The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-03-12 11:48:04

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

Keywords: ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า เล่ม ๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

พรรษาท่ี ๙ 119

จิตตสูตร๗๒

วา่ ดว้ ยวิญญาณฐิติ ทีต่ งั้ แหง่ วิญญาณ ๗ ประการ
พระพทุ ธเจ้าตรัสว่า วิญญาณฐิติ ภูมเิ ปน็ ที่ต้งั แห่งวิญญาณ ๗ ประการ คอื
๑. สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทวดาบาง
พวก และวินิปาติกสัตว์ คอื สตั ว์ทเี่ กิดในภูมิภพทต่ี กต่�ำบางพวก
๒. สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดา
ชั้นพรหมกายิกาคือผู้ท่ีเกิดในหมู่พรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (ผู้บังเกิดก่อน
ปมาภนิ พิ ฺพตตฺ า)
๓. สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดา
ชน้ั อาภัสสระ
๔. สตั วบ์ างพวกมีกายอย่างเดียวกนั มีสัญญาอยา่ งเดยี วกนั เหมอื นเทวดา
ชั้นสุภกิณหะ
๕. สัตวบ์ างพวกเข้าถงึ ชั้นอากาสานญั จายตนะ โดยมนสกิ ารว่า อากาศไม่มี
ทสี่ ดุ เพราะลว่ งรปู สญั ญาดว้ ยประการทง้ั ปวง เพราะดบั ปฏฆิ สญั ญาเสยี ได้ ไมใ่ สใ่ จถงึ
นานัตตสัญญาคือความส�ำคญั หมายในอารมณต์ า่ ง ๆ
๖. สัตว์บางพวกเขา้ ถงึ ชัน้ วิญญานญั จายตนะ โดยมนสกิ ารว่า วญิ ญาณไมม่ ี
ทส่ี ้นิ สุด เพราะล่วงอากาสานญั จายตนะโดยประการท้งั ปวง
๗. สัตว์บางพวกเขา้ ถงึ ช้ันอากิญจญั ญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มอี ะไร ๆ
เพราะลว่ งวญิ ญานัญจายตนะโดยประการทงั้ ปวง

๗๒ อง.ฺ สตฺตก. ๒๓/๔๑/๔๑.

120 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

มีอธิบายถึงสัตว์บางจ�ำพวกไว้ว่า บรรดามนุษย์ทั้งหลายหาประมาณมิได้
ในจกั รวาลหาประมาณมไิ ด้ แม้ ๒ คนจักชื่อวา่ เสมอื นมนษุ ย์คนเดยี วกัน ด้วยอำ� นาจ
สีและทรวดทรงเป็นต้นหามีไม่ แม้มนุษย์เหล่าใดเป็นพี่น้องฝาแฝดกันในท่ีไหน ๆ
เหมือนกันโดยสีและทรวดทรง แม้มนุษย์เหล่าน้ันก็ยังแปลกกันตรงท่ีแลดู เหลียวดู
พูด หวั เราะ เดินและยนื เปน็ ตน้ เพราะฉะนัน้ จึงตรสั วา่ มกี ายต่างกัน ก็ปฏสิ นธิ
สัญญา ความส�ำคัญหมายในปฏิสนธิของสัตว์เหล่านั้น เป็นปฏิสนธิท่ีมีเหตุ ๓ ก็มี
มเี หตุ ๒ ก็มี หาเหตมุ ิไดก้ ็มี เพราะฉะนั้น จงึ ตรสั ว่า มีสญั ญาตา่ งกัน ส่วนบททว่ี า่
เทวดาบางพวก กไ็ ด้แก่ชนั้ กามาพจร ๖ ชั้น จริงอยู่ บรรดาเทวดาชน้ั กามาพจร ๖
ชน้ั นนั้ เทวดาบางพวกมกี ายเขยี ว บางพวกมกี ายเหลอื งเปน็ ตน้ สว่ นสญั ญาของเทวดา
เหลา่ นัน้ เปน็ สญั ญาที่มเี หตุ ๒ กม็ ี มีเหตุ ๓ กม็ ี ท่ีหาเหตุมไิ ด้ก็มี

บททวี่ า่ วนิ ปิ าตกิ ะ คอื สตั วท์ เ่ี กดิ ในภมู ภิ พทตี่ กตำ่� บางพวก กไ็ ดแ้ กส่ ตั ว์ ผพู้ น้
จากอบาย ๔ เป็นต้นว่า อุตตรมาตายักษณิ ี ปยิ ังกรมาตายักษิณี ผุสสมติ ตายกั ษณิ ี
ธัมมคตุ ตายักษิณี และเวมานกิ เปรตคอื เปรตมวี มิ านเหลา่ อน่ื สตั ว์เหล่านน้ั มีกายตา่ ง
กนั โดยผวิ มผี ิวเหลือง ผิวขาว ผวิ ด�ำ ผิวคลำ้� เป็นต้น และโดยผอม อ้วนเตีย้ และสงู
แม้สัญญาก็ต่างกัน โดยเป็นสัตว์ท่ีมีเหตุ ๒ มีเหตุ ๓ และเป็นอเหตุกะ ไม่มีเหตุ
แตส่ ตั วเ์ หลา่ นนั้ ไมม่ อี ำ� นาจมากเหมอื นเทวดา มอี ำ� นาจนอ้ ย มอี าหารและเครอื่ งนงุ่ หม่
หายาก อยเู่ ปน็ ทกุ ขเ์ หมอื นมนษุ ยย์ ากไร้ บางพวกตอ้ งทกุ ขเ์ วลาขา้ งแรม มสี ขุ เวลาขา้ งขน้ึ
ฉะน้ัน จึงตรัสว่าวินิปาติกะ สัตว์ท่ีเกิดในภพภูมิท่ีตกต่�ำ เพราะตกไปจากกองสุข
สว่ นบรรดาสตั วเ์ หลา่ นนั้ สตั วเ์ หลา่ ใดทเ่ี ปน็ สตั วม์ เี หตุ ๓ สตั วเ์ หลา่ นนั้ ตรสั รธู้ รรมกม็ ี
เหมือนอย่างปิยังกรมาตายักษิณเี ปน็ ตน้

บทวา่ พรหมกายกิ า ผเู้ กดิ ในหมพู่ รหม ไดแ้ กพ่ รหมปารสิ ชั ชา พรหมปโุ รหติ า
มหาพรหมา บททว่ี า่ บงั เกดิ กอ่ น ไดแ้ กส่ ตั วเ์ หลา่ นนั้ แมท้ ง้ั หมด บงั เกดิ ดว้ ยปฐมฌาน
คือคำ� วา่ บงั เกดิ กอ่ น กอ่ นก็คอื ปฐม ก็คือบงั เกิดดว้ ยปฐมฌาน สว่ นพรหมปาริสัชชา
บังเกิดด้วยปฐมฌานอย่างอ่อน พรหมปาริสัชชาเหล่าน้ันมีอายุประมาณเท่ากับส่วน
ท่ี ๓ แห่งกัป พรหมปุโรหิตาบังเกิดด้วยปฐมฌานปานกลาง มีอายุประมาณก่ึงกัป
พรหมเหลา่ นน้ั จงึ มกี ายกวา้ งกวา่ กนั มหาพรหมาบงั เกดิ ขนึ้ โดยปฐมฌานอยา่ งประณตี
มอี ายปุ ระมาณกปั หนงึ่ แตม่ หาพรหมาเหลา่ นน้ั มกี ายกวา้ งกวา่ อยา่ งยงิ่ ดงั นนั้ พรหม

พรรษาที่ ๙ 121

เหล่าน้ันพึงทราบว่ามีกายต่างกัน มีสัญญาเป็นอันเดียวกันด้วยอ�ำนาจปฐมฌาน
สตั วใ์ นอบาย ๔ กเ็ หมอื นกบั พรหมเหลา่ นนั้ จริงอยู่ ในนรกทั้งหลาย สัตวบ์ างพวกมี
อตั ภาพคาวตุ ๑ บางพวกกง่ึ โยชน์ บางพวกโยชนห์ นงึ่ แตข่ องพระเทวทตั ๑๐๐ โยชน์
แมใ้ นบรรดาสตั วเ์ ดรจั ฉาน บางพวกเลก็ บางพวกใหญ่ แมใ้ นเปตตวิ สิ ยั บางพวก ๖๐ ศอก
บางพวก ๘๐ ศอก บางพวกมีวรรณะดี บางพวกมีวรรณะทราม พวกกาลกัญชก
อสรู กเ็ หมอื นกนั อกี อยา่ งหน่งึ ในพวกอสรู เหลา่ นน้ั ชอื่ วา่ ทฆี ปิฏฐกิ อสูร ๖๐ โยชน์
ก็สัญญาของอสูรแม้ทั้งหมดเปน็ อกุศลวบิ ากอเหตุกะ ดง่ั น้ี สัตวผ์ ู้เกดิ ในอบายย่อมนับ
ว่ามกี ายต่างกนั มสี ญั ญาอนั เดียวกนั

บทวา่ อาภสั สรา ความวา่ พรหมชอื่ วา่ อาภสั สรา เพราะพรหมเหลา่ นม้ี รี ศั มี
ซา่ นออก คอื แผอ่ อกไปจากสรรี ะ ดจุ ขาดตกลงเหมอื นเปลวไฟแหง่ คบไฟ ฉะนน้ั บรรดา
อาภัสสราพรหมเหล่าน้ัน พรหมผู้เจริญทุติยฌานและตติยฌานท้ัง ๒ อย่างอ่อน
ในปัญจกนัย คือนัยที่ว่าด้วยพรหมที่ว่าด้วยฌาน ๕ เกิดข้ึนชื่อว่า ปริตตาภาพรหม
ปรติ ตาภาพรหมเหลา่ นน้ั มอี ายปุ ระมาณ ๒ กปั ทเี่ จรญิ ทตุ ยิ ฌาน และตตยิ ฌานอยา่ ง
กลาง เกดิ ขนึ้ ชอื่ วา่ อปั ปมาณาภาพรหม อปั ปมาณาภาพรหมเหลา่ นนั้ มอี ายปุ ระมาณ
๔ กัป ที่เจริญทุติยฌานและตติยฌานอย่างประณีต เกิดข้ึนช่ือว่าอาภัสสราพรหม
อาภัสสราพรหมเหล่าน้ันมีอายุประมาณ ๘ กัป ในที่น้ี ทรงถือเอาพรหมเหล่านั้น
ทง้ั หมดโดยการก�ำหนดอยา่ งอุกฤษฏ์ ความจริงพรหมเหล่านน้ั ท้ังหมดมีกายกวา้ งเปน็
อยา่ งเดียวกัน สว่ นสัญญาต่างกัน คือไม่มีวติ ก เพยี งมีวจิ ารบา้ ง ไม่มวี ิตกวจิ ารบา้ ง

บทว่า สุภกิณหะ ความว่า พรหมทั้งหลายมีรัศมีจากสรีระระยิบระยับ
ดว้ ยความงาม รศั มแี หง่ สรรี ะโดยความงาม อธบิ ายวา่ เปน็ แทง่ ทบึ โดยความงาม จรงิ อยู่
สุภกิณหพรหมเหล่าน้ันมีรัศมีไม่ขาดไปเหมือนของอาภัสสราพรหม แต่ในปัญจกนัย
เหล่าพรหมท่ีบังเกิดข้ึนชื่อว่า ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณสุภาพรหม และสุภกิณห-
พรหมมีอายุ ๑๒ กัป ๒๔ กัป และ ๖๔ กัป ด้วยอ�ำนาจจตุตถฌานอย่างอ่อน
อยา่ งกลาง และอยา่ งประณตี ดงั่ นนั้ พรหมเหลา่ นน้ั ทงั้ หมดพงึ ทราบวา่ มกี ายเปน็ อยา่ ง
เดยี วกนั และมสี ญั ญาเปน็ อยา่ งเดยี วกนั ดว้ ยสญั ญาในจตตุ ถฌาน สว่ นเวหปั ผลาพรหม
ย่อมนับเข้าวิญญาณฐิติที่ ๔ นั่นเอง เหล่าอสัญญีสัตว์หรืออวิญญาณาภาพรหมไม่
สงเคราะห์เขา้ ในวญิ ญาณฐิตนิ ี้ แต่เขา้ ในสัตตาวาสทัง้ หลาย สุทธาวาสพรหมตงั้ อยใู่ น

122 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ฝ่ายวิวัฏฏะ ย่อมไม่มีตลอดกาลทุกเมื่อ คือไม่เกิดข้ึนในโลกท่ีว่างจากพระพุทธเจ้า
ตลอดแสนกัปบ้าง อสงไขยหนงึ่ บา้ ง เมอ่ื พระพทุ ธเจ้าทง้ั หลายทรงอบุ ัตขิ ้ึนแล้วนัน่ แล
ยอ่ มเกดิ ขนึ้ ภายในเขตกำ� หนดอายุ ๑๖,๐๐๐ กปั ยอ่ มเปน็ เสมอื นคา่ ยพกั ของพระผมู้ ี
พระภาคเจา้ ผเู้ ป็นพระธรรมจักรพรรดิ เพราะฉะนน้ั จงึ ไมจ่ ดั เขา้ ในวิญญาณฐติ ิและ
สตั ตาวาส สว่ นพระมหาสวิ เถระกลา่ ววา่ แมพ้ รหมชนั้ สทุ ธาวาสกย็ อ่ มจดั เขา้ ในวญิ ญาณ
ฐิติท่ี ๔ และสัตตาวาสท่ี ๔ โดยสูตรนี้ว่า “ดูก่อนสารีบุตร สัตตาวาสท่ีเราไม่เคย
อยู่เลย โดยกาลอันยืดยาวนานน้ีหาได้ยาก เว้นเทวดาเหล่าสุทธาวาส″ ค�ำน้ันเป็นที่
ยอมรบั แลว้ เพราะไมม่ พี ระสตู รขดั แยง้ เนวสญั ญานาสญั ญายตนฌาน ชอ่ื วา่ มสี ญั ญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เพราะแม้วิญญาณก็เป็นของละเอียดเหมือนสัญญา เพราะ
ฉะนัน้ เนวสญั ญานาสัญญายตนฌานน้นั จึงไม่ตรสั ไว้ในวญิ ญาณฐติ ทิ ้งั หลาย

ปริกขารสตู ร๗๓

วา่ ด้วยองค์ซ่งึ เปน็ บริขารของสมาธิ
พระพุทธเจา้ ตรัสว่า องค์แห่งสมาธิ ๗ ประการนี้ คือ สัมมาทฏิ ฐิ ๑ สมั มา-
สงั กปั ปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากมั มันตะ ๑ สมั มาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑
สมั มาสติ ๑ เอกคั คตาจติ คอื สมาธิ ประกอบดว้ ยองค์ ๗ ประการนี้ เรยี กวา่ อรยิ สมาธิ
ท่ีเปน็ ไปด้วยอปุ นสิ ัยก็มี ทเ่ี ป็นไปดว้ ยบรขิ ารก็มี
ในพระสตู รนต้ี รสั ถงึ องคป์ ระกอบแหง่ สมาธอิ นั สมั ปยตุ ดว้ ยมรรค โดยยกสมาธิ
ขนึ้ เป็นทีต่ ั้ง อนั ได้แกส่ มั มาสมาธิ อันเป็นมรรคข้อท่ี ๘ และตรัสเอามรรคอกี ๗ ข้อ
ขา้ งตน้ มสี มั มาทิฏฐเิ ปน็ ตน้ จนถึงสมั มาสติเป็นที่สดุ มาเปน็ องค์ประกอบแหง่ สมาธิ
และทง้ั หมดนก้ี เ็ รยี กวา่ เปน็ สมาธบิ รขิ าร คอื องคป์ ระกอบแหง่ สมาธิ อนั สมั ปยตุ ดว้ ยมรรค

๗๓ อง.ฺ สตตฺ ก. ๒๓/๔๒/๔๒.

พรรษาท่ี ๙ 123

อัคคิสตู ร๗๔

ว่าดว้ ยไฟ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไฟ ๗ กองนี้ คือ ๑. ไฟคือราคะ ๒. ไฟคือโทสะ
๓. ไฟคือโมหะ ๔. ไฟคอื อาหุเนยยะ บุคคลผ้คู วรบูชา ๕. ไฟคอื คฤหบดี ๖. ไฟคือ
ทักขิเนยยบุคคล บคุ คลที่ควรแก่ทักษณิ า ของท�ำบุญ การท�ำบญุ ๗. ไฟเกดิ แตไ่ ม้
และได้มีอธิบายโดยย่อว่า กิเลสท้ังหลายมีราคะเป็นต้น ช่ือว่า อัคคิ ไฟ
เพราะอรรถว่าตามเผาผลาญ ก็ได้แก่ไฟ ๓ กองข้างต้น ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ
ไฟคอื โมหะ
ส่วน อาหุเนยยคั คิ ไฟคอื อาหเุ นยยะ บคุ คลผู้ควรบูชา อธิบายว่า สักการะ
เรยี กวา่ อาหนุ ะ คอื สง่ิ ทีน่ ำ� มาบูชา ชนเหลา่ ใดยอ่ มควรซ่งึ อาหุนะคอื ของหรือสงิ่ ท่ีพงึ
นำ� มาบชู า ชนเหลา่ นน้ั ชอ่ื วา่ อาหเุ นยยะ และมอี ธบิ ายวา่ มารดาบดิ ายอ่ มควรซง่ึ อาหนุ ะ
เพราะทา่ นทัง้ ๒ เปน็ ผู้มอี ปุ การะมากแก่บุตรทง้ั หลาย ทา่ นจึงชือ่ วา่ เปน็ อาหเุ นยยะ
ผคู้ วรของท่นี ำ� มาบูชาหรอื สงิ่ ที่นำ� มาบชู าของบตุ รทั้งหลาย หากว่าบุตรทั้งหลายปฏบิ ัติ
ผิดในมารดาบิดาทง้ั ๒ นั้น ยอ่ มบังเกดิ ในอบายมนี รกเปน็ ต้น เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่า
มารดาและบิดาจะมิได้ตามเผาผลาญอยู่ก็จริง แต่ถึงกระนั้นท่านทั้ง ๒ ก็ยังคงเป็น
ปัจจัยแห่งการตามเผาผลาญได้ในเม่ือบุตรปฏิบัติผิดในท่าน จึงเรียกมารดาบิดาว่า
อาหุเนยยัคคิ เพราะอรรถว่าตามเผาผลาญนนั่ แหละ
ส่วนไฟคอื คฤหบดี เจา้ บา้ นทา่ นเรียกว่า คหบดหี รอื คฤหบดี จรงิ อยู่ คฤหบดี
นั้นมีอุปการะมากแก่มาตุคาม คือหมายถึงว่าพ่อบ้านก็มีอุปการะมากแก่แม่บ้าน คือ
ภรรยา ดว้ ยการมอบใหซ้ ง่ึ ทน่ี อนเสอ้ื ผา้ และเครอื่ งประดบั เปน็ ตน้ เพราะฉะนน้ั ภรรยา
ผู้เป็นแม่บ้านซึ่งนอกใจสามีนั้นย่อมบังเกิดในอบาย เพราะฉะน้ัน สามีแม้นั้นท่าน
กเ็ รยี กวา่ คหปตคั คิ ไฟคอื คฤหบดี เพราะอรรถวา่ ตามเผาผลาญได้ โดยนยั ทมี่ าตคุ าม
หรอื แมบ่ า้ นประพฤตนิ อกใจ

๗๔ องฺ. สตฺตก. ๒๓/๔๓/๔๒.

124 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

สว่ นคำ� วา่ ทกั ขเิ ณยยคั คิ ไฟคอื ทกั ขเิ ณยยะ บคุ คลผคู้ วรแกท่ กั ษณิ า ภกิ ษสุ งฆ์
ชื่อวา่ ทักขิเณยยบคุ คล ผูค้ วรแก่ทกั ษณิ า ของทำ� บญุ จรงิ อยู่ ภกิ ษสุ งฆน์ ้นั ย่อมเปน็
ผู้มีอุปการะมากแก่คฤหัสถ์ท้ังหลาย ด้วยการประกอบไว้ในกัลยาณธรรมท้ังหลาย
มีอาทิคือในสรณะ ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐ การบ�ำรุงมารดาบิดา การบ�ำรุงสมณะและ
พราหมณผ์ ตู้ งั้ อยใู่ นธรรม คฤหสั ถผ์ ปู้ ฏบิ ตั ผิ ดิ ในภกิ ษสุ งฆน์ น้ั คอื ดา่ บรภิ าษภกิ ษสุ งฆ์
ย่อมบังเกิดในอบายท้ังหลาย เพราะฉะนน้ั ภิกษสุ งฆ์นนั้ ท่านเรียกว่า ทกั ขเิ ณยยัคคิ
ไฟคือทกั ขเิ ณยยบคุ คล เพราะอรรถวา่ ตามเผาผลาญ ดังกลา่ ว

ไฟตามปกตทิ ่เี กิดแตไ่ ม้ช่อื วา่ กฏั ฐัคคิ ไฟเกิดแตไ่ ม้

อนุรทุ ธสูตร๗๕

พระสตู รทีแ่ สดงปรารภท่านพระอนุรทุ ธะ

สมัยเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี สมัยนั้นท่าน
พระอนรุ ุทธะไปยังวิหารทีพ่ กั กลางวัน หลีกเรน้ อยู่ ได้มเี ทวดาเหลา่ มนาปกายกิ า คอื
เหลา่ ทม่ี เี รอื นรา่ งนา่ ชอบใจ มากมาย พากนั เขา้ ไปหาทา่ นพระอนรุ ทุ ธะถงึ ทอี่ ยู่ อภวิ าท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรสว่ นขา้ งหนึ่ง แล้วไดก้ ล่าวกับทา่ นวา่ ข้าพเจ้าทัง้ หลายเป็นเทวดา
ชอื่ มนาปกายกิ า มคี วามเปน็ ใหญแ่ ละอำ� นาจในฐานะ ๓ ประการ คอื ขา้ พเจา้ ทง้ั หลาย
หวงั วรรณะเชน่ ใด กไ็ ดว้ รรณะเชน่ นนั้ โดยพลนั หวงั เสยี งเชน่ ใด กไ็ ดเ้ สยี งเชน่ นนั้ โดยพลนั
หวังความสุขเช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นน้ันโดยพลัน ท่านพระอนุรุทธะด�ำริว่า โอหนอ
ขอให้เทวดาทงั้ ปวงนพ้ี ึงมรี ่างเขยี ว นุ่งผ้าเขียว มีผวิ พรรณเขียว มเี คร่อื งประดับเขียว
เทวดาเหล่าน้ันทราบด�ำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ก็ล้วนมีร่างเขียว นุ่งผ้าเขียว
มผี ิวพรรณเขยี ว มีเครื่องประดบั เขียว ท่านพระอนรุ ทุ ธะจึงด�ำริตอ่ ไปวา่ ขอใหเ้ ทวดา
ทง้ั ปวงนพ้ี งึ มรี า่ งเหลอื ง และตอ่ ไปทา่ นกด็ ำ� รอิ กี วา่ ขอใหพ้ งึ มรี า่ งแดง ตอ่ ไปทา่ นกด็ ำ� ริ

๗๕ อง.ฺ อฏฺ ก. ๒๓/๑๓๖/๒๖๙.

พรรษาที่ ๙ 125

อกี วา่ ขอใหพ้ งึ มรี า่ งขาว และใหม้ ผี า้ นงุ่ มผี วิ พรรณ มเี ครอื่ งประดบั เปน็ สเี ชน่ เดยี วกนั
เทวดาเหลา่ นน้ั ทราบความดำ� รขิ องทา่ นพระอนรุ ทุ ธะแลว้ กล็ ว้ นมรี า่ งเปน็ ตน้ เปน็ สเี ขยี ว
เป็นสีแดง เป็นสีขาว เหมือนอย่างที่ท่านด�ำรินั้น เทวดาเหล่านั้น องค์หน่ึงขับร้อง
องค์หน่ึงฟ้อนร�ำ องค์หน่ึงปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้ว
ตดี งั ไพเราะ ทงั้ บรรเลงโดยนกั ดนตรผี เู้ ชย่ี วชาญ มเี สยี งไพเราะ เรา้ ใจ ชวนใหเ้ คลบิ เคลมิ้
ดดู ดม่ื และนา่ รนื่ รมยฉ์ นั ใด เสยี งแหง่ เครอื่ งประดบั ของเทวดาเหลา่ นนั้ กฉ็ นั นนั้ เหมอื นกนั
มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคล้ิม ดูดด่ืม และน่าร่ืนรมย์ ล�ำดับนั้น ท่าน
พระอนุรุทธะทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้นทราบว่า ท่านผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดี
จงึ อนั ตรธานหายไป ณ ทน่ี ัน้

ครงั้ นน้ั เปน็ เวลาเยน็ ทา่ นพระอนรุ ทุ ธะออกจากทเี่ รน้ เขา้ ไปเฝา้ พระพทุ ธเจา้
ถึงท่ีประทับ แล้วได้กราบทูลว่า วันน้ีข้าพระองค์ไปยังวิหารท่ีพักกลางวันหลีกเร้นอยู่
ครั้งนั้นเทวดาเหล่ามนาปกายิกามากมายเข้ามาหาข้าพระองค์ถึงท่ีอยู่ อภิวาทแล้ว
ยืน ณ ทค่ี วรส่วนขา้ งหน่งึ แล้วกลา่ วแก่ข้าพระองค์วา่ ข้าพเจ้าทงั้ หลายเป็นเทวดาชอ่ื
มนาปกายิกา มีความเป็นใหญ่และอ�ำนาจในฐานะ ๓ ประการ (ดังกล่าวข้างต้น)
ข้าพระองค์มีความด�ำริอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงน้ีพึงมีร่างเขียวเป็นต้น
มีรา่ งเหลอื งเป็นต้น มรี ่างแดงเปน็ ตน้ มรี า่ งขาวเปน็ ต้น เทวดาเหลา่ นน้ั ก็ทราบความ
ด�ำริของข้าพระองค์แล้ว ล้วนมีร่างเขียว เป็นต้น ตามท่ีข้าพระองค์ได้ด�ำริให้เป็น
เทวดาเหลา่ นน้ั องคห์ นง่ึ ขบั รอ้ ง องคห์ นงึ่ ฟอ้ นรำ� องคห์ นงึ่ ปรบมอื เหมอื นอยา่ งดนตรี
มอี งค์ ๕ ทีเ่ ขาปรับดีแล้ว ตีดงั ไพเราะ ทั้งบรรเลงโดยนักดนตรผี ู้เช่ยี วชาญ มเี สยี ง
ไพเราะ เรา้ ใจ ชวนใหเ้ คลบิ เคลมิ้ ดดู ดมื่ และนา่ รน่ื รมยฉ์ นั ใด เสยี งแหง่ เครอ่ื งประดบั
ของเทวดาเหล่านั้นก็ฉันน้ันเหมือนกัน ข้าพระองค์จึงทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่าน้ัน
ทราบว่า ขา้ พระองคไ์ มย่ นิ ดี จงึ อันตรธานหายไป ณ ที่นน้ั เอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจรญิ
มาตุคามคือสตรีภาพประกอบด้วยธรรมเท่าไร เม่ือตายไป จึงเข้าถึงความเป็น
สหายของเทวดาเหลา่ มนาปกายิกา

พระพุทธเจ้าตรัสว่า มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เม่ือตายไป
ย่อมเข้าถงึ ความเป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม ๘ ประการ คือ

126 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๑. มาตุคามในโลกน้ี ท่ีมารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์ แสวงหาความเก้ือกูล
อนเุ คราะห์ เออ้ื เอน็ ดู ยอมยกใหแ้ กช่ ายใดผเู้ ปน็ สามี สำ� หรบั ชายนน้ั เธอตอ้ งตนื่ กอ่ น
นอนภายหลัง คอยฟงั รบั ใช้ ประพฤตใิ ห้ถกู ใจ กล่าวถ้อยค�ำเป็นทีร่ ัก

๒. ชนเหล่าใดเป็นท่ีเคารพของสามี คือมารดาบิดาหรือสมณพราหมณ์
เธอสักการะเคารพนับถือบูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้ว
ดว้ ยอาสนะและน้ำ�

๓. การงานใดเป็นงานในบ้านของสามี คือการท�ำผ้าขนสัตว์หรือผ้าฝ้าย
เธอเป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานน้ัน ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นอุบายใน
การงานนน้ั สามารถจดั ทำ�

๔. ชนเหล่าใดเป็นคนภายในบ้านของสามี คือทาส คนใช้ หรือกรรมกร
ย่อมรู้การงานที่ชนเหล่าน้ันท�ำแล้วหรือยังไม่ได้ท�ำ และย่อมรู้อาการของคนภายใน
ผเู้ ปน็ ไข้ ว่าดีขึ้นหรอื วา่ ทรดุ ลง และยอ่ มแบง่ ปันของกินของบริโภคให้แกเ่ ขาตามควร

๕. สงิ่ ใดทส่ี ามหี ามาได้ จะเปน็ ทรพั ย์ ขา้ ว เงนิ หรอื ทอง ยอ่ มรกั ษาคมุ้ ครอง
สง่ิ นนั้ ไว้ และไมเ่ ปน็ นกั เลงการพนนั ไมเ่ ปน็ ขโมย ไมเ่ ปน็ นกั ดมื่ ไมผ่ ลาญทรพั ยใ์ หพ้ นิ าศ

๖. เป็นอุบาสกิ า ถงึ พระพทุ ธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ วา่ เปน็ สรณะ

๗. เปน็ ผมู้ ศี ลี งดเวน้ จากปาณาตบิ าต อทนิ นาทาน กาเมสมุ จิ ฉาจาร มสุ าวาท
และการดื่มนำ�้ เมาคอื สุราและเมรยั อนั เป็นท่ตี ้งั แห่งความประมาท

๘. เป็นผู้มีการบริจาค มีใจปราศจากมลทินคือความตระหน่ี อยู่ครองเรือน
มจี าคะอนั ปลอ่ ยแลว้ มฝี า่ มอื อนั ชมุ่ ยนิ ดใี นการสละ ควรแกก่ ารขอ ยนิ ดใี นการจำ� แนก
แจกทาน

มาตคุ ามประกอบดว้ ยธรรม ๘ ประการนแี้ ล เมอ่ื ตายไปยอ่ มเขา้ ถงึ ความเปน็
สหายของเทวดาเหล่ามนาปกายกิ า

พระอาจารย์ได้อธิบายวา่ ดนตรีประกอบดว้ ยองค์ ๕ ประการ คือ

พรรษาที่ ๙ 127

๑. ดนตรที หี่ มุ้ หนงั หนา้ เดยี ว ในจำ� พวกกลองเปน็ ตน้ ทหี่ มุ้ หนงั ชอื่ วา่ อาตตะ
๒. ดนตรีท่หี มุ้ หนัง ๒ หนา้ ชอ่ื ว่า วติ ตะ
๓. ดนตรที ห่ี ุ้มหนงั ทงั้ หมด ชอื่ ว่า อาตตวิตตะ
๔. ดนตรมี ีปเี่ ปน็ ต้น ชอ่ื วา่ สุสิระ
๕. ดนตรีมสี ัมมดาล (ฉ่ิง) ท�ำด้วยไม้ตาลเปน็ ตน้ ชื่อวา่ ฆนะ
และขอ้ วา่ ทอดอนิ ทรยี ล์ งอนั เปน็ เหตใุ หเ้ ทวดาเหลา่ นน้ั รวู้ า่ พระเถระไมต่ อ้ งการ
จึงพากนั อนั ตรธานหายไป คอื พระเถระคิดวา่ เทวดาเหล่านท้ี ำ� สิง่ ที่ไม่สมควร จึงทอด
อินทรีย์ลงเบื้องต่�ำ คือลืมตาไม่มองดู ทอดสายตาลงไม่มองดู เทวดาเหล่านั้นคิดว่า
เราฟอ้ น เราขบั แตพ่ ระผเู้ ปน็ เจา้ อนรุ ทุ ธะไมย่ นิ ดี ลมื ตาไมม่ องดู เราจะฟอ้ นจะขบั ไป
ท�ำไม ดงั่ นี้แลว้ จึงหายไปในท่นี น้ั เอง

ยสสตู ร๗๖

พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกสัมพี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
เสด็จถึงพราหมณคามแห่งชนชาวโกศลช่ือ อิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์ ช่ือ
อิจฉานังคละ ใกล้พราหมณคามชื่ออิจฉานังคละนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้าน
อิจฉานังคละได้สดับข่าว พากันถือของเคี้ยวของกินเป็นอันมากเข้าไปทางไพรสณฑ์
ช่ืออจิ ฉานงั คละน้ัน ครน้ั แล้วได้ยนื ชุมนุมกันสง่ เสยี งอื้อองึ อยู่ท่ซี มุ้ ประตดู า้ นนอก

สมยั นน้ั ทา่ นพระนาคติ ะเปน็ อปุ ฏั ฐากของพระผมู้ พี ระภาคเจา้ พระองคต์ รสั
ถามหาพระนาคติ ะวา่ พวกใครทส่ี ง่ เสยี งออื้ องึ อยนู่ นั้ คลา้ ยกบั พวกชาวประมงแยง่ ปลากนั
ทา่ นพระนาคติ ะกราบทลู วา่ พราหมณแ์ ละคฤหบดชี าวบา้ นอจิ ฉานงั คละเหลา่ นี้ พากนั
ถอื ของเคยี้ วของกนิ เปน็ จำ� นวนมาก มายนื ชมุ นมุ กนั อยทู่ ซี่ มุ้ ประตดู า้ นนอกเพอ่ื ถวาย

๗๖ องฺ. อฏฺ ก. ๒๓/๑๙๓/๓๕๒.

128 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

พระผมู้ ีพระภาคเจา้ และพระภิกษุสงฆ์ พระพทุ ธเจ้า ตรสั ว่า เธออยา่ ตดิ ยศ และยศก็
อย่าติดเรา ผู้ใดแลไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่
ลำ� บาก ซ่งึ สขุ อันเกิดแตเ่ นกขัมมะคอื การออก สุขอนั เกิดแต่วิเวก ความสงัด สขุ อัน
เกดิ แตค่ วามสงบ สขุ อนั เกดิ แตค่ วามตรสั รู้ ทเี่ ราพงึ ไดต้ ามความปรารถนา ไดโ้ ดยไมย่ าก
ไดโ้ ดยไม่ล�ำบาก ผนู้ ั้นชื่อว่า พึงยนิ ดีสุขอันไมส่ ะอาด สขุ ในการหลับนอน และสุขที่
อาศยั ลาภสกั การะและการสรรเสรญิ จงึ ไมพ่ งึ ไดต้ ามความปรารถนา ไมพ่ งึ ไดโ้ ดยไมย่ าก
ไมพ่ ึงได้โดยไม่ล�ำบาก ซงึ่ สุขเหล่านน้ั คือสขุ อนั เกดิ แตเ่ นกขัมมะ ความออกเปน็ ต้น

ทา่ นพระนาคติ ะไดก้ ราบทลู วา่ ขอพระผมู้ พี ระภาคเจา้ ทรงรบั ขอพระสคุ ตทรงรบั
บดั นเี้ ปน็ เวลาทพี่ ระผมู้ พี ระภาคเจา้ จะทรงรบั พระผมู้ พี ระภาคเจา้ จกั เสดจ็ ไปทางใด ๆ
พราหมณแ์ ละคฤหบดชี าวนคิ มและชาวชนบทกจ็ กั หลง่ั ไหลไปทางนนั้ ๆ เปรยี บเหมอื น
ฝนเมด็ ใหญต่ กลงมา นำ�้ กย็ อ่ มไหลไปตามทลี่ มุ่ ฉะนนั้ ขอ้ นนั้ เพราะพระผมู้ พี ระภาคเจา้
ทรงมศี ีลและพระปญั ญา

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธออย่าติดยศ และยศก็อย่าติดเรา ผู้ใดแลไม่พึงได้
ตามความปรารถนา ไมพ่ งึ ไดโ้ ดยไมย่ าก ไมพ่ งึ ไดโ้ ดยไมล่ ำ� บาก ซง่ึ สขุ อนั เกดิ แตเ่ นกขมั มะ
วเิ วก ความสงดั ความสงบ ความตรสั รู้ ทเ่ี ราพงึ ไดต้ ามความปรารถนา ไดโ้ ดยไมย่ าก
ได้โดยไม่ล�ำบาก ผู้นั้นช่ือว่า พึงยินดีความสุขที่ไม่สะอาด สุขจากการหลับนอน
และสุขท่ีอาศัยลาภสักการะและการสรรเสริญ แม้เทวดาบางพวกก็ไม่พึงได้ตาม
ความปรารถนา ไมพ่ งึ ไดโ้ ดยไมย่ าก ไมพ่ งึ ไดโ้ ดยไมล่ ำ� บาก ซง่ึ สขุ อนั เกดิ แตเ่ นกขมั มะ
ความออก วเิ วก ความสงดั ความสงบ ความตรสั รทู้ เ่ี ราพงึ ไดต้ ามปรารถนา ไดโ้ ดย
ไมย่ าก ไดโ้ ดยไมล่ ำ� บาก แมเ้ ธอทงั้ หลายมาประชมุ พรอ้ มกนั ประกอบการอยดู่ ว้ ยการ
คลกุ คลดี ว้ ยหมคู่ ณะ ยอ่ มมคี วามเหน็ อยา่ งนว้ี า่ ทา่ นเหลา่ นไี้ มพ่ งึ ไดต้ ามความปรารถนา
ไมพ่ งึ ไดโ้ ดยไมย่ าก ไมพ่ งึ ไดโ้ ดยไมล่ ำ� บาก ซง่ึ สขุ อนั เกดิ แตเ่ นกขมั มะ ความออก วเิ วก
ความสงัด ความสงบ ความตรัสรู้ ที่เราพึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไมล่ �ำบากแน่นอน กค็ วามจรงิ เป็นอย่างนนั้ เพราะทา่ นเหลา่ น้มี าประชมุ พร้อม

พรรษาที่ ๙ 129

หนา้ กนั ประกอบการอยดู่ ว้ ยการคลกุ คลดี ว้ ยหมคู่ ณะอยู่ เราเหน็ ภกิ ษทุ งั้ หลายในธรรมวนิ ยั
น้ีใช้น้ิวจี้เล่นกระซิกกระซ้ีกันและกันอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้
ไมพ่ ึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไมย่ าก ไมพ่ งึ ไดไ้ มล่ ำ� บาก ซงึ่ สุขอันเกดิ แต่
เนกขมั มะ ความออก วิเวก ความสงัด ความสงบ ความตรสั รู้ ท่เี ราพึงไดต้ ามความ
ปรารถนา ไดโ้ ดยไมย่ าก ไดโ้ ดยไมล่ ำ� บากแนน่ อน ความจรงิ เปน็ อยา่ งนน้ั เพราะทา่ น
เหล่าน้ีมัวใช้น้ิวจี้เล่นกระซิกกระซ้ีกันและกันอยู่ เราเห็นภิกษุท้ังหลายในธรรมวินัยน้ี
ฉนั อาหารเตม็ ทอ้ งพอความตอ้ งการแลว้ มวั ประกอบความสขุ ในการนอน สขุ ในการเอน
สขุ ในการหลบั อยู่ เรานนั้ มคี วามคดิ อยา่ งนวี้ า่ ทา่ นเหลา่ นไ้ี มพ่ งึ ไดต้ ามความปรารถนา
ไมพ่ งึ ไดโ้ ดยไมย่ าก ไมพ่ งึ ไดโ้ ดยไมล่ ำ� บาก ซงึ่ สขุ อนั เกดิ แตเ่ นกขมั มะ ความออก วเิ วก
ความสงัด ความสงบ ความตรัสรู้ ท่ีเราพึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ไดโ้ ดยไมล่ ำ� บากแนน่ อน ความจรงิ เปน็ อยา่ งนน้ั เพราะทา่ นเหลา่ นฉ้ี นั อาหารเตม็ ทอ้ งพอ
แก่ความตอ้ งการแล้ว มวั ประกอบความสขุ ในการนอน ความสขุ ในการเอน ความสุข
ในการหลบั อยู่ เราเหน็ ภกิ ษใุ นธรรมวนิ ยั นนี้ ง่ั สมาธอิ ยทู่ วี่ หิ ารใกลบ้ า้ น เรานน้ั มคี วามคดิ
อยา่ งนว้ี า่ บดั นค้ี นวดั หรอื สมณทุ เทสคอื สามเณรจกั บำ� รงุ ทา่ นผนู้ ี้ ทำ� ใหเ้ ธอไปจากสมาธิ
น้ันเสีย เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่พอใจด้วยการอยู่ใกล้บ้านของภิกษุน้ัน เราเห็นภิกษุ
ในธรรมวนิ ยั นนี้ ง่ั โงกงว่ งอยใู่ นปา่ เรานน้ั มคี วามคดิ อยา่ งนวี้ า่ บดั นี้ ทา่ นผนู้ พ้ี อบรรเทา
ความล�ำบากในการหลับนอนน้ีได้แล้ว จักกระท�ำความส�ำคัญว่าอยู่ในป่าไว้ในใจได้
ประมาณเท่าน้ี เพราะเหตุนน้ั เราจงึ พอใจด้วยการอยใู่ นปา่ ของภกิ ษนุ ัน้ เราเห็นภิกษุ
ในธรรมวนิ ยั นนี้ ัง่ ไมเ่ ปน็ สมาธอิ ยู่ในป่า เรานน้ั มคี วามคิดอยา่ งนีว้ ่า บัดนี้ ท่านผ้นู จ้ี ัก
ต้งั จติ ม่นั หรือจกั ตามรกั ษาจิตที่ตงั้ ม่นั แลว้ เพราะเหตุนนั้ เราจึงพอใจด้วยการอยใู่ น
ป่าของภิกษุน้ัน เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยน้ีถือการอยู่ป่าเป็นวัตร นั่งสมาธิอยู่ในป่า
เราน้ันมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดน้ี ท่านผู้น้ีจักเปลื้องจิตท่ียังไม่หลุดพ้น หรือจักตาม
รกั ษาจิตทห่ี ลุดพน้ แลว้ เพราะเหตุนัน้ เราจึงพอใจด้วยการอยู่ปา่ ของภกิ ษนุ ้ัน สมยั ใด
เราเดนิ ทางไกล ไม่เห็นอะไร ๆ ขา้ งหน้าขา้ งหลงั สมัยนน้ั เรามคี วามผาสุก

130 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ปัตตสูตร๗๗

ว่าดว้ ยการควำ่� บาตร

พระพุทธเจ้าตรัสว่า สงฆ์หวังอยู่ พึงคว�่ำบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วย
องค์ ๘ ประการ คือ

๑. อุบาสกพยายามเพ่อื ความเสื่อมลาภแกภ่ กิ ษทุ งั้ หลาย
๒. พยายามเพอื่ ความฉิบหายแกภ่ ิกษุทง้ั หลาย
๓. พยายามเพือ่ ความอยไู่ มไ่ ด้แก่ภกิ ษทุ ้ังหลาย
๔. ย่อมดา่ ย่อมบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษทุ ้ังหลายให้แตกจากภกิ ษุทงั้ หลาย
๖. ตเิ ตยี นพระพทุ ธเจา้
๗. ติเตยี นพระธรรม
๘. ตเิ ตยี นพระสงฆ์
พระพุทธเจ้าตรัสว่า สงฆ์หวังอยู่ พึงหงายบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วย
องค์ ๘ ประการ คอื
๑. อุบาสกไมพ่ ยายามเพอื่ ความเส่อื มลาภแก่ภิกษุทงั้ หลาย
๒. ไมพ่ ยายามเพือ่ ความฉิบหายแก่ภิกษทุ ้ังหลาย
๓. ไมพ่ ยายามเพื่อความอย่ไู ม่ไดแ้ ก่ภิกษุท้ังหลาย
๔. ไมด่ ่า ไมบ่ รภิ าษภิกษทุ ั้งหลาย
๕. ไม่ยยุ งภกิ ษทุ ั้งหลายให้แตกจากภิกษุทง้ั หลาย
๖. สรรเสรญิ พระพุทธเจ้า

๗๗ องฺ. อฏฺก. ๒๓/๑๙๔/๓๕๗.

พรรษาที่ ๙ 131

๗. สรรเสริญพระธรรม
๘. สรรเสริญพระสงฆ์
ในพระสตู รนี้ คำ� ว่า พึงคว�ำ่ บาตร ไมใ่ ช่หมายความว่า เอาบาตรควำ่� หนา้ ลง
แตห่ มายความวา่ ไมร่ บั การถวายสกั การะของอบุ าสกนนั้ สว่ นหงายบาตร หมายความวา่
รบั สกั การะของอบุ าสกนนั้ ได้ ควำ่� บาตรกค็ อื ไมใ่ หร้ บั ไทยธรรมทอ่ี บุ าสกนนั้ ถวาย ไมใ่ ช่
คว�ำ่ บาตรโดยคว�่ำปากบาตรลง หงายบาตรก็คือวา่ รับไทยธรรมที่อบุ าสกน้นั ถวาย

อัปปสาทสตู ร๗๘

พระพุทธเจ้าตรัสว่า อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความไม่เลื่อมใสแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบดว้ ยธรรม ๘ ประการ คอื

๑. ภิกษุพยายามเพอื่ ความเส่อื มลาภแกค่ ฤหสั ถ์ทงั้ หลาย
๒. พยายามเพื่อความฉิบหายแกค่ ฤหสั ถท์ งั้ หลาย
๓. ดา่ บริภาษคฤหสั ถท์ งั้ หลาย
๔. ยุยงคฤหัสถ์ท้งั หลายให้แตกจากคฤหสั ถ์ท้งั หลาย
๕. ติเตยี นพระพุทธเจา้
๖. ติเตยี นพระธรรม
๗. ตเิ ตยี นพระสงฆ์
๘. และอุบาสกทั้งหลายย่อมเห็นภิกษุนั้นในท่ีอโคจร (คัมภีร์โบราณว่า :
เทวดาท้ังหลายย่อมเห็นภกิ ษนุ ัน้ โดยประการนนั้ )
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความเล่ือมใสแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบดว้ ยธรรม ๘ ประการ คอื

๗๘ องฺ. อฏฺก. ๒๓/๑๙๖-๑๙๗/๓๕๗-๓๕๘.

132 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๑. ภกิ ษุไม่พยายามเพ่อื ความเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์ทง้ั หลาย
๒. ไมพ่ ยายามเพ่ือความฉบิ หายแกค่ ฤหัสถท์ ้ังหลาย
๓. ไมด่ า่ ไม่บริภาษคฤหัสถท์ งั้ หลาย
๔. ไมย่ ุยงคฤหัสถ์ทง้ั หลายให้แตกจากคฤหัสถท์ ้งั หลาย
๕. สรรเสริญพระพทุ ธเจ้า
๖. สรรเสริญพระธรรม
๗. สรรเสรญิ พระสงฆ์
๘. และอุบาสกทั้งหลายย่อมเห็นภิกษุนั้นในท่ีโคจร (คัมภีร์โบราณว่า :
เทวดาท้ังหลายย่อมเห็นภิกษุน้นั โดยประการนั้น)

ปฏสิ ารณียสตู ร๗๙

พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ สงฆห์ วงั อยู่ พงึ กระทำ� ปฏสิ ารณยี กรรมแกภ่ กิ ษผุ ปู้ ระกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการ คอื

๑. พยายามเพอื่ ความเส่อื มลาภแกค่ ฤหสั ถท์ ้ังหลาย
๒. พยายามเพื่อความฉบิ หายแก่คฤหสั ถ์ทง้ั หลาย
๓. ดา่ บริภาษคฤหสั ถท์ ้งั หลาย
๔. ยุยงคฤหัสถ์ทัง้ หลายให้แตกจากคฤหสั ถ์ทงั้ หลาย
๕. ตเิ ตยี นพระพุทธเจา้
๖. ติเตยี นพระธรรม

๗๙ องฺ. อฏฺก. ๒๓/๑๙๘-๑๙๙/๓๕๘-๓๕๙.

พรรษาท่ี ๙ 133

๗. ติเตยี นพระสงฆ์
๘. ไมย่ ังคำ� รบั ตอ่ คฤหสั ถ์ทีช่ อบธรรมให้เปน็ จรงิ

พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ สงฆห์ วงั อยู่ พงึ ระงบั ปฏสิ ารณยี กรรมแกภ่ กิ ษผุ ปู้ ระกอบ
ดว้ ยธรรม ๘ ประการ คอื

๑. ภิกษุไม่พยายามเพ่อื ความเสอ่ื มลาภแก่คฤหสั ถท์ ้ังหลาย
๒. ไมพ่ ยายามเพื่อความฉบิ หายแกค่ ฤหสั ถท์ ้งั หลาย
๓. ไมด่ า่ ไม่บริภาษคฤหสั ถ์ทัง้ หลาย
๔. ไม่ยุยงคฤหสั ถท์ ง้ั หลายใหแ้ ตกจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๕. กล่าวสรรเสรญิ พระพุทธเจ้า
๖. กล่าวสรรเสริญพระธรรม
๗. กลา่ วสรรเสริญพระสงฆ์
๘. ยังค�ำรบั ตอ่ คฤหสั ถท์ ี่ชอบธรรมให้เปน็ จรงิ

คำ� วา่ ปฏสิ ารณยี กรรม เปน็ สงั ฆกรรมอยา่ งหนง่ึ ทสี่ งฆพ์ งึ กระทำ� แกภ่ กิ ษุ คอื
ประกาศวา่ ภกิ ษชุ อ่ื นนั้ ไดป้ ระกอบดว้ ยธรรม ๘ ประการ คอื พยายามเพอ่ื ความเสอ่ื มลาภ
แกค่ ฤหสั ถท์ งั้ หลาย เปน็ ตน้ จงึ สวดกรรมวาจาใหภ้ กิ ษนุ น้ั ขอขมา ภกิ ษนุ นั้ เมอ่ื ถกู สงฆ์
สวดปฏสิ ารณยี กรรมดงั่ นี้ ตอ้ งไปหาคฤหัสถ์น้ัน ถา้ ไปรูปเดยี วไมไ่ ด้ ก็ให้ไปกับภิกษุ
อีกรูปหน่งึ เปน็ อนทุ ูต และเม่อื พูดจาตกลงกนั แล้ว กใ็ หแ้ สดงอาบัตติ อ่ หน้าคฤหัสถน์ ้นั
และขอขมา สมเด็จพระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงอธิบายวา่ ควรหมายความวา่ ขอขมาต่อ
พระรตั นตรยั เพราะวา่ ไดก้ ลา่ วตเิ ตยี นพระพทุ ธเจา้ ดว้ ย ตเิ ตยี นพระธรรมดว้ ย ตเิ ตยี น
พระสงฆด์ ว้ ย และเมอ่ื ไดป้ ฏบิ ตั ดิ ง่ั นแ้ี ลว้ กใ็ หส้ วดกรรมวาจาระงบั ปฏสิ ารณยี กรรมนนั้
แก่ภกิ ษผุ ู้ทเ่ี ลิกประพฤตดิ ่ังนนั้ คือไมพ่ ยายามเพ่อื ความเส่ือมลาภแกค่ ฤหัสถท์ ้งั หลาย
เป็นตน้

134 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

วตั ตติสตู ร๘๐

พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ ภกิ ษผุ อู้ นั สงฆล์ งตสั สปาปยิ สกิ ากรรม ตอ้ งประพฤตชิ อบ
ในธรรม ๘ ประการ คือ

๑. ไมพ่ งึ ใหอ้ ุปสมบท
๒. ไมพ่ งึ ให้นสิ ยั
๓. ไมพ่ ึงใหส้ ามเณรอปุ ฏั ฐาก
๔. ไม่พงึ ยนิ ดีการสมมติตนเป็นผใู้ ห้โอวาทภกิ ษณุ ี
๕. แม้ไดร้ บั สมมติแลว้ ก็ไมพ่ ึงใหโ้ อวาทภกิ ษุณี
๖. ไมพ่ งึ ยนิ ดกี ารได้รับสมมติไร ๆ จากสงฆ์
๗. ไมพ่ งึ ได้รบั ต�ำแหนง่ หัวหน้าไร ๆ
๘. ไม่พึงเปน็ ประธานใหป้ ระพฤติวุฏฐานวธิ ี
ตัสสปาปิยสิกากรรม เป็นกรรมอย่างหนึ่งคือการลงโทษ ส�ำหรับท�ำแก่
พระภิกษผุ เู้ ป็นจำ� เลย ผูจ้ งใจปกปดิ ความประพฤตเิ สียของตนด้วยให้การเทจ็

ราคเปยยาล๘๑

พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ เธอทง้ั หลายพงึ เจรญิ ธรรม ๘ ประการ เพอื่ ความรยู้ งิ่ ซง่ึ
ราคะ คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑
สัมมาอาชวี ะ ๑ สมั มาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอท้ังหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อความรู้
ยงิ่ ซง่ึ ราคะ ธรรม ๘ ประการ คือ

๘๐ อง.ฺ อฏฺ ก. ๒๓/๒๐๐/๓๕๙.
๘๑ องฺ. อฏฺ ก. ๒๓/๒๐๑-๒๐๔/๓๖๐-๓๖๑.

พรรษาที่ ๙ 135

๑. ผมู้ รี ปู สญั ญาในภายใน เหน็ รปู ทงั้ หลายในภายนอกเลก็ นอ้ ย ทง้ั มผี วิ พรรณดี
ทงั้ มผี วิ พรรณทราม ยอ่ มมคี วามสำ� คญั อยา่ งนว้ี า่ เราครอบงำ� รปู เหลา่ นนั้ แลว้ จงึ รจู้ งึ เหน็

๒. ผู้มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกหาประมาณมิได้
ทง้ั มผี วิ พรรณดี ทงั้ มผี วิ พรรณทราม ยอ่ มมคี วามสำ� คญั อยา่ งนวี้ า่ เราครอบงำ� รปู เหลา่ นนั้
แลว้ จงึ รู้จึงเหน็

๓. ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ท้ังมี
ผวิ พรรณดี ทง้ั มผี วิ พรรณทราม ยอ่ มมคี วามสำ� คญั อยา่ งนวี้ า่ เราครอบงำ� รปู เหลา่ นนั้ แลว้
จงึ รูจ้ ึงเหน็

๔. ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปท้ังหลายในภายนอกหาประมาณมิได้
ทั้งมีผิวพรรณดี ท้ังมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความส�ำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบง�ำรูป
เหลา่ นนั้ แลว้ จงึ รู้จงึ เหน็

๕. ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มีสีเขียว
รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ย่อมมีความส�ำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบง�ำรูปเหล่าน้ันแล้ว
จงึ รูจ้ ึงเหน็

๖. ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเหลือง มีสีเหลือง
รศั มเี หลอื ง แสงสวา่ งเหลอื ง ยอ่ มมคี วามสำ� คญั อยา่ งนว้ี า่ เราครอบงำ� รปู เหลา่ นนั้ แลว้
จึงรู้จงึ เหน็

๗. ผมู้ อี รปู สญั ญาในภายใน เหน็ รปู ทงั้ หลายในภายนอกแดง มสี แี ดง รศั มแี ดง
แสงสวา่ งแดง ยอ่ มมคี วามสำ� คญั อย่างนว้ี ่า เราครอบงำ� รูปเหล่าน้ันแล้ว จึงรู้จึงเห็น

๘. ผมู้ อี รปู สญั ญาในภายใน เหน็ รปู ทง้ั หลายในภายนอกขาว มสี ขี าว รศั มขี าว
แสงสวา่ งขาว ย่อมมคี วามส�ำคัญอยา่ งนี้วา่ เราครอบงำ� รูปเหล่านัน้ แล้ว จึงรจู้ ึงเหน็

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอท้ังหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพ่ือความรู้
ยิง่ ซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการ คอื

136 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

๑. ผไู้ ด้รูปฌานย่อมเห็นรูปท้งั หลาย
๒. ผ้มู ีอรูปสญั ญาในภายใน ย่อมเหน็ รปู ทั้งหลายในภายนอก
๓. ยอ่ มน้อมใจเช่ือว่า งาม๘๒

๔. เพราะลว่ งรปู สญั ญาโดยประการทงั้ ปวง เพราะดบั ปฏฆิ สญั ญา ความสำ� คญั
หมายกระทบกระทง่ั เพราะไมม่ มี นสกิ ารถงึ นานตั ตสญั ญาคอื ความสำ� คญั หมายตา่ ง ๆ
ในรปู เป็นตน้ ย่อมเขา้ ถึงอากาสานัญจายตนะ ดว้ ยมนสิการวา่ อากาศหาทส่ี ุดมไิ ด้

๕. เพราะลว่ งอากาสานญั จายตนะโดยประการทง้ั ปวง ยอ่ มเขา้ ถงึ วญิ ญาณญั -
จายตนะ ดว้ ยมนสกิ ารวา่ วญิ ญาณหาทส่ี ุดมิได้

๖. เพราะลว่ งวญิ ญาณญั จายตนะโดยประการทง้ั ปวง ยอ่ มเขา้ ถงึ อากญิ จญั ญาย-
ตนะ ดว้ ยมนสิการวา่ อะไร ๆ ย่อมไมม่ ี

๗. เพราะลว่ งอากิญจญั ญายตนะโดยประการท้งั ปวง ยอ่ มเขา้ ถึงเนวสญั ญา-
นาสัญญายตนะ

๘. เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึง
สญั ญาเวทยติ นิโรธ ดบั สญั ญาเวทนา

พระพทุ ธเจา้ ตรัสว่า เธอท้ังหลายพงึ เจรญิ ธรรม ๘ ประการน้ี เพือ่ ก�ำหนดรู้
เพื่อความส้นิ ไปรอบ เพื่อละ เพ่ือความสน้ิ ไป เพ่ือความเสือ่ มไป เพื่อความคลายไป
เพ่ือความดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งราคะ เพื่อสละคืนซ่ึงโทสะ ความร้ายกาจ
เพอื่ สละคนื ซงึ่ โมหะ ความหลง เพอื่ สละคนื ซง่ึ โกธะ ความโกรธ เพอ่ื สละคนื ซงึ่ อปุ นาหะ
ความผูกโกรธไว้ เพ่ือสละคืนซึ่งมักขะ ความลบหลู่คุณท่าน เพ่ือสละคืนซึ่งปลาสะ
ความตีเสมอคือยกตนเทียมท่าน เพื่อสละคืนอิสสา ริษยา เพื่อสละคืนมัจฉริยะ
ความตระหนี่ เพื่อสละคืนมายา เจ้าเลห่ ์ เพอ่ื สละคืนสาเถยยะ โออ้ วด เพื่อสละคนื

๘๒ ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ อธิบายบาลีข้อ ๓๔๐ ว่า น้อมใจว่ากสิณงาม
บรสิ ุทธิ์หมดจด หรอื งาม คอื สตั ว์ทง้ั หลายเป็นผู้ไมน่ ่าเกลียดดว้ ยอ�ำนาจเมตตาเปน็ ต้น.

พรรษาที่ ๙ 137

ถมั ภะ หวั ดอ้ื เพอื่ สละคนื สารมั ภะ แขง่ ดี เพอ่ื สละคนื มานะ ถอื ตวั เพอื่ สละคนื อตมิ านะ
ดูหมิ่นท่าน เพื่อสละคืนมทะ ความมัวเมา เพ่ือสละคืนปมาทะ ความประมาท
รวมเป็นเพอื่ สละคนื กเิ ลส ๑๗ ประการ

ในพระสูตรน้ี แสดงธรรมปฏิบัติเพ่ือก�ำหนดรู้ เพ่ือความส้ินไปรอบ เพื่อละ
เพ่ือความส้ินไป เพื่อความเสื่อมไป เพ่ือความคลายไป เพื่อความดับ เพ่ือสละ
เพื่อสละคนื กเิ ลส ๑๗ ขอ้ ต่างจากอุปกเิ ลส ๑๖ คือขอ้ ๑ แห่งอปุ กเิ ลส ๑๖ ว่า
อภิชฌาวิสมโลภะ แต่ในทน่ี ้ีข้อ ๑ ว่าราคะ กับในอุปกิเลส ๑๖ น้นั ไมม่ โี มหะ คือ
ไมไ่ ด้แสดงโมหะไวโ้ ดยตรง แต่ในทน่ี มี้ ีโมหะ เพราะในอปุ กเิ ลส ๑๖ ไมไ่ ด้แสดงโมหะ
ไวจ้ งึ มี ๑๖ แตว่ า่ ในทน่ี ม้ี แี สดงไวจ้ งึ เปน็ ๑๗ ฉะนนั้ ในทนี่ จ้ี งึ เทา่ กบั วา่ แสดงกเิ ลสหรอื
อปุ กเิ ลส ๑๗

ปิณโฑลภารทวาชสตู ร๘๓

พระพทุ ธเจา้ ประทบั อยู่ ณ โฆสติ าราม ใกลก้ รงุ โกสมั พี ทา่ นพระปณิ โฑลภาร-
ทวาชะไดพ้ ยากรณอ์ รหตั ตผลวา่ เรารชู้ ดั วา่ ชาตสิ น้ิ แลว้ พรหมจรรยอ์ ยจู่ บแลว้ กรณยี ะ
คอื กจิ ทพ่ี งึ ทำ� ทำ� เสรจ็ แลว้ กจิ อนื่ เพอื่ ความเปน็ อยา่ งนอี้ กี มไิ ดม้ ี ครง้ั นน้ั ภกิ ษมุ ากรปู
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงท่ีประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่าน
พระปณิ โฑลภารทวาชะพยากรณอ์ รหตั ตผลว่า เรารชู้ ดั วา่ ชาติสิ้นแลว้ พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กรณียะคือกิจท่ีพึงท�ำ ท�ำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี
ทา่ นพระปณิ โฑลภารทวาชะเหน็ อำ� นาจประโยชนอ์ ะไรจงึ พยากรณอ์ รหตั ตผล พระพทุ ธเจา้
ตรัสว่า เพราะความท่ีอินทรีย์ ๓ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระท�ำให้มากแล้ว
ภกิ ษปุ ณิ โฑลภารทวาชะจงึ พยากรณอ์ รหตั ตผลไดว้ า่ เรารชู้ ดั วา่ ชาตสิ น้ิ แลว้ พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กรณียะคือกิจท่ีพึงท�ำท�ำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพ่ือความเป็นอย่างน้ีอีกมิได้มี

๘๓ สํ. มหา. ๑๙/๑๐๐๓-๑๐๐๙/๒๙๖-๒๙๗.

138 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

อนิ ทรีย์ ๓ ประการ คอื สตนิ ทรยี ์ อนิ ทรยี ค์ อื สติ ๑ สมาธินทรีย์ อนิ ทรียค์ อื สมาธิ ๑
ปัญญนิ ทรีย์ อนิ ทรียค์ อื ปญั ญา ๑ อินทรยี ์ ๓ ประการนม้ี อี ะไรเป็นท่สี ดุ มีความส้ิน
เป็นท่ีสุด มีความสิ้นแห่งอะไรเป็นที่สุด มีความส้ินแห่งชาติชราและมรณะเป็นที่สุด
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเห็นความส้ินแห่งชาติชราและมรณะ ดังน้ีแล จึงพยากรณ์
อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กรณียะท�ำเสร็จแล้ว
กิจอ่นื เพื่อความเปน็ อยา่ งน้อี กี มิไดม้ ี

เสขสตู ร๘๔

พระพุทธเจ้าประทบั อยู่ ณ โฆสติ าราม กรุงโกสมั พี ตรัสเรียกภิกษุทัง้ หลาย
แลว้ ตรสั วา่ ปรยิ ายทภี่ กิ ษผุ เู้ ปน็ เสขะอาศยั แลว้ ตง้ั อยใู่ นเสขภมู ิ พงึ รวู้ า่ เราเปน็ พระเสขะ
ปริยายท่ีภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ต้ังอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่าเราเป็นพระอเสขะ
มีอยู่หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ธรรมท้ังหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นมูล มพี ระผู้มพี ระภาคเจา้ เป็นแบบอยา่ ง มพี ระผ้มู พี ระภาคเจ้าเป็นที่
อาศัย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงให้เน้ือความแห่งภาษิตน้ี แจ่มแจ้งด้วยเถิด ภิกษุ
ท้ังหลายฟังแล้วจากพระองค์จกั ทรงจ�ำไว้ พระพทุ ธเจ้าตรัสวา่

“ปรยิ ายทภ่ี กิ ษผุ เู้ ปน็ เสขะอาศยั แลว้ ตง้ั อยใู่ นเสขภมู ิ พงึ รวู้ า่ เราเปน็ พระเสขะ
ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ต้ังอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่าเราเป็นพระอเสขะ
มีอยู่ ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่าเราเป็นพระเสขะ
เปน็ ไฉน ภกิ ษผุ เู้ ปน็ เสขะในธรรมวนิ ยั น้ี ยอ่ มรชู้ ดั วา่ นท้ี กุ ข์ นท้ี กุ ขสมทุ ยั นที้ กุ ขนโิ รธ
นท้ี ุกขนโิ รธคามนิ ปี ฏิปทา

อกี ประการหนงึ่ ภกิ ษผุ เู้ ปน็ เสขะ ยอ่ มพจิ ารณาเหน็ ดงั นวี้ า่ สมณะหรอื พราหมณ์
อนื่ ภายนอกจากศาสนาน้ี ซง่ึ จะแสดงธรรมทจี่ รงิ แทแ้ นน่ อนเหมอื นพระผมู้ พี ระภาคเจา้
มีอยู่หรือ พระเสขะน้ันย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อ่ืน ภายนอกจาก
ศาสนาน้ี ซ่งึ จะแสดงธรรมทจี่ รงิ แท้แนน่ อนเหมอื นพระผู้มีพระภาคเจา้ ไมม่ ี

๘๔ ส.ํ มหา. ๑๙/๑๐๓๑-๑๐๓๗/๒๙๖.

พรรษาท่ี ๙ 139

อกี ประการหนงึ่ ภกิ ษผุ เู้ ปน็ เสขะยอ่ มรชู้ ดั ซงึ่ อนิ ทรยี ์ ๕ คอื สทั ธนิ ทรยี ์ อนิ ทรยี ์
คือศรัทธา ๑ วริ ิยินทรยี ์ อินทรีย์คอื วิริยะ ความเพียร ๑ สตนิ ทรยี ์ อินทรยี ์คือสติ ๑
สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือสมาธิ ๑ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา ๑ อินทรีย์ ๕
นั้นมีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างย่ิง มีสิ่งใดเป็นผล มีส่ิงใดเป็นท่ีสุด ภิกษุผู้เป็น
เสขะ ยงั ไมถ่ กู ต้องส่ิงนั้นดว้ ยนามกายอยู่ แตเ่ ห็นแจง้ แทงตลอดดว้ ยปัญญา ปรยิ าย
แมน้ ี้แล ท่ีภกิ ษเุ ปน็ เสขะอาศัยแลว้ ตัง้ อยู่ในเสขภมู ิ ยอ่ มรูว้ า่ เราเป็นพระเสขะ

ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ต้ังอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่าเราเป็น
พระอเสขะ เป็นไฉน ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยน้ี ย่อมรู้ชัดซ่ึงอินทรีย์ ๕ คือ
สทั ธนิ ทรยี ์ วริ ยิ นิ ทรยี ์ สตนิ ทรยี ์ สมาธนิ ทรยี ์ ปญั ญนิ ทรยี ์ อนิ ทรยี ์ ๕ มสี งิ่ ใดเปน็ คติ
มีส่ิงใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้อง
สง่ิ นนั้ ดว้ ยนามกายอยู่ และเหน็ แจง้ แทงตลอดดว้ ยปญั ญา ปรยิ ายแมน้ แ้ี ลทภ่ี กิ ษผุ เู้ ปน็
อเสขะอาศัยแลว้ ตัง้ อยูใ่ นอเสขภมู ิ ย่อมรวู้ ่า เราเป็นพระอเสขะ

อีกประการหน่ึง ภิกษุผู้เป็นอเสขะ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๖ คือจักขุนทรีย์
อนิ ทรยี ค์ อื จกั ษุ ตา ๑ โสตนิ ทรยี ์ อนิ ทรยี ค์ อื โสตะ หู ๑ ฆานนิ ทรยี ์ อนิ ทรยี ์ คอื ฆานะ
จมูก ๑ ชวิ หนิ ทรยี ์ อนิ ทรยี ค์ อื ชวิ หา ลน้ิ ๑ กายนิ ทรยี ์ อนิ ทรยี ค์ อื กาย ๑ มนนิ ทรยี ์
อนิ ทรียค์ ือมนะ ใจ ๑ อรยิ สาวกผู้เปน็ อเสขะย่อมรชู้ ดั ว่า อนิ ทรีย์ ๖ เหลา่ นีจ้ ักดบั ไป
หมดสน้ิ โดยประการทง้ั ปวง ไมม่ เี หลอื และอนิ ทรยี ์ ๖ เหลา่ อน่ื จกั ไมเ่ กดิ ขน้ึ ในภพไหน ๆ
ปริยายแม้น้ีแล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็น
พระอเสขะ″

ขอ้ ทว่ี า่ พระเสขะยงั ไมถ่ กู ตอ้ งคอื ไดเ้ ฉพาะดว้ ยนามกาย แลว้ เฉยอยู่ อธบิ ายวา่
ย่อมไม่อาจถูกต้องคือไดเ้ ฉพาะ คำ� วา่ แต่เหน็ แจง้ แทงตลอดดว้ ยปญั ญา คอื ยอ่ มรู้ชัด
ด้วยปัญญาเคร่ืองพิจารณา (ปจั จเวกขณญาณ) วา่ ชือ่ วา่ อนิ ทรีย์คอื อรหตั ตผลเบ้ือง
บนยงั มอี ยู่ สว่ นในภมู ขิ องอเสขะ คำ� วา่ ถกู ตอ้ งแลว้ อยู่ คอื ไดเ้ ฉพาะแลว้ เฉยอยู่ คำ� วา่
ดว้ ยปญั ญา คอื ยอ่ มรชู้ ดั ดว้ ยปญั ญาเครอื่ งพจิ ารณา วา่ ชอื่ วา่ อนิ ทรยี ค์ อื อรหตั ตผลมอี ยู่
(จรงิ ) แม้ค�ำทัง้ ๒ วา่ น กุหิญจฺ ิ กิสมฺ ญิ ฺจิ เป็นคำ� ทใ่ี ช้แทนกันและกันอยู่ อธบิ ายวา่
จะไมเ่ กดิ ขนึ้ ในภพไร ๆ ในสตู รน้ี อนิ ทรยี ์ ๕ เปน็ โลกตุ ตระ สว่ นอนิ ทรยี ์ ๖ พระพทุ ธเจา้
ตรัสท่ีเป็นโลกียะ อาศัยวัฏฏะเท่าน้ัน

140 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ปทสตู ร๘๕

พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ รอยเทา้ ชนดิ ใดชนดิ หนงึ่ ของสตั วผ์ เู้ ทย่ี วไปบนพน้ื แผน่ ดนิ
รอยเทา้ เหลา่ นนั้ ทง้ั หมดยอ่ มรวมลงในรอยเทา้ ชา้ ง รอยเทา้ ชา้ ง โลกกลา่ ววา่ เปน็ ยอด
ของรอยเทา้ เหลา่ นนั้ เพราะเปน็ รอยเทา้ ใหญ่ แมฉ้ นั ใด บทแหง่ ธรรมเหลา่ ใดเหลา่ หนงึ่
ยอ่ มเปน็ ไปเพอ่ื ความตรสั รู้ บทคอื ปญั ญนิ ทรยี ์ อนิ ทรยี ค์ อื ปญั ญา เรากลา่ ววา่ เปน็ ยอด
แห่งบทธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพ่อื ความตรัสรู้ ฉนั นน้ั เหมอื นกนั บทแหง่ ธรรม
ทงั้ หลายยอ่ มเปน็ ไปเพอ่ื ความตรสั รเู้ ปน็ ไฉน ไดแ้ กบ่ ทแหง่ ธรรม คอื สทั ธนิ ทรยี ์ วริ ยิ นิ ทรยี ์
สตนิ ทรีย์ สมาธินทรยี ์ ปญั ญนิ ทรีย์ ย่อมเปน็ ไปเพื่อความตรัสรู้

ค�ำว่า บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหน่ึงย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ คือ
บทธรรมบทใดบทหนงึ่ ไดแ้ ก่สว่ นธรรมสว่ นใดส่วนหนึ่ง ยอ่ มเป็นไปเพ่ือความตรัสรู้

สารสตู ร๘๖

ว่าดว้ ยปญั ญินทรยี ์เปน็ ยอดแห่งบทธรรม
พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ รอยเทา้ ชนดิ ใดชนดิ หนงึ่ ของสตั วผ์ เู้ ทย่ี วไปบนพน้ื แผน่ ดนิ
รอยเทา้ เหลา่ นน้ั ทงั้ หมดยอ่ มรวมลงในรอยเทา้ ชา้ ง รอยเทา้ ชา้ ง โลกกลา่ ววา่ เปน็ ยอด
ของรอยเท้าทั้งหลาย เพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใด
เหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพ่ือความตรัสรู้ บทคือปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่ง
บทธรรมเหล่าน้ัน เพราะเป็นไปเพ่ือความตรัสรู้ ฉันน้ันเหมือนกัน ไม้มีกล่ินที่แก่น
ชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่าน้ัน แม้ฉันใด
โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา เรากล่าวว่าเป็น
ยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่าน้ัน เพราะเป็นไปเพ่ือความตรัสรู้ ฉันน้ันเหมือนกัน
ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

๘๕ สํ. มหา. ๑๙/๑๐๓๘-๑๐๓๙/๓๐๕.
๘๖ ส.ํ มหา. ๑๙/๑๐๔๐-๑๐๔๓/๓๐๕-๓๐๖.

พรรษาที่ ๙ 141

ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ยอ่ มเปน็ ไปเพอื่ ความตรสั รู้ ไมม้ กี ลน่ิ ทแี่ กน่ ชนดิ ใด
ชนดิ หนง่ึ จนั ทนแ์ ดง โลกกลา่ ววา่ เปน็ ยอดของไมเ้ หล่านัน้ แม้ฉันใด โพธปิ ักขิยธรรม
เหล่าใดเหล่าหน่ึง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่าน้ัน
เพราะเปน็ ไปเพอ่ื ความตรสั รู้ ฉนั นน้ั เหมอื นกน้

ปตฏิ ฐติ สตู ร๘๗

วา่ ด้วยธรรมอนั เอก
พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ อนิ ทรยี ์ ๕ เปน็ อนั ภกิ ษผุ ตู้ งั้ อยใู่ นธรรมอนั เอกเจรญิ แลว้
เจรญิ ดแี ลว้ ธรรมอนั เอกคอื ความไมป่ ระมาท กค็ วามไมป่ ระมาทเปน็ ไฉน ภกิ ษใุ นธรรม
วินัยน้ีย่อมรักษาจิตในอาสวะและในธรรมท่ีมีอาสวะ เม่ือเธอรักษาจิตในอาสวะและ
ในธรรมท่ีมีอาสวะ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ แม้ปัญญินทรีย์
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ต้ังอยู่ในธรรม
อันเอกเจริญแลว้ เจริญดแี ล้ว แมด้ ว้ ยประการฉะน้ี
อธบิ ายคำ� วา่ ยอ่ มรกั ษาจติ ในอาสวะและในธรรมทม่ี อี าสวะ คอื ผปู้ รารภธรรม
ทีเ่ ป็นไปใน ๓ ภมู แิ ล้ว ห้ามการเกดิ ข้ึนแหง่ อาสวะ ชื่อว่า ย่อมรักษาจิตในส่ิงทีเ่ ป็น
อาสวะและทป่ี ระกอบดว้ ยอาสวะ

สสี ปาสตู ร๘๘

เปรียบสิ่งทีต่ รสั รูม้ มี าก เหมือนใบไมบ้ นตน้
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ สีสปาวัน คือป่าไม้แห่งประดู่ลาย กรุงโกสัมพี
ครงั้ นนั้ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ทรงถอื ใบประดลู่ าย ๒-๓ ใบดว้ ยฝา่ พระหตั ถ์ แลว้ ตรสั เรยี ก

๘๗ ส.ํ มหา. ๑๙/๑๐๔๔-๑๐๔๖/๓๐๖.
๘๘ ส.ํ มหา. ๑๙/๑๗๑๒/๕๔๘.

142 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ภกิ ษทุ ง้ั หลายมา แลว้ ตรสั วา่ ภกิ ษทุ ง้ั หลาย เธอทง้ั หลายจะสำ� คญั ความขอ้ นนั้ เปน็ ไฉน
ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบบนต้น อันไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุ
ทงั้ หลายกราบทลู วา่ ใบประดลู่ าย ๒-๓ ใบทพี่ ระผมู้ พี ระภาคเจา้ ทรงถอื ดว้ ยฝา่ พระหตั ถ์
มีประมาณน้อย ทบี่ นตน้ มากกว่า พระพทุ ธเจ้าตรัสว่า อยา่ งนั้นเหมือนกัน สงิ่ ที่เรารู้
แลว้ มไิ ดบ้ อกเธอทง้ั หลายมมี าก กเ็ พราะเหตไุ รเราจึงไมบ่ อก เพราะสง่ิ นนั้ ไมป่ ระกอบ
ด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลาย
ก�ำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น
เราจงึ ไมบ่ อก ดกู อ่ นภกิ ษทุ งั้ หลาย สงิ่ อะไรทเี่ ราไดบ้ อกแลว้ เราไดบ้ อกแลว้ วา่ นที้ กุ ข์
นี้ทุกขสมุทัย น้ีทุกขนิโรธ น้ีทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก
เพราะสง่ิ นนั้ ประกอบดว้ ยประโยชน์ เปน็ พรหมจรรยเ์ บอ้ื งตน้ ยอ่ มเปน็ ไปเพอ่ื ความหนา่ ย
ความคลายกำ� หนดั ความดบั ความสงบ ความรยู้ ง่ิ ความตรสั รู้ นพิ พาน เพราะฉะนนั้
เราจึงบอก เพราะฉะนั้นแล เธอท้ังหลายพึงกระท�ำความเพียร เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า
นท้ี ุกข์ นท้ี ุกขสมทุ ัย นี้ทุกขนโิ รธ นที้ กุ ขนิโรธคามินปี ฏปิ ทา

ขทริ สตู ร๘๙

ว่าดว้ ยการทำ� ท่ีสุดแห่งทกุ ขเ์ พราะตรสั รอู้ ริยสัจจ์ ๔
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจจ์
ทุกขสมทุ ัยอริยสจั จ์ ทุกขนโิ รธอริยสจั จ์ ทกุ ขนโิ รธคามินปี ฏิปทาอรยิ สัจจ์ ตามความ
เปน็ จรงิ แลว้ จกั กระทำ� ทส่ี ดุ แหง่ ทกุ ขโ์ ดยชอบ ดง่ั น้ี มใิ ชฐ่ านะทจ่ี ะมไี ด้ เปรยี บเหมอื น
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างน้ีว่า เราจะเอาใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือใบมะขามป้อมห่อน้�ำ
หรือตาลปัตรน�ำไป ข้อน้ีมิใช่ฐานะท่ีจะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างน้ีว่า เราไม่ได้
ตรสั ร้ทู ุกขอรยิ สัจจ์ ทุกขสมุทยั อริยสัจจ์ ทุกขนโิ รธอรยิ สจั จ์ ทกุ ขนโิ รธคามินีปฏิปทา-
อรยิ สัจจ์ ตามความเปน็ จริงแล้ว จักกระท�ำทสี่ ุดแห่งทกุ ข์โดยชอบ ด่งั น้ี มใิ ชฐ่ านะท่ี
จะมีได้ ฉันน้ันเหมือนกัน ส่วนผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจจ์

๘๙ สํ. มหา. ๑๙/๑๗๑๔/๕๔๙.

พรรษาท่ี ๙ 143

ทกุ ขสมทุ ัยอริยสจั จ์ ทุกขนโิ รธอริยสจั จ์ ทุกขนิโรธคามนิ ปี ฏปิ ทาอรยิ สจั จ์ ตามความ
เปน็ จรงิ แลว้ จกั กระทำ� ทสี่ ดุ แหง่ ทกุ ขโ์ ดยชอบ ดงั่ นี้ เปน็ ฐานะทจี่ ะมไี ด้ เปรยี บเหมอื น
ผใู้ ดพงึ กลา่ วอยา่ งนว้ี า่ เราจกั เอาใบบวั ใบทองกวาวหรอื ใบยา่ นทรายหอ่ นำ้� หรอื ตาลปตั ร
นำ� ไป ขอ้ นเี้ ปน็ ฐานะทจี่ ะมไี ด้ ฉนั ใด ผใู้ ด พงึ กลา่ วอยา่ งนวี้ า่ เราไดต้ รสั รทู้ กุ ขอรยิ สจั จ์
ทกุ ขสมทุ ัยอริยสัจจ์ ทุกขนโิ รธอริยสัจจ์ ทุกขนโิ รธคามนิ ปี ฏปิ ทาอรยิ สจั จ์ ตามความ
เปน็ จรงิ แลว้ จกั กระทำ� ทส่ี ดุ แหง่ ทกุ ขโ์ ดยชอบ ดง่ั น้ี เปน็ ฐานะทจี่ ะมไี ด้ ฉนั นน้ั เหมอื นกนั
เพราะฉะน้ันแล เธอทั้งหลายพึงกระท�ำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นที้ ุกขสมทุ ยั น้ที กุ ขนิโรธ น้ที ุกขนโิ รธคามินปี ฏปิ ทา

อธบิ ายคำ� วา่ ไมไ่ ดต้ รสั รแู้ ลว้ คอื วา่ ไมบ่ รรลแุ ลว้ และไมแ่ ทงตลอดแลว้ ดว้ ยญาณ

ทณั ฑสตู ร๙๐

ว่าด้วยผทู้ ่องเทยี่ วไปในโลกเพราะไม่เหน็ อริยสจั จ์
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนท่อนไม้ท่ีบุคคลขว้างข้ึนไปบนอากาศแล้ว
บางคราวเอาโคนตกลงมากม็ ี บางคราวเอาตอนกลางตกลงมาก็มี บางคราวเอาปลาย
ตกลงมาก็มี ฉันใด สัตว์ท้ังหลายผู้มีนิวรณ์คืออวิชชา มีตัณหา เป็นเคร่ืองประกอบ
ได้แลน่ ไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่ บางคราวจากโลกน้ีไปสปู่ รโลกกม็ ี บางคราวจากปรโลก
มาสู่โลกนี้ก็มี ฉันน้ันเหมือนกัน ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจจ์ ๔
อริยสัจจ์ ๔ คือทุกขอริยสัจจ์ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ ทุกขนิโรธ-
คามนิ ปี ฏิปทาอริยสจั จ์ เพราะฉะนนั้ แล เธอทัง้ หลาย พึงกระทำ� ความเพยี รเพื่อรู้ตาม
ความเปน็ จรงิ วา่ นที้ ุกข์ น้ที กุ ขสมทุ ยั น้ที กุ ขนิโรธ น้ีทกุ ขนิโรธคามนิ ีปฏปิ ทา
อธบิ ายคำ� วา่ จากโลกนไ้ี ปสปู่ รโลก ความวา่ จากโลกนไี้ ปโลกอน่ื คอื นรกบา้ ง
กำ� เนดิ สตั วเ์ ดรจั ฉานบา้ ง เปตวสิ ยั บา้ ง มนษุ ยบ์ า้ ง เทวโลกบา้ ง อธบิ ายวา่ เกดิ ในวฏั ฏะ
นั้นแหละบอ่ ย ๆ

๙๐ สํ. มหา. ๑๙/๑๗๑๖/๕๕๐.

144 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เจลสตู ร๙๑

ว่าดว้ ยใหร้ ีบเพยี รเพ่อื ตรัสรู้ เหมอื นรีบดับไฟบนศรี ษะ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เม่ือผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรกระท�ำอย่างไร
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เม่ือผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรกระท�ำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไมย่ น่ ยอ่ ความไม่ท้อถอย สตแิ ละสัมปชญั ญะ
อย่างแรงกล้า เพ่ือดับไฟที่ผ้าหรือศีรษะน้ัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลพึงวางเฉย
ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้แล้ว พึงกระท�ำความพอใจ ความพยายาม
ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
เพื่อตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ท่ียังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง อริยสัจจ์ ๔ เป็นไฉน คือ
ทกุ ขอรยิ สจั จ์ ทกุ ขสมทุ ยั อรยิ สจั จ์ ทกุ ขนโิ รธอรยิ สจั จ์ ทกุ ขนโิ รธคามนิ ปี ฏปิ ทาอรยิ สจั จ์
เพราะฉะน้ันแล เธอทั้งหลายพึงกระท�ำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นท้ี ุกข์ นท้ี กุ ขสมุทยั นท้ี กุ ขนโิ รธ น้ที ุกขนิโรธคามนิ ีปฏปิ ทา

สัตตสิ ตสตู ร๙๒

ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี พึงกล่าวอย่างนี้
แก่ผู้มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปีว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ชนท้ังหลายจักเอาหอก ๑๐๐ เล่ม
ทิม่ แทงทา่ นในเวลาเช้า ในเวลาเท่ียง ในเวลาเยน็ ท่านนนั้ ถกู เขาเอาหอก ๓๐๐ เลม่
ทิม่ แทงอยูท่ ุก ๆ วนั มีอายุ ๑๐๐ ปี มชี ีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี จักตรัสรูอ้ รยิ สัจจ์ ๔ ท่ียงั ไม่
ได้ตรัสรู้โดยล่วง ๑๐๐ ปีไป กุลบุตรผู้น้ันไปในอ�ำนาจแห่งประโยชน์ ควรจะรับเอา
(ข้อเสนอนั้น) ข้อน้ันเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารหรือสังสาระนี้มีเบ้ืองต้นท่ีสุดอัน

๙๑ ส.ํ มหา. ๑๙/๑๗๑๗/๕๕๐.
๙๒ ส.ํ มหา. ๑๙/๑๗๑๘/๕๕๑.

พรรษาท่ี ๙ 145

บคุ คลไปตามอยรู่ ไู้ มไ่ ดแ้ ลว้ เบอื้ งตน้ ทสี่ ดุ แหง่ การประหารดว้ ยหอก ดาบ หลาว และขวาน
ยอ่ มไมป่ รากฏฉันใด ข้อนพี้ งึ มไี ดฉ้ นั นนั้ ว่า กเ็ ราไม่กลา่ วการตรัสรอู้ ริยสัจจ์ ๔ พรอ้ ม
ดว้ ยทกุ ขโ์ ทมนสั แตเ่ รากลา่ วการตรสั รอู้ รยิ สจั จ์ ๔ พรอ้ มดว้ ยสขุ โสมนสั อรยิ สจั จ์ ๔
เป็นไฉน คอื ทกุ ขอรยิ สจั จ์ ทกุ ขสมุทยั อรยิ สัจจ์ ทุกขนิโรธอรยิ สัจจ์ ทกุ ขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจจ์ เพราะฉะน้ันแล เธอท้ังหลายพึงกระท�ำความเพียรเพื่อรู้ตามความ
เป็นจรงิ วา่ น้ีทุกข์ นที้ ุกขสมทุ ัย นที้ ุกขนโิ รธ นี้ทกุ ขนโิ รธคามินีปฏปิ ทา

มีอธิบายว่า ค�ำว่า ข้อนี้พึงมีได้ฉันน้ัน คือภิกษุท้ังหลาย ถ้าเหตุน้ีพึงมีอยู่
อยา่ งนไ้ี ซร้ เมอ่ื ทกุ ขแ์ ละโทมนสั นน้ั เทยี วกระทบอยไู่ มข่ าดระยะ กจ็ ะพงึ บรรลสุ จั จะนนั้
พร้อมกันทเี ดยี ว

ปาณสูตร๙๓

ว่าด้วยผู้ถึงพรอ้ มด้วยทิฏฐิพ้นจากอบายใหญ่

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เปรยี บเหมอื นบุรุษพึงตัดหญา้ ไม้ กง่ิ ไม้ และใบไม้ใน
ชมพทู วปี นี้ รวบรวมเขา้ ดว้ ยกนั ครน้ั แลว้ กระทำ� ใหเ้ ปน็ หลาว ครนั้ กระทำ� ใหเ้ ปน็ หลาว
แล้ว พึงร้อยสัตว์ขนาดใหญ่ในมหาสมุทรด้วยหลาวขนาดใหญ่ สัตว์ขนาดกลางด้วย
หลาวขนาดกลาง สตั วข์ นาดเลก็ ดว้ ยหลาวขนาดเลก็ กส็ ตั วข์ นาดเขอื่ งในมหาสมทุ รยงั
ไม่ทันหมด หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีปพึงถึงความส้ินไปหมดไปโดยแท้
การที่จะเอาหลาวร้อยสัตว์ขนาดเล็กในมหาสมุทรซึ่งมีมากกว่าสัตว์ขนาดเขื่องนั้น
มิใชก่ ระท�ำได้ง่าย ข้อนนั้ เพราะเหตุไร เพราะตวั มนั เลก็ ฉันใด อบายก็โตใหญฉ่ นั น้นั
บคุ คลผถู้ งึ พรอ้ มดว้ ยทฏิ ฐิ พน้ จากอบายทใ่ี หญโ่ ตอยา่ งนแี้ ลว้ ยอ่ มรตู้ ามความเปน็ จรงิ
ว่า น้ที กุ ข์ น้ที ุกขสมุทยั น้ที ุกขนโิ รธ น้ีทกุ ขนโิ รธคามนิ ปี ฏิปทา ดกู อ่ นภกิ ษุทัง้ หลาย
เพราะฉะนั้นแล เธอท้ังหลายพึงกระท�ำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทกุ ขสมุทัย นีท้ กุ ขนโิ รธ นี้ทุกขนโิ รธคามินีปฏปิ ทา

๙๓ สํ. มหา. ๑๙/๑๗๑๙/๕๕๑.

146 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ปฐมสรุ ยิ ปู มสูตร๙๔

วา่ ด้วยสง่ิ ทเ่ี ป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อรยิ สัจจ์

พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ เมอ่ื พระอาทติ ยจ์ ะขนึ้ สงิ่ ทจ่ี ะขนึ้ กอ่ น สง่ิ ทเ่ี ปน็ นมิ ติ มากอ่ น
คอื แสงเงินแสงทอง ฉนั ใด ส่งิ ทเ่ี ปน็ เบ้ืองต้น เปน็ นิมติ มากอ่ นการตรสั รู้อรยิ สัจจ์ ๔
ตามความเป็นจรงิ คือสมั มาทฏิ ฐิ ความเห็นชอบฉันนั้นเหมือนกัน อนั ภิกษผุ ูม้ คี วาม
เหน็ ชอบ พงึ หวงั ขอ้ นไี้ ดว้ า่ จกั รตู้ ามความเปน็ จรงิ วา่ นท้ี กุ ข์ นที้ กุ ขสมทุ ยั นที้ กุ ขนโิ รธ
นท้ี กุ ขนโิ รธคามนิ ปี ฏปิ ทา เพราะฉะนน้ั แล เธอทง้ั หลายพงึ กระทำ� ความเพยี รเพอ่ื รตู้ าม
ความเป็นจรงิ ดั่งนน้ั

ทตุ ิยสรุ ิยูปมสตู ร๙๕

ว่าดว้ ยพระตถาคตอบุ ัติ ความสวา่ งย่อมปรากฏขึ้น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์ยังไม่เกิดขึ้นในโลกเพียงใด
ความปรากฏแหง่ แสงสวา่ งแจม่ จา้ อยา่ งมากกย็ งั ไมม่ เี พยี งนนั้ เวลานน้ั มแี ตค่ วามมดื มดิ
มแี ตค่ วามมวั เปน็ หมอก กลางคนื กลางวนั ไมป่ รากฏ เดอื นหนง่ึ และกงึ่ เดอื นกไ็ มป่ รากฏ
ฤดูและปีก็ไม่ปรากฏ เม่ือใดพระจันทร์และพระอาทิตย์เกิดข้ึนในโลก เมื่อน้ันความ
ปรากฏแหง่ แสงสวา่ งแจม่ จา้ อย่างมากกย็ อ่ มมี เวลานนั้ ไมม่ คี วามมดื มิด ไมม่ คี วามมวั
เปน็ หมอก กลางคนื กลางวนั ปรากฏ เดอื นหนง่ึ และกงึ่ เดอื นกป็ รากฏ ฤดแู ละปกี ป็ รากฏ
ฉนั ใด ฉนั นนั้ เหมอื นกนั พระตถาคตอรหนั ตสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ยงั ไมอ่ บุ ตั ขิ นึ้ ในโลกเพยี งใด
ความปรากฏแหง่ แสงสวา่ งแจม่ แจง้ อยา่ งมากกย็ งั ไมม่ เี พยี งนน้ั เวลานน้ั มแี ตค่ วามมดื มดิ
มีแต่ความมวั เปน็ หมอก การบอก การแสดง การบัญญตั ิ การแต่งตัง้ การเปดิ เผย
การจำ� แนก การกระทำ� ใหง้ า่ ย ซง่ึ อรยิ สจั จท์ งั้ ๔ กย็ งั ไมม่ ี เมอ่ื ใดพระตถาคตอรหนั ต-

๙๔ ส.ํ มหา. ๑๙/๑๗๒๐/๕๕๒.
๙๕ ส.ํ มหา. ๑๙/๑๗๒๑/๕๕๓.

พรรษาที่ ๙ 147

สมั มาสมั พทุ ธเจ้าอุบัตขิ ้ึนในโลก เม่ือนนั้ ความปรากฏแหง่ แสงสวา่ งแจม่ แจง้ อยา่ งมาก
ก็ย่อมมี เวลาน้ัน ไม่มีความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก การบอก ฯลฯ
การกระทำ� ให้งา่ ย ซง่ึ อริยสัจจ์ ๔ กย็ อ่ มมี อรยิ สจั จ์ ๔ เป็นไฉน กค็ อื ทกุ ขอริยสัจจ์
ทกุ ขสมทุ ยั อรยิ สจั จ์ ทกุ ขนโิ รธอรยิ สจั จ์ ทกุ ขนโิ รธคามนิ ปี ฏปิ ทาอรยิ สจั จ์ เพราะฉะนนั้ แล
เธอท้ังหลายพึงกระท�ำความเพียรเพ่ือรู้ตามความเป็นจริงว่า น้ีทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทกุ ขนิโรธ น้ีทุกขนิโรธคามินีปฏปิ ทา

อินทขลี สตู ร๙๖

ว่าดว้ ยผู้รตู้ ามเปน็ จรงิ ย่อมรู้ผ้อู ืน่ ว่า รู้หรือไมร่ ู้
พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ กส็ มณะหรอื พราหมณเ์ หลา่ ใดเหลา่ หนง่ึ ยอ่ มไมร่ ชู้ ดั ตาม
ความเปน็ จรงิ วา่ น้ีทุกข์ นท้ี กุ ขสมทุ ัย น้ที ุกขนิโรธ นี้ทกุ ขนโิ รธคามินีปฏิปทา สมณะ
หรอื พราหมณเ์ หลา่ นน้ั ยอ่ มตอ้ งมองดหู นา้ ของสมณะหรอื พราหมณอ์ นื่ วา่ ทา่ นผนู้ เี้ มอื่
รู้ย่อมรแู้ น่ เมอ่ื เห็นย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนปยุ นนุ่ หรือปยุ ฝ้ายเปน็ ของเบา คอยจะ
ลอยไปตามลม บคุ คลวางไวท้ ภี่ าคพนื้ ทร่ี าบเรยี บแลว้ ลมทศิ บรู พาพงึ พดั ปยุ นนุ่ หรอื ปยุ
ฝา้ ยนน้ั ไปยงั ทศิ ประจมิ ได้ ลมทศิ ประจมิ พงึ พดั พาไปทางทศิ บรู พาได้ ลมทศิ อดุ รพงึ พดั
พาไปทางทิศทักษิณได้ ลมทิศทักษิณพึงพัดพาไปทางทิศอุดรได้ ข้อนี้เพราะเหตุใด
เพราะปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบา ฉันใด ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหลา่ หนง่ึ ยอ่ มไมร่ ชู้ ดั ตามความเปน็ จรงิ วา่ นที้ กุ ข์ นที้ กุ ขสมทุ ยั นท้ี กุ ขนโิ รธ นที้ กุ ขนโิ รธ-
คามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่าน้ันย่อมต้องมองดูหน้าของสมณะหรือ
พราหมณ์อ่ืน ว่าท่านผู้น้ีเม่ือรู้ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็นย่อมเห็นแน่ ข้อน้ีเพราะเหตุไร
เพราะไม่เหน็ อริยสัจจ์ ๔ ฉันนัน้ เหมอื นกัน

๙๖ ส.ํ มหา. ๑๙/๑๗๒๒/๕๕๔.

148 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

กส็ มณะหรอื พราหมณเ์ หลา่ ใดเหลา่ หนงึ่ ยอ่ มรชู้ ดั ตามความเปน็ จรงิ วา่ นท้ี กุ ข์
น้ีทกุ ขสมุทยั นี้ทุกขนิโรธ นี้ทกุ ขนโิ รธคามนิ ปี ฏปิ ทา สมณะหรอื พราหมณ์ เหลา่ นนั้
ยอ่ มไมต่ อ้ งมองดหู นา้ สมณะหรอื พราหมณอ์ นื่ วา่ ทา่ นผนู้ เี้ มอ่ื รยู้ อ่ มรแู้ น่ เมอ่ื เหน็ ยอ่ ม
เห็นแน่ เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาหินมีรากลึก เขาฝังไว้ดีแล้ว ไม่หว่ันไหว
ไมเ่ อนเอยี ง แมล้ มฝนอยา่ งแรงจะพดั มาจากทศิ บรู พา ทศิ ประจมิ ทศิ อดุ ร ทศิ ทกั ษณิ
ก็ไมส่ ะเทอื นสะท้านหวั่นไหว ข้อน้ันเพราะเหตุใด เพราะรากลกึ เพราะเสาหินเขาฝัง
ไวด้ แี ล้ว ฉนั ใด สมณะหรอื พราหมณเ์ หลา่ ใดเหล่าหน่งึ ย่อมรู้ชดั ตามความเป็นจรงิ ว่า
น้ีทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย น้ีทุกขนิโรธ น้ีทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อ่ืน ว่าท่านผู้น้ีเมื่อรู้ย่อมรู้แน่
เม่อื เห็นยอ่ มเหน็ แน่ ขอ้ นน้ั เพราะเหตไุ ร เพราะเหน็ อรยิ สจั จ์ ๔ ดแี ลว้ ฉนั นน้ั เหมอื นกนั
อรยิ สจั จ์ ๔ เปน็ ไฉน คอื ทกุ ขอรยิ สจั จ์ ทกุ ขสมทุ ยั อรยิ สจั จ์ ทกุ ขนโิ รธอรยิ สจั จ์ ทกุ ขนโิ รธ-
คามนิ ีปฏปิ ทาอริยสัจจ์ เพราะฉะนนั้ แล เธอทงั้ หลายพงึ กระท�ำความเพียร เพ่อื รู้ตาม
ความเปน็ จรงิ ว่า นท้ี กุ ข์ นท้ี กุ ขสมุทัย นี้ทุกขนโิ รธ น้ีทกุ ขนิโรธคามนิ ปี ฏิปทา

อธิบายค�ำวา่ ยอ่ มตอ้ งมองดูหน้า ไดแ้ ก่ตรวจดูอัธยาศยั อัธยาศยั พระผมู้ ี
พระภาคเจา้ ทรงประสงคเ์ อาในคำ� ว่า หน้า

วาทสี ตู ร๙๗

วา่ ด้วยผู้ร้ตู ามความเปน็ จรงิ ไม่หวน่ั ไหวต่อผู้ยกวาทะ

พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ กภ็ กิ ษรุ ปู ใดรปู หนง่ึ ยอ่ มรชู้ ดั ตามความเปน็ จรงิ วา่ นที้ กุ ข์
น้ีทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ผู้มี
ความตอ้ งการวาทะ ผแู้ สวงหาวาทะ พงึ มาจากทศิ บรู พา ทศิ ประจมิ ทศิ อดุ ร ทศิ ทกั ษณิ
ด้วยประสงค์ว่า จะยกวาทะของภิกษุนั้น ภิกษุน้ันจะสะเทือนสะท้าน หรือหว่ันไหว
ตอ่ สมณะหรอื พราหมณน์ น้ั โดยสหธรรม ขอ้ นม้ี ใิ ชฐ่ านะทจ่ี ะมไี ด้ เปรยี บเหมอื นเสาหนิ

๙๗ สํ. มหา. ๑๙/๑๗๒๔/๕๕๕.

พรรษาท่ี ๙ 149

๑๖ ศอก เสาหนิ นั้นมีรากลกึ ไปขา้ งลา่ ง ๘ ศอก ขา้ งบน ๘ ศอก ถงึ แม้ลมฝนอยา่ ง
แรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา ทิศประจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้าน
หวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย น้ีทุกขนิโรธ
นท้ี ุกขนโิ รธคามนิ ีปฏปิ ทา ถงึ แมส้ มณะหรอื พราหมณผ์ ้ตู อ้ งการวาทะ ผแู้ สวงหาวาทะ
พงึ มาจากทศิ บูรพา ทศิ ประจมิ ทศิ อุดร ทิศทักษิณ ดว้ ยประสงค์วา่ จะยกวาทะของ
ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจะสะเทือนสะท้าน หรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นโดย
สหธรรม ขอ้ นน้ั ไมใ่ ชฐ่ านะทจี่ ะมไี ด้ ขอ้ นนั้ เพราะเหตไุ ร เพราะเหน็ อรยิ สจั จ์ ๔ ดแี ลว้
ฉันน้ันเหมือนกัน ก็อริยสัจจ์ ๔ เป็นไฉน คือทุกขอริยสัจจ์ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์
ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ เพราะฉะน้ันแล เธอทั้งหลาย
พงึ กระทำ� ความเพยี ร เพ่ือรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นีท้ กุ ขนโิ รธคามินีปฏิปทา

เขมกสูตร๙๘

ว่าด้วยท่านพระเขมกะ

สมยั หนง่ึ ภกิ ษผุ เู้ ปน็ พระเถระหลายรปู อยู่ ณ โฆสติ าราม กรงุ โกสมั พี กส็ มยั นน้ั
ทา่ นพระเขมกะอาพาธเปน็ ไขห้ นัก ได้รบั ทกุ ขเวทนา พกั อยทู่ พ่ี ทรกิ าราม ครงั้ นนั้ เปน็
เวลาเยน็ ภกิ ษผุ เู้ ปน็ พระเถระทงั้ หลายออกจากทพี่ กั แลว้ เรยี กทา่ นพระทาสกะมากลา่ ววา่
ท่านทาสกะจงไปหาเขมกภิกษุถึงที่อยู่ จงบอกกับเขมกภิกษุอย่างนี้ว่า พระเถระท้ัง
หลายได้ถามท่านอย่างน้ี ว่าท่านพออดทนได้หรือ ยังพอเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปได้
หรอื ทกุ ขเวทนาทุเลาลง ไมก่ ำ� เริบขึ้น ทกุ ขเวทนา นัน้ ปรากฏว่าทุเลา ไม่ก�ำเริบข้นึ
หรอื ทา่ นพระทาสกะรบั คำ� ภกิ ษผุ เู้ ปน็ เถระทง้ั หลายแลว้ เขา้ ไปหาทา่ นพระเขมกะถงึ ทอ่ี ยู่
ไดก้ ลา่ วแกท่ า่ นพระเขมกะวา่ พระเถระ ทง้ั หลายถามถงึ ทา่ น วา่ ทา่ นพออดทนไดห้ รอื

๙๘ สํ. ขนฺธ. ๑๗/๒๒๕/๑๕๔.

150 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ยงั พอเยยี วยาอตั ภาพใหเ้ ปน็ ไปไดห้ รอื ทา่ นพระเขมกะตอบวา่ ผมอดทนไมไ่ หว เยยี วยา
อตั ภาพใหเ้ ปน็ ไปไมไ่ ด้ ทกุ ขเวทนาอนั กลา้ ของผมกำ� เรบิ ขน้ึ ไมท่ เุ ลาลงเลย ปรากฏวา่
ก�ำเริบข้ึนไม่ทเุ ลาลง

ท่านพระทาสกะกลับจากส�ำนักท่านพระเขมกะ เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระ
ทั้งหลายถึงที่อยู่ และได้เล่าให้ภิกษุผู้เป็นเถระฟังถึงค�ำที่ท่านพระเขมกะได้กล่าว
พระเถระทัง้ หลายจึงไดก้ ลา่ ววา่ ท่านทาสกะจงเข้าไปหาเขมกภกิ ษถุ งึ ทอ่ี ยู่ จงกล่าวกะ
เขมกภิกษุอย่างนี้ว่า พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างน้ีว่า อุปาทานขันธ์คือ
ขนั ธเ์ ปน็ ทยี่ ดึ ถอื ทงั้ ๕ เหลา่ นี้ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ตรสั แลว้ คอื ขนั ธเ์ ปน็ ทยี่ ดึ ถอื คอื รปู
ขันธ์เป็นท่ียึดถือคือเวทนา ขันธ์เป็นที่ยึดถือคือสัญญา ขันธ์เป็นท่ียึดถือคือสังขาร
ขันธ์เป็นท่ียึดถือคือวิญญาณ ท่านเขมกะพิจารณาเห็นอะไร ๆ ในอุปาทานขันธ์
ขนั ธเ์ ปน็ ทยี่ ดึ ถอื ทง้ั ๕ นี้ วา่ เปน็ อตั ตา หรอื วา่ มอี ยใู่ นอตั ตาหรอื ทา่ นพระทาสกะรบั คำ�
ของภกิ ษผุ เู้ ปน็ เถระท้งั หลายแลว้ จึงเขา้ ไปหาทา่ นเขมกะถึงทีอ่ ยู่ และได้กล่าวกะทา่ น
พระเขมกะตามทพ่ี ระเถระทงั้ หลายไดส้ ง่ั ทา่ นพระเขมกะไดก้ ลา่ วตอบวา่ อปุ าทานขนั ธ์
๕ เหลา่ นี้ พระผมู้ พี ระภาคตรัสแล้ว คอื อุปาทานขนั ธค์ ือ รูป เวทนา สญั ญา สงั ขาร
วิญญาณ ผมไมพ่ จิ ารณาเห็นอะไร ๆ ในอปุ าทานขันธ์ท้งั ๕ น้ี ว่าเป็นอตั ตา หรอื
วา่ มใี นอตั ตา ทา่ นพระทาสกะกก็ ลบั ไปหาภกิ ษผุ เู้ ปน็ พระเถระทงั้ หลาย และกไ็ ดก้ ลา่ ว
ตามคำ� ท่ที ่านพระเขมกะไดพ้ ดู นั้น

พระเถระทง้ั หลายกไ็ ด้สัง่ ท่านพระทาสกะว่า ทา่ นจงเขา้ ไปหาทา่ นพระเขมกะ
ถงึ ทอี่ ยู่ ครนั้ แลว้ จงกลา่ วกะภกิ ษเุ ขมกะอยา่ งนว้ี า่ พระเถระทง้ั หลายกลา่ วกะทา่ นอยา่ ง
นวี้ า่ อปุ าทานขนั ธ์ ๕ เหลา่ น้ี คอื อปุ าทานขนั ธค์ อื รปู เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ได้ทราบว่า ถ้าท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอะไร ๆ
ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่าน้ี ว่าเป็นอัตตาหรือว่ามีในอัตตา ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะ
ก็เป็นพระอรหันตขีณาสพ ท่านพระทาสกะรับค�ำของภิกษุทั้งหลายแล้วเข้าไปหาท่าน
พระเขมกะถึงที่อยู่ แล้วกล่าวกับท่านพระเขมกะตามค�ำท่ีพระเถระทั้งหลายได้กล่าว
ทา่ นพระเขมกะไดต้ อบวา่ อปุ าทานขนั ธ์ ๕ เหลา่ นี้ คอื อปุ าทานขนั ธค์ อื รปู เวทนา สญั ญา
สังขาร วญิ ญาณ พระผมู้ พี ระภาคตรสั แลว้ ผมไมไ่ ดพ้ จิ ารณาเหน็ อะไร ๆ ในอปุ าทาน
ขนั ธ์ ๕ เหลา่ นี้ วา่ เปน็ อตั ตาหรอื วา่ มใี นอตั ตา และผมกไ็ มไ่ ดเ้ ปน็ พระอรหนั ตขณี าสพ

พรรษาท่ี ๙ 151

แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่ได้พิจารณาเห็นว่า เราเป็นนี้
ทา่ นพระทาสกะกก็ ลบั จากสำ� นกั ทา่ นพระเขมกะ เขา้ ไปหาภกิ ษผุ เู้ ปน็ พระเถระทงั้ หลาย
แล้วกเ็ ล่าให้ฟังถงึ ถ้อยค�ำทีท่ ่านพระเขมกะไดก้ ล่าวตอบ

พระเถระท้ังหลายก็ได้ส่ังท่านทาสกะว่า จงไปหาภิกษุพระเขมกะถึงท่ีอยู่อีก
และกล่าวอย่างน้ีว่า พระเถระท้ังหลายถามท่านอย่างน้ีว่า ท่ีท่านกล่าวว่า เรามี
น้ีคืออยา่ งไร ท่านกลา่ วรปู วา่ เรามี หรอื กล่าววา่ เรามนี อกจากรูป ท่านกล่าวเวทนา
สญั ญาสงั ขารวญิ ญาณวา่ เรามี หรอื กลา่ ววา่ เรามนี อกจากเวทนาสญั ญาสงั ขารวญิ ญาณ
ทที่ า่ นเขมกะกลา่ ววา่ เรามนี นั้ คอื อยา่ งไร ทา่ นพระทาสกะรบั คำ� ของภกิ ษทุ งั้ หลายแลว้
กเ็ ขา้ ไปหาทา่ นพระเขมกะอกี และกไ็ ดก้ ลา่ วถงึ ถอ้ ยคำ� ทที่ า่ นพระเถระทงั้ หลายไดส้ งั่ ให้
ถามนนั้ ทา่ นพระเขมกะจงึ ไดก้ ลา่ ววา่ พอทเี ถดิ ทา่ นทาสกะ ทา่ นเดนิ ไปเดนิ มาอยา่ งนี้
บ่อย ๆ จะมีประโยชน์อะไร จงไปหยิบเอาไม้เท้ามาเถิด ผมจะไปหาภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลายเอง

คร้ังนั้น ท่านพระเขมกะยันไม้เท้าเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงท่ีอยู่
ได้สนทนาปราศรัยกับภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้
ระลกึ ถงึ กนั และกนั ไปแลว้ นง่ั ณ ทคี่ วรสว่ นขา้ งหนงึ่ ครนั้ แลว้ ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ไดก้ ลา่ ว
กะทา่ นพระเขมกะวา่ ทา่ นเขมกะ ทท่ี า่ นกลา่ ววา่ เรามนี น้ั คอื อยา่ งไร ทา่ นเขมกะตอบวา่
ผมไมก่ ล่าวรปู ว่า เรามี ท้ังไมก่ ลา่ วว่า เรามนี อกจากรูป ไม่กล่าวเวทนาสญั ญาสังขาร
วิญญาณว่า เรามี ท้งั ไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากเวทนาสัญญาสงั ขารวญิ ญาณ แตผ่ ม
เขา้ ใจวา่ เรามใี นอปุ าทานขนั ธ์ ๕ และผมไมไ่ ดพ้ จิ ารณาเหน็ วา่ เราเปน็ นี้ เปรยี บเหมอื น
กลน่ิ ดอกอบุ ลกด็ ี กลน่ิ ดอกปทมุ กด็ ี กลนิ่ ดอกบณุ ฑรกิ บวั ขาวกด็ ี ผใู้ ดหนอจะพงึ กลา่ ว
อยา่ งนว้ี า่ กลนิ่ ใบ กลนิ่ ดอก หรอื วา่ กลนิ่ เกสร ผนู้ นั้ เมอื่ กลา่ วอยา่ งนี้ จะพงึ กลา่ วชอบ
ละหรอื พระภกิ ษผุ เู้ ถระทงั้ หลายกต็ อบวา่ ไมเ่ ปน็ อยา่ งนนั้ ทา่ นพระเขมกะจงึ กลา่ ววา่
โดยทถ่ี กู เมอ่ื จะกลา่ วแกค้ วรกลา่ วแกอ้ ยา่ งไร ทา่ นพระเถระทง้ั หลายกก็ ลา่ ววา่ โดยทถ่ี กู
เมอ่ื จะกลา่ วแก้ ควรจะกลา่ วแก้วา่ กลนิ่ ดอก ท่านพระเขมกะกก็ ลา่ วต่อไปว่า ดูกอ่ น
อาวุโสทั้งหลาย ฉันน้ันเหมือนกันแล ผมไม่กล่าวรูปว่า เรามี ท้ังไม่กล่าวว่า เรามี
นอกจากรูป ไม่กล่าวเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณว่า เรามี ทั้งไม่กล่าวว่า เรามี
นอกจากเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕

152 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

และผมไมพ่ จิ ารณาเหน็ วา่ เราเปน็ น้ี สงั โยชนส์ ว่ นเบอื้ งตำ�่ ๕ พระอรยิ สาวกละไดแ้ ลว้
กจ็ รงิ แตท่ า่ นยงั ถอนมานะ ฉนั ทะ อนสุ ยั อยา่ งละเอยี ดในอปุ าทานขนั ธ์ ๕ วา่ เรามี
ไม่ได้ สมัยต่อมาท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของอุปาทานขันธ์
ท้ัง ๕ ว่า รูปดั่งนี้ ความเกิดข้ึนแห่งรูปดั่งน้ี ความดับไปแห่งรูปด่ังนี้ เวทนาด่ังน้ี
สัญญาดั่งนี้ สงั ขารดัง่ น้ี วิญญาณด่งั นี้ ความเกดิ ขึน้ แห่งเวทนาด่งั นี้ แหง่ สญั ญาด่ังนี้
แห่งสังขารดั่งนี้ แห่งวิญญาณด่ังน้ี ความดับไปแห่งเวทนาดั่งนี้ แห่งสัญญาดั่งนี้
แหง่ สงั ขารด่ังนี้ แหง่ วญิ ญาณดงั่ นี้ เมื่อท่านพิจารณาเหน็ ความเกิดขน้ึ และความเส่อื ม
ไปในอุปาทานขนั ธ์ ๕ ดง่ั นอี้ ยู่ แม้ท่านยังถอนมานะ ฉนั ทะ อนุสัยอย่างละเอยี ดใน
อปุ าทานขนั ธ์ ๕ ว่า เรามี ไมไ่ ด้ แต่มานะ ฉนั ทะ และอนุสยั น้ันก็ถึงการเพิกถอนได้
เปรยี บเหมอื นผา้ เปอ้ื นเปรอะดว้ ยมลทนิ เจา้ ของทงั้ หลายมอบผา้ นนั้ ใหแ้ กช่ า่ งซกั ฟอก
ชา่ งซกั ฟอกขยผ้ี า้ นนั้ ในนำ�้ ดา่ งขเ้ี ถา้ ในนำ�้ ดา่ งเกลอื หรอื ในโคมยั แลว้ เอาซกั ในนำ�้ ใส
สะอาด ผ้าน้ันเป็นของสะอาดขาวผ่องก็จริง แต่ผ้าน้ันยังไม่หมดกล่ินน�้ำด่างข้ีเถ้า
กลนิ่ นำ�้ ดา่ งเกลอื หรอื กลน่ิ โคมยั ทล่ี ะเอยี ด ชา่ งซกั ฟอกมอบผา้ นนั้ ใหแ้ กเ่ จา้ ของทงั้ หลาย
เจ้าของท้ังหลายเก็บผ้าน้ันไว้ในหีบอบกลิ่น แม้ผ้าน้ันยังไม่หมดกล่ินน้�ำด่างขี้เถ้า
กลนิ่ นำ�้ ดา่ งเกลอื หรอื กลนิ่ โคมยั ทล่ี ะเอยี ด แมก้ ลน่ิ นน้ั กห็ ายไป ฉนั ใด สงั โยชนเ์ บอ้ื งตำ�่
๕ พระอริยสาวกละไดแ้ ล้วกจ็ ริง แตท่ ่านก็ยงั ถอนมานะ ฉันทะ อนุสยั อย่างละเอียด
ในอุปาทานขันธ์ ๕ วา่ เรามี ไม่ได้ สมยั ต่อมา ทา่ นพิจารณาเหน็ ความเกิดข้ึนและ
ความเสอื่ มไปในอปุ าทานขนั ธท์ ง้ั ๕ วา่ รปู ดงั่ น้ี ความเกดิ ขนึ้ แหง่ รปู ดงั่ นี้ ความดบั ไป
แหง่ รปู ดง่ั นี้ ความเกดิ ขน้ึ แหง่ เวทนาสญั ญาสงั ขารวญิ ญาณ ดง่ั น้ี ความดบั ไปแหง่ เวทนา
สญั ญาสงั ขารวญิ ญาณดงั่ น้ี เมอ่ื ทา่ นพจิ ารณาเหน็ ความเกดิ ขนึ้ และความเสอ่ื มไปใน
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่าน้ีอยู่ แม้ท่านยังถอน มานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดใน
อปุ าทานขนั ธ์ ๕ วา่ เรามี ไมไ่ ด้ แตม่ านะ ฉนั ทะ และอนสุ ยั นน้ั กถ็ งึ การเพกิ ถอนได้
ฉันน้นั

เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระท้ังหลายได้กล่าวกับท่าน
พระเขมกะวา่ ผมทง้ั หลายไมไ่ ดถ้ ามมงุ่ หมายเบยี ดเบยี นทา่ นเขมกะเลย แตว่ า่ ทา่ นเขมกะ
ยอ่ มสามารถพอจะบอก แสดง บญั ญัติ แต่งตั้ง เปดิ เผย จ�ำแนก ท�ำใหต้ ้ืนซ่งึ ค�ำสอน
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นโดยพิสดาร ตามที่ท่านพระเขมกะบอกแล้ว แสดงแล้ว
บัญญัติแล้ว แต่งต้ังแล้ว เปดิ เผยแลว้ จำ� แนกแลว้ ท�ำให้ต้นื แลว้ โดยพิสดาร

พรรษาท่ี ๙ 153

ทา่ นเขมกะกลา่ วคำ� นแ้ี ลว้ ภกิ ษทุ งั้ หลายชนื่ ชมยนิ ดภี าษติ ของทา่ นพระเขมกะ
เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวคำ� ไวยากรณ์ภาษิตน้ีอยู่ จิตของภิกษุ ๖๐ รูปและของท่าน
พระเขมกะก็พ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถอื ม่นั

พระสูตรน้ีเป็นพระสูตรท่ีดี เพราะแสดงถึงภูมิปฏิบัติของท่านที่ส�ำเร็จเป็นถึง
ข้ันพระอนาคามีแล้ว คือท่านพระเขมกะ แต่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ซึ่งจิตของท่าน
พระเขมกะผซู้ ึ่งเปน็ อนาคามแี ล้วนนั้ ก็ไมไ่ ด้ยดึ ถือในขันธ์ ๕ แต่ว่ายงั มีความรูส้ ึกว่า
เรามอี ยู่ จงึ ได้เกิดปัญหาขนึ้ วา่ เรามีอยู่ คอื อะไร ทา่ นพระเขมกะจงึ ได้ถามและตอบ
กนั กับทา่ นพระเถระทงั้ หลาย และความก็แจม่ แจ้งในอปุ มาวา่ เหมอื นอย่างผ้าทเ่ี ปอื้ น
ไม่สะอาด และเมื่อไปซักฟอกให้สะอาดด้วยเคร่ืองซักฟอกท้ังหลาย เมื่อผ้าเหล่านั้น
สะอาดแล้ว กล่นิ แหง่ เครื่องซักฟอกนัน้ กย็ งั ตดิ ผ้าอยู่ ก็เหมอื นอย่างจิตของท่านทเ่ี ปน็
พระอนาคามี ก็เป็นจิตท่ีสะอาดแล้ว แต่ว่ายังมีมานะอยู่ คือความส�ำคัญหมายว่า
เรามเี ราเป็นอยู่ ยงั ละไม่ได้ เหมอื นอยา่ งผา้ ทซี่ กั สะอาดแล้ว แตย่ ังมีกล่ินของเครื่อง
ซักฟอกติดอยู่ จึงต้องเอาใส่หีบอบกล่ิน เมื่ออบกลิ่นแล้ว กลิ่นเครื่องซักฟอกน้ัน
กจ็ ะหมดไปจากผา้ เพราะฉะนนั้ จงึ ตอ้ งปฏบิ ตั ติ อ่ ไป ดว้ ยการพจิ ารณาเหน็ เกดิ ดบั ของ
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ย่ิงข้ึน ซ่ึงยังเป็นชนวนอยู่ว่า เรามี ซึ่งเป็นตัวมานะ ซึ่งเปรียบ
เหมอื นอยา่ งกลนิ่ ของเครอื่ งซกั ฟอกทยี่ งั ตดิ ผา้ อยู่ และกลนิ่ นน้ั กจ็ ะหมดไป กเ็ ปน็ อนั วา่
เหมือนอย่างที่ได้พิจารณาความเกิดดับของขันธ์ ๕ ยิ่งขึ้น ความส�ำคัญหมายว่า
เรามเี ราเปน็ นน้ั ก็หมดไป กส็ �ำเรจ็ เปน็ พระอรหนั ต์ ละสังโยชนไดท้ ง้ั ๑๐

ท่านพระเขมกะก็ได้กล่าวเป็นธรรมสากัจฉากับท่านพระเถระท้ังปวงเหล่านี้
เข้าในมงคลคาถาขอ้ วา่ “กาเลน ธมฺมสากจฉฺ า สนทนาธรรมโดยกาล″ และเมอ่ื ต่าง
สนทนากนั ภกิ ษเุ ถระทัง้ ๖๐ รูปกพ็ ้นจากอาสวะเปน็ พระอรหันต์ ท่านพระเขมกะซงึ่
เป็นพระอนาคามีแล้วก็เป็นพระอรหันต์ข้ึน เพราะไม่ยึดม่ัน ข้อนี้เป็นเครื่องแสดงถึง
แนวปฏบิ ตั ทิ างจติ สบื ขน้ึ จากขน้ั เปน็ พระอนาคามเี ปน็ พระอรหนั ต์ โดยอปุ มาอนั เปรยี บ
ด้วยผ้าสะอาดท่ีซักแล้วยังมีกล่ิน คือเป็นอนาคามี เปรียบด้วยผ้าท่ีซักสะอาดแล้ว
ยงั มกี ล่นิ ตอ้ งอบกลิ่น กล่ินหมดจึงจะส�ำเร็จเป็นพระอรหนั ต์ และความส�ำเร็จก็มไี ด้
ดว้ ยการสนทนาธรรมโดยกาลของทา่ นพระเขมกะ และท่านพระเถระท้ัง ๖๐ รูปนั้น

154 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

กม็ คี ำ� ถามวา่ เพราะเหตไุ ร พระเถระทง้ั หลายจงึ สง่ พระทาสกะนนั้ ไป ตอบวา่
ดว้ ยหวงั วา่ เราจกั คอยฟงั ธรรมจากสำ� นกั พระธรรมกถกึ ผมู้ ชี อื่ เสยี ง ถามวา่ เพราะเหตไุ ร
ท่านจึงไม่ไปกันเอง ก็ตอบว่า เพราะป่าอันเป็นท่ีอยู่ของพระเถระคับแคบ ในป่าน้ัน
พระเถระจ�ำนวนต้ัง ๖๐ รปู ไมม่ ีท่วี ่างยนื หรอื นง่ั ได้ เพราะฉะนนั้ ทา่ นเหล่านัน้ จงึ ไม่
ไปเอง แตส่ ง่ ทา่ นพระทาสกะไป ดว้ ยหวงั วา่ ขอทา่ นพระเขมกะจงมากลา่ วธรรมแกเ่ รา
ท้ังหลาย ณ ที่นี้ อนึ่ง หากจะถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระท้ังหลายจึงส่งท่าน
พระทาสกะนั้นไป ก็ตอบว่า เพราะท่านพระเขมกะอาพาธ ถามว่า ถ้าเป็นเช่นน้ัน
เพราะเหตไุ ร จงึ สง่ ไปบอ่ ย กต็ อบวา่ สง่ ไปบอ่ ยกด็ ว้ ยหวงั วา่ ทา่ นพระเขมกะทราบแลว้
จักมากลา่ วธรรมแกเ่ ราทงั้ หลายด้วยตนเองทีเดียว ฝา่ ยทา่ นพระเขมกะทราบอัธยาศัย
ของพระเถระเหลา่ นั้นจงึ ได้เดินไปเอง

สนั ทกสูตร๙๙

วา่ ดว้ ยสันทกปรพิ าชกในกรุงโกสัมพี
สมัยเม่ือพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตเมืองโกสัมพี
สมัยน้ัน สนั ทกปรพิ าชกพรอ้ มดว้ ยปรพิ าชกบริษัทหม่ใู หญ่ประมาณ ๕๐๐ อาศยั อยู่
ณ ถ�้ำปิลักขคูหา ครั้งน้ันเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากท่ีเร้นแล้ว เรียกภิกษุ
ทงั้ หลายวา่ เราทงั้ หลายจะเขา้ ไปยงั บอ่ นำ้� ทน่ี ำ้� ฝนเซาะเพอ่ื จะดถู ำ้� กนั เถดิ ทา่ นพระอานนท์
พรอ้ มดว้ ยภกิ ษเุ ปน็ อนั มากเขา้ ไปยงั บอ่ นำ้� ทนี่ ำ�้ ฝนเซาะ สมยั นนั้ สนั ทกปรพิ าชกนงั่ อยู่
กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ กำ� ลังพูดดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก ด้วยเสียงสูงเสียงใหญ่
อึงคะนึง คือพูดเร่ืองพระราชา เรื่องโจร เร่ืองมหาอ�ำมาตย์ เร่ืองกองทัพ เรื่องภัย
เร่ืองรบ เร่ืองข้าว เร่ืองน�้ำ เร่ืองท่ีนอน เร่ืองดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ
เรื่องยาน เร่ืองบ้าน เรื่องนิคม เร่ืองนคร เร่ืองชนบท เร่ืองสตรี เรื่องคนกล้าหาญ
เรอื่ งตรอก เรอ่ื งทา่ นำ้� เรอื่ งนางกมุ ภทาสคี อื นางทาสตี กั นำ้� ดว้ ยหมอ้ ทที่ า่ นำ้� เรอ่ื งคน
ที่ลว่ งลับไปแลว้ เรอื่ งเบด็ เตลด็ เร่อื งโลก เรื่องทะเล เรอ่ื งความเจริญและความเสอ่ื ม
ด้วยประการน้นั ๆ

๙๙ ม. ม. ๑๓/๒๙๓-๓๑๓/๒๘๘-๓๐๙.

พรรษาท่ี ๙ 155

สันทกปริพาชกไดเ้ หน็ ท่านพระอานนท์กำ� ลงั มาแต่ไกล จงึ หา้ มบรษิ ทั ของตน
ใหส้ งบเสยี งวา่ จงเบาเสียงเถิด อยา่ ท�ำเสียงดงั ตอ่ ไปเลย นี่สาวกของพระสมณโคดม
เปน็ สมณะชอื่ อานนทก์ ำ� ลงั มาอยู่ สมณะชอ่ื อานนทน์ เ้ี ปน็ สาวกองคห์ นงึ่ ในบรรดาสาวก
ของพระสมณโคดมท่อี าศยั อยู่ ณ เมอื งโกสัมพี ก็ทา่ นผู้มอี ายุเหลา่ นน้ั เปน็ ผู้ใครใ่ น
ความเป็นผูม้ ีเสียงเบา แนะนำ� ในความมเี สียงเบา กล่าวสรรเสริญเสยี งเบา ถ้ากระไร
สมณะช่อื อานนทน์ น้ั ทราบว่าบริษัทมีเสยี งเบาแลว้ พึงส�ำคัญทจ่ี ะเขา้ มาใกล้ ล�ำดับนั้น
ปรพิ าชกเหลา่ นนั้ ไดน้ งิ่ อยู่ ทา่ นพระอานนท์ ไดเ้ ขา้ ไปหาปรพิ าชกถงึ ทใี่ กล้ สนั ทกปรพิ าชก
ไดก้ ลา่ วกบั ทา่ นพระอานนทว์ า่ เชญิ มาเถดิ ทา่ นพระอานนทม์ าดแี ลว้ ตอ่ นาน ๆ ทา่ น
พระอานนทจ์ ึงจะไดท้ ำ� เหตุ เพือ่ จะมาในท่นี ี้ เชิญนัง่ เถิดท่านพระอานนท์ น้อี าสนะปู
ไว้แล้ว ท่านพระอานนท์นั่งบนอาสนะท่ีปูไว้แล้ว แม้สันทกปริพาชกถือเอาอาสนะ
อันต�่ำแหง่ หนงึ่ แลว้ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึง่

ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะสันทกปริพาชกว่า ท่านทั้งหลายประชุมสนทนา
กนั เรอื่ งอะไร และเรอ่ื งอะไรทท่ี า่ นทงั้ หลายหยดุ คา้ งไวใ้ นระหวา่ ง สนั ทกปรพิ าชกตอบวา่
เร่ืองที่ข้าพเจ้าทั้งหลายประชุมสนทนาเมื่อตะกี้น้ัน ขอยกไว้เสียเถิด เรื่องน้ันท่าน
พระอานนท์จะได้ฟงั แม้ในภายหลงั โดยไม่ยาก ดีละหนอ ขอทา่ นพระอานนทจ์ งกล่าว
เรอื่ งทเี่ ปน็ ธรรมในลทั ธอิ าจารยข์ องตนใหแ้ จม่ แจง้ เถดิ ทา่ นพระอานนทก์ ลา่ ววา่ ถา้ เชน่
นนั้ ทา่ นจงฟงั จงมนสกิ ารใหด้ ี เราจะกลา่ ว สนั ทกปรพิ าชกรบั คำ� ทา่ นพระอานนทแ์ ลว้
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ลัทธิสมัย อันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
๔ ประการนี้ และพรหมจรรย์อันเวน้ จากความยนิ ดี ๔ ประการ ทว่ี ญิ ญูชนไม่พึงอยู่
ประพฤตพิ รหมจรรยเ์ ลย ถงึ เมอื่ อยปู่ ระพฤติ กพ็ งึ ยงั กศุ ลธรรมเครอื่ งออกไปจากทกุ ข์
ใหส้ ำ� เรจ็ ไมไ่ ด้ อนั พระผมู้ พี ระภาคเจา้ พระองคน์ น้ั ผทู้ รงรู้ ผทู้ รงเหน็ เปน็ พระอรหนั ต์
ตรัสรดู้ ้วยพระองคเ์ องโดยชอบ ตรสั ไวแ้ ลว้ สนั ทกปริพาชกกล่าววา่ กล็ ทั ธิสมัยอนั ไม่
เป็นโอกาสท่ีจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๔ ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์เลย ถงึ เมื่ออยปู่ ระพฤติ ก็พึงยังกศุ ลธรรมเครอื่ งออกไปจากทุกขใ์ หส้ ำ� เร็จ
ไมไ่ ด้ อนั พระผมู้ พี ระภาคเจา้ พระองคน์ น้ั ผทู้ รงรู้ ผทู้ รงเหน็ เปน็ พระอรหนั ต์ ตรสั รดู้ ว้ ย
พระองคเ์ องโดยชอบ ตรัสไว้แลว้ น้นั เปน็ ไฉน

156 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ทา่ นพระอานนทก์ ลา่ ววา่ ศาสดาบางคนในโลกน้ี มปี กตกิ ลา่ วอยา่ งน้ี มคี วาม
เหน็ อยา่ งนว้ี า่ ทานไมม่ ผี ล การบชู าไมม่ ผี ล การเซน่ สรวงไมม่ ผี ล ผลวบิ ากแหง่ กรรม
ที่ท�ำดีท�ำช่ัวไม่มี โลกน้ีไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดข้ึนไม่มี
สมณพราหมณผ์ ดู้ ำ� เนนิ ชอบปฏบิ ตั ชิ อบ ซงึ่ กระทำ� โลกนี้ และโลกหนา้ ใหแ้ จง้ ดว้ ยปญั ญา
อันย่ิงเอง และสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเราน้ีเป็นแต่ประชุมมหาภูตะทั้ง ๔
เมื่อท�ำกาลกริ ิยา ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุนำ�้ ไปตามธาตุน�้ำ ธาตไุ ฟไปตามธาตุไฟ
ธาตลุ มไปตามธาตุลม อินทรีย์ท้ังหลายย่อมเล่อื นลอยไปส่อู ากาศ คนทัง้ หลายมีเตยี ง
เป็นท่ี ๕ จะหามเขาไปเมื่อตายแล้ว ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูก
มีสีดจุ นกพริ าบ การเซน่ สรวงมีเถา้ เป็นท่ีสุด ทานนี้คนเขลาบญั ญัติไว้ คำ� ของคนบาง
คนที่พูดว่า มีผล ๆ ล้วนเป็น ค�ำเปล่า ค�ำเท็จ ค�ำเพ้อ เพราะกายสลาย ท้ังพาล
ทั้งบณั ฑิตยอ่ มขาดสูญ พินาศสน้ิ เบื้องหน้าแตต่ ายไป ยอ่ มไมม่ ี ดั่งน้ี

ท่านพระอานนท์กล่าวต่อไปว่า ในลัทธิของศาสดานน้ั วญิ ญูชนยอ่ มตระหนกั
ดง่ั นวี้ า่ ทา่ นศาสดาผมู้ ปี กตกิ ลา่ วดง่ั นี้ มคี วามเหน็ อยา่ งนวี้ า่ ทานไมม่ ผี ล การบชู าไมม่ ผี ล
การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ท�ำดีท�ำชั่วไม่มี โลกน้ีไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาบดิ าไมม่ ี สตั วท์ ผ่ี ดุ เกดิ ขน้ึ ไมม่ ี สมณพราหมณ์ ผดู้ ำ� เนนิ ชอบปฏบิ ตั ชิ อบ ซงึ่ ทำ�
โลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันย่ิงเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก
คนเรานมี้ แี ตป่ ระชมุ มหาภตู ะทงั้ ๔ เมอ่ื ทำ� กาลกริ ยิ า ธาตดุ นิ กไ็ ปตามธาตดุ นิ ธาตนุ ำ้�
ไปตามธาตุน้�ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ท้ังหลายย่อม
เลอ่ื นลอยไปสอู่ ากาศ คนทงั้ หลายมเี ตยี งเปน็ ที่ ๕ จะหามเขาไปเมอ่ื ตายแลว้ รา่ งกาย
ปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจนกพิราบ การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด
ทานนีค้ นเขลาบัญญตั ิไว้ ค�ำของคนบางคนทีพ่ ูดว่า มผี ล ๆ ล้วนเปน็ คำ� เปล่า ค�ำเท็จ
คำ� เพอ้ เพราะกายสลาย ทง้ั พาลทงั้ บณั ฑติ ยอ่ มขาดสญู พนิ าศสน้ิ เบอ้ื งหนา้ แตต่ ายไป
ย่อมไม่มี ดั่งน้ี ถ้าค�ำของศาสดาน้ีเป็นค�ำจริง กรรมในลัทธิน้ีที่ข้าพเจ้าไม่ได้ท�ำเลย
กเ็ ปน็ อนั ทำ� แลว้ พรหมจรรยใ์ นลทั ธนิ ท้ี ข่ี า้ พเจา้ ไมไ่ ดอ้ ยปู่ ระพฤตเิ ลย กเ็ ปน็ อนั อยแู่ ลว้
ขา้ พเจา้ ไม่ได้กล่าววา่ เพราะกายสลาย แม้เราทง้ั ๒ จะขาดสูญพินาศสน้ิ เบอื้ งหน้า
แตต่ ายไป จะไมม่ ี ด่ังน้ี แมเ้ ราทั้ง ๒ กช็ ่ือว่า เปน็ ผ้เู สมอกนั ถึงความเป็นผู้เสมอกัน

พรรษาที่ ๙ 157

ในลัทธินี้ ที่ยิ่งกว่ากันก็คือ ความที่ท่านศาสดาน้ีเป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคน
ศรี ษะโลน้ กระทำ� ความเพยี รในการเดนิ กระโหยง่ ถอนผมและหนวด เมอื่ เราอยคู่ รองเรอื น
นอนเบยี ดกบั บตุ ร ประพรมแกน่ จนั ทนเ์ มอื งกาสี ทรงดอกไมข้ องหอมและเครอื่ งลบู ไล้
ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอกันกับท่านศาสดาน้ีในภพหน้าได้ เรานั้นรู้
อะไรเห็นอะไรอยู่ จึงจกั ประพฤตพิ รหมจรรยใ์ นศาสดาน้ี วญิ ญูชนนน้ั คร้นั รวู้ ่าลัทธนิ ี้
ไม่เป็นโอกาสท่ีจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ด่ังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย หลีกไปจาก
พรหมจรรยน์ ี้ ลทั ธอิ นั ไมเ่ ปน็ โอกาสทจี่ ะอยปู่ ระพฤตพิ รหมจรรยไ์ ด้ ทวี่ ญิ ญชู นไมพ่ งึ อยู่
ประพฤตพิ รหมจรรยเ์ ลย ถงึ เมอ่ื อยปู่ ระพฤติ กพ็ งึ ยงั กศุ ลธรรมเครอ่ื งออกไปจากทกุ ข์
ให้ส�ำเร็จไม่ได้ เป็นประการท่ี ๑ น้ีแล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ผู้ทรงเหน็ เป็นพระอรหนั ต์ ตรัสร้ดู ้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไวแ้ ล้ว

ท่านพระอานนท์กล่าวต่อไปว่า อีกประการหน่ึง ศาสดาบางคนในโลกนี้
มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างน้ีว่า เมื่อบุคคลท�ำเอง ใช้ให้ผู้อื่นท�ำ ตัดเอง
ใชใ้ หผ้ ู้อื่นตัด เบยี ดเบยี นเอง ใชใ้ ห้ผู้อนื่ เบียดเบียน ท�ำเขาให้เศรา้ โศกเอง ใชผ้ อู้ ่นื ทำ�
เขาให้เศร้าโศก ท�ำเขาให้ล�ำบากเอง ใช้ผู้อ่ืนท�ำเขาให้ล�ำบาก ท�ำเขาให้ด้ินรนเอง
ใช้ผอู้ นื่ ท�ำเขาให้ดิน้ รน ฆ่าสัตวเ์ อง ใชผ้ ูอ้ ื่นใหฆ้ ่า ลกั ทรัพยเ์ อง ใช้ผู้อ่นื ใหล้ กั ตัดทีต่ ่อ
ปล้นไม่ให้เหลือ ท�ำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ท่ีทางเปลี่ยว ท�ำชู้ภรรยาเขา
พูดเท็จ ผู้ท�ำไม่ชื่อว่าท�ำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน
สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานเน้ืออันเดียวกัน ให้เป็นกองเน้ืออันเดียวกัน
บาปที่มีการท�ำเชน่ น้ันเปน็ เหตยุ อ่ มไม่มแี กเ่ ขา ไมม่ บี าปมาถงึ เขา แม้หากบคุ คลจะไป
ยังฝ่ังขวาแหง่ แมน่ ำ�้ คงคา ฆา่ เอง ใช้ใหผ้ ู้อื่นฆา่ ตัดเอง ใชใ้ หผ้ ู้อนื่ ตดั เบียดเบยี นเอง
ใชใ้ หผ้ อู้ น่ื เบยี ดเบยี น บาปทมี่ กี ารทำ� เชน่ นน้ั เปน็ เหตยุ อ่ มไมม่ แี กเ่ ขา ไมม่ บี าปมาถงึ เขา
แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น�้ำคงคา ให้ทานเอง ใช้ให้ผู้อ่ืนให้ทาน บูชาเอง
ใช้ให้ผู้อื่นให้บูชา บุญท่ีมีการท�ำเช่นน้ันเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา
ดว้ ยการใหท้ าน การอบรมอนิ ทรีย์ การสำ� รวมในศีล การกล่าวค�ำสัตย์ บุญย่อมไม่มี
แกเ่ ขา ไม่มีบญุ มาถึงเขา ด่ังน้ี

158 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ท่านพระอานนท์กล่าวต่อไปว่า ในลัทธิท่านศาสดานี้ วิญญูชนย่อมเห็น
ทราบตระหนักด่ังน้ีว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างน้ี มีความเห็นอย่างนี้ว่า
เมอ่ื บคุ คลทำ� เอง ใชใ้ หผ้ อู้ นื่ ทำ� ตดั เอง ใชใ้ หผ้ อู้ นื่ ตดั เบยี ดเบยี นเอง ใชใ้ หผ้ อู้ น่ื เบยี ดเบยี น
ทำ� เขาใหเ้ ศรา้ โศกเอง ใช้ผู้อนื่ ท�ำเขาให้เศรา้ โศก ท�ำเขาให้ล�ำบากเอง ใชผ้ ู้อน่ื ทำ� เขาให้
ล�ำบาก ท�ำเขาให้ด้ินรนเอง ใช้ผู้อื่นท�ำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์เอง ใช้ผู้อ่ืนให้ฆ่า
ลกั ทรพั ยเ์ อง ใชผ้ ู้อ่นื ใหล้ ัก ตดั ทต่ี อ่ ปลน้ ไม่ให้เหลือ ทำ� โจรกรรมในเรอื นหลังเดียว
ซุ่มอยู่ที่ทางเปล่ียว ท�ำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ท�ำไม่ช่ือว่าท�ำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้
จกั รซง่ึ มคี มโดยรอบเหมอื นมดี โกน สงั หารเหลา่ สตั วใ์ นปฐพนี ใ้ี หเ้ ปน็ ลานเนอื้ อนั เดยี วกนั
ใหเ้ ปน็ กองเนอ้ื อนั เดยี วกนั บาปทม่ี กี ารทำ� เชน่ นนั้ เปน็ เหตุ ยอ่ มไมม่ แี กเ่ ขา ไมม่ บี าป
มาถงึ เขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝง่ั ขวาแห่งแม่น�ำ้ คงคา ฆ่าเอง ใชใ้ ห้ผูอ้ ่ืนฆา่ ตดั เอง
ใช้ให้ผู้อ่ืนตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปท่ีมีการท�ำเช่นน้ันเป็นเหตุ
ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้�ำคงคา
ใหท้ านเอง ใชใ้ หผ้ อู้ ืน่ ใหท้ าน บูชาเอง ใชใ้ ห้ผอู้ น่ื บชู า บุญท่ีมีการทำ� เช่นนั้นเปน็ เหตุ
ยอ่ มไมม่ แี กเ่ ขา ไมม่ บี ญุ มาถงึ เขา ดว้ ยการใหท้ าน การอบรมอนิ ทรยี ์ การสำ� รวมในศลี
การกล่าวคำ� สัตย์ บุญย่อมไม่มแี ก่เขา ไมม่ บี ุญมาถึงเขา ดงั่ น้ี ถ้าคำ� ของศาสดานเ้ี ปน็
คำ� จริง กรรมในลทั ธิน้ที ขี่ า้ พเจ้าไมไ่ ด้ท�ำเลย ก็เป็นอนั ทำ� แลว้ พรหมจรรยใ์ นลทั ธิน้ที ี่
ขา้ พเจ้าไม่ได้อยู่ประพฤติเลย กเ็ ป็นอันอยแู่ ล้ว ขา้ พเจ้าไมไ่ ดก้ ล่าวว่า เราทงั้ ๒ ผ้ทู �ำ
ไมช่ ่อื ว่าทำ� บาป ดงั่ นี้ แมเ้ ราท้ัง ๒ ก็ชอ่ื ว่า เปน็ ผเู้ สมอกัน ถงึ ความเป็นผู้เสมอกนั ใน
ลทั ธนิ ี้ ทย่ี งิ่ กวา่ กนั กค็ อื ความทท่ี า่ นศาสดานเี้ ปน็ ผปู้ ระพฤตเิ ปลอื ยกาย เปน็ คนศรี ษะโลน้
ทำ� ความเพยี รในการเดนิ กระโหยง่ ถอนผมและหนวด เมอ่ื เราอยคู่ รองเรอื น นอนเบยี ด
กบั บตุ ร ประพรมแกน่ จนั ทนเ์ มอื งกาสี ทรงดอกไมข้ องหอมและเครอ่ื งลบู ไล้ ยนิ ดที อง
และเงนิ อยู่ กจ็ กั เปน็ ผมู้ คี ตเิ สมอ กบั ทา่ นศาสดานใ้ี นภพหนา้ ได้ เรานน้ั รอู้ ะไรเหน็ อะไรอยู่
จงึ จักประพฤตพิ รหมจรรย์ในศาสดาน้ี วญิ ญูชนนั้น ครัน้ รวู้ า่ ลัทธิน้ีไม่เป็นโอกาสทจี่ ะ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดั่งนี้แล้ว ย่อมเบ่ือหน่าย หลีกไปจากพรหมจรรย์น้ัน
ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสท่ีจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ ท่ีวิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ประพฤติ ก็พึงยังกศุ ลธรรมเคร่อื งออกไปจากทกุ ขใ์ หส้ �ำเรจ็
ไม่ได้ เปน็ ประการ ท่ี ๒ น้แี ล อนั พระผูม้ ีพระภาคพระองค์นั้น ผทู้ รงรู้ ผู้ทรงเหน็
เปน็ พระอรหนั ต์ตรสั รู้ด้วยพระองคเ์ องโดยชอบ ตรสั ไวแ้ ลว้

พรรษาที่ ๙ 159

ท่านพระอานนท์กล่าวต่อไปว่า อีกประการหน่ึง ศาสดาบางคนในโลกน้ี
มปี กตกิ ลา่ วอยา่ งน้ี มคี วามเหน็ อยา่ งนว้ี า่ ไมม่ เี หตไุ มม่ ปี จั จยั เพอื่ ความเศรา้ หมองแหง่
สตั วท์ ง้ั หลาย สตั วท์ ง้ั หลายหาเหตหุ าปจั จยั มไิ ด้ ยอ่ มเศรา้ หมองเอง ไมม่ เี หตไุ มม่ ปี จั จยั
เพอื่ ความบรสิ ทุ ธแ์ิ หง่ สตั วท์ ง้ั หลาย สตั วท์ งั้ หลายหาเหตหุ าปจั จยั มไิ ด้ ยอ่ มบรสิ ทุ ธเิ์ อง
ไมม่ กี ำ� ลงั ไมม่ คี วามเพยี ร ไมม่ เี รยี่ วแรงของบรุ ษุ ไมม่ คี วามบากบนั่ ของบรุ ษุ สตั วท์ งั้ ปวง
ปาณะทั้งปวง ภูตะทั้งปวง ชีวะท้ังปวง ล้วนไม่มีอ�ำนาจ ไม่มีก�ำลัง ไม่มีความเพียร
แปรไปตามเคราะห์ดเี คราะหร์ ้าย ตามความประจวบ ตามความเป็นเอง ยอ่ มเสวยสขุ
เสวยทกุ ขใ์ นอภชิ าติทั้ง ๖ เทา่ นนั้

ทา่ นพระอานนทก์ ลา่ วตอ่ ไปวา่ ในลทั ธขิ องศาสดานนั้ วญิ ญชู นยอ่ มเหน็ ตระหนกั
ดง่ั นว้ี า่ ทา่ นศาสดาผมู้ ปี กตกิ ลา่ วอยา่ งนี้ มคี วามเหน็ อยา่ งนว้ี า่ ไมม่ เี หตไุ มม่ ปี จั จยั เพอื่
ความเศรา้ หมองแหง่ สตั วท์ งั้ หลาย สตั วท์ ง้ั หลายหาเหตหุ าปจั จยั มไิ ด้ ยอ่ มเศรา้ หมองเอง
ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพ่ือความบริสุทธ์ิแห่งสัตว์ท้ังหลาย สัตว์ท้ังหลายหาเหตุหาปัจจัย
มิได้ ย่อมบรสิ ุทธ์ิเอง ไมม่ ีกำ� ลัง ไม่มคี วามเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไมม่ ีความ
บากบน่ั ของบรุ ษุ สตั วท์ ง้ั ปวง ปาณะทง้ั ปวง ภตู ะทง้ั ปวง ชวี ะทง้ั ปวง ลว้ นไมม่ อี ำ� นาจ
ไม่มีก�ำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ตามความประจวบ
ตามความเปน็ เอง ยอ่ มเสวยสขุ เสวยทกุ ขใ์ นอภชิ าตทิ งั้ ๖ เทา่ นน้ั ดง่ั นี้ ถา้ คำ� ของทา่ น
ศาสดานเ้ี ปน็ คำ� จรงิ กรรมในลทั ธนิ ท้ี ขี่ า้ พเจา้ ไมไ่ ดท้ ำ� เลย กเ็ ปน็ อนั ทำ� แลว้ พรหมจรรย์
ในลทั ธนิ ท้ี ข่ี า้ พเจา้ ไมไ่ ดอ้ ยปู่ ระพฤตเิ ลย กเ็ ปน็ อนั อยแู่ ลว้ ขา้ พเจา้ ไมไ่ ดก้ ลา่ ววา่ เราทงั้
๒ หาเหตุหาปัจจัยมิได้ จักบริสุทธ์ิเอง ด่ังนี้ แม้เราท้ัง ๒ ก็ช่ือว่า เป็นผู้เสมอกัน
ถงึ ความเปน็ ผเู้ สมอกนั ในลทั ธนิ ี้ ทยี่ ง่ิ กวา่ กนั กค็ อื ความทที่ า่ นศาสดานี้ เปน็ ผปู้ ระพฤติ
เปลอื ยกาย เปน็ คนศรี ษะโล้น ท�ำความเพียรในการเดินกระโหยง่ ถอนผมและหนวด
เม่ือเราอยู่ครองเรือน นอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้
ของหอมและเครอ่ื งลบู ไล้ ยนิ ดที องและเงนิ อยู่ กจ็ กั เปน็ ผมู้ คี ตเิ สมอกนั กบั ทา่ นศาสดา
นใ้ี นภพหนา้ ได้ เรานน้ั รอู้ ะไรเหน็ อะไรอยู่ จงึ จกั ประพฤตพิ รหมจรรยใ์ นศาสดานี้ วญิ ญชู นนน้ั
ครน้ั ร้วู า่ ลัทธนิ ้ไี มเ่ ปน็ โอกาสที่จะอยปู่ ระพฤตพิ รหมจรรยไ์ ดด้ ัง่ นแี้ ล้ว ยอ่ มเบอ่ื หน่าย
หลกี ไปจากพรหมจรรยน์ น้ั ลทั ธอิ นั ไมเ่ ปน็ โอกาสทจี่ ะอยปู่ ระพฤตพิ รหมจรรย์ ทว่ี ญิ ญชู น
ไมพ่ ึงอยู่ประพฤตพิ รหมจรรยเ์ ลย ถึงเมอื่ อยู่ประพฤติ ก็พงึ ยังกศุ ลธรรมเครอ่ื งออกไป

160 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

จากทุกข์ให้ส�ำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๓ น้ีแล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์น้ัน
ผู้ทรงรู้ ผทู้ รงเหน็ เป็นพระอรหันต์ ตรสั รดู้ ้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรสั ไวแ้ ล้ว

ท่านพระอานนท์กล่าวต่อไปว่า อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกน้ี
มปี กตกิ ลา่ วอยา่ งนี้ มคี วามเหน็ อยา่ งนว้ี า่ สภาวะ ๗ กองเหลา่ นไ้ี มม่ ใี ครทำ� ไมม่ แี บบ
อยา่ งอนั ใครทำ� ไมม่ ใี ครเนรมติ ไมม่ ใี ครใหเ้ นรมติ เปน็ หมนั ตง้ั อยมู่ นั่ คง ดจุ ยอดภเู ขา
ตง้ั อยมู่ นั่ คงดจุ เสาระเนยี ด สภาวะ ๗ กองเหลา่ นไ้ี มห่ วน่ั ไหว ไมแ่ ปรปรวน ไมเ่ บยี ดเบยี น
กนั และกนั ไมอ่ าจใหเ้ กดิ สขุ หรอื ทกุ ขห์ รอื ทง้ั สขุ และทกุ ขแ์ กก่ นั และกนั สภาวะ ๗ กอง
คือ กองดิน กองน้�ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ และชวี ะเป็นที่ ๗ สภาวะ ๗ กองนี้
ไม่มีใครท�ำ ไม่มีแบบอย่างอันใครท�ำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีใครให้เนรมิต เป็นหมัน
ตงั้ อยมู่ นั่ คงดจุ ยอดภเู ขา ตงั้ อยมู่ น่ั คงดจุ เสาระเนยี ด สภาวะ ๗ กองเหลา่ นไ้ี มห่ วนั่ ไหว
ไม่แปรปรวน ไมเ่ บียดเบยี นกนั และกนั ไมอ่ าจให้เกิดสขุ หรือทกุ ขห์ รือท้ังสขุ และทกุ ข์
แกก่ นั และกนั ผฆู้ า่ เองกด็ ี ผใู้ ชใ้ หฆ้ า่ กด็ ี ผไู้ ดย้ นิ กด็ ี ผกู้ ลา่ วใหไ้ ดย้ นิ ดกี ด็ ี ผเู้ ขา้ ใจความ
ก็ดี ผทู้ ำ� ให้เขา้ ใจความกด็ ี ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนนั้ เพราะแม้บคุ คลจักเอาศสั ตรา
อยา่ งคม ตดั ศรี ษะกนั กไ็ มช่ อื่ วา่ ใครๆปลงชวี ติ ใครๆ เปน็ แตศ่ สั ตราสอดไปในชอ่ งแหง่
สภาวะ ๗ กองเท่านั้น ดัง่ น้ี กแ็ ต่ก�ำเนิดที่เปน็ ประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐
กรรม ๕ กรรม ๓ กรรม ๑ คร่ึงกรรม ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภชิ าต ๖
ปรุ สิ ภมู ิ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาคาวาส ๔,๙๐๐ อนิ ทรยี ์ ๒,๐๐๐
นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สญั ญคี รรภ์ ๗ อสัญญคี รรภ์ ๗ นคิ นั ถครรภ์ ๗ เทวดา
๗ มนุษย์ ๗ ปศี าจ ๗ สระ ๗ ตาไม้ ๗ หิน ๗ เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐
มหาสบุ ิน ๗ สุบนิ ๗๐๐ มหากปั ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ที่พาลและบัณฑิตเรร่ อ่ นท่อง
เทย่ี วไปแลว้ จกั ทำ� ทสี่ ุดทุกขไ์ ด้ ความสมหวังว่า เราจกั บม่ กรรมที่ยงั ไม่อ�ำนวยผลให้
อ�ำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อ�ำนวยผลแล้ว จักท�ำให้สุดส้ินด้วยศีล
ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือดว้ ยพรหมจรรยน์ ้ี ไม่มีในทนี่ นั้ สุขทกุ ขท์ ่ที ำ� ใหม้ ที ส่ี ้ินสดุ ได้
เหมอื นตวงของใหห้ มดดว้ ยทะนาน ยอ่ มไม่มใี นสงสารหรอื สงั สาระดว้ ยอาการอยา่ งน้ี
เลย ไม่มีความเส่ือมความเจริญ ไม่มีการเล่ือนข้ึนเล่ือนลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อน
ทอ่ งเท่ียวไป จักท�ำท่ีสุดทกุ ข์ไดเ้ อง เหมือนกลุม่ ดา้ ยทีบ่ คุ คลขวา้ งไป ย่อมคลห่ี มดไป
เองฉะนน้ั ด่ังนี้

พรรษาท่ี ๙ 161

ท่านพระอานนท์กล่าวต่อไปว่า ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็น
ตระหนักดั่งน้ีว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗
กองเหล่านี้ไม่มีใครท�ำ ไม่มีแบบอย่างอันใครท�ำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีใครให้เนรมิต
เป็นหมัน ตัง้ อย่มู น่ั คงดุจยอดภเู ขา ตง้ั อยู่ม่ันคงดุจเสาระเนยี ด สภาวะ ๗ กองเหลา่
นัน้ ไมห่ วั่นไหว ไม่แปรปรวน ไมเ่ บยี ดเบียนกนั และกนั ไมอ่ าจทำ� ให้เกิดสขุ หรอื ทกุ ข์
หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน สภาวะ ๗ กอง คือกอง ดิน กองน�้ำ กองไฟ
กองลม สขุ ทกุ ข์ และชวี ะเปน็ ท่ี ๗ สภาวะ ๗ กองน้ี ไมม่ ีใครท�ำ ไม่มีแบบอยา่ งอัน
ใครท�ำ ไมม่ ใี ครเนรมติ ไมม่ ใี ครใหเ้ นรมติ เป็นหมนั ตัง้ อยู่มนั่ คงดจุ ยอดภูเขา ต้ังอยู่
มนั่ คงดจุ เสาระเนยี ด สภาวะ ๗ กองเหลา่ นน้ั ไมห่ วน่ั ไหว ไมแ่ ปรปรวน ไมเ่ บยี ดเบยี น
กันและกัน ไม่อาจท�ำให้เกิดสุขหรือ ทุกข์หรือท้ังสุขและทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเอง
กด็ ี ผใู้ ชใ้ หฆ้ า่ กด็ ี ผไู้ ดย้ นิ กด็ ี ผกู้ ลา่ วใหไ้ ดย้ นิ กด็ ี ผเู้ ขา้ ใจความกด็ ี ผทู้ ำ� ใหเ้ ขา้ ใจความ
ก็ดี ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น เพราะแม้บุคคลจะเอาศัสตราอย่างคมตัดศีรษะกัน
กไ็ มช่ อื่ วา่ ใคร ๆ ปลงชวี ติ ใคร ๆ เปน็ แตศ่ สั ตราสอดไปในชอ่ งแหง่ สภาวะ ๗ กองเทา่ นน้ั
ดง่ั น้ี ก็แตก่ ำ� เนิดท่ีเปน็ ประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ ครง่ึ
กรรม ปฏิปทา ๖๒ อนั ตรกัป ๖๒ อภิชาต ๖ ปรุ ิสภูมิ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก
๔,๙๐๐ นาคาวาส ๔,๙๐๐ อนิ ทรยี ์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สญั ญคี รรภ์
๗ อสญั ญีครรภ์ ๗ นิคนั ถครรภ์ ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปศี าจ ๗ สระ ๗ ตาไม้
๗ หนิ ๗ เหวใหญ่ ๗ เหวนอ้ ย ๗๐๐ มหาสบุ นิ ๗ สบุ นิ ๗๐๐ มหากปั ๘,๔๐๐,๐๐๐
เหลา่ นท้ี พ่ี าลและบณั ฑติ เรร่ อ่ นทอ่ งเทยี่ วไปแลว้ จกั ทำ� ทสี่ ดุ ทกุ ขไ์ ด้ ความสมหวงั วา่ เรา
จกั บม่ กรรมทย่ี งั ไมอ่ ำ� นวยผลใหอ้ ำ� นวยผล หรอื เราสมั ผสั ถกู ตอ้ งกรรมทอี่ ำ� นวยผลแลว้
จักท�ำให้สุดส้ินด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ ไม่มีในท่ีนั้น
สขุ ทกุ ขท์ ที่ ำ� ใหม้ ที ส่ี นิ้ สดุ ได้ เหมอื นตวงของใหห้ มดดว้ ยทะนาน ยอ่ มไมม่ ใี นสงสารหรอื
สังสาระด้วยอาการอย่างน้ีเลย ไม่มีความเส่ือมความเจริญ ไม่มีการเลื่อนข้ึนเล่ือนลง
พาลและบณั ฑติ เรร่ อ่ นทอ่ งเทยี่ วไป จกั ทำ� ทสี่ ดุ ทกุ ขไ์ ดเ้ อง เหมอื นกลมุ่ ดา้ ยทบ่ี คุ คลขวา้ งไป
ย่อมคลีห่ มดไปเอง ฉะนน้ั ดงั่ นี้ ถ้าค�ำของท่านศาสดาน้เี ปน็ คำ� จรงิ กรรมในลทั ธินท้ี ่ี
ขา้ พเจา้ ไมไ่ ดท้ ำ� เลย กเ็ ปน็ อนั ทำ� แลว้ พรหมจรรยใ์ นลทั ธนิ ที้ ปี่ ระพฤตไิ มไ่ ดอ้ ยปู่ ระพฤตเิ ลย
กเ็ ปน็ อนั อยูแ่ ล้ว ขา้ พเจ้ามิได้กล่าววา่ เราทั้ง ๒ เร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้ว จกั ท�ำทสี่ ุด

162 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

ทกุ ข์ได้ ดั่งนี้ แมเ้ ราท้งั ๒ ก็ชอื่ ว่า เป็นผู้เสมอกนั ถงึ ความเปน็ ผู้เสมอกนั ในลัทธิน้ี
ที่ย่ิงกว่ากันก็คือ ความที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น
ทำ� ความเพยี รในการเดนิ กระโหยง่ ถอนผมและหนวด เมอื่ เราอยคู่ รองเรอื น นอนเบยี ด
กบั บตุ ร ประพรมแกน่ จนั ทนเ์ มอื งกาสี ทรงดอกไมข้ องหอมและเครอ่ื งลบู ไล้ ยนิ ดที อง
และเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอกันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไรเห็น
อะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนน้ันครั้นรู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็น
โอกาสทจี่ ะอยปู่ ระพฤตพิ รหมจรรยไ์ ดด้ ง่ั นแ้ี ลว้ ยอ่ มเบอ่ื หนา่ ย หลกี ไปจากพรหมจรรย์
นั้น ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรยเ์ ลย ถึงเม่ืออย่ปู ระพฤติ กพ็ งึ ยังกศุ ลธรรมเครือ่ งออกไปจากทกุ ขใ์ หส้ ำ� เรจ็
ไม่ได้ เป็นประการท่ี ๔ นแี้ ล อันพระผมู้ ีพระภาคเจา้ พระองคน์ ้นั ผทู้ รงรู้ ผทู้ รงเหน็
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรสั ไวแ้ ล้ว

ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสท่ีจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่
ประพฤตพิ รหมจรรยเ์ ลย ถงึ เมอ่ื อยปู่ ระพฤติ กพ็ งึ ยงั กศุ ลธรรมเครอื่ งออกไป จากทกุ ข์
ใหส้ ำ� เรจ็ ไมไ่ ด้ ๔ ประการนแ้ี ล อนั พระผมู้ พี ระภาคเจา้ พระองคน์ นั้ ผทู้ รงรู้ ผทู้ รงเหน็
เป็นพระอรหันต์ ตรสั รดู้ ้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว

สนั ทกปรพิ าชกกลา่ วกบั ทา่ นพระอานนทว์ า่ ขอ้ ทพี่ ระผมู้ พี ระภาคเจา้ พระองค์
นน้ั ผู้ทรงรู้ ผูท้ รงเหน็ เปน็ พระอรหันต์ ตรัสรู้ดว้ ยพระองคเ์ องโดยชอบ ตรสั ลทั ธอิ ัน
ไม่เป็นโอกาสท่ีจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๔ ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรยเ์ ลย ถงึ เมือ่ อยูป่ ระพฤติ ก็พึงยังกุศลธรรมเคร่อื งออกไปจากทุกข์ใหส้ ำ� เรจ็
ไมไ่ ด้ นา่ อศั จรรย์ ไมเ่ คยมี กพ็ รหมจรรยอ์ นั เวน้ จากความยนิ ดี ๔ ประการ ทว่ี ญิ ญชู น
ไมพ่ งึ อยปู่ ระพฤติพรหมจรรยเ์ ลย ถึงเมือ่ อยปู่ ระพฤติ กพ็ ึงยังกุศลธรรมเครือ่ งออกไป
จากทุกขใ์ ห้สำ� เร็จไม่ได้ อันพระผ้มู พี ระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ ผทู้ รงเห็น เป็นพระอรหันต์
ตรสั รู้ด้วยพระองคเ์ องโดยชอบ ตรสั ไวแ้ ล้ว เป็นไฉน

ทา่ นพระอานนทไ์ ดก้ ลา่ ววา่ ศาสดาบางคนในโลกน้ี ตง้ั ตนเปน็ สพั พญั ญู รเู้ หน็
ธรรมทง้ั ปวง ปฏญิ ญาความรคู้ วามเหน็ อนั ไมม่ สี ว่ นเหลอื วา่ เมอ่ื เราเดนิ อยกู่ ด็ ี หยดุ อยู่
ก็ดี หลบั อยกู่ ด็ ี ต่นื อยู่กด็ ี ความรคู้ วามเห็นปรากฏเสมอเปน็ นิตย์ ศาสดานน้ั เข้าไปสู่

พรรษาที่ ๙ 163

เรอื นวา่ งบา้ ง ไมไ่ ดก้ อ้ นขา้ วบา้ ง สนุ ขั กดั เอาบา้ ง พบชา้ งดบุ า้ ง พบมา้ ดบุ า้ ง พบโคดบุ า้ ง
ถามถึงช่ือบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ถามถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง
ของบ้านบ้าง ของนคิ มบา้ ง เมอ่ื ถูกถามวา่ น่อี ะไร ก็ตอบเขาวา่ เราเขา้ ไปส่เู รือนว่าง
ด้วยกจิ ทเ่ี ราจ�ำตอ้ งเข้าไป เราไม่ได้ ก้อนข้าวดว้ ยเหตุทีเ่ ราไม่ควรได้ เราเปน็ ผ้ถู กู สนุ ัข
กัดด้วยเหตุทค่ี วรถูกกัด เราพบช้างดุดว้ ยเหตทุ ี่ควรพบ เราพบม้าดุด้วยเหตทุ ่ีควรพบ
เราพบโคดุดว้ ยเหตุที่ควรพบ เราถามถึงชื่อบ้าง โคตรบา้ ง ของหญงิ บา้ ง ของชายบา้ ง
ด้วยเหตุท่คี วรถาม เราถามถงึ ชือ่ บ้าง ทางบ้าง ของบา้ นบ้าง ของนคิ มบา้ ง ด้วยเหตุที่
ควรถาม ในพรหมจรรยข์ องศาสดานนั้ วญิ ญชู นยอ่ มตระหนกั ดง่ั นว้ี า่ ศาสดาซงึ่ ตง้ั ตวั เปน็
สัพพัญญู รู้เห็นธรรมท้ังปวง ปฏิญญาความรู้ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือว่า เม่ือเรา
เดนิ อยกู่ ด็ ี หยดุ อยกู่ ด็ ี หลบั อยกู่ ด็ ี ตน่ื อยกู่ ด็ ี ความรคู้ วามเหน็ ปรากฏเสมอ เปน็ นติ ย์
ศาสดาน้ันเข้าไปสู่เรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง สุนัขกัดเอาบ้าง พบช้างดุบ้าง
พบมา้ ดบุ า้ ง พบโคดบุ า้ ง ถามถงึ ชอ่ื บา้ ง โคตรบา้ ง ของหญงิ บา้ ง ของชายบา้ ง ถามถงึ
ชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง ศาสดาน้ัน เมื่อถูกถามว่า น่ีอะไร
ก็ตอบเขาว่า เราเขา้ ไปสู่เรือนว่างดว้ ยกจิ ทีเ่ ราจ�ำต้องเขา้ ไป เราไมไ่ ด้กอ้ นขา้ วด้วยเหตุ
ทเ่ี ราไมค่ วรได้ เราเปน็ ผถู้ กู สนุ ขั กดั ดว้ ยเหตทุ คี่ วรถกู กดั เราพบชา้ งดดุ ว้ ยเหตทุ ค่ี วรพบ
เราพบมา้ ดดุ ว้ ยเหตทุ คี่ วรพบ เราพบโคดดุ ว้ ยเหตทุ ค่ี วรพบ เราถามถงึ ชอ่ื บา้ ง โคตรบา้ ง
ของหญงิ บา้ ง ของชายบา้ ง ดว้ ยเหตทุ คี่ วรถาม เราถามถงึ ชอ่ื บา้ ง หนทางบา้ ง ของบา้ น
บ้าง ของนคิ มบา้ ง ดว้ ยเหตทุ ีค่ วรถาม ดงั่ น้ี วญิ ญชู นนั้นครนั้ รูว้ ่า พรหมจรรยน์ ีเ้ ว้น
จากความยนิ ดดี งั่ นแ้ี ลว้ ยอ่ มเบอ่ื หนา่ ย หลกี ไปจากพรหมจรรยน์ นั้ พรหมจรรยอ์ นั เวน้
จากความยินดี ที่วญิ ญูชนไมพ่ ึงอยปู่ ระพฤติพรหมจรรยเ์ ลย ถงึ เม่ืออยปู่ ระพฤติ ก็พงึ
ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้ส�ำเร็จไม่ได้ ประการที่ ๑ นี้แล อันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองคน์ ้นั ผู้ทรงรู้ ผ้ทู รงเห็น เปน็ พระอรหันต์ ตรสั ร้ดู ว้ ยพระองคเ์ อง
โดยชอบ ตรัสไว้แลว้

อีกประการหน่ึง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกันมา
เปน็ ผ้เู ชือ่ วา่ จรงิ ด้วยการฟงั ตามกนั มา ศาสดานนั้ จึงแสดงธรรมโดยการฟังตามกันมา
โดยสบื ๆ กนั มาวา่ อยา่ งไรนน้ั ๆ โดยอา้ งตำ� รา กเ็ มอ่ื ศาสดาเชอื่ ถอื การฟงั ตามกนั มา

164 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

เชื่อว่าจริงด้วยการฟังตามกันมาแล้ว ย่อมมีการฟังดีบ้าง มีการฟังช่ัวบ้าง เป็นอย่าง
น้ันบ้าง เปน็ อย่างอ่นื บ้าง ในพรหมจรรยข์ องศาสดานัน้ วิญญูชนยอ่ มทราบตระหนัก
ดั่งน้ีว่า ท่านศาสดาน้ีเป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกันมา เป็นผู้เช่ือว่าจริงด้วยการฟังตาม
กนั มา ทา่ นศาสดาผนู้ นั้ แสดงธรรมโดยการฟงั ตามกนั มา โดยสบื ๆ กนั มาวา่ อยา่ งนนั้ ๆ
โดยอ้างตำ� รา ก็เม่ือศาสดาเชอื่ ถือการฟงั ตามกันมา เชือ่ วา่ จริงด้วยการฟงั ตามกนั มา
แล้ว ย่อมมีการฟังดีบ้าง การฟังช่ัวบ้าง เป็นอย่างน้ันบ้าง เป็นอย่างอ่ืนบ้าง ดั่งน้ี
วิญญูชนนั้น ครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์น้ี เว้นจากความยินดีด่ังน้ีแล้ว ย่อมเบื่อหน่าย
หลีกไปเสยี จากพรหมจรรยน์ ้ัน พรหมจรรย์อันเวน้ จากความยนิ ดี ที่วิญญูชนไมพ่ งึ อยู่
ประพฤตพิ รหมจรรยเ์ ลย ถงึ เมอ่ื อยปู่ ระพฤติ กพ็ งึ ยงั กศุ ลธรรมเครอื่ งออกไปจากทกุ ข์
ใหส้ ำ� เรจ็ ไมไ่ ด้ ประการ ท่ี ๒ นแ้ี ล อนั พระผมู้ พี ระภาคเจา้ พระองคน์ นั้ ผทู้ รงรู้ ผทู้ รงเหน็
เปน็ พระอรหนั ต์ ตรัสร้ดู ว้ ยพระองคเ์ องโดยชอบ ตรสั ไวแ้ ลว้

อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้ใช้ความตรึก เป็นผู้ใช้ความ
พิจารณา ศาสดานั้นจึงแสดงธรรมตามปฏิภาณของตน เทียบเหตุตามความท่ีตนตรึก
คลอ้ ยตามความทต่ี นพจิ ารณา กเ็ มอ่ื ศาสดาเปน็ ผใู้ ชค้ วามตรกึ เปน็ ผใู้ ชค้ วามพจิ ารณาแลว้
กย็ ่อมมีความตรึกดีบ้าง ความตรึกช่ัวบ้าง เป็นอย่างน้ันบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง ใน
พรหมจรรย์ของศาสดาน้ัน วิญญชู นย่อมทราบตระหนกั ดังนีว้ า่ ทา่ นศาสดาน้ีเปน็ ผู้ใช้
ความตรกึ เปน็ ผใู้ ชค้ วามพจิ ารณา ทา่ นศาสดานนั้ ยอ่ มแสดงธรรมตามปฏภิ าณของตน
เทียบเหตุตามความที่ตนตรึก คล้อยตามความที่ตนพิจารณา ก็เม่ือศาสดาเป็นผู้ใช้
ความตรึก เป็นผู้ใช้ความพิจารณาแล้ว ก็ย่อมมีความตรึกดีบ้าง ความตรึกช่ัวบ้าง
เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง วิญญูชนน้ันครั้นรู้ว่า พรหมจรรย์นี้เว้นจาก
ความยนิ ดดี ง่ั นแ้ี ลว้ ยอ่ มเบอ่ื หนา่ ย หลกี ไปจากพรหมจรรยน์ นั้ พรหมจรรยอ์ นั เวน้ จาก
ความยินดี ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเม่ืออยู่ประพฤติ ก็พึงยัง
กุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้ส�ำเร็จไม่ได้ ประการที่ ๓ น้ีแล อันพระผู้มี
พระภาคเจา้ พระองคน์ นั้ ผทู้ รงรู้ ผทู้ รงเหน็ เปน็ พระอรหนั ต์ ตรสั รดู้ ว้ ยพระองคเ์ อง
โดยชอบ ตรสั ไว้แล้ว

พรรษาท่ี ๙ 165

อีกประการหน่ึง ศาสดาบางคนในโลกน้ีเป็นคนเขลา งมงาย เพราะเป็น
คนเขลา เพราะเป็นคนงมงาย ศาสดาน้ัน เม่ือถูกถามปัญหาอย่างนั้น ๆ ย่อมถึง
ความสา่ ยวาจาคอื ตอบดนิ้ ไดไ้ มต่ ายตวั วา่ ความเหน็ ของเราวา่ อยา่ งนกี้ ไ็ มใ่ ช่ อยา่ งนนั้
กไ็ ม่ใช่ อย่างอื่นกไ็ มใ่ ช่ ไม่ใชก่ ไ็ มใ่ ช่ มิใชไ่ ม่ใช่ก็ไมใ่ ช่ ดงั่ น้ี ในพรหมจรรยข์ องศาสดา
นน้ั วญิ ญชู นยอ่ มทราบตระหนกั ดง่ั นว้ี า่ ทา่ นศาสดานเี้ ปน็ คนเขลา งมงาย เพราะเปน็
คนเขลา เพราะเปน็ คนงมงาย ศาสดานั้นเมอื่ ถูกถามปัญหาอยา่ งน้นั ๆ ย่อมถงึ ความ
สา่ ยวาจาคอื ตอบดน้ิ ไดไ้ มต่ ายตวั วา่ ความเหน็ ของเราวา่ อยา่ งนกี้ ไ็ มใ่ ช่ อยา่ งนนั้ กไ็ มใ่ ช่
อย่างอน่ื กไ็ มใ่ ช่ ไมใ่ ช่กไ็ ม่ใช่ มใิ ชไ่ มใ่ ช่ก็ไม่ใช่ ดัง่ นี้ วญิ ญชู นน้ันครัน้ รวู้ า่ พรหมจรรย์
นเ้ี วน้ จากความยนิ ดดี งั่ นแ้ี ลว้ ยอ่ มเบอื่ หนา่ ย หลกี ไปเสยี จากพรหมจรรยน์ น้ั พรหมจรรย์
อนั เวน้ จากความยนิ ดี ทว่ี ญิ ญชู นไมพ่ งึ อยปู่ ระพฤตพิ รหมจรรยเ์ ลย ถงึ เมอ่ื อยปู่ ระพฤติ
กพ็ งึ ยงั กศุ ลธรรมเครอื่ งออกไปจากทกุ ขใ์ หส้ ำ� เรจ็ ไมไ่ ด้ ประการท่ี ๔ นแี้ ล อนั พระผมู้ ี
พระภาคเจ้าพระองค์นน้ั ผทู้ รงรู้ ผทู้ รงเหน็ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรดู้ ้วย พระองคเ์ อง
โดยชอบ ตรัสไว้แลว้

พรหมจรรยอ์ นั เวน้ จากความยนิ ดี ทว่ี ญิ ญชู นไมพ่ งึ อยปู่ ระพฤตพิ รหมจรรยเ์ ลย
ถงึ เมอ่ื อยปู่ ระพฤติ กพ็ งึ ยงั กศุ ลธรรมเครอ่ื งออกไปจากทกุ ขใ์ หส้ ำ� เรจ็ ไมไ่ ด้ ๔ ประการ
นี้แล อนั พระผ้มู พี ระภาคเจา้ พระองคน์ ้นั ผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเหน็ เป็นพระอรหนั ต์ ตรัสรู้
ดว้ ยพระองคเ์ องโดยชอบ ตรัสไว้แลว้

สนั ทกปรพิ าชกกลา่ วกะทา่ นพระอานนทว์ า่ ขอ้ ทพี่ รหมจรรยอ์ นั เวน้ จากความ
ยินดี ๔ ประการน้ันแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์น้ัน ผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันต์ ตรสั รดู้ ว้ ยพระองคเ์ องโดยชอบ ตรัสว่าเป็นพรหมจรรย์ อนั เวน้ จาก
ความยินดี ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ประพฤติ ก็พึงยัง
กศุ ลธรรมเครอื่ งออกไปจากทกุ ขใ์ หส้ ำ� เรจ็ ไมไ่ ด้ นา่ อศั จรรยไ์ มเ่ คยมี กศ็ าสดานน้ั มปี กติ
กล่าวอยา่ งไร บอกอยา่ งไร ในพรหมจรรยท์ ่วี ญิ ญูชน พงึ อยู่โดยส่วนเดยี ว และเมอ่ื อยู่
ประพฤติ ก็พึงยงั กุศลธรรมเครอื่ งออกไปจากทุกข์ใหส้ ำ� เรจ็ ได้

ทา่ นพระอานนทไ์ ดก้ ลา่ วกะสนั ทกปรพิ าชกตอ่ ไปวา่ พระตถาคตเสดจ็ อบุ ตั ใิ น
โลกน้ี เปน็ พระอรหนั ต์ ตรสั รเู้ องโดยชอบ ถงึ พรอ้ มดว้ ยวชิ ชาและจรณะ เสดจ็ ไปดแี ลว้
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝกึ บรุ ษุ ทค่ี วรฝกึ ไมม่ ีผู้อ่นื ยงิ่ กวา่ เป็นศาสดาของเทวดาและ

166 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

มนุษยท์ ้งั หลาย เปน็ ผู้เบกิ บานแลว้ เป็นผ้จู �ำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นัน้
ทรงทำ� โลกนี้ พรอ้ มทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลก ให้แจง้ ชดั ด้วยพระปญั ญาอนั ยงิ่ ของ
พระองคเ์ อง แลว้ ทรงสอนหมสู่ ตั ว์พรอ้ มทงั้ สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ใหร้ ตู้ าม
ทรงแสดงธรรมงามในเบ้ืองต้น งามในท่ามกลาง งามในท่ีสุด ประกาศพรหมจรรย์
พรอ้ มทงั้ อรรถพรอ้ มทงั้ พยญั ชนะ บรสิ ทุ ธบิ์ รบิ รู ณส์ น้ิ เชงิ คฤหบดหี รอื บตุ รคฤหบดหี รอื
ผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมน้ัน คร้ันฟังแล้ว ได้ศรัทธาใน
พระตถาคต เพราะประกอบดว้ ยการไดศ้ รทั ธานนั้ ยอ่ มเหน็ ตระหนกั วา่ ฆราวาสคบั แคบ
เปน็ ทางมาแหง่ ธลุ ี บรรพชาเปน็ ทางปลอดโปรง่ การทบี่ คุ คลอยคู่ รองเรอื น จะประพฤติ
พรหมจรรยใ์ หบ้ รบิ รู ณใ์ หบ้ รสิ ทุ ธโิ์ ดยสว่ นเดยี วดจุ สงั ขข์ ดั ไมใ่ ชท่ ำ� ไดง้ า่ ย ถา้ กระไรเรา
พงึ ปลงผมและหนวด นงุ่ ห่มผา้ กาสาวพสั ตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละ
กองโภคสมบตั นิ อ้ ยใหญ่ ละเครอื ญาตนิ อ้ ยใหญ่ ปลงผมและหนวด นงุ่ ผา้ กาสาวพสั ตร์
ออกบวชเปน็ บรรพชติ เมอื่ บวชแลว้ เปน็ ผถู้ งึ พรอ้ มดว้ ย สกิ ขาและสาชพี ของภกิ ษทุ ง้ั หลาย

ละการฆา่ สตั ว์ เวน้ ขาดจากการฆ่าสตั ว์ วางท่อนไม้ วางศสั ตราแล้ว มีความ
ละอาย มีความเอน็ ดู มคี วามกรณุ า หวังประโยชน์แกส่ ตั วท์ ้ังปวงอยู่

ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของท่ีเขาให้ ต้องการแต่
ของท่เี ขาให้ ไม่ประพฤตติ นเป็นขโมย เปน็ ผู้สะอาด

ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
เวน้ จากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบา้ น

ละการพูดเท็จ เวน้ ขาดจากการพูดเทจ็ พูดแตค่ วามจรงิ ดำ� รงสัตย์ พดู เป็น
หลักฐานควรเชือ่ ได้ ไม่พูดลวงโลก

ละค�ำส่อเสียด เว้นขาดจากค�ำส่อเสียด ฟังจากข้างน้ีแล้วไม่ไปบอกข้างโน้น
เพอื่ ใหค้ นหมนู่ แี้ ตกรา้ วกนั หรอื ฟงั จากขา้ งโนน้ แลว้ ไมม่ าบอกขา้ งน้ี เพอ่ื ใหค้ นหมโู่ นน้
แตกร้าวกัน สมานคนท่ีแตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนท่ีพร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง
ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลิน ในคนผู้
พรอ้ มเพรียงกนั กล่าวแตค่ �ำทที่ ำ� ใหค้ นพรอ้ มเพรียงกัน

พรรษาท่ี ๙ 167

ละคำ� หยาบ เวน้ ขาดจากคำ� หยาบ กลา่ วแต่คำ� ท่ไี ม่มโี ทษ เสนาะหู กลา่ วแต่
ค�ำท่ีน่ารัก จับใจ เป็นคำ� ของชาวเมือง คนส่วนมากรกั ใคร่ พอใจ

ละคำ� เพอ้ เจอ้ เวน้ ขาดจากคำ� เพอ้ เจอ้ พดู ถกู กาล พดู แตค่ ำ� ทเ่ี ปน็ จรงิ พดู องิ อรรถ
พูดองิ ธรรม พดู องิ วินัย พดู แต่คำ� ทม่ี หี ลกั ฐาน มที อ่ี า้ งอิง มที ก่ี �ำหนด ประกอบดว้ ย
ประโยชน์ โดยกาลอันควร

เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี
งดจากการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนร�ำ ขับร้อง การประโคมดนตรี
และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรงประดับประดา ตบแต่ง
ร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่ง การแต่งตัว
เว้นขาดจากการนั่งนอนบนท่ีน่ังท่ีนอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
เวน้ ขาดจากการรบั ธญั ชาตดิ บิ เวน้ ขาดจากการรบั เนอื้ ดบิ เวน้ ขาดจากการรบั สตรแี ละ
กมุ ารี เวน้ ขาดจากการรบั ทาสแี ละทาส เวน้ ขาดจากการรบั แพะและแกะ เวน้ ขาดจาก
การรบั ไกแ่ ละสุกร เวน้ ขาดจากการรับช้าง ววั ม้า และลา เวน้ ขาดจากการรับไร่นา
และท่ดี นิ เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้ เวน้ ขาดจากการซ้อื และ
การขาย เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาช่ัง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วย
เครอื่ งตวงวดั เวน้ ขาดจากการรบั สนิ บน การล่อลวง และการตลบแตลง เว้นขาดจาก
การตัด การฆา่ การจองจำ� การตชี ิง การปลน้ และกรรโชก

เธอผเู้ ปน็ สนั โดษดว้ ยจวี รเปน็ เครอ่ื งบรหิ ารกาย ดว้ ยบณิ ฑบาตเครอื่ งบรหิ ารทอ้ ง
เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปไดเ้ อง นกมีปีกจะบนิ ไปทางทศิ าภาคใด ๆ ก็มีแต่
ปกี ของตัวเองเป็นภาระบนิ ไปได้ฉันใด ภกิ ษุก็ฉันน้นั เปน็ ผสู้ ันโดษดว้ ยจีวรเป็นเครื่อง
บรหิ ารกาย ดว้ ยบณิ ฑบาตเปน็ เคร่ืองบริหารทอ้ ง เธอจะไปทางทศิ าภาคใด ๆ ก็ถอื ไป
ไดเ้ อง

ภกิ ษนุ นั้ ประกอบดว้ ยสลี ขนั ธอ์ นั เปน็ อรยิ ะนี้ ยอ่ มไดเ้ สวยสขุ อนั ปราศจากโทษ
ในภายใน เธอเหน็ รปู ดว้ ยจกั ษแุ ลว้ ไมถ่ อื นมิ ติ ไมถ่ อื อนพุ ยญั ชนะ เธอยอ่ มปฏบิ ตั เิ พอื่
ส�ำรวมจกั ขนุ ทรยี ์ ทเี่ มื่อไม่สำ� รวมแลว้ จะเปน็ เหตุให้อกศุ ลธรรมอันลามก คืออภิชฌา

168 ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม ๒

และโทมนัสคือความยินดีและความยินร้าย ครอบง�ำ ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า
ถงึ ความสำ� รวมในจกั ขนุ ทรยี ์ เธอฟงั เสยี งดว้ ยห.ู .. ดมกลนิ่ ดว้ ยจมกู ... ลม้ิ รสดว้ ยลน้ิ ...
ถกู ตอ้ งโผฏฐพั พะดว้ ยกาย... รแู้ จง้ ธมั มารมณด์ ว้ ยใจแลว้ ไมถ่ อื นมิ ติ ไมถ่ อื อนพุ ยญั ชนะ
เธอยอ่ มปฏบิ ตั เิ พอื่ สำ� รวมมนนิ ทรยี ์ ทเ่ี มอ่ื ไมส่ ำ� รวมแลว้ จะเปน็ เหตใุ หอ้ กศุ ลธรรมอนั ลามก
คอื อภชิ ฌาและโทมนสั ความยนิ ดคี วามยนิ รา้ ย ครอบงำ� ชอ่ื วา่ รกั ษามนนิ ทรยี ์ ชอื่ วา่
ถึงความส�ำรวม ในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้
ย่อมไดเ้ สวยสุขอนั บรสิ ุทธิ์ ไม่ระคนดว้ ยกเิ ลสในภายใน

ภกิ ษนุ นั้ ยอ่ มทำ� ความรสู้ กึ ตวั ในการกา้ วไป ในการถอยกลบั ยอ่ มทำ� ความรสู้ กึ
ตัวในการแลในการเหลียว ย่อมท�ำความรู้สึกตัวในการคู้เข้าในการเหยียดออก
ย่อมท�ำความรู้สึกตัวในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ย่อมท�ำความรู้สึกตัวในการฉัน
การดื่มการเค้ียวการล้ิม ย่อมท�ำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมท�ำ
ความรู้สึกตัวในการเดินการยนื การนง่ั การหลับการต่นื การพูดการนิ่ง

ภิกษุนั้นประกอบด้วยสีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ
เช่นนแี้ ลว้ ยอ่ มเสพเสนาสนะอนั สงดั คอื ปา่ โคนไม้ ภเู ขา ซอกเขา ถำ้� ปา่ ชา้ ปา่ ชฏั
ที่แจ้ง กองฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์
ตงั้ กายตรง ดำ� รงสตไิ วเ้ ฉพาะหนา้ เธอละความโลภในโลก มใี จปราศจากความโลภอยู่
ยอ่ มชำ� ระจติ ใหบ้ รสิ ทุ ธจ์ิ ากความโลภ ละความประทษุ รา้ ยคอื พยาบาท ไมค่ ดิ พยาบาท
มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมช�ำระจิตให้บริสุทธิ์จากความ
ประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคล้ิมแล้ว เป็นผู้ปราศจาก
ถีนมิทธะ มีความก�ำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมช�ำระจิตให้
บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านร�ำคาญใจ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมช�ำระจิต ให้บริสุทธ์ิจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
ความเคลอื บแคลงสงสยั เปน็ ผขู้ า้ ม วจิ กิ จิ ฉา ไมม่ คี วามสงสยั ในกศุ ลธรรมทงั้ หลายอยู่
ยอ่ มชำ� ระจติ ให้บรสิ ทุ ธ์จิ ากวจิ กิ ิจฉา

ภกิ ษนุ นั้ ครน้ั ละนวิ รณท์ ง้ั ๕ เหลา่ น้ี อนั เปน็ เครอื่ งเศรา้ หมองใจ ทำ� ปญั ญาให้
ถอยกำ� ลังแลว้ เธอสงัดจากกาม สงดั จากอกศุ ลธรรม บรรลปุ ฐมฌาน มวี ิตก มีวจิ าร


Click to View FlipBook Version