The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

342 5. การวิเคราะห์ผลงาน จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลในการออกแบบ ประติมากรรม “ปอดกลางเมือง” เป็นผลงาน เป็นไปตามความคาดหมาย ในการออกแบบและกระบวนการผลิต คือการออกแบบประติมากรรมให้เป็นส่วน หนึ่งในบริบท และ อีกทั้ง สร้างประติมากรรม ที่มาจากความทรงจำของทุกคนเพื่อเป็นลดระยะเวลา พื้นฐาน การทำความเข้าใจ ให้สามารถสื่อถึงได้และเข้าใจได้ง่าย และอีกทั้งสร้าง ประติมากรรม ที่สามารถเข้าถึงได้ทุก ช่วงวัย เพื่อทำให้ประติมากรรม “ปอดกลางเมือง” เป็นตัวสื่อความหมายตามจินตภาพจุดเด่นคือ ดอกบัวสี ทองที่เป็นวัสดุทองเหลืองคงทนแข็งแรง พร้อมทั้งทำการติดตั้งไปส่องสว่างที่เป็นหลากสีโดยใช้พลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์(Solar Cell) ทั้งหมดนี้กระต่ายถือดอกบัวสีทอง เป็นตัวแทน การเล่าตำนาน ความเชื่อ เป็นตัวสื่อความหมายเรื่อง ในอดีตที่ผ่านมา ที่ส่งผ่านเรื่องราว สู่การพัฒนาความเป็นย่านที่ทันสมัย เป็นจุดศูนย์กลางของเศรษฐกิจ การค้า และ ความทันสมัย สื่อถึงดอกบัว ที่เป็น เหมือนจุดเด่นของ สามย่าน ความงามและสะท้อนปัญหาใน ปัจจุบันซึ่ง 6. สรุป ประติมากรรม “ปอดกลางเมือง” คือการสร้างสรรค์จากเรื่องเล่าของกระต่ายในดวงจันทร์และดอดบัว สีทอง ในหลากหลายบริบทเรื่องราว สู่การออกแบบประติมากรรมเพื่อสะท้อนถึงความเชื่อวิถีชีวิตของย่านสวน หลวงสามย่าน เพื่อสร้าง จุดสังเกต (Landmark) และอีกทั้งได้ทำการออกแบบให้สอดคล้องกับพื้นที่ เปรียบให้ ฟ้าใหม่โดม เปรียบเสมือนกับดวงจันทร์ขนาดใหญ่ ที่กระต่างได้อยู่พร้อมทั้งผู้อออกแบบยังเชื่อได้ว่าผู้ที่มาเที่ยว ย่านสวนหลวงสามย่านได้เจอ ประติมากรรม “ปอดกลางเมือง” จะสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด ของกระต่ายใน ดวงจันทร์ เป็นเรื่องเล่า ที่ยังมีลมหายใจไม่เคยจางหายไปจากความทรงจำของทุกคน เอกสารอ้างอิง นวลน้อยบุญวงศ์. (2542). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุษกร บินฑสันต์. (2565). นำชมเสมือน สวนศิลป์จุฬาฯ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสงจินดา กันยาทิพย์. (2541). สนุกกับเทศกาลเฉลิมฉลอง Goh Pei Ki. (พิมพ์ครั้งที่ 2).หน้า184-191 กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ดอกหญ้า


343 จิตรกรรมสีน้ำ กวนเกษียรสมุทร Watercolor painting : The churning of the ocean of milk เอกราช วรสมุทรปราการ, Ekaraj Worasamutprakarn คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ, Science and technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University Bangkok [email protected] บทคัดย่อ ตำนานด้านเทววิทยาในคติฮินดูที่แพร่อิทธิพลจากอินเดียสู่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้จนเกิดเป็นงาน จิตรกรรมไทยโบราณเชิงประเพณีและเทวศิลป์มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นลายเส้นวิจิตรงดงามประกอบไปด้วย ลายกนกที่คมชัด แต่สำหรับงานสร้างสรรค์ในชิ้นนี้ผู้จัดทำมีความประสงค์ที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองของผลงานให้ ดูร่วมสมัยมากขึ้น เน้นอารมณ์ฟุ้งฝันและการแสดงออกถึงมิติตื้นลึกแทนความชัดเจนของลายเส้น ซึ่ง วัตถุประสงค์ในการพัฒนางานได้แก่ (1) สร้างสุนทรียภาพทางทัศนศิลป์ในรูปแบบจิตรกรรมสีน้ำชนิดเน้น อารมณ์และลดทอนรายละเอียด (2) เพื่อทดลองการใช้เทคนิคสีน้ำแบบเงาคัดแสงและไล่ระดับความชื้นจาก เปียกมาแห้ง (3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์คุณค่าทางสุนทรียภาพด้านทัศนธาตุในผลงานทัศนศิลป์ ผลงานทัศนศิลป์ที่ได้จากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ที่ได้คือภาพกวนเกษียรสมุทรขนาด 168 x 75 เซนติเมตรที่แบ่งได้เป็นสามส่วน และสามารถนำเสนอแนวคิดอารมณ์นำรายละเอียดผ่านเทคนิคสีน้ำได้ด้วยการ เน้นที่น้ำหนักแสงเงา รูปร่างรูปทรงโดยรวมมากกว่าลายเส้นชัดเจนทั้งหมดเหมือนในงานจิตรกรรมไทยทั่วไป และได้ใช้เทคนิคสีน้ำแบบเงาคัดแสงและการไล่ระดับความเปียกของน้ำมาจนแห้ง ผลงานได้ถูกวิเคราะห์ตาม หลักการออกแบบในเรื่องของสัดส่วน ระยะและน้ำหนักเพื่อสร้างสรรค์งานให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย คำสำคัญ: จิตรกรรม, สีน้ำ, เทวศิลป์ Abstract From Hindu mythology that spread from India into the south-east Asia including Thailand had influenced artists to create many traditional artworks. However, Thai traditional style of paintings always composes of many curves, beautiful patterns which called Kanok and also give 2 dimensions perception. So, in this creative work, I want to make Thai traditional painting style has 3 dimensions perception and more emotional feeling. The objectives of this artwork are (1) to create aesthetics in visual arts in the form of watercolor painting which emphasis on emotion and decreasing details; (2) to experiment the technique of shading bringing the light and wet to dry technique; (3) to study and Analyze the aesthetic value of visual elements in visual arts.


344 The result of this creative artwork is titled "The churning of the ocean of milk" which size is a 168 x 75 cm. and can separated into three parts. The painting can present the concept of getting impression before observing the details by emphasizing the part of light and shadow through watercolor technique and the overall shape. The principle of design such as of proportion, distance and value are used to achieve the result of painting. Keywords: Fineart, Watercolor, religious painting 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ศิลปะและวัฒนธรรมในประเทศไทยโดยเฉพาะด้านพุทธศิลป์นั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าได้รับอิทธิพลมากจาก ทางคติทางพราหมณ์ฮินดูของอินเดีย ซึ่งคติเหล่านี้ได้เผยแพร่อิทธิพลต่อศิลปะและประติมากรรมในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย ดังเช่น การสร้างนครวัดนครธมให้มีลักษณะเหมือนผังของเขาพระสุเมรุตามคัมภีร์ ของหลักศาสนาพราหมณ์ รูปสลักของเทพนพเคราะห์ในปราสาทโลเลยของเขมร สำหรับประเทศไทยนั้น อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ฮินดูได้เข้ามาตั้งแต่ยุคโลหะก่อนประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยและอยุธยา โดยรัชสมัย ของรัชกาลที่หนึ่งได้โปรดเกล้าให้พราหณ์จากภาคใต้ในเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีหลักฐานว่าอพยพย้ายถิ่นมา จากรัฐทมิฬนาดูของอินเดียใต้ (Bamroong Kam-Ek, 2006) ได้เข้ามาเป็นพราหมณ์ประจำราชสำนักเพื่อร่วม ประกอบพระราชพิธี ซึ่งทำให้ศิลปะและวรรณกรรมศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่มีอิทธิพลต่อไทย โดยตัวอย่างที่เห็น ได้ชัดได้แก่ รามเกียรติ์ที่ได้ที่มาจากรามายณะของอินเดียใต้ รวมถึงนารายณ์สิบปางซึ่งสัมพันธ์กับภาพเทวรูป ซึ่งในรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นจะมีประติมากรรมเทวรูปพราหมณ์ฮินดูเพื่อประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ถึง สามสิบเก้าองค์ เช่น พระปรเมศวรทรงโค พระอาทิตย์ทรงราชสีห์ พระจันทร์ทรงม้า เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเทวรูป เหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และแม้ว่าที่มาของงานศิลปะจะเป็นจาก ประเทศอินเดียแต่เมื่ออยู่ในประเทศไทยก็ได้รับการหล่อหลอมให้เกิดความงดงามแตกต่างตามแบบฉบับของ ศิลปะไทย เช่น ลวดลายของลายกนกไทย ด้วยความอ่อนช้อยงดงามของตัวละครอันเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้งาน ทัศนศิลป์ไทยมีอัตลักษณ์ชัดเจน ซึ่งการดำรงรักษางานของไทยให้มีอายุยาวนานต่อไปนั้นนอกจากวิธีสืบสาน ภูมิปัญญาไทยให้ถูกต้องตามขนบแล้วการประยุกต์ต่อยอดให้ตามสมัยนิยมก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ให้ ความสนใจเช่นกัน การพัฒนางานสร้างสรรค์กวนเกษียรสมุทรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดงานไทยให้เกิดจินตนาการใช้ เทคนิคของสีน้ำผสานความอ่อนช้อยละมุนตาของตัวละครแบบไทย แต่ลดทอนรายละเอียดและใช้น้ำหนักแสง เงา ความฟุ้งเบลอให้รูปแบบงานดูร่วมสมัยขึ้น ซึ่งการนำศิลปวัฒนธรรมไทยมาออกแบบใหม่นั้นยังสามารถช่วย ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มองเห็นคุณค่าและเข้าถึงศิลปะที่มีอย่างยาวนานอีกด้วย ดังเช่นงานวิจัยการออกแบบตัว ละครเทพนพเคราะห์ในรูปแบบตัวละครแอนิเมชันก็ทำให้เยาวชนมีความอยากรู้เรื่องราวของเทวตำนานมาก ขึ้นแม้ว่าก่อนหน้าจะไม่เคยเข้าใจเกี่ยวกับเทพนพเคราะห์ (Ekaraj Worasamutprakarn, 2021)


345 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในการทำผลงานกวนเกษียรสมุทรนั้นได้ใช้พัฒนางานด้วยกระบวนการแบบเชิงจินตนาการดังที่ปวีณา เอื้อน้อมจิตต์กุลได้กล่าวถึงลักษณะเด่นเฉพาะรูปแบบของศิลปินจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. กระบวนแบบปรนัยนิยม (The style of objective accuracy) ได้แก่งานเลียนแบบสิ่งที่ปรากฏ ด้วยตาให้เห็น มีตรรกะถูกต้อง อาจแทนด้วยรายละเอียดประหนึ่งกล้องถ่ายภาพที่คุณภาพสูงเกินกว่าสายตา ทั่วไปจะเห็นได้ หรืออาจเป็นการลดทอนรายละเอียดบางส่วนอยู่แต่ยังยึดหลักความถูกต้องของวัตถุและ สภาพแวดล้อมไว้ 2. กระบวนแบบเชิงรูปแบบนิยม (The style of formal order) เป็นผลงานที่มุ่งเน้นการแสดงความ งามของสัดส่วนมูลฐาน การจัดวางโครงสร้าง ให้คุณค่าของรูปทรงมากกว่าวัตถุหรือสภาพแวดล้อม มักมีการ นำเสนอภาพเชิงลดทอนแต่ยังคงสาระสำคัญของรูปทรงไว้ มีสัดส่วนงดงาม มั่นคงมีระเบียบ 3. กระบวนแบบอัตนัยนิยมเชิงอารมณ์ความรู้สึก (The style of emotion) เป็นงานมุ่งเน้นสำแดง อารมณ์จากภายใน อาจมีการบิดเบือนรูปทรงให้ผิดเพี้ยน ใช้คุณสมบัติของสีสร้างความรู้สึกเด่นชัดออกมา 4. กระบวนแบบเชิงจินตนาการ และสัญลักษณ์(The style of fantasy and Symbol) เป็นผลงาน ที่สร้างด้วยมโนภาพหรือจินตนาการของศิลปิน เหตุการณ์หาได้เกิดขึ้นในโลกแห่งความจริงไม่ (ปวีณา เอื้อน้อม จิตต์กุล, 2550) ตัวอย่างผลงานกวดเกษียรสมุทรโดยศิลปินไทย ประทีบ คชบัว ซึ่งได้รับอิทธิพลการสร้างสรรค์งาน แนวตะวันตกกลุ่มเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) ที่ผสานกับสิ่งเร้าภายในเพื่อมุ่งหมายสะท้อนสภาวะจิต แสดงออกถึงสภาพการณ์หรือรูปทรงที่ขาดเหตุผล ประกอบกับทักษะของศิลปินจึงได้ผลงานที่แสดงออก จินตนาการและสัญลักษณ์ ภาพที่ 1 กวนเกษียรสมุทร ณ หอศิลป์ MOCA ที่มา : ประทีป คชบัว 2010


346 กรอบแนวคิดในการผลิตผลงาน ภาพที่ 2 กรอบแนวคิดในการพัฒนาผลงาน 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานแบ่งออกได้ดังนี้ 1. การค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ค้นคว้าจากเอกสาร หนังสือ และอินเตอร์เน็ต โดยข้อมูลที่ต้องการคือตำนานการกวน เกษียรสมุทร ข้อมูลเกี่ยวกับเทวดาและอสูรแต่ละฝ่าย การอวตารเป็นกูรมาวตารของพระนารายณ์ ของวิเศษที่ เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร นอกจากนี้ยังสืบค้นภาพจิตรกรรม งานประติมากรรมเกี่ยวข้องกับการกวน เกษียรสมุทร ได้แก่ ภาพสลักหินนูนต่ำกวนเกษียรสมุทรรวมถึงรูปปั้นแนวยาวเสมือนราวขอบถนนนำสู่ตัว ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา (Uday Dokras, 2022) ภาพที่ 2 สลักหินนูนต่ำกวนเกษียรสมุทร นครวัด กัมพูชา ที่มา : John Brennan, 19 February 2008 การค้นหาแรงบันดาลใจและข้อมูล การวางแผน การร่างภาพ ขั้นที่ 1 ใช้เทคนิคสีน้ำสามระดับ เปียก หมาด แห้ง ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ส่วนแสงเงา ลงค่าเงา เว้นแสง ขั้นที่ 3 ใช้ค่าสีสร้างระยะ น้ำหนัก เก็บรายละเอียด


347 2. การสร้างสรรค์ผลงาน 2.1 กระบวนการร่างภาพ โดยจะมีการร่างภาพในหน้ากระดาษขนาดเล็กจำนวนหลากหลาย ภาพเพื่อทดลองการจัดองค์ประกอบภาพ จากนั้นจึงนำภาพที่เหมาะสมมาวาดในกระดาษจริง ซึ่งควรใช้ดินสอ 2B - 6B เพื่อให้เห็นเส้นชัดเจน มิเช่นนั้นตอนลงสีน้ำอาจเลือนหายได้ ภาพที่ 3 สลักหินนูนต่ำกวนเกษียรสมุทร นครวัด กัมพูชา 2.2 กระบวนการลงสีด้วยเทคนิคฟุ้งกระจายสร้างความรู้สึกใกล้-ไกล ชัด-เบลอ ซ้อนเร้นเปิดเผย การสร้างจังหวะในขั้นตอนนี้ถือเป็นหัวใจของผลงานสีน้ำที่ต้องการสร้างความรู้สึกประทับใจปะทะ อารมณ์เหมือนอยู่ในจินตนาการและความฝัน สามารถทำได้โดยการขึงน้ำให้เปียกชุ่มและรอเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงให้กระดาษเริ่มหมาดจึงลงสีด้วยเนื้อสีต่อน้ำประมาณ 1 : 4 ส่วน และเว้นกระดาษขาวไว้เพื่อสร้างส่วน กระทบแสงอันจะช่วยให้ผลงานเกิดมิติสีของแสงจะลงเพียงเบาบางคือ Yellow ochre และเว้นขาว ส่วนของ เงาจะใช้Ultramarine และอาจผสาน Yellow ochre เพื่อสร้างความกลมกลืน ภาพที่ 4 การใช้เทคนิคฟุ้งกระจายสร้างความจินตนาการ 2.2 โครงสีที่ใช้เป็นคู่สีตรงกันข้าม แต่จะให้ค่าสีเด่นเพียง 20% ได้แก่ สีเหลือง ส่วน สภาพแวดล้อมจะใช้สีน้ำเงินและกดน้ำหนักให้เข้มขึ้นตามสภาวะการแห้งของกระดาษ สำหรับสีอื่น ๆ ที่มีใน ภาพเช่น เสื้อผ้าของเหล่าอสุราและเทวดา จะใช้การระบายลงบนสีชั้นแรกคือน้ำเงินและเหลืองที่ปูไว้ก่อนแล้ว เพื่อให้สีผสานเข้าหากันและไม่หลุดเด่นออกมาจากโครงสีโดยรวม ส่วนของน้ำหนักเงาขั้นสุดท้ายจะใช้อัตราสี และน้ำ 60 : 40 เพื่อให้เกิดสีที่เข้มชัดและใช้สีUltramarine ผสมกับ Burnt sienna ให้สีเทาดำ ดังภาพที่ 5


348 ภาพที่ 5 การคัดน้ำหนักให้เกิดมิติชัดเจน 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานจิตรกรรมสีน้ำกวนเกษียรสมุทรขนาดภาพละ 56 x 75 cm. จำนวน 3 ภาพต่อเนื่องกัน เป็น การสร้างสรรค์งานเทวศิลป์โดยถ่ายทอดอารมณ์และจินตนาการจากผู้วาด โดยการวิเคราะห์จะแตกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านความงาม ด้านสาระ 4.1 ด้านความงาม ได้นำทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบเข้ามาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้การใช้เส้นโค้งเป็นเส้นประธานในการสร้างงานเพื่อให้เกิดพลังการเคลื่อนไหวส่งเสริมกับโจทย์ซึ่งคือ การดึงพญานาคเพื่อกวนน้ำอมฤต การใช้ค่าน้ำหนักรวมถึงความชัดเบลอของสีน้ำเพื่อสร้างมิติและระยะใกล้ ไกล ไม่ให้ทุกอย่างเด่นเท่ากันทั้งหมด 4.2 ด้านสาระ สามารถสื่อสารถึงเรื่องราวการกวนเกษียรสมุทรได้ตามต้องการ โดยเหล่าเทวดานั้น ประกอบไปด้วยพระอินทร์ เทวดานพเคราะห์ จตุโลกบาล พระอัศวิน เทพประจำธาตุ เป็นต้น ส่วนคณะ มหาเทพมาเป็นสักขีพยาน รวมถึงร่างกูรมาวตารของพระนารายณ์และเหล่าอสูรที่นำโดยท้าวพลีหรือบาง ตำนานว่าคือทศกัณฑ์ ซึ่งฝ่ายอสูรนี้ข้อมูลไม่แน่ชัดจึงเป็นการวาดโดยรวมถึงลักษณะของยักษ์ในรูปแบบโขน ไทย 5. สรุป ผลงานจิตรกรรมสีน้ำกวนเกษียรสมุทรเป็นภาพเทวศิลป์ที่มีตำนานยาวนานจากทางอินเดีย แต่เมื่อเข้า สู่ประเทศไทยก็มีลักษณะทางศิลปะไทยผสมผสาน ซึ่งในงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อสืบสานมรดกทาง วัฒนธรรมไทยแต่ก็ใส่ความน่าสนใจในเรื่องของมิติภาพ การลดทอนรายละเอียด และการสร้างอารมณ์ ผสมผสานจินตนาการซึ่งผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่พึงพอใจทั้งด้านความงามและสาระต่อผู้พัฒนาและผู้ชื่นชมผลงาน


349 เอกสารอ้างอิง ปวีณา เอื้อน้อมจิตต์กุล. (2550). สัตว์ในงานทัศนศิลป์ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477-2550. Veridian E-Journal SU, 4(1), 363-380. Bamroong Kam-Ek. (2006). The influence of Hindu Brahmanism in the early Ratanakosin period. 5(1), 187-205 .Damrong Journal. Ekaraj Worasamutprakarn. (2021). The Design and Development of Thai Cultural Inspiration to Animation Character: Navagraha. The 6th International Conference on Digital Arts, Media and Technology (DAMT), 49-52. Uday Dokras. (2022). Angkor as matsya Avatar. สื บ ค้ น จ า ก https://www.academia.edu/ 77523128/Angkor_as_matsya_Avatar_BOOK


Click to View FlipBook Version