รวมเร่อื งเล่าใน Tiny Theater Tarot
ค่มู อื เบอ้ื งตน้ ประกอบ Tiny Theater Tarot
- วรวทิ ย์ ทองเน้ืออ่อน -
รวมเรอื่ งเล่าใน Tiny Theater Tarot
คมู่ อื เบื้องต้นประกอบ Tiny Theater Tarot
- วรวิทย์ ทองเนอื้ อ่อน -
จดั ทำโดย : วรวทิ ย์ ทองเน้ืออ่อน
พมิ พค์ ร้ังท่ี 1 : มีนาคม 2565
จำนวนหนา้ : 293 หนา้
ISBN (e-book) : 978-616-590-260-1
ออกแบบปกและรูปเลม่ : วรวทิ ย์ ทองเนื้ออ่อน
พิสูจนอ์ กั ษร : อาทมิ า ทองเน้ืออ่อน
ลขิ ิต ใจดี
ลขิ สิทธ์ิ : ©Worawit Tongnue-on
สงวนลขิ สิทธิต์ ามกฎหมาย
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแหง่ ชาติ
วรวทิ ย์ ทองเนอ้ื ออ่ น.
รวมเร่ืองเลา่ ใน Tiny Theater Tarot.-- พจิ ติ ร : ม.ป.พ., 2565.
293 หนา้ .
1. ไพพ่ ยากรณ์. 2. พยากรณ์ดว้ ยไพ.่ I. ช่ือเรอ่ื ง.
133.324
ISBN 978-616-590-260-1
ก | ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t
คำนำ
หนังสือเล่มน้ีจัดทำขึ้นเพื่อประกอบไพ่ทาโรต์ Tiny Theater Tarot
ที่ผมได้จัดทำขึ้นช่วงปลายปี 2564 ซึ่งเป็นไพ่ที่นำเอาตัวละครในวรรณคดี
นิทาน หรือเรื่องเล่าตา่ ง ๆ ของไทยมาวาดเป็นตัวละครบนหน้าไพ่ หนังสือ
เล่มนี้จึงเป็นการเล่าเรื่องราวของตัวละครให้ผู้ที่สนใจได้เข้าใจในตัวละคร
เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น โดยเนื้อเรื่องบางส่วนจะมีความละม้ายคล้ายกันกับ
เรือ่ งราวท่ีปรากฏบนหน้าไพ่ Rider Waite Smith ท่ีผมได้พยายามศึกษาและ
ตีความออกมาก่อนที่จะนำมาวาดเป็นหนา้ ไพ่ทาโรต์ ทั้งน้ีในทุกการตีความ
เปน็ ไปตามมมุ มองของตวั ผมเอง ท่านท่มี คี วามรู้ความเชีย่ วชาญในวรรณคดีไทย
อาจจะมีมุมมองที่ดีกว่าหรือแตกต่างไปจากผมก็ได้ หากหนังสือเล่มนี้มี
ข้อบกพรอ่ งในส่วนไหนผมต้องขออภัยมา ณ ท่นี ด้ี ว้ ยครบั
ขอขอบพระคุณในทุกการสนับสนุน และการตอบรับอันดีจากนัก
พยากรณแ์ ละนกั สะสมทกุ ๆ ทา่ นทมี่ ีใหก้ ับ Tiny Theater Tarot หวังเป็น
อย่างยิ่งว่าไพ่ทาโรต์สำรับนี้เป็นส่งมอบพลังงานและความปรารถนาดีให้กับ
ทุกท่านทุกครั้งที่เปิดหน้าไพ่ออกมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวผมตั้งใจจะให้เป็นไป
อยา่ งน้ันดว้ ยเชน่ กัน
วรวิทย์ ทองเนอ้ื อ่อน
มีนาคม 2565
ข | ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t
สารบัญ
คำนำ........................................................................................................ ก
สารบัญ .................................................................................................... ข
Tiny Theater Tarot............................................................................... 1
Major Arcana......................................................................................... 5
0 ❖ The Fool - เจ้าเงาะ................................................................ 6
I ❖ The Magician - รถเสน ............................................................ 8
II ❖ The High Priestess - แอหนังติหลาอรสา..........................11
III ❖ The Empress - ผสุ ดี............................................................14
IV ❖ The Emperor - พระอนิ ทร์..................................................17
V ❖ The Hierophant - เทศน์มหาชาติ ............................................20
VI ❖ The Lovers - อิเหนา-บษุ บา................................................22
VII ❖ The Chariot - มิสาระปนั หยี...............................................24
VIII ❖ Strength - สงิ หรา ..............................................................26
IX ❖ The Hermit - พระภรตฤๅษี .................................................28
X ❖ Wheel of Fortune - ธรรมจักร ...........................................31
XI ❖ Justice - ทา้ วมาลวี ราช........................................................35
XII ❖ The Hanged Man - หนุมานบวช ..........................................43
XIII ❖ Death - พญายมราช ..........................................................46
XIV ❖ Temperance - กนิ นร (อิลราช)...........................................48
XV ❖ The Devil - ผีเสื้อสมุทร .....................................................52
ค | ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t
XVI ❖ The Tower - กัณฑหาลพราหมณ์......................................56
XVII ❖ The Star - พระลอเส่ียงนำ้ ................................................60
XVIII ❖ The Moon - เบญกาย......................................................62
XIX ❖ The Sun - จนั ทกนิ นร จันทกนิ รี........................................65
XX ❖ Judgement - พระมหาชนก...............................................68
XXI ❖ The World - พระคเณศ ....................................................73
Minor Arcana.......................................................................................79
“The Suite of Wands” ......................................................................79
Ace of Wands - นรสิงห์.................................................................80
Two of Wands - พระสธุ น .............................................................83
Three of Wands - พระสธุ นเดินปา่ ................................................88
Four of Wands - ละครรำเฉลิมฉลอง.............................................93
Five of Wands - เทวดาเกเร...........................................................94
Six of Wands - พระมงกุฎ - พระลบ พบม้าอปุ การ ........................96
Seven of Wands - พระไวยแตกทัพ.............................................101
Eight of Wands - มโนหร์ า ...........................................................104
Nine of Wands - อนิ ทรชติ ตอ้ งศร................................................111
Ten of Wands - เทวดาแบกพระปรางค์ .......................................113
Page of Wands - วฬิ าร์................................................................115
Knight of Wands - ขุนแผน..........................................................118
Queen of Wands - แกว้ หนา้ มา้ ...................................................121
King of Wands - พระสังข์ ............................................................125
ง | ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t
Minor Arcana.....................................................................................129
“The Suite of Cups” .......................................................................129
Ace of Cups - เงือกน้อย ..............................................................130
Two of Cups - รจนา พระสังข์.....................................................132
Three of Cups - มณีเมขลา .........................................................139
Four of Cups - โกมินทร์ ..............................................................141
Five of Cups - ตรีชฎา .................................................................144
Six of Cups - สังขศ์ ิลปช์ ัย.............................................................147
Seven of Cups - ศภุ ลกั ษณ์วาดรปู ..............................................150
Eight of Cups - พระรามเดินดง....................................................152
Nine of Cups - ขุนช้าง.................................................................155
Ten of Cups - ครอบครัวนางมณี .................................................159
Page of Cups - มัจฉานุ................................................................160
Knight of Cups - จะเด็ด ..............................................................163
Queen of Cups - จินตะหราวาตี..................................................172
King of Cups - พระลอ.................................................................176
Minor Arcana.....................................................................................181
“The Suite of Swords” ...................................................................181
Ace of Swords - วายภุ กั ษ์ ...........................................................182
Two of Swords - สีดา .................................................................185
Three of Swords - พิฆาตพระลอ ...................................................196
Four of Swords - พราหมณ์เกศสุริยง ..........................................198
จ | ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t
Five of Swords - ประสันตา.........................................................201
Six of Swords - สวุ รรณหงส์.........................................................204
Seven of Swords - สมิงนครอนิ ทร์..............................................207
Eight of Swords - เภา..................................................................209
Nine of Swords - มัทรี.................................................................213
Ten of Swords - กวางทอง ..........................................................216
Page of Swords - อากาศตะไลย..................................................219
Knight of Swords - วริ ุญมขุ .........................................................221
Queen of Swords - นางจนั ทน์....................................................223
King of Swords - พระราม............................................................228
Minor Arcana.....................................................................................233
“The Suite of Pentacles”...............................................................233
Ace of Pentacles - อัปสรสหี ะ ....................................................234
Two of Pentacles - พระนารท....................................................235
Three of Pentacles - มฆมานพ ..................................................238
Four of Pentacles - ปโู่ สม ..........................................................242
Five of Pentacles - ลักษณวงศ์ ...................................................244
Six of Pentacles - พระเวสสันดร.................................................248
Seven of Pentacles - นารผี ล .....................................................251
Eight of Pentacles - พระวิษณกุ รรม ...........................................253
Nine of Pentacles - วนั ทอง........................................................257
Ten of Pentacles - ครอบครัวพระอภยั มณี .................................261
ฉ | ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t
Page of Pentacles - พราหมณ์นอ้ ย.............................................266
Knight of Pentacles - อุณากรรณ...............................................269
Queen of Pentacles - ละเวงวณั ฬา ...........................................272
King of Pentacles - อิเหนา .........................................................277
Special Cards....................................................................................286
The Theater - โนรา.....................................................................287
The Diviner - ผูท้ ำนาย.................................................................288
บรรณานุกรม .......................................................................................289
ช | ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t
ซ | ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 1
Tiny Theater Tarot
Tiny Theater Tarot เป็นไพ่ทาโรต์ที่นำเอาตัวละครในวรรณคดี
นิทาน หรอื เรอื่ งเล่าต่าง ๆ ของไทยมาวาดเปน็ ตัวละครบนหนา้ ไพ่ โดยวาด
อิงการแต่งกายแบบโขนและละครรำทางนาฏศิลป์ไทย เปรียบเสมือนโรง
ละครเล็ก ๆ โรงหนึ่งที่กำลังจะพาทุกท่านท่องไปในโลกแห่งการทำนาย
ทั้งนี้ ภาพบนหน้าไพ่ไม่ได้วาดขึ้นเพื่อเล่าเรื่องราวในวรรณคดี นิทาน หรือ
เรื่องเลา่ ของไทย แตว่ าดข้นึ เพื่อใชเ้ ปน็ ไพท่ าโรต์สำหรบั การทำนายเปน็ หลัก
เพียงแต่ได้เชื่อมโยงเอาเรื่องราวส่วนหนึ่งของตัวละครไทยที่มีความ
ใกล้เคียงกันกับเรื่องราวบนภาพหน้าไพ่ทาโรต์ Rider Waite Smith ตาม
มุมมองของตัวผู้สร้างสรรค์ มาเป็นแรงบันดาลใจในการวาดและสร้างไพ่
สำรับน้ขี น้ึ มา
ไพส่ ำรับนผ้ี มใชเ้ วลาในการวาดอยู่ราว 2 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ท้ังสำรับ
โดยเริ่มวาดตั้งแต่ประมาณปลายปี 2562 วาดไพ่ The Fool เป็นใบแรก
มาวาดเสร็จเอาเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 วาดไพ่ King of Pentacles เป็น
ใบสุดท้าย โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่ชอบไพ่ทาโรต์อยู่แล้ว ตอนเด็ก ๆ จะมี
ไพ่ของตัวเองเป็นชุด Rider Waite อยู่สำรับหนึ่ง มักจะนำออกมาใช้เล่น
ทำนายกับเพื่อน ๆ อยู่เสมอ และยังเคยเล่นวาดภาพไพ่ลงในกระดาษวาด
เขียน ระบายสี แล้วตัดออกมาแปะกระดาษแข็งใช้เป็นไพ่ส่วนตัวสำหรับ
ตัวเองดว้ ย ไม่คดิ วา่ เม่อื โตมาจะวาดเป็นสำรับของตวั เองข้นึ มาไดจ้ ริง ๆ
แนวคดิ ของการสร้างไพส่ ำรบั นี้มาจากการทีต่ วั ผมเองเรยี นจบในสาย
ของนาฏศิลป์ไทย และชอบอ่านวรรณคดีไทย ประกอบกับเป็นคนที่ชอบ
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 2
วาดรูปและได้วาดภาพการ์ตูนนาฏศิลป์ไทยเผยแพร่อยู่ในเพจของตัวเอง
อยู่แล้ว จงึ อยากสรา้ งสำรับไพ่ที่เปน็ แนว ๆ การต์ ูนวรรณคดี นาฏศิลป์ไทย
ในแบบที่เป็นการ์ตูนลายเส้นของตัวเองขึ้นมา อีกทั้งผมยังได้มีโอกาสรู้จัก
ไพ่ทาโรต์ชุด Tarot of the Divine รวมถึงได้อ่านหนังสือ Beneath the
Moon ซึ่งเป็นผลงานของคุณ Yoshi Yoshitani ท่ีนำเอาตำนานนิทาน
นานาชาตมิ าสร้างเป็นไพท่ าโรต์ จึงเปน็ อกี หนงึ่ แรงบนั ดาลใจให้ผมคิดสร้าง
Tiny Theater Tarot ขึ้นมา ในธีมนิทานเรื่องราวของไทย ซึ่งนอกจากจะ
เปน็ เรอ่ื งทมี่ าจากวรรณคดไี ทยแลว้ ยังนำเอานทิ าน เรอื่ งเล่า หรอื ความเช่ือ
ของไทยมาประกอบกันด้วย ทั้งนี้ทุกการตีความเป็นไปในมุมมองของผม
ท่านที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวรรณคดีไทยอาจจะมีมุมมองที่ดีกว่า
หรือแตกต่างไปจากผมกไ็ ด้ หากมขี อ้ บกพรอ่ งในสว่ นไหนผมต้องขออภัยมา
ณ ท่ีนีด้ ว้ ยครบั
หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือเบื้องต้นที่ได้ทำการย่อเรื่องราวคร่าว ๆ ของ
ตัวละครที่ปรากฏเป็นตัวละครในหน้าไพ่แต่ละใบมาให้ผู้อ่านหรือผู้ที่ใช้ไพ่
Tiny Theater Tarot ได้รู้จักกับเรื่องราวของพวกเขาหรือเธอในเบื้องต้น
ซึง่ อาจจะเปน็ ตัวชว่ ยให้การอ่านไพ่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น และผม
ยังได้ใส่ความหมายเบื้องต้นซึ่งเป็นคีย์เวิร์ดที่ผมได้เลคเชอร์ไว้สำหรับใช้เอง
จากประสบการณ์ที่ได้ศึกษาและสัมผัสไพ่ทาโรต์ลงมาไว้ในหนังสือเล่มน้ี
ด้วย โดยความหมายหลักของไพ่ท่านสามารถใช้ความหมายของไพ่ทาโรต์
Rider Waite Smith ที่ทุกท่านน่าจะรู้จักกันดีอยู่แลว้ หรือใช้ความหมายท่ี
เกิดจากประสบการณ์ของแต่ละท่าน หรือใช้ความหมายจากความรู้สึก
สัมผัสกับภาพหน้าไพ่ก็ได้ และสำหรับผู้ท่ีไม่ได้ใช้ไพ่ทำนาย หนังสือเล่มนี้ก็
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 3
อาจจะเป็นหนังสือวรรณคดีไทยสำหรับอ่านเพลิน ๆ อีกเล่มหนึ่งด้วยก็ได้
ทั้งนี้วรรณคดีไทยบางเรื่องมีหลากหลายสำนวน เนื้อเรื่องที่อ่านในหนังสือ
เล่มนี้กับเนื้อเรื่องที่ท่านเคยทราบมาอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ตัวผมซึ่งเป็น
ผู้เขียนได้เลือกสำนวนที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงโขน-ละครทาง
นาฏศิลปไ์ ทยเปน็ หลัก จึงอยากชีแ้ จงมาไว้เพ่ือใหเ้ ข้าใจตรงกัน
การจัดทำ Tiny Theater Tarot ทำให้ผมได้พบกัลยาณมิตรใหม่ ๆ
หลาย ๆ ท่าน ที่ได้ช่วยให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ ในการจัดทำ
ทั้งคุณจ่อง จากเพจตามจ่อง คุณออมสินจาก Deckstiny และคุณกิ่ง จาก
เพจแม่หมอกง่ิ Ging Astro Reader ทชี่ ่วยแปลเนอ้ื หารายละเอียดบางส่วน
ให้เป็นคำอธิบายภาษาอังกฤษเพื่อเป็นข้อมูลให้กับชาวต่างชาติ ตลอดจน
ทุกท่านที่สนับสนุนและให้กำลังใจมามากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งดี
สิ่งหนึง่ ที่ผมไดพ้ บเจอในชวี ิตครับ
สุดท้ายเหล่าตัวละครจะนำพาทุกท่านเข้าสู่โลกแห่งทำนายอย่างไร
ท่านเท่านั้นที่จะเป็นผู้สัมผัส มาร่วมหาคำตอบกับ Tiny Theater Tarot
ไปพรอ้ ม ๆ กันเลยครับ
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 4
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 5
Major Arcana
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 6
0 ❖ The Fool – เจ้าเงาะ
เจ้าเงาะเป็นตัวละครจากวรรณคดี
เรอ่ื งสงั ข์ทอง เป็นร่างปลอมตวั ของพระสังข์
ท่ีใช้รูปเงาะวิเศษสวมทับไว้เพื่อมิให้ผู้ ใด
มองเห็นรา่ งทแี่ ทจ้ รงิ ของตน
พระสงั ขเ์ ป็นโอรสของท้าวยศวิมลกับ
นางจันท์เทวี เมื่อคลอดออกมามีหอยสังข์
กำบังร่างกายไว้ จึงถูกนางจันทาสนมของ
ท้าวยศวิมลใส่ร้ายจนต้องถูกขับออกจากเมือง
ทั้งแม่ลูก ต่อมาเมื่อพระสังข์ออกมาจากหอยสังข์ นางจันทาก็ยังยุยงให้
ท้าวยศวิมลฆ่าพระสังข์อีก พระสังข์จึงถูกจับถ่วงน้ำ ท้าวภุชงค์นาคราชได้
ช่วยชีวิตไว้แล้วส่งให้ไปเป็นบุตรบุญธรรมของนางยักษ์พันธุรัต ซึ่งนางก็รัก
พระสังข์เหมือนบุตรในอุทรของตน นางและบริวารได้แปลงกายเป็นมนุษย์
เพื่อไม่ให้พระสังข์กลัว แต่เมื่อพระสังข์รู้ความจริงว่าแม่เลี้ยงเป็นยักษ์ก็
บงั เกดิ ความกลวั และต้องการตามหาแม่ของตน จึงวางแผนหนโี ดยการขโมย
รูปเงาะมาสวม แล้วหยิบเอาไม้เท้าและเกือกแก้วเหาะหนีไป เมื่อแม่พันธุรัต
ออกติดตามมา พระสังข์ก็ยังอธิษฐานไม่ให้แม่พันธุรัตขึ้นมาหาตนได้ทำให้
นางพนั ธุรัตเสยี ใจจนอกแตกตายไป
การหนขี องพระสังขเ์ ปน็ เหมือนกับการเริ่มตน้ เลือกทางเดินชีวิตใหม่
ให้กับตนเอง ได้พาตวั เองไปพบกบั เร่ืองราวใหม่ ๆ ผู้คนใหม่ ๆ จนได้พบกับ
คคู่ รองคอื รจนา และยังเป็นการกระทำที่ไร้เดียงสา เพียงเพราะความกลัวท่ี
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 7
ได้ทราบว่าแม่เลี้ยงที่เลี้ยงตนมาจนโตนั้นเป็นยักษ์ และความต้องการ
ออกไปตามหาแม่ที่พลัดพรากจากกันมานานทั้งที่ไม่รู้ว่าอยู่แห่งใด แต่พระ
สังข์เองก็คงไม่คิดว่าเรื่องราวจะลุกลามใหญ่โตจนทำให้แม่พันธุรัตท่ีเลี้ยง
ตนเองมาตอ้ งเสียใจจนตาย และเมื่อได้ครองคกู่ ับรจนาแล้ว พระสงั ขก์ ย็ งั คง
เลือกใช้ชีวิตโดยไม่สนใจสิ่งใด ยังคงเป็นเงาะป่าบ้าใบ้ในสายตาคนทั่วไป
จนพลอยทำให้ตัวเองและรจนาต้องตกระกำลำบาก พระอินทร์ต้องลงมา
วางอบุ ายแก้ไขให้ในตอนท้ายเรอื่ งราวจึงกลับเปน็ ดี
ภาพที่หน้าไพ่เป็นภาพของเจ้าเงาะในตอน หาปลา เป็นตอนท่ีท้าว
สามนต์ให้เขยท้ังหมดออกไปหาปลามาให้ โดยหวงั จะหาเรื่องกำจดั เจ้าเงาะ
แต่พระสังข์ก็แก้อุบายน้ีได้ด้วยการใช้มนต์วิเศษเรียกปลามาไว้กับตนทั้งหมด
แล้วแกล้งให้หกเขยแลกปลาคนละสองตวั กับปลายจมูก ส่วนตนก็หอบปลา
พวงใหญก่ ลับไปถวายทา้ วสามนต์ ซ่งึ สื่อถึงการกระทำกระทำห่าม ๆ แผลง ๆ
หรอื การเลน่ พิเรนทร์ของพระสงั ขน์ ัน่ เอง
ความหมายเบ้ืองต้น
การเริ่มต้นในสิ่งใหม่ ๆ การออกเดินทางท่องเที่ยว การไม่ยึดติดกับ
สิ่งใด โอกาสใหม่ ๆ ความไร้เดียงสา ความเบิกบานใจ ความคิดสร้างสรรค์
การขาดความอดทน ความด้ือดงึ การพักผ่อนของร่างกายและจติ ใจ
ความหมายหัวกลับ
ความโงเ่ ขลา การทำตัวเหมือนเด็ก เด็กด้อื การปดิ ใจ ความไมน่ ่าเช่ือถือ
ความหุนหันพลันแล่น การขาดความอดทน การไม่ใส่ใจ การหลบหนีจาก
ความเปน็ จริง
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 8
I ❖ The Magician – รถเสน
รถเสน ตัวละครในวรรณคดีเรื่อง
พระรถ-เมรี เขาเป็นชายหนุ่มทเ่ี ตบิ โตมาโดย
การเลี้ยงดูด้วยความยากลำบากของแม่และ
ป้าตาบอดทั้งสิบสองคน (นางสิบสอง) ที่ถูก
นางสันธีชายาใหม่ของบิดาคือท้าวรถสิทธิ์
วางแผนใส่ร้าย สั่งให้ควักดวงตาแล้วนำตัว
ไปขังไวใ้ นถ้ำ
เม่อื รถเสนเติบโตข้ึนก็ใช้ชีวิตด้วยการ
พนันชนไก่เพื่อแลกกับอาหารมาเลี้ยงดูแม่และป้า ความเก่งกาจของไก่ชน
รถเสนทไ่ี ม่เคยชนแพ้ไกต่ วั ใดในกุตารนครจนเปน็ ที่เลื่องลือไปทัว่ จนวันหน่ึง
มีราชทูตต่างเมืองมาท้าชนไก่กับท้าวรถสทิ ธิ์เพื่อพนันเอาบ้านเมือง รถเสน
จึงได้โอกาสอาสาชนไก่ถวายและได้รับชยั ชนะในคร้งั นน้ั
หลังจากเหตุการณ์นั้นจึงทำให้ท้าวรถสิทธิ์รู้ว่ารถเสนเป็นลูกของตน
นางสันธียังคงมีความอาฆาตในนางสิบสองจึงคิดจะกำจัดรถเสนไปเสียอีกคน
นางจึงวางอุบายขอให้รถเสนช่วยเดินทางไปนำเอาผลมะม่วงหาวมะนาวโห่
จากเมืองคชบุรีมาให้ตนเพื่อเป็นยารักษาโรค นางสันธีได้เขียนสาส์นให้
รถเสนถือติดตัวไปด้วย ในสาส์นนั้นมีเนื้อความถึงเมรีลูกเลี้ยงของตนให้
จัดการฆ่ารถเสนเสียเม่อื ไปถงึ เมือง แตร่ ะหว่างทางรถเสนได้ไปพักนอนหลับ
ที่อาศรมของพระกบิลฤๅษี พระฤๅษีจึงลอบแปลงเนื้อความในสาส์นเสียใหม่
เป็นเนื้อความให้เมรีแต่งงานกับรถเสนแทน เมื่อรถเสนไปถึงเมืองคชบุรี
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 9
จึงไดแ้ ต่งงานกบั เมรี ทัง้ สองอยู่ดว้ ยกนั อย่างมีความสุขมาระยะหน่ึง รถเสน
ก็คิดถึงแม่และป้า อีกทั้งม้ายังได้เตือนสติให้เขานึกถึงหน้าที่ที่ได้รับ
มอบหมายมา รถเสนจึงวางแผนหนีโดยการมอมเหล้าเมรี แล้วหลอกถาม
ความลับต่าง ๆ จนได้ทราบว่าดวงตาของแม่และป้าพร้อมยารักษาถูกเก็บ
ไวท้ ่ีเมืองนี้นี่เอง
เมื่อเมรีถูกมอมเหล้าจนเมาหลับไปแล้ว รถเสนจึงหยิบเอามะม่วง
หาวมะนาวโห่มาและขโมยดวงตาของแม่กับป้าพร้อมยารักษา อีกทั้งขโมย
เอาของวเิ ศษต่าง ๆ ได้แก่ ไมก้ ำพดต้นชีต้ ายปลายช้ีเป็น และห่อผงยาวิเศษ
ของเมรีติดตวั มาด้วยแล้วขึ้นม้าหนีไป ครั้นเมรีฟืน้ ขึ้นมาทราบว่าสามีหนไี ป
แล้วก็ออกติดตาม รถเสนก็หยิบเอาผงยาวิเศษห่อแรกโรยลงไปเกิดเป็นภูผา
สูงขวางกั้น แต่เมรีก็ร่ายมนต์แก้ให้ภูผานั้นหายไป เมื่อรถเสนโรยผงยาห่อท่ี
สองก็บังเกิดเป็นเปลวเพลิงมาขัดขวาง เมรีก็ร่ายเวทย์ดับไฟนั้นลงได้ รถเสน
จึงหยิบยาห่อที่สามขว้างออกไปกลายเป็นแม่น้ำกรดขวางกั้นไว้ ซึ่งเมรีไม่
สามารถจะแก้มนต์ของยาห่อนี้ได้ เธอได้อ้อนวอนขอร้องให้รถเสนกลับมา
หาตนแต่ก็ไม่เป็นผล ด้วยความน้อยใจและความเสียใจ เมรีจึงกลั้นใจตาย
อยู่ที่ตรงนั้น โดยก่อนตายเธอได้อธิษฐานขอให้ชาติหน้ารถเสนเป็นฝ่าย
ติดตามเธอไปดว้ ยความยากลำบากบ้าง เหมือนที่เธอไดต้ ิดตามรถเสนมาใน
ชาตนิ ้ี (เกิดเป็นเรอื่ งราวภาคต่อในพระสุธน-มโนหร์ า)
ถึงแม้ว่ารถเสนจะเสียใจเพียงใดแต่ก็แข็งใจควบม้ากลับไปยังกุตารนคร
แล้วรีบไปรักษาดวงตาของแม่และป้าจนกลับมามองเห็นดังเดิม จากนั้นจึง
ไปเข้าเฝ้าท้าวรถสิทธิ์ถวายผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ แล้วเปิดโปงนางสันธีว่า
เป็นยกั ษ์ ฝ่ายนางสันธีเมื่อทราบว่าแผนการณ์ของตนไม่ได้ผลก็ช้ำใจจนตายไป
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 10
ท้าวรถสทิ ธ์ิจงึ รับนางสิบสองกบั รถเสนให้กลบั มาอย่ใู นวงั ดว้ ยกันกบั ตน
ความเชื่อมโยงกับไพ่ใบนี้ คือเรื่องราวชีวิตของรถเสนที่ข้องเกี่ยวกับ
การพนัน (ชนไก่) เป็นผู้ถือสาส์นไปยังเมืองคชบุรี และยังมีเรื่องราวที่
เกี่ยวข้องกับการลักขโมย ภาพหน้าไพ่วาดเป็นภาพของรถเสนในรูปลักษณ์
ของนักมายากลที่กำลังทำการแสดงให้ผู้ชมซึ่งก็คือบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลาย
ไดร้ บั ชมกันอยา่ งตืน่ ตาต่ืนใจ
ความหมายเบื้องตน้
พลังพิเศษที่มีในตนเอง การเริ่มต้นใหม่ ความคิดสร้างสรรค์
ความสามารถ ความเก่งฉกาจ การวางแผน การมีเทคนิค การพลิกแพลง
ผู้ส่งสาร นักการทตู
ความหมายหัวกลับ
การขาดทักษะความชำนาญ ความตั้งใจแต่ไม่ลงมือทำ เล่ห์เหลี่ยม
การขาดจินตนาการ ไร้แรงบันดาลใจ การเอาหน้า การโกหก การตัดสินที่
ผิดพลาด การกระทำทไ่ี ม่ดี การขโมย
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 11
II ❖ The High Priestess
แอหนังติหลาอรสา
แอหนังติหลาอรสา คือ บุษบานางเอก
จากวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ที่หนีจากเรื่องราว
ความวุ่นวายต่าง ๆ ในชีวิตออกไปบวชเป็น
นางแอหนังอยู่บนภูเขา และได้ศึกษาวิชาการ
พยากรณ์จนสามารถทำนายได้อย่างแม่นยำ
ซง่ึ คำว่าแอหนังนั้นเป็นคำทม่ี าจากภาษาชวา
หมายถึงนางชีหรือนกั บวชหญิง
เรื่องราวชีวิตของบุษบาเป็นเรื่องราวที่มีความวุ่นวายในเรื่องของ
ความรักอันเป็นเหตุมาจากตัวคนรักของเธอก็คืออิเหนานั่นเอง ทั้งสองได้
หมั้นหมายกันตั้งแต่ยังเล็ก แต่เมื่อทั้งสองเติบโตขึ้นอิเหนาได้ไปพบรักกับ
จินตะหราวาตีจึงประกาศถอนหมั้นบุษบา แต่เหตุการณ์ก็ชักนำให้ทั้งสอง
ได้มาพบหน้ากันและทำให้อิเหนาหวนกลับมารักบุษบา จึงพยายามทำทุก
วิถีทางเพื่อให้ได้นางกลับคืนมา อิเหนาจึงได้ก่อเรื่องราววุ่นวายต่าง ๆ จน
องค์ประตาระกาหลาเทพเจ้าที่เป็นต้นวงศ์ตระกูลพิโรธจึงสาปให้ทั้งสอง
พลัดพรากจากกัน อิเหนาได้ปลอมตัวเป็นโจรป่าช่ือว่าปนั หยี ส่วนบษุ บาได้
ปลอมตัวเป็นชายชื่อว่าอุณากรรณ เมื่อทั้งสองได้มาพบกันก็จดจำกันไม่ได้
ตามคำสาปขององค์ประตาระกาหลา หลังจากที่ได้ประสบกับเหตุการณ์
ความวนุ่ วายต่าง ๆ บุษบากับพระพี่เลี้ยงจึงได้หนีไปบวชเป็นนางแอหนังอยู่
บนภูเขา และใช้ชอื่ วา่ ติหลาอรสา
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 12
แอหนังติหลาอรสาได้ศึกษาวิชาการพยากรณ์จนชำนาญสามารถ
ทำนายได้อย่างแม่นยำราวกับตาเห็น วันหนึ่งเกิดเหตุย่าหรัน*หายตัวไป
เนอื่ งจากถูกระตูมะงาดาลักพาตัวเพราะเขา้ ใจผิดคิดว่าเป็นปันหยี ประสันตา
พี่เลี้ยงของอิเหนาได้ออกติดตามหาจนได้ทราบว่ามีนางแอหนังอยู่บนภูเขา
จึงไปขอให้ช่วยทำนายหาย่าหรัน นางแอหนังจึงพยากรณ์ว่าย่าหรันถูก
ลักพาตัวไปยังเมืองมะงาดา ยังปลอดภัยดีและจะถูกช่วยเหลือกลับมาได้
ซึ่งเหตุการณก์ เ็ ป็นจรงิ ตามนน้ั
หลังจากนั้นปันหยีได้ทราบจากประสันตาถึงความงามของนาง
แอหนังจึงวางอุบายไปพาตัวมา โดยปันหยีขึ้นไปยืนบนกิ่งไม้ริมหน้าต่าง
ทำทีเป็นเทวดาเหาะลงมาจากสวรรค์ แล้วถามนางแอหนังว่ามาบวชเพ่ือ
ต้องการสิ่งใด นางแอหนังคิดว่าเป็นเทวดาจริงจึงตอบว่าตนต้องการไปสวรรค์
เทวดาปลอมจึงบอกว่าจะพาไปสวรรค์ขอให้เธอและพี่เลี้ยงมาขึ้นรถที่
เตรยี มไว้ นางแอหนังหลงเชอ่ื จงึ ยอมมาขึน้ รถแลว้ ปนั หยีก็พาเธอเขา้ เมือง
ฝ่ายนางแอหนังเมื่อรู้ว่าหลงกลปันหยีก็ร้องไห้เสียใจ เธอบอกแก่
ปันหยวี ่าที่ตนมาบวชเป็นชกี ็เพราะว่าพลดั พรากจากสามี ทำใหป้ นั หยีสงสัย
ว่าเธอน่าจะเป็นบุษบาเพราะมีรูปร่างหน้าตาละม้ายคล้ายกัน แต่ก็ยังไม่
แน่ใจเพราะนางแอหนังบอกว่ามีกริชที่สามีให้ไว้ ซึ่งตัวเขาเองมิเคยให้กริช
กับบษุ บา ต่อมาปนั หยจี ึงขโมยกรชิ มาดูเห็นจารึกช่ือของอุณากรรณก็เข้าใจ
ว่านางแอหนังเป็นเมยี อุณากรรณ แต่เมื่อไปแอบฟังดูก็ได้ยินเธอโศกเศร้าท่ี
กรชิ หายไปและคร่ำครวญถึงอิเหนา ประสันตาจึงทำการพสิ ูจน์ดว้ ยการเชิด
หนังตะลุงโดยผูกเป็นเรื่องราวของอิเหนาและบุษบาตั้งแต่พบกันจนถึงถูก
* สยี ะตรานอ้ งชายของบษุ บาปลอมตวั มาเพ่ือออกตามหาบษุ บาและอเิ หนา
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 13
ลมหอบไป เมือ่ นางแอหนังไดด้ ูหนังตะลงุ แสดงเป็นเร่ืองราวของตนก็ร้องไห้
คร่ำครวญความจึงแตกว่าเธอคือบุษบา ปันหยีจึงแสดงตนว่าเป็นอิเหนา
ท้ังสองจงึ จำกันได้
ความเชือ่ มโยงกบั ไพ่ใบน้ีคือการออกบวชเป็นนักบวชหญิงของบุษบา
และเปน็ ผู้ท่มี ีความรู้ในศาสตร์การพยากรณ์ และสภาพอารมณ์ท่ีถูกกระทบ
จากปัญหาความวุ่นวายต่าง ๆ ของแอหนังติหลาอรสา ภาพหน้าไพ่จึงเป็น
ภาพของนักบวชหญิงที่กำลังนั่งอยู่ในวิหาร ในมือถือคัมภีร์ซึ่งบรรจุวิชา
ความรู้ในศาสตร์อนั เรน้ ลับ ที่ช่วยให้เธอไดม้ ีญาณหยั่งรู้อนั วิเศษ
ความหมายเบื้องต้น
การเรียนรู้ ฌาน สมาธิ ลางสังหรณ์ จติ วญิ ญาณ การเกบ็ งำหรือส่ิงท่ี
เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก การสงวนท่าที การควบคุมตนเอง ความ
สนใจในศาสตรล์ ึกลบั ปรัชญา ศาสนา
ความหมายหัวกลับ
สิ่งที่ปิดบังซ่อนเร้น การปฏิเสธในญาณหยั่งรู้ การนินทาว่าร้าย
ความกดดันทางอารมณ์ การเก็บกด การมีปัญหากับผู้หญิง การแย่งชิงมา
เป็นของตน ความไม่รู้ การสำคัญตน ความมีอคติ โรคประสาท ความ
หวาดผวา
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 14
III ❖ The Empress - ผุสดี
ผุสดี เป็นตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง
พระเวสสนั ดรชาดก กัณฑท์ ศพร เป็นมารดา
ผู้ให้กำเนิดพระเวสสันดรซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์
ที่ลงมาบังเกิดยังโลกมนุษย์เพื่อบำเพ็ญ
ปรมัตถบารมีด้านทานบารมี เป็นพระชาติ
สดุ ทา้ ยก่อนที่จะตรสั รู้เปน็ พระพทุ ธเจา้
ในอดีตชาติของผุสดีเธอได้เกิดเป็น
พระธิดาองค์โตของพระเจ้าพันธุมราช แห่ง
พนั ธุมตนี คร พระเจา้ พนั ธมุ ราชได้มอบแก่นจันทน์แดงให้แก่พระธิดาองค์โต
และมอบดอกไม้ทองให้กับพระธิดาองค์เล็ก พระธิดาท้ังสองต่างมีความศรัทธา
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้นำของที่ได้ไปถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า
พระธิดาองค์โตได้อธิษฐานตั้งความปรารถนาขอให้ได้เกิดเป็นมารดาของ
พระพุทธเจ้าในอนาคต หลังจากสิ้นอายุขัยในชาตินั้นแล้ว ทั้งสองก็ได้เกิด
เปน็ พระธดิ าของพระเจ้ากิงกสิ ราช พระธดิ าองค์เล็กได้ฟังธรรมจากพระกัสสป
พุทธเจ้าจนบรรลุอรหนั ต์ แต่พระธิดาองค์โตยังมิได้บรรลุอรหนั ต์แตอ่ ย่างใด
เมื่อสิ้นชีวิตจากชาตินั้น พระธิดาองค์โตก็ได้ไปบังเกิดเป็นชายาของ
พระอินทร์ผู้ปกครองสวรรค์ช้ันดาวดึงส์มีนามว่า ผุสดี เมื่อเสวยทิพยสมบัติ
จนถึงกาลที่เธอจะสิ้นบุญจุติมาเกิดยังโลกมนุษย์ พระอินทร์มีความเมตตา
ต่อเธอเป็นพิเศษจึงให้ขอพรสิบประการได้ดังใจปรารถนา พรที่เธอได้ขอจาก
พระอนิ ทร์นน้ั ได้แก่
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 15
1. ขอให้ได้ไปเกิดในกรงุ มัททราช แห่งแควน้ สีพี
2. ขอใหม้ ีดวงตาคมงาม มสี ีดำขลับดง่ั ตาของลกู เนอ้ื ทราย
3. ขอใหค้ ้วิ งามคมขำดัง่ สร้อยคอของนกยูง
4. ขอให้ไดน้ ามวา่ “ผุสด”ี ดงั เดิม
5. ขอให้มีพระโอรสที่ปรากฏเกียรติที่สุดในชมพูทวีป และเป็นผู้ท่ี
ใจบญุ ใจกศุ ล
6. เมอ่ื ตงั้ ครรภ์ขอใหค้ รรภ์ไมป่ ่องนนู เหมือนหญิงทว่ั ไป
7. ขอให้หนา้ อกเปล่งปลง่ั งดงามและไม่หย่อนยานลง
8. ขอให้มเี ส้นผมสดี ำขลับตลอดชวี ิต
9. ขอให้มีผิวพรรณเปลง่ ปลงั่ สวยงามดจุ ทองคำธรรมชาติ
10. ขอให้ได้ปลดปลอ่ ยนกั โทษที่ต้องอาญาประหารชีวิต
หลังจากนั้นเธอจึงจตุ ิจากดาวดึงส์ลงมาเกิดเป็นพระธิดาของกษตั รยิ ์
แห่งกรุงมัททราชและเป็นหญิงที่มีความงดงามเป็นอย่างมาก เธอมีผิว
เหลอื งนวลเนยี นงามราวกับลบู ไลด้ ้วยผงจันทน์หอมจึงได้นามว่าผสุ ดีซ่ึงเป็น
ชื่อเดิมตามที่ได้ขอพรไว้ เมื่อเจริญวัยขึ้นเธอได้อภิเษกกับพระเจ้าสัญชัย
กษัตริย์แห่งนครสพี ี และได้เป็นมารดาผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูพระเวสสันดร
ผู้ซึ่งมีใจศรัทธาในการบริจาคทานเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าใครจะขอสิ่งใดก็จะ
ประทานใหห้ มดจงึ เป็นทรี่ กั ใคร่ของประชาชนทั้งหลายและปรากฏเกียรติยศ
ไปทั่วพิภพ ในชาติต่อมาพระนางผุสดีได้เกิดเป็นพุทธมารดาคือพระนางสิริ
มหามายา ส่วนพระเวสสันดรก็ประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและได้ตรัสรู้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งเป็น
พระพุทธเจา้ พระองคป์ ัจจุบัน
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 16
ไพ่ใบน้ีต้องการถ่ายทอดความเป็นแม่ของพระนางผุสดี ภาพหน้าไพ่
จึงเป็นภาพของแม่กำลงั ประคองบุตรในออ้ มกอดด้วยความรัก พร้อมทั้งให้
ดื่มนมจากอกอันอบอุ่นของตน ภายนอกหน้าต่างเบ้ืองหลังเป็นทุ่งนาขา้ วท่ี
เตม็ ไปด้วยตน้ กล้าซง่ึ พร้อมจะเจรญิ เติบโตตอ่ ไป
ความหมายเบื้องต้น
ความเป็นแม่ การเจริญเติบโต การตง้ั ครรภ์ การบำรุงรักษา การฟูมฟัก
ทะนุถนอม ความสะดวกสบาย สติปัญญา ความเข้าใจ ความช่วยเหลือ
ความราบรื่นประสบความสำเร็จ
ความหมายหัวกลับ
ความเหนื่อยล้า ความไร้ชีวิตชีวา การทำตัวเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ การปิด
กั้นความคิดสร้างสรรค์ การทำตามใจตนเองจนมากเกินไป ความตระหนี่
ความกลัวการถูกปฏิเสธ การไม่สามารถตัดสินใจ ความเหลาะแหละ
ความแหง้ แล้ง
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 17
IV ❖ The Emperor - พระอินทร์
พระอินทร์หรือท้าวสักกะเทวราช
ปรากฏเรื่องราวอยู่ในอรรถกถา ขทุ ทกนิกาย
คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ 2 เรื่องท้าว
สักกะ ซึ่งเป็นเรื่องราวความเป็นมาและการ
บำเพญ็ กศุ ลจนส่งผลให้ได้ตำแหน่งราชาแห่ง
สวรรคช์ น้ั ดาวดึงส์
พระอินทร์เดิมเป็นมนุษย์มีนามว่า
มฆมาณพ เป็นชายหนุ่มผู้มีใจยินดีในการ
บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อยู่เป็นนิตย์ เขากับเพื่อนที่รวมกลุ่มกันสามสิบ
สามคนได้ร่วมกันสร้างศาลาที่พักเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชน (อ่าน
เรื่องราวของมฆมาณพได้ที่ไพ่ Three of Pentacles) อีกทั้งมฆมาณพยัง
บำเพ็ญวัตตบท 7 ประการ อันได้แก่ บำรุงมารดาบิดา ประพฤติอ่อนน้อม
ต่อผู้ใหญ่ในตระกูล พูดคำสัตย์ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด กำจัดความ
ตระหน่ี และมคี วามไม่โกรธ เมอ่ื ส้นิ ชวี ิตลงเขาและเพื่อน ๆ จึงได้บังเกิดบน
สวรรค์พร้อมกันทั้งหมด รวมทั้งช้างที่ช่วยงานก็มาบังเกิดเป็นเทพบุตร
เอราวัณซ่งึ เป็นช้างทรงพาหนะด้วย
เมอื่ แรกท่ีมาบังเกิดในสวรรค์นัน้ ได้มีเทวดากลุ่มหนึ่งอยู่ท่ีนี่มาก่อนแล้ว
เทวดาเหล่านั้นต่างพากันต้อนรับเทวดาที่อุบัติใหม่ด้วยการเลี้ยงน้ำทิพย์
(สุรา) กันจนเมามายไม่ได้สติ เทวดาใหม่ซึ่งไม่ได้ดื่มน้ำทิพย์นั้นต่างพากัน
มองดูด้วยความสังเวชใจ แล้วจึงช่วยกันจับเทวดาเดิมท่ีไร้สติโยนลงมาจาก
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 18
สวรรค์จมลงสู่บาดาล มฆมาณพจึงได้เป็นพระอินทร์หรือท้าวสักกะเทวราช
ราชาแห่งเทพผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนั้น ซึ่งมีนามต่อมาว่า “ดาวดึงส์” ที่
แปลวา่ สามสบิ สาม อนั หมายความถึงเทพบตุ รท่มี าบงั เกิดทั้งสามสบิ สามคน
เทวดาที่ตกลงมาจากสวรรค์เมื่อตกลงมาสู่โลกบาดาลก็บังเกิดมี
เมืองใหม่ที่เหมือนกันกับสวรรค์เดิมทุกประการตามแรงบุญของเทวดาน้ัน
บรรดาเทวดาที่ตกสวรรค์น้ีก็คือบรรดาอสูรท่ีพยายามทำสงครามกับพระ
อินทร์เพื่อชิงเอาสวรรค์กลับคืนมา แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะพระอินทร์ได้
ต้องพ่ายแพ้กลับไปทุกคร้ัง พระอินทร์จึงเป็นราชาแห่งเทพท่ีมีพลังอำนาจมาก
ซึ่งเหล่าอสูรไม่สามารถเอาชนะได้ และยังเป็นเทวดาที่คอยปกปักรักษา
และคอยชว่ ยเหลือผทู้ ่ีมบี ญุ ญาธิการใหร้ อดพน้ จากภยั อนั ตรายอีกดว้ ย
ในคติพราหมณ์พระอินทร์เป็นประมุขแห่งทวยเทพ และยังเป็นผู้
ปราบวฤตราสูรท่ีขโมยน้ำไปจากสวรรค์ ทำให้ไมม่ ฝี นตกลงมายังโลกมนุษย์
พระอินทร์ได้เข้าต่อสู้และใช้วชิราวุธผ่าท้องวฤตราสูร ทำให้น้ำฝนสามารถ
ตกลงสู่โลกมนษุ ยไ์ ด้
ความเชื่อมโยงกับไพ่ใบนี้คือความเป็นราชาแห่งเทพ และความ
แข็งแกร่งจากชัยชนะที่มีต่อเหล่าอสูร ภาพบนหน้าไพ่เป็นภาพพระอินทร์
ทรงช้างเอราวัณ มือขวาถือวชิราวุธหรือสายฟ้าอันเป็นอาวุธประจำกาย
สายฟ้าเบื้องหลังเป็นภาพแทนของพลังอำนาจของพระอินทร์ ฝนที่กำลัง
โปรยปรายลงมาเป็นการนำความสุขสงบและความอุดมสมบูรณ์มาสู่โลก
ในฐานะของเทพเจา้ ผู้ปลดปล่อยนำ้ ฝนให้ตกลงมายงั ผนื แผน่ ดิน
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 19
ความหมายเบ้ืองต้น
พลังอำนาจ โครงสร้าง ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคง ผู้มีอำนาจ
หน้าที่ ความมีเหตุผล ความแข็งแกร่ง ความเป็นพ่อ ความเป็นชาย ความ
ทะเยอทะยาน
ความหมายหัวกลับ
การควบคุมบังคับ การเข้าข้างตนเอง การขาดโครงสร้างที่มั่นคง
ความใจร้อน ความสำเร็จยังไม่เกิดขึ้น การปกครองแบบเผด็จการ ความ
จองหอง การตัดสนิ ใจที่ผดิ พลาด การมปี ัญหาดา้ นกฎหมายหรอื วิชาชพี
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 20
V ❖ The Hierophant – เทศนม์ หาชาติ
การเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีทาง
พระพุทธศาสนาที่สําคัญของไทยที่นิยม
ในช่วงเทศกาลวันออกพรรษา เนื้อหาของ
การเทศน์มหาชาติจะเป็นการเทศนาเรื่องราว
ในพระเวสสันดรชาดก ผซู้ ่ึงเปน็ พระโพธสิ ัตว์
ที่ลงมาบังเกิดเพื่อบำเพ็ญทานบารมีก่อนท่ี
จะตรัสรู้เปน็ พระพุทธเจ้า
การเทศน์มหาชาตินั้นนิยมเทศน์กัน
ตั้งแต่เช้าตรู่ เพราะการเทศน์ให้ครบทุกกัณฑ์นั้นต้องใช้ระยะเวลายาวนาน
โดยปรากฏความเชอื่ จากในคัมภีร์มาลัยสูตรว่าหากผใู้ ดบชู ากัณฑ์เทศน์และ
ได้ฟังเทศน์มหาชาติจบครบทั้ง 13 กัณฑ์ภายในหนึ่งวันจะได้รับอานิสงส์
ผลบุญมาก จะส่งผลให้ได้เกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยซึ่งจะมา
ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ถัดไป อันเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์สุดท้าย
ในลำดับท่ี 5 ของภทั รกัป
ในการเทศน์มหาชาตินั้นจะมีการตกแต่งประดับประดาสถานที่ด้วย
ต้นไม้ ผลไม้ มะพร้าว กล้วย อ้อย เพื่อจำลองให้เหมือนเขาวงกตหรือป่า
หิมพานต์ที่พระเวสสันดรได้ไปบวชเป็นฤๅษีเพื่อบำเพ็ญภาวนา เริ่มต้นพิธี
ด้วยการเทศน์เรื่องพระมาลัยซึ่งมีเนื้อหาที่กล่าวถึงตำนานของการเทศน์
มหาชาติ จากนั้นพระสงฆ์จะแสดงอานิสงส์ของการเทศน์และสวดคาถา
บาลีของเวสสันดรชาดก หรือที่เรียกกันว่า “คาถาพัน” อันเป็นพุทธวัจนะ
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 21
แล้วจึงเริ่มเทศน์มหาชาติไล่เรียงไปตั้งแต่กัณฑ์ที่หนึ่งจนถึงกัณฑ์ที่สิบสาม
ไดแ้ ก่ กัณฑ์ทศพร กณั ฑ์หิมพานต์ ทานกัณฑ์ กณั ฑว์ นประเวสน์ กัณฑ์ชูชก
กัณฑ์จุลพน กัณฑ์มหาพน กัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี กัณฑ์มหาราช กัณฑ์
สักกบรรพ กณั ฑ์ฉกษตั รยิ ์ และนครกัณฑ์ จากนั้นจงึ สรปุ ทา้ ยด้วยการเทศน์
อรยิ สจั
การเทศนม์ หาชาตยิ ังมีรปู แบบและแบบแผนอืน่ ๆ ซง่ึ แตกต่างกันไป
ตามแต่ละท้องที่ เช่น การคัดเลือกพระสงฆ์ผู้เทศน์ที่มีน้ำเสียงหรือบุคลิกท่ี
เหมาะสม การเลือกใช้ลีลาทำนองเทศน์ที่ประทับใจคนฟัง การใช้เพลงหน้า
พาทย์บรรเลงประกอบในแต่ละกัณฑ์ จนไปถึงการมีตัวละครออกมาแสดง
สลบั กบั การเทศน์หรอื ท่เี รียกว่าการเทศน์มหาชาติทรงเครื่อง
ภาพหน้าไพ่เป็นภาพพระภิกษุในพระพุทธศาสนากำลังเทศน์
มหาชาติและหลักธรรมต่าง ๆ สั่งสอนพุทธศาสนิกชนที่กำลังตั้งใจฟังและ
ต่างก็บูชาธรรมด้วยเทียนธูปตลอดจนเครื่องไทยธรรมด้วยความศรัทธา
เลื่อมใส
ความหมายเบ้ืองตน้
ครูอาจารย์ ลัทธิศาสนา องค์ความรู้ จารีตประเพณี ความมีจิตใจ
เมตตากรุณา การช่วยเหลอื การสงเคราะห์ การปกปอ้ งคุ้มครอง
ความหมายหัวกลับ
ความดันทุรัง การไม่มีข้อพิสูจน์ ผู้ที่เคร่งศาสนา การนอกรีตนอก
กฎหมาย ครอู าจารย์ที่ไม่มีคุณธรรม การไมย่ อมรับความคิดทแ่ี ตกตา่ ง การ
สญู เสียความมั่นใจในตนเองและผอู้ ืน่ การกระทำทห่ี ยาบคาย
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 22
VI ❖ The Lovers – อิเหนา-บุษบา
อิเหนาและบุษบา เปน็ ตัวละครค่ขู วญั
จากวรรณคดเี รือ่ งอิเหนา บทพระราชนิพนธ์
ในรัชกาลที่ 2 อิเหนาและบุษบาเป็นคู่
ตุนาหงันหรือคู่หมั้นกันตั้งแตเ่ ด็กโดยทั้งสอง
ยังไม่เคยพบเจอกันมาก่อน แต่เมื่อโตขึ้น
อิเหนาไดพ้ บรกั กับจินตะหราวาตจี ึงประกาศ
ถอนหมั้นบุษบา ทำให้ท้าวดาหาพระบิดา
ของบุษบาโกรธมากจึงประกาศออกไปว่าถ้า
ใครมาขอบุษบาก็จะยกให้ ต่อมาเมืองจรกาและเมืองกระหมังกุหนิงได้มา
สู่ขอบุษบาจนเป็นเหตุให้เกิดศึกชิงนางขึ้น อิเหนาจึงต้องกลับมาช่วยศึก
ตามคำสั่งของท้าวกุเรปันผู้เป็นบิดา เมื่อชนะศึกอิเหนาจึงได้พบหน้า
บุษบาเป็นครั้งแรก ทำให้อิเหนาเปลี่ยนใจกลับมารักบุษบาและต้องการให้
เธอกลบั มาเป็นของตน จงึ พยายามเข้าหาเธอทุกวิถีทาง
สุดท้ายอิเหนาได้ลอบวางเพลิงเผาเมืองดาหาและลักพาพาบุษบาไป
ไว้ในถ้ำ การกระทำนี้ทำให้องค์ประตาระกาหลาเทพเจ้าที่เป็นต้นวงศ์ตระกูล
ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงบันดาลให้ทั้งสองต้องพลัดพรากจากกันโดยเนรมิต
ให้มีลมพัดบุษบาไปและปลอมตัวให้เป็นชาย จากนั้นจึงสาปให้ทั้งสองจำกัน
ไม่ได้ ต้องใช้เวลานานในการออกเดินทางตามหากัน สุดท้ายเมื่อจดจำกันได้
อิเหนาจงึ ได้ครองรักกบั จินตะหราและบุษบา พรอ้ มทั้งชายาอ่ืนอีก 8 นางท่ี
อิเหนาพบเจอระหว่างทางทีต่ ิดตามหากันด้วย (อ่านเรื่องราวของอิเหนาได้
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 23
ท่ไี พ่ King of Pentacles)
ความเชื่อมโยงกับไพ่ใบนี้คือเรื่องราวความรักระหว่างอิเหนากับ
บุษบาที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์หลากหลาย ทั้งการพบรัก การหมั้นหมาย
การปฏิเสธรัก รักซ้อน การพลัดพรากจากกัน และการติดตามหากัน
ภาพหน้าไพ่เป็นภาพของอิเหนากับบุษบา คู่รักที่กำลังพลอดรักกันอยู่ใน
อุทยาน ทั้งสองต่างจับมือแสดงความรักและพากันเข้าสู่พลบั พลาที่ประทบั
ไปพร้อม ๆ กนั
ความหมายเบื้องตน้
ความรัก ความปรองดอง ความร่วมมือ องค์กร การมีตัวเลือก
การเลือก คำม่นั สญั ญา การมเี พศสัมพันธ์
ความหมายหัวกลับ
ความแตกแยก ความไม่ลงรอยกัน การไม่ให้ความร่วมมือ ความรัก
ที่ไมส่ มหวงั การตดั สินใจเลอื กท่ผี ิดพลาด การมจี ติ ใจที่โลเล
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 24
VII ❖ The Chariot - มสิ าระปันหยี
มิสาระปันหยีเป็นตัวละครที่อยู่ใน
วรรณคดีเรื่องอิเหนา ปันหยีก็คืออิเหนาซึ่ง
ปลอมตัวเป็นโจรป่าออกเดินทางพร้อมกับ
กองทัพทอ่ งเท่ียวไปยังที่ตา่ ง ๆ และเพื่อตาม
หาคนรักท่ีพลดั พรากจากกนั ไป
ปันหยเี ปน็ นกั รบหนุ่มที่มีความสามารถ
ในการรบ ครั้งหนึ่งในระหว่างที่ปันหยีกำลัง
เดินทางอยู่ในป่า เขาได้ตั้งค่ายพักอยู่ใน
บริเวณเชิงเขาปะราปี ใกล้กับค่ายพักแรมของระตูบุศสิหนา ประสันตา
พระพี่เลี้ยงคนสนิทได้ออกไปต่อนกเขาจนลุกล้ำเข้าไปในอาณาเขต และ
เกิดมีเรื่องขัดแย้งกับทหารไพร่พลของระตูบุศสิหนา จนลุกลามใหญ่โตไป
ถึงขั้นสู้รบกันของทั้งสองทัพ ถึงแม้ปันหยีจะรู้ว่าคนของตนเป็นฝ่ายผิด
แต่ด้วยความกระหายใคร่รบ ปันหยีจึงออกไปต่อสู้และสามารถสังหารระตู
บุศสิหนาได้ ท้าวปันจะรากันและท้าวปักมาหงันพี่ชายของระตูบุศสิหนา
ทราบเรื่องก็มาอ่อนน้อมต่อปันหยีไม่สู้รบด้วย และยังยกนางสการะวาตี
และนางมาหยารัศมีพระธิดาให้เป็นชายาของปันหยี อีกทั้งสังคามาระตา
ผู้เปน็ โอรสก็ยังไดม้ าเป็นน้องชายบญุ ธรรมของปนั หยีอกี ดว้ ย
ความเชื่อมโยงกับไพ่ใบนี้คือความองอาจ ความกระหายใคร่รบ
และความเก่งกล้าสามารถในการเป็นนักรบของปันหยี ภาพหน้าไพ่เป็นภาพ
ของปนั หยีผู้เป็นนักรบกำลงั กุมบังเหียนขับราชรถศกึ ออกเดินทางท่องเที่ยว
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 25
ไปในโลกกว้าง (อ่านเรื่องราวของปันหยีหรืออิเหนาได้ที่ไพ่ King of
Pentacles)
ความหมายเบ้ืองต้น
แรงขับเคลื่อน แรงผลักดัน ความมีวินัย การควบคุม ความตั้งใจ
ความสามารถ ความทา้ ทาย การขนส่ง การเดนิ ทาง ความแขง็ กรา้ ว
ความหมายหัวกลับ
การพุ่งชน ความตึงเครียด การขาดระเบียบวินัย ปัญหาเกี่ยวกับ
ยานพาหนะ การไมป่ ระสบความสำเร็จท้งั ท่ีทมุ่ เทพยายามเป็นอย่างมาก
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 26
VIII ❖ Strength - สิงหรา
สิงหราเป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง
สังข์ศิลป์ชัย เป็นบุตรของนางไกรสรผู้เป็น
สนมของท้าวเสนากุฎ เขามีรูปร่างเป็นสิงห์
เกิดมาพร้อมกันกับพระสังข์ศิลป์ชัยโอรส
ของนางประทุมมเหสีองค์ที่เจ็ด ซึ่งเกิดมามี
สังข์ ศร และพระขรรค์วิเศษติดตัวออกมา
ด้วย
ทั้งนางประทุมและนางไกรสรต่างถูก
มเหสีอีกหกคนที่ริษยาใส่ร้ายว่าเป็นกาลกิณี จึงถูกท้าวเสนากุฎขับออกมา
จากเมืองทั้งแม่และลูก พระอินทร์ได้ลงมาสร้างเมืองใหม่ให้ทั้งสี่อาศัย
สิงหราจึงเป็นเพื่อนเล่นกับสังข์ศิลป์ชัยตั้งแต่เด็ก เมื่อเติบโตขึ้นสิงหราก็
ใด้ช่วยเหลือพระสังข์ศิลป์ชัยในการออกตามหานางเกสรสุมณฑาอาของ
พวกตนที่ถูกยักษ์ลักพาตัวไป จนสามารถพานางเกสรสุมณฑาพร้อมทั้งนาง
ศรีสุพรรณพระธิดากลับมาได้ สุดท้ายเมื่อความจริงทั้งหมดถูกเปิดเผย
สิงหราและพระสังขศ์ ิลปช์ ยั กไ็ ด้กลับไปอยูใ่ นบา้ นเมืองของบิดาดงั เดิม
ภาพหน้าไพ่เป็นภาพของนางไกรสรกำลังโอบกอดสิงหราด้วย
ความรกั สะทอ้ นถงึ ความแข็งแกร่งของสตรีก็คือความอ่อนหวานและความ
ออ่ นโยนทสี่ ามารถมัดใจสงิ หผ์ ดู้ รุ า้ ยให้เชือ่ งลงได้อย่างง่ายดาย
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 27
ความหมายเบ้ืองตน้
ความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ การควบคุมจิตใจ การเอาชนะด้วย
จติ ใจท่เี ขม้ แขง็ ผู้หญงิ ทม่ี ีความแขง็ แกรง่
ความหมายหัวกลับ
การบังคับข่มขู่ ความอ่อนแอ การปะทะทางอารมณ์ ความขลาดกลัว
การขาดความมนั่ ใจ
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 28
IX ❖ The Hermit - พระภรตฤๅษี
พระภรตฤๅษี คือพระฤๅษีผู้เป็นครู
แห่งนาฏศิลป์และการละคร เป็นผู้ที่ได้รับ
การถ่ายทอดท่าฟ้อนรำมาจากพระศิวะจน
เกิดเป็นคัมภีร์นาฏยศาสตร์ และถ่ายทอด
ท่ารำนี้ให้กับมนุษย์โลกเพื่อเป็นแบบแผน
ในการฟอ้ นรำตอ่ ไป
ตามตำนานของการฟ้อนรำได้กล่าว
ไว้ว่า ครั้งหนึ่งพระศิวะและพระนารายณ์ได้
ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อปราบมานะอหังการของบรรดาฤๅษีที่กระทำตน
นอกรีต โดยพระศิวะได้แปลงกายเป็นโยคีหนุ่มรูปงาม ส่วนพระนารายณ์
แปลงกายเปน็ โยคีสาวแสนสวย ทงั้ สองได้ทำให้บรรดาโยคนี อกรีตท้ังหนุ่มสาว
ต่างหลงใหลในความงามจนเกิดการต่อสู้แย่งชิงกัน แต่เมื่อบรรดาฤๅษีต่าง
ร้ตู ัววา่ ถูกลวงก็บงั เกิดโทสะตรงเข้าต่อสู้กับพระเป็นเจ้าท้ังสอง ฤๅษีตนหนึ่ง
ได้แปลงกายเป็นช้างใหญ่ตรงเข้าทะลวงแทง พระศิวะได้ประหารช้างน้ัน
แลว้ ฉีกเอาหนังออกมานุง่ เป็นภูษาทรง ฤๅษีอกี คนหน่ึงไดแ้ ปลงกายเป็นเสือ
เข้ามาต่อสู้ พระศิวะก็ใช้เล็บฉีกเอาหนังเสือมาห่มปิดอังสาไว้ บรรดาฤๅษีที่
เหลือต่างก็พากันตกใจและเกรงกลัวในอำนาจของโยคีหนุ่มเป็นอย่างมาก
พระเป็นเจ้าจึงแสดงตนพร้อมทั้งสั่งสอนให้ให้บรรดาฤๅษีประพฤติตนให้
ถูกต้องตามทำนองครองธรรม หลังจากที่ทำลายมานะอหังการของเหล่า
ฤๅษีสำเร็จแล้ว พระศิวะจึงฟ้อนรำที่เรียกว่า นทานตะ โดยทรงร่ายรำเป็น
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 29
กรณะ (ท่ารำแม่บท) ต่าง ๆ ประกอบกับเสียงของกลองทมร ระหว่างการ
ฟ้อนรำนี้ อสูรแคระมูลยกะได้ตรงเข้ามาจะต่อสู้เพื่อช่วยเหลือเหล่าฤๅษี
พระศิวะจึงใช้พระบาทเหยียบอสูรแลว้ ฟอ้ นรำอยบู่ นหลังอสรู นนั้
หลังจากเสร็จสิ้นการฟ้อนรำในครั้งนั้นแล้ว พญาอนันตนาคราชที่
ตามเสด็จพระนารายณ์มาดว้ ยและได้เห็นการฟ้อนรำนั้นจนตลอด ก็มีความ
ประสงคจ์ ะได้ชมการฟ้อนรำอีกครั้ง พระนารายณจ์ ึงแนะนำให้บำเพ็ญตบะ
เพื่อขอให้พระศิวะประทานให้ พญาอนันตนาคราชก็ทำตาม พระศิวะจึงได้
ลงมาทำการฟ้อนรำอีกครั้งที่ตำบลจิทัมพรัมซึ่งเป็นศูนย์กลางโลกในขณะน้ัน
หลังจากนั้นจึงได้มอบให้พระพรตฤๅษีจดจำท่ารำและนำมาถ่ายทอดให้กับ
มนษุ ยโ์ ลก เพ่ือสร้างความสขุ และความบนั เทิงตอ่ ไป
จากตำนานดังกล่าวจึงทำให้นาฏศิลป์โขน-ละครต่างเคารพนับถือ
พระพรตฤๅษีในฐานะของพระครูฤๅษีผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการฟ้อนรำ
โดยจะบูชาในรูปแบบสิ่งศักดิ์สิทธ์ิผ่านหัวโขนพระฤๅษีที่เรียกกันว่าพ่อแก่
เป็นการบูชาครูในวัฒนธรรมไทยที่ยกย่องให้วิชาความรู้ในศาสตร์และศิลป์
แขนงต่าง ๆ ล้วนมีครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้ จึงแสดง
ความเคารพตอ่ วิชาความรู้น้ันในฐานะของสงิ่ ทีส่ ูงสง่ และมีคุณคา่
ความเชื่อมโยงกับไพ่ใบนี้คือความเป็นครูผู้ชี้นำปัญญาให้กับศิษย์
และความสันโดษในเพศนักบวชของฤๅษี ภาพหน้าไพ่เป็นภาพของพระฤๅษี
กำลังเดินทางในความมืด โดยมีแสงจากตะเกียงส่องสว่างตามทาง แสงของ
ตะเกียงยังได้นำทางให้งูน้อยที่ติดตามมาได้เดินทางไปตามแสงสว่างนั้น
อีกดว้ ย
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 30
ความหมายเบื้องตน้
ความสันโดษ การพิจารณาใคร่ครวญ การมีมุมมอง เชาว์ปัญญา
การศกึ ษาตอ่ การเรียนรูท้ างศาสนาและจิตวิญญาณ ความเหงา
ความหมายหัวกลับ
การต่อต้านสังคม ความต้องการที่จะอยู่เพียงลำพังเพื่อหลีกหนี
จากปัญหา ความรู้สึกว่างเปล่า ความอ้างว้าง ความโดดเดี่ยวเดียวดาย
ผู้ท่ีถกู ลมื หรอื ผู้ที่ถูกนึกถึงเปน็ คนสุดทา้ ย การมองโลกในแง่ลบ การคิดมาก
ข้นี ้อยใจ
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 31
X ❖ Wheel of Fortune - ธรรมจกั ร
ธรรมจักร หรือกงล้อแห่งธรรมเป็น
สัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่ส่ือ
ถึงการตรัสรู้ของเจ้าชายสิทธัตถะ และการ
ประกาศธรรมะเป็นครั้งแรกของพระพุทธเจ้า
หลังจากตรัสรู้ที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสตู ร
แกป่ ญั จวคั คยี ์ ณ ปา่ อสิ ิปตนมฤคทายวัน
เจ้าชายสิทธัตถะเป็นโอรสของพระ
เจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา แห่ง
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระองค์ทรงถือกำเนิดในศากยวงค์ สกุลโคตมะ
ประสูติจากครรภ์มารดา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เดือนวิสาขะ) ณ สวน
ลุมพินีวัน หลังจากประสูติได้เจ็ดวันพระมารดาก็สวรรคต เจ้าชายสิทธัตถะ
จึงได้รับการเลี้ยงดูจากพระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เป็นน้า และได้รับการ
อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสำนักอาจารย์วิศวามิตรจนเชี่ยวชาญ
เมื่อเจริญวัยได้ 16 พรรษา ก็ได้อภิเษกกับพระนางพิมพาหรือยโสธรา
เจ้าหญิงในตระกูลโกลิยวงค์แห่งเทวทหะนคร มีโอรสด้วยกันหนึ่งคนคือ
พระราหุล พระองค์มีชีวิตที่พรั่งพร้อมบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติและได้รับ
การปรนเปรอด้วยความสุขตามแบบชวี ิตของเจา้ ชาย
วันหนึ่งเจ้าชายสิทธิตถะได้ออกประพาสพระนครจึงได้เห็นเทวทูต
ทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต ทำให้เกิดความสังเวชใจ
และปรารถนาที่จะออกบวชเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ พระองค์จึงทรงม้า
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 32
กัณฐกะม่งุ สู่แมน่ ำ้ อโนมานทพี ร้อมด้วยนายฉันนะ แลว้ ปลงเกศาออกผนวช
เป็นเพศบรรชิต หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร
และอุทกดาบส รามบุตร ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ จนได้ฌานสมาบัติ
แต่ก็ทรงพบวา่ ยงั มใิ ชห่ นทางของการพน้ ทุกข์ จงึ ทรงลาพระอาจารย์ท้ังสอง
มุ่งแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยได้ไปยังบริเวณแม่น้ำเนรัญชราและได้
บำเพ็ญทุกรกิริยาหรือการทรมานกายที่เชื่อกันว่าจะนำไปสู่การพ้นทุกข์
ระหวา่ งนี้ได้มีปัญจวัคคยี ์ คือ พราหมณท์ ั้ง 5 คน ไดแ้ ก่ โกณฑัญญะ วัปปะ
ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นผู้คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยหวังว่าหาก
เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้พวกตนก็ได้รับการสั่งสอนถ่ายทอดความรู้นั้นด้วย
ครั้นเมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยาได้ระยะหนึ่งก็ทรงแน่ใจว่ามิใช่หนทางแห่งการ
พ้นทุกข์ ก็เลิกทำเสียและเปลี่ยนมาใช้วิธีทางสายกลาง คือการปฏิบัติใน
ความพอเหมาะพอควรแทน บรรดาปัญจวัคคีย์จึงพากันละทิ้งพระองค์ไป
ทำให้พระองค์ได้อยู่ลำพังปราศจากสิ่งรบกวน และสามารถค้นพบหนทาง
แห่งการพ้นทุกข์ ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าใต้โคนต้น
พระศรีมหาโพธิ์ในวนั เพญ็ เดอื นวิสาขะ
หลังจากที่ตรัสรู้แล้วพระองค์ได้เสวยวิมุตติสุขอยู่ภายใต้ต้นพระศรี
มหาโพธิ์อยู่เจ็ดสัปดาห์ ทรงดำริว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรูเ้ ป็นสิ่งที่ละเอียด
ลึกซึ้งยากสำหรับคนทั่วไปที่จะเข้าใจ จึงทรงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่
ประกาศธรรม แต่เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ้งก็ทรงเปรียบมนุษย์เหมือน
ดอกบัวเหลา่ ต่าง ๆ มีผู้ทีส่ ามารถจะเข้าใจธรรมะที่ทรงค้นพบได้จงึ ตัดสินใจ
ทจ่ี ะแสดงธรรม พระพทุ ธองคร์ ะลึกถึงพระอาจารย์ท้ังสอง คืออาฬารดาบส
และอุทกดาบส แต่ทั้งสองท่านก็สิ้นชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว พระองค์จึงทรง
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 33
รำลึกถึงปัญจวัคคีย์ซึ่งบัดนี้ได้อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นครพาราณสี
จึงทรงเสด็จไปที่นั่น ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
แก่ปัญจวัคคีย์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (เดือนอาสาฬหะ) หลังจากแสดง
ธรรมปรากฏว่าท่านอัญญาโกณฑัณญะได้ดวงตาเห็นธรรมคือบรรลุพระ
โสดาบัน และได้ทูลขออุปสมบทต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรง
ประทานบวชให้โดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา* หลังจากนั้นพระองค์ยังคง
ประทับอยู่ทีป่ า่ อิสิปตนมฤคทายวันเพื่อส่ังสอนปัญจวัคคยี ์จนไดด้ วงตาเหน็
ธรรมและบรรลุอรหันตก์ นั ทุกคน การหมนุ กงลอ้ แหง่ ธรรมหรอื ธรรมจักรอัน
เป็นการประกาศพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มต้นขึ้น ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวนั แหง่ น้เี อง
นอกจากนี้ธรรมจกั รยังใช้เปน็ สัญลักษณ์แทนพระโคตมพุทธเจ้า และ
ใช้แทนหนทางสู่การตรัสรู้ ปรากฏใช้เช่นนี้นับตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก
บางครั้งก็เชื่อมโยงธรรมจักรเข้ากับอริยสัจสี่ อริยมรรคแปด และปฏิจจ
สมปุ บาท อันเปน็ หลกั ธรรมท่ีพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และยงั แทนความหมาย
ของวงล้อท่ีหมุนไปในฐานะวงล้อแห่งการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์
หรือท่ีเรยี กว่าสังสารวัฏอกี ดว้ ย
ความเชื่อมโยงกับไพ่ใบนี้คือการเคลื่อนที่ของธรรมจักรในฐานะกงล้อ
แหง่ ธรรมท่ถี ูกขับคล่ือนให้ดำเนนิ ไป และในความหมายของวงเวียนชีวติ ของ
สรรพสัตว์ในวัฏสงสาร ภาพหน้าไพ่เป็นภาพของธรรมจักรที่กำลังหมุนอยู่
*เป็นชื่อเรียกวิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยพระพุทธเจ้าทรงประทานบวชให้
ด้วยพระองค์เอง โดยการตรสั ว่า เธอจงเปน็ ภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่าน
จงประพฤตพิ รหมจรรยเ์ พอื่ ทำทส่ี ุดแหง่ ทกุ ข์โดยชอบเถิด
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 34
ในอากาศ เบื้องล่างปรากฏภาพของพระสงฆ์ผู้เป็นอาจารย์กำลังถ่ายทอด
หลักธรรมคำสอนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ให้กับสามเณรผู้เป็น
ศิษย์
ความหมายเบ้ืองต้น
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่ โชคชะตา การขยับขยาย
การเตบิ โต ทรัพย์สิน มรดก ทดี่ นิ
ความหมายหัวกลับ
การขาดการควบคุม ความสับสน การฝ่าฟันดิ้นรนอย่างไม่หยุดยั้ง
ความล้มเหลว โชคร้าย การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี การเสี่ยงโชคที่
ไม่ไดผ้ ลดี
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ ร่ื อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 35
XI ❖ Justice - ทา้ วมาลีวราช
ท้าวมาลีวราชหรือมาลีวัคคพรหม
ตัวละครจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ เป็น
พรหมที่มีศักดิ์เป็นพระอัยกาของทศกัณฐ์
เป็นผู้ทรงความยุตธิ รรมจนได้รับพรจากพระ
อิศวรให้มีวาจาสิทธิ์พูดอย่างไรจะเป็นเช่นน้ัน
ซึ่งท้าวมาลีวราชได้ทำหน้าที่เป็นตุลาการ
ตัดสินข้อพิพาทระหว่างทศกัณฐ์กับพระราม
ด้วยความยตุ ธิ รรม
เมือ่ ศกึ กรุงลงกาดำเนนิ ไปด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายทศกัณฐ์หลาย
ต่อหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้ญาติวงศ์ยักษ์ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก
ทศกัณฐ์จึงคิดวางแผนเพ็ดทูลฟ้องใส่ความเพื่อหวังจะให้พระอัยกาสาป
พระรามให้พ่ายแพ้ จึงบัญชาให้นนยวิกกับวายุเวกสองยักษ์ผู้เป็นหลานไป
เฝ้าท้าวมาลีวราชที่เขายอดฟ้า แล้วทูลเชิญให้เสด็จไปยังกรุงลงกาเพราะมี
มนุษย์บุกมาทำสงครามและสังหารยักษ์ตายลงไปเป็นจำนวนมาก เมื่อท้าว
มาลีวราชทราบเรื่องกถ็ ามถึงพระรามและพระลักษณ์ว่าเป็นใครมาจากไหน
ครั้นได้ทราบว่าเป็นหลานของท้าวอัชบาลผู้เป็นวงศ์นารายณ์ซึ่งเป็นสหาย
รักของตน ท้าวมาลีวราชก็ปรารถนาจะให้หลานทั้งสองฝ่ายปรองดองและ
ยตุ ขิ ้อขดั แยง้ ด้วยเรือ่ งผ้หู ญงิ น้ี จงึ เสดจ็ ไปยงั ลงกาทนั ที
ขบวนของท้าวมาลีวราชได้หยดุ อยู่ที่สนามรบ เพราะประสงค์จะว่า
ความให้ทั้งสองฝ่ายด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมจึงไม่เข้าไปในตัวพระนคร
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 36
ฝ่ายทศกัณฐ์เมื่อทราบว่าพระอัยกาไม่ยอมเสด็จเข้าพระนครก็ร้อนตัวเกรง
พระอยั กาผู้มคี วามหลักแหลมจะจบั พิรธุ ตนได้ ก็รีบจัดขบวนออกไปต้อนรับ
เพื่อหวังเอาหน้าและจะได้เป็นฝ่ายโจทย์ทูลฟ้องก่อน พอไปถึงก็จัดแจงวนรถ
ทำประทกั ษิณ แลว้ หยดุ รถทางด้านซ้ายของทา้ วมาลีวราช และจุดธูปเทียน
บชู าแสดงความเคารพ จากน้ันจึงทูลเชญิ ให้เสดจ็ เข้าพระนครลงกา แต่ท้าว
มาลีวราชก็วางอุเบกขาเพราะเกรงจะถูกมองว่าเข้าข้างหลาน จึงตรัสเรียก
ให้เหล่าเทพยดามาชุมนุมกันในที่นั้นเพื่อมาเป็นสักขีพยานในการพิจารณา
คดคี ร้งั นี้ เมอ่ื เทพเทวดาต่างพากันมาชุมนุมพร้อมกนั แลว้ ทา้ วมาลีวราชจึง
เริม่ ตน้ พจิ ารณาคดีโดยถามทศกัณฐ์ถึงสาเหตุทเ่ี กดิ ความขัดแย้งกับพระราม
จนลามเป็นศกึ ใหญโ่ ตในครงั้ นี้
ทศกัณฐ์ได้โจทย์ฟ้องว่าวันหนึ่งตนได้ออกไปเที่ยวในป่าและได้พบ
กับสตรีนางหน่ึงท่ีกลางป่ามีนามว่าสีดา นางนั้นไร้บิดามารดาและคู่ครอง
ตนเมตตาสงสารจึงรับให้มาอยู่ในอุทยานกรุงลงกา พอนานวันเข้าพระราม
กับพระลักษมณ์ก็ได้คุมไพร่พลวานรพากันจองถนนข้ามมายังกรุงลงกา
อ้างตนเป็นสามขี องนางสีดาแลว้ ทำศึกสงครามเขน่ ฆา่ ยักษ์ตายลงไปมาก
ท้าวมาลีวราชจึงดำริว่าทศกัณฐ์กล่าวโทษความผิดร้ายแรงไปที่
พระราม แตต่ น้ ความนั้นเกดิ ขึ้นท่ีกลางปา่ ไม่มผี ู้รู้เห็นจำจะต้องพิจารณาให้
เป็นธรรมแก่ฝ่ายพระรามด้วย จึงแจ้งแก่ทศกัณฐ์ว่าได้กล่าวหาพระราม
อุกฉกรรจ์นัก จะต้องให้ฝ่ายพระรามมาให้การแก้ข้อกลา่ วหาด้วย แล้วจึงมี
รับสง่ ให้พระวษิ ณกุ รรมไปเชิญพระรามมายังทีพ่ ิจารณาคดีทันที
เมื่อพระรามกับพระลักษณ์พร้อมด้วยเหล่าไพร่พลวานรมาถึงก็
หยุดรถทางดา้ นขวามือของท้าวมาลีวราชแล้วถวายบังคม ท้าวมาลีวราชจึง
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 37
ถามความเป็นมาว่าเหตุใดพระรามถึงไม่อยู่ครองเมืองแต่กลับมาเดินป่าทำ
ศึกสงครามอย่างนี้ แล้วจึงแจ้งเรื่องที่ทศกัณฐ์ได้กล่าวโทษเพื่อให้พระราม
ได้แก้ข้อกลา่ วหานัน้
พระรามไดใ้ หก้ ารไปตามความจรงิ ว่า เหตุท่ีตนตอ้ งมาเดินป่าเช่นนี้
เพราะพระแม่ไกยเกษีทูลขอสัตย์ที่พระบิดาเคยให้ไว้ โดยให้พระพรตขึ้น
ครองเมืองและให้ตนเดินป่าเป็นเวลาสิบสี่ปี นางสีดาและพระลักษมณ์ได้
ติดตามมาด้วย วันหนึ่งมีกวางทองเดินเข้ามาที่บรรณศาลานางสีดาเห็นเขา้
ก็อยากได้ พระรามจึงออกตามจับโดยให้พระลักษมณ์อยู่เป็นเพื่อนสีดาที่
บรรณศาลา แต่เมื่อแผลงศรไป กวางทองก็กลับกลายเป็นยักษ์มารีศแสร้ง
ร้องเป็นเสียงพระรามให้พระลักษมณ์ออกมาช่วย นางสีดาได้ยินก็ตกใจจึง
เร่งเรา้ ใหพ้ ระลักษมณ์ออกมาช่วย ครั้นเมื่อตนทั้งสองกลับไปถึงศาลาก็ไม่
พบนางสีดาเสียแล้ว เมือ่ ออกติดตามหาก็ได้เจอกับนกสดายุทนี่ อนบาดเจ็บ
สาหัสอยู่ นกสดายุได้บอกว่าทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดา ตนเข้าไปช่วยเหลอื
ก็ถูกทำร้าย พระรามจึงเข้าใจเหตุการณ์ทั้งหมดว่าทศกัณฐ์ใช้ให้มารีศแปลง
กายเป็นกวางทองมาทำอุบายเพ่ือลักพาตวั นางสีดาไป ตนจงึ ไดย้ กพลจองถนน
ข้ามมายังกรุงลงกา โดยได้ให้องคตเป็นราชทูตถือสาส์นไปบอกกล่าวกับ
ทศกัณฐใ์ หส้ ง่ นางคืน แตท่ ศกัณฐก์ ลบั ด้อื ดงึ จึงตอ้ งทำศึกสงครามกนั เช่นน้ี
ฝ่ายท้าวมาลีวราชเมื่อได้ฟังคำให้การของทั้งสองฝ่ายก็พบว่า
เรื่องราวมีใจความไม่ไกลกันมากนัก จะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ให้การเท็จ
จำจะซักไซ้ไล่เลียงให้พบพริ ุธ จึงหันไปถามทศกัณฐว์ ่าบดั นี้พระรามได้กล่าว
วา่ เปน็ สามีของนางสดี าและได้ให้การวา่ เจา้ ได้ใช้ใหม้ ารศี แปลงกายทำอุบาย
ไปลักพาตัวนางสีดามานั้นเป็นความจริงหรือไม่ ทศกัณฐ์จึงแก้ว่าไม่เป็น
-WorawitNu PhotoBook-
ร ว ม เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น T i n y T h e a t e r T a r o t | 38
ความจริง นางสีดานั้นตนได้พาตัวมาอยู่ที่กรุงลงกานานกว่าขวบปีแล้ว บรรดา
ยักษ์ทั้งเมืองต่างก็รู้เห็นกันทั่ว จะมีใครมาอ้างตัวเป็นสามีของนางก็เปล่า
ต่อเมื่อข้าศึกมาประชิดเมือง องคตก็ถือสาส์นมาอ้างว่าพระรามเป็นสามีนาง
มิหนำซ้ำยังพังประตูวังเข้ามาและพูดจาหยาบช้าเย่อหยิ่งผิดทำนองราชทตู
แล้วยังอุกอาจฆ่าสี่เสนาตายอีก ไม่เกรงใจตนซึ่งเป็นวงศ์พรหมาทำให้
ต้องอับอายขายหนา้ ยงิ่ นกั
ฝา่ ยพระรามเมื่อท้าวมาลีวราชเปิดโอกาสให้แก้ต่างก็กล่าวว่าตนได้ให้
องคตถือสาสน์ ไปบอกกล่าวก่อนทำศึกตามธรรมเนียมประเพณี แต่ทศกัณฐ์
กลับปิดประตเู มอื งไม่ต้อนรับ องคตพยายามพูดจาแต่โดยดีก็ยังไมย่ อมเปดิ
จึงตอ้ งพังประตูวังเข้าไปเพ่ือแจ้งความในสาส์นให้ทศกัณฐ์ทราบ แต่ทศกัณฐ์
ก็กลับโกรธสัง่ ให้สี่เสนายักษ์จับตัวองคตจงึ ต้องต่อสู้ ครัน้ ส่ีเสนายักษ์สู้ไม่ได้
ก็ตายกันหมด ทศกัณฐ์ให้การลดเลี้ยวหาถูกไม่ เมื่อแรกที่ตนยังอยู่ริมฝ่ัง
มหาสมทุ รยังมิไดข้ ้ามมาน้ัน พิเภกผู้เป็นน้องของทศกัณฐ์ก็ได้ทูลทัดทานให้
ส่งนางสีดาคืน แต่ทศกัณฐก์ ก็ ลับโกรธตัดขาดพ่ีนอ้ งและขบั ไล่ออกจากเมือง
ท่พี ูดมานลี้ ว้ นเป็นความสตั ย์จรงิ ท้งั หมด
ท้าวมาลีวราชดำริว่าคำให้การของทั้งสองฝ่ายยังชี้ชัดไม่ได้ว่าใคร
ผิดใครถูก จึงถามพระรามต่อไปว่าเมื่อครั้งที่ได้นางสีดามาเป็นชายานั้น
พระรามได้มาอย่างไร มีผู้ใดเป็นพยานรู้เห็น และบ้านเมืองของนางสีดาน้นั
อยทู่ ี่ใด พระรามจึงตอบว่านางสีดาน้นั เกิดในดอกบัว* ท้าวชนกไดไ้ ปพบเข้า
* ในรามเกียรติ์นางสีดาเป็นธิดาของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ แต่ถูกนำใส่ผอบลอยน้ำไป
ตั้งแต่เกิด เพราะพิเภกทำนายว่าเธอเกิดมาเพื่อทำลายวงศ์ตระกูลยักษ์ให้สูญสิน้ แต่เมื่อผอบตกลง
น้ำก็มดี อกบัวผดุ มารองรับไว้ แล้วลอยน้ำไปหยุดท่ีหน้าอาศรมพระฤๅษีชนก เร่อื งกำเนิดของสีดา
น้ีไมม่ ผี ้ใู ดทราบ จึงพากนั เข้าใจวา่ เธอเกิดจากดอกบัว อ่านเรอื่ งราวได้ทไ่ี พ่ Two of Swords
-WorawitNu PhotoBook-