43 อุดมคติของความสัมพันธ์ระหว่างราชศาสตร์กับพุทธธรรม อาจารยอิเคดะ : ครับ ก่อนการตัดสินพระทัยมุ่งสู่ชีวิตบรรพชิตทาง ศาสนา พระศากยมุนีพุทธะทรงเป็นเจ้าชายมาก่อน การที่ทรงละทิ้ง ฐานันดรศักดิ์ แล้วหันมาอุทิศพระองค์ในการบําเพ็ญตบะใน หลากหลายแนวทาง จนในที่สุดทรงบรรลุเป็นพระพุทธะ ในแง่มุมนี้ เป็นที่ชัดเจนว่าพุทธธรรมและราชศาสตร์มีความแตกต่างกัน อันที่ จริงแล้ว ดูเหมือนว่าพุทธธรรมอยู่เหนือโลกทางสังคม อย่างไรก็ตาม เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ของเรื่องนี้ ขอให้เราพิจารณาในอีกส่วนหนึ่ง ก็คือ ประสบการณ์ที่พระพรหม (บนเทน) มาร้องขอพระศากยมุนีพุทธะทันทีหลังจากที่พระองค์ทรง รู้แจ้ง ไซโต : ผมขอสรุปสิ่งที่ได้เกิดขึ้นโดยย่อ ๆ นะครับ หลังจากที่ทรง บรรลุการรู้แจ้งแล้ว พระศากยมุนีพุทธะทรงค้นพบว่าไม่มีใคร สามารถเข้าใจธรรมะที่พระองค์ทรงตื่นรู้ได้ และการเทศนาของ พระองค ์ก ็ร ังแต ่จะเพิ ่มความส ับสนแก ่ประชาชนมากย ิ ่งข ึ ้นเท ่าน ั ้น ต้องใช้เวลายาวนาน พระองค์ทรงรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและทรงตัดสิน พระทัยที่จะยุติความเพียรนี้ จากนั้น พระพรหมซึ่งถือว่าเป็นเจ้าแห่ง โลกนี้ รู้สึกเสียใจว่า “หากพระพุทธะจะไมเทศนาธรรมแลว โลกก็ จะถูกทําลายสิ้น” จึงเร่งเร้าให้พระศากยมุนีพุทธะเทศนาธรรมอย่าง ต่อเนื่องต่อไป
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ โมรินากะ : ดร. ฮาจิเมะ นาคามูระ นักวิชาการพุทธศาสนาของญี่ปุ่น ผู้ล่วงลับ ได้วิเคราะห์ฉากนี้ไว้ดังนี้ “ในจิตใจของพระโคตมพุทธะอาจ จะรู้สึกลังเลต่อคําถามที่ว่าจะทรงเทศนาดีหรือไม่ แต่พระองค์ทรง ตระหนักได้ว่า หากพระองค์ไม่ทรงเทศนา พระองค์ก็จะไม่สามารถ รู ้แจ ้งได ้โดยสมบูรณ ์.. ไม ่ม ีการรู ้แจ ้งท ี ่ล ่องลอยอยู ่ในด ินแดนแห่ง มโนคติที่แยกออกจากการเชื่อมโยงกับประชาชน”1 ดร. นาคามูระชี้ว่า มีเพียงการเทศนาคําสอนให้แก่ผู้อื่นและนําพาพวกเขาไปสู่ความสุข อย่างแท้จริงเท่านั้น ที่พระศากยมุนีพุทธะจะสามารถรู้แจ้งได้โดย สมบูรณ์ การรู้แจ้งของพระพุทธะก็เพื่อประชาชนทั้งหลาย ทั้งปวง หากเป็นเพียงแค่เพื่อความพึงพอใจส่วนตน เช่นนั้นแล้ว ก็ จะถูกจํากัดอยู่ในสภาพชีวิตของปจเจกพุทธะ อีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ อาจไปไกลเกินกว่าโลกแห่งการตระหนักรู้ อาจารยอิเคดะ : นี่คือจุดสําคัญ ตั้งแต่เริ่มต้น พุทธศาสนาก็มิใช่ เป็นศาสนาเพื่อตัวเอง ทว่าเป็นศาสนาเพื่อมนุษย์ เป็นหลักสําคัญ ในการปกป องส ังคมจากการถูกท ําลาย แน ่นอนว ่าด ้วยเหต ุผลน ี ้ พระศากยมุนีพุทธะจึงทรงกระตุ้นเตือนลูกศิษย์ทั้งหลายว่า “ภิกษุ 1 แปลจากภาษาญี่ปุน. ฮาจิเมะ นาคามูระ, โคตมพุทธะ, หนังสือเล่มเล็กชุดที่ 1, นาคามูระ ฮาจิเมะ เซ็นชู (รวมงานเขียนของฮาจิเมะ นาคามูระ) (โตเกียว : ชุนชูฉะ, 1992), เล่มที่ 11 หน้า 449 – 450
45 ทั้งหลายเอย เอาละ มาออกเดินทางเพื่อเผยแผ่คําสอนกันเถิด เพื่อ ความสุขของผู้คนต่าง ๆ และเพื่อความสงบสุขสันติของโลก” พระเจ้า อโศก2 มหาราชแห ่งอ ินเด ียโบราณ ผู ้ท ี ่น ําจ ิตว ิญญาณน ี ้ของพระ ศากยม ุน ีพ ุทธะมาสู ่การปฏ ิบ ัต ิในอาณาจ ักรแห ่งราชศาสตร ์อย ่าง แท้จริง ไซโต : เมื่อพระเจ้าอโศกทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากที่เป็นผล จากการพิชิตแคว้นกาลิงคะ พระองค์จึงทรงเปลี่ยนพระทัย จากนั้น ได้ทรงละทิ้งนโยบาย “ชัยชนะดวยกําลังทหาร” ไปเป็น “ชัยชนะ ดวยธรรมะ” ในบทที่ 1 ของพระราชโองการที่ทรงประกาศใน แคว้นกาลิงคะ กล่าวว่า “บุรุษทุกคนคือบุตรของข้า สิ่งที่ข้าต้องการ เพื่อบุตรของข้า ข้าต้องการความผาสุกและความสุขของพวกเขาทั้ง 2 พระเจ้าอโศก (268 - 232 ปีก่อนคริสตกาล) : ผู้ปกครองลําดับที่ 3 แห่ง ราชวงศ์โมริยะของอินเดีย และทรงเปนปฐมกษัตริย์ที่รวมอินเดียเข้าด้วยกัน พระองค์ทรงเริ่มต้นจากการเปนเผด็จการ แต่ภายหลังทรงเปลี่ยนมานับถือ ศาสนาพุทธและปกครองด้วยความเมตตากรุณาที่สอดคล้องกับพุทธศาสนา ในอุดมคติ 9 ปีหลังการขึ้นครองราชย์ พระองค์เอาชนะแคว้นกาลิงคะ ซึ่งเปนที่เลื่องลือ กันว่าพระองค์ได้ฆ่าผู้คนราว 100,000 คน และถูกจับเปนเชลยมากกว่า 150,000 คน พระเจ้าอโศกทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ 2 ปีก่อนหน้านี้ แต่เมื่อพระองค์ทรงเห็นความทุกข์ยากของประชาชนในแคว้นที่ทรงพิชิตมาได้ ณ จุดนี้ จึงทรงตระหนักถึงความโหดร้ายของพระองค์เองและทรงศรัทธาใน พุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทรงปฏิเสธการพิชิตดินแดนด้วยกองทัพและทรง ก่อตั้งรัชสมัยที่สันติสุขบนพื้นฐานของธรรมะ ทรงอุทิศทุ่มเทพระวรกายแก่ งานสาธารณะ อีกทั้งยังทรงส่งสมณทูตไปยังอินเดียตอนใต้ แคชเมียร์ คันธาระ และซีลอน (ปจจุบันคือศรีลังกา) และไปยังสถานที่อันไกลโพ้น เช่น ซีเรีย อียิปต์ และมาซิโดเนีย
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ในโลกนี้และโลกหน้า และข้าต้องการเพื่อบุรุษทุกคน”3 อาจารยอิเคดะ : ด้วยการเชื่อพุทธวาจาของพระศากยมุนีพุทธะอย่าง ไม่มีข้อกังขา พระเจ้าอโศกทรงปรารถนาถึงความสุขของประชาชน ทุกคน ไม่มีสิ่งใดโหดร้ายป่าเถื่อนยิ่งไปกว่าสงคราม ไม่ว่าจะแพ้หรือ ชนะ ผลที่ได้รับก็คือความทุกข์ยาก พระเจ้าอโศกทรงตระหนักถึง เรื่องนี้ และทรงเริ่มต่อสู้เพื่อความสุขชั่วนิรันดร์ของประชาชนตลอด 3 ชาติแห่งอดีต ปจจุบัน และอนาคต ในการสนทนาครั้งหนึ่งของผมกับ ดร. โลเกซ จันทรา นักปรัชญาชั้นนําชาวอินเดีย ให้ข้อคิดเห็นว่า : ดร. ฮาจิเมะ นาคามูระ ผู้ล่วงลับซึ ่งเป็นเพื่อนเก่า ของผมและเป ็นน ักว ิชาการท ี ่โดดเด ่นของอ ินเด ียได ้กล ่าวว ่า ด ้วย “ธรรมะ” พระเจ้าอโศกหมายถึงหลักการแห่งมนุษย์ และรู้สึกได้ว่า พุทธธรรมได้เทศนาไว้อย่างถูกต้อง 3 The Edicts of King Ashoka, แปลโดย เวน. เอส. ธรรมมิก (แคนดี, ศรีลังกา: บุดดิสต์ พับลิเคชัน โซไซตี้, 1993) หน้า 18. 4 พระนาคารชุน : นักปรัชญานิกายมหายานที่เคลื่อนไหวอยู่ทางตอนใต้ของ อินเดียในช่วง 150 และ 250 ปีก่อนคริสตกาล ท่านเขียนบทนิพนธ์ที่สําคัญ มากมายและเรียบเรียงแนวคิดพื้นฐานทฤษฎีของมหายาน ซึ่งเปนผลงานอัน ประเมินค่ามิได้ต่อการพัฒนาศาสนา ท่านเปนที่รู้จักเปนพิเศษโดยเฉพาะเรื่อง การจัดระบบคําสอนเกี่ยวกับสูญญตา งานของท่านรวมถึง บทนิพนธ์เรื่อง ทางสายกลาง, บทนิพนธ์เรื่องความเพียบพร้อมสมบูรณ์ของปญญา และ อรรถกถาพระสูตรสิบขั้น พระนาคารชุนมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อ พุทธศาสนาในประเทศจีนและประเทศญี่ปุน
47 แทนที่พระเจ้าอโศกจะทรงกล่าวถึงพุทธศาสนาโดยทั่ว ๆ ไป กลับ ท ร ง กล่ า วเน้นถึ ง ธ ร รม ะ ขณะที่ค ว ามคิด ข อ งพ ร ะ อ งค์ มีแนวคิดดั้งเดิมของพุทธศาสนาอยู่ พระองค์ทรงเปดเผยคุณค่าของ ธรรมะที่เป็นสากลแก่ประชาชนด้วยภาษาธรรมดา ๆ พระเจ้าอโศกมิได้บังคับผู้อื่นให้ยึดถือคําสอน พุทธศาสนา พระองค์ให้อิสระในการนับถือศาสนาในราชอาณาจักร ของพระองค์และทรงยอมรับความศรัทธาในศาสนาอื่น ๆ ซึ่งมีความ เป็นไปได้สูงว่าพระองค์ทรงอนุญาตให้ศาสนาต่าง ๆ แข่งขันกันเพื่อ ส่งเสริมความสุขของมนุษย์และทําให้สังคมที่สันติสุขปรากฏเป็นจริง สิ่งนี้มีความละม้ายคล้ายกันมากกับ “การแขงขันทางมนุษยธรรม” ที่สนับสนุนโดยอาจารย์มาคิงุจิ โมรินากะ : น ั ่นช ่วยท ําให ้ความหมายท ี ่พระน ิช ิเร ็นไดโชน ินพูดถ ึง “ราชศาสตรกับพุทธธรรมกลมกลืนกัน” (โอบุจึ เมียวโงะ) ชัดเจน ยิ่งขึ้น อาจารยอิเคดะ : ประชาชนเป ็นผู ้ม ีป ญญา จ ึงเป ็นไปไม ่ได ้ท ี ่จะ ควบคุมหรือหลอกลวงต่อสาธารณชนได้เป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้ พวกที่แอบอ้างหลอกลวงจึงมักจะถูกเปดโปงในที่สุด นี่คือการตัดสิน ที่เข้มงวดของประวัติศาสตร์ พลังของพุทธธรรมจะปรากฏออกมาในสังคมและ สน ับสน ุนความพากเพ ียรของส ังคมต ่อบทบาทหน ้าท ี ่ท ี ่เหมาะสม เสมอ ตัวอย่างหนึ่งที่เราจะอ้างอิงถึงก็คือ ถ้อยคําของพระนาคารชุน4
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ จิตวิญญำณ ของการทวงติง โมรินากะ : พระนาคารชุน นักปรัชญาคนสําคัญในนิกายมหายาน ได้มอบงานเขียน รัตนาวลี ของท่าน ซึ่งกล่าวโดยตรงแก่กษัตริย์แห่ง สาตวาหนะ สหายของท่านไว้ในงานเขียนชิ้นนี้ว่า กษัตริย์ผู้ทรงดําเนินการปกครอง ด้วยการปฏิบัติราชกิจทั้งในตอนเริ่มแรก ระหว่างกลาง และในท้ายที่สุด ต้องไม่เป็นภัยอันตรายทั้ง ณ ขณะนี้หรือในอนาคต และ การปฏิบัติต้องเป็นนโยบายที่ดีที่สุด โดยการปฏิบัติเหล่านั้นที่โลกจะปีติยินดี ไม่ว่าขณะนี้หรือในอนาคตจะได้ไม่ถูกหลอกลวง โดยโลกซึ่งมีความปีติยินดี ท่านยังกล่าวอีกว่า หากแม้ความเจ็บปวด [ในชีวิตธรรมดา] สามารถนํามาซึ่งบุญกุศลของอนาคต บุญกุศลที่ [ยอมรับความทุกข์ยาก] จะช่วยให้ทั้งตนเองและผู้อื่นมีความสุขอย่างแน่นอน เป็นที่รู้กันว่าการปฏิบัติแบบดั้งเดิมนี้เป็นวิธีที่เยี่ยมยอด5
49 พระนาคารชุนชี้แนะกษัตริย์ว่า โดยการวางพระองค์ อยู่บนพื้นฐานของพุทธธรรม พระองค์จะทรงเกษมสําราญกับความ เจริญรุ่งเรืองตราบชั่วนิรันดร์ ท่านยังเตือนสติพระองค์ให้อุทิศชีวิต ของพระองค์เพื่อเปาหมายอันยิ่งใหญ่โดยไม่ไขว้เขวไปกับความกังวล ในผลประโยชน์เฉพาะหน้าที่ไม่สลักสําคัญ อาจารยอิเคดะ : แท้จริงแล้ว นั่นก็คือปร ัชญาของ “การกอตั้ง คําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” พระนาคารชุนยังกล่าว อีกว่า “จงกระทําเพ� อใหบรรลุผลสําเร็จของความสุขเพ� อตนเอง และผูอ� น นี่คือธรรมะที่เปนนิรันดร” มนุษย์เกิดมาเพื่อที่จะมีความสุข ตําแหน่งฐานะใด ๆ ที่นํามาซึ่งอํานาจบางอย่างก็มีไว้เพียงเพื่อจุดประสงค์นี้เท่านั้น พระนาคารชุนชี้แนะพวกเราให้ตื่นรู้ถึงความจริงข้อนี้ ให้ตระหนักถึง ภาระหน้าที่นี้ ไซโต : แม้ว่ากษัตริย์จะเป็นสหายก็ตาม แต่พระนาคารชุนก็ยังคง กล้าหาญมากที่จะยื่นข้อเสนอแนะนี้ พระนาคารชุนบรรยาย ความคิดของท่านในเรื่องนี้ ดังนี้ 5 อ้างอิง พระนาคารชุน และ แกซัง กยาโช ดาไลลามะองค์ที่ 7, The Precious Garland and The Song of the Four Mindfulnesses, แปลและเรียบเรียงโดย เจฟเฟอรี ฮอปกินส์ และ ลาติ ริมโปเช กับ แอนน์ ไคลน์ (นิวยอร์ก : สํานักพิมพ์ฮาร์เพอร์ แอนด์ โรว์, 1975) หน้า 35, 36, 73
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ กษัตริย์ผู้ทรงกระทําสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่ก็ได้รับการสรรเสริญ จากไพร่ฟาของพระองค์ เพราะยากที่จะรู้ว่า พระองค์จะทรงอดทนได้หรือไม่ ดังนั้น จึงยากที่จะรู้ว่า [ที่กล่าว] จะยังประโยชน์ได้หรือไม่ หากถ้อยคํามีคุณค่าทว่าไม่น่าฟง ก็ยากที่จะเอ่ยออกไปแก่ใครสักคน อาตมาผู้เป็นสงฆ์ควรทูลกษัตริย์ถึงสิ่งใด ว่าใครคือเจ้าแห่งพื้นพสุธาอันเกรียงไกร แต่ด้วยความรักที่อาตมามีต่อพระองค์ และความการุณย์ที่อาตมามีต่อปวงสรรพสัตว์ อาตมาจึงทูลพระองค์โดยไม่ลังเล ถึงสิ่งซึ่งยังประโยชน์ทว่าไม่น่าพอพระทัย6 อาจารยอิเคดะ : นี่คือจิตวิญญาณที่แท้จริงของการท้วงติง การพูด ออกไปบนพื้นฐานของความเมตตาที่มีต่อปวงประชา การอุทิศชีวิต ของบุคคลหนึ่งในการพูดออกไปเพื่อความผาสุกของประชาชนและ เพื่อความเที่ยงธรรม นี่คือเส้นทางที่ถูกต้องของพุทธธรรม โมรินากะ : อย่างไรก็ตาม ในสมัยของพระนิชิเร็นไดโชนิน นิกายพุทธ ศาสนาที่หลากหลายทั้งหมดในประเทศญี่ปุ่นต่างแสวงหาผล
51 ประโยชน์ด้วยการประจบสอพลอผู้มีอํานาจทางการเมือง และ การอุปถัมภ์ค้ําชูกันอย่างไม่เหมาะสมของคนมาก่อนโดยคนมาทีหลัง ก็ทํากันอย่างครึกโครม ราว ๆ ช่วงเวลาที่มีการเริ่มนําระบบ “การวาราชการ ในวัด”7 มาใช้ “ราชศาสตร” ได้บ่งชี้ถึงคําสั่งและอํานาจของ จักรพรรดิและผู้ทรงอิทธิพลคนอื่น ๆ ในราชอาณาจักรรวมทั้ง เจ้าหน้าที่รัฐ ขณะที่ “พุทธธรรม” ก็แสดงออกมาที่ความใหญ่โต ของวัดและศาลเจ้าที่บ่งชี้ถึงฐานะทางสังคมและพลังทางการเมือง รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของพวกเขา8 วัดพุทธในสมัยนั้นถือครองที่ดิน อันกว้างใหญ่ไพศาลและมีอํานาจล้นเหลือ แม้กระนั้นจักรพรรดิชิราคาวะ9 จักรพรรดิพระองค์แรก 6 เล่มเดียวกัน, หน้า 62 7 การว่าราชการในวัด : ระบบที่รัฐบาลถูกควบคุมโดยจักรพรรดิที่ สละราชบัลลังก์แล้วแทนที่จะเปนผู้ปกครองที่มีศักดิ์และสิทธิ์ตาม ระบอบการปกครองแบบเจ้าขุนมูลนาย 8 แปลจากภาษาญี่ปุน. โทชิโอะ คุโรดะ, โอโฮ โตะ บุบโป-ชูเซ-ชิ โนะ โคซุ (ราชศาสตร์กับพุทธธรรม : โครงร่างของประวัติศาสตร์ยุคกลาง) (โตเกียว : โฮโซคัน, 2001), หน้า 27 9 ชิราคาวะ โจโค (ค.ศ. 1053 - 1129) : ครองราชย์ ค.ศ. 1073 - 1086 เปน พระราชโอรสของพระจักรพรรดิโก-ซันโจกับฟูจิวาระ โนะ โมชิ พระองค์ได้ ควบคุมการปกครองต่ออีกเปนเวลา 43 ปีภายหลังจากสละราชบัลลังก์ ในค.ศ. 1087 ทรงมีชื่อเสียงเรื่องการก่อตั้งระบบ “การว่าราชการในวัด”
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ที่มีอํานาจแต่เพียงผู้เดียวภายใต้ระบบนี้ ก็ยังยอมรับด้วย พระองค์เองว่าไม่มีอํานาจเหนือน้ําในแม่น้ําคาโมะของเกียวโต ซึ่งจะ เอ่อล้นตลิ่งและท่วมเมืองหลวงเป็นพัก ๆ ไม่มีอํานาจเหนือการกลิ้ง ของลูกเตา และไม่มีอํานาจเหนือกองทัพนักบวชของเขาฮิเออิ10 ไซโต : การกวัดแกว่งอํานาจทางศาสนาของพวกเขา บรรดาวัด ใหญ่ ๆ รวมถึงวัดเอ็นเรียะขุจิบนเขาฮิเออิ และวัดโคฟุคุจิในเมือง นาระ ได้ใช้อํานาจบาตรใหญ่ครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษ ทุกรูปแบบจากรัฐบาล เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ ในตําแหน่งที่ทรงอํานาจก็คือตัวแทนของ “ราชศาสตร” ขณะที่สงฆ์ ชั่วที่มักอวดศักดาของตนในการปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู ่ใน อํานาจก็ตรงกับตัวแทนของ “พุทธธรรม” ตอนที่ไทระ โนะ ชิเงฮิระ เผาวัดของเมืองนาระ เช่น โทไดจิและโคฟุคุจิ ในค.ศ. 118011 10 จาก ตํานานเฮเกะ, แปลโดย ฮิโรชิ คิตากาวะ และ บรูซ ที. จึชิดะ (สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยโตเกียว, 1975) เล่มที่ 1, หน้า 61. กล่าวไว้ว่า : “สิ่งเดียวที่ข้าพเจ้าไม่สามารถควบคุมคือน้ําของแม่น้ําคาโมะ การตกของลูกเตา และกองทัพนักบวชจากเขาฮิเออิ” 11 ศตวรรษที่ 12 เกนจิหรือตระกูลมินาโมโตะ เปนตระกูลหนึ่งที่ ทรงอํานาจที่สุดในขณะนั้น ได้เปดศึกชิงอํานาจกับเฮอิเขะหรือตระกูลไทระ เหตุเพราะคณะสงฆ์ของวัดโทไดจิอยู่ฝายเกนจิ ไทระ โนะ ชิเงฮิระจึงโจมตี และเผาวัดโทไดจิและวัดโคฟุคุจิ
53 คุโจ คาเนซาเนะ12 เจ้านายผู้สูงศักดิ์ได้เขียนไว้ในบันทึกประจําวัน ของเขาที่ชื่อ เงียวคุโยะ (ใบหยก) ว่า “หรือสิ่งนี้จะหมายถึงการ ทําลายพุทธธรรมและราชศาสตร?” อาจารยอิเคดะ : แต่ “ราชศาสตร” และ “พุทธธรรม” ที่พระนิชิเร็น ไดโชน ินพูดถึง ม ีความหมายแตกต ่างก ันอย ่างส ิ ้นเช ิง ท ่านกําล ัง หมายถึงความหมายดั้งเดิมของทั้งสองสิ่งนี้ ซึ่งมิใช่ความหมาย ที่แสดงถึงอํานาจหน้าที่และอิทธิพลแต่อย่างใด พุทธธรรมของ พระนิชิเร็นไดโชนินเป็นคําสอนเพื่อประชาชน “ราชศาสตร” จึงหมายถึงหลักพื้นฐานที่ค้ําจุนสังคม เช่นเดียวกับระบบต่าง ๆ ที่ทําให้หลักการเหล่านั้นเป็นจริง ซึ่ง ครอบคลุมบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ของสังคม รวมถึงการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และศิลปะ “พุทธธรรม” ก็หมายถึงแก่นคําสอนของพระพุทธะ ซึ่งก็คือธรรมมหัศจรรย์ที่ช่วยให้ประชาชนทั้งหมดสามารถบรรลุถึง ความสุข พุทธธรรมไม่ได้ถูกจํากัดอยู่ในวงแคบ ๆ ของนิกายหรือ 12 คุโจ คาเนซาเนะ (ค.ศ. 1149 - 1207) : เจ้านายผู้สูงศักดิ์ในสมัยคามาคูระ (ค.ศ. 1185 - 1333) หลังการทําลายล้างของเฮอิเขะ เขาได้เข้าร่วมกับ มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ และขึ้นเปนผู้สําเร็จราชการ เขาวางแผนที่จะ ยกเลิกการเมืองแบบจักรพรรดิจากระบบการว่าราชการในวัดของจักรพรรดิ ในที่สุด เขาออกห่างจากโยริโมโตะและหลุดจากอํานาจ บันทึกของเขา เงียวคุโยะ เปนบันทึกสําคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า ของสมัยนั้น
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ลัทธิ แต่คือหัวใจที่เมตตากรุณาของพระพุทธะที่แผ่ซ่านไปทั่ว สกลจักรวาล เช่นเดียวกับเจตนารมณ์ของพระพุทธะที่ประกอบไป ด้วยคุณธรรม 3 ประการแห่งเจ้านาย อาจารย์ และบิดามารดา อย่าง เป็นธรรมชาติเพื่อที่จะปกปอง ชี้นํา และหล่อเลี้ยงประชาชน พุทธธรรมจึงเป็นพื้นฐานเพื่อการส่งเสริมความก้าวหน้าของมนุษย์ และสังคม ไซโต : ดังนั้นเมื่อพระนิชิเร็นไดโชนินพูดถึง “ราชศาสตรกับ พุทธธรรมกลมกลืนกัน” ท่านหมายถึงเหตุที่ทําให้เจตนารมณ์ของ พุทธศาสนาเต้นเป็นจังหวะและเบ่งบานไปทุกแห่งหนในสังคม นี่คือ การสร้างสังคมที่ซึ่งความสุขของประชาชนคือสิ่งที่คํานึงถึงเป็น อันดับแรก อาจารยอิเคดะ : พระนิชิเร็นไดโชนินอธิบายถึงเจตนารมณ์ของท่าน ในการยื่นบทนิพนธ์เรื่อง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” ใน ธรรมนิพนธ์อีกฉบับเรื่อง “ถามตอบเกี่ยวกับสิ่งสักการบูชา” โมรินากะ : ท่านกล่าวว่า เนื่องจากความถูกและผิดของหลักคําสอนของพุทธธรรมอยู่ ในความสับสน หน้าที่ของผู้ปกครองต้องลดลงทีละน้อย ๆ จนในที่สุดประเทศของเรานี้จะถูกโจมตีโดยประเทศอื่นและ ถูกทําลาย และเพราะอาตมานิชิเร็น เพียงผู้เดียวที่ตระหนัก
55 ถึงเรื่องนี้ เพื่อพุทธธรรมและหน้าที่ของผู้ปกครอง อาตมา จึงรวบรวมข้อความที่สําคัญจากพระสูตรและเขียนเป็น เอกสารที่ยื่นแก่นักบวชฆราวาสของวัดไซเมียวจิ13 ซึ่ง ขณะนี้เสียชีวิตไปแล้ว อาตมาตั้งชื่อบทนิพนธ์นี้ว่า “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 2 หน้า 795) อาจารยอิเคดะ : พระนิชิเร็นไดโชนินยื่นบทนิพนธ์เรื่อง “การกอตั้ง คําสอนที่ถูกตอง” เพื่อส่งสัญญาณเตือนเรื่องสภาพความสัมพันธ์ ระหว่างราชศาสตร์กับพุทธธรรม ที่กําลังผลักดันประเทศไปสู่ความ พินาศย่อยยับ หากสภาพการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ประชาชนจะ พบแต ่ความท ุกข ์ และส ังคมโดยรวมท ั ้งหมดจะตกลงสู ่นรกอเวจ ี พระน ิช ิเร ็นไดโชน ินเพ ียงผู ้เด ียวเท ่าน ั ้นท ี ่ได ้ร ับแรงจูงใจด ้วยความ ห่วงใยของท่านที่มีต่อประชาชน ต่อพุทธธรรมและต่อสังคม ผมเชื่อว่าพระนิชิเร็นไดโชนินต้องการที่จะสร้าง ดินแดนสันติสุขและเจริญรุ่งเรืองที่ซึ่งพุทธธรรมและราชศาสตร์ สนับสนุนซึ่งกันและกัน ตั้งแต่เริ่มแรก ท่านไม่สนใจที่จะเข้าไป เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ชนิดที่บิดเบี้ยวกับรัฐที่มีอยู่ทั่วไปใน 13 นักบวชฆราวาสของวัดไซเมียวจิบ่งชี้ถึงโฮโจ โทขิโยริ เขาได้เปน ผู้สําเร็จราชการคนที่ 5 ของโชกุนคามาคูระเมื่อค.ศ. 1246 แต่ได้ สละตําแหน่งให้โฮโจ นางาโทขิ และออกบวชภายใต้โดริว สงฆ์นิกายเซน จากประเทศจีนในค.ศ. 1256 ในฐานะนักบวชฆราวาส อาศัยอยู่ที่ วัดไซเมียวจิที่เขาได้สร้างไว้ แต่ยังคงเปนผู้ปกครองโดยพฤตินัย
จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 36 12-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งอาจจะทําให้ “พุทธธรรม” ของท่านได้รับการดูแลเป็นพิเศษและได้รับการปกปองจาก “ราชศาสตร” โมรินากะ : ในเวลานั้น บรรดาสงฆ์ชั้นสูงจากหลากหลายนิกายทาง พุทธศาสนาได้บิดเบือนและใช้พุทธธรรมในทางที่ผิด ยิ่งไปกว่านั้น ลูกศิษย์ของพวกเขายังถูกทําให้มืดบอดด้วยการเคารพบูชาสงฆ์ เหล่านี้ ที่ยังคงไม่ตระหนักถึงความผิดของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง อาจารยอิเคดะ : จิตวิญญาณอันสูงส่งของพระนิชิเร็นไดโชนินอยู่ เหนือความเข้าใจของผู้คนเช่นนั้น ซึ่งตัดสินสถานการณ์ด้วยจิตใจที่ ขี้ขลาดของพวกเขาเอง สงฆ์เหล่านั้นคาดการณ์ว่าพระนิชิเร็น ไดโชนินจะต้องพยายามประจบเอาใจผู้มีอํานาจเพื่อให้ตนเองเป็นที่ ชื่นชอบเช่นเดียวกับที่พวกเขากําลังกระทําอยู่ เพราะความมืดมนใน จิตใจของพวกเขา ทําให้พวกเขาเกรงกลัวพระนิชิเร็นไดโชนินผู้ไม่มี ทั้งสถานภาพหรืออํานาจใด ๆ เลย อีกทั้งยังกดขี่บีฑาท่านทั้งต่อหน้า และลับหลัง คนชั่วร้ายเกรงกลัวเงาของตัวเอง นี่คือความจริง แม้กระทั่งทุกวันนี้ ผู้คนที่พูดให้ร้ายแก่บุคคลที่ดํารงความยุติธรรม อย่างไร้เหตุผลก็เป็นเพียงการฉายภาพการกระทําอันชั่วร้ายของ พวกเขาเองให้ปรากฏออกมาและแพร่กระจายข่าวลือท ี่ไม่เป็นจริง ดังกล่าวออกไปเท่านั้น
57 แม้ต้องเผชิญหน้ากับการกดขี่บีฑาอย่างต่อเนื่อง ก็ตาม แต่พระนิชิเร็นไดโชนินก็ไม่ถอยแม้แต่ก้าวเดียว ท่านได้ต่อสู้ อย่างเด็ดเดี่ยวกับพลังด้านลบที่คุกคามในการทําให้ประชาชนตกลง ไปสู่ความทุกข์ทรมาน ไซโต : ศาสนามากมายที่มีอยู่ดาษดื่นในประเทศญี่ปุ่นขณะนั้น รวมถึงนิกายทางพุทธศาสนาที่มีอํานาจ เช่น สุขาวดี เท็นได มนตรยาน วินัย และเซน และยังมีลัทธิชินโต วิถีแห่งหยิน-หยาง และ ลัทธิขงจื๊ออีกด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่มีนิกายหรือศาสนาใดที่ส่ง ผลดีกับสถานการณ์ในขณะนั้น พระนิชิเร็นไดโชนินเขียนว่า “ความพยายามทั้งหมดในขณะนี้เพ� อวิงวอนเทพยดา และแมแต การเฝาขอพลังจากพระพุทธะทั้งหลายลวนไรผล” (ธรรมนิพนธ์ ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 1 หน้า 7 / ฉบับภาษาไทย เล่ม 1 หน้า 55) แม้กระนั้น ตระกูลโฮโจซึ่งยึดครองตําแหน่งศูนย์กลางของรัฐบาลได้ ถลําลึกในการอุทิศตนแก่พุทธศาสนาหลากหลายนิกาย ด้วยการ สร้างวัดใหญ่โตโอ่อ่าถวายวัดแล้ววัดเล่า โมรินากะ : นี่เป็นไปตามที่พระนิชิเร็นไดโชนินได้ระบุไว้ในบทนิพนธ์ เรื่อง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” โดยกล่าวว่า : “หอสักการะ ตั้งตระหงานหลังคาติดกัน และหอไตรเรียงรายชายคาชิดกัน สงฆ มีจํานวนมากเฉกเชนกอไผและกอกก ภิกษุดาษด� นราวนาขาวและ ไรปาน” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 1 หน้า 11 / ฉบับภาษา ไทย เล่ม 1 หน้า 63)
อาจารยอิเคดะ : วัดที่พวกเขาสร้างแน่นอนว่าเป็นอาคารที่สวยงาม และสงฆ์ก็ปรากฏอยู่ทุกที่ แต่นี่เป็นเพียงแค่รูปลักษณ์ภายนอก เท่านั้น แม้กระนั้น ความพราวแพรวแวววับของมันก็ทําให้นัยน์ตา ของประชาชนพร่ามัวและดึงดูดใจให้หลงใหล ข้อความต่อไป พระนิชิเร็นไดโชนินแสดงออกถึงความ ขุ่นเคืองอย่างรุนแรงเกี่ยวกับสถานการณ์นี้ โมรินากะ : ท่านกล่าวว่า “สงฆในปจจุบันมีนิสัยประจบสอพลอและ คดโกง ลอลวงชักนําประชาชนไปในทางที่ผิด ผูครองแผนดินและ ราษฎรขาดความเขาใจและแยกแยะไมออกระหวางคําสอนที่ ถูกตองกับคําสอนที่ผิด” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 1 หน้า 11/ ฉบับภาษาไทย เล่ม 1 หน้า 63) อาจารยอิเคดะ : ด้วยการแสวงหาหนทางที่จะปลดปล่อยผู้คนให้ หลุดพ้นจากการยอมจํานนอันมืดมน พระนิชิเร็นไดโชนินจึงได้ เรียกร้องถึงความตระหนักรู้และความรับผิดชอบของผู้ปกครองที่มี อํานาจเหล่านั้น บทนิพนธ์เรื่อง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” จึง เป็นจดหมายแห่งการตักเตือนและท้วงติงอย่างแท้จริง ไซโต : ธรรมนิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมตาง ๆ ของผูปฏิบัติสัทธรรม ปุณฑริกสูตร” พระน ิช ิเร ็นไดโชน ินกล ่าวเก ี ่ยวก ับบทน ิพนธ ์น ี ้ว ่า “คําตักเตือนของอาตมาเหนือกวาขอความในบทกวีเยฟูของ
59 ไป จวีอี้14 และคําพยากรณของอาตมาก็มิดอยไปกวาคําพยากรณ ของพระพุทธะ” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 1 หน้า 763) อาจารยอิเคดะ : การที่ท่านนํามาเปรียบเทียบกับบทกวีเย่ฟู ของไป จวีอี้ และกับคําพยากรณ์ของพระศากยมุนีพุทธะ พวกเรา จึงสามารถเข้าใจได้ว่า ตัวของพระนิชิเร็นไดโชนินเองตั้งใจให้ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” เป็นบทนิพนธ์แห่งคําตักเตือนและ คําพยากรณ์ โมรินากะ : ไป จวีอี้ เป็นกวีผู้เลื่องชื่อในราชวงศ์ถังของจีน เขาถือว่า บทกวีเป็นหนทางสู่ความจริง และลํานําต่าง ๆ ที่พรรณนาถึง ความทุกข์ของประชาชน และการเตือนสติรัฐบุรุษทั้งหลายซึ่ง มีอยู่มากมายในงานของเขา เขายังมักตําหนิจักรพรรดิเสียน จง (ค.ศ. 805 - 820) จ ักรพรรด ิในสมัยน ั ้นอยู ่บ ่อย ๆ ด ้วย ขณะท ี ่ จักรพรรดิเสียน จง ทรงเสียพระทัยที่ไป จวีอี้ ไม่ให้การเคารพพระองค์ แต่ก็ทรงยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ของกวีคนนี้และนําไปปรับปรุง การปกครองของพระองค์ให้ดีขึ้น อาจารยอิเคดะ : “บทกวีคือความปรารถนา” จิตวิญญาณของกวี หลอมรวมเข้ากับความปรารถนาอันสูงส่งคือกุญแจที่จะทําลาย 14 ไป จวีอี้ (ค.ศ. 772 - 846) : กวีหลวงชาวจีนซึ่งเปนที่รู้จักกันว่า บทกวีของเขาเขียนในรูปแบบลํานําวิพากษ์วิจารณ์ความเจ็บปวย ของสังคมและการเมืองในสมัยนั้น
ความมืดมนและความสับสนของจิตใจ นี่คืออารมณ์ความรู้สึกที่ อ่อนไหวของชินกิซ ไอมาทอฟ นักเขียนชาวคีร์กิซ ซึ่งก็เช่นเดียวกับ นักเขียนผู้ทรงภูมิท่านอื่น ๆ ที่ผมได้พบ ไป จวีอี้เกิดในครอบครัวสามัญชน ศึกษาหาความรู้ อย่างหนัก อุทิศตนแก่ประชาชน และคอยจับตาดูพฤติกรรมของผู้นํา ทางการเมืองอย่างเคร่งครัด การกล่าวถึงกวีจีนผู้ยิ่งใหญ่นี้ของ พระนิชิเร็นไดโชนินช่างสมเหตุสมผลมากทีเดียว โมรินากะ : ใน “จี๊ ถังเช็ง” (บทกวีอุทิศแด่ประชาชนชาวถัง) ไป จวีอี้ เขียนไว้ว่า “ข้ามิได้มุ่งมาดเพื่อลีลาสัมผัสที่สละสลวย และมิได้ใส่ใจ ประโยคหรือบทพูด ความปรารถนาเดียวของข้าคือการวางความ ทุกข์โศกของผู้คนลงในบทกวี เพื่อเรียกร้องความสนใจขององค์ จักรพรรดิต่อความทุกข์ยากของพวกเขา”15 เขาเขียนไว้ชัดเจน เป็น ภาษาเรียบง่าย ความสนใจเพียงหนึ่งเดียวของเขาคือการเตือน จักรพรรดิถึงความทุกข์ยากของประชาชน อาจารยอิเคดะ : ถูกต้องครับ ภาษาที่เข้าใจได้ง่ายคือสิ่งที่สําคัญ ไม่ว่าข้อความนั้นจะสูงค่ามากเพียงใด แต่หากไม่สามารถทําให้ผู้อื่น 15 แปลจากภาษาญี่ปุน, เซ็นโนสุเขะ อุชิดะ, ฮะขุชิ มนจู (บทกวีที่คัดสรรของไป จวีอี้) (โตเกียว : เมโตคุ ชุปปนฉะ, 1997), หน้า 20.
61 เข้าใจได้ ก็ไร้ประโยชน์ ภาษาที่ทรงพลังก็สําคัญเช่นกัน ถ้อยคําเพียง คําเดียวที่เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นที่เกิดจากความกล้าหาญจะ สั่นคลอนจิตใจผู้คนให้หวั่นไหวได้ และความจริงใจที่มาจากจิต วิญญาณอันลึกซึ้งและกว้างขวางจะประทับอยู่ในชีวิตของพวกเขา ไซโต : ในคํานําของบทกวีเย่ฟู ไป จวีอี้เขียนว่า “พูดอย่างกว้าง ๆ สามารถกล่าวได้ว่า บทกวีเหล่านี้ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อผู้ปกครอง แผ่นดิน เพื่อเสนาบดี เพื่อประชาชน และเพื่อทุกสรรพสิ่งและทุก เรื่องราว ถ้อยคําเหล่านี้มิได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นบทกวีเท่านั้น”16 อาจารยอิเคดะ : เจตนารมณ์ของเขาคือการพูดออกไปเพื่อ ความเที่ยงธรรมเสมอในนามของการปกปองประชาชน สิ่งนี้ต้องเป็น เจตนารมณ์ที่ก้องสะท้อนอยู่ในชีวิตของพระนิชิเร็นไดโชนินด้วย เช่นกัน ในธรรมน ิพนธ ์เร ื ่อง “เหตุผลพื้นฐานในการเขียน ‘บทนิพนธเร� องการกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิด สันติ’” พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวไว้ว่า “ทั้งหมดที่กลาวมานี้ก็เพ� อ ประเทศชาติ เพ� อธรรมะ เพ� อผูอ� นเทานั้น มิใชเพ� อตัวอาตมาเอง” (ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 1 หน้า164 / ฉบับภาษาไทย เล่ม 2 หน้า 222) ท่านไม่ได้แสวงหาเกียรติยศหรือชื่อเสียงส่วนตัว 16 เล่มเดียวกัน หน้า 76
พระนิชิเร็นไดโชนินแขวนชีวิตของท่านอยู่บนเส้นด้ายเพื่อพูดออกไป ในนามของสังคม ธรรมะ และประชาชน ไซโต : ไม่ต้องสงสัยเลยว่า “บทนิพนธเร� องการกอตั้งคําสอนที่ ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” คือเปาหมายของพุทธธรรมที่ดํารง อยู่เพื่อประชาชน อาจารยอิเคดะ : สมาคมโซคาส่งเสริมความศรัทธาที่ถูกต้องเพื่อที่ จะก่อตั้งคําสอนที่ถูกต้องในระดับบุคคล การกระทําดังกล่าวในระดับ สังคม พวกเรากําลังแผ่ขยายเจตนารมณ์ที่ให้ความเคารพต่อมนุษย์ และให้ความสําคัญต่อประชาชนเป็นลําดับแรก บนพื้นฐานความคิด เช่นนี้ พวกเรากําลังก้าวหน้าในการเคลื่อนไหวทางด้านวัฒนธรรม สันติภาพ และการศึกษาในสังคมที่เป็นจริง อีกนัยหนึ่ง คืออยู่ใน อาณาจักรทางโลก ผมเชื่อว่า การเคลื่อนไหวอันยิ่งใหญ่บนพื้นฐานของ พุทธธรรมนี้ ซึ่งแผ่ขยายไปถึง 180 ประเทศและเขตการปกครอง ทั่วโลก (เมื่อค.ศ. 2002) จะพัฒนาไปสู่การเคลื่อนไหวอันทรงพลัง มุ่งสู่การบรรลุสันติภาพชั่วนิรันดร์เพื่อมวลมนุษยชาติโดยไม่ผิดพลาด อนาคตเริ่มต้นตั้งแต่บัดนี้
63 ไซโต : พวกเราจะก้าวหน้าต่อไปด้วยความภาคภูมิใจ ขอบพระคุณมากครับ ยังมีอีกหลายเรื่องที่จะสนทนากันใน หัวข้อของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” เช ่นความส ําค ัญของ “ประเทศเกิดสันติ” และ “คําพยากรณ” ของพระนิชิเร็นไดโชนิน ผมใคร่ขอสนทนาเรื่องนี้ในครั้งหน้าครับ { โปรดติดตามตอนตอไป }
ไดโมขุแห่งเสียงค�ำรามของราชสีห์ การปฏิบัติที่มุ่งสู่ความสุขและมีชัยชนะขั้นรากฐาน สมาชิกแผนกแพทย์ของสมาคมกล่าวว่า บุคคล ที่ต่อสู้กับความเจ็บป่วยบนพื้นฐานของการสวดไดโมขุ มักจะ เปี่ยมด้วยความขอบคุณและรอยยิ้ม ซึ่งเป็นท่าทีจิตใจที่เป็น สัญญาณแห่งชัยชนะเหนือความเจ็บป่วยของพวกเขา แน่นอนว่า ผู้คนจะเป็นทุกข์จากความเจ็บป่วยและ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆและระดับความรุนแรงก็แตกต่างกัน ในบางกรณี บางคนอาจถึงกับล้มหมอนนอนเส ื่อ หรือสูญเสียสมรรถภาพทาง ร่างกาย แต่ผู้ที่ต่อสู้กับความเจ็บป่วยบนพื้นฐานของการสวดไดโมขุ จะส่องประกายจากส่วนลึกของชีวิตออกมาได้ และไม่มีอะไรต้อง เป็นห่วง เพราะชีวิตของเขาจะสอดคล้องกลมกลืนกับนัมเมียว โฮเร็งเงเคียว พวกเขามั่นใจได้ว่า จะได้รับบุญวาสนาและบุญกุศล ตราบนิจนิรันดร์อย่างไร้ข้อกังขา (จากบทความ “เรียนรู้จากธรรมนิพนธ์ : ธรรมนิพนธ์ที่เปี่ยมด้วยความหวัง” วารสารสร้างคุณค่า ฉบับธันวาคม 2553 หน้า 34) ‘ ’