The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Mini Book July-December 2020

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by MuayPatsy, 2024-06-01 00:46:50

Mini Book 7-12.2020

Mini Book July-December 2020

53 ประการแรกคือ หลัก “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” ถูกผู้คนเข้าใจ ผิดว่าเป็นการสนับสนุนเรื่องการแบ่งแยกศาสนา เพราะคิดว่านี่คือ การบอกเป็นนัยถึงการรวมประเทศภายใต้ศาสนาเดียว ประการที่ 2 คือ “ประเทศเกิดสันติ” ถูกมองในแง่ ของผู้มีอำานาจ แทนที่จะมาจากจุดยืนของประชาชน “ประเทศเกิด สันติ” อันที่จริงเอ่ยถึงสันติภาพและความผาสุกของประชาชน ความสุขของประชาชน และสันติภาพของประเทศที่ซึ่งประชาชน อาศัยอยู่ นี่คือจุดมุ่งหมายพื้นฐานที่ในที่สุดก็ถูกลืม โมรินากะ : การที่ถูกเรียกว่าลัทธินิชิเร็น เป็นกรณีในประเด็นของการ ตีความเกี่ยวกับความเป็นชาตินิยมของพระนิชิเร็นที่เกิดขึ้นในญี่ปุน ยุคใหม่ ไซโต : จากมุมมองหนึ่ง เราสามารถสันนิษฐานได้ว่า ความสัมพันธ ที่บิดเบี้ยวไประหว่างรัฐกับศาสนาก่อให้เกิดการตีความที่ผิดเกี่ยวกับ หลักการของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิด สันติ” ในบางกรณี ผู้นำาทางศาสนาได้สร้างความสัมพันธใกล้ชิด สนิทสนมกับผู้มีอำานาจทางการเมืองเพื่อที่จะแผ่ขยายนิกายของตน ในอีกด้านหนึ่ง บรรดานักการเมืองก็เข้าควบคุมอาศัยใช้ศาสนาใน การทำาให้อำานาจการเมืองของพวกเขาแข็งแกร่งขึ้น ดูเหมือนว่าที่ใด ที่ความสัมพันธระหว่างศาสนากับการเมืองถูกบิดเบือนไปในทางที่ ผิด ณ ที่นั้น หลักการสำาคัญนี้ก็ไม่สามารถตีความได้อย่างถูกต้อง


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ อาจารยอิเคดะ : ถูกต้องครับ หากปราศจากการพยายามค้นหา ข้อมูลให้ละเอียดยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธระหว่างรัฐกับศาสนา ในอุดมคติที่ทั้งสองฝายต้องมีความซื่อสัตยและจริยธรรมแล้ว ประชาชนก็จะใช้แค่โครงสร้างของความสัมพันธดังกล่าวในแบบ เดิม ๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งนี้เป็นสาเหตุให้มีมุมมองที่ผิด ๆ ต่อความหมาย ของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” และ “ประเทศเกิดสันติ” ทว่า ในความเป็นจริง หลักการของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อ ใหประเทศเกิดสันติ” เปดเผยให้เห็นถึงความสัมพันธที่ถูกต้อง เหมาะสมระหว่างรัฐกับศาสนา โมรินากะ : ในช่วงปลายของสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1600 - 1868) เป็นช่วง ที่สถาบันศาสนาในประเทศญี่ปุนถูกรวมเข้าไปในระบบการควบคุม ของรัฐโดยสมบูรณ ผู้คงแก่เรียนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของนิกายนิชิเร็น ตามรายงานว่าได้ปฏิเสธ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” ของพระ นิชิเร็นไดโชนินโดยสิ้นเชิง ว่าเป็นทฤษฎีที่ปราศจากพื้นฐานความเป็น จริง นี่ช่างน่าสังเวชเสียจริงสำาหรับคนที่เรียกตนเองว่าเป็นลูกศิษย ของพระนิชิเร็นไดโชนิน ไซโต : เริ่มต้น ขอให้เรามาพิจารณาความหมายของแนวคิดนี้โดยมุ่ง ความสนใจไปที่ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” วลีนี้แท้จริงแล้ว บอกเป็นนัยถึงอะไร ในบทนิพนธของท่าน พระนิชิเร็นไดโชนินพูดเสีย ยืดยาวถึงความเชื่อในศาสนาที่ผิดว่าคือรากที่เป็นสาเหตุทำาให้เกิด


55 ภัยพิบัติที่ทำาลายล้างประเทศ แต่ท่านกล่าวเพียงนิดเดียวถึงความ หมายของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” อาจารยอิเคดะ : ตอนที่ 9 ใน 10 ตอน7 ของบทนิพนธ พระนิชิเร็น ไดโชน ินช ี ้ว ่า ก ุญแจท ี ่ท ำาให ้หล ักการของ “การกอตั้งคําสอนที่ ถูกต้ องเพื่อให้ ประเทศเกิดสันติ” เกิดขึ้นเป็นจริงก็อยู่ ที่การ เปลี่ยนแปลง “หลักการที่ยึดถืออยูในจิตใจของทาน” อีกนัยหนึ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงตัวเองถึงขั้นรากฐานคือพื้นฐานของ “การกอตั้ง คําสอนที่ถูกตอง” โมรินากะ : ข้อความบทนิพนธกล่าวไว้ว่า ช่างน่าสงสารเสียนี่กระไรที่ประชาชนทั้งหมดได้ออก จากประตูแห่งคำาสอนที่ถูกต้อง และถลำาลึกเข้าไปในคุกแห่งคำาสอน ที่บิดเบือนเหล่านี้. ช่างโง่เขลาเสียนี่กระไรที่คนแล้วคนเล่าจะพากัน ตกลงไปในกับดักของคำาสอนชั่วเหล่านี้ และมัวพันติดอยู่ในตาข่าย ของคำาสอนที่หมิ่นประมาทธรรมเป็นเวลาอันยาวนานเช่นนี้. พากัน หลงเข้าไปในหมอกทึบ และจมดิ่งสู่เปลวไฟอันร้อนแรงของขุมนรก. จะไม่ให้รู้สึกเศร้าใจได้อย่างไร. จะไม่ให้ทุกขใจได้อย่างไร. 7 บทนิพนธเขียนในรูปแบบของการสนทนาระหวาง “เจ้าบ้าน” (พระนิชิเร็นไดโชนิน) และ “อาคันตุกะ” (โฮโจ โทขิโยริ อดีตผู้สําเร็จราชการ) คําบรรยายของทานใน “การกอตั้งคําสอนที่ถูกต้อง” พระนิชิคันโชนิน แบงบทนิพนธออกเปน 10 ตอนตามคําถามของอาคันตุกะ 10 ข้อ และคําตอบของเจ้าบ้าน 9 ข้อ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ เพราะฉะนั้น ท่านจะต้องรีบเปลี่ยนแปลงความศรัทธา ในจิตใจและยึดถือ 1 ความดีงามแห่งเอกยานที่แท้จริง [ของสัทธรรม ป ุณฑร ิกสูตร] หากท ำาเช ่นน ี ้แล ้ว 3 ภพ8 ก ็จะกลายเป ็นด ินแดน พระพุทธะ และดินแดนพระพุทธะจะเสื่อมลงได้อย่างไร. ดินแดน ต่าง ๆ ใน 10 ทิศจะกลายเป็นดินแดนแห่งรัตนะอันล้ำาค่า และ ดินแดนแห่งรัตนะอันล้ำาค่าจะแตกสลายได้อย่างไร. หากอาศัยอยู่ใน ประเทศที่ไม่มีวันเสื่อมลงในดินแดนซึ่งไม่มีวันแตกสลายแล้ว ร่างกาย ก็จะปลอดภัยและพบกับสันติสุข จิตใจจะสงบปราศจากเรื่อง เดือดเนื้อร้อนใจ. จงเชื่อถ้อยคำาของอาตมา. จงใส่ใจคำาแนะนำาของ อาตมา. (ธรรมนิพนธฉบับภาษาไทย เลม 1 หน้า 95) อาจารยอิเคดะ : ข้อความนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินกำาลังสอนว่าในระดับ รากฐานคือที่ซึ่งหลักการของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” ก่อเกิด ขึ้นมา นั่นคือ เกิดขึ้นในระดับของจิตใจ อีกนัยหนึ่งคือ หากปราศจาก การเปลี่ยนแปลงภายในชีวิตของแต่ละบุคคลแล้ว คำาสอนที่ถูกต้อง ก็ไม่สามารถก่อตั้งขึ้นได้ 8 3 ภพ : โลกของสรรพสัตวที่ยังไมรู้แจ้งและยังเวียนวายอยูในคติ 6 ซึ่งประกอบด้วย 1. กามภพ ซึ่งถูกครอบงําด้วยความปรารถนาอยากได้ตาง ๆ 2. รูปภพ ผู้ซึ่งอาศัยในภพนี้เปนอิสระจากความอยาก ความกระหาย และความหิวโหย แตยังมีรูปที่อยูภายใต้ข้อจํากัดทางวัตถุที่แนนอน และ 3. อรูปภพ ที่ซึ่งสรรพสัตวเปนอิสระทั้งจากความอยาก และข้อจํากัดทางวัตถุ


57 พระน ิช ิเร ็นไดโชน ินกล ่าวว ่า เม ื่อเราม ีช ัยชนะเหน ือ อวิชชาขั้นพื้นฐานของการหมิ่นประมาทธรรมและเปลี่ยนแปลง ความเชื่อที่เรายึดถืออยู่ในจิตใจของเรา จากนั้น 3 ภพซึ่งเป็นโลกแห่ง ความเป็นจริงที่เราอาศัยอยู่จะกลายเป็นดินแดนพระพุทธะอัน บริสุทธิ์ ดินแดนแห่งทรัพยสมบัติที่ไม่พังทลาย ท่านยังกล่าวอีกว่า คำาสอนที่พวกเราควรเชื่อคือ “คําสอนหนึ่งความดีงาม” “คําสอน” หมายถึงคำาสอนที่แท้จริงและเอ่ยอ้างถึงชื่อของสัทธรรมปุณฑริกสูตร “หนึ่งความดีงาม” หมายถึง ความดีขั้นรากฐาน สัทธรรมปุณฑริกสูตรสอนว่า ประชาชนทุกคน สามารถแสดงธรรมชาติพุทธะออกมาได้ และนั่นคือหน้าที่ของเหล่า ผู ้คนท ี ่ย ึดถ ือพระสูตรน ี ้ท ี ่จะลงม ือกระท ำาเพ ื ่อช ่วยให ้ผู ้อ ื ่นสามารถ บรรลุพุทธภาวะได้เช่นเดียวกัน นี่คือปญญาและวิถีชีวิตของ พระพุทธะ ปรัชญานี้และการปฏิบัติของพระพุทธะคือความหมายที่ ถูกต้องตรงกับความดีขั้นรากฐาน เช่นเดียวกัน คำาสอนของพระนิชิเร็น ไดโชนินแห่งธรรมะเร้นลับอันยิ่งใหญ่ 3 ประการก็มิใช่สิ่งใดอื่น นอกจากการปฏิบัติความดีขั้นรากฐานเพื่อสมัยธรรมปลาย อย่างไรก็ตาม เจตนารมณและวิถีชีวิตของบรรดาผู้คน ที่ยึดถือปรัชญานี้และทุ่มเทชีวิตของพวกเขาในการนำาปรัชญานี้มาสู่ การปฏิบัติจะมีความเท่าเทียมกับพระพุทธะ และสถานที่ที่พวกเขา อาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่ใด ก็คือดินแดนของพระพุทธะ จากเรื่องนี้


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ เราจะเห็นได้ว่า กฎของพุทธธรรมคือการลงหลักปกรากฐานไว้ในชีวิต ของประชาชนทั้งหลาย แก่นของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” อยู่ที่ความ เชื่อในความดีขั้นรากฐานซึ่งก็คือสัทธรรมปุณฑริกสูตรและการก่อตั้ง ส ันต ิภาพไว ้ในจ ิตใจของพวกเขาแต ่ละคน เพ ียงเม ื ่อส ังคมหน ึ ่งซ ึ ่ง ทำางานสอดคล้องกับความดีขั้นรากฐานมีความมั่นคงปลอดภัย เท่านั้นจึงจะทำาให้สังคมแห่งสันติภาพที่แท้จริงเป็นจริงได้ อย่างไร ก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าทุก ๆ คนในสังคมดังกล่าวจะต้อง กลมเกลียวกันด้วยการศรัทธาในสัทธรรมปุณฑริกสูตร เรื่องนี้ก็คือ เจตนารมณของปรัชญาอันยิ่งใหญ่แห่งสันติภาพที่ได้อธิบายอยู่ใน สัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่สอนว่า ประชาชนทุกคนคือ พุทธะ ที่กำาลังมีบทบาทในการพัฒนาสังคมโดยรวมอย่างเต็มที่ ใน ระดับสังคมใหญ่ ๆ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” หมายถึงการ ก่อตั้งแนวคิดของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยและความสูงส่งของชีวิต ให้เป็นหลักสำาคัญที่สนับสนุนและขับเคลื่อนสังคม { โปรดติดตามตอนตอไป }


59


ไดโมขุแห่งเสียงค�ำรามของราชสีห์ การปฏิบัติที่มุ่งสู่ความสุขและมีชัยชนะขั้นรากฐาน การอธิษฐานนั้นจะอธิษฐานในใจ ดังนั้นถึงแม้ว่า เราจะอ่านคำ อธิษฐานตามตัวอักษรก็ตาม แต่ตามความจริงก็คือเป็น สิ่งที่เราคิดอยู่ในใจซึ่งก็คือความนึกคิดที่เกิดขึ้นกับตัวเราที่กลายเป็น คำ อธิษฐานของเรานั่นเอง... “การอธิษฐาน” อย่างถูกต้องนั้นเป็นการต่อสู้ที่ เด็ดขาด คำ อธิษฐานจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตของผู้อธิษฐาน ค ำ อธ ิษฐานน ั ้นจะต ้องเป ็นรูปธรรมและต ้องจร ิงจ ัง อีกทั้งจะต้อง อธิษฐานด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ ไม ่ว ่าจะเป ็นการสวดไดโมข ุหร ือการอธ ิษฐาน สิ่งที่ สำ คัญที่สุดก็คือ การอธิษฐานด้วยจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง คำ อธิษฐาน ไม่ควรจะเป็นไปในลักษณะนามธรรม พระพุทธะและเทพธรรมบาล จะตอบสนองต่อคำ อธ ิษฐานท ี ่เข ้มแข ็งจร ิงจ ังท ี ่เก ิดข ึ ้นจากส ่วนล ึก ที่แท้จริงของชีวิตเรา (จากหนังสือ บรรยายสัทธรรมปุณฑริกสูตร บทกุศโลบายและบทการหยั่งอายุกาลของพระตถาคต หน้า 649 - 650) ‘ ’


á´‹à¾×è͹ æ ¢Í§¢ŒÒ¾à¨ŒÒ จาก ไดซาขุ อิเคดะ ¨§ ª¹Ð´ŒÇ¤ÇÒÁàÃçÇ ¨§Áͧä»Êً͹Ҥµ ¨§¡ŒÒÇä»Í‹ҧÃÇ´àÃçÇ áÅÐŧÁ×Í¡ÃзíÒâ´ÂäÁ‹ÅѧàŠઋ¹¹Ñé¹áÅŒÇ àÃÒ¨ÐÊÒÁÒö·íÒ§Ò¹ã¹Ë¹Ö觻‚ ´ŒÇ¤س¤‹Ò¢Í§Ë¹Öè§ÃŒÍ»‚ (จากเอสจีไอกราฟก ฉบับเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005


สมำคมสรำงคุณค่ำในประเทศไทย email: [email protected] www.sgt.or.th บรรณาธิการ นวรัตน ชิโนมี กองบรรณาธิการ เรืองระวี ไชยพูนพัฒน พัชรี โพธิพัฒนธนากร ณัฐพร งามสิริกุล ภาษาญี่ปุน เพียงตา หลิมไชยกุล อนงคนาถ มโนจุรีหกุล อาคิโกะ โฮโซดะ โยโกะ โอดะ สมพร เจนจารุพันธุกุล ภาษาอังกฤษ หทัยรัตน แซ่จึง ศศมน โพธิพัฒนธนากร ทิพยสุดา บุนฑารักษ ออกแบบสรางสรรค กุลลดา อัศวฉัตรโรจน พิสูจนอักษร วรรณี สถาพรพิชญ ผูจัดการ ณรินทร ลัทธยาพร สงวนลิขสิทธิ์ โดยสมาคมสรางคุณค่าในประเทศไทย ISSN 2586-8675


สารบัญ บทบรรณำธิกำรของอำจำรย์อิเคดะ การเปลี่ยนความทุกขยากใหเปนความสุขและความปติยินดี 5 ธรรมนิพนธ์ คุณประโยชน 3 ประการของอาหาร 11 ควำมคิดค�ำนึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” บทที่ 48) เหตุการณสหภาพแรงงานเหมือง... 21 บทสนทนำเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เล่ม 3) บทที่ 4) พ่อกับแม่ สามีกับภรรยา (ต่อ) 29 โลกแห่งธรรมนิพนธ์ บทสนทนาเกี่ยวกับศาสนาแห่งมนุษยนิยม บทที่ 4) การก่อตั้งคําสอนที่ถูกตอง 41 เพ� อใหประเทศเกิดสันติ (ตอนที่ 1/ต่อ) 12345


บทบรรณำธิกำรของ อำจำรย์อิเคดะ (ในวารสารไดเบียะขุเร็งเงะ)


5 การเปลี่ยนความทุกขยาก ใหเปนควำมสุขและควำมปติยินดี พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า “ผูที่เช� อสัทธรรม ปุณฑริกสูตรนั้นดุจเดียวกับอยูในฤดูหนาว แตฤดูหนาวจะตอง เปลี่ยนเปนฤดูใบไมผลิอยางแนนอน” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษา อังกฤษ เล่ม 1 หน้า 536) อาจารย์จึเนะซาบุโร มาคิงุจิ ประธานผู้ก่อตั้งสมาคม โซคาผู้ถูกจองจําระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เผชิญการบีฑา ที่หนักหน่วงที่สุดดั่งฤดูหนาวอันหนาวเหน็บ ทว่าตลอดระยะเวลา ดังกล่าวท่านได้แสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตอันสูงส่งของการเอาชนะ สภาพการณ์ที่ยากลําบากเพื่อลิ้มรสความปีติยินดี ท่านประกาศถึง สัจธรรมที่ว่า “ฤดูหนาวเปลี่ยนเปนฤดูใบไมผลิอยางแนนอน” โดย ลั่นระฆังแห่ง “การเปลี่ยนความทุกขยากใหเปนความสุขและความ ปติยินดี” เพื่อลูกศิษย์และผู้สืบทอดทั้งหลาย ในหนังสือธรรมนิพนธ์เล่มส่วนตัวของท่าน อาจารย์ มาคิงุจิผู้ถวายชีวิตเพื่อความศรัทธาของตน (เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944) ขีดเส้นข้อความที่ว่า “[เหลา] ผูที่ปรารถนาจะปกปอง ‘ ’


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 บทบรรณาธิการของอาจารยอิเคดะ คําสอนที่ถูกตองพึงปฏิบัติตามอยางหญิงยากไรที่ขามแมน้ํา คงคา ผูสละชีวิตของตนดวยความรักที่มีตอลูกนอยของเธอ” (อ้างอิงธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 1 หน้า 282) ข้อความจากนิรวาณสูตรที่พระนิชิเร็นไดโชนินยกมา กล่าวใน “ธรรมนิพนธเร� องเปดดวงตา” นี้ ในตอนหนึ่งได้เล่าเรื่อง หญิงยากไร้ที่พยายามข้ามแม่น้ําคงคาพร้อมกับทารกน้อยแรกเกิด ของเธอ หลังจากที่เดินทางรอนแรมมาเนิ่นนาน ทั้งยังต้องทนความ ป่วยไข้ ความหิวโหย และความหนาว แต่ทั้งคู่กลับจมน้ําตายอย่าง น่าอนาถ โดยในพระสูตรกล่าวว่า กุศลแห่งความตั้งใจอันแน่วแน่ที่ เมตตากรุณาของเธอที่อุ้มลูกน้อยไว้ด้วยความรักห่วงใยท่ามกลาง กระแสน้ําเชี่ยว ทําให้เธอบรรลุสภาพชีวิตที่เปี่ยมด้วยบุญวาสนาและ บุญกุศลอันไร้ขอบเขต นิทานเรื่องนี้เป็นอุปมาอุปไมยถึงจิตใจที่ปกปอง คําสอนที่ถูกต้องอย่างมั่นคงแน่วแน่ พระนิชิเร็นไดโชนินยังประกาศด้วยว่า “อาตมาและ ลูกศิษยของอาตมาแมจะมีการบีฑาตาง ๆ นานาก็ตาม หากไมมี จิตใจสงสัยแลวยอมเขาถึงโลกพุทธะไดโดยธรรมชาติ” (ธรรม นิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 1 หน้า 283) อาจารย์มาคิงุจิยึดมั่นในความเชื่อมั่นอันยิ่งใหญ่ของ พระน ิช ิเร ็นไดโชนินน ี ้จวบจนวาระส ุดท้าย อาจารย์โจเซอ ิ โทดะ


7 ประธานสมาคมโซคา ท่านที่ 2 ก็สืบทอดเจตนารมณ์นี้ และต่อมา ภายหลังฝ่ายผู้ใหญ่หญิงของเราได้สืบสานจิตใจนี้เช่นกัน พวกเธอ เป็นสตรีผู้สูงส่งที่ปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธะและอุทิศชีวิตเพื่อ การเผยแผ่ธรรมไพศาล พวกเธอเข้าหาผู้คนรอบกายด้วยความ ศรัทธาที่หนักแน่นในธรรมมหัศจรรย์ และยืนยันอย่างมั่นใจว่าทุกคน ล้วนมีสภาพชีวิตโลกพุทธะที่ไม่อาจทําลายได้อย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน พวกเธอบุกบั่นไปข้างหน้าบนเส้นทางแห่งอาจารย์กับ ศิษย์โดยไร้ความสงสัย รับมือกับการรุกไล่ของอุปสรรค 3 มาร 4 และศัตรูที่เข้มแข็ง 3 ชนิดโดยไม่หวั่นเกรง ซึ่งปรากฏขึ้นตามที่ พระนิชิเร็นไดโชนินได้ตักเตือนไว้ พวกเธออธิษฐานและต่อสู้อย่าง เด็ดเดี่ยวเพื่อปกปองครอบครัวที่รัก เพื่อนสมาชิก มิตรสหายผู้ล้ําค่า และสมาคมโซคา โปรดระลึกไว้เสมอว่า เพราะความศรัทธาที่แท้จริง ของฝ ่ายผู ้ใหญ ่หญ ิงน ี ่เอง พวกเราจ ึงฉลองวาระครบ 90 ป ีของ สมาคมอย่างภาคภูมิใจและมีชัยชนะได้ เมื่อมองดูโลกปจจุบัน น้ําตาของแม่และเด็กรวมถึง ครอบครัวผู้อพยพยังคงไหลรินไม่หยุด ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรม สันติภาพที่สร้างขึ้นโดยสตรีของโซคาที่ยึดมั่นในปรัชญาพุทธธรรม ของพระนิชิเร็นไดโชนินที่เห็นคุณค่าของชีวิต และลงมือปฏิบัติด้วย ความเคารพต่อมนุษย์ทั้งมวลจึงยิ่งมีความสําคัญ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 บทบรรณาธิการของอาจารยอิเคดะ การรวมตัวกันของโซคาคือเครือข่ายของ “ดอกไม มนุษย” (สัทธรรมปุณฑริกสูตร ฉบับภาษาไทย บทที่ 5 หน้า 180) ที่เข้มแข็งเฉลียวฉลาดและอบอุ่น ซึ่งฉายความงดงามและเอกลักษณ์ เฉพาะตน ขอให ้ท ํางานร ่วมก ันต ่อไปด ้วยความต ั้งใจอ ันแน ่วแน ่ท ี ่ เมตตากรุณาเพื่อนํารอยยิ้มแห่งความสุขและความปีติยินดีอันผ่องใส สู่ใบหน้าของสตรีและเด็กทั่วทุกแห่งหนโดยไม่ทอดทิ้งใครแม้แต่ คนเดียว พร้อมกับมอบสารที่เปี่ยมความหวังว่า ฤดูหนาวที่โหดร้าย ที่สุดจะเปลี่ยนเป็นฤดูใบไม้ผลิที่มีความสุขที่สุดได้อย่างแน่นอน


9 ¢ÍãËŒ ¾Ç¡àÃÒÍØ·ÔÈ ÁÒÅÑÂáË‹§ªÑª¹Ð¢Í§µÑÇàͧ á´‹ÁÒôҼٌ¡ÒÃسáË‹§¡ÒÃà¼ÂἋ¸ÃÃÁä¾ÈÒÅ ¼ÙŒÍ¸ÔÉ°Ò¹áÅÐÊ‹§àÊÃÔÁ¡íÒÅѧ㨾ǡàÃÒÍ‹ҧ¨Ãԧ㨠NjҨ§Í‹Ҿ‹ÒÂᾌ໚¹Íѹ¢Ò´ (จากบทบรรณาธิการ วารสารไดเบียะขุเร็งเงะ ฉบับเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020)


ธรรมนิพนธ์


11 ธรรมนิพนธเร� อง คุณประโยชน์ 3 ประกำรของอำหำร ความเปนมา ธรรมน ิพนธ ์ฉบ ับน ี ้หลงเหล ืออยู ่เพ ียงบางส ่วน จ ึงไม ่ทราบแน ่ช ัดว ่าพระน ิช ิเร ็นไดโชน ินเข ียนเพ ื ่อมอบแก ่ผู ้ใด แต ่ ส ันน ิษฐานว ่าเป ็นจดหมายขอบค ุณลูกศ ิษย ์ท ี ่ท ําบ ุญถวายอาหาร แด่ท่าน พระนิชิเร็นไดโชนินสอนถึงคุณประโยชน์ของ “อาหาร” 3 ประการ ไว้ในธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ว่า หาก ¨Ø´¤º ä¿ ãËŒ á Ê § Ê Ç‹Ò § á ¡‹¼ÙŒ Í×è¹ àº×éͧ˹ŒÒ¢Í§µ¹àͧ¡ç¨ÐÊÇ‹Ò§äÊÇä»´ŒÇ (¸ÃÃÁ ¹Ô¾¹¸Ë¹ŒÒ 1598)1 ‘ ’ 1 ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 2 หน้า 1060


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 ธรรมนิพนธ 1. เพื่อยังชีพ 2. เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย 3. เพื่อบํารุงกําลังกายและใจ ท่านได้ย้ําซ้ํา ๆ ถึงความสําคัญของ “อาหาร” ดังที่ เขียนอยู่ในธรรมนิพนธ์ฉบับอื่น ๆ เช่น “อาหารหลอเลี้ยงชีวิต” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 2 หน้า 655) พระน ิช ิเร ็นไดโชน ินสอนถ ึงบ ุญก ุศลของการท ําบ ุญ ถวาย “อาหาร” ที่มีความสําคัญดังที่กล่าวมา โดยใช้การ เปรียบเทียบในข้อความที่ศึกษาครั้งนี้ คํากล่าวที่ว่า “หากจุดคบไฟใหแสงสวางแกผูอ� น เบื้องหนาของตนก็จะสวางไสวไปดวย” เป็นการยกตัวอย่าง เปรียบเทียบให้เห็นลักษณะพิเศษของพุทธธรรมของพระนิชิเร็น ไดโชนินอย่างชัดเจน ซึ่งสมาชิกหลายคนคุ้นเคยดี กล่าวคือ การกระทําที่เห็นอกเห็นใจและมีความ เอื้อเฟอต่อผู้อื่น ไม่เพียงเป็นการทําเพื่อผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังสะท้อน กลับมาเป็นความสุขและผลบุญของตนเองด้วย พุทธธรรมเป็น “ปรัชญาแหงการอยูรวมกัน” ที่ เข้าใจว่าชีวิตแต่ละชีวิตมีความสัมพันธ์กันและค้ําจุนซึ่งกันและกัน


13 พระนิชิเร็นไดโชนินรู้แจ้งว่า การเปดและแสดง ธรรมชาติพุทธะที่มีพร้อมอย่างเท่าเทียมกันในชีวิตมนุษย์คือ ต้นกําเนิดของการสร้างความสุขเพื่อตนเองและผู้อื่น จึงเผยแผ่ไดโมขุ ซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อตนเองและการเทศนาสั่งสอนแก่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นไดโมขุที่สวดเพื่อผู้อื่น หรือการสนทนาที่ ส่งเสริมให้ผู้อื่นสวดไดโมขุด้วยกัน ไม่เพียงเป็นการเรียกธรรมชาติ พุทธะของอีกฝ่ายให้ตื่นขึ้นมา แต่ยังมีบุญกุศลที่จะเปดธรรมชาติ พุทธะของตนเองออกมาด้วย อาจารย์อิเคดะชี้นําว่า “เพราะเคารพชีวิตพุทธะของคนหนึ่งคนที่อยู่ตรงหน้า จึงสามารถปลุกเร้าความกล้าหาญจากส่วนลึกของจิตใจ และเรียก พลังในการมีชีวิตซึ่งมีอยู่ภายในมาแต่ดั้งเดิมให้ตื่นขึ้นมาได้ พร้อมกันนี้ การสงเสริมกําลังใจก็คือการไดรับกําลังใจ การกระทํา ที่เคารพเพื่อนมนุษย์จะขัดเกลาชีวิตตนเอง และทําให้ชีวิตอุดม สมบูรณ์อย่างไร้ขีดจํากัด” ผู้ที่เชื่อในธรรมชาติพุทธะของตนเองและผู้อื่นอย่าง ถ ึงท ี ่ส ุด และส ่งเสร ิมก ําล ังใจคนหน ึ ่งคนท ี ่อยู ่ตรงหน ้าอย ่างเต ็มท ี ่ ก็คืออาจารย์อิเคดะ ขอให้ท้าทายการสนทนาที่จริงใจและกล้าหาญ โดยรวมใจเป ็นหน ึ ่งเด ียวก ับอาจารย ์ผู ้สร้างเคร ือข ่ายแห ่งความส ุข และสันติภาพในโลกด้วยการสนทนา


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 ธรรมนิพนธ จงเขมแข็ง เมื่อครั้งที่ดิฉัน (คุณโยโกะ ซากะโมโตะ) เป็นนักเรียน ได ้ส ่งเสร ิมก ําล ังใจอย ่างต ่อเน ื ่องแก ่เพ ื ่อนท ี ่ท ุกข ์ใจด ้วยเร ื ่องความ ไม่ลงรอยกันในครอบครัว ใช้เวลา 1 ปีเพื่อนจึงสามารถข้ามพ้นการ คัดค้านอย่างมากจากครอบครัวและเข้าศรัทธา ดิฉันรู้สึกตื้นตันใจ เมื่อเพื่อนที่รู้สึกถึงสายสัมพันธ์ในอดีตอันลึกซึ้งกับดิฉันพูดว่า “พวกเราเช� อมตอถึงกันจากสวนลึกในชีวิตเลยนะ” และเกิดความ เชื่อมั่นในความศรัทธาว่าการสนทนาที่อธิษฐานถึงความสุขของเพื่อน อย่างถึงที่สุด จะผลิดอกออกผลอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม หลังจากแต่งงาน ดิฉันก็พบกับ บททดสอบอย่างต่อเนื่อง มรสุมชะตากรรมถาโถมเข้ามาติด ๆ กัน นับตั้งแต่ การต่อสู้กับความเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการดูแล พยาบาลพ่อแม่ ตนเองแท้งลูกและเป็นโรคไทรอยด์ สามีเป็นโรคหัวใจ เป็นต้น ในเวลาที่รู้สึกเหมือนใจจะสลาย สิ่งที่หวนคิด ขึ้นมาได้ก็คือ คํากลอนของอาจารย์อิเคดะที่สลักอยู่ในจิตใจเมื่อครั้ง เป็นยุวชนหญิงว่า


15 จงเขมแข็ง อธิษฐานใหมีชีวิตอยูอยางสะอาดบริสุทธิ์ สรางประวัติศาสตรของตน โดยไมหวนเสียใจภายหลัง ดิฉันตัดสินใจว่า “เวลานี้คือเวลาที่จะส ร้าง ประวัติศาสตร์ของตนเองที่ไม่หวนเสียใจภายหลัง จะไม่หนีเด็ดขาด จะข้ามพ้นไปให้ดู” แล้วก็อธิษฐานอย่างเข้มแข็งและทํากิจกรรมของ สมาคมอย่างถึงที่สุด ไม่ว่าจะยากลําบากเพียงใด ขณะที่ส่งเสริมกําลังใจ เพื่อนสมาชิกอย่างต่อเนื่อง พลังชีวิตของเราจะพวยพุ่งขึ้นมาอย่าง น่าประหลาดใจ และสามารถแก้ไขความทุกข์ยากไปได้ทีละเรื่อง ๆ ปจจุบันทุกคนในครอบครัวแข็งแรง เข้ากันได้ดี และกําลังต่อสู้เพื่อ การเผยแผ่ธรรมในท้องถิ่นคะจึชิกะ นี่เป็นเรื่องที่ปีติยินดีที่สุด คณะกรรมการส ันต ิภาพฝ ่ายสตร ีโตเก ียวจ ัด “งาน ฉายภาพยนตร์ของรากหญ้า” ในแต่ละท้องถิ่นตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพ ื ่อบอกเล ่าประสบการณ ์ของเหย ื ่อระเบ ิดปรมาณู ด ิฉ ันช ักชวน เพื่อน ๆ ในท้องถิ่นมาสนทนากัน จากการเพียรพยายามพูดคุยเรื่อง ‘ ’


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 ธรรมนิพนธ เหล ่าน ี ้อยู ่เสมอ ท ําให ้แม ้แต ่คนท ี ่เคยม ีอคต ิก ับสมาคมก ็เห ็นพ ้อง ต้องกันกับความเชื่อของโซคาที่ว่า “จะไมทิ้งใครไวขางหลัง” และ ถึงขนาดที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสันติภาพด้วย ขอให้ยึดคําชี้นําที่ว่า “หากสงความหวังใหทุกคน จะสามารถเปดอนาคตแหงความหวังที่สดใสรวมกันได” ไว้ใน จิตใจ ในขณะที่สังคมกําลังเผชิญกับความยากลําบากอยู่ ณ ขณะนี้ มาร่วมกันอธิษฐานอย่างเข้มแข็งเพื่อความสุขของเพื่อน ๆ และแผ่ ขยายเครือข่ายแห่งการส่งเสริมกําลังใจอย่างอบอุ่นกันเถิด (บรรยายโดย คุณโยโกะ ซากะโมโตะ หัวหน้าคณะกรรมการสันติภาพฝายสตรีโตเกียว)


17 คําชี้นํา ของอำจำรย์อิเคดะ “เพ� อผูอ� น” คือภำระหนำที่ของผูปฏิบัติพุทธธรรม สมาชิกของสมาคมโซคามีความตระหนักรู้อย่างแรงกล้า ในเปาหมายที่เรียกว่าการเผยแผ่ธรรมไพศาล ซึ่งก็คือ การสร้างความสุข ของผู้คน ความรุ่งเรืองของสังคม และสันติภาพ นอกจากนี้ ยังย้อมคําสอน ศักดิ์สิทธิ์ที่ว่า “หากจุดคบไฟใหแสงสวางแกผูอ� น เบื้องหนาของตนเอง ก็จะสวางไสวไปดวย” (ธรรมนิพนธ์หน้า 1598) ไว้ในจิตใจ กล่าวคือ แต่ละคนตระหนักรู้ด้วยตัวเองว่า การตั้งมั่นในปรัชญาแห่งการอยู่ร่วมกัน และเจริญรุ่งเรืองไปด้วยกัน พร้อมกับทุ่มเททําเพื่อผู้อื่น คือแนวทางที่ควร จะเป็นของผู้ปฏิบัติพุทธธรรม ความคิดและการกระทําเช่นนั้นของสมาชิกสมาคม กระตุ้น การแลกเปลี่ยนกับผู้คนรอบตัว สร้างความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวของมนุษย์ กับมนุษย์ และกลายเป็นแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ในแต่ละท้องถิ่น…


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 ธรรมนิพนธ การแผ่ขยายเครือข่ายมนุษย์ที่ปรารถนาให้ คนรอบต ัวและผู ้คนในท ้องถ ิ ่นม ีความส ุขความเจร ิญ อ ีกท ั ้งกล ่าว ขอบคุณและส่งเสริมกําลังใจซึ่งกันและกัน ด้วยความรู้สึกว่าทุกคนคือ “ครอบครัว” นี่เอง จะเป็นแสงแห่งความหวังที่เปดอนาคต และนี่ก็คือ ภาระหน้าที่ทางสังคมของสมาคมโซคา (จาก บทประพันธ์ ปฏิวัติมนุษย์-ใหม่ เล่มที่ 28 บท “บทเพลงแห่งการเผยแผ่ธรรม”) อธิบำยเพิ่มเติม ความสุขของทั้งตนเองและผูอ� น หนึ่งในลักษณะพิเศษอันยิ่งใหญ่ของพุทธธรรมของ พระนิชิเร็นไดโชนิน ก็คือการมุ่งไปที่ “ความสุขของทั้งตนเองและผูอ� น” พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า “ความปติยินดี หมายถึง ทั้ง ตนเองและผูอ� นปติยินดี” “ความปติยินดี หมายถึง ทั้งตนเองและ ผูอ� นมีปญญาและความเมตตา” (บันทึกคําสอนปากเปล่า ฉบับภาษา อังกฤษ หน้า 146) ‘ ’


19 “(การคิดถึง) แตตนเอง” เป็นความเห็นแก่ตัว ในขณะที่ “(การคิดถึง) แตคนอ� น” ก็กลายเป็นการแสร้งทําดี การที่ ทั้งตนเองและผู้อื่นมีความสุขไปด้วยกันนั้น เกี่ยวเนื่องกับ “ความปติยินดี” ที่แท้จริงของมนุษย์ คนที่พูดคุยเรื่องมนุษยนิยมของพุทธธรรมด้วยจิตใจ เช ่นน ี ้แก ่คนรอบข ้าง และแผ ่ขยายจ ิตใจแห ่งส ันต ิภาพ ก ็ค ือสมาช ิกของ สมาคม อาจารย์อิเคดะกล่าวว่า “อาจารย์โทดะกล่าวว่า ‘ความสุขสวนตัวกับความเจริญ รุงเรืองของสวนรวมตองทําใหสอดคลองกัน’ แม้จะเรียกว่าความสุข ส่วนตัว แต่ก็มิใช่ความสุขที่ยึดตัวเองเป็นหลัก หากแต่เป็น ‘การกอตั้ง ความเปนมนุษย’ ที่แท้จริง โดยมี ‘ปญญาและความเมตตาเพ� อตนเอง และผูอ� น’” การสร้างยุคสมัยที่ “ความสุขสวนตัว” กับ “ความเจริญ รุงเรืองของสวนรวม” มีความสอดคล้องกันนี่เอง คือภาระหน้าที่ของ ผู้ปฏิบัติพุทธธรรม


ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย์-ใหม่” โดย โฮ โงะคู บทความจากอาจารย์ไดซาขุ อิเคดะ


21 บทที่ 48) เหตุกำรณ์สหภำพแรงงำน เหมืองถ่ำนหินยูบำริและกำรก่อตั้งฝำยอุดมศึกษำ กล้าหาญต่อไป น้องชายหรือน้องสาวของข้า จงสานต่อ เสรีภาพคือการไม่ยอมจํานน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ไม่มีสิ่งใดที่หยุดยั้งได้ ไม่ว่าความล้มเหลว 1 หรือ 2 ครั้ง หรือนับครั้งไม่ถ้วน หรือความไม่แยแสใส่ใจหรืออกตัญูของผู้คน หรือความไม่ซื่อสัตย์ภักดีใด ๆ หรือแสดงการขู่ขวัญของอํานาจ ทหาร ปนใหญ่ กฎหมายอาญา1 “ทู อะ ฟอล์ด ยูโรเปียน เรฟโวลูชันแนร์” เป็นบทกวี ของวอลต ์ ว ิทแมนท ี ่ข ้าพเจ ้าช ื ่นชอบเป ็นอย ่างย ิ ่ง ซ ึ ่งบทความน ี ้ เริ่มต้นด้วยบทกวีดังกล่าวข้างต้น 1 วอลต์ วิทแมน, “ทู อะ ฟอล์ด ยูโรเปียน เรฟโวลูชันแนร์ (To a Foil’d European Revolutionaire)” ใบไม้หญ้า (ลอนดอน: บจ. เจ. เอ็ม. เดนต์แอนด์ซัน, ค.ศ. 1968) หน้า 309


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1957 เกิดเหตุการณ์ที่เหมือง ถ่านหินยูบาริ ในฮอกไกโด ในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สภาสูง) ทั่วประเทศในเดือนกรกฎาคมปีก่อน สมาชิกสมาคมโซคา ที่เป็นคนงานในเหมืองถ่านหินยูบาริได้ออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ได้รับ การสนับสนุนโดยสมาคมโซคาแทนที่จะเลือกผู้สมัครที่ได้รับการ สนับสนุนโดยสหภาพแรงงานเหมืองถ่านหิน อันเป็นเหตุให้สหภาพ กล่าวหาว่าสมาชิกสมาคมบ่อนทําลายความเป็นปกแผ่นของสหภาพ และหาทางขับไล่พวกเขา ผู้นําสหภาพได้ตัดสินใจที่จะต่อต้าน สมาคมโซคาอย่างเปดเผย นี่คือเหตุการณ์สหภาพแรงงานเหมืองถ่านหินยูบาริ ในเวลานั้น สหภาพได้ใช้อํานาจบาตรใหญ่กดขี่ข่มเหง ชีวิตของสมาชิกสหภาพ จนหลายคนรู้สึกเปล่าประโยชน์ที่จะ พยายามต่อต้านความต้องการของสหภาพ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ คนงานเหมืองหลายคนที่ เป ็นสมาช ิกสมาคมโซคาถูกเร ียกไปส ําน ักงานสหภาพและบอกให ้ พวกเขาเลือกว่าจะเลิกศรัทธาหรือถูกขับออกจากสหภาพ การถูกขับ ออกจากสหภาพก็หมายถึงพลอยถูกเลิกจ้างจากเหมืองถ่านหินด้วย พวกเขาถูกกระทําราวกับเป็นพวกนอกคอกเพียงเพราะพวกเขาเป็น สมาชิกของสมาคมโซคา ภรรยาและแม้กระทั่งลูก ๆ ของพวกเขาก็ ถูกปฏิเสธ ถูกลิดรอนสิทธิ์ โปสเตอร์ที่หมิ่นประมาททําลายชื่อเสียง


23 ก ็ถูกป ดตามเสาไฟฟ าและก ําแพงบ ้าน และม ีการโจมต ีว ิพากษ ์ วิจารณ์สมาคมโซคาและสมาชิกสมาคมทางวิทยุกระจายเสียง การกระทําที่ผิดแปลกกลับตาลปตรในบทบาทหน้าที่ ของสหภาพในฐานะผู้ปกปองสิทธิของคนงาน กลับกลายเป็นผู้ ละเมิดสิทธินั้นเสียเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิเสรีภาพในการเชื่อ ศาสนาของพวกเขา สหภาพได้กระทําอย่างมีเงื่อนงําและมีท่าทีที่ไม่ ยอมรับความถูกต้อง พวกเราสมาชิกสมาคมโซคารู้สึกเจ็บแค้นจาก การกระทําของสหภาพ พวกเราจึงลุกขึ้นเพื่อปกปองสมาชิกของเรา และต้องมีชัยชนะในการต่อสู้ครั้งนี้ให้ได้ วันที่ 28 มิถุนายน ราชสีห์หนุ่มได้บินไปฮอกไกโด เพียงแค่ 9 เดือนก่อนการมรณกรรมของอาจารย์โทดะ ร่างกายของ อาจารย์ผู้มีพระคุณทรุดโทรมลงมาก ข้าพเจ้าได้ทําหน้าที่แทนท่าน โดยถ ือหางเส ือและร ับผ ิดชอบอย ่างเต ็มท ี ่เพ ื ่อสมาคมโซคา ด ังท ี ่ ทราบก ันด ีว ่า ข ้าพเจ ้าได ้ย ืนอยู ่ในแนวหน ้าของการต ่อสู ้เพ ื ่อส ิทธ ิ มนุษยชนของประชาชน หากอํานาจที่ได้ก่อตั้งขึ้นถูกนําไปใช้ในการกดขี่ ประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม พวกเราจะลุกขึ้นภายใต้ธงแห่งความ ยุติธรรมเพื่อปกปองพวกเขา พวกเราจะต่อสู้ด้วยความกล้าหาญที่ ไม่รู้จบ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” ที่ยูบาริ ข้าพเจ้าได้เยี่ยมบ้านสมาชิกของเรา ผู้อุทิศตนอย่างกล้าหาญเพื่อการปฏิบัติพุทธธรรมของพวกเขา และ ได้ส่งเสริมกําลังใจพวกเขาว่า “มารวมตอสูไปดวยกันนะ ! เราตอง ไมพายแพ” ท่ามกลางเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ วันที่ 30 มิถุนายน ได้ มีการจัดประชุมก่อตั้งฝ่ายอุดมศึกษาขึ้นที่ศาลาประชาคมอะซาบุ กรุงโตเกียว เช้าวันนั้น ข้าพเจ้าได้ส่งโทรเลขสําหรับอ่านในที่ประชุม ด้วยความคิดคํานึงถึงเหล่านักศึกษาที่ใบหน้าของพวกเขาเต็มไปด้วย ความปีติยินดีและปณิธานที่สดใหม่เพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาล สาร ของข้าพเจ้าเขียนว่า “ขอแสดงความยินดีในการประชุมก่อตั้งฝ่าย อุดมศึกษา ซึ่งเป็นการรวมตัวของหนุ่มสาวที่มีความสามารถผู้จะ แบกรับศตวรรษหน้า ! ภายใต้การนําของอาจารย์โทดะ โปรดเริ่มต้น การเดินทางของคุณด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่ง” อาจารย์โทดะยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อการก่อตั้งฝ่าย อุดมศึกษา ซึ่งเป็นฝ่ายสุดท้ายที่ท่านก่อตั้งขึ้นขณะที่ท่านยังมีชีวิต อยู่ ท่านตั้งความหวังไว้สูงต่ออนาคตอันสดใสของสมาชิกฝ่าย อุดมศึกษา ด้วยการเร่งเร้าเรียกร้องให้ครึ่งหนึ่งของพวกเขาได้เป็น ผู้อํานวยการของบริษัทและอีกครึ่งหนึ่งให้จบปริญญาเอก ท่านหวัง อย่างจริงจังว่าพวกเขาจะเป็นผู้นํายุคใหม่ที่ชาญฉลาดและมีความ เมตตากรุณา เป็นผู้นําที่จะต่อสู้เพื่อปกปองประชาชน


25 การปฏ ิว ัต ิความเป ็นผู ้น ํา การปฏ ิว ัต ิชนช ั ้นน ําของ สังคม คือภาระหน้าที่นิรันดร์และไม่มีวันเปลี่ยนแปลงของฝ่าย อุดมศึกษา ช่างน่าเศร้าเสียใจมากเพียงใดกับพวก “สัตว์ที่มีความ สามารถพิเศษ” ดังที่พระนิชิเร็นไดโชนินเรียกพวกเขา ซึ่งเป็น ประชาชนที่หมกมุ่นอยู่กับเกียรติยศชื่อเสียงที่ได้รับเฉพาะตนแต่เพียง ผู้เดียว และดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น และยังมียุวชนคนหนุ่มสาวอีก มากมายเพียงใดที่มัวเสาะแสวงหาความสุขเพียงชั่วพริบตาเท่านั้น ต้องสูญเสียความเป็นตัวเองไปกับความสนุกอันว่างเปล่า และเสีย เวลาอันมีค่าที่ไม่มีวันหวนกลับมาเพื่อสร้างชีวิตที่มีความหมายและ ทรงคุณค่า ความฉลาดจะมีค่าอะไรหากคุณปฏิเสธที่จะต่อสู้กับ ความอยุติธรรม การเรียนรู้จะมีค่าอะไรหากคุณไม่ปกปองประชาชน ความเยาว์วัยจะมีค่าอะไรหากคุณไม่ใช้เพื่อก่อร่างสร้างตัวตนที่ เข้มแข็งในฐานะมนุษย์ โฮเซ มาร์ติ (ค.ศ. 1863 - 1895) นักต่อสู้เพื่ออิสรภาพ ชาวคิวบา ประกาศว่า ความสามารถของเราก็เพื่อประชาชน ผู้ที่ดึง เอาศักยภาพเหล่านั้นออกมาและพัฒนาความสามารถ หากเราไม่ ใช้ความสามารถเพื่อดูแลประชาชน เขายืนยันว่า ศักยภาพเหล่านั้น ก็ไร้ความหมาย และการไม่ใช้ความสามารถของเราเพื่อเปาหมาย


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” ดังกล่าวก็คือความน่าละอาย มั่นใจได้ว่าสมาชิกฝ่ายอุดมศึกษาจะเดินตามรอย ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ประณามการกระทําของสหภาพแรงงานเหมือง ถ ่านห ินในการช ุมน ุมประท ้วงท ั ้ง 2 คร ั ้งของสมาคมโซคาท ี ่จ ัดข ึ ้น ที่ทางตอนเหนือของเกาะฮอกไกโด และประกาศอย่างเด็ดเดี่ยวว่า “สมาคมโซคาคือกระแสธาร และเสียงคํารามก็คือเสียงคําราม ของราชสีห” ในที่สุด สหภาพแรงงานเหมืองถ่านหินก็ถูกบังคับให้ ยุติความพยายามในการขับสมาชิกสมาคมโซคาออกจากสหภาพ ความสามัคคีที่แท้จริงและการเรียกร้องอย่างกล้าหาญของประชาชน ได้บดขยี้ความพยายามอันยโสโอหังของบรรดาผู้มีอํานาจที่กดขี่ พวกเขา พระนิชิเร็นไดโชนินเขียนไว้ว่า “ผูปกครองบานเมือง ขุนนางชั้นสูง และประชาชนที่ดูหมิ่นผูปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริก สูตร ในตอนแรกดูเหมือนวาไมไดรับบาปอะไร แตในวาระสุดทาย ตองพบกับความลมสลาย” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 1 หน้า 997) นี่คือความเชื่อมั่นของพวกเราและความจริงที่ ไม่แปรเปลี่ยนของพุทธธรรม ต่อมา สหภาพแรงงานเหมืองถ่านหินที่ทรงอํานาจ


27 ก็เสื่อมถอยลง และหายไปจากเวทีของสังคม ในท่ามกลางการต่อสู้อย่างเข้มข้นที่ฮอกไกโด ทาง กองบัญชาการตํารวจประจําจังหวัดโอซาก้าก็ได้เรียกตัวข้าพเจ้าไป สอบปากคํา สมาชิกสมาคมหลายคนถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมาย เลือกตั้งในระหว่างการรณรงค์การเลือกตั้งสภาสูงในเขตเลือกตั้ง ตําบลโอซาก้าในเดือนเมษายนปีเดียวกัน พวกเขาต้องการให้ข้าพเจ้า มอบตัวในฐานะผู้รับผิดชอบต่อกิจกรรมรณรงค์ของสมาคมโซคาใน การเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ต้องกล่าวเลยว่าเบื้องหลังของทั้งหมดนี้ก็คือ ความกลัวการก่อตั้งทางการเมืองของสมาคมโซคา ที่เป็นการ เคลื่อนไหวใหม่ซึ่งได้รับความนิยมที่อุทิศเพื่อสิทธิของประชาชน และ ถือเป็นความพยายามอย่างยิ่งยวดครั้งแรก ในการทําลายองค์กร ของเรา ฝ่ายอุดมศึกษาที่เพิ่งก่อตั้งใหม่นี้ ได้โลดแล่นออกไป สู่กระแสน้ําเชี่ยวกรากอย่างกล้าหาญ และลั่นระฆังประกาศจุด เริ่มต้นของยุคใหม่ พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า “ความปรารถนาของ อาตมาก็คือ ใหลูกศิษยทั้งหลายของอาตมานิชิเร็นเปน ลูกราชสีห อยาถูกหัวเราะเยาะจากฝูงสุนัขจิ้งจอก” (ธรรมนิพนธ์ ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 2 หน้า1062) เราต้องต่อสู้เพื่อเปลี่ยนยุคสมัย เพ ื ่อน ําทางไปสู ่ย ุคท ี ่ผู ้ทรยศห ักหล ังไม ่สามารถล ิ ้มรสช ัยชนะอย ่าง


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” อวดด ีได ้ เราจะต ้องท ําให ้เป ็นย ุคสม ัยท ี ่ประชาชน ว ีรชนท ี ่แท ้จร ิง สามารถร ้องเพลงสด ุด ีอย ่างป ีต ิย ินด ีต ่อช ัยชนะอ ันยอดเย ี ่ยม ต ่อ ความสุข ต่อชีวิตที่บรรลุความสําเร็จ การที่จะทําเช่นนั้น เราต้องไม่ เกรงกลัวสิ่งใด ไม่ลังเลใด ๆ บากบั่นด้วยความอดทน และสู้ด้วย ความมุ่งมั่นตั้งใจ เช้าวันที่ 3 กรกฎาคม ข้าพเจ้าบินจากฮอกไกโดไป โอซาก้า เพื่อให้ตํารวจที่นั่นสอบปากคําด้วยความสมัครใจตาม ข้อกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมและถูกจับกุมทั้ง ๆ ที่ข้าพเจ้าเป็น ผู้บริสุทธิ์ นี่คือเหตุการณ์โอซาก้า (จากหนังสือพิมพ์เซเคียว ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1999)


29 บทสนทนาเรื่อง แม่กับลูกมุ่งสู่ศตวรรษที่ 21 (เลม 3)


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) บทที่ 4) พ่อกับแม่ สำมีกับภรรยำ (ตอ) ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงสำมีภรรยำ มีอิทธิพลตอการเจริญเติบโตของลูก อาจารยอิเคดะ : ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาเป็นรากฐานของ มนุษยสัมพันธ์ในครอบครัว ถือว่าเป็นแกนกลาง เป็นเสาหลักนั่นเอง ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยามีอิทธิพลต่อการ เจริญเติบโตของลูกอย่างมากมายด้วย ฮิราคาวา : ดิฉันรู้สึกประทับใจคําให้สัมภาษณ์ของภรรยาอาจารย์ ในรายการโทรทัศน์ที่พูดถึงเมื่อสักครู่นี้ค่ะ วันที่อาจารย์เข้ารับตําแหน่งประธานสมาคมโซคา ท่านที่ 3 ภรรยาอาจารย์กล่าวว่า “วันนี้เปนวันจัดงานศพ ของครอบครัวอิเคดะ” ภรรยาอาจารย์ได้กล่าวถึงความรู้สึก ณ ตอนนั้นว่า “ทั้งเร� องลูกและเร� องครอบครัว ทั้งหมดดิฉันจะเปน คนจัดการเอง ขอใหคุณอุทิศทุมเทแกหนาที่ประธานสมาคม ซึ่งเปนหนาที่ที่สําคัญนะคะ” เม ื ่อน ึกถ ึงความยากล ําบากท ี ่ท ่านท ั ้งสองได ้ฟ นฝ ่า


31 มาด้วยกันตั้งแต่นั้นมา ดิฉันรู้สึกประทับใจมาก อาจารยอิเคดะ : การเป็นประธานสมาคมโซคาต้องแบกรับความ รับผิดชอบหนักขนาดไหน ผมคิดว่า ภรรยาของผมซึ่งดูบุคลิกของ อาจารย์โทดะจะทราบดีครับ ผมเองก็ได้ตัดสินใจว่าจะสืบทอดต่อจากอาจารย์ โทดะ จะอุทิศชีวิตทั้งหมดแก่สมาคม ผมได้ตัดสินใจว่าจะสละชีวิต ด้วยความยินดีเพื่อความสุขของทุกคน และในความเป็นจริง ผมก็ได้ ทําเช่นนั้น ภรรยาของผมได้แบ่งปนความรู้สึกเช่นเดียวกันนี้ กับผม สําหรับพวกเราซึ่งดํารงชีวิตอย่างถึงที่สุดในฐานะลูกศิษย์ของ อาจารย์โทดะ และในฐานะมิตรสหายแห่งการเผยแผ่ธรรมไพศาลจะ ไม่หวนเสียใจในภายหลัง ฟุจิโนะ : ดิฉันรู้สึกขอบคุณจากใจจริงต่อการต่อสู้อย่างดุเดือดเข้มข้น ตลอดครึ่งศตวรรษของอาจารย์อิเคดะและภรรยาค่ะ ครอบครัวของดิฉัน ทั้งสามีและดิฉันจะออกนอกบ้าน บ่อยมาก เวลากลับบ้านก็ไม่ตรงกัน ดังนั้นจึงทํา “สมุดโน้ตของสามี ภรรยา” ขึ้นมา ในสมุดโน้ตจะเขียนฝากข้อความหรือเขียนบอกเล่า


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) ความเป็นอยู่ในขณะนี้ให้ทราบซึ่งกันและกัน ในบางครั้ง แม้คําบ่น หรือคําพูดที่แสดงความไม่พอใจก็ให้เขียนลงไปด้วยค่ะ (หัวเราะ) สามีเป็นลูกชายคนโต ก่อนหน้านี้ ตอนที่ดิฉันกลุ้มใจ เรื่องดูแลคุณแม่สามีที่นอนติดเตียง ได้เขียนลงสมุดโน้ตว่า “จะไม่ ยอมยกลูกสาวให้เป็นสะใภ้ของลูกชายคนโตเด็ดขาด” สามีก็เขียน ว่า “ขอให้ยกสภาพชีวิตให้สูงมากขึ้น” (หัวเราะ) อาจารยอิเคดะ : กรณีที่สามีภรรยาต่างยุ่งมากไม่มีเวลาว่าง จําเป็น ต้องใช้ “เทคนิค” หรือ “ปญญา” เพื่อช่วยในการสื่อสาร ซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่สําคัญมาก การเป็นผู้ปฏิบัติศรัทธาไม่ได้หมายความว่าจะกลาย เป็นมนุษย์พิเศษ แต่ต้องทํางานในฐานะคนในสังคมที่ยอดเยี่ยม และ ดํารงชีวิตอย่างถึงที่สุดด้วยความจริงใจในฐานะ “คุณพอที่ดี” “สามีที่ดี” ในฐานะ “คุณแมที่ดี” “ภรรยาที่ดี” การดําเนินชีวิตในความเป็นจริง หากไม่เอาใจใส่ ครอบครัวซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว แม้จะผลักดันความคิดที่เป็นอุดมคติ วิเศษเลิศเลอเพียงใด ก็ไม่มีพลังที่จะโน้มน้าวอะไรเลย สําหรับสามีภรรยา ความพยายามที่จะเข้าใจอีกฝ่าย เป็นสิ่งสําคัญ ด้วยเหตุนี้ การแสดงความเห็นอกเห็นใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวันจึงมีความสําคัญนะครับ


33 ฮิราคาวา : เมื่อก่อน อาจารย์อิเคดะเคยสอนเรื่องความละเอียดอ่อน ของจิตใจของสามีภรรยาผ่านนวนิยายที่ชื่อว่า “มิชิคุสะ” ของคุณ โซเซกิ นะสึเมะ เป ็นนวน ิยายอ ัตช ีวประว ัต ิของค ุณโซเซก ิ นะส ึเมะ ซึ่งกล่าวได้ว่าตัวละครชื่อ “เคนโซ” ก็คือตัวคุณโซเซกิเอง และ “โอะสึเมะ” ก็คือภรรยาของเคนโซ ครั้งหนึ่ง เคนโซอยากเพิ่มรายได้ของครอบครัว จึงไป ทํางานพิเศษนอกเวลา (ปจจุบันเรียกว่า อะรุไบโตะ) เขาโยนซองใส่ ค่าแรงที่หามาได้ลงบนเสื่อทาทามิ โอะสึเมะก็รับไว้โดยไม่แสดงความ รู้สึกดีอกดีใจเป็นพิเศษ คุณโซเซกิเขียนบรรยายถึงจิตใจของแต่ละคนว่า “ผมค ิดว ่า ส ําหร ับโอะส ึเมะอาจค ิดว ่า ถ ้าสาม ีพูด ดี ๆ แล้วยื่นซองเงินให้ เธอคงจะแสดงความดีอกดีใจอย่างแน่นอน” “และคิดว่า อีกฝ่ายหนึ่งคือเคนโซอาจคิดว่า ถ้าภรรยา รับเงินไว้ด้วยความดีอกดีใจ เธอก็คงจะพูดดี ๆ กับเขา” ฟุจิโนะ : ดิฉันเข้าใจความรู้สึกของโอะสึเมะกับเคนโซดีค่ะ (หัวเราะ) ดิฉันเองเป็นคนพูดน้อย และบ่อยครั้งที่คําพูดสั้น ๆ มักจะพูดไม่ออก


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) ฮิราคาวา : เป็นอย่างนั้นจริง ๆ นะ ดิฉันได้รับคําชี้นําเรื่องพูดไม่ออก จากอาจารย์อิเคดะค่ะ “อย่างเช่น เวลาที่กลับบ้านช้า ถ้าพูดเพราะ ๆ ว่า ‘ขอโทษนะคะที่กลับช้า’ สามีและลูกจะเข้ามากอดและดีใจนะครับ เวลาอยู่นอกบ้าน ท่าทางแข็งขันได้ แต่อยู่ที่บ้านให้อ่อนโยนนะครับ” (หัวเราะ) อาจารยอิเคดะ : ใช่ครับ (หัวเราะ) ทุกบ้านอาจจะเหมือนกันก็ได้นะ ค ือเม ื ่อเข ้ามาบร ิเวณห ้องโถงของบ ้าน จะส ่งเส ียง ทักทายคนในบ้านด้วยคําพูดเพราะ ๆ สั้น ๆ อยู่แล้ว แต่ว่าทันทีที่เข้ามาในบ้าน เมื่อเห็นหน้าลูก ก็พูดโพล่ง ออกมาแบบไม ่ท ันค ิด เช ่น “ท ําไมข ้าวของเกล ื ่อนกลาดอย ่างน ี ้” “ทําการบ้านหรือยัง” (หัวเราะ) แม่มักจะขี้บ่นก็ไม่เป็นไร แต่เมื่อลูกถึงวัยที่เป็น จุดเปลี่ยนสําหรับการเจริญเติบโต เราต้องปฏิบัติต่อเขาด้วยความ อ่อนโยน ความทรงจําดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ลูก ๆ ไม่มีวันลืมอย่าง แน่นอน ฮิราคาวา : เข้าใจแล้วค่ะ ตอนที่ลูกชายยังเล็ก ดิฉันจะพยายามไม่ทําให้ลูก ๆ


35 รู้สึกเหงา จะต้องเขียนโน้ตทิ้งไว้ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง เช่น “วันนี้ แม่จะไปที่นั่นที่นี่นะจะ” ฟุจิโนะ : ที่บ้านดิฉันก็มักจะขอให้ลูกสาว 2 คนช่วยดูแลบ้านซึ่งมี คุณย่า “มิสซิสเบด” นอนติดเตียง คิดว่าลูกทั้ง 2 คนคงลําบากมาก ก็รู้สึกขอบคุณลูกอยู่นะคะ แต่เป็นเรื่องธรรมดาที่ ลูก ๆ ต้องลําบาก... คือ วันหนึ่ง ลูกพูดกับดิฉันว่า “แม่พูดว่า ‘เอาล่ะ ฝาก ด้วยนะ’ เมื่อแม่ออกจากบ้านไปแล้วก็เป็นอีกโลกหนึ่งเลย แต่หนู ต้องดูแลคุณย่า ต้องระวังไม่ให้เกิดไฟไหม้ เวลามีแขกมาก็คิดว่าจะ ทําอย่างไรดี หนูรู้สึกต้องรับผิดชอบหลายอย่างนะแม่ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ แม่ไม่เข้าใจเลย” ดิฉันรู้สึกผิดมาก ขอตกลง 8 ประการ ของ ท่ำนโจวเอินไหลกับภรรยำ อาจารยอิเคดะ : ผมคิดว่าลูกสาวรับเรื่องทั้งหมดไว้ด้วยจิตใจ กว้างใหญ่ อดทนอดกลั้นมาโดยตลอด จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่บางครั้ง จะระบายออกมา


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) จิตใจของมนุษย์อ่อนไหวเกินกว่าที่คิด การเคลื่อนไหว ของจ ิตใจอ ันละเอ ียดอ ่อนจะเปล ี ่ยนแปลงท ุกส ิ ่งท ุกอย ่างได ้อย ่าง มากมาย เราจะเข้าใจหรือเห็นอกเห็นใจต่อ “จิตใจ” เช่นนี้ใน ทิศทางที่ดีได้อย่างไร ทุกคนจะอยู่ในทิศทางที่ไปสู่ความสุขได้อย่างไร ท่ามกลางการดําเนินชีวิตที่เป็นจริง สิ่งที่แสดงออกถึงพลังของ ปญญาดังกล่าวก็คือพุทธธรรมแห่งมนุษยนิยม ไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา หรือพ่อแม่ลูก แม้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ควรแสดงออกมาเป็นคําพูด เช่น “ขอบคุณ” “ขอโทษ” บางเรื่องดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่การสั่งสมเรื่อง เล็ก ๆ ที่ได้กระทําลงไปจะนําไปสู่เรื่องใหญ่ “เร� องเล็ก ๆ” จะกลาย เป็น “เร� องใหญ” นะครับ และไม่ใช่เอาแต่ยัดเยียดความคิดของตัวเองเพียง ฝ่ายเดียว หากเข้าใจจุดยืนและความคิดของอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ก็ต้อง ระมัดระวังเรื่องการใช้ถ้อยคําและการกระทําครับ ถ้าพูดถึง “คู่สามีภรรยาตัวอย่าง” แล้ว ผมนึกถึงคู่นี้ ครับ ท่านนายกรัฐมนตรี โจวเอินไหลกับมาดามเติ้งอิงเชา แห่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของเรา


37 ฟุจิโนะ : ถ้าจําไม่ผิด ปีนี้ (ค.ศ. 1999) ครบ 20 ปีของการปลูก “ตนซากุระที่ระลึกแดทานโจวเอินไหลและภรรยา” ที่ปลูกที่ มหาวิทยาลัยโซคา อาจารยอิเคดะ : ใช่ครับ ทั้ง 2 ท่านได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “คูสามีภรรยา ตัวอยาง” ซึ่งไม่เพียงในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น ต่างประเทศก็ให้ความเคารพนับถือเช่นกัน ขณะเดียวกัน ทั้ง 2 ท่านได้อุทิศชั่วชีวิตอันสูงส่ง เพื่อประชาชนชาวจีน ในฐานะมิตรสหายแห่งการปฏิวัติ เน ื ่องจากท ั ้ง 2 ท ่านเป ็นบ ุคคลท ี ่น ่าเคารพยกย ่อง เช่นนี้ จึงได้รับการร้องขอจากคนหนุ่มสาวจํานวนมาก ให้แนะนํา เกี่ยวกับการใช้ชีวิตหลังแต่งงาน ต่อมาท่านได้สร้าง “กฎรวมกัน 8 ประการผานประสบการณของตนเอง” กล่าวคือเป็น “ขอตกลงรวมกัน 8 ประการ” และได้สอนคนหนุ่มสาวทั้งหลาย ในงานเขียนของคุณไซองจิ คะสึเทรุได้กล่าวไว้ ฮิราคาวา : ท่านได้กล่าวว่าอย่างไรคะ อาจารยอิเคดะ : ประการที่ 1 “รักกัน” หมายถึงการรัก ซึ่งกันและกัน นี่คือพื้นฐาน


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) ประการที่ 2 “เคารพกัน” หมายถึงการเคารพซึ่งกัน และกัน แม้ตอนแต่งงานใหม่ ๆ จะรักษาประการที่ 2 นี้ได้ แต่เมื่อ เวลาผ่านไปจะรักษาไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาอยู่ต่อหน้า ผู้อื่น ต้องระวังไม่เผลอลืมตัว ประการที่ 3 “ใหกําลังใจกัน” หมายถึงการให้ กําลังใจซึ่งกันและกัน ประการที่ 4 “ปลอบใจกัน” หมายถึงการปลอบใจ ซึ่งกันและกัน เวลาที่พบความทุกข์ ความไม่สบายใจ ต้องเข้าใจ ความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วพูดคุยอย่างอบอุ่น ในเวลาแบบนี้ต้อง ไม่ตําหนิหรือทําลายความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง ประการที่ 5 “ประนีประนอมกัน” หมายถึงการ ประนีประนอมซึ่งกันและกัน แม้จะมีความคิดที่แตกต่างหรือมี ความรู้สึกที่ขัดแย้ง ถ้ารู้สึกอยากประนีประนอมกัน จะแก้ปญหา ได้เร็ว ถ้ายืดเยื้อ จะเกิดความรู้สึกลําบากใจค้างคาอยู่ ประการที่ 6 “อภัยใหกัน” หมายถึงการเข้าใจซึ่งกัน และกัน แม้ฝ่ายใดทําความผิดก็ตาม อย่าไปตําหนิเขา ให้เข้าใจและ ให้อภัยซึ่งกันและกัน ประการที่ 7 “ชวยเหลือกัน” หมายถึงการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน


39 ประการที่ 8 “เรียนรูกัน” หมายถึงการเรียนรู้ซึ่งกัน และกันอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน มาดามเติ้งอิงเชากล่าวว่า ใน 8 ประการนี้ “ประนีประนอมกัน” กับ “อภัยใหกัน” นั้นยากที่สุด { โปรดติดตามตอนตอไป }


โลกแห่งธรรมนิพนธ์ บทสนทนาเกี่ยวกับ ศาสนาแหงมนุษยนิยม


41 บทที่ 4) กำรก่อตั้งค�ำสอนที่ถูกตอง เพ� อใหประเทศเกิดสันติ (ตอนที่ 1) หลักสําคัญเพ� อการบรรลุถึง ควำมสุขของประชำชนและสังคมที่สันติสุข (ตอ) ไซโต : ในธรรมนิพนธ์ พระนิชิเร็นไดโชนินมักกล่าวว่า พุทธธรรม ทําหน้าที่เป็นหลักพื้นฐานที่คอยค้ําจุนสนับสนุนสังคม ตัวอย่างเช่น ท่านกล่าวว่า “เปนเพราะพุทธธรรมวิปริต สังคมจึงสกปรกและ สับสนวุนวาย พุทธธรรมเปนเหมือนตัวตน สังคมเปนเหมือน เงา หากตัวตนเอียง เงาก็จะเอียงตาม” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษา อังกฤษ เล่ม 1 หน้า 1039) อาจารยอิเคดะ : พุทธธรรมคือ “ตัวตน” ที่เป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง ทุกอย่าง เมื่อพุทธธรรมอยู่ในความสับสนหรือคําสอนสูญสิ้นไป สังคมก็จะตกอยู่ในสภาวะยุ่งเหยิง หากไม่มีปรัชญาที่ทําหน้าที่ช่วย ค้ําจุนสังคมในระดับรากฐานแล้ว โลกก็จะสูญเสียฐานรากไป ผลลัพธ์ก็คือ สังคมจะค่อย ๆ เสื่อมลงสู่โลกเดรัจฉานที่ถูกควบคุม ด้วยกฎแห่งป่า สู่โลกอสูรที่ถูกผูกมัดด้วยความขัดแย้งไม่มีสิ้นสุด และสู่โลกเปรตที่หมุนวนอยู่กับความไม่พึงพอใจ ในที่สุด จะตกลงสู่


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ โลกนรกดินแดนแห่งความทุกข์ทรมานที่ไม่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” จึงมีความ สําคัญสูงสุด ทันทีที่คําสอนถูกก่อตั้ง “ประเทศเกิดสันติ” จะปรากฏ เป็นจริงขึ้นมาแน่นอน โมรินากะ : อย่างไรก็ตาม นิกายต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาในสมัยของ พระน ิช ิเร ็นไดโชน ินต ่างพยายามประจบสอพลอเอาใจผู ้ม ีอ ํานาจ ทําตัววุ่นอยู่กับการปฏิบัติโดยเฉพาะการสวดมนต์อธิษฐานเพื่อความ ปลอดภัยของผู้มีอํานาจ ทว่าลืมความสุขของประชาชนไปสิ้น พวกเขากังวลอยู่แต่เพียงการปกปองฐานะของตนเอง มองหา สัมปทานรางวัลและอภิสิทธิ์ต่าง ๆ อย่างตะกละตะกลาม และ พวกเขายังยืนกรานอย่างผิด ๆ ถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่าง ร ัฐก ับศาสนาว ่าเป ็นต ัวอย ่างของราชศาสตร ์ก ับพ ุทธธรรมสอดร ับ เข้ากันและกัน อาจารยอิเคดะ : ประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่าง ราชศาสตร์กับพุทธธรรมค่อนข้างซับซ้อนมาก เดิมที “ราชศาสตร” หมายถึงกลไกและสถาบันต่าง ๆ ของรัฐและสังคม ส่วน “พุทธธรรม” คือคําสอนที่พระพุทธะเทศนาด้วยความเพียรที่จะ นําพาประชาชนทุกคนไปสู่ความสุข และเป็นระบบที่จะนําคําสอน ดังกล่าวสู่การปฏิบัติด้วยเช่นกัน ไซโต : ผมคิดว่าสมัยพระศากยมุนีพุทธะแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างใน


Click to View FlipBook Version