The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Mini Book July-December 2020

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by MuayPatsy, 2024-06-01 00:46:50

Mini Book 7-12.2020

Mini Book July-December 2020

สารบัญ บทบรรณำธิกำรของอำจำรย์อิเคดะ ตําบลของโซคาเปนประทีปนําทางแห่งความสุข 5 ธรรมนิพนธ์ จดหมายตอบท่านโอตะ 9 ควำมคิดค�ำนึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” บทที่ 47) จากฮาวายสู่ซานฟรานซิสโก 19 บทสนทนำเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เล่ม 3) บทที่ 4) พ่อกับแม่ สามีกับภรรยา 31 โลกแห่งธรรมนิพนธ์ บทสนทนาเกี่ยวกับศาสนาแห่งมนุษยนิยม บทที่ 4) การก่อตั้งคําสอนที่ถูกตอง 43 เพ� อใหประเทศเกิดสันติ (ตอนที่ 1/ต่อ) 12345


บทบรรณำธิกำรของ อำจำรย์อิเคดะ (ในวารสารไดเบียะขุเร็งเงะ)


5 ตําบลของโซคา เปนประทีปน�ำทำงแห่งควำมสุข ตําบลของสมาคมโซคา เป็นประทีปแห่งความสุข ในชุมชนของเรา เมื่อชะตากรรมอันปวดร้าวยิ่งทำาให้สมาชิกต้อง ทนทุกขและคลื่นแห่งความยากลำาบากยิ่งถาโถมใส่สังคม ตำาบลของ โซคายิ่งส่องสว่างด้วยแสงแห่งความหวังและความกล้าหาญอัน ไร้ขอบเขต ซึ่งช่วยนำาทางให้ทุกคนพบเส้นทางชีวิตที่นำาไปสู่ความสุข และความมั่นคงปลอดภัย ข้าพเจ้าพนมมือด้วยความเคารพอย่างสุดซึ้งและสวด ไดโมขุอย่างจริงจังแด่ผู้นำาทุกท่านที่อุทิศตนทำางานอย่างไม่รู้เหนื่อย อยู่แนวหน้าของระบบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้าตำาบลชายและ หญิงที่กำาลังปกปองแสงประทีปอันล้ำาค่าด้วยความตั้งใจแน่วแน่ ให้ส่องสว่างได้ทุกวัน ในสถานการณการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสใน เวลานี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกเขาต้องเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ หลายเรื่อง ข้าพเจ้านึกถึงตอนที่อาจารยโจเซอิ โทดะ ประธานสมาคม โซคา ท่านที่ 2 อาจารยผู้มีพระคุณของข้าพเจ้าแสดงความขอบคุณ และยกย่องหัวหน้าตำาบลรุ่นบุกเบิกที่พากเพียรด้วยความอดทนและ ‘ ’


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 บทบรรณาธิการของอาจารยอิเคดะ มานะบากบั่น โดยกล่าวว่า พวกเขาแสดงแบบอย่างหัวใจของการ ปฏิบัติพุทธธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งมีกล่าวในสัทธรรมปุณฑริกสูตรว่า สวม “เกราะแหงความพากเพียร” (สัทธรรมปุณฑริกสูตร ฉบับ ภาษาไทย บทที่ 13 หน้า 320) พระนิชิเร็นไดโชนินได้อธิบายประเด็นสำาคัญไว้ 3 ข้อ ที่รับประกันว่าการสืบทอดสายเลือดที่สำาคัญยิ่งเพียงหนึ่งเดียวแห่ง การเกิดตายจะยังคงไหลเวียนอยู่ในหมู่ผู้ปฏิบัติศรัทธาอย่างต่อเนื่อง ข้อแรกคือ ความเชื่อมั่นศรัทธาที่ไม่สั่นคลอนว่า พระพุทธะ ธรรมมหัศจรรย และพวกเรามนุษยปุถุชน “ไมมีความ แตกตางกันหรือแยกจากกันแตอยางใดเลย” (ธรรมนิพนธฉบับ ภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 216) ข้อ 2 คือ ความศรัทธาที่แน่วแน่ซึ่งไม่เคย “ละทิ้ง พระสูตรนี้ในชาติใดเลยตลอดไปตราบนิจนิรันดร” (อ้างอิงธรรม นิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 217) และข้อ 3 คือ การก้าวหน้าด้วยความศรัทธาที่ ประสานกันมุ่งสู่การบรรลุมหาปณิธานเพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาล ในฐานะเพื่อนผู้ปฏิบัติศรัทธาที่มีเปาหมายเดียวกัน “ไมมีจิตใจ แบงแยกตัวเองกับผูอ� น หรือเขากับเรา และคิดวาเปรียบเสมือน ปลาอยูคูน้ํา” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 217) ตำาบลของสมาคมโซคายึดประเด็นสำาคัญด้าน


7 ความศรัทธาทั้ง 3 ข้อนี้เป็นรากฐาน ดังนั้น การสืบทอดสายเลือดที่ สำาคัญยิ่งเพียงหนึ่งเดียวแห่งการเกิดตายจึงมีอยู่อย่างเจิดจรัสและ เต็มเปยมทั่วระบบการ ตำาบลของเราเป็นสถานที่ปลอดภัยที่สุดอย่าง แท้จริงที่ซึมซาบด้วยคุณธรรมแห่งความเป็นนิรันดร ความสุข ตัวตน และความบริสุทธิ์ ที่ซึ่งสมาชิกส่งเสริมกำาลังใจและค้ำาจุนซึ่งกันและ กัน พร้อมกับต่อสู้ร่วมกันในการเดินทางข้ามทะเลแห่งความทุกขของ การเกิด แก่ เจ็บ ตายสู่การบรรลุพุทธภาวะในชาตินี้ ป จจ ุบ ันน ี ้ ขณะท ี ่การแบ ่งแยกและการโดดเด ี ่ยว เกิดขึ้นทั่วทุกหัวระแหงบนโลก สมาชิกในตำาบลของเรา แม้มีความ ยากลำาบากต่าง ๆ นานาก็ยังคงติดต่อกัน ทำาให้ความสามัคคี แน่นแฟนยิ่งขึ้น และเพียรสร้างคุณค่าอย่างชาญฉลาดมุ่งสู่ อุดมการณแห่ง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิด สันติ” อยู่ในชุมชนของพวกเขา ในการฝาฟนช่วงเวลาที่ยากลำาบาก นี้ ตำาบลของพวกเราซึ่งเป็นประทีปแห่งการฟนฟูและความกลมเกลียว ของมนุษยจึงย่อมส่องแสงโชติช่วงยิ่งขึ้นจนกระทั่งส่องแสงแก่ สังคมโลก ขอให้เริ่มจากตำาบลของเราซึ่งเป็นสถานที่ที่พระนิชิเร็น ไดโชนินฝากฝงไว้กับเรา และสถานที่ที่พวกเรากำาลังมุมานะทำาให้ ปณิธานของเราเพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาลสำาเร็จเป็นจริง มาส่องแสง อันยิ่งใหญ่แก่มิตรสหายและเพื่อนบ้านตลอดจนผู้คนรอบตัวเรา ทั้งหมดเพื่อนำาทางพวกเขาไปสู่ท่าเรือแห่งชัยชนะและเกียรติยศ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 บทบรรณาธิการของอาจารยอิเคดะ ¡Òà ʋ§àÊÃÔÁ¡íÒÅѧ㨠áʧÍÑÞÁ³ÕÅíéÒ¤‹Ò ·ÕèʋͧáʧᡋÁØÁàÅç¡ æ ¢Í§âÅ¡ ¨ÐÃѺ»ÃÐ¡Ñ¹Ç‹Ò ¨Ôµã¨¢Í§â¾¸ÔÊѵǏ¨Ò¡¾×é¹âÅ¡ ¨ÐÂ׹§µ‹Í仵ÃÒº¹Ô¨¹ÔÃѹ´Ã (จากบทบรรณาธิการ วารสารไดเบียะขุเร็งเงะ ฉบับเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020)


9 ธรรมนิพนธ์


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 ธรรมนิพนธ ธรรมนิพนธเร� อง จดหมำยตอบท่ำนโอตะ ความเปนมา ธรรมนิพนธฉบับนี้เป็นจดหมายที่พระนิชิเร็น ไดโชนินเขียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1275 (ปเคนจิที่ 1) ที่เขา มิโนบุ เพื่อส่งถึงท่านโอตะโจเมียวที่รายงานเรื่องความเจ็บปวยให้ ท่านทราบ ธรรมนิพนธฉบับนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า “เร� องการรักษาโรค กรรม” ท่านโอตะโจเมียวเป็นลูกศิษยที่อาศัยอยู่ที่เมืองชิโมสะ (ปจจุบันคือทางเหนือของจังหวัดชิบะ) กล่าวกันว่า เข้าศรัทธาตั้งแต่ ช่วงแรก ๆ ของการเผยแผ่คำาสอนของพระนิชิเร็นไดโชนิน ท่านเป็น ผู้ที่เคลื่อนไหวอย่างกระตือรือร้นร่วมกับท่านโทขิโจนินและท่าน ‘ ’ ใน´ŒÒ¹Ë¹Öè§ ¡ÒÃÃٌNjҷ‹Ò¹¡íÒÅѧà¨çº»Ç´ ·ÃÁÒ¹ ·íÒãËŒÍÒµÁÒàÈÃŒÒàÊÕÂ㨠ᵋã¹ÍÕ¡´ŒÒ¹Ë¹Öè§ ÍÒµÁÒ¡ç´Õ㨠(¸ÃÃÁ¹Ô¾¹¸Ë¹ŒÒ 1009)1 1 ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 531


11 โซหยะในฐานะที่เป็นศูนยกลางของบริเวณชิโมสะด้วย ในธรรมนิพนธฉบับนี้ เมื่อพระนิชิเร็นไดโชนินได้ ทราบว่าท่านโอตะโจเมียวล้มปวย จึงอธิบายอย่างกระจ่างถึงสาเหตุ 6 ประการที่ทำาให้เจ็บปวย โดยอ้างอิงข้อความที่เทศนาอยู่ใน พระสูตร และชี้ว่าโรคกรรมซึ่งเป็นสาเหตุประการที่ 6 รักษาให้หาย ได้ยากที่สุด นอกจากนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินยังส่งเสริมกำาลังใจว่า สัทธรรมปุณฑริกสูตรคือยาดีที่รักษาผู้ปวยทั่วโลกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ฉะนั้นท่านโอตะโจเมียวจะหายจากความเจ็บปวยและ มีอายุยืนยาวอย่างไม่ต้องสงสัย ตีแตกพยำธิมำรดวยกำรอธิษฐำน แหงการตอสูรวมกันของอาจารยกับศิษย ข ้อความท ี ่ศ ึกษาในคร ั ้งน ี ้เป ็นข ้อความตอนต ้นของ ธรรมนิพนธ พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวด้วยความรู้สึกร่วมทุกขกับท่าน โอตะว่า “ในดานหนึ่ง ...อาตมาเศราเสียใจ” แต่ “ในอีกดานหนึ่ง อาตมาก็ดีใจ” ข้อความนี้บรรจุจิตใจที่เมตตากรุณาของอาจารยที่จะ ขจัดความสับสนในจิตใจของลูกศิษยให้มั่นคงเด็ดเดี่ยว อีกทั้งอยาก


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 ธรรมนิพนธ จะปลุกเร้าความกล้าหาญและความหวังที่จะเผชิญหน้ากับ ความเจ็บปวยให้พวยพุ่งขึ้นมา พระนิชิเร็นไดโชนินได้เปดเผยว่า ความเจ็บปวยครั้งนี้ เป็นบาปจากการหมิ่นประมาทธรรมที่ท่านโอตะควรได้รับในชาติหน้า แต่ได้รับโดยเบาในชาตินี้ เมื่อได้รับคำาชี้นำาที่รักและเมตตาของอาจารยว่า หาก ใช้การเจ็บปวยนี้เป็นโอกาสปลุกเร้าความศรัทธาให้เข้มแข็งแล้ว ไม่ เพียงรักษาหาย แต่ยังสามารถเปลี่ยนชะตากรรมได้อย่างแน่นอน ฉะนั้นจึงรู้สึกยินดีกับท่าน ท่านโอตะคงจะมีความกล้าหาญเพิ่มขึ้น เป็นร้อยเท่า อาจารยอิเคดะชี้นำาว่า “การสวดท่องธรรมมหัศจรรยจนถึงที่สุด ตั้งรับและ ตอบโต้ความทุกขเรื่องการเจ็บปวยของตนเองและผู้อื่น จะสามารถ เพิ่มพลังชีวิตและเปลี่ยนชะตากรรมได้อย่างแน่นอน อีกทั้งมีสภาพ ชีวิตที่สามารถส่งเสริมกำาลังใจเพื่อนที่ทุกขใจอีกด้วย” หากสวดท่องไดโมขุแห่งปณิธานว่า “จะตอสูรวมกับ อาจารย” “จะบรรลุภาระหนาที่แหงการเผยแผธรรม” พลังชีวิต อันไม่มีขีดจำากัดจะพวยพุ่ง ไม่ว่าพยาธิมารใด เราก็สามารถตีแตกได้ ในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนความเศร้าเสียใจที่ว่า “ทําไมตองปวยเปน


13 โรคนี้” มาเป็นความรู้สึกขอบคุณว่า “ดีแลวที่ปวยเปนโรคนี้” “ชะตากรรม” จะเป็น “ภาระหนาที่” ที่แสดงข้อพิสูจนที่ยิ่งใหญ่ของ ธรรมมหัศจรรยซึ่งสามารถมอบความกล้าหาญและความหวังแก่ ผู้คนได้ ไมมีสิ่งใดสูญเปลา หลังจากที่ดิฉัน (คุณทาคาโกะ โคโฮริ) แต่งงานมา 6 ป คุณพ่อสามีที่อาศัยอยู่ด้วยกันซึ่งปวยเป็นโรคไตมายาวนานและ ได ้ร ับการฟอกไตเท ียมเก ิดอาการป วยทางจ ิตข ึ ้นมา ฟ ุ งซ ่านหน ัก ถึงขั้นคิดว่าผู้อื่นจะมาทำาร้ายตนเอง หลงทางบ้าง นอนไม่หลับบ้าง ยิ่งไปกว่านั้น ในเวลาเดียวกันสามีก็ตกงานเนื่องจากการปรับ โครงสร้างของบริษัท ดิฉันกอดลูกน้อยวัย 3 ขวบและ 5 ขวบไว้ด้วยหัวใจ ที่แหลกสลายว่า “ทําไมจึงเปนแบบนี้” ในเวลานั้น ดิฉันได้รับการส่งเสริมกำาลังใจจากรุ่นพี่ ฝายผู้ใหญ่หญิงว่า “ไมเปนไรหรอกนะ จะผานพนไปไดอยาง แนนอน” และศึกษาคำาชี้นำาของอาจารยอิเคดะอย่างจริงจัง “ไม่มีสิ่งใดสูญเปล่าในโลกของพุทธธรรม เนื่องด้วย ‘กิเลสเทากับโพธิญาณ’ ดังนั้นในขณะนี้ยิ่งทุกขยากมากเท่าใด ยิ่ง


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 ธรรมนิพนธ สามารถเปดสภาพชีวิตได้กว้างใหญ่มากเท่านั้น” เมื่ออ่านคำาชี้นำาที่เปยมด้วยความเชื่อมั่นของอาจารย ความกล้าหาญก็พวยพุ่งขึ้นมาจากส่วนลึกของจิตใจ ดิฉันตัดสินใจ หนักแน่นว่า “ใชแลว จะเปนคนขี้แพหรือ จะขามพนใหดู” ดิฉันและสามีอธิษฐานอย่างเข้มแข็ง ทำากิจกรรม สมาคมอย่างถึงที่สุด พลางต่อสู้กับการเลี้ยงดูลูกและดูแลคนปวย อาการของคุณพ่อสามีค่อย ๆ ดีขึ้น หลังจากนั้น 1 ป ท่านก็จากไปเขาคิชฌกูฏอย่างสงบ สามีได้เข้าทำางานในบริษัท อีกครั้งด้วยเงื่อนไขที่น่าพอใจ สามารถกำาความเชื่อมั่นอันยิ่งใหญ่ใน ความศรัทธาได้ สภาพชีวิตที่สามารถร่วมทุกขและส่งเสริมกำาลังใจ เพื่อนที่กำาลังทุกขยากโดยผ่านประสบการณนี้ นับเป็นทรัพยสมบัติ ที่มีค่าสูงสุดและเป็นความปติยินดี ดิฉันจะทุ่มเทจนถึงที่สุดในการ เผยแผ่ธรรมด้วยจิตใจแห่งการตอบแทนบุญคุณตลอดชีวิตนี้ ก่อนอื่น ขอให้มุ่งสู่ 11.18 ในวาระการก่อตั้งสมาคม โซคาครบ 90 ปด้วยความปติยินดีและกล้าหาญว่า “เวลาที่พวกเรา จะทําภาระหนาที่ใหสําเร็จก็คือเวลานี้” แล้วก้าวหน้าไปอย่างสดใส ร่าเริง (บรรยายโดย คุณทาคาโกะ โคโฮริ ผู้ชวยหัวหน้าแผนกศึกษาธรรม ฝายผู้ใหญหญิง ภูมิภาครวมฟุขุโอกะ)


15 คําชี้นํา ของอำจำรย์อิเคดะ ประสบการณการตอสูกับความเจ็บปวย เปนพลังที่ท�ำใหกำรเผยแผ่ธรรมไพศำลกำวหนำ ในชีวิตมีความทุกขยากมากมาย เช่น ถูกโรคภัยไข้เจ็บ รุมเร้า ตกงาน หรือล้มละลาย สิ่งเหล่านั้นโดยตัวของมันเองมิได้ทำาให้คน ไม่มีความสุข แต่ในเวลานั้น ตัวเราเองจะคิดอย่างสิ้นหวังและไร้พลังว่า “ชีวิตของเราจบลงแลว” นี่เองที่ทำาให้ตัวเราเองไม่มีความสุข สิ่งที่เอาชนะและข้ามพ้นสภาพชีวิตที่ทุกขยากได้ คือการ อธิษฐานจนถึงที่สุดอย่างเข้มแข็งด้วยหนึ่งขณะจิตดุจเดียวกับราชสีห ด้วย จิตใจที่เข้มแข็งว่า “จะเปนคนขี้แพดวยเร� องนี้หรือ จะตองขามพนไปให ได และประดับชัยชนะในชีวิตใหดู” พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวไว้ไม่ใช่หรือว่า “นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวดุจดังเสียงคํารามของราชสีห ความเจ็บปวย ใด ๆ ก็หาไดเปนอุปสรรคไม” (ธรรมนิพนธหน้า 1124)2 นอกจากนี้ เพราะมีความยากลำาบาก มีความทุกขนี่เอง เมื่อ 2 ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 412


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 ธรรมนิพนธ ข้ามพ้นสิ่งนั้นได้ ก็จะสามารถแสดงข้อพิสูจนที่ ยิ่งใหญ่ของบุญกุศลของพุทธธรรมได้ ประสบการณการต่อสู้กับความ เจ็บปวยเป็นพลังที่ทำาให้การเผยแผ่ธรรมไพศาลก้าวหน้าได้ สิ่งที่สามารถ ทำาให้ทุกเรื่องราวในชีวิตเกิดประโยชน ก็คือพุทธธรรมนั่นเอง (จาก บทประพันธ ปฏิวัติมนุษย-ใหม เลมที่ 29 บท “วิ่งสุดกําลัง”) อธิบำยเพิ่มเติม สาเหตุของการเจ็บปวย ในธรรมนิพนธฉบับนี้ พระนิชิเร็นไดโชนินเปดเผยสาเหตุ ของการเจ็บปวยโดยอ้างอิงข้อความตอนหนึ่งใน “มหาสมถวิปสสนา” ของ พระมหาธรรมาจารยเทียนไท้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงพอสังเขปเพื่อเป็นคำาแนะนำา สำาหรับพวกเราในยุคปจจุบัน สาเหตุของการเจ็บปวย 6 ประการ 1. ธาตุทั้ง 4 (ดิน น้ํา ลม ไฟ) ทำางานผิดปกติ หมายถึง ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่สูญเสียความสมดุล เช่น สภาพอากาศ ‘ ’


17 แปรปรวน ก ่อให ้เก ิดผลกระทบต ่อร ่างกายมน ุษย  ทำาให้เจ็บปวย 2. ด� มกินไมเหมาะสม พฤติกรรมการกินดื่มที่ไม่มีสุขอนามัย ทำาให้เจ็บปวย 3. บําเพ็ญสมาธิไมถูกตอง หมายถึงอิริยาบถในการดำาเนิน ชีวิตผิดเพี้ยน ทำาให้เจ็บปวย 4. ถูกปศาจโจมตี “ปศาจ” หมายถึงโรคที่โจมตีร่างกาย ถ้า จะพูดให้เข้ากับยุคปจจุบันก็คือโรคที่เกิดจากแบคทีเรียและไวรัส 5. การกระทําของมาร หมายถึง แรงกระตุ้นหรือความ ต้องการที่ทำาให้การทำางานของจิตใจผิดปกติ ทำาให้เจ็บปวย การเจ็บปวยที่ ขัดขวางการบำาเพ็ญเพียรพุทธมรรคก็จัดอยู่ในประเภทนี้ 6. ชะตากรรม หมายถึง แนวโน้มชีวิตหรือความบิดเบี้ยวที่ มีอยู่ในชีวิตอันเกิดจากการกระทำาในอดีตชาติ เป็นสาเหตุของความ เจ็บปวย


ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย์-ใหม่” โดย โฮ โงะคู บทความจากอาจารย์ไดซาขุ อิเคดะ


19 บทที่ 47) จำกฮำวำยสู่ซำนฟรำนซิสโก สายลมแหงอนาคตรออยู ณ กําแพงเหล็กของเกท1 นี่คือวิธีที่จอรจ สเตอรลิง (ค.ศ. 1869 - 1926) กวี ผู้ได้รับการสดุดีชาวอเมริกันพรรณนาถึงซานฟรานซิสโกได้อย่าง น่าทึ่งว่าเป็นดินแดน “สายลมแหงอนาคต” ที่สายการบินยูไนเต็ด เท ี ่ยวบ ินท ี ่ 98 ออกจากสนามบ ินฮอนโนลูลูของฮาวาย เม ื ่อว ันท ี ่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1960 เวลา 9.00 น. กำาลังมุ่งหน้าไป เมื่อเราลอยสูง ขึ้นไปในท้องฟา ข้าพเจ้ามองลงไปยังฮาวายราวกับจะปกปอง เกาะ อันสงบสุขแห่งสันติภาพ อาณาจักรแห่งความสงบชั่วนิรันดรและสวด ไดโมขุ ข้าพเจ้าเดินทางถึงที่นั่นเมื่อเวลา 23.00 น. ในช่วงค่ำา ของ 2 วันก่อน ในฮาวาย ข้าพเจ้ามีเวลาเพียง 1 วันเท่านั้น อย่างไร ก็ตาม ระหว่างช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ที่อยู่ที่นั่น ข้าพเจ้าได้ทุ่มเทพลัง 1 จอรจ สเตอรลิง “เดอะคูล, เกรยซิตี้ ออฟ เลิฟ (“ความทันสมัย เมืองในสายหมอกแหงรัก”) จาก เดอะซานฟรานซิสโก บูลเลติน ฉบับที่ 133, เลขที่ 31 (11 ธันวาคม ค.ศ. 1920) หน้า 1


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” ทั้งหมดในการหว่านเมล็ดเพื่อการเผยแผ่ธรรมมหัศจรรยออกไป อย่างกว้างไกลสู่ทั่วโลกเป็นเวลาหมื่นปและยาวนานกว่านั้นในสมัย ธรรมปลาย ข้าพเจ้าได้อธิษฐานว่าดวงตะวันแห่งธรรมมหัศจรรยจะ ต้องส่องแสงไปชั่วนิรันดร ประหนึ่งดวงอาทิตยที่ไม่มีวันดับสูญ ส่องแสงวันแล้ววันเล่า ดังที่พระนิชิเร็นไดโชนินเขียนในธรรมนิพนธ ว่า “แมจะเปนหนึ่งเมล็ด เม� อปลูกแลวก็ขยายพันธุได” (ธรรมนิพนธ ฉบับภาษาอังกฤษ เลม 2 หน้า 602) ฮาวาย จุดเริ่มต้นอันเจิดจรัสของการออกเดินทางเพื่อ การเผยแผ่ธรรมไพศาลของข้าพเจ้า มีการเติบโตอย่างน่าอัศจรรย นับตั้งแต่ข้าพเจ้าไปเยือนเป็นครั้งแรก จากตำาบลเดียวที่ก่อตั้ง ได้เติบโตเป็น 93 ตำาบล และสมาชิกก็เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วย จากสมาชิกจำานวน 12 คน หรือประมาณนั้นใน ค.ศ. 1960 กลายเป็น กองกำาลังที่ทรงพลังของโพธิสัตวจากพื้นโลกมากกว่า 10,000 คนใน ปจจุบัน ท่ามกลางผู้ที่มาต้อนรับในการเยือนฮาวายครั้งแรก นั้นคือครอบครัวที่มาพร้อมกับเด็กชายร่างใหญ่แข็งแรงวัย 10 ขวบ ข้าพเจ้าจำาการจับมือทักทายกับเขาได้ ปจจุบัน คุณเบิรต คาวะโมโต้ เด็กชายคนนั้นเป็นหัวหน้าโซนแปซิฟก ซึ่งรวมถึงฮาวาย กวม ไซปน และซามัว เขาลงแรงอย่างแข็งขันที่แนวหน้าของการเคลื่อนไหวเพื่อ การเผยแผ่ธรรมไพศาล


21 หลังจากบินอยู่ 5 ชั่วโมงครึ่ง พวกเราได้รับการต้อนรับ ด้วยสะพานโกลเด้นเกท เวลาในซานฟรานซิสโกช้ากว่าฮาวาย 2 ชั่วโมง เมื่อเครื่องลงจอดในเมืองซึ่งมีชื่อเสียงว่าสวยที่สุดใน สหรัฐอเมริกา และถูกเรียกอยู่บ่อย ๆ ว่า “ปารีสตะวันตก” นาิกา ที่โถงรับรองของสนามบินชี้เวลา 16.35 น. ในการเดินทางครั้งนี้มีสมาชิกร่วมเดินทางมาด้วย 5 คน คือ คุณเออิโนสุเขะ อาคีย่ะ หัวหน้าฝายยุวชน [(ค.ศ. 1999) ประธานสมาคมโซคา] คุณฮิโรชิ โฮโจ รองผู้อำานวยการ [(ค.ศ. 1999) ถึงแกกรรม] คุณยาสุ คาชิวาบาระ ผู้อำานวยการ [(ค.ศ. 1999) รอง หัวหน้าที่ปรึกษาฝายบริหาร] คุณโยชิเฮอิ โคไดระ ผู้อำานวยการ [(ค.ศ. 1999) ที่ปรึกษาอาวุโส] และคุณจึกิโอะ อิชิดะ ผู้อำานวยการ [(ค.ศ. 1999) ถึงแกกรรม] สมาชิกท้องถิ่นหลายคนมารอที่สนามบินเพื่อต้อนรับ พวกเรา และเราก็ได้เริ่มการประชุมสั้น ๆ ที่นั่นถึงกำาหนดการและ เรื่องอื่น ๆ สมาชิกท่านหนึ่งที่เคยอยู่ในเขตคามาตะ กรุงโตเกียว อยู่ที่นั่นด้วย เธอกล่าวด้วยความคิดถึงภรรยาและลูก ๆ ของข้าพเจ้า ที่เข้าร่วมประชุมสนทนาธรรมที่คามาตะ ประเทศอเมริกามีขนาดใหญ่มากจนดูเหมือนว่า ความท ุกข ของคนแต ่ละคนช ่างเล ็กเหล ือเก ิน ซ ึ ่งความกว ้างใหญ ่ ไพศาลของอเมริกาก็เช่นเดียวกับจิตใจที่ลุกโชนด้วยความปรารถนา


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” อันสูงส่งที่ทะยานขึ้นสู่ท้องฟาที่เปดกว้างอันใหญ่โตมโหฬาร ความ รู้สึกถึงพลังกระตือรือร้นกระฉับกระเฉงของยุวชนอเมริกาสะท้อนก้อง อยู่ในหัวใจของข้าพเจ้า ราวกับจะเรียกร้องว่า “สหายจากประเทศ ญ ี ่ป ุ น จงต ั ้งใจมองด ินแดนแห ่งน ี ้ท ี ่ก ำาล ังท ่วมท ้นไปด ้วยศ ักยภาพ อันไร้ขีดจำากัดและคำามั่นสัญญาแห่งอนาคต” ข้าพเจ้ายังตระหนักด้วยว่า พวกเราต้องไม่เร่งรีบ ทำาการเผยแผ่ธรรมไพศาลในสหรัฐอเมริกา สิ่งสำาคัญต้องเริ่มต้นด้วย การหล่อเลี้ยงคนหนึ่งคนที่จะยืนหยัดขึ้นมาด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจใน การศรัทธาอย่างแข็งแกร่ง กุญแจสำาคัญคือเพื่อที่จะให้บุคคลคนหนึ่ง มีประสบการณและความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า โลกของพุทธธรรม ของพระนิชิเร็นไดโชนินสามารถทำาให้ผู้คนมีความปติยินดี สมปรารถนาและน่ามหัศจรรยได้อย่างไร ด้วยหนทางนี้ บุคคลก็จะ กลายเป็นนิวเคลียส จุดศูนยกลางที่สารของพุทธธรรมจะแผ่ขยาย จากคนหนึ่งคนไปสู่อีกคน คนแล้วคนเล่า เป็นการแผ่ขยายออกไป จากจุดศูนยกลางแบบยกกำาลังเป็นเท่าทวีคูณ และก่อเกิดเป็น สายธารของผู้มีความสามารถที่จะเผยแผ่ธรรมมหัศจรรยอย่างไม่มี ที่สิ้นสุด นี่คือความเชื่อมั่นอันหนักแน่นและความมุ่งมั่นตั้งใจอย่าง กระตือรือร้นของข้าพเจ้าบนหลักการของ “การปรากฏขึ้นมาจาก พื้นโลก” (อ้างอิง ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 385) คืนนั้น พวกเรากับสมาชิกคนญี่ปุนในท้องถิ่นร่วม


23 รับประทานอาหารค่ ำาราคาถูกที่ให้บริการอาหารญี่ปุน เป็นมื้อค่ำา แบบชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่ทำาให้กระเปาเกือบแฟบ ในสมัยนั้น ข้อกำาหนดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอันเข้มงวดในประเทศ ญี่ปุนได้จำากัดจำานวนเงินตราต่างประเทศที่คนญี่ปุนสามารถแลกซื้อ เพื่อการเดินทางต่างประเทศได้วันละ 35 ดอลลารสหรัฐต่อคน คำาขวัญในการเดินทางของเรา คือ “ประหยัด” และได้ทำาทุกอย่างที่ สามารถประหยัดเงินได้ เราต้องการเก็บเงินสำารองไว้ให้มากที่สุด เท่าที่ทำาได้เพื่อจะนำาไปใช้ในการส่งเสริมกำาลังใจสมาชิกในท้องถิ่น ที่เราจะไปเยี่ยมเยียน ณ จุดต่อไปของเรา ที่ซีแอตเติล เราตัดสินใจที่จะ รับประทานสเต็กราคาไม่แพงเป็นอาหาร มันเหนียวราวกับหนัง รองเท้า และจำาได้ว่าข้าพเจ้ารู้สึกไม่ค่อยสบายมีผื่นขึ้นอย่างรุนแรง สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นปฏิกิริยาจากอาหารและอีกส่วนเกิดจากความ ตึงเครียดของตารางเวลาที่แน่นมาก แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถจินตนาการได้ว่า หลาย ทศวรรษต ่อมาประม ุขสงฆ ของน ิกายน ิช ิเร ็นโชชู (นิกเคน) จะถูก เปดเผยถึงการพัวพันกับเหตุการณอื้อฉาวอันน่ารังเกียจของเขา ซึ่ง เกิดขึ้นในเมืองใหญ่แห่งนี้ของซีแอตเติลในการเดินทางมาต่าง ประเทศครั้งแรกของเขาเมื่อ ค.ศ. 1963 ในซานฟรานซิสโก ก็เช่นเดียวกับที่อื่น ๆ ทุกอย่าง


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” เริ่มจากการประชุมสนทนา ข้าพเจ้าประกาศก่อตั้งตำาบลใน ซานฟรานซิสโกต่อสมาชิกที่มารวมกัน 30 คนหรือมากกว่านั้น ข้าพเจ้ายังได้ตัดสินใจก่อตั้งตำาบลในเนวาดา รัฐใกล้เคียงด้วย ตำาบล นี้จะนำาโดยคุณโจเซฟและคุณยาเอโกะ โอราเยห ที่กระฉับกระเฉง และมุ่งมั่นตั้งใจ ซึ่งขับรถ 5 ชั่วโมงเพื่อมาร่วมกับเราที่ซานฟรานซิสโก ข้าพเจ้าแต่งตั้งผู้ใหญ่หญิง 2 คนให้เป็นผู้นำาของตำาบล ซานฟรานซิสโก คือ คุณซาชิโกะ การเซีย เป็นหัวหน้าตำาบล และ คุณคิโยโกะ ทอมา เป็นหัวหน้าตำาบลฝายผู้ใหญ่หญิง พระนิชิเร็น ไดโชน ินกล ่าวว ่า “ไมควรมีการแบงแยกในหมูผูเผยแผอักษร 5 ตัวแหงเมียวโฮเร็งเงเคียวในสมัยธรรมปลาย ไมวาจะเปนชาย หรือหญิง” (ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 385) ข้าพเจ้ายังได้แต่งตั้งสามีของพวกเธอซึ่งเป็นชาวอเมริกันทั้งคู่ให้เป็น ที่ปรึกษาของตำาบลนี้ หนึ่งในนั้นยังไม่ได ้เป็นสมาชิกสมาคมโซคา การแต่งตั้งเขาจึงค่อนข้างน่าประหลาดใจ ทว่าในโลกของเอสจีไอ ท ุกคนต ่างล ้ ำาค ่าเท ่าเท ียมก ัน ข ้าพเจ ้าต ้องการให ้เพ ื ่อนของเราใน อเมริกา ดินแดนแห่งเสรีภาพ ให้ความสำาคัญและเคารพซึ่งกันและกัน มีการดำาเนินชีวิตที่ยอดเยี่ยมเต็มไปด้วยการมองโลกในแง่ดี มี ชีวิตชีวาและการเติบโตที่ไม่มีขีดจำากัด ผู้เข้าร่วมในการประชุมสนทนาธรรมนี้ ส่วนใหญ่เป็น สตรีชาวญี่ปุนที่ย้ายมาที่สหรัฐอเมริกา ข้าพเจ้าขอให้พวกเธอบรรลุ


25 ในเป าหมายหล ัก 3 ข ้อค ือ เป ็นพลเม ืองของอเมร ิกาให ้ได ้ สอบ ใบขับขี่ให้ได้ และเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เม ื ่อเราอ ุท ิศทุ ่มเทช ีวิตของเราเพ ื ่อบรรล ุภาระหน ้าท ี ่ ของพวกเราแล้ว ก็ไม่มีเวลาให้หมกมุ่นอยู่กับการสงสารตัวเอง สิ่งสำาคัญคือเราจะบรรลุถึงความสุขทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น ณ ที่นี่ ในขณะนี้ทันที คำาสอนของพุทธศาสนามอบปญญาทองคำาแก่เราใน การกำาหนดเปาหมายที่เป็นรูปธรรมเพื่อความก้าวหน้าและการ พัฒนาของตัวเราเอง วันถัดมา ข้าพเจ้าได้ถ่ายรูปร่วมกับบรรดา “คุณแม แหงการเผยแผธรรมไพศาลในโลกใหม” ที่หน้ารูปปนของ โคลัมบัสบนยอดเขาเทเลกราฟที่มองเห็นทะเล ดวงตาของพวกเธอ เป็นประกาย แวววับไปด้วยความหวัง ด้วยความเข้มแข็ง และด้วย ความกระตือรือร้นอันทรงพลังที่จะก้าวไปข้างหน้า ขณะที่สายลมทะเลอันสดชื่นพัดมาสัมผัสเรา อย่างแผ่วเบา ข้าพเจ้าบอกพวกเขาว่า อีก 20 หรือ 50 ปข้างหน้า พวกเราจะถือว่าวันนี้เป็นวันสำาคัญของการครบรอบการเผยแผ่ธรรม ไพศาลในอเมริกา ซึ่งเป็นจริงดังคำาสัญญา 20 ปต่อมา ข้าพเจ้าและ ภรรยาได้มายืนที่เนินเขาแห่งนี้ร่วมกับสตรีเหล่านี้ ใบหน้าของ พวกเธอเปล่งประกายด้วยชัยชนะ ในรูปถ่ายที่ระลึกถือเป็นการ บันทึกเรื่องราวอีกหน้าหนึ่งที่เปดเผยถึงการเดินทางสู่การ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” เผยแผ่ธรรมมหัศจรรย ขณะที่ข้าพเจ้าอยู่ที่สหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1960 นักวิทยาศาสตรที่มีชื่อเสียงระดับโลกท่านหนึ่งถูก เรียกตัวไปให้ปากคำายืนยันต่อหน้าคณะอนุกรรมการรัฐสภา สหรัฐอเมริกา เขากับนักวิทยาศาสตรคนอื่น ๆ ได้จัดเตรียม ข้อร้องเรียนต่อต้านการทดลองอาวุธนิวเคลียรโดยรวบรวมลายมือ ชื่อได้ 13,000 รายและยื่นเสนอต่อองคการสหประชาชาติ ขณะนี้ เขาอยู่ระหว่างถูกคณะอนุกรรมการซักถามถึงชื่อของผู้ให้การช่วยเหลือ ในการยื่นข้อร้องเรียน นักวิทยาศาสตรผู้นั้นคือใคร ก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก คุณไลนัส พอลลิง บิดาแห่งเคมีสมัยใหม่ ดร. พอลลิงยังคงแน่วแน่ ในการเผชิญหน้ากับการข่มขู่คุกคามที่ปาเถื่อนที่สุด ท่านและ คุณเอวา เฮเลน ภรรยา ยังคงรักษาความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะต่อสู้เพื่อ ความเที่ยงธรรมและมนุษยธรรมไว้อย่างมั่นคง เนื่องด้วยคุณสมบัติ เหล่านี้ ดร. พอลลิงจึงยืนยันว่า พลังของประชาชนต้องนำามาใช้เพื่อ ให้แน่ใจว่าบรรดาผู้มีอำานาจทางการเมืองยังปฏิบัติอยู่ในแนวทางที่ ถูกต้อง และเพื่อการบรรลุผลและคงไว้ซึ่งสันติภาพ ประชาชนควร จะรวมตัวกันกดดันผู้มีอำานาจเหล่านั้น ท่านให้การยอมรับว่าสมาคม โซคาเป็นผู้นำาในแนวทางดังกล่าว จึงให้การสนับสนุนพวกเราอย่าง ต่อเนื่องจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตท่าน


27 ข้าพเจ้าได้พบกับดร. พอลลิง 4 ครั้ง การพบกันครั้ง สุดท้ายของเราที่ซานฟรานซิสโก แม้ดร. พอลลิงมีอายุ 92 ปแล้ว แต่ ท่านก็เจาะจงเดินทางมาพบกับข้าพเจ้า การพบกันครั้งนั้น ข้าพเจ้า เสนอให้มีการจัดนิทรรศการ “ไลนัส พอลลิง” ท่านเห็นด้วยอย่างยิ่ง ต่อข้อเสนอนี้ นิทรรศการ “ไลนัส พอลลิงกับศตวรรษที่ 20 : การ แสวงหามนุษยชาติ ” 2 ซึ่งได้ รับกา รตอบ รับ มีพิธีเปดที่ ซานฟรานซิสโกเมื่อไม่นานมานี้ และเริ่มหมุนเวียนไปจัดใน สหรัฐอเมริกา และได้รับการยกย่องอย่างสูงจากหลายพื้นที่ในสังคม รวมถึงรัฐสภาสหรัฐอเมริกา องคการสหประชาชาติ “สภาแหงมนุษยชาติ” ก็เริ่ม ขึ้นที่นี่ ที่ซานฟรานซิสโก ข้าพเจ้าได้เยือนซานฟรานซิสโกอีกครั้งใน เดือนมีนาคม ค.ศ. 1993 ในช่วงสุดท้ายของการเดินทาง 9 เมือง 6 ประเทศในอเมริกาเหนือและใต้ เป็นการเยือนครั้งที่ 5 นับจาก ครั้งแรกเมื่อ 33 ปก่อน ณ โอกาสนั้น ข้าพเจ้ากับสมาชิกในซานฟรานซิสโก ได้รับเชิญให้ไปที่ศูนยแสดงศิลปะและอนุสรณสงคราม (War Memorial and Performing Arts Center) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำาคัญใน ประวัติศาสตรของการเริ่มนำากฎบัตรสหประชาชาติมาใช้ ข้าพเจ้าได้ 2 คําแปลอยางไมเปนทางการของนิทรรศการ “Linus Pauling and the Twentieth Century: Quest for Humanity”


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 ความคิดคํานึงเกี่ยวกับ “ปฎิวัติมนุษย-ใหม” รับรางวัลเกียรติยศจากการอุทิศตนในการเผยแพร่อุดมการณของ องคการสหประชาชาติและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ระหว่างประเทศ ท่ามกลางสมาชิกในอเมริกาที่มาร่วมในพิธี คุณออรลันโด เซเปดา อดีตจ้าวแห่งโฮมรันของลีกหลัก ผู้ซึ่งในปนี้ ได้รับการคัดเลือกจากหอเกียรติยศเบสบอล แห่งสหรัฐอเมริกา เขา เป็นหัวหน้าตำาบลที่น่าภาคภูมิใจของเอสจีไอ-สหรัฐอเมริกาในพื้นที่ อ่าวซานฟรานซิสโก ระหว่างพิธี ผู้นำาทางการเมืองหนุ่มคนหนึ่งในพื้นที่ ซานฟรานซิสโกได้ชี้ให้เห็นว่าซานฟรานซิสโกที่เคยเปดพรมแดนใหม่ ในประวัติศาสตร กับเอสจีไอมี 3 สิ่งที่เหมือนกัน ได้แก่ การเคารพ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม พลังสร้างสรรค และพลังในการทำาให้ เกิดความหวังในประชาชนทุกคน เพียงการลงมือกระทำาของเราสามารถกระตุ้นให้เกิด “สายลมแหงอนาคต” พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวถึงความก้าวหน้า ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนของการเผยแผ่ธรรมไพศาลว่า “แมตนไม อาจอยากอยูนิ่ง ๆ แตลมก็จะไมหยุดพัด แมพวกเราปรารถนา จะรั้งฤดูใบไมผลิเอาไว แตก็ตองหลีกทางใหฤดูรอน” (ธรรม นิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 672) ซานฟรานซิสโกช่างงดงามและล้นหลามไปด้วย บทกวีที่พรรณนาถึงฤดูกาลของทั้ง 4 ฤดู


29 ข้าพเจ้ามั่นใจว่า ในวันนี้ก็เช่นกัน จากถนนอันสูงชัน ของเมืองและบ้านเรือนของมิตรสหายที่มองเห็นสะพานโกลเด้นเกท อย่า งชัดเจน เหล่าสมาชิกยุวชนคนหนุ่มสาวขอ งเราใน ซานฟรานซิสโกล้วนมีใบหน้าที่เปยมด้วยรอยยิ้มที่มั่นใจ กำาลังส่ง กล ิ ่นหอมขจรขจายในสายลมอ ันเบ ิกบานแห ่งความส ุขและความ ก้าวหน้าอันทรงพลังมุ่งสู่ศตวรรษที่ 21 (จากหนังสือพิมพเซเคียว ฉบับวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1999)


บทสนทนาเรื่อง แม่กับลูกมุ่งสู่ศตวรรษที่ 21 (เลม 3)


31 บทที่ 4) พ่อกับแม่ สำมีกับภรรยำ หำกตระหนักรูถึงภำระหนำที่ พลังจะพวยพุงออกมา ฮิราคาวา : ขณะนี้ ในแต่ละท้องที่ทั่วประเทศได้ออกอากาศรายการ โทรทัศนแนะนำากิจกรรมเพื่อสันติภาพของอาจารยอิเคดะ และกำาลัง เป็นที่สนใจของผู้คนอยู่ค่ะ ฟุจิโนะ : ดิฉันได้ชมแล้ว รู้สึกประทับใจในประวัติศาสตรที่อาจารย ได้เปดเส้นทางแห่งสันติภาพด้วยการสนทนากับผู้นำาระดับโลก เช่น ท่านโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ท่าน อเล็กซี โคชิกินนายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียตและท่านมิคาอิล กอรบาชอฟ ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะบุคลิกใน การให้สัมภาษณของอาจารยและภรรยาช่างสดชื่น น่าประทับใจ มากค่ะ อาจารยอิเคดะ : ต้องขอบคุณผู้สัมภาษณที่ถามตรงประเด็น ผมได้ ให้สัมภาษณตามความเป็นจริงทุกครั้งเสมอ ฮิราคาวา : ในรายการ สตรีผู้บุกเบิกช่วงเริ่มต้นของเอสจีไอสหรัฐอเมริกาท่านหนึ่งได้เล่าถึงบรรยากาศการไปเยือนอเมริกา


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) ครั้งแรกของอาจารย สมัยนั้น สตรีชาวญี่ปุนจำานวนมากแต่งงานกับชาย ชาวอเมริกันและย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทุกคนรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยหน่ายกับการดำาเนินชีวิตในต่างแดนที่ตัวเองไม่คุ้นเคย และ เกือบจะสิ้นหวังต่ออนาคต อาจารย อ ิเคดะได ้ให้ค ำาแนะน ำาท ี่ใกล ้ต ัวและส ำาค ัญ มากแก่พวกเขา 3 เรื่องด้วยกัน “อยากให้เก่งภาษาอังกฤษ” “อยากให้ได้รับใบ อนุญาตขับขี่รถยนต” “อยากให้ได้มาซึ่งสิทธิพลเมือง” สมาชิกท่านหนึ่งซึ่งขณะนี้มีความสุขมากได้เล่า เรื่องราวย้อนกลับไปในเวลานั้นว่า “คิดว่า ถึงอย่างไรก็เป็นไปไม่ได้เพราะการเรียนรู้ ภาษาอ ังกฤษต ้องใช ้เวลามากท ีเด ียว อ ีกทั ้งเม ื ่อพูดภาษาอ ังกฤษ ไม่ได้ทำาอย่างไรจึงจะได้ใบขับขี่รถยนตมา แล้วนับประสาอะไรกับ การที่จะได้สิทธิพลเมืองของอเมริกา คิดแล้วไม่อยากเป็นพลเมือง อเมริกา ไม่ว่าอย่างไรก็อยากจะกลับประเทศญี่ปุน เป็นเปาหมายที่ใหญ่จริง ๆ แต่อาจารยได้มอบ ‘ความหวัง’ เพื่อการมีชีวิตอยู่ในฐานะพลเมืองอเมริกัน


33 เพราะเปาหมาย 3 ข้อนี้ พวกเราจึงดำาเนินชีวิตบน แผ่นดินนี้อย่างมีความสุขและค่อย ๆ กลมกลืนกับสังคมอเมริกาได้” ฟุจิโนะ : เป็นฉากที่น่าประทับใจมากค่ะ ท่าทางที่พูดไม่ออก น้ำาตา ไหลไปพลางพูดได้ทีละคำา ๆ ดิฉันเห็นแล้วก็น้ำาตาคลอค่ะ ดิฉันรู้สึกอย่างลึกซึ้งว่า นี่คือสมาคมโซคาสินะ รู้สึก ประทับใจในชีวิตที่ยอดเยี่ยมของท่านทั้งหลายที่ได้รับการส่งเสริม กำาลังใจจากอาจารยอิเคดะ ปาดน้ำาตาลุกขึ้นสู้และมีชีวิตจนถึงที่สุด อาจารยอิเคดะ : ทุกท่านได้รับชัยชนะอย่างงดงาม พยายามต่อสู้ กันจริง ๆ เป ็น “คุณแมแหงการเผยแผธรรมไพศาลของ อเมริกา” ที่อุทิศตนเพื่อสังคมในฐานะพลเมืองอเมริกันที่ยอดเยี่ยม การสื่อสารก็ไม่เข้าใจ ประเพณีก็แตกต่างกัน พ่อแม่ ที่พึ่งพ ิงได้ ญาติพี่น้องและเพื่อนสนิทก็ไม่มี ท่ามกลางความยาก ลำาบากเช่นนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำาให้คิดว่า “อยากจะกลับญี่ปุน” “อยากจะหนีออกจากความทุกขนี้” แต่สำาหรับสตรีที่ยึดถือธรรมมหัศจรรย เธอไม่ต้องการ ความเห็นใจ เธอมีความกล้าหาญ หากขี้ขลาดแล้วจะทำาอะไรก็ไม่ สำาเร็จ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) สิ่งที่เปลี่ยน “ความโงเขลา” เป็น “การตัดสินใจ” เปลี่ยน “ความเศราโศก” เป็น “ความปติยินดี” เปลี่ยน “ความ สิ้นหวัง” เป็น “ความหวัง” ก็คือพุทธธรรมนั่นเอง “ทำาไมฉันจึงได้มาอยู่ในสถานที่อย่างนี้นะ ทำาไมจึง ต้องลำาบากลำาบนอย่างนี้นะ” ไม่ว่าจะคร่ำาครวญเพียงใดก็ไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง แต่หากตระหนักรู้ได้ว่า “ณ ที่นี่ ฉันจะปฏิวัติชีวิตให ดู” “ฉันมีภาระหนาที่ จึงไดมาอยูที่นี่” พลังจะบังเกิดขึ้นตามมา และจะมองเห็นแสงสว่าง ฟุจิโนะ : ในบทประพันธ “ปฏิวัติมนุษย-ใหม่ เล่มที่ 1 ตอน ‘โลกใหม’ อาจารยได้เขียนถึงเรื่องราวในเวลานั้น ขณะที่ “หนังสือพิมพ เซเคียว” กำาลังตีพิมพตอนนั้นอยู่ ตรงกับช่วงที่ดิฉันไปเดินพาเหรด ที่ประเทศอเมริกา ได้พบกับบุคคลต่าง ๆ ที่เอ่ยถึงด้วย ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “อาจารยอิเคดะเขียน นวนิยายอย่างนั้น แต่การต่อสู้จริง ๆ ของอาจารยยอดเยี่ยมยิ่งกว่า ที่เขียนอยู่ในนวนิยายหลาย 10 เท่า” ฮิราคาวา : สำาหรับทุกคนที่ดำาเนินชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ โดดเดี่ยว กำาลังใจจากอาจารยและการมีมิตรสหาย ช่วยทำาให้จิตใจ เข้มแข็งจริง ๆ ค่ะ


35 คนที่เปนทุกข์จำกกำรเลี้ยงดูลูก อยางโดดเดี่ยว มีจํานวนเพิ่มขึ้น ฟุจิโนะ : ประเทศญี่ปุนในปจจุบันไม่ค่อยมีการสนับสนุนกันและกัน จากพ ่อแม ่ คนท ี ่แต ่งงานเป ็นค ุณแม ่ว ัยสาวเพ ิ ่งเร ิ ่มด ำาเน ินช ีว ิตใน สภาพแวดล้อมใหม่ คนที่เป็นทุกขจาก “การเลี้ยงดูลูกอยาง โดดเดี่ยว” กำาลังเพิ่มมากขึ้น ไม่มีการคบค้าสมาคมกับผู้คนในท้องถิ่น ไม่มีเพื่อนที่ ปรึกษาหรือพูดคุยเรื่องทุกขใจได้ หรือแม้จะปรึกษาสามีที่ขอความ ช่วยเหลือได้ แต่สามีก็ไม่ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ท่ามกลาง สภาพดังกล่าว คนที่กำาลังเป็นทุกขอยู่ “ตามลําพังคนเดียว” จึงมี จำานวนมาก ฟุจิโนะ : ความโดดเดี่ยวเดียวดายแบบนั้นกำาลังไล่ต้อนจิตใจของคน เป็นแม่อยู่ แม่บางคนก็ระบายความเครียดไปลงที่ลูก ระยะนี้มีเรื่องน่าเวทนาที่ทำาทารุณกรรมเด็กเกิดขึ้นอยู่ บ่อย ๆ แม่ที่ควรจะเสี่ยงชีวิตปกปองลูกแต่กลับทารุณกรรมลูก เสียเองก็มี ในความสัมพันธระหว่างแม่กับลูกคงมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น อย่างมากมาย หนังสือพิมพรายงานข่าวว่า จำานวนของผู้ที่มาปรึกษา ป ญหาการทาร ุณกรรมเด ็กท ี ่ศูนย ปร ึกษาป ญหาเด ็กเล ็ก ระหว ่าง


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 1997 เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 5 เท่า ใน 1 ปมีจำานวน มากกว่า 5,000 ราย เข้าใจว่าผู้ที่มาปรึกษาปญหาเป็นเพียงส่วนน้อยนิด ของผู ้ท ี ่ม ีป ญหาท ั ้งหมด เป ็นท ี ่ทราบก ันว ่าในความเป ็นจร ิง การ ทารุณกรรมเด็กเกิดขึ้นมากกว่านั้น คุณแม่เองก็ตระหนักดีว่าการทำาร้ายลูก “ไมดี” แต่ บางครั้งกว่าจะรู้ตัวก็ข่มขู่ลูกไปแล้ว ก็มีเหมือนกันค่ะ อาจารยอิเคดะ : เรื่องนี้เป็นปญหาร้ายแรงสำาหรับลูกและพ่อแม่เลย นะครับ ฮิราคาวา : ยังมีกรณีเช่นนี้อีกด้วยค่ะ ค ุณแม ่ท ่านหน ึ ่งไม ่ม ีความทรงจ ำาในว ัยเด ็กท ี ่ถูกแม ่ สวมกอด ไม่มีความทรงจำาที่แม่พูดเพราะ ๆ กับตัวเอง เมื่อโตขึ้น เธอแต่งงานและมีลูก เมื่อมีลูกจริง ๆ เธอตกใจมากที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะเลี้ยง ลูกอย่างไร “ไม่รู้จะอาบน้ำา ปอนข้าว ให้นมลูกอย่างไร” พอลูกร้องก็ตื่นตกใจ เธอตีลูกซ้ำาแล้วซ้ำาอีก ฟุจิโนะ : เรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตอนที่พ่อแม่อยู่ในวัยเด็กได้รับ การเลี้ยงดูมาอย่างไร


37 อาจารยอิเคดะ : มีผลอย่างมากครับ ดังนั้นตนเองที่เป็นพ่อแม่ต้อง เชื่อมต่อเป็นลูกโซ่กับลูก แต่ไม่ใช่ปญหาที่จะนำามาถกเถียงกันง่าย ๆ เช่น ตอน เด็ก ๆ คนที่เคยถูกทุบตี เมื่อเป็นพ่อแม่ก็ต้องทุบตีลูกแน่นอน เรา จำาเป็นต้องพินิจพิเคราะหจากมุมมองหลาย ๆ ด้าน บาดแผลที่ได้รับตอนเป็นเด็กไม่อาจจางหายไปง่าย ๆ แต่สิ่งที่จะเยียวยารักษาแผลนั้นก็คือความเอื้ออาทรของมนุษย ซึ่งก็ คือความรักนั่นเอง แต่ปจจุบันนี้ “สถานเยียวยารักษา” ที่เปยมด้วย ความรักไม่ค่อยจะมีแล้ว ไม่ว่าที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือในสังคม ท้องถิ่น ก็ยังขาดแคลนความรักอยู่ ความสัมพันธระหว่างมนุษยที่ขาดความลึกซึ้ง และ ปญหาที่กำาลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ กล่าวได้ว่าเป็น “กลุมอาการโรค ขาดความรัก” หำกใหควำมช่วยเหลือผูอ� น ตนเองก็จะไดรับการปกปองดวย ฮิราคาวา : รู้สึกขอบคุณโลกของครอบครัวโซคาอันอบอุ่นจริง ๆ ค่ะ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) อาจารยอิเคดะ : ผู้นำาของสมาคมจะขาดซึ่ง “ความรัก” ไม่ได้ การที่พวกเราให้กำาลังใจผู้อื่น รับฟงความทุกขของ เพื่อน มอบความหวังแก่ผู้อื่น สิ่งเหล่านี้นั่นเองที่เป็นเหรียญรางวัล เกียรติยศของพวกเรา การเคลื่อนไหวของสมาคมเป็นการเคลื่อนไหว เพื่อฟนฟูและเพาะเมล็ดแห่งความรักของมนุษยในแต่ละคน ๆ หากให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ตนเองก็จะได้รับการ ปกปองด้วย ในบันทึกคำาสอนปากเปล่า พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวไว้ ว่า “เทพธรรมบาลทั้งหลายจะปรากฏออกมาเปนบุรุษและสตรี ทําบุญถวายแกผูปฏิบัติแหงสัทธรรมปุณฑริกสูตร” (บันทึก คําสอนปากเปลา ฉบับภาษาอังกฤษ หน้า 86) กล่าวคือ แม้จะ เรียกว่าเทพธรรมบาล แต่ก็หมายถึงคนใกล้ตัวที่ให้การสนับสนุนและ ปกปองเรา เม� อมองใบหนำลูกที่ยิ้มแลว ความกลาหาญก็พวยพุงออกมา ฟุจิโนะ : ในหนังสือรวมประสบการณการพยาบาลของแผนก ชิราคาบะกับกลุ่มชิราคาบะ (กลุมพยาบาลของผู้ใหญหญิงกับยุวชน หญิงสมาคมโซคา) มีเรื่องราว ดังนี้ค่ะ เอ็มคุงซึ่งอยู่ในครรภเพียง 6 เดือนครึ่ง คลอดก่อน


39 กำาหนด มีน้ำาหนัก 576 กรัม อยู่ในห้องทารกคลอดก่อนกำาหนดของ แผนกกุมารเวชที่พยาบาลสมาชิกกลุ่มชิราคาบะทำางานอยู่ เรื่องที่ เธอกังวลคือ ขณะที่ยืดเวลาอยู่ในโรงพยาบาลออกไป จะทำาให้แม่ อยู่ห่างจากลูกน้อย คร ั ้งหน ึ ่ง แม ่ของเด ็กได ้มาพบ เม ื ่อส ่งลูกน ้อยที ่ถูก ห่อตัวด้วยผ้าขนหนูให้เธออุ้ม เธอก็พูดด้วยความไม่สบายใจว่า “ตัว เล็กขนาดนี้หรือนี่ น่ากลัวจัง” และพูดว่า “ขอคืนเข้าตู้อบดีกว่าค่ะ” ฮิราคาวา : กรณีทารกคลอดก่อนกำาหนด ในบางครั้ง เนื่องจากเด็ก ถูกแยกจากแม่เป็นเวลานาน ความรักอันงดงามของแม่จึงไม่ก่อเกิด ในตัวเด็ก คุณแม่คนนั้นคงมีความรู้สึกสับสนเต็มไปหมด เช่น รู้สึกผิดต่อลูก รู้สึกกังวลใจและไม่สบายใจ ฟุจิโนะ : เธอได้อธิษฐานอย่างจริงจังว่า “ถ้ายังอยู่ในสภาพนี้ ทั้ง เอ็มคุงกับแม่ก็น่าสงสาร” เธอกับเจ้าหน้าที่จึงตรวจเช็คแล้วเช็คอีก ทุกวันจะบันทึกพัฒนาการของเอ็มคุง เวลาที่แม่มาเยี่ยม ก็จะให้แม่ เป็นคนดูแลลูก และแล้วแม่ก็มาเยี่ยมบ่อยขึ้น เวลาที่แม่มาเยี่ยมทุกครั้ง เธอจะพูดทักทายกับแม่ว่า “ลูกดีใจที่สุดที่เห็นคุณแม่พูดคุยด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม”


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 บทสนทนาเร� อง แมกับลูกมุงสูศตวรรษที่ 21 (เลม 3) มีอยู่วันหนึ่ง แม่ไปหาลูก แล้วเล่น “จะเอ” ผ่านกระจก ของตู้อบ ลูกน้อยก็ส่งเสียงและยิ้มอย่างดีใจ น้ำาตาเม็ดโตของแม่ก็ เอ่อไหลออกมา แม่ตาแดงก่ำา ร้องไห้พลางกล่อมลูกน้อยไปพลาง หลายต่อหลายครั้ง หลังคลอด 8 เดือน ในที่สุดก็ออกจากโรงพยาบาลได้ ขณะที่แม่กำาลังอุ้มเอ็มคุง ก็พูดว่า “เวลามองลูกที่เกิดมาตัวเล็กขนาดนี้ทุกครั้ง รู้สึกไม่ สบายใจ เวลามาเยี่ยมจะรู้สึกกลัว จึงไม่มา แต่คุณพยาบาลทั้งหลาย รายงานพัฒนาการของลูกให้ทราบอยู่เสมอ และในวันนั้น ดิฉันมอง ใบหน้าลูกคนนี้ที่ยิ้มแล้วความกล้าหาญที่จะสู้ไปด้วยกันก็พวยพุ่ง ออกมา” อาจารยอิเคดะ : ความจริงใจของสมาชิกกลุ่มชิราคาบะได้เปดจิตใจ ที่ปดอยู่ของแม่อย่างอ่อนโยนนะครับ สำาหรับพ่อแม่กับลูกจะมีความสัมพันธที่น่าอัศจรรย อยู่ เป็นความผูกพันของชีวิตที่ลึกซึ้งซึ่งเรามองไม่เห็น มีคำากล่าวที่ ว่า “ความทุกขของการคลอดลูก” ก็จริงอยู่ แต่ต้องข้ามพ้น ความทุกขยากลำาบากเพื่อเป็นพ่อแม่ให้ได้ ไม่มีแม่คนไหนที่ยอดเยี่ยมมาตั้งแต่แรก ความรักเป็น สิ่งที่ถูกหล่อเลี้ยงอย่างลึกซึ้งผ่านการสัมผัสลูกและการแลกเปลี่ยน


41 ทางจิตใจระหว่างพ่อแม่กับลูก ดังนั้นหากเฝาดูลูกและเอาใจใส่เป็นพิเศษ แม้จะเสีย เวลามากสักหน่อยก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องใจร้อน ไม่จำาเป็นต้องเครียดหรือ เปรียบเทียบกับคนรอบข้าง ฟุจิโนะ : การที่คุณแม่วัยสาวเลี้ยงดูลูกนั้น เธอต้องเผชิญกับเรื่องที่ ไม่สบายใจและกังวลใจต่าง ๆ นานา แน่นอนว่าความช่วยเหลือสนับสนุนจากคนรอบข้าง เป ็นส ิ ่งท ี ่จ ำาเป ็น แต ่ส ุดท ้ายแล ้ว ไม ่ม ีส ิ ่งใดเหน ือกว ่าความเข ้าใจ และการช่วยเหลือจากสามีที่ทำาให้เธอรู้สึกอุ่นใจ การช่วยเหลือ กันและกันของสามีภรรยานั้นสำาคัญมาก { โปรดติดตามตอนตอไป }


โลกแห่งธรรมนิพนธ์ บทสนทนาเกี่ยวกับ ศาสนาแหงมนุษยนิยม


43 บทที่ 4) กำรก่อตั้งค�ำสอนที่ถูกตอง เพ� อใหประเทศเกิดสันติ (ตอนที่ 1) หลักสําคัญเพ� อการบรรลุถึง ควำมสุขของประชำชนและสังคมที่สันติสุข (ตอ) พุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนิน เริ่มตนและจบลงดวย “กำรก่อตั้งค�ำสอนที่ถูกตอง” ไซโต : นั่นคือประเด็นหลักที่ผมอยากจะขอพูดคุยกันในครั้งนี้ครับ จากบทนิพนธและงานเขียนทั้งหมดของพระนิชิเร็นไดโชนิน ผมคิดว่า บทนิพนธเรื่อง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิด สันติ” เป ็นท ี ่รู ้จ ักก ันอย ่างกว ้างขวางมากท ี ่ส ุด ได ้ถูกกล ่าวถ ึงใน หนังสือเรียนชั้นมัธยมศึกษาของญี่ปุน และอยู่ในลำาดับที่ 2 ของการ สำารวจโดยหนังสือพิมพโยมิอุริ ชิมบุน (วันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2000) ที่ได้ถามว่า “งานเขียนที่สําคัญที่สุดของญี่ปุนเร� องใดที่ตอง ถายทอดไปสูศตวรรษที่ 21” อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกัน ผมก็ คิดว่าไม่มีหลักธรรมใดที่ถูกคนญี่ปุนเข้าใจผิดมากไปกว่าหลักธรรม ที่ได้เปดเผยอยู่ในบทนิพนธฉบับนี้ โมรินากะ : ขณะที่ด้านหนึ่ง คุณอุจิมูระได้ยกย่องศักยภาพของ พระนิชิเร็นไดโชนินที่ยืนหยัดขึ้นต่อการกดขี่บีฑาเพื่อความเชื่อของ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ท่าน ส่วนอีกด้านหนึ่งเขาได้วิพากษวิจารณวิธีการโต้แย้งของพระ นิชิเร็นไดโชนินที่แสดงอยู่ใน “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” โดย เขียนว่า “ตลอดทั้งบทนิพนธคือสีหนาทที่เป็นการประกาศสงคราม ชน ิดท ี ่ได ้ต ัดส ินใจอย ่างเด ็ดเด ี ่ยวท ี ่ส ุด ซ ึ ่งถ ้าได ้ต ่อสู ้ก ันแล ้ว คงม ี ประเด ็นเด ียวค ือการถอนรากถอนโคนน ิกายของท ่านเองหร ือของ นิกายอื่น ๆ ทั้งหมด นี่คือความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่ไม่อาจแยก ออกจากความบ้าดีเดือด” และสรุปว่า “พระนิชิเร็นที่ลบความ กระหายใคร่สู้รบของท่านออกก็คือ นักบวชในอุดมคติของพวกเรา”1 อาจารยอิเคดะ : ด ังท ี ่เราได ้กล ่าวถ ึงไปแล ้ว พระน ิช ิเร ็นไดโชน ิน บรรลุการต่อสู้ในการปกปองธรรมะก็เพื่อที่จะปฏิรูปยุคสมัย ธรรมปลายที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เพื่อให้ประชาชนทุกคน สามารถสำาแดงธรรมชาติพุทธะของพวกเขา และก่อสร้างยุคสมัย แห่งความสุขและสันติภาพเพื่อมวลมนุษยชาติ การอุทิศตนอย่างไม่ เห็นแก่ตัวของท่านในการธำารงไว้ซึ่งคำาสอนที่ถูกต้องและจิตวิญญาณ แห ่งความเมตตากร ุณาอ ันแข ็งแกร ่งของท ่านเพ ื ่อประชาชนท ำาให ้ ท่านไม่มีทางเลือกนอกจากการเข้าสู่การต่อสู้นี้ เป ็นท ี ่ทราบก ันด ีว ่าท ี ่สภาพช ีว ิตของท ่านกว ้างใหญ ่ ไร้ขอบเขต ก็เนื่องด้วยความเมตตากรุณาอันลึกซึ้งของท่านที่มีต่อ 1 คันโซ อุจิมูระ, “ตัวแทนบุรุษของประเทศญี่ปุน” จากหนังสืองานที่สมบูรณแบบของคันโซ อุจิมูระ” (โตเกียว : เคียวบุนควัน, ค.ศ.1972) เลม 2 หน้า 130, 140.


45 ผู้คนทั้งหลาย ท่านจึงต้องต่อสู้อย่างดุเดือดกับธรรมชาติมารที่มีอยู่ ดั้งเดิมในชีวิต และเป็นเพราะท่านพยายามที่จะปฏิรูปยุคสมัย ดังกล่าวถึงขึ้นรากฐานนั่นเอง ท่านจึงต้องฟนฝาและมีชัยชนะเหนือ ยุคสมัยดังกล่าวให้ได้ ในอดีตมีปญญาชนเพียงไม่กี่คนที่สามารถเข้าใจได้ อย่างถูกต้องและพอจะพูดคุยสนทนากันได้ถึงแก่นความคิดผู้รักสันติ ของพระนิชิเร็นไดโชนิน ไซโต : การตีความ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง” ของพวกเราจะ กลายเป็นจุดสำาคัญสำาหรับการสนทนาของเราที่เกี่ยวกับความเป็น มนุษยนิยมในพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนิน ซึ่งเป็นหนึ่งหัวข้อ หลักของการสนทนาชุดนี้ โมรินากะ : อ ันท ี ่จร ิงแล ้ว เม ื ่อท ัศนะของ “การกอตั้งคําสอนที่ ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” ซึ่งสมาคมโซคายึดถือ และได้ อุทิศทุ่มเทในการสืบทอดมหาปณิธานและการปฏิบัติเพื่อการเผยแผ่ ธรรมไพศาลถูกก่อตั้งไว้อย่างมั่นคงแล้ว ความคิดเห็นผิด ๆ มากมาย ที่มีต่อพระนิชิเร็นไดโชนินว่าเป็นภาพร่างของชาตินิยมจะเปลี่ยนไป และพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินจะแผ่กว้างออกไปสู่การเป็น ศาสนาโลก อาจารยอิเคดะ : ความหมายของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง”


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ และ “ประเทศเกิดสันติ” คืออะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คําสอนที่ ถูกตอง” หมายถึงอะไร ความหมายของการ “กอตั้ง” คำาสอนนี้ คืออะไร และคำาว่า “ประเทศ” สื่อถึงอะไร กว่า 700 ปที่ผู้คนจำานวนมากได้อ่านบทนิพนธฉบับ นี้ ซึ่งดูเหมือนจะเข้าใจความหมาย ทว่าความจริงแล้วกลับเข้าใจ คำาถามพื้นฐานเหล่านี้ผิดไปอย่างใหญ่หลวง การเข้าใจความหมาย ที่แท้จริงของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิด สันติ” คือการเห็นคุณค่าความสำาคัญของการเคลื่อนไหวที่ส่งเสริม สนับสนุนโดยสมาคมโซคาและเอสจีไอ ยิ่งไปกว่านั้น ภาพที่พรรณนาความหมายพื้นฐาน อย่างถูกต้องของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิด สันติ” จะเปดเผยให้เห็นพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินได้อย่าง ชัดเจนว่าเป็นศาสนาเชิงมนุษยธรรมเพื่อนำาทางสังคมทั้งในปจจุบัน และอนาคต ดังนั้นขอให้พวกเราพิจารณาคำาถามเหล่านี้ด้วย จุดมุ่งหมายที่จะยืนยันถึงสิ่งที่หมายถึงการดำารงชีวิต “บนพื้นฐาน ธรรมนิพนธของพระนิชิเร็นไดโชนิน” ไซโต : ผมถูกถามอยู่บ่อย ๆ ถึงความหมายที่ชัดเจนของแนวคิดที่ ว่า การเผยแผ่ธรรมตลอดชั่วชีวิตของพระนิชิเร็นไดโชนินเริ่มต้นและ จบลงด้วยบทนิพนธฉบับนี้


47 อาจารยอิเคดะ : คำาอธิบายหนึ่งก็คือ ชีวิตของพระนิชิเร็นไดโชนิน ส่วนใหญ่มุ่งให้ความสำาคัญกับบทนิพนธฉบับนี้ กล่าวได้ว่า การทำาให้ หลักการของ “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิด สันติ” เป ็นจร ิงข ึ ้นมาได ้น ั ้นค ือจ ุดประสงค พ ื ้นฐานของความเพ ียร พยายามในการเผยแผ่ธรรมของท่าน โมรินากะ : ผมจะขอลองสรุปชีวิตของพระนิชิเร็นไดโชนินจากจุดยืน นี้ครับ พระนิชิเร็นไดโชนินก่อตั้งคำาสอนเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1253 ในวันนั้นการต่อสู้ของท่านในการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยและ สังคมและนำาพาประชาชนไปสู่การรู้แจ้งได้เริ่มต้นขึ้น อีก 7 ปต่อมา ในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1260 ท่านได้ยื่นบทนิพนธเรื่อง “การ กอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” ให้แก่รัฐบาล อาจารยอิเคดะ : สามารถกล่าวได้ว่าการท้วงติงผู้ปกครองประเทศ ในวันนั้นนับเป็นการเริ่มต้นอย่างแท้จริงของการต่อสู้ที่ได้พัฒนาอย่าง เต็มสมรรถนะของพระนิชิเร็นไดโชนินในการปฏิรูปสังคมและยุคสมัย ไซโต : นั่นคือความหมายที่บ่งบอกว่า การเผยแผ่ธรรมตลอดชั่วชีวิต ของท่านเริ่มต้นด้วยบทนิพนธฉบับนี้ โมรินากะ : การกดขี่บีฑาที่พระนิชิเร็นไดโชนินเผชิญมีความเข้มงวด รุนแรงขึ้นหลังจากการยื่นบทนิพนธเรื่อง “การกอตั้งคําสอนที่ ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” เดือนถัดมา วันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1260 ผู้ติดตามของนิกายสุขาวดีกลุ่มหนึ่งได้โจมตีที่พำานักของ


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ พระนิชิเร็นไดโชนินที่มะจึบางายะจึในคามาคูระและหมายจะเอาชีวิต ของท่าน เหตุการณนี้คงเป็นไปไม่ได้หากผู้มีอำานาจทางการเมืองไม่ ได้อยู่เบื้องหลัง วันที่ 12 พฤษภาคม ปถัดมา พระนิชิเร็นไดโชนิน ถูกเนรเทศไปที่อิสึ ซึ่งคิดว่าการเนรเทศครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะท่านโฮโจ ชิเงโทขิ บิดาของท่านโฮโจ นางาโทขิ2 ผู้สำาเร็จราชการลำาดับที่ 6 และเป็นผู้ศรัทธาที่เหนียวแน่นของนิกายสุขาวดี รู้สึกโกรธเคืองอย่าง สุดขีดต่อเนื้อหาของบทนิพนธเรื่อง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตอง เพ� อใหประเทศเกิดสันติ” อาจารยอิเคดะ : แม้ภัยพิบัติ 2 ประการคือกบฏภายในและการ รุกรานจากต่างชาติ3 ซึ่งได้ทำานายไว้ในเอกสารฉบับนี้ปรากฏเป็น จริงก็ตาม การต่อสู้ตลอดชั่วชีวิตของพระนิชิเร็นไดโชนินก็ยังคง ประสบกับความยากลำาบากที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล อีกด้วย โมรินากะ : ใช ่คร ับ ความส ัมพ ันธ ระหว่างพระน ิช ิเร ็นไดโชน ินก ับ รัฐบาลทหารกลับตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ ใน ค.ศ. 1268 ซึ่งเป็นป ที่จดหมายที่เป็นทางการเรียกร้องให้ประเทศญี่ปุนสวามิภักดิ์ต่อ จักรวรรดิมองโกลได้มาถึง นี่เป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่า คำาพยากรณเรื่องการรุกรานจากต่างชาติกำาลังปรากฏเป็นจริง อาจารยอิเคดะ : จากธรรมนิพนธของพระนิชิเร็นไดโชนินเรื่อง


49 “พฤติกรรมตาง ๆ ของผูปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตร” พวกเรา ได้เรียนรู้ว่า ทันทีหลังจากที่จดหมายฉบับนี้ส่งมาถึง ก็มีการ ถกเถียงกันภายในรัฐบาลถึงการปราบปรามพระนิชิเร็นไดโชนินและ ลูกศิษยของท่าน ให้หนักมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่4 โมรินากะ : ช่วงการบีฑาธรรมที่ทะจึโนะคุจิเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2 โฮโจ ชิเงโทขิ (ค.ศ. 1198 - 1261) และโฮโจ นางาโทขิ (ค.ศ. 1229 - 1264) : ขณะที่โฮโจ โทขิโยริ (ค.ศ. 1227 - 1263) ผู้สําเร็จราชการตระกูลโฮโจลําดับ ที่ 5 ปวยขั้นรุนแรง นางาโทขิได้รับการแตงตั้งให้เปนผู้สําเร็จราชการลําดับ ที่ 6 ในการทําหน้าที่จนกระทั่งโทขิมุเนะ บุตรชายของโทขิโยริเติบใหญขึ้น ชิเงโทขิ ผู้ศรัทธาอยางแรงกล้าของนิกายสุขาวดีได้กดดันนางาโทขิ บุตรชาย ของตนเองให้ลงโทษพระนิชิเร็นไดโชนินโดยเนรเทศไปที่อิสึ หลังจากนั้น ไมนาน ชิเงโทขิก็ปวยหนักเจียนตาย ทุกวิธีรักษาและการอธิษฐานได้ถูก นํามาใช้แตก็ไร้ผล และเสียชีวิตใน ค.ศ. 1261 3 ภัยพิบัติจากกบฏภายในและการรุกรานจากตางชาติ : จากภัยพิบัติ 7 ประการในไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสสูตรทํานายวา ประเทศที่หมิ่นประมาท คําสอนที่ถูกต้องจะพบกับความทุกขยาก ทั้ง 2 ประการนี้ยังไมได้เกิดขึ้น ในสมัยพระนิชิเร็นไดโชนิน ในบทนิพนธเรื่อง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกต้อง เพื่อให้ประเทศเกิดสันติ” พระนิชิเร็นไดโชนินบอกเหตุลวงหน้าวา หาก ประเทศญี่ปุนยังคงให้การสนับสนุนคําสอนที่ผิดและหมิ่นประมาทคําสอน ที่ถูกต้อง ภัยพิบัติทั้ง 2 ประการนี้จะเกิดขึ้นแนนอน 4 ในธรรมนิพนธเรื่อง “พฤติกรรมตาง ๆ ของผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑริกสูตร” พระนิชิเร็นไดโชนินกลาววา : “การตักเตือนของอาตมาได้เรียกให้เกิด ความเปนปฏิปกษเพิ่มมากขึ้น. สภาสูงของผู้สําเร็จราชการได้พบและ ถกกันวาจะตัดศีรษะหรือขับไลอาตมาออกจากคามาคูระ และวาจะริบ ที่ดินหรือประหารลูกศิษยและอุปฏฐากของอาตมา หรือจําคุกหรือเนรเทศ¬


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ค.ศ. 1271 พระนิชิเร็นไดโชนินได้ประกาศอีกครั้งต่อหน้าท่านเฮอิโนะ ซาเอมน5 เจ ้าหน ้าท ี ่ท ี ่มาจ ับก ุมท ่านว ่า การล ้ม “เสาหลักของ ประเทศญี่ปุน” จะนำามาซึ่งภัยพิบัติ 2 ประการอย่างแน่นอน (อ้างอิง ธรรมนิพนธฉบับภาษาอังกฤษ เลม 1 หน้า 579) และหลังการประกาศดังกล่าว ขณะที่ท่านถูกเนรเทศ ไปที่เกาะซาโดะ เหตุการณความไม่สงบโฮโจ โทขิสุเขะ6 ก็เกิดขึ้น คำาพยากรณเรื่องการเกิดกบฏภายในของท่านได้ปรากฏเป็นจริง แล้ว หลังจากที ่ท่านได้รับการอภัยโทษไม่นาน การรุกรานจากมองโกล ครั้งที่ 1 ก็บังเกิดขึ้น คำาพยากรณเรื่องการเกิดการรุกรานจาก ต่างชาติของท่านปรากฏเป็นจริง การรุกรานจากมองโกลครั้งที่ 2 ได้ เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1281 ซึ่งเป็นปก่อนที่พระนิชิเร็นไดโชนินดับขันธ อาจารยอิเคดะ : ภัยพิบัติ 2 ประการนี้สามารถสรุปได้ว่าเป็น “สงครามกลางเมือง” และ “การถูกรุกราน” ไม่มีสิ่งใดโหดร้าย 5 เฮอิโนะ ซาเอมน (เสียชีวิต ค.ศ. 1293) : เจ้าหน้าที่ทหารในสมัยคามาคูระ รับใช้ผู้สําเร็จราชการ 2 รุน คือโฮโจ โทขิมุเนะ และ โฮโจ ซาดาโทขิ เขามี อํานาจมากทั้งทางการเมืองและทางทหารในตําแหนงผู้ชวยหัวหน้า สํานักงานกิจการทหารและตํารวจ มีบทบาทสําคัญในการเนรเทศ พระนิชิเร็นไดโชนินและลูกศิษย 6 เหตุการณความไมสงบโฮโจ โทขิสุเขะ (ค.ศ. 1272) : เหตุการณที่โฮโจ โทขิสุเขะ พี่ชายตางมารดาของโฮโจ โทขิมุเนะ ผู้สําเร็จราชการ ได้วางแผนยึดอํานาจ ทวาโทขิมุเนะทราบแผนการนี้ และปราบปรามอยางทันทวงทีโดยสังหารพี่ชายของตนเอง


51 ยิ่งไปกว่าสงคราม สงครามทำาลายชีวิตประจำาวันของประชาชน คนธรรมดา การทำาให้สันติภาพและความมั่นคงของประชาชนสำาเร็จ เป็นจริง สงครามจะต้องถูกยับยั้งไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม นี่คือ คำาตักเตือนที่จริงใจของพระนิชิเร็นไดโชนิน ในบทนิพนธเรื่อง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อ ใหประเทศเกิดสันติ” ท่านได้เรียกร้องรัฐบาลอย่างจริงจังให้เลือกใช้ หนทางที่หลีกเลี่ยงสงครามก่อนที่จะสายเกินไป อย่างไรก็ตาม โชคไม่ดีที่คำาตักเตือนของท่านไม่ได้รับการใส่ใจ ดังนั้นท่านจึงมอบ ความไว้วางใจแก่ลูกศิษยที่จะทำาให้วิสัยทัศนนี้ของท่านสำาเร็จ เป็นจริง อันที่จริง ก่อนที่พระนิชิเร็นไดโชนินจะดับขันธ ท่านได้มอบ คำาบรรยายที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นไว้ในบทนิพนธที่มีชื่อเสียง ฉบับนี้ ไซโต : มีการบันทึกไว้ว่า คำาบรรยายครั้งนี้ได้เทศนา ณ ที่พำานักของ ตระกูลอิเคงามิ (ปจจุบันคือเขตโอตะของกรุงโตเกียว) เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1282 เพียง 2 สัปดาหก่อนพระนิชิเร็นไดโชนิน ดับขันธ แท้จริงแล้วนี่คือนัยที่บ่งชี้ว่า คำาสอนตลอดชั่วชีวิตของท่าน จบลงด้วย “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” อาจารยอิเคดะ : ในวิถีทางนี้ ชีวิตของพระนิชิเร็นไดโชนินได้คลี่ออก ด้วยเปาหมายหลักซึ่งเป็นการทำาให้แนวคิดเรื่องการก่อตั้งคำาสอนที่ ถูกต ้องส ำาเร ็จเป ็นจร ิง เพ ื ่อท ี ่จะน ำาส ันต ิภาพและความผาส ุกมาสู ่


จุลสารรายเดือน ฉบับที่ 35 11-2563 โลกแหงธรรมนิพนธ ประเทศ เรื่องนี้อยู่ในแก่นของพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนิน เราจะพูดคุยรายละเอียดของเรื่องนี้กันในภายหลัง แต่ ความจริงคือ การพินิจพิเคราะหธรรมะอย่างลึกซึ้งและละเอียดถี่ถ้วน จะนำาไปสู่ความเข้าใจได้ว่า แนวคิดและการปฏิบัติของหลัก “การ กอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อใหประเทศเกิดสันติ” คือส่วนประกอบ สำาคัญของพุทธธรรม สิ่งสำาคัญคือ นี่มิใช่เป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง หร ือของพระน ิช ิเร ็นไดโชน ินแต ่เพ ียงผู ้เด ียวเท ่าน ั ้น ผมค ิดว ่า เรา สามารถกล่าวได้ว่า แนวคิดนี้เป็นพื้นฐานที่มีอยู่ในพุทธธรรมของ พระศากยมุนีพุทธะด้วยเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น อาจกล่าวได้ว่า นี่คือ อุดมคติที่ทุกศาสนาควรมุ่งมั่นที่จะทำาให้สำาเร็จ ดังนั้นจึงเป็นความ รับผิดชอบของผู้ปฏิบัติพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินในการ ก้าวหน้าไปตามเส้นทางของการก่อตั้งคำาสอนที่ถูกต้องเพื่อให้ ประเทศเกิดสันติ “กำรก่อตั้งค�ำสอนที่ถูกตอง” ในแงของบุคคลและในแงของสังคม ไซโต : เหตุใดแนวคิดเรื่อง “การกอตั้งคําสอนที่ถูกตองเพ� อให ประเทศเกิดสันติ” จึงมีการเข้าใจผิดกันอย่างกว้างขวาง อาจารยอิเคดะ : สาเหตุ 2 ประการที่สามารถนำามาอ้างอิงได้


Click to View FlipBook Version