292 5. สรุป งานออกแบบตกแต่งภายใน “สาทร สปา” เป็นการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ และสร้างเอกลักษณ์ที่โดด เด่นให้กับสถานประกอบการสปาและนวดแผนไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้มารับบริการหรือทำให้ลูกค้ารู้สึกสบายทั้งร่างกายและจิตใจ อยู่กับบรรยากาศที่ผ่อนคลาย นอกจากการสร้างความพึงพอใจทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้งได้แล้วการออกแบบตกแต่ง ภายในสถานประกอบการสปาและนวดแผนไทยยังถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สร้างความแตกต่างทำให้ได้เปรียบ คู่แข่งขันด้านการตลาดอีกทางหนึ่งด้วย เอกสารอ้างอิง จันทนี เพชรานนท์. (2556). การทำรายละเอียดประกอบแบบ การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน. (พิมพ์ ครั้งที่ 1). กรุงเทพ)ฯ: สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกะบัง ลงทุนแมน 101 . (18 มีนาคม 2564). ธุรกิจร้านนวดและสปาไทย เป็นอย่างไร ในปีที่มีโรคระบาด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.longtunman.com/28369 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.).การจัดทำเนื้อหาองค์ความรู้SMEs ภายใต้งาน พัฒนาศูนย์ข้อมูล SMEs Knowledge Center ปี 2557. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/02-001%20สปาและนวดเพื่อสุขภาพ.PDF ศูนย์ข้อมูลอมรินทร์. (2548). คู่มือการจัดและตกแต่ง Relax: Spa Design.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ้านและสวน Julius Panero and Martin Zelnik. (1979). Human Dimension & Interior Space. Watson-Guptill Publications/New York Lavanya.l Lava. (2019). Spa Design. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565 จาก https://www. academia.edu/25477599/SPA_DESIGN_Tomado_de_SPAtrade_Library_Knowledge_Bas e_ALGUNOS_CONCEPTOS_ACTUALES_SOBRE_EL_DESARROLLO_Y_DISE%C3%91O_DE_ SPA_General_Observations_on_Spa_Design Saranya Thongthab. (2 เมษายน 2562). ยกระดับสปาไทยสู่สากล กินส่วนแบ่งตลาดโลก 27 ล้านล้าน บาท. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.thebangkokinsight.com /news/business/economics/125178/ Thailandse. (10 มิถุนายน 2562). 5 วิธี สร้างบรรยากาศร้านสปาเพื่อสุขภาพให้โดนใจลูกค้า. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.thailandholistic.com/nice-atmospherespa-business/
293 การออกแบบตัวละครสำหรับว็อกเซลเกม Character Design for Voxel Games ศิริเดช ศิริสมบูรณ์, Siridej Sirisomboon วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม, 111/3-5 หมู่ 2 ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170, College of Communication Arts SuanSunandha Rajabhat University Nakhon Pathom Camus, 111 / 3-5, Moo 2, Klongyong, Phutthamonthon, Nakhon Pathom 73170 บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ตัวละครที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ในว็อคเซลเกม (Voxel Gams) ที่กำลังได้รับความนิยมจากการเติบโตขึ้นของผู้เล่นวิดีโอเกมยุคบุกเบิกและกลายเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ ในปัจจุบันภายใต้แนวคิดของตัวละครที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมป๊อบยุคทศวรรษที่ 80ซึ่งเป็นช่วงเวลา ของการเริ่มต้นศิลปะดิจิทัลในวิดีโอเกมที่มีการแสดงผลภาพเป็นศิลปะพิกเซล (Pixel Art) เนื่องจากข้อจำกัด ทางเทคโนโลยีในสมัยนั้น ผสานกับเทคโนโลยีของวิดีโอเกมสมัยใหม่ที่ใช้การแสดงผลแบบสามมิติด้วยว็อคเซล (Voxel)การออกแบบจึงจะต้องอาศัยหลักการในการออกแบบตัวละครให้มีเอกลักษณ์ด้วยการใช้หลักของภาพ เงา (Silhouette) และการออกแบบรูปร่างในแต่ละขั้นตอนร่วมกับหลักความงามของศิลปะว็อคเซล (Voxel Art)ซึ่งเน้นความเรียบง่ายแต่ชัดเจนควบคู่กันไป ในบทความนี้จึงได้กลุ่มตัวละครสำหรับว็อคเซลเกมที่มีรูปแบบ เป็นหุ่นยนต์ตามแนวคิดของสงครามอวกาศที่มีลักษณะแตกต่างกัน ผลงานจะถูกสร้างสรรค์ด้วยว็อคเซลอีดิเตอร์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการสร้างศิลปะว็อคเซลที่ใช้ในว็อคเซลเกมโดยเฉพาะเพื่อให้ได้ไฟล์ข้อมูลที่จะนำไปใช้ ในว็อคเซลเกมต่อไป คำสำคัญ:ว็อคเซล, พิกเซล, การออกแบบตัวละคร Abstract This article aims to create a character suitable for use in Voxel, a game that has grown in popularity with the rise of pioneer video game players and most consumers today. Under the concept of a character inspired by 80's pop culture, a time when digital art was first introduced in video games with rendering as pixel art due to the technological limitations of the time. Combined with the technology of modern video games that use 3D rendering with Voxel. The design has to rely on the principle of character design to be unique by using the principle of silhouette and shape design in each step together with the beauty of Voxel art which emphasizes simplicity but clarity. In this article we have a group of characters for Voxel, a robotic game based on the concept of space wars with different
294 characteristics. Artwork will be created with Voxel Editor specially developed for creating Voxel art used in Voxel games to obtain a data file to be used in Voxel. Keywords: Voxel, Pixel, Character Design 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ราวทศวรรษที่ 70 เป็นช่วงเวลาที่คอมพิวเตอร์และศิลปะดิจิทัลได้รับความนิยมอย่างมากทำให้เกิดการ สร้างภาพดิจิทัลด้วยการใช้พิกเซล (Pixel) ซึ่งเป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐานที่สุดของสื่อดิจิทัลในการสร้างภาพ แบบแรสเตอร์ (Raster) และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันภาพสองมิติที่มีความละเอียดสูงคือภาพที่ประกอบด้วย พิกเซลจำนวนมหาศาลนั่นเองจากแนวคิดในการสร้างภาพดิจิทัลด้วยพิกเซลนี้เอง ทำให้เกิดแนวคิดต่อยอดเพื่อ สร้างภาพสามมิติด้วยการเพิ่มปริมาตรให้กับพิกเซลจนเกิดเป็นหน่วยในการสร้างภาพสามมิตินี้ว่าว็อกเซล (Voxel) ซึ่งเป็นคำสมาสของคำว่าVolume (ปริมาตร) + Pixel (พิกเซล) แต่การพยายามใช้ว็อกเซลเพื่อสร้าง ภาพสามมิติมีปัญหาเรื่องการใช้ทรัพยากรที่สูงในการประมวลผลภาพจึงถูกทดแทนด้วยการใช้โพลีกอน (Polygon) ที่ประหยัดข้อมูลได้มากกว่าในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสามารถสร้างภาพที่มีรายละเอียดสูงและมีความ คมชัดสมจริงได้แล้วก็ตามยังมีนักสร้างสรรค์จำนวนมากที่ยังคงสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้พิกเซลจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับภาพดิจิทัลในยุคบุกเบิกโดยเรียกศิลปะแนวนี้ว่าศิลปะพิกเซล (Pixel art) ที่ได้รับแรงบันดาลใจมา จากภาพดิจิทัลของวิดีโอเกมในยุคแรกเริ่ม ต่อมาจึงมีการนำว็อคเซลมาใช้สร้างภาพสามมิติอีกครั้งในฐานะ ผลงานศิลปะ และเรียกว่าศิลปะว็อคเซล (Voxel art) ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะที่มีการสร้างแบบจำลองสามมิติ จากว็อคเซลที่มีรูปแบบเป็นลูกบาศก์สามมิติมาเรียงประกอบกันจนเกิดเป็นรูปร่างต่าง ๆ คล้ายการนำภาพ ศิลปะพิกเซลมาทำให้เกิดปริมาตร ความนิยมที่มากขึ้นของศิลปะพิกเซลและศิลปะว็อคเซลมาจากการที่วิดีโอเกมพิกเซลกลับมาได้รับ ความนิยมอีกครั้งเนื่องจากผู้ที่เคยเล่นวิดีโอเกมในช่วงต้นทศวรรษ 80 ถึงปลายทศวรรษ 90ที่มีความผูกพันกับ ภาพศิลปะพิกเซลที่ใช้ในวิดีโอเกมเนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีในสมัยนั้นปัจจุบันอยู่ในช่วงวัยทำงานและ กลายเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ธุรกิจอุตสาหกรรมวิดีโอเกมพิกเซลเกมยุคใหม่จึงตอบสนองความหวนคิดถึงอดีตใน วัยเยาว์ของผู้เล่นวิดีโอเกมกลุ่มนี้กระทั่งต่อมาได้มีการสร้างว็อคเซลเกมขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่แก้ไข ปัญหาการใช้ทรัพยากรในการแสดงผลภาพในอดีตด้วยการผสมผสานกับเทคโนโลยีภาพสามมิติแบบโพลีกอน จากภาพที่ใช้ในวิดีโอเกมจึงขยายผลออกมาเป็นงานศิลปะพิกเซลที่มีความนิยมแพร่หลายขึ้นและด้วยรูปแบบที่ คล้ายกันจึงทำให้ศิลปะว็อคเซลได้รับความนิยมตามมา ความนิยมของศิลปะว็อคเซลส่งผลให้กับวิดีโอเกมแนวแซนด์บ็อกซ์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสร้างสรรค์สิ่ง ต่าง ๆ ในโลกจำลองได้อย่างอิสระอย่างเกมไมน์คราฟต์(Minecraft) เป็นวิดีโอเกมแนวว็อคเซลที่พัฒนาโดย บริษัทพัฒนาเกมสวีเดน โมแจงสตูดิโอส์(Mojang Studios) ในปี พ.ศ.2554 ได้รับความนิยมอย่างสูงต่อมาในปี พ.ศ.2564 บริษัทอนิโมคาแบรนด์ (Animoca Brands) จากฮ่องกงได้พัฒนาเกมเดอะแซนด์บ็อกซ์(The Sandbox Game) ที่ซื้อมาจากสตูดิโอพิกซ์โอวล์(Pixowl Studio) ให้เป็นว็อคเซลเกมที่ทำงานอยู่บนระบบ
295 บล็อกเชน (Blockchain) ที่จะให้ผู้เล่นสามารถสร้างทรัพย์สินดิจิทัลในรูปแบบศิลปะว็อคเซลเพื่อทำการซื้อขาย ในระบบนิเวศน์ของเกมได้ ศิลปะว็อคเซลสามารถสร้างสรรค์ด้วยซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพสามมิติแบบว็อคเซลโดยเฉพาะที่ เรียกว่าว็อคเซลอีดิเตอร์(Voxel Editor)และยังสามารถนำไปใช้ได้หลายวิธีอาทิ เสร้างภาพถ่ายสำหรับแชร์ไปยัง แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ตลอดจนส่งออกเป็นไฟล์โมเดลสามมิติเพื่อใช้ในแอนิเมชันหรือว็อคเซลเกม ดังนั้นบทความนี้จึงเป็นการนำเสนอการสร้างสรรค์กลุ่มตัวละคร (Character Design) สำหรับนำไปใช้ในว็อค เซลเกมที่กำลังได้รับความนิยม 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดในการออกแบบ ในบทความนี้ผู้เขียนมีแนวคิดในการออกแบบตัวละครสำหรับว็อคเซลเกมที่กำลังได้รับความนิยมใน ขณะนี้โดยใช้รูปแบบของตัวละครแนววิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงมาจากวํฒนธรรมป๊อบ (Pop Culture) ในช่วงเวลา แรกกำเนิดของศิลปะดิจิทัลและวิดีโอเกมเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นและปัจจุบันจากศิลปะพิกเซลสู่ ศิลปะว็อคเซล 2.2 หลักการออกแบบตัวละครและแนวคิดในการออกแบบ การออกแบบตัวละครนับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์คอนเซ็ปท์อาร์ต (Concept Art) เนื่องจาก เรื่องราวต่างๆมักถูกเล่าผ่านตัวละครหลัก ดังนั้นการสร้างสรรค์ตัวละครให้น่าสนใจควรใช้หลักการทั่วไปดังนี้ • การใช้ภาพเงา (Silhouette) ตัวละครที่ปรากฎในวิดีโอเกมหรือภาพยนตร์อาจมีเวลาไม่ มากในการอธิบายรายละเอียดของตัวละครเองกับผู้เล่นเกมหรือผู้ชมภาพยนตร์การ ออกแบบจากภาพรวมจึงเป็นวิธีการที่ทำให้จดจำตัวละครได้แบบรวดเร็ว การใช้ภาพเงา คือการนำตัวละครมาวาดและระบายรายละเอียดภายในทั้งหมดด้วยสีดำ การออกแบบ ตัวละครที่ดีคือเราจะยังสามารถจำแนกตัวละครนั้นได้แม้ไม่เห็นรายละเอียดภายใน • การออกแบบรูปร่าง (Shape Design) สำหรับเพิ่มรายละเอียดให้กับตัวละครเพื่อเป็น การสร้างจุดสังเกตให้กับตัวละครรายละเอียดเหล่านี้โดยมากมักจะนำรูปร่างจากสิ่งของ ต่างๆมาดัดแปลงและออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละตัวละคร เช่นการใช้รูปร่างของ เครื่องจักรต่างๆมาใช้ในการออกแบบตัวละครแนววิทยาศาสตร์เป็นต้นนักออกแบบจะ แบ่งขั้นตอนการออกแบบรูปร่างออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยขั้นปฐมภูมิคือการออกแบบจากภาพเงาที่ไม่มีรายละเอียดภายในและเพิ่มรายละเอียด ภายในเข้าไปในขั้นทุติยภูมิ จนถึงรายละเอียดที่สลับซับซ้อนในขั้นตติยภูมิ 2.3 ความงามในศิลปะว็อคเซล ศิลปะว็อคเซลและศิลปะพิกเซลมีจุดเริ่มต้นมาจากข้อจำกัดในการแสดงผลภาพของคอมพิวเตอร์และ วิดีโอเกมในยุคแรกเริ่ม ศิลปินและนักออกแบบจำเป็นต้องจำลองภาพของสิ่งต่างๆให้เรียบง่ายและใช้ทรัพยากร
296 ข้อมูลที่น้อยที่สุด แต่นั่นก็เป็นการทำให้เกิดความงามจากความเรียบง่ายขึ้นทุกๆพิกเซลหรือว็อคเซลที่วางลงไป จะต้องสร้างประโยชน์เชิงความหมาย 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การออกแบบตัวละครสำหรับว็อคเซลเกมจะเป็นการนำแนวคิดมาตีความและอาศัยหลักการออกแบบ ตัวละครตามที่ได้ศึกษามาข้างต้นเช่นการใช้รูปร่างและหลักการลดทอนและเพื่อให้ตัวละครสามารถเคลื่อนไหว ในเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้เขียนจึงใช้เครื่องมือในการสร้างและออกแบบตัวละครว็อคเซลด้วยซอฟท์แวร์ ว็อคเซลอีดิเตอร์ที่ทางผู้ผลิตเกมอย่างเดอะแซนด์บ็อกซ์ (The Sandbox) เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้นัก สร้างสรรค์ได้นำไปใช้สร้างสินทรัพย์ภายในเกมต่างๆให้กับเกมของพวกเขาเองในชื่อ ว็อคอีดิท (Voxedit) ที่มี เครื่องมือต่าง ๆ ในการสร้างศิลปะว็อคเซลที่เน้นการสร้างตัวละครสำหรับว็อคเซลเกมโดยเฉพาะ ภาพที่ 1 User Interface ที่มา : ศิริเดช ศิริสมบูรณ์ ในว็อคอีดิทเราจะต้องแบ่งตัวละครเป็นชิ้นส่วนต่างๆเพื่อให้ตัวละครสามารถขยับได้ด้วยระบบโครง กระดูกโดยทางผู้พัฒนาซอฟท์แวร์จะมีเทมเพลตโครงกระดูกแบบมนุษย์และสัตว์แบบพื้นฐานให้นักสร้างสรรค์ นำไปใช้งานเพื่อความสะดวกและเป็นการทำให้ผลงานที่สร้างสรรค์ออกมานำไปใช้ในเกมได้อย่างราบรื่น ภาพที่2 Skeleton Template ที่มา : ศิริเดช ศิริสมบูรณ์
297 เมื่อสร้างชิ้นส่วนของตัวละครครบทุกชิ้นส่วนแล้วผู้สร้างสรรค์สามรถส่งออกเพื่อนำไปใช้ในเกมหรือ ส่งออกเพื่อนำไปต่อยอดเป็นงานศิลปะว็อคเซลได้หลายรูปแบบโดยไฟล์ข้อมูลศิลปะว็อคเซลที่ส่งออกได้จะเป็น ไฟล์สกุล .vox ที่เป็นไฟล์ข้อมูลสำหรับศิลปะว็อคเซลโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกเป็นไฟล์แบบโพลี กอนอาทิไฟลฺสกุล.obj, .dea และ .gltfเพื่อนำไปใช้กับซอฟท์แวร์สร้างภาพสามมิติทั่วไปได้อีกด้วย 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากผลการศึกษาผู้เขียนได้ออกแบบกลุ่มตัวละครสำหรับว็อคเซลเกมที่มีลักษณะแตกต่างกันขั้นมา จำนวน 5 ตัวละคร เพื่อให้ครอบคลุมบุคลิกต่าง ๆ ภายในเกมที่มีเนื้อหาเชิงวิทยาศาสตร์ โดยตัวละครทั้งหมด ได้รับแรงบรรดาลใจมาจากภาพยนตร์และแอนิเมชันแนวหุ่นยนตร์ที่มีความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคทศวรรษ ที่ 80 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามอวกาศ และเป็นช่วงเวลาที่วิดีโอเกมในขณะนั้นยังใช้การแสดงผลภาพเป็น แบบศิลปะพิกเซล เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวันเวลาของจุดเริ่มต้นศิลปะพิกเซลในอดีต เชื่อมต่อกัยเทคโนโลยีของภาพสามมิติแบบว็อคเซลในปัจจุบัน ต่างจากการออกแบบตัวละครสำหรับภาพยนตร์และแอนิเมชันที่จะให้ความสำคัญกับตัวละครหลัก เพียงตัวละครเดียวโดยมีตัวละครอื่นสนับสนุนบทบาทให้เป็นไปตามเส้นเรื่อง ตัวละครสำหรับเกมทุกตัวละคร จะมีความสำคัญเท่าๆกัน เนื่องจากผู้เล่นจะเลือกให้ตัวละครในแบบที่ตนเองถนัดเป็นตัวเอกของเรื่องราวในเกม ดังนั้นการออกแบบกลุ่มตัวละครสำหรับว็อคเซลเกมจะต้องออกแบบให้มีความแตกต่างอย่างชัดเจนที่ผู้เล่นจะ สามารถเข้าใจในบุคลิกของแต่ละตัวละครได้อย่างรวดเร็วแล้วการออกแบบจะต้องสะท้อนให้เห็นความสามารถ พิเศษของแต่ละตัวละครด้วย เช่น ความถนัดในการต่อสู้ความแข็งแรง ความเร็ว และอื่นๆที่จะมีผลในการใช้ งานตัวละครในเกมตามความถนัดของผู้เล่น โดยผู้เขียนได้กำหนดให้แต่ละตัวละครมีความแตกต่างกันทั้งรูปร่าง สัดส่วน สี ตลอดจนอาวุธที่ถือ ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ภายใต้รูปแบบเดียวกันคือตัวละครหุ่นยนตร์อวกาศล้ำสมัย ภาพที่3 Voxel Characters ที่มา : ศิริเดช ศิริสมบูรณ์
298 5. สรุป การออกแบบตัวละครสำหรับว็อคเซลเกมจะต้องอาศัยทั้งความรู้ความเข้าใจในหลักการออกแบบตัว ละครเพื่อสร้างตัวละครที่มีความโดเด่น รวมถึงความเข้าใจในหลักความงามของศิลปะว็อคเซลที่เน้นการ ออกแบบที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป เนื่องจากแต่ละเกมมักจะกำหนดขนาดและจำกัดจำนวนว็อคเซลในแต่ ละชิ้นงาน เอกสารอ้างอิง Eijkenbroek, R. (28 กันยายน 2564). Voxel Art 101: The Ultimate Guide. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.xquissive.com/voxel-art/ Elshyeb, E. (21 มกราคม 2563).Aesthetic Exploration: Voxels. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.aesdes.org/2020/01/21/aesthetic-exploration-voxels/ Neimeister, J. (18 กุมภาพันธ์ 2565). Principles of Character Design.[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 จาก https://visualartspassage.com/blog/principles-of-character-design/ Phillips, B. (29 พฤกษภาคม2564). Understanding Why Pixel Art Is Popular Then And Now. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.tocanvas.net/pixel-art-popularity/ Rocket Brush Studio (8 ธันวาคม 2564). Why Pixel Art Games Have Become Widely Popular. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม2565 จากhttps://rocketbrush.com/blog/pixel-art-games-popular
299 ร่องรอยของความโดดเดี่ยว Traces of Solitude สิทธิธรรม โรหิตะสุข, Sitthidham Rohitasuk สาขาวิชาศิลปะจินตทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 ซ.สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110, Division of Imaging Art, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University 114, Sukhumvit 23, Wattana, Bangkok 10110 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานจิตรกรรม “ร่องรอยของความโดดเดี่ยว” ผู้สร้างสรรค์นำปรัชญาการทำงานจิตรกรรมนามธรรม โดยใช้สีดำของจิตรกรชาวฝรั่งเศส ปิแอร์ ซูลาจน์ (Pierre Soulages) ที่กล่าวว่า ‘Black is never the same, because light change it’ หรือ ‘สีดำไม่เคยเหมือนเดิม เพราะแสงทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงมัน’ มาใช้เป็นแรง บันดาลใจในการทำงาน งานนี้สร้างขึ้นโดยใช้สีดำเพียงสีเดียว สีดำที่เลือกใช้นั้นมีหลายเฉดสีอันเนื่องมาจากชนิด ของสีที่ต่างกัน สีดำทั้งถูกระบายด้วยพู่กันและบีบจากหลอดสีโดยตรงเพื่อลากเป็นเส้น รวมถึงบีบสีดำต่างเฉด จากหลอดเป็นเส้นแบบนามธรรมเพื่อให้เกิดการทับซ้อนกันเป็นชั้นสีและพื้นผิว การระบายสีและบีบสีใน ลักษณะนี้ยังส่งผลให้แสงเข้ามามีบทบาทในผลงานด้วย กล่าวคือ แสงเมื่อกระทบกับสีดำแล้วทำให้เกิดปฏิกิริยา การสะท้อนของแสง เงา และนำสู่ความเปลี่ยนแปลงบนระนาบ พื้นผิว และชั้นสีในผลงาน แม้งานชิ้นนี้จะเป็น เสมือนร่องรอยที่สะท้อนถึงอารมณ์ความรู้สึกโดดเดี่ยว แต่อีกด้านหนึ่ง มันได้เป็นเครื่องมือที่นำผู้สร้างสู่การ ทบทวนและสำรวจเข้าไปในสภาวะภายในจิตใจของตนเอง ทั้งยังมุ่งหวังว่า งานชิ้นนี้จะเป็นเสมือนประตูนำพา ผู้ชมเข้าสู่การเดินทางสำรวจสภาวะภายในจิตใจของแต่ละคนผ่านร่องรอยแห่งความโดดเดี่ยวนี้ด้วยเช่นกัน คำสำคัญ: จิตรกรรมนามธรรม, สีดำ,ความโดดเดี่ยว Abstract “Traces of Solitude” was the work of paintings which the creator had adopted the working philosophy of abstract arts painting by applying black color created by Pierre Soulages, the renown French painter, who said that ‘Black is never the same, because light changes it’ as working inspiration. This work of art created solely from black color in various shades resulted from different kind of color and ways of expressing it namely black color in brush painting, color derived from squeezing it directly from paint tube for drawing lines, squeezing different shades of black color from various paint tubes for drawing abstract lines so that it could become overlapping shades and textures of color. This characteristic of painting and creating by squeezing color directly from paint tubes had sent reflection to light
300 in expressing work of arts. That is to say, when light strikes on the black color, it creates reaction of light reflections and shadows that led to changing in level, texture, and color layer of artwork. Even though this work of arts expressed emotion and trace of solitude, on the other aspect it had made the creator to review and to search into own state of mind. In addition, it was hoped that this work of arts would be like the door that could lead the viewers to the journey of searching their own state of minds which they were all passed the ‘Traces of solitude’ as well. Keywords: Abstract Painting, Black Color, Solitude 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา สีดำ (Black Color) คือหนึ่งในสีซึ่งมักถูกใช้เป็นภาพแทนหรือสัญลักษณ์ที่สื่อได้หลายความหมาย เช่นเดียวกับในโลกของงานศิลปะที่สีดำได้ถูกศิลปินนำมาใช้เป็นหนึ่งในสีสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์ผลงาน ทั้ง ที่ใช้เป็นสีโทนหลักในการสร้าง และใช้เป็นสีประกอบเพื่อสร้างน้ำหนักและมิติให้ภาพมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สีดำยังถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในเทคนิคจิตรกรรมที่สำคัญเทคนิคหนึ่งของโลกที่ได้รับการสร้างสรรค์จาก ศิลปินมาตั้งแต่ช่วงศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ซึ่งมีบทบาทในช่วงศตวรรษที่ 15 ถึงศตวรรษ ที่ 17 เทคนิคดังกล่าวนี้คือ เทคนิค “เกียรอสคูโร” (Chairoscuro) อันเป็นภาษาอิตาเลียนที่เกิดจากการผสมคำ ระหว่าง “Chairo” มีความหมายถึงความสว่าง และ “Scuro” อันหมายถึงความมืด มะลิฉัตร เอื้ออานันท์ ยัง กล่าวถึงเทคนิคนี้ด้วยว่า “ค่าต่างแสง การแรเงาในงานวาดเขียน ระบายสี และภาพพิมพ์เพื่อให้เกิดการลวงตา ของความนูนเว้าลึกตื้นของรูปทรงโดยการสร้างความขัดแย้งระหว่างพื้นที่สว่างกับมืด เป็นกลวิธีที่เริ่มใช้ในยุค ฟื้นฟูศิลปวิทยา เลโอนาร์โด และเรมบรันต์เป็นจิตรกรที่มีชื่อด้านกลวิธีนี้” (มะลิฉัตร เอื้ออานันท์.2545: 107) ในศตวรรษที่ 17 เทคนิคนี้ยังถูกจิตรกรอย่าง คาราวัคโจ (Caravaggio,1571-1610) ชาวอิตาเลียน หรือ โจฮันเนส เวอร์เมีย (Johannes Vermeer,1632-1675) และ เรมบรันต์(Rembrandt,1606-1669) ชาวดัตซ์ นำมาใช้จนสร้างความโดดเด่น ทั้งในเชิงรูปแบบและการสื่อสัญญะที่สำคัญในผลงานได้จนเป็นที่ยอมรับ ขณะเดียวกัน เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 มีศิลปินอีกหลายคนที่ให้ความสนใจกับสีดำ ในฐานะเป็นสื่อหลักใน การแสดงออก (Expression) หรือเป็นแนวทางในการสื่อเสนอแนวคิด ปรัชญา ผ่านงานศิลปะ ปิแอร์ ซูลาจน์ (Pierre Soulages,1919-) คือหนึ่งในศิลปินชาวยุโรปที่ผลักดันให้สีดำกลายเป็นลักษณะการถ่ายทอดศิลปะ นามธรรมเฉพาะตัวของเขาจนเป็นที่ยอมรับ ซูลาจน์ เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศสที่สร้างงานตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลงานของเขาถูกจัดอยู่ ในกลุ่มศิลปะแบบ “Tachisme” ที่สร้างสรรค์จิตรกรรมในยุโรปช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 คำว่า “Tache ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง “รอยเปื้อน”…ศิลปะตาชีเมส์ก็คล้ายกับ Abstract Expressionism โดยแสดงสภาพ นามธรรมด้วยสีและผิวหน้าบนแคนวาส” (วิรุณ ตั้งเจริญ.2543: 55) ศิลปินกลุ่มนี้ระบายสีที่รุนแรงและฉับไว มี การทับซ้อนของสีเป็นงานศิลปะนามธรรมที่เน้นการแสดงออกอีกรูปแบบหนึ่งที่มีบทบาทในยุโรป ซูลาจน์ ได้
301 เคยกล่าวถึงความสนใจของเขาที่มีต่อ “สีดำ” ไว้ว่า “Black is never the same, because light change it” (Nina Siegal.2019: online) อันสรุปความได้ว่า “‘สีดำไม่เคยเหมือนเดิม เพราะแสงทำหน้าที่เปลี่ยนแปลง มัน’ นั่นหมายถึง ซูลาจน์สนใจสีดำในฐานะที่ตัวสีทำปฏิกิริยากับแสงและก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในผลงาน จิตรกรรม เขาเรียกงานจิตรกรรมสีดำในกลุ่มนี้ของเขาว่า “Outrenoir” มีความหมายว่า “Beyond Black” หรือ “เหนือกว่าสีดำ” ซึ่งซูลาจน์เคยอธิบายเพิ่มเติมว่า “สิ่งที่เขาต้องการจะสื่อมิใช่สีดำ แต่เป็นแสงที่สะท้อน จากสีดำ” (Musee Soulages, Rodez.2016: online) ผลงานของเขามักใช้สีดำจากสีหลายประเภท ทั้งสี น้ำมัน (Oil Color) สีอะครีลิค (Acrylic) รวมไปถึงสีย้อมไม้วอลนัท (Walnut Stain) หรือ ยางมะตอย (Tar) ที่ ใช้ในงานก่อสร้าง เขามักออกแบบพู่กันหรือวัสดุที่ใช้ระบายสี ขูดสี ขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิดรูปแบบของ พื้นผิวบนระนาบรองรับที่หลากหลาย พื้นผิวหรือชั้นสีที่มีรูปแบบหลากหลายเหล่านั้นย่อมส่งผลถึงการทำ ปฏิกิริยาระหว่างสีดำกับแสงที่มีความเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวอย่างหลากหลายตามไปด้วยเช่นกัน ผู้สร้างสรรค์มีความสนใจศึกษางานของปิแอร์ ซูลาจน์ ทั้งแนวคิดและรูปแบบในการแสดงออกของเขา ความ สนใจนี้ยังสัมพันธ์กับแนวคิดในการทำงานของตนเองด้วย ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานจิตรกรรมนามธรรมเพื่อ ใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจและทบทวนเข้าไปสู่สภาวะภายในจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง ทบทวนถึง ห้วงเวลาแห่งความโดดเดี่ยวในจิตใจ และความสนใจต่อความสงบเงียบ เรียบง่าย ตลอดจนการระลึกนึกถึง ความทรงจำที่ผ่านมาในบางช่วงเวลาที่มีคุณค่าต่อชีวิต ด้วยเหตุนี้ ความโดดเดี่ยว (Solitude) ที่ถูกถ่ายทอด ผ่านผลงานนามธรรมชิ้นนี้จึงไม่ได้มีความหมายในแง่ลบเสมอไป หากแต่เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและพิจารณาเรื่อง ความโดดเดี่ยวในฐานะที่เป็น “ศิลปะ” อย่าง “สตีเวน แบตชเลอร์” (Steven Batchelor) อธิบายว่ามันจะทำ ให้คุณ “ค้นพบทิศทางและความจริงแท้เกี่ยวกับตัวคุณเอง” (กรรณิการ์ พรมเสาร์,แปล.2564: 126) ผู้สร้างสรรค์ได้ทดลองแสวงหาความเป็นไปได้ในการทำงานจิตรกรรมนามธรรมของตนเอง โดยเลือกใช้ สีดำระบายบนผ้าใบ สีดำที่ใช้มีที่มาของสีดำเฉดที่ต่างกัน นอกจากระบายด้วยพู่กันแล้ว ยังใช้วิธีการบีบสีจาก หลอดสีโดยตรงเพื่อลากเป็นเส้นสี หรือบีบให้สีเหล่านั้นเป็นเส้นทับซ้อนกันจนเกิดเป็นชั้นสี (Layer) ที่มีพื้นผิว แสดงความหนาดังเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการสร้างเทคนิคการระบายสีหนาหรือ “อิมพาสโต” (Impasto) พื้นผิว ของชั้นสีที่หนา รวมถึงสีดำเฉดต่างกัน ยังสร้างปรากฏการณ์ให้เกิดขึ้นได้อย่างดีบนผืนผ้าใบเมื่อกระทบกับแสง และมีแรงปะทะที่สามารถเปิดการรับรู้ของผู้ชม ดังที่ผู้สร้างสรรค์มุ่งหวังคือ ใช้ผลงานจิตรกรรมนามธรรมนี้ เป็น เสมือนกับประตูเปิดเข้าสู่พื้นที่ของสภาวะทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ในบางห้วงขณะที่เคยถูกละเลยหรือ หลงลืมไป หากทว่ามีคุณค่าและความหมายต่อชีวิต เกิดมิติของสี แสง และพื้นผิวที่กระตุ้นเร้าอารมณ์ ความรู้สึกให้ผู้ชมเข้าสู่จินตนาการได้อย่างแตกต่างหลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วย 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้สร้างสรรค์เลือกใช้แนวทางการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบ “นามธรรมที่เน้นการแสดงออกทาง อารมณ์ความรู้สึก” (Abstract Expressionism) มาถ่ายทอดผลงาน ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่ “การระบายสีด้วย พลังภายในอย่างทันทีทันใด” (วิรุณ ตั้งเจริญ.2543: 49) รวมถึงการระบายสีอย่างอิสระ นอกจากนี้ยังสามารถ ขยายกลวิธีการระบายสีด้วยวิธีอื่นๆ นอกเหนือไปจากการใช้พู่กันเพียงเท่านั้น รวมถึงมีการระบายสีแบบ
302 “แอคชั่น เพ้นติ้ง” (Action Painting) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังศึกษาแนวคิดที่พิจารณา “ความโดดเดี่ยว” ใน เชิงบวก ซึ่งปรากฏในงานเขียนของ “สตีเวน แบตชเลอร์” (Steven Batchelor) เรื่อง “The Art of Solitude: A Meditation on being alone with others in the world” ซึ่งเป็นอีกแรงผลักดันหนึ่งในการ สร้างงานชิ้นนี้ การเลือกใช้สี การให้สีสัมพันธ์กับแสงหรือการระบายสี แม้จะเป็นการทำงานที่สะท้อนถึงความ โดดเดี่ยว แต่ในขณะเดียวกัน ผู้สร้างสรรค์สร้างงานจิตรกรรมชิ้นนี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจและ ทบทวนเข้าไปสู่สภาวะภายในจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ห้วงเวลาแห่งความโดดเดี่ยวภายในจิตใจ และความ สนใจต่อความสงบเงียบเรียบง่าย ตลอดจนระลึกนึกถึงความทรงจำที่ผ่านมาในบางช่วงเวลาที่มีคุณค่าต่อชีวิต 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 1 การรวบรวมข้อมูล : เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและแนวทางการ แสดงออกของศิลปะนามธรรมที่เน้นการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก (Abstract Expressionism) รวมถึง ข้อมูลผลงานจิตรกรรมของศิลปินที่สร้างผลงานในแนวทางดังกล่าวเพื่อศึกษาแนวคิดและกลวิธีการระบายสีใน ภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศึกษาวิธีการสร้างผลงานนามธรรมโดยใช้ “สีดำ” ของ “ปิแอร์ ซูลาจน์” ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกวัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างสรรค์: คัดเลือกสีที่จะใช้ในการระบาย ซึ่งสำหรับ งานชิ้นนี้ ผู้สร้างสรรค์เลือกใช้ “สีน้ำมัน” (Oil Color) สีอะครีลิค (Acrylic Color) และสีน้ำมันแบบ Enamel ชนิดเงา (Gross Enamel) ในการระบาย สีทุกประเภทที่กล่าวมาได้เลือกใช้เพียง “สีดำ” ที่มีเฉดสีต่างกัน ออกไป (ดังจะกล่าวถึงข้างหน้า) ผู้สร้างสรรค์เลือกใช้ผ้าใบ (Canvas) ที่มีคุณภาพ ขึงลงบนกรอบเฟรมขนาด 90x70 เซนติเมตร ซึ่งขนาดดังกล่าว ผู้สร้างสรรค์เห็นว่า มีความเหมาะสมกับการสร้างผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้ ไม่ ใหญ่และไม่เล็กมากจนเกินไป สำหรับวัสดุที่ใช้ระบายสีนั้น นอกจากจะเลือกใช้แปรงพู่กัน (Brush) ในการ ระบายแล้ว ยังมีการใช้ “มาสกิ้ง เทป” (Masking Tape) สำหรับติดกั้นสี เพื่อกันพื้นที่ในการระบายสีพื้นหลัง (Background) ให้แต่ละตำแหน่งมีเฉดสีที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์งานครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังใช้การบีบสีจากหลอดสีโดยตรงมาเป็นวิธีการระบายสีเพื่อให้เกิดชั้นสีและพื้นผิวที่หนาอีกด้วย ขั้นตอนที่ 3 การสร้างสรรค์: การระบายสีชั้นที่ 1 เริ่มจากการนำสีอะครีลิคสีดำชนิด Ivory Black มาระบายลงบนผืนผ้าใบที่เตรียม ไว้ด้วยเทคนิคระบายเรียบ (Blending) เป็นการระบายสีชั้นแรก (First Layer) โดยใช้แปรงพู่กันขนาดใหญ่ ซึ่ง สามารถระบายสีเรียบในพื้นที่กว้างได้อย่างดี การระบายสีชั้นนี้เน้นในลักษณะการระบายเรียบเป็นทางยาว ต้องการให้สีชั้นนี้ทำหน้าที่เป็นสีพื้นหลัง (Background) ของผลงาน การระบายสีชั้นที่ 2 ผู้สร้างสรรค์ต้องการเริ่มใช้สีดำในเฉดที่ต่างกันเพื่อสร้างให้เกิดมิติในผลงาน ด้วย เหตุนี้จึงเลือกใช้ Masking Tape มาติดกั้นสีไว้ตรงบริเวณกึ่งกลาง และขอบบริเวณด้านขวาของภาพ เพื่อให้ เกิดพื้นที่ที่จะใช้ลงสีที่ต่างกันขึ้น จากนั้นจึงได้นำสีน้ำมันแบบ Gross Enamel ซึ่งมีคุณสมบัติทั้งความเข้มข้นสูง และมีผิวที่มันเงามาระบายทับลงไปในบริเวณที่ใช้ Masking Tape กั้นสีไว้เป็นกรอบสีเหลี่ยม โดยใช้แปรงพู่กัน ขนาดกลาง ระบายด้วยเทคนิคระบายเรียบเช่นเดิม สีดำในชั้นนี้จะมีความเข้มและมันเงามากกว่าสีพื้นหลังชั้น
303 แรกจนเกิดมิติของความแตกต่างในระนาบของผลงานอย่างเห็นได้ชัด หลังจากระบายเสร็จในชั้นนี้ ปล่อยให้สี ชั้นที่ 2 แห้งสนิท เมื่อแห้งเรียบร้อยแล้ว จึงดึง Masking Tape ที่ใช้กั้นสีไว้ออก การระบายสีชั้นที่ 3 ผู้สร้างสรรค์เลือกเปลี่ยนวิธีการระบายสี จากการระบายด้วยพู่กันมาเป็นการบีบสี จากหลอดโดยตรง เพื่อลากเป็นเส้นสีแบบอิสระ โดยในชั้นนี้ เลือกใช้สีน้ำมันสีดำชนิด Ivory Black มาบีบเป็น เส้นขนาดไม่ยาวมากนัก บีบลงบนพื้นที่ของสีชั้นแรกในลักษณะเป็นแถวเป็นแนว แต่ไม่เคร่งครัดว่าจะต้องมี ความห่างเท่ากันเสมอไป การบีบสีในชั้นนี้ยังคงเน้นให้เป็นแบบอิสระ ซึ่งการบีบสีจากหลอดโดยตรง วิธีนี้ทำให้ เกิดเป็นพื้นผิว (Texture) ที่หนาขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีลักษณะของการแสดงร่องรอย (Traces) บนระนาบผืน ผ้าใบที่ชัดเจนมากขึ้น สีและพื้นผิวในชั้นนี้ เมื่อกระทบกับแสง ได้เริ่มทำปฏิกิริยาต่อสายตาด้วยการสะท้อนเป็น แสง เงา มีน้ำหนักและมิติที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์กันระหว่างสีดำและแสงจากภายนอก การระบายสีชั้นที่ 4 ผู้สร้างสรรค์ต้องการให้เกิดมิติและน้ำหนักของแสงและเงาที่สะท้อนเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังต้องการให้เกิดแรงปะทะที่แสดงความเคลื่อนไหวทางสายตาของผู้ชมให้เกิดจินตนาการ ด้วยเหตุนี้จึงเลือก สีน้ำมันสีดำที่มีเฉดแตกต่างจากสีดำที่ระบายในชั้นที่ 3 โดยเลือกใช้สีดำ Lamp Black ซึ่งมีความเข้มข้นและมัน เงามากกว่าชนิด Ivory Black มาระบายทับด้วยการบีบจากหลอดโดยตรง ในลักษณะเป็นเส้นซ้อนทับลงไปในสี ชั้นที่ 3 นอกจากนี้ยังบีบสีระบายลงไปในบริเวณสีชั้นที่ 2 ที่ระบายด้วยสีดำ Gross Enamel ไปด้วย แต่ในช่อง นี้จะเลือกบีบสีลากเป็นเส้นเพียงบางส่วนเท่านั้น ทิ้งไว้ให้เกิดที่ว่าง (Space) เพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวใน ผลงานเพิ่มด้วย ภาพที่ 1 ผลงานจิตรกรรมนามธรรม “ร่องรอยของความโดดเดี่ยว” (Traces of Solitude,2022) ที่มา : Sitthidham Rohitasuk / The 1st IADCE2019, 17-24 May 2019/(p.)
304 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานจิตรกรรมนามธรรม “ร่องรอยของความโดดเดี่ยว” (Traces of Solitude) เป็นการถ่ายทอด ผลงานจิตรกรรมที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของสี แสง และพื้นผิว ที่ต่างทำหน้าที่ให้เกิดความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงบนระนาบรองรับ แม้ว่าโดยลักษณะของงานนามธรรมจะปราศจากเนื้อหาหรือเรื่องราว หากแต่ ความสัมพันธ์ของทั้งสี แสง และพื้นผิวที่ปรากฏในงานชิ้นนี้ ถือเป็นการเปิดให้ทั้งผู้สร้างและผู้ชมใช้ ประสบการณ์ส่วนตัว ทำการสำรวจและทบทวนเข้าไปในสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของตนเอง ร่องรอยของสีดำต่าง เฉดที่ระบายและบีบลากเป็นเส้นสี ทั้งที่ถูกจัดวางและถูกระบายทับซ้อนเข้าด้วยกัน ในแง่หนึ่งเปรียบเสมือนการ สร้างร่องรอยด้วยน้ำมือของศิลปิน ซึ่งถือเป็นการทำงานที่โดดเดี่ยว หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง การงานที่แสนจะ โดดเดี่ยวนี้ หาใช่จะต้องถูกจำกัดอยู่ในเชิงลบเสมอไป งานจิตรกรรม “ร่องรอยของความโดดเดี่ยว” ยังสามารถ สะท้อนให้เห็นถึงการทำงานที่ผานกระบวนการสร้างในแต่ละขั้น เพื่อนำสู่การให้สี แสง และพื้นผิว ในผลงาน นั้นต่างทำหน้าที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผู้สร้างสรรค์ตั้งใจสร้างงานโดยเชื่อมให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้จากการศึกษา แนวคิดในการสร้างงานจิตรกรรมของ ปิแอร์ ซูลาจน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานชุด “Outrenoir” ของเขา ซึ่งใช้ สีดำต่างเฉดและต่างชนิดระบายบนระนาบ เพื่อถ่ายทอดสาระสำคัญนั่นคือ “แสง” ที่มากระทบกับสีดำและ พื้นผิวจนทำให้เกิดมิติแห่งความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาในผลงาน สิ่งเหล่านี้ ผู้สร้างสรรค์ตีความว่า เป็นดั่งการสร้าง ร่อรอยของความโดดเดี่ยว สีดำที่โดดเดี่ยว งานนามธรรมที่ไร้ซึ่งเรื่องราว หากแต่ส่งนัยยะถึงการเปิดมิติให้ผู้ชม สำรวจสภาวะภายในจิตใจของตนเอง งานชิ้นนี้ยังได้รับแรงผลักดันทางความคิดจากข้อเขียนของ สตีเวน แบตชเลอร์ (Steven Batchelor) ที่ว่าด้วยการพิจารณาความโดดเดี่ยว ดังช่วงหนึ่งที่แบตชเลอร์กล่าวว่า “…แต่สำหรับหลายคน ความโดดเดี่ยวให้เวลาและพื้นที่ในการบ่มเพาะความสงบภายในและความเป็นอิสระ ของจิตใจ ที่จำเป็นต่อการข้องเกี่ยวกับโลกอย่างสร้างสรรค์และได้ผล ชั่วขณะที่เราเพ่งพินิจเงียบๆ ไม่ว่าจะอยู่ เบื้องหน้างานศิลปะหรือดูลมหายใจของเราเอง เอื้อให้เราคิดทบทวนว่าชีวิตของเราเป็นอย่างไรบ้าง และ ใคร่ครวญว่า สิ่งใดสำคัญที่สุดสำหรับเรา ความโดดเดี่ยวไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยสำหรับคนไม่กี่คนที่มีเวลาว่าง มัน เป็นมิติที่หลีกหนีไม่ได้ของการเป็นมนุษย์ ไม่ว่าเราจะเป็นศาสนิกชนผู้เคร่งครัด หรือถืออเทวนิยมอย่างจริงจัง ในความโดดเดี่ยวเราล้วนเผชิญสำรวจคำถามว่าด้วยการดำรงอยู่ของคนเราเหมือนๆ กัน” (กรรณิการ์ พรม เสาร์,แปล.2564: 13) “ร่องรอยของความโดดเดี่ยว” จึงเป็นการสร้างงานจิตรกรรมนามธรรมที่มุ่งหวังให้เป็นเสมือนกับ ประตูอีกบานหนึ่งที่เปิดรับและเชิญชวนให้ทั้งผู้สร้างและผู้ชมเดินทางเข้าไปสำรวจถึงสภาวะภายในจิตใจของ ตนเอง ประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึก ความทรงจำ สิ่งเหล่านี้ แม้จะเป็นการสำรวจภายใต้ความโดดเดี่ยว แต่ก็อาจนำมาสู่การทบทวนถึงชีวิตและการก้าวเดินต่อไปในชีวิต ว่า สิ่งใดคือสิ่งที่สำคัญและมีคุณค่า ความหมายสำหรับเราอย่างแท้จริง
305 5. สรุป ผลงานจิตรกรรมนามธรรม “ร่องรอยของความโดดเดี่ยว” (Traces of Solitude) ผู้สร้างสรรค์นำ ปรัชญาการทำงานจิตรกรรมนามธรรมโดยใช้สีดำของ ปิแอร์ ซูลาจน์ (Pierre Soulages) ที่กล่าวว่า ‘Black is never the same, because light change it’ หรือ ‘สีดำไม่เคยเหมือนเดิม เพราะแสงทำหน้าที่เปลี่ยนแปลง มัน’ มาเป็นแรงบันดาลใจ งานนี้สร้างขึ้นโดยใช้สีดำหลายเฉดสีอันเนื่องมาจากชนิดของสีที่ต่างกัน สีดำทั้ง ระบายด้วยพู่กันและบีบจากหลอดสีโดยตรงเพื่อลากเป็นเส้น จัดวาง รวมถึงบีบให้เกิดการทับซ้อนกันเป็นชั้นสี และพื้นผิว ผลงานสะท้อนถึงความสัมพันธ์ของสี แสง และพื้นผิว ที่ทำหน้าที่ให้เกิดความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงบนระนาบรองรับ กระบวนการสร้างงานในแต่ละขั้น เพื่อให้สี แสง และพื้นผิวนั้นต่างทำหน้าที่ เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผู้สร้างยังได้รับแรงผลักดันทางความคิดจากข้อเขียนของ สตีเวน แบตชเลอร์ (Steven Batchelor) ที่ว่าด้วยการพิจารณาความโดดเดี่ยวในเชิงบวกที่เป็นเสมือนประตูอีกบานหนึ่งที่เปิดให้ทั้งผู้สร้าง และผู้ชมเดินทางเข้าไปสำรวจถึงสภาวะภายในจิตใจของตนเอง นำมาสู่การทบทวนและการก้าวเดินต่อไปใน ชีวิต การศึกษาและการสร้างสรรค์งานชิ้นนี้ยังจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ ในการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการทำงานจิตรกรรมนามธรรม โดยเฉพาะกับงานจิตรกรรมนามธรรมที่อาศัยการแสดงถึง ความสัมพันธ์กันของ สีแสง และพื้นผิวในผลงาน ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อสร้างให้เกิดมิติการรับรู้ทางสายตาและ ประสบการณ์ทางสุนทรียะที่แตกต่างหลากหลายกันออกไปของผู้ชม เอกสารอ้างอิง มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. (2545). พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย วิรุณ ตั้งเจริญ.(2543). “กลุ่มศิลปะหลากหลายในคริสต์ศตวรรษที่ 20 พื้นฐานของศิลปะและพื้นที่” ใน ศิลปะ และพื้นที่. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, หน้า 36-69. สตีเวน แบตชเลอร์.(2564). ศิลปะการปลีกวิเวก: บทสนทนาว่าด้วยการอยู่ตามลำพังกับผู้อื่นบนโลกนี้ (พิมพ์ ครั้งที่ 1), กรรณิกา พรมเสาร์ ผู้แปล.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา. Musee Soulages, Rodez. (4 มิ ถุ น า ย น 2559). A Closer look, Painting, 324x362 cm, 1986. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 จาก Https://www.web.archive.org. Siegal, Nina. (29 พ ฤ ศ จิ ก า ย น 2562). Black is Still the Only Color for Pierre Soulages. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.nytimes.com/design
306 การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชุด “ขอให้เราโชคดี” The Creation of Fine Arts : Wish us luck สิริภา จันทะบูลย์, Siripa Jantabon คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, School of Digital Media, Sripatum University E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานชุดขอให้เราโชคดีเป็นผลงานที่ต้องการแสดงถึงจุดที่กล้าออกไปเริ่มต้น หรือออกไปผจญภัยจาก พื้นที่เดิมที่ตัวเราเองได้จำกัดไว้แต่ก็อยากออกไปเริ่มต้นใหม่ หรือเปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่ เช่น การทำอะไรบางอย่างที่ท้า ท้ายตัวเราเอง ซึ่งในบางครั้งอาจเกิดจากความกลัว ความกังวล ความหวาดระแวง หรือการคิดว่าไม่ได้สามารถทำ ได้จนสุดท้ายแล้วตัวเราเองก็ล้มเลิกไป บางครั้งสภาวะดังกล่าวทำให้สูญเสียโอกาสไปเพียงแค่เราไม่ได้กล้าที่จะเริ่ม และเสียดายในภายหลังการเชื่อมโยงความรู้สึกดังกล่าวจึงนำไปสู่การเปรียบเทียบพฤติกรรมที่เป็นอิสระ ความ อยากรู้ อยากลองของแมวนั้นก็เปรียบเสมือนความกล้าหาญที่กล้าที่จะก้าวออกจากข้อจำกัดที่เราตั้งไว้ และสุดท้าย เราก็สามารถได้ทำในสิ่งที่เราต้องการ ถือว่าเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งที่ทำให้เราสามารถก้าวผ่านอุปสรรคได้ คำสำคัญ: โชคดี, แมว, ความกล้าหาญ Abstract The series wish us good luck It is a work that wants to show the point of courage to start. It's about moving on to explore an adventure from the same area that we have limited ourselves but want to go out and start over. To change existing things, such as doing something that challenges ourselves, which can sometimes be caused by fear, anxiety, paranoia Or thinking that we can't do it until in the end we give up Sometimes such conditions are lost if we do not dare to start and regret later. Linking such feelings leads to a comparison of independent behaviors. The cat's curiosity is like the courage to move beyond the limits we set for ourselves. It is considered good fortune to overcome obstacles. Keywords: Good luck, Cat, Brave
307 1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา ผลงานชุดนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์การตัดสินใจการเลือกในการดำเนินชีวิตในช่วงการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านเข้ามานั้นบางครั้งย่อมส่งผลต่อสิ่งที่ตามมาเสมอและ เมื่อถึงคราวที่เป็นเส้นทางการเลือกที่สำคัญ ส่งผลต่อความรู้สึกภายใน ความขัดแย้ง ความกลัว ความสับสน ซึ่งสิ่ง เหล่านี้คือมโนจิตที่คิดขึ้นมา การรวบรวมความกล้าหาญที่อยากจะก้าวผ่านความคิดเหล่านี้นั้น จึงได้ถ่ายทอด เรื่องราวผ่านตัวการ์ตูนแมวที่ท่องโลกอวกาศ เปรียบเสมือนแมวที่มีนิสัยอิสระ อยากรู้อยากลอง และปรับตัวได้ใน ทุกสภาวะ และบ่อยครั้งแมวก็สามารถเอาตัวรอดได้ในอุปสรรค โดยพุ่งไปข้างหน้าตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและสมมติฐาน ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบและเรื่องราวที่ใช้จินตนาการสร้างชิ้นงาน โดยดัดแปลงเรื่องราวความรู้สึกการสร้างแรง บันดาลใจผ่านภาพประกอบที่เป็นแมวซึ่งสื่อถึงความอิสระการปลดปล่อยจากความกังกลความกลัวความมั่นใจที่ แสดงถึงความพร้อม รูปทรงอิสระของพื้นที่อวกาศที่แสดงถึงสภาพแวดล้อม การไม่สิ้นสุดของการค้นหา การก้าว ผ่านเรื่องราวโดยจินตนาการเป็นตัวการ์ตูนต่างๆเช่น การพบเจอผู้คนที่แตกต่างกัน สัตว์ประหลาดเปรียบเสมือนสิ่ง ที่คาดการณ์ไม่ได้การปรับตัวการพุ่งของเส้นเคลื่อนที่ยานอวกาศที่แสดงถึงความกล้าหาญ และคู่สีตรงข้ามที่แสดง ถึงโชคดีที่จะเกิดขึ้นแม้ในยามที่พบเจออุปสรรค แรงบันดาลใจจากสัตว์เลี้ยง ศิลปะชุดนี้ข้าพเจ้าได้แรงบันดาลใจจากสัตว์เลี้ยงคือ แมวของข้าพเจ้าเอง ที่มีชื่อว่า มานีเดิมทีมานีได้ย้าย มาอยู่บ้านข้าพเจ้ามีความกลัวต่อสภาพแวดล้อมสถานที่ใหม่ และมีสุนัขอยู่แล้ว ข้าพเจ้าได้สังเกตเห็นการปรับตัว การคุ้นเคยต่อสถานที่และสุนัขที่เป็นสิ่งที่น่ากังวลที่สุดในสถานที่อยู่ใหม่ของมานีต่อมาสิ่งที่ข้าพเจ้าชื่นชมต่อแมว ตัวนี้นั้น คือการไม่กลัวต่อการปรับตัวการเรียนรู้ต่อการอยู่สถานที่ใหม่ที่กว้างขึ้น คนเยอะขึ้น การรักอิสระในพื้นที่ ก็ไม่ใช่อุปสรรคใดต่อการปรับตัวของแมว อิทธิพลจากภาพยนตร์ ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Puss In Boots เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ภายใต้ ความคิดและรูปแบบ Puss in Boots เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันผจญภัย แฟนตาซีมิตรภาพ และมีความซับซ้อน เพื่อความสนุกสนานของภาพยนตร์และแต่งเติมมุขตลกล้อเลียนนิสัยแมว กำกับโดยคริสมิลเลอร์จากShrek the Third และเขียนบทโดย ทอม วีลเลอร์, เดวิดเอชสไตเบิร์กและไบรอัน ลินช์และผลิตโดย บริษัท ดรีมคส์เวิร์คส์อนิเมชั่น
308 ภาพที่ 1 ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Puss In Boots ที่มา : ภาพตัวละครหลักและตัวละครประกอบในเรื่อง Puss In Boots 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชุดนี้ มีการผสมผสาน เทคนิคการวาดตัวละคร และการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ได้แก่ Adobe Illustrator เข้าด้วยกัน ขั้นตอนและกระบวนการทำงาน 1. การสร้างรูปทรง ข้าพเจ้าได้คิดถึงสิ่งที่กว้างไกล จินตนาการถึงสถานที่กว้างใหญ่เสมือนความท้า ทาย การผจญภัยของมนุษย์ ข้าพเจ้าคิดถึงอวกาศที่กว้างใหญ่ที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะพบเจออะไร สื่อด้วย รูปทรงอิสระ และการสื่อด้วยรูปวัตถุ รวมถึงสัตว์ประหลาด ดวงดาว สถานที่ต่างๆ ในอวกาศ 2. การออกแบบรูปทรง (Character Design)ข้าพเจ้าจินตนาการรูปทรงและเรื่องราวด้วยตัวละครที่ ออกแบบมาจากแมวของข้าพเจ้าในบุคลิกที่เป็นแมวมีความมั่นใจ และใช้เทคนิคตัดทอนรายละเอียดให้รูปทรงเป็นตัว ละครแบบการ์ตูน 3. ขั้นตอนการสร้างรูปทรงตัวละคร เมื่อข้าพเจ้าได้แบบร่างตัวละคร ข้าพเจ้าได้ทำการเตรียมภาพ ร่างเพื่อเข้าสู่กระบวนการวาดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 4. ขั้นตอนการวาดรายละเอียดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้าพเจ้าได้ใช้โปรแกรม Adobe Illustrator ในการวาดภาพใหม่ให้อยู่ในรูปแบบ Vector เพื่อให้เป็นภาพประกอบที่เป็นแนวกราฟิก และเมื่อได้ ภาพโดยรวมทั้งหมดก็ทำการเพิ่มเติมการตกแต่ง เช่น การใช้การใช้เอฟเฟกต์เพิ่มพื้นผิวอวกาศ และขอบที่มีความ ฟุ้งเพื่อเก็บบรรยากาศดวงดาวในอากาศ และการใช้เส้นเพื่อแสดงถึงการเคลื่อนไหว
309 4. การวิเคราะห์ผลงาน หลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูล ประมวล และวิเคราะห์จากประสบการณ์และการพัฒนาผลงานแล้ว ข้าพเจ้า รู้สึกพอใจกับผลงานที่สร้างสรรค์ ทั้งในความคิด รูปแบบ และการสื่อความรู้สึก ความหมายออกจากงาน ผลงานนี้ ข้าพเจ้าตั้งใจสื่อความเป็นตัวตนของสัตว์เลี้ยงข้าพเจ้า จินตนาการเป็นแรงขับเคลื่อนด้วยการใช้เส้นที่แทนการ เคลื่อนไหวมุ่งไปข้างหน้า กลุ่มของรูปจะถูกล้อมรอบด้วยกรอบที่เป็นรูปทรงอิสระเสมือนองค์ประกอบรอบตัวของ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่เป็นเรื่องราวที่มนุษย์ได้เจอซึ่งในบางครั้งก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จุดกลางของ พื้นที่ คือ ตัวละครภาพประกอบที่เป็นจุดเด่นในการสื่อสารถึงประสบการณ์ ความกล้าที่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัว ของเราเอง ภาพที่ 2 ชื่อภาพ : Wish us luck. เทคนิค : Mixed Technique ขนาด : 300 dpi ปีที่สร้าง :2565
310 วิเคราะห์ภาพ “Wish us luck. 1. แนวคิด ผลงานชิ้นนี้ข้าพเจ้าต้องการเสนอถึงความกล้าในการกล้าทำอะไรบางอย่าง โดยหลุดพ้นจากสิ่งที่ กังวล ความกดดัน ความกลัว ความเครียดต่างจนทำให้ไม่กล้าที่จะลงมือทำอะไร ดังนั้นแล้วข้าพเจ้าคิดถึงแมว แมวมีอุปนิสัยโดดเด่นคือ มีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รักอิสระเป็นชีวิตจิตใจ1 คน สัตว์ประหลาด และสิ่งของ ข้าพเจ้าเปรียบเสมือนสิ่งที่หนีไม่พ้นที่เป็นองค์ประกอบ ปัจจัยหรือเงื่อนไข ในการตัดสินใจของมนุษย์ที่ส่งผลอย่างยิ่งในการตัดสินใจแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็น คำพูดของคนที่ส่งผลกระทบต่อ จิตใจ ความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำงานหรือ ปัจจัยนอกเหนือที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น เหตุการณ์ไม่คาดคิด หรือตู้เกมส์ที่แสดงถึงการวัดดวง ความโชคดีที่กล้าที่ทำหรือลงมือทำแล้ว 2. การจัดองค์ประกอบ รูปทรง (Form) ผลงานชิ้นนี้ข้าพเจ้าได้ทำการออกแบบตัวละคร (Character Design)แมวของ ข้าพเจ้าผสมผสานกับจินตนาการส่วนตัว และตัดทอนรายละเอียดให้อยู่ในรูปแบบตัวละครที่จดจำได้ง่าย รวมถึง องค์ประกอบอื่นก็ได้มีการใช้รูปทรงที่ผสมผสานจากรูปทรงเรขาคณิตจนเกิดรูปร่าง ภาพที่ไม่ซับซ้อนมากจนเกินไป และรูปทรงอิสระล้อมรอบกรอบที่สื่อถึงความไม่แน่นอน ความน่าค้นหา การผจญภัย เส้น (Line) ข้าพเจ้าสื่อเส้นแนวนอนเฉียงขึ้นใต้ยานอวกาศสื่อถึงการพุ่งมุ่งไปข้างหน้า แสดงถึง ความพร้อม สี (Colour) สีที่ข้าพเจ้าเลือกใช้โดยตัวละคร (Character Design) หลักคือแมวข้าพเจ้าอ้างอิง จากสีจริงของตัวแมวคือสีเทา และใช้สีสันที่ตรงข้ามตัดกับตัวละคร ได้แก่ สีม่วง สีเหลือง สีชมพู เพื่อแสดงถึง บรรยากาศอวกาศ ความสนุก ความน่ารัก ความตื่นเต้น พื้นที่ว่าง (Space) พื้นที่ว่างในงานของข้าพเจ้าที่เป็นพื้นที่สีเข้ม เป็นที่ยังรอการค้นหา ความ ลึกลับเพื่อรอการผจญภัย น้ำหนักแสงและเงา (Tone-Light and Shadow) ข้าพเจ้าให้น้ำหนักกรอบเงาหนักสุด เนื่องจากเน้นให้จุดเด่นคือ ตัวละครแมวที่อยู่ตรงกลาง และเน้นเงาของตัวละครแมว พื้นผิว (Texture)พื้นผิวบริเวณพื้นที่ดวงดาวล้อมล้อมตัวละครนั้นได้ทำการใช้พื้นผิวแบบ Nosie เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเสมือนอวกาศ และมีความแตกต่างตัดจากตัวขอบที่เป็นรูปทรงอิสระ การกำหนดองค์ประกอบ (Composition)ข้าพเจ้าเน้นองค์ประกอบหลักคือตัวละครแมวตรงกลาง เป็นหลัก 1 ดนุพล เขียวสาคู,รู้เรื่องแมวไทย(กรุงเทพฯ :โหลทอง มาสเตอร์พริ้นท์จา กดั, 2548)
311 5. สรุป ผลงานชิ้นนี้เริ่มจากการสำรวจและรับรู้ถึงความกลัว ความกังวลต่อการเริ่มต้นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ไม่ สามารถดำเนินการได้จากความรู้สึก ส่งผลต่อการตัดสินใจและพลาดโอกาสที่ดีไป การสร้างแรงบันดาลใจจึงเริ่ม จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ผลงานชิ้นนี้เป็นชิ้นงานที่ข้าพเจ้าได้นำข้อคิดจากการสังเกตพฤติกรรม การปรับตัว การใช้ชีวิตที่ เรียบง่าย อิสระของแมวมาเป็นเสมือน การลองปรับตัวแบบแมวอาจทำให้เรากล้าที่จะเผชิญในสิ่งที่กังวล สับสน และคิดมากเกินไปก็เป็นได้ และได้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวละครขึ้นมาที่มาแรงบันดาลใจจากแมวของข้าพเจ้า เอกสารอ้างอิง จอห์น เกรย์. (2564). ปรัชญาแมว ปรัชญาเหมียว : แมวและความหมายของชีวิต. กรุงเทพฯ : se-ed. ชลูด นิ่มเสมอ. (2539). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. ดนุพล เขียวสาคู. (2548). รู้เรื่องแมวเมืองไทย. กรุงเทพฯ : โหลทอง มาสเตอร์พริ้นท์ จำกัด. วิชิต สิงห์ทอง. (2540). สารคดีชุดสัตว์เลี้ยงไทย แมวไทย. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิพเพรส จำกัด. David & Charles (2021). 365 Days of Unicorns. USA : Tourism House TOOD MCCARTHY. Puss in Boots: Film Review. Accessed 23OCTOBER 2011, available https://www.hollywoodreporter.com/
312 จิตรกรรมและหนังสือกรีด (Flipbook) จากจินตนาการแห่งความทรงจำ ที่สะท้อนความสุขความรักและความผูกพัน PAINTING AND FLIPBOOK FROM IMAGINATION IN MEMORY OF HAPPY LOVE AND RELATIONSHIP สุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ, SutthasineeSuwuttho 1 ซอยชักพระ 20 ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170, 1SoiChakphra 20 Talingchan, Bangkok 10170 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ งานสร้างสรรค์ชุดนี้เกิดจากการนำเอาภาพของลูกชายที่วาดไว้เมื่อตอนอายุ4 ปี เขาขีดเขียนลายเส้น เป็นภาพการ์ตูนคล้ายสิงโตผู้สร้างสรรค์จึงเกิดความประทับใจนำมาต่อเติมจินตนาการและเรื่องราวที่สะท้อน ความสุขความรักและผูกพันของผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นแม่ที่มีต่อลูก และสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรมและ หนังสือกรีด (Flipbook) มีวัตถุประสงค์1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานผ่านกระบวนการทางจิตรกรรมและหนังสือ กรีด (Flipbook) ที่สะท้อนสภาวะความสุขความรักและความผูกพัน 2) ศึกษาค้นคว้า รูปแบบ เทคนิควิธีการ สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมและการสร้างสรรค์หนังสือกรีด (Flipbook)3)สามารถพัฒนาเป็นแนวทางนํามา สู่การพัฒนาในการเรียนการสอนรายวิชาจิตรกรรม แนวความคิดในการสร้างสรรค์ นำโครงสร้างจากภาพที่เกิดจากการขีดเขียนของลูกชายวัย 4 ปี มาต่อ เติมเรื่องราวลงไปในภาพโดยใช้จินตนาการผ่านการแสดงออกของทัศนธาตุทางศิลปะอาทิเส้นสีน้ำหนักรูปทรง พื้นผิว ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่หลอมรวมจินตนาการร่วมกันของแม่และลูก โดยสร้างสรรค์เป็นผลงาน ศิลปะที่นำเสนอในรูปแบบจิตรกรรมเทคนิคผสม และหนังสือกรีด (Flipbook)ที่เป็นหนังสือขนาดเล็กเมื่อใช้มือ กรีดกระดาษจะแสดงภาพเคลื่อนไหวซึ่งใช้เทคนิคกระบวนการถ่ายภาพและโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกมา สร้างสรรค์เพื่อแสดงเรื่องราวสื่อถึงคุณค่าทางจิตใจ สะท้อนสภาวะความสุขความรักและผูกพันตลอดจนนำ รูปแบบการสร้างสรรค์ดังกล่าวมาพัฒนาเป็นแนวทางการเรียนการสอน การสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้นอกจากจะได้ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และแนวความคิดแล้ว ยังได้รับ ประโยชน์จากสิ่งที่ค้นพบสื่อถึงความรู้สึกที่ต้องการแสดงออก เป็นแนวทางในการพัฒนาเข้าสู่การสร้างสรรค์ ผลงานที่มีการนำเสนอผลงานทางจิตรกรรมประกอบหนังสือกรีด (Flipbook) ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนารูปแบบ การนำเสนอผลงานศิลปะที่มีการจัดวางรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เข้ามามีส่วนร่วมประกอบการสร้างสรรค์ ผลงานต่อไป คำสำคัญ: จิตรกรรม, หนังสือกรีด (Flipbook), จินตนาการแห่งความทรงจำ, สะท้อนความสุขความรักและความผูกพัน
313 Abstract This artwork is inspiredby the drawings of the artist’s son when he was only four years old. The artistrecreatedher son’s drawings of a lion to paint pictures which she later consolidated into a Flipbook that portray the concepts of happiness, love, concern, and commitment to children. The objectives are: 1) to consolidated paintingsinto a flipbook that narrates stories of happiness, love, concern, and maternal commitment; 2) Study and research the styles, techniques, and creative methods of painting to create tapping books (Flipbook); and 3) Develop a basis for the enhancement of panting pedagogy. This creative work presents the process and structure of a drawing by a 4-year old child through the artist’s own perception of the drawing’s visual art elements such as line, color, weight, shape, and texture, which the artist used as basis to create stories in the form of images. Hence, this is a combination of the creative works of a mother (the artist) and her son, consolidated into one complete flipbook that conveys moral values and depicts concepts of happiness, love, concern, and commitment. This creative work aims to inspire other works related to the conveyance of several emotions or feelings. These inputs will provide insights on the use of painting in combination with other techniques, and also in combination with technology, in the production of creative works. Keywords: painting, flipbook, imagination, reflection, happiness, love, 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา จากชีวิตจริงของผู้สร้างสรรค์มีลูกชายและได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับเขา ได้เห็นพัฒนาการและ พฤติกรรมที่การแสดงออกจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ทำร่วมกัน อาทิ การเล่นของเล่นการฟังนิทานการฟังเพลง ตลอดจนการวาดภาพซึ่งเป็นสิ่งที่เขามีความสนใจผู้สร้างสรรค์มองเห็นเส้นต่าง ๆ ที่ลูกได้ขีดเขียนในกระดาษ ถึงแม้บางครั้งจะมองไม่ออกว่าเป็นภาพวาดของอะไรแต่ผู้สร้างสรรค์ชื่นชอบและสนใจในสิ่งที่เขาวาดออกมา และเก็บภาพวาดของลูกทุกภาพโดยผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้นำภาพวาดของลูกที่วาดไว้เมื่ออายุ 4 ปี เป็นภาพลายเส้นการ์ตูนคล้ายสิงโตมาต่อเติมโดยใช้จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ผ่านการแสดงออกของ ทัศนธาตุทางศิลปะอาทิเส้นสีน้ำหนักรูปทรงพื้นผิวให้เกิดเป็นผลงานจิตรกรรมรูปแบบกึ่งนามธรรม (Semi Abstract) และจัดทำหนังสือกรีด (Flipbook) เป็นหนังสือขนาดเล็กเมื่อใช้มือกรีดกระดาษจะแสดง ภาพเคลื่อนไหวนำมาจัดวางประกอบผลงานจิตรกรรม โดยหนังสือกรีด (Flipbook) แสดงภาพเคลื่อนไหวที่ สอดคล้องกับผลงานจิตรกรรมเพื่อขยายเพิ่มความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการสะท้อนความสุขความรักและ
314 ความผูกพันของแม่กับลูกลักษณะการสร้างสรรค์ดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนการหลอมรวมจินตนาการร่วมกันของ ผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นแม่และลูกชายในแง่มุมของช่วงเวลาหนึ่งถือเป็นกำลังใจอันสำคัญให้ผู้สร้างสรรค์มีความทรง จำที่ดีและมีความสุขเมื่อเวลาที่นึกถึงโดยผู้สร้างสรรค์ต้องการบอกลูกว่าแม่คนนี้มีความสุขที่ได้อยู่กับลูกและรัก ลูกมากความผูกพันเหล่านี้จะเป็นความทรงจำที่งดงามและคงอยู่ตลอดไป ในทุก ๆ ภาพที่ได้สร้างสรรค์ล้วนมีความหมายกับชีวิตข้าพเจ้าเป็นอย่างมากและยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามแนวคิดข้างต้นนี้ เพื่อต้องการสื่อถึงสภาวะความรักความผูกพันของผู้ สร้างสรรค์ที่มีต่อลูกแม้วันเวลาจะผ่านมายาวนานแค่ไหนก็ตามความทรงจำเหล่านี้ยังคงมีความหมายสร้าง สัมพันธ์ทางความรู้สึกและให้ความอบอุ่นเป็นพลังใจตลอดไป 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้เป็นการนำเอาภาพวาดที่ได้ของลูกชายมาต่อเติมจินตนาการและเรื่องราว ซึ่งเป็นการสนับสนุนและต้องการการปลูกฝังให้ลูกได้แสดงออกผ่านภาพวาด โดยการวาดภาพในวัยเด็กนั้นมี ประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะสามารถเพิ่มทักษะการคิดและรู้สึก ให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้และค้นหาจาก ประสบการณ์จากพัฒนาการในด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตัวเองซึ่งจะมีผลให้เกิดการแสดงออกทาง จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องเป็นการฝึกฝนให้เขามีพื้นฐานที่ดีที่จะนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันในภายหลังเมื่อเขาได้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไปดังณัฐรดาสุขสุธรรมวงศ์ (2553: 10) กล่าวไว้ว่า ความจำเป็นที่ต้องชวนลูกวาดรูปเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ใหญ่ในการดูแลเด็ก เพราะทำให้ผู้ใหญ่ ทราบพัฒนาการ หรือปัญหาทางอารมณ์ของเด็กโดยสังเกตจากภาพวาด เป็นเครื่องมือในการสอนศีลธรรม จริยธรรมแก่ลูกทางอ้อม เป็นวิธีการหนึ่งในการแก้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น ซึ่งศิลปะนั้นเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ดี และนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาได้ หันเหความสนใจของเด็กออกจากคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และเกมส์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดผลดี สำหรับเด็กในการวาดรูป จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของสมอง พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้เด็กมี ความทรงจำที่ยาวขึ้น และพัฒนาการสื่อสารความคิดออกมาเป็นรูปธรรม ความหมายและความสำคัญของ “จินตนาการ” มีผู้ให้ความสำคัญและนิยามความหมายของ จินตนาการไว้มากมายเช่นจินตนาการคือภาพที่ถูกสร้างขึ้นในจิตใจจินตนาการเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ ด้วยประสาทสัมผัสจินตนาการหล่อเลี้ยงความเป็นมนุษย์โลกจินตนาการเป็นเรื่องธรรมดาสามัญของมนุษย์ทั้ง เด็กและผู้ใหญ่หรือแม้แต่ศิลปินผู้สร้างงานศิลปะแทบทุกคนพากันกล่าวอ้างว่าผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้น มาจากจินตนาการส่วนตน (Imagination Studio. 2012: para. 1) การใช้จินตนาการวาดภาพต่อเติมเรื่องราวเข้าไปในภาพผลงานของลูกที่ได้นั้นเป็นการหลอมรวม จินตนาการร่วมกันของข้าพเจ้าและลูกชาย เพื่อต้องการสะท้อนสภาวะของความสุขความรักและผูกพันจากแม่ คนหนึ่งถึงลูกโดยผ่านทัศนธาตุทางศิลปะ อาทิ เส้นสีน้ำหนักรูปทรง พื้นผิวและการเคลื่อนไหวแสดง
315 รายละเอียดแทนความหมายถึงของสิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัวที่แสดงออกถึงคุณค่าทางจิตใจผ่านรูปแบบทางจิตรกรรม และมีหนังสือกรีด (Flipbook) ประกอบ เพื่อสะท้อนความสุขความรักและผูกพันจากแม่ที่มีต่อลูก 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้แสดงภาพจินตนาการที่เกิดจากการนำเอาภาพวาดของลูกคล้ายตัวสิงโตมา ต่อเติมโดยผ่านทัศนธาตุทางศิลปะเพื่อสะท้อนความสุขความรักจากแม่ที่มีต่อลูก ใช้จินตนาการแทนความ หมายถึงสิ่งต่างๆใกล้ตัวโดยต่อเติมใบหน้าลูกชายและผู้สร้างสรรค์อยู่ใกล้ชิดกัน ใส่รายละเอียดรอบ ๆ เป็น บรรยากาศภายในบ้านที่มีสิ่งรอบตัวเป็นของเล่นต่าง ๆ อยู่บนพื้น และมีนาฬิกาประดับตกแต่งผนังและการ สร้างสรรค์หนังสือกรีด (Flipbook) ประกอบ ซึ่งหนังสือกรีดได้แสดงภาพเคลื่อนไหวที่สื่อเรื่องราวของแม่และ ลูกที่ดูมีความสุขความรักและมีความผูกพันต่อกันผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีรายละเอียดที่แสดงออกถึงคุณค่าทาง จิตใจนำเสนอผ่านผลงานจิตรกรรมและหนังสือกรีด (Flipbook) จัดวางประกอบโดยมีรายละเอียดใน กระบวนการและขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงาน ดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากผลงานศิลปินจากหนังสือ ตำรา ทางอินเตอร์เน็ตและดำเนินการหาข้อมูล การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมและหนังสือกรีด (Flipbook) 2. ดำเนินการสร้างสรรค์ภาพร่างผลงาน (Sketch) โดยนำภาพวาดของลูกชายที่ได้ร่างภาพด้วยดินสอ ลักษณะคล้ายตัวสิงโตนำมาต่อเติมให้เกิดภาพตามจินตนาการ โดยใช้ทัศนธาตุทางศิลปะอาทิ เส้นสีน้ำหนัก รูปทรงพื้นผิวและการเคลื่อนไหวแสดงรายละเอียดในผลงานที่แสดงเรื่องราวผ่านการสังเคราะห์วิเคราะห์คุณค่า ทางด้านอารมณ์ความรู้สึกและปรากฏการณ์ส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์ 3.สร้างสรรค์ผลงานจริงโดยขยายจากต้นแบบภาพร่างผลงาน (Sketch) ผ่านกระบวนการทาง จิตรกรรมโดยใช้ทัศนธาตุทางศิลปะอาทิเส้นสีน้ำหนักรูปทรงพื้นผิวแทนความหมายทางความรู้สึกถึงสิ่งต่างๆ ที่การแสดงออกถึงคุณค่าทางจิตใจ สะท้อนความสุข ความรัก และผูกพัน จากแม่ถึงลูกขนาด 100 x 100 ซ.ม. จำนวน 1 ภาพ 4. สร้างสรรค์ผลงานหนังสือกรีด (Flipbook) ขนาด 4 x 10 ซ.ม. จำนวน 1 เล่ม เพื่อนำไปจัดวาง แสดงประกอบผลงานทางจิตรกรรม ซึ่งหนังสือกรีด (Flipbook) ดังกล่าวจะแสดงภาพเคลื่อนไหวโดยใช้เทคนิค การถ่ายภาพนิ่งและการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคมาสร้างสรรค์ สามารถแสดงเรื่องราวที่สัมพันธ์กับผลงาน จิตรกรรมและแสดงออกถึงคุณค่าทางจิตใจได้ 5. นำเสนอผลงานสร้างสรรค์ที่นำเสนอผ่านผลงานจิตรกรรมและมีหนังสือกรีด (Flipbook) จัดวาง ประกอบผลงาน
316 ภาพวาดของลูก ภาพที่1 ผลงานภาพวาดของลูกชาย วัย 4 ปี เทคนิคดินสอดำที่วาดเล่นทิ้งไว้เป็นต้นแบบที่ผู้สร้างสรรค์นำมาต่อเติมจินตนาการ ที่มา : ด.ช.รพีพงศ์ สุรวิทย์ชัย ภาพที่2 ภาพร่างผลงาน (Sketch) ที่วาดโดยเพิ่มเติมจากโครงสร้างผลงานของลูกชายโดยผู้สร้างสรรค์ ใช้จินตนาการต่อเติมเรื่องราวจากภาพวาดด้วยเทคนิค ดินสอสี สีน้ำ สีไม้ สีเมจิก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่3 แสดงการเปรียบเทียบการสร้างสรรค์ภาพร่างผลงาน (Sketch) ที่วาดโดยเพิ่มเติมจากโครงสร้างผลงานของลูกชาย โดยผู้สร้างสรรค์ใช้จินตนาการต่อเติมเรื่องราวจากภาพวาดด้วยเทคนิคดินสอสีสีน้ำสีไม้สีเมจิก ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานชิ้นนี้ ชื่อภาพ “Love is Eternity3” ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่1ผลงานจิตรกรรมเทคนิค ผสมรูปแบบ 2 มิติและหนังสือกรีด (Flipbook) จัดวางประกอบผลงาน ประเด็นสาระของผลงานชิ้นนี้เป็นการ สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่ได้ต่อเติมเรื่องราวจากการนำเอาภาพวาดการ์ตูนคล้ายสิงโตของลูกวัย4ปี ที่ได้ วาดไว้ มาต่อเติมจินตนาการและเรื่องราวที่มีความสุขโดยใช้ทัศนธาตุทางศิลปะอาทิเส้นสีน้ำหนักรูปทรงพื้นผิว แสดงออกผ่านความรู้สึกที่ได้รับตามวิถีชีวิตและประสบการณ์ส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์และ ส่วนที่ 2 หนังสือ กรีด (Flipbook) ที่ใช้เทคนิคการถ่ายภาพนิ่งและการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกมาสร้างสรรค์เป็นหนังสือภาพที่
317 เมื่อใช้มือกรีดหนังสือจะเห็นภาพเคลื่อนไหวที่แสดงเรื่องราวสัมพันธ์กับผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมเพื่อ แสดงออกถึงคุณค่าทางจิตใจที่สะท้อนความสุขความรักและผูกพันที่ต้องการนำเสนอ ภาพงานสร้างสรรค์ชื่อภาพ “Love is Eternity3” ภาพที่4 ชื่อภาพLove is Eternity3 ผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมรูปแบบ 2 มิติขนาด 100 x 100 ซม.และหนังสือกรีด (Flipbook) ขนาด 4 x 10 ซ.ม. จัดวางประกอบผลงาน ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่5 ผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมรูปแบบ 2 มิติขนาด 150 x 120 ซม. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่6 แสดงรายละเอียดผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมโดยการใช้เทคนิคเดคูพาจสร้างโครงสร้างของผลงานขยายทีละส่วน และเก็บรายละเอียดด้วยการปาดป้ายสีน้ำมันระบายทับ ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
318 ภาพที่7 หนังสือกรีด (Flipbook) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ ภาพที่8 แสดงภาพรายละเอียดหนังสือกรีด (Flipbook) ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นนี้เกิดจากการนำเอาภาพวาดของลูกมาต่อเติมจินตนาการและเรื่องราว ที่สะท้อนสภาวะความสุขความรักความห่วงใยและผูกพันของข้าพเจ้าที่มีต่อลูก โดยผลงานได้นำเสนอผลงาน จิตรกรรมเทคนิคผสมรูปแบบ 2 มิติและหนังสือกรีด (Flipbook) จัดวางประกอบผลงาน ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ ผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมที่ใช้จินตนาการผ่านการแสดงออกซึ่งรายละเอียดที่สื่อผ่านทัศนธาตุทางศิลปะอาทิ เส้นสีน้ำหนักรูปทรงพื้นผิวมาจินตนาการต่อเติมในภาพวาดลูกที่ทำให้เกิดรูปร่างรูปทรงให้เกิดเป็นผลงาน จิตรกรรมรูปแบบกึ่งนามธรรม (Semi Abstract) และหนังสือกรีด (Flipbook) ที่ใช้สื่อเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิคในการสร้างสรรค์ที่มีเรื่องราวให้สัมพันธ์กับผลงานจิตรกรรมแสดงถึงคุณค่า ทางจิตใจเพื่อสะท้อนความสุขความรักและผูกพัน ผลงานชิ้นนี้จึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าใช้เป็นกิจกรรมสร้างสัมพันธ์และเป็นสื่อแทน ความรักความผูกพันที่มีต่อลูก ซึ่งพบว่าได้สามารถสะท้อนความรู้สึกที่ข้าพเจ้าอยากสื่อสารกับลูกได้อย่าง ใกล้ชิดการนำเสนอผลงานจิตรกรรมและหนังสือกรีด (Flipbook) ที่จัดวางประกอบด้วยนั้น เพื่อที่ต้องการ ขยายความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่อจากผลงานจิตรกรรมที่แสดงอยู่ให้สื่อทางความรู้สึกได้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง ผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากผลงานสามารถตอบวัตถุประสงค์และแนวความคิดในการสร้างสรรค์
319 เอกสารอ้างอิง ณัฐรดา สุขสุธรรมวงศ์. (2553). ชวนลูกวาดรูป. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สิปประภา Imagination Studio. (2555). ความหมายและหลักการของจินตนาการ.สืบค้นเมื่อ10 มกราคม, 2563, จาก https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=216718025130188&id=1985036 10284963&substory_index=0.
320 ภาพร่างเพียงรางเงา Shadow of image สุพจน์ ศิริรัชนีกร, Supoj Siriratchaneekorn สาขาทัศนศิลป์ ศิลปะจินตะทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรงเทพฯ 10110 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผู้คนในยุคร่วมสมัยที่หลงไปกับความมัวเมา เมาหมกไปกับสื่อกิเลสอันท่วมท้นของกระแสบริโภคนิยม จนหลงลืมภาระอันเป็นจริงของชีวิต ความยึดมั่นจึงเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาที่มาพร้อมกับภาวการณ์อันวิปริต เช่นนี้ผลงาน “ภาพรางเพียงรางเงา” ถูกสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนภาวการณ์ ความเป็นจริงของชีวิตกับเรื่องของ ความตายที่อยู่คู่กันเหมือนเงาตามตัวสะท้อนสาระของชีวิต การรู้เท่าทันของชีวิตเพื่อการเป็นอยู่ที่ไม่ประมาท และการดำรงชีวิตอยู่ที่เหมาะสมด้วยปัญญา โดยนำเสนอผ่านผลงานทางจิตรกรรมซึ่งเป็นสื่อทางศิลปะแขนง ของผู้สร้าง คำสำคัญ : ความตาย, จิตรกรรม Abstract People of the Modern era who are obsessed with intoxication with the overwhelming passion of consumerism until forgetting the real burden of life. Consequently adherhnce is what pases the problem that comes with these perverse situation. “Shadow of image” is just the Performance that is created for express those situation. The reality of life and the death go hand in hand like a reflection of life. Knowledge of life for a carefree and proper existences with wisdom, that is presented through the works of paining, which is the artistic medium of the creator. Keywor : Death, painting 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผลงานจิตรกรรมชิ้น “ภาพร่างเพียงรางเงา” นั้น เป็นผลงานที่เกิดจากประสบการณ์ของการสูญเสีย หรือการได้สัมผัสจากผู้ใกล้ชิดที่ประสบกับความเจ็บไข้ได้ป่วย ความทุกข์ใจกับการได้เห็นสภาพของร่างกายที่ เปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมที่อบอวลไปด้วยความทุกข์ที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามต้องเผชิญสิ่งที่พบเห็นดังกล่าวจึง เป็นเสมือนแรงบันดาลใจเริ่มแรกในการจะเข้ามาศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ความไม่จีรังความไม่เสถียรของร่างกาย
321 รวมถึงการแตกดับนั้น ในประวัติศาสตร์ทางศิลปะได้ถูกกล่าวถึงมาตั้งแต่อดีตกาล ภาพของร่างกายมนุษย์กับ ภาพสุดท้าย ในเรื่องของความตาย จึงถูกนำมาเขียนเป็นหัวข้อสำคัญมาโดยตลอดของช่วงประวัติศาสตร์ทาง ศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นภาพตัวแทนของความเสื่อมสลาย หรือภาพสัญญะที่สื่อถึงเรื่องของความไม่จริงของสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น สิ่งที่เรียกว่า วานิทัส (Vanitas) ที่มักปรากฏอยู่ในภาพหุ่นนิ่งในช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 ใน ภาพที่เรียกว่า Vanitas stilllifeวานิทัสคือสัญลักษณ์ของความไม่ยั่งยืน ความไม่แน่นอน รวมถึงความไร้ ประโยชน์ของความตายซึ่งเป็นภาษาละติน เหล่านี้นำไปสู่บรรทัดฐานที่ซ้อนทับกันของคำว่า Memento mori ในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการที่คอยเตือนเราว่าความตายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และความตายเป็นสิ่งสากลไม่มี การแบ่งชนชั้นวรรณะ ดังงานภาพพิมพ์แกะไม้ชิ้นสำคัญที่เน้นย้ำถึงความตายกับความเป็นสากลที่ปรากฏ ชัดเจนในงานของไมเคิล โวลเจมุท (Michel Walgemut) ในงานที่ชื่อ “การเต้นรำของความตาย” ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ผลงาน “ภาพร่างเพียงรางเงา” จึงมีที่มาที่จะสะท้อนความเป็นสากลของ ความตาย ที่ทุกผู้ทุกนามต้องประสบพบเจอรวมถึงสะท้อนไปสู่การตระหนักรู้ว่าชีวิตมีจำกัดอย่าใช้ชีวิตไปกับ เรื่องราวอันไม่มีสาระในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ 2. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลงาน “ภาพร่างเพียงรางเงา” นั้น มีแนวคิดที่กล่าวถึงเรื่องความสูญเสีย ความไม่จีรังไม่แน่นอนของ ชีวิตผ่านการสะท้อนภาพของรูปทรงสีเส้นและเนื้อหาดังที่กล่าวไว้ในการสนับสนุนของแนวคิดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ของวานิทัส หรือ เมเมนโตโมริ(Memento mori) ที่เป็นแนวคิดและการปฏิบัติในผลงานทางศิลปะ ของศิลปะ ในอดีตรวมถึงประวัติศาสตร์ทางศิลปะที่มิเคยห่างหายไปจากแนวคิดเรื่องความตาย ดังนั้นแนวคิดนี้จึงเป็น หน่วยในการสนับสนุนในการสร้างผลงานชิ้นนี้ โดยรูปแบบของผลงาน “ภาพร่างเพียงรางเงา” จะถูกนำเสนอ เป็นผลงานจิตรกรรมในรูปแบบกึ่งนามธรรม (Semi-Abstract) โดยผลงานจะเสนอสิ่งที่เป็นจริงผสมผสานกับ จินตนาการ เพื่อให้ผลของภาพแสดงแสดงในเรื่องความรู้สึกออกมามากที่สุด โดยเนื้อหาภายในภาพก็พยายาม ที่จะซ้อนนัยยะรูปสัญญะบางอย่าง รวมถึงบรรยากาศของเส้นสีพื้นผิว หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ให้ดูแล้วมีความ เป็นนามธรรม และมีความเป็นฟิกเกอร์เรทีฟ ผสมปนเปลงไป ภาพร่างกายสีดำที่ดูคลุมเครือ เส้นสายที่ระโยง ระยางรวมถึงลายเส้นที่สั่นพร่าเลือนถูกสร้างเพื่อให้รู้สึกถึงความไม่แน่นอนของชีวิตนั้นเอง 3. กรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ 3.1 รวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่าง ๆ อาทิภาพผู้ป่วยติดเตียงภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่สถานสงเคราะห์ อนาถารวมถึงภาพถ่ายต่าง ๆ ทางอินเตอร์เน็ตนิตยสารรวมถึงภาพผลงานของศิลปินต่าง ๆ ที่ทำงานในลักษณะ เดียวกันเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำแบบร่าง 3.2 นำข้อมูลที่รวบรวมมาเข้าสู่กระบวนการสร้างแบบร่างผสมกับเรื่องของจินตนาการเพื่อสร้างแบบ ร่างที่สมบูรณ์
322 3.3 เมื่อแบบร่างที่ได้จากข้อมูลที่รวบรวมเสร็จสิ้นในขั้นนี้จะมีการหาสื่อสัญญะอื่น ๆ มาประกอบสร้าง เพื่อบ่งบอกถึงนัยแห่งความเจ็บป่วยไม่จีรังไม่แน่นอนรวมถึงภาวการณ์ของภาพจำต่าง ๆ มาผสมผสานเพื่อ สร้างผลงาน 3.4 ขึ้นภาพร่างบนแผ่นเฟรม รวมถึงการเตรียมเรื่องอุปกรณ์เพื่อสร้างและปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานจริง 3.5 ขณะที่ปฏิบัติงานจริง จะมีการตัดสกัดเพิ่มเพื่อความเหมาะสมขององค์ประกอบ ของผลงานใน ขณะนั้น ทุกสิ่งจะมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าขณะที่เผชิญอยู่กับช่วงแห่งการปฏิบัติจริง เพื่อให้งานออกมาสด และมีชีวิตชีวามากที่สุดอีกทั้งการสำแดงให้มีลักษณะแบบนามธรรมนั้น การด้นสด (Improvise) เป็นอีก หนทางหนึ่งที่จะทำให้ผลทางมีชีวิตชีวาเช่นกัน โดยงานชิ้นนี้จะใช้ การกลวิธีระบายสี แบบการระบายเรียบ (Flat wash) ผสมผสานกับการระบายสีผสม การขูดขีด (Scraping Back) และในตัวฟิกเกอร์สีดำ ก็จะมีการใช้ ระบายสีโดยการใช้วัสดุอ่อนนุ่ม (Dabbing) หรือบางพื้นที่จะมีการใช้การระบายสีแสดงร่องรอยพู่กัน (Brushwork) ผสมผสานกับเส้นเกรยอง ดินสอ โดยปล่อยพื้นเดิมที่เป็นสีขาว เพื่อสร้างความขัดแย้ง (Contrast) ประหนึ่งการมองเห็นภาพแบบย้อนแสง โดยเฉพาะในตัวฟิกเกอร์ดำที่เป็นจุดเด่นของภาพเพื่อสร้าง ความคลุมเครือ ภาพที่1 ผลงาน “ภาพร่างเพียงรางเงา” จิตรกรรมสีอะครายลิค, เกรยอง, ดินสอ ขนาด 141 x 240 ซม. ที่มา : สุพจน์ ศิริรัชนีกร 4. การวิเคราะห์ผลงาน 4.1 ภาพฟิกเกอรสีดำ : เป็นภาพร่างกายของมนุษย์ที่วางสลับหัวท้ายและกลับหน้าหลัง โดยแสดงของ ตัวร่างกายที่ดูคลุมเครือมีลักษณะกึ่งนามธรรม โดยภาพฟิกเกอร์นั้นมาจากภาพเงาย้อนแสงรวมถึงอิทธิพลของ ศิลปินอย่างอีฟ ไคลน์ (Yves Klein) กับผลงานในปี ค.ศ.1960 “Anthropometry of the Blue Period” ที่ เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างตัวฟิกเกอร์สีดำในผลงานซึ่งเป็นตัวแทนของร่างกายมนุษย์กับ ความเจ็บไข้ได้ ป่วยความไม่คลุมเครือของฟิกเกอร์ที่มีการตัดสกัดหรือตัดทอนออกไปเพื่อแสดงเรื่องของความไม่เสถียรของ ร่างกาย
323 ภาพที่2 รายละเอียดของผลงาน “ภาพร่างเพียงรางเงา” ภาพที่3 ผลงาน :“Anthropometry of the Blue Period” ศิลปิน : Yves Klein 4.2 ภาพหมอน ศรีษะสายระโยงระยาง: หมอน คือวัตถุของการหนุนศีรษะ ที่มีร่องรอยของเส้นผมที่ หลุดร่วง ศีรษะชายและหญิงที่หลุดออกจากช่วงคอ มีสายสีแดงส่งถึงกัน แสดงถึงความสัมพันธ์ของฟิกเกอร์ทั้ง สอง กับร่างกายที่กำลังจะแตกสลาย รวมถึงเส้นสายสีดำที่แสดงออกในเรื่องของสื่อที่คงยึดอยู่ในจิตใจ ภาพ โดยรวมคือปรากฏการณ์ของช่วงเวลาที่ร่างกายกำลังจะแตกสลายนั้นเอง ภาพที่4 รายละเอียดของผลงาน “ภาพร่างเพียงรางเงา” 4.3 ภาพหวีที่มีเส้นผมติดภาพศีรษะ : คือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ปรากฏ อยู่ทุกเมื่อทุกวันกับร่างกายที่มุ่งสู่การสูญสลาย ภาพที่5 รายละเอียดของผลงาน “ภาพร่างเพียงรางเงา”
324 4.4 ภาพปรากฏของผู้คน สถาพแวดล้อมต่างกรรมต่างวาระที่อยู่มุมซ้ายและบริเวณด้านล่างของตัว ภาพ : เป็นภาพลายเส้น แสดงออกของการสำนึกเรื่องของประสบการณ์ต่าง ๆ อาทิ ความสูญเสียความบีบคั้น ภาพฝันร้าย ฯลฯ ภาพที่6 รายละเอียดของผลงาน “ภาพร่างเพียงรางเงา” 5. สรุป ผลงานจิตรกรรม “ภาพร่างเพียงรางเงา” นั้น คือผลงานทางจิตรกรรม ที่พยายามสื่อถึงเรื่องของความ ตาย โดยการใช้ข้อมูลจากประสบการณ์จริง ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ อิทธิพลของผลงานศิลปะที่มีผลต่อ ผู้สร้างงาน โดยทั้งหมดจะถูกนำมาสร้างสรรค์ โดยใส่เรื่องของภาพสัญญะ ภาพตัวแทนต่าง ๆ มีการผสมผสาน โดยเลือกใช้รูปแบบการแสดงออก แบบกึ่งนามธรรม ที่คิดว่าตรงกับความประสงค์ของผู้สร้างงานมากที่สุด สุดท้าย “ภาพร่างเพียงรางเงา” คือผลงานที่สะท้อนความไม่แน่นอน ความไม่จีรังของชีวิต ผ่านภาพ งานจิตรกรรม และตอกย้ำว่าชีวิตมนุษย์มีค่ามากกว่าจะมาทำเรื่องไร้สาระและอย่าประมาทกับเรื่องของชีวิต เอกสารอ้างอิง อดิศร พรศิริกาญจน์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจิตรกรรมสีน้ำมันของนิสิตเอกศิลปศึกษา โดยวิธีการสอนการระบายสีน้ำมันตามแนวทางสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย. ปริญานิพนธ์ กศ.ม. (ศิลปศึกษา) กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. Google Art & Culture. (2022). The Art of dying : Memento mori through the ages. Retrieved March 18. 2022 from https://artandculture.google.com/usergallery/the-artof-dyingmemento-mori-through-the-ages/DALS561GGrTJlA.
325 “ช้าง” การอนุรักษ์ในภาวะการณ์ปัจจุบัน “Elephants” Conservation in the current situation สุวดีประดับ, Suwadee Pradab มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ 168 ถ.ศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Faculty of Home Economic 168 Sri Ayutthaya Road. Dusit District. Bangkok 1030 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ช้างเป็นสัตว์สังคมที่เลี้ยงลูกด้วยนม ออกหากินในช่วงกลางคืน เอกลักษณ์ที่สำคัญของช้างคืองวงและงา อยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มก้อนในลักษณะเครือญาติช้างจัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดพบได้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในอาเซียน เช่น ไทย ลาว พม่าฯลฯ สำหรับในประเทศไทย ช้างมีความสำคัญต่อคนไทยมาช้านาน เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง ปัจจุบันช้างได้รับผลกระทบมากมาย พบปัญหาคนกับช้างในการอยู่ร่วมกัน ทำให้ช้างมี จำนวนลดน้อยลงมาก จนใกล้สูญพันธุ์ จากเหตุดังกล่าวจึงมีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนสิ่งทอ เพื่อเป็นสื่อ ในการเรียกร้องและแสดงออกทางการอนุรักษ์ให้ช้างอยู่คู่สังคมต่อไป โดยมีกระบวนการ คือ ศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับช้าง ข้อมูลบาติก นำมาออกแบบลวดลายช้าง ทดลองเทคนิคการสร้างสรรค์และสร้างสรรค์ ผลงานโดยใช้กระบวนการของบาติก เขียนลวดลายด้วยเทียน ระบายสี พ่นสีเพื่อสร้างพื้นผิว และการวาด ลวดลายด้วยปากกาลงบนผ้าฝ้าย ใช้สีกลุ่มเย็น จากการสร้างสรรค์ทำให้ได้รูปแบบงานศิลปะสิ่งทอที่มี เอกลักษณ์เฉพาะอีกหนึ่งรูปแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานศิลปะบาติกสำหรับกลุ่มอาชีพงานบาติก นิสิต นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจ ตลอดจนเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมการอนุรักษ์ช้างไทยและช้างในเอเซีย ได้อีกช่องทาง คำสำคัญ: ช้าง, อนุรักษ์, บาติก Abstract Elephants are mammal and social animal. Their trunks and ivories are the specific symbol. They come out and find their food at night and always live in relative groups. This largest animal lives in many countries, especially in Asian such as Thailand, Laos and Myanmar. In Thailand, elephants are meaningful to Thai people for a long time and they are deemed the national animal. Nowadays, the elephant living is affected by many problems regarding coexistence of humans and elephants. The problems are reasons for the serious decrease in the elephant population to near extinction. For this reason, there is an initiative of fabric artwork for purpose of presenting and calling for the elephant conservation. The
326 artwork is based on various processes consisting of surveying the information on elephant and batik art before designing the required elephant patterns, testing many creative techniques and making artworks based on the batik techniques. The batik techniques consist of wax drawing, background color spraying and pattern drawing by using pen. The cotton cloth is used to make batik and the colors of cool tone are adopted. This creative initiative results in a unique fabric artwork which can be applied to the batik art for occupational groups, college students, pupils, university students and general interested persons. In addition, this initiative is another way of enhancing the elephant conservation in Thailand, including other countries in Asia. Keywords : elephant conserve Batik 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ช้างเป็นสัตว์สังคมที่เลี้ยงลูกด้วยนม กินพืชเป็นอาหารโดยเฉลี่ยประมาน 200-400 กิโลกรัมต่อวัน มักจะออกหากินในช่วงเวลากลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ที่เป็นเครือญาติกัน มีเอกลักษณ์ที่ สำคัญคืองวง และงา ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีลักษณะพิเศษสามารถทำกิจกรรมหลายอย่างได้เช่นใช้ในการหายใจ หยิบจับอาหารและสิ่งของต่าง ๆ สามารถใช้ในการส่งเสียงเรียกร้อง เป็นต้น ในบรรดาสัตว์บกช้างถือว่าเป็น สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีการกระจายพันธุ์ในกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรป โดยเฉพาะใน ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชาฯลฯ สำหรับในประเทศไทยช้างมี ความสำคัญต่อคนไทย และเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่อดีต เช่น เป็นสัตว์ที่ใช้ในการทำศึกสงคราม เป็น พาหนะ คู่กาย ของพระมหากษัตริย์และประชาชน จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยที่ปรากฏอยู่บนธง ไตรรงค์มาช้านาน ปัจจุบันช้างได้รับผลกระทบจากความเจริญของสังคมทำให้ใกล้จะสูญพันธุ์ ซึ่งบัญชีแดงของไอยูซีเอ็น จัดช้างไว้ในประเภทที่มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติและไซเตสจัดไว้ในบัญชีหมายเลข 1 (องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2564) นอกจากนี้ยังมีปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ จำนวนช้างลดลง อาจทำให้ช้างสูญพันธุ์ได้เป็นผลมาจากการถูกคุกคาม ของมนุษย์การขยายตัวของชุมชนรอบ พื้นที่ป่าอนุรักษ์มีผลลบโดยตรงต่อช้าง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกฝ่ายให้ ความสำคัญ เนื่องจากมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น (Wildlife Conservation Society, 2021) จากข้อมูลดังกล่าวเป็นผลให้มีแนวคิดนำเรื่องราวของช้างมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะทางด้านสิ่งทอ โดยสร้างสรรค์ลงบนผืนผ้า ใช้กระบวนการของบาติกผสมผสานกับเทคนิคการเขียนภาพด้วยปากกา เพื่อให้ เป็นผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะในอีกลักษณะหนึ่งที่มีความแตกต่างไปจากศิลปะบาติกโดยทั่วไป นอกจากนี้ ผลงานสร้างสรรค์ยังจะช่วยเป็นสื่อในการเรียกร้องและแสดงออกทางการอนุรักษ์ช้าง เป็นการส่งเสริมให้ทุกคน
327 ตระหนักและเห็นคุณค่าของสัตว์ป่าที่มีค่ายิ่ง และใกล้สูญพันธุ์ให้อยู่คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยและชาวเอเชีย ต่อไปตราบชั่วลูกชั่วหลาน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การอยู่ร่วมกันของคนกับช้างในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ในปัจจุบันทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ส่งผล ให้จำนวนช้างลดลงอย่างรวดเร็วและเข้าใกล้วิกฤติที่จะสูญพันธุ์ดังนั้นทุกคนควรมีส่วนร่วมที่จะช่วยกันอนุรักษ์ และรักษาช้างให้คงอยู่ต่อไป จึงเกิดแนวคิดและการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ในแนวทางของการสร้างสรรค์งาน ศิลปะสิ่งทอ ซึ่งรูปแบบในการอนุรักษ์ช้างสามารถกระทำได้ในบริบทต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์ศิลปะบนสิ่งทอ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริบทที่สามารถใช้เป็นสื่อในการอนุรักษ์ช้าง โดยอาศัยหลักบูรณาการของศิลปะประเภท วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ (จิตรกรรมและศิลปะหัตถกรรม) เพื่อให้เกิดเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัย ใช้ทฤษฎี ทางศิลปะมาเป็นตัวกลางในการสร้างสรรค์ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การดำเนินงานมีกระบวนการตามขั้นตอน โดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับช้าง ปัญหาของช้างที่ใกล้สูญพันธุ์ ศึกษากระบวนการของศิลปะบาติก นำมาวิเคราะห์และดำเนินการ ดังนี้ 1. ออกแบบลวดลายช้างโดยนำงวงช้าง ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญและโดดเด่นมาใช้ในการออกแบบและ การจัดวางในลักษณะต่าง ๆ เลือกใช้เส้นตรงเป็นภาพพื้นหลังเป็นภาพร่าง จำนวน 5 ภาพ คัดเลือก 1 ภาพ คือ ภาพที่ 5 สำหรับการสร้างสรรค์ผลงาน ภาพที่1 ผลงานภาพร่าง ที่มา : สุวดี ประดับ / Suwadee Pradab April 26, 2022 2. ทดลองเทคนิคตามกระบวนการของบาติก การเขียนลวดลายบาติกโดยใช้ขี้ผึ้งวาดลาย การวาด ลายเส้น และการพ่นด้วยสี 3. สร้างสรรค์ผลงานบนผ้าฝ้าย โดยใช้เทคนิคผสมผสานระหว่างบาติก พ่นสี และวาดลวดลายด้วย ปากกา มีขั้นตอน ดังนี้ 1 2 3 4 5
328 3.1 เขียนลวดลายเส้นตรงระนาบและเส้นตรงตั้งฉากให้ตัดกันในลักษณะของรูปสี่เหลี่ยมด้วย จันติ้ง จากนั้นนำมาระบายสีในลวดลาย 3.2 รอให้สีแห้งเคลือบด้วยโซเดียมซิลิเกตประมาณ 6 ชั่วโมง 3.3 ต้มเพื่อขจัดเทียนออกจากผ้า ซักน้ำและตากให้แห้ง 3.4 นำมาพ่นด้วยสีเพื่อสร้างพื้นผิว (Texture) ให้มีมิติและเกิดความระยิบระยับของสี 3.5 นำมาวาดลวดลายด้วยปากกาเพื่อแสดงรายละเอียดเนื้อหาของภาพในลักษณะของของงาน จิตรกรรม ภาพที่2 ผลงานสร้างสรรค์ ที่มา : สุวดี ประดับ / Suwadee Pradab April 26, 2022 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการศึกษาข้อมูลของช้างนำมาจัดองค์ประกอบของการจัดภาพ เน้นอวัยวะที่สำคัญและโดดเด่น คืองวงช้าง นำรูปร่าง รูปทรงของงวงช้าง ที่มีลักษณะของเส้นโค้ง แสดงถึงความอ่อนไหว พลิ้วไหวมาจัดวาง และออกแบบ ให้มีลักษณะของการทับซ้อน เกี่ยวพัน เชื่อมต่อ ให้เกิดท่วงท่า ลีลา ซึ่งเป็นพฤติกรรมของช้าง
329 ซึ่งงวงก็คือจมูกที่ใช้ในการหายใจ หยิบจับสิ่งของต่างๆโดยเฉพาะอาหาร งวงจึงหมายถึงการดำรงอยู่เพื่อให้มี ชีวิตรอดโดยการวาดด้วยปากกาให้มีน้ำหนักเข้มอ่อน แสดงลักษณะของผิวหนังช้างด้วยการใช้จุดให้ความรู้สึก ถึงความกระด้างของผิวหนัง ส่วนของพื้นภาพใช้ลายเส้นตรงที่ตัดกัน โดยใช้เทคนิคของบาติกและการพ่นด้วยสี เพื่อให้มีความรู้สึกถึงผิวหนังที่มีความแข็งกระด้างแต่แฝงไว้ซึ่งความนุ่มนวล ซึ่งลายเส้นสื่อถึงกำแพงกั้น ขอบเขตอาณาบริเวณที่ห้ามช้างลำเส้นเข้ามาในพื้นที่ของมนุษย์ ซึ่งนับวันขอบเขตเหล่านี้จะขยายอาณาเขต กว้างขึ้นเรื่อย ๆ โดยการบุกรุกพื้นที่ของช้าง ส่งผลให้ช้างจำเป็นต้องบุกรุกพื้นที่ของมนุษย์คืน ดังเห็นได้จาก ช้างเข้ามากินพืชผลทางการเกษตรของมนุษย์ที่เป็นข่าวปรากฏอยู่เนืองๆ การแสดงลวดลายพื้นผิว(Texture) ด้วยการพ่นสีเพื่อให้มีสีที่ส่องประกายระยิบระยับ และการวาดด้วยปากกาให้มีจุดเล็กๆมีค่าน้ำหนักเข้มอ่อน แสดงถึงลักษณะของผิวหนังช้างที่มีลวดลายจุดต่างๆและเป็นรูปทรงของช้างที่มีมิติ การใช้สีในกลุ่มสีเย็นคือสีฟ้า สีม่วง และสีน้ำเงิน ใช้สีม่วงสำหรับสื่อถึงการสูญพันธุ์ของช้างเพื่อแสดง ถึงความรู้สึก เศร้า แต่หากทุกคนร่วมมือในการอนุรักษ์ให้ช้างมีจำนวนมากพอที่จะสืบเผ่าพันธุ์ต่อไปจะ ก่อให้เกิด ความสงบ ความสุข หากมนุษย์และช้างอาศัยอยู่ร่วมกันได้โดยไม่บุกรุกซึ่งกันและกัน เรายังคงมีช้าง ให้ลูกหลานได้เห็นอีกในอนาคต จึงแสดงออกโดยการใช้สีฟ้า และสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีแห่งความโล่ง ปลอดโปร่ง และความสุขสงบ 5. สรุป ผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะสิ่งทอจัดเป็นผลงานจิตรกรรมอีกแนวหนึ่งที่ให้คุณค่าทางความงามและ ประโยชน์ใช้สอย การนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงสามารถนำไปเป็นภาพตกแต่ง สถานที่ อาคาร บ้านเรือน ตลอดจนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทางด้านสิ่งทอประเภทต่างๆ กระบวนการสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานศิลปะบาติกสำหรับกลุ่มอาชีพงานบาติก นิสิต นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจ ในส่วนของประโยชน์ทางอ้อมเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ช้างโดยใช้งานศิลปะสิ่งทอเป็นสื่อกลางในการอนุรักษ์ เอกสารอ้างอิง องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.(5 มีนาคม 2564). ช้างเอเชีย/Asian Elephant (Elephas maximus). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565 จาก https://www.zoo thailand.org/animal_view.php?detail_id=171&c_id=54 Wildlife Conservation Society. (2021). WILDLIFE ASIAN ELEPHANT สถานภาพ ถิ่นอาศัย และ บทบาทเชิงนิเวศวิทยา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565 จาก https://thailand. wcs.org/th-th/Wildlife/Asian-Elephant.aspx
330 ถอดรหัสอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัย Decoding Thai Contemporary Art Styles อรทยา สารมาศ, Orathaya Saramart ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สื่อสารแนวคิดทางอัตลักษณ์ไทยที่คงอยู่มานานและ พัฒนาจนถึงปัจจุบัน และ 2) นำเสนออัตลักษณ์ไทยที่กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ผ่านทางเครื่องหมายคิวอาร์โค้ด ที่เป็นเครื่องมือดิจิทัล โดยทำการจัดองค์ประกอบระหว่างลวดลายไทย ทั้งลายประจำยาม ลายกนก ลายพุ่ม ข้าวบิณฑ์ และลายกระจังตาอ้อย ที่นำมาปรับรูปแบบของไอคอนพิกเซล มาบูรณาการเป็นเครื่องหมายคิวอาร์ โค้ดที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างฉับไว โดยมีกรอบเป็นลายกระจังตาอ้อย 4 ด้านโดยรอบ ขั้นตอนการออกแบบประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) ประวัติความเป็นมาของศิลปะไทย จากหนังสือ งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) แบบลายไทย 3) แบบของคิวอาร์โค้ดซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งนวัตกรรมการ สื่อสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) การออกแบบประยุกต์ระหว่างลายไทยแบบดั้งเดิมกับคิวอาร์โค้ดซึ่ง เป็นสัญลักษณ์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเลือกใช้ 2 สี คือ สีทองเป็นพื้นหน้าและสีดำเป็นพื้นหลังซึ่งเป็นสี ของลายรดน้ำ ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบประยุกต์ระหว่างลายไทยแบบดั้งเดิมและคิวอาร์โค้ดสมัยใหม่ สามารถแสดงออกถึงนวัตกรรมในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความเป็นอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัยออกสู่ สายตาโลก เป็นการส่งเสริมพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน คำสำคัญ: ลายไทย, อัตลักษณ์ไทย, ศิลปะร่วมสมัย, คิวอาร์โค้ด Abstract The purpose of this research was to 1) communicate the remaining Thai identity to the present, and 2) to present the innovation of Thai identity through the QR code as the digital tool by arranging the composition between Thai patterns of Prachamyam, Kanok, Phum Khao Bin and KraJang-Tra-Ooi adjusted intothe style of pixel icons. All were integrated into an innovative QR code for quick access to information with a frame in a pattern of KraJang-Tra-Ooi on 4 sides. The study method consisted of 4 approaches: 1) Thai art history from research books and related documents, 2) Thai pattern design, 3) QR code design as a symbol of innovation
331 in information technology communication, and 4 ) applied design between traditional Thai pattern and QR code as a symbol of modern technology by choosing 2 colors, gold as the foreground and black as the background, which was the color of Thai lacquer paints. The study found that the applied design between the traditional Thai identity and the modern QR code could show innovation in disseminating and promoting the contemporary Thai identity to the world. It was to promote economic, social and national development. It also helped to conserve Thai wisdom, arts and culture to last for generations. Keywords: Thai Texture, Thai Identity, Contemporary Art, QR Code 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา วัฒนธรรมไทยคือสิ่งหนึ่งที่สร้างความภาคภูมิใจและเป็นเอกลักษณ์ของประเทศโดยมีพื้นฐานจากวิถี ชีวิตสั่งสมกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งถ่ายทอดและแสดงออกมาในรูปแบบนามธรรมและรูปธรรม ด้านนามธรรม หมายถึงขนมธรรมเนียมจารีตที่ยึดถือปฏิบัติกันต่อ ๆ กันมา จนสร้างสรรค์ออกมาเป็นประเพณีที่แตกแขนง ออกมาเป็นเอกลักษณ์, วิถีชีวิตท้องถิ่น รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ออกมาเป็นรูปธรรมในหลายสาขา ทั้ง ด้านปัจจัยสี่ที่จำเป็นต้องการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม หรือเครื่องแต่งกาย รวมทั้งยา รักษาโรค หรือสมุนไพรซึ่งทั้งหมดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำท้องถิ่นหรือชาติ ศิลปะก็เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ เฉพาะ เพื่อให้ชนชาติอื่น ๆ ได้รับรู้ สนใจและจดจำ โดยศิลปะไทยก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่นกันที่มีจุดเด่น ในความ อ่อนช้อย อ่อนช้อย ละเอียดงดงาม และประณีตบรรจง ศิลปะไทย จึงนับว่าเป็นอัตลักษณ์ไทยที่ถือว่าเป็นงานประณีตศิลป์ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย โบราณที่แผ่ไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือกำเนิดจากการที่มนุษย์ใช้สีเขียนเป็นลวดลายตามร่างกาย ต่อ ด้วยการเขียนบนเครื่องเคลือบดินเผา โดยการเขียนลวดลายไทยได้แรงบันดาลใจจากรูปทรงธรรมชาติพวกพืช ดอกไม้ สัตว์ เปลวไฟ โดยได้ปรับมาเป็นลายกระจังตาอ้อย ที่มาจากดอกบัว ลายกะจังใบเทศ พุ่มทรงข้าวบิณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังสื่อถึงวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อทางพุทธศาสนา รวมถึงวิถีชีวิตไทยที่เป็นชุมชน เกษตรกรรม ลวดลายเหล่านี้ได้ถูกนำมาประดับประดาตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ วัดวาอาราม พระราชวัง สถานที่ราชการบางแห่ง ฯลฯ ตลอดจนสิ่งทอต่าง ๆ เครื่องประดับ และเครื่องราชูปโภค (กิตติพงษ์ ต่อสวย, 2555; เสน่ห์ หลวงสุนทร, 2561) จากการใช้ลวดลายไทยประดับประดาตามสิ่งต่าง ๆ จึงได้แบ่งออกเป็นสาม ประเภท คือ จิตรกรรมไทย ประติมากรรมไทย และสถาปัตยกรรมไทย (สมภพ จงจิตต์โพธา, 2562) แต่ในที่นี้ จะเน้นจิตรกรรมไทยซึ่งมีลักษณะสองมิติที่นำมาอ้างอิงในการออกแบบผลงานศิลปะ สมภพ จงจิตต์โพธา (2562) ได้จำแนกศิลปะไทยประเภทจิตรกรรมไทยออกเป็น 2 ประเภท คือ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี ที่สื่อถึงเรื่องราวทางพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ พระร่วง และจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย ที่สื่อถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ไม่
332 ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ การเมือง การปกครอง กฎหมาย การคมนาคมขนส่งต่าง ๆ นับตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน โดยองค์ประกอบของลายไทยมีอยู่ 3 ส่วนคือ เส้น ซึ่งมีทั้งเส้นตรงและเส้นโค้งขดเป็นองค์ประกอบ หลัก พื้นที่ว่าง ที่แสดงถึงน้ำหนัก บรรยากาศ มิติระยะใกล้ไกล และสีที่ให้ความสว่างและความเข้มที่มีมิติสดใส มากขึ้น วิวัฒนาการของศิลปะไทยได้ถูกพัฒนาขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่เข้าสู่ยุคดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีสาร สนเทศสื่อสารทั่วทุกมุมโลก โดยในแต่ประเทศได้พัฒนาตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านทางเทคโนโลยีที่ สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการ ดำรงชีวิตทั้งการเรียน การทำงาน ความบันเทิง และการติดต่อสื่อสารในทุก ๆ ด้าน ซึ่งนอกจากจะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารโดยการคุยผ่านโทรศัพท์ การพิมพ์โต้ตอบ การเสิร์จหาข้อมูลแล้ว ปัจจุบันมีการใช้คิวอาร์โค้ด(QR Code) ซึ่งมีลักษณะเป็นโมดูลรูปสี่เหลี่ยมสีขาว-ดำ ประกอบกันเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ใช้สำหรับสแกนผ่านอุปกรณ์เครื่อง อ่านคิวอาร์โค้ดหรือผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีกล้องc]tแอปพลิเคชันถอดรหัส เพื่อแปลงข้อมูลเป็นรหัสและ ทำการบันทึกในเครื่องหมายคิวอาร์โค้ด ทั้งแบบตัวอักษร (Characters) หรือตัวเลข (Numeric) เพื่อเข้าถึง ข้อมูลต่าง ๆ เช่น ธุรกรรมการเงิน การเพิ่มเพื่อน การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ใน ทุกสาขา ทั้งทางการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บัญชี นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รวมทั้งด้านศิลปะ ซึ่ง รวมถึงศิลปะไทย (ณัฐวุฒิ บุญโรจน์วงค์ และกชกร พระพรตระการ, 2560) ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้นำแนวคิดผสมผสานทั้งศิลปะไทยแบบดั้งเดิมและศิลปะไทยแบบร่วมสมัยมา ประยุกต์กันเป็นผลงานสร้างสรรค์ด้วยการจัดองค์ประกอบและดัดแปลงรูปแบบลายลายแบบดั้งเดิมมาเป็น เครื่องหมายคิวอาร์โค้ด (QR Code) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางเทคโนโลยีเพื่อประชาสัมพันธ์และสื่อสารความเป็น ไทยให้ประชาชนทั่วโลกได้เข้าถึงเนื้อหาและทราบข้อมูลทั้งทางประวัติศาสตร์ ประเพณี รวมทั้งศิลปะไทยที่ เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว 2. วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ 1. เพื่อสื่อสารแนวคิดของอัตลักษณ์ไทยที่คงอยู่มานานและพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 2. เพื่อนำเสนออัตลักษณ์ไทยที่กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ผ่านทางเครื่องหมายคิวอาร์โค้ดที่เป็น เครื่องมือดิจิทัล 3. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. ด้านเนื้อหา ข้าพเจ้าได้ทำการเก็บข้อมูลทั้งจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากอินเทอร์เน็ตกับ โซเชียลมีเดียทั้งข้อมูลและภาพที่เกี่ยวกับศิลปะไทย ลายไทย ตลอดจนการวิจัยภาคสนาม โดยได้ศึกษา ลวดลายไทยตามวัดวาอารามและอาคารทรงไทย ตลอดจนลวดลายบนเครื่องนุ่งห่มตลอดจนเครื่องปั้นกับ เครื่องเคลือบดินเผา เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ทั้งแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย เพื่อให้เห็นรูปแบบศิลปะไทยที่หลากหลาย และมีคุณลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงานศิลปะ
333 2. ด้านรูปแบบ หลักการออกแบบผลงานชุด “ถอดรหัสอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัย” ข้าพเจ้าได้นำทฤษฎี แห่งความสมดุลย์ (Symmetrical Balance) และอสมดุลย์ (Asymmetrical Balance) มาประยุกต์กัน และ ได้ทำการดัดแปลงลวดลายไทยที่มีขอบเรียบโค้งมนอ่อนช้อย และมีปลายแหลมแบบอานาล็อกทั้งลายกนก ลายกระจังตาอ้อยกับลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มาเป็นรูปแบบดิจิทัลที่ประกอบด้วยพิกเซลมาประกอบกันเป็นรูปคิว อาร์โค้ด ใช้ลายประจำยามรูปสี่เหลี่ยมแทนสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมสามด้าน คือ ด้านบนซ้าย และขวา กับด้านล่าง ซ้ายมารวมกัน ได้เลือกสองสี คือ สีทองสำหรับลวดลาย และสีเงินจากต้นรัก ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก เทคนิคการลงรักปิดทอง ซึ่งเป็นเทคนิคการลงสีแบบโบราณ โดยสีทองมาจากทองคำเปลวและสีดำจากยางต้น รัก (สมโชค สินนุกูล, 2560) 3. ด้านเทคนิค ใช้โปรแกรม Adobe Illustrator มาสรรสร้างผลงานพิกเซลในรูปแบบของคิวอาร์โค้ด โดยการประยุกต์และการวางองค์ประกอบด้วยสี่เหลี่ยมและรูปแบบอิสระของลายไทยที่เกิดจากการรวมกันของ พิกเซลซึ่งเป็นรูปแบบของไฟล์ดิจิทัล ทำให้เกิดคุณลักษณะเป็นผลงานศิลปะดิจิทัลสมัยใหม่ที่ยังคงสื่อถึงความ เป็นอัตลักษณ์ไทยได้เป็นอย่างดี 4. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการในการสร้างสรรค์มีดังนี้ คือ 1. สืบค้นภาพของคิวอาร์โค้ด ศึกษาข้อมูล คุณลักษณะและทำการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 2. สืบค้นข้อมูล ความเป็นมา คุณลักษณะและภาพของลายไทย โดยได้คัดสรรลายกนก ลายกระจังตา อ้อย ลายประจำยาม และพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นลายที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป สามารถนำมาดัดแปลงให้เป็น รูปแบบพิกเซล ภาพที่ 1 ลายกนก ที่มา : เสน่ห์ หลวงสุนทร (2561)
334 ภาพที่ 2 ลายกนก ที่มา : เสน่ห์ หลวงสุนทร (2561) ภาพที่ 3 ลายประจำยาม ที่มา : เสน่ห์ หลวงสุนทร (2561) ภาพที่ 4 ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่มา : เสน่ห์ หลวงสุนทร (2561)
335 ภาพที่ 5 ลายกระจังตาอ้อย ที่มา : เสน่ห์ หลวงสุนทร (2561) 3. ทำการดัดแปลงภาพจากรูปทรงดั้งเดิมมาเป็นไอคอนพิกเซลเพื่อจัดองค์ประกอบเรียงกันเป็นคิวอาร์ โค้ด โดยลวดลายคิวอาร์โค้ดเป็นแบบรูปแบบของเงาทึบแสง (Sihoutee) ใช้โปรแกรม Adobe Illustrator มี ขั้นตอนการจัดองค์ประกอบดังนี้ 3.1. จัดวางตำแหน่งของลายประจำยามที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแทนสี่เหลี่ยมจัตุรัสในคิวอาร์โค้ด ภาพที่ 6 ลายประจำยาม สำหรับวางแทนสี่เหลี่ยมทั้งสามด้านบนคิวอาร์โค้ด ที่มา : ผู้วิจัย (2565) 3.2. ทำการดัดแปลงลายพุ่มข้าวบิณฑ์ให้เป็นลักษณะขอบพิกเซลมาทับซ้อนกัน และนำบางส่วน ของลายพุ่มข้าวบิณฑ์2-3 ชั้นให้เป็นลายกนกโดยเอียงองศาต่างกัน แล้วสร้างขอบเหลี่ยมทับซ้อนกันให้เป็น รูปแบบพิกเซล ภาพที่ 7 ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่มา : ผู้วิจัย (2565)
336 ภาพที่ 8 ลายกนก ที่มา : ผู้วิจัย (2565) 3.3 จากนั้นจึงทำการสร้างลายประจำยามแล้วจัดวางเป็นกรอบคิวอาร์โค้ดทั้ง 4 ด้าน ภาพที่ 9 ลายกระจังตาอ้อย สำหรับจัดวางเป็นขอบทั้งสี่ด้านรอบคคิวอาร์โค้ด ที่มา : ผู้วิจัย (2565) 3.4. จากนั้นจึงใส่สีโดยเลือกใช้สีสำหรับลายรดน้ำ คือ สีทองกับลวดลาย และสีดำกับพื้นหลัง ภาพที่ 10 ผลงานสร้างสรรค์ “ถอดรหัสอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัย” ที่มา : ผู้วิจัย 5. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ชุด “ถอดรหัสอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัย” เป็นสื่อสารถึงทางเลือกหนึ่งในการการใช้ เทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะไทย โดยใช้บาร์โค้ดที่เป็นสัญลักษณ์ของเทคโนโลยี การสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล มาดัดแปลงและผสมผสานกับความเป็นไทย โดยทำการสืบค้นข้อมูลจากเอกสาร
337 และแหล่งอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะนำเสนอ พร้อมกับการออกแบบและค้นหาวิธีการประยุกตศิลปะ สองแบบให้เข้ากันได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นระบบ โดยขั้นแรกได้ทำการลดความละเอียดของภาพลายไทย เพื่อให้เห็นขอบพิกเซลในโปรแกรม Photoshop แต่เกิดปัญหาทางเทคนิคคือไม่สามารถที่จะทำการคัดลอก ขอบไฟล์ให้เป็นพิกเซลเหมือนในไฟล์ได้เนื่องจากขาดความคมชัด จึงได้ทำการวาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาเรียงและ ซ้อนกันบนต้นแบบในโปรแกรม Illustrator จนรูปแบบของพิกเซลเกิดความสมดุลย์กันมากขึ้น เมื่อศิลปะไทย ดั้งเดิมและสมัยใหม่มาบูรณาการกัน ก็จะเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ โดยได้จัดเรียง องค์ประกอบที่มีจุดเด่น และมีช่องว่างของพื้นหลังบางส่วนเพื่อให้ผู้ชมรู้สึกสบายตา ส่วนการใช้สีนั้นได้เลือกสี จากเทคนิคลายรดน้ำเพราะเป็นเทคนิคที่สื่อถึงความวิจิตรบรรจงและความอลังการจากการใช้สีทอง และขับ ความโดดเด่นเพิ่มขึ้นด้วยพื้นหลังสีดำ 6. สรุป ผลงานชิ้นนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อต้องการสื่อถึงนวัตกรรมความเป็นอัตลักษณ์ในแบบร่วมสมัยในรูปแบบ คิวอาร์โค้ดเป็นสัญลักษณ์ในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไทย โดยได้ทำการปรับรูปแบบของโมดูลรูป สี่เหลี่ยมมาเป็นรูปทรงของลายไทย ทำให้ผู้ชมได้รู้จักและเห็นถึงอัตลักษณ์ไทยที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาทั้ง ในปัจจุบันและอนาคต การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ได้ทำการประยุกต์ศิลปะไทยแบบดั้งเดิมให้เข้ากับศิลปะดิจิทัลสมัยใหม่จาก การดัดแปลงต้นแบบดั้งเดิมให้มีรูปแบบพิกเซลซึ่งเป็นผลงานศิลปะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ในไฟล์ประเภท Raster ถึงเป็นประเภทหนึ่งของไฟล์ดิจิทัลที่ใช้สำหรับภาพถ่าย และคลิปอาร์ต เป็นการแสดงให้เห็นว่าศิลปะ พื้นถิ่นไม่ว่าจากชาติไทยหรือชาติอื่นก็สามารถนำมาประยุกต์หรือพัฒนาให้กลายเป็นศิลปะร่วมสมัย แต่ยังคง ความเป็นอัตลักษณ์เดิมที่โดดเด่นอยู่ชั่วลูกชั่วหลานตลอดไป เอกสารอ้างอิง กิตติพงษ์ ต่อสวย (2555). เส้นสายลวดลาย ชุด ลายไทยวิจิตร. กรุงเทพ ฯ: บริษัท สกายบุ๊ค จำกัด. ณัฐวุฒิ บุญโรจน์วงค์ และกชกร พระพรตระการ (2560). ความหลากหลายของคิวอาร์โค้ด. สมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี 6(1): 117-126. วิภาวี บริบูรณ์ (2562). พื้นฐานการเขียนลายไทย. กรุงเทพ ฯ: บริษัท ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ จำกัด (2006). สมโชค สินนุกูล (2560). การศึกษาศิลปะในงานออกแบบและจัดสร้างงานจิตรกรรมลายรดน้ำ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง. 25(2): 139-149. สมภพ จงจิตต์โพธา (2562). ลายไทย ลายเส้น. กรุงเทพ ฯ: บริษัท วาดศิลป์ จำกัด. เสน่ห์ หลวงสุนทร (2561). ศิลปะไทย (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ ฯ: บริษัท วาดศิลป์ จำกัด.
338 ปอดกลางเมือง The lungs of bangkok อุกฤษ วรรณประภา, Ukrit Wannaphapa คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 110/1-4 ถนนประชาชื่น แขวงทุ่งสองห้องเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ประติมากรรม “ปอดกลางเมือง”จากเรื่องเล่ากระต่ายในดวงจันทร์และดอดบัวสีทอง ในหลากหลาย บริบทเรื่องราว ที่มาจากความทรงจำของทุกคน มาใช้เป็นแรงบัลดาลใจในการออกแบบครั้งนี้โดย การศึกษา บริบทรอบๆพื้นที่สวนหลวงสามย่าน มาตีความสร้างความหมาย โดยใช้ การแทนค่า เรื่องราว สร้างจุดเด่นให้ สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ และ สามารถทำให้เกิด จุดสังเกต (Landmark) ในพื้นที่และสร้างผลกระทบต่อ ท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ในทุกช่วงเวลาอีกทั้งเพื่อเป็นลดระยะเวลาพื้นฐานการทำความเข้าใจ ให้สามารถ สื่อถึงได้และเข้าใจได้ง่ายสามารถเข้าถึงได้ทุกช่วงวัยนำมาสื่อความหมายเรื่องราวในอดีตการพัฒนา ความเป็น ย่านที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจการค้า และความเป็นเมืองแห่งอนาคต และนี่คือ สวนหลวงสาม ย่าน เมืองแห่งศตวรรษที่ 21 คำสำคัญ: ย่านสวนหลวงสามย่าน, กระต่ายในดวงจันทร์, ปอดกลางเมือง, ประติมากรรม Abstract The sculpture of “The Lungs of Bangkok” originates from the story of the moon rabbit and the golden lotus in various contexts, which come from people’s memories, used as inspiration for this design. This is the study of the context around SuanLuang Samyan to interpret and form the meaning by using representation of values and stories, creating highlights in accordance with the context of the areas which lead to landmarks in the area and create impacts on tourism and accessibility to areas at any time. In addition, it is to reduce the time for fundamental understanding to allow the communication and understanding easily for all ages that brings out meanings from the stories of the past, development of modern neighborhood to the center of trade economy and the city of the future. And this is SuanLuangSamyan, the city of the 21st century. Keywords: SuanLuangSamyan, Moon rabbit, Lungs of Bangkok, Sculpture
339 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา จากโครงการ Chula Arts Park หรือ สวนศิลป์จุฬา ของสภาคณบดีศิลปะและการออกแบบแห่ง ประเทศไทย จึงเกิดแนวคิดออกแบบจากปัจจุบันประชาชน 9 ใน 10 คนกำลังเผชิญกับคุณภาพอากาศที่มี มลพิษเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO) กำหนดไว้ ทั้งนี้ WHO ผู้คนประมาณ 7 ล้านคนเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศอีกด้วย มลพิษทางอากาศที่มีอันตรายต่อสุขภาพมาก ที่สุด คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ซึ่ง มลพิษส่วนใหญ่ เกิดจาก ใจกลางเมือง และ ใน ย่านที่สำคัญ กระต่ายจันทร์ เป็นความเชื่อรวมกันของหลายชนชาติ เปรียบเสมือนความหลากหลายของสามย่าน ที่ เชื่อว่าบนดวงจันทร์มีกระต่ายอาศัยอยู่ โดยพิจารณาจากจันทรสมุทร (หลุมดำบนดวงจันทร์) แล้วเกิดเป็น พาเรียโดเลีย (จินตภาพ) รูปกระต่ายขึ้นมาความเชื่อนี้มีในหลายชนชาติทั่วโลก เช่น แอฟริกา, ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น รวมถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้ในปกรณัมของฮินดู พระจันทร์ เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ เป็นผู้ถือ กระต่ายไว้ในพระหัตถ์ เนื่องจากคำว่ากระต่ายในภาษาสันสกฤต คือ "ศศะ" ดังนั้นจึงเรียกดวงจันทร์ว่า "ศศิน" (ศศินฺ) แปลว่า "ซึ่งมีกระต่าย (แสงจินดา กันยาทิพย์, 2541) จากข้อมูลข้างต้น จึงเกิดแนวคิด สร้างสรรค์ประติมากรรมสื่อผสมที่มีการใช้ มารังสรรค์ ให้เกิดความ งาม เรื่องเล่า ความเชื่อ โดยใช้ชื่อ “ปอดกลางเมือง” โดย ใช้ เรื่องเล่าตำนาน ความเชื่อ เป็นตัวสื่อความหมาย ซึ่งมีจุดเด่นคือ ดอกบัวสีทอง คือ เรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา ที่ส่งผ่านเรื่องราว สู่การพัฒนาความเป็นย่านที่ ทันสมัย เป็นจุดศูนย์กลางของเศรษฐกิจ การค้า และ ความทันสมัย สื่อถึงดอกบัว ที่เป็น เหมือนจุดเด่นของ สามย่าน ความงามและสะท้อนปัญหาในปัจจุบันซึ่ง 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่ติดตั้งในการสร้างภาพลักษณ์ของย่าน 2.2 สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่เป็นภาพสะท้อน สถานการณ์ ฝุ่น pm2.5 อากาศที่ไม่บริสุทธิ์ ในสภาพปัญหาปัจจุบัน 2.3 สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่เป็นภาพสะท้อนความงามผ่านกระบวนการสื่อความหมายการ แทนค่า จินตภาพ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ จากแนวคิดในการออกแบบ “ปอดกลางเมือง” จากเรื่องเล่ากระต่ายในดวงจันทร์และดอดบัวสีทอง ในหลากหลายบริบทเรื่องราว นำมาสื่อความหมายเรื่องราวในอดีตการพัฒนา ความเป็นย่านที่ทันสมัย เป็น ศูนย์กลางของเศรษฐกิจการค้า และความเป็นเมืองแห่งอนาคต และนี่คือ สวนหลวงสามย่าน เมืองแห่ง ศตวรรษที่ 21 โดยใช้ ในการออกแบบประติมากรรม “ปอดกลางเมือง” ครั้งนี้โดยการศึกษาบริบทรอบๆ พื้นที่สวนหลวงสามย่าน มาตีความสร้างความหมาย โดยใช้ การแทนค่า เรื่องราว สร้างจุดเด่น ให้สอดคล้อง
340 กับบริบทพื้นที่ และ สามารถทำให้เกิด จุดสังเกต (Landmark) ในพื้นที่และสร้างผลกระทบต่อท่องเที่ยวและ การเข้าถึงพื้นที่ในทุกช่วงเวลา 4. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 4.1 ศึกษา บริบทพื้นที่เพื่อทำการออกแบบ ประติมากรรม 4.2 จัดทำแบบร่าง ด้วยโปรแกรม 3D 4.3 จัดทำโมเดล ขนาด 1:2เพื่อเป็นการตรวจทานงาน ประติมากรรม เช็คขนาดสัดส่วนและความถูกต้อง ของผลงาน 4.4 ผลิต ประติมากรรมขนาด 1:1 โดยใช้ วัสดุไฟเบอร์กลาสสีขาวมุก วางอยู่บนฐานเหล็กเขียว ตัวฐาน งานจะมีเดือย และตัวกระต่ายจะเสียบเข้าฐานเดือยที่ตำแหน่งขนาด 2 x 2 เมตร (รวมฐาน) 4.5 ทำการศึกษาเทียบสีขาวมุก และออกแบบแสงสว่างที่จะเกิดขึ้นโดยใช้โมเดล เพื่อกำหนดดุกของแสง และแสงที่จะเกิดขึ้นโดยใช้ แสงที่เกิดจากพลังงานแสอาทิตย์(Solar Cell) ที่ใช้จัดแสดงเวลากลางคืน 4.6 ติดตั้งประติมากรรม ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โยกำหนดจุดที่สามารถ มองเห็น ฟ้าใหม่โดม เพื่อทำการสื่อสารให้ สมกับแนวคิด กระต่านในดวงจันทร์ ภาพที่ 1 ภาพแสดงการผลิต ประติมากรรม “ปอดกลางเมือง”
341 ภาพที่ 2 QR Code แสดงแบบร่าง ด้วยโปรแกรม 3D https://shorturl.asia/qAZ0v ภาพที่ 3 ภาพ ประติมากรรม “ปอดกลางเมือง”