไม่ท�ำสักการะแก่ศพ ฝ่ายศิษย์ผู้เป็นหัวหน้า เมื่อกลับมาแล้วได้ทราบ
วา่ อาจารยถ์ งึ มรณะ และไดท้ ราบเรอ่ื งทหี่ มศู่ ษิ ยไ์ ดฟ้ งั ปฏญิ ญาของอาจารยเ์ มอื่ ใกลจ้ ะตาย
และกพ็ ากนั ไมน่ บั ถอื ไมส่ กั การะศพ จงึ ไดช้ แ้ี จงอธบิ ายวา่ อาจารยบ์ รรลอุ รปู ฌานชนั้ ที่ ๓

อรปู ฌานชน้ั ที่ ๑ นนั้ มอี ารมณว์ า่ อากาศไมม่ ที ส่ี ดุ ชอ่ื วา่ อรปู คอื ไมม่ รี ปู
กเ็ พราะกำ� หนดอากาศไมม่ ที ส่ี ดุ เปน็ อารมณ์ ในอากาศนน้ั ไมม่ รี ปู อะไร เมอ่ื จติ แนว่ แน่
ในอารมณ์นก้ี ช็ ่อื ว่า ได้อรปู ท่ี ๑

อรูปที่ ๒ นั้น มอี ารมณว์ า่ วิญญาณไมม่ ีที่สดุ คอื วา่ รู้ไมม่ ีท่สี ุด อากาศไมม่ ี
ท่ีสดุ เท่าใด ร้กู ็ออกไปไม่มที ีส่ ุดเท่านน้ั และในตัวรูก้ ไ็ ม่มอี ะไรอีกเหมอื นกัน คอื ไมม่ ี
รปู อะไร เมอื่ ตง้ั ตน้ ดว้ ยอากาศทไ่ี มม่ รี ปู อะไร รทู้ ส่ี งู ขนึ้ ไปซงึ่ แผอ่ อกไปไมม่ ที ส่ี ดุ กไ็ มม่ ี
รปู อะไรอกี เหมอื นกนั เมอ่ื จิตแนว่ แน่อยใู่ นอารมณ์นี้กช็ ่ือวา่ ไดอ้ รูปท่ี ๒

อรปู ท่ี ๓ น้นั มีอารมณว์ ่า น้อยหนง่ึ กไ็ มม่ ี หรอื วา่ นิดหน่ึงก็ไม่มี เพราะเมื่อ
เลอ่ื นขน้ึ มาจากช้นั ที่ ๑ และชนั้ ท่ี ๒ ซึ่งไมม่ ีรปู อะไรอยู่ในอากาศ อยใู่ นตัวรู้ ฉะนนั้
เมื่อจะเน้นค้นลงไปวา่ มอี ะไรอย่บู า้ ง กไ็ ม่มอี ะไรทัง้ น้นั จึงได้ก�ำหนดลงไปว่าน้อยหนึง่
ก็ไมม่ ี หรือว่านิดหนงึ่ กไ็ ม่มี เม่ือจติ แน่วแน่อย่ใู นอารมณน์ ี้ก็ชื่อว่า ไดอ้ รูปท่ี ๓

สว่ น อรปู ท่ี ๔ นนั้ จติ แนว่ แนอ่ ยใู่ นอารมณท์ ไ่ี มม่ อี ะไร คอื ไมม่ รี ปู อะไรยงิ่ ขน้ึ
สัญญาคือความก�ำหนดหมายก็ไม่ต้องใช้อะไร เพราะไม่มีอะไรจะก�ำหนดก็อ่อนลงไป
เวทนากอ็ อ่ นลงไป เพราะไมม่ อี ารมณอ์ ะไรทจ่ี ะมากอ่ เวทนา รปู อะไรนอ้ ยหนง่ึ นดิ หนง่ึ
ก็ไม่มี จนถงึ ข้ันทเี่ รยี กวา่ มีสญั ญากไ็ มใ่ ช่ ไม่มกี ็ไม่ใช่ คอื ว่ามอี ย่บู ้าง แต่ไม่พอจะใช้

4 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

อย่างปกติ จะเรยี กวา่ ไม่มีก็ไม่ได้ จะเรยี กว่า มีกไ็ ม่ได้ คล้าย ๆ กับเกอื บจะหลับ
หรือวา่ เกอื บจะดับลงไป แต่กไ็ ม่หลบั ไมด่ ับ นี้เรยี กว่า เปน็ อรูปท่ี ๔

พิจารณาดูใน โสฬสปัญหา ท่านที่มุ่งจะบ�ำเพ็ญวิปัสสนาต่อ ถ้าจะเล่นทาง
สมาธิให้ได้ฌาน ก็มักจะด�ำเนินมาถึงชั้นที่ ๓ คือน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี และก็จับ
บำ� เพญ็ วปิ สั สนาตอ่ ไมไ่ ปถงึ ชน้ั ท่ี ๔ พจิ ารณาดถู า้ ไปถงึ ชน้ั ที่ ๔ แลว้ จติ จะออ่ นกำ� ลงั
เต็มท่ี คือว่านามธรรมนั้นเป็นก�ำลังของจิต นามธรรมอ่อนลงไปทุกที ไม่พอจะใช้
พจิ ารณาอะไรใหเ้ กดิ ความรู้ ถา้ จะดำ� เนนิ ไปอยถู่ งึ ชนั้ ที่ ๔ กต็ อ่ ออกไปอกี ชน้ั หนงึ่ เรยี กวา่
นิโรธสมาบัติ เข้านิโรธ คือเข้าดับ ซึ่งเป็นช้ันที่ ๙ นับรูปฌาน ๔ และอรูป ๔
และนโิ รธคอื ดบั ไปอกี หนง่ึ กเ็ ปน็ ๙ ดบั อะไร กค็ อื ดบั สญั ญาดบั เวทนา หมดนามธรรม
ทงั้ หมด กค็ งไม่ตา่ งอะไรกบั หลบั สนทิ ซ่ึงท่านแสดงวา่ พระอรหนั ตพ์ ระปัจเจกโพธิได้
เขา้ นโิ รธสมาบตั ิ คอื เขา้ รปู ฌานอรปู ฌานมาโดยลำ� ดบั จนถงึ ชน้ั นโิ รธสมาบตั นิ ้ี ในบางครงั้
บางคราว และอย่างนานกเ็ ขา้ นโิ รธถึง ๗ วนั โดยปกติท่านแสดงไวอ้ ย่างน้ี แตก่ ็ไมใ่ ช่
ทำ� เสมอ ตอ้ งการพกั นาน ๆ กเ็ ข้านิโรธเปน็ บางครง้ั บางคราว

ศษิ ย์ทเ่ี ปน็ หวั หนา้ จึงไดช้ ้ีแจงวา่ อาจารยบ์ รรลุอรูปช้นั ท่ี ๓ ไม่ใช่วา่ ไม่บรรลุ
คณุ วเิ ศษอะไรเลย เพราะฉะนนั้ ทา่ นจงึ ไดก้ ลา่ วสรรเสรญิ ไวว้ า่ ถงึ คนจะมาประชมุ กนั
กวา่ พนั คน แตว่ า่ ไมม่ ปี ญั ญา พากนั ครำ่� ครวญอยตู่ งั้ รอ้ ยปกี ต็ าม คน ๆ เดยี วทมี่ ปี ญั ญา
รเู้ นอ้ื ความของภาษติ ประเสริฐกว่า

ในตอนท่เี สด็จลงจากดาวดึงสน์ ี้ ท่านได้แสดงอภินหิ ารไวม้ าก เป็นต้นวา่ พาด
บันไดลงมาจากช้ันดาวดึงส์ถึงเมืองสังกัสสะ และอภินิหารน้ีได้เป็นท่ีเช่ือถือกันมา
ตลอดเวลาชา้ นาน เมอ่ื หลวงจนี ฟาเหยี นกบั ถงั ซำ� จง๋ั ไปอนิ เดยี และไดเ้ ขยี นจดหมายเหตไุ ว้
กไ็ ดเ้ ล่าถงึ ความเชอ่ื ถือในอภนิ หิ ารเหลา่ น้ี

ได้เคยถามบางท่านว่า ในฝ่ายมหายานเคยมีถอดความเร่ืองน้ีไว้บ้างหรือไม่
กไ็ ดร้ บั ตอบวา่ ยงั ไมเ่ คยมใี ครถอดความเรอื่ งนไ้ี วแ้ ตอ่ ยา่ งไร กแ็ สดงกนั ไป หรอื วา่ เชอ่ื
กันไปอย่างนั้น แต่ก็ฟังได้อย่างหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปถึงเมืองสังกัสสะน้ัน
ในคราวหนง่ึ หรอื หลายครั้ง และประชาชนกไ็ ดม้ ีศรัทธาเล่ือมใสกนั เปน็ อนั มาก

พรรษาที่ ๘ 5

เร่ืองท่ีเล่าว่า ได้ทรงต้ังปัญหาถามบุคคลทุกภูมิชั้นน้ัน ก็แสดงว่าได้มีการ
สนทนาธรรมกันอย่างกว้างขวาง และในตอนนีก้ ็เล่าถึงอภนิ หิ ารเร่อื ง พระเจา้ เปดิ โลก
หมายความวา่ มนษุ ยเ์ หน็ เทวดาเหน็ สตั วน์ รก เทวดากเ็ หน็ มนษุ ยเ์ หน็ สตั วน์ รก สตั วน์ รก
กเ็ ห็นมนษุ ยเ์ ห็นเทวดา แปลว่า เห็นกันตลอดหมด ตามนีก้ เ็ ข้าใจง่าย ๆ วา่ ไดม้ กี าร
แสดงธรรมที่เป็นส่วนเหตุและแสดงธรรมที่เป็นส่วนผล อันจะพึงได้รับทุกภูมิทุกช้ัน
ดงั ทเ่ี ลา่ วา่ พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั ถามปญั หาแกบ่ คุ คลทกุ ภมู ชิ นั้ ตงั้ แตช่ น้ั ตน้ ชน้ั ตำ่� จนถงึ
ชนั้ พทุ ธภมู ซิ ง่ึ เปน็ ชน้ั ทจี่ ะตอ้ งทรงตอบเอง หรอื วา่ ประทานนยั ใหพ้ ระสารบี ตุ รเปน็ ผตู้ อบ

ความเช่ือถือเร่ืองเสด็จลงจากเทวโลกนี้ได้มีมาตั้งแต่เก่าแก่ เมื่อคร้ังสร้าง
พระพุทธรปู เริ่มแรก กไ็ ดม้ พี ระพทุ ธรปู ปาง เทโวโรหนะ แปลว่า เสดจ็ ลงจากเทวโลก
และความเชอื่ นก้ี ย็ งั ไดแ้ ผเ่ ขา้ มาในประเทศทนี่ บั ถอื พระพทุ ธศาสนาทงั้ หลาย ดงั ทมี่ นี ยิ ม
ใสบ่ าตรวนั เทโวคอื วนั ออกพรรษา ในบางแหง่ เชน่ นครปฐม วนั ออกพรรษานนั้ นมิ นต์
พระจากวดั ตา่ ง ๆ ไปรวมกนั อยบู่ นเนนิ องคพ์ ระปฐม และประชาชนกม็ าตงั้ ขนั ใสบ่ าตร
กนั ขา้ งล่าง ๒ ขา้ งทาง พระก็เดินลงมาจากเนินองคพ์ ระปฐม ดเู ปน็ เดินมาจากบนั ได
สูง ๆ แลว้ กใ็ สบ่ าตร มนี ิยมกนั มาทุกปี เรียกว่า ใสบ่ าตรวันเทโว หรอื เทโวโรหนะ
เสด็จลงจากดาวดงึ ส์

เมืองสังกัสสะนี้ในอรรถกถาธรรมบทว่า ไกลจากเมืองสาวัตถี ๓๐ โยชน์
แต่ว่าเม่ือรวมระยะทางในบัดนี้ ประมาณ ๒๗๐ ไมล์ ก็ใกล้เคียงกันกับจ�ำนวนท่ี
ให้ไวว้ า่ ๓๐ โยชน์นัน้

เหตุทีไ่ มท่ รงเหยยี บผา้ ขาว

พระพทุ ธเจา้ ไดเ้ สดจ็ จารกิ ไปโดยลำ� ดบั จนถงึ พรรษาที่ ๘ ไดเ้ สดจ็ ไปจำ� พรรษา
ทเี่ ภสกลาวนั ทอี่ ยชู่ านเมอื งสงุ สมุ ารคริ ะในภคั คชนบท ภคั คชนบท นน้ั เปน็ รฐั อกี รฐั หนงึ่
ซึ่งในสมัยน้ัน โพธิราชกุมาร ซ่ึงเป็นโอรสของพระเจ้าอุเทน (แห่งแคว้นวังสะซ่ึงมี
นครหลวงชอ่ื วา่ โกสมั พ)ี เปน็ ผคู้ รอง ฉะนนั้ จงึ นา่ จะขน้ึ อยกู่ บั รฐั วงั สะของพระเจา้ อเุ ทน
โพธริ าชกมุ ารซ่ึงเป็นผ้ไู ปครอง ก็ท�ำนองไปครองฐานะเป็นเมอื งลกู หลวง

6 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เมอื งหลวงของภคั คชนบทนช้ี อ่ื วา่ สงุ สมุ ารคริ ะ แปลวา่ เมอื งทเ่ี ปน็ เนนิ จระเข้
สงุ สมุ าระ แปลวา่ จระเข้ คริ ะ แปลวา่ เนนิ หรอื เขา มเี รอ่ื งเลา่ ไวว้ า่ เมอื่ สรา้ งนครนน้ั
ไดม้ ีจระเขร้ ้องในหว้ งนำ้� แห่งหนง่ึ ซึง่ ไมไ่ กล จึงไดถ้ ือเอาเสียงจระเข้ทีไ่ ดย้ ินร้องในเวลา
สร้างเมืองนัน้ มาตง้ั เปน็ ช่ือเมอื งวา่ สงุ สุมารคิระ

สว่ น เภสกลาวนั ทอี่ ยชู่ านเมอื งนนั้ คำ� วา่ เภสกลา มตหิ นง่ึ วา่ เปน็ ชอ่ื ยกั ษณิ ี
ซึ่งเป็นผู้สิงสถิตอยู่ท่ีป่าน้ัน อีกมติหน่ึงว่า เภสกลา แปลว่า ไม้สีเสียด เภสกลาวัน
ก็แปลว่า ป่าไมส้ ีเสยี ด แต่รวมความกเ็ ปน็ ชือ่ ของวนะแห่งนัน้

พระพุทธเจา้ ได้ประทับจำ� พรรษาอยทู่ ว่ี นะ อันชื่อว่า เภสกลา นัน้ ไดม้ เี รื่อง
เกดิ ขนึ้ ในสมยั ทปี่ ระทบั อยู่ ณ ทแ่ี หง่ นน้ั ทค่ี วรจะเลา่ กค็ อื โพธริ าชกมุ ารซงึ่ เปน็ ผคู้ รอง
แควน้ นนั้ ไดส้ รา้ งปราสาทใหมส่ ำ� เรจ็ ขน้ึ องคห์ นง่ึ ชอื่ วา่ โกกนทุ ปราสาท ยงั ไมไ่ ปประทบั
จงึ ทรงสง่ มหาดเลก็ ชอื่ วา่ สญั ชกิ าบตุ ร มาเฝา้ พระพทุ ธเจา้ กราบทลู เชญิ เสดจ็ พระพทุ ธเจา้
ไปเสวยที่ปราสาทสร้างใหม่ พระพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์ก็ทรงรับอาราธนา
และเมอ่ื ไดเ้ วลาในวนั รงุ่ ขน้ึ กไ็ ดเ้ สดจ็ ไปยงั ปราสาทของพระราชกมุ ารพรอ้ มกบั ภกิ ษสุ งฆ์
พระราชกุมารได้ให้ปูผ้าขาวที่บันไดขึ้นปราสาท ตั้งแต่บันไดข้ันแรกข้ึนไปโดยตลอด
เมอื่ พระพทุ ธเจา้ เสดจ็ ถงึ พระราชกมุ ารกไ็ ด้ทรงมาตอ้ นรับท่ีหน้าปราสาท และไดข้ อ
ใหพ้ ระพทุ ธเจ้าเสดจ็ ดำ� เนนิ นำ� หน้า พระองค์กเ็ สด็จตามหลัง พระพทุ ธเจ้าเสด็จไปถึง
ข้ันบันไดปราสาทนั้นแล้ว ก็ทรงหยุดไม่ได้เสด็จขึ้น พระราชกุมารก็กราบทูลอัญเชิญ
ให้เสด็จขึ้น พระพุทธเจ้ากท็ รงนงิ่ พระราชกุมารไดก้ ราบทูลถงึ ๓ ครง้ั พระพทุ ธเจา้
จงึ ไดท้ อดพระเนตรไปทพี่ ระอานนท์ พระอานนทก์ ไ็ ดท้ ลู แกพ่ ระราชกมุ ารวา่ พระตถาคต
ไมท่ รงเหยยี บผา้ ขาว ขอใหพ้ ระราชกุมารให้เก็บออกเสีย พระราชกุมาร จึงให้เกบ็ ผ้า
ขาวออก พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดเ้ สดจ็ ขนึ้ สปู่ ราสาท พระราชกมุ ารกไ็ ดท้ รงองั คาสอาหารถวาย
พระพุทธเจ้าเสวยเสร็จแล้วก็ทรงอนุโมทนา แล้วก็เสด็จกลับ๔ เม่ือเสด็จกลับแล้ว
ก็มีพระพุทธบัญญัติห้ามภิกษุเหยียบผ้าขาว แต่ว่าต่อมาก็ทรงผ่อนให้เหยียบผ้าขาวท่ี
เขาปูไวส้ �ำหรบั ต้องการจะใหพ้ ระเหยียบเปน็ มงคลได้

๔ โพธิราชกมุ ารสุตฺต. ม. ม. ๑๓/๔๘๖-๔๘๘/๔๔๐-๔๔๓.

พรรษาท่ี ๘ 7

ในตอนนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้เล่าว่า๕ พระราชกุมารได้ทรงอธิษฐาน
พระหทยั วา่ ถา้ พระพทุ ธเจา้ ทรงเหยยี บผา้ ทพ่ี ระองคใ์ หป้ ไู วก้ จ็ ะไดพ้ ระโอรส เพราะไมม่ ี
พระโอรสพระธิดา และยังได้เล่าถึงนายช่างท่ีสร้างปราสาทของโพธิราชกุมารไว้ว่า
เม่ือไดส้ ร้างปราสาทจวนจะเสรจ็ พระราชกุมารกใ็ ห้เอาคนล้อมไว้ ไม่ใหน้ ายช่างออก
เพราะก�ำหนดไว้ว่า เม่ือสร้างเสร็จแล้วจะฆ่านายช่างเสีย เพื่อไม่ให้ไปสร้างท่ีอื่นให้
เหมอื นกนั ฝา่ ยนายชา่ งรู้ กแ็ สรง้ ว่าทำ� ยังไม่เสร็จ ขอเบิกเอาไมแ้ ละสิ่งต่าง ๆ ตามที่
ต้องการเข้าไปสร้างนกยนต์ไว้บนช้ันบนของปราสาท เมื่อสร้างปราสาทเสร็จแล้ว
ก็หาวิธีน�ำบุตรภริยาข้ึนนกยนต์นั้น และบินหนีไปสร้างเมืองข้ึนอีกเมืองหน่ึง และก็
ต้ังตนเปน็ ผคู้ รองเมอื งน้นั ชอื่ ว่า กัฏฐวาหนะราชา

ในระหว่างท่พี ระพทุ ธเจ้าประทับอยู่ ณ วนะแหง่ นี้ กไ็ ด้ทรงบญั ญัติสิกขาบท
แห่งสุราปานวรรคทีห่ า้ มไมใ่ หภ้ กิ ษุกอ่ ไฟผิง

อีกเรื่องหน่ึง๖ ได้มีคฤหบดีผู้หนึ่งช่ือว่า นกุลปิตา พร้อมกับภริยาได้เป็นผู้
เลือ่ มใสในพระพุทธเจา้ เป็นอันมาก พระอรรถกถาจารย์ไดเ้ ล่าวา่ สามีภรรยาทัง้ ค่นู ี้ได้
มคี วามรกั พระพทุ ธเจา้ เหมอื นอยา่ งบตุ ร และไดเ้ รยี กพระพทุ ธเจา้ วา่ บตุ ร ในคราวหนงึ่
นกุลปิตาได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้กราบทูลว่าตนเป็นผู้แก่เฒ่ามากแล้ว จะไม่ได้
มาเฝา้ พระพทุ ธเจา้ และภกิ ษสุ งฆไ์ ดเ้ นอื งนติ ย์ เพราะฉะนน้ั กข็ อใหพ้ ระองคท์ รงโอวาท
อนุศาสน์ เพ่อื จะให้เกิดประโยชน์เก้อื กูลและความสขุ ตลอดกาลนาน

พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดต้ รสั โอวาทโดยยอ่ วา่ “กายนซ้ี ง่ึ เปน็ รงั โรค เปน็ ของอาดรู คอื
กระสบั กระสา่ ย เมอ่ื บคุ คลบรหิ ารกายนอี้ ยดู่ ว้ ยความพนิ จิ พจิ ารณา ถา้ ไมห่ ลงไมเ่ ขลา
จะพึงรับรองว่ากายน้ีไม่มีโรคแม้คร้ังหนึ่งก็หาได้ไม่ เพราะฉะนั้น ก็ให้ศึกษาว่า
เม่อื กายอาดรู คอื กระสับกระสา่ ย จติ จกั ไม่อาดรู คอื กระสับกระส่าย ให้คฤหบดศี กึ ษา
ด่งั น″้ี

๕ โพธิราชกมุ ารวตฺถุ ธมมฺ ปท. ๖/๑-๖.
๖ สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑-๕/๑-๗.

8 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ฝ่ายนกุลปิตานั้น เมื่อได้สดับพระพุทธโอวาทโดยย่ออย่างน้ัน ก็ได้ไปหา
พระสารบี ตุ ร ขอให้ท่านอธบิ ายความให้พิสดาร ทา่ นพระสารบี ตุ รก็ได้อธบิ ายความให้
ฟังโดยความว่า

“บคุ คลทมี่ กี ายกระสบั กระสา่ ย มจี ติ กระสบั กระสา่ ยดว้ ยนนั้ อยา่ งไร คอื บคุ คล
ท่ีไม่ฉลาดรู้ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะน�ำในสัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูป
เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณโดยความเปน็ ตน หรอื วา่ เหน็ ตนวา่ มรี ปู เวทนา สญั ญา
สงั ขาร วญิ ญาณ หรือเหน็ รูป เวทนา สญั ญา สังขาร วิญญาณในตน หรือว่าเหน็ ตน
ในรูป เวทนา สัญญา สงั ขาร วญิ ญาณน้ัน จึงเป็นผ้ทู ่ีมคี วามกำ� หนดยึดถืออยู่ว่าเรา
เปน็ รปู เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณ รปู เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณเปน็ ของเรา
เมื่อเปน็ เช่นนี้ เมื่อรปู เวทนา สัญญา สังขาร วญิ ญาณ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
จงึ เกดิ ความโศก ความครำ่� ครวญ ความทกุ ขก์ าย ความทกุ ขใ์ จ ความคบั แคน้ ใจขนึ้ เพราะ
ความแปรปรวนนนั้ อยา่ งนชี้ อ่ื วา่ มกี ายกระสบั กระสา่ ยดว้ ย มจี ติ กระสบั กระสา่ ยดว้ ย

ส่วนบุคคลผู้ท่ีมีกายกระสับกระส่าย แต่มีจิตไม่กระสับกระส่ายอย่างไร คือ
บคุ คลผทู้ ฉี่ ลาดรอู้ รยิ ธรรม ไดร้ บั การแนะนำ� ดใี นสปั ปรุ สิ ธรรม ไมเ่ หน็ เหมอื นอยา่ งนน้ั
จงึ ไมม่ คี วามกำ� หนดยดึ ถอื อยวู่ า่ เราเปน็ รปู เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณ รปู เวทนา
สัญญา สังขาร วญิ ญาณเปน็ ของเรา เมอ่ื เปน็ เช่นนี้ เมื่อรปู เวทนา สญั ญา สงั ขาร
วิญญาณแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่เกิดความโศก เป็นต้นขึ้น อย่างน้ีช่ือว่า
มกี ายกระสบั กระสา่ ย แต่วา่ มจี ติ ไม่กระสับกระส่าย″

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อใกล้จะเสด็จสวรรคต ได้ทรง
พระราชนิพนธ์ค�ำลาพระสงฆ์เป็นภาษาบาลี และโปรดฯ ให้มาอ่านลาพระสงฆ์ที่
พระอโุ บสถวดั ราชประดษิ ฐฯ์ กไ็ ด้ทรงเกบ็ ความแห่งพระพุทธภาษติ น้ีมาทรงประพนั ธ์
เปน็ คาถาไว้บทหน่งึ ว่า

อาตุรสฺมิมฺปิ เม กาเย จิตตฺ ํ น เหสสฺ ตาตรุ ํ
เอวํ สกิ ขฺ ามิ พทุ ฺธสสฺ สาสนานคุ ตึ กรํ
แปลว่า “เมอ่ื กายของเราแมอ้ าดรู กระสบั กระสา่ ย จิตจกั ไมอ่ าดรู เรากระทำ�
ตามศาสนาของพระพทุ ธเจ้า ศกึ ษาอย่อู ย่างนี″้

พรรษาท่ี ๙

กรุงโกสัมพี

พระพทุ ธจาริก

ในพรรษาท่ี ๙ ทา่ นกล่าวว่า พระพทุ ธเจ้าได้ประทับจ�ำพรรษาทกี่ รงุ โกสมั พี
รัฐวังสะหรือวสั สะ

แตโ่ ดยปกติ เมอื่ ออกพรรษาแลว้ พระพทุ ธเจา้ เสดจ็ จารกิ ในชนบทมณฑลตา่ ง ๆ
ได้ทรงปฏบิ ัติเป็นอาจิณกจิ คอื กจิ ที่ท�ำอยเู่ สมอต้งั แตต่ ้นมา ท่านได้เลา่ ถงึ พทุ ธจารกิ
คือการเสดจ็ เที่ยวพุทธด�ำเนนิ ไปของพระพทุ ธเจา้ ไว้ ๓ อยา่ ง คอื

๑. เมอื่ จะเสดจ็ จาริกไปในมหามณฑล คือในชนบทมณฑลใหญ่ ต้องใช้เวลา
มาก เมอื่ ออกพรรษาแลว้ ไดว้ นั หนง่ึ ตรงกบั การนบั ของไทยคอื วนั แรมคำ่� ๑ เดอื น ๑๑
ก็เสด็จออกจากที่จ�ำพรรษาในพรรษาท่ีผ่านไปใหม่ ๆ น้ันแล้วก็เสด็จจาริกเรื่อยไปใช้
เวลา ๙ เดือน ถงึ วนั เขา้ พรรษาใหมก่ ห็ ยดุ อยู่ประทับจ�ำพรรษา

๒. เมอ่ื จะเสดจ็ จารกิ ไปในมชั ฌมิ มณฑล คอื ในชนบททเ่ี ปน็ มณฑลขนาดกลาง ๆ
เมอ่ื ออกพรรษาในวนั กลางเดอื น ๑๑ แล้ว ก็ประทับอยทู่ ่ีนน้ั อกี ๑ เดอื น หรือบางที
กเ็ ลอ่ื นออกพรรษาไปอกี ๑ เดอื น คอื ไปออกพรรษา ทำ� ปวารณาในวนั กลางเดอื น ๑๒
วันรุ่งข้ึนซ่ึงตรงกับวันแรมค่�ำ ๑ ของไทย จึงเสด็จเที่ยวจาริกไป ใช้เวลา ๘ เดือน
จึงหยุดจ�ำพรรษา

10 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๓. เมอ่ื จะเสดจ็ จารกิ ไปในอนั ตมิ มณฑล มณฑลทเ่ี ลก็ ไปกวา่ หรอื ใชเ้ วลานอ้ ย
กว่า ก็ยังประทับอยู่ ณ ท่จี �ำพรรษาจนถงึ กลางเดือนอา้ ย รุ่งข้นึ ตรงกบั วันแรมค่ำ� ๑
เดือนอ้าย จึงเสดจ็ จาริกไป ใชเ้ วลา ๗ เดือนกป็ ระทับจำ� พรรษา

และขอ้ ทท่ี รงปฏบิ ตั เิ ปน็ อาจณิ กจิ ทว่ั ไปนนั้ กค็ อื ทรงปฏสิ นั ถารตอ้ นรบั อาคนั ตกุ ะ
เช่น ภิกษุทม่ี าเฝา้ จากทศิ ตา่ ง ๆ ทรงแสดงธรรมตามเรือ่ งทีเ่ กิดขน้ึ และทรงบัญญัติ
สกิ ขาบทตามเร่ืองอยา่ งใดอยา่ งหนึ่งท่ีเกิดข้นึ ในขณะทเ่ี สด็จจารกิ ไปน้ัน ถา้ บางคราว
ตอ้ งการจะเสดจ็ จารกิ ไปดว่ น ๆ กท็ รงดำ� เนนิ ดว้ ยพระบาทวนั หนง่ึ เปน็ เวลามาก ๆ เชน่
มพี ระพทุ ธประสงคจ์ ะเสดจ็ ไปโปรดผทู้ ม่ี อี ปุ นสิ ยั จะไดต้ รสั รพู้ ระธรรมโดยรบี ดว่ น แตถ่ า้
โดยปกตกิ เ็ สดจ็ ไปโดยไมร่ บี ดว่ น วนั หนง่ึ ๆ เสดจ็ ดว้ ยพระบาทหนง่ึ ในสข่ี องโยชน์ หรอื
ว่ากงึ่ โยชน์ หรือวา่ หนง่ึ ในสามของโยชน์ หรือว่าโยชน์หนึ่ง

พระพทุ ธกจิ ทีไ่ ดท้ รงปฏบิ ตั เิ ป็นประจ�ำวนั น้ันมี ๕ ประการ คือ

๑. ปเุ รภตั ตกจิ กจิ ในเวลากอ่ นภัตต์ ได้แกเ่ สด็จออกแตเ่ ชา้ ทรงทำ� สรรี กิจ
เสด็จออกบิณฑบาต ตลอดจนถึงเสวยภัตตาหาร ทรงท�ำอนุโมทนาแสดงธรรม
แลว้ เสดจ็ ขน้ึ พระคนั ธกฎุ ี คอื กฎุ ที ป่ี ระทบั แตย่ งั ไมเ่ ขา้ ไปขา้ งใน ในคำ� บอกวตั รแสดงไว้
วา่ ปพุ ฺพณฺเห ปณิ ฑฺ ปาตญจฺ เสด็จออกบิณฑบาตในเวลาเช้า

๒. ปัจฉาภัตตกิจ กิจในเวลาภายหลังภัตต์ คือเมื่อเสด็จข้ึนพระคันธกุฎี
ดังกล่าวแล้ว ก็ประทับเบ้ืองหน้าพระคันธกุฎี ให้โอวาทภิกษุสงฆ์ท่ีมาเฝ้า เสด็จเข้า
พระคนั ธกฎุ ีประทับตามพระประสงค์ ทรงใชพ้ ระญาณตรวจดโู ลกในทุติยภาคคอื สว่ น
ที่ ๒ ของวนั จนถงึ ในตตยิ ภาคคอื สว่ นที่ ๓ ของวนั คอื เวลาเยน็ เสดจ็ ไปยงั ธรรมสภา
ซ่ึงมีมหาชนมารอเฝ้าอยู่ ก็ทรงแสดงธรรมโปรดเป็นกาลยุตต์คือเหมาะแก่กาล หรือ
สมัยยุตต์ เหมาะแก่สมัย เม่ือยุติด้วยกาลก็ส่งบริษัทกลับ ในค�ำบอกวัตรได้ผูกเป็น
บาทคาถา ไว้วา่ สายณฺเห ธมมฺ เทสนํ ทรงแสดงธรรมในเวลาเย็น

๓. ปุริมยามกจิ กิจในยามต้นของราตรี คือแบ่งกลางคนื ออกเปน็ ๓ ยาม ๆ
ละ ๔ ชวั่ โมง ในยามตน้ ของราตรนี ้ี ทรงสรงถา้ มพี ระพทุ ธประสงคจ์ ะทรงสรง ประทบั
ทบี่ รเิ วณพระคนั ธกฎุ ี ภกิ ษทุ งั้ หลายกเ็ ขา้ เฝา้ ทลู ถามปญั หาตา่ ง ๆ บา้ ง ขอกมั มฏั ฐานบา้ ง
ขอใหท้ รงแสดงธรรมบา้ ง ได้ประทานพระโอวาทตา่ ง ๆ ตามควร จนสมควรแกเ่ วลา

พรรษาที่ ๙ 11

ภกิ ษุทงั้ หลายกก็ ราบทลู ลากลบั ในตอนนมี้ คี �ำบอกวตั รกลา่ วไวว้ า่ ปโทเส ภกิ ฺขโุ อวาทํ
ให้โอวาทแก่ภิกษใุ นเวลาหัวค่�ำ

๔. มัชฌิมยามกิจ กิจในเวลามัชฌิมยาม คือยามกลางของราตรี ได้แก่
แกป้ ญั หาของเทพดาทแ่ี สดงวา่ เทพดามาเฝา้ และกราบทลู ถามปญั หาในตอนมชั ฌมิ ยาม
ในค�ำบอกวัตรกล่าวไวว้ ่า อฑฺฒรตฺเต เทวปญหฺ นํ แก้ปญั หาของเทวดาในเวลาครง่ึ คืน

๕. ปัจฉิมยามกจิ กจิ ในยามทา้ ยของราตรี แบ่งออกเปน็ ๓ สว่ น สว่ นท่ี ๑
เสด็จจงกรม คือทรงด�ำเนินไปและกลับเป็นการผลัดเปล่ียนพระอิริยาบถ ส่วนท่ี ๒
ทรงบรรทม สว่ นท่ี ๓ คอื เวลาใกลร้ ุ่ง ก็ทรงตรวจดโู ลกด้วยพระญาณ ในค�ำบอกวัตร
ได้วา่ ไวว้ ่า ปจจฺ เู สว คเต กาเล ภพพฺ าภพฺเพ วโิ ลกนํ ตรวจดูสตั วผ์ ูท้ ่ีสมควรจะโปรด
และผทู้ ไี่ มส่ มควรจะโปรด ในเวลาใกลร้ ่งุ

พระพุทธกิจท้ัง ๕ ประการนี้ ท่านกล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติอยู่
เป็นกจิ ประจำ� วนั

สว่ นพระสาวกทง้ั หลายนนั้ ไดถ้ อื เปน็ อาจณิ กจิ คอื กจิ ทป่ี ระพฤตเิ ปน็ ประจำ� อยู่
คอื ไดพ้ ากนั มาเฝา้ พระพทุ ธเจา้ จากชนบทตา่ งๆปหี นง่ึ ๒ ครงั้ คอื กอ่ นเขา้ พรรษาครง้ั หนง่ึ
เพ่ือเรียนกัมมัฏฐาน และออกพรรษาครั้งหนึ่ง เพ่ือกราบทูลคุณที่ได้บรรลุ และเพ่ือ
เรียนกมั มัฏฐานใหย้ ิ่งข้ึนไป เพราะในตอนนั้นไดม้ พี ระสาวกมากขึ้น และไดจ้ �ำพรรษา
อยใู่ นชนบทตา่ ง ๆ มากดว้ ยกนั จงึ ไดม้ นี ยิ มถอื เปน็ อาจณิ วตั รวา่ ในปหี นงึ่ กห็ าโอกาส
มาเฝา้ พระพุทธเจ้าโดยปกติก็ ๒ คร้งั และถา้ มาไมไ่ ด้ก็ส่งศิษยเ์ ขา้ มา และส่ังศษิ ย์ให้
ถวายบงั คมพระพทุ ธเจา้ แทนตน การเขา้ มาเฝา้ พระพทุ ธเจา้ ดว้ ยตนเอง ปหี นงึ่ ๒ ครงั้
ด่ังกล่าวนี้ หรือว่าแม้เพียงครั้งเดียว เป็นการจ�ำเป็นอย่างย่ิงส�ำหรับในเวลานั้น
เพราะพระพทุ ธเจา้ ไดท้ รงแสดงธรรม และได้ทรงบญั ญตั พิ ระวนิ ัยอยู่เรอื่ ย เมอ่ื ได้เขา้
มาประชมุ กนั เฝา้ พระพทุ ธเจา้ กจ็ ะไดท้ ราบวา่ พระองคไ์ ดท้ รงแสดงธรรมอะไรไปแลว้ บา้ ง
ได้ทรงบัญญัติพระวินัยอะไรไปแล้วบ้าง เม่ือเป็นเช่นน้ี ก็จะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องกับ
พระธรรมพระวินยั ถ้าละเลยไม่เขา้ มาประชมุ กันเฝ้า กจ็ ะไมท่ ราบ และเม่ือไมท่ ราบ
ก็ปฏบิ ัตไิ ม่ถูก ท�ำให้การปฏิบตั ิไม่สมำ�่ เสมอกนั

12 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เปน็ ธรรมเนยี มทพ่ี ระพุทธเจ้า ได้จาริกในชนบทต่าง ๆ เม่อื ออกพรรษาแลว้
ตามท่กี ลา่ วมา ฉะนนั้ เมอื่ ตรวจดูในหลักฐาน จึงปรากฏว่าเมือ่ ออกพรรษาท่ี ๘ แล้ว
กม็ ไิ ดเ้ สดจ็ ไปยงั กรงุ โกสัมพที ีเดยี ว คงเสด็จจารกิ ไปในชนบทมณฑลต่าง ๆ และก่อน
ทจ่ี ะเสดจ็ ไปประทบั จำ� พรรษาทกี่ รงุ โกสมั พี ไดเ้ สดจ็ ไปประทบั อยทู่ พี่ ระเชตวนั กรงุ สาวตั ถี

รัฐท่ีมีอ�ำนาจมาก ๔ รฐั

บ้านเมอื งในชมพูทวีปคร้ังน้นั แบ่งออกเปน็ รฐั ตา่ ง ๆ เปน็ อันมากดังทีเ่ ลา่ ไว้
ในพทุ ธประวัติ แต่ว่ารฐั ท่ีมอี ำ� นาจมากในเวลานั้นนบั ได้ ๔ รัฐ คือ

มคธรฐั เมืองหลวงชอ่ื วา่ ราชคหะหรอื ราชคฤห์ พระเจา้ พมิ พสิ าร ทรงเปน็
พระราชาผ้ปู กครอง

รฐั โกศล เมอื งหลวงชอ่ื วา่ สาวตั ถี พระเจา้ ปเสนททิ รงเปน็ พระราชาผปู้ กครอง

รัฐวงั สะหรือวสั สะ เมืองหลวงช่อื ว่า โกสัมพี พระเจา้ อุเทนทรงเป็นพระราชา
ผปู้ กครอง

รฐั อวนั ตี เมอื งหลวงชอ่ื วา่ อชุ เชนี พระเจา้ ปชั โชตทรงเปน็ พระราชาผปู้ กครอง

รฐั ทง้ั ๔ น้ี มขี อ้ บาดหมางกันในบางครั้ง แต่ก็กลมเกลียวกนั หรอื วา่ ยับยงั้
ไม่รบพ่งุ กันได้ในบางครงั้ เพราะมีความสมั พันธก์ ันในทางอภิเษกสมรส เชน่ พระเจ้า
พมิ พสิ ารก็ทรงไดพ้ ระกนฏิ ฐภคนิ ีของพระเจา้ ปเสนทิไปเปน็ พระมเหสี พระเจ้าปเสนทิ
ก็ทรงได้พระกนิฏฐภคินีของพระเจ้าพิมพิสารไปเป็นพระมเหสี พระเจ้าปัชโชตน้ัน
ในตอนแรกก็ทรงมุ่งหมายจะย�่ำยีพระเจ้าอุเทน แต่ก็มีเร่ืองท�ำให้ต้องทรงเสียพระราช
ธิดาไปแกพ่ ระเจ้าอุเทน ก็กลายเปน็ มคี วามสมั พนั ธ์กนั

พรรษาท่ี ๙ 13

เสด็จประทบั ณ กรุงโกสัมพี

มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าจะไปประทับจ�ำพรรษาท่ีกรุงโกสัมพีนั้น มีเล่าไว้ใน
อรรถกถาธรรมบทว่า ท่ีกรุงโกสัมพี นครหลวงของรัฐวังสะ ได้มีเศรษฐี ๓ คน
คือ โฆสกเศรษฐี ๑ กุกกุฏเศรษฐี ๑ ปาวาริกเศรษฐี ๑ เศรษฐีท้ัง ๓ นี้ได้มี
ความเลื่อมใสในดาบสคณะหนง่ึ วา่ มีจ�ำนวนถงึ ๕๐๐ ไดอ้ าราธนาดาบสเหล่าน้ันมา
พักจ�ำพรรษาอยู่ในกรุงโกสัมพี เศรษฐีทั้ง ๓ ก็ผลัดกันท�ำนุบ�ำรุง ต่อมาดาบสท้ัง
๕๐๐ นนั้ ไดท้ ราบการอบุ ตั ขิ น้ึ ของพระพทุ ธเจา้ จงึ ไดม้ าแจง้ แกเ่ ศรษฐที งั้ ๓ ขอไปเฝา้
พระพุทธเจ้า เพราะว่าดาบสเหล่าน้นั ได้รับปฏญิ ญาของเศรษฐที ้งั ๓ ไว้วา่ จะได้มาพกั
จ�ำพรรษาท่ีกรุงโกสัมพีตามเคย แต่ในพรรษาที่จะถึงนั้น มีความประสงค์จะไปเฝ้า
พระพุทธเจา้ ท่ปี ระทับอยู่ทีพ่ ระเชตวัน กรุงสาวัตถี เศรษฐที ั้ง ๓ น้นั จึงได้ขอไปดว้ ย
และขอให้ดาบสเหล่านั้นรอไปพร้อมกัน เพราะตนจ�ำเป็นจะต้องตระเตรียมส่ิงต่าง ๆ
มพี าหนะเกวยี นสำ� หรบั เดนิ ทางและเสบยี ง เปน็ ตน้ ดาบสทงั้ ๕๐๐ กข็ อลว่ งหนา้ ไปกอ่ น
ให้เศรษฐีตามไปภายหลัง ดาบสเหล่านั้นก็ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมและ
ขอบวชเป็นภกิ ษใุ นพระพุทธศาสนาทงั้ หมด

ฝ่ายเศรษฐีทั้ง ๓ ก็ได้เดินทางตามไปภายหลัง เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ฟังธรรมและมีความเล่ือมใส ได้กราบทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าไปประทับจ�ำพรรษา
ทกี่ รงุ โกสมั พี พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดท้ รงรบั อาราธนา เศรษฐที งั้ ๓ จงึ ไดก้ ลบั ไปยงั กรงุ โกสมั พี
ตา่ งกไ็ ดส้ รา้ งอารามขน้ึ คนละ ๑ อาราม อารามของโฆสกเศรษฐี เรยี กชอื่ วา่ โฆสติ าราม
อารามของกุกกุฏเศรษฐเี รียกช่อื ว่า กุกกุฏาราม อารามของปาวาริกเศรษฐเี รยี กชือ่ วา่
ปาวาริการาม เม่ือสร้างอารามเสร็จแล้ว ก็ได้ส่งข่าวสาส์นไปกราบทูลพระพุทธเจ้า
พระพทุ ธเจา้ ก็ได้เสด็จจากกรงุ สาวตั ถไี ปสู่กรุงโกสมั พี ประทับอยู่ในอารามของเศรษฐี
ทง้ั ๓ นน้ั ผลดั เปลย่ี นกนั ไปโดยวาระ เศรษฐที งั้ ๓ นน้ั กไ็ ดผ้ ลดั เปลย่ี นกนั ทำ� นบุ ำ� รงุ
พระพทุ ธเจา้ และภิกษสุ งฆ๑์

๑ สามาวตีวตถฺ ุ ธมมฺ ปท. ๒/๔๒-๘.

14 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

พระเจา้ อุเทน

ในระหว่างที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงโกสัมพีน้ี ได้มีเร่ืองเกิดขึ้นหลาย
เรอ่ื ง แตว่ า่ กอ่ นทจ่ี ะไดแ้ สดงเรอ่ื งเหลา่ นนั้ กค็ วรทจ่ี ะไดท้ ราบประวตั ขิ องบคุ คลตา่ ง ๆ
ท่ีเก่ียวขอ้ ง ประวัติทจี่ ะเลา่ ต่อไปเป็นอันดับแรกก็คือพระประวัติของพระเจา้ อุเทน

พระเจา้ อเุ ทนนี้ มพี ระราชประวตั ทิ โี่ ลดโผนและแปลก เมอื่ จะเปน็ พระเจา้ แผน่ ดนิ
ก็ได้ปรากฏเป็นชายหนุ่มผู้หน่ึง ซึ่งควบคุมช้างป่าเป็นอันมากมาล้อมเมืองโกสัมพี
และได้อ้างว่าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปรันตปะซ่ึงได้ส้ินพระชนม์ไป ได้แสดง
หลกั ฐานคอื ผา้ กมั พลแดงกบั พระธำ� มรงคข์ องพระเจา้ ปรนั ตปะ เสนาบดแี ละประชาชน
เม่ือได้เห็นวัตถุ ๒ อย่างนี้ก็มีความเช่ือว่า พระเจ้าอุเทน เป็นพระราชโอรสของ
พระเจา้ ปรนั ตปะ ท่ไี ดถ้ ูกนกนำ� พาเอาไปพร้อมกบั พระเทวี เมอื่ พระเจา้ อุเทนยงั อยใู่ น
พระครรภ์ และเม่ือมีความเช่ือในหลักฐานด่ังนั้น ก็รับรองอภิเษกพระเจ้าอุเทนเป็น
พระราชาของแควน้ นนั้ เหตทุ เี่ กดิ ขน้ึ เมอื่ พระเจา้ อเุ ทนยงั อยใู่ นพระครรภน์ น้ั มเี ลา่ ไวว้ า่
พระเจ้าปรันตปะซ่ึงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอุเทนกับพระเทวีซ่ึงมีพระครรภ์แก่
ไดป้ ระทบั ทรงสำ� ราญอยบู่ นชน้ั ของปราสาท พระเทวไี ดท้ รงผา้ กมั พลสแี ดง และในขณะ
ทไี่ ดป้ ระทบั นงั่ ทรงพระสำ� ราญอยนู่ น้ั พระเทวกี ไ็ ดท้ รงถอดพระธำ� มรงคจ์ ากพระราชองั คลุ ี
(นวิ้ มอื ) มาทรงสวมกบั นวิ้ พระหตั ถข์ องพระนางเอง ในขณะนน้ั ไดม้ นี กใหญช่ นดิ หนง่ึ
เรยี กวา่ นกหสั ดลี งิ ค์ คอื ใหญโ่ ตเหมอื นอยา่ งชา้ ง ไดบ้ นิ มาเหน็ พระเทวที รงผา้ กมั พลแดง
กค็ ดิ วา่ เปน็ ชน้ิ เนอื้ กบ็ นิ โฉบลงมาเฉย่ี วเอาพระเทวไี ป พระเทวกี ไ็ ดเ้ ขา้ ไปอยใู่ นกรงเลบ็
ของนก แตก่ ท็ รงฉลาดทจี่ ะไมท่ รงรอ้ งขนึ้ เพราะทรงเกรงวา่ นกจะตกใจในเสยี งมนษุ ย์
ก็จะปล่อยตกลงมา ทรงยอมให้นกน�ำไปจนถึงค่าคบไม้ต้นไทรใหญ่ นกก็ลงจับที่
คา่ คบไม้นนั้ ซ่ึงเป็นที่เคยจับเอาสตั วม์ ากนิ มกี ระดกู ทิ้งอยเู่ กล่อื นกล่น พระเทวกี ็ได้
ทรงร้องข้ึนพร้อมปรบพระหัตถ์ นกก็ได้ยินเสียงปรบพระหัตถ์และเสียงร้องของคน
ก็ตกใจบินหนีไป และในค�่ำวันนั้น ก็ต้องอยู่บนค่าคบไม้นั้นและประชวรพระครรภ์
ฝนก็ตกหนักตลอดคืน ครั้นเวลารุ่งอรุณพอดี ฝนกห็ ยุด พระนางกป็ ระสูติพระโอรส
จงึ ได้ประทานพระนามว่าอุเทน หมายถึง เวลาอรุณขน้ึ

พรรษาท่ี ๙ 15

ในท่ีน้ันได้มีอาศรมของดาบสองค์หนึ่งอยู่ไม่ไกล และดาบสน้ันก็เคยมาเก็บ
กระดูกไปต้มฉัน ในวันน้ัน เม่ือดาบสมาเก็บกระดูกตามเคย ก็ได้ยินเสียงเด็กร้อง
เมื่อมองข้ึนไปเห็นและก็ได้ไต่ถามแล้ว ก็รับเอาพระเทวีและบุตรไปเล้ียงดูไว้ ดาบสนี้
ช่ือว่า อัลลกัปปดาบส เคยเป็นราชาของ อัลลกรัฐ เมื่อมีพระชนม์มากข้ึนก็มี
ความหน่ายในราชสมบัติ จึงได้สละราชสมบัติเสด็จออกทรงบวชเป็นดาบส มีความรู้
มนต์กำ� ใจของช้าง และมีพณิ วเิ ศษอยอู่ นั หนงึ่ เมื่อดดี พณิ และรา่ ยมนต์บทหนึง่ ช้างที่
พากนั มากจ็ ะวง่ิ หนอี ยา่ งไมเ่ หลยี วหลงั เมอื่ ดดี พณิ อกี สายหนง่ึ และรา่ ยมนตอ์ กี บทหนงึ่
ช้างก็จะเหลียวหลังมาดู เม่ือร่ายมนต์อีกบทหน่ึงและดีดพิณอีกสายหน่ึง ช้างท่ีเป็น
จ่าฝูงกจ็ ะเขา้ มาหา และยอมให้ขน้ึ นงั่ บนหลังได้ พร้อมทง้ั จะเรียกชา้ งท่เี ป็นบริวารให้
มาและฟังคำ� สง่ั ทุกอยา่ งวา่ จะให้ไปทางไหน

เม่ือพระกุมารเติบโตขึ้น ในคราวหน่ึงพระดาบสก็ได้ดูดาวนักษัตร ก็ได้ตรัส
ขน้ึ วา่ พระเจา้ ปรนั ตปะกรงุ โกสมั พสี น้ิ พระชนมเ์ สยี แลว้ พระเทวกี ท็ รงกนั แสง พระดาบส
จงึ ถาม พระเทวกี ไ็ ดท้ รงเลา่ ความใหฟ้ งั และกไ็ ดแ้ สดงวา่ พระโอรสควรจะไดพ้ ระราชสมบตั ิ
พระดาบสกร็ บั ท่ีจะจัดการใหส้ �ำเรจ็ ใหจ้ งได้ จึงไดส้ อนมนตก์ ำ� หวั ใจชา้ งท้ัง ๓ บทนน้ั
ใหแ้ ก่พระราชกมุ าร และไดม้ อบพณิ ให้ เมอื่ พระราชกุมารไดท้ รงเรยี นจบแลว้ กท็ รง
ไดท้ ดลองมนตท์ ง้ั ๓ บทและดดี พณิ ทงั้ ๓ สายนนั้ เปน็ ทปี่ ระจกั ษผ์ ลดงั กลา่ วนนั้ แลว้
พระเทวีก็ได้ทรงมอบผ้ากัมพลแดง และพระธ�ำมรงค์ให้ พร้อมทั้งทรงบอกชื่อของ
เสนาบดีเป็นต้นแก่พระราชกุมาร เพ่ือน�ำไปแสดงหลักฐานว่าเป็นพระราชโอรสของ
พระเจ้าปรันตปะจริง พระราชกุมารจึงได้ทรงน�ำหมู่ช้างป่ามาล้อมเมืองและทรงแสดง
หลกั ฐาน จนได้รับรองให้อภิเษก เป็นพระเจ้าแผน่ ดินของแควน้ วงั สะ๒

ได้เล่าพระราชประวัติของพระเจ้าอุเทน พระราชาแห่งวังสรัฐมาแล้ว จะเล่า
ถึงพระมเหสี ๓ พระองค์ของพระเจ้าอุเทน เพราะมีเรื่องท่ีเก่ียวพันอยู่กับประวัติ
พระพทุ ธศาสนาดว้ ย

๒ สามาวตวี ตถฺ ุ ธมมฺ ปท. ๒/๓-๘.

16 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

พระมเหสีองคท์ ี่ ๑ พระนามว่า สามาวดี เป็นธดิ าบุญธรรมของโฆสกเศรษฐี
พระนางสามาวดีองค์น้ีเป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองภัททวตี แต่ภายหลังเศรษฐีตระกูล
นถี้ ึงวิบตั ิ ในตอนสุดทา้ ยก็วบิ ตั ดิ ว้ ยโรค ซงึ่ เรยี กในคัมภีร์ว่า อหวิ าตกโรค โรคอยา่ งน้ี
เม่อื เกิดขนึ้ กล่าววา่ พวกแมลงวนั แมลงตา่ ง ๆ และหนตู ายก่อน จนถงึ พวกไก่ สกุ ร
และสตั ว์ใหญ่ ๆ ที่เป็นสัตวเ์ ลยี้ งและสัตวใ์ นบา้ นจนถึงคน ผู้ทต่ี ้องการจะรอดพน้ ก็จะ
ต้องท้ิงบา้ นเรอื นหนีไปท่ีอ่ืน

เม่ือโรคเกิดข้ึน เศรษฐีในเมืองภัททวตีนั้นพร้อมกับภริยาและธิดา ก็หนีไป
กรงุ โกสมั พี เพ่อื จะไปอาศัยโฆสกเศรษฐี ซ่ึงเป็นสหายที่ไมเ่ คยเห็นกนั คอื ตา่ งไดย้ นิ
ชอ่ื เสยี งของกนั กส็ ง่ บรรณาการไปใหแ้ กก่ นั นบั ถอื กนั แตเ่ ศรษฐกี บั ภรยิ าไดถ้ งึ แกก่ รรม
ที่ศาลาพักคนท่ีกรุงโกสัมพี จึงเหลือแต่ธิดา ธิดาของภัททวตีเศรษฐีได้ไปขออาหาร
ท่ีโรงทานของโฆสกเศรษฐี ไดพ้ บกับผ้จู ดั การโรงทานชอื่ ว่า มติ ตกฏุ ุมพี เม่อื ผ้จู ัดการ
โรงทานได้ถามทราบเรอื่ ง กร็ ับเอาธิดาของภัททวตีเศรษฐีไปเลยี้ งเป็นบุตรบี ุญธรรม

โรงทานของโฆสกเศษฐนี นั้ โดยปกตมิ เี สยี งออื้ องึ เพราะคนแยง่ กนั เขา้ แยง่ กนั ออก
ธดิ าของภัททวตเี ศรษฐจี งึ ไดแ้ นะน�ำใหท้ �ำรั้วกัน้ และทำ� ประตู ๒ ประตู ส�ำหรบั คนเข้า
ประตู ๑ สำ� หรบั คนออกประตู ๑ เมอ่ื ไดจ้ ดั ดง่ั น้ี การแยง่ กนั เขา้ ออกกห็ ายไป เสยี งออื้ องึ
จงึ ไดส้ งบ เพราะฉะนน้ั นางจงึ ไดช้ อื่ วา่ สามาวดี เดมิ ชอื่ วา่ สามา เมอ่ื มาแนะใหส้ รา้ ง
รวั้ ขน้ึ กม็ คี ำ� วา่ วตี เพมิ่ เขา้ ตอ่ ทา้ ยชอื่ เกา่ เพราะวตี แปลวา่ รว้ั เรยี กรวมกนั วา่ สามาวตี
หรือ สามาวดี

ฝ่ายโฆสกเศรษฐีเคยได้ยินเสียงอ้ืออึง เม่ือไม่ได้ยินเสียงก็สอบถามว่ายังให้
ทานอยู่หรือ ท�ำไมเสยี งจงึ เงยี บไป เม่อื ผ้จู ัดการโรงทานไดเ้ รียนให้ทราบ พรอ้ มทง้ั ได้
เรยี นใหท้ ราบถึงเรอ่ื งนางสามาวดซี ่ึงเป็นต้นคดิ ให้สร้างร้ัว โฆสกเศรษฐีจงึ ไดข้ อรบั เอา
นางสามาวดีไปอุปการะเป็นบุตรีบุญธรรมเพราะเป็นธิดาของเพื่อน ต่อมา เม่ือถึง
วนั มหรสพทเี่ ปน็ ธรรมเนยี มวา่ กลุ ธดิ าทโี่ ดยปกตไิ มอ่ อกไปขา้ งไหน กจ็ ะออกไปยงั แมน่ ำ�้
และอาบน�ำ้ เล่นน�ำ้ เปน็ การเลน่ มหรสพ พระเจ้าอเุ ทนไดท้ อดพระเนตรเหน็ ก็ทรงเกิด
ความสเิ นหา ทรงขอเข้าไปตง้ั ไวเ้ ป็นพระมเหสี

พระมเหสอี งคท์ ่ี ๒ พระนามวา่ วาสลุ ทตั ตา เปน็ พระราชธดิ าของ พระเจา้ ปชั โชต
กรงุ อชุ เชนี เรอ่ื งทพี่ ระเจา้ อเุ ทนจะไดพ้ ระนางวาสลุ ทตั ดานม้ี วี า่ พระเจา้ ปชั โชตไดท้ รง

พรรษาที่ ๙ 17

คิดจะยกกองทัพไปตีกรุงโกสัมพี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีสมบัติมาก แต่พวกเสนาบดี
ทงั้ หลายไดท้ ลู คดั คา้ นวา่ พระเจา้ อเุ ทนทรงมมี นตท์ เ่ี รยี กชา้ งได้ และมพี าหนะแขง็ แรง
มกี ำ� ลงั มนั่ คง การยกกองทพั ไปตจี ะไมส่ ำ� เรจ็ และกไ็ ดท้ ลู แนะอบุ ายใหว้ า่ พระเจา้ อเุ ทน
ทรงโปรดชา้ ง เพราะฉะนน้ั กใ็ หส้ รา้ งชา้ งยนตใ์ หใ้ หญแ่ ละใหม้ คี นอยใู่ นทอ้ งได้ แลว้ ชกั
ชา้ งยนต์น้ันให้เดนิ ไปเดินมา กับวางก�ำลงั พลซมุ่ ไว้ พระเจา้ ปชั โชตกท็ รงปฏิบตั ติ าม

พรานปา่ ไดเ้ หน็ ชา้ งยนตน์ น้ั กม็ าทลู พระเจา้ อเุ ทน พระเจา้ อเุ ทนกท็ รงยกกอง
ทหารออกไปเพอ่ื จะจบั ช้าง เมอื่ ไปพบชา้ งยนตแ์ ตไ่ กล ก็ทรงรา่ ยมนตเ์ รยี กช้าง แตว่ า่
ชา้ งยนตน์ นั้ กไ็ มฟ่ งั มนต์ เดนิ หนไี ป พระเจา้ อเุ ทนกท็ รงมา้ วงิ่ ตามชา้ งไป แตพ่ ระองคเ์ ดยี ว
จนเขา้ ไปในทม่ี กี ำ� ลงั พลของฝา่ ยกรงุ อชุ เชนซี มุ่ อยู่ พระเจา้ อเุ ทนกถ็ กู ทหารของกรงุ อชุ เชนี
ลอ้ มจบั ไปได้ แลว้ กน็ ำ� ไปถวายพระเจา้ ปชั โชต พระเจา้ ปชั โชตกโ็ ปรดใหข้ งั ไว้ และกฉ็ ลอง
ชัยชนะดว้ ยการทรงดม่ื สุราบาน

พระเจา้ อเุ ทนเมอื่ ถกู ขงั อยหู่ ลายวนั กร็ บั สงั่ ขน้ึ วา่ จบั ขา้ ศกึ มาไดแ้ ลว้ กค็ วรจะปลอ่ ย
หรอื ควรประหารเสยี ทำ� ไมจงึ ทงิ้ ไวอ้ ยา่ งนี้ คนกไ็ ปทลู พระเจา้ ปชั โชต พระเจา้ ปชั โชตกเ็ สดจ็
มาที่คุมขัง และได้รับส่ังว่าจะปล่อย แต่ให้พระเจ้าอุเทนบอกมนต์ให้ พระเจ้าอุเทน
ก็ทูลว่า จะบอกถวายได้ แตว่ ่าพระเจา้ ปัชโชตต้องทรงไหว้ครูเสยี กอ่ น พระเจ้าปชั โชต
ก็ไม่ทรงยอมท่ีจะทรงไหว้พระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ไม่ทรงยอมบอกมนต์ให้
พระเจ้าปัชโชตก็ตรัสว่า ถ้าไม่บอกก็จะฆ่า พระเจ้าอุเทนก็ทูลตอบว่า ฆ่าก็ฆ่า
เพราะพระเจา้ ปชั โชตน้ัน ในบดั นีก้ ท็ รงเป็นใหญ่แห่งสรีรกาย แต่วา่ กไ็ มท่ รงเป็นใหญ่
แหง่ จติ พระเจา้ ปชั โชตจงึ ไดท้ รงคดิ วา่ ทำ� อยา่ งไรจงึ จะใหพ้ ระเจา้ อเุ ทนทรงบอกมนตไ์ ด้
ทรงนึกถึงพระราชธิดา ก็รับสั่งขึ้นว่า ในพระราชวังน้ีได้มีผู้หญิงหลังค่อมอยู่คนหน่ึง
จะใหห้ ญงิ หลงั คอ่ มนม้ี าเรยี นมนตแ์ ละกจ็ ะใหไ้ หว้ แตว่ า่ กจ็ ะตอ้ งกน้ั มา่ นไว้ ใหเ้ รยี นกนั
อยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยินยอม พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จไปหาพระราชธิดา
และไดต้ รสั บอกวา่ ไดม้ บี รุ ษุ งอ่ ยเปลย้ี จนถงึ กบั ตอ้ งเดนิ ถดั ไปเหมอื นอยา่ งหอยสงั ขเ์ ดนิ
อยคู่ นหนง่ึ รมู้ นตจ์ บั ชา้ ง จะใหพ้ ระราชธดิ าไปเรยี นมนตน์ นั้ แลว้ ใหม้ าบอกแกพ่ ระองค์
เม่ือจะเริ่มเรียนต้องไหว้ครู แต่ต้องไหว้อยู่ภายในม่าน พระราชธิดาก็ทรงยินยอม
ได้มีการจัดให้มีการเรียนมนต์โดยกั้นม่านไว้ พระราชธิดาก็เรียนอยู่ภายในม่าน
พระเจา้ อุเทนก็ทรงบอกอย่ภู ายนอกมา่ น วันหนึ่ง พระราชธดิ าทรงเรียนมนตก์ ไ็ ม่อาจ

18 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ทจ่ี ะจำ� ได้ พระเจา้ อเุ ทนกรว้ิ กร็ บั สงั่ ขนึ้ วา่ “ปากของเจา้ หนานกั จะทอ่ งบน่ มนตเ์ ทา่ น้ี
กไ็ มไ่ ด้ เจา้ นางค่อม″

พระราชธดิ ากก็ รวิ้ เพราะถกู เรยี กวา่ คอ่ ม กร็ บั สงั่ ขนึ้ มาวา่ “เจา้ คนโรคเรอ้ื น
ท�ำไมจงึ มากลา่ วขนึ้ เช่นนี″้

เมื่อต่างกรวิ้ ซึ่งกนั และกันดังน้แี ลว้ กเ็ ลกิ ม่านขน้ึ และเม่อื ตา่ งทรงเหน็ ซ่ึงกัน
และกัน ก็เลยเกิดเรื่องอื่นขึ้นแทน เรอื่ งการเรยี นมนตก์ เ็ ป็นอันยตุ ลิ งเพยี งแคน่ ี้

มนต์จบั ใจชา้ งนัน้ ไม่เหมือนอย่างมนต์ทจ่ี บั ใจคน เรอ่ื งนีไ้ ดม้ พี ระพุทธภาษิต
ตรสั ไว้ว่า “ยังไม่ทรงเหน็ รูป เสยี ง กล่นิ รส โผฏฐัพพะทจี่ ะครอบง�ำจติ บรุ ษุ ไดย้ ่งิ ไป
กว่ารูป เสยี ง กล่ิน รส โผฏฐพั พะของหญิง″ และในทางตรงกนั ขา้ ม ก็มพี ระพทุ ธ
ภาษิตตรัสไวอ้ ีกว่า “ยังไม่ทรงเห็นรปู เสียง กลิน่ รส โผฏฐพั พะอน่ื ทคี่ รอบงำ� จิตของ
หญิงได้ยง่ิ ไปกวา่ รปู เสยี ง กล่ิน รส โผฏฐัพพะของบรุ ษุ ″

เมอ่ื เรอ่ื งเปน็ เชน่ นี้ พระเจา้ อเุ ทนกบั พระนางวาสลุ ทตั ตากค็ ดิ อา่ นทจี่ ะพากนั หนี
เมือ่ พระราชบิดารบั สงั่ ถามวา่ เรยี นมนต์ไปได้แค่ไหน พระราชธดิ าก็ทูลว่า เรียนไปได้
เท่าน้ันเท่าน้ี และเมื่อจะจบมนต์ จ�ำจะต้องไปเก็บโอสถตามสัญญาของดาวฤกษ์
เพราะฉะน้ัน ก็ขอพระราชทานพาหนะช้างฝีเท้าเร็ว กับขอพระราชทานอนุญาตที่จะ
ออกไปนอกเมอื งไดท้ กุ เวลา พระราชบดิ ากท็ รงอนญุ าต ตอ่ มาวนั หนงึ่ พระเจา้ ปชั โชต
เสดจ็ ออกไปประพาสภายนอกเมอื ง พระเจา้ อเุ ทนกบั พระนางวาสลุ ทตั ตากข็ นึ้ พาหนะ
ชา้ งพากนั หนไี ป และไดบ้ รรจเุ งนิ บรรจทุ องใสก่ ระสอบขนึ้ ชา้ งไปดว้ ย เมอ่ื พระเจา้ ปชั โชต
ทรงทราบ ทรงสง่ั ใหท้ หารตดิ ตาม พระเจา้ อเุ ทนกท็ รงเทกระสอบเงนิ และตอ่ มากท็ รง
เทกระสอบทองลง พวกผ้คู นก็พากันแยง่ เงินแยง่ ทอง พระเจา้ อเุ ทนก็หนอี อกไปไดจ้ น
เขา้ ถึงเขตเมืองโกสัมพี แลว้ ก็ไดท้ รงต้ังพระนางวาสุลทตั ตาเป็นพระมเหสอี ีกองคห์ นึ่ง

องค์ที่ ๓ ช่ือว่า มาคันทิยา องค์น้ีมีเร่ืองเก่ียวพันกับพระพุทธศาสนามาก
เปน็ ธดิ าของพราหมณใ์ นรฐั กรุ อุ ยใู่ กลก้ นั นน้ั และทา่ นแสดงวา่ นางมาคนั ทยิ านมี้ รี ปู รา่ ง
งดงามมาก บิดาไม่ปรารถนาจะยกให้แก่ใคร ต้องการจะยกให้บุคคลผู้ท่ีมีลักษณะ
เป็นมหาบุรุษ ต่อมาบิดาได้พบพระพุทธเจ้าเม่ือเสด็จไปยังแคว้นกุรุน้ัน ได้เพ่งพิศ-


Click to View FlipBook Version