ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 271 alkoxyl (RO• ), and carbon dioxide radical (CO2•– ), hydrogen peroxide (H2O2 ), hypobromous acid (HOBr), hypochlorous acid (HOCl), ozone (O3 ), organic peroxides (ROOH), peroxynitrite (ONOO– ), peroxynitrate (O2NOO– ), peroxynitrous acid (ONOOH), peroxomonocarbonate (HOOCO2 – ), nitric oxide (NO), และ hypochlorite (OCl– ) ในเซลล์เม็ดเลือดแดงและไมโตคอนเดรีย ROS ที่มีมากและ สำคัญที่สุด คือ O2 •– และ H2O2 การขาด G6PD อาจส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันในช่วง เวลาที่มีการผลิตเกิดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิประเทศที่การระบาดโรคมาลาเรีย การขาด G6PD อาจผลิตสารต้านมาลาเรีย และการเกิดภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกในภาวะการ ขาด G6PD ก็เป็นผลดีในการป้องกันการระบาดของเชื้อมาลาเรีย P. falciparum และ P. vivax ด้วย เอนไซม์ G6PD จึงเป็นเอนไซม์ที่ช่วยป้องกันเม็ดเลือดแดงแตกจากการทำลายของสารอนุมูล อิสระ คนที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้จึงเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายเมื่อได้รับสารอนุมูลอิสระจาก สิ่งกระตุ้นต่างๆ ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมผ่านยีนในโครโมโซม X โดยมีการแสดงออกแบบยีนด้อย (X-linked recessive) ดังนั้น โรคนี้จึงแสดงอาการรุนแรงในผู้ชายได้ มากกว่าในผู้หญิง เนื่องจากในผู้ชาย ยีน G6PD อยู่ในโครโมโซม X แห่งเดียวเท่านั้น (ในคู่ XY) แต่ใน ประชากรหญิง ไม่พบว่าเป๋นโรคพร่อง G6PD คงเป็นเพราะว่า สตรีมีโครโมโซมคู่ XX และมีการสร้าง G6PD 2 แห่ง สรุปได้ว่า G6PD เป็นเอนไซม์ตัวแรกและสำคัญมากในชีวเคมีของน้ำตาลกลูโคส ในวิถีHMP Shunt ส่งผลให้เกิด NADP, pentoses (เช่น ribose 5-phosphate)และ ผลิตสาร GSH ซึ่งมีหน้าที่ทำลาย สารอนุมูลอิสระ (oxidants, ROS) ต่าง ๆ ที่เป็นพิษต่อเซลล์ เป็นการปกป้องเซลล์ที่มีชีวิต รวมทั้งเซลล์ เม็ดเลือดแดง มิให้ถูกทำลาย โดยสารออกซิแดนท์ เช่น ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (H2O2 ) ได้ง่าย สาเหตุ ของการขาดG6PD คือ ความบกพร่องหรือการกลายยพันธุ์ทางพันธุกรรรม เพื่อความอยู่รอดของร่างกาย มักพบภาวะขาดG6PD มากในผู้ชาย ที่อยู่ในถิ่นที่มีการระบาดโรคมาลาเรีย และผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ มี อาการรุนแรงเมื่อได้รับสารกระตุ้น (triggers) ที่เป็น อาหารพืชถั่วบางชนิด ยาแก้ปวด-แก้ไข้ ประเภท aspirin ยาซัลฟา ยาปฏิชีวนะ ยาต้านมาลาเรียประเภท primaquine และสารเคมีหลายชนิด ภาวะพร่องเอนไซมเ์ป็ นโรคทางพนัธกุรรม ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นโรคทางพันธุกรรม สามารถทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเปราะบาง แตกง่ายได้มากขึ้น นำไปสู่ภาวะโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก (hemolytic anemia) ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเร็วกว่าที่จะสร้างแทนได้ทัน หากผู้ป่วยขาดความรู้และมีความประมาท โรคนี้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ในระยะแรก ภาวะพร่อง G6PD สัมพันธ์กับบริโภคถั่วปากอ้า แต่ยังไม่ได้มีงานวิจัยสาเหตุ จึงเรียกภาวะพร่อง G6PD นี้ว่า “Favism” ซึ่งเกิดกับผู้คนที่อาศัยในแถบ ทะเลเมดิเตอเรเนียนและเอเชีย ได้แก่ ประเทศ อเมริกาใต้ สเปน อิตาลี กรีซ อาร์เมเนีย อิสราเอล อาหรับ กลาง อาฟริกา อินเดีย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั่วโลกมีภาวะพร่อง G6PD ราว 400 ล้านคน ความชุกของภาวะพร่อง G6PD ในผู้ชายไทยมีตั้งแต่ 3-18 % ขึ้นกับภูมิประเทศ รายงานว่า G6PD gene "Mahidol" พบมากที่สุดในประชากรไทย คือ มี mutation กรดอะมิโนตำแหน่งเดียวที่ถูก
272 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association แทนที่ ที่ตำแหน่ง 163 จากปรกติ 515 ตำแหน่ง กรดอะมิโน Glycine กลายเป็น--> กรดอะมิโน Serine เป็นการยากที่จะวินิจฉัยโรคในคนทั่วไปว่ามีการพร่อง หรือการขาด G6PD enzyme หรือไม่ เพราะว่า ผู้ ที่มีภาวะพร่อง G6PD จะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด เมื่อรวมกัน การศึกษานี้แสดงหลักฐานว่าการ กลายพันธุ์ของ Mahidol G>A ให้การป้องกันการติดเชื้อ P. vivax และอาจลดความรุนแรงของโรค มาลาเรียในประชากรชาวคะฉิ่น บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศเมียนมาร์ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่อง G6PD กับวิถีชีวิต โภชนาการ การกำหนดอาหารมและยาเคมี ไดอะแกรมใน ภาพที่ 2 แสดงถึง กลไกการเกิดโรคทำให้ลดการเกิดสารสำคัญคือ NADPH coenzyme, reduced glutathione (GSH) antioxidant แต่ มีการเพิ่มระดับของสารไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ สารอนุมูล อิสระจำนวนมาก ปริมาณสารเกิดออกซิเดชั่นมีมากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น แล้วนำไปสู่การแตกสลายของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ในวิถีชีวิตเรา วิธีดีที่สุด คือการป้องกันภาวะ พร่อง และการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดง สิ่งกระต้นุการเกิดโรค ถั่วปากอ้า หรือ ถั่วปากกว้าง (Faba bean) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Vicia faba เป็นอาหารชนิด เดียวที่มีประวัติเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์ระหว่างภาวะ Favism กับการแตกของเม็ดเลือดแดงในผู้ที่ พร่อง G6PD ซึ่งพบในคนที่อาศัยแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ นิยมใช้ถั่วปากอ้านี้ ทำอาหารหลายชนิด ทำใม ถั่วปากอ้าจึงมีปัญหามากต่อสุขภาพของผู้ที่พร่อง G6PD? เพราะว่า ในถั่วปากอ้ามีสาร ออกฤทธิ์ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ง่าย สารออกฤทธิ์ดังกล่าว คือ สารอัลคาลอยด์ที่พบในถั่วปากอ้า และในถั่วหลายชนิด ได้แก่ vicine (2,6-diamino-4,5-dihydroxypyrimidine 5-β-d-glucopyranoside) convicine (2,4,5-trihydroxy-6-aminopyrimidine 5-β-d-glucopyranoside) และสารเมแทบอไลต์ divicine , isouramil (aglycones = ไม่เป็น glycosides) สาร 4 ชนิดนี้ สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะเครียด ออกซิเดชัน เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก การศึกษาบางรายงานว่า นอกจากถั่วปากอ้ามบทบาทต่อการสลายและเกิดโรคโลหิตจางในบาง คนที่ขาด G6PD แล้ว เป็นไปได้ที่จะมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆ อีก อาหารอื่นๆ อาจกระตุ้นได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงพืช ตระกูลถั่วบางชนิดถั่วเลนทิล ถั่วชิกพี ถั่วลิสง ถั่วลันเตา มะระ อาหารบางชนิด เคลด ็ ลบัการบริโภคอาหารทวั่ ไปและไลฟ์สไตลใ์นภาวะขาด G6PD 1. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เน้นอาหารผักใบ ผลไม้หลายสีสาหร่ายทะเล และเมล็ดธัญพืชที วิตามิน A. E. C, beta-carotene, astaxanthin และแร่ธาตุจำเป็น อาหารเหล่านี้ ให้สารต่อต้าน อนุมูลอิสระแก่ชีวิตเรา 2. รักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น ดื่มของเหลวปริมาณมาก 1.5-2 ลิตร ต่อวัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสุรา และ บุหรี่ และการคายน้ำทางเหงื่อมากและดื่มน้ำน้อย อาจทำให้ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ง่าย 3. เลือกปรุงอาหารที่สมดุลและมีคุณค่าทางโภชนาการ ควรรับประทานกรดโฟลิก (folic acid) ประจำ วิตามินนี้ช่วยให้ร่างกายของเราผลิตDNA และเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรง
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 273 4. ด้านโภชนาการ ปรึกษากับแพทย์ นักโภชนาการ และนักกำหนดอาหาร สามารถให้คำแนะนำ เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หลีกเลี่ยงอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่อาจกระตุ้นให้เกิด ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ช่วยจัดทำแผนส่วนบุคคลเพื่อจัดการกับภาวะขาด G6PD ได้ 5. หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เม็ดเลือดแดงแตกได้ ฝึกการ ล้างมือที่ดีและหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย 6. จัดการความเครียด ความเครียดทางกายและจิตใจ อาจสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดง แตกได้ ดังนั้น ค้นหาวิธีที่ดีต่อสุขภาพในการจัดการกับความเครียด เช่น การออกกำลังกาย ทำงาน อดิเรก ฝึกสมาธิ ทำให้มีการผ่อนคลายทางสมองและจิตใจ 7. หลีกเลี่ยงยาบางชนิด ยาหลายชนิดอาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในผู้ที่ขาด G6PD แจ้งให้ แพทย์ และเภสัชกร และพยาบาล ทราบเสมอเกี่ยวกับภาวะขาด G6PD และการแพ้ยา ของตนเอง ก่อนรับประทานยาใหม่ๆ รวมถึงยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ ยาสมุนไพรแผนโบราณบางชนิด และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 8. การคบเพื่อนบัณฑิต เป็นมงคลที่ดี กัลยาณมิตรที่มีความรู้และประสบการณ์ อาจสามารถช่วยเราให้ ลดความกังวลที่มีเกี่ยวกับอาหาร ยา การดำรงชีวิต หาวิธีที่ดีต่อสุขภาพเพื่อรับสารอาหารที่ เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะเม็ดเลือดแดงแตกและใช้ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดีเมื่อมีภาวะ ขาด G6PD ได้ ประสบการณ์ส่วนตวัภาวะพร่อง G6PD ในชีวิตและสขุภาพ ผมขอเล่าเรื่องประสบการณ์ส่วนตัวให้ท่านทราบ เมื่อผมเป็นนิสิตปี 2 คณะวิทย์ ถูกกำหนดเป็น ผู้นำเชียร์ ของคณะ และร่วมงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 18 ( 20 ธค. 2501) ผลการ แข่งขันวันนั้น จุฬาฯ ชนะ ธรรมศาสตร์ แต่ร่างกายผมแพ้ครับ หลังการร่วมกิจกรรมงานฟุตบอล ผมมี อาการเหนื่อยและเป็นไข้หลายวัน ต้องหาซื้อยามากินเอง สมัยนั้น เป็นไข้ปวดหัว ตัวร้อน ต้องกินยา ประเภทซองหลายยี่ห้อ ยาเหล่านี้ประกอบด้วยยาแอสไพริน หรือ salicylate ทำให้ไข้ลด เหงื่อออก ชั่วคราว แต่ผมยังไม่หายไข้ เป็นซ้ำ ผมเพิ่มยาแอสไพริน กินยาแก้ไข้แบบซอง ต่อเนื่องนานหลายวัน ไข้ ก็ยังสูง ตัวร้อน ต่อมาทำให้มีเเลือดกำเดาออกทางจมูกมาก ใช้น้ำแข็งก้อนโปะที่ดั้งจมูกก็ไม่อยู่วันที่ 2 พบว่ามีเลือดกำเดาไหลออกทางจมูกตลอด ในวันที่ 3-4 ปัสสาวะ สารสีแดง (heme) ถูกตับเปลี่ยนให้เป็น สารสีน้ำตาลอ่อน-คล้ำ (bilirubin, biliverdin) เปลี่ยนจากสีชาน้ำตาลอ่อน เป็นสีน้ำตาลแก่เหมือนกาแฟ และสีดำเข้มเหมือนโอเลี้ยงหรือกาแฟผสมโกโก้ ในวันที่ 5-6 อุจจาระก็มีสีดำเข้ม ตามระยะเวลาป่วย สี น้ำปัสสาวะเข้มน้อยไปหามาก แสดงถึงความรุนแรงของโรค เรียกว่าเลือดแตกและไหลออกทั่วร่างกาย เป็นภาวะที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางกะทันหัน น่ากลัวมาก ยิ่งกินก็ยิ่งป่วยเนื่องจากพิษของตัวยา แอสไพริน ทำให้เกิดภาวะเลือดซีดจาง อ่อนเพลียมาก หมดแรง ต้องถูกหามไปเติมเลือดและรักษาตัวที่ แผนกผู้ป่วยนอกและฉุกเฉินของโรงพยาบาลศิริราช ธนบุรี เพื่อล้างสารพิษจากยาแก้ไข้และนอนพักฟื้นที่ โรงพยาบาลจนปกติ
274 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association อ.หมอไพโรจน์ ที่ตรวจรักษาบอกผมว่า ผมป่วยเป็นโรคพันธุกรรมพร่อง G6PD เม็ดเลือดแดง เพราะว่าขาดสาร NADPH coenzyme และ glutathione (GSH) ที่ผ่านมา ยาแอสไพริน เป็นพิษต่อเม็ด เลือดแดง ทำให้มันแตกออกได้ง่าย จนร่างกายซีด เลือดจางมากด้วย . ปกติ ร่างกายมีปฏิกิริยา hexose monophosphate shunt (HMP Shunt) (รูปภาพที่ 1 )แหล่งการ เกิด NADPH (จาก NADP+ ) และปฏิกิริยา glutathione reductase GSH (จากGSSG) ที่มีหน้าที่สามารถ ทำลาย H2O2 และป้องกันการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ หากมีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ซึ่งเป็นโรค ที่ไม่สามารถรักษาเม็ดเลือดแดงให้คงสภาพรูปร่างปกติและทนต่อการสลายตัวโดยเฉพาะสารเคมีที่ทำให้ เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) เช่น ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์และ ROS ได้ GSH เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ antioxidant ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ป้องกันมิให้เยื่อ หุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงแตก เมื่อขาด GSH และร่างกายได้รับยาแอสไพริน หรือ salicylate ซึ่งทำให้เกิด อนุมูลอิสระ เซลล์เม็ดเลือดแดงจึงแตกสลาย มีอาการซีดมากและอ่อนเพลียมาก ร่างกายขาดออกซิเจน ต้องให้น้ำเกลือ และให้เลือดไปหลายขวดอย่างต่อเนื่อง เพื่อล้างสารพิษจากยาแก้ไข้และนอนพักฟื้นที่ โรงพยาบาลนานราว 1 เดือน จนค่อย ๆ มีกำลัง แข็งแรง และกลับบ้านได้ ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส ในชั้นเรียนชีวเคมี ผมนำเรื่องราวจริงนี้มาเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง ผมเป็น ตัวแทนผู้ป่วยโรคพร่องเอนไซม์ G6PD มาเป็น ดราม่า สอนให้ นศ.แพทย์ เภสัช พยาบาล เทคนิคค การแพทย์ นศ. สนใจ ตั้งใจฟังดีมาก จดจำ สาเหตุ/กลไกโรคพันธุกรรมพร่อง G6PD และตอบในข้อสอบ ได้ A เป็นแถว ขอขอบพระคุณ แพทย์ พยาบาล และกัลยาณมิตรทุกท่านที่ทำให้ชีวิตผมรอดมาได้จนมีอายุครบ 85 ปี อย่างไรก็ตาม ตนเองจะไม่ประมาท พยายามดูแลสุขภาพ เพราะว่า ตนเองไม่สบายบ่อย มีภาวะ เลือดจาง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคผิวหนังติดเชื้อ และโรคภูมิแพ้ได้ง่าย ก่อนการเกิดโรค ควรระลึกเสมอว่า You are what you eat! เมื่อมีการเกิดโรค ควรระลึกเสมอว่า You eat what you are!
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 275 เอกสารอ้างอิง 1. Richardson SR, O'Malley GF. Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase Deficiency. [Updated 2022 Sep 26]. In: Stat Pearls [Internet]. Treasure Island (FL): Stat Pearls Publishing; 2024 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470315/ 2. H. Li, L. Liang, Y. Wu et al.The glucose-6-phosphate dehydrogenase Mahidol variant protects against uncomplicated Plasmodium vivax infection and reduces disease severity in a Kachin population from northeast Myanmar. Infection, Genetics and Evolution. Vol. 75, Nov. 2019, P. 103980 3. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ โรคจีซิกพีดี...ยาและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัช ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-infoold.php?id=490) Author: Dr. Maitree Suttajit is a distinguished academic and researcher. He holds the position of Professor Emeritus at the Faculty of Medicine, Chiangmai University, and previously served as the Dean of the University of Phayao (UP), Thailand. Dr. Suttajit’s expertise lies in nutritional and environmental medicine, where he investigates the intricate connections between dietary components, environmental exposures, and their impact on human health. His research focuses on the scientific benefits of plant-based diets and cancer prevention. With over 100 published papers and books, Dr. Suttajit has made significant contributions to the field. He and the staff established the distinguished BS degree program of Nutrition and Dietetics, Medical Sciences, UP. Additionally, he is the Founder and President of the Thai Vegetarian Association and Asian Vegetarian Union.
276 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association ภาพที่ 1 ปฏิกิริยา hexose monophosphate shunt (HMP Shunt) แหล่งการเกิด NADPH (จาก NADP+ ),และปฏิกิริยา glutathione reductase GSH (จากGSSG) ที่มีหน้าที่สำคัญมาก สามารถทำลาย H2O2 ให้เป็นน้ำและป้องกันการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ในร่างกายปกติได้ (ดัดแปลงมาจาก HMP Shunt - Biochemistry - Medbullets Step 1 )
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 277 ภาพที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องG6PDกับวิถีชีวิต โภชนาการ การกำหนดอาหารและยา เคมี ไดอะแกรมแสดงถึง กลไกการเกิดโรคทำให้ลดการเกิดสารสำคัญคือ NADPH coenzyme, reduced glutathione(GSH) และ antioxidant แต่มีการเพิ่มระดับของสารไฮโดรเจนเrพอร์ออกไซด์ (H2O2 ) และ อนุมูลอิสระจำนวนมาก เกิดภาวะตึงเครียดออกซิเดชั่น แล้วนำไปสู่การแตกสลายของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ด เลือดแดง ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีความรู้ในโภชนาการ และการใช้ชีวิต เพื่อการรักษา การองกันการ สลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดง
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 279 ทุน “Thai Dietetic Association Research Award (TDA Research Award)” ทุนสนับสนุนการวิจยัและพฒันางานโภชนาการสา หรบันักกา หนดอาหาร ประจ าปี 2567 ชื่อทุน ทุน Thai Dietetic Association Research Award (TDA Research Award) วัตถุประสงค์ • ส่งเสริมให้นักก ำหนดอำหำร/นักโภชนำกำร/โภชนำกรมีกำรท ำวิจัยด้ำนโภชนำกำร และโภชนบ ำบัด และพัฒนำกำรบริกำรแก่ผู้ป่วย • เพิ่มพูนทักษะและศักยภำพให้กับนักก ำหนดอำหำร/นักโภชนำกำร/โภชนำกรใน กำรท ำวิจัย • ส่งเสริมและสนับสนุนนักก ำหนดอำหำร/นักโภชนำกำร/โภชนำกร และทีมงำนที่มี ผลงำนดีเด่นในงำนวิจัยและกำรพัฒนำงำนโภชนำกำร ประเภทของทุน • ทุนอุดหนุนกำรวิจัยและพัฒนำงำนโภชนำกำรส ำหรับ นักก ำหนดอำหำร/ นักโภชนำกำร/โภชนำกร และทีมงำนที่มีผลงำนดีเด่น • จ ำนวนทุนขึ้นอยู่กับควำมเหมำะสม และผลงำนที่เสนอขอรับทุนซึ่งพิจำรณำโดย คณะอนุกรรมกำรพิจำรณำทุน • ทุนมีระยะเวลำ 1 ปี คณุสมบตัิของผ้ทูี่ได้รบัทุน • เป็นนักก ำหนดอำหำร/นักโภชนำกำร/โภชนำกรและทีมงำนที่ท ำประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วย และหน่วยงำนทั้งทำงตรงและทำงอ้อม • เป็นสมำชิกสำมัญตลอดชีพของสมำคมนักก ำหนดอำหำรแห่งประเทศไทย • เป็นผู้ที่ไม่ได้รับทุน 2 ปีติดต่อกันในปี 2565 และปี 2566 • ผลงำนที่ท ำจะต้องไม่เป็นไปเพื่อเชิงพำณิชย์ (non-profit project) • คณะกรรมกำรสมำคมนักก ำหนดอำหำรแห่งประเทศไทยไม่มีสิทธิ์ขอรับทุน
280 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association การขอรับทุน • ผู้ที่ต้องกำรขอรับทุนเสนอโครงกำรวิจัยและพัฒนำงำนโภชนำกำรด้วยตนเอง • ส่งใบสมัครพร้อมโครงกำรวิจัยจ ำนวน 6 ชุดมำที่สมำคมนักก ำหนดอำหำรแห่ง ประเทศไทย ทำงไปรษณีย์เท่ำนั้น (ไม่รับทำง E-mail และโทรสำร) ภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 สมำคมนักก ำหนดอำหำรแห่งประเทศไทย (ทุน TDA Research Award) 1845/11 ซอยบริรักษ์ (ซอยส่วนบุคคล) ถนนพหลโยธิน แขวงลำดยำว เขตจตุจักร ก.ท.ม. 10900 โทรศัพท์/โทรสำร 02-939-7782 แบบฟอรม์การเสนอโครงการวิจยั ประกอบด้วย 1. ชื่อโครงกำร 2. หน่วยงำนรับผิดชอบ 3. ควำมส ำคัญและที่มำของปัญหำที่ท ำกำรวิจัย 4. ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ 5. วิธีกำร 6. ขอบเขต 7. ระยะเวลำด ำเนินกำร 8. แผนกำรด ำเนินงำน 9. อุปกรณ์ในกำรวิจัย 10. งบประมำณ หลกัเกณฑ์ในการพิจารณาทุน • ผลงำนที่เหมำะสมตำมกำรพิจำรณำของคณะอนุกรรมกำรพิจำรณำทุน • เป็นงำนวิจัยเพื่อประโยชน์ในกำรพัฒนำกำรดูแลด้ำนโภชนำกำรและโภชนบ ำบัดแก่ ผู้ป่วย • มีควำมคิดริเริ่ม เป็นกำรบริกำรใหม่หรือปรับปรุงกำรบริกำรให้มีประสิทธิภำพและ คุณภำพดี • ให้บริกำรและพัฒนำงำนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม • ให้กำรบริกำรถูกต้องตำมมำตรฐำนวิชำชีพ
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 281 แนวทางในการพิจารณาทุน คณะอนุกรรมกำรได้ก ำหนดในรูปคะแนน โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อหลักคือ • กำรน ำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ • ควำมคิดริเริ่ม • โอกำสที่งำนวิจัย/งำนพัฒนำงำนโภชนำกำรจะท ำได้ส ำเร็จ • ควำมคุ้มค่ำทำงวิชำกำร การประกาศผล • ประกำศผลกำรตัดสิน ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2567 การมอบทุน • มอบทุนประจ ำปีในกำรประชุมวิชำกำรประจ ำปีของสมำคมนักก ำหนดอำหำรแห่ง ประเทศไทย ในวนั ประชุมวิชาการประจา ปี2567 • ผู้ได้รับทุน จะได้รับกำรสนับสนุนกำรลงทะเบียนงำนประชุมวิชำกำรประจ ำปี 2568 เพื่อน าเสนอผลงานวิจยั • ผู้ได้รับทุน จะได้รับทุนวิจัยแบ่งเป็น 2 งวด งวดที่ 1 มอบทุน ร้อยละ 60 ของเงินรำงวัล เมื่อได้รับกำรคัดเลือกให้ได้รับทุน งวดที่ 2 มอบทุน ร้อยละ 40 ของเงินรำงวัล เมื่อส่งรำยงำนผลพร้อมไฟล์ฉบับสมบูรณ์ พร้อมแสดงกิตติกรรมประกำศชื่อทุนในงำนวิจัยนั้นๆ และน ำเสนอผลงำนในกำร ประชุมวิชำกำรประจ ำปี2568 การเสนอผลงาน • เสนอผลงำนวิจัยในรูปแบบ E-Poster ในกำรประชุมวิชำกำรประจ ำปีของสมำคม นักก ำหนดอำหำรแห่งประเทศไทย ประจ ำปี 2568 • ได้รับกำรตีพิมพ์ผลกำรวิจัยในวำรสำรสมำคมนักก ำหนดอำหำรแห่งประเทศไทย • ผู้ได้รับทุนส่งรำยงำนผลกำรวิจัยฉบับสมบรูณ์ให้แก่สมำคมฯ และมีกำรแสดง กิตติกรรมประกำศชื่อทุนนี้ในงำนวิจัยนั้นๆด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เลขำนุกำรคณะอนุกรรมกำรพิจำรณำทุน: นำงพัชรวีร์ ทันละกิจ โทร 086-392-5928 E-mail: [email protected] www.thaidietetics.org E-mail: [email protected]
282 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association ทุนสนับสนุนงานวิจยั TDA Research Award ประจ าปี 2567 รายชื่อผู้ได้รับทุน TDA Research Award ทุนประเภท Clinical โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ล าดับที่ 1. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 35,000 บาท เรื่อง ผลของการให้โภชนบำบัดในคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลอุดรธานี โดย นางสาวจุฑามาศ กองไชย กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลอุดรธานี จ.อุดรธานี ล าดับที่ 2. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 30,000 บาท เรื่อง การศึกษาประสิทธิผลการให้ความรู้และการติดตามการประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยที่ รับประทานอาหารทางสายให้อาหาร สำหรับผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้าน โดย นางกาญจนา ฉิมเรือง งานโภชนาการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ล าดับที่ 3. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 25,000 บาท เรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลด้านโภชนบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ภายใต้บริบท พหุวัฒนธรรมของชุมชนเขตเมืองยะลา โดย นางสาวมณี จันทร์ไทย กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลยะลา จ.ยะลา ทุนประเภท Clinical โรงพยาบาลขนาดกลาง ล าดับที่ 1. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 30,000 บาท เรื่อง Impact of Nutritional Status Related Clinical Outcomes in Hospitalized Heart Failure Elder Patients: Multidisciplinary approach. โดย นางวีรวรรณ เตชะเกรียงไกร Nutrition Therapeutic Department โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 283 ล าดับที่ 2. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 20,000 บาท เรื่อง ผลการใช้การนับหน่วยฟอสฟอรัสเพื่อควบคุมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยที่ได้การ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง โดย นางสาวมารียา หมาดโต๊ะโซ๊ะ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลสตูล จ.สตูล ล าดับที่ 3. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 10,000 บาท เรื่อง ประสิทธิผลของการใช้เครื่องวัดแรงบีบมือ (Hand Grip Dynamometer) ในการประเมิน ความเสี่ยงภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ โดย นางอังคณา แซ่โต๋ว กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลลำพูน จ.ลำพูน ทุนประเภท Non – Clinical ล าดับที่ 1. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 20,000 บาท เรื่อง การวิเคราะห์ปริมาณโซเดียมในน้ำพริกพื้นบ้านภาคเหนือเพื่อแนะนำการบริโภคน้ำพริก สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง โดย นางสาวนริศรา พันธุรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา ล าดับที่ 2. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 15,000 บาท เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมสั่งอาหารและแนวทาง การจัดบริการอาหาร เพื่อสนับสนุนการ รักษาของแพทย์ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี โดย นางสาวซูไลลา สามุยามา กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี จ.ปัตตานี ล าดับที่ 3. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 10,000 บาท เรื่อง การพัฒนาตำรับอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนสูงต่อภาวะทุพโภชนาการและภาวะ มวลกล้ามเนื้อน้อยสำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา โดย นางสาวอาซียัน แสบีดิง กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จ.นราธิวาส
284 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association ทุนประเภท การพัฒนาสื่อให้ความรู้ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ล าดับที่ 1. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 20,000 บาท เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมให้โภชนศึกษากับผู้ปกครองในการจัดอาหารตามวัย สำหรับเด็ก ทารกอายุ 6-12 เดือน โดย นางสาวอรทัย ใจบุญ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลน่าน จ.น่าน ล าดับที่ 2. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 15,000 บาท เรื่อง สื่อวิดีโอ "โภชนาการหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน" ในรูปแบบสื่อออนไลน์ You Tube โดย นางสาววรรณรดา กิจพิทักษ์ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี ล าดับที่ 3. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 10,000 บาท เรื่อง การพัฒนาสื่อความรู้"หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลอุดรธานี" โดย นางสาวทวินันท์ นวลคำสิงห์ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลอุดรธานี จ.อุดรธานี ทุนประเภท การพัฒนาสื่อให้ความรู้ โรงพยาบาลขนาดเล็ก ล าดับที่ 1. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 20,000 บาท เรื่อง การพัฒนาตำรับอาหารและสื่อวิดีทัศน์ Modified Regular Diet with Medical Foods for Complete Nutrients and Energy โดย ณัฐฐศรัณฐ์ วงศ์เตชะ และ นางสาวไลลา มามะ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ล าดับที่ 2. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 15,000 บาท เรื่อง ผลของการใช้สื่อวีดีทัศน์เตรียมอาหารตามวัยสำหรับทารก 6-12 เดือน ชุด 2 ภาษา (ไทย-มลายู) ต่อความรู้และทักษะการเตรียมอาหารตามวัยของผู้ดูแลทารก 6-12 เดือน โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดนราธิวาส โดย นางสาวมารินี เปาะสู กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จ.นราธิวาส
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 285 ล าดับที่ 3. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 10,000 บาท เรื่อง การพัฒนาระบบการประเมินภาวะโภชนาการด้วยแบบประเมิน Nutrition Alert Form (NAF) ในผู้ป่วยที่ใส่สายอาหารประเภท Nasogastric tube insertion (NG tube) โดย นายปิยะณัฐ ถิ่นจันดา กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลสตึก จ.บุรีรัมย์
286 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-1 มาตรฐานและการติดตามการให้โภชนศึกษาสา หรบัผ้ปู่วยหลงัการผ่าตดักระเพาะอาหารเพื่อ ป้องกนัการเกิดภาวะDumping Syndrome ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ พรพิศ เรืองขจร 1 , กาญจนา ฉิมเรือง 2 งานโภชนาการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยัสงขลานครินทร์ บทน า ภาวะ Dumping Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ถึง 50 % ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมากในระยะยาว วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยประเมินตนเองได้เมื่อเกิดภาวะDumping Syndrome ในระยะ Late dumping วิธีดา เนินการวิจยั เป็นการติดตามผู้ป่วยหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร ระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 18 รายใช้Diagnostic scoring system เพื่อประเมินภาวะDumping Syndrome นักโภชนาการ จะเป็นผู้ประเมินและให้คำแนะนำ ให้ผู้ป่วยทำการประเมินภาวะDumping Syndrome ได้ด้วยตนเอง กำหนดการประเมินทุก 2 เดือนเป็นเวลา 6 เดือน พร้อมทั้งการให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ผลการวิจยั ผลประเมินภาวะDumping Syndrome สองสัปดาห์สุดท้ายเดือนที่ 6 พบว่ายังคงมี อาการคลื่นไส้ อาเจียนจำนวน 10 ราย ใจสั่นและรู้สึกเกร็งช่องท้อง 8 รายมีอาการเหนื่อย 4 รายผู้ป่วย จำเป็นต้องนอนราบ เพื่อให้อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารให้นานขึ้น 2 รายและเป็นลม 1 รายผู้ป่วยใช้วิธี หลีกเลี่ยงอาหารเพื่อลดอาการ Dumping Syndrome โดยเลี่ยงอาหารกลุ่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล100 % ผลไม้ 67 % นมและผลิตภัณฑ์จากนม 22 % การประเมินความรู้ ผู้ป่วยสามารถใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะDumping Syndrome ได้ ด้วยตนเองในระดับคะแนนที่สูง 17 รายและสามารถปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภาวะDumping Syndrome อย่าง เหมาะสม 16 ราย การเลือกรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการเกิดภาวะDumping Syndrome 16 ราย และสามารถเลือกรับประทานอาหารกรณีเกิดภาวะDumping Syndrome 15 ราย สรุปและวิจารณ์การที่ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประเมินความเสี่ยง ที่อาจเกิดภาวะ Dumping Syndrome ได้ด้วยตนเองและยังสามารถแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการ มีความรู้ ความเข้าใจใน การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยลดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 287 กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย บทคัดย่อ P-2 การศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพการให้โภชนศึกษาในผ้ใูช้บริการที่มีอาการทางจิตเวช หอผู้ป่ วยบ้านเปี่ ยมพลัง โรงพยาบาลศรีธัญญา ณัฏฐณิชา ลกัษณะศิริ, นัตตญา เวียงจันดา และทีมโภชนบ าบัด กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลศรีธัญญา จังหวัดนนทบุรี บทน า : จากการให้บริการผู้ใช้บริการในสถานรองรับของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยบ้านเปี่ยมพลัง โรงพยาบาลศรีธัญญา ปี 2565 จำนวน 105 ราย พบว่า มีภาวะโภชนาการขาดหรือเกิน และมีโรคร่วมทางกาย เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง นักโภชนาการจึงร่วมกับทีมสหวิชาชีพเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการดูแลสุขภาพตนเองด้านโภชนาการด้วย การให้โภชนศึกษาเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถดำรงชีวิตในครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างมีคุณภาพที่ดี วัตถุประสงค์ : 1. พัฒนาโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพการให้โภชนศึกษาในผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวชที่เข้ารับ การบำบัดฟื้นฟูในหอผู้ป่วยบ้านเปี่ยมพลัง โรงพยาบาลศรีธัญญา 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การดูแลสุขภาพด้านโภชนาการในผู้ใช้บริการที่มี อาการทางจิตเวชก่อนและหลังเข้ารับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพการให้โภชนศึกษา วิธีการดา เนินการวิจยั : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการที่มี อาการทางจิตทุกรายที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในหอผู้ป่วยบ้านเปี่ยมพลัง โรงพยาบาลศรีธัญญา ช่วงระหว่าง เดือนมีนาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เพศชายและหญิงอายุ 20 ปี ขึ้นไป จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการให้โภชนศึกษาแบบกลุ่ม กลุ่มละ 12 – 15 คน จำนวน 2 ครั้ง ระยะเวลา 60 นาทีโดยให้ความรู้ในด้านโภชนาการ และประเมิน ความรู้การดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Rank test โดยทดสอบค่าความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจยั : ผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิต ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.0 การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช F20 (Schizophrenia) ร้อยละ 99.2 มีโรคร่วมและภาวะแทรกซ้อนทางกาย ร้อยละ 13.3 โรคที่เป็นมากที่สุด ได้แก่ โรคเบาหวาน ร้อยละ 7 มีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 23.2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ( x= 23.2, S.D.= 4.57) และความรู้การดูแลตนเองด้านโภชนาการของผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวชหลังการ ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการให้โภชนศึกษาสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.05) สรปุและวิจารณ์: โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการให้โภชนศึกษาสามารถเพิ่มความรู้การดูแล สุขภาพตนเองด้านโภชนาการของผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวช และโปรแกรมยังเป็นแนวทางสำหรับ นักโภชนาการ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพด้านโภชนาการของผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวช ดังนั้น ควรมี การส่งเสริมความรู้ให้รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้มีภาวะโภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ปกติ
288 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-3 การพัฒนาสูตรมาตรฐานอาหารฝึ กกลืนส าหรับผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนล าบาก โรงพยาบาลยะลา ฮาลีเมาะ สือแมง กลุ่มงานโภชนศาสตร์โรงพยาบาลยะลา บทน า ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ50 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบหลักๆ คือภาวะทุพโภชนาการและภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก ในปี 2565 พบผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลยะลาทั้งหมดจำนวน 126 ราย ในการฝึกกลืนนัก กิจกรรมบำบัดใช้วัตถุเจือปนอาหารปรับความหนืดลงไปในน้ำ อาหารที่ใช้ฝึกกลืนจึงปราศจากสี รส กลิ่นและ สารอาหาร ในการฝึกกลืนผู้ป่วย 1 รายต้องใช้อาหารที่มีความหนืด 3 ระดับ ได้แก่ ข้นมาก ข้นปานกลางและ ข้นน้อย จากข้อมูลดังกล่าว ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้(1) เพื่อพัฒนาสูตรอาหารฝึกกลืนให้ ได้ตามมาตรฐาน IDDSIและมีสารอาหารหลักตามสัดส่วนที่ร่างกายควรจะได้รับ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผล การยอมรับด้านประสาทสัมผัสของอาหารฝึกกลืนเดิมกับอาหารฝึกกลืนสูตรพัฒนาใหม่ วิธีการดา เนินการวิจยั การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Quasi Experimental Research) กลุ่ม ตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบากที่รักษาในหอผู้ป่วยStroke unit โรงพยาบาล ยะลา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มควบคุม จำนวน 23 คน และกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มทดลองจำนวน 23 คน ทั้งหมดรวม 46 คน โดยมีขั้นตอนในการศึกษาดังนี้(1) ศึกษาระดับความข้นของอาหารฝึกกลืนเดิม (2) เปรียบเทียบระดับความข้นหนืดของอาหารฝึกกลืนเดิมกับมาตรฐาน IDDSI (3) คำนวณปริมาณวัตถุดิบ ที่ต้องใช้ในการทำ ทดลองสูตร วิเคราะห์สารอาหารหลักและพลังงาน (4) ทดสอบลักษณะเนื้อสัมผัสตาม มาตรฐาน IDDSI ที่ระดับความข้นหนืด 2 ,3และ4 (5) จัดทำอาหารฝึกกลืนใช้ทดสอบในกลุ่มเป้าหมาย สถิติ ที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณาและสถิติ t-test for Independent Group โดยใช้ระยะเวลาในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2565 –สิงหาคม พ.ศ.2566 ผลการศึกษา พบว่า อาหารฝึกกลืนทั้ง 3ระดับ มีลักษณะสัมผัสและความข้นหนืดของอาหารตาม มาตรฐานIDDSI โดย1หน่วยบริโภค ประกอบด้วย Carbohydrate 50.32%, Protein19.01%, Fat 30.67% พลังงาน 320 kcal เปรียบเทียบผลการยอมรับด้านประสาทสัมผัสของอาหารฝึกกลืนเดิมกับอาหารฝึก กลืนสูตรพัฒนาใหม่ พบว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีความชอบโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ p<0.005 สรุป การพัฒนาสูตรอาหารฝึกกลืนได้มาตรฐาน IDDSI มีสารอาหารหลักตามสัดส่วนที่ร่างกายควรจะ ได้รับ ได้รับการยอมรับจากผู้ป่วย และสามารถนำไปปรับใช้ในอาหารเฉพาะโรคในกลุ่มผู้ป่วยที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 289 บทคัดย่อ P-4 โปรแกรมโภชนศึกษาต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผ้ปู่วยเบาหวานชนิดที่2 โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี วรรณรดา กิจพิทกัษ์ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี บทน า จากการศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยเบาหวานที่แพทย์ส่งมารับบริการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพในปีงบประมาณ 2565 พบว่าจำนวน 3,227 ราย มีระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) >7.0% เป็นร้อย ละ 42.39 จากข้อมูลและปัญหาดังกล่าวจะเห็นว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการ ดูแลตนเองและขาดทักษะในการเลือกรับประทานอาหาร ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการรับประทาน อาหารในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมได้ จะทำให้ผู้ป่วยเกิดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยโดยประยุกต์ ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง (selfefficacy) มาใช้ในการสร้างโปรแกรมโภชนศึกษาฯ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมโภชนศึกษาต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2โดยศึกษา ความรู้ ความเข้าใจเรื่อง อาหารโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเองในการควบคุมอาหาร ความ คาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวด้านการควบคุมอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหารและค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม (HbA1c) วิธีการวิจยัและศึกษา กลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest posttest design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการรักษาผู้ป่วยนอกแผนก อายุรกรรม ในโรงพยาบาล โดยการเลือกแบบเจาะจง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมโภชนศึกษาโดยการประยุกต์แนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถ ของตนเอง (self-efficacy) 2) แบบสอบถาม ระยะเวลา 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แบบสอบถาม และค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในกระแสเลือด (HbA1c) ผลการวิจยัและศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลง ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องอาหารเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ความคาดหวังใน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวด้านการควบคุมอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในกระแสเลือด (HbA1c) ลดลงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<.05) สรุปและวิจารณ์โปรแกรมโภชนศึกษาฯ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น และส่งผลให้มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในกระแสเลือด (HbA1c) ลดลงกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งสามารถนำโปรแกรมโภชนศึกษาฯ นี้ไปประยุกต์ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ ควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดให้เป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมายมากยิ่งขึ้น และเหมาะสมตามบริบทและวิถี ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยต่อไป กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
290 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-5 ผลของประเมินและการติดตามภาวะโภชนาการผ้ปู่วยบาดแผลไฟไหม้น ้าร้อนลวกความลึก ระดับที่ 2 สุรศกัดิ์ศรีละคร โรงพยาบาลมหาราชนครรราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา บทน า การบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เป็นบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุในการดำรงชีวิต ประจำวันและพบได้บ่อยในทุกเพศ ทุกวัย การบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ที่เกิดขึ้นอาจมีเพียง เล็กน้อยจนถึงรุนแรงที่ทำอันตรายต่อผิวหนัง บางครั้งทำลายเนื้อเยื่อชั้นลึกใต้ผิวหนังถึงกล้ามเนื้อ การ เกิดแผลไหม้ที่รุนแรงทำให้เกิดความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การ ดูแลด้านโภชนาการและการส่งเสริมโภชนาการ ที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อการรักษา การฟื้นตัว ผู้ป่วย ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเผาไหม้อย่างรุนแรง ในการรักษาทางการแพทย์ในช่วงต้นและการสนับสนุนทาง โภชนาการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น ลดการเกิด ภาวะแทรกซ้อน ลดระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยภายใน โรงพยาบาล รวมทั้งสามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ วัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการผู้ป่วยบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกน้ำร้อนลวก 2.เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมโภชนาการในผู้ป่วยบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อน ลวก วิธีการวิจยัและศึกษา คัดเลือกจากผู้ป่วยผู้ใหญ่แผลไฟไหม้ระดับ Second-degree burn ที่ผู้ป่วยที่รับ การรักษาและพักรักษาตัว หอผู้ป่วยบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกใน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มิถุนายน 2566 – มกราคม 2567 ใช้วิธีการสุ่มแบบตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เป็น งานวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้แบบรวบรวมข้อมูลการประเมินและการติดตามภาวะโภชนาการผู้ป่วย บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ติดตามผลการให้โภชนบำบัดก่อนละหลังการส่งเสริมโภชนาการ สรุปและ อภิปรายผลการติดตามภาวะโภชนาการก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมโภชนาการในผู้ป่วยบาดแผลไฟ ไหม้น้ำร้อนลวก สรุปและวิจารณ์ผลจากการศึกษาผลของประเมินและการติดตามภาวะโภชนาการผู้ป่วยบาดแผลไฟ ไหม้น้ำร้อนลวกความลึกระดับที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ผู้ป่วย จำนวน 30 ราย พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศ ชาย ร้อยละ 73.3 ช่วงอายุ 40-59 ปี ร้อยละ 53.3 ช่วง BMI 18.6 – 22.9 กก./ม2 ร้อยละ 53.3 สาเหตุ เกิดจากไฟไหม้ ร้อยละ 56. 7 น้ำหนักลดลง ร้อยละ 63.3 ระดับภาวะโภชนาการจากการก่อนส่วนใหญ่ เป็น Normal-mild malnutrition ร้อยละ 46.7 หลังประเมินและส่งเสริมภาวะโภชนาการส่วนใหญ่ Moderate malnutrition ร้อยละ 60.0 หลังจากได้รับการดูแลด้านโภชนบำบัดโดยนักโภชนาการ ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ โดยรวมทั้งมีแนวโน้มอาการของโรคเดิมที่ดีขึ้น ควบคู่กับการปรับพลังงานและ สารอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะผู้ป่วย ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องอาศัย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 291 ระยะเวลาในการดูแลภาวะโภชนาการไปต่ออีก เนื่องจากต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูปรับร่างกายจนกว่า สภาวะร่างกายจะเข้าสู่การใช้ชีวิตในภาวะปกติได้ดังเดิม กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
292 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-6 การพฒันาเครื่องมือประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารหญิงตงั้ครรภ์โรงพยาบาลเชียงราย ประชานุเคราะห์ ปธิตา สุริยะ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ บทน า การส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้หญิง ตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการดี จำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สามารถใช้สะดวก รวดเร็ว ครอบคลุมทั่วถึง และสามารถติดตามผลได้อย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และหญิงตั้งครรภ์มีส่วนร่วมในการประเมินการรับประทานอาหารด้วยตนเอง เกิดความรู้ ตระหนักถึง ความสำคัญของโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม วิธีการดา เนินการสร้างเครื่องมือเป็นแบบสอบถามออนไลน์โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภค อาหารหญิงตั้งครรภ์ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขมาปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตในท้องถิ่นภาคเหนือ ตอนบน โดยสแกนQR Code ตอบคำถาม ตอบถูกได้1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน ผลการดา เนินการ เครื่องมือประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารหญิงตั้งครรภ์ สามารถแสดงผลตามที่ กำหนด และสามารถใช้งานได้ง่าย หลังจากตอบครบทุกข้อสามารถดูคะแนนที่ตอบ พร้อมดูเฉลย คำตอบ มีข้อเสนอแนะอธิบายรายละเอียดความสำคัญ และประโยชน์ของการรับประทานอาหาร เป็นราย ข้อ ในส่วนของการติดตามข้อมูล สามารถติดตามข้อมูลที่ตอบแบบประเมินทั้งหมด จำนวน ข้อมูลเชิง ลึก ได้แก่ ค่าเฉลี่ยคะแนน ค่ามัธยฐาน ช่วงคะแนน การแจกแจงคะแนนรวมของผู้ตอบ ผลของการ ตอบ เป็นรายข้อครบทุกข้อ สามารถแสดงเป็นไฟล์ Excel สรปุผลการดา เนินการ เครื่องมือประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงาน มีผลดีทั้งต่อผู้รับบริการ ผู้รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยด้านโภชนาการ และองค์กร ลดค่าใช้จ่าย ข้อแสนอแนะ ควรขยายผลการใช้ไปยังผู้ป่วยนอกกลุ่มอื่นๆให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม และควรนำไป เชื่อมต่อข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย จากระบบHospital Operation Management & Controls(HOMC)ด้วย ระบบLANs(Local Area Networks) เพื่อเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานด้านโภชนาการของผู้ป่วย และสามารถ ใช้ในการวิเคราะห์ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 293 บทคัดย่อ P-7 การพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ประกอบการคดักรองและประเมินภาวะโภชนาการ ส าหรับผู้ต้องขัง ป่ วยที่มีอุปสรรคด้านการสื่อสารในการให้ข้อมูล ในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ไซนับ กะจิ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กรุงเทพมหานคร บทน า การคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการให้ โภชนบำบัดที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์มีการคัดกรองและประเมิน ภาวะโภชนาการของผู้ต้องขังป่วยโดยพยาบาลประจำหอผู้ป่วย ทั้งนี้จากการสอบถามพบว่า การคัด กรองและประเมินฯในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอุปสรรคด้านการสื่อสาร ทำให้พยาบาลได้ข้อมูลที่ต้องนำไปใช้ใน แบบฟอร์มการคัดกรองหรือประเมินเกิดความล่าช้า ดังนั้นทางงานโภชนาการจึงเห็นควรอยากพัฒนา เครื่องมือเพื่อใช้ประกอบการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการสำหรับผู้ต้องขังป่วยที่มีอุปสรรคใน การให้ข้อมูล เพื่อให้การดำเนินงานด้านโภชนาการของพยาบาลมีความสะดวกยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ (1)เพื่อพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ประกอบการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการ และ (2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นโดยพยาบาลทีมโภชนบำบัด วิธีการดา เนินงาน ก่อนการพัฒนาเครื่องมือผู้วิจัยทำการคัดเลือกข้อคำถามจากแบบคัดกรองใน เครื่องมือ SPENT และแบบประเมินในเครื่องมือ NAF ที่ต้องใช้ในการพัฒนาเครื่องมือ ไปแปลข้อคำถาม เป็นภาษาอังกฤษ แล้วนำไปประเมินความถูกต้องของการแปลโดยผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน จากนั้นไปพัฒนา เครื่องมือ 2 ชิ้น ในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์แล้วนำเครื่องมือไปประเมินความพึงพอใจโดยพยาบาลทีม โภชนบำบัด ผลการศึกษา (1)การประเมินความถูกต้องของการแปลพบว่าค่า adequacy (ภาษาอังกฤษที่ใช้มี ความหมายเหมือนกับภาษาไทย) และค่า fluency (ความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์) หลายข้อมีคะแนน เฉลี่ยต่ำกว่า 4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 ดังนั้นผู้วิจัยได้แก้ไข เพื่อให้ได้คำหรือประโยคที่ถูกต้องและ สมบูณร์ยิ่งขึ้นก่อนนำไปพัฒนาเครื่องมือ และ(2)ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นพบว่า เครื่องมือสำหรับใช้ประกอบการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการทั้ง 2 ชิ้น ได้รับความพึงพอใจโดย ภาพรวมในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยที่ 4.8 และ 4.9 คะแนน ตามลำดับ สรุปและวิจารณ์เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นได้รับความพึงพอใจจากพยาบาลทีมโภชนบำบัดและสามารถ นำไปใช้ประกอบการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการสำหรับผู้ต้องขังป่วยที่มีอุปสรรคด้านการ สื่อสาร แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ที่ไม่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ทำให้อาจต้องใช้การ อธิบายโดยผู้คัดกรองหรือประเมินเพิ่ม กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
294 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-8 ผลของโปรแกรมการใช้เทคนิค Motivate Interview และสื่อ Multimedia ในการสร้างแรงจูงใจ เสริมความร้อูาหารและโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพในผ้ปู่วยโรคหวัใจและหลอดเลือดสมอง ปฏิมา พรพจมาน ศิวพร ตนัติกลัชาญ และคณะ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขมุวิท จ. กรงุเทพ บทน า: โรคหัวใจและหลอดเลือดสมองยังคงเป็นปัญหาการเจ็บป่วยและมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอัน ควร ซึ่งบริโภคอาหารไม่เหมาะสมเป็นปัจจัยที่ทำให้ก่อโรคนี้จากการดูแลพบว่าผู้ป่วยยังขาดแรงจูงใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพจึงมีความสนใจพัฒนาทักษะให้คำปรึกษาโดยใช้ เทคนิค Motivate Interview และสื่อมัลติมิเดียเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมบริโภคอาหาร เสริมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลนำไปปฏิบัติได้จริง มากขึ้น วัตถุประสงค์:ประเมินผลโปรแกรมการใช้เทคนิค Motivate Interview และสื่อมัลติมิเดียในการสร้าง แรงจูงใจเสริมความรู้อาหารและโภชนาการช่วยปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพกับ ผู้ป่วย วิธีการวิจยัและการศึกษา: พัฒนาสื่อ Multimedia เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยเพื่อปรับพฤติกรรม บริโภคให้เหมาะสมกับสุขภาพ ใช้เทคนิค Motivate Interview ในการให้คำปรึกษาอาหารและ โภชนาการพร้อมทั้ง ประเมินและติดตามผลการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับโรค ผล Lab เลือดภายใน 3 เดือน เช่น ไขมัน น้ำตาล ผลการวิจยัและการศึกษา: ผู้ป่วยมีปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารให้เหมาะสมต่อสุขภาพ เช่น ลด อาหารหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผัก โดยมีผลเลือดไขมันและน้ำตาลดีขึ้นภายใน 3 เดือน จำนวน 20 จาก 24 ท่าน ( 83.3 %) ผู้ป่วยที่เข้าโปรแกรมมีความพึงพอใจภาพรวมต่อการใช้เทคนิค Motivate Interview และสื่อMultimediaในการสร้างแรงจูงใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อ สุขภาพ 4.7จาก 5 คะแนน สรุปและวิจารณ์ผลการศึกษา การให้คำปรึกษาอาหารและโภชนาการ โดยใช้เทคนิค Motivate Interview และสื่อ Multimedia ในการสร้างแรงจูงใจมีส่วนช่วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพผู้ป่วยได้ กิตติกรรมประกาศ: ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 295 บทคัดย่อ P-9 The Efficacy of NCI Nutrition Mobile Application on Nutrition Care Process in Cancer Patients at National Cancer Institute of Thailand Natthasaran Wongtecha, Sumalee Nuchit, Supaphorn Pengjandee, Pennapa Limwan, Piriyapong Sangpin, Kittiporn Nawsuwan, Buchcha Prammanasudh, Vibul Trakulhoon, Natta Pipopchaiyasit. Department of Nutrition, National Cancer Institute of Thailand, Bangkok, Thailand. Background: Department of Nutrition has developed NCI Nutrition Mobile Application to improve the Nutrition Care Process (NCP). Dietitians run the application to match patient’s condition. Individual patient can select the daily energy and protein intake as shown by the food choices program. Aims: To assess the efficacy and benefits of NCI Nutrition Mobile Application and to examine the patients satisfaction. Methods: Ninety-seven cancer patients were included in the pre-post NCP study from July - December 2565. Nutritional status, duration of patient service times, and satisfaction of users were collected. Statistical analysis were done by G-Power 3.1.9.2 and Wilcoxon Signed Rank test. Results: Patients nutritional status was improved significantly (P<.001). It was found that colon cancer patients had 38.1 % improvement in nutritional status. These benefits might be related to multiple factors such as, reduction of errors from manual data recording, the calculated energy and nutrients were more accurately obtained by dietitians, individual patient can select food choice intakes relevant to the requirement. An increase awareness of energy and protein intake per day were observed. The average service times were decreased from 30 minutes (min= 20, max= 42) to 12 minutes (min= 7, max= 22). Patients satisfaction on mobile application usage revealed positive interest and benefits of 82% and 91% respectively. Conclusion: NCI nutrition mobile application is easy-to-use, consumes less time, give more convenience, more accuracy, and satisfaction. The device yields the efficacy and benefit in improvement of nutritional status and decrease workload in NCP of users. Keywords: Nutrition application, Nutrition care process, Nutritional status, Cancer patients, National Cancer Institute of Thailand. Acknowledgments: Received support from Thai Dietetic Association
296 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-10 ผลการให้โภชนบ าบัดผู้ป่ วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ โรงพยาบาลสมเด็จพระราชเทวี ณ ศรีราชา ที่มีข้อบ่งชี้ระดับ B - C (moderate and severe malnutrition) จารวุรรณ บุญกาวิน ฝ่ ายโภชนาการ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะโภชนาการก่อนและหลังการประเมินภาวะ โภชนาการผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ ที่ผ่านการคัดกรองภาวะโภชนาการโดยแบบคัดกรอง Nutrition Alert Form.ที่มีข้อบ่งชี้ระดับ B-C (moderate and severe malnutrition) ที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา มีภาวะโภชนาการดีขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบบคัดกรอง NUTRITION ALERT FORM (NAF) แบบประเมินภาวะโภชนาการ จำนวนผู้ป่วย 100 ราย ผู้ป่วยตั้งแต่ อายุ18 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางปาก (Oral Nutrition) ผู้ป่วยที่มีคะแนนรวมผลการประเมิน ภาวะโภชนาการเบื้องต้น ระดับ B : 6 - 10 คะแนน = Moderate malnutrition จำนวน 34 คน (คิดเป็น ร้อยละ 34) ระดับ C : > 11 คะแนน = Severe malnutrition จำนวน 66 คน (คิดเป็นร้อยละ 66) เมื่อผู้ป่วยได้รับการประเมินภาวะโภชนาการเมื่อได้ค่าคะแนนระดับ B-C (moderate and severe malnutrition) ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการนักโภชนาการทำการประเมินภาวะ โภชนาการ ต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยกลับบ้าน มีการแวงแผนการให้โภชนาการและโภชนบำบัดเฉพาะราย มีการติดตามและบันทึกผลการประเมินและการดูแลผู้ป่วยทางด้านโภชนาการและโภชนบำบัดอย่าง ต่อเนื่อง พบว่าผลการให้โภชนบำบัดผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ หลังการประเมินภาวะโภชนาการ ผู้ป่วยเมื่อพบผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการดีขึ้น ดังนี้ ระดับ A : 0 - 5 คะแนน = Normal - Mild malnutrition จำนวน 29 ราย (คิดเป็นร้อยละ 29) ระดับ B : 6 - 10 คะแนน = Moderate malnutrition จำนวน 23 ราย (คิดเป็นร้อยละ 23) ระดับ C : > 11 คะแนน = Severe malnutrition จำนวน 48 ราย (คิดเป็นร้อย ละ 48) แบบประเมินภาวะโภชนาการสามารถเปรียบเทียบผลการประเมินภาวะโภชนาการก่อน-หลัง ได้ อย่างชัดเจนและสามารถวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเป็นระบบ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควร มีแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารตามหลักโภชนบัญญัติ 9 ประการ เพื่อเป็นการ ประเมินความรู้ กิตติกรรมประกาศ : ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 297 บทคัดย่อ P-11 ผลของการใช้สื่อวิดิทศัน์ในการให้โภชนศึกษาต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผ้ปู่วยโรคไต เรื้อรัง โรงพยาบาลปทุมธานี ละออง ศิริชยัพฒันา และคณะ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลปทุมธานี บทน า โรงพยาบาลปทุมธานีให้บริการคลินิกชะลอไตเสื่อมแบบครบวงจรโดยสหวิชาชีพ นักโภชนาการ จะเป็นผู้วางแผนให้โภชนบำบัดเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ไม่สามารถ ให้บริการได้ครอบคลุม การผลิตสื่อวิดิทัศน์ที่มีเนื้อหา เกี่ยวข้องกับการดูแลตัวเองด้านโภชนาการและ โภชนบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจและนำไปปฎิบัติซึ่งจะช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลของการใช้สื่อวิดิทัศน์ในการให้โภชนศึกษาต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง วัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาสื่อวีดีทัศน์ให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 2.เพื่อศึกษาผลของสื่อวีดิ ทัศน์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไต 3.เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อวีดิทัศน์ วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Cross sectional descriptive study) โดยการผลิตสื่อวีดีทัศน์ ให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์จำนวน 65 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อวีดิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจยัและศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.85 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบ ประถมศึกษาร้อยละ 49.23 และส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นร้อยละ 41.54 มีพฤติกรรมก่อนดูสื่อ วีดิทัศน์อยู่ในระดับที่พอใช้ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 2.03 และหลังจากดูสื่อวีดิทัศน์อยู่ในระดับที่ดี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 2.52 และความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์อยู่ในระดับพึงพอใจมาก เฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.22 สรุป การใช้สื่อวีดีทัศน์ในการให้โภชนศึกษาช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจ นำไปสู่การมีพฤติกรรม การบริโภคอาหารเหมาะสมมากขึ้น ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงสื่อที่ถูกต้อง รวมทั้งดูทบทวนซ้ำได้ วิจารณ์จากการศึกษา ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์ในการให้โภชนศึกษาทำให้พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้พบนักโภชนาการเพื่อ วางแผนให้โภชนบำบัดเป็นรายบุคคล และมีการติดตามผลตรวจทางห้องปฎิบัติการอย่างต่อเนื่องร่วมกับ ทีมสหวิชาชีพ กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
298 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-12 ภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี ปณิตา เชยวิจิตร์ โรงพยาบาลมะการักษ์ อ าเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี บทน า ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย เป็นภสาวะที่มวลกล้ามเนื้อลาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และ สมรรถภาพทางกาย เสื่อมลงตามอายุ โดยจะเริ่มพบในผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยที่ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมะการักษ์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการใน ผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย กับระยะเวลานอนโรงพยาบาลด้วยโรคทางอายุรกรรม วิธีการศึกษา การศึกษาแบบพรรณนา โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยที่เข้ามารับการ รักษาในโรงพยาบาลมะการักษ์ ตั้งแต่วันที่1 เมษายน 2566 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เครื่องมือ ที่ใช้ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง และแบบ ประเมินภาวะโภชนาการ นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย และศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย กับระยะเวลานอนโรงพยาบาล ด้วยโรคทางอายุรกรรม ด้วยการวิเคราะห์ Chi-square test ผลการศึกษา จำนวนทั้งหมด 50 ราย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุวัยต้น จำนวน 26 คน คิด เป็นร้อยละ 52 มีอายุเฉลี่ย 70.287.833 ปี มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ ระดับปานกลาง จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ปัจจัยด้านอายุไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่มี มวลกล้ามเนื้อน้อย ส่วนระดับพลังงานและสารอาหารมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่มี มวลกล้ามเนื้อน้อย (P<.001) โดยเมื่อผู้สูงอายุได้รับพลังงานและสารอาหารน้อยมากจะเกิดภาวะ ทุพโภชนาการสูงกว่าผู้สูงอายุที่ได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยกับระยะเวลานอนโรงพยาบาล พบว่าภาวะ โภชนาการของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับระยะเวลานอนโรงพยาบาล (P<.001) โดยที่ผู้สูงอายุที่มีภาวะ ทุพโภชนาการจะมีการนอนโรงพยาบาลที่รักษาตัวด้วยโรคอายุรกรรมเป็นเวลา 10 วันขึ้นไปทุกคน สรุป การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย ควรมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ เป็นผู้สูงอายุตั้งแต่แรกรับเพื่อไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการและลดวันนอนโรงพยาบาล ดูแลการได้รับ อาหารพลังงานเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการ กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 299 บทคัดย่อ P-13 ประสิทธิผลของการให้โภชนบา บดัในผ้ปู่วยบาดเจบ ็ ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ ใน ระดับปานกลางและรุนแรงที่รักษาในโรงพยาบาล กฤติยา โมสิกานนท์ โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง จังหวัดระยอง บทน า ภาวะบาดเจ็บเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการอันเนื่องมาจากการเกิด กระบวนการอักเสบในร่างกายอันนำไปสู่การเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานและความต้องการ สารอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการฟื้นตัวของร่างกายโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะ ทุพโภชนาการในระดับปานกลางและรุนแรงอาจมีแนวโน้มการเกิดภาวะโภชนาการทดถอยและเสี่ยงต่อ การเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการดูแลด้านโภชนบำบัดและศึกษาปัญหาด้านโภชนาการ ของผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในระดับปานกลางและรุนแรงซึ่งคัดกรองโดยใช้ แบบคัดกรองความเสี่ยงทาง โภชนาการ Nutrition Alert Form (NAF) มีอาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัย จำนวน 54 ราย ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนตามเป้าหมาย(มากกว่าร้อยละ70ของความ ต้องการ) โดยได้รับพลังงานและโปรตีนเมื่อเทียบกับความต้องการเฉลี่ยร้อยละ77.72±17.10 และ 71.81±18.82 ตามลำดับ พบความสัมพันธ์ทั้งร้อยละของพลังงานและโปรตีนที่ได้รับกับผลลัพธ์ทาง คลินิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว (p=.019 ทั้งพลังงานและโปรตีน) การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อน่องขา (p=.019 และ p=.002 ตามลำดับ) และการเปลี่ยนแปลงของกล้ามต้น แขน (p=.041 และp =.048 ตามลำดับ) นอกจากนี้วันที่ผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนเพียงพอ (มากกว่า ร้อยละ 70 ของความต้องการ) เฉลี่ย 5.26 ± 2.45 วัน และ 7.01 ± 4.02 วัน ตามลำดับ โดยพบ ความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางคลินิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว (p=.014 และp=.011ตามลำดับ) และระยะเวลานอนโรงพยาบาล (p=.003 และ p=.000 ตามลำดับ) ซึ่ง ปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ หรือได้รับพลังงานและโปรตีน เพียงพอล่าช้า มาจากการเบื่ออาหาร คิดเป็นร้อยละ 44.44 รองลงมาคือ ปัญหาการเคี้ยวกลืน ร้อยละ 25.93 และผู้ป่วยส่วนหนึ่งปฏิเสธเสริมอาหารทางการแพทย์เนื่องจากไม่ชอบดื่มนมหรือเครื่องดื่มกลิ่น คล้ายนม คิดเป็นร้อยละ11.11 สรปุและวิจารณ์จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการได้รับพลังงานและโปรตีนที่เพียงพอ มากกว่าร้อย ละ 70 ของความต้องการ ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางคลินิก ทั้งการ เปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อ และระยะเวลานอนโรงพยาบาล ดังนั้น หน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะบาดเจ็บควรมีทีมนักกำหนดอาหาร เข้าร่วมดูแล และควรมีการกำหนด แนวทางมาตรฐานการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนที่เพียงพอ ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโภชนาการถดถอยในระหว่างการพักรักษาในโรงพยาบาล กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
300 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-14 การดแูลผ้ปู่วยติดเตียงชราธิวาส ด้านโภชนบา บดัในชุมชนเขตอา เภอยี่งอ จงัหวดันราธิวาส นิตยา กิจชอบ มารินีเปาะสูอาซียนัแสบีดิง กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลยีง่อเฉลิมพระเกียรติ๘๐ พรรษา บทน า การดูแลด้านโภชนบำบัดในผู้สูงอายุที่ติดเตียงเป็นการฟื้นฟูสุขภาพป้องกันภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นผู้สูงอายุจะมีสภาพร่างกายโดยเฉพาะปัญหาภาวะกลืนอาหารลำบาก และ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถบริโภคอาหารได้และบริโภคในปริมาณที่ไม่พียงพอกับความ ต้องการของร่างกายจนเกิดภาวะทุพโภชนาการและจะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ การ ที่ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการของร่างกายต่อเนื่องนั้นถือเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ผล การดูแลด้านโภชนบำบัดบรรลุสู่เป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง ในเขตอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส วิธีการวิจยัและศึกษาคัดกรองสุขภาพ ประเมินภาวะโภชนาการก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม ทำ ประชาคมผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ประชุม-อบรมเชิงปฏิบัติ สาธิตสูตรอาหาร คัดเลือกผู้ป่วยติดเตียงนำร่อง ติดตามเยี่ยมให้คำแนะนำ วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการดำเนินการ คืนข้อมูลแก่ชุมชน ผลการวิจยัและศึกษา จากการวิเคราะห์การบริโภคอาหารกลุ่มที่1 ที่ไม่มีปัญหาภาวะกลืนลำบาก โดย การบริโภคอาหารที่ดัดแปลงเมนูอาหารให้เหมาะสมด้านพลังงาน สารอาหาร โดยเน้นโปรตีนจาก ไข่และ เนื้อปลา พบว่าเมนูที่ผลิตจากไข่ขาวได้รับความชอบมากที่สุดร้อยละ92 รองลงมาเมนูที่ผลิตจากเนื้อปลา ร้อยละ 87ส่งผลทำให้กลุ่มตัวอย่างบริโภคอาหารได้ปริมาณมากขึ้นระยะเวลา 3 เดือน ร้อยละ 50 มี น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.3 กิโลกรัมร้อยละ 30 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0.80 กิโลกรัม ร้อยละ20 มี น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0.50 กิโลกรัม กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยติดเตียงที่มีปัญหาภาวะกลืนลำบาก โดยการ บริโภคอาหารอาหารทางการแพทย์(medical food) พบว่ากลุ่มตัวอย่างบริโภคตามแผนการให้โภชน บำบัดระยะเวลา 3 เดือน ร้อยละ60 มีน้ำหนักเพิ่งขึ้นโดยเฉลี่ย 1.8 กิโลกรัมร้อยละ 30 มีน้ำหนักเพิ่งขึ้น โดยเฉลี่ย1.5 กิโลกรัม ร้อยละ10 มีน้ำหนักเพิ่งขึ้นโดยเฉลี่ย 1.2 กิโลกรัม สรุป การให้โภชนบำบัด การเลือกอาหารลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย การติดตามประเมิน ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่องของนักโภชนาการและผู้ดูแลให้ความรวมมือ ปฏิบัติตามแผนการให้โภชนบำบัดและแผนการรักษาอื่นๆรวมถึงการติดตามเยี่ยมบ้านของทีมสห วิชาชีพทำให้ผลการดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น นำสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต่อไป วิจารณ์จากการศึกษา ผลของการให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยติดเตียงผู้สูงอายุครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการที่ ผู้ป่วยจะมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นได้นั้นนอกจากนักโภชนาการซึ่งมีหน้าที่วางแผนให้โภชนบำบัดแก่ ผู้ป่วยแล้วผู้ดูแลเป็นบุคลสำคัญที่จะส่งเสริมให้ผลการให้โภชนบำบัดเป็นตามแผนที่กำหนดไว้ และการ ให้โภชนบำบัดครั้งนี้แม้ผู้ป่วยยังไม่ได้รับพลังงานตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่มีแนวโน้ม ที่จะบริโภคอาหารได้ปริมาณมากขึ้น หากมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 301 บทคัดย่อ P-15 การพัฒนากระบวนการดูแลด้านโภชนบ าบัดผู้ป่ วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC) โรงพยาบาลยะลา มณี จันทร์ไทย และคอรียา มะซัม กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา บทน า ปัญหาภาวะพึ่งพิงและความพิการจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะจากสามกลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองและการบาดเจ็บของไขสันหลัง ซึ่งมักทำให้ ผู้ป่วยมีความพิการหรือมีความบกพร่องของสมรรถภาพร่างกาย เช่น แขนขาอ่อนแรง มีปัญหาการพูด และการกลืน และต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูสภาพมากกว่า 6 เดือน วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยระยะกลางได้รับการดูแลด้านโภชนบำบัดอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานและ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยระยะกลางได้อย่างเหมาะสม วิธีการวิจยัและศึกษา การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้วิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง การทดลอง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท (IMC Unit) โรงพยาบาล ยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ในเดือนพฤศจิกายน 2566- เดือนมกราคม 2567 ผลการวิจยั พบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยสอดคล้องกับพฤติกรรมด้านความรู้ใน การดูแลตนเองและค่าพลังงานที่ผู้ป่วยได้รับจากอาหารอยู่ระหว่าง 1500 – 1700 Kcal ซึ่งเป็นตาม ลักษณะอาหารที่ผู้ป่วยบริโภคได้ ส่งผลให้การบริโภคอาหารมีการปรับตามอาการของผู้ป่วยในแต่ละราย สรปุและวิจารณ์งานวิจัยนี้เป็นการส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ป่วยระยะกลางและญาติ พัฒนา ระบบติดตามผลการดูแลด้านโภชนบำบัดและสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วย ระยะกลางและควรนำกระบวนการดูแลด้านโภชนบำบัด รูปแบบการจัดอาหารบริการผู้ป่วยระยะกลาง สื่อการสอนเกี่ยวกับโภชนาการ เครื่องมือติดตามผลการดูแลด้านโภชนบำบัด และเครือข่ายความร่วมมือ ด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วยระยะกลางไปใช้ในโรงพยาบาลอื่นๆ กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
302 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-16 ศึกษาผลของการให้โภชนศึกษาแบบรายกลุ่มร่วมกับการใช้สติบ าบัดแบบสัน้ต่อการ ปรบัเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารและระดับน ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิก โรคเบาหวาน โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ๘๐ พรรษา จงัหวดันราธิวาส มารินีเปาะสู กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ๘๐ พรรษา จังหวัดนราธิวาส บทน า โรคเบาหวานมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต พบว่าร้อยละ 35 ของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการใน โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐พรรษา เคยได้รับคำแนะนำความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรคเบาหวาน เป็นรายคนหลายครั้ง แต่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการ ให้โภชนศึกษาแบบรายกลุ่มร่วมกับการใช้นำสติบำบัดแบบสั้นมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานกลุ่ม ดังกล่าว วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารแบบยั่งยืน และลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ วิธีการวิจยัและศึกษาเป็นการศึกษาเชิงทดลอง คัดเลือกอาสาสมัครผู้ป่วยเบาหวานHba1c ≥ 8mg% ผ่านการให้โภชนศึกษาแบบรายคน > 3 ครั้ง ชี้แจงรายละเอียดและให้ความยินยอม ประเมินพฤติกรรม บริโภคอาหารและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด(Hba1c) ก่อนและหลังศึกษา นัดอาสาสมัครผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 35 ราย แบ่งเป็นกลุ่มๆละ5-10 ราย/สัปดาห์ สัปดาห์ที่1 ทำสติบำบัดแบบสั้นครั้งที่1 สัปดาห์ที่2 ให้ความรู้เรื่องอาหารเบาหวานครั้งที่1 สัปดาห์ที่ 3 ให้ความรู้เรื่องอาหารเบาหวานครั้งที่2 สัปดาห์ที่ 4 ทำสติบำบัดแบบสั้นครั้งที่2 ติดตามพฤติกรรมบริโภคอาหารทุก1เดือน และติดตามHba1c ทุก 3 เดือน ติดต่อ3 ครั้ง ศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 ถึง เดือนกุมภาพันธ์2567 ผลการวิจยัและศึกษา พบว่ากลุ่มอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ58.1 อายุ60-70 ปีร้อยละ 62.9 จบประถมศึกษาร้อยละ42.9 BMI 23-24.9 ร้อยละ 51.4 ประเมินพฤติกรรมบริโภคอาหารของ อาสาสมัคร พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมบริโภคก่อนศึกษาเท่ากับ11.43±1.37 คะแนน และหลังศึกษา เท่ากับ 23.11±0.76 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน) ประเมินความรู้เกี่ยวกับอาหารเบาหวาน พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับอาหารเบาหวานของอาสาสมัครก่อนศึกษาเท่ากับ 7.37±1.00 คะแนน และหลังศึกษาเท่ากับ 9.71 ± 0.62 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) และผลการติดตามค่าHbA1c ของอาสาสมัครพบว่า ค่าเฉลี่ยHbA1c ก่อนศึกษาเท่ากับ 11.22±1.93 mg% และหลังศึกษาเท่ากับ 8.73±1.72 mg% ทุกการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) สรปุและวิจารณ์ การให้โภชนศึกษาแบบรายกลุ่มร่วมกับการใช้สติบำบัดแบบสั้นในผู้ป่วยเบาหวาน มี ผลให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้มีพฤติกรรมบริโภคอาหารดีขึ้น สามารถลดค่าHbA1c ของผู้ป่วย เบาหวานแต่ละรายใกล้เคียงเกณฑ์ปกติ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิก โรคเบาหวานได้ กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย จากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 303 บทคัดย่อ P-17 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่ วย Stroke ที่มีภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผ้ปู่วยโรคไม่ติดต่อ เรือ้รงัในเขตอา เภอทบัคล้อ จงัหวดัพิจิตร อาริยา ราชคฤห์ กลุ่มงานโภชนศาสตร์โรงพยาบาลทบัคล้อ จงัหวดัพิจิตร บทน า จากสถิติการประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยStrokeที่มีภาวะซึมเศร้าและมีโรคร่วมในกลุ่มป่วยโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตรด้วยแบบประเมิน NAF พบว่า มีภาวะ ทุพโภชนาการร้อยละ100 ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วย Stroke ส่งผลให้ระยะเวลานอนในการรักษา เพิ่มขึ้น การใช้เครื่องช่วยหายใจในระยะยาว เพิ่มการติดเชื้อการสลายตัวของมวลกล้ามเนื้อ ภาวะแทรกซ้อนของโรคส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมที่แย่ลง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาภาวะโภชนาการในผู้ป่วยStroke ค้นหาปัจจัยเสี่ยงและศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยStrokeที่มีภาวะซึมเศร้า และเป็นแนว ทางการดูแลด้านโภชนาการในผู้ป่วยStrokeที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพ วิธีการวิจยัและศึกษา การศึกษาวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) และการวิเคราะห์ถดถอยพหู คูณ (Multiple regression analysis) เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน แบบติดตามประเมินผู้ป่วยที่เข้ารับการ กายภาพบำบัดภายใน 6 เดือน จำนวน 30 ราย การประเมินภาวะโภชนาการ แบบประเมินNAF เก็บ ข้อมูลจากแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลอดเลือดสมองของงานสุขภาพจิต แบบประเมินภาวะ ซึมเศร้า 9 คำถาม ผลการวิจยั จากการศึกษาพบว่าผลการประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยStrokeที่มีภาวะซึมเศร้าและมี โรคร่วมในกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อ ด้วยแบบประเมิน NAF พบว่า มีภาวะทุพโภชนาการระดับ B : moderate malnutritionร้อยละ 7 และมีภาวะทุพโภชนาการระดับ C : Severe malnutrition คิดเป็นร้อย ละ 93 ความสัมพันธ์ระหว่างเพศและอายุเป็นปัจจัยที่มีผลต่อภาวะทุพโภชนาการซึ่งพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัย เป็นเพศชายร้อยละ53.33 (n = 16) เพศหญิงร้อยละ46.67 (n=14) ร้อยละ90 ของผู้เข้าร่วมศึกษาอยู่ใน วัยสูงอายุเฉลี่ย 70.7ปีและยังพบว่าคุณภาพชีวิตและภาวะเครียดมีความสัมพันธ์กันt-table = -2.509* จากการวิจัยจะปฏิเสธสมมติฐานเมื่อ t-test มากกว่า 0.025,n¯²ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อภาวะทุพ โภชนาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะซึมเศร้า สรุปผลและวิจารณ์ภาวะซึมเศร้ามีผลต่อการนอนหลับและการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป รับประทานอาหารได้น้อยมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มีความสัมพันธ์กับ ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) ทั้งนี้ ภาวะทุพโภชนาการอาจส่งผลต่อทั้งสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และการใช้ ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ดังนั้น ผู้ป่วยควรไดรับการประเมินภาวะโภชนาการในช่วง 3 เดือนแรกและเข้า รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเหมาะสม กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
304 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-18 การศึกษาผลของการดื่มผลิตภณัฑ์เครื่องดื่มผลไม้ท้องถิ่นที่มีสารเมลาโทนิน กบัคุณภาพการ นอนหลบัของผ้ปู่วยโควิด-19 ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จนัทิมา ตาพวั้ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ บทน า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี มีการใช้ยานอนหลับ ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพใน ระยะยาว วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรเครื่องดื่มผลไม้ในท้องถิ่น เป็นทางเลือกของเครื่องดื่มที่มีสารเมลาโทนินให้ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่คุณภาพการนอนหลับไม่ดี และศึกษาผลของการดื่มเครื่องดื่มที่มีสารเมลาโทนิน ใน ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี วิธีการศึกษา การศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี จากการประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ≥ 5 คะแนน ก่อนดื่ม จำนวน 57 คน และสัมภาษณ์ความชอบผลไม้ใน อ.สตึก 3 ชนิด นำมาพัฒนาสูตรเครื่องดื่มที่มีเมลาโท นิน ให้กลุ่มตัวอย่าง 57 คน ดื่มผลิตภัณฑ์ ปริมาณ 200 ml. x 2 มื้อ/วัน เวลา 07.30 น. และ 16.00 น. ระยะเวลา 7 วัน และประเมิน (PSQI) และทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์ นำเสนอข้อมูลเป็น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ dependent t- test ผลการวิจยัและศึกษา หลังการดื่มเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ที่มีสารเมลาโทนิน ส่งผลให้กลุ่ม ตัวอย่าง ร้อยละ 85.96 มีการนอนหลับดีขึ้นอยู่ในระดับที่ดีและพบว่าสูตรน้ำผลไม้ที่มีเมลาโทนินสูตรที่ 2 มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ 7.7018±0.4575 ความชอบระดับปานกลาง สรุปและวิจารณ์ควรนำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้วิเคราะห์เมลาโทนิน และเผยแพร่สูตรสำหรับ ผู้ป่วยคุณภาพการนอนหลับไม่ดีในกลุ่มโรคอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยต่อไป กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 305 กิติกรรมประกาศ : ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย บทคัดย่อ P-19 พัฒนาต ารับอาหารฝึ กกลืน ให้ได้ตามมาตรฐาน และมีพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วน Develop a recipe for Dysphagia diet to meet the standards and have complete energy and nutrients กันต์นธีร์ ตาค า งานโภชนาการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลยัเชียงใหม่ บทน า ภาวะเจ็บป่วยจากโรคความบกพร่องของระบบประสาทและการได้รับอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการ บาดเจ็บของเส้นเลือดในสมองและระบบประสาท มีผลทำให้บริเวณสมองหรือเส้นประสาทที่ควบคุม อวัยวะในการกลืนขาดเลือดไปเลี้ยง หรือผลจากการผ่าตัด (mechanical deficits) การใส่ท่อหายใจเป็น เวลานานและภาวะโรคต่างๆ เช่นมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งของหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะกลืน ลำบาก นำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการได้ อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากควรเป็นอาหารที่มีการ ดัดแปลงเนื้อสัมผัส โดยการปั่นจนละเอียดหนืดข้นเหมือนอาหารเด็กหรืออาหารที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่ง เหลวคล้ายแป้งเปียก และต้องเลือกอาหารที่ปลอดภัยมีคุณค่าโภชนาการเพียงพอไม่ก่อให้เกิดการไอและ สำลัก จากการปรึกษาเรื่องอาหารของแพทย์ที่ทำการรักษาและทีมสหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยที่มี ปัญหาด้านการกลืนอาหารจึงคิดพัฒนาตำรับอาหารฝึกกลืนสำหรับผู้ป่วยฝึกกลืน เพื่อเป็นแนวทางการ ผลิตและบริการอาหารให้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะกลืนลำบากตามมาตรฐาน (IDDSI) วัตถุประสงค์ของการพัฒนา เพื่อพัฒนาและจัดทำตำรับอาหารอาหารฝึกกลืน สำหรับผู้ป่วยฝึกกลืน สอดคล้องการรักษาของแพทย์ และทีมสหสาขาวิชาชีพ ปรับปรุงอาหารฝึกกลืนให้ได้อาหารที่มีคุณค่า โภชนาการเพียงพอ พัฒนาความรู้ ทักษะด้านการดัดแปลงอาหารและโภชนาการ โภชนบำบัดของนัก โภชนาการ ตอบรับพันธ์กิจของคณะฯ และโรงพยาบาลที่ต้องการสร้างนวัตกรรมด้านการส่งเสริมการ รักษาในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ วิธีการ พัฒนาสูตรอาหารฝึกกลืนระดับที่ 0 - 7 ตามหลักโภชนาการ ทำการประเมินและทดสอบ ลักษณะของอาหารที่พัฒนาสูตรให้ตรงตามระดับของ มาตรฐาน The International Dysphagia Diet Standardization Initiative (IDDSI) ร่วมกับทีมกิจกรรมบำบัด ภาควิชาเวชศาสตร์พื้นฟูวิเคราะห์คุณค่า พลังงานสารอาหาร จัดทำตำรับ สรุปผล จากการพัฒนาตำรับอาหารฝึกกลืนตามมาตรฐาน (IDDSI) และได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และ นักกิจกรรมบำบัด ในการพัฒนาตำรับอาหาร ระดับความข้นหนืด การนำอาหารที่พัฒนาไปทดลอง ให้กับกลุ่มผู้ป่วย จนได้ตำรับอาหารฝึกกลืนที่ได้มาตรฐานและผู้ป่วยมีความพึงพอใจในรสชาติ ตำรับ อาหารที่พัฒนายังสามารถดัดแปลงสัดส่วนพลังงานสารอาหารเพื่อให้ได้ตามที่แพทย์กำหนดในแต่ละมื้อ ตำรับอาหารฝึกกลืนที่พัฒนาขึ้นเป็นที่ยอมรับของทีมสหสาขาวิชาชีพ มีการเลือกใช้งานจากทีมแพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟูมากขึ้น รวมถึงกลุ่มของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารที่เกิดจากอุบัติเหตุ เพิ่มขึ้น
306 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-20 การพัฒนาสูตรอาหารปั่นผสมโดยใช้โปรตีนจากพืชเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ในผู้ป่ วยที่ได้รับอาหาร ผ่านทาง Nasogastric Tube Feeding ส าหรับผู้ป่ วยที่มีปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ ศกัดิส์ิทธิ์ทาแก้ว กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลบางกระทุ่ม จงัหวดัพิษณุโลก บทน า ภาวะทุพโภชนาการในโรงพยาบาลพบอุบัติการณ์ได้ร้อยละ 19-80 เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทำให้ ผู้ป่วยมีอัตราการครองเตียงและใช้ระยะเวลารักษานานมากขึ้นรวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมาก เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน พบว่าผู้ป่วยกลุ่มบางรายที่ได้รับอาหารผ่านทาง Nasogastric Tube Feeding มี ปัญหาทางด้านค่าใช้จ่ายเพื่อผลิตอาหารทางสายยางเนื่องจากในสูตรอาหารปั่นผสมมีเนื้อสัตว์เป็น ส่วนประกอบจึงทำให้ผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแลมีค่าใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้การจัดซื้อ วัตถุดิบที่นำมาผลิตอาหารทางสายยางนั้นไม่เพียงพอและก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในระดับรุนแรง วัตถุประสงค์เพื่อลดงบประมาณในการจัดซื้อเนื้อสัตว์และไข่ที่ใช้ในการผลิตอาหารทางสายยาง ผู้ป่วย มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นและได้รับพลังงานสารอาหารครบถ้วน วิธีการวิจัยและศึกษา ชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ ทำความสะอาด ถั่วเหลือง 95 กรัม กล้วยน้ำว้า 45 กรัม ฟักทอง 70 กรัม ข้าวสวย 55 กรัม เกลือป่น 2.5 กรัม น้ำเชื่อม 90 ซีซีน้ำมันรำข้าว 25 ซีซี นำส่วนผสมทั้งหมดมาปั่นรวมกันให้มีความละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันและเติมน้ำปริมาณ 700- 1,000 CC จากนั้นนำไปกรองด้วยกระชอนตาถี่ นำไปกรอกใส่ถุงหรือถุง Nutri-Bag ผลการวิจยัและการศึกษา การพัฒนาสูตรอาหารปั่นปริมาณ 1,000 กิโลแคลอรี่ (1:1) ที่ใช้ถั่วเหลือง เป็นโปรตีนทดแทน ให้พลังงาน 1,060 แคลอรี ต่อ 1 เสิร์ฟ คาร์โบไฮเดรต 131.28 กรัม โปรตีน 36.05 กรัม ไขมัน 43.25 กรัม น้ำตาล 62.1 กรัม และใยอาหาร 7.18 กรัม ราคาต้นทุนการผลิตโดยประมาณ 20.58 บาท/วัน เมื่อเทียบกับราคาต้นทุนการผลิตของสูตรมาตรฐานโดยประมาณ 46.21 บาท/วัน สรุปผลการวิจยัและการศึกษา เป็นการพัฒนาสูตรอาหารปั่นผสมที่ใช้ถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนเมื่อ นำไปเทียบพลังงานและสารอาหารกับสูตรมาตรฐาน พบว่า มีความใกล้เคียงกัน จึงสามารถนำมาใช้แทน กันได้และจากการคำนวณค่าใช้จ่ายในวัตถุดิบเปรียบเทียบสูตรที่ใช้ถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนกับสูตร มาตรฐานแล้ว พบว่า สามารถลดต้นทุนการผลิตอาหารทางสายยางได้ 25.63 บาท กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 307 บทคัดย่อ P-21 พฒันาระบบการเบิกอาหารผ่านโปรแกรม Microsoft Excel ไปรยา แก้วจันทรานนท์ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์กรุงเทพมหานคร บทน า ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์มีระบบการจำหน่ายพักฟื้นผู้ป่วยที่แตกต่างจากโรงพยาบาล ทั่วไป คือ ผู้ป่วยยังคงพักอาศัยอยู่ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในกรณีของผู้ต้องขังป่วยที่ติดเตียงหรือ จะต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดจะยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจนกว่าจะพ้นโทษหรือปล่อยตัว ข้อมูลของกลุ่มผู้ป่วยจำหน่ายพักฟื้นจะไม่ออนไลน์อยู่ในระบบของโรงพยาบาลเนื่องจากมีการจำหน่าย ผู้ป่วยแล้ว แต่งานโภชนาการยังคงต้องให้บริการอาหารเหมือนกลุ่มผู้ป่วยในทั่วไป ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความคิดที่จะพัฒนาระบบการเบิกอาหารของกลุ่มผู้ป่วยจำหน่ายพักฟื้นด้วยโปรแกรมพื้นฐาน คือ Microsoft Excel โดยสามารถพิมพ์ออกมาเป็นบัตรอาหาร (Slip Diet) วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเบิกอาหารในกลุ่มผู้ป่วยจำหน่ายพักฟื้น วิธีการศึกษา จัดทำฐานข้อมูลรายละเอียดด้านอาหาร พัฒนาระบบการเบิกอาหารผ่านโปรแกรม Microsoft Excel และทดสอบระบบ และสำรวจความพึงพอใจ ผลการศึกษา การเบิกอาหารผ่าน Microsoft Excel มีทั้งหมด 3 sheets ได้แก่ การเบิกอาหารถาด การ เบิกอาหารทางสายให้อาหารและฐานข้อมูล ผลการสำรวจความพึงพอใจ พบว่า ร้อยละ 80.80 ให้ความ คิดเห็นว่า ระบบการเบิกอาหารดังกล่าวไม่ใช่ระบบที่มีการใช้งานที่ยุ่งยาก ร้อยละ 88.50 ให้ความเห็นว่า การเบิกอาหารผ่าน Microsoft Excel มีความยุ่งยากน้อยกว่าการใช้กระดาษ และผู้ตอบแบบสอบถามมี ระดับความพึงพอใจในภาพรวมต่อการเบิกอาหารผ่าน Microsoft Excel ในระดับปานกลางขึ้นไป สรปุและวิจารณ์การพัฒนาการเบิกอาหารอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดด้าน การจัดซื้อโปรแกรมหรือยังมีการเขียนบัตรอาหารเพื่อช่วยลดขั้นตอนและลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
308 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-22 การศึกษาผลการพัฒนางานโภชนาการที่ได้การรับรองมาตรฐานระดับสากล ISO 22000:2018 ณ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลระยอง กิตติเพญ ็ สุข แผนกโภชนบ าบัด กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลระยอง บทน า กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลระยอง ได้เล็งเห็นความสำคัญในกระบวนการผลิตอาหารผู้ป่วย โดยได้รับนโยบายจากผู้บริหารในการดำเนินการจัดทำระบบสุขลักษณะที่ดีของครัวผลิตอาหารสำหรับ คนหมู่มาก( GMP Mass Catering) ตั้งแต่ พ.ศ 2558 โดยกลุ่มงานโภชนศาสตร์ได้พัฒนากระบวนการ ทำงานและกระบวนการผลิตอาหารมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้จัดโครงการพัฒนาความปลอดภัยด้าน อาหาร ระบบHACCP ระบบ ISO 22000:2018และได้รับการรับรองมาตรฐานISO22000:2018 ในปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาผลการพัฒนางานโภชนาการที่ได้รับมาตรฐาน ISO22000:2018 ต่อผลลัพธ์ ในงานโภชนาการ 2.เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา และ เกิดความภาคภูมิใจต่อการพัฒนา งานในหน่วยงานโภชนศาสตร์3.เพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับการพัฒนางานโภชนศาสตร์ให้ทั้งหน่วยงาน ภายในและหน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล วิธีการดา เนินการวิจยั ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผลการดำเนินการย้อนหลัง5ปีใน ระหว่างที่ได้รับขอรับรองมาตรฐานและแปลผลออกมาโดยใช้กราฟในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจยั จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล พบว่าผลการดำเนินการย้อนหลัง 5 ปีของการ รับรองมาตรฐาน ISO22000:2018 ในหัวข้อของ1.การปฏิบัติงานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร(30ข้อ) พบว่าสามารถผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมอนามัย100 %ได้ครบทั้ง 5 ปี 2.เกณฑ์มาตรฐานการ ผ่านตัวชี้วัด (KPI)ด้านการจัดการความปลอดภัยทางอาหารซึ่งมีมาตรฐานย่อยอยู่10 ข้อ พบว่าผ่าน ตัวชี้วัดทั้ง10ข้อย่อยครบทั้ง 5 ปี3.เกณฑ์มาตรฐานเรื่องจำนวนข้อร้องเรียนเรื่องความสะอาดของอาหาร (มีสิ่งปนเปื้อน) ย้อนหลัง5 ปีพบว่าไม่พบข้อร้องเรียน 4.เกณฑ์มาตรฐานจำนวนครั้งของการให้บริการ อาหารผู้ป่วยไม่ถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ ย้อนหลัง 5 ปีพบว่ามีข้อร้องเรียน 1 ครั้งในปี2561 ในปี2562- 2565 ไม่พบข้อร้องเรียน และ 5.เกณฑ์ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการทั้งในและนอกโรงพยาบาล ย้อนหลัง5ปีพบว่าอยู่ในระดับ85%,90.6%,84.24%,84.2%,88.75% ตามลำดับ ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่ 80% สรุปและวิจารณ์ การพัฒนางานด้านโภชนาการในโรงพยาบาลที่ยั่งยืน นอกจากผู้ปฏิบัติจะต้องมี ความรู้ความเข้าใจในข้อมาตรฐานอย่างถ่องแท้แล้ว ยังต้องเกิดจากการติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำจุดบกพร่องมาแก้ไขหรือพัฒนาต่อ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อ ผู้รับบริการ กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 309 บทคัดย่อ P-23 การพฒันาสูตรพดุดิ้งสา หรบัผ้สููงอายุ พีระดล โมตาลีและทีมงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลล าพูน บทน า พุดดิ้งเป็นขนมที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายรับประทานได้ง่าย มีส่วนประกอบหลักคือ นมสดและ น้ำตาลทราย ซึ่งให้พลังงานทางอาหารสูง เช่น โปรตีน ไขมัน และน้ำตาล หากรับประทานเป็นประจำจะ ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานเกินกว่าความจำเป็น อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และไขมันในเลือด สูงได้ นอกจากนี้สูตรพุดดิ้งทั่วไปยังมีส่วนผสมของ ไข่ไก่ นมข้นหวาน สารแต่งกลิ่น สี และสารให้ความ คงตัว เช่น เจลาติน ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อละเอียดนุ่ม และคงรูป เนื่องจากส่วนประกอบหลักของพุด ดิ้งคือ นมสดและน้ำตาลทราย ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดในการนำ วัตถุดิบอื่นๆที่มีสารอาหารจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุมาใช้เป็นส่วนประกอบทดแทนสูตรทั่วไป ให้เป็นสูตร เฉพาะผู้สูงอายุที่สามารถหาส่วนประกอบเองได้ และสามารถทำได้เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค วัตถุประสงค์1. เพื่อเป็นการพัฒนาสูตรพุดดิ้งให้มีสารอาหารเพิ่มมากขึ้น 2. เพื่อเป็นการพัฒนาสูตรพุด ดิ้งที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ วิธีดา เนินการวิจยั สำรวจสูตรพุดดิ้งที่มีขายตามท้องตลาดทดลองทำพุดดิ้งที่กำหนดสูตรมาใหม่ทั้ง 2 สูตร และประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจยัการทดลอง ทำพุดดิ้งสูตรที่ 1 ได้รับความเห็นชอบมากและได้ค่าเฉลี่ย 63 % สรปุและวิจารณ์พุดดิ้งสูตรที่ 1 ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด เพราะมีความนุ่มกว่า กลืนง่ายกว่า และมี โปรตีนสูงกว่าสูตรอื่นๆ การพัฒนาสูตรพุดดิ้งให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุโดยการใช้ส่วนผสมหลักที่เป็นไข่ ไก่ นมถั่วเหลือง ฟักทอง และสาคู และนำไปนึ่งแตกต่างจากสูตรที่ขายทั่วไป ผู้สูงอายุที่ต้องการควบคุม น้ำตาลหรือมีปัญหาการเคี้ยวอยากได้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 311 Thai Dietetic Association Junior Research Award (TDA Junior Research Award) ทุนสนับสนุนการวิจยัและพฒันางานด้านโภชนาการและการก าหนดอาหาร ส าหรับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาโภชนาการและการก าหนดอาหาร ประจ าปี พ.ศ. 2567 ชื่อทุน Thai Dietetic Association Junior Research Award (TDA Junior Research Award) วัตถุประสงค์ • ส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษาสาขาโภชนาการและการกำหนดอาหารหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง มีการ ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโภชนาการ โภชนบำบัด และการกำหนดอาหาร • ส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างนิสิต/นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย กับ นักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร • เพิ่มพูนทักษะและศักยภาพให้กับนิสิต/นักศึกษาในการทำวิจัย • ส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษามีการทำงานวิจัยที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้น ผู้สนับสนุนทุน • สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยจำนวน 50,000 บาท/ปี ลักษณะทุน • เป็นทุนสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร หรือส่งเสริม บทบาทของนักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร ให้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น • จำนวนทุนขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และผลงานที่เสนอขอรับทุนซึ่งพิจารณาโดย คณะอนุกรรมการพิจารณาทุน TDA Junior Research Award • ระยะเวลาการให้ทุน 1 ปี
312 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association คณุสมบตัิของผ้ทูี่ได้รบัทุน • เป็นนิสิต/นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีสาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) • เป็นสมาชิกสามัญตลอดชีพของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย • ผลงานที่ทำจะต้องไม่เป็นไปในเชิงพาณิชย์ (non-profit project) และผู้ที่ได้รับทุนต้องแจ้งต่อ คณะอนุกรรมการพิจารณาทุนอย่างชัดเจน หากมีผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์จากการรับทุนทันที • งานวิจัยจะต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่นิสิต/นักศึกษากำลังศึกษาอยู่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา งานวิจัยอย่างน้อย 1 คน การขอรับทุน • ผู้ที่ต้องการขอรับทุนเสนอโครงการวิจัยด้วยตนเอง โดยส่งใบสมัครพร้อม รายละเอียด โครงการวิจัยจำนวน 6 ชุด มาที่สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยทางไปรษณีย์(ไม่รับ ทาง E-mail) ภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย (ทุน TDA Junior Research Award) 845/11 ซอยบริรักษ์ (ซอยส่วนบุคคล) ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์/โทรสาร 02-939-7782 • แบบเสนอรายละเอียดโครงการวิจัย ประกอบด้วย ชื่อโครงการ ผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ วิธีการวิจัย ขอบเขต ระยะเวลาดำเนินการ แผนการดำเนินงาน และ งบประมาณที่ใช้ หลกัเกณฑใ์นการพิจารณาทุน • เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร หรือส่งเสริมบทบาทของ นักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร ให้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาการทำงานด้านการกำหนดอาหารให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น • คณะอนุกรรมการได้กำหนดในรูปคะแนน โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อหลักคือ • การนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ • ความคิดริเริ่ม • โอกาสที่งานวิจัยจะทำได้สำเร็จ • ความคุ้มค่าทางวิชาการ
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 313 การประกาศผล • ประกาศผลการตัดสิน ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2567 ทางเว็บไซต์http://www.thaidietetics.org การมอบทุน • มอบทุนประจำปีในการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ในวันประชุมวิชาการประจำปี 2566 • ทุนวิจัยจะแบ่งออกเป็น 2 งวดคือ • งวดที่ 1 มอบทุนร้อยละ 60 ของเงินรางวัล เมื่อได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุน • งวดที่ 2 มอบทุนร้อยละ 40 ของเงินรางวัล เมื่อส่งรายงานผลพร้อมไฟล์ฉบับสมบูรณ์ พร้อมแสดงกิตติกรรมประกาศชื่อทุนในงานวิจัยนั้น ๆ และนำเสนอผลงานในการประชุม วิชาการประจำปี 2568 การน าเสนอผลงานวิจยั • นำเสนอทุนประจำปีในการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศ ไทย ในวันประชุมวิชาการประจำปี 2568 • ได้รับการตีพิมพ์บทคัดย่อผลการวิจัยในวารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย • ผู้ที่ได้รับทุนจะต้องแสดงกิตติกรรมประกาศในการนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ บทคัดย่อ รายงานผลการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงานว่าผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจาก "ทุน TDA Junior Research Award " • ผู้ที่ได้รับทุนจะได้รับการสนับสนุนค่าลงทะเบียนงานประชุมวิชาการประจำปี2568 เพื่อนำเสนอ ผลงาน • ผู้ได้รับทุนส่งรายงานผลการวิจัยฉบับสมบรูณ์ให้แก่สมาคมฯ และมีการแสดงกิตติกรรมประกาศ ชื่อทุนนี้ในงานวิจัยนั้นๆด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เลขานุการคณะอนุกรรมการพิจารณาทุน: นางพัชรวีร์ ทันละกิจ โทร 0863925928 E-mail: [email protected] Website: www.thaidietetics.org E-mail: [email protected]
314 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association ทุนสนับสนุนงานวิจยั TDA Junior Research Award ประจ าปี 2567 รายชื่อผู้ได้รับทุน TDA Junior Research Award ทุนประเภท Clinical ล าดับที่ 1. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 10,000 บาท เรื่อง ผลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการรับประทานขนมปังขาวจากแป้ง ถั่วขาวและน้ำตาลหล่อฮังก้วยในผู้ที่มีสุขภาพดี โดย นางสาวดวงกมล เจียมกิตติโยธิน และคณะ สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา จ.พะเยา ล าดับที่ 2. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 8,000 บาท เรื่อง ประสิทธิผลของการได้รับซีลีเนียมควบคู่กับการออกกำลังกายต่อความหนาแน่นของ มวลกระดูกและองค์ประกอบร่างกาย โดย นางสาวอาลักษณ์ อุดมวงค์ยนต์ และคณะ สาขาวิชาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ ม.บูรพา จ.ชลบุรี ล าดับที่ 3. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 5,000 บาท เรื่อง ผลของการได้รับข้าวเกรียบโปรตีนจิ้งหรีดเสริมแคลเซียมต่อความหนาแน่นของมวล กระดูกและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพการสลายตัวของมวลกระดูกในอาสาสมัครสุขภาพดี โดย นางสาวศศิธร ก.ศรีสุวรรณ และคณะ สาขาวิชาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ ม.บูรพา จ.ชลบุรี รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 3,000 บาท เรื่อง ประสิทธิผลของการได้รับซีลีเนียมควบคู่กับการออกกำลังกายต่อสมภรรถภาพการ ไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลายและองค์ประกอบร่างกาย โดย นางสาวชนนิกานต์ ลิมปนิลชาติ และคณะ สาขาวิชาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ ม.บูรพา จ.ชลบุรี
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 315 ทุนประเภท Non Clinical ล าดับที่ 1. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 9,000 บาท เรื่อง การประยุกต์ใช้กล้วยหอมดิบที่มีคุณสมบัติแป้งต้านทานการย่อยในซุปสูตรครบถ้วน พร้อมใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดย นายธฤษณัช สมประสงค์ และ นายพรรณกร ผาสุก สาขาวิชาอาหารปลอดภัยและโภชนาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรม เกษตร ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจ.สกลนคร ล าดับที่ 2. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 7,000 บาท เรื่อง การพัฒนาสูตรอาหารดื่มเสริมทางปากผสมน้ำมันงาขี้ม่อนเพื่อสมดุลปริมาณกรดไขมัน โอเมก้า 6:3 ในผู้สูงอายุ โดย นายธนาวุฒิ สุขเขียว และคณะ สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา จ.พะเยา ล าดับที่ 3. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 5,000 บาท เรื่อง สภาวะสุขาภิบาลและการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารพร้อมรับประทาน ภายในโรงอาหารมหาวิทยาลัยพะเยา โดย นางสาวกัลยารัตน์ คณาธนวัฒน์และคณะ สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา จ.พะเยา รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 3,000 บาท เรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานประกอบอาหารต่อการจัดบริการอาหาร โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา : การศึกษาเชิงคุณภาพ โดย นางสาวฮาน่าน ยีดอเลาะ สาขาวิชาโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ จ.ปัตตานี
316 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-24 การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรบัเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (ROBOT MODEL) ในผู้ป่ วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน ้าตาลในเลือดไม่ได้ ณ โรงพยาบาลรามัน จังหวัด ยะลา The efficacy study of food consumption modification program(ROBOT) in uncontrolled high blood glucose diabetic pateints at Raman hospital, Yala ซอฟัต วามะ มหาวิทยาลยัสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ( ROBOT MODEL ) ในผู้ป่วยเบาหวานที่อยู่ในกลุ่มเมินเฉยที่ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมจำนวน 12 คน คัดเลือกแบบ เฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ระยะเวลาในการศึกษา 4 สัปดาห์ เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ( ROBOT MODEL ) ที่ประกอบด้วยกิจกรรม R : Review of diet , O : Orientation ,B : Bio feedback ,O : Optimism ,T : Together และบูรณาการร่วมกับแนว ทางการดูแลสุขภาพของสหวิชาชีพและร่วมกับผู้นำศาสนา โดยนำแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอ เร็ม (Orem ’s self care Theory) มาใช้สำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารร่วมกับการ ส่งเสริมความรู้ในการดูแลตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ระดับน้ำตาลสะสมใน เม็ดเลือดแดง ก่อนและหลังเข้าร่วมโปแกรมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมดีขึ้น 3 ข้อ จาก แบบสอบถาม 13 ข้อ ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมไม่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value < 0.05 ) และคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P-value < 0.05 ) กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 317 บทคัดย่อ P-25 ความตรงของเครื่องมือคัดกรองภาวะทุพโภชนาการส าหรับผู้ป่ วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลปัตตานี The validity of a malnutrition screening tool for end-stage renal failure patients receiving hemodialysis in Pattani Hospital นุรซาฟี รา มามะ โรงพยาบาลปัตตานี จ.ปัตตานี , มหาวิทยาลยัสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีจ.ปัตตานี ภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไต เทียม มีความชุกที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยมีความชุกของภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 67.0-67.8 ซึ่งเป็น ปัญหาที่สำคัญและก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วย เช่น เพิ่มอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาการนอน โรงพยาบาล อัตราการตาย และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทุกรายจึงควรได้รับการคัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ โดยการคัดกรองความ เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการต้องเลือกใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของ โรงพยาบาลและกลุ่มผู้ป่วย ในการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตรงของเครื่องมือคัดกรอง ภาวะทุพโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลปัตตานี โดยเทียบผลการคัดกรองกับการประเมินภาวะทุพโภชนาการด้วยเครื่องมือ Malnutrition Inflammation Score (MIS) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้เป็นผู้ป่วยฟอกไตด้วยเครื่องไต เทียมที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลปัตตานีระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึง มีนาคม 2566 จำนวน 50 คน โดยทำการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการด้วยเครื่องมือที่เพิ่มข้อคำถาม และทำการ ประเมินภาวะทุพโภชนาการด้วยเครื่องมือประเมินมาตรฐาน MIS ผลการศึกษาความตรงของเครื่องมือ คัดกรองภาวะทุพโภชนาการที่เพิ่มข้อคำถาม เมื่อเทียบกับเครื่องมือประเมิน MIS พบว่ามีค่าความไว (Sensitivity) ร้อยละ 96 ความจำเพาะ (Specificity) ร้อยละ 48 และความแม่นยำ (Accuracy) ร้อยละ 72 จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า เครื่องมือคัดกรองที่เพิ่มข้อคำถาม เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการคัด กรองภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลปัตตานี กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
318 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-26 การพฒันาตา รบัอาหารเสริมทางปากและประสิทธิผลของการใช้อาหารเสริมทางปากส าหรับ ผู้ป่ วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ ณ โรงพยาบาลรือเสาะ นัญวา สลาตาโซะ และ วนุสรานี บูละ มหาวิทยาลยัสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารได้น้อยต่อความต้องการของร่างกาย จะได้รับพิจารณาเสริมอาหารทาง การแพทย์ซึ่งอาหารทางการแพทย์ที่ใช้เสริมในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นสูตรสำเร็จที่อยู่ในรูปแบบผงชง ดื่ม ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้มีราคาสูง บางผลิตภัณฑ์มีรสชาติที่ไม่ ถูกปากคนไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำตำรับอาหารเสริมทางปากสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะ ทุพโภชนาการ และทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส รวมถึงการศึกษาประสิทธิผลของการเสริม อาหารเสริมทางปากต่อภาวะโภชนาการ น้ำหนักตัว และระดับค่า Albumin ของผู้ป่วยหลังได้รับอาหาร เสริมทางปาก วิธีการศึกษา จัดทำตำรับอาหารเสริมทางปากจำนวน 3 สูตร โดยกำหนดให้อาหารเสริม ทางปาก 1 หน่วยบริโภคมีปริมาณ 250 มิลลิลิตรและพลังงาน 250 กิโลแคลอรี ทำการคัดเลือกวัตถุดิบ และทำการปั่นผสมวัตถุดิบให้เข้ากันตามสูตรที่กำหนด ทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสต่ออาหาร เสริมทางปากด้าน สี กลิ่นรส รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม โดยใช้ผู้ทดสอบจำนวน 30 คน และใช้วิธีการทดสอบแบบฮีโดนิกการให้คะแนน 5-point hedonic scale ให้อาหารเสริมทางปาก สูตรที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด จำนวน 3 มื้อ/วัน เป็นระยะเวลา 7 วัน โดยใช้ผู้ทดสอบจำนวน 10 คน และติดตามผลการประเมินภาวะโภชนาการ (NAF) น้ำหนักตัว และระดับค่า Albumin ก่อนและ หลังเสริมอาหารเสริมทางปาก ผลการศึกษาพบว่าจากการประเมินการยอมรับทางประสาทสัมผัสพบว่า สูตรกล้วยหอมทองได้รับความพึงพอใจมากที่สุดเมื่อเทียบกับสูตรอื่น และการศึกษาประสิทธิผลพบว่า ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารเพิ่มขึ้น รวมถึงมีค่าดัชนีมวลกาย น้ำหนักตัว และระดับ Albumin หลังได้รับอาหารเสริมทางปากสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.05) จึงสรุปได้ว่าผู้ป่วยให้ คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสทั้ง 3 สูตรในระดับชอบ-ชอบมาก แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ ยอมรับต่ออาหารเสริมที่ได้พัฒนาขึ้น จึงสามารถนำมาใช้เป็นอาหารเสริมทางปากสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะ ทุพโภชนาการได้ กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 319 บทคัดย่อ P-27 การศึกษาผลกระทบของผ้ทูี่มีความเสี่ยงต่อภาวะแพ้นมววัต่อปริมาณแคลเซียมที่รบัประทาน และความหนาแน่นของมวลกระดูก ปริณดา นาคคล้าย, กรกนก คงพราหมณ์, ชุณหกานจน์ คงทอง, พิชญา ธนะภมูิชยั, อลงกต สิงห์โต* สาขาวิชาโภชนาการและการกา หนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลยับูรพา จ.ชลบุรี บทน า: แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบมากในนมและจำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะแพ้ นมวัวต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากนม จึงอาจมีความเสี่ยงต่อการได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอและส่งผล ต่อมวลกระดูก วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของผลของการมีความเสี่ยงต่อภาวะแพ้นมวัวต่อปริมาณแคลเซียมที่ได้รับ และความหนาแน่นของมวลกระดูก วิธีการดา เนินการ: แบ่งอาสาสมัครจำนวน 80 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม จากแบบสอบถามประเมินความ เสี่ยงต่อภาวะแพ้นมวัว ได้แก่กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแพ้นมวัว 40 คน และกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงต่อ ภาวะแพ้นมวัว 40 คน บันทึกประวัติการรับประทานอาหารและวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกบริเวณ ข้อมือและข้อเท้าด้วยเครื่อง DEXA ผลการวิจยั: อาสาสมัครกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะแพ้นมวัวมีปริมาณแคลเซียมที่ได้รับและความ หนาแน่นของมวลกระดูกส่วนข้อมือและข้อเท้ามากกว่าอาสาสมัครกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแพ้นมวัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และปริมาณแคลเซียมที่ได้รับของอาสาสมัครมีความสัมพันธ์เชิงบวก ต่อค่า T-score ของกระดูกข้อมือและข้อเท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรปุและวิจารณ์: ผลที่ได้สอดคล้องกับข้อมูลพฤติกรรมการรับประทานอาหารของอาสาสมัครเนื่องจาก อาสาสมัครกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแพ้นมวัวมีพฤติกรรมการรับประทานแคลเซียมน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ มีความเสี่ยงต่อภาวะแพ้นมวัว จึงส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดลง ดังนั้น ความเสี่ยงต่อ ภาวะแพ้นมวัวส่งผลกระทบต่อปริมาณแคลเซียมที่ได้รับและความหนาแน่นของมวลกระดูกของ อาสาสมัคร กิตติกรรมประกาศ: ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ค าส าคัญ: แคลเซียม, ความหนาแน่นของมวลกระดูก, ภาวะแพ้นมวัว, โภชนาการ
320 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-28 ผลของปริมาณซีลีเนียมที่ได้รบัตามคา แนะน าด้านโภชนาการต่อคณุภาพชีวิต และความรนุแรง ของอาการแสดงของผ้ปู่วยโรคภมูิแพ้โพรงจมูก The impacts of the amount of selenium according to the nutritional suggestion on the quality of life and severity among people with allergic rhinitis ธญัพร ติยะวิสุทธิศ์ร, ีกมลวรรณ ทองศรี, นภัสศร สุวรรณปัญญากุล, วีรญา คงคาศรี และ อลงกต สิงห์โต สาขาวิชาโภชนบา บดัและการกา หนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลยับูรพา จ.ชลบุรี บทน า: โรคภูมิแพ้โพรงจมูกเป็นโรคทางเดินหายใจที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ซีลีเนียมเป็น แร่ธาตุที่จําเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซีลีเนียมจึงอาจมีความจำเป็นโดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรค ภูมิแพ้โพรงจมูกซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลกระทบของปริมาณซีลีเนียมที่รับประทานได้ต่อวันต่อคุณภาพชีวิตและ ระดับความรุนแรงของอาการแสดงของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้โพรงจมูก วิธีการวิจยัและศึกษา: อาสาสมัครที่เป็นโรคภูมิแพ้โพรงจมูกจำนวน 60 คน ทำแบบบันทึกการ รับประทานอาหาร 3 วัน (3-days food record) จากนั้นคำนวณปริมาณซีลีเนียมที่ได้รับต่อวันเพื่อแบ่ง อาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รับประทานซีลีเนียมได้ตามคำแนะนำด้านโภชนาการและกลุ่ม รับประทานซีลีเนียมไม่เพียงพอ กลุ่มละ 30 คน อาสาสมัครแต่ละกลุ่มทำแบบสอบถามอาการแสดงของ โรคภูมิแพ้โพรงจมูกและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต โดยคะแนนที่มากบ่งชี้ถึงความรุนแรงของอาการและ คุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ผลการวิจยัและศึกษา: คะแนนเฉลี่ยจากแบบสอบถามด้านความรุนแรงของอาการจากโรคภูมิแพ้โพรง จมูกและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครกลุ่มที่รับประทานซีลีเนียมได้เพียงพอน้อยกว่ากลุ่มที่ รับประทานซีลีเนียมได้ไม่เพียงพออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกือบทุกด้าน (p<0.05) และความสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนรวมจากแบบสอบถามความรุนแรงของอาการแสดงและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ อาสาสมัครพบว่าปริมาณซีลีเนียมที่รับประทานในแต่ละวันมีความสัมพันธ์เชิงลบกับคะแนนประเมินรวม ทั้งหมดของแบบสอบถามอาการแสดงของโรคภูมิแพ้โพรงจมูกและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ อาสาสมัคร (r = -0.43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปและวิจารณ์: ผู้ที่รับประทานซีลีเนียมได้เพียงพอมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าและมีความรุนแรงของ อาการแสดงน้อยกว่าผู้ที่รับประทานซีลีเนียมได้ไม่เพียงพอ ดังนั้น การได้รับซีลีเนียมในปริมาณที่ เพียงพอตามคำแนะนำด้านโภชนาการมีแนวโน้มช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและลดความรุนแรงของ อาการจากโรคภูมิแพ้โพรงจมูก กิตติกรรมประกาศ: ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย