242 เส้นและสีแสดงภาพลักษณ์เคลื่อนไหว Movement Images from Line and Color พิบูลย์ มังกร, Phiboon Mangkorn สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 85 ถนนมาลัยแมน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย Art Education Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat University, 85 Malaiman Road, Muang, Nakhon Pathom, Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์พร้อมบทสังเคราะห์ประกอบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงาน จิตรกรรมนามธรรม ด้วยเส้นและสีแสดงภาพลักษณ์เคลื่อนไหว ผ่านเนื้อหาเรื่องราวศิลปะการต่อสู้ที่มี ลักษณะเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย เพื่อมุ่งหวังส่งเสริมความคิดและจินตนาการของผู้ดู รวมทั้ง ให้ผู้ดูได้ชื่นชมและเกิดสุนทรียภาพด้านความงามในงานศิลปะและได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการชื่นชม ผลงานจิตรกรรมลักษณะนามธรรม ผลงานสร้างสรรค์เกิดขึ้นจากการบูรณาการรูปแบบงานของศิลปินกลุ่มฟิวเจอริสม์ และวิธีการลากเส้น แสดงท่าทางและโครงสร้างของภาพ เนื้อหาเป็นเรื่องราวศิลปะการต่อสู้ที่มีลักษณะเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์ ของประเทศไทย คือ ภาพมวยไทย ที่มีมิติความซ้ำซ้อนกันจนเกิดเป็นภาพจากความเคลื่อนไหวที่แสดงให้เห็น เป็นลักษณะนามธรรม ที่ไม่ชัดเจนตามต้นแบบมากนัก ต้องพึ่งพาการรับรู้ทางตา สามารถส่งเสริมความคิดและ จินตนาการของผู้ดูให้เกิดขึ้นได้จากการคาดเดาลักษณะของเส้น น้ำหนักของสี ความซ้ำซ้อน ความต่อเนื่อง เล็ก ใหญ่ ความใกล้ไกล ของเนื้อหาในภาพ เป็นการสร้างสุนทรียภาพด้านความงามทางศิลปะให้แก่ผู้ชื่นชมได้ คำสำคัญ: การระบายสี, ภาพลักษณ์เคลื่อนไหว, จิตรกรรมนามธรรม Abstract This presentation, that is integrated with synthesis of creative works, has aimed to present the abstract painting about Movement Images from Line and Color through the content of Thai martial art sor Muay Thai, which is unique and a characteristic of Thailand, in order to stimulate perceptions and imaginations of the viewers as well as enabling the viewers to appreciate and enhance the aesthetics of art and gain knowledge about the method of appreciating abstract art. This creative work is resulted from the integration of the Futurism style and Gesture drawing methods in order to express the images of Thai boxing in the content of redundant
243 dimension, that is depicted from the movement in an abstract way, and it depends on visual perception of the viewers to stimulate their perceptions and imaginations for guessing the line, value of colors, redundancy, continuity, small and large, near and far of this creative works. Above all, it is for enhancing the aesthetics of the beauty of arts to the viewers. Keywords: Painting, Movement Images, Abstract Painting 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา รูปแบบของศิลปะที่มองเห็น หรือทัศนศิลป์ (Visual Art) ตามเส้นทางประวัติศาตร์ศิลปะตะวันตก ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงศิลปะสมัยใหม่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตลอดเวลาของการ เปลี่ยนผ่านทำให้เกิดรูปแบบทางทัศนศิลป์มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย แต่ละรูปแบบถ่ายทอดออกมาตาม อิทธิพล ความเชื่อ แนวคิด สื่อวัสดุ เทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน โดยหลังจากการเสื่อมของยุคอำนาจ (The age of authority) ที่ศิลปะถูกสร้างขึ้นเพื่อวังและวัด และศิลปินได้รับการอุปการะจากวังและวัด ได้ก้าวย่างเข้าสู่ ศิลปะยุคของเหตุผล (The age ofreason) ด้วยความเบื่อหน่ายต่อศิลปะรูปแบบเดิม หลักเกณฑ์ความงาม แบบเดิม การจัดภาพแบบเดิม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ แขนงต่าง ๆ และความต้องการแสดงออกทางเสรีภาพของศิลปิน โดยใช้ปัญญาแสวงหาความจริง ไม่ต้อง ลอกเลียนแบบอดีต มีความเชื่อตามการรับรู้ทางตา การรับรู้ทางการเห็น สร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยออกไป สัมผัสโลกภายนอก สัมผัสกับธรรมชาติ และมีความเชื่อว่าความประทับใจของตนมีค่า จึงเป็นการเริ่มต้นของ ศิลปะสมัยใหม่ ศิลปินเหล่านี้ได้สรุปเป็นความเชื่อเรื่องการดำรงอยู่และเสรีภาพนั้นมีค่ามาก จึงเกิดรูปแบบ ศิลปะที่ศิลปินหันหน้าสู่ธรรมชาติ มีรูปแบบการถ่ายทอดศิลปะตามความเป็นจริงที่ตนค้นพบ จนกระทั่ง สามารถพัฒนาสู่รูปแบบศิลปะหลังสมัยใหม่ ที่เชื่อเรื่องปัญญาความคิดของมนุษย์ เชื่อเรื่องกระบวนการ (Process) มีค่ามากกว่าผลงานสำเร็จ (Product) เนื้อหาเรื่องราวได้แสดงออกตามสภาพความเป็นจริงของ สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ศิลปะจึงไม่ใช่การเลียนแบบคนรุ่นก่อนตามรูปแบบเดิมๆ อีกต่อไป แต่แม้ว่าความเชื่อ สังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมใหม่รอบตัวศิลปินจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ศิลปะก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงตาม ไปทั้งหมด ยังคงมีศิลปินกลุ่มหนึ่งที่ยังสนใจที่จะรักษาแบบแผนเดิมไว้ และอีกกลุ่มหนึ่งพยายามแสดงออกไป ตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น การแสวงหาวิธีระบายสีแบบใหม่ทั้งด้านเนื้อหา สื่อวัสดุ กลวิธี รูปแบบ จนกลายเป็นเหตุผลที่สนับสนุนการเกิดขึ้นของศิลปะสมัยใหม่ลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ จนกระทั่ง ก้าวย่างเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 รูปแบบทางทัศนศิลป์ที่ให้เสรีภาพกับผู้สร้างสรรค์ได้เกิดขึ้นอีกมากมายหลาย ลัทธิ เช่น โฟวิสม์, เยอรมัน เอกซเพรสชันนิสม์, แอบสแตรก อาร์ต, คิวบิสม์, ฟิวเจอร์ลิสม์, เซอร์เรียลริสม์, แอบสแตรกเอ๊กซเพรสชันนิสม์, ป๊อบอาร์ต, ออปอาร์ต, มินิมอลอาร์ต เป็นต้น ในส่วนของข้าพเจ้ามีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ในเชิงนามธรรมและมุ่งสร้างผลงาน ตามแนวทางและรูปแบบฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) ซึ่งเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อเนื่องถึงต้น ศตวรรษที่ 20 มีระยะของความเคลื่อนไหวอยู่ประมาณ 4-9 ปี เนื่องด้วยข้าพเจ้ามีความเชื่อที่สอดคล้องกับ
244 แนวคิดของศิลปินกลุ่มฟิวเจอร์ริสม์ที่เชื่อว่า “ความเคลื่อนไหวคือความงาม” ในการเขียนเกี่ยวกับคน พวก ฟิวเจอริสม์จะไม่คำนึงถึงความเหมือน หรือการจัดภาพ แต่ให้ความสำคัญกับความเคลื่อนไหวของคน ด้วย อารมณ์ความรู้สึกที่ศิลปินมีต่อภาพลักษณ์ต้นแบบ โดยข้าพเจ้าใช้กลวิธีสร้างสรรค์ที่แตกต่างออกไป ฟิวเจอร์ ริสม์ นิยมเขียแบบแสดงรอยแปรง (Brush Strokes) และระบายสีแบบการจุดสีเล็กๆ (Pointillism) ให้ผสมกัน บนเรตินา ส่วนข้าพเจ้าใช้วิธีการระบายสีเป็นเพลน เป็นระนาบสีด้วยลูกกลิ้งฟองน้ำ พ่นด้วยละอองน้ำ (Foggy Spray) เพื่อให้สีไหลซึม เกิดความเข้มอ่อน ใกล้ไกล แสดงมิติในภาพ และลากเส้นแสดงความเคลื่อนไหวของ คน (Gesture drawing) ด้วยสีบรรจุหลอดพลาสติกหลายแหลมให้เกิดเส้นที่มีลักษณะทับซ้อนกัน 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้สร้างสรรค์มีแนวคิดหลักคือลากเส้นและระบายสีแสดงภาพลักษณ์เคลื่อนไหว ตามแนวคิดของศิลปิน กลุ่มฟิวเจอร์ริสม์ที่เชื่อว่า “ความเคลื่อนไหวคือความงาม” โดยนำเสนอผลงานจากการบูรณาการรูปแบบการ ระบายสีตามแนวทางของศิลปินกลุ่มฟิวเจอริสม์ และวิธีการลากเส้นแสดงท่าทางและโครงสร้างของภาพ ซึ่งมี การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงจากการนำเสนอบทสังเคราะห์และงานสร้างสรรค์เรื่องความ เคลื่อนไหวของเส้นสีขาว ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ระดับชาติ “มหกรรมวัฒนธรรม ท้องถิ่นร่วมสมัยครั้งที่ 3” มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ของ พิบูลย์ มังกร ดังนี้ 1. กลุ่มฟิวเจอริสม์ (Futurism) สำหรับความเป็นมาและแนวทางกาสร้างสรรค์งานของกลุ่มฟิวเจอริสม์ นั้น อารี สุทธิพันธุ์ ได้ แสดงทัศนะเกี่ยวกับศิลปินกลุ่มฟิวเจอริสม์ ไว้ว่า “ศิลปินที่สนใจเขียนรูปคน บางทีก็เขียนรูปคนแสดงท่าเรียบร้อย เฉยๆ บางที ก็เขียนรูปคน กําลังแสดงความเคลื่อนไหว โดยพยายามแก้ปัญหาความเคลื่อนไหวด้วยการเขียนรูปร่างคนนั้นซ้ำๆ กัน หลายๆ รูปในทิศทางที่ต้องการ ทำให้รู้สึกว่าจะมีความเคลื่อนไหวได้...ภาพผู้หญิงกําลังลงบันใด ก็อยู่ใน ลัทธิฟิวเจอรริสม์เหมือนกัน เขียนโดย ดูชามพ ปีเดียวกับภาพคนจูงหมาของบาลลา ดูชามพเขียนรูปร่าง ของผู้หญิงซ้อนๆ กันหลายสิบรูป และแสดงความรู้สึกของความเร็วเป็นทาง เป็นแผ่น เมื่อกําลังก้าวลงจาก บันใด และแสดงคล้ายกับว่ามีเสียงดังตามแนวบันใดที่กําลังก้าวลงมาด้วย เมื่อภาพนี้แสดงให้ประชาชนชม ในปี 1913 ได้รับการวิจารณ์มาก แต่ปัจจุบันนี้ภาพนี้ถือว่าเป็นภาพที่ยอดเยี่ยมที่สุดของศตวรรษที่ 20” (อารี สุทธิพันธุ์, 2565: 77-78)... 2. วิธีการลากเส้นแสดงท่าทางและโครงสร้างของภาพ (Gesture drawing) วิธีการลากเส้นแสดงท่าทางและโครงสร้างของภาพ (Gesture drawing)นำเสนอโดย คิมมอน นิโคไลเดส์ศิลปินชาวอเมริกัน มีความเป็นมาและวิธีการที่มีงานวิจัยได้นำเสนอไว้ว่า “คิมมอน นิโคไลเดส์ (Kimon Nicolaides, 1891 – 1938) ศิลปินชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกการ วาดเส้นตามวิธีธรรมชาติ เขียนเป็นหนังสือชื่อ The Natural Way to Draw นำเสนอการถ่ายทอด รูปแบบการลากเส้นตามสัมผัส หรือคอนทัวร์ดรออิ้ง(Contour Drawing) และการลากเส้นตามท่าทาง
245 หรือ เจสเจอร์ดรออิ้ง (Gesture Drawing) เป็นการนำเสนอการแสดงออกทางรูปแบบการวาดเขียนแบบ นอกเข้าใน (Outside in) ตรงข้ามกับวิธีนำเสนอแบบกายวิภาค หรือแบบในออกนอก (Inside out) ที่ จะต้องเรียนรู้กระดูก กล้ามเนื้อ หรือแสงเงา สำหรับการวาดเส้นตามวิธีธรรมชาตินี้ มีแนวทางส่งเสริม เสรีภาพในการแสดงออกและสอดคล้องกับความเจริญงอกงามของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสมอง เหมาะกับผู้สนใจทุกเพศและทุกวัย... หนังสือการวาดเขียนตามแนวธรรมชาติ เป็นหนังสือ รวบรวมกิจกรรมและแนวคิดของการถ่ายทอดรูปแบบที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาศิลปะในอเมริกาเป็นอย่าง มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนิวยอร์ก (The New York School) ต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วอเมริกา นอกจากนี้ยังถือเป็นพื้นฐานของศิลปะสมัยใหม่ ที่สนองเสรีภาพสอดคล้องกับธรรมชาติมนุษย์ส่งผลให้มี รูปแบบผลงานหลากหลาย” (อารีสุทธิพันธุ์, 2543ก: 25-26 อ้างอิงจากพิบูลย์มังกร, 2560: 25)” (พิบูลย์ มังกร. 2564: 62-64) ภาพที่ 1 ภาพแสดงลักษณะการเขียนท่าทางและโครงสร้างคน ที่มา : Nicolaides, Kimon. 1969: 16 ภาพที่ 2 ภาพผู้หญิงกำลังลงบันได ของ ดูชามพ ที่มา : อารี สุทธิพันธุ์. 2565: 78 ผู้สร้างสรรค์ได้นำแนวคิดและรูปแบบการสร้างสรรค์ทั้งสองที่กล่าวมานี้มาบูรณาการสร้างสรรค์งาน ในครั้งนี้
246 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์มีกระบวนการขั้นตอน และเทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานดังนี้ 1 2. 3. 4. 5. ภาพที่ 3 ภาพแสดงขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงานจำนวน 5 ขั้นตอน กระบวนการขั้นตอน และเทคนิคในการสร้างสรรค์(ตามลำดับภาพด้านบน) 1. หาภาพลักษณ์ต้นแบบ ที่แสดงเนื้อหาเป็นเรื่องราวศิลปะการต่อสู้ที่มีลักษณะเฉพาะและเป็น เอกลักษณ์ของประเทศไทยคือภาพมวยไทย 2. ลากเส้นแสดงท่าทางและโครงสร้างของภาพ (Gesture Drawing) ด้วยสีขาวที่บรรจุในหลอดสี พลาสติกปลายแหลม ลงบนระนาบรองรับที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว โดยระนาบรองรับเป็นแคนวาส ขนาด 123.29
247 X 76.20 เซนติเมตรระบายด้วยสีเข้มแสดงน้ำหนักมืดทึบ ด้วยลูกกลิ้งฟองน้ำ ส่วนการลากเส้นแสดงโครงสร้าง ลากให้มีความทับซ้อนกัน เหลื่อมกัน มีเป้าหมายเพื่อแสดงความเคลื่อนไหวของภาพลักษณ์ที่มองเห็น ตาม ความเชื่อว่าหากลากเส้นซ้ำ ๆ กันหลายๆรูปในทิศทางที่ต้องการจะแสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวได้ ภาพที่ 4 แสดงลักษณะหลอดพลาสติกปลายแหลม ที่ใช้บรรจุสีสำหรับลากเส้นและขวดสเปรย์ ภาพที่ 5 แสดงลักษณะลูกกลิ้งฟองน้ำ 3. ระบายสี 3 สี คือ สีม่วง สีแดง สีฟ้า ด้วยวิธีกลิ้งสีด้วยลูกกลิ้งฟองน้ำ และระหว่างที่สียังไม่แห้ง ฉีด ด้วยละอองน้ำ (Foggy Spray) เพื่อให้สีไหลซึม ทำให้รูปและพื้นผสมผสานกัน เมื่อสีแห้งจะแสดงน้ำหนักสีเข้ม อ่อน และมีมิติใกล้ไกลได้ 4. ลากเส้นด้วยหลอดพลาสติกปลายแหลมบรรจุสี เพื่อเน้นโครงสร้างและท่าทางด้วยวิธีการ Gesture Drawing อีกครั้ง ด้วยเส้นสีขาว และเส้นสีอื่นๆ ตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการ เพื่อแสดงมิติของเส้น ในภาพนี้ ลากเส้นด้วยสีขาวและสีทองแดง โดยการลากเส้นซ้ำๆกันหลายๆรูปในทิศทางที่ต้องการ 5. ใช้เทคนิคระบายเคลือบ (Glazing) บางส่วน ด้วยลูกกลิ้งฟองน้ำ โดยใช้สีเหลืองและฉีดด้วยละอองน้ำ (Foggy Spray) เพื่อให้รูปและพื้นผสมผสานกัน สร้างมิติการรับรู้ภาพลักษณ์ในลักษณะส่วนรวม
248 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพที่6 ผลงานสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์ : พิบูลย์ มังกร ชื่อผลงาน : เส้นและสีแสดงภาพลักษณ์เคลื่อนไหว สื่อวัสดุ : สีอะครีลิคบนผ้าใบ ขนาด : 123.29 X 76.20 เซนติเมตร (30 x 48.54 นิ้ว) ปีที่สร้าง : ค.ศ. 2022 ผลงานจิตรกรรมสีอะครีลิค ชื่อภาพ“เส้นและสีแสดงภาพลักษณ์เคลื่อนไหว” (Movement Images from Line and Color) บนแคนวาส ขนาด 123.29 x 76.20 เซนติเมตร เริ่มต้นจากแนวคิดคือ “ความ เคลื่อนไหวคือความงาม”สร้างสรรค์จนเกิดขึ้นเป็นผลงานสำเร็จ โดยการผสมผสานรูปแบบงานของศิลปินกลุ่ม ฟิวเจอริสม์ (Futurism) และและวิธีการลากเส้นแสดงท่าทางและโครงสร้างของภาพ (Gesture drawing) ด้วย เนื้อหาเรื่องราวศิลปะการต่อสู้ที่มีลักษณะเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย คือ มวยไทย ลากเส้น โครงสร้างของภาพทับซ้อนกัน แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องสัมพันธ์กันในลักษณะเคลื่อนไหว ส่วนการระบายสี ด้วยลูกกลิ้งฟองน้ำ แสดงถึงเสรีภาพในการเลือกใช้สื่อวัสดุที่แตกต่างไปจากเดิมด้วยการไม่ใช้พู่กันการฉีดพ่นด้วย ละอองน้ำ (Foggy Spray) บนสีขณะยังไม่แห้งเพื่อช่วยให้รูปและพื้นผสมผสานกันเมื่อสีแห้งจะแสดงน้ำหนักสี เข้มอ่อนและมีมิติใกล้ไกลเกิดเป็นบริเวณว่างในเชิงบวก (Positive space) และบริเวณว่างในเชิงลบ (Negative space) ผสานกันอยู่บนพื้นภาพแสดงให้เห็นเป็นลักษณะนามธรรมที่ไม่ชัดเจนตามต้นแบบมากนัก ต้องพึ่งพาการ รับรู้ทางตา (Visual perception) สามารถส่งเสริมความคิดและจินตนาการของผู้ดูให้เกิดขึ้นได้จากการคาดเดา ลักษณะของเส้น (Line) น้ำหนักของสี (Color) ความมืด ความสว่าง ความอ่อนแก่ (Value) ความซ้ำซ้อน ต่อเนื่อง
249 เล็กใหญ่ ใกล้ไกลของเนื้อหาในภาพ (The Whole) ส่วนการเลือกใช้ระนาบรองรับขนาด123.29 x 76.2 เซนติเมตร (อัตราส่วน 1 : 1.618) ซึ่งเป็นสัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) เป็นสัดส่วนที่มาจากการคำนวนทาง คณิตศาสตร์ ใช้กันอย่งแพร่หลายในวงการออกแบบ เพื่อทำให้งานออกแบบมีสัดส่วนที่งดงาม รวมถึงใช้อธิบาย ความงามของธรรมชาติได้ด้วยผู้สร้างสรรค์จึงเชื่อว่า ความงามของภาพลักษณ์เคลื่อนไหว/ความเคลื่อนไหวคือ ความงาม เมื่ออยู่บนระนาบรองรับที่มีสัดส่วนที่งดงาม จะช่วยให้ผู้ชื่นชมได้รับสุนทรียภาพทางความงามเพิ่มมาก ขึ้น 5. สรุป จากแนวคิดเรื่องความเคลื่อนไหวคือความงาม และทฤษฎีการลากเส้นแสดงท่าทางหรือเจสเจอร์ ดรออิ้ง (Gesture Drawing) ที่นำเสนอการแสดงออกทางรูปแบบการวาดเขียนแบบนอกเข้าใน (Outside in) ได้ถูกวิเคราะห์และสังเคราะห์ผ่านกระบวนการ ขั้นตอน ประสมประสานจนเกิดเป็นผลงานจิตรกรรม สร้างสรรค์นี้ ผู้สร้างสรรค์คาดว่าข้อมูลต่างๆ ที่ได้นำเสนอมาข้างต้น รวมถึงผลงานสำเร็จ จะช่วยให้ผู้ที่สนใจ ชื่นชมผลงานได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการชื่นชมผลงานจิตรกรรมนามธรรมได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น สามารถส่งเสริมความคิดและจินตนาการของผู้ชื่นชมให้เกิดขึ้นได้จากการคาดเดาลักษณะของเส้นน้ำหนัก ของสีความซ้ำซ้อนความต่อเนื่องเล็กใหญ่ความใกล้ไกลของเนื้อหาในภาพเป็นการสร้างสุนทรียภาพด้านความ งามทางศิลปะให้แก่ผู้ชื่นชมในรูปแบบที่หลากหลายได้ เอกสารอ้างอิง พิบูลย์ มังกร. (2564). บทสังเคราะห์และงานสร้างสรรค์ เรื่อง ความเคลื่อนไหวของเส้นสีขาว. การประชุม วิชาการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ระดับชาติ “มหกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมสมัย ครั้งที่ 3” มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. (หน้า 61-68). ออนไลน์. . (2560). การศึกษาแนวคิดทางทัศนศิลป์ที่ส่งผลต่อกระบวนการสอนทัศนศิลปศึกษา: กรณีศึกษา อารี สุทธิพันธุ์. ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปวัฒนธรรมวิจัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อารี สุทธิพันธุ์. (2565). เข้าใจจิตรกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง Nicolaides, Kimon. (1969). The Natural Way to Draw. Boston: Houghton Mifflin.
250 “น้ำต้น” : เครื่องประดับเงินเชิงวัฒนธรรมล้านนาสไตล์ “The traditional earthenware jug (Nam Ton)” : Silver jewelry with cultural Lanna style ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ, Panupong Jongcharnsittho สาขาวิชาออกแบบแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ Program in Fashion, Textile, and Jewelry Design Faculty of Art and Architecture Rajamangala University of Technology Lanna Chiang Mai E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์นี้เป็นการออกแบบเครื่องประดับเงินเชิงวัฒนธรรมรูปแบบล้านนาสไตล์ โดยใช้ แนวคิด/แรงบันดาลใจจากทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปทรงของ “น้ำต้น” หรือ “คนโท” ซึ่งเป็นภาชนะดินเผารูปทรง คล้ายขวด สำหรับบรรจุน้ำดื่มของผู้คนล้านนาในสมัยอดีต ผนวกกับลวดลายกนกผักกูด ซึ่งนิยมใช้ตกแต่งงาน ศิลปกรรมในพุทธศาสนาของล้านนา (ภาคเหนือ 8 จังหวัดตอนบน) ผลงานนี้เป็นการสะท้อน บอกเล่า เนื้อหา เรื่องราว ความสวยงามของรูปทรงและลวดลายของล้านนา ผ่านผลงานเครื่องประดับเงิน วิธีการศึกษานั้นได้ เลือกรูปทรงของ “น้ำต้น” หรือ “คนโท” สื่อความหมายถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและจิตใจอ่อนโยนของชาวล้านนา เลือกลวดลาย “กนกผักกูด” สื่อความหมายถึงคุณค่างานหัตถศิลป์และความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของ ชาวล้านนา มาเป็นส่วนตกแต่งตัวเรือนให้สวยงาม ใช้เพชรและพลอยรูปหยดน้ำสีฟ้าประดับตัวเรือน สื่อถึง น้ำใจ การช่วยเหลือ ความจริงใจ การต้อนรับผู้มาเยือน ใช้พลอยสีม่วงแดง เหลือง เขียว ส้ม เพื่อสร้างจุดเด่นให้ ชิ้นงานเครื่องประดับเงิน ผลจากการสร้างสรรค์นี้ ได้ชิ้นงานเครื่องประดับเงินจำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย เครื่องประดับจำนวน 3 ชิ้น คือ สร้อยคอ ต่างหู และสร้อยข้อมือ คำสำคัญ : น้ำต้น, เครื่องประดับเงิน, ล้านนาสไตล์ Abstract This creative work is the design of silver jewelry in cultural Lanna style which inspired by the cultural capital with the shape of “Nam Ton” or ““Khon To” which is the traditional earthenware jug shaped like a bottle used to contain drinking water of the Lanna people in the past and combined with characteristic of KanokPhakKut pattern. It is popularly used to decorate fine arts in Lanna Buddhismof 8 upper Northern provinces. This work reflects to tell content and story of the beauty of cultural Lanna style's shapes and patterns through silver jewelry. This study was selected the shape of “Nam Ton” or “KhonTo” to
251 convey the simple way of life and the gentle mind of the Lanna people by choosing characteristic of KanokPhakKut pattern which represent the value of handicrafts and the Lanna people's faith in Buddhism to decorate their house to be beautiful, and use a diamonds and blue drop shaped gemstone to decorate the body of this jewelry for conveying kindness, helping, sincerity, welcoming visitors by using gemstones in magenta, yellow, green, and orange colors to create a distinctive point for this silver jewelry. The result of the creative work is a set of silver jewelry which consisted of 3 pieces of jewelry such as a necklace, earrings and a bracelet. Keywords : The traditional earthenware jug (Nam Ton), Silver Jewelry, cultural Lanna style 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา เครื่องประดับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการแต่งกายของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง แม้ในสมัยที่มนุษย์ เริ่มใช้เสื้อผ้าและเครื่องมือเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณหลายพันปีก่อนเครื่องประดับก็ถูกผลิตขึ้นจากวัสดุทุกชนิด ที่มีอยู่ เช่น หิน หนังสัตว์ ขนนก พืช กระดูกสัตว์ เปลือกไม้ และของมีค่าจากธรรมชาติ ฯลฯ จุดประสงค์ของ การสวมใส่เครื่องประดับของมนุษย์ยุคโบราณมักใช้เป็นเครื่องรางป้องกันอันตรายและสวมใส่ในโอกาสต่างๆ เครื่องประดับยังบ่งบอกถึงความมั่งคั่ง อำนาจ บทบาท และ สถานะของผู้สวมใส่ ในยุคต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จัก การใช้โลหะ จึงได้นำโลหะชนิดต่างๆ มาหลอมและแปรรูปเป็นเครื่องประดับ นอกเหนือจากการนำมาทำ สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน โลหะในยุคแรกอาจเป็นเหล็ก ทองแดง ทองเหลือง ต่อมาเริ่มรู้จักใช้โลหะ ทองคำ และโลหะเงิน ทำเครื่องประดับเนื่องจากเป็นโลหะที่มีมูลค่าสูง โลหะเงินเป็นโลหะที่มีค่ารองจากโลหะ ทองคำ อีกทั้งเป็นโลหะที่เป็นทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากทองคำ(Manish Rai และ R Gopal .2021, pp. 1-7) หากพิจารณาในประเด็นของความต้องการของผู้คนในยุคปัจจุบันพบว่า ยังนิยมสวมใส่เครื่องประดับอย่าง ต่อเนื่องและแพร่หลาย ถึงแม้เครื่องประดับเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย มีราคาสูง และไม่จัดอยู่ในปัจจัย 4 ของมนุษย์ คือ เสื้อผ้า ยารักษาโรค อาหาร และที่อยู่อาศัย แต่ทั้งนี้ผู้คนยังคงสวมใส่เครื่องประดับเพื่อเสริมบุคลิกและเพื่อ ประดับตกแต่งร่างกายให้สวยงามนอกเหนือจากเสื้อผ้า สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลให้เครื่องประดับได้รับ ความนิยม คือ การออกแบบที่มีความแตกต่างจากเดิมทั้งรูปแบบ ลวดลาย อัญมณี เทคนิคการทำ และวัสดุ โดยเฉพาะการนำวัสดุท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ แล้วผนวกกับเทคนิคต่างๆ ในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสะท้อนให้เห็น เนื้อหาเรื่องราวของวัฒนธรรมท้องถิ่น การออกแบบที่มีความแตกต่างจากเดิมทั้งรูปแบบ ลวดลาย อัญมณี และ วัสดุ โดยเฉพาะการใช้แนวคิดหรือแรงบันดาลใจจากความสวยงามหรือคุณค่าของรูปทรง และลวดลายจากสิ่ง ต่างๆ เช่น งานศิลปกรรมท้องถิ่น งานหัตถกรรม ฯลฯ เป็นแนวทางหนึ่งที่สร้างความแตกต่างของชิ้นงาน เครื่องประดับ น้ำต้น หรือ “คนโท” และลวดลายกนกผักกูด เป็นงานหัตถกรรมและหัตถศิลป์สำคัญประเภทหนึ่ง ของภาคเหนือตอนบนหรือที่เรียกว่า “ล้านนา” (ประกอบด้วย 8 จังหวัดคือเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน) โดยที่คนโทนั้นเป็นภาชนะดินเผาสีส้มแดงคล้ายอิฐมอญ สำหรับบรรจุน้ำ
252 ดื่มที่นิยมใช้ในวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนเกือบทุกครัวเรือนในสมัยอดีต น้ำดื่มที่บรรจุในคนโท จะมีกลิ่นหอม ของเนื้อดินเผาซึ่งมีความเป็นธรรมชาติอีกทั้งน้ำดื่มจะมีความเย็น การใช้คนโทนิยมใช้รินน้ำเพื่อให้ผู้มาเยือนได้ ดื่ม อันสะท้อนถึงความมีน้ำใจ การต้อนรับ และความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีของเจ้าของบ้าน รูปทรงของคนโท เป็นลักษณะเส้นโค้งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างลงตัว และถูกออกแบบให้มีลักษณะใช้งานโดยการจับที่ค่อนข้าง ลงตัว ส่วนลวดลายกนกผักกูดนั้น เป็นลวดลายธรรมชาติที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ประดับตกแต่งงานศิลปกรรมใน พุทธศาสนาของล้านนา เช่น งานปูนปั้น งานจิตรกรรม ฯลฯ ลวดลาย มีลักษณะปลายขมวดมน แตกต่างจาก ลวดลายกนกของภาคกลางที่มีปลายพริ้วแหลม ลวดลายกนกผักกูดจะสะท้อนคุณค่าในด้านงานหัตถศิลป์ ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และความสามารถเชิงช่างในล้านนา คนโทและลวดลายกนกผักกูด จึงนับเป็น ทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นสำคัญประการหนึ่ง นอกเหนือจากทุนวัฒนธรรมประเภทอื่น ที่สามารถนำมาสร้างแนวคิด หรือแรงบันดาลใจในการออกแบบเครื่องประดับเงิน จังหวัดล้านนา 8 จังหวัดนั้นเป็นพื้นที่ซึ่งมีทุนวัฒนธรรมร่วมคล้ายคลึงกัน และมีการนำเสนอความ เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ โดยใช้ทุนวัฒนธรรมที่สะสมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันอีกทั้งผู้คนในล้านนาส่วน ใหญ่ต้องการนำเสนอความเป็นตัวตนผ่านรูปแบบเครื่องประดับเงิน เนื่องจากเครื่องประดับเงินนั้น ผู้คนใน ล้านนานิยมใช้ประดับตกแต่งร่างกายอย่างแพร่หลาย การใช้แนวคิดหรือแรงบันดาลใจโดยการนำทุนวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่เป็นรูปทรงของน้ำต้นหรือคนโท และลวดลายกนกผักกูด มาเป็นส่วนสำคัญหรือจุดเริ่มต้นของ ความคิดที่จะสร้างสรรค์เป็นรูปแบบเครื่องประดับเงินให้สามารถสะท้อนเนื้อหา เรื่องราว ความเป็นท้องถิ่นได้ อย่างเด่นชัดนั้น ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ ในด้านการออกแบบเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบเครื่องประดับเงิน ให้มี คุณค่าเชิงวัฒนธรรม รูปแบบและชิ้นงานเครื่องประดับเงินที่ได้จากการสร้างสรรค์นี้น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง ของผู้ที่มีรสนิยมการใช้เครื่องประดับเงินที่สะท้อนหรือบอกเล่า เนื้อหา เรื่องราว (Story Telling) ผ่านชิ้นงาน เครื่องประดับเงินได้เป็นอย่างดี 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิด ปัจจุบันเป็นยุคของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การออกแบบและการผลิตรูปแบบเครื่องประดับ มีการ พัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับรสนิยม และบุคลิกของผู้บริโภค ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปผู้คนมี ความคิดหรือรับรู้เกี่ยวกับเครื่องประดับว่าเป็นสิ่งของมูลค่าสูง และผู้บริโภคที่มีฐานะดีเท่านั้นที่สามารถหาซื้อ เครื่องประดับประเภทนี้ แต่ทั้งนี้เมื่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมเปลี่ยนไป จะส่งผลต่อความคิดและ พฤติกรรมการใช้เครื่องประดับของผู้บริโภค การออกแบบเครื่องประดับเงินที่มีรูปแบบหลากหลาย ย่อมเป็น การเพิ่มทางเลือกให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและรสนิยของผู้บริโภคที่หลากหลายด้วยเช่นกัน 2.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับเงินเชิงวัฒนธรรมนี้ ได้ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างกรอบ แนวคิดสร้างสรรค์ผลงาน ดังนี้
253 1) วัฒนธรรมนำการออกแบบของ ชลวุฒิพรหมสาขา ณ สกลนคร (2547). ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ วัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Cultural) 2) การคิดออกแบบและมิติทางวัฒนธรรมของ พรเทพ เลิศเลาวศิริ(2547). ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ วัฒนธรรมกับความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ คือ (1) รูปแบบ (2) หลักการทางกายภาพ (3) การตัดทอน (4) ผลลัพธ์ทางบวก และ (5) การมีลักษณะเฉพาะหรือความเป็นท้องถิ่น 3) ทุนวัฒนธรรมของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2563).ที่อธิบายความหมายของทุนวัฒนธรรมว่า หมายถึงผลผลิตทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้วัฒนธรรมเป็นต้นน้ำของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยเราสามารถนำทุนวัฒนธรรม เช่นเรื่องราว (Story) และเนื้อหา (Content) ของวัฒนธรรม มาสร้างความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ของตน หรือใช้ทุนทางวัฒนธรรมสร้างความ แตกต่างหรือจุดขายให้กับสินค้า เกิดเป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมและทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นแก่สินค้าและบริการ 4) ความคิดสร้างสรรค์ของ Edward De Bono (2020). ที่กล่าวถึงความสำคัญของความคิด สร้างสรรค์ไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการมองหาทางเลือกที่หลายทิศทาง โดยการคิดอย่าง ครอบคลุมทั้งในแนวกว้างและแนวลึก ตลอดจนสามารถสร้างแนวคิดใหม่ที่แตกต่างโดยเฉพาะการคิดนอกกรอบ 5) เทคนิคในการสร้างความคิด ของ Kotler,P และ Keller,K.L. (2006). ที่กล่าวว่า การวิเคราะห์ รูปร่าง (morphological analysis ) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์รูปร่างหาคุณสมบัติที่เหมาะสมและ แปลกใหม่ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับเงินชุด “น้ำต้น” มีกระบวนการพอสังเขปดังนี้คือ 3.1 ศึกษารูปแบบทุนวัฒนธรรมของล้านนาที่เป็นรูปธรรมและมีคุณค่าในเชิงออกแบบ ทั้งรูปทรงและ ลวดลาย โดยที่รูปทรงพบว่า รูปแบบของน้ำต้นหรือคนโท ภาชนะดินเผาของผู้คนในสมัยอดีต ซึ่งมีแหล่งผลิต อยู่ที่บ้านเหมืองกุง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นรูปทรงที่สวยงาม สะท้อนวิถีชีวิต และสื่อความหมาย ได้เป็นอย่างดี ส่วนลวดลายนั้น พบว่าลวดลายกนกผักกูดเป็นลวดลายที่พบเห็นทั่วไปในงานศิลปกรรมของพุทธ ศาสนาในล้านนา ทั้ง 2 สิ่งนี้ได้นำมากำหนดแนวคิดและแรงบันดาลใจในการออกแบบ ดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1 น้ำต้น (คนโท) และลวดลายกนกผักกูด แรงบันดาลใจในการออกแบบเครื่องประดับเงิน ที่มา : ภาพถ่ายโดยผู้ออกแบบ
254 3.2 ศึกษาแนวคิดเรื่องการออกแบบในเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้สะท้อนความเป็นท้องถิ่น โดยรูปแบบ เครื่องประดับเงิน น่าจะมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ (1) รูปแบบและลวดลายตัวเรือน ให้สามารถสื่อหรือสะท้อนถึง รูปทรงคนโทและลวดลายกนกผักกูด (2) หลักการทางกายภาพ ควรคำนึงถึงหลักการทางกายภาพคือต้องมี ความสอดคล้องกันระหว่างโครงสร้างและลวดลาย (3) การตัดทอน เป็นการนำเฉพาะองค์ประกอบที่จำเป็น ของรูปทรงและลวดลาย มาจัดวางให้ลงตัว (4) ผลลัพธ์ทางบวก โดยต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของ องค์ประกอบทั้งหมดของตัวเรือนและการประดับพลอย (5) การมีลักษณะเฉพาะหรือความเป็นท้องถิ่น โดย พิจารณาแนวคิดหลักคือรูปทรงคนโทและลวดลายกนกผักกูด 3.3 ออกแบบภาพร่างเครื่องประดับเงินโดยนำข้อมูลทั้งหมดมากำหนดความเป็นไปได้ของรูปแบบ เครื่องประดับ แล้วออกแบบภาพร่างเครื่องประดับเงินเป็นภาพลายเส้น จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย เครื่องประดับจำนวน 3 ชิ้นคือ สร้อยคอ ต่างหู และสร้อยข้อมือ แต่ละชิ้นมีรูปแบบที่สอดคล้องกลมกลืนกันใช้ รูปทรงของคนโทมาคลี่คลาย แต่ยังคงเค้าโครงของคนโท ลักษณะ 3 มิติ เน้นความโปร่งจากการใช้เทคนิคฉลุ ลวดลายเป็นภาพลวดลายกนกผักกูดลวดลายนี้เป็นทั้งโครงสร้างและส่วนตกแต่งตัวเรือนควบคู่กัน ชิ้นส่วนแต่ ละชิ้นมีข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ เพื่อลดความแข็งของรูปทรง(ดังภาพที่ 2) โดยที่แต่ละชิ้นมีรายละเอียดดังนี้คือ 1) สร้อยคอ ออกแบบให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดสัดส่วนที่เหมาะสมกับ สัดส่วนร่างกายของผู้สวมประดับด้วยพลอยรูปหยดน้ำสีฟ้าแบบเจียระไน ซึ่งเป็นพลอยหลักส่วนพลอยรองนั้น เป็นพลอยรูปกลมสีน้ำเงิน ม่วงแดง ส้ม และเขียว 2) สร้อยข้อมือ ออกแบบให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดสัดส่วนที่ เหมาะสมกับขนาดของข้อมือ ประดับด้วยพลอยรูปกลมสีม่วงแดงเป็นหลัก ส่วนพลอยรองนั้นเป็นพลอยรูป กลม สีน้ำเงิน ม่วงแดง ส้ม และเขียว แบบเจียระไนเหลี่ยม 3) ต่างหูออกแบบให้มีขนาดความยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดสัดส่วนที่เหมาะสมกับใบ หูของผู้สวมใส่ เป็นต่างหูแบบตะขอ ประดับด้วยพลอยสีฟ้ารูปไข่ซึ่งเป็นพลอยหลักเพียงชนิดเดียว ข้างละ 1 เม็ด แบบเจียระไนเหลี่ยม ภาพที่ 2 ภาพร่างเครื่องประดับเงิน ที่มา: ภาพลายเส้นของผู้ออกแบบ
255 3.4 ผลิตชิ้นงานเครื่องประดับเงินการผลิตชิ้นงานเครื่องประดับเงิน ใช้เนื้อโลหะเงินที่มีความบริสุทธิ์ 92.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปในกระบวนการผลิตตัวเรือนเครื่องประดับ โดยเป็นการผลิตในระบบ อุตสาหกรรม เริ่มจากการทำต้นแบบด้วยแว็กซ์ หรือขี้ผึ้ง (Wax) การทำต้นแบบด้วยโลหะเงิน การหล่อตัวเรือน การประกอบตัวเรือน การประดับพลอย การขัดแต่ง และการชุบเคลือบผิว ดังภาพที่ 3 ภาพที่ 3 ชิ้นงานเครื่องประดับเงินจริงที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์แล้ว ที่มา: ผลงานของผู้ออกแบบ 4.การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานการออกแบบเครื่องประดับเงินเชิงวัฒนธรรมชื่อ “น้ำต้น” ที่เสร็จสมบูรณ์นี้ เป็นการออกแบบ โดยประยุกต์ใช้ทุนวัฒนธรรมล้านนา ให้เป็นรูปแบบล้านนาสไตล์ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ 4.1 ทุนวัฒนธรรมล้านนาที่ใช้เป็นแรงบันดาลในการออกแบบเครื่องประดับเงินเป็นลักษณะทุน วัฒนธรรมที่จับต้องได้ มีคุณค่าในเชิงศิลปะและการออกแบบผลงานออกแบบเครื่องประดับเงินนี้ จึงเป็น รูปแบบของเครื่องประดับเงินเชิงวัฒนธรรมแบบล้านนาสไตล์รูปแบบหนึ่ง 4.2 สร้อยคอ ต่างหู และสร้อยมือ เป็นรูปแบบเครื่องประดับที่สามารถมองเห็นได้ค่อนข้างเด่นชัด และผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมสวมใส่อย่างแพร่หลาย และขนาดสัดส่วนของเครื่องประดับแต่ละชิ้นได้ออกแบบให้ มีขนาดสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกายผู้สวมใส่ โดยคำนึงถึงสรีระวิทยา (Ergonomics) 4.3 รูปทรงของน้ำต้นหรือคนโทและลวดลายกนกผักกูด เป็นสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกันคือ เป็นลักษณะ ของเส้นโค้ง ที่ให้ความรู้สึกอ่อนช้อย และเส้นโค้งนี้เป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานประการหนึ่งในการใช้สร้างสรรค์งาน ศิลปะและออกแบบ
256 4.4 งานออกแบบเครื่องประดับเงินนี้ เป็นการออกแบบลักษณะเครื่องประดับชุด ประกอบด้วย เครื่องประดับจำนวน 3 ชิ้น คือสร้อยคอ ต่างหู และสร้อยข้อมือ แต่ละชิ้นมีความสัมพันธ์ สอดคล้องกัน ซึ่งโดย ภาพรวมของผลงานนี้เป็นลักษณะของการออกแบบในเรื่องของความกลมกลืน (Harmony) 4.5 สร้อยคอ เป็นการออกแบบที่มีชิ้นส่วนและลวดลายซ้ำกัน (Repetition) และเส้นสร้อยเป็นการใช้ หลักการออกแบบลักษณะความสมดุลย์กันแบบรัศมี (Radial Balance) มีจุดเด่นที่ตัวเรือนรูปทรงคนโทตรง กลางเส้นสร้อย และพลอยสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นการเน้น (Emphasis)ให้เกิดจุดเด่น หรือจุดสนใจของชิ้นงาน โดยใช้ ความแตกต่างของรูปทรง (Form) และการใช้สี (Color) นอกจากนี้ยังออกแบบให้รูปทรงของคนโทตรงกลาง เป็นลักษณะ 3 มิติ ที่มองได้รอบด้านแบบงานประติมากรรมลอยตัว (Round Relief) สร้อยข้อมือ เป็น ลักษณะการออกแบบรูปทรงและลวดลายแบบซ้ำกัน (Repetition) และเส้นสร้อยเป็นการใช้หลักการออกแบบ ลักษณะความสมดุลย์กันแบบ 2 ข้างเท่ากัน (Symmetry Balance) มีจุดเด่นที่ตัวเรือนรูปวงกลมตรงกลาง และพลอยหลากสีต่างหูเป็นลักษณะการออกแบบ 3 มิติ ที่มองได้รอบด้านแบบงานประติมากรรมลอยตัว (Round Relief) และสร้างจุดเด่นของผลงานโดยการใช้สีของพลอย มีการเน้นโดยใช้สี (Color) 4.6 ลวดลายของเครื่องประดับเงินชุดนี้ทำหน้าที่ 2 ลักษณะคือ เป็นทั้งโครงสร้าง (Structure) ของตัว เรือนและส่วนตกแต่งตัวเรือน (Decorate) ควบคู่กัน 5. สรุป จากการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับเงินเชิงวัฒนธรรมล้านนาสไตล์ที่กล่าวมานี้ สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ 5.1 ทุนวัฒนธรรมล้านนาเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความคิด ที่สามารถนำไปสร้างสรรค์หรือประยุกต์ใช้ ออกแบบเครื่องประดับเงินและงานออกแบบแขนงอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม 5.2 เครื่องประดับเงินเชิงวัฒนธรรมแบบล้านนาสไตล์ เป็นงานออกแบบหรืองานสร้างสรรค์ ที่ ยกระดับรูปแบบเครื่องประดับเงินขึ้นอีกระดับหนึ่ง และเหมาะสม สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีรสนิยม เครื่องประดับที่มีคุณค่าด้านเนื้อหา สาระ เรื่องราว () เกี่ยวกับท้องถิ่น 5.3 หลักการออกแบบ (Principle of Design) และองค์ประกอบศิลป์ (Composition) เป็นสิ่งสำคัญ พื้นฐาน ที่ใช้ในงานสร้างสรรค์เครื่องประดับเงินล้านนาสไตล์ 5.4 เครื่องประดับเงิน สามารถแยกสวมใส่ได้เฉพาะชิ้น หรือสวมใส่เป็นชุดตามรสนิยม หรือบุคลิกของ ผู้บริโภคแต่ละบุคคล 5.5 สามารถใช้เป็นแนวทางการสร้างสรรค์หรือออกแบบเครื่องประดับเงินเชิงวัฒนธรรมของท้องถิ่น ภาคอื่นเพื่อยกระดับหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชิ้นงานเครื่องประดับเงิน 5.6 สามารถใช้แนวคิดและรูปแบบเครื่องประดับเงินซึ่งเป็นผลจากการสร้างสรรค์นี้ ต่อยอดความคิด ให้สามารถจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์
257 เอกสารอ้างอิง ชลวุฒิพรหมสาขา ณ สกลนคร. (2547). วัฒนธรรมนำการออกแบบ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 1-7. พรเทพ เลิศเลาวศิริ. (2547). การคิดออกแบบและมิติทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ส่งเสริมวัฒนธรรม,กรม. (16 เมษายน 2563). วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่า . [ออนไลน์]สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2565.จาก www.culture.go.th Bono, de Edward. (1994). Creativity and quality. Journal ofQuality Management in Health Care 2 (3) pp. 1-4. Kotler,P.& Keller,K.L. ( 2 0 0 6 ) Marketing Management. Upper saddle River, New Jersey :Pearson Education Inernationnal Rai Manish, andGopal, R.(2021).A Study on the Purchase Behavior of Indian Women When Buying Diamond Jewellery from Different Retail Formats, Journal of business and management (IOSR-JBM)pp. 1-7.
258 การออกแบบคาแรคเตอร์ดีไซน์: The Vengeance Character design : The Vengeance ภาณุวัฒน์ เสงี่ยม, Panuwat Sangiam สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏภูเก็ต Visual Arts Program, Faculty of Humanities & Social Sciences, Phuket Rajabhat University E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตั้งคำถามกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตำรวจไทย และสะท้อนผ่านผลงานสร้างสรรค์ผลงานคาแรคเตอร์ดีไซน์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก โดยแรงบันดาล ใจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดีคนหนึ่งที่ได้สืบสวนเหตุการณ์การค้ามนุษย์ และได้สืบสาวจนทราบว่า ผู้กระทำ ความผิดตัวจริงคือผู้บังคับบัญชาของตัวเอง เมื่อความจริงใกล้ถูกเปิดเผยเขาได้ถูกลอบสังหารอย่างเลือดเย็น... แต่โชคเข้าข้างเขา โดยเขาได้รับความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ลึกลับ และได้ชุบชีวิต และดัดแปลงเขาเป็น ครึ่งมนุษย์ครึ่งหุ่นยนต์ ให้เขามีชีวิตใหม่อีกครั้งเพื่อจะได้สานต่อภารกิจการล้างแค้น และพิพากษาคนผิด นั่น คือที่มาของ The Vengeance ผู้สร้างสรรค์ได้ผสมผสานจินตนาการส่วนตัวของตนเองที่ได้รับอิทธิพลจากการ ตัวละครตำรวจจากการ์ตูนคอมิคต่างประเทศ เช่น แบทแมน (BATMAN)โดยการสร้างผลงานชุดนี้ผู้สร้างสรรค์ ได้ใช้เครื่องมือการวาดรูปด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Clip Studio Paint Proเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย ปัจจุบันรวมทั้งเมื่อชิ้นงานสำเร็จสามารถที่จะนำไปต่อยอดสู่การสร้างสรรค์ในบริบทอื่น ๆ ต่อไปได้อย่าง เหมาะสม คำสำคัญ: คาแรคเตอร์ดีไซน์ Abstract The purpose of creating this work is to question various issues related to the Thai police and reflected through the creation of character designs with computer graphics programs. A decent police officer investigating a human trafficking crime inspired me. He looked into it till he discovered the true criminals were their own supervisors. He was slain in cold blood just as the truth was about to be exposed... but chance was on his side, and with the assistance of a mystery doctor, he was resurrected and changed into a half-human, half-robot hybrid. Give him a second chance to complete his revenge. and convict the guilty This is where The Vengeance enters the picture. The creators have merged their own particular ideas with the influence of foreign comic book police character designs, as well as
259 Batman (BATMAN). The artists employed computer-aided drawing techniques to produce this series. Clip Studio Paint Pro application to keep up with the times, and when the final item may be further extended to produce in many situations. Keywords: Character Design 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ในการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้ออกแบบได้แนวคิดในการสร้างสรรค์จากคาแรคเตอร์ของตำรวจจากสื่อ ต่าง ๆ อาชีพตำรวจถือเป็นอาชีพที่สำคัญ ที่มีหน้าที่เป็นผู้ใช้กฎหมายพิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดูแลรักษาให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อย และจำเป็นจะต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่คนประชาชนให้มากที่สุด ปัจจุบันเรามักจะได้รับข่าวสารที่กล่าวถึงปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวการทำงานของตำรวจไทยอยู่เนือง ๆ ซึ่งมี หลากหลายประเด็นที่สื่อภาพลักษณ์ที่เป็นไปในทิศทางเชิงลบทั้งปัญหายาเสพติด การทุจริต การไม่บังคับใช้ กฎหมายอย่างถูกต้อง หรือการเลือกปฏิบัติในการใช้กฎหมาย ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้มีนักวิชาการได้ทำการ สำรวจความคิดเห็นจากประชาชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ได้สำรวจความคิดเห็นภาคสนาม เรื่อง นายกฯ กับงานตำรวจ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,675 ตัวอย่าง ซึ่งได้สรุปผลการ สำรวจ แยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปัญหาสำคัญที่ทำให้ตำรวจและหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ต้องเร่งแก้ไข ลำดับที่ 1 คือ ยาเสพติด ระบาด หนักในชุมชน สถาบันการศึกษา สถานบันเทิง คิดเป็นร้อยละ 91.8 ลำดับที่ 2 บ่อนการพนัน แหล่งแพร่โควิด ทำลายความสุขประชาชนหมดโอกาสช่วงเทศกาลความสุข บั่นทอนเสาหลักของสังคม ต้นตออาชญากรรมอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 87.8 ลำดับที่ 3 ขบวนการขนแรงงานผิดกฎหมาย ลักลอบเข้าเมือง ฟอกตัว ต้นตอแพร่โควิด คิดเป็นร้อยละ 87.3 ลำดับที่ 4 อาชญากรรมออนไลน์ เช่น การล่วงละเมิดสถาบันหลักของชาติ ล่อลวง คุกคาม พนันออนไลน์ มิจฉาชีพ 86.1 ลำดับที่ 5 ค้ามนุษย์ทั้งที่สมัครใจและไม่สมัครใจ แรงงานบังคับ เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 85.3 2. การรับรู้ของประชาชนต่อปัญหาการทำงานของตำรวจ ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ที่ทำให้ต้องเร่ง ปฏิรูปตำรวจ มีหลายเหตุการณ์ ลำดับที่ 1 มีหลายเรื่องเกิดขึ้นในช่วง 12 เดือนที่ผ่านที่ทำให้ต้องเร่ง ปฏิรูป ตำรวจ เช่น ร่วมกับหน่วยงานรัฐ อื่น ๆ ช่วยผู้ต้องหา ผู้มีฐานะร่ำรวย พ้นผิดคดีขับรถชนตำรวจเสียชีวิต ต้นตอ ความใน กระบวนการยุติธรรม การแสวงหาผลประโยชน์จาก บ่อนพนัน ขบวนการฟอกตัวแรงงานต่างชาติผิด กฎหมาย ยาเสพติด ฯลฯ ต้นตอการแพร่โควิด ทำประชาชนทุกข์ยากเดือดร้อน คิดเป็นร้อยละ 98.0 ลำดับที่ 2 ไม่มีความเห็น ไม่ระบุ คิดเป็นร้อยละ 2.0
260 3. ความคิดเห็นต่อ การปฏิรูปตำรวจ ต้นตอและวิธีการแก้ไข ลำดับที่ 1 เคลือบแคลงสงสัย ตำรวจซื้อ ขายตำแหน่ง รับสินบน ทุจริตต่อหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ 98.9 ลำดับที่ 2 นายกรัฐมนตรีควรหา ผู้นำหน่วยที่ พร้อมร่วมมือ ปฏิรูปตำรวจ มาทำงาน คิดเป็นร้อยละ 98.7 ลำดับที่ 3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ปฏิรูปตำรวจ ร่วมปฏิบัติตามกฎหมาย เคร่งครัด 98.3 ลำดับที่ 4 นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จำเป็นต้องถือธง ปฏิรูปตำรวจ 95.8 (สปริงนิวส์, 2564) จากข้อมูลผลการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานตำรวจยังต้องมีการปฏิรูป การปฏิบัติงานให้มีความชัดเจน โปร่งใส และจำเป็นที่ต้องแก้ไขปัญหาหรือคลายประเด็นต่าง ๆ ที่ยังเป็นข้อ สงสัยของประชาชน ให้เกิดความกระจ่าง และมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น จากประเด็นดังกล่าวจึงเป็นแรงบันดาล ใจให้ผู้สร้างสรรค์มีความสนใจที่จะนำเสนอภาพลักษณ์ของตำรวจผ่านบทบาทเนื้อหา สมมุติ บอกเล่า จินตนาการส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์เอง 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์ผลงานคาแรคเตอร์ชิ้นนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้แนวคิดจากตัวละครในการ์ตูน ที่ได้นำเอาอาชีพ ตำรวจมาใช้เป็นบทบาทสมมุติในเนื้อเรื่อง ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นแนวคิดที่มักใช้กันบ่อย เพราะตำรวจคือ สัญลักษณ์ของความดี และความยุติธรรมนั่นเอง ไบรอัน ครอนิน (BRIAN CRONIN)ได้เขียนบทความเรื่อง Top Cops: The 15 Best Law Enforcement Officers in Comics เป็นบทความที่เป็นการจัดอันดับ 15 ตัวละครที่มีบทบาทเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายในการ์ตูนคอมิคที่ได้รับความนิยมสูงสุด ซึ่งตัวละครทั้ง 15 ตัวละคร นั้นมีทั้งที่เป็นตัวละครหลัก ตัวร้าย หรือแม้แต่ตัวละครที่เป็นผู้ช่วยตัวเอก ซึ่งมีละครที่ส่งอิทธิพลในการ สร้างสรรค์ คือ ตัวละครอันดับ 1. เจมส์กอร์ดอน (JAMES GORDON) เป็นตัวละครที่มีบทบาทสมมุติเป็น ตำรวจที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์หนังสือการ์ตูน รับบทบาทเป็นผู้บัญชาการเจมส์กอร์ดอน ปรากฏตัว ครั้งแรกใน "Detective Comics" เล่มที่ 27 ซึ่งเขาได้ทำงานกับบรูซ เวน (Bruce Wayne) ซึ่งก็คือหน้าฉาก ของ แบทแมน (Batman) กอร์ดอนไม่ได้มีบทบาทสำคัญในเรื่อง "แบทแมน" ในช่วงแรก แต่กลายเป็นผู้ติดต่อ และให้ข้อมูลหลักของแบทแมน กับกรมตำรวจก็อตแธมอย่างรวดเร็ว อีกตัวละครหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้สร้างสรรค์ คือ ตัวละครที่ได้รับการจัดอันดับในอันดับที่ 8 ฮาวี บูลลอค (HARVEY BULLOCK) เป็นตัวละครที่กำเนิดในช่วงปลายค.ศ. 1960 ในการ์ตูนแบทแมน (Batman) โดยเจตนาของนักเขียนที่เพิ่มตัวบูลลอคในคอมมิค ก็เพื่อทำให้การ์ตูนแบทแมนมีบุคลิกที่เข้มข้นขึ้น มาก เพื่อนำเขากลับมาสู่รากเหง้าในยุคแรกๆ ของเขาในฐานะร่างเงา ในการทำเช่นนั้น พวกเขายังค่อย ๆ ทำ ให้เขากลับมามีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างเป็นปฏิปักษ์กับตำรวจในบางครั้ง (แม้ว่าจะยังคงเป็นเพื่อนสนิทกับผู้ บัญชาการกอร์ดอน) ร้อยโทบูลลอค จากนั้นในช่วงทศวรรษ 1980 ดั๊กมูนช์ (Doug Moench) นักเขียนหนังสือการ์ตูนชาวอเมริกัน ได้พา เขากลับมาและเริ่มพัฒนาร้อยโทบูลลอค ขึ้นด้วยรูปลักษณ์ที่โฉบเฉี่ยวของเขา และทัศนคติที่ไม่แน่นอนของเขา ต่อกระบวนการของตำรวจ ในช่วงแรกร้อยโทบูลลอค เป็นตำรวจเลว ทำงานสกปรกให้ คาร์ไมน์ฟอลคอน (Carmine Falcone) หัวหน้ามาเฟียผู้ทรงอิทธิพลซึ่งมีชื่อเล่นว่า "The Roman " ที่ซึ่งเขายึดมั่นในการก่อ
261 อาชญากรรมของเมือง Gotham City แต่ร้อยโทบูลลอค เขาได้ซึมซับความจริงใจและความศรัทธาในการ อาชีพตำรวจจากเจมส์กอร์ดอน เขาเกือบถูกฆ่าตายในตอน "No Man's Land" จากนั้นเขาก็ถูกปลดออกจาก การ์ตูนเรื่อง "Gotham Central" และถูกนำกลับมาหลังจาก "Infinite Crisis" ภาพที่ 1 เจมส์กอร์ดอน (JAMES GORDON) ที่มา : (CRONIN, 2017) ภาพที่ 2 ฮาวี บูลลอค (HARVEY BULLOCK) ที่มา : (CRONIN, 2017) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. สืบค้นหาภาพของตำรวจที่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ สร้างสรรค์ ซึ่งในที่นี้ผู้สร้างสรรค์ได้เลือกภาพของนายตำรวจไทยที่มีผลงานที่โดดเด่นและมีลักษณะใบหน้าที่มี ความเฉพาะตัว เพื่อใช้ประกอบเป็นข้อมูลอ้างอิง (Reference) ในการทำงาน(ภาพที่ 1) ภาพที่ 3 ภาพถ่ายพล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์อดีต รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ที่มา : (O'Shea, 2017) ภาพที่ 4 ภาพถ่ายด้านข้างของพล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ที่มา : (101 East, 2022) 2. กำหนดขอบเขตการสร้างสรรค์ทั้งกระบวนการ ซึ่งในที่นี้จะใช้โปรแกรม Clip Studioผลงาน แนวตั้งขนาด A2 รูปแบบจะใช้ลักษณะใบหน้าของตำรวจต้นแบบมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ คาแรคเตอร์ ดีไซน์ตามความคิดและจินตนาการส่วนตัว 3. ร่างภาพด้วยดินสอบนกระดาษ เพื่อค้นหาแนวคิดในการออกแบบ(ภาพที่ 5)
262 ภาพที่ 5 วาดด้วยดินสอ ภาพที่ 6 วาดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 4. นำภาพร่างไปวาดในคอมพิวเตอร์ ใช้วิธีการถ่ายภาพและนำไปเปิดทำงานในโปรแกรม Clip Studio โดยนำภาพร่างที่ถ่ายภาพเอาไว้ใช้เป็นภาพต้นแบบ จะสร้างเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่างสุดและล็อค (Lock) เอาไว้ ในขั้นตอนการวาดเส้นนั้น จะเริ่มวาดลายเส้นรอบนอกของตัวละครด้วยเครื่องมือ Penเลือกปากกา G-penโดยเมื่อวาดลายเส้นเรียบร้อยแล้วจะตั้งชื่อเป็นเลเยอร์ (Layer) ลายเส้นและนำไปวางไว้เป็นเลเยอร์ที่อยู่ ด้านบนสุดทั้งนี้เพื่อให้ง่ายในการทำงาน และสะดวกในการลงสีและแก้ไขในภายหลัง หลังจากนั้นจึงสร้างเล เยอร์อื่น ๆ ตามมา เพื่อลงสีในส่วนของรูปทรงหลักและฉากหลัง ซึ่งในการลงสีผู้สร้างสรรค์จะเปลี่ยนจาก ปากกาเป็นดินสอ (Pencil) โดยเลือกใช้ Color Pencilซึ่งเหมาะสมที่จะนำมาระบายให้เกิดน้ำหนักอ่อนแก่ได้ดี โดยลำดับแรกจะระบายสีเป็นสีเทาเรียบ ๆ ทั้งรูปทรงจากนั้นจึงสร้างเลเยอร์ใหม่เพื่อลงน้ำหนักเข้มและอ่อนสุด ตามลำดับ ซึ่งเมื่อระบายน้ำหนักอ่อน กลาง เข้ม ก็ทำให้รูปทรงเกิดระยะและมิติมากยิ่งขึ้น 5. จากนั้นจึงลงสีฉากหลัง (Background) เพื่อขับเน้นให้รูปทรงมีความโดดเด่นและเกิดมิติ ระยะมากขึ้น ซึ่งในที่นี้ผู้สร้างสรรค์ได้เลือกใช้สีส้ม HEX FC7B14 4. การวิเคราะห์ผลงาน 4.1 ส่วนประกอบของศิลปะ (Element of Art) 4.1.1 วิเคราะห์รูปร่างและรูปทรง(Shape and Form)เป็นรูปร่างและรูปทรงธรรมชาติ คือ รูปของ มนุษย์ที่อยู่ในอากัปกิริยาท่ายืน ด้านหลังจากเป็นรูปร่างและรูปทรงของตาชั่งที่ประกอบด้วยหัวกะโหลกนก และปีกนกที่กำลังแตกหัก มีชิ้นส่วนกระจัดกระจายออกมา 4.1.2 วิเคราะห์พื้นที่ว่าง(Space) มีการแบ่งพื้นที่อย่างชัดเจนระหว่างรูปทรง (Figure) และพื้นที่ว่าง (Space) (ภาพที่ 7)
263 ภาพที่ 7 การวิเคราะห์พื้นที่ว่าง 4.1.3 วิเคราะห์สี (Color)ใช้สีโทนอุ่น(Warm Tone) ภายในรูปทรงจะเลือกใช้สีเทา สีเทาอมส้ม 4 น้ำหนัก โดยรอบรูปทรงจะตัดเส้นด้วยสีดำ พื้นหลังจะใช้สีส้ม(ภาพที่ 8) ภาพที่ 8 การวิเคราะห์สี 4.2 หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ (Principle of Art) 4.2.1วิเคราะห์ทิศทาง ทิศทางในภาพจะเป็นเส้นเฉียงเริ่มจากขาด้านล่างไล่ไปสู่บริเวณกึ่งกลางของ ลำตัว มีทิศทางที่เฉียงออกไปทางด้านขวาจากส่วนของแขนขวา ส่วนแขนซ้ายจะมีทิศทางที่พุ่งขึ้นด้านบน ส่วน ใบหน้ากำหนดทิศทางกระจายออก เช่นเดียวกับรูปทรงของปีกนกด้านหลังที่มีทิศทางแผ่เป็นรัศมีทำให้เกิด จังหวะและทิศทางที่แตกต่างกันระหว่างรูปทรงของคนและรูปทรงของตาชั่งในเบื้องหลัง(ภาพที่ 9)
264 ภาพที่ 9 การวิเคราะห์ทิศทาง ภาพที่ 10 การวิเคราะห์ดุลยภาพ 4.2.2 วิเคราะห์ดุลยภาพ(Balance) ดุลยภาพของภาพเป็นแบบอสมมาตร ซ้ายขวาสองข้างไม่ เท่ากัน (Asymmetrical Balance)(ภาพที่ 10) 4.2.3 วิเคราะห์จังหวะและความเคลื่อนไหว(Rhythm and Movement) จังหวะและความ เคลื่อนไหวมีลักษณะเคลื่อนไหวจากบริเวณด้านล่างของภาพ เคลื่อนมาส่วนบริเวณลำตัว และแผ่กระจาย ออกแบบรัศมีในส่วนด้านหลังซีกซ้าย จังหวะการเคลื่อนไหวแผ่ออกตามเส้นของปีกนก 5. สรุป การออกแบบคาแรคเตอร์ดีไซน์The Vengeance ครั้งนี้ ได้นำแรงบันดาลใจจากข่าวสาร การตั้ง คำถามที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย โดยนำรูปทรงของมนุษย์มาผสมดัดแปลงกับหุ่นยนต์ให้เกิด ภาพลักษณ์และมีรายละเอียดใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิมโดยนำหลักการทางศิลปะมาใช้เป็นส่วนประกอบใน การสร้างสรรค์ ส่วนประกอบทางศิลปะที่สำคัญ คือ รูปร่างและรูปทรง พื้นที่ว่าง และสีแม้จะเป็นการทดลอง สร้างสรรค์ผลงานจากตัวละครเพียงตัวเดียว แต่ทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดแนวทางและองค์ความรู้สำคัญ อัน สามารถที่จะนำไปสู่การสร้างงานผลงานออกแบบคาแรคเตอร์สำหรับตัวละครอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตได้
265 เอกสารอ้างอิง สปริงนิวส์. (17มกราคม2564). [ออนไลน์]. ซูเปอร์โพลเผยกว่า 91 % ระบุยาเสพติดคือสิ่งที่ตำรวจต้องเร่ง แก้ปัญหา. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.springnews.co.th/news/804825. 101 East. (21 Apr 2022). [Online]. Thailand’s Fearless Cop. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.aljazeera.com/program/101-east/2022/4/21/thailands-fearless-cop CRONIN, BRIAN. (7 Apr 2017). [Online]. Top Cops: The 15 Best Law Enforcement Officers in Comics. . สืบค้นเมื่อ10 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.cbr.com/top-cops-the-15-bestlaw-enforcement-officersincomics/?fbclid=IwAR1EHpCXpJPQ_4kTqKysbhzRhLjaWFjy EnHFrFDV-xiGSm5bPb9-llgvi0c O'Shea, Meredith. (21 Apr 2017). [Online]. Thailand's most senior human trafficking investigator to seek political asylum in Australia. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565 จากhttps://www. theguardian.com/world/2015/dec/10/thailands-most-senior-human-trafficking-investigatorto-seek-political-asylum-in-australia
266 งานสร้างสรรค์ออกแบบเครื่องแต่งกายชุดประจำชาติ สุภาพบุรุษ ถิ่นสยาม จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2556 Thai Nation Creative Costume Design Mister Siam Surat Thani Province 2013 ยุทธนา บุญอาชาทอง, Yuttana Boonarchatong เบ็ญจมาภรณ์ สุธิราวุธ, Benjamaporn Suthirawut 110 ถนนประชาชื่น หลักสี่ กรุงเทพ 10210, 110 Prachachuan Rd.Laksi, Bangkok Thailand 10210 E-mail : [email protected] / [email protected] บทคัดย่อ งานสร้างสรรค์การออกแบบเครื่องแต่งกายชุดประจำชาติสุภาพบุรุษ ถิ่นสยาม จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2556 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์และสร้างลักษณะนิสัยตัวละคร ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การใช้ภาพเงาดำ(Silhouette) ของเครื่องแต่งกายที่แสดงยุคสมัยชัดเจน การใช้ผ้าไทยในการออกแบบไม่ได้ เป็นอุปสรรคในการออกแบบ ทำให้เห็นถึงศิลปะตะวันออกได้โดยเสริมเอกลักษณ์ความเป็นไทย คำสำคัญ: การออกแบบเครื่องแต่งกาย, ออกแบบ, ละครเวที, จังหวัดสุราษฏร์ธานี Abstract Thai Nation Creative Costume Design “Mister Siam Surat Thani province 2013”. The study started from analyzing the data and creating characters thus incorporating other fabrics in designing, the result shown that if using the Silhouette shows a distinctive era of the dress, the combined design of using Thai fabric reflected the perfect combination of Eastern Arts, enhancing Thainess Identity. This is a characteristic analysis process that illustrates Thai Identity. Keywords: Costume design, Design, Play, Surat Thani
267 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา เครื่องแต่งกายเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนวัฒนธรรมแต่ละประเทศและท้องถิ่น ซึ่งเครื่องแต่งกายใช้ เพื่อนุ่งห่มประโยชน์ใช้สอย และเพื่อความสวยงาม โดยแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น หรือแสดงออกถึง ชาติพันธุ์ และภูมิอากาศและภูมิประเทศในแต่ละที่ ซึ่งมีเรื่องราวและความเป็นมาที่มีเอกลักษณ์ต่างกันไป การศึกษาเครื่องแต่งกายจากละครเวที ซึ่งอาจารย์ฤทธิ์รงค์ จิวากานนท์กล่าวไว้ในศิละการออกแบบ เครื่องแต่งกายละครเวทีสมัยใหม่ ว่าเครื่องแต่งกายละครเวทีสามารถบ่งบอกบรรยากาศรูปแบบละคร, เวลา และสถานที่แสดง, ชนชั้นทางสังคม, สภาพสังคม, จุดเด่นตัวละคร, ความสัมพันธ์, การพัฒนาการของตัวละคร ทำให้การออกแบบเครื่องแต่งกายถึงมีความสำคัญ การออกแบบเครื่องแต่งกายครั้งนี้ เป็นการออกแบบเครื่องแต่งกาย ชุดประจำจังหวัดสุราษฎธานี ในการประกวดเครื่องแต่งกายชุดประจำชาติ สุภาพบุรุษ ถิ่นสยาม 2556 ซึ่งเครื่องแต่งกายต้องนำเสนอ เรื่องราวหรือเอกลักษณ์ประจำจังหวัดที่มีความเป็นไทย เพื่อนำไปประกวดในรอบต่างประเทศต่อไป โดยครั้งนี้ มีนายศราวุธ นามวงศ์ เป็นผู้เข้าประกวดสุภาพบุรุษ ถิ่นสยาม 2556 และเป็นผู้ที่จะนำเสนอเครื่องแต่งกาย ครั้งนี้โดยการสร้างตัวละครขึ้นมาก่อนแล้วมีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครนั้นจากเครื่องแต่งกาย จากการค้นหาข้อมูลพบว่า จากการออกแบบครั้งนี้มีการผสมวัฒนธรรมกับการสร้างตัวละครเพื่อให้มี ความชัดเจนและบุคลิกภาพของผู้ใส่ชัดเจน และการใช้ภาพเงาดำของเครื่องแต่งกาย (Silhouette) ที่ชัดเจน ในช่วงยุคสมัย เพื่อให้เห็นจากเครื่องแต่งกาย จุดประสงค์ของงานสร้างสรรค์ เพื่อสร้างงานเครื่องแต่งกายชุดประจำชาติ สุภาพบุรุษ ถิ่นสยาม จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2556 ขอบเขตงานสร้างสรรค์ ชุดประจำชาติ สุภาพบุรุษ ถิ่นสยาม จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2556 โดยผ่านผู้เข้าประกวด นายศราวุธ นามวงศ์ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปะ (ประภากร สุคนธมณี, 2556:48) สิ่งในการออกแบบต้องคำนึง คือการออกแบบกับงานศิลปะ งานศิลปะจะคำนึงถึงองค์ประกอบของ ศิลปะ เช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นที่ ปริมาตร ลักษณะผิว บริเวณหรือพื้นหลัง น้ำหนักอ่อนเข้ม แสงเงา เงาดำ สี การวิเคราะห์ตัวละคร (Character) การวิเคราะห์ตัวละครของละครเวทีสามารถวิเคราะห์ตัวละครได้โดยพิจารณาลักษณะของตัวละครใน ด้านต่างๆ ดังนี้ 1. รูปลักษณ์ภายนอก หมายถึงรูปร่างหน้าตา เพศ อายุ ความสูงต่ำ ดำขาว กิริยาอาการ ฯลฯ
268 2. สถานะทางสังคม หมายถึงอาชีพ ฐานะ ความเชื่อทางศาสนา ความเกี่ยวพันในครอบครัวและ สังคมแวดล้อม ฯลฯ 3. จิตวิทยา รวมถึงภูมิหลังที่มีส่วนกำหนดนิสัยใจคอ ทัศนคติ ความปรารถนาในส่วนลึก ความชอบ ความเกลียด ฯลฯ 4. คุณธรรม หมายถึงสำนึกและความละอายต่อบาป ความยุติธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ฯลฯ การสร้างตัวละครให้มีลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล มีความคิด ความต้องการ และความน่าเชื่อถือ (Francis Hodge อ้างใน พรรณศักดิ์ สุขี, 2541:32) ประกอบไปด้วย ความปรารถนาสูงสุด (Desire) ความตั้งใจ (Will) ความมีศีลธรรม (Moral Stance) รูปลักษณ์ (Decorum) สภาวะอารมณ์ (Character Mood Intensity) ความสำคัญของเครื่องแต่งกายละครในภาพรวมของละคร ( ฤทธิ์รงค์ จิวากานนท์2557:7) 1. กำหนดบรรยากาศและรูปแบบละคร 2. แสดงเวลาและสถานที่ 3. บ่งบอกสังคมหรือชนชั้น 4. บ่งบอกสภาพในสังคม 5. สร้างจุดเด่น 6. แสดงถึงความสัมพันธ์ 7. แสดงถึงพัฒนาการของตัวละคร 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการในการสร้างสรรค์ 3.1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแนวความคิด การสร้างเครื่องแต่งกายครั้งนี้มีการสร้างจากตัวละครสมมุติที่เป็นเจ้าชายจากยุคศรีวิชัย ซึ่งเป็นศิลปะ ที่มีการเข้าผ่านจังหวัดสุราษฏร์ธานีโดยมีแนวความคิดที่นำเสนอคือ ชุดเจ้าชายแห่งแสงอรุณรุ่งสุวรรณภูมิและ มหรสพเงาแห่งมายา โดยได้แรงบันดาลใจจากต้นกำเนิดศิลปะศรีวิชัย ที่มีต้นกำเนิดศิลปะส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการผสมผสานวัฒนธรรมที่มาจากต้นกำหนดศาสนาพุทธ และมหรสพเงาได้รับอิทธิพล มาจากชาติตะวันตก และเผยแพร่มาเป็นมหรสพในภาคใต้ของประเทศไทยโดยบรรรจบกันในชุดแสดงอรุณรุ่ง แห่งสุวรรณภูมิและมหรสพเงาแห่งมายา วิเคราะห์ตัวละคร โดยเลือกเจ้าชายแห่งเมืองศรีวิชัยมาวิเคราะห์ ใช้วิเคราะห์จาก รูปลักษณ์ภายนอก, สถานะทางสังคม, จิตวิทยา, คุณธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่า เจ้าชาย เป็นชายสูงศักดิ์ เป็นคนกล้าคิดกล้าแสดงออก กล้าแสดงความรู้สึกตน ไม่ท้อต่ออุปสรรค์และนับถือศาสนาพุทธ การเลือกยุคสมัยโดยยุศศิลปะศรีวิชัย
269 ภาพที่ 1 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปัทมปาณี ที่มา : https://www.silpa-mag.com/history/article_10184 ลักษณะการแต่งกายของชาย เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าชายพกต่ำ ปล่อยชายย้อยเป็นกระหนก คาดเข็มขัดโลหะ ผม เกล้ามวยเป็น กระพุ่มเรียงสูง ด้วยเครื่องประดับ ปล่อยปลายผมสยายลงรอบศีรษะ เป็นชั้น ๆ บางทีปล่อยชายผมชั้น ล่าง สยายลงประบ่า เครื่องประดับ ใส่ตุ้มหูเป็นเม็ดกลมใหญ่ คล้องสายสังวาลย์ คาดเข็มขัดโลหะใส่กำไล แขนและ ข้อมือ ลักษณะการแต่งกายของหญิง เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าครึ่งแข้งปลายบานยกขอบ ผ้าผืนเดียวบางแนบเนื้อคล้ายผู้ชาย ขอบผ้าชั้นบน ทำเป็นวงโค้งเห็นส่วนท้อง คาดเข็มขัดปล่อยชายผ้าลงทางด้านขวาผม เกล้ามวยสูงทำเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ สวมกลีบรวบด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลง มาด้านหน้า บางทีมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศีรษะใช้รัดเกล้าเป็น ชั้น ๆ แล้วปล่อยชายผมลงประบ่า ทั้ง 2 ข้าง หรือถักเปียเครื่องประดับ ประดับด้วยรัดเกล้า ตุ้มหูแผ่นกลมเป็น กลีบดอกไม้ ใส่กรองคอทับทรวง ใส่กำไรต้นแขนทำด้วยโลหะ หรือลูกปัดร้อยเป็นพวงอุบะ ใส่กำไลมือและเท้า ภาพที่2 การแต่งกายของชายสมัยศรีวิชัย การแต่งกายของหญิงสมัยศรีวิชัย (ภาพเขียนเลียนแบบจาก กรมศิลปากร) ที่มา : https://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/02_2.html 3.2. วิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการทำงาน มีการออกแบบแนวคิดชุดเจ้าชายแห่งแสงอรุณรุ่งสุวรรณภูมิ และมหรสพเงาแห่งมายา เนื่องจากเป็นการประกวดเพื่อโชว์บนเวทีที่มีการใช้แสงสีเสียงบนเวทีประกวดที่ใหญ่ ผู้ออกแบบจริงเพิ่มความเป็นเจ้าชายให้กับตัวละคร เพื่อให้เครื่องแต่งการมีความอลังการมากขึ้นเป็นชุดที่ใส่ ออกท้องพระโรงที่มีความเป็นทางการ ไม่ได้ใส่ชุดปกติเหมือนอยู่ในวัง และยังมีหุ่นหนังที่สะท้อน การละเล่นถือ
270 อยู่ในมือ เครื่องแต่งกายที่สะท้อนถึงต้นกำเนิดศิลปะศรีวิชัย ที่มีการเผยแผ่ศาสนาพุทธประเทศอินเดีย และได้ กำเนิดขึ้นในจังหวัด สุราษฎร์ธานี และในต่างประเทศ ที่มีวัฒนธรรมที่งดงามจากพระโพธิสัตว์ และมีการใช้ เครื่องทองที่แสดงถึงความรุ่งเรืองในอดีต และยังประกอบไปด้วยการถือ หนัง หรือคนทางใต้เรียกว่า หนังตะลุง ที่เป็นมหรสพเงาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคสมัยตะวันตกที่อเล็กซานเดอร์มหาราชที่เดินทางมาถึงอินเดีย และได้มี มหรสพเงาเกิดขึ้นจนถึงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งตัวหนังเป็นตัวเงาที่สะท้อน เทวดา ความดี ที่เป็นเงาของคน ที่ทำความดีและคอยเตือนสติสำหรับผู้รับชม ซึ่งทั้งหมดสะท้อนความเป็นชุดประจำชาติของจังหวัด สุราษฎร์ธานี ที่สวยงามทางทางจิตใจของผู้คน ที่มีศิลปะวัฒนธรรมที่สืบสานอันยาวนานและรุ่งโรจน์ สุราษฎร์ธานีที่แปลว่าเมืองคนดี ภาพที่3 ลายผ้าที่ใช้ในการออกแบบ 3.3.เลือกแนวทาง การเลือกใช้สีหลักมีสองสี คือเป็นการเลือกสีทอง สีโอรส และสีดำ เพื่อเป็นการเล่า แสงแรกของแสดงตะวันที่ที่เป็นสีโอรส และค่อยๆแสดงความเป็นสีทองและ ในท้องฟ้าที่ยังมืดคือสีดำของ ท้องฟ้า แต่ยังมีดาวด้วยความระยิบระยับขอบท้องฟ้า ผ้าชุดเครื่องแต่งกายในยุคศรีวิชัย ที่มีเจ้าชายกำลังถือตัว หนังออกมา เลือกใช่ผ้าสีดำและมีจุดสีทองและกระจกวงกลมให้มีการทำซ้ำในหลายจุด เพื่อให้สะท้อนกับ แสงไฟเวลาโดนแสดงไฟของเวที เพื่อสร้างจุดเด็นในการสะท้อนกับไฟ ภาพที่4 ภาพร่างเครื่องแต่งกาย 3.4. เลือกแบบและสร้างผลงาน การออกแบบโดยการวาดต้นแบบแล้วถึงเลือกลายผ้าที่เข้ากับสีที่ ต้องการและแบบที่ให้เป็นเครื่องแต่งกายที่ต้องการ
271 ภาพที่5 ร่างเครื่องแต่งกายพร้อมมีหุ่นหนัง 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพที่6 ผลงานการออกแบบเครื่องแต่งกาย จากการออกแบบครั้งนี้มีการผสมวัฒนธรรมกับการสร้างตัวละครเพื่อให้มีความชัดเจนและบุคลิกภาพ ของผู้ใส่ชัดเจน และการใช้ภาพเงาดำของเครื่องแต่งกาย (Silhouette) ที่ชัดเจนในช่วงยุคสมัย เพื่อให้เห็นจาก ภายนอก และใส่รายละเอียดเช่นกระจก และพลอยสะท้อนแสง เพื่อให้เกิดการสะท้อนแสงสร้างความน่าสนใจ ของชุด มีการใช้หุ่นหนังประกอบ และมีการประกอบท่าทางในระหว่างการโชว์เครื่องแต่งกาย ซึ่งเมื่อเห็นชุดนี้ อย่างแรกผู้ชมจะรู้ได้ทันว่าเป็นชุดของฝั่งตะวันออก และใส่รายละเอียดความเป็นไทยเข้าไปเช่น ลวดลาย ผ้าผสมวัฒนธรรมการเชิดหนังที่ได้อิทธิพลจากชาติตะวันตก ซึ่งทุกอย่างมีต้นกำเนิดการเข้าเมืองไทยที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี และเป็นการนำเสนอชุดที่มีต้นกำเนิดจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพที่ 7 ผลงานการออกแบบบนเวทีประกวด
272 5. สรุป จากอรรถประโยชน์ของงานสร้างสรรค์ครั้งนี้ ผู้ออกแบบคิดว่า การออกแบบเครื่องแต่งกายชุดประจำ ชาติที่มีบริบทเป็นตะวันออก และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย ซึ่งถ้าการใช้ภาพเงาดำของเครื่องแต่งกาย (Silhouette) ที่ชัดเจนทำให้เข้าใจถึงยุคสมัย มาประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมได้ และเป็นการสร้างเรื่องราวโดย ใส่บุคลิกภาพของตัวละครให้กับชุดว่า เป็นเจ้าชายแห่งยุคศรีวิชัย หลังจากการออกแบบแล้วได้มีการหาผ้าและ อุปกรณ์ต่างๆเพื่อการตัดเย็บ แต่ข้อควรระวังคือการหาผ้าและลายผ้าที่ต้องการยาก เนื่องจากอยู่ในช่วงโควิด ไม่มีสินค้าส่งมาตามร้าน ผู้ออกแบบเลือกสรรอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงที่สุดเพื่อใช้ในการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญญาใน การจัดทำชุดจริง เอกสารอ้างอิง นพมาส แววหงส์. (2550). ปริทัศน์ศิลปะการละคร.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พรรณศักดิ์ สุขี. (2514). การเขียนบทละคร.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ฤทธิรงค์ จิวากานนท์. (2557). ศิลปะการออกแบบเครื่องแต่กายละครเวทีสมัยใหม่. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประภากร สุคนธมณี. (2556). การสร้างสรรค์งานทอหมี่ร่วมสมัย.นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สันติ เล็กสุขุม (2547). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์ อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/02_2.html (สื บ ค้ น ข้ อ มู ล : 31 มกราคม 2565) https://www.silpa-mag.com/history/article_10184 (สืบค้นข้อมูล: 31 มกราคม 2565)
273 The crazy twisted antagonists วัชรพล หงษ์ทอง, Vatcharapol Hongthong สาขาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 85 ถ. มาลัยแมน ต.หนองปากโลง อ. เมือง จ. นครปฐม 73000 Art education department faculty of Humanities and Social science 85 Malaiman Rd, tambon Nong Pak Long, Mueang Nakhon Pathom district, Nakhon Pathom 73000 Thailand E-mail : [email protected] บทคัดย่อ จินตนาการจากโลกทัศน์ สื่อบันเทิงที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถดลบันดาลมโนภาพ ให้เป็นจริงทุกอย่างได้ตามตาเห็น เร้าอารมณ์ สร้างความสุข ความเพลิดเพลิน บางครั้งอาจต้องแลกด้วยผลที่ ตามมาอย่างไม่น่าพึงประสงค์ จากบุคลิกของตัวละครในจินตนาการที่สามารถดึงดูด มีเสน่ห์ชวนหลงใหล ด้วย การสเน่ห์ของออกแบบการสร้างสรรค์ร่วมสมัยที่สามารถสร้างความประทับใจ ดึงดูดทางเพศ ต่อผู้ชม ตลอด จนถึงเนื้อหาเรื่องราวการนำเสนอความรุนแรง สะใจ ทำให้เพลิดเพลินไปกับการกระทำ พฤติกรรมของตัว ละคร ที่เกิดจากการต่อสู้ประหัตประหารการสังหารฆ่าส่งผลอิทธิพลต่อการับรู้ของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและเยาวชนมิใช่น้อย และสามารถโน้มน้าวให้เกิดความรู้สึกคล้อยตามเห็นด้วยกับการกระทำเหล่านั้น ซึ่ง จะกระทบต่อการเจริญเติบโตความคิดจินตนาการและคุณภาพชีวิต สร้างอุปนิสัยที่หยาบกระด้าง ก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน ยึดการใช้ความรุนแรงในการยุติปัญหาเป็นที่ตั้ง อันเกิดจากการอ้างอิงจากตัวละครหรือสิ่ง สมมุติที่มาจากจินตนาการการออกแบบสร้างสรรค์ในทัศนคติของผู้สร้างสื่อบันเทิงในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมา คำสำคัญ: จินตนาการ, สื่อบันเทิง, จิตรกรรมดิจิทัล Abstract Since the creators made the entertainment media characters with feelings, creative imagination, and contemporary ideas, they mainly created them with characteristics that powerfully attract attention from the audience. However, most of the topics in their story are harsh and include profanities. The provocative and violent events happening through the imaginary characters and their behavior are greatly influencing the perception of children nowadays. Moreover, the characters’ behaviors are very captivating and are amenable for the viewers. Those actions impact on the growth, way of thinking and well-being. As well as these produce harsh and aggressive children and young adults particularly through imitating the characters from entertainment media. I would like to reflect on such problems and the underlying assumptions that the characters from the cartoon shows have behavioral impact.
274 Mostly these are negative values which destroy the morals more than enhancing virtue. Through creative process - mixed media painting technique, I would like to present the issue using this language to communicate with viewers. I would like to convey my personal criticism and encourage viewers to participate in the recognition of the said issue that was forming quietly. It affects children and young adults who will be the future of the nation. Keywords: imaginationentertainment, mediadigital, painting 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา วิวัฒนาการในยุคแห่งโลกาภิวัตน์ที่เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างสูงจนสามารถเนรมิตสิ่งใด ๆ ให้เป็นจริงได้แทบทุกสิ่งทุกอย่างตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์จน เปรียบเสมือนลมหายใจ เปรียบเสมือนปัจจัยที่ขาดไม่ได้ แม้ว่าโลกปัจจุบันจะสะดวกสบายขึ้นในทางด้านวัตถุ แต่ก็นำมาซึ่งความยากลำบากในการดำรงชีวิตเช่นกันโดยเฉพาะสังคมเมืองที่มีความเจริญทางเทคโนโลยี สังคม ของอินเตอร์เน็ต สังคมออนไลน์เข้าถึงผู้คนได้ รวดเร็วฉับไว ดังนั้นจึงเกิดการแข่งขันสูง การต้องปรับตัวให้รู้เท่า ทันเทคโนโลยีที่เดินไปข้างหน้าทุกวินาที สภาพของสังคมวัตถุนิยมสิ่งที่อยู่แวดล้อมล้วนแต่เป็นวัตถุ รวมถึง สภาพมลภาวะจากสภาพแวดล้อม มลพิษ สภาวะโลกร้อน สภาวะของ การเร่งรีบทำงานแข่งกับเวลาจึงทำให้ ครอบครัวยุคสมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการสนทนาการลูกหลานของตน ด้วยเหตุนี้ระบบเทคโนโลยีการ สื่อสารจากคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกมส์ ภาพยนตร์แอนิเมชันได้เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทต่อเด็กและเยาวชน แม้กระทั่งผู้ใหญ่เองก็ตาม การให้ความสุขความบันเทิงนั้นบางครั้งอาจต้องแลกด้วยผลที่ตามมาอย่างไม่น่าพึงประสงค์จากบุคลิก ของตัว ละครในจินตนาการที่สามารถดึงดูด มีเสน่ห์ชวนหลงใหล กอปรกับการออกแบบการสร้างสรรค์ที่ สอดคล้องร่วมสมัย ตลอด จนถึงเนื้อหาเรื่องราวการนำเสนอความรุนแรง สะใจ เร้าอารมณ์ให้เพลิดเพลินไปกับ บุคลิคการกระตุ้นเร้าดึงดูดทางเพศ พฤติกรรมของตัวละคร ซึ่งอาจเกิดจากการต่อสู้ประหัตประหารการสังหาร ฆ่าฟันอันมีอิทธิพลต่อการับรู้ของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนมิใช่น้อย และสามารถโน้มน้าวให้ เกิดความรู้สึกคล้อยตามเห็นด้วยกับการกระทำเหล่านั้น ซึ่งจะกระทบต่อการเจริญเติบโตความคิดจินตนาการ และคุณภาพชีวิต สร้างอุปนิสัยที่หยาบกระด้าง ก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน ยึดการใช้ความรุนแรงในการยุติ ปัญหาเป็นที่ตั้ง อันเกิดจากการอ้างอิงจากตัวละครหรือสิ่งสมมุติที่มาจากจินตนาการการออกแบบสร้างสรรค์ ในยุคปัจจุบัน ข้าพเจ้าจึงต้องการสะท้อนปัญหาดังกล่าวโดยการอ้างอิงตัวละครสิ่งสมมุติที่มีที่มาจากสื่อทาง จินตนาการโดยมีแม่แบบจากประสบการณ์ทางสื่อบันเทิงที่เคยรับรู้ติดตาตรึงใจและฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก ด้วย บุคลิกลักษณะพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบสร้างค่านิยมด้านลบและทำลายจิตสำนึกที่ดีงามมากกว่าที่จะส่งเสริม คุณธรรม โดยนำเสนอผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะจิตรกรรมดิจิตอลที่ข้าพเจ้าใช้เป็นภาษาในการ สื่อสารกับผู้ดู เพียงเพื่อต้องการถ่ายทอดวิพากษ์วิจารณ์ด้วยทัศนะส่วนตัว กระตุ้นเตือนให้ผู้ชมร่วมรับรู้ปัญหา
275 ที่กำลังก่อตัวเกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ แต่มีผลต่อเด็กและเยาวชน หรือกำลังเติบโตไปเป็นอนาคตของชาติต่อไปใน วันข้างหน้า 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สื่อได้เติบโตขึ้นและกลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย เป็นทุกอย่าง ในกลยุทธ การต่อสู้ในโลกปัจจุบัน ไม่ว่ามนุษย์จะอาศัยอยู่ในที่พักอาศัย โรงเรียน ศูนย์สรรพความรู้ ห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งคลินิก ผู้คนก็ยังสามารถที่จะถูกเข้าถึง ถูกโจมตีหรือโดนรุกรานได้โดยสารจาก เครื่องมือสื่อสารที่แตกต่าง ความหลากหลายของช่องทางการรับชม วัยวุฒิที่แตกต่างโดยทั้งนั้นล้วนแต่ใช้เวลา หมกมุ่นอยู่กับการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ (Interacting) กับสื่อต่าง ๆ นั้นโดยผ่านช่องทางโทรทัศน์ หนังสือ การ์ตูน วีดิโอเกมส์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นกิจกรรมสันทนาการหลักของสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์ค ดังนั้น ด้วย การจูงใจยั่วยุของสื่อบันเทิงทำให้เด็กและผู้เยาว์กลายเป็นผู้ที่ขาดวุฒิภาวะและไม่มีทางที่จะจำกัดหรือกำหนด แรงดึงดูดของสื่อนั้นได้ สื่อบันเทิงสำหรับเด็กและเยาวชนส่งผลกระทบต่อกระบวนการรับรู้และทางจิตใจต่อทัศนคติในการคิด แง่บวกหรือแง่ลบ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งนำเสนอภาพของการต่อต้าน การกบฏ จลาจล การ ประหัตประหารด้วยอาวุธ การทำร้ายทรมาน และเหตุการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลร้ายส่งอิทธิพลต่อ เด็กและเยาวชน ความรู้สึกด้านลบต่าง ๆ เหล่านี้สามารถที่จะสร้างความกังวลให้กับแพทย์ จิตแพทย์ ผู้มี ความรู้หรือแม้กระทั่งตัวของศิลปินเอง ก่อนปี 1977 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมได้ให้เหตุผลว่า เด็ก ๆ จะเรียนรู้แนวคิด คุณค่า อารมณ์ ความรู้สึกหรือแม้แต่พฤติกรรมโดยการสังเกต การเลียนแบบ และการเอาแบบอย่างจากพฤติกรรมของผู้อื่นใน สภาพแวดล้อมของสังคม เพราะฉะนั้น การแสดงให้เห็นถึงสื่อที่มีความรุนแรงจะทำให้เกิดการปลุกกระตุ้น พฤติกรรมเลียนแบบและจะทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวเพิ่มมากขึ้น ผลกระทบในระยะยาวของสื่อได้ถูกเขียน อธิบายไว้ในกระบวนการทางข้อมูลทางทฤษฎี (Hues mann, 1988) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงจะทำให้ ผลลัพธ์ต่อการพัฒนาทักษะและการพัฒนาการ และจะจดจำไว้ใช้ความรุนแรงตอบสนองต่อยามที่เด็ก ๆ เหล่านั้นอยู่ในสถานการณ์คับขัน สื่อมี 3 ส่วนประกอบ คือ รูปร่าง ความก้าวร้าวของเด็ก ทัศนคติ (Sege and Dietz, 1995) การคิดวิธี แก้ปัญหาอย่างรวดเร็วฉับพลันถึงแม้ว่าปัญหานั้น ๆ จะสำคัญมาก ด้วยการจดจำการแสดงบทบาทของฮีโร่ วีรบุรุษต่าง ๆ โดยการกระทำความรุนแรงใด ๆ ลงไปก็จะได้รับรางวัล การสรรเสริญ ยิ่งบ่อยมากขึ้นในการชม หรือเสพสื่อเหล่านี้ก็ยิ่งจะทำให้เด็กและเยาชนไปสู่การใช้ความรุนแรงมากขึ้น ประการที่สำคัญประการแรกของตัวละครในจินตนาการจากสื่อบันเทิงคือการใช้วิธีการมาตรการ ปราบปรามเหล่าร้ายด้วยพฤติกรรมที่รุนแรงเป็นคำตอบในการแก้ปัญหา จนเด็ก ๆ และเยาวชนชื่นชมจนยก ย่องให้ฮีโร่วีรบุรุษเหล่านั้นเป็นอุดมคติของตนด้วย การนำเสนอภาพลักษณ์ของความดีและความถูกต้อง และ ด้วยการลงทัณฑ์ต่อเหล่าร้าย ซ้ำย้ำเป็นเวลาหลายชั่วโมงในการรับชมจะสามารถแปรเปลี่ยนทัศนคติเด็กให้ไปสู่ ความรุนแรง
276 สื่อความรุนแรงไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความอดทนอดกลั้น การประนีประนอมหรือการเจรจา สื่อ เหล่านั้นกลับใช้ความเกินจริงและความรุนแรงอย่างที่ปัญหาเกิดขึ้นสุดขั้ว ใสนการสร้างความบันเทิงในเวลา ขณะเดียวกันกับมีนักวิจัยหลายท่านที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อความรุนแรงและพฤติกรรมอันก้าวร้าว ของเด็ก (Anderson et al., 2003; Huesmann, Moise-Titus)(Podolski, and Eron, 2003; Johnson, Cohen, Smailes, Kasen, and Brook, 2002; Kirsh 2006; Paik and Comstock. 1994; Wong and Chachere, 1991). ภัยคุกคามจากสื่อความรุนแรงได้ถูกนำไปเปรียบได้กับมะเร็งปอด (Bushman and Anderson, 2001) เป็นคำอุปมาให้ความหมายคล้ายคลึงกันกับการเป็นมะเร็งปอดดด้วยการสูบบุหรี่ เพื่อย้ำเตือนให้จดจำ มากขึ้น ผลการวิจัยปรากฏว่า 30%ของความรุนแรงทางสังคม คือ ผลจากความรุนแรงของสื่อ (Strasburger, 2007) ยิ่งกว่านั้น สื่อความรุนแรงไม่ได้แค่เชื่อมโยงกับรุกรานเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับพฤติกรรมการไม่เข้า สังคมและพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย (Milani, 2015) และทำให้ความสามารถของกระบวนการรับรู้ลดลง (Blumberg et al; 2008) สรุปสังคมและประสบการณ์ทางความรู้สึกถูกชักจูง ยั่วยุ การพัฒนาการ และความ เป็นอยู่อย่างสวัสดิภาพจากสื่อความรุนแรง (Wilson, 2008) การโน้มน้าวของสื่อสามารถสร้างให้ขาดวุฒิภาวะและผลกระทบในด้านลบอย่างชัดเจนต่อสภาวะจิตใจ ของเด็กและเยาวชน ในฐานะของจิตรกรผู้ซึ่งทำหน้าที่ของอาจารย์และพ่อ ข้าพเจ้าจึงต้องการที่จะแสดงออก ถึงความคิดนี้ โดยวิพากษ์วิจารณ์ผ่านงานศิลปะ ปัญหาและประเด็นที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเล่นเกม ปัญหาเด็กติดเกมนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในอดีตผู้ตกเป็นเหยื่อของเกมส่วนใหญ่จะเป็นผู้ เล่นที่ได้รับผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ ฟุ่มเฟือย เหม่อลอย การเรียนตกต่ำ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอัน ควร หนักที่สุดก็แสดงความก้าวร้าวหรือมีพฤติกรรมเลียนแบบโดยใช้ความรุนแรงล่าสุด เด็กนักเรียน ม.6 ฆ่า คนขับรถแท็กซี่ตาย โดยวางแผนมาอย่างดี และอ้างว่าเลียนแบบเกมออนไลน์ ผลกระทบอันเนื่องมาจากเด็กติด เกม หากมองให้ลึกซึ้งถึงรากเหง้าของปัญหาไม่ใช่แค่เพราะ เด็กติดเกม แต่เป็นเพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ขาด วิจารณญาณในการเลือก และที่สำคัญผู้ผลิตขาดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เพราะเกมบางเกมที่ผู้ผลิตคิด และสร้างสรรค์มาอย่างดี มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเรียนรู้เสริมสร้างพัฒนาการทั้งทางจิตใจและสังคม เป็นเกมสี ขาวที่น่าส่งเสริมให้เด็ก ๆ เล่น แต่เกมไม่สร้างสรรค์กลับมีปริมาณมากมายกว่าเกมสีขาวหลายเท่าตัว แถมยังหา เล่นง่าย ราคาไม่แพง และตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ 1. ปัญหาอาชญากรรม เช่น การลักขโมยเพื่อนำเงินไปเล่นเกม การบังคับขูดรีดเงินจากคนที่อ่อนแอ กว่าเพื่อนำไปเล่นเกมส์ 2. ปัญหาการค้ามนุษย์ คือการที่เด็กต้องเข้าสู่การขายบริการทางเพศ หรือการขอทานเพื่อนำเงินมา เล่นเกม 3. ปัญหาความรุนแรงในการแก้ปัญหา เมื่อเด็กติดเกมแล้ว ถ้าเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะแยกแยะ เรื่องจริงและเกม อาจนำความรุนแรงจากเกมมาใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตจริง
277 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะในชุดนี้นำเสนอมุมมองในแง่ลบของสื่อบันเทิงสำหรับเด็กและเยาวชน โดยสื่อ แสดงผ่านบุคลิกตัวละครในจินตนาการที่ปรากฏในงานจิตรกรรมดิจิตอลด้วยเจตจำนงค์ที่ต้องการถ่ายทอด ความน่าสะพรึงกลัวที่ซ่อนเร้นแอบแฝงภายใต้รูปลักษณ์ ขอบเขตทางด้านเนื้อหา แสดงถึงรูปตัวละครในจินตนาการที่ถูกออกแบบให้มีความผิดแผกแปลก ประหลาดอย่างมีวัตถุประสงค์ เปรียบดัง ภูตผีปีศาจที่สามารถดลบันดาลความประหวั่นพรั่นพรึง ขอบเขตทางด้านเทคนิค ประกอบไปด้วยการวาดภาพจิตรกรรมดิจิทัลที่สื่อถึงลักษณะของพระเอก วีรบุรุษ ฮีโร่และวายร้ายจากจิตนาการ ภาพที่ 1 "The crazy twisted antagonists" Digital painting 23386 X 8268 Pixels ที่มา : วัชรพล หงษ์ทอง 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะในชุดนี้นำเสนอมุมมองในแง่ลบของสื่อบันเทิงสำหรับเด็กและเยาวชน โดยสื่อ แสดงผ่านบุคลิกตัวละครในจินตนาการที่ปรากฏในงานจิตรกรรมดิจิทัลด้วยเจตจำนงค์ที่ต้องการถ่ายทอดความ น่าสะพรึงกลัวที่ซ่อนเร้นแอบแฝงภายใต้รูปลักษณ์ที่เต็มไปด้วยมนต์สเน่ห์ ขอบเขตทางด้านเนื้อหาต้องการแสดงถึงรูปตัวละครในจินตนาการที่ถูกออกแบบให้มีความผิดแผก แปลกประหลาดด้วยจิตนาการที่ได้รับอิทธิพลจาก สื่อภาพยนตร์ เกมส์ การ์ตูน สื่อบันเทิงต่าง ๆ อันเป็น วรรณกรรมสมัยใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายในเชิงเปรียบเทียบดัง ภูตผีปีศาจที่สามารถดลบันดาลความประหวั่น พรั่นพรึง ขอบเขตทางด้านเทคนิค ใช้การสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคจิตรกรรมดิจิทัล (digital painting)ป็นสื่อใน การสร้างสรรค์สร้างมโนภาพของรูปแบบจิตนาการในโลกปัจจุบันซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางเทคโนโลยี
278 5. สรุป การสร้างสรรค์เรื่อง "The crazy twisted antagonists" ใน ครั้งนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้ค้นคว้าหาข้อมูลที่ เกี่ยงข้องกับอิทธิพลจากสื่อบันเทิงเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวความคิดการ สร้างสรรค์ แล้วสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ใน การสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้รูปบุคคลซึ่งเป็นภาพจำ เป็นที่รู้จักจากสื่อบันเทิงที่เป็นวัฒนธรรมใหม่ หรือที่ถูกเรียกว่า วัฒนธรรมป๊อป (pop culture) มาประกอบกับการสร้างจินตภาพ สร้างบุคลิกใหม่ ซึ่งจินตนาการส่วนหนึ่งมาจากความคิด ความฝันที่หยั่งรากอยู่ภายในจิตใต้สำนึก ในรูปแบบของการสร้างตัว ละครสมมุติขึ้นตามแรงปรารถนา เอกสารอ้างอิง Anderson, C. A., & Bushman, B. J. (2001).Effects of violent video games on aggressive behavior, aggressive cognition, aggressive affect, physiological arousal, and prosocial behavior: A meta-analytic review of the scientific literature. Psychological Science, 12, 353–359 Anderson, C. A., Berkowitz, L., Donnerstein, E., Huesmann, L. R., Johnson, J., Linz, D., Wartella, E. (2003). The influence of media violence on youth. Psychological Science in the Public Interest, 4:81–110. Bandura A (1973): “Aggression: A Social Learning Analysis.” Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. Blumberg, F. C., Rosenthal, S. F., & Randall, J. D. (2008).Impassedriven learning in the context of video games. Computers in Human Behavior, 24, 1530–1541 Huesmann LR (1988). An Information Processing Model for the Development of Aggression. Aggressive Behavior 14:13-44. Huesmann, L.R. , Moise-Titus, J. , Podolski, C.L. , &Eron, L. (2003) . Longitudinal relations between children’s exposure to TV violence and their aggressive and violent behavior in young adulthood: 1977–1992. Developmental Psychology, 39, 201–221. Johnson, J.G., Cohen, P., Smailes, E.M., Kasen, S., & Brook, J.S. (2002). Television viewing and aggressive behavior during adolescence and adulthood. Science, 295,2468–2471. KirshS.J.(2006). Cartoon violence and aggression in youth. Aggression and Violent Behavior, 11: 547–557 Milani L. (2015). Violent Video Games and Children’s Aggressive BehaviorsAn Italian Study. SAGE Journal, 5(3) Miyazaki, Hidetaka. Dark Souls Design Works. Tokyo: Enterbrain, Inc, 2012 Paik, H. & Comstock, G. (1994). The effects of television violence on antisocial behavior: A meta-analysis. Communication Research, 21 (4), 516-546
279 Richardson, Mike. The Art of The Last of Us.USA: Dark Horse Books, 2013 Robinson, Martin. The Art of Dead Space. USA: Titan Books, 2013 Sege R, Dietz W (1995). Television viewing and violence in children: pediatrician as agent for change. Journal of Mississippi State Medical Association, Oct-Nov;36(10):318-27 Strasburger VC. Go ahead punk, make my day: it's time for pediatricians to take action against media violence. Pediatrics.2007;119 Wilson, B.J. (2008) Media and children's aggression, fear, and altruism. The Future Child. Spring;18(1):87-118. Wood, W., Wong, F.Y. and Chachere, J.G. (1991)Effects of media violence on viewers’ aggression in unconstrained social interaction. Psychological Bulletin, 109, 371-383.
280 ความสุขในความไม่สมบูรณ์แบบ Happiness in imperfection วัชราพร ศรีสุข, Watcharaporn Srisuk ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภายใต้หัวข้อ “ความสุขในความไม่สมบูรณ์แบบ”เป็นการถ่ายทอด ความรู้สึกจากเหตุการณ์สะเทือนใจด้านลบให้เป็นจิตรกรรมกึ่งนามธรรม ด้วยการแสดงค่าน้ำหนักของเส้นสีที่ ทับซ้อนและปล่อยให้เลื่อนไหลไปบนผืนผ้าใบอย่างอิสระ ผลลัพธ์ของเทคนิคจะกำหนดความเป็นไปของตัวมัน เองตามธรรมชาติโดยตัวเราจะไม่เข้าไปควบคุม การเติมแต่งเพิ่มรายละเอียดมีเพียงเล็กน้อยในส่วนของการใส่ รูปร่าง (outline) ของ “แมว” ที่แทรกซ่อนอยู่ระหว่างมวลสีเพื่อมาเป็นรูปแทนความนึกคิดที่เคยชัดเจน ผลลัพธ์จากการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ กลายเป็นความไม่สมบูรณ์แบบทั้งในส่วนของวิธีการนำเสนอ และในส่วนความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ที่ปรารถนาจะได้รับความสมบูรณ์แบบทั้งทางกายและทางใจ แต่ก็ต้อง ยอมรับความจริงในเป็นไปของธรรมชาติการมองเห็นคุณค่าในความไม่สมบูรณ์แบบจึงเป็นการน้อมรับกฎแห่ง ธรรมชาติที่เราไม่อาจควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงมันได้ แต่จะช่วยเยียวยาและยกระดับจิตใจให้พ้นจากมลภาวะ ทางใจที่ขุ่นมัวกลายเป็นความสุขและพอใจในความไม่สมบูรณ์แบบของตนเอง คำสำคัญ: ความสุข ความไม่สมบูรณ์แบบ จิตรกรรมกึ่งนามธรรม Abstract Creation of art work under the theme“Happiness in imperfection” It conveys a negative emotionof the traumatic events turned intosemi-abstract painting by showing overlap tone of color and let it flow freely across the canvas. The outcome of technique determines its feasibilitynaturally without being in control. There was a little more details addedcat’s shape outline to the some painted part to represent the idea that was once clear. The result of this creation has become imperfect in terms of presentation and in the sense of the creator who desire to achieve perfection both physically and mentally, but also accepting the truth in nature seeing the value of imperfection is thus embracing the law of the nature that we cannot control or change but will suck and uplift the darkness mind become to happiness and satisfied in ourselves. Keyword: Happiness, Imperfection, Semi-Abstract painting
281 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา สิ่งที่ปรากฏให้เห็นอยู่บนโลกนี้ล้วนมีสองด้านที่เป็นคู่ตรงข้ามกันอยู่เสมอ ซึ่งต่างฝ่ายก็ประกอบด้วย ความสุขที่ให้แง่งามด้วยกันทั้งสองด้าน การมองเห็นและให้คุณค่าความหมายของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าด้วยตาหรือ ด้วยใจ จึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์หรือทัศนะแวดล้อมของบุคคลนั้นที่ถูกปลูกฝังมา ในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ ที่เป็นชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ใน จักรวาล แต่ธาตุต่างๆเหล่านั้นก็ไม่ได้มีผลทำให้มนุษย์ทุกคนมีความเหมือนกัน ดังนั้น“ความเป็นชีวิต”ของแต่ ละคนจึงมีความแตกต่างกัน ด้วยชาติพันธุ์กำเนิดสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดูการศึกษา การ สาธารณูปโภค การเมืองและการปกครอง ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อเจริญเติบโตทั้งทางกายภาพ พื้นฐานทาง ความคิดและความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะผ่านเข้ามาในชีวิตได้ไม่เท่ากัน มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความไม่สมบูรณ์แบบในส่วนใดส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ทางร่างกายก็ทาง จิตใจหรือทั้งสองอย่างความสามารถในการรับมือกับเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกของมนุษย์จึงมีวิธีการ โต้ตอบที่แตกต่างออกกันไปตามภูมิคุ้มกันที่แต่ละคนมีติดตัวมาโดยอย่างยิ่งในเฉพาะสถานการณ์ที่สร้างความ ทุกข์ทางใจที่เรียกว่า“บททดสอบความรู้สึก”ที่มาสั่นสะเทือนอารมณ์ให้เกิดความโศกเศร้าไม่ว่าจะด้วยสาเหตุ ใดก็ตามซึ่งก็มักจะพบเจออยู่ซ้ำๆ ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเดินชีวิตในแต่ละช่วงวัย ความสั่นสะเทือนอารมณ์ทางด้านลบเป็นความไม่สมบูรณ์แบบทางใจ ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนาของทุกคน แต่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือควบคุมไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติ หากแต่เรา สามารถจัดการกับมันได้ด้วยทัศนคติด้านบวก ซึ่งจะช่วยเยียวยาความรู้สึกบอบช้ำให้ผ่อนคลายและกลับมาอยู่ กับความเป็นจริงในปัจจุบันขณะได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพของสภาวะใจที่ได้ถูกบำบัดแล้ว 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การสลายหายไปในเชิงวิทยาศาสตร์เป็นเพียงการเปลี่ยนสถานะของสสารที่เคยมารวมตัวกันเป็นสิ่งใด สิ่งหนึ่งทุกสรรพสิ่งบนโลกเกิดมาจากธาตุในจักรวาลประเภทเดียวกัน เมื่อหมดเวลาก็สลายกลับคืนสู่สภาพเดิม รอการก่อร่างรวมตัวกันครั้งใหม่ในรูปแบบอื่นๆต่อไปเช่นเดียวกับหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาในเรื่อง ไตร ลักษณ์ คือ อนิจจัง-ความไม่เที่ยง ทุกข์ขัง-ความเป็นทุกข์ อนัตตา-ความไม่ใช่ตัวตน รูปธรรมของกายภาพจึง เป็นเพียงการก่อรูปที่ไม่คงทนและเสื่อมสลายไปตามอายุขัยหรือสลายหายไปได้จากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ แนวคิดทั้งในทางวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนาเป็นการสื่อความหมายถึงความไม่แน่นอน การ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในระดับที่เร็วยิ่งกว่าเสี้ยววินาที ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้อย่างคงทนสมบูรณ์ ประเด็น สำคัญในการสร้างผลงานชิ้นนี้ จึงเป็นการใช้สื่อความหมายถึงการให้คุณค่าแก่ความไม่สมบูรณ์แบบ ที่มาจาก ความทุกข์ให้กลับกลายเป็นความสุขใจ ซึ่งในครั้งนี้มีที่มาจากการสูญเสียแมวที่เลี้ยงไว้ด้วยอุบัติเหตุกะทันหัน ไม่ทันได้เตรียมใจตั้งรับคำปลอบใจในแง่งามที่สุดสำหรับคนรักแมวก็คือประโยคที่ว่า “เค้ากลับไปอยู่บนดาว แมวแล้ว”ซึ่งก็ไม่ได้ต่างจากมวลกายภาพของสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่เมื่อดับสิ้นสภาพทางกาย ในไม่ช้าก็ต้องสูญสลาย กลายเป็นอณูของสสารที่เปลี่ยนรูปไป และล่องลอยอยู่ ณ ที่ใดสักแห่งก่อนจะกลับคืนสู่ธาตุต้นกำเนิดเช่นกัน
282 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผลงานชิ้นนี้เป็นการสร้างสรรค์จิตรกรรมกึ่งนามธรรม ที่ถ่ายทอดความรู้โดยตรงลงบนผืนผ้าใบงานจริง ไม่มีภาพร่างความคิด (Sketch) มีเพียงการกำหนดในใจเรื่องโครงสร้างของชุดสีที่จะใช้ไว้คร่าวๆ ชนิดของสีที่ใช้ คือสีอะคริลิกเริ่มงานด้วยการผสมสีในจำนวนและปริมานที่ต้องการใช้ทั้งหมดใส่แก้วเตรียมไว้ สีที่ใช้จะผสมกับ น้ำและกาวลาเท็กซ์ให้ค่อนข้างบางใสไม่ข้นมาก แล้วเทราดสีลงบนเฟรมผ้าใบทีละสี ทีละชั้น ให้เกิดการทับ ซ้อนของค่าสีมีการกำหนดความเคลื่อนไหวอยู่บ้างด้วยการเอียงหมุนเฟรมเพื่อให้สีให้ได้เลื่อนไหลไปในทิศทาง ต่างๆ ซึ่งการเทราดสีในแต่ละครั้งจะต้องรอให้สีในชั้นก่อนหน้าแห้งหรือเริ่มหมาดๆ เสียก่อนจึงจะราดสีในชั้น ต่อมาได้ จากนั้นก็เฝ้ารอดูผลลัพธ์ที่ไม่สามารถคาดเดาภาพสุดท้ายที่ชัดเจนได้ เมื่อโครงสร้างของมวลเส้นสีทั้งหมดแห้งลงแล้วก็จะได้เห็นผลลัพธ์ของสีและพื้นผิวปรากฏ ซึ่งจะมีทั้งที่ เป็นไปอย่างที่คิดและไม่ใช่อย่างที่หวังด้วยลักษณะของสีที่ปรากฏบนผ้าใบในขณะที่สียังเปียกและเมื่อสีแห้งนั้น มีความแตกต่างกันอยู่ ทั้งในส่วนผู้สร้างสรรค์อยากให้คงอยู่และส่วนที่อยากจะลบทิ้งหรือทาสีอื่นทับลงไปเลย แต่ผลลัพธ์ทั้งหมดก็จะถูกเก็บให้คงสภาพพื้นฐานไว้เช่นนั้น ทั้งที่ส่วนที่ชอบและไม่ชอบ ในกระบวนสุดท้ายของการทำงานคือ การใส่รูปร่าง (Outline) ของแมวในลักษณะท่าทางที่แสดงการ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยการเดิน การวิ่ง และการกระโดด มาประกอบทับซ้อนแทรกซ่อนอยู่ใน พื้นที่บางส่วนที่เทราดสีไว้แล้ว เป็นการกำหนดความเป็นรูปธรรมเพิ่มเติมมาอีกเล็กน้อยด้วยการเน้นค่าน้ำหนัก สีเข้มลงไปบางส่วนในบริเวณที่มีรูปร่างแมว แล้วก็ปล่อยให้บางส่วนกลืนกลายไปกับมวลของสีที่อยู่เบื้องหลัง ภาพที่ 1 Happiness on the cat star 2022, Acrylic on canvas. 120x120 cm. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์
283 ภาพที่ 2-5 รายละเอียดบางส่วนของผลงาน Happiness on the cat star. ที่มา : ผู้สร้างสรรค์ 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานชิ้นนี้แสดงออกด้วยอารมณ์และความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ ด้วยการให้ความสำคัญกับการตอบ โต้กับเทคนิควิธีการทำงานโดยไม่ต้องมีการวางแผนภาพร่างความคิดที่สมบูรณ์เพียงแต่กำหนดให้มีโครงสร้าง ของการใช้สีไว้คร่าวๆ และให้มีพื้นที่ที่ควบคุมไว้ได้ในงานเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ผลลัพธ์ของเทคนิคโดยรวมได้ ตอบโจทย์เนื้อหาเรื่องความไม่สมบูรณ์แบบได้ด้วยตัวของมันเอง ทัศนธาตุในผลงานชิ้นนี้ประกอบไปด้วย การใช้เส้นสีน้ำหนัก และรูปร่าง ทั้งหมดถูกผสมผสานให้อยู่ ร่วมกันทั้งแบบในแบบขัดแย้งและกลมกลืนโดยเฉพาะการให้ค่าของน้ำหนักจากสีคู่ตรงข้ามที่ผู้สร้างสรรค์ต้อง การสื่อความหมายของการต่อสู้กันระหว่างความเศร้ากับความสุข ซึ่งเป็นแรงปะทะที่กำลังสั่นสะเทือนอารมณ์ ความรู้สึกภายในใจ แต่ก็พยายามควบคุมความรุนแรงนั้นด้วยการลดน้ำหนักของสีให้อ่อนค่า นุ่มนวล และบาง เบาลงในบางส่วนซึ่งเป็นการผสมผสานกันของความขัดแย้งที่ซ้อนชั้นความคิดกันอยู่ในทีและผลลัพธ์จาก รูปร่างแมวที่เพิ่มเติมเข้ามาในขั้นตอนสุดท้าย ที่ดูเหมือนจะแสดงความเป็นรูปธรรม แต่ก็เป็นเพียงลักษณะของ ขอบเขตที่ไม่แสดงความชัดเจนของรายละเอียดทั้งหมด กลุ่มสีหลักๆ ที่ปรากฏเด่นชัดในผลงานชิ้นนี้ประกอบด้วยคือ สีส้ม สีเทาอมฟ้า สีม่วง และสีน้ำเงินเข้ม ซึ่งในเชิงจิตวิทยา สีส้มเป็นที่แสดงถึงความเบิกบาน ความร่าเริง ให้ความรู้สึกที่เป็นอิสระ ได้รับการปลดปล่อย สีเทาให้ความหมายของความอ่อนน้อมถ่อมตน สีฟ้าให้ความสงบเยือกเย็น สีม่วงให้ความรู้สึกของการได้รับการ
284 ดูแล ปลอบโยน และอดทนต่อความรู้สึกโศกเศร้าหรือสูญเสีย สีน้ำเงินเข้มให้ความหมายของความสงบ สุขุม หนักแน่นและเข้มแข็ง ซึ่งส่วนผสมของกลุ่มสีทั้งหมดถูกนำมาลดค่าน้ำหนักให้อ่อนบางลง เพื่อให้ความหมาย ของความอ่อนโยนและคลี่คลายไปในทุกๆ อารมณ์ การลดค่าความรุนแรงของสีคู่ตรงข้ามและปล่อยให้มวลของเส้นสีได้ทำงานเลื่อนไหลอย่างเป็นอิสระ ให้ผลต่อความรู้สึกของการได้รับการปลดปล่อยบางอย่างให้ผ่อนคลายลงในระหว่างการเฝ้ามองความเป็นไป ของมันอย่างไม่ยึดติดกับสิ่งที่ไม่มีตัวตนหรือรูปแบบที่แน่นอนลักษณะระนาบพื้นผิวและทิศทางการเลื่อนไหลไป ของสี ชวนให้เกิดจินตนาการว่าเป็นอาณาจักรของมวลหมู่ดาวแมวที่ล่องลอยอยู่ในกาแลกซี่แห่งใดแห่งหนึ่งบน ห้วงอวกาศ คล้ายกับพื้นที่ของสนามกว้างเพื่อให้แมวได้วิ่งเล่น ทั่วอาณาบริเวณเต็มไปด้วนเส้นสีที่ซับซ้อนไม่มี ขอบเขตที่ชัดเจนและไม่บอกถึงกาลเวลา แต่เป็นภาพความเคลื่อนไหวในเศษเสี้ยวของเวลาหนึ่งที่เราไม่มีทาง จะหยุดหรือไล่ตามมันได้ทัน 5. สรุป การสร้างสรรค์ผลงานภายใต้หัวข้อ ความสุขในความไม่สมบูรณ์แบบการใช้เส้นสีและน้ำหนักทั้งสอง ส่วนผสมผสานอยู่ร่วมกัน เป็นวิธีการแสดงออกที่มีทั้งการควบคุมและไม่ควบคุม เช่นเดียวกับการใช้ชีวิตที่เรามี การตั้งเป้าหมายว่าจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร แต่เราก็ไม่สามารถที่จะควบคุมมันได้ในทุกก้าวเดิน เหตุการณ์ที่ ไม่คาดคิดหรืออุปสรรคที่ทำให้เกิดความท้อแท้และหวั่นไหวนั้น เกิดขึ้นได้ตลอดเส้นทาง กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ จึงเป็นเหมือนการประมวลความรู้สึกของความเป็นนามธรรม และรูปธรรมที่มาอยู่ร่วมกันแทนความหมายของทุกสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้และควบคุมได้(เพียงเล็กน้อย) ที่จะ ผ่านเข้ามาในชีวิตและต้องเผชิญหน้ากับมันอย่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ เสมือนการทรงตัวอยู่ในเรือลำเล็กๆท่ามกลาง คลื่นรุนแรงในมหาสมุทรแล้วยังต้องโอบอุ้มถังใบใหญ่ที่บรรจุน้ำอยู่ภายในเราต้องประคับประคองตนเองและ รักษาน้ำที่อยู่ในถัง เช่นเดียวกับการรักษาใจไม่ให้โคลงเคลงไปกับแรงสั่นสะเทือนในคราวเมื่อที่พายุในใจจะซัด กระหน่ำถั่งโถมเข้ามา ซึ่งเราไม่อาจคาดเดาเวลาในการมาถึงของมัน จังหวะของความไม่สมบูรณ์แบบที่ปรากฏขึ้นในผลงาน ได้สร้างทั้งความพึงพอใจและไม่ชอบใจให้แก่ ผู้สร้างสรรค์ การทับซ้อนของสีในบางพื้นที่ก็เป็นคล้ายกับซอกหลืบไว้ให้ซุกซ่อนความรู้สึกตัวเองจากสิ่งรบกวน ภายนอก เสมือนเขตแดนปลอดภัยที่จะอยู่คนเดียวได้อย่างมีความสุขในความไม่สมบูรณ์แบบของตนเอง เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ สมภพ จงจิตต์โพธา. (2556). ทฤษฎีสี.กรุงเทพฯ: วาดศิลป์ BethKempton. (2563).วะบิซะบิ แด่ความไม่สมบูรณ์แบบของชีวิต.แปลโดย วุฒิชัยประกรกิจ. กรุงเทพฯ: บีอิ้ง Tyson, NeildeGrasse. (2552). กำเนิดเอกภพ:จากวิวัฒนาการ 14,000 ปีถึงปัจจุบัน. แปลโดย บัณฑิต คง อินทร์ศศนันทน์ บุญยะวนิช. กรุงเทพฯ: มติชน
285 การออกแบบสปาและนวดแผนไทย “สาทร สปา” Spa & Thai Massage Design “Sathorn Spa” ศรีดารา ติเพียร, SRIDARA TIPIAN คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, Faculty of Fine and Applied Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi Email: [email protected] บทคัดย่อ ธุรกิจสปาและนวดแผนไทยถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ และภายใต้การแข่งขันที่สูง ของธุรกิจนี้ การให้ความสำคัญกับการตกแต่งสถานที่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศให้ลูกค้าเกิด ความพึงพอใจและกลับมาใช้บริการซ้ำ ทั้งนี้จึงเป็นที่มาของโครงการ “สาทร สปา” ที่เจ้าของโครงการต้องการ ที่จะฟื้นฟูกิจการหลังภาวะการณ์โรคระบาดวัตถุประสงค์ของการออกแบบครั้งนี้ คือ เป็นการออกแบบพื้นที่ใช้ สอยภายในส่วนสปาและนวดแผนไทยในอาคารสองชั้น ต้องการขยายพื้นที่ที่มีการบริการให้กับลูกค้าได้ครบ วงจรและการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของสาทร สปา ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการสอบถาม ความต้องการพื้นที่ของเจ้าของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับหลักการและทฤษฎีการออกแบบสถาน ประกอบการนวดและสปา กำหนดแนวคิดในการออกแบบ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบ สาทร สปา ผลการศึกษาในส่วนของการจัดพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมกับการใช้งานตามองค์ประกอบการใช้พื้นที่ในสปา เน้น ความเป็นส่วนตัว รวมถึงการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านสุขภาพ และในส่วนการออกแบบได้รับแรง บันดาลใจมาจากการนำเอารูปธรรมของร่างกายโดยนำเอกลักษณ์ของธาตุทั้ง 4 มาเป็นส่วนประกอบ เน้น รูปแบบที่เรียบง่าย ให้ความรู้สึกถึงความผ่อนคลายและสงบ การเลือกใช้วัสดุให้อารมณ์ของความเป็นธรรมชาติ คำสำคัญ: สปา, นวดแผนไทย, องค์ประกอบเชิงพื้นที่, สภาพแวดล้อมทางกายภาพ Abstract Spa and Thai massage businessare one of the important industries in driving the country's economy.The aim is to allow the client to relax both physically and mentally under the high competition of this business. The Importance of attention to the decoration of the place is another way to enhance the atmosphere for customers to be satisfied and repeat service.This is the origin of the "Sathorn Spa" project that the project owner wants to rehabilitate after the epidemic.The objective of this design is to design the usable area within the spa and Thai massage section in two storeybuilding, expanding the area to provide comprehensive services to customersand creating an image that reflects the identity of Sathorn Spa. The study process started with asking about the owner's space requirements
286 and analyzing the data together with the principles and theories of massage and spa design establishments.Determine the design concept to be used as a guideline for the design of the Sathorn Spa.The results of the study in the section on the appropriate use of space according to the use of spatial elements in the spa emphasized on privacy as well as the importance of health safety.The design was inspired by the physical representation of the body by combining the identity of the four elements, emphasis on simple patterns, giving a feeling of relaxation and calm. The selection of materials and color schemes give the mood of nature. Keywords: Spa, Thai massage, Spatial Elements, Physical Environment 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ธุรกิจสปาและนวดแผนไทยเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในประเทศไทย ได้รับความนิยมจาก นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ เนื่องจากจุดแข็งด้านการให้บริการ และสมุนไพรซึ่งเป็นวัตถุดิบทางธรรมชาติ ของไทย (สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล กล่าวใน The Bangkok Insight, 2562) ธุรกิจสปาและนวดแผนไทยถือ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างอาชีพให้กับ ประชาชนทั่วไปได้อย่างกว้างขวาง และก่อให้เกิดรายได้แก่อุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับสปา เช่น อุตสาหกรรม เกษตรและการท่องเที่ยวด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงมีนโยบายส่งเสริมให้ไทยพัฒนาธุรกิจสปาและนวดไปสู่การเป็น Spa Capital of Asia มาโดยตลอดทำให้มีผู้ประกอบการจำนวนมากสนใจทำธุรกิจร้านนวดและสปา (ลงทุน แมน, 2564)และในปัจจุบันธุรกิจสปาและนวดแผนไทยมีหลายภาคส่วนเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริม ในส่วน กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนด้านการรับรองมาตรฐานตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ เพื่อให้ได้รับเครื่องหมายการันตีคุณภาพระดับสากล (Thai World Class Spa) ซึ่งสถานประกอบการที่ผ่าน การรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข 2,053 แห่ง ร้อยละ 88.4 หรือ1,792 ส่วนใหญ่ประกอบกิจการ อยู่ในกรุงเทพ (Saranya Thongthab, 2562) ธุรกิจสปาและนวดไทยมีจุดประสงค์หลักของผู้มารับบริการก็เพื่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ความเมื่อยล้าและความเครียดวิธีทำให้ลูกค้าพึงพอใจในบริการนอกจากเทคนิควิธีการนวดมาตรฐานการ ให้บริการและสุขลักษณะของสถานประกอบการการสร้างบรรยากาศภายในร้านนวดสปาก็สามารถสร้างความ ประทับใจให้กับลูกค้าได้เช่นกัน (Thailandse, 2019) สอดคล้องกันกับเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถาน ประกอบการสปาเพื่อสุขภาพในมาตรฐานที่ 5 ที่ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม (Ambient) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประทับใจในสถานที่และบรรยากาศ (ศูนย์ข้อมูลSMEs Knowledge Center, 2557)
287 ดังนั้นจากแหล่งที่มาของข้อมูลนี้ทำให้สรุปได้ว่าการออกแบบตกแต่งภายในสถานประกอบการนั้นมี ส่วนในการสร้างบรรยากาศร้านนวดและสปาให้โดนใจหรือดึงดูดใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำจึงเป็นที่มาของ โครงการ “สาทร สปา” ที่เป็นสถานประกอบการธุรกิจสปาที่ได้รับการปรับปรุงจากเดิมที่เป็นเพียงร้านนวด เพื่อสุขภาพ จากความต้องการของเจ้าของโครงการที่จะฟื้นฟูกิจการหลังภาวะการณ์เชื้อไวรัสระบาด และ ต้องการขยายพื้นที่ภายในสถานประกอบการให้มีการบริการให้กับลูกค้าได้ครบวงจรมากขึ้น ในส่วนของ แนวคิดการออกแบบได้รับแรงบันดาลใจมาจากการนำเอารูปธรรมของร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือดินน้ำ ลมไฟในการออกแบบบรรยากาศเน้นการนำเอกลักษณ์ของธาตุทั้ง 4 มาเป็นส่วนประกอบ เน้นความเรียบง่าย และให้ความรู้สึกถึงความผ่อนคลาย การเลือกใช้วัสดุให้อารมณ์ของความเป็นธรรมชาติ และการใช้แสงสว่าง เน้นแสงสว่างในพื้นที่ที่ต้องใช้แสง ในพื้นที่นวดใช้ไฟซ่อน เลือกใช้รูปแบบหรือสไตล์การตกแต่งที่มีกลิ่นอาย ผสมผสานของเอกลักษณ์จีน เนื่องจากเป็นความต้องการของเจ้าของโครงการในส่วนของการจัดพื้นที่ใช้สอยที่ เหมาะสมกับการใช้งานตามหลักการองค์ประกอบการใช้พื้นที่ในสปา เน้นความเป็นส่วนตัว รวมถึงการให้ ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านสุขภาพ เช่น การเว้นระยะห่างในพื้นที่การให้บริการและวัสดุที่ทำความ สะอาดง่าย 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสถานประกอบการสปาและนวดแผนไทย สาทร สปา มี หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ คือ 1.แนวคิดการออกแบบสปาและนวดแผนไทย 2.ข้อมูลขนาดเฟอร์นิเจอร์กับสัดส่วนมนุษย์สำหรับสถานประกอบการนวดและสปา 3.แนวคิดองค์ประกอบสถาปัตยกรรมภายในเพื่อความเข้าใจในการออกแบบและการจัดพื้นที่ใช้สอย 4. การทำรายละเอียดประกอบโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในเพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการ วิเคราะห์เพื่อการออกแบบ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การออกแบบสถานประกอบการ สาทร สปา มีกระบวนการที่นำไปสู่ขั้นตอนการออกแบบ แบ่ง ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ คือ (ดูภาพที่ 1) 3.1 การศึกษาข้อมูลและการเก็บข้อมูล ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น สำรวจและสอบถามความต้องการของสถานประกอบการสปาและนวดแผนไทย “สาทรสปา” ในส่วนขององค์ประกอบพื้นที่ใช้สอยโดยการสัมภาษณ์พูดคุยกับเจ้าของโครงการและจดบันทึก เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบ ศึกษาขนาดสัดส่วนเฟอร์นิเจอร์กับมนุษย์ที่ใช้กับสถานประกอบการสปาและ นวดแผนไทย และเลือกกรณีศึกษา รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับหลักการออกแบบสถานประกอบการสปาและนวด แผนไทย เพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ 3.2 การวิเคราะห์ข้อมูล
288 - วิเคราะห์ลักษณะของตัวอาคาร และวิเคราะห์กรณีศึกษาโครงการที่ใกล้เคียงกัน และกำหนด แนวความคิดในการออกแบบ - วิเคราะห์เพื่อการออกแบบเชิงพื้นที่ และการออกแบบเชิงสภาพแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางการ ออกแบบจัดวางพื้นที่ใช้สอยและการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพ 3.3 การสรุปผล - นำแนวทางการออกแบบเชิงพื้นที่จัดวางองค์ประกอบพื้นที่ใช้สอย กำหนดขนาด ระยะการจัดวางใน ผังพื้น และนำแนวทางการออกแบบเชิงสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อสร้างบรรยากาศภายในสถาน ประกอบการสปาและนวดแผนไทยในรูปแบบของงาน 2 มิติ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และภาพทัศนียภาพ 3 มิติด้วยวิธีการ Free hand Sketch ทั้งนี้ในระหว่างแต่ละขั้นตอนและกระบวนการออกแบบ จะมีเจ้าของโครงการและผู้ออกแบบมีส่วน ร่วมในการคิด การตัดสินใจและมีข้อเสนอแนะจากเจ้าของโครงการรวมอยู่ด้วย ภาพที่1 กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมภายในการออกแบบสปาและนวดแผนไทย ที่มา : ศรีดารา ติเพียร 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการวิเคราะห์โครงการเชิงพื้นที่ในอาคารสถานประกอบการนวดและสปา “สาทร สปา” ซึ่งเป็น อาคารเดี่ยว 2 ชั้น (Stand Alone) มีพื้นที่จำนวน 320 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นรายละเอียดของงานออกแบบ ตกแต่งภายในได้เป็น 2 ส่วน 4.1 การออกแบบเชิงพื้นที่ ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่วิเคราะห์ทางเดินสัญจรวิเคราะห์ ความต้องการพื้นที่และการกำหนดแบ่งขอบเขตการใช้สอยสามารถสรุปเป็น 1) แนวทางการแบ่งขอบเขตการ ใช้พื้นที่ (Zoning Plan)2) การจัดวางเฟอร์นิเจอร์(Lay out Plan) และ 3) การจัดวางงานระบบที่เกี่ยวข้อง (Lighting Plan) ได้ดังนี้คือ (ดูภาพที่ 2-4 )
289 1) แนวทางการแบ่งขอบเขตการใช้พื้นที่ (Zoning Plan) ภายในอาคารสถานประกอบ“สาทร สปา” สามารถสรุปองค์ประกอบพื้นที่ใช้สอยได้ 11 ส่วน ดังนี้คือ 1) Reception 2) Spa Consult 3) Foot Massage 4) Thai Massage 5) Body Massage 6) Vanity Area 7) Steam Room 8) Wc. 9) Office 10) Locker & Relax Room และ 11) Storage Room (ดูภาพที่ 2) ภาพที่2 แนวทางการแบ่งขอบเขตการใช้พื้นที่ (Zoning Plan) ที่มา :ศรีดารา ติเพียร 2) การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ (Lay out Plan) ภายในอาคารสถานประกอบ “สาทร สปา”พื้นที่ชั้นล่าง ประกอบด้วย พื้นที่ Reception และพื้นที่พักคอย พื้นที่ Spa Consult พื้นที่ Office ห้องนวดเท้า ห้องนวด ไทย ห้องน้ำ และห้องเก็บของพื้นที่ชั้นบนประกอบด้วย ห้องนวดตัว (เตียงเดี่ยว-คู่) ห้อง Steam ห้องพนักงาน ห้องน้ำ และห้องเก็บของ ภาพที่3 การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ (Lay out Plan) ที่มา :ศรีดารา ติเพียร 3) การจัดวางงานระบบที่เกี่ยวข้อง (Lighting Plan) ภายในอาคารสถานประกอบ “สาทร สปา” การ ใช้แสงภายใน มีการวางตำแหน่งของแสงทั่วไปในส่วนพื้นที่ที่ต้องการใช้แสง และใช้ไฟซ่อนในพื้นที่ห้องนวด
290 ภาพที่4 การจัดวางงานระบบที่เกี่ยวข้อง (Lighting Plan) ที่มา : ศรีดารา ติเพียร 4.2 การออกแบบเชิงสภาพแวดล้อมได้แก่วิเคราะห์สไตล์ที่จะนำมาใช้ในการออกแบบรูปแบบ เฟอร์นิเจอร์วัสดุที่ใช้ในการตกแต่งภายในโครงสีภายในและการใช้แสงสว่างเพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบ เชิงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การออกแบบ “สาทร สปา” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการนำเอารูปธรรมของร่างกายโดยนำ เอกลักษณ์ของธาตุทั้ง 4 มาเป็นส่วนประกอบ โดยการนำเอาเอกลักษณ์ของ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาเป็นส่วนหนึ่งใน การออกแบบ เน้นรูปแบบที่เรียบง่าย ให้ความรู้สึกถึงความผ่อนคลายและสงบ การเลือกใช้วัสดุให้อารมณ์ของ ความเป็นธรรมชาติการใช้โครงสีจะมีความแตกต่างกันตามแนวคิดในการตกแต่งของแต่ละพื้นที่ ดังนี้คือ 1) พื้นที่ส่วน Reception มีแนวคิดในการออกแบบคือ เข็มทิศชีวิต เปรียบเสมือนเป็นพื้นที่ที่ชี้นำการ ให้บริการ โดยในส่วนนี้มีการตกแต่งด้วยสิ่งของที่มีเอกลักษณ์จีน เช่น เข็มทิศฮวงจุ้ย และลวดลายของจีนใน แบบต่างๆ บรรยากาศในส่วนนี้เน้นพื้นและฝ้าเพดานขาว ให้ความโดดเด่นไปที่ผนังและเฟอร์นิเจอร์ ภาพที่ 5 การออกแบบพื้นที่ส่วน Reception ที่มา : ศรีดารา ติเพียร
291 2) พื้นที่ห้องนวดแผนไทย (Thai Massage) มีแนวคิดมากจากธาตุลม โดยบรรยากาศภายในห้องจะให้ ความรู้สึกถึงโปร่งโล่ง การรับแสงธรรมชาติ การใช้ผ้าม่านโปร่งและผ้าสีขาวในการตกแต่ง ภาพที่ 6 การออกแบบพื้นที่ส่วนThai Massage ที่มา : ศรีดารา ติเพียร 3) พื้นที่ห้องนวดตัวเตียงเดี่ยว (Body Massage) มีแนวความคิดมาจากธาตุน้ำ การใช้โครงสีน้ำเงิน เข้ม ลวดลายของผิวน้ำให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ใต้ผิวน้ำ ภาพที่ 7 การออกแบบพื้นที่ส่วน Body Massage (เตียงเดี่ยว) ที่มา : ศรีดารา ติเพียร 4) พื้นที่ห้องนวดตัวเตียงคู่ (Body Massage) มีแนวความคิดมาจากธาตุดินหยิบยกสีของแร่ธาตุในดิน ทอง และทองแดงการใช้โครงสีเอิร์ธโทน ให้ความรู้สึกอบอุ่น ภาพที่ 8 การออกแบบพื้นที่ส่วน Body Massage (เตียงคู่) ที่มา : ศรีดารา ติเพียร