The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-03-12 11:48:04

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

Keywords: ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

พรรษาที่ ๙ 19

พระลกั ษณะ เหน็ วา่ ประกอบดว้ ยมหาปรุ ิสลกั ษณะ ก็มีความเลือ่ มใส และปรารถนา
ทจ่ี ะยกลกู สาวของตนถวาย จึงได้ทลู ใหท้ รงทราบความประสงค์ของตน พระพทุ ธเจา้
กไ็ ม่ได้ตรสั วา่ อยา่ งไร ฝ่ายพราหมณก์ ็รีบไปชวนนางพราหมณีผภู้ รยิ ากับธิดา มายังท่ี
ทไี่ ดพ้ บพระพทุ ธเจา้ นนั้ แตว่ า่ ไมไ่ ดพ้ บพระองคท์ รงยนื อยู่ ณ ทนี่ นั้ พบแตร่ อยพระบาท
พราหมณ์ก็บอกแก่นางพราหมณีผู้ภริยาว่า น้ีแหละเป็นรอยเท้าของบุรุษผู้น้ัน
นางพราหมณไี ดพ้ จิ ารณาดรู อยเทา้ กเ็ หน็ วา่ รอยเทา้ นไี้ มใ่ ชร่ อยเทา้ ของบคุ คลผบู้ รโิ ภคกาม
จงึ ไดบ้ อกแกพ่ ราหมณผ์ ้สู ามีพรอ้ มทั้งไดแ้ สดงลกั ษณะของรอยเทา้ ไว้โดยความว่า

รอยเท้าของคนท่ียังมีราคะเป็นรอยเท้ากระโหย่ง รอยเท้าของคนที่มีโทสะ
เป็นรอยเท้าท่ีมีลักษณะส้นบีบ รอยเท้าของคนหลงมีลักษณะที่กดลง ส่วนรอยเช่นนี้
เป็นรอยเท้าของคนท่มี หี ลงั คาเปดิ หมายความวา่ เปน็ คนสิน้ กเิ ลสแลว้

แต่ว่าพราหมณ์ไม่เช่ือ จึงได้พยายามเดินตามหา ก็ได้พบพระพุทธเจ้าเสด็จ
ไปประทบั อยใู่ นทอี่ กี แหง่ หนงึ่ ทใี่ กลก้ นั กไ็ ดก้ ราบทลู วา่ ไดน้ ำ� ธดิ ามาถวาย พระพทุ ธเจา้
กไ็ ดต้ รสั ทท่ี า่ นแสดงไวโ้ ดยปคุ ลาธษิ ฐานวา่ “ไดท้ รงเหน็ นางตณั หา นางอรดี นางราคา
ซง่ึ เปน็ ธดิ ามาร ผงู้ ดงามอยา่ งยงิ่ กย็ งั ไมท่ รงพอพระหฤทยั ไฉนจะมาทรงพอพระหฤทยั
กบั นางธิดาของพราหมณ์นี้ ซง่ึ เต็มไปด้วยมูตรแลกรีส″

นางมาคนั ทยิ าซงึ่ เปน็ ธดิ าของพราหมณไ์ ดฟ้ งั ดง่ั นน้ั กม็ คี วามโกรธ และผกู อาฆาต
ในพระพุทธเจ้าต้ังแต่บัดนั้น ด้วยคิดว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์นางก็บอกว่าไม่
ตอ้ งการ ไฉนจึงจะมารับสง่ั ว่าเตม็ ไปดว้ ยมูตรและกรีส

ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณี ซ่ึงเป็นบิดามารดาของนางได้มีความเล่ือมใส
ในพระพทุ ธเจา้ กไ็ ดข้ อบวชเปน็ ภกิ ษแุ ละภกิ ษณุ ี แตก่ อ่ นทจี่ ะบวช กไ็ ดฝ้ ากนางมาคนั ทยิ า
ไว้กับลุงชื่อว่า มาคันทิยะ ต่อมามาคันทิยะผู้เป็นลุงก็ได้น�ำนางมาคันทิยา ไปถวาย
พระเจา้ อุเทน พระเจ้าอเุ ทนก็ทรงรับไวเ้ ป็นพระมเหสอี กี องคห์ นงึ่ ๓

๓ สามาวตวี ตฺถุ ธมฺมปท. ๒/๒๗-๔๑.

20 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ประวัติโฆสกเศรษฐี

อนึ่ง ควรทราบเรื่องของโฆสกเศรษฐีท่ีเล่าไว้โดยความว่า โฆสกเศรษฐี
นั้นตามประวัติเป็นบุตรของหญิงนครโสเภณีในกรุงโกสัมพี เมื่อคลอดออกมาแล้ว
ก็ได้ถูกให้น�ำเอาไปทิ้ง เพราะว่าหญิงนครโสเภณีน้ัน โดยปกติเลี้ยงแต่ลูกหญิง
แต่ถ้าบังเอิญมีลูกเป็นชายก็ไม่เล้ียง ได้มีผู้ไปพบเด็กถูกท้ิงไว้ มีกาและสุนัขล้อม
อยู่เปน็ อันมาก กไ็ ด้เกบ็ เอาไปเลย้ี งไว้

ในวนั นัน้ เศรษฐีของกรุงโกสมั พไี ดไ้ ปเฝ้าพระเจา้ แผน่ ดินโดยปกติ ไดพ้ บกับ
ปุโรหิตได้ถามข้ึนว่า ดูดาวฤกษ์บ้างหรือเปล่า เป็นอย่างไรบ้าง ปุโรหิตก็บอกว่า
ดเู หมือนกัน เศรษฐีกถ็ ามขึน้ วา่ มเี ร่อื งอะไรบ้าง ปุโรหิตกบ็ อกวา่ เร่อื งอะไรอื่นก็ไมม่ ี
แตว่ า่ เดก็ ทเี่ กดิ ในวนั น้ี จกั เปน็ เศรษฐใี หญข่ องนคร เศรษฐไี ดฟ้ งั ดงั นน้ั กร็ บี ใหไ้ ปสบื ดวู า่
ภริยาของตนที่มีครรภ์แก่คลอดหรือยัง ก็ได้รับตอบว่า ยังไม่คลอด จึงได้ใช้ทาสี
ชื่อว่า กาลี ให้ไปเที่ยวค้นหาว่ามีเด็กคนไหนเกิดในวันน้ีบ้างหรือไม่ นางกาลีก็เที่ยว
ค้นไป จึงได้พบเด็กท่ีมีบุคคลผู้หน่ึงเก็บมาเล้ียงไว้ดั่งกล่าวนั้น จึงได้ขอซ้ือมามอบให้
แกเ่ ศรษฐี เศรษฐเี หน็ วา่ เปน็ ผชู้ าย จงึ ตงั้ ใจไวว้ า่ ถา้ ลกู ของเราคลอดออกมาเปน็ ผหู้ ญงิ
กจ็ ะตบแต่งใหเ้ ปน็ ภรยิ าสามีกนั แตถ่ ้าลูกของตนเกดิ มาเป็นผู้ชาย กจ็ ะฆา่ เดก็ น้ีเสยี

ตอ่ มา ภรยิ าของเศรษฐกี ค็ ลอดบตุ รออกมาเปน็ ชาย เศรษฐจี งึ คดิ ทจี่ ะฆา่ เดก็
ที่ซอ้ื มานั้น ไดใ้ ช้ให้นางกาลีนำ� เอาเดก็ ไปวางท่ปี ระตูคอกโค เพือ่ ว่าในตอนเช้า เมื่อโค
ออกจากคอกกจ็ ะไดเ้ หยยี บเดก็ แตค่ รน้ั ถงึ เวลาโคออกจากคอก โคทเ่ี ปน็ หวั หนา้ ฝงู กไ็ ด้
ไปยนื คลอ่ มเดก็ ไว้ ใหโ้ คตวั อนื่ ๆ เดนิ หลกี ไป เดก็ จงึ รอดได้ นางกาลกี ต็ อ้ งนำ� เดก็ กลบั มา

เศรษฐีก็ใช้วิธใี หม่ ให้น�ำเด็กไปวางไว้ทีท่ างเกวยี น เพื่อจะให้เกวียนท่อี อกแต่
เช้ามดื บดทับไป แต่เม่อื ถงึ เวลาท่เี กวยี นออกในเวลาเชา้ มืด โคทเี่ ทยี มเกวียนคันหน้า
เมอื่ ไปถงึ ทนี่ น้ั กส็ ลดั แอกออก และเมอ่ื ไดถ้ กู เทยี มเขา้ ใหม่ กห็ ยดุ นงิ่ ไมย่ อมไป จนเวลา
เช้าขึ้น คนขับเกวียนซึง่ เป็นหัวหนา้ ของหมูเ่ กวยี นน้ัน จึงไดเ้ ห็นเดก็ แล้วกเ็ ก็บเดก็ ไป
นางกาลีต้องไปตามซือ้ เอาเดก็ นั้นคนื มาใหม่

พรรษาท่ี ๙ 21

คราวนเ้ี ศรษฐใี ชใ้ หเ้ อาไปทงิ้ บนกอไมใ้ นปา่ ชา้ ผดี บิ ตอ้ งการจะใหส้ ตั วท์ ง้ั หลาย
มีสุนัขเป็นต้นที่มากินศพท�ำร้าย แต่เมื่อเอาเด็กไปทิ้งแล้ว ก็ไม่มีสัตว์อะไรท�ำร้าย
คนเลย้ี งแพะไดไ้ ปเหน็ เขา้ กไ็ ดเ้ กบ็ เอาเดก็ นนั้ ไปเลยี้ ง ฝา่ ยนางกาลี ไดก้ ลบั มาบอกเศรษฐี
เศรษฐีกใ็ หน้ างกาลีไปซอ้ื เอาเดก็ นน้ั กลบั มาอกี

คราวน้ีเศรษฐีได้ให้นางกาลีเอาไปโยนภูเขาท้ิง เมื่อนางกาลีได้น�ำเด็กไปโยน
ภเู ขาทง้ิ เดก็ กเ็ ผอญิ ไปตกบนกอไมท้ คี่ ลมุ อยบู่ นกอไผใ่ หญ่ คนตดั ไมไ้ ผเ่ พอ่ื นำ� ไปจกั สาน
ไปพบเข้าก็เก็บเอาไปเล้ียงไว้ เศรษฐีได้ทราบก็ให้นางกาลีไปซื้อเอากลับคืนมาอีก
ฝา่ ยเด็กกโ็ ตขน้ึ โดยลำ� ดับ

คราวนเ้ี ศรษฐไี ดค้ ดิ การใหโ้ หดรา้ ยยงิ่ ขน้ึ คอื ไดไ้ ปพบกบั นายชา่ งหมอ้ บอกวา่
ไดม้ อี วชาตบตุ รอยคู่ นหนงึ่ จะสง่ มา เมอื่ อวชาตบตุ รนนั้ มาแลว้ กใ็ หน้ ายชา่ งหมอ้ จบั ฟนั
เสียให้เป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ แล้วใส่ลงไปในตุ่ม แล้วเอาเข้าเผาในเตาเผาหม้อ
จะใหร้ างวลั ใหค้ มุ้ คา่ ในภายหลงั นายชา่ งหมอ้ กร็ บั คำ� เศรษฐจี งึ ไดเ้ รยี กเดก็ โฆสกะและ
สงั่ ใหไ้ ปพบนายชา่ งหมอ้ ใหน้ ำ� คำ� ไปวา่ ตามทส่ี ง่ั ใหท้ ำ� กจิ ไวอ้ ยา่ งหนงึ่ นนั้ จงทำ� ใหส้ ำ� เรจ็
โฆสกะจงึ ไดเ้ ดนิ ไปเพอ่ื จะไปยงั บา้ นของนายชา่ งหมอ้ กพ็ อดไี ปพบเอาบตุ รของเศรษฐเี อง
ซงึ่ กำ� ลงั เลน่ ขลบุ อยกู่ บั เพอื่ น บตุ รของเศรษฐนี นั้ เลน่ แพม้ าเปน็ อนั มาก จงึ ขอใหโ้ ฆสกะ
ช่วยเล่นแก้ เพราะว่าโฆสกะน้ันเป็นผู้ที่ช�ำนาญในการเล่นชนิดนี้ โฆสกะก็อ้างว่าได้
รบั คำ� สง่ั ใหไ้ ปหานายชา่ งหมอ้ บตุ รของเศรษฐกี ร็ บั วา่ จะไปแทน โฆสกะกก็ ำ� ชบั วา่ ตอ้ ง
บอกตามท่ีพ่อได้สั่งไว้ มิฉะนน้ั ก็จะเปน็ การผดิ คำ� ส่ัง เมอ่ื ลกู ของเศรษฐีรบั ค�ำแขง็ แรง
จึงยอมอยู่เล่นขลุบแทนลูกของเศรษฐี ลูกของเศรษฐีก็ได้ไปยังบ้านของช่างหม้อ
และไดน้ ำ� คำ� ทเ่ี ศรษฐสี งั่ ไวบ้ อกแกน่ ายชา่ งหมอ้ นายชา่ งหมอ้ กจ็ บั เอาลกู ของเศรษฐนี น้ั
ท�ำเหมอื นอยา่ งท่เี ศรษฐไี ด้สง่ั ไว้

ในตอนเยน็ วนั นนั้ โฆสกะก็กลับไปบา้ น เศรษฐถี ามวา่ ทำ� ไมจึงไม่ไป โฆสกะ
ก็เล่าให้ฟัง เศรษฐีเม่ือได้ยินดังน้ันก็มีความตกใจเป็นก�ำลัง ได้รีบไปหานายช่างหม้อ
นายชา่ งหมอ้ กร็ บี ออกมารับหนา้ บอกว่าไดป้ ฏบิ ัติตามท่เี ศรษฐีสงั่ ไว้เรียบรอ้ ยแล้ว

เรื่องน้ีแสดงว่า การประทุษร้ายแก่บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายนั้นย่อมมีผลสนอง
ด่งั ได้มพี ระพุทธภาษติ ที่ตรัสไว้ แปลความวา่

22 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

"บุคคลผู้ประทุษร้ายในบุคคลผู้มิได้ประทุษร้าย ผู้ไม่มีอาชญาด้วยอาชญา
ยอ่ มบรรลุถึงฐานะท้งั ๑๐ ฐานะใดฐานะหนงึ่ พลันทีเดียว คอื

๑. เวทนาทเ่ี ผด็ รอ้ น
๒. ความเสือ่ ม
๓. ความทำ� ลายแห่งสรีระ
๔. อาพาธท่หี นัก
๕. ความฟงุ้ ซา่ นแหง่ จิต
๖. อปุ สรรคจากพระเจา้ แผ่นดินหรือบา้ นเมือง
๗. การกล่าวตู่ท่ีทารณุ
๘. ความเสอื่ มส้นิ แห่งญาตทิ ั้งหลาย
๙. ความย่อยยบั แหง่ โภคะทงั้ หลาย
๑๐. ไฟไหม้บา้ น

และผนู้ น้ั เมอื่ กายแตกทำ� ลายตายไปแลว้ ยอ่ มเขา้ ถงึ นริ ยะ คอื ภพทไ่ี รค้ วามเจรญิ "

เศรษฐีน้ันแม้จะเสียบุตรไปเพราะการคิดท�ำลายโฆสกะ ก็ยังไม่ยอมหยุดย้ัง
ยังคิดต่อไปอีก จึงได้เขียนหนังสือถึงผู้จัดการเก็บส่วยในหมู่บ้านของเศรษฐีแห่งหนึ่ง
สั่งให้ผู้จัดการเก็บส่วยน้ันฆ่าอวชาตบุตรท่ีส่งไป แล้วให้ทิ้งไปในหลุมวัจจะให้เป็นการ
มดิ ชดิ แลว้ จะตอบแทนการกระทำ� นใี้ นภายหลงั ไดผ้ กู หนงั สอื นไี้ วท้ ชี่ ายผา้ ของโฆสกะเอง
ส่ังให้โฆสกะเดินทางไป โฆสกะน้ันอ่านหนังสือไม่ออก ก็ไม่ทราบข้อความว่าเขียน
อย่างไร โฆสกะได้ขอเสบียงเดินทาง เศรษฐีก็บอกว่า ได้มีเพ่ือนเศรษฐีอยู่คนหน่ึง
ในระหวา่ งทาง ให้ไปพักทนี่ ้ัน ไมต่ อ้ งนำ� เสบียงไป โฆสกะกเ็ ดนิ ทางไป เมอ่ื ไปถึงบ้าน
ของเศรษฐผี ้สู หายของเศรษฐผี ู้บดิ าเล้ยี ง กไ็ ดแ้ วะเขา้ ไปขอพกั

ฝา่ ยภรยิ าของเศรษฐนี น้ั เมอ่ื ไดส้ อบถาม ทราบวา่ เปน็ โฆสกะซง่ึ เปน็ บตุ รของ
เศรษฐใี นกรงุ โกสมั พี กย็ นิ ดรี บั รอง และจดั ทใี่ หพ้ กั เปน็ ทสี่ ขุ สบาย ในการจดั รบั รองนนั้
กไ็ ดใ้ ชท้ าสขี องธดิ าใหเ้ ปน็ ผทู้ ำ� เมอื่ ทาสขี องธดิ าเศรษฐจี ดั เสรจ็ แลว้ กไ็ ดก้ ลบั ไปทำ� กจิ
ให้แก่ธิดาเศรษฐี ฝ่ายธิดาเศรษฐีก็ว่ากล่าว เพราะใช้ให้ไปท�ำกิจอย่างหน่ึง แต่มัวไป

พรรษาที่ ๙ 23

ชักช้าอยู่ ทาสีก็เล่าความให้ฟังว่า โฆสกะซ่ึงเป็นเศรษฐีหนุ่มในกรุงโกสัมพีมาพัก
และภรยิ าของเศรษฐีคอื มารดาของธิดาเศรษฐีน้นั เปน็ ผใู้ ชใ้ หจ้ ดั รับรอง

ธิดาเศรษฐี เมอ่ื ได้ฟงั ชื่อวา่ โฆสกะ ก็เกดิ ความสนใจและเกดิ ความพอใจข้นึ
ทนั ที ในเรอ่ื งน้ไี ด้มพี ระพุทธภาษิตบทหนึ่งแสดงไว้ว่า

“ความรกั นัน้ ย่อมเกิดดว้ ยเหตุ ๒ อยา่ ง คือด้วยบุพเพสันนิวาส ความเคย
อยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน และด้วยการเก้ือกูลกันในปัจจุบัน เหมือนอย่างดอกอุบล
อาศยั น้�ำและเปอื กตมเกิดเจริญข้นึ ในน้�ำ ฉะนน้ั ″

ธดิ าเศรษฐเี มอ่ื เกดิ ความสนใจในโฆสกะแลว้ ไดล้ อบลงมายงั หอ้ งทโี่ ฆสกะพกั
ได้เห็นโฆสกะนอนหลับและเห็นหนังสือที่ผูกอยู่ท่ีชายผ้า ก็แก้เอาหนังสือน้ันมาอ่าน
เมอ่ื ทราบความในหนงั สอื นน้ั แลว้ กต็ กใจวา่ ไฉนจงึ ไดโ้ งเ่ ขลาจนถงึ ผกู หนงั สอื ทสี่ งั่ ใหฆ้ า่
ตวั เองมาด่งั นนั้ จึงไดไ้ ปเขียนหนังสือขนึ้ ใหม่ แก้ขอ้ ความเสยี ใหม่วา่ ให้ผจู้ ัดการเก็บ
สว่ ยนนั้ จดั การสขู่ อและตบแตง่ โฆสกะกบั ธดิ าของเศรษฐใี นบา้ นนนั้ ใหจ้ ดั การปลกู เรอื น
หอและจดั ทรพั ย์สมบตั ิใหโ้ ดยครบถ้วน

วนั รุง่ ขึ้น โฆสกะกเ็ ดนิ ทางตอ่ ไปถึงบ้านของผจู้ ัดการเก็บส่วย ก็ไดย้ ื่นหนังสือ
นนั้ ให้ ผจู้ ดั การเกบ็ ส่วยก็ได้จดั การให้เป็นไปตามหนงั สอื ท่เี ขยี นไว้น้นั ทุกประการ

ต่อมา เม่ือเศรษฐีในกรุงโกสัมพีได้ทราบข่าวด่ังนั้นก็ยิ่งมีความเสียใจ
เพราะทค่ี ดิ วา่ จะใหท้ ำ� อย่างไรกไ็ ม่เปน็ ตามทค่ี ดิ สกั อยา่ ง และตนกต็ ้องเสยี บตุ รไปด้วย
มีความเสียใจมากขึ้นจนถึงล้มป่วยลง เม่ือป่วยหนัก ก็ส่งคนไปให้ตามโฆสกะมาพบ
แตว่ า่ ผทู้ มี่ าตามนนั้ กม็ าพบกบั ภรยิ าของโฆสกะกอ่ น ภรยิ าของโฆสกะกร็ บั รองและเกบ็
ความไว้ ยงั ไมบ่ อกแก่โฆสกะผสู้ ามี ต่อมาเม่อื เศรษฐมี ีอาการเพียบหนัก สง่ คนมาให้
ตามอกี ภรยิ าของโฆสกะจงึ ไดบ้ อกแกโ่ ฆสกะแลว้ ไดพ้ ากนั ไปพบ ในขณะทไี่ ปพบนน้ั
ภริยาก็ให้โฆสกะผู้สามียืนอยู่ที่เท้า ส่วนตนเองยืนอยู่ค่อนมาทางศีรษะของเศรษฐี
ฝ่ายเศรษฐีปรารถนาที่จะพูดว่า จะไม่ยกสมบัติให้ แต่ก็พูดออกมาได้ยินแต่เพียงว่า
ให้ ภริยาของโฆสกะก็รีบแสดงอาการเศร้าโศก ซบศีรษะท่ีอกของเศรษฐีซึ่งก�ำลัง
ปว่ ยหนกั เศรษฐกี ส็ ิ้นชีวติ ลงในขณะน้ัน

24 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เม่ือเศรษฐีส้ินชีวิตแล้ว พระเจ้าอุเทนทรงทราบ ก็ได้โปรดให้ท�ำสรีรกิจของ
เศรษฐี และได้รบั ส่ังให้โฆสกะผบู้ ตุ รของเศรษฐีมาเฝ้าเพือ่ จะทรงแต่งต้ังให้เปน็ เศรษฐี
วันนนั้ ฝนตก นำ้� ฝนขงั นองท้องพระลานหลวง เมื่อโฆสกะเข้าไปเฝ้ากก็ ระโดดขา้ มไป
แต่เมื่อเข้าไปเฝ้าและได้รับพระราชก�ำหนดว่าจักทรงแต่งต้ังเป็นเศรษฐี ก็เดินออกมา
โดยเรียบร้อย พระเจา้ อเุ ทนทอดพระเนตรทางช่องพระแกล ทอดพระเนตรเหน็ ดง่ั น้นั
กท็ รงเรยี กเขา้ ไปอกี รบั สงั่ ถามวา่ เมอ่ื ขาเขา้ มา กระโดดโลดเตน้ เขา้ มา เมอื่ ขาออกไป
เดินออกไปอยา่ งเรียบร้อย เพราะเหตุไร ? โฆสกะกก็ ราบทูลวา่ เมือ่ ตอนท่ีเข้ามาน้นั
ยังมิได้รับก�ำหนดฐานันดร ยังเป็นเด็ก จึงปฏิบัติอาการอย่างเด็กได้ แต่ว่าเมอ่ื ไดร้ บั
ก�ำหนดฐานันดรเป็นผู้ใหญ่ข้ึนแล้ว ก็ต้องแสดงอาการของผู้ใหญ่ พระเจ้าอุเทน
กโ็ ปรดวา่ เป็นผมู้ ีสติปัญญา ก็ได้โปรดพระราชทานต�ำแหน่งเศรษฐใี นเวลาน้ันทีเดียว

เม่ือโฆสกเศรษฐีกลับบ้าน ภริยาได้แย้มสรวล เพราะได้คิดว่า โฆสกะรอด
ตายมา เพราะความคดิ ของตน โฆสกะไดเ้ หน็ อาการเช่นน้ัน ก็ได้คาดคั้นถาม ภริยา
ไดบ้ อกใหท้ ราบ โฆสกะกย็ งั ไมเ่ ชอ่ื ภรยิ ากอ็ า้ งทาสที ช่ี อื่ วา่ กาลเี ปน็ พยาน นางกาลกี ไ็ ด้
แจง้ ใหโ้ ฆสกะทราบโดยตลอด โฆสกะเมอ่ื ไดท้ ราบดง่ั นน้ั กม็ คี วามสงั เวชใจ ไดต้ งั้ โรงทาน
บริจาคอาหารเป็นต้นแก่คนก�ำพร้าและคนเดินทาง เป็นต้น คนจัดการโรงทานช่ือว่า
มติ ตกฏุ มุ พี และทโี่ รงทานนเี้ อง พระนางสามาวดไี ดเ้ ขา้ ไปขออาหาร จนถงึ โฆสกเศรษฐี
ได้รบั เขา้ ไปเป็นบตุ รบี ญุ ธรรมตามท่เี ล่ามาแลว้ ๔

จะได้เล่าเร่ืองเกี่ยวแก่พระพุทธศาสนาในกรุงโกสัมพีต่อไป เม่ือพระพุทธเจ้า
ได้เสด็จประทับจ�ำพรรษาในกรุงโกสัมพีน้ัน เศรษฐีท้ัง ๓ มีโฆสกเศรษฐีเป็นต้น
ได้ถวายอุปการะผลัดเปล่ียนกันโดยตลอด นายช่างดอกไม้ท่ีเรียกว่า นายมาลาการ
ชือ่ ว่า สุมนะ เป็นอุปัฏฐาก คอื ผู้ช่วยรับท�ำการงานของเศรษฐีทัง้ ๓ ได้ขออนุญาต
นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปเสวยและฉันภัตตาหารในวันหนึ่ง และโดยปกติ

๔ สามาวตวี ตฺถุ ธมฺมปท. ๒/๘-๒๗.

พรรษาท่ี ๙ 25

พระเจา้ อเุ ทนไดพ้ ระราชทานมลู คา่ ดอกไมใ้ หแ้ กพ่ ระมเหสที งั้ ๓ นนั้ สำ� หรบั ซอื้ ดอกไม้
เป็นประจ�ำวัน นางทาสีหรือข้าหลวงของพระนางสามาวดีชื่อว่า ขุชชุชตรา เป็นผู้
มาซื้อดอกไม้ของนายสุมนะเป็นประจ�ำ ในวันน้ันเม่ือมาซ้ือดอกไม้ นายสุมนะก็
ชักชวนใหอ้ ยู่ชว่ ยเล้ยี งพระและฟังธรรมด้วยกันกอ่ น เมอ่ื ไดท้ ำ� การเลย้ี งพระเสรจ็ แลว้
พระพทุ ธเจ้ากไ็ ดท้ รงอนุโมทนา

ธรรมเนยี มอนโุ มทนาในสมัยนัน้ มีกลา่ วไวว้ า่ โดยปกติ เม่อื ทายกต้องการจะ
ฟงั อนุโมทนาจากพระรูปใด ก็รบั บาตรของพระรูปนน้ั ไว้ และพระรูปอื่นกก็ ลับไปกอ่ น
พระท่ีอยู่เพื่ออนุโมทนานั้นก็กล่าวอนุโมทนา อนุโมทนาน้ันก็คือแสดงธรรมนั่นเอง
แตเ่ ปน็ แสดงธรรมอยา่ งยอ่ ๆ ดงั บทอนโุ มทนาทต่ี ดิ มาใชส้ วดในบดั น้ี กม็ หี ลายบททม่ี ี
เนื้อความเป็นการแสดงธรรม แต่บทอนุโมทนาที่แต่งประกอบในภายหลังที่ลังกา
เป็นบทให้พรเปน็ สว่ นมาก

ในวนั นนั้ นายสมุ นะกไ็ ดร้ บั บาตรของพระพทุ ธเจา้ ไว้ แสดงวา่ มงุ่ จะใหพ้ ระพทุ ธเจา้
ประทบั อยอู่ นโุ มทนาคอื แสดงธรรม พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดท้ รงแสดงธรรม เปน็ การอนโุ มทนา
นางขุชชชุ ตราไดพ้ ลอยฟังดว้ ย ก็ไดด้ วงตาเห็นธรรม ในวันอื่น ๆ นางขชุ ชชุ ตราได้ยกั
เอาค่าดอกไม้ไว้คร่ึงหน่ึง แต่ในวันน้ันได้ซื้อดอกไม้เต็มราคา ได้น�ำไปมอบแก่
พระนางสามาวดี เม่ือได้ถูกซักถามว่า วันน้ีท�ำไมดอกไม้จึงมาก นางขุชชุชตรา
ก็รับตามความเป็นจริง และว่า ไม่ท�ำเหมือนอย่างเก่าก็เพราะได้ฟังธรรมของ
พระพุทธเจ้า พระนางสามาวดีก็ขอให้นางขุชชุชตราแสดงธรรมให้ฟัง นางขุชชุชตรา
ก็ขอให้จัดท่ีแสดงธรรม และเมื่อได้ช�ำระกาย แต่งกายสะอาดเรียบร้อยก็ขึ้นท่ี
แสดงธรรม และแสดงธรรมใหพ้ ระนางสามาวดกี บั บรวิ ารฟงั พระนางสามาวดเี มือ่ ได้
ฟงั ธรรมของนางขชุ ชชุ ตราทจี่ ำ� มาจากพระพทุ ธเจา้ กไ็ ดด้ วงตาเหน็ ธรรมพรอ้ มกบั บรวิ าร
ตอ่ จากนน้ั กไ็ ด้สง่ นางขุชชชุ ตราไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและมาแสดงตอ่ ให้ฟังอยู่
เนืองนติ ย์ เพราะวา่ ไมส่ ามารถจะออกไปจากพระราชฐานได้ ต่อมาพระนางสามาวดี
กไ็ ดเ้ จาะหอ้ งทตี่ ำ� หนกั เพอื่ จะไดค้ อยดพู ระพทุ ธเจา้ และพระสาวก เมอ่ื เสดจ็ ไปยงั บา้ น
ของเศรษฐที ั้ง ๓

26 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ผูอ้ ดทนคอื ผู้ฝึกตนดีแลว้

วันหน่ึง พระนางมาคันทิยาซ่ึงได้ผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้าไว้ ได้ขึ้นไปยัง
ต�ำหนักของพระนางสามาวดี ได้เห็นช่องท่ีเจาะไว้ท่ีฝา ก็ได้ซักถาม จึงได้ทราบว่า
พระพทุ ธเจา้ ไดเ้ สดจ็ มายงั นครน้ี กห็ วนคดิ ถงึ เวรทไ่ี ดผ้ กู ไว้ กค็ ดิ จะจดั การใหพ้ ระพทุ ธเจา้
เสด็จออกไปจากนครโกสมั พี จึงได้ไปเฝา้ พระเจ้าอุเทน ทูลฟอ้ งวา่ พระนางสามาวดี
มีพระหฤทัยออกห่าง เพราะได้เจาะช่องฝาเพ่ือจะคอยดูพระพุทธเจ้าและพระสาวก
พระเจา้ อุเทนกไ็ ดเ้ สดจ็ ขึ้นไปบนต�ำหนกั ของพระนางสามาวดี เมอื่ ไดท้ รงเหน็ ชอ่ งฝาที่
ไดเ้ จาะไว้น้นั ก็ไมต่ รัสว่าอยา่ งไร กลับตรสั ให้ทำ� ชอ่ งหนา้ ต่างหรอื ช่องบานพระแกลไว้
เพอื่ ใหใ้ ช้เปดิ เป็นหนา้ ตา่ งต่อไป

พระนางมาคันทิยาเห็นว่าไม่เป็นไปตามท่ีต้องการ จึงได้จัดการจ้างพวกชาว
เมอื งซงึ่ เปน็ ผไู้ มเ่ ลอื่ มใสในพระรตั นตรยั ใหค้ อยตามดา่ พระพทุ ธเจา้ พวกทไ่ี มเ่ ลอื่ มใส
เหล่านั้นก็ได้คอยติดตามพระพุทธเจ้า และด่าด้วยถ้อยค�ำที่ยกข้ึนด่าอย่างหยาบคาย
ที่กล่าวไว้ว่ามี ๑๐ ประการ คือด่าว่าเจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นพาล เจ้าเป็นคนหนวก
เจา้ เปน็ อฐู เจ้าเป็นโค เจ้าเป็นฬา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน สุคติของ
เจา้ ไมม่ ี เจา้ หวังทุคตไิ ด้เท่านนั้

ทา่ นพระอานนทซ์ งึ่ ไดต้ ดิ ตามมากบั พระพทุ ธเจา้ ไดก้ ราบทลู ขอใหพ้ ระพทุ ธเจา้
เสดจ็ หลกี ออกไปจากเมอื งนน้ั พระพทุ ธเจา้ ตรสั ถามวา่ จะใหไ้ ปทไ่ี หน พระอานนทท์ ลู วา่
จะไปเมืองอื่น พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสถามว่า ก็เมื่อมนุษย์ในเมืองน้ันด่าอีก จะไปท่ี
ไหนอีก พระอานนท์ก็ทูลว่าไปเมืองอ่ืนอีกจากเมืองน้ัน พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า
เมื่อถูกด่าในเมืองนั้นอีก จะไปที่ไหนอีก พระอานนท์ทูลว่า จะไปเมืองอ่ืน ๆ
ต่อไป พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า จะท�ำอย่างน้ันไม่สมควร อธิกรณ์น้ันเกิดขึ้นในที่ใด
เมอ่ื อธกิ รณน์ น้ั สงบไปแลว้ ในทนี่ น้ั จงึ ควรทจี่ ะไปในทอ่ี น่ื และตรสั ถามวา่ พวกทดี่ า่ นน้ั
เป็นใคร พระอานนท์ก็ทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า การอดทนเป็นภาระของพระองค์
พวกเหล่านั้นก็จะด่าอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่าน้ัน เพราะว่าอธิกรณ์คือเรื่องที่เกิดข้ึนแก่
พระพุทธเจ้าทง้ั หลายไมไ่ ปเกินกวา่ ๗ วัน ไดท้ รงเปล่งพระพทุ ธอุทานขึน้ โดยความว่า
“เราจักอดทนค�ำล่วงเกิน เหมือนอย่างช้างศึกอดทนศรที่ตกจากแล่งในสงคราม

พรรษาท่ี ๙ 27

เพราะว่าชนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล ชนท้ังหลายย่อมน�ำพาหนะท่ีฝึกแล้วสู่ที่ประชุม
พระราชาย่อมประทับพาหนะท่ีฝึกแล้ว บุคคลใดเป็นผู้ที่อดทนค�ำล่วงเกิน บุคคลนั้น
ชอื่ วา่ เปน็ ผฝู้ กึ แลว้ เปน็ ผปู้ ระเสรฐิ สดุ ลำ้� มนษุ ยท์ งั้ หลาย มา้ อสั ดรทฝี่ กึ แลว้ มา้ สนิ ธพ-
อาชาไนยที่ฝึกแล้ว มหานาคกุญชรคือช้างใหญ่ท่ีฝึกแล้ว เป็นสัตว์ท่ีประเสริฐ แต่ว่า
บุคคลผฝู้ กึ ตนได้แลว้ ประเสรฐิ กวา่ สัตวเ์ หลา่ นัน้ ″๕

พระนางมาคนั ทยิ า เมอ่ื ไมส่ ามารถจะใหพ้ ระพทุ ธเจา้ เสดจ็ ออกไปจากนครโกสมั พี
น้ันได้ ก็คิดอุบายต่อไป คือได้สั่งไปถึงมาคันทิยะผู้เป็นลุง ให้ส่งไก่ตายมาให้ตัวหนึ่ง
ไกเ่ ปน็ อกี ตวั หนงึ่ ในชนั้ แรกกใ็ หน้ ำ� ไกเ่ ปน็ มาถวายพระเจา้ อเุ ทนกอ่ น และเมอ่ื เขานำ� ไก่
เป็นมาถวาย ก็แนะน�ำพระเจ้าอุเทนให้ส่งไปให้คณะพระนางสามาวดีปรุงเครื่อง
เมอ่ื เขาสง่ ไกเ่ ปน็ นน้ั ไป คณะพระนางสามาวดกี ป็ ฏเิ สธ เพราะเปน็ ผไู้ มฆ่ า่ สตั ว์ พระนาง
มาคันทิยาก็ทูลยุแหย่ว่า ให้ลองดูต่อไป ให้ลองส่งไก่นั้นไปอีก และส่ังให้จัดการท�ำ
ภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้า พระเจ้าอุเทนก็รับส่ังไปอย่างนั้น แต่คราวนี้พระนาง
มาคนั ทยิ ากไ็ ดล้ อบสง่ั ใหส้ ง่ ไกต่ ายไป พระนางสามาวดเี มอ่ื ไดร้ บั คำ� สงั่ ดงั นนั้ กจ็ ดั การ
ปรุงภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้า พระนางมาคันทิยาทูลยุแหย่ว่า เป็นหลักฐานที่
เพยี งพอวา่ พระนางสามาวดีเอาใจออกห่าง พระเจา้ อเุ ทนก็ทรงนง่ิ

พระนางมาคนั ทยิ าเมอื่ ไมไ่ ดร้ บั ความสำ� เรจ็ สมประสงค์ กค็ ดิ การตอ่ ไป ไดส้ ง่ั
ให้มาคันทิยะผู้เป็นลุงจัดหางูพิษส่งมา แต่ว่าให้ถอนเขี้ยวออกเสีย เมื่อได้รับมาแล้ว
ก็จัดการใส่เข้าไปในพิณส�ำหรับดีดเรียกช้างของพระเจ้าอุเทนที่โปรดน�ำติดพระองค์ไป
ดว้ ยเสมอ เมอื่ ถงึ วาระทพี่ ระเจา้ อเุ ทนเสดจ็ ไปบนตำ� หนกั ของพระนางสามาวดี พระนาง
มาคันทยิ ากท็ ลู คัดค้านทำ� นองว่าจะเกดิ เหตรุ า้ ย พระเจ้าอุเทนกไ็ ม่ทรงเชอ่ื ฟัง ไดท้ รง
ถือพิณคันโปรดปรานนั้นน�ำติดพระองค์ไปยังต�ำหนักของพระนางสามาวดี พระนาง
มาคันทยิ ากไ็ ปดว้ ย และเมอ่ื ไดเ้ สดจ็ ข้ึนไปบนพระตำ� หนักนน้ั แล้ว พระนางมาคนั ทยิ า
กล็ อบเปดิ ชอ่ งทพ่ี ณิ งกู เ็ ลอ้ื ยออก พระนางมาคนั ทยิ ากร็ อ้ งเอะอะขน้ึ ทลู พระเจา้ อเุ ทน

๕ ขุ. ธ. ๒๕/๓๓/๕๗.

28 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ใหท้ รงทราบ พระเจา้ อเุ ทนเมอ่ื ไดเ้ หน็ เรอ่ื งเปน็ ไปไดถ้ งึ เพยี งนน้ั กก็ รวิ้ พระนางสามาวดี
รับส่ังให้เรียกเอาธนูและแล่ง ทรงธนูเพื่อจะยิงพระนางสามาวดี แต่พระนางสามาวดี
กแ็ ผเ่ มตตาจติ ไปยงั พระเจา้ อเุ ทนและพระนางมาคนั ทยิ า กบั สงั่ บรวิ ารใหแ้ ผเ่ มตตาจติ
ไปดว้ ยกนั พระเจา้ อเุ ทนกไ็ ดท้ รงกลบั พระหฤทยั ทกี่ ลา่ ววา่ เปน็ ไปดว้ ยอำ� นาจของเมตตาจติ
และเพราะไดท้ รงงนุ งงในพระหฤทยั จงึ ไดท้ รงขอใหพ้ ระนางสามาวดเี ปน็ ทพี่ งึ่ ตา้ นทาน
พระนางสามาวดีขอให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและถึงพระพุทธเจ้าเป็นท่ีพ่ึง พระเจ้าอุเทน
ทรงรบั และไดร้ บั สง่ั ประทานพรแกพ่ ระนางสามาวดี ตอ่ จากนน้ั กไ็ ดเ้ สดจ็ ไปเฝา้ พระพทุ ธเจา้
และนับถือพระพุทธศาสนา นับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เม่ือเสด็จกลับมาแล้ว
กร็ บั สงั่ ใหพ้ ระนางสามาวดขี อพรทพี่ ระราชทานไว้ พระนางสามาวดกี ท็ ลู วา่ ไมต่ อ้ งการ
พรอยา่ งอน่ื ประสงคว์ า่ จกั ทลู ขออนญุ าตนมิ นตพ์ ระพทุ ธเจา้ และพระภกิ ษสุ งฆม์ าถวาย
ภตั ตาหารในพระราชฐาน และทลู ขออนญุ าตเพอ่ื จะฟงั ธรรม พระเจา้ อเุ ทนทรงอนุญาต
แก่พระนางสามาวดี พระนางสามาวดีก็นิมนต์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์มาถวาย
ภัตตาหารที่ต�ำหนัก และทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาเนืองนิตย์ ในการเลี้ยงพระน้ี
พระเจา้ อเุ ทนกไ็ ดเ้ สดจ็ มาทรงรว่ มดว้ ย และไดก้ ราบทลู พระพทุ ธเจา้ เชญิ เสดจ็ มาประจำ�
เหมอื นอยา่ งนน้ั พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ ธรรมดาวา่ พระพทุ ธะทงั้ หลายจะเสดจ็ ไปในทแ่ี หง่
เดยี วนนั้ ไมส่ มควร เพราะวา่ ชนเปน็ อนั มากกย็ อ่ มมงุ่ หวงั พระเจา้ อเุ ทนกข็ อใหท้ รงมอบ
หมายแกภ่ กิ ษสุ กั รปู หนงึ่ พระพทุ ธเจา้ ไดท้ รงมอบหมายใหเ้ ปน็ ภาระของพระอานนทเถระ
ตง้ั แตน่ นั้ พระอานนทเถระไดไ้ ปฉนั ในราชตระกลู ไดแ้ สดงธรรมแกค่ ณะพระนางสามาวดี
อยเู่ ปน็ ประจ�ำ

ฝ่ายพระนางมาคันทิยาเห็นว่า เรื่องท่ีคิดไว้ไม่ส�ำเร็จทุกครั้ง ก็คิดการท่ีโหด
รา้ ยยง่ิ ขึ้น จึงไดใ้ ห้ไปตามลงุ ทชี่ ื่อวา่ มาคนั ทยิ ะเข้ามา และได้ร่วมคดิ การท่ีโหดร้ายไว้
ในวนั หนง่ึ เมอ่ื พระเจา้ อเุ ทนเสดจ็ ออกไปนอกพระนคร มาคนั ทยิ ะผเู้ ปน็ ลงุ ของพระนาง
มาคันทิยา ก็ตรงไปยังต�ำหนักพระนางสามาวดี ได้เปิดคลังผ้า น�ำเอาผ้าต่าง ๆ
ออกมาพนั เสาตำ� หนักและบริเวณตำ� หนักของพระนางสามาวดี เอาน้ำ� มันราด ได้อา้ ง
รบั สง่ั ของพระเจา้ อเุ ทนวา่ ใหป้ ฏบิ ตั เิ ชน่ นน้ั และใหค้ ณะของพระนางสามาวดเี ขา้ ไปรวม
อย่ใู นตำ� หนักทงั้ หมด เสร็จแล้วกจ็ ุดไฟเผาตำ� หนักพระนางสามาวดีกับบรวิ ารได้ถูกไฟ
คลอกสนิ้ ชวี ิตดว้ ยกนั ทง้ั หมด

พรรษาที่ ๙ 29

ฝ่ายพระเจา้ อเุ ทน เมอ่ื ไดท้ รงทราบข่าวว่าตำ� หนกั พระนางสามาวดถี กู ไฟไหม้
ก็ได้รบี เสด็จกลบั แตก่ ลับมาไมท่ นั ตอ่ มาก็ได้ทรงสอบสวนทราบบุคคลผเู้ ป็นต้นเหตุ
และบุคคลผู้ร่วมคิดกระท�ำการอันน้ี ก็ได้โปรดให้จัดการลงโทษจนถึงตายด้วยวิธีการ
อันรา้ ยแรงทง้ั หมด

ในขณะท่ีเกดิ เรือ่ งไฟไหม้ตำ� หนักคลอกพระนางสามาวดกี บั บริวารสน้ิ ชวี ิตน้นั
พระพทุ ธเจา้ ไดท้ รงทราบ ไดท้ รงเปลง่ พระพทุ ธอทุ านขนึ้ โดยความวา่ “โลกมโี มหะเปน็
เครอื่ งผกู พนั ยอ่ มปรากฏเหมอื นมรี ปู ทสี่ มควร คนพาลมอี ปุ ธคิ อื กเิ ลสเปน็ เครอื่ งผกู พนั
ถกู ความมดื แวดลอ้ ม ยอ่ มปรากฏเหมอื นอยา่ งเปน็ ผทู้ มี่ คี วามเทยี่ งอยู่ กเิ ลสเปน็ เครอื่ ง
กงั วลยอ่ มไมม่ แี ก่บคุ คลผ้ทู ี่เหน็ อยตู่ ามความเปน็ จรงิ ″๖

เรอ่ื งตอนพระนางสามาวดถี กู ไฟคลอกน้ี ทา่ นเลา่ ไวใ้ นอรรถกถาธรรมบทดว้ ยวา่
เม่ือจะส้ินชีวิต พระนางสามาวดีได้สอนให้บริวารเจริญเวทนาปริคคหกัมมัฏฐาน คือ
กมั มฏั ฐานที่ก�ำหนดเวทนาเป็นอารมณ์๗

เรอ่ื งในกรงุ โกสมั พที เ่ี ลา่ มาน้ี เลา่ ตามพระอรรถกถาจารยท์ เ่ี ลา่ ไวใ้ น อรรถกถา-
ธรรมบท ซึ่งไดแ้ ตง่ เมื่อพระพทุ ธศาสนาล่วงไปประมาณพนั ปี มีเค้าท่ีปรากฏในคัมภีร์
พระบาลีอยู่บ้าง เช่น โฆสการาม บ่งว่าเป็นอารามของบุคคลผู้ท่ีชื่อว่า โฆสกะ
สรา้ งถวายเปน็ ตน้ แตว่ า่ เรอื่ งของโฆสกะเปน็ อยา่ งไรนนั้ ยงั ไมพ่ บความพสิ ดารในชนั้ บาลี
พบแต่ในชั้นอรรถกถาที่เล่ามานั้น บางแห่งก็ส่องความเป็นเรื่องที่ผูกข้ึนในคร้ังหลัง
เชน่ เรอ่ื งที่เศรษฐกี รงุ โกสัมพเี ขียนหนงั สอื ส่งั ใหฆ้ ่าโฆสกะ ผกู ที่ชายผ้าของโฆสกะไป
ในครง้ั พทุ ธกาลนนั้ ยงั ไมพ่ บเรอื่ งการเขยี นหนงั สอื ฉะนนั้ เมอื่ มาแตง่ วา่ เขยี นหนงั สอื
ด่ังนนั้ กส็ ่องว่ารายละเอียดในตอนน้ันน่าจะผกู ขึ้นในตอนหลงั แตว่ ่าเค้าความกน็ ่าจะ
มีอยู่ เร่ืองพระนางสามาวดีถูกไฟคลอกมีในหลักฐานช้ันบาลี คือตอนท่ีพระพุทธเจ้า
ทรงเปล่งพระพุทธอุทานด่ังค�ำแปลน้ัน ก็ได้เล่าเรื่องว่าท�ำไมพระพุทธเจ้าจึงเปล่ง
พระพุทธอุทานนนั้ ไวด้ ว้ ย

๖ ขุ. อุ. ๒๕/๑๕๗/๒๐๕.
๗ สามาวตวี ตฺถุ ธมฺมปท. ๒/๔๖-๕๙.

30 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เรอื่ งที่เกิดขึ้นด่ังทเ่ี ลา่ นี้เปน็ เครือ่ งแสดงวา่ บุคคลทุก ๆ คนแมจ้ ะไดม้ โี อกาส
เกิดทันพระพุทธเจ้า ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรมต้ังแต่ชั้นต้นจนถึงชั้นสูง
แตก่ ต็ อ้ งเปน็ ไปตามกรรมทต่ี นไดท้ ำ� ไว้ พระพทุ ธเจา้ จะทรงชว่ ยใหบ้ คุ คลพน้ จากผลของ
กรรมชว่ั ทต่ี นไดท้ ำ� ไวน้ น้ั หาไดไ้ ม่ ทรงชว่ ยไดแ้ ตใ่ นดา้ นทรงแสดงธรรมเพอื่ ใหบ้ คุ คลเวน้
จากบาป บำ� เพ็ญกุศล และชำ� ระจติ ของตนให้ผอ่ งแผว้ จนถงึ ทำ� จิตของตนใหห้ ลดุ พ้น
พระพทุ ธเจา้ ทรงชว่ ยได้อยา่ งน้ี เพราะฉะนัน้ จึงปรากฏวา่ หลายครัง้ ทไ่ี ดท้ รงทราบว่า
ผู้นั้นผ้นู จ้ี ะได้รบั ผลของกรรมจนถึงสน้ิ ชวี ิตกไ็ ดร้ ีบเสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรด ใหไ้ ด้
ศรทั ธาในพระรตั นตรยั หรอื วา่ ไดด้ วงตาเหน็ ธรรมกอ่ น และเมอ่ื เปน็ เชน่ น้ี บคุ คลผนู้ นั้
ก็ได้ชื่อว่ามีท่ีพ่ึงของจิตใจเป็นอย่างดี ถึงจะต้องได้รับผลของกรรมอย่างร้ายแรงจนถึง
สนิ้ ชวี ติ กด็ ี แตก่ เ็ ปน็ ผทู้ มี่ คี ตคิ อื ทไี่ ปในทางดี พระพทุ ธเจา้ ยอ่ มทรงชว่ ยไดโ้ ดยประการนี้

และในเร่ืองของพระนางสามาวดีน้ีท่านได้เล่าไว้ว่า เพราะพระนางกับบริวาร
ได้ประกอบบาปกรรมไว้ในอดีตชาติ คือได้จุดไฟเผาพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ก�ำลังเข้า
นโิ รธสมาบตั ิ ในชน้ั แรกทา่ นนง่ั เขา้ นโิ รธสมาบตั อิ ยทู่ กี่ อหญา้ ไมเ่ หน็ ทา่ น คดิ แตเ่ พยี ง
จะจดุ ไฟเผากอหญา้ เทา่ นนั้ เมอ่ื จดุ ไฟเผากอหญา้ แลว้ จงึ ไดเ้ หน็ ทา่ น คดิ กนั วา่ เมอ่ื เรอ่ื ง
เกดิ ขน้ึ ถงึ เพยี งนแี้ ลว้ กเ็ ผาเสยี เลย จงึ ไดเ้ อาฟนื มาสมุ เขา้ แลว้ กจ็ ดุ เผา แตท่ า่ นแสดงวา่
พระอรหันต์เข้านิโรธสมาบัติน้ันไม่เป็นอันตราย เพราะไฟหรือเพราะเหตุใดเหตุหน่ึง
เพราะฉะนั้น ท่านจึงมิได้เป็นอันตราย แต่บาปกรรมที่ท�ำไว้นั้น ก็ส่งผลให้พระนาง
สามาวดีกบั คณะไดถ้ กู ไฟเผาในชาตติ ่อ ๆ มา๘

ส่วนโฆสกเศรษฐีนั้น ท่านก็เล่าบุรพกรรมไว้โดยความว่า ครั้งหนึ่งได้เกิด
ทุพภิกขภยั ขึน้ ในอัลลกปั ปรัฐ บางพวกกก็ ลา่ วว่าเกดิ อหวิ าตกโรคขนึ้ คนเข็ญใจผ้หู น่งึ
ชอื่ วา่ โกตหุ ลกิ ะ พาภรยิ าซง่ึ มบี ตุ รออ่ นหนอี อกไป มงุ่ จะไปกรงุ โกสมั พเี มอ่ื เดนิ ทางไปนน้ั
เสบียงทางก็หมด เม่ือเกิดความหิวโหย อ่อนก�ำลังลง นายโกตุหลิกะก็คิดจะทิ้งบุตร
ภริยาก็คอยห้ามไว้ไม่ยอมให้ทิ้ง แต่ก็ได้ลอบทิ้ง ภริยาเมื่อทราบเข้าก็เก็บเอาไป
บตุ รจงึ ตอ้ งถกู ทง้ิ แลว้ กถ็ กู เกบ็ เอาไปหลายครงั้ จนในทสี่ ดุ กถ็ งึ แกค่ วามตายในระหวา่ งทาง

๘ สามาวตวี ตฺถุ ธมมฺ ปท. ๒/๖๐-๑.

พรรษาท่ี ๙ 31

เมอ่ื เดนิ ทางมาถงึ หมบู่ า้ นหนงึ่ นายโคบาลผหู้ นงึ่ กำ� ลงั ประกอบพธิ มี งคลเกยี่ วกบั โคนม
เมอ่ื ไดเ้ หน็ คนเดนิ ทางทงั้ คนู่ นั้ มคี วามทกุ ขย์ ากลำ� บากหวิ โหย เกดิ ความสงสาร กต็ อ้ นรบั
เล้ยี งดู เม่ือเล้ยี งดูคนเดนิ ทางท้ัง ๒ น้นั เสรจ็ แลว้ นายโคบาลจงึ ไดบ้ ริโภคอาหารดว้ ย
ตนเอง ได้ปนั้ ขา้ วปายาสให้แกน่ างสนุ ัขซึง่ อยูใ่ นท่ีใกล้ นายโกตหุ ลิกะเหน็ นางสุนขั ได้
รบั เลย้ี งดดู ้วยอาหารวเิ ศษเชน่ นั้น ก็คิดวา่ นางสุนัขนม้ี บี ญุ ไดก้ ินอาหารดี ๆ เชน่ นี้
เสมอ ในคนื วนั นน้ั นายโกตหุ ลกิ ะไดบ้ รโิ ภคอาหารเกนิ สว่ นเพราะได้อดอยากมาเปน็
เวลาหลายวัน กถ็ ึงแก่กรรม ท่านวา่ เข้าไปเกดิ ในทอ้ งสุนขั นางสุนัขคลอดลกู ออกมา
เปน็ สนุ ขั ตวั ผู้ นายโคบาลกเ็ ลย้ี งดไู วเ้ ปน็ อนั ดี และใหค้ อยไปรบั ไปสง่ พระปจั เจกพทุ ธเจา้
องคห์ นง่ึ ลกู สนุ ขั นนั้ กไ็ ปรบั ไปสง่ และไดเ้ หา่ หอนพระปจั เจกพทุ ธเจา้ ในการรบั และการสง่
จนมจี ิตค้นุ เคยสนทิ สนมกบั พระปัจเจกพทุ ธเจ้า ในตอนนที้ า่ นได้แสดงว่า ธรรมดาวา่
สตั วด์ ริ จั ฉานนนั้ โดยปกตเิ ปน็ สตั วท์ ซี่ อื่ ตรง คอื วา่ โกงไมเ่ ปน็ แตว่ า่ มนษุ ยท์ ง้ั หลายนนั้
โดยมากคดิ อย่างหน่งึ พูดอีกอย่างหน่งึ เพราะฉะนน้ั ทา่ นจึงกลา่ วไวว้ า่ “สงิ่ ท่มี ชี ้นั เชิง
มากกค็ อื มนษุ ย์ สง่ิ ทตี่ น้ื กค็ อื สตั วเ์ ลย้ี ง″ เมอื่ สนุ ขั นน้ั ตาย ทา่ นกลา่ ววา่ ไปเกดิ เปน็ เทพบตุ ร
แต่ว่าบริโภคกามคุณเกินขนาด จึงได้จุติลงมา ไปเกิดในท้องของหญิงนครโสเภณีใน
กรุงโกสมั พี ดั่งท่ีเล่ามานน้ั และทา่ นกล่าววา่ เทพดาทจ่ี ตุ ิน้ันด้วยเหตุ ๔ อยา่ ง คือ

๑. สิ้นอายุ หมายความว่าท�ำบุญไว้มาก ก็อยู่ในเทวโลกจนถึงก�ำหนดอายุ
และก็เกดิ ในชั้นสูง ๆ ข้ึนไป

๒. ส้ินบุญ คือวา่ ท�ำบุญไวน้ อ้ ย เม่ือส้นิ บุญนัน้ แลว้ กต็ อ้ งจตุ ิในระหวา่ ง

๓. สนิ้ อาหาร หมายความวา่ ตน่ื ในกามคณุ หรอื วา่ ตนื่ สวรรค์ หรอื วา่ บรโิ ภค
กามคณุ อย่างหนัก จนลมื บริโภคอาหาร กต็ ้องจตุ เิ หมือนกัน

๔. โกรธ หมายความว่า ริษยาในสมบัตขิ องผ้อู ่ืน ไมอ่ ดทนสมบตั ขิ องผอู้ นื่
เมอ่ื เกิดความโกรธริษยาขึ้น ด่ังนกี้ ต็ อ้ งจุติ๙

๙ สามาวตีวตฺถุ ธมฺมปท. ๒/๘-๑๓.

32 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เรอ่ื งเหลา่ นเ้ี ปน็ เรอ่ื งประกอบ สว่ นพระเจา้ อเุ ทนนน้ั มเี รอ่ื งเลา่ วา่ ไดเ้ คยพบกบั
พระปณิ โฑลภารทวาชะ ได้ตง้ั ปญั หาถามท่าน ๆ กต็ อบจนพระเจ้าอุเทนทรงเลือ่ มใส

มีเรื่องแสดงไวใ้ นคมั ภรี ช์ นั้ พระบาลีว่า เมื่อทา่ นพระปณิ โฑลภารทวาชะไดอ้ ยู่
ท่ีโฆสิตาราม ในกรุงโกสัมพี พระเจ้าอุเทนได้เสด็จเข้าไปหาท่าน ได้รับสั่งตั้งปัญหา
ถามทา่ นวา่ “อะไรเปน็ เหตเุ ปน็ ปจั จยั ใหภ้ กิ ษหุ นมุ่ ๆ เหลา่ น้ี ซงึ่ ยงั มผี มดำ� สนทิ อยใู่ น
วยั เจรญิ คอื ปฐมวยั ไมเ่ รงิ สนกุ ในกามทงั้ หลาย ยอมประพฤตพิ รหมจรรย์ อยา่ งบรสิ ทุ ธิ์
บริบูรณต์ ลอดชีวติ ″

ทา่ นพระปณิ โฑลภารทวาชะกท็ ลู ตอบวา่ พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั ไวว้ า่ “เธอทง้ั หลาย
จงตง้ั จติ วา่ เปน็ แมใ่ นหญงิ ทงั้ หลายปนู แม่ เธอจงตงั้ จติ วา่ เปน็ พน่ี อ้ งหญงิ ในหญงิ ทงั้ หลาย
ปูนพี่น้องหญิง เธอจงตั้งจิตว่าเป็นธิดาในหญิงทั้งหลายท่ีเป็นปูนธิดา น้ีเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ภิกษหุ นุม่ ๆ เหลา่ นี้ยอมประพฤตพิ รหมจรรย์อย่ตู ลอดชวี ิต″

พระเจา้ อเุ ทนกร็ บั สง่ั ถามตอ่ ไปวา่ “จติ เปน็ ธรรมชาตทิ โี่ ลเลเหลวไหล บางคราว
กเ็ กดิ โลภธรรมขนึ้ ในหญงิ ทง้ั หลายปนู แม่ บางคราวกเ็ กดิ โลภธรรมขนึ้ ในหญงิ ทง้ั หลาย
ปูนพี่นอ้ งหญงิ บางคราวกเ็ กิดโลภธรรมขึ้นในหญงิ ท้งั หลายปูนธิดา ฉะนั้น จะมีเหตุมี
ปจั จยั อะไรอ่นื อกี ″

ทา่ นพระปณิ โฑลภารทวาชะกท็ ลู วา่ พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั ไวว้ า่ “พวกเธอจงมา
พจิ ารณากายนี้ เบอื้ งบนแตพ่ น้ื เทา้ ขนึ้ มา เบอื้ งลา่ งแตป่ ลายผมลงไป มหี นงั หมุ้ อยเู่ ปน็
ทส่ี ดุ รอบ เตม็ ไปดว้ ยของไม่สะอาดมปี ระการต่าง ๆ มีอย่ใู นกายน้ี คือ ผม ขน เล็บ
ฟนั หนงั เปน็ ตน้ นเ้ี ปน็ เหตเุ ปน็ ปจั จยั ใหภ้ กิ ษหุ นมุ่ ทง้ั หลายเหลา่ นี้ ประพฤตพิ รหมจรรย์
อย่ไู ดต้ ลอดชวี ิต″

พระเจ้าอุเทนกร็ ับสง่ั ซกั ต่อไปว่า "พวกภิกษทุ อ่ี บรมกาย อบรมศีล อบรมจิต
อบรมปญั ญาแลว้ นนั้ กก็ ระทำ� ไดไ้ มย่ าก แตว่ า่ พวกภกิ ษผุ มู้ ไิ ดอ้ บรมกาย มไิ ดอ้ บรมศลี
มิได้อบรมจิต มิได้อบรมปัญญา ข้อนนั้ ก็กระทำ� ไดย้ าก ในบางคราวคิดวา่ จะพจิ ารณา
ใหเ้ หน็ วา่ เปน็ อสภุ ะ แตก่ ก็ ลบั เหน็ เปน็ สภุ ะไปเสยี ฉะนนั้ จะมเี หตมุ ปี จั จยั อะไรอนื่ อกี "

พรรษาที่ ๙ 33

ทา่ นพระปณิ โฑลภารทวาชะกท็ ลู วา่ พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั ไวว้ า่ “พวกเธอจงมา
มีสติคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย คือเห็นรูปด้วยจักษุ ได้ยินเสียงด้วยโสตะ
สดู กล่ินดว้ ยฆานะ ลิ้มรสดว้ ยชวิ หา ถูกต้องโผฏฐัพพะดว้ ยกาย รู้เรอื่ งด้วยใจ ก็อย่า
ถอื เอาโดยนิมติ คอื วา่ รวบถอื อย่าถือเอาโดยอนพุ ยญั ชนะคือว่าแยกถือ จงปฏิบตั เิ พ่อื
ความส�ำรวมอินทรีย์เหล่านั้น ที่จะมิให้บาปอกุศลธรรมมีความยินดียินร้ายเป็นต้น
ครอบงำ� ได้ จงรกั ษาอินทรียเ์ หลา่ นั้น จงถึงความส�ำรวมในอนิ ทรีย์เหลา่ นัน้ นี้เปน็ เหตุ
เปน็ ปจั จัย″

พระเจ้าอุเทนก็รับสั่งรับรองถ้อยค�ำของท่านพระปิณโฑลภารทวาชะว่า
“เม่ือปฏิบัติมีความส�ำรวมอินทรีย์อยู่ดั่งน้ัน ก็สามารถที่จะไม่เริงกีฬาในกามทั้งหลาย
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธ์ิได้ตลอดชีวิต″ และได้รับสั่งถึงพระองค์เองว่า
"แม้พระองค์เอง ในสมัยท่ีมิได้ทรงรักษากาย มิได้ทรงรักษาวาจา มิได้ทรงรักษาจิต
มไิ ดท้ รงตง้ั พระสติ มไิ ดท้ รงสำ� รวมอนิ ทรยี ์ เวลาเสดจ็ เขา้ ไปภายในบรุ กี ย็ งั เกดิ โลภธรรม
ครอบงำ� อยา่ งเหลอื เกนิ แตใ่ นสมยั ทมี่ กี ารรกั ษากายเปน็ ตน้ ตง้ั สตสิ ำ� รวมอนิ ทรยี เ์ ขา้ ไป
ภายในพระนคร โลภธรรมทง้ั หลายกไ็ มส่ ามารถจะครอบงำ� พระองคไ์ ด"้ ไดท้ รงประกาศ
ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แสดงพระองคถ์ งึ พระพุทธเจา้ พระธรรม พระสงฆ์
เปน็ สรณะ แสดงพระองค์เปน็ อบุ าสกถึงพระรัตนตรยั ตลอดชีวิตจำ� เดมิ แตว่ ันน้ัน๑๐

เร่ืองท่ีเล่าไว้ในคัมภีร์ชั้นพระบาลีน้ี จะเกิดขึ้นก่อนหรือทีหลังเร่ืองพระนาง
สามาวดีทราบไม่ได้ แต่เร่ืองพระนางสามาวดี ตอนท่ีเล่าถึงพระนางสามาวดีทูลให้
พระเจ้าอุเทนถงึ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆเ์ ปน็ สรณะนัน้ มใี นช้นั อรรถกถายัง
ไม่พบในชั้นพระบาลี เพราะฉะนั้น จึงได้มีบางท่านแสดงว่า พระเจ้าอุเทนได้ทรงพบ
กบั พระปิณโฑลภารทวาชะ และได้เลอื่ มใสในพระพุทธศาสนามากอ่ นแลว้

๑๐ ส.ํ สฬา. ๑๘/๑๙๕-๑๙๘/๑๓๙-๑๔๓.

34 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

สาราณยี ธรรมสตู ร

เรอื่ งในพรรษาท่ี ๙ ของพระพทุ ธเจา้ ทแ่ี สดงมาแลว้ นน้ั เกย่ี วแกฝ่ า่ ยอาณาจกั ร
สว่ นทเ่ี กย่ี วแกฝ่ า่ ยพทุ ธจกั ร กม็ เี รอื่ งทนี่ า่ รเู้ กยี่ วกบั ความแบง่ แยกของคณะสงฆ์ แตจ่ ะ
ยงั ไมเ่ ลา่ เรอื่ งเหลา่ นน้ั จะนำ� มาแสดงเฉพาะ สาราณยี ธรรมสตู ร ทพี่ ระพทุ ธเจา้ ไดท้ รง
แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ในขณะที่ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ฉะนั้น
จงึ เรยี กอีกชอ่ื หนง่ึ ว่า โกสัมพิยสตู ร๑๑ โดยความกค็ ือสาราณยิ ธรรมสูตรนั่นเอง

ใจความในพระสตู รนนั้ วา่ ภกิ ษทุ งั้ หลายจะอยดู่ ว้ ยกนั ควบคมุ กนั อยเู่ ปน็ อนั ดี
ไม่วิวาทกัน มีสามัคคีพร้อมเพรียงกัน มีเอกภาพคือความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน
กเ็ นอ่ื งมาจากตา่ งมคี วามรกั เคารพกนั และกนั จะมคี วามรกั เคารพกนั และกนั กจ็ ะตอ้ ง
ปฏบิ ตั ใิ นธรรมทยี่ งั กนั และกนั ใหร้ ะลกึ ถงึ กนั ดว้ ยความรกั เคารพ ๖ ประการอนั เรยี กวา่
สาราณิยธรรม คือ

๑. ตัง้ กายกรรมประกอบดว้ ยเมตตา
๒. ต้งั วจีกรรมประกอบด้วยเมตตา
๓. ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา
๔. แบง่ ปนั ลาภทไ่ี ดม้ าโดยชอบธรรมใหเ้ ปน็ สาธารณบรโิ ภค คอื บรโิ ภครว่ มกนั
๕. มศี ีลคอื ความประพฤติเสมอกนั
๖. มีทฏิ ฐิคือความเห็นที่นำ� ออกจากทุกขส์ ม่�ำเสมอกัน
ธรรมทงั้ ๖ ประการนจ้ี ะอธิบายเฉพาะ ๒ ขอ้ หลงั

๑๑ ม. มู. ๑๒/๕๔๐-๕๕๐/๕๘๑-๕๘๙.

พรรษาที่ ๙ 35

สีลสามญั ญตา

ขอ้ วา่ มศี ลี คอื ความประพฤตเิ สมอกนั นนั้ ทา่ นแสดงลกั ษณะไวว้ า่ ศลี ทไ่ี มเ่ ปน็ ทอ่ น
ไมเ่ ปน็ ชอ่ ง ไมด่ า่ ง ไมพ่ รอ้ ย เปน็ ไท อนั วญิ ญชู นสรรเสรญิ ไมต่ อ้ งลบู คลำ� เปน็ ไปเพอ่ื สมาธิ

ศลี ทไ่ี มเ่ ปน็ ทอ่ นนนั้ หมายถงึ วา่ ไมข่ าด เหมอื นอยา่ งแผน่ ผา้ ทเี่ ปน็ ผนื เดยี วกนั
ผ้าน้ันจะเป็นท่อน ๆ ก็เพราะขาดออกจากกัน ศีลก็เหมือนกัน ที่ช่ือว่าเป็นท่อน
กห็ มายถงึ วา่ ศลี ขาด เพราะไดป้ ระพฤตลิ ว่ งครบองค์ ยกตวั อยา่ ง ปาณาตบิ าต การฆา่ สตั ว์
ทว่ั ไปน้ันมีองค์ ๕ คอื

๑. สัตว์มีชีวติ
๒. รู้ว่าสัตว์มชี วี ิต
๓. จิตคิดจะฆา่
๔. ทำ� ความเพียรเพือ่ จะฆ่า
๕. สัตว์ตายด้วยความเพียรนน้ั

เมอื่ ไดล้ ว่ งครบองคท์ ง้ั ๕ ประการนจ้ี นถงึ สตั วต์ ายลงไป เรยี กวา่ ศลี ขาด ศลี
เป็นทอ่ น

ศลี เปน็ ช่องนนั้ คือไมถ่ งึ ขาด แตว่ ่าโหว่เต็มที เหมอื นอย่างผา้ ทีเ่ ป็นช่องโหว่
ยกตัวอยา่ งดง่ั ปาณาติบาตนัน้ ได้ลว่ งจนถึงทำ� ความเพียรเพอ่ื จะฆา่ แตว่ ่าสตั ว์ไม่ตาย
หลุดพน้ ไปไดด้ ว้ ยเหตใุ ดเหตหุ นง่ึ นช่ี ่อื วา่ เปน็ ชอ่ ง

ศลี ดา่ งนัน้ กค็ ือเหมอื นอยา่ งผา้ ดา่ งท่เี ป็นรอยใหญ่ ๆ แตว่ ่าไม่ถึงกับขาดเปน็
ชอ่ ง ได้แก่มีเจตนาคดิ จะล่วง แต่ก็ยงั ไมท่ นั ไดล้ งมือพยายาม ชื่อว่า ศลี ด่าง

ศลี พร้อยน้ัน กค็ อื เหมือนอยา่ งผา้ ทีเ่ ป็นรอยพรอ้ ย ไดแ้ ก่เม่ือรกั ษาศีล แม้ไม่
ถงึ เจตนาจะลว่ ง แตจ่ ติ กไ็ มบ่ รสิ ทุ ธ์ิ ไมเ่ ปน็ ปกติ เชน่ วา่ เวน้ จากการฆา่ สตั วด์ ว้ ยตนเอง
แตก่ ็ยงั พอใจดูเขาฆ่า ดูเขาทรมานสัตว์ เรยี กวา่ พร้อย

ศลี ทจี่ ะเปน็ ศีลบริสุทธ์นิ ัน้ ตอ้ งไมเ่ ปน็ ทอ่ น ไมเ่ ป็นช่อง ไมด่ ่าง ไม่พร้อย

36 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

อนึ่ง ศีลท่ีเป็นไท หมายความว่าไม่เป็นทาสของตัณหา การรักษาศีลน้ัน
ถา้ รักษาด้วยตณั หา คอื มงุ่ จะได้สง่ิ ใดส่ิงหน่ึงเปน็ ค่าตอบแทน เหมอื นอย่างรบั จ้างเขา
ทำ� งานอย่างใดอย่างหน่ึงเพือ่ คา่ จ้าง น่ชี ือ่ วา่ เปน็ ทาสตณั หา อีกอย่างหน่งึ ตณั หาใน
ใจคอยบีบค้นั อยู่ ทำ� ให้ดน้ิ รนที่จะออกไปจากศีล ไม่เป็นสขุ ไมไ่ ด้ความสงบ เหมอื น
อย่างถูกบังคับให้จ�ำต้องอยู่ในศีล รักษาจิตให้สงบไม่ได้ต้องเดือดร้อนกระวนกระวาย
ดง่ั นก้ี ช็ อื่ วา่ เปน็ ทาสตณั หาเหมอื นกนั ศลี ทบ่ี รสิ ทุ ธน์ิ นั้ ตอ้ งเปน็ ไท คอื ไมเ่ ปน็ ทาสตณั หา
ด่งั กล่าว

วิญญูชนสรรเสรญิ ก็คือผู้รู้สรรเสรญิ ผูร้ ู้นัน้ หมายถงึ ตนเอง ซงึ่ เปน็ ผู้รู้ก็ได้
ผอู้ นื่ ซงึ่ เปน็ ผรู้ กู้ ไ็ ด้ ตนเองซงึ่ เปน็ ผรู้ นู้ นั้ กค็ อื เมอ่ื ตนเองพจิ ารณาดตู นเองแลว้ ตเิ ตยี น
ตนโดยศลี ไมไ่ ด้ ถา้ ตนเองพจิ ารณาดตู นเองแลว้ ตเิ ตยี นตนเองไดว้ า่ เราไปลอบทำ� นนั่
เราไปลอบท�ำน่ี ซงึ่ เป็นการผิดศลี หรอื วา่ ท�ำศลี ให้ด่างพรอ้ ย นีเ่ รยี กว่า ตนเองตติ นเอง
บางทเี มอื่ ไปทำ� อะไรท่ไี ม่ดมี าก ๆ เขา้ ไมอ่ ยากนกึ ถงึ ตัวเองก็มี พอนกึ เขา้ แลว้ เกลียด
ตัวเอง นีเ่ รยี กวา่ ตนเองซึง่ เป็นผู้ร้ตู ิเตยี นตนเอง ผอู้ ืน่ ซึ่งเปน็ ผรู้ ู้นัน้ ก็คือบคุ คลอืน่ ซึ่ง
ไดอ้ ยู่รว่ มกนั และได้เห็นความประพฤตขิ องกนั และกัน ใคร่ครวญ รูผ้ ิดรู้ถกู ศีลท่จี ะ
บรสิ ทุ ธิ์น้ันต้องเป็นศีลทว่ี ิญญูชนสรรเสริญต�ำหนไิ ม่ได้

อนง่ึ ศลี ทย่ี งั มตี ณั หาเปน็ นายครอบงำ� จติ ใจอยู่ ตอ้ งเปน็ ศลี ทตี่ อ้ งคอยระมดั ระวงั
อยเู่ สมอ ตนเองเผลอตัวเม่ือใด กป็ ระพฤตลิ ่วงศลี เม่ือนนั้ ประพฤตบิ กพรอ่ งเมอ่ื น้ัน
นกี้ เ็ พราะตณั หาความดน้ิ รนในใจ คอยชกั ตนออกไปจากศลี ตณั หาคอยขยข้ี ยำ� ศลี อยเู่ สมอ
และตนเองก็ต้องคอยระมัดระวังศีลอยู่เสมอ ปล่อยไม่ได้ บางทีคนอ่ืนก็ต้องไปช่วย
ระมดั ระวงั คอื ตอ้ งไปคอยชว่ ยดแู ล ความหมายของคำ� วา่ อปุ ชั ฌายะ กค็ อื ผดู้ แู ล อาจารย์
ก็คือผู้ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ โดยความก็คอยช่วยดูแลเหมือนกัน แม้สหธรรมิกผู้
ประพฤตธิ รรมดว้ ยกนั โดยฐานเปน็ ภกิ ษดุ ว้ ยกนั กป็ วารณาคอื อนญุ าตใหต้ กั เตอื นซง่ึ กนั
และกนั นก่ี เ็ พอื่ จะไดค้ อยดแู ลกนั และกนั ศลี ทบี่ รสิ ทุ ธนิ์ น้ั จะตอ้ งเปน็ ศลี ทไ่ี มถ่ กู ตณั หา
คอยบีบคั้นคอยลูบคล�ำ และตนเองก็ไม่ต้องคอยรักษาคุ้มครอง คนอื่นก็ไม่ต้องคอย
รกั ษาคมุ้ ครอง เปน็ ศลี ทเี่ ปน็ ปกตขิ นึ้ ในตวั เอง ดง่ั มคี ำ� เรยี กวา่ ศลี รกั ษา แตเ่ รยี กศลี ที่
ยงั ต้องถูกลบู คล�ำวา่ รกั ษาศีล คอื ตอ้ งคอยเฝ้ารักษา

พรรษาที่ ๙ 37

ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ คือเป็นบาทที่จะให้เกิดสมาธิจิต คือจิตท่ีตั้งม่ันได้
แต่ไม่ใช่เป็นชนิดท่ีท�ำให้จิตใจฟุ้งซ่านกระสับกระส่าย ศีลที่จะเป็นบาทของสมาธิ
ก็จะต้องประกอบดว้ ยลักษณะดั่งทก่ี ลา่ วมาขา้ งต้น

การปฏิบัติให้เป็นผู้ท่ีมีศีลสม�่ำเสมอกับด้วยเพื่อนสพรหมจารีท้ังหลายดังท่ี
กลา่ วมา เรยี กว่า สีลสามญั ญตา ความมีศีลเสมอกนั

ทฏิ ฐสิ ามญั ญตา

ส่วนข้อ ๖ มีทิฏฐิคือ ความเห็นที่ออกจากทุกข์เสมอกัน หมายความว่า
ทำ� ทฏิ ฐคิ วามเหน็ ของตนใหเ้ ปน็ ความเหน็ ทดี่ ี อนั เรยี กวา่ อรยิ ะ ประเสรฐิ หรอื อารยะ
ให้เป็นความเหน็ ท่ีนำ� ออกจากทกุ ข์ คือว่าทำ� ใหถ้ ึงความสนิ้ ทุกขไ์ ดโ้ ดยชอบ ความเหน็
ดังกล่าวมานี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยการที่ต้ังใจคอยปรับปรุงท�ำความเห็นของตนให้
ตรงตอ่ พระธรรมและพระวนิ ยั อยเู่ สมอ ถา้ จะมคี วามเหน็ ทแี่ ตกแยกออกไปจากรอ่ งรอย
ทถี่ กู ทช่ี อบ กต็ อ้ งคอยเกยี ดกนั ความเหน็ เชน่ นนั้ ออกไป ประคบั ประคองความเหน็ ของ
ตนให้อยู่ในร่องรอยท่ีถูกท่ีตรงดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ในพระสูตรนี้ได้ชี้ลักษณะแห่ง
ความเห็นดงั กล่าวไว้ ๗ ประการ คอื

๑. อบรมท�ำทิฏฐิคือความเห็นท่ีปราศจากนิวรณ์กลุ้มรุมจิต และไม่ให้คิด
วุ่นวายอยู่กับเรื่องของความคิดในโลกนี้ เรื่องของความคิดในโลกหน้าที่ไร้ประโยชน์
ไม่ใหเ้ ห็นกลมุ้ กลดั อยใู่ นเรอื่ งทจ่ี ะกอ่ การทะเลาะวิวาท

๒. อบรมทำ� ความเหน็ ทจี่ ะใหเ้ กดิ ความสงบ จะใหเ้ กดิ ความดบั กเิ ลสทเี่ กดิ ขนึ้ ในใจ
๓. อบรมทำ� ความเห็นท่ีจะไม่ออกไปนอกทางแห่งพระธรรมวนิ ยั
๔. อบรมท�ำความเหน็ ที่จะใหม้ คี วามสังวรในศลี เมอื่ ต้องอาบตั กิ ็ตอ้ งรบี ออก
จากอาบตั นิ นั้ ดว้ ยการรบี แสดง ไมป่ กปดิ ไว้ เหมอื นอยา่ งเดก็ ออ่ นเอามอื เทา้ ไปถกู ถา่ น
เพลงิ เขา้ ก็ต้องรีบชักมือเท้าออก

38 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๕. อบรมท�ำความเห็นท่ีจะให้ขวนขวายศึกษาในอธิศีลในอธิจิตในอธิปัญญา
แม้จะช่วยท�ำกิจการของหมู่ของคณะของเพ่ือนสพรหมจารีอะไรก็ตาม แต่ก็ไม่ละท้ิง
การศกึ ษาของตน เหมอื นอยา่ งแม่โคลกู อ่อนไม่ทิง้ ลกู

๖. อบรมท�ำทฏิ ฐคิ ือความเหน็ ทจ่ี ะใหเ้ กิดก�ำลงั ในอันท่ีจะฟังธรรมได้
๗. อบรมท�ำทิฏฐิคือความเห็นท่ีจะให้เกิดก�ำลังที่จะได้ความรู้ในเนื้อความ
ความรใู้ นหัวขอ้ ธรรม ท้งั ทีจ่ ะให้เกิดปีติปราโมทย์ประกอบดว้ ยธรรม

โดยเฉพาะขอ้ ๖ อบรมทำ� ความเหน็ ทจี่ ะใหเ้ กดิ กำ� ลงั ฟงั ธรรมไดน้ นั้ ดเู ผนิ ๆ
ก็คล้ายไม่มีความหมาย แต่ว่าถ้านึกดูก็จะรู้สึกว่า การฟังธรรมน้ันไม่ง่ายนัก เพราะ
โดยมากธรรมเป็นเรื่องไม่สนุก เม่ือฟังธรรมก็มักจะหมดฉันทะ หมดความพากเพยี ร
ทจี่ ะฟัง การที่จะฟังธรรมได้น้ัน จึงต้องมีก�ำลังใจที่จะฟังได้ กล่าวคือจะต้องมีฉันทะ
จะต้องมีความพากเพียร เป็นต้น ถ้าขาดข้อนี้เสียแล้วก็ไม่สามารถจะฟังธรรมได้
โดยเฉพาะก็จะต้องมี

๑. เงีย่ โสตลง
๒. ประมวลใจทั้งหมด
๓. ท�ำธรรมที่ฟงั ไว้ในใจ
๔. ทำ� ให้เป็นประโยชน์หรอื ท�ำใหม้ ีประโยชน์

ข้อ ๔ น้ีกห็ มายความว่า พยายามหาประโยชน์จากธรรมทฟ่ี ังให้จงไดไ้ มม่ าก
กน็ อ้ ย เพราะเมอ่ื ฟงั แลว้ กค็ วรทจ่ี ะใหไ้ ดป้ ระโยชนบ์ า้ ง ถา้ ไมไ่ ดป้ ระโยชนเ์ ลยกเ็ สยี เวลา
การทจี่ ะทำ� ใหเ้ ปน็ ประโยชนไ์ ดบ้ า้ งนน้ั กต็ อ้ งอาศยั การทจ่ี ะรจู้ กั เลอื กถอื เอาโดยทไ่ี มไ่ ป
ตง้ั ความชอบหรอื ตง้ั ความชังไว้เปน็ เบ้อื งหนา้ แตว่ ่ามงุ่ ท่ีจะหยบิ เอาธรรมอนั เหมาะแก่
ตนมาใชใ้ หเ้ ปน็ ประโยชน์ ไมไ่ ดม้ าก สกั นดิ หนงึ่ กย็ งั ดกี วา่ เพราะฉะนนั้ ลกั ษณะขอ้ ๔
คอื การทำ� ให้เป็นประโยชน์น้ีจงึ เป็นขอ้ สำ� คัญ

สาราณยิ ธรรมทั้ง ๖ ประการน้ี ขอ้ ที่ ๖ ท่านแสดงวา่ เป็นข้อยอดของข้ออืน่

พรรษาท่ี ๙ 39

ภิกษชุ าวโกสมั พ-ี สังฆเภท

ในขณะท่ีเสด็จอยทู่ ่กี รุงโกสมั พีน้ี ไดม้ ีเรือ่ งบังเกิดขึ้นเก่ยี วแก่ภกิ ษสุ งฆ์ มเี ล่า
ไวใ้ นคมั ภรี ว์ นิ ยั ปิฎก โกสัมพกิ ขันธกะ๑๒ ซึง่ มคี วามยอ่ วา่ ในขณะท่ีพระผมู้ ีพระภาค-
พุทธเจ้าได้ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ในกรุงโกสัมพี มีภิกษุรูปหน่ึงต้องอาบัติและ
ก็เหน็ วา่ เป็นอาบัติ แต่ภิกษุอืน่ เห็นว่า ข้อนน้ั ไม่เปน็ อาบตั ิ ตอ่ มาภกิ ษนุ ้ันก็พลอยเห็น
ตามไปว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ว่าภิกษุอื่นท่ีเคยเห็นว่าไม่เป็นอาบัติน้ัน ก็กลับเห็นใหม่ว่า
เปน็ อาบตั ิ คราวนจี้ งึ ไดพ้ ากนั ไปบอกภกิ ษทุ ตี่ อ้ งอาบตั วิ า่ ทา่ นตอ้ งอาบตั ิ ทา่ นเหน็ อาบตั ิ
นน้ั ไหม ทา่ นรปู นนั้ กต็ อบวา่ ผมไมม่ อี าบตั ติ ามทผ่ี มเหน็ ฝา่ ยภกิ ษทุ ย่ี นื ยนั วา่ เปน็ อาบตั ิ
ตอ่ มากช็ กั ชวนกนั ไดค้ วามพรอ้ มเพรยี งกนั ทำ� การยกวตั รภกิ ษทุ ต่ี อ้ งอาบตั นิ น้ั ทเ่ี รยี ก
ว่า ยกวตั ร นนั้ บาลวี า่ อเุ ขปนยี กรรม กรรมคอื การยกวตั ร หมายความวา่ ถา้ มภี กิ ษุ
รปู ใดรูปหนึ่งต้องอาบตั ิแล้ว ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ภกิ ษอุ ่นื วา่ กลา่ วตักเตือน กไ็ มย่ อม
ฟงั สงฆก์ ม็ อี ำ� นาจประกาศกนั และกนั ยกภกิ ษรุ ปู นน้ั ออกจากความมสี ทิ ธเิ สมอกนั คอื
งดไม่ทำ� อุโบสถดว้ ยกัน ไมท่ �ำปวารณาดว้ ยกัน ไมท่ �ำสงั ฆกรรมดว้ ยกนั ไมอ่ ยูร่ ่วมกนั
ไมไ่ หวก้ ราบกนั แปลวา่ งดการทจี่ ะปฏบิ ตั วิ นิ ยั กรรมทกุ อยา่ ง งดทจ่ี ะแสดงความเคารพ
นบั ถอื ทกุ อยา่ ง เหมอื นอยา่ งคดั ออกไปเปน็ บคุ คลภายนอก ปฏบิ ตั อิ ยา่ งนเ้ี รยี กวา่ ยกวตั ร
ภกิ ษทุ ถ่ี กู ยกวตั รนนั้ ถา้ ตอ่ มาไดเ้ หน็ โทษและมาแสดงความเหน็ โทษแกส่ งฆ์ สงฆก์ อ็ าจ
จะประกาศยกเลิกการยกวัตรน้นั และรบั เข้าหมมู่ ีสิทธใิ นวินยั กรรมเป็นต้น เสมอกนั
เหมือนดังเดิม

เร่ืองการยกวัตรน้ีไม่ได้มีท�ำกันบ่อยนัก แต่ตามเรื่องท่ีเล่าในเร่ืองน้ี ภิกษุที่
ยนื ยนั วา่ ภกิ ษรุ ปู นน้ั ตอ้ งอาบตั แิ น่ กพ็ รอ้ มกนั ประชมุ สงฆแ์ ละประกาศยกวตั รเลย คอื
ว่าตดั จากความอยรู่ ่วมกนั ดังทีก่ ล่าวแล้วนัน้ แต่ว่าภิกษรุ ปู ทีส่ งฆย์ กวตั รน้นั เป็นพหสู ูต
คือเป็นผ้ไู ด้เล่าเรยี นศกึ ษามามาก เป็นผทู้ รงธรรมทรงวินยั เปน็ ผู้ฉลาด และเป็นลัชชี
คอื เปน็ ผทู้ ล่ี ะอายบาปกลวั บาปรงั เกยี จสงสยั ใครก่ ารศกึ ษา หมายความวา่ เปน็ พระภกิ ษุ

๑๒ ว.ิ มหา. ๕/๒๓๘-๒๔๕/๓๑๒-๓๓๕.

40 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ที่เคร่งครัดรูปหนึ่ง แต่ว่าท่านไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านถูกยกวัตร
ทา่ นจงึ ไปหาพระภกิ ษทุ เ่ี ปน็ เพอ่ื นสหายกนั และกเ็ ลา่ ความใหฟ้ งั วา่ ทา่ นไมไ่ ดเ้ ปน็ อาบตั ิ
แตว่ า่ ถกู ยกวตั รดว้ ยกรรมทไ่ี มเ่ ปน็ ธรรม ซงึ่ ใชไ้ มไ่ ด้ เรยี กวา่ เปน็ กรรมทก่ี ำ� เรบิ ไมค่ วร
แกส่ ถานะ และกช็ กั ชวนใหบ้ รรดาพระเหลา่ นน้ั เขา้ เปน็ พวก ฝา่ ยภกิ ษทุ เ่ี ปน็ เพอ่ื นสหาย
กเ็ หน็ ด้วย และก็เข้าพวกกับทา่ น และกย็ งั พากันสง่ ขา่ วไปถงึ พระท่อี ยู่ยังชนบททเ่ี ป็น
ฝ่ายเดียวกัน ชกั ชวนกนั มาเข้าพวก เมอ่ื เปน็ เชน่ นี้ พระก็เลยเปน็ ๒ พวก คอื เป็น
พวกทีป่ ระกอบพิธียกวตั รพวกหนง่ึ และก็เป็นพวกท่ีถกู ยกวัตรอกี พวกหนึง่ ฝา่ ยภกิ ษุ
ท่ีเป็นพวกท่านท่ีถูกยกวัตร ก็ได้เข้าไปหาภิกษุที่เป็นฝ่ายยกวัตร และก็ได้กล่าวหาว่า
ภกิ ษุรปู นน้ั ไม่เปน็ อาบตั ิ แตก่ ็ถูกสงฆ์ยกวตั รโดยไมเ่ ป็นธรรม ซงึ่ เปน็ การกระทำ� ทใี่ ช้
ไม่ได้ แต่ฝ่ายภิกษุที่เป็นผู้ยกวัตรก็ยังยืนยันว่า ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติจริง ๆ จึงถูก
ยกวตั รดว้ ยกรรมทเ่ี ปน็ ธรรม ไมใ่ ชว่ า่ ไมเ่ ปน็ ธรรม กเ็ ปน็ อนั วา่ ทงั้ ๒ ฝา่ ยนนั้ กค็ งยนื ยนั
ในความเห็นในความปฏิบัติของตน

คราวนั้น ก็ได้มีภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และก็ได้กราบทูลเล่า
เร่อื งใหพ้ ระองค์ทรงทราบโดยตลอด พระพุทธเจา้ ก็ได้ทรงเปล่งอุทานข้ึนว่า ภิกษุสงฆ์
แตกกนั แลว้ กไ็ ดเ้ ขา้ ไปพบกบั ภกิ ษฝุ า่ ยทเ่ี ปน็ ผยู้ กวตั ร และกไ็ ดต้ รสั โอวาทโดยความวา่
ท่านทั้งหลายอย่าส�ำคัญว่า ภิกษุควรจะถูกยกวัตรเพราะเหตุข้อใดข้อหน่ึง ด้วยความ
คิดทีบ่ ังเกดิ ขน้ึ โดยฉับพลัน ถ้าภิกษใุ นพระธรรมวนิ ยั น้ี ต้องอาบตั ิจรงิ แต่วา่ เธอเห็น
วา่ ไมเ่ ปน็ อาบัติ ส่วนภิกษุอนื่ เห็นวา่ เปน็ อาบัติ ถา้ ภิกษเุ หล่านน้ั ร้อู ยู่วา่ ท่านรูปนเี้ ปน็
พหูสูตผ้ทู รงธรรมทรงวินัย เปน็ ผู้ที่เครง่ ครัด ใคร่การศกึ ษา ถ้าเราจะยกวตั รท่าน คอื
ไมท่ ำ� อโุ บสถกบั ทา่ น ไมท่ ำ� ปวารณากบั ทา่ น ไมน่ ง่ั รว่ มอาสนะกบั ทา่ น ไมท่ ำ� สงั ฆกรรม
อ่ืน ๆ กับท่าน ไม่ติดต่ออะไรกับท่านทั้งหมด ก็จะเกิดความทะเลาะวิวาทแก่งแย่ง
ตลอดจนถึงจะเกิดความแตกแยกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ข้ึน เมื่อเป็นเช่นนี้
ภิกษุเหล่าน้ันซึ่งเป็นผู้หนักใจในการท่ีจะเกิดแตกแยกกัน ก็ยังไม่ควรที่จะยกวัตรเธอ
เพราะขอ้ ทไี่ มเ่ หน็ อาบตั นิ น้ั ทนั ที คราวนส้ี ว่ นภกิ ษทุ ต่ี อ้ งอาบตั แิ ลว้ กไ็ มเ่ หน็ วา่ เปน็ อาบตั ิ
แต่ว่าภิกษุอื่น ๆ เห็นว่าเป็น และภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปบอกกล่าวว่าเป็นอาบัติ
เม่ือเป็นเช่นนี้ เธอกไ็ ม่ควรทีจ่ ะดอื้ ดึงไปทีเดียว แม้จะไม่เห็นวา่ เปน็ อาบัติ แต่เมื่อสว่ น
มากเขาเห็นว่าเป็น ก็ควรจะเชื่อเขาบ้าง แล้วก็แสดงอาบัติน้ันเสีย เมื่อปฏิบัติดังนี้

พรรษาท่ี ๙ 41

กจ็ ะไมเ่ กดิ การแตกแยก แตว่ า่ ถา้ ยงั ยนื ยนั อยู่ กจ็ ะเกดิ ความแตกแยกกนั ดงั ทกี่ ลา่ วมาแลว้
ฉะน้ัน เธอเม่ือหนักใจอยู่ว่าจะแตกแยกกัน และประสงค์ที่จะมีความกลมเกลียวกัน
กค็ วรทจี่ ะแสดงอาบตั นิ นั้ ดว้ ยศรทั ธาคอื ดว้ ยความเชอื่ ตอ่ ภกิ ษเุ หลา่ อน่ื แมว้ า่ ตนจะเหน็
วา่ ไม่เป็นอาบตั ิกต็ าม พระพทุ ธเจ้าได้ประทานพระโอวาทแกภ่ ิกษุท้ัง ๒ พวกน้ันแล้ว
ก็ไดเ้ สด็จกลับ

กป็ รากฏวา่ ภกิ ษทุ ง้ั ๒ พวกนนั้ กย็ งั ไมย่ อมทจ่ี ะปรองดองกนั ยงั ตกลงกนั ไมไ่ ด้
จนถึงแยกท�ำอุโบสถกัน คือว่าภิกษุที่เป็นฝ่ายท่านที่ถูกยกวัตรท�ำอุโบสถสังฆกรรม
ภายในสมี า แตว่ า่ ภกิ ษฝุ า่ ยทเ่ี ปน็ ผยู้ กวตั รออกไปทำ� อโุ บสถ ทำ� สงั ฆกรรมภายนอกสมี า
เม่ือแยกกันท�ำอุโบสถดังนี้ ก็เป็นอันว่าภิกษุสงฆ์ได้เกิดแตกแยกกันขึ้นท่ีเรียกว่าเป็น
สังฆเภท ความแตกแหง่ สงฆ์ สงั ฆเภทความแตกแหง่ สงฆน์ นั้ เมื่อท�ำอุโบสถแยกกัน
ด่ังน้ี จงึ จะเรยี กว่า เปน็ สงั ฆเภทข้นึ

นานาสังวาสกะ สมานสังวาสกะ

ภกิ ษเุ หลา่ นนั้ กไ็ ดไ้ ปกราบทลู พระพทุ ธเจา้ ถงึ เรอ่ื งทต่ี นไดป้ ฏบิ ตั กิ นั นน้ั พระพทุ ธเจา้
กไ็ ดต้ รสั วา่ ภกิ ษทุ เ่ี ปน็ ฝา่ ยทา่ นทถ่ี กู ยกวตั ร ทำ� อโุ บสถสงั ฆกรรมภายในสมี า กใ็ ช้ญัตติ
และอนุสาวนาตามท่ีพระองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ กรรมของเธอก็เป็นธรรมไม่ก�ำเริบ
ควรฐานะคอื วา่ ใชไ้ ด้ คราวนสี้ ว่ นภกิ ษอุ กี พวกหนง่ึ ทไ่ี ปทำ� อโุ บสถสงั ฆกรรมภายนอกสมี า
ใช้ญัตติและอนุสาวนาตามท่ีทรงบัญญัติไว้เช่นเดียวกัน กรรมก็คงเป็นธรรมใช้ได้เช่น
เดียวกนั เพราะว่าภกิ ษทุ ง้ั ๒ ฝ่ายน้นั ตา่ งเป็นนานาสังวาสกะของกันและกัน ตอ่ จาก
นกี้ ไ็ ดต้ รสั วา่ ภมู ขิ องภกิ ษทุ เี่ ปน็ นานาสงั วาสกะนน้ั มี ๒ อยา่ ง คอื วา่ ๑. ตนทำ� ตนเอง
ใหเ้ ปน็ นานาสงั วาสกะ ๒. สงฆพ์ รอ้ มเพรยี งกนั ยกวตั รภกิ ษนุ นั้ เพราะไมเ่ หน็ ไมก่ ระทำ�
คนื หรอื วา่ ไมส่ ละคนื อาบตั ิ สว่ นภมู ขิ องภกิ ษผุ เู้ ปน็ สมานสงั วาสกะ คอื มธี รรมเปน็ เครอื่ ง
อยู่ร่วมเสมอกัน ก็มี ๒ เหมือนกัน คือว่าตนกระท�ำตนให้เป็นสมานสังวาสกะ
และสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ได้เรียกภิกษุน้ันท่ีถูกยกวัตรแล้วน้ัน ในเพราะไม่เห็น
ไม่กระทำ� คนื หรือไม่แสดงคืนอาบัติ เขา้ หมู่

42 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ตามพระบาลีในท่ีน้ีมีอยู่ ๒ ค�ำ คือนานาสังวาสกะ กับ สมานสังวาสกะ
นานาสงั วาสกะ แปลวา่ ภกิ ษผุ มู้ ธี รรมเปน็ เครอ่ื งอยรู่ ว่ มตา่ งกนั สมานสงั วาสกะ แปลวา่
ภิกษุผมู้ ีธรรมเป็นเครอื่ งอยูร่ ่วมเสมอกัน ภกิ ษุ ๒ ฝ่ายตามเรอ่ื งนี้ เมอ่ื เกิดแตกความ
เหน็ กนั ขนึ้ จนถงึ ไมล่ งโบสถก์ นั กเ็ รยี กวา่ เปน็ นานาสงั วาสกะของกนั และกนั และเหตุ
ท่ีจะท�ำให้เป็นนานาสังวาสกะนั้นก็มี ๒ อย่าง คือว่าตนเองกระท�ำตนเองอย่างหน่ึง
แลว้ กส็ งฆย์ กวตั รอกี อยา่ งหนง่ึ ตามเรอื่ งทเี่ ลา่ มาน้ี ภกิ ษทุ ถี่ กู ยกวตั รทเ่ี ปน็ ตน้ เรอื่ งนน้ั
สงฆย์ กวตั รไมล่ งโบสถด์ ว้ ย แตว่ า่ พรรคพวกทสี่ นบั สนนุ นน่ั ทำ� ตนเองใหเ้ ปน็ นานาสงั วาสกะ
เพราะเม่ือไปเข้ากับท่านสนับสนุนท่าน แยกออกไปอีกพวกหน่ึง และก็ไม่ลงโบสถ์
กับอีกพวกหนึ่งซ่ึงเป็นฝ่ายยกวัตร ภิกษุท้ัง ๒ ฝ่ายน้ีที่เป็นนานาสังวาสกะของกัน
และกนั ตา่ งกเ็ ปน็ ภิกษทุ ีไ่ ด้อุปสมบทมาโดยถูกตอ้ งในพระธรรมวนิ ัยนี้ และกป็ รากฏ
วา่ เปน็ ผทู้ เี่ ครง่ ครดั ใครก่ ารศกึ ษาอยดู่ ว้ ยกนั แตว่ า่ เกดิ มคี วามเหน็ แตกตา่ งกนั ขน้ึ จนถงึ
เปน็ เหตใุ ห้แยกเปน็ ๒ ฝา่ ย และเม่ือแยกแลว้ ก็เลยแยกกนั จนถงึ แยกกันท�ำอโุ บสถ
สังฆกรรม เป็นต้น จึงได้เกิดเป็นนานาสังวาสกะกันข้ึน ส่วนภิกษุเม่ือเป็นเช่นนี้แล้ว
จะกลบั เปน็ สมานสงั วาสกะ คอื มธี รรมเปน็ เครอื่ งอยรู่ ว่ มเสมอกนั กม็ ไี ดด้ ว้ ยเหตุ ๒ อยา่ ง
คอื ตนเองท�ำตนเองใหเ้ ป็นสมานสงั วาสกะ กับสงฆ์ระงบั การยกวัตร เรียกภิกษุนัน้ เขา้
หมู่เหมอื นอย่างเดมิ ดงั ทีจ่ ะบงั เกิดข้ึนแก่ภิกษทุ ัง้ ๒ ฝ่ายนีใ้ นภายหลัง

เมือ่ ภิกษสุ งฆ์ได้เกิดแตกขึ้นเปน็ ๒ ฝา่ ย พระพทุ ธเจา้ ได้ประทานโอวาทเพ่อื
ระงับ แต่ท้ัง ๒ ฝ่ายนั้นก็ยังไม่ปรองดองกัน และก็มีกระทบกระท่ังกันด้วยวาจา
อย่บู ่อย ๆ กเ็ นอื่ งมาจากฝ่ายหน่งึ ก็กลา่ วหาว่าอกี ฝา่ ยหนงึ่ ต้องอาบตั แิ ลว้ ไมเ่ หน็ อาบตั ิ
สว่ นอกี ฝา่ ยหนง่ึ กก็ ลา่ วหาอกี ฝา่ ยหนงึ่ วา่ ยกวตั รโดยไมเ่ ปน็ ธรรม เพราะวา่ รปู ทถ่ี กู ยกวตั ร
นั้นไม่เป็นอาบัติอะไร สมุฏฐานก็เนื่องมาจากพระพุทธบัญญัติที่ทั้ง ๒ ฝ่ายก็นับถือ
ปฏบิ ตั กิ นั อยู่ พระพทุ ธเจา้ เองกไ็ มท่ รงบงั คบั แตก่ ท็ รงชที้ างเพอื่ ปฏบิ ตั ดิ งั ทไี่ ดเ้ ลา่ มาแลว้
ในฐานะทท่ี รงเปน็ พระศาสดา ถา้ จะทรงบงั คบั กน็ า่ จะได้ แตก่ ไ็ มท่ รงบงั คบั เพราะเกย่ี ว
แก่ท้ัง ๒ ฝ่ายน้ันก็มีศรัทธาอยู่ในพระพุทธบัญญัติ เคร่งครัดอยู่ในพระวินัยด้วยกัน
และเมอ่ื ได้ลงความเห็นลงไปแล้วอย่างนนั้ ถ้ายงั ไม่ถอนความเหน็ นนั้ ถึงใครจะบังคับ
กอ็ าจจะบงั คบั ไดแ้ ตใ่ นภายนอก ส่วนความเห็นน้ันกย็ งั มีอยู่ ก็จะเป็นมูลท่จี ะแตกร้าว
กันตอ่ ไป เพราะฉะนนั้ เรือ่ งการแตกความเหน็ กนั นีเ้ ป็นเรอื่ งส�ำคญั แมจ้ ะบวชมาใน
พระธรรมวนิ ยั เดยี วกนั และนบั ถอื ปฏบิ ตั ใิ นพระธรรมวนิ ยั เดยี วกนั และถงึ จะเครง่ ครดั

พรรษาที่ ๙ 43

อยดู่ ว้ ยกนั แตล่ งไดแ้ ตกความเหน็ กนั ในปญั หาพระวนิ ยั และในการปฏบิ ตั พิ ระวนิ ยั แลว้
ก็เป็นทางให้แตกแยกกันได้ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเหตุที่เป็นนานาสังวาสกะ
ว่าตนเองกระท�ำตนเอง หรอื ว่าสงฆ์ยกวตั ร ในเร่อื งทเ่ี ล่ามานี้กม็ ที ั้ง ๒ ภิกษทุ ีถ่ ูกสงฆ์
ยกวัตรน้ันมีรูปเดียว คือท่ีเป็นต้นเรื่องเท่าน้ัน นอกจากน้ันนับเข้าในเหตุว่าตนเอง
ทำ� ตนเอง คอื ฝา่ ยหนงึ่ กส็ นบั สนนุ ภกิ ษทุ ถ่ี กู สงฆย์ กวตั ร อกี ฝา่ ยหนงึ่ กเ็ ปน็ ฝา่ ยทย่ี กวตั ร
สนบั สนนุ ในฝา่ ยนน้ั และความเปน็ นานาสงั วาสกะกนั น้ี คอื วา่ ไมล่ งโบสถก์ นั น้ี จะสงบ
ไปไดก้ ต็ อ่ เมอ่ื ตนทำ� ตนเองใหเ้ ปน็ สมานสงั วาสกะกนั ถา้ ภกิ ษถุ กู สงฆย์ กวตั ร กส็ งฆน์ นั้
เองเปน็ ผ้ทู ่ีระงับการยกวัตรนั้นแลว้ ก็กลบั เข้าหมตู่ ามเดมิ

พระพทุ ธเจา้ ไดท้ รงบญั ญตั พิ ระวนิ ยั บางขอ้ สำ� หรบั ปฏบิ ตั เิ กยี่ วแกภ่ กิ ษใุ นขณะ
ท่ีเป็นนานาสังวาสกะกัน เพ่ือป้องกันการวิวาท เป็นต้นว่า ทรงบัญญัติให้ภิกษุนั่ง
ในอาสนะที่มีอาสนะอื่นค่ันอยู่ในระหว่าง ก็เพ่ือว่าเม่ือวิวาทกันก็ไม่ต้องการให้น่ังใกล้
กนั ใหม้ ภี กิ ษอุ นื่ มานงั่ คน่ั เสยี ในระหวา่ ง ๆ แตว่ า่ ถงึ กระนนั้ ความแตกรา้ วกนั นนั้ กย็ งั
ดำ� เนนิ ไปอยู่ จนถงึ ภกิ ษรุ ปู หนง่ึ ไดไ้ ปกราบทลู ขอใหพ้ ระพทุ ธเจา้ ไดเ้ สดจ็ ไปทรงระงบั เรอื่ ง
ราวนนั้ พระพทุ ธเจา้ จงึ ไดเ้ สดจ็ ไปอกี และกไ็ ดป้ ระทานโอวาทสง่ั สอนไมใ่ หท้ ะเลาะววิ าท
กนั กม็ ภี กิ ษทุ เี่ ปน็ อธรรมวาทคี อื เรยี กวา่ พดู ไมเ่ ปน็ ธรรมรปู หนง่ึ กไ็ ดก้ ราบทลู พระพทุ ธเจา้
วา่ ขอให้พระพุทธเจา้ ซง่ึ ทรงเป็นพระธรรมสามที รงรออยู่กอ่ น พวกภิกษเุ หล่านีจ้ ักยัง
ไม่ปรองดองกันต่อไป ขอให้พระพุทธเจ้าได้ทรงมีความขวนขวายน้อย ทรงประกอบ
การอยเู่ ปน็ สขุ ในปจั จบุ นั สำ� หรบั พระองค์ พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดป้ ระทานพระโอวาทหา้ มเปน็
ครง้ั ท่ี ๒ ที่ ๓ แตก่ ไ็ ดม้ ภี กิ ษกุ ราบทลู เหมอื นอยา่ งนน้ั เปน็ ครงั้ ที่ ๒ ที่ ๓ พระพทุ ธเจา้
จึงได้ทรงเล่าเรื่องที่เป็นไปแล้วมาเป็นตัวอย่างประทานพระโอวาท ซึ่งพระอาจารย์ได้
รจนาไวม้ ีความว่า

ทฆี าวุกมุ าร

เรอื่ งทเ่ี คยมมี าแลว้ พระราชาแหง่ แควน้ กาสี ซง่ึ ครองราชสมบตั อิ ยใู่ นราชธานี
ซึง่ มนี ามว่า พาราณสี พระองค์ทรงพระนามว่า พรหมทัต ไดท้ รงมกี ำ� ลังทรัพย์ก�ำลัง
คนพาหนะมากมาย สว่ นแคว้นทถ่ี ัดไปชือ่ ว่า แคว้นโกศล พระราชาของแควน้ นัน้ ทรง

44 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

พระนามวา่ ทฆี ตี ิ มกี ำ� ลงั ทรพั ยก์ ำ� ลงั คนพาหนะนอ้ ย พระเจา้ พรหมทตั แหง่ แควน้ กาสี
กไ็ ดท้ รงยกพยหุ เสนาไปตพี ระเจา้ โกศลซง่ึ ทรงพระนามวา่ ทฆี ตี ิ พระเจา้ ทฆี ตี แิ หง่ แควน้
โกศลทรงไดส้ ดบั ข่าวการศกึ กท็ รงด�ำรวิ า่ แคว้นนมี้ ีก�ำลังทรัพยก์ ำ� ลังคนพาหนะน้อย
ไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้ จึงทรงพาพระมเหสีหนีออกจากนคร พระเจ้าพรหมทัตแห่ง
แคว้นกาสกี ็ได้ทรงครอบครองแคว้นโกศลนนั้ โดยไม่ตอ้ งมีการตอ่ สู้

ฝา่ ยพระเจา้ ทฆี ตี แิ หง่ แควน้ โกศลไดพ้ าพระมเหสหี นไี ปอยใู่ นเมอื งพาราณสซี งึ่
เป็นราชธานีของราชศัตรูน้ันเอง แต่ว่าได้ทรงไปอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของนายช่างหม้อ
ในโอกาส(สถานท่ี)ท่ีอยู่ชานเมือง ทรงปลอมพระองค์เป็นปริพาชกคือเป็นนักบวช
ทนี่ งุ่ ผา้ ขาว เมอ่ื ประทบั อยมู่ าพระมเหสกี ป็ ระชวรพระครรภ์ กเ็ กดิ ความปรารถนาทจ่ี ะ
ได้ทรงเหน็ เสนาอนั ประกอบด้วยองค์ ๔ ในเวลาอาทติ ยอ์ ทุ ัยและทรงปรารถนาทีจ่ ะได้
ดมื่ นำ้� ลา้ งพระขรรค์ กไ็ ดท้ ลู แกพ่ ระราชสวามี พระราชสวามกี ต็ รสั วา่ ในขณะทขี่ ดั สน
จนยากอย่างน้ี จะไปเอาเสนาทม่ี อี งค์ ๔ กับนำ้� ลา้ งพระขรรคม์ าจากไหน พระมเหสี
กท็ ลู บอกวา่ ถา้ ไมไ่ ดเ้ หน็ ไมไ่ ดด้ ม่ื กจ็ กั ตาย พระเจา้ ทฆี ตี ไิ ดท้ รงสดบั ดงั นน้ั กท็ รงเสดจ็
ไปหาพราหมณป์ โุ รหติ ของพระเจา้ แผน่ ดนิ ซงึ่ เปน็ สหายกนั มาและทรงไดเ้ ลา่ ความใหฟ้ งั
พราหมณป์ โุ รหติ นนั้ กท็ ลู ตอบวา่ จะขอไปเฝา้ พระมเหสกี อ่ น แลว้ กไ็ ดไ้ ปเฝา้ พระมเหสี
ของพระเจา้ ทฆี ีติ ในขณะท่ไี ด้เห็นพระนางเสด็จดำ� เนนิ มาก็ประคองอัญชลีแลว้ กเ็ ปล่ง
อทุ านขน้ึ วา่ ราชาแหง่ แควน้ โกศลอยใู่ นพระครรภ์ ขอพระเทวอี ยา่ ไดเ้ สยี พระทยั จะได้
ทอดพระเนตรเห็นเสนาทม่ี ีองค์ ๔ และจะได้ทรงด่ืมนำ้� ล้างพระขรรค์

คร้ันแล้วพราหมณป์ ุโรหติ นน้ั กไ็ ด้ไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต แลว้ ไดก้ ราบทลู ว่า
ไดป้ รากฏนมิ ติ ขนึ้ ซงึ่ ในวนั พรงุ่ นเ้ี วลาอาทติ ยอ์ ทุ ยั ขอใหเ้ สนาทม่ี อี งค์ ๔ ซง่ึ ไดผ้ กู สอด
ครบเครอ่ื งออกสนามแลว้ จงยกออกไปตง้ั อยใู่ นภมู อิ นั ดี และกข็ อใหช้ ำ� ระลา้ งพระขรรค์
พระเจ้าพรหมทัตก็ได้โปรดอ�ำนวยให้ปฏิบัติเหมือนดังที่พราหมณ์ปุโรหิตทูลแนะน�ำ
พระมเหสขี องพระเจา้ ทฆี ตี จิ งึ ไดท้ อดพระเนตรเหน็ เสนาทมี่ อี งค์ ๔ ในเวลาอาทติ ยอ์ ทุ ยั
และได้ทรงดื่มนำ้� ล้างพระขรรค์

ต่อมาพระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติก็ประสูติพระโอรส ได้ประทานพระนามว่า
ทีฆาวุ เมื่อทีฆาวุกุมารเจริญวัยขึ้น พระราชบิดาก็ทรงด�ำริว่า ถ้าจะให้อยู่ด้วยกัน
เม่ือพระเจ้าพรหมทัตทรงทราบ ก็จะจับไปกระท�ำอันตรายเสียทั้งหมด เพราะฉะน้ัน

พรรษาท่ี ๙ 45

จงึ ไดท้ รงแยกใหท้ ฆี าวกุ มุ ารไปอยเู่ สยี อกี สว่ นหนงึ่ และกท็ รงใหเ้ ลา่ เรยี นศกึ ษาศลิ ปวทิ ยา
พระราชกุมารนัน้ กไ็ ด้ทรงศึกษาศลิ ปวทิ ยาอยใู่ นภายนอกพระนคร

ต่อมาช่างกัลบกเก่าของพระเจ้าทีฆีติแห่งแคว้นโกศล เมื่อแคว้นนั้นได้ตกอยู่
ในครอบครองของพระเจา้ พรหมทตั แลว้ กไ็ ดม้ ารบั ราชการอยใู่ นราชสำ� นกั ของพระเจา้
พรหมทัต วันหนึ่ง ได้ไปเห็นพระเจ้าทีฆีติ ซึ่งเป็นเจ้านายเก่าของตนเข้าพร้อมกับ
พระมเหสี กจ็ �ำไดจ้ ึงไดม้ ากราบทลู พระเจา้ พรหมทตั พระเจ้าพรหมทตั จงึ โปรดให้ไป
นำ� เอาพระเจา้ ทฆี ตี ิกับพระมเหสมี า และโปรดใหจ้ �ำจองดว้ ยเคร่อื งพนั ธนาการ และก็
ให้ประทับอยู่ในรถและให้พาตระเวนไปตามถนน ๔ แพร่ง ๓ แพร่งในพระนคร
และก็ไดส้ ั่งว่า เมอื่ ได้ตระเวนไปท่ัวแล้ว ก็ให้น�ำออกไปภายนอกพระนคร แล้วก็ให้ตัด
ออกเปน็ ๔ ทอ่ นเสยี บประจานไว้

ในขณะทเ่ี ขาได้นำ� ท้งั ๒ พระองค์ตระเวนไปในพระนครนัน้ กพ็ อดที ฆี าวกุ มุ าร
มคี วามคดิ ถงึ พระราชบดิ าและพระราชมารดา กไ็ ดเ้ ขา้ มาเพอื่ จะเยย่ี ม ครนั้ มาเหน็ เขา
ก�ำลังตระเวนทั้ง ๒ พระองค์อยู่ก็ตามไปดู พอดีทั้ง ๒ พระองค์นั้นได้ทรงเห็น
พระราชโอรส พระเจา้ ทฆี ตี กิ ไ็ ดต้ รสั ขนึ้ ลอย ๆ วา่ ดกู อ่ นทฆี าวุ จงอยา่ เหน็ แกย่ าวอยา่
เหน็ แกส่ ้นั เวรยอ่ มไมร่ ะงบั ด้วยเวร แตว่ า่ เวรระงบั ดว้ ยความไม่มีเวร พวกมนุษย์ก็พา
กนั กลา่ ววา่ พระเจา้ ทฆี ตี ทิ รงเสยี สติ ใครเปน็ ทฆี าวุ ไดต้ รสั ดงั นแี้ กใ่ คร แตพ่ ระเจา้ ทฆี ตี ิ
กท็ รงตรัสอย่อู ยา่ งน้นั ๒-๓ ครั้ง และกต็ รสั ว่า พระองคม์ ิไดท้ รงเสียสติ วิญญูชนก็จะ
รไู้ ด้ ทฆี าวกุ มุ ารกค็ งไมก่ ลา้ ทีจ่ ะแสดงพระองคว์ ่าเป็นพระราชโอรส ก็ได้ปะปนอยู่กบั
หมชู่ น ฝา่ ยพวกเจ้าหนา้ ท่ี เมอื่ ไดน้ ำ� ทัง้ ๒ พระองคต์ ระเวนไปทั่วแล้ว ก็ไดน้ ำ� ออก
นอกเมอื ง แลว้ กไ็ ดป้ ฏบิ ตั ติ ามพระราชบญั ชา แลว้ กต็ ง้ั กองเฝา้ พระศพทถ่ี กู เสยี บไวน้ นั้

พระราชกมุ ารกไ็ ดท้ รงหาสรุ ามามอมพวกนน้ั จนเมา แลว้ กเ็ กบ็ พระศพมาถวาย
พระเพลิง แล้วรีบเสด็จหนีออกไปจากเมือง และต่อมาก็ได้เข้ามาในพระนครนั้น
และไดเ้ ขา้ ไปฝากตวั ทำ� งานอยกู่ บั นายหตั ถาจารยค์ อื อาจารยฝ์ กึ ชา้ งของพระเจา้ แผน่ ดนิ
นายหตั ถาจารยก์ ็ได้รบั ไวใ้ หศ้ กึ ษาในวชิ าเก่ยี วแก่ช้าง

ในตอนเชา้ พระราชกมุ ารกล็ กุ ขน้ึ แตเ่ ชา้ ไดด้ ดี พณิ กบั ขบั รอ้ งประสานเสยี งพณิ
พระเจ้าพรหมทตั ตน่ื บรรทมขึ้นตอนเช้า ทรงได้สดับเสียงนนั้ กไ็ ดต้ รสั ถาม เขาก็ทูล

46 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ใหท้ รงทราบวา่ เปน็ เสยี งพณิ และเสยี งขบั ของมาณพคนหนง่ึ ซงึ่ เปน็ ศษิ ยข์ องหตั ถาจารย์
จงึ ไดต้ รสั ใหน้ ำ� เอามาณพนน้ั เขา้ เฝา้ เจา้ หนา้ ทกี่ ไ็ ดน้ ำ� ทฆี าวกุ มุ ารเขา้ เฝา้ พระเจา้ พรหมทตั
ไดเ้ หน็ ทฆี าวกุ มุ าร เกดิ โปรดปรานและกไ็ ดท้ รงรบั ไวใ้ หเ้ ปน็ มหาดเลก็ ใกลช้ ดิ ทฆี าวกุ มุ าร
ก็ตั้งใจรบั ราชการปฏิบัตพิ ระเจ้าพรหมทตั เป็นอย่างดี เปน็ ต้นว่า เปน็ ผทู้ ่ีต่ืนกอ่ นนอน
ทีหลัง คอยรบั สนองพระราชบญั ชาในกิจการต่าง ๆ ประพฤติส่งิ ทเ่ี ปน็ ทีต่ ้องพระราช-
อัธยาศัย และเพด็ ทูลด้วยถอ้ ยค�ำเปน็ ทีต่ อ้ งพระราชหฤทยั พระเจ้าพรหมทัตก็ยงิ่ ทรง
โปรดปราน จนถงึ ทรงตั้งไวใ้ นที่ของบุคคลผ้คู ุ้นเคยในภายใน

ในวันหน่ึง พระเจ้าพรหมทัตโปรดให้ทีฆาวุกุมารเทียมราชรถเพ่ือจะเสด็จไป
ทรงลา่ เนอ้ื ทฆี าวกุ มุ ารกไ็ ดป้ ฏบิ ตั ติ ามพระราชประสงค์ พระเจา้ แผน่ ดนิ กไ็ ดท้ รงราชรถ
มีทีฆาวุกุมารเป็นผู้ขับม้า พระกุมารก็ได้ขับราชรถไปโดยเร็วจนหมู่เสนาตามไม่ทัน
และได้เข้าไปในป่าจนถึงต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งก็หยุดรถ พระเจ้าพรหมทัต ได้โปรดให้
พระราชกมุ ารนง่ั ลง แลว้ พระองคก์ ท็ รงบรรทมโดยหนนุ พระเศยี รอยบู่ นตกั ของทฆี าวกุ มุ าร
แลว้ กบ็ รรทมหลบั ไป ในขณะนัน้ ทฆี าวุกมุ ารได้ระลึกถงึ เวรเก่าวา่ บา้ นเมอื งของเรา
กพ็ ระเจา้ พรหมทตั นไ้ี ดท้ รงยำ�่ ยี มารดาบดิ าของเรากพ็ ระเจา้ พรหมทตั นไ้ี ดท้ รงฆา่ เสยี
ถึงเวลาที่จะจัดการช�ำระเวรกันเสียสักทีหนึ่ง จึงได้ชักพระขรรค์ขึ้นจากฝัก แต่ว่าใน
ขณะเดียวกัน ก็ระลึกถึงพระบรมราโชวาทท่ีพระราชบิดาได้ให้ไว้ว่า อย่าเห็นแก่ยาว
อยา่ เหน็ แกส่ น้ั เปน็ ตน้ กร็ ะลกึ ขน้ึ ไดว้ า่ ไมค่ วรทจี่ ะละเมดิ คำ� ของบดิ า ไดส้ อดพระขรรค์
เขา้ ไวด้ ังเดิม ครั้งท่ี ๒ ก็เกิดระลกึ ถงึ เวรเกา่ ขึ้นมา เกดิ ความคิดทจี่ ะจดั การช�ำระเวร
ใหส้ น้ิ เหมอื นดงั นนั้ กช็ กั พระขรรคอ์ อกมาอกี แตก่ ท็ รงระลกึ ถงึ พระโอวาทของบดิ าขนึ้ มา
ก็สอดพระขรรคก์ ลับ ในครั้งท่ี ๓ ก็เปน็ อย่างน้นั ในขณะทีไ่ ดส้ อดพระขรรค์กลับใน
คร้งั ที่ ๓ น้ัน พระเจ้าพรหมทัตกต็ ื่นบรรทมเสดจ็ ลกุ ขนึ้ อย่างผลนุ ผลนั แลว้ กต็ รัสว่า
ไดท้ รงฝนั เหน็ ทฆี าวกุ มุ ารซงึ่ เปน็ โอรสของพระเจา้ ทฆี ตี ปิ ระหารพระองคด์ ว้ ยพระขรรค์
จงึ ไดต้ กพระทยั ตน่ื บรรทมขน้ึ ทฆี าวกุ มุ ารกจ็ บั พระเศยี รของพระเจา้ พรหมทตั ดว้ ยหตั ถ์
เบอ้ื งซา้ ย แลว้ กช็ กั พระขรรคอ์ อกดว้ ยหตั ถเ์ บอื้ งขวา แลว้ กป็ ระกาศตนขน้ึ วา่ เรานเ้ี ปน็
โอรสของพระเจา้ ทฆี ตี ิ ซงึ่ ชอ่ื วา่ ทฆี าวกุ มุ าร พระองคไ์ ดท้ รงทำ� ความพนิ าศใหแ้ กบ่ า้ นเมอื ง
ใหแ้ กม่ ารดาบดิ าเปน็ อนั มาก บดั น้ี ถงึ เวลาทจ่ี ะชำ� ระเวรกนั เสยี ทหี นง่ึ พระเจา้ พรหมทตั
ย่ิงตกพระทัย ทรงหมอบพระองค์ลงขอชีวิตแก่ทีฆาวุกุมาร ทีฆาวุกุมารก็ทูลตอบว่า
ตนอาจจะถวายชีวิตแก่พระองค์ได้อย่างไร ก็ขอให้พระองค์ประทานชีวิตให้แก่ตนดว้ ย

พรรษาท่ี ๙ 47

พระเจา้ พรหมทตั กต็ รสั วา่ ถา้ อยา่ งนนั้ เจา้ จงใหช้ วี ติ แกเ่ รา เรากจ็ ะใหช้ วี ติ แกเ่ จา้ เปน็ อนั วา่
ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างได้ให้ชีวิตแก่กันและกัน แล้วก็ได้กระท�ำการสบถสาบานเพื่อท่ีจะไม่
ประทุษร้ายกันต่อไป พระเจ้าพรหมทัตก็เสด็จข้ึนประทับบนรถ และทีฆาวุกุมารก็ได้
ขบั รถกลบั เขา้ สพู่ ระนคร

ครั้นเมื่อเสด็จกลับเข้าไปถึงพระนครแล้ว ได้ตรัสให้ประชุมเสนาอ�ำมาตย์
แล้วไดต้ รสั ถามขนึ้ ในทีป่ ระชุมว่า ถา้ หากว่าทา่ นทัง้ หลายเหน็ ทีฆาวกุ ุมารซง่ึ เป็นโอรส
ของพระเจา้ ทฆี ตี จิ ะทำ� อยา่ งไร พวกอำ� มาตยเ์ หลา่ นนั้ กท็ ลู วา่ จะตดั มอื บา้ ง จะตดั เทา้ บา้ ง
จะตดั ศรี ษะบา้ ง เปน็ ตน้ พระเจา้ พรหมทตั กต็ รสั ขนึ้ วา่ นแี่ หละเปน็ ทฆี าวกุ มุ าร ซงึ่ เปน็
พระโอรสของพระเจ้าทีฆีติ แต่ว่ากุมารนี้ใคร ๆ ไม่ได้เพ่ือจะท�ำอะไร ๆ ท้ังนั้น
เพราะกมุ ารนไ้ี ดใ้ หช้ วี ติ แกเ่ ราและเรากไ็ ดใ้ หช้ วี ติ แกก่ มุ ารนี้ ตอ่ จากนน้ั พระเจา้ พรหมทตั
ก็ได้ตรัสถามขึ้นว่า ในขณะที่บิดาของเจ้าจะตาย ได้กล่าวไว้เป็นโอวาทแก่เจ้านั้นมี
ความหมายอย่างไร

ทีฆาวุกุมารกไ็ ดท้ ลู อธบิ ายว่า ท่ตี รสั ไว้วา่ อยา่ เห็นแก่ยาว กค็ อื ว่าอยา่ กระท�ำ
เวรใหย้ าว ที่ตรสั ไว้ว่าอย่าเห็นแกส่ นั้ กค็ อื ว่าอย่าแตกมิตรใหเ้ รว็ นัก แล้วทต่ี รัสว่าเวร
ย่อมไม่ระงับด้วยเวรนั้น ก็คือว่า ถ้าหากว่าข้าพระองค์จะพึงปลงเทวะจากชีวิต
ฝ่ายพวกที่จงรักภักดีต่อเทวะก็จะปลงข้าพระองค์จากชีวิต แล้วก็พวกท่ีจงรักภักดีต่อ
ขา้ พระองคก์ จ็ ะปลงชีวิตพวกนั้นตอ่ ไปอกี ก็เป็นอันว่า เวรไมร่ ะงับด้วยเวร แต่วา่ เมื่อ
ขา้ พระองคไ์ ดท้ รงถวายชวี ติ แกเ่ ทวะ แลว้ เทวะกป็ ระทานชวี ติ แกข่ า้ พระองคเ์ หมอื นดงั น้ี
เวรก็เป็นอันระงับด้วยความไม่มีเวร เพราะฉะน้ัน บิดาของข้าพระองค์จึงได้โอวาทไว้
ในเวลาท่จี ะตายว่า เวรย่อมไม่ระงบั ด้วยเวร แต่ว่าย่อมระงบั ดว้ ยความไม่มเี วร

พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงสรรเสริญพระราชกุมาร และได้พระราชทานแคว้น
โกศลพร้อมท้ังพลพาหนะสมบัติทั้งหมด ซึ่งเป็นของพระราชบิดา ซึ่งพระองค์ทรงยึด
มานน้ั คนื แกท่ ฆี าวกุ มุ ารทกุ สงิ่ ทกุ อยา่ ง และกไ็ ดพ้ ระราชทานพระราชธดิ าของพระองคด์ ว้ ย

ตอ่ จากนน้ั พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดต้ รสั วา่ แมพ้ ระเจา้ แผน่ ดนิ เหลา่ นนั้ ซง่ึ ไดม้ ศี าสตรา
อาวธุ อยใู่ นพระหตั ถก์ ย็ งั มี ขนั ติ ความอดทน โสรจั จะ ความสงบเสงยี่ มเหมอื นอยา่ งนน้ั
และขอ้ ทที่ า่ นทง้ั หลายบวชในธรรมวนิ ยั ทกี่ ลา่ วดแี ลว้ อยา่ งนี้ จะพงึ เปน็ ผมู้ ขี นั ตโิ สรจั จะ

48 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

กจ็ ะเปน็ ความงดงามในพระธรรมวนิ ยั นี้ เมอื่ พระพทุ ธเจา้ ไดป้ ระทานพระโอวาท ไดท้ รง
ยกเอาเร่ืองเก่ามาเล่าเหมือนอย่างนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็ยังยืนยันที่จะไม่ปรองดองกัน
ตอ่ ไปอกี พระพทุ ธเจา้ ทรงเหน็ วา่ ยงั ไมอ่ าจทจ่ี ะกระทำ� ใหต้ กลงกนั ไดโ้ ดยงา่ ยแลว้ กไ็ ด้
เสด็จลกุ จากอาสนะและเสดจ็ หลีกไป

ตามทเี่ ลา่ มาน้ี เปน็ ความยอ่ ใน โกสมั พกิ ขนั ธกะ ทที่ า่ นเลา่ ไว้ เรอื่ งทฆี าวกุ มุ ารนี้
เจา้ พระคณุ สมเดจ็ พระสงั ฆราชเจา้ กรมหลวงวชริ ญาณวงศไ์ ดท้ รงประพนั ธเ์ ปน็ ฉนั ทไ์ ว้
เรยี กว่า ทฆี าวคุ ำ� ฉันท์ นบั วา่ เปน็ เรอื่ งทีม่ ีคตสิ อนใจเรื่องหนึ่ง

ตน้ เหตขุ องสงั ฆเภท

เรอ่ื งความแตกแยกรา้ วรานกนั ของสงฆท์ เ่ี กดิ ขน้ึ ในกรงุ โกสมั พี ในรฐั วงั สะนนั้
ในชน้ั บาลี คือต�ำราพระพุทธศาสนาทเ่ี ปน็ รนุ่ แรก เรียกว่า ช้ันบาลี ไมไ่ ดก้ ล่าวไวว้ า่
เกดิ ข้ึนเมอ่ื ไร และเกดิ ขึ้นในหรือนอกพรรษา สว่ นในหนงั สือชั้นอรรถกถา คืออธบิ าย
ความของบาลี ซ่ึงแต่งเมือ่ พระพทุ ธศาสนาลว่ งแลว้ หลายรอ้ ยปี โดยมากก็กำ� หนดกนั
วา่ ขนาดพนั ปี จงึ ไดม้ กี ลา่ วไวว้ า่ เกดิ ขนึ้ ในพรรษาท่ี ๙ นบั แตเ่ มอื่ พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั รู้
แลว้ และในชนั้ อรรถกถานั้นก็ยังได้เล่าเร่อื งพสิ ดารออกไปอกี คือเลา่ วา่

พระภกิ ษุ ๒ รปู ทเ่ี ปน็ ตน้ เหตนุ น้ั กค็ อื พระธรรมธร รปู หนง่ึ พระวนิ ยั ธร
รปู หนงึ่ พระธรรมธรแตว่ ่าเรยี กโดยมากวา่ พระธรรมกถกึ ได้ไปวัจจกุฎีซง่ึ มีบัญญตั ิ
ให้ใช้น�้ำและไม่ให้เหลือน้�ำท้ิงไว้ในภาชนะน�้ำ แต่ว่าพระธรรมกถึกเข้าวัจจกุฎี แล้วก็
เหลอื นำ�้ ทง้ิ ไว้ในภาชนะน้�ำ พระวนิ ัยธรเข้าไปทหี ลงั ออกมากบ็ อกแกพ่ ระธรรมกถึกว่า
ท่านเหลือน�้ำท้ิงไว้ในภาชนะน�้ำ ต้องอาบัติ พระธรรมกถึกก็ตอบว่า ท่านไม่รู้ว่าเป็น
อาบตั ิ เพราะเหตทุ ่ีกระท�ำน้ัน แต่ว่าเมือ่ เป็นอาบตั ิ ทา่ นก็จะแสดง พระวนิ ัยธรกบ็ อก
ว่า เม่ือไม่จงใจก็ไม่เป็นไร แล้วก็แยกกัน แต่ว่าพระวินัยธรเม่ือกลับมาแล้วก็แจ้งแก่
พวกลกู ศิษย์ของตนวา่ พระธรรมกถกึ ต้องอาบตั ิ แลว้ ก็ไมร่ ู้ว่าเป็นอาบตั ิ ฝ่ายพวกลกู
ศษิ ยข์ องพระวนิ ยั ธรกบ็ อกแกล่ กู ศษิ ยข์ องพระธรรมกถกึ วา่ อปุ ชั ฌายอ์ าจารยข์ องทา่ น
ตอ้ งอาบัติแลว้ ก็ไม่รู้ พวกลกู ศิษย์ก็บอกอาจารย์ อาจารย์ก็บอกวา่ ก็พระวนิ ยั ธรบอก
ว่าไมเ่ ป็นอาบตั ิ เพราะว่าไม่ได้จงใจ แล้วกลบั มาว่าเป็นอาบตั ิ พระวนิ ัยธรพดู มุสาวาท

พรรษาท่ี ๙ 49

พวกลกู ศษิ ยก์ ก็ ลบั ไปบอก กเ็ ลยเกดิ ววิ าททมุ่ เถยี งกนั แตกกนั เปน็ ๒ พวก จนถงึ ฝา่ ย
พระวนิ ยั ธรไดโ้ อกาสกท็ ำ� อกุ เขปนยี กรรม คอื วา่ ประกาศยกวตั รพระธรรมกถกึ กเ็ ปน็
เร่ืองให้ทง้ั ๒ ฝา่ ยน้นั แตกกันจนถงึ กบั ไมล่ งโบสถก์ ัน ซ่งึ เรยี กวา่ เป็น สังฆเภท คอื
สงฆ์แตกกัน อันหมายความว่า เม่ือเกิดแตกแยกกันดังกล่าวนั้น จนถึงไม่ร่วมท�ำ
สังฆกรรมด้วยกัน ในภาษาไทยเราเรียกว่า ไม่ลงโบสถ์กัน คือไม่ท�ำอุโบสถร่วมกัน
ไม่ท�ำปวารณาร่วมกัน ไม่ท�ำสังฆกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เป็นต้น ต่างก็แยกกันท�ำ
เมอื่ เปน็ ดงั นจี้ งึ เรยี กวา่ เปน็ สงั ฆเภท และทง้ั ๒ ฝา่ ยนนั้ กเ็ รยี กวา่ เปน็ นานาสงั วาสกะ
ของกันและกัน คือว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่างกัน หมายความว่า แยกกันกระท�ำ
สังฆกรรมเปน็ ตน้ ๑๓

พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดท้ รงดำ� เนนิ การระงบั ดว้ ยพระองคเ์ อง ดว้ ยประทานพระโอวาท
เพอื่ ให้ทง้ั ๒ ฝา่ ยนน้ั ยอมผอ่ นปรนเขา้ หากัน แล้วกท็ รงเตอื นฝ่ายท่ที ำ� การยกวัตรวา่
ไมค่ วรจะรบี ผลนุ ผลนั กระทำ� เมอ่ื เหน็ วา่ จะแตกกนั เพราะเหตนุ นั้ กย็ งั ไมค่ วรจะกระทำ� กอ่ น
แล้วก็ทรงเตือนอีกฝ่ายหนึ่งว่า เมื่อส่วนมากเขาเห็นว่า เป็นอาบัติ ก็ควรจะเชื่อเขา
แลว้ กก็ ระท�ำคืนเสีย เรอ่ื งกจ็ ะไมบ่ งั เกิดข้นึ ร้ายแรง และจนถงึ ไดต้ รัสเร่ืองทีฆาวกุ มุ าร
อบรม โดยความก็คือ แม้พระราชาผปู้ กครองแวน่ แคว้น ซึง่ ตา่ งกม็ อี าวธุ อย่ใู นมือด้วย
กันและต่างก็ได้เคยท�ำลายล้างกัน ชิงบ้านชิงเมืองชิงทรัพย์สมบัติประหัตประหารกัน
แตใ่ นทสี่ ดุ กย็ งั ใหอ้ ภยั กนั และปรองดองกนั ได้ กท็ ำ� ไมพวกภกิ ษซุ งึ่ กไ็ มม่ เี รอื่ งอะไรหนกั หนา
เพียงแต่ทุ่มเถียงกันด้วยอาบัติเล็กน้อยว่า ข้อนี้เป็นอาบัติข้อนี้ไม่เป็นอาบัติเท่าน้ัน
ก็ควรท่ีจะปรองดองกันได้ และในที่อ่ืน เช่น ในโกสัมพิยสูตร๑๔ สูตรที่ตรัสใน
กรุงโกสัมพี ก็กล่าวว่า ได้ทรงประทานพระโอวาทด้วยสาราณียธรรม ๖ ประการ
ดงั ทมี่ คี วามแจง้ อยใู่ นสาราณยี ธรรม ๖ ในหมวด ๖ นนั้ ๑๕ แตก่ ย็ งั ไมเ่ กดิ ความปรองดอง
ขน้ึ ได้ จงึ ไดเ้ สดจ็ หลกี ออกจากกรงุ โกสมั พไี ปประทบั อยใู่ นปา่ ทเ่ี รยี กกนั วา่ ปารเิ ลยยกะ
ไทยเราเรยี กวา่ ปา่ เลไลยก์ และในชั้นบาลกี ไ็ ม่ได้บอกว่าจ�ำพรรษาท่ีน่นั แต่วา่ ในชน้ั

๑๓ โกสมฺพิกวตถฺ ุ ธมฺมปท. ๑/๔๙-๕๒.
๑๔ ม. ม.ู ๑๒/๕๔๑-๕๔๒/๕๘๒.
๑๕ ในหนังสอื นวโกวาท

50 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

อรรถกถา๑๖ ได้เล่าว่า ได้ประทับจ�ำพรรษาอยู่ที่ป่าปาริเลยยกะน้ันเป็นพรรษาที่ ๑๐
เพราะฉะน้ัน เม่ือแบ่งตามที่พระอรรถกถาจารย์ท่านว่าไว้ กค็ วรจะเริม่ พรรษาที่ ๑๐
ตง้ั แต่เสด็จออกจากกรงุ โกสมั พไี ปสปู่ า่ ปารเิ ลยยกะ

เสดจ็ สู่ป่าปารเิ ลยยกะ

ส�ำหรับในช้ันบาลีน้ันได้มีเล่าสืบต่อกันว่า๑๗ เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทาน
พระโอวาทใหป้ รองดองกนั ไมส่ ำ� เรจ็ ในวนั รงุ่ ขน้ึ กท็ รงถอื บาตรจวี ร เสดจ็ เขา้ ไปบณิ ฑบาต
ในกรงุ โกสมั พี ครนั้ เสดจ็ กลบั จากบณิ ฑบาตแลว้ กท็ รงเกบ็ เสนาสนะ ทรงถอื บาตรจวี ร
ของพระองคด์ ว้ ยพระองคเ์ อง แลว้ กป็ ระทบั ยนื ในทา่ มกลางสงฆ์ ไดต้ รสั ขน้ึ โดยความวา่
“บคุ คลทมี่ ีเสียงดัง เปน็ คนเสมอกัน สกั คนหน่ึงกไ็ ม่รู้สึกว่าตนเปน็ คนเขลา เม่อื สงฆ์
กำ� ลังจะแตกกนั อยู่ ก็ไมบ่ ังเกิดความรูส้ กึ ถงึ เหตผุ ลอน่ื ๆ ยิ่งไปกวา่ ทะเลาะวิวาทกัน
ผู้ที่หลงลืมสติแสดงท่าว่าเป็นบัณฑิตคือผู้ฉลาด มักจะเป็นคนเอาแต่เที่ยวพูดเพ้อเจ้อ
ไม่เป็นสาระ ปรารถนาท่ีจะต่อปากต่อค�ำกันออกไป ก็ย่อมจะไม่รู้สึกถึงการทะเลาะ
วิวาทท่ีเป็นเหตุชักจูงให้เป็นไป บุคคลท่ีผูกโกรธอยู่ว่า ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ท�ำร้ายเรา
ได้ชนะเรา ไดล้ กั สงิ่ ของของเราไป เวรของชนเหล่านน้ั ยอ่ มไม่สงบ สว่ นบคุ คลทีไ่ มผ่ ูก
โกรธอยู่ดังนั้น เวรของเขาย่อมสงบระงับได้ เพราะว่าเวรย่อมไม่ระงับด้วยเวรในกาล
ไหน ๆ แตว่ ่าย่อมระงับด้วยความไม่จองเวร น้ีเปน็ ธรรมท่เี กา่ คนอื่น ๆ ย่อมไมร่ สู้ ึก
ว่าพวกเราก�ำลังจะยอ่ ยยับกันอยู่ ณ บดั น้ี จึงพากนั ทะเลาะวิวาท ส่วนบุคคลเหล่าใด
ย่อมรู้ในหมู่ชนนั้น ความหมายมั่นก็ย่อมสงบระงับไปเพราะเหตุท่ีมีความรู้นั้น คนที่
เป็นคู่เวรกัน จนถึงกับตัดกระดูกของกัน ฆ่าชีวิตกัน ลักทรัพย์สมบัติ เป็นต้นว่า
โค มา้ ทรัพยต์ ่าง ๆ ตลอดจนถึงตบี า้ นตีเมืองกัน ก็ยังมคี วามสามคั คปี รองดองกนั ได้
เพราะเหตใุ ด ทา่ นทงั้ หลายจงึ จะปรองดองกนั ไมไ่ ด้ ถา้ วา่ บคุ คลพงึ ไดส้ หายทคี่ ลา้ ยคลงึ กนั
ทจี่ ะเทย่ี วไปดว้ ยกนั ได้ และทเี่ ปน็ ผทู้ รงปญั ญา มปี กตอิ ยดู่ ว้ ยกรรมทด่ี ที ชี่ อบ ครอบงำ�

๑๖ มโน. ปู. ๒/๓๙.
๑๗ โกสมฺพิกขนฺธก. ว.ิ มหา. ๕/๒๔๖-๒๕๑/๓๓๕-๓๔๓.

พรรษาท่ี ๙ 51

อนั ตรายได้ทั้งหมด กพ็ ึงมีใจยินดี มสี ติ เท่ยี วไปกบั ผู้นัน้ แตว่ า่ ถา้ ไมไ่ ดส้ หายเชน่ นัน้
กพ็ งึ เทย่ี วไปคนเดยี ว เหมอื นอยา่ งพระราชาละแวน่ แควน้ ทชี่ นะแลว้ เทยี่ วไปพระองคเ์ ดยี ว
หรือเหมอื นอย่างช้างชอื่ ว่า มาตังคะ เท่ียวไปผู้เดยี ว ความเทย่ี วไปของบุคคลผเู้ ดียวดี
กวา่ เพราะวา่ ความเปน็ สหายในคนพาลไม่มดี อี ะไร บุคคลพงึ เทย่ี วไปคนเดียวและไม่
กระท�ำบาปกรรมทั้งหลาย มีความขวนขวายน้อย เหมือนอย่างช้างมาตังคะเที่ยว
ไปในป่า”๑๘

เม่ือพระผมู้ ีพระภาคเจา้ ไดต้ รัสในท่ามกลางสงฆ์ท่ีววิ าทกนั โดยความด่ังน้แี ล้ว
ก็ได้เสด็จออกจากโฆสิตารามน้ัน ไปสู่หมู่บ้านของคนท�ำเกลืออ่อน ๆ หมู่บ้านหนึ่ง
ณ ทนี่ นั้ กไ็ ดท้ รงพบกบั พระภกิ ษรุ ปู หนงึ่ ชอื่ วา่ ทา่ น ภคุ ทา่ นไดต้ อ้ นรบั พระผมู้ พี ระภาคเจา้
พระองค์กไ็ ดท้ รงท�ำปฏิสันถาร การปฏสิ ันถารใช้ถอ้ ยค�ำทัว่ ไป ตามสำ� นวนในเวลานัน้
คือว่า พอทนได้อยู่หรือ พอยังเป็นไปได้อยู่หรือ ไม่ล�ำบากด้วยบิณฑบาตหรือ
เหมอื นอยา่ งทเ่ี ราทกั กนั ในภาษาของเราวา่ สบายดหี รอื แตว่ า่ สำ� หรบั ในสำ� นวนครง้ั นน้ั
ไมไ่ ดถ้ ามวา่ สบายดหี รอื ถามวา่ พอทนไดห้ รอื พอเปน็ ไปไดห้ รอื ไมล่ ำ� บากดว้ ยบณิ ฑบาต
หรอื ทา่ นภคกุ ท็ ลู ตอบใหท้ รงทราบวา่ พอทนได้ พอเปน็ ไปได้ ไมล่ ำ� บากดว้ ยบณิ ฑบาต
พระองค์ก็ได้ตรัสเทศนาให้เกิดความเห็นแจ้งในธรรม แล้วก็เสด็จตอ่ ไปยงั ปา่ ทชี่ อ่ื วา่
ปาจนี วงั สทายวนั ซง่ึ เปน็ ทอี่ ยขู่ องพระเถระ ๓ รปู คอื ๑. พระอนรุ ทุ ธะ ๒. พระนันทิยะ
๓. พระกิมพลิ ะ

ทา่ นทง้ั ๓ นนั้ กไ็ ดถ้ วายการตอ้ นรบั พระพทุ ธเจา้ พระองคก์ ไ็ ดท้ รงทำ� ปฏสิ นั ถาร
เชน่ เดยี วกนั นน้ั แตว่ า่ เพราะทา่ นอยกู่ นั ถงึ ๓ รปู พระพทุ ธเจา้ จงึ ตรสั ถามวา่ ทงั้ ๓ รปู
นไี้ ดอ้ ยปู่ รองดองกนั ไมบ่ าดหมางกนั มองดกู นั และกนั ดว้ ยจกั ษทุ เ่ี ปน็ ทร่ี กั เหมอื นอยา่ ง
เปน็ ผรู้ ว่ มนำ�้ นมเดยี วกนั คอื วา่ รว่ มมารดากนั อยหู่ รอื ทา่ นทง้ั ๓ นนั้ กไ็ ดก้ ราบทลู วา่
อยู่ปรองดองกันเรียบร้อย พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสถามว่า ได้ปฏิบัติกันอย่างไรจึงได้อยู่
ปรองดองกนั ดี ท่านทง้ั ๓ นน้ั ก็ได้กราบทูลวา่ ทา่ นไดพ้ ากนั คดิ ว่า เป็นลาภของเรา
เราไดด้ แี ลว้ ทไี่ ดม้ าอยรู่ ว่ มกบั พรหมจารที งั้ หลายเหมอื นเชน่ น้ี จงึ ไดพ้ ากนั ตงั้ กายกรรม

๑๘ ม. อุ. ๑๔/๔๔๓/๒๙๖.

52 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในกันและกัน ท้งั ในทล่ี บั ทง้ั ในที่แจ้ง และกไ็ ด้
พากันคิดว่า ไฉนเราแต่ละรูปจะพึงเก็บจิตของตนและประพฤติไปตามอ�ำนาจแห่งจิต
ของอกี สองทา่ น เมอื่ ไดค้ ดิ ดง่ั นน้ั แลว้ จงึ ไดป้ ระพฤตไิ มเ่ อาแตใ่ จของตนเอง แตว่ า่ คดิ ถงึ
ใจของผู้อื่นและอนุวัตรตาม เมื่อต่างพากันคิดถึงใจของผู้อื่น ไม่เอาแต่ใจของตน
และก็อนุวตั รตามกันอยดู่ ง่ั น้ี ถึงแมว้ า่ กายจะต่าง ๆ กัน แตจ่ ิตกเ็ หมอื นอยา่ งเปน็ อนั
เดียวกัน ท่านท้ัง ๓ ได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่าด่ังน้ี ท่านปฏิบัติดั่งน้ีจึงได้มีความ
ปรองดองกนั ดีอยู่

พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั ถามตอ่ ไปวา่ ทงั้ ๓ รปู นน้ั ไดพ้ ากนั อยดู่ ว้ ยความไมป่ ระมาท
มีความเพยี รสง่ ตนไปย่งิ ๆ ขน้ึ อยูห่ รือ ทา่ นท้ัง ๓ ก็ได้กราบทูลวา่ กไ็ ด้พากันอยดู่ ้วย
ความไม่ประมาทเหมือนดังนั้น พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสถามว่า ปฏิบัติอย่างไรท่ีบอกว่า
อยดู่ ว้ ยความไมป่ ระมาทนนั้ ทา่ นทงั้ ๓ กไ็ ดก้ ราบทลู วา่ ทงั้ ๓ รปู นน้ั รปู ใดกลบั จาก
บิณฑบาตก่อน รูปน้ันก็ปูลาดอาสนะ เตรียมน�้ำล้างเท้า ต่ังล้างเท้า ผ้าเช็ดเท้าไว้
ล้างภาชนะส�ำหรับใช้สอยต้ังไว้ และตั้งน้�ำดื่มน้�ำใช้ไว้ ส่วนรูปใดกลับจากบิณฑบาต
ภายหลงั ถา้ วา่ ยงั มภี ตั ตาหารเหลอื อยู่ และถา้ ประสงคก์ ข็ บฉนั แตถ่ า้ ไมป่ ระสงคก์ ท็ ง้ิ ใน
ท่ี ๆ ไม่มีของสดเขียวหรือว่าโปรยลงในน�้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ แล้วก็เก็บอาสนะเป็นต้น
ปัดกวาดให้สะอาด ส่วนรูปใดเห็นหม้อน�้ำด่ืม หม้อน้�ำใช้ หม้อน้�ำในวัจจกุฎีว่างเปล่า
กต็ ักน�้ำเติมใสไ่ ว้ ถา้ วา่ รูปเดยี วไมส่ ามารถ กช็ ว่ ยกันห้ิวน�ำ้ ไปใส่ไว้ และได้นั่งสนทนา
กนั ดว้ ยธรรมกถา ตลอดราตรที งั้ หมดทกุ วนั ๕ คำ�่ กไ็ ดพ้ ากนั อยดู่ ว้ ยความไมป่ ระมาท
ดังกล่าวมานี้

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมใหท้ า่ นท้งั ๓ นนั้ เห็นแจ่มแจง้ แล้ว กไ็ ด้เสด็จ
ตอ่ ไปยงั ปา่ ปารเิ ลยยกะ และกไ็ ดป้ ระทบั อยทู่ ด่ี งชอ่ื วา่ รกั ขติ วนั ใกลก้ บั ปา่ ปารเิ ลยยกะนนั้
ทา่ นแสดงวา่ ไดป้ ระทบั อยทู่ โ่ี คนไมส้ าละตน้ หนงึ่ ซงึ่ เปน็ ตน้ โตใหญอ่ ยใู่ นดงนนั้ ปารเิ ลยยกะ
น้ัน ท่านว่าเป็นช่ือของหมู่บ้าน คือเป็นหมู่บ้านป่าและก็มีดงอยู่ในที่ใกล้กันน้ันช่ือว่า
รกั ขติ วนั พระพทุ ธเจา้ ไดป้ ระทบั อยทู่ ด่ี งรกั ขติ วนั นนั้ พระองคก์ ไ็ ดท้ รงคำ� นงึ วา่ ไดป้ ระทบั
อยู่อาเกียรณ์ คือเกลื่อนกล่นวนุ่ วายไปดว้ ยหม่ภู กิ ษุชาวกรงุ โกสมั พีทีท่ ะเลาะววิ าทกนั
บดั นี้ไดเ้ สดจ็ ประทับอยใู่ นปา่ ดงพระองค์เดียวมคี วามผาสุก

พรรษาท่ี ๙ 53

ในสมยั นนั้ ไดม้ ชี า้ งปา่ เชอื กหนง่ึ ทงิ้ ฝงู มาอยปู่ ฏบิ ตั พิ ระพทุ ธเจา้ ทดี่ งรกั ขติ วนั นนั้
ใช้งวงทำ� การแผว้ ถางทำ� พนื้ ทใ่ี หส้ ะอาด และหานำ้� ด่ืมนำ้� ใช้ถวายพระพุทธเจ้า สำ� หรับ
ในชั้นบาลีก็มีเล่าเร่ืองในขณะที่ประทับอยู่ท่ีป่าปาริเลยยกะ เพียงเท่านี้ แต่ว่าในชั้น
อรรถกถาน้ัน๑๙ ได้มีเล่าขยายความถึงวิธีท่ีช้างปฏิบัติพระพุทธเจ้าว่า ท�ำอย่างไร
และไดม้ คี วามรกั นบั ถอื ในพระพทุ ธเจา้ อยา่ งไร ทำ� การรกั ษาพระองคอ์ ยา่ งไร และกไ็ ด้
เลา่ ถงึ เรอื่ งวานรตวั หนงึ่ ไดเ้ หน็ ชา้ งมาปฏบิ ตั พิ ระพทุ ธเจา้ อยกู่ ค็ ดิ อยากทจี่ ะปฏบิ ตั บิ า้ ง
จงึ ไปหกั เอารวงผงึ้ เกบ็ เอาตวั ออ่ น ๆ ออกหมดแลว้ นำ� ไปถวายพระพทุ ธเจา้ พระพทุ ธเจา้
ทรงรับแล้วกท็ อดพระเนตรเฉยอยู่ วานรนัน้ ตรวจดู เห็นยังมตี วั ออ่ นอยู่ ก็เอาออกอีก
จนสิ้นตัวอ่อน แล้วถวายพระพุทธเจ้าอีก พระองค์ก็ได้ทรงบริโภคเสวยน�้ำผึ้งน้ัน
วานรนั้นก็มีใจยินดี ข้ึนต้นไม้ก็เต้นจนก่ิงไม้หัก ตกลงมาเสียบเข้ากับตอไม้ข้างล่าง
กก็ ระทำ� กาลกริ ยิ าในขณะนนั้ เรอื่ งลงิ นใ้ี นชนั้ บาลไี มม่ ี แตว่ า่ มามเี ลา่ ไวใ้ นชนั้ อรรถกถา
พระปารเิ ลยยกะ เมืองไทยเรากน็ ิยมสร้างเป็นพระพุทธรปู บชู ามีช้างมีลงิ และที่สรา้ ง
ไว้องค์โตก็ท่ีจังหวัดสุพรรณบรุ ี ซึง่ สร้างมาตั้งแตส่ มัยกรงุ ศรีอยธุ ยา

พระพทุ ธเจ้าได้ประทับอยทู่ ป่ี ่าปาริเลยยกะนัน้ ตามพระพุทธอัธยาศัย แลว้ ได้
เสด็จออกจาริกไปสู่ กรุงสาวัตถี ในชั้นบาลีมีเล่าไว้เท่าน้ี แต่ว่าในชั้นอรรถกถา๒๐
ไดม้ เี ลา่ ไวโ้ ดยพสิ ดาร ความยอ่ วา่ บรรดาเศรษฐคี ฤหบดซี ง่ึ เปน็ ชาวกรงุ สาวตั ถผี นู้ บั ถอื
พระพทุ ธศาสนา ไดข้ อใหพ้ ระอานนทไ์ ปทลู เชญิ เสดจ็ กลบั มาสกู่ รงุ สาวตั ถี พระอานนท์
พรอ้ มกบั ภกิ ษกุ ไ็ ดไ้ ปเฝา้ พระพทุ ธเจา้ ทป่ี า่ ปารเิ ลยยกะนน้ั ชา้ งเหน็ พระมาเปน็ อนั มาก
กถ็ ือทอ่ นไมว้ ่ิงไปดว้ ยคดิ ว่าเปน็ ศตั รู พระพุทธเจา้ กไ็ ด้ทรงหา้ มว่านั่นเป็น พระอานนท์
พุทธอุปัฏฐาก ช้างจึงได้ท้ิงไม้และก็ได้ท�ำการต้อนรับ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกกับ
พระอานนทแ์ ละพระภกิ ษใุ นวนั นนั้ แตช่ า้ งกไ็ ดม้ ายนื ขวางทางไว้ พระพทุ ธเจา้ ทรงทราบ
ความประสงคว์ า่ ตอ้ งการทจี่ ะปฏบิ ตั พิ ระสกั วนั หนงึ่ กเ็ สดจ็ กลบั ไป วนั รงุ่ ขนึ้ ชา้ งกเ็ ทยี่ ว
เก็บผลไม้มาถวาย พระพุทธเจา้ และพระภิกษุทพ่ี ากันไปนัน้ เมอ่ื พระพทุ ธเจ้าไดเ้ สวย
และพระได้ฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จออกเพ่ือจะเสด็จจาริกไปยังกรุงสาวัตถี
ช้างก็มาขวางหน้าไว้อีก พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสว่า น้ีเป็นการไปของพระองค์ที่ไม่กลับ

๑๙ โกสมฺพิกวตฺถุ ธมฺมปท. ๑/๕๓-๕๔.
๒๐ โกสมพฺ กิ วตถฺ ุ ธมฺมปท. ๑/๕๓-๕๔

54 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ช้างจึงได้หลีกทางและตามเสด็จเร่ือยไปจนเข้าเขตคนอยู่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสห้ามว่า
ให้หยุดอยู่แค่น้ี เพราะต่อไปเป็นเขตคนอยู่มีอันตราย ช้างน้ันก็มีความอาลัย เม่ือ
พระพทุ ธเจา้ ไดเ้ สดจ็ ลบั คลองจกั ษไุ ป กห็ วั ใจแตกทำ� กาลกริ ยิ า ทา่ นเลา่ ไวใ้ นอรรถกถา
ดงั นี้ และกเ็ รยี กชอ่ื ชา้ งนน้ั วา่ ชา้ งปารเิ ลยยกะ ตามชอ่ื ปา่ ทช่ี า้ งไดไ้ ปปฏบิ ตั พิ ระพทุ ธเจา้

เรอ่ื งทเี่ ลา่ มาน้ี เปน็ ประวตั เิ กย่ี วแกพ่ ระพทุ ธศาสนา กเ็ ปน็ เรอ่ื งทคี่ วรจะทราบ
อยบู่ า้ ง จงึ ไดน้ �ำมาเล่าเป็นการเปลีย่ นรสจากการอธบิ ายธรรมท่ีติดต่อกนั มา

พระสูตรท่พี ระพทุ ธเจ้าทรงแสดงท่กี รงุ โกสมั พี

พระพุทธเจ้าตามที่พระอาจารย์ได้แสดงไว้ ว่าได้ประทับจ�ำพรรษาที่ ๙
ทีก่ รุงโกสัมพี จึงจะได้แสดงพระสตู รต่าง ๆ ท่พี ระพทุ ธเจ้าได้ทรงแสดงทกี่ รุงโกสัมพี
กับที่บางคราวพระสาวกเช่นพระอานนท์ได้แสดงที่กรุงโกสัมพี แต่ว่าพระพุทธเจ้าได้
เสดจ็ ทกี่ รงุ โกสมั พหี ลายครงั้ มใิ ชเ่ สดจ็ ไปจำ� เพาะเมอ่ื จำ� พรรษาในพรรษาที่ ๙ เทา่ นนั้
จงึ ไมอ่ าจทราบไดว้ า่ พระสตู รทที่ รงแสดงทก่ี รงุ โกสมั พที งั้ ปวงนนั้ ไดแ้ สดงในคราวไหน
แตก่ ็พึงเข้าใจได้ว่า ในพรรษาที่ ๙ นัน้ ก็คงจะไดแ้ สดงหลายพระสตู ร จึงได้รวบรวม
พระสตู รทแี่ สดงทก่ี รงุ โกสมั พที ปี่ รากฏในพระไตรปฎิ กมาประมวลไว้ เรมิ่ ดว้ ยพระสตู ร
ที่จะแสดงต่อไป และกจ็ ะแสดงพระสตู รอ่ืนตอ่ ไป

อานนั ทสูตร๒๑

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงท่ีประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
ท่ีควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลถามว่า ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุกเพราะเหตุอะไร
พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั ตอบไป ๑ ขอ้ พระอานนทก์ ก็ ราบทลู ถามวา่ ยงั มขี อ้ อน่ื อกี หรอื ไม่
พระพทุ ธเจา้ กต็ รสั ตอบไปอกี ๑ ขอ้ ทา่ นพระอานนทก์ ถ็ ามอกี วา่ ยงั มขี อ้ อนื่ อกี หรอื ไม่

๒๑ องฺ. ปญจฺ ก. ๒๒/๑๐๖/๑๕๐.

พรรษาที่ ๙ 55

พระพทุ ธเจา้ กต็ รสั ตอบอกี ๑ ขอ้ ไปทลี ะขอ้ จนครบ ๕ ขอ้ เพราะฉะนนั้ ในพระพทุ ธดำ� รสั
ที่ตรสั ตอบนี้ จงึ รวมเข้ามาเปน็ ขอ้ ๆ ได้ดั่งน้ี

๑. ภิกษุเปน็ ผถู้ ึงพรอ้ มดว้ ยศีลดว้ ยตนเอง ไม่ติเตียนผอู้ นื่ ในเพราะอธศิ ลี
๒. ภิกษุเป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อ่ืน รวมถึงให้เพ่ง เช่นเพ่งโทษตนเอง
ไมเ่ พ่งโทษผอู้ ืน่ ดว้ ย
๓. เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมรวมถึงว่า ไม่มุ่งความมีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้ง
เพราะความไมม่ ีชอ่ื เสียงน้ัน
๔. เปน็ ผไู้ ด้ ฌาน ๔ อนั มใี นจติ ยง่ิ เปน็ เครอื่ งอยสู่ บายในปจั จบุ นั ตามความ
ปรารถนาโดยไมย่ ากไม่ลำ� บาก
๕. ภิกษุย่อมกระท�ำให้แจ้งซ่ึง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะท้ังหลายส้ินไป ดว้ ยปัญญาอนั ยงิ่ เองในปัจจบุ นั เขา้ ถึงอยู่
ดว้ ยเหตุเพียงเท่านแ้ี ล ภิกษุสงฆจ์ งึ อยูเ่ ป็นผาสุก
อนง่ึ พระพทุ ธองคต์ รสั วา่ ธรรมเครอ่ื งอยเู่ ปน็ ผาสกุ อยา่ งอนื่ ทด่ี กี วา่ หรอื ประณตี
กว่าธรรมเคร่อื งอยู่เป็นผาสุกเชน่ นย้ี อ่ มไมม่ ี

พระสตู รน้เี รียกวา่ อานันทสตู ร

สลี สูตร๒๒

พระพุทธเจ้าตรสั ว่า ภกิ ษผุ ู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ยอ่ มเปน็

อาหเุ นยโฺ ย ผูค้ วรของคำ� นับ
ปาหเุ นยโฺ ย เปน็ ผคู้ วรของต้อนรับ
ทกขฺ เิ ณยฺโย เป็นผคู้ วรของทำ� บุญ
อญฺชลกิ รณโี ย เปน็ ผคู้ วรทำ� อญั ชลี

๒๒ อง.ฺ ปญฺจก. ๒๒/๑๐๗/๑๕๒.

56 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

อนตุ ตฺ รํ ปญุ ฺ กเฺ ขตตฺ ํ โลกสฺส เป็นนาบุญของโลก ไม่มนี าบุญอน่ื ย่ิงกวา่
ธรรม ๕ ประการ คือ
๑. ภกิ ษใุ นธรรมวินยั นเ้ี ป็นผู้ถึงพรอ้ มดว้ ยศีล
๒. เปน็ ผู้ถงึ พร้อมดว้ ยสมาธิ
๓. เปน็ ผถู้ งึ พร้อมด้วยปญั ญา
๔. เป็นผถู้ ึงพร้อมด้วยวมิ ุตติ คือความหลดุ พน้
๕. เป็นผ้ถู ึงพรอ้ มดว้ ยวิมุตติญาณทสั สนะ ความรู้ความเหน็ ในวิมตุ ติ
ภกิ ษุประกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการนี้แล ยอ่ มเปน็ อาหเุ นยฺโย เป็นตน้

อเสขิยสตู ร๒๓

พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ ภกิ ษผุ ปู้ ระกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการ ยอ่ มเปน็ อาหเุ นยโฺ ย
ผูค้ วรของค�ำนบั เปน็ ต้น คือ

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสลี ขันธ์อนั เปน็ ของพระอเสขะ
๒. เปน็ ผปู้ ระกอบด้วยสมาธิขนั ธอ์ นั เปน็ ของพระอเสขะ
๓. เปน็ ผู้ประกอบดว้ ยปญั ญาขันธอ์ นั เปน็ ของพระอเสขะ
๔. เป็นผูป้ ระกอบด้วยวมิ ุตตขิ นั ธ์อนั เปน็ ของพระอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบดว้ ยวิมุตติญาณทัสสนขันธอ์ ันเป็นของพระอเสขะ
ภกิ ษปุ ระกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการนแี้ ล ยอ่ มเปน็ อาหเุ นยโฺ ย เปน็ ผคู้ วรของ
ค�ำนับ เป็นตน้
พงึ ทราบอธบิ ายบางขอ้ วา่ คำ� วา่ พระอเสขะ นนั้ แปลวา่ พระผจู้ บการศกึ ษาแลว้
ไมต่ อ้ งศกึ ษาอกี ตอ่ ไป พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั เอาไวว้ า่ เกยี่ วแกศ่ กึ ษานี้ มี ๓ จำ� พวก คอื
เสขะ อเสขะ และเนวเสขานาเสขะ

๒๓ องฺ. ปญจฺ ก. ๒๒/๑๐๘/๑๕๒.

พรรษาท่ี ๙ 57

คำ� วา่ เสขะ น้ันแปลวา่ ผศู้ ึกษา อเสขะ นน้ั แปลวา่ ผู้ไมต่ อ้ งศึกษา เพราะ
จบแลว้ เนวเสขานาเสขะ เปน็ เสขะกม็ ใิ ช่ เปน็ อเสขะกม็ ใิ ช่ ไดแ้ กผ่ ทู้ ยี่ งั เปน็ ปถุ ชุ นหรอื
เปน็ สามญั ชน เรยี กวา่ เสขะกม็ ใิ ช่ อเสขะกม็ ใิ ช่ คอื เปน็ นกั ศกึ ษากม็ ใิ ช่ มใิ ชน่ กั ศกึ ษา
กม็ ใิ ช่ ในขอ้ นใ้ี นปจั จบุ นั น้ี กย็ งั มใี ชค้ ำ� จำ� แนก เชน่ เดก็ ทศ่ี กึ ษาในชน้ั ยงั ไมถ่ งึ อดุ มศกึ ษา
คอื อนบุ าลกด็ ี ประถมศึกษากด็ ี มัธยมศกึ ษากด็ ี ยังเรียกว่า นักเรียน ตอ่ เมอื่ ถึงข้ัน
อุดมศึกษา คือข้นั มหาวิทยาลยั จงึ เรียกว่า นกั ศกึ ษา พระพทุ ธเจ้าไดท้ รงเรียกบคุ คลที่
เป็นปุถุชนหรือสามัญชนว่ายังมิใช่นักศึกษา ก็คล้ายกับท่ีเรียกกันในระบบการศึกษา
ปจั จบุ นั ดงั กลา่ ว ตอ่ เมอ่ื ไดเ้ ปน็ อรยิ บคุ คล ๗ จำ� พวก คอื เปน็ ผตู้ ง้ั อยใู่ นโสดาปตั ตมิ รรค
ตงั้ อยใู่ นโสดาปตั ตผิ ล ตง้ั อยใู่ นสกทาคามมิ รรค ตง้ั อยใู่ นสกทาคามผิ ล ตง้ั อยใู่ นอนาคา
มิมรรค ตั้งอยใู่ นอนาคามิผล นเ่ี ป็น ๖ และตง้ั อยใู่ นอรหัตตมรรคเปน็ ๗ อริยบคุ คล
๗ จ�ำพวกน้ี เรยี กพระเสขะ คอื เป็นนักศกึ ษาหรอื เปน็ ผศู้ ึกษา เพราะวา่ ได้ปฏิบตั ใิ น
มรรคมีองค์ ๘ แล้ว ไม่มีที่จะพลัดตกจากทางมรรคมีองค์ ๘ แต่ว่ายังไม่จบเสร็จ
ยงั ตอ้ งศกึ ษาในมรรคมอี งค์ ๘ ตอ่ ไปใหบ้ ริบูรณ์ แต่ไมม่ ที ่จี ะกลับถอยหลัง หรอื ไม่มี
ท่จี ะกลับออกนอกมรรคมีองค์ ๘ หรือนอกทาง เปน็ ผูเ้ ข้าทาง แล้วกเ็ ดนิ กา้ วหน้าไปสู่
สุดทาง จึงยอมรับว่าเป็นเสขะคือเป็นนักศึกษา เรียกว่า เข้าทางแล้ว ไม่มีพลัด
ตกออกจากทาง ไมม่ ีนอกทาง

และเมอ่ื ตง้ั อยใู่ นอรหตั ตผล เปน็ พระอรหนั ต์ จงึ จะเรยี กวา่ เปน็ อเสขะ คอื
เปน็ ผู้ท่ีจบการศกึ ษา ไมต่ อ้ งศึกษาตอ่ ไป และในพระพทุ ธภาษติ ในพระสูตรนี้ กแ็ สดง
ถงึ หมู่แห่งสาวกของพระผมู้ พี ระภาคเจ้าท่เี รยี กว่า สาวกสงฆ์ ซงึ่ เปน็ ขน้ั อเสขะ คือ
เป็นข้ันที่จบการศึกษา ว่าย่อมประกอบด้วย สีลขันธ์ กองศีล ขันธะ ก็แปลว่า
กอง สีลขันธะ ก็แปลว่า กองศีล อันเป็นอเสขะ คือเป็นอรหัตตผล ประกอบด้วย
สมาธขิ นั ธ์ กองสมาธิ ประกอบดว้ ย ปญั ญาขนั ธ์ กองปญั ญา ประกอบดว้ ยวมิ ตุ ตขิ นั ธ์
กองวิมุตติ ประกอบด้วย วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ กองวิมุตติญาณทัสสนะ ความรู้
ความเข้าใจในวมิ ุตตอิ นั เป็นอเสขะ อนั นบั ว่าเป็นสาวกสงฆ์ชนั้ ยอด ซึง่ เปน็ ผู้ประกอบ
ด้วยพระสงั ฆคุณบทว่า อาหุเนยโฺ ย เป็นผคู้ วรของคำ� นบั เปน็ ต้น

58 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

จาตุทิสสูตร๒๔

ว่าด้วยธรรมของภกิ ษุผู้เทยี่ วไปท้งั ๔ ทิศ
พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ภิกษผุ ปู้ ระกอบด้วยธรรม ๕ ประการน้ี ย่อมเป็นผู้
ควรเที่ยวไปได้ในทศิ ท้งั ๔ คอื
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศีล เป็นผู้ส�ำรวมด้วยความส�ำรวมใน
พระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย อาจาระ คือความประพฤติ และ โคจร คือที่เที่ยว
มปี กตเิ ห็นภัยในโทษมปี ระมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททง้ั หลาย
๒. เปน็ พหูสตู คือเปน็ ผูไ้ ด้สดบั ตรับฟังมาก ทรง สตุ ะ คอื ทรงจ�ำธรรมที่
สดบั ตรับฟัง สะสมสุตะคือจ�ำสะสมไว้ได้มาก เป็นผไู้ ดส้ ดบั มาก ทรงจำ� ไว้ คล่องปาก
ขน้ึ ใจ แทงตลอดดว้ ยดดี ว้ ยทฏิ ฐคิ วามเหน็ คอื ทำ� ความเขา้ ใจใหถ้ กู ตอ้ งดว้ ยโยนโิ สมนสกิ าร
ซง่ึ ธรรมทงั้ หลายอนั งามในเบอ้ื งตน้ งามในทา่ มกลาง งามในทส่ี ดุ ประกาศพรหมจรรย์
พรอ้ มท้งั อรรถ เนอื้ ความ พรอ้ มท้งั พยัญชนะ ถอ้ ยค�ำ บริสทุ ธิ์บรบิ ูรณส์ ้นิ เชิง
๓. เป็นผู้สนั โดษ คือยินดีดว้ ยจวี ร บณิ ฑบาต เสนาสนะ และคลิ านปจั จยั -
เภสชั บริขาร คอื ยาแก้ไขต้ ามมตี ามได้
๔. เปน็ ผไู้ ดต้ ามปรารถนา ไดโ้ ดยไมย่ าก ไดโ้ ดยไมล่ ำ� บาก ซงึ่ ฌาน ๔ อนั มี
ในจิตยิ่ง เปน็ เคร่อื งอยสู่ บายในปจั จบุ ัน
๕. ยอ่ มกระท�ำให้แจ้งซึ่งเจโตวมิ ตุ ติ ปญั ญาวิมตุ ติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะท้ังหลายสน้ิ ไป ด้วยปญั ญาอันย่ิงเองในปจั จบุ ัน เข้าถงึ อยู่
ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ภกิ ษผุ ปู้ ระกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการนแี้ ล ยอ่ มเปน็ ผคู้ วรเทยี่ ว
ไปได้ในทศิ ทง้ั ๔

๒๔ อง.ฺ ปญจฺ ก. ๒๒/๑๐๙/๑๕๒.

พรรษาที่ ๙ 59

อรญั ญสตู ร๒๕

ว่าด้วยคุณสมบัตขิ องภิกษผุ อู้ ยู่ในเสนาสนะอนั สงดั
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อเสพอาศัย
เสนาสนะอนั สงัดคอื ป่าและป่าชฏั คอื
๑. เปน็ ผมู้ ศี ลี เปน็ ผสู้ ำ� รวมดว้ ยความสำ� รวมในพระปาตโิ มกข์ ถงึ พรอ้ มดว้ ย
อาจาระและโคจร มปี กตเิ หน็ ภยั ในโทษมปี ระมาณนอ้ ย สมาทานศกึ ษาอยใู่ นสกิ ขาบท
ทัง้ หลาย
๒. เปน็ พหสู ตู ทรงไวซ้ ง่ึ สตุ ะ สะสมสตุ ะ เปน็ ผไู้ ดส้ ดบั มาก ทรงจำ� ไว้ คลอ่ งปาก
ขน้ึ ใจ แทงตลอดดว้ ยดดี ว้ ยทฏิ ฐคิ วามเหน็ คอื ทำ� ความเขา้ ใจใหถ้ กู ตอ้ ง ซง่ึ ธรรมทง้ั หลาย
อันงามในเบื้องตน้ งามในทา่ มกลาง งามในท่สี ุด ประกาศพรหมจรรยพ์ ร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทง้ั พยัญชนะ บริสทุ ธบ์ิ ริบรู ณส์ นิ้ เชงิ
๓. เปน็ ผปู้ รารภความเพยี ร เพอ่ื ละอกศุ ลธรรม ธรรมทเ่ี ปน็ อกศุ ล เพอ่ื บำ� เพญ็
กุศลธรรม ธรรมทเี่ ป็นกศุ ลทง้ั หลาย เป็นผู้มกี ำ� ลงั มีความบากบน่ั ม่นั คง ไม่ทอดท้งิ
ธรุ ะในกุศลธรรมทงั้ หลาย
๔. เป็นผู้ไดต้ ามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไดโ้ ดยไม่ล�ำบาก ซึง่ ฌาน ๔
อนั มใี นจติ ยง่ิ เปน็ เครอ่ื งอยู่สบายในปัจจบุ ัน
๕. ยอ่ มกระทำ� ใหแ้ จง้ ซง่ึ เจโตวิมตุ ติ ปญั ญาวมิ ตุ ติ อนั หาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะทงั้ หลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอนั ย่งิ เองในปจั จุบัน เข้าถงึ อยู่
ภกิ ษผุ ปู้ ระกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการนแ้ี ล ควรเพอื่ เสพอาศยั เสนาสนะทสี่ งดั
คือปา่ และป่าชัฏ

๒๕ อง.ฺ ปญฺจก. ๒๒/๑๑๐/๑๕๓.

60 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

กลุ ูปกสตู ร๒๖

ว่าดว้ ยธรรมอนั ท�ำให้เปน็ ทเ่ี คารพและไม่เคารพในสกุล
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุผู้เข้าสู่สกุล ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมไมเ่ ป็นที่รกั ไม่เป็นทีพ่ อใจ ไมเ่ ป็นทเ่ี คารพ และไม่เปน็ ท่สี รรเสรญิ ในสกุล คือ
๑. ทำ� ความวสิ าสะคือทำ� ความค้นุ เคยกับผูไ้ มค่ นุ้ เคย
๒. เปน็ ผ้บู งการส่ิงโนน่ สง่ิ นีต่ า่ ง ๆ ทั้งท่ตี นไม่เป็นใหญใ่ นสกุล
๓. เปน็ ผู้คบหากับผ้ทู ไ่ี ม่ถูกกับเขา
๔. เปน็ ผพู้ ูดกระซบิ ที่หู
๕. เปน็ ผู้ขอมากเกินไป
ภิกษุผู้เข้าสู่สกุล ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นท่ีรัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไมเ่ ปน็ ทเี่ คารพ และไม่เป็นท่สี รรเสริญในสกุล
สว่ นภกิ ษุทเ่ี ขา้ สสู่ กุล ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ยอ่ มเป็นท่รี ัก เปน็ ที่
พอใจ เป็นทเ่ี คารพ เป็นทีส่ รรเสรญิ ในสกลุ คือ
๑. ไมเ่ ปน็ ผู้วสิ าสะกบั ผู้ไม่ค้นุ เคย
๒. ไมเ่ ปน็ ผบู้ งการตา่ ง ๆ ทง้ั ทต่ี นไมเ่ ป็นใหญใ่ นสกลุ
๓. ไม่เปน็ ผู้คบหากบั ผทู้ ี่ไม่ถูกกบั เขา
๔. ไม่เป็นผพู้ ดู กระซิบที่หู
๕. ไม่เปน็ ผู้ขอมากเกนิ ไป
ภกิ ษผุ เู้ ขา้ สสู่ กลุ ประกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการนแ้ี ล ยอ่ มเปน็ ทร่ี กั เปน็ ทพี่ อใจ
เปน็ ที่เคารพ และเป็นท่ีสรรเสริญในสกลุ

๒๖ อง.ฺ ปญฺจก. ๒๒/๑๑๑/๑๕๔.

พรรษาท่ี ๙ 61

ปัจฉาสมณสูตร๒๗

ว่าด้วยธรรมของผูค้ วรและไม่ควรเป็นปจั ฉาสมณะ คือสมณะ ผู้ตามหลัง
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรพาไปเป็นปัจฉาสมณะ คือ
สมณะผู้ตามหลัง คือผู้ตดิ ตาม คือ
๑. ภกิ ษผุ ูเ้ ปน็ ปัจฉาสมณะ ยอ่ มเดนิ ไปหา่ งนักหรือใกลน้ กั
๒. ไม่รบั บาตรท่คี วรรับ
๓. ยอ่ มไมห่ า้ มเมอื่ พูดใกล้อาบตั ิ
๔. ยอ่ มพดู สอดข้นึ เมื่อก�ำลังพูดอยู่
๕. เปน็ ผู้มีปัญญาทราม โงเ่ ขลา
ภกิ ษผุ ปู้ ระกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการนแ้ี ล ไมค่ วรพาไปเปน็ ปจั ฉาสมณะ คอื
ผูท้ ่ีตดิ ตาม
สว่ นภกิ ษผุ ปู้ ระกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการ จงึ ควรพาไปเปน็ ปจั ฉาสมณะ คอื
๑. ภกิ ษผุ ้เู ปน็ ปจั ฉาสมณะ ย่อมเดนิ ไปไมห่ ่างนกั ไม่ใกลน้ กั
๒. ย่อมรับบาตรทีค่ วรรบั
๓. ย่อมห้ามเมอื่ พูดใกลอ้ าบตั ิ
๔. ยอ่ มไมพ่ ูดสอดข้นึ เมื่อกำ� ลงั พดู อยู่
๕. เปน็ ผู้มีปัญญา ไม่โง่ ไมเ่ ขลา
ภิกษุผปู้ ระกอบด้วยธรรม ๕ ประการนีแ้ ล ควรพาไปเปน็ ปัจฉาสมณะ คือ
เป็นผ้ทู ต่ี ิดตาม

๒๗ อง.ฺ ปญฺจก. ๒๒/๑๑๒/๑๕๔.

62 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

สมาธสิ ูตร๒๘

ว่าดว้ ยธรรมของผู้ท่ไี ม่ควรและผคู้ วรบรรลุสมั มาสมาธิ
พระพทุ ธเจา้ ตรัสว่า ภิกษผุ ปู้ ระกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ยอ่ มไม่ควร เพอื่
บรรลสุ ัมมาสมาธิ คือภกิ ษใุ นธรรมวินัยนี้
๑. ไมอ่ ดทนต่อรปู ารมณ์
๒. ไม่อดทนตอ่ สทั ทารมณ์
๓. ไมอ่ ดทนต่อคันธารมณ์
๔. ไม่อดทนตอ่ รสารมณ์
๕. ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์
ภกิ ษผุ ปู้ ระกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการนแี้ ล ยอ่ มไมค่ วรเพอ่ื บรรลสุ มั มาสมาธิ
ส่วนภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรเพ่ือบรรลุสัมมาสมาธิ คือ
ภิกษุในธรรมวินยั น้ี
๑. อดทนต่อรปู ารมณ์
๒. อดทนตอ่ สัททารมณ์
๓. อดทนต่อคนั ธารมณ์
๔. อดทนตอ่ รสารมณ์
๕. อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์
ภกิ ษผุ ู้ประกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการนแ้ี ล ย่อมควรเพ่ือบรรลุสัมมาสมาธิ

๒๘ องฺ. ปญจฺ ก. ๒๒/๑๑๓/๑๕๕.

พรรษาท่ี ๙ 63

ในพระสตู รนพี้ งึ ทราบอธบิ ายโดยสงั เขปวา่ คำ� วา่ ไมอ่ ดทนตอ่ รปู ารมณ์ เปน็ ตน้
นั้น ก็คือค�ำว่า อารมณ์ นั้นไดอ้ ธิบายแล้วว่า เรื่องทีจ่ ิตคดิ เรื่องทีจ่ ติ ด�ำริ เรื่องท่ีจติ
หมกมนุ่ ซง่ึ มี ๖ ประการ คอื อารมณท์ งั้ ๕ ประการน้ี และอกี อนั หนง่ึ ก็ คอื ธมั มารมณ์
อารมณค์ อื ธรรมเรอ่ื งราว แตว่ า่ ในทน่ี แ้ี สดงไวเ้ พยี ง ๕ ประการ ตง้ั แตร่ ปู ารมณ์ อารมณ์
คอื รปู จนถงึ โผฏฐัพพารมณ์ อารมณ์คอื โผฏฐพั พะ ส่งิ ทก่ี ายถกู ตอ้ ง พจิ ารณาเห็นว่า
ที่ยกขน้ึ มาเพียง ๕ ข้อน้กี ็เพราะวา่ แมอ้ ารมณข์ อ้ ท่ี ๖ นัน้ คือธมั มารมณ์ ซ่ึงแปลว่า
อารมณ์คือธรรม คือเร่ือง เร่ืองอะไร ก็คือเร่ืองรูป เรื่องเสียง เรื่องกล่ิน เร่ืองรส
เรื่องโผฏฐัพพะ ทั้ง ๕ ข้อนี้เอง ที่เป็นส่วนอดีตบ้าง ที่เป็นส่วนอนาคตบ้าง
เพราะฉะนน้ั แมแ้ สดงไวเ้ พยี ง ๕ ขอ้ กย็ อ่ มหมายรวมถงึ ธมั มารมณด์ ว้ ย ซง่ึ มปี ระกอบ
อยดู่ ว้ ยทกุ ขอ้ ดงั ทไ่ี ดแ้ สดงอธบิ ายวา่ มโนนนั้ ยอ่ มประกอบอยกู่ บั ประสาททง้ั ๕ ขา้ งตน้
ฉะนน้ั จงึ หมายถงึ อารมณท์ งั้ ๕ นท้ี เ่ี ปน็ ปจั จบุ นั ดว้ ย ทเี่ ปน็ อดตี ดว้ ย ทเ่ี ปน็ อนาคตดว้ ย
ท้ัง ๓ กาล และค�ำว่า ไม่อดทนน้ัน ก็หมายถึงว่า เป็นผู้ท่ีถูกอารมณ์ครอบง�ำได้
จงึ มคี วามยินดบี า้ ง ยินรา้ ยบา้ ง หลงงมงายติดอยบู่ า้ งในอารมณท์ ้ังปวงเหล่านี้ แตเ่ มือ่
อดทนไดแ้ ล้ว กย็ อ่ มเปน็ ผทู้ ไี่ มถ่ ูกอารมณค์ รอบงำ� ย่อมสามารถทจี่ ะมใี จเป็นอเุ บกขา
ตอ่ อารมณไ์ ด้ ไมย่ นิ ดไี มย่ นิ รา้ ยในอารมณ์ ไมห่ ลงงมงายตดิ อยใู่ นอารมณ์ เมอ่ื เปน็ ดง่ั นี้
อารมณ์ท้ัง ๕ นี้จงึ ไมอ่ าจมาบงั เกดิ เป็นนวิ รณ์ขนึ้ ในจติ ใจ ทงั้ น้ีกเ็ พราะวา่ สามารถท่ี
จะอดทน อดกลน้ั ทนทานตอ่ อารมณท์ งั้ ปวง ทำ� ใจใหเ้ ปน็ อเุ บกขาไดใ้ นอารมณท์ งั้ ปวง
ดังน้ีแหละจึงจะควรบรรลุสัมมาสมาธิ แต่ถ้าหากว่าลุอ�ำนาจของอารมณ์ ถูกอารมณ์
ครอบง�ำจิตใจให้ยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง หลงงมงายติดอยู่บ้างแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะ
ปฏิบัติให้บรรลุสัมมาสมาธิได้ เพราะอารมณ์เหล่าน้ีจะมาปรากฏเป็นนิวรณ์ คอยก้ัน
เอาไวไ้ มใ่ หจ้ ติ เปน็ สมาธิ ฉะนน้ั คำ� วา่ อดทนตอ่ อารมณ์ จงึ หมายความถงึ วา่ สามารถ
ทจ่ี ะระงบั นวิ รณใ์ นจิตใจได้ อารมณไ์ มม่ าเป็นนิวรณ์ในจติ ใจ จิตใจก็เป็นสมาธไิ ด้

64 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เวสารัชชกรณสูตร๒๙

วา่ ดว้ ยธรรมทำ� ให้แกล้วกลา้ ๕ ประการ
พระพทุ ธเจ้าตรัสว่า ธรรมเป็นเครื่องกระท�ำความเปน็ ผ้แู กลว้ กลา้ แหง่ ภิกษผุ ู้
เสขะ ๕ ประการ คือภิกษใุ นธรรมวนิ ัยน้ี
๑. เปน็ ผมู้ ีศรทั ธา
๒. เปน็ ผมู้ ีศีล
๓. เปน็ พหูสตู คือผูไ้ ด้สดบั ตรบั ฟังมาก
๔. เป็นผปู้ รารภความเพยี ร
๕. เป็นผูม้ ปี ญั ญา
ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ความคร่ันคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่
ผมู้ ีศรัทธา
ความครัน่ ครา้ มใดยอ่ มมแี กผ่ ทู้ ุศีล ความคร่ันคร้ามนั้นย่อมไมม่ แี ก่ผมู้ ีศีล
ความครนั่ ครา้ มใดยอ่ มมแี กผ่ ไู้ ดศ้ กึ ษานอ้ ย ไดส้ ดบั ตรบั ฟงั นอ้ ย ความครนั่ ครา้ ม
นั้นย่อมไมม่ แี กผ่ ู้เปน็ พหสู ตู
ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้เกียจคร้าน ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้
ปรารภความเพยี ร
ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทราม ความครั่นคร้ามน้ันย่อมไม่มี
แก่ผู้มปี ัญญา
ฉะนน้ั ธรรมทง้ั ๕ ประการนจ้ี งึ ชอ่ื วา่ เปน็ เครอ่ื งกระทำ� ความเปน็ ผแู้ กลว้ กลา้
ในภกิ ษผุ ู้เสขะ

๒๙ อง.ฺ ปญจฺ ก. ๒๒/๑๐๑/๑๔๔.

พรรษาท่ี ๙ 65

สงั กิตสูตร๓๐

ว่าด้วยธรรมทท่ี ำ� ใหเ้ ป็นทนี่ ่ารังเกียจ
พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ ภกิ ษผุ ปู้ ระกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการ ยอ่ มเปน็ ทรี่ งั เกยี จ
สงสัยว่าเป็น ปาปภิกษุ แม้จะเปน็ ผมู้ ี อกปุ ปธรรม คือมีธรรมไมก่ �ำเริบ คอื ภิกษใุ น
ธรรมวนิ ยั น้ี
๑. ย่อมเปน็ ผู้คบหาหญิงแพศยา
๒. ยอ่ มเป็นผู้คบหาหญิงหม้าย
๓. ยอ่ มเป็นผคู้ บหาสาวเท้ือ
๔. ยอ่ มเป็นผคู้ บหาบณั เฑาะก์
๕. ย่อมเป็นผคู้ บหาภิกษณุ ี

โจรสตู ร๓๑

วา่ ด้วยองค์แหง่ มหาโจร ๕ ประการ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า มหาโจรประกอบดว้ ยองค์ ๕ ประการ ย่อมตัดท่ีต่อบา้ ง
ยอ่ มปลน้ ทำ� ลายบา้ ง ยอ่ มทำ� การปลน้ เฉพาะเรอื นหลงั เดยี วบา้ ง ตชี งิ ในทางเปลย่ี วบา้ ง
คือมหาโจรในโลกนี้
๑. เปน็ ผู้อาศยั ที่ไมร่ าบเรยี บ
๒. เป็นผอู้ าศยั ทีร่ กชัฏ
๓. เป็นผ้อู าศยั คนมกี ำ� ลัง

๓๐ องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๐๒/๑๔๔.
๓๑ อง.ฺ ปญฺจก. ๒๒/๑๐๓/๑๔๕.

66 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๔. เป็นผู้ใชจ้ ่ายโภคทรัพย์
๕. เป็นผู้เทีย่ วไปคนเดยี ว
มหาโจรเป็นผู้อาศัยท่ีไม่ราบเรียบ คือเป็นผู้อาศัยท่ีลุ่มแห่งแม่น�้ำหรือท่ีไม่
ราบเรียบแห่งภูเขา
มหาโจรเปน็ ผอู้ าศยั ทร่ี กชฏั คอื เปน็ ผอู้ าศยั ทร่ี กชฏั แหง่ หญา้ บา้ ง ทร่ี กชฏั แหง่
ตน้ ไมบ้ า้ ง ฝ่งั แม่น้ำ� บ้าง ป่าใหญ่บา้ ง
มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีก�ำลัง คือย่อมอาศัยพระราชาบ้าง อ�ำมาตย์แห่ง
พระราชาบา้ ง เขายอ่ มมคี วามคดิ อยา่ งน้วี า่ ถา้ ใครจะกลา่ วหาเรือ่ งราวบางอย่างแกเ่ รา
พระราชาหรือมหาอำ� มาตย์ของพระราชาเหล่านจ้ี ะช่วยว่าความให้
มหาโจรในโลกนเี้ ปน็ ผมู้ งั่ คงั่ มที รพั ยม์ าก คอื มโี ภคะมาก เขายอ่ มมคี วามคดิ
อย่างนี้ว่า ถ้าใครจะกล่าวหาเรื่องบางอย่างแก่เรา เราจักจ่ายโภคทรัพย์ กลบเกลื่อน
เร่อื งนน้ั
มหาโจรเปน็ ผูเ้ ท่ยี วไปคนเดียว คือเปน็ ผ้ทู �ำโจรกรรมคนเดยี ว เพราะเขาย่อม
ปรารถนาวา่ เรอ่ื งลับของเราอย่าได้แพรง่ พรายไปภายนอก
มหาโจร ๕ จำ� พวกน้ีฉนั ใด ปาปภกิ ษุ คอื ภิกษุชว่ั ก็ฉนั น้นั คอื เป็นผปู้ ระกอบ
ดว้ ยธรรม ๕ ประการ ยอ่ มบรหิ ารตนใหถ้ กู กำ� จดั ถกู ทำ� ลาย เปน็ ผมู้ โี ทษมขี อ้ ทว่ี ญิ ญชู น
จะพงึ ตเิ ตยี น ยอ่ มประสบบาปเปน็ อนั มาก คอื ปาปภกิ ษใุ นธรรมวนิ ยั น้ี ๑. เปน็ ผอู้ าศยั
ธรรมทไ่ี มส่ ม่ำ� เสมอ ๒. เปน็ ผูอ้ าศยั ทีร่ กชัฏ ๓. เปน็ ผู้อาศยั คนมกี ำ� ลงั ๔. เป็นผู้ใช้
จ่ายโภคทรพั ย์ ๕. เปน็ ผเู้ ที่ยวไปคนเดียว
ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยธรรมที่ไม่สม�่ำเสมอ คือเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม
วจกี รรม มโนกรรมที่ไม่สม�ำ่ เสมอ
ปาปภกิ ษเุ ปน็ ผอู้ าศยั ทร่ี กชฏั คอื เปน็ มจิ ฉาทฏิ ฐิ ประกอบดว้ ยทฏิ ฐทิ ถ่ี อื เอาทสี่ ดุ
ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีก�ำลัง คือเป็นผู้อาศัยพระราชาบ้าง อ�ำมาตย์
แห่งพระราชาบ้าง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจะกล่าวหาเรื่องบางอย่างแก่เรา
ทา่ นเหลา่ นนั้ คอื ผมู้ กี ำ� ลงั เหลา่ นนั้ จะชว่ ยวา่ ความให้ ปาปภกิ ษเุ ปน็ ผอู้ าศยั ผมู้ กี ำ� ลงั อยา่ งนี้

พรรษาที่ ๙ 67

ปาปภิกษุเปน็ ผูใ้ ชจ้ ่ายโภคทรัพย์ คือยอ่ มเป็นผ้ไู ดจ้ วี ร บณิ ฑบาต เสนาสนะ
และยาแกไ้ ข้ เธอยอ่ มมคี วามคดิ วา่ ถา้ ใครจกั กลา่ วหาเรอ่ื งบางอยา่ งแกเ่ รา เราจกั แจก
จ่ายลาภกลบเกลื่อนเรอื่ งนน้ั ด่งั น้ี ถา้ ใครกล่าวหาเรอื่ งบางอยา่ งแกเ่ ธอ เธอยอ่ มแจก
จ่ายลาภเพือ่ กลบเกลือ่ นเร่ืองเหล่านั้น

ปาปภิกษุเปน็ ผเู้ ท่ยี วไปคนเดียว คอื ย่อมอยชู่ นบทชายแดนผเู้ ดยี ว เธอเขา้ ไป
หาสกลุ คือบา้ นญาตโิ ยมในชนบทน้นั ยอ่ มได้ลาภ

สขุ มุ าลสูตร๓๒

วา่ ดว้ ยธรรมของสมณะผลู้ ะเอยี ดออ่ น
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมชื่อว่า
เปน็ สุขมุ าละ คือเปน็ สมณะละเอยี ดออ่ นในหมู่คณะ คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกขอร้องจึงใช้จีวรมาก ไม่ถูกขอร้องใช้จีวรน้อย
ถกู ขอรอ้ งจงึ บรโิ ภคบณิ ฑบาตมาก ไมถ่ กู ขอรอ้ งบรโิ ภคบณิ ฑบาตนอ้ ย ถกู ขอรอ้ งจงึ ใช้
เสนาสนะมาก ไมถ่ กู ขอรอ้ งใชเ้ สนาสนะนอ้ ย ถกู ขอรอ้ งจงึ ใชย้ าแกไ้ ขม้ าก ไมถ่ กู ขอรอ้ ง
ใชย้ าแก้ไขน้ อ้ ย
๒. อนงึ่ เธอยอ่ มอยรู่ ว่ มกบั เพอื่ นพรหมจรรยเ์ หลา่ ใด เพอื่ นพรหมจรรยเ์ หลา่ นน้ั
ย่อมประพฤติตอ่ เธอดว้ ยกายกรรมอันเป็นท่พี อใจเป็นสว่ นมาก อนั ไม่เป็นทีพ่ อใจเปน็
ส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยวจีกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็น
ที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยมโนกรรมอันเป็นท่ีพอใจเป็นส่วนมาก
ไม่เป็นที่น่าพอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมน�ำส่ิงท่ีควรน�ำเข้าไปอันเป็นท่ีพอใจเป็นส่วนมาก
อันไม่เปน็ ทพี่ อใจเปน็ ส่วนนอ้ ย

๓๒ อง.ฺ ปญจฺ ก. ๒๒/๑๐๔/๑๔๗.

68 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๓. อนึ่ง เวทนามีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มีลมเป็น
สมฏุ ฐานกด็ ี ทเ่ี กดิ เพราะสนั นบิ าตกด็ ี ทเ่ี กดิ เพราะฤดเู ปลยี่ นแปรกด็ ี ทเ่ี กดิ เพราะการ
บริหารไมเ่ สมอกด็ ี ท่เี กิดเพราะความแก่กด็ ี ทเ่ี กิดเพราะผลกรรมก็ดี ย่อมไมบ่ ังเกิด
แก่เธอมาก เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย

๔. เธอเปน็ ผไู้ ดต้ ามความปรารถนา ไดโ้ ดยไมย่ าก ไดโ้ ดยไมล่ ำ� บาก ซง่ึ ฌาน
๔ อนั มใี นจิตย่ิง เป็นเครือ่ งอยสู่ บายในปจั จบุ ัน

๕. เธอยอ่ มกระทำ� ใหแ้ จง้ ซงึ่ เจโตวมิ ตุ ติ ปญั ญาวมิ ตุ ตอิ นั หาอาสวะมไิ ดเ้ พราะ
อาสวะทง้ั หลายส้ินไป ดว้ ยปัญญายิ่งเองในปจั จุบัน เข้าถงึ อยู่

ภกิ ษผุ ปู้ ระกอบดว้ ยธรรม ๕ ประการนแี้ ล ชอ่ื วา่ เปน็ สขุ มุ าละ คอื เปน็ สมณะ
ผู้ละเอยี ดอ่อนในหมคู่ ณะ ในหมูส่ มณะ ก็บคุ คลเมือ่ จะกล่าวโดยชอบ พงึ กลา่ วผู้ใดว่า
เปน็ สมณะผลู้ ะเอยี ดออ่ นในหมสู่ มณะ บคุ คลนนั้ เมอื่ จะกลา่ วโดยชอบ พงึ กลา่ วแกเ่ รา
ตถาคตนนั่ เทยี ววา่ เปน็ สมณะผลู้ ะเอยี ดออ่ นในหมสู่ มณะ เพราะวา่ เราตถาคตถกู ขอรอ้ ง
จงึ ใชจ้ วี รมาก ไมถ่ กู ขอรอ้ งใชจ้ วี รนอ้ ย ถกู ขอรอ้ งจงึ บรโิ ภคบณิ ฑบาตมาก ไมถ่ กู ขอรอ้ ง
บริโภคบิณฑบาตน้อย ถูกขอร้องจึงใช้เสนาสนะมาก ไม่ถูกขอร้องใช้เสนาสนะน้อย
ถกู ขอรอ้ งจึงใชย้ าแก้ไข้มาก ไมถ่ กู ขอร้องใช้ยาแกไ้ ข้นอ้ ย

และเราย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติต่อเรา
ดว้ ยกายกรรมอนั เปน็ ทพ่ี อใจเปน็ สว่ นมาก อนั ไมเ่ ปน็ ทพ่ี อใจเปน็ สว่ นนอ้ ย ยอ่ มประพฤติ
ต่อเราด้วยวจีกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นท่ีพอใจเป็นส่วนน้อย
ย่อมประพฤติต่อเราด้วยมโนกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็น
สว่ นนอ้ ย ยอ่ มนำ� ส่งิ ทคี่ วรน�ำเขา้ ไปอนั เปน็ ทพ่ี อใจเป็นสว่ นมาก อันไม่เป็นทพี่ อใจเปน็
สว่ นน้อย

และเวทนามดี เี ปน็ สมฏุ ฐานกด็ ี มเี สมหะเปน็ สมฏุ ฐานกด็ ี มลี มเปน็ สมฏุ ฐานกด็ ี
ท่ีเกิดเพราะสันนิบาตก็ดี ที่เกิดเพราะฤดูเปล่ียนแปรก็ดี ท่ีเกิดเพราะการบริหารไม่
เสมอก็ดี ที่เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ย่อมไม่บังเกิดแก่เรามาก
เราเป็นผู้มอี าพาธนอ้ ย


Click to View FlipBook Version