The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Larpluck Boonyakom, 2022-07-12 00:42:49

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

142

ภาพที่ 4 ปรบั ภาพด้วยโปรแกรมกราฟกิ และพมิ พล์ งผา้ ใบ

4. การวิเคราะหผ์ ลงาน
งานสรา้ งสรรค์ภาพถา่ ย “Mine – Mask – Me” เปน็ การถ่ายทอดอารมณข์ องห้วงเวลาท่ีมีการระบาด

ของโควิด-19 ในจังหวัดภูเก็ต ด้วยการใช้ภาพถ่ายของหน้ากากอนามัยสีฟ้า (Mask) ที่เป็นตัวแทนของความ
สะอาด การรักษา สุขอนามัย โรงพยาบาล ที่คนส่วนใหญ่จะมีความผูกพันและคุ้นชินสร้างอารมณ์ของการยอม
จำนนและยอมรับกับสิ่งที่ตนเอง (Me) ต้องต่อสู้และเดินหน้าต่อไปในสภาะโควิด-19 การใช้ภาพขาวดำทำให้
อารมณ์ดูเศร้าหมองแต่มีพลังของมวลหมู่ที่อยู่ในสภาพเดียวกัน ประหนึ่งชะตากรรมของผู้คนท่ีอยู่ในยุคโควิดท่ี
ไม่มีทางเลือก การลดทอนสีของภาพให้เป็นขาวดำเปรียบเสมือนทุกคนต้องเผชิญกับชะตากรรมและรอคอย
ความหวังอันเดียวกัน ถึงแม้จะมีสถานภาพทางสังคมที่ต่างกันหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลยก็ตาม สำหรับขุม
เหมือง (Mine) นั้น เป็นตัวแทนอันชัดเจนที่ความรุ่งเรืองของจังหวัดภูเก็ตในอดีต ถึงแม้ในวันนี้จะไม่มีคุณค่า
ในทางเศรษฐกิจเพราะไม่มีการทำเหมืองแล้ว แต่ขุมเหมืองก็ยังเป็นแหล่งน้ำ ยังให้ประโยชน์แก่ผู้คน ภาพของ
หน้ากากอนามัยลอยอยู่ในขุมเหมือง จงึ เป็นเหมือนการกระตุ้นเตือนใหค้ ิดและมองอะไรบางอย่างทผ่ี ่านมา สิ่งท่ี
เกดิ ข้ึนในปัจจุบันกำลงั จะผา่ นไป และทกุ อยา่ งจะกลายเป็นอดตี ให้จดจำ ณ สถานทีเ่ ดิม แต่ตา่ งกันทีเ่ วลา

5. สรุป
งานสร้างส รรค์ภ าพถ่ายน้ีผู้สร้างสรรค์ได้พยายามถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกขอ งตนเองใน

สถานการณ์โควิด-19 ของจังหวัดภูเก็ต โดยยึดหลักของการใช้โทนสีของภาพเพื่อถ่ายส่ิงที่ต้องการนำเสนอ
ออกมา องค์ประกอบท่ีลงตัวของภาพถ่ายไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่มาจากการวิเคราะห์เพ่ือหาสัญลักษณ์
หาตัวแทนของความรสู้ ึกต่าง ๆ มาจัดองค์ประกอบ การเลือกสดั ส่วนของท้องฟา้ และผิวน้ำมาจากความต้ังใจให้
มีลักษณะสมดุลไม่ให้น้ำหนักมากไปทางใดทางหน่ึง อันอาจทำให้จุดประสงค์หลักของภาพท่ีต้องการสื่อพร่า
เลือนหรือถูกมองข้ามไปเพราะมีส่วนอ่ืนที่มีจุดเด่นดึงดูดสายตามากกว่า ภาพถ่ายที่ดีไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบาย

143

และภาพถ่ายท่ีดีก็ควรจะเปิดโลกทัศน์ของการรับรู้เชิงความหมายแก่ผู้ชมได้ ภาพถ่ายเป็นเคร่ืองมือส่ือสารท่ี
เงยี บ ทรงพลัง จรรโลงใจ และเกิดสุนทรียทางศิลปะไปพร้อม ๆ กัน สุดท้ายนี้ผู้สร้างสรรค์หวงั วา่ ผลงานช้ินน้คี ง
พอจะเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจกับนักถ่ายภาพและสร้างสรรค์ภาพถ่ายเพื่อศึกษาแล ะปรับใช้กับงานของ
ตนเองได้

เอกสารอา้ งอิง
สุรพงษบ์ ัวเจริญ. (2554). องค์ประกอบศลิ ปส์ ำหรบั นกั ถ่ายภาพ. กรุงเทพฯ: เอน็ ไอเอส.
อนันตจ์ ิรมหาสวุ รรณ. (2550). ถา่ ยภาพให้ได้อย่างมอื โปร. กรงุ เทพฯ: บรษิ ัทพิมพด์ ีจำกัด.
เอมกิ าเหมมนิ ทร.์ (2564). ผลกระทบของทีมผบู้ รหิ ารตอ่ การรับรู้ผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในจังหวัด

ภเู ก็ต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลยั เวสเทิรน์ มนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์. 7(2). 222-238.

144

การสรา้ ง Wearable สำหรบั Metaverse
Creating a Wearable for Metaverse

ทกั ษณิ า พพิ ธิ กลุ , Tuksina Pipitkul

ภาควิชาทศั นศลิ ป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั กรุงเทพ 9/1 หมู่ 5 ถ.หพลโยธนิ ต.คลองสอง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120,
Fine and Applied Arts, Bangkok University,

9/1 Moo 5 Phaholyothin Road, Klong Nueng, Klong Luang, Pathumthani 12120
E-mail : [email protected]

บทคดั ยอ่

การสร้างWearable สำหรับMetaverse มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาและนำเสนองานออกแบบสามมิติ
ดว้ ยส่ือดิจิทลั ที่จะนำไปใชใ้ นโลกจักรวาลนฤมิตหรอื Metaverse ซ่ึงในปัจจบุ ันขอ้ จำกัดด้านเทคโนโลยีทำให้การ
นำงานออกแบบ 3 มิติเข้าไปอยู่ในจักรวาลนฤมิตมีข้อจำกัดบางประการ ดังนั้น การสร้างสรรค์แวร์เอเบิล
(Wearable) ท่ีเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลจึงต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดต่างๆ ที่กำหนดข้ึนโดยแพลตฟอร์มจักรวาล
นฤมิตโดยการศึกษาพบว่า การสร้างWearable สำหรับMetaverse ให้มีประสิทธิภาพต้องใช้การหลักการ
ความเรียบง่ายและการลดทอนเป็นฐานในการออกแบบ ท้ังน้ีเพื่อควบคุมโครงสร้างและสัดส่วนของผลงานให้
สอดคล้องไปกับข้อจำกัดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าการผสมผสานศิลปะการออกแบบดจิ ิทัลแบบ 3 มิติ และ 2
มิติ เข้าด้วยกัน จะทำให้ได้ผลของงานสร้างสรรค์ 3 มิติ ท่ีมีความงามและความกระทดั รัดของไฟล์ข้อมูลเหมาะ
สำหรบั การใชง้ านในจกั รวาลนฤมิต

คำสำคัญ : แวร์เอเบิล, อวตาร, จักรวาลนฤมิต

Abstract

A creation of Wearables for Metaverse aims to study and present the creation of
digital art of 3D designs to be used in the Metaverse.Due to limitations of today technology,
designing3D objects in Metaversemust subject to various requirementsset up by each
Metaverse platform. The study found that designing an effective wearable for Metaverse
requires the principle of simplicity and economy as the basis for creative design. This is to
control the structure and proportion of the art piece in accordance with various constraints.
It has also been found that combining the art of 3D and 2D digital design will produce 3D
creative results with both the beauty of an art work and compactness of the data files
suitable for use in the Metaverse.

Keywords: Wearable, Avatar, Metaverse

145

1. ความสำคัญหรอื ความเปน็ มาของปัญหา

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เนตได้เข้าสู่โลกเสมือนเรียกว่า
จักรวาลนฤมิตรหรือเมตาเวิร์ส (Metaverse) ซ่ึงเมตาเวิร์สต่าง ๆ ในโลกเสมือนจะทำหน้าที่คล้ายคลึงกับโลก
จริงอาทิเมื่อเราหลุดเข้าไปในโลกเสมือนเราจะใช้ร่างจำลอง (Avatar)ในการเข้าไปอยู่ในเมืองจำลองอาคาร
จำลองรถจำลองสถานท่ีท่องเที่ยวจำลองและพบปะกับผู้คนในร่างจำลองซ่ึงการใช้งานร่างจำลองน้ันผู้ใช้งาน
สามารถเลือกรูปลักษณ์ของตนเองได้หลากหลายแบบเลือกสวมใสเ่ สื้อผ้าเลือกแต่งกายด้วยรองเท้า ถุงมือ และ
ประดับประดาร่างกายได้ทงั้ ตามจนิ ตนาการและเหนือจินตนาการ

สำหรับศิลปินดิจิทัลการได้เขา้ ไปอยู่ในโลกเสมือนน้ันเป็นโอกาสอีกกา้ วหนึ่งท่ีทำให้นักออกแบบดิจิทัล
มชี ่องทางในการสร้างสรรค์งานเผยแพร่และขายผลงานในโลกเสมอื นสนิ คา้ ประเภทหน่งึ ที่นิยมค้าขายกันในโลก
เสมือนคือเครื่องสวมใส่ร่างกายหรือเรียกทับศัพท์ว่าแวร์เอเบิล(Wearable) ซึ่งการออกแบบแวร์เอเบิลเพื่อให้
เข้าไปอยู่ในโลกเสมือนได้น้ันด้องอาศัยหลักการออกแบบที่เน้นความเรียบง่ายเพ่ือให้นักออกแบบสามารถ
ควบคุมโครงสรา้ ง สัดส่วนและการใช้หน่วยทริส (Tris) ในการสร้างรูปทรงซึ่งในแตล่ ะแพลตฟอร์มของจักรวาล
นฤมิตรจะมีการต้ังกติกาแยกย่อยแตกต่างกันออกไปโดยในบทความน้ีเป็นการนำเสนอการออกแบบแวรเ์ อเบิล
เพอื่ นำไปใชใ้ นแพลตฟอรม์ จกั รวาลนฤมิต มชี ื่อว่า Decentraland

2. แนวคิด /ทฤษฎีท่ีเก่ียวขอ้ ง

จักรวาลนฤมติ รหรอื เมตาเวริ ์ส (Metaverse)
2.1) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (2565) อธิบายจักรวาลนฤมิตร
หรือเมตาเวิร์ส (Metaverse)ว่าเป็นโลกเสมือนโลกจำลองของกลุ่มผู้ใช้ทม่ี ีความสนใจในเร่ืองเดียวกนั มารวมตัว
กันเป็นสังคม “Social” เป็นโลกท่ีสองท่ีมนุษย์ใช้เวลาบนโลกจริงในการแลกเปล่ียนประสบการณ์กับผู้ใช้งาน
คนอื่นๆแบบไร้พรมแดนใน 4 มิติคือมิติของสื่อ โลกจริง การปฏิสัมพันธ์ และการรวมตัวกัน (Media + Real
World + Interaction + Social)โดยระดับของความเก่ียวข้องกบั โลกเสมือนน้ันมีได้ทั้งแบบประสบการณ์ร่วม
ในสภาพแวดลอ้ มเสมือนว่าเราหลุดเข้าไปอยู่ในอีกโลกหน่ึงด้วยการใช้แว่นวอี าร์ (VR) หรืออาจจะเป็นลักษณะ
ของการมปี ระสบการณบ์ นโลกเสมือนแบบผา่ นหนา้ จอคอมพวิ เตอร์ก็ได้
2.2) แวร์เอเบิล (Wearable) คือ อุปกรณ์สวมใส่ร่างจำลอง(Avatar) เช่น หมวก ถุงมือ รองเท้า
เสื้อผ้า กางเกง หรือแว่นตา เป็นต้น ในโลกเมตาเวิร์สอุปกรณ์สวมใส่ร่างกายเหล่าน้ีเป็นทรัพย์สินดิจิทัลที่
สามารถซอื้ ขายไดใ้ นระบบบล็อกเชน(blockchain) ซง่ึ เปน็ พ้นื ท่เี กบ็ ขอ้ มลู สนิ ทรัพยด์ ิจิทัล ดงั กลา่ ว
2.3) หลักการออกแบบ (Principle of Design)เป็นองค์ความรู้พ้ืนฐานท่ีสำคัญและจำเป็นที่จะทำให้
นักออกแบบสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ ซ่ึงการออกแบบเพ่ือการนำไปใช้ในจักรวาลนฤมิตร
หรือ เมตาเวิร์สนั้นต้องเน้นทั้งประสิทธิภาพทางการรับรู้ทางสายตาและการนำไปใช้งานในโลกดิจิทัลท่ียังมี
ขอ้ จำกัดในเรื่องของความเร็วอินเทอร์เนตการดาวน์โหลดข้อมูล และข้อจำกัดของเครื่องมือในการเข้าถึงโลกเม
ตาเวิร์สดังนั้นหลักการออกแบบท่ีสำคัญเพื่องานเมตาเวิร์สจึงต้องมีท้ังความงามทางศิลปะและการออกแบบ

146

พร้อมกับขนาดไฟล์ข้อมูลที่กระทัดรัดหลักการพ้ืนฐานสำคัญในการออกแบบเพื่อนำผลงานไปเผยแพร่บน
แพลตฟอร์มเมตาเวิร์สจึงต้องอาศัยหลักการของความเรียบง่ายและการลดทอน (Economy)โดยเฉพาะอย่าง
ย่ิงความเรียบง่ายและกระจ่างชัดในการกำหนดโครงสรา้ งและสัดสว่ นของวัตถทุ ่ีศิลปินตอ้ งการออกแบบ กอ่ นท่ี
จะนำไปสกู่ ารใส่รายละเอียดตา่ งๆ ดว้ ยสพี ้นื ผวิ และองคป์ ระกอบอืน่ ๆ ต่อไป

2.4) แนวคิดว่าด้วยสัญลักษณ์ หยิน-หยาง และความสมดุลของพลังในจักรวาล โดยพิพิธภัณฑสถาน
แหง่ ชาติมหาวีรวงศน์ ครราชสีมา (2563) ได้อธิบายเก่ยี วกับสญั ลกั ษณ์หยินหยางไว้วา่ ชาวจีนเช่ือว่าหยิน-หยาง
เป็นตวั แทนของพลงั แห่งจักรวาล2ด้านกล่าวกันว่าเคร่อื งหมายหยินและหยางน้พี ัฒนามาจากปรากฎการณ์ทาง
ธรรมชาติของจักรวาลสีดำคือหยินหมายถึงดวงจันทร์เป็นตัวแทนของการเต็มใจ ...เป็นพลังแห่งสตรีเพศ...
ส่ ว น สี ข าว คื อ ห ย า งห ม าย ถึ งด ว งอ าทิ ต ย์ อั น เป็ น สั ญ ลั ก ษ ณ์ ข อ งพ ลั งแ ห่ งบุ รุ ษ เพ ศ ก าร เค ล่ื อ น ไห ว ค ว า ม
กระตือรือร้น... ดังนั้นสัญลักษณ์หยิน-หยางจึงแทนความสมดุลของพลังในจักรวาลเม่ือพิจารณาถึงคุณสมบัติ
ของอำนาจหยินและหยางไม่มวี ันท่ีจะเหมือนกนั ได้แต่เม่ือทงั้ สองรวมกันแล้วก็จะเกดิ ความสมดุลความพอดี ซึ่ง
ในการออกแบบแวร์เอเบิล (Wearable) ช้ินนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้นำแนวคิดของ หยิน-หยาง มาเปรียบเปรยกับ
ความสมุดลระหว่างธรรมชาติและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งท้ังสองแม้จะเป็นแหล่งพลังงานที่มีความ
แตกต่างกัน แต่ต่างก็สามารถที่จะส่งพลังบวกต่อกันและกัน พลังทั้งสองจะสามารถปกป้องรักษาให้ชีวิตของ
ร่างจำลอง (Avatar) มีพลังชีวิตท่ีสมดุลได้ ด้วยการออกแบบแวร์เอเบิล (Wearable) ชิ้นให้มีการผสมผสาน
รูปทรงของเครือ่ งจกั รเขา้ กบั รปู ทรงของสัตวป์ ีกในธรรมชาติ

3. กระบวนการในการสรา้ งสรรค์

แม้ว่าจักรวาลนฤมิตบนเทคโนโลยีบล็อกเชนจะไม่จำกัดรูปแบบการแสดงผลกระนั้นผู้ให้บริการส่วน
ใหญเ่ ลือกท่จี ะให้บรกิ ารจกั รวาลนฤมิตในรูปแบบ3มิตเิ พ่ือมอบประสบการณเ์ สมอื นจริงให้กับผ้ใู ช้บริการแม้การ
แส ด งผ ล ใน รูป แบ บ 3มิติ จ ะใช้ ทรัพ ย ากรด้ าน ฮาร์ด แ วร์มากกว่าก็ต าม แ ต่เพ่ื อการให้ บ ริการท่ี แพ ร่ห ล าย ผู้
ให้บริการในแพลตฟอร์มจักรวาลนฤมิตต่าง ๆ จึงพยายามออกแบบให้สินทรัพย์ต่าง ๆ ในจักรวาลนฤมิตใช้
ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ให้น้อยที่สุดโดยจะต้องแสดงผลลัพธ์ท่ีดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เนื่องจากอุปกรณ์ของ
ผู้ใช้บริการอาจมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันดังน้ันนักสร้างสรรค์แวร์เอเบิล (Wearable)ในจักรวาลนฤมิต
จำเป็นต้องเรียนรู้ข้อจำกัดด้านเทคนิคของแต่ละแพลตฟอร์มดังน้ัน กระบวนการแรกของการสร้างสรรค์ คือ
การทำความเข้าใจกบั กติการเงอื่ นไขเบื้องต้นของแตล่ ะผใู้ ห้บริการที่กำหนดไว้ในแต่ละจักรวาลนฤมิตโดยในทน่ี ่ี
จะขอยกตัวอย่างแพลตฟอร์มให้บริการของ Decentraland ที่ผู้ให้บริการได้ต้ังเง่ือนไขการสร้างสรรค์
แวร์เอเบิล (Wearable) จากข้อมูลตามล้ิงก์ https://docs.decentraland.org/decentraland/wearables-
overview/ ดงั น้ี

1) นักออกแบบจะต้องกำหนดหมวดหมู่ของแวร์เอเบิล (Wearable) ตามท่ีแพลตฟอร์มกำหนดอัน
ประกอบไปด้วยช้ินส่วนหลักเช่นหัวลำตัวส่วนบนลำตัวส่วนล่างเท้าและเครื่องประดับต่างๆเช่นหมวกหน้ากาก
ตุ้มหแู ว่นตาฯลฯเปน็ ตน้

2) ขนาดมติ ขิ องสงิ่ ตา่ งๆตอ้ งไมเ่ กนิ 2.40 เมตรในจกั รวาลนฤมิต

147
3) จำนวนทริส (Tris) (ด้านสามเหลี่ยมท่ีเป็นส่วนประกอบของโมเดล3มิติ) ต้องไม่เกิน 1,500 tris
สำหรบั ชน้ิ ส่วนหลกั และไมเ่ กิน 500 tris สำหรับเคร่อื งประดบั
4) ใช้Image texture (ภาพลวดลายพ้ืนผิว) ไมเ่ กิน 2 ภาพแตล่ ะภาพมขี นาดไมเ่ กนิ 512 x 512 พิกเซล
5) โมเดลจะแสดงผลเฉพาะด้านที่เป็นNormal เท่าน้ันหากมีการใช้ชิ้นส่วนท่ีเป็นระนาบ เช่น การทำ
ผ้าคลุมจะต้องทำเปน็ แบบDouble side
จากข้อกำหนดดังกล่าวจะเห็นวา่ ผู้สร้างสรรค์จะต้องสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบของ Low Polygon
ดังนั้นแนวคิดในเร่ืองของความเรียบง่ายและหลักการลดทอนในการออกแบบจึงเป็นหลักการสำคัญ หลักการ
ดังกล่าวจะทำให้ผู้ออกแบบสามารถกำหนดโครงสร้างและสัดส่วนของช้ินงาน ให้ สามารถทำงานได้ตาม
ข้อกำหนดหมวดหมตู่ ามท่แี พลตฟอร์มกำหนด
ข้ันตอนการสร้างแวร์เอเบิล (Wearable) ในจกั รวาลนฤมิตDecentraland
1) การสร้างโมเดล3มิติเริ่มจากการนำเทมเพลต (Template) ของอวตารท่ีดาวน์โหลดมาจากเวปไซต์
อย่างเป็นทางการมาใช้เพ่ือเป็นการอ้างอิงขนาดและรูปทรงหากมีแบบร่างควรนำมาใช้สำหรับมุมกล้อง
Orthographic ด้านหน้าและด้านข้างจากน้ันจึงสร้างโมเดลจากโครงสร้างพื้นฐานและค่อย ๆ เพิ่มรายละเอียด
กระทั่งได้แบบตามต้องการพยายามควบคุมจำนวนทริส (tris) ไม่ให้เกินข้อกำหนดของแพลตฟอร์มซึ่งการ
บรหิ ารจัดการทริส (tris) จะใช้หลักการของรูปทรงพ้ืนฐาน (Basic shape) และการกำหนดท่าทาง (Gesture)
มาใช้เพ่ือให้ได้รูปร่างรูปทรงที่ใกล้เคียงกับแบบร่างมากท่ีสุดหากต้องการรายละเอียดท่ีมากขึ้นสามารถทำ
Texture mapping ในการเพิม่ เติมรายละเอียดไดใ้ นภายหลงั

ภาพท่ี 1 เทมเพลต (Template) ของอวตาร
ท่มี า : ทักษณิ า พิพธิ กลุ

ภาพที่ 2 การสร้างโมเดลจากรปู ทรงพ้ืนฐานเรขาคณิตเพ่อื กำหนดขนาดและสัดสว่ นของชิน้ งาน
ที่มา : ทักษณิ า พพิ ธิ กลุ

148
2) การสร้างพื้นผิวให้กับโมเดล 3 มิติ ด้วยเทคนิคTexture mapping โดยนักออกแบบต้องมีการ
กำหนดMaterial และการทำTexture mapping ซึ่งเป็นการนำภาพ 2 มิติมา mapping ลงบนวัตถุ นัก
ออกแบบจะต้องสร้างUV layout ให้อยู่ในรูปแบบส่ีเหลี่ยมจัตุรัสและนำUV layout ที่ได้มาไปใช้เป็นแม่แบบ
ในการวาดลวดลายลงไปภาพที่วาดจะถูกใช้เป็นImage texture ของMaterial ซ่ึงการนำImage texture มา
ใช้ทำTexture mapping นั้นทางแพลตฟอร์มกำหนดให้ใช้เพียง 2 ภาพต่อแวร์เอเบิล 1 ช้ินเท่าน้ันโดยหาก
ต้องมีการใช้สีผิวของอวตารมาใช้งานจะทำให้เหลือภาพแบบกำหนดเองให้ใช้เพียงภาพเดียวเน่ืองจากสีผิวของ
อวตารจำเป็นตอ้ งใช้Image texture และMaterial ของแพลตฟอร์มฉะน้ันนักสร้างสรรค์จงึ ต้องวางแผนในการ
ใช้Image texture ให้เกิดผลสูงสุดด้วยตัวอย่างเช่นการกำหนดภาพที่1 เพื่อใช้เป็นImage texture สำหรับ
Base color ของMaterial และกำหนดให้ภาพที่2 เป็นImage texture สำหรับEmission color ของ
Material เป็นต้นการใช้เทคนิคของการระบายสี พื้นผิวและมิติของวัตถุ เพื่อสร้างคุณลักษณะความสมจริง
ให้กับวัตถุ โดยเทคนิคนี้จะทำงานออกแบบยังคงประสิทธิภาพขนาดของไฟล์ขนาดเล็กตามท่ีแพลตฟอร์ม
จักรวาลนฤมิตรกำหนด
3) การRigging ให้นำโมเดลมาทำการParent with automatic weight เข้ากับArmature ของเทม
เพลตพร้อมกบั การWeight panting หากจดุ ไหนเปน็ จุดทต่ี ้องเชื่อมตอ่ กับโมเดลอวตารของเทมเพลตให้ระบาย
คา่ น้ำหนักเปน็ 1 เพือ่ ไม่ให้เกดิ รอยแยกของโมเดล

ภาพท่ี 3 การRigging และ Weight Paint
ทม่ี า : ทักษณิ า พพิ ิธกุล

4) ส่งออกโมเดล 3 มิติในรูปแบบไฟล์สกุล .glb และอัพโหลดท่ีเวปไซต์ https://builder.decentralland.org/
เพื่อสง่ เข้าระบบบล็อกเชนสำหรับจำหนา่ ยบนตลาดของ Decentraland ตอ่ ไป

149

4. การวเิ คราะห์ผลงาน
จากขอ้ จำกัดทางเทคนิคของผู้ใหบ้ รกิ ารจักรวาลนฤมิตในปัจจุบนั ทำให้ผ้อู อกแบบต้องใช้ทริส (tris) ใน

การสร้างความละเอียดของรูปร่างได้ในปริมาณจำกัดการสร้างสรรค์แวร์เอเบิล (Wearable) จึงต้องอาศัย
หลักการความเรียบง่ายในการออกแบบด้วยการใช้รูปทรงพ้ืนฐานแบบเรขาคณิตโดยจะเน้นท่ีโครงสร้างของ
รูปร่างรูปทรงท่ีมีเอกลักษณ์จดจำได้ง่ายเป็นสำคัญซึ่งการออกแบบด้วยหลักการดังกล่าว จะทำให้ผู้ออกแบบ
สามารถควบคุมความละเอียดของไฟล์ภาพผลงาน จากน้ันการเพ่ิมรายละเอียดของโมเดล3มิติด้วยทริส (tris)
จะใช้เฉพาะส่วนที่มีความสำคัญเช่นส่วนท่ีต้องการใช้เป็นจุดขยับต่าง ๆ ส่วนรายละเอียดภายในวัตถุผู้
สร้างสรรค์สามารถสร้างมิติที่สลับซับซ้อนข้ึนได้จากการลวงตาด้วยลวดลาย 2มิติของ Image textureซึ่งการ
ประยุกต์งานออกแบบด้วยการผสมผสานหลักการทางการออกแบบ 3 มิติและ 2 มิติเข้าด้วยกัน ทำให้ผลงาน
ออกแบบมีประสิทธภิ าพท้ังในแง่ของโครงสร้าง การสร้างรูปลักษณ์ทจ่ี ดจำได้ การสรา้ งสีสนั หลากหลาย การทำ
พื้นผิวทีเ่ ปน็ เอกลกั ษณ์ และมขี นาดของไฟล์ผลงานทเี่ หมาะสม

ภาพที่ 4 ผลงานแวรเ์ อเบิล (Wearable) เมอ่ื สวมใส่กบั อวตารในจกั รวาลนฤมติ
ที่มา : ทกั ษณิ า พิพธิ กลุ

5. สรุป
การออกแบบแวร์เอเบิล (Wearable) สำหรับร่างจำลอง (Avatar) เป็นการออกแบบท่ีท้าทายสำหรับ

ศิลปินดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ด้วยตลาดของโลกเทคโนโลยีท่ีกำลังขยายออกไปสู่โลกออกแบบสามมิติ แต่ด้วย
ขอ้ จำกัดทางการดาวน์โหลด อัพโหลดไฟล์ต่าง ๆ ทำให้แต่ละแพลตฟอร์มได้สรา้ งข้อกำหนดขนาดของไฟล์งาน
ออกแบบให้มีขนาดท่ีเหมาะสม ดังนั้น หากผู้ออกแบบสามารถเรียนรู้ที่จะออกแบบภายใต้ข้อกำหนดต่าง ๆ
เพ่ือให้งานสร้างสรรค์ของตนเองสามารถเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มของตลาดงานศิลปะดิจิทัลได้ ก็จะเป็นการ
สร้างโอกาสและพ้ืนทใี่ นการเผยแพรผ่ ลงานออกแบบในตลาดดิจทิ ัลปจั จุบนั โดยตวั อย่างจากการสร้างสรรคบ์ น
แพลตฟอร์มของ Decentraland ในบทความน้ีจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์งานดจิ ิทลั สามมิติ
และจะเปน็ ประโยชน์กับการทำความเข้าใจจกั รวาลนฤมิตอ่ืน ๆ ตอ่ ไป

150

เอกสารอา้ งองิ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์นครราชสีมา. (2563). เคร่ืองหมายหยิน–หยาง. [ออนไลน์]. สืบค้นเม่ือ
17 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.finearts.go.th/mahavirawongmuseum

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2565). Metaverse จักรวาลนฤมิตร.
[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.ipst.ac.th/knowledge/22565/
metaverse.html

Decentraland. (2022). Wearables Overview. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565 จาก
https://docs.decentraland.org/decentraland/wearables-overview/

Ocvirk, G. Otto, Stinson, E. Robert, Wigg, R. Philip, Bone, O. Robert and Cayton, L. David. (1998).
Art Fundamentals: Theory&Practice (5th ed): McGraw-Hill.

151

การพงั ทลายของโลกใบเกา่
Break The Old World

ธนพร งามจิตร, Tanaporn Ngamjit

คณะดจิ ทิ ัลมเี ดีย มหาวิทยาลยั ศรีปทุม, School of Digital Media, Sripatum University
E-mail : [email protected]

บทคัดยอ่

การพังทลายของโลกใบเก่า เปน็ ผลงานภาพวาดดิจิทัลท่ีต้องการแสดงถึงสถานการณ์โลกดิจิทัลยคุ ใหม่
ท่ีใช้เหรียญดิจิทัลในการแลกเปล่ียนสินทรัพย์ต่าง ๆ ระหว่างที่โลกใบเก่าที่ใช้เงินตราซ้ือแลกเปลี่ยนส่ิงของกัน
นั้นเร่ิมแตกออกและเปิดกว้างจนเห็นมิติโลกเสมือนภายนอกมากข้ึน โดยเล่าเรื่องผ่านตัวละครชื่อว่า “ปิโยะ”
เปน็ คาแรคเตอรท์ ม่ี ีสีสันสดใส ร่าเริง พร้อมผจญภัย กล้าท่ีจะก้าวกระโดดไปสู่โลกดิจทิ ัลยุคใหม่ โดยแนวคิดการ
ออกแบบสอ่ื ใหเ้ หน็ ถึงความผสมผสานศิลปะการออกแบบตา่ งชาตเิ ขา้ มาจนกลายเปน็ ศิลปะไทยสมัยใหม่

ศิลปะการออกแบบคาแรคเตอร์หรือตัวละครมีอิทธิผลอย่างมากในการช่วยเพิ่มยอดขายสินค้า ของที่
ระลึก ทำให้เกิดการศึกษาเรอ่ื งราววัฒนธรรมการบริโภคผลงานศิลปะประเภท character licensing รวมไปถึง
หาสัดส่วน รูปรา่ ง รูปทรง สสี นั ท่ีเหมาะสมของคาแรคเตอร์

หลังจากได้เผยแพร่ผลงานออกสู่สาธารณะได้มีโอกาสแสดงงาน ทั้งในแกลลอร่ีแพลตฟอร์มออนไลน์
รวมไปถึงโลกจักรวาลนฤมิตหรือเมตาเวิร์ส (Metaverse)

คำสำคัญ : คาแรคเตอร,์ จักรวาลนฤมติ , เหรยี ญดิจทิ ลั , สมัยใหม่

Abstract

Destruction of the old world Digital painting is a new digital world in which digital
tokens are used to exchange assets. While the old world began to decline crack and more
virtual worlds to see. Through the story, a character known as "piyo" is a cheerful and
colorful who dares to jump into a new digital world adventure. The design concept reflects
the integration of foreign design art into modern Thai art.

Art design or characters have a great influence on the wholesale of souvenirs. The
purpose of this study is to study cultural stories, characters' works of art, including shapes,
the proportion of shapes and colors, and appropriate colors.

In the public works, there are opportunities for creative or work in galleries, online
platforms, and metarverse

Keywords: Character, Metaverse, Digital Token, Modern

152

1. ความสำคัญหรอื ความเปน็ มาของปัญหา

ผลงานชิ้นน้ีได้รบั แรงบันดาลใจมาจากสถานการณ์ของโลกเสมือนหรือจักรวาลนฤมิตนั้นค่อย ๆ แทรก
ซมึ มาในชีวิตประจำวันจนตวั เราเองกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกใหม่นี้ สิง่ ที่แตกออกไมใ่ ช่เพียงเปลือกของโลกใบ
เก่าแต่สิ่งน้ันเปรียบเสมือนมุมมองหรือความคิดเดิม ๆ ในการใช้ชีวิตจับจ่ายใช้สอยแลกเปลี่ยนสิ่งของน้ันได้
พังทลายตามลงไป บางคนกลัวท่ีจะก้าวข้ามผ่านโลกใหม่ก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในโลกเดิมที่เร่ิมผุพังลง ตัวละครท่ี
สดใสหว้ิ ถังที่บรรจุสีฉูดฉาดเปรียบได้กบั ผูค้ นรกั สนุกสนาน ชอบความท้าทายในโอกาสใหม่กำลังจะเกิดขน้ึ สฟี ้า
อมเขียวบรรจใุ นถังสสี ื่อถงึ สีแหง่ อนาคตและเทคโนโลยไี ดม้ าแตง่ แต้มโลกใบเก่าใหม้ สี สี นั มากข้ึน

2. แนวคิด / ทฤษฎที เ่ี กีย่ วข้อง

ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีท่ีเรียกว่าจักรวาลนฤมิตหรือเมตาเวิร์ส (Metaverse) ในการมิติของ
มมุ มองภาพวาด อา้ งอิงวตั ถุองคป์ ระกอบต่าง ๆ สีสัน รูปทรงทสี่ ามารถเกิดขึ้นจริงได้ในโลกเมตาเวริ ์ส ซ่ึงโลกเม
ตาเวิร์สน้ันประกอบด้วยหลายสิ่ง เชน่ เทคโนโลยกี ารเข้าถึงแพลตฟอรม์ ม่าจะเป็น AR (Augmented Reality)
VR (Virtual Reality) และ XR (Extended Reality) ด้วยเทคโนโลยีเหล่าน้ีจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเข้าถึงโลกเม
ตาเวิร์สได้สมจริงมากข้ึน จนเมื่อมีผู้ใช้งานในปริมาณมากจะเกิดเป็นสังคมที่มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของ เงินตรา
การซ้ือขายเสมอื นโลกปัจจบุ นั และกลายเป็นระบบนิเวศทสี่ มบูรณ์

3. กระบวนการในการสร้างสรรค์

กระบวนการสร้างสรรค์ของผลงานศิลปะชนิ้ น้เี กิดจากเทคนิคการวาดภาพดิจิทลั บนอปุ กรณแ์ ท็บแล็ต
ขน้ั ตอนและกระบวนการทำงาน

1. การสร้างโครงต้นแบบ เกิดจากภาพร่างต้นแบบโดยใช้บรัชชนิดดินสอในการข้ึนโครงสร้างภาพ
เรขาคณติ เพอ่ื แทนท่ีตัวละคร และวตั ถตุ ่างภายในภาพ รวมถงึ การสร้างระยะมมุ มองให้มมี ิติ

2. การตัดเส้น เร่ิมข้ันตอนน้ีหลังจากที่ได้ภาพรวมของงานท้ังหมดแล้วจะช่วยให้ผลงานสะอาด ง่ายต่อ
การลงสีมากขึ้น โดยเลเยอร์การตัดเส้นจะอยู่ด้านบนของเส้นร่าง เพ่ือง่ายต่อการเช็ครายละเอียดงานก่อน
ขั้นตอนลงสี

3. ลงสี การลงสีขั้นแรกเพื่อกำหนดทิศทางของม้ดู โทนภาพใหต้ รงตามความต้องการของผวู้ าด
4. ลงแสงเงา การลงแสงเงาเพือ่ เพมิ่ มติ ิของงานใหส้ มจรงิ ยงิ่ ขน้ึ โดยอ้างอิงจากแสงเงาทเี่ กดิ ขึ้นจริง
5. เก็บราบละเอียดและบันทึกไฟล์ ก่อนบันทึกไฟล์ ผลงานต้องได้รับการตรวจสอบว่ามีความละเอียด
เพียงพอ ไมม่ ขี ้อผดิ พลาดในการลงสใี ด ๆ

153

ภาพท่ี 1 ลงสีในโปรแกรม Procreate
ท่มี า : Tanaporn Ngamjit / The 1st IADCE2019, 17-24 May 2019/(p.)

4. การวเิ คราะหผ์ ลงาน
ผลงานชิ้นน้ีได้รวบรวมกระแสที่จะเปล่ียนโลกในอนาคตไว้ ผ่านการเล่าเร่ืองโดยใช้สีม่วง ฟ้าอมเขียว

แดง และสโี มโนโทน ในการแบง่ ฝง่ั ของเทคโนโลยีสมัยเก่าและสมยั ใหม่
รูปทรงเหรญี ethereum สื่อให้เหน็ ถงึ สกลุ เงินดิจิทลั ชนิดหนึ่งที่เปน็ ท่ีนยิ มบนโลกเมตาเวริ ส์
พ้ืนท่ีอวกาศ สื่อถึงพ้ืนที่ไม่ท่ีส้ินสุดของโลกเมตาเวิร์สและเป็นดินแดนท่ีรอการค้นพบของนักแสวงหา

โอกาสท้งั หลาย
5. สรปุ

ผลงาน “การพังทลายของโลกใบเก่า” ได้ถูกนำไปเป็นตัวอย่างการสอนนักศึกษาในคณะดิจิทัลมีเดีย
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการออกแบบคาแรคเตอร์ การสร้างแนวคิด รวมไปถึงลงสีผ่าน
โปรแกรม อีกท้งั ยังเปน็ การเรยี นรู้ข้อมลู ขา่ วสารใหม่ ๆ ของโลกเมตาเวิรส์ ผ่านการวาดภาพและแสดงผลงาน
เอกสารอา้ งองิ
9 เรื่องควรรู้ กับ “เมตาเวิร์ส”โลกเสมือนจริง. (24กุมภาพันธ์2565). The Bangkok Insight. [ออนไลน์].

สืบค้นเม่ือ9มิถุนายน2564 จากhttps://www.thebangkokinsight.com/news/digital-economy
/technology/813079/

154

สอื่ วีดีทัศน์
“จติ รกรรมดิจทิ ัลสนั นิษฐานจากจิตรกรรมฝาผนงั อุโบสถวัดชมภเู วก (ภาพมารผจญ)”

Video media
“Digital Painting from Murals in Ubosot of Wat Chomphu Wek (Mara)”

ธนพล จุลกะเศยี น, ThanaponJunkasain

สาขาการออกแบบสอ่ื ดจิ ิทลั คณะสถาปัตยกรรมศาสตรแ์ ละการออกแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรตั นโกสนิ ทร์ ศาลายานครปฐมประเทศไทย,

Digital Media Design Faculty of Architecture and Design
Rajamangala University of Technology RattanakosinSalayaNakhonPathomProvince Thailand

E-mail : [email protected]

บทคดั ยอ่

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วัดชมภูเวก นี้สร้างข้ึนราวสมัยอยุธยาตอนปลาย ฝีมือสกุลช่าง
นนทบุรี ถือได้ว่ามีความเก่าแก่มากแห่งหน่ึงในจังหวัดนนทบุรี ในปัจจุบันมีความชำรุดเสียหายมากโดยในการ
จัดวางตำแหน่งของภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถเก่า วัดชมภูเวก จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับการจัด
วางตำแหน่งของภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ตอนต้นหลายแห่งที่ร่วมสมัย
เดยี วกนั

ทง้ั น้ีผลงานส่ือวีดีทัศน์ “จิตรกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจากจติ รกรรมฝาผนังอุโบสถวัดชมภเู วก (ภาพมาร
ผจญ)”มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเป็นกระบวนการหน่ึงในการอนุรักษ์งานด้านจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ซึ่งผู้
สร้างสรรค์ได้ทำคัดเลือกตัวอย่างจิตรกรรมฝาผนังแบบเจาะจง คือ ภาพมารผจญ ท่ีอยู่ในกลุ่มของภาพพุทธ
ประวัติ มาใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคจิตรกรรมดิจิทัล โดยมีเป้าหมายหลักคือการ
อนุรักษ์โดยแตะต้องของเดิมให้น้อยท่สี ุด ในด้านการประเมนิ รปู แบบผลงาน โดยผ้เู ช่ยี วชาญทางดา้ นแอนิเมชัน
, ด้านส่ือดิจทิ ัล, และด้านทัศนศิลป์ จำนวน 3 ท่าน พบว่า ผลงาน ส่ือวดี ีทัศน์ “จิตรกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจาก
จติ รกรรมฝาผนังอุโบสถวัดชมภูเวก (ภาพมารผจญ)” นี้น่าจะเปน็ แนวทางหน่งึ ในการอนุรักษ์งานด้านจิตรกรรม
ฝาผนังโบราณได้ตอ่ ไปในอนาคต

คำสำคัญ:สอื่ วดี ที ัศน์, จติ รกรรมดิจทิ ัล, จติ รกรรมฝาผนัง, วดั ชมภูเวก

Abstract

The murals in Ubosot of Wat Chomphu Wek had painted in the late Ayutthaya
period by Craftsmanship of Nonthaburi Province. It is regarded as one of the oldest in
Nonthaburi province. At present there is a lot of damage. In case of placement of murals in

155

Ubosot Wat Chomphu Wek was similar with murals in many Ubosot where in the late
Ayutthaya and Early Rattanakosin period.

Video media “Digital Painting from Murals in Ubosot of Wat Chomphu Wek (Mara)”
objectives to for the one choice for technique to preserve ancient murals of Thailand. Which
I selected murals “Mara” by purposive sampling for used to as prototype images for creation
with Digital Painting technique. By the main goal is to preserve as little touch as possible. In
the aspect of evaluating the form of work by 3 professionals in animation, digital media, and
visual art, which found that the Video media “Digital Painting from Murals in Ubosot of Wat
Chomphu Wek (Mara)” this should be one way of preserving ancient mural works in the future.

Keywords: Video media, Digital painting, murals, Wat Chomphu Wek

1. ความสำคัญหรือความเปน็ มาของปัญหา

วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ริมฝ่ังตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ภายในซอยวัดชมภูเวก 3 ตำบลท่าทราย
อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
เม่ือวันท่ี 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง 11.5 เมตร ยาว 26 เมตร (อรุณศักด์ิ กิ่งมณี,
(2550), 13) สันนิษฐานว่าสรา้ งขนึ้ ราวสมัยกรุงศรีอยธุ ยาตอนปลาย โดย พิศาล บุณผูก, และวีระโชติ ปั้นทอง
(2562) ระบุว่า “อุโบสถเก่าและวิหาร ได้แสดงอายุของโบราณสถานว่าได้สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระ
นารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรอี ยธุ ยา ทรงครองราชย์สมบัติระหวา่ ง พ.ศ.2199-2231” จิตรกรรมภายในอุโบสถ
หลงั เกา่ วดั ชมภูเวก สนั นิษฐานว่าเป็นจติ รกรรมสกลุ ช่างนนทบุรี เชอื่ กันว่าสร้างข้นึ โดยชาวมอญในสมยั กรุงศรี
อยุธยาตอนปลายประมาณพ.ศ.2300 สร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้เทคนิคจิตรกรรมไทยโบราณแสดงเร่ืองพระมาลัย,
พระเจ้าสิบชาติ, พระพุทธประวัติ มีความประณีตวิจิตรลวดลายละเอียดอ่อน สีสันสวยงาม (พระบุญช่วย
ปูญฺญจฺจโย,ม.ป.ป., ออนไลน์) ทั้งนี้ด้านภาพที่แสดงพุทธประวัติในจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ (เก่า) วัดชมภูเวก
ปรากฏเพียงหน่ึงภาพ คือ ภาพมารผจญ ที่อยู่ในตำแหน่งผนังหุ้มกลองดา้ นหน้าเหนือประตูอโุ บสถ โดย อรุณ
ศักดิ์ กิ่งมณี (2550) ได้มีการอธิบายเก่ียวกับภาพน้ีว่า “ผนังหุ้มกลองหน้าซึ่งมีประตูทางเข้าอยู่ตรงกลางนั้น
ด้านบนเหนือช่องประตูเขียนภาพพุทธประวัติตอนมารวิชัย องค์ประกอบภาพดังกล่าวประกอบด้วยภาพพระ
พุทธองค์ประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ ด้านล่างมีภาพพระแม่ธรณีกำลังบีบมวยผม โดยมีกองทัพมารทำท่าเข้า
คุกคามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับภาพพระแม่ธรณีท่ีอุโบสถเก่าวัดชมภูเวกแห่งน้ี เป็นฝีมือช่างช้ันครูท่ี
แสดงถึงความอ่อนช้อยและงดงามมาก จงึ ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพเขียนพระแม่ธรณที ี่งดงามที่สุดของไทย”
(อรุณศักด์ิ กิ่งมณี, 2550, 15) แต่เนื่องด้วยปัจจัยท้ังทางเวลา สภาพแวดล้อมและทางสังคม ส่งผลให้ปัจจุบัน
ภาพมารผจญ รวมถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังอ่ืน ๆ ณ อุโบสถแห่งน้ี มีการลบเลือนลงไปเรื่อย ๆ จนเป็นไปได้
อยา่ งมากวา่ ในอนาคตอาจไม่หลงเหลือเคา้ โครงผลงานท่ที รงคุณค่านี้อยู่กเ็ ป็นไปได้

ด้วยเหตุน้ีเองทำให้เกิดแนวคิดในการท่ีจะอนุรักษ์ผลงานจิตรกรรมอันทรงคุณค่าแห่งนี้ไว้ โดยทำการ
บันทึกภาพน่ิงจิตรกรรมฝาผนังแห่งน้ีเอาไว้แล้วทำการคัดลอกและสร้างภาพจิตรกรรมฝาผนังเร่ืองมารผจญใน

156

อุโบสถหลังเก่า วัดชมภูเวก ขึ้นใหม่ให้สมบูรณ์ด้วยเทคนิคจิตรกรรมดิจิทัลเน่ืองด้วยเทคนิคนี้จะทำให้เรา
สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้โดยแตะต้องของเดิมน้อยท่ีสุด รวมถึงสามารถเก็บข้อมูลผลงานและปรับแก้ไขได้
ง่ายหากเจอข้อค้นพบใหม่ได้อีกด้วยซ่ึงในการเสริมเติมส่วนท่ีหายไปหรือลบเลือนไปด้วยการสันนิษฐานน้ีมี
รากฐานมาจากการศึกษาและวิเคราะห์จากร่องรอยท่ีคงเหลืออยู่อย่างเป็นระบบ จนเมื่อแล้วเสร็จ จึงนำเอา
ผลงานภาพนิ่งท้ังหมดทไ่ี ด้ นำเสนอในรปู แบบสอ่ื วีดีทัศน์เพื่อให้มีความน่าสนใจมากข้ึน รวมถึงแสดงซ่ึงข้ันตอน
กระบวนการทัง้ หมดเพ่ือเป็นแนวทางใหก้ บั ผู้ทสี่ นใจไดพ้ ฒั นาต่อยอดได้ในอนาคตต่อไปอีกด้วย

2. แนวคดิ / ทฤษฎที ี่เกย่ี วข้อง

ชัยมงคล ธรรมทวีนันท์ (2554) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การออกแบบภาพยนตร์เอนิเมชันเพื่อแสดงอัต
ลกั ษณ์พื้นถิ่นเร่ือง พญาเม็งราย ซึ่งการวิจัยได้ทำการออกแบบภาพยนตร์แอนิเมชันท่ีแสดงถึงอัตลักษณ์พื้นถ่ิน
ล้านนา ศึกษารูปแบบของการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ โดยใช้ปัจจัยการนำเสนอถึงอัตลักษณ์ 3 ด้าน ได้แก่ 1
การนำเสนอ อตั ลกั ษณป์ จั เจกบุคคล 2 การนำเสนออัตลักษณ์ทางสังคม 3 การนำเสนออัตลักษณ์ทางวฒั นธรรม

ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ (2558) ได้ทำการวิจัยเร่ือง ทฤษฎีกับแนวความคิดและวิธีการ: มุมมองภาพท่ี
สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี โดยงานวิจัยช้ินนี้เป็นการค้นพบ
ซ่ึงวิธีการถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทยให้มีความสมบูรณ์ โดยการวิจัยพบว่า บุคคลท่ัวไปสามารถรับรู้
เน้ือหาเรื่องราว รูปแบบทางทัศนศิลป์และเทคนิควิธี ดังนี้ การรับรู้ด้านเนื้อหาเรื่องราวอยู่ในระดับดี ภาพ
จิตรกรรมมีความต่อเน่ืองของภาพ ถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราวได้สมบูรณ์ การรับรู้รูปแบบทางทัศนศิลป์และ
เทคนิควิธี อยู่ในระดับดีที่สุด สามารถมองมองเห็นความต่อเน่ืองของภาพจิตรกรรมในแต่ละผนังภาพ มองเห็น
เทคนิควิธีการเขยี น การระบายสี การตัดเส้น รายละเอียดความคมชัดของภาพ การจัดองค์ประกอบ การจดั วาง
ภาพ วธิ กี ารแบ่งกลุ่มภาพ และมองเห็นขนาด สดั ส่วนของภาพได้ถูกต้องตามตำแหน่งปกติของจิตรกรรมฝาผนัง

ชินวัฒน์ ประยูรรัตน์ และวีณา ประยูรรัตน์ (2564) ได้ทำงานวิจัยเร่ือง จิตรกรรมฝ าผนังไทยสู่
คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน โดยนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาแอนิเมชันจิตรกรรมฝาผนังไทยเพ่ือให้จิตรกรรมฝา
ผนังไทยมีชีวิตโดยใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน ซ่ึงการสร้างแอนิเมชันควรคำนึงถึงความโดดเด่นและอัต
ลักษณ์ของจิตรกรรมฝาผนังไทย ได้แก่ 1) เน้ือหา อาจมาจากวรรณกรรมไทย วิถีชีวิต ความเช่ือ และคำสอน
ทางพระพุทธศาสนา 2) ตัวละคร ส่วนใหญ่มาจากวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณี หรือศิลปะการแสดงในสมัย
นน้ั 3) ฉาก ส่วนใหญ่มาจากสถาปัตยกรรมไทยตามยุคสมยั การแสดงภาพไม่มีระยะมิติของภาพตามความเป็น
จริง แต่จะแสดงออกเป็นช้ัน ๆ ขึ้นไปด้านบน 4) รูปร่าง ส่วนใหญ่ตัวละครจะไม่แสดงกล้ามเน้ือ แต่จะเป็น
ลายเส้นท่ีมีลักษณะอ่อนช้อยคล้ายกับวาดรูปร่างของผู้หญิง และ 5) สี ส่วนใหญ่เป็นสีตุ่น ๆ คือสีท่ีผ่านการ
ผสมสีมาแล้วมากกว่า 1 สี ทำให้ดูสีไม่ฉูดฉาดเหมือนผลงานกราฟิกบางประเภท ดังน้ัน ด้วยคุณค่าทาง
ศิลปวัฒนธรรมและความงามทางศิลปะไทย หากมีการบูรณาการจิตรกรรมฝาผนังไทยและแอนิเมชันเข้า
ดว้ ยกันแลว้ นำไปเผยแพร่ทั้งในและตา่ งประเทศ ผู้เขียนเช่ือว่าคนไทยรนุ่ ใหม่จะเพมิ่ ความสนใจในจิตรกรรมฝา
ผนังไทย และเปน็ จุดดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาเท่ยี วชมจติ รกรรมไทยของจริงได้อีกดว้ ย

157

วรากร ใช้เทียมวงศ์ (2561) ได้ทำการวิจัยเร่ือง “การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมดิจิทัลแนวการ์ตูน
ญี่ปุ่นด้วยแท็บเล็ทดิจิทัล” ซึ่งผลการวิจัยพบว่าแท็บเล็ทดิจิทัลเป็นหน่ึงในเคร่ืองมือที่ศิลปินดิจิทัลนิยมใช้ใน
ปัจจุบันเนื่องจากสามารถตอบสนองต่อการใช้งานได้เช่นเดียวกันกับอุปกรณ์และเครื่องมือแบบด้ังเดิม จาก
การศึกษาตัวอย่างผลงานจิตรกรรมดจิ ิทลั แนวการต์ ูนญี่ปุน่ ด้วยแท็บเล็ทดิจิทัล พบว่าข้ันตอนในการสรา้ งสรรค์
ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการร่างภาพ ตัดเส้น ลงสีพ้ืนเพื่อดูองค์ประกอบภาพท้ังหมด ก่อนลงสีเก็บรายละเอียดตาม
เทคนิคส่วนตัวของศิลปินโดยใช้คาสั่งและเครื่องมือในระบบการทางานแบบเลเยอร์ รวมถึงคุณสมบัติพิเศษ
ของเลเยอร์ในการลงน้ำหนักแสงเงา ซึ่งเป็นระบบการทางานพ้ืนฐานที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันวาด
รูปทั่วไป แต่ถ้าต้องการสร้างผลงานจิตรกรรมดิจิทัลแนวการ์ตูนญ่ีปุ่น ควรเลือกใช้แท็บเล็ทดิจิทัลคู่กับ
ซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันที่มีระบบเลเยอร์ที่สมบูรณ์ ระบบอินเทอร์เฟสการใช้งานที่สะดวก และการ
ตอบสนองต่อน้ำหนักมือกับปากกาสไตลัสได้อย่างแม่นยา ถึงแม้เทคโนโลยีที่เปล่ียนแปลงไปได้ทำให้เกิด
นวัตกรรมดิจิทัลท่ีอำนวยความสะดวกแก่ศิลปินในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบจิตรกรรม
ดิจิทัล แต่สิ่งสำคัญท่ีไม่ควรละเลย คือ ทักษะและองค์ความรู้ทางด้านทฤษฎีศิลปะ โดยเฉพาะเร่ือง
องค์ประกอบศิลปะเพอื่ นามาประยกุ ต์ใช้กับเคร่ืองมอื ดิจิทลั ในการสร้างสรรคผ์ ลงานศิลปะหลายหลายสไตล์ทม่ี ี
คณุ คา่ ความหมายและความงาม เป็นทนี่ า่ สนใจแก่ผูพ้ บเห็น

เสมอชยั พูลสุวรรณ (2539) ได้มกี ารศึกษาเพ่ือสืบคน้ ความหมายของจิตรกรรมพุทธศลิ ป์ในวัฒนธรรม
ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างต้นพุทธศตวรรษท่ี 19 ถึง 21 กรอบความคิดหลักในการวิเคราะห์คือ จิตรกรรม
พุทธศิลป์ของไทย ซึ่งมักมีเนื้อหาและตำแหน่งของภาพที่ถูกกำหนดให้สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบกับผังและ
ประเภทของอาคารพุทธสถานนั้น น่าจะมิได้เป็นแต่เพียงงานประดับตกแต่งเพื่อความงาม หรือเป็นภาพเล่า
เรอื่ งอยา่ งสามญั เท่านั้น หากแตว่ ่าจติ รกรรมอาจได้ทำหนา้ ที่สำคญั อีกประการหนงึ่ เพื่อเปน็ สื่อสัญลกั ษณท์ ส่ี รา้ ง
ความหมายพิเศษบางประการให้กับพุทธสถาน ด้วยเหตุน้ัน การศึกษาความหมายของจิตรกรรมไทยโบราณ
นอกจากท่ีผู้ศึกษาจะให้ความสำคัญกับเน้ือหาโดยตรง และแง่มุมทางสุนทรียะของภาพแล้ว ยังสมควรต้อง
วเิ คราะหส์ าระในเชิงสญั ลักษณ์ที่ภาพไดส้ ื่อออกมา โดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอนื่ ๆ โดยรวมของพทุ ธสถานอีกดว้ ย

3. กระบวนการในการสร้างสรรค์

1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องท้ังหมด ประกอบด้วย ข้อมูลท่ีเกี่ยวข้องกับวัดชมภูเวก จังหวัด
นนทบุรี, ข้อมูลเก่ียวกับภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ (เก่า) วัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี, และข้อมูลด้าน
การสร้างสรรคจ์ ิตรกรรมด้วยส่อื ดจิ ทิ ัล

2. การวิเคราะหข์ ้อมลู ดำเนนิ การดังน้ี
- วิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดวางตำแหน่งและเนื้อหาของภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ

(เกา่ ) วัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี
- วิเคราะห์ข้อมูลด้านรูปแบบและเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ในภาพจิตรกรรมฝาผนังพระ

อุโบสถ (เกา่ ) วัดชมภูเวก จงั หวดั นนทบุรี

158

ภาพที่ 1 จิตรกรรมฝาผนงั อุโบสถวัดชมภูเวก เร่ืองภาพมารผจญ

ภาพท่ี 2 แสดงเส้นทศิ ทางและโครงสร้างองค์ประกอบหลักของภาพมารผจญ

3. สรุปขอ้ มูลที่ไดจ้ ากการวิเคราะห์ แล้วกำหนดแนวทางในการสร้างภาพ “จติ รกรรมดจิ ิทัลสนั นษิ ฐาน
จากจิตรกรรมฝาผนงั อโุ บสถวดั ชมภเู วก จังหวัดนนทบรุ ”ี

4. สรา้ งภาพ “จติ รกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจากจติ รกรรมฝาผนังอโุ บสถ วดั ชมภเู วก (ภาพมารผจญ)”

ภาพที่ 3 ผลงาน “จิตรกรรมดิจิทลั สนั นษิ ฐานจากจิตรกรรมฝาผนงั อโุ บสถวัดชมภเู วก (ภาพมารผจญ)”

5. นำภาพ “จิตรกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจากจติ รกรรมฝาผนังอุโบสถ วัดชมภูเวก (ภาพมารผจญ)” มา
ทำการตัดต่อเพ่ิมเติมส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อใช้นำเสนอเป็นสื่อวีดีทัศน์ “จิตรกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจาก
จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดชมภูเวก (ภาพมารผจญ)”

ภาพที่ 4 ส่วนหนง่ึ ใน สื่อวดี ที ศั น์ “จิตรกรรมดจิ ทิ ลั สันนิษฐานจากจติ รกรรมฝาผนงั อโุ บสถวัดชมภเู วก (ภาพมารผจญ)”

159

4. การวเิ คราะห์ผลงาน

ในผลงาน สื่อวีดีทัศน์“จิตรกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจากจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดชมภูเวก (ภาพมาร
ผจญ)” เป็นการสร้างสรรค์ข้ันตอนกระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมดิจิทัล (Digital painting)
ภายใต้กรอบของรูปแบบภาพลักษณ์ของงานจิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถหลังเก่า ของวัดชมภูเวก ท่ีนำเสนอ
เนื้อหาเรื่องมารผจญ อันเป็นเรื่องราวหน่ึงในพุทธประวัติ ช่วงขณะเหตุการณ์ท่ีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะ
ทรงตรัสรู้ในส่วนตัวผลงาน “จิตรกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจากจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดชมภูเวก (ภาพมาร
ผจญ)” เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของเดิมแล้วพบว่า ภาพโครงสร้าง
องค์ประกอบโดยรวมตรงกันกับต้นแบบ ส่วนสีท่ีใช้น่าจะมีความใกล้เคียงกันกับต้นแบบในช่วงเร่ิมเขียนข้ึน
ประมาณไม่นอ้ ยกว่า 80% ดา้ นรายละเอยี ดท่ียงั คงปรากฏอยู่ ในบางส่วนมเี ค้าโครงเดมิ อยทู่ ำให้ผวู้ ิจยั สามารถ
คัดลอกได้ไม่ยากนัก จึงพยายามทำให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ทั้งน้ียังมีบางส่วนของภาพท่ี
ผวู้ จิ ัยสันนษิ ฐานว่าแรกเรม่ิ ของภาพมารผจญในจติ รกรรมอุโบสถหลังเก่า วัดชมภูเวก น้นี ่าจะแตกต่างจากภาพ
จติ รกรรมท่ีปรากฏอย่ใู นปัจจุบนั (พ.ศ. 2564) ยกตัวอย่างเช่น ลักษณะของกระแสน้ำที่ปรากฏทางด้านฝั่งซ้าย
ของภาพ จากข้อมูลที่ได้ทำการค้นคว้าพบว่ามีการเขียนซ่อมภายหลังให้มีความเป็นธรรมชาติของสายน้ำมาก
ข้ึน ซึ่งรูปแบบน้ีมีลักษณะใกล้เคียงกับเทคนิคการเขียนน้ำในช่วงราวรัชกาลที่ 3 และ 4 ยุครัตนโกสินทร์ จึง
เป็นไปไดว้ ่าจิตรกรรมเดิมแรกเริ่มน่าจะมีลักษณะการเขียนเส้นน้ำท่ีเป็นระเบียบและชัดเจนกว่าที่ปรากฏอยู่ใน
ปัจจุบัน ด้วยเหตนุ เี้ องทำให้ ผลงาน “จิตรกรรมดิจิทัลสนั นิษฐานจากจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดชมภเู วก (ภาพ
มารผจญ)” ใช้เส้นที่ดูเป็นระเบียบและชัดเจนในการเขียนแสดงเป็นสายน้ำแทนท่ีจะใช้เส้นแบบเดียวกันกับท่ี
ปรากฏอยู่ในอุโบสถ ณ ปัจจุบัน ซ่ึงทั้งน้ีน่าจะสรุปเบ้ืองต้นได้ว่าในด้านรายละเอียดที่ยังคงปรากฏอยู่นั้น
ผลงาน“จิตรกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจากจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดชมภูเวก (ภาพมารผจญ)” น่าจะมีความ
ใกล้เคียงกับจติ รกรรมต้นแบบเดมิ ไม่น้อยกวา่ 90% ในส่วนที่ขาดหายไปและผู้วิจัยได้ทำการสันนิษฐานข้ึนใหม่
โดยองิ จากร่องรอยที่ยังมีปรากฏอยู่บ้างในภาพเดิมผนวกกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเบื้องต้นพยายามค้น
และเทียบเคียงจากจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถหลังเก่า วัดชมภูเวก ก่อน แล้วจึงลองเทียบเคียงกับ
จิตรกรรมฝาผนังแห่งอ่ืน ๆ ท่ีมีอายุไล่เล่ียกัน ทำให้ผลงาน“จิตรกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจากจิตรกรรมฝาผนัง
อุโบสถวัดชมภูเวก (ภาพมารผจญ)” ที่มีการเพิ่มเติมในส่วนท่ีเลือนหายไปน่าจะใกล้เคียงกับส่วนท่ีขาดหายไป
จากต้นแบบไม่น้อยกว่า 70% กล่าวโดยรวมผลงาน “จิตรกรรมดิจทิ ัลสันนิษฐานจากจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ
วัดชมภูเวก (ภาพมารผจญ)” น่าจะใกล้เคียงกับต้นแบบในช่วงเวลาแรกเริ่มเขียนขึ้นประมาณ 90% เป็นอย่าง
น้อย

5.สรุป
ทั้งนี้ ผลงาน ส่ือวีดีทัศน์ “จิตรกรรมดิจิทัลสันนิษฐานจากจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดชมภูเวก (ภาพ

มารผจญ)”พบว่ามีความสำเร็จอยู่พอสมควร ซึ่งจากการนำผลงานให้ผู้เช่ียวชาญทางด้านแอนิเมชัน, ด้านส่ือ
ดิจทิ ัล, และด้านทัศนศิลป์ จำนวน 3 ท่าน ทำการตรวจสอบเบ่ืองตน้ พบว่า มคี วามเหมาะสมในระดับ “ดี” ถึง
“มากที่สุดในทุกด้าน” โดยความเห็นเพ่ิมเติมจากผู้เช่ียวชาญทั้ง 3 ท่าน เห็นว่า ผลงานมีความสวยงามและ

160

เหมาะสม มีข้อสันนิษฐานท่ีสมเหตุสมผล และอยากให้จัดทำผลงานแบบนี้ทั้งหมดของภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ภายในอุโบสถแห่งน้ี รวมถึงผลงานนี้น่าจะส่งผลต่อสังคมและชุมชนได้ดีมากไปขึ้นอีก ส่วนสื่อเคล่ือนไหวท่ีใช้
นำเสนอกระบวนการสร้างสรรค์ทำออกมาได้ดี ข้อมูลที่ได้เบื้องต้นนี้จึงเป็นข้อยืนยันส่วนหนึ่งว่าผลงาน ส่ือวีดี
ทัศน์ “จิตรกรรมดิจทิ ัลสนั นิษฐานจากจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดชมภเู วก (ภาพมารผจญ)” น้ีน่าจะใช้เปน็ ส่วน
หนึ่งในการชว่ ยอนุรักษศ์ ลิ ปวฒั นธรรมของไทยไดอ้ กี ทางหน่ึง

เอกสารอา้ งอิง

ชัยมงคล ธรรมทวีนันท์. (2554). การออกแบบภาพยนตร์เอนิเมช่ันเพื่อแสดงอัตลักษณ์พ้ืนถิ่นเรื่อง พญา
เมง็ ราย. ศลิ ปมหาบัณฑติ . กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร.

ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ. (2558). ทฤษฎีกับแนวความคิดและวิธีการ: มุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรม
ฝาผนังในพระอุโบสถ วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์, ชลบุรี:
มหาวทิ ยาลัยบูรพา.

ชินวัฒน์ ประยูรรัตน์, และวีณา ประยูรรัตน์. (2564). จิตรกรรมฝาผนังไทยสู่คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน.
วารสารสหศาสตรศ์ รปี ทมุ ชลบรุ ี, ปีท่ี 7 ฉบบั ท่ี 1 (2564): มกราคม – เมษายน, 9-20.

พระบุญช่วย ปูญฺญจฺจโย. (ม.ป.ป.). วัดชมภูเวก จ.นนทบุรี. [ออนไลน์] วันท่ีค้นข้อมูล 17 กันยายน 2564
จาก http://chompoowek.blogspot.com/p/blog-page_30.html.

พิศาล บณุ ผกู , และวีระโชติ ป้นั ทอง. (2562). พิพธิ ภณั ฑ์พื้นบา้ นวดั ชมภเู วก. นนทบุรี: โครงการพัฒนาและ
เผยแพร่สารสนเทศภูมิปัญญาท้องถ่ินนนทบุรีศึกษา : ผ่านชุมชนวัดชมภูเวก เพื่อส่งเสริมบริการ
หอ้ งสมดุ สูช่ ุมชน. นนทบรุ :ี สำนกั บรรณสารสนเทศ, มหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช.

วรากร ใช้เทียมวงศ์. (2561). การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมดิจิทลั แนวการ์ตูนญี่ปุ่นด้วยแท็บเลท็ ดิจิทัล.
คณะดิจิทัลมีเดีย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. [ออนไลน์] วันที่ค้นข้อมูล 15 พฤศจิกายน 2563 จาก
http://www.dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/6153/1/kds2018_proceeding_wara
korn.pdf.

เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2539). สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่19-24. กรุงเทพฯ :
สำนกั พิมพม์ หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร.์

อรุณศักดิ์ ก่ิงมณี. (2550). วัดชมภูเวกหนึ่งในรัตนอารามของนนทบุรี. วารสารความรู้คือประทีป, ฉบับที่
2/50, 13-19.

161

จติ รกรรมญี่ปนุ่ คิจิมะ เรียวกงั จากภาพยนตร์เรอ่ื ง เคท 2021
Japanese Painting Kijima Ryokan (KATE 2021)

ธรรมศักดิ์ เอื้อรกั สกลุ , ThammasakAueragsakul

125/62 ถ.เทิดราชัน สกี นั ดอนเมือง กทม. 10210, 125/62 Terdrachan Road Sri-Kan Don Mueang Bangkok 10210
E-mail : [email protected]

บทคัดย่อ

ผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมชุดนี้ สร้างสรรค์เพ่ือใช้เป็นฉากประดับในส่วนของประตู
เรียวกังของภาพยนตร์แนวแอ็กชันระทึกขวัญจากฮอลลีวูดเร่ือง KATE (2021) ซ่ึงได้แรงบันดาลใจจากภาพ
ทิวทัศน์ศิลปะญ่ีปุ่นสมัยโมโมยามา แห่งวัดเรียวอันจิ มีจุดเด่นคือ การใช้หมึกดำเขียนและลงน้ำหนักใน
ภาพรวม แม้เป็นภาพสีแต่ยังคงความเป็นงานวาดเส้นด้วยหมึกดำอย่างเห็นได้ชัด ศิลปะญี่ปุ่นมีความเกี่ยวข้อง
และเป็นส่วนหน่ึงของปรัชญาเซน็ ท่ีแสดงเอกลักษณใ์ นความเรยี บง่าย ความสงบ มีการตัดเส้นโดยเน้นขอบของ
รปู ทรงที่เด่นชัด แม้การวาดเขียนจะเป็นรูปทรงธรรมชาติแต่ไม่นิยมถ่ายทอดรายละเอียดมากเหมือนศิลปะจีน
รูปทรงทุกอย่างจึงมีการตัดทอน ไม่มีการลงน้ำหนักแสงเงาเพ่ือสร้างระยะ เช่นเดียวกับศิลปะตะวันออกให้
รูปทรงทำงานสัมพันธ์ร่วมกับพื้นที่ว่าง มีการจัดวางรูปทรงให้มีความสมมาตรน้ำหนักด้านซ้าย/ขวา และเปิด
พื้นที่วา่ งด้านบนหรอื บริเวณกลางภาพโดยเป็นภาพแนวยาวทีเ่ ช่อื มตอ่ กนั ทั้งหมดตามบานประตู

คำสำคญั : จิตรกรรมญ่ปี ุน่ แบบด้งั เดิม, ศลิ ปะญ่ีปุ่นสมยั โมโมยามา, ภาพวาดหมีกดำ, ภาพยนตรเ์ รื่อง KATE (2021)

Abstract

This collection of traditional Japanese paintings was produced as a prop for the
Hollywood actionthrillerfilm KATE (2021). The artworks wereinspired by scenic ink paintings
from the Momoyama period at Ryoanji Temple, which used both line drawings and tone
painting. Although colors are used, black inks are used prominentlyin the artworks. Japanese
art is distinctive in its simplicity and serenity, with its emphasis on shapes enhanced by the
use of clean ink lines. Japanese art has always been entwined with Zen philosophy. Similar
to Chinese ink paintings, the majority of Japanese ink paintings portray scenic scenes with
natural shapes. Japanese ink paintings, on the other hand, do not depict as many details as
their Chinese counterparts. All of the figures are abstract, with little or no shading to indicate
depth. With this Eastern philosophy, art forms operate with empty spaces; symmetry can be
achieved, such as left-right visual balance, or by incorporating empty spaces at the top or
middle of artworks. Each of which connects to form acontinuous horizontal landscape along
the length of each door panel.

Keywords: MomoyamaTraditional Japanese Painting, Landscape, Ink painting, KATE (2021)

162

1. ความสำคญั หรือความเป็นมาของปัญหา
ทีมงานสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดมีความประสงค์ต้องการศิลปินไทยท่ีมีทั กษะสามารถวาดภาพ

จติ รกรรมแบบดงั้ เดิมของญี่ปุ่นได้ เน่ืองจากมีการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อใชเ้ ปน็ สถานทีใ่ นการถ่ายทำ
โดยจัดฉากเรียวกังให้มีความใหญ่เท่ากับสเกลจริงทั้งหมด ทีมงานได้พยามเสาะหาและคัดเลือกศิลปินไทย ซึ่ง
ข้าพเจ้าได้รับการติดต่อเน่ืองจากทีมงานได้เห็นผลงานวาดศิลปะจีนของข้าพเจ้า ซ่ึงน่าจะมีความเป็นไปได้ใน
การร่วมงานเพราะศิลปะจนี /ญี่ปนุ่ โบราณมีความคล้ายคลงึ กัน

การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมจีน/ญ่ีปุ่นโบราณมีลักษณะเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต้ังแต่วัสดุที่ใช้ซึ่งไม่
สามารถหาได้ทัว่ ไป และยงั ยากตอ่ การเขา้ ถงึ เมื่อเทยี บกับการสรา้ งงานจิตรกรรมลักษณะอื่น

2. แนวคดิ /ทฤษฎที ่ีเกีย่ วข้อง
แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานชุดน้ีต้องการถ่ายทอดความงามท่ีแฝงด้วยความสงบน่ิง ของทิวทัศน์

ธรรมชาติของญ่ีปุ่น แม้ศิลปะญี่ปุ่นจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีนเป็นส่วนใหญ่ แต่ศิลปะญ่ีปุ่นมีหลักการคิดท่ี
แตกต่างจากศิลปะจีนคือ เน้นความเรียบง่ายมากกว่าศิลปะจีน เน้นขอบของรูปทรงโดยเฉพาะความเหล่ียมคม
เนน้ ให้มีพนื้ ทีว่ า่ ง การจัดองค์ประกอบเน้นความสมมาตร และมีเนอ้ื หาเรอ่ื งราวทีย่ าวเช่ือมต่อเนอื่ งกัน

ศิลปะภาพจิตรกรรมญี่ปุ่นโบราณมีหลักทฤษฎีความเรียบง่ายแบบมินิมอล นิยมตัดทอนรายละเอียด
จากธรรมชาตจิ ริงมากกวา่ ศิลปะจีน เน้นความสงบมากกว่าเคลอ่ื นไหว

3. กระบวนการในการสร้างสรรค์

ภาพที่ 1 ภาพรา่ งฉากจติ รกรรมญปี่ ุ่นโดย ผศ.ธรรมศกั ดิ์ เอือ้ รกั สกลุ
ที่มา : ผศ.ธรรมศกั ด์ิ เอือ้ รกั สกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

4.การวเิ คราะห์ผลงาน
ในการทำงานช่วงแรกผลงานมีตัวตนเอกลักษณ์ความเป็นศิลปะจีนอยู่มาก ซึ่งข้าพเจ้าลงรายละเอียด

มากเกินไป และรูปทรงเน้นความเป็นธรรมชาติและดูมีความเคล่ือนไหว ในการทำงานชุดนี้ได้แลกเปล่ียน
ความรู้และประสบการณ์กับคุณมิยูกิคิตากาวะผู้กำกับศิลป์ชาวญ่ีปุ่นที่มีความเช่ียวชาญด้านงานศิลปะญ่ีปุ่นได้
ร่วมกันวเิ คราะห์ผลงาน และพัฒนาแนวทางการทำงาน

163

ภาพที่ 2 ภาพวาดจติ รกรรมญ่ีปุ่น Room C ในชว่ งแรกโดย ผศ.ธรรมศักดิ์ เอ้ือรักสกลุ
ท่ีมา : ผศ.ธรรมศักด์ิ เอื้อรกั สกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

จากผลงานภาพท่ี 2 จะเหน็ ไดว้ ่าภาพมีรายละเอียดค่อนข้างมาก การใช้เส้นวาดรูปทรงธรรมชาติแลดู
เน้นความซับซ้อน และพื้นผิวของอากาศ พ้ืนดินล้วนให้ความรู้สึกท่ีเคล่ือนไหว ซ่ึงเหล่าน้ีคือเอกลักษณ์ในงาน
ศลิ ปะจนี แต่งานศิลปะภาพจิตรกรรมญี่ปุน่ จะตัดทอนสิง่ เหล่านอี้ อกมากพอสมควร

ภาพที่ 3 ภาพวาดจติ รกรรมญปี่ ุ่นโบราณจากวดั เรียวอันจิ (Birds and Flowers in the Four Seasons)
ที่มา : Hiroshi Onishi, Takemitsu Oba, Sandra Castile. (1994). Immortals and Sages: Paintings from Ryoanji

Temple.pp.39. The Metropolitan Museum of Art.

ภาพที่ 3 เมื่อวิเคราะห์จากภาพจิตรกรรมญ่ีปุ่นโบราณจากวัดเรียวอันจิ ซึ่งเป็นศิลปะสมัยโมโมยามา
เปน็ ยคุ สมยั ท่ีศิลปินญี่ปุ่นไดม้ ีการเดินทางแลกเปลย่ี นกับจนี เปน็ จำนวนมาก นิยมถ่ายทอดภาพวาดแนวทวิ ทัศน์
พบว่าเอกลักษณ์ของศิลปะญ่ีปุ่นให้ความสำคัญกับความเรียบง่าย การลงพื้นผิวของอากาศต้องใช้ทักษะการ
ระบายสีในพื้นที่กว้างๆให้เรียบเนียนที่สุด โดยไม่ให้เกิดคราบน้ำหรือมีให้น้อยที่สุด พื้นผิวของดินก้อนหินนิยม
ใช้การตัดเส้นให้มีลักษณะเป็นขอบเหลี่ยมคม ทุกรูปทรงมีทิศทางจังหวะท่ีชัดเจน ให้ภาพมีความรู้สึกสงบน่ิง
ทีส่ ุดนยิ มจัดแบ่งองคป์ ระกอบใหม้ ีพืน้ ทีโ่ ล่งอยกู่ ลางภาพและรูปทรงขนาดใหญ่มักวางด้านซ้ายและขวา

ภาพท่ี 4 ภาพวาดจติ รกรรมญป่ี ุน่ Room Cทีส่ มบูรณ์ โดย ผศ.ธรรมศักดิ์ เอ้อื รกั สกลุ
ที่มา : ผศ.ธรรมศักด์ิ เออ้ื รักสกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

164

ภาพที่ 5 ภาพวาดจิตรกรรมญป่ี นุ่ Room A โดย ผศ.ธรรมศกั ด์ิ เอ้ือรักสกลุ
ทม่ี า : ผศ.ธรรมศกั ด์ิ เอื้อรกั สกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

ภาพท่ี 6 ภาพวาดจิตรกรรมญป่ี ุ่น Room B โดยผศ.ธรรมศกั ด์ิ เอ้ือรักสกุล
ที่มา : ผศ.ธรรมศักด์ิ เออ้ื รักสกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

ภาพท่ี 7 ภาพวาดจิตรกรรมญป่ี ุ่น Room D โดยผศ.ธรรมศักด์ิ เออ้ื รกั สกลุ

ทีม่ า : ผศ.ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul
ผลงานสร้างสรรค์ที่วาดข้ึนใหม่โดยใช้กระดาษสาสำหรับงานวาดประดับบานประตูญ่ี ปุ่นโบราณที่
นำเขา้ จากประเทศญี่ปุน่ และสีนำ้ ญปี่ นุ่ โดยเฉพาะ ใชว้ ิธกี ารลงสีให้มคี วามเรยี บเนียนที่สุดโดยไมใ่ ห้เกดิ คราบใน
บริเวณพื้นท่ีโล่ง ด้วยแปรงเฮคขนกระต่ายซ่ึงมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำและสีได้ดีกว่าแปรงระบายสีน้ำท่ัวไป ซ่ึง
แปรงสนี ำ้ ทัว่ ไปส่วนใหญ่มีคุณสมบัติอุม้ น้ำ แต่ไมอ่ ุ้มสเี วลาระบายจึงมักทิง้ คราบน้ำใหเ้ ห็นเม่ือสีแหง้

165
กรรมวิธีการวาดมีการตัดทอนรายละเอียดของรูปทรงต้นไม้ให้ดูเรียบง่าย แต่รูปทรงต้องเด่นชัด ไม่มี
เถาวัลย์ปกคลุมทีด่ รู กแบบภาพที่ 2 เน้นอารมณ์ของภาพให้ดสู งบนิง่ และมคี วามเหงา ขณะท่ีศลิ ปะจนี เน้นใหด้ ู
รายละเอียดของธรรมชาติ ถึงแม้จะตัดทอนแต่ไม่มากเหมือนศิลปะญ่ีปุ่น และเน้นให้ความรู้สึกถึงการ
เคลื่อนไหวทม่ี ีชวี ติ ชวี ามากกวา่
การสร้างสรรค์ผลงานเป็นภาพวาดประดับบานประตขู นาดใหญ่ท่ีมคี วามสูง 2 เมตร ยาว 6 เมตร โดย
ตอ้ งวาดเปน็ ภาพทเ่ี ชื่อมตอ่ เน่ืองกันแบ่งเปน็ ห้องRoom A-Room D

ภาพที่ 8 แบบแปลนฉากเรยี วกัง KATE (2021)
ท่ีมา : ผศ.ธรรมศักดิ์ เอ้อื รักสกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

ภาพที่ 9 การติดตงั้ ภาพจิตรกรรมประดบั บานประตูเรยี วกัง KATE (2021)
ทมี่ า : ผศ.ธรรมศักด์ิ เออื้ รักสกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

ภาพท่ี 10 การติดตัง้ ภาพจิตรกรรมประดับบานประตูเรียวกงั KATE (2021)
ท่ีมา : ผศ.ธรรมศักด์ิ เอื้อรักสกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

166

ภาพท่ี 11 การติดตง้ั ภาพจิตรกรรมประดับบานประตูเรียวกงั KATE (2021)
ทมี่ า : ผศ.ธรรมศักด์ิ เออ้ื รกั สกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

ภาพท่ี 12 การตดิ ต้งั ภาพจิตรกรรมประดบั บานประตเู รียวกงั KATE (2021)
ที่มา : ผศ.ธรรมศกั ด์ิ เอือ้ รักสกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

ภาพที่ 13 การตดิ ตั้งภาพจติ รกรรมประดบั บานประตูเรยี วกงั KATE (2021)
ที่มา : ผศ.ธรรมศกั ด์ิ เอ้ือรักสกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

167

ภาพที่ 14 การตดิ ตั้งภาพจิตรกรรมประดับบานประตูเรยี วกัง KATE (2021)
ท่ีมา : ผศ.ธรรมศกั ดิ์ เอื้อรักสกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

ภาพที่ 15 จิตรกรรมประดับประตเู รียวกงั ในฉากภาพยนตร์ KATE (2021)
ท่ีมา : ผศ.ธรรมศกั ดิ์ เอื้อรกั สกลุ Assis. Prof. Thammasak Aueragsakul

168

5. สรุป
ผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรมญ่ีปุ่นโบราณชุดน้ี สร้างสรรค์เพื่อใช้เป็นฉากประดับในเรียวกังของ

ภาพยนตร์ฮอลลีวดู เรอื่ ง KATE (2021)ซึง่ มีเอกลักษณ์มีความเรียบง่าย ตัดทอนรายละเอยี ดแต่เน้นความเด่นชัด
ของรูปทรง ให้ความสงบน่ิง ซ่ึงสอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเซ็น แม้จะเป็นภาพสีแต่ยังคงเน้นการใช้เส้นและ
การลงน้ำหนักหมึกดำมาเป็นอันดับแรก การทำงานต้องใช้ทักษะความชำนาญสูงเนื่องจากไม่สามารถใช้ดินสอ
ในการรา่ งภาพบนกระดาษสาได้ งานจติ รกรรมของจนี /ญ่ปี ุน่ ตอ้ งใชพ้ ่กู นั วาดเส้นไปในทนั ทโี ดยไม่มกี ารร่าง

เอกสารอา้ งอิง
Hiroshi Onishi, Takemitsu Oba, Sandra Castile. (1994). Immortals and Sages: Paintings from

Ryoanji Temple. pp.39. The Metropolitan Museum of Art.
Tsuneko S. Sadao, Stephanie Wada. (2003). Discovering the Arts of Japan: A Historical Overview.

Kodansha, USA

169

มิตสิ มั พนั ธ์แห่งชีวติ
Relationship of life

นพอนนั ต์ บาลสิ ี, Nopanan Balisee

คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบรุ ี,
Faculty of Fine and Applied Arts BANGKOKTHUNBURI UNIVERSITY

E-mail : [email protected]

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ผู้วิจัยมีจุดประสงค์คือ 1.) เพื่อศึกษาวิเคราะห์มิติความงดงามและความประทับใจของ
สิ่งมีชีวิตในป่าท่ีต่างพ่ึงพาอาศัยและอยู่ร่วมกันในวัฏจักรที่งดงามตามมุมมองความงามเชิงอุดมคติของตน
2.) เพ่ือสังเคราะห์มุมมองความงามเชิงอุดมคติของตนจากการศึกษาวิเคราะห์สู่การสร้างสรรค์ผลงาน
ประตมิ ากรรมในเทคนิคงานประติมากรรมเครื่องปนั้ ดินเผาและ 3.) เพ่ือเผยแพร่ผลงานวิจัยสรา้ งสรรค์และองค์
ความรู้ตอ่ กลมุ่ บุคคลท่สี นใจในกระบวนการสรา้ งงานศิลปะเครอ่ื งป้ันดินเผา กลมุ่ การศึกษาในสายการเรียนการ
สอนหลกั สตู รวิชาเคร่อื งปัน้ ดนิ เผา

เครื่องมือท่ีใช้ในงานวิจัยในคร้ังน้ี ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงทดลองในการค้นคว้าวัสดุและเทคนิคใน
ศาสตร์ทางด้านศิลปะเคร่ืองป้ันดินเผา เพ่ือตอบสนองต่อการสร้างสรรค์และสอดคล้องกับมุมมองความงามเชิง
อุดมคตขิ องตนท่ีเกิดองค์ประกอบความงามทเ่ี หมาะสมในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมในประติมากรรม
เคร่อื งปน้ั ดินเผาหัวข้อ มติ ิสัมพันธ์แห่งชวี ติ

ผลการศกึ ษาพบว่า 1.) มุมมองความงามเชิงอุดมคติของตนจากความประทับใจในมิติความงดงามของ
สง่ิ มีชวี ติ ในป่าสามารถศึกษาและวเิ คราะห์จนเกิดมุมมองความงามเชิงอดุ มคติของตนได้ 2.) องค์ความรู้จากการ
วิเคราะห์มุมมองความงามเชิงอุดมคติ สามารถสังเคราะห์สู่การสร้างสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม
เคร่ืองป้ันดินเผาหัวข้อ มิติสัมพันธ์แห่งชีวิตได้และ 3.) องค์ความรู้ท่ีเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยสร้างสรรค์ต่อกลุ่ม
บุคคลที่สนใจในกระบวนการสร้างงานศิลปะเคร่ืองปั้นดินเผากลุ่มการศึกษาในสายการเรียนการสอนหลักสูตร
วิชาเครื่องปัน้ ดินเผา สามารถสรา้ งประโยชนต์ ่อวงการศิลปะเครอื่ งปนั้ ดนิ เผาและในสังคมได้

คำสำคญั : มิตสิ มั พนั ธแ์ ห่งชวี ิต, ความงามเชิงอดุ มคติ

Abstract

This research aims to 1.) to study the dimensions, splendor and impressions of wild
creatures that are dependent and coexisting in a beautiful cycle based on their idealistic
beauty perspectives, 2.) to synthesize their idealistic aesthetic perspectives from analytical
studies to sculpture creations in pottery sculpture techniques, and 3 .) to disseminate creative

170

and cognitive research to a group of individuals interested in the process of creating pottery
art. Education Group in The Field of Teaching Pottery Courses.

Tools used in this research The researchers used experimental research to research
materials and techniques in the art of pottery. In response to the creation and conforming
to its idealistic aesthetic perspective, the appropriate aesthetic elements are formed in the
creation of sculptures in the topic pottery sculpture. The relational dimension of life.

The results showed that 1.) their idealistic view of beauty from the impression of the
dimensional beauty of wild organisms can be studied and analyzed until their ideal aesthetic
perspective is formed. It can be synthesized into the creation of pottery sculptures, topics,
relational dimensions of life, and 3.) knowledge that is to disseminate creative research to a
group of people interested in the process of creating pottery art. Education Group in The
Field of Teaching Pottery Courses It can benefit the pottery art industry and in society.

Keywords: Relationship of life, Ideal of Beautiful

1. ความสำคญั หรือความเป็นมาของปัญหา

หากจะกล่าวถึงพลังธรรมชาตินั้น ย่อมไม่สามารถคาดเดาพลังพลังอำนาจที่จำเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
แม่นยำ ธรรมชาติเป็นพลังที่ย่ิงใหญ่ท่ีช่วยขับเคลื่อนระบบสิ่งมีชีวิตการพ่ึงพาอาศัยที่ของระบบส่ิงมีชีวิตใน
ธรรมชาติก่อเกิดเป็นวฏั จักรหมุนเวียนที่พบเห็นได้โดยทั่วไปซึง่ ปา่ นบั ว่าเปน็ สงั คมส่ิงมีชีวติ ท่ลี ึกลับซับซ้อน เป็น
แหล่งกำเนิดกลุ่มส่ิงมีชีวิตท่ีหลากหลายสายพันธ์ุทั้งพืชและสัตว์กลุ่มสายพันธ์ุพืชแต่ละชนิดต่างก็เก้ือกูลอาศัย
ซึ่งกันและกันจนเกิดความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมในป่ากลุ่มสายพันธ์ุสั ตว์คือสัตว์ป่าต่างก็พ่ึงพาอาศัย
ตามวัฏจักรแห่งชีวติ ท่ีแตกต่างกัน ในบางครั้งกลุ่มส่ิงมีชีวิตทั้งสายพันธ์ุทั้งพืชและสัตว์ต่างก็พึ่งพาอาศัยตามวัฏ
จกั รกอ่ เกิดเปน็ มติ ิความงดงามของผู้ที่ประทับใจในวถิ ีแห่งธรรมชาติ

จากที่มาของแรงบันดาลใจในขา้ งต้นทำให้ผู้วจิ ัยมีแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานประตมิ ากรรม
เคร่ืองปั้นดินเผาจากมุมมองความงามเชิงอุดมคติหัวข้อ “มิติสัมพันธ์แห่งชีวิต”โดยแสดงออกผ่านรูปทรงที่มี
ลวดลายจากสิ่งมีชีวิตในป่าสู่การสร้างโทนสีท่ีมีมิติซับซ้อน การสร้างสรรค์ช้ินงานเพ่ือให้เกิดรูปทรงที่มี
ลักษณะเฉพาะตนจากเทคนิคท่ีได้สร้างสรรค์และความกลมกลืนของรูปทรงโดยสอดคล้องกับแนวความคิด
อารมณ์ความรู้สึกตามทัศนคติส่วนตัวจนเกิดเป็นความงามความกลมกลืนและเอกภาพทั้งกระตุ้นจิตสำนึกให้มี
การอนลุ กั ษณ์ธรรมชาติทมี่ ใี ห้คงอยู่สมบูรณ์สืบไป

2. แนวคดิ /ทฤษฎที ี่เก่ียวขอ้ ง

แนวคดิ ทฤษฎีเก่ียวกบั การจัดการส่งิ แวดลอ้ มและความหมายสงิ่ แวดล้อม
จากสถานการณ์โดยทั่วไปการจัดการคณุ ภาพสิ่งแวดล้อมตามท่ีคณะรัฐมนตรีได้มีการกาหนดนโยบาย
และแผนเก่ียวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพส่ิงแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2540 2559 ตามพระราชบัญญัติ

171

ส่งเสรมิ และรักษาคณุ ภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2535 เพอื่ ใช้เปน็ แนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และส่ิงแวดล้อมของชาติควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างย่ังยืนในช่วงระยะเวลา 20
ปขี ้างหน้า (พ.ศ. 2540 2559) ภายใต้นโยบายและแผนฯดังกลา่ วเพอ่ื จดั ทาแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดลอ้ ม
ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของนโยบายและแผนฯรวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานต่างๆท่ีเก่ียวข้องทุก
กระทรวงทบวงกรมและท้องถิ่นได้ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดทาแผนงานโครงการและงบประมาณที่
สอดคล้องกันซึ่งเท่าท่ีผ่านมาประเทศไทยใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพ่ือการพัฒนา (สานักงานนโยบายและแผน
สิง่ แวดล้อมกระทรวงวิทยาศาสตรเ์ ทคโนโลยแี ละสง่ิ แวดล้อม, 2554 : 17-35)

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 ในมาตรา4 ได้ให้
ความหมายของคำว่าสิ่งแวดล้อมโดยสากลแล้วว่าสิ่งแวดล้อมหมายถึงส่ิงตา่ งๆท่ีอยู่รอบๆตวั เราท้ังที่มีชีวิตและ
ไม่มีชีวิตท้ังที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและท่ีมนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมทั้งที่เป็นสสารและ
พลังงานรวมทั้งที่เกิดข้ึนโดยธรรมชาติและที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นสิ่งแวดล้อมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอโดย
มนุษย์เป็นตวั การสำคัญท่ีทำให้สิ่งแวดลอ้ มนนั้ ๆเปล่ียนแปลงท้ังนจี้ ากการใช้ประโยชน์จากทรพั ยากรธรรมชาติ
และส่งิ แวดล้อมต่างๆที่มอี ย่ใู นการดำรงชีวติ และเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาสง่ ผลให้ทรพั ยากรธรรมชาติ
และส่ิงแวดล้อมลดน้อยลงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมเป็นปัจจัยพื้นฐานส ำคัญที่มนุษย์ได้นำมาใช้ใน
การดำรงชีวิตและแสวงหาความสะดวกสบายส่งผลให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของส่ิงแวดล้อมและปัญหา
มลพิษตามมาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในช่วงหลายปีท่ีผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ ท่ีมากข้ึนอย่าง
ชัดเจนทำให้ในปัจจุบนั ประเดน็ ดา้ นสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ถูกกลา่ วถงึ มากขึ้นเนอ่ื งจากมีปรากฎการณ์ท่ีเป็น
ความเปล่ียนแปลงที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ข้ึนบ่อยคร้ังทำ
ให้เกิดการสญู เสยี ชวี ติ และทรพั ยส์ นิ จำนวนมหาศาล (โสภารัตน์จาระสมบตั ิ, 2551)

3. กระบวนการในการสร้างสรรค์
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครือ่ งป้ันดินเผาชุด “มิติสัมพันธ์แห่งชีวิต” ผู้วิจัยได้ร่าง

ภาพต้นแบบทางความคิดจากแรงบันดาลใจสู่รูปทรงความงามเชิงอุดมคติจนได้รูปแบบท่ีต้องการโดยใน
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้วิจัยได้ทำการทดลองเพื่อค้นหาสูตรเนื้อดินปั้นที่มีความเหมาะสมต่อรูปแบบ
ของชิน้ งานทส่ี รา้ งสรรค์

ภาพท่ี 1 การผสมเน้อื ดินปนั้ จากสูตรทดลองท่ีเหมาะสมต่อการสรา้ งสรรคผ์ ลงาน
ทีม่ า : ภาพถ่ายโดยผวู้ ิจยั นพอนนั ต์ บาลสิ ี

172

ภาพที่ 2 ข้นั ตอนการผสมเนอ้ื ดินปนั้ จากสูตรทดลองทเ่ี หมาะสมต่อการสรา้ งสรรคผ์ ลงาน
ทม่ี า : ภาพถ่ายโดยผูว้ จิ ยั นพอนนั ต์ บาลิสี

ภาพท่ี 3 ขนั้ ตอนการขน้ึ รปู ช้นิ งาน
ท่มี า : ภาพถา่ ยโดยผวู้ จิ ัย นพอนนั ต์ บาลสิ ี

ภาพท่ี 4 ขั้นตอนการขึน้ รูปและตกแต่งรูปทรงชนิ้ งาน
ที่มา : ภาพถ่ายโดยผูว้ จิ ัย นพอนนั ต์ บาลิสี

173

ภาพที่ 5 ข้ันตอนการตกแตง่ ลวดลายของชิน้ งาน
ทีม่ า : ภาพถ่ายโดยผวู้ จิ ยั นพอนันต์ บาลิสี

ภาพท่ี 6 ขน้ั ตอนการนำช้นิ งานเขา้ เตาเผา
ที่มา : ภาพถา่ ยโดยผู้วจิ ัย นพอนนั ต์ บาลสิ ี

ภาพท่ี 7 ขน้ั ตอนการนำช้นิ งานเขา้ เตาเผา
ทม่ี า : ภาพถ่ายโดยผ้วู ิจยั นพอนนั ต์ บาลสิ ี

174

ภาพที่ 8 ขั้นตอนการเผาชน้ิ งานโดยเตาแกส๊
ท่ีมา : ภาพถ่ายโดยผู้วิจยั นพอนันต์ บาลสิ ี

ภาพท่ี 9 สีและบรรยากาศของชิน้ งานหลังผ่านกระบวนการเผา
ทีม่ า : ภาพถ่ายโดยผูว้ ิจยั นพอนันต์ บาลสิ ี

ภาพท่ี 10 ช้ินงานหลงั ผา่ นกระบวนการเผา
ที่มา : ภาพถ่ายโดยผูว้ จิ ัย นพอนนั ต์ บาลสิ ี

175

ภาพที่ 11 ภาพชนิ้ งานหลังผ่านกระบวนการเผา
ทมี่ า : ภาพถ่ายโดยผูว้ ิจยั นพอนันต์ บาลสิ ี

4. การวิเคราะห์ผลงาน
ประติมากรรมเครื่องป้ันดินเผา “มิติสัมพันธ์แห่งชีวิต Relationship of life” น้ีผู้วจิ ัยได้นำเสนอมิติ

ความงดงามและความประทับใจของส่ิงมีชีวิตในป่าที่ต่างพึ่งพาอาศัยและอยู่ร่วมกันในวั ฏจักรที่งดงามตาม
มมุ มองความงามเชิงอุดมคติโดยสรา้ งสรรค์ผลงานผ่านเทคนิคงานประติมากรรมเคร่ืองป้ันดินเผาจากการสร้าง
ให้เกิดรูปทรงที่มีลักษณะเฉพาะที่เกิดความกลมกลืนของรูปทรง ลวดลายและโทนสีที่มิติโดยสอดคล้องกับ
แนวความคดิ ในการสรา้ งสรรค์จนเกิดเปน็ ความงามความกลมกลืนและเอกภาพ

ผลการวิเคราะหข์ ้อมูลทางด้านแนวความคิดในการสร้างสรรค์
การวิเคราะห์แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งน้ีผู้วิจัยต้องการแสดงออกถึงนัยท่ีแฝงถึง
มิติความงดงามและความประทับใจของสิ่งมีชีวิตในป่าโดยใช้ความงามเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงออกผ่านรูปทรง
อิสระและลวดลายธรรมชาติ การแทนค่าความอุดมสมบูรณ์ผ่านรูปทรงที่มีความเอิบอ่ิมเพื่อส่ือถึงการก่อเกิด
เกี่ยวพันของสิ่งชีวิต การสร้างพ้ืนผิวและสีของงานที่อิงจากสีในธรรมชาติเพื่อแสดงถึงมิติของงานท่ีสอดคล้อง
กับแนวความคิดจากความลึกลับของส่ิงมีชีวิตจากป่า พบว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลสู่การสังเคราะห์เพ่ือการ
สร้างสรรค์ ผ้วู จิ ยั สามารถแสดงออกผา่ นผลงานไดต้ รงตามวัตถุประสงคท์ ต่ี ้งั ไว้

รายละเอยี ดการใชค้ วามงามเชงิ
สญั ลกั ษณ์เพ่ือส่อื ถึงความงาม
เชิงอุด ม ค ติท่ี ถ่ าย ท อด แรง
บนั ดาลใจลงในชน้ิ งาน

ภาพท่ี 12 ภาพแสดงรายละเอียดการใช้ความงามเชิงสญั ลักษณเ์ พ่อื สอื่ ถงึ ความงามเชิงอดุ มคติ
ท่มี า : ภาพถา่ ยโดยผู้วจิ ัย นพอนันต์ บาลสิ ี

176

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านเทคนคิ
โครงการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องป้ันดินเผา “มิติสัมพันธ์แห่งชีวิต Relationship of
life” ผูว้ ิจัยได้อาศยั องค์ประกอบและเทคนคิ ตา่ งๆในการสร้างสรรคช์ ิ้นงานดงั นี้
การสร้างสรรค์รูปทรงประติมากรรมเคร่ืองเคลือบดินเผา “มิติสัมพันธ์แห่งชีวิต Relationship of
life” ผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการข้ึนรูปแบบขดและเทคนิคสร้างลักษณะโทนสีของผลงานผู้วิจัยได้สร้างโทนสีจาก
การใช้น้ำเคลือบและดินจากพ้ืนที่ท่ีผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างดินในแต่ละพื้นท่ีมาทดลองและสร้างสรรค์ผลงานเพ่ือ
แสดงออกถึงอตั ลักษณ์ของธรรมชาติที่หลากหลายการเผาผู้วิจยั ได้เลอื กรูปแบบการเผาแบบบรรยากาศสนั ดาป
ไม่สมบรู ณ์ด้วยเตาแกส๊ เพือ่ การแสดงออกของบรรยากาศของสีที่มคี วามเป็นธรรมชาติ และมมี ติ สิ บี นรูปทรง

รายละเอียดผลของ
การใช้เทคนิคการข้นึ
รปู การทานาดนิ และ
ก า ร ส ร้ า ง พ้ื น ผิ ว ใ น
งานสรา้ งสรรค์

ภาพท่ี 13 ภาพแสดงรายละเอียดผลการใชเ้ ทคนิคการขนึ้ รปู การทานำดิน และการสรา้ งพ้นื ผิวในงานสร้างสรรค์
ทีม่ า : ภาพถ่ายโดยผ้วู ิจยั นพอนนั ต์ บาลสิ ี

5. สรปุ
ผลการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูลสู่การสร้างสรรค์ ผู้วิจัยสามารถแสดงออกผ่านผลงานได้ตรง

ตามวัตถุประสงค์ที่ต้ังไว้การวิเคราะห์แนวความคิดในการสรา้ งสรรค์ผลงานในคร้ังนี้ผู้วิจัยต้องการแสดงออกถึง
นัยที่แฝงถึงแง่คิดในการดำเนินชีวิตโดยใช้ความงามเชิงสัญลักษณ์คือแสดงออกผ่านรูปทรงของธรรมช าติ ที่
แสดงออกถึงความกลมกลืนของรปู ทรง ความอุดมสมบรู ณ์ ความเอิบอ่ิมและก่อเกิดชีวิต โดยผ่านกระบวนการ
ทางความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ตามทัศนคติของผู้สร้างสรรค์จากองค์ประกอบความงามตามหลักของงาน
ประติมากรรม สู่การทดลองวัสดุเพอ่ื แสดงออกผา่ นผลงานสร้างสรรค์ ตามกระบวนของงานศิลปะเครือ่ งเคลือบ
ดนิ เผาเพือ่ การสังเคราะใช้ในผลงานสร้างสรรค์เรอ่ื ง “มติ ิสมั พันธ์แห่งชีวิต”ซ่ึงในกระบวนการทำงานสรา้ งสรรค์
ท่ีมแี รงบันดาลในหรอื แนวความคิดที่มีความเปน็ นามธรรม ผู้วจิ ัยควรศกึ ษาและวเิ คราะห์ข้อมูลทีม่ าท่ีมีแนวทาง
ท่ีชัดเจน เพื่อเกิดกระบวนการสังเคราะห์ท่ีผู้วิจัยจะไม่หลงประเด็นในงานวิจัย และการแสดงออกในการ
สรา้ งสรรคท์ ่ตี อ้ งไปตามวตั ถุประสงคท์ ี่ตั้งไว้

177

กระบวนการทดลองการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยทางด้านเทคนิคโครงการสร้างสรรค์ผลงาน
ประติมากรรมเครื่องเคลือบดนิ เผา “มติ สิ ัมพนั ธแ์ ห่งชีวิต” ผู้วจิ ยั ไดอ้ าศัยเลอื กขยายชิน้ งานจรงิ จากต้นแบบโดย
เลอื กจากองค์ประกอบ สว่ นเนื้อดินปั้นที่ใชส้ รา้ งสรรค์ ผู้วจิ ัยได้มีการพัฒนามาจากเนื้อดนิ ดา่ นเกวียน ที่มคี วาม
เหนียวที่เหมาะสมสำหรับการข้ึนรูปงานประติมากรรมเคร่ืองเคลือบดินเผาขนาดใหญ่ โดยผู้วิจัยได้มีการปรับ
สูตรดินให้มีการหดตัวที่น้อยลง และมีโครงสร้างท่ีแข็งแรงสามารถข้ึนรูปได้ในเวลาท่ีรวดเร็ว โดยผสมดินด่าน
เกวียนในสัดส่วนท่ี40 % ทรายแม่น้ำในสัดส่วนที่ 20 %ดินเช้ือในสัดส่วนที่40% ซ่ึงผลออกมาเป็นท่ีเหมาะแก่
การข้ึนรูปงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาขนาดใหญ่และเทคนิคในการข้ึนรูปท่ีมีความเ หมาะสมต่อ
รูปแบบชิ้นงานคือการข้ึนรูปแบบขดและใช้โทนสีจากการทาน้ำดินสีและจากบรรยากาศในการเผาเตาแบบ
บรรยากาศสันดาปไม่สมบูรณ์ท่ีอุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียสด้วยเตาแก๊สซึ่งในกระบวนการทางด้านเทคนิค
ผ้วู จิ ัยท่ีทำการวจิ ัยหรือสร้างสรรค์ ควรเลอื กใชเ้ ทคนิคการสร้างช้ินงานหรือเตาเผาที่ถนัดหรือมีความสอดคล้อง
กบั วัตถปุ ระสงค์หรือแนวความคดิ ในการถา่ ยทอดชิน้ งาน การเลอื กใชเ้ นือ้ ดนิ ในการสรา้ งสรรค์ควรมกี ารทดลอง
เพื่อปรับสูตรเน้ือดินที่มีการใช้งานที่เหมาะสมต่อรูปแบบของชิ้นงานสร้างสรรค์ เช่น ช้ินงานท่ีมีขนาดใหญ่
ชิน้ งานทีต่ อ้ งการนำ้ หนักเบา ชิน้ งานท่ตี อ้ งการความเรียบร้อยสูง เปน็ ต้น

เอกสารอ้างองิ

ชลดู น่มิ เสมอ. (2534). องค์ประกอบของศลิ ปะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วฒั นาพาณิชย.์
ทวีพรหมพฤกษ.์ (2523). เครือ่ งปัน้ ดนิ เผาเบื้องตน้ . กรงุ เทพฯ:โอเดยี นสโตร์.

. (2543). วชิ าเครอ่ื งเคลือบดินเผาเบ้ืองตน้ . กรงุ เทพฯ:โอเดยี นสโตร.์
นนทิวรรธน์ จนั ทนะผะลนิ . (2525). นายกสมาคมประตมิ ากรไทย. สมั ภาษณ์, 10 กมุ ภาพนั ธ์.
ไพจติ ร องิ ศริ วิ ัตน์.(2531). เน้ือดนิ เซรามกิ . กรงุ เทพฯ:โอเดยี นสโตร์.

. (2535). เตาและการเผา. กรงุ เทพฯ: จงเจริญการพมิ พ์.
. (2537). รวมสตู รเคลือบเซรามกิ . กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร์.

178

การออกแบบจดหมายข่าวสภาคณบดคี ณะสถาปตั ยกรรมศาสตรแ์ หง่ ประเทศไทย
Newsletter for Council of Deans of Architecture Schools of Thailand

นลินา องคสิงห, Nalina Angasinha

อาจารย์ประจำภาควชิ าการออกแบบภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธุรกิจบัณฑิตย์
110/1-4 ถนนประชาชน่ื หลกั สี่ กรุงเทพฯ 10210
Email : [email protected]

บทคดั ย่อ

การออกแบบจดหมายข่าวสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
สร้างสื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารวิชาการของสมาชิกสภาคณบดี ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซท์ของ
สภาคณบดี ฯ โดยผู้ออกแบบเป็นบรรณาธิการ ออกแบบและผลิตจดหมายข่าวฉบับปฐมฤกษ์ การออกแบบ
และสร้างผลงานเริ่มจากการประชุมงานจากหัวหน้างาน เพื่อทราบข้อกำหนด ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล
เพิ่มเติม ด้านอัตลักษณ์องค์กร โครงสร้างจดหมายข่าวการออกแบบกราฟิก วางแนวทางและดำเนินการ
ออกแบบผลงาน

ผลงานออกแบบจดหมายข่าว กำหนดขนาดกระดาษเอสี่ จัดวางหนา้ กระดาษด้วยระบบโมดูลาร์ กริด
กำหนดกลุ่มสีส้ม สีขาว และสีเทาสลับกันในส่วนหัวคอลัมน์และพ้ืนหลัง กำหนดขนาดกรอบและลำดับ
ความสำคัญของเน้ือหาด้วยการจัดวางตำแหน่งของคอลัมน์ข่าวที่สำคัญไว้ท่ีครึ่งบนของกระดาษ ใช้ตัวอักษรที่
อา่ นง่ายและชดั เจน พาดหัวด้วยตัวอักษรสขี าวบนพื้นสีเทาเพื่อสื่อภาพลักษณ์ความเป็นวิชาการแตไ่ ม่เคร่งขรึม
จนเกินไป ใช้สสี ้มอ่อนและสีขาวเพื่อลดความรู้สกึ อึดอดั เลือกภาพข่าวที่มีความคมชัดและใช้ตวั อักษรทอี่ ่านง่าย
เพอื่ แสดงถงึ อัตลกั ษณ์ของสถาบนั การออกแบบ

คำสำคัญ: คอมพิวเตอร์กราฟฟิก, การออกแบบจดหมายข่าว, การออกแบบ, สถาปตั ยกรรม, การออกแบบสื่อสงิ่ พมิ พ์

Abstract

The newsletter design for Council of Deans of Architecture Schools of Thailand aims
to create public relations media of members of council of deans together with website of
council of deans. The designer is responsible for editor tasks, design and makingfirst edition
of newsletter. The design and printing process includes meeting with supervisor to
acknowledge requirements, study and conduct analysis on organization identity, newsletter
structure, graphic design, planning and design.

The newsletter size is A4. The modular grid is used for newsletter layout. The color
shades of orange, white and gray are interchangeably used in column and background. In
addition, set frame size and content priorityby positioning important news columns in the

179

top half of the paper and then use clear and legible fonts. The headline fonts are white on
gray background to convey an academic image, it howeverdoes not too solemn. The light
orange and white thus are adopted to reduce the uncomfortable feeling. The high-resolution
news images are chosen and legible fonts are used to represent the design academy's
identity.

Keywords: Computer Graphic, Newsletter Design, Design, Architecture, Print Media Design

1. ความสำคญั หรอื ความเป็นมาของปัญหา

เนื่องด้วยในช่วงเวลาน้ัน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้รับ
มอบหมายงานของสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยต่อเนื่องมา โดยท่านคณบดีได้มีดำริ
ให้ออกแบบเว็บไซท์ของสภาคณบดี ฯ ใหม่ให้มีรูปลักษณ์ท่ีทันสมัย และควบคู่กับการผลิตจดหมายข่าวสภา
คณบดี ฯ เป็นฉบับแรก ขณะน้ันผู้ออกแบบได้เป็นอาจารย์ประจำและได้รับมอบหมายเป็นบรรณาธิการ
ออกแบบจดหมายขา่ วฉบบั แรก กำหนดออกรายเดอื น จนกว่าจะส้ินสดุ วาระ

การออกแบบกราฟิกและการจัดทำจดหมายข่าว ฉบับปฐมฤกษ์เน้นการนำเสนอภาพลักษณ์สื่อให้เห็น
ถงึ ความเป็นสถาบันการออกแบบ มีความเปน็ วิชาการ แต่ไม่เคร่งขรึมจนเกินไป และให้มีความกลมกลืนกบั เว็บ
ไซท์ เน้นคอลัมน์ทีม่ ีความสำคัญ คัดเลือกรูปทมี่ ีความคมชัด ลงรูปขนาดใหญ่เหมาะกบั พ้ืนทค่ี อลัมน์เน้นเนื้อหา
วิชาการแตท่ ำให้อ่านไดง้ ่ายกระชับไดใ้ จความสำคัญ

วตั ถุประสงคก์ ารวจิ ัย
1. ศกึ ษา วิเคราะหข์ อ้ มลู องค์กร โครงสรา้ งลำดับเนอื้ หา และหลักการออกแบบกราฟกิ จดหมายข่าว
2. ออกแบบจดหมายข่าวสภาคณบดคี ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย

2. แนวคิด/ทฤษฎที ่เี กยี่ วข้อง

ประวตั ิสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย
สถาบันการออกแบบสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้ก่อต้ังไล่ลำดับกันมาปัจจุบันมีหลายสถาบันคณบดีของ
แต่ละสถาบันจึงมีความคิดริเริ่มก่อตั้งสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยข้ึน โดยเริ่มก่อต้ัง
ข้ึนเมื่อปี พ.ศ. 2537 ช่วงแรกเริ่มมีสมาชิกจำนวน 6 สถาบัน จากการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรม
ต่างๆ ทางวิชาการด้านสถาปัตยกรรม และได้มีการก่อตั้งสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ขึ้น โดย
ศาสตราจารย์ ต่อพงศ์ ยมนาค เปน็ หัวเร่ียวหัวแรงในการจดั ตัง้ และมี รศ. เดชา บุญค้ำเป็นประธานสภาคณบดี
คนแรก ต่อมาเมื่อวันท่ี 27 มกราคม 2540 จึงได้มีการประชุมคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัย/ สถาบันต่าง ๆ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และตกลงให้มีการร่างระเบียบ “สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรม
ศาสตรแ์ หง่ ประเทศไทย” ขึ้นโดยมีการปรับแก้ระเบยี บใหเ้ หมาะสมขึ้นในปี พ.ศ. 2546 ซ่งึ มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ เป็น
เจา้ ภาพและเป็นประธานฯ มีสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนเข้าเป็นสมาชกิ เพ่ิมจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
จาก 9 แห่ง เป็น 22 แห่งในปีพุทธศักราช 2552 และในปัจจุบันมีสมาชิก 27 แห่ง ช่วงแรกของการก่อต้ังสภา

180

คณบดี ฯ ได้เพ่ิมช่องทางการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารวงการศึกษาและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม
ศาสตรด์ ้วยการสร้างเว็บไซท์ของสภาคณบดี ฯ เร่ิมต้นด้วยมหาวทิ ยาลัยขอนแก่นเป็นเจ้าภาพครั้งท่ี 3 (ต่อจาก
มหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง) และพัฒนาต่อจนกระทั่งถึง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพตามลำดับ โดยได้ทำการจดทะเบียน Website "www.cdast.com" ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2546 และมีดำริให้ผลิตสิ่งพิมพ์ในรูปแบบจดหมายข่าวสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย ฉบับปฐมฤกษ์เกิดขึ้นช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2547 ควบคู่กันไปเพื่อเพิ่มช่องทางการ
ประชาสมั พันธ์ขา่ วสารการเรยี นการสอนและข่าวสารด้านวิชาชพี ใหก้ บั สมาชกิ ของสภาคณบดี ฯ ด้วย

อัตลักษณ์องค์กร เน้นความเป็นวิชาการแต่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป ใช้สัญลักษณ์ที่ดูเรียบง่าย เป็น
ลายเส้นกริดขาวดำ จำนวน 25 ช่อง บรรจตุ ัวอักษรย่อในแนวทแยงมุมจากซ้ายบนแทยงลงมุมขวาล่าง Mood
and Tone เลือกใช้สีสม้ แดงเป็นสีหลกั อนั เป็นสีประจำของคณะ เพื่อลดความเคร่งขรึม ควบคกู่ ับกลุ่มสีขาว สี
เทาเข้มในการออกแบบกราฟฟิก

การออกแบบจดหมายข่าวสมวรร ธนศรีพนิชชัย (รวบรวม), (2550) หลักการในการออกแบบมีเรอื่ ง
สำคัญ 2 เร่ืองคอื สิ่งท่ีต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบ องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบใน
การออกแบบ

1. สง่ิ ทต่ี ้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบ
1.1 การกำหนดขนาดและรูปแบบของจดหมายข่าวต้องคำนึงถึงเพิ่มเติม คือ ลักษณะการนำส่ง

จดหมายข่าว มักใช้ไปรษณีย์หรือบริการรบั ส่ง ทำให้ต้องมีขนาดที่สะดวกต่อการนำส่งโดยไม่เสียหายง่าย และ
ไมส่ น้ิ เปลืองคา่ ขนส่ง จงึ นยิ มขนาดเอส่ี

1.2 รูปแบบของปกหน้าหรือหน้าแรกของจดหมายข่าวมีสองรูปแบบ รูปแบบที่ 1 คือ การคัด
ขอ้ ความย่อๆของเร่ืองในฉบบั มานำเสนอ รูปแบบท่ี 2 คอื เป็นการนำเสนอเรอื่ งที่เดน่ ทส่ี ดุ ในฉบบั

1.3 รูปแบบและขนาดตัวอักษรควรกำหนดรูปแบบหลักๆ ของตัวอักษร สำหรับหน้าต่างๆเอาไว้
เพ่ือให้เกิดความสม่ำเสมอ และความรวดเร็วในการออกแบบสำหรับฉบับต่อไป ควรกำหนดขนาดเอาไว้ว่า
ตัวอักษรส่วนใดควรมีขนาดเท่าไร โดยขนาดตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวพิมพ์เน้ือเร่ือง ควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 12
พอยต์ ส่วนตัวอักษรที่เป็นตัวพิมพ์หัวเรื่อง หัวรอง ฯลฯ ควรมีขนาดใหญ่ ต้ังแต่ 18 พอยต์ขึ้นไป โดยคำนีงถึง
การเลอื กท่เี หมาะสมกับกลมุ่ ผ้อู า่ น

1.4การกำหนดขนาดและรูปแบบภาพประกอบควรได้รับการกำหนดล่วงหน้า เนื่องจากจดหมาย
ข่าวมจี ำนวนหน้าหลายหน้า ควรกำหนดภาพประกอบใหม้ ลี ักษณะเดียวกัน เพอื่ ใหเ้ กดิ เอกภาพรว่ มกันทั้งฉบับ

2. องคป์ ระกอบและการจดั วางองคป์ ระกอบในการออกแบบจดหมายข่าว
การออกแบบจดหมายข่าว มีลักษณะคล้ายกับการออกแบบหนังสือพิมพ์และนิตยสารปนกัน มี

รายละเอียดทีพ่ ิเศษ ดังนี้

181

2.1 หน้าแรกของจดหมายข่าว มีความสำคัญเช่นเดียวกับปกนิตยสาร ปกหน้าเปรียบเสมือน
หน้าตาของจดหมายข่าว ก่อให้เกิดความประทับใจเม่ือแรกเห็น และสำคัญท่ีสุดสำหรับนักออกแบบที่จะใช้ใน
การดึงดดู ผูอ้ ่าน

2.2 องค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีอยู่ท้ังในหน้าแรกและหน้าใน นอกจากหัวหนังสือแล้ว ยังมี
องคป์ ระกอบอน่ื ๆ ทมี่ คี วามคล้ายคลงึ กนั ในแตล่ ะหน้า ดังนี้

1) พาดหัวควรเน้นความสม่ำเสมอของรูปแบบละขนาดตัวอักษร ไม่ควรเปลี่ยนบ่อยๆ และ
ควรใช้ตัวอักษรท่ีอ่านไมย่ ากเกินไป

2) ข้อความเป็นข้อมูลที่มีปริมาณมาก จึงต้องคำนีงถึงความสะดวกในการอ่าน มีความสำคัญ
ทง้ั เรอ่ื งขนาด สี ของตัวอกั ษร

3) ภาพประกอบ ต้องมีความสม่ำเสมอในการนำมาใช้ ต้องพิจารณาเทคนิคท่ีเหมาะสมกับ
องค์กร เช่น ภาพวาดดว้ ยคอมพิวเตอรก์ ราฟิก ภาพถา่ ย ภาพขาวดำ ภาพสี เปน็ ตน้

ระบบกริดสำหรบั การออกแบบจดหมายขา่ ว
1. คอลัมน์กริด (Column Grid) เป็นระบบกริดที่ในหน่ึงหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมมากกว่า
1 ยูนิต โดยแบ่งออกเป็นคอลัมน์ คือ มีขนาดความสูงเกือบเต็มหน้า โดยจะมีขนาดความกว้างเท่ากันหรือไม่
เท่ากันก็ได้ โดยระบบกริด ลักษณะนี้จะเหมาะกับจดหมายข่าวที่มีเน้ือหาท่ีเป็นตัวพิมพ์จำนวนมากกว่า
องค์ประกอบท่ีเปน็ ภาพ
2. โมดูลาร์ กริด (Modular Grid) เป็นระบบกริดท่ีในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมหลายยู
นิต โดยแบ่งด้วยเส้นทางตั้งและทางนอน ระบบกริดแบบนี้จะเหมาะสำหรับ จดหมายข่าวที่มีเน้ือหาและ
ภาพประกอบมคี วามสำคัญเทา่ ๆกัน หรือมกี ารจัดวางภาพประกอบหลายภาพ

3. ขัน้ ตอนการออกแบบ

1. การรับงาน ประชุม ปรึกษากับหัวหน้าเพ่ือหารับทราบความต้องการและวัตถุประสงค์เพื่อกำหนด
แนวทางในการออกแบบให้เหมาะสม

2. การเลือกโครงสี ตัวอักษร การจัดองค์ประกอบทางกราฟิก และกำหนดการจัดวางคอลัมน์และทำ
เทมเพลทจดหมายข่าว

3. การศึกษา วเิ คราะหจ์ ดั หมวดหมขู่ ้อมูล
4. วางแผนงาน สเก็ตซแ์ บบรา่ งงานออกแบบ กำหนดและจดั วางองคป์ ระกอบ
5. ทำแบบนำเสนอผลงานออกแบบกราฟิกดว้ ยโปรแกรมคอมพวิ เตอร์
6. นำเสนอหัวหนา้ รับฟงั คำแนะนำมาปรบั ปรงุ แบบ
7. พัฒนาแบบร่างผลงานออกแบบ
8. ออกแบบและจัดวางภาพ เนื้อหาตามแบบท่กี ำหนด สร้างเทมเพลทผลงาน
9. ทมี งานลงภาพและเนื้อหา ตรวจพสิ ูจนอ์ ักษร
10. บนั ทึกผลงาน จัดสง่ โรงพิมพ์

182

4. วเิ คราะห์แนวคิดในการออกแบบจดหมายข่าวสภาคณบดคี ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย

จดหมายข่าวสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ฉบับปฐมฤกษณ์ เป็นจดหมาย
ข่าวที่ใช้เพ่ือการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสถาบันการออกแบบท่ีเป็นสมาชิก นำเสนอข่าวสาร
เรื่องการมอบทุนการศึกษา การประกวด การประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรม
ฯลฯทุกราย 3 เดือน ผู้ออกแบบจึงศึกษาหาข้อมูลเพ่ิมเติมและใช้ความรู้ด้านการออกแบบมาวิเคราะห์เพ่ือ
กำหนดแนวทางการออกแบบใหแ้ สดงถึงอัตลักษณ์องค์กร

การวางโครงร่างและการออกแบบจัดองค์ประกอบปกข่าวหน้าในข่าว บนกระดาษเอสี่ มีจำนวน 4
แผ่น8 หน้า ออกแบบภาพรวมการจัดวางองค์ประกอบด้วยระบบโมดูลาร์ กริด (Modular Grid) มีการแบ่ง
คอลัมน์ต่างๆ เป็นกริดส่ีเหล่ียมหลายยูนิต แต่ละยูนิตคือมีการจัดวางภาพประกอบและเนื้อหาของข่าวท่ีจบ 1
เร่ืองต่อ 1 ยูนิต โดยข่าวสำคัญจะนำมาไว้ในตำแหน่งครึ่งบนของปกหน้า และใช้สีพื้นหลังสีส้มเพ่ือช่วยเน้น
จุดเดน่ ใหด้ ึงดูดสายตา

1. กำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบดงั รายละเอียดต่อไปน้ี
1.1ขนาดหนา้ กระดาษเอส่ี เป็นขนาดมาตรฐาน สะดวกในการนำสง่ และการจดั เก็บ
1.2 รูปแบบการนำเสนอปกหน้า เนน้ การนำเสนอเรือ่ งท่เี ดน่ ทีส่ ดุ ของฉบับดว้ ยการกำหนดตำแหน่ง

โดยพาดหัวข่าวหรือข่าวท่ีต้องการนำเสนอและมีความสำคัญมากท่ีสุดจะถูกจัดตำแหน่งไว้บริเวณคร่ึงหน้าบน
ของปกหน้า และเน้นความสำคัญด้วยการใช้พ้ืนหลังสีส้มอ่อน ภาพรวมของจดหมายข่าวจะมีโทนสีขาว เทา
ออ่ นเปน็ ส่วนมากเพอื่ สรา้ งความรูส้ กึ ภูมิฐานเปน็ ทางการและใชส้ สี ม้ อ่อนชว่ ยลดความเครง่ ขรึม

1.3 รปู แบบและขนาดตัวอักษรกลมุ่ ผ้อู า่ นเป็นนักวิชาการอยู่ในวยั ทำงาน จึงเลอื กใช้ขนาดตวั อักษร
พาดหัวขนาดใหญ่ เลือกสีตวั อักษรท่ีตดั กับพืน้ หลงั เพ่ืออา่ นง่าย แตใ่ ช้โทนสีออ่ นเพ่ือให้อ่านไดอ้ ยา่ งสบายตา

1.4 การกำหนดขนาดและรูปแบบ เลือกข่าวจากเน้ือหาและภาพประกอบตามลำดับความสำคัญ
และช่วงเวลา โดยกำหนดคอลัมนข์ ่าวใดที่มีความสำคญั มากจะกำหนดตำแหน่งไว้ส่วนคร่ึงบนของหนา้ กระดาษ
จากนั้นคัดเลือกภาพประกอบจากความคมชัด มีโทนสีที่เข้ากับภาพรวมหน้าข่าว และมีสัดส่วนขนาดภาพ
ต้นฉบับที่สามารถจัดลงในคอลัมน์ท่ีเตรียมไว้ได้อย่างสวยงามเป็นระเบียบ เพ่ือส่ือถึงความเป็นหน่วยงาน
วิชาการ

2. การจัดวางองคป์ ระกอบในการออกแบบจดหมายขา่ ว
2.1 หน้าแรกของจดหมายข่าวจัดลำดับความสำคัญในการวางองค์ประกอบ แถบชื่อข่าว, คอลัมน์

พาดหัวข่าว, คอลัมน์ย่อย, ส่วนท้ายหน้ากระดาษกำหนดสีส้มอ่อนในสัดส่วน 40% ของหน้ากระดาษเพื่อให้
ร้สู กึ สดช่ืนไมเ่ ครง่ ขรึมจนเกินไปและเพื่อดงึ ดูดสายตา

แถบชื่อจดหมายข่าวใช้สีเทาเข้มเป็นพ้ืนหลังและเลือกใช้ตัวอักษรแบบหนาสีขาวพร้อมด้วยโลโก้ไว้ที่
หวั กระดาษ กำหนดสัดสว่ นใหม้ ีความใหญ่พอเหมาะเพ่ือเนน้ ความสำคัญและทำให้เด่นเพื่อดึงดูดสายตาของผู้อา่ น

คอลัมน์ย่อย ออกแบบพื้นหลังของคอลัมน์ข่าวและหัวคอลัมน์ข่าว โดยใช้โทนสีเทาอ่อนเป็นสีพ้ืนหลัง
ของหัวเร่อื งและใช้ตวั อักษรสีขาวบนพื้นสีเทา ทำให้ดูนุ่มนวลและน่าอ่านมากขึ้น ส่วนพื้นหลังของเน้ือข่าวใช้สี

183
เทาอ่อนสลับกับสีส้มอ่อน และเว้นช่วงห่างระหว่าคอลัมน์ด้วยช่องไฟสีขาวเพ่ือให้เกิดช่องไฟช่วยลดความทึบ
และหนักสายตาลง

สว่ นท้ายหนา้ กระดาษ ใช้สีเทาอ่อนเป็นเส้นนำสายตาและใช้เส้นประสดี ำชว่ ยลดความอึกอัดในขณะที่
มอง มมุ ขวาล่างใช้กรอบส่ีเหลย่ี มลอ้ มตัวอกั ษรเพ่ือบอกเลขหน้าของจดหมายข่าว

เมื่อกำหนดรปู แบบงานออกแบบปกหน้าได้แล้ว ยึดรูปแบบนี้ไว้เพ่อื ให้คนจดจำและรับรูไ้ ด้ทันทีวา่ เป็น
จดหมายขา่ วของสภาคณบดคี ณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ ฯ สร้างเปน็ เทมเพลทเพื่อใชง้ านสำหรบั ฉบบั ถดั ไป

2.2 องคป์ ระกอบอื่น ๆ ที่มีอยู่ทั้งในหน้าแรกและหนา้ ใน
1) พาดหัวข่าว คือข่าวท่ีมีความสำคัญและต้องการให้รีบรู้ได้โดยเรว็ จึงจัดวางไว้ที่ส่วนคร่ึงบนของ

ปกหนา้ เน้นความสำคัญด้วยการใช้พนื้ หลงั สีส้มออ่ น สร้างความเดน่ และดงึ ดูดสายตาไดอ้ ย่างรวดเร็ว
2) เน้ือหาข่าวในแต่ละคอลัมน์ จะสรุปเฉพาะเน้ือหาสำคัญให้จบในหนึ่งย่อหน้า ระหว่าง 4-8

บรรทดั ใช้ตวั อักษรสีเขม้ บนพื้นหลงั สีอ่อน เพ่ือเนน้ ให้ตัวอกั ษรมีความคมชดั อ่านได้ง่ายแมต้ ัวอักษรจะมีขนาดเล็ก
3) ภาพประกอบ มีการคดั เลอื กเฉพาะภาพที่มีความคมชดั และคมุ โทนสใี ห้เข้ากับภาพรวมของหน้า

ข่าว คัดเลือกภาพที่มีสัดส่วนและขนาดภาพท่ีใกล้เคียงกัน ช่วยให้การจัดภาพลงกรอบในแต่ละคอลัมน์ได้มี
ระเบียบและทำงานได้อย่างรวดเรว็ อาจมีการครอปภาพหรือจดั สัดสว่ นของภาพเท่าท่ีจำเป็น

เครื่องมือทใี่ ช้การนำเสนอการออกแบบกราฟกิ จดหมายข่าว
การวาดภาพโครงร่าง โดยใช้ดินสอ สีไม้ จากนั้นสร้างเทมเพลทหน้าข่าวด้วยโปรแกรม Illustrator
เมื่อแบบผ่านส่งงานต่อให้เจ้าหน้าท่ีจัดเรียงเนื้อหาลงคอลัมน์ จัดหน้ากระดาษด้วยโปรแกรมสำหรับจัดส่ือ
สง่ิ พิมพพ์ สิ ูจน์ตวั อกั ษรแปลงไฟลเ์ ปน็ pdf และสง่ ให้โรงพิมพ์จดั พมิ พต์ อ่ ไป

ภาพท่ี 1 ปกหน้าจดหมายข่าวสภาคณบดคี ณะสถาปตั ยกรรมศาสตรแ์ หง่ ประเทศไทย ฉบับที่ 1 ปีที่ 1

184

5. สรุป

ผลงานการออกแบบจดหมายข่าวสภาคณบดคี ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยประกอบด้วย
การทำงานในหลายส่วน ท้ังด้านการออกแบบกราฟิก การคัดเลอื กข่าวและภาพประกอบ การจัดองค์ประกอบ
ของคอลัมน์ข่าว เพ่ือให้งานสำเร็จสมบูรณ์ผู้ออกแบบต้องศึกษา วิเคราะห์ วางแผนงานและกำหนด
แนวความคิดในการออกแบบ เพื่อให้ได้ผลงานกราฟิกที่ส่ือถึงอัตลักษณ์ของสถาบันการออกแบบท่ีมีความเป็น
วิชาการอย่างสร้างสรรค์ เมื่อกำหนดแนวทางหรือตรมี การออกแบบแล้ว ส่ิงเหล่าน้ีจะสะท้อนแนวคิดให้เห็นได้
ในทุกข้ันตอนของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหน้าข่าวท้ังปกนอกและปกใน การกำหนดโทนสี
ตัวอักษร การจัดวางองค์ประกอบโครงสร้างหน้ากระดาษ ตลอดจนการทำเทมเพลท ท้ังนี้ต้องประสานกันใน
ทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการหาข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลองค์กร การใช้หลักการออกแบบให้เหมาะสมเพื่อ
แสดงอัตลักษณ์ความเป็นองค์กรด้านวิชาการและสถาบันสอนการออกแบบ ซ่ึงสามารถนำเสนอความเป็น
ทางการด้วยระบบการจัดวางทเี่ ปน็ ระเบยี บ แตย่ งั คงมีความสดใสไมเ่ ครง่ ขรมึ จนเกินไป สรา้ งการจดจำใหผ้ ู้อา่ น
จากองค์ประกอบต่าง ๆ อาทิ การเลือกสรรรูปภาพที่มีความคมชัดและมีขนาดเหมาะสม การคัดกรองเน้ือหา
ขา่ วให้สั้นกระชบั ทำใหผ้ ้อู ่านสามารถจบั ใจความได้อย่างรวดเรว็

เอกสารอ้างอิง

การจัดองคป์ ระกอบของงานกราฟิก.[ออนไลน์]. สบื ค้นเม่ือวันที่ 3 กมุ ภาพันธ์ 2564, เขา้ ถงึ ได้จาก
https://sites.google.com/site/pmtech23013108/pmtech23013108-1

การออกแบบจดหมายข่าว Newsletter Design.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565, เข้าถึงได้
จาก https://readgur.com/doc/2049016.pdf

ประวตั สิ ภาคณบด.ี สืบคน้ เมอื่ วันที่ 3 กุมภาพนั ธ์ 2564, เขา้ ถึงไดจ้ าก
https://sites.google.com/site/cdastthai/home/prawati-spha-khnbdi

สมวรร ธนศรีพนิชชัย (รวบรวม). (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ.[ออนไลน์]. สืบค้นเม่ือวันที่ 5
พฤษภาคม 2565, เข้าถึงได้จากhttp://academic.udru.ac.th/~samawan/content/Printed
MediaDesign.pdf

หลักการออกแบบสื่อส่ิงพิมพ์.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันท่ี 5 พฤษภาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://
sites. google. com/ site/ hlakkarxxkbaebsingphimph/ 07-kar-xxkbaeb-sing-sux-phimph-
chephaa-kic/kar-xxkbaeb-cdhmay-khaw

PSYCHOLOGY OF COLOUR. [ออนไลน์]. สืบค้นเม่ือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564, เข้าถึงได้จาก http://
www.ftbsoap.com/psychology-of-colour/

185

การสะท้อนจิตใจมนษุ ย์ผ่านภาพประกอบเวกเตอร์
Reflection of human mind through vector illustration

นิภัทร์ ปญั ญวานันท์, Nipat Panayawanan

มหาวทิ ยาลัยกรงุ เทพรังสิตคณะดจิ ิทัลมเี ดียและศลิ ปะภาพยนตร์
9/1 หมู่ 5 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนง่ึ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

E-mail : [email protected]

บทคดั ยอ่

ภาวะจิตใจของมนุษย์น้ันมีความซับซ้อนมีท้ังด้านท่ีดีและด้านที่ไม่ดีเปรียบเหมือนเหรียญท่ีมีสองด้าน
การทำให้จิตใจของมนุษย์มีความรู้สึกที่ดีน้ันส่วนหน่ึงเป็นเพราะว่ามีการปลูกฝังในส่ิงท่ีดีของคนๆน้ันตั้งแต่เล็ก
จนเติบโตอยู่เสมอจึงทำให้มีจิตใจท่ีดีมีความโอบอ้อมอารีมีเมตตาและหมั่นทำความดีอยู่เสมอจิตใจจะคิดและ
สร้างสรรคส์ ง่ิ ท่ีดแี ละเลือกอย่ใู นสภาพแวดลอ้ มทีด่ แี ละคบเพ่ือนที่มีความคิดท่ดี เี ชน่ เดยี วกับตนเอง

อีกด้านหนึ่งคือด้านที่มีจิตใจท่ีไม่ดีเป็นเสมือนดาบสองคมตรงกันข้ามกับด้านที่ดีบุคคลเห ล่านี้อาจจะ
เป็นคนที่ดีมาก่อนแต่อาจจะผิดหวังในสิ่งที่คาดหวังในเร่ืองต่างๆเช่นการอกหักจิตใจโดยทำร้ายมาจึงทำให้มอง
เรอ่ื งความรกั ในดา้ นท่ไี ม่ดีหรือเป็นคนที่โดนปลกู ฝังในดา้ นทไ่ี ม่ดีมาต้ังแตเ่ ล็กจนเตบิ โตจงึ ทำให้คิดและไม่ชอบท่ี
จะทำในส่ิงที่ดหี รืออาจหลงผดิ ไปช่ัวขณะหน่ึง

คำสำคญั : จติ ใจมนุษย์พฤติกรรมภายในหรือจิตใจของมนษุ ยค์ วามรักมสี องด้านภาพประกอบเวกเตอร์

Abstract

Nowadays, social media plays a large role in human daily life, whether it is a factory
to export products. Store business Online merchant Including using social media about
everyday life, etc. Currently, there are many types of media. One media that is very popular
today is Facebook. Social media is media that has been discussed both in terms of Benefits
and negative effects For playing social media with people who are sufficiently mature in
adults, it is useful to use it by communicating with NatananSiricharoen (2015).

But the negative impact on society, especially for young people, may be due to
insufficient maturity in using social media. May post messages with less knowledge than With
a prank Without thinking of the consequences Until sending me regrets in the last picture
For example, on February 15, 2020, a raging firefighter at Terminal 21 in Korat, during the
incident, used social media to broadcast live (facebook live) with violent content as an
example. Not good for youth.

Keywords: Social media Social media and youth Attachment to social media

186

1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปญั หา

จากทฤษฎีของThe Cognitive Theory of Depression กล่าวว่าการเกิดการตอบสนองต่อสภาวะ
อารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์น้ันได้รับอิทธิพลมาจากการให้ความหมายและเนื้อหาความคิดของเขาต่อ
สถานการณ์น้ันๆการรับรู้ของบุคคลต่อสถานการณ์ท่ีเกิดข้ึนเชิงลบน้ันเป็นผลมาจากบุคคลน้ันมีความผิดปกติ
ของในการทำหนา้ ท่ขี องความคิดเชน่ มีความคดิ เชิงลบหรอื ความคิดท่ีบดิ เบือนไปจากความจริง

ภาวะจิตใจของมนุษย์นั้นจะมีจิตใจท่ีดีหรือไม่น้ันข้ึนอยู่กับองค์ประกอบของท่ีบุคคลน้ันได้พบเจอมา
ประกอบกับการเลี้ยงดูมาต้ังแต่เด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่สิ่งรอบข้างน้ันมีส่วนสำคัญและมีผลเป็นอย่างมากที่จะ
ทำให้บุคคลนั้นเป็นคนอยา่ งไรในอนาคตจงึ เป็นที่มาของแรงบันดาลใจในการสรา้ งสรรคผ์ ลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้

2. แนวคิด / ทฤษฎที เ่ี ก่ยี วข้อง

พฤติกรรมภายในหรือจิตใจของมนุษย์ (Invert Behaviors) หมายถงึ ความคิดความรสู้ ึกจินตนาการใน
จิตใจของมนุษย์ทางด้านจิตวิทยาเช่นการรับรู้เจตคติอารมณ์ความจำหรือประสบการณ์ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้
พฤติกรรมภายในมีลกั ษณะเป็นนามธรรมซง่ึ ไม่สามารถสังเกตไุ ด้ด้วยตาเปล่าหรือเครือ่ งมอื ทางวทิ ยาศาสตร์

ตวั อย่างพฤติกรรมภายในซ่งึ เกดิ จากการสัง่ การของสมองเชน่
1. สมองส่วนท่ีเรียกว่าคอร์เทก (Cortex) จะทำหน้าที่ควบคุมการเรียนรู้การให้เหตุผลและการมี
วิจารณญาณ (เมธาวีอุดมธรรมานุภาพ : 2544 )
2. สมองส่วนท่ีเรียกวา่ ระบบลิมปิค (Limbic System) ประกอบด้วยต่อมไฮโปทา-ลามัส (Hypothalamus)
ฮปิ โปแคมปัส (Hippocampus) และอมกิ ดาลา (Amygdala) จะทาหนา้ ท่คี วบคุม
การแสดงออกของพฤติกรรมของมนุษย์ซ้ำๆอาจจะส่งผลท่ีดีหรอื ไม่ดีได้เช่นความใกล้ชิดของหนุ่มสาว
ท่ีเจอกับอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอความสนิทสนมอาจนำพาให้มีความรู้สึกทางบวกต่อกันอาจเปลี่ยน
ความสัมพันธ์จากคนรู้จักเป็นเพ่ือนจากเพื่อนเป็นคู่รักหรือในทางตรงกันข้ามประสบการณ์ท่ีผิดหวังซ้ำๆ
ตอ่ เนือ่ งกนั จะส่งผลทำใหบ้ ุคคลนนั้ ขาดความม่ันใจในตนเองขาดความเช่อื มั่นเป็นความร้สู ึกทางลบกไ็ ด้เชน่ กนั (ฤกษ์
ชัยคุณปู การ : 2545)
พฤตกิ รรมทางดา้ นจิตวทิ ยาเช่นแรงจูงใจอารมณแ์ ละความต้องการทางเพศเปน็ ต้น (พสิ มยั วบิ ูลยส์ วัสดิ์ : 2527)
แนวความคิดว่าพฤติกรรมภายในกาหนดพฤติกรรมภายนอกมักจะเป็นพ้ืนฐานความคิดของนักพัฒนา
ท่ีมุ่งเน้นแก้ปัญหาสังคมโดยมีความเชื่อว่าการพัฒนาความคิดและจิตสำนึกของบุคคลให้สูงข้ึน (พัฒนาคนให้
เป็นคนดี) จะส่งผลให้สังคมได้รับการแก้ไขและพัฒนาไปในทางบวกและสังคมมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สงบสุข
สามารถแสดงเป็นแผนภมู ิได้ดังนี้
แผนภูมแิ สดงพฤติกรรมภายในเปน็ สาเหตขุ องพฤติกรรมภายนอก

187
ในด้านของความรักท่ีส่งต่อพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่จะส่งผลที่ดีหรือไม่นั้นมีหลาย
รูปแบบขน้ึ อยู่กบั ความคิดและความรักทมี่ ีในแตล่ ะบุคคล
Lee (1973) ได้เสนอโมเดลรูปแบบความรักไว้ 6 รูปแบบตามแมส่ ีแบ่งเป็นรูปแบบปฐมภูมิ 3 รูปแบบ
ได้แก่ 1) Eros (สีแดง) คือรูปแบบความรักแบบเร่าร้อน (Passionate love) 2) Ludus (สีน้ำเงิน) คือรูปแบบ
ความรักแบบไม่ผูกมัด (Uncommited love) และ 3) Storge (สีเหลือง) คือรูปแบบความรักแบบเพื่อน
(Friendship-based love) และรูปแบบทุติยภูมิอีก 3 รปู แบบซ่ึงเกิดจากการรวมกันของรูปแบบปฐมภูมิคือ1)
Pragma (สีเขียว) คือรูปแบบความรักแบบมีผลประโยชน์ร่วมกัน (Practical love) 2) Mania (สีม่วง) คือ
รูปแบบความรักแบบต้องการครอบครอง (Possessive love) 3) Agape (สีส้ม) คือรูปแบบความรักแบบเห็น
แก่ผูอ้ ื่นมากกว่าตนเอง (Altruistic Love)
Sternberg (1986) กล่าวว่าองค์ประกอบของความรักประกอบด้วย3 องค์ประกอบสำคญั คือ1) ความ
สนิทสนม (Intimacy) 2) ความเสน่หา (Passion) และ3) พันธะสัญญา (Commitment) ซ่ึงองค์ประกอบท้ัง3
น้ีเกิดจากประสบการณ์ความรักและการเปล่ียนแปลงความสัมพันธ์ของบุคคลเม่ือนำองค์ประกอบมาผสมกัน
แบ่งออกเป็นรูปแบบของความรักท้ังหมด7 แบบแสดงดังภาพ2 ได้แก่1) รักแบบชอบพอ (Liking) 2) รักแบบ
หลงใหล (Infatuation) 3) รกั ท่ีว่างเปล่า (Empty Love) 4) รักแบบโรแมนตกิ (Romantic Love) 5) รกั แบบ
เพ่ือน (Companionate Love) 6) รักลวงตา (Fatuous Love) และ7) รักสมบูรณ์แบบ (Consummate
Love) ทง้ั นS้ี ternberg (1998)

ภาพที่ 1 ภาพประกอบคนอกหัก
ที่มา : Siamfans (2561)

แรงบันดาลใจจากภาพประกอบคนอกหักจากจากเว็บไซต์ Siamfans ภาพน้ีเปรียบเสมือนความรักที่
ก่อตวั ขึน้ มาพอถึงจดุ อม่ิ ตวั ย่อมมีวนั เลิกลา

188
ผู้สร้างสรรค์งานได้ศึกษาภาพประกอบในด้านของความรักและนำมาปรับใช้ให้เข้ากับงานสร้างสรรค์
ในคร้ังนี้ความรักก็มีทั้งด้านท่ีดีและด้านท่ีไม่ดีเช่นเดียวกับเหรียญท่ีมีสองด้านโดยงานสร้างสรรค์นี้จะ ใช้
โปรแกรมAdobe Illustrator ในการทำภาพประกอบเวกเตอร์เพ่อื ใหง้ านออกมาน่ารกั และมีสสี ันทีส่ วยงาม
3. กระบวนการในการสร้างสรรค์
ผสู้ ร้างสรรค์งานได้ออกแบบเป็นต้นไม้ท่ีเป็นรูปหัวใจหนึ่งดวงแต่หัวใจดวงน้ีจะถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง
คือฝ่งั ซ้ายจะมีแตค่ วามสวยงามมดี อกไมแ้ ตกเกสรส่งกลนิ่ หอมมีผีเสอื้ ท่คี อยมาดมมากนิ เกสรจากดอกไมส้ อื่ ถึง
ฝ่ังซ้ายเป็นความรักหรือเป็นคนในด้านท่ีดีส่วนฝ่ังขวาเป็นด้านที่ไม่ดีผิดหวังเป็นด้านมืดมีรากไม้ท่ีเป็นหนาม
แหลมๆดอกไม้มฟี ันทแ่ี หลมคมคอยดักกนิ แมลงท่มี าดมเกสรดอกไมเ้ ป็นอาหาร
ผลงานสร้างสรรคช์ ิ้นนี้สื่อถึงความดีและความไม่ดคี วามรกั สมหวงั และความผิดหวังอยทู่ ี่เราน้นั จะเลือก
หรือใชช้ วี ติ ให้เปน็ แบบท่ีดหี รอื ไม่ดี
ด้านเทคนิคสเก็ตงานลงบนแผ่นกระดาษแล้วใช้โปรแกรมAdobe Illustrator วาดเส้นลงไปบนเส้นท่ี
ล่างเอาไว้แลว้ ลงสตี ามจดุ ตา่ งๆให้สวยงามจนครบท้งั ภาพ

ภาพท่ี 2 การสะทอ้ นจิตใจมนษุ ยผ์ า่ นภาพประกอบเวกเตอร์
ทีม่ า : นิภทั ร์ ปัญญวานนั ท์ (2565)

189

4. การวิเคราะหผ์ ลงาน

ภาพงานสร้างสรรค์ชิ้นน้ีศึกษาข้อมูลจากการใช้ชีวิตประจำวันศึกษาจากขา่ วต่างๆและรวมไปถึงศึกษา
จากบทความวิชาการต่างๆในเร่ืองของแนวความพฤติกรรมของมนุ ษย์ท่ีมาของงานสร้างสรรค์งานชิ้นนี้การ
ดำเนินชีวิตการเลือกทางเดินท่ีดีหรือไม่มีความรักที่ผิดหวังหรือสมหวังนั้นเราอาจจะไม่สามารถกำหนดได้
ทัง้ หมดแต่นั้นร่วนเป็นสีสันที่เกดิ ขึ้นกับชีวิตท้ังสนิ้ สิ่งเหล่าน้ีจะนำมาซ่ึงประสบการณ์ในการดำเนนิ ชีวติ ต่อไปใน
อนาคต

ข้าพเจ้าได้นำข้อมูลต่างๆท่ีกล่าวไปข้างต้นได้นำมาออกแบบโดยเริ่มจากการล่างและนำมาลงสีให้
สวยงามให้ตรงตามจินตนาการและขอ้ มลู ที่ไดศ้ ึกษามาจนออกมาเป็นผลงานชิ้นน้ใี นทส่ี ดุ

5. สรปุ

ผลงานสร้างสรรค์ในคร้ังนี้สร้างข้ึนมาเพราะผู้สร้างงานได้มองเห็นถึงการดำเนินชีวิตที่มีท้ังคนท่ี ดีและ
ไม่ดีดา้ นความรกั ท่ีมีความผดิ หวังและสมหวังการลาจากซึ่งการแก้ไขปัญหาท่ีจะทำใหค้ นมองส่ิงที่ไม่ดีในตนเอง
และหันมาทำในส่ิงท่ีดีน้ันต้องปลูกฝั่งต้ังแตว่ ัยท่ียังเป็นเด็กส่วนเรื่องความรักท่ีไม่ดีนั้นอาจจะกลับไปแก้ไขอะไร
ไม่ได้ควรที่จะนำส่ิงท่ีผิดพลาดเหล่าน้ีไปเป็นบทเรียนและนำไปปรับใช้ในความรักในคร้ังใหม่และควรที่จะแก้ไข
ข้อผิดพลาดทเ่ี กิดขนึ้ จากที่ผา่ นมา

ดงั น้นั สง่ิ เหล่านเี้ องเปน็ แรงผลกั ด้นใหผ้ ู้สรา้ งสรรค์ผลงานชนิ้ นี้ออกมาเพ่ือสทอ้ นถึงมุมมองต่างๆท้ังการ
ดำเนนิ ชีวติ และเร่อื งของความรัก

เอกสารอ้างองิ

พสิ มยั วบิ ูลย์สวสั ดิ์ และคณะ. (2527). จิตวิทยาทั่วไป. เชียงใหม่: มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่
เมธาวี อุดมธรรมานภุ าพ, รัตนา ประเสรจ็ สม และเรยี ม ศรที อง. (2544). พฤตกิ รรมมนษุ ย์กบั การพัฒนาตน.

กรุงเทพฯ: คณะครศุ าสตร์ สถาบันราชภฏั สวนดสุ ิต.
ฤกษช์ ยั คุณปู การและคณะ. (2545). พฤตกิ รรมมนุษย์กับการพัฒนาตน : ภาควชิ าจติ วิทยา และการแนะแนว

สถาบนั ราชภฏั พบิ ูลสงคราม.
Lee. J. A. (1973). The colors of love: An exploration of the ways of living. Don Mills,

Ontario: New Press.
Siamfans. (2021). Available: https://www.siamfans.com/page?id=18 (Online) [2021, July 4].
Sternberg, R. J. (1986). A triangular theory of love. Psychological Review, 93, 119-135.

190

สติ ความกลวั และทวี่ า่ ง
Consciousness, Fearand Space

ปรวรรณ ดวงรัตน์, Porrawan Doungrat

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธุรกิจบณั ฑิตย์
E-mail : [email protected]

บทคัดยอ่

ผลงานชุด “สติ ความกลัว และที่ว่าง” มีแนวความคิดท่ีสื่อถึงความกลัวของมนุษย์ทีซ่ ุกซ่อนอยู่ภายใน
จิตใจ เป็นความกลวั ทีส่ ะสมอยู่ในความดำมืดที่เวงิ้ ว้างมาเน่ินนาน เหนือกว่าความกลัวน้นั “สติ” เป็นเคร่ืองยึด
เหนี่ยวจิตใจท่ีสามารถนำพาให้มนุษย์ก้าวข้ามความกลัวนั้นไปได้อย่างงดงาม ผลงานชุดน้ีประกอบด้วยงาน
สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคส่ือผสม 2 ภาพ ใช้หลักการวิเคราะห์การรับรู้ความงามตามทฤษฎีเกสตัลท์ และใช้
หลักการของที่ว่างบวก ท่ีว่างลบ และที่ว่างสองนัย ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความงาม
ได้แก่ปัจจัยด้านความใกล้ชิด ความคล้ายคลึง การสร้างความต่อเนื่อง และการปกปิดส่วนที่ไม่สมบูรณ์ ท่ีมีผล
ต่อการสร้างเสริมให้เกิดความเปล่ียนแปลงบนท่ีว่างอย่างมีเอกภาพการใช้ท่ีว่างบวกและที่ว่างลบ เป็นตัวแทน
ของ สติ และ ความกลัว การใช้ที่ว่างสองนัย เป็นตัวแทนของการผลักดันกันระหว่างทั้งสองสิ่ง ผลงานชุดนี้
สามารถใชเ้ ป็นแนวทางให้กบั ผู้ที่กำลงั เผชิญอย่กู ับความกลวั ดว้ ยการชใ้ี ห้เห็นวา่ ในหลมุ ดำของความกลัว จะมี
เพียง สติ เทา่ นนั้ ทีจ่ ะช่วยใหพ้ ้นจากความมืดมน

คำสำคัญ: สต,ิ ความกลวั , ทวี่ ่างบวก, ทว่ี า่ งลบ, ท่ีวา่ งสองนยั

Abstract

The series “Consciousness, Fear and Space” has a concept that conveys the fear of
human beings that are hidden within the mind. It's a fear that has accumulated in the vast
darkness for a long time. Beyond that fear, "consciousness" is the anchor of the mind, that
can lead humans to overcome that fear beautifully. These work consists of two images of
mixed media creative works based on the analysis of the perception of beauty according to
the Gestalt Theory, and the Principles of Art Composition, Elements of art, subject, positive
space, negative space, and Ambiguous space. The results of the analysis revealed that the
factors affecting the perception of beauty were factors of intimacy, similarity, continuity, and
concealment of imperfections, which influenced the change on space in unity. Using positive
and negative spaces represented consciousness and fear, the ambiguous space represented
the repulsion between the consciousness and fear. These works can serve as a guide for

191

those who are facing fear. By pointing out that in the black hole of fear, only consciousness
can save us from the darkness.

Keywords: Consciousness, Fear, Positive Space, Negative Space, Ambiguous Space

1. ความสำคญั หรอื ความเปน็ มาของปญั หา

ปัจจุบันมนุษย์ต่างกำลังเผชิญกับสถานการณ์อันยากลำบาก จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ท่ี
นอกเหนอื จะส่งผลต่อสขุ ภาพร่างกาย สังคม และเศรษฐกิจแล้ว ผลเลวร้ายท่ีสุด คอื การส่งผลกระทบต่อสภาพ
จติ ใจของผู้คน ไม่วา่ จะเป็นความต่นื กลัว ความวิตกกังวลการติดเช้ือ ประกอบกับการต้องเผชิญกับภาวะวิกฤต
เศรษฐกิจตกต่ำ ทำใหร้ ายไดน้ อ้ ยลง หรือตอ้ งตกงานตามมา ยง่ิ ทำให้ผ้คู นเกดิ ความเครียดสะสม จนอาจลุกลาม
เป็นปัญหาสุขภาพจิตท่ีรุนแรงพระไพศาล วิสาโล กล่าวถึง การเผชิญกับปัญหาต่างๆ สิ่งแรกที่เราต้องทำเพื่อ
“วางใจ” ให้ถูก คือ ต้องไม่ประมาท ขณะเดียวกัน เม่ือเราตื่นตัว ไม่ประมาทแล้ว เราก็ต้องระวังไม่ให้การ
ตน่ื ตัวน้นั ไปถึงขั้น “ประสาท” เรยี กว่า “ประมาท ก็ไมด่ ี ประสาท ก็ไมถ่ ูก”เพราะถ้าเราพอมีความกลัว และไม่
รู้ทัน ปล่อยให้มันครอบงำจิตใจ มันไม่เพียงทำให้เราปฏิบัติกับคนรอบตัว ด้วยการแสดงความรังเกียจเหยียด
หยามเทา่ นั้น แต่เรากำลังซ้ำเตมิ สถานการณ์ให้หนักขึ้นดว้ ย (Katchwattana, 2020)

จากข้อคิดดังกล่าวสามารถสะท้อนหลักการดำเนินชีวิตในช่วงเวลาน้ีได้เป็นอย่างดี โดยเชื่อมโยงกับ
หลักธรรม คือ หลักแห่งความประพฤติเพื่อการดำเนินชีวิต ด้วยการมี สติสัมปชัญญะ 1) สติ ความระลึกได้
หมายถึง ลักษณะของสติภายใน คือการนึกได้ก่อนเม่ือจะทำ จะพูด จะคิด นึกได้ก่อนแล้ว จึงทำ จึงพูด จึงคิด
ระลึกไดถ้ ึงภารกิจที่กระทำ คำท่พี ูด และฉุกในเรื่องที่คิดแม้ที่ลว่ ง มาแลว้ หรอื ระลกึ ถึงสิ่งท่ียังมาไม่ถึงในอนาคต
เช่น กำหนดว่า ช่ัวโมงต่อไปน้ี หรือวันพรุ่งน้ีว่าจะทำอะไรก็ นึกข้ึนมาได้ หน้าท่ีของสติจึงเป็นไปได้ท้ัง 2 กาล
คือ อดีตและอนาคต คือรู้เรื่องโรคภัยในอดีตและพึงระวัง ในอนาคตต่อไป 2) สัมปชัญญะ หมายถึง ลักษณะ
ของสัมปชญั ญะภายใน คือความรูส้ ึกตัวในขณะที่กำลัง ทำกำลงั พูดและกำลังคิด ที่เป็นไปในปัจจุบันว่า ทำ พูด
คดิ อะไร อยู่กร็ ู้ตัวในขณะน้ัน ๆ เช่นว่ากำลังขับรถอยู่ กำลังอ่านหนังสืออยู่ กำลังทำงานโดยมีเครื่องมือต่าง ๆ
อยู่ ก็ให้รู้ตวั อยู่เสมอ ความผิดพลาดหรืออุปัทวะเหตุใด ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นความสูญเสียใดๆก็ไมม่ ี (พระวชิรวิชญ์
ภทั รเกยี รตนิ ันท,์ 2564)

ผลงานสร้างสรรคช์ ดุ “สติ ความกลัว และทว่ี ่าง” มีแนวความคดิ ที่ต้องการช้ีให้เห็นถึงความกลัวที่ซ่อน
อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ เป็นความกลัวที่สะสมอยู่ในความดำมืดท่ีเวิ้งว้างมาอย่างยาวนาน แต่ใน
ขณะเดียวกันก็มีความพยายามท่ีจะฟันผ่าความกลัวอันมืดบอดน้ัน ด้วยการใช้ “สติ” เป็นท่ีตั้ง ผลงานชุดน้ี
ประกอบด้วยงานสร้างสรรค์ 2 ภาพ เป็นงานเทคนิคสื่อผสมบนผ้าใบ (Mixed Media on Canvas) ใช้
หลักการจัดองค์ประกอบศิลปะในเรื่องท่ีว่างบวกและที่ลบ ผสมผสานกับหลักคิดทฤษฎีเกสตัลต์ (Gestalt
Theory) นำเสนอผ่านการจดั วางรปู ทรง พื้นผิว สี และวสั ดุ เพอื่ สื่อสารถึงความพยายามของการต่อส้กู บั ความ
กลัวภายในจิตใจของตนเอง


Click to View FlipBook Version