The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-03-12 11:48:04

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

Keywords: ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

พรรษาที่ ๙ 169

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกความสงบสงัดอยู่ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษ อันโอฬาร
เหน็ ปานนใ้ี นศาสดาใด วญิ ญชู นพงึ อยปู่ ระพฤตพิ รหมจรรยใ์ นศาสดานนั้ โดยสว่ นเดยี ว
และเมอื่ อยู่ประพฤติ กพ็ ึงยงั กศุ ลธรรมเคร่ืองออกไปจากทกุ ข์ใหส้ �ำเรจ็ ได้

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดข้นึ ไมม่ ีวติ กไมม่ วี ิจาร เพราะวติ กวจิ ารสงบไป มปี ีตแิ ละสุข เกดิ แต่
สมาธอิ ยู่ กส็ าวกยอ่ มบรรลคุ ณุ วิเศษอันโอฬารเห็นปานนใี้ นศาสดาใด วญิ ญชู นพงึ อยู่
ประพฤตพิ รหมจรรยใ์ นศาสดานนั้ โดยสว่ นเดยี ว และเมอื่ อยปู่ ระพฤตกิ พ็ งึ ยงั กศุ ลธรรม
เครอื่ งออกไปจากทุกขใ์ ห้ส�ำเรจ็ ได้

อกี ประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มสี ตสิ มั ปชัญญะ และเสวยสขุ ด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าท้ังหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานน้ีเป็น
ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬาร เห็นปานน้ีใน
ศาสดาใด วญิ ญชู นพึงอยปู่ ระพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานัน้ โดยส่วนเดียว และเม่อื อยู่
ประพฤติ กพ็ ึงยังกศุ ลธรรมเครอื่ งออกไปจากทกุ ขใ์ ห้สำ� เรจ็ ได้

อีกประการหน่ึง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละทุกข์
ละสขุ และดับโสมนสั โทมนัสกอ่ น ๆ ได้ มีอเุ บกขาเป็นเหตใุ ห้สตบิ รสิ ุทธอ์ิ ยู่ กส็ าวก
ยอ่ มบรรลคุ ณุ วเิ ศษอนั โอฬารเหน็ ปานนใ้ี นศาสดาใด วญิ ญชู นพงึ อยปู่ ระพฤติ พรหมจรรย์
ในศาสดานน้ั โดยสว่ นเดยี ว และเมอื่ อยปู่ ระพฤติ กพ็ งึ ยงั กศุ ลธรรม เครอ่ื งออกไปจาก
ทกุ ข์ให้ส�ำเรจ็ ได้

ทา่ นพระอานนทไ์ ดก้ ลา่ วตอ่ ไปวา่ ภกิ ษนุ น้ั เมอื่ จติ เปน็ สมาธิ บรสิ ทุ ธ์ิ ผอ่ งแผว้
ไมม่ กี เิ ลส ปราศจากอปุ กิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตัง้ มน่ั ไมห่ วัน่ ไหว อย่างน้ีแล้ว
ยอ่ มโนม้ จติ ไปเพอ่ื บพุ เพนวิ าสานสุ ตญิ าณ ญาณเปน็ เครอ่ื งระลกึ ถงึ ขนั ธเ์ ปน็ ทอ่ี าศยั อยู่
ในปางกอ่ นได้ เธอยอ่ มระลกึ ชาตกิ อ่ นไดเ้ ปน็ อนั มาก คอื ระลกึ ไดช้ าติ ๑ บา้ ง ๒ ชาติ
บา้ ง ๓ ชาตบิ า้ ง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาตบิ ้าง ๑๐ ชาตบิ ้าง ๒๐ ชาตบิ า้ ง ๓๐ ชาตบิ ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาตบิ า้ ง ๑๐๐ ชาตบิ ้าง ๑,๐๐๐ ชาตบิ า้ ง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบา้ ง
ตลอดสงั วฏั ฏกปั เปน็ อนั มากบา้ ง ตลอดววิ ฏั ฏกปั เปน็ อนั มากบา้ ง ตลอดสงั วฏั ฏววิ ฏั ฏกปั

170 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เปน็ อันมากบา้ ง วา่ ในภพโนน้ เรามชี ่อื อยา่ งนั้น มโี คตรอยา่ งนน้ั มีผิวพรรณอยา่ งนน้ั
มอี าหารอยา่ งนั้น เสวยสขุ เสวยทกุ ข์ อย่างนน้ั ๆ มกี �ำหนดอายเุ พยี งเทา่ นน้ั คร้ันจตุ ิ
จากภพนนั้ แลว้ ไดไ้ ปเกดิ ในภพโนน้ แมใ้ นภพนนั้ เรากไ็ ดม้ ชี อ่ื อยา่ งนนั้ มโี คตรอยา่ งนน้ั
มผี วิ พรรณอย่างนัน้ มีอาหารอย่างนั้น เสวยสขุ เสวยทุกข์อยา่ งอยา่ งนน้ั ๆ มีกำ� หนด
อายุเพียงเทา่ นั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแลว้ ไดม้ าเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลกึ ชาตกิ อ่ นได้
เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณ
วเิ ศษอนั โอฬาร เหน็ ปานน้ใี นศาสดาใด วิญญูชนพงึ อยปู่ ระพฤติพรหมจรรย์ในศาสดา
นน้ั โดยสว่ นเดยี ว และเมอื่ อยปู่ ระพฤติ กพ็ งึ ยงั กศุ ลธรรมเครอ่ื งออกไปจากทกุ ขใ์ หส้ ำ� เรจ็ ได้

ภิกษุนั้นเม่ือจิตเป็นสมาธิ บริสุทธ์ิ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งม่ัน ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ย่อมโน้มจิตไปเพื่อรู้จุติ
ความเคลอื่ น และอปุ บตั ิ ความเขา้ ถงึ ของสตั วท์ ง้ั หลาย เธอเหน็ หมสู่ ตั วท์ ก่ี ำ� ลงั จตุ คิ อื
เคล่ือน ก�ำลังอุปบัติคือเข้าถึง เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยาก ดว้ ยทพิ ยจกั ษอุ นั บรสิ ทุ ธล์ิ ว่ งจกั ษขุ องมนษุ ย์ ยอ่ มรชู้ ดั ซงึ่ หมสู่ ตั วผ์ เู้ ปน็ ไปตาม
กรรมวา่ สตั วเ์ หลา่ นนั้ ประกอบดว้ ยกายทจุ รติ วจที จุ รติ มโนทจุ รติ ตเิ ตยี นพระอรยิ เจา้
เปน็ มิจฉาทฏิ ฐิ ยดึ ถือการกระทำ� ด้วยอำ� นาจมิจฉาทฏิ ฐิ เมือ่ ตายไป เขาเข้าถงึ อบาย
ทคุ ติ วนิ ิบาต นรก ส่วนสตั วเ์ หล่าน้นั ประกอบดว้ ยกายสุจริต วจสี จุ รติ มโนสจุ รติ
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระท�ำด้วยอ�ำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมอ่ื ตายไป เขาเขา้ ถงึ สคุ ตโิ ลกสวรรค์ ดง่ั นี้ เธอยอ่ มเหน็ หมสู่ ตั วก์ ำ� ลงั จตุ ิ กำ� ลงั อปุ บตั ิ
เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มผี ิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ดว้ ยทิพยจักษุอนั บริสุทธ์ิ
ลว่ งจักษุของมนษุ ย์ ยอ่ มรูช้ ัดซง่ึ หม่สู ตั วผ์ เู้ ป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ก็สาวก
ยอ่ มบรรลคุ ณุ วเิ ศษ อนั โอฬารเหน็ ปานนใี้ นศาสดาใด วญิ ญชู นพงึ อยปู่ ระพฤตพิ รหมจรรย์
ในศาสดานั้น โดยส่วนเดียว และเม่ืออยู่ประพฤติ ก็พึงยังกุศลธรรมเคร่ืองออกไป
จากทุกขใ์ หส้ �ำเรจ็ ได้

อีกประการหนึ่ง ภิกษุน้ันเม่ือจิตเป็นสมาธิ บริสุทธ์ิ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอปุ กเิ ลส ออ่ น ควรแกก่ ารงาน ตง้ั มนั่ ไมห่ วน่ั ไหว อยา่ งนแี้ ลว้ ยอ่ มโนม้ จติ
ไปเพ่ืออาสวักขยญาณ คือความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ กิเลสเครื่องดองสันดาน ย่อมรู้

พรรษาที่ ๙ 171

ชดั ตามความเปน็ จรงิ ว่า น้ที กุ ข์ น้ีทุกขสมุทยั นี้ทกุ ขนโิ รธ น้ที ุกขนิโรธคามินีปฏปิ ทา
เหลา่ นอ้ี าสวะ น้อี าสวสมุทยั น้ีอาสวนโิ รธ นอ้ี าสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมอ่ื เธอรอู้ ย่าง
น้ีเห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมอ่ื จติ หลดุ พน้ แลว้ กม็ ญี าณรวู้ า่ หลดุ พน้ แลว้ รชู้ ดั วา่ ชาตสิ น้ิ แลว้ พรหมจรรยอ์ ยจู่ บแลว้
กจิ ท่ีควรท�ำได้ท�ำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพ่ือความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็สาวกย่อมบรรลุคุณ
วิเศษอันโอฬารเหน็ ปานน้ี ในศาสดาใด วญิ ญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดา
นน้ั โดยสว่ นเดยี ว และเมอื่ อยปู่ ระพฤติ กพ็ งึ ยงั กศุ ลธรรมเครอื่ งออกไปจากทกุ ขใ์ หส้ ำ� เรจ็ ได้

สนั ทกปรพิ าชกไดก้ ลา่ วกะทา่ นพระอานนทว์ า่ กภ็ กิ ษใุ ดเปน็ พระอรหนั ตขณี าสพ
อยจู่ บพรหมจรรย์ มกี จิ ทค่ี วรทำ� ไดท้ ำ� เสรจ็ แลว้ มภี าระอนั ปลงลงแลว้ มปี ระโยชนข์ อง
ตนอนั ถึงแลว้ มกี ิเลสเครอื่ งประกอบสัตว์ในภพสนิ้ แล้ว หลดุ พ้นแล้วเพราะรโู้ ดยชอบ
ภกิ ษนุ น้ั ยงั บรโิ ภคกามทง้ั หลายหรอื ทา่ นพระอานนทก์ ลา่ ววา่ ภกิ ษใุ ดเปน็ พระอรหนั ต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรท�ำได้ท�ำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว
มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพส้ินแล้ว หลุดพ้นแล้ว
เพราะรโู้ ดยชอบ ภกิ ษุนัน้ เปน็ ผูไ้ ม่ควรประพฤติลว่ งฐานะทงั้ ๕ คอื ภกิ ษขุ ณี าสพเป็น
ผู้ไม่ควรแกลง้ ปลงสัตว์จากชีวติ ๑ เปน็ ผู้ไมค่ วรถอื เอาสง่ิ ของทเ่ี จา้ ของไมไ่ ด้ใหอ้ ันเปน็
ส่วนแห่งความเปน็ ขโมย ๑ เป็นผูไ้ ม่ควรเสพเมถุน ๑ เปน็ ผู้ไมค่ วรกลา่ วเทจ็ ทั้งรู้ ๑
เปน็ ผูไ้ มค่ วรท�ำการส่งั สมบรโิ ภคกามทงั้ หลาย เหมอื นเม่ือเป็นคฤหสั ถใ์ นกาลกอ่ น ๑
ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรท�ำได้ท�ำเสร็จแล้ว
มภี าระอันปลงลงแลว้ มปี ระโยชนข์ องตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครือ่ งประกอบสตั ว์ในภพ
สน้ิ แล้ว หลุดพ้นแลว้ เพราะรูโ้ ดยชอบ ภิกษุนน้ั เปน็ ผูไ้ ม่ควรประพฤตลิ ว่ งฐานะทั้ง ๕
เหลา่ น้ี

สันทกปริพาชกได้ถามต่อไปว่า ก็ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์ มกี จิ ทค่ี วรทำ� ไดท้ ำ� เสรจ็ แลว้ มภี าระอนั ปลงลงแลว้ มปี ระโยชนข์ องตนอนั
ถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพส้ินแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เม่ือภิกษุนั้นเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับอยู่ก็ดี ต่ืนอยู่ก็ดี ความรู้ความเห็นว่า
อาสวะท้ังหลายของเราส้ินแล้ว ด่ังน้ี ปรากฏเสมอเป็นนิตย์หรือ ท่านพระอานนท์ได้

172 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

กลา่ วตอบวา่ ถ้าเชน่ นน้ั ข้าพเจา้ จกั ทำ� อุปมาแก่ทา่ น วญิ ญูชนบางพวกในโลกนี้ย่อมรู้
ทวั่ ถงึ อรรถแหง่ ภาษติ ไดด้ ว้ ยอปุ มา เปรยี บเหมอื นมอื และเทา้ ของบรุ ษุ ขาดไป เมอ่ื บรุ ษุ
นั้นเดินไปอยู่กด็ ี หยุดอยูก่ ด็ ี หลบั อยู่ก็ดี ตน่ื อยู่ก็ดี มอื และเท้ากเ็ ป็นอนั ขาดอยู่เสมอ
เปน็ นิตยน์ ่ันเอง อน่งึ เมอื่ เขาพจิ ารณา ย่อมรไู้ ดว้ า่ มือและเทา้ ของเราขาดแล้ว ดง่ั น้ี
ฉันใด ภิกษุกฉ็ นั น้นั เปน็ พระอรหันตขีณาสพ อย่จู บพรหมจรรย์ มีกจิ ทค่ี วรท�ำได้ท�ำ
เสรจ็ แลว้ มภี าระอนั ปลงแลว้ มปี ระโยชนข์ องตนอนั ถงึ แลว้ มกี เิ ลสเครอ่ื งประกอบสตั ว์
ไว้ในภพสิ้นแลว้ หลดุ พน้ แลว้ เพราะร้โู ดยชอบ เม่อื เธอเดินไปอย่กู ็ดี หยดุ อยู่กด็ ี หลบั
อยกู่ ด็ ี ต่นื อยูก่ ็ดี อาสวะทัง้ หลายกเ็ ปน็ อันสนิ้ ไปเสมอเป็นนิตยน์ ่ันเอง อนึ่ง เมื่อเธอ
พิจารณา ยอ่ มรไู้ ด้ว่าอาสวะทัง้ หลายของเราสน้ิ แล้ว

สันทกปรพิ าชกไดก้ ลา่ วถามอีกวา่ กใ็ นธรรมวนิ ัยน้ี มภี ิกษุผนู้ �ำตนออกไปได้
จากกิเลสและกองทกุ ข์มากเพียงไร ทา่ นพระอานนท์ไดก้ ลา่ วตอบวา่ ก็ในธรรมวินัยนี้
ภิกษุผู้น�ำตนออกไปได้จากกิเลสและกองทุกข์นั้น มีไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
ไมใ่ ช่สามร้อย ไม่ใชส่ ่รี ้อย ไม่ใช่หา้ ร้อย ความจริงมอี ยมู่ ากทเี ดยี ว

สันทกปริพาชกได้กล่าวสรรเสริญขึ้นว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ไม่เป็นการ
ยกยอ่ งแตธ่ รรมของตน และไมเ่ ปน็ การตเิ ตยี นธรรมของผอู้ นื่ มแี ตก่ ารแสดงธรรมตาม
เหตผุ ลเทา่ นนั้ และผนู้ ำ� ตนออกไปไดจ้ ากกเิ ลสและกองทกุ ขม์ ากถงึ เพยี งนน้ั จกั ปรากฏได้
สว่ นอาชวี กเหลา่ นชี้ อ่ื วา่ เปน็ บตุ รของมารดาผมู้ บี ตุ รตายแลว้ ยกยอ่ งแตต่ นและตเิ ตยี น
คนอ่ืนเทา่ นั้น ท้งั ตงั้ ศาสดาไว้ ๓ คน คือนนั ทะ วจั ฉะ ๑ กิสะ สงั กจิ จะ ๑ มกั ขลิ
โคสาละ ๑ ว่าเปน็ ผูน้ �ำตนออกจากกิเลสและกองทุกข์ได้

ลำ� ดบั นน้ั สนั ทกปรพิ าชกเรยี กบรษิ ทั ของตนมาวา่ ผเู้ จรญิ ทง้ั หลาย จงประพฤติ
พรหมจรรย์เถิด การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมย่อมมีผล แต่ว่าบัดนี้
ขา้ พเจา้ จะสละลาภสกั การะและความสรรเสรญิ เสยี นนั้ ไมใ่ ชท่ ำ� ไดง้ า่ ย สนั ทกปรพิ าชก
ส่งบริษัทของตนไปในการประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการ
ฉะนี้แล

พรรษาท่ี ๙ 173

ค�ำว่า ดิรัจฉานกถา แปลว่า ถ้อยค�ำที่ขัดขวาง คือขัดขวางทางสวรรค์และ
นิพพาน เพราะค�ำว่า ติรัจฉานะ ที่เป็นช่ือของสัตว์เดรัจฉานท้ังหลายน้ัน ตามศัพท์
แปลว่า สัตว์ทไ่ี ปทางดา้ นขวางของรา่ งกาย เพราะสัตวเ์ ดรัจฉานท้ังหลาย แม้จะเป็น
สตั ว์ ๒ เท้าเช่นเป็ดไก่ ขากม็ าตดิ อยูต่ อนส่วนกลางของร่างกาย จงึ เดนิ ไปตามด้าน
ขวางของร่างกาย ไม่ได้ต้ังกายตรงอย่างมนุษย์ แม้วานรซ่ึงมีร่างกายคล้ายมนุษย์
แตก่ ็ถือว่าเป็นสัตว์ ๔ เทา้ ๒ เท้าหน้าน้ันไมถ่ อื ว่าเป็นมือ เหมอื นอย่างมนุษย์ ก็คง
ไปทางดา้ นขวางเหมอื นกนั ฉะนน้ั เพราะแปลวา่ ขวาง หรอื ไปขวาง คอื ไปทางดา้ นขวาง
นอกจากใชเ้ ปน็ ชอื่ ของสตั วเ์ ดรจั ฉานทงั้ หลายซง่ึ เปน็ สตั วท์ ไี่ ปทางดา้ นขวางของรา่ งกาย
ทางรา่ งกายแลว้ ยังมาใช้เป็นช่ือของถอ้ ยค�ำของมนุษยด์ ว้ ย คอื ถอ้ ยค�ำของมนษุ ย์ท่ไี ป
ทางด้านขวาง คือขัดขวางทางสวรรค์และนิพพานดังกล่าว ก็เรียกว่า ดิรัจฉานกถา
ส่วนค�ำที่ว่า รา่ งกายน้ใี นท่สี ดุ คือเม่อื ถงึ แก่ความตายแล้ว รา่ งกายนกี้ ก็ ลายเปน็ ศพ
มีเตียงเป็นท่ี ๕ ก็หมายความว่าเตียงท่ีศพนอนไปนั้น มีบุรุษ ๔ คนจับเท้าเตียง
ท้งั ๔ ก็เป็น ๔ บนเตยี งอีก ๑ กเ็ ปน็ ๕ คอื วา่ ยกเอาศพไป ศพนอนบนเตยี งก็ชอ่ื วา่
มเี ตยี งเปน็ ที่ ๕ หรอื แมร้ า่ งกายนเี้ อง เมอ่ื ยงั ไมต่ าย หากจะนง่ั ไปบนเตยี งใหเ้ ขายกไป
มคี น ๔ คนจับเท้าเตียง ๔ กเ็ ปน็ ๔ กับเตยี งอีก ๑ ก็เป็น ๕ ไดเ้ ชน่ เดียวกนั

สว่ นคำ� วา่ ปรุ สิ ภมู ิ ๘ ภมู ขิ องบรุ ษุ ๘ คอื มนั ทภมู ิ ภมู อิ อ่ น ขฑิ ฑาภมู ิ ภมู เิ ลน่
ปทวมี งั สกภมู ิ ภมู หิ ดั เดนิ อชุ คุ ตภมู ิ ภมู เิ ดนิ เสกขภมู ิ ภมู ศิ กึ ษา สมณภมู ิ ภมู สิ มณะ
ชนิ ภมู ิ ภมู เิ รยี นรู้ ปนั นภมู ิ ภมู บิ รรลแุ ลว้ ภมู กิ ค็ อื คำ� วา่ ภ-ู มิ ในภมู เิ หลา่ นนั้ มอี ธบิ ายวา่
สัตว์คือบุรุษบุคคลท้ังหลายเป็นผู้ยังอ่อน ยังรับรู้อะไรไม่ได้ตลอด ๗ วันนับจากวัน
คลอดออกมาจากที่แคบ ชื่อว่า มันทภูมิ ภูมิอ่อน อน่ึง สัตว์เหล่าใดมาจากทุคติ
สัตว์เหลา่ นัน้ ยอ่ มรอ้ งและร้องดงั บ่อย ๆ สตั ว์มาจากสคุ ติ ระลกึ ถงึ สุคตนิ ั้น ๆ แล้ว
หวั เราะ นช้ี อ่ื วา่ ขฑิ ฑาภมู ิ ภมู เิ ลน่ การจบั มอื ของมารดาบดิ าหรอื เตยี งตงั่ แลว้ เหยยี บ
เท้าลงบนดิน ช่ือว่า ปทวีมังสกภูมิ ภูมิหัดเดิน คราวท่ีสามารถเดินไปด้วยเท้าได้
เรียกว่า อุชุคตภูมิ ภูมิเดิน คือไปตรงตั้งกายตรงเดิน คราวศึกษาศิลปะช่ือว่า
เสกขภูมิ คราวออกจากเรือนแล้วบวชช่ือว่า สมณภูมิ คราวคบอาจารย์แล้วรู้ช่ือว่า
ชินภมู ิ อน่ึง ผู้รูบ้ รรลุแลว้ ไมเ่ รยี นอะไรอกี เพราะเหตนุ ั้น ผู้ไมต่ อ้ งเรยี นอย่างนช้ี ่อื ว่า
ปนั นภมู ิ ภูมบิ รรลุแล้ว

174 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

สว่ น ฉฬาภชิ าติ ทแ่ี ปลวา่ ชาตคิ อื ความเกดิ ยงิ่ ๖ อยา่ ง ไดม้ แี สดงไวท้ งั้ นอก
พระพุทธศาสนาและท้ังในพระพุทธศาสนา ท่ีแสดงไว้นอกพระพุทธศาสนาน้ัน คือมี
แสดงไวใ้ น ฉฬาภชิ าตสิ ตู ร วา่ ปรู ณกสั สปะบญั ญตั ชิ าติ ๖ ประการ คอื บญั ญตั ชิ าตดิ ำ�
ชาตเิ ขยี ว ชาตแิ ดง ชาตเิ หลอื ง ชาตขิ าว ชาตขิ าวจดั มอี ธบิ ายวา่ ปรู ณกสั สปะ บญั ญตั ิ
คนฆ่าแพะ คนฆา่ สกุ ร คนฆา่ นก พรานเนือ้ ชาวประมง โจร เพชฌฆาต เจ้าหน้าท่ี
เรือนจำ� หรือคนที่ท�ำบาปหยาบช้าอน่ื ๆ วา่ เปน็ ชาติด�ำ บญั ญตั ิพวกภิกษพุ วกผ้เู ท่ียว
ไปในฝ่ายด�ำ หรอื พวกกรรมวาทะ กริ ยิ วาทะอ่ืนวา่ เป็นชาติเขยี ว บัญญัติพวกนคิ รนถ์
ใช้ผ้าผืนเดยี วว่าเปน็ ชาติแดง บญั ญัตคิ ฤหัสถน์ งุ่ ผา้ ขาว สาวกของอเจลกะคอื นักบวช
เปลือยกายว่าเป็นชาติเหลือง บัญญัติอาชีวกอาชีวิกาว่าเป็นชาติขาว บัญญัติเจ้าลัทธิ
ชื่อนนั ทะ วจั ฉะ กิสะ สงั กจิ จะ มักขลิ โคสาละวา่ เป็นชาตขิ าวจัด

สว่ นในพระพทุ ธศาสนา พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั ไวใ้ นฉฬาภชิ าตสิ ตู รนนั้ วา่ สว่ น
พระองคไ์ ด้ตรัสแสดงว่า ชาติ ๖ คือบุคคลบางคนในโลกน้ีเป็นผู้มีชาติด�ำ ประพฤติ
ธรรมดำ� บางคนมีชาติด�ำ ประพฤตธิ รรมขาว บางคนมีชาตดิ ำ� บรรลนุ พิ พานท่ไี มด่ �ำ
ไม่ขาว บางคนมีชาติขาว ประพฤติธรรมด�ำ บางคนมีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว
บางคนมชี าติขาว บรรลุนพิ พานทีไ่ มด่ ำ� ไม่ขาว

พระองค์ไดต้ รัสว่า บคุ คลผมู้ ีชาติด�ำ ประพฤติธรรมด�ำ คือบคุ คลบางคนใน
โลกน้ี เกิดในสกุลต�่ำคือสกุลจัณฑาล สกุลพรานป่า สกุลช่างจักสาน สกุลท�ำรถ
สกุลเทหยากเยื่อ ซึ่งยากจน มีข้าวน้�ำโภชนะน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง ได้อาหารและ
เคร่ืองนุ่งห่มโดยยาก และเขาผู้นั้นเป็นผู้มีผิวพรรณทรามไม่น่าดู เป็นคนแคระ ข้ีโรค
ตาบอด งอ่ ย กระจอก เป็นอัมพาต ไม่ได้ข้าวน�้ำเคร่ืองนุ่งห่ม ยานพาหนะดอกไม้
ของหอมเครอ่ื งลบู ไลท้ นี่ อนทอ่ี ยเู่ ครอ่ื งประทปี เขายงั ประพฤตทิ จุ รติ ดว้ ยกายดว้ ยวาจา
ดว้ ยใจ คร้ันประพฤติทจุ ริตด้วยกายด้วยวาจาดว้ ยใจแล้ว เมอ่ื ตายไปยอ่ มเขา้ ถงึ อบาย
ทุคติ วินบิ าต นรก นช้ี ือ่ ว่า บุคคลมีชาตดิ �ำ ประพฤตธิ รรมดำ�

บุคคลมีชาติด�ำ ประพฤติธรรมขาว คือบุคคลบางคนในโลกน้ี เป็นผู้เกิดใน
สกลุ ตำ�่ คอื สกลุ จณั ฑาล สกลุ พรานปา่ สกลุ ชา่ งจกั สาน สกลุ ทำ� รถ สกลุ เทหยากเยอ่ื
ซึ่งยากจน มีข้าวน�้ำโภชนะน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มโดยยาก

พรรษาท่ี ๙ 175

และเขาผนู้ นั้ เปน็ ผมู้ ผี วิ พรรณทรามไมน่ า่ ดู เปน็ คนแคระ ขโี้ รค ตาบอด งอ่ ย กระจอก
เป็นอัมพาต ไมไ่ ดข้ า้ วนำ�้ เคร่อื งนุ่งหม่ ยานพาหนะ ดอกไมข้ องหอมเคร่ืองลูบไล้ท่ีนอน
ทอี่ ยเู่ ครอ่ื งประทปี แตเ่ ขาประพฤตสิ จุ รติ ดว้ ยกายดว้ ยวาจาดว้ ยใจ ครนั้ ประพฤตสิ จุ รติ
ด้วยกายด้วยวาจาด้วยใจแล้ว เม่ือตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ บุคคลมีชาติด�ำ
ประพฤตธิ รรมขาวอยา่ งนี้

บุคคลมชี าตดิ ำ� บรรลนุ ิพพานทีไ่ มด่ �ำไม่ขาว คอื บคุ คลบางคนในโลกน้ี เป็นผู้
เกดิ ในสกลุ ตำ่� เปน็ ตน้ วา่ สกลุ จณั ฑาล มผี วิ พรรณทรามไมน่ า่ ดู เปน็ คนแคระ เขาปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์
๕ ประการอนั เปน็ เครอ่ื งเศรา้ หมองใจ ซงึ่ ทำ� ปญั ญาใหท้ รุ พล เปน็ ผมู้ จี ติ ตงั้ อยดู่ ว้ ยดใี น
สตปิ ัฏฐานทั้ง ๔ เจรญิ โพชฌงค์ ๗ ตามความเปน็ จริง แลว้ ได้บรรลนุ พิ พานอนั ไม่ด�ำ
ไม่ขาว บุคคลมชี าติดำ� แลว้ บรรลนุ ิพพานอันไม่ด�ำไม่ขาวอยา่ งนี้

ก็บุคคลผมู้ ีชาตขิ าว ประพฤตธิ รรมดำ� คือบคุ คลบางคนในโลกน้ี ย่อมเกิดใน
สกุลสูง คือสกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล สกุลคฤหบดีมหาศาล
ซงึ่ ม่ังค่งั มที รพั ย์มาก มโี ภคะมาก มีทองและเงนิ มาก มีอุปกรณ์ เคร่ืองปลื้มใจมาก
มีทรพั ย์มีข้าวเปลอื กมาก และเขาผูน้ ้ันเป็นผ้มู ีรปู งามนา่ ดู น่าเล่ือมใส ประกอบด้วย
ผวิ พรรณงามยงิ่ ไดข้ า้ วนำ้� เครอ่ื งนงุ่ หม่ ยานพาหนะ ดอกไมข้ องหอมเครอ่ื งลบู ไลท้ นี่ อน
ที่อย่เู คร่ืองประทปี เขาประพฤติทุจริตดว้ ยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ คร้ันประพฤติทจุ ริต
ดว้ ยกายดว้ ยวาจาดว้ ยใจแลว้ เมอ่ื ตายไป ยอ่ มเขา้ ถงึ อบาย ทคุ ติ วนิ บิ าต นรก บคุ คล
มชี าติขาว ประพฤตธิ รรมดำ� อย่างนี้

กบ็ คุ คลผมู้ ชี าตขิ าว ประพฤตธิ รรมขาว คอื บคุ คลบางคนในโลกน้ี เกดิ ในสกลุ
สูงเปน็ ตน้ เขาประพฤติสจุ รติ ดว้ ยกายดว้ ยวาจาด้วยใจ คร้ันประพฤติ สจุ ริตดว้ ยกาย
ดว้ ยวาจาดว้ ยใจแลว้ เมอื่ ตายไปยอ่ มเขา้ ถงึ สคุ ตโิ ลกสวรรค์ บคุ คลมชี าตขิ าว ประพฤติ
ธรรมขาวอยา่ งนี้

ก็บุคคลผู้มชี าตขิ าว บรรลนุ พิ พานอนั ไมด่ �ำไมข่ าว คอื บคุ คลบางคนในโลกน้ี
เป็นผู้เกิดในสกุลสูงเป็นต้น เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็น

176 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

บรรพชิต เขาบวชแล้วอยา่ งนี้ ละนวิ รณ์ ๕ ประการอันเป็นเครอ่ื งเศรา้ หมองใจ ไม่ทำ�
ปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ด้วยดีในสติปัฏฐานท้ัง ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗
ตามความเปน็ จรงิ แลว้ ไดบ้ รรลนุ พิ พานอนั ไมด่ ำ� ไมข่ าว บคุ คลมชี าตขิ าว บรรลนุ พิ พาน
อันไมด่ ำ� ไมข่ าวอยา่ งนี้

อนงึ่ ในสันทกสตู รนน้ั ไดแ้ สดงถงึ เรอ่ื งกรรมทว่ี า่ กรรมและครงึ่ กรรม ก็มี
อธบิ ายว่า ทชี่ อ่ื ว่ากรรม คือกายกรรม วจกี รรม ทช่ี ่ือว่าครึ่งกรรม คือมโนกรรม

ชาติ ๖ เพ่ิมเตมิ

คนในสว่ นต่างๆของโลกมีวรรณะคอื ผิวต่างกนั เชน่ ผิวดำ� ผวิ ขาว ผวิ เหลอื ง
และมกี ารถอื ผวิ เชน่ คนผวิ ขาวทด่ี หู มน่ิ เหยยี ดหยามคนผวิ ดำ� ทงั้ ในปจั จบุ นั นซ้ี ง่ึ ตอ้ งการ
ใหท้ กุ ๆ คนในทุก ๆ ผิว มสี ทิ ธแิ หง่ ความเป็นมนษุ ย์เสมอกัน กย็ งั มีขา่ ววา่ ได้มกี าร
รงั เกียจผวิ เช่น ในชมพทู วปี สมยั โบราณ คอื อนิ เดีย ปากสี ถาน ในปัจจบุ นั ก็ยงั ไดม้ ี
การแบ่งวรรณะเป็นอันมาก ในปัจจุบันน้ีแม้จะต้องการไม่ให้มีการถือผิวกาย แต่ก็มี
การแบง่ ผิวทางการเมอื งเกิดขึ้นอย่างรุนแรง การถอื ผวิ ตา่ ง ๆ นี้ ถ้ามีมูลเหตเุ กิดจาก
ผิวกายเพียงอย่างเดียวก็แก้ไขได้ง่าย แต่ถ้ามีมูลเหตุเกิดจากกิเลสภายในใจของตน
เช่น อหังการ การท�ำให้เป็นเรา เช่นว่า เราต้องใหญ่โตข่มผู้อื่นลงให้ได้ ก็เป็นส่ิงท่ี
แก้ยาก ฉะน้ัน ผิวของใจนี่แหละจึงส�ำคัญกว่าผิวกาย เมื่อผิวของใจเป็นอย่างไร
ก็แสดงออกมาเปน็ อย่างน้นั เปน็ ดัง่ น้เี หมอื นกันแก่คนทุกชาติชัน้ วรรณะ ศาสดานอก
พระพทุ ธศาสนากไ็ ดม้ แี สดงฉฬาภชิ าตคิ อื ชาติ ๖ พระพทุ ธเจา้ เองกไ็ ดท้ รงแบง่ บคุ คล
ในโลกเปน็ ๖ จ�ำพวกตามผวิ สีของใจ

อนง่ึ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดโ้ ปรดใหเ้ ขยี นเปน็ ภาพ อธบิ าย
ความหมายไวท้ ่ีเสาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารดั่งน้ี

๑. กัณหาภิชาติ ชาติคนด�ำ คือคนใจหยาบช้าทารุณ เช่นพรานใจบาป
หยาบช้าต่าง ๆ ตลอดจนถงึ การล่าฆา่ สตั วเ์ ลน่ เปน็ การสนกุ

พรรษาที่ ๙ 177

๒. นีลาภิชาติ ชาติคนเขียว คือคนทมี่ ีใจประกอบด้วยยุตธิ รรมมากขึน้ เชน่
พจิ ารณากอ่ นจึงน�ำตวั ไปลงโทษ

๓. โลหติ าภชิ าติ ชาตคิ นสเี ลอื ด คอื คนทม่ี จี ติ ใจสงู ขนึ้ ใฝห่ าศาสนาทถ่ี กู ตอ้ ง
เหมือนดังกษตั รยิ ์พราหมณ์พ่อค้าคนรับใชก้ �ำลงั เดินไปเฝา้ พระพทุ ธเจา้

๔. หลิททาภิชาติ ชาติคนสีเหลือง คือคนท่ีมีจิตใจบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เช่น ผู้มี
ศลี ธรรม เปรยี บเหมือนคนนงุ่ ขาวห่มขาวหรอื อบุ าสกอุบาสกิ า

๕. สกุ กาภิชาติ ชาตคิ นขาว คือคนที่ม่งุ ปฏิบตั ใิ หล้ ะเอียดยง่ิ ข้ึนกว่าคฤหัสถ์
เหมือนอยา่ งพระภิกษุสงฆ์ ฤษี หรือนกั บวชผปู้ ฏิบัตชิ อบทัว่ ไป

๖. ปรมสุกกาภิชาติ ชาติคนขาวอย่างยิ่ง คือท่านผู้บริสุทธ์ิทั้งหมด ได้แก่
พระพทุ ธเจา้ และพระอรหันต์ท้ังหลาย

รวมเรียกวา่ ฉฬาภชิ าติ อภชิ าติ ๖ ย่นลงเปน็ ๓ คอื

๑. กณั หะ คนดำ� ไดแ้ กค่ นช่ัวเพียงสว่ นเดียว
๒. กณั หสกุ กะ คนด�ำ ๆ ขาว ๆ ได้แกค่ นทำ� ช่วั บ้างดบี า้ ง
๓. สกุ กะ คนขาว ได้แกค่ นทีบ่ ริสุทธ์โิ ดยส่วนเดียว

คนสามัญท่วั ไปอยู่ในประเภท ๒ คอื คนที่ดำ� ๆ ขาว ๆ แต่บางคนขาวแลว้
คอ่ ย ๆ ดำ� เปน็ คนตน้ ตรงปลายคด บางคนดำ� แลว้ คอ่ ยๆขาว เปน็ คนตน้ คดปลายตรง
พระพทุ ธเจา้ ไดท้ รงอบรมพระบารมสี งู ขนึ้ โดยลำ� ดบั จงึ ไดท้ รงเปลย่ี นผวิ ของใจใหส้ งู ขน้ึ
จนถงึ ขาวอย่างยง่ิ จะเรยี กว่า ลอกผวิ ออกหมดก็ได้ เพราะวา่ ขาวอยา่ งยงิ่ น้ันไม่ควร
นบั วา่ สอี ะไร

พรรษาท่ี ๑๐

รักขิตวนั หรอื ป่าปารเิ ลยยกะ

พระประวัตขิ องพระพุทธเจ้าในพรรษาท่ี ๑๐

ในบาลีพระวินัยไม่ได้บอกว่าทรงจ�ำพรรษาท่ีป่าปาริเลยยกะ แต่ในคัมภีร์
ชนั้ อรรถกถาเลา่ วา่ ไดท้ รงจำ� พรรษา ณ ปา่ ปารเิ ลยยกะนน้ั และในคมั ภรี ช์ น้ั บาลกี ไ็ ด้
เล่าว่า เมอ่ื ได้ประทบั อย่ตู ามพระอธั ยาศัยแล้วก็เสด็จไปยังกรงุ สาวตั ถี แต่ว่าในคมั ภีร์
อรรถกถา๑ ไดม้ เี ลา่ วา่ พวกเศรษฐคี ฤหบดชี าวกรงุ สาวตั ถสี ง่ พระอานนทก์ บั พวกภกิ ษุ
เป็นทูตมาทูลเชิญเสด็จ และเม่ือพระอานนท์ได้เข้าไปสู่ท่ีประทับของพระพุทธเจ้า
ชา้ งกต็ ง้ั ทา่ จะทำ� รา้ ยเพราะคดิ วา่ ศตั รู พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดต้ รสั บอกวา่ นเี่ ปน็ พทุ ธอปุ ฏั ฐาก
ตามท่ีเล่าไว้ในอรรถกถานี้ เป็นเร่ืองที่แต่งข้ึนภายหลังมาก และได้แสดงรายละเอียด
ต่าง ๆ มาก และเรื่องท่ีว่าพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากน้ัน ก็ได้มีเล่าไว้ในท่ีอื่น๒
ว่าพระอานนท์ยังไม่ได้เป็นพุทธอุปัฏฐาก อีกหลายปีต่อมาจึงมารับหน้าท่ีเป็นพุทธ-
อปุ ฏั ฐาก เพราะฉะนนั้ ขอ้ ทเี่ ลา่ ไวใ้ นอรรถกถาธรรมบทดงั กลา่ วขา้ งตน้ เมอ่ื นำ� ไปเทยี บ
กับท่ีมีกล่าวไว้ในท่ีอ่ืนแล้ว ความจึงไม่สมกัน แต่ก็เป็นเร่ืองที่ผ่านพ้นไปนาน และ
เป็นเรื่องปลกี ยอ่ ยไมส่ มู้ ีความส�ำคญั อะไรมากนัก

๑ โกสมพฺ ิกวตฺถุ ธมมฺ ปท. ๑/๕๓-๔
๒ สมนตฺ . ๑/๒๐๒-๓ วา่ ใน ๒๐ พรรษาแรกน้นั พระพทุ ธเจ้ายังไมม่ พี ทุ ธอุปฏั ฐากประจ�ำ หลงั
จากนัน้ มา พระอานนท์จงึ ได้รบั แต่งตงั้ ให้เปน็ พุทธอุปฏั ฐาก

พรรษาท่ี ๑๐ 179

อุปกิเลส ๑๑

อน่ึง ก่อนทจี่ ะเสดจ็ ไปถงึ ปา่ ปาริเลยยกะนน้ั พระพุทธเจา้ ไดท้ รงแวะที่ปาจนี -
วังสะ๓ อันเป็นสถานท่ีซ่ึงพระเถระ ๓ รูปได้อาศัยอยู่ในขณะน้ัน คือ พระอนุรุทธะ
พระนันทิยะ และ พระกัมพิละ ท่านท้ัง ๓ รูปก็ได้ถวายการต้อนรับพระพุทธองค์
พระพุทธองค์ก็ได้ทรงท�ำปฏิสันถารคือทรงทักทาย และได้ตรัสถามถึงการอยู่ร่วมกัน
ของท่านทัง้ ๓ วา่ สามคั คปี รองดองกันดหี รือปฏิบตั อิ ยา่ งไร ทา่ นทั้ง ๓ ก็ทูลเลา่ ถึง
วธิ ที ท่ี า่ นไดป้ ฏบิ ตั ิ เสรจ็ แลว้ กร็ บั สงั่ ถามถงึ วา่ อยกู่ นั ดว้ ยความไมป่ ระมาท มคี วามเพยี ร
สง่ ตนไปอยหู่ รอื ทา่ นทง้ั ๓ กท็ ลู ใหท้ รงทราบและกไ็ ดท้ ลู ถงึ วธิ ที ปี่ ฏบิ ตั ติ อ่ กนั เกย่ี วแก่
วตั รในการจัดท่ฉี ัน ในการจัดตั้งน้�ำใชน้ �ำ้ ฉนั ในการทำ� ความสะอาด เปน็ ตน้ ดังทไ่ี ด้
เลา่ มาแลว้ ในขอ้ วตั รปฏบิ ตั ทิ เี่ ลา่ มานน้ั ในบดั นวี้ ดั ปา่ ทงั้ หลาย ซงึ่ เปน็ สำ� นกั พระกรรมฐาน
ในต่างจังหวดั ก็ยังถอื ปฏิบตั ิกนั อย่เู ป็นส่วนมาก และก็อยกู่ ันดว้ ยความเรียบรอ้ ย เชน่
วา่ พระเป็นผจู้ ดั อาสนะ จัดเตรียมน�ำ้ จดั ท�ำความสะอาด ปดั กวาดเสนาสนะ เปน็ เวร
หรอื เปน็ วาระเป็นตน้ นดั เวลากนั ท�ำ แตว่ า่ ส�ำหรบั ในวดั ท่ีอย่ใู นเมอื ง ซง่ึ มุง่ หน้าศึกษา
เล่าเรยี นกันเป็นสว่ นใหญ่ ไม่ได้ปฏิบัติอยา่ งนี้

อน่งึ เม่ือพระเถระทัง้ ๓ ทา่ นได้กราบทูลพระพทุ ธเจ้าถงึ วัตรปฏิบตั ขิ องทา่ น
เกี่ยวกับความเป็นอยทู่ างกาย เกี่ยวกับสถานท่ี วา่ ท�ำกนั อยา่ งไรแล้วพระพุทธเจา้ ก็ได้
ตรัสถามถึงการปฏิบัติทางจิต การบรรลุคุณวิเศษคือการบรรลุถึงผลของการปฏิบัติ
ของทา่ น วา่ ทา่ นทงั้ ๓ มคี วามไมป่ ระมาท มคี วามเพยี ร และสง่ ตนไปในดา้ นการปฏบิ ตั ิ
เพ่อื บรรลุผลที่ยิ่ง ๆ ขึน้ ไป เป็นอย่างไรบ้าง ทา่ นทง้ั ๓ ก็กราบทูลว่า ก็ได้ปฏบิ ัติทาง
จติ จนจิตเปน็ สมาธแิ ละไดโ้ อภาสคอื แสงสวา่ ง ไดร้ ปู ทัสสนะ คือการเห็นรูปซง่ึ ปรากฏ
ในสมาธิจริง แต่ว่าแสงสว่างและการเห็นรูปนั้นก็อันตรธานหายไป ท่านท้ัง ๓ รูป
จงึ ไมไ่ ดป้ ระสบแสงสวา่ ง ไมไ่ ดป้ ระสบการเหน็ รปู ไมร่ แู้ จง้ แทงตลอดนมิ ติ นนั้ พระพทุ ธเจา้
กไ็ ดท้ รงแนะนำ� วธิ ปี ฏบิ ตั เิ พอื่ แกม้ ใิ หโ้ อภาสและรปู ทสั สนะนนั้ หายไป โดยไดท้ รงเลา่ ถงึ

๓ ว.ิ มหา. ๕/๒๔๘/๓๓๗.

180 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

การปฏิบัติที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติมา ซ่ึงได้ทรงแสดงไว้ในพระสูตรอีกพระสูตรหน่ึง
เรยี กว่า อปุ ักกิเลสสตู ร๔ มีความวา่

เมอ่ื ยงั มไิ ดต้ รสั รู้ ยงั ทรงเปน็ พระโพธสิ ตั ว์ กท็ รงจำ� ไดว้ า่ ไดท้ รงประสบโอภาส
และรปู ทสั สนะ แตแ่ ลว้ กห็ ายไป จงึ ไดท้ รงคน้ หาวา่ อะไรเปน็ เหตใุ หห้ ายไปกไ็ ดท้ รงพบ
เหตทุ ที่ ำ� ให้หายไปโดยล�ำดับดังน้ี

๑. วจิ กิ จิ ฉา ความสงสยั ลงั เลใจ คอื เมอื่ เหน็ โอภาสเหน็ รปู ทสั สนะ กเ็ กดิ ลงั เล
สงสยั ขึ้นวา่ นีอ่ ะไร พอเกดิ ลงั เลสงสยั ข้ึน โอภาสและรูปทัสสนะน้นั กห็ ายไป

๒. อมนสกิ าร การไมใ่ สใ่ จ คอื เมอื่ โอภาสและรปู ทสั สนะปรากฏขนึ้ จติ กแ็ วบ
ไปเสียทางอน่ื ไม่ก�ำหนดแน่นอนอยู่ท่โี อภาสและรปู ทัสสนะนัน้ เรยี กว่า ไม่กระท�ำไว้
ในใจ โอภาสและรปู ทสั สนะนนั้ กห็ ายไป

๓. ถีนมิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม เม่ือเกิดขึ้นก็ท�ำให้โอภาสและรูป
ทัสสนะหายไป

๔. ความสะดงุ้ หวาดเสยี ว เม่ือโอภาสและรูปทัสสนะเกิดขน้ึ เหน็ รปู ทสั สนะ
บางอยา่ งทน่ี า่ กลวั กเ็ กดิ สะดงุ้ หวาดเสยี วขนึ้ เมอ่ื เปน็ ดงั นโี้ อภาสและรปู ทสั สนะกห็ ายไป

๕. ความคิดตื่นเต้นล่วงหน้า คือไม่ทันจะปรากฏโอภาสและรูปทัสสนะที่น่า
ตน่ื เตน้ แตค่ ดิ คาดไปวา่ จะไดป้ ระสบอยา่ งนนั้ ๆ แลว้ กต็ น่ื เตน้ ขนึ้ เสยี กอ่ น หรอื วา่ เมอื่
ประสบโอภาสและรปู ทสั สนะบางอยา่ งทนี่ า่ ตนื่ เตน้ กเ็ กดิ ตน่ื เตน้ ขนึ้ ทนั ที เขา้ ในลกั ษณะ
ที่ใจฟุง้ ข้นึ ก็เปน็ เหตใุ หโ้ อภาสและรปู ทัสสนะน้นั หายไปได้

๖. ความที่ร่างกายกระสับกระส่าย คือเม่ือร่างกายเกิดเม่ือยขบเจ็บขัด
กระสบั กระสา่ ยขึ้นคุมไวไ้ ม่อยู่ โอภาสและรปู ทสั สนะนั้นกห็ ายไป

๗. ปรารภความเพียรจัดเกินไป ก็ท�ำให้โอภาสและรูปทัสสนะหายไปได้
เหมือนกบั จบั นกด้วยมอื ๒ มือแนน่ เกินไป นกก็ตาย

๔ ม.. อ.ุ ๑๔/๔๓๙/๒๙๕.

พรรษาท่ี ๑๐ 181

๘. ความเพยี รยอ่ หยอ่ นเกนิ ไป กท็ ำ� ใหโ้ อภาสและรปู ทสั สนะหายไปได้ เหมอื น
อยา่ งจบั นกปลอ่ ยมอื หยอ่ นมากไป นกก็บนิ หนีไปได้

๙. ความกระซิบที่ใจ ได้แก่เมื่อได้ประสบโอภาสและรูปทัสสนะบางอย่าง
ก็มีเคร่ืองมากระซิบใจได้แก่ความอยากความปรารถนา เม่ือบังเกิดข้ึนก็ท�ำให้โอภาส
และรูปทัสสนะน้ันหายไป

๑๐. สญั ญา คือความกำ� หนดหมายรปู ที่มอี ยา่ งตา่ ง ๆ ไดแ้ ก่เมอ่ื โอภาสและ
รูปทสั สนะปรากฏขึน้ ก็มสี ญั ญาคือความกำ� หนดหมายพร่าไปมาก เมอ่ื สญั ญาพรา่ ไป
ไมร่ ู้ โอภาสและรูปทัสสนะก็หายไป

๑๑. ความใช้จิตเพ่งพินิจเกินไป ได้แก่เมื่อโอภาสและรูปทัสสนะปรากฏข้ึน
กใ็ ชจ้ ติ เพง่ พนิ จิ คาดคน้ั เกนิ ไป กท็ ำ� ใหโ้ อภาสและรปู ทสั สนะนนั้ หายไปได้ เหลา่ นเี้ รยี กวา่
อุปกเิ ลส เคร่ืองเศรา้ หมองของสมาธิ ซง่ึ นับวา่ เป็นเครอ่ื งเศร้าหมองของสมาธิชนั้ สูง

พระพุทธเจ้าเม่ือได้ตรัสเล่าถึงการปฏิบัติของพระองค์ และเหตุท่ีท�ำให้สมาธิ
ของพระองค์เสยี ไป รวม ๑๑ ขอ้ ดงั นน้ั แล้ว ก็ได้ตรัสวา่ เมื่อไดท้ รงค้นพบถงึ เหตแุ ล้ว
ก็ได้ทรงระมัดระวังจิต ละเหตุที่ท�ำให้สมาธิเหล่าน้ันไม่บังเกิดขึ้น เม่ือทรงละได้แล้ว
กท็ รงบำ� เพญ็ สมาธปิ ระสบผลสำ� เรจ็ ทส่ี มบรู ณ์ ตอ่ จากนน้ั กไ็ ดต้ รสั ถงึ สมาธทิ ท่ี รงไดร้ บั
อันเรียกว่า ฌาน ไดแ้ ก่

๑. ไดท้ รงอบรมสมาธทิ ี่มีวิตกมีวิจาร
๒. ได้ทรงอบรมสมาธิที่ไมม่ ีวติ ก สักแตว่ ่ามวี ิจาร
๓. ไดท้ รงอบรมสมาธทิ ีไ่ ม่มวี ติ ก ไมม่ ีวจิ าร
๔. ได้ทรงอบรมสมาธทิ ่ีมปี ีติ
๕. ได้ทรงอบรมสมาธทิ ไ่ี ม่มีปีติ
๖. ไดท้ รงอบรมสมาธทิ ี่ประกอบดว้ ยความสุขส�ำราญ
๗. ได้ทรงอบรมสมาธทิ ่ีประกอบด้วยอเุ บกขา

182 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เมื่อสมาธิของพระองค์บริสุทธิ์แล้วก็บังเกิดญาณทัสสนะคือความรู้ความเห็น
ขน้ึ วา่ วมิ ตุ ติของพระองค์ไมก่ �ำเริบ ชาตนิ ้ีเป็นชาตทิ สี่ ดุ ไมม่ ีภพใหม่อีกตอ่ ไป

พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั อบรมพระอนรุ ทุ ธะเปน็ ตน้ ถงึ วธิ ปี ฏบิ ตั ใิ นการทำ� สมาธิ และ
ได้ทรงเลา่ ถึงการปฏบิ ัติของพระองค์เองท่ไี ด้ปฏิบัตมิ าและสมาธิท่ีทรงได้รบั ตลอดจน
ผลท่ีทรงบรรลุโดยล�ำดับ เป็นข้อแนะน�ำตักเตือนให้ท่านเหล่าน้ันได้ปฏิบัติด้วยความ
ไม่ประมาท มีความเพียร และส่งตนไป เพ่ือให้เจรญิ ด้วยการปฏิบัติ จนถึงประสบผล
ดังกล่าวนั้น

การทำ� สมาธิ

ตอ่ ไปนี้จะได้อธบิ ายประกอบบางสว่ น คือว่าการทำ� สมาธิน้นั จิตกำ� หนดอย่ทู ่ี
อารมณ์อันเดียว เหมือนดังเช่นท�ำอานาปานสติ สติก�ำหนดลมหายใจเข้า ก�ำหนด
ลมหายใจออก รวมจิตให้รู้อยู่ท่ีลมหายใจเข้าลมหายใจออก โดยปกติจิตของเราพร่า
คอื ว่าออกไปรอู้ ารมณ์ตา่ ง ๆ ทางตาบา้ ง ทางหูบ้าง เรยี กวา่ พร่า คราวนีก้ ็มารวมใจ
ให้รู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออกเพียงอันเดียว ในการปฏิบัตินั้นเม่ือต้ังใจรวมจิต
เข้ามาให้รู้อยู่ท่ีลมหายใจดังเช่นในบัดน้ี หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ รู้ตรงจุดท่ีลม
หายใจกระทบ อย่างเม่ือหายใจเข้า ลมหายใจเข้ากระทบที่ปลายกระพงุ้ จมูก หรือว่า
ริมฝีปากเบือ้ งบน กใ็ หร้ ู้ ออกมากระทบทน่ี ่นั กใ็ ห้รู้ เมอื่ ได้ต้ังก�ำหนดอยดู่ ังน้ี จติ ก็มกั
จะหลบแวบออกไปขา้ งนอก ไมอ่ ยู่ จะทำ� อยา่ งไรจงึ จะมสี ตขิ นึ้ มา กต็ อ้ งดงึ เอาจติ มาตงั้
มากำ� หนดอย่ทู ่นี ิมติ คอื ทกี่ ำ� หนด เหมอื นอย่างเก่า ความทยี่ กจิตใหเ้ ขา้ มาอยทู่ น่ี มิ ิตน่ี
แหละเรยี กวา่ วติ ก วติ กมใิ ชห่ มายความวา่ ตรกึ ตรองอะไรไป เหมอื นอยา่ งทเี่ ราพดู กนั
แตว่ า่ วติ กนนั้ หมายถงึ คอยยกเอาจติ เขา้ มาตงั้ อยทู่ น่ี มิ ติ ของสมาธิ นมิ ติ แปลวา่ ทก่ี ำ� หนด
เหมือนอย่างว่าเราก�ำหนดจุดท่ีลมกระทบท่ีปลายกระพุ้งจมูกหรือริมฝีปากเบื้องบน
ตรงนนั้ เรยี กวา่ นมิ ติ คอื ทก่ี ำ� หนด จติ แวบออกไป กจ็ บั จติ มาใสเ่ ขา้ ไวท้ น่ี นั่ นเ่ี รยี กวา่
วติ ก เมื่อจับจติ มาใสเ่ ขา้ ไวท้ ่นี ั่นแลว้ ก็คอยประคองจติ ใหค้ ลุกเคลา้ อยู่กับนิมติ น้ัน คอื
ว่าให้แน่วแน่อยู่ที่นิมิตนั้น ไม่ให้ไปข้างไหน อาการแน่วหรือแซ่วอยู่ที่นิมิตนั้นไม่ไป

พรรษาท่ี ๑๐ 183

ข้างไหน นี่เรียกว่า วจิ าร ท่านจงึ เปรยี บเหมือนอย่างวา่ วติ กน้นั เหมือนอยา่ งตีระฆัง
ดงั เหงง่ ขนึ้ แลว้ วจิ ารกเ็ หมอื นอยา่ งเสยี งครางของระฆงั วติ กกจ็ บั จติ เขา้ มาตงั้ ไวท้ นี่ มิ ติ
วิจารกค็ อยประคองจิตให้คลุกเคล้าอยูท่ ีน่ ิมติ อันนัน้ ไมใ่ ห้ไปขา้ งไหน

ในการทำ� สมาธทิ แี รก จะตอ้ งคอยมสี ตจิ บั จติ มาใสไ่ วท้ น่ี มิ ติ แลว้ กค็ อยประคอง
จติ ใหอ้ ยทู่ นี่ นั่ อยเู่ สมอ เผลอเมอื่ ไรจติ กแ็ วบออกไป คราวนค้ี วามเรว็ ของจติ นน้ั เราอาจ
จะก�ำหนดได้ในตอนน้ี เมื่อจิตแวบออกไปน้ัน คร้ันจับจิตเข้ามาได้ก็ลองสอบสวนดู
จะรสู้ กึ ว่าแวบเดียวเท่านน้ั แต่ว่าหลายเรอื่ งเหลอื เกิน เหมอื นดงั เช่นว่า เมอ่ื จบั จิตเข้า
มาอยูท่ น่ี มิ ิตของสมาธแิ ละใหค้ ลุกเคลา้ อย่ทู นี่ มิ ิตนั้น แนว่ อยทู่ ่นี มิ ติ อนั นั้น คร้นั ได้ยิน
เสยี งคนเดนิ อยขู่ า้ งนอกกกุ๊ ๆ จติ มนั กจ็ ะแวบออกไป พอแวบออกไปทนี่ น่ั แลว้ กไ็ ปเรอ่ื ง
นัน้ ไปเรือ่ งน้ี ไปเรื่องโน้นอกี มากมาย กวา่ เราจะไดส้ ติ แลว้ ก็ชักเข้ามาใหม่ คราวน้ี
ลองสอบสวนดูวา่ กี่เร่ืองท่ีแวบออกไปน้ัน ลองสอบสวนดกู ็จะจบั เร่ืองไดแ้ ยะ ออกจาก
เรอื่ งนนั้ ไปเรอ่ื งน้ี ออกจากเรอื่ งนไ้ี ปเรอ่ื งโนน้ กวา่ จะจบั ตวั เขา้ มาได้ กอ็ อกไปมากมาย
หลายเร่ือง อันนแี้ หละท่เี ราจะร้สู ึกวา่ จิตไปเรว็ เพียงไร แตว่ ่าต้องหดั ท�ำความสงบแลว้
กค็ อยสอบสวน และเมอ่ื จติ ถกู คอยสอบสวนอยดู่ งั นแ้ี ลว้ ทหี ลงั ถา้ แวบออกไปอกี กม็ กั
ไมเ่ ปน็ ไปในเรอื่ งนน้ั แตไ่ ปในเรอ่ื งอนื่ แมไ้ ปในเรอ่ื งอนื่ กจ็ บั ตวั มาสอบสวนดอู กี แลว้ กลบั
มาตัง้ ไวใ้ หม่ คราวน้ีถา้ ไปในเรือ่ งอนื่ อีก ก็จบั ตัวมาตง้ั ไวแ้ ล้วก็สอบสวนกนั ใหม่อีก

ในการหดั ทำ� สมาธนิ นั้ บางทใี นขณะทร่ี วมจติ ไมล่ ง มนั แวบออกไปอยา่ งนตี้ อ้ ง
คอยจบั มาสอบสวนกนั อยตู่ ง้ั คอ่ นชวั่ โมงกวา่ จะอยู่ เพราะฉะนนั้ ในการจะตง้ั ใจทำ� สมาธิ
ต้องใช้ความพยายามที่เรียกว่า มีความเพียร แล้วก็ท�ำสติ ก็จิตของเราเองน่ันแหละ
และเมื่อพอควบคุมจิตให้เป็นวิตกให้เป็นวิจาร วิตกก็คือว่า ตั้งอยู่ในนิมิตของสมาธิ
วจิ ารกค็ อื วา่ ใหแ้ นว่ อยหู่ รอื วา่ แซว่ อยใู่ นนมิ ติ ของสมาธนิ น้ั ไมใ่ หต้ กไปขา้ งไหน กจ็ ะเกดิ
ผลคือว่า ปีติ ความอมิ่ กายอม่ิ ใจ ต่อจากน้ันกเ็ กิด สุข คอื วา่ ความสบายกายสบายใจ
เมือ่ ได้ผลคือปตี แิ ละสขุ ดงั กลา่ วมานี้ จติ จงึ จะต้ังมนั่ เปน็ อเุ บกขา มอี ารมณอ์ ันเดียว
คือเป็นสมาธิที่แน่วแน่ สมาธิท่ีแน่วแน่จะต้องมีอารมณ์อันเดียวแล้วก็เป็นอุเบกขาคือ
ความสงบเฉยไม่รู้สึกเป็นสุขไม่รู้สึกเป็นทุกข์ แล้วก็มีอารมณ์อันเดียวอยู่ ตัวอุเบกขา

184 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ดงั นจี้ ะมขี น้ึ ไดก้ จ็ ะตอ้ งผา่ นปตี แิ ละสขุ ถา้ หากวา่ ทำ� สมาธไิ มไ่ ดป้ ตี แิ ละสขุ อเุ บกขาคอื
สมาธทิ แ่ี นว่ แนบ่ งั เกดิ ไมไ่ ด้ เพราะวา่ จติ ทไ่ี มม่ สี ขุ นนั้ สงบไมไ่ ด้ จะตอ้ งกระสบั กระสา่ ย
จิตท่ีสงบเป็นสมาธิท่ีแน่วแน่ที่เรียกว่า อุเบกขา ดังนี้ได้นั้น จะต้องเป็นจิตท่ีมีสุข
กายกม็ สี ขุ แลว้ กเ็ มอ่ื มสี ขุ ดงั นแี้ ลว้ สมาธทิ แ่ี นว่ แนจ่ งึ จะบงั เกดิ ขนึ้ ทเ่ี รยี กวา่ อเุ บกขา
ในท่ีนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงจัดองค์ของปฐมฌานคือความเพ่งที่ ๑ ไว้ ๕ ได้แก่
๑. วติ ก ๒. วจิ าร ๓. ปตี ิ ๔. สุข ๕. เอกคั คตาหรือว่าอเุ บกขา เอกัคคตาก็แปลวา่
มียอดอันเดยี ว คอื มอี ารมณ์อันเดยี ว อุเบกขา กค็ อื ว่าวางจติ นงิ่ เฉยอยู่ดว้ ยมีอารมณ์
อนั เดยี วนน้ั จะเรยี กวา่ เอกคั คตา แปลวา่ มอี ารมณอ์ นั เดยี ว หรอื จะเรยี กวา่ อเุ บกขา
กไ็ ด้ จะเรยี กคกู่ นั ทง้ั ๒ อยา่ งกไ็ ด้ แตม่ คี วามหมายถงึ สมาธทิ แี่ นว่ แน่ เปน็ อนั เดยี วกนั

พระพทุ ธเจา้ ตามทเี่ ลา่ ในพระสตู รนี้ กไ็ ดท้ รงทำ� สมาธมิ าโดยลำ� ดบั ในชน้ั แรก
ทีเดียวก็ทรงท�ำสมาธิที่มีวิตกมีวิจาร เพราะว่าในขั้นเร่ิมปฏิบัติจะต้องเป็นอย่างน้ัน
จะตอ้ งเรมิ่ น�ำเอาจติ เข้ามาตัง้ ไวใ้ นนิมติ ของสมาธิ แลว้ ก็จะตอ้ งมวี จิ ารคือวา่ ใหจ้ ิตอย่ทู ่ี
นมิ ติ ของสมาธนิ น้ั ไมใ่ หต้ กไปขา้ งไหน เมอื่ ชำ� นาญขน้ึ กไ็ มต่ อ้ งใชว้ ติ ก คอื หมายความ
วา่ จติ แนว่ หรอื วา่ แซว่ อยทู่ น่ี มิ ติ ของสมาธอิ ยตู่ วั แลว้ กใ็ ชว้ จิ ารคอยประคองจติ ใหแ้ นว่ อยู่
ท่นี มิ ิตของสมาธินัน้ ไม่ใหเ้ ผลอตัว คราวน้ีเมอ่ื ช�ำนาญย่งิ ข้ึน วจิ ารกไ็ ม่ต้องใช้ อย่กู บั
ปีติคอื ความอิ่มกายอ่ิมใจ จติ ก็จะอยทู่ ีน่ ิมิตของสมาธินัน้ อาศัยปีติชำ� นาญขนึ้ กไ็ มต่ ้อง
มีปีติ ปีติยังมีลักษณะซู่ซ่า ซู่ซ่าทางกายซู่ซ่าทางใจอย่างท่ีเรียกว่า ปีติ ท่ัว ๆ ไป
ก็ละปีติอยู่กับสุข คือความสบายกายสบายใจซ่ึงเป็นความสุขอย่างสุขุม ไม่ปรากฏ
อาการซซู่ า่ อะไร สมาธชิ ำ� นาญขึ้นก็ไมต่ อ้ งอาศัยสุข แปลว่า ละสขุ เสยี ได้ มาอยกู่ บั
อเุ บกขาคอื ความเพง่ เฉยอยู่ มอี ารมณเ์ ดยี ว นก่ี แ็ ปลวา่ สมาธบิ รรลถุ งึ ขนั้ อปั ปนา คอื
ข้ันแนว่ แน่ นับวา่ เปน็ อตุ ตรมิ นสุ สธรรม คอื ธรรมอันย่งิ ของมนุษย์ อนั นภ้ี กิ ษไุ ปอวด
เข้าไม่ได้ หมายความว่า หากไม่ได้ถึงแล้วไปอวดเข้า ต้องอาบัติถึงท่ีสุดคือปาราชิก
ขาดจากความเป็นภกิ ษทุ ีเดยี ว แต่ว่าถา้ เป็นสมาธอิ ย่างสามัญชนิดทม่ี วี ติ กวิจาร นนั่ ก็
แปลวา่ เปน็ สมาธสิ ามัญ ยงั ตอ้ งคอยจับจิตมาใสไ่ ว้ จติ แวบออกไปก็คอยจบั เขา้ มาใส่
ไวท้ นี่ มิ ติ ของสมาธิ อยา่ งนถี้ า้ ไปอวดเขา้ กไ็ มเ่ ปน็ อาบตั ถิ งึ ทส่ี ดุ เพราะวา่ ยงั ไมเ่ ปน็ ธรรม
อนั ย่งิ ของมนษุ ย์

พรรษาที่ ๑๐ 185

รปู นิมิต ๒ อยา่ ง

คราวนี้ เมื่อได้ท�ำสมาธิไปโดยล�ำดับแล้ว จิตเป็นสมาธิย่ิงข้ึน ก็จะปรากฏ
โอภาสคือแสงสว่างข้ึนในจิต และท่านท่ีได้มีบารมีอบรมมาบ้างแล้ว ก็จะปรากฏ
รปู ทสั สนะคอื การเหน็ รปู ขนึ้ เหน็ รปู อะไรตา่ ง ๆ แตว่ า่ รปู ทเี่ หน็ นน้ั กม็ อี ยู่ ๒ อยา่ ง คอื
รูปทีเ่ ปน็ นมิ ิตของสมาธอิ ย่างหนึ่ง รูปทเ่ี ปน็ ผลของสมาธิอย่างสูงอย่างหน่ึง

รปู ทเ่ี ปน็ นมิ ติ ของสมาธนิ นั้ กค็ อื เมอ่ื จติ ทำ� สมาธแิ ละเมอ่ื แวบออกไปสกั หนอ่ ย
หนึ่งถึงรูปอะไร รูปนั้นก็มาปรากฏข้ึน บางทีก็เป็นสัตว์ บางทีก็เป็นคน บางทีก็เป็น
เทวดา แตว่ ่าสิ่งเหล่าน้ัน เรยี กว่า เปน็ ภาพอปุ าทาน หรือว่าเป็น สัญญชะ คอื เกดิ
จากสัญญาคือความท่ีเคยจ�ำเอาไว้ อย่างสัตว์ที่มาปรากฏก็เป็นสัตว์ท่ีเคยเห็นมาแล้ว
เคยจ�ำได้มาแล้ว คนก็เหมือนกัน เทวดาก็เหมือนกัน ก็เป็นเทวดาท่ีเคยเห็นมาแล้ว
อย่างเทวดาตามฝาผนังโบสถ์ นี่เรียกว่า เป็นสัญญชะ เกิดจากสัญญา เราเรียกว่า
ภาพอปุ าทาน เมอื่ มาปรากฏขนึ้ กต็ อ้ งใหก้ ำ� หนดวา่ ไมเ่ ปน็ ความจรงิ เปน็ ภาพลวงทงั้
นนั้ คอื เปน็ นมิ ติ ของสมาธเิ ทา่ นน้ั ไมต่ อ้ งตน่ื เตน้ ในภาพทน่ี า่ ยนิ ดี ไมต่ อ้ งตกใจในภาพ
ท่ีน่ายินร้าย ในตอนนี้นั่นเองท�ำให้คนท�ำสมาธิเสียไปมาก เพราะไปหลงในภาพน้ัน
บางทีก็ปรากฏเป็นพระเสด็จเข้ามาแล้วก็มาแนะน�ำอย่างนั้นอย่างน้ี มาแนะน�ำให้
ไม่นอนกไ็ ม่นอน แนะน�ำใหไ้ มก่ ินก็ไม่กินข้าว คราวน้ีกเ็ กดิ เปน็ โรคเส้นประสาทขึ้นมา
เกิดจะตายขึ้น ก็ตอ้ งแกก้ ัน เหลา่ น้ีเรยี กว่า เป็นภาพลวงทัง้ นน้ั

มรี ายหนง่ึ เมอื่ ไมส่ นู้ านปมี าน้ี พระฝรง่ั จาไมกา้ ทำ� กรรมฐานอยทู่ จี่ งั หวดั ชลบรุ ี
ก็มุ่งจะส�ำเร็จ นั่งท�ำกรรมฐานตลอดวันตลอดคืน ก็ปรากฏนิมิตข้ึน คือ รูปทัสสนะ
เหน็ รปู ขน้ึ กเ็ หน็ พระเสดจ็ เขา้ มาแลว้ กเ็ สดจ็ ออกไปทางหนา้ ตา่ ง กเ็ ลยตามเสดจ็ ออกไป
รงุ่ ขน้ึ กม็ คี นมาเหน็ นอนสลบอยทู่ พี่ น้ื ขา้ งลา่ ง ตอ้ งเอาตวั สง่ โรงพยาบาล แลว้ กต็ อ้ งรกั ษา
รา่ งกายรกั ษาประสาทกนั อกี เปน็ เวลานานวนั บดั นก้ี ลบั ไปองั กฤษแลว้ และกไ็ ดข้ า่ ววา่
ได้สึกแล้ว คนน้ีมีการศึกษาทางโลกมาสูงถึงขั้นปริญญาตรีหรือโททางวิทยาศาสตร์
อนั นแี้ หละเปน็ เรอ่ื งสำ� คญั ทเ่ี มอื่ หดั ทำ� สมาธจิ ะตอ้ งรวู้ า่ นเี่ ปน็ ภาพลวงตาไมใ่ ชภ่ าพจรงิ
เรียกว่า เป็นสัญญชะ เกิดจากสญั ญา หรอื ว่าเป็นภาพอปุ าทาน

186 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

อกี อยา่ งหนง่ึ อาจจะเปน็ ภาพจรงิ อยา่ งทป่ี รากฏแกบ่ างทา่ น อยา่ งในพระสตู ร
นท้ี พี่ ระอนรุ ทุ ธะกราบทลู พระพทุ ธเจา้ และพระพทุ ธองคก์ ไ็ ดต้ รสั แนะนำ� นที้ า่ นกแ็ สดง
วา่ เปน็ ภาพจรงิ อนั นเี้ รยี กวา่ เปน็ พวกทพิ ยจกั ษคุ อื ตาทพิ ย์ แตว่ า่ นอ้ ยคนนกั ทจ่ี ะประสบ
ภาพจรงิ แตว่ า่ แมเ้ ชน่ นน้ั ในขน้ั ปฏบิ ตั ิ ภาพทป่ี รากฏขนึ้ กย็ งั หายไปได้ ซง่ึ พระอนรุ ทุ ธะ
ก็ยังหาทางแกไ้ มไ่ ด้ จนถงึ พระพทุ ธเจ้าไดม้ าทรงแนะน�ำถึงอุปกเิ ลสของสมาธิ ๑๑ ขอ้
ดังที่กล่าวมาน้ี เมื่อบ�ำเพ็ญสมาธิชั้นสูงได้อย่างน้ัน และเมื่อบังเกิดความมืดขึ้น
อยา่ งโอภาสบงั เกดิ ขนึ้ กบ็ งั เกดิ แสงสวา่ ง ครน้ั โอภาสหายไปกม็ ดื รปู ทสั สนะปรากฏขน้ึ
ก็เห็นภาพ เมื่อหายไปก็ไม่เห็นอะไร นี่ก็เพราะเหตุว่ามีอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมอง
๑๑ อยา่ ง ดังท่ีไดก้ ลา่ วมา โดยลำ� ดับ

แต่ว่าแม้ในการบ�ำเพ็ญสมาธิช้ันสามัญก็ต้องระมัดระวังบ้างเหมือนกัน ถ้ามี
อปุ กเิ ลสเหลา่ น้ี เชน่ วา่ เกดิ สงสยั ขน้ึ มาเปน็ ตน้ จติ กจ็ ะออกจากนมิ ติ ของสมาธิ แปลวา่
พลดั ตก ก็ต้องละความสงสัยนน้ั แลว้ กย็ กจติ เขา้ ไปต้ังในนมิ ติ ของสมาธใิ หม่ แปลวา่
เริม่ ใชว้ ธิ วี ติ กวจิ ารไปใหมด่ ังกล่าวมาแล้ว

ตอนนจี้ กั ไดก้ ลา่ วถงึ พระประวตั ขิ องพระพทุ ธเจา้ สบื ตอ่ ไป ในพระบาล๕ี ไดเ้ ลา่ วา่
เม่ือพระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ท่ีป่ารักขิตวัน แถบบ้านปาริเลยยกะ ซ่ึงมักเรียกกันว่า
ป่าปาริเลยยกะ หรือป่าเลไลยในภาษาไทย ตามที่ทรงพอพระทัยแลว้ กไ็ ดเ้ สด็จไปสู่
กรงุ สาวตั ถี ประทบั ณ พระเชตวนั ซง่ึ เปน็ อารามทเี่ ศรษฐอี นาถปณิ ฑกิ ะสรา้ งถวาย

เภทกรณวตั ถุ

ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีก็พากันคิดว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
ท่ีทะเลาะวิวาทกันเหล่านี้ เป็นผู้ท�ำให้พวกตนเสียหาย เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงร�ำคาญพระหฤทัยดว้ ยภกิ ษุเหลา่ น้ี จึงไดท้ รงหลกี ไป พวกตนก็ไม่ไดฟ้ ังพระธรรม
ไม่ได้พบเห็นพระพุทธเจ้า จึงได้พร้อมใจกันงดการกราบไหว้ต้อนรับพระผู้วิวาทกัน

๕ วิ. มหา. ๕/๒๕๐-๒๕๙/๓๔๒-๓๕๓.

พรรษาท่ี ๑๐ 187

งดการใสบ่ าตร เรียกว่า คว่ำ� ขนั ข้าว พวกพระเหลา่ นนั้ จะหลีกไป หรือวา่ จะสกึ ไป
หรือว่าจักไปท�ำพระศาสดาให้พอพระหฤทัยใหม่ก็สุดแต่ ฝ่ายภิกษุชาวโกสัมพีท้ัง
๒ ฝา่ ยซง่ึ ววิ าทกนั เมอื่ ถกู ชาวบา้ นปฏบิ ตั ดิ งั นนั้ กค็ อ่ ยรสู้ กึ สำ� นกึ ตวั และกลบั หนั หนา้
เข้าหารอื กันวา่ จะท�ำอยา่ งไร ในที่สดุ ก็ตกลงใจกนั ว่า จะไปเฝา้ พระพุทธเจ้า กราบทลู
ใหท้ รงระงบั อธกิ รณอ์ นั น้ี เมอื่ ไดต้ กลงพรอ้ มกนั แลว้ กพ็ ากนั ออกจากกรงุ โกสมั พไี ปยงั
กรงุ สาวัตถี ในตอนนี้ ในคัมภีรอ์ รรถกถา๖ คอื คัมภีรท์ ี่อธิบายเนือ้ ความของพระบาลี
ซง่ึ ไดแ้ ตง่ เมอื่ พระพทุ ธศาสนา ลว่ งไปประมาณ ๑,๐๐๐ ปแี ลว้ ไดเ้ ลา่ วา่ เมอื่ พวกชาวบา้ น
พากันงดใส่บาตร พระภิกษุชาวโกสัมพีนั้น อยู่ในระหว่างเข้าพรรษา พระเหล่าน้ัน
ก็ต้องพากันอยู่จ�ำพรรษาด้วยความเดือดร้อนจนตลอดไตรมาส ครั้นออกพรรษาแล้ว
จงึ ได้เดนิ ทางไปเฝ้าพระพทุ ธเจา้

ข่าวเรื่องพระภิกษุชาวโกสัมพีเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้แพร่ออกไป
จนทราบถงึ พุทธบริษทั ในกรุงสาวัตถี ในชัน้ บาลีไดเ้ ลา่ ว่า พทุ ธบรษิ ทั ท้งั ๔ คอื ภกิ ษุ
ภกิ ษุณี อุบาสก อบุ าสิกา ก็ไดเ้ ข้าไปเฝา้ พระพทุ ธเจ้ากราบทูลถามถึงขอ้ ที่ควรปฏิบัติ
ตอ่ พระภกิ ษชุ าวโกสมั พเี หลา่ นน้ั พระพทุ ธเจา้ กท็ รงแสดงชแ้ี จงวธิ ปี ฏบิ ตั เิ ปน็ พวก ๆ ไป

ในฝ่ายภิกษุบริษัท พระสารีบุตรซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ได้เข้าเฝ้า
กราบทลู ถามพระพทุ ธเจา้ วา่ จะปฏบิ ตั ใิ นภกิ ษเุ หลา่ นนั้ อยา่ งไร พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั ให้
ดำ� รงอยโู่ ดยธรรม พระสารบี ตุ รกไ็ ดก้ ราบทลู ถามวา่ จะพงึ รวู้ า่ เปน็ ธรรม หรอื วา่ อธรรม
อย่างไร พระพทุ ธเจ้ากไ็ ดต้ รัสว่า ภิกษุทเี่ ปน็ อธรรมวาที คอื ผ้กู ลา่ วไม่เปน็ ธรรมน้ัน
พึงทราบไดด้ ้วยวัตถุ ๑๘ ข้อเมื่อรวมเป็นคกู่ ไ็ ด้ ๙ คู่ คอื

คทู่ ี่ ๑ แสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมวา่ อธรรม
คู่ที่ ๒ แสดงอวนิ ยั วา่ วนิ ยั แสดงวินยั ว่าอวินยั
คู่ท่ี ๓ แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามิได้ตรัสไว้ แสดงข้อท่ีพระพุทธเจ้า
มิไดต้ รัสไวว้ ่าตรสั ไว้

๖ โกสมพฺ ิกวตฺถุ ธมมฺ ปท. ๑/๕๒-๓.

188 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

คู่ที่ ๔ แสดงข้อท่ีพระพุทธเจ้ามิได้ทรงประพฤติว่าทรงประพฤติ แสดงข้อที่
พระพุทธเจ้าทรงประพฤตวิ ่ามไิ ดท้ รงประพฤติ

คู่ที่ ๕ แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติว่าทรงบัญญัติ แสดงข้อที่
พระพทุ ธเจ้าทรงบญั ญตั วิ า่ มไิ ด้ทรงบญั ญัติ

คู่ท่ี ๖ แสดงอนาบตั วิ า่ อาบตั ิ แสดงอาบัตวิ ่าอนาบัติ
คู่ท่ี ๗ แสดงอาบตั ิเบาวา่ อาบัตหิ นกั แสดงอาบัติหนักว่าอาบตั เิ บา
ค่ทู ่ี ๘ แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติท่ี
ไมม่ ีสว่ นเหลือวา่ เปน็ อาบตั ิท่ีมีส่วนเหลอื
คทู่ ี่ ๙ แสดงอาบตั ชิ ว่ั หยาบวา่ ไมช่ ว่ั หยาบ แสดงอาบตั ทิ ไ่ี มช่ ว่ั หยาบวา่ ชวั่ หยาบ
ภิกษุทมี่ วี าทะดงั กลา่ วมาน้ีก็ให้พึงรวู้ า่ เป็นอธรรมวาที กล่าวไม่เป็นธรรม
สว่ นภกิ ษุที่เปน็ ธรรมวาทีคือกล่าวเปน็ ธรรมน้ัน ก็พึงทราบดว้ ยวตั ถุ ๑๘ ขอ้
อันมอี รรถคือเน้อื ความตรงกนั ข้ามจากทกี่ ล่าวมาแล้ว คือ
คู่ท่ี ๑ แสดงอธรรมวา่ อธรรม แสดงธรรมว่าธรรม
คู่ที่ ๒ แสดงอวินัยว่าอวนิ ัย แสดงวินัยว่าวินยั
คูท่ ่ี ๓ แสดงขอ้ ทพี่ ระพทุ ธเจา้ มไิ ดต้ รสั ไวว้ า่ มไิ ดต้ รสั ไว้ แสดงขอ้ ทพ่ี ระพทุ ธเจา้
ตรสั ไวว้ า่ ตรสั ไว้
คทู่ ่ี ๔ แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงประพฤติว่ามิได้ทรงประพฤติ แสดง
ขอ้ ท่ีพระพุทธเจา้ ทรงประพฤตวิ า่ ทรงประพฤติ
คทู่ ่ี ๕ แสดงข้อท่พี ระพทุ ธเจา้ มิได้ทรงบัญญตั วิ า่ มไิ ดท้ รงบญั ญตั ิ แสดงข้อที่
พระพุทธเจ้าทรงบัญญตั วิ ่าทรงบญั ญตั ิ
คู่ท่ี ๖ แสดงอนาบตั ิว่าอนาบตั ิ แสดงอาบัตวิ ่าอาบตั ิ
คู่ท่ี ๗ แสดงอาบัตเิ บาวา่ อาบตั ิเบา แสดงอาบตั หิ นกั วา่ อาบตั ิหนกั
คทู่ ่ี ๘ แสดงอาบัติท่ีมีส่วนเหลือว่ามีส่วนเหลือ แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วน
เหลือว่าไม่มีสว่ นเหลือ
คทู่ ่ี ๙ แสดงอาบตั ชิ ว่ั หยาบวา่ อาบตั ชิ ว่ั หยาบ แสดงอาบตั ไิ มช่ ว่ั หยาบวา่ อาบตั ิ
ไม่ช่วั หยาบ

พรรษาท่ี ๑๐ 189

ภิกษทุ ่มี ีวาทะดังกล่าวมานีเ้ รียกวา่ เปน็ ธรรมวาที กล่าวเป็นธรรม วัตถฝุ ่าย
อธรรมวาทยี อ่ มเปน็ เหตใุ หเ้ กดิ การววิ าทกนั จนถงึ แตกรา้ วกนั เพราะฉะนนั้ จงึ เรยี กวา่
เภทกรณวัตถุ แปลว่า วตั ถเุ ปน็ เครื่องทำ� ใหแ้ ตกกัน ส่วนวัตถฝุ ่ายธรรมวาทยี ่อมเป็น
เครื่องท�ำให้ไม่แตกกัน ท�ำให้ปรองดองกันโดยตรงกันข้าม และวัตถุฝ่ายอธรรมวาที
๑๘ ขอ้ ๙ คดู่ งั กลา่ วมาน้ี เปน็ มลู เหตแุ หง่ ววิ าทาธกิ รณใ์ นคณะสงฆ์ คอื อธกิ รณท์ เี่ กดิ
ขึ้นจากการวิวาทกัน การวิวาทกันนี้ไม่ใช่หมายถึง การวิวาทกันด้วยเรื่องส่วนตัว
ของใครผใู้ ดผหู้ นงึ่ แตว่ วิ าทกนั คอื ทมุ่ เถยี งกนั วา่ นเ่ี ปน็ ธรรมนไ่ี มเ่ ปน็ ธรรม นเ่ี ปน็ วนิ ยั
น่ีไม่เป็นวินัย เป็นต้น ตามคู่ทั้ง ๙ คู่น้ัน เม่ือวิวาทกันแม้เพียงคู่ใดคู่หนึ่งก็เรียกว่า
เป็นวิวาททีจ่ ะก่อให้เกดิ เรื่องราวอนั เรียกวา่ อธิกรณ์ ขน้ึ ได้ และเมื่อเปน็ วิวาทาธกิ รณ์
ขน้ึ ในสงฆแ์ ลว้ ก็ยอ่ มจะปนั สงฆอ์ อกเป็น ๒ ฝา่ ย คือฝา่ ยที่มคี วามเหน็ ข้างน้ี ฝ่ายท่มี ี
ความเหน็ ขา้ งโนน้ เหมอื นดงั ในเรอื่ งโกสมั พนี ี้ ฝา่ ยหนง่ึ กเ็ หน็ วา่ เปน็ อาบตั ิ อกี ฝา่ ยหนง่ึ
เหน็ ว่าไมเ่ ปน็ อาบัติ วตั ถขุ องอาบัตนิ ้ัน ตามอรรถกถาเลา่ ไวก้ ็เพยี งนิดเดียว คือเพยี ง
เรอ่ื งเหลอื นำ�้ ทงิ้ ไวใ้ นภาชนะนำ้� ในวจั จกฎุ เี ทา่ นน้ั ซง่ึ กเ็ ปน็ อาบตั เิ พยี งทกุ กฏ แตว่ า่ อาศยั
ทีท่ ั้ง ๒ ฝา่ ยเปน็ คณาจารย์ ซง่ึ มสี ิกขา (คือศึกษา) มามากดว้ ยกัน จึงตา่ งกไ็ ม่ยอม
กนั และกป็ ฏบิ ตั ติ อ่ กนั อยา่ งรนุ แรง คอื ฝา่ ยทเ่ี หน็ วา่ เปน็ อาบตั ิ เมอ่ื ไดโ้ อกาสกป็ ระชมุ
พวกของตนแลว้ กท็ ำ� อกุ เขปนยี กรรม คอื ยกวตั ร แปลวา่ ตดั ความเปน็ ผใู้ หญ่ ไมก่ ราบ
ไมไ่ หวแ้ ละไมย่ อมรว่ มทำ� อโุ บสถทำ� สงั ฆกรรมกนั ทเี ดยี ว ฝา่ ยทถ่ี กู ทำ� เขา้ ดงั นน้ั กไ็ มย่ อม
เชน่ กนั กเ็ ลยเกดิ แตกกนั ขนึ้ เป็น ๒ ฝ่าย แตกกนั จนแยกกนั ทำ� สังฆกรรม และเมือ่
แยกกนั ทำ� สงั ฆกรรม กเ็ รียกวา่ เป็น สังฆเภท คือความแตกของสงฆ์ ถ้ายังไมถ่ งึ กับ
แยกกันท�ำสังฆกรรม ก็ยังไม่เป็นสังฆเภท แต่เรียกว่าเป็น สังฆราชี คือเป็นความ
ร้าวรานของสงฆ์เท่านั้น ครั้นเมื่อแยกกันท�ำสังฆกรรม แล้วก็เรียกว่า เป็นสังฆเภท
ความแตกของสงฆ์ ภกิ ษทุ ง้ั ๒ ฝา่ ยนนั้ กเ็ รยี กวา่ เปน็ นานาสงั วาสกะ คอื มธี รรมเปน็
เครอื่ งอยู่รว่ มตา่ ง ๆ กนั เปน็ นานาสงั วาสกะของกนั และกัน

สงั ฆเภทตามทเ่ี ลา่ มานี้ เกิดขึน้ จากววิ าทกนั ตามวตั ถุ ๑๘ ข้อ ๙ คู่เหล่าน้ัน
และเม่ือจับข้นึ พิจารณาดูแล้ว สมฏุ ฐานทีเดยี วกเ็ พียงคทู่ ีว่ า่ เปน็ อาบตั กิ ับไมเ่ ปน็ อาบัติ
เทา่ นนั้ จดั เขา้ ในคนู่ นั้ แตก่ ารปฏบิ ตั ติ อ่ กนั นน้ั ปฏบิ ตั ดิ ว้ ยอาการทรี่ นุ แรงดงั กลา่ วมาแลว้

190 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

สังฆเภท สังฆสามคั คี

สังฆเภทดังกล่าวมานี้ ท่านไม่ปรับว่ามีใครหรือฝ่ายไหนเป็นผู้ท�ำสังฆเภท
ทเ่ี ปน็ อนันตริยกรรม ดงั อนันตริยกรรม ๕ ซ่งึ มีข้อหนง่ึ วา่ ท�ำสงั ฆเภท คราวนถ้ี ้าจะ
ยกปัญหาขึ้นมาว่า ตามเรื่องที่เล่ามานี้ ใครเป็นผู้ท�ำสังฆเภท ซึ่งจะต้องเป็น
อนนั ตริยกรรม ตอบไดต้ ามเรื่องในโกสมั พิกภกิ ษุท่เี ลา่ น้ี ทา่ นไมก่ ล่าววา่ ใครเปน็ ผทู้ ำ�
สังฆเภทซ่ึงเป็นอนันตริยกรรม และทั้ง ๒ ฝ่ายก็ไม่ถูกหาว่าเป็นผู้ท�ำสังฆเภทที่เป็น
อนันตริยกรรมดงั กลา่ วน้นั เพราะวา่ ทั้ง ๒ ฝา่ ยนัน้ แยกกนั กเ็ พราะววิ าทคือทมุ่ เถยี ง
กนั ตามวตั ถทุ กี่ ลา่ วแลว้ มคี วามเหน็ แตกแยกกนั ประกอบดว้ ยทฏิ ฐมิ านะเขา้ ใสก่ นั ดว้ ย
เพราะฉะน้ัน จงึ ได้แยกกนั ออกไปเป็น ๒ ฝ่าย ท้ัง ๒ ฝ่ายน้ันต่างกเ็ ปน็ ผ้ทู ่บี วชมา
อย่างถูกต้องในพระธรรมวินัยนี้เสมอกัน เป็นผู้ที่มุ่งประพฤติดีปฏิบัติชอบด้วยกัน
และกไ็ มไ่ ดม้ งุ่ ทจี่ ะใหส้ งฆแ์ ตกแยกกนั แตว่ า่ เมอ่ื เกดิ ววิ าทกนั ขนึ้ เกย่ี วกบั พระธรรมวนิ ยั
กเ็ ปน็ ชนวนใหเ้ กดิ แตกแยกกนั ออกไปเอง สงฆท์ พ่ี รอ้ มเพรยี งกนั อยเู่ รยี กวา่ เปน็ สมาน
สงั วาสกะ คอื มธี รรมเปน็ เครอื่ งอยรู่ ว่ มเสมอกนั พงึ ทราบความหมายในเรอื่ งนที้ ส่ี ำ� คญั
อกี ครงั้ หนงึ่ วา่ เมอ่ื เกดิ ววิ าทกนั ตามวตั ถดุ งั กลา่ วนน้ั จนถงึ เกดิ ความแตกแยกออกเปน็
พวกเปน็ ฝ่าย แต่ว่ายงั ทำ� อโุ บสถสังฆกรรมกนั อยู่ นไี่ ม่เรียกว่า สังฆเภท แตเ่ รียกวา่
สังฆราชี แสดงความร้าวรานของสงฆ์ ครั้นแยกกันท�ำสังฆกรรม จงึ เรยี กวา่ สังฆเภท
ตามสังฆเภทท่ีได้เล่ามาน้ี ไม่กล่าวว่าใครเป็นผู้ท�ำซึ่งจะต้องเป็นอนันตริยกรรม
พระทั้ง ๒ ฝา่ ยนัน้ กค็ งเปน็ พระภิกษุ และตอ่ ไปก็จะปรองดองกนั ตามเดมิ

ทา่ นแสดงวา่ เมอื่ พระสารบี ตุ รไดก้ ราบทลู ถามและพระพทุ ธเจา้ กไ็ ดต้ รสั ตอบ
อย่างนั้นแล้ว ก็ได้มีพระเถระอื่น ๆ อีกหลายรูป เช่น พระมหาโมคคัลลานะ
พระมหากัสสปะ พระมหากจั จายนะ เปน็ ตน้ ไดก้ ราบทูลถาม และพระพุทธเจ้าก็ได้
ตรัสตอบเช่นเดยี วกนั

ในฝ่ายภิกษณุ บี รษิ ทั พระนางมหาปชาบดโี คตมไี ดก้ ราบทูลถามเชน่ เดยี วกนั
พระพทุ ธเจา้ กต็ รัสตอบวา่ ให้ฟังธรรมในทั้ง ๒ ฝา่ ย เมื่อฟงั แลว้ ฝา่ ยใดเปน็ ฝ่ายธรรม
วาที จงพอใจความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และความเชื่อของภิกษุฝ่ายธรรม
วาทีนน้ั และภิกษณุ ีสงฆ์พงึ หวังวัตรอันใดอันหนงึ่ จากภกิ ษสุ งฆ์ กพ็ งึ หวงั วตั รท้งั หมด
นนั้ จากฝา่ ยทเ่ี ปน็ ธรรมวาที

พรรษาท่ี ๑๐ 191

ในฝ่ายอุบาสก คฤหบดีช่ืออนาถปิณฑิกะ คือผู้สร้างพระเชตวันถวายก็ได้
กราบทูลถามเชน่ เดียวกัน พระพทุ ธเจ้าก็ไดต้ รัสตอบวา่ ให้ทำ� ทานในสงฆ์ท้ัง ๒ ฝ่าย
แล้วกใ็ หฟ้ ังธรรมในสงฆท์ ้ัง ๒ ฝ่าย เม่ือฟังธรรมแล้ว ฝา่ ยไหนเป็นธรรมวาที กใ็ หถ้ อื
เอาตามฝา่ ยนนั้

ในฝ่ายอุบาสิกา นางวิสาขาก็ได้กราบทูลถามเช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าก็ได้
ตรัสตอบใหป้ ฏบิ ตั เิ ชน่ เดียวกบั ท่ีตรสั แกอ่ นาถปณิ ฑิกะ ในขอ้ น้ีพงึ สังเกตวา่ ในฝ่ายท่ี
เกยี่ วกบั อบุ าสกอบุ าสกิ านน้ั ไมไ่ ดต้ รสั หา้ มการทำ� บญุ ใสบ่ าตร แตท่ รงแนะนำ� ใหบ้ ำ� เพญ็
ทานในสงฆท์ ง้ั ๒ ฝา่ ย เหมือนกบั ในสงฆ์ท่วั ๆ ไป ภิกษุชาวโกสัมพีได้ถกู คว่�ำขันขา้ ว
มาจากเมอื งโกสมั พแี ล้ว เมือ่ มากรงุ สาวตั ถี ยงั มาถกู เขา้ เช่นนน้ั อกี ก็คงจะอยไู่ มไ่ ด้
พระพทุ ธเจา้ จึงไม่ได้ตรสั สอนใหป้ ฏิบตั ิเช่นนนั้

เมอื่ ภกิ ษชุ าวโกสมั พไี ดม้ าถงึ กรงุ สาวตั ถี กไ็ ดเ้ ขา้ ไปสพู่ ระเชตวนั พระสารบี ตุ ร
จึงกราบทูลถามว่า จะจัดเสนาสนะให้พักอาศัยอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสให้จัด
เสนาสนะใหซ้ งึ่ เปน็ เสนาสนะวา่ ง ถา้ เสนาสนะวา่ งไมม่ ี กใ็ หจ้ ดั ทำ� ใหว้ า่ งขน้ึ แตว่ า่ ตรสั
สั่งไม่ให้ห้ามกันส�ำหรับภิกษุที่แก่กว่า คือไม่รบกวนภิกษุที่เป็นผู้แก่กว่าให้ได้รับความ
ลำ� บาก ในส่วนอามสิ มีขา้ วนำ้� เป็นต้น กใ็ หจ้ ดั แบง่ ให้สม่�ำเสมอกัน

ฝา่ ยภกิ ษชุ าวโกสมั พี เมอ่ื มาถงึ กรงุ สาวตั ถไี ดม้ าพำ� นกั อยู่ ณ พระเชตวนั แลว้
ภกิ ษทุ ถี่ กู สงฆย์ กวตั รกไ็ ดม้ าพจิ ารณาตนเอง เหน็ วา่ ตอ้ งอาบตั แิ ละทถี่ กู สงฆย์ กวตั รนน้ั
กเ็ ปน็ ธรรม จงึ ไดเ้ ขา้ ไปหาภกิ ษซุ งึ่ เปน็ ผอู้ นวุ ตั รตามตน กลา่ วแสดงความรสู้ กึ ใหท้ ราบ
และขอให้ภิกษุเหล่าน้ันประชุมสงฆ์เรียกเข้าหมู่ คือระงับการยกวัตรน้ัน ภิกษุท่ีเป็น
ฝา่ ยของทา่ นกไ็ ดไ้ ปเฝา้ พระพทุ ธเจา้ กราบทลู ใหท้ รงทราบ พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดท้ รงอำ� นวย
ใหเ้ รยี กภกิ ษนุ น้ั เขา้ หมู่ คอื วา่ ระงบั การยกวตั ร ภกิ ษทุ เ่ี ปน็ ฝา่ ยของทา่ นกไ็ ดป้ ระชมุ กนั
กระทำ� การระงบั อกุ เขปนยี กรรมนนั้ แลว้ กไ็ ดไ้ ปหาภกิ ษอุ กี ฝา่ ยหนงึ่ ทไี่ ดท้ ำ� การยกวตั ร
ไดแ้ จง้ ใหท้ ราบ และชกั ชวนกนั กระทำ� การสงั ฆสามคั คี คอื การกระทำ� ความพรอ้ มเพรยี ง
ของสงฆ์ เพอ่ื สงบระงบั อธกิ รณน์ น้ั ไดเ้ ขา้ ไปเฝา้ พระพทุ ธเจา้ กราบทลู ถามถงึ วธิ ปี ฏบิ ตั ิ
พระองค์ก็ได้ตรัสสอนให้ประชุมสงฆ์ทั้งหมด แม้ภิกษุไข้ก็ต้องมาเว้นไม่ได้ คร้ันแล้ว
ก็ให้สวดประกาศ แจ้งความระงับอธิกรณ์ท่ีบังเกิดขึ้น คร้ันสวดประกาศแล้วก็ให้ท�ำ
อุโบสถคือสวดปาติโมกข์ขึ้นในขณะน้ัน เม่ือปฏิบัติดังนี้แล้วก็ชื่อว่า เป็นการท�ำ

192 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

สงั ฆสามคั คี ความพรอ้ มเพรยี งของสงฆ์ โดยเรยี บรอ้ ย ภกิ ษเุ หลา่ นน้ั กไ็ ดพ้ ากนั ปฏบิ ตั ิ
ดงั กลา่ วนนั้ เพราะฉะนน้ั จงึ ไดม้ อี โุ บสถพเิ ศษอกี อยา่ งหนงึ่ เรยี กวา่ สงั ฆสามคั คอี โุ บสถ
คอื อโุ บสถสวดพระปาตโิ มกขเ์ ปน็ การทำ� สงั ฆสามคั คี ตามเรอ่ื งทก่ี ลา่ วมานี้ ไมไ่ ดก้ ำ� หนด
วา่ วนั ไหน เหมือนอย่างอโุ บสถทีก่ �ำหนดท�ำอยู่โดยปกติ เมอ่ื เกิดสังฆเภทขึน้ และสงฆ์
มาปรองดองสามัคคีกันเป็นสังฆสามัคคีเมื่อใด ก็ท�ำอุโบสถสวดปาติโมกข์ขึ้นเม่ือนั้น
เรยี กวา่ สามคั คอี โุ บสถ

สงั ฆสามคั คี ๒ อยา่ ง

เมอื่ พระสงฆท์ แี่ ตกแยกกนั ไดท้ ำ� สงั ฆสามคั คกี นั เรยี บรอ้ ยแลว้ ทา่ นพระอบุ าลี
ซงึ่ ไดร้ บั การยกยอ่ งวา่ เปน็ ผเู้ ลศิ ในทางทรงพระวนิ ยั ไดเ้ ขา้ ไปเฝา้ พระพทุ ธเจา้ ไดก้ ราบทลู
ถามว่า เมื่อเกิดสังฆเภท ความแตกแห่งสงฆ์ สังฆราชี ความร้าวราน แห่งสงฆ์ขึ้น
เพราะวตั ถคุ อื เรอื่ งอนั ใด สงฆย์ งั มไิ ดว้ นิ จิ ฉยั วตั ถอุ นั นนั้ ไดด้ ำ� เนนิ ไปสมู่ ลู เหตจุ ากเรอื่ ง
ที่ไม่เป็นมูลเหตุ กระท�ำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีน้ัน ประกอบด้วยธรรมหรือไม่
พระพุทธเจ้าไดต้ รัสตอบวา่ สังฆสามัคคนี นั้ ไมป่ ระกอบดว้ ยธรรม ทา่ นจงึ ได้กราบทูล
ถามตอ่ ไปวา่ เมอ่ื เกดิ สังฆเภท สังฆราชีข้ึน เพราะวัตถอุ ันใด สงฆว์ นิ จิ ฉัยวตั ถอุ ันนน้ั
ด�ำเนินไปสู่มูลเหตุจากเรื่องที่เป็นมูลเหตุ แล้วกระท�ำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีน้ัน
ประกอบดว้ ยธรรมหรอื ไม่ พระพทุ ธเจา้ ตรสั ตอบวา่ สงั ฆสามคั คนี น้ั ประกอบดว้ ยธรรม
ท่านจึงกราบทูลถามต่อไปว่า สังฆสามัคคี ความพร้อมเพรียงกันของสงฆ์ มีก่ีอย่าง
พระพุทธเจ้าตรสั ตอบว่า มี ๒ อยา่ ง คอื อย่างหนง่ึ สงั ฆสามัคคีทปี่ ราศจากอรรถคอื
เนอ้ื ความ ไดเ้ พยี งพยญั ชนะคอื ถอ้ ยคำ� อกี อยา่ งหนงึ่ สงั ฆสามคั คที เ่ี ขา้ ถงึ คอื วา่ ไดท้ งั้
อรรถคอื เนอื้ ความ ไดท้ งั้ พยญั ชนะคอื ถอ้ ยคำ� และไดต้ รสั อธบิ ายตามทไ่ี ดก้ ราบทลู ถาม
ต่อไปวา่

สงั ฆสามคั คีท่ปี ราศจากอรรถคอื ว่าไม่ไดอ้ รรถเนื้อความ ได้แต่พยัญชนะ คอื
ถ้อยค�ำก็คือ ในเมื่อเกิดสังฆเภทสังฆราชีขึ้นเพราะวัตถุใด สงฆ์ไม่วินิจฉัยวัตถุนั้น
ดำ� เนนิ ไปสมู่ ลู เหตจุ ากเรอื่ งทไี่ มเ่ ปน็ มลู เหตุ กระทำ� สงั ฆสามคั คี นเื้ รยี กวา่ สงั ฆสามคั คี
ทไ่ี ม่ได้อรรถคอื เน้ือความ ได้แต่พยัญชนะคอื ถอ้ ยค�ำ

พรรษาท่ี ๑๐ 193

สว่ นเมอ่ื เกดิ สงั ฆเภทสงั ฆราชขี นึ้ เพราะวตั ถใุ ด สงฆว์ นิ จิ ฉยั วตั ถนุ นั้ ดำ� เนนิ ไป
สู่มูลเหตุจากเร่ืองท่ีเป็นมูลเหตุ กระท�ำสังฆสามัคคี น้ีเรียกว่า สังฆสามัคคี ที่ได้ทั้ง
อรรถคอื เนื้อความ ได้ทง้ั พยญั ชนะคือถอ้ ยค�ำ

น่าพิจารณาตามพุทธภาษิตน้ี ว่ามีพระพุทธประสงค์สังฆสามัคคีคือ ความ
พรอ้ มเพรยี งของสงฆ์ ทไี่ ดท้ งั้ อรรถคอื เนอื้ ความ ไดท้ ง้ั พยญั ชนะคอื ถอ้ ยคำ� หมายความ
ว่า ไม่ใช่เพียงแต่สักว่าสังฆสามัคคีโดยถ้อยค�ำเท่าน้ัน แต่ให้ได้ความหมายว่าเป็น
สังฆสามัคคีโดยแท้จริงด้วย คราวน้ีสังฆสามัคคีดังกล่าวนี้จะต้องปฏิบัติตามที่ได้ตรัส
ไวน้ ี้ คอื สงฆว์ นิ จิ ฉยั วตั ถนุ น้ั และกจ็ บั มลู เหตจุ ากเรอื่ งทเี่ ปน็ มลู เหตขุ น้ึ วนิ จิ ฉยั โดยแทจ้ รงิ
เมอ่ื ปฏบิ ตั ิดงั นแี้ ล้ว สงั ฆสามคั คนี ั้นจงึ จะได้ท้ังอรรถได้ทง้ั พยญั ชนะ

เพราะฉะน้ัน เรื่องของทางคณะสงฆ์จึงเป็นเร่ืองที่ละเอียดอ่อน แม้เม่ือเกิด
ความรา้ วรานของสงฆข์ นึ้ จนถงึ เกดิ ความแตกแยกของสงฆข์ น้ึ ในสมยั ทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ยงั
มพี ระชนมอ์ ยู่ พระองคก์ ม็ ไิ ดท้ รงบงั คบั ใหท้ ำ� สงั ฆสามคั คี แตไ่ ดท้ รงแนะนำ� ใหป้ รองดอง
กนั ดว้ ยวธิ ตี า่ ง ๆ จนถงึ ทส่ี ดุ ชาวบา้ นเขา้ มาชว่ ย พระสงฆท์ แ่ี ตกแยกกนั นนั้ จงึ ไดส้ ำ� นกึ
ตน และกไ็ ด้หวนนึกถงึ มลู เหตุแห่งความแตกแยกกัน ก็ไดพ้ บวา่ มมี ลู เหตมุ าจากเรอ่ื ง
เพียงนดิ เดยี ว คืออาบตั ิเลก็ นอ้ ยเพียงอนั เดียวเท่าน้ัน ซึง่ ฝา่ ยหนึง่ ไมเ่ หน็ ว่าเป็นอาบัติ
อกี ฝ่ายหน่งึ มคี วามเห็นรนุ แรงว่าเปน็ อาบตั ิ จนถงึ กบั ยกวัตรกันขึ้น เมือ่ จบั มูลเหตุอัน
น้ีได้แล้ว ฝ่ายที่ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติก็กลับเห็นว่าเป็นอาบัติแล้วก็ยอมแสดงอาบัติเสีย
แลว้ สงฆก์ เ็ รยี กเขา้ หมตู่ ามเดมิ ระงบั การยกวตั รนนั้ ดงั นเี้ รยี กวา่ สงฆว์ นิ จิ ฉยั วตั ถนุ นั้
แล้วก็จับเอามูลเหตุจากมูลเหตุข้ึนวินิจฉัยกันจริง ๆ เมื่อเป็นดังน้ี สังฆสามัคคีคือ
ความพรอ้ มเพรยี งของสงฆก์ เ็ กดิ ขน้ึ ดว้ ยทง้ั ๒ ฝา่ ยนน้ั ยอมปฏบิ ตั ใิ หถ้ กู เพราะฉะนนั้
ความปรองดองกันน้ันจึงบังเกิดข้ึนด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายน้ันกลับปฏิบัติให้ถูกต้องตาม
พระพทุ ธบญั ญตั ิ และเมอื่ ปฏบิ ตั ใิ หถ้ กู ตอ้ งดว้ ยกนั ทงั้ ๒ ฝา่ ยแลว้ สงั ฆสามคั คกี บ็ งั เกดิ
ขน้ึ เปน็ ความพรอ้ มเพรยี งทม่ี น่ั คง ทถ่ี าวร ไดท้ ง้ั อรรถคอื เนอื้ ความ ไดท้ ง้ั พยญั ชนะคอื
ถ้อยคำ�

194 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เหตุใหแ้ ตกแยกนกิ าย

ตามท่ีกล่าวมาน้ี เป็นข้อท่ีควรศึกษาถึงเร่ืองความแตกแยกกันหรือว่าความ
ปรองดองกันทางคณะสงฆ์ ว่าเกิดขนึ้ เพราะอะไร และจะมไี ดเ้ พราะอะไร เมอื่ สรปุ ลง
แล้ว ความแตกแยกของคณะสงฆน์ ้นั กม็ มี าจากคณะสงฆเ์ อง ซงึ่ ตามเรอ่ื งดงั กลา่ วมา
แล้วก็เกิดจากการวิวาทกัน และความปรองดองของสงฆ์นั้นก็เกิดจากคณะสงฆ์เอง
ที่ยกเรื่องขึ้นวินิจฉัยโดยที่จับเอาเร่ืองมูลเหตุข้ึนมาจากเรื่องที่เป็นมูลเหตุจริง ๆ มา
วินิจฉัยกนั แล้วกป็ ฏิบตั ิกนั ใหถ้ กู ตอ้ ง เมอ่ื เปน็ เช่นน้ี สังฆสามัคคีก็บังเกิดขน้ึ แตว่ ่า
ถา้ บคุ คลภายนอกจากคณะสงฆจ์ ะเปน็ ใครกต็ าม จะมาทำ� ใหเ้ กดิ สงั ฆเภทขน้ึ หรอื ทำ� ให้
เกดิ สงั ฆสามคั คขี นึ้ ไมไ่ ด้ และถา้ บคุ คลภายนอกไมไ่ ดเ้ ปน็ ผทู้ ศี่ กึ ษาใหร้ พู้ ระพทุ ธศาสนา
ไม่ได้เข้ามาใกล้ชิดการปฏิบัติพระธรรมวินัยของพระ ไม่รู้ความละเอียดอ่อนของ
พระธรรมวนิ ยั ก็ย่ิงไมส่ ามารถที่จะกระท�ำได้

ในประวัติศาสตร์ตอนหลัง ๆ มา ก็ได้มีเรื่องเกิดข้ึนและได้มีการพยายาม
ท�ำกันด้วยวิธีต่าง ๆ หลายอย่าง แต่ว่าเม่ือเรื่องมันจะเป็นก็ไม่สามารถท่ีจะยับย้ังได้
ก็เป็นไป เหมือนอย่างที่เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงมานานเข้า ก็แตกออกเป็นหีนยาน
หรือ ทักษิณนิกาย อย่างที่นับถือกันในประเทศลังกา พม่า ไทยเป็นต้น และเป็น
มหายาน หรอื อตุ ตรนกิ าย อยา่ งทนี่ บั ถอื กนั ในประเทศจนี ญวน เกาหลี ธเิ บตเปน็ ตน้
และในยานใหญ่ๆท้ัง ๒ น้ี กย็ ังแยกออกไปเป็นนิกายย่อยๆอีก เปน็ อนั มาก เหมอื น
อย่างในเมอื งไทยน้กี ม็ เี ป็นธรรมยตุ กับมหานกิ าย

ความท่แี ตกแยกกนั นม้ี ีมาดว้ ยเหตุหลายอยา่ ง เหมือนดังที่เลา่ มาแลว้ ในเรอื่ ง
ภิกษชุ าวโกสมั พแี ตกกนั น่ที ้งั ๒ ฝา่ ยตา่ งกเ็ คร่งครัดดว้ ยกัน มุง่ จะทำ� ใหถ้ กู ด้วยกนั
แตว่ า่ มาเกดิ เขา้ ใจผดิ กนั ในเบอ้ื งตน้ เพยี งเลก็ นอ้ ย อาบตั กิ ต็ วั เลก็ นดิ เดยี ว แตแ่ ลว้ กเ็ กดิ
ทิฏฐิมานะยนื ยนั กันไปจนถึงการแตกแยกกัน แตว่ า่ ในต่อมายงั มเี หตุตา่ ง ๆ เพิม่ ขนึ้
อกี เปน็ อนั มาก เชน่ วา่ เกดิ มคี วามเหน็ ในพระธรรมวนิ ยั ตา่ งกนั เรยี กวา่ มที ฏิ ฐติ า่ งกนั
และเมอื่ มที ฏิ ฐติ า่ งกนั ศลี คอื ความประพฤตกิ ต็ า่ งกนั ออกไปดว้ ยตามทฏิ ฐิ และนอกจาก
น้ียังมีความเคร่งครัดและย่อหย่อนประกอบเข้ามาอีก ท่ีเคร่งครัดก็คือเป็นผู้หนัก
ในพระธรรมวนิ ยั ปฏบิ ตั ใิ หถ้ กู ตอ้ งตามพระธรรมวนิ ยั ดว้ ยความเคารพเออ้ื เฟอ้ื ไมใ่ หผ้ ดิ

พรรษาที่ ๑๐ 195

พลาด แตว่ า่ ฝา่ ยทยี่ อ่ หยอ่ นนน้ั ประพฤตยิ อ่ หยอ่ นลงมา หลบเลย่ี งพระธรรมวนิ ยั บา้ ง
ฝนื เอาด้อื ๆ บา้ ง บางทีก็ต่อหน้า แสดงว่าประพฤติ แตล่ ับหลงั ไมป่ ระพฤติไมเ่ ห็น
พระวนิ ยั วา่ เปน็ ขอ้ สำ� คญั อยา่ งพวกทม่ี คี วามคดิ แบบใหม่ ๆ นเี้ รยี กวา่ เปน็ พวกยอ่ หยอ่ น
คราวนี้เมอ่ื เป็นดง่ั น้ี ความประพฤตกิ ็แตกตา่ งกนั แลว้ ไฉนจะเกดิ ความแตกแยกออก
ไปไม่ได้ เพราะว่า ฝ่ายท่ีเคร่งครัดก็ย่อมจะยินดีพอใจอยู่กับฝ่ายที่เคร่งครัดด้วยกัน
ฝา่ ยทยี่ อ่ หยอ่ นกย็ อ่ มจะยนิ ดพี อใจกบั ฝา่ ยทยี่ อ่ หยอ่ นดว้ ยกนั และเมอื่ เกดิ ความยอ่ หยอ่ น
กนั ขนึ้ ในขอ้ หนง่ึ กจ็ ะสบื เนอื่ งไปถงึ ขอ้ อน่ื ในเรอ่ื งของภกิ ษชุ าวโกสมั พนี ี้ อาบตั เิ ลก็ นดิ
เดยี วเท่าน้นั ยังยกเปน็ เหตใุ ห้เกดิ ร้าวฉานแตกร้าวกันขนึ้ แต่วา่ มาพิจารณาดู ถงึ ความ
ประพฤตยิ อ่ หยอ่ น กพ็ งึ เหน็ ไดว้ า่ มมี ากกวา่ หรอื วา่ หนกั กวา่ เรอื่ งทเี่ ปน็ มลู เหตใุ นเรอื่ ง
ทภ่ี กิ ษชุ าวโกสมั พวี วิ าทกนั อยนู่ มี้ ากมาย เมอื่ เปน็ อยา่ งนแี้ ลว้ กแ็ ยกกนั ไปเองตามความ
เห็นและตามความประพฤติ เพราะฉะนน้ั ความทีแ่ ยกกันไปเองน้ี ก็เพราะพระสงฆ์
เอง ไม่ใชค่ นอืน่ มาท�ำ

คราวนเ้ี มอ่ื ถงึ คราวทจี่ ะทำ� สงั ฆสามคั คี กจ็ ะตอ้ งพระสงฆเ์ องนน่ั แหละเปน็ ผทู้ ำ�
คือว่าจะตอ้ งยกเอาข้อท่เี ปน็ มลู เหตจุ ริง ๆ จากมูลเหตุนี้มาวินจิ ฉยั ตามพระธรรมวนิ ยั
แลว้ ก็มุง่ ปฏบิ ัตใิ ห้ถกู ต้องด้วยกนั เป็นขอ้ ๆ ไป เมอื่ เป็นดงั นีน้ ่นั แหละ จงึ จะเกดิ เปน็
สังฆสามัคคีขึ้นไป ต้องพระสงฆ์เองเป็นผู้ท่ีท�ำขึ้น ส่วนบุคคลภายนอกน้ันได้เคยมี
ความพยายามดงั ทก่ี ลา่ วมาแลว้ ดว้ ยวธิ ที อ่ี อ่ นโยนบา้ ง รนุ แรงบา้ ง แตก่ ไ็ มป่ รากฏวา่ สำ� เรจ็

พระสงฆ์ธรรมยุต พระสงฆม์ อญ

เหมอื นอยา่ งในเมืองมอญ พระเจา้ มหาปฎิ กธร ทรงสง่ พระทหี่ งสาวดีไปบวช
ใหมท่ ล่ี งั กาในสมี านำ�้ แมน่ ำ�้ กลั ยาณี แลว้ กก็ ลบั มาเมอื งมอญ ใหพ้ ระทบ่ี วชมาใหมน่ นั้
ผกู สมี าข้ึนแห่งหนง่ึ ทช่ี ายเมืองหงสาวดี ต้งั ชื่อว่า สมี ากัลยาณี เมือ่ ผกู สีมาเสรจ็ แลว้
พระเจา้ แผน่ ดนิ กอ็ อกพระราชกฤษฎกี าใหพ้ ระในเมอื งมอญสกึ ออกมาบวชใหมท่ งั้ หมด
เพื่อจะรวมให้เป็นนิกายเดียวกัน ก็ปรากฏตามต�ำนานที่พระเมืองมอญเขียนไว้ว่า
มีพระจ�ำนวนมากสึกออกมาบวชใหม่ในสีมากัลยาณีนั้น เกือบจะเรียกว่าทั้งประเทศ
ถ้าไม่สึกออกมาบวชใหม่และยืนยันที่จะประพฤติย่อหย่อนอย่างเก่า พระเจ้าแผ่นติน

196 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ก็จะพระราชทานผ้าขาวให้สึกออกไป ก็เป็นอันว่าท่านได้บวชพระใหม่กันทั้งประเทศ
ส�ำเร็จในสมัยนั้น แต่แล้วเมื่อกาลเวลาล่วงมา พระมอญนั้นเองก็กลับแตกออกเป็น
นิกายอกี มากมาย เพราะวา่ จติ ใจไมไ่ ดส้ มคั ร แตท่ �ำด้วยเกรงพระราชอำ� นาจ

แตว่ า่ พจิ ารณาการกระทำ� ของทา่ นทผี่ กู สมี าแลว้ เอาพระมาบวชใหมน่ นั้ กเ็ พราะ
ทา่ นจบั มลู เหตขุ ึ้นอันหนง่ึ เหมือนกนั คอื จบั มลู เหตุทว่ี า่ สีมาทผ่ี ูกไว้เกา่ น้ันไมถ่ ูกตอ้ ง
เปน็ สมี าวบิ ตั ิ เมอื่ บวชกนั ในสมี าวบิ ตั ิ กไ็ มเ่ ปน็ พระสงฆ์ เพราะฉะนนั้ จงึ ใหไ้ ปผกู ใหม่
แล้วก็บวชกันใหม่ ก็จับเอาเหตุเพียงประการเดียวข้ึนมา แต่ว่าเหตุแห่งการแตกแยก
กนั นัน้ มมี ากมาย ไมใ่ ช่ประการเดยี ว เพราะฉะนนั้ ถา้ จะให้รวมกนั ไดจ้ ริง ๆ จะตอ้ ง
ยกเหตุมาทุกประเด็นทุกข้อ แล้วก็ตกลงกันทุกข้อ และก็ต้องตกลงกันด้วยความ
สมคั รใจ เมอื่ เป็นดังนีแ้ ล้วละก็จงึ จะถาวร

งานทที่ รงทำ� ไวน้ นั้ กส็ ำ� เรจ็ อยชู่ ว่ั สมยั หนง่ึ แลว้ กไ็ มส่ ำ� เรจ็ แตว่ า่ การกระทำ� ครง้ั
น้ัน ก็มีผลเน่ืองมาถึงเมืองไทย คือว่า พระธรรมยุต น่ีบังเกิดขึ้นก็เพราะ พระบาท
สมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เมอ่ื ผนวชอยู่ ไดเ้ สดจ็ ไปทรงพบปะพระรามญั ทบ่ี วชมา
จากสมี ากลั ยาณที เี่ ลา่ นแ่ี หละ แลว้ กท็ รงสอบสวนดู ปรากฏวา่ แสดงพระวนิ ยั แสดงวงศ์
ของการบรรพชาอปุ สมบท ทส่ี บื เนอ่ื งมาใหท้ รงเลอ่ื มใสได้ จงึ ไดท้ รงญตั ตใิ หมใ่ นพระสงฆ์
ทบี่ วชมาจากสมี ากลั ยาณนี น้ั อกี ครงั้ หนงึ่ แตว่ า่ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั
นนั้ ทา่ นเลา่ วา่ ไดท้ รงทำ� ทฬั หกี รรม อปุ สมบทใหมห่ ลายครงั้ หลายหน ดว้ ยทรงรงั เกยี จ
โน่นบ้างรงั เกียจน่บี ้าง ท�ำแลว้ ทำ� เลา่ จนเป็นท่ีพอพระราชหฤทยั

การทพี่ ระเจา้ มหาปฎิ กธรทรงสง่ พระสงฆม์ อญไปบวชใหมท่ ส่ี มี าแมน่ ำ้� กลั ยาณี
ในลงั กาดงั ทเี่ ลา่ มานน้ั กไ็ ปบวชในสายของพระสงฆฝ์ า่ ย มหาวหิ าร ซงึ่ พระสงฆฝ์ า่ ยน้ี
ได้สืบมาจากสายพระมหินท์ท่ีว่าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราชในสมัยที่
สังคายนาครั้งท่ี ๓ ผนวชเป็นพระภิกษุแล้วก็เป็นหัวหน้าคณะน�ำพระพุทธศาสนาไป
เผยแผใ่ นประเทศลังกา เมือ่ พระพุทธศาสนาลว่ งแล้วราว ๓๐๐ กวา่ ปี พระสงฆล์ งั กา
ทีแรกก็เป็นศิษย์ของพระสงฆ์สายพระมหินท์ท้ังน้ัน แต่แล้วก็ไปแยกกันออกไป
เปน็ ฝา่ ยทเ่ี ครง่ ครดั กบั ฝา่ ยทไี่ มเ่ ครง่ ครดั เปน็ นกิ ายกนั ออกไปอกี แตว่ า่ ฝา่ ยมหาวหิ าร
นเี้ ปน็ ฝา่ ยทน่ี บั ถอื กนั วา่ เครง่ ครดั พระเจา้ แผน่ ดนิ ลงั กากไ็ ดท้ รงนบั ถอื สบื ๆ กนั มาโดย

พรรษาที่ ๑๐ 197

ลำ� ดบั จนถงึ สมยั พระเจา้ มหาปฎิ กธรของมอญสง่ พระมอญไปบวชในสำ� นกั ของพระสงฆ์
สายนี้ แล้วก็มาตั้งขึ้นในเมืองมอญ แล้วพระสงฆ์ธรรมยุตก็สืบมาจากพระสงฆ์สายนี้
อีกทีหน่ึง รวมความกเ็ ป็นสายของพระสงฆ์คณะมหาวิหารของลงั กาน่นั เอง

แตว่ า่ ฝา่ ยพระสงฆธ์ รรมยตุ น้ี เดมิ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั กบั
พระศิษย์ ก็บวชในคณะมหานิกายคือในนกิ ายทม่ี ีอยู่เดมิ มาทีหนึง่ แลว้ แล้วกไ็ ปทำ� ซ้�ำ
หรือบวชซ้�ำในพระสงฆ์สายสีมากัลยาณีของมอญดังกล่าวแล้วเข้าอีกหนหนึ่ง และท�ำ
อกี หลายหน กเ็ ปน็ อนั วา่ เปน็ ทร่ี วมทง้ั ของไทยทร่ี บั สะสมกนั มาแตเ่ ดมิ และทงั้ ของมอญ
สายมหาวหิ าร นอกจากนนั้ กย็ งั ไดร้ บั เอาแบบของลงั กามาปฏบิ ตั ดิ ว้ ย เชน่ การสวดมนต์
ตงั้ แต่การขานนาค สวดทำ� วัตรเช้าเย็น หรอื สวดแบบธรรมยตุ ก็เอาแบบลงั กามาใช้
เพราะสำ� เนยี งลงั กาทว่ี า่ ภาษาบาลนี นั้ เปน็ ทน่ี บั ถอื กนั วา่ เปน็ สากล ถงึ ทางยโุ รปอเมรกิ า
กก็ ำ� หนดเสยี งของการออกเสยี งภาษาบาลเี หมอื นอยา่ งทล่ี งั กา เชน่ ทะ ออกเสยี งเปน็
ดะ เทวะ ก็ออกเสียงเป็น เดวะ เป็นต้น ถึงจะเขียนเป็นอักษรโรมันก็ใช้ตัว D
เพราะฉะนน้ั สำ� เนยี งลงั กาทพี่ ระธรรมยตุ นำ� มาใชอ้ ยนู่ จี่ งึ เปน็ สากล ในปจั จบุ นั นกี้ เ็ ปน็
ส�ำเนียงสากล เพราะฉะนั้น ขนบธรรมเนียมที่พระสงฆ์ธรรมยุตใช้อยู่น้ีจึงเป็นส่ิงที่
เลือกผสม คือเป็นของแบบไทยมาเก่าบ้าง เป็นของรามัญบ้าง เป็นของลังกาหรือ
ท่ีใช้เป็นแบบสากลบ้าง แต่ว่าก็ต้องให้ถูกต้องในพระธรรมวินัย เรียกว่า เป็นแบบท่ี
ปรบั ปรงุ มา ให้ถกู ตอ้ งตามพระธรรมวินยั

พรรษาที่ ๑๑

หมู่บ้านพราหมณช์ ่อื เอกนาฬา

มโนรถปูรณี อรรถกถาขุททกนิกาย กล่าวว่า พระพุทธองค์เสด็จจ�ำพรรษา
ที่ ๑๑ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาฬา ซ่ึงอยู่ใกล้ ๆ กับภูเขาชื่อทักขิณาคิริ
ทางตอนใต้ของกรุงราชคฤห์ ในสารัตถัปปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย กล่าวว่า
ใกล้กับหมู่บ้านเอกนาฬานี้ มีวิหารหรือวัดแห่งหน่ึงช่ือทักขิณาคิริวิหาร ส่วนใน
มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์ กล่าวว่า ในพรรษาที่ ๑๑ พระพุทธองค์เสด็จ
จ�ำพรรษา ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชอ่ื นาลา ซึ่งอยู่ใกลๆ้ กบั พระศรีมหาโพธิ ต�ำบลคยา
และในเถรีคาถา ขุททกนิกาย กล่าวว่า หมู่บ้านนาลาน้ีเป็นบ้านเกิดของอุปกาชีวก
ซึ่งเปน็ ผทู้ ีไ่ ด้พบพระพุทธองคเ์ ปน็ คนแรก หลังจากทพี่ ระพุทธองคไ์ ด้ตรสั รู้แลว้ ใหม่ ๆ
จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นแสดงว่า เอกนาฬากับนาลานั้นเป็นสถานท่ีแห่งเดียวกัน
แตใ่ นคมั ภรี ข์ องพระพทุ ธศาสนา เรยี กสถานทแ่ี หง่ นี้ เปน็ ๒ อยา่ ง คอื บางครง้ั กเ็ รยี กวา่
เอกนาฬา แต่บางครั้งก็เรียกว่า นาลา คงเป็นท�ำนองเรียกชื่อเต็มหรือเรียกชื่อย่อ
ต�ำบลอันเป็นท่ีตั้งของหมู่บ้านเอกนาฬาน้ันก็เรียกว่า ทักขิณาคิริ เส้นทางจาก
กรุงสาวัตถีไปยังกรุงราชคฤห์น้ัน ผ่านต�ำบลทักขิณาคิริ พระพุทธองค์ได้เสด็จผ่าน
ต�ำบลน้ีในระหว่างที่เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นมคธ โดยได้เสด็จประทับ ณ ทักขิณา-
คิริวิหาร ในหมู่บ้านเอกนาฬา ครั้งหน่ึง ในระหว่างเสด็จจาริกอยู่ ณ ต�ำบลนี้เอง
พระพทุ ธองค์ไดท้ รงเทศนาโปรดกสภิ ารทวาชะ และธัมมสวะพร้อมดว้ ยบดิ า จนทา่ น
ทั้ง ๓ ไดเ้ ขา้ มาบวชในพระพทุ ธศาสนา และได้บรรลพุ ระอรหันตใ์ นทส่ี ดุ

พรรษาที่ ๑๑ 199

ครงั้ หนง่ึ ในการเสดจ็ จารกิ แควน้ มคธคราวนเ้ี อง พระพทุ ธองคไ์ ดท้ อดพระเนตร
เห็นนาของชาวมคธ และทรงไดพ้ ระด�ำริรปู แบบจวี รส�ำหรบั พระภกิ ษุโดยเลียนจากรปู
คนั นาของชาวมคธ พระอานนทก์ เ็ คยจารกิ มาสทู่ กั ขณิ าคริ ิ พรอ้ มดว้ ยภกิ ษหุ นมุ่ หมใู่ หญ่
ซึ่งไม่ค่อยส�ำรวมนัก และสุดท้ายก็ได้พากันลาสิกขาไปจ�ำนวนมาก เป็นเหตุให้
พระอานนทถ์ กู พระมหากสั สปะตำ� หนวิ า่ ยงั เปน็ เดก็ ในเวลาตอ่ มาในภายหลงั กไ็ ดพ้ บ
เรอื่ งของพระปรุ าณะซงึ่ อยทู่ ที่ กั ขณิ าคริ พิ รอ้ มดว้ ยบรวิ ารหมใู่ หญ่ พระปรุ าณะไดป้ ฏเิ สธ
ไม่ยอมรับการท�ำสังคายนาคร้ังแรกของพระมหากัสสปะ ณ กรุงราชคฤห์ แต่พอใจ
จะปฏิบัติตามธรรมวินัยท่ีตนได้ฟังมา นันทมาตาเวฬุกัณฑกีก็อาศัยอยู่ในทักขิณาคิริ
พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะได้มาเย่ียมเยียนคร้ังหน่ึง และนันทมาตาได้
กลา่ วถงึ ความอศั จรรยข์ องธรรมของเธอ ๗ ประการใหพ้ ระเถระทง้ั ๒ ฟงั และในขณะ
ท่ีพระสารีบุตรพ�ำนักอยู่ที่ทักขิณาคิริน้ีเอง ก็ได้ฟังเรื่องราวความร้ายของธนัญชานิ
พราหมณจ์ ากภกิ ษรุ ปู หนง่ึ และไดไ้ ปโปรดธนญั ชานจิ นกลบั ใจมานบั ถอื พระพทุ ธศาสนา

อารามทสู กชาดก พระพุทธองคก์ ็ทรงแสดงทีท่ ักขณิ าคริ ิ

กสสิ ตู รหรอื กสิภารทวาชสตู ร๑

ว่าดว้ ยศรทั ธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาเปน็ แอกและไถเป็นตน้

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พราหมณคาม ช่ือเอกนาฬา
ในแคว้นทกั ขณิ าคริ ชิ นบท สมยั น้นั กสภิ ารทวาชพราหมณ์ประกอบไถประมาณ ๕๐๐
ในเวลาเปน็ ทห่ี วา่ นพชื ในครง้ั นนั้ เปน็ เวลาเชา้ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ เสดจ็ ทรงบณิ ฑบาต
เสดจ็ เขา้ ไปยงั ท่กี ารงานของกสภิ ารทวาชพราหมณ์ ในเวลานนั้ การเลย้ี งดขู องกสภิ าร
ทวาชพราหมณ์กำ� ลังเป็นไป พระผ้มู พี ระภาคเจ้าเสดจ็ เข้าไปถงึ ที่เลีย้ งดู ได้ประทับยนื
อยู่ ณ ทค่ี วรส่วนขา้ งหนึง่ กสภิ ารทวาชพราหมณไ์ ดเ้ ห็นพระผู้มพี ระภาคเจ้าประทับ
ยืนอยู่เพ่ือบิณฑบาต ก็ได้เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์แลย่อม

๑ สํ. ส. ๑๕/๖๗๑-๖๗๖/๒๕๓-๒๕๕; ข.ุ สุ. ๒๕/๒๙๗-๓๐๑/๓๔๐-๓๔๓.

200 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ไถและหว่าน คร้ันไถและหว่านแล้ว ก็ย่อมบริโภค แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน
ครนั้ ไถและหวา่ นแลว้ กจ็ งบรโิ ภคเถดิ พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ แมเ้ รากไ็ ถและหวา่ น ครนั้ ไถ
และหวา่ นแลว้ ยอ่ มบรโิ ภค พราหมณ์จึงถามว่า ขา้ พระองคไ์ ม่แลเหน็ แอก ไถ ผาล
ปฏัก หรือโคของท่านพระโคดมเลย ก็เมื่อเป็นเช่นน้ี ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ว่า
แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว ย่อมบริโภค ล�ำดับนั้น กสิภารทวาช
พราหมณเ์ ทขา้ วปายาสลงในถาดสำ� รดิ ใหญ่ ลำ� ดบั นนั้ กสภิ ารทวาชพราหมณไ์ ดท้ ลู ถาม
พระพทุ ธเจา้ วา่ พระองคย์ อ่ มปฏญิ ญาวา่ เปน็ ชาวนา แตข่ า้ พระองคไ์ มเ่ หน็ ไถของพระองค์
ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอได้ตรัสบอกไถแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีท่ีข้าพระองค์พึงรู้จัก
ไถของพระองค์ พระพทุ ธเจา้ ตรัสตอบวา่ ศรทั ธา ของเราเปน็ พชื ความเพยี ร ของเรา
เป็นฝน ปญั ญา ของเราเป็นแอกและไถ หิริ ของเราเปน็ งอนไถ ใจของเราเป็นเชือก
สติ ของเราเปน็ ผาลและปฏัก เราค้มุ ครองกายค้มุ ครองวาจา สำ� รวมในอาหารในทอ้ ง
ยอ่ มกระทำ� การถอนหญา้ คอื การกลา่ วใหค้ ลาดดว้ ย สจั จะ ความสงบเสงย่ี มของเราเปน็
เครื่องปลดเปล้ืองกิเลส ความเพียรของเราน�ำธุระไปเพ่ือธุระ น�ำไปถึงแดนเกษมจาก
โยคะ ความเพยี รของเรานำ� แอกไปเพอ่ื แอก นำ� ไปถงึ แดนเกษมจากโยคะ ไมห่ วนกลบั มา
ยอ่ มถงึ สถานทที่ บี่ คุ คลไปแลว้ ไมเ่ ศรา้ โศก การไถนานน้ั เราไถแลว้ อยา่ งน้ี การไถนานน้ั
ย่อมมีผลเป็นอมตะ บคุ คลไถนานั้นแลว้ ยอ่ มพน้ จากทกุ ขท์ ง้ั ปวง

ล�ำดับน้ันกสิภารทวาชพราหมณ์เทข้าวปายาสลงในถาดส�ำริดใหญ่ แล้วน้อม
ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ขอท่านพระโคดมเสวยข้าวปายาสเถิด
เพราะพระองค์เปน็ ชาวนา ยอ่ มไถนาอนั มผี ลไม่ตาย พระพุทธเจ้าตรสั ตอบว่า เราไม่
ควรบรโิ ภคโภชนะทขี่ บั กลอ่ มไดม้ า ขอ้ นไ้ี มใ่ ชธ่ รรมของพระพทุ ธเจา้ ทงั้ หลาย ผเู้ หน็ อยู่
โดยชอบ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงห้ามโภชนะท่ีขับกล่อมได้มา เมื่อธรรมมีอยู่
การแสวงหานเ้ี ปน็ ความประพฤตขิ องพระพทุ ธเจา้ ทง้ั หลาย เชญิ ทา่ นบำ� รงุ พระขณี าสพ
ผบู้ รสิ ทุ ธดิ์ ้วยคุณทง้ั ปวง ผ้แู สวงหาคณุ อนั ใหญ่ ผมู้ คี วามคะนองอนั สงบแลว้ ดว้ ยข้าว
และนำ�้ อยา่ งอนื่ เถดิ เพราะวา่ เขตนนั้ เปน็ เขตของบคุ คลผมู้ งุ่ บญุ พราหมณไ์ ดก้ ราบทลู
ถามวา่ ก็เมอ่ื เป็นเชน่ นี้ ขา้ พระองคจ์ ะเป็นผ้ถู วายขา้ วปายาสให้แก่ใคร พระพุทธเจา้
ตรัสว่า เรายอ่ มไมเ่ ห็นบุคคลในโลก พรอ้ มทงั้ เทวโลกมารโลกพรหมโลก ในหม่สู ัตว์
พรอ้ มทง้ั สมณพราหมณเ์ ทวดาและมนษุ ย์ ผบู้ รโิ ภคขา้ วปายาสนนั้ แลว้ จะพงึ ใหย้ อ่ ยได้

พรรษาที่ ๑๑ 201

โดยชอบ นอกจากตถาคตหรอื สาวกของตถาคตเลย ถ้าอย่างนน้ั ท่านจงทิ้งข้าวปายาส
นั้นเสีย ในท่ปี ราศจากของเขียว หรอื จมลงในนำ้� ซ่ึงไม่มตี ัวสัตวเ์ ถดิ ลำ� ดบั นน้ั กสภิ าร-
ทวาชพราหมณ์เทข้าวปายาสน้ันให้จมลงในน้�ำอันไม่มีตัวสัตว์ พอข้าวปายาสนั้นอัน
กสภิ ารทวาชพราหมณเ์ ทลงในน้�ำ กม็ ีเสียงดัง จจิ จิฏะ จิฏิจิฏะ เป็นควันกลมุ้ โดยรอบ
เหมือนดังก้อนเหล็กอันบุคคลเผาให้ร้อนตลอดวัน ทิ้งลงในน้�ำ มีเสียงดัง จิจจิฏะ
จฏิ ิจฏิ ะ เปน็ ควนั กลุ้มโดยรอบ ฉะนัน้

ลำ� ดบั นน้ั กสภิ ารทวาชพราหมณส์ ลดใจ มขี นชชู นั เขา้ ไปเฝา้ พระผมู้ พี ระภาคเจา้
หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทลู วา่ ภาษติ
ของพระองคแ์ จ่มแจง้ นัก ภาษติ ของพระองคแ์ จม่ แจ้งนกั ทา่ นพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมโดยอเนกปรยิ าย เหมอื นดงั หงายของทคี่ วำ่� เปดิ ของทปี่ ดิ บอกทางแกผ่ หู้ ลงทาง
หรอื ตามประทปี ไวใ้ นทม่ี ดื โดยหวงั วา่ คนมจี กั ษจุ กั เหน็ รปู ได้ ฉะนน้ั ขา้ พระองคน์ ข้ี อถงึ
พระโคดมผเู้ จริญ กับทงั้ พระธรรมและพระภิกษสุ งฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผ้เู จรญิ
โปรดจ�ำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิตจ�ำเดิมแต่วันน้ีเป็นต้นไป
ขอข้าพระองค์ได้บรรพชาอุปสมบทในส�ำนักของพระโคดมผู้เจริญเถิด กสิภารทวาช
พราหมณไ์ ดบ้ รรพชาอปุ สมบทในสำ� นกั ของพระผมู้ พี ระภาคเจา้ แลว้ ไมน่ าน กห็ ลกี ออก
จากหมอู่ ยแู่ ตผ่ เู้ ดยี ว ไมป่ ระมาท มคี วามเพยี ร มใี จเดด็ เดย่ี ว ไมช่ า้ นกั กท็ ำ� ใหแ้ จง้ ทส่ี ดุ
แห่งพรหมจรรย์อันยอดเย่ียมที่กุลบุตรท้ังหลายออกบวชโดยชอบต้องการนั้น ด้วย
ปญั ญายง่ิ เองในปจั จบุ นั เขา้ ถงึ อยู่ รชู้ ดั วา่ ชาตสิ น้ิ แลว้ พรหมจรรยอ์ ยจู่ บแลว้ กจิ ทค่ี วร
ท�ำได้ท�ำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านกสิภารทวาชะได้เป็น
พระอรหันต์รปู หนึ่งในบรรดาพระอรหนั ต์ท้ังหลาย

อรรถกถาของกสสิ ตู รบางตอน

อรรถกถาของกสสิ ตู รบางตอนวา่ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ทรงอาศยั พราหมณค์ าม
ช่ือว่า เอกนาฬะ หรือเอกนาฬา ในมคธรัฐ ทรงรอคอยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์
ของพราหมณ์ในทกั ขิณาคริ ิวหิ าร จนไดท้ รงตรวจดอู ปุ นสิ ัยของผูท้ จี่ ะทรงส่ังสอน อนั
เปน็ กจิ ประจำ� วนั ของพระพุทธเจ้า ไดท้ รงเหน็ ว่า พราหมณม์ ีอนิ ทรยี ์แกก่ ลา้ และเป็น

202 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เวลาเหมาะทีเ่ สด็จไปโปรดได้ จึงเสดจ็ ไปโปรดดังท่ไี ดแ้ สดงแล้ว และในอรรถกถานไ้ี ด้
แสดงถึงกจิ ประจำ� วันของพระพุทธเจา้ ว่ามี ๕ อยา่ ง คอื กิจในปุเรภตั กอ่ นภัตตาหาร
๑ กจิ ในปัจฉาภตั ภายหลังภัตตาหาร ๑ กจิ ในปุรมิ ยาม ๑ กิจในมชั ฌิมยาม ๑ กจิ
ในปจั ฉิมยาม ๑ ใน ๕ อยา่ งน้นั กิจในปุเรภตั คือกอ่ นภตั ดั่งนี้ พระผ้มู ีพระภาคเจา้
ทรงลุกข้ึนแต่เช้าทีเดียว ทรงท�ำบริกรรมพระวรกาย มีบ้วนพระโอษฐ์เป็นต้น เพื่อ
อนุเคราะห์ภิกษุผู้อุปัฏฐากและเพื่อส�ำราญพระวรกาย แล้วทรงให้เวลาล่วงไป
ณ เสนาสนะที่สงดั จนถงึ เวลาเสด็จภกิ ขาจารถงึ เวลาเสด็จภิกขาจารก็ทรงน่งุ สบง คาด
ประคดเอว แลว้ ทรงหม่ จวี ร ทรงถอื บาตร บางครง้ั เสดจ็ พระองคเ์ ดยี ว บางคราวแวดลอ้ ม
ไปดว้ ยภกิ ษสุ งฆ์ เสดจ็ เขา้ ไปยงั คามหรอื นคิ มเพอื่ บณิ ฑบาต บางครงั้ กเ็ สดจ็ เขา้ ไปตาม
ปกติ บางครง้ั กม็ ปี าฏหิ ารยิ ห์ ลายอยา่ งเปน็ ไปอยู่ คอื เมอื่ พระโลกนาถเสดจ็ ออกบณิ ฑบาต
ลมออ่ นพดั ชำ� ระแผน่ ดนิ ไปขา้ งหนา้ เมฆฝนหลง่ั นำ้� ลงเปน็ หยด ๆ ใหล้ ะอองในหนทาง
สงบ กน้ั เปน็ เพดานอยเู่ บอ้ื งบน ลมอกี อยา่ งพดั เอาดอกไมม้ าเบอ้ื งบนเกลย่ี ลงในหนทาง
ภมู ปิ ระเทศทส่ี งู ขน้ึ กต็ ำ่� ลง ภมู ปิ ระเทศทตี่ ำ่� ลงกส็ งู ขน้ึ ในสมยั ทอดพระบาทลงพนื้ แผน่ ดนิ
ยอ่ มเรยี บเสมอ ดอกปทมุ ทเ่ี ปน็ สขุ สมั ผสั ยอ่ มรบั พระบาท พอพระองคท์ รงวางพระบาท
ขวาภายในเสาเขอื่ น รศั มมี พี รรณะ ๖ ซา่ นออกจากพระสรรี ะกระทำ� เรอื นยอดปราสาท
ใหม้ สี เี ลอื่ มพรายดว้ ยนำ้� ทอง และใหเ้ ปน็ เหมอื นแวดลอ้ มดว้ ยแผน่ ผา้ อนั วจิ ติ ร ซา่ นไป
ขา้ งโนน้ ขา้ งนี้ ชา้ งมา้ และวหิ คเปน็ ตน้ ยนื อยใู่ นทข่ี องตน ๆ สง่ เสยี งดว้ ยอาการอนั ไพเราะ
ดนตรีมีกลองและพิณเป็นต้น และอาภรณ์ท่ีสวมกายพวกมนุษย์อยู่ก็เป็นอย่างนั้น
ดว้ ยสญั ญาณนนั้ พวกมนษุ ยย์ อ่ มรกู้ นั วา่ วนั นพ้ี ระผมู้ พี ระภาคเจา้ เสดจ็ เขา้ มาบณิ ฑบาต
ในท่นี ี้ พวกเขาน่งุ ห่มเรียบรอ้ ย ถือของหอมและดอกไมเ้ ป็นต้นออกจากเรอื น เดนิ ไป
ระหวา่ งถนน บูชาพระผมู้ พี ระภาคเจ้าดว้ ยดอกไมเ้ ป็นต้นโดยเคารพ ถวายบังคมแลว้
ทลู ขอวา่ ขอพระองคโ์ ปรดประทานภกิ ษแุ กพ่ วกขา้ พระองค์ ๑๐ รปู แกพ่ วกขา้ พระองค์
๒๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป รับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ให้ปู
อาสนะตอ้ นรบั โดยเคารพ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ เสวยพระกระยาหารเสรจ็ แลว้ ทรงตรวจ
ดูสันดานของมนุษย์เหล่านั้น แล้วทรงแสดงธรรมอย่างน้ัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุเคราะห์มหาชน โดยประการท่ชี นบางพวกดำ� รงอยใู่ นสรณคมน์ บางพวกดำ� รงอยู่
ในศีล ๕ บางพวกด�ำรงอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผลอย่างใด
อยา่ งหนง่ึ บางพวกบวชแลว้ ดำ� รงอยใู่ นพระอรหตั ซงึ่ เปน็ ผลอนั เลศิ ทรงลกุ จากอาสนะ

พรรษาที่ ๑๑ 203

เสดจ็ ไปยงั พระวหิ าร ประทบั นง่ั เหนอื บวรพทุ ธอาสนท์ ปี่ ลู าดไวใ้ นโรงกรมใกลพ้ ระคนั ธกฎุ ี
ทรงรอคอยใหภ้ กิ ษทุ งั้ หลายฉนั เสรจ็ ตอ่ แตน่ น้ั เมอื่ ภกิ ษทุ ง้ั หลายฉนั เสรจ็ ภกิ ษอุ ปุ ฏั ฐาก
ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปใน
พระคันธกฎุ ี น้เี ป็นกจิ ในปเุ รภตั คือก่อนภัต เป็นอนั ดับแรก

ล�ำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระท�ำกิจในปุเรภัตอย่างนี้แล้ว ประทับน่ัง
ในท่ีบ�ำรุงที่พระคันธกุฎี ทรงให้ทาพระบาท แล้วประทับยืนบนตั่งรองพระบาท
ทรงโอวาทภิกษุสงฆว์ า่ ดูกอ่ นภกิ ษุท้ังหลาย เธอทงั้ หลายจงยงั ความไมป่ ระมาทให้ถงึ
พร้อมเถิด การอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าหาได้ยากในโลก การได้อัตภาพเป็นมนุษย์
หาได้ยาก การถึงพร้อมด้วยศรัทธาหาได้ยาก การบรรพชาหาได้ยาก การฟัง
พระสทั ธรรมหาไดย้ าก ดงั่ น้ี ในทนี่ นั้ บางพวกทลู ถามกรรมฐานกบั พระผมู้ พี ระภาคเจา้
พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ทรงประทานกรรมฐานอนั เหมาะแกจ่ รยิ าของภกิ ษเุ หลา่ นน้ั แตน่ นั้
ภกิ ษทุ งั้ หมดถวายบงั คมแกพ่ ระผมู้ พี ระภาคเจา้ แลว้ ไปยงั ทพ่ี กั กลางคนื และทพ่ี กั กลาง
วนั ของตน ๆ บางพวกไปสู่ป่า บางพวกไปสโู่ คนไม้ บางพวกไปสูภ่ ูเขาเป็นตน้ แห่งใด
แห่งหนึ่ง บางพวกไปสู่ภพช้ันจาตุมหาราชิกา บางพวกไปสู่ภพชั้นวสวัตตี ด่ังนี้แล
ลำ� ดบั นนั้ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ เสดจ็ เขา้ พระคนั ธกฎุ ี ถา้ พระองคท์ รงมพี ระพทุ ธประสงค์
ทรงมีพระสตสิ ัมปชัญญะ ส�ำเร็จสีหไสยาสนค์ ร่หู น่งึ โดยพระปรัศวเ์ บ้อื งขวา ลำ� ดบั น้นั
พระองค์ทรงมพี ระวรกายกระปรก้ี ระเปรา่ ทรงลุกข้นึ ตรวจดโู ลกในภาคที่ ๒ ในภาค
ท่ี ๓ ในบ้านหรอื นิคม ทพ่ี ระผูม้ พี ระภาคเจา้ เสดจ็ เข้าไปอาศัยประทับอยู่ในปุเรภตั คอื
ในเวลาก่อนภัต มหาชนถวายทาน ในปัจฉาภัตคือภายหลังภัต เขานุ่งห่มเรียบร้อย
ถอื ของหอมและดอกไมเ้ ปน็ ตน้ ประชมุ กนั ในวหิ าร ลำ� ดบั นน้ั พระผมู้ พี ระภาคเจา้ เสดจ็
ไปด้วยปาฏิหาริย์อันเหมาะสมแก่บริษัทท่ีประชุมกัน ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์
ทเี่ ขาปลู าดไวใ้ นธรรมสภาแสดงธรรมสมควรแกก่ าลสมควรแกส่ มยั ครน้ั ทรงทราบเวลา
จึงทรงส่งบริษัทไป มนุษย์ทั้งหลายพากันถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป
นเ้ี ป็นกิจในปจั ฉาภตั ภายหลงั ภัต

ครน้ั พระองคเ์ สร็จกจิ ในปจั ฉาภัต ภายหลังภตั อย่างนี้แลว้ ถา้ มีพระประสงค์
จะโสรจสรงพระวรกาย ทรงลุกจากพระพุทธอาสน์ เสด็จเข้าซุ้มเป็นที่สรง ทรงท�ำ
พระวรกายใหเ้ หมาะแกฤ่ ดกู าลดว้ ยนำ�้ ทอ่ี ปุ ฏั ฐากจดั ถวาย ฝา่ ยอปุ ฏั ฐากไดน้ ำ� พทุ ธอาสน์

204 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

มาปูไว้ในบริเวณพระคันธกุฎี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งผ้าที่ย้อมแล้ว ๒ ช้ัน
คาดประคดเอว ท�ำเฉวยี งบ่า เสด็จมาประทับอยู่ ณ ทีน่ ัน้ น่งิ อยคู่ รหู่ นง่ึ แตพ่ ระองค์
เดียว ล�ำดับนั้นภิกษุท้ังหลายมาจากท่ีน้ัน ๆ ไปยังที่อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า
บรรดาภกิ ษเุ หลา่ นน้ั บางพวกถามปญั หา บางพวกขอกรรมฐาน บางพวกขอฟงั ธรรม
พระผมู้ พี ระภาคเจ้าทรงท�ำความประสงค์ของภิกษุเหล่าน้ันให้ส�ำเร็จ ให้ปุริมยามคือ
กลางคนื ยามท่ี ๑ ลว่ งไป นเ้ี ป็นกิจในปุรมิ ยาม

ก็ในเวลาที่กิจในปุริมยามสิ้นสุดลง เมื่อภิกษุท้ังหลายถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วหลีกไป เหล่าเทวดาในหม่ืนโลกธาตุทั้งสิ้นได้โอกาสเข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจา้ ถามปญั หาตามทแ่ี ตง่ ขนึ้ เรว็ ทส่ี ดุ ถามถงึ อกั ขระทง้ั ๔ พระผมู้ พี ระภาคเจา้
เมื่อทรงแก้ปัญหาของเทวดาเหล่าน้ัน ก็ให้มัชฌิมยามล่วงไป นี้เป็นกิจในมัชฌิมยาม
คอื ยามกลางของราตรี

พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ทรงแบง่ ปจั ฉมิ ยามคอื ยามสดุ ทา้ ยของราตรอี อกเปน็ ๓ สว่ น
แลว้ ทรงให้สว่ นที่ ๑ ล่วงไปด้วยการจงกรม เพอื่ จะทรงปลดเปล้ืองความบอบช้าํ แหง่
พระวรกาย ซงึ่ ถกู การนง่ั จำ� เดมิ แตป่ จั ฉาภตั ภายหลงั ภตั บบี คน้ั ในสว่ นที่ ๒ พระองค์
เสดจ็ เขา้ ไปยงั พระคนั ธกฎุ ี ทรงมพี ระสตสิ มั ปชญั ญะ สำ� เรจ็ สหี ไสยาสนโ์ ดยพระปรศั ว์
เบื้องขวา ในสว่ นท่ี ๓ เสดจ็ ลกุ ขึน้ ประทับนง่ั ตรวจดูสัตวโลกดว้ ยพุทธจักษุ เพ่ือทรง
เหน็ บคุ คลผไู้ ดส้ รา้ งบญุ ญาธกิ ารไวโ้ ดยคณุ มที านและศลี เปน็ ตน้ ในสำ� นกั แหง่ พระพทุ ธเจา้
ในปางกอ่ นท้งั หลาย นเ้ี ป็นกจิ ในปัจฉมิ ยาม ยามสดุ ทา้ ย

แม้ในกาลนั้นเอง พระองค์ตรวจดูอย่างนี้ ทรงเห็นกสิภารทวาชพราหมณ์
ถึงพรอ้ มด้วยธรรมอันเป็นอุปนิสัยแหง่ พระอรหตั แลว้ ทรงทราบวา่ เมอ่ื เราไปในท่นี นั้
จักมกี ารพดู จากนั เมือ่ จบการพูดจากนั พราหมณ์นน้ั ฟังธรรมเทศนาแล้ว พรอ้ มด้วย
บตุ รและภรรยา จกั ตง้ั อยใู่ นสรณะ ๓ จกั หวา่ นทาน ภายหลงั จะออกบรรพชา จกั บรรลุ
พระอรหตั ดั่งน้ี จงึ เสดจ็ ไปในท่นี นั้ ทรงตงั้ เรอ่ื งขึ้น แล้วทรงแสดงธรรม

อน่ึง ในปัจฉิมยามแห่งราตรีนี้ ในอรรถกถาอีกอรรถกถาหน่ึงได้แสดงว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาของเทวดาเหล่านั้นอยู่จนถึงมัชฌิมยาม ต่อจากนั้น
ทรงกระท�ำปจั ฉมิ ยามให้เป็น ๔ ส่วน สว่ นที่ ๑ ทรงอธษิ ฐานจงกรม ส่วนท่ี ๒ เสด็จ
เขา้ สพู่ ระคนั ธกฎุ ี ทรงมพี ระสตสิ มั ปชญั ญะ สำ� เรจ็ สหี ไสยาสนโ์ ดยพระปรศั วเ์ บอ้ื งขวา

พรรษาที่ ๑๑ 205

ส่วนท่ี ๓ ทรงยังเวลาให้ล่วงไปด้วยผลสมาบัติ สว่ นที่ ๔ ทรงเข้ามหากรณุ าสมาบัติ
ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เม่ือทรงตรวจดูสัตว์ผู้มีธุลีในจักษุน้อยหรือมีธุลีในจักษุมาก
เป็นตน้ น้รี วมเข้าในปัจฉาภัตกจิ กจิ ภายหลงั ภัต

ฉะนนั้ ในการบอกวตั ร จงึ ไดม้ แี ตง่ เปน็ บทสวดของพระพทุ ธกจิ ของพระพทุ ธเจา้
ไวว้ ่า

ปุพฺพณเฺ ห ปิณฺฑปาตญจฺ บณิ ฑบาตในเวลาเชา้
สายณเฺ ห ธมมฺ เทสนํ ทรงแสดงธรรมในเวลาเยน็
ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ ทรงโอวาทภกิ ษใุ นเวลาพลบคำ�่
อฑฺฒรตฺเต เทวปญหฺ นํ ทรงแกป้ ัญหาเทวดาในเวลาเท่ียงคนื

ปจจฺ ูเส ว คเต กาเล ภพพฺ าภพฺเพ วิโลกนํ เมือ่ กาลเวลาถงึ เชา้ ตรู่ ทรงตรวจ
ดสู ตั วโลกผคู้ วรทจ่ี ะทรงโปรดหรอื ไมค่ วรทจี่ ะทรงโปรด พระมนุ ผี เู้ ปน็ บคุ คลเลศิ ในโลก
ทรงชำ� ระกิจมีอยา่ ง ๕ เหล่านี้ ซ่ึงมีเปน็ ภาษาบาลวี า่ เอเต ปญจฺ วิเธ กิจเฺ จ วิโสเธติ
มนุ ปิ งุ ฺคโว

อนึ่ง แม้จีวรที่เราท้ังหลายใช้กันอยู่นี้ ก็เป็นแบบที่พระอานนท์ได้คิดถวาย
ทีท่ กั ขณิ าคิริชนบท ซ่งึ มีแสดงไว้วา่ ครัง้ นั้นพระผ้มู พี ระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนคร
ราชคฤหต์ ามพระพุทธาภริ มย์ แล้วเสด็จพระดำ� เนนิ ไปทางทกั ขิณาคิรชิ นบท พระองค์
ทอดพระเนตรเหน็ นาของชาวมคธ ซึง่ เขาพนู ดินขน้ึ เปน็ คันนาสี่เหล่ยี ม พนู คันนายาว
ทง้ั ดา้ นยาวและดา้ นกวา้ ง พนู คนั นาคนั่ ในระหวา่ งๆดว้ ยคนั นาสน้ั ๆ พนู คนั นาเชอ่ื มกนั
ดั่งทาง ๔ แพร่งตามที่ซ่ึงคันนากับคันนาผ่านตัดกันไป ครั้นแล้วรับส่ังกับท่าน
พระอานนทว์ า่ อานนท์ เธอเหน็ นาของชาวมคธซึ่งเขาพนู ดินขึน้ เปน็ คนั นา ๔ เหลีย่ ม
พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคนั นาข้นึ ในระหวา่ ง ๆ ดว้ ยคนั นาสัน้ ๆ
พูนคันนาเช่ือมกันดั่งทาง ๔ แพร่งตามที่ซ่ึงคันนากับคันนาผ่านตัดกันไปหรือไม่
พระอานนท์กราบทูลว่า เห็นพระพุทธเจ้าข้าพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เธอสามารถแต่ง
จีวรของภิกษุทั้งหลายให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่ พระอานนท์กราบทูลว่า สามารถ
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิริชนบทตาม
พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จกลับมายังพระนครราชคฤห์อีก คร้ังนั้นท่านพระอานนท์

206 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

แต่งจีวรส�ำหรับภิกษุหลายรูป คร้ันแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูลว่า
ขอพระผมู้ พี ระภาคเจา้ ทอดพระเนตรจวี รทข่ี า้ พระพทุ ธเจา้ แตง่ แลว้ ลำ� ดบั นน้ั พระผมู้ ี
พระภาคเจา้ ทรงทำ� ธรรมกี ถา ในเพราะเหตเุ ปน็ เคา้ มลู นน้ั ในเพราะเหตแุ รกเกดิ ขน้ึ นนั้
แลว้ รบั สงั่ กบั ภกิ ษทุ งั้ หลายวา่ อานนทเ์ ปน็ ผฉู้ ลาด อานนทเ์ ปน็ ผเู้ จา้ ปญั ญา อานนทไ์ ด้
ทราบซ้ึงถึงเนื้อความแห่งถ้อยค�ำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง อานนท์ท�ำผ้าชื่อว่า
กุสิบ้าง ท�ำผ้าชื่อว่าอัฑฒกุสิบ้าง ท�ำผ้าช่ือมณฑลบ้าง ท�ำผ้าช่ืออัฑฒมณฑลบ้าง
ท�ำผ้าชื่อวิวัฏฏะบ้าง ท�ำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะบ้าง ท�ำผ้าชื่อคีเวยยกะบ้าง ท�ำผ้าช่ือ
ชังเฆยยกะบา้ ง และทำ� ผา้ ช่อื พาหันตะบ้าง จีวรจักเปน็ ผา้ ซง่ึ ตัดแลว้ เศรา้ หมองด้วย
ศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด
ผ้าอุตตราสงค์คอื จวี รตัด ผ้าอนั ตรวาสกคือสบงตัด

และในวินยั มขุ เลม่ ๒ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส
ได้ทรงอธิบายจีวรไว้ว่า “จีวรนั้นโปรดให้ตัดเอาอย่างคันนาของชาวมคธ คือว่า เป็น
กระทงมีเส้นคั่น กระทงใหญ่เรียกว่า มณฑล กระทงน้อยเรียกว่า อัฑฒมณฑล
มเี สน้ คน่ั ในระหว่างดุจคันนาขวางเรียกวา่ อัฑฒกสุ ิ รวมมณฑล อัฑฒมณฑล และ
อฑั ฒกสุ ิ เรยี กวา่ ขณั ฑ์ ในระหวา่ งขณั ฑแ์ ละขณั ฑ์ มเี สน้ คน่ั ดจุ คนั นายนื เรยี กวา่ กสุ ิ
จวี รผนื หนงึ่ ใหม้ ีขัณฑ์ไมน่ อ้ ยกวา่ ๕ เกนิ กว่านน้ั ใชไ้ ด้ แต่ใหเ้ ปน็ ขณั ฑ์ขอน คอื ๗ ๙
๑๑ ขัณฑ์มากควรใช้ในยามหาผ้าช้ินใหญ่ไม่ได้ ผ้าขอบจีวรเรียกว่า อนุวาต ขัณฑ์
เหล่าน้ันยังเรียกชื่อต่างกันออกไปอีก ขัณฑ์กลาง เรียกชื่อว่า วิวัฏฏะ ขัณฑ์ริม
ทั้ง ๒ ข้างชอ่ื ว่า อนุววิ ัฏฏะ อีกอยา่ งหนง่ึ เฉพาะ ๕ ขณั ฑ์ ขณั ฑก์ ลางชื่อคเี วยยกะ
เพราะเม่ือห่มจีวร อัฑฒมณฑลของขัณฑ์น้ันอยู่ท่ีคอ ขัณฑ์ถัดออกมา ๒ ข้างชื่อ
ชังเฆยยกะ เพราะอัฑฒมณฑลของ ๒ ขัณฑน์ ้ันอยู่ที่แขง้ ในเวลาห่ม ขัณฑถ์ ดั ออกมา
อกี ทงั้ ๒ ขา้ งชอ่ื พาหนั ตะ เพราะอฑั ฒมณฑลของทง้ั ๒ ขณั ฑน์ น้ั อยทู่ แี่ ขนในเวลาหม่

ฝา่ ยพระอรรถกถาจารยก์ ลา่ ววา่ คเี วยยกะเปน็ แผน่ ผา้ เยบ็ ทาบลงไปทตี่ รงหมุ้ คอ
ชังเฆยยกะเป็นแผน่ ผา้ เย็บทาบลงไปดจุ เดียวกนั ท่ตี รงแขง้ คเี วยยกะ และชงั เฆยยกะ
ตามอรรถกถานัยนั้นน่าจะเห็นได้ว่า ได้แก่อนุวาตด้านบนและด้านล่างโดยล�ำดับกัน
มากกว่าแผน่ ผ้าอันเยบ็ ทาบลงตา่ งหาก ถ้าสันนษิ ฐานตามทางนี้ พาหันตะก็พึงได้แก่
อนวุ าตดา้ นสกัดทั้ง ๒ อยา่ งไรชอบแกเ่ หตุ ข้าพเจา้ ขอฝากนักวินัยให้พิจารณาต่อไป″

พรรษาท่ี ๑๑ 207

อปุ กาชีวก

ต่อไปน้ีจะแสดงเร่ืองพระพุทธเจ้าซ่ึงได้เสด็จไปในคามนิคมชนบทรัฐนั้น ๆ
ในพรรษาตา่ ง ๆ จะแสดงเรอ่ื งประกอบเรอื่ งอปุ กาชวี กทไี่ ดพ้ บพระพทุ ธเจา้ เสดจ็ ดำ� เนนิ
ทางไกลระหวา่ งแมน่ ำ้� คยาและไมโ้ พธพิ ฤกษ์ หลงั จากทไ่ี ดต้ รสั รแู้ ลว้ และไดป้ ระทบั เสวย
วมิ ตุ ตสิ ขุ ในทตี่ า่ งๆหลายสปั ดาหแ์ ลว้ จะเสดจ็ ไปโปรดพระปญั จวคั คยี ์ แสดงปฐมเทศนา

เร่ืองอปุ กาชวี ก๒

อาชีวกช่ืออุปกะได้พบพระพุทธเจ้า ได้ทูลค�ำนี้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ดกู อ่ นอาวโุ ส อนิ ทรยี ข์ องทา่ นผอ่ งใสยงิ่ นกั ผวิ พรรณของทา่ นบรสิ ทุ ธผิ์ ดุ ผอ่ ง ทา่ นบวช
อทุ ศิ ใคร ใครเปน็ ศาสดาของทา่ น หรอื ทา่ นชอบธรรมของใคร เมอ่ื อปุ กาชวี กกราบทลู
อยา่ งน้ี พระผู้มพี ระภาคเจา้ ได้ตรสั ตอบว่าดังนี้

“เราเป็นผู้ครอบง�ำธรรมท้ังปวง รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบ
ทาแลว้ ในธรรมทง้ั ปวง ละธรรมเปน็ ไปในภมู ิ ๓ ไดห้ มด พน้ แลว้ เพราะความสน้ิ ไปแหง่
ตณั หา เราตรสั รยู้ ง่ิ เองแลว้ จะพงึ อา้ งใครเลา่ อาจารยข์ องเราไมม่ ี คนเชน่ เรากไ็ มม่ ี บคุ คล
เสมอเหมอื นเรากไ็ มม่ ี ในโลกกบั ทงั้ เทวโลก เพราะเราเปน็ พระอรหนั ตใ์ นโลก เราเปน็
ศาสดา หาศาสดาย่ิงกว่าไม่มี เราผู้เดียวเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจ
ดบั กเิ ลสไดแ้ ลว้ เราจะไปเมอื งในแควน้ กาสเี พอ่ื ประกาศธรรมจกั รใหเ้ ปน็ ไป เราจกั ตกี ลอง
ในโลกอันมดื เพอ่ื ให้สตั วไ์ ดธ้ รรมจกั ษ″ุ

อปุ กาชวี กทลู วา่ ทา่ นปฏญิ ญาโดยประการใด ทา่ นควรเปน็ ผชู้ นะหาทสี่ ดุ มไิ ด้
โดยประการนน้ั พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ตรสั วา่ บคุ คลเหลา่ ใดถงึ ความสนิ้ อาสวะแลว้ บคุ คล
เหลา่ นน้ั ชอื่ วา่ เปน็ ผชู้ นะเชน่ เรา ดกู อ่ นอปุ กะ เราชนะธรรมอนั ลามกแลว้ เพราะฉะนน้ั
เราจึงชื่อว่า เป็นผู้ชนะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวกทูลว่า
พงึ เปน็ ผู้ชนะเถิด แลว้ กม้ ศีรษะลง แล้วแยกทางหลกี ไป

๒ ม. มู. ๑๒/๓๒๕/๓๒๘.

208 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เร่ืองถอื นสิ ัย๓

กโ็ ดยสมยั นน้ั แล พระผมู้ พี ระภาคเจา้ เสดจ็ อยใู่ นนครราชคฤหน์ นั้ แลตลอดฤดฝู น
ฤดหู นาว ฤดรู อ้ น ชนทง้ั หลายพากนั เพง่ โทษตเิ ตยี นโพนทะนาวา่ ทศิ ทงั้ หลายคบั แคบ
มืดมนแก่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร ทิศท้ังหลายไม่ปรากฏแก่พระสมณะพวกน้ี
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเร่ืองน้ีแก่
พระพทุ ธเจ้า

ครงั้ นน้ั พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ตรสั เรยี กทา่ นพระอานนทม์ ารบั สง่ั วา่ ดกู อ่ นอานนท์
เธอจงไปไขดาล บอกภกิ ษทุ ง้ั หลายในบรเิ วณวหิ ารวา่ อาวโุ สทงั้ หลาย พระผมู้ พี ระภาคเจา้
ปรารถนาจะเสดจ็ จารกิ ทักขิณาคริ ิชนบท ทา่ นผ้ใู ดมีความประสงค์ ท่านผ้นู ้นั จงมา

พระอานนทร์ บั สนองพระพทุ ธบญั ชาแลว้ ไขดาลแจง้ แกภ่ กิ ษทุ ง้ั หลายในบรเิ วณ
วหิ ารวา่ ดกู อ่ นอาวโุ ส พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ทรงปรารถนาจะเสดจ็ จารกิ ทกั ขณิ าคริ ชิ นบท
ทา่ นผู้ใดมคี วามประสงค์ ท่านผูน้ น้ั จงมา

ภกิ ษุทงั้ หลายกลา่ วอยา่ งนี้วา่ อาวุโสอานนท์ พระผมู้ พี ระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
ใหภ้ ิกษุถอื นสิ ยั อยูต่ ลอด ๑๐ พรรษา และใหภ้ กิ ษุมีพรรษาได้ ๑๐ ใหน้ ิสัย พวกผม
จะตอ้ งไปทกั ขิณาคิรนิ นั้ จักต้องถอื นิสยั ดว้ ย จกั พกั อยู่เพยี งเลก็ นอ้ ยกต็ อ้ งกลบั มาอกี
และจกั ตอ้ งกลบั ถอื นสิ ยั อกี ถา้ พระอาจารยข์ องพวกผมไป แมพ้ วกผมกจ็ กั ไป หากทา่ น
ไม่ไป แม้พวกผมกจ็ ักไม่ไป ความท่พี วกผมมีใจเบาจักปรากฏ

ครงั้ นนั้ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ เสดจ็ จารกิ ทกั ขณิ าคริ ชิ นบทกบั ภกิ ษสุ งฆม์ จี ำ� นวน
นอ้ ย คร้ันพระองคเ์ สด็จอยู่ ณ ทกั ขิณาคิรชิ นบทตามพระพทุ ธาภริ มย์ แลว้ เสด็จกลับ
สพู่ ระนครราชคฤหอ์ กี ตามเดิม และพระองค์ตรัสเรียกท่านพระอานนทม์ าสอบถามวา่
ดูก่อนอานนท์ ตถาคตจาริกทักขิณาคิริชนบทกับภิกษุสงฆ์มีจ�ำนวนน้อยเพราะเหตุไร
ท่านพระอานนท์จงึ กราบทูลความเร่อื งนน้ั ให้พระผ้มู พี ระภาคเจา้ ได้ทรงทราบ

๓ ว.ิ มหา. ๔/๑๑๕/๑๖๑.

พรรษาท่ี ๑๑ 209

พระพทุ ธานญุ าตให้ถอื นสิ ยั

ล�ำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงท�ำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลน้ัน
ในเพราะเหตแุ รกเกดิ นนั้ แลว้ ตรสั เรยี กภกิ ษทุ งั้ หลายมารบั สง่ั วา่ ภกิ ษทุ ง้ั หลาย เราอนญุ าต
ใหภ้ ิกษผุ ฉู้ ลาด ผสู้ ามารถ ถอื นิสยั อยู่ ๕ พรรษา และใหภ้ ิกษผุ ู้ไม่ฉลาดถือนิสัยอยู่
ตลอดชีวิต

องค์ ๕ แหง่ ภกิ ษผุ ู้ต้องถอื นสิ ยั

ดกู อ่ นภิกษทุ ง้ั หลาย ภิกษผุ ปู้ ระกอบดว้ ยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสยั อยูไ่ ม่ได้ คอื
๑. ไมป่ ระกอบดว้ ยกองศีล อันเปน็ ของพระอเสขะ
๒. ไม่ประกอบดว้ ยกองสมาธิ อนั เป็นของพระอเสขะ
๓. ไมป่ ระกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยกองวมิ ตุ ติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ไมป่ ระกอบดว้ ยกองวมิ ตุ ติญาณทสั สนะ อนั เปน็ ของพระอเสขะ
ดกู อ่ นภกิ ษทุ ั้งหลาย ภิกษผุ ู้ประกอบดว้ ยองค์ ๕ น้ีแล จะไมถ่ อื นิสยั อยไู่ ม่ได้

องค์ ๕ แห่งภกิ ษผุ ูไ้ มต่ ้องถือนสิ ยั

ดกู ่อนภกิ ษทุ งั้ หลาย ภิกษุผูป้ ระกอบองค์ ๕ ไม่ต้องถือนสิ ัยอยู่ คอื
๑. ประกอบดว้ ยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ประกอบดว้ ยกองสมาธิ อันเปน็ ของพระอเสขะ
๓. ประกอบด้วยกองปญั ญา อนั เปน็ ของพระอเสขะ
๔. ประกอบดว้ ยกองวิมตุ ติ อนั เป็นของพระอเสขะ
๕. ประกอบดว้ ยกองวมิ ุตตญิ าณทัสสนะ อนั เป็นของพระอเสขะ
ดกู ่อนภิกษุทัง้ หลาย ภิกษผุ ปู้ ระกอบด้วยองค์ ๕ นแี้ ล ไม่ต้องถือนสิ ยั อยู่

210 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

องค์ ๕ แห่งภกิ ษผุ ู้ต้องถอื นสิ ัย

ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อ่ืนอีก จะไม่ถือนิสัย
อยู่ไม่ได้ คอื

๑. เป็นผูไ้ ม่มีศรทั ธา
๒. เปน็ ผู้ไมม่ ีหิริ
๓. เป็นผ้ไู ม่มโี อตตปั ปะ
๔. เป็นผ้เู กยี จครา้ น และ
๕. เป็นผมู้ ีสติฟัน่ เฟอื น
ดูกอ่ นภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผ้ปู ระกอบด้วยองค์ ๕ น้แี ล จะไมถ่ ือนสิ ยั อยู่ไม่ได้

องค์ ๕ แห่งภกิ ษผุ ไู้ มต่ ้องถอื นสิ ัย

ดูก่อนภิกษทุ ัง้ หลาย ภิกษผุ ปู้ ระกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ตอ้ งถอื นสิ ยั อยู่ คอื
๑. เป็นผู้มศี รทั ธา
๒. เปน็ ผูม้ หี ิริ
๓. เปน็ ผมู้ ีโอตตัปปะ
๔. เป็นผ้ปู รารภความเพียร และ
๕. เป็นผมู้ สี ติตงั้ มนั่
ดูก่อนภกิ ษุทัง้ หลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ น้ีแล ไมต่ อ้ งถือนสิ ัยอยู่

องค์ ๕ แห่งภกิ ษุผู้ตอ้ งถอื นสิ ยั

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อ่ืนอีก จะไม่ถือนิสัย
อยู่ไม่ได้ คือ

พรรษาที่ ๑๑ 211

๑. เปน็ ผู้วบิ ัติดว้ ยศลี ในอธศิ ลี
๒. เปน็ ผู้วบิ ัติดว้ ยอาจาระ ในอธั ยาจาระ
๓. เปน็ ผู้วบิ ัตดิ ว้ ยทฏิ ฐิ ในทิฏฐิย่ิง
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย และ
๕. เปน็ ผูม้ ปี ัญญาทราม
ดูกอ่ นภกิ ษุทง้ั หลาย ภกิ ษผุ ้ปู ระกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไมถ่ ือนสิ ัยอยู่ไม่ได้

องค์ ๕ แห่งภกิ ษุผู้ไมต่ ้องถอื นสิ ยั

ดกู ่อนภิกษุทัง้ หลาย ภิกษผุ ้ปู ระกอบด้วยองค์ ๕ ไมต่ อ้ งถือนสิ ยั อยู่ คอื
๑. เป็นผู้ไมว่ ิบัติด้วยศลี ในอธศิ ีล
๒. เป็นผไู้ มว่ บิ ัติดว้ ยอาจาระ ในอัธยาจาระ
๓. เป็นผูไ้ ม่วิบัติด้วยทฏิ ฐิ ในทิฏฐิยง่ิ
๔. เปน็ ผ้ไู ดย้ นิ ไดฟ้ งั มาก และ
๕. เปน็ ผู้มปี ญั ญา
ดกู อ่ นภิกษุทัง้ หลาย ภกิ ษผุ ้ปู ระกอบดว้ ยองค์ ๕ นี้แล ไมต่ ้องถอื นิสยั อยู่

องค์ ๕ แห่งภกิ ษผุ ู้ตอ้ งถือนสิ ยั

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสัย
อย่ไู มไ่ ด้ คือ

๑. ไม่รูจ้ ักอาบตั ิ
๒. ไมร่ จู้ ักอนาบตั ิ
๓. ไม่ร้จู ักอาบตั เิ บา
๔. ไมร่ จู้ กั อาบัติหนกั และ

212 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๕. เธอจำ� ปาตโิ มกขท์ งั้ ๒ ไมไ่ ดด้ โี ดยพสิ ดาร จำ� แนกไมไ่ ดด้ ว้ ยดี ไมค่ ลอ่ งแคลว่ ดี
วนิ จิ ฉัยไมเ่ รยี บร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ

ดกู อ่ นภิกษทุ ง้ั หลาย ภกิ ษุผ้ปู ระกอบดว้ ยองค์ ๕ นี้แล จะไมถ่ ือนิสยั อยู่ไม่ได้

องค์ ๕ แห่งภกิ ษผุ ู้ไมต่ อ้ งถือนสิ ัย

ดกู ่อนภิกษุทั้งหลาย ภกิ ษผุ ปู้ ระกอบด้วยองค์ ๕ ไมต่ อ้ งถอื นสิ ยั อยู่ คอื
๑. ร้จู กั อาบตั ิ
๒. รจู้ กั อนาบัติ
๓. รู้จักอาบตั ิเบา
๔. รจู้ กั อาบตั ิหนัก และ
๕. เธอจ�ำปาตโิ มกข์ทั้ง ๒ ได้ดโี ดยพิสดาร จำ� แนกดี คลอ่ งแคล่วดี วินจิ ฉยั
เรยี บร้อย โดยสตุ ตะ โดยอนพุ ยัญชนะ
ดกู ่อนภกิ ษทุ ั้งหลาย ภกิ ษผุ ปู้ ระกอบด้วยองค์ ๕ น้แี ล ไม่ตอ้ งถอื นสิ ัยอยู่

องค์ ๕ แหง่ ภกิ ษุผู้ต้องถอื นสิ ัย

ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อ่ืนอีก จะไม่ถือนิสัย
อย่ไู ม่ได้ คอื

๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จกั อนาบัติ
๓. ไม่รจู้ กั อาบัตเิ บา
๔. ไมร่ จู้ ักอาบตั ิหนัก และ
๕. มพี รรษาหยอ่ น ๕
ดกู อ่ นภิกษุท้งั หลาย ภกิ ษุผู้ประกอบดว้ ยองค์ ๕ น้ีแล จะไมถ่ ือนสิ ัยอยู่ไม่ได้

พรรษาที่ ๑๑ 213

องค์ ๕ แหง่ ภกิ ษุผูไ้ ม่ตอ้ งถอื นสิ ัย

ดูก่อนภกิ ษุทั้งหลาย ภิกษผุ ู้ประกอบดว้ ยองค์ ๕ ไม่ตอ้ งถือนิสยั อยู่ คือ
๑. รจู้ กั อาบตั ิ
๒. รู้จกั อนาบัติ
๓. รู้จกั อาบตั เิ บา
๔. ร้จู กั อาบัติหนัก และ
๕. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ดกู อ่ นภกิ ษุทง้ั หลาย ภิกษุผูป้ ระกอบดว้ ยองค์ ๕ น้แี ล ไม่ตอ้ งถอื นสิ ัยอยู่

องค์ ๖ แห่งภกิ ษุผู้ตอ้ งถือนสิ ยั

ดูก่อนภกิ ษทุ ง้ั หลาย ภกิ ษผุ ูป้ ระกอบดว้ ยองค์ ๖ จะไมถ่ ือนสิ ยั อยู่ไมไ่ ด้
๑. ไม่ประกอบดว้ ยกองศลี อันเปน็ ของพระอเสขะ
๒. ไม่ประกอบดว้ ยกองสมาธิ อันเปน็ ของพระอเสขะ
๓. ไมป่ ระกอบดว้ ยกองปัญญา อันเปน็ ของพระอเสขะ
๔. ไม่ประกอบดว้ ยกองวิมตุ ติ อันเปน็ ของพระอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยกองวมิ ตุ ตญิ าณทัสสนะ อันเปน็ ของพระอเสขะ และ
๖. มพี รรษาหยอ่ น ๕
ดกู อ่ นภิกษุท้ังหลาย ภิกษุผปู้ ระกอบด้วยองค์ ๖ น้ีแล จะไมถ่ อื นสิ ยั อยู่ไมไ่ ด้

องค์ ๖ แหง่ ภกิ ษผุ ไู้ ม่ต้องถอื นิสยั

ดูก่อนภกิ ษุท้ังหลาย ภิกษผุ ปู้ ระกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ตอ้ งถือนิสัยอยู่ คอื
๑. ประกอบด้วยกองศลี อนั เปน็ ของพระอเสขะ
๒. ประกอบดว้ ยกองสมาธิ อนั เปน็ ของพระอเสขะ

214 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อนั เปน็ ของพระอเสขะ
๔. ประกอบด้วยกองวมิ ุตติ อันเป็นของพระอเสขะ
๕. ประกอบด้วยกองวิมตุ ติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และ
๖. มีพรรษาได้ ๕ หรอื มพี รรษาเกนิ ๕
ดกู อ่ นภกิ ษุท้ังหลาย ภิกษผุ ้ปู ระกอบด้วยองค์ ๖ น้แี ล ไมต่ อ้ งถือนสิ ัยอยู่

องค์ ๖ แห่งภกิ ษผุ ู้ตอ้ งถือนสิ ัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อ่ืนอีก จะไม่ถือนิสัย
อยู่ไม่ได้ คอื

๑. เปน็ ผไู้ มม่ ีศรทั ธา
๒. เปน็ ผู้ไม่มหี ิริ
๓. เป็นผไู้ มม่ ีโอตตปั ปะ
๔. เป็นผู้เกยี จครา้ น
๕. เป็นผมู้ สี ติฟนั่ เฟือน และ
๖. มพี รรษาหยอ่ น ๕
ดกู ่อนภิกษทุ ้ังหลาย ภิกษุผู้ประกอบดว้ ยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถอื นสิ ยั อยู่ไม่ได้

องค์ ๖ แห่งภกิ ษุผไู้ ม่ตอ้ งถอื นสิ ัย

ดกู ่อนภกิ ษุทั้งหลาย ภกิ ษผุ ูป้ ระกอบดว้ ยองค์ ๖ ไมต่ อ้ งถอื นิสัยอยู่ คอื
๑. เป็นผูม้ ีศรัทธา
๒. เปน็ ผมู้ หี ิริ
๓. เปน็ ผ้มู ีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้ปรารภความเพยี ร

พรรษาท่ี ๑๑ 215

๕. เป็นผู้มีสตติ ้งั ม่ัน และ
๖. มพี รรษาได้ ๕ หรอื มพี รรษาเกิน ๕
ดูกอ่ นภิกษุท้ังหลาย ภกิ ษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ น้ีแล ไมต่ อ้ งถือนสิ ยั อยู่

องค์ ๖ แหง่ ภกิ ษุผ้ตู อ้ งถือนสิ ยั

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อ่ืนอีก จะไม่ถือนิสัย
อยู่ไมไ่ ด้ คอื

๑. เป็นผูว้ บิ ัติดว้ ยศีล ในอธศิ ลี
๒. เปน็ ผวู้ บิ ตั ดิ ้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ
๓. เป็นผวู้ บิ ตั ดิ ้วยทฏิ ฐิ ในทฏิ ฐยิ ิง่
๔. เป็นผไู้ ดย้ นิ ได้ฟงั น้อย
๕. เป็นผูม้ ปี ญั ญาทราม และ
๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ดูกอ่ นภิกษุทง้ั หลาย ภกิ ษุผูป้ ระกอบดว้ ยองค์ ๖ นแี้ ล จะไม่ถือนสิ ัยอยูไ่ ม่ได้

องค์ ๖ แหง่ ภกิ ษผุ ู้ไม่ต้องถอื นสิ ยั

ดูกอ่ นภกิ ษทุ งั้ หลาย ภิกษผุ ้ปู ระกอบด้วยองค์ ๖ ไมต่ ้องถอื นสิ ัยอยู่ คอื
๑. เป็นผู้ไมว่ บิ ัติด้วยศลี ในอธิศีล
๒. เปน็ ผไู้ ม่วิบัติดว้ ยอาจาระ ในอัธยาจาระ
๓. เป็นผูไ้ มว่ ิบัติด้วยทฏิ ฐิ ในทฏิ ฐิย่ิง
๔. เปน็ ผู้ไดย้ นิ ไดฟ้ ังมาก
๕. เป็นผู้มปี ญั ญา และ
๖. มพี รรษาได้ ๕ หรอื มพี รรษาเกนิ ๕
ดกู อ่ นภกิ ษุท้งั หลาย ภิกษผุ ูป้ ระกอบด้วยองค์ ๖ นแ้ี ล ไม่ตอ้ งถอื นิสยั อยู่

216 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

องค์ ๖ แห่งภกิ ษุผตู้ ้องถอื นสิ ัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสัย
อยู่ไม่ได้ คอื

๑. ไมร่ ูจ้ กั อาบัติ
๒. ไม่รู้จกั อนาบัติ
๓. ไมร่ จู้ กั อาบตั เิ บา
๔. ไม่รจู้ กั อาบตั หิ นกั
๕. เธอจำ� ปาตโิ มกขท์ ง้ั ๒ ไมไ่ ดด้ โี ดยพสิ ดาร จำ� แนกไมไ่ ดด้ ว้ ยดี ไมค่ ลอ่ งแคลว่
ดี วนิ จิ ฉัยไมเ่ รยี บร้อย โดยสุตตะ โดยอนพุ ยัญชนะ และ
๖. มพี รรษาหย่อน ๕
ดกู ่อนภิกษทุ ั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นแี้ ล จะไมถ่ อื นสิ ยั อยู่ไม่ได้

องค์ ๖ แห่งภกิ ษุผ้ไู มต่ อ้ งถอื นิสัย

ดกู ่อนภกิ ษทุ ้งั หลาย ภิกษผุ ปู้ ระกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ตอ้ งถอื นิสัยอยู่ คือ
๑. รู้จกั อาบัติ
๒. รจู้ ักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบตั ิเบา
๔. รจู้ กั อาบตั ิหนกั
๕. เธอจำ� ปาติโมกข์ท้งั ๒ ได้ดีโดยพสิ ดาร จำ� แนกดี คลอ่ งแคล่วดี วนิ จิ ฉยั
เรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนพุ ยญั ชนะ และ
๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกนิ ๕
ดกู ่อนภิกษทุ งั้ หลาย ภกิ ษุผ้ปู ระกอบดว้ ยองค์ ๖ น้ีแล ไมต่ ้องถือนิสัยอยู่

พรรษาท่ี ๑๑ 217

สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ไดท้ รงประมวลคณุ สมบตั ิ
แห่งภิกษุท่ีจะเป็น นิสสัยมุตติ คือพ้นนิสัยได้ ไว้ในวินัยมุขเล่ม ๒ ดังต่อไปน้ี
“ภกิ ษุผมู้ ีพรรษาได้ ๕ แล้ว แตย่ ังหย่อน ๑๐ ไดช้ ่ือว่า มชั ฌิมะ แปลวา่ ผปู้ านกลาง
มีองค์สมบัติพอรักษาตนอยู่ตามล�ำพังได้ ทรงพระอนุญาตให้พ้นจากนิสัยอยู่ตาม
ล�ำพังได้ เรียกว่า นิสสัยมุตตกะ ฝ่ายภิกษุผู้มีความรู้ไม่พอจะรักษาตน แม้พ้น
พรรษา ๕ แล้ว ก็ตอ้ งถอื นสิ ยั องคส์ มบัตทิ ่กี ำ� หนดไวใ้ นบาลอี ยา่ ง อุกฤษฏ์ เป็นคุณ
ของพระอรหันต์ แต่ผ่อนลงมาเป็นหมวด ๆ จนถึงเป็นคุณของภิกษุกัลยาณปุถุชน
จกั ยน่ กล่าวเฉพาะองค์อันสมแก่ภกิ ษุในบดั น้ี

๑. เปน็ ผ้มู ศี รัทธา มีหริ ิ มีโอตตัปปะ มีวิรยิ ะ มีสติ
๒. เปน็ ผถู้ งึ พรอ้ มดว้ ยศลี อาจาระ ความเหน็ ชอบ เคยไดย้ นิ ไดฟ้ งั มาก มปี ญั ญา
๓. รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จ�ำปาติโมกข์ได้แม่นย�ำ
ทง้ั มีพรรษาได้ ๕ หรอื ย่งิ กว่า
องคเ์ หลา่ นีแ้ ม้บกพร่องบางอย่างก็ยังได้ ท่ีขาดไมไ่ ด้คือก�ำหนดพรรษา″

ชีวกโกมารภัจจ๔์

พระอาจารย์ได้กลา่ วไวว้ ่า ในพรรษาท่ี ๑๑ ของพระพทุ ธเจา้ พระองค์ทรงจ�ำ
พรรษาท่บี า้ นทกั ขณิ าคิริ เอกนาฬา หรือที่ตำ� บลทักขิณาคิริ บ้านเอกนาฬา ในแคว้น
มคธ จงึ จะไดแ้ สดงเร่อื งของพระพทุ ธเจา้ ท่ีมาจากบาลแี ละอรรถกถาทั้งหลาย ขณะที่
ประทบั อยู่ในแคว้นมคธและเสดจ็ ผา่ นทกั ขิณาคิริ บ้านเอกนาฬา ตามทไ่ี ด้ค้นพบ

โดยสมยั นน้ั พระผมู้ พี ระภาคพทุ ธเจา้ ประทบั อยู่ ณ พระเวฬวุ นั อนั เปน็ สถาน
ทพี่ ระราชทานเหยอ่ื แกก่ ระแต เขตพระนครราชคฤหแ์ หง่ มคธรฐั ครงั้ นนั้ พระนครเวสาลี
เปน็ บรุ ีที่มงั่ คัง่ กวา้ งขวาง มคี นมาก มีคนคบั ค่ัง และมอี าหารหาไดง้ ่าย มปี ราสาท

๔ ว.ิ มหา. ๕/๑๒๘/๑๖๘.

218 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๗,๗๐๗ หลงั มเี รอื นยอด ๗,๗๐๗ หลงั มสี วนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แหง่ มสี ระโบกขรณี
๗,๗๐๗ สระ และมีนางคณิกาคือหญิงงามเมืองช่ือ อัมพปาลี เป็นสตรีทรงโฉม
สะคราญตานา่ เสนห่ า ประกอบดว้ ยผวิ พรรณเฉดิ ฉายยงิ่ ชำ� นาญในการฟอ้ นรำ� ขบั รอ้ ง
และประโคมดนตรี คนทง้ั หลายทมี่ คี วามประสงคจ์ ะพาตวั ไปรว่ มอภริ มยด์ ว้ ย ราคาตวั
คืนละ ๕๐ กษาปณห์ รือกหาปณะ พระนครเวสาลงี ามเพริศพริ้งยิง่ กวา่ วิมาน เพราะ
นางอัมพปาลหี ญงิ งามเมืองนั้น

ครงั้ น้ัน พวกคนมีทรพั ยค์ ณะหน่งึ เปน็ ชาวพระนครราชคฤห์ ได้เดินทางไป
พระนครเวสาลีด้วยกรณียะบางอย่าง และได้เห็นพระนครเวสาลีม่ังคั่งดังกล่าวน้ัน
ครน้ั พวกเขาเสรจ็ กรณยี ะนนั้ ในพระนครเวสาลแี ลว้ กลบั มาพระนครราชคฤหต์ ามเดมิ
เขา้ เฝา้ พระเจ้าพมิ พิสารจอมเสนามาคธราช ครนั้ แลว้ ได้กราบทลู เรือ่ งเมอื งเวสาลเี พ่อื
ทรงทราบ และได้กราบทูลว่า ขอเดชะฯ แมช้ าวเราจะตัง้ หญิงงามเมือง ข้ึนบ้างก็จะ
เป็นการดี พระราชารับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงเสาะหากุมารี ผู้มีลักษณะงาม
เชน่ นั้น ทคี่ วรจะคดั เลอื กใหเ้ ปน็ หญงิ งามเมอื ง

ก�ำเนิดชีวกโกมารภจั จ์

ก็ในสมัยนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีช่ือสาลวดี เป็นสตรีทรงโฉม
สะคราญตานา่ เสนห่ า ประกอบดว้ ยผวิ พรรณเฉดิ ฉายยง่ิ พวกคนมที รพั ยช์ าวพระนคร
ราชคฤห์ จงึ ไดค้ ดั เลอื กกมุ ารสี าลวดเี ปน็ หญงิ งามเมอื ง ครน้ั นางกมุ ารสี าลวดไี ดร้ บั การ
คดั เลอื กเปน็ หญงิ งามเมอื งแลว้ ไมช่ า้ นานเทา่ ไรนกั กไ็ ดเ้ ปน็ ผชู้ ำ� นาญการฟอ้ นรำ� ขบั รอ้ ง
บรรเลงเครื่องดนตรี คนที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ
๑๐๐ กษาปณห์ รอื กหาปณะ ครน้ั มชิ า้ มนิ าน นางสาลวดกี ต็ ง้ั ครรภ์ นางจงึ มคี วามเหน็
ว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็นที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใคร ๆ ทราบว่าเรามีครรภ์
ลาภผลของเราจักเสอ่ื มหมด ถ้ากระนนั้ เราควรแจ้งใหเ้ ขาทราบวา่ เป็นไข้ ต่อมานาง
ไดส้ ่งั คนเฝ้าประตไู ว้วา่ โปรดอยา่ ให้ชายใด ๆ เขา้ มา และผู้ใดถามหา จงบอกใหเ้ ขา
ทราบว่าเป็นไข้ คนเฝ้าประตูน้ัน รับค�ำนางสาลวดีหญิงงามเมืองว่า จะปฏิบัติตาม
ค�ำสั่งเช่นนั้น หลังจากน้ันอาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย


Click to View FlipBook Version