The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

92 5. สรุป การประสานเชื่อมความรักและความผูกพันก่อร่างสร้างความสัมพันธ์ของมนุษย์ระหว่างแม่และลูกสาว ของข้าพเจ้าเป็นการสร้างสรรค์ที่ผ่านกระบวนการทางความคิดและเอกภาพทางศิลปะ ความรู้สึก ความงาม และอารมณ์ สร้างผลลัพธ์ทางเนื้อหา และจัดระเบียบความคิดตามหลักการ อย่างมีจุดมุ่งหมาย และสามารถ ดำเนินการอย่างเป็นลำดับขั้นตอนสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อให้สามารถมองเห็นพัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งในด้านความบันดาลใจในเรื่องราว ประกอบไปด้วย เรื่องราวของคน เรื่องราวของวัตถุที่เชื่อมโยง สุนทรียภาพภาพและสัจธรรมแห่งธรรมชาติ ที่สามารถถ่ายทอดสาระของการใช้ภาษาทางทัศนศิลป์ที่ “สื่อสาร ในภาษาภาพได้ด้วยตัวของมันเอง” คุณค่าและกระบวนการสร้างสรรค์จะนำไปสู่ การค้นคว้า ทดลอง หา รูปแบบและเทคนิคการอย่างเลือกสรร ผ่านรูปทรงเส้นพื้นที่ว่างในลักษณะของวัสดุที่เป็นนามธรรมและรูปทรง ของเส้นภายในจิตใต้สำนึกของข้าพเจ้าได่อย่างอิสระที่ประกอบกันอย่างสมบูรณ์ เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช อัศนีย์ ชูอรุณ. (2532). ความรู้เกี่ยวกับศิลปะภาพพิมพ์ .กรุงเทพฯ :โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าท์ อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550). แนวทางการสอนและการสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง . กรุงเทพ ฯ : อัมรินทร์พริ้น ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง


93 รูปร่างบนเรือนร่าง Body Shapes จารุวรรณ นครจารุพงศ์, Charuwan Nakhoncharupong สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 85 ถนนมาลัยแมน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์พร้อมบทสังเคราะห์“รูปร่างบนเรือนร่าง” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงาน จิตรกรรมซึ่งสะท้อนรูปร่างทรวดทรงต่าง ๆ เปรียบเทียบกับเรือนร่างของสตรี ซึ่งสังคมหรือผู้คนส่วนใหญ่มักกำหนด ความหมายและความสมบูรณ์จากรูปลักษณ์ภายนอก ความงดงามของสัดส่วนสตรี มีส่วนเว้าส่วนโค้งที่มีความ สวยงามในลักษณะที่แตกต่างกัน จึงมักถูกนำมาเปรียบเทียบกันในลักษณะต่าง ๆ ผู้คนส่วนใหญ่มักมองความงาม สตรีจากรูปลักษณ์ภายนอก เรื่องราวเกี่ยวกับเรือนร่างของสตรีมักมีข้อจำกัดต่อการรับรู้ เนื่องด้วยบริบททางสังคม ส่งผลให้เกิดบรรทัดฐานที่มีความเคร่งครัดต่อการแสดงออก กระทั่งถูกบดบังความงามของสรีระในแง่มุมต่าง ๆ ใน ที่สุด ทั้งนี้ผู้สร้างสรรค์จึงแสดงให้เห็นความงามของสตรีผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานนี้เป็นการใช้สีอะคริลิกลงบนเฟรมผ้าใบเพื่อแสดงออกทางการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ เน้นการใช้สีและเส้น นำเสนอมุมมองความงามที่สะท้อนการรับรู้ในเชิงสุนทรียภาพ ผลงานนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการเสนอแง่มุมความงามของรูปร่าง สัดส่วน บนเรือนร่างที่งดงาม ซึ่งในความ งามของส่วนเว้าส่วนโค้งของสตรีแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ไม่ว่าจะมีลักษณะเช่นไร ความงดงามของมนุษย์ใช่เพียง งามแต่ภายนอกเท่านั้น สำคัญที่จิตใจภายในไม่แพ้กันการแสดงออกทางศิลปะจึงมีความหลากหลายและถูกนำมา ถ่ายทอดในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น และจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาและวิเคราะห์ผลงานสำหรับการสร้างสรรค์ ผลงานลักษณะอื่นต่อไป เป็นการสะท้อนมุมมองทางสังคมเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของสตรีในแง่มุมต่าง ๆ คำสำคัญ : สุนทรียศาสตร์ผู้หญิงรูปร่าง Abstract The creative presentation with a synthesis of “Body Shapes” aims to present paintings which reflect various shapes in comparison with the body of a woman, which society or people most often define meaning and completeness from external appearance. The beauty of women's proportions has concave curves that are beautiful in different ways, so they are often


94 compared in different ways. Most people tend to look at women's beauty from the outside. Stories about women's bodies are often perceived as constrained by social context, resulting in rigid norms of expression that ultimately overshadow the beauty of the body in various aspects. The creator therefore shows the beauty of women through the creation of works of art. The process of creating this work involves using acrylic paints on a canvas frame to express the creative expression of the artwork. Emphasis is on the use of color and lines, presenting an aesthetic perspective that reflects the aesthetic perception. This work is therefore part of the presentation of the beauty aspect of the figure, the proportions of the beautiful body, in which the beauty of the curves of each woman is different no matter what they look like. Human beauty is not only beautiful on the outside, but also important that the inner mind is equally important. Artistic expressions are thus becoming more diverse, being conveyed in a variety of ways, and will be useful for further study and analysis of works for creating other types of works, reflecting social perspectives on the image of different aspects of women. Keywords: Aesthetic, Women, Shape 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ศิลปะกับผู้หญิงเป็นสิ่งที่คู่กันมาช้านาน การถ่ายทอดผลงานศิลปะในลักษณะต่าง ๆ มักเกี่ยวข้องและ เชื่อมโยงกับเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิง ไม่ว่าเป็นเรื่องราวสรีระของผู้หญิงโดยตรงหรือการสร้างสรรค์เปรียบ เปรยสรีระของผู้หญิงกับสิ่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการถ่ายทอดความงดงามของผู้หญิงซึ่งอาจเป็นการแสดงออก ถึงความนุ่มนวล อ่อนช้อย ผ่านผลงานจิตรกรรมที่หลากหลายศิลปะจึงบ่งบอกถึงสุนทรียะหรือความงามในการ สร้างสรรค์ผลงาน การปลดปล่อยหรือจัดวางอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน เป็นการ สร้างสรรค์เรื่องราวเฉพาะบุคคล เป็นความงามเฉพาะบุคคล เป็นความงามซึ่งประกอบด้วยประสบการณ์ของผู้ สร้างสรรค์งานที่จะถ่ายทอดศาสตร์ที่เรียกว่าศิลปะให้มีความงามที่แตกต่างและหลากหลาย เกิดความรู้สึกงามจาก ภายในเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนั้น ๆ ออกไปองค์ความรู้ทางศิลปะได้รับการถ่ายทอดสู่การสร้างสรรค์ ความงามที่ มองเห็นถูกถ่ายทอดจากภายใน จากความรู้สึก จินตนาการ ประสบการณ์ผสมผสานกับองค์ความรู้และแสดง ออกเป็นการสร้างสรรค์ สุนทรียภาพ คือ ความรู้สึกในความงามสุนทรียภาพ ที่หมายถึงความรู้สึกในความงาม ภาพที่งดงามใน ความคิดหรือภาพของความงามในสมอง (Image of Beauty)ศักยภาพของการรับรู้ความงามที่สามารถสัมผัสหรือรับ


95 ความงามได้แตกต่างกันความงามที่อาจเกิดจากภาพ จากเสียง จากจินตนาการ จากตัวอักษร หรือประสาทสัมผัสอื่น ๆ (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2546 : 28) ภาพความงามภายในจึงถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ ซึ่งมนุษย์ทุกคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน จึงแน่นอนว่าการมองเห็นคุณค่าของความงาม หรือการประเมินคุณค่าของความงามนั้นย่อมไม่เท่ากัน แม้จะมีลักษณะประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันในทุกมิติก็ตาม ความรู้สึกชื่นชมประทับใจในความงามเช่นนั้น เกิดและรับสัมผัสจากสุนทรียภาพในตัวตนของเรา มีความมาก น้อย สูงต่ำ ดื่มด่ำหรือไม่ดื่มด่ำ ต่างกันออกไปตามปัจเจกภาพ ความแตกต่างที่อาจเกิดจากประสบการณ์แวดล้อมส่วน บุคคล ระบบครอบครัว ระบบการศึกษา ระบบสังคม รวมทั้งการให้ “คุณค่า” ของแต่ละบุคคลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ หรือมี ต่อความงามอีกด้วย (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2546 : 31) “รูปร่างบนเรือนร่าง” จึงเป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่สะท้อนให้เห็นการเปรียบเปรยทรวดทรงรูปร่าง ของผู้หญิงให้เกิดความงามซึ่งอาจเกิดจากการตีกรอบจากสังคมว่าความงามจะต้องเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ซึ่งแตกต่างจาก ความเป็นจริงซึ่งผู้หญิงทุกคนมีรูปลักษณ์ที่งดงามเฉพาะตน และนอกจากนี้ยังต้องมองถึงความงามภายในจิตใจ ประกอบด้วย จึงมิสามารถประเมินค่าความงามจากรูปลักษณ์ภายนอกได้เสมอไป 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลงานสร้างสรรค์ “รูปร่างบนเรือนร่าง” จะกล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ความงดงามในแง่มุม การสร้างสรรค์ศิลปะ จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์ก็คือพยายามยกระดับของการสร้างสรรค์และความสนใจในศิลปะซึ่งเป็นไป ตามสัญชาตญาณนั้นให้เป็นพฤติกรรมที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญา ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงหลักขั้นมูลฐานของพฤติกรรม เกี่ยวกับศิลปะอย่างชัดเจน ดังนั้นสุนทรียศาสตร์จึงเริ่มต้นด้วยการพิจารณาเรื่องการสร้างสรรค์ศิลปะและความ สนใจศิลปะ(สุเชาว์ พลอยชุม, 2545: 2) ความงามเป็นเรื่องของคุณค่า(Value)เป็นคุณค่าทางสุนทรียะ ต่างจากคุรค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ค่าหรือราคาของวัตถุ คุณค่าของความงามใกล้เคียงกับคุณค่าทางศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องของความดี ความงามเริ่มขึ้นที่ ใจ มิได้เริ่มจากวัตถุ หรือเป็นคุณลักษณะของวัตถุใด ๆ และไม่อาจวัดได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ความงาม เกิดขึ้นด้วยอารมณ์มิใช่ด้วยเหตุผล ความคิด หรือข้อเท็จจริง ถ้าไม่มีอารมณ์เราจะรับสัมผัสความงามไม่ได้ คนที่ เคร่งครัดต่อเหตุผลหรือเพ่งไปที่คุณค่าของวัตถุจะไม่เห็นความงาม คนที่มีอารมณ์ละเอียดอ่อนไหวจะรับความงาม ได้ง่าย และรับได้มาก ความงามให้ความยินดี ให้ความพอใจได้ทันทีโดยไม่มีเหตุผล ความยินดีนั้นเกิดขึ้นได้เองโดย ไม่มีการบังคับ เป็นความสุขที่ได้เปล่าสำหรับคนที่ตามองเห็นความงาม ความงามนั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุก็จริง แต่มิได้ เริ่มที่วัตถุ เริ่มที่อารมณ์คน ความงามจึงเป็นอารมณ์เป็นสุขารมณ์ เมื่อเราพูดว่าวัตถุชิ้นนี้งาม ที่จริงก็คือ วัตถุชิ้นนี้ ให้อารมณ์ทางความงามหรือให้สุขารมณ์แก่เรา ถ้าเปรียบเทียบความงามกับความสุขที่เกิดจากความรัก ความสุข มิได้เกิดขึ้นจากตัวคนรัก แต่เกิดจากอารมณ์ของผู้ที่ตกอยู่ในความรักนั่นเอง...ความงามโดยทั่วไปมีขอบเขต


96 กว้างขวางกว่าศิลปะ เพราะเรารู้สึกในความงามได้จากรูปทรงของธรรมชาติด้วย ไม่เฉพาะแต่จากงานศิลปะเท่านั้น แต่ความงามก็ไม่ใช่ศิลปะ ความงามเป็นคุณลักษณะหนึ่งของศิลปะเท่านั้น ความงามไม่ใช่ความสวย ความน่ารักน่า เอ็นดูหรือความดึงดูดใจ คำจำกัดความของความงามจึงน่าจะอยู่ทางฝ่ายคนดู ซึ่งพอจะกล่าวได้ว่า “ความงาม คือ ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่ปลุกความพอใจระดับลึกที่อยู่ภายในตัวบุคคล” (ชลูด นิ่มเสมอ, 2557: 11-13) การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจึงเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ความพอใจจากประสบการณ์ตรงที่ แฝงไว้ซึ่งความงามในการนำเสนอมุมมองความคิดสะท้อนแง่งามความเป็นจริงที่มีความชื่นชอบหลงใหล สร้างความ ประทับใจบรรยายเรื่องราวผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยเส้นและสีหรือเทคนิคทางศิลปะที่มีความหลากหลาย ทำให้ผลงานศิลปะเป็นการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก การรับรู้ ซึ่งสัมผัสถึงความงาม การแสดงออกด้วยเส้น สี การ แสดงออก ทำให้มองเห็นคุณค่าต่อการสื่อสารเพื่อการรับรู้ที่ดี รูปทรงศิลปะที่เป็นรูปคน มองเห็นได้นั้น มีมานานแล้วโดยศิลปินกรีก ราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ศิลปินพยายาม ถ่ายทอดรูปคน เพราะเขาเชื่อว่า ร่างกายที่สมบูรณ์จะทำให้จิตใจดี เมื่อรักตนเอง ก็จะเผื่อแผ่ความรักไปยังผู้อื่นด้วย ดังนั้น การเลือกคนเป็นเรื่องราว จึงกลายเป็นรูปแบบทางศิลปะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากนั้นรูปทรงศิลปะนู้ดก็ ดำรงอยู่ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง จนถึงขณะนี้มีการถ่ายทอดให้เห็นเป็นรูปแบบคนจริง ๆ อย่างหลากหลายด้วย สื่อต่างชนิดกัน (อารี สุทธิพันธุ์, 2557:71) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 1 การรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์ และองค์ประกอบศิลป์ ซึ่งเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับรูปร่างและสี นอกจากนี้ยังรวมถึงผลงานศิลปะของ ศิลปินต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย ดดยมีการสร้างสรรค์ในลักษณะเดียวกัน เพื่อรวบรวมและนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ในการสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นตอนที่ 2 การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ การเลือกประเภทของสีที่จะใช้ในการระบาย ซึ่ง สาหรับผลงานชุดนี้ ผู้สร้างสรรค์งานได้เลือกใช้คือสีอะคริลิค (Acrylic Color) เนื่องจากมีคุณสมบัติที่แห้งเร็วและ ติดทนนาน สามารถใช้กับระนาบรองรับที่มีความหลากหลาย เหมาะกับการสร้างสรรค์งานเนื้อสีมีความเข้มระบาย ทับซ้อนกันได้ ทึบแสง นอกจากนี้ยังประสมแผ่นทองลงไปในงานศิลปะเสริมจินตนาการสำหรับการสร้างสรรค์งาน ลงไปด้วย สำหรับระนาบรองรับเป็นเฟรมผ้าใบ ขนาด 40x50 เซนติเมตร วัสดุในการสร้างสรรค์ ใช้พู่กัน กระดาษ การ์ดสำหรับขูดหรือลากสี และสีที่บรรจุในขวดพลาสติกขนาดกะทัดรัด เป็นการเพิ่มพื้นผิวที่มีความแตกต่างให้กับ การสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ หลักจากการเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญรวมถึงการเตรียมอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานแล้ว จึงนำมาสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ดังนี้ 3.1 การเตรียมภาพร่าง โดยการนำข้อมูลรูปร่างและสี ที่สะท้อนถึงมุมมองและเนื้อหาที่ผู้สร้างสรรค์ ต้องการนำเสนอ มาร่างลงบนกระดาษเพื่อเตรียมสร้างสรรค์งานในขั้นตอนต่อไป


97 3.2 การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน ได้แก่ ระนาบรองรับ สีพู่กัน กระดาษการ์ดและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อความพร้อมในการสร้างสรรค์ผลงาน จากนั้นก็ร่างภาพที่เตรียมไว้ลงบนเฟรมผ้าใบขนาด ขนาด 40x50 เซนติเมตร 3.3. การสร้างสรรค์ผลงานโดยการะระบายสีลงไปตำแหน่งต่าง ๆ ที่กำหนดในภาพร่าง โดยแบ่งส่วนตาม รูปร่างที่กำหนดไว้ โดยระบายสีด้วยพู่กัน ระบายเรียบลงไปเป็นชั้นที่ 1 หลังจากสีแห้งจึงระบายสีทับซ้อนลงไปตาม รูปร่างที่ได้ร่างไว้เป็นชั้นที่ 2 หลังจากสีแห้งจึงเทสีแล้วลากด้วยกระดาษการ์ดหรือขุดลงไปตามจุดภาพร่างที่ได้ กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังระบายสีเพิ่มด้วยนิ้วมือเพื่อสร้างพื้นผิวที่มีความแตกต่างจากการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อีกด้วย 3.4 การเก็บรายละเอียดของภาพ หลังจากที่สีทั้งหมดแห้งแล้ว จึงเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมเล็กน้อย ด้วย การประสมแผ่นทองลงไปบนภาพ โดยการใช้น้ำมันกระเทียมเป็นตัวประสานแผ่นทองลงไปบนเฟรม และเก็บความ เรียบร้อยของการระบายสีเล็กน้อยให้สมบูรณ์มากขึ้น 4. การวิเคราะห์ผลงาน กระบวนการการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์งานได้เริ่มต้นจากต้องการถ่ายทอดผ่านผลงานสร้างสรรค์ โดยศึกษาประเด็นเนื้อหาและความหมายของสุนทรียศาสตร์กับการถ่ายทอดเรื่องราวความงามของผู้หญิงในแง่มุม ศิลปะ รวมถึงประสบการณ์สุนทรียะในบุคคล จึงนำใจความสำคัญของเรื่องราวที่ต้องการถ่ายทอดในงาน สร้างสรรค์ แทนด้วยรูปร่าง เส้นและสีต่าง ๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย การสร้างสรรค์ผลงาน “รูปร่างบนเรือนร่าง” เริ่มต้นจากขยายภาพร่างลงบนเฟรม ลากเส้นต่าง ๆ ตามที่ ได้กำหนดไว้ การลากเส้นเพื่อให้เคลื่อนไหวไปรอบ ๆ จุดศูนย์กลางของภาพ หรือจุดที่เน้นให้เด่น (emphasis) การ เน้นให้เด่นหรือการสร้างความขัดแย้งกัน (contrast)หมายถึง การนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาใช้ร่วมกัน เพื่อย้ำหรือ เน้นความแตกต่างของส่วนประกอบเหล่านั้น โดยทั่วไปการใช้ส่วนประกอบต่าง ๆ ให้ดูขัดแย้งกัน ก็เพื่อนำสายตา ของผู้ชมให้มุ่งความสนใจไปส่วนที่สำคัญที่สุดของผลงานนั่นเอง (พีระพงษ์ กุลพิศาล, 2546: 111) กระบวนการการสร้างสรรค์ผลงานจึงมีการเลือกใช้สี เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก สร้างภาพให้เกิด รูปร่างทับซ้อน สะท้อนการเปรียบเปรย ถ่ายทอดแทนอารมณ์ความรู้สึก ภาพในใจและความคิดในใจ เป็นสิ่งมีชีวิตร่วมกัน เมื่อสร้างรวมเป็นรูปทรงรูปแบบที่มีชีวิตแล้ว ก็มีโอกาส เปลี่ยนไปตามแนวทางการเรียนรู้ เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่และปรับปรุงตามความจริง และสามารถคาดการณ์ตั้งใจเลือก เรียนรู้และถ่ายทอดได้ด้วย ทำให้เกิดเป็นแนวทางในการรื้อสร้างของภาพในใจและความคิดในใจ...ภาพในใจและ ความคิดในใจ มีลักษณะเป็นความรู้สึกและความจำเป็นเป็นนามธรรม (abstract) เมื่อมันรวมกัน มีชีวิต มีการ เปลี่ยนแปลงและพัฒนา กลายเป็นรูปธรรม (concrete) หลังจากได้รับแรงกระตุ้น อุปกรณ์ และเงื่อนไขความ จำเป็นต่าง ๆ ก็จะมีลักษณะเป็นรูปธรรม จนสามารถสร้างภาพร่างของจิตใจได้ (mental sketch) (อารี สุทธิพันธุ์, 2557: 118)


98 ภาพที่ 1 ชื่อภาพ : รูปร่างบนเรือนร่าง (BodyShapes) สื่อวัสดุ : สีอะคริลิกบนเฟรมผ้าใบ ขนาด : 40 x 50 เซนติเมตร ปีที่สร้าง : ค.ศ. 2022 ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงาน “รูปร่างบนเรือนร่าง” เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดผลงานศิลปะสร้างสรรค์ ที่สะท้อนการเปรียบเปรยรูปร่างของผู้หญิง ผ่านการนำเสนอให้เห็นลักษณะทางกายภาพที่สะท้อนจากมุมมองของ สังคม ซึ่งในแง่มุมความงามทางศิลปะ การนำเสนอความงามของผู้หญิงมีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไป ซึ่งมีมาตั้งแต่อดีตกระทั่งปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของสตรีที่มีความเกี่ยวข้องกับศิลปะอยู่ไม่น้อยในสังคมโลก ปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวมากมายหลากหลายแง่มุมซึ่งเป็นประโยชน์กับการนำไปศึกษาวิเคราะห์เพื่อ พัฒนาการสร้างสรรค์งานศิลปะต่อไป กระบวนการการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจึงเป็นการถ่ายทอดซึ่งเกิดจากการมองเห็นและรับรู้ สะท้อน มุมมองที่แตกต่างของสังคมสู่ความงามที่สะท้อนคุณค่าที่แท้จริง แต่อย่างไรก็ดีความงามที่เกิดขึ้นภายในสู่การ สร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะนั้น ทำให้เราดื่มด่ำชื่นชมงานศิลปะที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้น รวมทั้งมองเห็นความงาม จากธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา เชื่อว่าความงามนั้นจะสร้างสรรค์และพัฒนา กระทั่งเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม “ศิลปะ


99 ยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแบบดูรู้เรื่องหรือแบบนามธรรม เราถือว่าเป็นศิลปะที่ดี เป็นศิลปะ เพื่อมนุษย์ทั้งสิ้น ความงาม ความเป็นระเบียบ ความสมบูรณ์ของศิลปะบางแบบ ย่อมขัดเกลาจิตวิญญาณของผู้ดูให้ ละเอียดอ่อนและโน้มไปสู่ความดี อารมณ์ที่รุนแรงในศิลปะบางแบบจะฟอกจิตใจของคนให้สะอาด และชักจูงไปสู่ ระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิมเช่นเดียวกัน” (ชลูด นิ่มเสมอ, 2541 : 316) เอกสารอ้างอิง ชะลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ.(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: อมรินทร์. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2548). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พีระพงษ์ กุลพิศาล. (2546). มโนภาพและการรับรู้ทางศิลปะและศิลปศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร. วิรุณ ตั้งเจริญ. (2546). สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: อีแอนด์ไอคิว. สุเชาว์ พลอยชุม. (2545). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย อารี สุทธิพันธุ์. (2557). พลังความคิดทัศนศิลป์และศิลปศึกษา. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป. อำนาจ เย็นสบาย. (2557). สีสันและความงาม. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา David Hornung. (2015). Colour. London: Laurence King. Michael Atavar. (2013). Everyone is Creative. UK: Kiosk.


100 โครงการปรับปรุงโรงเรียนสอนโยคะฟลาย Renovation of Yoga Flied School จิณณ์ธิศา สุระประเสริฐ, JINNTHISA SURAPRASERT ธนิต จึงดำรงกิจ, THANIT JUNGDAMRONGKIT หลักสูตรการออกแบบภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ E-mail : [email protected] / [email protected] บทคัดย่อ ในปัจจุบัน โยคะถือเป็นการออกกำลังกายที่ให้ประโยชน์ในหลายด้าน โดยโยคะฟลาย (yoga flied) เป็นหนึ่งในการออกกำลังกายโยคะแบบ Antigravity ประเภทหนึ่ง เป็นการนำศาสตร์ของโยคะมาผสมผสาน กับพิลาทีสและการเต้น โดยมีการโหนตัวบนเปลผ้าที่ถูกขึงจากโครงสร้างที่มีความสูง เพื่อให้ยกตัวและห้อยโหน บนอากาศได้ ในการออกแบบโรงเรียนนั้น ต้องคำนึงถึงด้านโครงสร้างในการรับน้ำหนักของผู้เล่น รวมถึงระยะความ สูงที่เหมาะสมกับการเรียน นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยส่วนอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเรียน และมีการออกแบบให้แต่ละพื้นที่ใช้สอย สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก โรงเรียนสอนโยคะฟลายนั้น มีการย้ายสถานที่เดิม มายังอาคารใหม่นั้นซึ่งเดิมเป็นร้านอาหาร โดยต้อง มีการปรับปรุงโครงสร้างและพื้นผิวของอาคารรวมถึงซ่อมแซมน้ำรั่วซึม รวมถึงคำนึงถึงความปลอดภัยของ โครงสร้าง และการเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับการเรียนและการใช้งาน แนวความคิดของการออกแบบอาคารนั้น เน้น loft style โดยใช้วัสดุเหล็ก โครงอลูมิเนียม กระจก และผนังเบาทาสีมีการนำรูปทรง arch และสีที่สดใสเข้ามาผสมผสาน เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้หญิงวัยทำงาน ที่รักในการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพ มีการใช้โคมไฟระย้าเพื่อเพิ่ม ความรู้สึกของความเป็นผู้หญิง และมีความหรูหราผสมผสานเข้าไป คำสำคัญ: โยคะฟลาย, ออกแบบภายใน, ปรับปรุง Abstract Flied Yoga is one of the types of antigravity yoga exercises combining the science of yoga with Pilates and Dance. It is hung up on a hammock that stretched from a tall structure. Designing of the Flied Yoga school must take into account the structural aspect of the player's weight and a distance that is suitable for studying. In addition, the design must take into account other areas of related to learning and each useable area can be used conveniently.


101 FliedYoga School has moved to the new building which was originally a restaurant. The new building has toimprove the structure and surface.Repairing water leaks including taking into account the safety of the structure and the selection of materials that are suitable for learning. The design concept focuses on loft style that using steel, aluminum frame and smart board wall. The arch shape and bright colors are blended together suiting the target group that are working women who love to exercise and take care of their health. Chandeliers were used to add a sense of femininity and blended with luxury. Keywords: yoga flied, interior design, renovate 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ในปัจจุบัน โยคะถือเป็นการออกกำลังกายที่ให้ประโยชน์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนทั้ง ร่างกาย ในการเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายประกอบไปกับการหายใจ ทำให้ผู้ฝึกเกิดสมาธิ และความผ่อน คลาย โดยโยคะฟลาย (yoga flied) เป็นหนึ่งในการออกกำลังกายโยคะแบบ Antigravity ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูก ออกแบบโดย Christopher Harrison เป็นการนำศาสตร์ของโยคะมาผสมผสานกับพิลาทีสและการเต้น โดยมี การโหนตัวบนเปลผ้าที่ถูกขึงจากโครงสร้างที่มีความสูง เพื่อให้ยกตัวและห้อยโหนบนอากาศได้ ในการออกแบบสถานที่สำหรับการเรียนโยคะฟลายนั้น ต้องคำนึงถึงด้านโครงสร้างในการรับน้ำหนัก ของผู้เล่น รวมถึงระยะความสูงที่เหมาะสมกับการเรียน นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยส่วนอื่นๆ ที่มี ความเกี่ยวข้องกับการเรียน และมีการออกแบบให้แต่ละพื้นที่ใช้สอย สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก โรงเรียนสอนโยคะฟลายนั้น เป็นการย้ายสถานที่เดิม มายังอาคารใหม่ที่ต้องมีการ renovate ทั้งด้าน การจัดวางพื้นที่ใช้สอย ทางเดินเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ใช้สอย รวมถึงคำนึงถึงความปลอดภัยของโครงสร้าง และ การเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับการเรียนและการใช้งาน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โยคะฟลาย (Yoga Fly) เป็นโยคะอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้รักสุขภาพ ซึ่งมีการพัฒนามา จากศาสตร์ของโยคะ โดยการผสมผสาน 5 ศาสตร์ไว้ด้วยกัน ได้แก่ โยคะ (Yoga), พิลาทิส (Pilates), การเต้น (Dance), การออกกำลังการที่เน้นการสร้างความแข็งแรงและสร้างสัดส่วนที่สวยงาม (Calisthenics) และการ แสดงที่เหมือนล่องลอยอยู่กลางอากาศ (Aerial Art) อุปกรณ์ที่สำคัญในการเล่นโยคะฟลาย ได้แก่ ผ้าแฮมมอค (Hammock) โดยผ้าจะมีความยาวเพื่อห่อหุ้ม ร่างกายและมีเส้นใยที่ออกแบบมาเพื่อการเล่นโยคะฟลายโดยเฉพาะ สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้มากถึง 1,000 กิโลกรัม มีความยืดหยุ่นและมีผิวสัมผัสที่เหมาะสม ในการเล่นโยคะฟลายต้องใช้ผ้าดังกล่าวแขวนไว้บน เพดาน โดยมีระยะที่เหมาะสม เพื่อที่จะไม่ร่วงหล่นลงมาเวลาโหนขึ้นกลางอากาศ และไม่ชนกับพื้น


102 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การปรับปรุงพื้นที่สำหรับโรงเรียนสอนโยคะฟลาย มีกระบวนการในการออกแบบดังต่อไปนี้ 3.1 สำรวจพื้นที่ในการก่อสร้าง เพื่อทราบถึงสภาพโครงการเดิมก่อนการปรับปรุง ปัญหาที่จะส่งผล ต่อการใช้งานทั้งด้านวัสดุ ผังพื้นเดิม และโครงสร้าง รวมถึงความต้องการพื้นที่ใช้สอย 3.2 วิเคราะห์โครงการ เพื่อจัดการพื้นที่ใช้สอย โดยโครงการนี้ประกอบด้วยพื้นที่ใช้สอยดังต่อไปนี้ 3.2.1 ส่วนต้อนรับ 3.2.2 ส่วนมุมขายอาหารเพื่อสุขภาพ 3.2.3 ส่วนพักคอย 3.2.4 ส่วนเรียนโยคะฟลาย 3.2.5 ส่วนห้องแต่งตัว 3.2.6 ส่วนขายเสื้อผ้า 3.2.7 ส่วนห้องน้ำ 3.3 กำหนดแนวคิดที่จะใช้ในการออกแบบ โดยคำนึงถึงเจ้าของโครงการ ประเภทของอาคาร รวมถึง โครงสร้าง และวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร 3.4 ค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการออกแบบ ทั้งด้านขนาด กฎหมาย และโครงสร้างที่ เหมาะสม 3.5 วิเคราะห์ Zoning, Circulation, จัดทำ Bubble Diagram ของพื้นที่ใช้สอย และสร้าง 3 schematic จากนั้นเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด และนำมาพัฒนาแบบจนได้ผลงานที่ตรงตามความต้องการของ เจ้าของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย ผังพื้น รูปด้าน และนำเสนอด้วยรูปแบบทัศนียภาพเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย 3.6 นำเสนอผลงานออกแบบด้วยโปรแกรม Auto CAD, Sketch Up และ Photoshop ในรูปแบบ ผังพื้น, รูปด้าน และภาพทัศนียภาพ ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 1 แสดงผังพื้น


103 ภาพที่ 2 (ซ้าย) แสดงรูปด้านด้านหน้า (ขวา) แสดงรูปด้านฝั่งขวา ภาพที่ 3 (ซ้าย) แสดงภาพโถงต้อนรับ (ขวา) แสดงมุมมองจากโถงต้อนรับไปยังมุมขายอาหาร ภาพที่4 (ซ้าย) แสดงมุมพักคอย (ขวา) แสดงพื้นที่ใต้บันไดและส่วนขายเสื้อผ้า ภาพที่ 5 (ซ้าย) แสดงโถงก่อนขึ้นบันได (ขวา) แสดงมุมมองจากโถงบันไดเมื่อมองขึ้นไปชั้น 2


104 ภาพที่ 6 (ซ้าย) แสดงรูปแบบการออกแบบห้องเรียนใหญ่ (ขวา) แสดงรูปแบบการออกแบบห้องเรียนส่วนตัว ภาพที่7 (ซ้าย) แสดงมุมมองเมื่อมองจากชั้น 2 (ขวา) แสดงมุมมองของห้องชั้น 2 4. การวิเคราะห์ผลงาน โครงการปรับปรุงพื้นที่สำหรับโรงเรียนสอนโยคะฟลายนั้น มีกระบวนการตั้งแต่การเริ่มเข้าสำรวจพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์สภาพอาคารก่อนทำการปรับปรุง จากนั้นจึงเป็นการวัดพื้นที่เพื่อนำมาออกแบบให้มีระยะที่ ถูกต้อง จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ ประกอบกับรูปแบบและกิจกรรมในการใช้พื้นที่ เวลาที่ทำ กิจกรรม รวมถึงความเหมาะสมในการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับกิจกรรมและงบประมาณที่กำหนดไว้ 4.1 การสำรวจพื้นที่ก่อนการออกแบบ พื้นที่สำหรับการปรับปรุงนั้น เดิมเป็นร้านอาหาร ซึ่งสภาพก่อนการปรับปรุงนั้น พื้นและผนังบางช่วงมี การปูกระเบื้องและมีสภาพที่แตก บวม ในบางส่วน โครงสร้างเสา คาน และบันไดไม่มีการฉาบปูน ทาสี ส่วน หลังคาเป็นโครงสร้างเสาคาน และใช้พื้นสำเร็จเททับหน้าด้วยคอนกรีต มีสภาพเริ่มทรุด และมีรอยน้ำรั่วซึม 4.2 รูปแบบในการออกแบบ อาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาและคาน ก่อผนังด้วยอิฐ ฉาบปูน รูปแบบของอาคารเป็น loft style ที่มีความเรียบง่าย และโชว์เนื้อแท้ของวัสดุในการปรับปรุงอาคาร เน้นรูปแบบเดิมของตัวอาคาร คือ loft style และเน้นสไตล์ให้เด่นชัดขึ้นด้วยการเลาะกระเบื้องพื้นและผนัง ปรับระดับ เทพื้น และขัดมัน ในส่วน ของโครงสร้างอาคารนั้นคงลักษณะเดิมของโครงการไว้ แนวความคิดของการออกแบบอาคารนั้น เน้น loft style โดยใช้วัสดุเหล็ก โครงอลูมิเนียม กระจก และผนังเบาทาสี เพื่อเน้นความเป็น loft ให้ชัดเจน แต่ปรับให้มีความนุ่มนวลขึ้นด้วยรูปทรง arch และสีที่ สดใส เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้หญิงวัยทำงาน ที่รักในการออกกำลังกายและ ดูแลสุขภาพมีการใช้โคมไฟระย้าเพื่อเพิ่มความรู้สึกของความเป็นผู้หญิง และมีความหรูหราผสมผสานเข้าไป


105 4.3 การจัดพื้นที่ใช้สอย การจัดพื้นที่ใช้สอยของโครงการ มีการวิเคราะห์ด้วยการใช้ bubble diagram ดังนี้ ภาพที่ 8 แสดงแผนภูมิความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอยในโครงการ โดยในส่วนของห้องเรียนนั้น มีการออกแบบโครงสร้างเหล็กขึ้นมาแยกจากโครงสร้างของอาคาร เนื่องจากต้องรับน้ำหนักในการโหนผ้าในระหว่างการเรียน โดยออกแบบให้ส่วนผนังห้องด้านหนึ่งติดตั้งด้วย กระจกตลอดอาคาร เพื่อมองเห็นท่วงท่าระหว่างการเรียน ในขณะที่ผนังที่ติดกับด้านนอก ออกแบบเป็นโครง อลูมิเนียม ติดกระจกใส เพื่อให้มองเห็นกิจกรรมที่อยู่ภายในห้องเรียน 5. สรุป โครงการปรับปรุงพื้นที่สำหรับโรงเรียนโยคะฟลายนั้น มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในหลายปัจจัย ด้วยกัน ปัจจัยแรกคือเรื่องของการวิเคราะห์พื้นที่เดิม ในด้านโครงสร้าง วัสดุ เพื่อประเมินสิ่งที่ต้องแก้ไขเพื่อให้ พื้นที่พร้อมสำหรับการตกแต่งภายใน ปัจจัยที่สองคือเรื่องความปลอดภัยของโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักของผู้ เล่น รวมถึงคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ต้องมีความสะดวก เนื่องจากจุดยึดแขวนนั้นอยู่สูง ปัจจัยที่สาม ได้แก่ งานระบบของอาคาร ซึ่งต่อเนื่องกับสภาพโครงการเดิมที่มีจำนวนช่องเปิดน้อย ทำให้มีการสะสมของ ความร้อน รวมถึงความเพียงพอของขนาดเครื่องปรับอากาศเนื่องจากลักษณะของการเรียนการสอน ทำให้ ห้องเรียนจะมีฝ้าเพดานสูง ส่งผลต่อการเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ เอกสารอ้างอิง ธาราพร พรมอาสา. (2561). โยคะและการบำบัดแบบองค์รวม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. JULIUS PANERO and MARTIN ZELNIK. (1979). HUMAN DIMENSION & INTERIOR SPACE:A SOURCE BOOK OF DESIGN REFERENCE STANDARDS. London: The Architectural Press Ltd. ทางเข้า ติดต่อ Food corner ห้องน้ำ พักคอย ห้องเรียน ห้องเรียน ขายสินค้า


106 “จินตนาการสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่” Imagine a new species of life ชยันต์ พลอาสา, Chayan Polasa มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ValayaAlongkornRajabhat university under the royal patronage E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเรื่อง “จินตนาการสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่” ด้วยสภาพปัญหาทางสังคมที่ เกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้นเกิดการสะท้อนแนวความคิดในผลงานศิลปะด้วยรูปแบบการสร้างสรรค์ 2 มิติผ่าน จินตนาการจากสัตว์สิ่งมีชีวิตผสมเครื่องจักรคล้ายหุ่นยนต์และมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นสัตว์สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือ ใหญ่จึงได้สร้างสรรค์ตัวละครสายพันธุ์ใหม่ที่มีบุคลิกเป็นตัวร้ายคอยสร้างปัญหาให้กับสังคมภายใต้การควบคุม ของมนุษย์ผ่านกระบวนการตัดต่อการแต่งภาพเสมือนจริงด้วยโปรแกรม Adobe Photoshopเทคนิค Digital Painting Abstract Creative works of art "Imagine a new species of life" with social problems that occur in various events. The concept of art is reflected in 2 D forms of creativity through the imagination of animals, creatures mixed with robot-like machines and human beings who control. whether it's an animal, a creature, small or large therefore creating a new breed of character with personality is a villain that causes problems for society through the editing process Create virtual images with Adobe PhotoshopTechniqueof Digital Painting 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ด้วยสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมปัจจุบันนั้นทำให้สภาพแวดล้อมที่มนุษย์ต่างวาดฝันไว้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในเชิงลบ สร้างปัญหาครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคภัย การแพร่กระจายของโรคระบาดไปยัง หลายพื้นที่การติดต่อกันทางระบบหายใจ การสัมผัส น้ำลาย เลือด จากมนุษย์สู่มนุษย์สัตว์สู่มนุษย์หรือสัตว์สู่ สัตว์เกิดการตั้งคำถามมากมายว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะหาทางแก้ปัญหาอย่างไร


107 2. แนวคิด สร้างสรรค์ตัวละครใหม่เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมเกิดเป็นโลกาภิวัตน์ในอุดมคติ จินตนาการจากสัตว์สิ่งมีชีวิตผสมกับเครื่องจักรให้เป็นตัวละครสายพันธุ์ใหม่ผ่านรูปแบบ 2 มิติด้วยเทคนิค Digital painting 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์สู่กระบวนการพิมพ์ (Printing) การรวบรวมข้อมูลจากภาพถ่าย อินเทอร์เน็ต สื่อ และประสบการณ์ที่ได้รับ มาตัดต่อภาพเข้าด้วยกัน และการใช้เครื่องมือในโปรแกรมเกิดเป็นความชำนาญ สร้างเนื้อหาสาระขึ้นมาใหม่ การแทรกซ้อนของสี (Layers) สีที่ทับซ้อนได้ตั้งค่า Opacity 50% ให้เกิดเป็นภาพ ที่ทับซ้อนกันอย่างลงตัว อีกทั้งการเลือกใช้ pen tools ตัดขอบในรูปทรง (form) ให้เข้ากันอย่างลงตัว กระบวนการพิมพ์แบบดิจิตอลเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer) แต่เดิมสามารถพิมพ์ได้ 4 สีโดยใช้ หมึกเติมแต่ในปัจจุบันมีเพิ่มเข้ามา 6 สีหรือ 8 สีเพื่อลดปัญหาในการผสมสีแต่จะมี 4 สีเป็นแม่พิมพ์หลักซึ่งข้อดี ของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทคือภาพที่ออกมากจะสวยงามกว่าเครื่องปริ้นเลเซอร์ซึ่งจะดูมีความเป็นธรรมชาติความ คมชัดสูงแต่จะใช้เวลาพิมพ์นานกว่าความเร็วในการพิมพ์ของปริ้นเตอร์อิงค์เจ๊ทมักจะวัดกันที่จำนวนหน้าในที่ สามารถพิมพ์ได้ใน1 นาทีคือPages per Minute (ppm) โดยในหนึ่งรุ่นมักจะแยกค่าppm เป็นปริ๊นสีและขาว ดำเนื่องจากใช้เวลาไม่เท่ากันความเร็วในการพิมพ์จะแตกต่างกันไปตามสเปคและประสิทธิภาพของปริ้นเตอร์ แต่ละรุ่นแต่โดยทั่วไปแล้วมาตรฐานความเร็วInkjet Printer รุ่นธรรมดาตามบ้านจะอยู่ที่ประมาณ10.5 ppm (ขาวดำ) และ5 ppm (สี) โดยรุ่นCommercial Grade ก็จะมีความเร็วสูงขึ้นไปอีก ภาพที่ 1 การตัดต่อภาพด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop เทคนิค Digital panting ที่มา : ออกแบบโดย ชยันต์ พลอาสา (2565)


108 ภาพที่ 2 การตัดต่อสมบูรณ์เทคนิค Digital panting ที่มา : ออกแบบโดย ชยันต์ พลอาสา (2565) ภาพที่3 เครื่องปริ้นท์ Inkjet Printer ที่มา :https://addin.co.th/blog/what-is-inkjet-printer/ (2565) ภาพที่4 ปริ้นท์ภาพบนกระดาษภาพพิมพ์ฟาเบรียโน่ (FABRIANO) ที่มา : ภาพถ่ายโดย ชยันต์ พลอาสา (2565)


109 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์“จินตนาการสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่” (Imagine a new species of life) ได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาสังคม ความคิดเชิงลบที่ส่งผลให้เกิดจินตนาการ จึงสร้างสื่อใหม่เพื่อนำเสนอการ พัฒนาการทางความคิดที่มนุษย์ได้คิดริเริ่ม สร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นในโลกปัจจุบันและดำเนินชีวิตด้วยเทคโนโลยีกว่า 80% ใช้เทคโนโลยีแก้ไขสภาพปัญหาต่าง ๆ จึงเกิดเป็นภัยต่อสัตว์สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกความจริงและอุดม คติ รวมทั้งมนุษย์ไม่สามารถควบคุมเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ แต่มีสิ่งนึงที่จะทำให้เราดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป ได้นั่นคือ สติ ปัญญา คือแสงสว่างนำทางให้เกิดผลลัพธ์ใหม่ต่อการดำเนินชีวิต 5. สรุป การใช้จินตนาการทางความคิดร่วมกับการทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม มีเดีย นำไปสู่ กระบวนการเทคนิค Digital painting และนำไปพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer) ใช้กระดาษที่มี คุณภาพเพื่อให้เกิดภาพเสมือนจริงตามความต้องการ เป็นจุดริเริ่มต่อการสร้างสรรค์ผลงานชุดใหม่และให้มี ความสอดคล้องกับแนวความคิด โดยใช้สติ ปัญญา ควบคุมการดำเนินงาน เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซชิ่ง จำกัด มหาชน. เถกิง พัฒโนภาษ. (2561). กว่าจะโมเดิร์น. กรุงเทพฯ: บริษัท ทูโฟร์ พริ้นติ้ง จำกัด. พงษ์เดช ไชยคุตร. (2557). ศิลปะภาพพิมพ์และกระดาษ. เชียงใหม่: บริษัท สยามพิมพ์ นานา จำกัด. พิษณุ ศุภนิมิตร. 2561. บนแผ่นดินพระราชา. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซชิ่ง จำกัด มหาชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์. (2556). Little Big Prints. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซชิ่ง จำกัด มหาชน. เลิศศิริร์ บวรกิตติ. (2553). ศิลปกรรมบำบัดสังเขป. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร. อัศนีย์ ชูอรุณ. (2542). ภาพพิมพ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. . (2543). ความรู้เกี่ยวกับศิลปะภาพพิมพ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. Lachat, R. (2016). Anatomy Rocks. United States: Simon And Schuster.


110 การสร้างสรรค์ลวดลายสีสันแห่งป่าฮาลา-บาลา The creating colorful patterns of the Hala-Balaforest ชิสา สุวรรณนาวิน, Chisa Suwannawin สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ภาควิชาศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประพนธ์ชนะพล, Prapon Chanapol 30/1 หมู่ที่7 ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของป่าฮาลา-บาลาซึ่งได้ชื่อว่าเป็นป่าอเม ซอนของอาเซียน เพราะเป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์มากเป็นอันดับต้นๆของประเทศเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า พรรณ พืชนานาพันธุ์สร้างประโยชน์ให้กับมวลมนุษยชาตินับไม่ถ้วน และต้องการผลักดันให้ป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ เป็นมรดกของอาเซียนและมรดกโลกต่อไป โดยสร้างสรรค์ลวดลายผ้าที่มีอัตลักษณ์ของป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขต ร้อน (Tropical Rain Forest) ทางภาคใต้เมื่อศึกษาอัตลักษณ์ของป่าฮาลา-บาลาซึ่งเป็นป่าดิบชื้นหรือ Tropical นัยยะคือความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ที่มีแหล่งอาหารมากพอต่อการดำรงชีวิต ทำให้มีทั้งสัตว์ป่าและ พืชพรรณต่าง ๆ อาศัยมากมายแล้วสร้างเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลโดยแยกประเภทหมวดหมู่ต่าง ๆ ทั้งสัตว์ป่า ดอกไม้ พรรณพืช จะพบว่าป่าแห่งนี้มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมายสัตว์ป่าหายากอย่างกระทิง ชะนีดำใหญ่ กระซู่ สมเสร็จ เลียงผาและช้างป่า โดยเฉพาะนกเงือกสัตว์หายาก ที่เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า นอกจากนี้ ยังมีพรรณไม้และดอกไม้หลากหลายชนิด เช่น ยี่โถปีนัง ดาหลา ปุดเดือน ม่วงบาลา ชงโคดำ ชงโคป่าดอกแดง รวมถึงไม้ประดับที่มีค่าทางเศรษฐกิจอย่าง ปาล์มบังสูรย์ เฟิร์นยักษ์ใบไม้สีทองหวายชนิดต่าง ๆ จากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวได้สร้างสรรค์ลวดลายสีสันแห่งป่าฮาลา-บาลาโดยการทำลายผ้าใช้ หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์และออกแบบลวดลายผ้าเขตร้อน (Tropical) ลายผ้าเหมาะกับช่วงหน้าร้อน เพราะเมืองไทยมีฤดูร้อนยาวนานที่สุด ลวดลายประกอบไปด้วยนกเงือกสัญลักษณ์ของป่าซึ่งเป็นสัตว์หายากที่ชี้ วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า มีส่วนสำคัญของระบบนิเวศน์และเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่มั่นคง เพราะมี พฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียวไปตลอดชีวิต แวดล้อมด้วยดอกไม้และพรรณพืชนานาพันธุ์ใน ป่าฮาลา-บาลาสร้างสรรค์ลวดลายให้มีสีสันและออกมีชีวิตชีวาเสมือนกับเป็นฉากหนึ่งที่น่าประทับใจ และเราจะ ได้สัมผัสเมื่อเข้าไปที่ป่าฮาลา-บาลาแห่งนี้ คำสำคัญ: ลวดลาย, สีสัน, ป่าฮาลา-บาลา


111 Abstract This creation aims to reflect the abundance of the Hala-Balaforest which is known as the Amazon forest of ASEAN because it is the most fertile rainforest in the country. A habitat for wild animals and various plant species benefiting countless mankind andaspire this fertile forest to be a heritage of ASEAN and the world heritage. By creating a fabric pattern that has the identity of the rainforest or tropical rain forest in the south, when studying the identity of the Hala-Bala forest which is an evergreen forest or tropical, meaning the abundance of forests with enough food sources causing both wild animals and plants to live in abundancenatural. Then create a data analysis tool by categorizing various categories, including wildlife, flowers, and plants, it will be found that this forest has many wild animals such as bison, big black gibbon, rhinoceros, tapir, chamois, and wild elephants. Especially the hornbill which is an indicator of the fertility of the forest. There are also a wide variety of plants and flowers such as Penang oleander, dala, pudduen, and ground orchids, as well as economically valuable ornamental plants such as bangsun palm, giant fern, golden leaves, and various types of rattan. From the analysis of data, the colorful patterns of the Hala-Bala forest were created by textile design, using the principles of art composition and designing tropical fabric patterns. The fabric patterns are suitable for summer because Thailand has the longest summer. Moreover, the pattern features the forest's iconic hornbill, a rare animal that indicates the abundance of the forest. Hornbill is an important part of the ecosystem and a symbol of steadfast love because it has a habit of living a monogamous for the rest of its life surrounded by flowers and plants in the Hala-Bala forest. The creation of a colorful and vibrant fabric pattern was to reflect how impressive experience of this Hala-Bala forest. Keywords: Pattern, Colorful, Hala-Balaforest 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ป่าฮาลา-บาลา หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เป็นป่าดิบชื้นมีความชื้นสูงตลอดทั้งปีประกอบ ไปด้วยผืนป่าสองผืนคือป่าฮาลาในพื้นที่อำเภอเบตงจังหวัดยะลาและอำเภอจะแนะจังหวัดนราธิวาสและป่าบา ลาในพื้นที่อำเภอแว้งและอำเภอสุคิรินจังหวัดนราธิวาสป่าฮาลา-บาลาถือว่าเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ระดับต้นๆของ ประเทศ จนได้รับขนานนามว่า เป็นป่าอเมซอนของอาเซียน ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์และพรรณไม้หลากหลายชนิด รวมถึงสัตว์ป่าหายากในไทย ที่สำคัญป่าแห่งนี้ยังเป็นที่อยู่ของนกเงือกที่มีถึง 10 ชนิด จากทั้งสิ้น 13 ชนิด ใน ประเทศไทย ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งนี้ได้สร้างประโยชน์ต่าง ๆ มากมายให้กับทั้งสัตว์ป่าและคน


112 ในพื้นที่ให้มีอาหารและอาชีพ แต่ขณะเดียวกันผืนป่าแห่งนี้กลับถูกบุกรุกและโดนทำลายจากการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า ล่าสัตว์บุกรุกพื้นที่เพื่อการทำกิน ทำให้พื้นที่ป่าไม้มีจำนวนลดลง ก่อให้เกิดผลกระทบกับทรัพยากร ป่าไม้ที่รุนแรงถ้าเราไม่ร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้นี้ให้คงอยู่ต่อไป ป่าแห่งนี้คงถูกทำลายลงไป เรื่อย ๆ จนยากที่จะกลับมาเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์เหมือนเช่นเดิม ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานลวดลายสีสันแห่งป่าฮาลา-บาลา เพื่อสะท้อน ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าฮาลา-บาลา ที่สวยงามเป็นประโยชน์ควรค่าแก่การรักษาให้คงอยู่สืบไป ที่เรา จะละเลยปล่อยให้ความสมบูรณ์ของผืนป่านี้เป็นเพียงภาพถ่ายหรือภาพวาดไม่ได้ ควรอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอด ต่อไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานนอกจากนี้จุดประสงค์ที่สำคัญยังต้องการจุดประกายให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องรวมถึง ประชาชนชาวไทยทั่วไป ผลักดันขับเคลื่อนให้ผืนป่าแห่งนี้ไปสู่มรดกอาเซียนและมรดกโลกต่อไปเพื่อให้ทั้งคนใน พื้นที่และคนในชาติเกิดความภาคภูมิใจที่มีสถานที่ที่ทรงคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติที่มีความสำคัญ ระดับโลก และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นและประเทศชาติ สร้างสำนึกรักหวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าอันเปรียบไม่ได้ให้แก่ชนรุ่นหลังสืบไป ภาพที่ 1 ป่าฮาลา-บาลา ที่มา : https://www.bltbangkok.com/lifestyle/travelers-list/25670/ 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานการสร้างสรรค์ลวดลายสีสันแห่งป่าฮาลา-บาลาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ลวดลายผ้า สามารถแบ่งเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้ 1). ทฤษฎีการออกแบบลวดลายเป็นการนำเอาประสบการณ์ความรู้ ความคิด จินตนาการ องค์ประกอบความรู้ทางศิลปะเข้ามาผสมผสานไว้ด้วยกัน การออกแบบลวดลายที่ดีผู้ออกแบบต้องมี กระบวนการทางความคิดในการหาแรงบันดาลใจ ค้นหาแรงบันดาลใจที่ดีและชัดเจน หาข้อมูลเรื่องราวที่ น่าสนใจมาส่งเสริมช่วยในการออกแบบ พร้อมทั้งวางแผนกำหนดทิศทางรูปแบบต่างๆในการออกแบบรวมถึง เทคนิคที่จะนำมาใช้ด้วย ทั้งนี้ยังต้องคำนึงถึงข้อมูลของพื้นที่ ตลาด และความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่จะเอา ลวดลายไปใช้ นำไปวิเคราะห์ออกแบบตกแต่งผลงานให้มีคุณค่าหรือมีมูลค่าตามกระบวนการที่วางเป้าหมายไว้


113 2). ทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์เป็นหลักการสำคัญของผู้ทำงานศิลปะ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผลงานมี ความสมบูรณ์เป็นไปตามแรงบันดาลใจของศิลปิน องค์ประกอบศิลป์เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบต่างๆของ ศิลปะประกอบเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็น จุด เส้น สี พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง นำมาประสานกลมกลืนให้เกิดคุณค่า ทางความงามขึ้นส่วนคุณค่าทางด้านเนื้อหาหรือเรื่องราวก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ถ้าเนื้อหาหรือเรื่องราวไม่ สัมพันธ์กับการจัดองค์ประกอบศิลป์ ก็จะทำให้งานนั้นขาดคุณค่าทางความงามอย่างสมบูรณ์การสร้างผลงาน จึงมีหลักที่ต้องคำนึงถึง ดังนั้นโครงสร้างของศิลปะประกอบไปด้วย เอกภาพ(Unity) การนำส่วนประกอบต่าง ๆ ของผลงานมาจัดวางให้เกิดความเชื่อมโยงไม่กระจัด กระจายไปคนละทิศละทางจนขาดความสัมพันธ์ทางทัศนศิลป์ สัดส่วน (Proportion) สิ่งต่าง ๆ ในภาพวาดที่มีสัดส่วนและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสองสิ่งที่มีขนาด ต่างกันต้องนำไปเปรียบเทียบกับขนาดส่วนรวมให้เป็นไปตามหลักการมองเห็นของสายตา วัตถุชนิดเดียวกันอยู่ ใกล้จะใหญ่กว่าวัตถุที่ไกลออกไป และยิ่งไกลออกไปจะยิ่งเล็กจนมองไม่เห็น ความสมดุล (Balance) การทำงานศิลปะต้องคำนึงถึงความสมดุล น้ำหนักขององค์ประกอบต้องมี ความพอเหมาะพอดีประสานกลมกลืนไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง จังหวะ (Rhythm) การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการจัดวางองค์ประกอบภาพหรือวัตถุซ้ำ ๆ ให้เกิดจังหวะ หลากหลายรูปแบบ จุดสนใจหรือการเน้น (Emphasis) เป็นการเน้นให้เด่นกว่าส่วนอื่น แสดงถึงสิ่งที่อยากบอกเล่าในงาน โดยดึงดูดสายตาของผู้ชม บางที่อาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงกลางเสมอไปก็ได้ อาจอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ แนวทางการสร้างสรรค์เริ่มจากการศึกษาข้อมูลของป่าฮาลา-บาลา ที่มีจุดเด่นคือความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่จำนวนมาก และล้วนเป็นสัตว์ป่าหายาก บางชนิดมีสายพันธุ์มากที่สุดในประเทศไทย อย่างนกเงือกมีดอกไม้และพรรณพืชต่างๆมากมายหลายชนิด จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเครื่องมือวิเคราะห์ ข้อมูลแยกหมวดหมู่และประเภทของสัตว์ป่า พรรณพืชและดอกไม้มาสร้างสรรค์ลวดลายผ้าโดยใช้เทคนิคการ วาดภาพสีน้ำ โดยใช้อัตลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ของป่าฮาลา-บาลา ที่เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ เป็นที่อยู่ของทั้งสัตว์ป่าและพรรณไม้นานาชนิด ซึ่งได้แก่ นกเงือกหัวแรดบอนเขียว บากง บังสูรย์ ย่านใบด่าง ดอกยี่โถปีนังหรือกล้วยไม้ป่าดอกชงโคดำหรือชงโคฮาลา-บาลา ชงโคป่าดอกแดง และดอกม่วงบาลา


114 ภาพที่2 ภาพพรรณไม้ป่าฮาลา - บาลา ที่มา : https://pubhtml5.com/zahj/welt มาสร้างสรรค์ลวดลายโดยบรรยายภาพการอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งในป่าที่สิ่งมีชีวิตต่างอยู่กันด้วยการ พึ่งพาอาศัยกัน ถ่ายทอดออกมาด้วยสีสันที่สดใสเป็นสีสันของป่าฮาลา-บาลาที่ผู้เข้าไปเยี่ยมชมต่างเกิดความ ประทับใจกับภาพธรรมชาติที่สวยงาม จากนั้นก็จัดวางภาพด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator โดยใช้หลักการ จัดองค์ประกอบศิลป์นำส่วนประกอบต่างๆที่วาดด้วยสีน้ำมาจัดวางให้เกิดความเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวเดียวกัน สัดส่วนเป็นไปตามหลักการมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้จะมีขาดใหญ่กว่าวัตถุที่ไกลออกไป จุดเด่นหรือจุดนำสายตาจะ อยู่ที่นกเงือกหัวแรดตัวใหญ่ด้านหน้าทางซ้าย แสดงถึงความสำคัญของนกเงือกที่มีผลต่อระบบนเวศน์ ที่ได้ชื่อว่า นกนักปลูกป่าและอัญมณีของป่าฮาลา-บาลาเมื่อได้ลวดลายผ้าที่ต้องการแล้วก็นำไปพิมพ์ภาพโดยใช้เทคนิค ดิจิตอลปริ้นบนผ้าไดมอนด์ซาติน ขนาด 90.5 x 72.5 cm. สามารถนำไปใช้เป็นผ้าพันคอหรือผ้าคลุมไหล่ได้ เพราะใช้เนื้อผ้าที่มีความนิ่มสบายผิว สีสันสดใสเหมาะกับฤดูร้อนในเมืองไทย ภาพที่ 3 – 4 ภาพผลงานที่ดิจิตอลปริ้นด้วยผ้าไดมอนด์ซาติน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


115 4. การวิเคราะห์ผลงาน เราจะเห็นว่าป่าฮาลา-บาลาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธ์ต่าง ๆ ถึงขั้น ได้รับขนานนามว่า ป่าอเมซอนแห่งอาเซียน ผู้สร้างสรรค์จึงได้นำอัตลักษณ์และความสวยงามของป่าฮาลา-บา ลานี้มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายและสีสันที่บงบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ โดยนำสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ของ ผืนป่าแห่งนี้อย่างนกเงือกที่ทั่วโลกมีทั้งหมด 54 ชนิด แต่ป่าป่าฮาลา-บาลามีถึง 10ชนิด ซึ่งถือเป็นบริเวณที่พบ นกเงือกมากที่สุดในประเทศไทย แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแหงนี้และแหล่งอาหารที่เพียงพอต่อการ มีชีวิตของสัตว์ป่า นกเงือกเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ยังเป็นนกนักปลูกป่าซึ่งมีหน้าที่กระจายเมล็ดพืชพันธ์ในป่า เนื่องจากนกเงือกกินผลไม้สุกกว่า 300 ชนิด และบินหาอาหารไปทั่วเมื่อกินแล้วก็คายเมล็ดออกมาเมล็ดเหล่านี้ จะเจริญขึ้นเป็นต้นกล้าไปทั่วป่า นกเงือกจึงมีความสำคัญของการแพร่พันธุ์พืช รักษาความหลากหลายของพืช และสัตว์ป่ารักษาความสมดุลของธรรมชาตินกเงือกกินทั้งพืชและสัตว์เล็กเป็นอาหาร เป็นการควบคุมประชากร ของสัตว์ขนาดเล็กอีกด้วย ทั้งนี้จึงเป็นตัวชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ นกเงือกเป็นสัตว์ขนาดใหญ่มีนิสัยที่เป็นจุดเด่นคือมีผัวเดียวเมียเดียว นกเงือกที่จะพบเห็นได้บ่อยในป่าฮาลา-บา ลา คือ นกเงือกหัวแรด สีสันของร่างกายส่วนใหญ่เป็นสีดำ บริเวณหางเป็นสีขาวมีสีดำพาดตามขวางปากสี เหลืองจนถึงสีงาช้างมีจงอยปากยาวและมีโหนกบริเวณเหนือปากเป็นรูปโค้งขึ้นไปและตรงโคนโหนกมีสีแดง นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงอัตลักษณ์ของพรรณพืชและดอกไม้ในป่าฮาลา-บาลาที่มีสีสันสดใสมาสร้างสรรค์เป็น ลวดลายผ้า ภาพที่ 5 – 6 ภาพผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์


116 ลวดลายผ้าบรรยายถึงบรรยากาศสีสันในช่วงหน้าร้อนของนกเงือก ดอกไม้และพืชพรรณต่าง ๆ ต่างอยู่ กันด้วยความรื่นรมย์พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์เพียบพร้อม นกเงือกสองตัวครองคู่กัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคู่แท้ เมื่อถึงต้นฤดูร้อนดอกไม้ต่างผลิบานออกดอกมีสีสันที่สวยงามและมีเสน่ห์ดึงดูด ล้วน แล้วแต่เป็นอัตลักษณ์ของป่าฮาลา-บาลา ที่มีมนต์เสน่ห์และยากจะมีผืนป่าใดเสมือนกับป่าผืนนี้ 5. สรุป ผลงานการสร้างสรรค์ลวดลายสีสันแห่งป่าฮาลา-บาลาได้ถอดอัตลักษณ์ป่าเขตร้อน (tropical) ภาคใต้ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยพรรณไม้ที่มีสีสันงดงาม ลวดลายผ้าออกแบบให้เหมาะกับบรรยากาศช่วงหน้า ร้อน ที่แสดงถึงความมีชีวิตชีวาของสรรพสัตว์และพรรณไม้ในป่าฮาลา-บาลา และกระบวนการของการ สร้างสรรค์นี้สามารถนำไปต่อยอดไปสู่การพัฒนาพื้นถิ่นเป็นผ้าบาติกหรือปาเต๊ะ ที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการหยิบยกเรื่องราวความเป็นป่าเขตร้อน (tropical) ภาคใต้ของเมืองไทยมาสู่การทำลายผ้าพื้นถิ่นให้กับ ชุมชนต่อไป นอกจากนี้ยังพัฒนาเป็นเครื่องแต่งกายที่สวมใส่ไปพักผ่อนตากอากาศ (Resort Wear) ที่สามารถ สวมใส่ได้ตลอดทั้งปี เน้นความสบายพริ้วไหวและได้รับแรงบันดาลใจจากความสวยงามของธรรมชาติซึ่ง สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนคนพื้นที่ได้อย่างมากมายถ้าผืนป่านี้ยังดำรงอยู่ก็จะเป็นแหล่ง อาหาร ที่ทำกินและสร้างแรงบันดาลใจให้กับสัตว์ป่าและคนในชาติอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ประเด็นสำคัญคือเรา ต้องช่วยกันผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าฮาลา-บาลาให้อยู่สืบไป ให้ช่วยกันปกป้อง ดูแลผู้มารุกรานที่แสวงหาประโยชน์อันมิชอบและผลักดันให้เป็นมรดกอาเซียนและมรดกโลก แก้ไขปัญหาการ ทำลายทรัพยากรป่าไม้และการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เพื่ออนุรักษ์ผืนป่าแห่งนี้ให้คงอยู่สืบไป เอกสารอ้างอิง ชวลิต นิยมธรรม , พาโชค พูดจา และ แววลุรี คำเขียว. (2558). พรรณไม้ป่าฮาลา-บาลา HALA-BALA. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์. (1 มีนาคม 2564). ฮาลาบาลาสู่มรดกโลก(HALA - BALA Wildlife to World Heritage). ยะลา:ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นงค์ลักษณ์บัทเลอร์(17กรกฎาคม2564). EP. 81: ฮาลา-บาลา “มรดกอาเซียนข้ามแดน” (ออนไลน์). สืบค้น เมื่อ 22 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.thaipbspodcast.com/podcast/readingcorner/ep81 องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(11พฤษภาคม2564). นกเงือกหัวแรด/Rhinoceros Hornbill (Buceros rhinoceros)(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ22 พฤษภาคม 2565 จาก https:// www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=235&c_id= KanlayaRoduphek (2 กุมภาพันธ์2556). การจัดองค์ประกอบของศิลป์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565จากhttps://sites.google.com/site/kanlayaroduphek/home/kar-cad-xngkh-prakxb-khxng-silp


117 ในห้วงแห่งมนต์เสน่ห์อารยธรรมจีนโบราณ In the Enchantment of Ancient Chinese Civilization ณธกร อุไรรัตน์, Nathakorn Ourairat Faculty of Fine and Applied Arts, Dhurakij Pundit University 110/1-4 Prachachuen road LaksiBangkok Thailand10210 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชื่นหลักสี่ กทม 10210 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์งานออกแบบต่าง ๆ เช่นงานออกแบบกราฟิก งานออกแบบตกแต่งภายใน หรืองาน ออกแบบแฟชั่นได้นำองค์ประกอบต่าง ๆ ในด้านศิลปะมาคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ลงตัวสวยงาม และเกิดประโยชน์ใช้สอยได้ตรงตามต้องการของผู้ใช้งาน งานออกแบบภาพประกอบชิ้นนี้มีชื่อว่า “In the Enchantment of Ancient Chinese Civilization” งานชิ้น นี้นั้น เป็ นงานออกแบบ กราฟิ ก ภาพประกอบที่จะนำไปใช้กับองค์กร “สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล” เพื่อทำเป็นกราฟิก ภาพประกอบสำหรับใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนต่อไป ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะ การตัดกระดาษของประเทศจีน ที่เรียกเป็นภาษาจีนกลางว่า เจี่ยนจื่อ Jiǎnzhǐ ซึ่งศิลปะการตัดกระดาษของ จีนนั้นเป็นวัฒนธรรมของจีนมาอย่างยาวนานเป็นพันปีนับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้งานชิ้นนี้ได้ผสมผสานเทคนิค Collage Art และ PhotoGraphic Scanning เข้าด้วยกัน ได้ทำขึ้น โดยใช้โปรแกรม PhotoShop บนคอมพิวเตอร์รีทัชภาพโดยได้นำเอารูปทรง และวัสดุตามธรรมชาติอาทิเช่น กิ่งไม้ใบไม้มาใช้สแกน เรียกว่าเทคนิค Photographic Scanning และใช้ภาพถ่ายมาไดคัทตัดต่อในรูปแบบ Collage Artทำให้ได้ผลลัพธ์งานสร้างสรรค์สวยงามแตกต่างจากงานเดิมที่เคยสร้างมาการผสมผสานกันทั้ง องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้รวมถึงไอเดียแรงบันดาลใจ และเทคนิคที่นำมาใช้นี้ทำให้เกิดเป็นรูปภาพที่มีความ น่าสนใจสวยงามลงตัวสามารถต่อยอดไปสู่การออกแบบกราฟิกภาพประกอบในอนาคตได้ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น งานชิ้นนี้ยังช่วยส่งเสริมความสวยงามมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นโดยใช้ เส้นสี และ พื้นผิว ที่เป็นพื้นฐานของงานทาง ศิลปะและการออกแบบมานำเสนอโดยสะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดด้านความสวยงามของวัฒนธรรมจีนซึ่ง เป็นประเทศมีประวัติศาสตร์ ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมยาวนานมาก และนอกจากยาวนานเก่าแก่แล้วก็มี ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากด้วย สังเกตได้จากอายุของประเทศที่มีมาหลายพันปี จำนวนของประชากร และชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก ซึ่งผลงานที่ได้แสดงออกมานี้ก็จะได้สะท้อน วัฒนธรรมต่าง ๆ อันหลากหลายนี้ออกมาในรูปแบบภาพประกอบมีจุดประสงค์เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมจีนที่มี ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความกลมเกลียวของชนชาติจีน และศีลธรรมอันดีของประชาชนจีน เพื่อ ซึมซับวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้นำมาสร้างสรรค์งานศิลปะต่อไปในอนาคต คำสำคัญ: งานประยุกต์ศิลป์, กราฟิกดีไซน์, ศิลปะการตัดกระดาษจีน, ศิลปะภาพตัดปะ, การสแกนภาพถ่าย


118 Abstract Creation of various design types including Graphic design Interior designor Fashion design has brought various elements, in the arts, come together to create a creative of perfect fit and beauty, leading to useful and usable the needs of users. The design of this illustration is called “In the Enchantment of Ancient Chinese Civilization”. Assemblies to be applied to the organization of Confucius Institute on the Maritime Silk Road for graphic illustration for further use as teaching aids. This creation was inspired by the art of paper cutting in China. Known in Mandarin as Jiǎnzhǐ. Chinese paper-cutting art has been a Chinese culture for thousands of years since the Han Dynasty, inherited to the present. In addition, this work combines the techniques of Collage Art and Photo Graphic Scanning together, which was done using the program Photoshop retouchingon the computer and natural materials such as branches and leaves to be scanned. It is called Photographic Scanning technique and uses photos to be cut and edited in Collage Art format, resulting in beautiful creative results that are different from the original work that has been created. The combination of these elements and the techniques used to present them creates a very interesting and beautiful Art work. These can be extended to better graphic design and illustration in the future. Moreover this work also promotes beauty to be more valuable by using lines, colors and textures as the basis of art and design presented by reflecting the concept of Chinese cultural beauty. China which is a country with a history in terms of language and culture for a very long time and besides being long and old It is also very culturally diverse. Observed from the age of the country that has many thousands of years. One of the most diverse populations and ethnicities in the world. The works that have been shown will reflect this diverse culture in the form of illustrations for the purpose of learning, Chinese culture with characteristics that represent prosperity the harmony of the Chinese people and good morals of the Chinese people.In order to absorb this beautiful culture in order to create Illustration art in the future. Keywords: Deccorative Art, Graphic Design, Chinese paper cutting art, Collage Art, Photographic Scanning


119 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความสุขกับความทุกข์โดยปกติแล้วคนเรามักจะแยกกันเนื่องจากว่า มันเป็นความรู้สึกที่ตรงข้ามและ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง บางครั้งที่เรามีความสุขเรามักจะลืมความทุกข์ และบางครั้งมีความทุกข์ก็มักจะไม่มี ความสุขอยู่ด้วย แต่มีโอกาสเหมือนกันที่ทั้งความสุขและความทุกข์มันจะมาอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ในความเชื่อ ของคนจีนความสุขมักอยู่ในช่วงเวลา เทศกาลปีใหม่ ส่วนเวลาของความทุกข์น่าจะเป็นช่วงที่มีคนเสียชีวิต เกิดขึ้นในครอบครัว มีงานศิลปะของจีนประเภทเดียวที่ถ่ายทอดความรู้สึกทั้งทุกข์และสุขให้มาอยู่ในงานศิลปะ ชิ้นนี้โดยจะแตกต่างกันที่รูปร่างและลวดลายของแต่ละความรู้สึก นั่นก็คือศิลปะการตัดกระดาษจีนเจี่ยนจื่อ Jiǎnzhǐ เนื่องด้วยงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจส่วนใหญ่มาจากศิลปะการตัดกระดาษของจีน ซึ่งจาก หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ วัฒนธรรมประเทศจีนกล่าวไว้ว่า “ศิลปะงานฝีมือการตัดกระดาษของจีนมี ประวัติศาสตร์มายาวนานประมาณ 2,000 กว่าปี ซึ่งเป็นงานฝีมือพื้นเมืองที่จะพบเห็นได้บ่อย ๆ ของจีน งาน ฝีมือการติดกระดาษของจีนนั้นส่วนใหญ่ ประดิษฐ์ด้วยมือของหญิงสาวตามชนบท พวกเธอ ตัดและแกะออกมา เป็นรูปดอกไม้หลากหลายแบบ ซึ่งสวนใหญ่จะเป็นภาพและลวดลายที่เกษตรกรให้ความสนใจ ชอบและสิ่งของ ที่ต้องการมากที่สุด เช่นสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ ปศุสัตว์ ผลิตผลทางการเกษตร นกและดอกไม้ ตุ๊กตา เรื่องราวต่าง ๆ ในนิทาน ละคร สัญลักษณ์ของโชคลาภ เป็นต้น โดยนิยมใช้ในเทศกาล ปีใหม่และงานพิธีเฉลิมฉลองต่าง ๆ กระดาษตัดที่สวยสดงดงามนี้นำมาซึ่งบรรยากาศสนุกสนาน และเบิกบานให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน จีนทั่ว ๆ ไป” และ ยังมีที่กล่าวไว้ได้น่าสนใจอีกว่า “ศิลปะการตัดกระดาษ เป็นศิลปะพื้นบ้านอันเป็นที่นิยมยิ่ง อย่างหนึ่งในประเทศจีน ศิลปะการตัดกระดาษ มักใช้ในพิธีทางศาสนา และใช้ในการประดับตกแต่ง สร้างสรรค์ งานศิลปะต่าง ๆ ในอดีต มีการนิยมนํากระดาษมาสร้างเป็นรูปคน รูปสัตว์ในอิริยาบถต่าง ๆ และจึงนําไปเผา หรือฝังไปพร้อมกับผู้เสียชีวิตในงานฌาปนกิจศพ” http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9500000047596 จากบทความดังกล่าวเราก็จะทราบว่าศิลปะการตัดการดาษจีนหรือ เจี่ยนจื่อ Jiǎnzhǐ นั้นก็ได้รับ อิทธิพลมาจากสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ดอกไม้และเกี่ยวเนื่องกับเทศกาลต่าง ๆ รวมถึงการใช้ ชีวิตประจำวัน ทำให้เรารับทราบถึงวิถีชีวิตต่าง ๆ ของคนจีนเหล่านี้แต่อย่างไรก็ตามการถ่ายทอดงานออกแบบ ออกมาตรง ๆ ตามที่ได้รับรู้ก็จะไม่เป็นพัฒนาการให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ก็ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ นี้ จึงนำมาดัดแปลงผสมผสานงานที่เป็นอดีตและงานปัจจุบันมาพัฒนาเป็นงานออกแบบภาพประกอบในรูปแบบ สมัยใหม่และอีกทั้งงานสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลงานในรูปแบบ Digital artโดยใช้เทคนิค PhotoGraphic Scanning และ Collage Art สร้างโลกจินตนาการของจีน โดยนำเสนอเรื่องราวตาม ประเพณีจีนที่มีทั้งความสุขและความทุกข์ในเวลาเดียวกันมาสร้างเป็นภาพประกอบนี้ทำให้มีความแปลกใหม่ น่าสนใจมากกว่าจะทำแต่รูปแบบและเทคนิคเดิม ๆ


120 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบทางศิลปะที่สำคัญของการทำงานภาพประกอบชิ้นนี้ได้แก่เส้น สี และลักษณะพื้นผิวที่ นำมาเป็นองค์ประกอบหลักของผลงาน เส้น (Line) เส้นคือองค์ประกอบพื้นฐานอย่างหนึ่งที่เกิดมาจากการ เรียงตัวกันของจุด จนสามารถแสดงออกมาเป็นเส้นแนวตั้งแนวนอนก็ตาม แต่การวาดโดยใช้เส้นนั้นเป็น องค์ประกอบที่จะรวมกันจนเกิดเป็นรูปร่างเส้นแต่ละแบบก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป เส้นที่ข้าพเจ้า นำมาใช้ในผลงานชิ้นนี้ก็คือเส้นจากกิ่งก้านของต้นไม้ ที่พัวพันกัน โดยจะให้ความรู้สึกที่วุ่นวาย สับสน ในสายตา ของผู้ชม และเนื่องจากการใช้เส้นเป็นสีดำก็ยิ่งจะทำให้ภาพนี้ดูลึกลับ สับสน น่ากลัว เหมือนกับอยู่ใน จินตนาการแต่ความฝันสี (Color) ในวิกิพีเดียกล่าวไว้ว่า “สีในวัฒนธรรมจีน หมายถึง สีต่าง ๆ ที่มีความหมาย ทั้งในทางที่ดี (auspicious;) และไม่ดี (inauspicious;) ตัวอักษรภาษาจีนของคำว่า สีคือ 顏色 หรือ เหยียน เซอะ (yánsè) ในสมัยจีนโบราณมักใช้ตัวอักษร 色 (sè) เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความหมายโดยตรงถึงสีบน ใบหน้า (color in the face) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (emotion) เพราะคำว่า 'เหยียน' หมายถึงพื้นที่ระหว่าง คิ้ว 'เซอะ' หมายถึงลมปราณ ปราชญ์จีนโบราณกล่าวว่า เมื่อคนเราเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ที่ใจ พลังงาน หรือ 'ชี่' จะไปแสดงออกที่หว่างคิ้ว กลายเป็นอารมณ์หรือสีหน้า” https://th.wikipedia.org/wiki/สีในวัฒนธรรมจีนสี ดำที่นำมาใช้นี้เพราะสีดำเป็นสีในวัฒนธรรมจีนเป็นธาตุน้ำ เป็นสีของฤดูหนาว “สีดำ เป็นสีที่มีความหมายถึง น้ำ และเป็นสีกลาง (neutral color) ทำให้มีคุณสมบัติลึกลับไม่แน่นอนแต่สามารถอยู่หลอมรวมกับทุกสิ่งได้มี ทั้งพลังอำนาจและความอ่อนไหวไปพร้อม ๆ กัน ให้ทั้ง คุณประโยชน์มากมาย และยังสามารถนำมาซึ่งภัยพิบัติ ที่ยากจะประเมินค่าได้ดังนั้น สีดำจึงหมายถึงความคลุมเครือไม่แน่นอนเช่นเดียวกับกระแสน้ำ หมายถึงความลึก ล้ำที่ยากจะหยั่งถึง ในทางจิตวิทยา สีดำเป็นสีที่เร้นลับ เคร่งขรึม โศกเศร้า”https://th.wikipedia.org/wiki/สี ในวัฒนธรรมจีนลักษณะพื้นผิว (Texture) การออกแบบงานชิ้นนี้ตั้งใจให้มีการผสมผสานของรูปทรง และ ลักษณะพื้นผิวให้มีความสัมพันธ์กันด้วยสัดส่วนที่พอดี โดยใช้สิ่งของตามธรรมชาติที่แสกนเข้ามาทั้งกิ่งไม้และ ใบไม้รวมกันกับกระดาษจีนที่ผ่านการตัดแล้วนำมาสแกนโดยในผลงานชิ้นนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างของ ผิวสัมผัส ก่อให้เกิดความรู้สึกเก่า หยาบจากวัสดุจากธรรมชาติพวกกิ่งไม้ใบหญ้าแสดงถึงพื้นผิวอันขรุระ ตัดกับ พื้นผิวราบเรียบของกระดาษที่ราบเรียบทำให้ได้ความรู้สึกนิ่ง เรียบและขรุขระหยาบวุ่นวายในเวลาเดียวกัน ทำ ที่เป็นมีมิติทางความรู้สึกเพิ่มขึ้นจากเดิม 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ในรูปภาพที่ท่านเห็นนี้จะประกอบด้วยรูปภาพที่เป็นรูปถ่ายจำนวน 7 รูปด้วยกัน ซึ่งนำมาจากรูปถ่าย ตอนที่ไปท่องเที่ยวประเทศจีนกับรูปที่ทำจากการตัดกระดาษจีน และรูปภาพอีกส่วนหนึ่งเป็นภาพกิ่งไม้ใบไม้ที่ นำมาสแกนภาพโดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ การใช้เทคนิคการสแกนรูปโดยใช้เครื่องถ่ายเอกสาร (PhotoGraphic Scanning) เทคนิคนี้ได้ถูก นำมาใช้กับงานชิ้นนี้ก็เพื่อทำให้มีความน่าสนใจในเรื่องของการสร้าง Texture และ Contrast ของรูปภาพทำ ให้ภาพดูมีมิติ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคอนเซ็ปต์ของงานที่คิดไว้การใช้สแกนเนอร์ โดยไม่ต้องใช้กล้อง


121 ถ่ายรูป หรือโทรศัพท์มือถือถ่ายนี้เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์และสนุกแต่ก็ต้องใช้ความอดทน และพิถีพิถันในขั้นตอน ต่าง ๆ แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้จัดวางได้ลงตัวแล้วก็จะพบงานสร้างสรรค์ที่แตกต่างออกไป การใช้เทคนิคตัดปะแบบคอลลาจ (Collage Art) โดยใช้ศิลปะการตัดกระดาษของจีน หรือเจี่ยนจื่อ Jiǎnzhǐ นำมาผสมผสานกับเทคนิคการตัดแปะ ซึ่งปกติทั่วไปจะใช้บางส่วนของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ทำให้ เป็นแนวทางที่สร้างสรรค์งานศิลปะที่มีความสวยงาม ที่ไม่เหมือนใคร และมีเอกลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจ และใน ผลงานชิ้นนี้ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่นโปรแกรม PhotoShop มาช่วยในการตกแต่งภาพให้ดูกลมกลืน เพื่อให้ดูเป็นหนึ่งเดียวกันของงานออกแบบภาพประกอบเชิงสร้างสรรค์ กระบวนการในการสร้างสรรค์งานสามารถนำมาเรียบเรียงได้ดังนี้ ภาพที่ 1 รูปภาพขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นตอนการออกแบบเริ่มต้นด้วยขั้นตอนแรกคือการเลือกรูปภาพโดยจะเลือกรูปที่มีกลิ่นอายของความ เป็นจีนรูปต้นไม้ใบหญ้าตามสถานที่ท่องเที่ยวของจีนต่าง ๆ มารวมไว้หลังจากนั้นก็สเก็ตซ์ภาพร่างที่ต้องการ จากจินตนาการขึ้นคร่าวๆ ขั้นตอนต่อไปนำวัสดุต่าง ๆ จากธรรมชาติมาแสกนโดยใช้สแกนเนอร์จัดตำแหน่งให้ดู สวยงามที่สุด อีกทั้งใช้เทคนิคการจัดแสงโดยใช้ไฟฉายส่องผ่านกระดาษฉากหลังของภาพเพื่อเพิ่มจุดเด่น และ เกิดเป็น Effect ที่น่าสนใจอีกด้วย จากนั้นก็นำภาพที่คัดไว้มารีทัช Retouchด้วยโปรแกรม PhotoShop และ จัดองค์ประกอบตามสเก็ตซ์ที่ได้ร่างไว้ ใช้รูปแบบการจัดองค์ประกอบในลักษณะ Rule Of Third สร้างจุดเด่นมี จุดสนใจในภาพ เพื่อให้มีผลต่อการดึงดูดความสนใจของผู้ชม ซึ่งผู้ชมภาพก็จะได้มองเห็นจุดสำคัญที่ตั้งใจแสดง ได้อย่างชัดเจนซึ่งในภาพนี้ก็จะเป็นตัวหนังสือจีนคำว่าเจี่ยนจื่อ剪纸 และตัวการตัดกระดาษที่เป็นภาพ ดอกไม้และตัวหนังสือ คำว่าชุน 春ซึ่งหมายถึงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นฤดูที่คนจีนจะชอบที่สุดเพราะเป็นฤดูแห่งการ เฉลิมฉลอง สุดท้ายก็ได้นำภาพทั้งหมดมาเรียงจัดองค์ประกอบอีกครั้งในโปรแกรม Photoshop โดยได้สร้างเล เยอร์รูปละหนึ่งเลเยอร์ซ้อนกันจากนั้นในแต่ละเลเยอร์เราก็ลด Opacity และความทึบแสงลงเพื่อทำให้ภาพแต่ ละภาพนั้นมีความเข้มที่แตกต่างกันทำให้ดูมีมิติมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนถัดมาต่อจากนั้นคือการลงสีภาพโดยข้าพเจ้า อยากให้ภาพนี้ออกมาในโทนเย็น ดำขรึมซึ่งเป็นสีบรรยากาศเศร้า ตัดกับสีแดงร่าเริง เพื่ออยากดึงอารมณ์ผู้ชม


122 ให้ความรู้สึกขัดแย้ง โดยมีทั้งภาพที่ดูเศร้าหดหู่ เหงา และภาพที่ดูร่าเริงอยู่ในภาพเดียวกัน และเพื่อที่จะให้ มีMovement ในภาพ ก็ได้อาศัยลายเส้นของใบไม้กิ่งไม้ต่าง ๆ มาช่วยซึ่งก็จะทำให้ภาพนี้แลดูมีความ เคลื่อนไหว ส่วนเวลาลงสีก็แยกเลเยอร์ออกมาอีก เพราะจะได้แก้ไขได้โดยง่ายเวลาทำผิดพลาด และได้ทดลอง เปลี่ยน Filter ไปเรื่อย ๆ จนได้ภาพเป็นที่พอใจและในเลเยอร์สีนี้ข้าพเจ้าจะใช้โหมดมัลติพลาย เพื่อทำให้สีนั้น ดูใสเหมือนกับลงสีน้ำ และพอสีที่ใส่ทับกันก็จะเกิดเป็นสีอีกสีหนึ่งซึ่งทำให้ภาพดูมีมิติเพิ่มมากขึ้น พอลงสีภาพ เป็นที่พอใจแล้วก็ทำการปริ้นทดสอบจนเป็นที่พอใจ เมื่อเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วขั้นตอนสุดท้ายก็เซฟเป็นไฟล์ เพื่อที่จะนำมาผลิต หรือนำไปทำการพิมพ์จริงต่อไป ภาพที่2 รูปภาพที่สร้างสรรค์เสร็จแล้วชื่อว่า ในห้วงแห่งมนต์เสน่ห์อารยธรรมจีนโบราณ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ได้วิเคราะห์ผลงานนี้ไว้ดังนี้ส่วนประกอบของการสร้างสรรค์ ซึ่งมีอยู่ในภาพนี้มีอยู่มากมายด้วยกัน ทั้ง เส้น สี รูปทรง พื้นผิว ขนาด ทิศทาง พื้นที่ว่าง ได้ถูกนำมาใช้ทั้งหมด แต่ที่ใช้มากที่สุดก็คือเรื่องเส้น สี รูปทรง พื้นผิว และที่น่าสนใจที่สุดก็คือการใช้เทคนิค Scanner มาสแกนรูปภาพบางรูปเพื่อนำมาใช้ทำให้เกิดภาพที่มี ผลลัพธ์ที่น่าสนใจ และการที่ได้ผสมผสานเทคนิค Scanner สแกนรูปภาพ กับเทคนิคคอลลาจที่ได้ใช้การตัด กระดาษจีน เจี่ยนจื่อ Jiǎnzhǐ ทำให้ได้ภาพงานสร้างสรรค์ ที่แปลกใหม่และเนื่องจากการใช้สีที่แตกต่าง(ดำ ,แดง)ทำให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งที่มีทั้งความสุขและความเศร้าอยู่ด้วยกันในเวลาและสถานที่เดียวกันและก็ได้ กลิ่นอายของวัฒนธรรมจีน เพราะการใช้กระดาษจีนและตัวอักษรจีนก็ให้ความรู้สึกหลายอย่างคะเคล้ากันทั้ง ตื่นเต้น โชคดี มีความสุข รื่นเริง เศร้า ทุกข์โศก อีกทั้งยังรู้สึกมีการนิ่งสงบและเคลื่อนไหวซึ่งการเคลื่อนไหวและ การนิ่งสงบเวลาอยู่ด้วยกันในภาพเดียว ก็ทำให้ภาพนี้เกิดสิ่งที่เรียกได้ว่ามี Dynamic เกิดขึ้น และก่อให้เกิดการ รับรู้ที่ดี ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของมนุษย์ ทำให้เกิดความคิดอยากค้นคว้าและมีจินตนาการต่อไปซึ่งการใช้ เทคนิคพิเศษต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์งานชุดนี้อาจจะช่วยด้านประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของมนุษย์ด้วยทำให้เกิดสิ่ง ที่เรียกว่า (Experience) ตามมาซึ่งก็จะต่อยอดต่อไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย


123 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานในชุดนี้ได้ยึดหลักการทำงานในรูปแบบของการออกแบบภาพประกอบดิจิตัล อาร์ตที่ใช้หลักการของเทคนิคแปลกใหม่มาสร้าง โดยใช้ลายเส้น สี และ texture ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักใน Design Elements มาใช้ในการสร้างรูปภาพซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นภาพประกอบสไตล์จีนโบราณ การนำ รูปภาพมาจัดองค์ประกอบโดยใช้การตัดแปะแล้วลงสี ในโปรแกรม Photoshop ดูเผินเผินแล้วอาจจะคิดว่าง่าย แต่จริงๆแล้วเวลาทำไม่ง่ายเลย ต้องใช้เวลาคิดวางแผนและแก้ไขอยู่ตลอดเวลาทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการหา รูป เลือกรูปที่เหมาะสมที่มีลักษณะที่ไม่แตกต่าง หรือขัดแย้งกันจนเกินไป หรือไม่นิ่งเป็นในทิศทางเดียวกัน เกินไปจนน่าเบื่อ การเลือก Resolution หรือรายละเอียดของรูปที่ต้องไม่แตกต่างกันมากนัก มิเช่นนั้นแล้วจะดู ขัดแย้งไม่กลมกลืนกันเป็นภาพเดียว นอกจากนี้การเลือกโทนสีก็ต้องบังคับให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมซึ่ง ข้าพเจ้าได้เลือกใช้สีที่ขัดแย้งกันในเชิงความหมายของจีนมาอยู่ร่วมกันซึ่งสีที่ใช้นี้คิดมาแล้วว่าเหมาะสมทำให้ ภาพออกมาดูมีความขัดแย้งกันแต่ก็ดูเข้ากันได้ทำให้มีทั้ง Dynamic และมีความเป็นเอกภาพในรูปเดียวกันอีกด้วย สรุปตอนท้ายว่าไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบหรืองานสร้างสรรค์ในรูปของงานจิตรกรรมหรืองานประยุกต์ ศิลป์ ก็ล้วนต้องมีการวางแผนที่ดีเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่ต้นก่อนลงมือทำจนกระทั่งแล้วเสร็จ นอกจากนั้นแล้ว การที่เราต้องพยายามคิดค้นเทคนิคใหม่ๆมาใช้โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ก็สำคัญทั้งนี้ก็เพื่อสร้างงานศิลปะทำ ให้เกิดความแปลกใหม่ ซึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของงานชิ้นนี้ สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าอยากจะให้งานชุดนี้ได้เป็น แรง บันดาลใจหรือแนวทางและช่วยเพิ่มไฟในการสร้างผลงานศิลปะและออกแบบ เพื่อนักออกแบบภาพประกอบ รุ่นใหม่ได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและทดลองปฏิบัติเพื่อนำมาใช้กับผลงานตนเองต่อไปในอนาคต เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2545). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20.กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. บัณฑิต จุลาสัย.(2543). จุด เส้น ระนาบ ในงานออกแบบสถาปัตย์.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สารานุกรมเสรี. (2564). สีในวัฒนธรรมจีน.สืบค้น6 พฤษภาคม2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki รวีวรรณธิติธนสาร. (2554). ศิลปะการตัดกระดาษจีน.สืบค้น6 พฤษภาคม2565, จาก http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9500000047596 Bossert, J.(1998). IllustrationStepbyStepTechniques. USA: ROTO VISION. Retrieved May 3, 2022, from http://www.researchsystem.siam.edu/images/IT_PROJECT/Pasakorn/ Animation_2D_Stop_Teen_Mom/05_ch2.pdf Chinese Language Council International. (2006). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ วัฒนธรรมประเทศจีน (General Knowledge About Chinese Culture).Beijing:HigherEducation Press Book.


124 การสร้างสรรค์งานศิลปะจากผ้าทอนาหมื่นศรี จ.ตรัง Creation of art from Na Muen Si woven cloth, Trang Province ณมณ ขันธชวะนะ, Namon Khantachawana คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ The Faculty of Fine and Applied Arts, Dhurakij Pundit University Email : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์งานศิลปะจากผ้าทอนาหมื่นศรี จ.ตรัง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีอ.นาโยง จ.ตรัง เพื่อใช้เป็นต้นแบบ ในการผลิตซ้ำและต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยนำเอาเอกลักษณ์และสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์ผลงานผู้สร้างสรรค์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานชิ้นนี้จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน เพิ่ม ยอดทางการขายและเป็นตัวเลือกใหม่สำหรับผู้ซื้อ คำสำคัญ: ผ้าทอนาหมื่นศรี, ดอกศรีตรัง, วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี Abstract The creation of art from Na Muen Si Woven Cloth, Trang Province, aims to create a new product prototype that is different from the existing product for the Na Muen Si Woven Cloth Community Enterprise Group, Na Yong District, Trang Province to use as a model. To reproduce and develop into new products by bringing the uniqueness and local things as inspiration in creating works. The creators sincerely hope that this work will be able to benefit the community. Increase sales and become a new option for buyers. Keywords: Na Muen Si Woven Cloth, Sri Trang Flower, Na Muen Si Woven Cloth Community Enterprise 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ชุมชนบ้านนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง มีชื่อเสียงในด้านผ้าทอพื้นเมืองมาตั้งแต่อดีต และใน ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้านาหมื่นศรี เพื่อสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองซึ่งมีมาอย่างยาวนาน ผ้าทอบ้านนาหมื่นศรีจะทอด้วยกี่พื้นเมืองที่เรียกว่า “หูก” เป็นเครื่องมือพื้นบ้านที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากภูมิ ปัญญาของชาวบ้าน ผ้าทอนาหมื่นศรีมีลวดลายงดงาม มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยมีลักษณะพิเศษ คือ โครงสร้างของผืนผ้า ลวดลายและสี ผู้ทอที่มีฝีมือจะนำลายหลายๆลายมารวมไว้ เช่น ลายลูกแก้วใหญ่ ลาย ลูกแก้วสี่หน่วยใน ลายดอกจัน บางผืนประสมเฉพาะชุดลูกแก้ว เป็นต้น ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ด้านสี ถ้าเป็น


125 ประเภทผ้าห่ม และผ้าเช็ดหน้ายกดอก ที่ทอขึ้นใช้เองหรือมอบให้แก่กันจะใช้ด้ายยืนสีแดงยกดอกสีเหลือง มี บ้างที่ยกดอกสีขาวหรือสีเขียว หากเป็นผ้าทอเพื่อขาย พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสีด้ายยืน และด้ายพุ่งตามความ ต้องการตลาด และในกรณีทอใช้เองยังคงเป็นสีแดงเหลืองไม่เปลี่ยนแปลง ผ้าทอส่วนใหญ่จะใช้ในพิธีกรรมทาง ศาสนา เช่น งานบวช งานแต่งงาน และงานศพ (ผ้าทอนาหมื่นศรี, ออนไลน์) ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์ประธานวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีในเบื้องต้นพบว่า ชุมชนบ้านนาหมื่นศรี มีศักยภาพในด้านการทอผ้าและการแปรรูปจากผ้าทอ มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย วิสาหกิจมีฐานลูกค้าที่เข้มแข็ง ปัญหาที่ชุมชนพบ คือ ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายแต่ขาดเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น รูปแบบของผลิตภัณฑ์ขาดความทันสมัย จำหน่ายได้ในราคาถูก และชุมชนมีความต้องการขยายกลุ่มลูกค้า และสร้างการรับรู้ตราสินค้า(Brand )ในมุมใหม่ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของสินค้า (อารอบ เรืองสังข์, สัมภาษณ์) 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ การสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์เป็น การดำเนินการในลักษณะต่างๆเพื่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ความคิดสร้างสรรค์เป็น ความคิดระดับสูง เป็นความสามารถทางสติปัญญาแบบหนึ่งที่จะคิดได้หลายทิศทาง หลากหลายรูปแบบ โดยไม่ มีขอบเขตนำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่หรือเพื่อการพัฒนาของเดิมให้ดีขึ้นทำให้เกิดผล งานที่มีลักษณะเฉพาะตน (ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์และคณะ, 2555) การสร้างสรรค์ศิลปะ หมายถึง การสรรหาหรือคิดค้นรูปทรง หรือหน่วย (unit) ที่มีสาระต่อจุดหมาย ของการสร้างสรรค์ และจัดระเบียบหน่วยนั้นหรือหน่วยเหล่านั้นให้เกิดเป็นรูปทรงใหม่ เป็นรูปทรงที่มี เอกัตภาพ หรือลักษณะเฉพาะตัวของศิลปิน (Individual) เป็นต้นแบบ (Originality) และมีเอกภาพ การ สร้างสรรค์ตรงข้ามกับการลอกเลียนแบบ (Imitation) ไม่ว่าจะเป็นการลอกเลียนแบบจากธรรมชาติหรือจากสิ่ง ที่มนุษย์สร้างขึ้น (ชลูด นิ่มเสมอ, 2559) ทัศนศิลปธาตุและหลักสำคัญของการออกแบบ ทัศนศิลปธาตุ คือ มูลฐานหรือสิ่งสำคัญที่งานทัศนศิลป์ต้องนำมาใช้สร้างงาน ได้แก่ เส้น (line) สี (color) รูปร่างและรูปทรง (shape & form) แสงและเงา (light & shade) พื้นผิว (texture) ที่ว่าง (space) ซึ่ง ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสำคัญทางทัศนศิลปธาตุสำหรับการสร้างงาน (กำจร สุนพงษ์ศรี, 207-208) หลักสำคัญของการออกแบบ หมายถึง กฎเกณฑ์หรือเทคนิคที่จะนำองค์ประกอบศิลป์มาจัดวางเพื่อ สร้างงานศิลปะให้เกิดความงดงามน่าสนใจ ได้อารมณ์ ตามที่ศิลปินต้องการ 9 ประการ คือ เอกภาพ ดุลยภาพ สัดส่วน ความกลมกลืน ความขัดแย้ง จังหวะ การทำซ้ำ การลดหลั่น และทิศทาง 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาข้อมูลของจ.ตรัง เพื่อนำสัญลักษณ์ประจำจังหวัด มาใช้ในการสร้างผลงาน เช่น ดอกไม้ประจำจังหวัด ภูมิประเทศ อาชีพ และวิถีชีวิตของชาวตรัง และได้พบว่า


126 ดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง คือ ดอกศรีตรัง ดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด โคน ช่อติดกันเป็นพวง รูปดอกทรงกระดิ่ง ในดอกเป็นโพรงกระพุ้ง เกสรสีขาว เนื้อดอกนุ่มบางพลิ้ว เมื่อบาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. (ดอกศรีตรัง, ออนไลน์) ภาพที่ 1 ดอกศรีตรัง ที่มา : http://www.พันธุ์ไม้.com/ศรีตรัง/ และนำตะกร้าจักสานจากต้นคลุ้มหรือต้นคล้าจากจ.ตรัง มาเป็นแบบใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดย ต้นต้นคลุ้มหรือต้นคล้าที่สามารถตัดมาทำจักสานได้นั้น จะต้องแก่จัดเต็มที่ โดยที่ส่วนยอดจะต้องแตกกิ่งออก ประมาณ 5-6 ยอด และเมื่อใช้มีดพร้าขูดบริเวณลำต้นต้องเป็นสีแดง ก็แสดงว่าแก่จัด สามารถตัดนำมาทำจัก สานได้โดย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.ประเภท ที่คงรูปแบบ เพื่อการใช้งานจริงตามวิถีชีวิตท้องถิ่นชนบท ดั้งเดิม หรือเป็นของใช้ในครัวเรือนตามท้องไร่ท้องนา เช่น ข้อง นาง กระด้ง สุ่ม ไซดักปลา ตะกร้า คานหาบ ชะลอม กระเช้า รังไก่ ตะกร้าบรรจุหญ้า เป็นต้น และ 2.ประเภท ย่อส่วนเล็กลงจากของใช้ในครัวเรือนตามวิถี ชีวิตดั้งเดิม มาเป็นแบบสินค้าที่ระลึก และปรับแต่งลวดลายแปลกใหม่ เหมาะกับการเป็นของฝากของที่ระลึก และของประดับตกแต่งบ้าน ตกแต่งร้าน รวมทั้งทำโคมไฟ ถ้วยเยติตะกร้าใส่ขนม ของไหว้สำหรับขบวนแห่ ขันหมาก เป็นต้น (ผลิตภัณฑ์จักสาน, ออนไลน์) ภาพที่ 2 จักสานกลุ่มบ้านเขาโหรง จ.ตรัง ที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6817350 และผู้สร้างสรรค์ได้นำผ้าขาวม้าจากวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีโดยผ้าขาวม้าจะเป็นผ้าฝ้ายที่ทอ ลายตารางหมากรุกหลากสีมาใช้ในการสร้างผลงาน


127 ภาพที่ 3 ผ้าขาวม้าทอลายยกดอกชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีจ.ตรัง ที่มา : นางสาวณมณ ขันธชวะนะ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งกระบวนการสร้างสรรค์นี้ต้องคำนึงถึงความเป็นต้นแบบที่ชาวบ้านจะสามารถนำไปผลิตซ้ำหรือต่อ ยอดความคิดได้ ผู้สร้างสรรค์จึงเลือกใช้รูปทรงธรรมชาติและวิธีการปักเย็บขั้นพื้นฐานมาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงาน ลักษณะผลงานเป็นรูปแบบ 2 มิติโดยสร้างแบบ (Pattern) ของดอกศรีตรังและตะกร้าสานที่มีในทุก ครัวเรือนมาใช้เพื่อสื่อถึงความเป็นท้องถิ่น นำมาจัดองค์ประกอบและเย็บติดลงบนผืนผ้าแคนวาส ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงาน ประกอบด้วย การทำดอกศรีตรังและตะกร้าจักสาน 1. วิธีทำดอกศรีตรัง สร้างแบบ (Pattern) ดอกศรีตรัง หลายๆขนาดโดยตัดกระดาษรูปวงกลม หาจุด ศูนย์กลางแแบ่งเป็น4 ช่องให้เท่ากัน ภาพที่ 4 แบบ (Pattern) ดอกศรีตรัง ที่มา : นางสาวณมณ ขันธชวะนะ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน 2. นำผ้ามาตัดตามแบบ โดยวางผ้าซ้อน 2 ชั้น เย็บกันลุ่ยโดยรอบแล้วเย็บรอบวง เว้นช่องไว้เพื่อกลับผ้า จากด้านในออกมาด้านนอก แล้วเย็บปิดช่องที่เว้นไว้เสร็จแล้วเจาะรูตรงกลาง และวาดสี่เหลี่ยมไว้ตรงกลาง โดยทั้ง 4 มุมห่างจากขอบประมาณ 1 เซนติเมตร เสร็จแล้วเย็บเนาและดึงด้ายมัดเป็นปม จับกลีบดอกให้หงาย ออก ดึงโพรงดอกให้เป็นลักษณะคล้ายกระดิ่ง ภาพที่ 5 แบบ (Pattern) ดอกศรีตรัง ที่มา : นางสาวณมณ ขันธชวะนะ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน


128 3. วิธีทำตะกร้าจักสานนำผ้ามาตัดเป็นแนวยาว โดยมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร พับ ทบกันแล้วเย็บกันลุ่ยเสร็จแล้วเย็บตามแนวยาวกลับด้านในออกแล้วยัดด้วยใยสังเคราะห์ ให้มีลักษณะเป็นเส้น ภาพที่ 6 แบบ (Pattern) ตะกร้าจักสาน ที่มา : นางสาวณมณ ขันธชวะนะ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน 4. นำเส้นมาสานกันและเย็บลงบนผ้าแคนวาส ขนาด 90 x 60 เซนติเมตร ภาพที่ 7 ตะกร้าจักสาน ที่มา : นางสาวณมณ ขันธชวะนะ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน 5. ทดลองนำดอกศรีตรังมาจัดองค์ประกอบลงบนผืนผ้าแคนวาส ภาพที่ 8 ทดลองจัดวางดอกศรีตรังลงตะกร้า ที่มา : นางสาวณมณ ขันธชวะนะ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน


129 6. เย็บดอกศรีตรังลงบนผืนผ้าแคนวาส โดยใช้ดอกโทนสีร้อนขนาดใหญ่เป็นจุดเด่นของผลงานและ ตกแต่งโดยใส่ใบและปักลวดลายบนก้านตระกร้า ภาพที่ 9 ตะกร้าจักสาน ที่มา : นางสาวณมณ ขันธชวะนะ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน 7. ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ ภาพที่ 10 ตระกร้าดอกศรีตรัง ที่มา : นางสาวณมณ ขันธชวะนะ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานชิ้นนี้สร้างสรรค์ขึ้น โดยนำเอาเอกลักษณ์และสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรค์ผลงาน เช่น ดอกศรีตรังดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง และตระกร้าสานจากต้นคลุ้มหรือต้นคล้า และนำ ผ้าทอนาหมื่นศรีมาเป็นวัสดุหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคการปักเย็บขั้นพื้นฐานในการสร้าง ชิ้นงาน


130 ปัญหาที่พบในการสร้างผลงาน คือ การนำผ้าทอมาตัดเย็บให้คล้ายคลึงกับดอกศรีตรังนั้นสามารถสร้าง รูปทรงให้ใกล้เคียงกับต้นแบบตามธรรมชาติได้ แต่คุณสมบัติของเนื้อผ้าค่อนข้างหนาและลุ่ย ไม่สามารถให้ อารมณ์ความรู้สึกถึงกลีบดอกที่พลิ้วบางได้ และริมผ้าที่มีลักษณะด้ายลุ่ยต้องเย็บกันลุ่ยกับผ้าทุกชิ้นที่นำมา สร้างผลงาน จึงใช้เวลาค่อนข้างมากในการสร้างสรรค์ผลงาน 5. สรุป จากการสำรวจผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนทอผ้านาหมื่นศรีได้ผลิตขึ้น ผู้สร้างสรรค์ต้องการสร้างผลงานให้เกิด ความแตกต่างจึงได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชน และหวังว่าจะสามารถช่วยชุมชน ให้เกิดการพัฒนาเรียนรู้สามารถนำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ชุมชนได้อยู่อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ภาพที่11 นำเสนอผลงานต่อชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่น ที่มา : https://www.facebook.com/trangnameunsri/videos/2985255955098505 เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี, (2555). สุนทรียศาสตร์ : หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชลูด นิ่มเสมอ, (2559). องค์ประกอบของศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์. ดอกศรีตรัง, สืบค้น10 มีนาคม 2565, จาก https://www.matichonweekly.com/scoop/article_11449 ตรังจักสานเขาโหรง, สืบค้น 10 มีนาคม 2565, จาก https:// www.77kaoded.com /news/mydear ตรัง, สืบค้น10 มีนาคม 2565, จาก https://ww2.trang.go.th/travel/detail/8 ศุภกรณ์ ดิษฐพันธ์,รศ,ดร..และคณะ, (2555). ปัจจัยความสำเร็จที่มีต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปิน ไทย: กรณีศึกษา ตลาดศิลปะร่วมสมัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ก ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา, งานวิจัยสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. อารอบ เรืองสังข์. (2564). สัมภาษณ์ 6 พฤศจิกายน 2564.


131 กามกิเลส Passion เด่นพงษ์ วงศาโรจน์, Denpong Wongsarot สาขาวิชาศิลปะจินตทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย Imaging Art Program, Faculty of Fine Art, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ความอยากได้ในกามนั้นถือว่าเป็นกิเลสพื้นฐานที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วยากต่อการ กำจัดให้สิ้นไปการหมกมุ่นในกามนั้นเป็นเหตุของพฤติกรรมความลุ่มหลงที่สร้างความเสื่อมให้กับการดำเนินชีวิต ของคนเราแม้ว่าเราจะไม่สามารถปิดกั้นกามคุณที่รับรู้ได้จากสัมผัสต่าง ๆ ของเราและไม่อาจกำจัดกิเลสให้หมด ไปได้โดยง่ายแต่หากว่าเราสามารถรู้เท่าทันถึงเหตุของการเกิดกามกิเลสมีความเข้าใจมีสติสามารถรับมือกับ ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดจากกามคุณได้แล้วการครองตนให้อยู่ด้วยความไม่ประมาทนั้นจะสามารถนำพาให้เรา ดำเนินชีวิตไปอย่างปลอดภัยไม่ตกเป็นทาสของกามกิเลสต่อไปการสร้างจิตรกรรมเพื่อสะท้อนถึงเรื่องราว ดังกล่าวโดยอาศัยการสื่อสารผ่านสัญลักษณ์ด้วยการสร้างสรรค์ทางจิตรกรรมร่วมสมัยด้วยความปรารถนาที่จะ ให้ผู้คนเกิดความรู้สึกนึกคิดเกิดความเข้าใจตระหนักถึงแนวทางในการดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังมีธรรม เป็นเข็มทิศในการเดินไปสู่ชีวิตที่มีทั้งความสุขสงบพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในที่จะเกิดขึ้นมาในแต่ละ ช่วงเวลาได้เป็นอย่างดี คำสำคัญ: กามกิเลส, จิตรกรรมร่วมสมัย, สัญลักษณ์ Abstract Desire in that erotic It is considered a fundamental passion that is human nature. which, when it happens, is difficult to get rid of. The preoccupation with sex is the cause of obsessive behavior that deteriorates one's way of life. Although we cannot block the sensual pleasures we perceive from our senses, nor can we easily get rid of our passions. But if we are able to be aware of the causes of sensual desires, understand, be mindful, and be able to cope with various feelings caused by your eroticism to live with that carelessness will be able to lead us to live safely without becoming a slave to sexual desires. Creating a contemporary painting to reflect that story by communicating through symbols with the creation of paintings. With the desire to make people understand and realize the guidelines for living with caution. Having the Dharma is the compass in walking towards a life that is both happy and peaceful. Ready for the changes that will occur in each period as well. Keywords: passion, contemporary painting, symbol


132 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา โดยทั่วไปแล้วนั้นมนุษย์เราต่างรู้กันดีว่าความปรารถนาในกามเป็นสิ่งยากที่จะหักห้ามใจได้กามคุณที่ รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสต่างๆของเรานั้นมุ่งสร้างความพึงพอใจแก่ผู้เสพทำให้เกิดความติดใจลุ่มหลงและการ แสวงหาแม้ว่าเราจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าการเสพกามคุณนั้นมีโทษภัยอยู่มากแต่การถอยห่างจากกามคุณนั้นเป็นสิ่ง ที่ยากยิ่ง แม้แต่ในผู้ที่ปวารณาตนเป็นผู้อยู่ในศีลในธรรม ก็ยังต้องอาศัยการฝึกฝนจิตใจ มีวัตรปฏิบัติอย่าง เคร่งครัดเพื่อละเว้น และเข้าใจถึงแก่นแท้ของสัจจะอันเป็นต้นกำเนิดของกามคุณในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมครั้งนี้ขึ้นมาเพื่อต้องการสื่อให้เห็นถึงแนวคิดดังกล่าว โดยอาศัย รูปแบบในเชิงสัญลักษณ์เพื่อสร้างให้เกิดเป็นเนื้อหาเชิงอุปมาขึ้น เพื่อสะท้อนถึงแนวความคิดต่อเรื่องดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างสติ เป็นเครื่องเตือนใจในการดำเนินชีวิตในอีกทางหนึ่งด้วย 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์จิตรกรรมโดยมีสิ่งเร้าเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกนึกคิดของการแสดงออก เพื่อ ตอบสนองความต้องการของการสร้างสรรค์ โดยสิ่งเร้าที่สามารถแบ่งออกได้ตามแหล่งที่มาทั้งสองส่วนคือสิ่งเร้า จากภายใน ที่หมายถึงอารรมณ์ ความคิดความรู้สึกภายในที่มีต่อเรื่องราวตามแนวความคิดต่างๆของตน ซึ่งได้ เกิดขึ้นมา สะสมมาจากประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต เมื่อนำมาผนวกเข้ากับบริบทต่างๆ ของสังคมแวดล้อม ที่ได้มีส่วนรับรู้ดำเนินชีวิตอยู่ร่วมไปด้วยกันนั้น อันถือได้ว่าเป็นสิ่งเร้าจากภายนอก ที่เมื่อนำเอาทั้งสองส่วน ดังกล่าวมารวมกัน ผสมผสานกัน โดยอาศัยเครื่องมือสื่อการแสดงออกที่มีความถนัด จนเกิดเป็นแนวทางของ การแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมแนวสัญลักษณ์ขึ้น 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1 ขั้นตอนในการรวบรวมข้อมูล การดำเนินการรวบรวมข้อมูลต่างๆด้วยการอาศัยแรงจูงใจจากความรู้สึกภายในที่มีต่อเรื่องราวเป็น จุดเริ่มต้นจากนั้นจึงประสานความรู้สึกของการแสดงออกเข้ากับข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูล ต่าง ๆ รวมทั้งประสบการณ์ชีวิตที่เกี่ยวข้องโดยได้นำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่รับรู้มาเป็นแนวคิดของการสร้างสรรค์ สร้างเป็นภาพร่างทางความคิดขึ้นโดยคัดเลือกศึกษารูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อจะนำมาใช้เป็นสื่อแสดงออก จากนั้นสร้างสรรค์ภาพร่างแก้ไขจนลงตัวก่อนนำไปสร้างเป็นผลงานจิตรกรรมขึ้นมา 3.2 ขั้นตอนการคัดเลือกวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงาน จัดหาเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงไม้สำหรับขึงผ้าใบผ้าใบรองพื้นสีน้ำมันเกรียงระบาย สีตลอดจนอุปกรณ์การส้รางสรรค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.3 ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ ร่างภาพผลงานตามแบบร่างลงบนผ้าใบด้วยดินสอดำ 2B จากนั้นจึงระบายเรียบสีพื้นหลังด้วยสีอะคลี ลิคสีเหลือง ก่อนที่จะระบายสีน้ำมันในส่วนที่เป็นเนื้อหาเรื่องราวในชั้นแรกด้วยเกรียงระบายสีให้เป็นไปตาม


133 รูปแบบที่ได้กำหนดไว้แล้วจากนั้นระบายสีน้ำมันชั้นถัดมาด้วยเกรียงระบายสีในขณะที่สีน้ำมันที่อยู่ชั้นด้านล่าง ยังไม่แห้งสนิทเพื่อให้เนื้อสีทั้งสองชั้นเกิดการผสมผสานเข้ากันในบางส่วนทั้งนี้จะเน้นการระบายให้เกิดเป็น ร่องรอยพื้นผิวหยาบของการแต้มสีให้เป็นรอบของแถบสีเล็กๆต่อเนื่องกัน ด้วยการใช้ส่วนด้านข้างของเกรียง ระบายสีแต้มลงไปเป็นหลัก ในบริเวณที่แต้มสีอ่อนเพื่อสร้างให้เป็นเหมือนแสงตกกระทบเช่นในบริเวณที่เป็นส่วนของขาใบไม้ หรือ ต้นไม้นั้นมีทั้งส่วนที่เกิดจากแด้มระบายสีแบบผสมผสานกันในคราวเดียวและมีส่วนที่จะต้องรอให้เนื้อสีที่อยู่ชั้น ล่างนั้นแห้งหมาดลงเสียก่อนเพื่อให้จะทำให้สีที่แต้มทับลงไปนั้นไม่ผสมปนเข้าไปกับสีชั้นล่างซึ่งจะส่งผลให้เนื้อ สีที่ป้ายลงไปเพิ่มในชั้นหลังนั้นมีความสะอาดและสดสว่างมากกว่า ภาพที่1 เด่นพงษ์ วงศาโรจน์, กามกิเลส, 2565, สีน้ำมันและสีอะคลิลิคบนผ้าใบ, ขนาด 80 x 80 เซนติเมตร ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน 4.1แนวความคิดในการสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อความหมายในเรื่องของกามกิเลสที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ โดย ต้องการนำเสนอมุมมองในเชิงลบของพฤติกรรมความความลุ่มหลงในกามที่มากเกินไปอันจะนำพาให้ชีวิตพบ เจอกับปัญหาและความเสื่อมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งนี้ผู้สร้างสรรค์ได้อาศัยรูปแบบของการแสดงออกด้วยการ เปรียบเทียบในเชิงอุปมา โดยอาศัยสัญลักษณ์ทางจิตรกรรมที่สร้างขึ้นตามแนวทางเฉพาะตนเพื่อสื่อสารถึง ความหมายของเรื่องราวตามจินตนาการขึ้น


134 4.2เนื้อหาเรื่องราว ในภาพผลงานชิ้นนี้ปรากฏให้เห็นถึงบรรยากาศของสถานที่แห่งหนึ่งตามจินตนาการ ที่แห่งนั้นเต็มไป ด้วยภาพของพุ่มไม้ที่ขึ้นรกทึบ โดยที่ในพุ่มไม้ดังกล่าวปรากฏให้เห็นภาพตัดทอนของเรือนร่างช่วงสะโพกถึงข้อ เท้าแทรกอยู่ ที่ด้านบนของภาพมีนกสีขาวตาบอดตัวหนึ่งกำลังบินโฉบเข้าไปยังพุ่มไม้ดังกล่าว การแสดงออกของเนื้อหาเป็นการอุปมาให้พุ่มไม้และเรือนร่างที่ถูกตัดทอนนั้น ว่าเป็นเสมือนบ่อเกิด ของกามกิเลสที่ดึงดูดให้นกตาบอดซึ่งเปรียบกับมนุษย์ผู้มัวเมาลุ่มหลงเข้าไปตืดกับจนยากที่จะถอนตัวออกมาได้ เป็นความต้องการที่จะสร้างเนื้อหาเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีสติและมีธรรมะนำทาง 4.3กระบวนการสร้างสรรค์ เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างของกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้พบว่าส่วนประกอบต่างๆของ ผลงานประกอบไปด้วยประเด็นพิจารณาดังนี้ ความสมดุลของภาพผลงานพบว่าเกิดขึ้นจากขนาดของรูปร่างรูปทรง จังหวะ และตำแหน่งของ ส่วนประกอบต่าง ๆ ในภาพซึ่งมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมีความต่อเนื่องเป็นเรื่องราวเดียวกันกล่าวได้ว่าเป็น รูปแบบของการสร้างดุลภาพที่เกิดขึ้นแบบอสมมาตร เอกภาพและความกลมกลืนความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพผลงานนั้นมีความ ประสานสัมพันธ์สอดรับเป็นเนื้อเดียวกันจากรูปแบบที่ถูกตัดทอนให้มีความเรียบง่ายทั้งในด้านของกายภาพ และความหมายแม้ว่ากลวิธีในการระบายสีในภาพผลงานจะมีความแตกต่างกันมาคือมีทั้งในส่วนที่เรียบและ ขรุขระแต่ก็สามารถประสานกลมกลืนกันได้อย่างลงตัวด้วยการจัดวางตำแหน่งและพื้นที่ของการแสดงออก ในส่วนของความกลมกลืนที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดคงจะเป็นเรื่องความกลมกลืนของพื้นผิวที่ เกิดขึ้นจากกลวิธีของการระบายสีด้วยเกรียงระบายสีที่ได้สร้างร่องรอยของความหยาบขรุขระพื้นผิวของสีที่ทับ ซ้อนกันจนนูนหนาขึ้นมาเป็นร่องรอยของพื้นผิวในลักษณะเดียวกัน ปรากฏเด่นชัดในระยะหน้าซึ่งเป็นพื้นที่ ส่วนใหญ่ของภาพจนสามารถสร้างให้เกิดความเป็นเอกภาพขึ้นมาได้อย่างชัดเจน ส่วนประกอบที่เป็นเนื้อหาต่างๆที่ปรากฏนั้นถูกตัดทอนรายละเอียดให้กลายเป็นรูปสัญลักษณ์ที่มีทั้ง ความเรียบง่ายตลอดจนมีรูปแบบที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งหมดโดยอาศัยการประสานกันระหว่าง รูปลักษณ์อันมีที่มาจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นภาพของร่างกาย ต้นไม้ หรือ นกการทำงานของส่วนประกอบ ดังกล่าวทำงานเสริมรับกันได้อย่างลงตัวส่งผลให้รูปร่างต่างๆที่ปรากฏออกมานั้นมีความความสอดคล้อง กลมกลืนกันกล่าวได้ว่าเป็นความกลมกลืนของรูปร่างรูปทรงที่ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะร่วมกันส่งเสริมกัน และกัน ความตัดกันหรือขัดกันที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนที่สุดคงจะเกิดขึ้นจากพื้นผิวที่เลือกใช้ในผลงานซึ่งเป็น กลวิธีสร้างพื้นผิวหยาบจากเกรียงระบายสีซึ่งเกิดจากการระบายทับซ้อนกันของเนื้อสีน้ำมันในขณะที่พื้น ทางด้านหลังนั้นเกิดขึ้นมาจากการระบายสีอะคลีลิคสีเหลืองในวิธีการที่เป็นการระบายเรียบซึ่งความแตกต่าง กันของพื้นผิวดังที่กล่าวมาได้สร้างลักษณะของความตัดกันได้อย่างเด่นชัด ความตัดกันอีกประเด็นคือการใช้สีที่มีค่าความอ่อนสว่างที่ตัดกันคือภาพเนื้อหาในระยะหน้าจะ แสดงออกด้วยสีสันที่มีความอ่อนและเข้มไปตามรูปแบบของโครงสร้างและเนื้อหาที่แสดงออกในขณะที่พื้นหลัง


135 นั้นอาศัยการระบายเรียบด้วยสีเหลืองที่มีความสดสว่าง เมื่อพิจารณาร่วมกันแล้วการแสดงออกในลักษณะนี้ ช่วยให้ภาพที่อยู่ในระยะหน้ามีความชัดเจนจากการตัดกันของน้ำหนักและค่าความสว่างของสีสันต่าง ๆ อย่าง ชัดเจน นอกจากนี้จะพบว่าโครงสร้างโดยรวมของภาพถูกจัดวางให้ส่วนประกอบต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบของ เส้นแนวตั้งแบบพุ่งขึ้นโดยอาศัยรูปร่างของคน รวมทั้งรูปนกสร้างให้เกิดเส้นขัดในแนวทะแยงเพื่อลดความ รุนแรงของเส้นในแนวตั้งตรงไม่ให้ภาพออกมาแล้วดูเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ความโดดเด่นเกิดขึ้นจากการเน้นใช้สีสันในส่วนประกอบของภาพในระยะหน้าส่งผลให้ภาพของเนื้อหา ที่แสดงออกมานั้นมีความเด่นชัดอีกทั้งการเลือกวางน้ำหนักของสีที่มีความอ่อนสว่างในตำแหน่งที่ตัดกันกับพื้น หลังสีเข้มดำเป็นการช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับเรื่องราวได้ดีนอกจากในเรื่องของสีสันที่ใช้ในระยะหน้าแล้ว ขนาดของภาพเนื้อหาที่กินพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพนั้นก็มีส่วนทำให้เกิดเป็นความโดดเด่นจากขนาดของรูปร่าง รูปทรงที่ปรากฏขึ้นมาอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน สัดส่วนที่ปรากฏในผลงานมีความสมส่วนที่สัมพันธ์กับความหมายและการแสดงออกจากการประกอบ รวมกันกับสิ่งต่างๆที่อยู่ร่วมกันในภาพผลงานเมื่อนำไปเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่ามีความสมบูรณ์สอดคล้อง ไปตามการทำหน้าที่ของมัน จังหวะที่เกิดขึ้นในภาพผลงานนั้นปรากฏการซ้ำของรูปที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันภาพของ ร่างกาย ต้นไม้ ใบไม้ ที่มีจังหวะของการวางเป็นกลุ่มกินพื้นที่ในส่วนใหญ่ของระนาบรองรับร่องรอยพื้นผิวของสี น้ำมันที่เกิดจากการแต้มและป้ายด้วยเกรียงระบายสีสร้างให้เกิดเป็นลักษณะของร่องรอยการป้ายที่ซ้ำๆกันด้วย จังหวะที่ต่อเนื่องประสานกันจนเกิดเป็นภาพของรูปร่างรูปทรงต่าง ๆ ที่เกิดการประสานกันขึ้นมาร่องรอยของ การป้ายแต้มระบายสีด้วยเกรียงในผลงานชิ้นนี้ดูเป็นไปอย่างมีระเบียบเท่า ๆ กันประสานต่อเนื่องไปในทุกพื้นที่ ที่มีการระบายสีน้ำมัน การใช้สีภายในภาพและกลวิธีระบายสีโดยภาพรวมของสีที่ปรากฏนั้นเป็นการวางโครงสีหลักของภาพ ให้ออกในกลุ่มสีเหลืองส้มตัดกับกลุ่มสีเขียวมีการใช้สีเหลืองสดในระยะหลังของภาพสร้างให้เกิดเป็นจุดเด่นขึ้น จนส่งผลให้ภาพมีความเด่นชัดและตัดกับพื้นหลังอย่างตรงกันข้าม การใช้สีในผลงานนี้โดยภาพรวมนั้นเป็นไปอิสระตามใจของผู้สร้างสรรค์แม้จะว่าจะมีบางส่วนที่อาจ เทียบเคียงกับสีสันจริงตามธรรมชาติได้แต่ก็ยังคงมีส่วนที่ถูกใช้ตามความมุ่งหมายของผู้สร้างสรรค์เป็นสำคัญ ลักษณะโครงสีของผลงานที่ปรากฏออกมาเป็นไปในแนวทางของการสร้างความกลมกลืนของสีที่มีทั้งความ ใกล้เคียงกันและตรงข้ามกันซึ่งทำให้เกิดความกลมกลืนของสีต่าง ๆ ในภาพได้อีกทั้งยังสามารถสร้างทั้งความ น่าสนใจให้เกิดขึ้นไปพร้อมกันด้วย กลวิธีการระบายสีในผลงานชิ้นนี้นั้นนอกจากจะยังคงอาศัยรอยป้ายสีที่เกิดขึ้นจากเกรียงระบายสีแต่ง แต้มให้เกิดเป็นริ้วรอยต่อเนื่องกันจนเป็นส่วนเนื้อหาของภาพทางด้านหน้าแล้วในส่วนของการระบายสียังได้มี การกำหนดค่าน้ำหนักของสีที่มีความอ่อนเข้มจัดวางแผ่นสีต่าง ๆ ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อสร้างให้เกิดเป็น ระยะใกล้และไกลในภาพมีการสร้างน้ำหนักความเข้มอ่อนในแบบของแสงและเงาในเนื้อหาที่เป็นระยะหน้าอยู่ บ้างเพื่อไม่ให้ภาพรวมของผลงานออกมาแล้วมองดูเรียบแบนจนเกินไป


136 5. สรุป ผลงานสามารถแสดงถึงคุณค่าทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบของการแสดงออกที่สื่อสารออกมาเพื่อ กระตุ้นเตือนถึงการดำเนินชีวิตที่ไม่ลุ่มหลงหรือยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนมากเกินไป คุณค่าของผลงานจิตรกรรม นี้ได้สะท้อนรูปแบบของการสร้างสรรค์จิตรกรรมด้วยเกรียงระบายสีในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์ได้ ทำการศึกษาค้นคว้ารูปแบบของการแสดงออก ทดลองและการแก้ปัญหาทางการสร้างสรรค์ที่ได้พัฒนามา อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลงานจิตรกรรมมีคุณค่าในระดับสากลขึ้น ตลอดจนมีส่วนร่วมที่จะช่วยยกระดับการ สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยของไทยในอีกทางหนึ่งด้วย เอกสารอ้างอิง สุชาติเถาทอง. (2536). หลักการทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์. สุธีคุณาวิชยานนท์. (2561). ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย : ตะวันตกและไทย. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือ และตำราทฤษฎีศิลป์ภาค/สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Gilbert, Rita. (1995). Living with Art. Forth Edition. Ohio: R.R. Donnelley & Sons.


137 มายน์- แมสก์ - มี Mine – Mask - Me ทรงเกียรติ ภาวดี, ZONGKIAT PAVADEE สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อ.เมือง ภูเก็ต 83000 Digital Technology Program, Faculty of Science and Technology Phuket Rajabhat University Muang Phuket 83000 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ภาพถ่ายเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้ แนวคิด และความรู้สึกไปยัง ผู้อื่น ภาพถ่ายที่ดีจะเป็นภาษาสากลที่ทำให้คนต่างชาติต่างภาษา สามารถเข้าใจและรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่แฝง ในภาพนั้นได้โดยไม่ต้องใช้คำบรรยายและสื่อสารได้มากกว่าคำพูด แต่การรับรู้และตีความจะขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ส่วนบุคคล การจัดองค์ประกอบภาพถ่ายการใช้โทนสี เส้นนำสายตา สัญลักษณ์ที่มีความหมาย โดยนัยทางสังคมที่มีความเขื่อมโยงกับมายาคติ จึงเป็นสิ่งสำคัญของการถ่ายภาพ เพื่อให้สามารถถ่ายทอด ความรู้สึกที่ต้องการไปยังบุคคลอื่นได้มากกว่าความสวยงามหรือสุนทรียทางทัศนศิลป์ที่สามารถสัมผัสได้ โดยตรง ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ได้พยายามถ่ายทอดความรู้สึกต่อสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งมีผลกระทบอย่าง รุนแรงในทุกมิติของจังหวัดภูเก็ต โดยถ่ายทอดผ่านหน้ากากอนามัยที่ลอยเกลื่อนอยู่ในขุมเหมืองซึ่งเป็น สัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของภูเก็ตในยุคสมัยการทำเหมืองแร่ก่อนก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ ประสบวิกฤติการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ด้วยการจัดองค์ประกอบของภาพให้มีจุดสนใจจากเส้นนำสายตา เลือกใช้โทนสีขาวดำและตัดด้วยสีของหน้ากากอนามัย เพื่อขับให้ภาพมีมิติและเน้นจุดที่ต้องการสื่อสารที่ ต้องการให้รับรู้ถึงอารมณ์และความหมายโดยนัยของภาพนี้ คำสำคัญ: โควิด-19, หน้ากากอนามัย, ขุมเหมือง Abstract Photograph is one of the fields of art that is used as a tool to express emotion, knowledge, concept and the feeling to other people. A good photograph will be a universal language enabling foreigners with different languages to understand and acknowledge the various emotions in that picture without words and it can communicate more than words. However, acknowledgement and interpretation will depend on personal experience. Arrangement of the components of photographs by using tone of color, leading line, symbol with social meaning connecting with mythology are important parts of photography so that the required feelings could be passed on to other people more than beauty or aesthetics of


138 visual art that can be touched directly. This workpiece tries to pass on the feeling toward COVID-19 situation which severely impacts every dimension of Phuket by passing on through the masks floating everywhere in the mine. It is the symbol of Phuket’s civilization in the era of mineral mine before entering into tourism industry era and faced with COVID-19 situation. Nowadays, with arrangement of photograph components to have interesting point from the leading line and used black-white tone and contrast with the color of the masks in order to drive photographs to have dimension and focused on the point wished to communicate to people to know the emotion and implicit meaning of this photograph Keywords: COVID-19, Mask, Mine 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา สถานการณ์ของโควิด-19 ที่รุนแรงและแพร่ระบาดไปทั่วโลกส่งผลให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวโลก หยุดชะงักธุรกิจโรงแรมที่เป็นแกนหลักในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการลดลง ของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและได้รับความนิยมสูงสุดในภาคใต้ ขณะเดียวกันยังเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นแบบชิโนโปรตุกีสเป็นเมืองที่มีความ ทันสมัยและเป็นเมืองนานาชาติแต่ยังคงดำรงศิลปะและวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างชัดเจน (เอมิกาเหมมินทร์, 2564) ในภาวะที่โควิด-19 ระบาด มาตรการต่าง ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อหยุดยั้งการกระจาย การวัดอุณหภูมิ การ รักษาระยะห่าง กักตัว ฉีดวัคซีน รวมถึงการรักษารูปแบบต่างๆ และบางอย่างได้กลายเป็นวิถีปกติใหม่ (New Normal) เช่น การใส่หน้ากากอนามัย แต่ด้วยระยะเวลาการกระจายเชื้อที่ยาวนานเกินความคาดหมายจึงมี ผลกระทบต่อสภาพทางจิตใจของคนทั้งทางตรงและทางอ้อม ยุคของโควิด-19 เป็นทั้งการทำลายและสร้างสิ่ง ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่จะมนุษย์จะต้องจดจำไว้ในความทรงจำ ภาพถ่ายเป็นเครื่องมือสำหรับการบันทึกประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ ทิวทัศน์ สิ่งแวดล้อม หรือ บุคคล อาจเป็นการถ่ายเพื่อบันทึกหลักฐานต่าง ๆ ตามความเป็นจริงเพื่อใช้บอกเรื่องราวทางสังคม สิ่งแวดล้อม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการถ่ายภาพเพื่อนำมาสร้างสรรค์แสดงออกถึงจินตนาการทาง ความคิดของมนุษย์ในนามของศิลปิน ผลงานภาพถ่ายที่สร้างสรรค์ออกมาจึงสะท้อนจินตนาการของผู้ถ่ายและ สามารถสร้างการรับรู้ในเชิงทัศนศิลป์ร่วมกันได้ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ภาพถ่ายงานสร้างสรรค์“Mine – Mask – Me” เป็นการถ่ายภาพโดยจัดภาพในแนวตั้ง โดยรักษา ทัศนมิติ (Perspective) ให้ตั้งฉาก เพื่อเน้นการนำเสนอให้เกิดความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง มีการกำหนดฉากหน้า และฉากหลังเพื่อให้ภาพถ่ายดูมีมิติ โดยใช้เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพแบบเลเยอร์ (Layer) โดยแบ่งพื้นที่ ออกเป็นส่วน ๆ ให้เกิดมิติเชิงลึกที่ไม่เท่ากันแบ่งออกเป็นส่วนหน้า (foreground)ส่วนกลาง (middle-ground)


139 และฉากหลัง (background) ในการถ่ายภาพบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องมีส่วนประกอบของเลเยอร์ครบทั้งสามส่วน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะถ่ายภาพนอกจากนี้นักถ่ายภาพควรทำลายกฎเพื่อสร้างสรรค์งานในแบบทดลอง (อนันต์จิรมหาสุวรรณ, 2550: 124) การจัดองค์ประกอบภาพซึ่งเป็นศิลปะในการจัดวางวัตถุที่อยู่ตรงหน้าให้อยู่ในกรอบภาพให้เหมาะสม เกิดความสวยงามและน่าสนใจตามการจัดองค์ประกอบภาพสรุปได้ดังนี้(สุรพงษ์บัวเจริญ, 2554: 258-303) 1. ส่วนประกอบภาพ (the image components) ส่วนประธาน (principal) คือจุดสนใจหลักที่อยู่ใน ภาพสามารถจัดวางอยู่ที่ตำแหน่งใดของภาพก็ได้แต่เมื่อจัดวางตำแหน่งแล้วสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นจุดสนใจ หลักที่ต้องการนำเสนอ 2. การกำหนดจุดเด่นของภาพ (dominance) จุดเด่นหรือจุดสนใจ (point of interest) คือส่วนที่มี ความโดดเด่นสะดุดตามากที่สุดและเป็นจุดศูนย์รวมความคิดของภาพ (central idea) จุดเด่นไม่ควรมีมากกว่า หนึ่งจุดเพราะจะเป็นตัวแย่งความสนใจกันเอง 3. การเน้น (emphasis) เป็นการกระทำเพื่อสร้างให้เกิดความโดดเด่นขึ้นมาเป็นจุดสนใจมากที่สุดของ ภาพโดยการเน้นจุดสนใจเช่นการเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (emphasis by contrast) การเน้นด้วย ขนาด (emphasis by shape) คือการเน้นด้วยความใหญ่หรือเล็กของรูปร่างรูปทรงหรือการเน้นด้วยการจัด วางตำแหน่ง (emphasis by placement) การเน้นโคยการจัดวางตำแหน่งในบริเวณที่เหมาะสมเมื่อจัดวาง แล้วต้องไม่มีองค์ประกอบอื่นมาแย่งความสนใจบริเวณนั้นให้เกิดความสับสน 4. รูปแบบการจัดภาพ (type of composing) การจัดภาพสามารถวางได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนโดย พิจารณาร่วมกันระหว่างขนาดและที่ว่างว่าสัมพันธ์กันอย่างไร 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์“Mine – Mask – Me” ผู้สร้างสรรค์ได้ดำเนินการดังนี้ 3.1 ศึกษาและคัดเลือกสัญลักษณ์ที่จะใช้ถ่ายห้วงเวลาแห่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เหมาะสม สามารถสร้างความรู้สึกร่วมและสะท้อนตัวตนของคำว่าจังหวัด “ภูเก็ต” ได้มากที่สุดผ่านภาพถ่าย จาก การศึกษาเอกสารประวัติความเป็นมาของภูเก็ต ยุคแห่งความรุ่งเรืองและอยู่ในความทรงจำก่อนหน้าที่จะ เปลี่ยนผ่านเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในยุคปัจจุบันก็คือยุคของ “การทำเหมืองแร่” และผู้สร้างสรรค์เลือกใช้ “ขุมเหมือง” เป็นตัวแทนของความรุ่งเรืองที่ล่มสลายไปตามกาลเวลา โดยขุมเหมืองนี้จะพบได้ทั่วไปในจังหวัด ภูเก็ตสภาพในปัจจุบันที่เป็นเพียงแค่แหล่งเก็บน้ำสำหรับอุปโภค/บริโภค ดังภาพที่ 1


140 ภาพที่1 ตัวอย่างขุมเหมืองในจังหวัดภูเก็ต ที่มา : ภาพถ่ายจาก Google Maps 3.2 ค้นหาและเลือกขุมเหมืองสำหรับการสร้างสรรค์ผลงาน เงื่อนไขที่ผู้สร้างสรรค์กำหนดไว้คือ 1) ขุม เหมืองนั้นจะต้องมีต้นไม้ล้อมรอบ เพราะไม่ต้องการให้มีตึกหรืออาคารสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ปรากฏอยูในผลงาน สร้างสรรค์2) มีต้นไม้ที่ยืนต้นตายในขุมเหมืองอยู่กลางภาพ เพื่อสร้างความรู้สึกเหงา อ้างว้างและเป็นตัวแทน ของการจากไปตามการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยด้วยกาลเวลา 3) มีน้ำในขุมเหมือง ลมแรงไม่แรงจนทำให้เกิดริ้ว คลื่นบนผิวน้ำที่มากเกินไป ไม่มีจอกแหน วัชพืชหรือขยะลอยอยู่บนผิวน้ำ ที่จะรบกวนหรือดึงความสนใจของ ภาพถ่ายที่สร้างสรรค์ออกมา 4) สามารถเข้าไปถ่ายภาพในช่วงเย็น เพื่อให้ได้ภาพที่ไม่มีความเปรียบต่างของสี (Contrast) ที่มากเกินไป และได้พบว่าขุมเหมืองแห่งหนึ่งใน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต มีเงื่อนไขตรงตามที่ กำหนดไว้(พิกัดภูมิศาสตร์ 7°52'54.6"N 98°21'28.6"E) ดังภาพที่ 2 ภาพที่2 ขุมเหมืองที่ถูกเลือกสำหรับสร้างสรรค์ภาพถ่าย


141 3.3 ออกแบบภาพถ่าย โดยจะให้ภาพถ่ายขาวดำแบบแนวตั้ง (Portrait) องค์ประกอบของวัตถุในภาพ ระยะใกล้จะเป็นหน้ากากอนามัยที่ลอยบนผิวน้ำ ระยะกลางเป็นต้นไม้ยืนต้นตาย และระยะไกลหรือฉากหลัง เป็นต้นไม้ที่ยังมีชีวิตและท้องฟ้าโปร่ง โดยแบ่งอัตราส่วนของภาพจากด้านบนลงล่างคือ 40% แรกเป็นพื้นที่ของ ท้องฟ้าและแนวต้นไม้ที่ยังมีชีวิตเป็นฉากหลังและเป็นส่วนที่มีความสว่างที่สุดในภาพ 20% ถัดมาเป็นบริเวณ กลางภาพเป็นส่วนของผิวน้ำที่มีแสงกระทบจากท้องฟ้าและเห็นริ้วคลื่นบนผิวน้ำ เพื่อสร้างความรู้สึกเคลื่อนไหว และมีชีวิต เป็นส่วนที่คั่นกลางระหว่างส่วนที่เป็นท้องฟ้ากับสวนที่เป็นน้ำ 40% ที่เหลือเป็นภาพของผิวน้ำที่สงบ นิ่งไล่เฉดจากพื้นที่กลางภาพจากสว่างไปมืดดำสนิทที่ด้านล่างของภาพ โดยในบริเวณนี้จะมีหน้ากากอนามัย หลายชิ้นลอยอยู่บนผิวน้ำนำสายตาทอดยาวไปสู่ต้นไม้ที่ยืนต้นตายกลางน้ำและกลางภาพ 3.4 ทดลองถ่ายภาพ ณ ขุมเหมืองที่เลือกไว้โดยทดลองในช่วงเวลา 15:00 – 19:00 น. ระหว่างวันที่ 26 – 28 เมษายน 2565 เป็นระยะเวลา 3 วัน รวมจำนวน 270 ภาพ เพื่อหาเวลาที่แสงเหมาะสมที่สุดสำหรับ ท้องฟ้าและพื้นน้ำที่มีแสงสะท้อนจากฟ้า มีริ้วคลื่นที่เกิดจากลมพัดบนผิวน้ำที่ไม่มากจนเกินไป พบว่าเวลาที่ เหมาะสมสำหรับการถ่ายให้ได้ภาพอย่างที่ต้องการ คือช่วงเวลา 18:00 –18:30 น. ดังภาพที่ 3 ที่เป็นส่วนหนึ่ง ของภาพที่ได้ทดลองถ่าย ภาพที่3 ตัวอย่างภาพถ่ายในเวลาต่างๆ กัน 3.5 ปรับแต่งภาพด้วยโปรแกรมและพิมพ์ลงผ้าใบขึงกรอบ ขั้นตอนนี้ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe PhotoShop ในการปรับแต่งภาพให้สมบูรณ์ตามที่ออกแบบไว้มีการลบบางส่วนของภาพ เช่น ฟองอากาศหรือเศษหญ้าที่ลอยบนผิวน้ำ ทำการปรับภาพให้เป็นขาวดำ แล้วดึงสีฟ้าในส่วนของหน้ากากอนามัย ขึ้นมาแสดง ทำให้เป็นภาพขาวดำที่เด่นด้วยสีฟ้าของหน้ากากอนามัย จากนั้นจึงนำไปพิมพ์ลงผ้าใบขึงกรอบ ขนาด 20 x 35 นิ้ว ดังภาพที่ 4


Click to View FlipBook Version