The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Mini Book July-December 2020

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by MuayPatsy, 2024-06-01 00:46:50

Mini Book 7-12.2020

Mini Book July-December 2020

17 การเผยแผ่ธรรมไพศาลเป็น “เส้นทางของ ราชสีห์” หากไม่ใช่เป็น “บุคคลที่มีความกล้าหาญ” “บุคคลที่มี ความเที่ยงธรรม” และ “บุคคลที่มีความเชื่ อมั่น” ซึ่งไม่หวาดกลัวต่อสิ่ง ใด ๆ แล้ว ก็จะไม่สามารถปนยอดเขาแห่งการเผยแผ่ธรรมขึ้นไปได้ ขณะ เดียวกัน “เส้นทางของราชสีห์” ก็จะเป็น “เส้นทางของอาจารย์กับ ศิษย์” ด ้วย เฉพาะลูกศ ิษย ์ผู ้น ำาเอาจ ิตใจของอาจารย ์มาเป ็นจ ิตใจของ ตัวเองเท่านั้น ที่จะสามารถวิ่งไปได้ตลอดเส้นทาง (จาก บทประพันธ ปฏิวัติมนุษย-ใหม เลมที่ 5 บท “ราชสีห” ฉบับภาษาไทย หน้า 393 - 394) อธิบำยเพิ่มเติม ความศรัทธาของภรรยา พี่น้องอิเคงามิปฏิบัติศรัทธาในธรรมะที่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ จึงถูกกดขี่บีฑาต่าง ๆ นานา เช่น ถูกท่านยาสุมิจึ ผู้เป็นบิดาตัดความ สัมพันธ์พ่อลูก ผู้ที่อุทิศตนในการค้ำาจุนพี่น้องอิเคงามิก็คือภรรยาของ พวกเขา ในธรรมนิพนธ์ฉบับนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า ‘ ’


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 ธรรมนิพนธ “สำาหรับพี่น้องทั้งสองแล้ว ภรรยาของพวกเขาคือ ผู้ค้ำาจุนที่สำาคัญ ที่เรียกว่าสตรีคือผู้ที่คล้อยตามผู้อื่น และทำาให้ผู้อื่น คล้อยตาม” กล่าวคือเป็นการสอนฝายภรรยาให้ค้ำาจุนและนำาทางพี่น้อง อิเคงามิอย่างชาญฉลาด นอกจากนี้ ท่านยังกล่าวว่า หากภรรยารวมพลังกันส่งเสริม ความศรัทธาของสามี ก็จะเป็นการเจริญรอยตามนาคราชบุตรี และเป็น แบบอย่างแก่การบรรลุพุทธภาวะของสตรีในสมัยธรรมปลายที่ชั่วร้าย กล่าวคือเป็นการกระตุ้นเตือนอย่างเด็ดขาดให้มีความศรัทธาที่ตระหนักรู้ว่า หากจิตใจของสามีถูกพัดพาไปตามกฎทางโลก จะออกห่างจากความ ศรัทธา เมื่อได้รับการส่งเสริมกำาลังใจที่เต็มไปด้วยความเมตตาจาก พระนิชิเร็นไดโชนิน ภรรยาของพี่น้องอิเคงามิคงจะตัดสินใจว่า ไม่ว่าจะเกิด อะไรขึ้น จะยึดถือความศรัทธาจนถึงที่สุดเพื่อค้ำาจุนสามี หลังจากนั้น แม้ ถูกตัดความสัมพันธ์พ่อลูกเป็นครั้งที่ 2 แต่พี่น้องอิเคงามิและภรรยาก็ สามารถข้ามพ้นมาได้อย่างสง่างามด้วยความสามัคคีในความศรัทธา และ สามารถชักชวนบิดาเข้าศรัทธาได้ในที่สุด เป็นการแสดงข้อพิสูจน์ที่เป็นจริง แห ่งช ัยชนะของการเปล ี ่ยนแปลงชะตากรรมและการตอบแทนบ ุญคุณท ี ่ สูงส่งที่สุดต่อบุพการี


19 ประสบกำรณ์ ความศรัทธา สู่ชัยชนะ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 ประสบการณ ความศรัทธาสูชัยชนะ ’ ‘ ประสบกำรณ์ ความศรัทธา สู่ชัยชนะ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทยยังมีผู้ติดเชื้อจำานวนไม่มาก ทางบริษัทของ ดิฉันได้รับการติดต่อจากลูกค้าที่ประเทศอังกฤษซึ่งเคยร่วมงานกัน มาแล้วหลายครั้งให้เข้าร่วมประมูลงานโฆษณาเครื่องใช้ไฟฟา แบรนด์หนึ่ง ซึ่งมีกำาหนดจะเข้ามาถ่ายทำาในประเทศไทย หลังจากที่ ได้เสนอราคาแข่งกับบริษัทอื่นแล้ว เราก็พยายามสวดมนต์อธิษฐาน ต่อโงะฮนซนขอให้บริษัทเราได้รับงานนี้ จากนั้นไม่นาน ก็ได้รับการติดต่อกลับจากลูกค้าว่า เค้าโครงเรื่องที่จะผลิตดี แต่งบประมาณที่เสนอไปสูงกว่าบริษัทอื่น จ ึงขอให ้เราช่วยปร ับราคาให ้ใกล ้เค ียงก ับบร ิษ ัทคู ่แข ่งเพราะลูกค ้า อยากให้เราทำางานนี้ แม้งบประมาณที่ได้รับจะค่อนข้างต่ำากว่า มาตรฐาน แต ่เราเข ้าใจด ีว ่าในสถานการณ ์เช ่นน ี ้ไม ่ว ่าบร ิษ ัทใดก ็ อยากได้งาน จึงพยายามเสนองบประมาณใหม่ตามที่ลูกค้าต้องการ เพราะคิดว่าเมื่อโงะฮนซนเปดหนทางให้เราแล้ว เราต้องทำาให้ได้ และ ต้องทำางานที่มีคุณภาพดีเหมือนเดิมด้วย หลังจากที่ได้รับการยืนยันว่าเราได้ทำางานนี้ ดิฉันรีบ


21 สวดมนต์ขอบคุณโงะฮนซน และเริ่มเตรียมงานจัดหาทีมงาน แต่หลัง จากนั้นไม่กี่วัน ก็ได้รับแจ้งจากลูกค้าว่า อาจบินมาไม่ได้เพราะติด ปญหาประกันที่ยังไม่ครอบคลุมโควิด-19 ในตอนนั้น ดิฉันรู้สึกท้อใจ มากว่า ทำาไมจึงเป็นเช่นนี้ แต่ก็นึกขึ้นได้ว่าเรามีโงะฮนซน ทุกเรื่องที่ เกิดขึ้นต้องมีทางออก ในเย็นวันนั้นจึงตัดสินใจออกไปทำากิจกรรมของ สมาคมกับหุ้นส่วนของบริษัทซึ่งเข้าศรัทธาจากการแนะนำาของดิฉัน และอยู ่ระบบการเด ียวก ัน โดยต ั ้งใจว ่าจะเย ี ่ยมและส ่งวารสารให ้ สมาชิก 5 บ้าน แต่หลังจากที่ขับรถส่งวารสารบ้านที่ 3 เสร็จ เราก็ได้ รับแจ้งจากลูกค้าว่าบริษัทประกันภัยตกลงให้ประกันครอบคลุม โควิด-19 ด้วย เราทั้ง 2 คนดีใจมาก สิ่งแรกที่ทำาในขณะขับรถคือ สวดมนต์ขอบคุณโงะฮนซน และสามารถเข้าใจถึงความหมายของ คำาว่า “ธรรมมหัศจรรย์” ได้อย่างลึกซึ้งในเวลานั้นว่า ทุกอย่างขึ้น อยู่ที่ท่าทีจิตใจของเราจริง ๆ ด้วยสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนเกี่ยวกับ มาตรการต่าง ๆ จากภาครัฐ และจำานวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทุกวัน ทำาให้ทีมงานต่างชาติเกิดความไม่มั่นใจว่า เมื่อถ่ายทำาเสร็จ แล้วพวกเขาจะสามารถเดินทางกลับประเทศได้หรือไม่ ทุกคนทำางาน ด้วยความเครียด ในที่สุดทีมงานต่างชาติทั้งหมดตัดสินใจเดินทาง กลับประเทศก่อนที่จะเริ่มถ่ายทำา แต่แทนที่เขาจะยกเลิกงานทั้งหมด กลับมอบหมายให้เราช่วยทำางานต่อและคอยประสานงานกับลูกค้า


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 ประสบการณ ความศรัทธาสูชัยชนะ แทนเขา ด ้วยความเช ื ่อม ั ่นต ่ออาน ุภาพโงะฮนซนมาตลอดโดยไม ่ หวั่นไหว ทำาให้งานสำาเร็จลุล่วงไปด้วยดี และผลกำาไรที่ได้รับจากงาน นี้ก็มากพอ ๆ กับงานอื่นที่ราคาสูงกว่า เราเชื่อมั่นว่าทั้งหมดนี้เป็นเพราะปฏิบัติตามคำาชี้นำา ของอาจารย์อิเคดะ ที่กล่าวว่า “ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม ให้ ปฏิบัติศรัทธาอย่างต่อเนื่อง ไม่สงสัยและไม่พร่ำาบ่น ผลบุญจะ ปรากฏขึ้นอย่างแน่นอน” และอาจารย์ยังชี้นำาว่า “หากไม่มีลม ธงก็ จะไม่สะบัด เพราะมีอุปสรรคขัดขวางนี่เองจึงมีการฝกฝน และความ ก้าวหน้าของความศรัทธาก็เหนือความคาดหมาย อุปสรรคนี่เองที่ เป็นโอกาสของการเจริญเติบโตอย่างทรงพลัง หากมีความกล้าหาญ มีการอธิษฐานและมีการเคลื่อนไหวที่ท้าทายข้อจำากัดของตัวเองแล้ว จะสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน” ทว่าเนื่องจากมาตรการปดประเทศของแต่ละประเทศ เพ ื ่อหย ุดการแพร ่ระบาดของโคว ิด-19 บร ิษ ัทของเราจ ึงถูกกระทบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะลูกค้าต่างชาติไม่สามารถบินเข้ามาได้ และ เรายังมีร้านขายเซรามิคซึ่งต้องปดช่วงเดือนเมษายนตามคำาสั่งของ รัฐบาล ดิฉันได้แต่สวดมนต์อธิษฐานขอสติปญญาจากโงะฮนซนให้ สามารถกลับมาเปดร้านได้ตามมาตรการผ่อนปรน สามารถทำาการ ตลาดที่ตรงเปามียอดขายที่ดี มีรายรับพอที่จะจ่ายเงินเดือนพนักงาน และพยุงบริษัทไว้ได้ในช่วงที่โควิด-19 ยังแพร่ระบาดอยู่ ดิฉัน อธิษฐานให้มียอดขายหน้าร้านเฉลี่ยอย่างต่ำาวันละ 10,000 บาท


23 วันที่ 2 พฤษภาคม 2563 เราสามารถเปดร้านได้ ยอด ขายหน้าร้านถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมรวมกับรายการสั่งซื้อจากโรงแรม และร้านอาหารแล้วได้มากกว่าที่เราอธิษฐานไว้ถึง 2 เท่า ดิฉันสังเกต เห็นว่า ช่วงนี้ลูกค้าเราส่วนใหญ่เป็นชาวญี่ปุนถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ได้ ทราบภายหลังว่า เพราะมีบล็อกเกอร์ (คนเขียนเนื้อหาลงในเว็บไซต สวนตัว) ชาวญี่ปุนหลายท่านที่มาอุดหนุนสินค้าเราต่างชื่นชอบสินค้า มาก จึงเขียนในเว็บไซต์ของเขา บ้างก็ถ่ายรูปสินค้าของเราลง อินสตาแกรม (แอพพลิเคชั่นที่ลงรูปสวย ๆ) ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ร้านเราโดยที่เราไม่ต้องเสียเงินจ้างพวกเขาเลย ทำาให้ลูกค้าญี่ปุน เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่เราอธิษฐานขอต่อโงะฮนซนที่ว่า สามารถทำาการตลาดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ร้านของเราได้รับการ ติดต่อจากศูนย์การค้าแห่งหนึ่งให้นำาสินค้าไปวางจำาหน่ายในแผนก ที่เรียกว่า ไอคอนคราฟต์ (ICONCRAFT) ซึ่งเป็นสินค้าที่ออกแบบโดย นักออกแบบชาวไทย สินค้าเราได้จัดแสดงอยู่ด้านหน้าสุดถึง 2 โตะ ทั้ง ๆ ที่ตกลงให้วางเพียงโตะเดียว ด้วยความเชื่อมั่นต่อโงะฮนซน ทำาให้บรรลุถึงคำาอธิษฐานทุกเรื่อง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้เชื่อมั่น และปฏิบัติศรัทธาอย่างต่อเนื่องจนถึงที่สุด หนทางจะเปดออกอย่าง แน่นอน ธิดารัตน พรรคชนกร ฝายผู้ใหญหญิง กรุงเทพฯ


ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย์-ใหม่” โดย โฮ โงะคู บทความจากอาจารย์ไดซาขุ อิเคดะ


25 บทที่ 46) กำรเยือนฮำวำย ครั้งแรกของขาพเจา “ถนนคืออะไร ถนนถูกสร้างด้วยย่างก้าวที่ก้าว ไปยังที่ที่ไม่มีใครไปมาก่อน ด้วยการบุกเบิกเปดหนทางผ่านพุ่มพง และดงหนาม” ข้าพเจ้าเขียนข้อความสั้น ๆ ที่มีชื่อเสียงของหลู่ซุ่น นักเขียนชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่ในบันทึกประจำาวันของข้าพเจ้า ค่ำาคืนหนึ่ง ก่อนการรับตำาแหน่งประธานสมาคมโซคา คนที่ 3 ถือเป็นความ ท้าทายอย่างหนึ่งต่อการเปดเขตแดนใหม่ ๆ ซึ่งรอคอยอยู่เบื้องหน้า ข้าพเจ้า หาดฮาวายตอนเช้าตรู่ช่างปลอดโปร่งและเงียบสงบ ราวกับสหายผู้อ่อนโยน สัมผัสแผ่วเบาด้วยสายลมอ่อน ๆ ยามเช้า ข้าพเจ้าจ้องมองไปยังมหาสมุทรซึ่งทำาให้อยากจะเปล่งเสียงร้อง ออกไปด้วยความชื่นชมไม่รู้จบ ข้าพเจ้าเหลียวมองไปรอบ ๆ เหนือ ต้นปาล์ม เห็นยอดเขาไดมอนด์เฮด1 ที่สูงตระหง่านอย่างทระนงและ 1 (ผู้แปล) ไดมอนดเฮด (Diamon Head) เปนรองรอยของภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีรูปรางคล้ายกับหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ กินพื้นที่กวา 475 เอเคอร ตั้งอยูทางฝงตะวันออกของชายหาดไวกิกิ ซึ่งมองเห็นได้อยางชัดเจน


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” เปล ่งประกายส ีทองอยู ่ท ่ามกลางพระอาท ิตย ์ยามเช ้า น ั ่นค ือเช ้า วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1960 วันแรกของการเยือนฮาวายและเป็น ก้าวแรกในการเผยแผ่ธรรมไพศาลทั่วโลกของข้าพเจ้า 1 ป ก ่อนหน ้าน ี ้ ฮาวายได ้กลายเป ็นร ัฐท ี ่ 50 ของ สหรัฐอเมริกา นับเป็นการเข้าสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของฮาวาย ข้าพเจ้าก็เช่นกัน ได้ออกเดินทางครั้งใหม่ ข้าพเจ้าอยู่ที่ฮาวายเพียงช่วงสั้น ๆ ประมาณ 30 ชั ่วโมงเท ่าน ั ้น ทว ่าในเวลาน ั ้นข ้าพเจ ้าได ้ก ่อต ั้งต ำาบลแรกของ สมาคมโซคานอกประเทศญี่ปุน การก่อตั้งระบบการซึ่งจะเป็นการ ฉลองอนาคตของสันติภาพ ความสุขและความปติยินดีที่รออยู่ ข้างหน้าอย่างต่อเนื่องต่อไป ผู้คนส่วนใหญ่ที่ข้าพเจ้าได้พบระหว่างการเยือนเป็น ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุน พวกเขาทุกคนล้วนมีประวัติศาสตร์ของ ความทุกข์ระทมและความเจ็บปวดอย่างใหญ่หลวงที่ฝงแน่นอยู่ใน หัวใจ บางคนก็เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุนรุ่นที่ 2 ซึ่งชีวิตของ พวกเขาต้องพลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือเพราะสงครามโลก ครั้งที่ 2 มีสตรีบางคนร่ำาร้องอยากจะกลับประเทศญี่ปุนมากถึงกับ ร้องไห้ทุกวัน ข้าพเจ้าได้พูดคุยกับพวกเขาทุกคนถึงความยิ่งใหญ่ของ การศรัทธา ซึ่งเป็นบ่อเกิดของความเข้มแข็งที่ไร้ขีดจำากัดและ ความหวังที่ไม่พังทลาย ข้าพเจ้าเน้นย้ำาให้พวกเขาเข้าใจถึงจุด


27 ประสงค ์ของการปฏ ิบ ัต ิพ ุทธธรรมของพวกเราและภาระหน ้าท ี ่ใน ฐานะสมาชิกสมาคมโซคาก็คือ การดำารงชีวิตอยู่อย่างปติยินดี มีชีวิต ที่ปราศจากความกลัว มีชีวิตที่มีชัยชนะเหนืออวิชชา ข้าพเจ้าได้เริ่มต้นการต่อสู้เพื่อสันติภาพที่ไม่ใช้อาวุธ ในการทำาลายล ้างแต ่ใช ้การสนทนา เป ็นการต ่อสู ้ท ี ่เผช ิญหน ้าก ับ ความทุกข์ของแต่ละคนอย่างจริงใจ และจุดไฟแห่งความหวังและ ความกล้าหาญในหัวใจของแต่ละคน พนักงานขับรถพาพวกเราไปเพิร์ลฮาเบอร์ ซึ่งอยู่ทาง ฝงตะวันตกของเกาะฮอนโนลูลู เช้าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 กองท ัพญ ี ่ป ุนได ้โจมต ีฐานท ัพเร ือน ้ ำาล ึกของสหร ัฐอเมร ิกาซ ึ ่งต ั ้งอยู ่ ที่นั่นและจมเรือรบไป 4 ลำา เป็นการโจมตีที่ก่อให้เกิดความเสียหาย รุนแรงแก่สหรัฐอเมริกา นี่คือการเริ่มต้นทำาสงครามระหว่างญี่ปุนกับ สหรัฐอเมริกา ช่างโง่เขลา น่าเศร้าใจและเป็นภัยร้ายแรงสิ้นดี ข ้าพเจ ้าหันไปหาสมาช ิกท ี ่มาด ้วยก ันและกล ่าวด ้วยความเช ื่อของ ข้าพเจ้าว่า การที่จะขจัดสงครามให้หมดสิ้นไป สงครามที่นำามาซึ่ง ความเศร้าโศกและความปวดร้าวใจแก่เด็กและสตรีจำานวนมากมาย สงครามที่คร่าชีวิตอย่างโหดเหี้ยมและเลือดเย็น มีเพียงหนทางเดียว เท ่าน ั ้นก ็ค ือเผยแผ ่ค ำาสอนอ ันย ิ ่งใหญ ่ของพระน ิช ิเร ็นไดโชน ินไปสู ่ ทั่วโลก วันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1981 หลังการเยือนฮาวาย


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” ครั้งแรก 21 ป ข้าพเจ้าได้กลับมายังดินแดนแห่งโศกนาฏกรรมนี้ อีกครั้ง และได้เดินทางไปที่อนุสรณ์สถานยูเอสเอส แอริโซนา (USS Arizona Memorial) ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของท่าเรือ เรือรบยูเอสเอส แอริโซนาถูกโจมตีจากกองทัพญี่ปุนจนเสียหายเกือบทั้งลำา และถูก พิจารณาว่าจะไม่กู้ขึ้นมา ปจจุบันยังจมอยู่ก้นทะเล เพื่อรำาลึกถึง ลูกเร ือจ ำานวน 1,177 นายท ี ่เส ียช ีว ิตบนเร ือ อน ุสรณ ์สถานส ีขาว สะอาดบริสุทธิ์ถูกสร้างขึ้นเหนือทะเล ครอบคลุมพื้นที่ที่เรือจมอยู่ จนถึงปจจุบันยังมีคราบน้ำามันจากเครื่องยนต์เรือลอยอยู่บนพื้นผิวน้ำา เล็กน้อยดูราวกับสารเตือนความทรงจำาของโศกนาฏกรรมนี้ ด้วยน้ำามือของรัฐบาลและผู้นำากองทัพญี่ปุนผู้เริ่ม ก่อสงคราม ชีวิตของบรรดาชายหนุ่มที่มากไปด้วยความหวังต้องถูก ทำาลายลง มหาสมุทรที่สงบราบเรียบส่องสว่างกระจ่างชัดด้วย คำาพิพากษาของประวัติศาสตร์ ที่ดูราวกับตัดสินลงโทษผู้กระหาย สงครามสำาหรับความโง่เขลาอันชั่วร้ายที่พวกเขาได้ก่อขึ้นอย่างครบ ถ้วนสมบูรณ์ ÍÒ.. ¡ÒÃÊÇ´ä´âÁ¢Ø à¾×èÍ¡Òþѡ¼‹Í¹¢Í§¼ÙŒÇÒª¹Á ·Õèà¾ÔÏÅÎÒàºÍÏ Çѹ¹Õé áÅТ³Ð¹Õé ¢ŒÒ¨ÐäÁ‹Å×ÁàÅ×͹µÃÒº·ÕèÂѧÁÕªÕÇÔµ ‘ ’


29 ข้าพเจ้าขออุทิศกลอนบทนี้แด่ผู้ที่พาข้าพเจ้าไปชม รอบ ๆ อนุสรณ์สถานแอริโซนา ผู้คนทั่วโลกมองฮาวายว่าเป็นเกาะแห่งสันติภาพ นิรันดร์ ในการเยือนเมื่อ ค.ศ. 1960 ข้าพเจ้ายังได้ไปสุสานที่ ระลึกแปซิฟกแห่งชาติซึ่งอยู่ที่พันช์โบวล์ ปากปล่องภูเขาไฟนอกเมือง ฮอนโนลูลู ที่นั่น ข้าพเจ้ามองเห็นหลุมฝงศพของชาวอเมริกันเชื้อสาย ญี่ปุนที่ต่อสู้และเสียชีวิตเพื่อประเทศอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังที่ข้าพเจ้าเขียนอยู่ในนวนิยายของข้าพเจ้า การโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ ของญี่ปุนได้ทำาลายความเชื่อถือไว้วางใจที่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุน ได้ทำางานหนักมากเพื่อให้ได้มาซึ่งการเป็นพลเมืองใหม่ของ สหรัฐอเมริกา สิ่งนี้ทำาให้ชาวอเมริกันมองพวกเขาเป็นศัตรู และเปด ช่องทางให้เกิดอคติและเลือกปฏิบัติต่อพวกเขา เพื่อพิสูจน์ความภักดีของพวกเขา ชาวอเมริกัน เชื้อสายญี่ปุนที่เกิดที่ฮาวายได้ให้สัตย์ปฏิญาณว่าจะภักดีต่อประเทศ สหรัฐอเมริกา และกระโจนเข้าสู่สงคราม ต่อสู้ในหน่วยของกองพัน ทหารราบที่ 100 และหน่วยประจัญบานกองพันที่ 442 กองพันหลัง ประกอบด้วยอาสาสมัครชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุนรุ่นที่ 2 เท่านั้น ด้วยความตั้งใจที่จะ “รบให้แตกหัก” พวกเขาพุ่งเข้ารับห่ากระสุน และเสียสละอย่างใหญ่หลวงที่สุดเพื่อทุกคน ได้พิสูจน์ตนเองเป็น


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” กองกำาลังผู้กล้าหาญ และเรียกความศรัทธาของประชาชนอเมริกัน ที่มีต่อความกล้าหาญและความภักดีของชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุน กลับคืนมา ค.ศ. 1985 25 ปหลังการเยือนครั้งแรก ข้าพเจ้าได้วาง ดอกไม้ที่สุสานที่ระลึกแปซิฟกแห่งชาติพันช์โบวล์ และทหารผ่านศึก 9 นายจากหน่วยประจัญบานกองพันที่ 442 ซึ่งเป็นสมาชิกเอสจีไอ ได้เข้าร่วมในพิธีด้วย ความภาคภูมิใจและความกล้าหาญของ พวกเขายังคงสลักอยู่ในใจของข้าพเจ้า หัวหน้าตำาบลฮาวายคนแรกของสมาคมโซคาคือ คุณแฮรี ฮิรามะ เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุน ข้าพเจ้าจะไม่มีวัน ลืมเขา และคุณวาทารุ คาวาโมโต้หัวหน้าเขตฮาวายคนแรก คุณ ฮิรามะมีร่างกายกำายำาและสายตาที่เป็นมิตร ต่อมาเขาได้เคลื่อนไหว อย ่างกระฉ ับกระเฉงในฐานะห ัวหน ้าฝ ายย ุวชนชาย เป ็นท ี ่ร ักและ ไว้วางใจของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนของฮาวาย เมื่อใด ที่เขาปรากฏตัว เขาจะได้รับการทักทายด้วยน้ำาเสียงแห่งความสุข ผู้คนยิ้มแย้มเมื่อได้เห็นใบหน้าเขา เขาเป ็นผู ้น ำาย ุวชนแชมเป  ยนแห ่งส ันต ิภาพของฝ าย ยุวชนชายในช่วงเริ่มต้นของสมาคมโซคาในฮาวาย เป็นการรณรงค์ ต่อสู้ที่ไม่ใช้ปนหรือความรุนแรง แต่เป็นการรณรงค์ต่อสู้เพื่อให้การ เผยแผ่ธรรมไพศาลบรรลุผลสำาเร็จ กลุ่มนี้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วใน


31 ชื่อ “กองกำาลังสับปะรด” คุณฮิรามะมีประสบการณ์ที่น่ากลัวจาก สงครามโดยตรง เขาจึงมีความมุ่งมั่นอย่างเข้มแข็งที่จะสร้าง สันติภาพ กองกำาลังสับปะรดส่องประกายด้วยความภาคภูมิใจ ในฐานะกองกำาลังของฮาวายเพื่อสันติภาพแห่งธรรมมหัศจรรย์ พวกเขาต ัดส ินใจเล ือกช ุดฟอร ์มเส ื ้อเช ิ ้ตขาว เนคไทด ำาผูกเป ็นรูป สับปะรด ครั้งหนึ่ง สมาชิก 27 คนของกลุ่มนี้ได้มาที่ญี่ปุน และ ทำาให้ฝายยุวชนญี่ปุนประหลาดใจในจิตวิญญาณและความเข้มแข็ง ของพวกเขา กองกำาลังสับปะรดผลิตผู้คนจำานวนมากมายที่อุทิศตน เพื่อสันติภาพ ซึ่งกำาลังทำางานหนักเพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาลใน ฮาวาย รวมถึงที.เจ. ไรฟ และ ทอม ฮารา ปหน้า (ค.ศ. 2000) จะครบ 40 ป นับตั้งแต่การไป เยือนฮาวายเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลานั้นข้าพเจ้าได้เดินทางไปยังเกาะ ต่าง ๆ ที่ตะวันออกบรรจบกับตะวันตก 18 ครั้ง “อะโลฮา” ไม ่รู ้ว ่าก ี ่คร ั ้งต ่อก ี ่คร ั ้งท ี ่ข ้าพเจ้าได ้กล ่าว และได้ยินคำากล่าวทักทายอันงดงามนี้ “อะโลฮา” เป็นการแสดงออก ของความรักเพื่อมนุษยชาติ ของความเมตตากรุณา ของความอดทน ของความอ่อนโยน และของความเห็นอกเห็นใจ “จิตวิญญาณ แห่งอะโลฮา” เป็นจิตวิญญาณแห่งสันติภาพและเป็นหัวใจของ ฮาวาย เกาะแห่งสายรุ้งเหล่านี้เป็นที่ที่ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” และมีภูมิหลังของชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันมาอาศัยอยู่ร่วมกันอย่าง กลมเกลียว นี่คือชัยชนะของมนุษยชาติ ซึ่งประดับประดาฮาวายให้ งดงามมากยิ่งขึ้นกว่าอัญมณีที่ล้ำาค่าที่สุด และมิอาจให้ถูกปนเปอน ด้วยความโหดร้ายน่าสะพรึงกลัวของสงครามอีกต่อไป กระแสธารใหม่เพื่อสันติภาพส่องแสงระยิบระยับ ที่ เรียกว่าการเผยแผ่ธรรมไพศาลทั่วโลกได้เริ่มต้นที่นี่ ที่ฮาวาย ไม่มีข้อ สงสัยเลยว่าความหมายอันลึกซึ้งและเกียรติยศอันรุ่งโรจน์นี้จะ ฉายส่องอยู่ในบันทึกประวัติการณ์ของเอสจีไอตลอดไป ฮาวาย ประภาคารแห่งศตวรรษที่ 21 แสงแห่ง ความหวัง ขอให้ส่องแสงตราบนิรันดร์ (จากหนังสือพิมพเซเคียว ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1999)


33 บทสนทนาเรื่อง แม่กับลูกมุ่งสู่ศตวรรษที่ 21 (เลม 3)


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) บทที่ 3) สำยสัมพันธ์ที่ช่วยเหลือ สนับสนุนกันและกัน (ตอ) แมเจ็บปวย แตจิตใจไมยอมแพ อาจารยอิเคดะ :ตอนที่ทราบเรื่องครอบครัวของคุณฟุจิโนะ เป็น ช่วงที่ผมไปเยือนอาคารวัฒนธรรมชูบุที่นาโงยะใช่ไหมครับ ฟุจิโนะ : วันนั้น ดิฉันกับหัวหน้าเขตหญิงของชูบุเป็นเจ้าหน้าที่ ยัง อยู่ที่สมาคม ณ ที่นั่น ภรรยาอาจารย์ได้เข้ามาทักทายว่า “ปานนี้ แล้ว ที่บ้านไม่มีปญหาใช่ไหมคะ” ดิฉันตอบว่า “ลูก ๆ โตแล้ว ให้พวกเขาช่วยกันดูแล บ้านค่ะ” หัวหน้าเขตหญิงอธิบายว่า “อันที่จริง คุณแม่สามีนอนปวย ติดเตียงมา 10 ปแล้วค่ะ” ดิฉันจึงบอกว่า “ท่านเป็นคุณย่าที่มีหน้าตาสดใส เหมือนคนหนุ่มสาวที่นอนอยู่บนเตียงค่ะ” อาจารยอิเคดะ : ผมได้ฟงจากภรรยาแล้ว รู้สึกวางใจ น่าชื่นชม จริง ๆ ครับ


35 แม้ว่าอยู่บนเตียงแต่ก็ตระหนักรู้ในภาระหน้าที่ว่า ตัวเองกำาลังดูแลบ้านและดำาเนินชีวิตอย่างร่าเริงแจ่มใส มีรอยยิ้มอยู่ เสมอ ส่องประกายความสดใสแก่ทุกคนในบ้าน ทั้งผู้ปวยกับผู้ที่คอยดูแลต่างร่วมแรงร่วมใจกันต่อสู้ เพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาล เป็นเรื่องที่สูงส่งจริง ๆ ผมได้ตั้งชื่อเล่นให้คุณแม่สามีด้วยความรู้สึกชื่นชมว่า “มิสซิสเบด (คุณนายเตียงนอน)” “ถึงคุณย่ายังสาวบนเตียงนอน จงมีชัยชนะแห่ง ชีวิต !” ฟุจิโนะ : เมื่อดิฉันได้รับข้อความจากอาจารย์ ก็รีบบอกให้คุณแม่สามี ทราบว่า “อาจารย์กรุณาตั้งชื่อเล่นให้นะคะ” พอพูดจบท่านก็ถาม กลับว่า “ตั้งชื่อเล่นให้ใครเหรอ” ดิฉันตอบว่า “ให้คุณย่าค่ะ” คุณแม่สามีรู้สึกดีใจมาก พูดซ้ำา ๆ หลายครั้งว่า “ให้ ฉันเหรอ ไม่จริงละมั้ง” แล้วก็ทำาหน้ายู่ยี่ และหัวเราะเสียงดังมาก ได้เห็นท่าทางของท่านแล้ว ดิฉันคิดว่า “แม้จะเหนื่อย ยาก แต่ก็โชคดีมากที่ได้พยายามทำามาถึงจุดนี้” ในจิตใจรู้สึก ร้อนผ่าวขึ้นมา คุณแม่สามีได้วางกระดาษที่เขียนคำาอวยพรว่า “ชื่อ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) มิสซิสเบด วันที่ 28 มีนาคม ปโชวะที่ 63 (ค.ศ. 1988) จากอาจารย์ อิเคดะ” ไว้ที่ข้างหมอนของท่านเหมือนตอนเป็นทารกแรกเกิด ทุกคนในครอบครัวต่างก็ดีใจ ต่อมา คุณแม่สามีได้ทุ่มเทในการสวดไดโมขุมากขึ้น และให้การสนับสนุนเรื่องต่าง ๆ ของครอบครัวอย่างเข้มแข็งมาก ยิ่งขึ้น ฮิราคาวา : การส่งเสริมกำาลังใจจากอาจารย์อิเคดะได้สาดส่องจิตใจ ของคุณแม่สามีให้สว่างไสวและร่าเริงนะคะ ในหนังสือ “บทสนทนาเรื่อง ชีวิตวัยที่สาม ผู้สูงวัยใน สังคมร่วมสมัย” และรวมบทความ “บทเพลงของแม่” อาจารย์ได้ นำา “ชัยชนะของมิสซิสเบด” มาเป็นหัวข้อและได้แนะนำาการสนทนา ของค ุณฟ ุจ ิโนะก ับค ุณแม ่สาม ีด ้วย ว ันก ่อนด ิฉ ันก ็ได ้แนะน ำาเร ื ่อง เดียวกันนี้ในการสัมมนาแห่งหนึ่ง ผู้เข้าร่วมท่านหนึ่งอายุ 79 ป ได้ ฟงแล้วประทับใจมาก จึงได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกค่ะ ท่านผู้นี้กล่าวด้วยความซาบซึ้งว่า ประทับใจในบุคลิก ของอาจารย์อิเคดะที่ให้ความสำาคัญและให้กำาลังใจคน ๆ หนึ่งเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อีกทั้งประทับใจในวิธีการดูแลปรนนิบัติของ คุณฟุจิโนะ อาจารยอิเคดะ : ยอดเยี่ยมครับ


37 แม้ว่าเจ็บปวย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สะดวก แต่ถ้า จ ิตใจไม ่ยอมแพ ้แล ้ว บ ุคคลน ั ้นก ็เป ็นผู ้ชนะ ช ัยชนะของจ ิตใจค ือ ชัยชนะของชีวิต เรื่องนี้คุณแม่สามีได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วนะครับ คุณยา.. ขอบคุณจริง ๆ ฟุจิโนะ : คุณแม่สามีเสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1993 เป็นปที่ 15 ตั้งแต่เริ่ม ดูแลปรนนิบัติท่านที่บ้าน เป็นช่วงที่ดิฉันกำาลังจะไปซานฟรานซิสโกเพื่อเข้าร่วม “การประชุมสันติภาพและมิตรภาพญี่ปุน-อเมริกา” เนื่องจากดิฉันจะไม่อยู่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์จึง ค่อนข้างลังเลใจ แต่สามีบอกว่า “ไม่ต้องห่วง ไปเถอะ” ดิฉันจึงกล้า ตัดสินใจไปอเมริกา เมื่อเป็นเช่นนั้น ดิฉันจึงฝากคุณแม่สามีไว้กับ โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่ทำางานของสามี และฝากลูก ๆ ให้ดูแลบ้าน กับดูแลคุณย่าด้วย แล้วดิฉันก็ไปอเมริกาค่ะ ฮิราคาวา : การประชุมรวมที่ซานฟรานซิสโก ดิฉันก็ได้เข้าร่วมค่ะ เป ็นการจ ัดประช ุมรวมชูบ ุก ับประช ุมรวมไซตามะไว ้ด ้วยก ันโดยม ี ตัวแทนเข้าร่วม


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) ฟุจิโนะ : นอกจากได้เข้าร่วมประชุมรวมแล้ว ยังได้ประสบการณ์ มากมายท ี ่ม ีความหมาย เช ่น การแลกเปล ี ่ยนก ับสมาช ิกในพ ื ้นท ี ่ การเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยโซคาอเมริกา ตอนอยู่บนเครื่องบินขากลับ ดิฉันรู้สึกขอบคุณและ คิดว่า “การแลกเปลี่ยนครั้งนี้เป็นรางวัลสูงสุด เมื่อกลับถึงบ้านแล้ว จะพยายามดูแลปรนนิบัติและทำากิจกรรมอีกครั้ง” แต่มีลางสังหรณ์ ดิฉันรู้สึกอาการไม่ดี ทั้ง ๆ ที่ปกติไม่เคยเมาเครื่องบิน ท ี ่บ ้านบอกไว ้ว ่าเม ื ่อถ ึงสนามบ ินฮาเนดะแล ้ว “ให ้ ติดต่อกลับทันที” ดิฉันรีบโทรศัพท์ไป จึงทราบว่าคุณแม่สามีเสียชีวิต แล้ว ดิฉันยังจำาได้ว่าตัวเองช็อก เสียงและสีของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ตรงหน้าเริ่มเลือนลางไปบางส่วน รู้สึกเหมือนทิวทัศน์รอบตัว เป็นภาพยนตร์ขาวดำา เม ื ่อกล ับถ ึงบ ้านก ็พบร ่างของค ุณแม ่สาม ีนอนหล ับ อย่างสงบ ใบหน้าสวยงามมากราวกับได้รับความพึงพอใจที่สุด ท่าน มีอายุ 80 ปค่ะ ช่วงเวลา 15 ปตั้งแต่ที่ท่านนอนติดเตียง นอนอยู่อย่าง นั้นและมีชีวิตจนถึงที่สุด ท่านได้แสดงข้อพิสูจน์ทางความเป็นจริงให้ พวกเราเห็น สำาหรับพวกเราแล้วเป็น “15 ปที่ล้ำาค่า”


39 ดิฉันนึกถึงคำาพูดของท่านตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่าน มักพูดว่า “ฉันคือคนสวยนะจะ” ดิฉันพูดว่า “คุณย่า ขอบคุณ จริง ๆ ค่ะ” จิตใจที่รูสึกขอบคุณ จิตใจที่ไม่ยอมแพ จะเปดชีวิตของเรา ฮิราคาวา : การเฝาดูแลปรนนิบัติเป็นระยะเวลายาวนาน สุดท้ายก็ ยังสามารถพูดขอบคุณได้ ยอดเยี่ยมจริง ๆ ค่ะ ฟุจิโนะ : เมื่อสักครู่ได้พูดไปแล้วว่า ตั้งแต่แรก สำาหรับดิฉัน ไม่ได้รู้สึก เลยว่า “กำาลังดูแลปรนนิบัติ” พูดอย่างตรงไปตรงมาก็คือ มีความรู้สึกว่า “กำาลังรับ ทำาหน้าที่ดูแลปรนนิบัติ” เสียมากกว่า กับสามีก็เช่นกัน ดิฉันไม่ได้รู้สึกว่า “กำาลังดูแลแม่สามี ให ้ค ุณอยู ่” แต ่รู ้ส ึกขอบค ุณสาม ีมาก ๆ ท ี ่คอยสน ับสน ุนด ิฉ ันใน หลาย ๆ ด้านขณะที่ดิฉันกำาลังดูแลคุณแม่สามีอยู่ ลูกสาวทั้ง 2 คนก็เติบโตพร้อมกับรับรู้อย่างใกล้ชิดถึง ความเป ็นค ุณย ่าท ี ่นอนต ิดเต ียง ด ังน ั ้นต้นอ ่อนแห ่งจ ิตใจท ี ่เห ็นอก เห็นใจผู้อื่นจึงแตกหน่อและช่วยกันทำางานบ้าน


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) ความเป็นคุณย่าทำาให้ทุกคนในครอบครัวเห็นอก เห ็นใจก ันและก ัน ช ่วยเหล ือก ัน เป ็นความรู ้ส ึกท ี ่ว่า เม ื ่อม ีอะไรท ี ่ วนเวียนมาเหมือนรถไฟสาย “ยามะโนะเตะ” จิตใจที่รู้สึก “ขอบคุณ” ก็จะวนเวียนอยู่ท่ามกลางทุกคนในครอบครัว รู้สึกขอบคุณคุณย่าอย่างลึกซึ้งที่มอบสิ่งมีค่าที่หาได้ ยากยิ่งแก่พวกเรา อาจารยอิเคดะ : เพียงแค่มีจิตใจที่รู้สึกขอบคุณ จิตใจที่ไม่ยอมแพ้ ชีวิตจะสามารถเปดกว้างได้ ไม่ว่าจะกว้างเพียงใดก็ตาม การจะม ีช ัยชนะในการด ำาเน ินช ีว ิตในครอบคร ัวก ็ม ี เพียงการเหยียบย่ำาไปบนพื้นดินแห่งความเป็นจริงทีละก้าว ๆ ให้ แบนราบเรียบเท่านั้น งานบ้านและการเลี้ยงดูลูก ซึ่งบางครั้งก็มีการดูแล และปรนนิบัติผู้ปวยด้วย ทว่าการทำางานแต่ละอย่างนั้น ไม่ใช่กำาลัง ทำาเพื่อผู้อื่น แต่เป็นการตัดสินใจของตัวเองที่จะทำางานนี้เอง เป็นการ เรียกร้องเอง หากตัดสินใจเช่นนี้แล้วจะไม่เกิดความไม่พอใจและจะ ไม่บ่นด้วย ความปติยินดีที่ภาระหน้าที่บรรลุผลสำาเร็จกับความรู้สึก อิ่มเอิบใจจะพวยพุ่งออกมาเอง หากมองจากทัศนะชีวิต 3 ชาติจากสายตาของ พ ุทธธรรมแล ้ว ก ็คือ พวกเราได ้อธ ิษฐานไว ้จ ึงได ้เก ิดมาในสภาพ


41 แวดล้อมที่เป็นอยู่ขณะนี้ กล่าวได้ว่า ไม่ว่าความทุกข์ใจเช่นใดก็เป็น ความทุกข์ใจที่ตัวเองเป็นคนเลือกเอง หากเข้าใจได้เช่นนี้แล้ว ไม่ว่าจะยากลำาบากเพียงใด ก็จะรู้สึกสนุกสนานและสามารถก้าวข้ามพ้นไปได้ ปจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุ ปญหาการดูแลปรนนิบัติ กำาลังใกล้ตัวเข้ามา แต่การดูแลปรนนิบัตินั้น ผู้ดูแลปรนนิบัติต้อง ไม่ลืมที่จะยกสภาพชีวิตของตัวเองให้สูงขึ้นและกว้างขึ้นด้วย ปจจุบันเป็นยุคที่สังคมโดยรวมสนับสนุนการดูแล ปรนนิบัติซึ่งกันและกัน ประเด็นนี้นี่เองที่เป็นจุดสำาคัญของการดูแล ปรนนิบัติด้วยใจ นี่คือการดำารงชีวิตใน “สถานที่ที่ปวงสรรพสัตว์มี ความสุขสําราญ” ฮิราคาวา : ทุกอย่างขึ้นอยู่กับหนึ่งขณะจิตของตนเอง สมาช ิกท ี ่ด ิฉ ันรู ้จ ักมายาวนานท ่านหน ึ ่งอยู ่ไซตามะ เลี้ยงดูลูกที่พิการอย่างจริงจังจนเติบโตและสร้างครอบครัวที่มี ความสงบสุขกลมเกลียว เธอแต่งงาน ลูกชายคนแรกมีปญหาที่กระดูกสันหลัง หมอบอกว่าไม่แน่ว่าจะมีชีวิตอยู่ถึง 3 ขวบหรือไม่ ตอนนั้นเอง


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) คุณแม่ท่านนี้ได้เกิดความกล้าหาญขึ้นมาว่า “ลูกคนนี้จะต้องไม่ตาย อย่างเด็ดขาด จะก้าวข้ามเรื่องนี้ด้วยความศรัทธาให้ได้ จะทำาให้ดู” เวลาไปชักชวนแนะนำาธรรมเธอก็พาลูกไปด้วย แม้จะ ถูกสาดด้วยคำาพูดที่เย็นชาว่า “ถ้าลูกคนนั้นหายดีแล้วก็ค่อยมาอีก นะ” เธอก็ไม่ถอยแม้สักนิด ต่อมา ลูกชายถูกเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนล้อเรื่องร่างกาย พิการ ตอนที่ลูกชายถามเธอว่า “แม่ครับ ผมเกิดมาดีหรือเปล่าครับ” เธอกอดลูกไว้แน่นโดยไม่รู้ตัวและตอบว่า “แน่นอน ต้องดีสิจะ ลูก เกิดมา แม่มีความสุขจริง ๆ นะจะ” ลูกชายพยายามตอบสนองความปรารถนาของ คุณแม่ ตอนอยู่โรงเรียนมัธยมศึกษาก็ทุ่มเทอย่างจริงจังกับการเรียน คุณครูประจำาชั้นซึ่งเฝามองบุคลิกท่าทางของเขามาโดยตลอดได้ กล่าวในพิธีสำาเร็จการศึกษาพร้อมน้ำาตาว่า “ผมประทับใจนักเรียน อยู่คนหนึ่ง” ท่านกำาลังกล่าวถึงลูกชายของเธอนั่นเอง ฟุจิโนะ : ด้วยการอธิษฐานที่เข้มแข็งและกำาลังใจจากคุณแม่นี่เอง ลูกชายจึงพยายามอย่างเต็มที่ ฮิราคาวา : ดิฉันก็คิดอย่างนั้นค่ะ คุณแม่ได้อธิษฐานเรื่องของลูกชายอย่างสุดชีวิตมา โดยตลอดว่า “แม้ร่างกายพิการ แต่ไม่พิการทางจิตใจ” “จงมี


43 จิตใจเข้มแข็งที่ไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ระทมขมขื่ น” เม ื ่อคร ั ้งท ี ่อาจารย ์อ ิเคดะมาเย ือนอาคารว ัฒนธรรม มิซาโตะใน ค.ศ. 1986 อาจารย์ได้ส่งเสริมกำาลังใจว่า “อย่าเป็น ผู ้ใหญ ่หญ ิงท ี ่เอาแต ่ร ้องไห ้เม ื ่อถูกกระทบกระเท ือน ขอให ้มองไป ข้างหน้าอย่างร่าเริงเหมือนดวงอาทิตย์ มีชีวิตอย่างเข้มแข็งนะ ครับ” ปจจุบันลูกชายกำาลังขะมักเขม้นอย่างแข็งแรง ในฐานะคนในสังคมที่ยอดเยี่ยม และในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าเขตฝาย ยุวชนชายในพื้นที่ ก่อนหน้านี้ ลูกชายเล่าให้คุณแม่ฟงพลางหัวเราะ ว่า “แม่ รุ่นพี่ที่สมาคมมักบอกผมว่า หลายต่อหลายเรื่อง ‘ฝากด้วย นะ’ ทุกคนคงลืมไปว่าผมเป็นคนพิการ” เธอจึงบอกว่าดีใจจริง ๆ ที่ ได้พยายามจนถึงที่สุดโดยไม่ท้อใจ เธอกล ่าวว ่า “ประสบการณ ์เร ื ่องหน ึ ่งจะกลายเป ็น ทรัพย์สมบัติที่เงินหาซื้อไม่ได้ ไม่ว่าจะพบกับอะไรก็ตาม จะสามารถ ก่อสร้างจิตใจที่ไม่ยอมแพ้ได้ รู้สึกขอบคุณที่มีโอกาสพบก ับความ ศรัทธานี้” ดิฉันประทับใจมากค่ะ อาจารยอิเคดะ : ดีครับ ดีใจจริง ๆ สัทธรรมปุณฑริกสูตรกล่าวไว้ว่า “สถานที่ที่ปวง สรรพสัตว์มีความสุขสําราญ”


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) คำาว่า “ความสุขสําราญ” ในที่นี้ไม่ได้หมายความ ว่า “ความสำาราญที่เป็นเปลือกนอก” หรือ “ความสุขที่เป็นเปลือก นอก” “ความสุขสำาราญ” ในพุทธธรรมหมายถึงการทำาให้ตัวเอง เจิดจรัสและโลดเต้นไปอย่างอิสระท่ามกลางการดำาเนินชีวิต ท่ามกลางสังคมแห่งความเป็นจริง เปลี่ยนความทุกข์ยากลำาบากของชีวิตเป็น “ความ ปติยินดี” เปลี่ยนเป็น “ความหวัง” ราวกับสนุกสนานไปกับ “การ โต้คลื่ น” ต้องดำารงชีวิตที่ทำาให้ชีวิตส่องประกายเจิดจรัสและสง่างาม ดั่งดวงอาทิตย์ ในพ ุทธธรรม การด ำารงช ีว ิตของโพธ ิส ัตว ์ท ี ่เร ียกว ่า “ปณิธาน” คือการที่ตัวเองตั้งปณิธานและได้รับชัยชนะในชีวิตที่มี ภาระหน้าที่ ซึ่งนี่คือลักษณะที่แท้จริงของตนเอง อาจารย์โทดะกล่าวอยู่เสมอว่า “บุคลิกท่าทีของพวกเราดูเหมือน ‘โพธิสัตว์ที่ยากจน’ หรือ ‘โพธิสัตว์ที่เจ็บปวย’ แต่นั่นเป็นการแสดงละครชีวิตของพวกเรา อยู ่นะ แท ้จร ิงแล ้วเราเป ็นโพธ ิส ัตว ์จากพ ื ้นโลกต ัวจร ิงเลย ถ ้าเป ็น ละครชีวิตแล้ว ต้องตัดสินใจแสดงอย่างสนุกสนานและพิสูจน์ความ ยิ่งใหญ่ของธรรมมหัศจรรย์ให้ได้” กล่าวได้ว่า ในการเลี้ยงดูลูกก็เช่นเดียวกัน


45 อาจมีความทุกข์ใจต่าง ๆ นานา เช่น การเจ็บปวย ของลูก เรื่องการเรียนและเรื่องเส้นทางชีวิตของลูก ผู้ที่ตระหนักได้ ว่า สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดทั้งปวงจะกลายเป็น “ทรัพย์สมบัติ” ที่ทำาให้ ครอบครัวมีความสุข และก้าวเดินไปข้างหน้าแม้เพียง 1 ก้าวแล้ว ผู้นั้นคือ “ผู้ที่มีชัยชนะที่แท้จริง” {จบ/บทที่ 3}


โลกแห่งธรรมนิพนธ์ บทสนทนาเกี่ยวกับ ศาสนาแห่งมนุษยนิยม


47 บทที่ 4) กำรก่อตั้งค�ำสอนที่ถูกตอง เพ� อใหประเทศเกิดสันติ (ตอนที่ 1) หลักสําคัญเพ� อการบรรลุถึง ควำมสุขของประชำชนและสังคมที่สันติสุข ไซโต : วันที่ 28 เมษายนที่จะถึงนี้ (ค.ศ. 2002) จะครบ 50 ปของ การตีพิมพ์หนังสือนิชิเร็นไดโชนิน โงโช เซ็นชู (รวมธรรมนิพนธของ พระนิชิเร็นไดโชนิน) มีเรื่องราวมากมายที่สามารถบ่งบอกถึง ความสำาคัญของความสำาเร็จนี้ แต่ผมอยากจะแบ่งปนสิ่งหนึ่งที่ ประทับใจผมมาโดยตลอด นั่นก็คือความจริงที่มีนัยสำาคัญที่ว่า ภายในสมาคมโซคา ประชาชนคนธรรมดาทั่วทั้งโลกสามารถเข้าถึง ถ ้อยค ำาของพระน ิช ิเร ็นไดโชน ินพระพ ุทธะแห ่งสม ัยธรรมปลายได ้ โดยตรง สำาหรับพวกเราในฐานะสมาชิกขององค์กรนี้อาจดูว่าเป็น เรื่องปกติธรรมดา แต่ผมคิดว่าคงไม่เคยมีองค์กรใดที่ทำาการปฏิวัติ ศาสนาเหมือนอย่างที่เรากำาลังทำาอยู่ในขณะนี้ อาจารยอิเคดะ : พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า “เสียงทํางานของ พระพุทธะ” (บันทึกคําสอนปากเปลา ฉบับภาษาอังกฤษ หน้า 4) และ “พระพุทธะช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายผ่านการใช้ถ้อยคํา และตัวอักษร” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 2 หน้า 6)


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ พุทธธรรมจะยังคงอยู่ห่างไกลจากชีวิตของประชาชน หากพระพุทธะเก็บงำาการรู้แจ้งของท่านไว้กับตนเอง ซึ่งแท้จริงแล้ว ก็อาจจะไม่มีความหมายอันใดเลย การเทศนาธรรมของพระพุทธะ คือการทำาให้พุทธธรรมฉายส่องเป็นแสงสว่างที่สามารถปลดปล่อย ประชาชนให้หลุดพ้นจากความมืดมนของความทุกข์ นี่จึงเป็นเหตุผล ที่พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า “ธรรมะไม่สามารถเผยแผ่ได้เอง เพราะบุคคลเปนผู้เผยแผ่ธรรมะ ดังนั้น ทั้งบุคคลและธรรมะจึง สูงส่ง” (ธรรมนิพนธ หน้า 856) การเผยแผ่คำาสอนของพระพุทธะ คือภารกิจอันสูงส่งที่ส่องแสงสว่างแก่ทั้งบุคคลและธรรมะ พระพ ุทธะทรงเทศนาออกไปอย ่างไม ่เห ็นแก ่ตนเอง เพื่อที่จะปลดปล่อยประชาชนให้เป็นอิสระจากความทุกข์ บรรดา ลูกศิษย์ที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาได้รวบรวมคำาสอนของพระพุทธะขึ้น เป ็นพระสูตรต ่าง ๆ บนพ ื ้นฐานความม ุ ่งม ั ่นต ั ้งใจอ ันเข ้มแข ็งของ พวกเขาที่จะเผยแผ่ธรรมะ ถ้อยคำาต่าง ๆ ในพระสูตรคือพุทธวาจา นั่นเอง อันที่จริงแล้ว พระสูตรคือการรวบรวมวจีทองคำาที่เกิดขึ้นจาก การอุทิศทุ่มเทโดยไม่เสียดายชีวิตของพระพุทธะเพื่อนำาความสุขไป สู่ประชาชนทุกคน โมรินากะ : พระสูตรคือการตกผลึกการต่อสู้ร่วมกันของอาจารย์กับ ศิษย์ อาจารยอิเคดะ : พระสูตรต่าง ๆ เริ่มต้นบรรทัดแรกด้วยวลีที่ว่า


49 “อาตมาได้สดับมาดังนี้” เป ็นการแสดงความรู ้ส ึกระล ึกถ ึงอย ่าง ลึกซึ้งของลูกศิษย์ของพระพุทธะ พวกเขากล่าวว่า “นี่คือถ้อยคํา ของอาจารย์ที่เปลี่ยนชีวิตของอาตมา” และพระสูตรเหล่านี้ได้ หลงเหลือไว้เบื้องหลังเป็นบันทึกที่เขียนถึงความมุ่งมาดปรารถนาของ อาจารย ์ก ับศ ิษย ์ในการส ื ่อสารพ ุทธธรรมไปสู ่ประชาชนท ุกคนโดย ข้ามผ่านระยะทางและกาลเวลา ไซโต : ในหนึ่งวลีสั้น ๆ ดังกล่าวเป็นเสมือนเสียงที่ลูกศิษย์ทั้งหลาย ของพระพุทธะเปล่งตอบรับด้วยความตั้งใจอย่างสุดหัวใจที่จะปฏิบัติ ตามคำาสอนของผู้เป็นอาจารย์ของพวกเขา โมรินากะ : การไม่เห็นความสำาคัญของบันทึกคำาสอนและความคิด คำานึงที่เป็นการรู้แจ้งของพระพุทธะจึงถูกสื่อสารออกไปในหนทางอื่น ถือว่าเป็นการไม่เห็นความสำาคัญของทั้ง “บุคคลและธรรมะ” พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า “หากบุคคลปฏิเสธการใช้ถ้อยคําและ ตัวอักษร เช่นนั้นแล้ว คําสอนของพระพุทธะจะเผยแผ่ได้ อย่างไร” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 2 หน้า 6 - 7) ในแง่ น ั ้นก ็ค ือ ความพยายามของน ิกายน ิกเค ่นท ี ่จะป ดบ ังซ ่อนเร ้นการ สืบทอดธรรมะด้วยลัทธิความเชื่อเร้นลับ ทำาให้ผู้สนับสนุนของเขา กลายเป็น “ผู้ติดตามของเทวมาร และศิษย์สาวกของเดียรถีย์ ที่อยู่นอกพุทธศาสนา” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 2 หน้า 6)


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ อาจารยอิเคดะ : หากปราศจากความปรารถนาอย่างลึกซึ้งของ อาจารย์โจเซอิ โทดะ ประธานสมาคมโซคา ท่านที่ 2 ในการนำา ความสุขมาสู่ประชาชนทุกคนแล้ว การตีพิมพ์หนังสือรวมธรรมนิพนธ์ ของพระนิชิเร็นไดโชนินคงไม่บรรลุผลแน่นอน สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ก็เนื่อง ด้วยปณิธานของท่านที่จะคงเหลือไว้ซึ่งธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็น ไดโชนินที่รวบรวมไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้องแม่นยำา ทั้ง จดหมายและบทนิพนธ์ต่าง ๆ ที่ประพันธ์ขึ้นท่ามกลางความทุกข์ยาก เพื่อนำาพาประชาชนไปสู่การรู้แจ้ง ในคำานำาเพื่อหนังสือที่พิมพ์เสร็จสมบูรณ์ดังกล่าว อาจารย์โทดะเขียนไว้ว่า “นี่เปนความปรารถนาและคําอธิษฐาน ตลอดกาลของข้าพเจ้าที่ขอให้คัมภีร์ล้ําค่าเล่มนี้ถูกเผยแพร่ไป สู่ประชาชนทั่วทั้งเอเชียและทั่วโลก” นี่คือความมุ่งมั่นตั้งใจอัน เด็ดเดี่ยวซึ่งนำาไปสู่การบรรลุผลสำาเร็จของการตีพิมพ์งานอัน ศักดิ์สิทธิ์นี้ที่จะคงอยู่ตราบนิรันดร์ เพราะอาจารย์โทดะได้ยืนหยัด ข ึ ้นบนพ ื ้นฐานของมหาปณ ิธานท ี ่จะท ำาให ้การเผยแผ ่ธรรมไพศาล สำาเร็จเป็นจริง ท่านจึงประสบความสำาเร็จในการทำาให้หนังสือรวม ธรรมนิพนธ์เล่มนี้เสร็จสมบูรณ์ ทำาให้คำาสอนของพระนิชิเร็น ไดโชนินเข้าถึงประชาชนทุกคนได้โดยสมบูรณ์ และเป็นเวลาตลอด 50 ปมานี้ ธรรมนิพนธ์เล่มนี้ได้ถูกอ่านและศึกษากันอย่างกว้างขวาง และจริงจังโดยประชาชนทั่วโลก


51 หนังสือรวมธรรมนิพนธ์ยังเป็นต้นฉบับในการแปล ธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนินเป็นภาษาอื่น ๆ ด้วย เป็นหนังสือ ที่สมควรเผยแพร่ไปทั่วโลก เพราะข้อความต้นฉบับเดิมที่มอบความ กล้าหาญอันไร้ขอบเขตแก่ประชาชนและเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาที่ให้ คำาแนะนำาว่าจะเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของมนุษยชาติได้อย่างไร การรวบรวมครั้งนี้ที่สำาเร็จลงได้ด้วยอาจารย์โทดะจะต้องได้รับการ สรรเสริญจากผู้คนรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นหนึ่งใน สิ่งพิมพ์ที่สำาคัญที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 ความสำาคัญของหนังสือ เล่มนี้ในการเปดพุทธศาสนาไปสู่ประชาชนทุกคน “ทั่วทั้งเอเชียและ ทั่วโลก” ถือเป็นความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง ไซโต : หนังสือรวมธรรมนิพนธ์ถูกแปลบางส่วนหรือทั้งเล่มเป็นภาษา หลักของโลกมากมายหลายภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ จีน เกาหลี และสเปน แสงแห่งดวงอาทิตย์ที่สาดส่องลงมายังประชาชนทุกคน ไม่สามารถหาซื้อหรือผูกขาดไว้โดยผู้ใดผู้หนึ่ง โมรินากะ : โชคไม่ดีที่นิกเค่นและพวกไม่เข้าใจตรรกะนี้โดยสิ้นเชิง ใน ขณะที่ประชาชนทุกหนแห่งกำาลังสุขสำาราญในท่ามกลางดวงตะวัน อันเจิดจรัสของคำาสอนของพระนิชิเร็นไดโชนิน แต่นิกเค่นยังคงหลบ ซ่อนอยู่ในถ้ำาดึกดำาบรรพ์อันมืดมิดของเขา แล้วประกาศว่าเขาเพียง ผู้เดียวที่ครอบครองความลับของ “พระอาทิตย์” ฉะนั้นจึงต้องให้ ความเคารพเขา


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ อาจารยอิเคดะ : “ความเร้นลับ” ของพระตถาคต1 ได้อธิบายไว้ อย่างละเอียดอยู่ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรบท “การหยั่งอายุกาล ของพระตถาคต” (บทที่ 16) ที่ถูกเรียกเช่นนั้นเพราะไม่ได้อธิบาย ไว้ในคำาสอนก่อนสัทธรรมปุณฑริกสูตรและจวบจนกระทั่งพระพุทธะ ได้ตระหนักรู้ถึงการดำารงอยู่ของความเร้นลับนี้ ซึ่งมิใช่บางสิ่งที่ควร ถูกซ่อนเร้นไว้อย่างแน่นอน หรือให้ใครบางคนใช้เพื่อสร้าง ความสำาคัญแก่ตนเอง “บทการหยั่งอายุกาลของพระตถาคต” ได้เปดเผยความเร้นลับนี้ของพระตถาคตแก่ทุกคน 1 ชวงต้นของบท “การหยั่งอายุกาลของพระตถาคต” ในการตอบสนอง การร้องขอของพระเมตไตรยโพธิสัตว พระศากยมุนีพุทธะทรงตรัสวา “พวกเธอทั้งหลายจะต้องตั้งใจฟงให้ดีและสดับความเร้นลับของพระตถาคต และอภิญญาของพระองค” (สัทธรรมปุณฑริกสูตร ฉบับภาษาไทย บทที่ 16 หน้า 371) พระศากยมุนีพุทธะทรงตรัสอธิบายตอไปอีกวาพระองคได้บรรลุเปน พระพุทธะมาตั้งแตอดีตกาลอันไกลโพ้น และขณะที่พระองคเข้าสูความดับ อันเปนกุศโลบาย แท้จริงแล้วพระองคดํารงอยูในสหาโลกธาตุนี้ตลอดมา ปรากฏออกมาเปนเหลาผู้คนที่มีความศรัทธาเข้มแข็งตอธรรมมหัศจรรย ใน “องงิขุเด็น” (บันทึกคําสอนปากเปลา) พระนิชิเร็นไดโชนินกลาววา “แตในทัศนะของอาตมานิชิเร็นและลูกศิษยทั้งหลาย การตระหนักรู้และ ความเข้าใจแนวคิดของการบรรลุพุทธภาวะในกายนี้คือความหมาย ของคําวา ‘ความเร้นลับของพระตถาคตและอภิญญาของพระองค’ ภายนอกของการบรรลุพุทธภาวะ ไมมี ‘ความเร้นลับ’ และไมมี ‘อภิญญา’” (บันทึกคําสอนปากเปลา ฉบับภาษาอังกฤษ หน้า 125) ดังที่ข้อความนี้ระบุ คําสอนเร้นลับของพระตถาคตก็คือธรรมมหัศจรรย ซึ่งชวยให้ประชาชนทุกคนบรรลุพุทธภาวะได้


53 ธรรมะเร ้นล ับอ ันย ิ ่งใหญ ่ 3 ประการ2 ที่สอนโดย พระนิชิเร็นไดโชนินยังสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นคำาสอนอันยิ่งใหญ่ที่ พระนิชิเร็นไดโชนินได้เปดเผยออกมาเพื่อช่วยให้ประชาชนได้ปฏิบัติ “ธรรมะแห่งอนาทิกาลที่ไม่มีจุดเริ่มต้น” ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของ “บทการหยั่งอายุกาลของพระตถาคต” ได้โดยตรง ไซโต : ปจจุบัน ประชาชนคนธรรมดาสามารถเข้าถึงถ้อยคำาสอนของ พระนิชิเร็นไดโชนินได้ทันที โดยใช้ในการหล่อเลี้ยงเพื่อยกระดับ สภาพชีวิตของพวกเขา การดำาเนินชีวิตบนพื้นฐานธรรมนิพนธ์ของ พระนิชิเร็นไดโชนินในตัวของมันเองคือหนทางที่ถูกต้องเพื่อการบรรลุ สภาพชีวิตที่สูงยิ่งขึ้น และยังส่งผลทำาให้เกิดการเคลื่อนไหวที่สำาคัญ ของ “การปฏิรูปทางด้านการศึกษา” ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ มวลมนุษยชาติ อาจารยอิเคดะ : ธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนินบรรจุด้วย ปรัชญาสากลอันสูงสุดที่ประชาชนทุกหนแห่งแสวงหาอย่างจริงจัง ซึ่งรวมทั้งคำาชี้แนะที่ส่องสว่างอนาคตและเติมเต็มด้วยสารแห่ง ความหวังที่ฟนฟูชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่แก่ผู้ไร้ซึ่งความหวัง ธรรมนิพนธ์ บรรจุปญญาที่ทำาให้ชีวิตของประชาชนมีคุณค่าอุดมสมบูรณ์ การ 2 ธรรมเร้นลับอันยิ่งใหญ 3 ประการ 1) สิ่งสักการบูชาแหงคําสอนภาคความเปนจริง 2) การสวดภาวนาหรือไดโมขุแหงคําสอนภาคความเปนจริง 3) สถานที่ประกอบพิธีรับศีลแหงคําสอนภาคความเปนจริง


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ส่งเสริมกำาลังใจที่กระตุ้นประชาชนให้ลงมือกระทำา และความ เห็นอกเห็นใจที่จะนำาพาประชาชนทุกคนไปสู่ความสุข ยิ่งไปกว่านั้น ธรรมนิพนธ์ยังเติมเต็มด้วยความกล้าหาญในการรณรงค์ต่อสู้กับพลัง ด้านลบ และเป็นดาบคมแห่งเหตุผลที่สามารถเอาชนะธรรมชาติมาร ที่มีอยู่ดั้งเดิมในชีวิตได้ ธรรมนิพนธ์มีความกระตือรือร้นซึ่งเป็นเชื้อ เพลิงของความก้าวหน้า มีความจริงใจที่เอาใจใส่คิดคำานึงถึงผู้อื่น มี ความเชื่อมั่นอันแข็งแกร่งที่จะตัดความหลง และมีหลักสำาคัญของ การเป็นผู้นำาที่เปดหนทางสู่ชัยชนะ ธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนินประกอบด้วย คำาสอนเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์และชีวิต ธรรมนิพนธ์ทำาหน้าที่เป็น กระจกเงาสะท้อนความเป็นจริงของชีวิตประจำาวันและการดำารงอยู่ ของมนุษย์ มอบสายตาที่สามารถมองทะลุเข้าไปในสังคมและเข้าใจ ถึงธรรมชาติได้ นอกจากนี้ ธรรมนิพนธ์ยังอธิบายถึงการปฏิบัติ พุทธศาสนาเพื่อใฝหาความสุขและสร้างสรรค์สันติภาพด้วย สมาคมโซคาต ั ้งอยู ่บนพ ื ้นฐานค ำาสอนเหล ่าน ี ้ตราบ นิรันดร์ เนื่องในวาระที่พวกเราฉลองครบ 50 ปของการตีพิมพ์หนังสือ รวมธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนิน ขอให้พวกเรากลับไปสู่จุด สำาคัญที่สุดนี้และเพียรพยายามเป็นทวีคูณในการอ่านและสนทนา คำาสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินกันเถิด


55 “ธรรมนิพนธของพระนิชิเร็นไดโชนิน” เล่มของอำจำรย์มำคิงุจิ ไซโต : บ่อเกิดความภาคภูมิใจอันใหญ่หลวงของแผนกศึกษาธรรม สมาคมโซคาก็คือ การที่มีประธานสมาคม 3 ท่านแรกเป็นแบบอย่าง อันเยี่ยมยอดในการแสดงให้เห็นถึงความหมายการดำาเนินชีวิตบน พื้นฐานธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร ็นไดโชนิน ในความเห็นของผมก็ เพราะประธานสมาคม 3 ท่านแรกได้สอนพวกเราถึงแก่นสารสำาคัญ ของธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนิน จึงทำาให้สมาคมโซคาบรรลุ ผลสำาเร็จในการพัฒนาดังที่มีอยู่ได้อย่างน่ามหัศจรรย์ อาจารยอิเคดะ : ครั้งหนึ่ง ผมได้ดูสำาเนาธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็น ไดโชนิน (ฉบับตีพิมพโดยเรียวงนคะขุ) ที่อาจารย์จึเนะซาบุโร มาคิงุจิ ประธานสมาคมโซคาท่านแรกใช้ ข้อความสำาคัญ ๆ หลายข้อความ ถูกขีดเส้นใต้ไว้ และริมหน้ากระดาษก็เต็มไปด้วยข้อความที่บันทึก ไว้สั้น ๆ ในธรรมนิพนธ์เรื่อง “เปดดวงตา” ประโยคหนึ่งที่ถูก ขีดเส้นใต้ไว้คือ “หากจะกล่าวว่าท่าน (นิชิเร็น) คือผู้ปฏิบัติ สัทธรรมปุณฑริกสูตรแล้ว ก็ปรากฏว่ามีข้อความต่อไปนี้ที่ ขัดแย้งกันอย่างมาก” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลมที่ 1 หน้า 278) ท ี ่ร ิมกระดาษเหน ือข ้อความน ี ้ก ็เข ียนไว ้ว ่า “ผู้ปฏิบัติ ประกอบด้วยอะไร” และตีกรอบสี่เหลี่ยมรอบคำาถามนี้ไว้


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ท่านยังได้ทำาเครื่องหมายที่ข้อความ “ผู้บีฑา (ผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตร) จะได้รับบาปปรากฏชัดบาง อย่าง” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 279) และลายมือ เขียนหวัด ๆ ข้างข้อความนี้ว่า “การปรากฏออกมาหรือการไม่มี บาป” ท ่านข ีดเส ้นใต ้ 2 เส ้นท ี ่ประโยค “ตรงนี้ อาตมาขอตั้ง ปณิธานอันยิ่งใหญ่” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 280) และริมกระดาษข้าง ๆ ข้อความนี้ก็เขียนอักษรตัวหนา ใหญ่ว่า “ปณิธานอันยิ่งใหญ่” ผมประทับใจในวิธีการเขียนที่ คล้าย ๆ กันในคำาและวลีต่าง ๆ เช่น “ความยากลําบากทั้งปวง”, “การแผ่ขยาย”, “การเผยแผ่ธรรมไพศาล” และ”ความปติยินดี ของการพบกับอุปสรรคอันยิ่งใหญ่” ในหลาย ๆ จุด โมรินากะ : ผมทราบดีว่า อาจารย์มาคิงุจิอ่านธรรมนิพนธ์ของ พระนิชิเร็นไดโชนินเพื่อใช้เป็นแนวทางที่ถูกต้องสำาหรับการปฏิบัติ ของท่านเอง อาจารยอิเคดะ : พุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินคือ “ศาสนาแห่ง การเผยแผ่ธรรมไพศาล” หากปราศจากความมุ่งมั่นตั้งใจและ ความเพียรพยายามทำาในการเผยแผ่ธรรมมหัศจรรย์แล้ว คำาสอนของ พระนิชิเร็นไดโชนินจะกลายเป็นเพียงคำาพูดที่ว่างเปล่าไร้ความหมาย เป็นระยะเวลาถึง 700 ปที่คำาสอนของท่านดำารงอยู่ในรูปแบบของ บันทึกตัวอักษร ทว่าไม่เคยถูกเผยแผ่ให้กว้างไกลออกไป ประธาน


57 ก ่อต ั ้งผู ้ย ิ ่งใหญ ่ของเรา อาจารย ์จ ึเนะซาบ ุโร มาค ิง ุจ ิ ค ือผู ้ฟ  นฟู คำาสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินขึ้นมาโดยทำาให้สอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของพระนิชิเร็นไดโชนิน ด้วยเหตุผลนี้ การปรากฏออกมาของสมาคมโซคาจึง เป็นประจักษ์พยานถึงความถูกต้องสมบูรณ์ของพุทธธรรมของ พระนิชิเร็นไดโชนิน ในยุคปจจุบัน สถานที่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ ผู้คนสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัติพุทธธรรมของพระนิชิเร็น ไดโชนินได้อย่างถูกต้อง และได้พบกับแก่นสำาคัญของจิตวิญญาณ ของพระนิชิเร็นไดโชนิน ก็คือในสมาคมโซคานั่นเอง ผมอยาก ประกาศถึงความจริงของเรื่องนี้อย่างจริงจังและจริงใจที่สุด ไซโต : นี่คือความจริงที่ต้องสื่อสารต่อไปสู่อนาคตชั่วนิรันดร์ เพียง เมื่อมีประชาชนผู้ปฏิบัติพระสูตรนี้ด้วยชีวิตของพวกเขาเท่านั้น เนื้อหาของพระสูตรจึงได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง หาก ปราศจากประชาชนผู้ต่อสู้เพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาล พระสูตรก็จะ เป็นแค่คำาโกหก พระนิชิเร็นไดโชนินชี้ถึงจุดนี้ตลอดทั่วทั้งธรรมนิพนธ์ ของท่าน จุดหนึ่งที่ท่านกล่าวไว้ว่า “หากอาตมาไม่ปรากฏออกมา วาจาของพระพุทธะก็จะกลายเปนความเท็จ” (ธรรมนิพนธฉบับ ภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 400) และที่อื่น ๆ ท่านก็เขียนไว้ว่า :


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ แต่เมื่ออาตมานึกถึงคาถา 20 บรรทัดในบท “การ ชักชวนและยึดถือ” สัทธรรมปุณฑริกสูตร ผูกที่ 5 หากอาตมานิชิเร็น ไม่ได้เกิดมาบนแผ่นดินของประเทศญี่ปุน ดังนั้นแล้ว คำาพยากรณ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการบีฑาดังกล่าวคงเป็นการกลับกลอก อย่างมโหฬาร และเหล่าโพธิสัตว์แปดร้อยพันล้านนยุตะคงมี ความผิดเหมือนกับความผิดของพระเทวทัต ที่กล่าวเท็จและชักนำา ผู้อื่นให้หลงผิด (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 242) และ หากมิใช่เพราะการอุบัติขึ้นมาของนิชิเร็นในสมัย ธรรมปลาย พระพุทธะคงเป็นจอมมุสา และคำายืนยันที่พระประภูต รัตนพุทธะและพระพุทธะ 10 ทิศได้ให้ไว้ก็จะเป็นคำาเท็จ ในช่วง 2,230 กว่าปตั้งแต่พระพุทธะเสด็จปรินิพพาน นิชิเร็นเป็นผู้เดียวในทั่วดินแดน ชมพูทวีปที่สนองพุทธดำารัส (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 997) โมรินากะ : ช่างโชคร้ายเสียจริง ที่ดูเหมือนว่าคนญี่ปุนจะรังเกียจ ไม่ชอบคำาประกาศกร้าวเช่นนี้ ผู้ที่พูดอย่างชัดเจนตามความคิดของ ตนเองโดยไม่เกรงกลัวสิ่งใดมักจะถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม นี่อาจเป็น เพราะมีบางสิ่งบางอย่างที่ทำาให้คนญี่ปุนส่วนใหญ่มีจิตใจคับแคบ อาจารยอิเคดะ : ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า นั่นคือหนึ่งในเหตุผลที่


59 พระนิชิเร็นไดโชนินมักถูกคนญี่ปุนเข้าใจผิดอยู่บ่อย ๆ โมรินากะ : ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นปญญาชน ดูเหมือนว่าพวกเขาพยายาม ระมัดระวังอย่างใหญ่หลวงในการผูกร้อยถ้อยคำาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ในลักษณะที่สลับซับซ้อนยากจะเข้าใจ ไร้ซึ่งการแสดงออกถึงความ เชื่อมั่นที่แรงกล้าอย่างสิ้นเชิง อาจารยอิเคดะ : คุณคันโซ อุจ ิมูระ3 นักคิดยุคใหม่ชาวญี่ปุนได้ โต ้แย ้งค ำาว ิพากษ ์ว ิจารณ ์พระน ิช ิเร ็นไดโชน ินอย ่างม ีอารมณ ์ โดย กล่าวว่า “เชิญพวกคริสเตียนสมัยใหม่ที่วิพากษ์วิจารณ์พระนิชิเร็น อย่างจงเกลียดจงชัง ดูซิว่าหนังสือคำาสอนของท่านมีฝุนจับหรือไม่ หรือท่านแค่บ่นงึมงำาอยู่ในปากไปวัน ๆ และดูการสร้างแรงบันดาลใจ ของท่านในการปกปองคำาสอนอย่างถึงพริกถึงขิงซิ ไม่ว่าท่าน สามารถรอดจากคมดาบและการเนรเทศเป็นเวลา 15 ปก็ตาม ท่าน ยังคงเสี่ยงชีวิตและวิญญาณของท่านเพื่อสิ่งนี้”4 3 คันโซ อุจิมูระ (ค.ศ. 1861-1930) : ผู้นําชาวคริสเตียน นักเขียน และ บรรณาธิการ เกิดที่เมืองเอโดะ (ปจจุบันคือโตเกียว) เขาแสดงออกถึง ความสามารถทางภาษาตั้งแตยังเยาววัย และเริ่มเรียนภาษาอังกฤษเมื่อ อายุ 11 ขวบ ในค.ศ. 1877 ได้สอบเข้าเรียนที่วิทยาลัยเกษตรซัปโปโร (ปจจุบันคือมหาวิทยาลัยฮอกไกโด) และเปนชวงที่เขาเข้าศรัทธาในศาสนา คริสต ตอมาเขาไปศึกษาตอที่วิทยาลัยแอมเฮิรส และโรงเรียนศาสนศาสตร ฮารทฟอรดในสหรัฐอเมริกา กลับสูประเทศญี่ปุนใน ค.ศ. 1888 4 คันโซ อุจิมูระ, “ตัวแทนบุรุษของประเทศญี่ปุน” จากหนังสืองานที่ สมบูรณแบบของคันโซ อุจิมูระ” (โตเกียว : เคียวบุนควัน, ค.ศ.1972) เลม 2 หน้า 138


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ คำาพูดเหล่านี้เป็นบุคลิกของคุณอุจิมูระ ผู้ปรารถนา จะเป็นบุรุษที่ไม่ย่อท้อและมีความเชื่อมั่นในศาสนาที่แท้จริง เขาได้ ถามอย่างเฉียบคมต่อผู้ที่ยืนอยู่ข้างคัมภีร์ไบเบิลที่เต็มไปด้วยฝุนว่า มีสิทธิ์อันใดที่จะวิพากษ์วิจารณ์ผู้ที่เต็มใจเผชิญหน้ากับการกดขี่บีฑา ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องตรงตามพระสูตรคัมภีร์พุทธศาสนา ทุกประการ ไซโต : ในอ ีกแง ่หน ึ ่ง ก ่อนท ี ่จะว ิพากษ ์ว ิจารณ ์ใคร จงพ ึงส ำารวจ ตัวเองก่อน ชาวญี่ปุนจำานวนน้อยมาก ๆ จะยอมเสี่ยงกลับมาวิพากษ์ วิจารณ์ตนเอง อาจารยอิเคดะ : ดูเหมือนว่าการวิพากษ์วิจารณ์ในรูปแบบเดียวกันนี้ จะรุนแรงในสมัยของพระนิชิเร็นไดโชนิน บางคนปรักปรำาท่านว่าเป็น “สงฆ์ที่ทะนงตัวอวดดีอย่างสุดขั้ว” เพราะการยืนยันของท่านที่ อ้างว่ามิใช่เพื่อตัวท่านเอง พระศากยมุนีพุทธะจะกลายเป็นคน พูดเท ็จ การโต ้แย ้งค ำาว ิพากษ ์ว ิจารณ ์ด ังกล ่าวของพระน ิช ิเร ็น ไดโชนินช่างน่าพึงพอใจอย่างที่สุด โมรินากะ : มีอยู่หลายจุดในธรรมนิพนธ์ที่ท่านกระทำาเช่นนี้ ตัวอย่าง เช่น ถาม : ท่านคือสงฆ์ที่ทะนงตัวอวดดีอย่างสุดขั้ว อวดดียิ่งกว่ามหาเทพ หรือพระสุนกษัตร มิใช่หรือ


61 ตอบ : การสบประมาทน ิช ิเร ็นเป ็นบาปท ี ่หน ักย ิ ่งกว ่าพระเทวท ัต หรือวิมลมิตราเสียอีก ถ้อยคำาของอาตมาอาจดูเหมือนทะนงตัวอวดดี แต่จุดประสงค์เดียวของอาตมาคือเพื่อบรรลุตามคำาพยากรณ์ของ พระพุทธะและเปดเผยถึงความจริงของถ้อยคำาของพระองค์ ในทั่ว ประเทศญี่ปุน ใครกันบ้างก็มีแต่เพียงอาตมาที่สามารถเรียกได้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตร การประนามนิชิเร็นนั้น ท่านอาจ ทำาให้คำาพยากรณ์ของพระพุทธะเป็นเท็จ ถึงตอนนั้นท่านก็คือบุคคล ที่ชั่วร้ายอย่างยิ่งมิใช่หรือ (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 400 - 401)5 5 พระนิชิเร็นไดโชนินยังกลาวอีกวา “ดังนั้นเมื่อบุคคลผู้สูงสงประกาศวา เขาคือ ผู้ที่สูงสงกวา อาจฟงดูเหมือนหยิ่งยโส แตในความเปนจริง บุคคลผู้นั้นจะได้ รับบุญกุศลอันยิ่งใหญ (เพราะที่จริงเขากําลังสรรเสริญธรรมะที่เขายึดถือ) (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 581) “ชางปติยินดีเปนล้นพ้น ที่อาตมาพบวาเปนการยากยิ่งนักที่จะหยุดยั้งตนเอง นั่นคือเหตุผลที่อาตมา ร้องเพลงสรรเสริญตัวเอง” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 2 หน้า 485) “หากอาตมากลาวถึงเรื่องนี้ด้วยตนเอง อาจดูเหมือนเปนการสรรเสริญตนเอง อยางไรก็ตาม หากอาตมาไมกลาวถึงเรื่องนี้ อาตมาจะกระทําผิดในการทําให้ ถ้อยคําของพระพุทธะเปนเท็จ” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 440) และ “เพราะอาตมาประกาศเรื่องนี้ จึงถูกเรียกวาทะนงตัวอวดดี จากผู้คนที่มีความเข้าใจอันน้อยนิด แตอาตมามิใชพูดด้วยความทะนงตัว อวดดี เพราะหากไมพูดออกมา อาตมาก็มิใชผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตร ยิ่งกวานั้น เมื่อคํากลาวของอาตมาได้รับการพิสูจนในภายหลังวามีความ ถูกต้องแล้วประชาชนทั้งหลายจะเต็มใจพากันเชื่อมากขึ้น และเพราะอาตมา เขียนเรื่องนี้ไว้ในเวลานี้ ผู้คนทั้งหลายในอนาคตจะตระหนักถึงปญญา ของอาตมา” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 615)


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 34 10-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ อาจารยอิเคดะ : ความเชื่อมั่นอันยิ่งใหญ่นี้คือแก่นสารของพุทธธรรม ของพระนิชิเร็นไดโชนิน ท่านประกาศว่า “เพราะสัทธรรมปุณฑริก สูตรดํารงอยู่ อาตมาจึงดํารงอยู่ด้วย และเพราะอาตมา ดํารงอยู่ สัทธรรมปุณฑริกสูตรจึงดํารงอยู่ด้วย” สมาคมโซคามีความสัมพันธ์โดยตรงกับพระนิชิเร็น ไดโชนิน ธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนินพิสูจน์ความถูกต้องของ สมาคมโซคา และสมาคมโซคาก็ยืนยันความถูกต้องของธรรมนิพนธ์ ของพระนิชิเร็นไดโชนิน { โปรดติดตามตอนตอไป }


63


ไดโมขุแห่งเสียงค�ำรามของราชสีห์ การปฏิบัติที่มุ่งสู่ความสุขและมีชัยชนะขั้นรากฐาน พระพุทธะที่เป็นนิรันดร์นั้นจะสามารถพบเห็นได้ ในหมู่ผู้คนที่มีความ “สุภาพ สงบเสงี่ยม ซื่อตรงและเที่ยงตรง” ชีวิตของพระพ ุทธะนั้นเป็นนิรันดร์และมิอาจทำ ลายได้ ผู้มีจิตใจที่ สุภาพ สงบเสงี่ยม ซื่อสัตย์และเที่ยงตรงนั้นจะสามารถดำ เนินชีวิต ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยความรู้สึกของจิตใจที่สงบสุขสมบูรณ์ โดย “อยู่กับพระพุทธะเสมอ” และผู้ที่อยู่กับพระพุทธะเสมอนั้นก็ย่อม จะได้รับการปลดปล่อยจากความรู้สึกที่เดียวดาย ไม่อดทน เป็นกังวล และสิ้นหวังไปได้ พวกเขาสามารถดำ รงอยู่ในสภาพแห่งความสุข นิรันดร์ สำ หร ับพวกเราแล ้ว ค ำ ว่า “สุภาพ สงบเสงี่ยม ซื่อสัตย์และเที่ยงตรง” นั้นเป็นการกล่าวถึงท่าทีจิตใจของความ ศร ัทธาของพวกเราท ี ่ม ีต ่อโงะฮนซนน ั ่นเอง จากความหมายตาม ตัวอักษรแล้ว “การปฏิบัติด้วยวิธีการสรรเสริญต่าง ๆ” นั้น หมายถึง การสะสมบุญกุศลด้วยการบำ เพ็ญเพียรต่าง ๆ และการ ปฏิบัติของพวกเรานั้น ก็ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากการปฏิบัติสวดไดโมขุ ต่อโงะฮนซนเพื่อตนเองและผู้อื่น (จากหนังสือ บรรยายสัทธรรมปุณฑริกสูตร บทกุศโลบายและบทการหยั่งอายุกาลของพระตถาคต หน้า 609) ‘ ’


á´‹à¾×è͹ æ ¢Í§¢ŒÒ¾à¨ŒÒ จาก ไดซาขุ อิเคดะ Ä´Ù ãºäÁŒ¼ÅÔª‹Ò§§´§ÒÁ¹Ñ¡ ¡ÒÃàµÔºâµ¢Í§ªÕÇÔµÇÑÂÂØǪ¹ ª‹Ò§§´§ÒÁÂÔè§¡Ç‹Ò ã¹¡ÒÃà¨ÃÔÞàµÔºâµÁվÌÍÁ͹Ҥµ·ÕèäÃŒ¢Õ´¨íÒ¡Ñ´ àÁ×è͵‹ÍÊٌ͋ҧ·Ã§¾Åѧà¾×èÍ໇ÒËÁÒÂáÅŒÇ ¡çäÁ‹ÁÕÊÔè§ã´·Õè໚¹ä»äÁ‹ä´Œ (จากเอสจีไอกราฟก ฉบับเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005


สมำคมสรำงคุณค่ำในประเทศไทย email: [email protected] www.sgt.or.th บรรณาธิการ นวรัตน ชิโนมี กองบรรณาธิการ เรืองระวี ไชยพูนพัฒน พัชรี โพธิพัฒนธนากร ณัฐพร งามสิริกุล ภาษาญี่ปุน เพียงตา หลิมไชยกุล อนงคนาถ มโนจุรีหกุล อาคิโกะ โฮโซดะ โยโกะ โอดะ สมพร เจนจารุพันธุกุล ภาษาอังกฤษ หทัยรัตน แซ่จึง ศศมน โพธิพัฒนธนากร ทิพยสุดา บุนฑารักษ ออกแบบสรางสรรค กุลลดา อัศวฉัตรโรจน พิสูจนอักษร วรรณี สถาพรพิชญ ผูจัดการ ณรินทร ลัทธยาพร สงวนลิขสิทธิ์ โดยสมาคมสรางคุณค่าในประเทศไทย ISSN 2586-8675


Click to View FlipBook Version