The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

บทความผลงานสร้างสรรค์ 4u

192 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (Concept / Related Theories) ผลงานสร้างสรรค์ “สติ ความกลัว และที่ว่าง” นำทฤษฎีจิตวิสัย หรือ อัตวิสัย (Subjectivism) ที่เชื่อ ว่า คุณค่าทางสุนทรียะของงานศิลปะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ดังที่ กำจร สุนพงษ์ศรี (2555) กล่าวไว้ว่า “บุคคลล้วนมีอัตตา (Ego) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวรที่ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางแห่งการรับรู้และแสดงความเป็นปัจเจกของแต่ละคน” โดยคุณค่าทางสุนทรียะดังกล่าวไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ คุณสมบัติของวัตถุ แต่มาจากมนุษย์เกิดความรู้สึกให้คุณค่าต่อวัตถุนั้น ผลงานสร้างสรรค์ชุด “สติ และ ความ กลัว” ต้องการสื่อความงามและอารมณ์ (Beauty and Mood) ผ่านเทคนิคสื่อผสม และการตัดกระดาษ เพื่อ นำเสนอให้เห็นมุมมองของมนุษย์คนหนึ่งที่ใช้การทำงานศิลปะต่อสู้กับความกลัว และใช้หลักธรรมในเรื่องของ “สติ” คือ ความระลึกรู้ในปัจจุบันขณะนี้ จะเกิดขึ้นก่อน หรือเป็นตัวชักนำ ให้เกิดความรู้ตัว หรือสัมปชัญญะ ขึ้นด้วย หมายถึง เมื่อทำให้เกิดสติขึ้น จะชักนำให้เกิดความรู้ตัวเกิดขึ้นด้วยเสมอ เพราะเหตุนี้ จึงมักพูดติดต่อ ไปด้วยกัน หรือพูดเป็นคำเดียวกันว่า ‘สติสัมปชัญญะ’ คือ เมื่อมีความระลึกรู้ในปัจจุบันขณะจะเกิดความรู้ตัว ด้วยเสมอเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ผลงานชุดนี้ใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ ได้แก่ เส้น สี น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง พื้นที่ว่าง และพื้นผิว เพื่อ แสดงออกเป็นภาพที่สามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสของผู้รับสารให้เกิดความหมายในการสื่อสารและมีผลต่อ การรับรู้ (Perception) โดยให้ความสำคัญกับการรับรู้ภาพของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีเกสตัลต์ (Gestalt Theory) ที่อธิบายเรื่องจิตวิทยาการรับรู้ภาพว่า มนุษย์มีการจัดระบบระเบียบสิ่งที่มองเห็นเพื่อทำให้ เกิดการรับรู้แบบองค์รวมและรับรู้ความหมายมากกว่าการดูจากส่วนย่อย ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีดังกล่าวมาพัฒนา ร่วมกับการมองความงามในงานศิลปะ ทำให้ได้แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้ความงามทางศิลปะว่าเกิดขึ้นจากปัจจัย ต่างๆ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความงามทางศิลปะ ดังนี้ 1) ปัจจัยความใกล้ชิด 2) ปัจจัยจากความคล้ายคลึงกัน 3) ปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงที่เหมือนกัน 4) ปัจจัยการจัดเตรียมการรับรู้ 5) ปัจจัยความต่อเนื่อง 6) ปัจจัยจาก การปิดส่วนที่ไม่สมบูรณ์ และ 7) ปัจจัยจากประสบการณ์เดิม นอกจากนี้ยังใช้หลักการเรื่อง ที่ว่างบวก (Positive Space)ที่ว่างลบ (Negative Space) และที่ว่าง สองนัย (Ambiguous Space) ในการจัดวางรูปร่าง และกำหนดค่าน้ำหนักในงานที่ว่างบวกและที่ว่างลบใน งานศิลปะเป็นที่ว่างที่ได้ถูกควบคุมและกำหนดให้มีขอบเขตและความหมายตามที่ศิลปินต้องการ เมื่อที่ว่างบริ เวณหนึ่งถูกกำหนดด้วยเส้นรูปนอกให้เกิดเป็นเส้นรูปร่างขึ้น ที่ว่างที่เป็นรูปร่างนี้จะเริ่มมีพลัง มีความ เคลื่อนไหวและมีความหมายมากขึ้น ส่วนที่ว่างที่อยู่รอบๆ จะยังคงเป็นความว่างที่ค่อนข้างเฉยๆ อยู่ ที่ว่างที่มี รูปร่างนี้ เรียกว่า ที่ว่างบวก หรือที่ว่างที่ทำงาน (Active Space) ส่วนที่ว่างที่อยู่รอบๆ เรียกว่า ที่ว่างลบ หรือที่ ว่างที่อยู่เฉย (Passive Space) การกำหนดความเป็นบวก เป็นลบให้แก่ที่ว่างนี้ ทำขึ้นเพียงเพื่อความสะดวกใน การศึกษาทางทฤษฎี มิได้มีความหมายว่าส่วนที่เป็นลบ จะมีค่าน้อยกว่าส่วนที่เป็นบวก เพราะในทัศนะของผู้ สร้างสรรค์นั้น ทุกส่วนในงานมีความสำคัญที่จะต้องพิจารณาเท่าเทียมกัน สำหรับที่ว่างสองนัย (Ambiguous Space) คือ บริเวณว่างที่ถูกกำหนดด้วยเส้นให้เป็นรูปร่างขึ้น แต่รูปร่างของที่ว่างที่เกิดขึ้นนั้นมีความสำคัญหรือ มีความหมายเท่าๆ กันกับที่ว่างที่เหลืออยู่ จนไม่อาจตัดสินได้ว่า ส่วนใดเป็นที่ว่างบวก ส่วนใดเป็นที่ว่างลบ ทั้ง


193 สองส่วนจะเป็นทั้งบวกและลบสลับกัน ทำให้เกิดพลังความเคลื่อนไหวของความไม่แน่นอนตลอดเวลา จากบวก ไปเป็นลบ และจากลบมาเป็นบวก กล่าวโดยสรุปได้ว่า เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งปรากฏขึ้นบนที่ว่าง จะเกิดเป็นรูปกับพื้นหรือรูปทรงกับที่ว่างขึ้น และที่ว่างนั้นจะเริ่มมีความหมายตามแต่ทัศนธาตุที่ใช้ประกอบกันให้เกิดเป็นรูปทรง ในทางตรงกันข้ามที่ว่างที่ ล้อมรอบรูปทรงที่แสดงความหมายนั้นก็จะสร้างปฏิกิริยาทางสายตาให้กับผู้ชม ถึงแม้จะถูกเรียกว่าเป็นที่ว่าง ลบ แต่ก็สามารถแสดงพลังผลักดันกับที่ว่างบวกอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ ในที่นี้ผู้วิจัยเปรียบ ที่ว่างทั้งสองแบบนี้ เหมือนกับ “ความกลัว” และ “สติ” ที่ว่างสีดำ จัดเป็นพื้นที่ของความกลัว ที่เต็มไปด้วย อุปสรรคต่างๆ ซึ่งแทนค่าด้วยวัสดุต่างๆจัดวางอย่างไร้ระเบียบ แต่ในขณะที่ “สติ” ถูกแทนค่าด้วย สีทอง จัด วางอยู่ในวงกลมและพื้นหลังเพื่อแสดงให้เห็นว่า “สติ” เป็นสิ่งสำคัญ แม้ในความกลัว สติ ก็ยังคงแฝงตัว ขึ้นอยู่ ที่ว่ามนุษย์จะสามารถใช้ได้อย่างถูกที่ถูกเวลาหรือไม่ นอกจากแนวคิดและทฤษฎีทางด้านศิลปะแล้ว งานสร้างสรรค์ชุดนี้ ยังได้นำแนวคิดเกี่ยวกับ “ความกลัว (Fear)” มาใช้ประกอบการวิเคราะห์งานด้วย ความกลัวเป็นอารมณ์ที่ขั้นธรรมดาสามัญของมนุษย์ความกลัวนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ รูปแบบหนึ่ง คือ ความกลัวธรรมดา เป็นความกลัวที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ความกลัวในรูปแบบนี้ มนุษย์ ทุกคนมีเหมือนกันหมด ส่วนความกลัวอีกอย่างหนึ่ง คือ ความกลัวที่ได้มาจากการเรียนรู้ คือ มาเรียนรู้เอาจาก สังคมที่ตัวเองอยู่ ดังนั้น ความกลัวที่ได้มาจากการเรียนรู้นั้น แตกต่างไปตามสิ่งแวดล้อมในสังคม (กนกวรรณ พิภักดิ์สมุทร, 2561) ความกลัวที่เกิดจากการเรียนรู้นั้นเกิดมาได้ 3 ทาง คือ 1) เกิดจากการถูกวางเงื่อนไข 2) เกิดจากอิทธิพลของสังคม และ 3) เกิดจากเมื่อเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นกับตัวเอง ทำให้รู้ผลของสาเหตุแห่งการ กลัวนั้น เช่น เด็กอาจจะไม่เคย กลัวสุนัขมาก่อน เมื่อถูกกัดเข้าครั้งหนึ่งก็อาจจะสร้างความกลัวสุนัขขึ้นมา หรือ การถูกตี ถ้าไม่เคยถูกตี ก็ไม่กลัวหรือบางครั้งอาจจะไม่เคยได้รับประสบการณ์จริง ๆ แต่ได้ทราบผลมันจากผู้อื่น ก็อาจเกิดความกลัวได้เช่น ทราบว่าถูกกัดแล้วจะตาย อหิวาตกโรคเป็นแล้วรอดยาก การฉีดยาทำให้เจ็บ เป็นต้น จากแนวคิดและทฤษฎีดังกล่าว นำมาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลงาน สร้างสรรค์ ดังนี้ ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการสร้างสรรค์งาน


194 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์(Creative Process) ผลงานสร้างสรรค์ ชุด “สติ ความกลัว และที่ว่าง” ผู้วิจัยดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้ 3.1 ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสรุปแนวคิดที่ใช้ในการสร้างสรรค์ ผู้วิจัยศึกษาแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ดังนี้ ทฤษฎีเกสตัลต์ (Gestalt Theories) ทฤษฎีทางศิลปะ (Art Theory) ในเรื่อง ส่วนประกอบของงานศิลปะ (Elements of Art) หลักการจัดองค์ประกอบของศิลปะ (Principles of Art) ที่ว่างบวก ที่ว่างลบ และที่ว่างสองนัย (Positive Space, Negative Space and Ambiguous Space) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ “สติ” และ “ความกลัว” นำมาใช้เป็นแรงบันดาลใจนำเสนอ แนวคิดเชิงเปรียบเทียบระหว่าง “สติ และ ความกลัว” โดยการแทนค่า สติ ด้วยสีทองและสีสันของบรรยากาศ ที่สดใส ส่วน ความกลัว ใช้สีดำ และวัสดุอื่นๆ ได้แก่ ลูกปัดสี ที่ถูกจัดวางไว้ในพื้นที่ว่างสีดำ เป็นตัวแทนของ อุปสรรคทางความคิดเชิงลบ และประสบการณ์ที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดเป็นความกลัวอย่างหา เหตุผลที่แท้จริงไม่พบ 3.2 รวบรวมข้อมูลและจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำงาน 3.2.1 การรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างสรรค์ผลงานชุด “ความงามในความร่วงโรย”จากการศึกษา แนวคิดและทฤษฎี ที่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เพื่อกำหนดเป็นแนวความคิดของงาน (Concept) ของ งานสร้างสรรค์ 3.2.2 จัดเตรียมอุปกรณ์การทำงาน ได้แก่ ผ้าใบขนาด 100 X 100 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น สีอะคลีริค (สีดำ สีทอง สีขาว สีเหลือง สีฟ้า และสีแดง) ลูกปัดสีเข้ม ผ้าสักหลาดเนื้อหนา และปากกาสีดำ 3.3 ลงมือการปฏิบัติงาน 3.3.1 ออกแบบร่างตามแนวความคิดที่กำหนดไว้ และนำภาพร่างไปขยายเป็นแบบงาน 3.3.2 กำหนดสี และวัสดุ ที่แทนค่าความหมาย ได้แก่ สีทอง แทนความหมายของสติ สีดำ แทนความหมายของพื้นที่ของความกลัวภายในจิตใจ ลูกปัดสีต่างๆ แทนอุปสรรคในแต่ละช่วงของชีวิต ผ้า สักหลาด (ตัดเป็นวงกลมขนาดต่างๆ) แทนสติ ที่ซ่อนตัวอยู่ในที่ต่างๆ ทั้งภายในความมืดมนของความกลัว และ ในพื้นที่ว่างที่สว่างสดใส ส่วนสีขาว สีเหลือง สีฟ้า และสีแดง ใช้ปัดป้ายเป็นทีเส้น เป็นตัวแทนของร่องรอยชีวิต ที่มีสีสันอยู่ในความทรงจำ 3.3.3 ตัวอย่างการลงมือปฏิบัติงาน ปรากฏตามภาพที่ 2 ถึง 5 ดังนี้ ภาพที่ 2 – ภาพที่ 4 แสดงขั้นตอนการขยายแบบร่างและลงสีพื้น


195 ภาพที่ 5 แสดงการจัดวางลูกปัดสี และผ้าสักหลาด 3.3.4 ปรับแก้ไขผลงานตามคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญ ภายหลังจากการสร้างสรรค์ผลงานสำเร็จแล้วผู้วิจัยได้นำผลงานให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน จิตรกรรม และบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงศิลปะได้แสดงความคิดเห็น และให้คำแนะนำ โดยผู้วิจัยได้ นำมาปรับปรุงผลงานเพื่อให้สามารถสื่อสารแนวความคิดได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 6 และ ภาพที่ 7 ภาพที่ 6 และ ภาพที่ 7 แสดงการปรับแก้ไขสีพื้นหลังและรายละเอียดรูปทรงต่างๆ จากสรุปแสดงขั้นตอนการทำงานดังกล่าว ผู้วิจัยขอนำเสนอผลงานชุด “สติ ความกลัว และที่ว่าง” จำนวน 2 ภาพ ดังภาพที่ 8 และภาพที่ 9 นี้ ภาพที่ 8 สติความกลัว และที่ว่าง 1


196 ภาพที่ 9 สติ ความกลัว และที่ว่าง 2 4. การวิเคราะห์ผลงาน ผลงานสร้างสรรค์ชุด “สติ ความกลัว และที่ว่าง” มีแนวความคิดสื่อถึงความกลัวที่ซ่อนอยู่ภายใน จิตใจของมนุษย์ เป็นความกลัวที่สะสมอยู่ในความดำมืดที่เวิ้งว้างมาอย่างยาวนาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความ พยายามที่จะฟันผ่าความกลัวอันมืดบอดนั้น ด้วยการใช้ “สติ” เป็นที่ตั้ง ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ผลงานตาม กรอบแนวคิดที่กำหนดไว้ โดยจำแนกเป็น 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความงามทาง ศิลปะตามทฤษฎีของเกสตัลท์ ประเด็นที่ 2 ผลการใช้ที่ว่างบวก ที่ว่างลบ และที่ว่างสองนัย ปรากฏผลการ วิเคราะห์ ดังนี้ ตารางที่ 1 แสดงผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความงามทางศิลปะ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ รับรู้ความงามทางศิลปะ ผลการวิเคราะห์ ผลงานสร้างสรรค์ ปัจจัยความใกล้ชิด การจัดวางองค์ประกอบใช้เส้นโค้ง และรูปทรง กลม เป็นรูปทรงหลัก สร้างความเชื่อมโยงด้วย การจัดวางตำแน่งของรูปทรงวงกลม ให้อยู่ ใกล้ชิดกัน เน้นให้เห็นการเชื่อมต่อ ทำให้เกิด เอกภาพที่กลมกลืนขึ้น ดังภาพงานชื่อ “สติ ความกลัวและที่ว่าง 1” ปัจจัยจากความ คล้ายคลึงกัน ผลงานทั้ง 2 ภาพ ใช้ความคล้ายคลึงกันในด้าน ของรูปทรงและลักษณะของพื้นผิว แต่ภาพที่ แสดงให้เห็นถึงความกลมกลมกลืนที่เกิดขึ้นจาก โครงสร้างขององค์ประกอบที่มีความคล้ายคลึง กันมากที่สุดคือ ภาพที่ 1 มีโครงสร้างของการจัด วางรูปทรงด้วยรูปทรงวงกลม และเส้นโค้งทั้ง ภาพ


197 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ รับรู้ความงามทางศิลปะ ผลการวิเคราะห์ ผลงานสร้างสรรค์ ปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงที่ เหมือนกัน ตามทฤษฎีของเกสตัลท์ กล่าวถึงการสร้างการ รับ รู้ร่วม กั น ด้ วยก ารก ำห น ด ให้ เกิ ด ก าร เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ดัง ตัวอย่างงานในภาพที่ 1 และ 2 แสดงให้เห็นทิศ ทางการเคลื่อนไหวจากด้านล่างไปสู่ด้านบน และทิศทางการกระจายตัวของรูปทรงในพื้นที่สี ดำที่ไม่เป็นระเบียบ ปัจจัยการจัดเตรียม การรับรู้ การเชื่อมต่อของแต่ละรูปทรงในผลงาน เกิดขึ้น จากการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สื่อแนว ความคิดถึง ความกลัวที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของ มนุษย์ โดยใช้พื้นที่สีดำ และลูกปัด เป็นสื่อแทน ส่วน สติ คือ สิ่งที่ฉุดดึงให้หลุดพ้นจากสภาวะ ของความกลัว ใช้สีทอง ซึ่งเป็นสีแทนความสูงค่า หลักธรรม และความดีงาม เป็นสื่อแทนที่มีความ เป็นสากลผู้คนส่วนมากสามารถเข้าใจร่วมกันได้ ปัจจัยความต่อเนื่อง ผลงานทั้งสองภาพแสดงให้เห็นถึงความ ต่อเนื่องกันทั้งของรูปร่างรูปทรง ค่าน้ำหนัก พื้นผิว และทิศทางขององค์ประกอบในภาพ ปัจจัยจากการปิดส่วนที่ไม่ สมบูรณ์ ผลงานชื่อ “สติ ความกลัว และที่ว่าง 2” ใช้ รูปทรงวงรี และวงกลม ปกปิดลายเส้นที่ยุ่งเหยิง เพื่อสื่อถีง การใช้สติ ควบคุม ความกลัว หรือ ระงับความกลัวนั้นไว้ การใช้เทคนิคการปิด บางส่วนนี้ เพื่อให้เกิดมุมมองที่แปลกตายิ่งขึ้น สามารถทำให้ผู้ชมได้ใช้จินตนาการของตนเองได้ อย่างเต็มที่ ปัจจัยจากประสบการณ์เดิม ผลงานทั้งสองภาพนี้ เกิดขึ้นจากการกลั่นกรอง ประสบการณ์ชีวิตในช่วงสามปีที่ผ่านมา การตก อยู่ห้วงแห่งความกลัวโดยไม่มีสาเหตุ ผสมผสาน กับความเศร้าที่มาจากการขาดความเชื่อมั่นใน ตนเอง แต่ในขณะเดียวกันประสบการณ์เดิมที่ ผู้วิจัยเคยฝึกปฏิบัติธรรม จึงได้ใช้การเจริญสติ ช่วยแก้ปัญหาจนทุเลาเบาบางลง


198 ตารางที่ 2 แสดงผลการใช้ที่ว่างบวก ที่ว่างลบ และที่ว่างสองนัย ความหมาย ผลการวิเคราะห์ ผลงานสร้างสรรค์ 1. ที่ว่างบวก การใช้ที่ว่างบวกเพื่อสื่อความหมาย ปรากฏอยู่ในผลงาน ทั้ง 2 ภาพ โดยเฉพาะในภาพ “สติ ความกลัว และที่ว่าง 2” มีการใช้ที่ว่างบวกเพื่อสื่อถึงการปกปิด ความกลัว (แทนด้วยลายเส้นยุ่งเหยิง) และรูปทรงกลมสีทอง แทน สติ ที่อยู่กึ่งกลาง 2. ที่ว่างลบ ผลงานทั้ง 2 ภาพ ใช้ที่ว่างลบ เป็นพื้นที่ด้านหลังสื่อสาร ความหมายเดียวกัน ในภาพ “สติ ความกลัว และที่ว่าง 1” พื้นหลังแบ่งเป็นครึ่งหนึ่งของภาพพอๆ กัน ที่ว่างสีดำ มีบริเวณมากกว่าพื้นที่สีทอง แสดงให้เห็นความกลัวที่ฝัง รากลึกมายาวนาน ส่วนในภาพ “สติ ความกลัว และ ที่ว่าง 2” ที่ว่างลบแทนค่าด้วยลายเส้นที่ยุ่งเหยิงและพื้น สีดำเรียบสนิท มีบริเวณกว้างเต็มกรอบของภาพ ทั้ง 2 ภาพต่างแสดงมุมมองของความกลัวที่มีอยู่อย่างมากมาย ภายในจิตใจ 3. ที่ว่างสองนัย การใช้ที่ว่างสองนัย ปรากฏอย่างชัดเจนในภาพ “สติ ความกลัว และที่ว่าง 1” คือ การใช้พื้นหลังสีทอง และสี ดำ โดยกำหนดสัดส่วนให้มีพื้นที่สีดำเป็นบริเวณกว้าง กว่า ถ้ามองเผินๆ อาจให้ความรู้สึกว่า พื้นที่นี้มี ความสำคัญและเป็นพื้นที่แสดงเนื้อหาหรือมีความเป็น ที่ว่างบวกมากกว่า แต่เมื่อมองที่พื้นหลังสีทอง ถึงแม้จะมี พื้นที่ไม่มาก แต่ก็ให้ความรู้สึกถึงความสำคัญไม่แตกต่าง กันเลย อยู่ที่ว่า ผู้ชมจะสามารถรับรู้กับพื้นที่ใดได้ มากกว่ากัน 5. สรุป (Conclusion) งานสร้างสรรค์ ชุด “สติ ความกลัว และที่ว่าง” มีแนวความคิดสื่อถึง ความกลัวที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจ ของมนุษย์ เป็นความกลัวที่สะสมอยู่ในความดำมืด มีเพียง “สติ” เท่านั้นที่จะช่วยให้ก้าวข้ามความกลัวเหล่านี้ ไปได้ ผลงานชุดนี้ มีความพยายามที่จะถ่ายทอดให้เห็นถึงการจัดการกับความกลัวด้วยสติ การควบคุมหรือกด ทับความกลัวนั้นไว้อาจไม่สามารถช่วยให้เราก้าวข้ามความกลัวไปได้ สาระสำคัญที่ปรากฏขึ้นในผลงานชุดนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเด็นคือ


199 1. ประเด็นความงามของศิลปะ ความงามทางศิลปะของผลงานชุดนี้ เกิดขึ้นการจัดวางทัศนธาตุทาง ศิลปะ ได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นที่ว่าง ค่าน้ำหนัก และพื้นผิว ประกอบกับการใช้หลักการจัดองค์ประกอบ ของศิลปะ เรื่องความมีเอกภาพ ที่เกิดขึ้นจากการสร้างความสมดุล ความกลมกลืน ความขัดแย้ง และใช้การซ้ำ เพื่อสร้างจังหวะที่ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ทัศนธาตุเรื่อง ที่ ว่าง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การสื่อแนวความคิดได้อย่างชัดเจน 2. ประเด็นการตีความ “สติ” และ “ความกลัว” ทั้งสองคำนี้ อาจฟังดูมีความเป็นนามธรรมอยู่มาก อาศัยมุมมองความเข้าใจในความเป็นจริงของมนุษย์การจัดการกับความกลัวเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ด้วยวิธีการพิจารณาดูโดยให้เหตุผลว่า มันเป็นเหตุที่สมควรกลัวหรือไม่ ยิ่งเราทำความเข้าใจมันได้เร็วเพียงใด เราก็ยิ่งอาจจะผ่อนคลายความกลัวได้มากขึ้นเท่านั้น โดยการใช้ “สติ” มองเห็นความเป็นจริงแท้ให้ประจักษ์ แล้วความกลัวจะค่อย ๆ เลือนลางหายไป ที่สำคัญก็คือเมื่อเราควานหารากแท้ของความกลัวได้แล้ว นั่นคือ ด้วยความกล้าที่จะเผชิญกับความจริง 3. ประเด็นการนำผลงานสร้างสรรค์ไปใช้ และการอรรถประโยชน์ของผลงานสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ กลั่นกรองมาจากประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยและจากข่าวสารที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดอย่างหนักของ Covid-19 ที่ส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ที่พังพินาศลงอย่างแทบตั้งหลักกันไม่อยู่ ผลกระทบดังกล่าวจะไม่สามารถลดทอนลงได้เลย หากผู้คนยังมีความหวาดกลัวอยู่ภายในจิตใจ และเต็มไปด้วย ความท้อแท้สิ้นหวัง ผลงานชุดนี้อาจไม่สามารถช่วยให้ผู้คนพ้นจากความกลัวไปได้ในทางตรง แต่ในทางอ้อม สามารถสร้างเสริมกำลังใจให้ได้ ด้วยภาพที่แสดงให้เห็นถึงการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิต ในช่วงเวลาวิกฤต เติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับอุปสรรคชีวิตต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาด้วยการมี “สติ” เป็นที่ตั้งอันมั่นคง และ แข็งแกร่ง วิกฤตต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตก็จะกลับกลายเป็นเพียงประสบการณ์อยู่ในความทรงจำเท่านั้น เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระวชิรวิชญ์ ภัทรเกียรตินันท์. (2564). หลักธรรมทางพุทธศาสนากับการดำเนินชีวิตในช่วงโควิด-19. วารสารภาวนาสารปริทัศน์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2564), 109-120. Katchwattana, P. (2020). พระไพศาล วิสาโล แนะเมื่อในร้ายมีดี ในวิกฤตโควิด-19 ก็มี โอกาสแห่งการ สร้างสติ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 2 มิถุนายน 2022, เข้าถึงได้จาก https://www.salika.co/2020/04 /12/phra-paisarn-visalo-howto-fight-covid-for-buddhism/


200 ภิกษุ The Monk ประชารักษ์ วงษ์ศรีแก้ว, PRACHARAK WONGSRIKAEW สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิตัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสื่อสารด้วยภาพถ่ายไม่ใช่แค่การบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าเท่านั้น แต่การสื่อสารด้วย ภาพถ่ายยังสามารถเป็นการบันทึกความเคลื่อนไหวของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น การถ่ายภาพรถแข่งที่ใช้การ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง หรือการถ่ายภาพนักกีฬาที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เมื่อเราเห็นภาพเหล่านั้นเรา สามารถรับรู้ได้ถึงการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วการสื่อสารด้วยภาพการเคลื่อนที่จึงเป็นการถ่ายภาพด้วยความ สร้างสรรค์ที่เรียกว่าการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Panning) โดยมีลักษณะของการวาดกล้องในแนวระนาบไปกับวัตถุ ให้ทันด้วยการปรับค่ากล้องเพื่อให้สนองต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยให้ฉากหลังมีความเบลอ ความไม่ชัด เพื่อให้ เกิดจุดสนใจของภาพไปที่วัตถุที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการจะนำเสนอการถ่ายภาพในลักษณะนี้ทำให้ภาพของวัตถุที่ถูก บันทึกเสมือนกำลังเคลื่อนที่ หรือ กำลังเคลื่อนไหว นอกจากนั้นการจัดองค์ประกอบของภาพยังคงเป็นสิ่งสำคัญใน การถ่ายภาพการเคลื่อนไหว (Panning) ซึ่งการจัดองค์ประกอบภาพนั้นเพื่อให้เกิดความสวยงามและการเล่าเรื่อง ด้วยภาพที่สามารถสื่อความหมายได้เช่น การมีฉากหน้า (Foreground) เพื่อบดบังวิสัยทัศน์ของผู้รับชม โดยเป็น การบังคับให้ผู้รับชมเพ่งมองไปที่วัตถุที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการนำเสนอเป็นต้น คำสำคัญ: ถ่ายภาพ องค์ประกอบ การถ่ายภาพเคลื่อนไหว Abstract Visual communication is more than just capturing what is happening in front of you. However, visual communication can also be defined as the recording of the movement of moving objects, such as shooting a racing car in slow motion. or photographing quick-moving athletes We can see fast movements when we see those images. Creative photography is defined as moving visual communication. Motion photography is characterized by the nature of drawing the camera in a plane with the object in time by adjusting the camera settings to respond to the movement of the subject by causing the background to be blurry, blurry, in


201 order to get the point of interest. of the image to the object that the creator wishes to present. Shooting in this manner results in recorded subject appears to be moving or moving Furthermore, image composition is still important in motion photography, where the image composition is to create beauty and tell a meaningful visual narrative, such as having a foreground to obscure the viewer's vision. For example, by compelling the viewer to focus on the object the creator wishes to present. Keywords: photography, composition, motion photography 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 3 ประมาณปี พ.ศ. 235 หลังจากสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 พระเจ้าอโศก มหาราชได้ทรงส่งสมณฑูตไปเผยแพร่ศาสนายังดินแดนต่างๆ รวม 9 สายด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ซึ่งใน ขณะนั้นเป็นดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันในดินแดนนี้ไม่น้อยกว่า 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา ศรีลังกา ญวน และมาเลเซีย จนกระทั่งในปัจจุบันประเทศไทยมีศาสนาประจำชาติคือ ศาสนาพุทธและมีพระสงฆ์ที่เป็นดั่งตัวแทนของศาสนาจำนวนมากในประเทศไทย พระมหาพงศ์ทราทิตย์ ก้องเสียง, หอมหวล บัวระภา และวิเชียรแสนมี (2020: 5-6) ได้กล่าวถึงสิ่งสำคัญ หรือบทบาทของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบันที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้กรอบของพระธรรมวินัย ซึ่งมีดังนี้ 1) บทบาทในอุดมคติ คือบาทบาทของพระสงฆ์ที่ปรากฏตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้า ทรงวาง แนวทางในการปฏิบัติต่อชาวโลกแก่ภิกษุสาวกของพระองค์ในครั้งพระพุทธกาลโดยที่พระองค์ได้ทรงเป็นแบบอย่าง ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลกในฐานะทรงเป็นพระพุทธเจ้า ความประพฤตินั้นเรียกว่า พุทธจริยา เช่น การ ออกบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม การแสดงธรรมด้วยความเคารพเป็นต้น 2) บทบาทที่บุคคลเข้าใจ คือ บทบาทที่บุคคลเข้าใจโดยถือเป็นภาพลักษณ์ของพระสงฆ์และอยู่ในความ คาดหวังของสังคม เช่น เป็นศูนย์กลางความเชื่อและความศรัทธาของประชาชน พระสงฆ์ต้องประพฤติตนให้ ถูกต้องอย่างดีงาม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งทางสติปัญญาและจิตวิญญาณ และด้านการเผยแผ่ศาสนาพระสงฆ์ต้องเป็น ผู้นำด้านการรู้เท่าทันตนและปรากฏการณ์ของสังคม นอกจากนี้บทบาทสำคัญของพระสงฆ์คือ พระสงฆ์ต้องเป็น ผู้นำเพื่อปลูกปัญญาหรือการตื่นรู้ให้กับชาวพุทธ ในการถ่ายภาพพระสงฆ์ในปัจจุบันของประเทศไทยในอิริยาบถต่างๆนั้น เป็นการบันทึกภาพที่สามารถเป็น ภาพทางประวัติศาสตร์ในศาสนาพุทธได้และยังสามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายผ่านเทคนิคการถ่ายภาพ นอกจากนั้นยังสามารถรับรู้ได้ถึงชีวิตประจำวันของพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันซึ่งมีโรคระบาดเกิดขึ้น หากในอนาคตได้ ย้อนกลับมาดูภาพเหล่านั้น จะสามารถรับรู้ได้ถึงเรื่องราวในอดีต สิ่งนี้จึงเป็นภาพทางประวัติศาสตร์


202 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ภาพถ่ายภิกษุ (The Monk) เป็นภาพที่ถูกถ่ายด้วยเทคนิคทฤษฎีการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Panning) โดย มุ่งเน้นให้วัตถุที่ต้องการจะนำเสนอได้เคลื่อนไหวผ่านการถ่ายภาพนิ่งด้วยวิธีการวาดกล้องไปในแนวระนาบกับวัตถุ โดยใช้เทคนิคของการปรับค่ากล้องระหว่างชัตเตอร์ที่ความเร็วต่ำ การถ่ายภาพในลักษณะนี้จะต้องแพนกล้องไปตามวัตถุที่เคลื่อนไหวพร้อมๆกับการกดชัดเตอร์ ความเร็ว ของชัตเตอร์ต้องตั้งให้ช้า เช่น 1/60 วินาที 1/30 วินาที 1/15 วินาที หรือช้ากว่านี้ขึ้นอยู่กับวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยการ ปรับระยะชัดไปที่ตรงจุดของวัตถุเคลื่อนที่ผ่าน นอกจากนั้นในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ หรือเทคนิคการถ่ายภาพที่เรียกว่า “แพนกล้อง” ซึ่งเป็นเทคนิคที่แสดงถึงการเคลื่อนที่อย่างชัดเจนของวัตถุที่เรา ต้องการถ่าย ภาพที่ได้จะปรากฏว่าสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวจะดูพร่า ทำให้เห็นว่าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่ส่วนวัตถุหรือ สิ่งที่อยู่นิ่งจะคมชัด (ณัฐวุฒิ สิงหนองสวง, 2558) นอกจากนี้ยังมีการใช้แนวคิดขององค์ประกอบภาพ (Elements of Composition) คือการใช้ฉากหน้า (Foreground) คือพื้นที่ในส่วนของภาพที่อยู่ด้านหน้า Subject และใกล้คนดูมากที่สุด ฉากหน้าจะช่วยสร้างมิติเชิง ลึกให้กับภาพ เพราะคนทั่วไปจะรับรู้หรือเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากที่สุด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า อีกทั้งฉากหน้ายังช่วย ชักนำไปสู่ Subject และดูโดดเด่นขึ้น (วิโรจน์ เจียรวัชระมงคล และ เอกนฤน บางท่าไม้, 2558 อ้างถึงใน จักกฤษณ์ กิตติทรัพย์เจริญ และ ปัญจราศี ปุณณชัยยะ, 2562) 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ กระบวนการในการสร้างสรรค์ภาพ ภิกษุ (Monk) ผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องการให้ภาพสื่อความหมายของ ชีวิตประจำวันของภิกษุสงฆ์ในปัจจุบันที่ประสบปัญหาของโรคระบาดโควิด19 จึงมีความคิดริเริ่มที่จะหาสถานที่ ถ่ายภาพที่เป็นชุมชน โดยมุ่งเน้นไปที่ตลาดในช่วงเวลาเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนสัญจรผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก และรอจังหวะการถ่ายภาพ เมื่อพิจารณาภาพถ่ายจะพบว่า Subject ของภาพจะอยู่ตรงกลางของภาพ เป็นรูปของภิกษุรูปหนึ่งกับเด็ก วัดที่กำลังเดินทางกลับวัดในช่วงเวลาหลังฝนหยุดตก โดยการสร้างสรรค์การถ่ายภาพเป็นการสร้างสรรค์ในรูปแบบ ของการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Panning) ตาม Subject ที่เป็นภิกษุตรงกลาง โดยใช้วิธีการวาดกล้องไปทางขวาของ ภาพเพื่อให้ภาพเกิดความคมชัดที่ Subject และให้ฉากหลังมีความเบลอโดยใช้เทคนิคการตั้งค่ากล้องที่ความเร็ว ชัตเตอร์ต่ำ ผู้สร้างสรรค์ผลงานใช้ความเร็วชัดเตอร์ที่ 1/30 วินาที เพื่อให้เกิดความเบลอของฉากหลัง และตั้งค่ารู รับแสงที่ F/6.3 เพื่อให้ระยะความชัดของภาพไม่เบลอมากเกินไปและทำให้ภาพมีความคมชัดมาดขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคขององค์ประกอบภาพ โดยผู้สร้างสรรค์ผลงานใช้องค์ประกอบภาพของฉาก หน้า (Foreground) เพื่อให้เป็นการบังคับสายตาให้มองไปที่ Subject ของภาพที่จะสื่อสาร โดยได้มีการรอให้รถ


203 มอเตอร์ไซต์ซึ่งเป็นฉากหน้าขับผ่าน เมื่อความเร็วของรถมอเตอร์ไซต์ผสมกับเทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Panning) จึงทำให้รถมอเตอร์ไซต์มีความเบลอและยังช่วยเป็นฉากหน้า (Foreground) ช่วยให้สร้างมิติเชิงลึก ให้กับภาพและยังช่วยชักนำไปสู่ Subject ให้โดดเด่นอีกด้วย ภาพที่ 1 ภิกษุ (The Monk) ที่มา : ประชารักษ์ วงษ์ศรีแก้ว 4. การวิเคราะห์ผลงาน ภาพภิกษุ (The Monk) จะเห็นได้ว่าภาพมีการเคลื่อนไหวตามการถ่ายของผู้สร้างสรรค์ โดยได้ใช้เทคนิค การถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Panning) ตาม Subject ที่เป็นภิกษุตรงกลางภาพ ผสมกับฉากหน้าที่เป็นรถมอเตอร์ไซต์ ขับผ่านจึงทำให้เกิดฉากหน้าที่มีความเบลอ ช่วยส่งเสริมให้การสร้างมิติในเชิงลึกของภาพเพื่อชักนำไปสู่ Subject ให้ดูโดดเด่น ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดเรื่ององค์ประกอบภาพ (Elements of Composition) (วิโรจน์ เจียรวัชระ มงคล และ เอกนฤน บางท่าไม้, 2558 อ้างถึงใน จักกฤษณ์ กิตติทรัพย์เจริญ และ ปัญจราศี ปุณณชัยยะ, 2562) เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง (2560) ได้พูดถึงประโยชน์ของการถ่ายภาพไว้ดังนี้


204 1) ด้านการศึกษา สามารถนำภาพถ่ายมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทำ ให้เข้าใจบทเรียนได้รวดเร็วและจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้แม่นยำถาวร ภาพถ่ายสามารถเอาชนะปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติได้หลายประการ เช่น สามารถบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตและนำมาศึกษาได้ทั้งในปัจจุบันและ อนาคต หรือ บันทึกเหตการณ์หรือสถานที่ที่อยู่ห่างไกลเพื่อมาใช้ศึกษาในชั้นเรียน บันทึกสิ่งที่เคลื่อนไหวอย่าง รวดเร็วซึ่งสายตาของคนเราไม่สามารถมองตามทันได้ หรือบันทึกสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนไหวช้ามาก ๆ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ เช่น การถ่ายดอกไม้ที่กำลังเบ่งบาน การถ่ายจากสิ่งเล็กมาก ๆ หรือสิ่งที่ ใหญ่โตเกินกว่าสายตาที่จะมองเห็นได้ และสามารถบันทึกสิ่งซ่อนเร้นอยู่ภายในหรือที่ลี้ลับได้ 2) ด้านการสำรวจ ค้นคว้า วิจัยในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ การอุตสาหกรรม การ เกษตร การทหาร การสื่อสาร จำเป็นต้องใช้กล้องบันทึกภาพ อาจติดตั้งกล้องจุลทรรศน์หรืออุปกรณ์เอ็กซ์เรย์ เชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์บันทึกภาพส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อทำการวินิจฉัยโรค หรือการใช้กล้องชนิดพิเศษ บันทึกภาพพื้นผิวโลกและรายระเอียดของจักรวาลจากเครื่องบินหรือดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ การทำแผนที่ เป็นต้น 3) ด้านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ภาพถ่ายจะเป็นสื่อหลักในการสร้างสรรค์โฆษณาสินค้าและการบริการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่าง ๆ 4) ด้านการสื่อความหมาย ภาพถ่ายสามารถถ่ายทอดความรู้ ข่าวสารต่าง ๆ ไปยังรับโดยผ่านสื่อมวลชน แขนงต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร แผ่นภาพโฆษณา และโทรทัศน์เป็นต้น 5) ภาพถ่ายสามารถบันทึกเหตุการณ์ในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในก่อนปี ค.ศ. 1839 เราสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยภาพเขียน ภาพวาด ภาพการแกะสลักเท่านั้น ในระหว่างสงครามโลก ค.ศ.1853-1856 นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการบันทึกภาพถ่ายของสงครามไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา 6) ภาพถ่ายสามารถนำมาประกอบหลักฐานและเอกสารที่สำคัญ เช่น บัตรประจำตัว ใบแสดงวุฒิ การศึกษา และใบรับรองอื่น ๆ ตลอดไปเป็นหลักฐานแสดงความเท็จจริงและความถูกต้อง เช่น นำมาใช้เป็น หลักฐานในการประกอบการตัดสินใจของศาลเกี่ยวกับอาชญากรรม การใช้แรงงานเด็ก เป็นต้น 7) ด้านศิลปะ ภาพถ่ายจะให้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์สิ่งสวยงามและจรรโลงใจ 8) งานอดิเรก งานด้านภาพถ่ายจะให้ความเพลิดเพลินถือเป็นงานอดิเรกของผู้รักงานถ่ายภาพ และงาน ถ่ายภาพสามารถยึดเป็นงานอิสระได้ ซึ่งจะแยกเป็นภาพกีฬา ภาพข่าวการเมือง ภาพสารคดีประกอบเรื่อง ภาพถ่ายบุคคล ภาพถ่ายโฆษณา ภาพแฟชั่น ภาพนู้ด ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญ เช่น งานวันเกิด งานอุปสมบท งานมงคลสมรสเป็นต้น จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายภาพภิกษุ (The Monk) จึงเป็นประโยชน์ทางด้านการบันทึกภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากภาพที่ถูกถ่ายเป็นช่วงของการระบาดของโรคโควิด19 จะสังเกตได้จากการที่บุคคลใน


205 ภาพสวมผ้าปิดจมูก ภาพนี้จึงเป็นทั้งภาพของการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และยังเป็นภาพของการศึกษา ในด้านของเทคนิคการถ่ายภาพการเคลื่อนไหว 5. สรุป ภาพภิกษุ (The Monk) จึงเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเหมือน Subject กำลังเคลื่อนที่ด้วยเทคนิคการ สร้างสรรค์การถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Panning) และยังสามารถมีประโยชน์ในด้านของภาพประวัติศาสตร์ที่ถูก บันทึกในช่วงของการระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งในขณะที่ถ่ายภาพนั้นผู้คนยังไม่สารมถถอดหน้ากากอนามัย ออกมาใช้ชีวิตเหมือนเมื่อก่อนได้ ภาพนี้จึงเป็นภาพประวัติศาสตร์หากในอนาคตได้กลับมามองภาพนี้อีกครั้ง จะ สามารถรับรู้ได้ถึงการใช้ชีวิตของภิกษุและประชาชนชาวไทยได้อย่างชัดเจน เอกสารอ้างอิง จักกฤษณ์ กิตติทรัพย์เจริญ และ ปัญจราศี ปุณณชัยยะ. (2562). ลักษณะของภาพถ่ายโฆษณาที่ส่งผลต่อทัศนคติ ของลูกค้าที่มีต่อภาพถ่ายโฆษณาขายสินค้าบนอินสตาแกรม กรณีศึกษา: กระเป๋าแฟชั่น ที่ไม่ใช่สินค้า แบรนด์เนม.วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 5 (4), (ตุลาคม-ธันวาคม). ณัฐวุฒิ สิงห์หนองสวง. (2558). การสร้างสรรค์ภาพนิ่งเพื่อสื่อความเคลื่อนไหวแบบการแพนกล้อง. วารสารนิเทศสยาม ปริทัศน์, 4(17), 52-59. ดำรงค์ สมฤทธิ์. พระพุทธศาสนาในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้จาก http://www.dhammathai.org/thailand/thailand.php พระมหาพงศ์ทราทิตย์ ก้องเสียง, หอมหวล บัวระภา, และวิเชียรแสนมี. (2020). บทบาทที่พึงประสงค์ของพระสงฆ์ ไทยในปัจจุบันและอนาคต. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษวิทยาเชิงพุทธ, 5 (1), 1-15. เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2560). การสื่อสารด้วยและกระบวนการถ่ายภาพ. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, เข้าถึงได้ จาก https://www.chonburi.spu.ac.th/comm/admin/knowledge/A523one.pdf


206 การออกแบบเครื่องแต่งกายบุรุษเพื่อพัฒนาสินค้าชุมชนโดยใช้แนวคิดการออกแบบ จากศิลปะรูปแบบเมมฟิส: กรณีศึกษาผ้าขาวม้านาหมื่นศรีอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง MENSWEAR DESIGN TO DEVELOP LOCAL PRODUCT BY USING MEMPHISSTYLE ART: CASE STUDY NAMEUNSRI LOINCLOTH AMPHOE NA YONG, TRANG ปรัชญา พิระตระกูล, Prashya Piratrakul หลักสูตรการออกแบบและธุรกิจแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กรุงเทพฯ ประเทศไทย E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ผลงานสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายบุรุษพื่อพัฒนา ผ้าขาวม้าวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัยสามารถ สวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันและเพิ่มทางเลือกใหม่ๆให้กับผู้บริโภคได้ใช้ อีกทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยใช้แนวคิดการออกแบบจากศิลปะรูปแบบเมมฟิส (Memphis Style) ในการออกแบบ โดยการดำเนินการคือหาหลักการสำคัญของแนวความคิดศิลปะรูปแบบเมมฟิสจากข้อมูลทุติยภูมิคือจาก เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ศึกษาข้อมูลแนวโน้มแฟชั่น เครื่องแต่งกายบุรุษในปัจจุบันเพื่อค้นหาแนวทางและแรงบันดาลใจในการออกแบบ โดยสรุปผลการสร้างสรรค์ ได้ดังนี้เครื่องแต่งกายมีรูปแบบเสื้อผ้าลำลองที่ตรงตามแนวโน้มแฟชั่นเครื่องแต่งกายบุรุษและกลุ่มผู้บริโภคใน ปัจจุบัน มีลักษณะเด่นจำเพาะตามแนวคิดศิลปะรูปแบบเมมฟิส คือใช้รูปทรงเรขาคณิตหลาย ๆ แบบนำมา รวมกันในเครื่องแต่งกาย พร้อมทั้งวางรูปแบบตัดต่อโดยไม่คำนึงถึงความสมดุลและสัดส่วนของเครื่องแต่งกาย ใช้สีสันและลวดลายที่ขัดแย้งและตัดกัน เพื่อสร้างความแปลกใหม่และร่วมสมัยให้แก่ผ้าขาวม้าวิสาหกิจชุมชน ผ้าทอนาหมื่นศรี เป็นการสร้างทางเลือกให้กับกลุ่มผู้บริโภคและเป็นต้นแบบที่ชุมชนสามารถนำไปพัฒนาต่อ ยอดในอนาคตต่อไป คำสำคัญ: เครื่องแต่งกายบุรุษ, ศิลปะรูปแบบเมมฟิส, ผ้าขาวม้า Abstract This research objective is to design and develop menswear from the Na Muen Si loincloth fabric of Na Yong, Trang to be more fashionable and wearable in everyday life and add new options for consumers to use. It also creates added value for the community's products by using Memphis style art the research method involves a review of Memphis style’sart main idea and a definition of customer profile and men’s fashion trends to develop concept design. The research reveals a casual style of clothing that meets the


207 current trends in menswear fashion and consumer groups. It has unique features based on the Memphis style art. It is a style that emphasizes many geometric shapes combined in a single cloth, accompanied by a layout regardless of the balance of the cloth. Use contrasting and contrasting colors and patterns. To create a novelty and contemporary for the Na Muen Si Weaving Community. Create alternatives for consumer groups and be a model that communities can develop in the future. Keywords: Menswear, Memphis style art, Loincloth Fabric 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ผ้าไทยถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นงาน ศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคนในท้องถิ่นนั้นๆผ่านลวดลายและสีสันบน ผืนผ้า โดยเฉพาะผ้าขาวม้าซึ่งเป็นผ้าที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันดีมาแต่โบราณเพราะสามารถนำมาใช้งานได้ หลากหลายสารพัดประโยชน์มีลักษณะทอเป็นลายตารางเล็กๆ นิยมใช้เส้นด้ายหลายสีแตกต่างกันไปตามความ นิยมของแต่ละท้องถิ่นจึงได้รับการส่งเสริมทั้งจากภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ ไทย ที่มุ่งผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนต่างๆทั่วประเทศ ช่วยเพิ่ม รายได้และพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทั่วประเทศภายใต้การทำงานของคณะทำงานการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการร่วมกันพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชนในชนบททั่วประเทศ ช่วยชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและสร้างความ ภาคภูมิใจในชุมชนผ่านการสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์และการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของผ้าขาวม้าทอ มือ ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักถึงคุณค่า ในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างยั่งยืน และยังมี การขยายเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันพัฒนาการผลิตและการตลาดของสินค้าผ้าขาวม้าทอ มือให้ผู้บริโภคเป็นวงกว้างทั่วประเทศ จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นและการลงพื้นสำรวจวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าพื้นเมืองมาอย่างยาวนาน แต่ได้ขาดหายไปช่วงหนึ่งในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สองเพราะขาดเส้นด้ายที่จะใช้ทำวัตถุดิบ รวมทั้งการทอผ้าประจำบ้านที่ใช้วัสดุธรรมชาติปั่น ฝ้ายย้อมสีเองก็ลดลง เนื่องจากการมีเส้นใยย้อมสีสำเร็จรูปเข้ามาแทนที่ หรือการมีผ้าจากโรงงานและเสื้อผ้า สำเร็จรูปที่สามารถซื้อได้ง่ายกว่าการลงมือทอเอง การทอผ้านาหมื่นศรีได้กลับฟื้นคืนมาอีกครั้งเมื่อราว พ.ศ. 2514 โดยยายนาง ช่วยรอด คนดั้งเดิมของหมู่บ้านรวบรวมคนทอผ้าอายุรุ่นเดียวกัน ได้ 3 ช่วยกันซ่อมแซม กี่ กับเครื่องมือเก่าๆ ให้ใช้การได้แล้วลงมือทอผ้าด้วยความตั้งใจว่าจะให้ลูกหลานได้รู้จักผ้าทอและวิธีทอผ้าแบบ ดั้งเดิม ต่อมา นางกุศล นิลลออ บุตรสาวของยายนาง เป็นผู้รับช่วงกิจกรรมงานทอผ้า จากนั้นหน่วยงาน ราชการจึงได้ให้ความสนใจและเข้ามาส่งเสริม


208 ลักษณะผ้าทอของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีแบ่งตามลักษณะโครงสร้างของผืนผ้า ได้ 3 ชนิด ได้แก่ ผ้าพื้น ผ้าตา และ ผ้ายกดอก แต่ละชนิดแบ่งย่อยเป็นชื่อลายต่าง ๆ ได้อีกหลายลาย โดยเฉพาะผ้าตา หรือผ้าขาวม้าได้พัฒนาให้มีเอกลักษณ์เพิ่มมากขึ้นทั้งการใช้สีสันที่สดใสและผสมผสานการทอแบบยกดอกร่วม เข้าไป จึงทำให้เกิดเป็นผ้าขาวม้านาหมื่นศรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนขึ้นมา แต่จากการสัมภาษณ์คุณ อารอบ เรืองสังข์ ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีพบว่า ในปัจจุบันทางวิสาหกิจชุมชน นอกจากการทอผ้ายังได้พัฒนาผ้าทอเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ เสื้อ หมวก กระเป๋า ผ้าพันคอ สินค้าที่ระลึก แต่รูปแบบของผลิตภัณฑ์ยังคงเป็นรูปแบบเดิม ได้รับความนิยมเฉพาะในกลุ่มลูกค้าดั้งเดิมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น กลุ่มวัยทำงานไปจนถีงกลุ่มผู้สูงอายุ และสินค้ายังไม่ได้รับความนิยมที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันตามสภาพ สังคมที่เปลี่ยนไปเป็นสังคมเมืองและตามกระแสแนวโน้มแฟชั่นเท่าที่ควรยังขาดการพัฒนาและสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆให้ตอบสนองต่อกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ๆ ทางวิสาหกิจชุมชนจึงมีความต้องการที่จะ พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าไปสู่กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหม่โดยเฉพาะกลุ่มบุรุษที่มีอายุน้อยลงและพัฒนารูปแบบของ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสามารถแข่งขันกับตลาดสินค้าแฟชั่นในปัจจุบัน ภาพที่ 1 ผ้าขาวม้าวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จากปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ผู้ออกแบบจึงมีความมุ่งหวังที่จะหา แนวทางในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายบุรุษ ในรูปแบบเครื่องแต่งกายลำลองสำเร็จรูป ที่ใช้ผ้าขาวม้านาหมื่น ศรี เป็นวัสดุหลักในการออกแบบ โดยพัฒนารูปแบบสินค้าเครื่องแต่งกายให้มีความทันสมัย เข้ากับกระแส แนวโน้มแฟชั่นและสามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน พร้อมยังคงเอกลักษณ์ผ้าขาวม้าของชุมชนไว้ได้ โดยใช้ แนวความคิดจากศิลปะรูปแบบเมมฟิสเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ ใช้ผ้าขาวม้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมขน นาหมื่นศรีนำมาผสมผสานกับผ้าสีพื้นที่มีจำหน่ายในท้องตลาดนำมาออกแบบสร้างสรรค์ ซึ่งจะสร้างลวดลาย และรูปแบบให้เครื่องแต่งกายมีลักษณะเด่นจำเพาะ มีมิติแปลกตาน่าสนใจและเป็นที่จดจำสำหรับผู้บริโภคที่ พบเห็นในท้องตลาดมากขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ในตลาดสินค้าเครื่องแต่งกายลำลอง สำเร็จรูป สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่มีความทันสมัยและให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย


209 2.แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบสร้างสรรค์นี้ผู้ออกแบบใช้หลักการออกแบบจากแนวคิดศิลปะรูปแบบเมมฟิส (Memphis Style) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1981 เมืองมิลาน ประเทศอิตาลีโดยดีไซเนอร์Ettore Sottsass ก่อตั้ง Memphis Group ร่วมกับนักออกแบบและสถาปนิกอีก 22 คน ขึ้นมาเพื่อต้องการสร้างศิลปะแบบใหม่ที่เป็น การผสมผสานกันระหว่าง อาร์ตเดโค (Art Deco) และป๊อปอาร์ต (Pop Art) เพื่อต่อต้านการออกแบบของ กลุ่ม Functionalism ที่ค่อนข้างจะเป็นระบบระเบียบ จากนั้นแนวคิดศิลปะแบบเมมฟิสได้แพร่หลายไปสู่งาน ออกแบบหลากหลายแขนง อาทิ สินค้า เฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งบ้าน งานออกแบบกราฟิก เครื่องแต่งกาย ลักษณะที่โดดเด่นของแนวความคิดศิลปะรูปแบบเมมฟิส (Memphis Style)คือเป็นงานดีไซน์ที่ให้ ความสำคัญกับรูปทรง เน้นรูปทรงเรขาคณิตหลากหลายแบบนำมารวมกันในงานชิ้นเดียวกัน โดยมี แนวความคิดดังนี้ 1. ยกเลิกเรื่อง เอกภาพ (Unity) ให้ความสำคัญกับการประกอบชิ้นส่วนที่อิสระไม่ต่อเนื่องกัน 2. มีการแสดงออกถึงความหมายใหม่ ที่มีปริศนาอยู่ภายในการออกแบบ 3. การรื้อฟื้นนำสิ่งประดับประดา และสีซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของความเป็นอิสระการคิดค้นสร้างสรรค์ 4. ผ่านเลยข้อจำกัดและเหตุผลที่เกี่ยวกับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นเฉพาะผลกระทบต่อ ความสำคัญของมนุษย์โดยตรงอีกทั้งยังเน้นไปทางสีสันที่สดใส โดยใข้สีมากกว่า 2 สีขึ้นไปนำมาตัดกันไปมา ถือได้ว่าเป็นสไตล์การออกแบบที่แปลกใหม่ต่างจากสไตล์ในสมัยนั้นโดยสิ้นเชิงจึงทำให้ศิลปะรูปแบบ เมมฟิสไม่ค่อยประสบความสำเร็จในสมัยนั้น แต่กลับเป็นต้นแบบผลงานให้กับศิลปินและนักออกแบบหลายคน ในปัจจุบันที่นักออกแบบนิยมนำมาเป็นส่วนหนึ่งในแนวคิดในการออกแบบทั้งการตกแต่งบ้านออกแบบ ผลิตภัณฑ์ออกแบบกราฟฟิกและออกแบบแฟชั่น ภาพที่2 ผลงานการออกแบบตามแนวศิลปะแบบเมมฟิส ที่มา : https://www.architecturaldigest.com/story/turns-out-saint-laurent-is-also-obsessed-with-thememphis-design-group


210 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ 1. ศึกษาความหมายและหลักการสำคัญของแนวคิดศิลปะรูปแบบเมมฟิส (Memphis Style) โดย ศึกษาข้อมูลทุติยภูมจากเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ตัวอย่างงานออกแบบจากการศึกษาพบว่า แนวทางการออกแบบของศิลปะเมมฟิสคือ การเสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตัวเกิดงานออกแบบใหม่ ที่ผสมผสานความขัดแย้ง ของรูปทรงรูปร่างวัสดุ สี และลวดลาย ในส่วนของการสร้างสรรค์นี้ได้นำแนวคิดการ ใช้รูปร่างเรขาคณิตหลากหลายรูปแบบนำมารวมกันและการวางรูปแบบที่แปลกตาโดยจะวางแบบไม่คำนึงถึง ความสมดุล อีกทั้งยังใช้สีสันและลวดลายที่สดใสมากกว่า 2 สีขึ้นไปนำมาตัดกัน 2. กำหนดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร เพื่อหาความต้องการและลักษณะการ ดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเครื่องแต่กายบุรุษอายุ 20-280 ปี 3. ศึกษาแนวโน้มเครื่องแต่งกายบุรุษในปัจจุบัน โดยจะมีลักษณะที่อ้างอิงแฟชั่นในปี 1990 มาใช้โดย จะมีลักษณะเด่นดังนี้โครงร่างเสื้อผ้าหลวม การใช้ผ้าลายตาราง การใช้ลวดลายเรขาคณิตกางเกงขาสั้นและยาว ทรงหลวมมีกระเป๋า ภาพที่ 3 ภาพแฟชั่นในทศวรรษ 1990 ที่มา : https://www.thetrendspotter.net/90s-fashion-men/ 4. ออกแบบและพัฒนาเครื่องแต่งกายตามองค์ประกอบการออกแบบที่ได้วิเคราะห์นำมาออกแบบ แบบร่าง (Sketch) แบบร่าง 1-1 แบบร่าง 1-2 แบบร่าง1-3 ภาพที่ 4 ภาพแบบร่างการออกแบบเครื่องแต่งกายบุรุษ 5. นําแบบร่างในการออกแบบเครื่องแต่งกายบุรุษ ปรึกษากับช่างผู้ชํานาญการในการตัดเย็บและได้ตัด เย็บเครื่องแต่งกาย ทั้งหมด 1 คอลเล็กชั่น ประกอบด้วยเครื่องแต่งกายบุรุษ 3 ชุด


211 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากวิธีดำเนินการข้างต้นนำมาวิเคราะห์และสรุปออกมาเป็นองค์ประกอบในการออกแบบและนำไป ตัดเย็บจนได้เครื่องแต่งกายทั้งหมด 3 ชุด ประกอบไปด้วย เสื้อเชิ้ตแขนสั้น เสื้อฮู้ดแขนกุด เสื้อเชิ้ตแขนยาว กางเกงขาสั้น กางเกงขายาว ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเครื่องแต่งกายลำลองสำหรับบุรุษที่มีอายุระหว่าง 20-28 ปีมีลักษณะโครงร่างที่หลวมตามแนวโน้มแฟชั่นที่อ้างอิงมาจากทศวรรษ 1990 ผลิตจากผ้าขาวม้าชุมชนผ้าทอ นาหมื่นศรีตัดต่อผสมผสานกับผ้าในท้องตลาดสร้างรูปแบบที่แตกต่างและแปลกตาสำหรับผ้าขาวม้า นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องแต่งกายที่สอดคล้องกับแนวความคิดศิลปะแบบเมมฟิสโดยสามารถแบ่งแนวคิดที่ นำมาใช้ได้ดังนี้ การใช้รูปร่างเรขาคณิตหลากหลายรูปแบบนำจัดวางรวมกันในเสื้อผ้าจากแนวคิดของศิลปะรูปแบบ เมมฟิศจะใช้รูปร่างเรขาคณิตหลากหลายมาจัดวางในพื้นที่เดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ในแนวทางการออกแบบ เครื่องแต่งกาย จะแทนค่ารูปร่างเรขาคณิตด้วยองค์ประกอบของเครื่องแต่งกายคือการใช้กระเป๋าซึ่งเป็น เอกลักษณ์และองค์ประกอบของเสื้อผ้าลำลองบุรุษมาจัดวางในตำแหน่งต่างๆ อีกทั้งยังใช้ความหนาและขนาด ของกระเป๋าที่แตกต่างกัน โดยไม่คำนึงถึงความสมดุลมากนัก อีกทั้งยังจัดวางกระป๋าในตำแหน่งที่ล้ำและยื่น ออกมาจากชายเสื้อและชายกางเกงซึ่งไม่เป็นไปตามหลักสัดส่วนของเครื่องแต่งกาย เพื่อสร้างความแปลกตา และดูสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ภาพที่ 6 ภาพด้านหน้าผลงานสร้างสรรค์ออกแบบเครื่องแต่งกายบุรุษ การใช้สีสันและลวดลายผ้าขาวม้านำมาตัดต่อสลับผ้าสีพื้นในงานออกแบบของศิลปะรูปแบบเมม ฟิสจะใช้สีดำตัดกับสีอ่อนและสีสันที่สดใสมากกว่า 2 สีขึ้นไปเมื่อววิเคราะห์ในแนวทางการออกแบบเครื่องแต่ง กายสามารถใช้ผ้าขาวม้าที่ลวดลายสีสันสดใสเข้ามาตัดต่อสลับกับผ้าสีอ่อนและสีดำ โดยตัดต่อลงไปในตำแหน่ง ต่างๆ อาทิ หน้าอก แผ่นหลัง ด้านหลังกางเกง อีกทั้งยังผสมกับรูปร่างของกระเป๋าที่เย็บปะทับซ้อนลงไป จึงทำ ให้เกิดรูปร่างจากพื้นที่ว่างที่สร้างจากการตัดต่อและเย็บทับซ้อนของสีผ้าขาวม้าและผ้าสีพื้นสร้างระนาบพื้นที่ เครื่องแต่งกายให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น


212 ภาพที่ 7 ภาพด้านหลังผลงานสร้างสรรค์ออกแบบเครื่องแต่งกายบุรุษ 5. สรุป จากผลงานสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์ ได้แนวทางออกแบบเครื่องแต่งกายลำลองบุรุษอายุ 20-28 ปีที่ ผลิตจากผ้าขาวม้าวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ผสมผสานกับผ้าในท้องตลาด โดย เครื่องแต่งกายมีรูปแบบลำลองตรงตามแนวโน้มแฟชั่นเครื่องแต่งกายบุรุษและความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ในปัจจุบัน มีลักษณะเด่นจำเพาะตามแนวคิดศิลปะรูปแบบเมมฟิส คือใช้รูปร่างเรขาคณิตหลากหลายแทนด้วย ขนาดและความหนาของกระเป๋านำมาจัดวางในเครื่องแต่งกายอีกทั้งวางรูปแบบโดยไม่คำนึงถึงความสมดุลและ หลักสัดส่วนของเครื่องแต่งกายใช้สีสันและลวดลายที่ขัดแย้งกันจากผ้าขาวม้าและผ้าสีพื้นวางตัดต่อกันทำให้ เกิดพื้นที่บนเครื่องแต่งกายที่น่าสนใจ ผลงานการออกแบบนี้ยังได้สร้างประโยชน์หลายส่วน คือช่วยสืบสานและ อนุรักษ์ผ้าทอพื้นถิ่นของชุมชนให้คงอยู่ต่อไปสร้างการรับรู้ถึงการมีอยู่และคุณค่าของผ้าทอชุมชนให้เผยแพร่ ไปสู่วงกว้างมากขึ้น อีกทั้งสร้างรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์และเกิดการจดจำให้กับผู้บริโภคกลุ่มใหม่ สามารถ นำมาสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งยังสามารถเข้ากับกระแสแนวโน้มแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ซึ่ง เป็นโอกาสในการสร้างงานและรายได้ให้กับคนในชุมชน รวมทั้งสร้างลักษณะเด่นจำเพาะให้กับผลิตภัณฑ์ของ ชุมชนให้เกิดความแตกต่างจากสินค้าคู่แข่งจากชุมชนอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นกลุ่มชุมชนผ้าทอยังสามารถ นำไปใช้เพื่อเป็นแนวคิดต้นแบบและพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคต เอกสารอ้างอิง นวลน้อยบุญวงษ์ . (2539). การออกแบบ . (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2527). การออกแบบ.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ:คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อารอบ เรืองสังข์. สัมภาษณ์, 6 พฤศจิกายน 2564. Radice, B. (1994). Memphis: research, experiences, results, failures and successes of new design (1st ed.). London :Thames and Hudson. Tang, L. (2016). Discussion on the Aesthetic Style of “Memphis” Design. Proceedings of the


213 2016 International Conference on Arts, Design and Contemporary EducationTim Nelson .(20 พฤษภาคม 2564). Turns Out Saint Laurent Is Also Obsessed With the Memphis Design Group. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564. Taylah Brewer.90s Fashion for Men (How to Get the 1990’s Style. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565 จาก https://www.thetrendspotter.net/90s-fashion-men/ Thomas Hauffe. (1998). Design A Concise History (1st ed). London, :Laurence King Publishing


214 ลีลาวิถีชีวิต Style of life ปัทมาสน์ พิณนุกูล, PatamasPinnukul คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต Faculty of Humanities and Social SciencesPhuket Rajabhat University E-mail : [email protected] บทคัดย่อ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมมาประยุกต์กระบวนการสร้างสรรค์รูปแบบทัศนศิลป์ 2 มิติที่แสดงถึง คุณค่าของสรรพสิ่งในธรรมชาติและวิถีชีวิตโดยอาศัยลักษณะทางสรีรวิทยาของพรรณไม้สรรพสิ่งในธรรมชาติ วิถีชีวิตและทุกสิ่งทุกอย่างที่ขับเคลื่อนโดยระบบนิเวศเป็นกลไกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นวัฏจักรธรรมชาติมาสู่แรง บันดาลใจและเป็นที่มาของแนวความคิดเกิดการจินตนาการและมโนภาพที่ซับซ้อนถึงเรื่องราว "การดำรงอยู่ ของวิถีธรรมชาติ" ผ่านรูปทรงธรรมชาติจากภาพความจริงเป็นการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปะดิจิทัลเพ้นท์ คำสำคัญ: ธรรมชาติ, วิถีชีวิต, ดิจิตอล Abstract A creation of a work of art applied to the 2D visual art creation process. The value of all things in nature and the way of life, through the application of its physiological look of species of flora, everything in nature and the way of life and everything else, that naturally driven by the ecosystem with mechanism created to be a natural cycle that would lead to inspiration and that could also be the source of concepts beyond imagination with communicative complexity in order to tell the story of "Existence in the Natural Way of Life" through the Natural shapes from real images is a creation of a work of art applied to the digital painting Keywords: Natural Way, Life, digital painting 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งน้ำซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงหลายชนิดที่เป็นอาหารของมนุษย์พืช และสัตว์บก-น้ำ นกนานาชนิด ส่วนใหญ่เป็นนกน้ำเป็นนกประจำถิ่นนกอพยพผ่านตามฤดูกาลเข้าไปใช้ ประโยชน์โดยตรง จึงมีความสำคัญ และนับได้ว่าเป็นระบบนิเวศที่มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตมนุษย์ พืช และสัตว์ ทั้ง ทางนิเวศวิทยา เศรษฐกิจ สังคม ระดับท้องถิ่น และระดับชาติ (ฐปณี รัตนถาวร, 2545, น. 1) เป็นพื้นที่แหล่ง


215 เรียนรู้แห่งการศึกษาระบบนิเวศทางธรรมชาติพื้นถิ่น และการอนุรักษ์เชิงท่องเที่ยวธรรมชาติทางเกษตรกรรม การได้เห็นถึงวิถี ลีลาของหลากหลายนานาชนิดของนกน้ำที่ผูกพันกับสายน้ำ เปรียบเสมือนห่วงโซ่อาหารที่อยู่ ในภาวะสมดุล และเกื้อกูลซึ่งกัน กลายเป็นเอกลักษณ์ทางชาติธรรมเฉพาะพื้นถิ่นที่โดดเด่น ด้วยความงามทางระบบวิถีลีลาพฤติกรรมของนกน้ำตามธรรมชาติรวมทั้งสรรพสิ่งแห่งชีวิต กลายเป็นแรงบันดาลใจสู่แนวคิดทางศิลปกรรม นำไปสู่การพัฒนารูปแบบผลงานทางทัศนศิลป์ ดังที่ ศุภชัย สิงห์ยะ บุศย์(2546) อธิบายไว้ว่า ศิลปกรรมมิใช่ธรรมชาติ แต่ธรรมชาติอาจเป็นสิ่งกระตุ้นหรือแรงบันดาลใจในการ สร้างศิลปกรรม หรือแสดงออกทางศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ การรับรู้ชื่นชมทางความงาม และสิ่งสำคัญต้องเข้าถึงธรรมชาติ รู้จักถ่ายทอดแรงบันดาลใจที่เกิดจากธรรมชาติให้เห็นเป็นรูปทรงที่มีเรื่องราว ถูกต้องตามความเป็นจริงเท่าที่ความงามตามธรรมชาติจะอำนวย อย่างไรก็ตาม การเลียนแบบธรรมชาติมี ความหมายเพียงว่าศิลปินต้องพยายามเสาะหาความจริง (Reality) จากความงามที่กระจายซ่อนเร้นอยู่ใน ธรรมชาติ และรู้จักเลือกแสดงออกเฉพาะส่วนที่ศิลปินเห็นว่าธรรมชาติมีความสำคัญแก่ตนให้เป็นรูปทรงเท่านั้น จากข้อมูลข้างต้นจึงเป็นแรงบันดาลใจทำให้ผู้สร้างสรรค์ นำมาประยุกต์เป็นรูปลักษณ์ และนำมา ถ่ายทอดสู่ผลงานภาษาภาพทางทัศนศิลป์ด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ในรูปแบบจิตรกรรม 2 มิติ นำไป ประยุกต์ต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทรรศนะในสุนทรีย์หรือความงามกำจร สุนพงษ์ศรี (2559,น. 99)กล่าวถึง ความงามที่มีลักษณะเป็น สุนทรียภาพ (Aesthetic Beauty)ซึ่ง เพลโต (Plato) ให้ทรรศนะทางความงาม (สุนทรียภาพ) ว่า ที่แท้จริงทุก สิ่งบนโลกนี้ไม่ใช่วัตถุความจริงนี้เรียกว่ามโนภาพ (Idea) หรือแบบ (Form) เป็นความจริง และสำคัญเท่าโลก ทางวัตถุ หากแต่อยู่ในโลกแห่งมโนคติ/มโนภาพ ซึ่งเป็นความงามนิรันดร์ หรือสุนทรียภาพอันสมบูรณ์อยู่ในตัว ศิลปินมีหน้าที่ในการแสดงออก การลอกเลียนแบบเพื่อถ่ายทอดสุนทรียะเชิงนามธรรมให้อยู่ในของรูปธรรม ในขณะที่ทรรศนะของ อริสโตเติล (Aristotle) เชื่อว่าสุนทรียภาพที่แท้จริงนั้นมีอยู่แต่ในมโนภาพ เพียงแต่ ศิลปินเป็นผู้สามารถค้นพบความงาม และทำให้บังเกิดขึ้นได้ด้วยการนำสัดส่วนต่าง ๆ ของ “สุนทรียธาตุ”มา ประกอบกันผสมผสานให้บังเกิดสุนทรียะได้ศุภชัยสิงห์ยะบุศย์ (2560, น. 35 - 45) อธิบายองค์ประกอบที่ เกี่ยวข้องกับความงามได้ 2 ส่วนคืออารมณ์ทางความงามกับวัตถุทางความงามหรืออารมณ์ทางสุนทรียะกับวัตถุ ทางสุนทรียะโดยกล่าวว่าความงามเป็นอาการทางอารมณ์ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อได้สัมผัสกับปรากฏการณ์ ศิลปะและ/หรือธรรมชาติที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึกถึงความเพลิดเพลินยินดีจากการสัมผัสกับปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทางการเห็นหรือได้ยินหรือผ่านสัญลักษณ์ทางภาษาและไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์เชิงวัตถุ หรือพฤติกรรมการแสดงออกและไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือประสบการณ์อันเกิดจาก การกระทําของมนุษย์/สิ่งมีชีวิต เราย่อมเกิดอารมณ์แตกต่างกันเช่นโกรธเกลียดรําคาญยินดีเพลิดเพลินพึง พอใจเป็นต้นจึงเรียกว่าอารมณ์สุนทรียะหรืออารมณ์ทางความงามและหากวัตถุหรือการแสดงออกใดๆอัน ก่อให้เกิดอารมณ์ทางสุนทรียะแก่เราได้สิ่งนั้นวัตถุนั้นหรือพฤติกรรมนั้นหรือปรากฏการณ์นั้นเรียกว่าเป็นวัตถุ


216 ทางสุนทรียะหรือวัตถุทางความงามซึ่งสุนทรียะเป็นสาระในมิติของความคิดที่เกี่ยวกับความรู้สึกของการรับรู้ที่ จะนำไปสู่ความรู้สึกความเข้าใจในเหตุผลครอบคลุมกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะเฉพาะของแต่ละความคิด ดังนั้นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเปรียบได้กับ “วัตถุ”ทางผลงานชิ้นหนึ่งในมิติของวัตถุศิลปะซึ่งจะ ประกอบด้วยรูปแบบศิลปะ(Art Style)เนื้อหาศิลปะ (Art Content) และเทคนิคหรือกลวิธีศิลปะ (Art Technique) เพื่อทำความเข้าใจในการวิเคราะห์ผลงานรูปแบบศิลปะเนื้อหาศิลปะและกลวิธีอันเป็นพื้นฐาน เพื่อสร้างความเข้าใจและการอธิบายกระบวนการสร้างสรรค์วัตถุศิลปะซึ่งมีแนวคิดและทฤษฎีด้านคุณค่า สุนทรียะเข้ามาเกี่ยวข้อง 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ การเก็บข้อมูลและการรวบรวมข้อมูลมีส่วนสำคัญต่อการสร้างสรรค์ผลงานกระบวนการทางความคิด ในรูปแบบศิลปะโดยผู้สร้างสรรค์ได้แบ่งวิธีการเก็บข้อมูลและรวบรวมเนื้อหาเพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานดังนี้ 3.1 การเก็บข้อมูลโดยการถ่ายภาพ เก็บข้อมูลจากสภาพความเป็นจริงที่สัมผัสจากการลงพื้นที่ชุ่มน้ำโดยบันทึกเป็นภาพถ่ายทุก กระบวนการตั้งแต่บริบททางธรรมชาติอันเป็นผลผลิตจากพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งทำการประมงที่อุดมสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงความสมดุลทางภูมิทัศน์และวิถีชีวิตของสรรพสิ่งที่มีชีวิตต่างๆนำมาสู่กระบวนการทาง ความคิดและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทางรูปธรรม 3.2 การเก็บข้อมูลโดยการบันทึกภาพร่างหรือลายเส้น นำข้อมูลจากการลงพื้นที่ชุ่มน้ำที่พบเห็นเชิงรูปธรรมมาแปรถอดรูปสัญญะทางรูปทรงด้านเนื้อหา เรื่องราวสู่แนวคิดที่สอดคล้องกับประเด็นการศึกษาด้วยการทำแบบภาพร่างรูปทรงจากภาพความจริงผ่าน อารมณ์ความรู้สึกลีลา นำมาสู่กระบวนการสร้างสรรค์ตามลีลา วิถีของนกน้ำในพื้นที่จินตนาการบนสายน้ำเป็น กลไกที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัฏจักรธรรมชาติความอุดมสมบูรณ์นำรูปแบบที่ได้จากภาพร่างลดทอนรูปร่างรูปทรง ตามภาพจินตนาการแสดงออกผ่านกระบวนการขั้นตอนและกลวิธีในรูปแบบของจิตรกรรม 2 มิติโดยยึดหลัก องค์ประกอบศิลป์และทัศนธาตุทางศิลปะ 3.3 การสร้างพื้นสีให้เกิดลวดลายที่ทับซ้อนให้ชัดเจนขึ้นนำไปสู่การสร้างเรื่องราวเนื้อหาและกดทับให้ รูปทรงเส้นสีเกิดมิติที่ซับซ้อนของลวดลายที่ผสมผสานตามสุนทรียธาตุในการสร้างสรรค์ผลงานได้แสดงถึง สารัตถะวิถีธรรมชาติที่สะท้อนสุนทรีย์บนพื้นที่ชุ่มน้ำผ่านมุมมองความเป็นภูมิทัศน์ทางธรรมชาติที่แปรสภาพ ห้วงความเป็นจริงและภาพเจตคติผนวกตามรูปร่างรูปทรงที่ลดทอนบิดเบือนผ่านการใช้คอมพิวเตอร์ใน โปรแกรมClip Studio Paint ในการสร้างรูปแบบจิตรกรรมเทคนิคสื่อดิจิทัล (Digital Paint) และเพิ่มความ เป็นร่วมสมัย


217 ภาพที่ 1 Style of life ที่มา : ปัทมาสน์ พิณนุกูล 4. การวิเคราะห์ผลงาน พื้นที่ชุ่มน้ำได้สะท้อนให้เห็นถึง “ลีลา ชีวิตของนกน้ำ” ที่มีกลไกธรรมชาติที่แอบแฝงด้วยปัจจัย เงื่อนไขซึ่งถูกกำหนดในห้วงของธรรมชาติที่เก็บซ่อนความงาม ความธรรมดาสามัญอยู่รอบ ๆ วิถี ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิทัศน์ทางธรรมชาติกับประชากรสิ่งมีชีวิตต่อสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์จึง กลายเป็นนิเวศวิทยาวัฒนธรรม (Cultural ecology) สิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจ และ แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน จนนำไปสู่กระบวนการสรรค์สร้างผลงานศิลปกรรม เทคนิค และวิธีการ ที่ทับซ้อน ด้วยหลักการทางทฤษฎีศิลป์ การแสดงรูปลักษณ์ทางศิลปธาตุ (Art Elements) และหลักการจัดภาพ องค์ประกอบศิลป์(Principles of Composition)ลักษณะ 2 มิติ การสร้างสรรค์ได้แสดงถึงทางความคิดที่สะท้อนทางสุนทรียศิลป์ “พื้นที่ชุ่มน้ำ”เป็นบ่อเกิดแห่งสรรพ สิ่งชีวิตในมิติปรากฏการณ์ที่มองเห็นถึงวิถี การดำรงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน ที่มีการ ปรับเปลี่ยนหมุนเวียนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งแสดงถึงสัจธรรมเชิงตรรกะอันเป็น “แก่น” ความจริงเชิง นามธรรมที่ปรากฏอยู่บนพื้นฐาน โดยอาศัยภาพแทนความหมายเชิงรูปลักษณ์ผ่านรูปทรงสรีระ ลีลาชีวิต ของนกน้ำ และการดำรงวิถีชีวิตร่วมกันอย่างเกื้อกูล นกน้ำแทนค่าความหมายนกที่มีการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแหล่งน้ำอย่างมีอิสรภาพ บัว/ใบบัว นานาชนิด แทนค่าความหมายความดีงามทางจริยศาสตร์ในเชิงพุทธศาสนา และเป็น ภาพแทนความหมายสายใยแห่งผืนน้ำที่เกาะกลุ่มเชื่อมสัมพันธ์กันอย่างงดงาม โครงสร้างรูปร่างรูปทรงทำหน้าที่เล่าเนื้อหาหรือเล่าเรื่องดังที่ชะลูดนิ่มเสมอ (2559, น. 269) ได้ กล่าวถึง รูปทรงอินทรียรูป (Organic form) ที่เกิดขึ้นในผลงานชิ้นนี้เป็นรูปร่างรูปทรงของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้น จากภาพความเป็นจริง (Realistic Form) ตามธรรมชาติแต่มีการเลียนแบบเสมือนจริงที่แทนความหมายผสม


218 รูปทรงที่ลดทอนให้เหลือแค่บางส่วนที่สำคัญเช่นรูปร่างรูปทรงดอกบัวใบบัวที่มีลักษณะลดทอนรูปทรงให้เหลือ เพียงลายเส้นแทนภาพความรู้สึกที่สะท้อนทางเส้นรูปโครงสร้างที่ทับซ้อนของรูปร่างรูปทรงเพื่อเชื่อมโยงให้ สัมพันธ์สอดคล้องเส้นชีวิตความเป็นจริงภาวะที่มีอยู่จริงภาวะที่เป็นอย่างนั้นแน่แท้เป็นบ่อเกิดการกำเนิด เปลี่ยนแปลงการดำรงชีพที่อยู่ภายใต้ระบบนิเวศวิทยารูปทรงมิติใหม่ที่ถ่ายทอดด้านสุนทรีย์/ความงาม (Beauty) นกน้ำนานาชนิดที่เป็นสัญลักษณ์อันสำคัญเป็นตัวแทนที่แสดงถึงการดำรงอยู่คู่กับพื้นที่แหล่งชุ่มน้ำ ในการใช้ชีวิตที่อิสระซึ่งมีท่าทางลีลาของการเคลื่อนไหวอันเป็นพลวัตของพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆผนึก รวมตัวที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่านตลอดเวลาและรวมถึงรูปทรงอิสระ (Free form)ที่ปล่อยไปตามการ เปลี่ยนแปลงการลดทอนลวดลายสายน้ำรูปแบบผันแปรตามความรู้สึกจินตนาการที่เคลื่อนไหวหมุนเวียนอัน สะท้อนถึงเส้นสีการขับเคลื่อนตามวิถีของสายน้ำ 5. สรุป การมองผ่านพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางภูมิทัศน์ธรรมชาติทางสังคมวิถีสิ่งมีชีวิตตาม ธรรมชาติที่แฝงด้วยคุณค่า และความเรียนรู้จากวิถีการดำเนินชีวิตอันดีงาม สะท้อนให้เห็นอารยธรรมของ ท้องถิ่นที่ทรงคุณค่า และมีลักษณะเด่นเป็นอัตลักษณ์ จึงถือเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สวยงาม ซึ่งในการ สร้างสรรค์ผลงานได้ถ่ายทอดวิถีธรรมชาติภาพจริงที่สะท้อนความงามบนพื้นที่ชุ่มน้ำให้ได้อรรถรสลีลา พฤติกรรมของนกน้ำที่สื่อ“ลีลาวิถีชีวิต”ผ่านรูปทรงทางศิลปะ ในมิติมุมมองภาพความจริงและภาพความรู้สึก ในรูปแบบจิตรกรรมเทคนิคสื่อดิจิทัล (Digital Paint) เพิ่มความร่วมสมัย มาปรับประยุกต์ใช้สู่ผลงานศิลปะ ภาษาภาพทางทัศนศิลป์ และเพื่อเป็นประโยชน์กับการศึกษาค้นคว้า และนำไปประยุกต์ต่อการพัฒนาองค์ ความรู้ในการสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ เอกสารอ้างอิง กำจร สุนพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. ฐปณี รัตนถาวร. (2545). แนวทางการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเล น้อย จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง. ศุภชัยสิงห์ยะบุศย์. (2560). สุนทรียศาสตร์.มหาสารคาม: สาขาทัศนศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.


219 มิติแห่งความสงบร่มเย็น Dimension of peaceful พงศกร ฉิ่งกังวานชัย, Pongskorn Chingkunvanchai 315/2 พหลโยธิน 44 แยก 11 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 315/2 Phahonyothin 44 Lane, Phahonyothin Road, Senanikom Sub-district, Chatuchak district, Bangkok, 10900 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ธรรมชาติเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ที่สร้างสรรค์ความงามก่อให้เกิดความสุนทรีย์ ที่ผ่านการรับรู้ของมนุษย์ ในรูปแบบอันเป็นรูปธรรม ได้แก่ ต้นไม้ ต้นหญ้า อากาศ น้ำ ผืนป่า ภูเขา ท้องฟ้า แม่น้ำ พื้นดิน เป็นต้น ในธรรมชาติล้วนมีความงดงามซ่อนอยู่ มีปฏิกิริยาและกระบวนการ ก่อให้เกิดความงามอันล้ำลึก บริสุทธิ์ การ เคลื่อนไหวของธรรมชาติ สายลม แสงแดด ผ่านกาลเวลาไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อข้าพเจ้าได้สัมผัส ก่อให้เกิด การสัมผัส ทางรูป กลิ่น คลื่น เสียง สี บรรยากาศ เป็นความประทับใจที่ถูกบันทึกโดยผ่านการรับรู้ และนำไปสู่ จังหวะลีลา การเคลื่อนไหว ไปสู่ความสงบร่มเย็น แล้วหวนกลับไปสู่ความเคลื่อนไหว แปรเปลี่ยนอีกครั้งเป็น วัฏจักร สั่งสมเป็นประสบการณ์ จึงกลายเป็นแรงบันดาลใจและผลักดันให้ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ และ บันทึก โดยกระบวนการสร้างสรรค์ทางจิตรกรรมทิวทัศน์เทคนิคสีน้ำ Abstract Nature is an immense force that brings about beauty and consequent aesthetics concretely perceived by human in a variety of forms: trees, grasses, air, water, forests, mountains, sky, rivers, and land, just to name a few. Nature itself retains hidden yet profound and refined beauty through ongoing reactions and processes. Wind and sunlight, as a part of such natural movement, infinitely progresses through time. Experienced physically, audibly, aurally, or even through smells, waves, colors, and inviting atmosphere, my impression is substantially enhanced. Eventually, it leads to a better understanding of interconnected rhythms and movements, juxtaposing with serenity, repeatedly in an eternal cycle of natural transformation. Accumulative experience then forcefully ignites inspiration and encouragement to research, experiment, analyze and portray ideas vividly, executed by a creative painting Watercolour process.


220 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา จากความประทับใจในธรรมชาติที่มีความงดงามอันบริสุทธ์ที่มีพลังงานอันล้ำลึก เป็นจุดริเริ่มของ ความคิด และเชื่อมโยงไปสู่ความรู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่กว้างใหญ่เหล่านี้ซึ่งข้าพเจ้ารักอิสระ รักความสงบ และภาพสะท้อนภายในจิตใจของข้าพเจ้า จึงก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการนำเสนอเรื่องราว ที่เรียบง่ายจากสถานที่จริง แต่สอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึก ความสะเทือนต่ออารมณ์และความรู้สึกจิตใต้ สำนึกเป็นปัจจัยหลักในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรมสีน้ำ ข้าพเจ้าปรารถนาสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงถึงความงามของธรรมชาติจากสถานที่จริง ผ่าน ประสบการณ์การรับรู้อย่างมีสุนทรียะ เพื่อถ่ายทอดการพรรณาถึงธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ทางทัศนียภาพ อันเกิดจาก เส้น สี รูปทรง พลังทางอารมณ์ ความรู้สึกที่เป็นอิสระ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าต้องการแสดงออกถึงภาพความประทับใจ ความงามและ สุนทรียภาพจากธรรมชาติ ที่มีความ แตกต่างแต่กลมกลืน การอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่มีการสรรค์สร้างความงาม ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกภายในและการรับรู้ภายนอกของข้าพเจ้า ธรรมชาติมีรูปทรง โครงสร้าง การ ประกอบกันของทุกสรรพสิ่งล้วนมาจากทัศนธาตุทางธรรมชาติผสานโยงใยน่าค้นหา ล้ำลึก มีความบริสุทธิ์เป็น อนันต์การผ่านกาลเวลาไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่น การเคลื่อนไหว ผสานกลมกลืนในรูปแบบรูปธรรม ที่เกิดจาก ทัศนธาตุทางศิลปะลดทอนให้เหลือเพียงความเรียบง่าย ความสงบ และอิสระ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ที่ก่อให้เกิดความงามทางสุนทรียภาพ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ภาพที่1 การจัดทำแบบร่าง โดยเป็นการขึ้นโครงสร้างแบบเรขาคณิต เพื่อกำหนดตำแหน่งองค์ประกอบศิลป์ในการเขียนภาพ ทิวทัศน์ด้วยการลงสีบรรยากาศโดยภาพรวม ตั้งแต่พื้นฉากหลังด้วยการระบายแบบเปียกบนเปียก และลงสีจากด้านหน้า


221 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการที่ได้ศึกษาแหล่งข้อมูลที่สำคัญ เช่น การอ่านหนังสือภาพประกอบสารคดี และประสบการณ์ จากการรับรู้ สัมผัสจากสถานที่จริง จึงก่อให้เกิด สี กลิ่น รูปทรง บรรยากาศ การเคลื่อนไหว และพื้นผิวสิ่งที่ ธรรมชาติสร้างขึ้นและมนุษย์สรรสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นพื้นที่สาธารณะ ประสบการณ์การเดินทางเป็นสิ่งที่ สำคัญของข้อมูลในการนำมาสร้างสรรค์ผลงาน เดินทาง เพื่อซึมซับความงามของสภาพความเป็นจริงของ ทิวทัศน์บรรยากาศช่วงเวลาหนึ่งที่เป็นความประทับใจการปรากฏและเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น องค์ประกอบหลายๆ ส่วนมารวมตัวกันกลายเป็นบรรยากาศในบริเวณว่างในโลกที่เป็น 3 มิติที่แสดงความยาว ความลึกความกว้าง ข้อมูลสร้างแรงบันดาลใจที่นำมาผ่านกระบวนการสร้างสรรค์เป็นรูปแบบ เพื่อแสดง ความคิดความเข้าใจ กระตุ้นความรู้สึกของคนรับ อันเกิดจากการความรู้สึกภายในของศิลปินต่อไปยังผู้รับ กระตุ้นจินตนาการของผู้รับร่วมกับข้าพเจ้าที่แสดงออกอย่างนุ่มนวล ซึ่งใช้หลักสุนทรียภาพในการมองหลัก ทัศนธาตุและหลักองค์ประกอบศิลป์เป็นหัวใจสำคัญ ด้านรูปแบบของงาน มีการลดทอนความจำเป็นของรูปทรงจากธรรมชาติ ทิวทัศน์ ภาพรวมมุมกว้าง เพื่อให้เกิดความสมดุลโดยใช้สีน้ำ สร้างให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก คุณสมบัติของสีน้ำเหมือนน้ำ สายฝนและ สายลมที่ตกลงมาจากชั้นบรรยากาศ การประสานกันของสีให้เกิดบรรยากาศและความบางเบาด้วยจังหวะ การใช้เทคนิคแบบฉับพลัน ด้านองค์ประกอบศิลป์ ในการสร้างมิติของภาพทิวทัศน์จากธรรมชาติ มีความสำคัญในประเภทงาน จิตรกรรม 2 มิติ มวลของสีและชั้นของสีจะเป็นการนำสายตาไปสู่จุดต่าง ๆ จุด เส้น พื้นผิว (Element) สร้าง ให้เกิดการเคลื่อนไหว มุ่งเน้นด้วยน้ำหนักและแสงเงา เน้นการสร้างระยะใกล้ไกล สภาวะอารมณ์ที่กลั่นกรอง ออกมา คือ แสงที่กำลังจะหมดลงในเวลาเย็นไปพร้อมไปฟ้าครึ้มที่จวนฝนจะตกลงมา มีการแทรกสีคู่ตรงข้าม ร่วมกับสีเหลืองในส่วนของสีสว่าง ทำให้เกิดความสดใส มีชีวิตชีวา ร่วมไปกับรู้สึกถึงความหวัง ในส่วนของ ภาพรวม ส่วนมากจะใช้สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว สีฟ้า ทับซ้อนกันเป็นบรรยากาศ ทำให้ภาพรวมมีความกลมกลืน และเกิดเอกภาพในวรรณะเย็น 5. สรุป ความงามที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ปรากฏเกิดขึ้นปราศจากฝมือมนุษยมีสุนทรียภาพทางอารมณที่ สงผลตอการสัมผัสกับรับรูโดยตรงตอขาพเจา ความเขาใจเหลานั้นเนนแรงบันดาลใจใหเกิดการสรางสรรค ผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา อิทธิพลที่ไดรับในงานศิลปกรรมในยุคตางๆ วิเคราะห์ความคิดการเชื่อมโยงของทุกสิ่งรอบตัว มาใชเปนพื้นฐานของความสนใจหลักในตัวตน เดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณเริ่มตนของการคิดตอในการสราง สรรคผลงานชิ้นนี้ ทั้งนี้ การสรางสรรคผลงานจิตรกรรมสีน้ำทิวทัศน์ชิ้นนี้ไดสรุปกระบวนการทํางาน และแนวคิดใหสอด คลองกับเนื้อหามีจุดเชื่อมโยงกันกลายเปนรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ มีเสน่ห์ที่แสดงบุคลิก อุปนิสัย และตัวตนที่มี ลักษณะเฉพาะตัวของข้าพเจ้าโดยใช้ขอมูล ความคิด ประสบการณ์ กระบวนการวิเคราะหปญหาและพัฒนา


222 ผลงาน เพื่อใหตรงตามจุดมุงหมายและเปนประโยชนแกผูศึกษาคนควาและตัวของขาพเจาในการสรางสรรค และพัฒนาตอไปในอนาคต เอกสารอ้างอิง กําจร สุนพงษศรี, สุนทรียศาสตร.กรุงเทพฯ: บริษัททวี พริ้นท์, 1991. ชลูด นิ่มเสมอ, องค์ประกอบของศิลปะ, พิมพ์ครั้งที่ 5 (กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช,2542),308-30. วีรวรรณ มณี. ภาพวิวทิวทัศน์ในจิตรกรรมตะวันตก. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2538. อิทธิพล ตั้งโฉลก, แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง,16.


223 ชุดการเรียนรู้“ถอดรหัสฮูปแต้มสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์” Decrypting Esan Mural Paintings to Product Design พชร วงชัยวรรณ์, Pachara Wongchaiwan อินทิรา พรมพันธุ์, Intira Phrompan สาขาวิชาศิลปศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร 10330 Faculty of Education, Chulalongkorn University, Pathum Wan, Krung ThepMaha Nakhon, 10330 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ชุดการเรียนรู้“ถอดรหัสฮูปแต้มสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์” มีวัตถุประสงค์1) เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่น2)เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ฮูปแต้มขอนแก่น สำหรับเยาวชนในยุควิถีใหม่โดยมีวิธีดำเนินการศึกษาแบ่งออกเป็น3ระยะดังนี้ระยะที่1 ศึกษาสภาพปัญหา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับฮูปแต้มและการลงพื้นที่ศึกษาระยะที่2ร่างต้นแบบและพัฒนาชุดการเรียนรู้ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและระยะที่3ศึกษาทดลองใช้ชุดการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมายและปรับปรุงแก้ไขขอบเขตของ การศึกษาฮูปแต้มในการสร้างสรรค์ผลงานคือฮูปแต้มกลุ่มพื้นบ้านในจังหวัดขอนแก่น 4 สถานที่ดังนี้1)วัด ไชยศรี2) วัดสนวนวารีพัฒนาราม 3) วัดมัชฌิมวิทยาราม และ 4) วัดสระบัวแก้วจากผลการศึกษาได้นำมาสู่ การออกแบบชุดการเรียนรู้ในลักษณะชุดกิจกรรมแบบ Box set หรือชุด Kits ที่ประกอบด้วย 1) สื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับฮูปแต้มไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์เกมออนไลน์คู่มือการเรียนรู้หนังสือให้ความรู้และแผนที่เส้นทางการ เรียนรู้ฮูปแต้มARและ2)ชุดกิจกรรมปฏิบัติแผ่นอะคริลิคลอกลายฮูปแต้มซึ่งการพัฒนาชุดนวัตกรรมการเรียนรู้ แบบผสมผสานนี้เป็นการหยิบยกทุนวัฒนธรรมอีสานมาประยุกต์ออกแบบชุดการเรียนรู้ทำให้เยาวชนได้เกิด การเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะท้องถิ่นในรูปแบบใหม่อย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแนวคิด Play&Learn และสามารถนำ อัตลักษณ์ของฮูปแต้มไปประยุกต์ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไป คำสำคัญ: ฮูปแต้มอีสาน, การออกแบบผลิตภัณฑ์, ชุดการเรียนรู้ Abstract The objectives of learning kit “Decrypting Esan Mural Paintings to Product Design” are 1) To encourage youth to have knowledge about identity of Esan Mural Paintings in KhonKaen province. 2) to develop learning kit of Esan Mural Paintings in KhonKaen province for youth in new era. The study method was divided into three phases: Phase 1 studied the problem of art activities about Esan Mural Paintings and study in community area. Phase 2 sketch and develop learning kit with expert. And phase 3 experimented with a learning package with target groups and improve learning kit. The scope of study is traditional isan


224 mural paintings in Khonkaen province 4 places as follows: Wat Chai Sri, Wat SanuanwareePatanaram, Wat MatchimWitthayaram and Wat Sa Bua Kaeo. The results of the study, it led to the design of a learning kit in the form of a Box set or Kits that consisted of 1) Media to educate about Esan Mural Paintings such as Game online, Learning guide, Book and Learning trails map AR. 2) Acrylic activities set The development blended learning package is the application of Isan cultural capital to design learning kits for youth. The youth can learn about folk art by Play&Learn theory and use identity of Esan Mural Paintings to design product or creative art by themselves. Keywords: Esan Mural Paintings, Product Design, Learning Kit 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ความหลากหลายของทุนทางวัฒนธรรมไทยสามารถนำมาต่อยอดสู่การออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรม และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์“ฮูปแต้ม” หรือจิตรกรรมฝาผนัง ในภาคอีสานเป็นหนึ่งในทุนทางวัฒนธรรมของชาวอีสานที่เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สามารถสะท้อน ถึงอัตลักษณ์ในด้านคติความเชื่อประเพณีวัฒนธรรมตลอดจนวิถีชีวิตของชาวอีสาน (ชิงชัยศิริธร, 2562) โดย จังหวัดขอนแก่นได้ปรากฏพบฮูปแต้มพื้นบ้านที่ยังคงอัตลักษณ์ความงดงามของลักษณะทางทัศนศิลป์ เนื้อหาด้านวรรณกรรมและวิถีชีวิตแต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันฮูปแต้มได้เผชิญกับสภาพปัญหาความเสื่อมโทรม ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ทั้งสภาพปัญหาจากทางธรรมชาติความทรุดโทรมตามอายุไขตลอดจนการปล่อยปละละเลย ของมนุษย์(ศุภชัยสิงห์ยะบุศย์, 2561) จึงควรหาแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ให้เยาวชนเกิดความตระหนักเห็น คุณค่าภาคภูมิใจในศิลปะท้องถิ่นและเห็นแนวทางในการนำทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างฮูปแต้มไปพัฒนาต่อยอด สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการในรูปแบบต่าง ๆ ปัจจุบันมีกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมเกิดการทอดทิ้งวัฒนธรรมดั้งเดิมเพื่อเข้าหา ทุนนิยมความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตลอดจนค่านิยมที่คิดว่าศิลปะพื้นบ้านเชยปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ ส่งผลทำให้ศิลปะพื้นบ้านมีคุณค่าลดลง (วัฒนะจูฑะวิภาต, 2552) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่าง เยาวชนและศิลปะพื้นบ้านนอกจากนี้ในด้านของสื่อหรืออุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะในท้องถิ่น ยังขาดความหลากหลายมีลักษณะรูปแบบหรือกิจกรรมที่ไม่สามารถกระตุ้นความสนใจได้เท่าที่ควรจาก การศึกษาแนวทางการจัดการแหล่งการเรียนรู้ทางด้านศิลปะและประวัติศาสตร์หรือพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ พบว่าใน ต่างประเทศได้ให้ความสำคัญกับแหล่งการเรียนรู้ทางศิลปะเป็นอย่างมากทั้งในด้านของสื่อหรือกิจกรรมการ เรียนรู้พิพิธภัณฑ์ทางด้านศิลปะหลายแห่งมีการออกแบบกิจกรรมและการนำชมให้มีรูปแบบผสมผสาน (Hybrid learning) และยืดหยุ่นต่อการเรียนรู้ในสภาวะการณ์ COVID-19 ซึ่งเป็นยุคของการใช้ชีวิตวิถีใหม่ ยกตัวอย่าง


225 เช่นBritish Museumได้ออกแบบกิจกรรมMuseumexplorer trailsการสำรวจเส้นทางสายประวัติศาสตร์ ผ่านการทำภารกิจต่าง ๆ ที่มีการกำหนดช่วงอายุที่เหมาะสมสามารถเรียนรู้ได้ในรูปแบบออนไลน์หรือ ดาวน์โหลดเอกสารเพื่อใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียนรู้ในพื้นที่นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม Workshop ออนไลน์ให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้สามารถปฏิบัติกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้ที่บ้านเป็นต้นจากตัวอย่างที่กล่าวมานี้จะ เห็นแนวทางในการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ทางศิลปะในยุควิถีใหม่ สามารถนำมาปรับให้เหมาะสม กับบริบทของศิลปะในแต่ละท้องถิ่นซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างเยาวชนและศิลปะพื้นบ้านได้ ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มุ่งส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านโดยผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมอีสานไปสู่ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการที่ตอบสนองธุรกิจและคุณภาพชีวิต เพื่อให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับภูมิภาคอื่นต่อไป (สำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจสร้างสรรค์, 2563) จากที่กล่าวมาข้างต้นชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการนำทุนทางวัฒนธรรมอย่างฮูป แต้มอีสานไปพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ จึงนำมาสู่การพัฒนาผลงานชุด การเรียนรู้“ถอดรหัสฮูปแต้มสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์”เพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะพื้นบ้าน และเกิดการเรียนรู้ผ่านสื่ออย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแนวคิด Play&Learn ตอบโจทย์การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid learning) ส่งเสริมให้เยาวชนเห็นแนวทางในการนำอัตลักษณ์ฮูปแต้มไปประยุกต์ออกแบบได้อีก ทั้งเพื่อต้องการผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐเอกชนสถาบันการศึกษาหรือชุมชนได้นำชุดการเรียนรู้ไปจัด กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งการเรียนรู้ชุมชนหรือพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง หลักการออกแบบชุดการเรียนรู้เริ่มจากการศึกษารูปแบบความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตลอดจน ทฤษฎีที่ใช้ในการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเยาวชนถัดมาคัดเลือกเนื้อหาสาระเกี่ยวกับฮูปแต้มโดย สามารถศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้หรือจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากนั้นนำไปสู่การ คิดค้นกิจกรรมปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไปเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบทั้ง 4 แล้วการพัฒนาชุดการเรียนรู้ ออกแบบภายใต้กรอบของชุมชนต่อยอดเข้าถึงเพื่อเป็นช่องทางในการนำชุดการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนการจัดเวิร์คชอปของหน่วยงานรัฐตลอดจนต่อยอดในเชิงพาณิชย์สามารถ สรุปหลักการออกแบบดังแผนภาพต่อไปนี้ ภาพที่1 แผนภาพแสดงหลักการออกแบบชุดการเรียนรู้


226 ทฤษฎีที่ใช้ในการออกแบบ 1) การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเยาวชน โดยเยาวชนคือช่วงวัยระหว่าง 15-24 ปีเป็นวัยที่มีความ อยากรู้อยากลองในสิ่งต่าง ๆ มีความสนใจที่หลากหลายและมีรูปแบบความสนใจที่แตกต่างกัน 1.1 แนวทางการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเยาวชน 1.1.1 เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจัดการเรียนรู้ตามความสนใจของผู้เรียน 1.1.2 เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง 1.1.3 เป็นกิจกรรมที่มีการคำนึงถึงปริมาณเนื้อหาที่เหมาะสม 1.1.4 คู่มือการใช้ชุดการเรียนรู้ควรมีเนื้อหาที่สั้นเข้าใจง่ายมีความกระชับชัดเจน 1.1.5 สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายน่าสนใจเพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจของวัยรุ่น จากการศึกษาจุดมุ่งหมายและแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเยาวชนควรมีการ ออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของช่วงวัยที่มีความอยากรู้อยากลอง ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และสนุกสนานผ่านการเล่นเช่นการทำภารกิจต่าง ๆ มีการออกแบบเรขศิลป์ภาพสีหรือใช้เนื้อหาที่มีความ เหมาะสมมีการเรียบเรียงข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนง่ายต่อการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรม 2) ทฤษฎีPLAY&LEARN การจัดการเรียนรู้แบบ Play + Learn = Plearn เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และครูเป็นผู้สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนซึ่งเหมาะสมและ สอดคล้องกับแนวทางของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดย PLEARN เป็นศัพท์บัญญัติที่ศาสตราจารย์ดร.ชัยอนันต์ สมุทวาณิช อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยบัญญัติขึ้นจากคำว่า Play + Learn ซึ่งเมื่อออกเสียงเป็น “เพลิน” แล้วให้ความหมายที่ดีกล่าวคือการเล่นเรียนทำให้เด็กเพลินเพราะถ้าเรียน (learn) อย่างเดียวก็เกิดความเบื่อ เล่น (play) อย่างเดียวก็จะเป็นการไร้สาระจนเกินไปดังนั้นทิศทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการลงมือปฏิบัติจึงควรเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเล่นซึ่งครูควรเข้าใจและต้องมี ความคิดอย่างสร้างสรรค์(Creativity) จึงจะสร้างกระบวนการเพลินได้ 3) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวีเออาร์เค (VARK Learning Style) ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนจะมี การเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปบางคนถนัดเรียนรู้จากภาพเสียงหรือการลงมือปฏิบัติดังนั้นการจัดการเรียนรู้ควร จะพิจารณาให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนด้วยการเรียนรู้รูปแบบวีเออาร์เค (VARK Learning Style) โดย Neil Fleming (Fleming, 2008) ได้นําเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ที่ชื่อว่า VARK ซึ่ง เป็นการประเมินเพื่อจัดประเภทของผู้เรียนตามรูปแบบทางการเรียนรู้ที่ต่างกันโดยได้แบ่งรูปแบบการเรียนรู้ ออกเป็น 4 ประเภทคือ 1) ผู้เรียนที่สนใจสิ่งที่มองเห็น (Visual: V) เป็นผู้เรียนที่สนใจสิ่งที่มองเห็นผู้เรียน ประเภทนี้จึงสามารถกระตุ้นได้ด้วยสื่อการสอนที่เน้นรูปภาพและสีสันที่เหมาะสม 2) ผู้เรียนที่ชอบการพูดคุย (Aural : A)เป็นผู้เรียนที่ชอบการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมคือการบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม 3) ผู้เรียนที่นิยมการอ่าน (Read/Write : R) เป็นผู้เรียนที่นิยมการอ่านการศึกษาเอกสาร หนังสือหรือเนื้อหาต่าง ๆ ด้วยตนเองละนําไปสรุปเป็นข้อเขียนออกมา 4) ผู้เรียนที่ชอบการลงมือกระทํา (Kinesthetic : K) เป็นผู้เรียนกลุ่มนี้จะชอบการลงมือกระทําจริงมากกว่าการฟัง


227 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ ผลผลิตของผลงานสร้างสรรค์ครั้งนี้คือชุดการเรียนรู้ในลักษณะชุดกิจกรรมแบบ Box set ที่ภายใน ประกอบด้วย 1) ชุดสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับฮูปแต้มคือคู่มือการเรียนรู้เว็บไซต์เกมออนไลน์หนังสือให้ความรู้และ แผนที่เส้นทางการเรียนรู้ฮูปแต้ม AR และ 2)ชุดกิจกรรมปฏิบัติแผ่นอะคริลิคลอกลายฮูปแต้มโดยมี กระบวนการในการสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น3 ระยะดังนี้ ระยะที่.1.ระยะศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับฮูปแต้มโดยการศึกษาสภาพ ปัญหารวบรวมงานวิจัยและเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและการลงพื้นที่ ภาคสนามมีประเด็นหลักในการศึกษาดังนี้ 1) ทฤษฎีและแนวคิดที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชน 2) เนื้อหาสาระเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของทุนวัฒนธรรมฮูปแต้มขอนแก่น 3) การเก็บข้อมูลความต้องการจากกลุ่มเป้าหมายในชุดกิจกรรม 4) กิจกรรมศิลปะรูปแบบผสมผสาน ระยะที่2 ระยะพัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อให้มีรูปแบบการเรียนรู้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายโดยการ กำหนดจุดประสงค์ขั้นตอนการทำกิจกรรมสื่อเทคโนโลยีที่ใช้และกิจกรรมปฏิบัติจากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการ ออกแบบร่างและสร้างต้นแบบชุดการเรียนรู้นอกจากนี้มีการตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ก่อนที่จะนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ต่อไป ระยะที่3 ระยะศึกษาทดลองใช้กิจกรรมต้นแบบนำชุดกิจกรรมที่ออกแบบไปประเมินความเป็นไปได้ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาจากนั้นนำไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายและศึกษาความพึงพอใจเพื่อนำข้อมูลไป ปรับปรุงแก้ไขให้นวัตกรรมมีความสมบูรณ์ต่อไป โดยสามารถนำเสนอตัวอย่างรายละเอียดของชุดการเรียนรู้ดังนี้ ชุดสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับฮูปแต้มมีลักษณะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการออกแบบภาพกราฟิก ปริมาณเนื้อหา และรูปแบบการดีไซน์ต่าง ๆ ที่ทันสมัยน่าสนใจสอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ภาพที่2 ภาพรวมชุดการเรียนรู้


228 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่สามารถใช้เรียนรู้ได้ในรูปแบบออนไลน์โดยภายในเว็บไซต์จะประกอบด้วยสื่อดิจิทัล ต่าง ๆ เช่นหนังสือE-book แผนที่เส้นทางการเรียนรู้ฮูปแต้มฐานข้อมูลทางด้านเนื้อหาและรูปภาพของฮูปแต้ม ในชุมชนต่าง ๆ ภาพที่3 เว็บไซต์ฮูปแต้ม ชุดกิจกรรมปฏิบัติแผ่นอะคริลิคลอกลายฮูปแต้มตัวแผ่นอะคริลิคได้ฉลุเป็นลวดลายตัวละครจากฮูป แต้มโดยเยาวชนสามารถนำไปลอกลายสู่การออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้แผ่นอะคริลิคยังสามารถปรับฟังก์ชั่นเป็นชิ้นต่อของเล่นหรือโมเดลสะสมลวดลายได้ ภาพที่4 ชุดกิจกรรมปฏิบัติแผ่นอะคริลิคลอกลายฮูปแต้ม


229 4. การวิเคราะห์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ออกแบบให้มีลักษณะเป็นชุดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่สามารถใช้เรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรมได้ในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดCOVID-19มีนโยบาย การเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้เกิดอุปสรรคในการท่องเที่ยวหรือการเข้าไปศึกษาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนจึง เกิดแนวโน้มการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมศิลปะเองที่บ้านดังนั้น ชุดนวัตกรรมการเรียนรู้ฮูปแต้มที่ออกแบบมา จึงสามารถนำไปใช้ได้ตามอัธยาศัยเรียกได้ว่าเป็นผลงานชุดนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์การใช้งานภายใต้ สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้จากการศึกษาการนำจิตรกรรมฮูปแต้มมาต่อยอดในการออกแบบผลงานพบว่าโดย ส่วนมากมีการนำฮูปแต้มมาต่อยอดในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงกราฟิกหรือของใช้เป็นส่วนใหญ่แต่ยังไม่ ปรากฏพบว่ามีการนำฮูปแต้มมาสร้างสรรค์เป็นชุดการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติกิจกรรมสำหรับเยาวชน ดังนั้นผลงานนี้จึงมีความโดดเด่นทันสมัยและสามารถเป็นต้นแบบกิจกรรมให้กับแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ได้ 5. สรุป ผลงานชุดการเรียนรู้ช่วยลดช่องว่างระหว่างเยาวชนและศิลปะในท้องถิ่น โดยเยาวชนสามารถเข้าถึง สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมีปฏิสัมพันธ์เกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของชุมชน สามารถนำอัตลักษณ์จากทุนวัฒนธรรมในท้องถิ่นเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์นอกจากนี้ยัง ส่งผลกระทบเชิงบวกในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านเศรษฐกิจเป็นการนำทุนวัฒนธรรมฮูปแต้มอีสานมาออกแบบนวัตกรรมชุดการเรียนรู้ที่สามารถ นำไปใช้ได้หลายบริบทถือเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับทุนวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางส่งเสริม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดขอนแก่นโดยภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมเวิร์คชอปให้กับ นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจเพื่อดึงให้นักท่องเที่ยวเกิดแรงบันดาลใจต้องการมาชมหรือท่องเที่ยวในสถานที่จริง ต่อไป ด้านชุมชนชุมชนสามารถใช้ชุดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนเป็นคู่มือประกอบการ ท่องเที่ยวให้กับแหล่งการเรียนรู้จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการ ท่องเที่ยวในชุมชนนอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเส้นทางการเรียนรู้ฮูปแต้มพื้นบ้านทั้ง 5 ชุมชนในจังหวัดขอนแก่น ด้านสังคมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในยุควิถีใหม่โดยเยาวชนหรือผู้ที่มี ความสนใจเกิดความตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะพื้นบ้านอีกทั้งได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ประเพณีและ วัฒนธรรมอีสานผ่านการศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติงาน เอกสารอ้างอิง ชิงชัยศิริธร. (2562). การออกแบบผลิตภัณฑ์กราฟิกจากอัตลักษณ์ตัวละครและฉากในฮูปแต้มอีสานเพื่อใช้ใน ผลิตภัณฑ์และสื่อดิจิทัลเชิงวัฒนธรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 286-312.


230 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. (30 ธันวาคม 2556). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์สู่การจัดการ เรียนรู้Play&learn. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2564 จาก https://antawe.wordpress. com/2013/12/30/ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์-สู/ วัฒนะจูฑะวิภาต. (2552). ศิลปะพื้นบ้าน.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุภชัยสิงห์ยะบุศย์. (2561). วิกฤติมรดกวัฒนธรรมกรณีจิตรกรรมฝาผนังดั้งเดิมพุทธอุโบสถอีสาน Cultural heritage crisis : A case study of traditional murals in Isan Buddhist ordination halls. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่,10(2), 58-84. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2563). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กระตุ้นพลังท้องถิ่นอีสาน. เข้าถึงได้จาก https://www.cea.or.th/th/news/cea-tcdc-khonkaen Fleming, N. D. & Mills, C. (2008). VARK a guide to learning styles. Retrieved from varklearn. com: http://www.varklearn.com/Retrieved OKMD. (2563).VARK การเรียนรู้แบบไหนสไตล์คุณ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ15เมษายน 2564 จาก https:// www.okmd.or.th/bbl/articles/217/VARK-how-learning-you-style


231 ลวดลายอัตลักษณ์: ท่าฉลอม ThaChalom: identity pattern พรพิมล ศักดา, Pornpimon Sakda ชฎาพร ศรีรินทร์, Chadaporn Sririn คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ Faculty of Architecture and Design, Rajamangala University of Technology Rattanakosin E-mail : [email protected] / [email protected] บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครเพื่อนำไปใช้ในการ ต่อยอดและออกแบบให้สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของท่าฉลอม ให้เกิดความชัดเจน มีความเป็นเอกภาพ ทั้งนี้เพราะพื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเกิดการ ผสมผสานกลมกลืนกลายเป็นหนึ่งเดียว โดยการศึกษาหารูปแบบอัตลักษณ์ของท่าฉลอม เริ่มต้นจากการค้นคว้า เก็บข้อมูลทางเอกสาร การสัมภาษณ์ การถ่ายภาพแล้วนำผลมาวิเคราะห์อัตลักษณ์เพื่อเป็นแนวทางในการ ออกแบบ คำสำคัญ: ลวดลาย, อัตลักษณ์, ท่าฉลอม Abstract The purpose of this study was to find the identity of ThaChalom. Samut Sakhon Province to be used in the development and design to reflect the identity of art and culture This will enhance the image of ThaChalom to be clear. Unity This is because the cultural diversity of this area has been blended into one. by studying the identity of ThaChalom It starts with documentary research, interviews, photography, and then uses the results to analyze the identity as a guideline for design. Keywords: Pattern, Identity, ThaChalom 1. ความสำคัญหรือความเป็นมาของปัญหา ท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งเข้ามตั้งถิ่น ฐาน เป็นผลให้ประชาชนในพื้นที่ยึดถือและปฏิบัติตามความเชื่อทางวัฒนธรรมและประเพณีของตนเรื่อยมา หล่อหลอมเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว แต่ในปัจจุบันนี้ในพื้นที่แห่งนี้มีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจมาก เป็น ปัจจัยให้มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากเข้ามาทำงาน แรงงานเหล่านี้มีการรวมกลุ่มและสร้างครอบครัวเกิด ลูกหลานมากมายจนกลายเป็นประชากรแฝงที่มีจจำนวนมากขึ้นๆ ซึ่งการรวมตัวดังกล่าว แรงงานต่างด้าว


232 พยายามที่จะแสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้อัตลักษณ์ของพื้นที่เกิดการ เบี่ยงเบนได้ ผู้ศึกษาเห็นว่าหากมีการศึกษาค้นคว้า สืบค้น ด้านอัตลักษณ์ของท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครอย่าง จริงจังและให้สาธารณชนได้รับรู้เข้าใจผ่านงานออกแบบในการสื่อความหมายต่าง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้ เกิดความซึมซับไปในความรู้สึกของคนภายในพื้นที่ชุมชนแห่งนี้ เกิดเป็นอัตลักษณ์ร่วมกันที่ชัดเจนและยัง สามารถพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ของชุมชนได้ 2. แนวคิด /ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของการออกแบบอัตลักษณ์มีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อเป็นที่จดจำ และสื่อสารต่อกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งตามทฤษฎีการออกแบบอัตลักษณ์พบว่า สัญลักษณ์ต้องมีความหมายที่ดี สะท้อนถึงเอกลักษณ์ บุคลิกภาพที่ โดดเด่น แตกต่าง เพื่อสื่อสารสอดคล้องกับทฤษฎี Cathatine Slade-Brooking (2016: 24) และสุมิตรา ศรี วิบูลย์ (2547 : 52) อ้างถึงใน ณัฐวดี ศรีคชา (2561) ตามทฤษฎีการออกแบบอัตลักษณ์ องค์ประกอบสำคัญมี 5 ประการ ได้แก้ ชื่อ ตราสัญลักษณ์ รูปแบบตัวอักษร สี และข้อความประกอบ สามารถสื่อสารภาพลักษณ์ไป ในทิศทางเดียวกันเชื่อมโยงกันรวมทั้งเป็นที่จดจำของผู้พบเห็น 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ - ค้นคว้าข้อมูล ในส่วนของการค้นคว้าข้อมูลก็เริ่มโดยข้อมูลในหนังสือที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์ - การถ่ายภาพเก็บข้อมูลโดยถ่ายภาพสถาปัตยกรรมในพื้นที่ ลวดลายประดับ ตึก อาคาร สิ่งประดับ ตกแต่งบนถนน และข้าวของเครื่องใช้ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน - การถอดแบบคือการทำภาพต้นฉบับให้กลายเป็นเวคเตอร์หรือไฟล์ภาพสำเร็จรูปโดยนำภาพถ่ายเข้า เครื่องคอมพิวเตอร์วาดดราฟปรับรายละเอียดของจุด เส้น น้ำหนัก นำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดองค์ประกอบ เตรียมนำผลงานลวดลายการออกแบบไปใช้ในการทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ - การทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ - ผลิตผลงานจริง ภาพที่1 ภาพสรุปกระบวนการดำเนินงานการออกแบบอัตลักษณ์ท่าฉลอม ที่มา : พรพิมล ศักดา (PornpimonSakda) / The 4 st IADCE2022, 8July 2022)


233 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากกระบวนการทำงานในข้อมที่ 3 ก็เข้าสู่กระบวนการการนำเสนอการวิเคราะห์ลวดลายเพื่อนำมา จัดองค์ประกอบให้เกิดลวดลายจากอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมที่อยู่ในพื้นที่ท่าฉลอมซึ่งเป็นศูนย์ของคนไทย เชื้อสายจีน \ ภาพที่2 ตัวอย่างภาพการออกแบบอัตลักษณ์ท่าฉลอม ที่มา : พรพิมล ศักดา(PornpimonSakda) / The 4 st IADCE2022, 8July 2022) 5.สรุป จากกระบวนการในการสร้างสรรค์ได้เอาลวดลายอัตลักษณ์ดังกล่าวข้างต้นไปใช้ในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ของใช้และของที่ระลึกที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของท่าฉลอม


234 ภาพที่3 ตัวอย่างภาพการใช้งานผลงานการออกแบบอัตลักษณ์ท่าฉลอม ที่มา : พรพิมล ศักดา(PornpimonSakda) / The 4 st IADCE2022, 8July 2022) เอกสารอ้างอิง ณัฐวดี ศรีคชา. (2561). การออกแบบอัตลักษณ์องค์กรการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มาโนช กงกะนันทน์. (2546). ศิลปะการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช สุมิตราศรีวิบูลย์. (2546). การออกแบบอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์Core Function, 2546, ม.ป.ท., 2554 Slade-Brooking, Catherine.(2016). Creating A Brand Identity: A Guide For Designer. London: Laurence King Publishing.


235 ละครทดลองในห้องทดลอง:กระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีเรื่อง Laboratory Experimental drama: the making of the play "Laboratory" พลฤทธิ์ สมุทรกลิน, Ponlarit Samutkalin อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์110/1-4 ถนนประชาชื่น หลักสี่กรุงเทพ 10210 110/1-4 Prachachun Rd. Laksi, Bangkok Thailand 10210 E-mail : [email protected] บทคัดย่อ ละครทดลองในห้องทดลอง:กระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีเรื่อง Laboratory เป็นงานสร้างสรรค์ จัดทำขึ้นในชั้นเรียนวิชาโครงงานการสื่อสารการแสดง 3 ของภาควิชาการสื่อสารการแสดงดิจิทัล คณะนิเทศ ศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถประยุกต์ทฤษฎีทางการ ละคร ผลิตละครเวทีเพื่อสะท้อนสังคม โดยผ่านกระบวนการของละครในแนวปฏิบัติ “ร่วมสมัย” ทางการ ละคร ในการสร้างโครงเรื่อง และนำมาทดลองสร้างสรรค์กับทฤษฎีละครแนวเอพิคเธียเตอร์ ซึ่งบทความจะ เขียนถึงกระบวนการในการสร้างสรรค์ที่นักศึกษามีส่วนร่วม สร้างบท ฝึกซ้อม นำเสนอสู่สาธารณชน และ วิเคราะห์ผลที่ได้จากงานสร้างสรรค์ คำสำคัญ: ละครเอพิคเธียเตอร์, กระบวนการสร้างสรรค์, บทละคร Abstract Experimental drama: the making of the play "Laboratory" is a creative work prepared in the classroom of Capstone3 for Performing Arts in Communications, of the Department of Performing Arts in Digital Communication, Faculty of Communication Arts, Dhurakij Pundit University. Its purpose is to allow the students to adapt drama theories to produce theatrical drama in order to reflect society, through theatrical process of a "contemporary" play in creating plot structure and making an experiment with epic theater theory. The article describes the making process to which the students have participated, have created the script, have practiced and have presented the play to public and analyzes the results of the creative work. Keywords: Epictheatre ,Creative process, Playwriting


236 1. บทนำ ภาควิชาการสื่อสารการแสดงดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้มีการเรียนการ สอนวิชา เกี่ยวกับศาสตร์ด้านศิลปะการแสดง เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ และความเข้าใจในศาสตร์และศิลป์ ทางด้านการแสดงละครเวทีในแนวทางต่างๆ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านทักษะการแสดงเพื่อนำไปใช้ได้จริง โดยได้จัดให้มีการจัดแสดงละครเวทีในรายวิชาต่างๆของภาควิชาฯ เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์ดังกล่าว จุดเริ่มต้นของงานวิจัยเกิดขึ้นจากการเริ่มกำหนดโจทย์ในการสร้างสรรค์งานครั้งนี้ เป็นประชุมกับ นักศึกษาในรายวิชาโครงงานการสื่อสารการแสดง3 จำนวนเจ็ดคน โดยจากการสรุปความคิด ทั้งเจ็ดคนมีความ ต้องการที่อยากจะทดลองทำละครเพื่อสะท้อนสังคม ภายใต้กรอบความคิดที่อยากจะทำละครเวทีเป็นละครที่ ผสมผสานแนวละครอื่นๆในแนวใหม่ๆ ที่ต่างจากแนวสมจริง หรือ เรียลลิซึ่มมาทดลองผสมรูปแบบต่างๆเข้า ด้วยกันเพราะโดยปกติแล้วนักศึกษามีความคุ้นชินกับแนวละครแบบสมจริง รวมไปถึงการแสดงแบบสมจริงที่ ต้องรู้สึกจากข้างในนำไปสู่การสื่ออารมณ์ออกมา จากความคิดแรกเริ่มนั้นนำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผู้วิจัย สนใจที่จะนำแนวคิดและแนวปฏิบัติ ของทฤษฎีการละครร่วมสมัยมาใช้ไม่ว่าจะเป็นวิธีการแนวคิดในการวาง โครงเรื่องของบทละคร (ความคิดหลัก ความขัดแย้ง ตัวละครหลัก การกระทำทางการละคร) และเพิ่มเติมด้วย การนำมาทดลองใช้ผนวกกับแนวทางการละครแบบเอพิคเธียเตอร์ ที่ละครแนวนี้แตกต่างจากวิธีการจัดเสนอ ของเรียลลิซึ่มไม่ว่าจะเป็นการใช้บทเจรจา และลีลาการแสดงตลอดจนฉากแสงสีที่มีความต่างจากความ "เหมือนจริง" ทุกประการ จึงเป็นความท้าทายที่จะทดลองนำละครแนวเอพิคเธียเตอร์มาทดลองสร้างสรรค์ ร่วมกัน จากการประชุมร่วมกันที่อยากจะสร้างสรรค์ละครเวทีที่จะสะท้อนสังคมนั้น ผู้วิจัยมีจุดกระทบใจกับ เรื่องราวในสังคมประเด็นที่การกระทำต่างๆของมนุษย์นั้นทำเหมือนไม่มีหัวใจ การปฏิบัติตัวต่อคนอื่น รวมถึง การแบ่งพรรค แบ่งพวก มีการมองคนอื่นให้ต่างจากที่ตัวเองคิด นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งต่างๆในสังคม ประเด็นนี้เป็นจุดเริ่มต้นของในการกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์เป็นการกำหนดความคิดหลักของ บทละครที่มีความขัดแย้ง ความต้องการ และการกระทำของตัวละคร ที่นำไปสู่ความต้องการหากลวิธีสร้างบท ละครเวทีเรื่อง Laboratory เพื่อนำเสนอแก่นความคิดเรื่อง “ การมองให้เห็นความสำคัญของหัวใจที่บริสุทธิ์ และมองให้เห็นถึงสิ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์” ให้สื่อสารสะท้อนไปยังผู้ชมว่าคุณค่าของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เรียนรู้ที่จะมีหัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา อันจะนำไปสู่การมองคุณค่าต่อกันและกัน มองให้เห็น ความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม ไม่ได้มองอีกฝ่ายเป็นศัตรู หรือสัตว์ที่ต่างจากมนุษย์ อันจะนำไปสู่สังคม และ โลกที่สวยงามกว่าที่เป็นอยู่ 2. แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี หลักการและแนวทางการสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยเชิงสร้างสรรค์ใช้ในกระบวนการมีดังนี้คือ 1. หลักคิดและแนวปฏิบัติ “ร่วมสมัย” ทางการละคร ได้แก่ แนวคิดในการวางโครงเรื่องของบทละคร (ความคิดหลัก ความขัดแย้ง ตัวละครหลัก การกระทำทางการละคร)


237 2. หลักคิดและแนวปฏิบัติทางการละคร ทฤษฎีทางงานละครแนวเอพิคเธียเตอร์ (Epic Theatre) โดย นักการละครชื่อ แบร์โทลท์ เบรชท์ เป็นผู้วางรากฐาน มีแนวคิดสำคัญเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์งานครั้งนี้ โดยมีการประยุกต์แนวคิดให้เข้ากับงานและสิ่งที่ต้องการนำเสนอมากขึ้น สดใส พันธุมโกมล (2550) กล่าวไว้ใน ปริทัศน์ศิลปการละครว่า: ทฤษฎีทางการละครส่วนใหญ่ของ เบรชท์ เป็นทฤษฎีที่คัดค้านการละคร “แนวเรียลิสม์” และ “แนทเชอริลลิสม์” ซึ่งเบรชท์ถือว่าเป็นแบบ “ดรามาติก” และอยู่ในวงแคบไม่สามารถก้าวตามกาลเวลาที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป และทำหน้าที่ของละครที่ แท้จริง ซึ่งต้องมีผลในการสื่อความรู้สึกนึกคิดต่อผู้ชมให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะแก้ไขความเสื่อมทรามของสังคม ให้ดีขึ้น เบรชท์ไม่เห็นด้วยกับการที่คนดูมาดูละครเพื่อความตื่นเต้นบันเทิงใจที่จะได้รับจากละครแต่อย่างเดียว เบรคชท์ต้องการให้ละครเป็นเครื่องมือกระตุ้นปฏิกิริยาสังคม วิสัยในการชมละครควรจะเปลี่ยนไป ควรชมโดยใช้สมองคิดไตร่ตรอง อารมณ์และเหตุผลเป็นสิ่งที่ไม่สามารถไปด้วยกันได้ จึงทดลองนำเสนอ ละคร ที่มีการตัดอารมณ์ร่วมผู้ชมทิ้งไป โดยเตือนให้ผู้ชมตระหนักอยู่เสมอว่า ละครคือละคร จุดประสงค์ของละครคือ ต้องการให้คิด ไม่ใช่ให้หลงเชื่อ 3. กระบวนการในการสร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์นี้ผู้วิจัยได้ทำหน้าที่ผู้ควบคุมการผลิต และ Artistic Director ร่วมพัฒนาบทละคร ออกแบบงานสร้าง โดยมีกระบวนการทำงานดังต่อไปนี้ การกำหนดความคิดหลักของเรื่อง จากการกำหนดโจทย์ในการสร้างสรรค์งานครั้งนี้จุดเริ่มต้นจากการประชุมในรายวิชา โครงงานการ สื่อสารการแสดงดิจิทัล3 ที่นักศึกษาต้องนำเสนอละครเวทีสู่สาธารณชน คือ นักศึกษามีความต้องการอยากทำ ละครที่ต่างไปจากความคุ้นชินเดิมที่นักศึกษาจะคุ้นกับละครแนวสมจริง และการแสดงแบบสมจริง จึงได้ ประชุมกันต่อว่า ละครแนวใดบ้างที่ไม่สมจริงและเหมาะสมกับความเป็นไปได้ในการนำเสนอ และได้ข้อสรุปว่า ละครที่จะทำต้องเป็นละครที่สามารถสะท้อนสังคม มีความสนุก ผู้ชมสามารถจะเทียบเคียงหรือเชื่อมโยงกับ เรื่องราวที่จะสะท้อนสังคมได้ และแนวละครที่นักศึกษาอยากจะทำคือ ละครแนวเอพิคเธียเตอร์ จากบทสรุปนั้นที่ประชุมจึงได้คิดกันว่า ปัญหาต่างๆในสังคม เกิดขึ้นได้อย่างไร มีการนำเสนอความคิด กันในหลายๆประเด็น และมีประโยคที่ทุกคนคิดว่า เป็นประโยคหลักที่คิดว่าจะเป็นจุดเริ่มของการสร้างสรรค์ได้ คือ ประโยคที่ว่า “ คนเราทำร้ายผู้อื่น เหมือนไม่มีหัวใจ” ประโยคนี้นำไปสู่กระบวนการที่จะสร้างสรรค์บทที่ว่า ด้วยเรื่องของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าทดลองนำหัวใจที่สามารถยืดอายุมนุษย์ไปใส่ในสัตว์ทดลอง แต่ต่อมาสัตว์ทดลองที่มีรูปลักษณ์ภายนอกเหมือนมนุษย์ทุกอย่างกลับก่อปัญหาต่างๆขึ้นมากมายจากความเห็น แก่ตัว ที่เทียบเคียงได้กับการสะท้อนสังคมในแง่ของ การปฏิบัติตัวต่อคนอื่น รวมถึงการแบ่งพรรค แบ่งพวก มี การมองคนอื่นให้ต่างจากที่ตัวเองคิด นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งต่างๆในสังคม จากนั้นผู้วิจัยจึงได้เริ่ม กระบวนการในการสร้างสรรค์ ในการกำหนดการกระทำหลัก


238 การกำหนด การกระทำหลัก (Main Action) ในการสร้างสรรค์บท ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางของการสร้างความขัดแย้งของเรื่องมาดังต่อไปนี้ คุณค่าที่แท้จริงของหัวใจที่มีความเป็นมนุษย์ คุณค่า หน้าตา เพศสภาพ ภาพลักษณ์ ที่ข้างนอก เหมือนกัน แต่ข้างในแตกต่างกัน ความรู้สึกนึกคิดเหมือนมนุษย์ สัญชาติญาณที่ชั่วร้าย หัวใจในสัตว์ทดลอง ตัวตนภายใน อัตลักษณ์ส่วนตัวเอง ภาพ รูปลักษณ์ อัตลักษณ์ส่วนรวม การเปรียบเทียบเรื่องราวในห้องทดลอง การเปรียบเทียบเรื่องราวกับสังคม เรื่องย่อบทละคร Laboratory ในวันที่โลกนี้กำลังเคลื่อนตัวอย่างผิดปกติ สิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่กำลังมีอายุสั้นลงและทยอยตายอย่างน่า ประหลาดใจ ไม่เว้นแม้แต่มนุษย์ผลกระทบของปัญหาเหล่านี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งมีความคิดที่ อยากจะผลิตและคิดค้นสิ่งที่สามารถทำให้พวกเขามีอายุอยู่บนโลกนี้ได้นานกว่าปกตินั่นก็คือหัวใจดวงใหม่ที่ ยืดเวลาชีวิตพวกเขาออกไปได้มากกว่า 10 เท่าของชีวิตมนุษย์หลังจากที่ผลิตหัวใจได้สำเร็จ พวกเขาได้นำมา ทดลองใส่ให้กับสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กชนิดหนึ่ง แต่ด้วยสารเคมีในวัตถุที่ผลิตขึ้นมานั้นเข้มข้นมากเกินไปจึงทำให้ สัตว์ทดลองตัวนี้นอกจากจะมีความรู้สึกนึกคิดเหมือนมนุษย์แล้วยังมีสัญชาติญาณที่ชั่วร้ายมากกว่าสัตว์ปกติ เป็นอย่างมาก มันใช้ความเฉลียวฉลาดของมันหนีรอดออกจากห้องทดลองไปได้ ความวุ่นวายของเรื่องนี้จึง เกิดขึ้น หลักคิดและแนวปฏิบัติของละคร ในงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดประเภทของละครให้เป็นเอพิค เธียเตอร์ด้วยเหตุผลที่ว่า เอพิค เธียเตอร์ เป็นละครที่ไม่เน้นอารมณ์ แต่มุ่งให้เกิดความหมายทางด้านความคิดและสติปัญญาในขณะ รับชม และจากทฤษฎีทางการละครของเบรชท์ ละครไม่ควรใช้เรื่องราวปัจจุบันในแบบเหมือนชีวิต แต่ควรจะ สร้าง “ความห่างไกลจากเหตุการณ์” ให้แก่คนดูเพื่อจะได้ตัดสินเรื่องราวได้โดยการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ และโดยไม่ใช้อารมณ์เคลิบเคลิ้มไปตามเหตุการณ์นั้น บทละครเรื่องนี้ ได้กำหนดเรื่องให้เป็นยุคอนาคต โดยใช้การเล่าเรื่องราวต่างๆบนแท่นสีขาวต่างขนาด กัน และใช้โครงเหล็ก ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามจุดต่าง ๆ ของเวที และยังได้พัฒนาไปพร้อม ๆ กับการ ค้นหาการเคลื่อนไหวของนักแสดงในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นทั้งสัญลักษณ์และนามธรรม โดยมีการจัด องค์ประกอบการเคลื่อนไหว การยืน การเดิน การนั่ง เพื่อให้มีความหมายที่เกิดขึ้นตามที่ต้องการสื่อในแต่ละฉาก ในส่วนของการแสดง จากเดิมที่ได้พูดถึงการประชุมแรกเริ่มที่นักศึกษาอยากทำละครที่แตกต่างจาก ความคุ้นชินเดิม และวิธีการแสดงแบบเดิมที่มีกระบวนการเข้าถึงตัวละครอย่างชัดเจน เป็นการแสดงแบบ สมจริง ที่มีการสร้างอารมณ์ ความรู้สึก การสร้างท่าทางและการเคลื่อนไหว การเปล่งเสียงและการใช้ถ้อยคำ ให้เหมาะสมกับการวางบุคลิกลักษณะของตัวละคร ในงานสร้างสรรค์นี้จึงได้มุ่งเน้นไปที่ การแสดงในสไตล์ที่ไม่ เน้นไปในรูปแบบสมจริง แต่ให้แสดงออกมาอย่างที่ไม่ต้องรู้สึกมาจากข้างใน จึงได้มีกระบวนการฝึกซ้อม และ


239 ค้นหาแนวทางการแสดงที่เข้ากับละครแนวเอพิคเธียเตอร์ และเหมาะกับเนื้อเรื่อง จึงได้กำหนดว่าในเรื่อง ต้อง มีการใช้ การเคลื่อนไหวร่างกาย (Movement) และการแสดงท่าทาง (Mime) เป็นการสื่อสารด้วยท่าทางการ กระทำที่ไม่มีคำพูด แต่มีการสื่อสารให้ผู้ชมได้รับรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ เป็นภาษาสากลที่แสดงออกมาแล้วคน ส่วนใหญ่เข้าใจ เช่นในฉากของ การทดลอง การเดินทาง การกระทำต่างๆในห้องแลป หรือการแสดงที่เป็นตัว สัตว์ต่าง ๆ เช่น นก ภาพที่ 1 ภาพแท่นสีขาว และโครงเหล็กที่ใช้ในฉากห้องทดลอง การสร้างสรรค์ตัวละคร การออกแบบตัวละคร ผู้วิจัยเริ่มสร้างตัวละครจากโครงเรื่องที่ว่ามีการนำหัวใจมาใส่ในสัตว์ทดลอง จึง ได้เริ่มการแบ่งกลุ่มตัวละครเป็น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ และ สัตว์ทดลอง โดยที่ทั้งสองฝ่ายเป็นเหมือนคู่ตรงข้าม ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งแต่ได้มีความคิดว่า ในตัวละครที่เป็นสัตว์ทดลองควรจะให้มีลักษณะภายนอกและทุก อย่างที่เหมือนคน ผู้ชมไม่สามารถรู้แต่แรกว่าคือ สัตว์ทดลอง แล้วค่อยมาค้นพบคำตอบในท้ายเรื่องนอกจาก การกำหนดให้ตัวละครสองฝ่ายดูไม่แตกต่างกันแล้ว ยังรวมถึงการออกแบบเสื้อผ้านักแสดงให้เป็นชุดดำทั้งหมด ไม่ว่าจะแสดงเป็นตัวละครใด นอกเหนือจากการสื่อความหมายที่ว่าให้คนดูแยกไม่ออกแล้ว ยังมุ่งเน้นไปที่หัวใจ ของการแสดงว่าอยู่ที่ร่างกาย ไม่ได้อยู่ที่องค์ประกอบภายนอกต่างๆมาประกอบที่ไม่ได้มีความจำเป็นอีกด้วย การออกแบบการแสดง ฉาก และสิ่งประกอบการแสดง การออกแบบการแสดงครั้งนี้เป็นการใช้เทคนิคการนำเสนอจงใจให้เห็นกลไก ต่างๆของละครอย่าง ไม่ อำพราง มีการใช้ หุ่นเชิด มาประกอบ นักแสดงใช้ลีลา การเคลื่อนไหว เต้นรำ ประกอบ การนำเทคนิค ดังกล่าวมาประกอบเพื่อที่จะทำลาย “กำแพงที่สี่” โดยให้นักแสดงออกมาจากการเป็นตัวละคร การให้ นักแสดงพูดกับผู้ชมได้โดยตรง การให้นักแสดงหนึ่งคนสามารถเปลี่ยนบทบาทเป็นตัวละครหลายตัว และมีการ ใช้การแสดงที่แตกต่างจาก การแสดงในรูปแบบละครแนวสมจริง หรือ เหมือนชีวิต และยังใช้เทคนิคในการสื่อ ความหมายด้วยภาพ โดยใช้การใช้พื้นที่ของเวที การเน้นจุดต่างๆ การจัดวางร่างกายของนักแสดง รวมไปถึง การใช้เคลื่อนไหวประกอบลีลา ในกระบวนการซ้อมมีการค้นหาการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นทั้ง สัญลักษณ์และนามธรรม โดยการจัดองค์ประกอบการเคลื่อนไหว การยืน การนั่ง ที่มีความหมายบนแท่นสีขาว


240 และโครงเหล็ก ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามจุดต่าง ๆ ของเวทีโดยการเคลื่อนไหวของนักแสดงนับเป็นสิ่ง สำคัญอย่างยิ่ง เพราะสามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้ชมได้อย่างดี และยังทำหน้าที่เพื่อบอกเล่าเรื่องราวใน ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ แทนความหมายของสถานที่ต่าง ๆ แทนความหมายสัญลักษณ์ในเรื่อง ซึ่งสะท้อน กับความคิดหลักที่จะสะท้อนสังคมของเรื่อง ในเรื่องของการถูกจำกัดพื้นที่ต่างๆในห้องทดลอง และการถูกจับ ขัง เป็นการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพ โดยที่มีการกำหนดรูปแบบของละครที่ไม่มุ่งเน้นในการที่จะสร้างฉาก และ อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่ใหญ่โตอลังการ การเลือกรูปแบบนี้มานำเสนอเพราะผู้วิจัยคิดว่าเรื่องราวที่จะนำเสนอ มีหัวใจหลักของเรื่องอยู่ที่แก่น ความคิด ถ้ามีการนำเสนอภาพองค์ประกอบภายนอกที่ใหญ่โต หรือ หรูหรา ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นจะทำให้ พลังของสารที่อยากจะสื่อสารอาจไม่ถูกขับเน้นออกมา การใช้หุ่น ประกอบการแสดง โดยมีการออกแบบหุ่นที่ตัดจากกระดาษในลักษณะที่ไม่ได้สมจริงตาม แบบจริง เพื่อแทนความหมายเป็นรูปสัตว์ต่างๆที่สะท้อนภาพมุมมองในความคิดของตัวละครเอกในเรื่อง คือ ซินีต้าที่เล่าเรื่องราวของแอนดรูว์ในอดีต แต่มาจากความคิดตัวเองที่ตกอยู่ใต้ความกดดันทางจิตใจ ภาพที่2 ภาพการใช้หุ่นเชิดมาประกอบฉาก สะท้อนการมองเห็นภาพในความคิดของตัวละคร 4. การวิจารณ์และสรุปผล จากการได้ทดลองทำละครเรื่องนี้ ในส่วนของผู้ร่วมงาน นักศึกษาที่ได้รับบทบาทในการแสดงคิดว่า การแสดงครั้งนี้ได้พัฒนาทักษะการแสดงมากขึ้น โดยได้รับประสบการณ์ในการแสดงสดต่อหน้าผู้ชมได้พัฒนา ทักษะการแสดงในรูปแบบใหม่การแสดงในครั้งนี้มีความตรงกันข้ามจากเดิมมาก พอมาแสดงในอีกรูปแบบที่ไม่ ต้องตีความก่อนพูดออกมา หรือ ไม่ต้องแสดงออกใดๆทั้งสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ ทุกคนก็มักจะติดการ แสดงในรูปแบบเดิมๆที่จะพยายามตีความและพูดอย่างมีความหมาย ซึ่งทำให้ต้องมีกระบวนการการฝึกซ้อมที่ เข้มข้นในการหาวิธีการแสดงที่เหมาะกับการแสดงแนวนี้ และค้นพบว่า รูปแบบหรือ เทคนิคในการแสดงนั้น ไม่ได้มีตายตัวในแบบเดียว แต่ขึ้นอยู่กับแนวทางที่เหมาะสมในการเลือกใช้ให้เข้ากับทิศทางหรือแนวของละคร นักศึกษายังคิดว่าละครเรื่องนี้มีประโยชน์ต่อสังคมเพราะสะท้อนให้ผู้ชมได้หยุดคิด ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำให้ ผู้ชมจะเปลี่ยนวิธีคิดได้ แต่เชื่อว่าหลังจากผู้ชมได้ชมผู้ชมสามารถนำสาระที่ได้จากละครไปต่อยอดทางความคิดได้


241 จากการใช้แนวคิดและแนวทางปฏิบัติในเชิงทฤษฎีการละครร่วมสมัยและทฤษฎีละครแนวเอพิคเธีย เตอร์มาสร้างสรรค์ละครเรื่องนี้ และนำไปจัดแสดง พบว่า นักแสดง ผู้ร่วมงานรวมถึง ผู้ชม ที่ภายหลังจากจัด แสดงได้จัดงานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนซักถาม พบว่าสามารถเข้าถึงและสนุกตาม เข้าใจแก่นความคิดของเรื่อง ถึงการเสียดสีและสะท้อนสังคมร่วมสมัยได้เข้าใจคำถามสำคัญของละครเรื่องคุณค่าที่แท้จริงของหัวใจที่ บริสุทธิ์ได้ทำให้ผู้สร้างสรรค์พอใจกับผลงานครั้งนี้ ในแง่ของความสนุกของละครที่มีสาระแฝงอยู่ แม้ละครเรื่องนี้จะมีอิสระในด้านลีลาการแสดง บทเจรจา และเทคนิคของการจัดเสนอที่ทำให้ดู ห่างไกลจากแนว เหมือนชีวิต เป็นอันมาก แต่ผู้ชมก็ยังคงติดตามเรื่องราวและเข้าใจได้มีตัวละครที่เชื่อได้ว่า เป็นมนุษย์จริงๆ และมีภาพสะท้อนที่เกี่ยวกับโลกและมนุษย์ที่เสนอต่อผู้ชมนั้น ก็ยังเป็น ความจริงของชีวิตและ สังคมที่ผู้ชมยังสามารถตระหนักและเชื่อมโยงได้ แต่ในอีกทางหนึ่ง ผู้ชมอาจสนุกไปกับเนื้อหาและรูปแบบใน การนำเสนอ แต่ไม่ได้รับรู้ในเชิงของการนำทฤษฎีทางการละครเอพิค มาใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ ซึ่ง ผู้วิจัยคิดว่าทฤษฎีนี้มีประโยชน์มาก เพราะเป็นการเลือกสรรสิ่งต่างๆมาใช้ในการสร้างสรรค์อย่างมีความหมาย โดยมุ่งเน้นให้ผู้ชมได้คิดตาม และในขั้นตอนการสร้างสรรค์รู้สึกสนุกกับการเลือกสรรมาใช้เพื่อมุ่งเน้นสื่อสาร ความคิดตามที่ได้กำหนด ผู้วิจัยได้ค้นพบข้อความรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์ในการนำทฤษฎีทางการละครมาประยุกต์ใช้กับ งานละคร โดยเฉพาะทฤษฎีละครเอพิคเธียเตอร์ ที่ผู้วิจัยคิดว่าเหมาะกับการสร้างสรรค์งานละครในยุคนี้ เพราะ ศิลปะในการเล่าเรื่องให้ผู้ชมในปัจจุบันต้องการความหลากหลายและแปลกใหม่ สามารถทำให้เกิดการประยุกต์ และผสมผสานต่างๆ ที่สามารถนำมาสร้างสรรค์งานละครได้เป็นอย่างดี สามารถทำให้เกิดมุมมองใหม่ และ สื่อสารความคิดที่ต้องการ ผู้ชมสามารถตระหนักถึงสาระที่สะท้อนสังคมได้ในอีกทางหนึ่งทั้งผู้วิจัยและนักศึกษา ยังได้กระบวนการเรียนรู้ละครเวทีที่สามารถนำไปบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน และประยุกต์ใช้กับการ ทำงานในเชิงวิชาชีพได้และ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแนวคิดในเชิงทฤษฎีทางการ ละครกับผู้ชมล่วงหน้า หรือเป็นคู่มือในการชมละครแก่ผู้ชม โดยอาจอยู่ในนิทรรศการหรือสูจิบัตร เพื่อเป็น แนวทางสำหรับผู้สนใจได้ เพราะแนวคิดและทฤษฎีที่นำมาใช้ผู้วิจัยคิดว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการ สร้างสรรค์งานละครเวทีร่วมสมัย เอกสารอ้างอิง นพมาส ศิริกายะ. (แปลและเรียบเรียง). (มปป). ประพันธ์ศิลป์ของอริสโตเติล (The Poetics of Aristotle). กรุงเทพฯ : ภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพมาส แววหงส์. (2550). ปริทัศน์ศิลปะการละคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรรณศักดิ์ สุขี. (2540). การกำกับการแสดง1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. .(2541). อ.การเขียนบทละคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ศิลปะการละครเบื้องต้น 1-2. กรุงเทพฯ:คุรุสภา


Click to View FlipBook Version