The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การประยุกต์ใช้อาหารบำบัดกับเวชศาสตร์วิถีชีวิต: สิ่งที่เราควรรู้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by metta.poon, 2024-04-25 03:33:06

การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยประจำปี 2567 ครั้งที่ 44

การประยุกต์ใช้อาหารบำบัดกับเวชศาสตร์วิถีชีวิต: สิ่งที่เราควรรู้

ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 371 บทคัดย่อ P-58 การให้โภชนบา บดัเพื่อการดแูลตนเองในผ้ปู่วยเบาหวานที่เข้ารบับริการในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลรือเสาะ ประจ าปี 2566-2567 ฮาซาน๊ะ เจ๊ะซอ และคณะ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส บทน า สถานการณ์โรคเบาหวานในอำเภอรือเสาะข้อมูลในปี 2566 มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 1,924 ราย และผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานได้เฉลี่ยร้อยละ 16.47 การดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างเป็นระบบร่วมกับ ทีมสหวิชาชีพในการแนะนำ ให้กำลังใจ และติดตามผลการรักษา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลปฏิบัติตัวที่ ถูกต้อง ถูกวิธีและส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น วัตถุประสงค์1. เพื่อส่งเสริมการแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมและถูกวิธีพร้อมทั้งการติดตามผลในผู้ เป็นเบาหวาน 2. เพื่อให้ผู้เป็นเบาหวานเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองด้วยโภชนาการที่เหมาะสมและติดตาม ผลในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างต่อเนื่อง วิธีดา เนินการวิจยั ผู้ป่วยเบาหวานเข้ารับบริการที่คลินิกเบาหวาน พบพยาบาลซักประวัติตรวจตา ตรวจเท้า พบนักโภชนาการทำการคัดกรองประเมินภาวะโภชนาการประเมิน Stage of change ทำการ วินิจฉัยปัญหาทางโภชนาการและให้โภชนศึกษาแก่ผู้ป่วยเฉพาะราย โดยตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วย พบ เภสัชกรเพื่อประเมินความถูกต้องด้านการใช้ยาและพบแพทย์ ติดตามผลครั้งที่ 1 หลังเข้ารับบริการ 1 เดือน สอบถามอุปสรรคด้านการควบคุมอาหารและให้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วให้ ผู้ป่วยตรวจก่อนอาหารเช้า 1 ครั้งต่อวันโดยบันทึกผล 1 เดือนเพื่อให้ผู้ป่วยปรับรูปแบบการกินให้ เหมาะสมกับระดับน้ำตาลในเลือด ติดตามผลครั้งที่ 2 หลังเข้าคลินิก 2 เดือนโดยติดตามผลการเจาะ น้ำตาลปลายนิ้ว 1 เดือนและติดตามผลพลังงานโปรตีนที่ได้รับต่อวัน, น้ำหนักตัว, BMI, FBS, HbA1C และระดับความรู้ ผลการวิจยัจากการติดตามผลครั้งที่ 1 พบว่า ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้จึงให้กำลังใจแก่ ผู้ป่วยและติดตามผลต่อเนื่อง ติดตามครั้งที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยได้รับพลังงานลดลงเหลือ1,920 kcal/d จาก เดิม 2,400kcal/d และได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย น้ำหนักลดลงเหลือ 94.3 kg จากเดิม 95 kg BMI ลดลงเหลือ 28.47kg/m2 จากเดิม 28.68 kg/m 2 FBS ลดลงเหลือ 115mg/dl จาก เดิม 195 mg/dl HbA1c ลดลงเหลือ 7.4% จากเดิม 8.3% และคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นได้ 20 คะแนนจาก เดิม 16 คะแนน ด้านทัศนคติพบว่าเมื่อผู้ป่วยได้รับเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้วและได้ตรวจระดับน้ำตาล ในเลือดทุกเช้า ผู้ป่วยสามารถรับรู้ถึงระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเลือกบริโภคอาหารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรตได้และปรับคาร์บให้เหมาะสมต่อตนเองส่งผลให้การควคบุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น สรุป กระบวนการดูแลภาวะโภชนาการของผู้ป่วยร่วมกับทีมสหวิชาชีพและการให้โภชนศึกษาอย่างเป็น ระบบมีการตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


372 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย บทคัดย่อ P-59 การดูแลด้านโภชนบ าบัดในผู้ป่ วยเบาหวานที่มารบับริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกะพ้อ รอยฮาน หะยีดอปอ และคณะ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลกะพ้อ จังหวัดปัตตานี บทน า โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้องเช่นการบริโภคอาหารที่มากเกินความต้องการของ ร่างกาย รวมถึงการบริโภคอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมาก และพันธุกรรมและปัจจัยด้านอื่นๆร่วมด้วย ซึ่ง ในปี พ.ศ. 2566 ผู้ป่วยเบาหวานมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี โดยผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับบริการคลินิก รพ. กะพ้อ 583 ราย พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด คิดเป็นร้อยละ 57.9 และผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้คิดเป็นร้อยละ10.1 ทำให้เห็นว่าผู้ป่วยเบาหวานยังขาดความเข้าใจ และความตระหนักในการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุม ได้ในระยะยาวก็ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น การ ดูแลด้านโภชนบำบัดในผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสมและมีระบบการดูแลร่วมกับทีมสหวิชาชีพจะช่วยให้ ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและช่วยให้ผลลัพธ์การรักษาดีขึ้นและลดภาวะแทรกซ้อนได้ในอนาคต วัตถุประสงค์1. เพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมและถูกวิธีพร้อมทั้งการติดตามผลในผู้เป็นเบาหวาน 2.เพื่อให้ผู้เป็นเบาหวานเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองด้วยโภชนาการที่เหมาะสมและติดตามผลในการรักษา ระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างต่อเนื่อง วีธีดา เนินการวิจยั ครั้งที่ 1 พยาบาลคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานพบแพทย์และส่งต่อให้นักกำหนดอาหาร และเภสัชกรเพื่อประเมินความพร้อมของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและทดสอบความรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การใช้ยา ครั้งที่ 2 นัดผู้ป่วยที่มีความพร้อมการดูแลตนเองเข้าร่วมอบรมความรู้ เกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ,อาหารแลกเปลี่ยน, การทำ SMBG ร่วมกับ ทีมสหวิชาชีพ ครั้งที่ 3 ติดตามการให้โภชนบำบัดและการดูแลตนเอง ผลการวิจยั ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าโปรแกรมการให้โภชนศึกษาร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ก่อนเข้ารับ โปรแกรมพบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสมสังเกตได้จากผู้ป่วยบริโภคอาหารมื้อ ใหญ่เป็นหลัก และส่วนประกอบของอาหารในมื้อใหญ่เน้นกลุ่มอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ระดับ น้ำตาล HbA1c 7.6 % ค่าไต Stage 3b จากการติดตามการดูแลตัวเองของผู้ป่วยตลอดระยะเวลา 2 เดือนหลังได้เข้ารับโปรแกรมการให้โภชนศึกษา พบว่า ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ โดยระดับนํ้าตาล HbA1c เหลือ 7 และผู้ป่วยมีค่าอัตราการกรองของไตที่ดีขึ้น จากค่าไต Stage 3b เป็น Stage 3a สรุป การดูแลผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับทีมสหวิชาชีพและการให้ความรู้ด้านโภชนบำบัดที่เหมาะสมกับ สภาวะของโรคร่วมกับการให้ผู้ป่วยทำ SMBG ร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยสามรถเห็นแนวโน้มของการบริโภค อาหารและระดับน้ำตาลได้ด้วยตนเองและเกิดความตระหนักมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุม ระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 373 บทคัดย่อ P-60 การดูแลเบาหวานด้วยหลักโภชนบ าบดัในผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารบัการรกัษาในคลินิกโรคไม่ ติดต่อเรือ้รงั โรงพยาบาลสมเดจ ็ พระยุพราชยะหา นัสริน รอยิง, พญ. ตกัวา จินารง, อมรรัตน์ นาวาวี, อานีซ๊ะ กาจิ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จังหวัดยะลา บทน ำ โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมระดับน ้าตาลในเลือดให้อยู่ใน เกณฑ์ที่ปกติหรือใกล้เคียงได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ หนึ่งในนั้นคือการควบคุมอาหาร โดยผู้ป่วยจ าเป็นต้องรู้จักเลือกชนิดและปริมาณของอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วย สามารถควบคุมระดับน ้าตาลในเลือดได้ ลดความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ต่างๆ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์1) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองด้านโภชนบ าบัดที่ถูกต้องและ เหมาะสม 2) เพื่อศึกษาผลของการให้โภชนบ าบัดต่อการควบคุมระดับน ้าตาลในเลือดก่อนและหลังการ ได้รับโภชนบ าบัด วิธีกำรวิจยั คัดเลือกผู้ป่ วยเบาหวานในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผู้ป่ วยจะได้รับการคัดกรองภาวะ โภชนาการด้วย SPENT และพบนักโภชนาการเพื่อประเมินภาวะโภชนาการด้วย NAF ประเมินความรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ประเมินการรับประทานอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (24 hr. recall) ตลอดจน วางแผนให้โภชนบ าบัดตามกระบวนการ Nutrition care process บันทึกข้อมูลการวางแผนให้โภชน บ าบัด และนัดติดตามผลเป็นระยะเวลา 4 เดือน ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ผลกำรวิจยั จากการติดตามผลตลอด 4 เดือน พบว่าหลังการได้รับโภชนบ าบัด ผู้ป่วยมีความรู้ ความ เข้าใจในการเลือกชนิดอาหาร การดูแลตัวเอง ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นและ สามารถควบคุมโรคเบาหวานมากขึ้น โดยมีระดับน ้าตาลสะสมลดลง จาก 9.1% เป็น 7.6 % สามารถลด ยาเบาหวาน ชนิด Glipizide 5 mg. จากที่ทานวันละ 2 เม็ด เป็น 1 เม็ด รวมถึงผู้ป่วยมีน ้าหนักตัวลดลง 4 กิโลกรัม สรุป การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการให้โภชนบ าบัดที่ถูกต้อง โดยค านึงถึงความเหมาะสม กับวิถีชีวิต เป็นสิ่งส าคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน ้าตาลในเลือดได้ดีขึ้น อีกทั้งยัง ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน กิตติกรรมประกำศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


374 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-61 กำรให้โภชนบำ บดัโรคเบำหวำนชนิดที่2 ให้เข้ำสู่ระยะสงบที่เข้ำรบักำรรกัษำในคลินิกลดยำ เบำหวำนโรงพยำบำลบ้ำนตำขุน ซารีนา ประจัน และคณะ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านตาขนุ สุราษฎร์ธานี บทน ำ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมน ้าตาลในเลือดให้อยู่ในระดับต ่ากว่าเกณฑ์วินิจฉัยโรค เบาหวานโดยไม่ต้องใช้ยาเพื่อลดระดับน ้าตาล โดยเรียกภาวะนี้ว่า Diabetes Remission หรือ โรคเบาหวานระยะสงบ จึงเป็นสิ่งส าคัญเพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย ตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของ แต่ละรายบุคคล วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้เรียนรู้การดูแลตนเองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละ รายบุคคล ด้วยโภชนบ าบัดที่เหมาะสมและถูกวิธีพร้อมทั้งติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง วิธีกำรวิจยัและศึกษำ เป็นการศึกษาแบบกรณีตัวอย่าง (Case Study) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่ วย หญิงไทย อายุ 52 ปี สัญชาติไทย ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นักโภชนาการได้มีส่วนร่วม ตั้งแต่ครั้งแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยท าการประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานทั้งก่อนและหลัง ให้โภชนบ าบัด จากนั้นมีการประเมิน การวินิจฉัย การให้โภชนบ าบัดและติดตามร่วมกับทีมสหวิชาชีพ โดยให้ผู้ป่วยท า Self-monitoring และบันทึกข้อมูลผ่าน Platform Analog และ Digital ทีมสหวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลจาก Platform และน ามา Counseling วางแผนการรักษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ เป็นเบาหวานแต่ละรายและมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผลกำรวิจยัและศึกษำ จากการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 4 เดือน พบว่าผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกก าลังกายที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริง ตามค าแนะน าของ ทีมสหวิชาชีพ จนน าไปสู่การควบคุมระดับน ้าตาลได้ดี และลดภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ได้ โดยหลังจากได้รับการรักษา 3 เดือนแรก พบว่ามีระดับน ้าตาลสะสมลดลงจากร้อยละ 10.9 เป็นร้อย ละ 5.5 มีการรักษาน ้าหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น สรปุและวิจำรณ์ การให้โภชนบ าบัดโรคเบาหวานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล (และ ครอบครัว) ร่วมกันตั้งเป้าหมาย วางแผนและออกแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ ก าลังใจและติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนส าคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน ้าตาลได้ดีขึ้น และสามารถเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) กิตติกรรมประกำศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 375 บทคัดย่อ P-62 การให้โภชนบา บดัในผ้ปู่วยเบาหวานที่เข้ารบับริการในโรงพยาบาลพนุพิน ยุวดี บุญผล เชษฐา แก้ววิรชั ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลพนุพิน จงัหวดัสุราษฎรธ์านี บทน า โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความสำคัญมากในกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาทาง สาธารณสุขของประเทศและโลก สำหรับโรงพยาบาลพุนพินพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น การให้โภชนบำบัดและการดูแลผู้ป่วยร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพ และติดตามผลอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มีการพิจารณาการให้โภชนบำบัดรายบุคคล 2 .เพื่อให้สหวิชาชีพได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยและการติดตามผล 3. เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ที่เป็นเบาหวาน วิธีการวิจยัและศึกษา แพทย์/พยาบาลในคลินิกโรคเบาหวานส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาทางโภชนาการ มาพบนักโภชนาการ ทำการคัดกรองประเมินภาวะโภชนาการและความรู้ วินิจฉัยปัญหา และให้โภชนบำบัด/โภชนศึกษา โดยนักโภชนาการและทีมสหวิชาชีพตั้งเป้าหมายร่วมกันกับผู้ป่วย เพื่อให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยแต่ละราย และทีมสหวิชาชีพแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการดูแล ผู้ป่วยและติดตามผลอย่างเป็นระบบ ผลการวิจยัและศึกษา มีการติดตาม จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 (02/03/67) ทาง Line official: ผู้ป่วย ยังคงมีการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงและอาหารแปรรูป ค่าระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 119 mg/dL น้ำหนัก 100 Kg ครั้งที่ 2 (06/03/67) ทางโทรศัพท์: ผู้ป่วยเริ่มตั้งใจควบคุมอาหาร โดยรับประทานอาหารรูปแบบ 2:1:1 2 มื้อ/วัน แต่ยังคงรับประทานอาหารทอดเป็นประจำ เดินเฉลี่ย 8,977 ก้าว/วัน ค่าระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 114 mg/dL น้ำหนัก 99.5 Kg ครั้งที่ 3 (06/03/67) มาตามนัดในคลินิก: ผู้ป่วยตั้งใจควบคุมอาหาร เดินเฉลี่ย 11,062 ก้าว/วัน ค่าระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 115 mg/dL น้ำหนัก 97.5 Kg และจากที่แพทย์และทีมสหวิชาชีพได้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้มีการ ปรับลดยาเป็นระยะๆตามความเหมาะสมและพฤติกรรมของผู้ป่วย สรุปและวิจารณ์ การให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาล โดยมีทีม สหวิชาชีพแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการดูแลและติดตามผลอย่างเป็นระบบ มีการคัดกรองประเมิน ภาวะโภชนาการ วินิจฉัยปัญหา ตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดี และเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 377 ชื่อโครงการ Muscle and Malnutrition Care ปี ที่สอง ประจ าปี 2566 – 2567 ที่มา จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าประเทศไทยมีจำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเพิ่มจากร้อยละ 6.8 ในปี พ.ศ. 2537 เป็นร้อยละ 19.6 ในปี พ.ศ. 2564 จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง (กองสถิติ สำนักงานสถิติ แห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564) ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) เป็นกลุ่มอาการที่มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ มวล กล้ามเนื้อมีปริมาณลดลงทั่วร่างกาย ร่วมกับความแข็งแรงหรือหน้าที่ของกล้ามเนื้อถดถอยลงอย่าง ต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะนี้จะเพิ่มโอกาสหกล้ม รวมถึงการเกิดกระดูกหัก สูญเสียสมรรถภาพความสามารถ ทางกาย ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง เป็นอุปสรรคขัดขวางการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ โดยมี สาเหตุจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะทุพโภชนาการ พฤติกรรมเนือยนิ่ง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางเม แทบอลิซึม ความพิการ ความเจ็บป่วยและการติดเชื้อที่สูงขึ้น จนอาจส่งผลต่อการเสียชีวิตที่มากขึ้น (Landi et al. 2019) ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีภาวะทุพโภชนาการและภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) ร่วมด้วย มีความเสี่ยงที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากตัวโรคและการรักษา เพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต (Landi et al. 2019) ดังนั้น การส่งเสริมโภชนการที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นหนึ่งในปัจจัย ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยให้ แข็งแรง ฟื้นตัวเร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาทีมโภชนบำบัดต้นแบบ การประเมินความเสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้ป่วย ผู้ใหญ่ที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน 2. เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงมวลกล้ามเนื้อน้อย และภาวะทุพโภชนาการ ที่เข้ารับบริการใน โรงพยาบาลทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ได้รับการดูแลรักษาด้วยกระบวนการให้โภชนบำบัดที่ เหมาะสม 3. เพื่อส่งเสริมให้ทีมโภชนบำบัดมีการจัดทำ Nutrition Care Process เพื่อที่บรรลุผลในการดูแล ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ


378 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association ผู้สนับสนุนทุนปี 2566 บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด จำนวน 900,000 บาท คณุสมบตัิผ้เูข้าร่วมโครงการ 1. สมาคมคัดเลือก เชิญ และรับสมัคร โรงพยาบาลที่มีทีมโภชนบำบัด ที่ประกอบด้วยอย่าง น้อย นักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการ/ โภชนากร แพทย์ และพยาบาลที่ทำงานใน โรงพยาบาล 2. นักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร เป็นสมาชิกตลอดชีพสมาคมนักกำหนดอาหาร แห่งประเทศไทย 3. โรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 30 โรงพยาบาล โดยแบ่งเป็น โรงพยาบาลขนาด ใหญ่ที่มีจำนวนเตียงมากกว่า 200 เตียง จำนวน 20 โรงพยาบาล และโรงพยาบาลที่มี จำนวนเตียงน้อยกว่า 200 เตียง จำนวน 10 โรงพยาบาล ผู้ป่ วยกลุ่มเป้าหมาย • ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล • ผู้ป่วยผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาล ขนั้ตอนการดา เนินงานและการรบัทุน 1. สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย คัดเลือก เชิญ และรับสมัคร โรงพยาบาลที่มีทีม โภชนบำบัด เข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม– 31 สิงหาคม 2566 จ านวน 30 โรงพยาบาล (ตามวัน เวลา ที่ใบสมัครมาถึงสมาคมฯ) ในกรณีมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเกิน กว่าจ านวน สมาคมฯขอพิจารณาจากผู้เข้าสมัครตามล าดับก่อนหลัง 2. สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย จัดประชุม อบรมการประเมินความเสี่ยงภาวะ มวลกล้ามเนื้อน้อย การประเมินและการดูแลภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยผู้ใหญ่ 30 ตุลาคม 2566 3. ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ประเมินความเสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยและภาวะ ทุพโภชนาการในผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยนอก จ านวน 15 รายต่อเดือน และผู้ป่วยที่รักษาตัวใน โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการและภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย เช่นผู้ป่วยที่ เข้ารับการผ่าตัด และผู้ป่วยสูงอายุในแผนกอายุรกรรม 15 รายต่อเดือน รวมเป็น 30 รายต่อ เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 - มกราคม 2567 เครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ➢ คัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ด้วยแบบสอบถามคัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ชนิด SARC-F ➢ การประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ handgrip dynamometer เครื่องมือประเมินภาวะโภชนาการ ➢ การท าการประเมินความเสี่ยงภาวะโภชนาการเบื้องต้น โดยใช้แบบฟอร์ม Determine ในผู้สูงอายุแผนกบริการผู้ป่วยนอก


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 379 ➢ ท าการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยใช้แบบประเมิน NAFหรือ NT2013 รายงานผลภาวะโภชนาการ (จ านวนผู้ป่วยที่มี ความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ ต ่า ปานกลาง และ สูง) 4. (จากผู้ป่วยที่มีการประเมินในข้อ 3) ท า Nutrition Care Process โดยมีการพิจารณาใช้Oral Nutritional Supplement ในผู้ป่วยที่มีภาวะความเสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และหรือมี ภาวะทุพโภชนาการ เพื่อให้โภชนบ าบัดแก่ผู้ป่วยและติดตามผล 5. ส่งผลการประเมิน และการท า Nutrition Care Process มาที่สมาคมนักก าหนดอาหารแห่ง ประเทศไทย ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป โดยต้องรายงานผลให้ครบ 3 เดือน จะได้รับ ทุนสนับสนุนจ านวน 12,000 บาท 6. ผู้เข้าร่วมโครงการ คัดเลือกกรณีศึกษาจ านวน 1 case เพื่อส่งเข้าร่วมประกวดการดูแลภาวะ เสี่ยงมวลกล้ามน้อยและภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยผู้ใหญ่ โดยส่งมาที่สมาคมนักก าหนด อาหารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 จะได้ทุนสนับสนุนจ านวน 5,000 บาท 7. สมาคมท าการคัดเลือก ผู้ที่ได้รับทุนกรณีศึกษาด้านการดูแลภาวะทุพโภชนาการผู้ป่วย ผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในเดือนมีนาคม 2567 ดังต่อไปนี้ • รางวัลที่ 1 จ านวน 25,000 บาท • รางวัลที่ 2 จ านวน 20,000 บาท • รางวัลที่ 3 จ านวน 15,000 บาท • รางวัลชมเชย 2 รางวัล จ านวน 8,000 บาทต่อรางวัล เกณฑ์ในการพิจารณา • กรณีศึกษามีการคัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และการประเมินความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อและ Nutrition Care Process ในผู้ป่วยแต่ละราย • กรณีศึกษา มีกระบวนการโภชนบำบัดที่ครบถ้วนโดยเริ่มการคัดกรอง ประเมินภาวะ โภชนาการ การวางแผนการให้โภชนบำบัด การดำเนินการให้โภชนบำบัด และการติดตาม ประเมินผลและการบันทึกการรักษาผู้ป่วยด้วยโภชนบำบัด • มีการวิเคราะห์ ถึงผลลัพธ์ของการดูแลโภชนบำบัดของผู้ป่วยรายนั้นๆ หรือ อื่นๆ ตามที่ คณะกรรมการสมาคมฯ กำหนดหรือเห็นสมควร การเสนอผลงาน • นำเสนอผลการศึกษาและวิจัยในรูปแบบ E-Poster ในการประชุมวิชาการประจำปี 2567 ของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย • นำเสนอผลงานสำหรับผู้ได้รับทุนในงานประชุมสรุปโครงการ • ได้รับการตีพิมพ์บทคัดย่อผลการศึกษาและวิจัยในวารสารสมาคมฯ โดยมีการแสดง กิตติกรรมประกาศชื่อทุนนี้ในงานวิจัยนั้นๆ


380 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association “ทุน Muscle and Malnutrition Care ปี ที่สอง" รายชื่อผ้ทูี่ได้รบัทุนสนับสนุนกรณีศึกษาโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ประจ าปี 2566-2567 รางวัลที่ 1 ทุนสนับสนุน จ านวน 25,000 บาท โดย นายศักดิ์สิทธิ์ ทาแก้ว นักโภชนาการปฏิบัติการ พญ. กมลภัทร ศรีศักดิ์ นายแพทย์ปฏิบัติการ นางหทัยรัตน์ มากร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก รางวัลที่ 2 ทุนสนับสนุน จ านวน 20,000 บาท โดย นายปิยะณัฐ ถิ่นจันดา นักโภชนาการ นพ. ภัคพล ปัญจริตติ นายแพทย์ชำนาญการ อายุรแพทย์ นางสาวอุไรวรรณ เดชกุลรัมย์ พยาบาลวิชาชีพ นางสาววรรณภา ผลบูรณ์ พยาบาลวิชาชีพ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ รางวัลที่ 3 ทุนสนับสนุน จ านวน 15,000 บาท โดย นางสาววีรวรรณ เตชะเกรียงไกร นักกำหนดอาหาร คุณญาณินี เจิดรังษี นักกำหนดอาหาร คุณนุชจรินทร์ ทุ่งจักร์ พยาบาลวิชาชีพ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร รางวัลที่ 3 ทุนสนับสนุน จ านวน 15,000 บาท โดย นางสาววรางคณา ทรัพยกิตกุล นักวิชาการโภชนาการ ผศ.นพ. สรวิเชษฐ์ รัตนชัยวงศ์ แพทย์ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 381 รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 8,000 บาท โดย นางสาวชิดชนก เฮียงราช นักโภชนาการปฏิบัติการ นพ. อมร ตามไทย อายุรแพทย์โรคมะเร็ง นางสาวอัญญาณี ฮองต้น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางสาวพิรุฬห์ขวัญ พลโรม เภสัชกร ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 8,000 บาท โดย นางสาวสาวิตรี ทุมประเสน นักโภชนาการชำนาญการ นางสาวสุดคะนึง โรจนชีวาคม นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ นพ. พิชิต แร่ถ่าย นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ นางสาวธิดาลักษณ์ ธิมาชัย นักกายภาพบำบัดชำนาญการ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 8,000 บาท โดย นางสาวฮาซาน๊ะ เจ๊ะซอ นักโภชนาการ พญ. ทัศนีม อาลี นายแพทย์ปฏิบัติการ นางสาวต่วนไซนะ ดือมงกาปะ นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 8,000 บาท โดย นายณัฐชนา ปฐมเนติกุล นักกำหนดอาหาร นายวีรวัฒน์ วรรณศักดิ์ศรี นักกำหนดอาหาร พญ. วราลี ฉัตรชมชื่น อายุรแพทย์ สาขาต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลเทพธารินทร์ กรุงเทพมหานคร รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 8,000 บาท โดย นางสาวสุภาภรณ์ เพ็งจันทร์ดี นักกำหนดอาหารวิชาชีพ นางสาวสุมาลี นุชิต นักกำหนดอาหารวิชาชีพ นายณัฐฐศรัณฐ์ วงศ์เตชะ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ นางสาวไลลา มานะ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ นางสาวเพ็ญนภา ลิ่มวัน นักกำหนดอาหารวิชาชีพ นายพิริยะพงศ์ แสงปิน นักกำหนดอาหารวิชาชีพ พลอากาศตรี นพ. วิบูลย์ ตระกูลฮุน แพทย์ นาวาอากาศเอกหญิง บุชชา พราหมณสุทธิ์ พยาบาล นางสาวพิชชาภา เชยชมวงษ์ นักจัดการงานทั่วไป ทีมสหสาขาวิชาชีพ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร


382 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-63 กระบวนการดูแลด้านโภชนาการในผู้ป่ วยที่มีภาวะทุพโภชนาการที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาล โครงการ Muscle and Malnutrition Care ศกัดิส์ิทธิ์ทาแก้ว, กมลภทัร ศรีศกัดิ, ์ หทัยรัตน์ มากร ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลบางกระทุ่ม จงัหวดัพิษณุโลก บทน า ภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยความรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค โดยภาวะทุพโภชนาการมีสาเหตุมาจากโรคมะเร็งซึ่งจะกระตุ้นให้มีการ สร้างสารที่ก่อให้เกิดภาวะการอักเสบ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานและการเผาผลาญ สารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะส่งผลต่อการเพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย เพิ่มการสลายโปรตีนจาก กล้ามเนื้อ และเพิ่มการสลายไขมัน ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งรู้สึกเบื่ออาหาร โรงพยาบาลบางกระทุ่ม เป็นโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยมีทีมสหวิชาชีพที่ช่วยกันดูแลในด้าน โภชนบำบัดจนถึงการติดตามการเยี่ยมบ้านแบบทีมสหวิชาชีพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะทุพโภชนาการ วิธีการวิจยั และศึกษา ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภาวะทุพโภชนาการโดยใช้ SPENT Nutrition Screening Tools และประเมินภาวะโภชนาการด้วย NT 2013 เพื่อนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการดูแล ทางด้านโภชนบำบัด (nutrition care process) โดยมีการตั้งเป้าหมายหลักและเป้าหมายรองของการให้ โภชนบำบัดร่วมกับผู้ป่วยและผู้ดูแล มีการติดตามผลและวัดผลของการให้โภชนบำบัด ทุกๆ 3 วัน ผลการวิจยัและการศึกษา วางแผนการให้โภชนบำบัด โดยเริ่มจากการปรับอาหารทางสายยางเป็น อาหารทางการแพทย์สูตรมาตรฐาน (1.2:1) 350 ml x 4 Feed add MCT Oil 6 tsp add whey protein isolate 30 g. Free fluid 50 ml/Feed คิดเป็นพลังงานที่ได้รับ 2,058 กิโลแคลอรี่ต่อวัน โปรตีนที่ได้รับ 89.12 กรัมต่อวัน และปริมาตรน้ำที่ได้รับ 1,600 มิลลิลิตร) ผลการติดตามครั้งที่ 1 ผู้ป่วยได้รับพลังงาน มากกว่าร้อยละ 75 ต่อวัน และได้รับโปรตีนมากกว่า 80 กรัมต่อวัน และปริมาณสารน้ำเพียงพอ สามารถ บรรลุเป้าหมายเนื่องจากได้รับอาหารทางสายให้อาหาร (NG Tube) และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.9 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 สามารถรับอาหารทางสายให้อาหารได้หมด น้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.2 กิโลกรัม และการติดตามครั้งที่ 3 ผู้ป่วยสามารถรับอาหารทางสายให้อาหารได้หมด น้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.4 กิโลกรัม สรุปผลการวิจยัและการศึกษา ผู้ป่วยได้รับพลังงานมากกว่าร้อยละ 75 ต่อวัน และการได้รับโปรตีน มากกว่า 80 กรัมต่อวัน และปริมาณสารน้ำเพียงพอสามารถบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากผู้ป่วยสามารถรับ อาหารทางสายให้อาหารได้หมด ทำให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอตามแผนโภชนบำบัด ที่วางแผนไว้และผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมไปถึงผลเลือดของผู้ป่วยเริ่มมีแนวโน้มที่ดี ขึ้น การประเมินภาวะโภชนาการเพื่อติดตามได้ผล NT 2013 =13 Score จากเดิม 20 Score การ ประเมินแรงบีบมือก่อนให้โภชนบำบัดได้เท่ากับ 24.9 กิโลกรัม หลังจากให้โภชนบำบัดเพิ่มขึ้น 26.0 กิโลกรัม และติดตามเป้าหมายรองพบว่าผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารทางปากได้มากขึ้นหลังจาก หยุดให้อาหารทางสายยาง จึงวางแนวทางการติดตามผู้ป่วยจากศูนย์บริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน (home health care) กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 383 บทคัดย่อ P-64 การให้โภชนบา บดัเพื่อการดแูลผ้ปู่วยมวลกลา้มเนื้อน้อย และการส่งเสริมโภชนาการ เชิงรกุโรงพยาบาลสตึก ปิยะณัฐ ถิน่จนัดา ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ บทน า ผู้ป่วยนอนติดเตียงมีความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง เนื่องจากได้รับการดูแลรักษาไม่ครอบคลุมและการให้โภชนบำบัดไม่เหมาะสม นำไปสู่ภาวะภาวะ ทุพโภชนาการระดับรุนแรง โรงพยาบาลสตึกรับผู้ป่วยนอนติดเตียงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทุกกลุ่มโรค โดยเฉพาะกลุ่ม Intermediate care (IMC) ที่สามารถฟื้นฟูได้ ดังนั้นการใช้หลักการให้ โภชบำบัดร่วมกับทีมสหวิชาชีพที่ร่วมกันดูแลตั้งแต่แรกรับที่โรงพยาบาลไปจนถึงการติดตามเยี่ยมบ้าน ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ผลการรักษาบรรลุสู่เป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยนอนติดเตียงที่มีภาวะทุพโภชนาการ วิธีการวิจยั ผู้ป่วยแรกรับมีสายให้อาหารเข้าทางเดินอาหาร ได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการโดยใช้ SPENT Nutrition Screening = Score 3 และประเมินภาวะโภชนาการ โดยใช้ NAF Score 16, SARCF = 9 คะแนน, MSRA 5 = 5 คะแนน, Handgrip Strength (kg) วัดไม่ได้ผู้ป่วยมีน้ำหนักลดลง ได้รับ พลังงานไม่เพียงพอ มีนักกำหนดอาหารดูแลผู้ป่วยตามกระบวนการการให้โภชนบำบัด (nutrition care process) ติดตามผลจำนวน 5 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2 เดือน มีสหวิชาชีพร่วมกันดูแลผู้ป่วยทั้งขณะอยู่ โรงพยาบาลและติดตามเยี่ยมบ้าน ผลการวิจยั พลังงานจากอาหารที่ผู้ป่วยได้รับก่อนเข้ารับการรักษาและระหว่างการรักษา จนถึงการ เยี่ยมบ้านครั้งสุดท้าย พบว่าผู้ป่วยได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจาก 600 Kcal/day เป็น 1,800 Kcal/day ภายในระยะเวลา 3 เดือน ผู้ป่วยน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 kg. จาก 40 kg. เป็น 45 kg. ติดตามประเมินภาวะ โภชนาการ NAF = 10 (ครั้งที่ 6),SARC-F = 9 คะแนน (ค่าคะแนนเท่าเดิม) ,MSRA 5 = 17 คะแนน (ค่าคะแนนเพิ่มขึ้น) Handgrip Strength = 21.4 kg (สามารถวัดแรงบีบมือได้และมีค่าแรงบีบเพิ่มขึ้น) สรุปการให้โภชนบ าบัด การติดตามและประเมินผลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่องที่บ้าน โดยการทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพ ช่วยให้ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยดีขึ้น ส่งผล ต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


384 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-65 การดูแลโภชนบ าบัด ในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะทุพโภชนาการและ มีความเสี่ยงมวลกล้ามเนื้อน้อย ณ โรงพยาบาลกรงุเทพ สา นักงานใหญ่ วีรวรรณ เตชะเกรียงไกร, ญาณินีเจิดรงัษี, นุจรินทร์ทุ่งจกัร์ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลกรงุเทพ สา นักงานใหญ่ บทน า ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่มี ความเสี่ยงทุพโภชนาการสูงคือ ผู้ป่วยที่ได้อาหารทางสายให้อาหารและกำลังจะถอดสายให้อาหาร โดย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะได้รับการถอดสายให้อาหารออกก่อนที่จะได้รับอาหารทางปากที่เพียงพอ สิ่งเหล่านี้ ล้วนส่งผลเสียต่อ ประสิทธิผลการรักษา การฟื้นฟูร่างกาย ระยะเวลาการพักรักษาตัว อัตราการครอง เตียงในโรงพยาบาล และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการให้โภชนบำบัด (Nutrition care process) ในผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ วิธีการวิจยั กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทย อายุ 76 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเรื่องเดินไม่มั่นคง จากโรคหลอดเลือดสมอง โรคประจำตัว ความจำเสื่อม ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ประวัติ รับประทานอาหารได้น้อยประมาณ 5 วันก่อนมาโรงพยาบาล และขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จำเป็นต้องใส่สายยางให้อาหารระยะเวลาหนึ่ง จากการคัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย SARC-Fและ Modified Mini Sarcopenia Risk Assessment-5 พบความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ในช่วงของ การวางแผนจะถอดสายยางให้อาหารออก นักกำหนดอาหารและนักกิจกรรมบำบัดทำงานร่วมกันในการ ปรับลักษณะอาหาร (texture) ฝึกกลืน ปริมาณอาหารทางสายยาง และคำนวนพลังงาน เพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับอาหารทางปากที่เพียงพอต่อความต้องการร่างกายจนกระทั่งสามารถถอดสายยางให้อาหารก่อน กลับบ้าน การประเมินภาวะโภชนาการโดย Nutrition Alert Form แรกรับระดับ B (8 คะแนน) ลดลง เหลือ ระดับ A (4 คะแนน) ก่อนกลับบ้าน สรุป การวางแผนกระบวนการให้โภชนบำบัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักกำหนดอาหารในให้โภชนบำบัดที่ เหมาะสม รวมถึงการติดตามและประเมินผลก็มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางโภชนาการต่อไปใน ผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย และขอขอบคุณ คุณธนวัฒน์ ชาชิโยในความร่วมมือในการเก็บข้อมูลมา ณ ที่นี้


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 385 บทค าย่อ P-66 การดูแลทางด้านโภชนบ าบัดและโภชนาการเชิงรกุในผ้ปู่วยปลูกถ่ายไต ที่มีภาวะตบั แข็งและภาวะทุพโภชนาการ ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย โรงพยาบาล ศรีนครินทร ์ มหาวิทยาลยัขอนแก่น วรางคณา ทรพัยกิตกลุ , ผศ.นพ.สรวิเชษฐ์รตันชยัวงศ์ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลยัขอนแก่น บทน า ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) เป็นกลุ่มอาการที่มักพบในผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีภาวะทุพ โภชนาการ มีลักษณะเฉพาะคือ มวลกล้ามเนื้อลดลงทั่วร่างกาย ร่วมกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อถดถอย ลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความเสี่ยงส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากตัวโรคและการรักษาที่เพิ่มขึ้น เพิ่ม ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต ดังนั้น การส่งเสริมโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม จึง เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยให้แข็งแรง สามารถฟื้นตัวได้เร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินความเสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้ป่วย และดูแลรักษาด้วย กระบวนการให้โภชนบำบัดที่เหมาะสมตามกระบวนการ Nutrition Care Process จากทีมสหสาขาวิชาชีพ วิธีการศึกษา คัดเลือกกรณีศึกษา 1 ราย จากการคัดกรองภาวะโภชนาการ (SPENT) และประเมิน ภาวะโภชนาการโดยใช้เครื่องมือ Nutrition Alert Form (NAF) ประเมินความเสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อ น้อยและความแข็งแรงด้วยเครื่องมือ SARC-F, MSRA-5, Handgrip Strength และประเมินองค์ประกอบ ร่างกายด้วยเครื่อง Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) จากนั้นดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงมวล กล้ามเนื้อน้อยและภาวะทุพโภชนาการ ด้วยกระบวนการให้โภชนบำบัดที่เหมาะสมตามกระบวนการ Nutrition Care Process จากทีมสหสาขาวิชาชีพ ผลการศึกษา วางแผนให้โภชนบำบัด โดยกำหนดพลังงานและโปรตีน พร้อมทั้งเสริมอาหารทาง การแพทย์ดื่มเสริม (Oral Nutritional Supplement, ONS) ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในรูปแบบอาหาร แลกเปลี่ยนตามบริบทของพระสงฆ์ก่อนผ่าตัด จากนั้นติดตามหลังการผ่าตัด พบว่าผู้ป่วยได้รับพลังงาน 1,575 กิโลแคลอรี/วัน คิดเป็นร้อยละ 95.15 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน โปรตีนได้รับ 60 กรัม/วัน คิดเป็นร้อยละ 90.91 ของปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 2.3 กิโลกรัม ในช่วง 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด การประเมินภาวะโภชนาการ พบว่า NAF Score มีคะแนนลดลงจาก 16 คะแนน เป็น 14 คะแนน การประเมิน MSRA-5 มีคะแนนเท่าเดิม (7 คะแนน) SARC-F มีคะแนนเท่าเดิม (2 คะแนน) ค่า Handgrip Strength เพิ่มขึ้นจาก 17.1 กิโลกรัม เป็น 17.7 กิโลกรัม แต่ยังคงเสี่ยงต่อ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และพบว่าผลทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกของ Total Protein และ Albumin เพิ่มขึ้นจากแรกรับ ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นใกล้เคียงกับเป้าหมายหลักของการให้โภชนบำบัดที่วางไว้ ส่ วนเป้าหมายรองยังไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากผู้ป่วยยังคงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ มาตรฐาน ซึ่งจำเป็นต้องวางแผนให้โภชนบำบัดร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพต่อไป สรุปและวิจารณ์ผลการศึกษา ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการ อย่างทันท่วงที เพื่อรักษาภาวะโภชนาการจากทีมสหสาขาวิชาชีพ และควรได้รับพลังงานและโปรตีน


386 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจากกระบวนการให้โภชนบำบัด ผู้ป่วยและญาติได้รับความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ เพิ่มขึ้น อีกทั้งควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 387 บทคัดย่อ P-67 การให้โภชนบ าบัดและการพยาบาลผู้ป่ วยสูงอายุไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้รับการล้างไต ทาง ช่องท้องที่มีภาวะติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องและมีความเสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยร่วมกบั ภาวะทุพโภชนาการ ที่เข้ารบับริการในโรงพยาบาลวานรนิวาส ชิดชนก เฮียงราช, อมร ตามไท, อัญญาณี ฮองต้น, พิรฬุห์ขวญัพลโรม ทีมโภชนบ าบัด โรงพยาบาลวานรนิวาส จงัหวดัสกลนคร บทน า การล้างไตทางหน้าท้องเป็นการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การติด เชื้อทางสายสวนหน้าท้อง หรือติดเชื้อที่เยื่อบุช่องหน้าท้อง ซึ่งจะส่งผลต่อการกลับมารักษาซ้ำที่ โรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลงและอัตราตายของผู้ป่วยสูงขึ้น ดังนั้นการให้การพยาบาล และโภชนบำบัดตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดกับผู้ป่วยได้ จากสถิติผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญของการติดเชื้อ ได้แก่ การดูแลตนเองของผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่บ้านไม่ถูกต้อง และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเดิมเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่ม มากขึ้น รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ การได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง เพิ่มโอกาสการติดเชื้อสูงขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้โภชนบำบัดและการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุไตวายเรื้อรังระยะ สุดท้ายได้รับการล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องและมีความเสี่ยงภาวะมวล กล้ามเนื้อน้อยและภาวะทุพโภชนาการ วิธีการวิจยัและศึกษา คัดเลือกตัวอย่างกรณีศึกษาจากผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 65 ปี เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลวานรนิวาสด้วยการคัดกรองภาวะโภชนาการผู้ป่วยโดยใช้SPENT Nutrition Screening Tool ประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยโดยใช้Nutrition Alert Form(NAF) คัดกรองมวลกล้ามเนื้อน้อย โดยใช้ SARC-F, Handgrip, Modified Mini Risk Sarcopenia Assessment-5 วางแผนให้โภชนบำบัด ร่วมกับการรักษาของแพทย์โดยการกำหนดพลังงานและโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน ประเมินติดตามการ บริโภคอาหารของผู้ป่วยรวมถึงผลการรักษา สรุปและอภิปรายผลการให้โภชนบำบัดตามเป้าหมายที่ กำหนด ผลการวิจยัและศึกษา หลังจากผู้ป่วยได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพ ด้านกระบวนการรักษา การให้ โภชนบำบัด ผลการประเมินและการติดตามภาวะโภชนาการด้วย NAF พบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการ เกิดภาวะทุพโภชนาการลดลง การประเมินภาวะโภชนาการและมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น และจากการ ติดตามการบริโภคอาหาร ผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนที่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ผู้ป่วยมี ภาวะโภชนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากมีการประเมินซ้ำทุก 7 วัน สรุปและวิจารณ์ผลการศึกษาในครั้งนี้ พบว่าการให้โภชนบำบัด การติดตามและประเมินผลที่สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอ ช่วยให้ผู้ป่วยมีภาวะทุพโภชนาการดีขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


388 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-68 กรณีศึกษา การให้โภชบ าบัดในผู้ป่ วยโรคฝี ตับที่มีภาวะทุพโภชนาการ โรงพยาบาลสกลนคร สาวิตรีทุมประเสน, สุดคะนึง โรจนชีวาคม และคณะ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลสกลนคร จงัหวดัสกลนคร บทน า โรคฝีตับ (Liver abscess) คือ โรคที่เกิดจากตับติดเชื้อ และเกิดมีฝีหนองขึ้นในตับ โดยอาจ เกิดขึ้นเพียงที่ตับตำแหน่งเดียว หรืออาจเกิดร่วมกับอวัยวะอื่นๆด้วย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีตับ ได้แก่ มีการอักเสบรุนแรงของอวัยวะในช่องท้อง มีการอักเสบติดเชื้อรุนแรงในระบบทางเดินน้ำดี มีภาวะ ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคลดลง ทำให้มีอาการ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ผอมลง ตัว-ตาเหลือง (ดีซ่าน) ซึ่งส่งผลต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วย และเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้าน การติดเชื้อสูงขึ้น ทีมโภชนบำบัดโรงพยาบาลสกลนครจึงสนใจทำการศึกษาในผู้ป่วยรายนี้ เนื่องจาก ผู้ป่วยมีอาการแสดงทางด้านร่างกายที่ชัดเจนต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการรุนแรง และมี ความเสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย วัตถุประสงค์1.เพื่อประเมินผลของกระบวนการให้โภชนบำบัดต่อความเสี่ยงมวลกล้ามเนื้อน้อย 2.เพื่อพัฒนาทีมโภชนบำบัด การให้โภชนบำบัดตามกระบวนการในการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม วิธีการวิจยัและศึกษา คัดเลือกผู้ป่วยแบบเจาะจง โดยแพทย์ส่งขอคำปรึกษาจากนักโภชนาการด้วย ผู้ป่วยปัญหาทุพโภชนาการทำการประเมินภาวะโภชนาการด้วย Nutrition Alert Form (NAF) ได้ 12 คะแนน แปลผลได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะทุพโภชนาการรุนแรง จากนั้นนักโภชนาการทำการให้โภชนบำบัด ตามกระบวนการดูแลทางด้านโภชนาการ (Nutrition Care Process) โดยมีการวางแผน เสริมอาหารทาง การแพทย์ดื่มเสริม (Oral Nutrition Supplement, ONS) ในมื้ออาหารหลัก เพื่อให้ได้พลังงานและโปรตีน ที่เพียงพอต่อความต้องการ และพิจารณาปรับลดการเสริม ONS เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ เพียงพอเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเองที่บ้านและทีมโภชนบำบัดติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ผลการวิจยัและศึกษา เป้าหมายที่ 1. ผู้ป่วยได้รับอาหารตามเป้าหมายก่อนการเจ็บป่วยคืออาหาร ธรรมดาจากการเริ่มต้นการให้โภชนบำบัดคืออาหารอ่อน และอาหารเสริมทางการแพทย์ เป้าหมายที่ 2. ผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนตามความต้องการของร่างกาย พลังงาน 1,650 กิโลแคลอ รี่ต่อวัน โปรตีน 66 กรัมต่อวัน และเพิ่มขึ้น 82 กรัมต่อวัน เมื่อกลับไปรักษาตัวที่บ้าน เป้าหมายที่ 3. น้ำหนักที่เพิ่มตามแผนการให้โภชนบำบัด ก่อนให้โภชนบำบัดผู้ป่วยหนัก 43 กิโลกรัม BMI = 17.89 Kg/m2 หลังการให้โภชนบำบัดพบว่าผู้ป่วยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับน้ำหนักปกติ ก่อนป่วย คือ 46 กิโลกรัม BMI = 19.14 Kg/m2 เป้าหมายที่ 4. จากการติดตามการให้โภชนบัด พบว่าเมื่อผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนที่เพียงพอ ส่งผลต่อ ระดับค่า Abumin เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายการรักษาจาก 2.4 เป็น 2.6 แ ละ 2.8 g/dl จามลำดับ สรปุและวิจารณ์ผลการศึกษา ผู้ป่วยได้รับการให้โภชนบำบัดและได้รับการติดตามการให้โภชนบำบัด อย่างต่อเนื่องถึงที่บ้านส่งผลให้ผู้ป่วยไม่มีปัญหาทุพโภชนาการเมื่อครบกระบวนการให้โภชนบำบัด


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 389 อย่างไรก็ตามการวางแผนการให้โภชนบำบัดควรสามารถขยายผลการดูแลไปถึงผู้ป่วยทุกรายที่มีความ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเป็นเป้าหมายต่อไปของทีมโภชบำบัดโรงพยาบาลสกลนคร กิตติกรรมประกาศ โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


390 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-69 การให้โภชนบ าบัดเพื่อการดูแลผู้ป่ วยที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และการส่งเสริม โภชนาการเชิงรกุในผ้ปู่วยผ้ใูหญ่ประจา ปี2566-2567 ณ โรงพยาบาลรือเสาะ ฮาซาน๊ะ เจ๊ะซอ และคณะ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส บทน า ภาวะทุพโภชนาการในอำเภอรือเสาะจากการเก็บข้อมูลในปี 2566 พบอุบัติการณ์ผู้ป่วย ทุพโภชนาการระดับรุนแรงร้อยละ 36.75 ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีปัญหาทุพโภชนาการก่อนเข้ารับการรักษา จากการเจ็บป่วยและสภาวะของโรค ทำให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานสารอาหารลดลง ในขณะที่ร่างกายมีความ ต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น การดูแลภาวะโภชนาการของผู้ป่วยอย่างเป็นระบบร่วมกับทีมสหวิชาชีพมี ความจำเป็นเพื่อช่วยฟื้นฟูภาวะโภชนาการของผู้ป่วยและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีโภชนาการที่ดีขึ้นและช่วย สนับสนุนการรักษาทางการแพทย์ วัตถุประสงค์1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาด้วยกระบวนการให้โภชนบำบัดที่เหมาะสม 2. เพื่อพัฒนาทีมโภชนบำบัดต้นแบบ สำหรับการประเมินความเสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย วิธีดา เนินการวิจยั ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน นักโภชนาการทำการคัดกรอง ประเมิน ภาวะโภชนาการ วินิจฉัยปัญหาทางโภชนาการ พบว่าผู้ป่วยได้รับพลังงานสารอาหารไม่เพียงพอและมี ภาวะทุพโภชนาการระดับรุนแรง ทำการประเมินความเสี่ยง Refeeding syndrome มีความเสี่ยงระดับ ปานกลาง จึงทำการให้อาหารทางการแพทย์ดื่มเสริม (Oral nutritional supplement, ONS) ความเข้มข้น (1:1) 250 ml x 3 มื้อ เพิ่มไข่ขาว 2 ฟอง/มื้อ เพื่อเพิ่มพลังงานโปรตีน โดยตั้งเป้าหมาย ร่วมกับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนกลับบ้านแนะนำเสริม ONS ต่อเนื่อง นักกายภาพบำบัดทำการ ประเมินกำลังกล้ามเนื้อและได้สอนการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และมีการ ติดตามผลทั้งภาวะโภชนาการ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ผลการวิจยั ติดตามครั้งที่ 1 ที่แผนกผู้ป่วยนอกเพื่อสอบถามปัญหาอุปสรรคด้านการบริโภคอาหารและ ออกกำลังกาย พบว่า ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้จึงให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและติดตามผล ต่อเนื่อง ติดตามครั้งที่ 2 ติดตามน้ำหนักตัวและประเมินภาวะโภชนาการซ้ำ พบว่า ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัว เพิ่มขึ้น 0.7 กก.(จาก 37 เป็น 37.7 กก.) จากการประเมินภาวะโภชนาการด้วย Nutrition Alert Form (NAF) มีคะแนนลดลง(จาก 11 เป็น 9 คะแนน) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ทุพโภชนาการระดับปานกลาง การ ประเมิน MSRA-5 มีคะแนนเท่าเดิมซึ่งอยู่ในเกณฑ์มีความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย การประเมิน SARC-F มีคะแนนลดลง(จาก 4 เป็น 0 คะแนน)ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติและการวัดความแข็งแรงของแรง บีบมือ Handgrip Strength มีค่าแรงบีบมือเพิ่มขึ้นจากเดิม 15.0 kg เพิ่มเป็น 18.4 kg (แรงบีบมือปกติ) จากการประเมินภาวะโภชนาการซ้ำ พบว่า ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมีแนวโน้มดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถรับประทาน ONS เสริมหลังมื้ออาหาร ดังนั้นต้องมีการติดตามภาวะโภชนาการให้กำลังใจ และติดตามปัญหาอุปสรรคของผู้ป่วยต่อไป


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 391 สรุป กระบวนการดูแลภาวะโภชนาการของผู้ป่วยร่วมกับทีมสหวิชาชีพและการให้โภชนศึกษาอย่างเป็น ระบบมีการคัดกรอง ประเมินภาวะโภชนาการ วินิจฉัยปัญหา ตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยมี ภาวะโภชนาการได้ดีขึ้นซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


392 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-70 การดูแลผู้ป่ วยในโครงการ Muscle and Malnutrition Care Initiative ประจ าปี 2566 ณัฐชนา ปฐมเนติกลุ 1 , วีรวฒัน์วรรณศกัดิศ์รี 1 , วราลี ฉัตรชมชื่น2 และทีมนักก าหนดอาหาร1 1ศูนย์โภชนาการและการก าหนดอาหาร ร.พ.วิมุต-เทพธารินทร์กรุงเทพมหานคร, 2ศูนย์ เบาหวานและไทรอยด์ร.พ.วิมุต-เทพธารินทร์กรงุเทพมหานคร ประเทศไทย บทน า: ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย เนื่องจากมีประชากรผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 20 ของ ประเทศ โดยผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับ ฮอร์โมน ระบบประสาทที่นำพากระแสประสาทได้ลดลง ปัญหาการเคี้ยวกลืน โรคประจำตัว การ รับประทานอาหารที่มีโภชนาการไม่เหมาะสม การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมที่ลดลง รวมถึงการสลายของ มวลกล้ามเนื้อจะสูงขึ้น โดยปกติผู้ที่มีอายุ40 ปีขึ้นไปจะมีมวลกล้ามเนื้อลดลงที่ 8 % ในทุก 10 ปีและ มวลกล้ามเนื้อจะมีอัตราการลดลงที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่ออายุ70 ปีอัตราการลดลงจะเพิ่มเป็น 15% ทุก 10 ปีส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) ซึ่งในผู้สูงอายุกลุ่มนี้จะได้รับ ผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันและสุขภาพด้านต่าง ๆ เช่น แขนขาอ่อนแรง มีความเสี่ยงในการพลัด ตกหกล้ม เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพลภาพและเสียชีวิตได้ดังนั้นการดูแลผู้ที่มีภาวะมวล กล้ามเนื้อน้อย ควรได้รับการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะการดูแลด้านโภชนาการที่ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายตัวของมวลกล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดทุพล ภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อประยุกต์ใช้การให้โภชนบำบัดในผู้ที่มีความเสี่ยงมวลกล้ามเนื้อน้อยอย่างเหมาะสม วิธีการดา เนินการ: ผู้ป่วยได้รับการประเมินความเสี่ยงมวลกล้ามเนื้อน้อยด้วยเครื่องมือประกอบด้วย เครื่องวัดแรงบีบมือ แบบประเมินภาวะโภชนาการ (Nutrition Alert Form) 9 คะแนน (Moderate Malnutrition) แบบคัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Modified MSRA-5) 30 คะแนน (มีความเสี่ยงต่อ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย) และแบบสอบถามเพื่อคัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยชนิด SARC-F 2 คะแนน (มวลกล้ามเนื้อปกติ) พร้อมทั้งได้รับการดูแลผ่านการใช้ Nutrition care process ที่สอดคล้องกับ แผนการรักษาของสหสาขาวิชาชีพ โดยให้โภชนบำบัด ประกอบด้วย 1) การปรับสัดส่วนอาหารให้ เหมาะสมต่อโรค (พลังงาน 35 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัวอุดมคติ คิดเป็น 2,000 กิโลแคลอรี่/วัน และโปรตีน 1.4 กรัม/น้ำหนักตัวอุดมคติ คิดเป็น 80 กรัม/วัน) 2) เสริม Oral nutrition supplement และ 3) สร้าง ความเข้าใจในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรค ผลการดา เนินการ: หลังจากการให้โภชนบำบัดพบว่าผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ ต่อความต้องการ มีแรงบีบมือเพิ่มมากขึ้นที่ 33.2 กก. (เดิม 30.7 กก.) และมีดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้นเป็น 18.69 กก./ม. 2 (จากเดิม 17.79กก./ม. 2 ) อีกทั้งผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อการควบคุมอาหาร ให้เหมาะสมต่อ โรค ส่งผลให้มีภาวะสุขภาพและโภชนการดีขึ้น


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 393 สรุป: จากการดำเนินการพบว่านักกำหนดอาหารมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อการส่งเสริมการรักษา การป้องการการกลับมาเป็นซ้ำ รวมทั้งลดความเสี่ยง มวลกล้ามเนื้อ น้อยอีกด้วย กิตติกรรมประกาศ: โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


394 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคัดย่อ P-71 การให้โภชนบา บดัในผ้ปู่วยมะเรง ็ ลา ไส้ใหญ่หลงัผ่าตัดลา ไส้ใหญ่ออกทัง้หมด ที่มี ภาวะทุพโภชนการ และมีความเสี่ยงมวลกล้ามเนื้อน้อย ณ คลินิกโภชนาการ สถาบัน มะเรง ็ แห่งชาติ สุภาภรณ์ เพ็งจันทร์ดี และคณะทีมโภชนบา บดัคลินิกโภชนาการ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ สถาบนัมะเรง ็ แห่งชาติ กรมการแพทย์ กรุงเทพมหานคร บทน า การดูแลผู้ป่วยมะเร็งหลังผ่าตัด มีความจำเป็นที่ต้องได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลด้าน โภชนาการที่เหมาะสม สามารถปรับพฤติกรรมการกินหลังจากผ่าตัด เพื่อป้องกันผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง มีแนวทางการดูแลผู้ป่วย แบบองค์รวม ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ตั้งแต่แรกรับและติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกลยุทย์ที่ทำให้ ผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออก ทั้งหมด (Total Colectomy) วิธีการวิจยั ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการ พบว่ามีความเสี่ยง จึงทำการประเมินภาวะ โภชนาการโดยใช้แบบประเมิน Nutrition Triage (NT) 2013 พบว่าผู้ป่วยมีภาวะทุพโภชนาการระดับ รุนแรง NT-4 (17 score), ECOG 2 /Karnofsky 60, น้ำหนัก 71 กิโลกรัม, บวมและท้องมานระดับ 3 (บวมทั้งตัว), ท้องเสียหลังผ่าตัด 10 ครั้ง/วัน แผลผ่าตัดปิดไม่สนิท แรงบีบมือ 18.6 กิโลกรัม และกิน อาหารได้ร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปกติ โดยนักกำหนดอาหารดูแลผู้ป่วยตามกระบวนการให้โภชนบำบัด วางแผนการให้โภชนบำบัดตามสภาวะของผู้ป่วย ที่มีภาวะท้องมาน แน่นท้องทำให้กินได้น้อย และหลัง ผ่าตัด ดังนั้นเป้าหมายในช่วงแรกจึงให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักปัจจุบัน โปรตีน 1.5 กรัม/ น้ำหนักปัจจุบัน และให้เสริมอาหารทางแพทย์ในช่วงแรกที่ครึ่งหนึ่งของความต้องการพลังงานทั้งหมด ที่ ความเข้มข้น (1.5:1) กินในปริมาณน้อยแต่ได้พลังงานสูง และปรับวิธีการกินให้ค่อย จิบ 1-2 ชม./มื้อ เพื่อลดท้องเสีย รวมถึงจิบน้ำตลอดวัน โดยนักกำหนดอาหารติดตามผู้ป่วยขณะนอนโรงพยาบาลทั้งหมด 16 ครั้ง และนัดติดตามที่คลินิกโภชนาการหลังกลับบ้านทุก 2-3 สัปดาห์ ผลการวิจยั ผู้ป่วยได้รับพลังงาน 1800 กิโลแคลอรี/วัน และ โปรตีน 70 กรัม/วัน และได้รับคำแนะนำใน การเลือกอาหารให้เหมาะสมกับพยาธิสภาพหลังผ่าตัด ทำให้แผลผ่าตัดปิดสนิท บวมลดลงจากระดับ 3 เป็น 0 ไม่มีภาวะบวม, ECOG 2 เป็น 0 ไม่มีอาการท้องเสีย แรงบีบมือจาก 18.6 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นเป็น 22.8 กิโลกรัม, ผู้ป่วยกินอาหารและช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้นเทียบกับแรกรับ ภาวะโภชนาการดีขึ้น NT-4 (12 score) ภายในระยะเวลา 3 เดือน สรุป นักกำหนดอาหารร่วมกับทีมสหวิชาชีพ และการติดตามอย่างต่อเนื่อง มีบทบาทสำคัญในกระบวน การให้โภชนบำบัด ส่งผลให้ผู้ป่วยให้มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 395 ชื่อโครงการ ทุนส่งเสริมการดแูลด้านโภชนบา บดัในผทู้ี่ได้รบัการบา บดัทดแทนไตด้วยเครื่อง (Enhancing Nutritional Support in Hemodialysis Patients Award) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้มีการประเมินภาวะโภชนาการที่เหมาะสม และพัฒนาทีมโภชนบำบัดในการ ประเมินภาวะโภชนาการสำหรับผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม 2. เพื่อส่งเสริมให้มีการให้โภชนบำบัดและคำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลผู้ที่ได้รับการบำบัด ทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม ผู้สนับสนุนโครงการ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยและบริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด คณุสมบตัิผเู้ข้าร่วมโครงการ 1. โรงพยาบาลที่มีทีมโภชนบำบัด ที่ประกอบด้วยอย่างน้อย นักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการ/ โภชนากร แพทย์เฉพาะทางโรคไตและพยาบาลหน่วยไตเทียมในโรงพยาบาล 2. นักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร เป็นสมาชิกสามัญตลอดชีพของ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ผปู้่วยกล่มุเป้าหมาย ผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมที่มารับบริการในหน่วยล้างไตของโรงพยาบาล และมีภาวะทุพโภชนาการ ขนั้ตอนการดา เนินงานและการรบัทุน 1. สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยประกาศรับสมัครไปยังโรงพยาบาลต่างๆ 2. อนุกรรมการสมาคมฯคัดเลือกโรงพยาบาลที่มีคุณสมบัติครบตามที่กำหนดจำนวน ทั้งสิ้น 20 โรงพยาบาล 3. สมาคมฯประกาศโรงพยาบาลที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 4. โรงพยาบาลที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 4.1 ทำการประเมินคัดกรองภาวะโภชนาการของผู้ที่มารับบริการที่หน่วยล้างไต โรงพยาบาลโดยใช้แบบประเมินภาวะโภชนาการ MIS (Malnutrition-Inflammation Score) 4.2 คัดเลือกผู้ป่วยที่มี MIS Score ระดับ C (ทุพโภชนาการรุนแรง) จำนวน 5 ราย เพื่อให้อาหารทางการแพทย์ชนิดพร้อมดื่ม (Renal Specific ONS) ที่เหมาะสำหรับ ผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตและได้รับการรับรองจากสำนักงานอาหารและยา ชื่อโครงการ ทุนส่งเสริมการดแูลด้านโภชนบา บดัในผทู้ี่ได้รบัการบา บดัทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม


396 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association กระทรวงสาธารณสุขตามความสมัครใจของผู้ป่วย วันละ 3 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 3 เดือน ร่วมกับคำแนะนำในการดูแลด้านโภชนบำบัดอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มโครงการฯตั้งแต่เดือนมิถุนายนและให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2566 1. ส่งผลการประเมินการคัดกรองภาวะโภชนาการและผลของการให้อาหารทางการแพทย์ชนิด พร้อมดื่มของผู้ป่วย 5 รายโดยไม่มีการระบุชื่อและ H.N. ของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการละเมิด ข้อมูลส่วนบุคคลในวันที่ 15 ของแต่ละเดือนมายังสมาคมฯ ผู้ที่ส่งรายงานครบ 3 เดือน จะ ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 9,000 บาท เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทีมโภชนบำบัดในการดูแล ผู้ป่วยกระบวนการดูแลด้านโภชนาการ (Nutrition Care Process) รูปแบบการเขียน รายงาน case : SOAP,PES, ADIME. 2. คัดเลือกกรณีศึกษา (Case) จำนวน 1 ราย เพื่อเข้าประกวดทุนการให้โภชนบำบัดและ คำแนะนำที่เป็นแบบอย่างที่ดีและแสดงถึงศักยภาพของทีมโภชนบำบัดในการดูแลด้าน โภชนบำบัดในผู้ป่วย 3. ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับทุนส่งเสริมการดูแลด้านโภชนบำบัดในผู้ที่ได้รับการบำบัด ทดแทนไต ดังต่อไปนี้ • รางวัลที่ 1 จำนวน 12,000 บาท • รางวัลที่ 2 จำนวน 10,000 บาท • รางวัลที่ 3 จำนวน 8,000 บาท เกณฑใ์นการพิจารณาการรบัทุน ➢ มีการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการผู้ที่มารับบริการที่หน่วยล้างไตของโรงพยาบาล โดยใช้แบบประเมินภาวะโภชนาการ MIS (Malnutrition-Inflammation Score) ครบตาม กำหนด ➢ กรณีศึกษา มีกระบวนการให้โภชนบำบัดที่ครบถ้วนโดยเริ่มจากการคัดกรอง ประเมินภาวะ โภชนาการ การวางแผนการให้โภชนบำบัดในผู้ที่มีMIS Score ระดับ C จำนวน 5 ราย โดยมีการให้อาหารทางการแพทย์ชนิดพร้อมดื่ม (Renal Specific ONS) 1 หน่วยบริโภคต่อ สัปดาห์เป็นระยะเวลา 3 เดือนอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับคำแนะนำในการดูแลด้านโภชนบำบัด รวมทั้งการติดตามประเมินผลและการบันทึกการดูแลผู้ป่วยด้านโภชนบำบัด ➢ มีการวิเคราะห์ ถึงผลลัพธ์ของการดูแลโภชนบำบัดของผู้ป่วยรายนั้นตามที่เกณฑ์มาตรฐาน และตามที่คณะอนุกรรมการสมาคมฯ กำหนดหรือเห็นสมควร ผู้ประสานงาน นางสาวจันทร์สุดา จันทร์แย้ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย: 080 338 7443 Email: [email protected]


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 397 ทุน ส่งเสริมการดแูลด้านโภชนบา บดัในผทู้ี่ได้รบัการบา บดัทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม รายชื่อผทู้ี่ได้รบัทุนสนับสนุนกรณีศึกษาโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ประจ าปี 2566 รางวัลที่ 1 ทุนสนับสนุน จ านวน 12,000 บาท โดย คุณปัณณธร ล่ำลือธรรม ตำแหน่ง นักกำหนดอาหารวิชาชีพ คุณสุทัตตา สุรัสสนันทน์ ตำแหน่ง นักกำหนดอาหารวิชาชีพ พญ. บงกช สุรัติชัยกุล ตำแหน่ง อายุรแพทย์โรคไต พว. กัญญภา ศรีลา ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ พว. ดารุณี บุดดีวงค์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ พว. แสงนภา เสี้ยวทอง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ทีมสหสาขาวิชาชีพ สถาบันไตภูมิราชนครินทร์กรุงเทพมหานคร รางวัลที่ 2 ทุนสนับสนุน จ านวน 10,000 บาท โดย คุณขวัญชัย ดำปิน ตำแหน่ง นักโภชนาการปฏิบัติการ คุณวรรณดี นวลสุวรรณ ตำแหน่ง นักโภชนาการปฎิบัติการ คุณนิธินาถ ทองรักษ์ ตำแหน่ง โภชนากรชำนาญงาน นพ. วิวัฒน์ จรุงเกียรติกุล ตำแหน่ง อายุรแพทย์โรคไต พว. พัชนี สมศักดิ์ ตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยไตเทียม ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง รางวัลที่ 3 ทุนสนับสนุน จ านวน 8,000 บาท โดย คุณกมลชนก เมตตา ตำแหน่ง นักกำหนดอาหารวิชาชีพ รศ.(พิเศษ) พญ. ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม ตำแหน่ง อายุรแพทย์โรคไต พว. นันทา มหัธนันท์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ พว. พัชรินทร อินทรจันทร ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร


398 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 5,000 บาท โดย คุณอำพน สังเกตชน ตำแหน่ง นักวิชาการโภชนาการ อ.นพ. เอกลักษณ์ ลักขณาลิขิตกุลตำแหน่ง อายุรแพทย์โรคไต พว. เรณู ตะไชยา ตำแหน่ง พยาบาลผู้เชี่ยวชาญไตเทียม ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 5,000 บาท โดย คุณปิยานุช ไมตรีจร ตำแหน่ง นักกำหนดอาหาร อ.นพ. อดิศร ปทุมารักษ์ ตำแหน่ง อายุรแพทย์โรคไต พว. ปณิตตา เมี้ยนศิริ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ พว. วสันต์ ตระกูลสุนทรชัย ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 5,000 บาท โดย ว่าที่ พ.ต.ท.หญิง ยุวา ทุ่งอ่วน ตำแหน่ง โภชนากร (สบ2) พ.ต.อ. อรรถพล วนาเดช ตำแหน่ง นายแพทย์(สบ5) อายุรกรรม ร.ต.อ. หญิงวรัมพร เซี่ยงฉิน ตำแหน่ง พยาบาล (สบ1) ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 5,000 บาท โดย คุณกมลวรรณ จันทร์เฉลิม ตำแหน่ง โภชนากร/นักกำหนดอาหารวิชาชีพ พญ. พิมพ์อนงค์ ภู่เหลือ ตำแหน่ง อายุรแพทย์โรคไต พว. ประภาศรี ทะนงค์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์จังหวัดนครสวรรค์ รางวัลชมเชย ทุนสนับสนุน จ านวน 5,000 บาท โดย คุณจิราภรณ์ เตชะยศ ตำแหน่ง นักโภชนาการ พญ. วราภรณ์ เนติกานต์ ตำแหน่ง แพทย์ พว. ศุภลักษณ์ สุทธหลวง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 399 บทคดัย่อ P72 การดูแลด้านโภชนบ าบัดในผู้ที่ได้รับการบ าบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม ปัณณธร ล ่ำลือธรรม, สุทัตตำ สุรัสสนันทน์, บงกช สรุตัิชยักลุ , กัญญภำ ศรีลำ, ดำรุณีบุดดีวงศ์, แสงนภำ เสี้ยวทอง ทีมสหสำขำวิชำชีพ โรงพยำบำลสถำบนัโรคไตภมูิรำชนครินทร์กรงุเทพมหำนคร บทน า ภาวะทุพโภชนาการในผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอ ความอยากอาหารที่ลดลง การสูญเสียสารอาหารไปกับการ ฟอกเลือด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น การเจ็บป่วย ระยะเวลาการเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาล รวมทั้งอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการดูแลด้านโภชนบำบัดในผู้ป่วยทุพโภชนาการที่ได้รับการรักษา ทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม ข้อมูลผู้ป่วย ผู้ป่วยชายไทย อายุ 53 ปีมีโรคประจำตัวเป็น โรคความดันโลหิตสูง, โรคไตเรื้อรังระยะ สุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วง 2 เดือนก่อนได้รับการ รักษาในโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังจากการป่วยมีการรับประทานอาหารได้ลดลง และมีน้ำหนัก ลดจาก 50.7 เป็น 48.1 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 4.14 ในระยะเวลา 6 เดือน วิธีการดา เนินการศึกษา การคัดกรองทางโภชนาการ โดยแบบประเมิน Malnutrition–Inflammation Score (MIS) ได้ 17 คะแนน แปลผลได้ว่า มีภาวะทุพโภชนาการระดับรุนแรง การประเมินภาวะ โภชนาการ โดยใช้หลัก A – B – C – D การวินิจฉัยทางด้านโภชนาการ ผู้ป่วยรับประทานพลังงานและ โปรตีนไม่เพียงพอ เนื่องจากเบื่ออาหารและมีภาวะการอักเสบหลังจากหายจากภาวะติดเชื้อ สังเกตได้ จากผลการคำนวณพลังงานและโปรตีนจากการซักประวัติการบริโภคอาหารของผู้ป่วย รวมทั้งผลทาง ห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษา การให้โภชนบำบัดคำนวณพลังงานและโปรตีนโดยอ้างอิงจากคําแนะนําแนวทางเวช ปฏิบัติโภชนบําบัดสําหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561 ผลคือพลังงานที่ควรได้รับ 2,170 กิโลแคลอรีต่อวันและโปรตีนควรได้รับ 68.2-86.8 กรัมต่อวัน โดยให้คำแนะนำในการเพิ่มการรับประทาน ตามที่คำนวณและให้เครื่องดื่มอาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยล้างไต ชนิดน้ำครั้งละ 1 กระป๋อง จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากได้รับต่อเนื่องครบ 12 สัปดาห์ ผลด้านน้ำหนักของผู้ป่วยและผลด้าน ห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น สามารถรับประทานอาหารได้เพิ่มมากขึ้น ผลของแบบประเมิน MIS ลดลงได้ 3 คะแนน แปลผลได้ว่า มีทุพโภชนาการระดับปานกลาง สรุป หลังการได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเสร็จสิ้น ควรมีการประเมินภาวะโภชนาการทุกครั้ง ถ้าหาก ผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอการได้รับอาหารทางการแพทย์ในปริมาณและระยะเวลาที่ เหมาะสมสามารถช่วยเรื่องภาวะโภชนาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


400 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคดัย่อ P-73 ผลการดูแลด้านโภชนบ าบัดในผู้ป่ วยที่ได้รับการบ าบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม ขวญัชยัดำ ปิน, วรรณดี นวลสุวรรณ, นิธินำถ ทองรกัษ์, นพ.วิวฒัน์จรงุเกียรติกลุ , พว.พชันีสมศกัดิ์ ทีมสหสำขำวิชำชีพ โรงพยำบำลตรงัจงัหวดัตรงั บทน า ภาวะทุพโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะ สุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโรคร่วมและอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น โรงพยาบาลตรังเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 555 เตียง ให้บริการในระดับตติยภูมิและตติยภูมิขั้นสูง โดย มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยทุกกลุ่มโรคด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยโรคไตเป็นอีกหนึ่งกลุ่มโรคสำคัญที่มีความ จำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพโดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อยกระดับ สุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดูแลด้านโภชนบำบัดในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไต เทียม โรงพยาบาลตรัง วิธีการวิจยั 1. คัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไต เทียม โรงพยาบาลตรัง โดยใช้ แบบคัดกรองและแบบประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคไต (M.I.S) 2. คัดเลือกผู้ป่วยที่มีM.I.S. grading C จำนวน 5 ราย 3. ประเมินการรับประทานอาหาร โดยใช้แบบ ประเมินการรับประทานอาหารอย่างง่ายสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง EDA 4.ให้ intervention โดยกำหนด พลังงานและโปรตีนที่เหมาะสมรายบุคคล รวมถึงให้อาหารทางการแพทย์ชนิดพร้อมดื่ม (Renal Specific ONS) ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต 3 serving/week หลังจากฟอกเลือด ระยะเวลา 3 เดือน 5. F/U เพื่อประเมิน M.I.S.และ EDA และให้ intervention (2 เดือน) 6. F/U เพื่อประเมิน M.I.S.และ EDA และให้ intervention (3 เดือน) 7. สรุปและอภิปรายผลการทดลอง ผลการวิจยั ผลการประเมินภาวะโภชนาการในผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม (HD)ในโรงพยาบาลตรังทั้งหมดจำนวน 52 ราย ด้วยแบบประเมิน M.I.S. (Malnutrition inflammation score) พบว่า M.I.S. grading A 3.92 %, M.I.S. grading B 33.33 % และ M.I.S. grading C 62.75 % ตามลำดับหลังได้รับการ intervention ผลประเมินการรับประทานอาหารอย่างง่าย (EDA) สำหรับผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง พบว่า ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 33.24, ผลการประเมินการ คัดกรองและแบบประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคไต (M.I.S) พบว่า คะแนนลดลงเฉลี่ยร้อยละ 47.37, ระดับ serum albumin เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 และ ระดับ serum TIBC เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 14.02 จำนวน 4 ราย และมีค่าลดลงร้อยละ 10.60 จำนวน 1 ราย สรปุผลการวิจยั โปรแกรมการดูแลด้านโภชนบำบัดในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไต เทียมสามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะทุพโภชนาการได้การคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการ ผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้การจัดการปัญหาด้านโภชนการเป็นไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเลือกใช้


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 401 ONS ที่เหมาะสมก็จะสามารถทำให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนตามความต้องการของสภาวะโรคซึ่ง จะเป็นการยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


402 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคดัย่อ P-74 ผลของการศึกษาการให้โภชนบา บดัแก่ผปู้่วยโรคไตวายเรือ้รงัที่ได้รบัการบา บดัทดแทนไตด้วย เครื่องฟอกไตเทียมที่มีภาวะทุพโภชนาการ กมลชนก เมตตำ, พชัรินทร์อินทรจนัทร, ์นันทำ มหัธนันท์, ขจร ตีรณธนำกุล, ยิง่ยศ อวิหิงสำนนท, ์ ปิยวรรณ กิตติสกลุนำม ทีมสหสำขำวิชำชีพ โรงพยำบำลจฬุำลงกรณ์สภำกำชำดไทย กรงุเทพมหำนคร บทน า การให้โภชนบำบัด คือกระบวนการดูแลผู้ป่วยด้านโภชนาการอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการ ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่พบภาวะ ทุพโภชนาการได้บ่อย และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีความเสี่ยงภาวะทุพ โภชนาการ วิธีการวิจยั คัดเลือกกรณีศึกษา ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 67 ปี เป็นโรคไตวายเรื้อรังและได้รับการบำบัด ทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม 2 ครั้ง/สัปดาห์ ได้รับการคัดกรองด้วย SPENT Nutrition Screening Tools ได้ 2 คะแนน จากพยาบาลนั้นจึงส่งต่อนักกำหนดอาหารทำการประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้ Malnutrition Inflammation Score (MIS) ได้ 14 คะแนน แปลผลเป็นระดับ C (Severe malnutrition) ร่วมกับทำ 3-day record พลังงานที่ได้รับ 965 kcal/d และโปรตีน 40 g/d จึงวางแผนการรักษาโดยให้ โภชนบำบัดที่เหมาะสมและเพียงพอต่อวันสำหรับผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือด ร่วมกับให้อาหารเสริมทาง การแพทย์ 3 ครั้ง/สัปดาห์ แล้วติดตามผลเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผลการวิจยั หลังจากติดตามผลการศึกษา 3 เดือน พบว่าภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมีคะแนน MIS ที่ ลดลงจาก 14 เป็น 1 คะแนน มีระดับอัลบูมินเพิ่มขึ้น จาก 2.9 เป็น 4.2 mg/dl มีแนวโน้มดัชนีมวลกาย เพิ่มขึ้น และระดับเกลือแร่ในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ สรุป การให้โภชนบำบัดที่เหมาะสมและเพียงพอต่อวันสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วย เครื่องฟอกไตเทียม ร่วมกับให้อาหารเสริมทางการแพทย์ร่วมด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดี ขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 403 บทคดัย่อ P-75 ผลการติดตามและดูแลด้านโภชนบ าบัดในผู้ที่ได้รับการบ าบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม อำ พน สงัเกตชน และ ทีมสหสำขำวิชำชีพ โรงพยำบำลศรีนครินทร์คณะแพทยศำสตร์มหำวิทยำลยัขอนแก่น บทน ำ ผู้ป่วยที่ได้รับการบ าบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ โดยพบว่ามีการสูญเสียโปรตีนและกรดอะมิโนที่จ าเป็นในระหว่างการฟอกเลือดปัจจุบันมีผู้ป่วยที่มารับ บริการที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ านวน 165 ราย พบว่าผู้ป่วยมีภาวะทุพโภชนาการ จ านวน 54 ราย (ร้อยละ 32.72) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการให้โภชนบ าบัดที่เหมาะสม ร่วมกับ ทีมสห สาขาวิชาชีพจึงจะช่วยให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้น วัตถุประสงค์ส่งเสริมให้มีการประเมินภาวะโภชนาการการให้โภชนบ าบัดที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วย ตลอดจนพัฒนาทีมโภชนบ าบัดในการดูแลผู้ป่วย วิธีกำรดำ เนินวิจยั คัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมินภาวะโภชนาการ MIS (Malnutrition-Inflammation Score) ผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการอยู่ในระดับ C มีการให้โภชนบ าบัด โดยให้อาหารทางการแพทย์ชนิดพร้อมดื่ม (Renal Specific ONS) 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องเป็น ระยะเวลา 3เดือน ร่วมกับการใช้แบบประเมินการบริโภคอาหารอย่างง่ายส าหรับผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง เป็น เครื่องมือในการประเมินและติดตามผลการให้โภชนบ าบัดในผู้ป่วย ผลกำรวิจยั ผลการติดตามและประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยซึ่งก าหนดพลังงานและโปรตีนที่ควร ได้รับต่อวันคือ 2,070 กิโลแคลอรี โปรตีน 83 กรัม พบว่าก่อนให้โภชนบ าบัดผู้ป่วยมีภาวะ ทุพโภชนาการ (MIS ≥ 7, C) จากนั้นใช้แบบประเมินการบริโภคอาหาร (EDA) พบว่าผู้ป่วยได้รับ พลังงานร้อยละ 54.72 โปรตีนร้อยละ74.03 และมีระดับแอลบูมินต ่า หลังจากการให้โภชนบ าบัดพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการดีขึ้นที่ระดับปานกลาง (MIS ≤5 B) จากการใช้แบบประเมินการบริโภคอาหาร (EDA) พบว่าผู้ป่วยได้รับพลังงานร้อยละ 77.12 โปรตีนร้อยละ 93.20 อีกทั้งมีระดับแอลบูมินเพิ่มขึ้น ส่วนระดับโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสอยู่ในเกณฑ์ปกติ สรุป การได้รับอาหารทางการแพทย์ชนิดพร้อมดื่ม (Renal Specific ONS) ร่วมกับการวางแผนการให้ โภชนบ าบัด ช่วยเพิ่มทางเลือกในการบริโภคอาหารและส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการดีขึ้น อย่างไรก็ ตามควรประเมินและติดตามผลการให้โภชนบ าบัดอย่างต่อเนื่องต่อไป กิตติกรรมประกำศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย


404 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคดัย่อ P-76 ผลการให้อาหารทางการแพทยช์นิดพร้อมดื่มในผ้ทูี่ได้รบัการบา บดัทดแทนไตด้วยเครื่องไต เทียมที่มีMIS ระดับ C (ทุพโภชนาการรุนแรง) ปิยำนุช ไมตรีจร พว.ปณิตตำ เม้ียนศิริพว.วสนัต์ตระกลูสนุทรชยันพ.อดิศร ปทุมำรกัษ์ ทีมสหสำขำวิชำชีพ คณะแพทยศ์ำสตรโ์รงพยำบำลรำมำธิบดีมหำวิทยำลยัมหิดล บทน า ภาวะทุพโภชนาการเป็นตัวทํานายการเสียชีวิตของผู้ป่วยฟอกเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ เกี่ยวข้องกับการอักเสบ Malnutrition Inflammation Score (MIS) เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายและต้นทุน ต่ำซึ่งประเมินการขาดสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในผู้ป่วยฟอกเลือด (HD) โดยพบว่า MIS มี ความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสําคัญกับอัตราการรักษาในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิต โดย ในผู้ป่วยฟอกเลือด (HD) พบภาวะการสูญเสียโปรตีนและพลังงาน (PEW) ได้มากและมักถูกรักษาด้วย oral nutritional supplements (ONS) เป็นลำดับแรก วัตถุประสงค์ เพื่อการประเมินภาวะโภชนาการ ให้การพยาบาล การส่งเสริมให้โภชนบำบัดและ คำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม วิธีด าเนินงาน ศึกษาเคสผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมที่มี MIS ระดับ C (ทุพโภชนาการรุนแรง) โดยมีการเสริมอาหารทางการแพทย์ชนิดพร้อมดื่ม (Renal Specific ONS : พลังงาน 425 กิโลแคลอรี โปรตีน 19.1 กรัม 237 ml ต่อ 1 หน่วยบริโภค) ตามความสมัครใจของผู้ป่วย จำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2566 โดยมีการประเมินภาวะโภชนาการ ให้การพยาบาล ให้คำแนะนำ และการดูแลด้าน โภชนบำบัดอย่างต่อเนื่อง ผลการดา เนินงาน ผู้ป่วยก่อนส่งเสริมให้โภชนบำบัดและให้คำแนะนำมี Spontaneous Energy Intakes 20 Kcal/kg (IDW)/Day ,Spontaneous Protein Intakes 1.0 g/kg (IDW)/Day และรับประทานอาหารได้ ลดลง มา 2 เดือน หลังส่งเสริมให้คำแนะนำและโภชนบำบัดด้วย ONS จำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยบริโภค ต่อสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าคะแนน MIS ลดลงจาก 7 คะแนนเป็น 6, 5, 5 และคะแนนในเดือนที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ โดยมีระดับ MIS ลดลงจาก C ไปยังระดับ B (ทุพโภชนาการรุนแรง) ในเดือนที่ 2 นอกจากนี้ยังพบว่าระดับ Albumin เพิ่มขึ้นจาก 3.12 เป็น 3.35 g/dL ,TIBC เพิ่มขึ้นจาก 154 เป็น 169 mg/dL ใน 3 เดือน สรุป กรณีศึกษาการให้ Renal Specific ONS ในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพบว่า ระดับของ MIS ลดลง นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีระดับ Albumin และTIBC เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงกรณีศึกษา เท่านั้น ดังนั้นการศึกษาต่อไปควรมีกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 405 บทคดัย่อ P-77 การดูแลด้านโภชนบ าบัดในผู้ที่ได้รับการบ าบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม ยวุำ ทุ่งอ่วน, อรรถพล วนำเดช, วรมัพร เซีย่งฉิน ทีมสหสำขำวิชำชีพ โรงพยำบำลต ำรวจ กรุงเทพมหำนคร บทน า ผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากมี โอกาสได้รับอาหารที่มีพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลให้น้ำหนักตัว กล้ามเนื้อและไขมันลดลง ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การอักเสบและการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย แต่หากผู้ป่วยได้รับการ ประเมิน ภาวะโภชนาการและได้รับโภชนบำบัดที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการใน ผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมได้ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการประเมินภาวะโภชนาการ การให้โภชนบำบัดและคำแนะนำที่ เหมาะสม รวมถึงพัฒนาทีมโภชนบำบัดในการประเมินภาวะโภชนาการสำหรับผู้ที่ได้รับการบำบัด ทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม วิธีดา เนินการวิจยั ผู้วิจัยทำการประเมินคัดกรองภาวะโภชนาการของผู้ที่มารับบริการที่หน่วยล้างไต โรงพยาบาลตำรวจโดยใช้แบบประเมินภาวะโภชนาการ MIS (Malnutrition-Inflammation Score) จากนั้นคัดเลือกผู้ป่วยที่มี MIS Score ระดับ C (ทุพโภชนาการรุนแรง) จำนวน 5 ราย เพื่อให้อาหาร ทางการแพทย์ชนิดพร้อมดื่ม (Renal Specific ONS) ที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต และได้รับการรับรองจากสำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตามความสมัครใจของผู้ป่วย วัน ละ 3 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 3 เดือนร่วมกับคำแนะนำในการดูแลด้านโภชนบำบัดอย่าง ต่อเนื่อง โดยเริ่มโครงการฯ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน 2566 ผลการวิจยั จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 4 ราย พบว่าค่าเฉลี่ย MIS Score ก่อนได้รับ ONS อยู่ที่ 7.75 คะแนน ส่วนค่าเฉลี่ย MIS Score หลังได้รับ ONS อยู่ที่ 6.25 คะแนน สรุป ผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลตำรวจและได้รับอาหารทางการแพทย์ชนิดพร้อมดื่ม (Renal Specific ONS) วันละ 3 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 3 เดือนมีภาวะโภชนาการดีขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


406 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคดัย่อ P-78 การดูแลด้านโภชนบ าบัดในผู้ที่ได้รับการบ าบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม: กรณีศึกษา กมลวรรณ จนัทรเ์ฉลิม, พญ.พิมพอ์นงค์ภ่เูหลือ, พว.ประภำศรี ทะนงค์ ทีมสหสำขำวิชำชีพ โรงพยำบำลสวรรค์ประชำรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ บทน า ภาวะทุพโภชนาการในผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม มีสาเหตุจากภาวะ เจ็บป่วยที่มีผลให้ความอยากอาหารลดลง การจำกัดอาหาร การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผล กระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย มีการสลายโปรตีน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง การดูแลด้าน โภชนบำบัดตั้งแต่แรกรับจนถึงการติดตามเยี่ยมบ้าน จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ผลการรักษาบรรลุ เป้าหมาย วัตถุประสงค์เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมโดยกระบวนการ โภชนบำบัด วิธีการศึกษา คัดกรองและประเมินภาวะทุพโภชนาการโดยใช้แบบประเมิน M.I.S ดำเนินการ ทางโภชนบำบัด (Nutrition Care Process) โดยคำนวณพลังงาน แบ่งมื้ออาหาร และจัดเมนูที่เหมาะสม กับภาวะโรค ร่วมกับ Oral Nutritional Supplement ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ผลการศึกษา ก่อนดำเนินการ ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการ ระดับ 8 (C) และมี ภาวะโพแทสเซียมสูง หลังดำเนินการ ภาวะทุพโภชนาการดีขึ้น อยู่ระดับ 5 โพแทสเซียมอยู่ในเกณฑ์ ปกติ ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองได้ดีขึ้น ประเมินคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น จาก คะแนน 66 เป็น 71 สรุป ผลการศึกษาดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะทุพโภชนาการ โดยใช้กระบวนการโภชนบำบัด (Nutrition Care Process) สอดคล้องกับวิถีชีวิต ร่วมกับ Oral Nutritional Supplement ส่งผลให้ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยดีขึ้น ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีกำลังใจ ในการดูแลตนเอง ในด้านการรักษา ลดโอกาสการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเข้าพักใน โรงพยาบาล วิจารณ์ผลการศึกษา ปัจจัยที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยรายนี้ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงการใช้เครื่องมือใน การประเมินภาวะทุพโภชนาการ และใช้กระบวนการโภชนบำบัดในการดูแลผู้ป่วยเป็นหลักการในการ ดูแลผู้ป่วยเท่านั้น หัวใจสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การออกแบบอาหารที่สอดคล้องกับความชอบและวิถี ชีวิตของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มากขึ้น ได้รับสารอาหารครบถ้วน มีผลให้กล้ามเนื้อ แข็งแรงขึ้น สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง รู้สึกสดชื่น และมีกำลังใจในการดูแลตนเอง เพิ่มขึ้น กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 407 บทคดัย่อ P-79 การดูแลด้านโภชนบ าบัดในผู้ที่ได้รับการบ าบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม จิรำภรณ์เตชะยศ, พญ.วรำภรณ์เนติกำนต,์ศภุลกัษณ์สทุธหลวง ทีมสหสำขำวิชำชีพ โรงพยำบำลน่ำน จงัหวดัน่ำน บทน า ปัญหาทางด้านโภชนาการในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ที่พบบ่อยประมาณ ร้อยละ 30 คือโรคขาดโปรตีนและพลังงาน (protein calorie malnutrition; PCM) จากการศึกษาพบว่า โรคขาดโปรตีนและพลังงาน มีความสัมพันธ์กับอัตราการตายของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่สูงขึ้น อาการที่พบ คือ ผู้ป่วยผอมลง กล้ามเนื้อลีบ มีภาวะบวมน้ำจากโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ ภูมิต้านทานในร่างกาย ลดลง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ดังนั้นการให้โภชนบำบัดแก่ผู้ป่วยจึงเป็น สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วย เครื่องไตเทียม โดยใช้กระบวนการทางโภชนบำบัด วิธีดา เนินการวิจยั ทำการประเมินคัดกรองผู้ที่มารับบริการที่หน่วยล้างไตที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ด้วยเครื่องไตเทียมของโรงพยาบาลน่านทั้งหมด จำนวน 50 ราย โดยใช้แบบฟอร์ม Malnutrition Inflammation Score (M.I.S) ทำการคัดเลือกผู้ป่วยที่มี M.I.S Score ระดับ C: Severe malnutrition เพื่อ เข้ารับกระบวนการให้โภชนบำบัด โดยการสอบถามประวัติการรับประทานอาหาร พฤติกรรมบริโภค และความถี่ในการได้รับอาหาร ให้ความรู้คำแนะนำและร่วมวางแผนการให้โภชนาการที่เหมาะสมแก่ ผู้ป่วยเป็นรายบุคคล และแนะนำให้มีการเสริมอาหารทางการแพทย์ร่วมด้วย ติดตามผล ร่วมกับทีมสห สาขาวิชาชีพ เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเปรียบเทียบการประเมินภาวะโภชนาการ ค่าผลทาง ห้องปฏิบัติการ และผลการตรวจอาการทางคลินิก ก่อนและหลังได้รับกระบวนการโภชนบำบัด ผลการวิจยั จากการให้โภชนบำบัดแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องไตเทียม พบว่า สาเหตุของการเกิดทุพโภชนาการในผู้ป่วย เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความ ต้องการที่ร่างกายควรจะได้รับต่อวัน และผู้ป่วยมีความกังวลเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มากเกินไป ที่ จะส่งผลให้เกิดภาวะของเสียคั่ง และภาวะน้ำเกินในร่างกาย และในการติดตามผลภายหลังจากที่ผู้ป่วย ได้รับกระบวนการทางโภชนบำบัด ร่วมกับทีมสหสาขา เป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่เข้าร่วม กิจกรรมทางโภชนบำบัด มีค่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 2 กิโลกรัม และมีค่าผลทางห้องปฏิบัติการ ในระดับ ปกติ รวมไปถึงผลการตรวจอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นจากเดิม สรุปผลการวิจยั การให้โภชนบำบัด การติดตาม และประเมิน ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการอย่าง ใกล้ชิดต่อเนื่องของทีมสหสาขา การที่ผู้ป่วยให้ความสนใจ และร่วมมือปฏิบัติตามแผนการให้โภชนบำบัด รวมถึงแผนการรักษาอื่นๆ ทำให้ผลการรักษาบรรลุถึงเป้าหมาย ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น มีการ ฟื้นตัว และมีแนวโน้มที่จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ อันนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป กิตติกรรมประกาศ ได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 409 ทุน TDA Quest-Yamamoto Award ประจ ำปี 2567 ทุนสนับสนุนกำรตีพิมพผ์ลงำนวิจยัในวำรสำรสำ หรบันักกำหนดอำหำร ชื่อทุน TDA Quest-Yamamoto Award วัตถุประสงค์ • สนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัย/บทความวิจัยในวารสาร • ส่งเสริมให้นักก าหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร อาจารย์และนักศึกษาใน หลักสูตรที่เกี่ยวข้องด้านโภชนาการและการก าหนดอาหาร ในการท าวิจัยด้าน โภชนาการ โภชนบ าบัดและการก าหนดอาหาร • เพิ่มพูนทักษะและศักยภาพให้กับนักก าหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร อาจารย์ และนักศึกษาในการท าวิจัยและน าเสนอผลงานวิชาการ ผู้สนับสนุนทุนปี 2567 • Quest Computer Co., Ltd. และ Professor Dr. Shigeru Yamamoto, RD., Japan จ านวน 200,000 Japanese Yen ประเภทของทุน • ทุนอุดหนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร • จ านวนทุนขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และผลงานที่เสนอขอรับทุนซึ่งพิจารณาโดย คณะอนุกรรมการพิจารณาทุนฯ • ทุนมีระยะเวลา 1 ปี คณุสมบตัิของผ้ทูี่ได้รบัทุน • นักก าหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร • อาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องด้านโภชนาการและการก าหนดอาหาร • เป็นสมาชิกสามัญตลอดชีพสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย • ผลงานที่ท าจะต้องไม่เป็นไปเพื่อเชิงพาณิชย์ (non-profit project) • คณะกรรมการสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทยไม่มีสิทธิ์ขอรับทุน


410 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association กำรขอรับทุน • ส่งใบสมคัรทุนพร้อมทงั้แนบหลกัฐำนกำรตีพิมพ์ผลงำนวิจยั/บทควำมวิจยัใน วำรสำร จ ำนวน 6 ชุด มาที่สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย ภายใน วันที่ 31 มกรำคม 2567 ทำงไปรษณีย์เท่ำนั้น (ไม่รับทาง E-mail และ โทรสาร) สมำคมนักก ำหนดอำหำรแห่งประเทศไทย (ทุน TDA Quest-Yamamoto Award) 1845/11 ซอยบริรกัษ์ถนนพหลโยธิน แขวงลำดยำว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์080-338-7443, 02-939-7782 แนวทำงในกำรพิจำรณำทุน คณะอนุกรรมการได้ก าหนดในรูปคะแนน โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก คือ • การน าไปใช้ให้เป็นประโยชน์ • ความคิดริเริ่ม • ความส าคัญทางวิชาการ กำรประกำศผล • ประกาศผลการตัดสิน ทางเว็บไซต์สมาคมฯวันที่ 15 มีนำคม 2567 กำรมอบทุน • มอบทุนประจ าปีในการประชุมวิชาการประจ าปีของสมาคมนักก าหนดอาหาร แห่งประเทศไทย ในวนั ประชุมวิชำกำรประจำ ปี2567 • ผู้ได้รับทุนจะได้รับการสนับสนุนการลงทะเบียนงานประชุมวิชาการประจ าปี 2567 เพื่อน าเสนอผลงานวิจัย กำรน ำเสนอผลงำน • ผู้ที่ได้รับทุนจะต้องน าเสนอผลงานในรูปแบบ E-Poster ในการประชุมวิชาการ ประจ าปีของสมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย ประจ าปี 2567 • ผู้ที่ได้รับทุนจะต้องส่ง บทคัดย่อ และ E-Poster งานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร สมาคมนักก าหนดอาหารแห่งประเทศไทย • ผู้ที่ได้รับทุนจะต้องแสดงกิตติกรรมประกาศการน าเสนอผลงานในรูปแบบ E-Poster บทคัดย่อ ว่าการตีพิมพ์ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจาก "สมำคมนักก ำหนดอำหำร แห่งประเทศไทย ทุน TDA Quest-Yamamoto Award " • ผู้ได้รับทุนส่งรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ให้แก่สมาคมฯ


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 411 ผู้ประสำนงำน นางพัชรวีร์ ทันละกิจ โทร 086-392-5928 E-mail: [email protected] Website: www.thaidietetics.org E-mail: [email protected],


412 Vol. 44, No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association บทคดัย่อผ้นู ำเสนอผลงำนทำงวิชำกำร ประจำ ปี2567 บทคัดย่อ P-80 Hi! OVO CHICKY อาหารว่างเสริมพลงังานและโปรตีน สา หรบัผ้ปู่วยโรคไตเร้ือรงัระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือด คัทลียา แก้วกูล, ขจีพรรณ แก้วโสตร์, กฤติกา สุนทรโภคิน, ธนัฏฐา ชัยมงคล, รินรดา ตะเลิงกลู, เพ็ชร์มณี ทองแจ้ง แผนกโภชนาการ โรงพยาบาลพญาไท 2 จังหวัดกรุงเทพมหานครฯ บทน ำ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือด (ERSD on HD) หลายการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะทุพโภชนาการจากการทานอาหารไม่เพียงพอ จากการสำรวจผู้ป่วย ณ ศูนย์ไตเทียม ร.พ. พญาไท 2 พบผู้ป่วยร้อยละ 92 และ 81 ทานพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ ตามลำดับ ผู้ป่วยร้อยละ 43 เสริมอาหารทางการแพทย์ แต่พลังงานยังไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่ชอบรสชาติและมีค่าใช้จ่ายสูง อาหาร ว่างที่ชอบเป็นขนมไทย ชอบลักษณะ นิ่มและกรอบ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารว่างเสริมพลังงานและโปรตีนสำหรับผู้ป่วย โดยพัฒนาเป็น หม้อแกงและข้าวเกรียบเสริมพลังงานและโปรตีนที่ตรงกับลักษณะอาหารว่างที่ชอบ วิธีกำรวิจยั พัฒนาสูตรโดยเลือกใช้โปรตีน จากไข่ขาว ผงไข่ขาว และอกไก่ คำนวณพลังงานสารอาหาร โดยใช้โปรแกรม INMUCAL-Nutrient version 4 และส่งวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการในห้องปฏิบัติการ หลังจากนั้นประเมินความพึงพอใจในกลุ่มคนทั่วไปก่อนปรับปรุงสูตร และประเมินในผู้ป่วย ERSD on HD จำนวน 26 ราย ประเมินความพึงพอใจทางประสาทสัมผัส โดยใช้ 5 point hedonic scale ผลกำรวิจยั หม้อแกง 1 หน่วยบริโภค พลังงาน 215 กิโลแคลอรี โปรตีน 10 กรัม โพแทสเซียม 264 มก. ฟอสฟอรัส 55 มก. โซเดียม 254 มก. ข้าวเกรียบ 1 หน่วยบริโภค พลังงาน 293 กิโลแคลอรี โปรตีน 8 กรัม โพแทสเซียม 84 มก. ฟอสฟอรัส 28 มก. โซเดียม 273 มก. ผลความพึงพอใจในกลุ่มผู้ป่วย พบว่ามีความชอบในระดับปานกลาง-สูง สรปุและวิจำรณ์ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมและได้รับการยอมรับจากผู้ป่วย สามารถ เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยทุพโภชนาการกลุ่มอื่นต่อไป ข้อจำกัด คือ จำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วม โครงการยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย และเป็นการศึกษา Pilot study ยังไม่มีการศึกษาทางคลินิก


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 413 หนังสือเกี่ยวกับโภชนาการและก าหนดอาหาร ที่จัดท าโดยสมาคมนักก าหนดอาหาร


414 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 415


416 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 417


418 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


ปีที่ 44 ฉบับที่ 1-3 มกราคม-ธันวาคม 2567 วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 419


420 Vol. 44 No. 1-3 January-December 2024 Journal of Thai Dietetic Association


Click to View FlipBook Version