คำ� พพิ ากษาศาลอุทธรณ์คดชี �ำนัญพิเศษที่ ๘๕๐/๒๕๖๓ บริษทั เออซี ี
เอนเนอร์ย่ี จำ� กัด โจทก์
จำ� เลย
กรมสรรพากร
ป.รัษฎากร มาตรา ๓๐
พ.ร.บ. จดั ตัง้ ศาลภาษอี ากรและวธิ พี ิจารณาคดภี าษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๗ (๓), ๙
หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาทเป็นการใช้อ�ำนาจตามกฎหมายของ
เจา้ พนกั งานประเมนิ ในการคนื ภาษใี หโ้ จทกน์ อ้ ยกวา่ ทโ่ี จทกข์ อคนื ไวม้ ไิ ดเ้ ปน็ การประเมนิ
ภาษอี ากรใหโ้ จทกต์ อ้ งชำ� ระเงนิ คา่ ภาษเี พมิ่ เตมิ และตอ้ งมกี ารออกหนงั สอื แจง้ การประเมนิ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีจึงเป็นคดีท่ีพิพาทเก่ียวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.
จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๗ (๓) ซ่ึง
มาตรา ๙ บัญญัติไว้ว่าในกรณีท่ีกฎหมายเก่ียวกับภาษีอากรบัญญัติให้ขอคืนค่าภาษี
อากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาท่ีก�ำหนดไว้ จะด�ำเนินการในศาลภาษี
อากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเช่นว่านั้น และ
ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้เพียงก�ำหนดเวลาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม และแบบท่ีใช้ใน
การขอคืนเท่าน้ัน มิได้ก�ำหนดให้ผู้ขอคืนค่าภาษีอากรที่ไม่พอใจค�ำส่ังของเจ้าพนักงาน
เกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรต้องอุทธรณ์ค�ำส่ังของเจ้าพนักงาน ดังนี้ ค�ำส่ังของ
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณท์ ไ่ี ม่รบั อุทธรณข์ องโจทก์ไว้พจิ ารณาโดยเหน็ ว่าอุทธรณ์
ของโจทกเ์ ปน็ การอทุ ธรณค์ ำ� สง่ั คนื เงนิ ภาษอี ากร มใิ ชก่ ารอทุ ธรณก์ ารประเมนิ ภาษอี ากร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๓๐ จึงชอบแล้ว
______________________________
โจทกฟ์ อ้ งและแกไ้ ขคำ� ฟอ้ ง ขอใหจ้ ำ� เลยคนื เงนิ ภาษมี ลู คา่ เพม่ิ ประจำ� เดอื นภาษมี กราคม
๒๕๕๘ จ�ำนวน ๑,๒๙๐,๗๗๙.๗๖ บาท พรอ้ มดอกเบ้ียอัตรารอ้ ยละ ๑ ตอ่ เดือน นับแต่วนั ที่ ๑๘
มิถุนายน ๒๕๕๘ จนกว่าจะช�ำระเสร็จ ดอกเบ้ียคิดถึงวันฟ้อง เป็นเงิน ๕๐๓,๔๐๓.๘๑ บาท
ภาษมี ูลคา่ เพม่ิ ประจ�ำเดอื นภาษกี ุมภาพนั ธ์ ๒๕๕๘ จ�ำนวน ๓๔๓,๕๕๙.๖๙ บาท พร้อมดอกเบี้ย
อตั ราร้อยละ ๑ ต่อเดือน นับแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ จนกว่าจะช�ำระเสร็จ ดอกเบย้ี คิด
ถึงวันฟ้อง เป็นเงิน ๑๓๐,๕๕๒.๔๒ บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มประจ�ำเดือนภาษีพฤษภาคม ๒๕๕๘
341
จ�ำนวน ๑๑๙,๖๙๗.๘๘ บาท พรอ้ มดอกเบยี้ อัตราร้อยละ ๑ ตอ่ เดือน นบั แต่วนั ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
จนกว่าจะช�ำระเสรจ็ ดอกเบย้ี คดิ ถึงวันฟอ้ ง เป็นเงิน ๔๑,๘๙๓.๙๕ บาท
จ�ำเลยให้การ ขอให้ยกฟอ้ ง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายกฟอ้ ง คา่ ฤชาธรรมเนียมให้เปน็ พบั
โจทกอ์ ุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์
เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการค้า น�ำเข้าและส่งออก ค้าส่ง ค้าปลีก น้�ำมันเชื้อเพลิง และเป็น
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมลู คา่ เพิ่ม โจทก์ซอื้ น�้ำมันจากบริษัทไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน)
ขายให้แก่ลูกค้า ส่งออกน�้ำมันไปขายแก่ลูกค้าในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
โจทก์ย่ืนแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพ่ิม ประจ�ำเดือนภาษีมกราคม ๒๕๕๘ วันที่ ๑๗
มีนาคม ๒๕๕๘ โจทกย์ น่ื แบบแสดงรายการภาษีมลู คา่ เพม่ิ ประจำ� เดือนภาษกี ุมภาพนั ธ์ ๒๕๕๘
วนั ท่ี ๒๒ มถิ นุ ายน ๒๕๕๘ โจทกย์ นื่ แบบแสดงรายการภาษมี ลู คา่ เพม่ิ ประจำ� เดอื นภาษพี ฤษภาคม
๒๕๕๘ เจ้าพนักงานของจ�ำเลยส่งหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพ่ิมพร้อมแนบหนังสือแจ้งคืน
เงินภาษีมูลค่าเพิ่มรวม ๓ ฉบับ ตามหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพ่ิม เลขที่ ภ.พ.๗๒.๑-
๐๓๐๒๗๒๑๐-๒๕๕๙๑๐๐๕-๐๐๕-๐๐๐๐๑ ถึง ๐๐๐๐๓ ลงวันท่ี ๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ โจทก์
อุทธรณ์ ขอให้ยกเลิกการประเมินและคืนภาษีมูลค่าเพ่ิม คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีมติ
ไมร่ ับอทุ ธรณข์ องโจทก์ไวพ้ ิจารณา
คดมี ปี ญั หาทตี่ อ้ งวนิ จิ ฉยั ประการแรกตามอทุ ธรณข์ องโจทกว์ า่ คำ� สง่ั ของคณะกรรมการ
พิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า หนังสือ
แจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาทเป็นการใช้อ�ำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานประเมินใน
การคืนภาษีให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอคืนไว้ มิได้เป็นการประเมินภาษีอากรให้โจทก์ต้องช�ำระ
เงินค่าภาษีเพ่ิมเติมและต้องมีการออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพ่ิม กรณีจึงเป็นคดีท่ี
พิพาทเก่ียวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณา
คดีภาษอี ากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๗ (๓) ซึง่ มาตรา ๙ บญั ญตั ไิ วว้ า่ ในกรณีที่กฎหมายเกย่ี วกบั
ภาษีอากรบัญญัติให้ขอคืนค่าภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาท่ีก�ำหนดไว้
จะด�ำเนินการในศาลภาษีอากรได้กต็ อ่ เม่ือได้มีการปฏิบัตติ ามหลักเกณฑ์ วธิ กี าร และระยะเวลา
เช่นว่าน้ัน และประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้เพียงก�ำหนดเวลาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม และแบบ
ท่ีใช้ในการขอคืนเท่านั้น มิได้ก�ำหนดให้ผู้ขอคืนค่าภาษีอากรท่ีไม่พอใจค�ำส่ังของเจ้าพนักงาน
342
เกย่ี วกบั การขอคนื คา่ ภาษอี ากรตอ้ งอทุ ธรณค์ ำ� สง่ั ของเจา้ พนกั งาน ดงั นี้ คำ� สง่ั ของคณะกรรมการ
พจิ ารณาอทุ ธรณท์ ไี่ มร่ บั อทุ ธรณข์ องโจทกไ์ วพ้ จิ ารณาโดยเหน็ วา่ อทุ ธรณข์ องโจทกเ์ ปน็ การอทุ ธรณ์
คำ� สงั่ คืนเงินภาษีอากร มใิ ชก่ ารอทุ ธรณ์การประเมินภาษอี ากรตามประมวลรษั ฎากร มาตรา ๓๐
จงึ ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทกข์ ้อน้ฟี ังไมข่ ้นึ
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า หนังสือแจ้งคืนเงิน
ภาษีมูลค่าเพ่ิมของเจ้าพนักงานของจ�ำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า โจทก์น�ำสืบว่า
บริษัทเมิงเลียง คันทรี คายแมน ดราก้อน โลจิสติกส์ จ�ำกัด เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของ
สาธารณรัฐประชาชนจีน จดทะเบียนจัดต้ังปี ๒๕๔๙ และหยุดด�ำเนินกิจการปลายปี ๒๕๕๘
ตามส�ำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการนิติบุคคล พร้อมค�ำแปล และส�ำเนาหนังสือแจ้งผลการ
ตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะที่โจทก์ขายสินค้าให้บริษัท
เมงิ เลียง คันทรี คายแมน ดราก้อน โลจิสตกิ ส์ จ�ำกดั ในเดือนมกราคม ๒๕๕๘ บริษัทเมงิ เลียง
คันทรี คายแมน ดราก้อน โลจิสติกส์ จ�ำกัด ยังคงประกอบกิจการอยู่ และน�ำสืบว่าบริษัท
ทิท ลวิน มอ เทรดดิ้ง จำ� กดั จดั ตั้งตามกฎหมายของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมยี นมาในวนั ที่ ๓๐
พฤษภาคม ๒๕๕๕ ใบอนญุ าตหมดอายวุ นั ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ นนั้ แมต้ ามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพง่ มาตรา ๙๓ ประกอบพระราชบัญญตั ิจดั ต้ังศาลภาษอี ากรและวิธีพิจารณา
คดีภาษอี ากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๗ กำ� หนดกฎเกณฑ์เกยี่ วกบั การรบั ฟงั เอกสารเป็นพยาน
ให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่าน้ัน แต่โจทก์ฟ้องโดยแนบส�ำเนาใบอนุญาตประกอบ
กิจการของบริษัทเมิงเลียง คันทรี คายแมน ดราก้อน โลจิสติกส์ จ�ำกัด พร้อมค�ำแปล ส�ำเนา
หนังสือแจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลในสาธารณรัฐประชาชนจีน และส�ำเนาข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์บริษัททิท ลวิน มอ เทรดด้ิง จ�ำกัด จากเว็บไซต์ opencorporates.com มา
ทา้ ยฟอ้ ง ซง่ึ เป็นส่วนหนง่ึ ของฟอ้ ง จ�ำเลยใหก้ ารว่าเอกสารดงั กลา่ วรับฟังไม่ได้ โดยไมไ่ ดใ้ ห้การ
โต้แย้งคัดค้านว่าเอกสารไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับน้ันปลอมท้ังฉบับหรือบางส่วน หรือ
ส�ำเนานนั้ ไมถ่ กู ต้องกบั ต้นฉบับอยา่ งหนึ่งอยา่ งใด ท้ังในช้ันพจิ ารณาไม่ไดโ้ ต้แย้งไว้กอ่ นโจทกส์ บื
ส�ำเนาเอกสารน้ันเสร็จ ศาลย่อมรับฟังส�ำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานได้ตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๓ (๑) และมาตรา ๑๒๕ วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติ
จดั ตั้งศาลภาษีอากรและวธิ พี จิ ารณาคดภี าษอี ากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๗ ศาลจึงรบั ฟังสำ� เนา
เอกสารท่ีโจทก์อ้างเป็นพยานได้ แต่ท้ังน้ีไม่เป็นการตัดอ�ำนาจศาลท่ีจะวินิจฉัยว่าส�ำเนาเอกสาร
น้ันเป็นเอกสารท่ีมีอยู่จริง ความแท้จริง หรือความถูกต้องในเมื่อศาลเห็นสมควรตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพง่ มาตรา ๑๒๕ วรรคสาม ตอนท้าย และมาตรา ๑๐๔ วรรคหนึ่ง
343
ประกอบพระราชบัญญัติจัดต้ังศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๑๗ เมอื่ วนิ จิ ฉยั ดงั นแี้ ลว้ ศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษจะไดว้ นิ จิ ฉยั ตอ่ ไปวา่ พยานหลกั ฐาน
และเอกสารของโจทก์จะรับฟังได้เพียงใด ในข้อนี้ เห็นว่า ทางพิจารณาได้ความว่า การท่ี
เจา้ พนกั งานของจำ� เลยมหี นงั สอื แจง้ คนื เงนิ ภาษมี ลู คา่ เพม่ิ พพิ าททง้ั ๓ ฉบบั ใหแ้ กโ่ จทกน์ อ้ ยกวา่
ที่ขอคืน สืบเนื่องจากประมาณเดือนมีนาคม ๒๕๕๘ เจ้าพนักงานของจ�ำเลยได้รับแจ้งข้อมูลว่า
การประกอบธุรกจิ ของโจทก์อาจมคี วามเกี่ยวข้องกับการกระท�ำความผิดภาษสี รรพสามติ โดยมี
สาเหตุจากกรมสรรพสามิตจับบุคคลขับรถขนส่งน�้ำมันลักลอบน�ำเข้าน�้ำมันดีเซล ๖,๙๘๐ ลิตร
และนำ�้ มนั เบนซนิ ๗,๘๔๘ ลติ ร จากสาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมยี นมาเขา้ ประเทศไทยทางจดุ ผา่ น
แดนถาวรบ้านพุน�้ำร้อน ต�ำบลบ้านเก่า อ�ำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จากการ
ตรวจค้นพบว่ามีการดัดแปลงถังน้�ำมันส�ำหรับเก็บน�้ำมันซุกซ่อนเพื่อน�ำน�้ำมันกลับเข้ามา
ในประเทศไทย ใบกำ� กบั การรบั /สง่ ผลติ ภณั ฑน์ ำ�้ มนั ทางรถยนตข์ องบรษิ ทั ไทยออยล์ จำ� กดั (มหาชน)
มีช่ือโจทก์เป็นผู้ซ้ือน�้ำมัน ในชั้นตรวจสอบภาษีเจ้าพนักงานของจ�ำเลยวิเคราะห์ข้อมูลจากการ
ช้แี จงของโจทกป์ ระกอบเอกสารหลักฐานตา่ ง ๆ ที่โจทกส์ ่งมอบและหลกั ฐานท่ไี ด้จากหนว่ ยงาน
ทีเ่ กยี่ วขอ้ งจากการตรวจปฏบิ ตั ิการคืนภาษีมลู ค่าเพมิ่ แลว้ พบวา่ บรษิ ทั ทาว กา เหลียง จำ� กัด
เลิกกิจการวนั ท่ี ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ บรษิ ัททิท ลวนิ มอ เทรดดิ้ง จำ� กัด เลกิ กจิ การวันที่ ๒๕
เมษายน ๒๕๕๘ ส่วนนายอู เสน วิน และบริษัทเมิงเลียง คันทรี คายแมน ดราก้อน
โลจิสติกส์ จ�ำกัด ไม่พบข้อมูลว่าประกอบกิจการ โดยโจทก์ได้รับช�ำระค่าสินค้าจากผู้ซ้ือ
ทั้ง ๔ ราย ด้วยวิธีการโอนเงินผ่านตู้ ATM หรือโอนเงินทางเคาน์เตอร์ธนาคารในประเทศไทย
จงึ พจิ ารณาวา่ การขายนำ�้ มนั ดงั กลา่ วเปน็ การขายนำ้� มนั ในประเทศ ไมม่ กี ารสง่ ออกไปตา่ งประเทศ
จริง เม่ือโจทก์อ้างว่า โจทก์ได้ขายและส่งออกน�้ำมันไปต่างประเทศให้แก่บริษัทเมิงเลียง คันทรี
คายแมน ดราก้อน โลจิสติกส์ จ�ำกัด และบริษัททาว กา เหลียง จ�ำกัด ในเดือนภาษีมกราคม
๒๕๕๘ ให้แก่นายอู เสน วิน ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ และให้แก่บริษัททิท ลวิน มอ
เทรดด้ิง จ�ำกัด ในเดือนภาษีพฤษภาคม ๒๕๕๘ ซึ่งกระบวนการข้ันตอนการซ้ือขายและขนส่ง
น้�ำมันรวมไปถึงฐานะความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาเป็นทางค้าปกติ และเป็นเร่ืองภายในที่อยู่
ในความรับรู้ของโจทก์เอง โจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๘๔/๑ ประกอบพระราชบัญญัติจัดต้ังศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๗ ที่โจทก์น�ำสืบว่า โจทก์ได้ส่งออกน้�ำมันไปสาธารณรัฐประชาชนจีน
ด้วยการจำ� หน่ายให้แก่บรษิ ัทเมงิ เลียง คันทรี คายแมน ดรากอ้ น โลจสิ ตกิ ส์ จ�ำกัด และสง่ ออก
น้�ำมันไปสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาด้วยการจ�ำหน่ายให้แก่บริษัททาว กา เหลียง จ�ำกัด
344
นายอู เสน วิน และบริษัททิท ลวิน มอ เทรดด้ิง จ�ำกัด โดยบริษัทเมิงเลียง คันทรี คายแมน
ดราก้อน โลจิสติกส์ จ�ำกัด เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายสาธารณรัฐประชาชนจีน จดทะเบียน
จัดต้ังวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ระยะเวลาด�ำเนินธุรกิจวันท่ี ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ถึง
วันท่ี ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ตามส�ำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการนิติบุคคล ซ่ึงเอกสาร
ฉบับน้ี เป็นหลักฐานว่าทางหน่วยงานของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อนุญาตให้จัดต้ังบริษัท
เมิงเลยี ง คนั ทรี คายแมน ดรากอ้ น โลจสิ ติกส์ จ�ำกัด เปน็ นิตบิ ุคคลต้งั แตว่ ันท่ี ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
โดยมีระยะเวลาด�ำเนินการจนถึงวันท่ี ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เมื่อหนังสือฉบับนี้
ออกให้ ณ วนั ที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ตามข้อความในเอกสารฉบับนม้ี ิได้เป็นหลักฐานยืนยนั
แน่ชัดว่าบริษัทเมิงเลียง คันทรี คายแมน ดราก้อน โลจิสติกส์ จ�ำกัด ประกอบกิจการจนถึง
วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑ และส�ำเนาหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลใน
สาธารณรัฐประชาชนจีน มีข้อความว่า บริษัทเมิงเลียง คันทรี คายแมน ดราก้อน โลจิสติกส์
จำ� กัด จดทะเบยี นจัดตั้งบริษัทเมื่อปี ๒๕๔๙ แตป่ ัจจบุ นั หยดุ ด�ำเนินการและแจ้งต่อกรมพาณิชย์
ท้องถ่ิน (เขตสิบสองปันนา) ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๘ เพ่ือขอยกเลิกกิจการ ปัจจุบันอยู่ระหว่าง
รออนุมัติยกเลิกกิจการ แต่วันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมิงเลียง คันทรี คายแมน ดราก้อน
โลจิสตกิ ส์ จำ� กัด ในส�ำเนาเอกสารทัง้ ๒ ฉบับ แตกต่างกนั ซึง่ โจทก์มิได้นำ� สืบใหเ้ ห็นวา่ เหตุใด
จึงเป็นเช่นว่าน้ัน กรณีมีเหตุสงสัยว่าข้อความในส�ำเนาเอกสารท้ัง ๒ ฉบับ จะถูกต้องตรงกับ
ต้นฉบับหรือไม่ จึงไม่อาจฟังยุติไปทางใดทางหนึ่งได้ ส่วนที่โจทก์น�ำสืบว่า บริษัทเมิงเลียง
คนั ทรี คายแมน ดราก้อน โลจสิ ติกส์ จ�ำกดั แต่งตัง้ บุคคลช่อื นายพงษ์พล บุญโภคา เป็นตวั แทน
สั่งซ้ือน�้ำมัน แต่ไม่ปรากฏว่า ในชั้นตรวจคืนภาษีมูลค่าเพ่ิมโจทก์สามารถยืนยันตัวตนหรือ
ได้น�ำบุคคลดังกล่าวมาให้การต่อเจ้าพนักงานของจ�ำเลย ส่วนบริษัททาว กา เหลียง จ�ำกัด
และนายอู เสน วนิ โจทกน์ ำ� สบื เพียงลอย ๆ โดยไม่มีหลกั ฐานหรือเอกสารใดวา่ บรษิ ัททาว กา
เหลียง จ�ำกัด มีสภาพเป็นนิติบุคคลและนายอู เสน วิน มีตัวตน และสั่งซ้ือน้�ำมันไปจากโจทก์
อนั เปน็ เหตุให้ทางน�ำสบื ในส่วนนขี้ องโจทก์ไม่มนี ้�ำหนัก สำ� หรับบริษัททิท ลวิน มอ เทรดดิง้ จ�ำกัด
โจทก์น�ำสืบว่า บริษัททิท ลวิน มอ เทรดด้ิง จ�ำกัด จัดต้ังตามกฎหมายของสาธารณรัฐแห่ง
สหภาพเมยี นมาในวนั ท่ี ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ใบอนญุ าตหมดอายวุ นั ท่ี ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓
ตามส�ำเนาเอกสารและค�ำแปล เอกสารหมาย จ.๑ แผ่นท่ี ๑๘๕ และ ๑๘๖ แต่ส�ำเนา
เอกสารหมาย จ.๑ แผน่ ท่ี ๑๘๕ เปน็ สำ� เนาเอกสารทค่ี ดั ลอกมาจากเวบ็ ไซต์ opencorporates และ
ในเว็บไซต์ดังกล่าวระบุด้วยว่าไม่รับรองความถูกต้องของข้อมูล ท�ำให้ไม่อาจยืนยัน
ความถูกต้องของข้อความที่ลงไว้ในเว็บไซต์ ส่วนท่ีโจทก์น�ำสืบต่อไปว่า บริษัททิท ลวิน มอ
345
เทรดด้ิง จ�ำกัด แต่งต้ังนายอภิชาต (ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด กิฏิวัฒน์) เป็นตัวแทนสั่งซื้อน�้ำมัน
ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์สามารถพิสูจน์ตัวตนของนายอภิชาตหรือได้น�ำนายอภิชาตมาให้การ
ต่อเจ้าพนักงานของจ�ำเลย ตามพฤติการณ์ทั้งหมดพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน�้ำหนัก
เพียงพอให้ฟังได้ว่า โจทก์ได้ขายและส่งออกน้�ำมันไปต่างประเทศให้แก่บริษัทเมิงเลียง คันทรี
คายแมน ดราก้อน โลจิสติกส์ จ�ำกัด และบริษัททาว กา เหลียง จ�ำกัด ในเดือนภาษีมกราคม
๒๕๕๘ ให้แก่นายอู เสน วิน ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ และให้แก่บริษัททิท ลวิน มอ
เทรดด้งิ จำ� กดั ในเดือนภาษีพฤษภาคม ๒๕๕๘ ดงั ท่โี จทกอ์ ้าง การที่เจา้ พนกั งานประเมนิ ภาษี
มลู ค่าเพ่ิมของนำ�้ มนั จำ� นวนดงั กล่าวเสียใหม่ แล้วคนื เงินภาษมี ลู ค่าเพมิ่ ใหโ้ จทก์น้อยกวา่ ทโ่ี จทก์
ขอคืนตามหนงั สอื แจ้งคนื เงนิ ภาษีมูลค่าเพิม่ พพิ าทจึงชอบแล้ว สำ� หรบั ทโ่ี จทก์อทุ ธรณว์ า่ การท่ี
เจ้าพนักงานของจ�ำเลยตรวจสอบว่าลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศหรือผู้ซ้ือสินค้าจากโจทก์
มีตัวตนและประกอบกิจการอยู่จริงหรือไม่ เป็นการสอบสวนนอกเหนืออ�ำนาจหน้าท่ี ไม่มี
บทบญั ญตั ิแห่งกฎหมายให้อ�ำนาจไว้นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๘/๓ และ ๘๘/๔ ก�ำหนดวิธี
การในการตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการ
หลีกเลี่ยงการเสียภาษี และข้อเท็จจริงเก่ียวกับความมีอยู่และการประกอบกิจการของนิติบุคคล
หรือบุคคลธรรมดาผู้ซื้อในต่างประเทศ ย่อมเป็นข้อส�ำคัญหน่ึงที่อาจสนับสนุนให้เห็นได้ว่า
โจทก์ได้ส่งน้�ำมันออกไปนอกราชอาณาจักรจริงหรือไม่ ดังน้ัน การท่ีเจ้าพนักงานของจ�ำเลย
ตรวจสอบวา่ ลกู คา้ ของโจทกใ์ นตา่ งประเทศหรอื ผซู้ อื้ สนิ คา้ จากโจทกม์ ตี วั ตนและประกอบกจิ การ
อยจู่ รงิ หรอื ไม่ จงึ หาไดเ้ ปน็ การสอบสวนนอกเหนอื อ�ำนาจหนา้ ทอี่ นั ไมม่ บี ทบัญญัติแหง่ กฎหมาย
ให้อ�ำนาจไว้ดังที่โจทก์อ้าง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญ
พิเศษเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้วไม่จ�ำต้องวินิจฉัย
อทุ ธรณข์ อ้ อนื่ ของโจทก์อกี ต่อไปเพราะไมอ่ าจเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีได้
พพิ ากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชัน้ อุทธรณใ์ หเ้ ปน็ พบั .
(วิวฒั น์ สวุ ัณณะสงั ข์ - เดชา คำ� สิทธิ - วชิ ยั จิตตาณชิ ย)์
สกุ ุมล รุ่งพรทวีวฒั น์ - ยอ่
วีนสั นิมติ กุล - ตรวจ
หมายเหตุ คดถี ึงทสี่ ุด
346
คำ� พิพากษาศาลอทุ ธรณ์คดีชำ� นญั พิเศษที่ ๘๖๘/๒๕๖๐ บรษิ ัทไทยเพรซเิ ดนทฟ์ ดู ส์
จ�ำกดั (มหาชน) โจทก์
กรมสรรพากร จ�ำเลย
พ.ร.บ. สง่ เสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ มาตรา ๓
พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับท่ี ๓๘๗)
พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๓
พ.ร.บ. สง่ เสรมิ การลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ เปน็ กฎหมายเฉพาะ แต่เมอื่ ไม่ได้บัญญตั ิ
ถึงวิธีการค�ำนวณก�ำไรสุทธิเพ่ือเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ การเสียภาษี
เงินได้นิติบุคคลส�ำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไม่ว่ามีการประกอบกิจการ
ท่ีไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนร่วมด้วยหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวล
รัษฎากร เมื่อพิจารณา พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลด
อัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๓ มิได้ระบุว่าก�ำไรส่วนท่ีไม่เกิน
๓๐๐ ล้านบาท ไม่รวมถึงก�ำไรของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ทั้ง ๆ ท่ีตราขึ้น
ภายหลงั พ.ร.บ. สง่ เสรมิ การลงทนุ พ.ศ. ๒๕๒๐ ถงึ ๒๔ ปี หากกฎหมายประสงคจ์ ะไมใ่ หน้ ำ�
ก�ำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมารวมในยอดก�ำไรสุทธิที่ไม่เกิน
๓๐๐ ล้านบาท ก็น่าจะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว สิทธิของโจทก์ท่ีจะได้รับประโยชน์ใน
การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ต้องพิจารณาจากก�ำไร
สทุ ธริ วมของโจทก์ โดยนำ� เอากำ� ไรสทุ ธขิ องกจิ การทไี่ ดร้ บั การสง่ เสรมิ การลงทนุ ซงึ่ ไดร้ บั
ยกเวน้ ภาษเี งินได้นิตบิ ุคคลทงั้ จำ� นวนมารวมกบั กจิ การที่ไม่ไดร้ บั การสง่ เสริมการลงทนุ
ป.รัษฎากรไม่มีบทบัญญัติให้งดหรือลดเงินเพิ่มได้เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา
๒๗ วรรคสอง เมื่อเงินเพิ่มเกิดข้ึนโดยผลของกฎหมายมิได้เกิดจากข้อสัญญาท่ีลูกหน้ี
ให้ไว้แก่เจ้าหน้ี การท่ีโจทก์ผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียภาษีภายในก�ำหนด ประกอบกับ
ป.รัษฎากรก�ำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดหรือลดได้ จึงไม่อาจพิจารณา
ใหง้ ดหรอื ลดเงินเพมิ่ แกโ่ จทกไ์ ด้
______________________________
347
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือแจ้งภาษี
เงินได้นิติบุคคล ลงวันท่ี ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ
พจิ ารณาอุทธรณเ์ ลขท่ี ภญ.(อธ.๒)/๒๗๑/๒๕๕๘ ลงวนั ที่ ๒๓ กนั ยายน ๒๕๕๘ กบั ใหง้ ดหรือ
ลดเงินเพ่มิ แก่โจทก์
จำ� เลยใหก้ ารขอใหย้ กฟอ้ ง
ศาลภาษอี ากรกลางพพิ ากษายกฟอ้ ง คา่ ฤชาธรรมเนยี มและค่าทนายความใหเ้ ป็นพบั
โจทกอ์ ทุ ธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติใน
ชน้ั นว้ี า่ โจทกเ์ ปน็ นติ บิ คุ คลประเภทบรษิ ทั มหาชนจำ� กดั มวี ตั ถปุ ระสงคห์ ลกั ในการประกอบกจิ การ
ผลติ บะหมกี่ งึ่ สำ� เรจ็ รปู ขนมปงั อบกรอบ และเครอื่ งปรงุ สำ� เรจ็ รปู ซงึ่ มที ง้ั กจิ การทไ่ี ดร้ บั การสง่ เสรมิ
การลงทุน (BOI) และกิจการท่ีไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (NON-BOI) โดยโจทก์ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตบะหม่ีก่ึงส�ำเร็จรูปตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทนุ เลขที่ ๑๖๕๗/๒๕๓๙ ลงวนั ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ เร่ิมใช้สทิ ธวิ นั ท่ี ๑ มกราคม ๒๕๔๐
และบตั รสง่ เสรมิ คณะกรรมการสง่ เสรมิ การลงทนุ เลขท่ี ๑๔๗๓/๒๕๔๐ ลงวนั ท่ี ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๐
เริ่มใช้สิทธิวันท่ี ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๔ โจทก์ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ มาตรา ๓๑ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลส�ำหรับก�ำไร
สทุ ธทิ ไ่ี ดจ้ ากการประกอบกจิ การที่ไดร้ บั การส่งเสรมิ มกี ำ� หนดเวลา ๘ ปี นบั แตว่ นั ท่ีเริ่มมรี ายได้
จากการประกอบกิจการนั้นและโดยที่โจทก์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อน
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรษั ฎากรวา่ ด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบบั ท่ี ๓๘๗)
พ.ศ. ๒๕๔๔ ใชบ้ งั คบั โจทก์จงึ ไดร้ ับสิทธิลดอตั ราภาษเี งินได้นิติบคุ คลตามเงอื่ นไขทีก่ ำ� หนดไว้
ในมาตรา ๓ แหง่ พระราชกฤษฎกี าฉบบั ดงั กลา่ ว โดยคงจดั เกบ็ ในอตั รารอ้ ยละ ๒๕ ของกำ� ไรสทุ ธิ
เฉพาะสว่ นทีไ่ มเ่ กนิ ๓๐๐ ลา้ นบาท เป็นเวลาหา้ รอบระยะเวลาบัญชตี อ่ เนอื่ งกันนบั แตร่ อบระยะ
เวลาบญั ชแี รกทเี่ รม่ิ ในหรอื หลงั วนั ทพี่ ระราชกฤษฎกี านใ้ี ชบ้ งั คบั โจทกย์ น่ื แบบแสดงรายการภาษี
เงนิ ไดน้ ติ บิ ุคคล (ภ.ง.ด.๕๐) สำ� หรบั รอบระยะเวลาบญั ชีต้งั แตว่ นั ที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๖ ถึงวนั ท่ี
๓๑ ธนั วาคม ๒๕๔๖ เมอ่ื วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ โดยแสดงรายการวา่ โจทกม์ ีก�ำไรสทุ ธิ
ตามบญั ชกี ำ� ไรขาดทนุ สำ� หรบั กจิ การทไ่ี ดร้ บั ยกเวน้ ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คล (BOI) ๒๔๒,๘๒๙,๓๖๔.๗๓ บาท
มีรายจ่ายท่ีไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากรส�ำหรับกิจการส่วนนี้ ๒๕๔,๐๙๘.๕๒ บาท
และมีก�ำไรสุทธิจากกิจการท่ีต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (NON-BOI) ๘๒,๗๑๑,๐๕๗.๒๙ บาท
348
รวมก�ำไรสุทธิท่ีต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ๘๒,๙๖๕,๑๕๕.๘๑ บาท ค�ำนวณภาษีเงินได้
นิติบุคคลในอัตราร้อยละ ๒๕ (กรณีลดอัตราภาษี) คิดเป็นค่าภาษี ๒๐,๗๔๑,๒๘๘.๙๖ บาท
หกั ภาษเี งนิ ไดห้ กั ณ ทจี่ า่ ย ๑,๘๔๑,๒๕๗.๗๖ บาท คงเหลอื ภาษที ต่ี อ้ งชำ� ระเพม่ิ ๑๘,๙๐๐,๐๓๑.๒๐ บาท
ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจ�ำเลยมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล ลงวันที่ ๒๒
พฤษภาคม ๒๕๕๗ แจ้งว่าโจทก์ย่ืนแบบแสดงรายการค�ำนวณก�ำไรสุทธิโดยใช้สิทธิลดอัตรา
ภาษีตามมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลด
อัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ อัตราร้อยละ ๒๕ จากก�ำไรสุทธิเฉพาะส่วนท่ีไม่
เกิน ๓๐๐ ล้านบาท ไม่ถูกต้องเน่ืองจากโจทก์ประกอบกิจการทั้งท่ีได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้
นิติบุคคลและท่ีไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลผลการด�ำเนินงานของทั้งสองกิจการต่าง
มกี ำ� ไรสทุ ธกิ ารคำ� นวณกำ� ไรสทุ ธเิ พอ่ื เสยี ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลตอ้ งนำ� กำ� ไรสทุ ธขิ องทงั้ สองกจิ การ
รวมเป็นจ�ำนวนเดียวและต้องเฉล่ียก�ำไรสุทธิตามสัดส่วนของก�ำไรสุทธิส่วนท่ีไม่เกิน ๓๐๐ ล้าน
บาท ในอตั รารอ้ ยละ ๒๕ และเฉลี่ยก�ำไรสทุ ธิตามสัดส่วนของกำ� ไรสุทธิส่วนท่ีเกิน ๓๐๐ ล้านบาท
ในอัตราร้อยละ ๓๐ ซึ่งภาษีท่ีค�ำนวณได้ตามแบบแสดงรายการส�ำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
ตง้ั แตว่ ันท่ี ๑ มกราคม ๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ มีจำ� นวน ๒๑,๐๐๕,๑๙๓.๔๑ บาท
หักภาษีที่ช�ำระไว้แล้ว ๒๐,๗๔๑,๒๘๘.๙๖ บาท โจทก์จึงช�ำระภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไป
๒๖๓,๙๐๔.๔๕ บาท เจ้าพนกั งานประเมนิ จึงอาศัยอ�ำนาจตามมาตรา ๑๘ แห่งประมวลรัษฎากร
ประเมินให้โจทก์ช�ำระเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ช�ำระไว้ขาดจ�ำนวนดังกล่าวพร้อมเงินเพ่ิมตาม
มาตรา ๒๗ แห่งประมวลรัษฎากร ค�ำนวณถึงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นเงิน
๒๖๓,๙๐๔.๔๕ บาท รวมเป็นเงินท่ีโจทก์ต้องช�ำระทั้งสิ้น ๕๒๗,๘๐๘ บาท โจทก์ย่ืนอุทธรณ์
คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัย
วา่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมนิ ชอบแลว้ ใหย้ กอทุ ธรณ์ของโจทกต์ ามค�ำวนิ จิ ฉยั อุทธรณ์
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการแรกมีว่าการประเมินของเจ้าพนักงาน
ประเมินและค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้ใช้วิธีการค�ำนวณ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ส�ำหรับรอบระยะเวลาบัญชีต้ังแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๖ ถึง
วันท่ี ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ จากกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยน�ำก�ำไรสุทธิ
ของกจิ การทไ่ี ดร้ บั การสง่ เสรมิ การลงทนุ ซงึ่ ไดร้ บั ยกเวน้ ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลมารวมกบั กำ� ไรสทุ ธิ
ของกิจการท่ีไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วเฉล่ียก�ำไรสุทธิตามสัดส่วนเพื่อค�ำนวณ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลส่วนที่โจทก์ได้รับประโยชน์ลดอัตราภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตาม
349
ความในประมวลรัษฎากร วา่ ด้วยการลดอัตรารษั ฎากร (ฉบบั ท่ี ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ ชอบดว้ ย
กฎหมายหรือไม่ โดยโจทก์กล่าวในอุทธรณ์ว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐
เป็นกฎหมายเฉพาะจึงไม่อาจน�ำประมวลรัษฎากรซ่ึงเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับการลด
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ ๓๐ เหลือร้อยละ ๒๕ ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึง
ไม่รวมถึงก�ำไรสุทธิจากกิจการท่ีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติส่งเสริม
การลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ ทัง้ พระราชกฤษฎกี าฯ (ฉบับที่ ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ ก็มไิ ดก้ ำ� หนดใหใ้ ช้
หลักเกณฑ์การปันส่วนและเฉลี่ยก�ำไรสุทธิของแต่ละกิจการ เห็นว่า ในปัญหาน้ีพระราชบัญญัติ
ส่งเสรมิ การลงทนุ พ.ศ. ๒๕๒๐ มาตรา ๓ บัญญตั วิ า่ “...บรรดาบทกฎหมาย กฎ และขอ้ บงั คบั
อื่นในส่วนท่ีมีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
ให้ใช้พระราชบัญญัติน้ีแทน” จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติส่งเสริม
การลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นกฎหมายเฉพาะดังที่โจทก์กล่าวอ้างจริงแต่เม่ือพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการค�ำนวณก�ำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลส�ำหรับบริษัทท่ีได้รับการส่งเสริมการลงทุนไม่ว่ามีการประกอบ
กิจการท่ีไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนร่วมด้วยหรือไม่จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวล
รัษฎากร เพราะมิฉะน้ันการค�ำนวณก�ำไรขาดทุนสุทธิของกิจการท่ีได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ย่อมด�ำเนินการไปโดยไม่มีหลักเกณฑ์ซ่ึงไม่อาจเป็นเช่นน้ันได้ นอกจากน้ีเมื่อพิจารณา
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบบั ท่ี ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๓ ซ่ึงบัญญตั ิว่า “ใหล้ ดอตั ราภาษเี งินได้
ตาม (ก) ของ (๒) สำ� หรบั บรษิ ทั หรอื หา้ งหนุ้ สว่ นนติ บิ คุ คลแหง่ บญั ชอี ตั ราภาษเี งนิ ไดท้ า้ ยหมวด ๓
ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรษั ฎากร และคงจดั เก็บในอตั รารอ้ ยละ ๒๕ ของกำ� ไรสทุ ธิเฉพาะสว่ น
ท่ีไม่เกิน ๓๐๐ ล้านบาท เป็นเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเน่ืองกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชี
แรกทเ่ี รม่ิ ในหรอื หลงั วนั ทพี่ ระราชกฤษฎกี านใ้ี ชบ้ งั คบั ...” เหน็ ไดว้ า่ พระราชกฤษฎกี าดงั กลา่ วมไิ ด้
ระบวุ ่าก�ำไรสุทธสิ ่วนที่ไม่เกิน ๓๐๐ ลา้ นบาท ไม่รวมถึงก�ำไรสุทธิของกิจการทีไ่ ดร้ ับการส่งเสรมิ
การลงทุน ท้ัง ๆ ที่พระราชกฤษฎีกาฉบับน้ีตราขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน
พ.ศ. ๒๕๒๐ ถึง ๒๔ ปี ซ่ึงหากกฎหมายประสงค์จะไม่ให้น�ำก�ำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุนมารวมในยอดก�ำไรสุทธิส่วนท่ีไม่เกิน ๓๐๐ ล้านบาท ก็น่าจะบัญญัติไว้โดย
ชัดแจ้งแล้ว ดังนน้ั การพจิ ารณาถงึ สทิ ธิท่ีจะไดร้ บั ประโยชน์ในการลดอัตราภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล
ตามพระราชกฤษฎกี าฯ (ฉบบั ที่ ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ สำ� หรับก�ำไรสุทธิสว่ นทไี่ มเ่ กนิ ๓๐๐ ล้านบาท
จึงต้องพิจารณาจากก�ำไรสุทธิรวมของโจทก์โดยน�ำเอาก�ำไรสุทธิของกิจการท่ีได้รับการ
350
ส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลท้ังจ�ำนวนมารวมกับกิจการท่ีไม่ได้รับ
การส่งเสริมการลงทุนด้วย ส่วนท่ีโจทก์กล่าวในอุทธรณ์ต่อไปว่าใบแนบแบบ ภ.ง.ด.๕๐ ท่ีลง
ประกาศในเว็บไซต์ของจ�ำเลยไม่ใช่กฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อาจน�ำวิธีการค�ำนวณ
ตามใบแนบดังกล่าวมาใช้ในการประเมิน วิธีการเฉล่ียจะใช้ในกรณีไม่สามารถหารายจ่ายของ
ผู้เสียภาษีอากรที่เป็นค่าใช้จ่ายร่วมกันได้แต่กรณีของโจทก์เป็นเร่ืองก�ำไรสุทธิของแต่ละกิจการ
แยกต่างหากจากกันจึงไม่มีเหตุที่จะใช้วิธีเฉลี่ยเงินก�ำไรสุทธิของโจทก์ส�ำหรับกิจการท่ีได้รับ
การส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อค�ำนวณอัตราภาษีเงินได้
นิติบคุ คลตามพระราชกฤษฎกี าฯ (ฉบบั ที่ ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ ทั้งกรณีของโจทกเ์ ขา้ หลักเกณฑ์
ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การค�ำนวณก�ำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้น
ส่วนนิตบิ คุ คลทีไ่ ดร้ ับการส่งเสรมิ การลงทุน ลงวนั ท่ี ๕ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๓๐ ข้อ ๓.๑ (ก) เนือ่ งจาก
โจทก์มีก�ำไรสุทธิจากกิจการท้ังที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี
เงินได้นิติบุคคล โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลส�ำหรับก�ำไรสุทธิจากกิจการท่ีไม่ได้รับ
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่าน้ัน โดยตามประกาศดังกล่าวไม่ได้ก�ำหนดเงื่อนไขให้ต้องน�ำ
กำ� ไรสทุ ธขิ องกจิ การทไ่ี ดร้ บั การสง่ เสรมิ การลงทนุ ซง่ึ ไดร้ บั ยกเวน้ ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลมารวมกบั
กำ� ไรสทุ ธขิ องกจิ การทไี่ มไ่ ดร้ บั ยกเวน้ ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลเพอื่ เฉลย่ี กำ� ไรสทุ ธกิ อ่ นคำ� นวณภาษนี นั้
เห็นว่า ตามประกาศกรมสรรพากร เร่ือง การค�ำนวณก�ำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ข้อ ๓
วรรคหนึ่ง ระบุว่า “ในกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมประกอบกิจการท้ังท่ีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
นิติบุคคลและท่ีไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ค�ำนวณก�ำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน แต่ในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ให้น�ำก�ำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและท่ีไม่ได้รับ
ยกเว้นภาษเี งินไดน้ ิติบคุ คลมารวมเข้าด้วยกัน และใหถ้ ือปฏิบัติดงั น้ี” ความในข้อ ๓ วรรคหนึ่ง
ดังกล่าวแสดงชัดแจ้งว่าในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ต้อง
น�ำก�ำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการทั้งท่ีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและที่ไม่ได้รับ
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมารวมเข้าด้วยกันสอดคล้องกับท่ีศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษ
วินิจฉัยแล้วว่า สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับประโยชน์ในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม
พระราชกฤษฎกี าฯ (ฉบบั ท่ี ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ สำ� หรับก�ำไรสทุ ธิสว่ นท่ีไมเ่ กิน ๓๐๐ ล้านบาท
ต้องพิจารณาจากก�ำไรสุทธิรวมของโจทก์โดยน�ำเอาก�ำไรสุทธิของกิจการท่ีได้รับการส่งเสริม
351
การลงทุนซ่ึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งจ�ำนวนมารวมกับกิจการท่ีไม่ได้รับการส่งเสริม
การลงทุน ส่วนการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นข้ันตอนต่อมาซึ่งโจทก์คงเสียภาษีดังกล่าว
ส�ำหรับก�ำไรสุทธิจากกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่าน้ัน กรณีปัญหาการเฉล่ีย
ก�ำไรสุทธิตามส่วนน้ันแม้ใบแนบแบบ ภ.ง.ด.๕๐ ท่ีลงประกาศในเว็บไซต์ของจ�ำเลยจะไม่ใช่
กฎหมาย ส่วนประกาศกรมสรรพากร เร่ือง การค�ำนวณก�ำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ รวม
ทั้งบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรและพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔
จะมไิ ดก้ ำ� หนดหลกั เกณฑใ์ หเ้ ฉลย่ี กำ� ไรสทุ ธจิ ากกจิ การทงั้ ทไี่ ดร้ บั ยกเวน้ ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลและ
ท่ีไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่เม่ือข้อเท็จจริงได้ความว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี
ทพ่ี พิ าทโจทกม์ กี ำ� ไรสทุ ธติ ามบญั ชกี ำ� ไรขาดทนุ สำ� หรบั กจิ การทไี่ ดร้ บั ยกเวน้ ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คล
(BOI) ๒๔๒,๘๒๙,๓๖๔.๗๓ บาท มีรายจา่ ยที่ไมใ่ ห้ถอื เปน็ รายจา่ ยตามประมวลรษั ฎากรส�ำหรับ
กิจการส่วนน้ี ๒๕๔,๐๙๘.๕๒ บาท และมีก�ำไรสุทธิจากกิจการท่ีต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(NON-BOI) ๘๒,๗๑๑,๐๕๗.๒๙ บาท รวมแล้วโจทก์มีก�ำไรสุทธิทั้งส้ิน ๓๒๕,๗๙๔,๕๒๐.๕๔ บาท
ซึ่งในจ�ำนวนน้ีเป็นก�ำไรสุทธิส่วนที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ๒๔๓,๐๘๓,๔๖๓.๒๕ บาท
(๒๔๒,๘๒๙,๓๖๔.๗๓ + ๒๕๔,๐๙๘.๕๒) เมื่อยอดก�ำไรสุทธิรวมของโจทก์มีจ�ำนวน
เกินกว่า ๓๐๐ ล้านบาท จึงไม่อาจระบุได้ว่าก�ำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน ๓๐๐ ล้านบาทเป็นก�ำไร
สุทธิในส่วนของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่าใดและเป็นก�ำไรสุทธิในส่วนของ
กิจการท่ีไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่าใด ดังน้ัน การท่ีเจ้าพนักงานประเมินใช้วิธีการ
ค�ำนวณภาษเี งนิ ได้นติ ิบคุ คลของโจทก์สำ� หรบั รอบระยะเวลาบัญชตี ัง้ แตว่ นั ท่ี ๑ มกราคม ๒๕๔๖
ถงึ วันท่ี ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ จากกจิ การที่ไม่ได้รบั ยกเว้นภาษีเงนิ ไดน้ ิตบิ คุ คล โดยน�ำกำ� ไรสุทธิ
ของกจิ การทไ่ี ดร้ บั การสง่ เสรมิ การลงทนุ ซงึ่ ไดร้ บั ยกเวน้ ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลมารวมกบั กำ� ไรสทุ ธิ
ของกจิ การทไ่ี มไ่ ดร้ บั ยกเวน้ ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลแลว้ เฉลย่ี กำ� ไรสทุ ธติ ามสดั สว่ นเพอ่ื คำ� นวณภาษี
เงนิ ไดน้ ิติบุคคลสว่ นท่ีโจทกไ์ ด้รับประโยชน์ลดอัตราภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน
ประมวลรษั ฎากรวา่ ดว้ ยการลดอตั รารษั ฎากร (ฉบบั ท่ี ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ จงึ เหมาะสมเปน็ ธรรม
และชอบด้วยกฎหมายแลว้ อทุ ธรณ์ของโจทก์ในขอ้ นีฟ้ งั ไม่ขนึ้
ปญั หาทต่ี อ้ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข์ องโจทกป์ ระการสดุ ทา้ ยมวี า่ มเี หตสุ มควรงดหรอื ลด
เงินเพ่มิ ใหแ้ ก่โจทกห์ รอื ไม่ เห็นวา่ คดีน้เี จ้าพนกั งานประเมินใชอ้ ำ� นาจประเมินให้โจทกช์ ำ� ระภาษี
เงนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลเพิม่ โดยอาศยั อ�ำนาจตามประมวลรษั ฎากร มาตรา ๑๘ และใหโ้ จทกร์ บั ผดิ ชำ� ระ
352
เงินเพิ่มตามมาตรา ๒๗ ซ่ึงประมวลรัษฎากรไม่มีบทบัญญัติให้งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนน้ีได้เว้น
แต่จะเป็นกรณีตามมาตรา ๒๗ วรรคสอง เมื่อเงินเพ่ิมเกิดข้ึนโดยผลของกฎหมายมิได้เกิดจาก
ข้อสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ ดังน้ัน การท่ีโจทก์ผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียภาษีภายในก�ำหนด
ประกอบกับประมวลรัษฎากรก�ำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดหรือลดได้ จึงไม่อาจ
พิจารณาให้งดหรือลดเงินเพ่ิมแก่โจทก์ได้ท่ีศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะงดหรือ
ลดเงินเพ่ิมให้แก่โจทก์นั้นต้องด้วยความเห็นของศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษ อุทธรณ์ของโจทก์
ในขอ้ น้ีฟงั ไมข่ นึ้ เช่นกนั
พพิ ากษายนื ค่าฤชาธรรมเนียมชน้ั อทุ ธรณใ์ หเ้ ป็นพับ.
(อรรณพ วทิ ูรากร - ผจงธรณ์ วรนิ ทรเวช - วชริ ะ เศษแสงศรี)
นรนิ ทร ตั้งศรีไพโรจน์ - ยอ่
ดนยั ศกั ด์ิ นาควิเชยี ร - ตรวจ
หมายเหตุ คดีถึงทสี่ ดุ
353
ค�ำพพิ ากษาศาลอทุ ธรณค์ ดีช�ำนัญพิเศษที่ ๑๓๑๒/๒๕๖๔ นางสาวนฤมล
มหสิ รากุล โจทก์
จำ� เลย
กรมสรรพากร
พ.ร.บ. วิธปี ฏิบตั ริ าชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕, ๔๕
ป.รษั ฎากร มาตรา ๓๐
กรณีตามค�ำฟ้องของโจทก์ไม่ใช่เรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของ
เจ้าพนักงานประเมินของจ�ำเลย แต่เป็นกรณีโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคําส่ังของสรรพากร
พ้ืนท่ีนครศรีธรรมราชท่ีไม่อนุมัติให้คืนเงินภาษีอากรให้แก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งไม่คืน
เงินภาษีอากร อันเป็นคําสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซ่ึงการอุทธรณ์หนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร
เป็นกรณีโจทก์ไม่เห็นด้วยกับค�ำสั่งทางปกครองของจ�ำเลยเกี่ยวกับการขอคืนเงินภาษี
อากรของโจทก์ นั้น ตามบทบัญญัติ ป.รัษฎากรไม่มีการก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และระยะเวลาส�ำหรับการอุทธรณ์ไว้เฉพาะ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง
ดังกล่าวได้โดยย่ืนต่อเจ้าหน้าท่ีผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันท่ีได้รับ
คําส่ังดังกล่าวตามมาตรา ๔๔ วรรคหน่ึง แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๙ เม่ือเจ้าหน้าท่ีสรรพากรพ้ืนที่นครศรีธรรมราชผู้ทําคําส่ังทางปกครอง
ท่ีปฏิเสธการคืนเงินภาษีอากรอยู่ในกํากับดูแลของสํานักงานสรรพากรภาค ๑๑
ซ่ึงเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาคําอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นไปตามมาตรา ๔๕ แห่ง พ.ร.บ.
วิธีปฏบิ ัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐)
ออกตามความใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๒ (๓)
คือ สรรพากรภาค ๑๑ เป็นเจ้าหน้าท่ีผู้มีอํานาจพิจารณาคําอุทธรณ์ในฐานะปฏิบัติ
ราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าท่ีผู้ท�ำค�ำสั่ง
ปฏิเสธการคืนเงินภาษีอากรแก่โจทก์ตามมาตรา ๔๔ และ ๔๕ แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กรณีจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อุทธรณ์การประเมิน
ภาษอี ากรตอ่ คณะกรรมการพจิ ารณาอุทธรณ์ ตามมาตรา ๓๐ (๑) (ข ) แหง่ ป.รัษฎากร
เมื่อหนังสือแจ้งการพิจารณาค�ำอุทธรณ์ค�ำสั่งทางปกครอง ตอนท้ายหนังสือ ระบุว่า
354
“หากท่านไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาดังกล่าวข้างต้น ท่านมีสิทธินําคดีไปย่ืนค�ำฟ้อง
ตอ่ ศาลภาษอี ากรกลาง ภายใน ๙๐ วัน นบั แต่วันทีไ่ ด้รับหนังสอื ฉบับน”ี้ ดงั นัน้ คดขี อง
โจทกจ์ งึ ไมอ่ ยใู่ นบงั คบั ตอ้ งยน่ื คำ� ฟอ้ งภายใน ๓๐ วนั นบั แตว่ นั ไดร้ บั แจง้ การประเมนิ ตาม
มาตรา ๓๐ (๒) แห่ง ป.รัษฎากร ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษจึงไม่เห็นพ้องด้วยกับ
ค�ำส่ังศาลภาษีอากรกลาง อทุ ธรณ์ของโจทก์ฟงั ขึน้
______________________________
คดีสืบเนื่องมาจาก โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร ท่ี กค
๐๗๒๙.๐๕/ค.๓๐/๒๕๖๓/๐๐๐๖๕ ลงวันท่ี ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ หนังสือขอเพ่ิมเติมเหตุผล
ในหนงั สอื แจง้ ไมค่ ืนเงนิ ภาษอี ากร ท่ี กค ๐๗๒๙.๐๕/๑๐๔๖๔ ลงวนั ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓
และหนงั สือแจ้งการพจิ ารณาคำ� อทุ ธรณ์คำ� สั่งทางปกครอง ท่ี กค ๐๗๒๙/ก๓.๑/๑๘๙๓๖ ลงวนั ท่ี
๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ ขอให้จำ� เลยคืนเงนิ ภาษอี ากร ๔,๖๙๙.๖๐ บาท แก่โจทก์
ศาลภาษอี ากรกลาง มีคำ� ส่งั ไม่รับค�ำฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบ้ืองต้นฟัง
เป็นยตุ ิว่า เมื่อวันท่ี ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ โจทก์ยนื่ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
(ภ.ง.ด.๙๐) สําหรบั ปีภาษี ๒๕๖๐ ขอคนื เงินภาษอี ากร ๔,๖๖๙.๖๐ บาท เจา้ พนกั งานประเมนิ
สํานักงานสรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราชตรวจสอบก่อนคืนเงินภาษีอากรพบว่าการคํานวณ
ภาษีของโจทก์ไม่ถูกต้อง เม่อื คํานวณภาษีใหมแ่ ล้วโจทกม์ ีภาษีอากรตอ้ งชําระเพม่ิ เตมิ ไมม่ ีเงนิ
ภาษีอากรท่ีโจทก์มีสิทธิจะได้รับคืน จึงมีหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรให้โจทก์ทราบ โจทก์
ไดร้ ับเม่ือวันท่ี ๔ มถิ นุ ายน ๒๕๖๓ ตอ่ มาวันที่ ๑๗ มถิ ุนายน ๒๕๖๓ โจทกย์ น่ื อทุ ธรณค์ ดั คา้ น
คําส่ังไม่คืนเงินภาษีอากรต่อเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งเหตุ
ไม่คนื เงนิ ภาษีอากร โจทกไ์ ดร้ บั เมอ่ื วนั ที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ วันท่ี ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ โจทก์
อทุ ธรณค์ �ำส่ังไม่คนื เงินภาษีอากร สรรพากรภาค ๑๑ พจิ ารณาคําอทุ ธรณ์คดั คา้ นของโจทกแ์ ลว้
เห็นว่า การไมอ่ นมุ ตั ิให้คืนเงนิ ภาษีอากรของสํานกั งานสรรพากรพืน้ ทนี่ ครศรธี รรมราชชอบแล้ว
จึงให้ยกอุทธรณ์ และมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ โจทก์ได้รับหนังสือ
วนั ท่ี ๓๐ กนั ยายน ๒๕๖๓ วันท่ี ๒๙ ธนั วาคม ๒๕๖๓ โจทก์ยืน่ ฟ้องจําเลยท่ีศาลจงั หวัดทุ่งสง
ศาลจังหวัดทุ่งสงส่งคําฟ้องและเอกสารท่ีเก่ียวข้องไปยังศาลภาษีอากรกลางเพื่อดําเนินการ
355
ตรวจรับคําฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางมีคําส่ังว่า พิเคราะห์คําฟ้องแล้ว เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติ
จัดต้ังศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๓๓ บัญญัติว่า
“โจทก์จะย่ืนคําฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ท่ีจําเลยมีภูมิลําเนาก็ได้” แต่กรณีนี้โจทก์ไม่มี
อํานาจฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดทุ่งสงเพราะกรมสรรพากรอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่
ในเขตอํานาจของศาลภาษีอากรกลางอยู่แล้ว โจทก์ต้องมายื่นฟ้องกรมสรรพากรที่ศาลภาษี
อากรกลางเทา่ น้ัน กรณนี โี้ จทกไ์ ม่มอี ํานาจฟอ้ งจําเลย จึงไมร่ บั คําฟ้องของโจทก์ ให้จําหนา่ ยคดี
โจทกอ์ อกจากสารบบความ และคืนค่าขึ้นศาลทง้ั หมดให้โจทก์ ต่อมาวนั ท่ี ๒๑ มกราคม ๒๕๖๔
โจทก์มาย่ืนค�ำฟ้องและคําร้องขอขยายระยะเวลายื่นคําฟ้องจ�ำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง
ศาลภาษอี ากรกลางมีคำ� ส่งั ไม่รับคำ� ฟอ้ ง
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ศาลภาษีอากรกลางมีค�ำส่ังไม่รับ
คำ� ฟอ้ งโจทกช์ อบดว้ ยกฎหมายหรอื ไม่ ปญั หานใ้ี นเบอ้ื งตน้ ศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษแผนกคดี
ภาษีอากรเหน็ สมควรวนิ ิจฉัยกอ่ นวา่ คดโี จทกอ์ ยใู่ นบงั คับต้องยน่ื คำ� ฟ้องต่อศาลภายใน ๙๐ วนั
นบั แตว่ นั ไดร้ ถู้ งึ เหตทุ จี่ ะใหเ้ พกิ ถอนคำ� สงั่ ตามมาตรา ๔๙ แหง่ พระราชบญั ญตั จิ ดั ตง้ั ศาลปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลภาษอี ากรและวธิ พี ิจารณาคดภี าษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ หรอื อยู่ในบังคับตอ้ งยืน่ คำ� ฟอ้ งภายใน
๓๐ วนั นบั แต่วนั ไดร้ บั แจง้ ค�ำวินจิ ฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๓๐ (๒) แห่งประมวลรษั ฎากร เหน็ วา่
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๓๐ บญั ญัตวิ ่า “ในการอุทธรณ์การประเมนิ ภาษีอากรท่ีอําเภอไม่มี
หนา้ ที่ประเมนิ ใหอ้ ุทธรณภ์ ายในกําหนดเวลาสามสิบวันนับแตว่ นั ไดร้ บั แจง้ การประเมิน...” และ
จะต้องเป็นการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๓๐ (๑) (ข)
กรณีตามค�ำฟ้องของโจทก์ไม่ใช่เรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน
ของจ�ำเลย แต่เป็นกรณีโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคําส่ังของสรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราชท่ีไม่
อนุมัติให้คืนเงินภาษีอากรให้แก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร อันเป็นคําสั่งทาง
ปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
ซ่ึงการอุทธรณ์หนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรเป็นกรณีโจทก์ไม่เห็นด้วยกับค�ำส่ังทางปกครอง
ของจ�ำเลยเก่ียวกบั การขอคนื เงนิ ภาษอี ากรของโจทก์ นนั้ ตามบทบัญญัตปิ ระมวลรษั ฎากรไมม่ ี
การก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาส�ำหรับการอุทธรณ์ไว้เฉพาะ โจทก์จึงมีสิทธิ
อทุ ธรณค์ ําสัง่ ทางปกครองดังกลา่ วไดโ้ ดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําส่ังทางปกครองภายใน ๑๕ วัน
นบั แต่วนั ทีไ่ ด้รบั คําสัง่ ดังกลา่ วตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญตั ิวธิ ีปฏบิ ัตริ าชการ
356
ทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เม่ือเจา้ หน้าที่สรรพากรพ้ืนทนี่ ครศรีธรรมราชผู้ทําคําสั่งทางปกครอง
ทป่ี ฏเิ สธการคนื เงนิ ภาษอี ากรอยใู่ นกํากบั ดแู ลของสํานกั งานสรรพากรภาค ๑๑ ซงึ่ เปน็ ผมู้ อี ํานาจ
พิจารณาคําอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นไปตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติวธิ ปี ฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๒ (๓) คอื สรรพากรภาค ๑๑
เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจพิจารณาคําอุทธรณ์ในฐานะปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร
ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้ท�ำค�ำสั่งปฏิเสธการคืนเงินภาษีอากรแก่โจทก์ตาม
มาตรา ๔๔ และ ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กรณี
จึงไม่ใช่เป็นเร่ืองท่ีโจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม
มาตรา ๓๐ (๑) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร เม่ือหนังสือแจ้งการพิจารณาค�ำอุทธรณ์ค�ำสั่งทาง
ปกครอง ตอนท้ายหนังสือระบุว่า “หากท่านไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาดังกล่าวข้างต้น ท่าน
มีสทิ ธินําคดไี ปย่นื ค�ำฟ้องตอ่ ศาลภาษอี ากรกลาง ภายใน ๙๐ วัน นบั แต่วนั ที่ได้รับหนงั สอื ฉบับนี้”
ดงั นนั้ คดขี องโจทกจ์ งึ ไมอ่ ยใู่ นบงั คบั ตอ้ งยน่ื คำ� ฟอ้ งภายใน ๓๐ วนั นบั แตว่ นั ไดร้ บั แจง้ การประเมนิ
ตามมาตรา ๓๐ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษจึงไม่เห็นพ้องด้วยกับ
ค�ำสั่งศาลภาษีอากรกลาง อุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้ฟังขึ้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์
ของโจทก์อีกว่า โจทก์ย่ืนค�ำร้องขอขยายระยะเวลายื่นค�ำฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางซึ่ง
ศาลภาษอี ากรกลางยงั ไมไ่ ดพ้ จิ ารณาสง่ั ในเนอ้ื หาแหง่ คำ� รอ้ งดงั กลา่ ว ศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษ
เห็นสมควรวินิจฉัยค�ำร้องดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนส�ำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลาง
มีค�ำสั่ง ท่ีโจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับแจ้งคําส่ังไม่คืนเงินภาษีอากรจากจําเลยเม่ือวันท่ี ๓๐
กันยายน ๒๕๖๓ และท้ายหนังสือดังกล่าวระบุว่า “อน่ึง หากท่านไม่เห็นด้วยกับการพิจารณา
ดงั กล่าวขา้ งตน้ ท่านมีสทิ ธนิ ําคดีไปย่นื ฟอ้ งต่อศาลภาษอี ากรกลาง ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วนั ที่
ได้รับหนังสือฉบับนี้” โจทก์เชื่อโดยสุจริตใจว่าเป็นคําสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของจําเลย เป็น
กรณีมีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยท่ีโจทก์ไม่อาจย่ืนฟ้องภายในกําหนดเวลาได้ กรณี
มีเหตุอันสมควรตามคําร้องขอขยายระยะเวลาย่ืนค�ำฟ้องที่จะขยายระยะเวลาและมีคําสั่งรับ
ค�ำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาน้ัน เห็นว่า เม่ือวันท่ี ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ โจทก์ยื่นค�ำฟ้องขอ
ให้จ�ำเลยคืนเงินภาษีอากรแก่โจทก์ท่ีศาลจังหวัดทุ่งสงเป็นคดีหมายเลขดําที่ ภ.ป.๑/๒๕๖๓
ภายในก�ำหนด ๙๐ วัน นบั แต่วนั ท่ีได้รบั หนงั สือแจ้งผลการพจิ ารณาคำ� อุทธรณ์ ศาลภาษีอากร
กลางมีค�ำส่ังว่า โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดทุ่งสงเพราะมิใช่ภูมิล�ำเนาของจ�ำเลย
357
ตอ่ มาวนั ท่ี ๒๑ มกราคม ๒๕๖๔ โจทก์ย่นื คำ� ฟ้องคดีนี้ แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเหตสุ ุดวิสยั ท่โี จทก์
ไม่อาจยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวได้เพราะโจทก์เชื่อโดยสุจริต
ว่าสํานักงานสรรพากร พ้ืนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาทุ่งสง ซ่ึงเป็นหน่วยงานราชการ
ผู้ประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์และถือเป็นตัวแทนของจําเลยจึงเป็นภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจ
ศาลจังหวัดทุ่งสงและโจทก์สามารถยื่นค�ำฟ้องต่อศาลจังหวัดทุ่งสงเพ่ือศาลจังหวัดทุ่งสงจะได้
ดําเนินการตามข้ันตอนของศาลภาษีอากรกลางต่อไป ภายหลังโจทก์ทราบว่าศาลภาษีอากร
กลางไม่รับค�ำฟ้องโดยให้เหตุผลว่า โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องต่อศาลจังหวัดทุ่งสง เพราะกรม
สรรพากรมีภูมิล�ำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุนี้ทําให้ระยะเวลาในการยื่นค�ำฟ้อง
สน้ิ สดุ ลงเมอื่ วนั ที่ ๒๙ ธนั วาคม ๒๕๖๓ กต็ าม การทโี่ จทกอ์ า้ งความเชอื่ โดยสจุ รติ เขา้ ใจผดิ ในเรอื่ ง
เขตอำ� นาจศาลจนเปน็ เหตใุ หโ้ จทกย์ น่ื คำ� ฟอ้ งผดิ ศาลนน้ั หาใชเ่ ปน็ เหตสุ ดุ วสิ ยั ทศ่ี าลจะใชด้ ลุ พนิ จิ
ขยายระยะเวลาให้ได้ตามมาตรา ๒๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบ
ตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ดงั นน้ั การทโ่ี จทกย์ น่ื คำ� ฟอ้ งตอ่ ศาลภาษอี ากรกลางเมอ่ื พน้ ระยะเวลา ๙๐ วนั นบั แต่
วันท่ีได้รับหนังสือแจ้งการพิจารณาค�ำอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอ�ำนาจฟ้อง ท่ีศาลภาษีอากรกลาง
มีค�ำสั่งไม่รับค�ำฟ้องมาน้ัน ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษเห็นพ้องด้วยในผล อุทธรณ์ของโจทก์
ฟงั ไม่ข้ึน
พพิ ากษายนื คา่ ฤชาธรรมเนียมช้นั อทุ ธรณ์ให้เปน็ พบั .
(เดชา คำ� สิทธิ - ววิ ฒั น์ สุวณั ณะสังข์ - วชิ ัย จติ ตาณิชย)์
ธนสร สุทธบิ ดี - ย่อ
วนี สั นมิ ิตกุล - ตรวจ
หมายเหตุ คดถี งึ ทส่ี ดุ
358
คำ� พพิ ากษาศาลอุทธรณค์ ดชี ำ� นญั พิเศษท่ี ๙๕๙/๒๕๖๒ กรมศุลกากร
(ประชมุ ใหญ)่ กับพวก โจทก์
จำ� เลย
บริษทั เบสท์ริน
กรุ๊ป จ�ำกดั
ป.วิ.พ. มาตรา ๕๕
พ.ร.บ. จดั ตัง้ ศาลภาษอี ากรและวธิ พี ิจารณาคดีภาษอี ากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๗
การท่ีกฎหมายบัญญัติให้ผู้น�ำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลก็เพ่ือให้ศาล
พจิ ารณาวา่ การประเมนิ และคำ� วนิ จิ ฉยั อทุ ธรณช์ อบหรอื ไม่ ซง่ึ ศาลอาจพจิ ารณาพพิ ากษา
เปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินและค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ เม่ือ
จ�ำเลยฟ้องโจทก์ที่ ๑ เพ่ือขอเงินประกันท่ีวางไว้คืน แสดงว่าจ�ำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์
ต่อศาลแลว้ ดงั น้ันโจทกท์ ่ี ๑ จะมีสทิ ธิไดร้ บั ชำ� ระอากรขาเข้าและเงนิ เพมิ่ ตามค�ำวนิ ิจฉยั
อุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ เพียงใด จึงต้องรอค�ำวินิจฉัยชี้ขาด
ของศาลเม่ือคดีถึงที่สุดเสียก่อน ดังนั้น การที่จ�ำเลยไม่ช�ำระอากรขาเข้าและเงินเพ่ิม
ตามค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณีน้ีจึงไม่เป็นการ
โต้แย้งสิทธิที่โจทก์จะน�ำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๕
ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๑๗ เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ค�ำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
พิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลก็ย่อมจะไม่บังเกิดผล โจทก์ท่ี ๑ จึงไม่มีอ�ำนาจฟ้อง ส่วนภาษี
มลู คา่ เพม่ิ แมจ้ ำ� เลยไมไ่ ดอ้ ทุ ธรณก์ ารประเมนิ แตอ่ ยา่ งใดและการประเมนิ เปน็ อนั ยตุ แิ ลว้
กต็ าม แต่การประเมินภาษีมูลคา่ เพิ่มในกรณีน้ีสบื เนอ่ื งจากข้อพพิ าทในเรื่องราคาสินค้า
ทใ่ี ชเ้ ปน็ ฐานในการคำ� นวณคา่ อากรขาเขา้ เปน็ หลกั และภาษมี ลู คา่ เพม่ิ สำ� หรบั การนำ� เขา้
สินค้านั้น ป.รัษฎากร มาตรา ๗๙/๒ (๑) ก�ำหนดฐานภาษีไว้ตามมูลค่าสินค้า หากศาล
วนิ ิจฉยั ให้ราคาสนิ คา้ และคา่ อากรขาเขา้ ท่พี นกั งานเจา้ หนา้ ทีโ่ จทก์ที่ ๑ ประเมินไว้ลดลง
ภาษมี ลู คา่ เพม่ิ ทจี่ ำ� เลยจะตอ้ งรบั ผดิ ตอ่ โจทกท์ ี่ ๒ กต็ อ้ งลดลงโดยผลของกฎหมายดงั กลา่ ว
เมอ่ื ยงั ไมแ่ นน่ อนวา่ มลู คา่ ของสนิ คา้ นำ� เขา้ มาเปน็ เทา่ ใด ความรบั ผดิ ของจำ� เลยเกยี่ วกบั
ภาษีมลู ค่าเพิ่มจึงยังไม่แน่นอนไปด้วย โจทก์ที่ ๒ ยอ่ มไมม่ อี �ำนาจฟ้องเช่นเดยี วกนั
_______________________________
359
โจทกท์ งั้ สองฟอ้ ง ขอใหจ้ ำ� เลยชำ� ระคา่ ภาษอี ากรและเงนิ เพมิ่ เปน็ เงนิ ๕,๕๘๓,๓๕๖ บาท
แก่โจทกท์ ้งั สอง และให้จ�ำเลยชำ� ระเงนิ เพมิ่ อากรขาเข้าในอัตรารอ้ ยละ ๑ ตอ่ เดือนหรอื เศษของ
เดือนของต้นเงนิ อากรขาเขา้ ทชี่ �ำระขาดตามใบขนสินคา้ ขาเข้าแต่ละฉบบั รวม ๔ ฉบบั เป็นเงนิ
๒,๐๙๘,๙๗๐ บาท นับแต่วันถดั จากวันฟอ้ งเปน็ ตน้ ไปจนกว่าจะชำ� ระเสร็จแก่โจทก์ท่ี ๑
จ�ำเลยใหก้ าร ขอให้ยกฟอ้ ง
ศาลภาษีอากรกลาง พพิ ากษายกฟอ้ ง คา่ ฤชาธรรมเนียมอ่นื ใหเ้ ปน็ พับ
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า
เมือ่ วันที่ ๓ ตลุ าคม ๒๕๕๐ ถงึ วนั ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๑ จำ� เลยน�ำสนิ คา้ รถยนตโ์ ดยสารขนาด
๓๘ ท่นี ง่ั ย่ีหอ้ “Golden Dragon” ซงึ่ เปน็ สนิ คา้ ทมี่ เี มืองกำ� เนิดในสาธารณรัฐประชาชนจนี จาก
สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาในราชอาณาจักรไทยรวม ๔ ครั้ง พนักงานเจ้าหน้าท่ีของโจทก์
ที่ ๑ ให้จ�ำเลยวางเงินประกันราคาค่าอากรไวเ้ พอื่ รอผลการตรวจสอบ ตอ่ มาพนกั งานเจ้าหนา้ ที่
ของโจทก์ที่ ๑ ตรวจพบ Sale contract ของรถยนต์รุ่นตรงกันมีราคาสูงกว่ารถยนต์ที่จ�ำเลย
น�ำเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าท้ังสี่ฉบับที่น�ำมาผ่านพิธีการศุลกากร จึงก�ำหนดราคาศุลกากร
โดยเทียบเคียงกับราคาท่ีส�ำนักสืบสวนและปราบปราม (สสป.) เป็นการก�ำหนดราคาศุลกากร
ตามวิธีท่ี ๓ ราคาซื้อขายของท่ีคล้ายกันและท�ำการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากจ�ำเลย
ส�ำหรับสินค้าที่น�ำเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าที่พิพาททั้งส่ีฉบับ พนักงานเจ้าหน้าท่ีของโจทก์
ที่ ๑ แจ้งการประเมินพร้อมใบแนบแบบแจ้งการประเมินให้จ�ำเลยทราบโดยชอบแล้วเม่ือ
วันที่ ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๘ ต่อมาวนั ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ จำ� เลยย่ืนอุทธรณแ์ ละคดั ค้าน
การประเมนิ ภาษอี ากรตอ่ คณะกรรมการพจิ ารณาอทุ ธรณข์ องโจทกท์ ่ี ๑ สว่ นภาษมี ลู คา่ เพม่ิ จำ� เลย
ไมไ่ ดอ้ ทุ ธรณก์ ารประเมนิ ตอ่ มาคณะกรรมการพจิ ารณาอทุ ธรณข์ องโจทกท์ ี่ ๑ มมี ตใิ หย้ กอทุ ธรณ์
ของจำ� เลย จ�ำเลยได้รบั หนงั สือแจง้ ค�ำวินิจฉยั อทุ ธรณแ์ ลว้ เม่อื วนั ท่ี ๒๑ กันยายน ๒๕๖๐ โจทก์
ทัง้ สองฟ้องจำ� เลยเปน็ คดีนเี้ ม่อื วันที่ ๒๙ กนั ยายน ๒๕๖๐
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ท้ังสองว่า โจทก์ทั้งสองมีอ�ำนาจฟ้อง
หรอื ไม่ ศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษโดยมตทิ ปี่ ระชมุ ใหญ่ เหน็ วา่ การทก่ี ฎหมายบญั ญตั ใิ หผ้ นู้ ำ� ของ
เขา้ มสี ทิ ธอิ ทุ ธรณต์ อ่ ศาลกเ็ พอ่ื ใหศ้ าลพจิ ารณาวา่ การประเมนิ และคำ� วนิ จิ ฉยั อทุ ธรณช์ อบหรอื ไม่
ซงึ่ ศาลอาจพจิ ารณาพพิ ากษาเปลย่ี นแปลง แกไ้ ข ยกเลกิ หรอื เพกิ ถอนการประเมนิ และคำ� วนิ จิ ฉยั
360
อุทธรณ์ได้ และได้ความจากพนักงานเจา้ หนา้ ทข่ี องโจทก์ที่ ๑ ทเ่ี บกิ ความตอบค�ำถามค้านทนาย
จำ� เลยวา่ เกย่ี วกบั สนิ คา้ พพิ าทในคดนี ้ี จำ� เลยไดฟ้ อ้ งโจทกท์ ี่ ๑ เพอ่ื ขอเงนิ ประกนั ทว่ี างไวค้ นื แสดงวา่
จำ� เลยไดย้ น่ื ฟ้องโจทก์ตอ่ ศาลแลว้ ดังน้นั โจทกท์ ี่ ๑ จะมสี ทิ ธิไดร้ บั ช�ำระอากรขาเข้าและเงินเพิ่ม
ตามคำ� วินจิ ฉัยอทุ ธรณ์ของคณะกรรมการพจิ ารณาอุทธรณห์ รอื ไม่ เพยี งใด จึงตอ้ งรอค�ำวินิจฉยั
ช้ีขาดของศาลเมื่อคดีถึงท่ีสุดเสียก่อน ดังน้ัน การที่จ�ำเลยไม่ช�ำระอากรขาเข้าและเงินเพ่ิมตาม
คำ� วินิจฉยั อทุ ธรณข์ องคณะกรรมการพิจารณาอทุ ธรณ์ในกรณีนี้จึงไม่เปน็ การโต้แยง้ สิทธิทโ่ี จทก์
จะนำ� คดมี าฟอ้ งตอ่ ศาลภาษอี ากรกลางไดต้ ามประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความแพง่ มาตรา ๕๕
ประกอบพระราชบัญญัติจัดต้ังศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๑๗ เพราะมิฉะน้ันบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ค�ำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณต์ อ่ ศาลก็ย่อมจะไม่บังเกดิ ผล โจทกท์ ี่ ๑ จงึ ไมม่ อี ำ� นาจฟอ้ ง สว่ นภาษมี ูลคา่ เพิม่ แมจ้ �ำเลย
ไมไ่ ดอ้ ทุ ธรณก์ ารประเมนิ และการประเมนิ เปน็ อนั ยตุ แิ ลว้ กต็ าม แตก่ ารประเมนิ ภาษมี ลู คา่ เพม่ิ ใน
กรณนี ส้ี บื เนอื่ งจากขอ้ พพิ าทในเรอ่ื งราคาสนิ คา้ ทใี่ ชเ้ ปน็ ฐานในการคำ� นวณคา่ อากรขาเขา้ เปน็ หลกั
และภาษมี ลู ค่าเพ่ิมส�ำหรบั การนำ� เข้าสินค้านนั้ ประมวลรัษฎากร มาตรา ๗๙/๒ (๑) กำ� หนดฐาน
ภาษไี วต้ ามมลู คา่ ของสนิ คา้ นำ� เขา้ โดยใหใ้ ชร้ าคา ซ.ี ไอ.เอฟ. ของสนิ ค้าบวกดว้ ยอากรขาเขา้ ภาษี
สรรพสามติ ทก่ี ำ� หนดในมาตรา ๗๗/๑ (๑๙) ค่าธรรมเนยี มพเิ ศษตามกฎหมายวา่ ดว้ ยการสง่ เสรมิ
การลงทุน และภาษีและค่าธรรมเนยี มอ่นื ตามที่จะได้กำ� หนดโดยพระราชกฤษฎกี า และในกรณีที่
เจา้ พนกั งานศลุ กากรไดท้ ำ� การประเมนิ ราคาเพอ่ื เสยี อากรขาเขา้ ใหมต่ ามกฎหมายวา่ ดว้ ยศลุ กากร
ใหถ้ อื ราคานน้ั เปน็ ราคาสนิ คา้ ในการคำ� นวณราคา ซ.ี ไอ.เอฟ. ฉะนนั้ ความรบั ผดิ เกย่ี วกบั ภาษมี ลู คา่
เพ่ิมตามกฎหมายของจ�ำเลยจึงข้ึนอยู่กับค�ำอุทธรณ์ของจ�ำเลยท่ียื่นไว้ต่อโจทก์ท่ี ๑ หรือยื่นไว้
ต่อศาลแล้วแต่กรณี หากคณะกรรมการพิจารณาอทุ ธรณข์ องโจทก์ท่ี ๑ หรือศาลวนิ จิ ฉัยให้ราคา
สินค้าและคา่ อากรขาเขา้ ทีพ่ นักงานเจา้ หน้าท่โี จทก์ท่ี ๑ ประเมินไว้ลดลง ภาษีมูลคา่ เพิ่มที่จำ� เลย
จะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ ๒ ก็ต้องลดลงโดยผลของกฎหมายดังกล่าว เม่ือยังไม่แน่นอนว่ามูลค่า
ของสินค้าน�ำเข้ามาเป็นเท่าใด ความรับผิดของจ�ำเลยเก่ียวกับภาษีมูลค่าเพ่ิมจึงยังไม่แน่นอน
ไปดว้ ย โจทกท์ ่ี ๒ ยอ่ มไมม่ อี ำ� นาจฟอ้ งเชน่ เดยี วกนั ทศี่ าลภาษอี ากรกลางพพิ ากษายกฟอ้ งมานนั้
ศาลอุทธรณ์คดชี �ำนัญพเิ ศษเหน็ พอ้ งดว้ ย อทุ ธรณข์ องโจทกท์ ้งั สองฟงั ไม่ข้ึน
พพิ ากษายนื ค่าฤชาธรรมเนียมในช้นั อทุ ธรณ์ให้เปน็ พับ.
(เฉลมิ ชัย จินะปรวิ ตั อาภรณ์ - ผจงธรณ์ วรินทรเวช - ตรีวฒุ ิ สาขากร)
361
ความเหน็ แยง้ ในคดหี มายเลขดำ� ที่ ๑๓๐/๒๕๖๑ หมายเลขแดงที่ ๙๕๙/๒๕๖๒
ข้าพเจ้านางสาวผจงธรณ์ วรินทรเวช ผู้พิพากษาที่ได้ร่วมพิจารณาคดีนี้ คดีนี้โจทก์
ท้งั สองฟอ้ งขอให้จำ� เลยรับผดิ ช�ำระอากรขาเขา้ เงนิ เพมิ่ อากรขาเข้า ภาษมี ูลคา่ เพิ่ม และเงินเพิ่ม
ภาษมี ลู คา่ เพม่ิ จำ� เลยใหก้ ารตอ่ สคู้ ดแี ละขอสงวนสทิ ธใิ นการทจี่ ะเรยี กรอ้ งเงนิ ทว่ี างประกนั ภาษคี นื
จากโจทก์ท่ี ๑ ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องเรื่องอ�ำนาจฟ้องโดยวินิจฉัยว่า จ�ำเลย
ได้รับค�ำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๐ แต่โจทก์
ทั้งสองน�ำคดีมาฟ้องต่อศาลเม่ือวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ จึงเป็นการฟ้องก่อนครบก�ำหนด
๓๐ วัน ซ่ึงเป็นระยะเวลาท่ีจ�ำเลยอาจไม่พอใจและใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวฟ้องเป็นคดี
ต่อศาลได้ และปรากฏตามค�ำเบิกความของพยานโจทก์ท้ังสองตอบทนายจ�ำเลยถามค้านว่า
จ�ำเลยได้มีการฟ้องโจทก์ที่ ๑ เพื่อขอเงินประกันที่วางไว้คืน ย่อมหมายถึงจ�ำเลยไม่พอใจใน
ค�ำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และได้ใช้สิทธิน�ำคดีมาฟ้องต่อศาลแล้ว ดังน้ี
โจทก์ทง้ั สองจะมีสทิ ธไิ ด้รบั ชำ� ระเงนิ ตามฟ้องตามค�ำวินจิ ฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์หรือไม่เพียงใด จึงต้องรอค�ำวินิจฉัยช้ีขาดของศาลเม่ือคดีถึงท่ีสุดก่อน การที่จ�ำเลยไม่
ช�ำระเงินตามค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณีนี้จึงไม่เป็นการ
โต้แย้งสิทธิที่โจทก์จะน�ำคดีมาฟ้องต่อศาลน้ีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๕๕ ประกอบพระราชบญั ญัติจัดตัง้ ศาลภาษอี ากรและวิธพี จิ ารณาคดภี าษอี ากร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๑๗ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า คดีนี้ควรเป็นไปตามแนวค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๑๒๕-
๗๑๒๖/๒๕๔๕ หนี้ค่าภาษีอากรตามการประเมินและค�ำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์เป็นหน้ีค่าภาษีอากรค้าง โจทก์มีอ�ำนาจฟ้องจ�ำเลยให้ช�ำระภาษีได้โดยไม่ต้องรอให้พ้น
ก�ำหนด ๓๐ วัน แม้ภายหลังจ�ำเลยจะได้ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและค�ำวินิจฉัยของ
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็ไม่ท�ำให้อ�ำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป ดังน้ันโจทก์ทั้งสอง
ย่อมมีอ�ำนาจฟ้องคดีนี้ได้ แต่ตามแนวค�ำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษ ที่ ๖๗๔-
๖๗๕/๒๕๖๐ ท่ีองค์คณะเสียงข้างมากใช้เทียบเคียงกับคดีนี้น้ัน ต้องเป็นกรณีท่ีจ�ำเลยผู้รับ
การประเมินได้ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและค�ำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์ไว้ก่อนที่โจทก์น�ำคดีมาฟ้องให้จ�ำเลยรับผิดตามการประเมินและค�ำวินิจฉัยของ
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว ซึ่งโจทก์จะต้องรอให้คดีที่จ�ำเลยฟ้องดังกล่าวศาลมี
ค�ำพิพากษาถึงท่ีสุดเสียก่อนจึงจะน�ำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ปรากฏ
ว่าขณะโจทก์ทั้งสองย่ืนฟ้องนั้น จ�ำเลยได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและค�ำวินิจฉัยของ
362
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้วแต่อย่างใด และกลับปรากฏในค�ำให้การจ�ำเลยว่า จ�ำเลย
ขอสงวนสิทธิในการท่ีจะเรียกรอ้ งเงนิ ที่วางประกันภาษคี ืนจากโจทกท์ ่ี ๑ โดยในระหว่างพจิ ารณา
จ�ำเลยไม่ได้แสดงให้ปรากฏหลักฐานว่าจ�ำเลยได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและค�ำวินิจฉัย
อุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางแต่อย่างใด และไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ให้ชัดเจนว่า
ขณะโจทกท์ งั้ สองยนื่ ฟอ้ ง จำ� เลยไดฟ้ อ้ งขอใหเ้ พกิ ถอนการประเมนิ และคำ� วนิ จิ ฉยั อทุ ธรณต์ อ่ ศาล
ภาษีอากรกลางไว้ก่อนแล้ว อันจะท�ำให้โจทก์ไม่มีอ�ำนาจฟ้องตามแนวค�ำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดชี ำ� นญั พเิ ศษ ที่ ๖๗๔-๖๗๕/๒๕๖๐ การทศ่ี าลภาษอี ากรกลางเพยี งเอาคำ� เบกิ ความของพยาน
โจทก์ท้ังสองตอบทนายจ�ำเลยถามค้านว่า จ�ำเลยได้มีการฟ้องโจทก์ที่ ๑ เพื่อขอเงินประกันที่
วางไว้คืน มารับฟังสรุปว่าจ�ำเลยไม่พอใจในค�ำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และ
ไดใ้ ชส้ ทิ ธนิ ำ� คดมี าฟอ้ งตอ่ ศาลแลว้ เปน็ ผลใหโ้ จทกท์ งั้ สองไมม่ อี ำ� นาจฟอ้ ง ซง่ึ ไมเ่ ปน็ การแนช่ ดั วา่
โจทก์น�ำคดีน้ีมาฟ้องภายหลังจากจ�ำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์
ตามแนวค�ำพพิ ากษาศาลอทุ ธรณ์คดชี �ำนญั พิเศษ ท่ี ๖๗๔-๖๗๕/๒๕๖๐ จึงขดั ต่อหลกั กฎหมาย
วธิ พี จิ ารณาความเกย่ี วกบั การรบั ฟงั พยานหลกั ฐานและเปน็ การตดั สทิ ธมิ ใิ หโ้ จทกฟ์ อ้ งคดไี ดก้ อ่ น
จ�ำเลยโดยสิ้นเชิง อันเป็นการขัดแย้งต่อพระราชบัญญัติจัดต้ังศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดี
ภาษอี ากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๗ (๒) ซ่ึงไม่มีบทบญั ญตั ติ อนใดระบวุ า่ รัฐต้องรอใหผ้ มู้ หี นา้ ที่
เสียภาษีน�ำคดมี าฟ้องต่อศาลให้คดีถึงทสี่ ุดเสียกอ่ นจึงจะฟ้องคดไี ดแ้ ตอ่ ยา่ งใด โจทก์ท้งั สองจงึ มี
อ�ำนาจฟอ้ ง
เนื่องจากเป็นความเห็นฝ่ายข้างน้อย จึงขอถือเป็นความเห็นแย้งของข้าพเจ้า
โดยข้าพเจ้ามีความเห็นว่า สมควรพพิ ากษายกคำ� พิพากษาของศาลภาษอี ากรกลางและยอ้ นส�ำนวน
ให้ศาลภาษอี ากรกลางวนิ จิ ฉัยในประเด็นขอ้ พิพาทอ่ืนต่อไป.
(ผจงธรณ์ วรนิ ทรเวช)
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณค์ ดีชำ� นญั พิเศษ
ธนสร สุทธิบดี - ย่อ
วีนัส นมิ ิตกลุ - ตรวจ
363
ค�ำพพิ ากษาศาลอทุ ธรณ์คดีชำ� นัญพเิ ศษที่ ๑๒-๑๓/๒๕๖๓ บริษัทเอฟ.เอม็ .
ประกอบรถยนต์ จำ� กัด
กับพวก โจทก์
กรมสรรพสามติ จำ� เลย
ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๔๙, ๑๒๗๐
ป.วิ.พ. มาตรา ๕๕, ๑๔๒ (๕)
พ.ร.บ. จัดตงั้ ศาลภาษีอากรและวิธพี จิ ารณาคดีภาษอี ากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๗
เม่ือโจทก์ท่ี ๒ ซ่ึงเป็นผู้ช�ำระบัญชีโจทก์ท่ี ๑ ด�ำเนินการช�ำระบัญชีจนกระทั่ง
จดทะเบียนเสร็จการช�ำระบัญชีแล้ว โจทก์ท่ี ๑ ย่อมส้ินสภาพความเป็นนิติบุคคลนับแต่
วันจดทะเบียนเสร็จการช�ำระบัญชี หาใช่กลับมามีสภาพเป็นนิติบุคคลเม่ือมีข้อพิพาท
หรือเมื่อได้รับค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่ต้องร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จการ
ช�ำระบัญชีก่อนไม่ เมื่อโจทก์ที่ ๑ น�ำคดีมาฟ้องขณะท่ีมิได้มีสภาพนิติบุคคล โจทก์ที่ ๑
ย่อมไมม่ ีอำ� นาจฟ้องตาม ป.ว.ิ พ. มาตรา ๕๕ ประกอบ พ.ร.บ. จัดต้ังศาลภาษีอากรและ
วิธพี จิ ารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๗
สว่ นโจทกท์ ี่ ๒ เปน็ เพยี งผชู้ ำ� ระบญั ชยี อ่ มไมต่ อ้ งรบั ผดิ ในหนภ้ี าษอี ากรของโจทก์
ที่ ๑ เป็นการส่วนตัวเว้นแต่ท�ำผิดหน้าที่ผู้ช�ำระบัญชี ซ่ึงตามค�ำฟ้องโจทก์ท้ังสองกล่าว
อ้างว่าด�ำเนินการช�ำระบัญชีถูกต้องแล้ว โจทก์ที่ ๒ ย่อมไม่มีอ�ำนาจฟ้องเช่นกัน ปัญหา
เรื่องอ�ำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเก่ียวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลมีอ�ำนาจวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาล
ภาษอี ากรและวิธพี ิจารณาคดีภาษอี ากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๗
จ�ำเลยฟ้องโจทก์ที่ ๑ เป็นส�ำนวนหลังขอให้ช�ำระค่าภาษีสรรพสามิต เม่ือโจทก์
ทั้งสองอุทธรณ์การประเมินและค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์เก่ียวกับภาษีสรรพสามิตต่อศาลเป็น
ส�ำนวนแรก ขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์ แม้ศาลพิพากษา
ยกฟ้องโจทก์ท้ังสอง คดียังไม่ถึงที่สุด ค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์อาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือ
เพิกถอนโดยค�ำส่ังหรือค�ำพิพากษาของศาลได้ จ�ำเลยจึงไม่มีอ�ำนาจฟ้องเรียกเงินภาษี
รายเดยี วกนั จากโจทกท์ ่ี ๑ อกี ทศ่ี าลภาษอี ากรกลางพพิ ากษายกฟอ้ งจำ� เลยแตไ่ มต่ ดั สทิ ธิ
จ�ำเลยฟอ้ งใหมภ่ ายใน ๓๐ วนั นับแต่วนั ท่คี ดีน้ถี งึ ที่สดุ จงึ ถูกตอ้ งแลว้
_____________________________
364
คดีทั้งสองส�ำนวนนี้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้คงเรียก
โจทกท์ ่ี ๑ ในสำ� นวนแรกซงึ่ เปน็ จำ� เลยในสำ� นวนหลงั วา่ โจทกท์ ่ี ๑ เรยี กโจทกท์ ่ี ๒ ในสำ� นวนแรกวา่
โจทกท์ ่ี ๒ และเรยี กจ�ำเลยในส�ำนวนแรกซ่ึงเป็นโจทกใ์ นสำ� นวนหลงั วา่ จำ� เลย
สำ� นวนแรกโจทกท์ ง้ั สองฟอ้ ง ขอใหเ้ พกิ ถอนหนงั สอื การแจง้ การประเมนิ ภาษสี รรพสามติ
ที่กค ๐๖๐๕.๐๔/๗๑ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๙ และค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษี
สรรพสามิต (อส.๑๒) เลขที่ ๖/๒๕๖๑ ลงวนั ท่ี ๒๓ เมษายน ๒๕๖๑
จำ� เลยใหก้ าร ขอใหย้ กฟ้อง
สำ� นวนหลงั จ�ำเลยฟ้อง ขอให้โจทกท์ ี่ ๑ ชำ� ระเงนิ ค่าภาษีสรรพสามติ เบย้ี ปรบั เงนิ เพ่มิ
และภาษีเก็บเพ่มิ เพือ่ กระทรวงมหาดไทย รวม ๙๕,๙๖๒,๐๐๖.๗๐ บาท แก่จ�ำเลย
โจทกท์ ่ี ๑ ให้การ ขอให้ยกฟอ้ ง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง และยกฟ้องจ�ำเลย แต่ไม่ตัดสิทธิ
จ�ำเลยทจ่ี ะฟ้องใหม่ภายใน ๓๐ วนั นับแตค่ ดีนถ้ี ึงที่สดุ ค่าฤชาธรรมเนยี มใหเ้ ปน็ พับ
โจทก์ทั้งสองอทุ ธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า
เดิมโจทก์ท่ี ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจ�ำกัด มีโจทก์ที่ ๒ เป็นกรรมการผู้มีอ�ำนาจกระท�ำ
การแทน เม่ือวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๙ โจทกท์ ่ี ๑ จดทะเบยี นเลิกบริษัทโดยมโี จทกท์ ี่ ๒ เป็น
ผชู้ �ำระบญั ชี และจดทะเบยี นเสร็จการชำ� ระบัญชเี มอ่ื วนั ที่ ๑๔ ตลุ าคม ๒๕๕๙ โจทกท์ ี่ ๑ แจ้ง
ราคาขาย ณ โรงอตุ สาหกรรม แกจ่ ำ� เลยสำ� หรบั รถยนตน์ งั่ ตอ่ มาวนั ที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๙ จำ� เลย
มหี นงั สอื แจง้ การประเมนิ ภาษสี รรพสามติ สำ� หรบั รอบระยะเวลาทต่ี รวจสอบตงั้ แต่ ๑ มถิ นุ ายน ๒๕๕๔
ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ รวมภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติม เบี้ยปรับ เงินเพ่ิม และภาษี
เก็บเพ่ิมเพื่อกระทรวงมหาดไทย ๒๑๐,๘๕๙,๗๔๘.๖๖ บาท วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙
โจทกท์ ี่ ๑ อทุ ธรณก์ ารประเมิน วันท่ี ๒๖ เมษายน ๒๕๖๑ จ�ำเลยมีหนังสอื แจง้ คำ� วินิจฉยั อุทธรณ์
ให้เพิกถอนการประเมินภาษีสรรพสามิตส�ำหรับรถยนต์ ๑๐ คัน และให้ยกอุทธรณ์ส�ำหรับ
รถยนต์ ๓๓ คัน โดยให้โจทก์ท่ี ๑ ช�ำระภาษีสรรพสามิต ๒๙,๐๗๙,๓๙๕.๙๗ บาท เบี้ยปรับ
๒๙,๐๗๙,๓๙๕.๙๗ บาท เงินเพ่ิม ๒๙,๐๗๙,๓๙๕.๙๗ บาท และภาษีเก็บเพ่ิมเพื่อกระทรวง
มหาดไทย ๘,๗๒๓,๘๑๘.๗๙ บาท รวมเป็นเงิน ๙๕,๙๖๒,๐๐๖.๗๐ บาท
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ท้ังสองในส�ำนวนแรกว่า โจทก์ท้ังสอง
มีอ�ำนาจฟ้องหรือไม่ และการท่ีศาลภาษีอากรกลางยกปัญหาเร่ืองอ�ำนาจฟ้องขึ้นมาวินิจฉัย
365
ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า เม่ือบริษัทจ�ำกัดเลิกกันจ�ำต้องจัดให้มีการช�ำระบัญชี ซ่ึง
การชำ� ระบัญชีนัน้ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๙ บญั ญตั วิ ่า “หา้ งห้นุ สว่ น
ก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จ�ำเป็น เพ่ือการ
ชำ� ระบัญชี” และมาตรา ๑๒๗๐ บัญญตั วิ า่ “เมื่อการช�ำระบญั ชีกจิ การของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ส�ำเร็จลง ผู้ช�ำระบัญชีต้องท�ำรายงานการช�ำระบัญชีแสดงว่า การช�ำระบัญชีน้ันได้ด�ำเนินไป
อย่างใด และได้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นไปประการใด แล้วให้เรียก
ประชุมใหญ่เพ่ือเสนอรายงานน้ัน และชี้แจงกิจการต่อที่ประชุม เม่ือท่ีประชุมใหญ่ได้ให้อนุมัติ
รายงานนั้นแล้ว ผู้ช�ำระบัญชีต้องน�ำข้อความที่ได้ประชุมกันนั้นไปจดทะเบียนภายในสิบส่ีวัน
นบั แตว่ นั ประชมุ เมอ่ื ไดจ้ ดทะเบยี นแลว้ ดงั นใ้ี หถ้ อื วา่ เปน็ ทส่ี ดุ แหง่ การชำ� ระบญั ช”ี ดงั นน้ั เมอ่ื โจทก์
ท่ี ๒ ซึง่ เปน็ ผ้ชู �ำระบญั ชโี จทกท์ ี่ ๑ ได้ดำ� เนนิ การชำ� ระบัญชีจนกระท่งั จดทะเบยี นเสรจ็ การชำ� ระ
บัญชีแล้ว โจทกท์ ี่ ๑ ย่อมสน้ิ สภาพความเป็นนิตบิ คุ คลนบั แต่วนั จดทะเบยี นเสร็จการช�ำระบญั ชี
หาใช่กลับมามีสภาพเป็นนิติบุคคลเมื่อมีข้อพิพาทหรือเม่ือได้รับค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่ต้อง
ร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบยี นเสรจ็ การชำ� ระบญั ชีกอ่ นไม่ เมอื่ โจทก์ที่ ๑ น�ำคดีมาฟ้องขณะ
ท่ีมิได้มีสภาพนิติบุคคลเน่ืองจากยังไม่ได้ด�ำเนินการร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จการ
ชำ� ระบญั ชี โจทกท์ ่ี ๑ ยอ่ มไมม่ อี ำ� นาจฟอ้ งตามประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความแพง่ มาตรา ๕๕
ประกอบพระราชบัญญัติจัดต้ังศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๑๗ สว่ นโจทกท์ ่ี ๒ ซ่งึ เปน็ เพยี งผู้ช�ำระบัญชยี อ่ มไมต่ ้องรับผดิ ในหน้ีภาษอี ากรของโจทก์
ที่ ๑ เป็นการส่วนตัวเว้นแต่โจทก์ที่ ๒ ได้ท�ำผิดหน้าที่ผู้ช�ำระบัญชี ซ่ึงตามค�ำฟ้องของโจทก์
ท้ังสองกล่าวอ้างว่าได้ด�ำเนินการช�ำระบัญชีถูกต้องแล้ว ซึ่งหากเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้าง
โจทก์ท่ี ๒ ย่อมไม่มีอ�ำนาจฟ้องเช่นกัน ปัญหาเรื่องอ�ำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเก่ียวด้วย
ความสงบเรยี บร้อยของประชาชน แม้จ�ำเลยจะไม่ไดย้ กข้นึ ตอ่ สใู้ นคำ� ใหก้ าร ศาลมอี �ำนาจวนิ ิจฉยั
ได้เองตามประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความแพง่ มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพระราชบญั ญัติ
จดั ตงั้ ศาลภาษอี ากรและวธิ พี จิ ารณาคดภี าษอี ากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๗ ทศ่ี าลภาษอี ากรกลาง
ยกปัญหาเรื่องอ�ำนาจฟ้องข้ึนมาวินิจฉัยและพิพากษาในส�ำนวนแรกให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองนั้น
ศาลอทุ ธรณ์คดชี �ำนญั พิเศษเห็นพอ้ งดว้ ย อุทธรณข์ ้อน้ีของโจทกท์ ั้งสองฟงั ไมข่ ้นึ
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ท่ี ๑ ส�ำนวนหลังว่า ที่ศาลภาษีอากร
กลางพิพากษายกฟ้องจ�ำเลยส�ำนวนหลัง แต่ไม่ตัดสิทธิจ�ำเลยท่ีจะฟ้องใหม่ภายใน ๓๐ วัน นับ
แต่คดีถึงท่ีสดุ ชอบด้วยกฎหมายหรอื ไม่ เหน็ ว่า โจทก์ทัง้ สองอทุ ธรณ์การประเมินและคำ� วินจิ ฉัย
366
อุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เก่ียวกับภาษีสรรพสามิตต่อศาลเป็นส�ำนวนแรก
ขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์ แม้ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง
แตค่ ดยี งั ไมถ่ งึ ทส่ี ดุ คำ� วนิ จิ ฉยั อทุ ธรณข์ องคณะกรรมการพจิ ารณาอทุ ธรณอ์ าจจะถกู เปลย่ี นแปลง
แก้ไขหรือเพิกถอนโดยค�ำส่ังหรือค�ำพิพากษาของศาลได้ จ�ำเลยจึงไม่มีอ�ำนาจฟ้องเรียกเงิน
ภาษีรายเดียวกันจากโจทก์ท่ี ๑ อีก ท่ีศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องจ�ำเลยแต่ไม่ตัด
สิทธิจ�ำเลยท่ีจะฟ้องใหม่ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุดน้ันถูกต้องแล้ว และเม่ือวินิจฉัย
ดังกล่าวแล้วก็ไม่จ�ำต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่นซึ่งเป็นเน้ือหาของคดีอีก อุทธรณ์ข้อนี้ของ
โจทก์ที่ ๑ ฟงั ไมข่ ึ้นเช่นกัน
พิพากษายนื คา่ ฤชาธรรมเนยี มช้ันอทุ ธรณ์ทงั้ สองสำ� นวนใหเ้ ป็นพับ.
(สรายทุ ธ์ วฒุ ยาภรณ์ - บญุ เขตร์ พุ่มทิพย์ - สมศกั ด์ิ อนิ ทรพ์ นั ธ)์ุ
สกุ มุ ล รุ่งพรทววี ฒั น์ - ย่อ
วีนสั นมิ ติ กุล - ตรวจ
หมายเหตุ คดถี งึ ที่สุด
367
คำ� พิพากษาศาลอทุ ธรณค์ ดีชำ� นัญพิเศษท่ี ๑๒๙๗/๒๕๖๓ บริษัทไทยเทคโนกลาส
จำ� กดั โจทก์
องคก์ ารบริหารส่วนต�ำบล
ทพั หลวง จ�ำเลย
ป.ว.ิ พ. มาตรา ๒๒๖
พ.ร.บ. จัดตงั้ ศาลภาษอี ากรและวิธพี ิจารณาคดภี าษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๒๔
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรอื นและที่ดิน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๑๘
ในชั้นช้ีสองสถาน ศาลภาษีอากรกลางก�ำหนดประเด็นข้อพิพาท ๒ ข้อ โจทก์
ย่ืนคำ� รอ้ งคัดค้านการก�ำหนดประเดน็ ขอ้ พพิ าทและภาระการพิสูจน์ ศาลภาษอี ากรกลาง
มคี ำ� สงั่ วา่ พเิ คราะหข์ อ้ ทค่ี ดั คา้ นแลว้ ไมม่ เี หตเุ ปลยี่ นแปลงคำ� สงั่ เดมิ ใหต้ ่างฝา่ ยสบื พยาน
ไปตามประเด็นข้อพิพาทท่ีก�ำหนดไว้ ค�ำสั่งของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว มิใช่ค�ำสั่ง
วินิจฉัยช้ีขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันจะท�ำให้คดีเสร็จไปได้ท้ังเรื่องหากเสร็จ
ไปเฉพาะแต่ประเด็นบางขอ้ ตาม ป.ว.ิ พ. มาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๒๘ (๓) แต่เป็นคำ� ส่งั
ระหว่างพิจารณา เมอื่ โจทก์ไม่ไดโ้ ตแ้ ย้งคำ� สั่งน้ันไว้ โจทก์จึงไม่มสี ิทธิอทุ ธรณต์ าม ป.ว.ิ พ.
มาตรา ๒๒๖ วรรคหนง่ึ ประกอบ พ.ร.บ. จดั ตงั้ ศาลภาษอี ากรและวธิ พี จิ ารณาคดภี าษอี ากร
พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๒๔
ค่ารายปีของปีท่ีล่วงแล้วท่ีใช้เป็นหลักส�ำหรับการค�ำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสีย
ในปีต่อมาตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๑๘ หมายความถึง
ค่ารายปีของปีก่อนถัดจากปีที่พนักงานเจ้าหน้าท่ีก�ำลังประเมิน การประเมินค่ารายปี
สำ� หรบั โรงเรอื นพพิ าททโ่ี จทกใ์ ชใ้ นปี ๒๕๖๐ เพอื่ คำ� นวณภาษซี งึ่ ตอ้ งชำ� ระประจำ� ปภี าษี ๒๕๖๑
ต้องน�ำค่ารายปีของปี ๒๕๕๙ ท่ีมีการช�ำระค่าภาษีประจ�ำปีภาษี ๒๕๖๐ มาเป็นหลัก
ในการค�ำนวณค่าภาษี ค่ารายปีประจ�ำปีภาษี ๒๕๕๓ ถึงประจ�ำปีภาษี ๒๕๕๙ ที่โจทก์
พอใจและมิได้มีการขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จึงมิใช่ค่ารายปีของปีท่ีล่วงแล้วตาม
มาตรา ๑๘ แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและท่ดี นิ พ.ศ. ๒๔๗๕
______________________________
368
โจทก์ฟ้อง ขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขการประเมินตามใบแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือน
และที่ดิน เล่มท่ี ๒ เลขที่ ๘๒ ลงวันท่ี ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ และใบแจ้งค�ำชี้ขาด เล่มท่ี ๑
เลขที่ ๒๑ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๑ โดยให้จ�ำเลยประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ประจำ� ปภี าษี ๒๕๖๑ เป็นเงิน ๓๐,๔๕๐ บาท และให้คนื เงิน ๔๒๒,๗๖๒.๒๕ บาท พรอ้ มดอกเบยี้
อัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นบั แตว่ นั ฟ้องไปจนกวา่ จะช�ำระเสรจ็ แก่โจทก์
จ�ำเลยใหก้ าร ขอให้ยกฟอ้ ง
ศาลภาษอี ากรกลาง พพิ ากษายกฟอ้ ง ค่าฤชาธรรมเนียมใหเ้ ปน็ พบั
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษแผนกคดภี าษอี ากรวนิ จิ ฉยั วา่ ขอ้ เทจ็ จรงิ รบั ฟงั ไดว้ า่ โจทก์
เปน็ เจา้ ของอาคารเลขที่ ๑๓๒/๓ ถนนมาลัยแมน ต�ำบลทัพหลวง อ�ำเภอเมืองนครปฐม จงั หวดั
นครปฐม ซ่ึงโจทก์ใช้เป็นสถานประกอบการผลิตกระจกรถยนต์ วันท่ี ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
โจทกย์ น่ื แบบแจง้ รายการเพอื่ เสยี ภาษโี รงเรอื นและทดี่ นิ ประจำ� ปภี าษี ๒๕๖๑ จำ� นวน ๖ รายการ
พนื้ ที่ ๑๔,๖๐๗.๑๐ ตารางเมตร ภาษีโรงเรือนและทดี่ นิ ๓๐,๔๕๐ บาท พนกั งานเจา้ หนา้ ทีข่ อง
จำ� เลยประเมนิ คา่ รายปี ๓,๖๒๕,๖๙๘ บาท คา่ ภาษโี รงเรอื นและทด่ี นิ ๔๕๓,๒๑๒.๒๕ บาท โจทก์
ยื่นค�ำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ จ�ำเลยแจ้งค�ำช้ีขาดให้ประเมิน
ค่ารายปีและค่าภาษีตามที่ได้แจ้งการประเมิน โจทก์ช�ำระค่าภาษีตามท่ีได้รับแจ้งการประเมิน
แกจ่ ำ� เลยแลว้
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการแรกว่า ค�ำส่ังของศาลภาษี
อากรกลางท่ีให้ยกค�ำร้องคัดค้านการก�ำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ของโจทก์
ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ในชั้นช้ีสองสถาน ศาลภาษีอากรกลางก�ำหนดประเด็นข้อพิพาท
๒ ข้อ ข้อ ๑. การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินทรัพย์พิพาทส�ำหรับปีภาษี ๒๕๖๑ ชอบด้วย
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๘, ๑๘ และ ๒๔ หรือไม่
ขอ้ ๒. จำ� เลยตอ้ งคนื เงนิ ๔๒๒,๗๖๒.๒๕ บาท แกโ่ จทก์ พรอ้ มดอกเบยี้ อตั รารอ้ ยละ ๗.๕ ตอ่ ปี หรอื ไม่
ประเดน็ ขอ้ พพิ าททงั้ สองขอ้ โจทกเ์ ปน็ ฝ่ายกลา่ วอา้ ง จำ� เลยใหก้ ารปฏเิ สธ โจทกม์ ภี าระการพสิ จู น์
ให้โจทก์น�ำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนแล้วให้จ�ำเลยสืบแก้ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๒ โจทก์ยื่น
ค�ำร้องคัดค้านการก�ำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ ศาลภาษีอากรกลางมีค�ำส่ังว่า
พิเคราะห์ข้อที่คัดค้านแล้ว ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงค�ำส่ังเดิม ให้ต่างฝ่ายสืบพยานไปตามประเด็น
ข้อพิพาทท่ีก�ำหนดไว้ ค�ำสั่งของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว มิใช่ค�ำส่ังวินิจฉัยช้ีขาดเบื้องต้น
369
ในปัญหาข้อกฎหมายอันจะท�ำให้คดีเสร็จไปได้ทั้งเรื่องหากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๒๘ (๓) แต่เป็นค�ำส่ัง
ระหวา่ งพจิ ารณา เมอ่ื โจทกไ์ มไ่ ดโ้ ตแ้ ยง้ คำ� สงั่ นนั้ ไว้ โจทกจ์ งึ ไมม่ สี ทิ ธอิ ทุ ธรณต์ ามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๖ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดต้ังศาลภาษีอากร
และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๒๔ ศาลอุทธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษไม่รับ
วินิจฉัย
คดมี ปี ญั หาตอ้ งวนิ จิ ฉยั ตามอทุ ธรณข์ องโจทกป์ ระการตอ่ ไปว่า การประเมนิ ตามใบแจง้
รายการประเมินภาษีโรงเรือนและท่ีดินและใบแจ้งค�ำช้ีขาดพิพาทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
เห็นว่า พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๘ วรรคหน่ึง บัญญัติว่า
“ให้ผู้รับประเมินช�ำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน คือโรงเรือนหรือส่ิงปลูกสร้าง
อยา่ งอน่ื กบั ทดี่ นิ ซง่ึ ใชต้ อ่ เนอ่ื งกบั โรงเรอื นหรอื สง่ิ ปลกู สรา้ งอยา่ งอนื่ นน้ั ในอตั รารอ้ ยละสบิ สองครง่ึ
ของค่ารายป”ี มาตรา ๘ วรรคสอง บัญญัติวา่ “เพือ่ ประโยชนแ์ หง่ มาตราน้ี “ค่ารายปี” หมายความว่า
จ�ำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ” และมาตรา ๘ วรรคสาม บัญญัติว่า
“ในกรณีที่ทรัพย์สินน้ันให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่าน้ันคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีท่ีมีเหตุอันสมควรที่
ท�ำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่าน้ันมิใช่จ�ำนวนเงินอันสมควรท่ีจะให้เช่าได้ หรือเป็นกรณี
ทหี่ าคา่ เชา่ ไมไ่ ดเ้ นอื่ งจากเจา้ ของทรพั ยส์ นิ ดำ� เนนิ กจิ การเองหรอื ดว้ ยเหตปุ ระการอนื่ ใหพ้ นกั งาน
เจ้าหน้าท่ีมีอ�ำนาจประเมินค่ารายปีได้ โดยค�ำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ท�ำเล
ท่ีตั้ง และบริการสาธารณะท่ที รัพย์สนิ นน้ั ได้รับประโยชน์ ทงั้ น้ี ตามหลกั เกณฑท์ ่รี ัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยกำ� หนดโดยประกาศในราชกิจจานเุ บกษา” ตามบทบัญญตั ิดังกลา่ ว ค่ารายปี
หมายถึง จ�ำนวนเงินค่าเช่าท่ีสมควรจากการน�ำทรัพย์ออกให้เช่า โดยไม่ค�ำนึงว่าจะมีการน�ำ
ทรัพย์สินน้ันออกให้เช่าหรือไม่ และค่าเช่าทรัพย์สินที่จะถือเป็นค่ารายปีได้ต้องเป็นค่าเช่าท่ี
สมควร หากเปน็ กรณที คี่ า่ เชา่ นนั้ มใิ ชจ่ ำ� นวนเงนิ อนั สมควร หรอื เปน็ กรณหี าคา่ เชา่ ไมไ่ ดเ้ นอื่ งจาก
เจ้าของทรัพย์สินด�ำเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอ่ืน พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอ�ำนาจ
ประเมินค่ารายปีได้ โดยค่ารายปีของทรัพย์สินแต่ละรายอาจจะเพ่ิมขึ้นหรือลดลงได้แล้วแต่
ขอ้ เทจ็ จรงิ ของแตล่ ะปี ดงั นี้ พนกั งานเจา้ หนา้ ทต่ี อ้ งประเมนิ คา่ รายปแี ตล่ ะปที กุ ปี โดยคำ� นงึ ลกั ษณะ
ของทรัพย์สนิ ขนาด พืน้ ที่ ท�ำเลทต่ี ้ัง และบรกิ ารสาธารณะท่ที รพั ย์สนิ นั้นไดป้ ระโยชน์คล้ายคลึงกัน
หาใช่เฉพาะในครั้งแรกท่ีมีการยื่นแบบแสดงรายการเพ่ือเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเท่านั้น
ดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ ท่ีโจทก์อุทธรณ์ว่า กรณีควรต้องน�ำค่ารายปีของปีท่ีล่วงแล้วมาใช้ในการ
370
ก�ำหนดค่ารายปสี ำ� หรบั โรงเรือนของโจทก์ กลา่ วคอื คา่ รายปีประจำ� ปภี าษี ๒๕๕๓ ถึงประจำ� ปี
ภาษี ๒๕๕๙ ทโ่ี จทกพ์ อใจและมไิ ดม้ กี ารขอใหพ้ จิ ารณาประเมนิ ใหม่ จงึ จะชอบดว้ ยมาตรา ๑๘ แหง่
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. ๒๔๗๕ จ�ำเลยไม่เคยขอเข้าตรวจสอบและวัด
พ้ืนท่ีโรงเรือนโจทก์และการก�ำหนดค่ารายปีของจ�ำเลยท�ำให้มีจ�ำนวนรายการโรงเรือนเพ่ิมขึ้น
เปน็ ไปเพอ่ื ใหม้ กี ารประเมนิ คา่ รายปเี พม่ิ ขนึ้ เทา่ นน้ั และจำ� เลยยงั นำ� เอาสำ� นกั งาน ปอ้ มยาม ทจี่ อด
รถยนต์ ทจี่ อดรถจกั รยานยนต์ โรงอาหาร หอ้ งนำ�้ พน้ื ทจ่ี ดั สง่ พน้ื ทว่ี ศิ วกรรม พน้ื ทเี่ กบ็ วสั ดุ พน้ื ท่ี
สต๊อกของเสีย ซ่ึงมิได้เป็นโรงเรือนหรอื สิง่ ปลกู สรา้ งทีม่ ีคุณสมบตั เิ ขา้ อยูอ่ าศัย หรอื ใช้เปน็ ทีเ่ กบ็
สินค้า หรือใช้ประกอบอุตสาหกรรม อันได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและท่ีดินตามพระราชบัญญัติ
ภาษีโรงเรือนและท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๑๐ มาก�ำหนดค่ารายปีด้วยนั้น ค่ารายปีของปี
ท่ีล่วงแล้วท่ีใช้เป็นหลักส�ำหรับการค�ำนวณค่าภาษีซ่ึงจะต้องเสียในปีต่อมาตามพระราชบัญญัติ
ภาษโี รงเรือนและท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๑๘ หมายความถงึ ค่ารายปีของปกี อ่ นถัดจากปที ่ี
พนกั งานเจา้ หนา้ ทก่ี ำ� ลงั ประเมนิ การประเมนิ คา่ รายปสี ำ� หรบั โรงเรอื นพพิ าททโี่ จทกใ์ ชใ้ นปี ๒๕๖๐
เพื่อค�ำนวณภาษีซึ่งต้องช�ำระประจ�ำปีภาษี ๒๕๖๑ ต้องน�ำค่ารายปีของปี ๒๕๕๙ ท่ีมีการช�ำระ
ค่าภาษีประจ�ำปีภาษี ๒๕๖๐ มาเป็นหลักในการค�ำนวณค่าภาษี ค่ารายปีประจ�ำปีภาษี ๒๕๕๓
ถงึ ประจ�ำปีภาษี ๒๕๕๙ ทโี่ จทกพ์ อใจและมไิ ดม้ ีการขอใหพ้ จิ ารณาประเมนิ ใหม่ จึงมิใช่คา่ รายปี
ของปที ล่ี ว่ งแล้วตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญตั ิภาษโี รงเรอื นและท่ดี ิน พ.ศ.๒๔๗๕ นอกจากน้ี
ทางพิจารณายังได้ความต่อไปว่า ส�ำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดนครปฐมร่วมกับพนักงาน
เจ้าหน้าที่ของจ�ำเลยส�ำรวจโรงเรือนและส่ิงปลูกสร้างของโจทก์พบว่า โรงเรือนและส่ิงปลูกสร้าง
ของโจทกแ์ บ่งเป็น ๒๒ รายการ พ้นื ท่ี ๑๘,๖๒๐ ตารางเมตร โดยโจทกข์ ออนญุ าตกอ่ สรา้ งอาคาร
เพ่ิม ๓ ครัง้ ในปี ๒๕๔๙ ปี ๒๕๕๒ และปี ๒๕๕๓ ในสว่ นนโ้ี จทกก์ ล่าวอ้างเพียงลอย ๆ โดย
ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารมาน�ำสืบสนับสนุนให้เห็นว่า โจทก์ไม่ได้ปลูกสร้างโรงเรือนเพิ่มข้ึน ทั้ง
ยังขัดแย้งกับเอกสารท่ีโจทก์ได้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารดังกล่าวตามใบอนุญาตก่อสร้างและ
โฉนดท่ีดิน ข้อน�ำสืบของโจทก์จึงไม่มีน�้ำหนัก และรับฟังได้ว่าโรงเรือนและที่ดินของโจทก์มี
๒๒ รายการ พ้ืนที่ ๑๘,๖๒๐ ตารางเมตร แตกต่างไปจากลักษณะทรัพย์สินตามท่ีโจทก์แจ้ง
รายการเพ่ือเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจ�ำปี ๒๕๕๓ ถึงประจ�ำปีภาษี ๒๕๕๙ จึงไม่อาจน�ำ
คา่ รายปีประจำ� ปภี าษี ๒๕๕๓ ถึงประจำ� ปีภาษี ๒๕๕๙ มาเป็นหลกั ส�ำหรบั การคำ� นวณคา่ รายปี
ประจำ� ปภี าษี ๒๕๖๑ ได้ ทงั้ โจทกป์ ระกอบกจิ การผลติ และจำ� หนา่ ยกระจกรถยนต์ ใชโ้ รงเรอื นและ
สิ่งปลูกสร้างเป็นโรงงานผลิตกระจกรถยนต์ เป็นการใช้โรงเรือนในกิจการของตนเอง จึงเป็น
371
กรณีท่ีหาค่าเช่าไม่ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอ�ำนาจประเมินค่ารายปีได้ตามพระราชบัญญัติ
โรงเรอื นและท่ีดนิ พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา ๘ วรรคสาม สว่ นทโี่ จทกอ์ า้ งวา่ รายการสิง่ ปลูกสรา้ ง
สำ� นกั งาน ปอ้ มยาม ทจี่ อดรถยนต์ ท่ีจอดรถจักรยานยนต์ โรงอาหาร หอ้ งน�ำ้ พ้นื ทจี่ ัดส่ง พ้ืนที่
วิศวกรรม พ้ืนท่ีเก็บวัสดุ พื้นท่ีสต๊อกของเสีย ภายในโรงงานของโจทก์ มิได้มีการใช้เป็นที่ไว้
สนิ คา้ หรอื ประกอบการอตุ สาหกรรมนนั้ นอกจากโจทกจ์ ะกลา่ วอา้ งเพยี งลอย ๆ ขอ้ อา้ งของโจทก์
ยังขัดแย้งกับสภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์ของสิ่งปลูกสร้างอย่างชัดแจ้ง พยานหลักฐาน
ของโจทกไ์ มม่ ีน�ำ้ หนักให้รบั ฟงั ได้ เชือ่ ได้ว่าการปลกู สรา้ งส่งิ ปลกู สร้างดงั กลา่ วเปน็ การปลูกสร้าง
เพอื่ การประกอบอตุ สาหกรรมผลติ และจำ� หนา่ ยกระจกรถยนตใ์ นเชงิ พาณชิ ย์ จงึ ไมเ่ ขา้ ขอ้ ยกเวน้
ให้ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและท่ีดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. ๒๔๗๕
มาตรา ๑๐ ดังที่โจทกอ์ ทุ ธรณ์ ท่ศี าลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์มาน้นั ศาลอุทธรณ์
คดีช�ำนัญพิเศษเห็นพ้องด้วยในผล เมื่อวินิจฉัยดังน้ีแล้วจึงไม่จ�ำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออ่ืนของ
โจทกอ์ กี ตอ่ ไป เพราะไมอ่ าจเปลี่ยนแปลงผลแหง่ คดีได้
พิพากษายนื คา่ ฤชาธรรมเนยี มชน้ั อุทธรณใ์ หเ้ ปน็ พับ.
(ววิ ัฒน์ สวุ ัณณะสังข์ - เดชา ค�ำสิทธิ - วิชัย จิตตาณชิ ย)์
ธนสร สุทธบิ ดี - ยอ่
วีนัส นมิ ิตกลุ - ตรวจ
หมายเหตุ คดถี ึงท่สี ุด
372
ค�ำพิพากษาศาลอุทธรณค์ ดชี ำ� นัญพเิ ศษที่ ๒๖๘๑/๒๕๖๑ นางสาวกชวรรณ
จรรยาสวย โจทก์
จำ� เลย
กรมสรรพากร
ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๒, ๑๔๗๔, ๑๔๘๘
เงินฝากบัญชีเงินฝากออกทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจ�ำท่ีโจทก์ได้มาระหว่าง
สมรสยอ่ มเป็นสนิ สมรส โจทกเ์ บิกความเพยี งลอย ๆ วา่ โจทก์ทำ� มาหาได้เพยี งฝา่ ยเดยี ว
โดย นาย ป. ไมเ่ กย่ี วขอ้ ง และไมป่ รากฏวา่ เงนิ ฝากดงั กลา่ วเปน็ เงนิ ทมี่ าจากสนิ สว่ นตวั ของ
โจทกก์ อ่ นจดทะเบยี นสมรสหรอื เปน็ ทรพั ยส์ นิ ทโ่ี จทกไ์ ดม้ าระหวา่ งสมรสโดยการรบั มรดก
หรอื โดยการใหโ้ ดยเสนห่ า เงนิ ฝากดงั กลา่ วจงึ เปน็ สนิ สมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๔ (๑)
เมอ่ื นาย ป. คา้ งชำ� ระภาษมี ลู คา่ เพมิ่ กอ่ นท่ี นาย ป. จดทะเบยี นสมรสกบั โจทก์ และไดค้ วาม
จากพยานจำ� เลยวา่ ไดเ้ รง่ รดั ภาษอี ากรคา้ งจากนายป.ไดบ้ างสว่ นแตย่ งั ไดเ้ งนิ ไมพ่ อทชี่ ำ� ระ
หนภ้ี าษอี ากรคา้ งและไมพ่ บทรพั ยส์ นิ อนื่ ใดอกี การทเ่ี จา้ พนกั งานจำ� เลยบงั คบั ชำ� ระหนจ้ี าก
สินสว่ นตวั ของ นาย ป. กอ่ น และเม่อื ไม่พอชำ� ระหน้จี งึ อายัดสิทธิเรยี กรอ้ งบัญชีเงนิ ฝาก
ออมทรัพย์และเงินฝากประจ�ำของโจทก์ซึ่งเป็นสินสมรสทีเ่ ปน็ ส่วนของ นาย ป. จึงชอบด้วย
ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๘๘
______________________________
โจทกฟ์ ้อง ขอใหเ้ พกิ ถอนคำ� สั่งอายดั ท่ี (สภ.๖) ๕๑๑/๒๕๕๖ ลงวันท่ี ๖ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๕๖
และคนื เงนิ จำ� นวน ๗๕,๐๐๐ บาท พรอ้ มดอกเบยี้ ในอตั รารอ้ ยละเจด็ ครง่ึ ตอ่ ปขี องยอดเงนิ ดงั กลา่ ว
นับแตว่ ันฟอ้ งเปน็ ต้นไปจนกว่าจะชำ� ระแลว้ เสรจ็ แกโ่ จทก์
จำ� เลยให้การ ขอให้ยกฟอ้ ง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ช�ำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนจ�ำเลย
โดยก�ำหนดค่าทนายความ ๕,๐๐๐ บาท
โจทกอ์ ทุ ธรณ์
ศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษแผนกคดภี าษอี ากรวนิ จิ ฉยั วา่ ขอ้ เทจ็ จรงิ รบั ฟงั เปน็ ยตุ โิ ดย
ไมม่ คี คู่ วามฝา่ ยใดโตแ้ ยง้ วา่ นายประสงคจ์ ดทะเบยี นสมรสกบั นางภาวดี เมอื่ วนั ท่ี ๓๐ ธนั วาคม ๒๕๓๐
373
และได้จดทะเบียนหย่าเม่ือวันท่ี ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ หลังจากนั้นวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
นายประสงค์ซ่ึงเปลี่ยนช่ือเป็นนายวรพลได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ระหว่างท่ีนายประสงค์
จดทะเบียนสมรสกับนางภาวดีนั้น นายประสงค์ได้ย่ืนแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพ่ิม
เดือนภาษีตุลาคม ๒๕๔๖ ถึงเดือนภาษีมีนาคม ๒๕๔๗ รวม ๖ เดือนภาษี มีภาษีต้องช�ำระ
จ�ำนวน ๒๘๘,๘๔๐.๗๑ บาท นายประสงค์ได้ช�ำระภาษีมูลค่าเพ่ิมบางส่วน และเจ้าพนักงาน
จ�ำเลยเร่งรัดหน้ีภาษีอากรค้างโดยอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากธนาคารของนายประสงค์
เพ่ือช�ำระหน้ีภาษีอากรค้างบางส่วนคงเหลือภาษีอากรค้างพร้อมเงินเพิ่ม ๓๔๘,๖๒๒.๓๕ บาท
เจา้ พนกั งานจำ� เลยมคี ำ� สง่ั อายดั สทิ ธเิ รยี กรอ้ งบญั ชเี งนิ ฝากธนาคารออมสนิ สาขาบา้ นโปง่ จงั หวดั
ราชบุรี ประเภทบญั ชีเงนิ ฝากออมทรพั ยแ์ ละบัญชีเงินฝากประจ�ำ (สลากออมสินพเิ ศษ) ซ่งึ เป็น
ชื่อของโจทก์เฉพาะส่วนที่เป็นสินสมรสของนายประสงค์ โจทก์ยื่นค�ำร้องคัดค้านค�ำส่ังอายัด
ดังกล่าว จ�ำเลยยกค�ำร้องคัดค้าน โจทก์ยื่นค�ำร้องขอผ่อนช�ำระหน้ีภาษีอากรของนายประสงค์
โดยผอ่ นช�ำระ ๑๔ งวด แตโ่ จทก์ผอ่ นช�ำระ ๓ งวด เปน็ เงิน ๗๕,๐๐๐ บาท หลงั จากนั้นวนั ท่ี ๑
มกราคม ๒๕๕๖ โจทก์แจ้งจ�ำเลยขอหยุดผ่อนช�ำระอ้างว่าได้ย่ืนฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง
ขอใหเ้ พิกถอนค�ำสงั่ อายัดและให้จ�ำเลยคืนเงนิ ทโ่ี จทกผ์ อ่ นชำ� ระไปแลว้
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการแรกมีว่า ค�ำส่ังอายัดสิทธิเรียกร้อง
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจ�ำ (สลากออมสินพิเศษ) ดังกล่าวถูกต้องและ
ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซ่ึงโจทก์อุทธรณ์ว่า จ�ำเลยได้ขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของ
นายประสงค์ผลการตรวจสอบเม่ือวนั ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ ปรากฏว่านายประสงคเ์ ป็นเจา้ บ้าน
เลขท่ี ๔๕/๒ หมทู่ ่ี ๔ ตำ� บลลาดบัวขาว อำ� เภอบา้ นโปง่ จังหวดั ราชบรุ ี แตไ่ มป่ รากฏว่าจำ� เลย
ได้ด�ำเนินการอย่างใดท้งั ทท่ี ราบว่านายประสงค์มีทรพั ยส์ ินอยู่ ซึง่ หากจำ� เลยทำ� การยดึ ทรัพยส์ ิน
ขณะน้ันก็สามารถน�ำมาช�ำระหน้ีได้ แต่จ�ำเลยกลับปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาเป็นระยะเวลากว่า
๙ ปี ทั้งหากตรวจสอบทรัพย์สินของนางภาวดีในขณะน้ันก็จะพบที่ดินซ่ึงสามารถน�ำมาช�ำระ
หนี้ภาษีอากรค้างได้เนื่องจากหน้ีภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างสมรสของนายประสงค์กับ
นางภาวดี ซ่ึงหากจ�ำเลยด�ำเนินการตามข้ันตอนอย่างเคร่งครัดแล้วก็สามารถยึดทรัพย์ของ
ผู้ค้างช�ำระภาษีอากรได้ก่อนปี ๒๕๔๙ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หาทรัพย์
มาโดยล�ำพังโดยนายประสงค์ไม่ได้ท�ำมาหาได้หรือช่วยเหลือกันตั้งแต่ต้นนั้น เห็นว่า ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔ บัญญัติว่า “สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน (๑) ท่ีคู่สมรส
ได้มาระหว่างสมรส...” มาตรา ๑๔๗๑ บัญญัติว่า “สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน...(๓) ท่ีฝ่ายใด
374
ฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา...” และมาตรา ๑๔๗๒
วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซ้ือทรัพย์สินอื่น
มาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินท่ีได้มาน้ันเป็นสินส่วนตัว” ดังนั้น
ทรพั ยส์ ินทค่ี ู่สมรสไดม้ าระหว่างสมรสย่อมเปน็ สินสมรส เวน้ แต่ทรัพยส์ ินดังกล่าวเปน็ สินส่วนตัว
ท่ีไดแ้ ลกเปลยี่ นมา หรือเป็นทรพั ยส์ นิ ทฝ่ี า่ ยใดฝา่ ยหน่งึ ได้มาระหว่างสมรสโดยการรบั มรดกหรอื
โดยการใหโ้ ดยเสนห่ า โจทก์มีบญั ชเี งินฝากออมทรพั ย์และบัญชีเงินฝากประจำ� (สลากออมสนิ พเิ ศษ)
ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ เงินฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจ�ำ (สลากออมสินพิเศษ)
ดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรส ซึ่งตามทางน�ำสืบของโจทก์ โจทก์เพียงแต่
เบิกความลอย ๆ ว่า โจทก์ท�ำมาหาได้ซ่ึงทรัพย์สินเพียงฝ่ายเดียวโดยนายประสงค์ไม่ได้
เก่ียวข้อง และโจทก์ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการสมรส แต่ไม่ปรากฏตามทางน�ำสืบของ
โจทกว์ า่ เงนิ ฝากธนาคารดงั กลา่ วเปน็ เงนิ ทมี่ าจากสนิ สว่ นตวั ของโจทกก์ อ่ นจดทะเบยี นสมรสหรอื
เป็นทรัพย์สินท่ีโจทก์ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาแต่อย่างใด
เงินฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจ�ำ (สลากออมสินพิเศษ) ดังกล่าวจึงเป็น
สินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔ (๑) ซ่ึงกรณีท่ีสามีหรือภริยา
เป็นหน้ีส่วนตัวแก่บุคคลภายนอก บุคคลภายนอกมีสิทธิบังคับช�ำระหน้ีจากทรัพย์สินที่เป็น
สินส่วนตัวหรือสินสมรสได้เพียงใดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๔๘๘
บัญญัติว่า “ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพ่ือช�ำระหนี้ท่ีก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรส
ให้ช�ำระหน้ีนั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ช�ำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วน
ของฝ่ายน้ัน” เม่ือนายประสงค์ค้างช�ำระภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนภาษีตุลาคม ๒๕๔๖ ถึงเดือน
ภาษีมีนาคม ๒๕๔๗ ก่อนท่ีนายประสงค์จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ และได้ความจากนายปฐม
พยานจ�ำเลยวา่ พยานได้เรง่ รดั ภาษีอากรคา้ งแกน่ ายประสงค์ ซึ่งนายประสงค์ไดน้ �ำเงินมาชำ� ระ
คา่ ภาษอี ากรคา้ งบางสว่ นและอายดั สทิ ธเิ รยี กรอ้ งของนายประสงคท์ มี่ อี ยแู่ กธ่ นาคาร แตย่ งั ไดเ้ งนิ
ไม่พอที่จะช�ำระหน้ีภาษีอากรค้าง ซึ่งพยานด�ำเนินการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างแก่นายประสงค์
ถึงปี ๒๕๕๕ ก็ไม่พบทรัพย์สินอ่ืนใดอีก จึงเป็นกรณีท่ีเจ้าพนักงานจ�ำเลยได้ด�ำเนินการตาม
ข้ันตอนท่ีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๔๘๘ กล่าวคือ บังคับช�ำระหนี้
จากสินส่วนตัวของนายประสงค์ก่อน และเมื่อไม่พอช�ำระหน้ีภาษีอากรค้าง จึงอายัดสิทธิเรียกร้อง
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจ�ำ (สลากออมสินพิเศษ) ซ่ึงเป็นสินสมรสท่ีเป็น
ส่วนของนายประสงค์ การอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
375
และบัญชีเงินฝากประจ�ำ (สลากออมสินพิเศษ) ดังกล่าวจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนท่ีโจทก์น�ำสืบและอุทธรณ์ท�ำนองว่า นายประสงค์ยังมีทรัพย์สินอ่ืนอีก แต่จ�ำเลยมิได้
ด�ำเนินการบังคับยึดทรัพย์ของนายประสงค์ก่อนท่ีนายประสงค์จดทะเบียนสมรสกับโจทก์น้ัน
เหน็ วา่ เจา้ พนกั งานจำ� เลยอายดั สทิ ธเิ รยี กรอ้ งทน่ี ายประสงคม์ อี ยแู่ กธ่ นาคารหลายครง้ั และตรวจสอบ
กรรมสิทธ์ิและสิทธิครอบครองในท่ีดินของนายประสงค์หลายคร้ัง ซ่ึงหากนายประสงค์ยังมี
ทรัพย์สินอื่นอีกดังท่ีโจทก์กล่าวอ้าง ก็ไม่มีเหตุผลใดที่เจ้าพนักงานจ�ำเลยจะไม่ท�ำการยึดอายัด
ไปช�ำระหนี้ภาษีอากรค้าง ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อกล่าวอ้างลอย ๆ ซึ่งไม่มี
พยานหลักฐานมาสนับสนุน อุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์จึงฟังไม่ข้ึน ส่วนท่ีโจทก์อุทธรณ์ว่า
หนี้ภาษีอากรเป็นหน้รี ะหวา่ งสมรสของนายประสงคก์ ับนางภาวดี แตจ่ �ำเลยไมไ่ ด้บงั คบั ชำ� ระหน้ี
แก่นางภาวดี ทั้งที่นางภาวดีมีท่ีดินที่สามารถน�ำมาช�ำระหนี้ภาษีอากรได้น้ัน เห็นว่า ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘๙ ทบี่ ญั ญัติวา่ “ถา้ สามภี ริยาเปน็ ลกู หนรี้ ่วมกัน ให้ชำ� ระ
หน้ีนั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย” นั้น หน้ีที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันน้ัน
มคี วามหมายเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา ๑๔๙๐ ซง่ึ โจทก์ไม่ได้นำ� สืบ
ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา ๑๔๙๐
แต่อย่างใด หนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวจึงเป็นหนี้ท่ีนายประสงค์ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และเป็น
หน้ีท่ีนายประสงค์ได้ก่อไว้ระหว่างสมรสกับนางภาวดีและก่อนสมรสกับโจทก์ เมื่อเจ้าพนักงาน
จ�ำเลยเรียกให้ช�ำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของนายประสงค์แล้วไม่พอ ก็อาจให้ช�ำระด้วยสินสมรส
ส่วนท่ีเป็นของนายประสงค์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘๘ ดังนั้น
การท่ีจ�ำเลยอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจ�ำ (สลากออมสิน
พิเศษ) ดังกล่าวจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ก็ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
ทีศ่ าลภาษอี ากรกลางวนิ ิจฉยั มาน้นั ศาลอทุ ธรณ์คดชี ำ� นญั พเิ ศษเห็นพอ้ งดว้ ย
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการถัดไปมีว่า จ�ำเลยต้องคืนเงินจ�ำนวน
๗๕,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบ้ียให้โจทก์หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๓๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “อันการช�ำระหน้ีนั้น ท่านว่าบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ช�ำระ
ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหน้ีจะไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกช�ำระ หรือจะขัดกับเจตนาอันคู่กรณี
ได้แสดงไว้” ดงั น้นั เมือ่ โจทก์ซึง่ เป็นบคุ คลภายนอกขอผ่อนช�ำระหนี้ภาษอี ากรแทนนายประสงค์
และสภาพแห่งหนี้เป็นหน้ีที่มีวัตถุแห่งหน้ีเป็นการช�ำระเงิน จึงเป็นกรณีท่ีสภาพแห่งหนี้เปิด
ช่องให้บุคคลภายนอกช�ำระได้ และไม่ปรากฏว่าขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้ การท่ีโจทก์
376
ชำ� ระหนแ้ี ทนนายประสงคใ์ หจ้ ำ� เลยไป ๗๕,๐๐๐ บาท จงึ เปน็ การชำ� ระหนภ้ี าษอี ากรทนี่ ายประสงค์
ค้างช�ำระแก่จ�ำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย และท�ำให้หน้ีภาษีอากรที่นายประสงค์ค้างช�ำระแก่
จ�ำเลยระงับไปเท่าท่ีโจทก์ช�ำระแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จ�ำเลยคืนเงิน ๗๕,๐๐๐ บาท
พรอ้ มดอกเบยี้ แกโ่ จทก์ สว่ นโจทกจ์ ะมสี ทิ ธเิ รยี กใหน้ ายประสงคช์ ำ� ระหนจี้ ำ� นวนดงั กลา่ วแกโ่ จทก์
หรือไม่ ก็เป็นเรื่องท่ีโจทก์ต้องไปว่ากล่าวอีกส่วนหน่ึงต่างหาก อุทธรณ์ของโจทก์ข้อน้ีฟังไม่ขึ้น
ที่ศาลภาษีอากรกลางวนิ จิ ฉยั มานนั้ ศาลอทุ ธรณ์คดีช�ำนัญพิเศษเหน็ พ้องด้วยในผล
พพิ ากษายนื คา่ ฤชาธรรมเนียมช้ันอุทธรณใ์ ห้เป็นพับ.
(สรายทุ ธ์ วุฒยาภรณ์ - บญุ เขตร์ พุ่มทิพย์ - ขวัญชนก สุขโข)
มณฑาทพิ ย์ ตง้ั วชิ าชาญ - ยอ่
สุภา วิทยาอารยี ก์ ลุ - ตรวจ
หมายเหตุ คดีถงึ ที่สุด
377
คำ� พิพากษาศาลอุทธรณค์ ดีช�ำนัญพเิ ศษท่ี ๑๒๓๕/๒๕๖๔ กรมสรรพากร โจทก์
จำ� เลย
บรษิ ทั เอช.บี.เอ็ม.
เอน็ จิเนยี รง่ิ (๒๐๐๙)
จำ� กดั กบั พวก
ป.พ.พ. มาตรา ๒๒๔, ๑๑๒๒
พ.ร.ก. แกไ้ ขเพิ่มเตมิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ พ.ศ. ๒๕๖๔
จำ� เลยท่ี ๒ ถึงท่ี ๔ ไม่ช�ำระเงนิ คา่ หุ้นท่ยี ังสง่ ใชจ้ �ำเลยที่ ๑ ไม่ครบตามค�ำบอกกลา่ ว
ทวงถามของโจทก์ ซ่งึ จ�ำเลยที่ ๒ ถงึ ท่ี ๔ ไดร้ ับไว้โดยชอบแลว้ จึงถือว่าตกเป็นผู้ผิดนดั แล้ว
จ�ำเลยท่ี ๒ ถึงที่ ๔ จึงต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างที่ผิดนัดของต้นเงินค่าหุ้นท่ีจ�ำเลย
แต่ละคนยงั ส่งใช้ไม่ครบตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๒๔ และมาตรา ๑๑๒๒ นบั แตว่ ันผดิ นดั คือ
วนั พน้ กำ� หนดตามหนงั สอื บอกกลา่ วจนกวา่ จะชำ� ระเสรจ็ แกโ่ จทก์ ทง้ั นต้ี อ้ งไมเ่ กนิ คา่ ภาษี
อากรคา้ งชำ� ระของจำ� เลยที่ ๑ แตใ่ นระหวา่ งการพจิ ารณาของศาลอทุ ธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษ
มีประกาศใช้ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.๒๕๖๔ ซ่ึงมี
ผลใช้บงั คับตง้ั แต่วันท่ี ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ ให้ยกเลกิ ความในมาตรา ๗ และมาตรา ๒๒๔
แหง่ ป.พ.พ. และใหใ้ ชข้ อ้ ความใหมแ่ ทน โดยกำ� หนดใหห้ นเี้ งนิ นนั้ ใหค้ ดิ ดอกเบย้ี ในระหวา่ ง
ผิดนัดในเวลานี้ในอัตราร้อยละ ๕ ต่อปี หรือเป็นอัตราดอกเบ้ียใหม่ท่ีกระทรวงการคลัง
ปรับเปล่ียนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบ้ียใน
ระหวา่ งชว่ งเวลากอ่ นทพี่ ระราชกำ� หนดนใ้ี ชบ้ งั คบั กรณจี งึ ตอ้ งบงั คบั ใชต้ ามกฎหมายใหม่
ดังกล่าว ปัญหาน้ีเป็นข้อกฎหมายเก่ียวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มี
คู่ความอทุ ธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดชี ำ� นัญพเิ ศษเห็นควรหยิบยกขนึ้ วินิจฉัยได้
_______________________________
โจทก์ฟ้อง ขอให้จ�ำเลยท่ี ๑ ช�ำระหนี้ค่าภาษีอากร ๕๑๗,๒๐๔.๔๖ บาท แก่โจทก์
ใหจ้ ำ� เลยที่ ๒ สง่ ใชเ้ งนิ คา่ หนุ้ ทยี่ งั สง่ ใชไ้ มค่ รบ ๔๕๐,๐๐๐ บาท พรอ้ มดอกเบยี้ ในอตั รารอ้ ยละ ๗.๕
ตอ่ ปี นบั แตว่ นั ทกี่ ำ� หนดใหส้ ง่ ใชจ้ นถงึ วนั ฟอ้ ง คดิ เปน็ ดอกเบยี้ ๘๓๒ บาท รวมเปน็ เงนิ ๔๕๐,๘๓๒ บาท
ให้จ�ำเลยที่ ๓ ส่งใช้เงินค่าหุ้นท่ียังส่งใช้ไม่ครบ ๒๕,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบ้ียในอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ก�ำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันฟ้อง คิดเป็นดอกเบี้ย ๔๕ บาท รวมเป็นเงิน
๒๕,๐๔๕ บาท และให้จ�ำเลยท่ี ๔ สง่ ใชเ้ งนิ ค่าหุน้ ทย่ี ังส่งใชไ้ ม่ครบ ๒๕,๐๐๐ บาท พรอ้ มดอกเบ้ยี
378
ในอตั ราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วนั ทีก่ �ำหนดใหส้ ง่ ใช้จนถงึ วนั ฟอ้ ง คดิ เป็นดอกเบย้ี ๔๕ บาท
รวมเป็นเงิน ๒๕,๐๔๕ บาท และให้จำ� เลยที่ ๒ ถงึ ท่ี ๔ ชำ� ระดอกเบ้ยี อัตราร้อยละ ๗.๕ ตอ่ ปี
ของตน้ เงนิ ๔๕๐,๐๐๐ บาท ๒๕,๐๐๐ บาท และ ๒๕,๐๐๐ บาท ตามลำ� ดบั นับถัดจากวนั ฟ้อง
จนถึงวันท่ไี ด้ช�ำระเสร็จ แต่เมอ่ื รวมกับตน้ เงินแลว้ ต้องไม่เกินค่าภาษอี ากรทีจ่ �ำเลยที่ ๑ ต้องช�ำระ
แก่โจทก์
จ�ำเลยทั้งสีข่ าดนัดย่ืนค�ำให้การ
ศาลภาษีอากรกลาง พพิ ากษาใหจ้ ำ� เลยท่ี ๑ ช�ำระภาษีอากรคา้ งชำ� ระ ๕๑๗,๒๐๔.๔๖ บาท
ให้จ�ำเลยท่ี ๒ ช�ำระเงินค่าหุ้นท่ียังส่งใช้ไม่ครบ ๔๕๐,๐๐๐ บาท ให้จ�ำเลยท่ี ๓ ช�ำระเงินค่าหุ้นท่ียัง
ส่งใช้ไม่ครบ ๒๕,๐๐๐ บาท และให้จ�ำเลยท่ี ๔ ช�ำระเงินค่าหุ้นท่ียังส่งใช้ไม่ครบ ๒๕,๐๐๐ บาท
แกโ่ จทก์ กบั ใหจ้ ำ� เลยทง้ั สรี่ ว่ มกนั ใชค้ า่ ฤชาธรรมเนยี มแทนโจทก์ โดยกำ� หนดคา่ ทนายความ ๔,๐๐๐ บาท
คำ� ขออน่ื นอกจากน้ีใหย้ ก
โจทกอ์ ทุ ธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดชี �ำนญั พิเศษแผนกคดีภาษอี ากรวินิจฉยั วา่ ขอ้ เท็จจรงิ ฟงั ได้ว่า จ�ำเลย
ที่ ๑ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษมี ูลคา่ เพม่ิ จ�ำเลยท่ี ๑ จดทะเบยี นเลิกบรษิ ัท ขณะนี้ยัง
ไม่ได้จดทะเบียนเสร็จการช�ำระบัญชี โดยมีจ�ำเลยที่ ๒ และท่ี ๓ เป็นผู้ช�ำระบัญชี จ�ำเลยที่ ๑
ค้างช�ำระภาษีโดยช�ำระภาษีอากรแล้วบางส่วนและมีการต้ังหนี้ภาษีอากรค้างช�ำระ รวมเป็น
เงิน ๓๐๗,๐๘๖ บาท พรอ้ มเงินเพ่ิมตามมาตรา ๘๙/๑ แหง่ ประมวลรัษฎากร ปัจจบุ ันจ�ำเลยที่ ๑
เป็นหน้ีค่าภาษีอากรค้างช�ำระ ๕๑๗,๒๐๔.๔๖ บาท โดยเงินเพิ่มค�ำนวณเท่าจ�ำนวนภาษีท่ี
ตอ้ งช�ำระแล้ว จ�ำเลยที่ ๒ ค้างช�ำระเงินคา่ หุ้น ๔๕๐,๐๐๐ บาท จำ� เลยท่ี ๓ ค้างชำ� ระเงนิ ค่าหุ้น
๒๕,๐๐๐ บาท และจำ� เลยท่ี ๔ คา้ งชำ� ระเงนิ คา่ หนุ้ ๒๕,๐๐๐ บาท โจทกม์ หี นงั สอื ไปยงั ผชู้ ำ� ระบญั ชี
ของจ�ำเลยที่ ๑ เพอื่ ใหบ้ อกกล่าวจำ� เลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ นำ� เงินค่าหุ้นซึง่ ยงั จะตอ้ งสง่ อกี นนั้ มาชำ� ระ
แต่จ�ำเลยท่ี ๑ เพิกเฉย โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจ�ำเลยที่ ๒ ถึงท่ี ๔ ให้น�ำเงินค่าหุ้นท่ียังส่งใช้
ไมค่ รบมาช�ำระหน้ภี าษอี ากร แต่จำ� เลยท่ี ๒ ถงึ ท่ี ๔ ไม่ชำ� ระ โจทกม์ ีหนงั สือทวงถามใหจ้ �ำเลย
ทง้ั ส่ชี �ำระหนแี้ ต่จำ� เลยทงั้ ส่เี พิกเฉย
คดมี ปี ญั หาตอ้ งวินิจฉัยตามอทุ ธรณ์ของโจทกว์ า่ จ�ำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ตอ้ งรบั ผิดชำ� ระ
ดอกเบยี้ อตั รารอ้ ยละ ๗.๕ ตอ่ ปี ของตน้ เงนิ คา่ หนุ้ ทจี่ ำ� เลยแตล่ ะคนยงั สง่ ใชไ้ มค่ รบนบั แตว่ นั ผดิ นดั
จนถงึ วันท่ีไดช้ ำ� ระเสร็จแกโ่ จทกห์ รือไม่ เพยี งใด เห็นวา่ เมื่อขอ้ เท็จจรงิ ปรากฏวา่ จ�ำเลยที่ ๒ ถงึ
ท่ี ๔ ไม่ช�ำระเงินค่าหุ้นท่ียังส่งใช้จ�ำเลยที่ ๑ ไม่ครบตามค�ำบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ ซ่ึง
จ�ำเลยท่ี ๒ ถึงท่ี ๔ ได้รับไว้โดยชอบแล้ว จึงถือว่าตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จ�ำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔
จึงต้องเสยี ดอกเบ้ียระหวา่ งท่ีผิดนดั ในอัตรารอ้ ยละ ๗.๕ ตอ่ ปี ของตน้ เงินคา่ หุ้นท่ีจ�ำเลยแตล่ ะคน
379
ยังส่งใช้ไม่ครบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๔ และมาตรา ๑๑๒๒
นบั แตว่ นั ผดิ นดั คอื วนั พน้ กำ� หนดตามหนงั สอื บอกกลา่ วจนกวา่ จะชำ� ระเสรจ็ แกโ่ จทก์ แตท่ งั้ นต้ี อ้ ง
ไม่เกนิ ค่าภาษอี ากรค้างชำ� ระของจ�ำเลยที่ ๑ ทศ่ี าลภาษีอากรพพิ ากษายกคำ� ขอในส่วนดอกเบย้ี
ของโจทกม์ านัน้ ไม่ตอ้ งดว้ ยความเห็นของศาลอทุ ธรณ์คดชี �ำนัญพิเศษ อทุ ธรณ์โจทก์ฟงั ขนึ้ และ
เม่ือวินิจฉัยดังน้ีแล้ว กรณีจึงไม่จ�ำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออ่ืนของโจทก์อีก เนื่องจากไม่ท�ำให้ผล
แห่งคดีเปล่ียนแปลง แต่ในส่วนของดอกเบ้ียนั้น ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์คดี
ช�ำนัญพิเศษได้มีประกาศใช้พระราชก�ำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๖๔ ซง่ึ มีผลใชบ้ งั คบั ต้งั แต่วนั ท่ี ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ ให้ยกเลกิ ความในมาตรา ๗ และ
มาตรา ๒๒๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยก�ำหนด
ให้หนี้เงินน้ันให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในเวลานี้ในอัตราร้อยละ ๕ ต่อปี หรือเป็นอัตรา
ดอกเบย้ี ใหมท่ กี่ ระทรวงการคลงั ปรบั เปลยี่ นโดยตราเปน็ พระราชกฤษฎกี า แตไ่ มก่ ระทบกระเทอื น
ถึงการคิดดอกเบี้ยในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชก�ำหนดนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องบังคับใช้
ตามกฎหมายใหม่ดังกลา่ ว ปญั หานเ้ี ปน็ ขอ้ กฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบรอ้ ยของประชาชน
แม้ไมม่ ีคู่ความอทุ ธรณ์ ศาลอุทธรณค์ ดชี ำ� นญั พเิ ศษเห็นควรหยบิ ยกขนึ้ วินจิ ฉยั ได้
พิพากษาแกเ้ ป็นว่า ให้จ�ำเลยที่ ๒ ถงึ ท่ี ๔ ชำ� ระดอกเบี้ยอัตรารอ้ ยละ ๗.๕ ต่อปี โดย
จ�ำเลยที่ ๒ จากตน้ เงิน ๔๕๐,๐๐๐ บาท จ�ำเลยท่ี ๓ จากต้นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท และจ�ำเลยที่ ๔
จากต้นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๔ และดอกเบ้ีย
อัตราร้อยละ ๕ ต่อปี หรืออัตราดอกเบ้ียใหม่ที่กระทรวงการคลังจะได้มีการปรับเปลี่ยนโดยตรา
พระราชกฤษฎีกา แต่ทั้งน้ีต้องไม่เกินร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ ตั้งแต่วันท่ี ๑๑
เมษายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไปจนกว่าจะช�ำระเสร็จแก่โจทก์ ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจ�ำเลยที่ ๒
ตอ้ งไมเ่ กนิ ๘๓๒ บาท จำ� เลยที่ ๓ ตอ้ งไมเ่ กนิ ๔๕ บาท และจำ� เลยท่ี ๔ ตอ้ งไมเ่ กนิ ๔๕ บาท ตามคำ� ขอ
ของโจทก์ และท้ังน้ีต้องไม่เกินค่าภาษีอากรท่ีจ�ำเลยท่ี ๑ ค้างช�ำระ นอกจากท่ีแก้ให้เป็น
ไปตามค�ำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชน้ั อทุ ธรณใ์ หเ้ ปน็ พับ.
(สมศกั ด์ิ อนิ ทรพ์ ันธ์ุ - บญุ เขตร์ พุม่ ทิพย์ - สรายทุ ธ์ วุฒยาภรณ์)
สุกมุ ล รุง่ พรทวีวัฒน์ - ย่อ
วนี สั นิมิตกุล - ตรวจ
หมายเหตุ คดถี ึงทสี่ ดุ
380
คณะทำงานรวบรวมคำพพิ ากษาหรือคำส่ังคำรองศาลอุทธรณค ดชี ำนญั พเิ ศษ
และคำวินจิ ฉยั ของประธานศาลอทุ ธรณคดชี ำนญั พเิ ศษ
ประธานคณะท่ีปรกึ ษา
อโนชา ชวี ิตโสภณ
สุโรจน จนั ทรพิทกั ษ คณะทีป่ รกึ ษา วนี สั นมิ ติ กลุ
พาช่นื แสงจนั ทรเ ทศ วัชรินทร ฤชโุ รจน
วริ ัตน วิศษิ ฏวงศกร
นภิ า ชัยเจรญิ
ประธานคณะทำงาน
พิทกั ษ หลมิ จานนท
ฉันทนา ชมพานิชย คณะทำงาน อิสรา วรรณสวาท
มณฑาทพิ ย ตง้ั วชิ าชาญ สุธรรม สธุ มั นาถพงษ
รตมิ า ชยั สโุ รจน รุง ระวี โสขมุ า นภกมล หะวานนท สวา งแจง
มนเุ ชษฐ โรจนศิริบุตร
อมั ภสั ชา ดษิ ฐอำนาจ
คณะทำงานและผชู ว ยเลขานกุ าร
ปทมา สมานเกียรติสกุล จฑุ ามาศ สนุ ทรชวี วุฒิ แมนสรวง มณโี ชติ
สวุ ัฒน ชจู ันทร ศกั ดา เขตเจรญิ สนธยา ถนอมจิตร
กฤตภาส ทองฟมู เดอื น รณดิ า เอบ็ ศรี กานตพชิ าณัช ตญั จพัฒนก ุล
นันทกิ านต เทียนวรรณกิจ ภทั รสดุ า วรสาร วนรัตน คงทอง
เบญจวรตั ถ ทองกูล เพชรลดา สำลีทอง สทุ ธวิชญ แพเรอื ง