ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 71
72 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association 9.5
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 73
74 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 75
76 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 77
78 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 79
80 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 81
82 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 83
84 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 85 วิทยาศาสตรแ ์ ละงานนวตักรรมในอาหารฝึกกลืน วรัญญา เตชะสุขถาวร ภาควิชาโภชนาการและการก าหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากรายงานข้อมูลทางสถิติ ส านักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) แล้ว นั่น หมายถึง การเป็นสังคมที่มีประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 20 ของประชากร ทั้งหมด หรือ การมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด ซึ่ง ส าหรับประเทศไทยนั้น ณ ปัจจุบัน มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จ านวน 13,064,929 คน คิดเป็นร้อยละ 20.17 และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จ านวน 8,901,145 คน คิดเป็นร้อยละ 13.74 ของประชากรทั้งหมด การตื่นตัว ของระบบสาธารณสุขเพื่อดูแลประชาการสูงอายุ เป็นเรื่องที่ท้าทาน การให้โภชนบ าบัดเพื่อส่งเสริมให้ ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นเป็นงานที่นักโภชนาการและนักก าหนดอาหารมีบทบาทเป็นอย่างมาก ตามหลักการทางสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์แล้ว เมื่ออายุมนุษย์มากขึ้น ความสามารถทางด้าน ร่างกายในด้านต่าง ๆ ก็จะลดลง เช่น การบดเคี้ยวอาหาร การกลืนอาหาร น ้าลายแห้ง ส่งผลให้ผู้สูงอายุ ไม่อยากอาหาร กลัว หรือกังวลในการกลืนแต่ละครั้ง รวมไปถึงโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน เป็นต้น ที่มีอุบัติการณ์พบมากขึ้นในวัยสูงอายุ จึงเป็นที่มาของการ วางแผนจัดอาหารให้เหมาะกับความต้องการของประชากรกลุ่มนี้ แนวทางการให้โภชนบ าบัดที่ครบถ้วน ประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและเนื้อสัมผัสของ อาหารที่เหมาะสม การค านวณและออกแบบเมนูอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนใช้หลักการ มาตรฐานการดูแลกระบวนการทางโภชนาการหรือ (Nutrition Care Process) ขณะที่มาตรฐานอาหาร ดัดแปลงเนื้อสัมผัส อาหารส าหรับผู้ที่มีภาวะเคี้ยวกลืนล าบาก อาหารฝึกกลืนนั้น มีแนวทางการ ประยุกต์ใช้ตามมาตรฐานสากลอย่างเช่น International Dysphagia Diet Standardisation Initiative (IDDSI) ในการนี้คณะกรรมการพัฒนามาตรฐานอาหารฝึกกลืน ภายใต้สมาคมนักก าหนดอาหารแห่ง ประเทศไทย ได้ด าเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต ารับและมาตรฐานอาหารฝึก กลืนให้ทัดเทียมนานาชาติ คณะท างานได้พัฒนางานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หนังสือต ารับอาหารฝึกกลืน 46 เมนูตามมาตรฐาน IDDSI ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ, การจัดการอบรมเชิงปฎิบัติการด้านอาหารฝึก กลืนร่วมกับงานประชุมวิชาการ TDA สัญจรในปี 2566 ที่ผ่านมา, และได้ร่วมงานกับทางศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ทดสอบเครื่องมือประเมินอาหารฝึกกลืน แบบ Fork tester และ Flow tester ระบบอัตโนมัติ ในโรงพยาบาลเครือข่ายน าร่องกว่า 10 โรงพยาบาลทั่วประเทศอีกด้วย ในปัจจุบัน มาตรฐานอาหารฝึกกลืน ไม่ได้ถูกน ามาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ฟื้นฟูฝึกกลืนตามชื่อ เท่านั้น อาหารฝึกกลืน หรือ มาตราฐานอาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัส มีบทบาทต่อการดูแลโภชนาการให้แก่ คนไข้หลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีภาวะเคี้ยว-กลืนล าบาก ผู้ป่ วยหลอดเลือดสมอง โรคทางระบบ ประสาท โรคมะเร็งบางชนิด (เช่น ศีรษะและล าคอ เป็นต้น) รวมไปถึงผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาการเคี้ยว-กลืน
86 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association และพัฒนาทางระบบประสาท ดังนั้น ความท้าทายของอาหารพิเศษกลุ่มนี้ คือ การจัดท าอาหารให้ ถูกต้องตามเนื้อสัมผัสและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนตรงตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยได้มีการเริ่มใช้มาตรฐานอาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัสตามเกณฑ์ มาตรฐาน IDDSI ภายใต้การด าเนินงานร่วมกับสมาคมสหสาขาวิชาชีพบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ที่ มีภาวะกลืนล าบาก IDDSI เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ก็ยังพบว่ามีการใช้มาตรฐานอาหารอื่นอ้างอิงด้วย เช่นกัน ได้แก่ National Dysphagia Diet (NDD) ของทางสหรัฐอเมริกา และมาตราฐานอาหารผู้สูงอายุ Smile Care Food ของทางประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถน ามาเทียบเคียงมาตรฐานกันได้เช่นเดียวกัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งเสริมท าให้เกิดงานวิจัยและการ พัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ในการท างานด้านงานอาหารฝึกกลืนเป็นอย่างมาก อันได้แก่ 1. วิธีการประเมินเนื้อสัมผัสของอาหาร ในทางปฎิบัติปรุงประกอบอาหารทั่วไปในชีวิตประจ าวัน ได้มีการน าวิธีประเมินเครื่องดื่มปรับ ความหนืดและอาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัสอย่างง่าย ที่เข้าถึงด้วยอุปกรณ์ในครัว เช่น ช้อน ส้อม เครื่องชั่ง กระบอกฉีดยา เป็นต้น ขณะที่ในระดับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและงานวิจัยต่างๆ ได้มีวิธีที่ศึกษา เนื้อสัมผัสอาหารเชิงลึกที่ปลอดภัยต่อการกลืน เช่น การวิเคราะห์ความหนืดแบบดึงยืด โมเดลคอจ าลอง และการใช้โมเดลคณิตศาสตร์เพื่อจ าลองการไหลของของเหลวผ่านล าคอ เป็นต้น ซึ่งวิธีการประเมินเนื้อ สัมผัสของอาหารที่มีประสิทธิภาพและแม่นย า จะช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้อย่างปลอดภัย ลด ความเสี่ยงต่อการส าลักในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน 2. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารฝึกกลืนใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ออกสู่ตลาดอาหารทั่วไปและอาหารทางการแพทย์ มากขึ้น เช่น อาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัสในบรรจุภัณฑ์พร้อมรับประทาน พุดดิ้งสูตรที่มีสารอาหาร ครบถ้วนโปรตีนสูง อาหารดัดแปลงเนื้อสัมผัสชนิดฐานพืชหรือมังสวิรัติ โปรตีนเจลข้นหนืดตามระดับ ผลิตภัณฑ์อาหาร 3 มิติ และ 4 มิติที่สามารถออกแบบสารอาหารและเนื้อสัมผัสอาหารได้เฉพาะบุคคล รวมถึงสารให้ความหนืดชนิดใหม่ๆ ทั้งผู้ป่วยผู้ใหญ่และเด็กทารก เป็นต้น ซึ่งการออกนวัตกรรมอาหาร ใหม่ จะช่วยให้ตอบโจทย์การปรุงประกอบอาหาร การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการ ความ สะดวกสบายมากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตในการรับประทานอาหารดีขึ้นอย่างยิ่ง 3. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ช่วยรับประทานอาหาร อุปกรณ์ที่ช่วยรับประทานอาหารที่ออกแบบมาให้ปลอดภัยและสะดวกสบายมากขึ้น โดยใช้ หลักการทางวิทยาศาสตร์ทางอาหาร วิศวกรรมศาสตร์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ส าหรับผู้ป่วย เช่น หลอด ดูดน ้าที่สามารถลดอัตราของการไหลของของเหลวหรือจ ากัดปริมาตรของเหลว หลอดดูดของเหลวข้น หนืดด้วยการผ่อนแรง ถ้วยน ้าที่ออกมุมก้ม-เงยหน้าที่เหมาะสมในการดื่มน ้า อุปกรณ์ช่วยตัด ตักป้อน อาหารต่างๆ ท าให้ลดความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระหว่างมื้ออาหาร เช่น อาหารติดคอ ส าลัก เป็นต้น
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 87 4. นวัตกรรมการบริการ นวัตกรรมด้านการบริการ เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงคนไข้ได้ง่ายที่สุด และน ามาปรับใช้ในภาพรวม ของการท างานได้อย่างรวดเร็ว กรณีศึกษาในประเทศสิงคโปร์ เช่น ระบบการใช้การพิมพ์อาหารแบบ 3D เพื่อจัดอาหารฝึกกลืนในโรงพยาบาล Khoo Teck Puat Hospital คลินิกและร้านอาหารส าหรับการ ฟื้นฟูการกลืน และการรณรงค์ให้ร้านอาหารในโรงพยาบาล Alexandra เข้ารับการอบรมการท าอาหาร ดัดแปลงเนื้อสัมผัสส าหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าแนวทางการงานพัฒนาอาหารฝึกกลืน ด้วยวิทยาศาสตร์และงาน นวัตกรรมมีความส าคัญอย่างยิ่ง นักก าหนดอาหารวิชาชีพและนักโภชนาการเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทต่อ การดูแลภาวะโภชนาการและความปลอดภัยในการรับประทานอาหารของกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเคี้ยวกลืน ล าบาก และความต้องการมาตรฐานอาหารฝึกกลืนนี้จะยิ่งมากขึ้นไปอีก เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แน่นอน
88 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 89 วิธีการสงัเกตคดักรอง ประเมินภาวะกลืนลา บากเบือ้งต้น ผศ.ดร.นพ. ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาวะกลืนลำบาก (dysphagia) เป็นภาวะผิดปกติของการกลืนตั้งแต่ระยะช่องปากจนถึงระยะ หลอดอาหาร ภาวะกลืนลำบากเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ ภาวะขาดน้ำ (dehydration) ภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) การสำลักน้ำและอาหาร (aspiration) โดยเมื่อมีสิ่ง แปลกปลอมเหล่านี้ผ่านลงไปในหลอดลมและปอด อาจอุดกลั้นทางเดินหายใจ (suffocation) และทำให้ เกิดปอดอักเสบติดเชื้อจากการสำลัก (aspiration pneumonia) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญ ของผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก วิธีการประเมินภาวะกลืนลำบาก ประกอบด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายเกี่ยวกับการกลืน (clinical swallowing evaluation) โดยใช้วิธีการตรวจทางคลินิก เช่น ไอ เสียงเปลี่ยน หรือการทดสอบ โดยการกลืนน้ำ (water swallowing test) ซึ่งจากประเมินโดยใช้อาการทางคลินิกเพียงอย่างเดียว อาจ ตรวจไม่พบในผู้ที่มีอาการน้อย เช่น พบอาหาร/น้ำค้างบริเวณช่องคอปริมาณน้อย แต่อาจทำให้เกิดการ สะสมจนทำให้พบภาวะสำลักเงียบได้ ซึ่งถือเป็น False negative ได้ แต่หากใช้วิธีการประเมินโดยใช้ อุปกรณ์ (instrumental swallowing evaluation) โดยวิธีที่เป็นมาตรฐาน ได้แก่ การตรวจทางรังสีเพื่อ ประเมินการทำงานของอวัยวะการกลืน (Videofluoroscopic Swallowing Study: VFSS) และการส่อง กล้องเพื่อประเมินการทำงานของอวัยวะการกลืน (Fiber-optic Endoscopic Evaluation of Swallowing: FEES) โดยการประเมินนี้ความไวและความจำเพาะในการประเมินความผิดปกติของการกลืนเท่ากับ 0.88 และ 0.92 ตามลำดับ การรักษาฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากประกอบด้วยการจัดท่าให้ปลอดภัยในการกลืน (posture modification) เช่น การหันหรือเอียงศีรษะไปทางใดทางหนึ่ง (head rotation) การเอนตัวลง (reclining position) เป็นต้น การใช้เทคนิคขณะกลืน (compensatory technique) เช่น เทคนิค supraglottic swallowing หรือ super-supraglottic swallowing เป็นต้น การออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมการทำงานของ กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนในระยะช่องปากและคอหอย และการปรับระดับความหนืดและความ ขนาดของอาหารและน้ำให้เหมาะสมกับระดับความสามารถในการกลืนของผู้ป่วย โดยอาจใช้สารเพิ่ม ความหนืดในการดัดแปลงระดับความข้นหนืดของอาหารและของเหลวต่าง ๆ เพื่อช่วยลดโอกาสการ สำลัก ซึ่งการวางแผนฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและผลการประเมินของ ผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นการประเมินที่ถูกต้อง จะนำไปสู่การให้การบำบัดฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนัก กำหนดอาหารเป็นส่วนหนึ่งของทีมในการออกแบบลักษณะอาหารที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อ เพิ่มความปลอดภัยในการกลืน และให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร/น้ำที่เหมาะสม
90 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 91 สหสาขาวิชาชีพกบัการดแูลผ้ปู่วยฝึกกลืน และกรณีศึกษาในกลุ่มประเทศเอเชีย อภิชญา พิชญ์ผล โรงพยาบาลบีเอนเอช ปัญหาการกลืนลำบาก พบในผู้สูงอายุเอเชียร้อยละ 13.8 ถึง 33.7(1) โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่ คือ โรคทางระบบประสาท (เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองเสื่อม) พยาธิสภาพของโครงสร้างที่ เกี่ยวกับการกลืน โรคทางจิตเวช โรคระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ยา และผลจากการรักษาอื่น ๆ (เช่น เคมี บำบัด การฉายแสง) เป็นต้น(2) ซึ่งปัญหาการกลืนลำบากสามารถส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ปอดอักเสบจากการสำลัก (Aspiration Pneumonia)(3) นั่นทำให้ทีมสหสาขาวิชาชีพได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรักษา ฟื้นฟู ป้องกันและดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก/ฝึกกลืน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยฝึกกลืนมัก ประกอบด้วย นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย (Speech Therapist/ Speech Pathologist) นัก กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) นักกายภาพบำบัด (Physiotherapist) นักกำหนดอาหาร (Dietitian) นักโภชนาการ (Nutritionist) พยาบาล (Nurse) แพทย์ (Physician) รวมไปถึงผู้ดูแลผู้ป่วย (caregiver) เป็นต้น สหสาขาวิชาชีพแต่ละวิชาชีพ ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยฝึกกลืน เช่น การประเมิน การกลืนและฝึกกลืนโดยนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายหรือในประเทศไทยอาจเป็นบทบาทของนัก กิจกรรมบำบัดร่วมกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การดูแลความสะอาดช่องปากโดยพยาบาล รวมถึงนัก กำหนดอาหาร/ นักโภชนาการที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยฝึกกลืนในการจัดลักษณะอาหารให้เป็นไป ตามคำสั่งอาหารของแพทย์และวางแผนทางโภชนาการ (Nutrition Intervention) เพื่อให้ผู้ป่วยฝึกกลืน ได้รับพลังงาน โปรตีน รวมถึงสารอาหารอื่น ๆ ตามเป้าหมายทางโภชนาการและเพียงพอสำหรับการ ป้องกันและแก้ไขภาวะโภชนาการของผู้ป่วย อีกทั้งสำหรับการฟื้นฟูในด้านอื่น ๆ เช่น การเสริมสร้าง กล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูทางด้านกายภาพได้ดีขึ้นอีกด้วย ลักษณะอาหารฝึกกลืนในปัจจุบัน มีเกณฑ์การแบ่งหลายเกณฑ์ เช่น National Dysphagia Diet (NDD), JDD2013 โดย JSDR Dysphagia Diet Committee ประเทศญี่ปุ่น หรือ IDDSI (International Dysphagia Diet Standardisation Initiative) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานอาหารฝึกกลืนที่พัฒนามาจาก ทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยการแบ่งระดับอาหารฝึกกลืนเป็นทั้งหมด 8 ระดับ ทั้งอาหารและ เครื่องดื่ม ในประเทศไทยได้มีการนำมาตรฐานอาหารฝึกกลืน IDDSI มาใช้อย่างแพร่หลายขึ้น ทั้งใน โรงพยาบาล สถานศึกษาและได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่บทความและหนังสือเมนูอาหารฝึกกลืนต่าง ๆ ขึ้น เช่น หนังสือ 46 เมนูอาหารฝึกกลืนตามมาตรฐาน IDDSI โดยคณะอนุกรรมการมาตรฐานอาหารฝึกกลืน สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย รวมถึงในกลุ่มประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ไต้หวัน ก็มีการ ตีพิมพ์หนังสือ IDDSI Cookbook(4) เช่นกัน อีกทั้งยังมีโครงการต่าง ๆ ที่สนับสนุนอาหารฝึกกลืน เช่น
92 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association โครงการ Smaller Bites to Swallow Right(5) โดยโรงพยาบาล Alexandra ประเทศสิงคโปร์ ที่มีการให้ ความรู้และฝึกฝนร้านค้าในศูนย์อาหาร (Hawker Centers) รอบ ๆ โรงพยาบาลและบริเวณที่พักอาศัย ของชาวสิงคโปร์ ให้สามารถจัดบริการอาหารที่มีลักษณะอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยฝึกกลืนตามมาตรฐาน อาหารฝึกกลืน IDDSI เช่น อาหารบดละเอียด (Pureed diet; IDDSI4)อาหารสับละเอียดชุ่มน้ำ (Minced and Moist diet; IDDSI Level 5) หรือการใช้สีตามระดับมาตรฐานอาหารฝึกกลืน IDDSI ในการจำแนก ถาดอาหารแต่ละระดับของผู้ป่วยฝึกกลืนของ University of Malaya Medical Centre ประเทศมาเลเซีย รวมถึงได้มีโครงการ Rice Porridge(6) ที่รวมกลุ่มประเทศในเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์และ ไต้หวัน ที่มีวัฒนธรรมอาหารร่วมกัน คือ ข้าว โดยมีการพูดถึงโจ๊กตามมาตรฐาน IDDSI ของแต่ละ ประเทศ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยฝึกกลืนและปัญหาการกลืน เป็นปัญหาที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในผู้สูงอายุ เพื่อ การเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย สหสาขาวิชาชีพจึงมีบทบาทสำคัญ อย่างยิ่งในการรักษา ฟื้นฟู ป้องกันและดูแลผู้ป่วยฝึกกลืนให้มีภาวะสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีได้ อย่างมากที่สุด เอกสารอ้างอิง 1. Kwon, S., Cha, S., Kim, J., Han, K., Paik, N. J., & Kim, W. S. (2023). Trends in the incidence and prevalence of dysphagia requiring medical attention among adults in South Korea, 2006- 2016: A nationwide population study. PloS one, 18(6), e0287512. https://doi.org/10.1371/ journal.pone.0287512 2. ปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2013). ปัญหาการกลืนในผู้สูงอายุ (Dysphagia in Elderly). เวชศาสตร์ฟื้นฟู สาร,2013, 23(3): 73-80. https://www.rehabmed.or.th/main/wp content/uploads/2014/03/L360.pdf 3. Dysphagia (swallowing problems). NHS inform. (2023). https://www.nhsinform.scot/illnessesand-conditions/stomach-liver-and-gastrointestinal-tract/dysphagia-swallowing-problems/ 4. April 2022 e-Bite: IRG Leaders Meeting, IDDSI Cookbook, Global Updates, Upcoming Webinars. (n.d.). IDDSI. Retrieved April 9, 2024, from https://myemail.constantcontact.com/ April-2022-e-Bite--IRG-Leaders-Meeting--IDDSI-Cookbook--Global-Updates--Upcoming Webinars.html?soid=1124597382375&aid=nurX7f2QRyU 5. Smaller Bites to Swallow Right. (n.d.). SALTS. Retrieved April 5, 2024, from https://www.salts.org.sg/smaller-bites-to-swallow-right 6. IDDSI SPECIAL FEATURE -August 2021 Rice porridge around the world with IDDSI. (n.d.-b). Retrieved April 9, 2024, from https://iddsi.org/IDDSI/media/images/Documents/IDDSI_ SPECIAL_FEATURE_Porrject_Aug222021.pdf
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 93 มาตรฐาน IDDSI และวิธีการทดสอบ กมลชนก ค้าสุวรรณ งานโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ International Dysphagia Diet Standardisation Initiative (IDDSI) เป็นหน่วยงานระดับโลกที่ รวบรวมอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารฝึกกลืน เป็นความร่วมมือระหว่างสหสาขาวิชาชีพ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ และ นักวิทยาศาสตร์อาหาร เป็นต้น ปัจจุบันมีเครือข่ายคณะทำงานกระจายตามภูมิภาคทั่วโลกกว่า 50 ประเทศ ในปี ค.ศ.2017 คณะกรรมการ IDDSI ได้ตีพิมพ์งานวิจัย การพัฒนามาตรฐานอาหารฝึกกลืน 8 ระดับ IDDSI Framework โดยระบุคำศัพท์ คำจำกัดความ และวิธีการทดสอบ อาหารและเครื่องดื่มในละ ระดับ1 ต่อมาในปี ค.ศ. 2019 ได้มีการแปล คำอธิบายและวิธีการทดสอบอาหารฝึกกลืนตามมาตรฐาน IDDSI เป็นภาษาไทย โดย อ.วรัญญา เตชะสุขถาวร, พญ.ภัทรา วัฒนพันธุ์ และศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี ที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน 2,3 รูปที่ 1 แสดงระดับอาหารฝึกกลืนตามมาตรฐาน IDDSI2
94 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association ค าจ ากัดความอาหารฝึ กกลืนตามมาตรฐาน IDDSI2 ▪ เครื่องดื่มระดับ 0 เหลว ไม่หนืด (Thin) ลักษณะอาหาร : ไหลเร็ว เหมือนน้ำ สามารถดูดได้จากจุกนม ดื่มจากแก้ว หรือดูดจากหลอดได้ ทดสอบด้วย : การทดสอบการไหลผ่านกระบอกฉีดยาขนาด 10 มิลลิลิตร หรือ IDDSI Funnel (Flow test) ตัวอย่างอาหาร : น้ำเปล่า, นมจืด, น้ำผลไม้กรองกาก ▪ เครื่องดื่มระดับ 1 หนืดเล็กน้อย (Slightly Thick) ลักษณะอาหาร : หนืดกว่าน้ำ ต้องใช้แรงดูด หรือดื่มมากกว่าของเหลว ไม่หนืดเล็กน้อย สามารถ ดูดได้จากจุกนม ดื่มจากแก้ว หรือดูดจากหลอดได้ ทดสอบด้วย : การทดสอบการไหลผ่านกระบอกฉีดยาขนาด 10 มิลลิลิตร หรือ IDDSI Funnel (Flow test) ตัวอย่างอาหาร : โยเกิร์ตพร้อมดื่ม รสธรรมชาติ (อุณหภูมิห้อง) ▪ เครื่องดื่มระดับ 2 หนืดน้อย (Mildly Thick) ลักษณะอาหาร : ของเหลวไหลจากช้อน สามารถจิบ หรือดูดผ่านหลอดได้ แต่ต้องใช้แรงมากขึ้น เล็กน้อย ทดสอบด้วย : การทดสอบการไหลผ่านกระบอกฉีดยาขนาด 10 มิลลิลิตร หรือ IDDSI Funnel (Flow test) ตัวอย่างอาหาร : โยเกิร์ตพร้อมดื่ม รสธรรมชาติ (แช่เย็น), น้ำแดงกลิ่นสละเข้มข้น (ไม่ผสมน้ำ อุณหภูมิห้อง) ▪ เครื่องดื่มระดับ 3 หนืดปานกลาง (Moderately Thick) และ อาหารระดับ 3 เหลวข้น (Liquidised) ลักษณะอาหาร : เครื่องดื่มสามารถดื่มจากแก้วได้ ใช้ช้อนตักได้ ไม่สามารถรับประทานได้ด้วย ส้อม อาหารต้องเนียนไม่เป็นก้อน สามารถกลืนได้โดยที่ไม่ต้องเคี้ยว ทดสอบด้วย : การทดสอบการไหลผ่านกระบอกฉีดยาขนาด 10 มิลลิลิตร หรือ IDDSI Funnel (Flow test) , การหยดด้วยส้อม (Fork drip) ตัวอย่างอาหาร : น้ำผึ้งแท้ (อุณหภูมิห้อง), ซุปที่ไม่ข้นมาก ▪ เครื่องดื่มระดับ 4 หนืดมาก (Extremely Thick) และ อาหารระดับ 4 บดละเอียด (Pureed) ลักษณะอาหาร : เครื่องดื่มไม่สามารถดื่มจากแก้วหรือใช้หลอดดูดได้ สามารถรับประทานได้ด้วย ช้อนหรือส้อม อาหารต้องเนียนไม่เป็นก้อนและไม่เหนียวจนเกินไป สามารถกลืนได้โดยที่ไม่ต้อง เคี้ยว ทดสอบด้วย : การทดสอบการไหลผ่านกระบอกฉีดยาขนาด 10 มิลลิลิตร หรือ IDDSI Funnel (Flow test), การหยดด้วยส้อม (Fork drip), การตะแคงช้อน (Spoon tilt test) ตัวอย่างอาหาร : ซุปข้นปานเนียน, มันบดที่เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน, โยเกิร์ตคงตัว (Set yogurt)
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 95 ▪ อาหารระดับ 5 สับละเอียด ชุ่มน ้า (Minced & Moist) ลักษณะอาหาร : สามารถรับประทานได้ด้วยช้อนหรือส้อม ชิ้นอาหารมีขนาดเล็กตามเกณฑ์ นิ่ม อ่อนนุ่ม ชุ่มน้ำ แต่ไม่มีส่วนที่เป็นน้ำไหลแยกออกมา สามารถใช้ลิ้นบดเนื้ออาหารให้แตกจากกัน ในช่องปากได้ อาศัยการเคี้ยวเพียงเล็กน้อย ทดสอบด้วย : การหยดด้วยส้อม (Fork drip), การกดด้วยส้อม (Fork Pressure test), การตะแคง ช้อน (Spoon tilt test), การประเมินขนาดชิ้นอาหาร ตัวอย่างอาหาร : ซุปข้นปั่นหยาบ ▪ อาหารระดับ 6 อ่อน ชิ้นเลก ็ (Soft & Bite-sized) ลักษณะอาหาร : สามารถรับประทานด้วย ช้อน ส้อมหรือตะเกียบได้ ชิ้นอาหารมีขนาดตาม เกณฑ์ นิ่ม อ่อนนุ่ม ชุ่มน้ำ แต่ไม่มีส่วนที่เป็นน้ำไหลแยกออกมา สามารถใช้ ส้อม หรือลิ้นบดเนื้อ อาหารให้แตกจากกันได้ ต้องอาศัยการเคี้ยวก่อนกลืน ทดสอบด้วย : การกดด้วยส้อม (Fork Pressure test), การประเมินขนาดชิ้นอาหาร ▪ อาหารระดับ 7 เคี้ยวง่าย-ธรรมดา ( Easy to chew – Regular) ลักษณะอาหาร : อาหารเคี้ยวง่าย ไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดชิ้นอาการ แต่จะไม่รวมอาหารที่มีกาก ใยเหนียว หยาบ กรอบ หรือมีเมล็ด อาจมีเนื้ออาหารและน้ำอยู่รวมกันได้ ทดสอบด้วย : การกดด้วยส้อม (Fork Pressure test), การตัดด้วยส้อม (Fork separation) ตารางที่ 1 แสดงสรุปการทดสอบที่ต้องทำในอาหารฝึกกลืนแต่ละระดับ การทดสอบ ระดับ IDDSI การทดสอบการไหล ผ่านกระบอกฉีดยา ขนาด 10 มิลลิลิตร หรือ IDDSI Funnel (Flow test) การหยด ด้วยส้อม การตะแคง ช้อน การกด ด้วยส้อม วัดขนาด ชิ้นอาหาร การตัด ด้วยส้อม เครื่องดื่ม IDDSI 0 - 2 IDDSI 3 - 4 อาหาร IDDSI 3 IDDSI 4 IDDSI 5 IDDSI 6 IDDSI 7 (เคี้ยวง่าย)
96 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association เทคนิคการทดสอบอาหารฝึกกลืนตามมาตรฐาน IDDSI 3,4 1. การทดสอบการไหลตามมาตรฐาน IDDSI (Flow test) อุปกรณ์ - กระบอกฉีดยาที่มีหัวต่อชนิดสวม (slip tip syringe) ขนาด 10 มิลลิลิตร หรือ กระบอกทดสอบการไหลของ IDDSI (IDDSI Funnel) - นาฬิกาจับเวลา ใช้ทดสอบ เครื่องดื่มและอาหารในระดับที่ 0 - 4 วิธีการทดสอบ 1. ดึงลูกสูบออกจากกระบอกฉีดยา ใช้นิ้วก้อยอุดปลายกระบอกฉีดยา 2. เติมตัวอย่างเครื่องดื่ม จนครบปริมาตร 10 มิลลิลิตร 3. เริ่มจับเวลาถอยหลัง 10 วินาที พร้อมกับปล่อยให้ตัวอย่างเครื่องดื่มไหลออกจาก ปลากกระบอกฉีดยา 4. เมื่อครบเวลา 10 วินาที ให้ใช้ปลายนิ้วก้อยอุดปลายกระบอกฉีดยาแล้วอ่านผลตาม ภาพที่ 3 5. ควรทำการทดสอบอย่างน้อย 2 – 3 ครั้ง ในแต่ละตัวอย่างอาหาร ภาพที่ 2 แสดงวิธีการทดสอบการไหลตามมาตรฐาน IDDSI ภาพที่ 3 แสดงอ่านระดับของเครื่องดื่มและอาหารจากการทดสอบการไหลตามมาตรฐาน IDDSI5 ข้อควรระวัง - ควรเลือกใช้กระบอกฉีดยา ที่สะอาด และแห้ง รวมถึงตรงตามมาตรฐานข้างต้น รวมถึงตรวจสอบปลายของกระบอกฉีดยา ไม่ให้มีเศษพลาสติกอุดตัน
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 97 - ตัวอย่างเครื่องดื่มและอาหารที่นำมาทดสอบ ควรคนให้เข้ากันจนมีลักษณะเนียน เป็นเนื้อเดียวกัน อาจกรองด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบางก่อนนำมาทำการทดสอบ เนื่องจากหากมีเนื้ออาหารเจือปน อาจทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อนได้ - ตัวอย่างเครื่องดื่มและอาหารที่นำมาทดสอบ ควรอยู่ในอุณหภูมิเดียวกับที่จัดเสิร์ฟ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย - ขณะบรรจุตัวอย่างเครื่องดื่มและอาหารที่จะทำการทดสอบ ควรบรรจุอย่าง ระมัดระวัง ไม่ให้เกิดฟองอากาศ เนื่องจากอาจทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อนได้ - ขณะทดสอบควรจับกระบอกฉีดยาให้ตั้งตรง ไม่เอียง เพื่อให้ได้ผลทดสอบที่ถูกต้อง 2. การทดสอบการหยดโดยใช้ส้อม (Fork drip) อุปกรณ์ - ส้อมสแตนเลส หรือส้อมพลาสติก ใช้ทดสอบ เครื่องดื่มและอาหารในระดับที่ 3 - 4 วิธีการทดสอบ 1. ใช้ส้อมตักตัวอย่างเครื่องดื่มหรืออาหาร และยกขึ้น โดยให้หน้าส้อมขนานกับโต๊ะ สังเกตลักษณะของเครื่องดื่มหรืออาหารที่ไหลผ่านร่องส้อม ภาพที่ 4 แสดงความแตกต่างของเครื่องดื่มและอาหาร ผ่านการทดสอบการหยดโดยใช้ส้อม4 ข้อควรระวัง - ตัวอย่างเครื่องดื่มและอาหารที่นำมาทดสอบ ควรอยู่ในอุณหภูมิเดียวกับที่จัดเสิร์ฟ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย - แนะนำให้ใช้ส้อมสแตนเลส ขนาดมาตราฐานอาหารคาว 3. การทดสอบด้วยการตะแคงช้อน (Spoon tilt test) อุปกรณ์ - ช้อนสแตนเลส หรือช้อนพลาสติก
98 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association ใช้ทดสอบ อาหารในระดับที่ 4 - 5 วิธีการทดสอบ 1. ใช้ช้อนตักตัวอย่างอาหารจนเต็มช้อน จากนั้นตะแคงช้อนไปด้านข้าง จนช้อนมี ลักษณะตั้งฉากกับโต๊ะ อาจออกแรงเขย่าเล็กน้อย ให้อาหารตกจากช้อน 2. อาหารฝึกกลืนที่ดีควรตกจากช้อนทั้งหมด หรือมีเคลือบติดช้อนเล็กน้อย ให้พอเห็น ช้อน หากอาหารมีความเนื้อที่แน่นและเหนียวมาก จะไม่ตกจากช้อน แต่ยังคงติด ค้างอยู่บนช้อน นับว่าเป็นอาหารฝึกกลืนที่ไม่ปลอดภัย ภาพที่ 5 แสดงตัวอย่างการทดสอบด้วยการตะแคงช้อน3 ข้อควรระวัง - ตัวอย่างเครื่องดื่มและอาหารที่นำมาทดสอบ ควรอยู่ในอุณหภูมิเดียวกับที่จัดเสิร์ฟ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย - ใช้ช้อนมาตรฐานที่เป็นช้อนรับประทานข้าว ไม่แนะนำใช้ช้อนกลางหรือ ช้อนส้อม (Spork) 4. การทดสอบด้วยแรงกดจากส้อม (Fork pressure test) อุปกรณ์ - ส้อมสแตนเลสมาตรฐาน ที่มีหน้าส้อมกว้าง 15 มิลลิเมตร และมีช่องว่างระหว่างง่าม ส้อม 4 มิลลิเมตร หากไม่มีช้อนส้อมสามารถใช้ช้อนชาแทนได้ ใช้ทดสอบ อาหารในระดับที่ 5 – 6 – 7 (เคี้ยวง่าย)
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 99 วิธีการทดสอบ 1. ตัดตัวอย่างอาหารวางใส่ในจาน จากนั้นจับส้อมโดยวางปลายนิ้วโป้งไว้ที่หน้าส้อม (ใต้ง่ามส้อม) จากนั้นออกแรงกดจนอาหารแตกออกจากกัน โดยสังเกตสีเล็บขณะ ออกแรงกดอาหารจนแตก 2. อาหารระดับที่ 5 อาหารแตกออกจากกันโดยเล็บไม่เปลี่ยนเป็นสีขาว 3. อาหารระดับที่ 6 – 7 (เคี้ยวง่าย) ให้ตัดตัวอย่างอาหารให้ได้ขนาด 15 x 15 มิลลิเมตร จากนั้นทำการทดสอบ อาหารต้องแตกออกจากกันได้ โดยที่เล็บ เปลี่ยนเป็นสีขาว 4. อาหารระดับที่ 7 (ธรรมดา) อาหารไม่แตกออกจากกันโดยง่าย ภาพที่ 6 แสดงวิธีทดสอบด้วยแรงกดจากส้อม3 ข้อควรระวัง - แนะนำให้ใช้ส้อมสแตนเลส มาตรฐานอาหารคาว ที่มีหน้าส้อมกว้าง 15 มิลลิเมตร และมีช่องว่างระหว่างง่ามส้อม 4 มิลลิเมตร ไม่แนะนำ ส้อมพลาสติก ส้อมจิ้มผลไม้ หรือ ช้อนส้อม (Spork) - การที่จะประเมินเนื้ออาหารในแต่ละระดับควรทดสอบในทุกมิติ เช่น อาหารระดับที่ 5 ควรทดสอบการตะแคงช้อน ทดสอบแรงกดด้วยส้อม และการประเมินขนาดชิ้น อาหาร จึงจะสามารถตัดสินว่าอาหารนั้น ๆ อยู่ในระดับที่ 5 5. การประเมินขนาดชิ้นอาหาร อุปกรณ์ - ไม้บรรทัด หรือ ส้อมสแตนเลสมาตรฐาน ที่มีหน้าส้อมกว้าง 15 มิลลิเมตร และมี ช่องว่างระหว่างง่ามส้อม 4 มิลลิเมตร ใช้ทดสอบ อาหารในระดับที่ 5 – 6 วิธีการทดสอบ 1. วัดขนาดชิ้นตัวอย่างอาหาร โดยไม้บรรทัด หรือ ส้อมมาตรฐานข้างต้น 2. อาหารระดับที่ 5 a. เด็ก ชิ้นอาหารขนาด กว้าง ≤ 2 มิลลิเมตร และยาว ≤ 8 มิลลิเมตร b. ผู้ใหญ่ ชิ้นอาหารขนาด กว้าง ≤ 4 มิลลิเมตร และยาว ≤ 15 มิลลิเมตร c.
100 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association 3. อาหารระดับที่ 6 a. เด็ก ชิ้นอาหารขนาด กว้าง ≤ 8 มิลลิเมตร และยาว ≤ 8 มิลลิเมตร b. ผู้ใหญ่ ชิ้นอาหารขนาด กว้าง ≤ 15 มิลลิเมตร และยาว ≤ 15 มิลลิเมตร ข้อควรระวัง - การที่จะประเมินเนื้ออาหารในแต่ละระดับควรทดสอบในทุกมิติ เช่น อาหารระดับที่ 5 ควรทดสอบการตะแคงช้อน ทดสอบแรงกดด้วยส้อม และการประเมินขนาดชิ้น อาหาร จึงจะสามารถตัดสินว่าอาหารนั้น ๆ อยู่ในระดับที่ 5 6. การทดสอบด้วยการตัดด้วยส้อม (Fork separation test) อุปกรณ์ - ส้อมสแตนเลสมาตรฐาน หากไม่มีส้อมสามารถใช้ตะเกียบแทนได้ ใช้ทดสอบ อาหารในระดับที่ 6 – 7 (เคี้ยวง่าย) วิธีการทดสอบ 1. อาหารระดับที่ 6 – 7 (เคี้ยวง่าย) ให้ตัดตัวอย่างอาหารให้ได้ขนาด 15 x 15 มิลลิเมตร จากนั้นใช้ส้อม หรือตะเกียบตัดอาหารออกจากกัน อาหารต้องแตกออกจากกันได้ 7. การทดสอบเนื้ออาหารที่แปรสภาพได้ (Transitional diet) อุปกรณ์ - ส้อมมาตรฐาน - หลอดหยด หรือกระบอกฉีดยา ใช้ทดสอบ อาหารในระดับที่ 5 – 6 – 7 วิธีการทดสอบ 1. ตัดอาหารตัวอย่างให้ได้ขนาด 15 x 15 มิลลิเมตร จากนั้นเติมน้ำปริมาณ 1 มิลลิลิตร รอ ประมาณ 1 นาที จากนั้น ใช้ส้อมกดลงบนอาหารจนเล็บของนิ้ว หัวแม่มือเปลี่ยนเป็นสีซีด 2. อาหารถูกกดแยกตัวตามแรงกดของส้อม โดยไม่เหลือสภาพเหมือนก่อนใช้แรงกด หรือ อาหารสามารถแยกออกจากกันได้โดยใช้ตะเกียบกดเพียงเล็กน้อย หรืออาหารสามารถ ละลายอย่างชัดเจนและไม่หลงเหลือสถานะเดิม เช่น ไอศกรีม เกล็ดน้ำแข็ง เป็นต้น
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 101 เอกสารอ้างอิง 1. Cichero JA, Lam P, Steele CM, Hanson B, Chen J, Dantas RO, Duivestein J, Kayashita J, Lecko C, Murray J, Pillay M, Riquelme L, Stanschus S. Development of International Terminology and Definitions for Texture-Modified Foods and Thickened Fluids Used in Dysphagia Management: The IDDSI Framework. Dysphagia. 2017 Apr;32(2):293-314. doi: 10.1007/s00455-016-9758-y. Epub 2016 Dec 2. PMID: 27913916; PMCID: PMC5380696. 2. อ.วรัญญา เตชะสุขถาวร, พญ.ภัทรา วัฒนพันธุ์ และ ศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี. (2562). มาตรฐาน อาหารส าหรับผู้ป่ วยกลืนล าบากและคา อธิบาย. https://iddsi.org/Translations/AvailableTranslations 3. อ.วรัญญา เตชะสุขถาวร, พญ.ภัทรา วัฒนพันธุ์ และ ศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี. (2562). มาตรฐาน อาหารสา หรบัผ้ปู่วยกลืนลา บากและวิธีการทดสอบ. https://iddsi.org/Translations/AvailableTranslations 4. อ.วรัญญา เตชะสุขถาวร และคณะ. (2566). 46 เมนูอาหารฝึกกลืน ตามมาตรฐาน IDDSI. (พิมพ์ ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 5. IDDSI. (Jan 2023). IDDSI Funnel – Instructions For Use. https://iddsi.org/IDDSI/media/images/Flow%20Test%20Instructions/IDDSI-Funnelinstructions-English-Jan-2023.pdf
102 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 103
104 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 105
106 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 107
108 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 109
110 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 111
112 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 113
114 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 115
116 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 117
118 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association
ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 119 What's the Next Path of Asian Dietetic Profession ?: Opportunities for Asian Dietetic Challenges Dr. ChwangLeh-chii Honorary President, Asian Federation of Dietetic Associations (AFDA) Honorary President, The Chinese Dietetic Society,Taiwan (CDS) The development of AFDA is fascinating, what is more impressive is the message it carries. It is continuity and devotion since its foundation in 1991. This is instrumental to the solidarity of AFDA members and revealing the core values of collaboration and empowerment. We mutual support and benchmark learning from each other to make us more competent. Looking to the future, we need to be aware and keep up with the rapidly changing scene of the world : accelerated digitalization and AI, climate change and food insecurity, aging population and health-care demands. We shall take initiatives to strengthen not only ourselves but also help colleagues in more countries to build up accountable qualifications and respectable professionalism. We shall also find joy by working together with like-minded professionals toward our mutual vision of better nutrition status for all people in Asia.
120 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association