The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มแผนปฏิบัติราชการ 2566 ฉบับจริง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chanatip_min, 2023-07-03 23:36:27

เล่มแผนปฏิบัติราชการ 2566 ฉบับจริง

เล่มแผนปฏิบัติราชการ 2566 ฉบับจริง

แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพ ปีงบประมาณ 2566 จังหวัดสุพรรณบุรี


ก | P a g e สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี มีภารกิจนำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขลงสู่การ ปฏิบัติระดับพื้นที่จังหวัด ผ่านกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติการด้านสุขภาพ 4 Excellence ดำเนินการ ประสานงาน การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน สาธารณสุขให้บรรลุเป้าหมาย ตอบสนองนโยบายและการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจ ของกระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรีประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายนำสู่การปฏิบัติของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง สาธารณสุขระดับพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อบรรลุเป้าหมาย ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข การจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการผ่านการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ทบทวน แผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรีระยะ 20 ปี(2560-2579) ผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา ปัญหา สาธารณสุขระดับพื้นที่ (Area Base) โดยร่วมกันทบทวนและวิเคราะห์ศักยภาพ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ ความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) นโยบายรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นโยบายกระทรวงสาธารณสุข แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข แผนยุทธศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรีปี 2566 ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2566 ให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล นำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย โดยแผนปฏิบัติราชการฉบับนี้ ประกอบด้วย 4 Excellences ประกอบด้วย 1) ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion Prevention and Protection : PP&P Excellence) 2) ด้านบริการเป็นเลิศ(Service Excellence) 3) ด้านบุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) และ 4) ด้านบริหารเป็นเลิศ (Governance Excellence) และมี6 นโยบายมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานระดับพื้นที่ ประกอบด้วย 1) พัฒนาและอภิบาลระบบ สุขภาพปฐมภูมิแบบไร้รอยต่อหลังการถ่ายโอนภารกิจสอน. และรพ.สต.ไปยังอบจ.2) ยกระดับและปรับโฉมระบบ บริการสุขภาพก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีลดแออัด ลดรอคอย และอัตราการตายด้วยโรคสำคัญ รวมถึงการ ให้บริการระบบ telemedicine เพื่อเป็นโรงพยาบาลของประชาชนคนสุพรรณ 3) การบูรณาการระบบการ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรอย่างยั่งยืน 4) เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารที่เข้าถึงและทันสมัยเพื่อยกระดับ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน 5) พัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สมุนไพร ภูมิปัญญาท้องถิ่น กัญชาทางการแพทย์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพื้นที่อำเภออู่ทอง และ 6) พัฒนา และยกระดับหน่วยงานในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ให้มีสมรรถนะสูงด้วยแนวทาง 4 T (Trust, Teamwork &Talent ,Technology และ Targets) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ขอขอบคุณผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขจังหวัดทุกระดับ ที่มีส่วนร่วมในการทบทวน ปรับปรุง และจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2566 ฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ในการนำ นโยบายสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ต่อไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ตุลาคม 2565 ค ำน ำ


ขออนุมัติแผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ตามที่ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนการ ดำเนินงานตามนโยบาย และตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข โดยให้หน่วยงานแต่ละระดับมีการจัดทำ แผนพัฒนาสุขภาพตั้งแต่แผนพัฒนาสุขภาพของเครือข่ายบริการ แผนพัฒนาสุขภาพจังหวัด และแผนพัฒนา สุขภาพอำเภอ ตามลำดับ โดยใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุข (งบ Non UC) งบ สปสช. และงบอื่น ๆ ที่ได้รับการจัดสรรหรือสนับสนุน นั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีเรียบร้อยแล้ว จึงขอเสนอ แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี มาเพื่อโปรดลงนามอนุมัติ ที่แนบมาพร้อมนี้ ผู้อนุมัติ (นายรัฐพล เวทสรณสุธี) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี


ข | P a g e หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร 1 ส่วนที่ 2 นโยบายที่เกี่ยวข้อง 4 - ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2561-2580) 4 - นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 6 - นโยบายมุ่งเน้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีปี 2566 9 ส่วนที่ 3 แผนปฏิบัติราชการ 10 - สรุปแผนงาน/โครงการที่ตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข 10 - ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ 16 (PP & P Excellence) - ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านบริการเป็นเลิศ 100 (Service Excellence) - ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านบุคลากรเป็นเลิศ 171 (People Excellence) - ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล 178 (Governance Excellence) ภาคผนวก - เอกสารที่เกี่ยวข้อง 212 - ทำเนียบผู้ประสานแผนจังหวัดสุพรรณบุรี 214 สารบัญ


Page | 1 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2566 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีภารกิจใน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่จังหวัด ดำเนินการและให้บริการด้านการแพทย์และการ สาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัด กำกับ ติดตาม ประเมินผลและสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน สาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัดเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย มีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และ มีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่ จังหวัดให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง ตลอดจนการพัฒนาระบบสารสนเทศ และการสื่อสารสาธารณะ ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่จังหวัด โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับพื้นที่ (Area Base) และการพัฒนา ระบบบริการสุขภาพให้ทันสมัย ทั้งนี้ การจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรีประจำปีงบประมาณ 2566 ได้ เชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีปี 2566 สอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ 2566 ฯลฯ ผ่านกระบวนการประชุมเครือข่ายร่วมกันทบทวนและวิเคราะห์ ศักยภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อให้แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพฉบับนี้ นำสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย โดยยึดกรอบแนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ตามยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ 4 ด้าน ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560- 2579) 4 Excellences ประกอบด้วย 1.ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ ( Promotion Prevention and Protection : PP&P Excellence) 2.ด้านบริการเป็นเลิศ(Service Excellence) 3.ด้านบุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) และ4.ด้านบริหารเป็นเลิศ (Governance Excellence) เพิ่มนโยบาย มุ่งเน้น 6 ด้าน ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานระดับพื้นที่ ประกอบด้วย 1. พัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพ ปฐมภูมิแบบไร้รอยต่อหลังการถ่ายโอนภารกิจสอน. และรพ.สต.ไปยังอบจ. 2. ยกระดับและปรับโฉมระบบ บริการสุขภาพก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี ลดแออัด ลดรอคอย และอัตราการตายด้วยโรคสำคัญ รวมถึงการ ให้บริการระบบ telemedicine เพื่อเป็นโรงพยาบาลของประชาชนคนสุพรรณ 3. การบูรณาการระบบการ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรอย่างยั่งยืน 4. เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารที่เข้าถึงและทันสมัยเพื่อ ยกระดับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน 5. พัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สมุนไพร ภูมิปัญญาท้องถิ่น กัญชาทางการแพทย์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพื้นที่อำเภออู่ทอง 6. พัฒนาและยกระดับหน่วยงานในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ให้มีสมรรถนะสูงด้วยแนวทาง 4 T (Trust , Teamwork &Talent ,Technology และ Targets) เพื่อขับเคลื่อนสู่การบรรลุเป้าหมาย ให้ประชาชน ได้รับการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการมีสุขภาพดีสู่เป้าหมายประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข


Page | 2 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 สาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ วิสัยทัศน์: เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดทิศทาง กำกับดูแล ขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข สู่การปฏิบัติ เพื่อประชาชนมีสุขภาพดีโดย“ระบบสุขภาพที่ทันสมัย ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองได้ดีอย่างยั่งยืน” พันธกิจ : พัฒนายุทธศาสตร์และแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ ตลอดจนจัดสรรทรัพยากร และบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้ 1. การบริหารจัดการระบบสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ 2. บูรณาการการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายในการจัดระบบสุขภาพให้มีคุณภาพ เข้มแข็งและยั่งยืน 3. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมด้านสุขภาพที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงาน และการเข้าถึงของประชาชน 4. สร้างเสริมสมรรถนะและความสุขให้บุคลากรอย่างยั่งยืน เป้าหมาย (Goal) 1. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy : LE) ไม่น้อยกว่า 85 ปี 2. ระบบบริหารและบริการสุขภาพเป็นเลิศ 3. บุคลากรในระบบสุขภาพมีความสุข เป้าประสงค์รวม (Ultimate Goal) 1. ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณภาพ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ 2. มีระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ลดแออัด ลดเวลารอคอย ลดการป่วยและลดการตาย 3. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีระบบบริหารจัดการและระบบบริการสุขภาพที่เป็นเลิศ 4. บุคลากรในระบบสาธารณสุขมีความสุขในการทำงาน ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ 1. การอภิบาลระบบสุขภาพระดับพื้นที่อย่างไร้รอยต่อหลังถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพ.สต.ไป อบจ. 2. พัฒนาระบบบริหารและบริการสุขภาพที่ก้าวหน้าทันสมัย 3. พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรและยั่งยืน 4. พัฒนาบุคลากรในระบบสุขภาพให้มีสมรรถนะสูง และมีความสุขในการทำงาน ดำเนินการ 4 Excellences ได้แก่ 1. ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ ( Promotion Prevention and Protection: PP&P Excellence) 2. ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) 3. ด้านบุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) 4. ด้านบริหารเป็นเลิศ (Governance Excellence)


Page | 3 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 เพิ่ม 6 นโยบายมุ่งเน้น ได้แก่ 1. พัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพปฐมภูมิแบบไร้รอยต่อหลังการถ่ายโอนภารกิจสอน. และรพ.สต.ไปยังอบจ. 2. ยกระดับและปรับโฉมระบบบริการสุขภาพก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี ลดแออัด ลดรอคอย และอัตรา การตายด้วยโรคสำคัญ รวมถึงการให้บริการระบบ telemedicine เพื่อเป็นโรงพยาบาลของประชาชนคนสุพรรณ 3. การบูรณาการระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรอย่างยั่งยืน 4. เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารที่เข้าถึงและทันสมัยเพื่อยกระดับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของ ประชาชน 5. พัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สมุนไพร ภูมิปัญญาท้องถิ่น กัญชาทาง การแพทย์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพื้นที่อำเภออู่ทอง 6. พัฒนาและยกระดับหน่วยงานในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ให้มีสมรรถนะสูงด้วยแนวทาง 4 T (Trust , Teamwork &Talent ,Technology และ Targets) ค่านิยมองค์กรของกระทรวงสาธารณสุข “MOPH” M: Mastery - เป็นนายตนเอง O: Originality - เร่งสร้างสิ่งใหม่ P: People center - ใส่ใจประชาชน H: Humility - ถ่อมตนอ่อนน้อม ค่านิยมองค์กรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี“MOPH SUPHANBURI” M: Mastery - เป็นนายตนเอง O: Originality - เร่งสร้างสิ่งใหม่ P: People centered approach - ใส่ใจประชาชน H: Humility - ถ่อมตนอ่อนน้อม S: Service mind - มีจิตบริการ U: Unity - สามัคคีเป็นหนึ่งเดียว P: People center - ประชาชนเป็นศูนย์กลาง H: Honesty - ซื่อสัตย์สุจริต A: Appreciation - ชื่นชมในความสำเร็จ N: Network - ทำงานเป็นเครือข่าย


Page |4 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566


Page |5 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566


Page| 6 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566


Page | 7 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566


Page| 8 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566


Page| 9 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566


1 นโยบายมุ่งเน้นจังหวัดสุพรรณบุรีตอบสนอ นโยบายมุ่งเน้น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตัวชี้วัด เป้าหมาย ตอบสนอ กระทรวงสาธารณ 1. พัฒนาและ อภิบาลระบบ สุขภาพปฐมภูมิ แบบไร้รอยต่อหลัง การถ่ายโอนภารกิจ สอน. และรพ.สต. ไปยังอบจ. 1.รพ.สต. ประเมิน ตนเองตามเกณฑ์ คุณภาพมาตรฐาน บริการสุขภาพปฐมภูมิ ร้อยละ 75 2. ยกระดับระบบ และลดอัตราตายโร 2.1 สร้างเสริมควา สุขภาพปฐมภูมิ เพ พัฒนาศักยภาพอา หมู่บ้าน (อสม.) ให้เ เพิ่มศักยภาพโรงพย ให้เป็นจุดเชื่อมต่อ ชุมชนสู่โรงพยาบ (Telemedicine) เพ รักษาอย่างต่อเนื่อง การดูแลแบบ “ใกล้ต เป็นรูปธรรม 2 ร้อยละของตัวชี้วัด สำคัญตามข้อตกลงผ่าน เกณฑ์ ร้อยละ 80


0 องนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 องนโยบายมุ่งเน้น ณสุข ปีงบประมาณ 2566 การปฏิบัติงาน กลุ่มงานที่ สสจ. รพ. สสอ. รับผิดชอบ บริการรองรับสังคมสูงวัย คสำคัญ ามเข้มแข็งของระบบบริการ พิ่มศักยภาพสามหมอ โดย สาสมัครสาธารณสุขประจำ เป็นผู้นำด้านสุขภาพในชุมชน ยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อสำคัญของการดูแลสุขภาพ บาลใช้การแพทย์ทางไกล พิ่มประสิทธิภาพการดูแล งเชื่อมโยง ให้ประชาชนได้รับ ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” ได้อย่าง พัฒนาคุณภาพฯ พัฒนายุทธศาสตร์ฯ


1 นโยบายมุ่งเน้น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตัวชี้วัด เป้าหมาย ตอบสนอ กระทรวงสาธารณ 2. ยกระดับและ ปรับโฉมระบบ บริการสุขภาพ ก้าวหน้าด้วย เทคโนโลยี ลด แออัด ลดรอคอย และอัตราการตาย ด้วยโรคสำคัญ รวมถึงการ ให้บริการระบบ telemedicine เพื่อเป็น โรงพยาบาลของ ประชาชนคน สุพรรณ 3. ร้อยละสถาน บริการมีการพัฒนา ตามนโยบาย EMS ในแต่ละกลุ่มผ่าน เกณฑ์การประเมินฯ ขั้นพื้นฐาน (The must) ทุกแห่ง ร้อยละ 100 2. ยกระดับระบบ และลดอัตราตายโร 2.2 ปรับโฉมโรง “โรงพยาบาลของปร สะอาด สวยงาม ปร สะดวก เข้าถึงง่าย ล จำเป็น ใช้เทคโนโลยี คุณภาพ ใส่ใจดุจญาติ อย่างมีประสิทธิภาพ 2.3 เพิ่มขีดความ เครือข่าย ไร้รอยต่อ บูรณาการความร่วม และแบ่งปันทรัพยา โรคสำคัญ เร่งดำเนิ โรคหลอดเลือดสม สุขภาพจิต 4. ยกระดับความมั่น รับภาวะฉุกเฉินทา


1 องนโยบายมุ่งเน้น ณสุข ปีงบประมาณ 2566 การปฏิบัติงาน กลุ่มงานที่ สสจ. รพ. สสอ. รับผิดชอบ บริการรองรับสังคมสูงวัย คสำคัญ งพยาบาลทุกแห่งให้เป็น ะชาชน” มีสถานที่สิ่งแวดล้อม ระชาชนเข้ารับบริการได้อย่าง ลดการแออัด ลดขั้นตอนที่ไม่ ยีที่เหมาะสม ทันสมัย บริการมี ติ และบริหารการเงิน การคลัง เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถระบบบริการและ อโดย “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” มมือจากทุกภาคส่วนในการใช้ ากร เพื่อลดการเสียชีวิตจาก นินในกลุ่มผู้สูงอายุ อุบัติเหตุ อง โรคหัวใจ โรคไต มะเร็ง นคงทางสุขภาพ เตรียมพร้อม งการแพทย์และสาธารณสุข อนามัยสิ่งแวดล้อมฯ


1 นโยบายมุ่งเน้น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตัวชี้วัด เป้าหมาย ตอบสนอ กระทรวงสาธารณ ของประเทศในอนา ที่เกี่ยวข้อง ระบบแ สถานการณ์ฉุกเฉิน การบริการทางการแ ข้อมูลสารสนเทศ บูรณาการทุกภาคส่ว 4. รพ. มีบริการ การแพทย์ทางไกล ตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 100 3. ผลักดันการบ สาธารณสุขสู่ยุคดิจิ 3.1 โรงพยาบาลทุ (Telemedicine) เพิ ค่าใช้จ่ายของประชา ชุมชนทุกแห่งมีหน่ว การใช้เทคโนโลยีทา ให้เกิดประโยชน์ต่อป 3.2 พัฒนาระบบข้ บริการทางการแพ ไร้รอยต่อ และการ อย่างมีประสิทธิภาพ 5. รพ.มีการใช้งาน ระบบ IPD paperless ร้อยละ 60


2 องนโยบายมุ่งเน้น ณสุข ปีงบประมาณ 2566 การปฏิบัติงาน กลุ่มงานที่ สสจ. รพ. สสอ. รับผิดชอบ คต ผลักดันกฎหมายระเบียบ และกลไกบัญชาเหตุการณ์ใน การบริการจัดการทรัพยากร แพทย์และสาธารณสุข ระบบ ศ และการสื่อสาร อย่าง วน ริการทางการแพทย์และ ทัล กแห่งใช้การแพทย์ทางไกล พิ่มการเข้าถึงบริการ ลดภาระ าชน ปรับปรุงให้โรงพยาบาล วยรับผิดชอบ เพื่อขับเคลื่อน างการแพทย์และสาธารณสุข ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ้อมูลสุขภาพให้เอื้อต่อการ พทย์และสาธารณสุขอย่าง รพัฒนาระบบสาธารณสุขได้ พ พัฒนายุทธศาสตร์ฯ พัฒนายุทธศาสตร์ฯ


1 นโยบายมุ่งเน้น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตัวชี้วัด เป้าหมาย ตอบสนอ กระทรวงสาธารณ 3. การบูรณาการ ระบบการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุ แบบครบวงจรอย่าง ยั่งยืน 6. ร้อยละของ ประชาชนสูงอายุมี พฤติกรรมสุขภาพที่ พึงประสงค์ ≤ ร้อยละ 52 2. ยกระดับระบบ และลดอัตราตายโร 2.3 เพิ่มขีดความ เครือข่าย ไร้รอยต่อ บูรณาการความร่วม และแบ่งปันทรัพยา โรคสำคัญ เร่งดำเนิ โรคหลอดเลือดสม สุขภาพจิต 7. ร้อยละผู้สูงอายุ และผีมีภาวะพึ่งพิงที่ ได้รับการดูแลตาม CP มีADL ดีขึ้น ≤ ร้อยละ 22 8.ร้อยละของ โรงพยาบาลทุกระดับ มีการจัดตั้งคลินิก ผู้สูงอายุ ร้อยละ 100 4.เพิ่มประสิทธิภาพ การสื่อสารที่เข้าถึง และทันสมัยเพื่อ ยกระดับการสร้าง ความรอบรู้ด้าน 9. ร้อยละของ ประชาชนที่เข้าถึง ช่องทางสื่อสาธารณะ ที่เชื่อถือได้นำสู่ ประชาชนมีความ รอบรู้ด้านสุขภาพ 1. เพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความรอบรู้ด้า ทันสมัย สามารถเข้า ถูกต้องเป็นปัจจุบัน กับเครือข่ายทั้งภาคร เพื่อให้เกิดความไว้วา


3 องนโยบายมุ่งเน้น ณสุข ปีงบประมาณ 2566 การปฏิบัติงาน กลุ่มงานที่ สสจ. รพ. สสอ. รับผิดชอบ บริการรองรับสังคมสูงวัย คสำคัญ สามารถระบบบริการและ อโดย “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” มมือจากทุกภาคส่วนในการใช้ ากร เพื่อลดการเสียชีวิตจาก นินในกลุ่มผู้สูงอายุ อุบัติเหตุ อง โรคหัวใจ โรคไต มะเร็ง ส่งเสริมฯ ส่งเสริมฯ ส่งเสริมฯ พการสื่อสาร ยกระดับการ านสุขภาพในทุกมิติ เชิงรุก าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่าง สะดวกรวดเร็ว โดยร่วมมือ รัฐ เอกชน องค์กร ชุมชน างใจต่อ “กระทรวง ควบคุมโรคไม่ติดต่อฯ


1 นโยบายมุ่งเน้น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตัวชี้วัด เป้าหมาย ตอบสนอ กระทรวงสาธารณ สุขภาพของ ประชาชน 10.ร้อยละของชุมชนมี การดำเนินการจัดการ สุขภาพที่เหมาะสมกับ ประชาชน ร้อยละ 75 สาธารณสุข” และพั วัย ให้สามารถดูแลสุ ครอบครัวและชุมชน 5. พัฒนาการแพทย์ แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก สมุนไพร ภูมิปัญญา ท้องถิ่น กัญชาทาง การแพทย์ และ ส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พื้นที่อำเภออู่ทอง 11. โรงพยาบาล อู่ทองได้รับอนุญาต เป็นสถานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพร 5. ส่งเสริมให้ประ การแพทย์และสุข ทางการแพทย์ ผลิต และงานวิจัย การ การแพทย์แผนไท สมุนไพร ภูมิปัญญ สุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค 12. จำนวน นักท่องเที่ยวที่เข้ารับ บริการการแพทย์ แผนฯจากการ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ร้อยละ 10


4 องนโยบายมุ่งเน้น ณสุข ปีงบประมาณ 2566 การปฏิบัติงาน กลุ่มงานที่ สสจ. รพ. สสอ. รับผิดชอบ ัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วง สุขภาพกาย ใจ ของตนเอง นให้แข็งแรง พัฒนาคุณภาพฯ เทศไทยเป็นศูนย์กลางทาง ภาพนานาชาติ ด้านบริการ ภัณฑ์สุขภาพ บริการวิชาการ ส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุน ยและการแพทย์ทางเลือก าไทย และการท่องเที่ยวเชิง ค่าทางเศรษฐกิจ รพ. อู่ทอง แพทย์แผนไทยฯ รพ. อู่ทอง แพทย์แผนไทยฯ


1 นโยบายมุ่งเน้น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตัวชี้วัด เป้าหมาย ตอบสนอ กระทรวงสาธารณ 6. พัฒนาและ ยกระดับหน่วยงาน ในสังกัด สาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี ให้มีสมรรถนะสูง ด้วยแนวทาง 4 T (Trust , Teamwork &Talent ,Technology และ Targets) 13.ร้อยละของ หน่วยงานในสังกัดมี การดำเนินงาน 4 T ร้อยละ 80 6. พัฒนาสู่องค์กรส คุณภาพชีวิตในการ 6.1 เสริมสร้างสมรร ได้แก่ Trust สร้างคว ฝ่ายนโยบายฝ่ายต เครือข่าย Teamwo และสนับสนุนคนเก การทำงานที่ดี Tech ผลิตภาพ และบริกา การทำงาน การสื่อ แม่นยำ Targets ทำ จัดการทรัพยากร 6.2 บุคลากรมีคุณภา ความสมดุลชีวิตกับก การปรับตัวยืดหยุ่นไ เป็นทีมได้อย่างมีพลั ร่วมกัน เรียนรู้ พัฒน


5 องนโยบายมุ่งเน้น ณสุข ปีงบประมาณ 2566 การปฏิบัติงาน กลุ่มงานที่ สสจ. รพ. สสอ. รับผิดชอบ สมรรถนะสูง และบุคลากรมี รทำงานที่ดีขึ้น รถนะองค์กร ด้วยแนวทาง 4T วามไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชน ต่างประเทศ บุคลากรและ ork & Talent ทำงานเป็นทีม ก่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลง hnology ใช้เทคโนโลยีให้เกิด รที่มีคุณค่า เพิ่มประสิทธิภาพ อสารภายในองค์กรรวดเร็ว ำงานแบบมุ่งเป้าหมายสามารถ าพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น มี การทำงาน มีความสามารถใน ได้ในภาวะวิกฤติทำงานร่วมกัน ลัง โดยมีเป้าหมายและค่านิยม นาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน พัฒนายุทธศาสตร์ฯ


Non- สป 1 แผนงานที่ 1 : การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย (ด้านสุขภาพ) (2 โครงการ) 1.โครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยทุกกลุ่มวัย 2.โครงการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากร 1.โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอ าเภอ (พชอ.) แผนงานที่ 3 : การป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ( 3 โครงการ) 1.โครงการพัฒนาระบบการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและภัยสุขภาพ 2.โครงการควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 3.โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ แผนงานที่ 4 : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (1 โครงการ) 1 1.โครงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 1 สรุปงบประมาณแผน Prevention & Promotion Ex แผนงานที่ 2 : การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอ าเภอ (1 โครงการ) แผนงาน 1.Prevention & Promotion Excellence (ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ) 4 แผนงาน 7 โครงการ


-UC Non UC PP กองทุน อื่นๆ ป. กรม/กอง/ เบิกจ่ายแทนกัน basic services สุขภาพต าบล เงินบ ารุง/อบจ,/ งบจังหวัด/PPA/ สสส. 127,805 394,077 - - 1,531,755 2,053,637 100.00 11,405 85,000 - - 1,303,150 1,399,555 68.15 11,405 85,000 - - 1,264,600 1,361,005 - - - - 38,550 38,550 3,600 155,000 - - - 158,600 7.72 3,600 155,000 - - - 158,600 - 95,585 - - 202,430 298,015 14.51 - - - - 15,440 15,440 - 95,585 - - 122,540 218,125 - - - - 64,450 64,450 112,800 58,492 - - 26,175 197,467 9.62 12,800 58,492 - - 26,175 197,467 xcellence (ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ) แหล่งงบประมาณ/จ านวนงบประมาณ งบประมาณ รวมทั้งสิ้น สัดส่วน


Page| 17 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 แผนงาน : การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย(ด้านสุขภาพ) แผนงานย่อย:แผนปฏิบัติราชการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย โครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย 1. สถานการณ์ปัญหา ปีงบประมาณ 2565 พบมารดาเสียชีวิต 1 ราย อัตราตายของมารดาไทย 19.39 ต่อแสนการเกิดมีชีพ (เกณฑ์ไม่เกิน 17ต่อแสนการเกิดมีชีพ) เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติป่วยด้วยโรค Adjustment disorder มา นาน 13 ปี แล้วระแวงว่าสามีจะนอกใจ จึง Suicide ด้วยการรมควันในรถที่ อ.ดอนเจดีย์ หญิงตั้งครรภ์ได้รับ การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ร้อยละ 84.68 (เป้าหมาย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75) หญิง ตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 79.94 (เป้าหมาย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75) หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงและพบภาวะเสี่ยง ร้อยละ 55.69 (เป้าหมาย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25) โลหิตจางครั้งที่ 1 ร้อยละ 14.06 (เกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 14) ครั้งที่ 2 ร้อยละ 14.78 (เกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 12) หญิงตั้งครรภ์ทุกช่วงอายุได้รับการคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี Quadruple Test ร้อยละ 84.07 ไม่ได้ รับการคัดกรอง ร้อยละ 15.97 จากสาเหตุมาฝากครรภ์ช้าและไม่ยินยอมตรวจ ร้อยละ 44.68 อายุครรภ์ไม่ถึง เกณฑ์ ร้อยละ 46 แท้ง ร้อยละ 2.88 ร้อยละ 6.44 หญิงตั้งครรภ์ที่คัดกรองด้วยวิธีQuadruple Test มีผล เสี่ยงสูง ร้อยละ 7.03 ได้รับการวินิจฉัยทารกในครรภ์โดยการเจาะน้ำคร่ำ ร้อยละ 94.92 หญิงตั้งครรภ์ที่ผลการ วินิจฉัยทารกในครรภ์ด้วยวิธี NIPT พบเป็น Down syndrome 1 ราย ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์ ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็กและกรดโฟลิก ร้อยละ 80.78 (เกณฑ์ ร้อยละ 100) ไม่ผ่านเกณฑ์ โดยเฉพาะอำเภอเมือง สาเหตุจากหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ฝากครรภ์คลินิกเอกชน ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนแล้ว แต่นำมาบันทึกข้อมูลในโรงพยาบาลไม่ได้ ผลงานการรับยาไอโอดีนจึงต่ำกว่าความเป็นจริง หญิงหลังคลอด (รายงานแม่และเด็กไทย) จำนวน 5,117 ราย คลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 6.49 (เกณฑ์ไม่เกิน ร้อยละ 9) มารดาตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 1.53 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 5) ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดครบ 3 ครั้งตาม เกณฑ์ร้อยละ 87.09 (เป้าหมายร้อยละ 75) ทารกเกิดมีชีพ 5,156 ราย ลดลงจากปี 2564 จำนวน 538 ราย น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 5.95 (เกณฑ์ร้อยละ 7) ทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 15.78: 1,000 การ เกิดมีชีพ (เกณฑ์ไม่เกิน 25:1,000) ทารกเกิดไร้ชีพ จำนวน 25 ราย ทารกเกิดมีชีพตายภายใน 7 วัน จำนวน 4 ราย สาเหตุจาก Preterm 2 ราย PPHN 1 ราย, Sepsis 1 ราย อัตราตายปริกำเนิด 5.60 : 1000 การเกิดของ ทารก (เกณฑ์ไม่เกิน 9 : 1,000) การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก (รายงาน PHIMS) หญิงคลอดทั้งหมดจำนวน 5,095 ราย ฝากครรภ์ 5,034 ราย ผลเลือด เอช ไอ วี บวก 38 ราย ร้อยละ 0.75 ได้รับยาต้านไวรัสสูตร HAART เมื่อ มีอาการหรือ CD4 เข้าเกณฑ์การรักษา จำนวน 26 ราย ได้รับยาต้านไวรัส สูตร HAART เมื่อยังไม่เข้าเกณฑ์ การรักษา/ไม่ทราบผล CD4 จำนวน 8 ราย ได้รับยา AZT ตัวเดียวระยะตั้งครรภ์และ/หรือร่วมกับ singledose NVP จำนวน 1 ราย ได้รับยาสูตรอื่น ๆ ระยะตั้งครรภ์และ/หรือระยะคลอด จำนวน 2 ราย ไม่ได้รับยา


Page| 18 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 ต้านไวรัสใด ๆ ทั้งในระยะตั้งครรภ์และ/หรือระยะคลอด 1 ราย ไม่ฝากครรภ์ 61 ราย ร้อยละ 1.19 ไม่พบผล เลือด เอช ไอ วีบวก ผลการตรวจซิฟิลิสระยะตั้งครรภ์ (VDRL) พบผลซิฟิลิส (VDRL) บวก37 ราย หญิงคลอด ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นซิฟิลิส 37 ราย มารดาและบุตรได้รับการรักษาซิฟิลิสและติดตามอย่างต่อเนื่องทุกราย เด็กเกิดมีชีพ 38 ราย ได้รับยา AZT อย่างเดียว 22 ราย ได้รับยาที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสที่มีฤทธิ์สูง (สูตร HAART) จำนวน 16 ราย ไม่พบการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่บุตร เด็กปฐมวัย 5 ช่วงวัย อายุ 9, 18, 30, 42 และ 60 เดือน (รายงาน Specialpp)) จำนวน 22,348 คน ได้รับการคัดกรองพัฒนาการตามช่วงอายุ ร้อยละ 92.59 (เกณฑ์ร้อยละ 90) พบสงสัยล่าช้า ร้อยละ 21 (เกณฑ์ร้อยละ 20) ติดตามให้มารับการกระตุ้นพัฒนาการ ร้อยละ 92.06 (เกณฑ์ร้อยละ 90) พัฒนาการ สมวัย ร้อยละ 90.52 (เกณฑ์ร้อยละ 85) เด็กมีพัฒนาการล่าช้าต้องได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วยเครื่องมือ TEDA4I รวมจำนวน 115 คน ได้รับการกระตุ้น ร้อยละ 77.39 กระตุ้นครบเกณฑ์ร้อยละ 67.42 หลังกระตุ้น ปกติ ร้อยละ 16.67 อยู่ระหว่างการกระตุ้นจำนวน 9 ราย กระตุ้นไม่ครบเกณฑ์จำนวน 20 ราย เด็กอยู่ระหว่าง การติดตามจำนวน 10 ราย ติดตามเด็กไม่ได้จำนวน 16 ราย ปัญหาเรื่องการประเมินพัฒนาการ ปี 2565 ไตร มาส 1-2 อยู่ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 มีเด็กเป็นโรคโควิด-19และกลุ่มสัมผัส เสี่ยงสูง, ผู้ปกครองกลัวเด็กติดเชื้อโควิด-19 จึงไม่พาเด็กมาคัดกรองพัฒนาการ ประกอบกับมาตรการเว้น ระยะห่างทำให้สถานบริการนัดเด็กได้จำนวนน้อยลง เด็กบางคนมีการย้ายที่อยู่ การมาตรวจตามนัดจึงลดลง อีกทั้งการติดตามเด็กมาตรวจทำได้ยากกว่าสถานการณ์ปกติ เด็กบางคนไม่สามารถติดตามได้เพราะไม่ทราบว่า ย้ายที่อยู่ไปที่ใด ผู้ปกครองบางรายตกงาน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เมื่อเด็กมาตรวจอีกครั้งก็พบว่าเด็ก ล่าช้าแล้ว เด็กปฐมวัย จำนวน 26,055 คน ได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ร้อยละ 86.80 สูงดีสมส่วน ร้อยละ 62.35 (เกณฑ์ร้อยละ 64) มีภาวะเตี้ย ร้อยละ 9.39 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10) มีภาวะผอม ร้อยละ 4.64 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 5) ภาวะอ้วน ร้อยละ 3.99 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 9) ส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปีเพศ ชาย 109.12 เซนติเมตร (เกณฑ์ 113 เซนติเมตร) ส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปีเพศหญิง 108.48 เซนติเมตร (เกณฑ์ 112 เซนติเมตร) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เด็กถูกจำกัดพื้นที่ จึงมีพฤติกรรม เนือยนิ่ง ขาดการออกกำลังกาย ผู้ปกครองบางรายให้เด็กดูโทรศัพท์เพราะต้องไปทำงาน เด็กส่วนใหญ่เรียน ผ่านระบบออนไลน์ ทำให้มีโอกาสเข้าถึงโทรศัพท์มากขึ้น เด็กติดโทรศัพท์ ติดเกม ปัญหาส่วนใหญ่มักจะเป็น ความล่าช้าเรื่องการพูดและการใช้ภาษา 1.1 Base line data ประชากรเป้าหมายจากปี 2564 1. หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด จำนวน 5,100 คน 2. หญิงหลังคลอดทั้งหมด จำนวน 5,100 คน 3. เด็กเกิดมีชีพ จำนวน 5,156 คน


Page| 19 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 4. เด็กปฐมวัย จำนวน 26,055 คน 1.2 ปัญหาพื้นที่เชิงคุณภาพ ปัญหาที่พบในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ได้แก่ มารดาตายจากการมีโรคประจำตัวมาก่อนการตั้งครรภ์และ สภาพร่างกายไม่พร้อมต่อการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีหญิงตั้งครรภ์อีกร้อยละ1.19 ที่ไม่ยินยอมมาฝากครรภ์ทำ ให้นับลูกดิ้นไม่เป็น หรือแม้ว่ามาฝากครรภ์ได้เรียนรู้วิธีนับลูกดิ้นไปแล้วแต่ละเลยที่จะนับลูกดิ้น ทำให้ปัญหา เด็กเกิดไร้ชีพยังคงเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ การคลอดก่อนกำหนดเริ่มมีแนวโน้มลดลง อัตราตายปริกำเนิดแม้ไม่ เกินเกณฑ์ แต่ยังเป็นปัญหาในพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรีได้กำหนดมาตรการป้องกันปัญหาดังกล่าวลงสู่สถานบริการ ทุกระดับ ในการดูแลกลุ่มสตรีตลอดการตั้งครรภ์มีการประสานกับกลุ่มงาน NCD เพื่อสร้างความรอบรู้แก่ผู้ป่วยโรค เรื้อรังที่เป็นวัยเจริญพันธุ์ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม เน้นการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการคลอด ก่อนกำหนดในสถานบริการทุกระดับ ปัญหาการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกซึ่งเป็น ปลายน้ำมาจากวัยเจริญพันธุ์ PM กลุ่มสตรีและเด็กระดับจังหวัดได้ร่วมกับกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงานรณรงค์การ บริโภคไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขับเคลื่อนตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัสสู่ 2,500 วัน ร่วมกับเด็ก ปฐมวัย เพื่อกำกับการกินยาเม็ดเสริมไอโอดีนตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด 6 เดือน ซึ่งเมื่อหญิงตั้งครรภ์ได้รับ ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก/ไอโอดีนและการติดตามการกินยาจากคลินิกฝากครรภ์ พบว่าทารกมีภาวะขาดสาร ไอโอดีนลงอย่างต่อเนื่อง ในด้านการป้องกันมารดาและทารกเสียชีวิต เพื่อเพิ่มอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของ จังหวัดสุพรรณบุรีและประเทศ มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานในการประชุม MCH Board ระดับจังหวัด และการประเมินมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กในสถานบริการทั้งระดับอำเภอและตำบล มีการยกระดับคุณภาพ OPOL และ OPOA ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด และเป็นต้นแบบของเขตสุขภาพที่ 5 เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การดำเนินงานกระตุ้นการ เจริญเติบโตและการชั่งวัดทำได้ยาก เพราะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีภาระงานโควิด-19 นอกเหนือจากงาน ประจำ เด็กถูกจำกัดพื้นที่จากมาตรการเว้นระยะห่างทำให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น ทำให้ผลงานสูงดีสม ส่วนภาพรวมไม่ผ่านเกณฑ์ภาวะเตี้ยและภาวะผอมในบางอำเภอเกินเกณฑ์ 1.3 ข้อมูล หรือปัญหาของกระบวนการทำงาน 1. ปัญหามารดาตายส่วนใหญ่เป็น Indirect caused โดยเฉพาะกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคร่วมซึ่ง ร่างกายไม่มีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ การปฏิเสธการฝากครรภ์ ซึ่งงานอนามัยแม่และเด็กเป็นเหมือนปลายน้ำ ไม่ สามารถแก้ไขต้นน้ำได้ด้วยตนเอง ต้องมีการบูรณาการร่วมกันตั้งแต่ระดับกรมลงมาเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา 2. ปัญหาการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ที่ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก ยังแก้ไขได้ยากเพราะเกิด จากความรอบรู้ของวัยรุ่น วัยเจริญพันธุ์ และต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อน สถาน บริการทุกแห่งควรมีการคืนข้อมูลภาวะขาดสารไอโอดีนให้แก่ผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น เพื่อร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กวัยเรียน วัยรุ่น และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ได้บริโภคอาหารที่มีไอโอดีนและยา เม็ดเสริมไอโอดีนอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์


Page| 20 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 3.ส่วนกลางมีการปิดระบบการลงข้อมูลHDC ของสิ้นปีงบประมาณช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งทำให้ผลการดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp ยังไม่ครบตามเป้าหมายเนื่องจากการ ประเมินพัฒนาการยังประเมินได้อีก 30 วันหลังจากสิ้นเดือนกันยายนและเนื่องด้วยเจ้าหน้าที่รพ.และรพ.สต.มี ภาระงานมากมายนอกเหนือจากงานประจำจึงไม่สามารถคีย์ผลงานได้ทันเวลาปิดระบบและหลังจากวันปิดระบบ แล้วไม่สามารถส่งผลงานเพิ่มได้อีก ขอให้ส่วนกลางพิจารณาปิดระบบหลังจากวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี 4.สสจ.ไม่สามารถดูผลงานใน Platform ต่าง ๆ ได้(อบรมPlay worker,อบรมDSPM,9ย่างเพื่อสร้างลูก) ต้องขอผลงานจากศูนย์อนามัยหรือกรมอนามัย ทำให้การกำกับติดตามผลงานมีความล่าช้า จึงให้ส่วนกลางให้สิทธิ เข้าถึงข้อมูลในระดับจังหวัด 5.ผลงานใน HDC เรื่องการได้รับน้ำยาเสริมธาตุเหล็ก เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี เป้าหมายมาจากเด็กมา รับบริการในแฟ้ม EPI ส่วนกลางควรปรับการรายผลงานเรื่องการได้รับน้ำยาเสริมธาตุเหล็ก เด็กอายุ6 เดือน ถึง 5 ปีเป้าหมายควรตัดเด็กมารับบริการในแฟ้ม EPI 2. สรุปปัญหาที่สำคัญ 2.1 หญิงตั้งครรภ์ขาดความรอบรู้ด้านสุขภาพแม่และเด็ก 2.2 พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็กขาดความรอบรู้ในการดูแลเด็กในด้านโภชนาการและพัฒนาการ 2.3 การคลอดก่อนกำหนด 2.4 ภาวะโลหิตจาง /ภาวะขาดสารไอโอดีน 2.5 ส่วนสูงเฉลี่ยเด็ก 5 ปี ต่ำกว่าเกณฑ์ 3. เป้าประสงค์ 3.1 อัตราตายมารดาไทยไม่เกิน 17 ต่อแสนการเกิดมีชีพ 3.2 อัตราตายปริกำเนิดไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดทั้งหมด 3.3 ภาวะโลหิตจางครั้งที่ 2 ในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 12 3.4 ภาวะขาดสารไอโอดีนในทารกแรกเกิดลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5 3.5 เด็กอายุ 0 – 5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 64 3.6 ส่วนสูงเฉลี่ยเด็กอายุ 5 ปีชาย 113 ซม. หญิง 112 ซม.


Page| 21 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 แผนงาน : การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย(ด้านสุขภาพ) แผนงานย่อย: แผนปฏิบัติราชการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียน โครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มวัยเรียน 1. สถานการณ์ปัญหา 1.1 Base line data จากการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กวัยเรียน (อายุ6-14 ปี) จังหวัดสุพรรณบุรีด้านภาวะโภชนาการ และการ เจริญเติบโต เทอม 1 ปีการศึกษา 2565 (HDC:31ตุลาคม 2565) เด็กวัยเรียนทั้งหมด จำนวน 53,939 คน พบว่าเด็กวัยเรียนชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง จำนวน 51,463 คน ครอบคลุมร้อยละ 95.41 สูงดีสมส่วน ร้อยละ 54.95 ไม่ผ่านเกณฑ์ในภาพรวมจังหวัด และอำเภอ (เกณฑ์ร้อยละ 66) และนักเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 16.24 เตี้ยร้อยละ 7.25 ผอมร้อยละ 4.71 นักเรียนชายอายุ12 ปีส่วนสูงเฉลี่ย 151.76 เซนติเมตร และนักเรียนหญิงอายุ12 ปีส่วนสูงเฉลี่ย 151.61 เซนติเมตร การคัดกรอง Obesity sign ในเด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เริ่มอ้วนและอ้วนระดับประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น (ป.1-ม.3) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 10 อำเภอ คัดกรองเด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 8,762 คน พบว่า พบอาการ 3 – 4 อาการ จำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ 1.60 ส่งต่อตามระบบเจาะ เลือดปลายนิ้วตรวจภาวะน้ำตาลในเลือด จำนวน 140 คน พบภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติและส่งรักษาตาม ระบบจำนวน 1 คน จากผลการคัดกรองสถานบริการสาธารณสุขร่วมกับโรงเรียนทุกสังกัดดำเนินการวางแผน แก้ไขปัญหาในเด็กนักเรียนโดย เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Family coacher) การ บริโภคอาหาร การออกกำลังกาย สร้างความตระหนักรู้โดยมีครูอนามัยโรงเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นผู้ดูแลกำกับติดตามและวางแผนให้ความรอบรู้ ด้านสุขภาพ (Health literacy) ต่อไป โครงการเด็กไทยสายตาดีเพื่อเพิ่มโอกาสเรียนรู้นั้น เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ร่วมกับครูในโรงเรียนดำเนินการตรวจวัดสายตาเด็กนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9,512 คน ได้รับการตรวจวัดสายตา จำนวน 9,370 คน คิด เป็นร้อยละ 98.51 พบเด็กมีสายตาผิดปกติ57 คน คิดเป็นร้อยละ 0.61 ได้รับการส่งต่อ เพื่อให้จักษุแพทย์ได้ ตรวจวัดสายตาซ้ำ และขึ้นทะเบียนเพื่อรอรับแว่นตาภายใต้โครงการเด็กไทยสายตาดีเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 1.2 ปัญหาพื้นที่เชิงคุณภาพ ( ระบุพื้นที่ / กลุ่มเป้าหมาย ) 1. พื้นที่หลายแห่งบันทึกข้อมูลการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงในระบบไม่ทันเวลาเนื่องจากสถานการณ์ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีภาระงานเร่งด่วนทั้งการคัดกรองเชิงรุก การสอบสวนโรค การให้วัคซีน


Page| 22 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 2. การแก้ไขปัญหาเชิงพฤติกรรม ต้องใช้เวลา และติดตามกระตุ้นต่อเนื่อง ขาดความร่วมมือจาก ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง 2. สรุปปัญหาที่สำคัญ 2.1 เด็กอายุ 6 -14 ปี จังหวัดสุพรรณบุรีมีภาวะสูงดีสมส่วนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวง สาธารณสุขกำหนด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 67) 2.2 เด็กอายุ 6 – 14 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนด (ไม่เกิน ร้อยละ 10) 2.3 ส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กอายุ 12 ปี ต่ำกว่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (เพศชาย 154 เซนติเมตร เพศหญิง 155 เซนติเมตร) 2.4 ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงานและกำกับติดตามการดำเนินงานในระดับจังหวัดและระดับ พื้นที่ รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2.5 การบันทึกข้อมูลติดตามภาวะโภชนาการยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 3. เป้าประสงค์ เด็กวัยเรียนจังหวัดสุพรรณบุรีสูงดีสมส่วน มีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ 4. ตัวชี้วัด 4.1 มีภาคีเครือขายในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียน 4.2 มีโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literate School) อำเภอละ 1 แห่ง 4.3 เด็กวัยเรียนจังหวัดสุพรรณบุรีสูงดีสมส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 57 4.4 ส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กอายุ 12 ปี เพศชาย 154 เซนติเมตร เพศหญิง 155 เซนติเมตร


Page| 23 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 แผนงาน : การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย(ด้านสุขภาพ) แผนงานย่อย: แผนปฏิบัติราชการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยรุ่น โครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มวัยรุ่น 1. สถานการณ์ปัญหา จากข้อมูลในระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข พบอัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 -14 ปี ต่อจำนวนประชากรหญิงอายุ 10 -14 ปี 1,000 คน ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีแนวโน้มลดลงจากอัตรา การคลอดมีชีพ 1.76 ในปีงบประมาณ 2562 เป็นอัตราการคลอดมีชีพ 0.84 ในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งในระดับเขตสุขภาพที่ 5 ราชบุรี และประเทศมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน (แผนภาพที่ 1) จากข้อมูลในระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข พบอัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 – 19 ปี ต่อจำนวนประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีแนวโน้มลดลง จากอัตรา การคลอดมีชีพ 30.85 ในปีงบประมาณ 2562 เป็นอัตราการคลอดมีชีพ 23.01 ในปีงบประมาณ 2565 จากข้อมูลในระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข พบอัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 – 19 ปี ต่อจำนวนประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีแนวโน้มลดลง จากอัตรา การคลอดมีชีพ 30.85 ในปีงบประมาณ 2562 เป็นอัตราการคลอดมีชีพ 23.01 ในปีงบประมาณ 2565 จากข้อมูลในระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 – 2565 พบอัตราการ ตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 11.21 ใน ปีงบประมาณ 2562 เป็นร้อยละ 14.42 ในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งทั้งในระดับเขตสุขภาพที่5 ราชบุรี และ ประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดสุพรรณบุรี มีหญิงคลอดหรือแท้งอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 538 ราย ตั้งครรภ์ซ้ำ จำนวน 83 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (< 13.00) และสูงกว่าระดับประเทศ (14.29) เมื่อจำแนกรายโรงพยาบาลพบว่า โรงพยาบาลที่พบหญิงคลอด การตั้งครรภ์ซ้ำสูงสุดคือ โรงพยาบาลบางปลาม้า รองลงมาคือ โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ และโรงพยาบาลด่าน ช้าง ร้อยละ 66.67 25.00 และ 19.12 ตามลำดับ 1.1 Base line data ข้อมูลในระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 – 2565 พบอัตรา การคุมกำเนิด ด้วยวิธีสมัยใหม่หลังคลอดหรือแท้งของจังหวัดสุพรรณบุรี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51.69 ในปีงบประมาณ 2562 เป็นร้อยละ 54.03 ในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (>80) แต่ยังคงสูง กว่าระดับเขตสุขภาพที่ 5 ราชบุรี (33.14) และระดับประเทศ (37.84)


Page| 24 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดสุพรรณบุรี มีหญิงคลอดหรือแท้งเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลจำนวน ทั้งสิ้น 583 คน ได้รับการคุมกำเนิดจำนวน 315 คน คิดเป็นร้อยละ 54.03 เมื่อจำแนกรายโรงพยาบาล พบว่า โรงพยาบาลที่พบอัตราการให้บริการคุมกำเนิดหลังคลอดหรือแท้งสูงสุดคือ โรงพยาบาลบางปลาม้า รองลงมา คือโรงพยาบาลดอนเจดีย์ และโรงพยาบาลสามชุก ร้อยละ 100.00 94.12 และ 88.24 ตามลำดับ ข้อมูลในระบบรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 – 2565 พบอัตรา การคุมกำเนิด ด้วยวิธีกึ่งถาวรหลังคลอดหรือแท้งของจังหวัดสุพรรณบุรี มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 71.9 ในปีงบประมาณ 2562 เป็นร้อยละ 59.68 ในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (>80) ระดับเขตสุขภาพ ที่ 5 ราชบุรี (62.14) และระดับประเทศ (65.11) ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดสุพรรณบุรี มีหญิงคลอดหรือแท้งได้รับการคุมกำเนิดด้วยวิธี สมัยใหม่หลังคลอดหรือแท้ง จำนวนทั้งสิ้น 315 คน ได้รับการคุมกำเนิดกึ่งถาวร จำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 59.68 เมื่อจำแนกรายโรงพยาบาล พบว่าโรงพยาบาลที่พบอัตราการให้บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรหลังคลอดหรือแท้ง สูงสุดคือ โรงพยาบาลสามชุก รองลงมาคือโรงพยาบาลดอนเจดีย์ และโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ร้อยละ 93.33 87.50 และ 87.14 ตามลำดับ 1.2 ปัญหาพื้นที่เชิงคุณภาพ ( ระบุพื้นที่ / กลุ่มเป้าหมาย ) 1. การเข้าถึงข้อมูลและบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ยังครอบคลุมกลุ่มวัยรุ่น ส่งผลให้ วัยรุ่นขาดความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ถูกต้องเรื่องเพศ ก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร หน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ควรมีการวางแผนด้านการ ประชาสัมพันธ์แหล่งข้อมูลด้านสุขภาพเช่น Line Teen Club ไปยังวัยรุ่นที่อยู่ในระบบการศึกษาและ นอกระบบการศึกษา รวมถึงผู้ปกครอง สถานศึกษา ผู้นำชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงบางหน่วยงานมี การเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบ/ผู้ปฏิบัติงาน ส่งผลให้การจัดบริการอนามัยการเจริญพันธ์วัยรุ่นขาด ความต่อเนื่องและไม่เป็นไปตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ ซึ่งหน่วยงานระดับจังหวัดควรประสานข้อมูล และส่งต่อแนวทางการดำเนินงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อให้รับทราบแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้ง ประสานการดำเนินงานในระดับจังหวัดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และ หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบงานในระดับพื้นดำเนินการประสานการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภายในและภายนอกหน่วยงานตามภาระกิจเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน


Page| 25 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 2. สรุปปัญหาที่สำคัญ 2.1 สุพรรณบุรีเป็นพื้นที่มีการระบาดโควิด -19 ระลอกใหม่ ตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงปัจจุบัน จำนวน ผู้ป่วยฯ ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ จนท.ในระดับพื้นที่มีภาระกิจเร่งด่วนในการป้องกันและควบคุมโรค 2.2 ช่องทางการเข้าถึงบริการของวัยรุ่นในสถานพยาบาลได้ยาก 2.3 ผลงานการให้บริการวางแผนครอบครัวใจระบบฐานข้อมูล HDC มีผลงานไม่ตรงกับการบริการจริง 3. เป้าประสงค์ เกิดกลไกการมีส่งวนร่วมของภาคีเครือข่ายในทุกระดับ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ภายใต้ พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 4. ตัวชี้วัด 4.1 อัตราการคลอดบุตรมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปีเป้าหมาย 0.9 ต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปีต่อ พันคน 4.2 อัตราการคลอดบุตรมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปีเป้าหมาย 25.0 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อพันคน 4.3 ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิง อายุน้อยกว่า 20 ปี เป้าหมาย ไม่เกิน 13 4.4 ร้อยละของหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ได้รบบบริการคุมกำเนิดด้วยวิธีสมัยใหม่ (Modern methods) หลังคลอดหรือหลังแท้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4.5 ร้อยละของหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ได้รบบบริการคุมกำเนิดด้วยวิธีกึ่งถาวร (ยาฝังคุมกำเนิด/ห่วง อนามัย) หลังคลอดหรือหลังแท้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4.6 ร้อยละของหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ได้รบบบริการคุมกำเนิดด้วยวิธีสมัยใหม่ (จำแนกราย 7 วิธี) กำหนดการคุมกำเนิดด้วยวิธีกึ่งถาวร รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 (ในหญิง20ปี คลอดหรือหลังแท้ง)


Page| 26 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 แผนงาน : การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย(ด้านสุขภาพ) แผนงานย่อย: แผนปฏิบัติราชการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน โครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มทำงาน 1. สถานการณ์ปัญหา ประชากรวัยทำงาน อายุ 15 -59 ปี ของจังหวัดสุพรรณบุรี (ข้อมูล ณวันที่ 31 ตุลาคม 2565) ร้อยละ 60.06 ของประชากรทั้งหมด แบ่งเป็น วัยทำงานตอนต้น (อายุ 18 -29 ปี) ร้อยละ 19.63 ,วัยทำงานตอนกลาง (อายุ 30-44 ปี) ร้อยละ 18.28 ,วัยทำงานตอนปลาย (อายุ 45-59 ปี) ร้อยละ 22.47 และพบปัญหาด้วยโรค NCDs เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา : ประชากรวัยทำงานที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 10.51 ของจำนวน ประชากรวัยทำงานทั้งหมด (ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี 2562 - 2564 ร้อยละ 12.63,8.69,8.98 ตามลำดับ) และคัด กรองในกลุ่มที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันสูง พบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 7.50, สงสัยป่วย ร้อยละ 3.03, และส่งพบ แพทย์เพื่อวินิจฉัย ร้อยละ 0.15 ประชากรวัยทำงานที่ป่วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 6.40 ของจำนวนประชากรวัย ทำงานทั้งหมด (ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี 2562-2564 ร้อยละ 4.37,4.46,4.85 ตามลำดับ) และคัดกรองในกลุ่มที่ ยังไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน พบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 8.90, สงสัยป่วย ร้อยละ 0.37, และส่งพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย ร้อยละ 0.15 (ที่มา รายงาน HDC >>รายงานมาตรฐาน >> การคัดกรอง ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565) ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการส่งเสริมสุขภาพประชาชน จนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่ สามารถจัดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง ด้วยความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) มี พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพื่อเตรียมการเพื่อยามสูงอายุด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าสถานการณ์ น้ำหนักเกินและอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง 2563 - 2565 ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ปกติ ร้อย ละ 45.06, 43.87 และ 44.50 เส้นรอบเอวปกติ ร้อยละ 49.85,49.70 และ 51.38 (ที่มา รายงาน HDC >> รายงานมาตรฐาน >> งานโภชนาการ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565) ผลการดำเนินงานจำนวนครอบครัวไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป้าหมายจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 126,707 คน ผลงาน ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 131,345 คน คิดเป็นร้อยละ 103.66 แต่พิจารณาราย อำเภอพบว่าอำเภอที่มีร้อยละของจำนวนครอบครัวไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี(ร้อยละ 75.69) และอำเภอด่านช้าง (ร้อยละ 76.62) ซึ่งอยู่ ในช่วงที่มีการระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 จึงทำให้บางพื้นที่มีการชะลอการดำเนินงานในระดับพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายขยายไปในกลุ่มเด็กวัยเรียน โดยกอง กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่าย ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่นในโรงเรียน ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อเด็กไทย สูงดี สมส่วน แข็งแรง IQ EQ ดี ภายใต้โครงการ ChOPA &


Page| 27 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 ChiPA Game ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงเรียนและหน่วยงาน สมัครขอรับ รางวัลเกียรติคุณแก่องค์กรที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน สามารถลดปัญหาเด็ก อ้วน ผอม เตี้ย ไม่แข็งแรงได้ มีโรงเรียนวัดอู่ตะเภาเข้าร่วมโครงการ ผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลเกียรติคุณ ประเภทองค์กรมีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practice) เข้ารับรางวัลเกียรติคุณ โรงเรียนและหน่วยงานสมัครเข้า ร่วมโครงการ จำนวน 364 แห่ง ผ่านการคัดเลือกเข้ารับรางวัลเกียรติคุณ ประกอบด้วย ประเภทองค์กรรอบรู้ สุขภาพ (Health Literate Organization) จำนวน 19 แห่ง และประเภทองค์กรที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 45 แห่ง 1.1 Base line data โครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ วัยทำงาน โดย การสำรวจข้อมูลจากประชากรวัยทำงานจังหวัดสุพรรณบุรี จากกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 1 ของประชากรวัย ทำงาน (Type1 และ3) จำนวน 3,856 คน โดยใช้โปรแกรมออนไลน์ H4U เก็บข้อมูลในพื้นที่ทุกอำเภอในช่วง เดือนพฤศจิกายน 2564 - พฤษภาคม 2565 รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และรายงาผลคืนข้อมูลเดือนกรกฎาคม 256 ให้พื้นที่นำไปวางแผนการทำโครงการในพื้นที่ในปีถัดไป รายละเอียดตามตารางที่ 1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานการสร้างความรอบรู้สุขภาพ ด้านโภชนาการของประชากรวัยทำงาน บูรณากา ร่วมกับงานสุขาภิบาลอาหาร (กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย) เพื่อส่งเสริมและพัฒนา ร้านอาหาร ภัตตาคาร แผงลอย และอาหารริมบาทวิถี ให้มีเมนูอาหารทางเลือกที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีสำหรับ ประชาชน ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เมนูชูสุขภาพ คือ อาหารที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีที่กรมอนามัย แนะนำให้ผู้ประกอบการจัดทำอาหารสำหรับประชาชน เมนูชูสุขภาพ หมายถึง อาหาร 4 ประเภท คือ 1) อาหารประเภทข้าวและกับข้าว/อาหารสำรับ/อาหารจานเดียว/อาหารตามสั่ง/ยำ/ส้มตำ/ข้าวราดแกง 2) ขนม 3) เครื่องดื่ม 4) ผลไม้ จะต้องมีพลังงาน น้ำตาลและโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม โดยคัดเลือกจากร้านอาหาร ที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน Thai Stop COVID Plus เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 มีจำนวน 18 ร้าน 34 เมนู ในปีงบประมาณ 2565 เป้าหมาย อำเภอละ 1 ร้าน เพื่อพัฒนาตามเกณฑ์ Clean food good test plus ปีงบประมาณ 2565 มีจำนวนร้านอาหารที่เข้าร่วมพัฒนาเมนูชุสุขภาพ จำนวน 12 ร้าน และมีเมนูชูสุขภาพ ทั้งหมด 18 เมนู ผลการดำเนินงาน “ โรงอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ Healthy canteen” หมายถึง โรงอาหารที่มี การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี อาหารมีคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณที่เหมาะสม วัตถุดิบ เครื่องปรุงมีความปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และสารพิษส่งเสริมการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ปลอดภัยในการปรุง ประกอบอาหาร มีเมนูชูสุขภาพเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้รักสุขภาพ หรือผู้ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งมี สื่อประชาสัมพันธ์สร้างความรอบรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ ผ่านเกณฑ์รับรอง Healthy Canteen ผ่านเกณฑ์ครบทุกข้อ ดังนี้ 1.ผ่านเกณฑ์ด้านสุขาภิบาลอาหารตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่


Page| 28 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 จำนวน 4 หมวด , 2.มีเมนูชูสุขภาพ อย่างน้อยร้านละ 1 เมนู,3.มีร้านจำหน่าย ผลไม้สด อย่างน้อย 1 ร้าน , 4.ผู้บริโภคแจ้งลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มต่างๆ ได้,5.มีป้ายบอกปริมาณ โซเดียม และปริมาณน้ำตาล ต่อการตัก 1 ช้อนชาที่โต๊ะวางเครื่องปรุง, 6.มีการติดป้ายบอกพลังงานและ สารอาหารต่ออาหาร 1 จาน บริเวณโรงอาหาร, 7.มีการสร้างความรอบรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้บริโภค เมื่อผ่านการรับรองจะได้เกียรติบัตรจากกรมอนามัย “โรงอาหาร ปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ (Healthy canteen)” ในปีงบประมาณ 2564 มี โรงอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ผลงงานปีงบประมาณ 2565 เพิ่มอีก 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาล สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก ตารางที่ 1 แสดงผลการดำเนินงานพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ วัยทำงาน อำเภอ ประชากร (25-59 ปี) เก็บข้อมูลผ่าน โปรแกรม H4U ร้อยละพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ เป้าหมาย (คน) จำนวนผู้ตอบ เมืองสุพรรณบุรี 823 505 25.94 เดิมบางนางบวช 288 311 78.14 ด่านช้าง 309 473 69.98 บางปลาม้า 316 174 54.60 ศรีประจันต์ 280 290 54.14 ดอนเจดีย์ 212 506 28.85 สองพี่น้อง 633 2,527 42.14 สามชุก 242 184 57.61 อู่ทอง 533 3,169 43.52 หนองหญ้าไซ 220 87 73.56 จ.สุพรรณบุรี 3,856 8,226 45.19


Page| 29 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 ตารางที่ 2 ร้อยละครอบครัวไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2565 ลำดับ Digital Health Platform ผลงาน ร้อยละ 1 ก้าวท้าใจ / Thai Fit Stop Fat 55,544 2 H4U 39,515 3 BSE App. (Brest Self Examination) 7,826 4 Mental Health 28,023 รวม 131,345 103.66 ที่มา : ข้อมูลจาก Digital Health Platform ณ วันที่ 15 กันยายน 2565 ตารางที่ 3 ร้อยละครอบครัวไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพแยกรายอำเภอ จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2565 ลำดับ อำเภอ เป้าหมาย (รวมทั้งหมด) ผลงาน ร้อยละ 1 เมืองสุพรรณบุรี 25,272 19,128 75.69 2 เดิมบางนางบวช 10,741 13,895 129.36 3 ด่านช้าง 10,250 7,854 76.62 4 บางปลาม้า 11,557 9,310 80.56 5 ศรีประจันต์ 9,270 12,882 138.96 6 ดอนเจดีย์ 6,917 8,914 128.87 7 สองพี่น้อง 19,089 15,725 82.37 8 สามชุก 7,979 8,272 103.67 9 อู่ทอง 18,259 27,745 151.95 10 หนองหญ้าไซ 7,373 7,620 103.35 สุพรรณบุรี 126,707 131,345 103.66 ที่มา : ข้อมูลจาก Digital Health Platform ณ วันที่ 15 กันยายน 2565


Page| 30 แผนปฏิบัติราชการด้านสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2566 1.1 ปัญหาพื้นที่เชิงคุณภาพ 1.การเข้าถึงแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่มีหลากหลาย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงด้วยฐานะทางเศรษฐกิจไม่เท่ากัน การดำเนินงานเป็นการสร้าง ภาระงานแก่บุลากรสาธารณสุขในพื้นที่ 2.ภาวะวิกฤตโควิด-19 จำเป็นต้องปรับแผนการดำเนินงานส่งผลกระทบให้บางกิจกรรมล่าช้า หรือต้องยกเลิกในบางกิจกรรม เช่น กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วย 10 Package ในสถาน ประกอบการ เพื่อรับรองเป็นสถานประกอบการส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์ของกรมอนามัย 3.การบูรณาการในหน่วยงานภายในและภายนอกร่วมดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม ไม่เป็น ตามเป้าหมาย เนื่องจาก Digital Platform จากหลากหลายสำนักของกรมอนามัย หลายกรม ภายใน กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้ถูกกำหนดเป็นเป้าหมายร่วมกันในการดำเนินงานคนมีความรอบรู้ด้าน สุขภาพ 2. เป้าประสงค์ 2.1 เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ Digital Health literacy ให้กับประชาชนสุขภาพดีด้วย 3 อ. ด้วยตนอง 2.2 การประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประชาชนเข้าถึง ชุดความรู้สุขภาพสร้างความรอบรู้สุขภาพด้วยตนเอง 3. ตัวชี้วัด 3.1 ร้อยละของวัยทำงานอายุ 18 – 59 ปี มีดัชนีมวลกายปกติ (เป้าหมาย ร้อยละ 51) 3.2 ร้อยละของวัยทำงานอายุ 25-59 ปี ที่มีการเตรียมการเพื่อยามสูงอายุด้านสุขภาพโดย การมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ร้อยละ 50 3.3 อัตราความรอบรู้ด้านสุขภาพวะของประชากรวัยทำงาน (เป้าหมายร้อยละ 70)


ตัวชี้วัด (ระดับจังหวัด) โครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทย ทุกกลุ่มวัย จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2566 กิจกรรมหลักที่ 1 สร้างความเข้มแข็ง เพื่อ - เพื่อให้เกิดการบูรณาการและสร้าง ขับเคลื่อนการด าเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพ กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคี ตามกลุ่มวัย เครือข่าย และสร้างความเข้นแข็ง กลุ่มแม่และเด็ก มีเป้าหมายและแนวทางการด าเนิน กิจกรรมย่อยที่ 1.1.1ประชุมคณะกรรมการ งานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน - อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อ - ทุกอ าเภอ คณะกรรมการ ฯ MCH Board ระดับจังหวัด ต่อการเกิดมีชีพแสนคนไม่เกิน 17 กิจกรรมย่อยที่ 1.1.2 บูรณาการความร่วมมือกับ - ทุกอ าเภอ หญิงวัยเจริญพันธุ์ วัยรุ่น/วัยท างานในการส่งเสริมการคุมก าเนิดหญิง ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรั วัยเจริญพันธุ์ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (Contraceptive NCD) เด็กปฐมวัย กิจกรรมย่อยที่ 1.2.1 ด าเนินงานขับเคลื่อนร่วมกับ 1.ส่งเสริมการเกิดและการเจริญ - เด็กอายุ 0-5 ปี พัฒนาการสมวัย คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย เติบโตอย่างมีคุณภาพ ร้อยละ 85 ระดับจังหวัด (พมจ.เป็นเลขาฯ) - เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน กิจกรรมย่อยที่ 1.2.2 ขับเคลื่อนการด าเนินงาน ร้อยละ 66 - ทุกอ าเภอ - รพ.ทุกแห่ง ส่งเสริมโภชนาการ พัฒนาการและการเจริญ เติบโต กับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมย่อยที่ 1.2.3 ประเมินต าบลมหัศจรรย์ - ทุกอ าเภอ -อ าเภอละ 3 ต าบ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน บูรณาการร่วมกับ รวม 30 ต าบล ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (อปท.,ศึกษาธิการ,ฯลฯ) กิจกรรมย่อยที่ 1.2.4 เยี่ยมเสริมสถานพัฒนาเด็ก - ทุกอ าเภอ - 10 สถานพัฒนา ปฐมวัยด้านสุขภาพ 4D เด็กปฐมวัย กลุ่มวัยเรียน กิจกรรมหลักที่ 1.3.1 ประชุมชี้แจงการด าเนินงาน 1.ส่งเสริมการเกิดและการเจริญ รพศ./รพช./ รพศ./รพช./ เด็กวัยเรียน ฉลาด เข้มแข็ง แข็งแรง รอบรู้สุขภาพ เติบโตอย่างมีคุณภาพ รพสต./เทศบาล รพสต./เทศบาล กับผู้รับผิดชอบงานอนามัยวัยเรียนและผู้เกี่ยวข้อง กิจกรรมหลักที่ 1.3.2 ประชาสัมพันธ์/จัดกิจกรรม โรงเรียนทุกแห่ง ส่วนที่ 2 แผนปฏิบัติการและแผนสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2566 กลุ่มเป้าหมาย แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก/กิจกรรมย่อย จ านวนหน่วยนับ พื้นที่เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์กระทรวง ที่ 1 PP&P Excellence แผนงานที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย (ด้านสุขภาพ) โครงการหลักของกระทรวง ที่ 1 โครงการพัฒนาและสร้างศักยภาพคนไทยทุกกลุ่มวัย ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด 3


Non-UC Non UC PP กองทุน อื่นๆ สป. กรม/กอง/ เบิกจ่ายแทน กัน basic services สุขภาพต าบล เงินบ ารุง/ อบจ,/งบ จังหวัด/PPA/ สสส. 1,500 1,500 3,000 3,000 รหัส82071 รัง บล 3,000 3,000 3,000 เงินบ ารุง า ย ต.ค. - ธ.ค. ม.ค. - มี.ค เม.ย - มิ.ย ระยะเวลาด าเนินการ/งบประมาณ แหล่งงบประมาณ/จ านวนงบประมาณ งบประมาณ ก.ค. - ก.ย. รวมทั้งสิ้น รหัสงบ 1


ตัวชี้วัด ส่วนที่ 2 แผนปฏิบัติการและแผนสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2566 กลุ่มเป้าหมาย แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก/กิจกรรมย่อย จ านวนหน่วยนับ พื้นที่เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด รณรงค์ส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ในวันเด็กและ ในเขตจังหวัด วันดื่มนมโลก โดยประสาน สพฐ. ,ศึกษาธิการ สุพรรณบุรี จังหวัด อปท. และโรงพยาบาล กิจกรรมย่อยที่ 1.3.3 ขับเคลื่อนการด าเนินงาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ บูราณาการร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง (ควบคุมโรค อนามัยัสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม) กลุ่มวัยรุ่น กิจกรรมย่อยที่ 1.4.1 ประชุมคณะอนุกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการ 1. ประชุมคณะอนุกรรมการฯ จ.สุพรรณบุรี คณะอนุกรรมการฯ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ระดับจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้ พ.ร.บ ป้องกัน บูรณรการ และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ฯ กิจกรรมย่อยที่ 1.4.2 ประชุมคณะท างาน 2. ประชุมคณะท างาน ฯ จ.สุพรรณบุรี คณะท างานฯ ขับเคลื่อน การด าเนินงานป้องกันและแก้ไข อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้สูงอายุ กิจกรรมย่อยที่ 1.5.1 ส่งเสริมสนับสนุนการส่งเสริม 1.เพื่อพัฒนาระบบการสงเสริมสุขภาพ สุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรส าหรับ ผูสูงอายุในชุมชนแบบบูรณาการ ผู้สูงอายุ กิจกรรมย่อย 1.5.2 ขับเคลื่อนการด าเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนการด าเนินงานชุมชน -ร้อยละ50 ของผู้สูงอายุมีการจัดท า การจัดท าแผนสุขภาพดี (Wellness plan) ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุและ แผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness กิจกรรมย่อยที่ 1.5.3 ขับเคลื่อนการด าเนินงาน ชมรมผู้สูงอายุด้านสุขถาพ Plan) Age - Friendly Communities รวมกับ - มีพื้นที่ตนแบบชุมชนที่เปนมิตร ภาคีเครือขายในชุมชน (สธ.,อปท.,พม.,ภาคเอกชน) กับผูสูงอายุผานเกณฑ์ อย่างน้อย 1 ชุมชน กิจกรรมย่อยที่ 1.5.4 ขับเคลื่อนและประเมินผล - ชมรมผู้สูงอายุ การด าเนินงานชมรมผู้สูงอายุด้านสุขภาพ กิจกรรมหลักที่ 2 ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ส่งเสริมการบริการสุขภาพ แม่และเด็ก กิจกรรมย่อยที่ 2.1.1 พัฒนาระบบบริการแบบ พัฒนาระบบบริการอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่น - หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 - ทุกอ าเภอ - รพ. 10 แห่ง ห้องคลอดเดียวกัน (One province one ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ก าหนด สัปดาห์ > ร้อยละ 75 labor room) และระบบการดูแลการตั้งครรภ์ - ค้นหาและจัดการความเสี่ยงของ แบบครบวงจร (one provice one ANC) หญิงมีครรภ์และทารกในครรภ์ กิจกรรมย่อยที่ 2.1.2 ส่งเสริมการได้รับวัคซีนโควิด - ป้องกันการติดเชื้อโควิด - ร้อยละ 50ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับ - ทุกอ าเภอ -หญิงตั้งครรภ์หลัง 3


Click to View FlipBook Version