The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รวมระเบียบคำสั่งกรมที่ดิน ประจำปี 2549 (ส่วนที่ 2) (ปี 2549)

กองแผนงาน

Keywords: ด้านทั่วไป

761

762

สารบญั จดทะเบยี นสำหรับตวั อย่างท่ี ๑ และที่ ๒

สารบัญจดทะเบียน


จดทะเบียน
ประเภทการ
ผใู้ ห้สญั ญา ผู้รับสญั ญา
เน้อื ท่ดี นิ
เน้อื ที่ดนิ
ระวาง
เจ้าพนกั งานที่ดนิ

วนั เดือน ป
ี จะทะเบยี น
ตามสัญญา
คงเหลอื
เลขทด่ี นิ
ลงลายมอื ชื่อ


ไร่ งาน ตาราง ไร่ งาน ตาราง
โฉนดท่ีดนิ ใหม
่ ประทับตรา

วา วา


วันท.่ี ......... จำนองเป็นประกัน นาย ก. ธนาคาร เอ กจิ การ - - - - - - - (ลงช่ือ)............

เดือน......... วิเทศธนกจิ สาขา

ปี............... กรุงเทพฯ


วนั ที่.......... จำนองเป็นประกนั นาย ก. ธนาคาร เอ - - - - - - - (ลงช่ือ)............

เดอื น......... จำนอง (ระหวา่ ง วิเทศธนกิจสาขา

กจิ การทีเ่ ป็นนิติ กรงุ เทพฯ
บคุ คลเดียวกนั


(ฉบับท่ี ๕)


763

(สำเนา)




ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๑๔๘๐๕ กรมทด่ี ิน

ถนนพระพิพธิ กทม. ๑๐๒๐๐

๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙

เร่ือง การยกเว้นภาษีอากรการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด กรณีควบรวมกิจการตาม


แผนพัฒนาระบบสถาบนั การเงนิ

เรียน ผ้วู า่ ราชการจังหวดั ทกุ จังหวดั

อ้างถึง หนังสือกรมทด่ี นิ ดว่ นทส่ี ดุ ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๐๙๙๗๐ ลงวันท่ี ๓๐ มนี าคม ๒๕๔๙

ส่งิ ที่ส่งมาด้วย สำเนาพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ

ยกเว้นรษั ฎากร (ฉบับที่ ๔๕๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๑ ฉบบั



ตามหนังสือท่ีอ้างถึง กรมท่ีดินได้ส่งสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทยให้เรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน และตามกฎหมายว่า
ด้วยอาคารชุด ร้อยละ ๐.๐๑ ในการจดทะเบียนโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด
กรณีการควบรวมกิจการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรี
กำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙ มาเพื่อโปรดทราบ พร้อมซ้อมความเข้าใจทาง
ปฏิบัติในการรับจดทะเบียน การเรียกเอกสารประกอบการลดหย่อนค่าธรรมเนียม ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ทราบและถือปฏิบัติ ส่วนการเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและภาษีธุรกิจเฉพาะ
ให้เรียกเก็บตามปกติ จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ออกมา
ยกเว้นให้ ซี่งหากได้รับแจ้งจากกรมสรรพากรว่าพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้เม่ือใดจะแจ้งให้
ทราบตอ่ ไป นัน้

บัดนี้ ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น
รษั ฎากร (ฉบบั ท่ี ๔๕๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศราชกิจจานเุ บกษา เล่ม ๑๒๓ ตอนท่ี ๓๘ ก วัน
ท่ี ๑๗ เมษายน ๒๕๔๙ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น
ไป โดยความในมาตรา ๕ กำหนดใหย้ กเวน้ ภาษเี งนิ ไดน้ ิตบิ คุ คลหกั ณ ที่จ่าย ภาษธี รุ กจิ เฉพาะ
และอากรแสตมป์ ให้แก่สถาบันการเงิน สำหรับเงินได้พึงประเมิน รายรับ หรือการกระทำ
ตราสารที่เกิดขึ้นหรือเนื่องมาจากการที่สถาบันการเงินดังกล่าวควบเข้ากันหรือโอนกิจการ
ท้ังหมดให้แก่กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และความในมาตรา ๖ กำหนดให้ยกเว้น
ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่สถาบันการเงิน สำหรับมูลค่าของฐานภาษี รายรับ
หรือการกระทำตราสารท่ีเกิดขึ้นหรือเน่ืองมาจากการที่สถาบันการเงินโอนกิจการบางส่วนให้แก่
กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ท้ังนี้ เฉพาะการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมด
หรือโอนกิจการบางส่วน ท่ีได้กระทำระหว่างวันท่ี ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๓๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

764

ฉะนัน้ นบั แต่บัดนีเ้ ปน็ ต้นไป จนถึงวนั ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ในการจดทะเบียนโอน
อสงั หารมิ ทรัพย์หรือหอ้ งชุด อันเนอื่ งมาจากการทสี่ ถาบันการเงิน (ตามความในมาตรา ๓ ของ
พระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว) ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันตามแผนพัฒนา
ระบบสถาบันการเงินท่ีคณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันท่ี ๖ มกราคม ๒๕๔๗ จึงได้รับการยกเว้น
ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ท่ีจ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามนัย
มาตรา ๕ แหง่ พะราชกฤษฎกี าดังกลา่ ว ส่วนกรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แกก่ ันได้รับยกเวน้
ภาษธี ุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ตามมาตรา ๖ แหง่ พระราชกฤษฎีกาดงั กล่าว สำหรับกรณที ่ี
มีผู้ขอคืนภาษอี ากรการโอนทไ่ี ด้เสียไปกอ่ นทพี่ ระราชกฤษฎกี าฯ มีผลใช้บังคับ หากประสงค์ขอ
คนื ภาษีทเ่ี สยี ไป ให้แนะนำผขู้ อไปติดต่อขอคนื ณ สำนกั งานสรรพากรพืน้ ท
ี่
อนึง่ การควบเขา้ กนั หรือโอนกจิ การทัง้ หมดหรือบางส่วนทไี่ ด้กระทำระหว่างวนั ที่ ๖
มกราคม ๒๕๔๗ ถงึ วันท่ี ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙ แตไ่ ด้มาย่ืนขอจดทะเบยี นโอนกรรมสทิ ธิ์หรอื
สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กันภายหลังวันท่ี ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙ และยังคงได้
รับยกเวน้ ภาษีอากรตามพระราชกฤษฎกี าฯ ท่ีสง่ มาหรือไม่ อย่รู ะหว่างหารอื กรมสรรพากร เม่อื
ไดร้ ับแจ้งผลการพิจารณาประการใด จะได้แจง้ ใหท้ ราบตอ่ ไป

จงึ เรยี นมาเพื่อโปรดทราบและสั่งใหเ้ จ้าหน้าท่ีทด่ี ินทราบและถอื ปฏบิ ัติตอ่ ไป



ขอแสดงความนบั ถอื



(ลงชอ่ื ) วา่ ที่ ร.ต. ขนั ธ์ชยั วิจกั ขณะ

(ขนั ธช์ ัย วจิ ักขณะ)

รองอธบิ ดี ปฏิบัตริ าชการแทน

อธบิ ดีกรมทด่ี นิ





















สำนกั มาตรฐานการทะเบยี นที่ดนิ

โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๖๑๙๖ โทรสาร ๐ ๒๒๒๑ ๓๘๗๓

โทร. (มท) ๕๐๘๐๑-๑๒ ต่อ ๒๒๕


765

(สำเนา)

พระราชก
ฤษฎกี า


ออกตามความในประมวลรัษฎากร

วา่ ด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๕๓)


พ.ศ. ๒๕๔๙


-------ภ-ูม--พิ --ล-อ--ด-ุล--ย-เ-ด--ช--ป--.ร--.
------


ให้ไว้ ณ วนั ที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙

เปน็ ปีที่ ๖๑ ในรชั กาลปจั จุบัน




พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด
เกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษี
มูลค่าเพ่ิม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ บางกรณ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจกั รไทย และ
มาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซ่ึงแก้ไขเพ่ิมเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพ่ิมเติม
ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายท่ีมีบทบัญญัติบางประการเกี่ยว
กับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบด้วยมาตรา ๓๕ และมาตรา
๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตาม
บทบัญญัติแหง่ กฎหมาย จึงทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎกี าขน้ึ ไว้ ดงั ตอ่ ไป

้ี
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎกี านี้เรียกวา่ “พระราชกฤษฎกี าออกตามความในประมวล
รษั ฎากร วา่ ด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับท่ี ๔๕๓) พ.ศ. ๒๕๔๙”

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับต้ังแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาเปน็ ตน้ ไป

มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้

“แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า แผนพัฒนาระบบสถาบันการ
เงินท่คี ณะรฐั มนตรีรับทราบเมอื่ วนั ท่ี ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗

“สถาบันการเงนิ ” หมายความวา่

(๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย

(๒) บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ
ธรุ กจิ เงินทุน ธุรกิจหลกั ทรพั ย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร

(๓) สถาบันการเงินท่ีมีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงิน
766

เพ่อื ส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม

(๔) นิตบิ คุ คลอ่นื ท่อี ธบิ ดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรฐั มนตรี

มาตรา ๔ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ และส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่ง
ประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน สำหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการที่สถาบัน
การเงินควบเข้ากันหรือโอนกิจการท้ังหมดให้แก่กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซ่ึงตี
ราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน ทั้งนี้ เฉพาะการควบเข้ากันหรือการโอนกิจการที่ได้กระทำ
ระหว่างวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันท่ี ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

มาตรา ๕ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด
๕ และอากรแสตมป์ตามหมวด ๖ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่สถาบันการเงิน
สำหรับเงินได้พึงประเมิน รายรับ หรือการกระทำตราสารท่ีเกิดข้ึนหรือเน่ืองมาจากการท่ี
สถาบันการเงินควบเข้ากัน หรือโอนกิจการท้ังหมดให้แก่กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการ
เงิน ทั้งนี้ เฉพาะการควบเข้ากันหรือการโอนกิจการที่ได้กระทำระหว่างวันท่ี ๖ มกราคม พ.ศ.
๒๕๔๗ ถงึ วนั ท่ี ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

มาตรา ๖ ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด ๔ ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด ๕ และ
อากรแสตมป์ตามหมวด ๖ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่สถาบันการเงิน สำหรับ
มูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทำตราสารท่ีเกิดข้ึนหรือเน่ืองมาจากการที่สถาบันการ
เงินโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ท้ังนี้ เฉพาะการโอน
กจิ การที่ได้กระทำระหว่างวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

มาตรา ๗ ใหร้ ฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการคลงั รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี



ผรู้ ับสนองพระบรมราชโองการ

พนั ตำรวจโท ทักษณิ ชนิ วัตร

นายกรัฐมนตร















หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับน้ี คือ เน่ืองจากกระทรวงการคลัง
และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมบริการทางการเงินท่ีจำเป็นให้แก่ประชาชนอย่างท่ัวถึง และเพื่อช่วย
เสรมิ สร้างประสิทธภิ าพของระบบสถาบันการเงิน ทำใหส้ ถาบันการเงนิ ตอ้ งควบเข้ากนั หรือโอน
กิจการให้แก่กันซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพ่ือเป็นการส่ง

767

เสริมและสนับสนุนการท่ีสถาบันการเงินควบเข้ากัน หรือโอนกิจการให้แก่กันตามแผนพัฒนา
ระบบสถาบันการเงินสมควรยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพ่ิม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ
อากรแสตมป์ ให้แก่สถาบันการเงินสำหรับเงินได้พึงประเมิน มูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือ
การกระทำตราสารท่ีเกิดขึ้นหรือเน่ืองมาจากการที่สถาบันการเงินควบเข้ากันหรือโอนกิจการให้
แก่กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงิน
ได้นิติบุคคลให้แก่ผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน สำหรับผลประโยชน์ท่ีได้จากการท่ีสถาบันการ
เงินควบเข้ากันหรือโอนกิจการให้แก่กัน ท้ังนี้ เฉพาะการควบเข้ากันหรือโอนกิจการท่ีได้กระทำ
ระหว่างวนั ท่ี ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันท่ี ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ จงึ จำเป็นตอ้ งตรา
พระราชกฤษฎีกาน้





















































768

(สำเนา)


ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๑๔๘๐๘ กรมที่ดิน

ถนนพระพิพิธ กทม. ๑๐๒๐๐

๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙

เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด ตาม

มาตรการสง่ เสรมิ ตลาดบ้านมือสอง

เรียน ผู้วา่ ราชการจงั หวัด ทุกจังหวดั

อา้ งถึง ๑. หนังสอื กรมทดี่ นิ ด่วนท่สี ุด ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๓๕๒๘๗

ลงวันที่ ๑๖ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๘

๒. หนงั สือกรมท่ีดิน ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๐๓๐๖๓ ลงวนั ท่ี ๑ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๔๙

๓. หนังสอื กรมทด่ี ิน ด่วนมาก ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๐๕๓๕๔

ลงวนั ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

สงิ่ ที่สง่ มาดว้ ย สำเนาหนังสือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ที่ กค ๑๐๐๓/


๑๒๑๖ ลงวนั ท่ี ๒๘ เมษายน ๒๕๔๙



ตามหนังสือท่ีอ้างถึง ๑. กรมท่ีดินได้ส่งสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เร่ือง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายท่ีดิน และ
ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดกรณีการสนับสนุนการซ้ือขายและจำนองตามมาตราการส่งเสริม
ตลาดบ้านมือสอง ลงวันที่ ๑๑ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๔๘ จำนวน ๒ ฉบบั ต่อมาไดม้ หี นังสือที่
อา้ งถงึ ๒. ส่งสรปุ หลักเกณฑ์และแนวคำวนิ ิจฉยั กรณีการลดค่าธรรมเนยี มการจดทะเบยี นขาย
และจำนองตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ และตามหนังสือท่ีอ้างถึง ๓. ได้แจ้งผลการ
พจิ ารณาของสำนกั งานเศรษฐกจิ การคลงั กระทรวงการคลงั มาให้พนกั งานเจ้าหนา้ ทีท่ ราบและ
ถือปฏิบัติว่า การจดทะเบียนขายฝากไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับลดค่าธรรมเนียม ส่วนกรณี
นิติบุคคลเป็นผู้ซื้ออยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับลดค่าธรรมเนียมการโอนและจำนองตามมาตรการดัง
กลา่ ว นั้น

บัดนี้ ได้มีปัญหาในทางปฏิบัติเก่ียวกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
โอนและการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ตามาตรการ
ส่งเสริมตลาดบ้านมือสอง ว่ากรณีผู้จัดการมรดกจดทะเบียนขายเฉพาะส่วนบ้าน บ้านพร้อม
ท่ีดิน หรือห้องชุด ซึ่งเป็นทรัพย์ในกองมรดกท่ียังไม่ได้แบ่ง (ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนให้แก่
ทายาท) เพ่ือนำเงินไปแบ่งปันแก่ทายาท หรือชำระหนี้กองมรดก จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้รบ
ลดค่าธรรมเนียมเหลือร้อยละ ๐.๐๑ ตามมาตรการส่งเสริมตลาดบ้านมือสองหรือไม่ ซ่ึงกรม
ท่ีดินพจิ ารณาแล้วมีความเหน็ ดงั น
ี้
๑. กรณที ีผ่ ู้จดั การมรดกจดทะเบยี นขายบา้ น บ้านพรอ้ มทีด่ นิ หรือหอ้ งชุด ซง่ึ เป็น

769

ทรัพย์ในกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง (ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนให้แก่ทายาท) เพ่ือนำเงินไปแบ่ง
ปันแก่ทายาท หรือชำระหน้ีกองมรดก ย่อมมีสิทธิได้รับลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือร้อยละ
๐.๐๑ ตามมาตรการส่งเสริมตลาดบ้านมือสอง หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้ามรดกมีชื่อใน
ทะเบียนบ้านที่ขายตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหน่ึงปีนับแต่
วันที่ได้มาซ่ึงกรรมสิทธ์ิหรือสิทธิครอบครองในบ้านน้ัน หรือทายาทที่มีสิทธิรับมรดกคนใดคน
หน่ึงมีชื่อในทะเบียนบ้านท่ีขายตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
หนงึ่ ปนี บั แต่วนั ท่เี จ้ามรดกถงึ แก่ความตาย

๒. สำหรับกรณีการขายบ้านพร้อมท่ีดินหรือชุดที่ไม่ได้เป็นการขายยกหลักงและยก
แปลงทด่ี ินแต่เป็นการขายเฉพาะสว่ นของผถู้ ือกรรมสทิ ธ์บิ างคน หรือเปน็ การขายเพียงบางส่วน
โดยการให้ผู้ซ้ือเข้าช่ือรวม เช่น บ้านและที่ดินมีชื่อ นาย ก. และ นาย ข. ถือกรรมสิทธ์ิร่วมกัน
นาย ก. ขอจะเบยี นขายบ้านและทีด่ ินเฉพาะส่วนของตนใหก้ บั นาย ง. โดย นาย ข. ไม่ไดข้ าย
ด้วย หรอื ห้องมชี ่อื นาย ค. ถอื กรรมสทิ ธ์ิ ตอ่ มานาย ค. ตกลงให้นาย จ. ผูซ้ ือ้ เขา้ มชี ่ือร่วมกับตน
ในห้องชุด กรณีจะอยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับลดค่าธรรมเนียมเหลือร้อยละ ๐.๐๑ ตามมาตรการส่ง
เสริมตลาดบ้านมือสองหรือไม่ กรมท่ีดินได้หารือไปยังสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวง
การคลัง และได้รับแจ้งผลการพิจารณาปรากฎตามสิ่งท่ีส่งมาด้วย สรุปได้ว่า การขายเฉพาะ
ส่วนของผู้ถือกรรมสิทธิ์บางคนหรือการขายเพียงบางส่วนโดยการให้ผู้ซ้ือเข้าชื่อร่วม ไม่อยู่ใน
ขอบข่ายของเจตนารมณ์ของมาตรการส่งเสริมตลาดบ้านมือสอง ซ่ึงก็หมายความว่าไม่อยู่ใน
หลกั เกณฑ์ได้รบั ลดคา่ ธรรมเนียมเหลือรอ้ ยละ ๐.๐๑ ตามมาตรการดังกลา่ ว

จงึ เรยี นมาเพื่อโปรดทราบและแจ้งใหพ้ นักงานเจ้าหน้าทท่ี ราบและถือปฏิบตั ิตอ่ ไป



ขอแสดงความนับถอื

(ลงชือ่ ) ว่าท่ี ร.ต.ขันธช์ ยั วจิ ักขณะ

(ขนั ธช์ ัย วิจกั ขณะ)

รองอธบิ ดี ปฏิบตั ริ าชการแทน

อธบิ ดีกรมทด่ี นิ















สำนกั มาตรฐานการทะเบียนทีด่ ิน

โทร. ๐-๒๒๒๒-๖๑๙๖ โทรสาร ๐-๒๒๒๑-๓๘๗๓

โทร. (มท) ๕๐๘๐๑-๑๒ ตอ่ ๒๒๕

770

(สำเนา)


ท่ี กค ๑๐๐๓/๑๒๑๖ สำนกั งานเศรษฐกจิ การคลัง

กระทรวงการคลัง

ถนนพระรามท่ี ๖ กท. ๑๐๔๐๐

๒๘ เมษายน ๒๕๔๙

เรอ่ื ง การลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด ตาม

มาตรการส่งเสรมิ ตลาดบ้านมือสอง

เรียน อธิบดีกรมท่ีดิน

อ้างถึง หนงั สือกรมท่ีดนิ ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๑๐๖๔๑ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๙



ตามหนังสือที่อ้างถึง กรมท่ีดินขอให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังพิจารณาข้อหารือ
ของกรมที่ดินกรณีการขายบ้านพร้อมท่ีดินท่ีไม่ได้เป็นการขายยกหลังและแปลงท่ีดิน หรือขาย
หมดท้ังห้องชุด แต่เป็นการขายเฉพาะส่วนของผู้ถือกรรมสิทธิ์บางคน หรือเป็นการขายเพียง
บางส่วน โดยการใหผ้ ้ซู อ้ื เข้าช่ือร่วม น้นั

สำนักงานเศรษฐกิจการคลังพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่ามาตรการส่งเสริมตลาดบ้าน
มือสองมีวัตถุประสงค์เพ่ือส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลธรรมดา มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
อย่างทั่วถึงและเหมาะสมกับสถานะของผู้อยู่อาศัย และเพื่อส่งเสริมสภาพคล่องให้แก่ตลาดบ้าน
มือสองโดยการลดภาระภาษีและค่าธรรมเนียมในการขายเปล่ียนมือท่ีอยู่อาศัย ดังน้ันการขาย
เฉพาะส่วนของผู้ถือกรรมสิทธิ์บางคนหรือการขายเพียงบางส่วนโดยการให้ผู้ซ้ือเข้าชื่อร่วมจึง
ไมอ่ ยู่ในขอบเขตของเจตนารมณ์ของมาตรการดังกล่าว

จึงเรยี นมาเพอ่ื โปรดทราบ



ขอแสดงความนบั ถอื



(ลงช่อื ) สมชยั สัจจพงษ

(นายสมชยั สจั จพงษ)์

รองผ้อู ำนวยการ ปฏบิ ตั ริ าชการแทน

ผูอ้ ำนวยการสำนกั งานเศรษฐกิจการคลัง



สำนกั นโยบายภาษ

กลุม่ นโยบายภาษีอากร

โทร. ๐ ๒๒๗๓ ๙๐๒๐ ต่อ ๓๕๒๐

โทรสาร ๐ ๒๒๗๓ ๙๐๘๘


771

(สำเนา)




ท่ ี มท ๐๕๑๕/ว ๑๗๒๔๕ กรมที่ดนิ

ถนนพระพิพิธ กทม. ๑๐๒๐๐

๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙

เรอื่ ง การจดทะเบยี นบรุ มิ สิทธิตามมาตรา ๒๗๓(๒) แหง่ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย

เรียน ผวู้ ่าราชการจังหวดั ทกุ จังหวัด

อ้างถงึ หนงั สอื กรมท่ีดิน ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๓๖๘๑๔ ลงวนั ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

สิง่ ทีส่ ง่ มาดว้ ย สำเนาหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค ๐๗๐๖/๕๐๕๙

ลงวนั ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๙



ตามหนังสอื ทอ่ี ้างถงึ กรมที่ดินไดแ้ จง้ ทางปฏบิ ัติในการรับจดทะเบียนบรุ ิมสทิ ธใิ นมลู จา้ ง
ทำของเป็นการงานทำข้ึนบนอสังหาริมทรัพย์ มาเพื่อทราบและถือปฏิบัติว่า กรณีมีผู้นำหนังสือ
แสดงสิทธิในท่ีดินย่ืนคำขอจดทะเบียนบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ในมูลจ้างทำของเป็นการ
งานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์ โดยนำรายการประมาณราคาช่ัวคราว เช่น สัญญาจ้างเหมา
ก่อสร้างอาคาร เป็นต้น มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ลงทะเบียนไว้ก่อนเร่ิมลงมือ
ทำการตามนัยมาตรา ๒๗๓(๒) ประกอบมาตรา ๒๘๖ แหง่ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนประเภท “บุริมสิทธิ” โดยอนุโลมปฏิบัติตามตัวอย่าง
เอกสารการจดทะเบียนที่ส่งมาด้วย สำหรับค่าธรรมเนียมให้เรียกเก็บตามมาตรา ๑๐๔ วรรค
สอง แหง่ ประมวลกฎหมายท่ดี ิน ประกอบกบั กฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตาม
ความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ส่วนอากรแสตมป์ต้องเรียก
เก็บหรือไม่ อยู่ระหว่างหารือกรมสรรพากร เมื่อกรมสรรพากรแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบ
ประการใดแล้ว จะไดแ้ จ้งใหท้ ราบตอ่ ไป นน้ั

บดั นี้ กรมทดี่ นิ ไดร้ ับแจง้ ผลการพจิ ารณาข้อหารอื ขา้ งตน้ จากกรมสรรพากร สรุปไดด้ ังนี

๑. สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างท่ีคู่สัญญา นำมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี เพื่อประกอบ
การขอจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานข้ึนบนอสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะ
แห่งตราสาร ๔ จ้างทำของ แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังน้ัน ผู้รับจ้างต้องเสียอากรในอัตรา
๑ บาท ทุกจำนวนเงิน ๑,๐๐๐ บาท หรือเศษของ ๑,๐๐๐ บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ กรณี
สัญญาจ้างทำของท่ีคู่สัญญานำมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ียังไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตาม
ลักษณะดังกล่าว เจ้าพนักงานท่ีดินควรแจ้งให้ผู้จดบุริมสิทธินำตราสารไปปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์
ถกู ตอ้ งตามประมวลรัษฎากร กอ่ นรบั จดทะเบยี นบุริมสิทธ

772

๒. การจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของ เป็นการงานขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์
ตามมาตรา ๒๗๓(๒) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียอากร
แสตมป์ใบรับพนักงานเจ้าหน้าท่ีจึงไม่ต้องเรียกเก็บอากรแสตมป์ใบรับ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่ง
มาด้วย

จงึ เรียนมาเพ่อื โปรดทราบ และส่งั ใหเ้ จา้ หนา้ ท่ีทด่ี ินทราบและถือปฏิบตั ิต่อไป



ขอแสดงความนับถอื



(ลงชือ่ ) วา่ ท่ี ร.ต. ขนั ธช์ ยั วิจักขณะ

(ขนั ธ์ชยั วจิ กั ขณะ)

รองอธิบดี ปฏบิ ตั ริ าชการแทน

อธิบดีกรมท่ดี ิน











สำนักมาตรฐานการทะเบยี นทดี่ นิ

โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๖๑๙๖ โทรสาร ๐ ๒๒๒๑ ๓๘๗๓

โทร. (มท) ๕๐๘๐๑-๑๒ ต่อ ๒๒๕.


















773

(สำเนา)


ท ี่ กค ๐๗๐๖/๕๐๕๙ กรมสรรพากร

๙๐ ซอยพหลโยธิน ๗

ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน

เขตพญาไท กท. ๑๐๔๐๐

๑๔ มถิ นุ ายน ๒๕๔๙

เรอ่ื ง อากรแสตมป์ กรณีจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำข้ึนบน


อสังหารมิ ทรัพย

เรยี น อธบิ ดีกรมที่ดนิ

อ้างถึง ๑. หนังสอื กรมทดี่ นิ ท่ี มท ๐๕๑๕/๓๖๘๑๖ ลงวันท่ี ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘


๒. หนงั สือท่ี มท ๐๕๑๕/๐๙๔๖๙ ลงวนั ท่ี ๒๔ มนี าคม ๒๕๔๙

ตามหนังสือท่ีอ้างถึง กรมท่ีดิน แจ้งว่า สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ใน
พระบรมราชูปถัมภ์ ได้ขอให้กรมท่ีดินวางแนวปฏิบัติ กรณีการจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลจ้าง
ทำของเป็นการงานทำข้ึนบนอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา ๒๗๓(๒) แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ เพ่ือให้สมาชิกของสมาคมฯ นำมูลหน้ีค่าก่อสร้างไปจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ โดยในการจดทะเบียนดังกล่าว คู่สัญญาต้องนำรายการประมาณราคาชั่วคราว ตา
มาตรา ๒๘๖ แห่งประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ เชน่ สญั ญาจา้ งเหมากอ่ สรา้ ง ไปแสดงตอ่
เจ้าพนักงานที่ดินเพ่ือเป็นหลักฐานประกอบการจดทะเบียนบุริมสิทธิ และช้ีแจงเพ่ิมเติมว่า ได้
วางแนวทางปฏิบัติในการจดทะเบียนดังกล่าว โดยมีเอกสารประกอบการจดทะเบียนได้แก่
คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและการสอบสวนสิทธิในที่ดิน ประเภท บุริมสิทธิ (ท.ด.๑)
และบันทึกข้อตกลงบุริมสิทธิ (ท.ด.๑๖) ซึ่งการจดทะเบียนประเภทนี้ไม่มีกรณีต้องประเมิน
ราคาทุนทรัพย์แต่อย่างใด ผู้ขอจดทะเบียนบุริมสิทธิไม่ต้องแสดงจำนวนทุนทรัพย์และเจ้าพนัก
งานที่ดินไมต่ ้องประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ทีข่ อจดทะเบยี น

กรมที่ดินจึงขอทราบวา่

๑. กรณีที่คู่สัญญานำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ีเพ่ือ
ขอจดทะเบียนบุริมสิทธิ ในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำข้ึนบนอสังหาริมทรัพย์ตามาตรา
๒๗๓(๒) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากสัญญาดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์
ตามลกั ษณะแหง่ ตราสาร ๔. จา้ งทำของ แหง่ บัญชีอัตราอากรแสตมป์ พนักงานเจา้ หน้าทจ่ี ะรบั
จดทะเบยี นบุรมิ สิทธิไดห้ รือไม

๒. กรณีการจดทะเบยี นดังกลา่ ว พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ตอ้ งประเมนิ ราคาทนุ ทรพั ย์
แต่จะตอ้ งเรียกเกบ็ อากรแสตมป์ร้อยละ ๕๐ สตางค์ จากจำนวนเงนิ ท่ีจดทะเบยี นบรุ มิ สิทธิ ตาม
ลักษณะแห่งตราสาร ๒๘ ใบรับ แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายประมวลรัษฎากร ด้วยหรือ
ไม่ ดงั ความละเอียดแจง้ แลว้ น้ัน


774

กรมสรรพากรขอเรยี นวา่

๑. กรณีตาม ๑. สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่คู่สัญญานำมาแสดงต่อพนักงานเจ้า
หนา้ ที่ เพ่อื ขอจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำข้นึ บนอสงั หาริมทรัพย์ ตาม
มาตรา ๒๗๓(๒) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาดังกล่าวเข้าลักษณะแห่ง
ตราสาร ๔. จ้างทำของแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ผู้รับจ้างต้องเสียอากรในอัตรา ๑ บาททุก
จำนวนเงิน ๑,๐๐๐ บาท หรอื เศษของ ๑,๐๐๐ บาท แหง่ สนิ จา้ งที่กำหนดไว้

กรณีเจ้าพนักงานที่ดินจะรับจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้น
บนอสังหาริมทรัพย์ และได้ตรวจสอบสัญญาจ้างทำของท่ีคู่สัญญานำมาแสดงเพื่อทำรายการ
ประมาณราคาชั่วคราวตามาตรา ๒๘๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้วพบว่า
สัญญาดังกล่าว ยังไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามลักษณะแห่งตราสาร ๔. จ้างทำของ แห่งบัญชี
อัตราอากรแสตมป์ เนื่องจากพนักงานตามประมวลกฎหมายท่ีดินเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่อากร
แสตมป์ ตามประกาศกระทรวงการคลงั วา่ ดว้ ยการแตง่ ตัง้ เจา้ พนักงาน (ฉบับท่ี ๑๑) เรอื่ ง แต่ง
ต้ังพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ลงวันท่ี ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕
กรณีดังกล่าวห้ามมิให้เจ้าพนักงานที่ดินลงนามรับรู้ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้เสีย
อากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว ตามนัยมาตรา
๑๑๙ แหง่ ประมวลรษั ฎากร โดยในทางปฏิบัตเิ จา้ พนกั งานที่ดินควรแจ้งให้ผจู้ ดบรุ ิมสทิ ธิดังกลา่ ว
นำตราสารไปปิดแสตมปใ์ หบ้ รบิ ูรณถ์ ูกต้องตามประมวลรษั ฎากร กอ่ นรับจดทะเบียนบรุ ิมสิทธิ

๒. กรณีตาม ๒. การจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำข้ึนบน
อสังหาริมทรัพย์ ตามาตรา ๒๗๓(๒) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่มีกรณีท่ี
ต้องประเมินราคาทุนทรัพย์น้ัน จำนวนเงินท่ีจดทะเบียนบุริมสิทธิเป็นเพียงราคาประเมินค่า
ก่อสร้าง โดยผู้ขอจดทะเบียนบุริมสิทธิไม่ต้องแสดงจำนวนทุนทรัพย์และเจ้าพนักงานที่ดินไม่
ตอ้ งประเมินราคาอสงั หารมิ ทรพั ยท์ ่ีขอจดทะเบยี น ดงั นนั้ เมอื่ เจา้ พนกั งานท่ีดนิ ออกใบรบั ให้กบั
ผูข้ อจดทะเบยี น ใบรับดังกลา่ ว จงึ ไม่เขา้ ลกั ษณะเปน็ ใบรับสำหรบั การกอ่ ต้ังสทิ ธใิ ด ๆ เก่ยี วกับ
อสงั หาริมทรัพย์ ตามลักษณะแหง่ ตราสาร ๒๘. ใบรับ แห่งบญั ชีอัตราอากรแสตมป์ จงึ ไมอ่ ยู่ใน
บงั คับต้องเสยี อากรแสตมป์



ขอแสดงความนบั ถือ



(ลงชื่อ) ไพฑูรย์ พงษเ์ กษร

(นางไพฑรู ย์ พงษเ์ กสร)

รองอธบิ ดี ปฏิบัตริ าชการแทน

อธิบดีกรมสรรพากร

สำนกั กฎหมาย

กลมุ่ กฎหมาย ๒

โทร. ๐ ๒๒๗๒ - ๘๒๘๗ - ๘


775

ระเบ(ยี สบำกเ
นราม)ท
ดี่ นิ


ว่าดว้ ยการทำลายเอกสารเกี่ยวกบั ทด่ี นิ

พ.ศ. ๒๕๔๙


---------------------------

ตามระเบียบกรมท่ีดิน ว่าด้วยการทำลายเอกสารเกี่ยวกับท่ีดิน พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวัน
ท่ี ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔ กำหนดแนวทางในการทำลายเอกสารเกี่ยวกับท่ีดิน ปรากฎว่ามี
เอกสารบางประเภทควรเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการเก็บรักษาและลดปัญหาของปริมาณ
เอกสารท่ีเพิ่มจำนวนมาก ซ่ึงเป็นภาระในการจัดหาสถานท่ีจัดเก็บ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศท่ีได้นำเข้ามาใช้ ณ สำนักงานที่ดิน จึงสมควรปรับปรุงระเบียบดัง
กลา่ วใหม่ให้เหมาะสมยิง่ ข้นึ กรมทด่ี ินจึงได้วางระเบียบไวด้ ังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมท่ีดิน ว่าด้วยการทำลายเอกสารเกี่ยวกับ
ท่ดี นิ พ.ศ. ๒๕๔๙”

ข้อ ๒ ระเบยี บนใ้ี หใ้ ชบ้ ังคับตั้งแต่วนั ที่ ๒๗ มถิ ุนายน ๒๕๔๙ เป็นตน้ ไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการทำลายเอกสารเกี่ยวกับท่ีดิน พ.ศ.
๒๕๔๔ ลงวนั ท่ี ๑๕ มิถนุ ายน ๒๕๔๔

ขอ้ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบงั คบั และคำส่ังอืน่ ใดในสว่ นท่ีกำหนดไวแ้ ล้วในระเบยี บนี้
หรือซึ่งขดั หรือแย้งกบั ระเบียบน้ี ใหใ้ ช้ระเบียบนแ้ี ทน

ขอ้ ๕ ใหผ้ ้อู ำนวยการสำนกั มาตรฐานการทะเบียนทด่ี นิ รกั ษาการตามระเบยี บนี




หมวด ๑

ประเภทเอกสาร



ขอ้ ๖ เอกสารที่ทำลายได้โดยไม่ต้องทำความตกลงกับกรมศิลปากร ตามข้อ
๖๙.๒ แหง่ ระเบยี บสำนกั นายกรัฐมนตรี วา่ ดว้ ยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื่องจากกรมทด่ี ิน
ได้ทำความตกลงกบั กรมศลิ ปากรไวแ้ ลว้ มีดงั ต่อไปน
้ี
(๑) เร่ืองราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และการสอบสวนสิทธิในที่ดิน
(ท.ด.๑)

(๒) เรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และการสอบสวนสิทธิในห้องชุด
(อ.ช.๑๕)

(๓) ใบไตส่ วน (น.ส.๕)

(๔) คำขอแก้สิ่งสำคัญในโฉนดที่ดิน บันทึกการรังวัดรวมโฉนดที่ดินและคำขอรวม
โฉนดท่ีดิน (ท.ด.๙) และรายงานการสำรวจเขตทดี่ ินนำสง่ ผู้สอบสวน (ร.ว.๔๐)

776

(๕) รายงานขอแกจ้ ำนวนท่ดี นิ และเขตข้างเคยี งเฉพาะแปลง (ท.ด.๔๕)

(๖) คำขอแก้สิง่ สำคญั ในอาคารชดุ (อ.ช ๑๗)

(๗) ใบนดั ทำการรงั วดั (ท.ด.๒)

(๘) บันทกึ หนา้ เร่ืองการรังวดั ที่ดนิ (ท.ด.๘๒)

(๙) หนงั สอื เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอทราบราคาประเมนิ ทดี่ ิน

(๑๐) คำขออายัด หนังสือศาล หรือของหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องขออายัดที่ดินไว้เมื่อ
คดถี งึ ท่ีสดุ

(๑๑) เรื่องแบ่งแยกท่ียกเลิกเร่ือง หรือที่ได้จดทะเบียนแล้ว และแผนที่กระดาษ
บาง (ร.ว.๙) ซึง่ ไดล้ งระวางแล้ว

(๑๒) สำเนาหนังสือต่างด้าวบิดา-มารดาของผู้ซื้อ และบิดา-มารดาของคู่สมรส
ของผ้ซู ือ้ รวมทั้งสำเนาหนงั สอื ต่างด้าวของบคุ คลอืน่ ท่ีเก่ยี วข้องในการจดทะเบียน

(๑๓) บันทึกการช้ีระวาง (ร.ว.๑๐) หรือภาพถ่ายสำเนาโฉนด และรายการจด
ทะเบยี นหรอื รปู แผนทที่ ่จี ำลองขึ้น ซึง่ นำมายนื่ ประกอบคำขอต่าง ๆ

(๑๔) หนงั สือรับรองว่าที่ดินไม่อย่ใู นเขตป่า ท่สี าธารณะ ท่รี าชพสั ดุ ท่วี ดั เฉพาะท่ี
มใิ ชเ่ ก่ียวกับการออกหนังสอื สำคญั ประเภทตา่ ง ๆ

(๑๕) หนังสือแจ้งข้างเคียงให้มาระวังแนวเขต และลงชื่อรับรองเขตที่ดิน
(ท.ด.๓๘)

(๑๖) หนังสือแจ้งผู้มีสิทิในที่ดินข้างเคียงให้มาลงช่ือรับรองแนวเขตท่ีดินหรือคัด
ค้างการรงั วดั (ท.ด.๘๑)

(๑๗) หนงั สือขอทราบท่ีอยู่

(๑๘) หนงั สอื สัญญาจะซือ้ จะขาย

(๑๙) หนังสอื แจ้งเจ้าของที่ดนิ มาดำเนนิ การ (ท.ด.๗๖) เรือ่ งขอเงนิ มดั จำรังวัดคนื

(๒๐) รายการค้นหาชอ่ื และทีอ่ ยู่เจา้ ของทีด่ นิ ข้างเคยี ง

(๒๑) แบบรายงานการเดินทางไปราชการ

(๒๒) สัญญาจำนองที่ไถ่ถอนแล้ว สัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองต่าง ๆ เก่ียว
เน่ืองจากการจำนองดังกล่าว เช่น บันทึกข้ึนเงินจำนอง คร้ังท่ี...... สัญญาจำนองบันทึกแก้ไข
หนี้จำนองเป็นประกัน บันทึกผ่อนต้นเงินจากจำนอง บันทึกปลอดจำนอง บันทึกโอนสิทธิการ
รับจำนอง และสัญญาจำนองเพ่ิมหลักทรัพย์ท่ีไถ่ถอนแล้วรวมถึงเอกสารเก่ียวกับการชำระหนี้
จำนอง โดยการทำลายให้รวมถึงใบเสรจ็ รบั เงินดว้ ย

(๒๓) สัญญาเชา่ ซงึ่ เลกิ เช่า หรอื สน้ิ สุดระยะเวลาการเชา่

(๒๔) สัญญาขายฝากซ่ึงได้มกี ารไถ่ถอนแลว้

(๒๕) บันทึกข้อตกลงเร่ืองการจดทะเบียนทรัพยสิทธิประเภทภาระจำยอม สิทธิ
เก็บกินบุริมสทิ ธิ ต่อมามีกาจดทะเบียนยกเลกิ

(๒๖) หนังสอื แจ้งผู้ขอมาจดทะเบยี น (เตอื นครง้ั ท่ี ๑-๓)

(๒๗) หนงั สอื ยกเลกิ เรือ่ งการจดทะเบียนสทิ ธแิ ละนติ ิกรรม และการรังวัดทด่ี ิน


777

(๒๘) โฉนดทีด่ นิ ซงึ่ ได้รวมโฉนดทีด่ นิ และตัดเกบ็ รักษาไวใ้ นสารบบทด่ี ิน

(๒๙) เอกสารที่เก่ียวกับการจดทะเบียนของทางราชการท่ีไม่เป็นปัจจุบัน เช่น
หนงั สือรับรองของการทางพิเศษแหง่ ประเทศไทยรับรองวา่ ที่ดินไม่อยใู่ นเขตทาง เป็นต้น

(๓๐) เอกสารเก่ยี วกับผูข้ อจดทะเบียนทเี่ ปน็ นิติบคุ คลทมี่ ีอย่ทู ง้ั หมด

(๓๑) หลักฐานประกอบอ่ืน ๆ เช่น สำเนาหนังสือแสดงการเปล่ียนช่ือตัว-สกุล
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรืออ่ืน ๆ เฉพาะท่ีเก่ียวกับเจ้าของเดิม
(ไมใ่ ช่ผู้ถือกรรมสิทธปิ์ ัจจุบัน)

(๓๒) ประกาศและหลักฐานการปดิ ประกาศต่าง ๆ

(๓๓) บันทึกถอ้ ยคำตา่ ง ๆ (ท.ด.๑๖)

(๓๔) บนั ทึกขอ้ ความเรือ่ งลงนามในโฉนดท่ีดนิ

(๓๕) แบบแสดงค่าธรรมเนยี ม และค่าใชจ้ ่ายในการรังวดั

(๓๖) บนั ทกึ ถอ้ ยคำของการชำระภาษอี ากร

(๓๗) บนั ทกึ การประเมินราคาทรพั ยส์ นิ (ท.ด.๘๖)

(๓๘) ประกาศรบั รองการทำประโยชน์ท่ดี ิน (แบบหมายเลข ๘)

(๓๙) หนังสอื การระวังช้ีแนวเขตทีด่ นิ

(๔๐) คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(ท.ด.๑ ก)

(๔๑) สัญญาต่าง ๆ (ท.อ.๕) (ท.อ.๖) (ท.อ.๙) และบันทึกข้อตกลงต่อท้าย
สญั ญาจำนอง

(๔๒) บันทกึ ข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (ท.ด.๗๐)

(๔๓) บันทึกการสอบสวนจดทะเบียนมรดก (ท.ด.๘)

(๔๔) คำขอการรบั รองการทำประโยชน์ (น.ส.๑)

(๔๕) รายงานการรังวดั (ร.ว.๓)

(๔๖) หนงั สอื มอบอำนาจของบคุ คลทั่วไป หรอื ของธนาคาร

(๔๗) หนงั สือยนิ ยอมคสู่ มรส

(๔๘) หลักฐานการอนมุ ตั ใิ หบ้ ุคคลต่างด้าว และวดั วาอารามได้มาซ่งึ ทดี่ นิ

(๔๙) เรือ่ งพิพาทตา่ ง ๆ ทีข่ อ้ พพิ าทยตุ ิแล้ว

ข้อ ๗ เอกสารอ่ืนใดนอกจากเอกสารตามข้อ ๖ ก่อนทำลายให้จัดทำบัญชีหนังสือขอ
ทำลายเสนออธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่งให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
พจิ ารณาก่อน




หมวด ๒

อายุการเกบ็ รกั ษาเอกสาร



ขอ้ ๘ เอกสารตามข้อ ๖(๑)-(๖) เม่ือได้ดำเนินการจัดเก็บด้วยระบบไมโครฟิล์ม
778

หรือ ไมโครคอมพิวเตอรเ์ รียบร้อยแล้ว ให้ทำลายได

ข้อ ๙ เอกสารตามข้อ ๖(๗)-(๒๗) ให้เก็บรักษาไว้มีกำหนดหน่ึงปี นับแต่วันท่ีเจ้า
หนา้ ที่ได้ดำเนนิ การเก่ียวกบั เอกสารน้นั ๆ แล้วเสรจ็

ขอ้ ๑๐ เอกสารตามข้อ ๖(๒๘)-(๓๙) ใหเ้ ก็บรกั ษาไวม้ กี ำหนดสบิ ปี นบั แต่เจา้ หน้าที่
ไดด้ ำเนนิ การเกี่ยวกบั เอกสารน้ัน ๆ แล้วเสรจ็

ข้อ ๑๑ เอกสารตามข้อ ๖(๔๐)-(๔๗) ท่ีเป็นเอกสารในสารบบหนังสือรับรองการทำ
ประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ข น.ส.๓ก) เม่อื นำ น.ส.๓ น.ส.๓ข น.ส.๓ก ไปออกโฉนดที่ดนิ แล้ว ให้
เก็บรกั ษาไวม้ กี ำหนดสิบป

ข้อ ๑๒ เอกสารดังต่อไปน้ี เมื่อเก็บรักษาไว้มีกำหนดสิบปีแล้วให้จัดส่งไปเก็บที่สำนัก
หอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ กรมศิลปากร

(๑) หลักฐานการอนุมัติให้บุคคลต่างด้าว และวัดวาอารามได้มาซึ่งท่ีดินพร้อม
เรอื่ งเดิม

(๒) เรอ่ื งพิพาทตา่ ง ๆ ทีข่ อ้ พิพาทยตุ แิ ล้ว โดยให้เร่ิมนับอายุการเก็บรักษาต้งั
วนั ทข่ี อ้ พิพาทยตุ ิ

การจัดส่งให้มัดหรือบรรจุกล่องให้เรียบร้อยแล้วหมายเหตุให้ปรากฏหน้าห่อ
หรอื กล่องวา่ เป็นเอกสารลำดบั ท่ี ๔๘ หรือ ๔๙ ของรายการเอกสารทีท่ ำข้อตกลงตามข้อ ๖

(๓) เอกสารทจ่ี ดั ทำขึน้ กอ่ นพระราชบัญญัติออกโฉนดทีด่ นิ ร.ศ. ๑๒๗
ตราจองโฉนดตราจองและโฉนดเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕-๖ ที่ชำรุดและได้เปลี่ยนโฉนดใหม่
แล้ว หรือท่ีได้นำมารวมโฉนดและตัดเก็บไว้ในสารบบนับตั้งแต่วันที่ได้ดำเนินการเสร็จ หรือวัน
ที่ได้รวมโฉนดแล้วแต่กรณี บัญชีส่งมอบหนังสือให้จัดทำตามข้อ ๕๙ แห่งระเบียบสำนักนายก
รฐั มนตรี วา่ ด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖

ข้อ ๑๓ เอกสารทใ่ี หเ้ กบ็ รกั ษาไวต้ ลอดไป ไมค่ วรทำลาย ได้แก

(๑) เอกสารตามข้อ ๖(๑)-(๖) ที่จัดเกบ็ ดว้ ยระบบเอกสาร

(๒) ท.ด.๑ แปลงแบ่งแยกที่เก็บไวใ้ นสารบบทีด่ ิน

(๓) บันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ใบรับรองเขตติดต่อของเจ้าของที่ดิน
และเจา้ ของท่ีดนิ ข้างเคียง (ท.ด.๓๔) บนั ทึกรายงานการรังวัด (ร.ว.๓)

(๔) บนั ทกึ ยกเลกิ การจดทะเบยี นทรพั ย์สินประเภทตา่ ง ๆ

(๕) น.ส.๓ น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข. ใบจอง ส.ค.๑ ใบเหยียบยำ่ แบบหมายเลข ๓
น.ค.๓ ก.ส.น.๕




หมวด ๓

การทำลาย



ข้อ ๑๔ ภายในหกสบิ วันหลังจากวันสนิ้ ปีปฏทิ นิ ให้เจา้ หนา้ ทผ่ี มู้ ีหนา้ ท่ีควบคุมและดแู ล
รักษาสารบบท่ีดิน สำรวจเอกสารท่ีครบกำหนดอายุการเก็บในปีนั้น ๆ แล้วจัดทำบัญชีหนังสือ

779

ขอทำลาย เสนออธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ท่ีได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี เพ่ือพิจารณา
แตง่ ต้งั คณะกรรมการทำลายหนงั สอื

ขอ้ ๑๕ คณะกรรมการทำลายหนังสอื ให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการ
อกี อยา่ งนอ้ ยสองคน โดยให้แต่งต้ังจากขา้ ราชการตั้งแต่ระดับ ๕ หรือเทียบเท่าข้นึ ไป

ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าท่ีได้ ให้กรรมการท่ีมาประชุมเลือก
กรรมการคนหน่ึงทำหน้าทป่ี ระธาน

มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ากรรมการผู้ใดไม่เห็นด้วยให้ทำ
บนั ทึกความเหน็ แยง้ ไว

ข้อ ๑๖ คณะกรรมการทำลายหนงั สือมหี น้าที่ ดงั น้

(๑) พิจารณาเอกสารท่ีขอทำลายตามบัญชหี นงั สือขอทำลายเอกสารตามข้อ ๖ และ
ข้อ ๗

(๒) พิจารณาเอกสารท่ีเก็บครบกำหนดสิบปี ซ่ึงต้องส่งให้สำนักหอจดหมายเหตุ
แหง่ ชาติ กรมศลิ ปากรตามขอ้ ๑๒

(๓) เสนอรายงานผลการพิจารณาพร้อมความเห็นต่ออธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือผู้ที่ได้รบั มอบหมายแลว้ แตก่ รณี เพอื่ พจิ ารณาสงั่ การตามข้อ ๑๗

(๔) ควบคุมการทำลายเอกสาร ซ่ึงผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายได้แล้ว โดยการเผา
หรือวิธีอื่นใดท่ีจะไม่ให้หนังสือน้ันอ่านเป็นเรื่องได้ และเมื่อทำลายเรียบร้อยแล้ว ให้ทำบันทึกลง
นามร่วมกนั เสนอผมู้ ีอำนาจอนมุ ตั ทิ ราบ

ขอ้ ๑๗ เม่ือได้รับรายงานแล้วตามข้อ ๑๖(๓) ให้ผู้มีอำนาจแต่งต้ังคณะกรรมการการ
ทำลายหนังสือพิจารณาสั่งอนุมัติให้ทำลาย แต่ถ้าเห็นว่าเอกสารใดยังไม่ควรทำลาย ให้ส่ังการ
ใหเ้ กบ็ เอกสารนัน้ ไวจ้ นถงึ เวลาการทำลายงวดตอ่ ไป

ขอ้ ๑๘ ก่อนนำเอกสารจากสารบบออกไปทำลาย ให้หมายเหตุในสารบัญเอกสาร
(ท.ด.๒๙) ดว้ ยอกั ษรสีแดงวา่ ทำลาย พร้อมวนั เดือน ปี และลงชื่อกำกบั ไวท้ กุ รายการ

ขอ้ ๑๙ เมื่อได้ดำเนินการทำลายเอกสารเสร็จส้ินแล้ว ให้จัดส่งสำเนาเร่ืองการทำลาย
เอกสารดังกล่าวใหก้ รมทีด่ ินหนึง่ ชุด และส่งตรงไปยังกรมศลิ ปากรอกี หนึ่งชุด




ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๔๙




(ลงช่ือ) พีรพล ไตรทศาวิทย์

(นายพีรพล ไตรทศาวทิ ย์)


อธบิ ดีกรมทด่ี ิน









780

บัญชขี อทำลายเอกสารทีค่ รบกำหนดการเก็บรักษาตามระเบียบฯ ในสารบบทีด่ นิ

ของโฉนดที่ดนิ และหนงั สอื รบั รองการทำประโยชน


ประจำปี พ.ศ....................

ลำดับท ่ี ประเภทเอกสาร จำนวน หมายเหต


(ฉบบั )


๑ เรื่องราวขอจดทะเบียนสทิ ธิและนิตกิ รรม และการสอบสวน


สทิ ธิในทดี่ ิน (ท.ด.๑) (ยกเวน้ ท.ด.๑ แปลงแยกท่ีเกบ็ ไวใ้ นสารบบทด่ี นิ )


๒ เรือ่ งราวขอจดทะเบยี นสทิ ธิและนติ กิ รรม และการสอบสวน


สิทธิในหอ้ งชุด (อ.ช.๑๕)


๓ ใบไต่สวน (น.ส.๕)


๔ คำขอแก้ส่งิ สำคัญในโฉนดทีด่ ิน บนั ทึกการรังวดั รวมโฉนดและคำขอรวม


โฉนดทดี่ นิ (ท.ด.๙) และรายงานการสำรวจเขตทด่ี นิ


นำสง่ ผสู้ อบสวน (ร.ว.๔๐)


๕ รายงานขอแกจ้ ำนวนที่ดินและเขตข้างเคียงเฉพาะแปลง (ท.ด.๔๕)


๖ คำขอแกส้ ิ่งสำคัญในอาคารชดุ (อ.ช.๑๗)


๗ ใบนดั การรงั วดั (ท.ด.๒)


๘ บนั ทึกหนา้ เรื่องการรงั วัดท่ดี นิ (ท.ด.๘๒)


๙ หนงั สอื เอกสารตา่ ง ๆ เก่ียวกับการขอทราบราคาประเมินท่ดี ิน


๑๐ คำขออายดั หนงั สือศาล หรือของหน่วยงานทเี่ ก่ยี วข้องขออายดั ทดี่ ิน


ไว้เมื่อคดีถึงที่สดุ


๑๑ เรอ่ื งแบง่ แยกที่ยกเลกิ เรือ่ ง หรือท่ไี ด้จดทะเบียนแล้ว


และแผนท่ีกระดาษบาง (ร.ว.๙) ซง่ึ ได้ลงระวางแล้ว ยกเว้นบนั ทึกขอ้ ตกลง


แบ่งกรรมสิทธิร์ วม ใบรบั รองเขตตดิ ตอ่ ของเจา้ ของทดี่ นิ และเจ้าของท่ีดิน


ข้างเคียง (ท.ด.๓๔) บนั ทกึ รายงานการรงั วัด (ร.ว.๓) ให้เก็บไว้ตลอดไป


๑๒ สำเนาหนงั สือตา่ งดา้ วบิดา-มารดาของผซู้ อ้ื และบดิ า-มารดาของคู่สมรส


ของผ้ซู ้ือ รวมท้ังสำเนาหนังสือต่างด้าวของบุคคลอื่นทเี่ กี่ยวขอ้ ง


ในการจดทะเบียน


๑๓ บันทึกการช้รี ะวาง (ร.ว.๑๐) หรือภาพถ่ายสำเนาโฉนด และรายการจดทะเบยี น


หรือรูปแผนทท่ี จ่ี ำลองข้ึน ซึง่ นำมายืน่ ประกอบคำขอต่าง ๆ


๑๔ หนังสือรบั รองว่าทีด่ นิ ไม่อยูใ่ นเขตปา่ ทสี่ าธารณะ ท่รี าชพสั ดุ ทีว่ ดั


(เฉพาะทมี่ ิใช่เกีย่ วกบั การออกหนงั สือสำคญั ประเภทต่าง ๆ)


๑๕ หนังสือแจ้งข้างเคยี งให้มาระวงั แนวเขต และลงชื่อรบั รองเขตที่ดนิ (ท.ด.๓๘)


๑๖ หนงั สือแจ้งผมู้ ีสิทธใิ นทด่ี ินขา้ งเคยี งให้มาลงช่อื รับรองแนวเขตทดี่ นิ


หรอื คัดค้านการรังวดั (ท.ด.๘๑)


781

ลำดับที ่ ประเภทเอกสาร จำนวน หมายเหต


(ฉบบั )


๑๗ หนังสือขอทราบที่อยู


๑๘ หนงั สอื สัญญาจะซ้อื จะขาย


๑๙ หนงั สือแจง้ เจา้ ของทดี่ นิ มาดำเนินการ (ท.ด.๗๖) เรอื่ งขอเงนิ มัดจำรังวดั คืน


๒๐ รายการค้นหาช่อื และทอ่ี ยู่เจ้าของทดี่ ินข้างเคียง


๒๑ แบบรายงานการเดนิ ทางไปราชการ


๒๒ สญั ญาจำนองทีไ่ ถถ่ อนแล้ว สัญญาตอ่ ท้ายสัญญาจำนอง ตา่ งๆ เกี่ยวเนอ่ื งจาก


การจำนองดงั กลา่ ว เช่น บันทึกขึน้ เงนิ จำนอง ครั้งที.่ ......สญั ญาจำนอง


บันทกึ แก้ไขหนีจ้ ำนองเป็นประกนั บนั ทกึ ผอ่ นตน้ เงนิ จากจำนอง บันทกึ


ปลอดจำนอง บนั ทกึ โอนสทิ ธิการรับจำนอง และสัญญาจำนองเพม่ิ หลักทรพั ย์


ทีไ่ ถ่ถอนแลว้ รวมถึงเอกสารเกยี่ วกับการชำระหน้ีจำนองโดยการทำลาย


ใหร้ วมถงึ ใบเสรจ็ รับเงินด้วย


๒๓ สญั ญาเชา่ ซึ่งเลิกเชา่ หรอื สน้ิ สุดระยะเวลาการเช่า


๒๔ สญั ญาขายฝากซงึ่ ได้มกี ารไถถ่ อนแลว้


๒๕ บันทกึ ข้อตกลงเรื่องการจดทะเบยี นทรัพยสิทธปิ ระเภทภาระจำยอม


สิทธิเก็บเงิน บรุ มิ สิทธิ ต่อมามกี ารจดทะเบยี นยกเลกิ (ยกเวน้ บันทกึ ยกเลกิ


การจดทะเบียนทรพั ยสิทธปิ ระเภทนน้ั ๆ)


๒๖ หนังสือแจง้ ผู้ขอมาจดทะเบียน (เตอื นคร้ังที่ ๑-๓)


๒๗ หนงั สอื ยกเลิกเรือ่ งการจดทะเบยี นสทิ ธแิ ละนิติกรรม และการรงั วัดทดี่ ิน


๒๘ โฉนดทด่ี นิ ซง่ึ ได้รวมโฉนดทีด่ นิ และตดั เก็บรกั ษาไว้ใน สารบบที่ดนิ ยกเวน้


โฉนดท่ดี ินเก่าสมัยรัชกาลท่ี ๕ และ ๖


๒๙ เอกสารทเ่ี กย่ี วกบั การจดทะเบยี นของทางราชการที่ไม่เป็นปัจจุบนั


เช่น หนังสอื รับรองของการทางพเิ ศษแหง่ ประเทศไทย รบั รองว่าท่ดี นิ ไมอ่ ยู่


ในเขตทาง เปน็ ต้น


๓๐ เอกสารเก่ียวกบั ผขู้ อจดทะเบยี นทเ่ี ป็นนิตบิ ุคคลท่มี ีอยทู่ ง้ั หมด


๓๑ หลกั ฐานประกอบอนื่ ๆ เชน่ สำเนาหนังสือแสดงการเปล่ยี นชอ่ื ตัว-สกุล


สำเนาบตั รประจำตวั ประชาชน สำเนาทะเบียนบา้ น หรอื อน่ื ๆ ฉพาะท่ี


เกีย่ วกับเจา้ ของเดมิ ไมใ่ ชผ่ ู้ถอื กรรมสิทธิป์ จั จุบนั )


๓๒ ประกาศและหลักฐานการปดิ ประกาศตา่ ง ๆ


๓๓ บันทึกถอ้ ยคำตา่ ง ๆ (ท.ด.๑๖)


๓๔ บนั ทกึ ข้อความเรือ่ งลงนามในโฉนดท่ีดิน


๓๕ แบบแสดงคา่ ธรรมเนียม และค่าใชจ้ า่ ยในการรงั วดั


๓๖ บันทกึ ถอ้ ยคำการชำระภาษีอากร


782

ลำดบั ท ่ี ประเภทเอกสาร จำนวน หมายเหต


(ฉบับ)


๓๗ บนั ทึกการประเมนิ ราคาทรพั ยส์ ิน (ท.ด.๘๖)


๓๘ ประกาศรับรองการทำประโยชนท์ ีด่ ิน (แบบหมายเลข ๘)


๓๙ หนังสอื การระวงั ชแ้ี นวเขตท่ดี นิ


๔๐ คำขอจดทะเบียนสทิ ธแิ ละนติ กิ รรมเกีย่ วกบั หนังสือรับรองการทำ


ประโยชน์ (ท.ด.๑ ก)


๔๑ สญั ญาต่าง ๆ (ท.อ.๕) (ท.อ.๖) (ท.อ.๙) และบนั ทกึ ขอ้ ตกลง


ต่อท้ายสญั ญาจำนอง


๔๒ บนั ทกึ ข้อตกลงเร่ืองกรรมสิทธ์ริ วม (ท.ด.๗๐)


๔๓ บันทกึ การสอบสวนจดทะเบียนมรดก (ท.ด.๘)


๔๔ คำขอการรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๑)


๔๕ รายงานการรงั วดั (ร.ว.๓)


๔๖ หนงั สอื มอบอำนาจของบุคคลท่วั ไป หรอื ของธนาคาร


๔๗ หนงั สอื ยนิ ยอมคู่สมรส



รวม







ลงชอ่ื .............................................เจา้ หนา้ ที่ทไี่ ดร้ บั แตง่ ต้งั (ผูร้ บั )

(.....................................................)



ลงชือ่ .............................................เจา้ หน้าที่ผู้สำรวจและคดั แยกเอกสารในสารบบทด่ี นิ (ผสู้ ่ง)

(.....................................................)


783

ดว่ นทีส่ ดุ
(สำเนา)


ท ่ี มท ๐๕๑๕ /ว ๒๔๓๐ กระทรวงมหาดไทย

ถนนอษั ฎางค์ กทม. ๑๐๒๐๐

๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙

เรือ่ ง การขอได้มาซ่งึ ทดี่ ินของนติ บิ ุคคลที่มคี นต่างด้าวถอื หุ้น

เรียน ผูว้ ่าราชการจงั หวดั ทกุ จังหวดั

อา้ งถงึ หนงั สือกระทรวงมหาดไทย ด่วนท่ีสุด ที่ มท ๐๕๑๕/ว๑๕๖๒

ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙

สง่ิ ท่สี ง่ มาดว้ ย ตัวอยา่ งบันทกึ ถ้อยคำ จำนวน ๓ ฉบบั



ตามท่ีกระทรวงมหาดไทยได้วางทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอได้มาซ่ึงท่ีดินของบริษัท
จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว (ยกเว้นบริษัทมหาชนจำกัด
หรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายอื่น) ซ่ึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบ
ธรุ กิจอสงั หาริมทรพั ย์ และมคี นต่างดา้ วถือหุ้น หรือเปน็ กรรมการ หรือมเี หตอุ นั ควรเชื่อไดว้ ่าให้
คนไทยเป็นผู้ถือหุ้นแทนคนต่างด้าว โดยกำหนดให้สอบสวนถึงรายได้ของผู้ถือหุ้นท่ีมีสัญชาติ
ไทย น้ัน

กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เพ่ือให้การดำเนินการสอบสวนของพนัก
งานเจ้าหน้าที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงขอซ้อมความเข้าใจและวางแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม
ดงั นี

๑. ทางปฏิบัติตามหนังสือที่อ้างถึง ใช้กับนิติบุคคลท่ีขอได้มาซึ่งท่ีดินโดยมีวัตถุ
ประสงค์เพื่อนำไปประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น ซื้อขาย ให้เช่า ประกอบกิจการโรงแรม
สร้างบา้ นพักตากอากาศ

๒. หลักฐานท่ีใช้ประกอบการสอบสวนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยว่า มีอาชีพใด ราย
ได้เดือนละเท่าไร เช่น หนังสือของสถานประกอบการที่รับรองว่าผู้ถือหุ้นปฏิบัติงานในตำแหน่ง
ใด ตงั้ แตเ่ มือ่ ใด มีรายไดเ้ ดอื นละเท่าไร หรอื หลักฐานอื่นใดที่เช่อื ถอื ได้ และให้สอบสวนผถู้ ือหนุ้
ว่า เงินที่ซ้ือหุ้นมีที่มาอย่างไร เช่น เป็นเงินที่สะสมไว้ ขายที่ดิน รับมรดก กู้ยืมมา โดยต้อง
แสดงหลักฐานด้วย เช่น บัญชีเงินฝากหรือหนังสือสัญญาขายที่ดิน หลักฐานการรับมรดก
สญั ญากู้ยมื

๓. กรณีผู้ถือหุ้นเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย (แม้ว่านิติบุคคลน้ันจะไม่มีคนต่างด้าว
ถือหุ้น หรือเป็นกรรมการ) ต้องสอบสวนท่ีมาของเงินท่ีซ้ือหุ้นด้วย โดยสอบสวนตัวแทนของ
นิตบิ คุ คลผถู้ ือหุน้ ว่า เงนิ ทีซ่ ้อื หนุ้ มที ่ีมาอยา่ งไร ให้แสดงหลกั ฐาน เชน่ งบดลุ ของบรษิ ทั และถ้า
อ้างว่ากู้เงินผู้อ่ืนมาซ้ือหุ้น ต้องแสดงหลักฐาน เช่น สัญญากู้ยืม และรายงานการประชุมเกี่ยว
กับเรอ่ื งดงั กลา่ ว


784

๔. กรณีนิติบุคคลซื้อที่ดิน ในราคาสูงกว่าทุนจดทะเบียน เช่น มีทุนจดทะเบียน
๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ซ้ือท่ีดินราคา ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยไม่มีการจำนองท่ีดิน ให้สอบสวนว่า
เงินท่ีซื้อที่ดินมีท่ีมาอย่างไร ให้แสดงหลักฐานประกอบ และถ้ากู้ยืมมาให้แสดงรายงานการ
ประชมุ เกี่ยวกบั เรือ่ งดังกล่าว พร้อมหลักฐาน สญั ญากยู้ มื และเอกสารทเ่ี กยี่ วขอ้ ง ดงั นี้

๔.๑ กรณีกู้ยืมจากคนต่างด้าว หรือนิติบุคคลต่างด้าว ให้แสดงหลักฐานท่ีมา
ของเงิน เช่น หลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศ หรือการถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก พร้อม
รายงานการประชมุ ของนิติบคุ คลผูใ้ หก้ ู้

๔.๒ กรณีกู้ยืมจากคนสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลสัญชาติไทย (แม้ว่า
นิติบุคคลนั้นจะไม่มีคนต่างด้าวถือหุ้น หรือเป็นกรรมการ) ให้แสดงหลักฐานท่ีมาของเงิน เช่น
งบดุลของบรษิ ทั การถอนเงนิ จากบัญชเี งนิ ฝาก พร้อมรายงานการประชุมของนติ บิ ุคคลผใู้ หก้
ู้
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีถือปฏิบัติต่อไป พร้อมน้ีได้ส่งตัว
อยา่ งบนั ทกึ ถอ้ ยคำเพือ่ ใหพ้ นักงานเจา้ หนา้ ท่ีใช้ในการปฏิบัตงิ านมาดว้ ยแลว้



ขอแสดงความนบั ถือ



(ลงชอ่ื ) สรุ อรรถ ทองนริ มล

(นายสุรอรรถ ทองนริ มล)

รองปลัดกระทรวงมหาดไทย

หวั หน้ากล่มุ ภารกจิ การความม่ันคงภายใน

























กรมทดี่ ิน

สำนกั มาตรฐานการทะเบยี นที่ดิน

โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๙๑๘๙ โทรสาร ๐ ๒๒๒๒ ๐๖๒๓

โทร.(มท) ๕๐๘๐๑-๑๒ ตอ่ ๒๓๗


785

786

787

788

(สำเนา)


ท ่ี มท ๐๕๑๕/ว ๒๑๒๘๒ กรมทด่ี นิ

ถนนพระพิพธิ กทม. ๑๐๒๐๐

๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙

เรื่อง การจำหนา่ ยที่ดินของคนต่างดา้ วซงึ่ ไดม้ าตามประมวลกฎหมายท่ดี นิ

เรยี น ผ้วู า่ ราชการจงั หวัด ทกุ จงั หวดั

อา้ งถงึ หนังสือกรมท่ดี นิ ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๑๑๘๔๗ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๖

ส่ิงท่ีส่งมาดว้ ย คมู่ อื การจำหน่ายที่ดนิ ของคนต่างดา้ วซง่ึ ไดม้ าตามประมวลกฎหมายท่ีดิน



ตามท่ีกรมท่ีดินได้ส่งคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ท่ี ๑๕๒/๒๕๔๖ ลงวันท่ี ๒๑
เมษายน ๒๕๔๖ ซ่ึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบอำนาจการส่ังอนุญาตกรณีคน
ต่างด้าวผู้ได้มาซ่ึงที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ขอจำหน่ายจ่ายโอนท่ีดินตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๘ (พงศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.
๒๔๙๗ ข้อ ๑(๓) โดยให้อธิบดีกรมท่ีดินเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน สำหรับการขออนุญาต
จำหน่ายจ่ายโอนท่ีดินของคนต่างด้าว ผู้ได้มาซึ่งที่ดินตามประมวลกฎหมายท่ีดินในเขต
กรุงเทพมหานคร และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน สำหรับการขออนุญาต
จำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของคนต่างด้าว ผู้ได้มาซ่ึงท่ีดินตามประมวลกฎหมายที่ดินภายในเขต
จังหวัด และกรมท่ดี นิ ไดว้ างแนวทางใหเ้ จ้าหน้าท่ถี อื ปฏบิ ัติแลว้ นัน้

กรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าท่ีเป็นไป
โดยถูกต้องและในแนวทางเดียวกัน จึงได้จัดทำคู่มือการจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าวซ่ึงได้มา
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซงึ่ มีรายละเอยี ดตามสง่ิ ที่สง่ มาดว้ ย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีทราบและถือเป็นแนวทาง
ปฏบิ ตั ติ อ่ ไป



ขอแสดงความนับถอื



(ลงชอื่ ) วา่ ที่ ร.ต. ขันธ์ชยั วจิ ักขณะ

(ขันธช์ ัย วจิ ักขณะ)

รองอธบิ ดี ปฏิบัติราชการแทน

อธิบดีกรมทีด่ ิน

สำนกั มาตรฐานการทะเบยี นที่ดนิ

โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๙๑๘๙ โทรสาร ๐ ๒๒๒๒ ๐๖๒๓

โทร. (มท) ๕๐๘๐๑-๑๒ ต่อ ๒๓๗


789

คู่มือการจำหนา่ ยท่ดี ินของคนตา่ งดา้ ว

ซึง่ ไดม้ าตามประมวลกฎหมายที่ดิน




๑. กฎหมายและระเบยี บปฏิบัติ

๑.๑ มาตรา ๘๖ และ ๘๙ แห่งประมวลกฎหมายทด่ี ิน

๑.๒ กฎกระทรวงฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้
ประมวลกฎหมายทด่ี นิ พ.ศ. ๒๔๙๗ ขอ้ ๑(๓)

๑.๓ คำส่ังกรมท่ีดิน ท่ี ๑๓/๒๔๙๗ ลงวันท่ี ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๗ เรื่อง ระเบียบ
ปฏิบตั ิเก่ียวกับสทิ ธิในทีด่ ินของคนตา่ งดา้ วตามประมวลกฎหมายท่ดี ิน

๑.๔ หนังสอื กรมที่ดนิ ที่ มท ๐๗๐๘/ว ๒๘๒ ลงวนั ที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๓ เรอื่ ง คน
ตา่ งดา้ วแจง้ การไม่ใชท้ ด่ี นิ

๑.๕ คำสง่ั กระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๕๒/๒๕๔๖ ลงวนั ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๖ เร่อื ง
การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้อธิบดีกรมท่ีดินและผู้ว่าราชการ
จังหวดั ปฏิบตั ิราชการแทน

๑.๖ หนังสือกรมที่ดิน ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๑๑๘๔๗ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๖
เร่ือง การขอได้มาซ่ึงที่ดินของคนต่างด้าว โดยได้รับมรดกในฐานะท่ีเป็นทายาทโดยธรรม และ
การขอจำหน่ายจ่ายโอนที่ดนิ ของคนต่างดา้ ว (ผไู้ ด้มาซึ่งทดี่ ินตามประมวลกฎหมายทีด่ ิน)



๒. หลักเกณฑ์การจำหน่ายท่ีดินของคนต่างด้าวซ่ึงได้มาตามประมวลกฎหมาย
ทด่ี ิน คนต่างดา้ วซง่ึ ไดท้ ่ดี ินมาตามความในประมวลกฎหมายทดี่ นิ มี ๓ กรณี คือ

๒.๑ คนต่างด้าวซึ่งไดท้ ดี่ ินมาโดยอาศยั บทสนธิสัญญาตามมาตรา ๘๖ แหง่ ประมวล
กฎหมายทีด่ ิน

คนต่างด้าวตามมาตรานี้ หมายความรวมถึงนิติบุคคลต่างด้าวด้วย ซ่ึงเดิมคน
ต่างด้าวและนิติบุคคลต่างด้าวมีสิทธิขอได้มาซึ่งที่ดินโดยอาศัยบทสนธิสัญญาที่บัญญัติให้คน
สัญชาติไทยและคนสัญชาติแห่งคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างมีสิทธิขอได้มาซ่ึงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบ
ครองในท่ีดินของแต่ละประเทศได้ แต่ประเทศไทยได้บอกเลิกสนธิสัญญาเกี่ยวกับการถือครอง
ท่ีดินกับประเทศต่าง ๆ แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ (ในปัจจุบันคนต่างด้าวซึ่งไม่
อาจขอไดม้ าซง่ึ ทด่ี ินตามมาตรา ๘๖ แหง่ ประมวลกฎหมายที่ดนิ ได้อกี ต่อไป)

๒.๒ คนต่างด้าวซึ่งได้ที่ดินมาโดยได้รับมรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมตาม
มาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (คนต่างด้าวมาตรานี้ หมายถึงบุคคลธรรมดาไม่รวม
นติ ิบุคคล)

๒.๓ คนต่างด้าวซึ่งนำเงินมาลงทุนสี่สิบล้านบาท และซ้ือท่ีดินเพื่อใช้เป็นท่ีอยู่อาศัย
ตามมาตรา ๙๖ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (คนต่างด้าวตามมาตรานี้ หมายถึงบุคคล
ธรรมดาไม่รวมนิติบุคคล)

790

กรณคี นต่างด้าวตาม ๒.๑-๒.๓ ขอไดม้ าซึ่งท่ดี นิ ต้องได้รับอนุญาตจากรฐั มนตรกี อ่ น

ดงั น้นั เม่อื คนต่างด้าวหรอื นิติบคุ คลตา่ งดา้ วใน ๓ กรณดี งั กลา่ วข้างต้นจะจำหน่ายท่ดี ิน
จึงต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีด้วย ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๔๙๗) ออกตาม
ความในพระราชบัญญัติใหใ้ ช้ประมวลกฎหมายท่ดี ิน พ.ศ.๒๔๙๗ ขอ้ ๑(๓)



๓. การขออนญุ าตจำหนา่ ยจ่ายโอนที่ดินของคนต่างดา้ ว

รัฐมนตรีได้มอบอำนาจการสั่งอนุญาตให้คนต่างด้าว (ผู้ได้มาซ่ึงท่ีดินตามประมวล
กฎหมายที่ดิน) ขอจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๔๙๗) ออกตาม
ความในพระราชบญั ญัตใิ ห้ใชป้ ระมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ.๒๔๙๗ ขอ้ ๑(๓) ดังน้

กรณีที่ดินอย่ใู นเขตกรงุ เทพมหานคร ให้อธิบดีกรมท่ดี นิ เปน็ ผปู้ ฏบิ ัตริ าชการแทน

กรณที ด่ี ินอยู่ในเขตจงั หวัดอืน่ ใ ห้ผู้วา่ ราชการจังหวดั เป็นผู้ปฏบิ ัติราชการแทน

คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ท่ี ๑๕๒/๒๕๔๖ ลงวันท่ี ๒๑ เมษายน ๒๕๔๖ และหนังสือ
กรมทดี่ ิน ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๑๑๘๔๗ ลงวันท่ี ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๖ เร่ือง การขอได้มาซ่งึ ทีด่ ิน
ของคนต่างด้าว โดยได้รับมรดกในฐานะท่ีเป็นทายาทโดยธรรม และการขอจำหน่ายจ่ายโอน
ทด่ี ินของคนต่างด้าว (ผู้ไดม้ าซ่งึ ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน)



๔. การตรวจสอบหลักฐานและบนั ทึกถ้อยคำผู้ขอ

ให้คนต่างด้าวย่ืนคำขอตามแบบการแจ้งไม่ใช้ที่ดิน (ต.๓) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายคู่มือ) และในการขออนุญาตพนักงานเจ้าหน้าท่ีต้องตรวจสอบ
หลักฐานดังตอ่ ไปน
้ี
๔.๑ คำขอจดทะเบียนสทิ ธิและนติ ิกรรมฯ (ท.ด.๑ หรือ ท.ด.๑ ก.)

๔.๒ แบบการแจง้ ไม่ใชท้ ี่ดนิ (ต.๓)

๔.๓ สำเนาหลักฐานของผ้โู อน เช่น

๔.๓.๑ กรณเี ป็นบุคคลธรรมดา

(๑) ใบสำคญั ประจำตวั คนตา่ งดา้ ว ซ่ึงพนกั งานเจา้ หนา้ ทีอ่ อกให้ หรอื

(๒) หนังสอื เดนิ ทาง หรอื

(๓) หนังสือรับรองของเจ้าหน้าที่พนักงานกงสุล หรือสถานทูตที่ผู้นั้น
สังกัดอยู่ หรอื

(๔) หนังสือแสดงสัญชาติ (Emergency Certificate) ซง่ึ กระทรวงการ
ต่างประเทศออกให้เป็นการช่ัวคราว

(๕) หนังสือยนิ ยอมค่สู มรส (ถ้าม)ี

๔.๓.๒ กรณเี ปน็ นติ ิบคุ คล

(๑) หนังสอื รบั รองของนายทะเบยี นหุ้นสว่ นบริษทั

(๒) หนังสอื บริคณหส์ นธิ

(๓) วตั ถปุ ระสงค


791

(๔) ข้อบงั คับ

(๕) รายงานการประชมุ

(๖) บตั รประจำตัวของกรรมการหรือผแู้ ทนนติ บิ ุคคล

๔.๔ หนงั สือแสดงสิทธใิ นทดี่ ินแปลงท่ขี ออนุญาต

๔.๕ สำหรับเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ให้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ.
๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญตั ิวธิ ีปฏบิ ัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดงั น
ี้
๔.๕.๑ การรบั รองความถกู ต้องของคำแปลเปน็ ภาษาไทย ใหก้ ระทำโดย

(๑) คนไทยท่ีจบการศึกษาในระดับท่ีไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในหลักสูตร
ท่ใี ชภ้ าษาท่ปี รากฏในเอกสารนั้นเปน็ ภาษาในการเรียนการสอน

(๒) อาจารย์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและเป็นผู้สอน
ภาษาทีป่ รากฏในเอกสารนน้ั ในสถาบันการศึกษาดังกล่าว

(๓) สถานทูตหรือสถานกงสลุ ตา่ งประเทศทตี่ ั้งอยู่ในประเทศไทย โดย
ประเทศนน้ั ใช้ภาษาท่ปี รากฏในเอกสารนั้นเปน็ ภาษาราชการ

(๔) สถานทูตหรือสถานกงสลุ ไทยในต่างประเทศ

๔.๕.๒ เจ้าหน้าท่ีจะยอมรับเอกสารที่ทำข้ึนเป็นภาษาต่างประเทศไม่ต้องให้
จัดทำคำแปลเปน็ ภาษาไทยได้ในกรณดี ังตอ่ ไปน้

(๑) เจ้าหน้าที่นน้ั เหน็ วา่ ตนสามารถเข้าใจภาษาดงั กล่าวได้

(๒) เจ้าหนา้ ท่นี นั้ มผี ู้ร่วมงานท่ีมีความรู้ในภาษาดงั กล่าว



๕. ขั้นตอนการดำเนนิ การของเจ้าหนา้ ท
ี่
๕.๑ กรณีท่ีดินอยูใ่ นเขตกรุงเทพมหานคร

๕.๑.๑ เมื่อมีการยื่นคำขอจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว (ผู้ได้มาซ่ึงท่ีดินตาม
ประมวลกฎหมายท่ีดิน) ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีตรวจสอบหลักฐานและสอบสวนบันทึกถ้อยคำผู้
ขอตามแบบ ต.๓ แล้วให้ส่งเร่อื งไปให้กรมทดี่ ินพจิ ารณา

๕.๑.๒ เมื่อกรมท่ีดินได้รับเร่ืองแล้ว ให้เจ้าหน้าท่ีพิจารณาเสนออธิบดีกรม
ท่ดี ินในฐานะปฏิบัตริ าชการแทนรัฐมนตร

๕.๑.๓ เม่อื มีคำสง่ั อนญุ าตแลว้ ใหส้ ง่ เรอ่ื งคนื สำนักงานท่ีดนิ กรงุ เทพมหานคร

๕.๑.๔ ใหพ้ นกั งานเจ้าหน้าท่มี ีหนังสอื แจ้งผูข้ อเพอื่ ใหด้ ำเนนิ การต่อไป

๕.๑.๕ เม่ือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้คนต่างด้าว
จำหน่ายที่ดินแล้ว ให้รายงานกรมท่ีดินตามบัญชีทะเบียนท่ีดินของคนต่างด้าว (ปรากฏตาม
เอกสารแนบทา้ ยคมู่ อื ) เพือ่ จะได้แก้ไขบัญชที ะเบยี นที่ดินทางสว่ นกลางไดถ้ กู ต้องตรงกัน

๕.๒ กรณที ดี่ นิ อยใู่ นเขตจงั หวัดอน่ื

๕.๒.๑ เมื่อมีการยื่นคำขอจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว (ผู้ได้มาซ่ึงที่ดินตาม
ประมวลกฎหมายที่ดิน) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานและสอบสวนบันทึกถ้อยคำผู้
ขอตามแบบ ต.๓ แลว้ ดำเนนิ การดังน้

792

(๑) กรณที ดี่ ินอย่ใู นเขตสำนักงานทด่ี ินจังหวัด

ให้สำนักงานที่ดินจังหวัดสอบถามข้อมูลท่ีดินท่ีมีอยู่เดิมของคนต่างด้าวไปยังสำนัก
มาตรฐานทะเบียนที่ดิน ทางโทรสาร ตามบัญชีตรวจสอบข้อมูลที่ดินท่ีมีอยู่เดิมของคนต่างด้าว
ตามกฎกระทรวงฉบบั ท่ี ๘ (พ.ศ.๒๔๙๗) (ปรากฏตามเอกสารแนบทา้ ยคมู่ ือ)

(๒) กรณีท่ีดินอยู่ในเขตสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ส่วนแยก สำนักงานท่ีดิน
อำเภอ

ให้ส่งเร่ืองให้สำนักงานที่ดินจังหวัด เพ่ือให้สำนักงานท่ีดินจังหวัดดำเนินการ
สอบถามข้อมูลท่ีดินที่มีอยู่เดิมของคนต่างด้าว ไปยังสำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน ทางโทร
สาร ตาม ๕.๒.๑(๑) ตอ่ ไป

๕.๒.๒ สำนกั มาตรฐานการทะเบียนท่ีดนิ ตรวจสอบขอ้ มูลท่ดี นิ ท่มี อี ยเู่ ดมิ ของ
คนตา่ งด้าว และส่งคืนสำนักงานท่ดี ินจังหวดั ทางโทรสาร

๕.๒.๓ เม่ือสำนักงานที่ดินจังหวัด ได้รับบัญชีตรวจสอบข้อมูลที่ดินท่ีมีอยู่เดิม
ของคนต่างด้าวจากสำนักมาตรฐานการทะเบียนท่ีดินแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วให้
เสนอเรื่องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีเพ่ือพิจารณาส่ังการ
(กรณีคนต่างด้าวขอจำหน่ายที่ดิน รัฐมนตรีได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติ
ราชการแทน)

กรณีตรวจสอบพบว่าคนต่างด้าว ได้ขอจดทะเบียนจำหน่ายท่ีดินไปโดยไม่ได้ขอ
อนุญาตจากรัฐมนตรี ให้ดำเนินการตาม ๕.๒.๑ (๑) หรือ ๕.๒.๑(๒) แล้วแต่กรณี ก่อนเสนอ
เรื่องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาส่ังอนุญาตย้อน
หลงั ใหเ้ ป็นการถูกต้อง

๕.๒.๔ เม่อื มีคำส่ังอนุญาตแลว้ ให้ดำเนินการ ดงั นี้

(๑) กรณที ด่ี ินอยใู่ นเขตสำนกั งานทด่ี ินจังหวดั

ให้สำนักงานท่ีดินจังหวัดรายงานผลการสั่งอนุญาต ตามบัญชีรายงานผลการส่ังอนุญาต
ของคนตา่ งด้าว ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๔๙๗) (ปรากฏตามเอกสารแนบทา้ ยค่มู อื )
ใหก้ รมท่ีดนิ ทราบภายใน ๗ วัน นบั แต่วันท่ีส่ังอนญุ าต แลว้ แจง้ ผขู้ อเพื่อใหด้ ำเนนิ การตอ่ ไป

(๒) กรณีที่ดินอยู่ในเขตสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ส่วนแยก
สำนักงานท่ีดนิ อำเภอ

ให้สำนักงานที่ดินจังหวัดรายงานผลการส่ังอนุญาตให้กรมท่ีดินทราบภายใน ๗ วัน นับ
แต่วันที่สั่งอนุญาต ตาม ๕.๒.๔ (๑) แล้วส่งเร่ืองคืนสำนักงานท่ีดินจังหวัดสาขา ส่วนแยก
สำนักงานที่ดินอำเภอ เพือ่ แจ้งผขู้ อใหม้ าดำเนินการตอ่ ไป

๕.๒.๕ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้คนต่างด้าว
จำหน่ายที่ดินแล้ว ให้รายงานกรมที่ดินตามบัญชีทะเบียนที่ดินของคนต่างด้าว (ปรากฏตาม
เอกสารแนบทา้ ยคู่มอื ) เพื่อจะไดแ้ ก้ไขบญั ชีทะเบยี นท่ีดนิ ทางสว่ นกลางใหถ้ ูกตอ้ งตรงกนั






793

๖. การแก้ไขทะเบยี นที่ดนิ ของคนต่างด้าว

ที่ดินที่มีทะเบียนแล้ว ถ้ามีการเปล่ียนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับชื่อหรือที่อยู่ หรือ
จำหน่ายจ่ายโอนท่ีดนิ ไป ใหป้ ฏิบตั ดิ ังนี้

๖.๑ กรณีคนต่างด้าวจำหน่ายหรือโอนท่ีดินไปท้ังแปลง ให้ขีดฆ่าข้อความใน
ทะเบียนตั้งแต่ช่อง “ลำดับที่” ไปตลอดทั้งบรรทัด แล้วหมายเหตุให้ทราบถึงช่ือผู้รับโอน
สญั ชาติ ประเภทการโอน วนั ทีจ่ ดทะเบียนโอน และทะเบยี นเลขท่ี (ถ้าม)ี

๖.๒ กรณีคนต่างด้าวจำหน่ายหรือโอนท่ีดินบางส่วน ไม่ต้องดำเนินการตาม ๖.๑
แต่ให้หมายเหตุให้ทราบ ถึงช่ือผู้รับโอน สัญชาติ ประเภทการโอน วันท่ีจดทะเบียนโอน และ
ทะเบียนเลขที่ (ถ้าม)ี

๖.๓ กรณีคนต่างด้าวถึงแก่กรรม และมีการโอนมรดกให้กับคนต่างด้าวซ่ึงเป็น
ทายาทโดยธรรม ตามมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ก็ให้หมายเหตุไว้ตาม ๖.๑ หรือ
๖.๒ แลว้ แตก่ รณี

๖.๔ สำหรบั ทะเบยี นท่ียกไปลงใหม่ ตาม ๖.๑ - ๖.๓ ใหห้ มายเหตุให้ทราบถึงผูโ้ อน
และทะเบยี นเลขท่ีของผู้โอน

๖.๕ กรณีคนต่างด้าวแก้ไขช่ือหรือท่ีอยู่ ให้ขีดฆ่าชื่อและหรือท่ีอยู่เดิม และแก้ไข
เป็นช่ือหรือท่ีอยู่ใหม่ แล้วยกรายการไปลงใหม่ตามตัวอักษรช่ือที่เปล่ียนแปลงน้ัน โดยให้ลงใน
ชอ่ งหมายเหตวุ ่ายกไปลงในอกั ษรใด ทะเบยี นเลขที่ใด (ถา้ ม)ี

๖.๖ การเปล่ียนแปลงโดยลักษณะอ่ืน ถ้าเป็นกรณีท่ีต้องเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนก็
ใหเ้ ลือกปฏิบัตโิ ดยอนุโลมตามตวั อยา่ งที่กล่าวมา

เมื่อมีการเปล่ียนแปลงทางทะเบียนให้แจ้งกรมที่ดินทราบทุกครั้ง เพ่ือแก้ไขทะเบียน
ที่ดินคนต่างด้าวทางส่วนกลางให้ถูกต้องตรงกัน โดยสำเนาหรือรายงานตามรายการท่ี
เปลีย่ นแปลง พร้อมท้งั สง่ สำเนาหนงั สอื แสดงสทิ ธใิ นท่ีดนิ ไปดว้ ย



๗. แนวทางการพิจารณาของกรมท่ีดิน

๗.๑ บริษัทต่างด้าวขอจำหน่ายทีด่ ิน

ข้อเทจ็ จริง บริษัท อ. เป็นนิติบุคคลต่างด้าว เม่ือ พ.ศ. ๒๕๐๑ บริษัทได้รับ
อนุญาตจากรัฐมนตรีให้ซื้อที่ดิน ๑๐ แปลง โดยอาศัยสนธิสัญญาตามมาตรา ๘๖ แห่งประมวล
กฎหมายท่ดี นิ ต่อมาบริษัท อ. ตอ้ งการจำหนา่ ยทีด่ ินทง้ั ๑๐ แปลงดังกลา่ ว

ความเหน็

บรษิ ัท อ. เป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๙๗ แหง่ ประมวลกฎหมายท่ดี ิน และได้รับ
อนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินตามมาตรา ๘๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีความประสงค์จะขายที่
ดินเพ่ือนำเงินไปก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ เห็นควร
อนญุ าตให้บรษิ ัทขายท่ีดนิ แปลงดงั กลา่ วได้ แตเ่ นอื่ งจากการขายท่ดี ินของบริษทั ฯ จะต้องไดร้ ับ
อนุญาตจากรัฐมนตรีก่อนตามาตรา ๙๙ ประกอบมาตรา ๘๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และ
ตามกฎกระทรวงฉบับท่ี ๘ (พ.ศ.๒๔๙๗) ขอ้ ๑(๓)

794

หมายเหตุ ประเทศไทยได้ยกเลิกสนธิสัญญาเก่ียวกับการถือกรรมสิทธ์ิท่ีดินกับ
ประเทศต่าง ๆ แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔ ปัจจุบันคนต่างด้าวจึงไม่อาจขอได้มา
ซง่ึ ทด่ี ินตามมาตรา ๘๖ แหง่ ประมวลกฎหมายท่ดี ิน

๗.๒ บริษทั ต่างด้าวขอจำหนา่ ยท่ีดนิ

ขอ้ เท็จจรงิ

บริษัท A. เป็นนิติบุคคลต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก
รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทย ขอขายทด่ี ิน

ความเหน็

บริษัท A. เป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๘๖ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน ได้รับ
อนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เม่ือบริษัทต้องการขาย
ท่ีดินดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีฯ ก่อน ตามนัยมาตรา ๙๙ และ ๘๙ แห่งประมวล
กฎหมายท่ีดิน ประกอบกบั ข้อ ๑(๓) ของกฎกระทรวงฉบบั ที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๙๗)

๗.๓ คนต่างดา้ วขอจำหน่ายที่ดินย้อนหลงั

ข้อเท็จจริง

พนักงานเจ้าหน้าท่ีได้จดทะเบียนขายที่ดินของคนต่างด้าวโดยไม่ได้ขออนุญาต
จากรัฐมนตร

ความเห็น

คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ได้มาซ่ึงที่ดินจากรัฐมนตรี ตามมาตรา ๘๖ แจ้ง
การไม่ใช้ที่ดิน และขออนุญาตจำหน่ายท่ีดินตามมาตรา ๘๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และ
ตามกฎกระทรวงฉบับท่ี ๘ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ข้อ ๑(๓) พนักงานเจ้าหน้าท่ีได้ดำเนินการจด
ทะเบยี นสทิ ธแิ ละนติ ิกรรมไป โดยไมส่ ง่ เร่อื งขออนญุ าตก่อน เปน็ เพราะเจ้าหนา้ ทพ่ี ลงั้ เผลอไมม่ ี
เจตนาหลกี เล่ยี งกฎหมายแต่อยา่ งใด เหน็ ควรนำเรียนให้รฐั มนตรสี ่ังอนญุ าตยอ้ นหลัง

๗.๔ คนต่างดา้ วรับมรดกแล้วขอจำหนา่ ยทดี่ ินทัง้ หมด

ข้อเทจ็ จรงิ

คนต่างด้าวรับมรดกที่ดินตามมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน แล้วขอ
จำหน่ายที่ดินไปทั้งหมด

ความเห็น

นาง A. คนต่างด้าว เป็นมารดาของนาง ก. เจ้ามรดก นาง A. ขอรับมรดกใน
ฐานะทายาทโดยธรรม ตามมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เนื้อท่ี ๒ ไร่ ท่ีดินท่ีขอรับ
มรดกเป็นประเภทท่ีอยู่อาศัย ซึ่งเกินกำหนดสิทธิตามมาตรา ๙๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
ซ่ึงให้คนต่างด้าวมีสิทธิถือที่ดินเพ่ือเป็นที่อยู่อาศัย ได้ครอบครัวละ ๑ ไร่ กรณีน้ีผู้ขอได้ขอ
อนุญาตจำหน่ายที่ดินท่ีรับมรดกทั้งหมดไปในคราวเดียวกัน โดยจะจดทะเบียนให้ท่ีดินท้ังหมด
แกน่ าง ข. ซงึ่ เปน็ บุตรและเปน็ บคุ คลสญั ชาติไทย เหน็ ควรอนุญาตให้ผู้ขอรบั มรดกและจำหนา่ ย
ท่ีดินทั้งหมดไปในคราวเดียวกันได้ ตามนัยมาตรา ๙๓ และมาตรา ๘๙ แห่งประมวลกฎหมาย
ท่ีดิน ประกอบกบั ขอ้ ๑(๓) ของกฎกระทรวงฉบบั ท่ี ๘ (พ.ศ. ๒๔๙๗)


795

๗.๕ คนต่างดา้ วรับมรดกแล้วขอจำหนา่ ยทีด่ นิ ส่วนทีเ่ กนิ สทิ ธิ

ขอ้ เท็จจรงิ

คนต่างด้าวรับมรดกที่ดินตามมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แล้วขอ
จำหนา่ ยทดี่ ินเฉพาะสว่ นทีเ่ กินสิทธิตามมาตรา ๘๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดนิ

ความเหน็

นาย A. คนต่างด้าว เป็นบิดาของนาย ก. เจ้ามรดก นาย A. ขอรับมรดกใน
ฐานะทายาทโดยธรรม ตามมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน เน้ือที่ ๓ ไร่ ที่ดินท่ีขอรับ
มรดกเป็นประเภทท่ีอยู่อาศัยซ่ึงเกินกำหนดสิทธิตามาตรา ๘๗ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน
กรณีนี้ผขู้ อได้ขออนุญาตจำหนา่ ยท่ดี ินส่วนทเ่ี กินสทิ ธจิ ำนวน ๒ ไร่ ไปในคราวเดียวกนั โดยจะ
จดทะเบยี นให้แกน่ าย ข.ซึ่งเปน็ บุตรและเปน็ บุคคลสัญชาติไทยเหน็ ควรอนุญาตให้ผูข้ อรบั มรดก
ไปทั้งหมด ๓ ไร่ และจำหน่ายส่วนที่เกิน ๒ ไร่ ไปในคราวเดียวกันตามนัยมาตรา ๙๓ และ
มาตรา ๘๙ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน ประกอบกับข้อ ๑(๓) ของกฎกระทรวงฉบับท่ี ๘
(พ.ศ.๒๔๙๗)

796

797

798 บัญชตี รวจสอบขอ้ มูลที่ดินท่ีมอี ยเู่ ดิมของคนตา่ งดา้ ว ตามกฎกระทรวงฉบบั ที่ ๘ (พ.ศ.๒๔๙๗)

สำนักงานท่ีดินจงั หวัด........................

วันที.่ ........................................................

ช่อื .......................................นามสกุล.....................................อายุ........ปี เช้ือชาติ...........สญั ชาต.ิ ........... ชอ่ื บดิ า-มารดา........................................................

ทอ่ี ยเู่ ลขที.่ ..............ตำบล..........................อำเภอ...........................จังหวดั .................................มีใบสำคญั ประจำตัว/หนังสอื เดนิ ทาง เลขท.่ี .........................

ลงวันท.่ี .................................ออกใหโ้ ดย.....................................................................................

ลำดบั หนังสือแสดงสิทธิในทด่ี ิน ทดี่ นิ ตัง้ อยู่ท่ ี จำนวนทดี่ ิน ประเภทการใช้ประโยชน์ อนุญาต ประเภทการ หมายเหต

ที่ ชนดิ เลขท่ ี หน้า หมทู่ ี ่ ตำบล อำเภอ จงั หวัด ไร ่ งาน วา ทีอ่ ยอู่ าศัย/เกษตรกรรม วัน เดอื น ปี จดทะเบียน

สำรวจ พาณชิ ยกรรมฯลฯ วนั เดอื น ป

ทีด่ ิน

เดิม







ขอ

คร้งั น้ี









หมายเหตุ ให้ระบุชือ่ ผรู้ บั โอนและสญั ชาตใิ นชอ่ งหมายเหต



ลชื่อ.....................................เจา้ หนา้ ท ่ี ลงชื่อ..........................................หวั หน้าฝ่าย............. ลงชอ่ื ............................................เจ้าพนกั งานที่ดินจงั หวดั

(............................................) (.............................................) (........................................)

................./............/.............. ................./............/.............. ................./............/..............

799 รายงานผลการสั่งอนุญาตของคนต่างดา้ ว ตามกฎกระทรวงฉบบั ท่ี ๘ (พ.ศ.๒๔๙๗)

สำนกั งานทีด่ นิ จงั หวดั ........................

วนั ท.่ี ........................................................

ชื่อ.......................................นามสกลุ .....................................อาย.ุ .......ปี เช้อื ชาต.ิ ..........สญั ชาต.ิ ........... ชอ่ื บิดา-มารดา........................................................

ทีอ่ ยูเ่ ลขท่ี...............ตำบล..........................อำเภอ...........................จังหวัด.................................มีใบสำคญั ประจำตัว/หนังสือเดนิ ทาง เลขท.ี่ .........................

ลงวันที่..................................ออกให้โดย.....................................................................................

ลำดบั หนงั สือแสดงสิทธิในท่ีดนิ ท่ดี นิ ต้ังอยทู่ ี่ จำนวนที่ดิน ประเภทการใช้ประโยชน์ อนญุ าต ประเภทการ หมายเหตุ

ที่ ชนิด เลขท ี่ หน้า หมูท่ ่ี ตำบล อำเภอ จงั หวดั ไร่ งาน วา ท่อี ยู่อาศัย/เกษตรกรรม วัน เดอื น ป ี จดทะเบียน

สำรวจ พาณชิ ยกรรมฯลฯ วนั เดอื น ป























หมายเหต ุ ใหร้ ะบชุ อ่ื ผ้รู ับโอนและสัญชาตใิ นช่องหมายเหต



ลช่ือ.....................................เจ้าหน้าท่ ี ลงช่อื ..........................................หวั หน้าฝา่ ย............. ลงชื่อ............................................เจ้าพนกั งานท่ีดนิ จงั หวัด

(............................................) (.............................................) (........................................)

................./............/.............. ................./............/.............. ................./............/..............

800 บัญชีทะเบยี นที่ดนิ ของคนต่างดา้ ว

อกั ษร......................................................................................................

ทะเบยี นเลขท่ี (ลำดบั ที่คำขอ/ปีงบประมาณ..............................

ชอ่ื .......................................นามสกลุ .....................................อายุ........ปี เชือ้ ชาต.ิ ..........สัญชาติ............ ชอ่ื บดิ า-มารดา........................................................

ที่อยู่เลขท่.ี ..............ตำบล..........................อำเภอ...........................จังหวัด.................................มีใบสำคัญประจำตวั /หนงั สอื เดนิ ทาง เลขที.่ .........................

ลงวนั ท่ี..................................ออกใหโ้ ดย.....................................................................................

ลำดบั หนังสือแสดงสิทธิในท่ีดนิ ท่ีดนิ ตง้ั อย่ทู ี่ จำนวนท่ีดิน ประเภทการใชป้ ระโยชน์ อนุญาต ประเภทการ หมายเหตุ

ท ี่ ชนิด เลขท ี่ หน้า หมู่ท่ี ตำบล อำเภอ จงั หวดั ไร่ งาน วา ทีอ่ ยูอ่ าศยั /เกษตรกรรม วนั เดือน ป ี จดทะเบียน

สำรวจ พาณชิ ยกรรมฯลฯ วนั เดอื น ปี

(สำเนา)


ท่ ี มท ๐๕๑๕/ว ๒๑๖๐๗ กรมที่ดนิ

ถนนพระพพิ ิธ กทม. ๑๐๒๐๐

๒ สงิ หาคม ๒๕๔๙

เรือ่ ง ระเบียบกรมท่ีดิน ว่าด้วยแบบคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่ดินและ


อสังหารมิ ทรัพยอ์ ยา่ งอ่นื พ.ศ. ๒๕๔๙

เรยี น ผ้วู ่าราชการจังหวัด ทุกจงั หวดั

อา้ งถงึ หนังสือกรมทีด่ ิน ดว่ นท่สี ุด ท่ี มท ๐๕๐๕.๔/ว ๑๙๑๓๒

ลงวันท่ี ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙

ส่งิ ทส่ี ง่ มาด้วย ระเบียบกรมท่ีดิน ว่าด้วยแบบคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับ

ท่ดี นิ และอสงั หาริมทรพั ย์อย่างอืน่ พ.ศ. ๒๕๔๙



ตามท่ีกรมท่ีดินได้แจ้งให้ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่
๕๒ (พ.ศ.๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ.๒๕๔๙
โดยแก้ไขหลักเกณฑ์การกำหนดแบบคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซ่ึงเดิมเป็นไปตาม
แบบคำขอท้ายกฎกระทรวงเป็นกำหนดให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมที่ดิน เป็นผู้ประกาศ
กำหนดแบบคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำหรับท่ีดินที่มีโฉนดท่ีดิน (ท.ด.๑) และ
สำหรบั ท่ีดนิ ที่ยังไม่มโี ฉนดท่ีดินและอสงั หารมิ ทรพั ย์อยา่ งอืน่ (ท.ด.๑ ก) แทน นน้ั

กรมท่ดี ินพิจารณาแล้ว เพือ่ ใหเ้ ป็นไปตามกฎกระทรวงดงั กลา่ วอธิบดีกรมทดี่ นิ จงึ ได้
กำหนดแบบคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ท.ด.๑, ท.ด.๑ ก) เป็นระเบียบกรมที่ดิน ว่า
ด้วยแบบคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับท่ีดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอ่ืน พ.ศ.
๒๕๔๙ ท้งั น้ี ระเบียบกรมทดี่ ินดงั กลา่ ว ให้มีผลใชบ้ ังคับต้ังแตว่ ันท่ี ๓ กนั ยายน ๒๕๔๙ เป็นตน้
ไป รายละเอียดปรากฏตามส่ิงทสี่ ง่ มาด้วย

จึงเรียนมาเพ่อื โปรดทราบ และแจง้ ให้พนักงานเจา้ หน้าท่ีทราบและถอื ปฏบิ ตั ติ อ่ ไป



ขอแสดงความนบั ถือ



(ลงช่อื ) พรี พล ไตรทศาวิทย์

(นายพีรพล ไตรทศาวิทย)์

อธบิ ดีกรมทด่ี ิน

สำนกั มาตรฐานการทะเบยี นทด่ี นิ

โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๖๑๙๖ โทรสาร ๐ ๒๒๒๑ ๐๘๗๓

โทร. (มท) ๕๐๘๐๑-๑๒ ตอ่ ๒๒๕


801

ระเบ(ียสบำกเ
นราม)ท
ด่ี นิ


วา่ ดว้ ยแบบคำขอจดทะเบยี นสทิ ธิและนิติกรรมสำหรบั ท่ีดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอ่ืน

พ.ศ.๒๕๔๙


----------------------

โดยท่ีมีกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๒ (พ.ศ.๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
ให้ใชป้ ระมวลกฎหมายท่ดี ิน พ.ศ.๒๔๙๗ แก้ไขเพิ่มเตมิ ความในขอ้ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่
๗ (พ.ศ.๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
ซ่ึงแก้ไขเพ่ิมเติมโดยกฎกระทรวงฉบับท่ี ๔๒ (พ.ศ.๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ โดยแก้ไขหลักเกณฑ์การกำหนดแบบคำขอจด
ทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่ดินท่ีมีโฉนดที่ดิน (ท.ด.๑) และสำหรับท่ีดินท่ียังไม่มีโฉนด
ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอ่ืน (ท.ด.๑ ก) ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมที่ดินประกาศ
กำหนด

ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗
(พ.ศ.๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ ซ่ึง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับท่ี ๕๒ (พ.ศ.๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้
ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ อธิบดีกรมที่ดินจึงออกระเบียบกำหนดแบบคำขอจด
ทะเบยี นสิทธิและนติ กิ รรมไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบน้ีเรียกว่า “ระเบียบกรมท่ีดิน ว่าด้วยแบบคำขอจดทะเบียนสิทธิและ
นติ ิกรรมสำหรับทด่ี ินและอสังหารมิ ทรัพย์อยา่ งอน่ื พ.ศ.๒๕๔๙”

ขอ้ ๒ ระเบยี บนใ้ี ห้ใช้บงั คบั ต้ังแต่วนั ท่ี ๓ กนั ยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป

ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ขอ้ กำหนด หรือคำส่ังอื่นใดในส่วนทีก่ ำหนดไวแ้ ลว้ ในระเบยี บ
นี้ หรอื ซึ่งขัดหรอื แยง้ กับระเบยี บนีใ้ หใ้ ชร้ ะเบียบนี้แทน

ข้อ ๔ คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่ดินท่ีมีโฉนดที่ดิน ให้ใช้แบบ
คำขอจดทะเบียนสิทธิและนติ ิกรรม (ท.ด.๑) ทา้ ยระเบยี บน้ี

สำนักงานที่ดินที่ใช้ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ท่ีพัฒนาโดยกรมท่ีดินจัดพิมพ์
คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ท.ด.๑) ลงในกระดาษต่อเน่ืองหรือกระดาษเปล่า เฉพาะ
ในส่วนประเภทท่ีดินท่ีระบุไว้มุมบนด้านขวา และในส่วนสำหรับพนักงานเจ้าหน้าท่ีด้านล่างของ
แบบคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ท.ด.๑) พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิมพ์เฉพาะส่วนที่ใช้
ดำเนนิ การเท่าน้นั ก็ได้

ข้อ ๕ คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่ดินท่ียังไม่มีโฉนดที่ดินและ
อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น ให้ใช้แบบคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ท.ด.๑ ก) ท้าย
ระเบียบนี้

802

สำนักงานที่ดินท่ีใช้ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโดยกรมที่ดินจัดพิมพ์
คำขอจดทะเบยี นสทิ ธิและนติ ิกรรม (ท.ด.๑ ก) ลงในกระดาษตอ่ เน่อื งหรอื กระดาษเปล่า เฉพาะ
ในส่วนประเภทที่ดินที่ระบุไว้มุมบนด้านขวา และประเภทอสังหาริมทรัพย์ในข้อ ก. ที่ดิน หรือ
ในข้อ ข. อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น และในส่วนสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ด้านล่างของแบบ
คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ท.ด.๑ ก) พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิมพ์เฉพาะส่วนท่ีใช้
ดำเนินการเท่านัน้ ก็ได้

ขอ้ ๖ ใหผ้ อู้ ำนวยการสำนักมาตรฐานการทะเบยี นทีด่ ินเปน็ ผ้รู กั ษาการตามระเบยี บ
น้




ประกาศ ณ วันท่ี ๒ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๔๙




(ลงชือ่ ) พีรพล ไตรทศาวิทย

(นายพรี พล ไตรทศาวิทย์)

อธบิ ดีกรมท่ดี ิน














803

804

805

(สำเนา)


ท ี่ มท ๐๕๑๕/ว ๒๑๘๐๓ กรมที่ดนิ

ถนนพระพพิ ิธ กทม. ๑๐๒๐๐

๓ สิงหาคม ๒๕๔๙

เรอ่ื ง การยกเว้นภาษีอากรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.

๒๕๔๒

เรยี น ผ้วู ่าราชการจงั หวัด ทกุ จงั หวดั

อา้ งถงึ หนงั สอื กรมทีด่ นิ ด่วนที่สุด ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๐๖๘๐๕ ลงวนั ท่ี ๓ มนี าคม ๒๕๔๙

สงิ่ ทสี่ ่งมาดว้ ย สำเนาพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น


รษั ฎากร (ฉบบั ที่ ๔๕๙) พ.ศ.๒๕๔๙



ตามหนังสือที่อ้างถึง กรมท่ีดินได้แจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอน
อสังหาริมทรัพย์ที่ตกเป็นของกองทุนฟ้ืนฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามมาตรา ๓๗/๙ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟ้ืนฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.๒๕๔๒ ว่าให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีจด
ทะเบียนประเภท “โอนตามกฎหมาย (มาตรา ๓๗/๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟ้ืนฟูและ
พัฒนาเกษตรกร พ.ศ.๒๕๔๒)” โดยยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตาม
มาตรา ๓๗/๑๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีธุรกจิ เฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้เรยี กเกบ็ ปกติจนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาตามประมวล
รัษฎากรออกมายกเว้นให้ น้นั

บัดนี้ ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น
รษั ฎากร (ฉบบั ท่ี ๔๕๙) พ.ศ.๒๕๔๙ กำหนดใหย้ กเวน้ ภาษีเงนิ ได้ ภาษธี รุ กิจเฉพาะ และอากร
แสตมป์ ให้แกเ่ กษตรกร สำหรบั เงนิ ได้ รายรับ และการกระทำตราสาร อนั เนื่องมาจากการโอน
อสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกร ที่ใช้เป็นหลักประกันการชำระหน้ีให้แก่กองทุนฟ้ืนฟูและพัฒนา
เกษตรกร ในการรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหน้ีของเกษตรกร รวมถึงกำหนดให้ยกเว้นภาษี
ธุรกจิ เฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่กองทนุ ฟ้นื ฟูและพฒั นาเกษตรกร สำหรับรายรบั และการ
กระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการให้กู้ยืมเงินหรือการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ตกและโอนมาเป็น

806

ของกองทุนคืนให้แก่เกษตรกร ท้ังนี้ เฉพาะการให้กู้ยืมเงิน การโอนอสังหาริมทรัพย์ และการ
กระทำตราสารทไ่ี ด้กระทำต้ังแตว่ ันท่ี ๑ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นตน้ ไป รายละเอยี ดตามสง่ิ
ทส่ี ง่ มาดว้ ย

จงึ เรียนมาเพื่อโปรดทราบ และสั่งให้เจา้ หนา้ ท่ที ่ีดินทราบและถือปฏิบัตติ อ่ ไป



ขอแสดงความนบั ถอื



(ลงช่ือ) วา่ ที่ ร.ต. ขนั ธ์ชัย วิจกั ขณะ

(ขนั ธช์ ัย วจิ ักขณะ)

รองอธิบดี ปฏิบัตริ าชการแทน

อธิบดีกรมทด่ี ิน











สำนักมาตรฐานการทะเบียนท่ดี ิน

โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๖๑๙๖ โทรสาร ๐ ๒๒๒๑ ๓๘๗๓

โทร. (มท) ๕๐๘๐๑-๑๒ ตอ่ ๒๒๕



















807

พระร(สาชำเก
นฤาษ)
ฎีกา


ออกตามความในประมวลรษั ฎากร

วา่ ด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบบั ท่ี ๔๕๙)


พ.ศ. ๒๕๔๙


ภมู พิ ---ล----อ----ด----ุล----ย----เ--ด----ช-----
ป.ร.


ให้ไว้ ณ วนั ท่ี ๒๑ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๔๙

เป็นปที ี่ ๖๑ ในรัชกาลปัจจุบนั




พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด
เกล้าฯ ใหป้ ระกาศว่า

โดยท่ีเป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ บาง
กรณ

อาศยั อำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย และ
มาตรา ๓(๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซ่ึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพ่ิมเติม
ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายท่ีมีบทบัญญัติบางประการเกี่ยว
กบั การจำกดั สิทธแิ ละเสรภี าพของบคุ คลซ่ึงมาตรา ๒๙ ประกอบกบั มาตรา ๓๕ และมาตรา ๔๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง
กฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎกี าข้ึนไว้ ดงั ต่อไปน้ี

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกาน้เี รยี กวา่ “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล
รษั ฎากร ว่าด้วยการยกเวน้ รษั ฎากร (ฉบับที่ ๔๕๙) พ.ศ.๒๕๔๙”

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกาน้ีให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา
นเุ บกษาเป็นตน้ ไป

มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎกี าน
ี้
“เกษตรกร” หมายความว่า เกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา
เกษตรกรท่ีเข้ากระบวนการฟ้ืนฟูและพัฒนาเกษตรกรตามระเบียบท่ีคณะกรรมการกองทุน
ฟ้นื ฟแู ละพัฒนาเกษตรกรกำหนด

“กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” หมายความว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนา
เกษตรกรตามกฎหมายวา่ ดว้ ยกองทนุ ฟืน้ ฟแู ละพฒั นาเกษตรกร

“คณะกรรมการกองทุนฟ้ืนฟูและพัฒนาเกษตรกร” หมายความว่า คณะกรรมการ
กองทนุ ฟ้ืนฟแู ละพัฒนาเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟืน้ ฟแู ละพัฒนาเกษตรกร

“สถาบนั การเงิน” หมายความวา่ สถาบันการเงินตามกฎหมายวา่ ดว้ ยกองทุนฟ้นื ฟู
808

และพัฒนาเกษตรกร

มาตรา ๔ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวล
รัษฎากรให้แก่เกษตรกรที่เป็นลูกหน้ีของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ท่ีได้รับจากการปลดหนี้
ของสถาบันการเงนิ ซึ่งได้กระทำตง้ั แต่วนั ท่ี ๑ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นตน้ ไป

มาตรา ๕ ให้ยกเว้นภาษีเงินไดต้ ามส่วน ๒ หมวด ๓ ภาษธี รุ กิจเฉพาะตามหมวด ๕
และอากรแสตมป์ตามหมวด ๖ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แกเ่ กษตรกร สำหรับเงิน
ได้รายรับ และการกระทำตราสาร อันเน่ืองมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ใช้
เป็นหลกั ประกนั การชำระหนใ้ี ห้แก่กองทนุ ฟน้ื ฟูและพัฒนาเกษตรกร ในการรับภาระชำระหนใี้ ห้
แก่เจ้าหน้ีของเกษตรกร ทั้งนี้ เฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารที่ได้
กระทำตั้งแตว่ นั ที่ ๑ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๙ เปน็ ต้นไป

มาตรา ๖ ใหย้ กเว้นภาษีธุรกจิ เฉพาะตามหมวด ๕ และอากรแสตมป์ตามหมวด ๖
ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่กองทุนฟ้ืนฟูและพัฒนาเกษตรกรสำหรับรายรับและ
การกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการให้กู้ยืมเงินหรือการโอนอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา ๕
คืนให้แก่เกษตรกร ทั้งน้ี เฉพาะการให้กู้ยืมเงิน การโอนอสังหาริมทรัพย์ และการกระทำ
ตราสารท่ีได้กระทำต้ังแตว่ นั ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๙ เปน็ ต้นไป

มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลงั รักษาการตามพระราชกฤษฎกี าน
ี้


ผรู้ บั สนองพระบรมราชโองการ



พนั ตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

นายกรฐั มนตร













หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับน้ี คือ โดยที่การดำเนินการ
แก้ไขปัญหาหนี้ภาคเกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟ้ืนฟูและพัฒนาเกษตรกร กองทุน
ฟนื้ ฟูและพัฒนาเกษตรกรจะเปน็ ผูช้ ำระหนใ้ี ห้แกเ่ จ้าหนเ้ี กษตรกร โดยเกษตรกรจะตอ้ งชำระหน้ี
คืนให้แก่กองทุน หรือโอนอสังหาริมทรัพย์ท่ีใช้เป็นหลักประกันการชำระหน้ีให้แก่กองทุนแล้ว
ซื้อคืนจากกองทุนในภายหลัง ดังน้ัน เพ่ือสนับสนุนการดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา
เกษตรกรในการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคเกษตรกรตามนโยบายของรัฐบาล สมควรยกเว้นภาษีเงิน
ไดบ้ ุคคลธรรมดา ภาษีธุรกจิ เฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการดำเนนิ การดังกล่าว จึงจำเปน็
ต้องตราพระราชกฤษฎีกาน้ี


809

(สำเนา)


ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๒๑๙๘๒ กรมทีด่ นิ

ถนนพระพิพิธ กทม. ๑๐๒๐๐

๔ สิงหาคม ๒๕๔๙

เร่ือง การเผยแพรค่ ู่มือการจัดทำคำขอ สัญญา บันทกึ ขอ้ ตกลง และสารบัญจดทะเบยี น

เกย่ี วกบั การจดทะเบยี นสิทธิและนติ กิ รรม

เรยี น ผ้วู ่าราชการจงั หวดั ทกุ จงั หวดั



ด้วยกรมท่ีดินเห็นว่าการให้บริการในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่าง ๆ
เกี่ยวกับท่ีดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอ่ืน มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายและ
ระเบียบของกรมท่ีดินหลายขั้นตอน ได้แก่ การจัดทำคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จัดทำ
สัญญาหรือบันทึกข้อตกลงแต่ละประเภทตลอดจนบันทึกรายการจดทะเบียนในหนังสือแสดง
สิทธิในท่ีดิน ฉะน้ัน การจัดทำตัวอย่างคำขอ สัญญาบันทึกข้อตกลง และสารบัญจดทะเบียน
เก่ียวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้การบริการด้านการจด
ทะเบยี นสทิ ธแิ ละนติ กิ รรมของพนกั งานเจ้าหน้าทใี่ นสำนกงานที่ดินตา่ ง ๆ มีประสทิ ธิภาพยิง่ ข้ึน
เกิดความคล่องตัวสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นมาตรฐาน
เดียวกันทุกแห่ง ทำให้ประชาชนเกิดความเช่ือมั่นและพึงพอใจในการดำเนินการของพนักงาน
เจ้าหนา้ ทก่ี อ่ ให้เกิดผลสมั ฤทธ์ิตอ่ ภารกจิ ของกรมทด่ี นิ

กรมที่ดินจึงได้จัดทำคู่มือการจัดทำคำขอ สัญญา บันทึกข้อตกลง และสารบัญจด
ทะเบียนประกอบด้วยตัวอย่างการจัดทำคำขอ สัญญา บันทึกข้อตกลง และสารบัญจดทะเบียน
ของการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทุกประเภท ตัวอย่างการเขียนคำขออายัดที่ดินตลอดจน
ตัวอย่างการเขียนคำขอเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ซึ่งกรมท่ีดินได้ทยอยนำข้อมูลลงในเว็บไซต์ของกรม
ที่ดินแล้ว โดยพนักงานเจ้าหน้าที่และประชาชนสามารถเรียกดูได้จากเว็บไซด์ของกรมท่ีดิน
www.dol.go.th ในหนเ้ ว็บเพจของ สมท. www.dol.go.th/lo/smt ในหัวเรอ่ื งคมู่ ือการจดทะเบยี น
สิทธิและนิติกรรม และในการนี้ได้จัดทำเป็นหนังสอื ค่มู ือด้วย โดยขณะนอี้ ยู่ระหว่างการจัดพมิ พ์
เป็นรูปเล่มและเมื่อกรมท่ีดินได้ดำเนินการจัดทำเป็นรูปเล่มเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้แจกจ่ายให้
สำนักงานท่ดี นิ เพ่ือใชเ้ ปน็ คู่มือในการปฏบิ ัตงิ านต่อไป










810


Click to View FlipBook Version