The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บัญชีซื้อขายสินค้า

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chinathip199, 2022-04-01 23:49:21

บัญชีซื้อขายสินค้า

บัญชีซื้อขายสินค้า

ประเภทของรายการปรับปรงุ

ประเภทของรายการปรับปรุง (Types of adjusting entries) แบ่งออกเป็น
ประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

 รายการคงค้าง (Accruals) หมายถึง รายการที่กิจการให้บริการหรือให้
ผลประโยชน์ไป แล้ว แต่ยังมิได้รับเงิน และยังมิได้บันทึกรายการ เช่น ค่านายหน้าค้างรับ
และรายการท่ีกิจการใช้บริการ หรือได้รับผลประโยชน์ไปแล้ว แต่ยังมิได้จ่ายเงิน และยังมิได้
บันทกึ รายการ เช่น ดอกเบ้ียค้างจ่าย รายการประเภทนี้ได้แก่

1.1 รายไดค้ ้างรบั (Accrued Income)
1.2 คา่ ใช้จา่ ยคา้ งจา่ ย (Accrued Expenses)

ประเภทของรายการปรบั ปรงุ

ประเภทของรายการปรับปรุง (Types of adjusting entries) แบ่งออกเป็น
ประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

 รายการรบั -จา่ ยลว่ งหนา้ (Prepayments) หมายถงึ รายการทกี่ จิ การได้รับเงิน
มาแล้วล่วงหน้า แต่ยังให้บริการแก่ผู้จ่ายเงินไม่ครบ เช่น ค่าเช่ารับล่วงหน้า หรือรายการ
ท่ีกิจการจ่ายเงินล่วงหน้า แต่ยังได้รับบริการยังไม่ครบ เช่น ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า
รายการประเภทนไี้ ดแ้ ก่

2.1 รายไดร้ บั ลว่ งหน้า (Unearned Revenue/ Deferred Income)
2.2 คา่ ใช้จา่ ยจา่ ยลว่ งหนา้ (Prepaid Expenses)
2.3 วัสดุส้ินเปลือง (Supplies)

ประเภทของรายการปรบั ปรงุ

ประเภทของรายการปรับปรุง (Types of adjusting entries) แบ่งออกเป็น
ประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คอื

 รายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสด (Non-Cash) หมายถึงรายการท่ีไม่เกี่ยวข้องกับ
เงินสด แต่กิจการต้องบันทึกรายการปรับปรุงเพ่ือให้ยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภททั่วไป
ของรายการที่เกี่ยวข้อง แสดงยอดตรงกับความเป็นจริงและเป็นไปตามหลักความระมัดระวัง
ในแม่บทการบญั ชี รายการประเภทน้ี ได้แก่

3.1 คา่ เสื่อมราคา (Depreciation Expense)
3.2 หน้ีสงสัยจะสูญและค่าเผ่ือหน้ีสงสัยจะสูญ (Doubtful and Allowance for
Doubtful Debts)

วธิ ีบันทกึ รายการปรบั ปรงุ

ตวั อย่าง รายได้คา้ งรบั (Accrued Income/Accrued Revenue)

วธิ บี นั ทึกรายการปรับปรุง

ตวั อยา่ งท่ี 1 เม่อื วันท่ี 31 ธันวาคม 25X1 ซึ่งเป็นวันที่กิจการปิดบัญชี พบว่าเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม
25X1 กิจการได้ตกลงให้ นางสาวม่านฟ้า เช่าหน้าร้านเพ่ือตั้งแผงขายลูกช้ินป้ิง
คิดค่าเช่าในอัตราเดือนละ 750 บาท ณ วันส้ินงวดบัญชีกิจการยังไม่เคยได้รับ
ค่าเช่าจากนางสาวมา่ นฟ้า

ให้ทา 1. บันทึกรายการปรบั ปรงุ ในสมุดรายวนั ทั่วไป
2. ผา่ นรายการไปบญั ชแี ยกประเภททั่วไป

วธิ ีบันทึกรายการปรบั ปรุง

1. บนั ทกึ รายการปรับปรุงในสมดุ รายวนั ท่วั ไป

2. ผา่ นรายการไปบัญชแี ยกประเภทท่วั ไป

วิธบี นั ทกึ รายการปรับปรุง

ค่าใช้จา่ ยค้างจา่ ย (Accrued Expenses)
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย คือ ค่าใช้จ่ายท่ีเกิดข้ึนแล้วและได้รับประโยชน์แล้วในงวดบัญชี
ปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินและยังไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ค่าโฆษณา ค่าน้าค่าไฟฟ้า
ค่าขนส่งสินค้า ค่าใช้จ่ายเหล่าน้ี กิจการจะจ่ายในงวดบัญชีถัดไป ดังนั้น ณ วันส้ินงวดบัญชี
จึงถือว่าค่าใช้จ่ายท่ีเกิดขึ้นนี้เป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบัน และในขณะเดียวกันกิจการ
กม็ ีหนส้ี ินหมนุ เวียนเกิดขนึ้ ดว้ ย การบนั ทกึ รายการ ปรบั ปรุงจึงบนั ทกึ บัญชคี ู่กัน ดงั น้ี

วธิ บี นั ทึกรายการปรับปรงุ

ตวั อยา่ ง คา่ ใชจ้ ่ายคา้ งจา่ ย (Accrued Expenses)

วิธีบนั ทึกรายการปรบั ปรุง

ตัวอย่างที่ 2 เม่ือวันท่ี 31 ธันวาคม 25X1 ซ่ึงเป็นวันท่ีกิจการปิดบัญชี พบว่าเม่ือวันที่
1 พฤศจิกายน 25X1 กิจการได้ตกลงเช่าเคร่ืองถ่ายเอกสารจากบริษัท
นิโก้ จากัด ในอตั ราเดอื นละ 1,200 บาท แต่กจิ การยังไมเ่ คยจา่ ยคา่ เชา่ ให้ผเู้ ช่า

ให้ทา 1. บนั ทกึ รายการปรบั ปรงุ ในสมดุ รายวนั ทั่วไป
2. ผา่ นรายการไปบัญชีแยกประเภททว่ั ไป

วธิ ีบันทึกรายการปรบั ปรุง

1. บนั ทกึ รายการปรับปรุงในสมดุ รายวนั ท่วั ไป

2. ผา่ นรายการไปบัญชแี ยกประเภทท่วั ไป

วิธีบนั ทกึ รายการปรับปรุง

รายได้รับล่วงหน้า (Unearned Revenue/ Deferred Income)
รายได้รับล่วงหน้า คือ รายได้ที่กิจการได้รับเงินมาล่วงหน้า แต่บริการ
หรือประโยชน์ที่ให้แก่ลูกค้าหรือผู้จ่ายเงินยังไม่หมดหรือยังไม่ครบ ส่วนใหญ่จะเป็นรายการ
ที่คาบเก่ียวระหว่างงวดบัญชี ดังน้ัน เม่ือถึงวันส้ินงวดบัญชีกิจการจะต้องพิจารณารายการ
รับล่วงหน้าในงวดบัญชีปัจจุบันว่ามีรายได้เกิดข้ึน แล้วเป็นจานวนเท่าใดและเป็นรายได้
ท่ียังไม่เกิดข้ึนหรือรับล่วงหน้าเป็นจานวนเท่าใด และต้องบันทึกรายการปรับปรุง
ซึง่ ขึ้นอยกู่ บั ตอนที่รบั เงินเพราะสามารถบันทึกได้ 2 ลักษณะ คือ บันทึกเป็นรายได้และบันทึก
เป็นหน้ีสิน การบันทึกรายการปรบั ปรุงจงึ บันทึกบัญชคี ่กู นั ดังนี้

วิธบี ันทกึ รายการปรบั ปรุง

กรณบี นั ทึกเปน็ รายได้

วธิ ีบันทึกรายการปรับปรุง

ตัวอย่างท่ี 3 เมื่อวันท่ี 20 สิงหาคม 25X1 กิจการจาหน่ายสินค้าแห่งหนึ่งรับค่าโฆษณาจานวน
12,000 บาท เป็นค่าโฆษณาทางเว็บไซต์ ซึ่งกิจการเปิดข้ึนเพ่ือจาหน่ายสินค้า
กาหนดเวลาโฆษณา 6 เดือน สัญญาเร่ิมตั้งแต่เดือนกันยายน 25X1 กิจการบันทึก
รายการนีไ้ ว้ในบัญชีรายไดโ้ ฆษณา

ใหท้ า 1. บันทึกรายการปรบั ปรุงในสมดุ รายวันทั่วไป
2. ผ่านรายการไปบญั ชีแยกประเภททัว่ ไป

วธิ ีบันทึกรายการปรบั ปรุง

1. บนั ทกึ รายการปรับปรุงในสมดุ รายวนั ท่วั ไป

2. ผา่ นรายการไปบัญชแี ยกประเภทท่วั ไป

วิธีบนั ทึกรายการปรับปรุง

กรณบี นั ทึกเปน็ หน้สี นิ -รายได้รับล่วงหนา้

วธิ ีบันทึกรายการปรับปรุง

ตัวอย่างท่ี 4 เม่ือวันที่ 1 พฤศจิกายน 25X1 ร้าน ส.การพาณิชย์ แบ่งท่ีจอดรถบางส่วนให้เช่า
โดยรับค่าเช่าจากร้านอาหารอร่อยเหาะ เป็นเงิน 4,000 บาท เป็นค่าเช่าที่จอดรถ
สาหรับระยะเวลา 3 เดือน เร่ิมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 25X1 นาเงินฝากธนาคาร
ทัง้ หมด กจิ การบนั ทึกรายการนไ้ี วใ้ นบญั ชีเช่ารับลว่ งหน้า

ใหท้ า 1. บันทกึ รายการปรบั ปรุงในสมุดรายวนั ทั่วไป
2. ผา่ นรายการไปบัญชแี ยกประเภทท่ัวไป

วธิ ีบันทึกรายการปรบั ปรุง

1. บนั ทกึ รายการปรับปรุงในสมดุ รายวนั ท่วั ไป

2. ผา่ นรายการไปบัญชแี ยกประเภทท่วั ไป

วิธีบนั ทกึ รายการปรบั ปรุง

คา่ ใชจ้ า่ ยจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses)
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า คือ ค่าใช้จ่ายท่ีกิจการจ่ายล่วงหน้า แต่ได้รับบริการ
หรือประโยชน์ยังไม่หมดหรือยังไม่ครบ ส่วนใหญ่จะเป็นรายการท่ีคาบเกี่ยวระหว่างงวดบัญชี
ดังนั้น เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชี กิจการจะต้องพิจารณารายการจ่ายล่วงหน้าว่าในงวดบัญชี
มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้วเป็นจานวนเท่าใด และต้องบันทึกรายการปรับปรุง วิธีการบันทึก
ขึ้นอยู่กับตอนท่ีจ่ายเงินเพราะสามารถบันทึกได้ 2 ลักษณะ คือ บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
และบันทึกเปน็ สินทรพั ย์ การบนั ทึกรายการปรับปรุงจงึ บันทึกบัญชคี กู่ ัน ดงั น้ี

วธิ ีบนั ทกึ รายการปรบั ปรุง

กรณีบนั ทกึ เป็นคา่ ใชจ้ า่ ย

วิธีบันทึกรายการปรบั ปรงุ

ตัวอย่างท่ี 5 เมื่อวันท่ี 1 สิงหาคม 25X1 ร้านกิจเจริญโภคภัณฑ์ จ่ายค่าโฆษณาทางวิทยุชุมชน
จานวน 5,400 บาท เป็นค่าโฆษณาสาหรับระยะเวลา 6 เดือน กิจการบันทึก
รายการนีไ้ วใ้ นบัญชคี ่าโฆษณา

ให้ทา 1. บนั ทกึ รายการปรบั ปรงุ ในสมดุ รายวันทั่วไป
2. ผ่านรายการไปบัญชแี ยกประเภทท่วั ไป

วธิ บี ันทกึ รายการปรับปรงุ

วิธีบนั ทกึ รายการปรับปรุง

กรณบี นั ทึกเปน็ สนิ ทรพั ย์-คา่ ใชจ้ า่ ยจ่ายล่วงหนา้

วิธบี ันทกึ รายการปรบั ปรุง

ตัวอย่างท่ี 6 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 25X1 ศูนย์แว่นตาคุณภาพ จ่ายค่าเช่าร้านจานวน
24,000 บาท เปน็ คา่ เช่าร้านสาหรับระยะเวลา 1 ปี กิจการบันทึกรายการน้ีไว้ใน
บญั ชีค่าเชา่ จา่ ยล่วงหน้า

ใหท้ า 1. บนั ทึกรายการปรับปรงุ ในสมุดรายวนั ทัว่ ไป
2. ผา่ นรายการไปบัญชีแยกประเภทท่วั ไป

วธิ บี ันทกึ รายการปรับปรงุ

วธิ บี นั ทกึ รายการปรบั ปรงุ

วสั ดุสิ้นเปลือง (Supplier)
วัสดุสิ้นเปลือง เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนชนิดหน่ึงซ่ึงมีลักษณะเป็นของส้ินเปลืองใช้
แล้วหมดไป และมีมูลค่าต่อหน่วยไม่สูงมาก วัสดุส้ินเปลืองมีหลายประเภทแล้วแต่ลักษณะ
การใชง้ าน เชน่
วัสดุสานักงาน ได้แก่ ปากกา ยางลบ น้ายาลบคาผิด คลิปเสียบกระดาษ
แฟม้ เอกสาร กระดาษ ถา่ ยเอกสาร ฯลฯ
วัสดุคอมพิวเตอร์ ไดแ้ ก่ แผน่ ดีวดี ี กระดาษต่อเน่อื ง กระดาษพมิ พ์ ฯลฯ
วัสดกุ ารศกึ ษา ไดแ้ ก่ ปากกาไวท์บอร์ด กระดาษเขยี นตอบ กระดาษคาตอบ ฯลฯ
วัสดกุ ีฬา ไดแ้ ก่ ลูกขนไก่ ลูกปงิ ปอง ลกู เทนนสิ ลูกกอลฟ์ ลกู บอล ฯลฯ

วิธบี นั ทึกรายการปรับปรุง

การซื้อวัสดุส้นิ เปลอื งมาใชง้ าน สว่ นใหญ่จะซอื้ ในปริมาณมาก เพราะได้ราคาถูก
กว่าแลละมีวัสดสุ ้ินเปลืองใช้ไมข่ าดมือ การเบิกจา่ ยจะมกี าควบคมุ โดยใชห้ ลักฐานการเบกิ จา่ ย
ณ วันสน้ิ งวดบัญชจี ะมีการตรวจนบั วัสดุสิน้ เปลืองคงเหลอื เพือ่ จะไดท้ ราบจานวนวัสดุ
สนิ้ เปลืองใชไ้ ป (Supplies Used)

มวี ิธีการคานวณ ดังน้ี

วสั ดุส้นิ เปลอื งคงเหลอื ตน้ งวด XX บาท

บวก ซอ้ื ระหว่างงวด XX บาท
วัสดสุ ิน้ เปลืองมไี ว้ใชท้ งั้ สน้ิ XX บาท
หกั วัสดสุ ้นิ เปลืองคงเหลอื ปลายงวด XX บาท
วสั ดสุ ิ้นเปลืองใช้ไป XX บาท

วธิ ีบนั ทกึ รายการปรบั ปรุง

วัสดุส้นิ เปลอื งสว่ นท่ใี ช้หมดไป ถอื เปน็ คา่ ใช้จา่ ยประจาสาหรบั งวดบัญชี สว่ นท่ี
เหลอื อยถู่ ือเป็นสินทรพั ย์หมุนเวียนที่จะยกไปงวดบญั ชถี ดั ไป การบนั ทึกรายการปรับปรุงจงึ
บันทึกรายการค่กู ันดงั นี้

วิธีบนั ทึกรายการปรบั ปรุง

ตัวอย่างที่ 7 เมื่อวันท่ี 1 มกราคม 25X1 ร้านเฟอร์บี้พาณิชย์ มีวัสดุสิ้นเปลืองยกมาราคา
2,700 บาท เม่ือวันท่ี 15 สิงหาคม 25X1 ซื้อเพิ่มเติมอีก 3,300 บาท
เป็นเงินเช่ือ ในวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 ซึ่งเป็นวันสิ้นงวดบัญชี กิจการ
ไดท้ าการตรวจนบั และคานวณตน้ ทนุ ได้ 1,800 บาท

ให้ทา 1. บนั ทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป
2. ผา่ นรายการไปบญั ชีแยกประเภททว่ั ไป

วธิ บี ันทกึ รายการปรับปรงุ

วธิ ีบนั ทึกรายการปรับปรุง

ค่าเส่อื มราคา (Depreciation)
ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับท่ี 16 (ปรับปรุง 2561) เร่ือง ท่ีดิน อาคาร และอุปกรณ์ ของ
สภาวิชาชีพบญั ชี ได้ใหค้ านิยามและข้อพึงปฏบิ ัติเกี่ยวกับค่าเสอ่ื มราคาไว้ดงั น้ี
ค่าเส่ือมราคา หมายถึง การปันส่วนจานวนท่ีคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
อย่างมีระบบตลอด อายกุ ารใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์น้ัน
อายุการใชป้ ระโยชน์ หมายถงึ กรณีใดกรณีหนง่ึ ตอ่ ไปน้ี

1. ระยะเวลาทกี่ ิจการคาดว่าจะมีสนิ ทรพั ย์ไว้ใช้หรอื
2. จานวนผลผลิตหรือจานวนหน่วยในลักษณะอ่ืนที่คล้ายคลึงกันซ่ึงกิจการ
คาดว่าจะไดร้ บั จากสนิ ทรัพย์
จานวนท่ีคิดค่าเสื่อมราคา หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือมูลค่าอ่ืนที่ใช้แทน
ราคาทุน หักดว้ ยมลู ค่าคงเหลือของสนิ ทรพั ย์
มูลค่าคงเหลือ หมายถึง จานวนเงินโดยประมาณท่ีกิจการคาดว่าจะได้รับในปัจจุบัน
จากการจาหน่ายสินทรัพย์หลังจากหักต้นทุนท่ีคาดว่าจะเกิดข้ึนจากการจาหน่ายสินทรัพย์น้ัน
หากสนิ ทรพั ย์น้ันมีอายุและสภาพทีค่ าดวา่ จะเปน็ ณ วนั สน้ิ สุดอายุการใชป้ ระโยชน์

วธิ ีบันทกึ รายการปรับปรุง

ทดี่ ิน อาคารและอปุ กรณ์ หมายถึง สินทรัพยท์ ม่ี ีตวั ตนซ่งึ เข้าเงอื่ นไขทุกขอ้ ต่อไปน้ี

1. มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ในการจาหน่ายสินค้าหรือให้บริการ

เพอ่ื ใหเ้ ช่า หรอื เพื่อใชใ้ นการบรหิ ารงาน และ

2. คาดวา่ จะใชป้ ระโยชนม์ ากกว่าหน่ึงรอบระยะเวลา

ประเภทของท่ีดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง กลุ่มของสินทรพั ย์ที่มีลักษณะและ

ประโยชน์ การใช้งานท่ีคล้ายคลึงกันต่อการดาเนินงานของกิจการ ตัวอย่างการแบ่งประเภทของ

ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ ได้แก่

1. ทด่ี ิน 2. ท่ดี ินและอาคาร

3. เคร่อื งจักร 4. เรอื

5. เคร่อื งบิน 6. ยานพาหนะ

7. เครื่องตกแตง่ และตดิ ตัง้ 8. อุปกรณส์ านกั งาน และ

9. พชื เพอ่ื การใหผ้ ลิตผล

วิธีบันทึกรายการปรบั ปรุง

วธิ ีการคิดคา่ เสอ่ื มราคา
กิจการต้องเลือกใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาท่ีสะท้อนรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

ในอนาคตท่กี ิจการคาดวา่ จะได้รับจากสินทรัพย์
การเลือกวิธีการคิดค่าเส่ือมราคาและการประมาณอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์

เป็นเร่อื งท่ตี อ้ งใช้ดลุ ยพนิ ิจ
กิจการสามารถใช้วิธีการคิดค่าเส่ือมราคาซ่ึงมีหลายวิธีปันส่วนจานวนที่คิดค่าเส่ือมราคา

ของสินทรพั ย์อย่างมีระบบตลอดอายกุ ารใช้ประโยชนข์ องสินทรัพยว์ ิธกี ารคดิ คา่ เสอ่ื มราคามีหลายวิธี เชน่
1. วิธีเส้นตรง (Straight line Method) วิธีเส้นตรงมีผลทาให้ค่าเส่ือมราคามีจานวนคงท่ี

ตลอดอายกุ ารให้ประโยชนข์ องสินทรพั ยห์ ากมลู คา่ คงเหลอื ของสินทรัพยน์ น้ั ไม่เปล่ียนแปลง
2. วิธียอดคงเหลือลดลง (Diminishing balance Method) วิธียอดคงเหลือลดลงมีผล

ทาให้ค่าเสือ่ มราคาลดลงตลอดอายกุ ารใหป้ ระโยชนข์ องสินทรัพย์
3. วิธีจานวนผลผลิต (Unit output Method) วิธีจานวนผลผลิต มีผลทาให้

คา่ เสอื่ มราคาขึน้ อยกู่ ับประโยชน์หรอื ผลผลติ ท่คี าดวา่ จะได้รับจากสนิ ทรัพย์

วิธบี ันทกึ รายการปรบั ปรุง

กิจการต้องเลือกใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคาท่ีสะท้อนรูปแบบของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่า
จะได้รับในอนาคตของสินทรัพย์อย่างแท้จริงและต้องใช้อย่างสม่าเสมอในทุกรอบระยะเวลาบัญชี
เว้นแต่ รปู แบบของประโยชนเ์ ชิงเศรษฐกจิ ทคี่ าดว่าจะไดร้ ับในอนาคตจากสินทรัพย์นน้ั เปลย่ี นไป

การเปิดเผยข้อมลู

การเลือกวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาและการประมาณอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์
เป็นเร่ืองท่ีต้องใช้ดุลยพินิจ ดังน้ัน การเปิดเผยวิธีการท่ีใช้และอายุการให้ประโยชน์โดยประมาณ
หรืออัตราค่าเสื่อมราคาจะให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้งบการเงินเพ่ือใช้ทบทวนนโยบายการบัญชีท่ีฝ่ายบริหาร
เลือกใช้และทาให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับของกิจการอื่นได้ และด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกันกิจการ
ตอ้ งเปิดเผยข้อมูล ตอ่ ไปนี้

1. ค่าเสื่อมราคา ท้ังนี้ ไม่ว่าค่าเส่ือมราคานั้นจะรับรู้ในกาไรหรือขาดทุนหรือรับรู้
เป็นส่วนหนงึ่ ของตน้ ทุนของสนิ ทรัพย์อื่นในระหว่างงวดและ

2. ค่าเสอื่ มราคาสะสม ณ วนั สน้ิ งวด
จากมาตรฐานการบัญชี สรุปได้ว่าวิธีการคิดค่าเส่ือมราคามีหลายวิธี เช่น วิธีเส้นตรง วิธียอด
คงเหลอื ลดลง และวิธจี านวนผลผลิต ในท่นี ้ีจะใชว้ ธิ ีทีก่ ิจการสว่ นใหญ่นิยมใช้คอื วิธีเส้นตรง

วธิ ีบนั ทกึ รายการปรับปรงุ

จากมาตรฐานการบัญชี สรุปได้ว่าวิธีการคิดค่าเสื่อมราคามีหลายวิธี เช่น วิธีเส้นตรง
วิธียอด คงเหลือลดลง และวิธีจานวนผลผลิต ในท่ีนี้จะใช้วิธีท่ีกิจการส่วนใหญ่นิยมใช้คือวิธี
เสน้ ตรง

การคานวณคา่ เสอื่ มราคาต่อปี = ราคาทุนของสินทรัพย์หรือมูลค่าอืน่ ท่ีใช้แทนราคา
ทนุ หักด้วย

มลู คา่ คงเหลอื ของสนิ ทรัพย์หารดว้ ยอายกุ ารให้ประโยชนห์ รือ
คา่ เส่อื มราคาต่อปี = ราคาทุนของสินทรพั ย-์ มลู คา่ คงเหลอื

อายุการใชป้ ระโยชน์
การบันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป จะบันทึกรายการค่าเสื่อมราคาใน
บญั ชีค่าเส่ือม ราคา ซงึ่ ถอื เป็นค่าใชจ้ า่ ยประจางวดบัญชีของกิจการที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน แสดงในงบ
กาไรขาดทุนคู่กับบัญชีค่าเส่ือมราคาสะสมถือเป็นสินทรัพย์ แต่เป็นบัญชีปรับมูลค่าของท่ีดิน
อาคาร และอปุ กรณ์นัน้ ๆ จึงแสดงในงบแสดงฐานะการเงินโดยแสดงเป็นรายการหกั

วธิ บี ันทกึ รายการปรับปรงุ

วธิ ีบนั ทึกรายการปรบั ปรงุ

ตวั อย่างท่ี 8 เมือ่ วนั ท่ี 1 มกราคม 25X1 ร้านสารพดั สนิ คา้ ซอื้ เครือ่ งบิน 1 ลาราคา 10,000,000 บาท
เพ่ือใช้สาหรับส่งสินค้าให้ลูกค้าท่ีประสบอุทกภัย คาดว่าอายุการให้ประโยชน์
ของเครื่องบินลานี้เท่ากับ 5 ปี หลังจากนั้นจะขายได้ประมาณ 2,000,000 บาท กิจการ
ปดิ บัญชีวันท่ี 31 ธนั วาคม 25X1

ให้ทา 1. บนั ทกึ รายการปรับปรุงในสมุดรายวนั ท่วั ไป
2. ผา่ นรายการไปบญั ชแี ยกประเภททัว่ ไป

วธิ บี ันทกึ รายการปรับปรงุ

วิธบี ันทกึ รายการปรบั ปรงุ

ตัวอย่างที่ 9 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 25X1 ร้านเสื้อผ้ามือสอง ซ้ือเคร่ืองปรับอากาศ 1 เคร่ืองราคา 19,900 บาท
โดยวิธีผ่อนชาระ 10 งวด ไม่มีดอกเบี้ย ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 25X1 ได้ว่าจ้างช่างมาติดตั้ง
โดยคิดค่าติดต้ังเป็นเงิน 1,100 บาท เริ่มใช้งานวันแรกวันที่ 20 ตุลาคม 25X1 เคร่ืองปรับอากาศ
เคร่อื งนี้ คาดวา่ จะมีอายุการให้ประโยชน์ 5 ปี หลังจากน้ันจะขายได้ประมาณ 2,000 บาท กิจการ
ปดิ บญั ชีวนั ท่ี 31 ธันวาคม 25X1

ให้ทา คานวณค่าเสอ่ื มราคา

วธิ บี นั ทกึ รายการปรับปรุง

หนส้ี งสยั จะสูญและคา่ เผื่อหนส้ี งสัยจะสญู
(Doubtful and Allowance for Doubtful Debts)

ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 เร่ืองหน้ีสงสัยจะสูญและหน้ีสูญของสภาวิชาชีพ
บัญชีได้ใหค้ านิยามและขอ้ พงึ ปฏิบตั ิเก่ียวกับหนีส้ งสัยจะสูญและหนสี้ ูญไว้ดังน้ี

ลูกหนี้การค้า (Trade Receivable) หมายถึง ลูกหน้ีท่ีเกิดจากการดาเนินการค้า
ตามปกติของธุรกิจ และจะมีชื่อบัญชีแตกต่างกันได้ตามประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจธนาคาร
พาณิชย์ หมายถึง บัญชีระหว่างธนาคารท่ีมีดอกเบ้ีย เงินให้สินเช่ือและดอกเบี้ยค้างรับ กิจการ
ประกนั ภัย หมายถึง บญั ชีเบ้ียประกนั ภัยค้างรับ เงนิ ค้างรบั เกีย่ วกบั การประกันต่อ และเงินใหก้ ยู้ ืม

ลูกหนี้อ่ืน (Other Receivable) หมายถึง ลูกหน้ีที่ไม่ได้เกิดจากการดาเนินการค้า
ตามปกติ ของธุรกิจ เช่น

- ลกู หน้แี ละเงินให้ก้ยู มื แกก่ รรมการและลูกจา้ ง
- เงินให้กยู้ มื แก่บรษิ ทั ในเครอื และบริษัทร่วม
- รายได้อื่นคา้ งรบั

วธิ ีบนั ทกึ รายการปรับปรงุ

หนี้สูญ (Bad Debt) หมายถึง ลูกหน้ีที่ได้ติดตามทวงถามจนถึงท่ีสุดแล้ว แต่ไม่ได้รับ
ชาระหนแ้ี ละไดต้ ัดจาหน่ายออกจากบัญชี

หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Accounts) หมายถึง ลูกหน้ีที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้
และถือเป็นค่าใชจ้ ่ายของรอบระยะเวลาบญั ชีนัน้

ค่าเผ่ือหน้ีสูญหรือค่าเผ่ือหน้ีสงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Accounts)
หมายถึง จานวนท่ีกันไว้สาหรับลูกหนี้ท่ีคาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ และถือเป็นบัญชีปรับมูลค่า
(Valuation Account) ที่ต้ังขึ้นเพื่อแสดงเป็นรายการหักจากบัญชีลูกหน้ีในงบการเงินเพื่อให้
คงเหลือเปน็ มลู ค่าสทุ ธิของลูกหน้ีที่คาดหมายว่าจะเกบ็ ได้

วิธบี ันทึกรายการปรบั ปรุง

การบันทึกลูกหน้ีทีเ่ กบ็ เงินไม่ได้ มีวิธปี ฏิบัติ 2 วิธีคือ

1. วิธีตัดจาหน่ายโดยตรง (Direct Write – Off Method) วิธีน้ีไม่บันทึกรายการ

จนกวา่ ใน รอบระยะเวลาบัญชีท่ีมลี กู หนี้สูญจริง จงึ บนั ทึกเปน็ ผลเสยี หายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

โดยบนั ทึกบญั ชีดังนี้

เดบติ หนีส้ ูญ (เปน็ คา่ ใชจ้ ่าย) XX

เครดิต ลกู หน้ี XX

2. วิธีตั้งค่าเผ่ือ (Allowance Method) วิธีนี้จะประมาณหนี้ที่คาดว่าจะเก็บไม่ได้

โดยคานวณจากยอดขายหรือจากยอดลูกหนี้ แล้วบันทึกจานวนที่ประมาณขึ้นน้ัน รายการน้ี

ทาในรอบระยะเวลาบัญชที ีบ่ นั ทึกรายการขาย โดยบันทกึ บัญชดี งั น้ี

เดบติ หนีส้ งสยั จะสูญ (เป็นค่าใชจ้ ่าย) XX

เครดิต คา่ เผือ่ หน้สี งสยั จะสูญ (เปน็ บญั ชปี รบั มลู คา่ ลูกหน)ี้ XX

วิธีตัดจาหน่ายโดยตรง เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกแต่มีข้อบกพร่องและไม่เป็นท่ียอมรับ

ส่วนวธิ ีต้งั คา่ เผือ่ เป็นวิธีท่ถี กู ต้องตามหลักบัญชี ดังนน้ั ในท่นี ้ีจะใชว้ ธิ ตี ้งั คา่ เผอ่ื

วธิ บี ันทึกรายการปรับปรงุ

วธิ ีการประมาณหนสี้ งสยั จะสูญ
วิธกี ารประมาณหนส้ี งสยั จะสญู ที่นิยมใช้มี 3 วิธดี ังนี้
1. คานวณเป็นรอ้ ยละของยอดขาย (Percentage of Sales)
1.1 คานวณเป็นรอ้ ยละของยอดขายรวม
1.2 คานวณเป็นร้อยละของยอดขายเช่อื
2. คานวณเปน็ ร้อยละของยอดลูกหนี้ (Percentage of Outstanding Receivable)
2.1 คานวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้ โดยถือว่าอัตราส่วนของจานวนหน้ีสงสัย

จะสูญ สาหรับลูกหนีท้ ้งั หมดจะคงที่
2.2 คานวณโดยจัดกลุ่มลกู หนี้จาแนกตามอายุของหนีท้ ค่ี า้ งชาระ โดยถือว่าลูกหนี้

ทค่ี ้างชาระนานจะมีโอกาสไม่ชาระหนี้มากกว่าลูกหนที้ ่เี รมิ่ เกดิ ข้ึน
3. คานวณโดยพิจารณาลูกหน้ีแต่ละราย วิธีนจ้ี ะกระทาได้ยากในธุรกิจที่มีลูกหนี้จานวน

มากราย

วธิ บี นั ทึกรายการปรบั ปรงุ

หมายเหตุ
1. อัตรารอ้ ยละทน่ี ามาใช้ในการประมาณการ จะต้องมีการทบทวนและปรับปรงุ อยู่เสมอ
2. จานวนหนี้สงสัยจะสูญที่ประมาณได้เมื่อนามาเปรียบเทียบกับจานวนที่แสดงในบัญชีค่า

เผ่อื หนสี้ งสัยจะสูญทีม่ อี ยู่แล้ว ถ้าหากจานวนที่ประมาณได้มากกว่าก็จะต้องเพ่มิ ให้เท่ากับจานวนท่ี
ประมาณได้ โดยถือเป็นหน้ีสงสัยจะสูญ แสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกาไรขาดทุน แต่ถ้าจานวนที่
ประมาณได้มีน้อยกว่าที่แสดงอยู่ในบัญชี ก็ให้ลดจานวนในบัญชีลงให้เหลือเท่ากับจานวนท่ี
ประมาณได้ และแสดงเป็นยอดเครดติ ในงบกาไรขาดทุน

วธิ ีบนั ทึกรายการปรับปรุง

ตัวอย่างท่ี 10 ในวันท่ี 31 ธันวาคม 25X1 ซ่ึงเป็นวันสิ้นงวดบัญชี กิจการมียอดลูกหน้ีการค้า
คงเหลือ 30,000 บาท กิจการประมาณค่าเผ่ือหนี้สงสัยจะสูญ 2% ของยอด
ลกู หนีก้ ารค้า

ให้ทา บันทกึ รายการปรบั ปรุงในสมดุ รายวันทว่ั ไป (กิจการปดิ บัญชวี ันที่ 31 ธนั วาคม 25X1)

25X1 600
600
ธ.ค. 31 เดบิต หนี้สงสัยจะสญู (30,000 X 2%)
เครดิต ค่าเผอ่ื หนีส้ งสยั จะสูญ

วิธีบนั ทกึ รายการปรับปรงุ

ตัวอย่างท่ี 11 ในวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 ซ่ึงเป็นวันส้ินงวดบัญชี กิจการมียอดลูกหน้ีการค้า
คงเหลือ 50,000 บาท ค่าเผ่ือหนี้สงสัยจะสูญคงเหลือ 1,000 บาท กิจการ
ประมาณค่าเผ่อื หนสี้ งสัยจะสูญ 3% ของยอดลกู หนกี้ ารค้า

ใหท้ า บันทึกรายการปรับปรุงในสมดุ รายวันท่ัวไป (กจิ การปิดบญั ชวี ันท่ี 31 ธนั วาคม 25X1)

25X1 500
500
ธ.ค. 31 เดบิต หนี้สงสยั จะสูญ (30,000 X 3%) – 1,000
เครดิต ค่าเผือ่ หนส้ี งสัยจะสญู

วธิ ีบนั ทึกรายการปรับปรุง

ตัวอย่างที่ 12 ในวันที่ 31 ธนั วาคม 25X1 ซึ่งเปน็ วนั สิน้ งวดบัญชี กจิ การมียอดขายเชื่อทงั้ สิน้ 1
00,000 บาท ค่าเผ่ือหนี้สงสยั จะสูญคงเหลอื 2,000 บาท กจิ การประมาณค่า เผ่ือหน้ีสงสัย
จะสญู 3% ของยอดขายเชื่อ

ให้ทา บนั ทึกรายการปรบั ปรุงในสมดุ รายวันท่ัวไป (กจิ การปดิ บัญชีวันท่ี 31 ธนั วาคม 25X1)

25X1 3,000

ธ.ค. 31 เดบติ หนส้ี งสัยจะสญู (100,000 X 3%) 3,000
เครดติ ค่าเผอ่ื หนส้ี งสยั จะสญู

ขอ้ ผดิ พลาดและการแกไ้ ขขอ้ ผดิ พลาด

ความหมายและลักษณะของข้อผิดพลาด

ข้อผิดพลาดในท่ีนี้ หมายถึง ข้อผิดพลาดท่ีเกิดขึ้นในทางบัญชีมีท้ังข้อผิดพลาดที่ถูก

บนั ทึกบญั ชีไว้แลว้ ขอ้ ผดิ พลาดท่ยี ังไมไ่ ดบ้ นั ทกึ บญั ชี และข้อผดิ พลาดอ่นื ๆ

ขอ้ ผิดพลาดทีถ่ ูกบันทึกบญั ชีไวแ้ ล้ว :

- ข้อผิดพลาดท่ีเกิดจากการบันทึกจานวนเงินมากหรือนอ้ ยเกนิ ไป เชน่

จ่ายค่าขนสง่ สินค้า 890 บาท บนั ทึกบญั ชเี ป็น 980 บาท

รับรายไดเ้ บด็ เตล็ด 150.75 บาท บนั ทึกบญั ชีเป็น 1,507.50 บาท

- ขอ้ ผิดพลาดท่เี กดิ จากการบันทกึ บญั ชผี ดิ เช่น

จ่ายคา่ แรงให้คนงาน บันทกึ บญั ชีเป็น จา่ ยคา่ พาหนะ

ขายสินคา้ เปน็ เงินเชอ่ื บนั ทกึ บัญชเี ปน็ ซอื้ สินคา้ เปน็ เงินเชอ่ื

จา่ ยเงนิ เดือนพนักงานและหักเงนิ ประกันสังคม

บนั ทึกบญั ชเี ป็นจา่ ยเงินเดือนพนกั งานและหักภาษีเงินได้ ณ ท่จี ่าย

ขอ้ ผดิ พลาดและการแกไ้ ขขอ้ ผิดพลาด

ขอ้ ผดิ พลาดทย่ี งั ไม่ได้บันทึกบญั ชี :
- ขอ้ ผิดพลาดท่เี กดิ จากพนกั งานบัญชลี ืมบันทกึ บญั ชี เช่น

ไดร้ ับใบแจง้ หนค้ี ่าไฟฟา้ ยงั ไมไ่ ด้บนั ทึกบญั ชี
เจ้าของกิจการถอนเงนิ สดไปใชส้ ว่ นตวั ยงั ไมไ่ ดบ้ นั ทึกบญั ชี
- ขอ้ ผิดพลาดอน่ื ๆ :
รวมจานวนเงินผดิ
หายอดคงเหลอื ในบัญชแี ยกประเภทผดิ
ผา่ นรายการจากสมดุ บนั ทกึ รายการข้ันต้นไปบัญชีแยกประเภทไม่ครบถ้วน
นารายการจากบัญชแี ยกประเภทท่ัวไป ไปแสดงในงบหรอื รายงานตา่ ง ๆ ไม่ครบถ้วน

ขอ้ ผดิ พลาดและการแกไ้ ขขอ้ ผดิ พลาด

การแก้ไขขอ้ ผิดพลาด (Correction of Errors)
การแกไ้ ขข้อผิดพลาด ใหบ้ นั ทึกรายการในสมุดรายวนั ทว่ั ไป แยกพจิ ารณาไดด้ ังน้ี

 การค้นพบข้อผิดพลาดกรณียังไม่ปิดบัญชี กรณีนี้ให้บันทึกรายการแก้ไข
ขอ้ ผดิ พลาดโดยบนั ทึกบญั ชีทเ่ี ก่ยี วข้องตามปกติ เชน่

ขอ้ ผิดพลาด การแกไ้ ข

ก. จา่ ยคา่ เบ้ยี เลย้ี งพนกั งานขาย 5,950 บาท เดบติ คา่ เบ้ียเล้ียงพนกั งานขาย 360 360
บันทึกจานวนเงินเป็น 5,590 บาท เครดติ เงนิ สด 900
400
ข. ขายสินคา้ เป็นเงนิ เชือ่ 2,300 บาท เดบติ ขายสนิ ค้า 900 100
บนั ทึกจานวนเงินเป็น 3,200 บาท
เครดิต ลกู หนี้การค้า
ค. จา่ ยคา่ ขนสง่ เขา้ 400 บาท
บันทึกบญั ชเี ปน็ ค่าขนสง่ ออก เดบิต ค่าขนสง่ เขา้ 400

ง. จ่ายค่าทางด่วน 100 บาท เครดติ คา่ ขนสง่ ออก
ลมื บนั ทึกบัญชี
เดบติ ค้าจา่ ยเกย่ี วกบั รถยนต์ 100
เครดติ เงนิ สด

ข้อผดิ พลาดและการแกไ้ ขขอ้ ผิดพลาด

การแกไ้ ขขอ้ ผิดพลาด (Correction of Errors)
การแก้ไขข้อผิดพลาด ใหบ้ ันทกึ รายการในสมดุ รายวันท่ัวไป แยกพิจารณาไดด้ งั น้ี
 การค้นพบข้อผิดพลาดกรณีปิดบัญชีแล้วกรณีนี้ให้บันทึกรายการแก้ไข

ข้อผิดพลาดโดยบันทึกบัญชีหมวด 1 หมวด 2 และหมวด 3 (ยกเว้นถอนใช้ส่วนตัว) ตามปกติ
แต่บัญชีหมวด 4 และหมวด 5 ให้บันทึกในบัญชีทุน-เจา้ ของกิจการ ท้ังนี้เพราะเมื่อกิจการปิด
บัญชีแล้ว แสดงว่าบัญชีหมวด 3 (ถอนใช้ส่วนตัว) บัญชีหมวด 4 และบัญชีหมวด 5 ซึ่งเป็น
บญั ชชี ่ัวคราวถูกปดิ ไปแลว้ เช่น


Click to View FlipBook Version