51 โทดะ ประธานสมาคม ที่ยืนหยัดขึ้นเพียงลำาพังและให้คำามั่นสัญญา ที่จะทำาการเผยแผ่ธรรมไพศาลบรรลุผลสำาเร็จให้ได้ สายตาของอาจารย์โทดะจับจ้องเพ่งมองอยู่ที่ ความสุขของมวลมนุษยชาติเพียงอย่างเดียว ท่านมิได้พยายามทำา เพียงเพื่อแผ่ขยายศาสนาเท่านั้น สภาพชีวิตของท่านกว้างใหญ่ ไพศาลกว่านั้นมากทีเดียว ผมยังคงรำาลึกถึงคำาพูดที่ท่านพูดไว้เมื่อ หลายปก่อน (7 เมษายน ค.ศ. 1952) ว่า : “ผมจะเปนเสาหลักของประเทศญี่ปุน” หมายถึง เจ ้านาย “ผมจะเปนดวงตาของประเทศญี่ปุน” หมายถึง ผู้นำา อาจารย์ของประเทศ “ผมจะเปนเรือใหญของประเทศญี่ปุน” หมายถึง บิดามารดา นี่เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวหนึ่งในล้านส่วนของ เจตนารมณ์ของพระนิชิเร็นไดโชนิน ผู้ทรงคุณธรรม 3 ประการแห่ง เจ้านาย อาจารย์ และบิดามารดา ขอให้พวกเราทุ่มเทตัวของเราเอง เพื่อนำาความสุขมาสู่ผู้คนในประเทศญี่ปุน2 โอวาทแด่ยุวชน อาจารย์โทดะได้สื่อถึงแผนงานของ ท่านที่จะทำาการเผยแผ่ธรรมไพศาลในเอเชียและทั่วโลกให้บรรลุผล สำาเร็จ 2 โจเซอิ โทดะ, โทดะ โจเซอิ เซ็นชู (รวบรวมข้อเขียนของโจเซอิ โทดะ) (โตเกียว : เซเคียว ชิมบุนฉะ, ค.ศ. 1983) เลมที่ 3 หน้า 472
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 31 07-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเริ่มต้นด้วยปณิธานในการนำาพา ประชาชนทุกคนไปสู่ความสุข ความมุ่งมั่นตั้งใจอันแรงกล้าของ อาจารย์โทดะ ที่จะบรรลุเปาหมายนี้ทำาให้สมาคมโซคาเป็นดังเช่น ทุกวันนี้ ไซโต : วันนี้ ผมอยากจะพูดคุยถึงความสำาคัญของการก่อตั้งคำาสอน ของพระนิชิเร็นไดโชนินเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1253 โดยเข้าถึง เรื่องนี้ด้วยการสนทนาจากมุมมองดังเช่น การใคร่ครวญอย่าง รอบคอบของพระนิชิเร็นไดโชนินก่อนการประกาศคำาสอนของท่าน สถานการณ์รอบด้านขณะที่ท่านทำาการปาวประกาศ และความ หมายของการหักล้างคำาสอนของพุทธศาสนานิกายหลักในขณะนั้น ควำมคิดค�ำนึงของพระนิชิเร็นไดโชนิน กอนประกาศกอตั้งคําสอน ไซโต : ขอเริ่มต้นด้วยการพิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ของพระนิชิเร็น ไดโชนินที่นำาไปสู่การก่อตั้งคำาสอนของท่าน ซึ่งเห็นได้กระจ่างชัดจาก งานเขียนของท่าน ที่ให้ความสำาคัญกับการคิดคำานึงอย่างจริงจังและ เข้าสู่ฌานสมาธิเพ่งพินิจอย่างลึกซึ้งก่อนจะได้ข้อสรุป อาจารยอิเคดะ : ในธรรมนิพนธ์เรื่อง “เปดดวงตา” และ “การตอบแทน บุญคุณ” ท่านบรรยายความคิดของท่านไว้ในรายละเอียด3
53 ไซโต : ข้อความในธรรมนิพนธ์เรื่อง “เปดดวงตา” กล่าวว่า : อาตมานิชิเร็นเป็นผู้เดียวในประเทศญี่ปุนที่เข้าใจใน เร ื ่องน ี ้ แต ่ถ ้าอาตมาพูดเร ื ่องน ี ้ออกมาแม ้เพ ียงค ำาเด ียวแล ้ว บ ิดา มารดา พี่น้อง อาจารย์ จะต้องติเตียนอาตมา และผู้ปกครองประเทศ ก็จะจัดการกับอาตมาอย่างแน่นอน ในทางกลับกัน อาตมาก็ ตระหน ักด ีว ่า ถ ้าไม ่พูดออกมาแล ้ว ก ็จะเป ็นการไร ้ความเมตตา อาตมาจ ึงได ้พ ิจารณาว ่าแนวทางไหนท ี ่จะเป ็นไปตามค ำาสอนของ สัทธรรมปุณฑริกสูตรและนิรวาณสูตร หากนิ่งเงียบเสีย ก็อาจจะ หลีกหนีการบีฑาในชาตินี้ได้ แต่ชาติหน้าจะต้องตกนรกอเวจีอย่าง แน่นอนที่สุด และถ้าพูดออกมา อาตมาก็ตระหนักดีว่าจะต้องต่อสู้ กับอุปสรรค 3 มาร 4 และในสองแนวทางนี้ แน่นอนว่าจะเลือก แนวทางหลัง 3 ในธรรมนิพนธ์เรื่อง “การตอบแทนบุญคุณ” พระนิชิเร็นไดโชนินกลาววา “อาตมาจะทําเชนใดได้เลา หากอาตมาพูดออกมา ก็ต้องเผชิญกับการ ตอต้านที่นากลัวจากโลกกว้าง แตหากอาตมาเงียบเฉย ก็ยากที่จะรอดพ้น การลงโทษของความผิดพลาดในการเอาใจใสตอคําตักเตือนที่เข้มงวด ของพระพุทธะ ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยหลัง หนทางของอาตมาก็ถูกปด บางทีอาจจะเปนที่คาดหวังด้วย ดังสัทธรรมปุณฑริกสูตรกลาววา ‘เนื่องจากความเกลียดชังและความริษยาตอพระสูตรนี้มีมาก แม้ในขณะที่ พระตถาคตเจ้ายังอยูในโลก นับประสาอะไรกับในสมัยหลังจากพระองค์ ปรินิพพานแล้ว’ [สัทธรรมปุณฑริกสูตรฉบับภาษาไทย บทที่ 10 หน้า 274] และ ‘พระสูตรนี้ [สัทธรรมปุณฑริกสูตร] จะเผชิญกับความมุงร้ายอยาง มากมายในโลกนี้ และเปนพระสูตรที่เชื่อยาก’” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษา อังกฤษ เลม 1 หน้า 695)
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 31 07-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ถ้าอาตมาลังเลใจที่จะเผชิญการบีฑาจากผู้ปกครอง ประเทศแล้ว ก็น่าจะไม่พูดออกมา ในขณะที่ตรึกตรองเรื่องนี้ อาตมา ก็นึกถึงคำาสอนใน “บทการปรากฏใหเห็นของหอรัตนะ” เกี่ยวกับ การปฏิบัติยาก 6 อย่าง ง่าย 9 อย่าง บุคคลผู้มีพละกำาลังเล็กน้อย อย่างอาตมา ก็ยังสามารถขว้างเขาพระสุเมรุออกไปได้ บุคคลผู้ไร้ อิทธิฤทธิ์อย่างอาตมา เมื่อสมัยเกิดไฟประลัยกัลป ก็ยังสามารถแบก ฟอนหญ้าแห้งผ่านไปได้โดยไม่ไหม้ไฟ และบุคคลผู้ไร้ปญญาอย่าง อาตมายังสามารถอ่านและจดจำาพระสูตรทั้งหลายที่มีมามากมาย เท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำาคงคาได้ และพวกเราได้รับการบอกกล่าว ว่า การปฏิบัติเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อเทียบกับความยากลำาบาก ในการยึดถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรแม้เพียงหนึ่งวลีหรือหนึ่งคาถาใน สมัยธรรมปลาย แต่จะอย่างไรก็ตาม อาตมาตั้งปณิธานว่าจะปลุกเร้า โพธิจิตอันเข้มแข็งเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ และพากเพียรต่อสู้โดยไม่ ท้อถอย (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 239 – 240) ข้อความนี้อธิบายอย่างชัดเจน ถึงความรู้สึกนึกคิด ที่ลึกซึ้งของพระนิชิเร็นไดโชนิน ที่อยู่เบื้องหลังการก่อตั้งคำาสอนของ ท่าน อาจารยอิเคดะ : ท่านกำาลังพูดถึงการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ ต่อการกระทำา อันชั่วร้ายของมารที่แพร่กระจายครอบคลุมไปทั่วจักรวาล สิ่งนี้ สามารถถือเป็นการต่อสู้ทางจิตวิญญาณขั้นพื้นฐานที่สุดของ
55 พุทธธรรมก็ว่าได้ พระนิชิเร็นไดโชนินตระหนักดีว่ามีเพียงการเอาชนะ อย่างเด็ดขาดในการต่อสู้ครั้งนี้เท่านั้น พุทธธรรมจึงจะเริ่มเผยแผ่ออก ไปได้ ซึ่งเป็นจริงเช่นเดียวกับพระศากยมุนีพุทธะ หากพระองค์ตรัส ความจริงออกมา ก็จะต้องเผชิญกับการบีฑาครั้งยิ่งใหญ่ หากไม่ตรัส ออกมา พระองค์ก็จะขาดซึ่งความเมตตา พระสูตรกล่าวไว้ชัดเจนว่า ต้องพูดออกมาเพื่อนำาพา ประชาชนไปสู่การรู้แจ้ง นี่คือสิ่งที่พระนิชิเร็นไดโชนินได้ตั้งปณิธาน ไว้ ความมุ่งมั่นตั้งใจที่ว่าเมื่อท่านพูดออกมาแล้ว จะไม่มีวันถอยกลับ ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับการบีฑาครั้งยิ่งใหญ่ก็ตาม ราวกับท่านแล่น เรือฝาออกไปเพียงลำาพังท่ามกลางพายุที่ถาโถมอย่างบ้าคลั่ง ทว่า ท ่านก ็ต ้องม ุ ่งหน ้าไป ท ่านต ้องไปช ่วยเหล ือประชาชนผู ้ซ ึ ่งเร ือของ พวกเขาอับปางลงในทะเลปนปวนของสังคม ฉะนั้น “เรือใหญ” จึงมีความสำาคัญยิ่งต่อความเพียร พยายามของเรา อีกนัยหนึ่งคือ เราเองก็ต้องมีความพากเพียรที่ตั้ง อยู่บนมหาปณิธานเช่นกัน ปณิธานนี้พบได้ในความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะ ชนะในการต่อสู้กับการกระทำาที่ชั่วร้ายทั้งหลาย และความมุ่งมั่น ตั้งใจนี้จะต้องเป็นจุดเริ่มต้นการออกเดินทางของเรา ไซโต : พระนิชิเร็นไดโชนินตั้งปณิธานของท่านหลังจากหวนคิดถึง เรื่องการปฏิบัติยาก 6 อย่าง ง่าย 9 อย่าง4 ที่พรรณนาอยู่ในสัทธรรม ปุณฑริกสูตร บทที่ 11 บท “การปรากฏใหเห็นของหอรัตนะ”
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 31 07-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ อาจารยอิเคดะ : พระศากยมุนีพุทธะทรงเทศนาเรื่องการปฏิบัติยาก 6 อย่าง ง่าย 9 อย่าง แก่ที่ประชุมของเหล่าโพธิสัตว์เพื่อให้พวกเขา ตระหนักรู้ว่า พวกเขาควรจะสืบทอดความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของ พระพุทธะและบากบั่นในการทำาให้บรรลุผลสำาเร็จ ไม่ว่าพวกเขาจะ ต้องเผชิญกับการกดข ี่บีฑารุนแรงเพ ียงใดก็ตาม กล่าวอีกนัยหนึ่ง คำาตักเตือนสุดท้ายของพระองค์คือ “เราตองการใหพวกเธอ ทั้งหลาย ทำาใหความปรารถนาอันยิ่งใหญของพระพุทธะปรากฏ เปนจริง ทั้งตระหนักรูอยางเต็มที่วาพวกเธอทั้งหลาย จะพบกับ การกดขี่บีฑาอันใหญหลวง” ไม ่ว ่าจะอย ่างไร ค ำาสอนท ี ่ถูกต ้องของพ ุทธศาสนา ดำารงอยู่จนถึงทุกวันนี้ เพราะพระนิชิเร็นไดโชนินได้เริ่มเทศนาธรรม 4 การปฏิบัติยาก 6 อยาง งาย 9 อยาง : การปฏิบัติยาก 6 อยาง ได้แก 1) การเผยแผสัทธรรมปุณฑริกสูตรอยาง กว้างขวาง 2) การคัดลอกหรือการทําให้ผู้อื่นคัดลอกสัทธรรมปุณฑริกสูตร 3) การสวดทองสัทธรรมปุณฑริกสูตรแม้ในเวลาสั้น ๆ 4) การสอนสัทธรรม ปุณฑริกสูตรให้แม้เพียงคนเดียว 5) การฟงและยอมรับแล้วแสวงหา ความหมายของพระสูตร และ 6) การตั้งมั่นศรัทธาในสัทธรรมปุณฑริกสูตร การปฏิบัติงาย 9 อยาง เชน การเดินเข้าไปในกองไฟโดยแบกฟอนหญ้าแห้งไว้ บนหลังโดยไฟไมไหม้ การใช้นิ้วดีดตรีสหัสสะมหาสหัสสะโลกธาตุไปยังดินแดน อื่นที่หางไกล หรือการจับเขาพระสุเมรุขว้างออกไปไกลข้ามดินแดนพระพุทธะ ที่มีอยูนับไมถ้วน แม้การปฏิบัติงาย 9 อยางนั้นเปนสิ่งที่เปนไปไมได้ แตก็ เปนการงายเมื่อเปรียบเทียบกับความยากลําบากในการยึดถือและเผยแผ สัทธรรมปุณฑริกสูตรในยุคชั่วร้าย ที่พระศากยมุนีพุทธะทรงพยากรณ์วา จะเกิดขึ้นหลังการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระองค์
57 มหัศจรรย์ ท่านได้เปดเส้นทางอันยิ่งใหญ่เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกพบ กับความสุข นี่คือก้าวแรกที่เป็นรากฐานมุ่งสู่การเผยแผ่ธรรมไพศาล ทั่วโลก เพื่อที่จะสลักเจตนารมณ์ของพระนิชิเร็นไดโชนินไว้ ในชีวิตของเรา ก่อนอื่น ขอให้พิจารณาดูข้อความธรรมนิพนธ์เรื่อง “เปดดวงตา” ที่กล่าวถึงข้างต้นว่า “อาตมานิชิเร็นเปนผูเดียวใน ประเทศญี่ปุนที่เขาใจในเร� องนี้” สิ่งสำาคัญคือเราต้องเข้าใจคำาว่า “นี้” ชี้ถึงอะไร ไซโต : ธรรมนิพนธ์เรื่อง “เปดดวงตา” ถูกอ้างอิงว่าเป็น “คำาสอน” ของแนวคิดแห่ง “คำาสอน การปฏิบัติ และขอพิสูจน์” ซึ่งเทศนาอยู่ ในพ ุทธธรรมของพระน ิช ิเร ็นไดโชน ิน5 ในบทน ิพนธ ์น ี ้ พระน ิช ิเร ็น ไดโชนินใช้การเปรียบเทียบ 5 ขั้น6 เพื่อชี้แจงอย่างชัดเจนว่า หลัก คำาสอนแห่งหนึ่งขณะจิตสามพันที่พบในส่วนลึกของ บท “การหยั่ง อายุกาลของพระตถาคต” บทที่ 16 เป็นคำาสอนที่สำาคัญเพื่อการ บรรลุพุทธภาวะ สำาหรับประชาชนทุกคนในสมัยธรรมปลาย แต่ท่านก็ยังกล่าวด้วยว่า ในความเป็นจริงแล้ว ผู้คน ส่วนใหญ่ละทิ้งความศรัทธาในสัทธรรมปุณฑริกสูตร เพราะเหตุจาก อิทธิพลด้านลบ และตกลงสู่หนทางชั่วในที่สุด อาจารยอิเคดะ : สำาหรับอิทธิพลด้านลบเหล่านี้ พระนิชิเร็นไดโชนิน
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 31 07-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ได้พาดพิงถึงบรรดาสงฆ์ผู้สูงยศเป็นการเฉพาะ “แทจริงแลว พวกเขาถูกมารรายเขาสิง” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 239) ไซโต : ท่านกล่าวว่าบรรดาสงฆ์เหล่านี้เจ้าเล่ห์เพทุบายที่สุด ในความ 5 คําสอน การปฏิบัติ และข้อพิสูจน์ : คําสอนพระพุทธะ การปฏิบัติคําสอนและข้อพิสูจน์ที่เปนจริง ซึ่งเปนผลจากการปฏิบัติคําสอน พระนิชิคันโชนินประมุขสงฆ์ ลําดับที่ 26 กลาววา ธรรมนิพนธ์เรื่อง “เปดดวงตา” อธิบายถึง “คําสอน” ธรรมนิพนธ์เรื่อง “สิ่งสักการบูชาแหงการเห็นแจ้งจิต” อธิบายถึง “การปฏิบัติ” และธรรมนิพนธ์เรื่อง “ตัวตนแหงธรรมมหัศจรรย์ ”อธิบายถึง “ข้อพิสูจน์” 6 การเปรียบเทียบ 5 ขั้น : 5 ขั้นของการเปรียบเทียบที่พระนิชิเร็นไดโชนินกําหนดขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสูงสงของนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เหนือกวา คําสอนพุทธศาสนาอื่น ๆ ทั้งหลาย ได้แก 1) การเปรียบเทียบพุทธศาสนา กับนอกพุทธศาสนา 2) การเปรียบเทียบมหายานกับหินยาน 3) การเปรียบ เทียบมหายานแท้กับมหายานชั่วคราว 4) การเปรียบเทียบคําสอน ภาคความเปนจริงกับคําสอนภาคทฤษฎีของสัทธรรมปุณฑริกสูตร และ 5) การเปรียบเทียบคําสอนแหงการหวานเมล็ด (ธรรมะแหงนัมเมียวโฮ เร็งเงเคียว) กับคําสอนแหงการเก็บเกี่ยว (คําสอนที่เปนแกนแท้ได้เปดเผย อยูในครึ่งหลังของสัทธรรมปุณฑริกสูตร) พระนิชิเร็นไดโชนินกลาววา ปรัชญาธรรมแหงหนึ่งขณะจิตสามพัน พบได้เพียงเฉพาะที่เดียว ซึ่งซอนเร้นอยูใต้ตัวอักษรของบทการหยั่งอายุกาลฯ แหงปรัชญาธรรม ภาคความเปนจริงของสัทธรรมปุณฑริกสูตร พระนาคารชุนและพระวสุพันธุ์ รู้อยู แตก็ยังไมนํามาเปดเผย พระเทียนไท้ผู้ฉลาดเทานั้นที่ยึดถือและ เก็บไว้ในใจตลอดมา (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 224)
59 พยายามที่จะขัดขวางผู้คนในการปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตร ผู้คน จ ึงถูกหลอกและในท ี ่ส ุดก ็ละท ิ ้งส ัทธรรมป ุณฑร ิกสูตรเพ ื ่อค ำาสอน ช ั ่วคราว จากน ั ้นพวกเขาก ็ละท ิ ้งค ำาสอนช ั ่วคราวเพ ื ่อค ำาสอนของ หินยาน และแล้วก็หันไปหาคำาสอนนอกศาสนาพุทธ ในท้ายที่สุด พระนิชิเร็นไดโชนินอธิบายว่า พวกเขาต้องตกลงสู่หนทางชั่ว (อ้างอิง ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 239) อาจารยอิเคดะ : โดยสรุป พระนิชิเร็นไดโชนินชี้ชัดถึงความไร้เหตุผล ของสถานะของสงฆ์ ผู้ซึ่งโดยสิทธิ์อันชอบธรรมแล้วต้องทำาหน้าที่ เป็น “กัลยาณมิตร” ของประชาชน แต่แท้จริงแล้ว กลับกลายเป็น “อกัลยาณมิตร” และท ำาลายความด ีงามในช ีว ิตของผู ้คน ด ้วย อิทธิพลจากสงฆ์ที่ชี้แนะผิด ๆ เหล่านี้ ผู้คนมากมายจึงได้ละทิ้งความ ศรัทธาในสัทธรรมปุณฑริกสูตร นี่คือรูปแบบพื้นฐาน พระนิชิเร็นไดโชนิน เป็นบุคคลเดียวในประเทศญี่ปุน ที่เข้าใจถึงความขัดแย้งพื้นฐานภายในพุทธศาสนานี้ จึงเป็นเหตุผล ที่ท่านยืนหยัดขึ้นเพียงลำาพัง ในการรณรงค์ต่อสู้กับธรรมชาติมารที่ ชั่วร้ายที่คอยควบคุมพุทธศาสนาและประชาชน ความรู้สึกของท่าน แสดงออกมาในคำาประกาศที่ว่า “อาตมานิชิเร็นเปนผูเดียว เทานั้น...” ไซโต : ที่สงสัยว่าท่านควรจะพูดเรื่องนี้ออกมาหรือไม่ พระนิชิเร็น ไดโชนินได้ค้นหาคำาตอบจากพระสูตรต่าง ๆ
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 31 07-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ อาจารยอิเคดะ : การพูดออกมา จะต้องเผชิญหน้ากับการกระทำาที่ ชั่วร้ายของมาร การไม่พูดออกมา จะเป็นการวิ่งหนีจากสมรภูมินี้ คำาพูดเหล่านี้คือแรงผลักดัน ที่อยู่เบื้องหลังการต่อสู้ของพระนิชิเร็น ไดโชนิน เมื่อพิจารณาตามที่กล่าวไว้ในพระสูตร ท่านจึงสรุปได้โดย ธรรมชาติว่าทางเลือกเดียวของท่าน คือการพูดออกมา ไซโต : ยิ่งไปกว่านั้น ท่านตระหนักดีว่าการพูดออกมา ไม่เพียงนำา ความอับอายมาสู่ตัวท่านและ “พอแม พี่นอง และอาจารย์” ของท่าน แต่ยังอาจทำาให้ผู้เป็นที่รักยิ่งเหล่านี้ตำาหนิท่านด้วย ท่านยัง เข้าใจด้วยว่าการกระทำาเช่นนี้ จะนำามาซึ่งการกดขี่บีฑาจาก ผู้ปกครองประเทศอย่างแน่นอน แต่หากท่านไม่พูดออกมา ท่านก็จะขาดความเมตตา ดังที่สอนอยู่ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรและนิรวาณสูตร หากท่านไม่ใช้ เสียงของท่าน ท่านอาจยังคงพึงพอใจกับการมีชีวิตที่สงบสุข และ ราบรื่นปลอดภัยในชาตินี้ แต่แน่นอนว่าจะตกนรกในชาติหน้า ตรงกันข้าม พระสูตรยังระบุไว้อย่างชัดเจนด้วยว่าการพูดออกมาจะ หมายถ ึงการเผช ิญหน ้าก ับการกดข ี ่บ ีฑา น ั ่นเป ็นเพราะท ่านเป ด หนทางสู่การบรรลุพุทธภาวะเพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น พระนิชิเร็น ไดโชนินจึงสรุปว่า เมื่อพิจารณาตามที่กล่าวไว้ในพระสูตร ท่านไม่มี ทางเลือก นอกจากพูดออกมา อาจารยอิเคดะ : “แต่ทั้ง 2 ประเด็นนี้ แน่นอนว่าประเด็นหลังคือ
61 สิ่งที่ท่านเลือก” การตัดสินใจนี้อยู่บนพื้นฐานของพระสูตรอย่าง ชัดเจน พระสูตรเป็นถ้อยคำาของพระพุทธะ เป็นกระจกเงาที่สะท้อน เจตนารมณ ์ของพระพ ุทธะ ส ำาหร ับพวกเราแล ้ว ธรรมน ิพนธ ์ของ พระนิชิเร็นไดโชนินก็ทำาหน้าที่นี้เช่นกัน พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า ท่านเข้าถึงการตัดสินใจ ของท่าน โดยการตรวจสอบตามข้อเท็จจริงในสัทธรรมปุณฑริกสูตร นี่ไม่ใช่คำาถามเพียงผิวเผินที่จะรักษาสถานะทางสังคมหรือปกปอง ตัวเอง แต่เป็นประเด็นที่ท่านจะรับมือด้วยส่วนที่ลึกลงไปในชีวิตท่าน ว่าจะยอมตกนรกอเวจีที่ทุกข์ทรมานไม่มีวันสิ้นสุด หรือจะเลือกใช้ ถนนหนทางที่ยากลำาบาก ในการโอบล้อมทุกคนไว้ในอ้อมกอดอัน อบอ ุ ่นของความเมตตากร ุณาในขณะท ี ่เต ็มใจท ี ่จะเผช ิญการกดข ี ่ บีฑา เป็นธรรมดาที่ประเด็นหลัง คือประเด็นที่ถูกต้องตรงตาม พระสูตร อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ต่อสู้กับการกระทำาอัน ชั่วร้ายของมารไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น พระนิชิเร็นไดโชนินจึงมุ่งมั่นที่ จะทำาให้ปณิธานของท่านเข้มแข็งยิ่ง ๆ ขึ้น การเผยแผ่คำาสอนของพุทธศาสนา ในความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องง่าย หากเรามีจิตใจทำาแค่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ แล้ว สู้เราไม่ทำา เสียเลยจะดีกว่า นี่คือความคิดคำานึงของพระนิชิเร็นไดโชนิน
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 31 07-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ไซโต : ใช่ครับ ท่านรู้สึกว่า หากท่านไม่ยอมถูกกดขี่บีฑาจากรัฐ ท่านก็ควรจะล้มเลิกความคิดเรื่องการก ่อตั้งคำาสอนของท่าน การ ตระหนักรู้เช่นนี้ทำาให้ท่านหยุดชะงัก อาจารยอิเคดะ : พระนิชิเร็นไดโชนินอธิบายว่า ณ จุดนั้นเอง ท่าน ระลึกถึงคำาสอนของสัทธรรมปุณฑริกสูตรเรื่องการปฏิบัติยาก 6 อย่าง ง่าย 9 อย่าง นั่นคือ ชั่วขณะที่ท่านเอาชนะธรรมชาติมารใน ชีวิตของท่านได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด { โปรดติดตามตอนตอไป }
63
ไดโมขุแห่งเสียงค�ำรามของราชสีห์ การปฏิบัติที่มุ่งสู่ความสุขและมีชัยชนะขั้นรากฐาน จิตใจของท่าน จะสามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ นี่คือธรรมชาติอันมหัศจรรย์ของชีวิต และเป็นความจริง ที่ไม่มีผิดพลาด สิ่งต่าง ๆ มากมายที่เปลี่ยนแปลงไปตามความคิด ของเรา แม ้สถานการณ ์จะอยู ่ในระด ับท ี ่ม ืดทึบ ขมขื่นและอับจน เพียงใด ก็สามารถจะเปลี่ยนแปลงเป็นความสว่างไสว สวยงามและ ขยายใหญ่ได้ พระนิชิเร็นไดโชนินได้พูดถึง “การทำ งานที่ มหัศจรรย์ของใจเดียว” (ธรรมนิพนธ์ หน้า 717) ว่า การกระทำ ด้วย “ใจเดียว”ของคนที่เชื่อในโงะฮนซนนั้นมีพลังอันมหาศาล และ เมื่อเรากระตุ้นพลังรากฐานของ “ใจเดียว” แล้ว เฟืองแห่ง ปรากฏการณ์สามพันชนิดก็จะเกี่ยวเข้าหากันทันที ทุกสิ่งทุกอย่างก็ จะเปลี่ยนแปลงไป พวกเราก็จะสามารถใช้ทุกสถานการณ์เพื่อสร้าง ความหวังและสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นได้ (จากหนังสือ บรรยายสัทธรรมปุณฑริกสูตร บทกุศโลบายและบทการหยั่งอายุกาลของพระตถาคต หน้า 586 - 587) ‘ ’
á´‹à¾×è͹ æ ¢Í§¢ŒÒ¾à¨ŒÒ จาก ไดซาขุ อิเคดะ µŒÍ§ äÁ‹ÂÍÁãËŒ¡Òá´¢ÕèºÕ±Ò ÁÒ·íÒãËŒàÃÒµŒÍ§¾‹ÒÂᾌ äÁ‹Ç‹Ò¨Ð˹ѡ˹ÒÊÒËÑÊà¾Õ§㴠àÃÒ¡ç¨ÐÂ×¹ËÂÑ´µ‹ÍÊÙŒä» ÊµÃÕ·Ø¡¤¹µŒÍ§ÁÕ¤ÇÒÁÊØ¢ â´ÂäÁ‹Â¡àÇŒ¹áÁŒáµ‹¤¹à´ÕÂÇ áÅкØÃØÉ·Ø¡¤¹¡çµŒÍ§ÁժѪ¹Ð㹪ÕÇÔµ (จากเอสจีไอกราฟก ฉบับเดือนกุมภาพันธ ค.ศ. 2005)
สมำคมสรำงคุณค่ำในประเทศไทย email: [email protected] www.sgt.or.th บรรณาธิการ นวรัตน ชิโนมี กองบรรณาธิการ เรืองระวี ไชยพูนพัฒน พัชรี โพธิพัฒนธนากร ณัฐพร งามสิริกุล ภาษาญี่ปุน เพียงตา หลิมไชยกุล อนงคนาถ มโนจุรีหกุล อาคิโกะ โฮโซดะ โยโกะ โอดะ สมพร เจนจารุพันธุกุล ภาษาอังกฤษ หทัยรัตน แซ่จึง ศศมน โพธิพัฒนธนากร ทิพยสุดา บุนฑารักษ ออกแบบสรางสรรค์ กุลลดา อัศวฉัตรโรจน พิสูจน์อักษร วรรณี สถาพรพิชญ ผูจัดการ ณรินทร ลัทธยาพร สงวนลิขสิทธิ์ โดยสมาคมสรางคุณค่าในประเทศไทย ISSN 2586-8675
สารบัญ บทบรรณำธิกำรของอำจำรย์อิเคดะ จงส่องแสงอันเจิดจรัสของ “การก่อตั้งคําสอนที่... 5 ธรรมนิพนธ์ ลักษณะที่เปนจริงของปรากฏการณทั้งหลาย 11 ประสบกำรณ์ ความศรัทธา สู่ชัยชนะ 21 ควำมคิดค�ำนึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” บทที่ 44) เสนทางนิรันดรของเอสจีไอ 25 บทสนทนำเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เล่ม 3) บทที่ 3) สายสัมพันธที่ช่วยเหลือสนับสนุนกันและกัน 33 โลกแห่งธรรมนิพนธ์ บทสนทนาเกี่ยวกับศาสนาแห่งมนุษยนิยม บทที่ 3) การก่อตั้งคําสอนของพระนิชิเร็นไดโชนิน : 45 รุ่งอรุณแห่งศาสนาเพ� อมวลมนุษยชาติ (ต่อ) 123456
บทบรรณำธิกำรของ อำจำรย์อิเคดะ (ในวารสารไดเบียะขุเร็งเงะ)
5 จงสองแสงอันเจิดจรัสของ “กำรก่อตั้งค�ำสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ”ใหกวางไกล การเดินทางแห่งอาจารย์กับศิษย์ของข้าพเจ้า เริ่มขึ้นด้วยบทนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนินเรื่อง “การกอตั้งคําสอน ที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” ในการประชุมสนทนาธรรมหลังการสิ้นสุดสงครามโลก ครั้งที่ 2 (สิงหาคม ค.ศ. 1947) ผ่านไป 2 ปี ข้าพเจ้าพบกับอาจารย์ โจเซอิ โทดะ อาจารย์ผู้มีพระคุณเป็นครั้งแรก ท่านกำาลังบรรยายธรรม “บทนิพนธ์เร� องการกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิด สันติ” และกล่าวกับผู้เข้าร่วมประชุมว่า “เมื่อเรายึดถือความศรัทธา ต่อโงะฮนซนแล้ว การบรรลุพุทธภาวะของตัวเองก็จะไม่ยากนัก แต่ เมื่อข้าพเจ้าคิดถึงครอบครัว ประเทศชาติ และโลกที่สับสนวุ่นวาย ในศตวรรษที่ 20 แล้ว ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะขจัดความทุกข์และ ความลำาเค็ญทั้งปวงให้หมดสิ้นไปจากโลกนี้ การเผยแผ่ธรรมไพศาล ก็คือเรื่องนี้นั่นเอง พวกท่านจะร่วมมือกับข้าพเจ้าไหมครับ” พวกเรายุวชนได้ชูธงแห่ง “การกอตั้งคําสอนที่ ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” อันเป็นหัวใจสำาคัญของพุทธธรรม ‘ ’
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 บทบรรณาธิการของอาจารยอิเคดะ ของพระนิชิเร็นไดโชนินอย่างแน่วแน่ร่วมกับอาจารย์โทดะ ท่ามกลาง ซากปรักหักพังและความพินาศของประเทศญี่ปุนหลังสงคราม บทนิพนธ์ฉบับนี้เขียนขึ้นในรูปแบบการสนทนา ระหว่างเจ้าบ้านกับอาคันตุกะ ซึ่งทั้งคู่ต่างรู้สึกทุกข์กังวลเรื่อง “ฟาดินวิปริต เกิดภาวะอดอยาก และโรคระบาดขึ้นทุกหนแห่ง ทั่วแผ่นดิน” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาไทย เลม 1 หน้า 53) ที่เกิดขึ้น ในเวลาน ั ้น กล ่าวค ือ บทน ิพนธ ์ฉบ ับน ี ้เร ิ ่มต ้นด ้วยความใส ่ใจของ ทั้งคู่ว่ามีวิธีใดที่จะเอาชนะความทุกข์ในชีวิตจริงของประชาชน ช่วงหนึ่งของการสนทนา อาคันตุกะได้วางท่าอย่างมี อำานาจกว่าและบันดาลโทสะพร้อมกับขู่ว่าจะจากไป และอีกช่วงหนึ่ง ก็แสดงความขุ่นเคืองจนสบประมาทเจ้าบ้านอย่างโอหังว่าเป็น “คนสถานะต่ําตอย” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาไทย เลม 1 หน้า 78) แต่เจ้าบ้านตอบสนองด้วยรอยยิ้มที่ใจกว้าง และกล่าว ต่ออย่างสุขุมโดยเจาะลึกเรื่องต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยความมั่นใจของ ผู้ที่ศึกษาสัทธรรมปุณฑริกสูตร (อ้างอิง ธรรมนิพนธฉบับภาษาไทย เลม 1 หน้า 78) เจ้าบ้านไม่มีความโกรธหรืออคติใด ๆ และไม่ปล่อย ให้ตัวเองรู้สึกยอมจำานนหรือหมดหนทาง ซึ่งก้าวข้ามความร้าวฉาน และท่าทีเชิงวิพากษ์วิจารณ์ โดยพิเคราะห์หลักธรรมของสัทธรรม ปุณฑริกสูตรที่เชิดชูคุณค่าของชีวิตร่วมกับอาคันตุกะ แล้วนำา อาคันตุกะให้ร่วมกันตั้งปณิธานที่จะอธิษฐานและลงมือกระทำาเพื่อ
7 “ความเป็นระเบียบเรียบรอยทั่วแผนดิน” (ธรรมนิพนธฉบับภาษา ไทย เลม 1 หน้า 93) เมื่อกล่าวถึงเหตุผลพื้นฐานในการเขียน “บทนิพนธ์ เร� องการกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” พระ นิชิเร็นไดโชนินประกาศว่า “ทั้งหมดที่กลาวมานี้ก็เพื่อประเทศชาติ ่เพื่อธรรมะ เพื่อผู้ อื่นเท่ านั้น มิใช่ เพื่อตัวอาตมาเอง” (ธรรม นิพนธฉบับภาษาไทย เลม 2 หน้า 222) เนื่องจากพวกเราตั้งมั่นที่จะสานต่อการต่อสู้อัน ยิ่งใหญ่นี้ไม่ว่ายุคสมัยจะยากลำาบากเพียงใด สมาคมโซคาจึง บากบั่นในการสนทนาด้วยเจตนารมณ์เดียวกับที่พระนิชิเร็นไดโชนิน สอนอยู่ในบทนิพนธ์ของท่าน พวกเราซึ่งเชื่อในธรรมชาติพุทธะของ แต ่ละคนได ้เอาชนะความแตกต ่างท ั ้งปวงเพ ื ่อสร ้างสายส ัมพ ันธ ์ท ี ่ งดงามนับไม่ถ้วนในฐานะ “มิตรแหงหองกลวยไม” 1 (อ้างอิง ธรรม นิพนธฉบับภาษาไทย เลม 1 หน้า 91) พร้อมกับขยายเครือข่ายแห่ง สันติภาพ วัฒนธรรม และการศึกษาไปทั่วโลก 1 ใน “บทนิพนธเรื่องการกอตั้งคําสอนที่ถูกต้องเพื่อให้ประเทศเกิดสันติ” พระนิชิเร็นไดโชนินเขียนวา “ชางนายินดีนัก ทานได้คบหากับมิตร แหงห้องกล้วยไม้ จึงสามารถตั้งตรงได้ดั่งต้นแขมที่เติบโตในดงปาน” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาไทย เลม 1 หน้า 91) “มิตรแหงห้องกล้วยไม้” หมายถึงผู้มีคุณธรรม โดยมีนัยวาการอยูกับบุคคลที่ดีงามยอมเปน ปจจัยที่ดี เชนเดียวกับเมื่อเดินเข้าไปในห้องที่เต็มไปด้วย ดอกกล้วยไม้ก็จะมีกลิ่นหอมติดตัว
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 บทบรรณาธิการของอาจารยอิเคดะ ขณะนี้ พลเมืองโลกวัยยุวชนของโซคากำาลังชูธง แห่ง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” ที่พระ นิชิเร็นไดโชนิน พระพุทธะแห่งสมัยธรรมปลายได้มอบหมายแก่ พวกเรา โดยแต่ละคนมีภาระหน้าที่อันสูงส่งในฐานะโพธิสัตว์จาก พื้นโลก ข้าพเจ้ามั่นใจว่าพวกเขาจะเป็นผู้เริ่มต้นยุคแห่งการฟนฟูชีวิต ในศตวรรษที่ 21 เพื่อตอบสนองความท้าทายที่ไม่เคยมีมาก่อน ท ี ่ส ังคมโลกก ำาล ังเผช ิญอยู ่ในเวลาน ี ้ด ้วยการรวมป ัญญาของผู ้คน ทั้งหลายทั่วโลก พระนิชิเร็นไดโชนินเขียนไว้ว่า แบบอย่างของคน หนึ่งคนที่เปดสภาพชีวิตพุทธะของตนออกมาก็เป็นเรื่องของปวง สรรพสัตว์โดยเท่าเทียมกัน (อ้างอิง ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 2 หน้า 844) การปฏิวัติมนุษย์ของยุวชนโซคาแต่ละคน คือ บ่อเกิดแห่งความหวังอันไร้ขอบเขต พวกเรามาบุกบั่นไปข้างหน้าอีกครั้งในวันนี้ ในการ เดินทางที่ยิ่งใหญ่และสูงส่งของอาจารย์กับศิษย์กันเถิด
9 ´Ô¹ á´¹·ÃѾÂÊÁºÑµÔ¢Í§â«¤Ò ʋͧ»ÃСÒ´ŒÇÂáʧà¨Ô´¨ŒÒ áË‹§¤ÇÒÁ¡ÅŒÒËÒÞ à¾ÃÒÐàÃÒÁÕ¤¹ÇÑÂàÂÒÇ ¼ÙŒªÙ¸§áË‹§¸ÃÃÁÁËÑȨÃàâ´ÂäÁ‹ËÇÑè¹äËǵ‹Í¤ÇÒÁÂÒ¡ÅíÒºÒ¡ã´ æ (จากบทบรรณาธิการ วารสารไดเบียะขุเร็งเงะ ฉบับเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020)
ธรรมนิพนธ์
11 ธรรมนิพนธเร� อง ลักษณะที่เปนจริงของปรำกฏกำรณ์ทั้งหลำย ความเปนมา ธรรมนิพนธ์ฉบับนี้เป็นจดหมายที่พระนิชิเร็น ไดโชนินเขียนที่ตำาบลอิจิโนะซาวะ เกาะซาโดะ เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1273 (ปบุนเอที่ 10) เพื่อมอบให้ท่านไซเร็นโบ กล่าวกันว่าท่าน ไซเร็นโบเป็นสงฆ์ผู้มีความรู้ในนิกายเทียนไท้ ที่ถูกเนรเทศไปเกาะ ซาโดะในช่วงเวลาเดียวกับพระนิชิเร็นไดโชนิน จึงได้พบกับท่านและ ได้มาเป็นลูกศิษย์ ‘ ’ ไม¤ÇÃÁÕ¡ÒÃẋ§á¡ã¹ËÁÙ‹¼ÙŒà¼ÂἋÍÑ¡Éà 5 µÑÇáË‹§àÁÕÂÇâÎàÃç§à§à¤ÕÂÇã¹ÊÁѸÃÃÁ»ÅÒ äÁ‹Ç‹Ò ¨Ð໚¹ªÒÂËÃ×ÍËÞÔ§ ËÒ¡ÁÔ㪋⾸ÔÊѵǨҡ¾×é¹âÅ¡ ‹ÍÁäÁ‹ÊÒÁÒöÊÇ´ä´âÁ¢Ø (¸ÃÃÁ¹Ô¾¹¸Ë¹ŒÒ 1360)1 1 ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 385
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ธรรมนิพนธ “ลักษณะที่เป็นจริงของปรากฏการณ์ทั้งหลาย” คือหลักธรรมที่เป็นหลักฐานสนับสนุนเรื่อง “การบรรลุพุทธภาวะ ของผูคนทั้งหลาย” ซึ่งเทศนาเฉพาะในสัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 2 บทกุศโลบาย ธรรมนิพนธ์ฉบับนี้เริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นว่า สรรพสัตว์ใน 10 โลกและโลกที่อาศัยอยู่ (ปรากฏการณทั้งหลาย) ท ั ้งหมดล ้วนเป ็นการแสดงออกของเม ียวโฮเร ็งเงเค ียว (ลักษณะที่ เปนจริง) จากนั้น พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวถึง “พิธีหวง อวกาศ” ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 11 บทการปรากฏให้เห็น ของหอรัตนะ ซึ่งกล่าวว่า สองพระพุทธะ ได้แก่ พระศากยมุนีพุทธะ และพระประภูตรัตนะพุทธะประทับเคียงข้างกันภายในหอรัตนะ ขนาดมหึมาที่ลอยอยู่บนท้องฟา และส่งมอบภาระหน้าที่การเผยแผ่ ธรรมอันยิ่งใหญ่ อันเป็นรากฐานที่ทำาให้พระพุทธะทั้งหลายบรรลุ พุทธภาวะในสมัยธรรมปลายแก่โพธิสัตว์จากพื้นโลกจำานวนมากมาย นับไม่ถ้วน จากข้อความนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินจึงนำาพิธีห้วง อวกาศมาจารึกเป็นโงะฮนซน (สิ่งสักการบูชา) ที่ผู้คนในสมัย ธรรมปลายควรยึดถือเป็นรากฐาน พร้อมกับเผยแผ่ธรรมมหัศจรรย์ ที่เดิมทีแล้วพระวิศิษฏ์จาริตรโพธิสัตว์ซึ่งเป็นผู้นำาของโพธิสัตว์จาก
13 พื้นโลกควรจะเผยแผ่ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเรียกตัวเองว่า “ผูเบิกทางใน การดําเนินงานของโพธิสัตว์จากพื้นโลก” 2 นอกจากนี้ ท่านยังประกาศว่า ผู้ที่เผยแผ่ธรรม มหัศจรรย์ด้วยจิตใจที่ไม่เป็นสองกับพระนิชิเร็นไดโชนิน ก็คือโพธิสัตว์ จากพื้นโลก ไม่ว่าชายหรือหญิงที่เผยแผ่อักษร 5 ตัวแห่งเมียวโฮ เร็งเงเคียวล้วนมีความเท่าเทียมกันทุกคน ซึ่งก็คือข้อความที่ศึกษา ในครั้งนี้ ต่อมา ท่านได้กล่าวว่า นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวที่พระ นิชิเร็นไดโชนินเริ่มสวดคนแรก จะสวดต่อกันไปคนแล้วคนเล่า สิ่งนี้ ก็คือ “ความหมายของการปรากฏขึ้นมาจากพื้นโลก” และชี้ ว่าการเผยแผ่ธรรมไพศาลจะต้องเป็นจริงอย่างแน่นอน จิตวิญญาณของพระนิชิเร็นไดโชนินได้รับการสืบทอด ต่อมาโดยประธานสมาคมโซคาท่านที่ 1 ท่านที่ 2 และท่านที่ 3 ผู้เป็นอาจารย์กับศิษย์ อาจารย์อิเคดะซึ่งรับหน้าที่ประธานสมาคมมา 60 ปี ออกเดินทางไปทั่วโลกและเรียกโพธิสัตว์จากพื้นโลกออกมา 2 ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 385
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ธรรมนิพนธ เครือข่ายของสมาคมโซคาแผ่ขยายไป 192 ประเทศ และเขตการปกครอง ทำาให้การเผยแผ่ธรรมไพศาลทั่วโลกอันเป็น คำาสั่งเสียของพระนิชิเร็นไดโชนินได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา อาจารย์อิเคดะชี้นำาว่า “ไม่มีโพธิสัตว์จากพื้นโลกที่ไม่มีพลัง ไม่มีโพธิสัตว์จาก พื้นโลกที่ไม่มีความเมตตา โพธิสัตว์จากพื้นโลกที่ไม่สามารถข้ามพ้น ความยากลำาบากไม่มีอย่างเด็ดขาด” ขอให้มีความภาคภูมิใจที่ได้พบกับอาจารย์ผู้ซึ่งยาก จะได้พบอยู่ภายในจิตใจ เชื่อในธรรมชาติพุทธะของตนเองและผู้อื่น พร้อมกับบอกกล่าวความเยี่ยมยอดของความศรัทธาแก่มิตรสหาย ที่มีปัจจัยสัมพันธ์ รำกฐำนแห่ง บุญวาสนา ดิฉัน (คุณมายูมิ คาซาอิ) หลังจากแต่งงานก็ย้ายมา อาศัยอยู่ที่เมืองฮิงาชิยามาโตะ กรุงโตเกียว ใน ค.ศ. 1992 (ปเฮเซ ที่ 4) ปีต่อมา สามีประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ถูก หามส่งห้องฉุกเฉิน แต่สามารถรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด หลัง จากนั้น เมื่อครั้งที่ดิฉันทำาหน้าที่หัวหน้าเขตฝายผู้ใหญ่หญิง ลูกชาย คนที่ 2 วัย 5 ขวบถูกรถชนขณะขี่จักรยาน ได้รับบาดเจ็บจนต้องพัก
15 รักษาตัวเป็นระยะเวลา 2 เดือนกว่าจะหายเป็นปกติ ความจริง ตอนที่ดิฉันอายุ 15 ปี คุณพ่อของดิฉันก็ ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์และเสียชีวิต จึงรู้สึกได้ถึงความลึกซึ้ง ของชะตากรรมของครอบครัว ดิฉันหวนนึกถึงจุดเริ่มต้นที่ได้รับถ้อยคำาส่งเสริม กำาลังใจที่เต็มไปด้วยความรักและความเมตตาจากอาจารย์อิเคดะ ในช่วงที่อยู่ฝายยุวชนหญิง ว่า “อยาทําอะไรครึ่ง ๆ กลาง ๆ นะ” จึงแก้ไขท่าทีความศรัทธาของตนเองเสียใหม่ ดิฉันตัดสินใจว่า “จะตั้งใจเปลี่ยนชะตากรรมดวย การชักชวนแนะนําธรรม” จึงอธิษฐานอย่างจริงจังจนถึงที่สุดและ สนทนาเรื่องพุทธธรรมกับเพื่อน ซึ่งเติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีความ ซับซ้อน เธอกำาลังค้นหาเปาหมายในชีวิตและอยากจะอุทิศส่วนกุศล แด่คุณแม่ผู้ล่วงลับ จึงสามารถรับโงะฮนซนด้วยความสดใส ทุกครั้งที่เผชิญกับกำาแพงแห่งชะตากรรม ไม่ว่าจะเป็น เรื่องความเจ็บปวย หรือเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ ดิฉันจะปลุกเร้าตัวเอง ด้วยคำาชี้นำาของอาจารย์อิเคดะที่ว่า “ผู้ที่ชักชวนแนะนำาธรรมอย่าง แน่วแน่นั้น รากฐานแห่งบุญวาสนาจะแข็งแกร่งดังคอนกรีต เข้มแข็ง ไม่ถูกมารทำาลาย ผู้ที่หลีกหนีการบำาเพ็ญเพียรในการเผยแผ่ธรรม ไม่ว่าเก่งสักเพียงใด จะเป็นเหมือนสังกะสี เมื่อถึงช่วงเวลาสำาคัญ ก็ พังทลายลง” แล้วต่อสู้ท้าทายในการชักชวนแนะนำาธรรม
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ธรรมนิพนธ ขณะที่ดิฉันได้รับการส่งเสริมกำาลังใจอย่างอบอุ่นจาก เพื่อนสมาชิก และด้วยความสามัคคีกันทั้งครอบครัวในการสนทนา เร ื ่องพ ุทธธรรมก ับม ิตรสหายจ ำานวนมากจนถ ึงท ี ่ส ุด ก ็สามารถม ี ชัยชนะข้ามพ้นความทุกข์ยากไปได้ทีละเรื่อง ๆ ดิฉันตั้งใจว่าจะบอก เล่าความถูกต้องเที่ยงธรรมของสมาคมไปตลอดชั่วชีวิต ด้วยจิตใจที่ รู้สึกขอบคุณและอยากจะตอบแทนบุญคุณ ในช ่วงเวลาส ำาค ัญ 10 ป ีจากน ี ้ไปท ี ่ม ุ ่งสู ่การก ่อต ั ้ง สมาคมครบ 100 ปี ขอให้สลักคำาชี้นำาของอาจารย์อิเคดะที่กล่าวว่า “มนุษยชาติในอนาคตกําลังรอคอยขบวนแถวอันยิ่งใหญของ โพธิสัตว์จากพื้นโลกแหงโซคา” ไว้ในจิตใจและสร้างชัยชนะอัน ยิ่งใหญ่กันเถิด (บรรยายโดย คุณมายูมิ คาซาอิ หัวหน้าฝายผู้ใหญหญิง กรุงโตเกียว 4)
17 คําชี้นํา ของอำจำรย์อิเคดะ กุญแจสําคัญของการชักชวนแนะนําธรรม ก็คือควำมตั้งใจ “กุญแจสำาคัญที่จะประสบความสำาเร็จในการชักชวน แนะนำาธรรมคืออะไร นั่นก็คือความตั้งใจครับ เมื่อหนึ่งขณะจิตของเรามุ่งมั่นแล้ว จะสามารถเปลี่ยนสถานการณ์ได้อย่างแน่นอน การชักชวนแนะนำาธรรมนั้นอยู่ที่ไหนก็ทำาได้ครับ อาจารย์ โทดะเอง แม้ระหว่างที่อยู่ในเรือนจำา ก็ได้รู้แจ้งทฤษฎีธรรมที่สูงส่งที่สุดของ สัทธรรมปุณฑริกสูตร และได้ชักชวนแนะนำาธรรมแก่ผู้คุม ก่อนอื่น ต้องสวดมนต์อธิษฐานต่อโงะฮนซนอย่างตั้งใจจริง ให้ตัวเองมีโอกาสชักชวนแนะนำาธรรม แล้วคนที่เราจะชักชวนแนะนำาธรรม ก็จะปรากฏออกมาให้เห็น อย่างไรก็ดี ควรพยายามสนทนาเรื่องพุทธธรรม กับผู้คนหลากหลายที่ได้พบ แน่นอนว่า แม้จะพยายามพูดคุยเรื่องความศรัทธา ก็ใช่ว่า จะมีแต่คนที่เข้าศรัทธาทันที ถึงจะเป็นเช่นนั้น ขอให้ทุกท่านพยายามผูก มิตรอย่างอดทน อธิษฐานถึงความสุขของอีกฝายทุกวัน และหมั่น ‘ ’
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ธรรมนิพนธ สนทนาต่อไป เมื่อหว่านเมล็ดแล้ว หากดูแลเอาใจใส่เมล็ดดังกล่าวอย่าง ต่อเนื่องแล้ว สักวันหนึ่ง จะต้องออกดอกเบ่งบานและเป็นผลอย่างแน่นอน ไม่ต้องรีบร้อนครับ ยิ่งไปกว่านั้น แม้จะยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก แต่ถ้าเข้าร่วม การประชุมและเรียนธรรม หรือสวดมนต์ด้วยกัน ก็นับเป็นเรื่องดีครับ การ แผ่ขยายไปตามธรรมชาติเป็นสิ่งสำาคัญ อย่างไรก็ตาม ทุก ๆ ความลำาบากและความทุ่มเทใน การเผยแผ่คำาสอนจะกลายเป็นบุญวาสนาของตนเอง (จากวารสารสร้างคุณคา ฉบับกุมภาพันธ 2559 บทประพันธ ปฏิวัติมนุษย-ใหม เลมที่ 13 บท “ดาวจระเข้”) อธิบำยเพิ่มเติม โพธิสัตวจากพื้นโลก โพธิสัตว์จากพื้นโลก หมายถึงเหล่าโพธิสัตว์จำานวน ‘ ’
19 มากมายน ับไม ่ถ ้วนซ ึ ่งปรากฏข ึ ้นมาจากพ ื ้นด ินใน สหาโลกธาตุ ตอบสนองการเรียกขานของพระศากยมุนีพุทธะ ใน สัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 15 บทการปรากฏขึ้นมาจากพื้นโลก โพธิสัตว์ที่เป็นผู้นำาคือ พระวิศิษฏ์จาริตรโพธิสัตว์ พระอนันต จาร ิตรโพธ ิส ัตว ์ พระว ิศ ุทธ ิจาร ิตรโพธ ิส ัตว ์ และพระส ุประด ิษฐ ิตจาร ิตร โพธิสัตว์ แต่ละโพธิสัตว์ต่างมีผู้ติดตามจำานวนมากมายนับไม่ถ้วน และใน สัทธรรมปุณฑริกสูตร บทที่ 21 บทอิทธิฤทธิ์ของพระตถาคต (การส่งมอบ) ก็ได้รับการส่งมอบการเผยแผ่ธรรมไพศาลจากพระศากยมุนีพุทธะ ผู้ที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงต้นของสมัยธรรมปลายและเผยแผ่ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวอันเป็นหัวใจสำาคัญของสัทธรรมปุณฑริกสูตรแก่ผู้คน ทั้งหลาย ตามการส่งมอบสัทธรรมปุณฑริกสูตรนี้ ก็คือพระนิชิเร็นไดโชนิน โดยนัยนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินนี่เองที่เป็นโพธิสัตว์จากพื้นโลก และเหนือสิ่ง อื่นใด ท่านก็คือพระวิศิษฏ์จาริตรโพธิสัตว์ผู้เป็นหัวหน้าโพธิสัตว์จากพื้นโลก นอกจากนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวไว้ในธรรมนิพนธ์เรื่อง ล ักษณะท ี ่เป ็นจร ิงของปรากฏการณ ์ท ั ้งหลายว ่า “หากมีจิตใจเดียวกับ อาตมานิชิเร็น ยอมตองเป็นโพธิสัตว์จากพื้นโลก” พวกเราแต่ละคนที่ พากเพียรในการทำาการเผยแผ่ธรรมไพศาลตามจิตใจของพระนิชิเร็น ไดโชนิน ทุกคนคือโพธิสัตว์จากพื้นโลก และเป็นลูกศิษย์แท้จริงของ พระนิชิเร็นไดโชนินนั่นเอง
ประสบกำรณ์ ความศรัทธา สู่ชัยชนะ
21 ประสบกำรณ์ ความศรัทธา สู่ชัยชนะ ดิฉันปฏิบัติศรัทธามา 27 ปี โดยคุณพ่อเป็นผู้แนะนำา ดิฉันและสามีเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนเอกชน เราทั้งสองไม่มีบุตร แรก ๆ ดิฉันไม่สนใจที่จะสวดมนต์เลย ต่อมาเริ่มเป็นทุกข์ที่สามีดื่มเหล้ามาก คุณพ่อจึงแนะนำาดิฉันให้สวดมนต์โดยให้กำาลังใจว่า เมื่อเราสวดมนต์ แล้ว สามีจะเลิกดื่มเหล้าอย่างแน่นอน ดิฉันจึงเริ่มสวดมนต์พร้อม กับคุณพ่อ และพูดคุยกับผู้นำาที่มาเยี่ยมบ้าน พ.ศ. 2535 สามีประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์คว่ำา เลือดคั่งในสมอง ต้องเข้ารับการผ่าตัดด่วน ดิฉันและคุณพ่อคุณแม่ สวดมนต์อธิษฐานกันอย่างมากมาย ขอให้การผ่าตัดราบรื่นปลอดภัย ในที่สุดสามีก็หายเป็นปกติสามารถกลับไปทำางานได้เหมือนเดิม และ ดื่มเหล้าน้อยลงด้วย ดิฉันเริ่มปฏิบัติศรัทธาอย่างจริงจัง ตั้งใจทำา ระบบการและกิจกรรมของสมาคมอย่างสม่ำาเสมอ จนได้รับการเสนอ ให้เป็นผู้นำา ต่อมาหลานสาวที่อยู่พัทยาได้ชวนไปทำาธุรกิจ ดิฉัน กับสามีสนใจจึงตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน แล้วมาลงทุนค้าขาย ’ ‘
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ประสบการณ ความศรัทธาสูชัยชนะ ของที่ระลึกที่พัทยา ช่วง 2 ปีแรก ธุรกิจดำาเนินไปด้วยดีเพราะมี นักท่องเที่ยวเข้ามามาก ปีที่ 3 เกิดโรคซาร์สระบาด ดิฉันได้รับผล กระทบเนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเลย จึงตัดสินใจย้ายกลับ กรุงเทพฯ โดยรับสอนพิเศษภาษาอังกฤษที่บ้านของตัวเอง นักเรียน ที่เคยเป็นลูกศิษย์มาสมัครเรียนเป็นจำานวนมาก ดิฉันรู้สึกได้ถึง บุญกุศลที่ได้รับจากการปฏิบัติศรัทธาด้วยความเชื่อมั่นในอานุภาพ ของโงะฮนซน ต่อมาสามีได้เข้าศรัทธาและได้รับการเสนอให้เป็นผู้นำา ทำาระบบการด้วยกัน พ.ศ. 2562 สามีประสบอุบัติเหตุลื่นล้มในห้องน้ำาทำาให้ เดินไม่สะดวกเหมือนเดิม แม้สุขภาพจะไม่แข็งแรงแต่ก็ยังพยายาม เคลื่อนไหวในระบบการ และสามารถเข้าร่วมประชุมรวมผู้ใหญ่ชาย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนยรังสิต) ได้สมความตั้งใจ หลังจาก นั้นสามีก็หกล้มอีกครั้ง จึงต้องหยุดพักเพราะเดินไม่สะดวกเหมือน ก่อน ดิฉันเองก็ต้องลาประชุมบางรายการเพื่อดูแลสามี ปัจจุบันเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ประชาชนต้อง อยู่บ้านเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรค นักเรียนมาเรียนพิเศษที่บ้าน ไม่ได้ เรา 2 คนขาดรายได้ สิ่งแรกที่เราตั้งใจทำาคือสวดมนต์อธิษฐาน ต่อโงะฮนซนทุกวัน ตามแนวทางที่สมาคมและผู้นำากำาหนดให้เรามี เป าหมายร ่วมก ัน และเพ ียรพยายามส ่งเสร ิมก ำาล ังใจสมาช ิกทาง โทรศัพท์
23 ผู้อาวุโสโทรศัพท์มาให้กำาลังใจดิฉันว่า ขอให้มั่นใจว่า คุณจะสามารถข้ามพ้นวิกฤตนี้ได้อย่างแน่นอน แม้ยังไม่รู้ว่าเราจะ ดำาเนินชีวิตอยู่ได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ไม่มีงานทำาแต่มีรายจ่ายทุกวัน ไม่ นานนัก ดิฉันได้รับแจ้งว่าจะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล 5,000 บาท แม้จะได้รับเพียงคนเดียวก็ตาม ดิฉันรีบสวดมนต์ขอบคุณต่อ โงะฮนซน ต่อมา ก็เริ่มมีเด็กมาสมัครเรียนพิเศษแบบเรียนออนไลน์ ทำาให้ครอบครัวของเราพอมีเงินสำาหรับใช้จ่ายต่อไปได้ วันที่ 27 เมษายน 2563 ดิฉันปวดท้องและถ่ายเป็น เลือดจึงไปพบแพทย์ ดิฉันสวดมนต์ขอให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาโรค ได้อย่างถูกต้อง ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 5 วัน ได้รับ กำาลังใจและพลังไดโมขุมากมาย ได้ห้องพักดี ได้อาจารย์แพทย์มา ดูแลและยังขอนำาไปเป็นกรณีศึกษา ทำาให้ดิฉันสามารถใช้สิทธิ์ ประกันสุขภาพ 30 บาททั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นโรงพยาบาลต้นสังกัด การ ร ักษาโดยการส ่องกล ้องพบว ่าล ำาไส ้ม ีการอ ับเสบเน ื ่องจากท ้องผูก ขณะอยู่ที่โรงพยาบาล ดิฉันได้แนะนำาธรรมแก่ผู้ปวยที่มีอาการคล้าย กันด้วย อาการของดิฉันดีขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถกลับมาพักฟน ที่บ้าน และได้สวดมนต์ฉลองที่ระลึก 5.3 ร่วมกับสมาชิกด้วย ดิฉัน ดีใจมาก ผลบุญที่ได้รับอีกอย่างคือ พี่สาวเห็นการดำาเนินชีวิต ของดิฉันกับสามีรู้สึกสงสารจึงซื้อตู้เย็นให้ จะได้ไม่ต้องไปจ่ายตลาด
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ประสบการณ ความศรัทธาสูชัยชนะ ทุกวัน หลานก็มาพักที่บ้านด้วยเพราะห่วงสุขภาพของเราทั้ง 2 คน และสามีก็ได้รับเงินเยียวยาจากทางรัฐบาลเช่นกัน ทุกวันนี้ดิฉันสวดมนต์วันละ 2 ชั่วโมง ขอบคุณคำาชี้นำา ของอาจารย ์อ ิเคดะท ี ่เป ็นก ำาล ังใจให ้ ด ิฉ ันขอต ั ้งปณ ิธานว ่าจะท ำา หน ้าท ี ่ในระบบการของสมาคมสร ้างค ุณค ่าในประเทศไทยท ี ่ได ้ร ับ มอบหมายอย่างสุดกำาลัง และจะเผยแผ่ธรรมแก่ผู้คนทั้งหลายให้ รู้จักนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว และขอแบ่งปันความประทับใจจากปฏิวัติมนุษย์-ใหม่ เล่ม 30 บท “ปณิธาน” ซึ่งทำาให้ดิฉันตั้งใจที่จะต่อสู้กับอุปสรรค ปัญหาอีกครั้งจนมีชัยชนะในที่สุดที่ว่า “การที่เราไม่หวั่นไหวไปกับ ความทุกข์ ท้าทายกับปัญหาอย่างกล้าหาญและก้าวไปข้างหน้า สิ่ง นี้แหละคือข้อพิสูจน์ถึงพลังอันมหาศาลของพุทธธรรมของพระนิชิเร็น ไดโชน ิน กล ่าวค ือ เม ื ่ออ ุท ิศช ีว ิตเพ ื ่อการเผยแผ ่ธรรมไพศาลแล ้ว ชะตากรรมจะเปลี่ยนเป็นภาระหน้าที่อันสูงส่ง และปัญหาจะกลาย เป ็นทรัพย ์สมบ ัต ิของจ ิตใจท ี ่ประเม ินค ่าม ิได้” (วารสารสูความสุข ฉบับเดือนมกราคม 2562) ธีรนันท ลี้สุวรรณ ฝายผู้ใหญหญิง กรุงเทพฯ
25 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย์-ใหม่” โดย โฮ โงะคู บทความจากอาจารย์ไดซาขุ อิเคดะ
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” บทที่ 44) เสนทำงนิรันดร์ของเอสจีไอ เม� อเร็ว ๆ นี้ คุณมาซาโอะ โยโกตะ ประธาน ศูนย์วิจัยบอสตันเพื่อศตวรรษที่ 21 รายงานข้าพเจ้าเกี่ยวกับการ สัมภาษณ์ ดร. เบอร์นาร์ด ไวเนอร์ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่ง มหาว ิทยาล ัยแคล ิฟอร ์เน ีย เม ืองลอสแอนเจล ีส ดร. ไวเนอร ์เป ็น นักจิตวิทยาผู้สร้างแรงจูงใจชั้นนำาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก อะไร คือสิ่งที่ ดร. ไวเนอร์ชี้ว่ามีบทบาทสำาคัญมากในการสร้างแรงจูงใจ บุคคลและบ่มเพาะจิตวิญญาณของการริเริ่มกระทำาสิ่งใหม่ ๆ นั่นคือ การพบกับอาจารย์ จากมุมมองดังกล่าว ดร. ไวเนอร์ได้แสดงความ เห็นพ้องต้องกันอย่างแข็งขันกับความจริงที่ว่า สมาชิกของเอสจีไอมี ความศรัทธาที่ลึกซึ้งและแผ่ขยายการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพโลก บนพื้นฐานสายสัมพันธ์แห่งอาจารย์กับศิษย์ ดร. ไวเนอร์ยังให้ ข้อสังเกตว่า “เชื่อว่าประธานอิเคดะรับผิดชอบในการกระทำาทุกอย่าง เพื่อคุณโทดะ อาจารย์ของท่านเสมอ ท่านบอกเสมอว่า ‘ทุกอย่างที่ ผมรู้ล้วนมาจากอาจารย์โทดะทั้งสิ้น’ ท่านได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมายจากอาจารย์ของท่าน ท่านเชื่อในคำาชี้นำาของผู้เป็นอาจารย์
27 เพราะท่านกตัญูต่ออาจารย์ของท่านเป็นอย่างยิ่ง นี่คือสิ่งสำาคัญ หากคุณมีอาจารย์ คุณจะตระหนักได้ว่าการสืบทอดสายสัมพันธ์นี้มี ความสำาคัญเพ ียงใด หากคุณไม่มีอาจารย์ คุณก ็ไม่อาจเข้าใจถึง ความสำาคัญของสายสัมพันธ์นี้” ขณะที่อาจารย์จึเนะซาบุโร มาคิงุจิ ประธานผู้ก่อตั้ง สมาคมโซคาถูกจับเข้าคุกในข้อหาเป็นปฏิปักษ์ต่อกองทัพญี่ปุนใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่าทีของลูกศิษย์ที่ปฏิบัติต่อท่านด้วยความ เคารพนับถือท่านในฐานะอาจารย์จนถึงขณะนั้นกลับเปลี่ยนไปอย่าง ฉับพลันจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากที่เรียกท่านว่า “อาจารย์มาคิงุจิ” ก็เปลี่ยนเป็น “เจ้างั่งมาคิงุจิ” ในทันที หรือแค่เรียกว่า “มาคิงุจิ” โดย ไม่มีแม้แต่คำานำาหน้าว่า “คุณ” ความแปรปรวนของจิตใจคนเป็นสิ่ง ที่น่ากลัวจริง ๆ อาจารย์โจเซอิ โทดะ อาจารย์ผู้มีพระคุณของข้าพเจ้า มักเล่าให้ข้าพเจ้าฟังอยู่บ่อย ๆ ว่า หลังจากผมได้เป็นประธานสมาคมโซคาคนที่ 2 บรรดาผู้ที่ก่อปัญหาในสมาคมมีกลุ่มคนอวดดีที่ได้ประกาศว่า พวกเขาไม่ใช่ลูกศิษย์ของโทดะ แต่เป็นลูกศิษย์ของประธานมาคิงุจิ ผมไม่เคยขอร้องให้พวกเขามาเป็นลูกศิษย์ของผมมาตั้งแต่ต้น แล้ว ทำาไมพวกเขาจึงรีบปาวประกาศทันทีว่าเขาเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ มาคิงุจิ สร ุปก ็ค ือ เพราะความยโสโอห ังของพวกเขาน ่ะส ิ ค ำาว ่า
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” “ลูกศิษย์ของอาจารย์มาคิงุจิ” เป็นสายสัมพันธ์อันน่าประทับใจ แต่พวกเขาจริง ๆ แล้วมีการกระทำาและพฤติกรรมใดบ้างที่แสดงว่า เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์มาคิงุจิ ไม่มีเลย พวกเขาวิ่งหนีจากความ เป็นจริงไปอย่างง่ายดายและอยู่ในโลกของความเพ้อฝัน อาจกล่าว ได้ว่า พวกเขาหวังใช้อาจารย์มาคิงุจิเพื่อผลประโยชน์ หากพวกเขาเป็นลูกศิษย์ที่แท้จริงของอาจารย์มาคิงุจิ พวกเขาจะต้องสืบทอดเจตนารมณ์ของท่านและร่วมกันกับผม บุคคล ผู้เพียรพยายามทำาอย่างสุดกำาลังของเขาเพื่อเผยแผ่พุทธธรรมของ พระนิชิเร็นไดโชนิน ท้ายที่สุดแล้ว นี่ก็คือคำาชี้นำาอันลึกซึ้งของอาจารย์ มาคิงุจิ ในทางพุทธศาสนา อาจารย์กับศิษย์เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของอาจารย์กับศิษย์ไม่เป็นสอง สำาหรับ บรรดาลูกศิษย์ของอาจารย์มาคิงุจิที่สนับสนุนและติดตามประธาน คนที่ 2 ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของอาจารย์มาคิงุจิ ถือได้ว่าเป็นหนทาง ในการตอบแทนบุญคุณอันลึกซึ้ง ที่พวกเขาเป็นหนี้อาจารย์ผู้ล่วงลับ ของพวกเขา ผมไม่ได้พูดเฉพาะเจาะจงในกรณีของผม แต่โดย ส ่วนต ัวผมเช ื ่อว ่าพ ุทธธรรมต ้องอยู ่บนรากฐานความส ัมพ ันธ ์ของ อาจารย์กับศิษย์เสมอ ซึ่งเป็นหลักสำาคัญ และเป็นหลักเกณฑ์เพื่อให้ ธรรมมหัศจรรย์คงอยู่ตลอดนิรันดร์
29 ในท ี ่ส ุด พวกท ี ่เร ียกต ัวเองว่าลูกศ ิษย ์ของอาจารย ์ มาคิงุจิและปฏิเสธที่จะติดตามอาจารย์โทดะก็ละทิ้งความศรัทธาของ พวกเขาไป หักหลังสมาคม และค่อย ๆ ถูกพัดพาออกไปจากพุทธธรรม อย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าพวกเขาจะกล่าวอ้างแก้ตัวใด ๆ เพื่อพิสูจน์ถึงความ ถูกต้องของพฤติกรรมของพวกเขา แต่คำาพูดของเขาก็ไม่ชัดเจน ไปกว่าคำาเท็จและข้อโต้แย้งที่ไร้เหตุผลของผู้โง่เขลาเบาปัญญาต่อ ความจริงอันลึกซึ้งของสายสัมพันธ์ของอาจารย์กับศิษย์ ค.ศ. 1950 หนึ่งปีก่อนที่จะเป็นประธานสมาคมโซคา ท่านที่ 2 อาจารย์โทดะที่พวกเราเคารพนับถือเป็นอาจารย์แห่งชีวิต ได้ลาออกจากตำาแหน่งผู้อำานวยการ ซึ่งเป็นตำาแหน่งสูงสุดของ สมาคมในขณะนั้นอย่างกะทันหัน และได้มอบหมายตำาแหน่งนี้แก่ ผู้อื่น การตัดสินใจลาออกอย่างฉับพลันทันทีของท่าน เป็นความตั้งใจ ของท่านว่า สถานการณ์ทางการเงินที่ย่ำาแย่ของธุรกิจของท่านจะ ต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ แก่สมาคมโซคา ทว่าข้าพเจ้านึกถึงภาพ ของสมาคมโซคาที่อยู่โดยไม่มีอาจารย์โทดะไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงรีบรุดไป พบและถามท่านว่า “หากอาจารย์ลาออกจากตำาแหน่งผู้อำานวยการ แล้ว ใครจะเป็นอาจารย์ของผมครับ” ท่านตอบโดยไม่ลังเลเลยว่า “ถึงแม้ผมจะไม่สร้างปัญหาอะไรให้คุณนอกจากความยากลำาบาก ผมเป็นและจะยังคงเป็นอาจารย์ของคุณเสมอ” ข้าพเจ้าได้เขียนเกี่ยว กับการสนทนาครั้งนี้ไว้ในปฏิวัติมนุษย์ สำาหรับข้าพเจ้าแล้ว นี่เป็น ฉากที่มิอาจลืมได้ในบทละครแห่งอาจารย์กับศิษย์
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วที่พวกเราถือว่าพระนิชิเร็น ไดโชนินเป็นพระพุทธะแท้ของสมัยธรรมปลาย บนพื้นฐานดังกล่าว พุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินสอนถึงความสำาคัญของสาย สัมพันธ์แห่งอาจารย์กับศิษย์ พระนิกโคโชนิน ลูกศิษย์ผู้สืบทอดของ พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า “พระนิชิเร็นไดโชนินสอนถึงเส้นทางที่ ถูกต้องของอาจารย์กับศิษย์ในการบรรลุพุทธภาวะไว้ดังนี้ หากผู้ที่ ทำาผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อยในหนทางแห่งอาจารย์กับศิษย์แล้ว แม้ ยึดถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรก็ตาม ผู้นั้นจะตกลงสู่นรกอเวจีที่ทุกข์ ทรมานไม่รู้จบ”1 ดังนั้นแล้ว จงอย่าแสวงหาอาจารย์ผู้ปฏิบัติธรรมะได้ อย่างถูกต้อง และมีจุดประสงค์เพียงเพื่อจะให้ผู้อื่นเชื่อฟังและ ติดตามในลักษณะความสัมพันธ์ที่คล้ายกับความสัมพันธ์แบบ เจ้านายกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ซึ่งไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องของพุทธ ธรรม ทั้งนี้เพราะผู้ปฏิบัติธรรมมหัศจรรย์จะทำางานร่วมกันด้วยความ สามัคคีแห่ง “ตางกายใจเดียว” (อิไทโดชิน) และมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุผลเช่นนี้ โดยตัวของพุทธธรรมเองจึงเป็น คำาสอนแห่งอาจารย์กับศิษย์ อธิบายอย่างละเอียดได้ว่าเป็น พุทธธรรมที่ทำาให้พระพุทธะ (อาจารย) และสรรพสัตว์ (ลูกศิษย) เป็น 1 ฟูจินิกโคโชนินโชเด็น (ชีวประวัติของพระนิกโคโชนิน) (โตเกียว: เซเคียวชิมบุนฉะ, ค.ศ. 1974), เลมที่ 2, หน้า 261
31 หนึ่งเดียวกัน สัทธรรมปุณฑริกสูตรคือเส้นทางฐานรากอันยิ่งใหญ่ ที่ ให้การสนับสนุนค้ำาจุนต่อหลักการสูงส่งแห่งอาจารย์กับศิษย์ เป็น เส้นทางที่เมื่อปฏิบัติตามหลักการนี้ด้วยความศรัทธาแล้ว จะนำาไป สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดชั่วนิรันดร์ของเราในฐานะมนุษย์ ข้อสังเกตของ ดร. ไวเนอร์ที่ว่า การเจริญเติบโตของ เอสจีไอเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์แห่งอาจารย์กับศิษย์นั้น เฉียบคมจริง ๆ ธรรมนิพนธ์ชี้แนะพวกเราซ้ำาแล้วซ้ำาเล่าว่า “ออกหาง อกัลยาณมิตร และแสวงหากัลยาณมิตร” (ธรรมนิพนธ เลม 1 หน้า 213) เราต้องออกห่างจากเพื่อนชั่ว เราต้องไม่คบหาใกล้ชิดกับ ผู้คนหรือผู้นำาที่เสแสร้งว่ามีความศรัทธา แต่แท้จริงตั้งใจทำาด้วย ความทะเยอทะยานส่วนตัว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และทำาตาม อ ำาเภอใจ พระน ิช ิเร ็นไดโชน ินต ักเต ือนว ่า “เพ ื ่อนช ั ่วจะใช้ค ำาพูด ลวงล่อเพื่อหลอกลวงและประจบสอพลอ พวกเขาชำานาญในการใช้ คำาพูด ดังนั้นจึงสามารถควบคุมจิตใจของผู้คนที่โง่เขลาเบาปัญญา และทำาลายจิตใจดีงามที่อยู่ในชีวิตของพวกเขา” (ธรรมนิพนธฉบับ ภาษาอังกฤษ เลม 2 หน้า 221) เราต้องมีปัญญาและความเฉลียวฉลาดที่จะมองทะลุ ถึงการหลอกลวงของบุคคลประเภทนี้
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” ในธรรมนิพนธ์เรื่อง “เปดดวงตา” พระนิชิเร็นไดโชนิน เขียนว่า “การเรียกบุคคลว่าเป็นเพื่อนดี ความหมายว่าเขาไม่ใช่ทั้ง อาจารย์หรือศิษย์ของผู้ใด (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 248) พระนิชิเร็นไดโชนินกำาลังสอนพวกเราว่า ในฐานะมิตร สหาย เราต้องเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน ส่งเสริมกำาลังใจซึ่งกัน และกัน และเรียนรู้จากกันและกัน หัวหน้าทั้งหลายของสมาคมโซคามิใช่ใครอื่น นอกจากกัลยาณมิตร ในแง่นี้ ประธานสมาคมทั้งหลายในอนาคต อาจถือได้ว่าเป็นผู้ที่ยืนหยัดอยู่ในแนวหน้าของกัลยาณมิตร เหล่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่สำาคัญยิ่งก็คือประธานองค์กรของเราต้อง บากบั่นที่จะเป็นบุคคลที่สามารถได้รับการยกย่องอย่างสูงในฐานะ อาจารย์ เนื่องจากความศรัทธาอันลึกซึ้งของพวกเขา และการ ตระหนักรู้ถึงภาระหน้าที่ของพวกเขาที่ต้องทำาให้บรรลุผลสำาเร็จ ด้วยการอุทิศทุ่มเทตัวเขาเองอย่างถึงที่สุดเพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาล (จากหนังสือพิมพเซเคียว ฉบับวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1999)
33 บทสนทนาเรื่อง แม่กับลูกมุ่งสู่ศตวรรษที่ 21 (เลม 3)
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) บทที่ 3) สำยสัมพันธ์ที่ช่วยเหลือ สนับสนุนกันและกัน ครอบครัวเปนโรงเรียนแห่งแรก ที่ขัดเกลามนุษย ฮิราคาวา : คุณฟุจิโนะกับดิฉันใคร่ขอเรียนถามอาจารย์ในหัวข้อ “สายสัมพันธ์ที่ช่วยเหลือสนับสนุนกันและกัน” นะคะ อาจารยอิเคดะ : ครับ ขณะนี้ ยุคสมัยมีแนวโน้มสู่ทิศทางด้านลบ กระแส ความคิดที่ว่า “ขอใหตัวเองดีก็พอแลว” กำาลังมาแรงและกลาย เป็นบรรยากาศของสังคมโดยรวม สิ่งที่จะเปลี่ยนกระแสดังกล่าวนี้มีเพียง “การศึกษา” เท่านั้น และ “การศึกษาในครอบครัว” ก็เป็นสิ่งสำาคัญ ผมเชื่อ เช่นนั้น เปสตาลอสซี นักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่กล่าวไว้ว่า “ครอบครัวเป็นโรงเรียนดานศีลธรรม” แม้สถานที่ที่ให้วิชาความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ จะ มีอยู่มากมายก็ตาม แต่มีเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถให้การเรียนรู้วิธีการ
35 ดำาเนินชีวิตอย่างถูกต้องในฐานะมนุษย์ ผมคิดว่า ครอบครัวควรเป็นแหล่งของ “ภูมิปญญา อันดีงาม” อันดับแรกที่ขัดเกลามนุษย์ ฟุจิโนะ : ดิฉันยังจำาได้ เมื่อครั้งที่อาจารย์เคยกล่าวว่า “ไม่ว่า บรรยากาศในครอบครัวจะเป็นอย่างไร ลูก ๆ จะเติบโตโดยซึมซับ บรรยากาศของครอบครัวเข้าไปในร่างกายและเจริญเติบโต” จากประสบการณ์ที่เลี้ยงลูกสาวมา 2 คน ดิฉันเห็น ด้วยอย่างยิ่ง แม้จะเลี้ยงดูพวกเขาให้มีจิตใจที่ช่วยเหลือสนับสนุน กันและกันก็ตาม แต่ใช่ว่าจะสามารถช่วยเหลือกันได้ในทันที ดังนั้น “บรรยากาศในครอบครัว” จึงเริ่มมีความสำาคัญ อาจารยอิเคดะ : การที่สมาคมโซคาพัฒนาก้าวหน้ามาได้ถึงขนาด น ี ้ ก ็เพราะพวกเราให ้ก ำาล ังใจก ันและก ันเสมอว ่า “มีความสุขไป ดวยกันนะ” พร้อมกับก้าวไปข้างหน้า จะไม่ทำาให้ใครเป็นทุกข์แม้แต่คนเดียว อยากจะนำาพา ท ุกคนไปสู ่ “เสนทางอันยิ่งใหญแหงความสุข” นี่คือจิตใจของ อาจารย์มาคิงุจิและอาจารย์โทดะ สมาคมจึงเป็นที่รวมตัวของ “ภูมิปญญาอันดีงาม”
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 32 08-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) ท ี ่ยอดเย ี่ยมเพ ื ่อการเต ิบโตของมนุษย ์ การท ี ่ผมก่อต ั ้งกล ุ ่มต ่าง ๆ ขึ้นมาเพราะคิดว่า จะให้เป็นเวทีที่ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองด้วย การเรียนรู้จากผู้อื่น คุณฮิราคาวาเป็นสมาชิกคนสำาคัญของวงปีกลอง (โคเทคิไท) ส่วนคุณฟุจิโนะก็เป็นที่ปรึกษาของแผนกมัธยม ต่อสู้มา ตั้งแต่สมัยยุวชนหญิงใช่ไหมครับ ฟุจิโนะ : ใช่ค่ะ ดิฉันได้พบกับอาจารย์อิเคดะครั้งแรกตอนไปประชุม ที่ศูนย์ฝกอบรมชิงะซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จค่ะ ดิฉันเห็นอาจารย์ให้กำาลังใจสมาชิกแต่ละคนแล้ว ก็ บังเกิดความตั้งใจว่า “จะต้องทุ่มเทในการพูดคุยกับสมาชิก ฝายอนาคตซึ่งเป็นบุคคลสำาคัญอย่างเต็มที่” ฮิราคาวา : ดิฉันสามารถสร้างความทรงจำาอันยอดเยี่ยมที่สุดในสมัย ยุวชน และสร้างมิตรภาพที่ไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ จากการเป็นสมาชิก วงปีกลองที่อาจารย์เป็นผู้อบรมบ่มเพาะมากับมือ เหตุการณ์ที่ไม่อาจลืมได้คือ การเดินพาเหรดที่จัดขึ้น ที่อเมริกาเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1969 เนื่องจากเป็นการแสดงต่อสาธารณชนในต่างประเทศ เป็นครั้งแรก ก่อนออกเดินทางจึงได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการประชุม ผู้นำาระดับสูง เป็นบรรยากาศที่ทั้งสมาคมพร้อมใจกันส่งลูกสาวออก