The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การประยุกต์ใช้อาหารบำบัดกับเวชศาสตร์วิถีชีวิต: สิ่งที่เราควรรู้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by metta.poon, 2024-04-25 03:33:06

การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยประจำปี 2567 ครั้งที่ 44

การประยุกต์ใช้อาหารบำบัดกับเวชศาสตร์วิถีชีวิต: สิ่งที่เราควรรู้

วารสารสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย ปี ที่ 44 ฉบับที่ 1-3 ม.ค.-ธ.ค. 2567 Journal of The Thai Dietetic Association Vol. 44, No.1-3 (Jan.-Dec. 2023) ISSN 0859-5232 การประชุมวิชาการสมาคมนักกา หนดอาหารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 44 ประจ าปี 2567 เรื่อง “การประยกุต ์ใช้อาหารบา บดักบัเวชศาสตรว ์ิถีชีวิต:สิ่งที่ควรร้”ู Application of Diet Therapy into Lifestyle Medicine: What We Should Know สงวนลิขสิทธ์ิ: สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย Thai Dietetic Association สำนักงานชั่วคราว : เลขที่ 1845/11 ซอยบริรักษ์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 หวัหน้าบรรณาธิการ วันทนีย์ เกรียงสินยศ กองบรรณาธิการ ชนิดา ปโชติการ สุนาฎ เตชางาม กรกต วีรเธียร อนุสรณ์ สนิทชน พัชรวีร์ ทันละกิจ วรัญญา เตชะสุขถาวร สมิทธิ โชติศรีลือชา ปัทนภา ศรีชมเชย ยุทธนา พรหมอุ่น ธัญวรินทร์ ตั้งเสริมวงศ์ วชิราภรณ์ ตรีเย็น ศิรดา กลิ่นชื่น มลิวัลย์ วงศ์พยัคฆ์ พงศกรณ์ พรหมอุ่น จดัพิมพโ์ดย สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย พิมพท์ ี่: หจก. เมตตาก๊อปปี้ปริ้น 135/148 พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา จ.นครปฐม 73170 โทรศัพท์ 02-4410698


สารจากนายกสมาคมนักกา หนดอาหารแห่งประเทศไทย ในนามสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยขอยินดีต้อนรับทุกท่าน ดังเช่นทุกๆปีสม สมาคมฯได้จัดให้มีการประชุมวิชาการเพื่อเพิ่มพูนทักษะและองค์ความรู้ที่ทันสมัยให้แก่สมาชิกและผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ท่านจะได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานกันและกัน ในปี2567 นี้เป็ นปี ที่ พิเศษกว่าปีอื่นๆเนื่องจากเป็นปีที่สมาคมฯ ครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งตั้งแต่ชมรมจนเป็นสมาคมฯและเป็นปีที่มีการ เลือกตั้งกรรมการสมาคมฯชุดใหม่ การประชุมวิชาการในครั้งนี้จัดในรูปแบบ Hybrid Meeting Platform ในหัวข้อเรื่อง “ การประยุกต์ใช้อาหาร บา บดักบัเวชศาสตรว์ิถีชีวิต:สิ่งที่ควรรู้” ซึ่งเป็นศาสตร์ที่นำองค์ความรู้หลากหลายแขนง ได้แก่ ด้านกิจกรรมทาง กาย การนอนหลับ การลดเลิกสารเสพติด การจัดการความเครียด การสร้างความสัมพันธ์กันในครอบครัว และที่สำคัญ คือด้านโภชนาการและการกำหนดอาหารมาบรูณาการเชื่อมโยงกันโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อช่วยให้ประชาชนและ ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ตามบริบทของตนเองได้อย่างยั่งยืน การประชุมจะมีทั้งภาคบรรยายและ ภาคปฏิบัติเพื่อสร้างสมรรถนะและศักยภาพให้กับนักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการและโภชนากร ให้มีความรู้ ความ ชำนาญ และทักษะเฉพาะทาง โดยเฉพาะด้านอาหารและ โภชนาการและการกำหนดอาหาร เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ใน ระบบบริหารจัดการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรครวมทั้งการป้องโรคแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้าง สมรรถนะในการให้คำปรึกษาและแนะนำด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้แก่ประชาชนและผู้ป่วยในการ ดูแลส่งเสริมสุขภาพของตนเองเพื่อให้สามารถดำรงวิถีดำเนินชีวิตที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดีและสอดคล้องกับบริบทของ ตนเองและสังคมอย่างมีความสุข ในโอกาสนี้ ในฐานะผู้จัดการประชุมขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ผู้ให้การสนับสนุน คณะกรรมการจัดการ ประชุม ตลอดจนผู้ช่วยเหลืองานด้านต่างๆ ที่ได้มีส่วนร่วมทำให้การประชุมครั้งนี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และ หวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมจะได้นำความรู้และทักษะที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านอาหาร โภชนาการและการกำหนด อาหาร ทั้งในการป้องกัน ฟื้นฟู และรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย สามารถพัฒนาและสร้างสรรค์ นวัตกรรมด้านอาหาร โภชนาการและการกำหนดอาหารที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางการดูแลสุขภาพแบบ เวชศาสตร์วิถีชีวิต อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายวิชาชีพนักกำหนดอาหาร /นักโภชนาการ และ โภชนากรให้มีความ เข้มแข็งและมั่นคงต่อไป สุดท้ายนี้ ขออวยพรให้ทุกท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญ ความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีสุขภาพกาย และจิตใจที่แข็งแรง ดำรงความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำประโยชน์ และสร้างชื่อเสียงแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ประจักษ์แก่ตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงานและองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศสืบไป (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนิดา ปโชติการ) นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


Message from the President of the Thai Dietitians Association. On behalf of the Thai Dietetic Association, I would like to extend a warm welcome to everyone. As in every year, the association organizes an academic conference to enhance the skills and knowledge of members and those interested. It is also an opportunity for everyone to meet and exchange work experiences with each other. This year, 2024, is a more special year than other years because it is the 50th anniversary of the association's founding from a society to an association. It is also the year of the election of a new association committee. This academic conference will be held in a Hybrid Meeting Platform format under the theme "Application of Diet Therapy to Lifestyle Medicine: What You Should Know". This discipline integrates knowledge from various fields, including physical activity, sleep, addiction cessation, stress management, family relationships, and most importantly, nutrition and dietetics. It is a patient-centered approach that helps the public and patients make sustainable lifestyle changes in their own context. The conference will feature both lectures and workshop sessions to equip dietitians and nutritionists with the knowledge, expertise, and specialized skills they need to effectively apply their knowledge of food, nutrition, and dietetics in promoting health and preventing diseases complications which leading to a healthy lifestyle that aligns with their personal and social contexts, fostering overall happiness and well-being. On this occasion, I would like to express my sincere gratitude to all the speakers, sponsors, organizing committee, and assistants who have contributed to the success of this conference. I hope that the participants will be able to apply the knowledge and skills they have gained to their work. Finally, I would like to wish everyone all the happiness, prosperity, and success in their careers. May you all have strong physical and mental health, and the determination to continue doing good and bring honor to the profession, for yourselves, your families, your colleagues, and the organization, both domestically and internationally. (Asst. Prof. Chanida Pachotikarn, CDT, RD) President of Thai Dietetic Association


สารบัญ สารจากนายกสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย สารบัญ คณะกรรมการจดัการประชุมวิชาการสมาคมฯ 2567 โครงการประชุมการประชุมวิชาการสมาคมฯ ครั้งที่ 44 ประจ าปี 2567 คา กล่าวรายงานการเปิดประชุมวิชาการสมาคมฯ ครงั้ที่44 ประจ าปี 2567 คา กล่าวเปิดการเปิดประชุมวิชาการสมาคมฯ ครงั้ที่44 ประจ าปี 2567 กา หนดการประชุมวิชาการสมาคมฯ ผใู้ห้การสนับสนุนการประชุมวิชาการสมาคมฯ บทความ หน้า ➢ ปาฐกถา ผชู้่วยศาสตราจารย์รศัมีคนัธเสวีครงั้ที่3 Lifestyle Medicine: The Importance of Nutrition and Dietetics 1 องค์ปาฐก: นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ 3 ➢ การสื่อสารและการให้ค าปรึกษาทางโภชนาการส าหรับนักก าหนดอาหาร 13 อ.ดร. ฐนิต วินิจจะกูล, ปัณฑารีย์ ศิริชัย, วริศรา ว่องนิยมเกษตร, สุภานัน มากรัมย์, ภัสราภรณ์ ส าเภานนท์ ➢ กระบวนการให้โภชนบ าบัด 15 อ.ดร.ปรารถนา ตปนีย์, Dr Varitha Kinghorn ➢ การดูแลทางโภชนบ าบัดในผู้ป่ วยโรคตับแข็ง (Nutrition Management in Cirrhosis) 19 ผศ.นพ. นริศร ลักขณานุรักษ์ ➢ พืน้ฐานการให้อาหารเข้าทางเดินอาหาร และทางหลอดเลือดดา (Basics Enteral and Parenteral Nutrition Support) 45 คุณสมิทธิ โชติศรีลือชา ➢ วิทยาศาสตรแ์ละงานนวตักรรมในอาหารฝึกกลืน 85 อ. วรัญญา เตชะสุขถาวร ➢ วิธีการสังเกต คดักรอง ประเมินภาวะกลืนลา บากเบอื้งต้น 89 ผศ.ดร.นพ. ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ➢ สหสาขาวิชาชีพ กบัการดแูลผปู้่วยฝึกกลืน และกรณีศึกษาในกล่มุประเทศเอเชีย 91 คุณอภิชญา พิชญ์ผล


➢ :มาตรฐาน IDDSI และวิธีการทดสอบ 93 คุณกมลชนก ค้าสุวรรณ ➢ The Evolution of glycemic control during Enteral tube feeding in DM patients 103 พล.ต.หญิง รศ.พญ. อภัสนี บุญญาวรกุล ➢ What's the Next Path of Asian Dietetic Profession ?: Opportunities for Asian Dietetic Challenges 119 Dr. Chwang Leh-chii ➢ Nutritional Problems in Asia and Building a Sustainable Dietetic System 121 Dr. Teiji Nakamura ➢ What is the Next Path of Asian Dietetic Profession? 123 Mdm Mary Easaw ➢ What is the Next Path of Asian Dietetic Profession? 125 Asst. Prof. Dr. Chanida Pachotikarn ➢ Chrononutrition and Obesity 127 พล.ต. หญิง รศ. อภัสนี บุญญาวรกุล ➢ Dietary pattern and gut microbiota 129 ดร. พรรณเพ็ญ พูนลาภเดช ➢ โรคตับคั ่งไขมัน (Metabolic Dysfunction-Associated Steatotic Liver Disease, MASLD) 149 นพ.คณิศร์ บุนนาค, พท. รศ. นพ. ศักรินทร์ จิรพงศธร ➢ Role of Nutrition and Diet Therapy in MASLD and MASH 151 คุณสมิทธิ โชติศรีลือชา ➢ Uniting Knowledge with Action: Harnessing the Power of Behavior Change Strategies 153 รอ. นพ.ยงยุทธ มัยลาภ ➢ Wellness program for Sleep efficiency 155 พญ. กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล ➢ Stress Management and Promote Well-Being 157 อ.ดร. อรวรรณ ขวัญศรี


➢ Evidence Recommendation on Vitamin Supplementation "Health Effects of Vitamin and Mineral Supplements" 159 ผศ.พญ. ศานิต วิชานศวกุล ➢ How to Pick the Right Vitamins and Supplements for You 185 เภสัชกร นิรชร คูชลธารา ➢ Consequences of Malnutrition in Surgical Patients 215 นพ. วินัย อึงพินิจพงศ์ ➢ Consequences of Malnutrition in Cancer Patients 231 นพ.เลืองยศ ทองเที่ยง ➢ What Dietitians Need for the Future: Evidence-based Dietetics” 251 Prof. Dr. Shigeru Yamamoto ➢ Establishment of Asian Young Dietitians 255 Ms. Nguyễn Thu Trang, Ms. Andrea Wakita ➢ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดแูลตนเอง และภาพลกัษณ์ของร่างกาย (Eating Behavior, Self -Care, and Body Image) 263 อ.ดร. ฐนิต วินิจจะกูล ➢ Nutrition & Self-Care for Beauty Enhancing Skin Health Through Diet & Skin Care 265 อ.พญ. วรายุวดี อมรภิญโญ ➢ บทความพิเศษ: การดแูลวิถีชีวิต และการกา หนดอาหารในภาวะพร่อง G6PD 267 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ไมตรี สุทธจิตต์ ทุนสนับสนุนการวิจยั “TDA Research Award” ประจ าปี 2567 279 ผู้ที่ได้รับทุน .TDA Research Award” ประจ าปี 2567 282 บทคดัย่อการน าเสนอผลงานทางวิชาการ ที่ได้รบัทุนสนับสนุนงานวิจยั “TDA Research Award” แบบโปสเตอร์ ประจ าปี 2566: บทคดัย่อ P1-P23 286 ทุนสนับสนุนการวิจยัสา หรบันักศึกษา“TDA Junior Research Award” ประจ าปี 2567 311 ผู้ที่ได้รับทุน “TDA Junior Research Award” ประจ าปี 2567 314 บทคดัย่อ การน าเสนอผลงานทางวิชาการ ที่ได้รบัทุนสนับสนุนงานวิจยั “TDA Junior Research Award” แบบโปสเตอร์ประจ าปี 2566: บทคดัย่อ P24-P30 316


ทุนสนับสนุนการวิจยั “TDA Soymilk Study Award” ประจ าปี 2566-2567 323 ผู้ที่ได้รับทุน “TDA Soymilk Study Award” ประจ าปี 2566-2567 328 บทคดัย่อ การน าเสนอผลงานทางวิชาการ ที่ได้รบัทุนสนับสนุนงานวิจยั “TDA Soymilk Study Award” แบบโปสเตอร์ ประจ าปี 2566-2567: บทคดัย่อ P31-P36 330 ทุนสนับสนุนการวิจยั “TDA-MEIJI AWARD: Improvements on the Infants/Children’s Nutrition” ประจ าปี 2566-2567 337 ผู้ที่ได้รับทุน “TDA-MEIJI AWARD: Improvements on the Infants/Children’s Nutrition” ประจ าปี 2566-2567 341 การน าเสนอผลงานทางวิชาการ ที่ได้รบัทุนสนับสนุนงานวิจยั “TDA-MEIJI AWARD: Improvements on the Infants/Children’s Nutrition” แบบโปสเตอร์ ประจ าปี 2566-2567: บทคดัย่อ P37-P46 343 ทุนพฒันาองคค์วามร้ดู้านการให้โภชนบา บดัในผปู้่วยเบาหวานที่เข้ารบับริการใน โรงพยาบาลประจ าปี 2566-2567 353 ผู้ที่ได้รับทุนพฒันาองคค์วามร้ดู้านการให้โภชนบา บดัในผปู้่วยเบาหวานที่เข้ารบับริการ ในโรงพยาบาล ประจ าปี 2566-2567 356 การน าเสนอผลงานทางวิชาการที่ได้รบัทุนพัฒนาองค์ความรู้ด้านการให้โภชนบ าบัดใน ผปู้่วยเบาหวานที่เข้ารบับริการในโรงพยาบาลแบบโปสเตอร์ ประจ าปี 2566-2567: บทคดัย่อ P47-62 360 ทุนสนับสนุนการวิจยั “Muscle and Malnutrition Care ปี ที่สอง” ประจ าปี2566-2567 377 ผู้ที่ได้รับทุน “Muscle and Malnutrition Care ปี ที่สอง” ประจ าปี 2566-2567 380 การน าเสนอผลงานทางวิชาการที่ได้รบัทุนสนับสนุนงานวิจยั “Muscle and Malnutrition Care ปี ที่สอง” แบบโปสเตอร์ ประจ าปี 2566-2567: บทคดัย่อ P63-71 382 ทุนส่งเสริมการดแูลด้านโภชนบา บดัในผทู้ี่ได้รบัการบา บดัทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม ประจ าปี2566-2567 395 ผู้ที่ได้รับทุนส่งเสริมการดแูลด้านโภชนบา บดัในผทู้ี่ได้รบัการบา บดัทดแทนไตด้วย เครื่องไตเทียม ประจ าปี 2566-2567 397 การน าเสนอผลงานทางวิชาการที่ได้รบัทุนส่งเสริมการดแูลด้านโภชนบา บดัในผทู้ี่ได้รบั การบ าบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมแบบโปสเตอร์ ประจ าปี 2566-2567: บทคดัย่อ P72-79 399 ทุนสนับสนุนการตีพิมพผ์ลงานวิชาการTDA Quest-Yamamoto Award ประจ าปี 2567 409 บทคดัย่อผนู้ าเสนอผลงานทางวิชาการ ประจา ปี2567: P80 412 หนังสือเกี่ยวกับโภชนาการและก าหนดอาหารที่จัดท าโดยสมาคมนักก าหนดอาหาร 413 รายชื่อผเู้ข้าร่วมประชุมวิชาการสมาคมนักกา หนดอาหารแห่งประเทศไทย ประจา ปี2567 427


คณะกรรมการจดัการประชมุวิชาการสมาคมนักกา หนดอาหารแห่งประเทศไทย ประจาปี 2567 ผู้จัดการประชุม สมาคมนักกาหนดอาหารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการที่ปรึกษากิตติมศกัด์ิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ตันติศิรินทร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เทพ หิมะทองคำ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เกรียง ตั้งสง่า ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุรัตน์ โคมินทร์ Professor Dr. Shigeru Yamamoto คณะกรรมการที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ชวลิต รัตนกุล อาจารย์รุจิรา สัมมะสุต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนาฎ เตชางาม คุณนิติ ยิ้มแย้ม ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะกรรมการดา เนินงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย พันเอกหญิง ดร.กรกต วีรเธียร อุปนายกสมาคมนักกำหนดอาหารฯ 1 นางสาวอนุสรณ์ สนิทชน อุปนายกสมาคมนักกำหนดอาหารฯ 2 รองศาสตราจารย์ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานฝ่ายวิชาการ นางสาวสังวาล ศิริมังคลากุล เหรัญญิก นางสาวสมศรี เตชะวรกุล ผู้ช่วยเหรัญญิก นางสาวธัญวรินทร์ ตั้งเสริมวงศ์ นายทะเบียน นางสาวอรุณศรี ตั้งวงศ์วิวัฒนา ปฏิคม รองศาสตราจารย์ดร.ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ ประธานฝ่ายวิจัย ดร.ปัทนภา ศรีชมเชย กรรมการฝ่ายวิจัย นายสมิทธิ โชติศรีลือชา กรรมการฝ่ายวิชาการ นางสาวกัญชลี ทิมาภรณ์ กรรมการฝ่ายต่างประเทศ นางสาววรัญญา เตชะสุขถาวร กรรมการฝ่ายต่างประเทศ/ประชาสัมพันธ์ เรือเอก พงศกรณ์ ล่องฉ้วน กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ นายยุทธนา พรหมอุ่น กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ นางจิรัฐิติกาล ดวงสา กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์


นางสาววชิราภรณ์ ตรีเย็น เลขานุการ นางมลิวัลย์ วงศ์พยัคฆ์ ผู้ช่วยเลขานุการ นางศัลยา คงสมบูรณ์เวช กรรมการ ดร.วีรยา โสติประวัติ กรรมการ นางสาวศิรดา กลิ่นชื่น กรรมการ นางพัชรวีร์ ทันละกิจ กรรมการ นางสาวชัชวรรณ วิชัยดิษฐ์ กรรมการ ผู้แทนภาค นางสาวอุไรพร วสันต์ขจร ผู้แทนภาคเหนือ นางสาวธันยารัศมิ์ ประทุมสุวรรณ ผู้แทนภาคใต้ นางสาวโสภา เอกวิโรจนสกุล ผู้แทนภาคกลาง นางสาวประภาพร สุนธงศิริ ผู้แทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางสาวผกาวลี ประกายสิทธิ์ ผู้แทนกรุงเทพมหานคร


คำ กล่ำวรำยงำน ประชุมวิชำกำรสมำคมนักกำ หนดอำหำรแห่งประเทศไทยประจำ ปี2567 เรื่อง “กำรประยกุตใ์ช้อำหำรบำ บดักบัเวชศำสตรว์ิถีชีวิต: สิ่งที่ควรร้”ู Application of Diet Therapy into Lifestyle Medicine: What We Should Know วันที่ 28-30 เมษำยน พ.ศ. 2567 ณ Mayfair Grand Ballroom ชั้น 11 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน ้ำ กรุงเทพมหำนคร Hybrid Meeting Platform เรียน นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธาณสุข ดิฉัน ผศ.ดร.ชนิดา ปโชติการ ในนามคณะกรรมการจัดการประชุมฯ และผู้เข้าร่วมประชุม มี ความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ท่านกรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการของสมาคมนัก ก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย ประจ าปี พ.ศ. 2567 การด าเนินงานสาธารณสุขในปัจจุบันต้องเป็นการด าเนินงานเชิงรุก โดยให้ความส าคัญกับการ ดูแลสุขภาพแบบ “เวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ Lifestyle Medicine” ซึ่งเป็นแนวทางการดูแลสุขภาพแบบ บูรณาการที่มุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรค รวมถึงในกรณีที่โรค เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตควบคู่กับการรักษา โดยการดูแลสุขภาพแบบเวชศาสตร์วิถี ชีวิตนั้น บุคลากรทางการแพทย์จ าเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในเรื่องที่ส าคัญ 6 ด้านซึ่ง เป็นพื้นฐานในการด าเนินชีวิต ประกอบด้วย 1. โภชนาการ 2. กิจกรรมทางกาย 3. การนอนหลับ 4. การลด ละ เลิกบุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด 5. การจัดการกับความเครียดและการจัดการด้าน อารมณ์ และ 6. การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หรือเชื่อมโยงกับสังคม โดยเน้นการดูแลแบบผู้ป่ วยเป็น ศูนย์กลาง ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง โดยไม่รู้สึก กดดัน เพื่อสร้างสุขภาพดีแบบองค์รวม ปีนี้เป็นปีส าคัญที่สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย ได้มีการก่อตั้งครบ 50 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 – 2567 ตลอดระยะเวลา 50 ที่ผ่านมา สมาคมฯ มุ่งมั่นด าเนินการตามวิสัยทัศน์ประชากรไทย สุขภาพดีด้วยนักก าหนดอาหาร “นักก ำหนดอำหำรวิชำชีพ” เป็นหนึ่งในสหสาขาวิชาชีพที่มีบทบาทส าคัญในการตอบสนอง นโยบายของประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข โดยเชื่อมโยงบทบาทของนักก าหนดอาหารกับการดูแล สุขภาพเชิงรุก ซึ่งไม่ได้ถูกจ ากัดภารกิจอยู่เพียงแค่ในโรงพยาบาลเท่านั้น ยังได้ขยายขอบเขตไปยัง


บริบทสถานที่บริการอาหารอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น การด าเนินโครงการอาหารปลอดภัยขยายสู่ 4 ร. ประกอบด้วย โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร และเรือนจ า เป็นต้น รวมทั้ง นักก าหนดอาหาร/นัก โภชนาการ/โภชนากร ยังมีบทบาทในการเผยแพร่ความรู้ด้านโภชนาการ และโภชนบ าบัดภายใต้ มาตรฐานวิชาชีพสู่สังคมไทย ทั้งในเชิงป้องกันและรักษาโรค การประชุมวิชาการในครั้งนี้ สมาคมฯ ให้ความส าคัญในการสร้างสมรรถะและศักยภาพให้กับนัก ก าหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร ให้มีความรู้ ความช านาญ และทักษะเฉพาะทาง โดยเฉพาะใน ด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อน าไปประยุกต์ใช้ในระบบบริหารจัดการด้านการส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาระบบการจัดการนวัตกรรมและกระบวนการส่งเสริม สุขภาพ การป้องกันโรค และระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพ และกระตุ้นให้ผู้ป่วยและประชาชนรู้จักดูแลส่งเสริมสุขภาพของตนเองด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ เหมาะสม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ป่วยและประชาชน ให้สามารถด ารงวิถีด าเนิน ชีวิตที่เอื้อต่อสุขภาพสอดคล้องกับบริบทของสังคมอย่างมีความสุข ดังนั้น สมาคมฯ จึงได้จัดให้มีการ ประชุมวิชาการประจ าปี พ.ศ. 2567 เป็น ครั้งที่ 44 ในหัวข้อเรื่อง “การประยุกต์ใช้อาหารบ าบัดกับเวช ศาสตร์วิถีชีวิต: สิ่งที่ควรรู้” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าประชุม-และสมาชิกในหน่วยงานเครือข่าย 1. ได้เสริมสร้างสมรรถนะในการบริหารจัดการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้ แนวทางเวชศาสตร์วิถีชีวิต 2. ได้น ามาตรฐานงานโภชนาการ และโภชนบ าบัดทั้งในการป้องกัน ฟื้นฟู และรักษาโรคมา ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย 3. สามารถพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมและสอดคล้อง กับแนวทางการดูแลสุขภาพแบบเวชศาสตร์วิถีชีวิต 4. เข้าใจและพัฒนาทักษะการบริหารจัดการอาหารในบริบทต่างๆ 5. มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในวิชาชีพ เดียวกันและระหว่างสหสาขาวิชาชีพ ส าหรับการประชุมวิชาการประจ าปี พ.ศ. 2567 สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมสร้างเสริมทักษะที่จ าเป็นในการปฏิบัติงานด้านอาหารและโภชนาการ ผ่าน กระบวนการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในกิจกรรม DIETETICS WORKSHOP ประกอบด้วยหัวข้อที่น่าสนใจ จ านวน 3 เรื่อง คือ - Nutrition Communication and Counseling Skills for Dietitians - Medical Nutrition Therapy in Gastrointestinal Disease - Essential Guides for a Dysphagia Dietitian นอกจากนี้ ยังการน าเสนอสาระส าคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้อาหารบ าบัดกับเวช ศาสตร์วิถีชีวิต ผ่านการบรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งมีการน าเสนอผลงานวิชาการ : น าเสนอ


ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับทุนต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบน าเสนอปากเปล่า (Oral presentation) และ โปสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์(e-Poster Presentation) สมาชิกผู้ที่ร่วมประชุมครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ก าหนด จะได้รับประกาศนียบัตรจากสมาคมนัก ก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย เพื่อแสดงว่าได้รับความรู้ทั้งวิชาการ และแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อ เพิ่มศักยภาพตนเองในการพัฒนางานขององค์กร โดยเฉพาะการน าความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในเกิด ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยและประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีสุขภาวะที่ดีอย่างต่อเนื่อง การประชุมครั้งนี้ สมาคมฯ ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ วิทยากร ทุกท่าน ผู้ที่ให้การสนับสนุน คณะกรรมการจัดการประชุม รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน กลุ่มอาหารทางการแพทย์และกลุ่มธุรกิจอาหารสุขภาพ ตลอดจนผู้ช่วยเหลืองานด้านต่างๆและสมาชิก ทุกท่าน บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว จึงใคร่ขอกราบเรียนเชิญ นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธาณสุข ท่านประธานฯ กล่าวเปิดการประชุมครั้งนี้


คำ กล่ำวเปิด ประชุมวิชำกำรสมำคมนักกำ หนดอำหำรแห่งประเทศไทยประจำ ปี2567 เรื่อง “กำรประยกุต์ใช้อำหำรบำ บดักบัเวชศำสตรว์ิถีชีวิต: สิ่งที่เรำควรร้”ู Application of Diet Therapy into Lifestyle Medicine: What We Should Know วันที่ 28 - 30เมษำยน พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุม Mayfair Grand Ballroom ชั้น 11 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน ้ำ กรุงเทพมหำนคร Hybrid Meeting Platform เรียน ผศ.ดร. ชนิดา ปโชติการ นายกสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการสมาคมฯ และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดประชุมวิชาการสมาคมนักก าหนด อาหารแห่งประเทศไทย ประจ าปี2567 โดยการประชุมในปีนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Lifestyle Medicine ซึ่งเป็นศาสตร์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจ าวัน ตั้งแต่การกิน การ นอนหลับ การจัดการกับความเครียด การลดเลิกการใช้สารเสพติด รวมทั้งการมีความสัมพันธ์กับคนรอบ ข้าง เพื่อเปลี่ยนสุขภาพให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้เป็นยา ซึ่งเป็นหัวใจ ส าคัญของการส่งเสริม ป้องกัน หรือกระทั่งรักษาโรค ที่ส าคัญยังสอดคล้องกับนโยบายของประเทศและ กระทรวงสาธารณสุข จากการกล่าวรายงาน ท าให้ทราบว่า สมาคมนักก าหนดอาหารเป็นสมาคมวิชาชีพที่มีการก่อตั้งและ ด าเนินงานต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในวิชาชีพ และการพัฒนางานทางด้านโภชนาการและ การก าหนดอาหารมาอย่างต่อเนื่องจนครบวาระ 50 ปีในปีนี้ซึ่งพบว่าสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศ ไทย เป็นองค์กรวิชาชีพที่มีผลงานเชิงประจักษ์มากมายทั้งในการป้องกัน และรักษาโรค เพื่อสร้างเสริม สุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนไทย โดยมีโครงการร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ และกระทรวง สาธารณสุข อาทิเช่น โครงการ Muscle and Malnutrition Care Initiative โครงการพัฒนาองค์ความรู้ด้าน อาหาร เพื่อให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ (DM remission) โครงการอาหารปลอดภัย โครงการการจัดท า คู่มือการปฏิบัติงานกลุ่มงานโภชนศาสตร์โครงการการจัดท าต ารับมาตรฐานอาหารในโรงพยาบาล โครงการ เค็มน้อยอร่อยดี(3 ดี) โครงการการจัดท าหลักสูตรอบรมผู้ประกอบอาหาร OTOP โครงการราชทัณฑ์ปันสุข (อาหารและโภชนาการส าหรับผู้ต้องขัง) เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะในการปฏิบัติงานของ นักก าหนดอาหาร นัก โภชนาการ และโภชนากร รวมทั้งมีการฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อน ามาตรฐานงานโภชนาการ และโภชน บ าบัดไปใช้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันสมัย นอกจากนี้การน าเสนอผลงานวิจัย นวัตกรรม ด้านอาหาร โภชนาการ และ โภชนบ าบัด จะน าไปสู่การพัฒนางานอย่างต่อเนื่องของเครือข่ายวิชาชีพนัก ก าหนดอาหาร นักโภชนาการ และโภชนากร บัดนี้ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์แล้ว ผมขออ านวยพรให้การประชุมครั้งนี้ประสบความส าเร็จตามที่ คาดหวังทุกประการ และขอเปิดประชุมวิชาการสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย ประจ าปี2567


การประชุมวิชาการสมาคมนักกา หนดอาหารแห่งประเทศไทยประจา ปี2567 ครั้งที่ 44 เรื่อง Application of Diet Therapy into Lifestyle Medicine: What We Should Know การประยกุต ์ใช้อาหารบา บดักบัเวชศาสตรว ์ิถีชีวิต: สิ่งที่เราควรรู้ วันที่ 28-30 เมษายน พ.ศ.2567 ณ Mayfair Grand Ballroom ชั้น 11 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน ้า กรุงเทพมหานคร Hybrid Meeting Platform วนัอาทิตยท์ ี่28 เมษายน 2567 07.30-08.30 ลงทะเบียน 08.30-11.15 DIETETICS WORKSHOP Nutrition Communication and Counseling Skills for Dietitians Workshop1: Mayfair Ballroom A Medical Nutrition Therapy in Gastrointestinal Disease Workshop 2: Mayfair Ballroom B Essential Guides for a Dysphagia Dietitian Workshop 3: Mayfair Ballroom C 08.30-09.15 บรรยาย: การสื่อสารและ การให้คำปรึกษาทางโภชนา การสำหรับนักกำหนด อาหาร โดย อ.ดร. ฐนิต วินิจจะกูล สถาบันโภชนาการ บรรยาย: กระบวนการดูแล ทางโภชนบำบัด โดย อ.ดร. ปรารถนา ตปนีย์ สถาบันโภชนาการ บรรยาย: วิทยาศาสตร์และ งานนวัตกรรมในอาหารฝึก กลืน โดย อ. วรัญญา เตชะสุขถาวร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 09.15-10.00 กิจกรรม: การประยุกต์ใช้ ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพใน การสื่อสารทางโภชนาการ โดย อ.ดร. ฐนิต วินิจจะกูล และคณะผู้ช่วยวิทยากร บรรยายและกิจกรรม: การ วินิจฉัยทางโภชนาการด้วย การเขียนตามหลัก PES โดย ดร.วริษฐา คิงฮอร์น Tasmanian Health Service บรรยาย: วิธีการสังเกต คัดกรอง ประเมินภาวะกลืน ลำบากเบื้องต้น โดย ผศ.ดร.นพ. ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ โรงพยาบาลรามาธิบดี


10.00-10.30 อาหารว่าง/เยี่ยมชมโปสเตอร์และนิทรรศการ 10.30-11.15 กิจกรรม: การออกแบบ โครงการสื่อสารทาง โภชนาการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม โดย อ.ดร. ฐนิต วินิจจะกูล และคณะผู้ช่วยวิทยากร บรรยาย: การดูแลทางโภชน บำบัดในผู้ป่วยโรคตับแข็ง โดย ผศ.นพ. นริศร ลักขณานุรักษ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บรรยาย: สหสาขาวิชาชีพ กับ การดูแลผู้ป่วยฝึกกลืน และกรณีศึกษาในกลุ่ม ประเทศเอเชีย โดย คุณอภิชญา พิชญ์ผล โรงพยาบาลบีเอ็นเอช 11.15-12.00 Educational Symposium 1/บริษทั ไทยโอซูก้า จ ากัด Revolution of Nutrition in DM Patient ด าเนินรายการโดย พล.ต.หญิง รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า - The Revolution of Glycemic Control During Enteral Tube Feeding in DM Patients โดย พล.ต.หญิง รศ.พญ.อภัสนี บุญญาวรกุลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า - Clinical Experience with Modified Enteral Formula for Patients with Diabetes โดย พ.อ.หญิง ดร. กรกต วีรเธียรส านักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 12.00-13.00 อาหารกลางวัน 13.00-13.45 Educational Symposium 2 บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด ด าเนินรายการโดย ผศ. ดร. ชนิดา ปโชติการ สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย - Nutrition, Muscle and Strength: Paramount for Optimal Health โดย นพ.วินัย อึงพินิจพงศ์ สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดด าและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย 13.45-16.30 DIETETICS WORKSHOP 13.45-14.30 บรรยาย: การให้คำปรึกษา ทางโภชนาการด้วยเทคนิค การสัมภาษณ์เพื่อสร้าง แรงจูงใจ (MI) โดย อ. ดร.ฐนิต วินิจจะกูล สถาบันโภชนาการ บรรยาย: พื้นฐานการให้ อาหารเข้าทางเดินอาหาร และทางหลอดเลือดดำ โดย คุณสมิทธิ โชติศรีลือชา สมาคมนักก าหนดอาหาร แห่งประเทศไทย บรรยาย: มาตรฐาน IDDSI และวิธีการทดสอบ โดย คุณกมลชนก ค้าสุวรรณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ 14.30-15.15 กรณีศึกษา: การให้ คำปรึกษาทางโภชนาการ ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์ เพื่อสร้างแรงจูงใจ (MI) โดย อ.ดร. ฐนิต วินิจจะกูล สถาบันโภชนาการ กรณีศึกษา: กระบวนการ ดูแลทางโภชนบำบัดในผู้ป่วย โรคตับแข็ง โดย คุณสมิทธิ โชติศรีลือชา อ.ดร.ปรารถนา ตปนีย์ ดร.วริษฐา คิงฮอร์น และคณะผู้ช่วยวิทยากร ปฎิบตัิการ เครื่องดื่มปรับ ความหนืด สารให้ความหนืด และการทดสอบ โดย คุณกมลชนก ค้าสุวรรณ และคณะผู้ช่วยวิทยากร 15.15-15.45 อาหารว่าง/เยี่ยมชมโปสเตอร์และนิทรรศการ


15.45-16.30 กิจกรรม: การประยุกต์ใช้ ทฤษฎีพฤติกรรม และ MI ในการให้คำปรึกษาทาง โภชนาการ โดย อ.ดร. ฐนิต วินิจจะกูล และคณะผู้ช่วยวิทยากร กรณีศึกษา: กระบวนการ ดูแลทางโภชนบำบัดในผู้ป่วย โรคตับแข็ง(continue) โดย คุณสมิทธิ โชติศรีลือชา อ.ดร.ปรารถนา ตปนีย์ ดร.วริษฐา คิงฮอร์น และคณะผู้ช่วยวิทยากร ปฎิบตัิการ: อาหารดัดแปลง เนื้อสัมผัส/ อาหาร Transitional food / อาหารที่ ต้องระวัง และการทดสอบ โดย คุณอภิชญา พิชญ์ผล และคณะผู้ช่วยวิทยากร วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567 08.30-09.00 พิธีเปิด VDO 50 ปีสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย 09.00-09.30 ปาฐกถา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัศมี คันธเสวี ครั้งที่ 3 Lifestyle Medicine: The Importance of Nutrition and Dietetics องค์ปาฐก: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว 09.30-10.00 พิธีมอบทุน TDA Research Award, TDA Junior Research Award, TDA-MEIJI Award, TDA Soymilk Study Award, TDA Quest-Yamamoto Award, ทุน Muscle and Malnutrition Care ปี 2 ทุนพัฒนาองค์ความรู้ด้านการให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับ บริการในโรงพยาบาล, ทุนส่งเสริมการดูแลด้านโภชนบำบัดในผู้ที่ได้รับการ บำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม 10.00-10.30 อาหารว่าง/เยี่ยมชมโปสเตอร์และนิทรรศการ 10.30-11.30 The Asian Federation of Dietetic Associations (AFDA) Symposium: What is the Next Path of Asian Dietetic Profession? ด าเนินรายการโดย ผศ. ดร. ชนิดา ปโชติการ สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย - Dr. Chwang Leh-Chii Honorary President of AFDA & Honorary President of Chinese Dietetic Society,Taiwan (CDS) - Dr.Teiji Nakamura President of AFDA & President of Japan Dietetic Association (JDA) - Mdm Mary Easaw Consultant Dietitian Hospital CVSKL & PICASO, Kuala Lumpur, Malaysia - Asst. Prof. Dr. Chanida Pachotikarn President of Thai Dietetic Association (TDA) 11.30-12.15 Educational Symposium 3 บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด ด าเนินรายการโดย ผศ. ดร. ชนิดา ปโชติการ สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย - How to Effectively Incorporate DSF in Clinical Practice Through tDNA Application โดย ผศ.นพ. พรพจน์ เปรมโยธิน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ดร. ปัทนภา ศรีชมเชย ศูนย์โภชนาการและการก าหนดอาหาร รพ.เทพธารินทร์


12.15-13.15 อาหารกลางวัน 13.15-14.15 Symposium 1: Emerging Concept of Diet as a Component of Lifestyle Medicine ด าเนินรายการโดย รศ.ดร. วันทนีย์ เกรียงสินยศ สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย - Chrononutrition and Obesity โดย พล.ต. หญิง รศ. อภัสนี บุญญาวรกุลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า - Dietary pattern and gut microbiota โดย ดร. พรรณเพ็ญ พูนลาภเดชา โรงพยาบาลรามาธิบดี 14.15-15.00 Educational symposium 4 บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด Discover VLCD Program for Obesity Management โดย พ.อ.หญิง พญ.สิรกานต์ เตชะวณิช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พ.อ.หญิง ดร.กรกต วีรเธียรส านักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 15.00-15.30 อาหารว่าง/เยี่ยมชมโปสเตอร์และนิทรรศการ 15.30-17.00 Symposium 2: Clinical Nutrition in Liver Diseases ด าเนินรายการโดย คุณสมิทธิ โชติศรีลือชา สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย - Metabolic Dysfunction-Associated Steatotic Liver Disease (MASLD) and Metabolic Dysfunction-Associated Steatohepatitis (MASH) New Definition and Current Treatment โดย พท. รศ. นพ. ศักรินทร์ จิรพงศธร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า - Role of Nutrition and Diet Therapy in MASLD and MASH โดย คุณสมิทธิ โชติศรีลือชา สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย - Nutrition Therapy in Parenteral Nutrition-Associated Lliver Disease (PNALD) โดย อ.นพ.ธนน คงเจริญสมบัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันอังคารที่ 30 เมษายน 2567 08.30-10.00 Symposium 3: A Powerful Duet: Lifestyle Medicine and Value-Based Health Care ด าเนินรายการโดย ดร. ปัทนภา ศรีชมเชย สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย - Uniting Knowledge with Action: Harnessing the Power of Behavior Change Strategies โดย รอ. นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โรงพยาบาลพญาไทนวมินทร์ - Wellness program for Sleep efficiency โดย พญ. กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล โรงพยาบาลวิมุต - Manage Stress and Promote Well-Being โดย อ.ดร.อรวรรณ ขวัญศรี สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล 10.00-10.30 อาหารว่าง/เยี่ยมชมโปสเตอร์และนิทรรศการ 10.30-11.30 Symposium 4 Evidence Recommendation on Vitamin Supplementation ด าเนินรายการโดย คุณสมศรี เตชะวรกุล สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย


- Health Effects of Vitamin and Mineral Supplements โดย ผศ.พญ. ศานิต วิชานศวกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - How to Pick the Right Vitamins and Supplements for You โดย เภสัชกร นิรชร คูชลธารา โรงพยาบาลบ ารุงราษฏร์ 11.30-12.15 Educational Symposium 5/บริษัท เฟรเซนีอุส คาบี (ไทยแลนด์) จำกัด The Best Nutrition Practice From Surgery to Cancer Treatment ด าเนินรายการโดย นพ.วินัย อึงพินิจพงศ์ โรงพยาบาลสุรินทร์ - Consequences of Malnutrition in Surgical Patients โดย นพ.วินัย อึงพินิจพงศ์ สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดด าและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย - Malnutrition in Cancer Patients โดย นพ.เลืองยศ ทองเที่ยง โรงพยาบาลขอนแก่น - How to Close the Nutritional Gap in Surgical Cancer Patient โดย ผศ. พญ. ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร โรงพยาบาลรามาธิบดี 12.15-13.00 อาหารกลางวัน 13.00-13.30 Special Lecture: “What dietitians need for the future: Evidence-based Dietetics” โดย Prof. Dr. Shigeru YamamotoThe Japan Dietetic Association 13.30-14.15 Symposium of Asian Young Dietitian Network - The Birth of the Asian Young Dietitian Network โดย Ms. Nguyễn Thu Trang - Advantages and Challenges of Dietitians in Developing their Careers in the New Era. โดย Mr. Samitti Chotsriluecha and AYDN Member 14.15-15.15 Symposium 5: Nutrition and Self-Care for Beauty and Aesthetics โภชนาการและการดูแลตนเองกับความสวยความงาม ด าเนินรายการโดย พ.อ.หญิง ดร. กรกต วีรเธียร สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย - Eating Behavior, Self -Care, and Body Image โดย อ.ดร. ฐนิต วินิจจะกูลสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล - Nutrition in Dermatology and Aesthetics โดย อ. พญ. วรายุวดี อมรภิญโญ โรงพยาบาลขอนแก่น 15.15-15.45 ประชุมใหญ่สามัญ สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย ประจ าปี 2566 15.45-16.15 จับรางวัลและปิดการประชุม 16.15-16.30 อาหารว่าง หมายเหตุกำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


1. Meiji Co., Ltd., Japan 2. Marusan-Ai Co., Ltd., Japan 3. Quest computer Co., Ltd., Japan 4. บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด 5. บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด 6. บริษัท ไทยโอซูก้า จำกัด 7. บริษัท เฟรเซนีอุส คาบี (ไทยแลนด์) จำกัด 8. บริษัท กรีนสปอต จำกัด 9. บริษัท โนเนม ไอเอ็มซี จำกัด 10. บริษัท ฟอร์แคร์ อินโน จำกัด 11. บริษัท ซิตี้ เมดิคอล ซัพพลาย จำกัด 12. บริษัท เคทูเอ็น มาร์เก็ตติ้งโซลูชั่นส์ จำกัด 13. บริษัท โฟริก้า ฟู้ดส์ คัมปะนี ลิมิเต็ด (สำนักงานใหญ่) 14. บริษัท ออล ไรซ์ พลัส จำกัด 15. บริษัท เอลิสต์ ซัพพลาย จำกัด 16. บริษัท ซุพีเรียร์ โปรดักศ์ อินโนเวชั่น จำกัด 17. บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด 18. บริษัท อีทเวลล์ จำกัด (น้ำตาลราชบุรี) 19. บริษัท นิวทริ-ไฟว์ ฟู้ด จำกัด 20. บริษัท นิวทรีพรีม จำกัด 21. บริษัท ไรซ์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด 22. บริษัท เมก้า ไลฟ์ ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด 23. บริษัท เฟลคเซอร์ จำกัด 24. บริษัท พุงสบาย กายสตรอง จำกัด 25. บริษัท ยูซิง จำกัด ผู้ให้การสนับสนุน การประชุมวิชาการสมาคมนักกา หนดอาหารแห่งประเทศไทย ประจ าปี 2567


26. บริษัท ทานดี อินโนฟูด จำกัด 27. บริษัท ดอกเตอร์ ดีซายน์ จำกัด 28. บริษัท โมดิช ฟู้ด ดีไซน์ จำกัด 29. บริษัท เทซี่ อินเตอร์ฟู้ด จำกัด 30. บริษัท สยาม ทรอลี่ โปรเกรสชั่น จำกัด 31. บริษัท น้ำมันรำข้าวสุรินทร์ จำกัด 32. บริษัท มา-จัสมิน จำกัด 33. บริษัท ไทยเพียวดีไวซ์ จำกัด 34. บริษัท โปรเวนชั่น ทีม (2020) จำกัด 35. บริษัท เดโม เพาเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 36. บริษัท แปซิฟิค เฮลธ์แคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด 37. บริษัท บ้านโป่ง โนวิเทท จำกัด 38. บริษัท สกาย เนชเชอรัลฟู้ดส์ จำกัด 39. บริษัท กรีน แอนด์ ออแกนิค จำกัด


ผ้ชู่วยศาสตราจารยร ์ ศัมีคนัธเสวี อดีตหัวหน้างานโภชนาการ คณะแพทยศาสตร ์โรงพยาบาลรามาธิบดี อดีตประธานชมรมนักก าหนดอาหาร ใครหนอเป็นคุณครูผู้สอนสั ่ง ใครหนอช่างวางแผนแสนขยนั ใครหนอแก้ปัญหาได้สารพัน ใครสร้างสรรค์งานชมรมฯ มานมนาน ใครหนอมีไมตรีอารีรอบ ใครหนอมอบความรักสมัครสมาน ใครให้ครอบครัวสุขทุกวันวาร ชนไขขาน “รัศมี” ผู้นี้เอง


ประวตัิ ผ้ชู่วยศาสตราจารยร ์ ศัมีคนัธเสวี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัศมี คันธเสวี เกิดที่อำเภอเมือง จังหวัด เชียงราย เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 เป็นบุตรีคนที่ 4 ในจำนวนพี่ น้อง 9 คนของคุณพ่ออุ่น (เถ้าแก่ไม่ร้อนไม่หนาว) และคุณแม่บัวผัน มโนมูล อาจารย์รัศมี เริ่มการศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนอนุบาลเชียงราย คริสเตียน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเชียงรายพิทยาคม) จังหวัดเชียงราย และย้ายมาศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร และสอบเข้าศึกษาต่อในระดับเตรียมอุดมศึกษาที่โรงเรียน เตรียมอุดมฯ ปี 2485 อาจารย์ได้เข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อจบการศึกษา ในปี 2490 ได้ทำงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากสอนอยู่ที่นี่ ได้ประมาณ 3 ปี มิชชันนารีที่เชียงใหม่ได้มาติดต่อทาบทามให้ไปศึกษาต่อทางด้าน Dietetics ใน ต่างประเทศ เนื่องจากในระหว่างนั้น อาจารย์ยังไม่มีภาระทางครอบครัว จึงเกิดความสนใจ และได้รับทุน จากคณะมิชชันนารี ไปศึกษาต่อที่ Park Ville College, มลรัฐ Missouri ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อจบการศึกษาที่ Park Ville College แล้ว อาจารย์รัศมีได้มีโอกาสไปฝึ กงาน Dietetic Internship ที่ Stanford Hospital, San Francisco เป็นเวลา 1 ปี มีเพื่อนร่วมฝึกงานเพียง 6-7 คน เท่านั้น และที่นี่อาจารย์ได้เรียนรู้ถึงหน้าที่ที่ถูกต้องของนักกำหนดอาหาร (Dietitian) เมื่อจบการฝึกงานที่ Stanford Hospital อาจารย์รศัมีได้เข้าพิธีมงคลสมรสกบัอาจารย์ นิพนธ์คนัธเสวีที่ San Francisco เมื่อปี พ.ศ. 2496 และเดินทางกลับเมืองไทย อาจารย์รัศมีได้ไป ทำงานที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ ในตำแหน่งนักกำหนดอาหารอยู่ประมาณ 3 ปี ปี 2500 เมื่ออาจารย์นิพนธ์สำเร็จการศึกษา และกลับมาเป็นอาจารย์สอนที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์รัศมีจึงได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย โดย สังกัดในภาควิชาคหกรรมศาสตร์ อาจารย์ได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นานถึง 10 ปี ในปี พ.ศ. 2508 ได้มีการเริ่มก่อสร้างคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อารี วัลยะเสวี ซึ่งเป็นผู้ร่วมดำเนินการก่อตั้ง ขณะนั้น ต้องการผู้ที่มีความรู้ทางด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อร่วมทำงานในด้านการให้บริการอาหาร แก่ผู้ป่วย ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและโภชนบำบัด และได้รับการแนะนำจากอาจารย์นิดา ชิดานน เพื่อนที่มหาวิทยาลัยเกษตรให้รู้จักกับอาจารย์รัศมี จึงเป็นการจุดประกายความสนใจให้แก่อาจารย์รัศมีที่ จะร่วมทำงานในด้านนี้อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้ละเว้นการปฏิบัติงานในหน้าที่นักกำหนดอาหารมาระยะ หนึ่ง ดังนั้นอาจารยจ์ึงโอนย้ายจากคณะเกษตร มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ มารับราชการที่คณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลยัมหิดล ในปีพ.ศ.2510 และได้รบัทุนจาก Rockyfeller ไปศึกษาต่อทางด้าน Hospital Food Administration ที่ University of Columbia Kansas City, Missouri จึงนับเป็นการไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งที่สอง


กลางปี พ.ศ.2511 อาจารย์รัศมี เดินทางกลับเมืองไทยได้วางแผนการทำงานในหน่วยอาหาร และโภชนาการ ทั้งในการแบ่งสายการบังคับบัญชา การปฏิบัติงาน ขั้นตอนและวิธีการทำงาน นอกจากนี้ อาจารย์ยังได้ทำการสอนและแนะนำเจ้าหน้าที่ที่จะต้องทำงานในหน่วยงานนี้ให้เกิดความเข้าใจและเห็น ความสำคัญของงานที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้เพราะอาจารย์ได้ตระหนักดีว่า วิชาโภชนบำบัด การ บริหารงานโภชนาการในโรงพยาบาล และการบริการอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาลมิได้มีการเรียนการ สอนอย่างจริงจังในประเทศไทย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นักกำหนดอาหารไม่ ทราบถึงหน้าที่ที่แท้จริงของตน วันที่ 3 พ.ค. 2512 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดดำเนินการ ในระยะแรกของการ เปิดโรงพยาบาลอาจารย์รัศมี ได้ทุ่มทั้งแรงกาย แรงใจในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ เจ้าหน้าที่ทุกคนต่าง ก็ยังไม่เคยทำงานที่ไหนมาก่อน จึงยังไม่เข้าใจงานในหน้าที่ รวมถึงขั้นตอนการทำงาน ภาระงานที่ต้อง รับผิดชอบ การทำงานที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจึงเป็นการเริ่มมาเรียนรู้งานใหม่พร้อมๆกัน ปี2517 อาจารยเ์ป็ นผ้รูิเริ่มและรวบรวมบุคลากรที่ท างานทางด้านโภชนาการและโภชน บ าบัด ตลอดจนผู้ที่สนใจงานทางด้านนี้ และก่อตั้งเป็ น ชมรมนักก าหนดอาหาร ขึ้น ทั้งนี้ได้รับ การสนับสนุนเป็ นอย่างดี จากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อารีวลัยะเสวีซึ่งด ารง ตา แหน่งเป็ นคณบดีคณะแพทยศาสตรโ์รงพยาบาลรามาธิบดีในขณะนัน้ รวมทั้งได้อนุญาตให้ใช้ สถานที่ของงานอาหารและโภชนาการเป็นสำนักงานของชมรมฯด้วย อาจารย์รัศมี ได้รับเลือกให้เป็น ประธานคนแรกของชมรมฯ และให้การสนับสนุนงานของชมรมฯมาโดยตลอดในด้านของการจัดอบรม เผยแพร่ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านโภชนาการและโภชนบำบัด พยายามให้นักกำหนดอาหารได้ มีความรู้เพิ่มขึ้น มีโอกาสแสดงตนและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย ดังเช่นที่ปฏิบัติกันใน ต่างประเทศ มิใช่เก็บตนเองอยู่ในครัวเท่านั้น จึงนับว่าอาจารย์รัศมีได้มองเห็นถึงความสำคัญของงานใน ด้านนี้ และเป็นผู้ที่จุดประกายให้วงการแพทย์ไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่จะต้อง ใช้โภชนบำบัดในการรักษาผู้ป่วยควบคู่กับการรักษาทางยา โดยนักกำหนดอาหารเป็นผู้รับผิดชอบงาน ทางด้านนี้ ปี2517 อาจารย์ได้เดินทางไปศึกษาและดูงานที่ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยไปเป็นคณะ ทั้งหมด 6 คน อาจารย์รัศมีเป็นหัวหน้าคณะ ผู้ร่วมคณะประกอบด้วย นักกำหนดอาหาร (คุณรุจิรา สัมมะ สุต) นักวิจัย (คุณธรา วิริยะพานิช คุณเจษฎา กิตติกุล คุณพงศธร สังข์เผือก และคุณประภาศรี ภูว เสถียร) โดยได้รับทุนจากรัฐบาลประเทศเนเธอร์แลนด์ จุดมุ่งหมายในการไปต่างประเทศในครั้งนี้คือ การศึกษา ดูงานและฝึกงานในด้านการเรียน การสอน และการวิจัย ซึ่งแต่ละคนก็จะแยกย้ายกันศึกษา ดู งานและฝึกงานในด้านที่ตนเองสนใจและรับผิดชอบ เพื่อจะได้นำความรู้ใหม่มาปรับปรุงงานในความ รับผิดชอบให้ดียิ่ง แต่ทั้ง 6 คนก็นัดพบกันแทบทุกสัปดาห์ เพื่อพบปะและทำอาหารไทยรับประทาน ร่วมกันเพื่อให้คลายความคิดถึงบ้าน รวมทั้งถือโอกาสท่องเที่ยวร่วมกันโดยมีอาจารย์รัศมีเป็นหัวหน้าทีม ทุกครั้ง ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในต่างประเทศนั้น อาจารย์เป็นที่ปรึกษาของลูกทีม ให้คำแนะนำต่างๆ เป็น อย่างดี ขณะเดียวกันอาจารย์ก็ยังทำตัวเป็นเพื่อนร่วมวัยกับทุกๆคน ทำให้ผู้ร่วมคณะที่เดินทางไป ด้วยกันไม่รู้สึกว่ามีช่องว่างระหว่างวัยในกลุ่ม


เมื่อกลับจากเนเธอร์แลนด์อาจารย์ได้ทุ่มเทเวลาให้กับการพัฒนางานในความรับผิดชอบอีกครั้ง หนึ่ง ในปีพ.ศ.2518 อาจารย์ได้รับแต่งตั้งให้เป็ นรองผู้อ านวยการโรงพยาบาลอีกต าแหน่งหนึ่ง ด้วย อาจารย์จึงต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น เพราะงานของโภชนาการที่อาจารย์รับผิดชอบก็มีปัญหา เฉพาะหน้าให้คอยแก้ไขอยู่ตลอดเวลามากอยู่แล้ว แต่ยังต้องรับหน้าที่บริหารงานของโรงพยาบาล เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งอาจารย์ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดีโดยไม่บกพร่อง อาจารย์เกษียณอายุราชการเมื่อปี 2527 แต่ก็ยังคงห่วงใยลูกศิษย์ที่ทำงานในฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดีทุกคน คอยติดตามถามทุกข์สุขรวมทั้งให้คำแนะนำอยู่เสมอ ดังนั้นอาจารย์จึงดีใจ มากที่บรรดาลูกศิษย์และลูกน้องในฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ช่วยกันเปิดการอบรมระยะ สั้น 4 เดือน ในหลักสูตร “โภชนบำบัด” ให้แก่นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ โภชนากร ที่ทำงานใน โรงพยาบาล และอาจารย์กรุณาร่วมเป็นอาจารย์พิเศษ ช่วยสอนและให้คำแนะนำในการจัดเตรียม หลักสูตร และการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัศมี คันธเสวีเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2541 แต่คุณงามความดีของ อาจารย์ที่ปรากฎสมควรแก่การยึดถือเป็นแบบอย่างที่จะประพฤติและปฏิบัติตาม และที่สำคัญที่สุดคือ ท่านเป็ นผู้ที่จุดประกายส่องทางให้แก่ผู้ที่ท างานในหน้าที่นักก าหนดอาหาร นักโภชนาการ โภชนากร ในโรงพยาบาล ให้ตระหนักถึงความส าคัญของงานในหน้าที่ ได้มีโอกาสท างานให้ตรง กบัต าแหน่งหน้าที่และความรบัผิดชอบของตน ท าให้นักกา หนดอาหารได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน การดูแลผู้ป่ วย ท าให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เริ่มตระหนักถึงความสา คญัของวิชาชีพ นักก าหนดอาหาร และทา ให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพนี้ ในวาระครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยในปี 2567 และเพื่อ เป็นการระลึกถึงคุณความดีของผู้ช่วยศาสตราจารย์รัศมี คันธเสวีที่มีต่อพวกเรา นักกำหนดอาหาร นัก โภชนาการ โภชนากร สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 44 ประจำปี 2567 และกำหนดให้มีปาฐกถา “ผู้ช่วย ศาสตราจารย์รัศมี คันธเสวี”ครั้งที่ 3 ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความดีงามที่ควรระลึกถึง และยึดเป็น แบบอย่างที่ดีในการประพฤติและปฏิบัติในชีวิต และอาชีพของนักกำหนดอาหารต่อไป


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 1 การประชุมวิชาการสมาคมนักกา หนดอาหารแห่งประเทศไทยครงั้ที่44 ประจา ปี2567 เรื่อง “การประยุกต์ใช้อาหารบา บดักบัเวชศาสตรว์ิถีชีวิต: สิ่งที่ควรร้”ู Application of Diet Therapy into Lifestyle Medicine: What We Should Know วันที่ 29เมษายน พ.ศ. 2567 ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน ้า กรุงเทพมหานคร --------------------------------- ปาฐกถา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัศมี คันธเสวี ครั้งที่ 3 หัวข้อ Lifestyle Medicine: The Importance of Nutrition and Dietitics องค์ปาฐก: นายแพทยโ์อภาส การยก์วินพงศ์ปลดักระทรวงสาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขและภาวะสุขภาพของ ประชาชนในอนาคต โดยปัจจัยสำคัญที่เป็นความท้าทาย ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ และการ เข้าถึงระบบบริการสุขภาพ 2) การเมือง ที่มีผลต่อการกำหนดนโยบาย 3) ประชากร เด็กเกิดน้อย ด้อย คุณภาพ ปัญหาทุพโภชนาการทั้งขาดและเกินในทุกกลุ่มวัย และการเข้าสู่สังคมสูงวัย 4) พฤติกรรมของ คนไทยที่เสี่ยงโรคเรื้อรังและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 5) โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โรคระบาด 6) การ จัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี7) อาหารและเกษตรกรรม ความมั่นคงด้านอาหาร การ เข้าถึงโภชนาการ 8) การขนส่ง อุบัติเหตุและมลพิษทางอากาศ และ 9) เทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยน สำคัญในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการทางการแพทย์ให้ตอบสนองกับปัญหาและความต้องการของ ประชาชน ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการแพทย์และสาธารณสุข ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พลิกโฉมบริการสุขภาพ ซึ่งการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความมั่นคง ด้านสุขภาพในระยะยาว กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกรอบการจัดการอาหารในมิติต่างๆ ความมั่นคงด้านอาหาร คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร อาหารศึกษา และการบริหารจัดการ ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดห่วงโซ่อาหาร ทั้งจากภาคเกษตร โภชนาการและสุขภาพ โดยอาศัยกลไกในการขับเคลื่อนผ่าน คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการอย่างยั่งยืน เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ และผู้บริโภคมีพฤติกรรมการ บริโภคอาหารที่เหมาะสม นโยบายมุ่งเน้นกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567 วางรากฐานในประเด็นที่ 6 การแพทย์ปฐมภูมิ “อำเภอสุขภาพดี”ขับเคลื่อนด้วย 3 มาตรการหลัก คือ มีกลไกขับเคลื่อนอำเภอ มีระบบเฝ้าระวังคัดกรอง และประเมินสุขภาพ และมี Healthy package ประกอบด้วย กินดี จิตดี ลดเนือยนิ่ง ความสัมพันธ์ดี และสิ่งแวดล้อมปลอดภัย เป็นรากฐานการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ทุกอำเภอ และสร้างเศรษฐกิจ มุ่งเป็นศูนย์กลางสุขภาพโลก ในประเด็นที่ 12 เศรษฐกิจสุขภาพ ด้วยการยกระดับ Healthy City MODELs


2 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association เป็น Blue Zone เมืองสุขภาพดีวิถีชุมชนคนอายุยืน กินดี (อาหารปลอดภัย) มีกิจกรรมสำคัญ คือ ส่งเสริมพฤติกรรมการกิน มีวิถีชุมชนอาหารปลอดภัย รวมทั้งสถานประกอบการมีสุขลักษณะ/เมนูชู สุขภาพ/ร้านเครื่องดื่มหวานน้อยสั่งได้ นำร่องในจังหวัด “น่าน นครแห่งความสุข” พร้อมตั้งเป้าขยายให้ ครอบคลุมจนครบทุกจังหวัด ยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่ ขับเคลื่อน Wellness Restaurant ภายใต้มาตรฐาน SAN Plus ของกรมอนามัย และ Wellness Hotel ที่มี องค์ประกอบด้านอาหารเมนูชูสุขภาพ และในประเด็นที่ 13 นักท่องเที่ยวปลอดภัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไทยร่วมกับหอการค้าจังหวัดฯ และภาคีเครือข่าย สร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ใน 31 จังหวัดนำ ร่อง เช่น “นครปฐมเมืองอาหารปลอดภัย พัก เที่ยว กิน มั่นใจ สุขภาพดี” ได้รับการประเมินตาม มาตรฐานสุขาภิบาล Clean Food Good Taste/SAN Plus อาหารและโภชนาการ (เมนูชูสุขภาพ/การใช้ เกลือเสริมไอโอดีน) มีการติดตามผลผ่านระบบ Foodhandler กรมอนามัย นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนด้านอาหารและ โภชนาการเพื่อเด็กและชุมชน ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ผลักดันนัก กำหนดอาหารและนักโภชนาการชุมชน ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนงานโภชนบำบัดในชุมชน ท้องถิ่น พัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานโภชนาการในโรงพยาบาล GREEN & CLEAN Hospital โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ รวมทั้งขับเคลื่อนผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่ ลด การบริโภคเกลือและโซเดียมระดับจังหวัด ร่วมกับสมาคมนักกำหนดอาหารพัฒนา ครู ก. นักกำหนด อาหารประจำจังหวัด พัฒนาตำรับอาหารมาตรฐานในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ร่วมมือ กันสร้างเสริมสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัยและลดปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคตต่อไป กล่าวได้ว่ากระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายด้านโภชนาการที่ตอบโจทย์ความท้าทายของ การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ ประชากร พฤติกรรมการบริโภค และความมั่นคงด้านอาหารและ โภชนาการ ซึ่งจะสำเร็จไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกภาคส่วน สาธารณสุขที่มองเป้าหมายสุดท้ายเดียวกันคือประชาชนบนผืนแผ่นดินไทยมีสุขภาพดี


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 3 องค์ปาฐก: นายแพทยโ์อภาส การยก์วนิพงศ์ปลัดกระทรวงสาธารณสุข


4 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 5


6 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 7


8 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 9


10 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 11


12 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 13 การสื่อสารและการให้ค าปรึกษาทางโภชนาการส าหรับนักก าหนดอาหาร ดร.ฐนิต วินิจจะกูล1 , ปัณฑารีย์ ศิริชัย2 , วริศรา ว่องนิยมเกษตร3 , สุภานัน มากรัมย์4 , ภัสราภรณ์ ส าเภานนท์5 1 กลุ่มวิชาการและวิจัยด้านอาหารและโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 2 ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3 ศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 4 บริษัทอีทเวลล์คอนเซปต์ จ ากัด 5 โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ ทักษะการสื่อสารและให้คำปรึกษาทางโภชนาการ เป็นหนึ่งในทักษะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนัก กำหนดอาหารในการปฏิบัติงานวิชาชีพ การมีความรู้และความสามารถในการประยุกต์ใช้ทฤษฎี พฤติกรรมสุขภาพ เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทาง ที่จะช่วยให้นักกำหนดอาหารเข้าใจแรงจูงใจ ปัจจัย และ อุปสรรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไข้ สามารถประเมินความพร้อมในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ออกแบบกลยุทธ์การสื่อสารที่ตรงจุด ตอบโจทย์ความต้องการ ของแต่ละบุคคล นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ สามารถใช้ได้ทั้งกับการสื่อสารแบบรายบุคคล และการ สื่อสารแบบกลุ่ม ในกรณีของการสื่อสารรายบุคคล เช่น การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้ คนไข้ค้นหาแรงจูงใจจากภายในตนเอง ส่วนกรณีของการสื่อสารแบบกลุ่ม เช่น การจำแนกกลุ่มประชากร ตามลักษณะของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากนั้นจึงให้ความรู้ทางโภชนาการแบบ กลุ่มในหัวข้อที่จำเพาะเจาะจง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเกิดแรงสนับสนุนทางสังคม รวมถึงการ จัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น งานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารและให้คำปรึกษาทางโภชนาการบนพื้นฐานของ ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ มีประสิทธิภาพมากกว่าการสื่อสารแบบทั่วไป ดังนั้น การที่นักกำหนดอาหารมี ทักษะการสื่อสารที่ทรงพลัง ย่อมมีแนวโน้มที่จะสามารถถ่ายทอดความรู้ สร้างความตระหนัก ปลุกพลัง และสร้างแรงจูงใจให้คนไข้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของตนเอง มุ่งสู่เป้าหมาย สุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


14 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 15 กระบวนการให้โภชนบ าบัด (Nutrition Care Process) ดร. ปรารถนา ตปนีย์1 , ดร. วริษฐา คิงฮอร์น2 1 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2 Tasmanian Health Service, Australia กระบวนการให้โภชนบำบัด (Nutrition Care Process: NCP) คือ กรอบการทำงานพื้นฐาน สำหรับนักกำหนดอาหารในการให้การดูแลด้านโภชนาการ เพื่อให้มีกระบวนการที่เป็นมาตรฐานในการ ดูแลผู้ป่วย โดยประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ (1) การประเมินภาวะโภชนาการ (Nutrition Assessment) (2) การวินิจฉัยทางด้านโภชนาการ (Nutrition Diagnosis) (3) การให้แผนโภชนบำบัด (Nutrition Intervention) และ(4) การติดตามประเมินผลของแผนโภชนบำบัด (Nutrition Monitoring & Evaluation) ก่อนการเริ่มต้นขั้นตอนแรกการประเมินภาวะโภชนาการ อาจมีการคัดกรองภาวะ โภชนาการ (Nutrition Screening) โดยนักกำหนดอาหาร หรือบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อคัดกรอง ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) และควรทำการคัดกรองภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ตามระดับความเสี่ยงต่อภาวะ ทุพโภชนาการได้อย่างเหมาะสม และทันท่วงทีเครื่องมือในการคัดกรองฯ มีหลากหลาย แบบ ยกตัวอย่าง เช่น ในต่างประเทศมี Malnutrition Screening Tool (MST) หรือ Nutritional Risk Screening (NRS2002) หรือ Mini-Nutritional Assessment (MNA-SF) เป็นต้น ในประเทศไทยทางสมาคมผู้ให้อาหาร ทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย (SPENT) ได้จัดทำแบบคัดกรองภาวะโภชนาการ และใช้แพร่หลายในโรงพยาบาล โดยคำถามที่ใช้ในการคัดกรองฯ เป็นคำถามที่ไม่ซับซ้อน มีประมาณ 2- 7 ข้อ ซึ่งใช้เวลาในการคัดกรอง 5-10 นาทีเท่านั้น หลังการประเมิน หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะทุพโภชนาการ จะส่งต่อคนไข้ให้นักกำหนดอาหารทำการประเมินภาวะโภชนาการต่อไป ขั้นตอนที่ 1 การประเมินภาวะโภชนาการ (Nutrition Assessment) คือขั้นตอนในการ รวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ และวินิจฉัย ทางด้านโภชนาการ (Nutrition Diagnosis) ต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในประเมินภาวะโภชนาการมีหลายหลาย แบบ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับความจำเพาะต่อโรค อายุของกลุ่มผู้ป่วย เช่น Subjective Global Assessment (SGA), Mini-Nutritional Assessment (MNA), Patient-Generated Subjective Global Assessment (PG-SGA), Nutrition triage 2013 (NT 2013) หรือ Nutrition Alert Form (NAF) การประเมินต่างๆ ในขั้นตอนนี้อาจแบ่งได้เป็น A B C D และ E T ดังนี้ - A มาจาก Anthropometric assessment คือ การประเมินข้อมูลจากการวัดสัดส่วน ได้แก่ การ ชั่งน้ำหนัก การวัดส่วนสูง การวัดเส้นรอบวงเอว เส้นรอบวงสะโพก การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย ติดตาม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง รวมถึงการวัดองค์ประกอบของร่างกาย เช่น มวลกล้ามเนื้อ และไขมันใต้ ผิวหนัง - B มาจาก Biochemical assessment คือ การประเมินข้อมูลที่ได้จากผลการตรวจจาก ห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ผลตรวจเลือด ผลตรวจปัสสาวะ หรือผลตรวจอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ผลตวรจค่า


16 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association ระดับไขมัน ระดับน้ำตาล ระดับแร่ธาตุต่างๆ หรือสารอาหารในเลือด หรือ ผลความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือ ผลตรวจน้ำตาล โปรตีนในปัสสาวะ เป็นต้น - C มาจาก Clinical assessment คือ การประเมินข้อมูลทางคลินิก เป็นการสังเกตอาการความ ผิดปกติของอวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายจากภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการขาดสารอาหาร (Nutritionfocused physical exam) เช่น อาการบวม (Edema) ผมร่วง (Easily pluckable hair) ผมสีจางสลับสีเข้ม (Flag sign hair) ที่อาจเกิดจากการขาดโปรตีน หรือ ผิวแห้งมีตุ่มแข็งตามรูขุมขน (Follicular hyperkeratosis) จากการขาดวิตามินเอ รวมทั้งลักษณะกล้ามเนื้อลีบที่เกิดจากการได้รับพลังงานและ สารอาหารไม่เพียงพอโดยสังเกตจาก ขมับตอบ การเห็นกระดูกไหปลาร้า กระดูกซี่โครง กระดูกหัวไหล่ หรือกระดูกเข่าชัดเจน เป็นต้น รวมถึงอาการความผิดปกติของร่างกายที่ส่งผลต่อการรับประทานอาหาร เช่น อาการเบื่ออาหาร ปากแห้ง เค้ียวลา บาก กลืนล าบาก มีปัญหาการเคลื่อนไหวของช่องปาก มีการรับ รสชาติหรือกลิ่นเปลี่ยนไป เป็นต้น - D มาจาก Dietary assessment คือ การประเมินการบริโภคอาหาร จากการสัมภาษณ์การ บริโภคอาหาร โภชนาการ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง วิธีการที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การรับประทานอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (24-hour dietary recall) การจดบันทึกการบริโภคอาหาร 3 วัน (3-day dietary record) การสอบถามความถี่ในการบริโภคอาหาร (Food frequency questionnaire: FFQ) หรือการสัมภาษณ์ประวัติการรับประทานอาหาร (Food history) เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร เช่น อาหารที่ชอบ อาหารที่แพ้ การจำกัดอาหารต่างๆ ความเชื่อหรือ ศาสนาที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหาร - E มาจาก Ecological assessment คือ การประเมินปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการภาวะ โภชนาการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้การให้แผนโภชนบำบัด หรือการให้คำปรึกษาทางโภชนาการมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โรคประจำตัว ประวัติการการเจ็บป่วยของครอบครัว ความเครียด ความเท่า เทียมด้านสุขภาพ รายได้ การเข้าถึงอาหาร ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจด้านอาหาร ความเชื่อต่างๆที่ ส่งผลต่อการบริโภคและการดูแลสุขภาพ สถานการณ์มลภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงความตระหนักต่อ ภาวะสุขภาพ และพร้อมในการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม เป็นต้น - T มาจาก Tools คือ เครื่องมือที่ใช้ในประเมินภาวะโภชนาการมีหลายหลายแบบ การเลือกใช้ ขึ้นอยู่กับความจำเพาะต่อโรค และอายุของกลุ่มผู้ป่วย เช่น Subjective Global Assessment (SGA), Mini-Nutritional Assessment (MNA), Patient-Generated Subjective Global Assessment (PG-SGA), Nutrition triage 2013 (NT 2013) หรือ Nutrition Alert Form (NAF) ขั้นตอนที่ 2 การวินิจฉัยทางด้านโภชนาการ (Nutrition Diagnosis) คือขั้นตอนในการระบุ ปัญหาด้านโภชนาการ ต้นเหตุของปัญหาหรือปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาทางโภชนาการ รวมทั้งอาการ หรือหลักฐานต่างๆ ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหา ซึ่งขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพราะต้องนำ ข้อมูลที่ได้จากการประเมินภาวะโภชนาการมาวิเคราะห์เพื่อให้ระบุปัญหาที่ชัดเจน แม่นยำ และนำไปสู่ การให้แผนโภชนบำบัด (Nutrition Intervention) ที่เหมาะสม โดยการวินิจฉัยทางด้านโภชนาการ มี ความแตกต่างจากการวินิจฉัยทางการแพทย์ (Medical Diagnosis) โดยการวินิจฉัยทางด้านโภชนาการ


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 17 ไม่ใช่การระบุชื่อโรค แต่เป็นการกล่าวถึงภาวะโภชนาการหรือภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพ การวินิจฉัยทาง การแพทย์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากปัญหานั้นยังไม่ได้รับการรักษาหรือการแก้ไข แต่การวินิจฉัย ทางโภชนาการนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการจัดการโภชนาการของผู้ป่วย หลักในการการเขียนผลวินิจฉัยทางด้านโภชนาการที่เป็นมาตรฐานสากล คือ การเขียน PESS statement ที่ประกอบด้วย P: Problem คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ โดยทั่วไปในต่างประเทศ ใช้ Nutrition Care Process Terminology (NCPT) ที่ประกอบด้วยคำศัพท์เฉพาะทางในการระบุปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ จำนวน 4 หมวดหมู่ ได้แก่ (1) หมวดการบริโภค (Intake Domain) คือปัญหาโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคพลังงาน สารอาหารอื่นๆ และ น้ำ (2) หมวดทางคลินิก (Clinical Domain) คือปัญหาโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับสภาวะทางร่างกาย (3) หมวดพฤติกรรม– สิ่งแวดล้อม (Behavioral – Environmental Domain) คือปัญหาโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ทัศนคติ/ความเชื่อ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเข้าถึงอาหาร หรือความปลอดภัยของอาหาร (4) หมวดอื่นๆ (Other Domain) คือ ปัญหาโภชนาการที่ไม่จัดอยู่ในประเภทการบริโภค ปัญหาทางคลินิก หรือพฤติกรรม-สิ่งแวดล้อม นักกำหนดอาหารควรเน้นการเลือกการประเมินปัญหาในหมวดการบริโภค (INTAKE DOMAIN) เป็นหลัก เนื่องจากเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักกำหนดอาหารโดยเฉพาะ E: Etiology คือ สาเหตุหรือต้นเหตุของปัญหา นักกำหนดอาหารควรจะคำนึงถึงสาเหตุที่เลือก มาบันทึกนั้นว่าเป็นต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาหรือไม่? นักกำหนดอาหารสามารถวางแผนเพื่อแก้ไข สาเหตุที่แท้จริงนั้น หรือ อย่างน้อยสามารถบรรเทาสัญญาณและอาการที่แสดงออกนั้นได้หรือไม่? SS: Sign and Symptom คือ อาการ หรือหลักฐานต่างๆ ที่ได้มาจากการประเมินผู้ป่วยที่บ่ง ชี้ให้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว นักกำหนดอาหารควรจะคำนึงถึงสัญญาณและอาการที่แสดงออกที่เลือกมา บันทึกนั้นว่าจะสามารถถูกแก้ไขหรือทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่? สัญญาณและอาการแสดงเหล่านี้เพียงพอที่ นักกำหนดอาหารจะสามารถตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงในการประเมินครั้งต่อไป เพื่อดูว่าปัญหาถูกแก้ไข หรือทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่? ตัวอย่างการเขียนผลวินิจฉัยทางด้านโภชนาการ: ____P____อันเนื่องมาจาก____E____โดยมีหลักฐานจาก____SS____ Excessive sodium intake (NI-5.10.2) ผู้ป่วยบริโภคโซเดียมมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ อันเนื่องมาจาก การขาดความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการ โดยมีหลักฐานจาก การ รับประทานอาหารที่มีโซเดียม 5.3 กรัม มากกว่าที่แนะนำต่อวัน (2.0 กรัม) ขั้นตอนที่ 3 การให้แผนโภชนบำบัด (Nutrition Intervention) คือขั้นตอนในการวางแผนและ ดำเนินการทางโภชนาการเพื่อแก้ปัญหาที่วินิจฉัยไว้ในขั้นตอนก่อนหน้า โดยการแก้ปัญหาควรแก้ไข เปลี่ยนสาเหตุหรือต้นเหตุของปัญหาเป็นหลัก การให้แผนโภชนบำบัดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ - ขั้นตอนการวางแผน โดยแผนที่ดีควรให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการให้โภชนบำบัด และใช้หลัก SMART Goal ในการตั้งเป้าหมาย คือการระบุเป้าหมายอย่างเจาะจง (Specific) วัดผลได้


18 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association (Measurable) ทำได้จริง (Achievable) เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการ (Relevant) และภายในกรอบระยะเวลา ที่เหมาะสม (Time-bound) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่ม โอกาสประสบความสำเร็จ นอกจากนี้แผนการให้โภชนบำบัด ควรจะคำนึงถึงความสอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยรวมของผู้ป่วยอีกด้วย - ขั้นตอนการนำแผนโภชนบำบัดไปปฏิบัติ เช่น การจัดมื้ออาหารให้เหมาะสมกับสภาวะโรค การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ การให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ควรมี การประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจถึงการดูแลที่ครอบคลุม ขั้นตอนที่ 4 การติดตามประเมินผลของแผนโภชนบำบัด (Nutrition Monitoring & Evaluation) คือขั้นตอนการประเมินผลการให้โภชนบำบัด ในขั้นตอนนี้จะทำการประเมินภาวะโภชนาการซ้ำอีกครั้ง (Re-Nutrition assessment) เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นหรือไม่ สามารถทำตามแผน ที่วางไว้และแก้ไขปัญหาที่ระบุไว้ได้หรือไม่ รวมถึงประเมินความเหมาะสมของแผนโภชนบำบัด เพื่อการ ปรับเปลี่ยนแผนโภชบำบัดในอนาคต เอกสารอ้างอิง Academy of Nutrition and Dietetics. Nutrition Care Process. https://www.eatrightpro.org/practice/ nutrition-care-process. Accessed April 15, 2024.


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 19


20 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


Click to View FlipBook Version