ชื่อหนังสือ สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 2
พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2559
จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
2 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2251-3934
จัดพิมพ์โดย บริษัท เพจเมคเกอร์ จำกัด
53-57 ซอยเอกชัย 89/1 ถนนเอกชัย บางบอน กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์ 0-2416-8820, 0-2894-3035
ข้อมูลทางบรรณานุกรม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 2. บรรณาธิการ ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล.
กรุงเทพมหานคร/ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, 2559.
320 หน้า. ภาพประกอบ.
1.การจัดการเรียนรู้ 2.ความเป็นครู 3.นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
I.ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล, บรรณาธิการ. II.โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. III. ชื่อเรื่อง.
ISBN 978-616-296-121-2
คณะผู้จัดทำ
ที่ปรึกษา
นางอรพินธุ์ คนึงสุขเกษม ผู้อำนวยการ
บรรณาธิการสร้างสรรค์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
กองบรรณาธิการ
นางสาวฐานภา รอดเกิด
นางอภิณห์พร ฤกษ์อนันต์
นางสาวจิตต์ตรา ตั้งศิริพงศ์เมธ
นายชวลิต ศรีคำ
นางสาวศิริวรรณ ของเมืองพรวน
นายสุนทร ภูรีปรีชาเลิศ
นายธนวุฒิ มากเจริญ
นายอมรเทพ ถาน้อย
ออกแบบรูปเล่ม บริษัท เพจเมคเกอร์ จำกัด
ออกแบบปกและภาพประกอบ นางสาวจำนงค์ สดคมขำ
“...ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ทำแต่ความดี
คือต้องหมั่นขยันและอุตสาหะ พากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
ต้องหนักแน่นอดทนและอดกลั้น สำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติของตน
ให้อยู่ในระเบียบ แบบแผนที่ดีงาม รวมทั้งต้องซื่อสัตย์
รักษาความจริงใจวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ...”
พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูอาวุโส
๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๓
“...การพัฒนาประเทศชาติในปัจจุบัน ต้องอาศัยสหวิทยาการ
คือความรู้จากศาสตร์หลายสาขาหลายแขนง เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
เพื่อจะพัฒนาชาติบ้านเมืองและคนในชาติไปพร้อม ๆ กัน
ให้ชาติบ้านเมืองเกิดความเจริญในทุก ๆ มิติ และคนในชาติมีคุณภาพ
คือมีความรู้ความสามารถเท่าทันความเจริญก้าวหน้าของชาติ
ควบคู่กับความมีคุณธรรมจริยธรรม จิตสำนึกที่ดี
อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับการกล่อมเกลา การพัฒนาทั้งสองประการ
ที่กล่าวมาไม่อาจสำเร็จผลได้ด้วยศาสตร์เพียงสาขาเดียว
หรือการใช้ศาสตร์ต่าง ๆ แบบแยกส่วน ไม่ผสานเชื่อมโยงกัน
ความรู้ในลักษณะสหวิทยาการเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ประเทศชาติ
เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน สามารถปรับตัว แก้ไขปัญหา
และดำรงอยู่ได้ในท่ามกลางกระแส
ความเปลี่ยนแปลงอันซับซ้อนของโลกยุคปัจจุบัน…”
การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ ๕
Princess Maha Chakri Sirindhorn Congress
หัวข้อ “สหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุม
อิมแพค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
คำนิยม
“กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวไร งามเด่น การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม”
ศาสตราจารย์ มล. ปิ่น มาลากุล
โคลงสี่สุภาพของศาสตราจารย์ มล. ปิ่น มาลากุล
ผู้ดำริก่อตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
สะท้อนให้เห็นว่างานทางด้านการศึกษาต้องใช้เวลาในการดูแลและ
ติดตามเพื่อให้ผลที่เกิดซึ่งหมายถึงนักเรียนมีความสมบูรณ์และสง่างาม
โดยบุคคลสำคัญยิ่งคือ “ครู” ทั้งนี้การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ต้องครบใน 4 ด้านคือ สติปัญญา อารมณ์ สังคม และร่างกาย
เพื่อองค์ประกอบทั้งหมดมีความสมบูรณ์ครบถ้วนจึงกล่าวได้ว่า
“การศึกษาคือความเจริญงอกงาม”
หนังสือ “สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน)
เล่ม 2” เป็นอีกผลงานหนึ่งของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ปทุมวัน ที่สะท้อนให้เห็นถึง “ความเป็นครู” เพื่อส่งเสริมศิษย์
ของตนโดยอาศัยความรู้แบบบูรณาการทุกวิชาทางศึกษาศาสตร์ อาทิ
หลักสูตรและการสอน รูปแบบการสอน วิธีการสอน เทคนิคการสอน
จิตวิทยาทางการศึกษา การวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง
อีกทั้งการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มาใช้ในการส่งเสริมและเติมเต็ม
ศักยภาพของนักเรียนให้ครบในทุกด้าน
ขอชื่นชมอาจารย์เจ้าของบทความทุกท่าน คณะบรรณาธิการ
ที่ได้กลั่นกรองพิจารณาคัดเลือกบทความที่มีประโยชน์ต่อการจัดการ
เรียนรู้อีกทั้งความมุทิตาจิตในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อความหวังในการเห็นการศึกษาเติบโตและ
เจริญงอกงาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ “สอนสนุก สร้างสุข
สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 2” จะก่อประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านและ
เติมเต็มแรงบันดาลใจในการเป็นครูเพื่อศิษย์ต่อไป
นางอรพินธุ์ คนึงสุขเกษม
ผู้อำนวยการ
คำนำ
การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชน
ของชาติให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในการนำมาและขับเคลื่อนประเทศชาติ
ในวันข้างหน้า การอบรมบ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์นั้นเป็นภาระสำคัญยิ่ง
ของครูซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดและบริหารจัดการเรียนรู้ทั้งด้านสติปัญญา
ที่หลากหลาย การจัดการอารมณ์ ทักษะสังคม และการจัดการสุขภาพ
ร่างกายให้มีความแข็งแรง
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
เป็นสถานศึกษาที่มีฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นสถานศึกษาชั้นนำ
ต้นแบบด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อผลิตผู้เรียนที่มีคุณธรรม
และคุณภาพในระดับสากลบนฐานความเป็นไทย นอกจากนี้ยังมีพันธกิจ
สำคัญในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ผลิตงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมด้านการจัดการศึกษา
เพื่อเผยแพร่สู่สังคม อีกทั้งการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
เพื่อเป็นการดำเนินงานตามภารกิจในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
แก่วงการศึกษา ฝ่ายวิชาการของโรงเรียนได้สร้างสรรค์หนังสือ “สอนสนุก
สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 2” ซึ่งเกิดจากความรู้และประสบการณ์
ตรงของบุคลากรของโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ที่เป็นแรงบันดาลใจ
ในการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากหลากหลายมุมมองผ่าน
เอกสารประชุมเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีการศึกษา
เนื้อหาบทความในหนังสือเล่มนี้กองบรรณาธิการได้พิจารณาคัดเลือก
จากหนังสือประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2550 ถึงปีการศึกษา
2558 ซึ่งจัดทำเป็นหนังสือ สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) ได้ถึง
3 ซีรีย์ จำแนกบทความได้เป็น 3 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นบทความที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สำหรับ
นักเรียนตามสไตล์สาธิตปทุมวัน
ตอนที่ 2 เป็นบทความที่เกี่ยวกับความเป็นครู การอบรม
และพัฒนานักเรียนรวมถึงจิตวิทยาการสอน และ
ประสบการณ์ในการศึกษาดูงาน ณ ต่างแดน
ตอนที่ 3 เป็นบทความที่เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม
ทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนใน
แต่ละสาระวิชา และกิจกรรมเด่นของโรงเรียน
บทความทั้งหมดนี้สร้างสรรค์โดยครู – อาจารย์ของ
โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ผู้บอกเล่าและถ่ายทอดประสบการณ์ต่าง ๆ
ในการจัดการเรียนรู้ และเติมเต็มองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ให้มี
ศักยภาพอย่างรอบด้าน หนังสือดังกล่าวจัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา
และภูมิปัญญาของโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ที่นำเสนออย่าง
เต็มภาคภูมิ
ผ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปทุมวัน ขอขอบคุณผู้เขียนบทความทุกท่านที่ได้ตอบรับให้นำบทความที่มี
คุณค่าและเป็นต้นแบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการสำหรับศาสตร์ทางการ
ศึกษาอย่างสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) ขอขอบคุณผู้สนับสนุน
ในการจัดพิมพ์ทุกท่านที่ให้ความสำคัญกับผลงานทางด้านวิชาการ
สู่สังคมไทย ท้ายนี้ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่มุ่งมั่นจดจ่อกับบทความที่
ได้นำเสนอ และขอให้เป็นกำลังใจคอยติดตามซีรีย์ชุดสอนสนุก สร้างสุข
สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 5 ในเร็ววันนี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล
ผู้สร้างสรรค์และบรรณาธิการ
สารบัญ
ส่วนที่ 1
ปรับ เปลี่ยน เรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง
19 พุทธศักราช 2551
อาจารย์สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ
27 ปฏิรูป ปฏิบัติ สู่กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษ
ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร
เล่าเรื่องเรียนรู้ ...นวัตกรรม การจัดการศึกษา
39 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล
ความสามารถทางจิตสังคม
45 อาจารย์ชวลิต ศรีคำ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กไทย...
57 ที่ทุกคนปรารถนา
อาจารย์ชวลิต ศรีคำ
71 มาตรฐาน ครูสาธิตฯ...กับ จิต 5 ประการ
อาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ โอปัณณา
85 ก้าวต่อไป...เพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล
ส่วนที่ 2
สาธิตปทุมวัน...ในความทรงจำ
95 อาจารย์อรพินธุ์ คนึงสุขเกษม
115 “ครูอย่างเรา”
อาจารย์บุณฑริกา วิศวสมภพ
123 ครูเพื่อศิษย์ในสาธิตปทุมวัน
อาจารย์สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ
129 Big Change for tomorrow YET..........
อาจารย์วราภรณ์ กรุดทอง
135 ยุทธวิธีจับใจ..ศิษย์
อาจารย์สมฤดี แย้มขจร
“การไหว้” วัฒนธรรมไทยที่ไม่ควรลืม
145 อาจารย์นุช พุ่มเพชร
สตอรี่ของครูช่างคิด (2)
151 อาจารย์เชิด เจริญรัมย์
บทบาท....ที่คาดไม่ถึง
167 อาจารย์อุมาภรณ์ รอดมณี
175 หุ่นไม่ให้...แต่ใจรัก
อาจารย์ชุติมา ทศเจริญ
สารบัญ
ผู้กำกับอย่าง...ครู
183 อาจารย์ณัฐิกา ลี้สกุล
ระเบิดเวลา และ เอ็ม 79
193 อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน
ครูผึ้งน้อย
201 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีจันทร์ พันธุ์พานิช
สูตรสู่ความสำเร็จ
205 อาจารย์สมฤดี แย้มขจร
เส้นทางที่ต้องถากถาง
211 อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน
“ถูกต้อง แต่อาจไม่ถูกใจ”
217 อาจารย์วราภรณ์ กรุดทอง
มหาชาติ ในประชาคมอาเซียน
223
อาจารย์พรพรรณ เสริมพงษ์พันธ์
ครูนอกกรอบกับนักเรียนนอกแบบ
229 อาจารย์ณัฐภา ลี้สกุล
ขอมองสาธิตปทุมวัน
235 อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน
Pay it Forward หากเราพร้อมจะให้.....จะได้มากว่าหนึ่ง
243 อาจารย์ธียศ อ้นแก้วมณี
เล่าให้รู้เมื่อฉันอยู่ในต่างแดน วูลลองกอง
249 อาจารย์สิริกุล อำนาจเกียรติกุล
ส่วนที่ 3
257 เรียนรู้อะไรในสังคมออนไลน์อย่าง FACEBOOK
อาจารย์นุช พุ่มเพชร
263 เว็บไซต์ที่ดี..ทำไม่ยาก
อาจารย์เสกสรรค์ หงษ์หิรัญพันธ์
การสอน “อิเหนา” ในศตวรรษที่ 21 (ฉบับครูสาธิต)
271 อาจารย์พรพรรณ เสริมพงษ์พันธ์
277 การปฏิรูปการเรียน การสอนภาษาอังกฤษ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ จงธนากร
287 คิดวิเคราะห์...การตลาดแบบ เศรษฐกิจพอเพียง
อาจารย์จำนงค์ สดคมขำ
291 อีกครั้ง...กับอาจารย์ประจำชั้น
อาจารย์สมฤดี แย้มขจร
309 โรงเรียนสาธิต…ประสบการณ์…งานวิจัย
อาจารย์พงศกร ธรรมบุศย์
ส่วนที่ 1
ส่วนที่ 1
ปรับ เปลี่ยน เรียนรู้ตาม
หลักสูตรแกนกลาง
พุทธศักราช 2551
ปรับ เปลี่ยน เรียนรู้ตาม
หลักสูตรแกนกลาง
พุทธศักราช 2551
ï อาจารย์สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ ï
20 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
ปรับ เปลี่ยน เรียนรู้ตาม
หลักสูตรแกนกลาง
พุทธศักราช 2551
ï อาจารย์สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ
ปฏิเสธได้ยากสำหรับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับ
การเรียนการสอนที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดหลักสูตร
การเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การวัด
และประเมินผลการเรียนรู้ ยิ่งโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยของรัฐ
ต้องเพิ่มการนิเทศติดตาม และประเมินผลนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
เป็นอีกภารกิจสำคัญอีกด้วย
ปัจจุบันวิชาวิทยาศาสตร์ถูกสอนและนำเสนอในรูปแบบ
ของสิ่งที่ผิดธรรมชาติจากสภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน เด็กนักเรียนกำลัง
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 21
มีค่านิยมในการเรียนพิเศษทุกสถาบันอย่างคร่ำเคร่งรวมถึงการเรียน
พิเศษกับครูผู้สอนในห้องเรียนโดยให้เหตุผลง่าย ๆ ว่า เรียนในห้อง
ไม่รู้เรื่อง ทำอย่างไรให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูเป็นไปเพื่อ
ส่งเสริมความอยากรู้และพฤติกรรมการเรียนที่ดีโดยจิตสำนึกรักและ
จิตวิทยาศาสตร์สอดแทรกอยู่
ทำอย่างไรให้การออกแบบและลงมือสอนให้มีมาตรฐาน
เทียบเท่าสากล โจทย์ข้อนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบเนื่องจากโรงเรียน
สาธิตเป็นโรงเรียนต้นแบบและเป็นโรงเรียนชั้นนำ นั่นหมายความว่า
โรงเรียนสาธิตต้องมีเอกลักษณ์และความเป็นหนึ่ง การพัฒนาบทเรียน
ต้องมีเสน่ห์เร้าใจให้ผู้เรียนมีความสนใจ แม้กระทั่งผู้สอนในวิชา
วิทยาศาสตร์อื่น เห็นแผนการจัดการเรียนรู้แล้วมีความรู้สึกว่านี่แหละ
ต้นแบบ นี่แหละมาตรฐานและสามารถนำตัวอย่างกิจกรรมไปใช้เพื่อ
พัฒนาการสอนให้มีความสมบูรณ์ต่อไปอีกในหลายโรงเรียนใน
ประเทศไทย นิสิตที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจบไปแล้วจะได้อะไรบ้าง
จากโรงเรียนแห่งนี้นอกจากการผ่านวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
การออกแบบการสอนในปัจจุบันเชื่อมั่นว่าครูทุกคนต้องเริ่มต้น
จากการศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 8 สาระ คือ สิ่งมีชีวิต
และกระบวนการดำรงชีวิต ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สารและสมบัติของสาร
แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
ดาราศาสตร์และอวกาศ รวมถึงธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี การพิจารณาคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบช่วงชั้น และการศึกษา
22 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ความหวังสำคัญและการ
ดำเนินการจะไปเป็นได้ จริงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นสำคัญ
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ไม่สามารถผลักดัน
ให้ครูแต่ละคนตีความหมายของคำว่าผลการเรียนรู้ในช่วงชั้นให้เหมาะสม
กับผู้เรียน ครูหลายคนเข้าใจว่าการสอนวิทยาศาสตร์ให้ดีคือการ
เพิ่มเติมเนื้อหาให้นักเรียนมากกว่าที่หนังสือเรียน หรือหนังสือที่วาง
จำหน่ายทั่วไปในร้านขายหนังสือมีจำหน่าย แต่ง่ายมากที่จะหา
อ่านจากเนื้อหาระดับช่วงชั้นที่สูงขึ้นซึ่งเกินต่อวุฒิภาวะของผู้เรียน
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนควรพิจารณาให้เหมาะ
ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควรที่จะรับรู้และเรียนรู้ในขณะนี้ รอให้ถึงระดับชั้นที่
เหมาะสมค่อยลงเนื้อหาให้ลึกซึ้งจะได้หรือไม่ ขอท้าทายว่าเราครูที่เก่ง
ต้องเคร่งเรื่องกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนและสื่อการ
เรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและเรียนรู้ได้จริงด้วย
สามารถของตนเอง การวัดและประเมินผลต้องเน้นการหาจุด
บกพร่องเพื่อส่งเสริมและพัฒนา สะท้อนจุดแข็งและจุดอ่อนให้
ผู้เรียนทราบและดำเนินการ
เห็นด้วยและยอมรับได้หรือไม่ว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องพัฒนา
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เริ่มตั้งแต่ให้ความสนใจต่อการออกแบบ
การเรียนรู้ทั้งที่จะลงมือสอนเองหรือมีนิสิตมาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
มาฝึกสอน การกำหนดจุดประสงค์ที่เน้นความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 23
รวมถึงจิตวิทยาศาสตร์ที่ควรปลูกฝังให้กับผู้เรียน เปิดโอกาสให้นักเรียน
ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงการวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้โดยชัดเจนในเรื่องของความตรง ความเที่ยง ความยากง่ายและ
อำนาจจำแนกในการวิเคราะห์และพิจารณาคัดเลือกข้อสอบ
การจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
ให้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ตามความคิดของผู้เขียนบทความขอนำ
เสนอขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ผู้สอนในระดับชั้นเดียวกันมีการ ประชุมพร้อมกันเพื่อกำหนด
จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ ความลุ่มลึกของเนื้อหาให้เหมาะสม
กับระดับผู้เรียน เปิดใจยอมรับและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
2. กำหนดสัดส่วนคะแนนให้เหมาะสมและจุดมุ่งหมายที่ต้อง
การให้เกิดขึ้นหรือพัฒนาผู้เรียน เช่น
2.1 การทดสอบย่อย 2 ครั้ง ครั้งละ 10 คะแนน
รวม 20 คะแนน
ออกข้อสอบเขียนอธิบายคำตอบและแสดงวิธีทำ ใช้เวลาครั้งละ
40-50 นาที เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้และการเขียนวิเคราะห์สื่อความ
24 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
2.2 การสอบกลางภาค และปลายภาคเรียน
รวม 40 คะแนน
ออกข้อสอบให้หลากหลายรูปแบบ
- การเลือกตอบถูกหรือผิดจับคู่ข้อความที่สัมพันธ์กัน ปรนัย
เลือกตอบและอธิบายหรือแสดงวิธีทำ ออกข้อสอบหลากหลาย
เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงสิ่งที่รู้ออกมาให้ครูทราบได้มากยิ่งขึ้น
และเป็นการวินิจฉัยที่ตรงจุด
2.3 คะแนนใบงาน การบ้าน และแบบฝึกหัด
รวม 20 คะแนน
2.3.1 กำหนดให้ส่งใบงานที่ครูมอบหมายเพื่อเป็น
การฝึกฝนความรู้และฝึกความรับผิดชอบในการ
ทำงานส่งให้ตรงเวลา อาจตั้งเกณฑ์เบื้องต้น
เช่น คะแนนใบงานใบละ 2 คะแนน (ทำครบและ
ส่งตรงเวลาได้ 2 คะแนน ส่งช้าหรือทำไม่ครบได้
1 คะแนน ส่งช้าเกิน 3 วัน ไม่ได้คะแนน)
แต่ต้องติดตามให้นักเรียนส่งงาน และมีคะแนน
ในการพัฒนาตนเอง
2.3.2 กำหนดการบ้านที่เน้นการเขียนอธิบายคำตอบ
เขียนผังความคิด หรือชิ้นงาน (เช่นกำหนด
คะแนนผังความคิด 10 คะแนน แบ่งออกเป็น
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 25
ความถูกต้อง 6 คะแนน ความสวยงาม/
คิดสร้างสรรค์ 2 คะแนน ส่งงานตรงเวลา
2 คะแนน)
2.4 คะแนนโครงงานหรือมอบหมายงานให้นักเรียน
ได้ปฏิบัติ รวม 10 คะแนน
เน้นการปฏิบัติงานเป็นกลุ่มเพื่อเน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
การทำงานเป็นทีมและการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ต้องเกิดการร่วมมือ
แบ่งหน้าที่ และรับผิดชอบ และทักษะการแสวงหารวมถึงการสืบค้น
ความรู้
2.5 คะแนนจากการปฏิบัติการทดลองและ
พฤติกรรมการเรียนรู้ รวม 10 คะแนน
หัวใจสำคัญของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือการที่เด็กนักเรียน
ได้เรียนรู้ผ่านวิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง ดังนั้น
นักเขียนควรได้ลงมือเรียนรู้ผ่านปฎิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้ได้
มากที่สุด
3. การทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนา
ผู้เรียน หรือเพื่อหาคำตอบอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการต่อยอดทางการ
ศึกษา และเชื่อว่าผลประโยชน์จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ
26 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
เปลี่ยนหลักสูตรกี่ครั้ง ประชุมปฏิบัติการหรืออบรมวิชาการ
เท่าใด หากผู้สอน ยังไม่เปิดใจยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
นึกไม่ออกว่าอยากได้ยินข้อความใดจากเด็ก ๆ “อาจารย์ครับ ผมไม่เข้าใจ”
“อาจารย์คะ หนูไปเรียนมาหลายที่แล้วแต่ก็ไม่เข้าใจซักที” หรือว่า
“อาจารย์ครับ ผมเรียนแล้วสนุกจัง ผมอยากเรียนกับอาจารย์มากเลย
ครับ” ลองนึกดูว่าวันหนึ่งลูกของคุณอาจกลับมาเล่าให้ฟังอย่างชื่นชม
หรือปรับทุกข์ว่า “แม่ครับ/พ่อคะ ผม/หนู ไม่อยากไปเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนเลย” เด็กนักเรียนทุกคนย่อมเปรียบเหมือนลูก
ของเรา ดังนั้นเราย่อมต้องสร้างสรรค์และเลือกสรรค์ที่สุดแก่ลูกศิษย์
ของเราเป็นแน่แท้
ปฏิรูปปฏิบัติ
สู่กลยุทธ์การเรียน
ภาษาอังกฤษ
ï ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร ï
28 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
ปฏิรูปปฏิบัติ
สู่กลยุทธ์การเรียน
ภาษาอังกฤษ
ï ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร
ปัจจุบันแนวคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
ค่อนข้างมาแรงมาก ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่การจัดการศึกษาจะคำนึงถึง
การพัฒนาผู้เรียนให้เก่งด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพราะเป็น
วิชาหลักสำหรับการเรียนต่อในสาขาวิชาที่ถือว่าเป็นวิชาสำหรับคนเก่ง
เช่น แพทยศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ แต่เมื่อโลกไร้พรมแดนมากขึ้น
ภาษาอังกฤษจึงทวีความสำคัญขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ภาระหนักจึง
ตกเป็นของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ครูผู้สอน
บางคนที่ต้องสอนภาษาอังกฤษด้วยความจำเป็น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เรียนจบ
มาด้านนี้โดยตรง จึงมีปัญหาในการสอนนานาประการ ดังนั้นในปี 2549
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 29
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพนักเรียน
โดยตรงการดำเนินงานในปี 2550 จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับ
ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนเป็นสำคัญ
โดยกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 ปรับกระบวนทัศน์การจัดการเรียนการสอนภาษา
อังกฤษเพื่อการสื่อสาร
- เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
ภาษาแบบสื่อสาร โดยส่งเสริมการจัดอบรม สัมมนาปฏิบัติการสัญจร
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่
- พัฒนาผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์
นิเทศ ติดตามผลการดำเนินงาน
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างความเสมอภาคในโอกาสการเรียนรู้ภาษา
อังกฤษอย่างมีคุณภาพ
- เร่งพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนภาษา
อังกฤษ ของโรงเรียนต้นแบบ กลุ่มต่าง ๆ เช่น โรงเรียนในฝันจุฬาภรณ์ฯ
ต้นแบบภาษาอังกฤษ รวมถึงสร้างความพร้อมแก่โรงเรียนขยายโอกาส
30 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการ
EP/Mini EP/ ห้องเรียนพิเศษ
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบสื่อสาร
3.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการเรียนรู้ สื่อ
และการวัดประเมินผล
- วิจัยและพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
ต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รูปแบบการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ และการวัดประเมินผลทางภาษา
- จัดทำและสำเนาสื่อคู่มือหลักสูตรคู่มือการจัดการเรียนรู้
4 ช่วงชั้น และ คู่มือแนวทางการวัดประเมินผลภาษา
อังกฤษเผยแพร่
3.2 ด้านการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ
1) จัดประเมินความรู้ด้านภาษาอังกฤษครูมัธยมศึกษา
ทุกคน ตามแบบทดสอบมาตรฐานสากล เพื่อจัดกลุ่มพัฒนาดังนี้
- ครูที่ผลประเมินยังไม่ถึงระดับ Intermediate ทุกคน
จะเข้ารับการพัฒนาแบบเข้ม เพื่อเร่งยกระดับ
ความสามารถสู่ Intermediate ให้ได้ตามเป้าหมาย
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 31
- ครูที่ผลประเมินอยู่ในระดับ Advanced และ
Intermediate จะเข้าอบรมเพื่อเตรียมความพร้อม
และเข้ารับการประเมินความรู้ด้านการสอน
(Teaching Knowledge) เพื่อรับประกาศนียบัตร
และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพต่อไป
2) คัดเลือกครูที่มีผลประเมินความรู้ระดับ Advanced
ขั้นสูงไปฝึกอบรมหลักสูตรการเป็นวิทยากร ณ สถาบันต่างประเทศ
เพื่อกลับมาเป็นวิทยากรขยายผลสู่เพื่อนครูในพื้นที่ต่อไป
3.3 ด้านการพัฒนาเครือข่าย
- พัฒนาศักยภาพของศูนย์ ERIC ศูนย์เครือข่ายและชมรม
ครูภาษาอังกฤษในพื้นที่เพื่อเป็นเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษ
กลยุทธ์ที่ 4 สร้างบรรยากาศการเรียนรู้และ เพิ่มโอกาสในการ
ใช้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน
- จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียน
โดยสนับสนุนการจัดค่ายภาษาอังกฤษ การประกวดละครการแข่งขัน
ทักษะการพูด การจัดทุนแลกเปลี่ยนเข้าศึกษาในโรงเรียน English
Program โรงเรียนนานาชาติและสถาบันการศึกษาต่างประเทศ
32 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- พัฒนาและเผยแพร่สื่อความรู้และสื่อฝึกทักษะภาษาอังกฤษ
ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ ICT สื่อโทรทัศน์และวิทยุ และสื่อ Online
นอกจากยุทธศาสตร์ที่นำเสนอข้างต้นแล้ว ยังมียุทธศาสตร์ใน
ระดับพื้นที่ ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาสามารถ
วิเคราะห์สภาพและบริบทของตน วางแผนและขอรับการสนับสนุน
ด้านงบประมาณเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้ เพื่อให้การ
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนบรรลุผลตามความ
มุ่งหวังของทุกฝ่ายต่อไป
(ผู้เขียน ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ คศ.4 ปฏิบัติ
หน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.) การนำผลการประเมิน
ไปใช้ตัดสินการผ่านการศึกษาแต่ละช่วงชั้น
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ได้กำหนดไว้ว่า
ผู้เรียนจะสามารถผ่านแต่ละช่วงชั้นได้นั้น ผู้เรียนจะต้องมีผลการ
ประเมินผ่านเกณฑ์การผ่านช่วงชั้นนั้น ๆ และเกณฑ์หนึ่งที่ผู้เรียนจะ
ต้องผ่าน ก็คือ ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม
และได้รับการตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้
หนึ่งที่ผู้เรียนจะต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่สถาน
ศึกษากำหนด ซึ่งตัวบ่งชี้จะบอกว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระภาษา
ต่างประเทศหรือไม่นั้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 33
1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี ทุกผลการเรียนรู้ได้รับการ
ประเมิน ผ่าน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด (ผ่านผลการเรียนรู้ที่
คาดหวังทุกข้อ)
2. ผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศได้รับ
การตัดสินผล ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด (ระดับผลการเรียนตั้งแต่
1 ขึ้นไป)
การนำผลการประเมินไปใช้
ในอดีตที่ผ่านมาการวัดและประเมินผลอาจถูกมองว่าเป็น
กระบวนการตรวจสอบข้อบกพร่องเพื่อทำการจับผิด หรือตัดสินผลการ
สอบว่าได้หรือตก การมองบทบาทของการวัดและประเมินผลในทัศนะ
ใหม่จัดว่าเป็นกระบวนการพัฒนาสิ่งที่ดีกว่าเป็นการแสวงหาสารสนเทศ
สำหรับการพัฒนาการเรียนรู้ และปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
การวัดและประเมินผลสำหรับการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงควรเน้นเพื่อที่จะนำข้อมูลไปใช้ใน
2 ประเด็นหลัก ดังนี้
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
ในอดีตที่ผ่านมาการวัดและประเมินผล
อาจถูกมองว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบข้อบกพร่อง
เพื่อทำการจับผิด หรือตัดสินผลการสอบว่า
ได้หรือตก การมองบทบาทของ
การวัดและประเมินผลในทัศนะใหม่
จัดว่าเป็นกระบวนการพัฒนาสิ่งที่ดีกว่า
สอนสนุกสร้างสุข เล่มที่ 2 35
1. เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
เนื่องจากการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนเป็น
การประเมินระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่ต้องการตรวจสอบว่า
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศได้ดีเพียงใด การวัดและประเมินผลจะติดตามเป็น
ระยะ ๆ ดังนั้นข้อมูลที่ผู้สอนควรมี คือ
1.1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน
ข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินความพร้อมและพื้นฐาน
ก่อนเรียน ตลอดจนรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนจะทำให้ผู้สอนเข้าใจ
ผู้เรียนในเรื่องต่อไปนี้
1) ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะพื้นฐานเพียงพอที่จะ
เริ่มเรียนตามที่กำหนดไว้หรือไม่
2) ผู้เรียนมีความรอบรู้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ที่
กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าหากผู้เรียนมีความรอบรู้
เพียงพอก็สามารถให้ข้ามไปเรียนในเรื่องต่อไป
หรือในเนื้อหาวิชาที่สูงขึ้น
36 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมและการจัดการเรียนรู้
ของผู้สอน
ข้อมูลนี้ได้จากการประเมินตนเองก่อนสอนของผู้สอนเพื่อ
ให้รู้ว่า
1) ผู้สอนเตรียมการสอนได้ดีเพียงใด
2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ทำไว้สามารถนำมาใช้ใน
การจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้งได้หรือไม่
3) เมื่อใช้แผนการจัดการเรียนรู้ไปแล้วผลที่ได้เป็น
อย่างไร ควรมีการปรับปรุงในส่วนใดบ้าง
4) การจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้งทำให้ผู้เรียน
บรรลุจุดประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
รายปีที่กำหนดไว้หรือไม่
5) ถ้าผู้เรียนคนใดไม่บรรลุจุดประสงค์และผลการ
เรียนรู้ที่คาดหวังรายปีผู้สอนได้มีการจัดสอนซ่อม
เสริมให้หรือไม่ ถ้าจัด ๆ ในลักษณะใด
ข้อมูลต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ผู้สอนจะต้องทำการวัดและประเมินผล
เป็นระยะ ๆ หลังจากการสอนในแต่ละตอน/บทเรียนหนึ่ง ๆ แล้ว
หรือหลังจากสอนจบหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยแล้วอย่างไรก็ตาม
ถ้าสอนไปและวัดและประเมินผลไปด้วยก็จะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ข้อมูลในส่วนนี้จะไม่นำมาใช้ในการตัดสินผลการเรียน หรือให้
ระดับผลการเรียนแก่ผู้เรียน
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 37
2. เพื่อสรุปผลการเรียน
การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียน เป็นการประเมินเพื่อมุ่ง
ตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียน เมื่อผ่านการเรียนรู้ในช่วงเวลาหนึ่ง
ประกอบด้วย
2.1 การประเมินหลังเรียนเป็นการประเมินผู้เรียนในเรื่อง
ที่ได้เรียนจบแล้ว เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามผลการ
เรียนที่คาดหวังหรือไม่ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินก่อน
เรียนแล้ว ผู้เรียนเกิดพัฒนาการขึ้นมากน้อยเพียงไร ทำให้สามารถ
ประเมินได้ว่าผู้เรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้เพียงไร และกิจกรรม
การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียนเพียงไร ผลการประเมิน
หลังเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
1) ปรับปรุงแก้ไขซ่อมเสริมผู้เรียนตามผลที่คาดหวัง
รายปี หรือจุดประสงค์ในแผนการเรียนรู้
2) ปรับปรุงแก้ไขวิธีการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น
3) ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ของผู้เรียน
4) นำผลการประเมินไปประกอบการประเมินปลายปี
38 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
2.2 การประเมินผลการเรียนปลายปี
เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามผลการเรียน
รู้ที่คาดหวังรายปี การประเมินผลนี้นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุป
และตัดสินความสำเร็จของผู้เรียนในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
ต่างประเทศรายปีเป็นสำคัญแล้ว ยังใช้ข้อมูลสำหรับปรับปรุงแก้ไข
ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการ และบรรลุผล
การเรียนตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งผล
การประเมินปลายปีจะต้องนำไปใช้ประกอบในการประเมินเพื่อตัดสิน
การผ่านช่วงชั้นด้วย
แหล่งอ้างอิง
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, (2558), แนวโน้มหลักสูตรในศตวรรษที่ 21
สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. จาก http://www.gotoknow.org/
วราภรณ์ งามศรีนวลวกุล. (2558). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2558.
จาก http://www.englishobec.net
เล่าเรื่องเรียนรู้ ...
นวัตกรรม การจัดการศึกษา
ï ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล ï
40 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
เล่าเรื่องเรียนรู้ ...
นวัตกรรม การจัดการศึกษา
ï ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 จนถึงปัจจุบัน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของโรงเรียนได้เพิ่มพูนความรู้
และตระเตรียมการสอนเพื่อให้พร้อมก่อนเปิดภาคเรียนอีกทั้งยัง
เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ของบุคลากรของโรงเรียนให้มีความรู้รัก
สามัคคี เรียนรู้กับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมต่างถิ่นจากการทัศนศึกษา
ในกาลนี้เป็นการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อ : นวัตกรรม
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 41
การศึกษาสู่อนาคต (Ed-novation forwards the Future) ซึ่งเป็นการ
ท้าทายในการสร้างนวัตกรรมของสาธิต มศว ปทุมวัน เพื่อมุ่งสู่
อนาคตที่จะเป็นต้นแบบทางการศึกษาตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
“เป็นสถานศึกษาชั้นนำ ต้นแบบด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษา
เพื่อผลิตผู้เรียนที่มีคุณธรรมและคุณภาพในระดับสากลบนฐานความ
เป็นไทย” ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนขอนำเสนอนวัตกรรมการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน (60ปี สาธิตปทุมวัน จากหนึ่ง ... สู่อนันต์)
พอสังเขปดังนี้
การจัดนักเรียนเข้าห้องเรียนของแต่ละระดับชั้น ซึ่งในแต่ละ
ปีการศึกษา โรงเรียนจะแต่งตั้งคณะกรรมการจัดนักเรียนเข้าห้องเรียน
โดยมีหลักการที่ว่าคละนักเรียนตามระดับความสามารถ (เก่ง – กลาง
– อ่อน จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตลอดปีการศึกษา) แบ่งจำนวนชาย
– หญิง ให้พอ ๆ กัน รวมทั้งพิจารณาความประพฤติของนักเรียนเป็น
รายบุคคลประกอบการอยู่ในห้องเดียวกัน เพื่อไม่ให้มีปัญหาด้านความ
ประพฤติที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน อีกทั้งพิจารณาอาจารย์ประจำชั้น
ของแต่ละห้อง แต่ละระดับชั้น ผ่านคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและ
วิชาการ และคณะกรรมการบริหารโรงเรียน พิจารณากลั่นกรองจนผ่าน
กระบวนการแต่งตั้งพร้อมระบุหน้าที่ของอาจารย์ประจำชั้นอย่างชัดเจน
การจัดผู้สอนสอนแต่ละรายวิชาแต่ละระดับชั้น โดยกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ พิจารณาผู้สอนที่มีประสิทธิภาพในการสอนระดับชั้นนั้น ๆ
เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนต้องมีศักยภาพและความรู้
42 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
เพียงพอที่จะถ่ายทอดให้นักเรียน โดยผู้สอนต้องเตรียมการสอนเริ่ม
จากจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ สร้างสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ
กิจกรรมการเรียนรู้ของสาระการเรียนรู้ รวมทั้งจัดหาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างองค์ความรู้
ได้ด้วยตนเอง มีการออกข้อสอบให้ตรงกับตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้ ตาม
มาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชานั้น ๆ ซึ่งประเด็นนี้จะบอกได้ว่า
เป็น Teacher Center
ผู้สอนเป็นผู้จัดการชั้นเรียน วางแนวทางปฏิบัติ กฎ ระเบียบ
หรือข้อตกลงต่าง ๆ ที่จะทำให้นักเรียนอยู่ร่วมกันในห้องเรียนได้ ไม่มี
การเลือกปฏิบัติโดยทุกคนยอมรับที่จะปฏิบัติให้เกิดความเท่าเทียมกัน
อีกทั้งเป็นผู้นำในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภายในและนอก
ห้องเรียน ซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ของครูที่ต้องศึกษาหาความรู้
พร้อมประสบการณ์จากการเป็นครูมาเป็นผู้จัดการชั้นเรียนให้มี
ประสิทธิภาพ (คุมชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี)
ผู้สอนใส่ใจกับนักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนต้องเข้าใจและ
เข้าถึงนักเรียน ครูต้องรู้ศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียน
ของตนเอง ว่ามีมากน้อยเพียงใด และพร้อมที่จะหาแนวทาง/วิธีการนี้
จะส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างเต็มความสามารถของ
นักเรียนแต่ละคน ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้การสนับสนุน
ดูแล ใส่ใจอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของครูและโรงเรียนอันนำมา
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 43
ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยผู้ปกครอง
เข้าใจในตัวนักเรียนมากขึ้น เข้าใจหลักสูตรที่ครูจะสอนลูก ๆ ในวิชาต่าง ๆ
รู้ว่าต้องดูแลเอาใจใส่การเรียนของลูกในวิชาไหนเป็นพิเศษ นักเรียน
และผู้ปกครองให้ความเคารพและเชื่อถือครูจนเกิดความไว้วางใจซึ่งกัน
และกัน ส่วนนักเรียน ได้เห็นถึงความใส่ใจของครูเกิดความสัมพันธ์ที่ดี
มีกำลังใจและพยายามตั้งใจเรียนมากขึ้น เพื่อนที่เรียนเก่งช่วยสอนเพื่อน
ที่เรียนไม่ทันทำให้เกิดความสามัคคี ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ดังนั้น
การศึกษาต้องมาเริ่มพัฒนาเกี่ยวกับ “จิตใจ” เมื่อครูกระตือรือร้นที่
จะสอน นักเรียนกระตือรือร้นที่จะเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจะ
เกิดขึ้น ถึงเวลาแล้ว
“ครูรักนักเรียนและนักเรียนรักครู”
การศึกษาเป็นการดึงสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ออกมาโดย
การกระตุ้นด้วยคำถามให้นักเรียนคิด การท้าทายให้แสดงศักยภาพ
ที่มีอยู่ออกมาอย่างเต็มที่ภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
ที่มีความไว้วางใจกัน จากงานวิจัยด้านการศึกษา พบว่า ไม่ว่าจะเป็น
การพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือการเพิ่มผลตอบแทนหรือ
วุฒิการศึกษาให้แก่ครู ก็ไม่ได้ช่วยให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นมากนัก
แต่ปัจจัยแห่งความสำเร็จกลับไม่ใช่สิ่งไกลตัวเลยนั่นคือการที่ครูมี
44 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน ปัจจัยอะไรมีผลมากที่สุดต่อผลสัมฤทธิ์ทาง
การศึกษา คำตอบที่พบกลับเป็นเรื่องของ “จิตใจ” ทั้งสิ้น ความสัมพันธ์ที่ดี
ระหว่างครูและนักเรียน ความน่าเชื่อถือของครู การไว้วางใจซึ่งกันและกัน
อิทธิผลในกลุ่มเพื่อน และบทบาทสำคัญของพ่อแม่ซึ่งความสัมพันธ์
ระหว่างครูกับนักเรียนสำคัญที่สุด ถ้าความสัมพันธ์ไม่ดี ต่อให้ครู
เก่งแค่ไหน ครูก็สอนได้ไม่ดี ดังนั้นแนวทางการปฏิรูปการศึกษาจะต้อง
เริ่มจากคืนครูให้นักเรียน ให้ครูกลับเข้าห้องเรียน สอนหนังสือนักเรียน
ด้วยความรัก และส่งเสริมผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
และกิจกรรมของโรงเรียนมากขึ้น เพื่อผู้ปกครองจะได้พบครูและผู้บริหาร
โรงเรียนหาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างเหมาะสมต่อไป
ความสามารถ
ทางจิตสังคม
ï อาจารย์ชวลิต ศรีคำ ï
46 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
ความสามารถ
ทางจิตสังคม
ï อาจารย์ชวลิต ศรีคำ
ปัจจุบันเยาวชนตกอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดึงให้มี
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นระบบการศึกษาจะต้องช่วยสร้างภูมิคุ้ม
กันให้กับเยาวชน เพื่อที่จะให้พวกเขาสามารถไปเผชิญกับปัญหารอบตัว
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญ
ในการสร้างครอบครัวของพวกเขาต่อไปในอนาคต ซึ่งคุณลักษณะ
หนึ่งที่พึงพัฒนาหรือส่งเสริมเยาวชน คือ ความสามารถทางจิตสังคม
หรือทักษะชีวิต
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่มที่ 2 47
ความสามารถทางจิตสังคม เป็นความสามารถของบุคคลในการ
เผชิญกับสิ่งท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และยังเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งสภาวะสุขภาพจิตที่ดี
สามารถที่จะปรับตัวและมีพฤติกรรมไปในทิศทางที่ถูกต้อง ในขณะที่ต้อง
เผชิญกับแรงบีบแรงกดดันหรือแรงกระทบจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ
รอบตัว (กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2553: ออนไลน์;
อ้างอิงมาจาก WHO. 1994 : 1)
โดยธรรมชาติความสามารถทางจิตสังคมมีความแตกต่างกัน
ในแต่ละวัฒนธรรม หรือแต่ละภูมิประเทศ แต่ในภาพรวมพบว่ามีความ
สามารถทางจิตสังคมหลัก ๆ ดังนี้ (กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการ
สุขภาพ. 2553: ออนไลน์;; อ้างอิงมาจาก WHO. 1994 : 1)
1. ความสามารถในการตัดสินใจ (Decision making)
บุคคลใดมีการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพในการกระทำต่าง ๆ ในชีวิต
โดยมีการประเมินทางเลือกและผลจากการตัดสินใจเลือกทางเลือกนั้น ๆ
จะทำให้บุคคลนั้น ๆ มีความสุขในชีวิต
2. ความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem solving)
เมื่อบุคคลใดมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้จะทำให้เกิดภาวะความ
ตึงเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นทักษะการแก้ปัญหาจะช่วย
ให้บุคคลสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้
48 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
3. ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) มีส่วน
สนับสนุนในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาในการค้นหาทางเลือกต่าง ๆ
และผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก ถึงแม้ว่ายังไม่มีการตัดสินใจ
และแก้ไขปัญหาก็ตาม ความคิดสร้างสรรค์ยังช่วยให้บุคคลสามารถ
นำประสบการณ์ของตนเองมาใช้ในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
4. ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เป็น
ความสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่มี
อิทธิพลต่อเจตคติและพฤติกรรม เช่น ค่านิยม แรงกดดันจากกลุ่มเพื่อน
อิทธิพลจากสื่อต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
5. การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication)
หมายถึง ความสามารถในการใช้คำพูดและภาษาท่าทาง เพื่อแสดง
ความรู้สึกนึกคิดของตนอย่างเหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรมและ
สถานการณ์ต่าง ๆ โดยสามารถที่จะแสดงความคิดเห็น ความปรารถนา
ความต้องการ การขอร้อง การเตือนและการขอความช่วยเหลือ
6. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (Interpersonal relationship
skills) สามารถช่วยให้บุคคลมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และสามารถ
ที่จะรักษาและดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการอยู่
ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข และรวมถึงการรักษาสัมพันธภาพที่ดี
ของสมาชิกในครอบครัวที่เป็นแหล่งสำคัญของแรงสนับสนุนทางสังคม